โอกาส Change Magazine issue 27

Page 1


CONTENT ISSUE 27 : january 2016

418

O’event เดือนนี้ ใคร ท�ำอะไร ที่ ไหน อย่างไร O’EVENT พร้อมจะเล่าให้คุณฟัง

6

ismed story DIP จับมือ ISMED สร้างนักออกแบบในอุตสาหกรรมแฟชั่น FDC 2016 ปี 2

12

O’Special SME 4.1 GAME CHANG กลยุทธ์ส�ำหรับ SME ยุค 2016 โดย สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล

20

O’PLACE เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ มนต์เสน่ห์ริมแม่น�้ำเจ้าพระยา

24

O’new by ismed ข่าวสารน่าสนใจโดยทีมงาน ISMED

OpportunityMag สถานที่จัดวางนิตยสาร โอกาส By ISMED มหาวิทยาลัย • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ • มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย • มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ • มหาวิทยาลัยศิลปากร • มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

• • • • • • • • • • • • • •

มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น

• • • • • • • • • • • • • • •

มหาวิทยาลัยเกริก มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร มหาวิทยาลัยธนบุรี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเนชั่น (เดิมคือ มหาวิทยาลัยโยนก) มหาวิทยาลัยปทุมธานี มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

• มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย • มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ • มหาวิทยาลัยมหิดล • มหาวิทยาลัยขอนแก่น • โรงเรียนสอนดนตรีวรนันท์ เชียงใหม่ • ห้องสมุดพื้นบ้านย่านเวียงเชียงใหม่ • อื่นๆ รวมกว่า 400 แห่ง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ • ห้องรอผู้โดยสารขาออก 18 จุด ร้านกาแฟ • Starbuck • True Coffee • Messo • Black Canyon • ร้านเล่า เชียงใหม่

• ร้านหอมปากหอมคอ เชียงใหม่ • ร้านไนน์สตรีทคาเฟ่ เชียงใหม่ • ร้านบ้านครูเบลล่า เชียงใหม่ • ร้านกาแฟโสด เชียงใหม่ • ร้าน little cook เชียงใหม่ • ร้าน Brown Rice เชียงใหม่ • ร้านไอติมกดกริ่ง เชียงใหม่ • ร้านภูตารา เชียงราย • อื่นๆ รวมกว่า 500 สาขา ร้านหนังสือ • 7 – Eleven • B2S • ร้านซีเอ็ดบุ๊ค • ร้านนายอินทร์ • ร้านดอกหญ้า


EDITORNOTE สวัสดีปีใหม่ 2559 และต้อนรับเข้าสูก่ ารเป็นส่วนหนึง่ ของ AEC ครับ ขอให้ สิง่ ดีๆ เกิดขึน้ แก่ทกุ ท่าน โดยเฉพาะท่านผูท้ ปี่ ระกอบกิจการ ขอให้พบเจอแต่โอกาส ทีด่ ี ทีท่ ำ� ให้ธรุ กิจเจริญก้าวหน้ายิง่ ๆขึน้ และหวังว่าก�ำลังใจพร้อมกับเนือ้ หาสาระ ทีเ่ ราน�ำมาเสนอจะเป็นแรงบันใจและเป็นส่วนหนึง่ ทีท่ ำ� ให้เกิดพลังดีๆทีซ่ อ่ นอยู่ในตัว ทุกท่าน ถ่ายทอดออกมาให้เกิดการพัฒนาสูเ่ ป้าหมายต่อไป อย่างหนึง่ ส�ำหรับการในปีนี้ ทีอ่ ยากให้ทกุ ท่านเริม่ ต้นและไตร่ตรองการพัฒนา ธุรกิจต่อไปนอกเหนือจากการค้นหาโอกาสแล้ว คือการ “ปรับตัว”ของธุรกิจ ให้เข้ากับสภาพสถานการณ์ของเศรษฐกิจและสังคมของพฤติกรรมการบริโภคของ ลูกค้าทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลงตลอดเวลา ซึง่ อาจต้องพิจารณาในมุมมองใหม่ วิธกี าร ใหม่ๆ ในการน�ำพากิจการให้ดำ� เนินต่อไปได้อย่างมีเสถียรภาพ ซึง่ ในเล่มนีล้ องติดตามประเด็นของ SMEs 4.1 ทีเ่ ราน�ำมาเสนอ เพือ่ อาจเป็น ส่วนหนึง่ ในการมองตาม คิดตามจากตัวอย่างในอดีตสูก่ ารวางแผน ปรับกลยุทธ์ ไปให้ถึงเป้าหมายอนาคต เป็นการน�ำแนวทางมาปรับเปลี่ยนวิถีกิจการส�ำหรับ การต่อสูธ้ รุ กิจต่อไป Tiger Suwanchai Lohawatanakul Support SMEs products and services Visit Facebook: SMEs Tiger

CMYK Process

¹éÓà§Ô ¹ C100, M60 ¿éÒ C90 , M20

Á BL70 Grayscale Processà·Òà¢ç à·ÒÍè ͹ BL40

EDITOR IN CHIEF ณัฐชัย เตชะวิเชียร EDITOR ชลธิชา บัณฑราภิชัย PROJECT CO-ORDINATOR ชลธิชา บัณฑราภิชัย GRAPHIC DESIGNER อดุลวิทย์ บัวชัยโย PHOTOGRAPHER นรา กิจเกรียงไกรกุล

ติดต่อโฆษณา

02-965-7126

พิมพ์ครั้งที่ 1 Free copy

จัดท�ำโดย

บริษัท วัน สต๊อป ครีเอชั่น จ�ำกัด 68/847 หมู่ที่ 8 ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 02-965-7126 โทรสาร 02-965-7127 อีเมล์ info@1sc.co.th


4

O’EVENT

T e x t : กองบรรณาธิการ

เอมิเรตส์ เปิดตัวเว็บไซต์ภาษาไทยบนมือถือ

O’EV

สายการบินเอมิเรตส์ผู้เชื่อมโยงผู้คน สถานที่และ เศรษฐกิจทั่วโลก เปิดตัวเว็บไซต์ภาษาไทยบนมือถือเป็น ครั้งแรก (emirates.com/th ) เพื่อให้ลูกค้าชาวไทยได้ เพลิดเพลินไปกับความสะดวกสบายและบริการที่ยอดเยี่ยม เว็บไซต์บนมือถือของสายการบินเอมิเรตส์เปิดให้บริการ ในประเทศไทยทัง้ ภาษาอังกฤษและภาษาไทย สามารถเข้าชม ข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ emirates.com/th

CHINESE NEW YEAR 2016 @ GATEWAY EKAMAI

พิซซ่า ฮัท ประเทศไทย ฉลองออร์เดอร์ที่ 30,000,000

1-8 ก.พ.นี้ ชวนคุณมาร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนกับ แคมเปญ CHINESE NEW YEAR 2016 @ GATEWAY EKAMAI เฮง เฮง เฮง ร�่ ำ รวยความสุ ข ช้ อ ปสนุ ก รั บ ปี ว อก ตื่ น ตาตื่ น ใจกั บ การแสดง เชิดสิงโตสุดอลังการ สัมผัสกลิ่นอายไชน่าทาวน์ พร้อมอิ่มอร่อยกับ มหกรรมอาหารจีนหลากหลายชนิดกว่า 30 ร้านค้า ณ ลานกิจกรรม ชั้น M และลานด้านหน้า ชั้น G ศูนย์การค้าเกตเวย์ เอกมัย

คุณเกร็ก ครีด ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร พร้อมทัง้ คุณเทรซี่ สคีนส์ ประธานฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษทั ยัม แบรนด์ และ ซาบีนา่ ริซวี ผูจ้ ดั การทัว่ ไป พิซซ่า ฮัท ประเทศไทย ส่งมอบ พิซซ่าสุดพิเศษแก่ลกู ค้า ผู้โชคดี ในโอกาสที่ พิซซ่า ฮัท ฉลองยอดออร์เดอร์ที่ 30,000,000 ออร์เดอร์ นับตั้งแต่ พิซซ่า ฮัท เริ่มด�ำเนินกิจการในประเทศไทย และ พิซซ่า ฮัท ยังได้มอบเป็นสิทธิใ์ นการรับประทาน พิซซ่า ฟรี 1 ปี แก่ลกู ค้าผูโ้ ชคดี เนือ่ งในโอกาสการฉลองดังกล่าว


VENT

T e x t : กองบรรณาธิการ

O’EVENT

5

กสิกรไทย จับมือ คิง เพาเวอร์ ออกบัตรเครดิตร่วม คิง เพาเวอร์– กสิกรไทย

นายบัณฑูร ล�่ำซ�ำ (กลาง) ประธานกรรมการ ธนาคาร กสิกรไทย และนายวิชยั ศรีวฒั นประภา (ที่ 3 จากซ้าย) ประธาน กรรมการ กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ร่วมเปิดตัว บัตรเครดิต ร่วมคิง เพาเวอร์-กสิกรไทย เจาะกลุม่ นักธุรกิจ และนักท่องเทีย่ ว ขาช็อปที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ มอบสิทธิประโยชน์จากคิง เพาเวอร์ และบัตรเครดิตกสิกรไทยไว้ด้วยกัน ตั้งเป้า 5 ปี มีผู้ถือบัตรเครดิตร่วม คิงเพาเวอร์–กสิกรไทย กว่า 70,000 ราย ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ

หนังสือไทยแลนด์อาย: คอนเทมโพรารี่ ไทย อาร์ต (Thailand Eye: Contemporary Thai Art) พลเอก ธนะศั ก ดิ์ ปฏิ ม าประกร รองนายกรั ฐ มนตรี เป็นประธานในงานเปิดตัวหนังสือไทยแลนด์อาย: คอนเทมโพรารี่ ไทย อาร์ต หนังสือที่รวบรวมแนวความคิดและผลงานในแวดวง ศิลปะร่วมสมัยอันมีสีสันของไทย จากศิลปิน ๗๕ ท่าน ในจ�ำนวน นีม้ ี ๒๓ ท่าน ทีไ่ ด้นำ� ผลงานไปจัดแสดงในนิทรรศการไทยแลนด์ อาย ณ หอศิลป์ซาทชี่ กรุงลอนดอน

AIS 4G ADVANCED NEW WORLD NEW EXPERIENCE” พาคนไทย เปิดโลกใหม่ ประสบการณ์ใหม่“ เอไอเอสขอเชิญลูกค้าและประชาชน ร่วมงานมหกรรม “AIS 4G ADVANCED NEW WORLD NEW EXPERIENCE” งาน 4G Advanced Fair ที่ใหญ่และครบถ้วนที่สุด ซึ่งจัดขึ้นในวันอังคารที่ 26 มกราคม 2558 เวลา 13.00 – 21.00 น. ที่รอยัลพารากอนฮอลล์ สยามพารากอน ชั้น5 ติดตามรายละเอียดเพิม่ เติม ได้ที่ www.ais.co.th/newworldnewexperience


6

Ismedstory

T e x t : By Ismed

DIP จับมือ ISMED

สร้างนักออกแบบในอุตสาหกรรมแฟชั่น FDC 2016 ปี 2 ด้วยอุตสาหกรรมแฟชั่นซึ่งประกอบด้วย อุตสาหกรรม สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ และอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า เป็นอุตสาหกรรมที่มี ความส�ำคัญต่อเศรษฐกิจและการจ้างงานของไทยเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเห็นได้จากมูลค่าการส่งออกที่อยู่ในระดับต้นๆ มาโดยตลอด มีการแข่งขันทีส่ งู ขึน้ ในอุตสาหกรรมแฟชัน่ ทัง้ ในตลาดภูมภิ าคและ ตลาดโลก แนวทางส�ำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย ให้แข่งขันกับตลาดโลกได้ แนวทางหนึ่ง คือ การส่งเสริมและ สนับสนุนบุคลากรด้านการออกแบบให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ใหม่ๆ ทีม่ เี อกลักษณ์ โดดเด่น มีความแตกต่างและน่าสนใจส�ำหรับ ผู้บริโภค และออกสู่ท้องตลาดในภูมิภาคและตลาดโลกได้


กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จึงร่วมกับ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่ อ ม ได้ จั ด โครงการสร้ า งนั ก ออกแบบใน อุตสาหกรรมแฟชั่น ปี 2 (Fashion Designer Creation 2016 : FDC 2016) เปิดเวทีสร้างนัก ออกแบบไทยสู่สากล ในกิจกรรมสร้างคน สร้าง ธุรกิจ สร้างแบรนด์ เพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรม แฟชั่ น และธุ ร กิ จ แฟชั่ น เพื่ อ รองรั บ ตลาด อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม – เครื่อง หนังและรองเท้า - อัญมณีและเครื่องประดับ เพื่ อ ร่ ว มออกแบบพั ฒ นาต่ อ ยอดผลิ ต ภั ณ ฑ์ ต้นแบบ และสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ สูว่ งการ อุตสาหกรรมแฟชั่น ประกอบด้วย 1) สาขาอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 2) สาขาอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า และ 3) สาขาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่อง ประดับ เพื่อพัฒนาศักยภาพนักออกแบบและ ผูป้ ระกอบการ SMEs ให้สามารถประยุกต์ใช้องค์ ความรู ้ ในกระบวนการพั ฒ นาแนวคิ ด เพื่ อ สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์รปู แบบใหม่ ทีม่ เี อกลักษณ์

สามารถตอบสนองความต้องการของตลาด เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อสร้าง นักออกแบบและผู้ประกอบการ SMEsในด้าน แฟชัน่ รุน่ ใหม่ทมี่ ที กั ษะ ประสบการณ์ และความรู้ ความสามารถ ในสาขาต่างๆ สามารถก้าวทัน แนวโน้มแฟชัน่ เทรนด์ อันเป็นกลไกส�ำคัญในการ สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย สู่สากล และก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางแฟชั่น อาเซียนภายในปี 2560 ซึง่ ในปีนมี้ ผี สู้ มัครเข้าร่วมในโครงการกว่า 200 คน ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ 130 คน โดยผู ้ ที่ ผ ่ า นการคั ด เลื อ กจะได้ รั บ สิ ท ธิ พิ เ ศษ เข้าร่วมเวิร์คช้อปอย่างใกล้ชิดกับ 3 กูรูแฟชั่น ชั้นน�ำระดับประเทศ มาถ่ายทอดประสบการณ์ ความส�ำเร็จในธุรกิจแฟชัน่ คุณศิรชิ ยั ทหรานนท์ นักออกแบบสร้างสรรค์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เจ้ า ของแบรนด์ THEATRE, คุ ณ ธี ร เมศร์ เลิศเศวตพงษ์ นักออกแบบสร้างสรรค์เครือ่ งหนัง และรองเท้า Brand Manager Viera by Ragazze และ คุณพงษ์มนัส สวัสดิชัย นักออกแบบ

สร้างสรรค์อัญมณีและเครื่องประดับ เจ้าของ แบรนด์ 77th ส�ำหรับผูเ้ ข้าร่วมในโครงการ นอกจากจะ ได้เข้าร่วมเวิรค์ ช้อปกับกูรแู ฟชัน่ แล้ว ยังได้โอกาส ในการสร้างสรรค์ออกแบบผลงานชิ้นเอกของ ตนเอง ภายใต้แนวคิด Fashion Exellence ซึง่ เหล่านักออกแบบจะส่งผลงานเข้าร่วมประกวด ใน 3 ประเภทอุตสาหกรรมแฟชัน่ โดยในรอบรอง ชนะเลิศจะคัดผลงานทีโ่ ดดเด่นให้เลือกเหลือเพียง 12 ราย 12 คอลเลคชัน่ ผลงานต้นแบบทีถ่ กู คัด เลือกจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญและทรง คุณวุฒทิ งั้ 12 คอลเลกชัน จะถูกน�ำไปจัดแสดง แฟชั่นโชว์และนิทรรศการ หลังจากนั้นจะท�ำ การคัดเลือกผลงานทีด่ ที สี่ ดุ เพียง 1 ราย ในแต่ละ ประเภทอุตสาหกรรมแฟชัน่ เป็นผูช้ นะเลิศเข้าร่วม ประกวดชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 450,000 บาท พร้อมโล่และประกาศเกียรติคณุ ร่วมเป็นก�ำลังใจและติดตามกิจกรรมการ สร้างนักออกแบบ FDC 2016 ปี 2 และชมผลงาน ของเหล่านักออกแบบ ได้ที่ www.Facebook. com/fdc2016 หรือ www.fdcbydip.com/


8

Why Ismed

T e x t : By Ismed

CSR เพื ่ อ ผู้ประกอบการ

กระแสขององค์ ก รหรื อ หน่ ว ยงานไม่ ว ่ า ภาครั ฐ หรื อ ภาคเอกชน เริ่ ม หั น มา ให้ความใส่ใจสังคมรอบตัว และเอือ้ เฟือ้ ให้กบั สังคมโดยส่วนรวมมากยิง่ ขึน้ ท�ำให้การท�ำ CSR หรื อ Corporate Social Responsibility ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมและ สิง่ แวดล้อมขององค์กร เป็นทีน่ ยิ มและได้รบั ความส�ำคัญจากองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ มากยิ่งขึ้น การด�ำเนินงานของสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (อีสเมด) ตลอดระยะเวลา 16 ปีทผี่ า่ นมา ได้เข้าไปเกีย่ วข้องกับการด�ำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่ม OTOP


