พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) Mahasi Sayadaw พระปณฑิตาภิวงศ Sayadaw U Panฺdฺitā bhivamฺsa
แปลโดย แมชีปวีณนุช สุวรรณศักดิ์ศรี
สงสัยหนอ แปลจาก
Mahasi Sayadaw’s Analysis of Today’s Vipassana Techniques วิเคราะห์วิธีเจริญวิปส ั สนากรรมฐานในปัจจุบัน โดย พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) และ
The Way to Practice Vipassana Meditation by Sayadaw U Paṇḍitābhivaṃsa แนวทางเจริญวิปส ั สนากรรมฐาน โดย พระปัณฑิตาภิวงศ์ (สยาดอ อู ปัณฑิตาภิวังสะ)
เรียบเรียงโดย
Tharmanaykyaw (สามเณรจ่อ) แปลโดย แม่ชป ี วีณ์นุช สุวรรณศักดิ์ศรี
สงสัยหนอ แปลจาก Mahasi Sayadaw’s Analysis of Today’s Vipassana Techniques วิเคราะห์วธ ิ ีเจริญวิปส ั สนากรรมฐานในปัจจุบัน โดย มหาสีสยาดอ และ The Way to Practice Vipassana Meditation by Sayadaw U Paṇḍitābhivaṃsa แนวทางเจริญวิปส ั สนากรรมฐาน โดย สยาดอ อู ปัณฑิตาภิวงั สะ เรียบเรียงโดย
Tharmanaykyaw (สามเณรจ่อ)
ISBN
978-616-321-553-6
พิมพ์ครั้งที่ ๑
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
จ�ำนวน ๑๐,๐๐๐ เล่ม
พิมพ์ครั้งที่ ๒
ธันวาคม ๒๕๖๔
จ�ำนวน ๒๐,๐๐๐ เล่ม
อ้างอิง
มหาสีสยาดอ. วิ เ คราะห์วิธีเ จริ ญวิปส ั สนากรรมฐานในปัจ จุ บัน และ สยาดอ อู ปัณฑิตาภิวังสะ. แนวทางเจริญวิปส ั สนากรรมฐาน. แปลโดย
แม่ชป ี วีณ์นุช สุวรรณศักดิ์ศรี. สงสัยหนอ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุ งเทพฯ : บริษัท บุญศิริการพิมพ์ จ�ำกัด. ๒๕๖๔. ๘๘ หน้า. น้อมถวายเป็นอาจริยบูชาแด่
พระกัมมัฏฐานาจารย์ ปัณฑิตาภิวงศ์ (สยาดอ อู ปัณฑิตาภิวังสะ) เนื่องในโอกาส ๑๐๐ ปี ชาตกาล
จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่เป็นธรรมบรรณาการ
This Dhamma gift is published for free distribution. แปล
แม่ชป ี วีณ์นุช สุวรรณศักดิ์ศรี
บรรณาธิการ
อุดมพร สิรสุทธิ
จัดรู ปเล่มโดย
เกศกนก พุทธเจริญ
ออกแบบปกและลายเส้น
มัชฌิมน สุวรรณศักดิ์ศรี
พิมพ์ที่
บริษัท บุญศิริการพิมพ์ จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐ ๒๙๔๑ ๖๖๕๐
นมตฺถุ พุทฺธานํ นโม วิมุตฺตานํ
นมตฺถุ โพธิยา นโม วิมุตฺติยา
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อพระโพธิญาณ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่านผู้พ้นแล้วทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อพระวิมุตติธรรมนั้น
4
จากใจ หนังสือ “สงสัยหนอ” แปลจากหนังสือภาษาอังกฤษ ๒ เล่ม คือ “Mahasi
Sayadaw’s Analysis of Today’s Vipassana Techniques” (วิเคราะห์ วิธีเจริญวิปส ั สนากรรมฐานในปัจจุบัน โดย มหาสีสยาดอ) และ “The Way to Practice Vipassana Meditation by Sayadaw U Paṇḍitābhivaṃsa”
(แนวทางเจริญวิปส ั สนากรรมฐาน โดย สยาดอ อู ปัณฑิตาภิวังสะ) หนังสือ
ทัง้ ๒ เล่มนีเ้ รียบเรียงโดย Tharmanaykyaw (สามเณรจ่อ) ซึง่ เป็นนามปากกา
ของ สยาดอ อู ธัมมิกาภิวังสะ พระวิปส ั สนาจารย์ชาวเมียนมาผู้เคยเป็น ศิษย์ใกล้ชิดของท่านมหาสีสยาดอและสยาดอ อู ปัณฑิตาภิวังสะ ท่านได้
คัดสรรประเด็นส�ำคัญเกี่ยวกับการเจริญวิปส ั สนากรรมฐานมาเรียบเรียง ในรู ปแบบการถาม-ตอบได้อย่างน่าสนใจ กระชับ ชัดเจน และเข้าใจง่าย
ปัจจุบน ั มีพท ุ ธศาสนิกชนชาวไทยจ�ำนวนมากหันมาให้ความส�ำคัญกับ
การเจริญวิปส ั สนากรรมฐาน มีวัดและส�ำนักปฏิบัติธรรมต่าง ๆ ทั่วประเทศ เปิดอบรมกรรมฐานในหลากหลายรู ปแบบ แต่ด้วยวิถีชว ี ิตในโลกวัตถุนิยม
ที่ เ ร่ ง รี บ ผู้ ใ ฝ่ธ รรมส่ ว นใหญ่ จึ ง ไม่ ไ ด้ ศึ ก ษาพระธรรมและเจริ ญ ภาวนา
่ วร รวมทั้งอาจตัดสินใจไม่ได้วา่ ควรจะเริม ่ เท่าทีค ั อ ิ ย่างไร หรือเมือ ่ ต้นปฏิบต
่ น ยังไม่ทน ั เห็นผลของการปฏิบต ั ก ิ อ ็ าจเกิดความลังเลไม่ม่ันใจในแนวทางทีต
ปฏิบัติอยู่ จึงทดลองเปลี่ยนวิธีปฏิบัติเรื่อยไป คณะผู้จัดท�ำจึงเห็นพ้องกันว่า
ควรจะแปลหนังสือ ๒ เล่มนี้เพื่อเผยแพร่แด่ผู้ใฝ่ธรรมชาวไทย โดยหวังว่า จะสามารถช่วยให้ทา่ นผูอ ้ า่ นคลายข้อข้องใจในวิธีเจริญวิปส ั สนากรรมฐาน
แล้วมุ่งมั่นภาวนาตามวิธีที่เหมาะกับตนจนสัมฤทธิ์ผล และได้ลิ้มสามัคคีรส แห่งธรรมอันแฝงอยู่ในรู ปแบบที่แตกต่าง
5 “สงสั ย หนอ” แบ่ ง เป็น ๒ ภาค ภาคแรกคื อ “วิ เ คราะห์ วิ ธี เ จริ ญ
วิปัสสนากรรมฐานในปัจจุบัน โดย มหาสีสยาดอ” ที่เรียบเรียงขึ้นจาก ธรรมบรรยายต่าง ๆ ของพระอัครกัมมัฏฐานาจารย์ มหาสีสยาดอ ซึ่งท่าน
ได้ วิ สั ช นาปัญ หาเกี่ ย วกั บ วิ ป ัส สนาภาวนาไว้ อ ย่ า งฉะฉานและลุ่ ม ลึ ก ยิ่ ง เนื้อหาส่วนใหญ่แปลโดยอ้างอิงจากหนังสือต่าง ๆ ของท่านมหาสีสยาดอ
ซึ่ ง พระคั น ธสาราภิ ว งศ์ ไ ด้ แ ปลและเรี ย บเรี ย งไว้ แ ล้ ว อย่ า งสมบู ร ณ์ เช่ น “วิปส ั สนานัย” “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” และ “ปฏิจจสมุปบาท” ส่วนภาคหลัง คือ “แนวทางเจริญวิปส ั สนากรรมฐาน โดย สยาดอ อู ปัณฑิตาภิวง ั สะ” ที่เรียบเรียงจากบางส่วนของหนังสือ “In This Very Life” (รู ้แจ้งในชาติน้ี) ซึ่งเป็นเทศนาธรรมของพระกัมมัฏฐานาจารย์ ปัณฑิตาภิวงศ์ ผู้สืบทอด การเจริญวิปส ั สนากรรมฐานตามแบบของท่านมหาสีสยาดอ เนื้อหาส่วนนี้
จึงเรียบเรียงจากหนั งสือ “รู ้แจ้งในชาติน้ี ” เป็นหลัก ซึ่งคุณพิชิตและคุณ วิธัญญา ภัทรวิมลพร ได้แปลไว้อย่างดีแล้ว
ธรรมบรรณาการนี้ เกิดจากความร่ วมแรงร่ วมใจของกัลยาณมิตร
ผู้ มี พ ระคุ ณ ยิ่ ง หลายท่ า น คณะผู้ จั ด ท� ำ ขอกราบขอบพระคุ ณ พระ กัมมัฏฐานาจารย์ ปัณฑิตาภิวงศ์ แห่งปัณฑิตาราม ที่เมตตาอนุ ญาตให้
่ เผยแพร่เป็นธรรมทานแด่พท แปลหนังสือต้นฉบับทั้ง ๒ เล่มนีเ้ พือ ุ ธศาสนิกชน ชาวไทย ขอกราบขอบพระคุณ พระคันธสาราภิวงศ์ ที่กรุ ณามอบหนังสือ
อ้างอิงหลายเล่ มซึ่ ง เป็นประโยชน์ อย่ า งยิ่ง ต่ อ การแปลหนั ง สือ เล่ ม นี้ ขอ
ขอบพระคุณ คุณอุดมพร สิรสุทธิ ผู้เมตตาตรวจทานและขัดเกลาต้นฉบับ งานแปลให้ถูกต้องและสละสลวยยิ่งขึ้น ขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิรัช นิยมธรรม (ศูนย์พม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร) ที่ให้ความกระจ่าง
่ วกับชือ ่ และค�ำศัพท์ภาษาเมียนมา ขอบพระคุณ คุณจิราพร มัลลิกะมาลย์ เกีย ผู้คอยให้ก�ำลังใจและให้ค�ำปรึกษามาโดยตลอด ขอบพระคุณ คุณวิธัญญา
6 ภัทรวิมลพร ผู้เป็นก�ำลังหลักในการประสานงานและคอยช่วยเหลือทุกด้าน
ตั้ ง แต่ ต้ น จนแล้ ว เสร็ จ และขอขอบพระคุ ณ ญาติ ธ รรมทุ ก ท่ า น ผู้ ไ ด้ ส ละ ก�ำลังกาย ก�ำลังทรัพย์ และก�ำลังปัญญา ช่วยเหลือในทุก ๆ ขั้นตอนจน กุศลเจตนาในครั้งนี้สำ� เร็จลุล่วงด้วยดี
คุ ณ ความดี อั น ใดที่ บั ง เกิ ด ขึ้ น จากการจั ด ท� ำ หนั ง สื อ เล่ ม นี้ ขอ
น้ อ มถวายเป็น พุ ท ธบู ช า ธรรมบู ช า สั ง ฆบู ช า และอาจริ ย บู ช า อั น มี
พระอั ค รกั ม มั ฏ ฐานาจารย์ มหาสี ส ยาดอ พระกั ม มั ฏ ฐานาจารย์ ปัณฑิตาภิวงศ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) และพระครู
โพธาภิ รั ต (บุ ญ มาก ภู ริ ป ญฺ โ ญ) เป็น ต้ น และขอบู ช าพระคุ ณ บุ พ การี ผู้หล่อเลี้ยงชีวิตและจิตใจให้เติบโตทั้งทางโลกและทางธรรม
หากมี ค วามผิ ด พลาดหรื อ ข้ อ บกพร่ อ งประการใด คณะผู้ จั ด ท� ำ
ต้องกราบขออภัย และขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว
ขอพุ ท ธานุ ภ าพ ธรรมานุ ภ าพ สั ง ฆานุ ภ าพ และอานุ ภ าพแห่ ง
บุ ญ กิ ริ ย าวั ต ถุ ที่ ค ณะผู้ จั ด ท� ำ และญาติ ธ รรมทุ ก ท่ า นได้ ร่ ว มกั น สร้ า ง
หนั ง สื อ เล่ ม นี้ จงเป็น พลวปัจ จั ย หนุ น น� ำ และคุ้ ม ครองให้ ท่ า นญาติ ธ รรม
และท่ า นผู้ อ่ า นทุ ก ท่ า นสามารถด� ำ เนิ นตามมรรคาแห่ ง องค์ ส มเด็ จ
่ จนสิน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างอบอุน ่ และราบรืน ้ สงสัยในพระสัทธรรม ทั้ง ๓ ได้โดยเร็วเทอญ
แม่ชป ี วีณ์นุช สุวรรณศักดิ์ศรื
พฤศจิกายน ๒๕๕๕
พุทธอุทานคาถา ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ
ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ. ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทิ.
อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส สุริโยว โอภาสยมนฺตลิกฺขนฺติ.
่ ใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มค เมือ ี วามเพียรเพ่งอยู่ ่ นั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์น้ ันย่อมสิน เมือ ้ ไป เพราะได้รู้แจ้งธรรมว่าเกิดแต่เหตุ
... เพราะได้รู้ความสิน ้ ไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย
่ นั้นย่อมก�ำจัดมารและเสนามารได้ ... และเมือ
ดุจพระอาทิตย์อุทัยก�ำจัดความมืด ท�ำท้องฟ้าให้สว่าง ฉะนั้น.
ปฐมโพธิสต ู ร ทุตย ิ โพธิสต ู ร และ ตติยโพธิสต ู ร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน
8
สารบัญ หน้า ชีวประวัติ
พระโสภณมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต (มหาสีสยาดอ)................................... ๑๓
ชีวประวัติ
พระปัณฑิตาภิวงศ์ (สยาดอ อู ปัณฑิตาภิวังสะ).............................................. ๑๕
ภาค ๑
วิเคราะห์วธ ิ ีเจริญวิปส ั สนากรรมฐานในปัจจุบน ั
บทน�ำ
โดย พระโสภณมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต (มหาสีสยาดอ)........๑๙ ....................................................................................................................... ๒๐
๑.
หากไม่เคยเรียนอภิธรรมและปฏิจจสมุปบาท จะเจริญวิปัสสนาได้หรือ ?..............๒๑
๒.
แล้วกรณีพระฉันนะที่สำ� เร็จเป็นพระอรหันต์เมื่อได้เรียนปฏิจจสมุปบาทเล่า ?.....๒๒
๓.
ต้องวิเคราะห์รูปนามและไตรลักษณ์ ตามที่ได้อ่านหรือเรียนมาหรือไม่ ?..............๒๕
๔.
ความเจ็บปวดจากเสือกัดถูกระงับได้อย่างไร ?...........................................................๒๖
๕.
เพียงการอ่านหรือการฟัง จะยังวิปัสสนาให้บริบูรณ์ได้หรือไม่ ?...........................๒๗
๖.
หากไม่ได้ช�ำระจิตให้บริสท ุ ธิ์ด้วยฌานก่อน จะเจริญวิปัสสนาได้หรือไม่ ?.............๒๘
๗.
สมาธิชั่วขณะ (ขณิกสมาธิ) ใช้เจริญวิปัสสนาได้หรือไม่ ?.........................................๒๙
๘.
การจงใจจ�ำแนกอารมณ์ทป ี่ รากฏ ช่วยให้เกิดนามรู ปปริจเฉทญาณได้หรือไม่ ?....๓๑
๙.
่ มใสในขณะฟังธรรม ก็บรรลุโสดาบันได้ จริงหรือ ?.............. ๓๒ แค่มค ี วามซาบซึง้ เลือ
๑๐.
้ ได้หรือไม่ ?.....๓๔ การพิจารณาไตรลักษณ์ขณะให้ทาน ช่วยให้เข้าใกล้มรรคผลยิง่ ขึน
๑๑.
โยคีจะเห็นไตรลักษณ์ได้ตัง้ แต่เริม ่ เจริญวิปัสสนาเลยหรือไม่ ?............................... ๓๗
๑๒.
เพียงบริกรรมว่า “เกิดขึ้นแล้วดับไป” โดยไม่ได้ระลึกรู ร ้ ู ปนาม ที่ก�ำลังเกิดดับอยู่จริง จะเกิดวิปัสสนาญาณได้หรือไม่ ?............................................๓๙
๑๓.
ต้องระบุชอ ื่ แยกประเภท หรือสร้างมโนภาพ ขณะระลึกรู ร ้ ู ปนามด้วยหรือไม่ ?.....๓๙
9 หน้า ๑๔.
จริงหรือที่ว่า สติปัฏฐานหมายถึงสติ ซึง่ จัดอยู่ในสมาธิขันธ์ จึงน่าจะเป็นสมถภาวนา ไม่ใช่วิปัสสนาภาวนา ?........................................................ ๔๑
๑๕.
พระศาสดาทรงสอนให้ก�ำหนดรู อ ้ าการ “เดิน” ว่าเป็นรู ปนามใช่หรือไม่ ?............๔๒
๑๖.
สังเกตลมหายใจอย่างไรเป็นสมถะ และอย่างไรเป็นวิปัสสนา ?...............................๔๓
๑๗.
การสังเกตความเจ็บปวด เมื่อยเกร็ง หรือแสบร้อนที่เกิดขึ้น โดยไม่เปลี่ยนอิรย ิ าบถทันที จัดเป็นอัตตกิลมถานุโยค จริงหรือ ?..........................๔๓
๑๘.
จริงหรือที่ว่า การสังเกตสุขเวทนาเป็นกามสุขัลลิกานุโยค ส่วนการสังเกต ทุกขเวทนาเป็นอัตตกิลมถานุโยค จึงควรสังเกตอุเบกขาเวทนาเท่านั้น ?............. ๔๗
๑๙.
้ สือ ่ ถึงการบรรลุธรรมหรือไม่ ?............ ๔๙ อาการแปลก ๆ เช่นนอนกลิง้ เกลือกบนพืน
๒๑.
การสังเกตอาการพองและยุบของท้องสอดคล้องกับพระพุทธพจน์หรือไม่ ?...........๕๐
๒๒.
พระโพธิสต ั ว์ทรงตรัสรู พ ้ ระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้ ด้วยอานาปานสติใช่หรือไม่ ?......................................................................................... ๕๐
๒๓.
เราสามารถรับรู ป ้ รากฏการณ์ในอดีตหรืออนาคต ตามความเป็นจริงได้หรือไม่ ?........................................................................................ ๕๑
๒๔.
ควรภาวนาด้วยการพิจารณาพร้อมทัง้ บริกรรมว่า ”รู ปไม่เที่ยง รู ปไม่เที่ยง” หรือไม่ ?................................................................................๕๓
๒๕.
เหตุใดจึงไม่แนะน�ำให้โยคีก�ำหนดรู ล ้ มหายใจเข้าออก ?............................................๕๔
๒๖.
การสังเกตอาการพองและยุบของท้องขัดแย้งกับพระไตรปิฎกหรือไม่ ?...............๕๕
๒๗.
การสังเกตอาการพองและยุบของท้องจัดเป็นสมถภาวนาหรือไม่ ?....................... ๕๗
๒๘.
เหตุใดสติปัฏฐานสูตรกับปฏิสม ั ภิทามรรคจึงอธิบายการสังเกต ลมหายใจขัดแย้งกัน ?......................................................................................................๕๘
๒๙.
การก�ำหนดรู อ ้ าการพอง ยุบ งอ หรือเหยียด เป็นเพียงสมมติสจ ั จะ หรือเป็นปรมัตถสัจจะ ?...................................................................................................๕๙
๓๐.
่ ำ� อะไรค่อย ๆ ช้า ๆ ด้วยหรือ ?.......๖๐ โยคีจำ� เป็นต้องประพฤติเหมือนคนป่วยหนักทีท
10 หน้า
ภาค ๒
บทน�ำ
แนวทางเจริญวิปส ั สนากรรมฐาน
โดย พระปัณฑิตาภิวงศ์ (สยาดอ อู ปัณฑิตาภิวง ั สะ).................. ๖๕ ....................................................................................................................... ๖๖
การเจริญสติในอิริยาบถนั่ง.............................................................................................. ๖๗ ๑.
สถานที่ใดเหมาะแก่การภาวนามากที่สด ุ ?.................................................................. ๖๗
๒.
โยคีควรนั่งอย่างไร เพราะเหตุใด ?.............................................................................. ๖๗
๓.
เมื่อนั่งลงแล้วควรท�ำอะไรต่อ ?..................................................................................... ๖๗
๔.
เราจะเพิ่มความแม่นย�ำในการระลึกรู ไ้ ด้อย่างไร ?..................................................... ๖๘
๕.
วิธีใดจะช่วยให้ก�ำหนดรู ไ้ ด้อย่างถูกตรงและแม่นย�ำ ?............................................... ๖๘
๖.
เมื่อจิตฟุ้งออกไป และเริม ่ คิดถึงสิง่ ใดสิง่ หนึ่ง เราควรท�ำอย่างไร ?......................... ๖๘
๗.
เราจะสามารถจดจ่ออยู่ที่อาการพองและยุบของท้องได้อย่างสมบูรณ์
ตลอดเวลาได้หรือ ?..........................................................................................................๖๙ ๘.
้ งต้นในการนัง่ กรรมฐานคืออะไร ? หากมีสงิ่ อืน ่ ดึงความระลึกรู ้ หลักปฏิบต ั เิ บือ ไปจากอาการพองและยุบของท้อง เราควรท�ำอย่างไร ?..........................................๖๙
๙.
ควรใช้ค�ำบริกรรมอย่างไรจึงจะดีที่สด ุ ?..................................................................... ๗๐
๑๐.
วัตถุประสงค์ของการก�ำหนดรู อ ้ ารมณ์ด้วยค�ำบริกรรมคืออะไร ?......................... ๗๐
๑๑.
การเจริญสติม่งุ ให้เกิดความระลึกรู เ้ ช่นใด และเพราะอะไร ?.................................. ๗๐
๑๒.
หลังจากนั่งกรรมฐานหนึ่งชั่วโมงแล้ว การเจริญสติก็จบลงหรือ ?......................... ๗๐
การเจริญสติในอิริยาบถย่อย.............................................................................................๗๑ ๑๓.
โยคีควรลุกขึ้นจากการนั่งกรรมฐานอย่างไร ?.......................................................... ๗๑
๑๔.
นอกจากการนั่งและการเดิน โยคีควรระลึกรู อ ้ ะไรอีกในระหว่างวัน ?................... ๗๑
๑๕.
ในระหว่างวัน โยคีจะหยุดพักการก�ำหนดรู ไ้ ด้บ้างหรือไม่ ?.................................... ๗๑
๑๖.
ตารางเวลาการปฏิบัติในช่วงการอบรมกรรมฐานเป็นอย่างไร ?..........................๗๒
11 หน้า การเจริญสติในอิริยาบถเดิน............................................................................................ ๗๒ ๑๗.
ทางเดินจงกรมควรยาวเท่าใด ?...................................................................................๗๒
๑๘.
การเดินจงกรมมีประโยชน์ในชีวิตประจ�ำวันอย่างไร ?............................................๗๒
๑๙.
การเดินจงกรมช่วยสร้างเสริมคุณภาพของจิตได้อย่างไร ?....................................๗๒
๒๐.
หากมิได้เดินจงกรมก่อนนั่งกรรมฐาน จะมีข้อเสียหรือไม่ ?.................................... ๗๓
๒๑.
ขณะเดินจงกรมเราควรใส่ใจสิง่ ใด และควรก�ำหนดรู อ ้ ย่างไร
เมื่อเดินเร็วและเดินช้า ?................................................................................................. ๗๓ ๒๒.
เมื่อถึงปลายทางเดินควรท�ำอย่างไร ?......................................................................... ๗๓
๒๓.
เราควรมองดูเท้าหรือไม่ เพราะเหตุใด ?..................................................................... ๗๓
๒๔.
ท�ำอย่างไรจึงจะระลึกรู ก ้ ารเดินได้อย่างแม่นย�ำ ?...................................................... ๗๔
๒๕.
การรู ค ้ วามหมายของค�ำบริกรรมส�ำคัญต่อการภาวนาหรือไม่ ?........................... ๗๔
๒๖.
หากพยายามตามรู ก ้ ารยกเท้ามากเกินไปหรือน้อยเกินไปจะส่งผลอย่างไร ?..........๗๕
้ งต้น............................................................................................ ๗๕ ผลของการปฏิบต ั ใิ นเบือ ๒๗.
สมาธิคืออะไร ?................................................................................................................ ๗๕
๒๘.
หากเราตามสังเกตการยกเท้าอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น เราจะเห็นอะไร?........................ ๗๕
๒๙.
ญาณคืออะไร ?................................................................................................................ ๗๖
๓๐.
ล�ำดับญาณคืออะไร ?..................................................................................................... ๗๖
๓๑.
ญาณแรกที่ผู้ภาวนาจะประสบคืออะไร ?.................................................................... ๗๖
๓๒.
ญาณที่ ๒ ตามล�ำดับญาณคืออะไร ?.......................................................................... ๗๗
๓๓.
ญาณล�ำดับต่อไปคืออะไร ?.......................................................................................... ๗๗
๓๔.
หากสามารถหยัง่ รู ธ ้ รรมชาติที่แท้จริงของสิง่ ที่ก�ำลังปรากฏอยู่ จะส่งผลอย่างไร ?............................................................................................................ ๗๘
๓๕.
การก�ำหนดรู เ้ ช่นนี้ควรประยุกต์ใช้อย่างไร ?............................................................. ๗๙
ประวัติผู้แปล แม่ชีปวีณน ์ ุช สุวรรณศักดิ์ศรี............................................................................ ๘๑ รายนามผู้รว ่ มพิมพ์หนังสือ . .......................................................................................................๘๔
เอกายนํ ชาติขยนฺตทสฺสี
มคฺคํ ปชานาติ หิตานุกมฺปี เอเตน มคฺเคน ตรึสุ ปุพฺเพ
ตริสส ฺ นฺติ เย จ ตรนฺติ โอฆํ.
