VRU Magazine Vol.3 No.3

Page 1

Get Engaged VRU We Go BCG Get Updated Solar Energy Guideline รู้ก่อนตัดสินใจใช้ หลังคาโซล่าเซลล์ หรือ รถยนต์ไฟฟ้า คุณก็เป็นฮีโร่ได้...เพียงแค่ลดขยะอาหาร Get Fulfilled Happy Trip Happy Life การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) Reducing Food Waste and Becoming a Food Hero Get Satisfied V R U M A G A Z I N E FREE Vol.3 No.3 (September-December)
จัดทำ�โดย ง�นสื่่่อส�รองค์กรและก�รตล�ด มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180 โทรศัพท์ 02-909-1425 โทรสาร 02-909-1425 E-mail vrumagazine@vru.ac.th ติดต่อ ฝ่ายโฆษณา นางสาวมณี บุญผาย นายพัฒน์ธนสรณ์ กลิ่นไทย บรรณาธิการ 08-6046-6761 กองบรรณ�ธิก�ร
ผศ.ดร.สุพจน์
อ.ไชย
บรรณ�ธิก�ร ผศ.ดร.สุภณิดา
ผู้ช่วยบรรณ�ธิก�ร อ.ปวิช
พิสูจน์อักษร ผศ.พรศิริ
ฝ่�ยประส�นง�น อ.ดร.โรจนันท์ ทรงอยู่ นางสาวสุวิมล พิชัยกมล นางสาวศศิธร ชื่นขาว นางสาววิษณีย์ ขุนสิงห์ ศิลปกรรมและถ่�ยภ�พ ผศ.เดือนฉายผู้ชนะ ภู่ประเสริฐ นายทวีศักดิ์ ปานเทวัญ นายสายัญ เทียบแสน นายพุทธินันต์์ โสมรุษ โฆษณ�และก�รตล�ด ผศ.ดร.ดรุณี หันวิสัย นางสาวมณี บุญผาย นางสาวพัฒน์ธนสรณ์ กลิ่นไทย VRU Magazine Vol.3 No.3 เล่มส่งท้ายปี พ.ศ. 2565 มาแล้วค่ะ สวัสดีคุณผู้อ่านทุกท่านค่ะ เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงบริบททางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีต่าง ๆ ก็เปลี่ยนแปลงเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ มีทั้งส่งเสริมให้พวกเราอยู่กันอย่างสะดวกสบายเพิ่มขึ้น และบางสิ่งก็ส่งเสริมให้ชีวิตเราต้องดำาเนินไปอย่างระมัดระวังยิ่งขึ้น แต่ไม่ว่าจะอย่างไรสิ่งที่เป็นทิศทาง การดำาเนินชีวิตต่างมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายเดียวกันคือเราจะอยู่อย่างยั่งยืนได้ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็ต้องคงสภาพยั่งยืนด้วยเช่นกัน วิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน เรื่องของที่อยู่อาศัย การเดินทาง ท่องเที่ยว อาหารการกิน ที่เน้นการลดการทำาลายธรรมชาติ หรืออยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเป็นมิตร และนี่คือธีม ของเรื่องราวต่าง ๆ ใน VRU Magazine Vol.3 No.3 เริ่มที่คอลัมน์ Get Engaged ที่บอกเล่าเรื่องราว การดำาเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ หนึ่งในองค์กรที่ร่วมขับเคลื่อน แนวนโยบายเศรษฐกิจของประเทศที่ใช้ BCG Model ด้วยกลไกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง ส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชน ด้วยระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้น การใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า มีระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำานึงถึงการนำาวัสดุต่าง ๆ กลับมา ใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ หากในระดับครัวเรือนที่ ต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้ก่อประโยชน์ แนวทางการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทั้งการทดแทนไฟฟ้า ภายในบ้านและการทดแทนการใช้น้ำามันกับยานพาหนะสามารถติดตามได้ในคอลัมน์ Get Updated และการลดการสูญเสียอาหารหรือการลดขยะจากอาหารก็เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกท่านสามารถเป็นส่วนหนึ่ง ในการรักษาสิ่งแวดล้อม ลดการก่อมลภาวะ ซึ่งในคอลัมน์ Get Satistifiled ได้เสนอ 15 แนวทางใน การลดปริมาณอาหารขยะที่ทุกท่านสามารถนำาไปปรับใช้ในชีวิตประจำาวันได้ ส่วนในคอลัน์ Get Fulifilled ยังคงมีเรื่องราวการท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามในรูปแบบของ Ecotourism มาให้เราได้ชื่นชม และตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสถานที่ท่องเที่ยวทุก ๆ ครั้งในการเดินทาง ท่านผู้อ่านที่รักคะ มนุษย์ทุกคนได้เดินทางมาถึงจุดที่ การรักษาและดูแลธรรมชาตินั้น ไม่ใช่ทางเลือกที่เราจะทำาหรือไม่ทำาก็ได้ หากแต่เราทุกคนจำาเป็นต้องทำา เพราะนั่นคือทางรอดที่เราทุกคน ต้องช่วยกัน และรอดไปด้วยกันทั้งมนุษย์และธรรมชาติ เพราะมนุษย์ก็คือส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ธรรมชาติจะคงอยู่กับเราไปตลอดถ้าเราทุกคนรักธรรมชาติ และสำาหรับ VRU Magazine ก็จะรักท่าน ผู้อ่านทุกท่านตลอดไปเช่นกันค่ะ พบกันใหม่ฉบับหน้าในปีพุทธศักราช 2566 นะคะ สวัสดีค่ะ ผศ.ดร.สุภณิดา พัฒธร บรรณาธิการ CONTENTS Get Known สารจากอธิการบดี 3 Get Engaged VRU We Go BCG 4 Get Updated Solar Energy Guideline รู้ก่อนตัดสินใจใช้ หลังคาโซล่าเซลล์ หรือ รถยนต์ไฟฟ้า 8 Get Fulfilled Happy Trip Happy Life การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) 10 Get Satisfied Reducing Food Waste and Becoming a Food Hero คุณก็เป็นฮีโร่ได้...เพียงแค่ลดขยะอาหาร 12 EDITOR’s TALK