คุณอาภาพรรณ ชนานิยม ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านการตลาด ให้ความ เห็นว่า ในปี 2559 อีสเมดมีแนวทางการด�ำเนินงานในการสนับสนับผู้ประกอบ การในระดับวิสาหกิจชุมชน ให้ได้มโี อกาสมากยิง่ ขึน้ และเล็งเห็นว่าการท�ำ CSR น่าจะถูกน�ำมาใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ ทั้งกับภาคเอกชนที่จะสนับสนุน หรือวิสาหกิจชุมชนทีจ่ ะได้รบั การบริการในส่วนนีม้ ากยิง่ ขึน้ โดยอีสเมดมีความ สนใจและพร้อมที่จะเป็นสื่อกลางในการประสานความร่วมมือและแสวงหา เครือข่ายการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและภาครัฐ ไปยังวิสาหกิจชุมชนต่างๆ กลุม่ เป้าหมายทีอ่ สี เมดสนใจเชิญชวนเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในการท�ำ CSR เพือ่ การน�ำร่องในระยะแรกเป็นกลุม่ บริษทั ภาคเอกชนซึง่ มีงบประมาณทีช่ ดั เจน ในการสนับสนุนหรือการท�ำกิจกรรมเชิงสังคมร่วมกับวิสาหกิจชุมชน หรือชุมชน ต่างๆ ทั้งในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการด�ำเนินธุรกิจ หรือพื้นที่อื่นๆ ทั้งในรูปแบบ การสนับสนุนให้ชุมชนมีความอยู่ดี กินดี หรือสนับสนุนให้ชุมชนได้มีโอกาส เข้าถึงสิ่งต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ เช่น การพัฒนาอาชีพ การพัฒนาบุคลากร ในช่วงวัยต่างๆ ทั้งเด็ก เยาวชน แม่บ้าน หรือผู้สูงอายุ ให้ได้มีโอกาสในการ ประกอบอาชีพ หรือใช้ศักยภาพที่มีอยู่ในการสร้างรายได้เพิ่มให้กับตัวเอง “ในมุมมองของอีสเมด การท�ำ CSR อาจไม่ต้องใช้งบประมาณมากมาย เรามองว่าเป็นการสนับสนุนหรือเอือ้ ต่อสังคมมากกว่า งบประมาณทีภ่ าคเอกชน น�ำมาใช้ในการท�ำ CSR อาจอยู่ที่หลักหมื่น หรือหลักแสน ก็สามารถท�ำได้ เพียงแต่ความต่อเนือ่ งของกิจกรรมทีท่ ำ� อาจมีนอ้ ยลง ในเรือ่ งเกีย่ วกับ CSR มอง ว่าทุกส่วนท�ำ CSR ได้อยูแ่ ล้ว แม้วา่ คุณจะเป็นเพียงวิสาหกิจชุมชน หากต้องการ ขยายวงความร่วมมือ หรือริเริ่มกิจกรรมใหม่ๆ ให้กลุ่มของตนเอง เช่น การให้ ความใส่ใจในสิง่ แวดล้อมเพิม่ มากขึน้ ก็มสี ว่ นช่วยท�ำให้สงั คมทีค่ ณุ อยูอ่ าศัย หรือ สิ่งแวดล้อมในสังคมดียิ่งขึ้นได้เช่นกัน หรือ การพัฒนาอาชีพ ที่ผ่านมาเราอาจ เน้นการพัฒนาอาชีพของคนในช่วงวัยท�ำงาน วัยที่มีความเข้มแข็ง แต่ตอนนี้ สังคมของเราเข้าสูส่ งั คมผูส้ งู อายุมากขึน้ เราก็สามารถพัฒนาอาชีพ หรือพัฒนา กิจกรรมต่างๆ ทีเ่ ปิดโอกาสให้ผสู้ งู อายุได้ออกมาท�ำกิจกรรมร่วมกัน หรือท�ำชิน้ งานที่ไม่ได้ใช้แรงงานสูง เพื่อท�ำให้เกิดผลผลิตบางอย่างที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน สามารถน�ำไปใช้ตอ่ ยอดในงานของตนเองได้ ซึง่ ประเด็นนีก้ เ็ ป็นเรือ่ งทีน่ า่ สนใจ เพราะคนสูงอายุส่วนใหญ่ยังมีก�ำลัง ที่ส�ำคัญคือคนกลุ่มนี้ยังมีทักษะและ ประสบการณ์ที่จะท�ำให้งานต่างๆ สามารถก้าวต่อไปได้”

ส�ำหรับหน่วยงานภาครัฐ การท�ำ CSR อาจเป็นกิจกรรมที่แฝงอยู่ใน กิจกรรมหลักผ่านโครงการต่างๆ เช่น ในปี 2558 อีสเมดได้ดำ� เนินโครงการ ส่งเสริมจับคูธ่ รุ กิจผลิตภัณฑ์ทรี่ อการตอบสนอง (Unmet Needs) ให้กบั ส�ำนักงาน พัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์กรมหาชน) กิจกรรมหนึง่ ภายใต้โครงการ นีค้ อื การสรรหาและคัดเลือกธุรกิจเพือ่ จับคูธ่ รุ กิจ น�ำผลิตภัณฑ์ทไี่ ด้รบั การพัฒนา ในโครงการไปผลิตในเชิงพาณิชย์ โดยมีเงื่อนไขประการหนึ่งคือ ธุรกิจหรือ ผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดเลือก ต้องมอบเงินส่วนหนึ่งของรายได้ยอดรวม จากการจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามจริงก่อนหักค่าใช้จ่าย เพื่อให้หน่วยงานเจ้าของ งบประมาณน�ำไปใช้ในการสนับสนุนกิจกรรมการดูแลรักษาหรือฟืน้ ฟูทรัพยากร ชีวภาพ นอกจากนี้การพิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการพัฒนา ผลิตภัณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ที่อีสเมดด�ำเนินงาน ให้กับส�ำนักพัฒนาการจัดการอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประเด็น หนึ่งที่ใช้เป็นเกณฑ์ประกอบการคัดเลือกผู้ประกอบการก็คือ การด�ำเนินธุรกิจ นั้นๆ มีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจหรือก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและ ท้องถิ่น เช่น มีการจ้างงานในท้องถิ่น มีการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น เป็นต้น การน�ำร่องการท�ำ CSR อีสเมดก�ำลังแสวงหาความร่วมมือในการจัดสรร พืน้ ทีเ่ พือ่ ค้าปลีก ให้กบั ผูป้ ระกอบการ โดยได้เข้าพบหารือกับ รฟม.เจ้าของพืน้ ที่ เพือ่ ท�ำ CSR ร่วมกัน ในส่วนของ รฟม.จะจัดสรรพืน้ ทีใ่ ห้กบั ผูป้ ระกอบการทีเ่ ป็น วิสาหกิจซึ่งประกอบการหรือเป็นเจ้าของโดยคนพิการ ถือเป็นการเอื้อต่อสังคม ช่วยท�ำให้กลุ่มคนพิการที่ต้องการสร้างอาชีพเป็นของตนเองมีช่องทางในการ จัดจ�ำหน่ายสินค้า ลดการพึ่งพาจากหน่วยงานภาครัฐ ลดภาระต่อครอบครัว หรือคนใกล้ชิด ช่วยให้กลุ่มคนพิการมีรายได้เป็นของตนเอง ซึ่งอีดสเมดคาด ว่าการน�ำร่อง CSR ในระยะแรกนี้ จะเกิดผลเป็นรูปธรรมประมาณกลางปี 2559 ผู้ประกอบการกลุ่มคนพิการที่สนใจ สามารถสมัครเพื่อรับการคัดเลือก จากคณะกรรมการได้ที่อีสเมด โทร.02-564-4000 ต่อ 1004 (คุณแอน) ทั้งนี้ขอ สงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกผู้ประกอบการเพื่อหมุนเวียนการใช้พื้นที่ ขยายโอกาส ให้กับผู้ประกอบการรายอื่นๆ อย่างทั่วถึง ภาพประกอบจาก : BEDO / โรงเรียนศรีสังวาลย์ของมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการในพระบรม ราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี


10

O’CALENDAR

T e x t : กองบรรณาธิการ

Pet Expo Thailand 2016 จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 16 ภายในงานรวบรวมสินค้า บริการ และกิจกรรม ที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์ของสัตว์เลี้ยงและผู้รักสัตว์ พร้อมชมสัตว์แปลกที่หาชม ได้ยากในโซน Exotic Pet Land พิเศษกับโซนล่าสุด Pet Village นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมดีๆให้ร่วมสนุกตลอดงาน ระหว่างวันที่ 26 – 29 พฤษภาคม 2559 เวลา 10.00 – 20.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

Thailand Golf Expo 2016 งานแสดงสินค้าและบริการ ด้านท่องเทีย่ วเชิงกีฬากอล์ฟแบบ ค ร บ ว ง จ ร อ า ทิ G o l f Tourism ,โรงแรมและรี ส อร์ ท ที่มีบริการสนามกอล์ฟ , สนาม กอล์ ฟ สนามไดร์ ฟ กอล์ ฟ ธุ ร กิ จ น� ำ เที่ ย ว , โรงเรี ย นสอน ตีกอล์ฟ , สมาคม องค์กร สโมสร เอกชน ,Golf Products & Services และยังมีอุปกรณ์ส�ำหรับเล่นกีฬากอล์ฟ กับโปรโมชัน่ อีกเพียบ ระหว่างวันที่ 12 - 15 พฤษภาคม 2559 เวลา 11.00 - 20.00 น. ณ เพลนารีฮอลล์ 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

Thailand Baby & Kids Best Buy ครั้งที่ 23 ช้อปเพื่อลูก มางานนี้งานเดียวได้ครบทุก ความสุข ! ครบที่สุดศูนย์รวมสินค้าแม่และเด็ก อลังการกว่า 1,000,000 รายการ สินค้าแม่ และเด็ก ตัง้ แต่ตงั้ ครรภ์- 12 ปี บนพืน้ ทีก่ ว่า 600 บูท กับงาน Thailand Baby & Kids Best Buy วันที่ 28 - 31 มกราคม 59 ณ ศูนย์การประชุม แห่งชาติสิริกิติ์