พระผู้มพ ี ระภาคผู้ทรงเห็นที่สด ุ คือความสิน ้ ชาติ
้ กูล ทรงทราบหนทางสายเดียว ทรงอนุเคราะห์ดว ้ ยประโยชน์เกือ ในกาลก่อนชนทั้งหลายข้ามห้วงสงสารได้ดว ้ ยทางนี้
ในอนาคตก็จักข้ามด้วยทางนี้ และในบัดนี้กข ็ า ้ มอยู่ดว ้ ยทางสายนี้.
พรหมสูตร
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
13
ชีวประวัติ พระโสภณมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต (มหาสีสยาดอ) พระกั ม มั ฏ ฐานาจารย์ โสภณมหาเถระ อั ค รมหาบั ณ ฑิ ต เกิ ด เมื่ อ
วั น ที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ ทางภาคเหนื อ ของสาธารณรั ฐ แห่ ง สหภาพเมียนมา และบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๒ ปี ท่านเริ่มศึกษา
ปริยัติธรรมตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณร จนได้รับคุณวุฒิเป็น “สาสนธชะ
สิ ริ ป วรธรรมาจริ ย ะ” ใน พ.ศ. ๒๔๘๓ เมื่ อ อุ ป สมบทได้ ๑๗ พรรษา ส่ ว นการปฏิ บั ติ ธ รรมนั้ น ใน พ.ศ. ๒๔๗๔ เมื่ อ อุ ป สมบทได้ ๘ พรรษา ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของพระนารทมหาเถระ (มินกวนเชตวันสยาดอ) พระวิปส ั สนาจารย์ที่มีชอ ื่ เสียงมากในขณะนั้น
14 เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ ท่านได้ต้ังส�ำนักวิปส ั สนากรรมฐานขึ้นที่วัดมหาสี
จังหวัดชเวโภ ท่านจึงได้สมญานามว่า “มหาสีสยาดอ” ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๙๐ รัฐบาลเมียนมาได้สร้างส�ำนั กวิปส ั สนาขึ้น ณ กรุ งย่างกุ้ง แล้วอาราธนา
ท่านพระอาจารย์มาสอนวิปส ั สนากรรมฐานให้แพร่หลายยิ่งขึ้น จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๙๔ ท่านได้รบ ั สมณศักดิเ์ ป็น “อัครมหาบัณฑิต” ซึ่งรัฐบาลเมียนมา น้อมถวายเพื่อประกาศเกียรติคณ ุ ของท่าน
ในการสังคายนาครั้งที่ ๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗-๒๔๙๙ ท่านรับหน้าที่
เป็น ผู้ ถ ามพระไตรปิ ฎ ก (สั ง คี ติ ปุ จ ฉกะ เช่ น กั บ พระมหากั ส สปเถระใน ปฐมสั ง คายนา) ทั้ ง ยั ง ร่ ว มช� ำ ระพระไตรปิ ฎ ก อรรถกถา และฎี ก าใน รอบสุดท้ายจนเสร็จสิน ้ ใน พ.ศ. ๒๕๐๔
ท่านพระอาจารย์ มหาสีสยาดอ มรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม
พ.ศ. ๒๕๒๕ สิริรวมอายุ ๗๘ ปี ๕๙ พรรษา กว่า ๔๐ ปีท่ท ี ่านเปิดอบรม
วิปส ั สนากรรมฐาน มีโยคีผ่านการอบรมที่ส�ำนักมหาสีราว ๗๐๐,๐๐๐ คน
มีสาขาของส�ำนักมหาสีราว ๓๐๐ แห่งทั่วประเทศเมียนมา และท่านยังรับ นิมนต์ไปสอนวิปส ั สนากรรมฐานในหลายประเทศทั่วโลกอีกด้วย นอกจากนี้
ท่านได้รจนาคัมภีรไ์ ว้ถงึ ๑๓ เล่ม และมีธรรมบรรยายที่จัดพิมพ์เป็นหนังสือ อีกราว ๗๐ เล่ม ผลงานทั้งด้านคันถธุ ระและวิปส ั สนาธุ ระเหล่านี้ จึงเป็น ่ งยืนยันว่า ท่านพระอัครกัมมัฏฐานาจารย์ มหาสีสยาดอ เป็นก�ำลังส�ำคัญ เครือ แห่งพระศาสนาอย่างแท้จริง
15
ชีวประวัติ พระปัณฑิตาภิวงศ์ (สยาดอ อู ปัณฑิตาภิวง ั สะ) พระกั ม มั ฏ ฐานาจารย์ ปัณ ฑิ ต าภิ ว งศ์ ได้ รั บ การยกย่ อ งว่ า เป็น ผู้ มี
ความสามารถมากในการอบรมวิ ป ส ั สนากรรมฐานตามแบบอย่ า งของ พระอัครกัมมัฏฐานาจารย์ มหาสีสยาดอ ผู้ซ่ึงได้น�ำวิธีการเจริญวิปส ั สนา กรรมฐานตามนั ย แห่ ง วิ สุ ท ธิ ม รรคมาเผยแผ่ แ ละสั่ ง สอนอย่ า งจริ ง จั ง
ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ ณ เมืองย่างกุ้ง สาธารณรัฐ แห่งสหภาพเมียนมา ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๒ ปี และเมื่อ
อายุครบ ๒๐ ปีจึงได้อป ุ สมบถเป็นพระภิกษุ ท่านเข้ารับการอบรมวิปส ั สนา กรรมฐานจากท่านมหาสีสยาดอเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ และได้รับคุณวุฒิทาง ปริยัติธรรมเป็น “ธรรมาจริยะ” ใน พ.ศ. ๒๔๙๕
16 ด้วยประสบการณ์ ต รงจากการเจริ ญวิ ป ส ั สนากรรมฐานอั น ลุ่ ม ลึ ก
และการศึ ก ษาปริ ยั ติ ธ รรมโดยละเอี ย ด พระปัณ ฑิ ต าภิ ว งศ์ จึ ง ได้ รั บ
มอบหมายจากท่านมหาสีสยาดอให้ถา่ ยทอดวิธก ี ารเจริญวิปส ั สนากรรมฐาน แก่ผู้สนใจใฝ่ธรรม ณ ส�ำนักปฏิบัติธรรมมหาสี เมืองย่างกุ้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เมื่ อ ท่ า นมหาสี ส ยาดอมรณภาพลงท่ า นจึ ง ได้ สื บ ทอดต� ำ แหน่ ง เจ้าส�ำนักระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๕ – ๒๕๓๔
ใน พ.ศ. ๒๕๓๔ ท่ า นได้ ส ร้ า งส� ำ นั ก ปฏิ บั ติ ธ รรมปั ณ ฑิ ต าราม
(Paṇḍitārāma Shwe Taung Gon Sasana Yeiktha) ที่เมืองย่างกุ้ง
และส�ำนั กสาขา (Paṇḍitārāma Forest Meditation Center) ที่เมือง
พะโค เพื่อเผยแผ่และอบรมวิปส ั สนากรรมฐานให้แก่บรรพชิตและฆราวาส นอกจากนี้ ท่ า นยั ง เดิ น ทางไปควบคุ ม ดู แ ลการอบรมวิ ป ส ั สนากรรมฐาน
หลักสูตรต่าง ๆ ในประเทศแถบเอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ท่านพระอาจารย์ ปัณฑิตาภิวงศ์ มรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน
พ.ศ. ๒๕๕๙ สิริรวมอายุ ๙๔ ปี ๗๔ พรรษา รวมระยะเวลากว่า ๖๐ ปีท่ี ท่ า นได้ อ บรมวิ ป ัส สนากรรมฐานให้ แ ก่ ศิ ษ ยานุ ศิ ษ ย์ ท้ั ง ชาวเอเชี ย และ ชาวตะวันตกเป็นจ�ำนวนมาก มีสำ� นักสาขาของปัณฑิตารามหลายแห่ง ทั้งใน
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เนปาล ออสเตรเลีย สิงคโปร์ อังกฤษ และ สหรัฐอเมริกา
Panditarama Shwe Taung Gon Sasana Yeiktha 80-A, Than Lwin Road, Bahan, 11201, Yangon, Myanmar. Tel: (951) 535448, 705525 E-mail: panditarama@mpt.mail.net.mm web.ukonline.co.uk/buddhism/panditarama.htm
มา เหวํ อานนฺท อวจ มา เหวํ อานนฺท อวจ
สกลเมว หิทํ อานนฺท พฺรหฺมจริยํ ยทิทํ
กลฺยาณมิตฺตตา กลฺยาณสหายตา กลฺยาณสมฺปวงฺกตา. กลฺยาณมิตฺตสฺเสตํ อานนฺท ภิกฺขโุ น ปาฏิกงฺขํ กลฺยาณสหายกสฺส กลฺยาณสมฺปวงฺกสฺส อริยํ อฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ ภาเวสฺสติ
อริยํ อฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ พหุลีกริสส ฺ ติ.
ดูกอ ่ นอานนท์ เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น
่ นดีนี้ ก็ความเป็นผู้มม ี ต ิ รดี มีสหายดี มีเพือ เป็นพรหมจรรย์ท้ ง ั สิน ้ ทีเดียว.
ดูกอ ่ นอานนท์ อันภิกษุผู้มม ี ต ิ รดี
่ นดี พึงหวังข้อนี้ได้วา มีสหายดี มีเพือ ่ จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
จักกระท�ำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘.
อุปฑ ั ฒสูตร
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
ภาค ๑
วิเคราะห์วธ ิ ีเจริญวิปส ั สนากรรมฐานในปัจจุบน ั โดย พระโสภณมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต (มหาสีสยาดอ) เรียบเรียงโดย สามเณรจ่อ
ฉบับภาษาอังกฤษแปลโดย ฮละมยิงจ่อ
ตรวจแก้ไขโดย สตีฟ อาร์มสตรอง และ เคนเน็ท มอร์ริส (สหรัฐอเมริกา)
Mahasi Sayadaw’s Analysis of Today’s Vipassana Techniques Compiled by Tharmanaykyaw
Translated by Hla Myint Kyaw
Edited by Steve Armstrong & Kenneth Morris (USA)
20
บทน�ำ ท่ า นมหาสี ส ยาดอ ได้ ร จนาหนั งสื อ ไว้ เ ป็ น จ� ำ นวนมาก อาทิ
ปฏิจจสมุปบาท สีลวันตสูตร ภารสูตร ตุวฏกสูตร ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
สัลเลขสูตร อริยอัฏฐังคิกมรรค อริยวสสูตร วิปส ั สนานัย อนัตตลักขณสูตร มหาสติปฏ ั ฐานสูตรนิสสัย วัมมิกสูตร หนทางแห่งวิปส ั สนา และอื่น ๆ
ผมเลื่ อ มใสศรั ท ธาท่ า นเป็น อย่ า งยิ่ ง ในความอาจหาญ ความ
แม่นย�ำ ความเด็ดขาด และภูมิปญ ั ญาอันเฉียบแหลมของท่านพระอาจารย์ อรรถาธิบายของท่านล้วนลุ่มลึกและพึงจดจ�ำใส่ใจยิ่งนัก ผมจึงเรียบเรียง
เป็นหนังสือเล็ก ๆ เล่มนี้ และใช้ช่ือว่า “Mahasi Sayadaw’s Analysis of Today’s Vipassana Techniques” (วิ เ คราะห์วิ ธี เ จริ ญ วิ ป ส ั สนา
กรรมฐานในปัจจุบัน โดย มหาสีสยาดอ) ซึ่งยกประเด็นค�ำถามต่าง ๆ ที่ท่าน พระอาจารย์ได้แสดงทัศนะและวิสช ั นาไว้ดีแล้ว
สามเณรจ่อ
(Tharmanaykyaw)
๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๓ หมายเหตุ
เชิงอรรถและข้อความที่อยู่ในเครื่องหมาย […] ทั้งหมดเป็นส่วนที่ผู้แปลได้
ค้นคว้าและเพิ่มเติมเข้าไปตามทัศนะของผู้แปลซึ่งอาจผิดพลาดได้ ขอท่านผู้อ่าน โปรดใช้วิจารณญาณในประเด็นนั้น ๆ ด้วย
21 ๑.
หากไม่เคยเรียนอภิธรรมและปฏิจจสมุปบาท จะเจริญวิปัสสนา ได้หรือ ?
จูฬตัณหาสังขยสูตร ที่ว่าด้วยข้อปฏิบัติเพื่อความสิ้นตัณหา ชี้ชัดว่า
เราสามารถเจริญวิปส ั สนาได้ โดยไม่จ�ำเป็นจะต้องเรียนพระอภิธรรม หรือ
ปฏิจจสมุปบาท (ว่าด้วยการที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีข้ึน) หากเรา รู ้ว่าสิง่ ที่ปรากฏอยู่จริงนั้นหาใช่อ่ืนใดนอกจากใจและกาย ซึ่งไม่เที่ยงถาวร บีบคั้นทนได้ยาก และปราศจากความเป็นตัวตน เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว
ส่ ว นเรื่ อ งปฏิ จ จสมุ ป บาท สิ่ ง เดี ย วที่ เ ราต้ อ งรู ้ ก็ คื อ ว่ า ไม่ มี ป ัจ เจก
บุ ค คลใด ๆ อยู่ จ ริ ง เป็น แต่ เ พี ย งปฏิ สั ม พั น ธ์ ข องเหตุ แ ละผล ไม่ จ� ำ เป็น
จะต้องศึ กษาแจกแจงตามนั ยแห่งองค์ ๑๒ หรื ออาการ ๒๐ แต่อย่างใด มิฉะนั้ น พระจูฬปันถกเถระ คงไม่อาจส�ำเร็จเป็นพระอรหันต์ผู้รู้แจ้งได้
เพราะเพียงพระบาลีคาถาเดียวที่ประกอบด้วย ๔ บาท บาทละ ๑๑ พยางค์ รวมเป็น ๔๔ พยางค์ ท่ า นก็ ยั ง ท่ อ งจ� ำ ไม่ ไ ด้ แม้ จ ะพยายามอยู่ น านถึ ง
๔ เดือนแล้วก็ตาม ท่านจึงไม่เคยเรียนปฏิจจสมุปบาทหรือพระอภิธรรม เลย ถึ ง กระนั้ น ท่ า นกลั บ สามารถบรรลุ อ รหั ต ตผลได้ ใ นช่ ว งเช้ า วั น เดี ย ว
ด้วยการลูบคล�ำผ้าขาวผืนหนึ่ งพลางบริกรรมว่า “รโชหรณํ รโชหรณํ ” (เช็ดฝุน ่ เช็ดฝุน ่ )
อีกตัวอย่างหนึ่งคือ นางมาติกมาตา มหาอุบาสิกา นางไม่เคยรู ้เลย
ว่ า คณะภิ ก ษุ ส งฆ์ท่ี น างอุ ป ฏ ั ฐากอยู่ น้ั น เจริ ญ ภาวนาอย่ า งไร ทว่ า ขณะที่ นางก� ำ ลั ง ท� ำ งานบ้ า นพร้ อ มกั บ เจริ ญ กรรมฐานที่ ภิ ก ษุ เ หล่ า นั้ น สอนให้
ในภายหลั ง นางก็ ไ ด้ บ รรลุ อ นาคามี ม รรค (มรรคญาณขั้ น ที่ ๓) ก่ อ น พระอาจารย์ท้ังหลายของนางเสียอีก ทั้งนี้นางซึ่งเป็นเพียงแม่บา้ นย่อมไม่มี โอกาสได้เรียนอภิธรรมหรือปฏิจจสมุปบาทมาก่อนเป็นแน่ ในพระไตรปิฎก
22 ยังมีกรณีตัวอย่างอีกมากที่สร้างความกระจ่างในประเด็นนี้ได้ ฉะนั้นจึงสรุ ปได้วา่ แม้มไิ ด้เรียนพระอภิธรรมและปฏิจจสมุปบาทอย่าง
ลึกซึ้งก็สามารถเจริญวิปส ั สนาจนส�ำเร็จได้ ถ้าหากผูน ้ ้ันเฝ้าสังเกตใจและกาย ณ ขณะที่ปรากฏ ตามค�ำแนะน�ำของวิปส ั สนาจารย์
(“ปฏิจจสมุปบาท” โดย มหาสีสยาดอ)
๒.
แ ล้ ว ก ร ณี พ ร ะ ฉั น น ะ ที่ ส� ำ เ ร็ จ เ ป็ น พ ร ะ อ ร หั น ต์ เ มื่ อ ไ ด้ เ รี ย น ปฏิจจสมุปบาทเล่า ?
มีครู บาอาจารย์บางท่านแสดงทัศนะว่า เราไม่อาจเจริ ญวิปส ั สนา
จนส�ำเร็จได้เลย หากไม่ได้เรียน ปฏิจจสมุปบาท โดยนัยต่าง ๆ การกล่าว
เช่นนี้ เป็น การบั่นทอนก� ำ ลั ง ใจของผู้ ป ฏิ บั ติ (โยคี ) อย่ า งยิ่ง และถื อ เป็น การท�ำลายพระศาสนาหรือค�ำสอนของพระพุทธเจ้าอีกด้วย
พระสู ต รที่ ท่ า นเหล่ า นั้ น ยกมาอ้ า งอิ ง ปรากฏใน ขั น ธวรรค แห่ ง
พระสุตตันตปิฎก๑1 พระสูตรมีว่า หลังพุทธปรินิพพาน พระฉันนะ จ�ำต้อง
่ นภิกษุท้งั หลายจะไม่พงึ ปราศรัยหรือตักเตือน รับพรหมทัณฑ์ (กล่าวคือ เพือ สั่งสอนท่าน) ต่อมาท่านส�ำนึกตนจึงคลายความถือตัว และเจริญภาวนาตาม
่ ง ความเป็นทุกข์๒2และ ทีเ่ หล่าพระเถระแนะน�ำ โดยให้พจ ิ ารณาความไม่เทีย
๑
ฉันนสูตร ในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๒
พระสูตรและอรรถกถากล่าวว่า พระเถระทั้งหลายสอนเฉพาะอนิจจลักษณะ
และอนั ต ตลั ก ษณะ ไม่ ไ ด้ ส อนทุ ก ขลั ก ษณะ เพราะพิ จ ารณาเห็ น โทษว่ า พระฉันนะจะยึดถือทุกขลักษณะฟั่นเฝือไปได้
23 ่ งด้วยรู ปธรรม ความรู ส ความไร้ซ่งึ ตัวตน ของปรากฏการณ์ทง้ั ปวง ทัง้ ทีเ่ นือ ้ ก ึ ความจ� ำ ได้ ห มายรู ้ ความจงใจ และการรั บ รู ้ ต่ า ง ๆ ๓3 แต่ ด้ ว ยความหลง ยึดในความเป็นตัวตนอย่างเหนี ยวแน่ น พระฉั นนะจึงไม่อาจน้ อมยอมรับ
ความว่างเปล่าจากตัวตนได้ ท่านกลับสับสนและหวาดกลัวเมื่อพบว่าไม่มี ตัวตนใด ๆ อยู่เลย ท่านสงสัยว่า หากผู้กระท�ำ (อัตตา) ไม่มีอยู่จริง แล้ว
ใครเล่าจะเป็นผู้รับผลของกรรมต่าง ๆ ที่ได้ท�ำไว้ ดังนั้นท่านจึงหวนกลับไป ่ ว่ามีตัวตนเช่นเดิม พระอรรถกถาจารย์ได้วินิจฉัยประเด็นนี้ ยึดถือความเชือ ไว้ดังต่อไปนี้
ว่ า กั น ว่ า เมื่ อ พระฉั น นะเริ่ ม เจริ ญ วิ ป ส ั สนา ท่ า นยั ง ไม่ ป ระจั ก ษ์ใ น
่ ย่อน เหตุปจ ั จัยของปรากฏการณ์ หรือกฎแห่งเหตุและผล ในขั้นวิปส ั สนาทีห ก�ำลังนี้ (ทุพพลวิปส ั สนา) นอกจากท่านจะยังไม่สามารถขจัดความยึดมั่น ในอัตตาได้แล้ว ครั้นท่านได้ประสบกับความว่างเปล่าของปรากฏการณ์
ทั้งปวง ท่านกลับเกิดความเห็นว่าขาดสูญ [อุจเฉททิฏฐิ–ผู้แปล] และเกิด ความสะดุ้งกลัวว่า เราจักพินาศขาดสูญ ค�ำว่า “วิปส ั สนาที่หย่อนก�ำลัง” หมายถึง ยังไม่จัดเป็นวิปส ั สนาที่แท้จริงซึ่งจะต้องเจริญขึ้นจากการสังเกต
เห็นการเกิดขึ้นและดับไปของปรากฏการณ์อย่างต่อเนื่ องจากขณะหนึ่ งสู่ อีกขณะหนึ่ง แต่เป็นแค่วิปส ั สนาจากการคาดคิดจินตนาการเอาเท่านั้น
ในอรรถกถาเรียกวิปส ั สนาจากจินตนาการเช่นนี้ว่า ทุพพลวิปส ั สนา
๓
มุ่งถึง ขันธ์ ๕ คือ ๑. รู ปขันธ์ (กองแห่งรู ปธรรมทั้งหมด) ๒. เวทนาขันธ์
(ความรู ้ สึ ก สุ ข ทุ ก ข์ หรื อ เฉย ๆ) ๓. สั ญ ญาขั น ธ์ (ความจ� ำ ได้ ห มายรู ้ ) ๔. สังขารขันธ์ (ความปรุ งแต่งสภาพของจิตที่น�ำโดยเจตนา) ๕. วิญญาณ ขันธ์ (การรับรู ท ้ างตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ)
24 (วิปส ั สนาที่หย่อนก�ำลัง) วิปส ั สนาที่แท้จริงนั้ นจะต้องเจริญขึ้นโดยล�ำดับ เริ่มจาก นามรู ปปริจเฉทญาณ (ปัญญาหยั่งรู ้จ�ำแนกนามและรู ป) และ
ปัจจยปริคคหญาณ (ปัญญาหยั่งรู ้ความเป็นเหตุปจ ั จัย) เป็นต้น วิปส ั สนา
เบื้องต้นเรียกว่า ตรุ ณวิปส ั สนา (วิปส ั สนาอย่างอ่อน) คืออยู่ในขั้นแรกเริ่ม แต่ ไ ม่ ใ ช่ ทุ พ พลวิ ป ัส สนา เมื่ อ ความสั บ สนเกิ ด ขึ้ น ในขั้ น ทุ พ พลวิ ป ัส สนา เท่ า นั้ น ก็ ไ ม่ ส มควรสรุ ปว่ า โยคี ไ ม่ อ าจเจริ ญ วิ ป ัส สนาได้ โ ดยปราศจาก
ความรู ้เรื่องปฏิจจสมุปบาท เพราะจะเป็นการบั่นทอนก�ำลังใจของผู้ท่ก ี �ำลัง เจริญวิปส ั สนาโดยการสังเกตรู ปนามในปัจจุบันขณะตามแนวทางปฏิบัติ ที่ถูกต้อง หากผู้ใดกล่าวเช่นนั้นก็เท่ากับว่าผู้น้ันก�ำลังท�ำลายพระศาสนา
เมื่ อ สมาธิ แ ก่ ก ล้ า ขึ้ น จากการตามสั ง เกตปรากฏการณ์ ข องจิ ต และ
กายในทันทีที่ปรากฏ โยคีจะเริ่มจ�ำแนกจิต (นาม) และกาย (รู ป) ได้ จากนั้น
ปัญญาหยั่งรู ้ถงึ เหตุปจ ั จัยจะเกิดขึ้นเอง เช่น โยคีจะรู ้ชด ั ว่า การรับรู ้ทางตา ่ องเห็น, การรับรู ท เป็นผลจากการสัมผัสระหว่างตาและสิง่ ทีม ้ างหูเกิดเพราะ
่ มีเจตนาทีจ ่ ะไปจึงเกิดอาการไป, ความอยากถูกกระตุน หูกระทบกับเสียง, เมือ ้ ได้ด้วยอารมณ์ ที่มิได้ถูกก�ำหนดรู ้, ความยึดติดท�ำให้เกิดความพยายามที่ จะสนองความต้องการนั้น ๆ หรือกรรมดีเป็นเหตุให้ได้เสวยผลที่ดี เป็นต้น
ล�ำดับต่อมาจะเกิดปัญญาหยั่งรู ้ไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง ความเป็น ทุกข์ และความไม่มีตัวตน หากปัญญาหยั่งรู ้เหตุปจ ั จัยไม่ปรากฏขึ้นก่อน
แล้ว ย่อมไม่อาจเข้าถึงไตรลักษณ์ได้ ฉะนั้น แม้ไม่ได้เรียนปฏิจจสมุปบาท อย่ า งละเอี ย ดลออมาก่ อ น ก็ ใ ช่ ว่ า จะเกิ ด ความสั บ สนขณะเจริ ญ ภาวนา เช่นเดียวกับพระฉันนะ ในกาลต่อมา พระฉันนะส�ำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้ เพราะสิน ้ สงสัยทันที
ที่ได้ฟงั ปฏิจจสมุปบาทจากพระอานนท์ ดังนั้นโยคีผู้เจริญกรรมฐานภายใต้
25 การควบคุมดูแลของวิปส ั สนาจารย์ ย่อมจะได้รบ ั ความรู ท ้ จ ี่ ำ� เป็นจากการฟัง ค�ำแนะน�ำของท่าน และถ้าเกิดความสับสนหรือมีปญ ั หาในระหว่างปฏิบัติ ท่านก็ยังช่วยคลายข้อข้องใจนั้น ๆ ได้อีกด้วย โยคีผู้ปฏิบัติตามค�ำสอนของ อาจารย์จึงไม่ต้องพะวงว่าตนมีความรู ้พื้นฐานเพียงพอหรือไม่ หรือหาก ้ จงแล้วนี้เถิด ยังกังวลในเรื่องนี้อยู่ ก็พงึ ใคร่ครวญตามที่อาตมาชีแ
สรุ ปได้ ว่ า เพี ย งเรารู ้ ว่ า ปรากฏการณ์ ท างจิ ต และกายทั้ง มวลล้ ว น
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และปราศจากความเป็นตัวตน ก็แปลว่าเรามีความรู ้
ที่จ�ำเป็นส�ำหรับเจริญวิปส ั สนาครบถ้วนแล้ว นอกจากนี้อรรถกถายังเสริม
อีกว่า หากเคยฟังเรื่องอริยสัจ ๔ ก็นับว่ามีความรู ้พื้นฐานเพียงพอแล้ว และ
คั ม ภี ร์ ม หาฎี ก าก็ รั บ รองว่ า ผู้ ใ ดทราบว่ า ไม่ มี ส่ิ ง อื่ น ใดนอกเหนื อ ไปจาก เหตุและผล ถือว่าผู้น้ั นมีความรู ้เรื่องปฏิจจสมุปบาทพอสมควรแล้ว ทั้งนี้
แม้ว่าจะไม่เคยเรียนมาก่อน โยคีก็จะรู ้ได้เองเมื่อเจริญภาวนาจนสามารถ
เห็นชัดว่า สิ่งที่ปรากฏมีเพียงนามและรู ปซึ่ งเป็น ไปตามเหตุปจ ั จั ย ล้ วน
ไม่เที่ยง ถูกบีบคั้น และไร้ซ่ึงตัวตน รวมทั้งรู ้ว่าจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติ ก็เพียงเพื่อให้ตระหนักชัดในความจริงนี้เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ความรู ้ที่จ�ำเป็น จึงเกิดขึ้นได้จากการเจริญภาวนาตามค�ำแนะน�ำของวิปส ั สนาจารย์
(“สีลวันตสูตร” โดย มหาสีสยาดอ)
๓.
