MAGAZINE
FREE COPY Vol.1 No.1 (May-August 2020)
Contents Get Known สารจากอธิการบดี
EDITOR’s TALK
Get Engaged VRU มุ่งมั่นน้อมนำ�พระบรมราโชบาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าพระเจ้าอยู่หัว ร.10 4
Get Updated อยู่อย่างไรใน New Normal
สวัสดีคุณผู้อ่านทุก ท่ า นค่ ะ VRU Magazine ฉบั บปฐมฤกษ์ ที ่ ท่ านกำ�ลัง อ่านอยู่นี้ ได้เผยแพร่ในช่วงโอกาสมหามิ ่ ง มงคล เดื อ นกรกฎาคมซึ ่ ง เป็ น เดื อ นแห่งวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 นับเป็นมงคลและปลาบปลื้มต่อทีมงานเป็นอย่างยิ่ง VRU Magazine จั ด ทำ � ขึ ้ น โดยงานสื ่ อ สารองค์ ก รและการตลาด มหาวิทยาลัย ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอัน เป็นประโยชน์ต่อ ผู ้ อ่าน ตามพันธกิ จของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลัง ปัญญาของแผ่น ดิ น ฟื ้ น ฟู พ ลั ง การเรี ย นรู ้ เชิ ด ชู ภ ู ม ิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ ่ น สร้ า งสรรค์ ศิลปวิทยาเพื่อ ความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง มั ่ ง คั ่ ง และย่ ั ง ยื นของปวงชน เนื ้ อหาในฉบับแรกนี้จึงเริ่มต้น ด้วยผลการดำ�เนินงานของมหาวิทยาลัยที่น้อมนำ�พระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ด้านการพัฒนาท้องถิ่นผ่านโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น OTOP และโครงการ ยกระดับคุณภาพการศึกษา มานำ�เสนอให้ผู้อ่านทุกท่านได้เห็นถึงศักยภาพของมหาวิทยาลัย ในคอลัมน์ Get Engaged ด้วยสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกภายหลังการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เรา ตั้งรับและพร้อมต่อสถานการณ์นี้อย่างไร มาติดตามความปกติใหม่ได้ในคอลัมน์ Get Updated “อยู่ อย่างไรใน NEW Normal” และเติมเต็มความสุขและความอิ่มเอมใจในสถานการณ์ใหม่นี้ด้วยการ พักผ่อนที่คอลัมน์ Get Fulfilled “ชวนไหว้พระ ขอพร ที่วิหารหลวงพ่อสำ�เร็จศักดิ์สิทธิ์” และหาอาหาร อร่อยที่เสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายในคอมลัมน์ Get Satisfied “เมนูอร่อยและเสริมภูมิ (คุ้มกัน) @VRU” โลกเปลี่ยนและไม่เคยหยุดนิ ่ ง ฉั น ใด การเรี ย นรู ้ แ ละการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ก็ ไม่สามารถหยุดได้ ฉ ั น นั ้ น VRU Magazine จึ ง รวบรวมหลักสูตรและคอร์สเสริมศักยภาพและ การเรียนรู ้ ต ่ า ง ๆ ให้ ท ่ า นในคอลั ม น์ Get Equipped ดั ง วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยที่ต้องการ พัฒนาศักยภาพมนุษย์โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แม้ว่า VRU Magazine จะเป็นแมกกาซีนน้องใหม่ แต่ด้วยความมุ่งมั่นในการดำ�เนินงาน เพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัย ทีมงานมั่นใจอย่างยิ่งว่าต้องมีเนื้อหาดีดีมีประโยชน์มานำ�เสนอ และ ถูกใจท่านผู้อ่านอย่างแน่นอนค่ะ ติดตามเราได้ในฉบับต่อไปเดือน กันยายน - ธันวาคม 2563 นะคะ ผศ.ดร.สุภณิดา พัฒธร บรรณาธิการ