แมกก�ซีน ที่ปรึกษ�
ทรายแก้ว
มีหนองหว้า
พัฒธร
เรียงศิริ
นาควัชระ
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามหาวิทยาลัยมีการดำ า เนินการเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ มหาวิทยาลัยเข้าสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยสีเขียว มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน” จนทำาให้ มหาวิทยาลัยของเรา ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวเป็น อันดับ 1 ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ และ อันดับที่ 15 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย จากผลการสำารวจของ UI Green Metric World University Ranking 2021 (ประกาศเมื่อเดือนธันวาคม 2564) ซึ่งจัดทำาโดย University of Indonesia มหาวิทยาลัยในอินโดนีเซีย (UI) จากเกณฑ์การประเมิน 6 ด้าน คือ 1.สถานที่ตั้งและระบบสาธารณูปโภค 2.การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 3.การจัดการขยะ 4.การใช้น้ำา 5.การจัดการระบบ ขนส่ง และ 6.การให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ผลงานโดดเด่นที่เกิดขึ้นได้แก่ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในมหาวิทยาลัย ปัจจุบันมีพื้นที่สีเขียว ที่เป็นสวนหย่อมและพื้นที่ปลูกต้นไม้รวม 210,300 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 37.5 เมื่อเทียบกับพื้นที่ ทั้งหมด และมีพื้นที่แหล่งน้ำา 179,325 ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ 32.0 มีการส่งเสริมให้ใช้พลังงาน ทดแทน ได้แก่ การติดตั้งกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อให้ความสว่างบริเวณริมสระน้ำาในพื้นที่โครงการ อนุรักษ์พันธุกรรมพืช การติดตั้งโซล่าเซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้บำาบัดน้ำาเสียบริเวณสระน้ำาด้านหน้า หอพักนักศึกษา มีนโยบายการจัดกิจกรรมและโครงการในการลดการใช้น้ำาเพื่อให้เกิดการประหยัดน้ำา มีการนาน้ำาเสียกลับมาใช้ใหม่และส่งเสริมการอนุรักษ์น้ำา การติดตามตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำาในแหล่งน้ำา ผิวดิน ดูแลควบคุมระบบบำาบัดน้ำาเสียประจำาอาคารและบริเวณแหล่งน้ำาผิวดิน มหาวิทยาลัยมีการจัด ให้มีรถรางรับ-ส่ง ให้บริการฟรี เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้รถส่วนตัว มีนโยบายสนับสนุนทางเดินเท้า มีการใช้ระบบ ขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมีหลักสูตรที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน จานวน 7 หลักสูตร จานวนรายวิชา 567 รายวิชา มีจานวนเงินทุนวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและ การพัฒนาที่ยั่งยืนเฉลี่ย 25,171,000 บาท/ปี การดำาเนินการเพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยมุ่งมั่นไม่เพียงแต่ เพื่อการจัดอันดับของมหาวิทยาลัย แต่ยังดำาเนินการเพื่อความสุขของทุกคนในมหาวิทยาลัย เพื่อชุมชน รอบมหาวิทยาลัย เพื่อทุกคนในประเทศและในโลกของเราให้มีความสุขอย่างยั่งยืน ผศ.ดร.สุพจน์ ทร�ยแก้ว อธิก�รบดี Get Known สารจากอธิการบดี 3 Get ฎKnown
ในช่วงนี้หล�ยคนน่�จะได้ยินคำ�ว่� BCG ค่อนข้�งบ่อยนะครับ ถือได้ว่าเป็นเทรนด์ ที่มาแรงที่รัฐพยายามสนับสนุนและขับเคลื่อนให้เกิดความสำาเร็จในเร็ววัน เพื่อต่อยอดจุดแข็ง ของประเทศ โดยอาศัยกลไกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อผลิตสินค้า และบริการที่มีมูลค่าสูง เพื่อเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยไปสู่รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า BCG Economy Model ซึ่งประกอบด้วย 3 เศรษฐกิจหลัก คือ B Bio Economy ระบบ เศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า เชื่อมโยงกับ C Circular Economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำานึงถึงการนำาวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และ ทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้ G Green Economy ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหา มลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน ในที่สุด ในการขับเคลื่อนระเบบเศรษฐกิจไทยสู่รูปแบบ BCG ได้อย่างสำ า เร็จนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ VRU ก็เป็นฟันเฟืองหนึ่ง ที่สำาคัญในการสร้างสรรค์งานวิจัย นวัตกรรม ขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ ที่สำาคัญ และมีภารกิจ ในการสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้นั้นไปสู่ชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี และจังหวัด สระแก้วมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยในด้านการสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรม ที่ผ่านมานั้น VRU ได้ส่งเสริมให้เกิดผลงานวิจัย นวัตกรรม และผลงานต่าง ๆ ที่ตอบสนอง ต่อทั้งท้องถิ่นและการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจแบบ BCG ไปพร้อมกัน โดยมีผลงานที่ โดดเด่นและได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยอยู่หลายรายการด้วยกัน ได้แก่ Get ฎEngaged 4 1. นวัตกรรม Rice Techchine เครื่องสีข้าวอัจฉริยะสำาหรับชุมชนหนองตะเคียนบอน โดย รศ.ดร.เบญจลักษณ์ เมืองมีศรี เป็นผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เราจะไม่พูดถึงไม่ได้เลย เพราะเป็นผลงานวิจัย ที่โดดเด่นของมหาวิทยาลัยที่ได้รับจัดสรรทุนร่วมกันระหว่าง VRU กับ สำานักงานนวัตกรรม แห่งชาติ หรือ NIA และยังเป็นผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่กวาดรางวัลมาแล้วหลายรายการ VRU We Go BCG
2. อีกหนึ่งชุดโครงก�รวิจัยที่กำ�ลังม�แรงได้แก่ ชุดโครงก�รวิจัยก�รพัฒน� และส่งเสริมพืชพลังง�นทดแทนเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียนท�งชีวภ�พ จังหวัดสระแก้ว โดยโครงการวิจัยดังกล่าวมีที่มาจากการที่นักวิจัยกลุ่มนี้ได้เล็งเห็นถึง ปัญหาจากการเผาอ้อยในปัจจุบันที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดมลภาวะทางอากาศ สภาพดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ เกิดการระบาดของศัตรูพืชอ้อยได้ง่าย และเสียค่าใช้จ่าย ในการปลูกและดูแลอ้อยในรุ่นต่อไปเพิ่มขึ้น นักวิจัยทีมนี้จึงได้ริเริ่มทำาแผนงานวิจัยแบบ ครบวงจรตามแนวทางเศรษฐกิจกมุนเวียนทางชีวภาพ ตั้งแต่การบริหารจัดการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยวอ้อยแบบครบวงจร ปัจจัยที่เหมาะสมต่อการปลูกอ้อย วิธีการเก็บเกี่ยวที่ลดมลพิษ ต่อสิ่งแวดล้อม และการสร้างจิตสำานึกที่ดีในการทำาการเกษตร โดยมีกระบวนที่ครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำา กลางน้ำา และปลายน้ำา เกิดเป็นนวัตกรรมที่ตอบสนองต่อชุมชนท้องถิ่น ภายใต้คอนเซ็ปต์ BCG ได้แก่ ใบอ้อยที่ได้จากการเก็บเกี่ยวโดยเครื่องสางใบอ้อยนั้นก็ไม่ได้ไปไหนไกล นักวิจัย ในโครงการวิจัยได้นำาไปผ่านกระบวนการขึ้นรูปเพื่อทำาเป็นผลิตภัณฑ์โคมไฟสไตล์มินิมอล ที่มีคุณสมบัติทนความร้อนได้ดี และสามารถใช้คู่กับหลอด LED เพื่อประหยัดไฟมากขึ้น โดยโคมไฟที่ได้นั้นก็มีรูปแบบที่ทันสมัย สามารถทำาได้หลากหลายสี เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน ที่กระแสนิยมวัสดุจากธรรมชาติ ปรุงแต่งน้อยกำาลังมาแรง และไม่น่าเชื่อเลยว่าใบอ้อยแห้ง น้ำาหนัก 1 กิโลกรัม สามารถนำามาทำาโคมไฟได้ถึง 20 ชิ้นกันเลยทีเดียว นวัตกรรมดังกล่าวเป็นต้นน้ำาของงานวิจัยชุดนี้ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของ การลดการเผาไร่อ้อยของเกษตรกรในพื้นที่ ตำาบลวังน้ำาเย็น จังหวัดสระแก้ว ซึ่งประกอบด้วย รถจักรขับเคลื่อนสี่ล้อที่ใช้ในการแผ้วถางพื้นที่และเครื่องสางใบอ้อยที่จะช่วยให้เกษตรกร สามารถเก็บใบอ้อยไปทำาเป็นผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมต่าง ๆ ในขั้นกลางน้ำาต่อไป 2.1 นวัตกรรมก � รเก็บเกี่ยวใบอ้อย โดย ผศ.ดร.ณัฐสิม � โทขันธ์ ผศ.ดร.กฤษฏ�งค์ ศุกระมูล และ ผศ.ดร.วีระวัฒน์ อุ่นเสน่ห� 2.2 เครื่องขึ้นรูปโคมไฟใบอ้อย โดย ผศ.ดร.เย � วภ � แสงพยับ ผศ.ดร.กฤษฏ�งค์ ศุกระมูล อ.ดร.นพม�ศ ประทุมสูตร และ อ.ดร.วิชัย กองศรี 5 Get ฎEngaged