ต้องวิเคราะห์รูปนามและไตรลักษณ์ ตามที่ได้อ่านหรือเรียนมา หรือไม่ ?
บางท่ า นรู ้ สึ ก ว่ า เพี ย งแค่ สั ง เกตอาการของใจและกายในทั น ที ที่
ปรากฏนั้ น ไม่อาจยังวิปส ั สนาญาณให้เจริญขึ้นได้ ต้องพิจารณาจ�ำแนก รู ปนาม พร้อมทั้งไตรลักษณ์ด้วยจึงจะเพียงพอ แต่ในความเป็นจริง การคิด
26 วิเคราะห์ไม่ใช่ประสบการณ์ตรงของเรา เป็นแค่ความรู ต ้ ามต�ำรับต�ำราหรือ
ตามทีไ่ ด้ยน ิ ได้ฟงั มาจนจ�ำได้ข้น ึ ใจเท่านั้น จึงไม่อาจน�ำมาซึ่งวิปส ั สนาญาณ ่ งทุก ๆ ขณะเท่านั้น ทีจ ่ ะสามารถบ่มเพาะ ได้ ด้วยการตามดูกายใจอย่างต่อเนือ ปัญญาจากประสบการณ์ตรงจนเกิดวิปส ั สนาญาณขึ้นได้
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราเฝ้าดูตรงประตูทางเข้าหมู่บ้าน เราย่อมจะ
เห็นทุกคนที่เดินเข้าออกได้ เราจึงไม่ต้องอ้างอิงต�ำราหรือสอบถามใครเลย หรือหากเราติดตั้งกระจกไว้ข้างทาง กระจกนั้นย่อมสะท้อนภาพสิ่งต่าง ๆ ่ า่ นไปมา ฉันใดก็ฉน ทีผ ั นั้น หากเราเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ตา่ ง ๆ ทีไ่ ด้ประสบ
ทางทวารทั้ง ๖ ลักษณะที่แท้จริงของปรากฏการณ์น้ัน ๆ ย่อมปรากฏให้ เราเห็นอย่างชัดเจนได้โดยอัตโนมัติ (“ภารสูตร” โดย มหาสีสยาดอ)
๔.
ความเจ็บปวดจากเสือกัดถูกระงับได้อย่างไร ? เป็น ที่ น่ า สงสัย ว่ า ความเจ็ บ ปวดจากเสือ กั ด ถู ก ระงั บ ได้ อ ย่ า งไร ?
ในกรณี ของ พระติ ส สเถระ ผู้ ถึ ง อรหั ต ตผลหลั ง จากทุ บ ขาจนหั ก
อรรถกถากล่าวว่า “ท่านระงับความเจ็บปวด แล้วใคร่ครวญความบริสุทธิ์ แห่ ง ศี ล ของตน ยั ง ปี ติ แ ละปราโมทย์ ใ ห้ เ จริ ญ ขึ้ น ...” ๔ 4 อรรถกถานี้
ระบุ ชั ด ว่ า ท่ า นข่ ม ความเจ็ บ ปวดก่ อ น แล้ ว จึ ง พิ จ ารณาศี ล ของท่ า น กรณี ท่ีพระภิกษุถูกเสือกัดนี้ ก็มาในอรรถกถาส่วนเดียวกัน ซึ่งอธิ บายบท
๔
อรรถกถาของ สติปฏ ั ฐานสูตร ในพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
ส่วนที่ว่าด้วยความหมายของมรรค
27 ที่ ว่ า “ทุ กฺ ข โทมนสฺ ส านํ อตฺ ถ งฺ ค มาย” (ทางเดี ย วที่ จ ะเอาชนะความ
ทุ ก ข์ก ายและความทุ ก ข์ใ จ) จึ ง เป็น ไปได้ ว่ า ท่ า นใช้ ก ารเจริ ญ สติ ป ฏ ั ฐาน บรรเทาความเจ็บปวดจากเสือกัด ในการปฏิบัติ โยคีอาจพบว่าความเจ็บปวดหรืออาการบาดเจ็บทั่ว ๆ
ไปจะค่อย ๆ คลายไป เมื่อเขาใส่ใจก�ำหนดรู ้อาการนั้น ๆ อยู่ การเฝ้าสังเกต เช่นนี้ชว ่ ยให้โยคีขม ่ ความเจ็บปวดลงได้ ทว่าความเจ็บปวดนั้นอาจกลับมาอีก
หากสมาธิ แ ละวิ ป ัส สนาญาณยั ง ไม่ แ ก่ ก ล้ า พอ วิ ธี ร ะงั บ ความเจ็ บ ปวด
เช่นนี้ จัดว่าเป็น “วิกขัมภนะ” (การข่มไว้ได้ช่ัวระยะหนึ่ ง) หากวิปส ั สนา สมาธิมีก�ำลังพอ ความเจ็บปวดก็อาจถูกก�ำจัดให้สน ้ิ ไปได้ ด้วยเหตุน้ี สมเด็จ
พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า จึ ง ทรงอาศั ย วิ ป ัส สนาขจั ด อาการของโรคร้ า ยที่ เสียดแทงพระวรกายในช่วงพรรษาสุดท้ายได้ อันที่จริงก็อาจเป็นไปได้ว่า ความเจ็บปวดของพระติสสะนั้นถูกข่มลง
ได้ด้วยการพิจารณาศีลของท่านเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ดี กรณี เหล่านี้
ถูกยกมาอ้างอิงในอรรถกถาเพื่อจะยืนยันว่า วิปส ั สนาสามารถช่วยก�ำจัด
ความทุกข์กายได้ เพราะฉะนั้นจึงควรจะสรุ ปว่า ความเจ็บปวดจากเสือกัดนั้น ถูกระงับไว้ได้ด้วย เวทนานุปส ั สนาสติปฏ ั ฐาน (การสังเกตความรู ้สก ึ )
(“ตุวฏกสูตร” โดย มหาสีสยาดอ)
๕.
เพียงการอ่านหรือการฟัง จะยังวิปส ั สนาให้บริบร ู ณ์ได้หรือไม่ ? ่ รู แ ่ ในพิธีกรรม หากผูใ้ ดไม่ได้เจริญภาวนาเพือ ้ จ้งอริยสัจแล้ว ความเชือ
และข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ของผู้น้ันย่อมจัดว่าเป็น สีลัพพตปรามาส (ความ ถื อ มั่ น ส� ำ คั ญ ผิ ด ในศี ล พรต) ปัจ จุ บั น มี ผู้ ส อนว่ า แค่ ก ารฟัง หรื อ เล่ า เรี ย น
28 ้ ใจก็สามารถบรรลุธรรมได้ คือหมายความว่า ลักษณะต่าง ๆ ของนามรู ปจนขึน ไม่จ�ำเป็นจะต้องเจริญวิปส ั นากรรมฐานหรือรักษาศีลแต่อย่างใด ในกรณี เช่นนี้ เราพึงไตร่ตรองเสียก่อนว่า ความเชื่อของท่านเหล่านั้ นเจือไปด้วย ่ นั้นยังตกอยูใ่ นข่าย สีลพ ั พตปรามาสหรือไม่ ตามทัศนะของอาตมา ความเชือ ของสีลัพพตปรามาสเป็นแน่ เพราะไม่สอดคล้องกับศีล สมาธิ หรือปัญญา เลยสักนิด (“ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” โดย มหาสีสยาดอ)
๖.
หากไม่ได้ช�ำระจิตให้บริสุทธิ์ ด้วยฌานก่อน จะเจริญวิปัสสนาได้ หรือไม่ ?
่ ริสท มีบางท่านสอนว่า การเจริญวิปส ั สนาต้องอาศัยจิตทีบ ุ ธิ์จากฌาน สมาธิก่อน มิฉะนั้นวิปส ั สนาจะไม่เป็นผล นั่นเป็นแนวคิดแบบสุดโต่ง เพราะ ที่จริงแล้วคัมภีรว ์ ิสท ุ ธิมรรคยืนยันว่า เพียงแค่ อุปจารสมาธิ [สมาธิในขณะ ที่จิตจวนจะตั้งมั่นแน่ วแน่ –ผู้แปล] ก็สามารถใช้เจริญวิปส ั สนาจนส�ำเร็จ อรหัตตผล (ความรู ้แจ้งบริบูรณ์) เพราะท�ำจิตให้บริสุทธิ์ปราศจากนิวรณ์ ่ งกั้นกุศลธรรมได้ พระบรมศาสดาตรัสไว้อย่างชัดเจนในพระสูตรต่าง ๆ เครือ อาทิ มหาสติปฏ ั ฐานสูตร ว่าเราสามารถบรรลุอรหัตตผลหรือตรัสรู ข ้ ้น ั สูงสุด ได้ด้วยอุปจารสมาธิที่เกิดจากการตามรู ้อิริยาบถ เป็นต้น นอกจากนี้ ในอนุสสติฏฐานสูตร อังคุตตรนิกาย พระพุทธองค์ตรัสว่า บุคคลอาจส�ำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้ด้วยสมาธิท่ีเจริญขึ้นจากการระลึกถึง พระพุทธคุณ และอรรถกถาของสัมปชัญญบรรพก็รบ ั รองว่า บุคคลสามารถ
29 ้ ได้ดว ยังปีตใิ ห้เกิดขึน ้ ยการระลึกถึงพระพุทธคุณหรือพระสังฆคุณ แล้วสังเกต ความเกิดขึ้นและดับไปของปีติน้ัน จนบรรลุอรหัตตผลได้ (“ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” โดย มหาสีสยาดอ)
๗.
สมาธิช่ ว ั ขณะ (ขณิกสมาธิ) ใช้เจริญวิปส ั สนาได้หรือไม่ ? ในคัมภีรว ์ ิสท ุ ธิมรรค ธาตุมนสิการบรรพ กล่าวว่า การสังเกตธาตุ ๔
ที่ปรากฏชัดในปัจจุบันขณะ ท�ำให้เกิดอุปจารสมาธิ ซ่ึ งสกัดกั้นนิ วรณ์ ได้ ทั้งนี้ มหาฏีกาเสริมว่า สมาธิที่เกิดขึ้นนี้ยังจัดเป็นอุปจารสมาธิไม่ได้ทีเดียว เพราะไม่ อ าจเจริ ญ ต่ อ ไปถึง ขั้น อั ป ปนาสมาธิ ไ ด้ อย่ า งไรก็ ต าม สมาธิ น้ี มี คุ ณ สมบั ติ ค ล้ า ยกั บ อุ ป จารสมาธิ คื อ สามารถข่ ม นิ ว รณ์ แ ละท� ำ ให้ จิ ต สงบได้เช่นกัน จึงอาจกล่าวโดยอนุโลมว่าเทียบเท่ากับอุปจารสมาธิ ด้วย ส�ำนวนว่า สทิสูปจาระ ในการเจริ ญวิปส ั สนา สมาธิ ชนิ ดนี้ ควรเรี ยกว่า “ขณิ กสมาธิ” (สมาธิท่ีต้ังอยู่กับปัจจุบันอารมณ์ในขณะนั้น ๆ) อาตมาจึง มั ก เรี ย กว่ า “วิ ปัส สนาขณิ ก สมาธิ ” ทว่ า มี บ างท่ า นไม่ เ ห็ น ด้ ว ยกั บ ชื่อ นี้ และแย้งว่าขณิ กสมาธิไม่สามารถใช้เจริญวิปส ั สนาได้ เพราะถ้าใช้ได้จริง นักเรียนนักศึกษาทั้งหลายก็คงจะบรรลุวิปส ั สนาญาณกันหมดแล้ว ในประเด็นนี้ อาตมาก็เห็นว่าอาจเป็นไปได้ ถ้าหากนักเรียนเหล่านั้น ่ ะระงับนิวรณ์ได้ โดยมีสติกำ� หนดรู ้ สามารถเจริญขณิกสมาธิจนมีกำ� ลังพอทีจ ่ รากฏในปัจจุบน ่ ล่าวไว้ในมหาสติปฏ รู ปนามทีป ั ขณะตามทีก ั ฐานสูตร แต่ใน ความเป็นจริงก็เห็นได้ชด ั ว่า สมาธิในระดับทีเ่ กิดจากการไตร่ตรอง ประเมิน
30 หรือวิเคราะห์ขอ ้ มูลความรู ้ทีไ่ ด้จดจ�ำร่�ำเรียนมานั้น ไม่อาจช่วยระงับนิวรณ์ ได้ แ ต่ อ ย่ า งใด ยิ่ ง กว่ า นั้ น พวกเขาก็ ไ ม่ ไ ด้ สั ง เกตรู ปนามที่ ป รากฏอยู่ เ ลย ด้วยซ้�ำ ฉะนั้ น ท่านที่โต้แย้งเช่นนี้ คงจะขาดความรู ้ความเข้าใจในวิธีเจริญ วิ ป ัส สนาที่ ถู ก ต้ อ ง คั ม ภี ร์ วิ สุ ท ธิ ม รรคกล่ า วถึ ง ขณิ ก สมาธิ โ ดยใช้ ค� ำ ว่ า “ขณิ กจิตเตกัคคตา” ซึ่งขยายความไว้ในมหาฎีกาว่า “ขณมตฺตฏฺฐิติโก
สมาธิ” (สมาธิท่ีต้ังอยู่ช่ว ั ขณะ) เมื่อพิจารณาตามคัมภีรอ ์ รรถกถาและฎีกา ต่าง ๆ ดังนี้แล้ว อาตมาจึงเรียกว่า ขณิ กสมาธิ (สมาธิช่ัวขณะ) หรืออาจ
อนุโลมว่าเป็น อุปจารสมาธิ (สมาธิท่ีจวนจะแน่วแน่) ด้วยก็ได้ หากเข้าใจ ่ าตมายกมานี้ ท่านเหล่านั้นคงจะคลายความสับสนได้ ข้ออธิบายต่าง ๆ ดังทีอ (“ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” โดย มหาสีสยาดอ)
สมาธิที่ต้ังขึ้น ณ ขณะที่ระลึกรู ้อารมณ์ เรียกว่า “ขณิ กสมาธิ” เป็น สมาธิท่ีต่อเนื่องไปในแต่ละขณะที่โยคีกำ� หนดรู ้ หากปราศจากสมาธิชนิดนี้ แล้ว วิปส ั สนาจะไม่อาจเกิดและเจริญขึ้นได้เลย ดังนั้นจึงต้องพัฒนาสมาธิ ชนิ ด นี้ จ นแก่ ก ล้ า พอที่ จ ะเป็น ฐานให้ วิ ป ส ั สนาญาณ ส� ำ หรั บ โยคี ที่ เ จริ ญ วิปส ั สนาล้วน ๆ คือไม่ได้อาศัยสมถฌานเป็นบาทฐาน ขณิ กสมาธินี่แหละ ที่จะพาเราสู่การบรรลุมรรคผล วิปัสสนาไม่ใช่การจดจ่ออยู่กับอารมณ์
เดียว แต่เป็นการเฝ้าดูอารมณ์ตา ่ ง ๆ จากขณะหนึ่งสูอ ่ ีกขณะหนึ่ง ไม่วา ่
อารมณ์ ท่ี ป รากฏชั ด ในขณะนั้ นจะเปลี่ ย นแปรไปอย่ า งไรก็ ต าม จิ ต ก็ ยังคงตั้งมั่นสังเกตอารมณ์ ต่าง ๆ ที่ปรากฏจากขณะหนึ่งสู่อีกขณะหนึ่ง
31 เรื่ อ ยไป โยคี ที่ ป ฏิ บั ติ ธ รรมจนเห็ น ผลแล้ ว ย่ อ มจะรู ้ ชั ด ในประเด็ น นี้ ไ ด้ ด้วยตนเอง (“สัลเลขสูตร” โดย มหาสีสยาดอ)
๘.
การจงใจจ�ำแนกอารมณ์ทป ี่ รากฏ ช่วยให้เกิดนามรู ปปริจเฉทญาณ ได้หรือไม่ ?
การวิเคราะห์แจกแจงปรากฏการณ์ต่าง ๆ ไม่อาจท�ำให้เกิด นามรู ป
ปริ จ เฉทญาณ ขึ้ น ได้ เ ลย ต่ อ เมื่ อ ได้ เ ฝ้า ดู ป รากฏการณ์ ข องใจและกาย ในทั น ที ท่ี เ กิ ด ขึ้ น เท่ า นั้ น โยคี จึ ง จะสามารถแยกแยะนามและรู ปได้ เ อง โดยปราศจากการจงใจใด ๆ นั่นแหละคือนามรู ปปริจเฉทญาณที่แท้จริง (“ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” โดย มหาสีสยาดอ)
วิปส ั สนาญาณที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้ด้วยการสังเกตปัจจุบันอารมณ์ เท่านั้น มิใช่ดว ้ ยการใช้เหตุผล คิดวิเคราะห์ เทียบเคียง หรือแจกแจงจาระไน สภาวธรรม เช่นว่า โลกิยจิตจ�ำแนกได้ ๘๑ ประเภท, องค์ประกอบของ จิต (เจตสิก) มี ๕๒ ชนิด หรือ รู ปแบ่งเป็น ๒๘ จ�ำพวก ฯลฯ ความรู ้เช่นนั้น เป็นเพียงความจ�ำจากการเล่าเรียน (สัญญา) ไม่ใช่ปญ ั ญาจริง ๆ ทีเ่ กิดขึ้นเอง จากประสบการณ์ตรง ลองคิ ด ดู ว่ า โลกิ ย จิ ต ๘๑ ประเภท มี อ ะไรบ้ า ง และเกิ ด กั บ เราได้
ทั้งหมดหรือไม่ ? ยกตัวอย่างเช่น มหัคคตาจิตย่อมเกิดกับผูท ้ รงฌานเท่านั้น
ส่วนกิริยาจิตแม้จะเป็นฝ่ายโลกิยะก็เกิดกับพระอรหันต์เท่านั้น แล้วเราจะ
32 ประสบกับสิง่ ที่ไม่เกิดกับเราได้อย่างไรเล่า ? นอกจากนี้ในรู ป ๒๘ จ�ำพวก ความเป็นหญิงมีในผูห ้ ญิง ส่วนความเป็นชายก็มใี นผูช ้ าย เราไม่อาจประสบ
กับภาวรู ปของอีกเพศได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ การแจกแจงสภาวะที่เราไม่เคย ประสบจะจัดเป็นปัญญาในการรู แ ้ จ้งปรมัตถธรรมได้อย่างไร ? มิใช่ความรู ้ ด้วยสมมติบัญญัติเท่านั้นหรอกหรือ ?
หากตอบตามตรงก็ต้องบอกว่า “ใช่ นั่นเป็นเพียงความรู ้ตามบัญญัติ
เท่านั้ น” และแน่ นอนว่า แค่ความจ�ำได้หมายรู ้หรือสัญญาจากการจดจ�ำ
่ ริงแล้ว ร่�ำเรียนเช่นนั้น ย่อมไม่อาจท�ำให้เกิดนามรู ปปริจเฉทญาณได้เลย ทีจ หากไม่ได้ระลึกรู ้รูปนามก็ไม่ใช่การเจริญวิปส ั สนาเสียด้วยซ้�ำ (“สัลเลขสูตร” โดย มหาสีสยาดอ)
๙.
่ มใสในขณะฟังธรรม ก็บรรลุโสดาบันได้ จริง แค่มค ี วามซาบซึ้งเลือ หรือ ?
ข้ อ ความในธั ม มจั ก กั ป ปวั ต ตนสู ต ร อาจก่ อ ให้ เ กิ ด ความสั บ สนได้
เนื่องจากพระสูตรไม่ได้ระบุไว้เลยว่า พระโกณฑัญญะ ได้เจริญวิปส ั สนา
พระบาลีกล่าวแต่เพียงว่า ท่านบรรลุโสดาบัน หรือที่เรียกว่า “ธรรมจักขุ”
(เกิ ด ดวงตาเห็ น ธรรม) ในขณะที่ ฟ ัง พระสู ต รนี้ อ ยู่ ห รื อ ในทั น ที ที่ พ ระ
ธรรมเทศนาจบลง เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็ไม่เห็นจะต้องสนใจใช่ไหมว่า ท่าน โกณฑัญญะเจริญวิปส ั สนาอย่างไร ? ตอบว่า ไม่ใช่ เพราะเราจะละเลย
ประเด็นนี้ไปได้อย่างไรในเมื่อพระสูตรนี้ระบุไว้เองว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ คือสิง่ ที่พงึ ท�ำให้เจริญ
33 ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา ๕5 มีบทว่า “ทุกฺเข ญาณํ ” เป็นต้น
ซึ่งอธิบายว่า ความจริงเกี่ยวกับทุกข์คือ ทุกขสัจ เป็นสิง่ ที่ควรก�ำหนดรู ้ และ เหตุแห่งทุกข์ คือ สมุทยสัจ เป็นสิ่งที่พึงท�ำให้สิ้นไปด้วยการเจริญภาวนา
่ ๆ ทีย ่ น นอกจากนี้ยงั พบข้อความอืน ื ยันว่า มรรคญาณจะเกิดขึ้นได้ดว ้ ยความ
บริบูรณ์แห่งวิปส ั สนาเท่านั้น หรือที่เรียกว่า “บุพพภาคมรรค” (วิปส ั สนา
ญาณอันเป็นเบื้องต้นแห่งมรรคญาณ) พระบาลียังรับรองด้วยว่า วิปส ั สนา
ญาณและมรรคญาณจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีการก�ำหนดรู ้อารมณ์อย่างใด อย่างหนึ่งในสติปฏ ั ฐาน ๔ หมวด คือ กาย เวทนา จิต และสภาวธรรมต่าง ๆ และมีข้อความที่สอดคล้ องกันอีกว่า สัมมาสติ ซึ่ งเป็นหนึ่ งในองค์มรรค จะเกิดขึ้นได้จากการเจริญสติปฏ ั ฐานเท่านั้น
ประเด็นต่าง ๆ ที่ยกมานี้ล้วนสนับสนุนว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ ไม่อาจ
เกิ ด ขึ้ น ได้ โ ดยปราศจากการเจริ ญ วิ ป ัส สนา จึ ง สั น นิ ษ ฐานได้ ว่ า ท่ า น
๕
อรรถกถาของ ปฏิสม ั ภิทามรรค ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อธิบายบท
“ทุกฺเข ญาณํ ” เป็นต้น ว่า สัจจะ ๒ ข้อแรก ได้แก่ ทุกขสัจ กับ สมุทยสัจ ่ วกับการเวียนว่ายตายเกิด หรือ โลกิยธรรม จัดเป็น วัฏฏสัจจะ (ความจริงเกีย
ได้แก่ จิต เจตสิก และรู ป) สัจจะ ๒ ข้อหลัง ได้แก่ นิโรธสัจ กับ มรรคสัจ
เป็น วิวัฏฏสัจจะ (ความจริงเกี่ยวกับการออกจากการเวียนว่ายนั้ น หรือ
โลกุ ต ตรธรรม ได้ แ ก่ มรรค ผล และนิ พ พาน) โยคี ต้ อ งเจริ ญ วิ ปั ส สนา โดยก�ำหนดรู ้วัฏฏสัจจะเป็นอารมณ์เท่านั้น เพราะเป็นที่ตั้งของกิเลส ส่วน ่ ถ วิวฏ ั ฏสัจจะเป็นสิง่ ทีป ุ ช ุ นยังเข้าไม่ถงึ จึงไม่อาจก�ำหนดรู ไ้ ด้ แม้พระอริยบุคคล
ก็ไม่พงึ เอามรรค ผล และนิพพานเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา เพราะไม่ใช่ที่ตัง้ ของกิเลส จึงไม่ช่วยให้ละกิเลสได้
34 โกณฑั ญ ญะบรรลุ โ สดาปัต ติ ม รรคได้ ด้ ว ยการเจริ ญ วิ ป ส ั สนาขณะสดั บ พระธรรมเทศนาอยู่น่ันเอง
หากบุคคลสามารถบรรลุโสดาบันเพียงเพราะได้ฟงั ธรรมและยินดี
ในธรรมนั้ น แล้ ว พระวั ป ปะและพระปัญ จวั ค คี ย์ ท่ี เ หลื อ ก็ ไ ม่ น่ า จะต้ อ ง เพียรภาวนาต่ออีกสองสามวันให้ล�ำบากเลย ยิ่งไปกว่านั้น พระบรมศาสดา
ก็คงจะไม่ทรงสนั บสนุ นให้พวกท่านภาวนาต่อด้วย พระพุทธองค์ย่อมจะ ทรงแสดงพระสูตรนั้นซ้�ำแล้วซ้�ำอีกจนกว่าพระปัญจวัคคียท ์ ้งั หมดจะบรรลุ โสดาบั น พึ ง ใคร่ ค รวญให้ ดี เ ถิ ด ว่ า เหตุ ใ ดพระองค์ จึ ง ไม่ ท รงท� ำ เช่ น นั้ น
แต่กลับทรงกระตุ้นให้เจริญภาวนาต่อไป โดยมิทรงแสดงพระธรรมเทศนา
ใด ๆ อีก ข้อนี้ชี้ชัดว่า พระบรมครู ทรงสอน เนยยบุคคล (ผู้ท่ีต้องปฏิบัติ ไปสักระยะจึงจะบรรลุธรรม) ให้เจริญภาวนาจนส�ำเร็จเป็นพระโสดาบัน
เพราะฉะนั้ น การอ้ า งว่ า “การเจริ ญ สมถะและวิ ป ส ั สนาไม่ จ� ำ เป็น
ต่ อ การบรรลุ โ สดาบั น เพี ย งแต่ มี ศ รั ท ธาเลื่ อ มใสในพระธรรมค� ำ สอนที่ ครู บาอาจารย์ถ่ายทอดให้ก็พอแล้ว” จึงไม่เป็นจริงแต่อย่างใด ทั้งยังเป็น
การบั่นทอนหรือบ่อนท�ำลายพระศาสนาอย่างยิ่ง หากผู้ใดหลงเชื่อค�ำสอน ที่ถูกบิดเบือนนี้ ก็เท่ากับปิดหนทางสูพ ่ ระนิพพานของตนเลยทีเดียว
(“ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” โดย มหาสีสยาดอ)
้ ๑๐. การพิจารณาไตรลักษณ์ขณะให้ทาน ช่วยให้เข้าใกล้มรรคผลยิง่ ขึน ได้หรือไม่ ?
