ตัวอย่าง โครงร่างโครงงานออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เทคนิคการทาให้เกิดสีบนเส้นด้ายพุ่งสาหรับการทอผ้ายกมุก HOW TO CAUSE COLOR WEFT YARN FOR WEAVING PEAL RAISING โดย นางสาวเนตรนภา เอี่ยมทา รหัสนักศึกษา 13540604028-6
ขอดาเนินการสอบวันที่ ...............................................................................เวลา........................................
บทที่ 1 บทนา 1.1 ความเป็นมาและความสาคัญของโครงการ ชาวไทยวนในจังหวัดสระบุรีมีการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม ที่สืบทอดมาจาก ถิ่นฐานเดิม ได้แก่ งานบุญสลากภัตร งานถวายปราสาทผึ้ง การสร้างพระคัมภีร์ต่าง ๆ ของพุทธศาสนา นอกจากนี้ชาวไทยวนที่บ้านต้นตาลได้มีการสืบสานวัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่งคือ การทอผ้าฝ้ายด้วยกี่ ทอมือ เป็นลวดลายแบบโบราณที่มีการยกดอกมุก สวยงามทั้งสีสันและลวดลายปัจจุบันยังมีการพัฒนาการทอผ้า เป็นแบบสมัยนิยม ทั้งที่เป็นผ้าพื้นและลวดลายทั่วไป การแต่งกายของคนไทยวนยุคก่อนจะนิยมนุ่งซิ่นที่ทอใช้กันเอง ใช้ผ้าสไบคาดอก เรียกว่า ผ้าแถบ ปล่อยชายข้างหนึ่งห้อยลงมา ต่อมาก็พัฒนามาเป็นเสื้อแขนกุด เสื้อคอกระเช้า สาหรับหญิงไทยวน จะนุ่งซิ่นลายขวาง ชายบนล่างอาจจะเป็นผ้าพื้นสีแดงดาหรือขาว ห่มสไบพาดทางซ้าย ที่ผมอาจทัดดอกไม้ ดอกเอื้องพองาม (ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมสถาบันราชภัฏเทพสตรีลพบุรี, 2541: 53-69) การทอผ้ายกมุก เป็นผ้าทอยกลายในตัว โดยใช้เส้นยืนพิเศษ 2 ชุด เพิ่มจากเส้นด้ายยืนปกติ บนกี่ทอผ้า ลายมุกบนผ้าเกิดจากการใช้ตะกอยก ซึ่ง เส้นด้ายยืนพิเศษชุดนี้ต่างกับขิดและจกตรงที่ใช้ด้าย พุ่งพิเศษ เส้นยืนพิเศษ 2 ชุดนั้นประกอบไปด้วย ชุดแรกใช้เส้นด้ายยืนสีเดียวหรือหลายสี ทอเป็นลายขัด ธรรมดา ชุดที่ 2 ใช้เส้นด้ายยืนที่เพิ่มพิเศษจากเส้นด้ายยืนธรรมดา มีสีเดียวหรือหลายสี อาจสอดแทรก ด้วยเส้นไหม หรือดิ้นสีต่างๆ ลักษณะลวดลายผ้ายกมุกเป็นลวดลายซ้ายาวติดต่อกันเป็ นแถบตามทิศทาง ของเส้นด้ายยืน ลวดลายเรียงชิดติดกันหรือเว้นระยะห่างกันจนเต็มหน้าผ้า (ทัศนีย์ ศรีมงคล, 2530: 14) เนื่องจากปัจจุบันการทอผ้ายกมุกของกลุ่มทอผ้าต้นตาลจังหวัดสระบุรีได้มีการทอผ้าเป็น อาชีพเสริมแต่จะทอผ้าเพื่อนามาใช้เป็นผ้าซิ่นและนามาใช้สอยกันแค่ในหมู่บ้านอีกทั้งลวดลายยังใช้ด้ายสี เดียวในการทอซึ่งการที่ใช้เส้นด้ายสีเดียวมาทอเป็นตัวดอกของลวดลายผ้า อาจจะทาให้ยังไม่เป็นที่สนใจ ของวัยรุ่นเพราะลวดลายของผ้าไม่มีสีสันให้เลือกมากนักอีกทั้งยังเป็นที่นิยมใช้กันในกลุ่มผู้สูงอายุที่ชอบใช้ สีสันฉูดฉาด
จากการศึกษาทดลองโดยใช้เทคนิคการใช้สี บนเส้นด้ายจากนั้นนามาทอเป็นผ้ายกมุกซึ่งได้ พบว่าเส้นด้ายที่ใช้เทคนิคการใช้สีแล้วนามาเป็นเส้นด้ายพุ่งของลวดลายผ้าทอยกมุกเมื่อทอออกมาเป็นผืน ผ้าแล้วลวดลายที่ทอออกมามีสีสันหลากหลายในลวดลายและจะโดดเด่นมากขึ้นเมื่อใช้สีพื้นของผ้าเป็น สีดา 1.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ 1.2.1 เพื่อศึกษาเทคนิคการทาให้เกิดสีบนเส้นด้ายพุ่งสาหรับการทอผ้ายกมุก 1.2.2 เพือ่ ออกแบบชุดลาลองสาหรับสุภาพสตรีจากผ้าทอยกมุก 1.3 กรอบแนวคิดที่ใช้ในโครงการ ข้อมูลเกี่ยวกับผ้าทอยกมุก - ประเภทของผ้าทอยกมุก - กระบวนการทอผ้ายกมุก