2
3
8
Get Fulfilled ชวนไหว้พระ ขอพร ที่วิหารหลวงพ่อสำ�เร็จศักดิ์สิทธิ์
10
Get Satisfied เมนูอร่อยและเสริมภูมิ (คุ้มกัน) @VRU Get Equipped เรียนอะไรใน VRU
12
14
กองบรรณาธิการ แมกกาซีน ที่ปรึกษา ผศ.ดร.สุพจน์ ทรายแก้ว อาจารย์ไชย มีหนองหว้า บรรณาธิการ ผศ.ดร.สุภณิดา พัฒธร ผู้ช่วยบรรณาธิการ อ.ปวิช เรียงศิริ ฝ่ายประสานงาน อ.ดร.โรจนันท์ ทรงอยู่ นางสาวสุวิมล พิชัยกมล นางสาวศศิธร ชื่นขาว นางสาววิษณีย์ ขุนสิงห์ ศิลปกรรมและถ่ายภาพ ผศ.เดือนฉายผู้ชนะ ภู่ประเสริฐ นายอาทิตย์ มีอนันต์ นายทวีศักดิ์ ปานเทวัญ นายสายัญ เทียบแสน นายพุทธินันต์์ โสมรุษ โฆษณาและการตลาด ผศ.ดร.ดรุณี หันวิสัย นางสาวมณี บุญผาย นางสาวพัฒน์ธนสรณ์ กลิ่นไทย จัดทำ�โดย งานสื่อสารองค์กรและการตลาด มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180 โทรศัพท์ 02-909-1425 โทรสาร 02-909-1425 E-mail vrumagazine@vru.ac.th ติดต่อ ฝ่ายโฆษณา นางสาวมณี บุญผาย นายพัฒน์ธนสรณ์ กลิ่นไทย บรรณาธิการ 08-6046-6761
Get Known สารจากอธิการบดี
สังคมไทยยุคหลังโควิด 19 กำ�ลังจะเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกฝ่ามือ ภาวะปกติ ใหม่ที่เริ่มปรากฏให้เห็นในหลาย ๆ ด้าน อาทิ การฝึกอบรมและเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ การจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าผ่านตลาดออนไลน์ การฝึกอบรมและเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ การเปลี่ยนงาน การว่างงานของคนในวัยแรงงานทุกกลุ่มอาชีพ การหวนคืนกลับสู่วิถี เกษตรชุมชนของคนทำ�งาน ฯลฯ รวมทั้งการลดลงของประชากรวัยเรียนระดับอุดมศึกษา ความต้องการในการเปลี่ยนทักษะ สมรรถนะของคนทุกกลุ่มอาชีพ (Reskill, Upskill) ซึ่ง ส่งผลทำ�ให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งจำ�เป็นต้องรื้อสร้าง ปรับเปลี่ยนรูปแบบในการให้บริการและ การบริหารจัดการ (Reinventing University) เพื่อให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นในปัจจุบัน อีกด้านคือการเปลี่ยนแปลงความคิด ความเชื่อ (Mindset) ของ คณาจารย์และบุคลากรถื อ เป็ น ปั จ จั ย สำ � คั ญ ที่ ส่ ง ผลต่ อ ความสำ � เร็ จ ของการรื้ อ สร้ า ง ปรับเปลี่ยนมหาวิ ท ยาลั ย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่ ของพวกเราชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ผศ.ดร.สุพจน์ ทรายแก้ว
3
Get ฎKnown
VRU มุ่งมั่นน้อมนำ�พระบรมราโชบาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติให้เป็นที่ประจักษ์ของสาธารณชน
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มุ่งมั่นน้อมนำ�พระบรมราโชบาย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สู่การปฏิบัติให้เป็นที่ประจักษ์ของสาธารณชน
การพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยได้บูรณาการงานพันธกิจสัมพันธ์ ทั้งในส่วน ของการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการ ทำ�นุบำ�รุงศิลปวัฒนธรรม ผ่านการดำ�เนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ชุมชนท้องถิ่น OTOP มาอย่างต่อเนื่อง โดยทางมหาวิ ท ยาลั ย ได้ ม อบหมายให้ ผ ู ้ เ ชี ่ ย วชาญ จากทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัย คณาจารย์ และนั ก ศึ ก ษา ร่ ว มกันพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ตอบสนองความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น ออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ สร้างเรื่องเล่าผลิตภัณฑ์ ที่น่าสนใจ พร้อมทั้งวางแผนการตลาดเพื่อส่งเสริมการขาย และ ยกระดับคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ทั้งในและต่างประเทศ
ในการนี ้ คณาจารย์ แ ละนักศึกษาสาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ อุ ต สาหกรรม คณะเทคโนโลยี อ ุ ตสาหกรรม ได้รว่ มกันส่งผลงาน ออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม ทันสมัย ส่งเสริมความ โดดเด่นของผลิตภัณฑ์ชุมชนท้ อ งถิ่ นให้ กับทุ กผลิ ตภั ณ์ จ ากทั้ งใน จังหวัดปทุ ม ธานี แ ละจั ง หวั ด สระแก้ ว ที่ เ ข้ า ร่ วมประกวดโครงการ “ประกวดออกแบบบรรจุภัณฑ์ OTOP ในการดำ � เนิ น การพั ฒ นา ผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถ่ิน OTOP”
Get ฎEngaged
4
“ดีใจที่ได้นำ�ความรู้จากการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก มาออกแบบบรรจุภัณฑ์ ซึ่งงานที่ออกแบบมายังมีโอกาสได้นำ�ไปใช้จริง และได้รางวัลจากการประกวดครั้งแรกด้วย”
นางสาววาสนา สดใส
มรภ.วไลยอลงกรณ์ฯ พร้อมบริการงานด้านการออกแบบตราสินค้า และบรรจุภัณฑ์ เคียงข้างการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น OTOP
ที ม อาจารย์ ท ี ่ ใ ห้ บ ริ ก ารงานด้ า นการออกแบบตราสิ น ค้ า และบรรจุ ภ ั ณ ฑ์ ได้ แ ก่ ผศ.นเรศ ยะมะหาร ผศ.เดือนฉายผู้ชนะ ภู่ประเสริฐ อ.ดร.กฤตยชญ์ คำ�มิ่ง อ.วิศวรรธน์ พัชรวิชญ์ ผศ.ดร.วุฒิชัย วิถาทานัง อ.จุฑามาศ เถียรเวช และ อ.ธนัง ชาญกิจชัญโญ ได้ประยุกต์องค์ความรู้ทางด้านศิลปะสู่การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ โดยในครั้งนี้นางสาววาสนา สดใส นักศึกษาของสาขาวิชา ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเป็นผู้รับรางวัลขนะเลิศจากการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำ�หรับผลิตภัณฑ์ กล้วยแปรรูปในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น OTOP ปี 2563 นี้
“ภูมิใจและปลื้มใจที่ได้สนองพระบรมราโชบาย ร.10 ในการนำ�ความรู้ด้านการออกแบบ มาเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ของชุ ม ชนท้ อ งถิ ่ น ตามความต้ อ งการของชุมชน และยัง สามารถปลูกจิตสำ�นึกให้กับนักศึกษาในการทำ�งานร่วมกับชุมชน อีกทั้งให้นักศึกษาได้มี โอกาสการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning) และเป็นการเรียน รู้เชิงผลิตภาพ (Productivity-Based Learning) อีกด้วย”