่ ง มีบางท่านแนะว่า ขณะให้ทานควรระลึกรู ไ้ ตรลักษณ์คอ ื ความไม่เทีย
ความเป็นทุกข์ และความไร้ซ่ึงตัวตน ทั้งในผู้ให้ ผู้รับ และวัตถุทานด้วย
35 การให้น้ั นจึงจะประกอบด้วยปัญญา (ญาณสัมปยุต) ค�ำกล่าวนี้ เกิดจาก
ความเข้าใจผิดว่า สามารถยกทานขึ้นเป็น ภาวนามยกุศล ได้ (ความดีท่ี
เกิ ด จากการเจริ ญ วิ ป ัส สนา) ท่ า นที่ แ นะน� ำ เช่ น นี้ ค งจะตี ค วามในคั ม ภี ร์ อรรถกถาอั ฏ ฐสาลิ นี ค ลาดเคลื่ อ นไป อรรถกถานี้ ก ล่ า วถึ ง การน้ อ มเห็ น ตามจริงว่า “ย่อมเสื่อมไป ย่อมสิ้นไป” ซึ่งระลึกหลังจากได้ให้ทานแล้ว
ไม่ใช่ในขณะให้หรือก่อนจะให้ ที่จริงพระอรรถกถาจารย์ท่านมิได้หมายว่า จะให้ ท านนั้ น ประกอบด้ ว ยปัญ ญา แต่ มุ่ ง ให้ เ พิ่ ม พู น บุ ญ กุ ศ ลจากการ บ�ำเพ็ญทานขึ้นอีกขั้นด้วยวิปส ั สนา เพราะถ้าหากจ�ำเป็นจะต้องพิจารณา
ไตรลักษณ์เพื่อให้ทานนั้นประกอบด้วยปัญญาแล้ว ก็ต้องถือว่าทานในยุค ่ า่ งจากพระพุทธศาสนาล้วนไม่ประกอบด้วยปัญญาทั้งสิน ทีว ้ ความเห็นเช่นนี้ จึงไม่สมเหตุสมผล๖6
นอกจากนี้ ไม่มีพระบาลีบทใดเลยที่ระบุว่า เมื่อครั้งพระมหาโพธิสต ั ว์
ทรงสั่งสมบารมีเพื่อพระโพธิญาณอยู่ พระองค์ทรงบริจาคทานพร้อมกับ
พิจารณาไตรลักษณ์ไปด้วย อีกทั้งพระบรมศาสดาก็มิเคยตรัสให้ท�ำเช่นนั้น เลย แต่ทรงสอนเรื่องการบ�ำเพ็ญทานว่า ยิ่งผู้รับมีคุณธรรมสูง ทานนั้ น
ก็จะยิ่งมีผลมาก การให้ทานจึงควรพิจารณาคุณธรรมของผู้รับเป็นส�ำคัญ
เราจึงควรปฏิบัติตามที่พระองค์ทรงสอน เพราะถ้าผู้ให้และผู้รับเป็นเพียง กระแสรู ปนามที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ก็จะไม่มีความแตกต่าง
๖
อั ฏ ฐสาลิ นี (อรรถกถาของ ธั ม มสั ง คณี ในพระอภิ ธ รรมปิ ฎ ก) กล่ า วว่ า กุศลจิตญาณสัมปยุต เกิดขึ้นได้ทั้งในทานมัย สีลมัย และภาวนามัย มิใช่ เกิดจากภาวนามัยเท่านั้น ฉะนั้นการให้ทานจึงประกอบด้วยปัญญาได้ในตัว ไม่จ�ำเป็นต้องอาศัยภาวนามัยร่วมด้วย
36 ระหว่างผู้รับที่มีศีลและผู้รับที่ไม่มีศีล การให้ทานย่อมไม่ก่อให้เกิดความ ปีติยินดีและไม่มีอานิสงส์มากนัก
ประเด็นนี้อาจมีผโู้ ต้แย้งว่า “การให้ทานพร้อมทั้งพิจารณาไตรลักษณ์
ไปด้วย น่าจะยิ่งช่วยให้ผู้น้ันเข้าใกล้มรรคผลมากขึ้นมิใช่หรือ ?” ตอบว่า
ถ้าสามารถท�ำให้เกิดวิปส ั สนาที่แท้จริงได้ ก็ย่อมช่วยได้แน่นอน อย่างไรก็ดี หากมุ่ง เพื่ อ มรรคผลโดยตรงแล้ ว ก็ น่ า จะเจริ ญ วิ ป ส ั สนาจริ ง ๆ เสีย เลย
ดีกว่าที่จะหมดเปลืองไปกับการบริจาคทานพลางเจริญวิปส ั สนาปลอม ๆ จุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการให้ทานมิใช่เพื่อเจริญวิปส ั สนา แต่เพื่อสั่งสม
่ี วรรับ เช่น บุญบารมีของผูใ้ ห้ พระพุทธองค์จงึ ทรงแนะว่าการให้ทานแก่ผท ู้ ค หมู่สงฆ์ (สังฆทาน) จะมีผลมาก (สงฺเฆ ทินฺนํ มหปฺผลํ)๗7 ทั้งยังทรงสอนว่า
ขณะให้ ท านควรวางใจให้ ถู ก ต้ อ ง และประกอบด้ ว ยปัญ ญาคื อ เชื่อ มั่ น ในกรรมและผลของกรรมเป็นส�ำคัญ มิใช่ให้พิจารณาไตรลักษณ์
ยกตัวอย่าง นางวิสาขา มหาอุบาสิกา นางบ�ำเพ็ญทานโดยน้อมนึกถึง
คุณธรรมของผู้รับ เช่น พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี หรือ พระอรหั น ต์ และเมื่ อ ระลึ ก เช่ น นี้ นางก็ เ กิ ด ปี ติ ป ราโมทย์ ใ นกุ ศ ลกรรม ของตน เป็นเหตุให้ อินทรีย์ (สภาวจิตที่เป็นใหญ่ในกิจ) พละ (ก�ำลังแห่งจิต) และ โพชฌงค์ (องค์แห่งการตรัสรู ้) แก่กล้าขึ้นโดยล�ำดับ หากการให้ทาน
๗
สัปปุริสทานสูตร ในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ว่าด้วย
สัปปุริสทาน ๕ (ทานของสัตบุรุษ) คือ ๑. ให้ทานด้วยศรัทธา ๒. ให้ทาน โดยเคารพ ๓. ให้ทานโดยกาลอันควร ๔. ให้ทานด้วยจิตอนุ เคราะห์ (จิต ปล่อยวาง) ๕. ให้ทานไม่กระทบ (ไม่เบียดเบียน) ตนและผู้อ่น ื
37 พลางระลึกถึงไตรลักษณ์ในผู้รับตามที่กล่าวอ้างมานั้นดีกว่าจริง ๆ นางก็
่ รณภาพแล้วพร้อมน้อมนึกว่า “ท่านเสือ ่ มไป ท่านสิน ควรจะคิดถึงพระทีม ้ ไป” หรือหากว่านางไม่ทราบ พระบรมครู คงจะทรงสอนนางให้ท�ำเช่นนั้นแทน เป็นแน่
(“ปฏิจจสมุปบาท” โดย มหาสีสยาดอ)
๑๑. โยคีจะเห็นไตรลักษณ์ได้ต้ ง ั แต่เริ่มเจริญวิปส ั สนาเลยหรือไม่ ? วิ ธี ภ าวนาส� ำ หรั บ วิ ปัส สนายานิ ก (ผู้ เ จริ ญ วิ ป ส ั สนาโดยไม่ อ าศั ย
สมถฌาน) มีพระบาลีว่าไว้ดังนี้
“อิธ ปเนกจฺโจ วุตต ฺ ปฺปการํ สมถํ อนุปป ฺ าเทตฺวาว ปญฺจป ุ าทานกฺขนฺเธ
อนิจฺจาทีหิ วิปสฺสติ. อยํ วิปสฺสนา.”๘8
“ส่ ว นโยคี บ างคนในพระศาสนานี้ มิ ไ ด้ เ จริ ญ สมถะตามประเภทที่
กล่ า วไว้ แ ล้ ว ย่ อ มก� ำ หนดรู ้ อุ ป าทานขั น ธ์ ๕ โดยความไม่ เ ที่ย งเป็น ต้ น . ปัญญานี้ชอ ื่ ว่า วิปส ั สนา.”
กล่าวคือ โยคีเริ่มสังเกตเห็นขันธ์ ๕ ในฝ่ายโลกิยธรรมว่าไม่เที่ยง
เป็น ต้ น โดยไม่ ไ ด้ เ จริ ญ สมถสมาธิ คื อ อุ ป จารสมาธิ (สมาธิ ท่ี จ วนจะ แนบแน่น) และ อัปปนาสมาธิ (สมาธิแนบแน่นหรือสมาธิในฌาน) กระนั้น
ก็ไม่ได้หมายความว่าโยคีจะเห็นไตรลักษณ์ได้ในทันทีท่ีเริ่มภาวนา ถ้าโยคี ไม่สามารถข่มนิ วรณ์ เช่นความคิดฟุง้ ซ่านในจิตได้แล้ว ก็ไม่อาจจะรู ้ชัด
๘
ธัมมทายาทสูตร ในพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
38 ถึงลักษณะอันแท้จริงของใจและกายได้เลย๙9 การช�ำระจิตให้ปราศจากนิวรณ์ตา่ ง ๆ นั้น จะต้องบ่มเพาะ ขณิกสมาธิ
(สมาธิช่ัวขณะ) ด้วยวิปส ั สนา เมื่อนั้นโยคีจึงจะได้เห็นลักษณะของนามรู ป ตามความเป็นจริง กล่าวคือ เกิด นามรู ปปริจเฉทญาณ (ปัญญาจ�ำแนก นามรู ป) แล้วต่อด้วย ปัจจยปริคคหญาณ (ปัญญาหยั่งรู ค ้ วามเป็นเหตุปจั จัย)
และ สัมมสนญาณ (ปัญญาหยัง่ รู ไ้ ตรลักษณ์) ตามล�ำดับ ซึ่งคัมภีรว์ ส ิ ท ุ ธิมรรค ่ า่ “ย่อมก�ำหนดรู ้ ได้อธิบายประเด็นนี้ไว้อย่างละเอียด ส่วนพระบาลีขา้ งต้นทีว
อุปาทานขันธ์ ๕ โดยความไม่เที่ยงเป็นต้น” เป็นการกล่าวโดยย่อเท่านั้น เพราะหากตี ค วามว่ า โยคี ที่ เ ริ่ ม ภาวนาจะสามารถเห็ น ไตรลั ก ษณ์ ไ ด้ เ ลย
ก็ ย่ อ มขั ด แย้ ง กั บ อรรถาธิ บ ายในคั ม ภี ร์ วิ สุ ท ธิ ม รรค อี ก ทั้ง ไม่ ส อดคล้ อ ง กั บ วิ ถี แ ห่ ง วิ สุ ท ธิ ๗ [ล� ำ ดั บ ขั้ น แห่ ง ความบริ สุ ท ธิ์ ห มดจดซึ่ ง เป็น ปัจ จั ย
๙
่ งกั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในกุศลธรรม ได้แก่ ๑. กามฉันทะ นิวรณ์ ๕ คือเครือ (ความยิ น ดี พ อใจในสิ่ ง ที่ น่ า ใคร่ ) ๒. พยาบาท (ความขุ่ น เคื อ งปองร้ า ย) ๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่ซึมเซา) ๔. อุทธั จจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและ เดือดร้อนใจ) ๕. วิจิกจ ิ ฉา (ความลังเลสงสัย)
ท่านมหาสีสยาดอได้อธิ บายเกี่ยวกับอุปาทานขันธ์ ๕ ในขณะคิดไว้
ใน “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” ว่า นิ วรณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ เกี่ยวกับความคิด
ทัง้ สิน ้ วามคิดทีเ่ กิดในปัจจุบน ั ขณะ ก็จะเกิดความยึดถือ ้ หากโยคีไม่กำ� หนดรู ค
ในตัวตนว่าเป็นเราที่คิดอยู่และเป็นสิ่งที่ยั่งยืน เมื่อวิเคราะห์ให้ดีจะพบว่า ความคิดก็จัดเป็นอุปาทานขันธ์ กล่าวคือ รู ปที่น�ำมาคิดเป็นรู ปุปาทานขันธ์, ความรู ส ้ ก ึ สุข ทุกข์ หรือเฉย ๆ ทีเ่ กิดขณะคิดเป็นเวทนุปาทานขันธ์, ความจ�ำได้
หมายรู ก ้ ็เป็นสัญญุปาทานขันธ์, เจตนาและมนสิการเป็นสังขารุ ปาทานขันธ์ และจิตที่นึกคิดเป็นวิญญาณุปาทานขันธ์
39 ส่งต่อ ๆ กันจนถึงพระนิ พพาน–ผู้แปล] ด้วยเหตุนี้ การตีความเช่นนั้ นจึง ไม่ถูกต้อง
(“อริยอัฏฐังคิกมรรค” โดย มหาสีสยาดอ)
๑๒. เพีย งบริ ก รรมว่า “เกิด ขึ้น แล้ ว ดับ ไป” โดยไม่ไ ด้ร ะลึ ก รู ้ รู ปนาม ที่กำ � ลังเกิดดับอยู่จริง จะเกิดวิปส ั สนาญาณได้หรือไม่ ?
หากไม่เห็นอาการของจิตและกายตามที่เป็นจริงโดยตรงแล้ว ย่อม
ไม่อาจหยั่งรู ้ไตรลักษณ์ของรู ปนามได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราไม่เห็นสายฟ้า
ในขณะที่ฟา้ ผ่าพอดี ก็จะไม่รู้เลยว่าสายฟ้าเกิดขึ้นแล้วดับไปอย่างไร ฉันใด ก็ ฉั น นั้ น หากไม่ สั ง เกตปรากฏการณ์ ท างจิ ต และกายในทั น ที ที่ เ กิ ด ขึ้ น เราย่ อ มไม่ ก ระจ่ า งในความไม่ เ ที่ ย งเป็น ต้ น จึ ง สรุ ปได้ ว่ า ญาณหยั่ ง รู ้
ไตรลักษณ์ไม่อาจปรากฏขึ้นเพียงเพราะท่องว่า “เกิดขึ้นแล้วดับไป” โดย ไม่ ไ ด้ ร ะลึ ก รู ้ รู ปนามที่ ก� ำ ลั ง เกิ ด ดั บ อยู่ จ ริ ง ๆ ฉะนั้ น พึ ง ตระหนั ก ว่ า โยคี จะต้องสังเกตเห็นรู ปนามที่เกิดดับอยู่ในปัจจุบันขณะ จนประจักษ์ชัดใน
ความไม่ เ ที่ ย งเป็น ต้ น ของปรากฏการณ์ ต่ า ง ๆ จึ ง จะเป็น วิ ป ส ั สนาญาณ ที่แท้จริง
(“อริยอัฏฐังคิกมรรค” โดย มหาสีสยาดอ)
๑๓. ต้องระบุชอ ื่ แยกประเภท หรือสร้างมโนภาพ ขณะระลึกรู ้รูปนาม ด้วยหรือไม่ ?
โยคีพึงสังเกตจิตและกาย แต่ควรสังเกตอย่างไรเล่าจึงจะถูกต้อง ?
จ� ำ เป็น จะต้ อ งระบุ ชื่ อ และแยกชนิ ด ของอารมณ์ ท่ี ป รากฏ หรื อ นึ ก เห็ น
เป็น ภาพด้ ว ยหรื อ ไม่ ? ตอบว่ า ไม่ จ�ำ เป็น ต้ อ งระบุ เพราะชื่อ ไม่ มี ค วาม
40 ส�ำคัญใด ๆ เลย และไม่ต้องแจกแจงว่าเป็นรู ปหรือนาม เป็นจิตหรือเจตสิก แต่อย่างใด
ยิ่งกว่านั้น มีบางท่านภาวนาโดยนึกถึงสภาวธรรมนั้น ๆ ให้ปรากฏ
เป็นภาพคล้ายเม็ดฝุน ่ แต่ในความเป็นจริง ผงฝุน ่ (รู ป) แสดงลักษณะได้
ทางสีและสัมผัสทางกายเท่านั้น นอกจากนี้รูปธรรมจ�ำพวกเสียง กลิ่น และ รส ก็ไม่สามารถจินตนาการเป็นเม็ดฝุน ่ ได้ หรือแม้ว่าท่านจะสร้างมโนภาพ
ให้รูปธรรมเหล่านั้นได้ ก็คงไม่อาจนึกเห็นนามธรรมเป็นผงฝุน ่ ได้ ยกตัวอย่าง เช่น วิญญาณ (การรับรู )้ จะนึกเป็นรู ปร่างได้ไหม ? เราอาจจะรับรู ค ้ วามโลภ
ความโกรธ หรือทุกขเวทนาได้อย่างชัดเจน แต่เราจะวาดมโนภาพอย่างไร ? ที่ถูกต้องคือโยคีพงึ ระลึกรู ้ธรรมชาติของอารมณ์น้ัน ๆ ตามที่ปรากฏ
จริง ซึ่งสามารถรับรู ้ได้โดย ลักษณะ, กิจ (หน้าที่), อาการปรากฏ (ผล) และ
เหตุใกล้ (สาเหตุ) ข้อนี้อาตมาไม่ได้นึกขึ้นเอง แต่กล่าวตามคัมภีรว ์ ส ิ ท ุ ธิมรรค
พระคัมภีรน ์ ้ีอาจจะยากเกินไปส�ำหรับบางท่าน แต่คู่มือศึกษาพระอภิธรรม ที่ ช่ื อ อภิ ธั ม มั ต ถสั ง คหะย่ อ มเป็น รู ้ จั ก กั น ดี ใ นหมู่ ผู้ ศึ ก ษาพระบาลี ซึ่ ง ได้ กล่าวไว้ดังนี้
“ลกฺขณรสปจฺจุปฏฺฐานปทฏฺฐานวเสน นามรู ปปริคฺคโห ทิฏฺฐิวส ิ ท ุ ฺธิ
นาม ฯ”
“การก� ำ หนดรู ้ รู ปนาม ด้ ว ยสามารถแห่ ง ลั ก ษณะ ๑ รส (กิ จ ) ๑
ปั จ จุ ปั ฏ ฐาน (อาการปรากฏ) ๑ และ ปทั ฏ ฐาน (เหตุ ใ กล้ ) ๑ ชื่ อ ว่ า ทิฏฐิวส ิ ท ุ ธิ (ความบริสท ุ ธิ์แห่งความเห็น).”
นั กเรียนปริยัติตลอดจนสามเณรตัวน้ อย ๆ มักจะท่องจ�ำข้อความนี้
ได้ ข้ึ น ใจกั น ทั้ ง นั้ น อาตมาก็ ท่ อ งได้ ต้ั ง แต่ ยั ง เด็ ก และยั ง คงจ� ำ ได้ แ ม่ น ย� ำ
41 หากใครลื ม เสี ย แล้ ว ก็ เ ป็น ได้ ท่ี เ ขาจะหลงไปภาวนาด้ ว ยการจิ น ตนาการ อารมณ์ต่าง ๆ ให้เป็นเสมือนเม็ดฝุน ่ แทน
(“อริยวสสูตร” โดย มหาสีสยาดอ)
๑๔. จริ ง หรื อ ที่ ว่า สติปัฏ ฐานหมายถึง สติ ซึ่ ง จั ด อยู่ ใ นสมาธิ ขัน ธ์ จึ ง น่าจะเป็นสมถภาวนา ไม่ใช่วป ิ ส ั สนาภาวนา ?
ข้อสงสัยนี้เกิดจากการตีความค�ำว่า “สติปฏ ั ฐาน” เอาเองโดยไม่ได้
พิ จ ารณาเนื้ อ ความในพระสู ต รให้ ถ่ อ งแท้ เ สี ย ก่ อ น ๑๐10 อั น ที่ จ ริ ง แม้ แ ต่ ในอุ ท เทส (บทย่ อ ความของพระสู ต ร) ก็ ไ ด้ อ ธิ บ ายค� ำ ว่ า “สมฺ ป ชาโน” (ความตระหนั กรู ้ในปรากฏการณ์ ตรงตามที่เป็นจริง) ไว้อย่างชัดเจนว่า
มุ่งถึงความหยั่งรู ้ที่เกิดจากวิปส ั สนา และเมื่ออ่านนิทเทส (เนื้อความทั้งหมด
ของพระสูต ร) ก็ จ ะพบบทว่ า “สมุ ท ยธมฺ ม านุ ป สฺสี วา” (ย่ อ มเห็ น ความ เกิดขึ้นจากเหตุบ้าง) ซึ่งในการเจริญสมถะเราจะไม่สามารถเห็นการเกิดขึ้น แล้วดับไป หรือความเป็นเหตุปจ ั จัยในปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้เลย เพราะ ต้องจดจ่ออยู่กับอารมณ์เดียวตลอดเวลา
มีอีกบทว่า “อนิ สฺสิโต จ วิหรติ” (ย่อมอยู่โดยไม่มีตัณหาและทิฏฐิ
เข้าอาศัยด้วย) และ “น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ” (ย่อมไม่ถือมั่นอะไร ๆ ใน โลกด้วย) เราจะเห็นความเกิดดับจนสามารถปล่อยวางทุกสิง่ ได้ดว ้ ยวิปส ั สนา
ภาวนาเท่านั้น มิใช่ด้วยสมถภาวนา ดังจะเห็นได้ว่า แม้แต่การเจริญสมถะ ่ า่ ด้วยกายานุปส [ในมหาสติปฏ ั ฐานสูตร ส่วนทีว ั สนา (ก�ำหนดรู ก ้ องแห่งรู ป)–
๑๐
มหาสติปฏ ั ฐานสูตร ในพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค
42 ผูแ ้ ปล] เช่น อานาปานะ (ก�ำหนดรู ล ้ มหายใจเข้าออก) หรือ ปฏิกล ู มนสิการะ
(ก�ำหนดรู ้ความน่าเกลียดของร่างกาย) ก็แนะวิธีปฏิบัติไว้เพียงเพื่อให้เป็น บาทฐานของวิปส ั สนา ทั้งนี้ยงั มีวธ ิ ีทเี่ ป็นวิปส ั สนาล้วน ๆ ด้วย เช่น อิรย ิ าปถะ
(ก�ำหนดรู ้อิริยาบถใหญ่ท้ัง ๔) และ สัมปชัญญะ (ก�ำหนดรู ้อิริยาบถย่อย ่ า่ ด้วย เวทนานุปส ต่าง ๆ) เป็นต้น ยิง่ กว่านั้น พระสูตรส่วนทีว ั สนา (ก�ำหนดรู ้
เวทนา) จิตตานุ ปัสสนา (ก�ำหนดรู ้ จิต) และ ธั มมานุ ปัสสนา (ก�ำหนดรู ้
สภาวธรรม) ต่างก็ไม่เกี่ยวกับสมถภาวนาเลย เป็นวิปส ั สนาภาวนาล้วน ๆ ทั้งสิน ้
(“สัลเลขสูตร” โดย มหาสีสยาดอ)
๑๕. พระศาสดาทรงสอนให้ ก� ำ หนดรู ้ อ าการ “เดิ น ” ว่ า เป็น รู ปนาม ใช่หรือไม่ ?
