ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 issn (online)

Page 1

Vol 1 No 1 January - April 2018

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

1



ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2561 Vol. 1 No. 1 January-April 2018 ISSN xxxx-xxxx (online) เจ้าของ : ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถ.นครสวรรค์ ต.ตลาด อ.เมือง มหาสารคาม https://edu.msu.ac.th/etcjournal/ ติดต่อ กองบรรณาธิการ โทร. 086 6404222 e-mail : journal.etc.edu.msu@gmail.com

กองบรรณาธิการ ที่ปรึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิ

ศาตราจารย์ ดร. ชัยยงศ์ พรหมวงศ์ ศาสตรเมธี ดร. สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ รองศาสตราจารย์ ดร. เผชิญ กิจระการ รองศาสตราจารย์ ดร. ไชยยศ เรืองสุวรรณ รองศาตราจารย์ ดร. สุมาลี ไชยเจริญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พัชรวิทย์ จันทร์ศิรสิร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์ ดร มานิตย์ อาษานอก

บรรณาธิการ กองบรรณาธิการผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ก่อเกียรติ ขวัญสกุล รองศาสตราจารย์ ดร. เสกสรรค์ แย้มพินิจ ผู้ช่วยบรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อิศรา ก้านจักร ดร. เหมมิญช์ ธนปัทม์มีมณี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อนิรุทธ์ สติมั่น กองบรรณาธิการบริหาร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐกร สงคราม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐาปนี สีเฉลียว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฉันทิชย์ สาธิตานันต์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชนีวรรณ ตั้งภักดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เนติรัฐ วีระนาคินทร์ ดร. รัฐสาน์ เลาหสุรโยธิน ดร. คชากฤช เหลี่ยมไธสง ดร. ธนดล ภูสีฤทธิ์ ดร. วรฤทธิ์ กอปรสิริพัฒน์ อาจารย์ ชนยุตษฎ์ ช้างเพชร ดร. นุชจรี บุญเกต อาจารย์ มาณวิกา กิตติพร อาจารย์ ณภัทร สักทอง

เลขานุการ ประสานงาน ออกแบบ จัดหน้า พิสูจน์อักษร

ธนวัฒน์ แสนโกษา นิสิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา วัชรินทร์ ประชุมวัน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วัตถุประสงค์การจัดท�ำ 1. เพื่อเผยแพร่ความรู้ แนวคิด ทฤษฏี หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในศาสตร์สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คอมพิวเตอร์ศึกษา รวมถึงศาสตร์การศึกษาด้านอื่น ๆ ในรูปแบบของบทความวิชาการ บทความวิจัย บทความปริทัศน์ หรือผลงานวิชาการต่าง ๆ 2. เป็นแหล่งให้นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์ และบุคลากรในสถาบันการศึกษาได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ 3. เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด เจตคติและประสบการณ์ระหว่างนักวิชาการทางการศึกษา 4. เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า ในวิทยาการด้านเทคโนโลยีการศึกษา คอมพิวเตอร์ศึกษา และศาสตร์การศึกษาด้านต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการศึกษาค้นคว้า วิจัย พัฒนาความรู้ทางวิชาการ เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน 5. เพื่อประชาสัมพันธ์ เสนอข่าวความเคลื่อนไหว กิจกรรมต่าง ๆ ให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสาร การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กับบุคคลภายในและภายนอกสถาบัน และศิษย์เก่าของสาขาวิชา 6. เพื่อให้นิสิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ศึกษา เรียนรู้งานภาคปฏิบัติ ในรายวิชาการผลิตสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา

มีการนำ�เสนอทั้งในรูปแบบวารสารฉบับตีพิมพ์ ISSN 2630-0052 (print) และวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ISSN xxxx-xxxx (online) ทางเว็บไซต์ https://edu.msu.ac.th/etcjournal/


ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ประเมินบทความประจำ�กองบรรณาธิการ บทความทุกเรื่อง ก่อนน�ำออกตีพิมพ์ เผยแพร่ จะผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน โดยจะพิ จารณาประเมินคุณภาพบทความตามหลักวิชาการ อาจมีการขอให้ผู้รับผิดชอบปรับแก้ตามความเหมาะสม -------------------หากข้อความในบทความละเมิดสิทธิผู้หนึ่ง ผู้ใด ถือเป็นความรับผิดชอบของเจ้าของบทความนั้น ๆ กองบรรณาธิการจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด และสงวนสิทธิที่จะไม่เผยแพร่บทความที่ไม่ผ่านการประเมินคุณภาพ

ผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ศ.เมธี ดร. สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ คณะศึกษาศาสตร์ รศ.ดร. เผชิญ กิจระการ คณะศึกษาศาสตร รศ.ดร. ไชยยศ เรืองสุวรรณ คณะศึกษาศาสตร ผศ.ดร. พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร คณะศึกษาศาสตร ผศ.ดร. สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์ คณะศึกษาศาสตร รศ.ดร. ชวลิต ชูกำ�แพง คณะศึกษาศาสตร์ ผศ.ดร. มนตรี วงษ์สะพาน คณะศึกษาศาสตร ผศ.ดร. จิระพร ชะโน คณะศึกษาศาสตร์ ผศ.ดร. สินทะวา คามดิษฐ์ คณะศึกษาศาสตร์ ผศ.ดร. อรนุช ศรีสะอาด คณะศึกษาศาสตร์ ผศ.ดร. ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน คณะศึกษาศาสตร์ รศ.ดร. ประสาท เนืองเฉลิม คณะศึกษาศาสตร์ ผศ.ดร. วราพร เอราวรรณ์ คณะศึกษาศาสตร์ ดร. ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ คณะศึกษาศาสตร์ ดร. อารยา ปิยกุล คณะศึกษาศาสตร์ ดร. วิทยา วรพันธ์ คณะศึกษาศาสตร ดร. มานิตย์ อาษานอก คณะศึกษาศาสตร์ ผศ.ดร. ฐาปนี สีเฉลียว คณะศึกษาศาสตร์ ผศ.ดร. รัชนีวรรณ ตั้งภักดี คณะศึกษาศาสตร์. ดร. รัฐสาน์ เลาหสุรโยธิน คณะศึกษาศาสตร์ ดร. เหมมิญช์ ธนปัทม์มีมณี คณะศึกษาศาสตร์ ดร. ธนดล ภูสีฤทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ อาจารย์ ชนยุตฏษ์ ช้างเพชร คณะศึกษาศาสตร์ อาจารย์ มาณวิกา กิตติพร คณะศึกษาศาสตร์ อาจารย์ ธวัชวงศ์ ลาวัลย์ คณะวิทยาการ สารสนเทศ อาจาย์ ณภัทร สักทอง คณะวิทยาการ สารสนเทศ ผศ.ดร. เนติรัฐ วีระนาคินทร์ คณะวิทยาการ สารสนเทศ ดร. คชากฤษ เหลี่ยมไธสง คณะวิทยาการ สารสนเทศ ผศ.ดร. นิพนธ์ ตันไพบูลย์กุล คณะสิ่งแวดล้อม ดร. มนชยา เจียงประดิษฐ์ คณะวิทยาศาสตร์

ผู้ทรงคุณวุฒิ จากสถาบันภายนอก รศ.ดร. อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร. สุมาลี ชัยเจริญ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผศ.ดร. จารุณี ซามาตย ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผศ.ดร. อิศรา ก้านจักร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผศ. อนุชา พัวไพโรจน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.ดร.ประกอบ กรณีกิจ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร. จินตวีร์ คล้ายสังข์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร. ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร. ธีรวดี ถังคบุตร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร. อนิรุทธ์ สติมั่น คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผศ.ดร. น�้ำมนต์ เรืองฤทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผศ.ดร. เอกนฤน บางท่าไม้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รศ.ดร. เสกสรรค์ แย้มพินิจ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ผศ.ดร. สุรพล บุญลือ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ผศ.ดร. ปณิตา วรรณพิรุณ ส�ำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ ผศ.ดร. ณัฐกร สงคราม คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ดร. แจ่มจันทร์ ศรีอรุณรัศมี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดร. โอภาส เกาไศยาภรณ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดร. อดิศักดิ์ อินทนา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผศ.ดร.วสันต์ อติศัพท์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดร. จุฬาวดี มีวันค�ำ ส�ำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดร ดร. วรฤทธิ์ กอปรสิริพัฒน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ดร. วันวิสาข์ โชรัมย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ดร. นุชจรี บุญเกต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ ดร. ขจรศักดิ์ สงวนสัตย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ ผศ.ดร. ประวิทย์ สิมมาทัน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ดร.ทิพเนตร ขรรค์ทัพไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ผศ.ดร. สนิท ตีเมืองซ้าย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ผศ. สุวรรณ อภัยวงศ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ดร.ปรมะ แขวงเมือง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ผศ. ประทัย พิริยะสุรวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ดร. ดรัณภพ เพียรจัด คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ดร. วรวัฒน์ บุญดี วิทยาลัยเทคนิคยโสธร


บทบรรณาธิการ วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฉบับนี้จัดทำ�ขึ้นเป็น ฉบับปฐมฤกษ์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี คณะศึกษาศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ความรู้ แนวคิด ทฤษฏี หรือเทคโนโลยี ใหม่ ๆ ในศาสตร์สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คอมพิวเตอร์ศึกษา และ ศาสตร์การศึกษาด้านอื่น ๆ ในรูปแบบของบทความวิชาการ บทความวิจัย บทความปริทัศน์ หรือผลงานวิชาการต่าง ๆ โดย มุ่งเป็นแหล่งให้นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์และบุคลากรในสถาบันการศึกษาได้ ใช้เป็นศูนย์กลางในการศึกษา ค้นคว้า แลกเปลีย่ นความรู้ ความคิดเจตคติและประสบการณ์ระหว่างกัน รวมทัง้ เป็นสือ่ กลางในการเสนอผลงานวิชาการเพือ่ ตีพิมพ์เผยแพร่สู่บุคคลทั่วไป นอกจากนี้ ยังเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ข่าวความเคลื่อนไหว กิจกรรมต่าง ๆ ให้เกิด ความเข้าใจอันดีระหว่างภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กับบุคคล ภายใน ภายนอกสถาบัน และศิษย์เก่าของสาขาวิชา โดยนำ�เสนอทั้งรูปแบบวารสารฉบับตีพิมพ์และวารสารอิเล็กทรอนิกส์​์ กองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เนื้อหาที่นำ�เสนอในฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์สำ�หรับผู้อ่าน ขอขอบคุณที่ ให้ ความสนใจ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะติดตามผลงานอีกในฉบับต่อไป

ก่อเกียรติ ขวัญสกุล บรรณาธิการ

ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความประจำ�ฉบับ ผศ.ดร. ฉันทิชย์ สาธิตานันต์

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎ มหาสารคาม

ผศ.ดร. เนติรัฐ วีระนาคินทร์

คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ดร. คชากฤษ เหลี่ยมไธสง

คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผศ.ดร. สินทะวา คามดิษฐ์

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ดร. วิทยา วรพันธ์

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผศ. ก่อเกียรติ ขวัญสกุล

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ดร. มานิตย์ อาษานอก

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผศ.ดร. ฐาปนี สีเฉลียว

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ผศ.ดร. รัชนีวรรณ ตั้งภักดี

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ดร. รัฐสาน์ เลาหสุรโยธิน ดร. เหมมิญช์ ธนปัทม์มีมณี ดร. ธนดล ภูสีฤทธิ์

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


สารบัญ/CONTENT บทความพิเศษ เทคโนโลยีการเรียนการสอนในยุคสารสนเทศ กับการออกแบบระบบการเรียนการสอน สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ Instructional Technology In the Information Age with the Instructional System Design : ISD. Suttipong Hoxsuwan

1

การบูรณาการกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่ อพั ฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ มานิตย์ อาษานอก Integrated Design Thinking for Instructional Innovation Development. Manit Asanok

6

บทความวิจัยทางการศึกษา การพั ฒนารูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฏีของเดวีส์ เพื่ อส่งเสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สิทธิวรรณ บุญยะมาลิก The Development of Music Teaching Style by Using Contemplative Concept with Davie’S Theory to Promote the Practical Skills of Secondary School Students. Sittiwan Boonyamalig

รูปแบบการพั ฒนาคุณลักษณะอันพึ งประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ นุวัฒน์ อุทารสวัสดิ์ The Development of a Model for Developing Desired Characteristics of the Students of Buayai School. Nuwat Eutansawat ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพี ยง เรื่อง การด�ำรงชีวิตของพื ช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปารย์รวี เรืองช่วย The Results of Using Science Activity Packages Integrated in Philosophy of Sufficiency Economy on Plant life of PrathomSuksa 4th. Parayaravee Rueangchuai

13

24

38

รูปแบบการจัดการความรู้เพื่ อการพั ฒนาครู ด้านการพั ฒนาคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี สกุณา ปั้นทอง A Model for Knowledge Management for Teacher Development on Virtues and Ethics, Tetsaban 3 School (Ban Bo School), Mueang Kanchanaburi Municipality, Kanchanaburi Province. Sakuna Panthong

47


CONTENT/สารบัญ บทความวิจัยด้านเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิ วเตอร์ศึกษา การพั ฒนาบทเรียนบนเครือข่ายรหัสวิชา ง 21251 การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยการจัดการเรียนรู้ แบบ STAD 62 ส�ำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 1 ทวีชัย จรัสแสง ก่อเกียรติ ขวัญสกุล The Development of Web-Based Instruction in 21251 Electronic Book Creation by the Learning Management STAD for Matthayomsuksa 1. Taweechai Jarutsang Kokeit Kwunsakul การพั ฒนาบทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รายวิชาคอมพิ วเตอร์และเทคโนโลยี 2 (ง21102) 73 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สุพรรณี สุนา มานิตย์ อาษานอก พรพรรณ สีละมนตรี The Development of a Web-Based Instruction Information Technology and Communication, Computer and Technology 2 (D 21102) of Mathayomsuksa 1. Supannee Suna Manit Asanok Pornpan Seelamontree การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 1 รัตมา อ้อทอง เหมมิญช์ ธนปัทม์มีมณี The Web-Based Instruction Blended Learning of Using Data Analysis Software Microsoft Excel 2010 for Mathayomsuksa 1st Student. Rattama Orthong Hemmin Thanapatmeemanee

82

การพั ฒนาบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่ อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 1 ณัฐชนนท์ รุจิรสิโรตม์ รัฐสาน์ เลาหสุรโยธิน The Development of Constructivist Web-based Learning for Foster Analytical Thinking, Entitle the Basic of Information Technology for Mathayomsuksa 1 Students. Natchanon Rujirasiroj Ratasa Laohasurayothin

90

ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทักษะปฏิบัติของ Davies เพื่ อพั ฒนาทักษะการท�ำงานวิชาเขียนโปรแกรม 1 102 เรื่อง โปรแกรม Adobe Flash ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พชรกมล จันดารัตน์ ฐาปนี สีเฉลียว ดุษฎี ศรีสองเมือง The Results of Learning Management by Using Devies Instruction to Develop Working Skills in Subject Programing 1 on Topic Adobe Flash for Matthayom 4 students. Phacharakamon Chandarat Thapanee Seechaliao Dutsadee Srisongmeuang แนะน� ำ หนั ง สื อ ผลงาน อาจารย์ แ ละนิ สิ ต ภาควิ ช าเทคโนโลยี แ ละสื่ อ สารการศึ ก ษา การน� ำ เสนอบทความ ประเภทของบทความ

113-115


รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กุมุท อดีตหัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศุึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

แนวคิดเกี่ยวกับลักษณะของ นวัตกรรมการศึกษา ของ รองศาสตราจารย์ ดร. เปรื่อง กุมุท จำ�แนกได้ 5 ลักษณะ ดังนี้

1. ความคิดหรือการกระทำ�ใหม่นั้น อาจจะเก่ามาจากที่อื่น แต่ในสภาพการณ์ปัจจุบันในบางแห่ง อาจจะเหมาะสม ที่จะนำ�มาใช้ เช่น การสอนเป็นทีม การเรียนจากเครื่องช่วยสอน เป็นต้น 2. ความคิดหรือการกระทำ�ใหม่นั้น ทั้งที่ครั้งหนึ่งเคยนำ�มาใช้แล้ว แต่บังเอิญไม่เกิดผล เพราะสิ่งแวดล้อมไม่อำ�นวย แต่เมื่อถึงเวลาหนึ่ง มีความพร้อมในการใช้ความคิดนั้น ก็นำ�แนวความคิดนั้นมาใช้ กลายเป็นนวัตกรรมขึ้น เช่น ระบบการ สื่อสารมวลชนที่นำ�มาใช้เกี่ยวกับการสอนทางวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการศึกษา เป็นต้น 3.ความคิดหรือการกระทำ�ใหม่ เพราะมีสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาพร้อม ๆ กับความคิดที่อยากจะทำ�สิ่งใหม่ ๆ พอดี และช่วยแก้ไขปัญหาทางการศึกษาได้ เป็นความหมายที่แท้จริงของนวัตกรรมการศึกษา 4. ความคิดหรือการกระทำ�ใหม่นั้น ครั้งหนึ่งเคยถูกผู้บริหารคัดค้านไม่ให้กระทำ� และในปัจจุบันได้รับการสนับสนุน ให้กระทำ� ก็จัดว่าเป็นนวัตกรรมการศึกษา 5. ความคิดหรือการกระทำ�ใหม่นั้นมีการดำ�เนินการใหม่จริง ๆ ยังไม่มีผู้ใดจัดทำ�มาก่อน

หลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษา คือ

1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือ บางส่วน 2. มีการนำ�วิธีการจัดระบบ (System approach) มาใช้พิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่นำ�เข้า และ ผลลัพธ์ ของข้อมูล 3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรือ อยู่ในระหว่างการวิจัยว่าจะช่วยให้ดำ�เนินงานบางอย่างให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ที่มา : http://mediathailand-ictedu.blogspot.com/2012/04/26.html


Journal of Educational Technology and Communications

Vol 1 No 1 January - April 2018

Facutyl of Education Mahasarakham University

เทคโนโลยีการเรียนการสอนในยุคสารสนเทศ

กับการออกแบบ ระบบการเรียนการสอน

Instructional Technology In the Information Age with the Instructional System Design : ISD. สาระสังเขปบทความ เป็นบทความที่ให้ความรู้เกี่ียวกับการออกแบบ การจัดระบบ และขั้นตอนการพัฒนาระบบการ เรียนการสอน รวมถึงบทบาทนักเทคโนโลยีการศึกษา กับการออกแบบระบบการเรียนการสอน ที่เป็น หลักการ แนวคิดที่สำ�คัญของนักเทคโนโลยีการศึกษา Abstract

A knowledge-based article about the design, implementation, and development of instructional systems. The role of technology educators. With the design of the teaching system. The principle Key Concepts of Educational Technology.

สาระส�ำคัญที่น�ำเสนอในบทความเรื่องนี้ ประมวลมาจาก บทความลายมือเขียนของ รองศาสตราจารย์ ดร.เปรื่อง กุมุท ปรมาจารย์ด้านเทคโนโลยีการศึกษา ที่ ได้เคยเขียนไว้เมื่อกว่า 30 ปี ก่อน ผู้เขียนเห็นว่าบทความดังกล่าว สะท้อนถึงวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลที่ เกิดผลเป็นรูปธรรมเห็นถึงความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการศึกษาอย่าง สมจริงในยุคปัจุบันจึงได้น�ำมาถ่ายทอดให้นักเทคโนโลยีการศึกษารุ่น หลังได้ศึกษา จากประเด็นส�ำคัญในบทความดังกล่าว ผูเ้ ขียนได้เพิม่ เติมทัศนะ เชิงศาสตร์ประกอบในบางส่วน โดยมีเจตนาเพื่อสร้างสรรค์พัฒนาให้ เห็นถึงหลักวิชาชีพทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา เพือ่ สะท้อนข้อคิดให้น่ กั เทคโนโลยีการศึกษารุน่ ใหม่ ได้ตระหนัก เข้าใจ และเห็นความส�ำคัญในบทบาทของเทคโนโลยีการศึกษา รวมถึงการออกแบบและพัฒนาระบบการศึกษา เพื่อสร้างกลไกในการสนับสนุนผลักดันให้เกิดผลในทางปฏิบัติเพื่อประโยชน์ต่อคุณภาพการศึกษาและลูกหลาน ไทยต่อไป สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ1 Suttipong Hoxsuwan1 1 1

รองศาสตราจารย์ ด้านเทคโนโลยีการศึกษา /ศาสตรเมธี ด้านหลักสูตรและการสอน Associate professor : Educational Technology / Profressor : Teaching and Curriculum

1


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

“ปั

จจุบนั เทคโนโลยีการน�ำข่าวสารข้อมูลส่งไปสู่คนท�ำได้อย่างรวดเร็วและมากจนแทบจะกล่าว ได้ว่าคนก�ำลังจะส�ำลักข่าวสารอยู่แล้ว คนในยุคใหม่ในวิถีแห่งการรับข่าวสารข้อมูลมีทาง เลือกมากมายในการรับรู้ ไม่วา่ จะเป็นเคเบิลทีวี และจานดาวเทียมทีน่ ำ� เอาสัญญาณโทรทัศน์ นับร้อยช่องมาให้ชม ทั้งยังมีการส่งข่าวสารผ่านคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลือ่ นที่ ระบบก�ำหนด ต�ำแหน่งบนโลก Global Positioning System และอืน่ ๆ อีกมากมาย เทคโนโลยีสารสนเทศหลาย รูปแบบได้เข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่อวิถีการท�ำงาน และการด�ำรงชีวิตของตนในสังคมอย่าง หลีกเลีย่ งไม่พ้น ยุคสารสนเทศ จึงเป็นยุคทีบ่ คุ คลมีเสรีภาพและพลังอ�ำนาจในการก�ำหนดวิถชี วี ติ ของคนได้ ม ากขึ้น มี เ สรี ภ าพในการเลื อ กรั บ ข่ า วสารจากสื่ อ ที่ เ หมาะสมกั บ รู ป แบบชี วิ ต และ สอดคล้องกับรสนิยมของตนได้มากขึ้น เพียงแต่ว่า เขาจะต้องมีหลักความคิด รู้จักไตร่ตรอง และเลือกสรรแต่สิ่งที่มีคุณค่าแก่ตนเองและสังคมอย่างแท้จริง กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ สังคม ยุคข่าวสารก็คือสังคมแห่งภูมิปัญญา

แหล่งความรู้ ข่าวสาร ข้อมูล และประสบการณ์ตา่ งๆ มีความสำ�คัญ ต่ อ สั ง คมยุ ค ข่ า วสารเพี ย งใดก็ ย่ อ ม มี ค วามสำ � คั ญ ต่ อ การศึ ก ษาและต่ อ การเรี ย นการสอนของสถาบั น การ ศึกษาเพียงนัน้ เรามักเรียกแหล่งความ รู้ ห รื อ แหล่ ง ทรั พ ยากรการเรี ย นรู้ นี้ หลายอย่าง แล้วแต่ความครอบคลุม ความประสงค์ ภารกิจ เป้าหมาย และ กิจกรรมที่ทำ�ในการบริการ เป็นต้น ว่า สถาบันวิทยบริการ ศูนย์สื่อการ ศึกษา ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา แหล่ง วิทยาการเหล่านี้ อันที่จริงก็คือ ศูนย์ ทรัพยากรความรู้และประสบการณ์ ของหน่วยงานทีร่ วบรวมแหล่งวิชาการ ในลักษณะต่าง ๆ ไว้บริการเพื่อการ เรี ย นรู้ ที่ สำ � คั ญ สถาบั น การศึ ก ษา การศึกษาจำ�เป็นต้องจัดแหล่งความ รู้ ไว้ ใ ห้ ม ากพอในรู ป ของแหล่ ง วิ ท ย บริการและมีรูปแบบหลากหลาย

2

เทคโนโลยี ที่ มี ค วามสำ� คั ญ ต่อแหล่งวิทยาการหรือเรียกให้เฉพาะ ลงมา ได้แก่ แหล่งวิทยบริการ ก็คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยี โทรคมนาคม ในขณะที่คอมพิวเตอร์ ทำ�หน้าที่จัดหา จัดเก็บ สืบค้น และ เรี ย กใช้ ข้ อ มู ล หรื อ เตรี ย มเผยแพร่ ข่าวสารข้อมูล เทคโนโลยีโทรคมนาคม ก็ท�ำ หน้าทีเ่ ป็นเครือ่ งมือให้ผรู้ บั บริการ สามารถเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล ที่ อ ยู่ ห่ า งไกล ตั้ ง แต่ ต่ า งเมื อ งจนถึ ง ระหว่ า งชาติ โดยอาศัยระบบการสื่อสารในรูปcแบบ ต่าง ๆ เช่น ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิ ก ส์ เทเลกซ์ โทรสาร เวิ ร์ ด โปรเซสเซอร์เพื่อการสื่อสาร ระบบ โทรศัพท์ ระบบสื่อสารดาวเทียม และ เครือข่ายต่างๆ หรือจัดเป็นรูปแบบ การประชุมทางไกล ระบบปฏิสัมพันธ์ ทางวิทยุกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ เป็นต้น

สิ่ ง ที่ เ ป็ น บ ท บ า ท อั น ท้ า ทายของครู ใ นอนาคตหรื อ ครู ยุค สารสนเทศ ก็คือ การสอน วิ ธี หาความรู้ ในโลกแห่ ง ความรู้ อั น มากมายสุดคณานับ เหลือคณานับ ที่ครูไหนก็ไม่อาจตามไปหรือเอามา สอนได้ ห มด ครู ยุ ค นี้ ต้ อ งเป็ น ทั้ ง ผู้ ใ ห้ ค วามรู้ ผู้ ใ ห้ เ ครื่ อ งมื อ ในการ แสวงหาความรู้ และผู้จุดไฟแห่งการ เรี ย นรู้ และนอกจากภารกิ จ สำ � คั ญ นี้แล้ว เขาจะต้องมีคุณสมบัติในการ เป็ น นั ก เทคโนโลยี ส ารนิ เ ทศไปใน ตัว ต้องเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ ต้อง ติ ด ตามความก้ า วหน้ า ในเทคนิ ค วิ ธี การสอนต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา ต้อง เป็นผู้เชี่ยวชาญสื่อ และต้องเป็นนัก จิตวิทยาการเรียนรู้ชั้นเลิศ ข้อสุดท้าย นี้ เป็นคุณสมบัติที่มีความสำ�คัญเป็น พิ เ ศษสำ � หรั บ ครู ห รื อ ผู้ ใช้ ร ะบบการ เรียนการสอน หรือแม้แต่ นักออกแบบ


Journal of Educational Technology and Communications

Vol 1 No 1 January - April 2018

เพราะเกรงว่าถ้าไม่มขี อ้ นีใ้ นการศึกษา การเรียนการสอน บุคคลดังกล่าวอาจ “เล่นเพลิน” หรือให้ความสำ�คัญแก่ เทคโนโลยีประเภทสื่อหรือเครื่องมือ สมัยใหม่ เสียจนลืมนึกถึงผู้เรียน หรือ ผู้รับสาร ไม่ว่าเขาในฐานะที่เป็นคน ๆ หนึ่งจะเรียนรู้อะไรได้อย่างไร และ เรียนรู้อย่างเป็นสุขได้อย่างไร นอกจากนั้ น การเรี ย นการ สอน ยังมุ่งมาสู่แนวคิดของการศึกษา ตลอดชี วิ ต ที่ เ น้ น ให้ ค นฉลาด รู้ จั ก คิ ด รู้ ค วามจริ ง ของสภาพแวดล้ อ ม และสังคม มีความกระตือรือร้นที่จะ แสวงหาความรู้ ใ หม่ ๆ เพื่ อ พั ฒ นา การเรี ย นรู้ พั ฒ นาการงาน และ คุณภาพชีวิตของตนเอง รูปแบบของ ระบบการศึ กษาจึง น่าจะเป็นระบบ ของ “กระบวนการตลอดชี วิ ต ” เป็นการศึกษาทีใ่ ห้ซงึ่ “วิธกี ารเรียนรู”้ และให้ทั้ง “ความสุข” ในการเรียนรู้ ในยุ ค สารสนเทศ การ

Facutyl of Education Mahasarakham University

เรี ย นด้ ว ยตนเองแบบสบายๆง่ า ยๆ อยู่ กั บ บ้ า น พร้ อ มที่ จ ะโต้ ต อบทาง ไกลกับผู้สอน หรือครูผ่านเทคโนโลยี การสื่อสารโทรคมนาคม เครือข่าย คอมพิ ว เตอร์ รวมทั้ ง เรี ย นกั บ สื่ อ สำ�เร็จรูปต่าง ๆ กำ�ลังจะกลายเป็น เรื่องธรรมดาเข้าไปทุกที ในไม่ช้า เรา อาจได้ เ ห็ น ตลาดประเภท “ตลาด วิชาอิเล็กทรอนิกส์” เห็น “ห้างสรรพ วิทยากร” หรือ “ร้านอาหารสมอง” หรื อ “สวนอาหารความคิ ด ” เกิ ด ขึ้น ให้คนเข้าไปซื้อหาสินค้าประเภท ความรู้ หรือวิชาการเอาไปเรียนเอง ที่บ้าน ปั จ จุ บั น การเรี ย นการสอน หลายสาขา เช่น แพทย์ศาสตร์ และ วิ ศ วกรรมศาสตร์ ได้ มี ก ารนำ � เอา โปรแกรมคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียมา ใช้ ช่ ว ยสอนอั น อย่ า งเอาจริ ง เอาจั ง เป็ น เทคโนโลยี ส ารสนเทศและสื่ อ อิเล็กทรอนิกส์ ที่นำ�ไปสู่รูปแบบการ

เรียนรู้ด้วยตนเอง แนวโน้ ม ทำ � นองนี้ ย่ อ มมี ความเป็นไปได้อย่างแน่นอน เพราะ เป็ น ห้ ว งเวลาอั น เหมาะเจาะหรื อ ที่ “พลังข่าวสาร” กับ “พลังเทคโนโลยี” อุ บั ติ ขึ้ น มาเกื้ อ กู ล กั น พอดี บวกกั บ แนวคิดทางการศึกษาตลอดชีวิตการ แสวงหาความรู้ การเรี ย นวิ ธี ที่ จ ะ เรียนรู้ การเรียนด้วยตนและอื่นๆ อีก หลายอย่าง จึงเกิดเป็นเครือข่ายแห่ง การเรียนรู้ หรือระบบการศึกษาควบคู่ กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ สังคมกลาย เป็นเครือข่ายแห่งการเรียนรู้ ทุกคนใน สังคมเช่นนี้ ย่อมมีโอกาสทัดเทียมกัน ในการแสวงหาการศึกษาเพื่อพัฒนา ตนเองตลอดชี วิ ต เครื อ ข่ า ยเช่ น นี้ สามารถกระตุ้นการเรียนรู้ของบุคคล และชุมชน และสามารถนำ�การศึกษา และข้อมูลข่าวสารเข้าไปถึงผู้คนของ ทุกท้องถิ่น และช่วย “จุดประกาย ใฝ่รู้ ให้แก่เขาเหล่านั้น”

ในทัศนะของผูเ้ ขียนเห็นด้วยว่าการเรียนโดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครือ่ งมือ มีความเจริญก้าวหน้าเป็น ล�ำดับ แต่จ�ำเป็นต้องมี การออกแบบ (Design) และจัดกระบวนการให้เป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาเรียกแนวคิดนี้ว่า “วิธีเชิงระบบ” (System Approach) ระบบและการจัดระบบ ระบบเป็นหน่วยบรูณาการ หรื อ หน่ ว ยสมบู ร ณ์ รู ป ธรรม หรื อ นามธรรม ประกอบด้วยหน่วยย่อย หรือองค์ประกอบที่เป็นอิสระ แต่มี ความสัมพันธ์กัน เพื่อให้การด�ำเนิน งานของหน่วยใหญ่เป็นไปตามจุดมุ่ง หมาย ระบบมีความส�ำคัญในการ ก�ำหนดสัดส่วนการด�ำเนินการ ด�ำเนิน งาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดและมีการ

ควบคุมเพื่อให้การด�ำเนินงานเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบมีหลายขอบข่ายและ หลายระดับ แต่มีองค์ปะกอบส�ำคัญ คือ ส่วนที่เป็นปัจจัยน�ำเข้า ส่วนที่ เป็นกระบวนการ ส่วนที่เป็นผลลัพธ์ และส่ ว นที่ เ ป็ น ผลย้ อ นกลั บ เพื่ อ ควบคุมและปรับปรุง การจั ด ระบบ เป็ น การ วางแผนการพัฒนาระบบใหม่ หรือ ปรับปรงระบบทีม่ อี ยูแ่ ล้วให้ดขี นึ้ ด้วย การก�ำหนดปรัชญา ปณิธาน จุดมุ่ง

หมาย องค์ ป ระกอบ ภาระหน้ า ที่ ความสัมพันธ์และปฏิสมั พันธ์ ขัน้ ตอน ปั จ จั ย เกื้ อ หนุ น และการประเมิ น ควบคุม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ท�ำงานหรือแก้ปัญหาการด�ำเนินงาน การจัดระบบ มีความส�ำคัญ ในการก�ำหนดแนวทางการด�ำเนินงาน ที่มีคุณภาพ แนวทางการสื่อสาร การ ควบคุ ม ติ ด ตามและตรวจสอบการ ด�ำเนินงานและการแก้ปัญหา และใช้ เป็นเครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการสร้างนวกรรม และการพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น

3


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

จาก 12 ค�ำถาม นักจัด ระบบย่อมจะมองเห็นแนวทางที่ จะน�ำไปใช้การก�ำหนดนี้และวิธี การจัดระบบได้นั่นคือ จะต้อง วิเคราะห์หาจุดอ่อนและสาเหตุ เกณฑ์และวิธกี ารวัดความส�ำเร็จ สภาพแวดล้อมหรือบริบท (situation/context) by V. RYAN

สิ่งที่ผู้จัดระบบต้องทราบ ส�ำหรับเอือ้ อ�ำนวยต่อการจัด ระบบมีหลายประการ คือ ความหมาย ของระบบ - องค์ประกอบของระบบ = หลักการ รูปธรรม – นามธรรม - ระดั บ ขั้ น ของระบบ : มหภาค, จุลภาค - พฤติ ก รรมระบบการ ท�ำงานและการเปลี่ ย นแปลงของ ระบบ - ประเภทของระบบ : โครง สาร – กระบวน - บรรทัดฐานการวิจารณา ด�ำเนินการจัดระบบ - ขอบข่าย (ระดับและองค์ ประกอบ) ในการจัดระบบ 12 คำ�ถามของการกำ�หนดขั้นตอน ในการพิจารณาการจัดระบบ

1. อะไร คือ เครือ่ งหมาย หรื อ ตั ว ชี้ บ ่ ง ของจุ ด อ่ อ นหรื อ ปัญหา 2.อะไร เป็นสาเหตุของ จุดอ่อนหรือปัญหา

4

3.จะมีวิธีก�ำหนดเกณฑ์ และวิธีการจัดระบบอย่างไร 4.จะใช้อะไร เป็นเกณฑ์ ในการวัดความส�ำเร็จในการแก้ จุดอ่อนหรือปัญหา 5. จะมีวิธีการ วัดความ ส�ำเร็จในการแก้จุดอ่อนหรือแก้ ปัญหาอย่างไร 6.วิ ธี ก าร ที่ ใช้ ในการ ด�ำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายที่ ใช้ อยู่ ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง 7. จะมีวิธีการตัดสินใจ เลือกทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม ที่สุดอย่างไร 8. องค์ ป ระกอบของ ระบบปั จ จุ บั น ที่ จ ะต้ อ งเสริ ม ปรับปรุง ปรับเปลี่ยน หรือแทน ด้วย องค์ประกอบอื่น อะไร บ้าง 9. คุณลักษณะข้อใดของ ระบบ 10. จะมี วิ ธี ก ารสร้ า ง ระบบใหม่อย่างไร 11. จะมี วิ ธี ก ารท�ำให้ ประสิทธิภาพของการด�ำเนินงาน ค ง อ ยู ่ เ มื่ อ ส ภ า พ แ ว ด ล ้ อ ม เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไร 12.. จะมีวิธีการเผยแพร่ และน�ำระบบทีป่ รับแล้วหรือระบบ ใหม่ ไปใช้อย่างไร

ข้อมูลเกีย่ วกับองค์กร การกำ�หนด ทางเลือกและวิธีการจัดระบบ และ วิธีการเผยแพร่และนำ�ระบบไปใช้

ระบบการออกแบบ อาจ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา อาจพิจารณาจุดประสงค์ และเนื้อหา ส�ำหรั บ ระบบการสอน ระบบการ ออกแบบ อาจรวมถึงผู้ออกแบบการ สอนที่มีความสามารถในทฤษฎีการ เรียนรู้ และจิตวิทยาการศึกษา ท�ำ หน้ า ที่ ใ นการพิ จ ารณาล�ำดั บ ของ การน�ำเสนอ วิธีการ และการรับวิธี การประเมิน ระบบการออกแบบ ยัง อาจรวมถึงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิธี และการผลิตสื่อ สามารถท�ำให้จุด ประสงค์ และการก�ำหนดลักษณะ เฉพาะ (specification) หรื อ คุณลักษณะรายการมาเป็นจริงขึ้นได้ ในระบบการสอน ระบบส่งมอบ ได้แก่ ผู้เรียน ผู้สอน สมาชิกฝ่ายสนับสนุนทั้งหลาย เช่น บรรณารักษ์ และผู้เชี่ยวชาญสื่อ และเครือ่ งฉาย ตลอดทัง้ บุคลากรฝ่าย บริหาร เช่น ครูใหญ่ และนิเทศระบบ การรับ ได้แก่ สังคม ชุมชน และ องค์กร หรือ สถาบัน ซึ่งเป็นผู้ได้รับ ประโยชน์จากทักษะ และความรู้ของ ผูเ้ รียนทีเ่ พิม่ พูนขึน้ จากการทีเ่ ราเรียน จบเนื้ อ หาของระบบเผยแพร่ แ ล้ ว ระบบการรั บ ผลนี้ ประกอบด้ ว ย ลูกจ้าง ผูบ้ ริโภค สังคม ชุมชน องค์กร และนิเทศ


Journal of Educational Technology and Communications

Vol 1 No 1 January - April 2018

Facutyl of Education Mahasarakham University

จากที่กล่าวมาทั้งหมดผู้เขียนเห็นว่า “วิธีเชิงระบบ” (System Approach) ยังเป็นหัวใจสำ�คัญ ของนักเทคโนโลยีการศึกษาที่จะต้องยึดเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบและพัฒนานวัตกรรม ไม่ ใช่การให้ ความสำ�คัญแต่เพียงสื่อหรือเทคโนโลยีแต่เพียงฝ่ายเดียว บทบาทนักเทคโนโลยีการศึกษา จึงมีความหมาย มากกว่า นักผลิตสื่อ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นนักวิธีระบบ

บทบาทนักเทคโนโลยีการศึกษา กับการออกแบบระบบการเรียนการสอน เทคโนโลยีการศึกษาพัฒนามาจากโสตทัศนศึกษา (Audio-Visual Education) ซึ่งเป็นศาสตร์ที่มีความ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเลือกใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้ นัก เทคโนโลยีการศึกษาจึงมีความจ�ำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจ หลักการการใช้สื่อ วิธีการสอน และการ ประเมินสื่อได้เป็นอย่างดี อีกทั้งต้องพัฒนาตัวเอง ให้มี ศั กยภาพและบุคลิก ภาพตลอดจนการสื่อสารให้เป็นที่ ยอมรับ เนือ่ งจากนักเทคโนโลยีการศึกษาเป็นผูเ้ ผยแพร่ให้ กับครูและบุคลากรทางการศึกษาทีต่ อ้ งการพัฒนาการเรียน การสอน เพือ่ ให้ค�ำแนะน�ำทีถ่ กู ต้องแก่ผทู้ จี่ ะน�ำสือ่ ไปใช้ใน การเรียนการสอน ปัญหาที่ส�ำคัญคือปัจจุบันเทคโนโลยี สารสนเทศและคอมพิวเตอร์เข้ามีบทบาทเป็นสือ่ และแหล่ง เรียนรู้ ก้าวไกลและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นัก เทคโนโลยีตอ้ งติดตามศึกษาให้รทู้ นั เทคโนโลยีเหล่านัน้ เพือ่ จะได้เข้าใจและเห็นแนวทางทีเ่ หมาะสมในการน�ำมาใช้เป็น สื่อในการเรียนการสอน โดยต้องออกแบบและพัฒนา กระบวนการใช้ สื่ อ อย่ า งเป็ น ระบบและสอดคล้ อ งกั บ พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน ต้องขอติงไว้ ณ ที่นี้ว่านัก เทคโนต้องเป็นผู้รู้ทันเทคโนโลยีและน�ำมาออกแบบการ ใช้ได้อย่างถูกต้อง อย่าหลงไปให้ความส�ำคัญจนหลงไปเป็น

นักคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางปฏิบัติ เชิงเทคนิค (เปรียบบทบาทหน้าทีท่ แี่ ตกต่างกันอย่างเห็นได้ ชัดเจนระหว่างสถาปนิกกับช่างก่อสร้าง) นอกจากนีจ้ �ำเป็น ต้องมีความรูค้ วามสามารถในการบริหารจัดการหน่วยงาน เทคโนโลยี ก ารศึ ก ษาในระดั บ ต่ า งๆให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ เพราะเทคโนโลยีการศึกษาเป็นหน่วยงานส�ำคัญทางการ ศึกษาทีจ่ ะส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพการศึกษาเช่นกัน ดังจะ เห็นได้จากการให้ความส�ำคัญไว้ในพระราชบัญญัติการ ศึกษา ซึ่งผ่านมาเกือบ 20 ปีแล้วยังไม่สามารถท�ำให้มี บทบาทตามกฎหมายได้เลย สมาคมเทคโนโลยีการศึกษา แห่ ง ประเทศไทยได้ เ คยพยายามผลั ก ดั น ให้ ก ระทรวง ศึกษาธิการเห็นความส�ำคัญและเข้าใจบทบาททางการ ศึกษาของนักเทคโนโลยีการศึกษาอย่างแท้จริง โดยยก ระดับวิชาชีพนักเทคโนโลยีการศึกษาให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง เฉพาะมีค วามมั่นคงและก้าวหน้า ไม่ใช่เป็นเพียงสาย สนับสนุนเท่านัน้ อีกทัง้ ยังจ�ำเป็นทีต่ อ้ งมีนกั เทคโนโลยีการ ศึกษาเพื่อเป็นผู้แนะน�ำในการออกแบบการเรียนการสอน ให้กบั ครูในอัตราส่วน ครู 25 คน : นักเทคโนโลยีการศึกษา 1 คน หรืออย่างน้อยควรมีนักเทคโนโลยีการศึกษาประจ�ำ โรงเรียนละ 1 คน แต่เนือ่ งจากเปลีย่ นแปลงรัฐมนตรีวา่ การ กระทรวงศึกษาบ่อยมากจนไม่มีการสานงานต่อเนื่อง จึง เป็นภาระส�ำคัญทีพ่ วกเรานักเทคโนโลยีการศึกษาต้องร่วม มือร่วมใจกันผลักดันให้เกิดผลในทางปฏิบตั ิ มิใช่เพือ่ ตัวเรา

เอกสารอ้างอิง เปรื่อง กุมุท เทคโนโลยีการสอนในยุคสารสนเทศ เอกสารลายมือเขียน ม.ป.ป..

ธีรศักดิ์ คนต่ำ� : ออกแบบจัดหน้าบทความ

5


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

การบู ร ณาการ กระบวนการคิ ด เชิ ง ออกแบบ เพื ่ อ พั ฒ นานวั ต กรรม การจั ด การเรี ย นรู ้

Integrated Design Thinking for Instructional Innovation Development. มานิตย์ อาษานอก1 Manit Asanok1

บทคัดย่อ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ เป็นกระบวนการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างเป็นระบบ โดยยึด “คน” เป็นศูนย์กลางในการออกแบบเพื่อแก้ปัญหา มีกระบวนที่ส�ำคัญอยู่ 3 ระยะ คือ 1) ระยะเข้าใจปัญหา (Understanding) คือ การท�ำความเข้าใจปัญหาให้ถูกต้องกับประเด็นและความต้องการ 2) ระยะพัฒนา ไอเดีย (Creating) คือ การพัฒนาความคิดริเริ่มที่จะท�ำให้เกิดนวัตกรรม ไอเดียหรือแนวคิดใหม่ ๆ เมื่อได้รับ การพัฒนาจะเป็นจุดตั้งต้นของการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ และ 3) ระยะส่งมอบนวัตกรรม (Delivering) คือ การเปลี่ยนไอเดียให้เป็นต้นแบบนวัตกรรม ก่อนที่จะน�ำไปทดลองใช้ ซึ่งผลจากการทดลองน�ำมาใช้บูรณาการ กับการเรียนการสอนสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศกึ ษา พบว่ากระบวนการคิดเชิงออกแบบ ช่วยสร้างการเรียนรูข้ องนิสติ และพัฒนาทักษะต่าง ๆ ตลอดจนกระบวนการคิดและการแก้ปญ ั หาเชิงสร้างสรรค์ ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง เป็นการเรียนรู้ที่มีความหมาย สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อช่วยแก้ปัญหาผู้เรียนและ สังคม ช่วยเพิ่มคุณค่าและการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ค�ำส�ำคัญ : การคิดเชิงออกแบบ, การออกแบบที่ยึดคนเป็นศูนย์กลาง, กระบวนการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรม Abstract Design thinking is a process of systematic innovation, based on “people” as the center for designing solutions to problems. There are 3 critical processes to 1) Understanding phase, means understanding the problem properly with the issues and needs. 2) Creating phase, is to develop an initiative that will cause innovation. Ideas or new ideas are developed, it is the starting point for creative solutions. and 3) Delivering phase, is transforming ideas into innovative before the trial. The results of the experiment were used to integrate teaching and learning in the field of educational technology and computer education (ETC). Design thinking helps students learn and develop process of thinking and solving creative problems through action. It is meaningful learning, innovate to help solve learner and social problems. It enhances the value and development of the effectiveness learner.

Keyword : Design Thinking, Human Center Design, Innovation process 1

6

1

หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม Head of Department of Educational Technology and Communication Faculty of Education Mahasarakrm university


Journal of Educational Technology and Communications

Vol 1 No 1 January - April 2018

Facutyl of Education Mahasarakham University

ความเป็นมา

ผลจากการเปลีย่ นแปลงระบบในยุคเศรษฐกิจและสังคม 4.0 ทุกประเทศทั่วโลก ก�ำหนดทิศทางการพัฒนาการผลิตและพัฒนาก�ำลังคนให้มีทักษะและสมรรถนะระดับสูง มี ความสามารถเฉพาะทางมากขึน้ Model Thailand 4.0 เน้นการพัฒนานวัตกรรม การคิด แก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ การผลักดันธุรกิจการผลิตไปสู่ภาคบริการมากขึ้น การจัดการ ศึกษาและผลิตบัณฑิตจ�ำเป็นต้องก�ำหนดเป้าหมายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และวางแผน การผลิตเพื่อเตรียมก�ำลังคนเข้าสู่ตลาดแรงงาน พร้อมรับการเปลีย่ นแปลง การจัดการ เรียนรู้จ�ำเป็นต้องปรับเปลีย่ นให้ตอบสนองกับทิศทางการผลิตและพัฒนาคน คิดค้นและน�ำ นวัตกรรม ทีส่ อดคล้องกับทิศทางการพัฒนามาใช้ ซึง่ จะต้องเป็นกระบวนการทีม่ งุ่ ออกแบบ เพื่อผลลัพธ์มากกว่าผลสัมฤทธิ์ (Result more than achievement) สร้างผลผลิตทีม่ ี มูลค่า (add productive/value) มากกว่าการผลิตซ�ำ้ ด้วยการจัดการเรียนรู้ทที่ ้าทาย มี ความหมาย มีชีวิตชีวา (Active Learning) พัฒนาทั้งทักษะ การคิด การแก้ปัญหา การ ใช้เทคโนโลยี ร่วมกับการพั ฒนาทักษะชีวิตและสั งคม ซึ่งเป็นสมรรถนะส� ำคัญของคนใน ศตวรรษที่ 21

หลักการของกระบวนการคิด เชิงออกแบบ

กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

เ ป ็ น ก ร ะ บ ว น ก า ร คิ ด สร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างเป็นระบบ เพื่ อ แก้ ป ั ญ หาและสร้ า งสรรค์ นวัตกรรมผ่านผลิตภัณฑ์และบริการ ใหม่ๆ ทีใ่ ช้การท�ำความเข้าใจในปัญหา อย่างลึกซึง้ โดยเอาผูใ้ ช้เป็นศูนย์กลาง และน�ำเอาความคิดสร้างสรรค์และมุม มองจากแหล่งข้อมูลต่างๆ มา สร้างไอ เดีย ทดสอบและพัฒนา เพื่อให้ได้ แนวทางหรือนวัตกรรมทีต่ อบโจทย์กบั ผู้ใช้และสถานการณ์ (DEX Space, 2016) กระบวนการออกแบบทีย่ ดึ เอา คนเป็นศูนย์กลางในการแก้ปัญหาเชิง สร้างสรรค์นี้ เรียกอีกอย่างว่า“Human-Centered Design” นอกจาก จะช่วยท�ำให้เกิดนวัตกรรมแล้ว ยัง ช่วยสร้างทักษะ การคิดแก้ปัญหา มุม มอง และประสบการณ์ให้กบั ทีมทีร่ ว่ ม เรียนรูอ้ กี ด้วย (IBM Connect, 2017)

กระบวนการคิดเชิงออกแบบ ได้ถกู น�ำมาใช้ในองค์กรชัน้ น�ำของโลก มากมายทั้ ง ที่ มี ทั้ ง ขนาดใหญ่ แ ละ ขนาดเล็ก อาทิเช่น Google, Apple, Phillips, P&G และ Airbnb เป็นต้น โดยองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ ได้น�ำ Design Thinking มาใช้เป็นเครื่องมือ หลัก เพื่อสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ ไม่ว่า จะเป็น Product and Service, Operational Process, Business Strategy และรวมไปถึง Business Model เป็นต้น (DEX Space, 2017) ส่วนทาง ด้านการศึกษาได้ถูกน�ำมาประยุกต์ใช้ ในศาสตร์ที่มุ่งเน้นการออกแบบและ พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่นทางด้าน วิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายทาง ด้านศึกษาศาสตร์

(Principle of Design Thinking Process)

การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เป็นหลักการแก้ปญ ั หาบน พื้นฐานของการสื่อสาร และการร่วม คิดร่วมท�ำ (communicate and to coor- dinate activity) เป็นที่รู้จัก และนิยมใช้ในหมูน่ กั ออกแบบ (Rowe, 1991) ปัจจุบันได้รับนิยมและน�ำไป ใช้อย่างแพร่หลายทั้งในวงการธุรกิจ และคอมพิวเตอร์ (Brown, 2009) เป็นกระบวนการที่ท�ำให้เกิดทางออก และเพิ่มมูลค่า ซึ่งไม่ได้จ�ำกัดไว้แค่ เหตุผล หรือค�ำตอบใดค�ำตอบหนึง่ อัน น�ำไปสู ่ ก ารตั้ ง สมมติ ฐ านที่ ส ามารถ เป็นไปได้ในสถานการณ์หรือจากสิ่งที่ สังเกต นักออกแบบจะต้องเรียนรูเ้ พือ่ หาค�ำตอบและออกแบบไปพร้อมกัน (Dorst, 2011)

7


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

prototype, และ test มีความหมาย ดังนี้ Empathy เป็นการท�ำความ เข้าใจต่อกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด โดยการเอาใจเขามาใส่ ใจเรา ซึ่ ง มี ความส�ำคั ญ เป็ น อย่ า งมาก เมื่ อ จะ สร้างสรรค์ หรือแก้ไขสิ่งใดก็ตามจะ ต้ อ งเข้ า ใจถึ ง กลุ ่ ม เป้ า หมายอย่ า ง ถ่องแท้ Define การสั ง เคราะห์ ข้อมูล การตั้งค�ำถามปลายเปิดที่ผลัก ดันให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ไม่จ�ำกัด กรอบของการแก้ปัญหา ซึ่งภายหลัง

จากที่เราเรียนรู้และท�ำเข้าใจต่อกลุ่ม ขั้นตอนของกระบวนการคิด บุคคลเป้าหมายแล้ว ก็ต้องวิเคราะห์ ปัญหา ก�ำหนดให้ชัดเจนว่าจริงๆ แล้ว เชิงออกแบบ ปัญหาทีเ่ กิดขึน้ คืออะไร เลือกและสรุป นั กวิชาการและหน่วยงาน แนวทางความเป็นไปได้ ต่ า งๆ ได้ น�ำเสนอขั้ น ตอนของ Ideate การระดมความคิด กระบวนการคิ ด เชิ ง ออกแบบที่ ใหม่ๆ อย่างไม่มีขีดจ�ำกัด หรือการ สอดคล้องกัน ดังเช่น สร้างความคิดต่างๆ ให้เกิดขึน้ โดยเน้น Stanford d.school Bootการหาแนวคิ ด และแนวทางในการ camp Bootleg, 2010 อ้างถึงใน DEX แก้ไขปัญหาให้มากที่สุด หลากหลาย Space, 2017) น�ำเสนอกระบวนการ ที่สุด โดยความคิดและแนวทางต่างๆ คิดเชิงออกแบบ 5 ขั้นตอน ประกอบ ทีค่ ดิ ขึน้ มานัน้ ก็เพือ่ ตอบโจทย์ปญ ั หาที่ ด้วย empathize, define, ideate, เกิดขึ้นในขั้น Define Prototype การสร้างแบบ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ ของ Stanford d. school แสดงได้ดังภาพ จ�ำลอง หรือการสร้างต้นแบบขึ้นมา เพือ่ ให้ผใู้ ช้สามารถทดสอบและตอบ ค�ำถามหรื อ กระตุ ้ น ให้ เ กิ ด การ วิพากษ์วจิ ารณ์ เพือ่ ทีเ่ ราจะได้เข้าใจ สิ่งที่เราอยากรู้มากยิ่งขึ้น และยิ่ง สร้างเร็วเท่าไรก็ยิ่งได้ลองหาข้อผิด พลาด และเรียนรูเ้ กีย่ วกับไอเดียของ เราได้เร็วเท่านั้น Test หรือการทดสอบ โดย เราน�ำแบบจ�ำลองที่ ส ร้ า งขึ้ น มา ทดสอบกับผู้ใช้ หรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสังเกตประสิทธิภาพการใช้งาน โดยน�ำผลตอบรั บ ข้ อ เสนอแนะ ต่างๆ ตลอดจนค�ำแนะน�ำมาใช้ใน ภาพประกอบ 1 Stanford Design Thinking Process การพัฒนา และปรับปรุงต่อไป ที่มา https://infocus.emc.com/william_schmarzo/design-thinking-innovation/

แสดงได้ดังภาพประกอบ 1

UK Design Council (2017)

ได้เสนอกระบวนการคิดเชิง ออกแบบที่ เรี ย กว่ า the Double Diamond Design Process ประกอบ ด้วย discover define develop และ deliver ภาพประกอบ 2 Double Diamond Design Process ที่มา https://medium.com/@chanantho_j/

8

โดยมีรายละเอียดในหน้าถัดไป


Vol 1 No 1 January - April 2018

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

the Double Diamond Design Process มีรายละเอียดดังนี้ (DEX Space, 2017 ) Discover เป็นขั้นตอนการค้นหาปัญหาสำ�คัญที่จะแก้ไขในบริบทที่นักออกแบบและ ผู้มีส่วนได้เสียเห็นพ้องต้องกัน Define เป็นขั้นตอนทำ�ความเข้าใจและตีความปัญหาอย่างลึกซึ้ง รวมถึงการวางแผน โครงการ ซึ่งคล้ายกันกับข้อแรก Develop คื อ ขั้ น ตอนในการใช้ ค วามคิ ด สร้ า งสรรค์ แ ละมุ ม มองจากหลาก หลายด้ า นมาสร้ า งไอเดี ย หลากหลายไอเดี ย พั ฒ นาให้ ภ าพและทดสอบไอเดี ย ต่ า งๆ Deliver คือขัน้ ส่งมอบ เป็นขัน้ ตอนในการทดสอบช่วงสุดท้ายก่อนทีจ่ ะนำ�เอานวัตกรรม ออกสู่ตลาด หรือนำ�เอาไปใช้จริง

ภาพประกอบ 3 Three Phases of Design Thinking ที่มา http://designthinking.co.nz/wp-content/uploads/2012/09/UCD-process.jpg ระยะของกระบวนการคิดเชิงออกแบบ สามารถสรุปได้เป็น 3 ระยะหลัก (Three phases) คือ

ระยะที่ 1 เข้าใจปัญหา (Understand) เป็นระยะการใช้เวลาท�ำความเข้าใจปัญหาอย่าง ลึกซึ้ง (empathy) และก�ำหนดประเด็นและทิศทางในการแก้ปัญหาที่ชัดเจน (define) ถูกต้อง ตรงประเด็น ระยะที่ 2 พัฒนาไอเดีย (Create) เป็นระยะที่สร้างไอเดีย (ideate) หรือการต่อยอด จากหลากหลายมุมมอง (idea generation) เพื่อน�ำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่แปลกใหม่ และตอบโจทย์การแก้ไขปัญหา ระยะที่ 3 ส่งมอบนวัตกรรม (Deliver) เป็นระยะเปลี่ยนไอเดียเป็นนวัตกรรมต้นแบบ (Prototype) และท�ำการทดสอบ (test) กับกลุ่มเป้าหมาย ปรับปรุงแก้ไข จนสามารถน�ำไปใช้ได้ จริง

9


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

การบูรณาการกระบวนการคิดเชิงออกแบบในการจัดการเรียนรู้ จากรายงานวิจัยของ REDlab (Research in Education and Design Lab) พบว่ า ได้ มี ก ารน�ำ กระบวนการคิดเชิงออกแบบมาบูรณาการเข้าไปในเนือ้ หา ทางวิชาการและเป็นเครือ่ งมือการเรียนรูท้ มี่ ปี ระสิทธิภาพ สามารถบูรณาการกับสหวิทยาการได้อย่างกว้างขวาง (Carroll et al., 2010) ทั้งนี้ในการจัดการเรียนการสอนที่ ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบยังเป็นประโยชน์ ส�ำหรับ การเรียนรู้ที่สามารถสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายและ ช่ ว ยส่ ง เสริ ม การเรี ย นรู ้ อ ย่ า งมี ค วามหมายของผู ้ เรี ย น (Kwek, S.H., 2011) เป็นการสร้างนวัตกรรมการจัดการ เรียนรู้ ที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ที่จะน�ำ ไปสู่การพัฒนาทั้งทักษะ การคิด การแก้ปัญหา การใช้ เทคโนโลยี ร่วมกับการพัฒนาทักษะชีวติ และสังคม ซึง่ เป็น สมรรถนะส�ำคัญของคนในศตวรรษที่ 21 ตัวอย่างการน�ำกระบวนการคิดเชิงออกแบบมา ใช้ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ตามระยะและขั้น ตอนของรูปแบบ ผู้เขียนน�ำไปบูรณาการกับการจัดการ เรียนการสอนระดับปริญญาตรี ในรายวิชาทีร่ บั ผิดชอบคือ Assistive Technology for the Children with Learning Disabilities ซึ่งเป็นวิชาที่มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนา ทั้งทักษะการใช้เทคโนโลยี การคิดแก้ปัญหา การพัฒนา นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ โดย ก�ำหนดให้มีการเรียนภาคทฤษฎีในชั้นเรียน และการลง ภาคสนามเพื่อเรียนรู้กับกรณีศึกษาในโรงเรียน ในสัดส่วน 60:40 ซึ่งผู้เขียนได้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ดังนี้ ระยะที่ 1 เข้าใจปัญหา (Understand) เป็นระยะ ทีผ่ สู้ อนจะต้องก�ำหนดสถานการณ์ให้ผเู้ รียนได้ใช้เวลาเพือ่ ท�ำความเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึง้ (empathy) และก�ำหนด ประเด็นและทิศทางในการแก้ปญ ั หาทีช่ ดั เจน (define) ถูก ต้องตรงประเด็น ออกแบบกิจกรรม ดังนี้ ขั้นที่ 1 ท�ำความเข้าใจพฤติกรรม (Empathy) วิธกี าร ศึกษาเอกสาร สังเกต สัมภาษณ์ นักเรียน ครูหรือผู้ปกครอง หลักฐาน สรุปข้อมูล ภาพถ่าย คริปต์ ภาพ-เสียง 1.1 ศึกษาบริบทผู้บกพร่องทางการ เรียนรู้ 1.2 ท�ำไมเขามี พ ฤติ ก รรมเช่ น นั้ น (บกพร่องด้านใด) 1.3 สาเหตุของพฤติกรรมนั้นคืออะไร

10

ภาพประกอบ 4 ตัวอย่างการทำ�กิจกรรม ขั้นทำ�ความเข้าใจพฤติกรรม

ขั้นที่ 2 สร้างโจทย์ (Define) วิธีการ ประชุมระดมสมอง ศึกษาตัวอย่าง แหล่ง ข้อมูลอื่นๆ หลักฐาน ก�ำหนดโจทย์ แนวทางการช่วยเหลือ และประเมินผล ส�ำหรับครู นักเรียน ที่จะแก้ปัญหาได้ 2.1 ก�ำหนดประเด็นปัญหาที่จะแก้ไข (Define problem) 2.2 ก�ำหนดแนวทางช่วยเหลือครู (How can we support teachers?) (สัมภาษณ์ ผูเ้ ชีย่ วชาญ ครู อาจารย์) 2.3 ก�ำหนดแนวทางช่วยเหลือเด็ก (How can we help students learn?) 2.4 ก�ำหนดแนวทางการประเมิน (How can we assessment student’s progress)

ภาพประกอบ 5 ตัวอย่างการทำ�กิจกรรมขั้นสร้างโจทย์


Vol 1 No 1 January - April 2018

ระยะที่ 2 พัฒนาไอเดีย (Create) เป็นระยะที่ สร้างไอเดีย (ideate) หรือการต่อยอดไอเดียจากหลาก หลายมุ ม มอง (idea generation) เพื่ อ น�ำไปสู ่ ก าร สร้างสรรค์นวัตกรรมที่แปลกใหม่และตอบโจทย์การแก้ไข ปัญหา ออกแบบกิจกรรม ดังนี้