อ.วิศวรรธน์ พัชรวิชญ์ “ผลิตภัณฑ์ชมุ ชน OTOP เป็นผลิตภัณฑ์ทเ่ี กิดจากองค์ความรูข้ องชุมชน ทีแ่ สดงถึงอัตลักษณ์และ รากเง้าเดิมของชุมชน การที่มหาวิทยาลัยซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญที่หลากหลายเข้าไปร่วมพัฒนา ผลิตภัณฑ์ ไม่เพียงแต่ทำ�ให้เกิดตราสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการเท่านั้นแต่ ยังเป็นการสร้างกระบวนการคิดที่เปิดโลกทัศน์ให้ธุรกิจชุมชนอีกด้วย”
ผศ.ดร.วุฒิชัย วิถาทานัง “ศาสตร์ทางด้านการออกแบบส่ ง ผลต่ อ ยอดขายสิ น ค้ า ไม่เพียงแต่การออกแบบ ตราสินค้า หรือบรรจุภัณฑ์เท่านั้น แต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มหน้าที่การใช้งานหรือ ความร่วมสมัย จะทำ�ให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย ได้อีกด้วย”
อ.ดร.กฤตยชญ์ คำ�มิ่ง 5
Get ฎEngaged
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กับการสนองพระบรมราโชบายด้านการศึกษา Get ฎEngaged
6
การยกระดับคุณภาพการศึกษา
มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ เป็นมหาวิทยาลัย ที่มุ่งทำ�งานเพื่อพัฒนาชุมชนและท้ อ งถิ ่ น และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เข้มแข็งสามารถนำ� ศักยภาพของตนออกมาใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติโดยรวม ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงได้มีการจัดทำ�โครงการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของนักเรียนในพื้นที่ จังหวัดปทุมธานีและสระแก้วโดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนอย่าง ดีเสมอมา
เพื่อสนองต่อพระบรมราโชบายด้านการศึกษา
ของพระบาทสมเด็ จ พระวชิ ร เกล้ า เจ้ า อยู ่ ห ั ว รั ช กาลที ่ 10 ใ น พ . ศ . 2 5 6 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ ได้ จ ั ด กิ จ กรรมเพื่อบ่มเพาะ คุณธรรมและจริยธรรมบนพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำ�ให้เด็กและเยาวชนเกิดความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตน และมีค่านิยมที่ดีต่อคุณธรรมจริยธรรมที่ประชาชนภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย อันจะเป็นประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งเปรียบเสมือนการบ่มเพาะต้นกล้าที่ดีซึ่ง เป็นรากฐานสำ�คัญของชาติรุ่นต่อไป โดยโครงการได้รับผลตอบรับเข้าร่วมจากโรงเรียนและ หน่วยงานต่ า ง ๆ เป็ น อย่ า งดี เ นื ่ อ งจากเป็นโครงการที่สนองต่อพระบรมราโชบายและสร้าง ผลลัพท์ที่ดีให้กับนักเรียนที่จะเป็นกำ�ลังสำ�คัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไปอย่างแท้จริง นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2563 ทางมหาวิทยาลัยยังได้เล็งเห็นถึงความสำ�คัญของ การพัฒนาครูประจำ�การในสถานศึกษาในท้องถิ่นให้สามารถสร้างและพัฒนานวัตกรรมการ จัดการเรียนรูใ้ ห้แก่ผเู้ รียนได้พฒ ั นาอย่างรอบด้านจึงได้จดั โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา การผลิตและพัฒนาครูเสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน เพื่อสร้างความ ร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและโรงเรียนเครือข่ายในการสำ�รวจความต้องการ ความคาดหวัง และมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรี ย นต้ น แบบในด้ า นต่ า ง ๆ เช่ น โรงเรี ย น สี เ ขี ย ว โรงเรียนทักษะอาชีพ โรงเรียนสร้างสุข โรงเรียนสอนดี โดยมีโรงเรียน 24 แห่ง ทั้ง ในจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้วสนใจเข้าร่วมกิจกรรมและแลกเปลีย่ นเรียนรูซ้ ง่ึ กันและกัน โดยในระยะต่อไป ทางมหาวิทยาลัยจะสร้างกิจกรรมในรูปแบบอื่น ๆ ที่ตอบสนองต่อความ ต้องการของโรงเรียนและชุมชนขึ้นมาเพื่อให้เป้าหมายที่วางไว้ประสบผลสำ�เร็จตามลำ�ดับ จากการดำ � เนิ น งานที ่ ผ ่ า นมา จะเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ยึดมั่นต่อพันธกิจที่ให้ไว้แก่สังคมอย่างเหนี่ยวแน่น โดยมีเป้าหมาย ที่สำ�คัญคือการพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ มีธรรมาภิบาลเพื่อเป็นต้นแบบของ การพัฒนามหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืนในอนาคต
7
Get ฎEngaged
อยู่อย่างไรใน NEW NORMAL
หลายคนอาจเคยได้ยนิ คำ�ว่า “นิวนอร์มอล” (NEW NORMAL) กันมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในช่ ว งที่ ป ระเทศไทยเริ่ ม ปลดล็ อ กหลั ง จากที่ มี การ ระบาดของเชือ้ ไวรัส COVID-19 อย่างรุนแรง ซึ่งอันที่จริง คำ�ว่า “นิวนอร์มอล” นี้ไม่ใช่คำ�ใหม่หรือสื่งที่เพิ่งเคย เกิดขึ้นแต่อย่างใด เพราะในสมัยก่อนประชาคมโลก ก็ได้เคยเผชิญกับช่วงนิวนอร์มอลในทางเศรษฐกิจ มาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจ ถดถอยทั่วโลกในช่วงปี พ.ศ. 2550-2551 ซึ่งในตอน นั้นคำ�ว่า นิ ว นอร์ ม อลได้ น ำ � มาใช้ เ พื ่ อ อธิ บ ายการ ขยายตั ว ทางเศรษฐกิ จ ที ่ ไ ม่ เ หมื อ นเดิ ม ว่าเป็น “ความปกติแบบใหม่” หรื อ “ชี ว ิ ต วิ ถ ี ใ หม่ ” ที่ต้อง ยอมรับให้ได้นั่นเอง
Get ฎUpdated
8
สรุปว่า “นิวนอร์มอล” ที่เราเผชิญอยู่คืออะไรกันแน่ พออ่านมาถึงตรงนี้หลาย ๆ คน คงเริ่มสงสัยว่าแล้วนิวนอร์มอลแบบที่เรา กำ�ลังพูดถึงกันอยู่ทุกวันนี้ หมายถึงความปกติ แบบใหม่ ที่ เ ราต้ อ งรั บ ให้ ไ ด้ เ ช่ น เดี ย วกั น หรือไม่ ซึง่ คำ�ตอบก็ไม่ได้ตา่ งจากนิวนอร์มอล ทางเศรษฐกิจมากนัก เพราะมั น หมายถึ ง การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเราให้เข้ากับ การใช้ชีวิตประจำ�วันในรูปแบบที่ไม่คุ้นเคย มาก่อน และก็เป็นรูปแบบการใช้ชีวิตที่เรา ต้องยอมรับให้ได้เช่นเดียวกัน
ชีวิตที่เปลี่ยนไป การเลือกซื้อสินค้าหรือบริการ เกิดรูปแบบการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ มีผู้ใช้บริการธุรกิจ Delivery จำ�นวนมาก มีการจำ�กัดเวลาให้บริการของธุรกิจบางประเภท เช่น ผับ บาร์