Bangkok Gems & Jewelry Fair ครั้งที่ 57

งานแสดงสิ น ค้ า อั ญ มณี แ ละเครื่ อ งประดั บ ครั้งที่ 57 (Bangkok Gems & Jewelry Fair) ระหว่าง วันที่ 24 - 28 กมุ ภาพันธ์ 2559 ณ. อาคารชาเลนเจอร์ 1 - 3 อิมแพค เมืองทองธานี พบกับงานแสดงสินค้า อัญมณี และเครื่องประดับที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย พบผู้ ผลิตผู้จ�ำหน่ายอัญมณี ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้ง กิ จ กรรมหลากหลาย ภายในงาน บั ต รเข้ า ชมงาน 100 บาท

ASEAN MUSIC FESTIVAL

เทศกาลดนตรีอาเซียนสุดชิล @ อุทยานเบญจสิริ กรุงเทพฯ

กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมอาเซียน จั ด เทศกาลดนตรี “อาเซี ย น มิ ว สิ ค เฟสติ วั ล ” เพื่อเฉลิมฉลองการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเป็น ทางการภายใต้แนวคิด Switch On ASEAN – Beats Beyond Borders กับศิลปินดังจาก 10 ประเทศ อาเซียน ที่จะมาแสดงพลังแห่งอัตลักษณ์ทางดนตรี และวั ฒ นธรรมร่ ว มกั น ที่ แ ข็ ง แกร่ ง ระหว่ า งวั น ที่ 29 - 31 มกราคม 2559 เวลา 17.00 – 21.00 น. ณ อุทยานเบญจสิริ (ข้างศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรี่ยม) ผูท้ สี่ นใจสามารถเข้าชมฟรีตลอดทัง้ งานหรือติดตาม ข่ า วสารกิ จ กรรมได้ ที่ www.facebook.com/ aseanmusicfestbangkok

The Great Indian Education Fair 2016 The Great Indian Education Fair 2016 (TGIEF 2016) จัดโดยบริษัท AFAIRS Exhibitions & Media Pvt. Ltd ซึ่งเป็นบริษัท ผู้จัดงานอีเว้นท์ชั้นน�ำของเอเชีย มีส�ำนักงาน ใหญ่ ตั้ ง อยู ่ ที่ ป ระเทศอิ น เดี ย วั น ที่ 30 -31 มกราคม 2559 เวลา 10.00 น. – 19.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสริ กิ ติ ิ์ (MRT สถานี ศูนย์สิริกิติ์)


T e x t : กองบรรณาธิการ

O’SHOW

11

อวสานโลกสวย Uncut เกรซเด็กสาวลึกลับร่วมมือกับแจ๊คแฟนคลับตัวยงของแคร์และเปิล้ สองสาววัยมัธยมปลายทีก่ ำ� ลัง มีความสุขกับการได้ใช้เวลาช่วยกันสร้างเฟซบุค๊ แฟนเพจเพือ่ โพสรูปและคลิปวีดโี อเรียกยอดไลค์โดยที่ ไม่รู้ เลยว่าท่ามกลางแฟนคลับมากมายนัน้ แคร์กำ� ลังถูกจับตามองโดย เกรซ และ แจ๊ค ทัง้ คูอ่ าศัยข้อมูลส่วนตัว ทีแ่ คร์ชอบเปิดเผยผ่านการโพสในอินเตอร์เน็ตตลอดเวลาเพือ่ วางแผนจับตัวแคร์และเปิล้ มากักขังไว้กอ่ นที่ เกรซจะสร้างสถานการณ์ให้ทงั้ คู่ได้เจอความจริงทีเ่ ลวร้ายเหมือนกับทีเ่ ธอเคยเจอและคาดหวังให้มนั ท�ำลาย โลกสวยของทัง้ คูล่ ง

The Finest Hours พายุลกู ใหญ่ ได้พดั เข้าสูน่ วิ อิงแลนด์ ซัดกระหน�ำ่ เมืองต่างๆทางตะวันออกของ แนวชายฝัง่ และสร้างความเสียหายให้กบั เหล่าเรือที่ติดอยู่บนเส้นทางแห่งหายนะ รวมถึงเรือ เอสเอส เพนเดิลตัน เรือบรรทุก น�ำ้ มันแบบ T-2 ทีก่ ำ� ลังมุง่ หน้าไปบอสตัน ทีถ่ กู คลืน่ ซัดจนขาดออกเป็น 2 ท่อน ท�ำให้ ลูกเรือกว่า 30 คนติดอยู่ในเรือทีพ ่ ร้อมจะ จมลงสูก่ น้ มหาสม¬ุทรอยูท่ กุ วินาที เรียก ได้วา่ ลุน้ ระทึกทุกนาที

Burnt

Exposed

เชฟ อดัม โจนส์ เป็นคนที่มีแทบทุกอย่าง และสูญสิน้ ทุกๆ อย่างมาแล้ว ในร้านอาหารกลาง กรุงปารีสระดับสองดาวมิชลิน โจนส์มงุ่ ความสนใจ เพียงแค่รสชาติใหม่ๆ ทีเ่ ขาปรุงเท่านัน้ อาณาจักร ของเขาคือห้องครัว และเป้าหมายของเขาคือดาว มิชลินดวงทีส่ าม โจนส์ตอ้ งการทิง้ อดีตอันเลวร้าย ของเขาไว้ข้างหลัง และพยามจะท�ำให้ทุกอย่าง ให้มนั ดียงิ่ ๆขึน้ ไป รวมทัง้ ความสัมพันธ์กบั สาวสวย อย่าง เฮลีน

หญิ ง สาวชาวลาติ น อิ ซ าเบล ต้องมาพบกับสิ่งแปลกประหลาดสุด อั ศ จรรย์ ห ลั ง จากเป็ น พยานให้ กั บ ต�ำรวจนักสืบกัลบาน ในการสืบสวนหา สาเหตุการตายของคูห่ ตู ำ� รวจ ซึง่ จะน�ำ ให้ทงั้ สองพบกับเหตุการณ์สดุ ลึกลับด�ำ มืดแสนอันตรายที่จะมีเพียงพวกเขา เท่านัน้ จะหยุดยัง้ มันเอาไว้ ได้


12

O’SPECIAL

T e x t : กองบรรณาธิการ

P h o t o : นรา กิจเกรียงไกรกุล

SME 4.1 GAME CHANG กลยุทธ์ส�ำหรับ SME ยุค 2016

โดย สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล หลังจากก้าวเข้าสู่ พ.ศ. 2556 ภายในปีนี้ “สถาบั น พั ฒ นาวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาด ย่อม” หรืออีกชื่อหนึ่งที่เราเรียกกันจนติดปากว่า “ISMED” ก็ ก� ำ ลั ง จะก้ า วเข้ า สู ่ ป ี ที่ 16 เช่ น กั น โดยเล่ ม แรกของเดื อ นมกราคมนี้ ทางนิ ต ยสาร โอกาส ได้รบั เกียรติจาก คุณสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อ�ำนวยการสถาบัน ฯ มาร่วมพูดคุยถึง โมเดล การพัฒนาและสร้างธุรกิจ SME สายพันธุ์ ใหม่ โดยคุณสุวรรณชัยเรียก SME ยุคนี้ว่า SME 4.1 ซึ่ ง คุ ณ สุ ว รรณชั ย เชื่ อ มั่ น ว่ า เมื่ อ พั ฒ นาโมเดล ดังกล่าวจะท�ำให้เกิด GAME CHANG ต่อเศรษฐกิจ ของประเทศได้อย่างแน่นอน