ภาพประกอบ 5 ตัวอย่างการทำ�กิจกรรมขั้นหาแนวคิด ขั้นที่ 3 หาแนวคิด (Ideate) วิธีการ ประชุมระดมสมอง ศึกษาตัวอย่าง แหล่ง ข้อมูลอื่นๆ หลั ก ฐาน ออกแบบนวั ต กรรมเทคโนโลยี สิ่ ง อ�ำนวยความสะดวกได้ การออกแบบนวัตกรรมเทคโนโลยีสงิ่ อ�ำนวยความ สะดวกส�ำหรับผู้บกพร่องทางการเรียนรู้ ตามประเด็น แนวทางการช่วยเหลือครู (จะสอนอย่างไร) แนวทางการ ช่วยเหลือเด็ก (จะเรียนรูอ้ ย่างไร) แนวทางการประเมิน (จะ วัดและประเมินอย่างไร) ระยะที่ 3 ส่งมอบนวัตกรรม (Deliver) เป็นระยะ เปลี่ยนไอเดียเป็นนวัตกรรมต้นแบบ (Prototype) และ ท�ำการทดสอบ (test) กับกลุม่ เป้าหมาย ปรับปรุงแก้ไข จน สามารถน�ำไปใช้ได้จริง ออกแบบกิจกรรมดังนี้

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

ขั้นที่ 4 สร้างต้นแบบ (Prototype) วิธีการ ประชุมระดมสมอง ศึกษาตัวอย่าง แหล่ง ข้อมูลอื่นๆ หลักฐาน ต้นแบบนวัตกรรมเทคโนโลยีสงิ่ อ�ำนวย ความสะดวก ผลการตรวจสอบความเป็นไปได้จากอาจารย์ และเพื่อนในชั้น 4.1 สร้างต้นแบบนวัตกรรมเทคโนโลยีสิ่งอ�ำนวย ความสะดวกส�ำหรับผู้บกพร่องทางการเรียนรู้ 4.2 ตรวจสอบความเป็นไปได้ โดยอาจารย์ 3 ท่าน และเพื่อนในชั้นเรียน ขั้นที่ 5 ทดลองใช้และประเมิน (Test) วิธกี าร ทดลองใช้กบั ผูเ้ รียนรายบุคคล ใน โรงเรียน เป้าหมาย อย่างน้อย 3 ครั้ง และเก็บรวบรวมข้อมูล หลักฐาน ผลการประเมินการใช้นวัตกรรมโดยครู และผลการใช้นวัตกรรมโดยนักเรียน ภาพถ่ายการทดลอง 5.1 น�ำต้นแบบไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย 5.2 เก็บรวบรวมข้อมูลและประมวลผล 5.3 รายงานผลการเรียนรู้

ภาพประกอบ 6 ตัวอย่างการทำ�กิจกรรมระยะ สร้างสรรค์นวัตกรรม

11


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

สรุป

กระบวนการคิดเชิงออกแบบ เป็นกระบวนการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างเป็นระบบ โดยยึด “คน” เป็น ศูนย์กลางในการออกแบบเพื่อแก้ปัญหา มีกระบวนที่ส�ำคัญอยู่ 3 ระยะคือ 1) ระยะเข้าใจปัญหา (Understanding) คือการท�ำความเข้าใจปัญหาให้ถกู ต้องกับประเด็นและความต้องการ 2) ระยะพัฒนาไอเดีย (Creating) คือปัจจัยส�ำคัญ ทีจ่ ะท�ำให้เกิดนวัตกรรม ไอเดียหรือแนวคิดใหม่ๆ เมือ่ ได้รบั การพัฒนาจะเป็นจุดตัง้ ต้นของการแก้ปญ ั หาเชิงสร้างสรรค์ และ 3) ระยะส่งมอบนวัตกรรม (Delivering) คือการเปลี่ยนไอเดียให้เป็นต้นแบบนวัตกรรม ก่อนที่จะน�ำไปทดลองใช้ ซึ่งผลจากการทดลองน�ำมาใช้บูรณาการกับการเรียนการสอนสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา พบว่ากระบวนการคิดเชิงออกแบบช่วยสร้างการเรียนรูข้ องนิสติ และพัฒนาทักษะต่างๆ ตลอดจนกระบวนการคิดและ การแก้ปญ ั หาเชิงสร้างสรรค์ ผ่านการลงมือปฏิบตั จิ ริง เป็นการเรียนรูท้ มี่ คี วามหมาย สร้างสรรค์นวัตกรรมเพือ่ ช่วยแก้ ปัญหาผู้เรียนและสังคม ช่วยเพิ่มมูลค่าและผลลัพธ์การเรียนรู้อย่างแท้จริง เอกสารอ้างอิง Brown, T. (2009). Change by Design: How Design Thinking Transforms Organizations and Inspires Innovation. New York : Harper Business. Carroll et al. (2010). Destination, Imagination and the Fires within: Design Thinking in a Middle School Classroom. International Journal of Art and Design Education, issue 29(1), pp.37-53. Retrieved November 19, 2017, from http://www.iimagineservicede sign.com/wp-content/ uploads/2015/08/Design-Thinking-Concepts-at-School-K-to-12- Article-PDF.pdf DEX Space. (2017). Design Thinking คืออะไร (Overview). Retrieved November 19, 2017, from http:// www.dexspace.co/design-thinking-overview/ Dorst, K. (2011). The Core of “Design Thinking” and Its Application. Design Studies 29(6) : 521-532. IBM Connect.(2017). Design Thinking: กลยุทธ์สำ�คัญที่สิงคโปร์ผสานรวมลงไปในการศึกษา เตรียมสร้างชาติในระยะยาว. เข้าถึงเมื่อ 19 พ.ย. 2560, เข้าถึงได้จาก https://www.techtalkthai. com/design-thinking-as-the-innovative-strategy-of-singapore/ Kwek. S.H. (2011). Innovation in the classroom: Design Thinking for 21st century Learning. Retrieved November 19, 2017, [online] Available at: https://web.stanford.edu/group/red lab/cgibin/materials/KwekInnovation%20In%20The%20Classroom.pdf Rowe, P. G. (1991). Design thinking. Cambridge, MA: The MIT Press. The Stanford d.school Bootcamp Bootleg (HPI). (2010). An Introduction to Design Thinking PROCESS GUIDE. Retrieved November 19, 2017, from https://dschool-old.stanford.edu/ sandbox/groups/designresources/wiki/36873/attachments/74b3d/ModeGuideBOOTCAM P2010L.pdf UK Design Council. (2017). Designers across disciplines share strikingly similar approaches to the creative process, which we’ve mapped out as ‘the Double Diamond’. Retrieved No vember 19, 2017, from http://www.designcouncil.org.uk/news-opinion/design-pro cess-what-double-diamond

12

วนั ส นั น ท์ โพธิ ์ ต ึ : ออกแบบจั ด หน้ า บทความ บทค วาม


Vol 1 No 1 January - April 2018

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

การพัฒนารูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญา ร่วมกับทฤษฏีของเดวีส์ เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น The Development of Music Teaching Style by Using Contemplative Concept with Davie’S Theory to Promote the Practical Skills of Secondary School Students. สิทธิวรรณ บุญยะมาลิก

บทคัดย่อ

Sittiwan Boonyamalig

1 1

การพัฒนารูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะ ปฏิบตั ขิ องนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาตอนต้น มีวตั ถุประสงค์เพือ่ (1) ศึกษาข้อมูลพืน้ ฐานส�ำหรับพัฒนารูปแบบการ สอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดวีสเ์ พือ่ ส่งเสริมทักษะปฏิบตั ขิ องนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษา ตอนต้น (2) สร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเด วีส์เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (3) ศึกษาผล การทดลองใช้รูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติ ดนตรีของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาตอนต้น (4) ประเมินผลการใช้รปู แบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญา ร่วมกับทฤษฎีของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติดนตรีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แหล่งข้อมูลทีใ่ ช้ในการศึกษาข้อมูลพืน้ ฐาน คือ หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนประทาย การจัดการเรียนรูก้ ลุม่ สาระ การเรียนรู้ศิลปะ แนวคิดทฤษฏี การสนทนากลุ่มของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะโรงเรียนประทาย ประชากร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนประทาย จ�ำนวน 40 คน กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนประทาย จ�ำนวน 35 คน ได้มาโดย การสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ (1) รูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับ ทฤษฎีของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (2) แผนการจัดการเรียนรู้ ตามรูป แบบการจัดการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิท์ างการเรียน (4) แบบทดสอบวัดทักษะปฏิบตั ขิ องนักเรียน จากการใช้รปู แบบการสอน (5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนจากการใช้รปู แบบการสอน สถิตทิ ใี่ ช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) x̄ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติค่าที (t- test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้อมูลพื้นฐานส�ำหรับรูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดวีส์เพื่อส่ง เสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะปฏิบัติทางด้านดนตรี เน้น ทักษะกระบวนการเรียนแบบร่วมมือ การส่งเสริมความสามารถที่ได้จากกระบวนการคิด ปรับปรุงและประยุกต์ ใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ 2. รูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดวีสเ์ พือ่ ส่งเสริมทักษะปฏิบตั ขิ อง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการแนวคิด ทฤษฎี วัตถุประสงค์ 1 1

ครูช�ำนาญการพิเศษ โรงเรียนประทาย อ�ำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา Senior Professional Level Teachers Prathai School Prathai District Nakhon Ratchasima Province.

13


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

กระบวนการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลโดยมีขั้นตอนการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสร้าง ความเข้าใจ 2) ลงมือกระท�ำ 3) น�ำไปใช้ 4) การประเมินผลและการส่งเสริม เมื่อน�ำไปทดลองใช้กับนักเรียน แบบภาคสนาม จ�ำนวน 30 คน พบว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.83/81.56 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ก�ำหนดไว้ 80/80 3. ผลการทดลองใช้รปู แบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดวีสเ์ พือ่ ส่งเสริม ทักษะปฏิบตั ขิ องนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาตอนต้น มีผลสัมฤทธิท์ างการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และทักษะปฏิบัติหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส�ำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนจากการใช้รูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วม กับทฤษฎีของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค�ำส�ำคัญ : รูปแบบการสอนดนตรี จิตตปัญญา ทฤษฏีเดวีส์ ทักษะปฏิบัติ Abstract

The development of music teaching style by using contemplative concept with Davie’s theory to promote the practical skill of secondary school students aimed (1) To study about basic information for development of music teaching style by using contemplative concept with Davie’s theory to promote the practical skill of secondary school students. (2) To build and find efficiency of music teaching style by using contemplative concept with Davie’s theory to promote the practical skill of secondary school students that based on 80/80 criteria. (3) To study a trial results of music teaching style by using contemplative concept with Davie’s theory to promote the practical skill of secondary school students. (4) To evaluate the use of music teaching style by using contemplative concept with Davie’s theory to promote the practical skill of secondary school students. The data sources used in studying the basic information was Prathai School Curriculum for Art Department which included concept, theory and art teacher’s discussion in Prathai School. The data sources used to create and develop teaching styles were Mutthayom suksa 3 students, Semester 1 in Academic Year 2016 of Prathai School. The population used in the studying were 40 students of Mutthayomsuksa 3 Semester 1 in Academic Year 2016 of Prathai School. Exeample used in the studying were 3 students of Mutthayomsuksa 3/3 Semester 2 Academic Year 2016 by using Group randomization.The tools used in the study were (1) Music teaching style by using contemplative concept with Davie’s theory to promote the practical skill of secondary school students. (2) Learning management plan according to the learning management model (3) Learning achievement test (4) The test to measure the students’ practical skills through the use of teaching styles. (5) Student Satisfaction Questionnaire Based on Teaching Model. The statistics used for data analysis were percentage, mean ( x ), standard deviation (S.D.) and t-test.

14


Vol 1 No 1 January - April 2018

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

The research found that; 1. Basic information for music teaching style by using contemplative concept with Davie’s theory to promote the practical skill of secondary school students encourage students to practice their musical skills by focus on cooperative learning skills for the promotion of the ability derived from the thinking process, improve and apply for efficiency. 2. Music teaching style by using contemplative concept with Davie’s theory to promote the practical skill of secondary school students which included 4 elements :Concept, Objective, Teaching Process and measurement and evaluation. There were four stages of learning: 1) Understanding 2) Taking action 3) apply 4) evaluation and promotion. When applied to 30 field-based students, the efficiency was 81.83 / 81.56, which was higher than the 80/80 criterion. 3. Results of the trial music teaching style by using contemplative concept with Davie’s theory to promote the practical skill of secondary school students found that the students’ learning achievement of posttest was higher than pretest at level .01, the posttest performance was higher than pretest performance at level of significance .01. 4. Students are satisfied with their learning by using music teaching style by using contemplative concept with Davie’s theory to promote the practical skill of secondary school students in overall was at high level. Keywords: Development of music, Contemplative concept, Davie’s theory, Pratical Skills บทนำ�

หลั ก สู ต รแกนกลางการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน พุทธศักราช2551 ได้ก�ำหนดให้กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะเป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการทางศิลปะ ชื่นชมความ งาม มีสุนทรียภาพ ความมีคุณค่า ซึ่งมีผลต่อคุณภาพ ชีวิตมนุษย์ กิจกรรมทางศิลปะช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้ง ด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม ตลอด จนการน�ำไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ผู้ เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง อันเป็นพื้นฐานในการ ศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพได้ และการจัดการเรียน การสอนจะต้องมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความ เข้าใจ มีทักษะวิธีการทางศิลปะ เกิดความซาบซึ้งใน คุณค่าของศิลปะ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงออกอย่าง อิสระในศิลปะแขนงต่าง ๆ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) การจัดกระบวนการเรียนรูท้ เี่ น้นการปฏิบตั จิ ริง เป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะการปฏิบัติการที่เรียน

รู้ด้วยประสบการณ์ตรงจากการเผชิญสถานการณ์จริง และการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระ ท�ำ ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ฝึกคิด ฝึกลงมือท�ำ ฝึกทักษะ กระบวนการต่าง ๆ ฝึกการแก้ปัญหาด้วยตนเอง และ ฝึกทักษะการเสาะแสวงหาความรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มผู้ เรียนได้เรียนรู้ทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติตามแนว ประชาธิปไตย ดนตรีเป็นสิง่ ทีม่ คี ณ ุ ค่าและมีความส�ำคัญ ต่อการด�ำรงชีวิตมนุษย์ มนุษย์ทุกชาติทุกภาษา ไม่ว่า จะมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูงหรือที่ยังล้า หลังอยู่ ต่างก็มีการแสดงออกทางดนตรีเพราะดนตรี มีประโยชน์ก่อให้เกิดความรื่นเริงบันเทิงใจ ส่งผลให้ จิตใจผ่องใส มีชีวิตชีวาดนตรีช่วยให้ความเพลิดเพลิน ให้ความอบอุ่น เป็นการพักผ่อนหย่อนใจ ผ่อนคลาย อารมณ์ เ มื่ อ รู ้ สึ ก เคร่ ง เครี ย ด กระตุ ้ น ให้ รู ้ สึ ก คึ ก คั ก กล้าหาญในยามทีห่ วาดกลัว ทัง้ ยังช่วยหล่อหลอมจิตใจ ให้คนได้หันมาสร้างกิจกรรมร่วมกัน ท�ำให้เกิดความ

15


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

สามัคคีในทางสังคมไทยดนตรีมีบทบาทส�ำคัญต่อชีวิต ของคนไทยจะพบว่างานเหล่านั้นมักจะมีดนตรีเข้าไป เกีย่ วข้องทัง้ สิน้ เช่น งานวันเกิด งานบวช งานแต่งงาน งานศพ ฯลฯ จนสามารถกล่าวได้ว่าที่ไหนมีงานต้องมี ดนตรี ดนตรีมบี ทบาทท�ำให้งานครึกครืน้ ดนตรีมบี ทบาท ต่อชีวติ มนุษย์และมีประโยชน์ตอ่ การด�ำรงชีวติ ของมนุษย์ เรา (วัชรินทร์ สายสาระ, 2530) จากสภาพปัญหาการ เรียนการสอนดนตรีของนักเรียนโรงเรียนประทาย ปัญหา ทีพ่ บคือ 1) นักเรียนขาดสิง่ เร้าหรือแรงจูงใจในการกระ ตุน้ ให้นกั เรียนเกิดความสนใจในการฝึกทักษะ 2) นักเรียน ขาดความกระตือรือร้นในการฝึกซ้อม อารมณ์ ไม่เกิดขึน้ ขาดการจินตนาการในแต่ละกิจกรรม 3) การฝึกแบบ ฝึกหัดต้องใช้เวลานาน นักเรียนเป่าเสียงโน้ตไม่ถกู ต้อง เนือ่ งจากขาดทักษะการฟังเสียงโน้ต 4) ในขณะทีน่ กั เรียน ฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีเกิดความกังวล ขาดความมั่นใจ ความไพเราะและคุณภาพของเสียงไม่นา่ ฟัง 5) ขาดสือ่ และแหล่งเรียนรูท้ หี่ ลากหลาย จากเหตุผลดังกล่าว จึงท�ำให้ผวู้ จิ ยั ต้องการทีจ่ ะ ศึกษาการพัฒนารูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิด จิตตปัญญาผูว้ จิ ยั ได้ให้ความสนใจแนวคิดจิตปัญญา ซึง่ มีจดุ เน้นการปลูกฝัง ตระหนักรูภ้ ายในตน ความเมตตา มีจติ ส�ำนึกต่อส่วนรวม ฝึกปฏิบตั จิ นมีสติและเกิดปัญญา ร่วมกับทฤษฎีของเดวีส ์ ซึง่ จะเน้นการปฏิบตั ทิ กั ษะจาก จุดย่อย ๆ แล้วเชื่อมโยงทักษะไปสู่ทักษะใหญ่ ซึ่งจะ ช่วยให้ผเู้ รียนพัฒนาความสามารถด้านทักษะประสบผล ส�ำเร็จได้ดแี ละรวดเร็วขึน้ จึงเป็นทีม่ าของการน�ำแนวคิด จิตตปัญญาร่วมกับทฤษฏีของเดวีสผ์ สมผสานตามหลัก การพัฒนารูปแบบการสอนให้ได้รูปแบบการสอนที่ เหมาะสม เพือ่ พัฒนาทักษะทางการเรียนการสอนให้สงู ขึน้

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

2. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบ การสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎี ของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติดนตรีของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3. เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการ สอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของ เดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติดนตรีของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อ การใช้รปู แบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญา ร่วมกับทฤษฎีของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติดนตรี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สมมติฐานของการวิจัย

1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการ เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิด จิตตปัญญาร่วมกับทฤษฏีของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะ ปฏิบัติดนตรีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2. นักเรียนมีความสามารถด้านทักษะปฏิบัติ จากการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้ แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฏีของเดวีสเ์ พือ่ ส่งเสริม ทักษะปฏิบตั ดิ นตรีของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาตอนต้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน วิธีดำ�เนินการวิจัย

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนประทาย ต�ำบลประทาย อ�ำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2559 จ�ำนวน 40 คน วัตถุประสงค์การวิจัย กลุม่ ตัวอย่างทีใ่ ช้ในการวิจยั ครัง้ นี้ คือ นักเรียน 1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานส�ำหรับการพัฒนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนประทาย ต�ำบล รูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วม ประทาย อ�ำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ภาค กับทฤษฏีของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติดนตรีของ เรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จ�ำนวน 35 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

16


Vol 1 No 1 January - April 2018

ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) ได้แก่ - การจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการ สอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฏี ของเดวี ส ์ เพื่ อส่งเสริมทัก ษะปฏิบัติของนัก เรี ย นชั้ น มัธยมศึกษาตอนต้น ตัวแปรตาม 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2. ความสามารถด้านทักษะปฏิบัติ 3. ความพึงพอใจของนักเรียน เนื้อหา ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเนื้อหาที่น�ำ มาสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เป็นเนื้อหา เรื่อง การ ฝึกทักษะปฏิบัติ (เครื่องเป่า) รายวิชาดนตรีเพิ่มเติม 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนประทาย จ�ำนวน 20 ชั่วโมง มีดังนี้ เรื่องที่ 1 การเป่าตามลักษณะโน้ต เรื่องที่ 2 การเป่าตามลักษณะโน้ตพร้อมตัว หยุด เรื่องที่ 3 การเป่าแบ่งวรรคตอนของบทเพลง เรื่องที่ 4 การเป่าตามสัญลักษณ์ทางดนตรี เรื่องที่ 5 การเป่าลากเสียงยาว ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ช่วงระหว่างเดือนธันวาคม 2559 ถึง เดือนมีนาคม 2560

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

จากการใช้รูปแบบการสอน 5. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จากการใช้รูปแบบการสอน วิธีดำ�เนินการทดลอง/การเก็บรวบรวมข้อมูล

1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานส�ำหรับการพัฒนารูป แบบการสอนโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎี ของเดวีส์ เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น ศึกษาและสร้างแบบวิเคราะห์ เอกสาร น�ำแบบวิเคราะห์ที่สร้างไปให้ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบและหาค่าดัชนีความสอดคล้องของเครื่อง มือ ปรับปรุงแก้ไขตามค�ำแนะน�ำของผู้เชี่ยวชาญ แบบ บันทึกสนทนากลุ่มได้ศึกษาเอกสาร การจัดการเรียนรู้ กลุม่ สาระการเรียนรูศ้ ลิ ปะ การจัดกิจกรรมการสนทนา กลุ่ม สร้างแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แล้วน�ำไปให้ผู้ เชี่ยวชาญตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไข น�ำไปจัดกิจกรรม การสนทนากลุม่ กับครูผสู้ อนกลุม่ สาระการเรียนรูศ้ ลิ ปะ 2. การสร้างและหาประสิทธิภาพของการรูป แบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับ ทฤษฎีของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติดนตรีของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ศึกษาเอกสาร ทฤษฏี แนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนา รูปแบบการสอน สังเคราะห์และสร้างรูปแบบการสอน จากข้อมูลพื้น ฐาน น�ำรูปแบบการสอนพร้อมหน่วยการจัดการเรียน รู้ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ และประเมินคุณภาพ ความเหมาะสม ความสอดคล้อง ส่วนที่บกพร่องน�ำ ไปปรับปรุง ทดลองกับนักเรียนแบบรายบุคคล แบบ เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครือ่ งมือทีใ่ ช้ กลุ่มเล็ก และทดลองกับนักเรียนที่มาใช่กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้มี 5 ชนิด ประกอบด้วย ปรับปรุงแก้ไข จัดพิมพ์แผนการจัดการเรียนรู้เป็นแบบ 1. รูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิด สมบูรณ์และน�ำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะ 3. การศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการ ปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎี 2. แผนการจัดการเรียนรู้ ตามรูปแบบการ ของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติดนตรีของนักเรียน จัดการเรียนรู้ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ท�ำการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทดสอบวัดทักษะปฏิบัติก่อนเรียน แล้วให้นักเรียน 4. แบบทดสอบวัดทักษะปฏิบัติของนักเรียน

17


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

เรี ย นรู ้ โ ดยใช้ รู ป แบบการสอนดนตรี โ ดยใช้ แ นวคิ ด จิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะ ปฏิ บั ติ ด นตรี ข องนั ก เรี ย นชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาตอนต้ น ท�ำกิจกรรมระหว่างเรียน ทดสอบย่อยหลังเรียนใน แต่ละหน่วย ท�ำการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์และทดสอบ วัดทักษะปฏิบัติหลังเรียน 4. การประเมินผลการใช้รูปแบบการสอน ดนตรี โ ดยใช้ แ นวคิ ด จิ ต ตปั ญ ญาร่ ว มกั บ ทฤษฎี ข อง เดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติดนตรีของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น หลังจากทีเ่ รียนโดยใช้รปู แบบการ สอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีเพือ่ ส่งเสริมทักษะปฏิบตั ดิ นตรีของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษา ตอนต้น เสร็จแล้วให้นกั เรียนท�ำแบบวัดความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์

1.สถิตพิ นื้ ฐานทีใ่ ช้ในการวิเคราะห์ขอ้ มูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) x̄ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 2.สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบเครื่องมือ ได้แก่ การหาความเที่ยงตรง (Validity) การหาค่าอ�ำนาจ จ�ำแนก (Discrimination index B) , หาค่าความ เชื่อมั่น (Reliability), หาค่าอ�ำนาจการจ�ำแนก ของ แบบสอบถามตามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ,หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบ มาตราส่วนประมาณค่าวิธขี อง Cronbach, หาค่าความ ยาก (P) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3.สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้ สถิติ T- test (pairs sample t- test) (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ, (2538) ผลการวิจัย

1. ข้อมูลสภาพปัจจุบันและความต้องการ ในการจัดการเรียนรู้ศิลปะ สภาพปัจจุบัน นักเรียน ขาดสิ่งเร้าหรือแรงจูงใจ ขาดความกระตือรือร้น ขาด ความมั่นใจ ขาดสื่อและแหล่งเรียนรู้ ความต้องการ การจัดการเรียนรู้มุ่งส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะของผู้ เรียนในศตวรรษที่ 21 เน้นกระบวนการกลุ่ม การส่ง

18

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

เสริมความคิดสร้างสรรค์ ทักษะปฏิบัติ การปฏิบัติ งานที่ได้จากกระบวนการปฏิบัติของนักเรียน เพื่อ ให้เกิดประสิทธิภาพ นักเรียนเกิดแรงจูงใจ มีความ กระตือรือร้นมากขึ้น มีสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่จะสร้าง ความมั่นใจ 2. รูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตต ปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดวีส์ เพื่อส่งเสริมทักษะ ปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบ ด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการแนวคิด ทฤษฏี วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน การวัดและ ประเมินผล โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน คือ 1 การสร้างความเข้าใจ 2 ลงมือกระท�ำ 3.น�ำไปใช้ 4 การประเมินผลและการส่งเสริม เมื่อน�ำไปทดลอง ใช้กับนักเรียนแบบภาคสนาม จ�ำนวน 30 คน พบว่า มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 81.83/81.56 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ก�ำหนด ไว้ 80/80 3. ผลการทดลองใช้ รูปแบบการสอนดนตรี โดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดวีสเ์ พือ่ ส่ง เสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ ทักษะปฏิบัติของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. นกั เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียน รูโ้ ดยใช้รปู แบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญา ร่วมกับทฤษฎีของเดวีส์ เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก อภิปรายผลการวิจัย

จากการวิจัยผลการใช้รูปแบบการสอนดนตรี โดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดวีส์ เพื่อ ส่งเสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน ต้น มีการอภิปรายผลการวิจัยดังนี้ 1. ข้อมูลพืน้ ฐานส�ำหรับรูปแบบการสอนดนตรี โดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดวีสเ์ พือ่ ส่ง เสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น


Vol 1 No 1 January - April 2018

สภาพที่คาดหวังในการจัดการเรียนรู้ มุ่งสู่การส่งเสริม ให้นักเรียนมีทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 เน้น กระบวนการกลุ่ม การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ทักษะปฏิบัติ การปฏิบัติงานที่ได้จากกระบวนการ ปฏิบตั ขิ องนักเรียน เพือ่ ให้เกิดประสิทธิภาพสามารถน�ำ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�ำวันได้ ส่งผลให้อยู่ในสังคม ได้อย่างมีคุณภาพ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน 2551 และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียน ประทาย แนวคิดการออกแบบรูปแบบการสอนเชิง ระบบ หลักการ แนวคิด เกีย่ วกับแบบการจัดการเรียนรู้ ของ จอยซ์ และเวลล์ และแนวคิดการออกแบบรูปแบบ การจัดการเรียนรูเ้ ชิงระบบตามรูปแบบการจัดการเรียน รู้ ของทิศนา แขมมณี , Anderson, Arend และคชา กฤษ เหลื่ยมไธสง แนวคิดมีองค์ประกอบที่เหมาะสม และสอดคล้องกับการพัฒนารูปแบบการสอนกลุม่ สาระ การเรียนรู้ศิลปะ แนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการ จัดการเรียนรู้ ทักษะปฏิบัติ ได้แก่ แนวคิดจิตตปัญญา และทฤษฏี ข องเดวีส์ มุ่งส่งเสริมนัก เรียน มี ทั ก ษะ กระบวนการท�ำงาน ทักษะปฏิบัติ สามารถท�ำงานร่วม กับผูอ้ นื่ ได้ด ี มีการแสวงหาความรูจ้ ากแหล่งเรียนรูต้ า่ ง ๆ น�ำไปสู่การพัฒนาทักษะปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพที่ดี ยิ่งขึ้นการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัจจุบัน ข้อมูลสภาพ ปัจจุบันและความต้องการในการจัดการเรียนรู้กลุ่ม สาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนประทาย โดยการ สนทนากลุ่ม (Focus group) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการ เรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนประทาย จ�ำนวน 10 ท่าน เพื่อ ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการ เรียนรู้ พบว่าสภาพที่คาดหวังในการจัดการเรียนรู้ มุ่ง สู่การส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะของผู้เรียนศตวรรษที่ 21 มีทักษะการคิด มีทักษะการเรียนรู้ ทักษะการใช้ เทคโนโลยี ทักษะการใช้ชีวิต เพื่อให้นักเรียนมีความ คิดสร้างสรรค์ มีการจินตนาการ ชื่นชมความงาม แก้ ปัญหาได้ สามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�ำวัน ได้ ส่งผลให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพและมีความ สุข เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 และหลักสูตรสถานศึกษา

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

โรงเรียนประทาย ที่ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนเก่ง คน ดี และมีความสุข ความต้องการในการจัดการเรียนรูศ้ ลิ ปะทีเ่ น้น การปฏิบัติงานที่ได้มาจากกระบวนการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียน เกิดจินตนาการ มีการเรียนแบบร่วมมือ การแก้ปัญหา กล้าแสดงออกเกิดการเรียนรู้ สามารถ น�ำความรูไ้ ปประยุกต์ใช้ในชีวติ ประจ�ำวันได้ จึงต้องการ สร้างและพัฒนารูปแบบการสอนที่มุ่งเน้นให้นักเรียน มีความรู้ ความสามารถ กล้าแสดงออกอย่างมั่นใจ มี ความคิดสร้างสรรค์โดยผ่านการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อฝึกให้นักเรียนมี ความเป็นผู้น�ำ ผู้ตามที่ดี ส่งเสริม ความสามารถด้านทักษะปฏิบตั ิ ทักษะการใช้เทคโนโลยี และทักษะชีวิต ให้เป็นนักเรียนที่มีทักษะการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 2. การสร้ า งรู ป แบบการสอนดนตรี โ ดยใช้ แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดวีส์ เพื่อส่ง เสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น รูปแบบการสอนนี้มีชื่อว่า “ MPAE Model ” มีองค์ ประกอบดังนี้ หลักการ แนวคิด ทฤษฏี วัตถุประสงค์ กระบวนการจั ด การเรี ย นการสอน การวั ด และ ประเมินผล โดยรูปแบบการจัดการเรียนรูท้ พี่ ฒ ั นาขึน้ มี กระบวนการจัดการเรียนรู ้ 4 ขัน้ ตอน คือ 1)การสร้าง ความเข้าใจ (Making Understanding) 2) ลงมือกระท�ำ (Performance) 3) น�ำไปใช้ (Apply) 4) การประเมิน ผลและการส่งเสริม (Evaluate and Promote) ตรวจ สอบความสอดคล้องของรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญ มีการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน แนวคิด ทฤษฏี ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การพั ฒ นารู ป แบบการสอน อย่างครอบคลุม ได้แก่ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับนโยบาย การจัดการศึกษา แผนการจัดการศึกษา หลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนประทาย ศึกษา ทฤษฏีเกี่ยวกับทักษะปฏิบัติ อย่างมีขั้นตอนที่ถูกต้อง ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิด จิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดวีส์ เพื่อส่งเสริมทักษะ ปฏิบตั ขิ องนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาตอนต้น โดยน�ำไปหา

19


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ประสิทธิภาพจากการทดลองแบบภาคสนาม (Filed Tryout) กับนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จ�ำนวน 30 คน มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.83/81.56 หมายความว่า ค่าเฉลี่ยของ คะแนนจากการท�ำกิจกรรมและท�ำแบบทดสอบย่อย ได้ถกู ต้องและการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนทัง้ หมด ร้อยละ81.83 และค่าเฉลี่ยคะแนนจากการท�ำแบบ ทดสอบหลังเรียนได้ถูกต้องของนักเรียนทั้งหมดร้อย ละ 81.56 ซึ่งแสดงว่ารูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้ แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดวีส์ เพื่อส่ง เสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน ต้น มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ก�ำหนด 80/80 ที่ ตั้งไว้ สอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1 แสดง ว่ารูปแบบการสอนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ สามารถ น�ำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้จริง จากการ สร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน ได้รูป แบบการสอนที่เป็นนวัตกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ที่ พัฒนากระบวนการปฏิบัติของนักเรียน ฝึกปฏิบัติตาม ขั้นตอนกระบวนการท�ำงานและกระบวนการกลุ่ม ใน การท�ำงานได้ดี มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนภายใน กลุ่มและระหว่างกลุ่ม มีเทคนิคในการฝึกปฏิบัติ กล้า แสดงออกในทางที่ดี มีสุนทรียทางดนตรี มีความ กระตือรือร้น นักเรียนจึงมีความเชื่อมั่นในตนเอง จากการสังเกตพฤติกรรมนักเรียนมีทักษะปฏิบัติดีขึ้น สามารถน�ำไปใช้ในชีวิตประจ�ำวันได้ ได้รูปแบบการ จัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น จึงมีประสิทธิภาพสูงกว่า เกณฑ์ที่ก�ำหนด ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ อารยา ช่ออังชัญ (2551 : 188) ที่พัฒนารูปแบบการเรียน การสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา อย่างมีวจิ ารณญาณ กลุม่ สาระการเรียนรูว้ ทิ ยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ี 5 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.11/87.67 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ซึ่ง สูงกว่าเกณฑ์ที่ก�ำหนด และสอดคล้องกับงานวิจัยของ นางศุภาภรณ์ ค�ำแน่น (2555 : 192) ที่พัฒนารูปแบบ การสอนคณิตศาสตร์ โดยประยุกต์แนวคิดการเรียนรู้ แบบร่วมมือที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ส�ำหรับนักเรียน

20

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการ สอนเท่ากับ 81.85/83.85 สูงกว่าเกณฑ์ที่ก�ำหนดไว้ที่ 80/80 และสอดคล้องกับงานวิจัยของ จิราภรณ์ พิม ใจใส (2553 : 218) ทีพ่ ฒ ั นารูปแบบการเรียนการสอน ตามทฤษฏีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล ที่มีชื่อว่า PARCE Model มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.88/82.75 ซึ่งเป็น ไปตามเกณฑ์ 80/80 3. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่ อ นเรี ย นและหลั ง เรี ย นจากการเรี ย นรู ้ โ ดยใช้ รู ป แบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับ ทฤษฎีของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้อง กับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2.1 ทั้งนี้เนื่องมาจากรูป แบบการจัดการเรียนรู้นี้ได้ผ่านกระบวนการพัฒนา อย่างเป็นขั้นตอน ผ่านการตรวจสอบและประเมินจาก ผู้เชี่ยวชาญ ผ่านกระบวนการทดลองใช้จนท�ำให้รูป แบบการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ สามารถน�ำไป ใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้ตามขั้นตอนของรูปแบบการ สอน ซึ่งในแผนการจัดการเรียนรู้ตามขั้นตอนของรูป แบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับ ทฤษฎีของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีเนื้อหาเรื่อง การฝึกทักษะ ปฏิบัติเครื่องลมทองเหลือง โดยเน้นให้นักเรียนฝึก ทักษะปฏิบัติจากแบบฝึกและบทเพลง โดยครูสาธิตให้ นักเรียนดูในขั้นตอนแรกแล้วให้นักเรียนปฏิบัติตามไป ทีละแบบฝึกหัด ซึ่งเป็นแบบฝึกย่อย ๆ ในแต่ละบทฝึก จะมีความแตกต่างกัน ท�ำให้นกั เรียนเกิดการเรียนรูแ้ ละ ค้นพบเทคนิคต่าง ๆ สามารถน�ำไปใช้บรรเลงบทเพลง ซึง่ เป็นแบบฝึกในขัน้ ตอนสุดท้าย หรือนักเรียนสามารถ ค้นคว้าเทคนิคหรือวิธีการบรรเลงได้จากอินเตอร์เน็ต ท�ำให้การบรรเลงบทเพลงมีความไพเราะ น่าฟังยิ่งขึ้น ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น ซึ่ง สอดคล้องกับงานวิจัยของ สมมาตร ค�ำเพิ่มพูน (2554 : 149) ได้ท�ำการวิจัยการพัฒนารูปแบบการสอนศิลปะ


Vol 1 No 1 January - April 2018

เพื่ อ ส่ ง เสริ ม ความคิ ด สร้ า งสรรค์ แ ละจิ ต ส�ำนึ ก โดย จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผลการวิจัยพบ ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สอดคล้องกับ พัทธวรรณ เกิดสมนึก (2554 : 168) การพัฒนารูป แบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยแบบ PSQ4R ส�ำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการวิจัยพบว่าผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่าง มีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การเปรียบเทียบทักษะปฏิบตั ขิ องนักเรียนจาก การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิด จิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะ ปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2.2 ทั้งนี้อาจ เนื่องมาจากกระบวนการจัดการเรียนรู้เน้นให้นักเรียน ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม โดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะ ปฏิบัติที่ได้สร้างขึ้น ท�ำให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ด้วยตนเอง ในการประเมินมีการประเมินผลทัง้ ระหว่าง เรียนและประเมินเมือ่ สิน้ สุดกิจกรรม ส่งผลให้นกั เรียน มีความกระตือรือร้น มีความตั้งใจ ส่งผลให้การฝึก ทักษะของนักเรียนสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ อดุลย์ เปลื้องสันเทียะ (2550 : 172) ได้ท�ำการวิจัย เรื่องพัฒนาแบบฝึกทักษะการเล่นเครื่องดนตรีสากล ประเภท เครื่องเป่าทองเหลืองส�ำหรับนักเรียนวงโยธ วาทิตโรงเรียนสุรนารีวิทยา ระดับชั้นมัธยมศึกษา ผล การทดลองใช้แบบฝึกทักษะพบว่า นักเรียนกลุม่ ทดลอง มีคะแนนเฉลีย่ ในการฝึกทักษะปฏิบตั ิ หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ สอดคล้องกับ รวีวรรณ โขนงนุช (2551 :114) ได้ท�ำการ วิจยั เรือ่ งพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรูเ้ รือ่ ง การ เขียนลายสังคโลกโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนเมืองเชลียง อ�ำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมพบว่า นักเรียน

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส�ำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผลการวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มี ต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนดนตรีโดย ใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดวีส์เพื่อส่ง เสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ x̄ ากับ 4.24 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.41 ทั้ ง นี้ อ าจเนื่ อ งมาจากรู ป แบบการสอนได้ อ อกแบบ กิจกรรมการเรียนรู้โดยมีการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เพื่อ ให้มีความสอดคล้องกับนักเรียนโดยได้พิจารณาจาก การตรวจสอบความต้องการของผู้เชี่ยวชาญและครูผู้ สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ และศึกษาข้อมูลการ วิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสาร แนวคิดการออกแบบรูป แบบการสอนเชิงระบบ หลักการและแนวคิดของ เควิน ครูส (Kevin Kruse 2008 : 1) แนวคิด ทฤษฏี เอกสาร งานวิจยั ทีเ่ กีย่ วกับทักษะปฏิบตั ิ ซึง่ ในการจัดการเรียนรู้ ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน นักเรียนได้ศึกษา ความรู้จากใบความรู้ จากการสืบค้นจากแหล่งเรียน รู้ต่าง ๆ จนเข้าใจ น�ำไปสู่การฝึกปฏิบัติแบบฝึกและ บทเพลงจนประสบความส�ำเร็จ สอดคล้องกับงานวิจัย ของ รุ่งทิพย์ ธนะทองพิทักษ์ (2556 : 150) ได้ศึกษา การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดกล้วยพืชมหัศจรรย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและ หาประสิ ท ธิ ภ าพหนั ง สื อ อ่ า นเพิ่ ม เติ ม ชุ ด กล้ ว ยพื ช มหัศจรรย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนโดย ใช้หนังสืออ่านเพิม่ เติม พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจ โดยรวมอยูใ่ นระดับมากทีส่ ดุ และสอดคล้องกับ วนิดา ไชยมี (2554 : 109) ได้ท�ำการศึกษาค้นคว้าการพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์ทเี่ น้นทักษะกระบวนการโดยใช้คมู่ อื ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ผลิตภัณฑ์ จากเปลือกข้าวโพด กลุม่ สาระการเรียนรูก้ ารงานอาชีพ และเทคโนโลยีชนั้ ประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการวิจยั พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ทเี่ น้นทักษะกระบวนการโดยใช้คมู่ อื

21


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรือ่ ง ผลิตภัณฑ์จาก ปฏิบัติจริง เปลือกข้าวโพด โดยรวมอยู่ในระดับมาก 1.3 ระยะเวลาทีใ่ ช้ในการจัดกิจกรรมการเรียน รู้ศิลปะตามรูปแบบการสอนนี้ต้องใช้เวลาที่ต่อเนื่อง ขขข้อเสนอแนะ กันอย่างเพียงพอในการท�ำกิจกรรม การเตรียมเครื่อง 1. ข้อเสนอแนะทั่วไป ดนตรีครูผู้สอนอาจจะให้นักเรียนเตรียมเครื่องดนตรี 1.1 รูปแบบการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนี้ ไว้ก่อนล่วงหน้า เพราะเครื่องดนตรีบางประเภทอาจ เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ใช้เวลาในการประกอบเครื่องนาน และเพื่อให้เครื่อง ตอนต้น โดยใช้กระบวนการเรียนรูท้ เี่ น้นส่งเสริมทักษะ ดนตรีพร้อมใช้งานได้สมบูรณ์ ปฏิบตั ิ ซึง่ จะท�ำให้ผเู้ รียนเกิดการเรียนรูอ้ ย่างเป็นระบบ 2. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการวิจัยครั้งต่อไป ดังนั้นจึงควรศึกษาแต่ละองค์ประกอบของรูปแบบการ 2.1 ควรมีการน�ำเทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล สอนทีผ่ วู้ จิ ยั พัฒนาขึน้ อย่างลึกซึง้ เพือ่ ให้สามารถน�ำรูป แบบอื่น ร่วมกับการสัมภาษณ์ เช่น การสังเกต เพื่อ แบบการสอนไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ให้ได้ข้อมูลที่เพียงพอมาสังเคราะห์ ครอบคลุมการจัด 1.2 การน�ำรูปแบบการสอนนี้ไปใช้ในการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะ ครูผู้สอนจัดการเรียนรู้ใน 2.2 ควรมีการประเมินรูปแบบการสอนเชิง รายหน่วยการเรียนรู้อื่น โดยสามารถน�ำไปใช้ในทุก ทฤษฏี โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรอบรู้เกี่ยวกับการจัด เนือ้ หาประเภทเน้นทักษะ เนือ่ งจากกิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละด้านอย่างหลากหลาย ทีอ่ อกแบบมีความเหมาะสมกับเนือ้ หาทีผ่ เู้ รียนได้ลงมือ เอกสารอ้างอิง กระทรวงศึกษาธิการ. (2545) หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : องค์การ รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) _____. (2551) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. คชากฤษ เหลี่ยมไธสง. (2554) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสาน โดยใช้ กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การคิดแก้ปัญหาของนิสิต ระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. จิราภรณ์ พิมใจใส. (2553) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฏีการสร้างความรู้เพื่อ ส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขา หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร. ทิศนา แขมมณี. (2545) ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พัทธวรรณ เกิดสมนึก. (2554) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยแบบ PSQ4R สําหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

22


Journal of Educational Technology and Communications

Vol 1 No 1 January - April 2018

Facutyl of Education Mahasarakham University

รวีวรรณ โขนงนุช. (2551). การพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนลายสังคโลกโดย ใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. รุ่งทิพย์ ธนะทองพิทักษ์. (2556) รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ชุดสร้างสรรค์งานเอกลักษณ์ ไทยด้วยใบตอง เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. นครราชสีมา : โรงเรียนประทาย. วนิดา ไชยมี. (2554) ผลิตภัณฑ์จากเปลือกข้าวโพด กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ร้อยเอ็ด : โรงเรียนบ้านแดงโนนสว่าง. วัชรินทร์ สายสาระ. (2530) ปัญหาการเรียนการสอนวิชาดนตรีศึกษาระดับมัธยมศึกษาในเขตจังหวัด เลย. เลย : วิทยาลัยครูเลย. ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538) เทคนิคทางการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4 .กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. ศุภาภรณ์ ค�ำแน่น. (2555) การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์โดยประยุกต์ แนวคิดการเรียนรู้ แบบร่วมมือที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. นครราชสีมา : โรงเรียนประทาย. สมมาตร ค�ำเพิ่มพูน. (2544) การพัฒนารูปแบบการสอนศิลป์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และจิตส�ำนัก โดยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อดุลย์ เปลื้องสันเทียะ. (2550) การพัฒนาแบบฝึกการเล่นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าทองเหลือง ส�ำหรับนักเรียนวงโยธวาธิต โรงเรียนสุรนารี ระดับชั้นมัธยมศึกษา. อารยา ช่ออังชัญ. (2551) การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมี วิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. Anderson. (1999) The profession and Practice of Program Evaluation.California : Jossey Badd - Publishers Kruse, Kevin. (2007) Instruction to instructional design and the ADDIE model. retrieve from http: www.e-learningguru.com/articles/art1_1.htm. on 10 feb 2018.

วรวลัญช์ บูชาธรรม : ออกแบบจัดหน้าบทความ

23


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ The Development of a Model for Developing Desired Characteristics of the Students of Buayai School.

นุวัฒน์ อุทารสวัสดิ์

1

Nuwat Eutansawat

1

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สร้างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียน บัวใหญ่และ 2. น�ำรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ไปใช้ประชากรที่ใช้ใน การศึกษาได้แก่ (1) นักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ ที่ก�ำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2558 - 2559 จ�ำนวน 2,189 คน (2) บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ ประกอบด้วยบุคลากรต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2558 - 2559 ในโรงเรียนบัวใหญ่ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียน จ�ำนวน 5 คน ครูผู้สอน โรงเรียนบัวใหญ่ จ�ำนวน 116 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบัวใหญ่ จ�ำนวน 15 คน และผู้ปกครอง นักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ที่มีบุตร หลานก�ำลังศึกษาอยู่ในปีการ 2558 - 2559 จ�ำนวน 2,189 คน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ 1) นักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ จ�ำนวน 240 คน ก�ำหนดกลุม่ ตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซีแ่ ละมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970) และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) 2) บุคลากรที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะอัน พึงประสงค์ของนักเรียนประกอบด้วย 2.1) ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียน จ�ำนวน 5 คน 2.2) ครูผู้สอนโรงเรียนบัวใหญ่ จ�ำนวน 89 คน 2.3) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จ�ำนวน 14 คน 2.4) ผู้ปกครองนักเรียน จ�ำนวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ 2) แบบ ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ 3) แบบสอบถาม เกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียน 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อย ละ ค่าเฉลี่ย ( x̄ ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าสัมประสิทธิความแปรผัน (C.V.) สถิติค่าที (t- test) ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ มี 6 องค์ประกอบ คือ (1) หลัก การของรูปแบบ ประกอบด้วย 1.1) หลักการรูปแบบการพัฒนา 1.2) แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1.3) หลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 1.4) หลักการบูรณาการการเรียนการสอน 1.5) หลักการจัดกิจกรรม นักเรียน (2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (3) ระบบและกลไกของรูปแบบ ประกอบด้วย 3.1) ผู้อ�ำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนบัวใหญ่ 3.2) ฝ่ายบริหารวิชาการ 3.3) ฝ่ายบริหารกิจการนักเรียน 3.4) ฝ่ายบริหารทั่วไป 3.5) ฝ่ายบริหาร ส่งเสริมและบริการ (4) วิธีด�ำเนินงานของรูปแบบ ประกอบด้วย 4.1] พัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ 4.2) การบูรณาการ ภาคีเครือข่าย 4.3) การสร้างภูมิคุ้มกันด้วยสื่อเทคโนโลยี (5) การประเมินผลรูปแบบ) (6) เงื่อนไขของรูปแบบ ประกอบ ด้วย 6.1) ฝ่ายบริหารสถานศึกษาจะต้องตระหนักและให้ความส�ำคัญในการก�ำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอัน พึงประสงค์ 4 ประการ ได้แก่ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตสาธารณะ 6.2) จัดให้มีโครงการเกี่ยวกับการ พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 6.3) ฝ่ายบริหารต้องมีระบบการประสานงานทีม่ คี ณ ุ ภาพและมีความต่อเนือ่ งเป็นระบบ 6.4) มีการก�ำกับติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 1 1

24

รองผู้อ�ำนวยการช�ำนาญการพิเศษ โรงเรียนบัวใหญ่ อ�ำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา Senior Professional Level Deputy Director Buayai School Buayai District Nakhon Ratchasima Province.


Vol 1 No 1 January - April 2018

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

2. ผลการน�ำรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ไปใช้ 2.1 ผลการประเมินหลังการทดลองใช้รปู แบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ พบว่าความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียนมีความ เห็นสอดคล้องกันว่า ในภาพรวมหลังการทดลองใช้รูปแบบนักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ใน 4 ประการ ได้แก่ มี วินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตสาธารณะ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ =4.50) บุคคลทั้งสี่ประเภทมีความคิด เห็นในเรือ่ งดังกล่าวแตกต่างกันปานกลาง (C.V.= 13.16) และพบว่าเมือ่ เปรียบเทียบก่อนการทดลองใช้รปู แบบนักเรียน มีพฤติกรรมอยู่ในระดับปานกลาง แต่หลังการทดลองนักเรียนมีพฤติกรรมดีขึ้นอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ = .01 2.2 ผลการประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของนั ก เรี ย นโรงเรี ย นบั ว ใหญ่ พบว่ า นั ก เรี ย นมี ค วามพึ ง พอใจต่ อ การใช้ รู ป แบบการพั ฒ นาคุ ณ ลั ก ษณะอั น พึ ง ประสงค์ ข องนั ก เรี ย นโรงเรี ย นบั ว ใหญ่ ใ น 4 ประการ ได้ แ ก่ มี วิ นั ย ใฝ่ เ รี ย นรู ้ อยู ่ อ ย่ า งพอเพี ย ง และมี จิ ต สาธารณะในภาพรวมอยู ่ ใ นระดั บ มากที่ สุ ด ( x̄ =4.52) ความคิ ด เห็ น ของนั ก เรี ย นในเรื่ อ งดั ง กล่ า วแตกต่ า ง กั น ปานกลาง (C.V.=13.71) ด้ า นที่ มี ร ะดั บ มากที่ สุ ด ได้ แ ก่ ด้ า นการสร้ า งภู มิ คุ ้ ม กั น ด้ ว ยสื่ อ เทคโนโลยี ( x̄ =4.55) ด้านผู้บริหาร และครู ( x̄ =4.54) และด้านการจัดบรรยากาศภายในสถานศึกษา ( x̄ =4.53) ตามล�ำดับ 2.3 ผลการติ ด ตามประเมิ น ผลการทดลองใช้ รู ป แบบการพั ฒ นาคุ ณ ลั ก ษณะอั น พึ ง ประสงค์ ข อง นั ก เรี ย นโรงเรี ย นบั ว ใหญ่ พบว่ า ความคิ ด เห็ น ของผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษา ครู คณะกรรมการสถานศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานและผู ้ ป กครองนั ก เรี ย นมี ค วามเห็ น สอดคล้ อ งกั น ว่ า ในภาพรวมการติ ด ตามการทดลองใช้ รู ป แบบนั ก เรี ย น มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ใน 4 ประการ ได้แก่ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตสาธารณะ อยู่ ในระดั บ มากที่ สุ ด ( x̄ =4.64) บุ ค คลทั้ ง สี่ ป ระเภทมี ค วามคิ ด เห็ น ในเรื่ อ งดั ง กล่ า วแตกต่ า งกั น ปานกลาง (C.V.= 11.42) และพบว่ า หลั ง การทดลองนั ก เรี ย นยั ง คงมี พ ฤติ ก รรมอยู ่ ใ นระดั บ มากที่ สุ ด และสู ง ขึ้ น อย่ า งมี นั ย ส�ำคั ญ ทางสถิ ติ ที่ ร ะดั บ = .01 ยั ง คงมี คุ ณ ลั ก ษณะอั น พึ ง ประสงค์ ทั้ ง สามด้ า นนั้ น อยู ่ ใ นระดั บ ดี ค�ำส�ำคัญ : รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ Abstract This research aimed to 1) formulate a model for developing desired characteristics of the students of Buayai school, and 2) try out the model. The research population included 1) 2189 students studying at Buayai School during the academic years of 2015-2016, 2) the school personnel of Buayai School who got involved with the development of desired characteristics and worked at the school during the academic years of 2015-2016 including 5 administrators, 116 teachers, 15 school councilors, and 2189 parents/ guardians of the students studying in school during the academic years of 2015-2016. Based on Krejcie and Morgan table of sample size (Krejcie and Morgan, 1970) and Stratified Random Sampling method, the sample group comprised 1) 240 students, 2) the school personnel who were the research informants on desired characteristics; namely, 2.1) 5 administrators , 2.2) 89 teachers, 2.3) 14 school councilors, 2.4) 240 parents/ guardians of the students. The research instruments used in this study were (1) a model for developing desired characteristics of the students of Buayai school, (2) a form to assess an appropriateness of the model for developing desired characteristics of the students of Buayai school, (3) a questionnaire on students’ behaviors, and (4) an assessment form on students’ satisfaction. The statistics used to analyze data included the percentage, mean, standard deviation (S.D), coefficient of variation (C.V.), and t-test.