นอกจากโคมไฟแล้ว ใบอ้อยยังมีประโยชน์อื่น ๆ ที่หลากหลาย โดยเฉพาะ ทางด้านวิศวกรรม ที่ทีมนักวิจัยของเราได้พัฒนากระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อ นำาวัสดุเหลือทิ้งจากการปลูกอ้อยของเกษตรกรและวัสดุเหลือใช้อื่น ๆ เช่น เศษพลาสติก ผงฝุ่นหิน ยาง มาผสมรวมเข้ากันในอัตราส่วนที่เหมาะสมและขึ้นรูปเป็นอิฐบล็อก และแผ่นฝ้า ที่แข็งแรงทนทาง มีคุณสมบัติกันทั้งความร้อนและเสียง ในอนาคตเราอาจจะเห็นตึกรามบ้านช่อง ในประเทศไทยสร้างจากวัสดุก่อสร้างที่พัฒนาโดยนักวิจัยกลุ่มนี้ก็ได้นะ นอกจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรอย่างใบอ้อยจะสามารถนำ า มาประยุกต์ เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้แล้ว ยังสามารถนำามาเพิ่มมูลค่าเป็นก๊าซชีวภาพที่สามารถนำามาใช้ หุงต้มในครัวเรือนได้จริง ซึ่งจะสามารถลดค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือนได้ถึงเดือนละ 600 บาท เลยทีเดียว นอกจากนี้ผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพนี้ยังสามารถนำามาทำาเป็น ปุ๋ยหมักที่สามารถเพิ่มแร่ธาตุให้กับพืชผลของชาวบ้านได้เป็นอย่างดีอีกด้วย 2.4 ต้นแบบการผลิตพลังงานทางเลือกการหมักแบบไร้อากาศเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิง พลังงานก๊าซชีวภาพ โดย ผศ.ดร.นิสา พักตร์วิไล ผศ.ดร.วนัสพรรัศม์ สวัสดี และ ผศ.มณทิพย์ จันทร์แก้ว Get ฎEngaged 6 2.3 ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจ � กวัสดุเหลือทิ้งท � โดย อ.ดร.ตะวัน ไชยวรรณ ผศ.ดร.ปัณณ์รภัส ถกลภักดี และ อ.โชติก � ญจน์ ร
7 Get ฎEngaged ผลงานชิ้นนี้เกิดจากอาจารย์นักพัฒนา มหาวิทยาลัย ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดสระแก้ว ได้เล็งเห็น ว่าชุมชนบ้านหนองปรือ ตำาบลทัพราช อำาเภอตาพระยา จังหวัด สระแก้ว มีการรวมกลุ่มเพื่อทำาการเกษตรภายใต้หลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง โดยมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนคือ การแปรรูปปลาส้มไร้ก้าง ขณะเดียวกันชุมชนยังมีวัตถุดิบที่เหลือใช้ จากกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาส้มนั่นคือ เกล็ดปลาตะเพียน โดยชุมชนได้กำาจัดด้วยวิธีการเผาและทิ้งลงบ่อน้ำาซึ่งจะส่งกลิ่นเน่าเหม็น และเป็นสิ่งสกปรกถูกทิ้งเป็นเศษขยะรวมถึงสร้างมลพิษทางอากาศ ให้กับชุมชน หากไม่มีการนำ า มาแปรรูปให้เกิดประโยชน์จะส่งผล ทำาให้เกิดปัญหาและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ในอนาคต ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมุ่งเน้นการศึกษาพัฒนาร่วมกับชุมชนในทุกขั้นตอน จนสามารถ เป็นแรงเสริมทำาให้ชุมชนเกิดอาชีพและเกิดรายได้จากการแปรรูป ข้าวเกรียบจากเกล็ดปลาตะเพียน จนเกิดเป็นกลุ่มอาชีพการแปรรูป ข้าวเกรียบเกล็ดปลาและเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอัตลักษณ์ ท้ายที่สุด ชุมชนมีรายได้เพิ่มถึง 5,470 บาท ต่อรอบการผลิต (1 รอบการผลิต ใช้ระยะเวลา 15 วัน) 2.5 ก�รพัฒน�รูปแบบก�รจัดก�ร ไร่อ้อยอินทรีย์ต้นแบบ โดย ผศ.ดร.ขนิษฐ� ภมรผล ผศ.ดร.นพรัตน์ ไวโรจนะ อ.วีรศักดิ์ ศรีล�รัตน์ ผศ.ดร.ณัฐสิม� โทขันธ์ และ ผศ.ดร.วีระวัฒน์ อุ่นเสน่ห� งานวิจัยชิ้นนี้เป็นปลายน้ำาของชุดโครงการวิจัยดังกล่าว ซึ่ง นักวิจัยได้ร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่เพื่อตั้งศูนย์การเรียนรู้ Super Farm Model เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรจาก ไร่อ้อย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้จากโครงการวิจัย ทุกกระบวนการก่อนหน้านี้สู่การปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการยกระดับของชุมชน และเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนในที่สุด 3.ข้าวเกรียบเกล็ดปลาตะเพียน
Get ฎUpdated 8 เมื่อเปรียบเทียบ การใช้พลังงานไฟฟ้ากับการลงทุนติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ที่บ้าน ซึ่งอายุการใช้งานของแผ่นโซล่าเซลล์อยู่ที่ประมาณ 8 ถึง 9 ปี ในส่วนของราคาต่อแผ่นขนาด 320W-540W ตั้งแต่ 4,000 ถึง 7,000 บาท งบประมาณที่ต้องใช้ในการติดตั้งสำาหรับครัวเรือน เริ่มตั้งแต่ 3KW ถึง 5KW อยู่ที่ 120,000 บาท สำาหรับหลาย ๆ คน งบประมาณขนาดนี้ยังไม่กล้า ลงทุน เนื่องจากมีมูลค่าในการติดตั้งค่อนข้างสูง หากเปรียบเทียบกับการใช้พลังงานประเภทอื่น สำาหรับปัจจัยที่สำาคัญในการติดตั้งโซล่าเซลล์หรือโซล่ารูฟคือ ความเหมาะสมสำาหรับ บ้านพักที่มีการใช้ไฟในช่วงเวลากลางวัน หรืออาจจะเป็นที่ทำางานที่ใช้ไฟตลอดเวลาอย่างเช่น มหาวิทยาลัยที่มีการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวัน เรียกว่าเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจก้าวเข้า สู่การใช้งานโซล่าเซลล์ รูปแบบการติดตั้งโซล่าเซลล์ทั่วไปมีอยู่สองแบบด้วยกัน คือ ออนกริต (On Grid) และออฟกริต (Off Grid) ส่วนออนกริตเป็นลักษณะที่เรียกว่าใช้ไฟคู่ขนานไปกับไฟของการไฟฟ้า คือการติดตั้ง ปกติ ซึ่งจะแบ่งเรื่องของการจ่ายพลังงานโดยส่วนแรกจะเลือกพลังงานจากโซล่าเซลล์ และกำาลังไฟ จากการไฟฟ้าไปด้วยกัน รูปแบบเช่นนี้จะทำาให้ค่าไฟในแต่ละเดือนลดลง ส่วนอีกแบบหนึ่งก็คือออฟกริต คือเป็นการผลิตพลังงานไฟฟ้า และจัดเก็บลงในแบตเตอรี่ซึ่งรูปแบบนี้มีการลงทุนค่อนข้างสูง เนื่องจาก จำาเป็นต้องใช้แบตเตอรี่ในการจัดเก็บพลังงานไฟฟ้า และที่สำาคัญแบตเตอรี่มีอายุการใช้งานที่จำาเป็น ต้องดูแลรักษาและมีการเปลี่ยนใหม่อยู่เสมอ จุดเด่นก็คือ สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าได้แม้กระทั่งตอนที่ ไม่มี แสงอาทิตย์ ไฟดับ หรือในเวลากลางคืน ทำาให้รูปแบบนี้ ประหยัดค่าไฟฟ้าแต่ลงทุนค่อนข้างสูง สำ�หรับอ � ยุก � รใช้ง � น ของระบบโซล่าเซลล์ ปกติสามารถใช้งานได้ถึง 20 ปี หลังจากนั้นประสิทธิภาพของการผลิตก็จะ ลดลง การดูแลไม่ยุ่งยาก ทำาความสะอาด ขจัดฝุ่น และคอยตรวจสอบดูเรื่องของทิศทางการบดบัง แสงที่แผ่นของโซล่าเซลล์ ให้รับแสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทุกวันนี้พลังงานเข้ามามีบทบาทและเป็นปัจจัยสำาคัญในการดำารงชีวิต หลายคน คงทราบถึงการขาดแคลนพลังงานของโลกในปัจจุบัน รวมถึงประเทศไทยด้วยซึ่งถือว่าเป็นประเทศ ที่มีการใช้พลังงานหลากหลายรูปแบบ จากสภาวะการณ์ของโลกในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการระบาด ของโรค การเกิดสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน กลายเป็นวิกฤติสำาคัญ ที่เป็นตัวแปรส่งผลกระทบ ต่อปริมาณอาหารและการใช้พลังงานจากน้ำามันเป็นอย่างมาก ดังนั้นแนวทางในการประหยัดการใช้ พลังงานที่เริ่มเข้าสู่ภาวะจำากัดจึงเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจ ประการแรกลดการใช้งานจากพลังงานประเภทฟอสซิล เช่น น้ำามัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เป็นต้น หันมาใช้ พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า เปลี่ยนจากการใช้รถน้ำามัน มาใช้รถไฟฟ้า แม้แต่เรื่องที่ใกล้ตัว อย่างเช่นการใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน เริ่มตั้งแต่ติดตั้งชุดผลิตพลังงาน ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ตามแนวทางขับเคลื่อนแนวความคิด “รักษ์โลก” ตามรูปแบบ BCG Model (เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน(Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งมีส่วนสนับสนุน ลดการปล่อยของเสีย และการใช้พลังงานฟอสซิลอย่างฟุ่มเฟือย การนำาเอาพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ ในการผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น รถยนต์ไฟฟ้า แอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่หันกลับมาใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากแผ่นโซล่าร์เซลล์ ปัจจัยที่สำาคัญ ในการกระตุ้นให้คนหันมาใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ คือความคุ้มค่าต่อการลงทุน หรือมีต้นทุน ที่แพงกว่าเดิมมากหรือน้อย แม้ว่าพลังงานจากแสงอาทิตย์จะมีข้อดีมากมาย แต่การขาด การสนับสนุนของภาครัฐ ในเรื่องของราคาและการติดตั้ง ยังคงเป็นข้อสงสัยและตัวแปรที่สำาคัญ ในการขับเคลื่อนให้เกิดการใช้อย่างแพร่หลาย รู้ก่อนตัดสินใจใช้ หลังคาโซล่าเซลล์ หรือ รถยนต์ไฟฟ้า Solar Energy Guideline