ก่อนอื่นต้องของถามท่าน ผอ. ถึงที่มาของแนวคิด SME 4.1 Game Changer ว่ามีที่มาอย่างไร “อย่างที่ทุกท่านทราบกันว่าทางสถาบันของเราอยู่เคียงคู่ SME มายาวนานกว่า 15 ปี ดังนัน้ เราจึงน�ำข้อมูลและประสบการณ์ตรงนีม้ าศึกษาถึงเส้นทางเดินของ SME ตัง้ แต่ยคุ แรกถึงยุค ปัจจุบัน ซึ่งในแต่ละยุคของการด�ำเนินธุรกิจเราต้องค้นหา Key Success Factor ของธุรกิจ และเฟ้นหา Leadership Style ที่เหมาะสมกับยุคของธุรกิจ” “ก่อนอื่นเราจะแบ่ง เป็น 4 ยุคดังนี้คือ รุ่นบุกเบิก 1.0 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบรรพบุรุษที่ก่อตั้ง ธุรกิจขึ้นมา ในยุคนั้นการผลิตยังมีน้อย ท�ำให้เห็นโอกาสทางธุรกิจที่มาจากการขาดแคลนสินค้า ดังนั้น การผลิตจึงเป็นหัวใจของการค้า สินค้าส่วนมากเป็นเรื่องการตอบสนองปัจจัยสี่ ผู้ที่มี บทบาทส�ำคัญทางธุรกิจคือ ผู้น�ำสูงสุดขององค์กร ถัดมาเป็นรุ่นขยายตัว 2.0 ถือว่าเป็นรุ่นลูก หลานทีร่ ว่ มท�ำงานกับรุน่ บุกเบิกเป็นยุคทีม่ งุ่ ขยายช่องทางจัดจ�ำหน่าย ท�ำให้เกิดการกระจายคูค่ า้ หรือเอเย่นต์เพื่อการขายอย่างกว้างขวางมากขึ้น จากนั้นมาสู่รุ่นสร้างนวัตกรรม 3.0 ซึ่งเป็น ยุคของผู้บริหารจัดการธุรกิจสมัยใหม่ มองเรื่องการบริหารให้มีประสิทธิภาพสูง ใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีการตลาด ครีเอทีฟ สร้างโมเดลธุรกิจที่ใหม่และแตกต่างจากรุ่นก่อน “และมาถึงรุ่นปัจจุบัน 4.0 ซึ่งด้วยแพลตฟอร์มของไอที และสังคมออนไลน์ ได้สร้างขอบเขต ภูมิประเทศที่ไร้เส้นแบ่งอาณาเขต Virtual Country ตัวอย่างที่เราเห็นและคุ้นเคยอย่างดี คือการ อุปมาถึงชุมชนที่เกิดขึ้นใหม่บนโลกที่มิได้ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ทางกายภาพมาเป็นตัวก�ำหนด เช่น สาธารณรัฐเฟซบุ๊ก ประเทศทวิตเตอร์ และรัฐไลน์ ซึ่งหากพวกเราลองหลับตาและปล่อยเวลา ผ่านไปอีกแค่ 1-2 ปี ความรุดหน้าทางด้านนี้จะส่งผลท�ำให้เกิดโอกาสทางการค้าและการตลาด ใหม่ๆ ที่คาดไม่ถึง และ SME 4.1 นี้เอง คือรหัสใหม่ที่ ISMED น�ำมาใช้ ในการก�ำหนดทิศทาง ขับเคลื่อน SME ไทย บน Global Platfotm และเข้าสู่ตลาดโลกที่เป็น Global Niche”


14

O’SPECIAL

T e x t : กองบรรณาธิการ

P h o t o : นรา กิจเกรียงไกรกุล

หลังจากที่ทราบถึงที่มาแล้ว อยากให้ท่าน ผอ. อธิบายถึงหน้าตาของโมเดลธุรกิจ SME 4.1 ว่ามีหน้าตาเป็นอย่างไร ? “หลั ง จากที่ ISMED ศึ ก ษาและตามรอยกระแสตลาดโลก หรื อ ที่ เ ราเรี ย กกั น ว่า Global Mega Trend 2020 เพื่อเป็นเสมือนเข็มทิศให้เราพัฒนาและส่งเสริม SME ไทย ให้เข้าสู่ห่วงโซ่การค้าระดับโลกพบว่า SME 4.1 นั้นจะมองถึงโมเดลธุรกิจที่สามารถ สร้างการเติบโตทางธุรกิจผ่านระบบนิเวศธุรกิจสมัยใหม่ อย่างโอกาสธุรกิจใหม่ๆ ทีเ่ กิดบน แพลตฟอร์มใหม่ๆ เช่น บริการแท็กซี่ Uber Taxi และการเข้าถึงทุนบนเครือข่าย Crowdfunding หรือรวมถึง Startup ที่เกิดขึ้นจากเวที Co-Working Space และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเรามองว่าปรากฎการณ์ต่างๆ ที่เกิดขี้นบนโลกธุรกิจวันนี้ คือสิ่งที่ SME 4.1 จะต้อง รู้อย่างเท่าทัน และมีความสามารถที่จะหยิบขึ้นมาใช้ประโยชน์ทางธุรกิจของตนเองได้” แล้วอะไรคือระบบนิเวศทางธุรกิจสมัย ที่ก�ำลังเกิดขึ้นใหม่ ? “ระบบนิเวศทางธุรกิจสมัย คือ ปรากฎการณ์ Global Niche หรือ พหุสังคมโลก ที่กระจัดกระจายเป็นชุมชน ลูกค้าย่อยๆ ทั่วโลก ซึ่งได้ถึงหลอมรวมและปรากฏตัวบนคอม มูนติ ที้ เี่ ป็นแพลตฟอร์มสังคมออนไลน์ทเี่ ชีย่ มต่อกันถึงกันอย่างไร้รอยต่อ ภายใต้ความสนใจ ในเนือ้ หาเดียวกัน เช่นความสนใจในด้านสิง่ แวดล้อม ในด้านไลฟ์สไตล์ และค่านิยมการด�ำเนิน ชีวิตต่างๆ ปรากฏการที่เกิดขึ้นมานี้ มาพร้อมกับเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์ ใหม่ ทีเ่ กิดเป็นคลืน่ ความคิดต่อเนือ่ ง และเป็นกลไกส�ำคัญขับเคลือ่ นเศรษฐกิจใหม่ Global New Economy “ “ดังนั้นสิ่งที่ท้าทายส�ำหรับ ISMED คือ การสร้างชุดโมเดลการจัดการธุรกิจ SME 4.1 ภายใต้ระบบนิเวศดังกล่าวและค้นหา Key Success Factor เพือ่ ตอบสนองต่อแนวโน้ม โจทย์ทางการตลาดใหม่ๆ ซึ่งจากปรากฎการณ์ที่ส�ำคัญของโลกธุรกิจในวันนี้คือ ปรากฎ การณ์ของฝั่งดีมานด์ “Consumer – Generated Content” ซึ่งกลุ่มผู้ซื้อเป็นผู้ก�ำหนด สิง่ ทีอ่ ยากได้ อยากซือ้ ซึง่ ต่างไปจากยุคก่อนๆ ในรุน่ SME 1.0-2.0-3.0 ทีเ่ ป็น “Manufacturer ERA” ที่ผู้ผลิตตั้งหน้าผลิตในสิ่งที่ตัวเองถนัด แต่ในวันนี้ลูกค้าใหม่ๆ อยากซื้อหา กระเป๋าทรงนี้ ยี่ห้อนี้ จะถามเข้าไปในกลุ่มคนที่มีความสนใจเรื่องเดียวกัน ถามเรื่องสี เรื่องคุณภาพ ถามเรื่องราคาการขายต่อมือสอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้เข้ามาเป็นข้อมูลวิจัย พฤติกรรมผู้บริโภคที่ส�ำคัญและทรงพลังแห่งยุค”

ดังนั้นสิ่งที่ท้าทายส�ำหรับ ISMED คือ การสร้าง ชุดโมเดลการจัดการธุรกิจ SME 4.1 ภายใต้ระบบนิเวศ ดังกล่าวและค้นหา Key Success Factor เพื่อตอบสนองต่อแนวโน้ม โจทย์ทางการตลาดใหม่ๆ


แล้ว Startup จะได้รับประโยชน์จาก SME 4.1 นี้ ได้อย่างไรบ้าง ? “งานวิจยั เกีย่ วกับ SME ทัว่ โลก ต่างชี้ไปในทางเดียวกันว่า ธุรกิจใหม่ๆ ทีเ่ กิด ขึ้นส่วนมากจะล้มเหลวหรืออยู่รอดไม่เกิน 3 ปี แน่นอนว่า มีปัจจัยเยอะแยะมากมาย ที่เป็นสาเหตุแห่งการล้มเหลวแล้ววันนี้เรารู้ว่าคนรุ่นใหม่ที่กันมาท�ำธุรกิจมีไอเดีย มีความรอบรู้ด้านเทคนิค มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ และก็มีพลังความคิดสร้างสรรค์ที่ จะค้นหาสินค้าทีแ่ ปลกจากท้องตลาด และโดนใจกลุม่ เป้าหมายได้ แต่ดว้ ยธรรมชาติ ของ Startup แม้จะค้นหาตลาดหรือสินค้าที่มีนวัตกรรมที่โดนใจกลุ่มเป้าหมาย ในระยะแรก แต่มกั จะไม่สามารถอยูร่ อดพ้น 3-5 ปี เพราะขาดแนวคิดการสร้างโมเดล ธุรกิจ ที่จะสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ ดังนั้น Startup ที่ต้องการอยู่รอดจะต้อง สามารถตั้งค�ำถามเหล่านี้กับตนเองเสียก่อน 1. จะสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องอย่างไร Revenue Stream & Profit Model 2. จะสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ที่โดนตลาดท่ามกลางสินค้าคู่แข่ง มากมายได้อย่างไร อะไรคือ Category Innovator 3. จะสร้างคุณค่าใหม่ต่อลูกค้าอย่างไรให้ต่อเนื่อง และอะไรคือ Market Creator