25


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

The research findings revealed as follows: 1. The model for developing desired characteristics of the students of Buayai school consisted of 6 components: (1) principles on models including 1.1) development model principles, 1.2) guidelines for developing desired characteristics, 1.3) principles on student-centered instruction, 1.4) principles on integrated teaching and learning, 1.5) principles on organizing students’ activities; (2) objectives of the model; (3) the model system and mechanisms which included 3.1) director of Buayai School, 3.2) academic administration 3.3) students affairs administration, 3.4) general affairs administration, 3.5) promotion and service administration; (4) the model implementation consisting of 4.1) developing learning potentials, 4.2 ) integrating school networks, 4.3) building immunity through technology; (5) evaluating the model, and (6) four conditions in adopting the model.6.1) The school administrators were well aware and considered it important in developing the four desired characteristics in the policy: self-discipline, learning enthusiasm, self-sufficiency and public mind. (6.2) The school had plans for developing desired characteristics of students.(6.3) The school administration had an efficient, continuous coordinating system. (6.4) The school monitored, followed and evaluated the program continuously. 2. The results from trying out the model for developing desired characteristics of the students of Buayai School. 2.1 As a whole, after trying out the model, the result indicated that the school administrators, teachers, school councilors, and parents/ guardians of the students were in congruence in their opinions on desired characteristics for students in 4 aspects; namely, selfdiscipline, learning enthusiasm, self-sufficiency and public mind, the highest level ( x̄ =4.50). The samples of four categories showed different opinions on the same aspects at a moderate level (C.V.=13.16). In com parison between pre and post experiments, it was found that students’ behavioral performances were at a moderate level in the pre- experiment stage, but in the post- experiment stage, their behaviors were improved with statistical significance at .01 level. 2.2 The result showing the students’s satisfaction on the model for developing desired characteristics of the students of Buayai School indicated that the students were satisfied with four aspects of the model including self-discipline, learning enthusiasm, self-sufficiency and public mind, as a whole, at the highest level ( x̄ =4.52). They showed different opinions on the same aspects at a moderate level (C.V.=13.71) ranging from building immunity through technology ( x̄ =4.55), administrators and teachers ( x̄ =4.54) and school atmosphere ( x̄ =4.53) respectively. 2.3 In the following up stage after the experiment of the model for developing desired characteristics of the students of Buayai School, it was found that the school administrators, teachers, school councilors, and parents/ guardians of the students were in line in their opinions in using the model to follow up four desired characteristics of students: self-discipline, learning enthusiasm, self-sufficiency and public mind at the highest level x̄ =(4.64). The samples of four categories showed different opinions at a moderate level (C.V.=11.42). Moreover, the research revealed that after experiment, students maintained their behavioral performances at the highest level with the statistical significance at .01 level. The other three aspects of desired characteristics were rated at a high level. Key words: model for developing desired characteristics

26


Vol 1 No 1 January - April 2018

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

บทนำ� พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 1 มาตรา 6 ได้ก�ำหนดความมุ่งหมายและหลักการ ในการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจสติปัญญาความรู้ และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการด�ำเนินชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข หลักสูตรแกน กลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้ก�ำหนด จุดหมายเพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มี ความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ จึงก�ำหนดเป็นจุดหมาย เพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อจบการ ศึกษาคือ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรม ของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ หลักสูตร ได้ก�ำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน เพื่อให้ สามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขใน ฐานะพลเมืองไทยและพลเมืองโลก ดังนี้ 1) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2) ซื่อสัตย์ 3) มีวินัย 4) ใฝ่เรียนรู้ 5) อยู่อย่างพอ เพียง 6) มุ่งมั่นในการงาน 7) รักความเป็นไทย 8) มีจิต สาธารณะ(กระทรวงศึกษาธิการ, 2548 : 3-5) ประกอบ กั บ ส�ำนั ก งานรั บ รองมาตรฐานและประเมิ น คุ ณ ภาพ การศึกษา องค์การมหาชนได้ก�ำหนดเกณฑ์มาตรฐาน การศึกษาที่สอดคล้องกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของ นักเรียนในการประเมินคุณภาพภายนอก ก�ำหนดให้ด้าน ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ โดยมีตัวบ่งชี้ คือ ผู้เรียนมีวินัย มีความรับผิดชอบ มีความ ประหยัด ผู้เรียนมีความเกรงใจผู้อื่น มีความเมตตากรุณา โอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละเพื่อส่วนรวม รู้จักบริจาคทรัพย์สินเพื่อผู้อื่นหรือเพื่อส่วนรวม การเข้า ร่วมกิจกรรมพัฒนาสถานศึกษาและท้องถิ่น การปฏิบัติ ตนเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม มีส่วนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชนและสังคม (ส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน), 2555 : 7-12) จากเป้าหมายการศึกษา ของชาติที่ต้องการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ในตนเองนั้น มีสถิติและงานวิจัยที่บ่งชี้ว่าคนไทย เยาวชนไทยยังขาดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในตนเอง สอดคล้องกับงานวิจัยที่พบว่านักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปัญหาในคุณลักษณะอันพึง

ประสงค์ เช่น โรงเรียนบ้านนาเรียง อ�ำเภอน�ำ้ พอง จังหวัด ขอนแก่น (ไพสุดา แก้วลือ, 2557 : 56) โรงเรียนอมตวิทยา อ�ำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น (กัลยาณี ปสั สาวะโท, 2555 : 97-98) โรงเรียนบ้านโนนพุทรา อ�ำเภอพิมาย จังหวัด นครราชสีมา (สุพล แกวหนองแสง, 2554 : 3) โรงเรียนโพธิ์ ธาตุประชาสรรค์ อ�ำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ (อุดม ยก พล, 2553 : 6) โรงเรียนแกด�ำวิทยาคาร อ�ำเภอแกด�ำ จงั หวัด มหาสารคาม (ทองพูล ภูสมิ , 2553 : 118-119) โรงเรียนบัวใหญ่เป็นสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด สภาพปัจจุบันพบว่านักเรียน บางส่วนมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ทั้งนี้อาจมีสาเหตุมา จากครอบครัวทีม่ พี นื้ ฐานทางเศรษฐกิจ ไม่ดี มีรายได้นอ้ ย บางครอบครัวแตกแยกและเกิดภาวะผู้ปกครองย้ายถิ่น นักเรียนขาดความอบอุ่น อยู่ในหมู่บ้านห่างไกลโรงเรียนมี ปัญหาการมาโรงเรียนไม่ทัน (โรงเรียนบัวใหญ่, 2558ก : 21) สอดคล้องกับข้อมูลการประชุมผู้ปกครองร่วมประชุม กับครูทปี่ รึกษา (Classroom Meeting) ปีการศึกษา 2557 ในวันที่ 13 กันยายน 2557 และปีการศึกษา 2558 ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 ท�ำให้ทราบว่าปัจจุบนั โรงเรียนมีสว่ นที่ เป็นข้อจ�ำกัดหรือมีจดุ อ่อนทีจ่ �ำเป็นทีจ่ ะต้องได้รบั การแก้ไข และต้องได้รบั การพัฒนากล่าวคือ นักเรียนไม่สนใจในการ เรียน ขาดความกระตือรือร้น ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ขาดวินยั นอกจากนีย้ งั ขาดจิตสาธารณะ การเอือ้ เฟือ้ เผือ่ แผ่ ต่อผูอ้ นื่ (โรงเรียนบัวใหญ่, 2557 : 21 ; โรงเรียนบัวใหญ่, 2558ข : 23) สอดคล้องกับผลการประเมินภายนอกรอบ สอง (พ.ศ.2549-2553) ของโรงเรียนบัวใหญ่ จากส�ำนักงาน รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ (ส�ำนักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน), 2553 : 3) ให้สถานศึกษาก�ำหนดทิศทางการพัฒนาสถาน ศึกษาในอนาคต โดยการวางแผนพัฒนาให้ผู้เรียนปฏิบัติ ตนอย่างยัง่ ยืนในการมีคณ ุ ธรรม จริยธรรมและค่านิยมทีพ่ งึ ประสงค์เป็นคนดีของสังคม ด�ำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมที่ดีงาม และผลจากการประเมินภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) (ส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน), 2556 : 4-5) ให้สถานศึกษาควรพัฒนา ส่งเสริมให้ผเู้ รียนมีความใฝ่รใู้ ฝ่เรียน ซึง่ อยูใ่ นองค์ประกอบ ของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และมีขอ้ เสนอแนะเพือ่ การ พัฒนาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธกี าร

27


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 ให้สถานศึกษาควร จัดท�ำโครงการและกิจกรรมละลายพฤติกรรมและความรูส้ กึ นึกคิดของผูเ้ รียนทีต่ กอยูใ่ นกลุม่ เสีย่ งทุกคน ด้วยเหตุนผี้ วู้ จิ ยั จึงสนใจทีจ่ ะศึกษาและสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ เพื่อพัฒนา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ให้เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุขของสังคมต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างรูป แบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนบัวใหญ่ และมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1. เพือ่ สร้างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ 2.เพื่ อ ศึ ก ษาผลการใช้ รู ป แบบการพั ฒ นา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ ขอบเขตของการวิจัย 1.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากร 1) นักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ ที่ก�ำลัง ศึกษาปีการศึกษา 2558 - 2559 จ�ำนวน 2,189 คน 2) บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ ประกอบด้วยบุคลากรต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2558 - 2559 ในโรงเรียนบัวใหญ่ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียน จ�ำนวน 5 คน ครูผู้สอนโรงเรียนบัวใหญ่ จ�ำนวน 116 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียน บัวใหญ่ จ�ำนวน 15 คน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียน บัวใหญ่ที่มีบุตรหลานก�ำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2558 - 2559 จ�ำนวน 2,189 คน 1.2 กลุม่ ตัวอย่าง 1) นักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ที่เป็นกลุ่ม ตัวอย่าง จ�ำนวน 240 ก�ำหนดกลุม่ ตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจ ซีแ่ ละมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970) และใช้วธิ กี าร สุม่ แบบแบ่งชัน้ (Stratified Random Sampling) 2) ก�ำหนดบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการ ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ประกอบด้วย 2.1) ผูบ้ ริหารสถานศึกษา จ�ำนวน 5 คน 2.2) ครูผสู้ อนโรงเรียนบัวใหญ่ จ�ำนวน 89 คน 2.3) คณะกรรมการสถานศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน จ�ำนวน

28

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

14 คน 2.4) ผูป้ กครองนักเรียน จ�ำนวน 240 คน รวมบุคคล ทีใ่ ห้ขอ้ มูลเกีย่ วกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ทัง้ หมดจ�ำนวน 348 คน 2. ขอบเขตด้านเนือ้ หา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน 8 ด้าน ประกอบด้วย 1) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2) ซือ่ สัตย์สจุ ริต 3) มีวนิ ยั 4) ใฝ่เรียนรู้ 5)อยูอ่ ย่างพอเพียง 6) มุง่ มัน่ ในการท�ำงาน 7) รักความเป็นไทย 8) มีจติ สาธารณะ 3. เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการวิจยั ครัง้ นีม้ ี 4 ชนิด ประกอบ ด้วย 3.1 รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ 3.2 แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ 3.3 แบบสอบถามเกีย่ วกับพฤติกรรมของนักเรียน 3.4 แบบประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียนที่ มีตอ่ รูปแบบ วิธีดำ�เนินการทดลองและการเก็บรวบรวมข้อมูล

1. การสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ 1.1ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนบัวใหญ่ที่ต้องการพัฒนาทั้ง 8 ด้านเพื่อสอบถาม ความคิ ด เห็ น จากบุ ค คลที่ เ กี่ ย วข้ อ ง (Stakeholder) ต้องการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ด้านใดบ้างที่เป็นสภาพปัญหามากที่สุด และผลการวิจัย ในขั้นตอนนี้พบว่าคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ที่ต้องได้รับการแก้ไขเร่งด่วน มีจ�ำนวน 4 ด้านได้แก่ ได้แก่ จิตสาธารณะ ใฝ่เรียนรู้ มีวินัย และอยู่อย่างพอเพียง โดยสอบถามกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1) ผู้บริหารสถาน ศึกษาโรงเรียน จ�ำนวน 5 คน 2) ครูโรงเรียนบัวใหญ่ จ�ำนวน 89 คน 3) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จ�ำนวน 14 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียนจ�ำนวน 240 คน โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียน เป็น แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความ เชื่อมั่นเท่ากับ 0.91และ0.88 โดยน�ำไปทดลองหาระดับ คุณภาพกับกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง 2 ครั้งตามล�ำดับ 2. การสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ของนักเรียน 2.1 การออกแบบรูปแบบ


Vol 1 No 1 January - April 2018

น�ำผลการวิจัยในระยะ 1.1 ศึกษาคุณลักษณะอัน พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ที่ต้องการ สร้าง ที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 4 ประการ ได้แก่ มีวินัย ใฝ่ เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตสาธารณะ มาพิจารณา ประกอบร่วมกับผลการสังเคราะห์และผลสรุปจากการ ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในบทที่ 2 2.2 ร่างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ ยกร่างรูปแบบโดยร่วมกับผูเ้ ชีย่ วชาญด้านรูปแบบ 3 ท่าน โดยเน้นหลักการของรูปแบบ หลักการเรียนการ สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หลักการบูรณาการการ เรียนการสอน หลักการจัดกิจกรรมนักเรียน ได้รา่ งรูปแบบ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ระบบและกลไกของรูปแบบ 4) วิธีด�ำเนินงานของรูปแบบ 5) การประเมินผลรูปแบบ 6) เงื่อนไขของรูปแบบ มีรายละเอียดร่างรูปแบบดังนี้ 1) หลักการของรูปแบบ มี 2 หลักการ 1.1) หลัก การรูปแบบการพัฒนา 1.2) แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ 2) วตั ถุประสงค์ของรูปแบบ เพือ่ พัฒนาคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของนักเรียน 4 ประการ ได้แก่ มีวนิ ยั ใฝ่เรียน รู้ อยูอ่ ย่างพอเพียง และมีจติ สาธารณะ 3) ระบบและกลไกของรูปแบบ ควรมีการจัดระบบ บริหารงานดังนี้ 3.1) ผู้อ�ำนวยการสถานศึกษาโรงเรียน บัวใหญ่ 3.2) ฝ่ายบริหารวิชาการ 3.3) ฝ่ายบริหารกิจการ 3.4) ฝ่ายบริหารทัว่ ไป 3.5) ฝ่ายบริหารส่งเสริมและ 4) วิธดี �ำเนินงานของรูปแบบ 5) แนวทางการประเมินผลรูปแบบ 6) เงือ่ นไขของรูปแบบ 2.3 ประเมินร่างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอัน พึงประสงค์ของนักเรียน 2.3.1 ประเมินครัง้ ที่ 1 เพือ่ ตรวจความ เหมาะสม ความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยใช้วธิ กี ารประชุม กลุ่มสนทนา (Focus Group) กลุ่มสนทนา ได้แก่ - ผู้ เชีย่ วชาญด้านรูปแบบ จ�ำนวน 3 คน - ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการ วัดและประเมินผล จ�ำนวน 3 คน - ผูบ้ ริหาร จ�ำนวน 3 คน - ครู จ�ำนวน 3 คน รวมจ�ำนวน 12 คน ปรับปรุงแก้ไข 2.3.2 ตรวจความเหมาะสม ความเป็นไป ได้ของรูปแบบ โดยผูเ้ ชีย่ วชาญจากการประเมินครัง้ ที่ โดยใช้ แบบสอบถามตามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตามแนวคิดของ ลิเคิรท์ (Likert Method)

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

2.3.3 ประเมินครัง้ ที่ 2 เพือ่ ตรวจความเหมาะ สม ความเป็นไปได้ของรูปแบบจากผูท้ รงคุณวุฒิ จ�ำนวน 5 ท่าน โดยแบบสอบถามตามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ 3. การน�ำรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ไปใช้ 3.1 การด�ำเนิ น งานน�ำรู ป แบบการพั ฒ นา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ไป ใช้ ผูร้ ว่ มวิจยั ในขัน้ ตอนนีไ้ ด้แก่ ผูบ้ ริหาร จ�ำนวน 5 คน ครู จ�ำนวน 116 คน โดยใช้วธิ กี าร ประชุม และออกค�ำสัง่ แต่ง ตัง้ ด�ำเนินงานตามขัน้ ตอนการด�ำเนินงานของรูปแบบ ตาม คูม่ อื การใช้รปู แบบ 3.2 ประเมินผลการใช้รปู แบบ กลุม่ ตัวอย่าง ประกอบด้วย1) ผูบ้ ริหารสถานศึกษา จ�ำนวน 5 คน 2) ครู จ�ำนวน จ�ำนวน 89 คน เลือกมาแบบสุม่ ด้วยตารางเลขสุม่ 3) คณะกรรมการสถานศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน จ�ำนวน 14 คน 4) ผูป้ กครองนักเรียน จ�ำนวน 240 คนใช้วธิ ี การสุม่ แบบแบ่งชัน้ (Stratified Random Sampling) เครือ่ งมือในการวิจยั เป็นแบบสอบถามพฤติกรรม ของนักเรียน เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตามแนวคิดของ ลิเคิรท์ (Likert Method) มีจ�ำนวน 20 ข้อการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) ค่าสัมประสิทธิความแปรผัน (C.V.) และ t-test แบบ Dependent 3.3 การประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียนทีม่ ี ต่อรูปแบบ กลุม่ ตัวอย่างเป็นนักเรียน จ�ำนวน 240 คน และ ใช้วธิ กี ารสุม่ แบบแบ่งชัน้ (Stratified Random Sampling) เครือ่ งมือทีใ่ ช้เป็นแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนทีม่ ี ค่าความเชือ่ มัน่ เท่ากับ 0.89 และ 0.86 (หาคุณภาพ 2 ครัง้ ) 3.4 ประเมิ น ผลการใช้ รู ป แบบการพั ฒ นา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ หลังการใช้รปู แบบเสร็จสิน้ 1 เดือน กลุม่ ตัวอย่าง ประกอบ ด้วย1) ผูบ้ ริหารสถานศึกษา จ�ำนวน 5 คน 2) ครู จ�ำนวน 116 คน 3) คณะกรรมการสถานศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน จ�ำนวน 14 คน 4) ผูป้ กครองนักเรียน จ�ำนวน 240 คน เครือ่ งมือในการวิจยั เป็นแบบสอบถามพฤติกรรมของนักเรียน เป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ตาม แนวคิดของ ลิเคิรท์ (Likert Method) มีจ�ำนวน 20 ข้อ

การวิเคราะห์ขอ้ มูล สถิตทิ ใี่ ช้วเิ คราะห์ขอ้ มูลได้แก่ ค่า เฉลีย่ และค่าความเบีย่ งเบนมาตรฐาน (S.D.)

29


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

2.2 ผลการประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียน ค่าสัมประสิทธิความแปรผัน (C.V.) และ t-test แบบ ทีม่ ีต่อรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึง Dependent ผลการวิจัย 1. รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ มี 6 องค์ประกอบ คือ (1) หลัก การของรูปแบบ ประกอบด้วย 1.1) หลักการรูปแบบการ พัฒนา 1.2) แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 1.3) หลักการเรียนการสอนทีเ่ น้นผูเ้ รียนเป็นศูนย์กลาง 1.4) หลักการบูรณาการการเรียนการสอน 1.5) หลักการจัด กิจกรรมนักเรียน (2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (3) ระบบ และกลไกของรูปแบบ ประกอบด้วย 3.1) ผู้อ�ำนวยการ สถานศึกษาโรงเรียนบัวใหญ่ 3.2) ฝ่ายบริหารวิชาการ 3.3) ฝ่ายบริหารกิจการนักเรียน 3.4) ฝ่ายบริหารทั่วไป 3.5) ฝ่ายบริหารส่งเสริมและบริการ (4) วิธดี �ำเนินงานของ รูปแบบ ประกอบด้วย 4.1] พัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ 4.2) การบูรณาการภาคีเครือข่าย 4.3) การสร้างภูมิคุ้มกัน ด้วยสื่อเทคโนโลยี (5) การประเมินผลรูปแบบ) (6) เงื่อนไข ของรูปแบบ ประกอบด้วย 6.1) ฝ่ายบริหารสถานศึกษาจะ ต้องตระหนักและให้ความส�ำคัญในการก�ำหนดนโยบายเพือ่ พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 4 ประการ ได้แก่ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตสาธารณะ 6.2) จัด ให้มโี ครงการเกีย่ วกับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 6.3) ฝ่ายบริหารต้องมีระบบการประสานงานที่มีคุณภาพ และมีความต่อเนือ่ งเป็นระบบ 6.4) มีการก�ำกับติดตามและ ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 2. ผลการน�ำรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ไปใช้ 2.1 ผลการประเมินหลังการทดลองใช้รปู แบบการ พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียน บัวใหญ่ พบว่าความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึก ษา ขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง นักเรียนมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ในภาพรวมหลังการ ทดลองใช้รูปแบบนักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ใน 4 ประการ ได้แก่ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง และ มีจิตสาธารณะ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50) บุคคลทั้ง สี่ประเภทมีความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวแตกต่างกันปาน กลาง (C.V.= 13.16) และพบว่าเมื่อเปรียบเทียบก่อนการ ทดลองใช้รูปแบบนักเรียนมีพฤติกรรมอยู่ในระดับปาน กลาง แต่หลังการทดลองนักเรียนมีพฤติกรรมดีขึ้นอย่างมี นัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ = .01

30

ประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ พบว่านักเรียนมี ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอัน พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ใน 4 ประการ ได้แก่ มีวนิ ยั ใฝ่เรียนรู้ อยูอ่ ย่างพอเพียง และมีจติ สาธารณะ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.52) ความคิด เห็นของนักเรียนในเรื่องดังกล่าวแตกต่างกันปานกลาง (C.V.= 13.71) ด้านทีม่ รี ะดับมากทีส่ ดุ ได้แก่ ด้านการสร้าง ภูมคิ มุ้ กันด้วยสือ่ เทคโนโลยี ( x = 4.55) ด้านผูบ้ ริหาร และ ครู ( x = 4.54) และด้านการจัดบรรยากาศภายในสถาน ศึกษา ( x = 4.53) ตามล�ำดับ 2.3 ผลการติดตามประเมินผลการทดลองใช้รูป แบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนบัวใหญ่ พบว่าความคิดเห็นของผู้บริหารสถาน ศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ ปกครองนักเรียนมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ในภาพรวม การติดตามการทดลองใช้รูปแบบนักเรียนมีคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ใน 4 ประการ ได้แก่ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่ อย่างพอเพียง และมีจิตสาธารณะ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.64) บุคคลทั้งสี่ประเภทมีความคิดเห็นในเรื่องดัง กล่าวแตกต่างกัน ปานกลาง (C.V.= 11.42) และพบว่าหลัง การทดลองนักเรียนยังคงมีพฤติกรรมอยูใ่ นระดับมากที่สดุ และสูงขึ้นอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ = .01 ยังคงมี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้งสามด้านนั้นอยู่ในระดับดี อภิปรายผลการวิจัย จากการวิจยั รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ ผูว้ จิ ยั ได้อภิปรายผล ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ 1. การสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะพึง ประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ 1.1 จากการศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ที่ต้องการสร้าง แสดงให้เห็น ว่านักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับปาน กลาง ด้านทีน่ กั เรียนมีคณ ุ ลักษณะอันพึงประสงค์นอ้ ยทีส่ ดุ 4 ล�ำดับ ได้แก่ มีจิตสาธารณะ ใฝ่เรียนรู้ มีวินัย อยู่อย่าง พอเพียง ทัง้ นีอ้ าจเป็นเพราะบริบทในโรงเรียนบัวใหญ่ ขาด การกวดขันหรือการปลูกฝังนักเรียนในเรือ่ งคุณลักษณะอัน พึงประสงค์มานานจึงท�ำให้ไม่เห็นความส�ำคัญจนเกิดปัญหา


Vol 1 No 1 January - April 2018

กับผลการประเมินภายนอกรอบสอง (พ.ศ.2549-2553) ของโรงเรียนบัวใหญ่จากส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ระดับการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อวันที่ 3-5 มิถุนายน 2552 ให้สถาน ศึกษาก�ำหนดทิศทางการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต โดยการวางแผนพัฒนาให้ผู้เรียนปฏิบัติตนอย่างยั่งยืนใน การมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์เป็น คนดีของสังคม ด�ำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมที่ดีงาม และผลจาก การประเมินภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อวันที่ 23-25 ธันวาคม 2556 ให้ สถานศึกษาควรพัฒนา ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ใฝ่ เรียน ซึง่ อยูใ่ นองค์ประกอบของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และมีข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาตามกฎกระทรวงว่า ด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการ ศึกษา พ.ศ.2553 ให้สถานศึกษาควรจัดท�ำโครงการและ กิจกรรมละลายพฤติกรรมและความรู้สึกนึกคิดของผู้เรียน ที่ตกอยู่ในกลุ่มเสี่ยงทุกคน ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ก็จะก่อให้ เกิดปัญหาในการปกครองตามมาเป็นอย่างมากและอาจ จะขยายไปสู่เพื่อน ๆ อย่างกว้างขวาง หรืออาจมีจ�ำนวน เพิม่ มากขึน้ ซึง่ ยากแก่การแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผลการวิจยั ครัง้ นีน้ บั ว่าสอดคล้องกับงานวิจยั ของผูอ้ นื่ ทีพ่ บว่านักเรียน ระดับมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปัญหาใน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ดังเช่น โรงเรียนบ้านนาเรียง อ�ำเภอน�้ำพอง จังหวัดขอนแก่น (ไพสุดา แก้วลือ, 2557 : 56) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 (นิพนธ์ ยศดา, 2556 : 335) โรงเรียนอมตวิทยา อ�ำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น (กัลยาณี ปัสสาวะโท, 2555 : 97-98) โรงเรียนบ้านโนน พุทรา อ�ำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา (สุพล แกวหนอง แสง, 2554 : 3) โรงเรียนโพธิ์ธาตุประชาสรรค์ อ�ำเภอวัง หิน จังหวัดศรีสะเกษ (อุดม ยกพล, 2553 : 6) โรงเรียน แกด�ำวิทยาคาร อ�ำเภอแกด�ำ จังหวัดมหาสารคาม (ทอง พูล ภูสิม, 2553 : 118-119) โรงเรียนบ้านนามาลา อ�ำเภอ เมือง จังหวัดเลย (ชาญชัย อินแผลง, 2552 : 50-51) โรงเรียนภูเขียว อ�ำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ (กุมาลา ถือ โชค, 2550 : 3) 1.2 การสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของนักเรียน จากการออกแบบรูปแบบการ พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียน บัวใหญ่ ตามข้อเสนอแนะของผูเ้ ชีย่ วชาญมี 6 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการของรูปแบบ (2) วัตถุประสงค์ของรูป

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

แบบ (3) ระบบและกลไกของรูปแบบ (4) วิธีด�ำเนินงาน ของรูปแบบ (5) การประเมินผลรูปแบบ (6) เงื่อนไขของ รูปแบบ มีผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ครั้งที่ 1โดยผู้ เชีย่ วชาญด้านรูปแบบ ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการวัดและประเมิน ผลมีความคิดเห็นว่าในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ใน ระดับมากที่สุด ( x̄ =4.69) มีความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว แตกต่างกันปานกลาง (C.V.= 11.08) ผู้บริหารสถาน ศึกษา ครู มีความคิดเห็นว่าในภาพรวมมีความเหมาะสมอ ยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ =4.71) มีความคิดเห็นในเรื่องดัง กล่าวแตกต่างกันปานกลาง (C.V.=11.04) และผลการ ประเมินรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ นักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ครั้งที่ 2 โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จ�ำนวน 5 ท่าน มีความคิดเห็นว่าในภาพรวมของรูปแบบการพัฒนา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนมีความเหมาะสมอ ยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ =4.65) มีความคิดเห็นในเรื่องดัง กล่าวแตกต่างกันปานกลาง (C.V.= 11.18) ทั้งนี้เนื่องจาก ว่าการสร้างรูปแบบเป็นการน�ำปัญหาการขาดคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ ใน 4 ประการ ได้แก่ มีวนิ ยั ใฝ่เรียนรู้ อยูอ่ ย่างพอเพียง และมีจติ สาธารณะ มาเป็นหลักและได้ด�ำเนินตามขัน้ ตอนการสร้างรูปแบบทีถ่ กู ต้อง ผลการสร้างรูปแบบครัง้ นีไ้ ด้ด�ำเนินการให้ถกู ต้องตาม ขั้นตอนของการสร้างรูปแบบตามที่ ธีระ รุญเจริญ (2550 : 162-163) ได้เสนอองค์ประกอบของรูปแบบไว้ 6 องค์ ประกอบ คือ (1) หลักการของรูปแบบ (2) วัตถุประสงค์ ของรูปแบบ (3) ระบบและกลไกของรูปแบบ (4) วิธีด�ำเนิน งานของรูปแบบ (5) แนวทางการประเมินผลรูปแบบ (6) เงือ่ นไขของรูปแบบ และสอดคล้องกับ ทิศนา แขมมณี และ คณะ (2547 : 16) ได้เสนอองค์ประกอบของรูปแบบไว้ 5 องค์ประกอบ คือ (1) วัตถุประสงค์ แนวคิด (2) บริบทและ เงือ่ นไข (3) ยุทธศาสตร์ (4) กระบวนการด�ำเนินงาน (5) ผล ที่ไดรับจากการน�ำรูปแบบไปใช้ และสอดคล้องกับ สมาน อัศวภูมิ (2549 : 83) ได้เสนอองค์ประกอบของรูปแบบไว้ 7 องค์ประกอบ คือ (1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (2) ทฤษฎี พื้นฐานและหลักการของรูปแบบ (3) ระบบงานและกลไก ของรูปแบบ (4) วิธกี ารด�ำเนินงานของรูปแบบ (5) แนวการ ประเมินรูปแบบ (6) ค�ำอธิบายประกอบรูปแบบ (7) ระบุ เงื่อนไขการน�ำรูปแบบไปใช้ นอกจากนี้สอดคล้องกับงาน วิจัยที่ใช้รูปแบบมาพัฒนางานจนประสบผลส�ำเร็จ เช่น สุ ทานีย์ พลนามอินทร์ (2558 : 128) ได้ศึกษารูปแบบการ มีสว่ นร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา

31


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 จากการศึกษาได้องค์ประกอบของรูปแบบ 7 องค์ ประกอบ คือ (1) หลักการ (2) จุดมุ่งหมาย (3) กลไกการ ด�ำเนินการ (4) การด�ำเนินการ (5) การมีสว่ นร่วมของครูใน การบริหารงานวิชาการ (6) การประเมินผล (7) เงื่อนไข ความส�ำเร็จ ผลการตรวจสอบรูปแบบตามความคิดเห็นของ ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ประเมินความเหมาะสม และความเป็นไป ได้พบว่าอยูใ่ นระดับมาก การน�ำไปใช้ประโยชน์พบว่าอยูใ่ น ระดับปานกลาง สอดคล้องกับ วิลัดดา เรืองเจริญ (2558 : 122) ได้ศกึ ษารูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 จาก การศึกษาได้องค์ประกอบของรูปแบบ 5 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการ (2) จุดมุ่งหมาย (3) การด�ำเนินการ (4) การ ประเมิน (5) เงือ่ นไขความส�ำเร็จ ผลการตรวจสอบรูปแบบ ตามความคิดเห็นของผูเ้ ชีย่ วชาญได้ประเมินความเป็นไปได้ และความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานวิชาการของ โรงเรียน พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณา เป็นรายด้านพบว่าด้านความเหมาะสมของรูปแบบอยู่ใน ระดับมากทุกด้าน สอดคล้องกับศุภสิริ ขามช่วง (2558 : 129) ได้ศึกษาการพัฒนารูปแบบส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ส�ำหรับเด็กปฐมวัยโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง จาก การศึกษาได้องค์ประกอบของรูปแบบ 7 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการและความส�ำคัญ (2) แนวคิด ทฤษฎีพื้น ฐาน (3) วัตถุประสงค์ (4) กระบวนการจัดกิจกรรม (5) บรรยากาศและสภาพแวดล้อม (6) กระบวนการทางสังคม (7) การประเมินผลความส�ำเร็จ ผลการตรวจสอบรูปแบบ ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิได้ประเมินความเหมาะ สมของรูปแบบพบว่ามีความเหมาะสม โดยรวมในระดับ มาก สอดคล้องกับ พิชญา ชูคันหอม (2558 : 147) ได้ ศึกษารูปแบบการด�ำเนินงานวิชาการในสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแกน เขต 5 จากการศึกษาได้องค์ประกอบของรูปแบบ 7 องค์ประกอบ คือ (1) ชื่อของรูปแบบ (2) หลักการของ รูปแบบ (3) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (4) กลไกการด�ำเนิน งานของรูปแบบ (5) วิธกี ารด�ำเนินงานของรูปแบบ (6) การ ประเมินผลของรูปแบบ (7) เงื่อนไขความส�ำเร็จ ผลการ ตรวจสอบรูปแบบตามความคิดเห็นของผูท้ รงคุณวุฒพิ บว่า มีความสอดคลอง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได และ มีประโยชน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการน�ำรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ไปใช้

32

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

2.1 ผลการประเมินหลังการทดลองใช้รูปแบบ การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียน บัวใหญ่ พบว่าความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง นักเรียนมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ในภาพรวมหลังการ ทดลองใช้รูปแบบนักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ใน 4 ประการ ได้แก่ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง และ มีจิตสาธารณะ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.50) บุคคล ทั้งสี่ประเภทมีความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวแตกต่างกัน ปานกลาง (C.V.= 13.16) และพบว่าเมื่อเปรียบเทียบก่อน การทดลองใช้รปู แบบนักเรียนมีพฤติกรรมอยูใ่ นระดับปาน กลาง แต่หลังการทดลองนักเรียนมีพฤติกรรมดีขึ้นอย่าง มีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ =.01 ทั้งนี้เนื่องจากผู้บริหาร โรงเรียนได้ชี้แจง ให้นโยบาย จัดโครงการ จัดกิจกรรมใน การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ได้แก่ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตสาธารณะได้ อย่างเข้าใจ ต่อเนือ่ งและชัดเจน ครูคอยส่งเสริมและกระตุน้ ให้นักเรียนกระตือรือร้น มีการกล่าวชื่นชม และเปิดโอกาส ให้นกั เรียนแสดงความคิดเห็นในการพัฒนาคุณลักษณะอัน พึงประสงค์ของนักเรียน ได้แก่ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่าง พอเพียง และมีจิตสาธารณะ นอกจากนี้โรงเรียนยังสร้าง เครือข่ายโรงเรียนและชุมชนในการพัฒนาคุณลักษณะ ของนักเรียนเพื่อให้นักเรียนได้สร้างคุณลักษณะที่ดีให้แก่ นักเรียน จากการด�ำเนินการของผู้บริหารโรงเรียนและครู ดังกล่าว ท�ำให้นักเรียนมีความสนใจและความต้องการเข้า ร่วมโครงการ กิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้น สามารถกระตุ้น ให้นักเรียนเกิดจิตส�ำนึกได้ด้วยตนเองจนสามารถน�ำไป ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�ำวันได้ นักเรียนมีการเลียนแบบ หรือประพฤติปฏิบัติตามกันจนเป็นกิจนิสัย ท�ำให้นักเรียน ได้รับประโยชน์เฉพาะตน เช่น ท�ำให้ส่งการบ้านตรง เวลานัดหมายเข้าห้อง สนใจเรียน ประหยัด ช่วยเหลือผู้ อื่น ท�ำให้นักเรียนเกิดประโยชน์ต่อภาพรวมของห้องเรียน เช่น ครูสามารถท�ำการสอนได้ตรงตามเวลา นักเรียนตั้งใจ เรียน มีเหตุมีผล มีความสามัคคี สอดคล้องกับ สุวิมล ว่องวาณิช และคณะ (2549 : 14) กล่าวว่าการพัฒนา คุณธรรมและคุณลักษณะหรืออื่น ๆ ให้เป็นวิถีชีวิตมีความ สอดคล้องกับธรรมชาติตอ้ งให้พฒ ั นาตนอย่างต่อเนือ่ ง โดย มีกระบวนการพัฒนาที่บูรณาการสอดคล้องอยู่ในชีวิตการ เรียน การปฏิบตั งิ าน เชือ่ มโยงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับ สิง่ แวดล้อมและคนกับธรรมชาติ โยงความ สัมพันธ์ระหว่าง สังคมวัฒนธรรมกับการสอน การพัฒนาตนเองของนักเรียน


Vol 1 No 1 January - April 2018

สร้างสรรค์และเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้แสดงออก ถึงความสามารถศักยภาพและการปฏิบัติตนตามความ เชื่อ ตามแนวทางที่ตนเองคิดสร้างสรรค์และอยู่ในบริบท ของการท�ำความดี มีสว่ นร่วมในการท�ำกิจกรรมเพือ่ พัฒนา สังคม ให้เด็กมีการปฏิบัติและพัฒนาตนอย่างเข้าใจเห็น บทบาทและคุณค่าของตนเองมากขึ้น การสร้างระบบค่า นิยมให้กับเด็กและเยาวชน เห็นได้ชัดว่าแก่นของเด็กไทย คือ ต้องประพฤติและปฏิบัติตนอย่างไร ก�ำหนดเป้าหมาย ของการพัฒนาให้ชัดเจน และดึงสิ่งที่มีอยู่ในตัวเด็กท�ำให้ เด็กมีการปรับเปลี่ยนวิธีคิดปรับเปลี่ยนจริยธรรม เช่น การ ส�ำรวจพฤติกรรมการปฏิบตั ขิ องตนเองในแต่ละวันและต้อง ยอมรับว่าค่านิยมต้องมาจากตัวแบบที่ดี สอดคล้องกับ Educational Materials Center (2003, อ้างถึงใน คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, 2551 : 25) กล่าวว่า ในการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยใช้ กิจกรรมกลุม่ การเรียนรูแ้ บบร่วมมือ เพือ่ ให้นกั เรียนได้เรียน รูก้ ารวางแผน การจัดกิจกรรม และสะท้อนผลทีไ่ ด้จากการ จัดกิจกรรมร่วมกัน นอกจากนีค้ วรจัดกิจกรรมทีเ่ ปิดโอกาส ให้นักเรียนช่วยเหลือสังคม กิจกรรมที่เสริมสร้างทัศนคติ และการปฏิบัติตนในทางที่ดีให้แก่นักเรียน จัดหาโอกาส การเรียนรู้เพื่อรับใช้สังคมซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้ อุทิศหรือบ�ำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม สอดคล้อง กับ Character Education Partnership (2005, อ้างถึง ในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, 2551:27) กล่าวว่าการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์นนั้ ต้องสร้าง เครือข่ายโรงเรียนและชุมชนในการพัฒนาคุณลักษณะอัน พึงประสงค์ของนักเรียน และจัดให้สมาชิกในครอบครัว ชุมชน มีสว่ นร่วมในการสร้างคุณลักษณะทีด่ ใี ห้แก่นกั เรียน 2.2 ผลการประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ นักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจ ต่อการใช้รปู แบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ นักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ใน 4 ประการ ได้แก่ มีวินัย ใฝ่ เรียนรู้ อยูอ่ ย่างพอเพียง และมีจติ สาธารณะในภาพรวมอยู่ ในระดับมากที่สุด ( x̄ = 4.52) ความคิดเห็นของนักเรียน ในเรื่องดังกล่าวแตกต่างกันปานกลาง (C.V.= 13.71) ทั้งนี้ เนื่องจากนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดต่อ การจัดกิจกรรมในแต่ละด้านดังกล่าว เป็นเพราะการปฏิบตั ิ เพือ่ พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียน บัวใหญ่เป็นไปตามสภาพปัญหาที่แท้จริงของนักเรียนและ นักเรียนเห็นคุณค่าของการแก้ไขปัญหา ซึง่ เป็นไปตามหลัก

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

พุทธศาสนาที่กล่าวว่า “ภาวนามยปัญญา” คือปัญญาเกิด จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง และตามหลักปรัชญาการ ศึกษาแบบพิพฒ ั นาการหรือประสบการณ์นยิ มของจอห์น ดุ ยอี้ (John Dewey) ที่ถือว่าการเรียนรู้เกิดจากการกระท�ำ และการได้รบั ประสบการณ์ทดี่ ี (ส�ำเริง บุญเรืองรัตน์, 2550 : 11) ส่วน ทิศนา แขมมณี (2551) กล่าวว่าการเรียนรู้จาก ประสบการณ์ การค้นพบความจริงใด ๆ จากประสบการณ์ ของตนเองมีสว่ นช่วยให้เกิดความเข้าใจในสิง่ นัน้ อย่างลึกซึง้ จดจ�ำได้ดแี ละมีความหมายโดยตรงต่อผูเ้ รียน เป็นผลก่อให้ เกิดการเปลีย่ นแปลงความคิดและพฤติกรรมของผูเ้ รียนได้ ดังที่นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดต่อการ จัดกิจกรรมนั้นแสดงให้เห็นว่านักเรียนให้ความส�ำคัญและ ความสนใจในการจัดกิจกรรมครั้งนี้เพราะมีประโยชน์ต่อ ตนเอง สามารถน�ำความรู้และประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ ในการปฏิบัติงานได้มากที่สุด 2.3 ผลการติดตามประเมินผลการทดลองใช้รูป แบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนบัวใหญ่ พบว่าความคิดเห็นของผู้บริหารสถาน ศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ ปกครองนักเรียนมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ในภาพรวม การติดตามการทดลองใช้รูปแบบนักเรียนมีคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ใน 4 ประการ ได้แก่ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่ อย่างพอเพียง และมีจิตสาธารณะ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ =4.64) บุคคลทั้งสี่ประเภทมีความคิดเห็นในเรื่องดัง กล่าวแตกต่างกัน ปานกลาง (C.V.= 11.42) และพบว่า หลังการทดลองนักเรียนยังคงมีพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก ทีส่ ดุ และสูงขึน้ อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ ร่ี ะดับ = .01 ทัง้ นี้ เนื่องจากการด�ำเนินการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ตามรูปแบบการพัฒนาอย่าง ต่อเนือ่ ง สามารถน�ำหลักการไปใช้ในการพัฒนาคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ได้อย่างครอบคลุม ได้แก่ หลักการรูปแบบ การพัฒนา แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หลักกา รบูรณาการการเรียนการสอน หลักการจัดกิจกรรมนักเรียน สามารถพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนบัวใหญ่ ให้มมี าตรฐานตามหลักสูตรแกนกลางการ ศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ใน 4 ประการ ได้แก่ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง และมีจิตสาธารณะได้ สามารถด�ำเนินงานตามรูปแบบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยมีผู้อ�ำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนบัวใหญ่ เป็นผู้จัด ระบบการบริหารงานให้เป็นไป

33


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ตามโครงสร้างการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม มีการ ปฏิบัติและบูรณาการการท�ำงานร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดผล การด�ำเนินงานที่เป็นรูปธรรมมีการก�ำกับ ติดตาม ส่งเสริม และสนับสนุนการด�ำเนินการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้ ด�ำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพตามโครงสร้างในภารกิจ การบริหาร 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริหารงานวิชาการ ด้าน บริหารงานกิจการนักเรียน ด้านบริหารงานส่งเสริมและ บริการ และด้านบริหารทั่วไปสามารถด�ำเนินงานตามรูป แบบประกอบด้วย วิธีการพัฒนา โครงการ/กิจกรรม ตัวชี้ วัดมี 3 วิธี คือ วิธีที่ 1 พัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้เพื่อ มุ่งสู่การมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน มีวิธี ย่อย 4 วิธี วิธีที่ 2 การบูรณาการภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน มีวิธีย่อย 3 วิธี วิธีที่ 3 การสร้างภูมิคุ้มกันด้วยสื่อเทคโนโลยีเพื่อพัฒนา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่ยั่งยืน สามารถ ด�ำเนินการตามแนวทางการประเมินผลรูปแบบทีค่ รอบคลุม และสอดคล้องกับรูปแบบ ได้แก่ การประเมินก่อนและ หลังการทดลองใช้รูปแบบ การประเมินความพึงพอใจของ นักเรียนต่อกิจกรรมในรูปแบบ การประเมินผลการติดตาม หลังการใช้รูปแบบเสร็จสิ้น 1 เดือน สามารถด�ำเนินการ ตามเงื่อนไขของรูปแบบที่วางไว้ ได้แก่ ฝ่ายบริหารสถาน ศึกษามีความตระหนักและให้ความส�ำคัญในการก�ำหนด นโยบาย มีระบบการประสาน งานที่มีคุณภาพและมีความ ต่อเนือ่ งเป็นระบบ มีการก�ำกับติดตามและประเมินผลอย่าง ต่อเนื่องแล้วน�ำผลมาพัฒนาต่อยอด จัดให้มีโครงการเกี่ยว กับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนใน 4 ประการ ได้แก่ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียงในแผน พัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา ท�ำให้เกิดลักษณะอันพึง ประสงค์ทตี่ อ้ งการเกิดขึน้ กับผูเ้ รียนทีบ่ ง่ บอกให้เห็นอุปนิสยั ที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่ดีงาม ความถูกต้อง ทีม่ อี ยูภ่ ายในจิตใจของผูเ้ รียน พฤติกรรมทีแ่ สดงออกในสิง่ ที่ดีงามจนเคยชิน เป็นกิจนิสัยและลักษณะนิสัย สามารถ น�ำไปใช้ในชีวิตประจ�ำวันและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นใน สังคมได้อย่างมีความสุข สอดคล้องกับการประเมินคุณภาพ ภายในสถานศึกษาประจ�ำปีการศึกษา 2558 ตามระบบ ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาประเมินโดยผู้บริหาร และครู ในมาตรฐานที่ 9 ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและ ค่านิยมที่พึงประสงค์ ที่ระบุข้อเสนอแนะในตัวบ่งชี้ต่าง ๆ สรุปได้ว่า ควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมนักเรียนให้มี ปฏิบัติตามระเบียบของสถานศึกษา ชุมชนและส่วนรวม มีความรักและเห็นประโยชน์ของสิ่งแวดล้อม รู้คุณค่าของ

34

สิ่งแวดล้อม ใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายในท้องถิ่นอย่าง ต่อเนื่อง รู้จักคุณค่าของทรัพยากร มีความเสียสละ เห็น คุณค่าและมีความภาคภูมใิ จในในท้องถิน่ ของตน ตลอดจน กล้าแสดงออกและภูมิใจในวัฒนธรรมของไทย มีความเสีย สละต่อส่วนรวม ช่วยกันดูแลรักษาทรัพย์สนิ ของโรงเรียน มี คุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม ปฏิบัติตามหลักธรรมเบื้องต้น ของศาสนา ยกย่องชมเชยนักเรียนทีม่ คี า่ นิยมทีพ่ งึ ประสงค์ อยูเ่ สมอเพือ่ เป็นแบบอย่างแก่ผอู้ นื่ อย่างต่อเนือ่ ง มีการมอบ เกียรติบัตรให้กับนักเรียนที่ประพฤติดี และปลูกฝังเป็นค่า นิยมที่ยั่งยืน สอดคล้องกับ ส�ำเริง บุญเรืองรัตน์ (2550 : 11) ที่เสนอแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะ อั น พึ ง ประสงค์ ด ้ ว ยการใช้ ป ั ญ ญา โดยน�ำแนวคิ ด ของ เพียเจท์ ที่ได้อธิบายพัฒนาการทางปัญญาของมนุษย์ว่า ปัญญาของมนุษย์งอกงามขึ้นได้จากการที่ได้กระท�ำการ โต้ตอบกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) เสนอไว้ว่าเมื่อเด็กได้ประสบการณ์หรือกระท�ำ การโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับตัวนั้น เขาจะสร้าง โครงสร้างของการเก็บความรู้ขึ้นมา เมื่อไปประสบกับสิ่ง ใหม่ หรือได้สัมผัสและโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ถ้าสิ่ง นั้นมีลักษณะเหมือนกันหรือคล้ายกันกับความรู้เดิม เขาก็ จะปรับให้เข้ากับโครงสร้างของการเก็บความรู้เดิม ท�ำให้ โครงสร้างความรู้เดิมขยายใหญ่ขึ้นงอกงามขึ้น แต่ถ้า ได้ประสบกับเหตุการณ์ใด ๆ ที่ไม่สามารถเข้ากันได้กับ โครงสร้างการเก็บความรู้เดิม บุคคลนั้นก็พยายามปรับ โครงสร้างการเก็บความรู้ที่มีอยู่นั้นเสียใหม่ เพื่อให้เข้ากัน ได้หรือไม่ก็สร้างโครงสร้างเก็บความรู้ใหม่เรียกว่า การ ปรับขยายโครงสร้าง ท�ำให้ปัญญางอกงามขึ้นอีกเช่นกัน

ขัอเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและปฏิบัติ 1.1 ฝ่ายบริห ารสถานศึกษาโรงเรียนบัว ใหญ่ ควรน�ำรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ นักเรียนนี้ไปจัดพิมพ์เผยแพร่ให้สถานศึกษาต่าง ๆ ได้น�ำ ไปปฏิบตั เิ พือ่ พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 1.2 ควรก�ำหนดโครงการรูปแบบการพัฒนา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในแผนงานของสถานศึกษาทุก ปี เพือ่ ให้มกี ารด�ำเนินงานพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของนักเรียนที่ต่อเนื่อง อันท�ำให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมที่ พึงประสงค์ยั่งยืนต่อไป 2. ข้อเสนอแนะในการท�ำวิจัยในครั้งต่อไป


Journal of Educational Technology and Communications

Vol 1 No 1 January - April 2018

Facutyl of Education Mahasarakham University

2.1 ควรน�ำรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะอันพึง 2.2 ควรออกแบบรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะ ประสงค์ของนักเรียนนี้ไปใช้ในสถานศึกษาต่าง ๆ แล้วควร อันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยปรับเนือ้ หาให้สอดคล้องกับ ท�ำวิจัยการประเมินและติดตามผล หลักสูตรสถานศึกษา และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เอกสารอ้างอิง กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2542) ศีลธรรมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา. ______. (2550) การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและการสร้างจิตส�ำนึกที่ดี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย. กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2534) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ กรมการศาสนา. กระทรวงศึกษาธิการ. (2546) แนวทางการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา. กัลยาณี ปัสสาวะโท. (2555) การวางแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการใฝ่เรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนอมตวิทยา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. กุมาลา ถือโชค. (2550) การพัฒนาการด�ำเนินงานเสริมสรางคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนภูเขียว อ�ำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูม.ิ การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน. (2551) หลักการและแนวปฏิบัติในการจัดคุณลักษณะศึกษาเพื่อพัฒนา คุณลักษณะที่ดีของเด็กและเยาวชน. ขอนแก่น : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแกน. ชาญชัย อินแผลง. (2552) แนวทางการพัฒนาการด�ำเนินงานเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ : กรณีศึกษา โรงเรียนบ้านนามาลา สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). เลย : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. ทองพูล ภูสิม. (2553) การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 กรณีศึกษาโรงเรียนแกด�ำ ทิศนา แขมมณี. (2545) ศาสตร์การสอน : องค์ความรูเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู. กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ______. (2545) รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์. ______. (2551) ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธิติมา จักรเพชร. (2544) ผลของการแนะแนวที่มีต่อความมีวินัยในตนเองของนักเรียนวิทยาคาร ส�ำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 อ�ำเภอแกด�ำ จังหวัดมหาสารคาม. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ธีระ รุญเจริญ. (2550) รูปแบบและองค์ประกอบของรูปแบบ วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม. นิตยา พลโชติ. (2551) การพัฒนาวินัยนักเรียนด้านความสะอาด โรงเรียนเทศบาลหนองแวงประชาอุปถัมภ์ อ�ำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

35


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

นิพนธ์ ยศดา. (2556) การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาสังกัดส�ำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต(การบริหารจัดการศึกษา). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. บุญชม ศรีสะอาด. (2545) การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. ______. (2546) การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. เบ็ญจวรรณ ม่วงจีน (2547) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาและบุตรกับความเข้มแข็งอดทนของเด็กและ วัยรุ่น. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช). เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. พิชญา ชูคันหอม (2558) รูปแบบการด�ำเนินงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาขอนแกน เขต 5. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต (การบริหาร การศึกษา). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ไพสุดา แก้วลือ. (2557) การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านวินัยนักเรียนของโรงเรียน บ้านนาเรียง: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหาร การศึกษา). ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. โรงเรียนบัวใหญ่. (2557) รายงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ ปีการศึกษา2557. นครราชสีมา : ส�ำนักการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. _______. (2558ก) การประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนบัวใหญ่ ปีการศึกษา 2558. นครราชสีมา : ส�ำนักการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. _______. (2558ข) รายงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบัวใหญ่ ปีการศึกษา 2558. นครราชสีมา : ส�ำนักการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. _______. (2558ค) รายงานสรุปผลการเรียนการสอนฝ่ายวิชาการโรงเรียนบัวใหญ่ ปีการศึกษา 2558. นครราชสีมา : ส�ำนักการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. _______. (2558ง) รายงานประเมินความเสี่ยงโรงเรียนบัวใหญ่ ปีการศึกษา 2558. นครราชสีมา : วิลัดดา เรืองเจริญ. (2558) รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 25. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ศุภสิริ ขามช่วง. (2558) การพัฒนารูปแบบส่งเสริมนิสัยรักการอ่านส�ำหรับเด็กปฐมวัยโดยการมีส่วนร่วมของ ผู้ปกครอง. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.ส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2553) ผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (บทสรุปผู้บริหาร). กรุงเทพฯ : ส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาองค์การมหาชน. ______. (2555) คู่มือผู้ประเมินเพื่อการประเมิน เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2554-2558). กรุงเทพฯ : ส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). ______. (2556) ผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (บทสรุปผู้บริหาร).กรุงเทพฯ ส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). ______. (2560) กรอบแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563). กรุงเทพฯ : ส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

36


Journal of Educational Technology and Communications

Vol 1 No 1 January - April 2018

Facutyl of Education Mahasarakham University

ส�ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551) รายงานการวิจัยประเมินผลคุณธรรม 8 ประการของผู้เรียน : เจตคติและพฤติกรรม. กรุงเทพฯ : บริษัท เพลิน สตูดิโอ จ�ำกัด. ส�ำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2553) แนวทางการพัฒนาการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจ�ำกัด. ส�ำเริง บุญเรืองรัตน์. (2550) สติปัญญาและความถนัดของมนุษย์ ทฤษฎี วิธีวัดและการพัฒนา. นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. สุพล แกวหนองแสง. (2554) การพัฒนานักเรียนใหมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่อย่างพอเพียงโรงเรียน บ้านโนนพุทรา อ�ำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต (การบริหาร การศึกษา). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สุทานีย์ พลนามอินทร์. (2558) รูปแบบการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษา มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สุวิมล ว่องวาณิชและคณะ. (2549) การประชุมทางวิชาการการวิจัยทางการศึกษาระดับชาติครั้งที่ 12.

ฐิติศักดิ์ จากชัยภูมิ : ออกแบบจัดหน้าบทความ

37


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ บูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เรื่อง การดำ�รงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 The Results of Using Science Activity Packages Integrated in Philosophy of Sufficiency Economy on Plant life of PrathomSuksa 4th. ปารย์รวี เรืองช่วย 1 Parayaravee Rueangchuai

1

บบทคัดย่อ การวิจยั ครัง้ นีม้ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ 1) สร้างชุดกิจกรรมการเรียนรูว้ ทิ ยาศาสตร์บรู ณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง เรื่อง การด�ำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และมีค่าดัชนี ประสิทธิผล 0.5 ขึน้ ไป 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิท์ างการเรียนของนักเรียนทีไ่ ด้รบั การสอนโดยใช้ชดุ กิจกรรมการเรียน รูว้ ทิ ยาศาสตร์บรู ณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรือ่ ง การด�ำรงชีวติ ของพืช ชัน้ ประถมศึกษาปีท4ี่ ก่อนเรียนและ หลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์บรู ณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรือ่ ง การด�ำรงชีวติ ของพืช ชัน้ ประถมศึกษาปีท4ี่ กลุม่ ตัวอย่าง ที่ ใช้ในการศึกษาครัง้ นีเ้ ป็นนักเรียนชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 4 โรงเรียนเทศบาลวัดอุปนันทารามจ�ำนวน 27 คน ทีก่ �ำลัง เรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1)ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ บูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จ�ำนวน 4 ชุด 2)แผนการจัดการเรียนรู้ จ�ำนวน 23 แผน 3 มีคุณภาพเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด(ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70) 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จ�ำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่างค่าอ�ำนาจจ�ำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.24 ถึง 0.70 มีค่าความเชื่อมั่นทั้ง ฉบับเท่ากับ 0.84 และ 4)แบบวัดความพึงพอใจ เป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จ�ำนวน 15 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรูว้ ทิ ยาศาสตร์บรู ณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรือ่ ง การด�ำรงชีวติ ของพืช ชัน้ ประถมศึกษาปีท ี่ 4 มปี ระสิทธิภาพเท่ากับ 83.24/83.46 และค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.5145 ซึง่ สูงกว่าเกณฑ์ทกี่ �ำหนดไว้ 2. ผลสัมฤทธิท์ างการเรียนจากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนพบว่ามีคา่ เฉลีย่ ของคะแนนผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเท่ากับ 19.78 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 25.04 และผลการเปรียบเทียบความ แตกต่างกันระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการทดสอบค่า (t-test) เท่ากับ 17.01 แสดงว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจของนักเรียนชัน้ ประถมศึกษาปีท ี่ 4 ทีม่ ตี อ่ การจัดการเรียนรูโ้ ดยการใช้ชดุ กิจกรรมการเรียน รู้วิทยาศาสตร์บูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การด�ำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53 มีค่าความสอดคล้องโดยเฉลี่ย 1.00 ค�ำส�ำคัญ : ชุดกิจกรรม เศรษฐกิจพอเพียง 1 1

38

ครูช�ำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาลวัดอุปนันทาราม จังหวัดระนอง Senior Professional Level Teachers Wat Upanantharam Municipality School Ranong Province.


Vol 1 No 1 January - April 2018

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

Abstract

The purpose of this research were to: 1) create a set of science activities packages with integrated the philosophy of sufficiency economy on plant life. 2) compare the learning achievement of the students taught using the science learning package, integrating the philosophical principles of Sufficiency Economy on Plant Life 3) study the satisfaction of Prathomsuksa 4th students towards learning by using the science activities packages integrated with philosophy of sufficiency economy on Plant life.The resaerch sample of this study were the 27 students of PrathomSuksa 4/4 of the Wat Upanantharam Municipality School in the first semester of academic year 2016 by cluster random sampling. The instruments used in the study consisted of 1) A set of science activities packages integrating the philosophy of sufficiency economy. 2) Learning Management Plan a set of science activities packages integrating the philosophy of sufficiency economy has the average quality was at the highest level(mean 4.70). 3)The achievement test a set of science activities packages integrating the philosophy of sufficiency economy on plant life the thedifficulty (p) ranged from 0.24 to 0.70 and the reliability of the achievement test was 0.84 and 4). Student Satisfaction Questionnaire based on using the science activities packages integrated with the philosophy of Sufficiency Economy is a 5-level rating scale, an average value of 1.00 The research found that; 1.The efficiency of science activities packages integrating the philosophy of sufficiency economy on plant life was 83.24/83.46 , which was higher than the 80/80 criterion. 2.The learning achievement from the pre-test and post-test of the students showed that the mean of the pre-class achievement scores was 19.78. The mean scores were 25.04 and the difference between the pre-test After the test, the t-test score of 17.01 indicated that the post-test scores were significantly higher than the pre-test scores at the .05 level 3. The Students' Satisfaction with Learning Management by Using science activities packages, Integrated Science Sufficiency Economy Philosophy on Plant Life, students were satisfied with learning by using science activities packages at the highest satisfaction level. The mean was 4.75 and the standard deviation was 0.53 Keyword : Activity Packages Sufficiency Economy ที่มาและความสำ�คัญของปัญหา การจั ด การศึ ก ษาในระดั บ ประถมจะต้ อ งฝึ ก ให้ใช้ทักษะการคิดมากกว่าใช้ความจ�ำ รวมถึงสามารถ ที่จะคิดวิเคราะห์มีเหตุมีผล สามารถที่จะเข้าใจ เรียน รู ้ ไ ด้ ถู ก ทิ ศ ถู ก ทางและต้ อ งให้ ค วามส�ำคั ญ ในเรื่ อ งของ การสื่ อ สาร เพราะทุ ก วั น นี้ เ รายั ง สื่ อ สารภาษาอั ง กฤษ ยั ง ไม่ ค ล่ อ ง รวมไปถึ ง การที่ มี ค รู ที่ เ ก่ ง คื อ สามารถ สร้างนักเรียนที่เก่ง ไม่ได้เป็นครูที่มีความรู้เพียงอย่าง เดี ย ว เพราะครู เ ป็ น รากฐานส�ำคั ญ ของการปฏิ รู ป การ

ศึกษา ที่จะต้องแสวงหาความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และ ส่งเสริมนวัตกรรม ทั้งนี้ การศึกษาไทยในยุค 4.0 จึง ต้องจัดการศึกษาทัง้ ระบบตัง้ แต่ประถม มัธยม อาชีวศึกษา ไปจนถึงอุดมศึกษา โดยงานวิจยั ต่าง ๆ ของอุดมศึกษาต้อง เอามาใช้ได้จริง เพราะอุดมศึกษาเป็นส่วนส�ำคัญในการชีน้ �ำ สังคม จากสภาพปัญหาทางสังคมทีเ่ กิดขึน้ ในปัจจุบนั แผน พัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 – 2554) โดยส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ

39


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

และสังคมแห่งชาติ ได้น้อมน�ำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงเป็นปรัชญาน�ำทางในการจัดท�ำแผนเพื่อสร้าง สังคมทุกระดับชั้นมีความเข้าใจในหลักแนวคิดเศรษฐกิจ พอเพียงและน�ำไปเป็นพื้นฐานและแนวทางในการด�ำเนิน ชีวิต ตลอดจนการก�ำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ไปสู่ความสมดุลยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกันที่ดี และใช้ค�ำนิยาม นี้ในการขับเคลื่อน (จิรายุ อิศรากูร ณ อยุธยา. 2548) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางการ ด�ำเนินชีวติ และวิถปี ฏิบตั ทิ พี่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั มี พระราชด�ำรัสชีแ้ นะแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนาน กว่า 30 ปี และได้ทรงเน้นย�ำ้ แนวทางพัฒนาทีต่ งั้ อยูบ่ นพืน้ ฐานทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยค�ำนึงถึงความ พอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการด�ำรง ชีวิต การป้องกันให้รอดพ้นจากวิกฤต และให้สามารถ ด�ำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัต น์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (คณะอนุกรรมการขับ เคลือ่ นเศรษฐกิจพอเพียง 2551) จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 -2564) โดย ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ส�ำนักนายกรัฐมนตรี ได้ก�ำหนดยุทธศาสตร์ใน การพัฒนา ในด้านการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุน มนุษย์ ได้กล่าวว่า ทุนมนุษย์ของประเทศไทยยังมีปัญหา ในด้านคุณภาพคนในแต่ละช่วงชัย โดยผลลัพธ์ทางการ ศึกษาของเด็กวัยเรียนค่อนข้างต�่ำ โดยมีแนวทางในการ พัฒนาที่ส�ำคัญคือ พัฒนาศักยภาพคนให้มีทักษะ ความ รู้ และความสามารถในการด�ำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า อาทิ ส่งเสริมเด็กปฐมวัยให้มีการพัฒนาทักษะทางสมองและ ทางสังคมที่เหมาะสม เด็กวัยเรียนและวัยรุ่นมีทักษะการ คิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ กระทรวงศึกษาธิการเป็นอีก หนึ่งหน่วยงานที่ได้ตระหนักถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน สังคม เพราะเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่หลักในการจัดการ ศึกษาซึ่งถือเป็นเครื่องมือส�ำคัญในการพัฒนาคุณภาพของ คนอันเป็นก�ำลังส�ำคัญในการพัฒนาประเทศ จึงมีภารกิจ ส�ำคัญในการเผยแพร่แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียง เพื่อพัฒนาคนไทยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวน ทัศน์ และสร้างจิตส�ำนึกทีม่ นั่ คงเข้มแข็งในหลักการด�ำเนิน ชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงพร้อมต่อการรองรับ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้าน วัตถุ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็น

40

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

อย่างดี เพื่อเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในสังคม ด้วยเหตุนี้สถานศึกษาและครูจึงมีหน้าที่ส�ำคัญที่ จะต้องพัฒนาให้นักเรียน มีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย จิตสาธารณะ และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ครูทุก คนเป็นผู้มีบทบาทส�ำคัญในการน้อมน�ำเอาหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียน การสอนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายการขับ เคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลประเทศไทย 4.0 ของรัฐ และสอดคล้องกับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เพื่อ ให้นักเรียนสามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ในการด�ำรงชีวิตได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม การน้อมน�ำ “หลักปรัชญาของ เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง” มาบู ร ณาการในการจั ด การเรี ย น การสอนเป็นการน�ำเสนอแนวคิด หลักการที่เป็นระบบ เป็นการเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจให้นักเรียน มีจิตส�ำนึก มี คุณธรรม ความซื่อสัตย์ และมีความรู้ที่เหมาะสมด�ำเนิน ชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียร มีสติปัญญาและ ความรอบคอบ เพื่อให้เกิดความสมดุล และยั่งยืน พร้อม รองรับต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากสังคมโลกได้ เป็นอย่างดี หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะเน้นเรื่อง ของเศรษฐศาสตร์และการด�ำรงชีวิตของประชาชนเป็น หลัก แต่เมื่อศึกษาหลักส�ำคัญแล้วจะพบว่า พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงน�ำกรอบแนวคิดของปรัชญา ทางการศึกษาหลายปรัชญามาบูรณาการกันอย่างสมดุล และเหมาะสมเพื่อก�ำหนดเป็นแนวทางพื้นฐาน กรอบ แนวคิดของปรัชญาดังกล่าวสามารถน�ำมาประยุกต์ ใ ช้ กั บ การจั ด การศึ ก ษาของประเทศไทยปั จ จุ บั น ได้ อ ย่ า ง สอดคล้อง โดยให้ความส�ำคัญกับ “คน” และ “พื้นที่” เป็นศูนย์กลางในการพัฒนา (ส�ำนักงานคณะกรรมการ ศึกษาแห่งชาติ 2545) และมีหลักด�ำเนินการที่ส�ำคัญ ได้แก่ ความพอประมาณ คือ ความเหมาะสมสอดคล้อง กับความต้องการของชุมชน สังคม ความพร้อมของสถาน ศึกษา ความสามารถและความถนัดของผู้เรียน หลัก ความมีเหตุผล คือ การปลูกฝัง ให้เกิดกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์กับผู้เกี่ยวข้อง ให้เป็นคนมีเหตุผล คือ ท�ำ กิจกรรมด้วยความรู้ ความเข้าใจถึงผลกระทบที่จะเกิด ขึ้นจากการกระท�ำ โดยค�ำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง รู้จัก เชื่อมโยงกระบวนการจากจุดเริ่มต้นสู่ผลลัพธ์ และปฏิบัติ บนพื้นฐานของความรู้และประสบการณ์ ส่งเสริมการน�ำ ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ ให้มีการเรียนรู้ตลอด เวลา การมีภูมิคุ้มกันในตัวเองคือ เน้นหลักการพึ่งพา


Vol 1 No 1 January - April 2018

ตนเอง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง สามารถปรับตัวให้ เข้ากับสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ทั้งที่มาจากภายในและภายนอก ประเทศ มีวิสัยทัศน์และพยากรณ์อนาคตอย่างมีหลัก การและเหตุผลและด�ำเนินการจะประสบผลส�ำเร็จและ บรรลุเป้าหมายได้นั้นจ�ำเป็นต้องมีเงื่อนไขประกอบ 2 อย่าง คือ การมีความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาการ การจัดการ ศึกษาต้องให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสอดคล้องสมดุลและ บูรณาการทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ด้านวิทยาศาสตร์และ สังคม และด้านคุณธรรม มีความรอบคอบ รู้จักประยุกต์ และเชื่อมโยงความรู้ด้านต่าง ๆ เพื่อการวางแผนก่อน ตัดสินใจน�ำไปปฏิบตั อิ ย่างเป็นขัน้ ตอน การมีคณ ุ ธรรมด้าน จิตใจ และด้านการกระท�ำหรือแนวทางในการด�ำเนินชีวิต ด้วยเหตุผลและความส�ำคัญดังกล่าว ผู้ศึกษา ได้ศึกษาแนวคิดทฤษฏีต่างๆเพื่อปรับปรุงแก้ไขการเรียน การสอน โดยค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากต�ำรา งาน วิทยานิพนธ์ เอกสารทางวิชาการ สอบถามผู้เชี่ยวชาญ และขอค�ำแนะน�ำจากผูท้ รงคุณวุฒหิ ลายท่าน ร่วมทัง้ ศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับการน้อมน�ำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียงมาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน จึงได้ พัฒนา ชุดกิจกรรมการเรียนรูว้ ทิ ยาศาสตร์บรู ณาการหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การด�ำรงชีวิตของพืช ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 ขึ้น เพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครบถ้วนเป็นองค์รวม โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่ม ควบคู่กับการท�ำกิจกรรมการทดลอง และสรุปองค์ความรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ก็สามารถเชือ่ ได้วา่ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชดุ กิจกรรมการเรียนรูว้ ทิ ยา ศาสตร์บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การด�ำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จะสามารถ พัฒนาให้นักเรียน มีความรู้และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น ตลอดจน นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองให้ สามารถเรียนรูแ้ ละอยูร่ ว่ มกับผูอ้ นื่ ในสังคมได้อย่างมีความ สุข ส�ำหรับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 และ เป็นกลไกส�ำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยตามโมเดล ประเทศไทย 4.0 ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

ตามเกณฑ์ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.5 ขึ้นไป 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนทีไ่ ด้รบั การสอนโดยใช้ชดุ กิจกรรมการเรียนรูว้ ทิ ยา ศาสตร์บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การด�ำรงชีวติ ของพืชชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและ หลังเรียน 3.เพือ่ ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชัน้ ประถม ศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยการใช้ชุดกิจกรรมการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง เรื่องการด�ำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วิธีดำ�เนินการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดอุปนันทาราม กองการศึกษาเทศบาล เมืองระนอง อ�ำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ภาคเรียน ที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จ�ำนวน 3 ห้องเรียน คือ ป.4/2 – ป.4/4 จ�ำนวน 80 คน 2. กลุม่ ตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชัน้ ประถมศึกษาปี ที่ 4/4 โรงเรียนเทศบาลวัดอุปนันทาราม กองการศึกษา เทศบาลเมืองระนอง อ�ำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จ�ำนวน 1 ห้องเรียน จ�ำนวน 27 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การด�ำรงชีวิต ของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จ�ำนวน 4 ชุด โดยชุด กิจกรรมดังกล่าวผ่านการตรวจสอบคุณภาพ โดยทดลองใช้ ทั้งแบบเดี่ยว แบบกลุ่มเล็ก และการทดลองกลุ่มใหญ่ ซึ่งมี ประสิทธิภาพเท่ากับ 84.44/72.59 ก่อนน�ำไปทดลองกับ กลุ่มตัวอย่าง 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชุด กิจกรรมการเรียนรูว้ ทิ ยาศาสตร์บรู ณาการหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง เรือ่ ง การด�ำรงชีวติ ของพืช ชัน้ ประถม ศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นชนิด เลือกตอบ 4 ตัวเลือก จ�ำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย วัตถุประสงค์การวิจัย (p) อยู่ระหว่างค่าอ�ำนาจจ�ำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.24 ถึง 1.เพื่อสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 0.70 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การ 3. แผนการจัดการเรียนรู้ชุดกิจกรรมการเรียน ด�ำรงชีวติ ของพืช ชัน้ ประถมศึกษาปีท ี่ 4 ให้มปี ระสิทธิภาพ รู้วิทยาศาสตร์บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ

41


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

เพียง เรื่อง การด�ำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดอุปนันทาราม จ�ำนวน 23 แผน จัด กิจกรรมการเรียนรู้รวมเวลา 23 ชั่วโมง แผนการจัดการ เรียนรูม้ คี ณ ุ ภาพเฉลีย่ อยูใ่ นระดับมากทีส่ ดุ (ค่าเฉลีย่ เท่ากับ 4.70) 4. แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการ เรียนโดยใช้กจิ กรรมการเรียนรูว้ ทิ ยาศาสตร์บรู ณาการหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การด�ำรงชีวิตของพืช ชัน้ ประถมศึกษาปีท ี่ 4 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จ�ำนวน 15 ข้อ มีค่าความสอดคล้องโดยเฉลี่ย 1.00 การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ทดสอบก่อนเรียน (Pretest) โดยท�ำการ ทดสอบกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถามก่อน เรียน จ�ำนวน 30 ข้อ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้วน�ำ มาตรวจให้คะแนนทีไ่ ด้จากการท�ำแบบทดสอบบันทึกผลไว้ พร้อมแจงคะแนนให้นักเรียนรู้ 2. ปฐมนิเทศชี้แจงเกี่ยวกับการเรียน โดยใช้ชุด กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการเรียน รู้แบบสืบเสาะหาความรู้ แก่นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย 3. การด�ำเนินการทดลอง ผู้ศึกษาให้นักเรียน

ศึกษาตามชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามเวลาที่ ก�ำหนด ในขั้นนี้ผู้ศึกษาจะคอยซักถามแนะน�ำ ช่วยเหลือ และดูแลอย่างใกล้ชดิ ในขณะทีน่ กั เรียนศึกษาเนือ้ หา และ ปฏิบัติกิจกรรม 4. ทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อสิ้นสุดการ เรียน ครบทุกชุดกิจกรรม จึงให้นกั เรีมท�ำข้อสอบหลังเรียน อีกครัง้ โดยใช้ขอ้ ทดสอบวัดผลสัมฤทธิช์ ดุ เดียวกับทดสอบ ก่อนเรียนแต่สลับข้อ แล้วตรวจให้คะแนน น�ำคะแนนที่ได้ ทัง้ สองมาเปรียบเทียบกัน เพือ่ น�ำผลข้อมูลไปวิเคราะห์ทาง สถิติ 5. สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนทีม่ ตี อ่ การ เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การด�ำรงชีวิต ของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล การวิ จั ย ครั้ ง นี้ ไ ด้ ใ ช้ ส ถิ ติ พื้ น ฐานที่ ใ ช้ ใ นการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน สถิ ติ ที่ ใ ช้ ใ นการหาคุ ณ ภาพของเครื่ อ ง มื อ ได้ แ ก่ ค่ า ความเที่ ย งตรง ค่ า ความยากและค่ า อ�ำนาจจ�ำแนก ค่าความเชื่อมั่น ประสิทธิภาพ และดัชนี ประสิ ท ธิ ผ ล และสถิ ติ ที่ ใ ช้ ใ นการทดสอบสมมติ ฐ าน การวิ จั ย ได้ แ ก่ t-test (Dependent Samples)

ผลการวิจัย

1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การด�ำรงชีวิตของ พืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.24/83.46 และค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.5145 ซึ่งสูงกว่า เกณฑ์ที่ก�ำหนดไว้ ดังตารางดังนี้ ตาราง 1 ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การด�ำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จาการทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างจ�ำนวน 27 คน

คะแนนกิจกรรมระหว่างเรียน ร้อยละ E1

คะแนนทดสอบหลังเรียนของ แต่ละเรื่อง ร้อยละ E2

E1/E2

83.24

83.46

83.24/83.46

ผลการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การด�ำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 83.24/83.46 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80

42


Journal of Educational Technology and Communications

Vol 1 No 1 January - April 2018

Facutyl of Education Mahasarakham University

ตาราง 2 ประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเรื่อง การ ด�ำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากการทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างจ�ำนวน 27 คน

แบบทดสอบ

ผลคูณของ จ�ำนวนนักเรียน กับคะแนนเต็ม

ผลรวมของ คะแนนก่อน เรียน

ผลรวมของ คะแนนหลัง เรียน

E.I.