9 Get ฎUpdated นอกจากนี้ถ้าพูดถึงเรื่องของการนำ า พลังงานไฟฟ้าไปใช้กับ รถยนต์ ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็มีรถยนต์จากหลากหลายยี่ห้อ นำ า เอาการขับ เคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเข้ามาเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามรถยนต์ไฟฟ้า ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นสิ่งที่ทุกคนหันมาสนใจ เนื่องจากของราคาน้ำามัน ในท้องตลาดมีการเพิ่มขึ้น มากกว่าสี่สิบเปอร์เซ็นต์ ดังนั้นการใช้งาน รถยนต์ไฟฟ้า ก็มีปัจจัยสำาคัญเช่นเดียวกับการติดพลังงานหรือแผงโซลาร์ เซลล์ในบ้านพักก็คือ ต้องใช้การลงทุนที่ค่อนข้างสูง และเป็นการคุ้มทุน ในระยะยาว มีงานวิจัยที่หน่วยงานภาครัฐ กฟผ. จับมือ เนคเทค-สวทช. จัดอบรมการดัดแปลงรถยนต์สันดาปภายในเป็นรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ดันไทยสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ได้มีไอเดียหรือแนวความคิดที่ จะนำาเอารถบ้านหรือรถ ที่เราใช้งานกันอยู่ทั่วไปมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนอุปกรณ์เปลี่ยนเครื่องยนต์ และติดตั้งระบบมอเตอร์ไฟฟ้าให้กลายเป็น รถไฟฟ้าหรือ ที่เราเรียกกันว่า EV Car เรียกความสนใจได้ไม่น้อย โดย การปรับเปลี่ยนจะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 250,000 บาท สิ่งที่เราต้องคิดกันต่อไปก็คือเรื่องของสถานีในการเติมพลังงานไฟฟ้า ปัจจุบันนี้ในประเทศของเรามีจุดให้บริการในการชาร์จพลังงานไฟฟ้าสำาหรับรถประเภทนี้ค่อนข้างน้อย การวางแผน ที่สำาคัญในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า จำาเป็นต้องวางแผนอย่างรัดกุม รถยนต์ไฟฟ้าแต่ละประเภทมีข้อจำากัดในเรื่องการเดินทาง จำานวนกิโลเมตร ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง และที่สำาคัญที่สุดก็คือระยะ เวลาในการชาร์จค่อนข้างนาน ไม่ต่ำากว่า 20 นาที ความสะดวกสบายในการหันกลับมาใช้รถที่เรียกว่าเป็นรถกึ่งไฟฟ้า และกึ่งพลังงานน้ำามัน เริ่มที่จะได้รับความนิยมมากกว่าแต่ก่อน อาจจะด้วย เหตุผลที่ราคาของน้ำามันมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไม่มีท่าทีจะลดลง การสนับสนุนของภาครัฐในการลดค่าใช้จ่าย ด้านภาษีรถยนต์ไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ ควรทำาอย่างจริงจัง และควรให้ ความร่วมมือมากกว่านี้ทั้งโซล่าเซลล์ หรือรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ก็จะเป็นคำาตอบที่ชัดเจนสำาหรับอนาคต
Get ฎFulfilled 10 Happy trip Happy life (Ecotourism) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในปัจจุบันประเทศไทย และประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกให้ความสำาคัญ ในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก และถือได้ว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นแหล่งรายได้ที่สำาคัญส่วนหนึ่งของแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตามการท่องเที่ยวที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศ ดังนั้นจึงส่งผลให้ เกิดการปรับตัวของระบบการท่องเที่ยว และทำาให้เกิดกระแสการพัฒนาการท่องเที่ยว เป็นอย่างมากทั่วโลก สำาหรับการจัดการการท่องเที่ยวที่นิยมอย่างแพร่หลายที่สุดในเวลานี้ และถือว่าสอดคล้องกับการท่องเที่ยวโดยท้องถิ่น คือ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) ซึ่งโดยรวมแล้ว การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นคำาที่ใช้เรียกการท่องเที่ยว ธรรมชาติเป็นหลัก แต่ในการอ้างอิงอย่างเป็นทางการยังไม่มีชื่อภาษาไทยบางครั้ง ก็เรียกว่า การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงศึกษาระบบนิเวศ การท่องเที่ยว เพื่อการศึกษาสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวเพื่อการอนุรักษ์นิเวศสัญจร นิเวศท่องเที่ยว และอื่น ๆ อีกหลายคำา ด้วยเหตุนี้องค์กรและชุมชนที่ดำาเนินงานด้านการท่องเที่ยว ในประเทศไทย จึงอนุโลมให้มีการเรียก “Ecotourism”ว่า“การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ” สถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศในประเทศไทยนั้นมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หรือแหล่งท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ที่สวยงามมากมาย เช่น อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติภูกระดึง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ทรัพยากร การท่องเที่ยวธรรมชาติอำาเภอแม่จริม อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา อุทยานแห่งชาติเขาสก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ผาแต้ม เป็นต้น สำ�หรับสถ�นที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศอื่น ๆ ในต่�งประเทศ ก็มีคว�มสวยง�ม มหัศจรรย์ จน เร�อ�จคิดไม่ถึงว่�บนโลกนี้จะมีสถ�นที่ที่รังสรรค์โดยธรรมช�ติได้งดง�มเพียงนี้ ตัวอย่�งเช่น Benagil Sea Cave ประเทศโปรตุเกส