โมเดลการสนับสนุนของ ISMED จะเป็นในรูปแบบใด ? “ที่ผ่านมา ISMED พัฒนาผู้ประกอบการอยู่แล้ว แต่การเป็น SME 4.1 ท�ำให้ ต้องดูด้วยว่าอะไรบ้างที่เขาต้องการ สิ่งที่เราจะท�ำก็เริ่มจากประการแรก การให้องค์ ความรู้ ซึ่งเรื่องนี้ ISMED ท�ำมานานแล้ว ประการที่สอง การเข้าถึงแหล่งการเงิน ซึ่ ง จะมี 2 เฟส คื อ เฟสแรกเป็ น สายตรงเข้ า ไปที่ SME BANK ส่ ว นเฟส 2 เป็น VC (Venture Capital) โดยเริ่มจาก VC ประเทศไทย แล้วก็ขยายผลไปที่ VC จากซิลคิ อน แวลลีย์ ซึง่ ทีท่ าง ISMED ได้คยุ ไว้คอื สปินตา โกลบอลแอ็คเซเลอเรเตอร์ ( Spinta Global Accelerator) ประการที่ 3 เป็นเรือ่ งของพืน้ ทีข่ าย โดยเราจะมีหน่วย งานที่พัฒนาโลเกชั่นต่างๆ ร่วมกับเอกชนเพื่อมีพื้นที่ขาย ซึ่งรวมออนไลน์ด้วย ถ้าออนกราวนด์ก็มีที่คอมมูตี้มอลล์ ปั๊มน�้ำมัน ชุมชนต่างๆ รวมถึงจุดหลักๆ อย่าง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เราก็ ไปดูว่าตรงไหนบ้างที่เป็นท�ำเลที่สามารถไปขอความ ร่วมมือให้ผู้ประกอบการไปขายได้ ส่วนประการที่สี่ เป็นเรื่องของระบบบัญชี จากการที่เราได้ ไปสัมภาษณ์ผู้ประกอบการที่มาขอข้อแนะน�ำที่ ISMED เราพบว่า ผู ้ ป ระกอบการส่ ว นใหญ่อ าจจะยังไม่เ ข้า ใจถึงเรื่อ งของระบบบั ญชี ที่ ชั ดเจนนั ก หรืออาจจะยังไม่มคี วามถนัดด้านนี้ เราเลยจับมือกับภาคเอกชนพัฒนาแอพพลิเคชัน่ ส�ำหรับระบบบัญชีขนึ้ มาเพือ่ เป็นประโยชน์ตอ่ ตัวผูป้ ระกอบการ และจ�ำเป็นในรูปแบบ Freeware หรือซอฟต์แวร์ที่ให้ ใช้งานได้ฟรี”


16

O’SPECIAL

T e x t : กองบรรณาธิการ

P h o t o : นรา กิจเกรียงไกรกุล

อยากทราบว่ามีเกณฑ์เลือกผู้ประกอบการเข้าร่วมอย่างไรบ้าง? “ส�ำหรับช่วงแรกจะเป็นการ Incubated เราจะคัดเลือกเอง โดยจะเลือกตัวแทน ประมาณ 10-20 คน เน้นที่ไอเดียเป็นหลัก และหากเข้าร่วมโครงการแล้วขาดองค์ความ รู้ ในส่วนใดเราจะเสริมให้ หรือไม่มีพื้นที่ขายเราก็จะจัดหาให้ โดยเราจะติดตามผล และการเติ บ ตั ว ของตั ว ธุ ร กิ จ นี้ ไ ปเรื่ อ ยๆ หลั ง จากนั้ น ประมาณ 6 เดื อ นหรื อ 1 ปี ทาง Spinta Global Accelerator จะมาคัดเลือกอีกที ซึ่งตัวชี้วัดของทาง Spinta Global Accelerator นอกจากเรื่องของไอเดียแล้ว ขนาดของธุรกิจต้องมีใหญ่พอและมี ความเป็นอินเตอร์เนชั่นแนลเพื่อจะสามารถไปได้ทุกทีบนโลก แต่หากผู้ประกอบการ ยังขาดตรงจุดนี้ เราก็จะมี VC ไทยเข้ามาช่วย โดยเราจะท�ำหน้าทีเ่ ป็นสะพานให้ ทัง้ นีท้ าง เรามีแนวคิดที่จะมีกองทุนของเราเองในอนาคตอีกด้วย ซึ่งก็ก�ำลังอยู่ในขั้นตอนของ การศึกษาหาข้อมูลอยู่” ทั้งนี้ส�ำหรับโมเดลดังกล่าว จะเน้นสนับสนุนเฉพาะ Tech Startup เท่านั้นหรือไม่? “ไม่ครับ เรามองถึงกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมด้วย ซึ่งกลุ่มดังกล่าวมีจ�ำนวนมาก และก็มคี วามจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องค้นหาโมเดลธุรกิจใหม่ทสี่ อดคล้องกับทิศทางของตลาดและ แนวโน้มใหญ่ของโลกด้วย ทัง้ นีจ้ ากโมเดลพัฒนาธุรกิจแบบดัง่ เดิมคือ การท�ำสินค้าเดิม ที่ตนเองมีอยู่ให้ดี และขยายช่องทางการขายให้กว้างขวางนั้น ISMED มองว่าวันนี้ ไม่สามารถชนะตลาดได้ทัน การเติบโตก็จะเติบโตแบบกราฟเส้นตรงเพราะโลกทุกวันนี้ ขับเคลื่อนด้วยความเร็วของเทคโนโลยี มีการเชื่ยมต่อของข้อมูลขนาดใหญ่ และการ เข้าสู่ยุคพลเมืองโลก Global Citizen ดังนั้น จึงจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีพาร์ตเนอร์ ธุรกิจข้างนอก น�ำวิธคี ดิ ข้ามสายอุตสาหกรรมอืน่ และกระบวนการคิดและรูจ้ กั การสร้าง เงื่อนไขใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด นี่คือโลกยุคใหม่ของธุรกิจ SME ซึ่งในเรื่องนี้ ทาง ISMED ได้พยายามค้นคว้าเพื่อน�ำเสนอนวัตกรรมที่เป็นโมเดลการพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ ให้กับ เอสเอ็มอีไทย สามารถเติบโตในตลาดสากล และสามารถเทียงเคียงเอสเอ็มอีเก่งๆ ในต่างประเทศได้อีกด้วย” “ซึ่งโดยส่วนตัวผมได้ก�ำหนดวิสัยทัศน์องค์กรในการผลักดันผู้ประกอบการไทย ขึ้นชั้นแนวหน้าของเอเชียให้ส�ำเร็จ Entrepreneur of Asia คือ กระบวนการคิดใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความท้าทายของกระแสการค้า และแนวโน้มใหญ่ๆ ของโลก หรือ Mega Trends”

ดังนั้น จึงจ�ำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีพาร์ตเนอร์ธุรกิจ ข้างนอก น�ำวิธีคิดข้ามสาย อุตสาหกรรมอื่น และกระบวนการคิดและรู้จัก การสร้างเงื่อนไขใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด นี่คือโลกยุคใหม่ ของธุรกิจ SME


มาถึงตรงนี้ คงมีหลายท่านอยากรู้ว่า Startup จะเป็น Game Changer ได้อย่างไร “Startup มักจะเกิดจากการค้นคิดสินค้าหรือตลาดที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ ท�ำให้ Startup เป็นที่สนใจของตลาด ได้เร็วขึ้น แต่ไม่ช้าสินค้าที่คล้ายกัน ก็จะทยอยตามมาร่วมวงด้วย จึงท�ำให้ Startup ส่วนใหญ่ต้องตกอยู่ในวงจร “ขึ้นเร็ว – ตกเร็ว – ไม่ท�ำก�ำไรในระยะยาว” ทว่าในโมเดลของธุรกิจมีมากกว่าแค่การสร้างนวัตกรรมบนตัวสินค้า หรือการตลาดแปลกใหม่ ธุรกิจที่แข็งแกร่งและฝ่าฝันมรสุมได้จะต้องมีองค์ความรู้ทางธุรกิจที่แกร่งทั้งตัว ซึ่งทาง ISMED ให้ความส�ำคัญกับธุรกิจที่จะเป็น Game Changer ภายใต้สภาวะแวดล้อมหรือระบบนิเวศธุรกิจ ด้วยการ สร้าง Growth Model โดยดึงระบบเครือข่ายภายนอก Open Source Platform เข้ามาสร้าง Synergy แบ่งออก เป็น 4 ส่วนดังนี้ 1. เชื่อมแหล่งทุนที่คล่องตัวและสอดคล้องกับวงจรธุรกิจ SME 2. แสวงเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ที่ดึงจากเครือข่ายภายนอกที่ช�ำนาญ 3. ใช้กระบวนการสร้างปรากฎการณ์ หรือวิธีการเข้าถึงการตลาดรูปแบบใหม่ๆ 4. ทดลองสร้าง Revenue Model ใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมลูกค้าที่สามารถสร้างรายได้ และก�ำไรได้ต่อเนื่อง ทั้งนี้ ISMED จะสร้างชุมชน SME 4.1 อยากให้ ผอ.ช่วยขยายความว่าคืออะไร? “ ที่ ISMED เราเชื่อว่า ธุรกิจยุค 4.1 คือการสร้าง Win Win Strategy โดยการที่ธุรกิจจะต้องหาพาร์เนอร์ ทางการค้าการลงทุน หรือกระทัง่ มองว่าลูกค้าคือพาร์ตเนอร์กบั เรา นีค่ อื พืน้ ฐานแนวคิดของการสร้างโมเดลธุรกิจ ที่เปลี่ยนโฉมการค้าแบบเดิมๆ โดย ISMED สร้างชุด Circle ความคิดใหม่ๆ ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนไอเดีย ของสมาชิกในกลุม่ 4.1 หรือเราเรียกว่า ชุมชน SME 4.1 การแลกเปลีย่ นค้นหาไอเดียผ่านกระบอนการคิดทีเ่ ราเรียก ว่า Change Dialogue ทีมเราจะท้าทาย เปิดประเด็นกับค�ำถามที่ว่า วันนี้ธุรกิจดั้งเดิมท�ำรูปแบบไหน การเข้าถึง ลูกค้าต้องท�ำอย่างไร อุตสาหกรรมอื่นๆ มีโมเดลของ Revenue Stream อย่างไร และอะไรคือ Value Proposition ที่จับต้องได้ และเป็นรูปธรรมออกมาที่ลูกค้าจะได้รับหรืออะไรที่เราเข้าไปช่วยแก้ ไข หรือท�ำให้ชีวิตลูกค้าดีขึ้น จากปัญหาเดิม” “และส�ำหรับการสร้างชุมชน SME 4.1 ในเบื้องต้น เราจะมีชุดของ Team Mentor จะมาดูแลในแต่ละกลุ่มของ ผลิตภัณฑ์กอ่ น ซึง่ ในเบือ้ งต้นคาดว่าน่าจะเป็นกลุม่ อุตสาหกรรมทีส่ ามารถสร้างตลาดได้รวดเร็ว และสามารถสร้าง เงื่อนไขใหม่ๆ ทางธุรกิจที่เกิดขึ้นได้ กลุ่มแรกที่เราเสนอในช่วงแรก คือกลุ่ม Fashion & Lifestyle ,กลุ่ม Food , กลุ่ม Tourism และกลุ่ม Health & Beauty ซึ่งในแต่ละกลุ่มก็จะมีเครือข่ายสมาชิกข้ามสายอุตสาหกรรมเข้ามา แชร์ ไอเดีย และมองหาโอกาสธุรกิจในการที่จะสร้างเงื่อนไขทางการตลาด หรือการขายใหม่ๆ รวมกัน” เรียกว่าเป็นโมเดลที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ต่อวงการ SME ของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ส�ำหรับใคร ทีก่ ำ� ลังสนใจหรืออยากสอบถามข้อมูลเพิม่ เติมก็สามารถเข้ามาพูดคุยขอค�ำปรึกษากับเจ้าหน้าทีข่ อง“สถาบันพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” เพื่อเป็นแนวทางในธุรกิจของตัวเองต่อไป.