“คจฺฉนฺโต วา คจฺฉามีติ ปชานาติ”๑๑11 (เมื่อเดินก็รู้ชัดว่าเราเดินอยู่)
คื อ เมื่ อ เดิ น ก็ แ ค่ รู้ ว่ า เดิ น อยู่ เ ท่ า นั้ น ซึ่ ง ฟัง ดู ง่ า ยเกิ น กว่ า ที่ จ ะเป็น วิ ธี ก าร ปฏิ บั ติ ธ รรม ทว่ า นี่ เ ป็น พระพุ ท ธพจน์ โ ดยตรงเลยที เ ดี ย ว มิ ฉ ะนั้ น คงจะ
ถูกละเลยหรือลบทิ้งไปแล้ว กระนั้นบางท่านก็ยังทักท้วงว่าไม่น่าจะถูกต้อง
่ ก�ำหนดรู อ ควรจะเป็นอย่างนั้นหรืออย่างนี้มากกว่า บ้างก็ตงิ ว่าเมือ ้ าการเดิน ในขณะเดินจะท�ำให้ท่าเดินดูแปลก ๆ ทั้งยังแย้งว่าเป็นเพียงการรู ้อารมณ์
บัญญัติ ไม่ใช่ปรมัตถ์ ทัศนะเหล่านี้ อุปมาได้กับการเขียนต่อหางตัว “ ” ่ ไม่มอ (อักษรตัวที่ ๒๐ ในภาษาเมียนมาซึ่งเทียบได้กบ ั “น”) ให้ยาวขึ้นเมือ ี ะไร
ให้ปรับแก้ พระธรรมค�ำสอนของพระบรมศาสดานั้นบริสท ุ ธิ์บริบร ู ณ์สน ้ิ เชิง
๑๑
มหาสติปฏ ั ฐานสูตร ในพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค
43 ไม่ต้องแก้ไขต่อเติมแต่อย่างใด เพราะฉะนั้ น หากจ�ำเป็นต้องภาวนาโดย ระลึกถึงอารมณ์ปรมัตถ์แล้ว พระพุทธองค์กค ็ งจะต้องตรัสสอนเช่นนั้นแทน
่ เดินก็รูช เป็นแน่ คืออาจจะตรัสว่า “คจฺฉนฺโต วา นามรู ปนฺติ ปชานาติ” (เมือ ้ ด ั ว่าเป็นรู ปนาม) แทนก็เป็นได้
(“อริยวสสูตร” โดย มหาสีสยาดอ)
๑๖. สังเกตลมหายใจอย่างไรเป็นสมถะ และอย่างไรเป็นวิปส ั สนา ? ไม่ว่าโยคีจะเจริญฌานได้หรือไม่ หากโยคีสังเกตลมหายใจเข้าออก
ในลักษณะรู ปทรงสัณฐานก็จัดเป็นสมถภาวนา แต่ถ้าสังเกตความรู ้สก ึ ที่ลม กระทบสัมผัส หรือความสั่นไหวที่เกิดขึ้นก็จัดเป็นวิปส ั สนาภาวนา
(“วิปัสสนานัย” โดย มหาสีสยาดอ)
๑๗. การสังเกตความเจ็บปวด เมื่อยเกร็ง หรือแสบร้อนที่เกิดขึ้น โดย ไม่เปลี่ยนอิริยาบถทันที จัดเป็นอัตตกิลมถานุโยค จริงหรือ ?
ได้ยินว่ามีอาจารย์บางท่านสอนว่า ถ้ารู ้สึกปวดเมื่อยหรือร้อนเพราะ
่ นอิรย ภาวนาในอิรย ิ าบถเดียวนาน ๆ ก็ควรเปลีย ิ าบถเสีย มิฉะนั้นจะกลายเป็น
การปฏิบัติแบบ อัตตกิลมถานุโยค (การทรมานตน) ความเห็นนี้ไม่สมควร เพราะเอนเอียงไปทาง สาตถกสัมปชัญญะ (ความตระหนักในประโยชน์
ที่ มุ่ ง หมาย) จนเกิ น ไป ในการเจริ ญ สมถะหรื อ วิ ป ัส สนาจ� ำ เป็น จะต้ อ ง ประกอบด้วย ขันติสังวร (การสงบระงับอยู่ได้ด้วยความอดทนอดกลั้น) ่ โยคีพยายามอดทน เพราะว่าสมาธิและวิปส ั สนาญาณจะเจริญขึ้นได้ ก็ตอ ่ เมือ
่ น ต่อความเจ็บปวด และภาวนาต่อไปจนกว่าจะทนไม่ไหวจริง ๆ หากเราเปลีย
44 ่ ย จิตจะไม่ต้งั มั่น และไม่เอือ ้ ให้เกิดปัญญาหยั่งรู ค อิรย ิ าบถอยูเ่ รือ ้ วามจริงได้
โยคีท่ีต้ังใจปฏิบัติทุกคนย่อมจะเข้าใจเรื่องนี้ได้ดี เราจึงควรอดทนภาวนา ่ ด ่ ะเป็นไปได้ โดยไม่เปลีย ่ นอิรย ให้ตอ ่ เนื่องทีส ุ เท่าทีจ ิ าบถบ่อยนัก การอดทน อดกลั้ น เช่ น นี้ จั ด ว่ า เป็น ขั น ติ สั ง วรอย่ า งแท้ จ ริ ง ไม่ ใ ช่ อั ต ตกิ ล มถานุ โ ยค
แต่อย่างใด เพราะมิใช่การจงใจทรมานร่างกาย แต่เป็นการบ่มเพาะขันติสงั วร สติ สมาธิ และวิปส ั สนาญาณให้ยิ่งแก่กล้า ่ ริงแล้ว พระพุทธองค์ทรงหวังให้โยคีภาวนาต่อไปโดยไม่ยอมลดละ ทีจ
ความเพียรหรื อเปลี่ยนอิริยาบถเลยจนกว่าจะบรรลุอรหัตตผล ณ ที่น้ั น ทีเดียว พระองค์จึงตรัสสรรเสริญไว้ในมหาโคสิงคสาลสูตร มูลปัณณาสก์
ว่า “สารีบต ุ ร ภิกษุในศาสนานี้ ฉันภัตตาหารแล้ว นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง
่ ต ด�ำรงสติม่ น ั ตั้งใจว่า ‘ตราบทีจ ิ ของเรายังไม่พน ้ จากอาสวะ เราจักไม่เลิกละ การนั่งคู้บัลลังก์นี้’ สารีบุตร ภิกษุผู้มีความอดทนเช่นนี้ พึงยังป่าสาละ ให้งดงาม” ฉะนั้น หากผู้ใดสอนว่า การภาวนาด้วยความอดทนต่อความ
ไม่สบายกายจั ดเป็นอั ตตกิลมถานุ โยค ก็ เท่ ากั บว่ าผู้ น้ั นดู หมิ่นสาวกของ พระบรมศาสดา บิดเบือนพระพุทธพจน์ และท�ำลายประโยชน์อันพึงได้ของ โยคีผู้พากเพียรอบรมสมาธิและปัญญา ขันติสง ั วร : “ภิกษุท้ ง ั หลาย อาสวะเหล่าใดพึงก�ำจัดได้เพราะความ
อดกลั้ น ? ภิ ก ษุ ใ นพระธรรมวิ นั ย นี้ พิ จ ารณาโดยแยบคายแล้ ว เป็น
ผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิวกระหาย สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และ
สั ต ว์ เ ลื้ อ ยคลาน เป็ น ผู้ มี ช าติ ข องผู้ อ ดกลั้ นต่ อ ถ้ อ ยค� ำ ที่ ผู้ อ่ื น กล่ า วชั่ ว
ต่ อ เวทนาร้ า ยแรงที่ มี อ ยู่ ใ นตั ว ซึ่ ง บั ง เกิ ด ขึ้ น แล้ ว เป็น ทุ ก ข์ กล้ า แข็ ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อาจคร่าชีวต ิ เสียได้
45 ภิกษุท้ ังหลาย อาสวะ ความทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่าใด พึง
บังเกิดขึ้นแก่ภก ิ ษุผไู้ ม่อดกลั้นอยูน ่ ้ ัน อาสวะ ความทุกข์ และความเร่าร้อน เหล่านั้น ย่อมไม่มแ ี ก่ภิกษุน้ ันผู้อดกลั้นอยู่อย่างนี้”๑๒12
ตามพระพุทธพจน์ขา้ งต้น ซึ่งยกมาจากสัพพาสวสูตร โยคีพงึ ตระหนัก
ว่า พระพุทธองค์ทรงสอนให้อดทนแม้ความเจ็บปวดนั้ นจะรุ นแรงถึงชีวิต
ทั้งนี้ อรรถกถาได้ยกตัวอย่างต่าง ๆ สนับสนุนด้วย เช่น พระโลมสนาคเถระ ผู้ไม่ยอมล้มเลิกความเพียร บ�ำเพ็ญภาวนาอย่างต่อเนื่องอยูก ่ ลางแจ้งตลอด
ช่วงอันตรัฏฐกะ ซึ่งเป็นสัปดาห์ระหว่างสองเดือนสุดท้ายของปี และจัดเป็น ช่วงที่หนาวที่สด ุ (ของอินเดีย) ที่อาจมีหม ิ ะตกได้
ดั ง นั้ น โยคี ไ ม่ ค วรเปลี่ ย นอิ ริ ย าบถเพี ย งเพื่ อ ขจั ด อาการเจ็ บ ปวด
่ ยเกร็ง แสบร้อน หรือเหน็บชา แต่พงึ สังเกตอาการต่าง ๆ ธรรมดา ๆ เช่น เมือ อย่างต่อเนื่องด้วยความอุตสาหะแน่วแน่ ว่าจะไม่ยอมขยับหนีทก ุ ขเวทนานั้น
หรื อ หากเป็น ได้ ก็ ค วรภาวนาต่ อ ไปโดยไม่ ห่ ว งอาลั ย ในชี วิ ต เลยที เ ดี ย ว ด้วยความเด็ดเดี่ยวเช่นนี้ โยคีย่อมสามารถเจริ ญขันติสังวร สมาธิ และ วิปส ั สนาญาณได้ อย่างไรก็ดี หากทนความเจ็บปวดไม่ไหวก็อาจเปลี่ยน อิริยาบถได้ โดยก�ำหนดรู ้การเคลื่อนไหวและอาการต่าง ๆ อย่างละเอียด รอบคอบ เพื่อรักษาความต่อเนื่องของสมาธิ สติ และปัญญา
ส�ำหรับท่านที่ตีความอัตตกิลมถานุ โยคผิดเพี้ยนไปจากค�ำสอนของ
พระศาสดา คือกลับเห็นว่าการเจริญกรรมฐานเป็นการทรมานตนอย่างหนึ่ง
๑๒
สัพพาสวสูตร ในพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
46 ซึ่งตรงกันข้ามกับพระพุทธพจน์ท่ส ี อนให้เรายอมสละได้แม้อวัยวะและชีวิต โดยตั้งใจแน่ วแน่ ว่า “แม้เนื้ อและเลือดในสรีระของเราจะเหือดแห้งไป
จะเหลืออยูแ ่ ต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที หากเรายังไม่บรรลุถง ึ อิฏฐผล ที่พึงจะบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วย ความบากบั่นของบุรุษแล้ว เราจักไม่คลายความเพียรนั้น”๑๓13 เมื่อตั้งใจ ่ วแล้วก็พงึ ท�ำความเพียรให้ตอ เด็ดเดีย ่ เนื่องไม่ยอ ่ หย่อนลดละ การปฏิบต ั ด ิ ว ้ ย
ความเข้มแข็งเช่นนี้ยอ ่ มน�ำมาซึ่งสมาธิและวิปส ั สนาญาณ จึงไม่ควรกล่าวว่า เป็นอัตตกิลมถานุโยค มิใช่แต่เพียงการเจริญสมาธิเท่านั้น แม้การรักษาศีลซึง่ บางครั้งอาจเกิด ความล�ำบากทางกายบ้าง ก็ไม่จัดว่าเป็นอัตตกิลมถานุโยค เช่น เด็กวัดหรือ สามเณรอาจรู ้สก ึ หิวบ้างในตอนเย็นเพราะต้องรักษาศีล ๘ หรือศีล ๑๐ แต่
การงดเว้นจากการบริโภคยามวิกาลนั้นเป็นไปเพื่อความบริบูรณ์ แห่งศีล สมาธิและปัญญาเช่นกัน จึงไม่ถอ ื ว่าเป็นการทรมานตนโดยเปล่าประโยชน์ บางท่านก็ต้องอาศัยความอุตสาหะอดกลั้ นอย่างยิ่งในการเว้นจาก
้ า่ “เป็น การฆ่าสัตว์ เป็นต้น ทว่าพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญความพยายามนีว
ทุกข์ในปัจจุบน ั แต่ให้สข ุ ในภายหน้า” ดังปรากฏในมหาธัมมสมาทานสูตร มูลปัณณาสก์ ความว่า
“ภิกษุท้ ง ั หลาย การประพฤติธรรมที่มท ี ุกข์ในปัจจุบน ั แต่มส ี ข ุ เป็น
วิบากต่อไปเป็นอย่างไร ? ภิกษุท้ ังหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็น ผู้งดเว้นจากปาณาติบาต พร้ อมด้วยทุกข์บ้าง พร้ อมด้วยโทมนั สบ้าง
๑๓
กีฏาคิริสต ู ร ในพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
47 ย่อมเสวยทุกข์โทมนัสเพราะการเว้นจากปาณาติบาตเป็นปัจจัย (เรียงไป
ตามกุศลกรรมบถ ๑๐ ทีละข้อ) ฯลฯ เป็นผู้มค ี วามเห็นชอบ พร้อมด้วยทุกข์
บ้าง พร้อมด้วยโทมนัสบ้าง ย่อมเสวยทุกข์โทมนัสเพราะสัมมาทิฏฐิเป็น ปัจจัย เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์หลังจากตายเพราะกายพินาศไป
ภิกษุท้ ง ั หลาย การประพฤติธรรมนี้ เรากล่าวว่ามีทก ุ ข์ในปัจจุบน ั แต่มส ี ข ุ เป็นวิบากต่อไป”
สรุ ปว่า การปฏิบต ั ใิ ดสามารถบ่มเพาะศีล สมาธิ และปัญญา การ
ปฏิบัติน้ ั นไม่จัดเป็นการทรมานตน แต่เป็นทางสายกลางคือมัชฌิมาปฏิ ป ทา ส่ว นการปฏิ บัติใ ดที่ไ ม่เ ป็น ไปเพื่อ ศีล สมาธิ และปัญ ญาแล้ ว ่ ความเดือดร้อนแก่ตนโดยแท้ พึงรู ้วา ่ การปฏิบต ั น ิ ้ ันเป็นไปเพือ
(“ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” โดย มหาสีสยาดอ)
๑๘. จริ ง หรื อ ที่ ว่ า การสัง เกตสุข เวทนาเป็น กามสุขั ล ลิ ก านุ โ ยค ส่ว น
การสั ง เกตทุ ก ขเวทนาเป็ น อั ต ตกิ ล มถานุ โ ยค จึ ง ควรสั ง เกต อุเบกขาเวทนาเท่านั้น ?
ในการเจริญวิปส ั สนา บางท่านก็มีทัศนะแปลก ๆ ว่า การก�ำหนดรู ้
ความรู ้ สึ ก ที่ เ ป็น สุ ข (สุ ข เวทนา) ท� ำ ให้ เ กิ ด ความหลงใหลในกามคุ ณ
(กามสุขล ั ลิกานุโยค) ส่วนการก�ำหนดรู ้ความรู ้สก ึ ที่เป็นทุกข์ (ทุกขเวทนา) เป็นการทรมานตน (อัตตกิลมถานุ โยค) จึงควรหลีกเลี่ยงการก�ำหนดรู ้
ความรู ้สก ึ ๒ ชนิดนั้น และก�ำหนดรู ้เฉพาะความรู ้สก ึ ที่เป็นกลาง ๆ คือไม่สข ุ ไม่ทก ุ ข์ (อุเบกขาเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา) เท่านั้น ความคิดเห็นเช่นนี้ เป็นความเข้าใจผิดที่ไม่มีข้อมูลหลักฐานใด ๆ รองรับเลย
48 ในมหาสติปฏ ั ฐานสูตร ส่วนที่ว่าด้วยเวทนานุปส ั สนา พระพุทธองค์
ตรัสชัดเจนว่าเราควรสังเกตความรู ้สก ึ ทุกชนิด ดังนี้
“สุขํ วา เวทนํ เวทยมาโน สุขํ เวทนํ เวทยามีติ ปชานาติ. ทุกข ฺ ํ วา
เวทยมาโน ทุกข ฺ ํ เวทนํ เวทยามีติ ปชานาติ. อทุกข ฺ มสุขํ วา เวทนํ เวทยมาโน อทุกข ฺ มสุขํ เวทนํ เวทยามีติ ปชานาติ.”
่ เสวยสุขเวทนา ย่อมรู ว ่ เสวยทุกขเวทนา “เมือ ้ า ่ เสวยสุขเวทนาอยู่ เมือ
ย่อมรู ้ว่าเสวยทุกขเวทนาอยู่ เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู ้ว่าเสวย อทุกขมสุขเวทนาอยู่”
ยังมีพระสูตรอีกมากที่ยืนยันว่าเราควรก�ำหนดรู ้เวทนาทุกชนิด เช่น
“ยมฺปท ิ ํ จกฺขส ุ มฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ สุขํ วา ทุกข ฺ ํ วา อทุกข ฺ มสุขํ วา, ตมฺปิ อนิจฺจนฺติ ยถาภูตํ ปชานาติ.”๑๔14
“เธอย่อมรู ้ตามเป็นจริงว่า เวทนาที่เป็นสุข ทุกข์ หรือไม่สข ุ ไม่ทุกข์
ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสม ั ผัสเป็นปัจจัย ก็ไม่เที่ยง”
ดังนั้นโยคีควรรู ้ว่า อารมณ์ใด ๆ ที่จัดเป็น อุปาทานขันธ์ ๕ (ขันธ์
อันเป็นที่ต้ังแห่งความยืดมั่นและความเห็นผิด ๕ อย่าง ได้แก่ รู ป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ) ล้วนเป็นอารมณ์ที่ควรก�ำหนดรู ้ท้ังสิน ้
(“ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” โดย มหาสีสยาดอ)
๑๔
สมาธิสต ู ร ในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
49 ๑๙. อาการแปลก ๆ เช่นนอนกลิ้งเกลือกบนพื้น สื่อถึงการบรรลุธรรม หรือไม่ ?
พึงทราบว่า ในขณะเข้า ฌาน (สภาวะที่จิตสงบประณีตอยู่ในสมาธิ)
อิริยาบถของโยคีจะสงบนิ่งไม่ไหวติงอยู่ได้เป็นชั่วโมง ๒-๓ ชั่วโมง หรือ
อาจนานกว่านั้ นก็ ไ ด้ โยคี จึง อาจนั่ ง นิ ง อยู่ ไ ด้ ท้ัง วั น ทั้ง คื น โดยไม่ โ อนเอน หรือล้มลง บางท่านคิดว่าอาการแปลก ๆ เช่นนอนกลิ้งเกลือกบนพื้น ที่เกิด
่ ถึงการบรรลุธรรม ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด ระหว่างการอบรมกรรมฐาน สือ อย่างยิ่ง เพราะขณะเกิดมรรคผล หรือเกิดฌานที่เรียกว่า “อัปปนา” ไม่ว่า จะอยู่ ใ นท่ า นั่ ง ยื น หรื อ อิ ริ ย าบถใด ๆ ก็ จ ะมั่ น คงไม่ ข ยั บ เขยื้ อ นอยู่ ใ น ท่านั้น ๆ ในอรรถกถาระบุชด ั ว่า “อปฺปนาชวนํ อิริยาปถมฺปิ สนฺนาเมติ”๑๕
15
แปลว่า “อัปปนาชวนจิต ย่อมยังอิรย ิ าบถให้เป็นไปโดยสม่�ำเสมอ” จึงควร
่ วข้องกับการบรรลุธรรม สรุ ปตามพระบาลีวา่ อาการแปลก ๆ ดังกล่าวไม่เกีย แต่อย่างใด (“สัลเลขสูตร” โดย มหาสีสยาดอ)
๒๐. การหมายรู ้ดว ้ ยสัญญากับการก�ำหนดรู ้ดว ้ ยสติตา ่ งกันอย่างไร ? “สั ญ ญา” มี ห น้ า ที่ ห มายรู ้ อ ารมณ์ แ ล้ ว บั น ทึ ก ไว้ เ ป็น ความทรงจ� ำ
ของเรา ส่วนหน้าที่ของสติคือแค่รับรู ้ลักษณะต่าง ๆ ของอารมณ์ (สภาวะ
ลักษณะ) และไตรลักษณ์ (สามัญลักษณะ) โดยไม่จดจ�ำและไม่สนใจใน
๑๕
อภิธัมมัตถสังคหบาลี ฉัฏฐปริจเฉท
50 รายละเอียดอื่น ๆ เช่น รู ปร่างของสิ่งนั้น เป็นต้น ความหมายตรงตัวของ
ค� ำ ว่ า “สติ ” คื อ “ระลึ ก ได้ ” จึ ง มั ก แปลว่ า “ก� ำ หนดรู ้ ” ซึ่ ง เป็น เพี ย ง การสังเกตอาการของจิตและกายในทันทีที่ปรากฏเพื่อรับรู ้สิ่งนั้ น ๆ ตาม
ทีเ่ ป็นจริง ฉะนั้น แม้ ๒ ค�ำนี้จะฟังดูคล้ายกันในทางภาษา แต่มส ี าระแตกต่าง กันในทางปฏิบัติ (“อนัตตลักขณสูตร” โดย มหาสีสยาดอ)
๒๑. การสังเกตอาการพองและยุบของท้องสอดคล้องกับพระพุทธพจน์ หรือไม่ ?
อาการพองและยุบของท้องประกอบด้วยปรากฏการณ์ทางรู ปธรรม
จึงจัดเป็นรู ปขันธ์ ในอายตนะ ๑๒ จัดเป็นโผฏฐัพพายตนะ ในธาตุ ๑๘ เป็น โผฏฐั พ พธาตุ และในธาตุ ๔ ก็ เ ป็น ธาตุ ล ม หรื อ หากพิ จ ารณาตาม อริ ย สั จ ๔ ก็ จั ด เป็น ทุ ก ขสั จ หรื อ ความจริ ง แห่ ง ทุ ก ข์ ฉะนั้ น เมื่ อ ว่ า โดย ปรมัตถ์แล้ว อาการพองและยุบของท้องจัดเป็นรู ปขันธ์ โผฏฐัพพายตนะ
วาโยธาตุ และทุกขสัจ ซึ่งล้วนถือเป็นอารมณ์ของวิปส ั สนาเพื่อการหยั่งรู ้ ไตรลักษณ์ตามค�ำสอนของพระบรมศาสดาได้ท้ังสิน ้
(“มหาสติปัฏฐานสูตรนิสสัย” โดย มหาสีสยาดอ)
๒๒. พระโพธิ สั ต ว์ ท รงตรั ส รู ้ พ ระอนุ ต ตรสั ม มาสั ม โพธิ ญ าณได้ ด้ ว ย อานาปานสติใช่หรือไม่ ?
พระโพธิสัตว์ทรงเจริญวิปส ั สนาโดยเห็นการเกิดขึ้นและเสื่อมไปของ
สภาวธรรมทั้งภายในและภายนอกตลอดทั่วทั้งจักรวาล ดังพระพุทธพจน์วา่
51 “ปญฺจสุ อุปาทานกฺขนฺเธสุ อุทยพฺพยานุปสฺสี วิหาสิ”๑๖16 ่ มไปในอุปาทานขันธ์ ๕ (ขันธ์ ๕ “พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและเสือ
อันเป็นที่ต้ังแห่งความยืดมั่นและความเห็นผิด)”
ด้วยการสังเกตอุปาทานขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้นและดับไป พระองค์ทรง
เจริญวิปส ั สนาญาณขึ้นไปโดยล�ำดับจนเห็นแจ้งพระนิพพานครั้งแรกด้วย โสดาปัต ติ ม รรค แล้ ว ทรงปฏิ บั ติ เ ช่ น เดิ ม จนบรรลุ พ ระนิ พ พานครั้ ง ที่ ๒
ด้วยสกทาคามีมรรค จากนั้นทรงภาวนาต่อจนบรรลุธรรมครั้งที่ ๓ ด้วย อนาคามีมรรค สุดท้ายทรงเจริญวิปส ั สนาจนตรัสรู บ ้ ริบร ู ณ์ดว้ ยอรหัตตมรรค
คื อ บรรลุ อาสวั ก ขยญาณ (ปัญ ญาหยั่ ง รู ้ ใ นความดั บ แห่ ง กิ เ ลสเครื่ อ ง
หมักดองทั้งปวง) ทรงส�ำเร็จเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และทรง ถึงพร้อมด้วยพระสัพพัญญุตญาณ [พระปรีชาญาณหยั่งรู ส ้ งิ่ ทั้งปวง–ผูแ ้ ปล] (“สัลเลขสูตร” โดย มหาสีสยาดอ)
๒๓. เราสามารถรั บ รู ้ ป รากฏการณ์ ใ นอดี ต หรื อ อนาคตตามความ เป็นจริงได้หรือไม่ ?
ในอนุปทสูตร อุปริปณ ั ณาสก์ กล่าวว่า สาวกผู้เจริญวิปส ั สนาพึงใส่ใจ
ก�ำหนดรู ้เฉพาะสภาวธรรมที่ปรากฏขึ้นภายในใจและกายของตนเท่านั้ น
สภาวธรรมที่นอกเหนื อจากนั้ นจะรู ้ได้แค่จากการคิดวิเคราะห์เทียบเคียง เอาเองตามเหตุผล การระลึกรู ป ้ รากฏการณ์ภายในด้วยประสบการณ์ตรงนี้
๑๖
มหาปทานสูตร ในพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค
52 จึงส�ำคัญอย่างยิ่ง เนื่ องจากเราย่อมไม่อาจรับรู ้สภาวธรรมที่เป็นอนาคต ตามที่เป็นจริ งได้เพราะยังไม่ได้ประสบ ส่วนสภาวธรรมที่เป็นอดีต เช่น
ปรากฏการณ์ ที่เกิดในชาติก่อน ๆ ก็ไม่อาจรับรู ้ตามที่เป็นจริงได้เช่นกัน
ได้เพียงหวนนึ กอนุ มานเอาเท่านั้ น แม้แต่การระลึกรู ้ เหตุการณ์ ในชาติน้ี
ที่ประสบไปเมื่อปีก่อน เดือนก่อน สัปดาห์ก่อน หรือวันก่อน ๆ ก็ยังเป็นไป ได้ยาก หากว่าโดยปรมัตถ์แล้ว ปรากฏการณ์ในชั่วโมงที่แล้วก็ยังไม่อาจ ก�ำหนดรู ต ้ ามทีเ่ ป็นจริงได้ เพราะทันทีทป ี่ ุถช ุ นเห็นหรือได้ยน ิ สิง่ ใดก็ยอ ่ มเกิด ความยึดถือว่าเป็นสัตว์บค ุ คล เราเขา หรือชายหญิงเสียแล้ว ภั ท เทกรั ต ตสู ต รกล่ า วว่ า เราควรเริ่ ม วิ ป ัส สนาภาวนาโดยสั ง เกต
ปรากฏการณ์ ณ ปัจจุ บันขณะ ๑๗17 ซึ่ งสอดคล้ องกับสติปฏ ั ฐานสูตรที่ว่า “เมื่ อ เดิ น ก็ รู้ ชั ด ว่ า ก� ำ ลั ง เดิ น ” เป็น ต้ น กล่ า วคื อ ควรเจริ ญ วิ ป ัส สนาด้ ว ย ปัจจุบันอารมณ์ เช่น ก�ำลังไป ก�ำลังยืน ก�ำลังนั่ง หรือก�ำลังนอน ฯลฯ ทั้งนี้
อนัตตลักขณสูตรได้กล่าวถึงอารมณ์ที่เป็นอดีตก่อน ซึ่งอาจท�ำให้เข้าใจผิด
๑๗
ภัทเทกรัตตสูตร ในพระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ กล่าวว่า “อตีตํ นานฺวาคเมยฺย
นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ
ปจฺจป ุ ป ฺ นฺนญฺจ โย ธมฺมํ
ตตฺถ ตตฺถ วิปสฺสติ
ยทตีตมฺปหีนนฺตํ อสํหิรํ อสงฺกป ุ ป ฺ ํ
อปฺปตฺตญฺจ อนาคตํ ตํ วิทฺธา มนุพฺรูหเย.”
“บุคคลไม่ควรค�ำนึงถึงสิง่ ที่ล่วงแล้ว ไม่ควรมุ่งหวังสิง่ ที่ยังไม่มาถึง
่ งั ไม่มาถึงก็เป็นอัน สิง่ ใดล่วงไปแล้ว สิง่ นั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิง่ ทีย
ยังไม่ถงึ
ก็บค ุ คลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรม
นั้น ๆ ได้
บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนือง ๆ ให้ปรุ โปร่งเถิด.”
53 ว่ า ให้ เ ริ่ ม ภาวนาโดยก� ำ หนดรู ้ อ ารมณ์ อ ดี ต ก่ อ น ๑๘18 อาตมาจึ ง ต้ อ งชี้แ จง ประเด็นนี้ให้กระจ่าง
(“อนัตตลักขณสูตร” โดย มหาสีสยาดอ)
๒๔. ควรภาวนาด้วยการพิจารณาพร้อมทั้งบริกรรมว่า ”รู ปไม่เที่ยง รู ปไม่เที่ยง” หรือไม่ ?
่ ง หากโยคีภาวนาโดยนึกและท่องว่า “รู ปํ อนิจจํ รู ปํ อนิจจ”ํ (รู ปไม่เทีย
่ ง) แม้โยคีผน รู ปไม่เทีย ู้ ้ันจะรู ค ้ วามหมายของค�ำบาลีน้ันดี แต่ถา้ ถามว่าจริง ๆ
่ า่ ไม่เทีย ่ งนั้นคืออะไร แล้วสิง่ ทีเ่ ขาก�ำลังพิจารณาอยูน ่ ้ันคืออะไร ? หรือรู ปทีว ่ หรือค�ำตามสมมติเท่านั้น และเมือ ่ ถามเจาะจง กันแน่ ? เขาคงตอบได้เพียงชือ
ลงไปอีกว่า สิง่ นั้นเป็นอารมณ์ในอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน เป็นภายในหรือ ภายนอก ? ค�ำตอบก็จะยิ่งคลุมเครือ หรือหากสมมติว่าเป็นอารมณ์ภายใน
๑๘
อนั ต ตลั ก ขณสูต ร (ปั ญ จวั ค คิ ย สู ต ร) ในพระสุ ต ตั น ตปิ ฎ ก สั ง ยุ ต ตนิ ก าย ขันธวารวรรค กล่าวว่า
“ตสฺมา ติห ภิกฺขเว ยงฺกิญฺจิ รู ปํ อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ อชฺฌตฺตํ วา
พหิทฺธา วา โอฬาริกํ วา สุขม ุ ํ วา หีนํ วา ปณีตํ วา ยํ ทูเร สนฺติเก วา สพฺพํ รู ปํ เนตํ มม เนโสหมสฺมิ น เมโส อตฺตาติ เอวเมตํ ยถาภูตํ สมฺมปฺปญฺญาย ทฏฺฐพฺพํ.”
“ดูก่อนภิกษุทัง้ หลาย เพราะเหตุนั้นแหละ รู ปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่
เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบน ั เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด ่ ยูไ่ กลหรือใกล้ รู ปทัง้ หมดนั้น เธอทัง้ หลายพึงเห็นด้วย เลวหรือประณีต ทัง้ ทีอ
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.”
54 ่ ว แล้วอารมณ์ทว ี่ า่ นั้นปรากฏขึ้นทีส ่ นไหนของร่างกาย หัว ล�ำตัว แขนขา หนัง
เนื้อ ท้อง ตับ หรือตรงไหน ? เขาคงตอบได้แค่ตามสมมติบัญญัติหรือเป็น อนิจจะ (ความไม่เที่ยง) ในจินตนาการ คือเป็นเพียงสิง่ ที่เขาระลึกถึงบ่อย ๆ เหมือนการสวดมนต์เท่านั้น
(“สัลเลขสูตร” โดย มหาสีสยาดอ)
๒๕. เหตุใดจึงไม่แนะน�ำให้โยคีกำ � หนดรู ้ลมหายใจเข้าออก ? โดยส่ว นตัวแล้ ว อาตมาเห็นด้วยว่ า วิ ปส ั สนาสามารถเจริ ญ ได้ จาก
การสังเกตลมหายใจเข้าออกโดยรับรู ้ถึงธาตุลมและจิตผู้รู้ท่ีปรากฏร่วมใน กระบวนการ อย่างไรก็ดี คัมภีร์วิสุทธิมรรคระบุว่า ในกายานุปส ั สนา ๑๔
หมวด แบ่งเป็นส่วนสมถะและวิปส ั สนา และ อานาปานสติ (การก�ำหนดรู ้ ลมหายใจเข้าออก) ก็จัดอยู่ในส่วนสมถะ ดังนี้
“อิริยาปถปพฺพํ จตุสมฺปชญฺญปพฺพํ ธาตุมนสิการปพฺพนฺติ อิมานิ
ตีณิ วิปสฺสนาวเสน วุตต ฺ านิ ... อานาปานปพฺพํ ปน ปฏิกล ู มนสิการปพฺพญฺจ อิมาเนเวตฺถ เทฺว สมาธิวเสน วุตต ฺ านิ.”
“๓ บรรพนี้ คือ อิรย ิ าปถบรรพ จตุสม ั ปชัญญบรรพ ธาตุมนสิการบรรพ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยเป็นวิปส ั สนา ... ส่วน ๒ บรรพนี้เท่านั้ น คือ อานาปานบรรพ และปฏิกูลมนสิการบรรพ ตรัสโดยเป็นสมาธิ”
เห็ น ได้ ชั ด ว่ า คั ม ภี ร์ วิ สุ ท ธิ ม รรคจั ด อานาปานสติ เ ป็น สมถภาวนา
ถ้าอาตมาสอนให้โยคีก�ำหนดลมหายใจเพื่อเจริญวิปส ั สนา อาตมาก็อาจ
ถูกติงว่าสอนให้เจริญสมถะ ไม่ใช่วิปส ั สนา ดังข้อความข้างต้น ซึ่งอาตมา
ย่อมไม่อาจยืนยันขัดแย้งกับพระคัมภีรไ์ ด้วา่ อาตมาสอนวิปส ั สนา ด้วยเหตุน้ี
55 ่ เจริญวิปส อาตมาจึงไม่ได้แนะน�ำให้โยคีกำ� หนดรู ้ลมหายใจเข้าออกเพือ ั สนา แต่อาตมาก็อนุญาตให้โยคีเจริญอานาปานสติได้ หากเขาต้องการจริง ๆ อาตมาก็ไม่เคยห้ามเลย ้ งึ สังเกตว่า คัมภีรว์ ส ทั้งนีพ ิ ท ุ ธิมรรคและปฏิสม ั ภิทามรรคอธิบายชัดเจน
่ ให้เกิดอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ (สมถะ) ว่า ขณะเจริญอานาปานสติเพือ
จิ ต ควรจดจ่ อ อยู่ ท่ี โ พรงจมู ก เท่ า นั้ น ไม่ ค วรตามลมที่ ก� ำ ลั ง ไหลเข้ า ออก ส่วนการเจริญวิปส ั สนาจะไม่จำ� กัดอารมณ์วา่ ต้องเป็นปรากฏการณ์ทางกาย ณ ต�ำแหน่งหนึ่ง ๆ เท่านั้น ฉะนั้นหากอาตมาสอนให้สงั เกตปรากฏการณ์อน ื่ ๆ ด้วย เช่น ความรู ้สก ึ สัมผัสทางกาย ความฟุง้ ซ่านของจิต หรือการเห็นและ การได้ยน ิ เป็นต้น ค�ำแนะน�ำของอาตมาก็จะขัดแย้งกับวิธเี จริญอานาปานสติ ้ จงนี้ ที่ระบุในพระคัมภีรแ ์ ละสมควรถูกต�ำหนิอีกเช่นกัน อาตมาหวังว่าค�ำชีแ
คงจะสามารถไขข้ อ ข้ อ งใจได้ ว่ า เหตุ ใ ดอาตมาจึ ง ไม่ เ จาะจงให้ โ ยคี ใ ช้ อานาปานสติในการเจริญวิปส ั สนา (“มาลุกยปุตตสูตร” โดย มหาสีสยาดอ)
๒๖. การสั ง เกตอาการพองและยุ บ ของท้ อ งขั ด แย้ ง กั บ พระไตรปิ ฎ ก หรือไม่ ?
การก� ำ หนดรู ้ อ าการพองและยุ บ ของท้ อ งนั้ น ไม่ ไ ด้ แ ปลกแยกจาก
ค�ำสอนในพระไตรปิฎกเลย มีพระบาลีมากมายที่รองรับเรื่องนี้ เช่น ใน สฬายตนวรรค สังยุตตนิกาย ระบุชด ั ว่า ถ้าพลาดจากการก�ำหนดรู ้ปจ ั จุบัน
อารมณ์ ท่ีปรากฏขึ้นทางอายตนะ ๖ แล้วกิเลสจะเกิดขึ้น และเมื่อโยคีได้ ประสบลักษณะที่แท้จริงของอารมณ์ที่ปรากฏด้วยการก�ำหนดรู ้อยู่น้ัน โยคี
56 ผู้น้ันย่อมสามารถบรรลุมรรค ผล และนิพพานได้ แม้ในมาลุกยปุตตสูตร๑๙
19
้ จงประเด็นนี้ได้อย่างแจ่มแจ้ง เพียงพระสูตรเดียวในวรรคนี้ก็พอที่จะชีแ
พระสูตรนี้ กล่าวว่า อารมณ์ ใดที่ไม่เคยประสบย่อมไม่อาจยังกิเลส
ให้เกิดขึ้น ส่วนอารมณ์ใดที่ได้ประสบอาจยังกิเลสให้เกิดขึ้นได้ สติปฏ ั ฐาน
สูตรยังอธิบายด้วยว่า เราจะสามารถก�ำหนดรู ้อารมณ์ท้งั ๔ ฐานได้อย่างไร
ขณะที่โยคีสังเกตอาการพองและยุบของท้อง ธาตุท่ีปรากฏชัดคือธาตุลม ซึ่งการรับรู ้อาการของธาตุลมจัดเป็น ธาตุมนสิการ (การก�ำหนดรู ้ธาตุ)
แต่แทนที่จะใช้ค�ำบาลี เราก็ใช้ค�ำธรรมดา ๆ ในการระบุอาการปรากฏตาม ่ เดินก็รูช ่ี า่ “เมือ อย่างพระพุทธพจน์ทว ้ ด ั ว่าก�ำลังเดิน” ด้วยการก�ำหนดเช่นนี้
่ ท้จริงของปรากฏการณ์น้ัน ๆ เช่น ความตึง โยคียอ ่ มสามารถรับรู ล ้ ก ั ษณะทีแ หรืออาการเคลื่อนไหว ซึ่งก�ำลังเกิดขึ้นและดับไปทีละขณะ ๆ ได้หากสมาธิ และวิปส ั สนาแก่กล้าพอ
นอกจากนี้ยงั สอดคล้องกับอาตยนธัมมานุปส ั สนาบรรพ ในสติปฏ ั ฐาน
่ ล่าวว่า “กายญฺจ ปชานาติ, โผฏฺฐพฺเพ จ ปชานาติ” (ย่อมรู ้กายด้วย สูตร ทีก
่ งึ ถูกต้องด้วยกายด้วย) พระสูตรแนะว่าให้ระลึกรู ค ย่อมรู ส ้ ง่ิ ทีพ ้ วามรู ส ้ ก ึ สัมผัส ณ ที่ใด ๆ ในร่างกาย รวมถึงจุดที่สัมผัสและรู ปธรรมอันละเอียดทั้งหมด ที่เกี่ยวเนื่องกัน อาการพองและยุบจึงไม่ได้อยู่นอกเหนือจากพระบาลี และ
ตรงตามพระบาลีทุกประการ ในอิริยาปถบรรพยังเสริมว่า “ยถา ยถา วา
๑๙
น่ า จะหมายถึ ง ทุ ติ ย สั ง คั ย หสู ต ร ในพระสุ ต ตั น ตปิ ฎ ก สั ง ยุ ต ตนิ ก าย
สฬายตนวรรค ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงแก่ พระมาลุกยบุตร (หรือพระ
่ มาลุงกยปุตตสูตร มาลุงกยบุตร) ส่วนใน อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต มีพระสูตรชือ แต่มีเนื้อความต่างกัน
57 ปนสฺส กาโย ปณิ หิโต โหติ, ตถา ตถา นํ ปชานาติ” (เมื่อตั้งกายไว้แล้ว
อย่างใด ๆ ก็ย่อมรู ้ชด ั อาการกายนั้นอย่างนั้น ๆ) จึงกล่าวได้ว่า อากัปกิริยา
ใด ๆ ที่นอกเหนือจากอิริยาบถใหญ่ท้งั ๔ ก็ควรก�ำหนดรู ้ด้วยเช่นกัน ฉะนั้น
หากโยคีคนใดยังไม่อาจยอมรั บการสังเกตอาการพองยุบของท้อง และ ยื น กรานที่ จ ะก� ำ หนดรู ้ เ ฉพาะสิ่ ง ที่ ร ะบุ ใ นสติ ป ฏ ั ฐานสู ต รจริ ง ๆ อาตมา
ก็แนะน� ำให้ก�ำหนดอย่างต่อเนื่ องว่า “นั่ งหนอ นั่ งหนอ” เมื่อก�ำลังนั่ งอยู่
่ ก�ำลังยืน หรือ “นอนหนอ นอนหนอ” เมือ ่ ก�ำลังนอนอยู่ “ยืนหนอ ยืนหนอ” เมือ
เป็นต้น แต่อาตมาไม่สอนให้โยคีเจริญอานาปานสติ เพราะจะขัดแย้งกับ คัมภีร์วิสุทธิมรรคและอรรถกถาของสติปฏ ั ฐานสูตร ที่กล่าวถึงการเจริญ ่ ให้เกิดฌานแล้วใช้เป็นบาทฐานในการเจริญวิปส อานาปานสติเพียงเพือ ั สนา
ต่อเท่านั้น ทั้งนี้อาตมาอนุญาตและไม่เคยคัดค้าน หากผู้ใดต้องการเจริญ อานาปานสติจริง ๆ
(“มาลุกยปุตตสูตร” โดย มหาสีสยาดอ)
๒๗. การสังเกตอาการพองและยุบของท้องจัดเป็นสมถภาวนาหรือไม่ ? การพองและยุ บ รวมอยู่ ใ นอาการของธาตุ ล มที่ เ รี ย กว่ า “อั ส สาสะ
่ ริงสามารถนับอาการพองและยุบ ปัสสาสะ” ซึ่งเป็นหนึ่งในลม ๖ ชนิด อันทีจ
เข้าในธาตุลมได้ถงึ ๔ ชนิด คือ อังคมังคานุสาริ วาโย (ลมอันแล่นไปตาม
องคาพยพใหญ่น้อยทั่วสรีระ), อัสสาสะ ปัสสาสะ วาโย (ลมหายใจเข้า และออก), กุจฉิสยา วาโย (ลมอยู่ภายนอกล�ำไส้) และ ยัง วา ตัง วา วาโย (ลมทั่ว ๆ ไป)
แม้ อ าการพองและยุ บ จะรวมเข้ า ในลมหายใจเข้ า ออกได้ เพราะ
่ มโยงโดยตรงและเป็นผลของลมหายใจ แต่อาตมาก็ไม่ได้หมายความว่า เชือ
58 ให้เจริญอานาปานสติ เพราะในการเจริญอานาปานสติน้ัน โยคีจะต้องให้ จิตจดจ่ออยู่กับลมซึ่งไหลผ่านโพรงจมูกหรือเพดานปาก ตามที่ระบุไว้ใน
ปฏิสัมภิทามรรคและวิสุทธิมรรค เป็นต้น การสังเกตอาการของลมหายใจ ทีไ่ หลอยูใ่ นท้องจึงไม่จด ั เป็นอานาปานสติ แต่เป็นธาตุววัฏฐาน (การก�ำหนด แยกแยะธาตุ ๔) เพราะการสังเกตธาตุใด ๆ ทั้งภายในและภายนอก อันเป็น ที่ต้งั แห่งตัณหาและอุปาทาน ก็สามารถเจริญวิปส ั สนาได้ท้ังนั้น
(“มหาสติปัฏฐานสูตรนิสสัย” โดย มหาสีสยาดอ)
๒๘. เหตุ ใ ดสติ ปัฏ ฐานสูต รกั บ ปฏิ สัม ภิ ท ามรรคจึ ง อธิ บ ายการสัง เกต ลมหายใจขัดแย้งกัน ?
“สพฺพกายาปฏิสเํ วที”
ก�ำหนดรู ้กองลมหายใจทั้งปวง (อานาปานบรรพ มหาสติปฏ ั ฐานสูตร) “อาทิมฌฺชปริโยสานํ วิทิตํ กโรนฺโต”
ท� ำ เบื้ อ งต้ น ท่ า มกลาง และที่ สุ ด แห่ ง กองลมหายทั้ ง สิ้ น ให้ รู้ แ จ้ ง
(อรรถกถาปฐมสมันตปาสาทิกา)
“อปิจ โข ผุสนาวเสน เจว ฐปนาวเสน จ มนสิกาตพฺพ”ํ
พึงมนสิการโดยการตั้งจิตไว้ ณ จุดที่ลมกระทบ (คัมภีรว์ ิสท ุ ธิมรรค) รวมความว่า โยคีควรก�ำหนดรู ้ลมหายใจทั้งเบื้องต้น กลาง และปลาย
เฉพาะจุดที่ลมกระทบสัมผัสชัดเจนในโพรงจมูก
พระบาลี แ ละอรรถกถาข้ า งต้ น อธิ บ ายว่ า สมถสมาธิ จ ะเกิ ด ขึ้น ได้
ก็ต่อเมื่อตั้งจิตไว้ที่โพรงจมูก เพราะหากตามลมหายใจเข้าไปภายในหรือ
ออกไปภายนอกโพรงจมูก จิตจะกวัดแกว่งฟุง้ ซ่านเข้า ๆ ออก ๆ ที่จริงแล้ว
59 ท่ า นกล่ า วเช่น นี้ เ พราะก� ำ ลั ง มุ่ ง ถึ ง การเจริ ญ สมถภาวนา ส่ ว นการเจริ ญ วิปส ั สนาท่านว่า “สพฺพํ อภิญฺเญยฺยํ” (ธรรมทั้งปวงควรรู ้ย่ิง)๒๐20 โยคีพึง ก�ำหนดรู ้อารมณ์ท้ังปวง คือปรากฏการณ์ทางกาย ณ ที่ใดก็ตามที่สังเกต ได้ชด ั [ส�ำหรับกายานุปส ั สนา–ผู้แปล]
(มหาสีสยาดอ ตอบปัญหาของ สยาดอ อู สุนทระ)
๒๙. การก�ำหนดรู ้อาการพอง ยุบ งอ หรือเหยียด เป็นเพียงสมมติสจ ั จะ หรือเป็นปรมัตถสัจจะ ?
ผู้ที่ไม่เคยปฏิบัติอย่างจริงจังมักมีข้อข้องใจต่าง ๆ เช่นเกรงว่าการ
ก�ำหนดว่า “งอหนอ เหยียดหนอ” จะท�ำให้หลงติดอยูแ ่ ค่เพียงรู ปทรงสัณฐาน
ของแขน, การก�ำหนดว่า “ขวาย่างหนอ ซ้ ายย่างหนอ” จะท�ำให้รับรู ้ได้ เพียงรู ปร่างของเท้าที่ก�ำลังเคลื่อนไปอย่างไม่เป็นธรรมชาติ ซึ่งเป็นเพียง
ความรู ต ้ ามสมมติ หรือการสังเกตอาการพองและยุบจะท�ำให้หลงจินตนาการ ถึงรู ปทรงของท้อง เป็นต้น ประเด็นเหล่านี้ อาจเกิดได้กับโยคีใหม่ แต่ก็ มิใช่ว่าจะเกิดเฉพาะความรู ้ตามสมมติบัญญัติตลอดเวลา ในเบื้องต้นของ การปฏิ บั ติ ความรู ้ ต ามสมมติ จ ะปรากฏสลั บ กั น กั บ ความหยั่ง รู ้ อ ารมณ์
ปรมั ต ถ์ เช่ น อาการเคลื่ อ นไหว หรื อ สั่ น สะเทื อ น แต่ ก็ มี วิ ป ส ั สนาจารย์ บางท่านสอนให้รับรู ้เฉพาะอาการเคลื่อนไหวเท่านั้น ซึ่งผู้ท่ีเพิ่งเริ่มภาวนา ย่อมไม่อาจท�ำเช่นนั้ นได้ เพราะในเบื้องต้นเราจะยังไม่สามารถเว้นจาก การรับรู ้สมมติบัญญัติได้เลยทีเดียว
๒๐
อภิญเญยยนิทเทส ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสม ั ภิทามรรค
60 การหยั่ ง รู ้ ป รมั ต ถสั จ จะสามารถเกิ ด ขึ้ น ได้ โ ดยอาศั ย ความรู ้ ต าม
บั ญ ญั ติ ภ าษาที่ ใ ช้ ท่ั ว ไปในชี วิ ต ประจ� ำ วั น แม้ พ ระบรมศาสดาเองก็ ต รั ส
สอนด้วยภาษาธรรมดา ๆ เช่น “เมื่อเดินก็รู้ชด ั ว่าก�ำลังเดิน” “ก�ำลังงอ” หรือ “ก�ำลังเหยียด” เป็นต้น พระองค์มิได้ทรงใช้ภาษาตามสภาวะปรมัตถ์เลย
เช่นว่า “พึงรับรู ้ความแข็งเกร็ง” หรือ “พึงรับรู ้การเคลื่อนไหว” ถึงโยคีจะ ภาวนาโดยอาศัยภาษาพื้น ๆ เช่น “งอหนอ เหยียดหนอ” ก็สามารถหยั่งรู ้
สภาวธรรมที่แท้จริง อาทิ ความแข็งเกร็ง และการเคลื่อนไหว ซึ่งซ่อนอยู่ใน รู ปทรงสัณฐานนั้น ๆ ได้เมื่อสมาธิและสติของโยคีมีก�ำลังพอ
(“หนทางแห่งวิปัสสนา” โดย มหาสีสยาดอ)
๓๐. โยคีจ�ำเป็นต้องประพฤติเหมือนคนป่วยหนักที่ท�ำอะไรค่อย ๆ ช้า ๆ ด้วยหรือ ?