น้ำ�พุร้อนในเขตที่ร�บสูงประเทศไอซ์แลนด์ ทะเลส�บเนตรอนประเทศ แทนซ�เนีย หินยักษ์ในเขตค�บสมุทรเหนือประเทศไอซ์แลนด์ ไร่ช�ในหมู่บ้�น Kolukkumalai ประเทศ อินเดีย ถ้ำ�ติดทะเล Fingal’s Cave บนเก�ะร้�ง Staffa ประเทศสกอตแลนด์ ดินแดนหิ่งห้อยรัฐตลัช ก�ล� ประเทศเม็กซิโก ทะเลส�บ Hillier ทะเลส�บสีชมพูประเทศออสเตรเลีย เก�ะภูเข�ไฟ Aogashi ma ประเทศญี่ปุ่น แม่น้ำ�หล�กสี Cano Cristales ประเทศโคลอมเบีย Giant’s Causeway ประเทศ ไอร์แลนด์เหนือ Salar de Uyuni ประเทศโบลิเวีย Huacachina โอเอซิสกล�งทะเลทร�ยประเทศเปรู อุทย�นแห่งช�ติจ�งเจียเจี้ยประเทศจีน น้ำ�ตกต�ดกว�งสีประเทศล�ว เหมือง Naica ประเทศเม็กซิโก อุทย�นแห่งช�ติ Canaima ประเทศเวเนซุเอล� ทะเลส�บ Baikal ในฤดูหน�วประเทศรัสเซีย ถ้ำ� Waitomo Glowworm ประเทศนิวซีแลนด์ ต้น Dracaena Cinnabari บนเก�ะ Socotra ประเทศ เยเมน และ Dead Vlei ประเทศน�มิเบีย
11 Get ฎFulfilled อย่างไรก็ตาม อย่างไรก็ตามการท่องเที่ยวเชิงนิเวศสามารถทำาได้ในลักษณะต่าง ๆ เช่น การเดินป่า น้ำาตก การชมถ้ำา น้ำาพุร้อน การไต่เขา ปีนหน้าผา การขี่จักรยานลัดเลาะไปที่ต่าง ๆ และชม ธรรมชาติ การนั่งเรือหรือล่องแพ การดำาน้ำาดูปะการัง การเดินทางและไปเยี่ยมชมวิถีชีวิตของ ชุมชนในท้องถิ่น เป็นต้น เหล่านี้จะทำาให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างแท้จริง ได้เรียนรู้และเห็นคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งสำาคัญก็คือจะต้องเป็นนักท่องเที่ยวที่ดี และมี ความรับผิดชอบ การเป็นนักท่องเที่ยวที่ดีนั้น สิ่งที่ควรทำาคือจะต้องช่วยกันระมัดระวังและไม่ทำาให้ แหล่งท่องเที่ยวเกิดความเสียหาย เสื่อมโทรม โดยการไม่ทิ้งขยะไม่เป็นที่ ไม่ขีดเขียนข้อความตาม ต้นไม้ ผนังถ้ำาหรือโขดหิน ไม่เด็ดทำาลาย หรือเหยียบย่ำาพืชพรรณไม้ต่าง ๆ ไม่ทำาลายหินงอกหินย้อย ในถ้ำาและปะการังใต้ทะเล รวมถึงสัตว์ทะเล และสิ่งที่สำาคัญอีกประการหนึ่ง คือการให้ความเป็นมิตร กับคนในท้องถิ่นนั้น ๆ ที่ได้ไปเยือน ก�รพัฒน�ก�รท่องเที่ยวที่ดีนั้น นักท่องเที่ยวและประช�ชนต้องตระหนัก ถึงก�รมีส่วนร่วมในกระบวนก�รพัฒน� โดยต้องมีพื้นฐ�นหลักคือก�รเพิ่มร�ยได้ด้�น ก�รท่องเที่ยวควบคู่ไปกับก�รดูแลรักษ�สภ�พแวดล้อมเป็นสำ�คัญ ส่งเสริมก�รอนุรักษ์ ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม และทรัพย�กรก�รท่องเที่ยวควบคู่กับสิ่งแวดล้อม โดยคำ�นึงถึง คุณภ�พของก�รพัฒน�ก�รท่องเที่ยวแบบยั่งยืน เพื่อให้ส�ม�รถรองรับก�รขย�ยตัวของ นักท่องเที่ยวในระยะย�ว และคงไว้ซึ่งคว�มเป็นเอกลักษณ์และมรดกของแต่ละช�ติ ทั่วโลกสืบไป
Get Satisfied 12 1. รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและยั่งยืนมากขึ้น การเตรียมอาหารที่มีคุณค่า ทางโภชนาการอาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย อาหารเพื่อสุขภาพไม่จำาเป็นต้องซับซ้อน การสืบค้นข้อมูล สูตรอาหารจากอินเทอร์เน็ต ในแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือทำาได้อย่างรวดเร็ว 2. ซื้อของที่จำาเป็น การวางแผนมื้ออาหาร จัดทำารายการซื้อของ อย่าเป็นเหยื่อ ทางการตลาด และหลีกเลี่ยงการซื้อที่เกิดจากการกระตุ้นด้วยแผนการตลาดของผู้ขาย ไม่เพียงแต่คุณจะสร้างขยะอาหารได้ลดลงแต่คุณยังประหยัดเงินอีกด้วย 3. อย่ารังเกียจผักและผลไม้ที่น่าเกลียด อย่าตัดสินอาหารด้วยรูปลักษณ์ ผลไม้และผัก ที่มีรูปร่างผิดปกติหรือมีรอยช้ำามักมีรสชาติและคุณค่าทางโภชนาการที่ดี สามารถนำามาจัดใส่จาน หรือเปลี่ยนเป็นสมูทตี้ น้ำาผลไม้ และขนมหวานรสชาติอร่อยอุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย 4. จัดเก็บอาหารอย่างชาญฉลาด มาก่อนออกก่อน (First in Fist Out) จัดของเก่า ไว้ด้านหน้าตู้ของใหม่ไว้ด้านหลัง หรือใช้ภาชนะที่ปิดสนิทเพื่อเก็บอาหารสดในตู้เย็น หรือป้องกัน ไม่ให้แมลงเข้าไปได้ในตู้หรือชั้นในห้องครัว 5. ทำาความเข้าใจการติดฉลากอาหาร ตัวอักษรย่อ EXP ย่อมาจาก Expire แปลว่า “วันหมดอายุ” ถ้าเลยวันที่ EXP แล้วไม่ควรเอาอาหารนั้นมารับประทานเพราะมันเสีย หรือบูด แต่ตัวอักษรย่อ BBE ย่อมาจาก Best Before แปลว่า “ควรบริโภคก่อน” ถ้าเลยวันที่ BBE แล้ว อาหารอาจยังพอรับประทานได้ แต่ความสด, รสชาติ, หรือสารอาหารจะลดลง UNFAO ให้ 15 แนวท�งในก�รลดปริม�ณอ�ห�รขยะ เพื่อให้ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของก�รปกป้องอ�ห�ร คุณก็เป็นฮีโร่ได้...