18

O’inspiration

by รวมสนุกงายๆ กับกิจกรรมจากนิตยสารโอกาส เพ�ยงแคคุณถายภาพคูกับนิตยสารโอกาส พรอมบอกมาดวยวาพบ นิตยสารโอกาส มาจากที่ใด แลวโพสตภาพลงทางเพจของ นิตยสารโอกาส : Opportunity Mag เพ�ยงเทานี้ก็รอลุนรับของรางวัล!!!

Massage Voucher จาก

PUTTARAKSA THAI MASSAGE & SPA

1 รางวัล 2 ทาน จับรางวัลผูโชคดี ในวันที่ 15 กุมภาพันธ 2559 ศกนี้ แลวมารวมสนุกพรอมลุนรับของรางวัลกันเยอะๆ นะ

(ประกาศผลรางวัลทาง

/OpportunityMag)


เพราะเรารูวา ทุกชวงเวลามีคุณคาเสมอ

Photo In Chic

ธุรกิจแฟรนไชส รานถายรูปแนวใหมที่จะชวยทำใหชวงเวลาแหง ความทรงจำที่มีคาพิเศษยิ่งขึ้นภายใตแนวคิด DIY ที่เนนการ ใชพื้นที่ไมมากและบุคลากรนอยบวกกับระบบออนไลนที่รวดเร็ว อยางมากในปจจุบันไดถูกนำมาตอบโจทยในการทำธุรกิจ จึงทำใหเปนเรื่องงายสำหรับการเริ่มตนการดำเนินธุรกิจที่มีเพียง หนารานเล็กๆกับโนตบุคสักเครื่องก็สามารถทำธุรกิจไดทันที

ไมจำเปนตองมีความรูดานกราฟฟกดีไซนแตอยางใด

สอบถามขอมูลเพิ่มเติม

โทร. 081 358 1157 ,02 965 7126 ตอ 18 Website : www.fotofranchise.blogspot.com Facebook : www.facebook.com/PhotoInChic Email : photoinchic@gmail.com

ราคาลงทุนเริ่มตนเพียง

20,000 บาท


20

O’ PLACE

T e x t : กองบรรณาธิการ

เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ มนต์เสน่ห์ริมแม่น�้ำเจ้าพระยา

หลายคนที่ก�ำลังมองหาแหล่งพักผ่อนสุดชิว บรรยากาศดี แถมเป็นสถานที่ ที่มีเสน่ห์ ณ เวลานี้คงไม่มีที่ไหนเกิน “เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์” สถานที่สุด โรแมนติกริมแม่น�้ำเจ้าพระยาเป็นแน่ โครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ (Asiatique The Riverfront) อดีตเคย เป็นโกดังสินค้าทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ของบริษทั อีสต์เอเชียติก ในสมัย รัชกาลที่ 5 มาผสมผสาน ที่ตอนนี้ได้รับการรีนูเวทให้เข้ากับไลฟ์สไตล์คนเมืองในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ด้วย คอนเซปต์ “ไลฟ์มิวเซียม” เป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ที่ย้อนอดีตและผสมผสาน กับไลฟ์สไตล์ผคู้ นในปัจจุบนั และเป็นโครงการไลฟ์สไตล์รมิ น�ำ้ ขนาดใหญ่ทสี่ ดุ ในเอเชีย


โครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ได้อนุรักษ์ และฟืน้ ฟูสถาปัตยกรรมเดิมในช่วง พ.ศ. 2450-2490 ซึง่ เป็น รูปแบบ สถาปัตยกรรมและบรรยากาศสไตล์โคโลเนียล ทีน่ ยิ ม มากในสมัยรัชกาลที่ 5 และสร้างใหม่ในบางส่วนให้กลมกลืนกัน เช่น หลุมหลบภัยสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 รางรถโบราณ โรงเลือ่ ยเก่า ซุม้ โกดังสินค้า และเครนยกสินค้าริมน�ำ้ เป็นต้น ท�ำให้ ได้รบั การรับรองจากการท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย (ททท.) ให้เป็นหนึ่งในอเมซิ่งไทยแลนด์ (Amazing Thailand) แห่งใหม่ลา่ สุด ซึง่ แต่ละโซนจะมีการแทรกเรือ่ งราวประวัตศิ าสตร์ ด้วยงานประติมากรรมที่บอกเล่าเรื่องราวในสมัยก่อน โดย ภายในโครงการ รวมจ�ำนวนผูค้ า้ ภายในกว่า 1,500 ร้านค้า โดยแบ่งเป็นย่านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ย่านเจริญกรุง ย่านกลางเมือง ,ย่านโรงงาน และย่านริมน�ำ้ ในแต่ละย่านจะแบ่ง โซนต่างๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เพลิดเพลินกับการช๊อปปิ้ง หรื อ ชมงานแสดงโชว์ ต ่ า งๆ รวมถึ ง รั บ ประทานอาหารใน บรรยากาศสุดโรแมนติกได้อกี ด้วย ส�ำหรับใครที่สนใจอยากจะไปสัมผัสเสน่ห์ริมแม่น�้ำ เจ้าพระยา ทีโ่ ครงการเอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์กส็ ามารถ เดินทางได้ทั้งทางเรือ รถไฟฟ้า หรือจะเป็นรถยนต์ส่วนตัวได้ ตามสะดวก แล้วมาร่วมสัมผัสเสน่ห์ที่ยากจะลืมเลือนกัน ได้ที่ Asiatique The Riverfront

เอเชียทรีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์

ตั้งอยู่ตรงข้าม เจริญกรุง 72-74 เปิดบริการตั้งแต่เวลา 17.00 น.- 24.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2108-4487 เว็บไซต์ http://www.asiatiquethailand.com ขอบคุณภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต


22

T e x t : กองบรรณาธิการ

O’CanDo

Wake Up food !!!!!