เกณฑ์การ ผ่าน E.I.

ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

27 x 30 = 810

534

676

0.5145

0.50

ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การด�ำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ค่าดัชนีประสิทธิผล ( E.I. ) ค่าเท่ากับ 0.5145 ซึ่งแสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นคิดร้อยละ 51.45 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยา ศาสตร์บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การด�ำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ สถิติ t-test (Dependent Sampling) มีรายละเอียดดังนี้ ตาราง 3 แสดงคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย กลุ่มตัวอย่าง

แบบทดสอบ

N

∑x

x

S.D.

T

ก่อนเรียน หลังเรียน

27 27

534 534

19.78 25.04

1.63 1.13

17.01

คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณ าการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การด�ำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ย 25.04 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.13 และเมื่อตรวจสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย โดยใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test) พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การด�ำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูง กว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ระดับความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การด�ำรงชีวิตของพืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้าน จ�ำนวน 15 ข้อ ผลการ วัดความพึงพอใจของนักเรียนโดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 อยู่ในระดับที่มากที่สุดส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.53 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงล�ำดับจากมากที่สุดหาน้อยที่สุด พบว่าด้านการวัดผลประเมินผล เท่ากับ 4.83 อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านอุปกรณ์การเรียนการสอน เท่ากับ 4.76 อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านสาระการ เรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 อยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากัน และด้านที่น้อยที่สุด คือด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 อยู่ในระดับมากที่สุด

43


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

อภิปรายผล 1.ชุ ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู ้ วิ ท ยาศาสตร์ บู ร ณา การหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การด�ำรง ชีวิตของพืชชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80/80 ที่ เ ป็ น เช่ น นี้ เ พราะ ในการจั ด ท�ำชุ ด กิ จ กรรม วิทยาศาสตร์ ได้ผา่ นกระบวนการทีเ่ ป็นระบบอย่างถูกต้อง ตามหลักวิชาการ กล่าวคือ ได้มกี ารวิเคราะห์เนือ้ หา ศึกษา หลักสูตร คูม่ อื แบบเรียน และสาระการเรียนรูต้ ามหลักสูตร การศึกษา หลักสูตรแกนกลางขัน้ พืน้ ฐานพุทธศักราช 2551 การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ศึกษา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ โดย ใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ความรู้เกี่ยวกับการสร้างชุด กิจกรรมวิทยาศาสตร์ วิธีการสร้างชุดกิจกรรมเพื่อเป็น แนวทางในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ก�ำหนด กรอบแนวคิดเกีย่ วกับกระบวนการสอนในการจัดการเรียน การสอนและสอดแทรกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรูว้ ทิ ยาศาสตร์บรู ณาการหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การด�ำรงชีวิตของพืช ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 ก�ำหนดโครงเรื่องให้สอดคล้องกับ สาระการเรียนรู้ มาตรฐานและตัวชี้วัดเพื่อน�ำมาจัดท�ำชุด กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การด�ำรงชีวิตของพืช ชั้น ประถมศึกษาปีท ี่ 4 จ�ำนวน 4 ชุด น�ำชุดกิจกรรมการเรียน รูว้ ทิ ยาศาสตร์บรู ณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรือ่ ง การด�ำรงชีวติ ของพืช ชัน้ ประถมศึกษาปีท ี่ 4 เสนอ ต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา ขั้น ตอนการด�ำเนินกิจกรรม การใช้ภาษา รูปภาพ แล้วน�ำมา ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ แล้วน�ำไป ทดลอง แบบ 1:1 ซึง่ ประกอบด้วยนักเรียนทีเ่ รียนเก่ง เรียน ปานกลาง และเรียนอ่อน ประเภทละ 1 คน เพื่อหาความ บกพร่องและความยากง่ายของชุดกิจกรรมแล้วปรับปรุง ส่วนที่บกพร่องให้มีคุณภาพ จากนั้นจึงน�ำไปทดลองใช้กับ นักเรียนกลุ่มเล็ก แบบ 1:10 จ�ำนวน 10 คน ล�ำดับต่อไป น�ำไปทดลองกับนักเรียนกลุ่มใหญ่ แบบ 1:100 จ�ำนวน 27 คน เพื่อหาความชัดเจนในชุดกิจกรรมยิ่งขึ้น จึงท�ำให้ชุด กิจกรรมวิทยาศาสตร์มีความน่าสนใจ ซึ่งการจัดการเรียน แบบนี้จะท�ำให้นักเรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองใน ขณะเรียนรู้ นักการศึกษาได้กล่าวว่า การสอนโดยครูหลีก เลี่ยงการบอกความรู้ โดยให้นักเรียนได้ค้นพบเองตาม ความเหมาะสม จะเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด ซึ่งสอดคล้อง

44

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

กับ จ�ำเนียร จินตนา (2552) พบว่านักเรียนที่เรียนโดย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงเรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อม นักเรียนมี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยส�ำคัญที่สถิติระดับ .05 สอดคล้องกับสมจิต จอด นอก (2552 : 62-64) ได้ศึกษาการพัฒนาชุดกิจกรรม วิทยาศาสตร์ สาระพลังงาน หน่วยพลังงานไฟฟ้าที่มีต่อ ทักษะกระบวนการขั้นผสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สาระพลังงาน หน่วยพลังงานไฟฟ้า ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน สาระพลังงาน หน่วยพลังงานไฟฟ้า ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรม วิทยาศาสตร์ ผลการศึกษา พบว่าชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.80/86.07 ซึ่งผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนภายหลังจากใช้ชุดกิจกรรมสูง กว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรม 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียน ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การด�ำรงชีวิตของ พืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส�ำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ที่เป็น เช่นนี้อาจเนื่องมาจากผู้วิจัยใช้กระบวนการเรียนรู้ที่เน้น การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา ด้วยวิธีการฝึก ให้นักเรียนรู้จักศึกษาค้นคว้าหาความรู้ โดยผู้สอนคอยตั้ง ค�ำถามกระตุน้ ให้ผเู้ รียนใช้กระบวนการทางความคิดหาเหตุ ผล จนค้นพบความรู้ หรือแนวทางในการแก้ปญ ั หาทีถ่ กู ต้อง ด้วยตนเอง สรุปเป็นหลักการหรือกฎเกณฑ์ หรือวิธกี ารใน การแก้ปัญหา และสามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ใน การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางยิ่ง ขึน้ ซึง่ สอดคล้องกับ ลาวรรณ โฮมแพน (2550 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และความ สามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชดุ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรือ่ ง ระบบนิเวศ ส�ำหรับ นักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 3 เพือ่ ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนทีไ่ ด้รบั การสอนโดยใช้ชดุ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยชุด


Vol 1 No 1 January - April 2018

กิจกรรมวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์หลัง เรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สอดคล้องกับสมจิต จอดนอก (2552 : 62 - 64) ที่ ได้พัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สาระพลังงาน หน่วย พลังงานไฟฟ้า ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขัน้ ผสมของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึง่ ผลการวิจยั พบ ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนภายหลังจากใช้ชุด กิจกรรมสูงกว่าก่อนใช้ชดุ กิจกรรมและทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ข้ันผสมของนักเรียน หลังใช้ชุดกิจกรรม วิทยาศาสตร์ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้น ผสมสูงขึน้ กว่าก่อนใช้อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ .05 3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บูรณาการหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การด�ำรงชีวิตของ พืช ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 หมายความว่า นักเรียนมีความ พึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ อยู่ ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ทั้งนี้อาจเนื่องจากกิจกรรมการ เรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมที่เปิด โอกาสให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริงด้วยตนเอง นักเรียนได้ ท�ำงานเป็นกลุม่ ในห้องปฏิบตั กิ ารทางวิทยาศาสตร์ ทีม่ วี สั ดุ อุปกรณ์ทพี่ ร้อมในการน�ำไปใช้ท�ำกิจกรรมการทดลอง ครูผู้ สอนมีการกระตุ้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแข่งขันกันปฏิบัติ งานให้เสร็จ ด้วยความถูกต้องรวดเร็วในการท�ำกิจกรรมใบ งาน กิจกรรมกลุ่มและแบบทดสอบย่อยหลังเรียน ในขณะ จัดกิจกรรมการเรียนครูมีการเสริมแรงด้วยการพูดชมเชย ทุกครั้งที่นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมได้ส�ำเร็จตามจุดประสงค์ ครูแนะน�ำวิธีการท�ำงานให้กับกลุ่มที่ช้าได้มีโอกาสแก้ไข ทุกชั่วโมงเรียน ครูผู้สอนมีการวัดผลและประเมินผลการ เรียนทุกครัง้ อย่างเหมาะสมท�ำให้การเรียนการสอนเป็นไป อย่างต่อเนือ่ ง ก่อให้เกิดความสนุกสนานในการเรียน ท�ำให้ นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข รวมทั้งการที่นักเรียนใน วัยนี้ชอบพูดคุย แสดงความคิดเห็นและต้องการแสดงออก อย่างสร้างสรรค์ ครูได้จัดให้มีการน�ำเสนอผลงานหน้าชั้น เรียนในแต่ละชั่วโมงหลังปฏิบัติกิจกรรมการส�ำรวจและ ทดลองเสร็จ หรือน�ำเสนอในรูปแบบฐานความรู้ ในโอกาส ต่างๆ เช่น สัปดาห์วันวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนหรือค่าย

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

วิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถเฉพาะ ตัวของตนเองอย่างเต็มความสามารถ และยอมรับความ แตกต่างของแต่ละบุคคลได้ สอดคล้องกับงานวิจัยของ ประวิทย์ จุฑาจันทร์ (2551) ได้พัฒนาชุดฝึกการคิดที่เน้น ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยกระบวนการสืบ เสาะหาความรู้ 7 ขั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง หลากหลายด้วยวัสดุ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 มีค วามพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่ สุด ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะในการน�ำไปใช้ 1.1 ก่ อ นพั ฒ นาชุ ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู ้ วิ ท ยา ศาสตร์บูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผู้สอน ควรท�ำความเข้าใจความหมาย หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียง ใน 3 หลักการ คือ ความพอประมาณ ความมี เหตุผล และสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี โดยใช้ 2 เงื่อนไข คือ คุณธรรมและความรู้ 1.2 การจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการ เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเป็นชุดกิจกรรมที่ มีคุณภาพเหมาะสมกับการน�ำไปประยุกต์ใช้ได้ทุกช่วงชั้น ทุกสาระการเรียนรู้ 1.3 ครูผู้สอนสามารถปรับกิจกรรมการเรียนรู้ใน บางแผนให้เหมาะสมกับระดับชัน้ หลักสูตรสถานศึกษา และ บริบทของโรงเรียนตนเองได้ 1.4 ครูผู้สอนควรมีการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงในการปรับปรุงชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เพือ่ น�ำไป ใช้กับกลุ่มสาระอื่น ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม สื่อการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล 2. ข้อเสนอแนะส�ำหรับการท�ำวิจัยครั้งต่อไป 2.1 การน�ำชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มาใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นวิธีการที่สามารถพัฒนา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนให้สูงขึ้น ดังนั้นควรมีการ ศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียน รู้วิทยาศาสตร์ บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียง หาความรูใ้ นกลุม่ สาระอืน่ ๆ หรือ ในช่วงชัน้ อืน่ ต่อไป

45


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

เอกสารอ้างอิง กรมวิชาการ. (2544) คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและ ครุภัณฑ์, . (2544) สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและครุภัณฑ์, . (2545) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. พิมพ์ครั้งที่ 3 . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว , จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2548) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 42 (พฤศจิกายน-ธันวาคม): 41-47, จ�ำเนียร จินตนา. (2552) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เรื่องชีวิตกับสิ่งแวดล้อมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง. ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2542) การค�ำนวณหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, . (2537).“การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน”. เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 1-5. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ประวิทย์ จุฑาจันทร์. (2551) การพัฒนาชุดฝึกการคิดที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดย กระบวนการ สืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง หลากหลายวัสดุ ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 . ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 : โรงเรียนบ้านสามโค, ลาวรรณ โฮมแพน. (2550) การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการคิด วิเคราะห์. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา).กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ, สมจิตร จอดนอก. (2552) การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สาระพลังงาน หน่วยพลังงานไฟฟ้าที่มีต่อทักษะ กระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นผสม ของนักเรียนชั้นมะยมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต. ขอนแก่น :มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นส�ำคัญ. กรุงเทพฯ :ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. _______. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. ส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2547). ระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาตามเจตนารณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : บริษัท พิมพ์ดี จ�ำกัด Kowalczy k, Donna Lee. (2003) “An Analysis of K-5 Teacher’ Beliefs Regarding the Uses of Direct Instruction, the Discovery Method, and the Inquiry Method in Elementary Science Education, ” Dissertation Abstract International. 64(02) : 403-A ; August, Lawson, A.E. (2001) “Using the learning cycle to teach biology concepts and Reasoning patterns ”. Journals of Biology Education 45 : 165-169. ทักษิณ คาโส : ออกแบบจัดหน้าบทความ

46


Vol 1 No 1 January - April 2018

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาครู

ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

A Model for Knowledge Management for Teacher Development on Virtues and Ethics, Tetsaban 3 School (Ban Bo School), Mueang Kanchanaburi Municipality, Kanchanaburi Province.

สกุณา ปั้นทอง

1

Sakuna Panthong

1

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. ศึกษาความต้องการจำ�เป็นในการพัฒนาครูโดยใช้การจัดการความรู้ 2. นำ�เสนอรูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม 3. ประเมินความเหมาะสม ของรูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม 4. พัฒนารูปแบบการจัดการความ รู้เพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม และ 5. ศึกษาผลการพัฒนาครูโดยใช้รูปแบบการจัดการความ รู้เพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัด กาญจนบุรี กลุมตัวอยางที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พนักงานครูเทศบาล ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำ�นวน 55 คน จากโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ปีการศึกษา 2558 ประกอบด้วย สายงานบริหารสถานศึกษา จำ�นวน 4 คน และสายงานการสอนในสถานศึกษา จำ�นวน 51 คน การวิจัยแบงเปน 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาวิเคราะหเนื้อหา (Content Analysis) การจัดการความรูการพัฒนา ครู และใชแบบสอบถามมาตรา สวนประมาณคา 5 ระดับ สํารวจความตองการจําเปนในการพัฒนาครู วิเคราะหข้อมูล หาคาเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จัดทําเปนรางรูปแบบการจัดการความรูเพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนา คุณธรรมจริยธรรม ระยะที่ 2 นําเสนอรางรูปแบบ (Proposed Model) การจัดการความรูเพื่อการพัฒนาครู ด้านการ พัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โดยใชการสนทนากลุมผูทรงคุณวุฒิ จํานวน 10 คน (Focus Group) พิจารณาความเหมาะ สมเปนไปไดของรูปแบบ ระยะที่ 3 การทดลองใช ประเมิน และพัฒนารูปแบบ โดยนํารูปแบบ ดังกลาวไปทดลองใชกับ กลุมตัวอยาง โดยใชแบบสอบถามมาตราสวนประมาณคา 5 ระดับ ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ วิเคราะหขอมูล หาคาเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และพัฒนารูปแบบ โดยสนทนากลุมผูรวมวิจัย (Focus Group) จํานวน 24 คน ระยะที่ 4 การศึกษาผลการพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โดยใชร ปู แบบการจัดการความรูท พี่ ฒ ั นาแลว กับ กลุม ตัวอยา งเดิมอีกครัง้ ติดตามผลโดยใชแบบสะทอนคิดการเปลีย่ นแปลงพฤติกรรม ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของครู และสัมภาษณเชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำ�คัญที่ร่วมวิจัย (Focus Group) จํานวน 24 คน ผลการวิจัยพบว่าความตองการจำ�เป็นในการพัฒนาครูโดยใชการจัดการความรูเพื่อการพัฒนาครู ไดแก ด้าน การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม เปนลําดับสูงสุด รูปแบบการจัดการความรูเพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ประกอบดวย 6 ขั้นตอน ไดแก ขั้นที่ 1) การบ่งชี้ความรู้ ขั้นที่ 2) การแลกเปลี่ยนความรู้ ขั้นที่ 3) การสร้าง ความรู ้ ขัน้ ที่ 4) การจัดเก็บความรู ้ ขัน้ ที่ 5) การนำ�ความรูไ้ ปใช้ และขัน้ ที่ 6) การประเมินผลความรู้ ความเหมาะสมของ รูปแบบการจัดการความรูเพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาล 1

รองผู้อำ�นวยการชำ�นาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

Deputy Director of Specialization Tetsaban 3 School (Ban Bo School), Mueang Kanchanaburi Municipality, Kanchanaburi Province 1

47


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

เมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดยภาพรวม มีความเหมาะสม อยูในระดับมาก มีการพัฒนารูปแบบ โดยปรับขั้นที่ 3) การสรางความรู้ เป็นการแสวงหาความรู ผลการพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โดยใชรูปการจัดการ ความรูท พี่ ฒ ั นาแลว ครูเกิดการเปลีย่ นแปลงพฤติกรรม ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ทุกเรือ่ งไปในทางทีด่ ขี นึ้ อยาง ไรก็ตาม การจัดการความรูเ พือ่ การพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ตอ งใชก ารปฏิบตั โิ ดยเครือขา ยการจัดการ ความรู้ ได้แก่ ความรว มมือ การมีปฏิสมั พันธ การติดตอ สือ่ สารตอ กัน เปน กลไกการพัฒนา และมีวสิ ยั ทัศนร ว ม ภาวะผูน าํ และการทํางานเปนทีมงาน เปนปจจัยเสริมใหการจัดการความรูสําเร็จดีขึ้น คำ�สำ�คัญ : การจัดการความรู้, การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม

Abstract The objectives of this research were to 1) study the needs for developing teachers through knowledge management, 2) propose a model for teacher development on virtues and ethics, 3) evaluate an appropriateness level of the model for teacher development on virtues and ethics, 4) develop the model for teacher development on virtues and ethics, 5) study the results of teacher development on virtues and ethics after implementing the model with the teachers of Tetsaban 3 School ( Ban Bo School), Mueang Kanchanaburi Municipality, Kanchanaburi Province. The research sample consisted of 55 teachers selected in the academic year of 2015 through the purposive sampling method including 4 school administrators, and 51 teachers. The research procedure was divided into 4 phases. Phase 1 was on a content analysis of knowledge management for teacher development using a five-rating scale questionnaire to explore the needs for teacher development and analyzing the obtained data to determine statistical mean and standard deviation. A model for knowledge management for teacher development on virtues and ethics was subsequently drafted. In Phase 2, a drafted model for teacher development on virtues and ethics was proposed for consideration in a focus group of 10 experts. Phase 3 was concerned with the model implementation, evaluation and development. The proposed model was implemented with the sample group using a five-rating scale questionnaire to evaluate the appropriateness of the model and the data were analyzed to find statistical mean and standard deviation. The model was developed in a focus group of 24 co-researchers. Phase 4 was studying the results of teacher development on virtues and ethics after implementing the developed model for knowledge management with the same sample group. The follow-up method was done through investigating reflective thinking and behavioral changes on virtues and ethics , and an in-depth interview of 24 co-researchers. The research results revealed that the teachers’ needs in teacher development on virtues and ethics using the model for knowledge management was at the highest level. The model consisted of 6 steps including 1), knowledge identification, 2) knowledge exchanges, 3) knowledge creation, 4) knowledge storage, 5) knowledge utilization, and 6) knowledge evaluation. As for the appropriateness of the model for knowledge management for teacher development on virtues and ethics at Tetsaban 3 School (Ban Bo School),Mueang Kanchanaburi Municipality, Kanchanaburi Province, the result indicated that as a whole, it was appropriate at a high level, but the third step of the model was modified from knowledge creation to knowledge acquisition. It was also found out that Teachers’ behavioral changes on virtues and ethics were improved in every aspect. Moreover, knowledge management for teacher development on virtues and ethics needed an operation of knowledge management network; namely, collaboration, interaction, communication as development mechanism, as well as vision, leadership, and teamwork as supplementary factors to bring more success to knowledge management. Key words : knowledge management, ethics development

48


Vol 1 No 1 January - April 2018

บทนำ� สถานศึกษาเป็นหน่วยงานหลักหน่วยงานหนึ่ง ในการจัดการศึกษา ให้บรรลุความมุ่งหมายของพระราช บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรม นอกจากนี้พระราชบัญญัติการ ศึกษาแห่งชาติฉบับนี้ยังให้ความสำ�คัญกับการพัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ดังปรากฏในมาตรา 52 ถึงมาตรา 57 ของพระราชบัญญัติ ที่ได้มีการกำ�หนด ให้มีการปฏิรูปครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาทั้ง ระบบ และเน้นยุทธศาสตร์ การพัฒนาครูอย่างต่อเนื่องใน ฐานะทีเ่ ป็นกลไกในการยกระดับมาตรฐานและคุณภาพการ ศึกษา พระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการกระทรวง ศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 เน้นให้เห็นถึงบทบาทที่สำ�คัญของ ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการคณะ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับทั้งเป็นผู้บังคับบัญชา ข้าราชการครู ทัง้ นีก้ ารจัดการศึกษาให้บรรลุความมุง่ หมาย และหลักการของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติดัง กล่าว ผู้บริหารสถานศึกษาต้องอาศัยความร่วมมือจากทุก ภาคส่วน ข้าราชการครูเป็นกลไกสำ�คัญที่สามารถช่วยขับ เคลื่อนพลังความร่วมมือ พลังความคิดจากทุกภาคเครือ ข่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการเรียนการสอนอันเป็น หน้าที่หลักของข้าราชการครูซึ่งต้องจัดกระบวนการเรียน รู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำ�คัญและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยวิธีการต่าง ๆ ในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็วของโลกและกระแสปฏิรูปการศึกษา (กระทรวง ศึกษาธิการ, 2546) จึงเห็นได้ว่าในยุคปัจจุบัน การพัฒนาครู ให้เป็น ผู้นำ�การเรียนรู้มีความจำ�เป็น เครื่องมือสำ�คัญประการ หนึ่งในการพัฒนาครูคือ การจัดการความรู้ (Knowledge Management) โดยปัจจัยการผลิตที่สำ�คัญทางเศรษฐกิจ จะเปลี่ยนจากทุน ทรัพยากรทางธรรมชาติ และแรงงาน มาเป็นความรู้ (Knowledge) องค์กรทางการศึกษาก็เช่น เดียวกัน ปัจจุบันสภาพแวดล้อมทางด้านการบริหารการ ศึกษาเกิด การเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เกิดการพัฒนา และการเปลี่ยนแปลงของแนวคิดในการบริหารและ การ จัดการอย่างมาก ส่งผลให้ผบู้ ริหารทัง้ ในภาครัฐ และเอกชน

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

ต้องมีการปรับตัว และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องตลอด เวลา (พสุ เดชะรินทร์, 2547) แนวคิดทางการจัดการความ รู้เป็นแนวคิดหนึ่งที่ไม่ได้มองว่าคนเป็นทรัพยากรที่มีความ สำ�คัญทีส่ ดุ อีกต่อไปแต่เป็นความรู้ (Knowledge) ทีอ่ งค์กร และบุคคลในองค์กรต้องตระหนัก มีตัวอย่างที่ชัดเจนใน กรณีนี้ได้แก่การที่บุคคลแต่ละคนในองค์กรเมื่อทำ�งานถึง ช่วงอายุหนึ่งก็ต้องมีการเกษียณอายุ ซึ่งการเกษียณอายุ นั้นสิ่งที่องค์กรสูญเสียไปไม่ใช่เพียงแต่บุคคลหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นความรู้และประสบการณ์ในการทำ�งานของบุคคล ผู้นั้นที่สั่งสมมานานนับสิบ ๆ ปี ด้วยความสำ�คัญดังกล่าว ทำ�ให้องค์กรหลาย ๆ แห่งในปัจจุบนั ให้ความสำ�คัญกับการ จัดการความรู้ภายในองค์กรมากขึ้นทุกขณะ (พสุ เดชะ- รินทร์, 2546) กองการศึกษา เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัด กาญจนบุรี เป็นหน่ว ยงานทางการศึกษาตามพระราช บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนการบริหารจัดการศึกษาให้กบั สถานศึกษาขัน้ พืน้ ฐานในสังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จำ�นวน 5 แห่ง ให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ จากรายงาน การวิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพการศึกษา ภายใน สถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ประจำ�ปีการ ศึกษา 2558 มาตรฐานด้านปัจจัยทางการศึกษา มาตรฐาน ที่ 1 ครูมคี ณ ุ ธรรม จริยธรรม มีความสามารถในการจัดการ เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำ�คัญ แนวทางการพัฒนา คือ พัฒนาครูในการส่งเสริมจิตสำ�นึกด้านคุณธรรม จริยธรรม แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นประจำ� และ ต่อเนือ่ ง และมาตรฐานที่ 16 ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้เรียนมี คุณภาพเป็นทีย่ อมรับของผูป้ กครองและชุมชน ในภาพรวม ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาต่ำ�กว่าเกณฑ์ที่กำ�หนด ผู้เรียนขาดความตระหนัก ขาดความรับผิดชอบ และไม่มี ความกระตือรือร้นในการเรียนเท่าที่ควร ครูขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ขาดเทคนิคและวิธีการถ่ายทอดที่กระตุ้นความสนใจ ขาด สื่อการเรียนรู้ โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เป็นโรงเรียนใน สังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จัดการ ศึกษาในระดับการศึกษาภาคบังคับ ตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 มีการจัดการศึกษามุ่งเน้น การบริหารงาน 4 งาน คือ 1) งานการบริหารวิชาการ 2) งานการบริหารงบประมาณ 3) งานการบริหารงานบุคคล และ4) งานการบริหารทั่วไป เป็นหน่วยงานราชการ

49


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ยึดหลักการบริหารงานแบบการกระอำ�นาจ ตามพระราช บัญญัติกำ�หนดแผน และขั้นตอนการกระจายอำ�นาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมวด 2 ซึ่งการ ประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้เรียน สังกัด เทศบาลเมืองกาญจนบุรี ประจำ�ปีการศึกษา 2558 และ สรุปผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียน เทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) ประจำ�ปีการศึกษา 2557 ดังกล่าวข้าง ต้น สะท้อนให้เห็นถึงในด้านครูนั้น ส่วนหนึ่งมีคุณลักษณะ ไม่พงึ ประสงค์ตามแนวทางในการจัดการศึกษาในมาตรฐาน ที่ 22 แห่ ง พระราชบัญ ญัติก ารศึก ษาแห่ง ชาติกำ�หนด อย่างไรก็ตามได้มกี ารปฏิรปู พัฒนาครู และบุคลากรทางการ ศึกษายุคใหม่หลายๆ รูปแบบ ดังนั้นด้วยสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวโน้ม ทางการบริหาร และการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่จะเกิด ขึ้นในอนาคตดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้วิจัยในฐานะรองผู้ อำ�นวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) มีหน้า ทีช่ ว่ ยส่งเสริมสนับสนุนการบริหารจัดการศึกษา และกำ�กับ ดูแลการปฏิบัติตนของครู ทั้งทางกาย และวาจา ในการ ปฏิบัติต่อผู้อื่น ทั้งใน และนอกสถานศึกษาสังกัดเทศบาล เมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี พิจารณาเห็นว่า จาก สภาพปัญหาดังกล่าว จึงทำ�การวิจัย เรื่อง รูปแบบการ จัดการความรู้เพื่อการพัฒนาครูด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมือง กาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดต่อวงการศึกษาตามจุดมุ่งหมายของพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาความต้องการจำ�เป็นในการพัฒนา ครู โดยใช้การจัดการความรู้ โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 2. เพื่อนำ�เสนอรูปแบบการจัดการความรู้เพื่อ การพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียน เทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัด กาญจนบุรี 3. เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการ จัดการความรู้เพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมือง กาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

50

4. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการ พัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียน เทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัด กาญจนบุรี 5. เพื่อศึกษาผลการพัฒนาครูโดยใช้รูปแบบการ จัดการความรู้เพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมือง กาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี วิธีดำ�เนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัย และพัฒนา (Research and Development) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาความต้องการจำ�เป็นในการพัฒนาครู โดยใช้การ จัดการความรู้ เพื่อนำ�เสนอรูปแบบการจัดการความรู้เพื่อ การพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม เพื่อ ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการความรู้ เพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม เพื่อ พัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาครู และ เพื่อศึกษาผลการพัฒนาครูโดยใช้รูปแบบการจัดการความ รู้ เพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี การดำ�เนินการวิจยั แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์เนือ้ หา (Content Analysis) แนวคิดการจัดการความรู้การพัฒนาครู และศึกษาความ ต้องการจำ�เป็นในการพัฒนาครู เพื่อกำ�หนดกรอบแนวคิด การวิจัย และร่างรูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนา ครู โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ระยะที่ 2 การนำ�เสนอร่างรูปแบบการ จัดการความรู้เพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมือง กาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดยสนทนากลุม่ ผูท้ รงคุณวุฒิ (Focus Group) ระยะที่ 3 การทดลองใช้ประเมิน และ พัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาครู ด้าน การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้าน บ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ใช้การ ติดตามสังเกตการนำ�เสนอกิจกรรมการจัดการความรู้เพื่อ การพัฒนาครู (Km Fair) ใช้การประเมินความเหมาะสม และพัฒนารูปแบบ โดยสนทนากลุ่มผู้ร่วมวิจัย รูปแบบ (Focus Group) ระยะที่ 4 ศึกษาผลการพัฒนาครูโดยใช้ รูปแบบการจัดการความรูเ้ พือ่ การพัฒนาครู ด้านการพัฒนา


Vol 1 No 1 January - April 2018

คุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาล เมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ใช้การสะท้อนคิด และ สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำ�คัญ (In-depth Interview) ซึ่งผู้วิจัยได้ออกแบบการวิจัยผสมเป็นแบบ Multiphase Design (Mixed –Method Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. แบบสอบถามความต้องการจำ�เป็นในการ พัฒนาครูโดยใช้การจัดการความรูท้ สี่ ร้างขึน้ โดยผูว้ จิ ยั จาก หลักการแนวคิดที่ได้จากการศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่ เกีย่ วข้องกับการพัฒนาครู จำ�นวน 25 ข้อ มีคา่ ความเชือ่ มัน่ 0.92 2. เอกสารประกอบการสนทนากลุ่ ม ได้ แ ก่ แบบสอบถามประกอบการสนทนากลุ่ม เรื่อง รูปแบบการ จัดการความรู้เพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมือง กาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัยจาก หลักการแนวคิดทีไ่ ด้จากการศึกษา เอกสาร และงานวิจยั ที่ เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ และการพัฒนาครู จำ�นวน 30 ข้อ 3. เทปบันทึกเสียงการสนทนากลุ่ม เรื่อง รูป แบบการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนา คุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาล เมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 4. คู่มือรูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนา ครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 5. แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการ จัดการความรู้เพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมือง กาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัยจาก หลักการแนวคิดที่ได้จากการศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ จำ�นวน 30 ข้อ มีค่าความ เชื่อมั่น 0.95 6. แบบสะท้อนคิด เรือ่ ง รูปแบบการจัดการความ รู้เพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัยจากการสังเกต ติดตามประเมินผลทีเ่ กีย่ วข้องกับการจัดการความรูเ้ พือ่ การ พัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม จำ�นวน 5 ข้อ 7. แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi–Structured Interview) ทีส่ ร้างขึน้ โดย ผูว้ จิ ยั สำ�หรับใช้สมั ภาษณ์

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลสำ�คัญที่เข้าร่วมในการวิจัย จำ�นวน 2 ข้อ วิ ธี ดำ�เนิ น การทดลองและการเก็ บ รวบรวม ข้อมูลวิจัย มีขนั้ ตอนการเก็บข้อมูลการวิจยั แบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้ การเก็บข้อมูลในระยะที่ 1 การดำ�เนินการเก็บข้อมูลในระยะที่ 1 ผู้วิจัยนำ� หนังสือขอความอนุเคราะห์เก็บข้อมูลพร้อมแบบสอบถาม ความต้องการจำ�เป็น ในการพัฒนาครูไปให้ผู้อำ�นวยการ สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมือง กาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี แจ้งไปยังโรงเรียนทีพ่ นักงาน ครู เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำ�นวน 55 ฉบับ พร้อมกำ�หนดวันรับ แบบสอบถามคืน โดยผู้วิจัยติดตามเก็บแบบสอบถามด้วย ตนเอง ได้รับแบบสอบถามคืน จำ�นวน 55 ฉบับ คิดเป็น ร้อยละ 100 การเก็บข้อมูลในระยะที่ 2 การดำ�เนินการเก็บข้อมูลในระยะที่ 2 ผู้วิจัยเก็บ รวบรวมข้อมูลโดยการจดบันทึกประเด็นใน การสนทนา กลุ่ม (Focus Group) การถอดความจากเทปการสนทนา กลุ่ม และการให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำ�นวน 10 ท่าน แสดง ความคิดเห็นโดย Check List ลงในแบบถามประกอบการ สนทนากลุ่ม ใช้เวลาประมาณ 20 นาที ได้รับแบบถามคืน จำ�นวน 10 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 การเก็บข้อมูลในระยะที่ 3 การดำ�เนินการเก็บข้อมูลในระยะที่ 3 แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน 1. ผูว้ จิ ยั นำ�หนังสือขอความอนุเคราะห์เก็บข้อมูล พร้อมแบบสอบถามความต้องการจำ�เป็นใน การพัฒนาครู ไปให้ผู้อำ�นวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้าน บ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี แจ้งไปยัง โรงเรียนที่พนักงานครูเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำ�นวน 55 ฉบับ พร้อมกำ�หนดวันรับแบบสอบถามคืน โดยผูว้ จิ ยั ติดตามเก็บ แบบสอบถามด้วยตนเอง ได้รับแบบสอบถามคืน จำ�นวน 55 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 2. ผู้วิจัยบันทึกเทปการสนทนากลุ่มผู้ร่วมวิจัย (Focus Group) จำ�นวน 24 ท่าน ถอดความจากเทป บันทึก ผลการสนทนากลุม่ และวิเคราะห์เอกสารรายงานผลการจัด กิจกรรมการจัดการความรูเ้ พือ่ การพัฒนาครูสรุปลงตาราง การเก็บข้อมูลในระยะที่ 4 การดำ�เนินการเก็บข้อมูลในระยะที่ 4 แบ่งเป็น

51


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ขั้นตอน 1. ผูว้ จิ ยั นำ�หนังสือขอความอนุเคราะห์เก็บข้อมูล พร้อมแบบสอบถามความต้องการจำ�เป็นในการพัฒนาครู ไปให้ผู้อำ�นวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้าน บ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี แจ้งไปยัง โรงเรียนที่พนักงานครูเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำ�นวน 55 ฉบับ พร้อมกำ�หนดวันรับแบบสอบถามคืน โดยผูว้ จิ ยั ติดตามเก็บ แบบสอบถามด้วยตนเอง ได้รับแบบสอบถามคืน จำ�นวน 55 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 2. ผู้ วิ จั ย นำ � แบบสั ม ภาษณ์ แ บบกึ่ ง โครงสร้ า ง (Semi - Structured Interview) ไปสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล สำ�คัญที่ร่วมวิจัย ณ สถานที่ปฏิบัติงานรวม จำ�นวน 24 คน นำ�ข้อมูลมาประมวลผลจัดทำ�รายงานวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิตพิ นื้ ฐานทีใ่ ช้ในการวิเคราะห์ขอ้ มูล ได้แก่ ร้อย ละ ค่าเฉลี่ย (x) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบเครื่องมือ ได้แก่ การ หาความเที่ยงตรง (Validity) การหาค่าอำ�นาจจำ�แนก (Discrimination index B), หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability), หาค่าอำ�นาจการจำ�แนก ของแบบสอบถามตาม มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale), หาค่าความเชื่อ มั่น (Reliability) ของแบบมาตราส่วนประมาณค่าวิธีของ Cronbach, หาค่าความยาก (P) ของแบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการวิจัย ผลการวิจัยระยะที่ 1 การศึกษาความต้องการ จำ�เป็นในการพัฒนาครู โดยใช้การจัดการความรู้ โรงเรียน เทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัด กาญจนบุรี พบว่า ได้แก่ ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ( µ = 4.27 , σ = 0.67) และมีรายการความต้องการ พัฒนาตามลำ�ดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปต่ำ� ได้แก่ การประพฤติ ตนเป็นแบบอย่างที่ดี ( µ = 4.39, σ = 0.97) การสร้าง ความรัก และความเป็นกัลยาณมิตรกับผู้เรียน (µ = 4.36, σ = 0.88) การมีเจตคติที่ดี รัก และศรัทธาอาชีพครู( µ = 4.34 , σ = 0.88) การหลีกเลี่ยงไม่หลงมัวเมาในอบายมุข ( µ = 4.15 , σ = 1.10) และการมีความขยัน ประหยัด อดทนอดกลั้นและรู้จักการให้อภัยบุคคลอื่น ( µ = 4.15 , σ = 0.98) ตามลำ�ดับ ผลการวิจัยระยะที่ 2 การนำ�เสนอรูปแบบการ จัดการความรู้เพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรม

52

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

จริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมือง กาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า รูปแบบการจัดการ ความรูเ้ พือ่ การพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ประกอบด้วย 6 ขัน้ ตอน ไดแ ก ขนั้ ที1่ ) การบ่งชีค้ วามรู ้ ขัน้ ที่ 2) การแลกเปลี่ยนความรู้ ขั้นที่3) การสร้างความรู้ ขั้น ที่ 4) การจัดเก็บความรู้ ขั้นที่5) การนำ�ความรู้ไปใช้ และ ขั้นที่6) การประเมินผลความรู้ ผลการวิจัยระยะที่ 3 แบ่งเป็น 2 ตอน ดังนี้ 1. การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ พบว่า รูปแบบการจัดการความรูเ้ พือ่ การพัฒนาครูดา้ นการพัฒนา คุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาล เมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดยภาพรวม มีความ เหมาะสม อยู่ในระดับมาก ( µ = 4.06, σ = 0.61) และ เมื่อพิจารณา รายขั้นตอน พบว่า ขั้นที่ 3) การสร้างความรู้ มีความเหมาะสมมากที่สุด ( µ = 4.09 , σ = 0.64) รอง ลงมา คือ ขั้นที่ 2 ) การแลกเปลี่ยนความรู้ ( µ = 4.08, σ = 0.64) ขั้นที่ 6 ) การประเมินผลความรู้ ( µ = 4.07, σ = 0.52) ขั้นที่ 1 ) การบ่งชี้ความรู้ ( µ = 4.05, σ = 0.66) ขั้นที่ 4 ) การจัดเก็บความรู้ ( µ = 4.05, σ = 0.60) และ ขั้นที่ 5 ) การนำ�ความรู้ไปใช้ ( µ = 4.01, σ = 0.58) ตาม ลำ�ดับ 2. การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการ พัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียน เทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัด กาญจนบุรี พบว่า มีการปรับขั้นการสร้างความรู้เป็นขั้น การแสวงหาความรู้ ปรับปรุงคำ�นิยาม และใช้พลังเครือ ข่ายจัดการความรู้ ได้แก่ ความร่วมมือช่วยเหลือภายใน โรงเรียน การปฏิสัมพันธ์ต่อกันในการปฏิบัติงาน และการ ติดต่อสื่อสารทางเครือข่ายสังคมเสมือน“ล้อการพัฒนา ครู” (Teacher Developing Wheel) และมีปัจจัยเสริม สนับสนุนให้เกิดความสำ�เร็จ ได้แก่ การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม ภาวะผู้นำ� และทีมงาน การจัดการความรู้ในแต่ละขั้นตอน ได้ปรับปรุงคำ�นิยามให้สอดคล้องกับสภาพการจัดการความ รู้ที่ปฏิบัติจริง ดังนี้ ขัน้ ที่ 1) การบ่งชีค้ วามรู้ คือ กระบวนการกำ�หนด จุดมุง่ หมายทีต่ อ้ งการมีความรู้ และชีใ้ ห้เห็นความรูท้ มี่ อี ยูใ่ น ตัวเองที่ปฏิบัติงานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการ พัฒนางาน และเป็นข้อมูลในการพัฒนาตนเอง อันจะนำ�ไป สู่การเป็นผู้นำ�ที่ดี มีความคิดสร้างสรรค์และกล้าเริ่มตัดสิน ใจปรับเปลี่ยนวิธีการให้เกิดผลดี โดยมีขั้นตอนดำ�เนินการ คือ การสำ�รวจความต้องการจำ�เป็นในการพัฒนาครูการ


Vol 1 No 1 January - April 2018

กำ�หนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน การจัดทำ�คู่มือ/แนวทางดำ�เนิน งาน การดำ�เนินการพัฒนาและสรุปผล ขัน้ ที่ 2) การแลกเปลีย่ นความรู้ คือ การนำ�ความรู้ ทีม่ อี ยูข่ องแต่ละคนมาเล่าสูก่ นั ฟังด้วยวิธกี ารทีห่ ลากหลาย เพื่อให้ทราบถึงวิธีการ ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้สำ�เร็จของ คนอื่น ซึ่งอาจเป็นคนที่อยู่ภายในหรือนอกโรงเรียนที่มี ความรูแ้ ละความชำ�นาญในเรือ่ งนัน้ ๆ เพือ่ จะนำ�ไปประยุกต์ ใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการของตน ทำ�ให้เกิดเครือ ข่ายการจัดการความรู้ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยมีขั้น ตอนดำ�เนินการ คือ การศึกษาข้อมูลของผู้มีความรู้ความ สามารถ การสอบถามเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ การนำ� เสนอ เผยแพร่ผลงาน ขั้นที่ 3) การสร้างความรู้ คือ การนำ�ความรู้ที่ได้ จากการแสวงหา หรือความรูท้ มี่ อี ยูท่ งั้ ภายในและภายนอก สถานศึกษามาสังเคราะห์หรือประยุกต์เพิ่มเติมเป็นองค์ ความรู้ใหม่เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาครู ของสถานศึกษา เป็นการพัฒนาความรู้จากตัวอย่างหรือ วิธีปฏิบัติที่ดีหรือต่อยอดหรือยกระดับความรู้ โดยมีขั้น ตอนดำ�เนินการ คือ การสรุปความรู้ที่มีอยู่เดิมของตนเอง จากการศึกษาหรือประสบการณ์ที่มีอยู่โดยนำ�มาเขียนใน ลักษณะเทคนิควิธีการหรือขั้นตอนเทียบเคียงความรู้ของ ตนกับภูมิปัญญาภายนอกที่ได้รับสังเคราะห์เป็นความรู้ ใหม่ของตนเอง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปรับเปลี่ยน กระบวนการเรียนรู้ รูจ้ กั พัฒนาตนเองยอมรับความคิดเห็น ของคนอื่นมีความคิดสร้างสรรค์ใฝ่เรียนรู้และรู้จักวิธีการ เรียนลัดและต่อยอดความรู้เพิ่มขึ้น ขั้นที่ 4) การจัดเก็บความรู้ คือ กระบวนการนำ� ความรูท้ ไี่ ด้จากการสร้างขึน้ และแสวงหาความรู้ มาจัดเก็บ ไว้อย่างเป็นระบบ เพือ่ ให้งา่ ยต่อการสืบค้น และการนำ�ออก ไปใช้โดยต้องรวบรวมและจัดระบบการเก็บ โดยมีขั้นตอน การดำ�เนินการ คือ จัดเป็นศูนย์รวมความรู้ (Knowledge Center : KC) จัดอยู่ในรูปเอกสาร แฟ้ม กล่องงาน หรือ ในคอมพิวเตอร์ตามสาระการพัฒนา และภารกิจงาน เพื่อ ให้ผู้ปฏิบัติงานรู้จักคิดเป็นระบบ ทำ�งานเป็นทีม และรู้จัก ออกแบบ และวางแผนในการเก็บรักษาความรู้ ขัน้ ที่ 5) การนำ�ความรูไ้ ปใช้ คือ การนำ�องค์ความรู้ ใหม่ทสี่ งั เคราะห์แล้ว ซึง่ จัดเก็บไว้เป็นระบบหรือทีไ่ ด้รบั จาก การเผยแพร่ไปใช้พฒ ั นาครูตามองค์ประกอบความต้องการ จำ�เป็นพัฒนาให้ครูมีสมรรถนะและคุณลักษณะที่ดีในการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตร โดยมีข้ันตอน การดำ�เนินการ คือ การจัดทำ�คูม่ อื /แนวทางดำ�เนินงานการ

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

จัดการความรูพ้ ฒ ั นาครูการสร้างเครือข่ายการจัดการความ รู้สถานศึกษา การนำ�การจัดการความรู้สู่การปฏิบัติจริง ขั้นที่ 6) การประเมินผลความรู้ คือ กระบวนการ สังเกต ติดตาม ประเมินผล การนำ�การจัดการความรู้ไปใช้ พัฒนาครูตามความต้องการจำ�เป็นของครู เพื่อหารูปแบบ การจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผล โดยมีขั้น ตอนดำ�เนินการคือ การสังเกตติดตามพฤติกรรมการปฏิบตั ิ งานของครู การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการ จัดการความรู้ การพัฒนารูปแบบ การสัมภาษณ์ผเู้ กีย่ วข้อง ผลการวิจัยระยะที่ 4 การศึกษาผลการพัฒนาครูโดยใช้ รู ป แบบการจั ด การความรู้ เ พื่ อ การพั ฒ นาครู ด้ า นการ พัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า ครูได้ เปลีย่ นแปลงพฤติกรรม ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ทุกด้านไปในทางที่ดีขึ้น การพัฒนาครูเกิดประสิทธิผล ตามสมมติฐานการวิจัยที่กำ�หนด ทำ�ให้ครูได้เปลี่ยนแปลง พฤติกรรม ด้านคุณธรรมจริยธรรมไปในทางทีด่ ขี นึ้ ทุกเรือ่ ง ครูโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้าน คุณธรรมจริยธรรม ทั้ง 5 เรื่อง ในทางที่ดี ได้แก่ การ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ร่วมงาน และนักเรียน ทุกคน การสร้างความรัก และเป็นกัลยาณมิตรกับผู้เรียน ครูเข้าใจผู้เรียนมากขึ้นสามารถจัดการเรียนรู้ร่วมกันอย่าง มีความสุข การมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตนเองครูมี พฤติกรรมการเข้าออกสอนตรงเวลาตลอดจนงานในหน้าที่ เสร็จทันกำ�หนดเวลา การหลีกเลี่ยงไม่หลงมัวเมาอบายมุข ครูสว่ นหนึง่ ได้เปลีย่ นแปลงพฤติกรรมห่างไกลอบายมุขและ หันหน้ามาใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ตอ่ หน้าทีม่ ากขึน้ การ มีความอดทนอดกลั้น ขยัน ประหยัดและรู้จักการให้อภัย ครูได้ทบทวนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำ�วันและได้แก้ไข ปรับปรุงพัฒนาตนเองตลอดเวลา การตรงต่อเวลาในการ ปฏิบตั งิ าน ครูมาปฏิบตั งิ านทันเวลา และตรงเวลานัดหมาย ทำ�ให้เกิดบรรยากาศเอื้อต่อการทำ�งาน การประพฤติตน เป็นแบบอย่าง ครูมมี าตรฐานในด้านการวางตัวทีเ่ หมาะสม เช่น การแต่งกาย การพูดจา เป็นแบบอย่างกัน และกันใน การเรียนรูแ้ ละเป็นต้นแบบแก่ผเู้ รียน การมี เจตคติทดี่ แี ละ ศรัทธาอาชีพครู ครูปฏิบัติตน ปฏิบัติงานสอดคล้องจรรยา บรรณวิชาชีพครูการใช้การพัฒนารูปแบบการจัดการความ รู้ ในครั้งนี้ทำ�ให้ครูได้เรียนรู้ และทบทวนพฤติกรรมการ ปฏิบัติตนและการปฏิบัติงานในหน้าที่ครู และแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ทดี่ ตี อ่ กันนำ�ไปสูก่ ารเปลีย่ นแปลงทีด่ ขี นึ้ อย่าง

53


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

ต่อเนื่องเป็นผลดีต่อครู และจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล มีความคิด และการกระทำ�ที่ถูกต้องดีงาม สามารถนำ�ไป สำ�คัญที่ร่วมวิจัยในภาคสนาม พบว่า โดยภาพรวมเกิดการ ใช้ดำ�รงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข แต่สภาพปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ด้านคุณธรรมจริยธรรมไปทางที่ดี คุณภาพการศึกษาไทยตกต่ำ�อย่างต่อเนื่อง เกิดปัญหาด้าน สังคมและเยาวชนมากขึ้น ดังนั้น ในท่ามกลางแห่งการ เปลี่ยนแปลงนี้ ความต้องการจำ�เป็นในการพัฒนาครูจึงมี อภิ​ิปรายผลการวิจัย ความสำ�คัญที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ให้ครูมี รูปแบบการจัดการความรูเ้ พือ่ การพัฒนาครู ด้าน ความรูเ้ ท่าทันการเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ให้สามารถพัฒนา การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) ตนเองดำ�รงชีวิตอย่างมีความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การ เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ผูว้ จิ ยั ได้ขอ้ ค้น พัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมของครูซึ่งเป็นแกนสำ�คัญ พบประเด็นสำ�คัญที่จะนำ�เสนออภิปรายผล ดังต่อไปนี้ ของชีวิตและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียนซึ่งครูตระหนัก 1. ความต้องการจำ�เป็นในการพัฒนาครูโดยใช้ และเห็นความสำ�คัญกับการพัฒนาด้านนี้ สอดคล้องกับ การจัดการความรู้ ทิศนา แขมณี (2543 : 123) เน้นถึง การพัฒนาคุณธรรม ผู้วิจัยสำ�รวจความต้องการจำ�เป็นในการพัฒนา และจริยธรรมสำ�หรับผู้บริหาร ครู อาจารย์ ข้าราชการ ว่า ครูโดยใช้การจัดการความรู้ พบว่า ครูต้องการพัฒนาด้าน สามารถดำ�เนินการได้ คือ การป้องกันปัญหาอันก่อให้เกิด การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม เป็นลำ�ดับสูงสุด ซึง่ ประกอบ การกระทำ�ผิดจริยธรรม โดยสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี มิ ด้วย 5 เรือ่ ง ได้แก่ การประพฤติตนเป็นแบบอย่าง การสร้าง ให้บุคคลทำ�ความชั่วหาผลประโยชน์ ขจัดแหล่งอบายมุข ความรัก และเป็นกัลยาณมิตรกับผูเ้ รียน การมีเจตคติทดี่ ี รัก ประกาศเกียรติคุณให้รางวัลยกย่องผู้กระทำ�ความดีให้ และศรัทธาอาชีพครู การหลีกเลี่ยงไม่หลงมัวเมาอบายมุข ปรากฏต่อสาธารณชน และการมีความขยัน ประหยัด อดทนอดกลั้น และรู้จัก ผู้วิจัยเห็นว่าการวิจัยครั้งนี้ ครูมีความต้องการ การให้อภัยบุคคลอื่น การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สำ�รวจความ ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม เป็นลำ�ดับสูงสุด มี ต้องการจำ�เป็นในการพัฒนาครูโดยใช้การจัดการความรู้ ความเหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพบริบทสังคมโลกที่ เพื่อต้องการให้ครูเป็นผู้มีส่วนในการกำ�หนดวิสัยทัศน์หรือ เปลีย่ นแปลงรวดเร็วดังกล่าวแล้ว ซึง่ ครูเป็นผูน้ �ำ จิตวิญญาณ เป้าหมายความรูท้ ตี่ อ้ งการพัฒนาร่วมกันซึง่ เชือ่ ว่าจะส่งผล ให้กบั ผูเ้ รียน มีความจำ�เป็นต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่าง ให้การวิจัยเกิดประโยชน์ต่อครูเองและทำ�ให้การวิจัยได้รับ ที่ดีในการครองตน ครองคนและครองงาน ในการปฏิบัติ ความร่วมมือมากขึ้น สอดคล้องผลงานวิจัยของ แก้วเวียง หน้าที่ของตนเองให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลทั้งต่อ นำ�นาผล (2551,บทคัดย่อ) ศึกษาวิจัย เรื่อง การพัฒนา ตนเอง ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่อันส่งผลต่อการพัฒนา ตัวแบบการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขนาดเล็ก ผล ผู้เรียนให้เป็นคนดี และสถานศึกษาซึ่งเป็นองค์กรทางการ การวิจัย พบว่า ตัวแบบการจัดการความรู้ของสถานศึกษา ศึกษาทีต่ อ้ งพัฒนาศักยภาพให้เกิดการเรียนรูอ้ ย่างต่อเนือ่ ง ขนาดเล็ก มี 6 กระบวนการ คือ 1) การกำ�หนดเป้าหมาย การพัฒนาครูด้านคุณธรรมจริยธรรมยุคปัจจุบันต้องเท่า และการบ่งชีค้ วามรู ้ 2) การแลกเปลีย่ นความรู้ 3) การสร้าง ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยให้ครูมีส่วนร่วมในการ ความรู้ 4) การจัดเก็บความรู้ 5) การนำ�ความรูไ้ ปใช้ 6) การ กำ�หนดเป้าหมายความต้องการจำ�เป็นในการพัฒนาครู ติดตามตรวจสอบประเมินความรู้ เป็นองค์ประกอบสำ�คัญ และมีส่วนร่วมดำ�เนินการพัฒนาโดยใช้การจัดการความรู้ ที่ส่งผลให้สถานศึกษาขนาดเล็กมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ครู เพือ่ การพัฒนาครู จึงจะสามารถพัฒนาตนเองให้มคี ณ ุ ธรรม มีภาวะผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงและภาวะผู้นำ�ทางการเรียน จริยธรรม สามารถปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ครู บรรลุ การสอนเพิ่มขึ้น ครู และนักเรียนได้องค์ความรู้ใหม่ที่ผลิต จุดมุ่งหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน เป็นชิ้นงาน และมีแนวทางการพัฒนาผู้เรียน มีบรรยากาศ 2. ความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการความรู้ การทำ�งานดีขึ้น ผู้วิจัยมีความคิดเห็นว่า เนื่องจากปัจจุบัน เพื่อการพัฒนาครู กระแสโลกาภิวัตน์ได้เข้ามาในสังคมไทยอย่างมาก ทำ�ให้ จากผลการวิจัย พบว่า การนำ�เสนอรูปแบบการ เกิดการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วในด้านสังคม และวัฒนธรรม จัดการความรู้เพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรม อย่างมากมายส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา จริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมือง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคนให้มีคุณธรรมนำ�ความรู้ กาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า รูปแบบการจัดการ