การทำ�งานและการศึกษา
การท่องเที่ยวและการเดินทาง
มีการตรวจวัดไข้ ณ จุดคัดกรองตามสถานที่ต่าง ๆ เกิดรูปแบบการท่องเที่ยวในประเทศที่อยู่ใน Travel Bubble ซึ่ง มีความปลอดภัยจากเชื้อ Covid-19 มีการเว้นที่นั่งระหว่างผู้โดยสาร เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ จำ�กัดคนเข้าสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ
เกิดการสร้างสื่อเพื่อการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ เพื่อการอบรมทักษะต่าง ๆ ที่สามารถเข้าถึงได้จาก หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ตโฟน ใช้รูปแบบการประชุมหรือเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ เพิ่มระยะห่างในห้องเรียน การ Work from Home
จากการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมที่เกิดขึ้น เราจะเห็นได้ว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อทั้งตัวของ เราและสังคมโดยรวมทั้งสิ้น ซึ่งเราเองในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของสังคม ก็ควรที่จะตระหนักถึงความ รุนแรงของโรคระบาด รวมทั้งป้องกันตัวเองและคนในสังคมไม่ให้เป็นต้นตอของการระบาดซ้ำ�ได้ใน อนาคตด้วยเช่นกัน ควรทำ�อย่างไร 1. เว้นระยะห่างจากคนในสังคม อย่างน้อย 1-2 เมตร ลดการสัมผัสจัดเสี่ยงติดโรค เช่น ปุ่มลิฟต์ ราวบันได 2. หลีกเลี่ยงการพบปะกับบุคคลที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ เช่น นักท่องเที่ยว และลดการเดินทางไปยัง พื้นที่เสี่ยง 3. รับประทานอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ อาหารอุ่นร้อน และใช้ภาชนะแยกเฉพาะ 4. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำ�สะอาด ฟอกสบู่เกิน 20 วินาที หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นอย่างต่ำ� 70% ขึ้นไป 5. สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง หากต้องออกไปพบปะผู้อื่น 6. ออกกำ�ลังกาย ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย
Covid-19 อยู่ด้วยไม่ยาก แม้เราจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้ สอดคล้องกับสถานการณ์ไปบ้าง แต่ถา้ เราไม่ละเลยทีจ่ ะใส่ใจสุขภาพตัวเองและรับผิดชอบต่อสังคม การแพร่ระบาดของเชือ้ Covid-19 ก็จะหมดไป สังคมทีป่ ลอดภัยและน่าอยู่รอพวกเราอยูข่ า้ งหน้า เพียงแค่เราเรียนรู้ เข้าใจ และยอมรับมันให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตนั่นเอง
9
Get ฎUpdated