โยคีพึงปฏิบัติเสมือนตาบอดแม้จะมีตาดี เสมือนหูหนวกแม้จะมีหูดี
เสมือนเป็นใบ้แม้จะพูดจาได้ฉะฉาน และเสมือนว่าง่อยเปลี้ยเพลียแรงแม้จะ ปกติสมบูรณ์ดี ดังปรากฏในเถรคาถา และมิลินทปัญหา ว่า
“จกฺขม ุ สฺส ยถา อนฺโธ
โสตวา พธิโร ยถา
อถ อตฺเถ สมุปฺปนฺเน
สเยถ มตสายิก.ํ ”
ปญฺญาวสฺส ยถา มูโค
พลวา ทุพพ ฺ โลริว
“ผู้มป ี ญ ั ญาถึงมีตาดีกท ็ �ำเหมือนคนตาบอด
(คือไม่ใส่ใจสิง่ อื่นใดนอกจากอารมณ์ที่ก�ำลังก�ำหนดรู ้)
ถึงมีหด ู ก ี ท ็ �ำเหมือนคนหูหนวก ถึงมีปญ ั ญาก็ท�ำเหมือนคนใบ้
ถึงมีกำ � ลังก็ท�ำเหมือนคนทุรพล
61
แต่หากนิ่งเฉยแล้วเกิดประโยชน์
ก็ท�ำเหมือนคนตายนอนนิ่งไม่ไหวติง”๒๑21 (“ตุวฏกสูตร” โดย มหาสีสยาดอ)
โยคีควรประพฤติคล้ายกับคนไม่มก ี ำ� ลัง คนปกติแข็งแรงย่อมสามารถ
ลุกขึ้นได้อย่างคล่องแคล่วกระฉั บกระเฉงหรื อลุกพรวดพราดขึ้ นได้ทันที
ส่วนคนที่อ่อนเปลี้ยไร้ก�ำลังจะต้องเคลื่อนไหวร่างกายช้า ๆ และเบา ๆ หรือ
คนที่ปวดหลังย่อมประคองตัวลุกขึ้นอย่างระมัดระวัง เพราะเกรงว่าจะยิ่ง ระบมและเจ็บหนักกว่าเดิม
โยคีก็พงึ เคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกัน คือต้องเปลี่ยนอิริยาบถอย่าง
่ งช้าและนุ่มนวล [ซึ่งช่วยให้ตามรู อ ่ นไหวนั้น ๆ ได้โดยละเอียด เชือ ้ าการเคลือ
่ โยคีปฏิบต –ผูแ ้ ปล] สติ สมาธิ และปัญญาจะแก่กล้าได้กต ็ อ ่ เมือ ั เิ ช่นนี้เท่านั้น
ฉะนั้น เราควรเริ่มขยับตัวช้า ๆ แล้วประคองตัวลุกขึ้นเบา ๆ เหมือนไม่มีแรง พร้อมทั้งก�ำหนดรู ้ว่า “ลุกหนอ ลุกหนอ”
นอกจากนี้ แม้ตาจะมองเห็นโยคีก็พึงท�ำประหนึ่งว่าไม่เห็น หรือเมื่อ
หูได้ยินก็ควรท�ำเช่นเดียวกัน ระหว่างเจริญวิปส ั สนากรรมฐาน เราต้องมุ่ง
ที่จะสังเกตกระบวนการรับรู ้ต่าง ๆ เท่านั้น ไม่ควรใส่ใจสิง่ ที่เห็นหรือได้ยิน
ดังนั้ น ไม่ว่าจะเห็นหรือได้ยินอะไรที่ผิดปกติหรือน่ าสนใจ โยคีก็พึงตั้งใจ
๒๑
มหากัจจายนเถรคาถา ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พระอรรถกถาจารย์ แปลบท “อถ อตฺเถ สมุปฺปนฺเน สเยถ มตสายิก.ํ ” ไว้สองนัย คืออาจแปลได้ อีกนัยหนึ่งว่า “แต่เมื่อประโยชน์พึงเกิดขึ้น ถึงจะนอนอยู่ในเวลาใกล้ตาย ก็ยังท�ำประโยชน์น้ ันได้”
62 ่ ก�ำหนดรู เ้ พียงอย่างเดียวเท่านั้น เสมือนว่าไม่เห็นหรือไม่ได้ยน ิ สิง่ นั้น และเมือ ้ นร่างกายส่วนใดก็ควรค่อย ๆ เคลื่อนเหมือนคนไม่แข็งแรง โยคีจะขยับเขยือ
ไม่ว่าจะยกแขนหรือขา งอเข้าหรือเหยียดออก ก้มหน้าหรือเงยขึ้น ก็ควร ท�ำช้า ๆ ด้วยความระมัดระวังเช่นกัน
(“การปฏิบัตว ิ ิปัสสนากรรมฐาน” โดย มหาสีสยาดอ)
สีลปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสโํ ส. สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสส ํ า. ปญฺญาปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมจ ุ ฺจติ, เสยฺยถิทํ กามาสวา ภวาสวา อวิชช ฺ าสวา. สมาธิที่อบรมด้วยศีล มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
ปัญญาที่อบรมด้วยสมาธิ มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
จิตที่อบรบด้วยปัญญา ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะโดยชอบ คือ กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ.
มหาปรินิพพานสูตร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค
ภาค ๒
แนวทางเจริญวิปส ั สนากรรมฐาน โดย พระปัณฑิตาภิวงศ์ (สยาดอ อู ปัณฑิตาภิวง ั สะ) เรียบเรียงโดย สามเณรจ่อ
The Way to Practice Vipassana Meditation By Sayadaw U Paṇḍitābhivaṃsa Compiled by Tharmanaykyaw
66
บทน�ำ เนื้ อหาส่วนนี้ เรียบเรียงจากหนั งสือ “In This Very Life” (รู ้แจ้ง
ในชาติ นี้ ) ของ พระกั ม มั ฏ ฐานาจารย์ ปัณ ฑิ ต าภิ ว งศ์ (Sayadaw U Paṇḍitābhivaṃsa) หัวข้อวิธีเจริญภาวนา หน้าที่ ๑๓-๑๙ โดยน�ำเสนอ สาระในรู ปแบบการถาม-ตอบ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ง่าย
สามเณรจ่อ
(Tharmanaykyaw)
67
การเจริญสติในอิริยาบถนั่ง ๑.
สถานที่ใดเหมาะแก่การภาวนามากที่สด ุ ? ่ เ่ี หมาะสมส�ำหรับการภาวนา คือ พระพุทธองค์ทรงแนะน�ำว่าสถานทีท
ใต้ร่มไม้ในป่า หรือที่อ่น ื ใดที่สงบเงียบ ๒.
โยคีควรนั่งอย่างไร เพราะเหตุใด ? พระองค์ตรัสว่า โยคีควรนั่งขัดสมาธิอย่างสงบ หากนั่งขัดสมาธิลำ� บาก
ก็อาจใช้ท่านั่ งอื่น ๆ ได้ ส�ำหรับผู้ท่ีมีปญ ั หาเกี่ยวกับหลังก็อาจนั่ งเก้าอี้ได้
ในการเข้าถึงความสงบแห่งจิตนั้น เราจ�ำเป็นต้องให้ร่างกายมีความสงบ จึงต้องเลือกท่านั่งที่จะท�ำให้เกิดความสบายได้เป็นเวลานาน ๆ
ในการนั่งนั้น ควรนั่งให้หลังตรง แต่กไ็ ม่เคร่งตึงจนเกินไป ความจ�ำเป็น
ในการนั่ งหลังตรงนั้ นเข้าใจได้ไม่ยาก คือหลังที่คดงอจะท�ำให้เกิดความ
่ ะตั้งกายให้ตรงโดยไม่ตอ เจ็บปวดได้ในไม่ชา้ นอกจากนี้ ความพยายามทีจ ้ ง ใช้เครื่องค้�ำจุนอื่นใดจะช่วยเพิ่มพลังให้แก่การเจริญสมาธิ ๓.
่ นั่งลงแล้วควรท�ำอะไรต่อ ? เมือ จงหลั บ ตาลง แล้ ว มาระลึ ก รู ้ ท่ี ท้ อ ง หายใจให้ เ ป็น ปกติ ไม่ บั ง คั บ
ลมหายใจ ไม่หายใจให้ช้าลงหรือเร็วขึ้น แต่หายใจอย่างปกติ เราจะรับรู ้
ความรู ้สก ึ ที่เกิดขึ้นในขณะที่หายใจเข้าและท้องพองขึ้น และเมื่อหายใจออก และท้องยุบลง
68 ๔.
เราจะเพิม ่ ความแม่นย�ำในการระลึกรู ้ได้อย่างไร ? ให้ต้ังเป้าหมายในการก�ำหนดให้แม่นย�ำขึ้น โดยประคองจิตให้สนใจ
จดจ่ออยู่กับอาการทั้งหมด ให้ระลึกรู ้ต้ังแต่แรกเริ่มที่เกิดความรู ้สึกต่าง ๆ ขณะที่ท้องพองขึ้น รักษาความจดจ่อนั้นไว้ตลอดสาย ทั้งช่วงต้น ช่วงกลาง
และช่ ว งสุ ด ท้ า ยของการพองของท้ อ ง จากนั้ น ก� ำ หนดรู ้ ค วามรู ้ สึ ก ขณะ ท้องค่อย ๆ ยุบลงจากแรกเริ่ม ช่วงกลาง และจุดสิน ้ สุดของอาการยุบนั้น
แม้ว้าเราจะกล่าวถึงการพองและยุบว่ามีระยะต้น กลาง และปลาย
่ แสดงว่าการระลึกรู ข ก็ตาม ก็เพียงเพือ ้ องเราควรจะต่อเนื่องและละเอียดลออ
แต่มิได้หมายความว่า เราจะต้องแบ่งอาการเหล่านี้ออกเป็นส่วน ๆ เราควร พยายามที่จะระลึกรู ้ การเคลื่อนไหวเหล่านี้ ต้ังแต่ต้นจนจบอย่างต่อเนื่ อง เป็นอาการเดียวกันทั้งหมด ทั้งนี้ โยคีไม่ควรจับจ้องจนเกินไปเพื่อค้นหาว่า ท้องมีลักษณะการเคลื่อนไหวในเบื้องต้น และเบื้องปลายอย่างไร ๕.
วิธีใดจะช่วยให้กำ � หนดรู ้ได้อย่างถูกตรงและแม่นย�ำ ? ในการเจริ ญ สติ น้ี มี ค วามส� ำ คั ญ มากที่ จ ะต้ อ งประกอบด้ ว ยทั้ ง
ความพากเพียรและความแม่นย�ำในการเล็งเป้าหมายที่ก�ำลังก�ำหนดรู ้ เพื่อ ให้สติก�ำหนดความรู ้สึกได้เที่ยงตรงและมีพลัง เครื่องช่วยอย่างหนึ่ งที่จะ ท�ำให้การก�ำหนดถูกตรงและแม่นย�ำนั้นก็คือ การก�ำหนดรู ้สิ่งที่ปรากฏอยู่
อย่างเบา ๆ โดยใช้คำ� บริกรรมเรียกอาการหรือความรู ส ้ ก ึ นั้นในใจเบา ๆ และ เงียบ ๆ เช่น “พองหนอ พองหนอ ... ยุบหนอ ยุบหนอ” ๖.
่ จิตฟุง้ ออกไป และเริ่มคิดถึงสิง เมือ ่ ใดสิง ่ หนึ่ง เราควรท�ำอย่างไร ? ในเวลาเช่นนี้ จงสังเกตจิตนั้น ให้ระลึกรู ้ว่าเราก�ำลังคิดอยู่ และเพื่อให้
69 เกิดความชัดเจน ควรก�ำหนดความคิดอย่างเงียบ ๆ ว่า “คิดหนอ คิดหนอ” แล้วกลับมาที่อาการพองและยุบ ๗.
เราจะสามารถจดจ่ อ อยู่ ท่ี อ าการพองและยุ บ ของท้ อ งได้ อ ย่ า ง สมบูรณ์ตลอดเวลาได้หรือ ?
่ ะสามารถจดจ่ออยูท แม้จะพากเพียรก�ำหนดอย่างไรก็ตาม ไม่มใี ครทีจ ่ ี่
่ เกิดขึ้นและ อาการพองและยุบของท้องได้อย่างสมบูรณ์ตลอดไป จะมีสิง่ อืน
ปรากฏเด่นชัดกว่า ดังนั้น ขอบเขตของการภาวนาจะครอบคลุมการกระทบ
ผัสสะทางกายและใจทั้งหมด ทั้งการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส ่ ูส การสัมผัสทางกาย และการรับรู ส ้ ง่ิ ทีร ้ ก ึ ได้ดว ้ ยใจ เช่น มโนภาพหรืออารมณ์
่ สิง่ เหล่านี้เกิดขึ้น เราควรระลึกรู ส ความรู ส ้ ก ึ ต่าง ๆ เมือ ้ ง่ิ เหล่านั้นโดยตรง และ ใช้การก�ำหนดอย่างอ่อนโยนในลักษณะการพูดเบา ๆ ในใจ ๘.
หลักปฏิบัติเบื้องต้นในการนั่ งกรรมฐานคืออะไร ? หากมีสิ่งอื่น
ดึ ง ความระลึ ก รู ้ ไ ปจากอาการพองและยุ บ ของท้ อ ง เราควร ท�ำอย่างไร ?
่ ่ังกรรมฐานอยูน ่ ปรากฏเด่นชัดในความรู ส ระหว่างทีน ่ ้ัน หากมีสง่ิ อืน ้ ก ึ
จนดึงความระลึกรู ้ไปจากอาการพองและยุบของท้อง เราจะต้องก�ำหนดรู ้
สิง่ นั้นให้ชด ั เจน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเกิดเสียงดังขึ้นระหว่างที่เรานั่งสมาธิอยู่
เราควรน้อมความระลึกรู ้มายังเสียงนั้นทันทีทเี่ สียงดังขึ้น ให้ระลึกรู เ้ สียงนั้น ตามที่ปรากฏจริง และก�ำหนดการระลึกรู ้อย่างสั้น ๆ ในใจว่า “ได้ยินหนอ”
หรือ “ยินหนอ ยินหนอ ...” เมื่อเสียงเบาจางลงไปและไม่ปรากฏเด่นชัด ก็ ก ลั บ มาก� ำ หนดอาการพองและยุ บ นี่ เ ป็น หลั ก ปฏิ บั ติ เ บื้ อ งต้ น ในการ นั่งกรรมฐาน
70 ๙.
ควรใช้ค�ำบริกรรมอย่างไรจึงจะดีที่สด ุ ? ในการก�ำหนดนั้น ไม่จ�ำเป็นต้องใช้ภาษายาก ๆ ใช้เพียงค�ำพูดง่าย ๆ
หนึ่งค�ำจะดีที่สุด ส�ำหรับการรับอารมณ์ทางตา หู และลิ้น เราอาจก�ำหนด เพียง “เห็นหนอ เห็นหนอ ...” “ยินหนอ ยินหนอ ...” และ “รสหนอ รสหนอ ...”
ส�ำหรับความรู ้สึกทางกาย เราอาจเลือกใช้ค�ำที่อธิ บายความรู ้สึกมากขึ้น เช่น อุ่น ตึง แน่น แข็ง หรือเคลื่อน ส่วนสิง่ ที่รับรู ้ทางใจแม้จะมีหลากหลาย
แต่ อั น ที่ จ ริ ง แล้ ว ก็ จ ะจั ด อยู่ ใ นกลุ่ ม ความรู ้ สึ ก ที่ ชั ด เจนไม่ ก่ี ป ระเภท เช่ น คิด คาดเดา จ�ำ วางแผน และวาดฝัน เป็นต้น
๑๐. วัตถุประสงค์ของการก�ำหนดรู ้อารมณ์ดว ้ ยค�ำบริกรรมคืออะไร ? การใช้วิธีการก�ำหนดรู ้อารมณ์ด้วยค�ำพูดในใจนี้ มิได้มีวัตถุประสงค์
ให้เกิดความช�ำนาญในการใช้ค�ำบริกรรม แต่เพื่อช่วยให้เรารับรู ้สภาวะ
อันแท้จริงที่เราประสบอยู่ได้อย่างชัดเจน โดยไม่จมอยู่ในความหมายของ ค�ำพูดนั้น เป็นวิธีการที่สร้างพลังและความจดจ่อของจิต
๑๑. การเจริญสติมง ุ่ ให้เกิดความระลึกรู ้เช่นใด และเพราะอะไร ? ่ ม่นย�ำ แจ่มชัด และ เราจ�ำเป็นต้องพัฒนาการระลึกรู ท ้ างกายและใจทีแ
ลุ่มลึก ความระลึกรู ้ที่ถก ู ตรงนี้จะช่วยให้เราประจักษ์แจ้งความจริงของชีวต ิ และธรรมชาติท่แ ี ท้ของอาการทางกายและใจได้
๑๒. หลังจากนั่งกรรมฐานหนึ่งชั่วโมงแล้ว การเจริญสติกจ ็ บลงหรือ ? การเจริญสติไม่ได้สน ้ิ สุดลงหลังจากการนั่งกรรมฐานครบหนึ่งชั่วโมง
แล้ว แต่ต้องปฏิบัติสบ ื เนื่องต่อไปตลอดวัน
71
การเจริญสติในอิริยาบถย่อย ๑๓. โยคีควรลุกขึ้นจากการนั่งกรรมฐานอย่างไร ? เมื่ อ เราลุ ก จากนั่ ง กรรมฐาน เราจะต้ อ งก� ำ หนดอย่ า งระมั ด ระวั ง
ตั้งแต่แรกเริ่มที่เกิดความอยากที่จะลืมตา “อยาก(ลืมตา)หนอ อยากหนอ ... ลื ม (ตา)หนอ ลื ม (ตา)หนอ” รู ้ สึ ก ถึ ง ความจงใจที่ จ ะลื ม ตาและความรู ้ สึ ก
ทางกายของเปลือกตาที่ค่อย ๆ เปิดขึ้น ก�ำหนดรู ้ต่อไปอย่างเอาใจใส่และ ่ นอิรย แม่นย�ำ ด้วยพลังแห่งการก�ำหนดทีเ่ ต็มเปี่ ยมทุกขณะของการเปลีย ิ าบถ จนยืนขึ้นตรงและเริ่มจะเดิน
๑๔. นอกจากการนั่ งและการเดิน โยคีควรระลึกรู ้อะไรอีกในระหว่าง วัน ?
เราควรระลึกรู ้ และก�ำหนดการกระท�ำและอิริยาบถทุกอย่างตลอดวัน
้ ผ้า แปรงฟัน ปิดประตู เปิดประตู เช่น การเหยียดและงอแขน จับช้อน สวมเสือ
หลับตา รับประทานอาหาร เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้ท้งั หมดควรถูกก�ำหนด ด้วยความระลึกรู ้อย่างรอบคอบพร้อมกับกล่าวค�ำบริกรรมเบา ๆ ในใจ ๑๕. ในระหว่างวัน โยคีจะหยุดพักการก�ำหนดรู ้ได้บา ้ งหรือไม่ ? เราควรรั กษาความต่อเนื่ องของสติทุกขณะตลอดเวลาที่เราตื่นอยู่
เว้นไว้เพียงช่วงเวลาที่เราหลับสนิทเท่านั้น อันที่จริงการกระท�ำเช่นนี้มิใช่ งานที่หนักหนา แต่เป็นเพียงการนั่งและการเดินโดยตามระลึกรู ้สงิ่ ใดก็ตาม ที่ปรากฏทางกายและใจอย่างต่อเนื่องเท่านั้น
72 ๑๖. ตารางเวลาการปฏิบต ั ใิ นช่วงการอบรมกรรมฐานเป็นอย่างไร ? ในช่ ว งการอบรมกรรมฐาน ผู้ ป ฏิ บั ติ ท่ั ว ไปจะนั่ ง กรรมฐานและ
เดินจงกรมในช่วงเวลาเท่า ๆ กัน สลับกันไปอย่างต่อเนื่องตลอดวัน โดยมาก มักก�ำหนดเวลาเดินและนั่ งอย่างละหนึ่ งชั่วโมงเป็นมาตรฐาน แต่จะปรับ เป็นช่วงละ ๔๕ นาทีก็ได้
การเจริญสติในอิริยาบถเดิน ๑๗. ทางเดินจงกรมควรยาวเท่าใด ? ในการเดินจงกรมผู้ปฏิบัติจะก�ำหนดทางเดินของตนยาวประมาณ
๒๐ ก้าว และจะเดินช้า ๆ กลับไปกลับมาบนทางนั้น
๑๘. การเดินจงกรมมีประโยชน์ในชีวต ิ ประจ�ำวันอย่างไร ? การเดินจงกรมช่วงสั้น ๆ แม้เพียง ๑๐ นาทีก่อนการนั่ งกรรมฐาน
จะช่วยให้จิตเกิดความตั้งมั่นขึ้น นอกจากนี้ สติสัมปชัญญะที่เจริญขึ้นจาก การเดิ น จงกรมจะมี ป ระโยชน์ ใ นการตามรู ้ ก ารเคลื่ อ นไหวร่ า งกายหรื อ การเดินไปในที่ต่าง ๆ ระหว่างวัน
๑๙. การเดินจงกรมช่วยสร้างเสริมคุณภาพของจิตได้อย่างไร ? การเดินจงกรมช่วยพัฒนาความสมดุลและความแม่นย�ำในการระลึกรู ้
รวมทั้งความตั้งมั่นของสมาธิ เราอาจสามารถสังเกตและตามรู ้สภาวธรรม
73 ที่ลึกซึ้งยิ่งระหว่างที่เดินจงกรม หรืออาจถึงขั้นบรรลุมรรคผลได้เลยทีเดียว ๒๐. หากมิได้เดินจงกรมก่อนนั่งกรรมฐาน จะมีขอ ้ เสียหรือไม่ ? โยคีที่มิได้เดินจงกรมก่อนที่จะนั่งกรรมฐานอาจเปรียบได้กับรถยนต์
ที่มีแบตเตอรี่เก่า ๆ โยคีผู้น้ันย่อมประสบความยากล�ำบากในการติดเครื่อง สติเมื่อนั่งกรรมฐาน
๒๑. ขณะเดิ น จงกรมเราควรใส่ ใ จสิ่ ง ใด และควรก� ำ หนดรู ้ อ ย่ า งไร ่ เดินเร็วและเดินช้า ? เมือ
การเดิ น จงกรมประกอบด้ ว ยการใส่ ใ จตามรู ้ อ าการเดิ น เมื่ อ เรา
เดินค่อนข้างเร็ว ควรก�ำหนดการเคลื่อนไหวของขาทั้งสองโดยบริกรรม
“ซ้าย ขวา ซ้าย ขวา” และใช้สติตามรู ้ความรู ้สก ึ จริง ๆ ที่ปรากฏขึ้นบริเวณ
ขาทั้งหมด หากเราเดินช้า ควรก�ำหนดการยก ย่าง และเหยียบของเท้า แต่ ล ะข้ า ง ในทั้ ง สองกรณี เราต้ อ งพยายามประคองความระลึ ก รู ้ อ ยู่ ท่ี ความรู ้สก ึ ในขณะที่เดิน
่ ถึงปลายทางเดินควรท�ำอย่างไร ? ๒๒. เมือ ให้ สั ง เกตว่ า มี อ าการอะไรบ้ า งเกิ ด ขึ้ น เมื่ อ เราหยุ ด ที่ ป ลายทางเดิ น
เมื่อเรายืนนิ่งอยู่ เมื่อเราหมุนตัวกลับและเริ่มจะเดินอีกครั้ง ๒๓. เราควรมองดูเท้าหรือไม่ เพราะเหตุใด ?
อย่าจ้องดูเท้านอกจากจ�ำเป็นจริง ๆ เพราะมีส่ิงกีดขวางบางอย่าง
อยู่บนพื้น การมีมโนภาพของเท้าในขณะที่เราพยายามจะระลึกรู ้ความรู ้สก ึ
74 ต่าง ๆ อยู่น้ัน ไม่เกื้อกูลการปฏิบัติเลย เป้าหมายคือเราต้องจดจ่อที่ความ
รู ้สก ึ แท้ ๆ และความรู ้สก ึ ก็มิใช่สงิ่ ที่รับรู ้ได้ด้วยการเห็น ผู้ปฏิบัติจ�ำนวนมาก ที่สามารถเข้าไปรับรู ้อารมณ์ทางกายด้วยความรู ้สก ึ สัมผัสล้วน ๆ (โดยไม่มี มโนภาพปรุ งแต่ง) ต่างก็ประทับใจเมื่อได้ประสบกับปรากฏการณ์ต่าง ๆ เช่น ความเบา ความรู ้สก ึ ยุบยิบตามร่างกาย ความเย็น และความอุน ่ เป็นต้น ๒๔. ท�ำอย่างไรจึงจะระลึกรู ้การเดินได้อย่างแม่นย�ำ ? โดยปกติเราจะแบ่งการเดินออกเป็นการเคลื่อนไหวหลัก ๆ ๓ จังหวะ
คือ การยกเท้า การย่าง และการเหยียบ เพื่อให้เกิดความรู ้สก ึ ที่แม่นย�ำขึ้น เราจึ ง แบ่ ง ลั ก ษณะการเคลื่ อ นไหวในระหว่ า งที่ เ ดิ น ออกเป็น ช่ว ง ๆ โดย
ก�ำหนดในใจเบา ๆ ตั้งแต่การเริ่มต้นอาการยก ย่าง และเหยียบ และตาม ระลึ ก รู ้ ไ ปจนจบอาการเคลื่ อ นไหวแต่ ล ะช่ ว งนั้ น อย่ า งชั ด เจนและมี พ ลั ง จุดเล็ก ๆ ที่ส�ำคัญจุดหนึ่ ง คือ เราควรเริ่มก�ำหนดการเหยียบ ณ ขณะที่ เท้าเริ่มเคลื่อนต่�ำลงมา
๒๕. การรู ้ความหมายของค�ำบริกรรมส�ำคัญต่อการภาวนาหรือไม่ ? เราลองมาพิ จ ารณากิ ริ ย าของการยกเท้ า กั น เราต่ า งรู ้ จั ก ค� ำ ค� ำ นี้
ตามความหมายทั่วไปเป็นอย่างดี แต่ในการเจริญภาวนานั้ น เราจ�ำเป็น
ที่ จ ะต้ อ งแทงทะลุ ค วามหมายของค� ำ นี้ ที่ เ ราเข้ า ใจกั น อยู่ เ ดิ ม และเข้ า ไป เข้าใจสภาวะตามธรรมชาติของอาการยกเท้าทั้งหมดจริง ๆ เริ่มจากเจตนา
ที่จะยกและสืบเนื่องต่อไปถึงการค่อย ๆ ยกเท้าขึ้นจากพื้น ซึ่งประกอบไป ด้วยความรู ้สก ึ หลายอย่างด้วยกัน
75 ๒๖. หากพยายามตามรู ้การยกเท้ามากเกินไปหรือน้อยเกินไปจะส่งผล อย่างไร ?