54


Vol 1 No 1 January - April 2018

ความรู้เพื่อการพัฒนาครู ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ไดแก ขั้นที่ 1) การบ่งชี้ความรู้ ขั้นที่ 2) การแลกเปลี่ยนความรู้ ขั้นที่ 3) การสร้างความรู้ ขั้นที่ 4) การจัดเก็บความรู้ ขั้น ที่ 5) การนำ�ความรูไ้ ปใช้ และขัน้ ที่ 6) การประเมินผลความ รู้ และจากการทดลองใช้รปู แบบดังกล่าวแล้ว โดยภาพรวม ทุกขั้นตอน มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก (µ = 4.06, σ = 0.61) สาเหตุที่ผลการวิจัยเป็นเช่นนี้เพราะผู้วิจัย ได้ วางแผนการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาครูอย่างเป็น ระบบ เริ่มจากการศึกษาเอกสาร ทฤษฎีและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง ตลอดจนจัดทำ�คู่มือแนวทาง การจัดการความรู้ เพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม และ นำ�ไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ มีการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และนำ�รูปแบบแบบที่ได้มาทดลองใช้ และพัฒนาภายใน โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งดำ�เนินการในลักษณะการวิจัยเชิง ปฏิบตั กิ ารโดยใช้โมเดล และเครือ่ งมือจัดการความรูช้ ดุ ธาร ปัญญา ของสำ�นักงานส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม มาเป็นแนวทางการจัดการความรู้ โดยจัดการความรู้ตาม ความต้องการในการพัฒนาของครู และสัมพันธ์กับพันธะ กิจขององค์กรสถานศึกษา โดยกำ�หนดเป้าหมายของการ จัดการความรู้ (หัวปลา) คือคุณธรรมจริยธรรมตามความ ต้องการของครู และจัดกิจกรรมการสร้างและใช้ความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องไม่ หยุดนิ่ง ในขณะเดียวกันก็จะมีการใช้ความรู้จากภายใน และภายนอกสถานศึกษา เป็นเครือข่ายการจัดการความ รู้ การแสวงหาความรู้จากภายนอก มีการเลือกความรู้ที่ เหมาะสมกับความต้องการ ส่วนความรู้จากภายใน หรือ ความรู้ฝังลึก จะต้องมีการค้นหา ปรับปรุง แก้ไข จัดเก็บ และนำ�ออกมาใช้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เหมาะสมกับงาน เกิดเป็นนวัตกรรมหรือการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) นำ� ไปใช้งานได้ซึ่งทำ�ให้องค์กรบรรลุเป้าหมายทำ�ให้ได้ข้อมูล ที่มีการพัฒนา เพื่อการปรับปรุง จึงส่งผลให้รูปแบบการ จัดการความรู้เพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม มีความเหมาะสม สอดคล้องกับงานวิจยั ของ ทิม แก้ว ธรรมรักษ์สกุล (2551: บทคัดย่อ) ศึกษาวิจัย เรื่องรูป แบบการจัดการความรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน : กรณี ศึกษาโรเรียนบ้านสมัย จังหวัดลำ�ปางพบว่า กระบวนการ เรียนรู้ ต้องมีที่มาของการสร้างความรู้ การจำ�แนก การ จัดเก็บ การนำ�ไปใช้ การแลกเปลี่ยน และการประเมินผล ความรูท้ ผี่ า่ นการสกัดขุมความรูข้ องบุคคลทีฝ่ งั อยูใ่ นตัวเอง

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

ผสมผสานกับความรู้ที่มีอยู่ภายนอก เกิดความเหมาะสม กับบริบท มีการปรับปรุงพัฒนางานให้ดกี ว่าทีเ่ ป็นอยูผ่ วู้ จิ ยั เห็นว่าการบ่งชีค้ วามรูเ้ ป็นขัน้ ตอนแรกทีม่ คี วามสำ�คัญมาก เพราะเป็นการเริ่มต้นของการจัดการความรู้ ควรให้ทุกคน ได้มีส่วนร่วมในการกำ�หนดเป้าหมายความ ต้องการของ การพัฒนา และร่วมกำ�หนดวิธกี ารเดินสูเ่ ป้าหมายนัน้ ๆ การ วิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สอบถาม ความต้องการจำ�เป็นในการ พัฒนา ทัง้ นีจ้ ะทำ�ให้เกิดวิสยั ทัศน์รว่ มในการขับเคลือ่ นการ ปฏิบตั กิ จิ กรรมต่าง ๆ สำ�เร็จได้งา่ ยขึน้ สอดคล้องกับแนวคิด ของ ชัชวาล วงศ์ประเสริฐ (2548) กล่าวถึง การกำ�หนดเป้า หมายความรู้ (Knowledge Goals) จะเป็นตัวกำ�หนดงาน ในด้านการจัดการความรู้ สิ่งนี้จะเป็นตัวกำ�หนดว่าองค์กร หรือหน่วยงานใดควรจะสร้างศักยภาพและความสามารถ ในด้านใด และจะสร้างให้อยู่ในระดับใด ซึ่งจะช่วยสร้าง บรรยากาศ และวัฒนธรรมในการใฝ่หาความรู้ และจะนำ�ไป สู่องค์ความรู้ที่มีประสิทธิภาพ ทั้งเป็นการวางเป้าหมายใน ด้านความรู้เชิงนโยบาย และการวางแผนในด้านการขยาย ฐานข้อมูลและความรู้ขององค์กรในเชิงการวางแผนเพื่อ กำ�หนดแนวทางการปฏิบัติงานจริงสอดคล้องกับ วิจารณ์ พานิช (2548) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ต้องมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ซึ่งจะทำ�ให้สามารถกำ�หนดเป้าหมายและความต้องการที่ ชัดเจน การบ่งชี้ความรู้เป็นกระบวนการหนึ่ง ที่สำ�คัญที่ชี้ ให้เห็นแนวทางในการพัฒนาองค์กร ซึ่งเป็นความต้องการ ของผู้ปฏิบัติงานในองค์กร และยังชี้ถึงความรู้ที่มีอยู่ใน ปัจจุบันที่ทำ�ให้รู้จักตนเองว่ามีความรู้อยู่ ณ จุดใดเพื่อเป็น พื้นฐานในการพัฒนาผู้วิจัยตระหนักในเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง จึงได้วางแผนการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ เริ่มจาก สอบถามความต้องการจำ�เป็นในการพัฒนาครู ด้านการ พัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ทำ�ให้ทราบเป้า หมายการจัดการความรู้ ทำ�ให้ครูทุกคนได้มีส่วนร่วมเป็น เครือข่ายจัดการความรู้ ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ และปรับปรุง เป้าหมายการพัฒนาพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น จึงเห็นได้ว่า โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มีกระบวนการจัดการความรูท้ เี่ ป็นระบบ อันเกิดจากวิสัยทัศน์ร่วมในความต้องการพัฒนาของครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม และดำ�เนินการจัดการ ความรู้ตามแนวทางดำ�เนินงานที่ทุกคนร่วมกำ�หนด และ ร่วมปฏิบัติงานโดยเครือข่ายความร่วมมือภายในโรงเรียน จึงเป็นผลให้รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ดังกล่าวมีความเหมาะ

55


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

สม อยู่ในระดับมาก 3. การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการ พัฒนาครู จากผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการจัดการความ รู้เพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มีการพัฒนารูปแบบแตกต่างจากรูปแบบ เดิม โดยขั้นการสร้างความรู้เปลี่ยนเป็นการแสวงหาความ รู้ นอกนั้นคงเดิม และปรับปรุงคำ�นิยามเชิงปฏิบัติการให้ เหมาะสมยิ่งขึ้น ดังนี้ ขั้นที่ 1) การบ่งชี้ความรู้ คือ การกำ�หนดจุดมุ่ง หมายความต้องการพัฒนา การหาความรู้มาพัฒนาสิ่งที่ ต้องการ โดยการเล่าเรื่องจากประสบการณ์ที่สำ�เร็จ สกัด เป็นแก่นความรู้ประเมินบ่งชี้ความรู้ของตนและนำ�ความรู้ มาพัฒนาตนเอง ขั้นที่ 2) การแลกเปลี่ยนความรู้ คือ การนำ�ความ รู้ที่มีอยู่ของแต่ละคนมาเล่าสู่กันฟังด้วยวิธีการหลากหลาย เพื่อนำ�วิธีการดีๆไปใช้แก้ปัญหาหรือประยุกต์ใช้ให้เหมาะ กับบริบทของตนทำ�ให้เกิดความร่วมมือช่วยเหลือกันและ กันในการทำ�งาน ขั้นที่ 3) การแสวงหาความรู้ คือ การนำ�ความรู้ ใหม่ที่ได้รับจากบุคลอื่น จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งเรียนรู้ และจากการนำ�ประสบการณ์การปฏิบัติ ที่เป็นเลิศมาเป็นองค์ความรู้ใหม่ในการทำ�งาน ขั้นที่ 4) การจัดเก็บความรู้ คือ การนำ�ความรู้ ทั้งหมดที่มีอยู่มาจัดรวบรวมเป็นระบบไว้ให้ผู้ปฏิบัติงาน ได้ศึกษาค้นคว้าและนำ�ไปใช้ได้สะดวกโดยจัดทำ�เป็นคู่มือ/ แนวทางดำ�เนินงานหรือเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ ขั้นที่ 5) การนำ�ความรู้ไปใช้ คือ การนำ�ความรู้ที่ สังเคราะห์แล้ว ซึ่งจัดเก็บอย่างเป็นระบบไปใช้พัฒนาด้าน การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ตามความต้องการของครู ขั้นที่ 6) การประเมินประเมินผลความรู้ คือ การ ศึกษาความเหมาะสมของการจัดการความรูเ้ พือ่ การพัฒนา ครู และการสะท้อนคิดความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับครู ตลอดจนการสังเกตติดตามและสัมภาษณ์การจัดการความ รู้เพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การสนทนากลุ่มผู้ร่วมวิจัย (Focus Group) มีความเห็นว่า พลังเครือข่ายการจัดการความรู้ ภายในโรงเรียน ได้แก่ ความร่วมมือ การมีปฏิสัมพันธ์ต่อ กัน การติดต่อสื่อเครือข่ายทางสังคมเป็นกลไกช่วยให้การ

56

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

ดำ�เนินงานบรรลุผลตามเป้าหมายการจัดการความรู้ ด้าน คุณ ธรรมจริยธรรมของครู โดยมีปัจจัยเสริมสนับสนุ น ได้แก่ การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม(Shared Vision) ภาวะผู้นำ� (Leadership) และทีมงาน (Team Working) สอดคล้อง แนวคิดของ Tobin (2003, p. 23) เสนอไว้ว่า การจัดการ ความรู้เป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ มีการวางแผนร่วมกัน ต้อง ทำ�งานเป็นทีมแบบบูรณาการ มีความเข้าใจวัฒนธรรม และ บริบทขององค์กรและลงสู่การปฏิบัติการให้เข้ากับระบบที่ มีอยูน่ อกจากนี้ ยังสอดคล้องแนวคิดการจัดการความรูข้ อง Nonaka (1994) มีความเห็นว่ากระบวนการจัดการความ รู้มี 3 ด้านหลัก คือ การสร้างความรู้ (Knowledge Generation) การจัดเก็บความรู้ (Knowledge Codification) และการถ่ายโอนความรู้ (Knowledge Transfer) การสร้าง ความรู้ เป็นกิจกรรมการสร้างเนื้อหาความรู้ใหม่หรือการ สร้างทดแทนเนื้อหาความรู้ที่มีอยู่เดิมขององค์กร ซึ่งเน้น ความสำ�คัญของกระบวนการในระดับบุคคลและกลุ่มใน การสร้างความรู้ใหม่ สาเหตุที่ผลการวิจัยครั้งนี้ มีการพัฒนารูปแบบ การจัดการความรูเ้ พือ่ การพัฒนาครู ไปจากรูปแบบทีผ่ วู้ จิ ยั สังเคราะห์ขึ้น อาจเนื่องมาจาก สภาพการปฏิบัติงานของ ครู โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มีความหลากหลายในเชิงปฏิบัติงาน ประกอบกั บ การจั ด การความรู้ มี ลั ก ษณะเป็ น พลวั ต ไม่หยุดนิ่งเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพบริบท สอดคล้อง แนวคิด Van der Spek และ Spijkerret (1997) เห็นว่า กระบวนการจัดการความรู้เปรียบเสมือนการพัฒนา การ เผยแพร่ การรวบรวม และการใช้ความรู้ ผู้วิจัยมีความ เห็นว่า รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาครู ด้าน การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ครั้งนี้ โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ได้ ร่วมกันพัฒนารูปแบบ โดยการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม จนเกิด เครือข่ายความร่วมมือ การจัดการความรู้ครูในโรงเรียน (KM School Network) ทำ�ให้เกิดภาพการร่วมมือ พัฒนา คุณธรรมจริยธรรมของครูร่วมกัน ส่งผลดีต่อการจัดการ ความรูเ้ พือ่ การพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแสวงหาความรู้ที่เกิดขึ้นภายใน โรงเรียน เป็นลักษณะการทำ�งานเป็นทีม การมีภาวะผู้นำ� ตลอดจนการใช้เครือข่ายทางสังคม (Social Network) เป็นปัจจัยเสริมขับเคลื่อนให้การพัฒนาครู ด้านคุณธรรม จริยธรรม สำ�เร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น สอดคล้องกับงานวิจัยของ ธีระวัฒน์ เยี่ยมแสง (2550 :


Vol 1 No 1 January - April 2018

บทคัดย่อ) ได้ศึกษา การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ ของสำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 ผล การศึกษาพบว่า ก่อนการพัฒนารูปแบบการจัดการความ รู้ บุคลากรแต่ละคนมีความรู้ความสามารถ ทักษะการ ทำ�งาน และประสบการณ์แตกต่างกัน มีการพัฒนาตนเอง โดยการแสวงหาความรู้ด้านต่าง ๆ เป็นรายบุคคล มีการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันน้อย หลังจากได้มีพัฒนา รู ป แบบการจั ด การความรู้ ข องสำ � นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก าร ศึกษามหาสารคาม เขต 1 ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ประชุม บุคลากร ทำ�ความเข้าใจการจัดการความรู้ กำ�หนดวิสยั ทัศน์ พันธะกิจ ยุทธศาสตร์ และเป้าหมายการจัดการความรู้ จัด ทำ�แผนปฏิบัติการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วม ดำ�เนิน การจัดการความรู้เน้นกิจกรรมการแสวงหาความรู้ การ จัดเก็บความรู้ การแบ่งปันความรู้ และการนำ�ความรู้ไปใช้ การสร้างเครือข่ายการจัดการความรู้กับโลกภายนอก การ ประเมินผลและปรับปรุงระหว่างการดำ�เนินงาน เป็นต้น ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการความรูพ้ บว่า ทุกกลุม่ งาน ได้นำ�การจัดการความรู้ดังกล่าวไปใช้ปฏิบัติงานมีเว็บไซต์ เฉพาะของกลุ่ม ทุกกลุ่มปฏิบัติงานมีองค์ความรู้เพื่อใช้ ในการปฏิบัติงาน มีศูนย์การจัดการความรู้ของเขตพื้นที่ เพื่อใช้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้เป็นแหล่งรวบรวมองค์ ความรู้และข้อมูลสารสนเทศเพื่อพัฒนางาน และบุคลากร บุคลากรทุกกลุม่ มีความพึงพอใจกระบวนการจัดการความ รู้ระดับมากและบุคลากรทุกกลุ่มมีความคิดเห็นว่าการ ดำ�เนินการจัดการความความรูป้ ระสบความสำ�เร็จ ในระดับ มาก การพัฒนารูปแบบการจัดการความรูเ้ พือ่ การพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ครัง้ นี้ เกิดพลังเครือข่าย การจัดการความรูภ้ ายในโรงเรียน ได้แก่ ความร่วมมือ การ มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน การติดต่อสื่อเครือข่ายทางสังคม เป็น กลไกช่วยให้การดำ�เนินงานบรรลุผลตามเป้าหมายการ จัดการความรู้ ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของครู สำ�เร็จดียิ่งขึ้น สอดคล้องแนวคิดของ Seufert และคณะ (1999) ให้ความเห็นว่าเครือข่ายการจัดการความรู้ จะเป็น ความร่วมมืออย่างหนึ่งที่ส่งเสริมกระตุ้นให้เกิดการแลก เปลี่ยนเรียนรู้กว้างขวางขึ้น ทำ�หน้าที่คล้ายกับตัวกลางส่ง ความคิดใหม่ๆ โดยอาจมีการนำ�เทคโนโลยีสารสนเทศ มา อำ�นวยความสะดวกเพื่อเชื่อมโยงผู้คนทุกมุมโลก เป็นการ ส่งผ่านความรู้ให้แผ่กระจายออกไปใช้ในวงกว้าง เพื่อให้ เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างและแสวงหาความรู้ ใหม่ทเี่ หมาะสมกับบริบท สภาพแวดล้อม และสถานการณ์ ทำ�นองเดียวกัน

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

กล่าวโดยสรุป การพัฒนารูปแบบการจัดการ ความรูเ้ พือ่ การพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ได้พัฒนารูปแบบ การจัดการความรู้ทั้ง 6 ขั้นตอน อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพบริบท และ ความต้องการจำ�เป็นในการพัฒนาของครูภายในโรงเรียน เทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัด กาญจนบุรี ครูได้เรียนรูส้ กู่ ารปฏิบตั จิ ริงในการจัดการความ รู้ 6 ขั้นตอน ไดแก ขั้นที่ 1) การบ่งชี้ความรู้ ขั้นที่ 2) การ แลกเปลี่ยนความรู้ ขั้นที่ 3) การสร้างความรู้ ขั้นที่ 4) การ จัดเก็บความรู้ ขัน้ ที่ 5) การนำ�ความรูไ้ ปใช้ และขัน้ ที่ 6) การ ประเมินผลความรู้ โดยอาศัยพลังเครือข่ายเครือข่ายจัดการ ความรู้ของครูในโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาล เมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เป็นกลไกความร่วมมือ ช่วยเหลือภายในโรงเรียน มีปจั จัยเสริมสนับสนุน ได้แก่ การ สร้างวิสยั ทัศน์รว่ ม ภาวะผูน้ � ำ และทีมงาน ทำ�ให้การพัฒนา รูปแบบการจัดการความรูเ้ พือ่ การพัฒนาครู ด้านการพัฒนา คุณธรรมจริยธรรม สูเ่ ป้าหมายการจัดการความรูไ้ ด้อย่างมี ประสิทธิภาพ 4. ประสิทธิผลของการพัฒนาครูโดยใช้รูปแบบ การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาครู จากผลการวิจัย พบว่า การใช้รูปแบบการจัดการ ความรูเ้ พือ่ การพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ด้านการ พัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ทุกเรื่องไปในทางที่ดี ได้อย่าง มีประสิทธิผล สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัยในครั้ง นี้ ทั้งนี้อาจเนื่องจาก ครูได้เรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง ในการ จัดการความรู้ 6 ขั้นตอน ไดแก ขั้นที่ 1) การบ่งชี้ความรู้ ขั้นที่ 2) การแลกเปลี่ยนความรู้ ขั้นที่ 3) การสร้างความรู้ ขั้นที่ 4) การจัดเก็บความรู้ ขั้นที่ 5) การนำ�ความรู้ไปใช้ และขั้นที่ 6) การประเมินผลความรู้ โดยอาศัยพลังเครือ ข่ายจัดการความรู้ของโรงเรียน เป็นกลไกความร่วมมือ ช่วยเหลือภายในโรงเรียน มีปัจจัยเสริมสนับสนุนให้เกิด ผลสำ�เร็จ ได้แก่ การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม ภาวะผู้นำ� และ ทีมงาน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ซึ่งกัน และกัน และนำ�การปฏิบัติที่ดีไปใช้ในการปฏิบัติตนด้าน การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมทั้ง 5 เรื่องมากขึ้น ทำ�ให้เกิด การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดี คือ การประพฤติ ตนเป็นแบบอย่างทีด่ ตี อ่ ผูร้ ว่ มงาน และนักเรียนทุกคน การ สร้างความรัก และเป็นกัลยาณมิตรกับผู้เรียนครูเข้าใจ

57


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ผู้เรียนมากขึ้นสามารถจัดการเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความ สุข การมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตนเองครูมีพฤติกรรม การเข้าออกสอนตรงเวลาตลอดจนงานในหน้าที่เสร็จทัน กำ�หนดเวลา การหลีกเลี่ยงไม่หลงมัวเมาอบายมุข ครูส่วน หนึ่งได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมห่างไกลอบายมุข และหัน หน้ามาใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อหน้าที่มากขึ้น การ มีความอดทนอดกลั้น ขยัน ประหยัดและรู้จักการให้อภัย ครูได้ทบทวนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำ�วัน และได้แก้ไข ปรับปรุงพัฒนาตนเองตลอดเวลา การตรงต่อเวลาในการ ปฏิบตั งิ าน ครูมาปฏิบตั งิ านทันเวลา และตรงเวลานัดหมาย ทำ�ให้เกิดบรรยากาศเอื้อต่อการทำ�งาน การประพฤติตน เป็นแบบอย่าง ครูมมี าตรฐานในด้านการวางตัวทีเ่ หมาะสม เช่น การแต่งกาย การพูดจา เป็นแบบอย่างกัน และกันใน การเรียนรูแ้ ละเป็นต้นแบบแก่ผเู้ รียน การมีเจตคติทดี่ ี และ ศรัทธาอาชีพครู ครูปฏิบัติตน ปฏิบัติงานสอดคล้องจรรยา บรรณวิชาชีพครู การใช้การพัฒนารูปแบบการจัดการความ รู้เพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ในครั้งนี้ ทำ�ให้ครูได้เรียนรู้ และทบทวนพฤติกรรมการ ปฏิบตั ติ น และการปฏิบตั งิ านในหน้าทีค่ รู และแลกเปลีย่ น ประสบการณ์ที่ดีต่อกัน นำ�ไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น อย่างต่อเนื่องเป็นผลดีต่อครู และจากการสัมภาษณ์ผูให้ ข้อมูลสำ�คัญที่รวมวิจัย ในภาคสนาม พบว่า โดยภาพรวม เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ด้านคุณธรรมจริยธรรมไป ทางที่ดี เห็นการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรม เช่น การทุ่มเท ปฏิบัติหน้าที่จนนักเรียนได้รับรางวัล การได้รับความร่วม มือที่ดี และยอมรับจากชุมชน สอดคล้องกับงานวิจัยของ ฉลองรัฐ อินทรีย์ (2550 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษา รูปแบบการ จัดการความรู้ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยราชธานี ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยแห่งความสำ�เร็จของการจัดการ ความรู้ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชชนนี ได้แก่ การสนับสนุนจากผูบ้ ริหารทุกระดับ ศูนย์การจัดการ ความรู้ วัฒนธรรมในการจัดการความรู้ ซึ่งประกอบด้วย ผู้ ที่ทำ�งานโดยใช้ความรู้มีการฝึกอย่างดี ความไว้วางใจ พลัง ร่วมการมีส่วนร่วม และการยึดหลักทรงงานในพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช ได้แก่ การศึกษา ข้อมูลอย่างเป็นระบบ คำ�นึงถึงวัฒนธรรมองค์กร การมี ส่วนร่วม ความซื่อสัตย์สุจริตอย่างจริงใจต่อกัน และรู้รัก สามัคคี ยังสอดคล้องกับงานวิจยั ของ Aharong (2009) ได้ ศึกษา เรื่อง ทัศนคติบรรณารักษ์ที่มีต่อการจัดการความรู้ พบว่า คุณลักษณะของผู้ปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ และ สถานการณ์ทเี่ อือ้ มีผลต่อการมีสว่ นร่วมในการแลกเปลีย่ น

58

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

เรียนรูภ้ ายในองค์กร และสอดคล้องกับ Aidemark (2007) ศึกษาวิจยั เรือ่ ง กลยุทธ์การวางแผนการจัดการความรูด้ ว้ ย แนวทางการสำ�รวจปัญหา พบว่า การจัดการความรูท้ มี่ กี าร วางแผนจากสภาพปัญหาทีเ่ กิดขึน้ แล้วดำ�เนินการตามแผน ด้านการจัดการความรู้ ทำ�ให้การจัดการความรู้เกิดความ สำ�เร็จและเป็นประโยชน์ทั้งได้รับความร่วมมือด้วยดีการ พัฒนาครูโดยใช้รูปแบบการจัดการความรู้ในครั้งนี้ เช่น เดียวกันผู้วิจัย ได้สำ�รวจสภาพความต้องการจำ�เป็นของ ครูทำ�ให้ได้เรียนรู้ และวางแผนการจัดการความรู้ร่วมกัน ตลอดจนทบทวนพฤติกรรมหลังปฏิบตั งิ าน (After Action Review :AAR) และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ดีต่อกัน ระหว่างเครือข่ายสถานศึกษาภายในกลุ่มโรงเรียนนำ�ไปสู่ การเปลีย่ นแปลงพัฒนาทีด่ ขี นึ้ อย่างต่อเนือ่ ง สอดคล้องงาน วิจัยของ Bennett และ O Brine (1994 :41-49) ได้ศึกษา เรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการจัดการ ความรู้และการเปลี่ยนแปลงในองค์กร พบว่า องค์กรหรือ โครงสร้าง สามารถสนับสนุนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดย มีการเปลี่ยนไปตามความต้องการของสิ่งแวดล้อม และ ความต้องการขององค์กรเอง การปฏิบัติหน้าที่ เช่น การ สับเปลี่ยนหน้าที่การทำ�งานข้ามสายงาน และพบว่าการ พัฒนาบุคคลหรือทีมงาน (Individual or Team Development) เป็นปัจจัยสำ�คัญทีม่ อี ทิ ธิพลต่อความสามารถใน การจัดการเรียนรู้ และการเปลี่ยนแปลงในองค์กรองค์กร แห่งการเรียนรู้ ต้องหาวิธีการส่งเสริมให้สมาชิกพัฒนา ตนเอง ขณะเดียวกันองค์กรก็สามารถให้การปฏิบัติงาน ร่วมกัน แบบชุมชนปฏิบัติ(Communities of Practice) ที่มีการปฏิบัติงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับ Marquardt และ Reynolds พบว่า ทีมงาน และเครือ ข่าย (Teamwork and Networking) เป็นปัจจัยเสริม สร้างความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ ต้องตระหนักถึง ความร่วมมือ การแข่งขัน การทำ�งานเป็นทีม การทำ�งาน แบบเครือข่าย เป็นการทำ�งานที่สร้างพลังร่วมกันอันทำ�ให้ องค์กรอยู่รอดและเจริญเติบโต จากการทีผ่ วู้ จิ ยั สัมภาษณ์ผรู้ ว่ มวิจยั ในภาคสนาม พบว่า การจัดการความรู้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาครู โดยภาพรวมเป็นอย่างยิ่ง ครูมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ทุกเรื่อง สามารถเห็น การเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรม โรงเรียนได้รับความร่วมมือ ที่ดีจากชุมชน และจากการสะท้อนคิด ในประเด็นความ คิดเห็น ต่อการใช้การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ เพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของ


Vol 1 No 1 January - April 2018

กลุ่มตัวอย่างที่ตอบกลับมา จำ�นวน 55 ฉบับ คิดเป็นร้อย ละ 100 สรุปได้วา่ ไม่มคี วามยุง่ ยากในการปฏิบตั ติ อ่ การใช้ การพัฒนารูปแบบดังกล่าว เพราะส่วนใหญ่ เป็นการปฏิบตั ิ งานตามปกติของครู เพียงแต่กิจกรรมครั้งนี้ เป็นการจัด ระบบการจัดการความรูใ้ ห้ครู ได้เกิดการทบทวนพฤติกรรม การปฏิบัติตนการปฏิบัติงาน และเกิดเครือข่ายการเรียนรู้ เป็นพลังความร่วมมือในการจัดการความรู้ เพื่อการพัฒนา คุณธรรมจริยธรรม ของครูโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ให้มีความ สมบูรณ์ย่ิงขึ้น ซึ่งสอดคล้องแนวคิด Davenport และ Prusak (1998) ให้ความเห็นว่า เครือข่ายคือชุมชน ชมรม ของผู้ที่มีความรู้ และผู้ที่ต้องการความรู้ ซึ่งเป็นที่บุคคล ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันมารวมกัน เพื่อสร้างพื้นที่ ในการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกัน และกัน ซึ่งเครือข่ายนั้น ทำ�หน้าที่คล้ายกับท่อส่งความคิดใหม่ๆ โดยอาจมีการนำ� เทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้เพือ่ ประสานงานกับผูท้ มี่ คี วาม รู้ และผู้ที่ต้องการความรู้เป็นการส่งผ่านความรู้ และผู้ที่ ต้องการความรู้ เป็นการส่งผ่านความรู้ให้แผ่กระจายออก ไปในวงกว้างให้ถึงในกลุ่มคนที่ต้องการใช้ความรู้นั้น และ Swan และคณะ (2000) สรุปว่า เครือข่าย ประกอบด้วย 1) ผู้นำ�หรือผู้ประสานงาน (Actors) มีหน้าที่สร้างรูปแบบ การติดต่อสื่อสาร 2) ทรัพยากร (Resources) คือ การ มีแผนการปฏิบัติงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งภายในหน่วย งาน และภายในเครือข่าย 3) กิจกรรม (Activities) คือ นำ�ทรัพยากรที่มีอยู่ มาสร้างความสัมพันธ์ โดยผู้น�ำ จะทำ� หน้าที่ประสานงาน กำ�หนดรูปแบบ และใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากร เพื่อสร้างกิจกรรมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กันภายในเครือข่าย การเรียนรูใ้ นเครือข่ายการจัดการความ รู้ เป็นแบบมีส่วนร่วม ตรงกับความต้องการของสมาชิก มีลักษณะสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ จัดกิจกรรม สนองตอบตามวัตถุประสงค์ทตี่ อ้ งการสมาชิกในเครือข่าย มี ความตืน่ ตัวสนใจร่วมกิจกรรม เกิดความร่วมมือแลกเปลีย่ น และแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างเป็นธรรมชาติ สาเหตุทผี่ ลการวิจยั เป็นเช่นนีอ้ าจเป็นเพราะว่า ผู้ วิจัยได้ใช้รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาครู ด้าน การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี อันประกอบ ด้วย การจัดการความรู้ 6 ขั้นตอน ไดแก ขั้นที่ 1) การบ่งชี้ ความรู้ ขั้นที่ 2) การแลกเปลี่ยนความรู้ ขั้นที่ 3) การสร้าง ความรู้ ขั้นที่ 4) การจัดเก็บความรู้ ขั้นที่ 5) การนำ�ความรู้ ไปใช้ และขั้นที่ 6) การประเมินผลความรู้ โดยเฉพาะอย่าง

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

ยิ่ง ขั้นที่1) การบ่งชี้ความรู้ ซึ่งเป็นขั้นแรกที่ ผู้วิจัยได้ให้ครู ในโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ได้มีส่วนร่วมกำ�หนดเป้าหมายความ รู้ที่ต้องการพัฒนา ซึ่งพบว่า ครูต้องการพัฒนา ด้านการ พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมดังกล่าวข้างต้น ทำ�ให้ครูภายใน โรงเรียน เกิดความรู้สึกมีเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนา รู้สึกมีความเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่เกิดขึ้น และรู้ถึง ประโยชน์ และผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น สอดคล้องแนวคิดของ สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา (2548) ได้กล่าวถึง การ กำ�หนดเป้าหมายมาจากการระดมสมองของผู้ปฏิบัติงาน มีการศึกษาสภาพปัญหาของหน่วยงาน และกำ�หนดเป็น วิสัยทัศนี่จะนำ�ไปสู่การแก้ไขปัญหานั้น ซึ่งผู้ปฏิบัติงาน ต้องมีวิสัยทัศน์กล้าคิด และตัดสินใจ และสอดคล้องกับ เข็มชาติ ไชยโวหาร (2548) ได้ศึกษา เรื่อง การจัดการ ความรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำ�นักงานเขตพื้นที่ การศึกษาขอนแก่น เขต 3 ผลการศึกษา พบว่า ด้านการ สร้างวิสัยทัศน์ สั้นกระชับ ชัดเจน และกระตุ้นให้บุคลากร มุ่งอนาคต วิสัยทัศน์พันธะกิจ มีความสอดคล้องกัน ครูได้ รับการอบรมให้มคี วามรูค้ วามสามารถ เพือ่ พัฒนางานให้มี ประสิทธิภาพ มีวัฒนธรรม การเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งครู และ ผู้เรียน เกิดความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกัน การวิจัย ครั้งนี้ ผู้วิจัย ได้ดำ�เนินการจัดการความรู้ ตามแนวทางข้าง ต้นเช่นกัน และจากการติดตามผลการปฏิบัติจริงในภาค สนาม พบว่า นอกจากดำ�เนินการตามกระบวนการจัดการ ความรูท้ งั้ 6 ขัน้ ตอน ทีผ่ วู้ จิ ยั ได้พฒ ั นาแล้ว ยังมีการทำ�งาน ลักษณะแบบพลังเครือข่ายความร่วมมือจัดการความรูข้ อง ครูในโรงเรียน โดยนำ�เสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมการ ปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ต่อกัน ภายในโรงเรียน รวมทั้ง การใช้เครือข่ายทางสังคม (Social Network) และระบบ เทคโนโลยีในการติดต่อส่งข่าวสารความรู้ล้วนก่อให้เกิด การจัดการความรู้ ทำ�ให้เอื้อ และส่งผลต่อการพัฒนาครู เป็นอย่างยิ่ง สอดคล้องงานวิจัยของ Hussian และคณะ (2004 : Abstract) ได้ศึกษา เรื่อง การพัฒนารูปแบบ การจัดการความรู้ พบว่า ความสามารถในการจัดการที่มี ประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการจัดการความรู้ และเทคโนโลยี เป็นปัจจัยสำ�คัญของการจัดการความรู้ ที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อ กัน และส่งเสริมต่อความเป็นองค์กรแห่งความรู้ การพัฒนา ครู โดยใช้รูปแบบเครือข่ายการจัดการความรู้ครั้งนี้ ทำ�ให้ ครูทุกคนภายในโรงเรียนได้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้ ทันกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคม ผู้วิจัยเห็นว่า ใน กรณีการพัฒนาครูโดยใช้รปู แบบการจัดการความรูเ้ พือ่ การ

59


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ครู ครั้งนี้ได้ทำ�ให้ครูได้เรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากการ ปฏิบัติกิจกรรมที่เป็นเลิศโดยผ่านการนำ�เสนอผลงานการ จัดการความรู้ของเครือข่ายจัดการความรู้ภายในโรงเรียน และจากการสะท้อนคิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ ครูทั้ง 5 เรื่อง ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ครูเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมตนเองไปในทางที่ดีทุกเรื่อง ดังผู้ให้ข้อมูลสำ�คัญ ที่ร่วมวิจัย 1 ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า “ครูโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ได้ เปลี่ยนพฤติกรรมตนเองไปทางดีทุกด้านจริงๆ เนื่องจาก การร่วมกิจกรรมจัดการความรู้ทำ�ให้รู้สิ่งดีๆ จากครูต่าง ระดับชั้นเรียน ครูในโรงเรียนพูดต่อๆ กันพร้อมกับย้อนดู พฤติกรรมของตนเอง และปรับปรุงในการประพฤติปฏิบัติ ตนให้ดีขึ้นเสมอ ขณะเดียวกันได้เรียนรู้ความเคลื่อนไหว การพัฒนาซึ่งกันและกันตลอดเวลาผ่านช่องทางเครือข่าย สังคม และระบบเทคโนโลยีซึ่งรวดเร็วและน่าสนใจมาก” จากทีก่ ล่าวมาข้างต้นสรุปให้เห็นว่า การพัฒนาครูโดยใช้รปู แบบการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนา คุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาล เมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ได้ดำ�เนินการตามด้าน การจัดการความรูท้ งั้ 6 ขัน้ ตอน ทีไ่ ด้ปรับปรุงพัฒนามาตาม ลำ�ดับ ทำ�ให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมกับการพัฒนาครู และ โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี นำ�รูปแบบการจัดการความรู้ ไปพัฒนา ครูด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมทั้ง 5 เรื่อง ดังกล่าว แล้ว จากการติดตามการสะท้อนคิดของครู และสัมภาษณ์ ผูใ้ ห้ขอ้ มูลสำ�คัญทีร่ ว่ มวิจยั พบว่า ส่งผลดีตอ่ การพัฒนาครู ทำ�ให้เกิดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมทุกเรื่อง บรรลุเป้าหมายการจัดการความรู้เพื่อ การพัฒนาครูอย่างมีประสิทธิผล สอดคล้องกับสมมติฐาน ที่ผู้วิจัยกำ�หนดไว้ ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะในการนำ�ผลการวิจัยไปใช้ 1.1 รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนา ครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ประกอบด้วย การ จัดการความรู้ 6 ขั้นตอน ไดแก ขั้นที่1) การบ่งชี้ความรู้ ขั้นที่ 2) การแลกเปลี่ยนความรู้ ขั้นที่ 3) การสร้างความ รู้ ขั้นที่ 4) การจัดเก็บความรู้ ขั้นที่ 5) การนำ�ความรู้ไปใช้ และขั้นที่ 6) การประเมินผลความรู้ ทุกขั้นตอน สามารถ

60

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

นำ�ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทขององค์กร โดย เฉพาะอย่างยิ่ง ขั้นที่ 1) การบ่งชี้ความรู้ ต้องให้บุคคลากร ในองค์กรมีส่วนร่วมกำ�หนดทิศทางความต้องการในการ จัดการความรู้ 1.2 ด้านผลที่เกิดขึ้น หลังการใช้รูปแบบการ จัดการความรู้เพื่อการพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านบ่อ) เทศบาลเมือง กาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ที่พัฒนาแล้ว พบว่า มีการ เปลี่ยนแปลงคุณธรรมจริยธรรมทุกเรื่องไปในทางที่ดีขึ้น ได้แก่ การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี การสร้างความ รักและความเป็นกัลยาณมิตรแก่ผู้เรียนการมีเจตคติที่ดีรัก และศรัทธาอาชีพครู การหลีกเลี่ยงมัวเมาอบายมุข และ การมีความอดทนอดกลั้น ขยัน ประหยัดและรู้จักให้อภัย ผู้อื่น ดังนั้น ควรนำ�ตัวอย่าง ด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ที่ดีเด่นของครู เช่น การประพฤติตนเป็นแบบ อย่างที่ดี ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็น สำ�คัญ ถือเป็นการพัฒนาครูต่อไปอย่างต่อเนื่อง 1.3 ด้านข้อค้นพบที่เกิดขึ้น ในการใช้การจัดการ ความรูเ้ พือ่ การพัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม การจัดการความรูจ้ ะเกิดผลดียงิ่ ขึน้ ต่อเมือ่ มีพลังเครือข่าย จัดการความรู้ ได้แก่ ความร่วมมือ การมีปฏิสมั พันธ์ทดี่ กี าร ปฏิบัติงาน และการติดต่อสื่อสารต่อกัน ตลอดจนการมี ปัจจัยเสริมสนับสนุน ได้แก่ วิสัยทัศน์ร่วม ภาวะผู้นำ� และ การทำ�งานเป็นทีม ดังนั้น บุคลากรทุกคนควรตระหนักใน การนำ�การจัดการความรู้ไปใช้ในองค์กร 2. ข้อเสนอแนะสำ�หรับการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรนำ�รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการ พัฒนาครู ด้านการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ไปพัฒนาครู ในด้านอื่นๆ โดยให้ครูมีส่วนร่วมวิเคราะห์ความต้องการ จำ�เป็นในการพัฒนา 2.2 ควรใช้รูปแบบการจัดการความรู้ ในการ พัฒนางานของสถานศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน ทัง้ ใน และนอกสถาน ศึกษาสังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี 2.3 ควรศึกษารูปแบบการจัดการความรูใ้ นบริบท ด้านการเรียนการสอน เพือ่ สร้างความร่วมมือในการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ 2.4 ควรมีการศึกษาองค์ประกอบการจัดการความ รู้เพื่อการพัฒนาครู เรื่อง การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ ดี


Journal of Educational Technology and Communications

Vol 1 No 1 January - April 2018

Facutyl of Education Mahasarakham University

เอกสารอ้างอิง กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 และที่แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพองคการรับสงสินคาและพัสดุภัณฑ (ร.ส.พ.). แกวเวียง นํานาผล. (2551). การพัฒนาตัวแบบการจัดการความรูของสถานศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแกน. เข็มชาติไชยโวหาร. (2548). การจัดการความรูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแกน เขต 3. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแกน. ฉลองรัฐ อินทรีย. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรูคณะพยาบาลศาสตร มหาวิทยาลัยราชธานี. วิทยานิพนธ สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี. ชัชวาล วงประเสริฐ. (2548). การจัดการความรูในวงการธุรกิจ Knowledge Management For Business Firms. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอรเน็ท สมาคมสงเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุน). ทิศนา แขมมณี. (2543). วิธีสอนสําหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. ทิมแกว ธรรมรักษสกุล. (2551). รูปแบบการบริหารจัดการความรูของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: กรณีศึกษาโรงเรียน บานสมัย จังหวัดลําปาง. วิทยานิพนธ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร. . ธีระวัฒน เยี่ยมแสง. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรูของสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา มหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. พสุ เดชะรินทร. (2547). ยอดผูนํายุคใหม. กรุงเทพฯ: ผูจัดการ. วิจารณพานิช. (2548). การจัดการความรูฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ. สถาบันพัฒนาผูบริหารการศึกษา.(2548). การจัดการความรูในสถานศึกษา. นครปฐม : กระทรวงศึกษาธิการ. Aidemark, J. (2007). Strategic planning of knowledge management system: A problem exploration approach. A Dissertation Abstracts International, Stockholm University. Anarong, N. (2009). Librarians’ attitudes toward knowledge management. Israel : Bar –Han University. Bennett, J. K. & O’ Brien. M, J. (1994). The building blocks of the learning organization. Training, 31(6), 41-49. Davenport, T., & Prusak, L. (1998). Working knowledge: How organizations manage what they know. Boston : Harvard Business School Press. Hussain, F., & Others. (2005). Managing management effectively. Journal of Knowledge Manage ment Practice, (May). (Online). Available : http://www.tlainc.com/artic 166 htm. Accessed (10 October, 2005). Marquardt, M., & Reynolds, A. (1994). The global learning organization. Burr Ridge, IL: Irwin Professional Pub. Nonaka, I. (1994). A dynamic theory of organizational knowledge creation. Journal of Organization Science. 5(1), 13-14. Seufert, A., Kroger, G., & Bach, A. (1999). Towards knowledge networking. Journal of Knowledge Management, 3(3), 180 - 190. Swan,W., Langford, N., & Watson, I. (2000). Viewing the corporate communication as a knowledge network. Corporate Communications: An international journal, 5(1), 49-58. Tobin, Tom. (2003). Ten principle for knowledge management success. Stamford, CT: Gartner. Vander, S. R., & Spijkervet, A. (1997). Knowledge management: Dealing intelligently with knowledge. edited by Liebowitz J., & Wilcox (Eds). Knowledge and its Intergrative elements. New York. : CRC Press.

ทักษิณ คาโส : ออกแบบจัดหน้าบทความ

61


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายรหัสวิชา ง 21251 การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยการจัดการเรียนรู้ แบบ STAD สำ�หรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

The Development of Web-Based Instruction in 21251 Electronic Book Creation by the Learning Management STAD for Matthayomsuksa 1 ทวีชัย จรัสแสง 1 Taweechai Jarutsang ก่อเกียรติ ขวัญสกุล 1 Kokeit Kwunsakul

บทคัดย่อ

1 1

[

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนบนเครือข่าย รหัสวิชา ง 21251 การสร้างหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบ STAD สำ�หรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วย บทเรียนบนเครือข่ายที่พัฒนาขึ้น 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยบทเรียนบนเครือข่ายที่พัฒนาขึ้น 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อบทเรียนบนเครือข่าย ในรายวิชาการสร้างหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา2560 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำ�นวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ บทเรียนบนเครือข่าย แบบประเมินคุณภาพบทเรียน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบประเมินความพึงพอใจ ของผู้เรียน สถิติที่ใช้ได้แก่ สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test (Dependent Sample) ผลการวิจัยพบว่า 1. บทเรียนบนเครือข่ายที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ (82.50/84.17) 2. บทเรียนบนเครือข่ายที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพในระดับเหมาะสมมาก (x̄ = 4.41,S.D.= 0.62) 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (x̄​̄ = 16.83 , S.D. = 1.28) สูงกว่าก่อนเรียน (x̄​̄ = 9.90 , S.D. = 0.62) อย่างมีนัยสำ�คัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียนมีค่าเท่ากับ 0.6866 (E.I. = 0.6866) 5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนบนเครือข่ายในระดับมาก (x̄​̄ = 4.10 , S.D. = 0.83)

คำ�สำ�คัญ : บทเรียนบนเครือข่าย, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, การจัดการเรียนรู้แบบ STAD

นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม Undergraduate Students in Educational Technology and Computer Education Faculty of Education Mahasarakham University 2 ผู้ช่วยศาตราจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2 Assistant Profressor in Department of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University 1 1

62


Vol 1 No 1 January - April 2018

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

Abstract

The purpose of this research were to 1) Development of Web-Based Instruction in 21251 Electronic Book Creation By the learning management STAD for Matthayomsuksa 1, with the efficiency value of 80/80, 2) to evaluate the quality of the Web-Based instruction, 3) to compare the academic achievement before and after the learning, 4) to study the effectiveness index learning, 5) to study the students’satisfaction.The sample were 48 Matthayomsuksa 1 room 3 students at Kalasinpittayasan School, Kalasin.The research instruments were Web-Based instruction, an achievement test, an evaluation form of the lesson and assessment form of the satisfaction of learning. The research statistics used were mean, standard deviation, percentage and t-test (Dependent Sample) Results of the research were as follows: 1. Web-based instruction developed by author be efficient higher than criteria (82.50/84.17) 2. Web-based instruction developed by author was at the high level (x̄​̄ = 4.40, S.D. = 0.62) 3. The academic achievement after learning (x̄​̄ = 16.83 , S.D. = 1.28) higher than before leaning (x̄​̄ = 9.90 , S.D. = 1.37) was significantly at the .05 level 4. The effectiveness index of lesson was 0.6866 (E.I. = 0.6866) 5. The students’ overall satisfaction with the learning was at the high level. (x̄​̄ = 4.10 , S.D. = 0.83) Keywords : Web-Based Instruction, Electronic Book, The learning management STAD

ภูมิ​ิหลัง พระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ กำ�หนดแนวทางในการจัดการศึกษาของชาติในมาตรา 22 คือให้ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และ พัฒนาตนเองได้และถือว่าผูเ้ รียนมีความสำ�คัญในการเรียน รู้ กระบวนการที่จะจัดการศึกษาจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และใน มาตรา 24 กำ�หนดให้การจัดกระบวนการเรียนรู้จะต้องจัด เนื้อหาสาระและกิจกรรม ให้สอดคล้องกับความสนใจและ ความถนัดของผู้เรียนโดย คำ�นึงถึงความแตกต่างระหว่าง บุคคล จัดกิจกรรมให้ผเู้ รียนได้เรียนรูจ้ ากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำ�ได้คิดเป็นและ ทำ�เป็น พัฒนาผู้เรียน ตามศักยภาพ ทั้งนี้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ เทคโนโลยีถอื ว่าเป็นอีกกลุม่ สาระทีจ่ ะช่วยพัฒนาให้ผเู้ รียน

มีความรู้ความเข้าใจมีทักษะพื้นฐานที่จำ�เป็นต่อการดำ�รง ชีวิตและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง การพั ฒ นาการของเทคโนโลยี ต่ า ง ๆ โดย เฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร โทรคมนาคม ส่ ง ผลให้ เ กิ ด ความพยายามในการนำ � เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน มีการพัฒนารูปแบบ ให้สอดคล้องสามารถรองรับการให้ บริการแก่นักเรียน นักศึกษา และลดปัญหาต่าง ๆ ที่เป็น อุปสรรคต่อการเรียนการสอน เช่น ปัญหาการขาดแคลน บุคลากรทางการศึกษา ปัญหาเรื่องระยะทางในการเดิน ทางไปเรียน ปัญหาในเรื่องของเวลาเป็นต้น ความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีได้กอ่ ให้เกิดการเปลีย่ นแปลงทางการศึกษา และการเรียนรูข้ องมนุษย์ ซึง่ วิวฒ ั นาการดังกล่าวก่อให้เกิด

63


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

การเรียนการสอนบนระบบเครือข่ายที่สามารถเชื่อมโยง กันได้ตลอดเวลา ซึ่งในปัจจุบันมีการนำ�ระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในรูปแบบ ของบทเรียนบนเครือข่ายกันมากยิง่ ขึน้ เนือ่ งจากสภาพการ เรียนรูใ้ นปัจจุบนั ทีเ่ น้นผูเ้ รียนเป็นศูนย์กลางเป็นสำ�คัญ เพือ่ ให้ผเู้ รียนสามารถเรียนรูด้ ว้ ยตนเองตามความสามารถของผู้ เรียนและเป็นการสนองต่อพระราชบัญญัติการศึกษาแห่ง ชาติ พ.ศ. 2542 (เบญจวรรณ ชื่นวิเศษ. 2552) การเรียนการสอนโดยบทเรียนบนเครือข่าย ใน ปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอนที่แพร่หลายมากขึ้น สังเกตได้จากการที่มีสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จัดการเรียน การสอนออนไลน์ และสถาบัน การศึกษาต่าง ๆ ยังมีเว็บเพจ (Web Page) ที่เป็นลักษณะ WBI : Web Based Instruction เป็นรูปแบบการเรียนการสอนทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ นักเรียน นักศึกษา ที่สนใจสามารถเข้าไปศึกษาบทเรียนได้ โดยมีแบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียนและมี เนื้อหารายวิชาแบ่งออกเป็นหน่วยการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้ผู้ เรียนเข้าไปศึกษา นอกจากนีผ้ สู้ อนยังสามารถทำ�การพัฒนา บทเรียนบนเครือข่ายที่ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตลอดเวลา ไม่จ�ำ กัดเวลาและสถานทีไ่ ด้ จะเป็นประโยชน์ตอ่ การพัฒนา ประสิทธิภาพการเรียนของผู้เรียน รวมทั้งผู้สอนสามารถ ติดตามผลการเรียนของผู้เรียน และประเมินประสิทธิภาพ ของบทเรียนบนเครือข่ายนัน้ ได้ทนั ที นับว่าเป็นสารสนเทศ ทีม่ ปี ระโยชน์อย่างยิง่ และสามารถลดปัญหาต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ ดังกล่าวได้ระดับหนึ่ง จากการปฏิบัติหน้าที่ผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ได้สำ�รวจข้อมูลของผู้เรียน จากการสังเกตผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ในภาคเรียน ที่ 1 ปีการศึกษา 2560 พบว่าผูเ้ รียนมีศกั ยภาพในการเรียน รู้ที่แตกต่างกัน การรับรู้เนื้อหาของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน อีกทั้งการสอนในชั่วโมงที่มีเวลาจำ�กัด ผู้เรียนไม่สามารถ ซักถามผู้สอนในเวลาได้ครบถ้วน จึงเป็นเรื่องยากที่จะสอน ให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาทั้งหมดได้ทุกคน จากการ ศึกษาค้นคว้ารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STAD เป็นรูป แบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้อีกรูป แบบหนึ่ง ที่มีชื่อเต็มว่า Student Teams Achievement Divisions เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึง่ กำ�หนด ให้นกั เรียนทีม่ คี วามสามารถแตกต่างกัน ทำ�งานร่วมกันเป็น กลุ่มๆ ละ 4-5 คน ซึ่งประกอบด้วย นักเรียนที่เรียนเก่ง 1 คน นักเรียนที่เรียนปานกลาง 2-3 คน และนักเรียนที่เรียน อ่อน 1 คน จุดประสงค์ เพือ่ จูงใจผูเ้ รียนให้กระตือรือร้นกล้า

64

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

แสดงออกและช่วยเหลือกันในการทำ�ความเข้าใจเนื้อหา นัน้ ๆ อย่างแท้จริง ซึง่ เป็นเทคนิคทีส่ ามารถใช้ได้กบั ทุกวิชา และใช้ได้กบั ระดับประถมศึกษาจนถึงมหาวิทยาลัย แนวคิด การสอนแบบ STAD พัฒนาขึ้นโดย Robert E. Slavin ผู้อำ�นวยการโครงการศึกษาระดับประถมศึกษาศูนย์วิจัย ประสิทธิภาพการเรียนของผูเ้ รียนมีปญ ั หาทางด้านวิชาการ แห่งมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอฟกินส์ สหรัฐอเมริกา และเป็น ผู้เชี่ยวชาญการสอนคณิตศาสตร์ Slavin ได้พัฒนาเทคนิค นี้ขึ้นเพื่อขจัดปัญหาทางการศึกษาโดยมุ่งเน้นทักษะการ คิด การเรียนที่เป็นระบบเป็นทางเลือกหนึ่งสำ�หรับการ เรียนเป็นกลุม่ และเป็นการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผูเ้ รียน ผู้วิจัยซึ่งรับผิดชอบในการสอนรายวิชาการสร้างหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ เป็นรายวิชาที่ผู้เรียนส่วนใหญ่เข้าใจได้ช้า เนื่องจากเป็นรายวิชาที่ต้องอาศัยทั้งความจำ� ความเข้าใจ และการปฏิบัติ แต่เวลาในชั่วโมงไม่เพียงพอต่อการเรียนรู้ ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาบทเรียนบนเครือข่าย รหัสวิชา ง 21251 การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยการจัดการ เรียนรู้แบบ STAD สำ�หรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ขึ้น จะ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากการจัดการเรียนรู้โดยบทเรียนบนเครือข่าย ซึ่ง เป็นบทเรียนแบบมัลติมีเดียประกอบด้วยภาพ เสียง ภาพ เคลื่อนไหว แบบฝึกทักษะต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหา ที่ครบถ้วน สามารถสร้างความเร้าใจให้ผู้เรียนเกิดความ อยากรู้ มีความสุขกับการเรียน ทำ�ให้ผู้เรียนมีความรู้เข้าใจ ในเนื้อหามากยิ่งขึ้น และใช้การจัดการเรียนรู้แบบ STAD ทีเ่ ป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือกัน โดย มีการแบ่งกลุ่มผู้เรียนคละ เก่ง กลาง อ่อน เปิดโอกาสให้ผู้ เรียนประสบผลสำ�เร็จในการเรียนมีปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่ม ทำ�ให้นักเรียนช่วยเหลือกันในขณะเรียน ซักถามปัญหากัน อย่างอิสระคนเก่งสามารถอธิบายให้เพือ่ นในกลุม่ เข้าใจ เกิด การแข่งขันระหว่างกลุม่ ส่งผลให้ผเู้ รียนมีความกระตือรือร้น ในการทำ�งานเพือ่ ให้ได้คะแนนรวมของกลุม่ สูงสุด ผูเ้ รียนได้ ลงมือปฏิบตั จิ ริงทำ�ให้เกิดความคงทนในการเรียนรู้ จึงส่งผล ให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ความมุ่งหมายของการวิจัย 1. เพื่อพัฒนาบทเรียนบนเครือข่าย รหัสวิชา ง 21251 การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยการจัดการเรียน รูแ้ บบ STAD สำ�หรับชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มปี ระสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน


Vol 1 No 1 January - April 2018

เรียนและหลังเรียนของผู้เรียน หลังได้รับการจัดการเรียน รู้จากบทเรียนบนเครือข่าย ง 21251 การสร้างหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์โดยการจัดการเรียนรู้แบบ STAD สำ�หรับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้น 3. เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของผู้เรียนที่เรียน ด้วยบทเรียนบนเครือข่าย รหัสวิชา ง 21251 การสร้าง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบ STAD สำ�หรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้น 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบท เรียนบนเครือข่าย รหัสวิชา ง 21251 การสร้างหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบ STAD สำ�หรับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า 1. ตัวแปรที่ศึกษา 1.1 ตัวแปรอิสระ บทเรียนบนเครือข่าย รหัสวิชา ง 21251 การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยการจัดการ เรียนรู้แบบ STAD สำ�หรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 1.2 ตัวแปรตาม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ ความพึงพอใจ 2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2.1 ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2/2560 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ ที่เรียนรายวิชาการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จำ�นวน ทั้งหมด 5 ห้องเรียน จำ�นวนนักเรียน 250 คน 2.2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1/3 ภาคการศึกษาที่ 2/2560 จำ�นวนนักเรียน 48 คน ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก 3. ขอบเขตด้านเนื้อหา เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เนื้อหาในกลุ่ม สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี รายวิชาการ สร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำ�หรับนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษา ปีที่ 1 ซึ่งนำ�เสนอเนื้อหา 5 หน่วยการเรียนรู้ ดังนี้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งที่ต้องเตรียมในการทำ� หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การติดตั้งโปรแกรม Flip PDF Professional

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เครื่องมือพื้นฐานของ โปรแกรม Flip PDF Professional หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การ Publish งานในรูป แบบต่าง ๆ 4. ขอบเขตด้านเวลา การวิจัยครั้งนี้ใช้ระยะเวลาในการวิจัย 1 ปีการ ศึกษา โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการสร้างเครื่องมือวิจัยทั้งหมด ใน ภาคเรียนที่ 1/2560 ระยะที่ 2 เป็นการเก็บข้อมูลจากการทดลองใช้สอื่ คาบละ 2 ชั่วโมง รวม 20 ชั่วโมง ในภาคเรียนที่ 2/2560 วิธีดำ�เนินการวิจัย 1. ระเบียบการวิจัย 1.1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2/2560 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ ที่เรียนรายวิชาการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จำ�นวน ทั้งหมด 5 ห้องเรียน จำ�นวนนักเรียน 250 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ภาคการศึกษาที่ 2/2560 จำ�นวนนักเรียน 48 คน ซึ่ง ได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก 1.2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 1. บทเรียนบนเครือข่าย รหัสวิชา ง 21251 การ สร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบ STAD สำ�หรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ชั้นมัธ ยมศึกษาปีที่ 1 ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 3. แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนบนเครือข่าย รหัสวิชา ง 21251 การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดย การจัดการเรียนรู้แบบ STAD สำ�หรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สำ�หรับผู้เชี่ยวชาญ 4. แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มี ต่อการใช้บทเรียนบนเครือข่าย ง 21251 การสร้างหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบ STAD สำ�หรับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้น ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วน ประเมินค่า (Ratting Scale) 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด

65


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

1.3. การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ ผู้วิจัยได้ดำ�เนินการศึกษาและสร้างเครื่องมือต่าง ๆ โดยใช้ขั้นตอนการพัฒนาตามรูปแบบ ADDIE ประกอบ ด้วย 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1. ขั้นการวิเคราะห์ (Analyze) 1.1 บทเรียนบนเครือข่าย รหัสวิชา ง 21251 การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยการจัดการเรียนรู้ แบบ STAD สำ�หรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้วิจัยได้ศึกษาและวิเคราะห์เอกสารดังนี้ 1.1.1 ศึกษาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การ งานอาชีพและเทคโนโลยี 1.1.2 วิเคราะห์หลักสูตรเพื่อจำ�แนกกิจกรรม กระบวนการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้กำ�หนดผลการเรียนรู้ ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ การวัดและประเมินผล โดยอิงผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร 1.1.3 วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ รายวิชาการสร้าง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กำ�หนดเป็น หน่วยการเรียนรู้ และ เนื้อหาย่อยโดยละเอียด ดังนี้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สิ่งที่ต้องเตรียมในการทำ� หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การติดตั้งโปรแกรม Flip PDF Professional หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เครื่องมือพื้นฐานของ โปรแกรม Flip PDF Professional หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การ Publish งานในรูป แบบต่าง ๆ 1.1.4 ศึกษาหลักการ วิธีการ ทฤษฎี และเทคนิค วิธีการสร้างบทเรียนบนเครือข่ายจากเอกสารต่าง ๆ และ ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผู้วิจัยได้ศึกษาและวิเคราะห์เอกสารดังนี้ 1.2.1 ศึกษาเทคนิค วิธีการสร้างแบบทดสอบที่ ดี และวิธีหาค่าความเที่ยงตรง หาค่าความยากง่าย หาค่า อำ�นาจจำ�แนก และหาค่าความเชื่อมันของแบบทดสอบ 1.2.2 วิเคราะห์รายละเอียดวิชาการสร้างหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์

66

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

1.3 แบบประเมินความพึงพอใจ ผู้วิจัยได้ศึกษาวิธีการสร้างแบบประเมินความพึง พอใจจากหนังสือ พัฒนาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา (พิสทุ รา อารีราษฎร์. 2550) 1.4 แบบประเมินคุณภาพสือ่ บทเรียนบนเครือข่าย ศึกษาวิธีการสร้างแบบประเมินคุณภาพของบท เรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายแล้วสร้างแบบประเมิน คุณภาพของบทเรียนด้านเนือ้ หา แบบใช้คา่ ความสอดคล้อง (IOC) โดยมีค่า 3 ระดับ แล้วจึงนำ�ผลการประเมินจากผู้ เชียวชาญด้านเนื้อหา มาหาค่าเฉลยความสอดคล้อง (IOC) โดยในแต่ละตอน มีค่า 0.50 ขึ้นไปจึงสามารถนำ�เนื้อหาไป ใช้ได้ 2. ขั้นการออกแบบ (Design) 2.1 บทเรียนบนเครือข่าย รหัสวิชา ง 21251 การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยการจัดการเรียนรู้ แบบ STAD สำ�หรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผูว้ จิ ยั ได้ออกแบบบทเรียนบนเครือข่าย ออกแบบ กิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ในบทเรียน แบบฝึกหัดระหว่าง เรียน แบบทดสอบและเขียนบทดำ�เนินเรื่อง 2.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผูว้ จิ ยั ออกแบบข้อสอบเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 2.3 แบบประเมินความพึงพอใจ ผู้วิจัยได้กำ�หนดกรอบที่จะประเมิน โดยแบ่งเป็น 5 ด้าน ดังนี้ 1. ความพึงพอใจในด้านเนื้อหาและการดำ�เนิน เรื่อง 2. ความถึงพอใจในด้านภาพ ภาษา เสียง 3. ความพึงพอใจในด้านตัวอักษรและสี 4. ความพึงพอใจในด้านแบบทดสอบ 5. ความพึงพอใจในด้านการจัดการบทเรียน 2.4 แบบประเมินคุณภาพสื่อบทเรียนบนเครือ ข่าย ผูว้ จิ ยั สร้างแบบประเมินคุณภาพของบทเรียนด้าน เทคโนโลยี แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึง่ กำ�หนด ค่าระดับความคิดเห็น ดังนี้ ระดับ 5 หมายถึง มีคุณภาพดีมาก ระดับ 4 หมายถึง มีคุณภาพดี ระดับ 3 หมายถึง มีคุณภาพปานกลาง ระดับ 2 หมายถึง มีคุณภาพน้อย ระดับ 1 หมายถึง ควรปรับปรุง


Vol 1 No 1 January - April 2018

3. ขั้นการพัฒนา (Develop) 3.1 บทเรียนบนเครือข่าย รหัสวิชา ง 21251 การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยการจัดการเรียนรู้ แบบ STAD สำ�หรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผูว้ จิ ยั ได้สร้างบทเรียนบนเครือข่ายและตรวจสอบ เบื้องต้น เพื่อหาข้อผิดพลาด จากนั้นผู้วิจัยนำ�บทเรียนบน เครือข่ายให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินเพื่อหาข้อบกพร่องและนำ� มาปรับปรุงแก้ไข ซึ่งผู้เชี่ยวชาญประกอบด้วย 1) อาจารย์ชวลิต แสงศิริทองไชย ครูชำ�นาญการ พิเศษโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ 2) อาจารย์สรุ จิตร โลหะมาศ ครูช�ำ นาญการพิเศษ โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ 3) อาจารย์รัชนีพร ภูแสงสี ครูชำ�นาญการพิเศษ โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ เมื่อผู้เชี่ยวชาญประเมินแล้วนำ�เอาคำ�แนะนำ�มา ทำ�การปรับปรุงแก้ไขจนได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ (จาก นั้นผู้วิจัยได้ทำ�การสร้างเครื่องมือ ได้แก่ แบบทดสอบและ กิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ในบทเรียนบนเครือข่าย) 3.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 1. ผู้ วิ จั ย สร้ า งแบบทดสอบให้ ค ลอบคลุ ม จุ ด ประสงค์ ก ารเรี ย นรู้ จั ด ทำ � แบบทดสอบวั ด ผลสั ม ฤทธิ์ ทางการเรียน เป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำ�นวน 40 ข้อ 2. ผู้ วิ จั ย วิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล การหาค่ า ดั ช นี ค วาม สอดคล้องระหว่างข้อคำ�ถามของแบบวัดผลสัมฤทธิท์ างการ เรี ย นกั บ จุ ด ประสงค์ ก ารเรี ย นรู้ โดยใช้ สู ต รดั ช นี ค วาม สอดคล้อง (พิสุทรา อารีราษฎร์. 2550) 3.3 แบบประเมินความพึงพอใจ ผูว้ จิ ยั พัฒนาแบบประเมินความพึงพอใจเป็นแบบ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามวิธีของ ลิเคิร์ท ดังนี้ ระดับคะแนน 5 หมายถึง มีความพึงพอใจมาก ที่สุด ระดับคะแนน 4 หมายถึง มีความพึงพอใจมาก ระดับคะแนน 3 หมายถึง มีความพึงพอใจปาน กลาง ระดับคะแนน 2 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อย ระดับคะแนน 1 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อย ที่สุด หลังจากนำ�ไปให้ผู้เชี่ยวชาญชุดเดียวกับข้อที่ 3.1 ตรวจสอบความถูกต้อง ด้านการดำ�เนินเรื่อง ด้านภาพ ภาษา เสียง ด้านตัวอักษรและสี ด้านแบบทดสอบ ด้าน

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

การจัดการบทเรียนเพื่อให้ครอบคลุมความพึงพอใจที่จะ ประเมิน 3.4 แบบประเมินคุณภาพสื่อบทเรียนบนเครือ ข่าย ผู้วิจัยนำ�แบบประเมินคุณภาพบทเรียนบนเครือ ข่ายทั้ง 2 ฉบับ นำ�บทเรียนบนเครือข่ายที่สร้างขึ้นไปให้ผู้ เชีย่ วชาญประเมินด้านเทคโนโลยีการศึกษา 3 ท่าน ประเมิน คุณภาพบทเรียน โดยใช้แบบประเมินที่สร้างขึ้น 4. ขั้นการทดลองใช้ (Implement) 4.1 บทเรียนบนเครือข่าย รหัสวิชา ง 21251 การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยการจัดการเรียนรู้ แบบ STAD สำ�หรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เมือ่ ทำ�การสร้างแบบทดสอบและหาประสิทธิภาพ แบบทดสอบจนได้มาตรฐานแล้วนำ�แบบทดสอบทีผ่ า่ นการ ประเมินหาประสิทธิภาพแล้ว ติดตัง้ ในบทเรียนบนเครือข่าย จากนั้นผู้วิจัยได้ทดลองใช้บทเรียนบนเครือข่ายเพื่อหาข้อ บกพร่องและทำ�การปรับปรุงบทเรียน ดังนี้ 1. ทดลองใช้รายบุคคล นำ�บทเรียนไปทดลองใช้ กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียน ในรายวิชาการ สร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ในภาคการศึกษาที่ 2/2560 จำ�นวน 3 คน ประกอบด้วยนักเรียนในกลุ่มเก่ง กลุ่มปาน กลาง และกลุ่มอ่อน เพื่อปรับปรุงบทเรียนจากการทดลอง ผลการทดลองพบว่า ผลการเรียนอยูใ่ นระดับสูงขึน้ นักเรียน ที่มีผลการเรียนอ่อนจะมีคะแนนเกาะกลุ่มกับเพื่อนที่มีผล การเรียนสูง 2. การทดลองกับกลุ่มเล็ก (Small Group Testing) ผู้วิจัยได้นำ�บทเรียนบนเครือข่ายที่ได้ปรับปรุงจาก การทดลองแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ไปทำ�การทดลองกับผู้เรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในภาคการศึกษาที่ 2/2560 เพื่อหา ข้อบกพร่อง โดยเลือกผู้เรียนที่มีความสามารถในการเรียน เก่ง ปานกลาง และอ่อน อย่างละ 3 คน รวมจำ�นวน 9 คน จากแบบบันทึกผลการพัฒนาคุณภาพผูเ้ รียน โดยผูว้ จิ ยั คอย สังเกตอย่างใกล้ชดิ เพือ่ หาข้อบกพร่องของบทเรียนบนเครือ ข่าย จนเป็นทีแ่ น่ใจว่าบทเรียนบนเครือข่ายมีประสิทธิภาพ สามารถนำ�ไปทดลองกับกลุ่มทดลองจริงได้ ผลการทดลอง พบว่า ผลการเรียนอยู่ในระดับสูงขึ้น นักเรียนที่มีผลการ เรียนอ่อนจะมีคะแนนเกาะกลุม่ กับเพือ่ นทีม่ ผี ลการเรียนสูง 4.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผู้ วิ จั ย นำ � แบบทดสอบที่ ส ร้ า งเสร็ จ แล้ ว ให้ ผู้ เชี่ ย วชาญประเมิ น ความสอดคล้ อ งของจุ ด ประสงค์ เชิ ง พฤติกรรมกับแบบทดสอบ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญประกอบด้วย

67


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

1) อาจารย์ชวลิต แสงศิริทองไชย ครูชำ�นาญการ พิเศษโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ 2) อาจารย์สรุ จิตร โลหะมาศ ครูช�ำ นาญการพิเศษ โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ 3) อาจารย์รัชนีพร ภูแสงสี ครูชำ�นาญการพิเศษ โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้ ให้คะแนน +1 ถ้าแน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดผลตาม จุดประสงค์การเรียนรู้ ให้คะแนน 0 ถ้าไม่แน่ใจว่าข้อสอบนัน้ วัดผลตาม จุดประสงค์การเรียนรู้ ให้คะแนน -1 ถ้าไม่แน่ใจว่าข้อสอบนัน้ ไม่ได้วดั ผล ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ผู้วิจัยนำ�แบบข้อสอบที่ผ่านการตรวจจำ�นวน 40 ข้อ ไปทดลองใช้กับ ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 จำ�นวน 48 คน และนำ�คะแนนจากแบบทดสอบมาหาค่าความยาก ง่าย ค่าอำ�นาจจำ�แนก และค่าความเชื่อมั่น 4.3 แบบประเมินความพึงพอใจ ผู้วิจัยนำ�แบบทดสอบที่พัฒนาขึ้น ให้ผู้เรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 จำ�นวน 48 คน ทดลองทำ�แบบประเมิน ความพึงพอใจที่สร้างขึ้นเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ เรียนทีม่ ตี อ่ บทเรียนบนเครือข่าย และนำ�มาคำ�นวณเพือ่ หา ค่าความเชื่อมัน โดยใช้สถิติสัมประสิทธ์แอลฟา (a-Coefficients) ของครอนบาค (Cronbach) 4.4 แบบประเมินคุณภาพสื่อบทเรียนบนเครือ ข่าย ผู้วิจัยประเมินหาค่าเฉลี่ย เพื่อนำ�มาวิเคราะห์ ประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่าย การ พิจารณาค่าเฉลี่ยใช้เกณฑ์ ดังนี้ คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 4.51 – 5.00 หมายถึง มี คุณภาพดีมาก คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 3.51 – 4.50 หมายถึง มี คุณภาพดี คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 2.51 – 3.50 หมายถึง มี คุณภาพปานกลาง คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 1.51 – 2.50 หมายถึง มี คุณภาพน้อย คะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 1.00 – 1.50 ห ม า ย ถึ ง ควรปรับปรุง ผู้วิจัยกำ�หนดเกณฑ์การประเมินคุณภาพโดยใช้ ค่ารอยละเฉลี่ยตั้งแต่ 3.51 ขึ้นไปจึงจะถือว่ามีคุณภาพซึ่ง

68

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

ผูเ้ ชีย่ วชาญได้ ประเมินคุณภาพบทเรียนด้านเทคโนโลยีการ ศึกษาโดยรวมได้ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.58 หมายถึง มีคุณภาพ ระดับดีมาก 5. ขั้นการประเมินผล (Evaluate) 5.1 บทเรียนบนเครือข่าย รหัสวิชา ง 21251 การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยการจัดการเรียนรู้ แบบ STAD สำ�หรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้วิจัยนำ�บทเรียนบนเครือข่ายที่ได้ทำ�การตรวจ สอบประสิทธิภาพทุกด้านแล้วนำ�ออกไปทดลองจริงกับกลุม่ ตัวอย่าง ซึ่งผลที่ได้จะรายงานไว้ในบทที่ 4 5.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผู้วิจัยนำ�แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทีไ่ ด้ไปจัดพิมพ์ให้สมบูรณ์ตอ่ ไปและนำ�ไปติดตัง้ ในบทเรียน บนเครือข่าย 5.3 แบบประเมินความพึงพอใจ ผู้ วิ จั ย จั ด ทำ � แบบประเมิ น ความพึ ง พอใจฉบั บ สมบูรณ์ 5.4 แบบประเมินคุณภาพสื่อบทเรียนบนเครือ ข่าย ผู้วิจัยนำ�แบบแบบประเมินคุณภาพสื่อบทเรียนที่ ได้ไปจัดพิมพ์ให้สมบูรณ์ต่อไป 2. ขั้นตอนการทดลอง ผู้วิจัยได้ดำ�เนินการวิจัยเชิงทดลองด้วยตนเอง โดยทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างภาคการศึกษาที่ 2/2560 โรงเรียนกาฬสินธุพ์ ทิ ยาสรรพ์ สำ�นักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษา กาฬสินธุ์ เขต 1 มีลำ�ดับขั้นตอนดังนี้ 2.1 ทำ�การทดสอบก่อนเรียน โดยใช้แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่พัฒนาขึ้น 2.2 ชี้แจงให้ผู้เรียนทราบถึงกระบวนการจัดการ เรียนรู้โดยใช้บทเรียนบนเครือข่ายที่พัฒนาขึ้น 2.3 ดำ�เนินการจัดกระบวนการเรียนรูด้ ว้ ยบทเรียน บนเครือข่ายและให้ผเู้ รียนทำ�แบบฝึกกิจกรรมระหว่างเรียน จากบทเรียนให้ครบทุกบทเรียน 2.4 หลังการเรียนรู้ครบทุกเนื้อหาในบทเรียนบน เครือข่ายแล้วให้ผู้เรียนทำ�แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลัง เรียน โดยใช้แบบทดสอบชุดเดิม 2.5 เก็บข้อมูลความพึงพอใจของผู้เรียนจากแบบ ประเมินความพึงพอใจ 2.6 รวบรวมข้อมูลทั้งหมดและวิเคราะห์โดยวิธี การทางสถิติ 2.7 สรุปผลการทดลอง


Journal of Educational Technology and Communications

Vol 1 No 1 January - April 2018

Facutyl of Education Mahasarakham University

3. การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ วิ จั ย ได้ ทำ � การวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล ที่ จั ด เก็ บ และ รวบรวมดังนี้ 3.1 การหาประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือ ข่าย ตามเกณฑ์ 80/80 โดยใช้สูตร (E1/E2) 3.2 การประเมินคุณภาพบทเรียนบนเครือข่าย โดยผูเ้ ชีย่ วชาญ ใช้สถิติ ค่าเฉลีย่ และส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐาน 3.3 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

จากคะแนนทั้ ง ก่ อ นเรี ย นและหลั ง เรี ย นใช้ ส ถิ ติ t-test (Dependent) 3.4 การหาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วย บทเรียนบนเครือข่ายโดยใช้วธิ ขี อง กูดแมน,เฟลทเชอร์และ ชไนเดอร์ 3.5 การหาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วย บทเรียนบนเครือข่าย ใช้สถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน

ผลการวิจัย ผลกรว1. ประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายทีผ่ วู้ จิ ยั ได้พฒ ั นาขึน้ มีประสิทธิภาพ อยูใ่ นเกณฑ์ พอใช้ (82.50/84.17) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (80/80) ดังแสดงในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายตามเกณฑ์ 80/80 (E1,E2) เกณฑ์ ค่าประสิทธิภาพ E1 E2

82.50 84.17

การแปลผล พอใช้ พอใช้

2. คุณภาพของบทเรียนบนเครือข่ายที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น พบว่า ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อบทเรียน บนเครือข่ายอยู่ในระดับเหมาะสมมาก x̄​̄ = 4.41 , S.D. = 0.62 ดังแสดงตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ผลการประเมินคุณภาพบทเรียนบนเครือข่ายโดยผู้เชี่ยวชาญ รายการ

x̄ 1. ด้านเนื้อหาและการดำ�เนินเรื่อง 2. ด้านภาพ ภาษา และเสียง 3. ด้านตัวอักษร และสี 4. ด้านแบบทดสอบ/แบทดสอบหลังเรียน 5. ด้านการจัดการบทเรียน เฉลี่ยรวม

4.78 4.40 4.22 4.44 4.22 4.41

ระดับความคิดเห็น S.D. การแปลความหมาย 0.38 0.58 0.72 0.58 0.86 0.62

เหมาะสมมากที่สุด เหมาะสมมาก เหมาะสมมาก เหมาะสมมาก เหมาะสมมาก เหมาะสมมาก

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน มีค่า (x̄​̄ = 9.90 , S.D.= 1.37) และหลังเรียนของผู้เรียนที่ได้รับการ จัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนบนเครือข่าย มีค่า (x̄ =16.83 , S.D.= 1.28) เมื่อเปรียบเทียบค่า t ที่ได้จากการคำ�นวณ มี ค่า 23.73 ซึ่งมากกว่า t ตาราง = 1.6779 df = 47, α .05 สรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลัง เรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำ�คัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังแสดงในตารางที่ 3

69


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ตารางที่ 3 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียน x̄ คะแนน จำ�นวน S.D. คะแนนก่อนเรียน

20

9.90

t

1.37

t = 23.73 df = 47

คะแนนหลังเรียน 20 16.83 1.28 4. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยบทเรียนบนเครือข่าย มีค่าเท่ากับ 0.6866 คิดเป็นร้อยละ 68.66 ดัง แสดงในตารางที่ 4 ตารางที่ 4 ผลการศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยบทเรียนบนเครือข่ายที่พัฒนาขึ้น จำ�นวนผู้เรียน คะแนนเต็ม ผลรวมคะแนน ดัชนีประสิทธิผล ก่อนเรียน หลังเรียน E.I. ร้อยละ 48

40

475

808

0.6866

68.66

5. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนบนเครือข่าย พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก x̄ = 4.10 , S.D. = 0.83 ดังแสดงในตารางที่ 5 ตารางที่ 5 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน x̄ รายการ S.D. การแปลความหมาย 1.ด้านเนื้อหา 2.ด้านกระบวนการเรียนรู้ 3.ด้านภาพ ภาษาและเสียง 4.การวัดและประเมินผล เฉลี่ยรวม

อภิปรายผลการวิจัย การพั ฒ นาบทเรี ย นบนเครื อ ข่ า ยรหั ส วิ ช า ง 21251 การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยการจัดการ เรียนรูแ้ บบ STAD สำ�หรับชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1 พบประเด็น ที่ควรนำ�มาอภิปรายดังนี้ 1. ประสิ ท ธิ ภ าพของบทเรี ย นบนเครื อ ข่ า ยที่ พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายโดย รวมเท่ากับ 82.50/84.17 หมายความว่า ผูเ้ รียนทำ�คะแนน จากการทำ�แบบทดสอบท้ายหน่วยระหว่างเรียนเฉลี่ยร้อย ละ 82.50 และคะแนนจากการทดสอบหลังเรียนร้อยละ 84.17 ซึ่งมีค่าประสิทธิภาพบทเรียนบนเครือข่ายสูงกว่า เกณฑ์ 80/80 (พิสุทธา อารีราษฏร์. 2550) กล่าวว่า วิธี การหาประสิทธิภาพสื่อ จะใช้คะแนนเฉลี่ยจากการทำ�

70

4.13 4.02 4.16 4.10 4.10

0.82 0.86 0.84 0.80 0.83

พึงพอใจมาก พึงพอใจมาก พึงพอใจมาก พึงพอใจมาก พึงพอใจมาก

แบบทดสอบหรือกิจกรรมระหว่างเรียนมาคำ�นวณร้อยละ ซึ่งจะเรียกว่า Even1 หรือ E1 มาเปรียบเทียบกับคะแนน เฉลี่ยในรูปของร้อยละจากการทำ�แบบทดสอบหลังเรียน ซึ่งจะเรียกว่า Even2 หรือ E2 โดยนำ�มาเปรียบเทียบกัน ในรูปแบบ E1/ E2 อย่างไรก็ตามค่าร้อยละของ E1/ E2 ที่ คำ�นวณได้จะต้องนำ�มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ ตั้งไว้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ภาณุพัฒน์ แผ้วพลสง. (2554) ได้ทำ�การวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนบนเครือ ข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องการสื่อสารข้อมูลสำ�หรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ STAD มีประสิทธิภาพ 83.42/82.33 สูงกว่าเกณฑ์ที่ กำ�หนดไว้ 80/80 2. การหาคุณภาพบทเรียนบนเครือข่ายที่พัฒนา ขึ้น ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อบทเรียนบนเครือข่าย อยู่ในระดับเหมาะสมมาก ( x̄ = 4.41 , S.D. = 0.62)


Vol 1 No 1 January - April 2018

(พิสุทธา อารีราษฏร์. 2550) กล่าวว่า การประเมินองค์ ประกอบหมายถึง การประเมินตามแนวทางการศึกษา ที่เน้นประเมินในด้านเนื้อหาและแบบทดสอบ ด้านการ ออกแบบอื่น ๆ เช่น โครงสร้างภายใน ประเมินผลลัพธ์ ประเมินสิ่งต่าง ๆ ที่ประกอบเป็นโครงสร้างภายใน เช่น ด้ า นเนื้ อหา ด้านการออกแบบเกี่ยวกับ จอภาพ ความ ยากง่ า ยในการใช้ ง าน เป็ น ต้ น ในการประเมิ น จะใช้ แบบสอบถาม โดยส่วนใหญ่จะใช้แบบมาตราส่วนประ มานค่า สอบถามผู้ทดลองใช้สื่อ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในการ พัฒนาโปรแกรม ผู้เชี่ยวชาญในด้านสื่อ ผู้สอนและผู้เรียน ทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้การที่จะใช้ประเมินเป็นกลุ่มใด ผู้ออกแบบ จะต้องเลือกอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับรายการทีจ่ ะ ประเมิน ซึง่ สอดคล้องกับงานวิจยั ของ ณัฐภณ สุเมธอธิคม. (2554) ได้ทำ�การวิจัยเรื่อง การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ มั ล ติ มี เ ดี ย บนเครื อ ข่ า ยอิ น เทอร์ เ น็ ต วิ ช า การจั ด แสง เพื่องานออกอากาศ ระดับชั้นปริญญาตรี มหาวิทยาลัย เทคโนโลยี ร าชมงคลพระนคร พบว่ า ที่ ป ระเมิ น โดยผู้ เชีย่ วชาญ 3 ท่าน ภาพรวมมีคณ ุ ภาพอยูใ่ นระดับคุณภาพดี 3. ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น ผู้ เรี ย นมี ค ะแนน เฉลี่ยหลังเรียน (x̄​̄ =16.83 , S.D.=1.28) สูงกว่าคะแนน ก่อนเรียน (x̄​̄ = 9.90 , S.D.=1.37) เมื่อเปรียบเทียบค่า t พบว่า t ที่ได้จากการคำ�นวณมีค่า 23.73 ซึ่งมากกว่า t ตาราง = 1.6779 (df = 47, α .05) สรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนยั สำ�คัญที่ ระดับ .05 (พิสุทธา อารีราษฏร์. 2550) กล่าวว่า การหา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยทั่วไปจะหาได้โดยการเปรียบ เทียบกับเหตุการณ์หรือเงื่อนไขต่าง ๆ หรือเปรียบเทียบ ระหว่างกลุม่ ผูเ้ รียนหรือเปรียบเทียบในกลุม่ เดียวกันแต่ภาย ใต้เหตุการณ์ 3 เหตุการณ์ขึ้นไป ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้ว จะทำ�ให้ทราบว่าแตกต่างกันหรือดีขึ้น หรือดีกว่าอย่างไร โดยสถิติที่ใช้ทดสอบ ได้แก่ z-test t-test และ f-test นอกจากนี้ในการหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนจะ ต้องใช้รูปแบบการทดลองเพื่อเป็นแบบแผนในการทดลอง และจะต้องเขียนสมมติฐานในการทดลองเพื่อเป็นตัวชี้นำ� คำ�ตอบในการทดลองด้วย หากสอดคล้องกับสมมติฐานที่ ตั้งไว้แสดงว่าการสอนโดยใช้บทเรียนบนเครือข่าย ทำ�ให้ นักเรียนมีผลสัมฤทธิท์ างการเรียนสูงขึน้ เนือ่ งจากบทเรียน บนเครือข่ายมีเนื้อหาที่สามารถทบทวนได้ตลอดเวลาตาม ความสะดวกของผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

จิราภรณ์ แป้นสุข. (2557) ได้ทำ�การวิจัยเรื่อง การจัดการ เรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับบทเรียนบนเครือ ข่ายอินเทอร์เน็ตทีม่ ผี ลสัมฤทธิท์ างการเรียนวิชาเทคโนโลยี สารสนเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรี ทุง่ สง พบว่า ผลสัมฤทธิท์ างการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียน ทีผ่ วู้ จิ ยั พัฒนาขึน้ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนยั สำ�คัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 4. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยบทเรียน บนเครือข่ายมีค่าเท่ากับ 0.6866 ซึ่งหมายความว่าผู้เรียน มีความรู้หรือมีคะแนนผลสัมฤทธิ์เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 68.66 เนื่องจากบทเรียนบนเครือข่ายมีเนื้อหาที่สามารถ ทบทวนได้ตลอดเวลาตามความสะดวกของผูเ้ รียน มีความ สุขกับการเรียน นอกจากนี้บทเรียนบนเครือข่ายได้ผ่าน การตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและนำ�ไปทดลองใช้ก่อนที่ จะนำ�มาใช้เก็บข้อมูลจริง จึงทำ�ให้บทเรียนบนเครือข่าย มีประสิทธิภาพส่งผลให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการ เรียน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ภัทรดร จั้นวัน ดี . (2551) ได้ทำ�การวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบผลการเรียน และทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเขียนผังงาน ระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ที่เรียนด้วยบทเรียนบน เครือข่าย กับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคแข่งขัน พบว่า ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนบนเครือข่ายทีผ่ วู้ จิ ยั ได้พฒ ั นา ขึน้ เท่ากับ 0.7234 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการ เรียนร้อยละ 72.34 5. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยบนเรียน บนเครือข่ายมีค่าเท่ากับ ( x̄​̄ = 4.10 , S.D. = 0.83) ซึ่ง สอดคล้องกับงานวิจัยของ กัลยาณี ยะสานติทิพย์. (2551) ดลใจ ฆารเรือง. (2549) อาคม เนืองเนตร. (2546) ทีท่ �ำ การ วิจัยเกี่ยวกับบทเรียนบนเครือข่าย พบว่า ผู้เรียนมีความ พึงพอใจต่อสื่อที่สร้างขึ้น เนื่องจากในการจัดการเรียน การสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ทำ�ให้ ผู้ เรี ย นเกิ ด ความรู้ ที่ ดี ไ ม่ เ บื่ อ หน่ า ยและผู้ เรี ย นสามารถ ทบทวนหรือฝึกปฏิบัติบทเรียนที่เรียนมาแล้วได้บ่อยครั้ง ตามต้องการ พร้อมทั้งบทเรียนบนเครือข่ายได้ผ่านการ ตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและการทดลองปรับปรุงให้มี ประสิทธิภาพแล้ว และสอดคล้องกับงานวิจัยของ สุธาดา ศรีเกษ. (2556) ได้ทำ�การวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียน บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มี ค่าเท่ากับ 4.20 อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก

71


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะในการนำ�ผลการวิจัยไปใช้ 1.1 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้ แบบร่วมมือ ผูส้ อนควรมีการเตรียมความพร้อมโดยการฝึก ทักษะการทำ�งานกลุ่มร่วมกันของนักเรียน 1.2 การพั ฒ นาบทเรี ย นบนเครื อ ข่ า ยผู้ ส อน ควรเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์และจัดเตรียมระบบ เครื อ ข่ า ยให้ พ ร้ อ มในการดำ � เนิ น การสอนแต่ ล ะครั้ ง 1.3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละครั้ง ควร อยูใ่ นการดูแลของครูผสู้ อน ช่วยเหลือให้ค�ำ แนะนำ�เพิม่ เติม และแก้ไขข้อบกพร่อง รวมถึงเสริมแรงให้กับผู้เรียนที่เรียน รู้ช้า

1.4 ผู้ ที่ พั ฒ นาบทเรี ย นบนเครื อ ข่ า ย ต้ อ ง เลือกใช้โปรแกรมที่เหมาะสมและใช้ข้อดีของโปรแกรม แต่ละชนิดมาใช้ร่วมกัน เพื่อที่จะทำ�ให้สามารถพัฒนา โปรแกรมได้ตามที่ออกแบบไว้และมีประสิทธิภาพสูงสุด 2. ข้อเสนอแนะในการทำ�วิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรทำ�การวิจัยการพัฒนาบทเรียนบนเครือ ข่ายของกลุ่มสาระการเรียนรู้ในสาระอื่น ๆ และในช่วงชั้น อื่น ๆ 2.2 ควรใช้สื่อที่หลากหลายเข้ามาประยุกต์ เพื่อ ให้เกิดความหลากหลาย

เอกสารอ้างอิง กัลยานี ยะสานติทิพย์. (2552) การพัฒนางานนำ�เสนอแบบมัลติมีเดีย เรื่อง การใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เอ็กเซล กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. การประชุมระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และ เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ. กรุงเทพฯ : รวยบุญการพิมพ์.. จิราภรณ์ แป้นสุข. (2557) การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรีทุ่งสง. วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎภาคเหนือ. ณัฐภณ สุเมธอธิคม.(2554) การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชา การจัดแสงเพื่องาน ออกอากาศ ระดับชั้นปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วิทยานิพนธ์ คณะเทคโนโลยี สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. ดลใจ ฆารเรือง.(2550) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่าย วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง หน่วยสิ่งมีชีวิต. วิทยานิพนธ์ ค.ม. : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. เบญจวรรณ ชื่นวิเศษ. (2552) การสร้างบทเรียนออนไลน์เรื่องการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี. พิสุทธา อารีราษฎร์. (2550) การพัฒนาซอต์ฟแวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม. ______. (2551) การพัฒนาซอฟแวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ภัทรดร จั้นวันดี. (2551) การเปรียบเทียบผลการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่อง การเขียนผังงานระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นปีที่ 2 ที่เรียนโดยบทเรียนบนเครือข่ายกับการเรียนแบบร่วมมือเรียนรู้เทคนิคแข่งขัน. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ภาณุพัฒน์ แผ้วพลสง. (2554) การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องการสื่อสารข้อมูลสำ�หรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ. สุธาดา ศรีเกษ. (2556) การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์. วิทยานิพนธ์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. อาคม เนืองเนตร. (2546) การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายวิชาระบบสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เรื่อง ภาษา HTML ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม, มหาวิทยาลัย มหาสารคาม,

72

ดิศรินทร์ กองมณี : ออกแบบจัดหน้าบทความ


Vol 1 No 1 January - April 2018

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่าย

เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รายวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี 2 (ง21102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 The Development of a Web-Based Instruction Information Technology and communication, Computer and Technology 2 (D 21102) of Mathayomsuksa 1

สุพรรณี สุนา 1 มานิตย์ อาษานอก 2 พรพรรณ สีละมนตรี Supannee Suna 1 Manit Asanok 2 Pornpan Seelamontree

3 3

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนบนเครือข่าย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบท เรียนบนเครือข่าย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบท เรียนบนเครือข่าย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนวาปีปทุม จ�ำนวน 50 คน โดยการเลือกแบบสุ่มกลุ่ม (custer random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนบนเครือข่าย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. บทเรียนบนเครือข่าย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 88.17/81.07 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ก�ำหนดไว้ 2. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่าย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนบนเครือข่าย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อยู่ในระดับมากที่สุด นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีการและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 3 ครู โรงเรียนวาปีปทุม อำ�เภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม 1 Undergraduate student in Educational Technology and Computer Education, Faculty of Education, Mahasarakham University 1

2

2

Head of Department in Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University Teachers in Wapi Pathum School Wapi Pathum District Mahasarakham province

2

73


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

Abstract The objectives of this research were as follows: 1) to develop a Web-Based Instruction Information Technology and communication, the efficiency was 80/80. 2) to compare learning achievement result before and after studying of a Web-Based Instruction Information Technology and communication. 3) to study of student satisfaction towards the learning of a Web-Based Instruction Information Technology and communication. The samples were Mathayomsuksa 1 students who study at Wapipathum school amount 50 students by Custer random Sampling. The research instruments were included: 1) The Web-Based Instruction Information Technology and communication. 2) The achievement test. 3) The questionnaires on student satisfaction. The statistics were used for data analysis as follow: Percentage, mean, standard deviation and t-test. The results as follow : 1. The Web-Based Instruction Information Technology and communication model had efficiency of 88.17/81.07 which defined as follow 80/80 criterion. 2. The learning achievement by using the Web-Based Instruction Information Technology and communication was statistically significant higher than before learning at .05 levels. 3. The student satisfaction towards the Web-Based Instruction Information Technology and communication was most level. Keyword : Web-Based Instruction (WBI)

บทนำ� ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศข่าวสารจัดเป็น ปัจจัยส�ำคัญในการด�ำเนินกิจการต่างๆ อินเทอร์เน็ตจึงเป็น เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีบทบาทอย่างมากต่อสังคมในยุค นี้ เนื่องจากเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อม ต่อกันทั่วโลก ท�ำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและสามารถ รับส่งข้อมูลได้ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ภาพ หรือเสียง กระแสการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้เปลีย่ นแปลงไปมาก นานาประเทศต่างมุง่ เน้นการพัฒนา ประเทศไปสู่เศรษฐกิจและสังคมแห่งภูมิปัญญาและการ เรียนรู้ แต่การที่จะพัฒนาประเทศไปสู่สังคมดังกล่าวได้ ต้องมีการน�ำความรูท้ างด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้ เกิดประโยชน์และสามารถเข้าถึงองค์ความรูด้ า้ นต่างๆ โดย ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ ซึ่งสังคมในปัจจุบัน เรียกได้ว่าเป็น “สังคมแห่งความรู้” (Knowledge-Based Society) เป็นการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของวัฒนธรรม ในคริสต์วรรษที่ 21 ซึ่งเป็นยุคที่ความรู้ ความคิด และ สารสนเทศเป็นตัวขับส�ำคัญของความเจริญก้าวหน้าอย่าง ไม่มีที่สิ้นสุด การขยายตัวในบทบาทของเทคโนโลยีและ

74

การเข้าถึงสารสนเทศอย่างไร้พรมแดนจึงเป็นพลังส�ำคัญ ในการเปลีย่ นแปลงและปรับปรุงวิถคี วามเป็นอยู่ การเรียน รู้ และการท�ำงานของคนเรา เมื่อได้ความรู้มาแล้วต้องรู้จัก การวิเคราะห์แยกแยะ กลั่นกรอง และน�ำไปใช้ให้ตรงตาม จุดมุ่งหมาย (กิดานันท์ มลิทอง, 2548) จากความส�ำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและ สื่อสารดังกล่าว จึงจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนจะต้องน�ำ เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เนื่องจาก ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นไปอย่าง รวดเร็ว ผู้เรียนจะต้องเรียนในเนื้อหาที่มากขึ้นในขณะที่ ระยะเวลาเรียนคงที่ เนื้อหามีความสลับซับซ้อนมากยิ่ง ขึ้น รูปแบบการศึกษาในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงจาก การเรียนภายในห้องเรียนไปสู่การเรียนในห้องเรียนขนาด ใหญ่และการศึกษาทางไกล ด้วยเหตุผลนี้จึงมีการพัฒนา สื่อการสอนโดยน�ำเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้เพื่อให้ผู้สอน และผู้เรียนสามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ (กิ ดานันท์ มลิทอง, 2548) โดยการถ่ายทอดความรูจ้ ากผูส้ อน สู่ผู้เรียนเป็นไปในลักษณะการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลาก


Vol 1 No 1 January - April 2018

หลาย การน�ำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้สนับสนุนการเรียน การสอน เช่น การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (WebBased Instruction) เป็นผลของความพยายามในการใช้ เว็บเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนให้ แก่ผู้เรียน ทั้งนี้ การเรียนการสอนบนเว็บเป็นการผนวก คุณสมบัติไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) หรือสื่อประสม ต่าง ๆ เช่น ข้อความ ภาพนิ่ง เสียง กราฟิก วีดิทัศน์ ภาพ เคลือ่ นไหว ซึง่ มีการออกแบบให้เนือ้ หาทีม่ คี วามสัมพันธ์กนั สามารถเชือ่ มโยง (Link) เข้าหากันได้ ท�ำให้ผเู้ รียนนอกจาก จะสามารถศึกษาเนื้อหาที่ครูสอนลิงค์ไปเว็บไซต์อื่นๆ ได้ ทั่วโลก นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถโต้ตอบกับผู้เรียนอื่น หรือกับผูส้ อนก็ได้ โดยการโต้ตอบนีอ้ าจเป็นได้ทงั้ แบบเวลา เดียวกัน และต่างเวลากัน และในลักษณะบุคคลต่อบุคคล บุคคลต่อกลุ่ม หรือกลุ่มต่อกลุ่มก็ได้ (ไชยยศ เรืองสุวรรณ, 2554) อีกทัง้ ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน พ.ศ. 2551 ตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ เทคโนโลยีที่มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ มี ทักษะพื้นฐานที่จ�ำเป็นต่อการด�ำรงชีวิต และรู้เท่าทันการ เปลีย่ นแปลง สามารถน�ำความรูเ้ กีย่ วกับการด�ำรงชีวติ การ อาชีพและเทคโนโลยี มาใช้ประโยชน์ในการท�ำงานอย่างมี ความคิดสร้างสรรค์ และแข่งขันในสังคมไทยและสากล เห็น แนวทางในการประกอบอาชีพรักการท�ำงาน และมีเจตคติ ที่ดีต่อการท�ำงาน สามารถด�ำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่าง พอเพียงและมีความสุข โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการท�ำงาน เห็น แนวทางในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อได้อย่าง มีประสิทธิภาพ โดยมีสาระส�ำคัญไว้ 4 สาระ โดยเฉพาะ สาระที่ 3 เป็นสาระเกี่ยวกับกระบวนการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ การติดต่อสือ่ สารการค้นหาข้อมูล การใช้ขอ้ มูล และสารสนเทศ การแก้ปัญหาหรือการสร้างงาน คุณค่า และผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (กระทรวงศึกษาธิการ, 2552) จากรายงานประจ�ำปีของสถานศึกษา (Self – Assessment Report : SAR) โรงเรียนวาปีปทุม ปีการ ศึกษา 2559 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยในกลุ่มสาระการ เรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ร้อยละ 61.56 จาก รายงานดังกล่าวพบว่าผลสัมฤทธิท์ างการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของกลุ่มสาระการเรียนรู้การงาน อาชีพและเทคโนโลยีลดลงจากปี 2558 จากประสบการณ์

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

ของผู้วิจัยที่ได้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี พบว่าการจัดการเรียนการสอนแบบเดิม คือใช้หนังสือเรียนเป็นสื่อการเรียนการสอนเพียงอย่าง เดียว ปัญหาจึงเกิดจากจ�ำนวนหนังสือเรียนที่ทางโรงเรียน จัดไว้ให้ มีจ�ำนวนไม่เพียงพอต่อจ�ำนวนนักเรียน นักเรียน สามารถใช้เรียนได้แค่ในห้องเรียน ไม่สามารถเอากลับไป ทบทวนที่บ้านได้ หากจะให้นักเรียนจดเนื้อหาใส่สมุดเพื่อ เอากลับไปอ่านทบทวน ก็จะเสียเวลาในการจัดการเรียน การสอน ท�ำให้ครูสอนช้า ไม่ตรงตามแผนที่วางไว้ ด้วย เหตุนี้แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนการสอนแบบเดิม ท�ำให้นักเรียนไม่สามารถทบทวนเนื้อหาความรู้หลังออก จากห้องเรียนได้ ส่งผลให้ผลการเรียนของนักเรียนลดลง ดังนั้นจึงมีการพัฒนาบทเรียนบนเครือข่าย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร รายวิชาคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี 2 (ง21102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ขึ้น เพื่อ ใช้เป็นสือ่ การเรียนการสอนแบบใหม่ และลดระยะเวลาการ เรียนรู้ ซึ่งท�ำให้ผู้เรียนเรียนได้ด้วยตนเอง สามารถโต้ตอบ กับสือ่ ได้อย่างแท้จริง สามารถตรวจสอบความคืบหน้าของ ตนเองได้ทันที ผู้เรียนสามารถทบทวนบทเรียนได้ตลอด เวลา จึงน�ำมาสู่การพัฒนาการเรียนการสอนในรูปแบบ การเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในรูปแบบบทเรียน บนเครือข่าย (WBI) ซึ่งจะช่วยอ�ำนวยความสะดวกให้แก่ ผู้เรียนเป็นอย่างมาก การเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพทางสติปัญญา เพราะเป็นการ เรียนรู้ที่ผู้เรียนสนใจ รู้สึกท้าทาย และมีโอกาสประสบ ความส�ำเร็จได้ เนื่องจากประสบการณ์เดิมที่มีอยู่กับความ รู้ใหม่ไม่ต่างกันมากนัก นอกจากนี้การเรียนรู้ของแต่ละคน มีระยะเวลาและความสนใจต่างกันไป การเรียนรู้ระหว่าง ผู้เรียนและผู้สอนต้องมีลักษณะที่มีการเคลื่อนไหวและมี การเปลี่ยนแปลงที่มีปฏิสัมพันธ์กัน บทเรียนบนเครือข่าย จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะกับสังคมการเรียนรู้แบบ ออนไลน์ที่จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการศึกษาเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับยุคปัจจุบันที่การ สือ่ สารด้านข้อมูลข่าวสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตก�ำลังเป็นที่ นิยมและแพร่หลายอย่างกว้างขวางทัง้ ในสถาบันการศึกษา และทุกสาขาอาชีพ ดังนัน้ ผูว้ จิ ยั จึงได้ท�ำการศึกษาเพือ่ พัฒนาบทเรียน บนเครือข่าย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร รายวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี 2 (ง21102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อใช้เป็นสื่อส�ำหรับการเรียนรู้ด้วย ตนเอง ซึ่งให้ความรู้เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการ

75


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

สือ่ สาร โดยการน�ำเนือ้ หามาสร้างเป็นบทเรียนบนเครือข่าย นั้น จะช่วยลดข้อจ�ำกัดในด้านการเรียนรู้ และประหยัดค่า ใช้จ่ายในการเรียน นอกจากนี้บทเรียนดังกล่าว สามารถ แสดงด้วยภาพกราฟิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ข้อความ และเสียงประกอบเนือ้ หาของบทเรียน ท�ำให้ผเู้ รียนเกิดการ เรียนรูไ้ ด้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการน�ำอินเทอร์เน็ต มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนบนเครือข่าย ซึ่ง สอดคล้องกับกลยุทธ์ในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการศึกษาที่ให้ส่งเสริมสนับสนุนการน�ำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และได้ บทเรียนที่มีประสิทธิภาพส�ำหรับใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ใน อนาคตต่อไป

ความมุ่งหมายของการวิจัย 1. เพื่อพัฒนาบทเรียนบนเครือข่าย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร รายวิชาคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี 2 (ง21102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มี ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน เรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่าย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร รายวิชาคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี 2 (ง21102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3. เพือ่ ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนทีม่ ตี อ่ บท เรียนบนเครือข่าย ((WBI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่ อ สาร รายวิ ช าคอมพิ ว เตอร์ แ ละเทคโนโลยี 2 (ง21102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

สมมติฐานของการวิจัย นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่าย (WBI) เรื่ อ ง เทคโนโลยี ส ารสนเทศและการสื่ อ สาร รายวิ ช า คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี 2 (ง21102) ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

ขอบเขตของการวิจัย 1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรี ย นวาปี ป ทุ ม อ�ำเภอวาปี ป ทุ ม จั ง หวั ด มหาสารคาม ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

76

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

เขต 26 1.1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนวาปีปทุม อ�ำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 ทีเ่ รียนใน กลุม่ สาระการเรียนรูก้ ารงานอาชีพและเทคโนโลยี รายวิชา คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี 1 จ�ำนวน 50 คน ได้มาโดย การเลือกแบบสุ่มกลุ่ม (custer random sampling) ทั้งนี้ เพราะ นักเรียนระดับชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1/4 มีชวั่ โมงเรียน ครบถ้วน 2. ตัวแปรที่ศึกษา 2.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนด้วยบทเรียนบนเครือข่าย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ 2.2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบท เรียนบนเครือข่าย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร 2.2.2 ความพึงพอใจของนักเรียนทีม่ ตี อ่ บทเรียนบนเครือข่าย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร 3. เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ บทเรียนบน เครือข่าย (WBI) เรือ่ ง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร รายวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี 2 (ง21102) ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยแบ่งโครงสร้างเนื้อหาออก เป็น 3 บทเรียน ดังนี้ บทที่ 1 รู้จักกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร บทที่ 2 ข้อมูลและสารสนเทศ บทที่ 3 องค์ประกอบคอมพิวเตอร์ 4. ระยะเวลาที่ใช้ในการด�ำเนินการวิจัยครั้งนี้ ด�ำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ใช้เวลา ในการวิจัย ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ถึง วันที่ 23 กุมพาพันธ์ 2561 ของภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 5. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ครั้งนี้ ประกอบด้วย 1. บทเรียนบนเครือข่าย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร รายวิชาคอมพิวเตอร์ และ


Vol 1 No 1 January - April 2018

เทคโนโลยี 2 (ง21102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยแบ่ง โครงสร้างเนื้อหาออกเป็น 3 บทเรียน ดังนี้ บทที่ 1 รู้จักกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร บทที่ 2 ข้อมูลและสารสนเทศ บทที่ 3 องค์ประกอบคอมพิวเตอร์ 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน บทเรียนบนเครือข่าย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การสื่ อ สาร รายวิ ช าคอมพิ ว เตอร์ แ ละเทคโนโลยี 2 (ง21102) ชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือก ตอบ 4 ตัวเลือก จ�ำนวน 30 ข้อ 3. แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ บทเรียนบนเครือข่าย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การสื่ อ สาร รายวิ ช าคอมพิ ว เตอร์ แ ละเทคโนโลยี 2 (ง21102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบวัดมาตราส่วน ประมาณค่า (Rating Scale) จ�ำนวน 20 ข้อ 6. การวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล และสถิ ติ ที่ ใ ช้ ใ นการ วิเคราะห์ข้อมูล การวิ จั ย ครั้ ง นี้ ไ ด้ ใ ช้ ส ถิ ติ พื้ น ฐานที่ ใ ช้ ใ นการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และ t-test

สรุปผล 1. บทเรียนบนเครือข่าย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร รายวิชาคอมพิวเตอร์และ เทคโนโลยี 2 (ง21102) ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 1 มี ค ่ า ประสิ ท ธิ ภ าพ (E 1/E 2) เท่ า กั บ 88.17/81.07 ซึ่ ง มี ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. นั ก เรี ย นที่ เ รี ย นด้ ว ยบทเรี ย นบนเครื อ ข่ า ย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รายวิชา คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี 2 (ง21102) ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนบนเครือ ข่าย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รายวิ ช าคอมพิ ว เตอร์ แ ละเทคโนโลยี 2 (ง21102) ชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1 อยูใ่ นระดับมากทีส่ ดุ มีคา่ เฉลีย่ เท่ากับ 4.87 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.35

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

อภิปรายผล 1. บทเรียนบนเครือข่าย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร รายวิชาคอมพิว เตอร์และ เทคโนโลยี 2 (ง21102) ชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 88.17/81.07 ซึง่ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 หมายความว่า นักเรียนได้คะแนนเฉลีย่ จากการท�ำ ใบงานหลังเรียนทัง้ 3 หน่วยการเรียนคิดเป็นร้อยละ 88.17 และคะแนนเฉลี่ยจาก การท�ำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่าย คิดเป็น ร้อยละ 81.07 แสดงว่าบทเรียนบนเครือข่าย (WBI) ที่ ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความมุ่ง หมายที่ตั้งไว้เนื่องจากผู้วิจัยได้ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่ม สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และได้วิเคราะห์สาระ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดชั้นปี สมรรถนะส�ำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ก�ำหนดตัว ชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้ ตลอดจน วิเคราะห์การวัดและประเมินผลตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ก่อนด�ำเนินการจัดท�ำบทเรียนบนเครือข่าย (WBI) เมื่อจัด ท�ำบทเรียนบนเครือข่าย (WBI) เรือ่ ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสือ่ สาร เสร็จเรียบร้อยแล้ว ผูว้ จิ ยั ได้น�ำบทเรียนบน เครือข่าย (WBI) ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบจ�ำนวน 3 ท่าน เพือ่ หาคุณภาพของบทเรียนบนเครือข่าย (WBI) พบว่า บท เรียนบนเครือข่าย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสือ่ สาร มีระดับคุณภาพเฉลีย่ รวมทัง้ 3 หน่วยการเรียน รู้ เท่ากับ 4.88 ซึ่งถือว่าค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพและความ เหมาะสมมีค่าตั้งแต่ 3.51 ถึง 5.00 แสดงว่าบทเรียนบน เครือข่าย (WBI) มีคุณภาพและความเหมาะสม สามารถ น�ำไปใช้ได้ หลังจากนั้นผู้วิจัยได้น�ำบทเรียนบนเครือข่าย (WBI) ที่ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุงตาม ค�ำแนะน�ำแล้วน�ำไปทดลองใช้ ก่อนที่จะน�ำบทเรียนบน เครือข่าย (WBI) มาปรับปรุงตามข้อบกพร่องที่พบ และ น�ำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย ของ สันติ นวลผ่อง (2550) ได้วิจัยการเปรียบเทียบผล การเรียนโดยใช้บทเรียนบนเครือข่ายของนักเรียนที่ใช้วิธี เรียนแบบร่วมมือกับแบบรายบุคคล เรื่องความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับเทคโนโลยี สารสนเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้การ งานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียน

77


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการวิจัยพบว่า เว็บไซต์ที่พัฒนา มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 สอดคล้องกับงานวิจัย ของ ส�ำเนา หมื่นแจ่ม (2550) ได้ศึกษาวิจัย เรื่อง การ พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเว็บรายวิชาเทคโนโลยีการ ศึกษา ส�ำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเว็บ รายวิชาเทคโนโลยีการศึกษามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ มาตรฐานที่ก�ำหนดไว้ คือ 82.34/85.17 สอดคล้องกับ งานวิจัยของกิตติยา ปลอดแก้ว (2551) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อ สร้างสรรค์ดว้ ยปัญญา เรือ่ งการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยนครศรีธรรมราช ผลการวิจัยพบว่า บทเรียน บนเว็ บ ตามแนวทฤษฎี ก ารเรี ย นรู ้ เ พื่ อ สร้ า งสรรค์ ด ้ ว ย ปัญญาเรือ่ งการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มปี ระสิทธิภาพ 85.45/84.85 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ก�ำหนดไว้คือ 80/80 สอดคล้องกับงานวิจยั ของ อรชา นิลสนธิ (2551) ได้ท�ำการ ศึกษาวิจัยเรื่อง การสร้างบทเรียนวิชาภาษาไทยบนเว็บ เรื่อง การใช้ค�ำให้ถูกต้อง ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัด เชียงใหม่ ผลการวิจยั พบว่า บทเรียนบนเว็บมีประสิทธิภาพ คือ 87.76/91.04 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ก�ำหนดไว้ สอดคล้อง กับงานวิจัยของ ไกรเวทย์ อินธิสาร (2552) ได้ท�ำการ ศึกษาค้นคว้า เรื่อง ผลการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง การเขียนแบบภาพ 3 มิติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การ งานอาชีพและเทคโนโลยี ชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจยั พบว่า บทเรียนบนเครือข่าย ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 89.83/87.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่ก�ำหนด สอดคล้อง กับงานวิจัยของ จิราพร แป็นน้อย (2552) ได้ทําการศึกษา ค้นคว้า เรือ่ ง การพัฒนาบทเรียน บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้เงินนิ่งออบเจ็ค (Learning Object) เรื่อง ระบบ เครือข่ายคอมพวเตอร์ สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดย ใช้เลินนิ่งออบเจ็ค (Learning Object) เรื่อง ระบบเครือ ข่ายคอมพิวเตอร์ มีประสิทธิภาพ 81.81/82.00 ซึ่งเป็นไป ตามเกณฑ์ 80/80 สอดคล้องกับงานวิจัยของ กัลยา คลัง ประเสริฐ (2553) ศึกษาผลการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือ ข่ายกับการเรียน แบบปกติ เรือ่ ง หน้าทีพ่ ลเมือง วัฒนธรรม และการดาํ เนินชีวติ ในสังคมทีม่ ตี อ่ ผลสัมฤทธิท์ างการเรียน การคิดวิพากษ์และความคงทนการเรียนรู้ของนักเรียน ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนบนเครือข่าย

78

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

เรือ่ ง หน้าทีพ่ ลเมืองวัฒนธรรมและการดําเนินชีวติ ในสังคม มีประสิทธิภาพเท่ากับ81.54/82.13 สอดคล้องกับงานวิจยั ของ สมยศ บุญประคม (2554) ได้ท�ำการศึกษาค้นคว้า อิสระ เรื่องการพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายเรื่องโรคเบา หวาน ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน บ้านภูพระโนนผักหวาน ต�ำบลโนนเมือง อ�ำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวล�ำภู ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนบนเครือ ข่ายเรื่องโรคเบาหวาน ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.57/81.85 ซึ่งเป็นไปตาม เกณฑ์ที่ก�ำหนดไว้คือ 80/80 และสอดคล้องกับงานวิจัย ของ บานเย็น อินทองแก้ว (2556) ได้ศึกษาการพัฒนาบท เรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามแนวคิดทฤษฎีการเรียน รู้เพื่อสร้างความสร้างสรรค์ด้วยปัญญา เรื่อง การออกแบบ ผลิตภัณฑ์ ด้วยโปรแกรม Pro/Engineer ส�ำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนกาบังพิทยาคม ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีประสิทธิภาพที่ 82.85/84.80 2. นั ก เรี ย นที่ เ รี ย นด้ ว ยบทเรี ย นบนเครื อ ข่ า ย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รายวิชา คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี 2 (ง21102) ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หมายความว่า เมื่อ นักเรียนได้เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่าย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร รายวิชาคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี 2 (ง 21102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จ�ำนวน 3 หน่วยการเรียนรู้แล้ว นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ .05 เพราะบทเรียนบนเครือข่าย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ถูกออกแบบตามหลักการ ออกแบบของ ADDIE Model มีล�ำดับการพัฒนา 5 ขั้น ซึ่งประกอบด้วย การวิเคราะห์ (Analysis) การออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การน�ำไปใช้ (Implementation) และการประเมินผล (Evaluation) ซึ่งแต่ละขั้นตอนเป็นแนวทางที่มีลักษณะที่ยืดหยุ่นเพื่อให้ สามารถน�ำไปสร้างเป็นเครื่องมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเหมาะสมและเป็น ล�ำดับขั้นตอน ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ สันติ นวลผ่อง (2550) ได้วจิ ยั การเปรียบเทียบผลการเรียนโดยใช้บทเรียนบนเครือ ข่ายของนักเรียนทีใ่ ช้วธิ เี รียนแบบร่วมมือกับแบบรายบุคคล


Vol 1 No 1 January - April 2018

เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่ม สาระการเรียนรูก้ ารงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนทีเ่ รียนด้วยวิธเี รียนแบบร่วมมือสูงกว่ากลุม่ ทีเ่ รียน แบบรายบุคคลอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็น ไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ สอดคล้องกับงานวิจัยของ ส�ำเนา หมื่นแจ่ม (2550) ได้ศึกษาวิจัย เรื่อง การพัฒนาบทเรียน คอมพิวเตอร์บนเว็บรายวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ส�ำหรับ นักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผล การวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเว็บกับวิธีการสอนปกติ แตกต่างกันอย่างมีนยั ส�ำคัญทีร่ ะดับ .05 สอดคล้องกับงาน วิจัยของ กิตติยา ปลอดแก้ว (2551) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อ สร้างสรรค์ดว้ ยปัญญา เรือ่ งการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ส�ำหรับนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนจุฬาภรณ์ราช วิทยาลัยนครศรีธรรมราช โดยผลการวิจยั พบว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนหลังการเรียนจากบทเรียนบนเว็บ ตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาเรื่อง การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สงู กว่าก่อนเรียนอย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับงานวิจัยของ จิ ราพร แป็นน้อย (2552) ได้ทําการศึกษาค้นคว้า เรื่อง การ พัฒนาบทเรียน บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้เงินนิง่ ออบ เจ็ค (Learning Object) เรือ่ ง ระบบเครือข่ายคอมพวเตอร์ สาํ หรับนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการวิจยั พบว่า ผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบน เครือข่ายอินเทอร์เน็ทโดย ใช้เลินนิ่งออบเจ็ค (Learning Object) เรื่อง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับงานวิจัยของ ศิริวรรณ มีสารพรรณ (2552) ได้ศึกษาวิจัย เรื่อง การพัฒนาบท เรียนบนเครือข่าย เรื่องการสื่อสารและองค์ประกอบของ ข้อมูลระบบเครือข่าย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วย ผึ้งพิทยา ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลัง เรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ .05 และสอดคล้องกับงานวิจยั ของ กัลยา คลังประเสริฐ (2553) ศึกษาผลการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายกับการเรียน แบบปกติ เรื่อง หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดําเนิน ชีวติ ในสังคมทีม่ ตี อ่ ผลสัมฤทธิท์ างการเรียนการ คิดวิพากษ์ และความคงทนการเรียนรูข้ องนักเรียน ชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

ที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายมีความคงทนในการเรียน หลังจากเรียนไปแล้ว 2 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 94.45 ของ คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนและมากกว่านักเรียนที่เรียนแบบ ปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนบนเครือ ข่าย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รายวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี 2 (ง21102) ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.87 และส่วนเบีย่ งเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.35 หมายความ ว่าเมื่อนักเรียนได้เรียนบทเรียนบนเครือข่าย (WBI) เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร รายวิชาคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี 2 (ง21102) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แล้ว นักเรียนมีความพึงพอใจต่อ บทเรียนเครือข่ายดังกล่าวอยู่ ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.87 และส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐานเท่ากับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ สันติ นวลผ่อง (2550) ได้วจิ ยั การเปรียบเทียบผลการเรียน โดยใช้บทเรียนบนเครือข่ายของนักเรียนที่ใช้วิธีเรียนแบบ ร่วมมือกับแบบรายบุคคล เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการ ศึกษาพบว่า ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียน ที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายระหว่างการเรียนแบบ ร่วมมือกับแบบรายบุคคลอยู่ในระดับพอใจ สอดคล้องกับ งานวิจัยของ ส�ำเนา หมื่นแจ่ม (2550) ได้ศึกษาวิจัย เรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเว็บรายวิชาเทคโนโลยี การศึกษา ส�ำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลั ย ราชภัฏเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ความพึงพอใจของ นักศึกษาที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเว็บ อยู่ในระดับ มาก สอดคล้องกับงานวิจัยของ ไกรเวทย์ อินธิสาร (2552) ได้ท�ำการศึกษาค้นคว้า เรื่อง ผลการเรียนด้วยบทเรียนบน เครือข่าย เรื่อง การเขียนแบบภาพ 3 มิติ กลุ่มสาระการ เรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อการ เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายโดยรวมและรายด้านอยู่ใน ระดับมาก สอดคล้องกับงานวิจัยของ จิราพร แป้นน้อย (2552) ได้ท�ำการศึกษาค้นคว้า เรื่อง การพัฒนาบทเรียน บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้เลินนิง่ ออบเจ็ค (Learning Object) เรือ่ ง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ส�ำหรับนักเรียน ชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 4 ผลการศึกษาพบว่า ความพึงพอใจของ นักเรียนที่มีต่อการใช้บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ท

79


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

โดยใช้เลิร์นนิงออบเจ็ค (Learning Object) เรื่อง ระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ อยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับงาน วิจัยของ ศิริวรรณ มีสารพรรณ (2552) ได้ศึกษาวิจัย เรื่อง การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่าย เรื่องการสื่อสารและองค์ ประกอบของข้อมูลระบบเครือข่าย ชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 2 โรงเรียนห้วยผึ้งพิทยา ผลการศึกษาพบว่า ความพึงพอใจ ของนักเรียนต่อบทเรียนอยูใ่ นระดับมาก และสอดคล้องกับ งานวิจัยของ สมยศ บุญประคม (2554) ได้ท�ำการศึกษา ค้นคว้าอิสระ เรือ่ งการพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายเรือ่ งโรค เบาหวาน ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน บ้านภูพระโนนผักหวาน ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนมี ความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายโดย รวมอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า บทเรียนบนเครือข่าย (WBI) เรื่ อ ง เทคโนโลยี ส ารสนเทศและการสื่ อ สาร รายวิ ช า คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี 2 (ง21102) ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 สามารถน�ำไปใช้เพือ่ พัฒนาทักษะการท�ำงานเป็นทีม ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้ ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะในการน�ำไปใช้ 1.1 การให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจ สนใจ สนุกสนาน มีความเป็นอิสระ

80

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

ในการเรียนตามความสามารถของแต่ละบุคคล จึงควรส่ง เสริมการใช้สื่อการเรียนในลักษณะนี้ให้แพร่หลายมากขึ้น 1.2 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเครือข่าย เป็นสิง่ ทีไ่ ม่แน่นอนบางครัง้ ไม่อาจเข้าถึงได้ ด้วยเหตุขดั ข้อง ใด ๆ ไม่วา่ จะเป็นตัวแม่ขา่ ยของผูใ้ ห้บริการอินเทอร์เน็ตล่ม หรือระบบเครือข่ายขัดข้องเสียหายก็ตาม อาจท�ำให้ขาด แหล่งความรู้ที่ส�ำคัญ ผู้ศึกษาควรน�ำทรัพยากรต่าง ๆ มา ส�ำรองไว้ที่เครื่องแม่ข่ายของตนเอง 1.3 เว็บเพจในแต่ละหน้าไม่ควรใช้เวลาในการ แสดงผลนานเกินไป ทัง้ นีค้ วรมีทงั้ ข้อมูลทีม่ กี ารเคลือ่ นไหว และภาพนิ่ง แต่ถ้ามีมากเกินไปจะท�ำให้การโหลดข้อมูล ท�ำได้ช้า ดังนั้นการออกแบบจึงควรให้ตัวอักษร ภาพ กราฟฟิกและภาพเคลื่อนไหวเหมาะสมสอดคล้องกัน เพื่อ ให้ได้ผลดีและเกิดประโยชน์มากที่สุด 2. ข้อเสนอแนะในการท�ำวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรมีการน�ำบทเรียนบนเครือข่ายมา ประยุกต์ใช้กบั กลุม่ สาระการเรียนรูอ้ นื่ ๆ ระดับชัน้ อืน่ ๆ เพือ่ เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนและเพื่อพัฒนาผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้เพิ่มขึ้น 2.2 ควรมีการเปรียบเทียบการสอนระหว่าง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบใช้บทเรียนบนเครือ ข่ายกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบอื่น ๆ


Journal of Educational Technology and Communications

Vol 1 No 1 January - April 2018

Facutyl of Education Mahasarakham University

เอกสารอ้างอิง กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2536). คู่มือกาจัดการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จ�ำกัด. _______. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ส�ำนักงานวิชาการและ มาตรฐานการศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. ไกรเวทย์ อินธิสาร. (2552). ผลการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง การเขียนแบบภาพ 3 มิติ กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ชัยยงศ์ พรหมวงศ์. (2537). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาสื่อการสอน ระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2552). การพัฒนาโปรแกรมบทเรียน. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ______. (2553). การออกแบบพัฒนาโปรแกรมบทเรียนและบทเรียนบนเว็บ. พิมพ์ครั้งที่ 14. มหาสารคาม : ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ______. (2554). การออกแบบพัฒนาโปรแกรมบทเรียนและบทเรียนบนเว็บ. พิมพ์ครั้งที่ 15. มหาสารคาม : ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์จ�ำกัด. บานเย็น อินทองแก้ว. (2556). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้าง ความสร้างสรรค์ด้วยปัญญา เรื่อง การออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยโปรแกรม Pro/Engineer ส�ำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนกาบังพิทยาคม จังหวัดยะลา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น. ______. (2558). การวัดและการประเมินผลการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์. เผชิญ กิจระการ. (2544). การวิจัยและทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษา. มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มนต์ชัย เทียนทอง. (2545). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์ส�ำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. แม้นญาติ ค�ำมณี. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่าย วิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ แผนกอิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ลักษมี สารบรรณ. (2555). ความหมายของคุณภาพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน, 2560, จาก: https://www.gotoknow.org/posts/189885 วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่สตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสยามกัมมาจล. วิทยา พัฒนเมธาดา. (2560). การจัดการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน, 2560, จาก: http://www.kansuksa.com/8/ ส�ำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2552). ความหมายของคุณภาพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน, 2560, จาก: http://www.royin.go.th/?knowledges=คุณภาพ- 6 พฤษภาคม 2552 อรนุช ศรีสะอาด. (2558). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์. ฐิติศักดิ์ จากชัยภูมิ : ออกแบบจัดหน้าบทความ

81


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน

ด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 The Web-Based Instruction Blended Learning of Using Data Analysis Software Microsoft Excel 2010 for Mathayomsuksa 1st Student.