เทคนิคการทาให้เกิดสีบน เส้นด้ายพุ่ง - เพ้นท์สีโดยไม่กั้นสี - เพ้นท์สีโดยการมัดเพ้นท์ - เพ้นท์สีโดยใช้พาราฟิน - การมัดเกลียวเส้นด้ายและนา มาเพ้นท์
ข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มแฟชั่น - ความสาคัญของแนวโน้มแฟชั่น - ความสาคัญของแนวโน้มแฟชั่น - แนวโน้มแฟชั่น ปี ค.ค. 2014 - 2015 ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเครื่องแต่งกาย - ความหมายและความสาคัญของเครื่องแต่งกาย - หลักการออกแบบเครื่องแต่งกาย - การพัฒนาแนวคิดในการออกแบบเครื่องแต่งกาย
รูปแบบของชุดลาลองสาหรับสุภาพสตรี จากผ้าทอยกมุก
ปัจจัยส่วนบุคคล - เพศ - อายุ - รายได้
ภาพที่ 1.1 กรอบแนวความคิด
1.4 ขอบเขตของการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาเทคนิคการทาให้เกิดสีบนเส้นด้ายพุ่งสาหรับการทอผ้ายกมุก เพื่อ ออกแบบ ได้กาหนดขอบเขตของการวิจัย ดังนี้ 1.4.1 ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผ้าทอยกมุก ไทยวน อาเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี 1.4.2 ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการให้เกิดสีบนเส้นด้ายพุ่งสาหรับการทอผ้ายกมุก 1.4.3 ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเครื่องแต่งกาย 1.4.4 ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มแฟชั่น 1.4.5 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ได้แก่ สุภาพสตรีที่อยู่ในวัยทางานในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สุภาพสตรีที่อยู่ในวัยทางาน ที่มีอายุระหว่าง 25 – 40 ปี ในเขต พื้นที่กรุงเทพมหานคร จานวน 100 คน 1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.5.1 ได้วิธีและกระบวนการการทาให้เกิดสีบนเส้นด้ายพุ่งสาหรับการทอผ้ายกมุก 1.5.2 ได้ออกรูปแบบชุดลาลองสาหรับสุภาพสตรี จากผ้าทอยกมุก 1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ เพื่อให้ เข้าใจที่ถูกต้องและเหมาะสม ตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาคาต่อไปนี้ นิยาม เฉพาะที่ใช้โครงงาน จึงกาหนดความหมายของคาต่างๆที่ใช้ในการศึกษาดังนี้ 1.6.1 เทคนิคการทาให้เกิดสี หมายถึง การใช้เทคนิคการเพ้นท์สีบนเส้นด้าย 4 วิธีได้แก่ 1) เทคนิคการเพ้นท์สีโดยไม่กั้นสีโดยปล่อยให้สีซึมเข้าหากัน 2) เทคนิคการเพ้นท์สีโดยการมัดเพ้นท์คือ การนาเอาเชือกมามัดเส้นด้ายสลับไปมาเพื่อกั้นสีส่วนที่โดนเชือกกั้นไม่ให้สีซึมเข้าไปและนาไปแช่สารเคมี และนามาเพ้นท์สี 3) เทคนิคการกั้นสีโดยใช้พาราฟิน คือ การนาเอาเส้นด้ายไปชุบพาราฟินและนามาขยี้ ให้พาราฟินหลุดออกบางส่วนและนามาแช่สารเคมีและเพ้นท์สี 4) เทคนิคการม้วนเกลียวมัดเส้นด้ายฝ้าย มาม้วนและนามาเพ้นท์สี