วันนี้จะพาทุกท่านไปกราบสักการะพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์และมีประวัติความ เป็นมาที่น่าสนใจ นั่นคือ “หลวงพ่อสำ�เร็จศักดิ์สิทธิ์” ซึ่งวิหารของหลวงพ่ออยู่ไม่ไกลจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เท่าไรนัก หลวงพ่อสำ�เร็จศักดิ์สิทธิ์พระพุทธรูปปางมารวิชัยประดิษฐานในวิหารริมคลอง ระพีพัฒน์ อ.หนองแค จ.สระบุรี ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวสระบุรี และเป็นที่ เคารพสักการะของผู้คนโดยทั่วไป สันนิษฐานว่าวัดหลวงพ่อสำ�เร็จศักดิ์สิทธิ์ หรือทีช่ าวบ้านเรียกขานกันจนติดปาก ว่า วัดหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ มีผู้ค้นพบเมื่อวันจันทร์ที่ 1 ขึ้น 12 ค่ำ� เดือน 12 ปีกุน พุทธศักราช 2502 องค์หลวงพ่อเป็นดินโบกปูนทับตกแต่งองค์หลวงพ่อและประดิษฐานอยู่บนคันคลอง ระพีพัฒน์ ทิศตะวันออก (คลองระพีพัฒน์ขุดในสมัย ร.5) ต่อมาได้มีคนงานชลประทานประตู น้ำ�พระเอกาทศรถมาขุดดินบริเวณนี้ไปถมซ่อมแซมตามตลิ่งน้ำ�ที่น้ำ�เซาะพัง ขุดดินไปหลาย วันแล้วจนถึง องค์หลวงพ่อซึ่งเป็นดินแข็งมาก คนงานขุดดินไม่เข้าจึงได้ขุดไปรอบ ๆ เท่าที่ ขุดได้ ต่อมาดินก็ได้แตกเป็นรูปองค์พระ ไม่มีใครคาดคิดว่าเป็นองค์หลวงพ่อ ชาวบ้านที่รู้ ข่าวต่างมามุงดูกันจำ�นวนมาก บางคนก็พูดว่าเป็นพระพุทธรูปมาเกิด บางคนก็คิดว่าคนงาน ชลประทานปั้นขึ้นมา
Get ฎFulfilled
10
“ชวนไหว้พระ ขอพร ที่วิหารหลวงพ่อสำ�เร็จศักดิ์สิทธิ์”
ถั ด ออกมาจากตั ว วิ ห ารไม่ ไ กลมากก็ เ ป็ น ที่ ตั้ ง ของ ศาลเจ้าพ่อหมื่นราม การตกแต่งตัวศาลเป็นแบบจีน ตามประวัติ กล่าวว่าท่านเป็นพ่อค้าควาย แต่ ไ ด้ ถ ู ก ฆ่าตาย ชาวบ้านในอดีต ต่างนับถือว่าเป็นผู้มีจิตใจดี ช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก และไม่ แปลกเลยถ้าเราจะพบว่า บริเวณหน้าศาลจะมีรูปปั้นควายอยู่เป็น จำ�นวนมาก เนื่องจากผู้ที่มากราบไหว้จะนำ�รูปปั้นควายมาถวาย ที่ศ าลเจ้าพ่อ หมื่นราม (ข้อมูลจาก Facebook ประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นสระบุรี)
ในปีพุทธศักราช 2505 ทางการชลประทานมีคำ�สั่งให้เอารถขุดปรับทางทำ�ถนนบนคัน คลองจากท่าหลวงถึงอำ�เภอหนองแค ระหว่างถึงองค์หลวงพ่อรถได้ขุดไปรอบ ๆ ฐานเกือบจะถูก องค์หลวงพ่อ ก็เกิดปาฏิหาริย์ ฟ้าได้ผ่าลงมากลางแจ้งทั้งที่ท้องฟ้าก็ปราศจากเมฆฝน คนขั บ รถ จึงรีบหยุ ดรถแล้วกระโดดลงมากราบขอขมาอภัย แล้วรถขุดก็ไม่กล้าขุดใกล้องค์หลวงพ่ออีกต่อไป ทำ�ให้ถนนบนคันคลองระพีพัฒน์ต้องเบี่ยงหลบองค์หลวงพ่อดังที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ ปั จ จุ บ ั น วั ด หลวงพ่ อ สำ � เร็ จ ศั ก ดิ ์ ส ิ ท ธิ ์ ประดิ ษ ฐาน ณ วิ ห ารริ ม คลองระพี พ ั ฒ น์ ตลาดหนองตาโล่ ตำ�บลคชสิทธิ์ อำ�เภอหนองแค จังหวัดสระบุรี
ส่วนด้านนอกเยื้องจากวิหารหลวงพ่อไม่ไกลมาก ข้ามถนนมาจะ เป็นที่ตั้งของตลาดหนองตาโล่ ตลาดสดเทศบาลตำ�บลคชสิทธิ์ เป็นตลาดสด ที่ชาวบ้านจะนำ�สินค้ามาวางขาย ราคาไม่แพง ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ผักพื้นบ้าน หรือขนมไทย ซึ่งผู้คนที่มากราบสักการะหลวงพ่อและคนที่สัญจรไปมา มักจะ แวะมาอุดหนุน เลือกซื้ออาหารกลับไปรับประทานที่บ้าน
11
Get Fฎ ulfilled
เมนูอร่อย
และเสริมภูมิ (คุ้มกัน) @ VRU