รัตมา อ้อทอง 1 เหมมิญช์ ธนปัทม์มีมณี Rattama Orthong 1 Hemmin Thanapatmeemanee

บทคัดย่อ

2 2

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียน บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบท เรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพือ่ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิท์ างการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนการจัดการเรียนการสอนแบบผสม ผสานด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับ นักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1 4) เพือ่ วัดความพึงพอใจของผูเ้ รียนทีม่ ตี อ่ การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบท เรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนบ้านไผ่ ภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จ�ำนวน 35 คน โดยใช้สุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) แบบประเมินคุณภาพการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 5) แบบสอบถามความพึง พอใจของผูเ้ รียนต่อการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรือ่ ง การใช้ซอฟต์แวร์ นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อาจารย์ประจำ�ภาควิชาเทคโนโลยีการและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 1 Undergraduate student in Educational Technology and Computer Education, Faculty of Education, Mahasarakham University 2 Instructor in Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University 1

2

82


Vol 1 No 1 January - April 2018

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การวิจัยครั้งนี้ได้ใช้สถิติพื้นฐานที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรง (IOC) และสถิติที่ใช้ในการทดลองสมมติฐานการวิจัย ได้แก่ t-test แบบ Dependent จากการศึกษาวิจยั การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรือ่ ง การใช้ซอฟต์แวร์ ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรือ่ งการใช้ซอฟต์แวร์ประมวล ผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.43/83.57 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ก�ำหนด 2. การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรือ่ งการใช้ซอฟต์แวร์ประมวล ผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1 ทีผ่ วู้ จิ ยั ได้พฒ ั นาขึน้ มีคา่ ดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.3081 แสดงว่าผู้เรียนมีก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 30.81 3. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีท ี่ 1 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. โดยภาพรวมนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีท ี่ 1 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วย บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวม (x = 4.78) และรายด้าน (x = 4.69, 4.74 และ 4.72) อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อ พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านเนื้อหา ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ เนื้อหาที่ใช้บทเว็บไซต์มีความน่าสนใจ และ เนือ้ หามีความเหมาะสมกับวัยของผูเ้ รียน (x = 4.86) ด้านการจัดการเรียนการสอน ข้อทีม่ คี า่ เฉลีย่ สูงสุด ได้แก่ กิจกรรม และแบบฝึกหัดมีส่วนช่วยให้เกิดทักษะการเรียนรู้ในรายวิชาคอมพิวเตอร์ (x = 4.86) ด้านสื่อและการออกแบบ ข้อที่ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ สีสันที่ใช้บนเว็บไซต์มีความเหมาะสม ภาพที่น�ำเสนอบนเว็บไซต์มีความเหมาะสม และภาพโดย รวมของเว็บไซต์มีความเหมาะสม (x = 4.83) ค�ำส�ำคัญ : บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ABSTRACT

The purpose of the research are 1) To find the efficiency of the Web-based Instruction blended learning of using data analysis software Microsoft Excel 2010 for Mathayomsuksa 1st Student which meets 80/80 standard. 2) To find the effectiveness index of The Web-based Instruction blended learning of using data analysis software Microsoft Excel 2010 for Mathayomsuksa 1st Student. 3) To compare the pre-learning achievement and post-learning achievement of The Web-based Instruction blended learning of using data analysis software Microsoft Excel 2010 for Mathayomsuksa 1st Student. 4) To measure the satisfaction of learners for The Web-based Instruction blended learning of using data analysis software Microsoft Excel 2010 for Mathayomsuksa 1st student. The tools used in this research are: 1) The Web-based Instruction blended learning of using data analysis software Microsoft Excel 2010 for Mathayomsuksa 1st Student. 2) Plan. Unit 4: The Web-based Instruction blended learning of using data analysis software Microsoft Excel 2010 for Mathayomsuksa 1st Student. 3) Test achievement of teaching and learning, blended with the Web-based Instruction blended learning of

83


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

using data analysis software Microsoft Excel 2010 for Mathayomsuksa 1st Student. 4) Quality assessment. However this the Web-based Instruction blended learning of using data analysis software Microsoft Excel 2010 for Mathayomsuksa 1st Student. 5) Satisfaction of the students towards learning. The Web-based Instruction blended learning of using data analysis software Microsoft Excel 2010 for Mathayomsuksa 1st Student of this study was to use basic statistics used to. Data analyses were percentage, average, and standard deviation. The statistics used to determine the quality of the tools are accurate (IOC) and statistical assumptions used in experimental research include t-test a Dependent. The sample group of this research is a group of 35 students from Mathayomsuksa 1/1, semester 2, academic year 2017, Banphai School, by cluster random sampling. After researching of the Web-based Instruction blended learning of using data analysis software Microsoft Excel 2010 for Mathayomsuksa 1st Student these following are the results. 1) The Web-based Instruction blended learning of using data analysis software Microsoft Excel 2010 for Mathayomsuksa 1st Student which developed by the researcher has efficiency for 86.45/83.57 which meets the determined. 2) The effectiveness index Web-based Instruction blended learning of using data analysis software Microsoft Excel 2010 for Mathayomsuksa 1st Student which developed by the researcher is 0.3081. Show that the students are learning advances increased 30.81 percent. 3) After being instructed using the Web-based Instruction blended learning of using data analysis software Microsoft Excel 2010 for Mathayomsuksa 1st Student the sample group of research significantly increased their average achievement score with statistical significance at level .05. 4) The sample group of research is satisfied with the Web-based Instruction blended learning of using data analysis software Microsoft Excel 2010 for Mathayomsuksa 1st Student in the overall (x = 4.78) and in each topic (x = 4.69, 4.74 and 4.72) which in the highest level, and when consider in each topic the study shows that the highest average value topic for content is the content on website is interesting and suitable with the age of learner (x = 4.86), the highest average value topic for learning and teaching is activity and exercise can improve computer science learning skills (x = 4.86) and the highest average value topic for media and design is the displayed colors and pictures in website are appropriate and the website overview is appropriate (x = 4.83). Keyword : Web-Based Instruction, Blended Learning

บทนำ� ในการพั ฒ นาคุ ณ ภาพการศึ ก ษาให้ แ ก ผู ้ เ รี ย น ไดเ รียนอย่างมีความสุข มีการพัฒนารอบด้าน และมีความ สามารถในการเรียนรูตลอดชีวิต ครูผู้สอนจ�ำเป็นต้อง ติดตามให้ทนั กับความเจริญก้าวหน้าทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปอย่าง รวดเร็ว โดยการน�ำเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ให้ เหมาะสมกับสภาพ ท้องถิน่ ปรับปรุงและพัฒนาเทคนิค วิธี การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจากการเน้นเนื้อหาและ ความจ�ำ มาเป็นการสอนโดยการเน้นกระบวนการต่าง ๆ

84

โดยเฉพาะทักษะกระบวนการซึ่งเป็น กระบวนการหลักที่ ส�ำคัญ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนไดรูจักคิด รูจักกิจกรรมและ มีโอกาสปฏิบัติจริง เสาะแสวงหาความรูด้วยตนเอง บทเรียนบนเว็บแบบผสมผสาน หมายถึง การ จัดการเรียนการสอนที่มีการวางแผนการจัด กระบวนการ สอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนไดเกิดการเรียนรูที่ดี โดยการ เลือกใช้เทคโนโลยีการศึกษาที่มี ประสิทธิภาพ โดยการ ผสมผสานการเรียนแบบดั้งเดิมที่สอนแบบบรรยาย เน้น


Vol 1 No 1 January - April 2018

กิจกรรมการเรียนแบบ น�ำตนเอง (Self-directed Learning) ผสมผสานกับการเรียนเล็กทรอนิกส์เพือ่ ให้ผเู้ รียนและ ผู้สอน สามารถท�ำกิจกรรมร่วมกันได ทั้งในเวลาเดียวกัน และต่างเวลากันรวมถึงการใช้สื่อการสอนแบบ อื่นๆ เพื่อ ช่วยสนับสนุนกระบวนการเรียนรู โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ สนับสนุนให้ผู้เรียนฝึกฝนทักษะ การแสวงหาความรูเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนของผู้เรียน สวนสัดส่วนใน การผสมผสานระหว่างการเรียนแบบปกติและการเรียน อิเล็กทรอนิกส์นั้นอยู่ระหว่างร้อยละ 30-79 ของการเรียน ทั้งหมด ทั้งนี้ควรค�ำนึงถึงความเหมาะสมของเนื้อหาของ บทเรียน กิจกรรมการเรียนตามจ�ำนวนเวลาเรียนในแต่ละ ภาคเรียน และให้ความส�ำคัญในเรือ่ งการ จัดการเรียนการ สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (อินทิรา รอบรู, 2555) สภาพการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการงานอาชีพ และเทคโนโลยีของโรงเรียนบ้านไผ่ ในรายวิชาเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร 1 (ง21102) มีการจัดการเรียน การสอนยังไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์เท่าที่ควร เนื่องจาก การจัดการเรียนการสอนยังมีการสอนแบบเดิม คือ เน้น สอนเนื้อหาตามหนังสือ ยังขาดสื่อการเรียนการสอนที่ น่าสนใจ และนอกจากเป็นรายวิชาที่เป็นทฤษฏีแล้ว ยัง มีส่วนที่ผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการ ใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก ต้องอาศัยความเข้าใจ และการฝึกฝน จึงสามารถจะใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยหลักการและเหตุผลที่กล่าวมา ผู้ศึกษาจึงมี ความสนใจที่จะพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบผสม ผสานด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การ ใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ขึ้น เพื่อเป็นแนวทาง ในการจัดการเรียนการสอน สามารถน�ำเสนอเนื้อหาในรูป แบบของสือ่ ประสมทีม่ คี วามหลากหลาย ไม่มขี อ้ จ�ำกัดทาง สถานทีแ่ ละเวลา และแก้ปญ ั หาในด้านการขาดสือ่ ทีเ่ หมาะ สม และยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น อยากเรียนกับสิ่งที่แปลกใหม่ และยังเป็นการให้ผู้เรียนได้ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้ สามารถให้นักเรียนเรียนซ�้ำ ได้ตามความต้องการ ท�ำให้ผู้เรียนมีความรู้เข้าใจเนื้อหา อันจะส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ให้ สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นส�ำคัญ ท�ำให้ ผู้เรียนเกิดไม่เกิดความเหนื่อยหน่ายในการเรียน และ

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า 1. เพื่อหาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอน แบบผสมผสานด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรือ่ ง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการ เรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน เรียนและหลังเรียนการจัดการเรียนการสอนแบบผสม ผสานด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การ ใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4. เพื่อวัดความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการ จัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนบนเครือ ข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วย การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนบน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวล ผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากร เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนบ้านไผ่ อ�ำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จ�ำนวน 10 ห้องเรียน จ�ำนวน 487 คน 1.2 กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนบ้านไผ่ อ�ำเภอบ้านไผ่ จังหวัด

85


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 เป็นจ�ำนวน 35 คน ไดมาโดยการเลือกแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม 2. เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยและพัฒนา เป็นเนื้อหาจากโครงสร้างหลักสูตรกลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวล ผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ซึ่งแบ่งเนื้อหาออกเป็น ดังนี้ 2.1 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4.1 หน้า จอและการพิมพ์ข้อความ 2.2 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4.2 การ จัดรูปแบบข้อความ 2.3 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4.3 การ ค�ำนวณและฟังก์ชั่นเบื้องต้น 2.4 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4.4 แผนภูมิ กราฟิกและกา รพิมพ์ 3. ระยะเวลาในการศึกษา 1 มิถุนายน 2560 ถึง 6 กุมภาพันธ์ 2561 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 4. ตัวแปรในการศึกษา 4.1 ตัวแปรต้น คือ การจัดการเรียนการ สอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรือ่ ง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4.2 ตัวแปรตาม 4.2.1 ผลสัมฤทธิท์ างการเรียน ด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียน บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวล ผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 4.2.2 ความพึงพอใจทีม่ ตี อ่ การ จัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนบนเครือ ข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วย บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียน

86

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2. แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จ�ำนวน 4 แผนการเรียนรู้ ดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรูท้ ี่ 4.1 หน้าจอ และการพิมพ์ข้อความ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4.2 การจัด รูปแบบข้อความ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4.3 การ ค�ำนวณและฟังก์ชั่นเบื้องต้น 4) แผนการจัดการเรียนรูท้ ี่ 4.4 แผนภูมิ กราฟิกและการพิมพ์ 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการ จัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนบนเครือ ข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 จ�ำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จ�ำนวน 20 ขอ 4. แบบประเมินคุณภาพการจัดการเรียนการสอนแบบผสม ผสานด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การ ใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ส�ำหรับผู้เชี่ยวชาญ 5. แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการ เรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิ จั ย ครั้ ง นี้ ไ ด้ ใ ช้ ส ถิ ติ พื้ น ฐานที่ ใ ช้ ใ นการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรง ค่าความยากและค่าอ�ำนาจ�ำแนก ค่า ความเชือ่ มัน่ ประสิทธิภาพ และดัชนีประสิทธิผล และสถิติ ที่ใช้ในการทดลองสมมติฐานการวิจัย ได้แก่ t-test แบบ Dependent โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ส�ำเร็จรูป


Journal of Educational Technology and Communications

Vol 1 No 1 January - April 2018

Facutyl of Education Mahasarakham University

สรุปผลการวิจัย 1. ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 86.43 และ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 83.57 ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จึงมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 86.43/83.57 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ ดังตารางดังนี้ ตารางที่ 1 ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผลการเรียน คะแนนเต็ม x S.D. ร้อยละ ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2)

100 20

86.43 16.71

5.01 1.66

86.43 83.57

2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.3081 แสดงว่าผู้เรียนมีก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 30.81 ตาราง 2 ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำ�นวน คะแนนที่ได้ ร้อยละ ดัชนี นักเรียน คะแนนเต็ม ประสิทธิผล ก่อนเรียน หลังเรียน ก่อนเรียน หลังเรียน (N) (E.I.) 30

20

222

585

31.71

83.57

0.3081

3. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน อย่างมีนัยสำ�คัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตาราง 3 คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วย บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

N

x

S.D.

T

P

ก่อนเรียน หลังเรียน

35 35

6.34 16.71

1.86 1.66

28.629

.000*

4. โดยภาพรวมนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีท ี่ 1 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วย บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวม (x = 4.78) และรายด้าน (x = 4.69, 4.74 และ 4.72) อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อ พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านเนื้อหา ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ เนื้อหาที่ใช้บทเว็บไซต์มีความน่าสนใจ และ เนื้อหามีความเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน (x = 4.86) ด้านการจัดการเรียนการสอน ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ กิจกรรมและแบบฝึกหัดมีสว่ นช่วยให้เกิดทักษะการเรียนรูใ้ นรายวิชาคอมพิวเตอร์ (x = 4.86) ด้านสือ่ และการออกแบบ

87


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ สีสันที่ใช้บนเว็บไซต์มีความ เรียนรู ร้อยละ 30.81 ซึ่งสอดคลองกับศิริวรรณ มีสาร เหมาะสม ภาพทีน่ �ำเสนอบนเว็บไซต์มคี วามเหมาะสม และ พันธ์ (2552) ได้ศึกษาวิจัย เรื่อง การพัฒนาบทเรียนบน เครือข่าย เรื่อง การสื่อสาร และองค์ประกอบของข้อมูล ภาพโดยรวมของเว็บไซต์มีความเหมาะสม (x = 4.83) ระบบเครือข่าย ชัน้ มัธยมศึกษาปีท่ี 2 โรงเรียนห้วยผึง้ พิทยา อ�ำเภอห้วยผึ้ง จังหวัด กาฬสินธุ์ ส�ำนักงานเขตพื้นที่การ อภิปรายผลจากการวิจัย ศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 มีดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนบน 1. ผลจากการวิจัยเพื่อหาประสิทธิภาพของการ เครือข่ายมีค่าเท่ากับ 0.6187 ที่เป็นเช่นนี้ อาจเป็นเพราะ จัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนบนเครือ บทเรี ย นบนเว็ บ แบบผสมผสานที่ น�ำเสนอเป็ น การใช้ ข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล เทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชนต่อการเรียน Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี การสอน เนื้อหาของบทเรียนมีความเหมาะสมกับผู้เรียน ที่ 1 ที่ ผู ้ วิ จั ย ได  พั ฒ นาขึ้ น มี ประสิ ท ธิ ภ าพเท่ า กั บ เนื้อหาไมซับซ้อน ไมก่อให้เกิดความสับสน มีการใช้แบบ 86.43/83.57 หมายความว่า การจัดการเรียนการสอน ตัวอักษรที่อ่านง่าย มีแบบฝึกหัดมาใช้เป็นสิ่งกระตุนความ แบบผสมผสานด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรือ่ ง สนใจของผู้เรียน จึงท�ำให้ผู้เรียนมีการตอบสนอง ความ การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 รูสึกทางการเรียนไดรวดเร็ว และท�ำให้น่าสนใจมากขึ้น ส�ำหรับนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1 ท�ำให้นกั เรียนเกิดการ นักเรียนสามารถควบคุมการเรียนรูไ ดดว้ ยตนเอง สามารถ เรี ย นรู  ร ะหว่ า งเรี ย นเฉลี่ ย ร้ อ ยละ 86.43 ถื อ เป็ น ศึกษาทบทวนท�ำแบบฝึกหัดเพื่อเป็นการตรวจสอบความ ประสิทธิภาพของกระบวนการและท�ำให้นกั เรียนมีผล การ ก้าวหนา ความเข้าใจในเรื่อง ที่ศึกษา เมื่อมีข้อสงสัย เรียนรู้หลังเรียนเฉลี่ย 83.57 ถือเป็นประสิทธิภาพของ นักเรียนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนด้วยกัน หรือ ผลลัพธ์ (เผชิญ กิจระการ, 2544) เป็นไปตามเกณฑ์ อาจารย์ผู้สอนโดยผ่านทาง อีเมล กลุ่มเฟสบุ๊ค แชทบน 80/80 ซึ่งจากผลการวิจัยข้างต้น 80 ตัวแรก (E1) คือ เว็บไซต์ เป็นต้น 3. นักเรียนโดยรวมและจ�ำแนกตามลักษณะการน คะแนนทีผ่ เู้ รียนได จากการท�ำแบบทดสอบย่อยท้ายหน่วย �่ และเรียนด้วยบทเรียนบน การเรียน คะแนนจากแบบฝึกหัด และคะแนน พฤติกรรม ตนเองเพือ่ การเรียนรูส งู และตำ ในการเรียน คิดเป็นร้อยละของคะแนนเต็ม สวน 80 ตัว เว็บแบบผสมผสาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน หลัง (E2) ไดมาจากคะแนน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้ เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ เรียนท�ำไดคิดเป็นร้อยละของคะแนนเต็มไดคะแนนเฉลี่ย .05 ซึง่ สอดคลอ งกับ กิตติยา ปลอดแก้ว (2551) ได้ศกึ ษา ร้อยละ 83.57 ถือเป็นประสิทธิภาพของผลลัพธ์ซึ่งแสดง วิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีการ ว่าบทเรียนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ตามที่ เรียนรู้ เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา เรื่องการสร้างหนังสือ ก�ำหนดไวซึ่งสอดคลองกับผลการวิจัยของ พรทิพย์ ชูศรี อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ส�ำหรั บ นั ก เรี ย นชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 1 (2556) ได้ท�ำการวิจัย เรื่อง การพัฒนาบทเรียนบนเครือ โรงเรียน จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยนครศรีธรรมราช พบว่าผล ข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาการถ่ายภาพ ส�ำหรับนิสิตระดับ สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการเรียนจากบท ปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา คณะ เรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีการเรียนรูเ้ พือ่ สร้างสรรค์ดว้ ย ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พบว่า บท ปัญญาเรื่องการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สูงกว่าก่อน เรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาการถ่ายภาพ ส�ำหรับ เรียนอย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ รี่ ะดับ .05 ทีผ่ ลปรากฏเช่น นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารการ นี้ เป็นเพราะวิธีการน�ำเสนอบทเรียนบนเว็บแบบผสม ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผสานที่เหมาะสม และมีการใช้เทคนิคและวิธีการที่มีความ มีคณ ุ ภาพด้านเนือ้ หาอยูใ่ นระดับดีมาก และด้านเทคโนโลยี หลากหลาย ช่วยให้นักเรียนเกิดความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น การศึ ก ษาอยู ่ ใ นระดั บ ดี และบทเรี ย นบนเครื อ ข่ า ย และรูปแบบน�ำเสนอบทเรียนบนเว็บแบบผสมผสานมีความ อินเตอร์เน็ตมีประสิทธิภาพ 84.49/90.58 สอดคล  อ งกั บ เนื้ อ หาและความ ต  อ งการของนิ สิ ต 2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนการ 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียน สอนแบบผสมผสานด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การสอนแบบผสมผสานด้ ว ยบทเรี ย นบนเครื อ ข่ า ย เรือ่ ง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel อินเทอร์เน็ต เรื่อง การใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล 2010 ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 0.3081 หมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการ ที่ 1 โดยรวม และเป็นรายด้าน 4 ด้าน คือ ด้านการ

88


Journal of Educational Technology and Communications

Vol 1 No 1 January - April 2018

Facutyl of Education Mahasarakham University

ออกแบบด้านเนื้อหาของรายวิชา ด้านเนื้อหา ด้านการ จัดการเรียนการสอน และด้านสือ่ และการออกแบบ อยูใ่ น ระดับมากที่สุด สอดคลองกับ สุธี ภาระหันต์ และจิรพันธุ์ ศรีสมพันธุ์ (2556) ได้ท�ำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชา การ จัดการฐานข้อมูลเบือ้ งต้น ระดับชัน้ มัธยมศึกษาปี ที่ 5 ตาม ทฤษฎี ก ารเรี ย นรู ้ แ บบ STAD ร่ ว มกั บ เครื อ ข่ า ยสั ง คม ออนไลน์ พบว่า ความพึงพอใจของผูเ้ รียนต่อการเรียนด้วย บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับดี มาก ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ด้ ว ยบทเรี ย นบนเครื อ ข่ า ยอิ น เทอร์ เ น็ ต เรื่ อ ง การใช้ ซอฟต์แวร์ประมวลผลข้อมูล Microsoft Excel 2010 ส�ำหรับนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1 รูปแบบการเรียนทีน่ า่ สนใจเป็นการเรียนในห้องเรียน และการศึกษาด้วยตนเอง บนเว็บ และนักเรียนไดเรียนโดยการลงมือ ปฏิบัติเองจะ เรี ย นกี่ ค รั้ ง ก็ ไ ด โ ดยไม จ�ำกั ด เวลาสถานที่ เ พลิ ด เพลิ น เข้าใจง่ายเลือกศึกษาบทเรียนใดก่อนก็ได้

ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะทั่วไป 1.1 การใช้สื่อประสม เป็นส่วนที่ส�ำคัญ เป็นอย่างยิ่งส�ำหรับการการเรียนของผู้เรียน ควรท�ำการ เพิ่มสื่อประสมให้มากขึ้น และถ้ามีให้กับเนื้อหาทุกบทจะ ยิ่งดีมาก 2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไป 2.1 โปรแกรมมีพฒ ั นาอย่างต่อเนือ่ งโดย ไม่มหี ยุด จึงควรน�ำเสนอเนือ้ หาทีใ่ ช้เครือ่ งมือใหม่ ๆ ให้ทนั ตามยุคสมัย 2.2 บทเรี ย นบนเว็ บ แบบผสมผสาน สามารถส่งเสริมและลดช่องว่างในการปฏิสมั พันธ์ ระหว่าง ผู้เรียนกับผู้สอนได จึงควรน�ำไปพัฒนาบทเรียนบนเว็บใน รายวิชาอื่น ๆ ต่อไป

เอกสารอ้างอิง กิตติยา ปลอดแก้ว. (2551). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้ เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา เรื่อง การสร้าง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา เทคโนโลยีการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. เผชิญ กิจระการ. (2544). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (E1/E2). วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. พรทิพย์ ชูศรี. (2556). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การถ่ายภาพ สาหรับนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สารนิพนธ์กศ.ม. (เทคโนโลยีการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ศิริวรรณ มีสารพันธ์. (2552). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง การสื่อสาร และองค์ประกอบของข้อมูลระบบเครือข่าย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://research.rmu.ac.th/assets/filemanager/FULLPAPER NCSSS2009.pdf [เมื่อ 12 กันยายน 2560]. สุธี ภาระหันต์ และจิรพันธุ์ ศรีสมพันธุ์. (2556). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชา การจัดการฐานข้อมูลเบื้องต้น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 ตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบ STAD ร่วมกับเครือข่าย สังคมออนไลน์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://doi.nrct.go.th/ListDoi/Download/195124/eba7d 533c89ff41880e02b5aac6cbb6b?Resolve_DOI=10.14458/RSU.res.2016.172 [เมื่อ วันที่ 12 กันยายน 2560]. อินทิรา รอบรู้. (2555). บนเรียนบนเว็บแบบผสมผสาน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.intirarr.com/ [เมื่อ 15 กันยายน 2560]. ดิศรินทร์ กองมณี : ออกแบบจัดหน้าบทความ

89


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 The Development of Constructivist Web-based Learning for Foster Analytical Thinking, Entitle the Basic of Information Technology for Mathayomsuksa 1 Students.

ณัฐชนนท์ รุจิรสิโรตม์ 1 รัฐสาน์ เลาหสุรโยธิน Natchanon Rujirasiroj 1 Ratasa Laohasurayothin

2 2

บทคัดย่อ การวิจยั ครัง้ นีเ้ ป็นการศึกษาผลการใช้กจิ กรรมการเรียนบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวสิ ต์ เพือ่ ส่ง เสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมี วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรือ่ ง ความรูพ้ นื้ ฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพือ่ หาประสิทธิภาพของกิจกรรม การเรียนบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวสิ ต์ เพือ่ ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรือ่ ง ความรูพ้ นื้ ฐานด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพือ่ ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรือ่ ง ความรูพ้ นื้ ฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1 4) เพือ่ วัดระดับการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อ ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรือ่ ง ความรูพ้ นื้ ฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ คุณภาพองคฺรวม 5) เพือ่ ศึกษาความพึอพอใจโดยการใช้กจิ กรรมการเรียนบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวสิ ต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดย มีนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จ�ำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ บทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความรู้พื้นฐาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิก์ อ่ นเรียนและหลังเรียน แบบ วัดการคิดวิเคราะห์ แบบความพึงพอใจต่อบทเรียนบนเครือข่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย เลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (dependent) ผลการศึกษา พบว่า นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อาจารย์ประจำ�ภาควิชาเทคโนโลยีการและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 1 Undergraduate student in Educational Technology and Computer Education, Faculty of Education, Mahasarakham University 2 Instructor in Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University 1

2

90


Vol 1 No 1 January - April 2018

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

1. ผลการพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความรู้ พืน้ ฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1 สถานการณ์ปญ ั หาและภารกิจการเรียนรู้ แหล่ง เรียนรู้ ฐานการเรียนรู้ แลกเปลีย่ นการเรียนรู้ และ ปรึกษาผูร้ ู้ โดยผูเ้ ชีย่ วชาญมีความคิดเห็นโดยรวมอยูใ่ นระดับมากทีส่ ดุ (x = 4.59, S.D. = 0.06) 2. บทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้ศึกษาได้พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.46/81.56 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 3. ผลสัมฤทธิท์ างการเรียนของนักเรียนทีเ่ รียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวสิ ต์ เพือ่ ส่งเสริม การคิดวิเคราะห์ เรือ่ ง ความรูพ้ นื้ ฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีท1ี่ ทีผ่ ศู้ กึ ษาได้พฒ ั นา ขึ้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 4. ผลการวัดการวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริม การคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ที่ผู้วิจัยได้พัฒนา ขึ้นมีนักเรียนผ่านเกณฑ์การวัดคุณภาพแบบองค์รวมตั้งแต่5คะแนนขึ้นไปจ�ำนวน 28 คน 5. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อ ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 มีความพึง พอใจโดยรวมอยูใ่ นระดับมากทีส่ ดุ (x = 4.41, S.D. = 0.01)บทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวสิ ต์ เพือ่ ส่งเสริม การคิดวิเคราะห์ เรือ่ ง ความรูพ้ นื้ ฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1 ทีผ่ ศู้ กึ ษาได้พฒ ั นา ขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.46/81.56 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ค�ำส�ำคัญ : บทเรียนบนเครือข่าย, คอนสตรัคติวิสต์, การคิดวิเคราะห์ ABSTRACT This research is a study of the results of using activities from learning The Development of Constructivist Web-based Learning for Foster Analytical Thinking, Entitle the Basic of Information Technology for Mathayomsuksa 1 students. The objectives of this research were 1) to develop The Development of Constructivist Web-based Learning for Foster Analytical Thinking, Entitle the Basic of Information Technology for Mathayomsuksa 1 students. 2) To examine the quality of The Development of Constructivist Web-based Learning for Foster Analytical Thinking, Entitle the Basic of Information Technology for Mathayomsuksa 1 students to the standard of 80/80. 3) To compare students achievement, by doing an activity, before and after learning The Development of Constructivist Web-based Learning for Foster Analytical Thinking, Entitle the Basic of Information Technology for Mathayom suksa 1 students. 4) To measure the analytical thinking of students who took The Development of Constructivist Web-based learning for Foster Analytical Thinking, Entitle the Basic of Information Technology for Mathayomsuksa 1 students according to the holistic quality criterion by doing an activity after learning. 5) To investigate the satisfaction by doing an activity of The Development of Constructivist Web-based Learning for Foster Analytical Thinking, Entitle the Basic of Information Technology for Mathayomsuksa 1 students. Sampling used in the study were The Development of Constructivist Web-based Learning for Foster Analytical Thinking, Entitle the Basic of Information Technology for Second semester-Kaennakhon Witthayalai School Mathayomsuksa 1 students, before-after learning achievement tests, analytical thinking test, Level of satisfaction for The Lesson

91


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

On The Internet survey, statistic for analyzing, percentage, estimated numbers, standard deviation, Hypothesis testing by t-test(dependent). The results of the study were: 1. The results of developing The Development of Constructivist Web-based Learning for Foster Analytical Thinking, Entitle the Basic of Information Technology for Second semester-Kaen nakhon Witthayalai School Mathayomsuksa 1 students, developed by the researcher, situation and learning missions, learning sources, learning base, exchanging knowledge and consulting the intellectual is in the maximum level from the expert opinion. (x = 4.59, S.D. = 0.06) 2. The Development of Constructivist Web-based Learning for Foster Analytical Thinking, Entitle the Basic of Information Technology for Second semester-Kaennakhon Witthayalai School Mathayomsuksa 1 students, developed by the researcher, is as effective as 85.46/81.56 which follows the expect standard. 3. Students who learn from The Development of Constructivist Web-based Learning for Foster Analytical Thinking, Entitle the Basic of Information Technology for Second semester-Kaennakhon Witthayalai School Mathayomsuksa 1 students, developed by the researcher, gets better achievement and significant development in statistic at the level of 0.5 after taking this lesson. 4. The result of the measurement of students’ analytic thinking from students who took The Development of Constructivist Web-based Learning for Foster Analytical Thinking, Entitle the Basic of Information Technology for Second semester-Kaennakhon Witthayalai School Mathayomsuksa 1 students, developed by the researcher, 28 students has passed the standard of holistic quality criterion, the minimum score to pass the test is 5. 5. The result of observing students’ satisfaction from students who took The Development of Constructivist Web-based Learning for Foster Analytical Thinking, Entitle the Basic of Information Technology for Second semester-Kaennakhon Witthayalai School Mathayomsuksa 1 students, deve loped by the researcher, is students, overall, have maximum level of satisfaction.(x = 4.41, S.D. = 0.01) Keywords : Constructivist, Web-based Learning, Foster Analytical Thinking,

บทนำ�

92

การเรียนในห้องเรียนเช่น การฟังบรรยาย (Lecture) การอ่าน (Reading) การดูจากสือ่ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ ภาพเคลื่อนไหว(Audio Visual) และการได้เห็นตัวอย่าง (Demonstration) ก่อให้เกิดการเรียนรู้และการจดจ�ำได้ ไม่ถึงร้อยละ 50 และคิดเป็นร้อยละที่ต�่ำเมื่อเทียบกับ การ เรียนรู้จากการได้แลกเปลี่ยนพูดคุย(Discussion) การได้ ลงมือปฏิบัติ(Practice By Doing) และการได้สอนผู้อื่น (Teaching Others) โดยเมื่อพิจารณาถึงการเรียนรู้โดย การสอนผู้อื่น จะพบว่าท�ำให้เกิดการจดจ�ำ และเรียนรู้ได้ ถึงร้อยละ 90 (Ratnaree (2555,ออนไลน์) กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้การศึกษาเป็น วาระแห่งชาติ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษา ด้านการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน

และพัฒนาผู้เรียนให้สามารถคิดวิเคราะห์ เรียนรู้ได้ด้วย ตนเอง มีลักษณะที่พึงประสงค์และทักษะที่จ�ำเป็นส�ำหรับ การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2556, น. 212) ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 ทีใ่ ห้ความส�ำคัญในการจัดการศึกษาทีเ่ น้นผูเ้ รียนเป็น ส�ำคัญ โดยในหมวด 1 มาตรา 8 การจัดการศึกษาเป็นการ จัดการศึกษาตลอดชีวิต สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการ ศึกษา พัฒนาสาระ และกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง หมวด 4 มาตรา 22 หลักการจัดการศึกษาต้องยึดหลักทีว่ า่ ผูเ้ รียนมีความส�ำคัญทีส่ ดุ และมาตรา 24 กระบวนการเรียน รู้ต้องจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความ สนใจ ความถนัดและความแตกต่างของผู้เรียน ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และ


Vol 1 No 1 January - April 2018

ประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา ให้ผู้เรียนเรียนรู้จาก ประสบการณ์จริง การฝึกปฏิบัติให้ท�ำได้ คิดเป็น ท�ำเป็น (ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2543) ซึ่ง สอดคล้องกับ สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ ระบุ การสร้างการคิด วิเคราะห์ให้เกิดในนักเรียนไทย จะต้องเปลี่ยนบรรยากาศ การเรียนการสอนในห้องเรียน กระตุ้นให้มีการใช้ความคิด เชิงเหตุผล และใช้กระบวนการถามคือสอน โดยให้ครูท�ำ หน้าที่เป็นโค้ชตั้งค�ำถามให้นักเรียนได้คิด รวมถึงต้องสร้าง บรรยากาศการเรียนให้เด็กเกิดความรู้สึกปลอดภัยจาก ระบบอ�ำนาจ ซึ่งเป็นการกดศักยภาพของนักเรียน ขณะที่ นักเรียนจะต้องฝึกการเขียนให้มากขึ้น ทั้งการขยายความ และย่อความจับประเด็น เพื่อฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ และควรสนับสนุนให้เกิดการเรียนรูจ้ ากประสบการณ์ ดังที่ มีการด�ำเนินการในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา 4ปีที่ผ่านมา ซึ่งพบว่า นักเรียนมีประสิทธิภาพในการคิดวิเคราะห์ดีขึ้น (TNN Thailand News, 2559) เนื่องจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แนวคิดการ สร้างองค์ความรู้ (Constructivism)เป็นการจัดการเรียนรู้ ตามกรอบทฤษฎีด้านการรู้คิดจะให้ความส�ำคัญในความ สนใจของผู้เรียนและความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของตน ผ่ า นกิ จ กรรมการใช้ ค�ำถามและการค้ น พบความรู ้ (Selfquestioningand Discovery) ภายใต้ทฤษฎีทศี่ กึ ษา ถึงการอุบัติด้านการเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงกับชีวิตของผู้เรียน โดยได้รับการสนับสนุนให้เรียนรู้พื้นฐานเท่าที่จ�ำเป็น และ พอเพียงที่จะน�ำไปใช้ประโยชน์เพื่อค้นหาความรู้ความ เข้าใจใหม่ด้วยตนเอง Constructivist เชื่อว่า การเรียนรู้ จะเกิดขึ้นเมื่อ ผู้เรียนได้ปฏิบัติเพื่อจัดโครงสร้างด้านการ รู้คิดประกอบการสร้างแบบแผนประสบการณ์ ขึ้นในตัวผู้ เรียนโดยผู้เรียนจะตอบสนองการรับรู้ประสบการณ์ ด้วย การสร้ า งกรอบความรู ้ ภ ายในจิ ต ใจของตนในลั ก ษณะ โครงสร้างการรู้คิด ด้านความหมายและความเข้าใจใน เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้เรียน ผู้เรียนจะเป็นผู้ที่ เผชิญกับสถานการณ์ปัญหา ค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหาโดย การคิดวิเคราะห์ ไตร่ตรอง และแก้ปญ ั หาด้วยตัวผูเ้ รียนเอง รวมถึงการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหากันเป็นกลุ่ม (Woolfolk. 2010:312) กลุม่ สาระการเรียนรูก้ ารงานอาชีพและเทคโนโลยี รายวิชา ง21101 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 1 เรื่ อ ง ความรู ้ พื้ น ฐานด้ า นเทคโนโลยี ส ารสนเทศ ชั้ น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้คัดเลือกข้อเรื่องย่อยที่จะการวิจัยใน ชัน้ เรียน ได้แก่ 1.องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ 2.ผลก ระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ อันจะส่งเสริมให้ผู้เรียน

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

รู้จักคิดค้น ศึกษาแยกแยะ เข้าใจแนวคิดและวิเคราะห์ เหตุการณ์ต่าง ๆ สามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ในการด�ำเนิน ชีวิตและวางแผนการด�ำเนินงานได้อย่างเหมาะสม การ เรียนการสอนในรายวิชา พบว่า เนื้อหาค่อนข้างมาก นักเรียนขาดความสามารถจ�ำแนกองค์ประกอบต่าง ๆ ของ สิง่ ใดสิง่ หนึง่ หรือเรือ่ งใดเรือ่ งหนึง่ และไม่สามารถระบุความ สัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างองค์ประกอบเหล่านัน้ เพือ่ ค้นหา สาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้น รวมทั้งความสามารถจัด หมวดหมู่ของสิ่งต่าง ๆ หรือประเด็นต่าง ๆ อยู่ในเกณฑ์ที่ ค่อนข้างต�่ำ การเรียนการสอนในคาบเรียนให้ทักษะการ เรียนรู้เพียงความเข้าใจ ไม่เน้นกระบวนการที่ให้ผู้เรียนได้ สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง รวมถึงการกระตุ้นให้มีการ สร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญาค่อนข้างน้อย น�ำไปประยุกต์ ใช้ได้ยากในการต่อยอดในอนาคต รวมทัง้ ไม่สง่ เสริมการคิด วิ เ คราะห์ ที่ มี ค วามจ�ำเป็ น อย่ า งมากต่ อ การศึ ก ษาใน ศตวรรษที่ 21 จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น คือ ความจริงที่เป็น ปัญหาของการศึกษาไทยในปัจจุบัน ปัญหาด้านการคิด วิเคราะห์ จะต้องจัดบทเรียนที่เหมาะสมโดยน�ำเอาหลัก ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ มาเพื่อผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ โดยการน�ำประสบการณ์หรือสิ่งที่พบเห็นในสิ่งแวดล้อม หรือสารสนเทศใหม่ที่ได้รับมาเชื่อมโยงกับ ความรู้ความ เข้าใจที่มีอยู่เดิมมาสร้างเป็น ความเข้าใจของตนเอง เป็น โครงสร้างทางปัญญา โดยผู้วิจัยสนใจที่จะพัฒนาบทเรียน บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิด วิเคราะห์ เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยประยุกต์แนวคิดทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์และแนวคิด การเรียนรูโ้ ดยใช้ปญ ั หาเป็นฐาน ประกอบการออกแบบการ จัดการเรียนรู้ เพือ่ ให้ปรากฏข้อค้นพบกระบวนการจัดการ เรียนรูท้ มี่ ปี ระสิทธิภาพ สามารถนําไปปรับใช้ เกิดสังคมการ เรียนรู้ผ่านเครือข่าย โดยมีการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในชั้นเรียน แนวทางการจัดการเรียนรู้สําหรับนักเรียน ใน ส่วนทีเ่ กีย่ วข้องกับวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีให้ ประ สบผลสําเร็จ รวมทั้งเป็นข้อสนเทศสําหรับผู้ที่สนใจนํา แนวคิดและผลการวิจยั ดังกล่าว ไปดําเนินการ วิจยั ค้นคว้า เพิ่มเติมและนําไปประยุกต์ใช้ในสถานการณการเรียนรู้ให้ มีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพือ่ พัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอน สตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความรู้พื้น

93


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ฐานด้ า นเทคโนโลยี ส ารสนเทศ ส�ำหรั บ นั ก เรี ย นชั้ น มัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพือ่ หาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนบท เรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริม การคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้เป็นไป ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพือ่ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิท์ างการเรียน ก่อน เรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการ เรียนบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อ ส่ ง เสริ ม การคิ ด วิ เ คราะห์ เรื่ อ ง ความรู ้ พื้ น ฐานด้ า น เทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อวัดระดับการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนบทเรียนบนเครือข่ายตามแนว คอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความ รู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์คุณภาพองคฺรวม 5) เพื่อศึกษาความพึอพอใจโดยการใช้กิจกรรม การเรียนบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากรที่ ใ ช้ ใ นการศึ ก ษาในครั้ ง นี้ เป็ น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย อ�ำเภอเมือง จังหวัด ขอนแก่น จ�ำนวน 16 ห้องเรียน รวม 667 คน 2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ เป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย อ�ำเภอเมือง จังหวัด ขอนแก่น จ�ำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุม่ แบบกลุม่ (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

เทคโนโลยีและสารสนเทศ 1 เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จ�ำนวน 15 ข้อ 3. แบบวัดการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน รายวิชา เทคโนโลยีและสารสนเทศ 1 เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4. แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนทีเ่ รียน ด้วยบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่ง เสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การเก็บรวบรวมข้อมูล ขัน้ ตอนในการด�ำเนินการทดลองและเก็บรวบรวม ข้อมูล ในการด�ำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ วิจัยได้มีวิธีการและขั้นตอนดังนี้ 1) ชีแ้ จงการเรียนรูข้ องบทเรียนบนเครือข่ายตาม แนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1ที่พัฒนาขึ้น 2) ทดสอบก่อนเรียน โดยใช้แบบทดสอบวัดผล การเรียนรู้ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น 3) ด�ำเนินการจัดการเรียนรูด้ ว้ ยบทเรียนบนเครือ ข่ายตามแนวคอนสตรัคติวสิ ต์ เพือ่ ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับ นักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีท1ี่ ขึน้ จนครบทุกขัน้ ตอนในระยะ เวลาที่ ก�ำหนด 4) ทดสอบหลังเรียนโดยใช้แบบทดสอบวัดผลการ เรียนรู้ชุดเดียวกับแบบทดสอบ ก่อนเรียน 5) ทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ 6) สอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนหลังเรียน โดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 7) เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธี การทางสถิติ 8) สรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. บทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวสิ ต์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.ผลการประเมินคุณภาพของบทเรียนบนเครือ 1 ข่ายตามแนวคอนสตรัคติวสิ ต์ เพือ่ ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ 2. แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับ

94


Journal of Educational Technology and Communications

Vol 1 No 1 January - April 2018

Facutyl of Education Mahasarakham University

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตารางที่ 2 ผลการประเมินคุณภาพของบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้านเนื้อหา ผลการวิเคราะห์ ข้อที่ รายการประเมิน x S.D. ระดับความพึงพอใจ 1 ด้านเนื้อหา 4.78 0.43 มากที่สุด 2

คุณลักษณะของสื่อบนเครือข่าย

4.56

0.51

มากที่สุด

3

การออกแบบตามแนวทฤษฎีคอนสตตรัคติวิสต์

4.44

0.51

มากที่สุด

เฉลี่ยรวม 4.59 0.50 มากที่สุด จากตารางที่ 2 พบว่า การประเมินคุณภาพบทเรียนบนเเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการ คิดวิเคราะห์ เรือ่ ง ความรูพ้ นื้ ฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1 โ์ดยผเูช้ ยี่ วชาญจ�ำนวน 3 คน มีความเห็นโดยรวมในทุกด้าน ระดับเหมาะสมมากที่สุด (x = 4.59, S.D. = 0.06) 2. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ของคะแนนระหว่างเรียน และคะแนนทดสอบหลังเรียน รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร 1 โดยการจัดการเรียนรูบ้ นเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวสิ ต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ คะแนนระหว่างเรียนตามสถานการณ์ รวมคะแนนระหว่ า ง คะแนน เรียน ทดสอบหลังเรียน 1 2 3 4 นักเรียน 30 คน 9 9 9 9 36 15 รวม 220 226 233 245 923 367 x 7.33 7.53 7.77 8.17 30.77 12.23 S.D. 0.61 0.57 0.50 0.53 1.43 1.85 ร้อยละ 81.48 83.70 86.30 90.74 85.46 81.56 จากตารางที่ 3 พบว่า คะแนนระหว่างเรียน ได้แก่ คะแนนจากแบบทดสอบย่อย มีคา่ เฉลีย่ เท่ากับ 30.77 คะแนน จากคะแนนเต็ม 36 คะแนน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.43 คิดเป็นร้อยละ 85.46 และค่าเฉลี่ยคะแนนทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเท่ากับ 12.23 จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.85 คิดเป็นร้อยละ 81.56

95


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ตารางที่ 4 ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) ของการจัดการเรียนรู้บนเครือข่าย ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผลการเรียน N คะแนนเต็ม x S.D. ร้อยละ ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) 30 36 30.77 1.43 85.46 ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) 30 15 12.23 1.85 81.56 ประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ 85.46/81.56 เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (E1/E2) จากตาราง 4 พบว่า ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 85.46 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 81.56 ดังนั้น การจัดการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความ รู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.46/81.56 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ก�ำหนดไว้ 3. ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิท์ างการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนการจัดการเรียนรูบ้ นเครือ ข่ายตามแนวคอนสตรัคติวสิ ต์ เพือ่ ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรือ่ ง ความรูพ้ นื้ ฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพือ่ ศึกษาผล สัมฤทธิ์ททางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย ตารางที่ 5 เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน การทดสอบ

N

x

S.D.

ก่อนเรียน

30

8.53

1.99

หลังเรียน

30

12.23

1.85

t-test

sig.

5.169

.000*

* มีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากตารางที่ 5 สามารถสรุปได้วา่ นักเรียนกลุม่ ตัวอย่างมีคะแนนเฉลีย่ หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนบนเครือ ข่ายตามแนวคอนสตรัคติวสิ ต์ เพือ่ ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรือ่ ง ความรูพ้ นื้ ฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ค่าเฉลี่ยก่อนเรียน คือ x = 8.53, S.D. = 1.99 และค่าเฉลี่ยหลังเรียน คือ x = 12.23, S.D. = 1.85 ซึ่งค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผลวัดการคิดวิเคราะห์ของผูเ้ รียนทีเ่ รียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวสิ ต์ เพือ่ ส่งเสริมการ คิดวิเคราะห์ เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตารางที่ 6 ค่าเฉลี่ย และระดับคุณภาพ ของคะแนนจากแบบประเมินคุณภาพของการจัดการเรียนรู้บนเครือข่ายตาม แนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 30 คน รวม

96

ประเด็นการประเมิน จำ�แนกองค์ประกอบ (3) 84

จัดหมวดหมู่ (3) 78

รวมคะแนน ระบุความสัมพันธ์ (3) 73

9

ระดับ คุณภาพ

239

-


Vol 1 No 1 January - April 2018

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

จากตารางที่ 6 พบว่าการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ด้านจ�ำแนกองค์ประกอบ เป็นด้านที่ผู้เรียนท�ำคะแนนได้สูงสุด คิดเป็นร้อยละ 2.80 ด้านการจัดหมวดหมู่คะแนนรองลง มา คิดเป็นร้อยละ 2.60 ส่วนด้านระบุความสัมพันธ์ เป็นด้านที่ผู้เรียนท�ำได้ค่อยข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบทั้ง 3 ด้าน โดย ด้านระบุความสัมพันธ์ผู้เรียนท�ำได้ คิดเป็นร้อยละ 2.43 เมื่อมองผลการประเมินการคิดวิเคราะห์ในภาพรวม พบว่า มีผู้ เรียนที่ได้คะแนนต�่ำสุด คือ 5 คะแนน ผู้เรียนที่ได้คะแนนสูงสุด คือ 9 คะแนน และคะแนนรวมเฉลี่ยของผู้เรียน คือ 7.97 คะแนน จากคะแนนเต็ม 9 คะแนน โดยมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์วัดคุณภาพแบบองค์รวมจ�ำนวน 28 คน 5. ผลวัดความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการ คิดวิเคราะห์ เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ตารางที่ 7 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ด้านเนื้อหา ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อที่ รายการประเมิน x S.D. ระดับความพึงพอใจ 1 การนำ�เสนอเนื้อหาชัดเจน เข้าใจง่าย 4.40 0.77 มากที่สุด 2 เนื้อหามีความเหมาะสมกับเวลาเรียน 4.43 0.68 มากที่สุด เนื้อหาความยากง่ายเหมาะสมกับนักเรียน 3 4.30 0.75 มากที่สุด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ความรู้ที่ได้รับสามารถนำ�ไปปรับใช้ในการเรียน 4 4.67 0.61 มากที่สุด วิชาคอมพิวเตอร์ได้ เฉลี่ย 4.45 0.07 มากที่สุด จากตารางที่ 7 พบว่าความพึงพอใจของผู้เรียนในด้านเนื้อหาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.45, S.D. = 0.07) และทุกประเด็นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยประเด็นที่ผู้เรียนพึงพอใจสูงสุดคือ ความรู้ที่ได้รับสามารถน�ำไป ปรับใช้ในการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ได้ ( x = 4.67, S.D. = 0.61) ตารางที่ 8 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ด้านกระบวนการเรียนรู้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อที่ รายการประเมิน x S.D. ระดับความพึงพอใจ 1 สถานการณ์ปัญหาที่นำ�มาใช้ในแต่ละเรื่องน่าสนใจไม่น่าเบื่อ 4.27 0.83 มากที่สุด สถานการณ์ปัญหาที่นำ�มาใช้ในแต่ละเรื่องมีความเหมาะสม 2 4.10 0.71 มาก ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ได้จริง มี ส ถานการณ์ ปั ญ หาที่ ท้ า ทายสอดแทรกการเรี ย นการสอน 3 4.40 0.77 มากที่สุด ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ นักเรียนเป็นผู้ค้นพบคำ�ตอบหรือทำ�ภารกิจการเรียนรู้ สำ�เร็จได้ 4 4.17 0.79 มาก ด้วยตนเอง เฉลี่ย 4.45 0.05 มากที่สุด

97


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

จากตารางที่ 8 พบว่าความพึงพอใจของผู้เรียนในด้านกระบวนการเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.23, S.D. = 0.05) โดยประเด็นที่ผู้เรียนพึงพอใจสูงสุด คือ มีสถานการณ์ปัญหาที่ท้าทาย สอดแทรกการเรียนการ สอน ช่วยให้เกิดการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้นในระดับมากที่สุด ( x = 4.40, S.D. = 0.77) ตารางที่ 9 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนทีเ่ รียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวสิ ต์ ด้านสือ่ และอุปกรณ์การเรียนรู้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อที่ รายการประเมิน x S.D. ระดับความพึงพอใจ 1 สื่อมีความสอดคล้องกับเนื้อหา 4.43 0.73 มากที่สุด สื่อเร้าความสนใจต่อนักเรียน สีสันที่ใช้มีความ 2 4.47 0.63 มากที่สุด เหมาะสม สื่อมีการใช้คำ�สั่งด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ง่ายต่อ 3 4.50 0.63 มากที่สุด การปฏิบัติภารกิจการเรียนรู้ 4 ภาพโดยรวมของสื่อมีความเหมาะสม 4.60 0.77 มากที่สุด เฉลี่ย 4.45 0.07 มากที่สุด จากตารางที่ 9 พบว่าความพึงพอใจของผู้เรียนในด้านสื่อ และอุปกรณ์การเรียนรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ที่สุด ( x = 4.50, S.D. = 0.07) โดยประเด็นที่ผู้เรียนพึงพอใจสูงสุด คือ ภาพโดยรวมของสื่อมีความเหมาะสม สามารถ สร้างองค์ความรู้ช่วยให้นักเรียนเกิดความต้องการในการเรียนรู้มากขึ้นในระดับมากที่สุด ( x = 4.60, S.D. = 0.77) ตารางที่ 10 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ด้านความสะดวกทันสมัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อที่ รายการประเมิน x S.D. ระดับความพึงพอใจ สามารถติดต่อสื่อสารเหมาะแก่การมี 1 4.50 0.63 มากที่สุด ปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่ม 2 สามารถติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญได้โดยตรง 4.07 0.78 มาก 3 มีการผสมผสานสื่อการเรียนรู้อย่างลงตัว 4.43 0.73 มากที่สุด 4 สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา 4.47 0.68 มากที่สุด เฉลี่ย 4.37 0.07 มากที่สุด จากตารางที่ 10 พบว่าความพึงพอใจของผู้เรียนในด้านความสะดวกทันสมัยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.37, S.D. = 0.07) โดยประเด็นที่ผู้เรียนพึงพอใจสูงสุด คือ สามรถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะที่บ้านหรือที่ โรงเรียนผูเ้ รียนก็สามารถเรียยนรูไ้ ด้ เมือ่ เกิดข้อสงสัยสามารถสอบถามผูเ้ ชีย่ วชาญทางด้านเนือ้ หาได้ทนั ที ช่วยให้นกั เรียน สามารถแก้สถานการณ์ปัญหาได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยสามรถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาอยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.47, S.D. = 0.68)

98


Vol 1 No 1 January - April 2018

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

ตารางที่ 11 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ โดยภาพรวม ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อที่ รายการประเมิน x S.D. ระดับความพึงพอใจ 1 ด้านเนื้อหา 4.45 0.07 มากที่สุด 2 ด้านกระบวนการเรียนรู้ 4.23 0.05 มากที่สุด 3 ด้านสื่อ และอุปกรณ์การเรียนรู้ 4.50 0.07 มากที่สุด 4 ด้านความสะดวกทันสมัย 4.37 0.07 มากที่สุด เฉลี่ย 4.41 0.01 มากที่สุด จากตารางที่ 11 ผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ในภาพรวม พบว่า อยู่ใน ระดับมากที่สุด ( x = 4.41, S.D. = 0.01) และผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือ ข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ โดยภาพรวมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา, ด้านกระบวนการเรียนรู้, ด้านสื่อ และอุปกรณ์ การเรียนรู้ และด้านความสะดวกทันสมัย พบว่า ประเด็นที่ผู้เรียนพึงพอใจสูงสุด คือ ด้านสื่อ และอุปกรณ์การเรียนรู้ อยู่ ในระดับมากที่สุด ( x = 4.50, S.D. = 0.07) รองลงมาความพึงพอใจของผู้เรียนในด้านเนื้อหา ( x = 4.45, S.D. = 0.07) ถัดมาความพึงพอใจของผู้เรียนในด้านความสะดวกทันสมัย ( x = 4.37, S.D. = 0.07) และความพึงพอใจของผู้เรียนใน ด้านกระบวนการเรียนรู้อยู่ในประเด็นที่น้อยที่สุด ( x = 4.23, S.D. = 0.05) ตามล�ำดับ ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอในการน�ำไปใช้ 1) การเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายตามแนว คอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความ รู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย สามารถส่ง เสริ ม ให้ ผู ้ เ รี ย นเกิ ด การคิ ด วิ เ คราะห์ และมี ผ ลสั ม ฤทธิ์ ทางการเรียนที่สูงขึ้นได้ 2) ผลการวิจยั การเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่าย ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส�ำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 1 โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย สามารถน�ำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาบทเรียนบน เครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวสิ ต์ทสี่ ง่ เสริมความสามารถ ของผู้เรียนในด้านอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับสภาพบริบทของผู้ เรียน และลักษณะของเนื้อหาวิชา 2. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยในครั้งต่อไป 1) ควรขยายเวลาการสอนบทเรียนบนเครือข่าย ตามแนวคอนสตรัคติวสิ ต์ให้เหมาะสมกับเนือ้ หาทีม่ ี เพราะ

ยังมีผเู้ รียนบางกลุม่ ทีย่ งั ไม่สามารถท�ำภารกิจการเรียนรูใ้ ห้ เสร็จสิ้นภายในชั่วโมงเรียน 2) ควรลดความซับซ้อนของเนือ้ หาในบทเรียนบน เครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ให้น้อยลง เพื่อนให้ผู้ เรียนได้ฝกึ การคิดวิเคราะห์ในภารกิจการเรียนรูไ้ ด้อย่างเต็ม รูปแบบ 3) ควรมีการพัฒนาเกมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการ คิดวิเคราะห์ เพิ่มเข้าไปในบทเรียนบนเครือข่ายตามแนว คอนสตรัคติวสิ ต์ ทีช่ ว่ ยกระตุน้ ความสนใจและส่งเสริมการ คิดวิเคราะห์มากกว่าที่ต้องเขียนบรรยายในภารกิจการ เรียนรู้ 4) ในการเก็บข้อมูลวิจัย อาจจะมีการสัมภาษณ์ เชิงลึก (Indepth Interview) กับผู้เรียนที่เรียนด้วยบท เรียนบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ โดยการใช้ ประเด็น/แนวค�ำถามกว้างๆเพื่อกระตุ้นให้คู่สนทนาเล่า เรือ่ งราวอย่างมีเป้าหมายเกีย่ วกับปัญหาทีพ่ บ เพือ่ ไปใช้ใน การปรับปรุงและพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายตามแนวคอน สตรัคติวิสต์ต่อไป

99


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

เอกสารอ้างอิง กระทรวงศึกษาธิการ. (2551) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจํากัด, _____. (2551) ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย จํากัด. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549) การคิดเชิงวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ซัดเซสมีเดีย. ฆนัท ธาตุทอง. (2554) สอนคิด การจัดการเรียนรู้เพื่อการคิด. นครปฐม : เพชรเกษมการพิมพ์, ชวลิต ชูกําแพง. (2553) การวิจัยหลักสูตรและการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ทิศนา แขมมณี. (2550) ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นันทิยา บุญเคลือบ. (2540) “การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิด Constructivism,” วารสารสถาบันส่งเสริม การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 25(93): 15-16; มกราคม – มีนาคม. บุญชม ศรีสะอาด. (2545) การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. ปิ่นนเรศ กาศอุดม. (2542) สมรรถนะการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักของอาจารย์พยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนกกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ วท.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล. ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2534) จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : สหมิตรออฟเซท. เผชิญ กิจระการ และสมนึก ภัททิยธนี. (2545) “ดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.),” วารสารการวัดผล การศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 8: 30-36; กรกฎาคม. เผชิญ กิจระการ. 2544. “การวิเคราะห์ประสิทธิภาพสื่อและเทคโนโลยีการเรียนการสอน,” วารสารการวัดผล การศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 7 : 44-52 ; กรกฎาคม. พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา.(2542) จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา. พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540) วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สํานักทดสอบทาง การศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์. (2544) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหา. ชลบุรี : มหาวทยาลัยบูรพา. ______. (2544) ทิศทางใหม่ของครูศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : โครงการพัฒนาวิชาชีพอุดมศึกษา ภาควิชาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิทักษ์ สวนดี. (2550) การเปรียบเทียบผลสมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องอินเทอร์เน็ตและการสรางเว็บเพจการคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบ ซิปปา (CIPPA) และการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(PBL). วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. เพราพรรณ เปลี่ยนภู่.(2546) จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยพระจอมเกล้า. ไพศาล หวังพานิช. (2526) การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2545) “การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้โดยใช้ PBL (Problem – Based Learning),” วารสาร วิชาการ. 5(2) : 11-17 ; กุมภาพันธ์, รุจิร์ ภู่สาระ. (2545) การเขียนแผนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : บุ๊คพลอยท์.