O’Cando ฉบับนี้ จะชวนคุณผู้อ่านมาแปลงโฉม ขนมปังธรรมดาๆ ให้เป็นเมนูอาหารเช้าสุดครีเอทที่อุดม ไปด้ วยประโยชน์รับ รองว่ามีสารอาหารครบถ้วนอย่าง แน่นอน หรือใครทีอ่ ยากจะท�ำเป็นเมนูพเิ ศษส�ำหรับปาร์ตว้ี นั ศุ ก ร์ นี้ ก็ ไ ม่ ว ่ า กั น ถ้ า พร้ อ มแล้ ว ไปดู วั ต ถุ ดิ บ และวิ ธี ก าร ท�ำพร้อมกันได้เลย

วัตถุดิบ

1.ขนมปังชนิดแผ่น, ไข่ ไก่ ,แฮม ,ชีส


วิธีการท�ำ

1.น�ำมีดมาตัดขนมปังออกให้เหลือแค่ขอบ (ระวังอย่าให้ขาดจากกัน) 2.น�ำขอบขนมปังที่ ได้ ไปแนบบนกระทะ (ทีม่ อี ณ ุ หภูมริ อ้ นกลาง) 3.น�ำไข่ตอกใส่ ไปในขอบขนมปัง 4.รอจนไข่สุกสักพัก หรือหากใครชอบทานแบบไม่สุกมาก ก็เลือกระดับความสุกได้ตามใจชอบ ก่อนที่จะวางแฮม ตามลงไป แล้วตามด้วยชีส และน�ำขนมปังส่วนที่ตัดออกไป วางประกบ 5. รอจนขนมปังเหลืองสุก แล้วจัดใส่จาน จะเสิร์ฟพร้อม ซอสมะเขือเทศ หรือมายองเนสก็ ได้


24

O’NEWs by Ismed

T e x t : สถาบัน Ismed

Gen Next & Startups

ศาสตราจารย์ ดร.ศิริลักษณ์ โรจนกิจอ�ำนวย คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นประธานเปิดงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “Gen Next & Startups: The Challenging Marketplace and Workplace Behaviors” โดยมี ค ณาจารย์ และวิ ท ยากรผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ร่วมอภิปราย เนือ่ งในโอกาสสถาปนาคณะพาณิชยศาสตร์และการ บัญชี มธ. ครบ 77 ปี ณ โรงแรม Centara Grand at Central World เมื่อเร็วๆ นี้ ประเด็นร้อนน�ำเสนอความท้าทายของกลุ่ม นักธุรกิจรุ่นใหม่กลุ่ม Start up ที่จะมาเขย่าวงการ SME!

อพท. คลิกแคมเปญรณรงค์เที่ยวโลว์คาร์บอน

วันที่ 7 มกราคม 2559 อพท.ร่วมกับ สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตราด สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) ชวนเที่ยวสไตล์โลว์คาร์บอน ขานรับวาระปฏิบตั กิ ารลดโลกร้อนโดยการเปิดตัวแคมเปญ “ลดทัง้ เกาะ....ลดคาร์บอน” ชวน นักท่องเที่ยวประหยัดใช้พลังงาน 2 ชั่วโมง เพื่อช่วยกันลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ บรรยากาศโลก โดยยินดีลดราคาอาหารเครื่องดื่ม และกิจกรรมโลว์คาร์บอน 20 – 50% ภายในร้านอาหาร บาร์ รีสอร์ท โรงแรมภายในเกาะหมาก และแคมเปญค้นหา.. บล็อกเกอร์ อาสารักษ์โลกชวนเที่ยวสไตล์โลว์คาร์บอน ภายใต้ธีม “Castaway @ Low carbon island” โดยเปิดตัวในงาน “ยกเกาะโลว์คาร์บอน…มาทองหล่อ!” ณ Root Garden ทองหล่อ ซอย 3 เพื่อชวนกันมาเปิดประสบการณ์ใหม่ของการท่องเที่ยวสไตล์โลว์คาร์บอนในหมู่เกาะ ทะเลตราด ในงานมีโซนนิทรรศการแสดงผลงานเด่นของ อพท.1 (จังหวัดตราด) เสวนา ภาพจริง-เรื่องจริง ที่ไม่ควรพลาด จากเหล่ากูรูท่องเที่ยว และมีพิง ล�ำพะเพิง มาโชว์ Low Carbon Journey และคุณเร แมคโดนัลด์ นักเดินทางอินดี้มาร่วมแสดงมุมมองเสน่ห์ ของเกาะหมากจากการที่ได้มาใช้เวลาพักผ่อนเดินทางไปๆมาๆที่เกาะหมากมากว่าสองปี พร้อมทัง้ ได้เชิญชวนนักท่องเทีย่ วให้เทีย่ วสไตล์โลว์คาร์บอนเพราะเป็นการช่วยรักษาธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมให้งดงาม ติดตามข้อมูลได้ที่ FB https://www.facebook.com/lcd.chang.mak.kood


พลิกโฉมผลิตภัณฑ์ สร้างมูลค่า ด้วยทุนวัฒนธรรม

องค์การบริหารการพัฒนาพืน้ ทีพ่ เิ ศษเพือ่ การท่องเทีย่ ว อย่างยัง่ ยืน (องค์การมหาชน) โดย อพท. 4 ร่วมกับสถาบันพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เปิดรับสมัครผู้ประกอบการ ในจังหวัดสุโขทัย และก�ำแพงเพชร เพื่อเข้าร่วมพัฒนาด้านธุรกิจ และผลิตภัณฑ์ ภายใต้แบรนด์ “มรดกพระร่วง” ของพื้นที่พิเศษ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-ก�ำแพงเพชร ตั้งแต่ วันนี้ ถึงกุมภาพันธ์ 2559 สนใจสอบถามรายละเอียด และติดต่อเข้าร่วมกิจกรรม ได้ ที่ ส� ำ นั ก งานพื้ น ที่ พิ เ ศษอุ ท ยานประวั ติ ศ าสตร์ สุ โ ขทั ย ศรีสัชนาลัย-ก�ำแพงเพชร (อพท.4) โทรศัพท์ : 08-9465-4255 (คุณธยาภัทร ) ; 08-2450-2632 (คุณจุรภี รย์) ; 08-3488-8799 (คุณสุรางคนางค์) Email: thayapat.h@ismed.or.th

เพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยทุน วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 2 ร่วมกับสถาบัน พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จัดกิจกรรมพัฒนา ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนส�ำหรับผู้ประกอบการ SMEs OTOP และวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย และตาก ฟรี ตั้งแต่วันนี้ - ก.พ. 59 สนใจและประสงค์ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมสามารถ สอบถามรายละเอียดเพิม่ เติมได้ท ี่ โทร 08-9465-4255, 09-00072641 หรือ 0-5528-2958-9 E-Mail : cpd2016@ismed.or.th


ดวงชะตา 12 ราศี ประจ�ำเดือน มกราคม 2559

ราศีเมษ

ราศีพฤษภ

ราศีเมถุน

ราศีกรกฏ

ราศีสิงห์

ราศีกันย์

ราศีตุลย์

ราศีพิจิก

ราศีธนู

ราศีกุมภ์

ราศีมีน

ช่วงนี้ข่าวดีเป็นของท่าน ส� ำ หรั บ คนโสดอาจพบคน ถูกใจ และส�ำหรับใครทีง่ านการ ยุ ่ ง ยากใจอยู ่ รั บ รองเดื อ นนี้ ทุกอย่างจะผ่านฉลุย

เดื อ นนี้ อ ยากให้ คุ ณ เก็ บ เงิ น เก็ บ ทอง ไว้มั่ง อย่าเที่ยวจับจ่าย จนเคยตัว เพราะเงินทอง อาจจะเข้าง่าย แต่ก็ออก ไปง่ายเช่นกัน

ความรักช่วงนีด้ ี เป็นที่ อิ จ ฉาของทุ ก คน ผู ้ ใ หญ่ ก็เอ็นดู แต่ให้ระวังเรื่องของ อุบัติเหตุ

ราศีมังกร

ขอให้ ช ่ ว งนี้ มี ส ติ ไ ว้ อยากท�ำอะไรต้องใจเย็นๆ คิดอย่างรอบคอบ

สิ่ ง ที่ ร อมานานก� ำ ลั ง จะ เป็นจริง ใครทีท่ ำ� อะไรหายไป ไม่ นานจะได้คนื เร็วๆ นีอ้ ย่างแน่นอน ขอให้ ตั้ ง สติ แ ละอดใจรออี ก สักนิด

ช่วงนี้ผู้ ใหญ่จะเอ็นดู เป็นพิเศษ ท�ำอะไรผู้ใหญ่รกั ผู ้ ใ หญ่ ห ลง ขอแค่ ท� ำ ตั ว ดีอย่างนี้ไปตลอด รับรอง ว่ า อะไรๆ ก็ ง ่ า ยดายเสี ย เหลือเกิน

ความโชคร้ า ยก� ำ ลั ง จะผ่ า นไป สิ่ ง ดี ๆ ก� ำ ลั ง จะ กลับเข้ามา ขอให้มีสติ หมั่น ฝึกธรรมะก็จะดี

อะไรที่หายไปก�ำลัง จะได้ คื น ทั้ ง เรื่ อ งเงิ น ความรัก สุขภาพช่วงนี้ ไม่ค่อยจะสู้ดีนัก

เรียกว่าเป็นเดือนแห่ง ความมั่ ง คั่ ง ของท่ า นเลย ทีเดียว ทัง้ เรือ่ งงาน เรือ่ งเงิน และความรั ก เป็ น ราศี ที่ น่าอิจฉาซะจริง

มี เ กณฑ์ ที่ จ ะต้ อ งเดิ น ทางไกล ระวั ง เรื่ อ งของ สุขภาพ อย่าเจ็บ อย่าป่วย เรื่องเงินยังคงต้องรอต่อไป

ราศี แ ห่ ง ความส� ำ เร็ จ ช่ ว งนี้ ข ่ า วดี เ ป็ น ของคุ ณ ใครที่ท�ำอะไรดีๆ ไว้ รับรอง ผลดีก�ำลังจะเกิดขึ้น

ช่ ว งนี้ ค งต้ อ งท� ำ บุ ญ เยอะๆ เรื่ อ งเงิ น มี ม าเข้ า กระเป๋ า ตลอด ส่ ว นเรื่ อ ง ความรักอยากให้มีสติ และ มองดูคนที่รักคุณให้มากๆ




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.