ภูมิคุ้มกัน (IMMUNITY) หมายถึง กลไกของร่างกายที่ต้านทานต่อโรคใดโรคหนึ่ง ในสภาวการณ์ปัจจุบันมีโอกาสที่เชื้อโรคอาจเข้าสู่ร่างกายได้ และจะถูกกำ�จัดด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาว อาหารที่เราบริโภคบางชนิดสามารถช่วยเพิ่มเม็ดเลือดขาวและเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายได้
Get Satisfied
ร้านไหนใน มรภ. วไลยอลงกรณ์ ฯ มีอาหารอร่อยและดีแบบนี้ SCAN QR CODE ได้เลย
12
แกงเลียงกุ้งสด
นมสดอัญชัญ
สมูทตี้สตอเบอรี่ โยเกริ์ต โยเกิร์ต : แหล่งโปรไบโอติก นม: แหล่งของวิตามิน บี สังกะสี สตอเบอรี่ : แหล่งวิตามินซี อัญชัญ : แอนโทไซยาบิน
กุ้ง มีโปรตีน ใช้สร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันต่างๆ ฟักทอง : แหล่งเบตาแคโรทีน
โป๊ะแตกทะเล ผักปลอดสารพิษ : แหล่งวิตามินซี บี
ปลาทับทิมทอดสมุนไพร
กระเทียม : แหล่งอัลลิซิน
ปลาทะเล : กรดไขมันโอเมก้า 3 และโปรตีน กุ้ง ปลาหมึก : แหล่งสังกะสีและโปรตีน มะนาว : วิตามินซี
อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน โปรวิตามิน วิตามิน แร่ธาตุ และสารสำ�คัญในอาหารที่มีสมบัติเสริมภูมิคุ้มกันได้แก่ • เบตาแคโรทีน มีมากในผักและผลไม้ที่มี สีเหลืองหรือส้มจัด ผักใบเขียวจัด เช่น ผักบุ้ง ฟักทอง แครอท มะละกอ มะม่วงสุก มะเขือเทศ • วิตามินซี พบใน ผักใบสีเขียว ต่าง ๆ และผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น บรอกโคลี ส้ม มะนาว มะขามป้อม สตอเบอร์รี่ ฝรั่ง • วิตามินอี พบในงา ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืชต่าง ๆ ข้าวกล้อง จมูกข้าวสาลี ผักใบเขียว • วิตามินบี พบในผักใบเขียว นม เนื้อสัตว์ ถั่วต่าง ๆ ตับไข่ และธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวซ้อมมือ • ซีลีเนียม พบในอาหารทะเล ตับ ไต เนื้อสัตว์ กระเทียม ไข่ และ ธัญพืช • สังกะสี พบในเนื้อวัว นม และถั่วต่าง ๆ • กรดโอเมกา 3 พบมากใน ปลาทะเล เช่น แซลมอน ทูน่า แมคเคอเรล ซาร์ดีน และธัญพืชบางชนิด เช่น ถั่ว วอลนัท เมล็ดปอ ผักใบเขียว • อัลลิซิน (ALLICIN) พบในกระเทียม หัวหอม ต้นหอมญี่ปุ่น • ซัลโฟราเฟน (SULFORAPHANE) พบในบรอกโคลี กะหล่ำ� คะน้า • โปรไบโอติก (PROBIOTIC) จุลินทรีย์ที่มีชีวิตและก่อประโยชน์ต่อร่างกาย พบในโยเกิร์ต นมเปรี้ยว กิมจิ ผักดอง
13
Get Satisfied
Get ฎEquipped
14
อาคารเรือนไทย
ใน มรภ.วไลยอลงกรณ์ฯ
จองปีนี้ แต่งปีไหนก็ได้ โปรโมชั่นพิเศษลดไปเลย 15% ทุกแพ็คเก็จ ตั้งแต่วันนี้ – 31 สิงหาคม 2563 สิทธิพิเศษสำ�หรับ 10 คู่แรก แถมฟรี แบคดรอปถ่ายรูปหน้างาน ขนาด 3 เมตร พร้อมช่อบูเก้
อาคารเรือนไทย งานบริหารทรัพย์สินและรายได้ มหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ตำ�บลคลองหนึ่ง อำ�เภอ คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 13180 หรือสอบถามรายละเอียดและนัดชมสถานที่ได้เลย
พิธีเช้าครบสมบูรณ์ และการตกแต่งสถานที่ พร้อมอาหารเช้าและอาหารว่าง เครื่องดื่ม
โทร. 02-529-3063, 02-529-0674-6 ต่อ 445
15