100


Journal of Educational Technology and Communications

Vol 1 No 1 January - April 2018

Facutyl of Education Mahasarakham University

ลักขณา สริวัฒน์. (ม.ป.ป.) จิตวิทยาในชั้นเรียน. มหาสารคาม : ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและ การแนะแนว, คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ล้วน สายยศ และอังคนา สายยศ. (2539) เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. ศิริเพ็ญ ไหมวัด. (2551) การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกมการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ค.ม. กรุงเทพฯ : สถาบัน เทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วิไลลักษณ์ หิงชาลี. (2551) การคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบนิเวศของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, สุมาลี ชัยเจริญ. (2551) เทคโนโลยีการศึกษา : หลักการทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา. สุวิทย์ มูลคำ�.(2547) กลยุทธ์การสอนวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด ภาพพิมพ์. เสงี่ยม โตรัตน์. (2546) “การสอนเพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์.” นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, วสันต์ สายัญเกณะ. (2553) การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การสร้างสารสนเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. การค้นคว้าอิสระ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, วัชรา เล่าเรียน. (2548) เทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอนสำ�หรับครูมืออาชีพ. นครปฐม : โครงการส่งเสริม การผลิตตารางและเอกสารการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. นฤมล อินทิรักษ์. (2555) การพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บโดยใช้สถานการณปัญหา เรื่องการสร้างภาพนิ่ง สำ�หรับงานมัลติมีเดีย. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม, นันทิยา บุญเคลือบ. (2540) “การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนว Constructivism,” วารสารส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 25(96) : 11-15 ; พฤศจิกายน, ธีรศักดิ์ คนต่ำ� : ออกแบบจัดหน้าบทความ

101


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทักษะปฏิบัติของ Davies เพื่อพัฒนาทักษะการทำ�งานวิชาเขียนโปรแกรม 1

เรื่อง โปรแกรม Adobe Flash สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 The Results of Learning Management by Using Devies Instruction to Develop Working Skills in Subject Programing 1 on Topic Adobe Flash for Matthayom 4 students

พชรกมล จันดารัตน์ 1 ฐาปนี สีเฉลียว 2 ดุษฎี ศรีสองเมือง 3 Phacharakamon Chandarat 1 Thapanee Seechaliao 2 Dutsadee Srisongmeuang

3

บทคัดย่อ ในการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติ เรื่อง โปรแกรม Adobe Flash โดยใช้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของ Davies ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อพัฒนาดัชนีประสิทธิผล ของการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โปรแกรม Adobe Flash โดยใช้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของ Davies 3) เพื่อศึกษาทักษะ การท�ำงานของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน เรื่อง โปรแกรม Adobe Flash โดยใช้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิด ของ Davies ให้เป็นไปตามเกณฑ์ทกี่ �ำหนด กลุม่ ตัวอย่างทีใ่ ช้ในงานวิจยั คือ นักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) จ�ำนวน 29 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการปฏิบัติตามแนวคิดของ เดวีส์ เรื่อง Adobe Flash ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิท์ างการเรียน เรือ่ ง Adobe Flash ชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 4 ข้อ 3) แบบประเมินทักษะการท�ำงาน เรื่อง Adobe Flash สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์หา ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ใช้สูตร E1/E2 ผลการวิจัยพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทักษะปฏิบัติของ Davies เพื่อพัฒนาทักษะการท�ำงาน วิชาเขียนโปรแกรม 1 เรื่อง โปรแกรม Adobe Flash ส�ำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.58/93.79 ซึ่งเป็นไป ตามเกณฑ์เกณฑ์ 80/80 นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้ช่วยศาตราจารย์ ประจำ�ภาควิชาเทคโนโลยีการและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 3 ครู โรงเรียนมัธยมสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 1 Undergraduate student in Educational Technology and Computer Education, Faculty of Education, Mahasarakham University 2 IAssistant Professor in Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University 3 High School Demonstration Teacher of Mahasarakham University. 1

2

102


Vol 1 No 1 January - April 2018

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทักษะปฏิบัติของ Davies มีค่าเท่ากับ 0.4 แสดงว่านักเรียนมี ความก้าวหน้า 0.4 หรือคิดเป็นร้อยละ 40 นักเรียนที่เรียนด้วย การจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทักษะปฏิบัติของ Davies มีทักษะการท�ำงาน อยู่ในระดับดี ( x = 2.5,S.D. = 0.5) ค�ำส�ำคัญ ทักษะปฏิบัติของ Davies Abstract The objectives of this research were as follows : 1) to develop plan using Devies Instruction to develop work skills Subject Programing 1 about Adobe flash the efficiency was 80/80 2) to develop the effectiveness of Learning management of Adobe flash using Devies Instruction 3) to study the work skills of Learning management of Adobe flash using Devies Instruction was efficiency. This research was an experimental research. The samples were Mathayomsuksa 4 students who study at Mahasarakham University Demonstration School (Secondary) amount 29 students by cluster random sampling. The instruments of data collection were included 1) The learning management plan of Using Devies Instruction amount 5 plans, 10 hours. 2) The Achievement Test. 3) The evaluation form of work skill. The statistics used for data analysis and as follow percentage, mean, standard deviation, and finding the efficiency of a learning management plan (E1/E2) The results as follow : 1. The learning management plan Using Devies Instruction to develop work skills Subject Programing 1 about Adobe flash for Matthayom 4 had efficiency of 87.58/93.79 which defined as follow 80/80 criterion. 2. The effectiveness index of the development of Using Devices Instruction was at 0.4 to learn that the students had increased to 0.4 or 40 percent. 3. Mathayom 4 students that using Devies Instruction, has good work skill ( x = 2.5,S.D. = 0.5) Keyword : Using Devies Instruction

บทนำ� ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อ ความเป็นอยู่ของมนุษย์เป็นอย่างยิ่งท�ำให้ชีวิต มีความ สะดวกสบายมากขึ้น มีการติดต่อสื่อสารและการคมนาคม ที่รวดเร็ว ท�ำให้มนุษย์ทั่วทุกมุมโลกติดต่อสื่อสารกันได้ชั่ว พริบตา ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ได้แผ่ขยาย ครอบคลุมไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ท�ำให้ประเทศต่าง ๆ มุ่ง สร้างความเข้มแข็งให้กบั ทุกภาคส่วนของประเทศ การสร้าง สังคมแห่งการเรียนรู้ เป็นวิธีการหนึ่งที่ประเทศต่าง ๆ เชื่อ มัน่ ว่า สามารถพัฒนาประชากรให้มคี ณ ุ ภาพได้อย่างรวดเร็ว ยิ่งขึ้น โดยมียุทธศาสตร์ ที่ส�ำคัญ คือ การพัฒนาการศึกษา ให้มปี ระสิทธิภาพ ซึง่ ตองมีการจัดกระบวนการเรียนรูใ้ ห้แก่ ผู้เรียนอย่างหลากหลาย ยึดหลักตอบสนองความต้องการ

และความสนใจของผู้เรียนเป็นส�ำคัญ การจัดกระบวนการ เรียนรู้อย่างเหมาะสมจึงจะท�ำให้เยาวชนของประเทศมี ความรอบรูแ้ ละมีศกั ยภาพเพียงพอทีจ่ ะก้าวทันกระแสการ แข่งขันในสังคมโลกได้ เทคโนโลยีทใี่ ช้ในการเรียนการสอนไว้ 3 ลักษณะ ดังนี้ 1. การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี เป็นการเรียนรู้ใน เรื่องของเทคโนโลยี เช่น เรียนรู้ เกี่ยวกับระบบการท�ำงาน ของคอมพิวเตอร์ เรียนรูว้ า่ คอมพิวเตอร์ใช้เพือ่ การประมวล ผล เก็บบันทึก ค้นคืนสารสนเทศได้อย่างไร เครื่องพิมพ์ เลเซอร์และเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก มีการท�ำงานอย่างไร เทคโนโลยีการสื่อสารมีรูปแบบใดบ้าง ช่องทางสื่อสารมี ลักษณะเป็นอย่างไรและประกอบด้วยอุปกรณ์ใดบ้าง ฯลฯ

103


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

วิชาเพื่อการเรียนการสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีมีหลายวิชา เช่น วิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น วิชาเครือข่ายดิจิทัล หรือ อาจเรียนรูจ้ ากเว็บไซต์ ทีน่ �ำเสนอเรือ่ งต่าง ๆ เพือ่ การเรียน รู้ด้วยตนเองในลักษณะมัลติมีเดีย 2. การเรียนรู้โดยใช้ เทคโนโลยี เป็นการใช้เทคโนโลยีเป็นเครือ่ งมือเพือ่ การเรียน รู้ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผล การใช้ ซอฟต์ แ วร์ คอมพิ ว เตอร์ ใ นการสร้ า งบทเรี ย นการใช้ อินเทอร์เน็ตเพือ่ การวิจยั การใช้ WWW เป็นสือ่ ในลักษณะ การสอนบนเว็บ การเรียนการสอนในลักษณะอีเลิร์นนิง และการทัศนศึกษาเสมือนด้วยแหล่งเรียนรู้เสมือนจาก เว็บไซต์ต่าง ๆ เป็นต้น 3. การเรียนรู้ไปใช้กับเทคโนโลยี เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี ได้แก่ การเรียนรู้ว่าขณะนี้เทคโนโลยีมีความก้าวไกลไปใน ลักษณะและรูปแบบใดบ้างทัง้ ทางด้านวัสดุ อุปกรณ์และวิธี การ เช่นซอฟต์แวร์โปรแกรมใหม่ ๆ เครื่อง tablet pc ซึ่ง เป็นคอมพิวเตอร์ไร้สายที่ผู้ใช้สามารถเขียนลงบนจอภาพ ได้ กล้องดิจทิ ลั เพือ่ ถ่ายภาพและเว็บแคม (Webcam) เพือ่ ใช้สง่ ภาพขณะสนทนาทางอินเตอร์เน็ต ฯลฯ เมือ่ เรียนรูถ้ งึ ความใหม่ทันสมัยของเทคโนโลยีแล้วจ�ำน�ำมาประยุกต์ใช้ ในวงการต่าง ๆ ได้อย่างไรบ้าง เช่น การใช้กล้องวีดิทัศน์ ถ่ายภาพการสอนส่งไปบนอินเตอร์เน็ตเพื่อให้ผู้เรียนใน สถาบันการศึกษาอืน่ เห็นภาพและได้ยนิ เสียงการสอน การ ใช้เครือข่ายไร้สาย ประเทศไทยมุ่งเน้นในการน�ำไอซีทีมาใช้ในการ เรียนการสอน วัตถุประสงค์เพือ่ พัฒนาสังคมไทยไปสูส่ งั คม แห่ ง ภู มิ ป ั ญ ญาและการเรี ย นรู ้ ที่ ส นองต่ อ คุ ณ ภาพชี วิ ต โดยตรง เทคโนโลยีการเรียนรูจ้ ะช่วยปรับปรุงคุณภาพการ ศึกษาของเด็กในศตวรรษที่ 21 โดยมี เป้าหมายหลักเพื่อ ช่วยเปลีย่ นสังคมไทยไปสูส่ งั คมแห่งการเรียนรู้ การประกัน โอกาสของผู้เรียนในการเข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ เชื่อมโยงสังคมไทยเข้ากับสังคมเศรษฐกิจบนพื้นฐานของ ความรู้ตามแผนแม่บทของการศึกษาแห่งชาติ และการ ก�ำหนดนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการเพือ่ ให้สอดคล้อง กับการปฏิรูปการศึกษา โดยการใช้ไอซีทีในสถาบันการ ศึกษาทั้งหมดและมีให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสใช้ไอซีทีเพื่อ การเรียนตามประสิทธิภาพทีพ่ อเพียงอย่างทัว่ ถึง โดยมีวสิ ยั ทัศน์และจุดมุ่งหมายส�ำคัญ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ. ศ. 2545 มาตรา 6 มีจุด มุ่งหมายหลักในการพัฒนาผู้เรียน ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

104

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

ทั้งร่างกาย จิตใจสติปัญญาความรู้และคุณธรรม แนวทาง จัดการศึกษา การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผูเ้ รียนทุกคน มีความสามารถเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับความสนใจและ ความถนัดของผู้เรียนโดยค�ำนึงถึงความแตกต่างระหว่าง บุคคล ฝึกทักษะกระบวนการคิดการจัดการ การเผชิญ สถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้ เพื่อป้องกัน แก้ ปัญหาและจัดกิจกรรมให้ผเู้ รียนได้เรียนรูจ้ ากประสบการณ์ จริง ฝึกการปฏิบัติให้ท�ำได้คิดเป็น ท�ำเป็นรักการอ่านและ เกิดการใฝ่รใู้ ฝ่เรียนอย่างต่อเนือ่ ง(ส�ำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาแห่งชาติ, 2545 : 13-15) กลุม่ สาระการเรียนรูก้ ารงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ความ เข้าใจมี ทักษะพื้นฐานที่จ�ำเป็นต่อการด�ำรงชีวิตและรู้เท่า ทันการเปลี่ยนแปลง สามารถน�ำความรู้เกี่ยวกับการด�ำรง ชีวิต การงานอาชีพและเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ในการ ท�ำงานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์และแข่งขัน ในสังคมไทย และสากล เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพและการ ท�ำงานและมีเจตนาคติทดี่ ตี อ่ การท�ำงานสามารถด�ำรงชีวติ อยู่ในสังคมได้อย่างพอเพียง และมีความสุข พัฒนาผู้เรียน แบบองค์รวมเพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถ และทักษะใน การท�ำงาน เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพและการ ศึกษาต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ท�ำงานในชีวิตประจ�ำวัน ช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว และสังคมได้ในเศรษฐกิจพอ เพียงไม่ท�ำลายสิง่ แวดล้อม เน้นการปฏิบตั จิ ริงจนเกิดความ มั่นใจและภูมิใจในผลส�ำเร็จของงานเพื่อให้ค้นพบความ สามารถ ความถนัดและความสนใจในตนเอง พัฒนาความ สามารถของมนุษย์อย่างสร้างสรรค์โดยน�ำความรู้มาใช้กับ กระบวนการเทคโนโลยี สร้างสิ่งของเครื่องใช้วิธีการหรือ ประสิทธิภาพในการด�ำรงชีวิต ใช้กระบวนการเทคโนโลยี สารสนเทศการติดต่อสือ่ สารการค้นหาข้อมูล การใช้ขอ้ มูล สารสนเทศแก้ปญ ั หาหรือการสร้างงาน คุณค่า และผลกระ ทบของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีทักษะ จ�ำเป็นต่ออาชีพเห็นความส�ำคัญของคุณธรรมจริยธรรมและ เจตนคติที่ดี ต่ออาชีพใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม ต่อ อาชีพ เห็นคุณค่าของอาชีพสุจริต และแนวทางในการ ประกอบอาชีพ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551) กลุ ่ ม สาระการงานอาชี พ และเทคโนโลยี โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) ได้ เห็ น ความส�ำคั ญ และสนั บ สนุ น ในการใช้ เ ทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้


Vol 1 No 1 January - April 2018

เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการเรียนรู้มากขึ้น จึงได้จัดให้มี การเรียนการสอนรายวิชาคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการงาน อาชีพและเทคโนโลยีทุกระดับชั้น จากการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนทีผ่ า่ นมายังไม่ประสบผลส�ำเร็จเท่าทีค่ วร และ จัดการศึกษารายงานการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลพบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่ขาดทักษะปฏิบัติผู้เรียนแต่ละคนมีความรู้ พื้นฐานความสามารถและทักษะการท�ำงาน ที่แตกต่างกัน ประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์ การใช้โปรแกรม ประยุกต์ทแี่ ตกต่างกันเมือ่ ผูเ้ รียนเมือ่ ผูเ้ รียนมาเรียนในวิชา คอมพิวเตอร์ ซึง่ เป็นโปรแกรมประยุกต์ทมี่ เี ครือ่ งมือและวิธี การใช้งานแตกต่างจากโปรแกรมพืน้ ฐานทีผ่ เู้ รียนเคยใช้ ซึง่ ท�ำให้ผเู้ รียนไม่สามารถฝึกปฏิบตั ไิ ด้ ท�ำได้เพียง ปฏิบตั ติ าม ที่ผู้สอนท�ำการสาธิต จากการทดสอบด้วยแบบประเมิน ทักษะการใช้งานโปรแกรม Adobe Flash นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 ทั้งหมด 4 ขั้นตอนปฏิบัติ คือ 1.ผู้เรียน ต้องรู้จักอุปกรณ์ และวิธีการใช้งานอุปกรณ์ ในโปรแกรม Adobe Flash 2.ผู้เรียนสามารถใช้งานเครื่องมือและบอก ความแตกต่างของเครือ่ งมือทีค่ ล้ายกันได้ 3.ผูเ้ รียนสามารถ ทดลองสร้างชิ้นงานง่ายๆ และการปรับค่าต่างๆ ในชิ้นงาน นั้น 4.ผู้เรียนสามารถทดลองสร้างงานที่ผู้สอนเคยสอนไป ในคาบทีแ่ ล้ว อาจะเป็นชิน้ งานง่ายๆ ทีท่ �ำได้ในเวลาไม่นาน พบว่าผูเ้ รียนส่วนใหญ่ สามารถปฏิบตั ไิ ด้ 2 ข้อแรกคือ รูจ้ กั ใช้งานและบอกความแตกต่างของอุปกรณ์ คิดเป็นร้อยละ 36.59 ท�ำให้ผเู้ รียนเกิดการท้อแท้ ไม่รบั ผิดชอบงานทีไ่ ด้รบั มอบหมาย มีเจตนาคติทไี่ ม่ดตี อ่ การเรียนการสอน ส่งผลให้ ผลสัมฤทธิท์ างการเรียนไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ทไี่ ด้วาง ไว้ จากผลการประเมินทักษะการปฏิบัติงานผู้เรียนร้อยละ 70 ไม่สามารถปฏิบัติงานตามทักษะปฏิบัติที่ผู้สอนได้ ทดสอบจากแบบทดสอบทักษะปฏิบัติรายคน Davies (Davies’ Instructional Model) ได้น�ำ เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะปฏิบัติไว้ว่าทักษะ ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยทักษะย่อยจ�ำนวนมากการฝึก ให้ผเู้ รียนสามารถท�ำทักษะง่าย ๆ เรานัน้ แล้วค่อยเชือ่ มโยง ต่อกันเป็นทักษะใหญ่จะช่วยให้ผเู้ รียน ประสบผลส�ำเร็จได้ ดีและรวดเร็วขึ้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวของ Davies (Davies’ Instructional Model) ซึง่ เป็นกระบวน การเรียนรูท้ เี่ หมาะสมส�ำหรับกลุม่ สาระการเรียนรูก้ ารงาน อาชีพและเทคโนโลยีรายวิชาเขียนโปรแกรม 1 การจัด กิจกรรมการเรียนการสอน จะเน้นที่ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ ตั้งแต่ทักษะย่อย ไปจนถึงทักษะใหญ่ เพื่อการสร้างชิ้นงาน

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

อย่างสร้างสรรค์ ด้วยตนเองอย่างต่อเนือ่ งเป็นล�ำดับขัน้ ตอน ทัง้ การท�ำงานรายบุคคล ซึง่ จะท�ำให้ผเู้ รียนสามารถท�ำงาน ได้บรรลุตามเป้าหมาย ทักษะปฏิบัติที่น�ำมาใช้ในการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนได้แก่ 1) ขั้นสาธิตทักษะหรือ การกระท�ำ 2) ขั้นสาธิตและให้ผู้เรียนปฏิบัติทักษะย่อย 3) ขั้นให้ผู้เรียนปฏิบัติทักษะย่อย 4) ขั้นให้เทคนิควิธีการ 5) ขั้นให้ผู้เรียนเชื่อมโยงทักษะย่อยส่งเสริมให้ผู้เรียน รู้จักคิด วิเคราะห์งาน วางแผนในการท�ำงานอย่างมีขั้นตอน และมี การประเมินผลการท�ำงานตั้งแต่ การวางแผนก่อนการ ท�ำงาน ขณะท�ำงานและเมือ่ ท�ำงานเสร็จแล้ว ท�ำให้เกิดการ ประเมินผล พัฒนาอยูเ่ สมอ จากข้อมูลดังกล่าว การจัดการ เรียนรู้ วิชาเขียนโปรแกรม 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงาน อาชี พ และเทคโนโลยี ซึ่ ง ควรได้ รั บ การพั ฒ นาให้ มี ประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ ในการปฏิบตั ิ เรียนรูก้ ระบวนการ หรือสร้างชิน้ งานได้อย่าง สร้างสรรค์ จากการศึกษา ดังทีพ่ บ ทิศนา แขมมณี ได้เขียน หนังสือ ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวน การเ เรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ การจัดกิจกรรมที่เน้นทักษะ ปฏิบัติ ตามแนวคิดของ Davies (Davies’ Instructional Model) จะช่วยพัฒนาความสามารถด้านทักษะปฏิบตั ขิ อง ผู้เรียน โดยเฉพาะทักษะย่อยจ�ำนวนมาก มีโอกาสได้ฝึก ปฏิบัติจริง เกิดการเรียนรู้ในการท�ำงานอย่างเต็มศักยภาพ จากที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ศึกษาวิจัยจึงมีความสนใจที่จะน�ำ รูปแบบ การจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของ Davies มาใช้ใน ในผลการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทักษะ ปฏิบตั ขิ อง Davies เพือ่ พัฒนาทักษะการท�ำงาน วิชาเขียน โปรแกรม 1 เรือ่ ง โปรแกรม Adobe Flash ส�ำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา กิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งผู้วิจัยมีความคาดหวังว่าเมื่อผู้เรียน ได้เรียนรูโ้ ดยการใช้รปู แบบ การเรียนการสอนทักษะปฏิบตั ิ ของ Davies แล้ว จะช่วยให้พัฒนาผู้เรียน ให้มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน ที่พัฒนาทักษะการท�ำงานของนักเรียน ใน กลุม่ สาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สามารถน�ำไปปรับ ใช้ให้เหมาะสมกับรายวิชา ผู้เรียนจะเกิดการพัฒนาทาง ด้านทักษะปฏิบัติ จนสามารถกระท�ำได้อย่างสมบูรณ์ถูก ต้ อ ง การเรี ย นการสอนท�ำให้ เ กิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพใน กระบวนการเรียนรู้ นอกจากนี้เพื่อเป็นแนวทางส�ำหรับ ผู้ สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ใช้ในผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่อไป

105


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ความมุ่งหมายของการศึกษาวิจัย 1. เพือ่ พัฒนาแผนการจัดการเรียนรูท้ กั ษะปฏิบตั ิ เรื่อง โปรแกรม Adobe Flash โดยใช้ทักษะปฏิบัติตาม แนวคิดของ Davies ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อพัฒนาดัชนีประสิทธิผล ของการจัดการ เรียนรู้ เรื่อง โปรแกรม Adobe Flash โดยใช้ทักษะปฏิบัติ ตามแนวคิดของ Davies 3. เพือ่ ศึกษาทักษะการท�ำงานของนักเรียนทีม่ ตี อ่ การจัดการเรียนการสอน เรื่อง โปรแกรม Adobe Flash โดยใช้ทกั ษะปฏิบตั ติ ามแนวคิดของ Davies ให้เป็นไปตาม เกณฑ์ที่ก�ำหนด ขอบเขตของการศึกษา 1. ประชากร ได้แก่ นักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย มหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) จ�ำนวน 217 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) จ�ำนวน 29 คน ได้ มาโดยการสุม่ ตัวอย่างแบบกลุม่ (Cluster Random Sampling) 3. ตัวแปรที่ศึกษา

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

3.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดการเรียน รู้ด้วยทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของ Davies 3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ 3.2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนทักษะและการปฏิบัติวิชาเขียนโปรแกรม 1 3.2.2 ทักษะการท�ำงาน 4. ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ ปีการ ศึกษา 2560 โดยใช้ระยะเวลาในการท�ำวิจัย 4 เดือน 5. เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เนื้อหา สาระเกีย่ วกับโปรแกรม Adobe Flash วิชาเขียนโปรแกรม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แผนการจัดการเรียนรูท้ กั ษะปฏิบตั ติ ามแนวคิด ของ Davies 2. แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง Adobe flash ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3. แบบประเมินทักษะการท�ำงาน การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิ จั ย ครั้ ง นี้ ไ ด้ ใ ช้ ส ถิ ติ พื้ น ฐานที่ ใ ช้ ใ นการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ และค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่ 1 การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพ ของผลการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทักษะปฏิบัติของ Davies เพื่อพัฒนาทักษะ การทำ�งาน วิชาเขียนโปรแกรม 1 เรื่อง โปรแกรม Adobe Flash สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 ผู้ศึกษาวิจัยได้วิเคราะห์หาประสิทธิภาพกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทักษะปฏิบัติของ Davies วิชา เขียนโปรแกรม 1 เรื่อง โปรแกรม Adobe Flash สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างเรียนทั้ง 4 แผน จาก การให้คะแนนในชั้นเรียน ปรากฏผลดังตาราง 1

106


Journal of Educational Technology and Communications

Vol 1 No 1 January - April 2018

Facutyl of Education Mahasarakham University

ตาราง 1 ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละของคะแนนระหว่างการจัดการเรียนรู้ (N = 29) แผนการจัดการเรียนรู้

คะแนนที่ได้ (145)

x

S.D.

ร้อยละ

1 2 3 4

124 124 136 124

4.27 4.27 4.69 4.27

0.70 0.95 0.47 0.70

85.51 85.51 93.8 58.51

4.37

0.70

87.59

รวมเฉลี่ย

ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 87.59 จากตาราง 1 พบว่า คะแนนในชั้นเรียนระว่างการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทักษะปฏิบัติของ Davies วิชาเขียน โปรแกรม 1 เรือ่ ง โปรแกรม Adobe Flash สำ�หรับนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 4 ค่าเฉลีย่ โดยรวมเท่ากับ 4.37 ส่วนเบีย่ ง เบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.70 คิดเป็นร้อยละ 87.59 ซึ่งหมายถึงค่าประสิทธิภาพชองกระบวนการ (E1) เท่ากับ 87.59 ตาราง 2 ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละของคะแนนหลังการจัดการเรียนรู้ (N = 29) แผนการจัดการเรียนรู้

คะแนนที่ได้ (145)

x

S.D.

ร้อยละ

5

272

9.37

0.82

93.79

ประสิทธิภาพของกระบวนการ (E2) เท่ากับ 93.79 จากตาราง 2 พบว่า คะแนนในชั้นเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทักษะปฏิบัติของ Davies วิชาเขียน โปรแกรม 1 เรื่อง โปรแกรม Adobe Flash สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 9.37 ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.82 คิดเป็นร้อยละ 93.79 ซึ่งหมายถึงค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2 ) เท่ากับ 93.79 ตาราง 3 ค่าประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เรียนรู้ โดยใช้ทักษะปฏิบัติของ Davies วิชาเขียนโปรแกรม 1 เรื่อง โปรแกรม Adobe Flash สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 คะแนน คะแนนเต็มรวม คะแนนที่ได้ x S.D. ร้อยละ คะแนนในชั้นเรียนระว่างการจัดการเรียนรู้ (E1) 580 508 4.37 0.70 87.58 คะแนนในชั้นเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ (E2) 290 272 9.37 0.82 93.79 ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ (E1/E2) เท่ากับ 87.58/93.79 จากตาราง 3 พบว่า ประสิทธิภาพชองกระบวนการ (E1) เท่ากับ 87.59 และ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 93.79 ดังนั้นแผนจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทักษะปฏิบัติของ Davies วิชาเขียนโปรแกรม 1 เรื่อง โปรแกรม Adobe Flash สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ (E1/E2) เท่ากับ 87.58/93.79 ตอนที่ 2 การวิเคราะห์หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทักษะปฏิบัติของ Davies วิชาเขียน โปรแกรม 1 เรื่อง โปรแกรม Adobe Flash สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผู้ศึกษาวิจัยได้วิเคราะห์หาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทักษะปฏิบัติของ Davies วิชาเขียน โปรแกรม 1 เรื่อง โปรแกรม Adobe Flash สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน และหลังเรียนของผู้เรียน ซึ่งปรากฏผลดังตาราง 4

107


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ตาราง 4 ค่าดัชนีประสิทธิผลชองการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทักษะปฏิบัติของ Davies วิชาเขียนโปรแกรม 1 เรื่อง โปรแกรม Adobe Flash สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 การทดสอบ

จำ�นวนนักเรียน

คะแนนเต็ม

คะแนนรวมที่ได้

E.I.

ร้อยละ E.I. 40 ก่อนเรียน 29 30 490 0.4 หลังเรียน 29 30 642 จากตาราง 4 พบว่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทกั ษะปฏิบตั ขิ อง Davies วิชาเขียนโปรแกรม 1 เรือ่ ง โปรแกรม Adobe Flash สำ�หรับนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคา่ เท่ากับ 0.4 แสดงว่าผูเ้ รียนมีคา่ ความก้าวหน้า ทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 40 ตอนที่ 3 การวิเคราะห์ทกั ษะการทำ�งานของผูเ้ รียนจากการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทกั ษะปฏิบตั ขิ อง Davies วิชา เขียนโปรแกรม 1 เรื่อง โปรแกรม Adobe Flash สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผู้ศึกษาได้วิเคราะห์ทักษะการทำ�งานของผู้เรียนจากการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทักษะปฏิบัติของ Davies วิชา เขียนโปรแกรม 1 เรือ่ ง โปรแกรม Adobe Flash สำ�หรับนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังจากการเรียนรูท้ งั้ 5 แผนการ สอน ซึ่งปรากฏผลดังตาราง 5 ตาราง 5 ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แสดงระดับการทำ�งานของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ ทักษะปฏิบัติของ Davies วิชาเขียนโปรแกรม 1 เรื่อง โปรแกรม Adobe Flash สำ�หรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 ข้อ แบบประเมินทักษะการทำ�งาน x S.D. ร้อยละ ตอนที่ 1 ด้านความสามารถในการปฏิบัติงาน 1 การปฏิบัติงานตามขั้นตอน 2.4 0.5 ดี 2 การเลือกใช้เครื่องมือถูกต้อง 2.6 0.6 ดีมาก 3 การเลือกใช้คำ�สั่งถูกต้อง 2.6 0.6 ดีมาก 4 ความคล่องแคล่วในการทำ�งาน 2.2 0.6 ดี 5 การประยุกต์ใช้ 2.6 0.6 ดีมาก 6 สามารถปฏิบัติงานจนเสร็จสิ้น 2.8 0.4 ดีมาก รวมด้านความสามารถในการปฎิบัติงาน 2.53 0.56 ดี ตอนที่ 2 ด้านผลงาน 7 ความประณีตสวยงาม 2.3 0.5 ดี 8 โครงสร้างและรูปแบบของชิ้นงานสมบูรณ์ 2.6 0.5 ดีมาก 9 ความคิดสร้างสรรค์ 2.4 0.6 ดี 10 ความสวยงาม 2.5 0.5 ดีมาก รวมด้านผลงาน 2.47 0.51 ดี โดยรวมทั้งหมด 2.5 0.5 ดี

108


Vol 1 No 1 January - April 2018

จากตาราง 5 พบว่า ผูเ้ รียนทีเ่ รียนโดยการจัดการเรียนรู้ โดย ใช้ทักษะปฏิบัติของ Davies วิชาเขียนโปรแกรม 1 เรื่อง โปรแกรม Adobe Flash สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 มีทักษะการทำ�งาน ดังนี้ ด้านความสามารถในการ ปฏิบัติงาน มีระดับทักษะการทำ�งานอยู่ในระดับดี ( x = 2.53,S.D. = 0.56) ด้านผลงาน มีระดับทักษะการทำ�งาน อยู่ในระดับดี ( x = 2.47,S.D. = 0.51) และระดับทักษะ การทำ�งานโดยรวมมีระดับทักษะการทำ�งานอยู่ในระดับดี ( x = 2.5,S.D. = 0.5) สรุปผล 1.การจัดการเรียนรู้ ผลการจัดการเรียนรู้ โดย ใช้ทักษะปฏิบัติของ Davies เพื่อพัฒนาทักษะการทำ�งาน วิชาเขียนโปรแกรม 1 เรื่อง โปรแกรม Adobe Flash สำ�หรับนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.58/93.79 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2.ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ ผลการ จัดการเรียนรู้ โดยใช้ทักษะปฏิบัติของ Davies เพื่อพัฒนา ทักษะการทำ�งาน วิชาเขียนโปรแกรม 1 เรื่อง โปรแกรม Adobe Flash สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มี ประสิทธิภาพ เท่ากับ 3.นักเรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ ผล การจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทักษะปฏิบัติของ Davies เพื่อ พั ฒ นาทั ก ษะการทำ � งาน วิ ช าเขี ย นโปรแกรม 1 เรื่ อ ง โปรแกรม Adobe Flash สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 อยู่ในระดับดี ( x = 2.5,S.D. = 0.5) อภิปรายผล จากการวิจัย ผลการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ทักษะ ปฏิบตั ขิ อง Davies เพือ่ พัฒนาทักษะการทำ�งาน วิชาเขียน โปรแกรม 1 เรือ่ ง โปรแกรม Adobe Flash สำ�หรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 1.การจัดการเรียนรู้ ผลการจัดการเรียนรู้ โดย ใช้ทักษะปฏิบัติของ Davies เพื่อพัฒนาทักษะการทำ�งาน วิชาเขียนโปรแกรม 1 เรื่อง โปรแกรม Adobe Flash สำ � หรั บ นั ก เรี ย นชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 4 มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ

Journal of Educational Technology and Communications

Facutyl of Education Mahasarakham University

เท่ากับ 87.58/93.79 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ซึ่ง หมายความว่า นักเรียนทุกคนมีคะแนนระหว่างการจัดการ เรียนรู้ คิดเป็นคะแนนเฉลีย่ ร้อยละ 87.58 และคะแนนหลัง การจัดการเรียนรู้ คิดเป็นคะแนนเฉลีย่ ร้อยละ 93.79 แสดง ว่าแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ สูงตามเกณฑ์ 80/80 เนื่องมาจากการจัดการเรียนรู้ที่เน้น ทักษะปฏิบตั ไิ ด้ผา่ นกระบวนการขัน้ ตอนการสร้างแผนการ จัดการเรียนรู้อย่างมีระบบ แล้วดำ�เนินการพัฒนาแผนการ จัดการเรียนรู้และได้รับการปรับปรุงแก้ไขจากการเสนอ แนะของอาจารย์ที่ปรึกษา ผ่านการประเมินคุณภาพจาก ผู้เชี่ยวชาญ และปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ก่อนนำ� ไปใช้จริง จึงทำ�ให้แผนการจัดการเรียนรูม้ ปี ระสิทธิภาพ ส่ง ผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้น เหมาะสม ที่จะนำ�ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีความสอดคล้องกับ ผลการวิจัยของ นันทพร มรกต(2556) ซึ่งวิจัยเรื่อง การ พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยทักษะปฏิบัติของ เดวีส์ เรื่อง การใช้โปรแกรม Microsoft Power Point 2007 วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 โดยนำ�การเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติของเดวีส์มา พัฒนาการจัดการเรียนรู้ โปรแกรม Microsoft Power Point 2007 ได้ทำ�การศึกษามาว่า การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ทักษะการปฏิบัติเดวีส์เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยพัฒนา เพื่อส่งเสริมผู้เรียนได้เรียนรู้ มีทักษะการปฏิบัตินำ�ความรู้ และประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำ�วัน โดยใช้ วิธีการพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยทักษะ ปฏิบัติของเดวีส์ เรื่อง เรื่อง การใช้โปรแกรม Microsoft Power Point 2007 วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ซึ่งผลการวิจัยพบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.39/88.13 และสอดคล้องกับผลการวิจยั ชนากานต์ พรหมบุตร(2556) ซึ่งวิจัยเรื่อง การศึกษาการพัฒนาทักษะการทำ�งาน เรื่อง การสร้างงานนำ�เสนอข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านเว็บไซต์ Youtube ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามรูปแบบทักษะปฏิบัติ ของ Davies โดยใช้วิธีการตามรูปแบบทักษะปฏิบัติของ เดวีส์ เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความสามารถในการ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และพัฒนามีประสิทธิภาพ และ บรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยพัฒนาแผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ที่เน้นทักษะการทำ�งาน เรื่อง การสร้างงานนำ�

109


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

เสนอข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านเว็บไซต์ Youtube ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามรูปแบบทักษะปฏิบัติของ Davies ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ซึ่งผลการวิจัยพบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.35/86.13 และสอดคล้องกับผล การวิจัย พัทธนันท์ บริสุทธิ์(2556) ซึ่งวิจัย เรื่องการพัฒนา ทักษะการทำ�งาน เรื่องการตกแต่งภาพ ด้วยโปรแกรม คอมพิวเตอร์ โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมที่เน้นทักษะ ตามแนวคิดของ Devies สำ�หรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผู้ ศึกษาค้นคว้านำ�รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติ ของเดวีส์ มาใช้ในการพัฒนาทักษะการทำ�งาน โดยนำ�รูป แบบการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มาเป็นแนวทางในการพัฒนา กิจกรรมการเรียนการสอน โดยพัฒนาแผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์เรื่อง เรื่องการตกแต่งภาพ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ซึ่งผลการวิจัยพบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.21/83.75 2.ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ผลการ จัดการเรียนรู้ โดยใช้ทักษะปฏิบัติของ Davies เพื่อพัฒนา ทักษะการทำ�งาน วิชาเขียนโปรแกรม 1 เรื่อง โปรแกรม Adobe Flash สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ 0.4 ซึ่งแสดงว่าแผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 5 แผน แสดงว่าผูเ้ รียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 40 เนื่องมาจากแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านกระบวนการ อย่างมีระบบขั้นตอน เน้นการเรียนรู้ตามทักษะปฏิบัติที่ ให้ผู้เรียนได้ลงมีปฏิบัติงานด้วยตนเอง และยังมีโอกาสได้ ฝึกฝนการทำ�งาน มีใบความรู้ให้ผู้เรียนสามารถฝึกทักษะ ย่อย ๆ ได้ก่อนจึงเชื่อมโยงต่อกันเป็นทักษะใหญ่ๆที่ช่วยให้ ผู้เรียนสามารถทำ�งานได้ดีและรวดเร็วขึ้น ผู้เรียนได้ลงมือ ปฏิบัติงานจริงด้วยตนเอง ทำ�ให้เรียนรู้อย่างเป็นขั้นตอน ตามทักษะการทำ�งานสอดคล้องกับเนื้อหาและการจัดการ เรียนรู้ของผู้เรียนจึงส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัย ธัญชนก สท้า นพบ,สุมนชาติ เจริญครบุรี(2559) ซึ่งวิจัยเรื่องผลการจัด กิจกรรมการเรียนรูเ้ รือ่ ง การประดิษฐ์พานบายศรีปากชาม ประยุกต์โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติ ของเดวีส์ สำ�หรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองเรือ วิทยา โดยผู้สอนดำ�เนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สังเกต และบั น ทึ ก ผลการเรี ย นรู้ ข องนั ก เรี ย นพร้ อ มสั ม ภาษณ์ นักเรียนและบันทึกผลการทำ�งาน และประเมินผลโดยใช้

110

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งผลการวิจัยพบ ว่า ดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.85 และสอดคล้องกับผล การวิจัย ณัฐนรี ทาวรรณ์(2557) ซึ่งวิจัยเรื่อง การใช้รูป แบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ใน รายวิชา การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิ เทคนิคลานนาเชียงใหม่ โดยศึกษาผลการจัดการเรียนรู้รูป แบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบตั ขิ องเดวีสซ์ งึ่ ได้ปรับปรุง จากรูปแบบของทิศนา แขมณี ด้วยเหตุผลคือ หลักการของ ทักษะปฏิบัติของเดวีส์นั้น สอนโดยครูนำ�การสาธิตทักษะ ย่อย เป็นลำ�ดับขั้นตอนและให้นักเรียนทำ�ตามจากทักษะ นัน้ ให้นกั เรียนรวมทักษะย่อยทีไ่ ด้ฝกึ มานัน้ รวมเป็นทักษะ ใหญ่พร้อมกับเสริมเทคนิควิธกี าร โดยใช้แบบทดสอบวัดผล การเรียนรู้วิชา การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งผลการ วิจัยพบว่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7444 และสอดคล้อง กับผลการวิจัย นันทพร มรกต(2556) ซึ่งวิจัยเรื่อง การ พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยทักษะปฏิบัติของ เดวีส์ เรื่อง การใช้โปรแกรม Microsoft Power point 2007 วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 โดยนำ�ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ มาในการจัดการเรียน การสอน ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิคปฏิบัติย่อยๆ ก่อนนำ�ไปสู่การปฏิบัติงานที่ใหญ่ขึ้น โดยให้ผู้เรียนได้ลอง ศึกษาและค้นหาเทคนิคกาเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อหาค่า ดัชนีประสิทธิผล การใช้โปรแกรม Microsoft Power Point 2007 ว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ โดย ใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิด เลือกตอบ 4 ตัวเลือก 30 ข้อ ซึ่งผลการวิจัยพบว่าดัชนี ประสิทธิผลเท่ากับ 0.6799 และสอดคล้องกับผลการวิจัย ชนากานต์ พรหมบุตร(2556) ซึง่ วิจยั เรือ่ ง การพัฒนาทักษะ การทำ�งานเรือ่ งการสร้างงานนำ�เสนอข้อมูลภูมปิ ญ ั ญาท้อง ถิ่นผ่านเว็บไซต์ Youtube ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามรูป แบบทักษะปฏิบัติของ Davies โดยใช้วิธีการตามรูปแบบ ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และพัฒนามี ประสิทธิผล ว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าหลังจากการจัดการ เรียนรู้ โดยใช้แบบทดสอบแบ่งเป็น 2 ชนิด คือแบบวัดผล การจัดการเรียนรู้แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก และแบบทดสอบวัดภาคปฏิบตั ิ ซึง่ ผลการวิจยั พบว่า มีดชั นี ประสิทธิผลเท่ากับ 0.7446


Journal of Educational Technology and Communications

Vol 1 No 1 January - April 2018

3. ผูเ้ รียนทีเ่ รียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ ทักษะปฏิบตั ขิ อง Davies เพือ่ พัฒนาทักษะการทำ�งาน วิชา เขียนโปรแกรม 1 เรื่อง โปรแกรม Adobe Flash สำ�หรับ นักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยจัดการเรียนรูต้ ามขัน้ ตอน ทัง้ หมด 5 ขัน้ ตอน คือ 1)สาธิตให้ผเู้ รียนได้ดกู อ่ น 2)อธิบาย พร้อมบอกขั้นตอนการทำ�งาน 3)ให้ผู้เรียนสร้างชิ้นงาน ด้วยตนเอง 4)ให้เทคนิคและ วิธีการเพิ่มเติม 5)ให้ผู้เรียน สร้างชิ้นงานและประเมินชิ้นงานตามเกณฑ์ ทำ�ให้ผู้เรียนมี ทักษะการทำ�งาน ในแต่ละด้าน คือ ด้านความสามารถใน การปฏิบตั งิ าน อยูใ่ นระดับดี และด้านผลงาน อยูใ่ นระดับดี ระดับการทำ�งานโดยรวมอยูใ่ นระดับดี ซึง่ สอดคล้องกับผล การวิจยั นันทพร มรกต(2556) ซึง่ วิจยั เรือ่ ง การพัฒนาการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยทักษะปฏิบัติของ เดวีส์ เรื่อง การใช้โปรแกรม Microsoft Power Point 2007 วิชาการ งานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยศึกษา ทักษะการปฏิบตั ขิ องผูเ้ รียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทีเ่ น้นทักษะการปฏิบตั วิ ธิ กี ารให้ผเู้ รียนได้ฝกึ ฝนและปฏิบตั ิ ด้วยตนเองจากทักษะย่อยๆ ไปสู่ทักษะใหญ่ โดยใช้แบบ ทดสอบวัดภาคปฏิบัติ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ทักษะปฏิบัติ ของผูเ้ รียนอยูใ่ นระดับดีมาก และสอดคล้องกับผลการวิจยั ชนากานต์ พรหมบุตร(2556) ซึง่ วิจยั เรือ่ ง การพัฒนาทักษะ การทำ�งานเรือ่ งการสร้างงานนำ�เสนอข้อมูลภูมปิ ญ ั ญาท้อง ถิ่นผ่านเว็บไซต์ Youtube ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามรูป แบบทักษะปฏิบตั ขิ อง Davies โดยศึกษาทักษะการทำ�งาน ของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการสร้าง งานนำ�เสนอข้อมูลภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ผ่านเว็บไซต์ Youtube เริ่มจากการสาธิตให้ผู้เรียนได้เห็นถึงวิธีการทำ�งานทั้งหมด ปฏิบัติงานไปพร้อมกับผู้เรียน เพิ่มเทคนิควิธีการจนไปถึง การประเมินทักษะการทำ�งานโดยใช้แบบประเมินทักษะ การทำ�งาน แบบมาตราส่วนประมาณค่า ซึง่ ผลการวิจยั พบ ว่า ทักษะการทำ�งานของผู้เรียนอยู่ในระดับดี

Facutyl of Education Mahasarakham University

ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะในการนำ�ไปใช้ 1.1 การจัดการเรียนรู้โดยรูปแบบการสอน ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ผู้สอนควรอิบายกระบวนการและ ขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้รูปแบบการสอนดังกล่าวให้ผู้ เรียนทราบเพือ่ ให้ผเู้ รียนได้รแู้ ละปฏิบตั ติ ามขัน้ ตอนได้อย่าง ถูกต้อง 1.2 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะปฏิบัติ ของเดวีส์ จะช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะการทำ�งานนั้นจะต้อง ฝึกฝนให้ผู้เรียนปฏิบัติทักษะย่อยแต่ละส่วนให้ได้ก่อนจึง จะสามารถเชื่อมโยงปฏิบัติทักษะที่สมบูรณ์ 1.3 การพัฒนาทักษะการทำ�งานของผู้เรียน ผู้สอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติงานด้วย ตนเอง 1.4 ในการจัดการเรียนรูผ้ สู้ อนควรดูแล การ ปฏิบตั ขิ องผูเ้ รียนอย่างใกล้ชดิ เพือ่ ให้ผเู้ รียนปฏิบตั ไิ ด้อย่าง ถูกต้องตามขั้นตอน 1.5 ในการใช้ เ ครื่ อ งคอมพิ ว เตอร์ ใ นการ ทำ�งาน นอกจากความพร้อมของห้องเรียนและคอมพิวเตอร์ แล้ว ควรคำ�นึงถึงความพร้อมของโปรแกรม ที่ใช้ในการ จัดการเรียนรู้เนื่องจากมีผลต่อการปฏิบัติงาน 2. ข้อเสนอแนะในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป 2.2 ควรมีการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบการ จัดการเรียนรู้เน้นทักษะปฏิบัติของเดวีส์กับการจัดการ เรียนรู้ทักษะปฏิบัติรูปแบบอื่น ๆ เช่น รูปแบบการสอนที่ เน้นทักษะปฏิบตั ขิ องซิมพ์ซนั รูปแบบการสอนทีเ่ น้นทักษะ ปฏิบัติของแฮร์โรว์ เพื่อให้กิจกรรมการสอนมีความหลาก หลาย

111


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

เอกสารอ้างอิง กระทรวงศึกษาธิการ. (2551) ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุธศักราช 2551. กรุงเทพฯ, กระทรวงศึกษาธิการ. . กาญจนา กาบทอง. (2550) การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คอมพิวเตอร์โดยใช้ชุดฝึกปฏิบัติ การจัดการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติเดวีส์ เรื่องการสร้างงานจากโปรแกรมประมวลผลคำ� สำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. การค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ชนากานต์ พรหมบุตร. (2556) การพัฒนาทักษะการทำ�งานเรื่องการสร้างงานนำ�เสนอข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่าน เว็บไซต์ Youtube ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามรูปแบบทักษะปฏิบัติของ Davies. การค้นคว้าอิสระ. : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ธัญชนก สท้านพบ และ สุมนชาติ เจริญครบุรี. (2559) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การประดิษฐ์พานบายศรี ปากชาม ประยุกต์ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติ ของเดวีส์ สำ�หรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองเรือวิทยา. การค้นคว้าอิสระ. : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ณัฐนรี ทาวรรณ์. (2557) การใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ใน รายวิชา การเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์วิทยาลัยเทคโนโลยีโปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ. : วิทยาลัยเทคโนโลยี โปลิเทคนิคลานนา เชียงใหม่, นันทพร มรกต. (2556) การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยทักษะปฏิบัติของ เดวีส์ เรื่อง การใช้โปรแกรม Microsoft Power Point 2007 วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. การค้นคว้าอิสระ. : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, นัฐพล สุขเสาร์. (2554) รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของ เดวีส์ ในรายวิชาระบบเครือข่ายเบื้องต้น วิทยาลัย เทคนิคสันกำ�แพงจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ. : วิทยาลัยเทคนิคสันกำ�แพงจังหวัดเชียงใหม่, พัตรา รักชาติ สมชาย วรกิจเกษมสกุล และกฤตวรรณ คำ�สม (2555) ผลการสอนทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เสริมด้วยแบบฝึกทักษะที่เน้นเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และทักษะปฏิบัติดนตรีไทย ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4. ค้นคว้าอิสระ. : มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี, พัทธนันท์ บริสุทธิ์. (2556) ผลการพัฒนาทักษะการทำ�งานเรื่องการตกแต่งด้วยภาพด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมที่เน้นทักษะปฏิบัติตามแนวคิด Davies สำ�หรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. การค้นคว้าอิสระ: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สุจิตรา ขุนคำ�. (2553) การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงาน และ ศึกษาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน ใน รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีงานธุรกิจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแม่แตงจังหวัด เชียงใหม่. ค้นคว้าอิสระ : เชียงใหม่, ศาสตร์ศิลป์ สินธุเขต : ออกแบบจัดหน้าบทความ

112


Journal of Educational Technology and Communications

Vol 1 No 1 January - April 2018

Facutyl of Education Mahasarakham University

แนะนำ�หนังสือ

ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง พิมพ์ที่ ปีที่พิมพ์ จ�ำนวนหน้า ราคา ประเภทหนังสือ

การผลิตและออกแบบสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษา ก่อเกียรติ ขวัญสกุล อภิชาติการพิมพ์ 2559 226 หน้า พร้อมภาพประกอบ 295 บาท ต�ำราวิชาการ

สาระสังเขป การผลิตและออกแบบสิ่งพิมพ์วิชาการเพื่อ การศึกษา จัดท�ำขึน้ เพือ่ ให้ความรูใ้ นเรือ่ งการผลิตและ การออกแบสิ่งพิมพ์ เพื่อการศึกษา เนื้อหาประกอไป ด้วย ข้อมูลที่ส�ำคัญ 9 หน่วย ประกอบด้วย หน่วยที่1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ หน่วยที่ 2 ระบบการ พิมพ์ หน่วยที่ 3 กระดาษกับการพิมพ์ หน่วยที่ 4 ประเภทของสิ่งพิมพ์ทั่วไป หน่วยที่ 5 ประเภทของสิ่ง พิมพ์เพื่อการศึกษา หน่วยที่ 6 หลักทฤษฎีกับการ ออกแบบสือ่ สิง่ พิมพ์ หน่วยที่ 7แนวคิดในการออกแบบ

สิง่ พิมพ์เพือ่ การศึกษา หน่วยที่ 8 ขัน้ ตอนกระบวนการ จัดท�ำและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ และขั้นตอนที่ 9 จรรยา บรรณ จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ ต�ำราเล่มนี้ได้รับทุนอุดหนุนการผลิตต�ำรา จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็น หนังสือที่เหมาะส�ำหรับผู้อ่านทั่วไป โดยเฉพาะผู้ที่มี ความสนใจใน เรื่องการผลิตและออกแบบสิ่งพิมพ์เพื่อ การศึกษา

113


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ผลงานคณาจารย์และนิสิต

สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา

ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

6 มิถุนายน 2560

นิสิตได้รับรางวัลการประกวดออกแบบ Infographic ในโครงการ “พลังสร้างสรรค์ ส่งเสริมคนไทยสุขภาพดี” ปี 2 หัวข้อ “รู้ทันกลลวง ห่างไกลโฆษณาปลอม” จัดโดย สำ�นักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข นายฐิตศิ กั ดิ์ จากชัยภูมิ นิสติ ชัน้ ปีที่ 2 ได้รบั รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และ

ปก : เฉลิมวุฒิ แจ้งสว่าง ทักษิณ คาโส ธีรพล ธีราช

รางวัลขวัญใจ อย. นางสาวเวียงพิงค์ พรหมดา นิสิตชั้นปีที่ 3 ได้รับรางวัลชมเชย

เมธาวี ทัพธานี วัชรินทร์ วงศประชุม

นิสิตฝึกปฏิบัติประจำ�กองบรรณาธิการ

114

ธนพล ธีราช ทีปกร โสสิงห์ เกวลิน ภูมิยิ่ง ธีรศักดิ์ คนต�ำ่ เมธาวี ทัพธานี อภิโชค รีศรีค�ำ ชัยณรงค์ นาสารี ดิศรินทร์ กองมณ ฐิติศักดิ์ จากชัยภูมิ เฉลิมวุฒิ แจ้งสว่าง วรวลัญช์ บูชาธรรม ศาสตร์ศิลป์ สินธุเขต ศุภวิชญ์ แรงรายบุญ

ทักษิณ คาโส สุนิษา บุญหล้า วนัสนันท์ โพธิ์ตึ อรวี มุงคุณมณี กรุณา สร้อยเสนา นภาพร พละศักดิ ์ พีรวัส บอกประโคน พรรณิดา อัครวงศ์ ณัฐพงษ์ วงศ์ศรีชา จิรายุ สุวรรณชัยรบ เพ็ญพิชชา สุขวาสนะ กนกกาญจน์ กรุงเก่า

2 กรกฎาคม 2560

นิสิตชั้นปีที่ 3 ้เข้ารับรางวัลชนะเลิศการประกวดสื่อเคลื่อนไหว ใน โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมความรอบรู้ด้านพฤติกรรม โภชนาการที่พึงประสงค์แกประชาชนกลุ่มวัยทำ�งาน ผ่านสื่อในยุคดิจิทัล 4.0 จัดโดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จากซ้าย นายธนวิทย์ นางาม นางสาวรัชฎาภรณ์ นัยนามาตร นายวิชชา ศรีวรมย์


Journal of Educational Technology and Communications

Vol 1 No 1 January - April 2018

Facutyl of Education Mahasarakham University

22 พฤศจิกายน 2560

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐาปนี สีเฉลียว ได้รับคัดเลือกเป็น บุคลากร ดีเด่น ประเภทอาจารย์ที่มีผลงานวิจัย/ งานสร้างสรรค์ดีเด่น ประจำ�ปี 2560 จัดโดย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม

16 กรกฎาคม 2560 นิสิตชั้นปีที่ 3 เข้ารับรางวัลในการ ประกวดสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาตรฐาน

9 ธันวาคม 2560

EPUB3 ในโครงการ “พัฒนาศักยภาพด้านการอ่านสำ�หรับนักเรียนพิการ ด้วยการพัฒนาหนังสือที่ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้” ครั้งที่ 1 จัดโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ (NECTEC) ประเภทสื่อระดับประถมศึกษา ได้รับโล่รางวัลชนะเลิศ พร้อม เงินรางวัล 30,000 บาท ได้แก่ นางสาวดารารัตน์ นาพรมมา นางสาว วัชชิรญา มิระสิงค์, นางสาวจันทรมาศ สีหา ได้รบั โล่รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 พร้อมเงินรางวัล 20,000 บาท ได้แก่ นางสาวพรรษมน สาขามุละ นายวิชากร คำ�ทำ� นางสาวพรทิพา ชุมพรม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้รับโล่รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 พ่ ร้อม เงินรางวัล 20,000 บาท ได้แก่ นายสิทธิวัฒน์ มะสันเทียะ, นายสหภาพ ทรงจันทึก นายไวทยา ดาเหล็ก

ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.รัชนีวรรณ ตั้งภักดี ้รับ่รางวัล ยกย่องเชิดชูเกียรติ เป็นอาจารย์ดีเด่น เนื่องในโอกาส วั น คล้ า ยวั น สถาปนามหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคามครบ รอบ 50 ปี

13 ธันวาคม 2560

2 กันยายน 2560 นิสิตชั้นปีที่ 3 ได้รับรางวัลการประกวดหนังสั้น ในหัวข้อ “ความสุข เล็กๆ ของนิสิต มมส” และการประกวดสื่อสร้างสรรค์สร้างวัฒนธรรม มหาวิทยาลัย จัดโดย ฝ่ายพัฒนานิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รางวัลชนะเลิศ เรื่อง “ปัญหาการจอดรถที่เรื้อรัง” ได้แก่ นายธนวิทย์ นางาม รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เรื่อง “เริ่มที่ตัวเรา” ได้แก่ นายสิทธิชัย เกิดสุข นายกสานณพ ยอดกุล นายวิชชา ศรีวรมย์ และนายธนวิทย์ นางาม

7-8 กันยายน 2560 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชนีวรรณ ตั้งภักดี ได้รับรางวัลชนเลิศ โปสเตอร์ นำ�เสนอผลงาน สาขาบริการวิชาการ อันดับ 1 ในงาน มมส วิจัย ครั้งที่ 13 ประจำ�ปีการศึกษา 2560 จัดโดย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

อาจารย์ชนยุตฏษ์ ช้างเพชร ประธานหลักสูตร กศ.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยี การศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา นำ�นิสิตชั้นปีที่ 1 เข้ารับรางวัลชมเชย และ ใบประกาศเกียรติคุณ พร้อมเงินรางวัล 20,000 บาท ในการประกวดสปอร์ต วิทยุ โทรทัศน์ เ้ นือ่ งในโอกาสวันครู ประจำ�ปี 2561 จัดโดย สำ�นักงานเลขานุการ คุรุสภา จากผลงานชื่อ “เทียนเฉลิมรัชสมัย ครูไทยพัฒนา” จากซ้าย นางสาวกรกนก เวชไธสง นางสาวจริญญา ภูระพัฒน์ นางสาว ชลธิชา ดาราก้านตรง นายสราวุฒิ ยอดกูล และนายณัชพล งามทวี (ไม่ได้เข้่าร่วมงาน)

26 มีนาคม 2561

นิสิตชั้นปีที่ 1 เข้ารับ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ในการ ประกวดสื่อ ส่งเสริมและสร้างความเข้าใจด้านสุขภาพ “ปอดแหก” ประเภท นวัตกรรม สื่อดิจิทัล “รณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่” โดย เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ และเวชนิทัศน์สมาคม​แห่งประเทศไทย​ใน การประชุมมหกรรม​วิชาการฟ้าใส​ประจำ�ปี​2561​ของ แพทย​สมาคม แห่งประเทศไทย​ จากผลงานชื่อ ป(ล)อดแหก ได้รั บเงินรางวัละ20,000 บาท พร้อมโล่และใบประกาศนียบัตร จากซ้าย นายสราวุฒิ ยอดกูล นางสาวชลธิชา ดาราก้านตรง และ นางสาวจริญญา ภูระพัฒน์

115


วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561

การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์

่ กองบรรณธิการ วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ส่งบทความเข้าระบบได้ที https://edu.msu.ac.th/etcjournal/ e.mail : journal.etc.edu.msu@gmail.com โทร 086 6404222

บทความที่น�ำเสนอในฉบับ ประกอบด้วยบทความ วิชาการ บทความวิจัย และบทความปริทัศน์ ในสาขาวิชา เทคโนโลยีการศึกษา คอมพิวเตอร์ศกึ ษา และบทความทางด้าน การศึกษาในศาสตร์อื่น ๆ โดยบทความทุกเรื่อง ก่อนน�ำออก ตีพิมพ์เผยแพร่ จะ ต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review) ท�ำการประเมินคุณภาพก่อนทุกเรื่อง โดยผู้ที่ สนใจต้องการเสนอบทความตีพิมพ์ มีแนวปฏิบัติดังนี้ 1. เสนอได้ทงั้ บทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 2. บทความทุกเรื่อ ง ต้องเขียนบทคัดย่อภาษา อังกฤษ (abstract) ก�ำกับมาด้วย หากเป็นบทความภาษา อังกฤษ ให้เขียนบทคัดย่อเป็นภาษาไทย 2. จัดพิมพ์ดว้ ยโปรแกรม Microsoft Word ใช้ตวั อักษร TH Sarabun New ขนาด 15 pt. 3. ตั้งค่าหน้ากระดาษ A4 ขอบกระดาษทุกด้านๆ ละ 1 นิ้ว (2.5 เซนติ เมตร) และจัดรูปแบบเป็นหนึ่งคอลัมน์่ จ�ำนวนหน้า ไม่เกิน 15 หน้า (รวมบรรณานุกรม) 4. บรรณานุกรมต้อง มี รายการอ้างอิงครบถ้วน สมบูรณ์ โดยยึดรูปแบบการเขียนบรรณานุกรรมตามข้อก�ำหนด ของ บัณฑิตวิทยาลัย ม ห าวิทยาลัยมหา่สารคาม ราย ละเอียดดูได้จาก https://grad.msu.ac.th/th/Manual-Thesis.php

ประเภทของบทความ บทความวิจยั (Research article) เป็นบทความทีน่็ �ำเสนอผลทีไ่ ด้จากงานวิจยั ในรูปแบบของการประมวลสรุป กระบวนการวิจัย ให้มีความกระชับและสั้น ส�ำหรับตีพิมพ์เผยแพร่ บทความทางวิชาการ (Academic article) หมายถึง งานเขียนวิชาการซึ่งมีการวิเคราะห์ประเด็น ตามหลัก วิชาการ โดยมีการส�ำรวจวรรณกรรมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ จนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็น นั้นได้ โดยรูปแบบของบทความวิชาการ จะประกอบด้วยการกล่าวถึงที่มาของประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์ กระบวนการอธิบายหรือวิเคราะห์ และบทสรุป มีการอ้างอิงบรรณานุกรม ทีค่ รบถ้วนและสมบูรณ์ มักน�ำเสนอเรือ่ งทีก่ �ำลัง อยู่ในความสนใจ สอดคล้องกับสถานการณ์ ที่จะให้ผู้อ่านได้รับความรู้ แนวคิด โดยมีการเสนอทัศนะ ข้อคิดเห็น หรือ ข้อ วินิจฉัยของผู้เขียนแทรกอยู่ บทความปริทัศน์ (Reviewed articles) หมายถึง บทความที่มีการผสมผสานแนวคิด และผลการวิจัยหลายๆ งานวิจัย โดยผู้เขียนจะสังเคราะห์แนวคิดเหล่านี้ ตลอดจนสังเคราะห์ผลการวิจัยจากงานวิจัยต่างๆ เพื่อประมวลเป็นข้อโต้ แย้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยวัตถุประสงค์ของการเขียนจะเป็นการสรุป วิเคราะห์ และสังเคราะห์ความรู้จากผลงานวิจัย อื่นๆ และ/หรือผลงานวิชาการอื่นๆจนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการทบทวนการก้าวหน้าทางวิชาการของเรื่องนั้นๆ

116



วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม

118

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2561


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.