เพียงแค่ลดขยะอาหาร Reducing Food Waste and Becoming a Food Hero ความตื่นตระหนกกับวิกฤตอาหารโลก (Food Crisis) ในปี ค.ศ.2022 จาก การเผชิญกับปัญหาที่ต่อเนื่อง ทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด วิกฤติสภาพภูมิอากาศที่ เปลี่ยนแปลง และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทำาให้มีผู้หิวโหยทั่วโลกถึง 828 ล้านคน1 เกิดความไม่มั่นคง ด้านอาหาร ใน 53 ประเทศ ความรุนแรงที่เรียกว่าเข้าขั้นวิกฤต2 สะท้อนภาพความหิวโหยของ มนุษยชาติ หากแต่วิกฤตอาหารในอีกด้านก็คือ การสูญเสียอาหาร (Food Loss)” หรือ การเกิดขยะ อาหาร (Food Waste)” ที่มีปริมาณมากถึงหนึ่งในสามของอาหารทั้งหมดที่ถูกผลิตขึ้นมาในโลก คิดเป็น 1.3 พันล้านตันต่อปี องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Food and Agriculture Organization ,UNFAO) คาดการณ์ว่าภายในปี 2030 จะเพิ่มขึ้น มากกว่าสองพันล้านตันต่อปี เศษอาหารที่เกิดขึ้นเหล่านี้แสดงถึงการสูญเสียโอกาสในการปรับปรุงความมั่นคง ด้านอาหาร ถ้าสามารถลดปริมาณอาหารที่ถูกทิ้งได้จะเป็นการส่งผลดีต่อสภาพอากาศของโลก และทำาให้พื้นที่การเพาะปลูก รวมถึงทรัพยากรน้ำา ได้ใช้ไปอย่างมีประโยชน์มากขึ้น การสูญเสียอาหาร (Food Loss)” หมายถึงการลดลงของมวลอาหารที่กินได้ในขั้นตอน การผลิต หลังการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปของห่วงโซ่อาหาร การเกิดขยะอาหาร (Food Waste)” หมายถึงการทิ้งอาหารที่กินได้ในระดับขายปลีก และผู้บริโภค
Get Satisfied 13 6. เริ่มจากเล็ก การรับประทานอาหารในบ้านนั้นคุณสามารถทำาได้ในขนาดเล็กเพียงพอ สำาหรับตัวคุณ และหากไปรับประทานอาหารที่ร้านซึ่งจานใหญ่คุณสามารถแชร์กับผู้ร่วมโต๊ะอาหารกับคุณได้ 7. รักของเหลือของคุณ การทำาอาหารในบางมื้อ เราไม่สามารถรับประทานหมด ในทันทีได้ คุณสามารถแช่แข็งไว้ เพื่อรับประทานทีหลังหรือใช้ส่วนเหลือไปเป็นส่วนผสมในมื้ออื่น 8. นำาเศษอาหารไปใช้ เศษอาหารต่าง ๆ แทนที่จะทิ้งเศษอาหารไปเป็นขยะ แต่ถ้าคุณ นำาไปทำาปุ๋ยหมักคุณจะให้สารอาหารกลับคืนสู่ดินและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ อีกด้วย 9. เคารพอาหาร การอ่านหรือหาความรู้เกี่ยวกับการผลิตอาหารและทำาความรู้จัก กับเกษตรกรผู้ผลิต จะยิ่งทำาให้คุณเชื่อมโยงความรู้สึกและที่มาของอาหาร และคุณจะยิ่งเคารพ อาหารในแต่ละคำาของคุณ 10. สนับสนุนผู้ผลิตอาหารในท้องถิ่น การซื้อผลิตผลในท้องถิ่นจะช่วยสนับสนุน เกษตรกรและธุรกิจขนาดเล็กในชุมชนของคุณ คุณยังช่วยต่อสู้กับมลภาวะด้วยการลดระยะทาง ในการขนส่งที่เกิดจากรถบรรทุกและยานพาหนะอื่น ๆ แหล่งข้อมูล 1 https://www.wfp.org/global-hunger-crisis 2 https://www.wfp.org/publications/global-report-food-crises-2022 3. https://www.fao.org/fao-stories/article/en/c/1309609/ 11. รักษาประชากรปลา กินปลาที่มีอยู่มากตามธรรมชาติ และ ท้องถิ่นของคุณ หรือซื้อปลาที่จับได้หรือเลี้ยงแบบยั่งยืน เช่น ปลานิล ปลาทับทิม มากกว่าปลาที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ที่ถูกจับมากเกินไป 12. ใช้น้ำาน้อยลง เราไม่สามารถผลิตอาหารได้หากไม่มีน้ำา การลดขยะจากอาหาร ยังช่วยประหยัดทรัพยากรน้ำาทั้งหมดที่ใช้ในการผลิต รวมถึงการลดการใช้น้ำาด้วยวิธีอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ป้องกันการรั่วของก๊อกน้ำา หรือ ปิดน้ำาขณะแปรงฟัน 13. รักษาดินและน้ำาของเราให้สะอาด ขยะในครัวเรือนบางชนิดอาจเป็นอันตรายได้ และไม่ควรทิ้งลงในถังขยะทั่วไป เช่น แบตเตอรี่ สี โทรศัพท์มือถือ ยา สารเคมี ปุ๋ย ยางรถยนต์ ตลับหมึก ฯลฯ สารเคมีจากสิ่งเหล่านี้สามารถซึมเข้าไปในดินและแหล่งน้ำาของเรา ทำาลายทรัพยากร ธรรมชาติที่ผลิตอาหารของเราด้วยต่อไป 14. กินถั่วและผักมากขึ้น สัปดาห์ละครั้ง ให้ลองรับประทานอาหารที่มีเมล็ดถั่วหรือ เมล็ดพืช การบริโภคพืชที่เป็นแหล่งโปรตีน สามารถลดการผลิตอาหารจากสัตว์ซึ่งสร้างมลภาวะ ให้กับสิ่งแวดล้อมมากกว่าการผลิตอาหารจากพืช 15. การแบ่งปันคือความห่วงใย การบริจาคอาหารที่ยังมีคุณภาพ แต่หากเก็บไว้ อาจบูดเน่า หรือ เสื่อมเสีย ตัวอย่างเช่น แอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมต่อเพื่อนบ้านเข้า ด้วยกันและกับธุรกิจในท้องถิ่น เพื่อให้สามารถแบ่งปันอาหารส่วนเกินได้โดยไม่ทิ้งขว้าง คุณก็เป็นฮีโร่ได้...เพียงแค่ลดขยะอาหาร Hero

Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.