ความพยายามของเราที่ จ ะระลึ ก รู ้ ก ารยกเท้ า ขึ้ น จะต้ อ งไม่ ม าก
จนบดบังความรู ้สึกถึงความเคลื่อนไหวตามที่เป็นจริง หรือน้อยเกินไปจน
่ ม่นย�ำและถูกต้องจะช่วยให้ความเพียร เข้าไม่ถงึ ความรู ส ้ ก ึ นั้น การก�ำหนดทีแ (วิริยะ) ในการปฏิบัติของเราเป็นไปอย่างพอดี
เมื่อวิริยะของเรามีความสมดุลดี และการก�ำหนดรู ้ อารมณ์ เป็นไป
อย่างแม่นย�ำแล้ว สติสม ั ปชัญญะก็จะสามารถตั้งอยูก ่ บ ั สิง่ ทีเ่ ป็นอารมณ์ของ การก�ำหนดได้อย่างมั่นคง สมาธิจะเจริญขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีปจ ั จัย ๓ ประการ ได้แก่ วิริยะ ความแม่นย�ำในการก�ำหนด และสติ
้ งต้น ผลของการปฏิบต ั ใิ นเบือ ๒๗. สมาธิคืออะไร ? ่ ต สมาธิ คือ การทีจ ิ ตั้งมั่นส�ำรวมอยูใ่ นอารมณ์เดียว ลักษณะของสมาธิ
คือ การรักษาความระลึกรู ้ไว้ไม่ให้ฟงุ ้ ซ่านหรือกระจัดกระจาย
๒๘. หากเราตามสังเกตการยกเท้าอย่างใกล้ชด ิ ยิ่งขึ้น เราจะเห็นอะไร? ยิ่งเราเข้าไประลึกรู ้และเข้าใจอาการยกเท้าขึ้นจากพื้นมากขึ้น เราจะ
่ ดไต่เป็นแถวไปบนถนน หากเรามองจากไกล ๆ พบว่าอาการนี้เหมือนการทีม แถวของมดจะดูเป็นเส้นนิ่งอยู่ แต่พอดูใกล้เข้ามา เส้นนั้นจะเริ่มสั่นไหวเป็น เลื่อมพราย
76 หากดูให้ใกล้เข้ามาอีก เส้นนั้ นจะแตกออกเป็นมดแต่ละตัวเรียงกัน
เราจะตระหนั กว่าที่เราเข้าใจว่าเป็นเส้นเส้นหนึ่ งนั้ นเป็นเพียงภาพลวงตา
ถึ ง ตอนนี้ เ ราย่ อ มจะเห็ น ได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ งว่ า เส้ น ที่ ว่ า นั้ น ประกอบด้ ว ยมด หลายตัวเดินเรียงกันเป็นแถว ๒๙. ญาณคืออะไร ? ญาณ หรือปัญญา คือ องค์ประกอบของจิตชนิดหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น
เมื่อเราตามดูอาการยกเท้าอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ องค์ประกอบ ของจิตหรือสภาวะทางจิตที่เรียกว่าญาณนี้จะเข้าไปใกล้ส่ิงที่เราเฝ้าสังเกต
อยู่มากขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งเข้าใกล้ก็จะยิ่งเห็นสภาวะที่แท้จริงของอาการยกเท้า นั้นได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
๓๐. ล�ำดับญาณคืออะไร ? ความจริงที่น่าทึ่งประการหนึ่งเกี่ยวกับจิตของมนุษย์ก็คือ เมื่อญาณ
ปรากฏและหยั่งลึกยิ่งขึ้นจากการเจริญวิปส ั สนากรรมฐาน ลักษณะแห่ง ความจริ ง บางอย่ า งเกี่ ย วกั บ การด� ำ รงชี วิ ต จะถู ก เปิ ด เผยตามล� ำ ดั บ ขั้ น ที่ตายตัว ล�ำดับแห่งการรู ้แจ้งดังกล่าวนี้เรียกว่า “ล�ำดับญาณ” ๓๑. ญาณแรกที่ผู้ภาวนาจะประสบคืออะไร ? ญาณที่ ๑ ซึ่งจะเกิดกับผูเ้ จริญวิปส ั สนาภาวนาโดยทั่วไปคือ การเริม ่ ที่
จะเข้าใจโดยมิได้ใช้ภูมิปญ ั ญา (ที่ศึกษาเล่าเรียนมาหรือเคยได้ยินได้ฟงั มา) หรือโดยการตรึกนึกตามเหตุผล แต่เป็นความเข้าใจโดยการประจักษ์แจ้ง
ด้วยตนเองว่า อาการยกเท้านี้ประกอบด้วยปรากฏการณ์ทางกายภาพ (รู ป)
77 และจิตใจ (นาม) ที่แตกต่างกัน และเกิดขึ้นร่วมกันเป็นคู่ ความรู ้สก ึ ทางกาย
ซึ่งเป็นรู ปธรรมเชื่อมโยงอยู่กับความระลึกรู ้ซ่ึงเป็นนามธรรม แต่พบว่า รู ปนั้นแตกต่างจากนาม
๓๒. ญาณที่ ๒ ตามล�ำดับญาณคืออะไร ? เราจะเริ่ ม เห็ น กระบวนการทั้ ง หมดอั น ต่ อ เนื่ อ งกั น ของสภาวธรรม
ทางจิ ต และความรู ้ สึ ก ทางกาย และจะเข้ า ใจภาวะอั น เป็น เหตุ ป ัจ จั ย ซึ่งกันและกันที่เชื่อมโยงรู ปกับนาม เราจะประจักษ์แจ้งอย่างแจ่มชัดที่สุด ว่านามท�ำให้เกิดรู ป เช่น ความต้องการที่จะยกเท้าขึ้นของเราเป็นต้นเหตุที่ ท�ำให้กายเราเคลื่อนไหว และเราก็จะเห็นว่ารู ปท�ำให้เกิดนามได้ด้วย เช่น
อากาศร้ อ นท� ำ ให้ เ ราต้ อ งการย้ า ยไปเดิ น จงกรมในที่ ร่ ม ความรู ้ แ จ้ ง ใน
เหตุและผลดังกล่าวนี้อาจเกิดขึ้นได้หลากหลายรู ปแบบ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ชีวิตของเราจะดูเรียบง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนเป็นอย่างมาก ชีวิตเราก็ไม่มีอะไร
มากไปกว่ า การสื บ เนื่ อ งของรู ปและนามอั น เป็น เหตุ ป จ ั จั ย ซึ่ ง กั น และกั น ความรู ้แจ้งดังนี้นับเป็นญาณที่ ๒ ตามล�ำดับขั้นของวิปส ั สนาญาณ ๓๓. ญาณล�ำดับต่อไปคืออะไร ? เมื่อสมาธิของเราเจริญขึ้น เราจะประจักษ์ชัดยิ่งขึ้นว่าปรากฏการณ์
ต่ า ง ๆ ที่ ป ระกอบกั น เป็น อาการยกเท้ า ขึ้ น นี้ มี ลั ก ษณะไม่ ค งทนถาวร ไม่ มี ค วามเป็น ตั ว ตน เกิ ด ขึ้ น และดั บ ไปเป็น ขณะ ๆ อย่ า งรวดเร็ ว ยิ่ ง นั ก ประสบการณ์ดังกล่าวเป็นญาณล�ำดับต่อมา ซึ่งเป็นลักษณาการของชีวิต
ที่ เ ราจะสามารถประจั ก ษ์ แ จ้ ง ได้ เ มื่ อ ความระลึ ก รู ้ มี ค วามตั้ ง มั่ น มากขึ้ น ้ งหลังสิง่ ต่าง ๆ ทีก ่ ำ� ลังปรากฏอยู่ ปรากฏการณ์ตา่ ง ๆ เกิดขึ้น ไม่มใี ครอยูเ่ บือ
78 และดับไปเป็นกระบวนการที่ว่างเปล่าและเป็นไปตามเหตุปจ ั จัย สิ่งที่เรา
เห็นว่าเป็นความเคลื่อนไหวและมีตัวตนนี้ ก็เหมือนกับภาพยนตร์ เมื่อเรา ดูตามปกติจะเห็นว่าภาพยนตร์เต็มไปด้วยตัวละครและวัตถุสิ่งของต่าง ๆ
เหมื อ นปรากฏการณ์ ท่ั ว ไปที่ เ ราเห็ น ในโลก แต่ ถ้ า เราฉายภาพยนตร์ใ ห้ ช้าลง เราจะเห็นว่าแท้จริงแล้วภาพยนตร์น้ันประกอบด้วยฟิลม ์ ทีเ่ ป็นภาพนิ่ง หลายภาพมาเรียงต่อ ๆ กัน
๓๔. หากสามารถหยั่ ง รู ้ ธ รรมชาติ ที่ แ ท้ จ ริ ง ของสิ่ง ที่ ก� ำ ลั ง ปรากฏอยู่ จะส่งผลอย่างไร ?๒๒1
เราจะเป็นอิสระจากภาพลวงแห่งความเป็นตัวตน เราจะเห็นเพียง
ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาแล้วผ่านไป เมื่อญาณทัสสนะท�ำให้เราเข้าใจ
ได้เองถึงกลไกของเหตุและผล ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างรู ปกับนาม เราจะหลุดพ้นจากความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับธรรมชาติของสรรพสิ่ง เมื่อ
เห็นว่าสิ่งทั้งหลายตั้งอยู่ได้เพียงชั่วขณะเดียวเท่านั้ น เราย่อมปลดปล่อย ตั ว เราเองจากภาพลวงแห่ ง ความเที่ ย งแท้ แ ละความสื บ ต่ อ ยั่ ง ยื น ของ สิ่ ง ต่ า ง ๆ เมื่ อ เราเข้ า ใจความไม่ เ ที่ ย งและความไม่ น่ า ยิ น ดี อั น เกิ ด จาก
่ งนั้น เราจะปลดเปลือ ้ งตนเองจากภาพลวงว่าร่างกายและจิตใจ ความไม่เทีย ของเรานี้มิได้เป็นที่ต้งั แห่งความทุกข์
การเข้ า ไปประจั ก ษ์ แ จ้ ง ด้ ว ยตนเองถึ ง ความปราศจากตั ว ตนของ
สิ่งใด ๆ จะน� ำเราให้หลุดพ้นจากความทะนงตน ความถือตัว และความ
๒๒
ข้อนี้ผู้แปลเรียบเรียงเพิ่มเติมขึ้นจากเนื้อหาที่ต่อเนื่องกันใน “In This Very
Life” (รู แ ้ จ้งในชาตินี้) หน้าที่ ๒๐
79 เห็ น ผิ ด ว่ า เรามี ตั ว ตนที่ เ ที่ ย งแท้ ย่ั ง ยื น เมื่ อ เราตามดู อ าการยกเท้ า ขึ้ น
อย่างถี่ถ้วน เราจะเห็นร่างกายและจิตใจว่าเป็นสิ่งไม่น่ายินดี และย่อมจะ ปลดปล่อยตัวเราจากความทะยานอยาก ภาวะจิตทั้ง ๓ อันได้แก่ ความ
ถือตัว (มานะ) การยืดมั่นความคิดเห็นของตน (ทิฏฐิ) และความทะยานอยาก ่ งเนิ่นช้า” (ปปัญจธรรม) ซึ่งจะท�ำให้บค (ตัณหา) รวมเรียกว่า “กิเลสเครือ ุ คล
เวียนวนอยูใ่ นวัฏฏสงสารอันเป็นวงจรแห่งความทะยานอยากและความทุกข์ ที่เกิดจากความไม่รู้แจ้งในสัจจธรรม การก�ำหนดด้วยความใส่ใจอย่างยิ่ง
ในขณะเดินจงกรมจะท�ำลายกิเลสเครื่องเนิ่นช้านี้ให้แหลกลาญ และน�ำเรา เข้าใกล้ความหลุดพ้นมากยิ่งขึ้น
๓๕. การก�ำหนดรู ้เช่นนี้ควรประยุกต์ใช้อย่างไร ?๒๓2 เราจะเห็นได้วา่ การก�ำหนดการยกเท้านั้นมีประโยชน์นานัปการอย่าง
ไม่น่าเชื่อ ประโยชน์ที่ไม่น้อยไปกว่ากันนี้ก็มีอยู่ในการย่างและการเหยียบ
เท้าลงบนพื้นด้วยเช่นกัน ความลุ่มลึกและละเอียดลออในการก�ำหนดรู ้ตาม
ที่บรรยายไว้ในเรื่องการเดินจงกรมนี้ ควรน�ำไปประยุกต์ใช้ในการก�ำหนด ความเคลื่อนไหวของท้องขณะนั่งสมาธิ ตลอดจนการเคลื่อนไหวร่างกาย ทุกอิริยาบถด้วย
๒๓
ข้อนี้ผู้แปลเรียบเรียงเพิ่มเติมขึ้นจากเนื้อหาที่ต่อเนื่องกันใน “In This Very
Life” (รู แ ้ จ้งในชาตินี้) หน้าที่ ๒๐
อนุปุพฺเพน เมธาวี โถกํ โถกํ ขเณ ขเณ
กมฺมาโร รชตสฺเสว นิทฺธเม มลมตฺตโน.
ผู้มป ี ญ ั ญาท�ำกุศลอยู่คราวละน้อย ๆ ทุก ๆ ขณะโดยล�ำดับ
ย่อมก�ำจัดมลทินของตนได้ เหมือนช่างทองปัดเป่าสนิมทองฉะนั้น.
มลวรรค
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท
81
ประวัตผ ิ ู้แปล แม่ชี ปวีณ์นุช สุวรรณศักดิศ ์ รี เกิด
๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ ที่ อ.เมือง จ.ขอนแก่น เป็นบุตรีคนที่ ๒ ของ ดร.เผ่า-รศ.แจ่มใส สุวรรณศักดิ์ศรี
การศึกษา ปฐมศึกษา:
โรงเรียนสาธิต คณะศึกษาศาสตร์
มัธยมศึกษา:
โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อุดมศึกษา:
ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การท�ำงาน ๒๕๔๖ - ๒๕๕๐ บริษัท โซนี่ ดีไวซ์เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จ�ำกัด การปฏิบต ั ธ ิ รรม ๒๕๕๑ - ๒๕๕๓ บวชและปฏิบัติธรรม ณ วัดเขาสารพัดดีศรีเจริญ ธรรม อ.หันคา จ.ชัยนาท ภายใต้อุปการคุณของ หลวงพ่อส� ำรวม สิริภทฺโท
82 ๒๕๕๓ - ๒๕๕๖ ประจ� ำ ณ วั ด สมานสั ง ฆวิ เ วก อ.นิ ค มค� ำ สร้ อ ย จ.มุกดาหาร ภายใต้อป ุ การคุณของ พระอาจารย์บญ ุ กาญจน์ อนุตต ฺ โร
ก.ค. - ต.ค. ๒๕๕๓ เข้าปฏิบัติธรรม ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรม ตาณัง เลณัง เฉลิมราช ๖๐ ปี อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ โดยมี พระครู ปลัดประจาก
สิริวณฺโณ พระมหาทองมั่น สุทฺธจิตฺโต และพระครู ประภาศสารคุณ เป็นพระวิปส ั สนาจารย์
ธ.ค. ๒๕๕๓ - ม.ค. ๒๕๕๔ เข้าอบรมวิปส ั สนากรรมฐานส�ำหรั บ
ชาวต่ า วชาติ ณ ส� ำ นั ก ปฏิ บั ติ ธ รรมปัณ ฑิ ต าราม (Panditarama Hse Main Gone Forest Meditation Center) จ.พะโค สาธารณรัฐ แห่งสหภาพเมียนมา ภายใต้การดูแลของ สยาดอ อู ปัณฑิตาภิวังสะ (Sayadaw U Paṇḍitābhivaṃsa)
ก.ย. ๒๕๕๔ - ม.ค. ๒๕๕๕ เข้าปฏิบัติธรรม ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรม
ปัณฑิตาราม ภายใต้การดูแลของ สยาดอ อู ปัณฑิตาภิวังสะ บีลิน
สยาดอ (Beelin Sayadaw) และ สยาดอ อู ญาณุ ชโชตาภิวังสะ (Sayadaw U Ñanujjotābhivaṃsa)
พ.ค. - ก.ค. ๒๕๕๕ เข้าอบรมหลักสูตรวิปส ั สนากรรมฐาน ณ ส�ำนัก วิปส ั สนาสอนทวี จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้การดูแลของ จูนปิงสยาดอ (อู ชฏิละ) (Kyunpin Sayadaw (U Jaṭila))
ก.ค. ๒๕๕๖ - ปัจจุบัน ปฏิบัติธรรมและช่วยงานพระศาสนา ณ ส�ำนัก
ปฏิบต ั ธ ิ รรมจูนปิง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ภายใต้อป ุ การคุณ ของ จูนปิงสยาดอ (อู ชฏิละ)
สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ สพฺพํ รสํ ธมฺมรโส ชินาติ สพฺพํ รตึ ธมฺมรตี ชินาติ
ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ.
ธรรมทาน ย่อมชนะทานทั้งปวง
รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง
ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีท้ ังปวง ความสิน ้ ไปแห่งตัณหา ย่อมชนะทุกข์ท้ ังปวง.
ตัณหาวรรค
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท
84
รายนามผู้ร่วมพิมพ์หนังสือ ่ เป็นธรรมทาน) (“สงสัยหนอ” พิมพ์ครั้งที่ ๒ - เพือ ยอดยกมาจากการพิมพ์ครัง้ ที่ ๑.................................................. ๑๓๐,๘๕๔.๙๘ กองทุนสุทธจิตโตภิกขุ...........................................................................๕,๐๐๐.๐๐ ชมรมเพื่อนบุญเพื่อนธรรม................................................................๒๐,๐๐๐.๐๐ บ้านจิตสบาย............................................................................................๕,๐๐๐.๐๐ พระมหาบุญเลิศ ไชยถาวร................................................................... ๒,๙๐๐.๐๐ พระสมุหผ ์ ดุงศักดิ์ จันทรมณี................................................................๓,๐๐๐.๐๐ พระฉัฐวัฒน์ ธนัทกิตติพันธ์ ....................................................................๖๐๐.๐๐ แม่ชีวิเวกปารมี (เวียตนาม)...................................................................๓,๐๐๐.๐๐ แม่ชีปัญญาวดี (วนิดา จึงประสิทธิ์). .......................................................๕๐๐.๐๐ แม่ชีเตือนใจ พุทธเจริญ และครอบครัว..............................................๑,๐๐๐.๐๐ แม่ชีสภ ุ ารักษ์ จิตนาวนิชย์.........................................................................๕๐๐.๐๐ แม่ชีกาญจนา จิตต์วัฒน์............................................................................๕๐๐.๐๐
บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท
คุณกชกร ออศิรช ิ ัยเวทย์...........................................................................๔๐๐.๐๐ อ. กอบแก้ว บุญเรือง..................................................................................๕๐๐.๐๐ คุณกัญญา ทาบโลกา.............................................................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณกัลยารัตน์ เพชรพิพัพัฒน์...................................................................๕๐๐.๐๐ คุณกิตติทัศน์ สุบรรณจุ้ย.......................................................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณเกษม ดุษฎี.........................................................................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณค�ำนึง พรหมอยู่ และครอบครัว.........................................................๔๐๐.๐๐ คุณจงดี ศรีนพรัตน์วัฒน..........................................................................๕๐๐.๐๐ คุณจันทร์สด ุ า พิรุณ..................................................................................๕๐๐.๐๐ ดร. จารุ มา - ดร. ธีระ อัชกุล............................................................... ๒,๙๐๐.๐๐ คุณจินดา คุ้มกิตติชัย..............................................................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณจินตนา เกียรติศักดาวงศ์................................................................... ๘๔๐.๐๐
บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท
85 คุณจิระศักดิ์ รัตนไพทูรย์.......................................................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณฐิตารีย์ เจริญสุข..................................................................................๗๐๐.๐๐ พญ. ณัฏฐกานต์ สุวรรณศักดิ์ศรี .......................................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณณัฐนิชา พานิชภักดิ.์ ............................................................................๕๐๐.๐๐ คุณธนวัฒน์ สินคุณากร.........................................................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณธิดารัตน์ เอกสิทธิกล ุ ......................................................................... ๕๘๐.๐๐ รศ. นงลักษณ์ สุพรรณไชยมาตย์............................................................๒๒๙.๐๐ คุณนพคุณ อัมรินทร์ และครอบครัว.......................................................๕๐๐.๐๐ คุณนิชา ธ�ำรงสัตย์. ...............................................................................๕,๐๐๐.๐๐ คุณนันทนา ฉันทวิลาสวงศ์.......................................................................๓๐๐.๐๐ พญ. บริมาส หาญบุญคุณปการ.......................................................... ๑๔๕๐.๐๐ สพญ. บุณยวดี มีผล...............................................................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณปูชนีย์ หาญพิพัตน์...............................................................................๕๐๐.๐๐ คุณปาลิกา ศกุนตะลักษณ์........................................................................ ๒๙๐.๐๐ คุณปราณี ตปณียวรวงศ์...........................................................................๕๐๐.๐๐ อ. เผ่า - รศ. แจ่มใส สุวรรณศักดิ์ศรี.................................................. ๒,๙๐๐.๐๐ อ. พรทิพย์ หนูนิมิตร..............................................................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณพรภณ - คุณแม่นวลวรรณ เพชรดารา....................................... ๒,๙๐๐.๐๐ พญ. พัชราพร แซ่เอ้า................................................................................๕๐๐.๐๐ คุณพิมพ์อร พิรุณ. ......................................................................................๕๐๐.๐๐ อ. พิไลศรี ฝ่ายอินทร์................................................................................๕๐๐.๐๐ อ. พิไลลักษณ์ กุลวงศ์............................................................................๑,๐๐๐.๐๐ อ. เพ็ญแข - อ. ทวีวรรณ เมาะลาษี.........................................................๕๐๐.๐๐ คุณเพ็ญศรี อรุ ณรุ ง่ เรือง...........................................................................๖๐๐.๐๐ คุณภาณิชา ยอดพินิจ และครอบครัว..................................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณมยุร ี ทองประเสริฐ และครอบครัว. ................................................ ๕๘๐.๐๐ คุณมัชฌิมน สุวรรณศักดิ์ศรี.................................................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณมานพ ปุสงิ ห์.....................................................................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณรัตนมณี หาญวนิชศักดิ.์ ..................................................................... ๒๐๐.๐๐ คุณลัดดา สนธิรติ...................................................................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณเลิศศักดิ์ บุญสุข...............................................................................๑,๙๙๙.๙๙
บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท
86 คุณวิบูลย์ - คุณมนัสนันท์ บุญชู. .............................................................๕๐๐.๐๐ คุณวิไลวรรณ พันธไชย............................................................................. ๒๙๐.๐๐ อ. วราภรณ์ วงษ์เงิน..................................................................................๕๐๐.๐๐ อ. วงเดือน ไชยสุนันท์ และลูกหลาน........................................................๓๐๐.๐๐ คุณวันทยา วงศิลปภิรมย์......................................................................... ๒๐๐.๐๐ รศ.ดร. วีระวรรณ เรืองยุทธิการณ์....................................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณศรพรหม ตันสวัสดิ.์ .........................................................................๒,๐๐๐.๐๐ คุณศรัณย์ธร ธ�ำรงสัตย์......................................................................๕,๐๐๐.๐๐ พลโท ดร. สมชาติ - คุณสุภาวดี - คุณณภัทร แน่นอุดร.................๑,๐๐๐.๐๐ คุณสมชาย วงศ์ปิยะสถิตย์........................................................................๕๐๐.๐๐ คุณสุชาดา สนามชวด และครอบครัว.................................................... ๕๘๐.๐๐ คุณเสาวนีย์ สังขวนิช. ............................................................................... ๒๙๐.๐๐ รศ.ดร. อธิษฐาน ชินสุวรรณ.................................................................... ๒๙๐.๐๐ คุณอรพิน เรืองรอง และน้องๆ.............................................................๑,๔๐๐.๐๐ คุณอรวรรณ บุญพละ........................................................................... ๒,๐๓๐.๐๐ คุณอรุ ณรัตน์ ศุภวรรณาวิวัฒน์...............................................................๕๐๐.๐๐ คุณอารีย์ วิทยารมย์ และครอบครัว....................................................... ๒๐๐.๐๐ คุณอินทุวรรณา เชยชื่นสกุล และครอบครัว..........................................๕๐๐.๐๐ อุทิศส่วนกุศล แก่ พระสรรเพชญ สัมพุทโธ, แม่ชีรุง้ เพชร พุทธเจริญ, คุณตาจ�ำนงค์ - คุณยายเต็ม ฝ่ายอินทร์, คุณตาสิงห์ - คุณยายปน จตุเทน, คุณพ่อไพบูลย์ พุทธเจริญ....................................................................๑,๓๙๖.๐๒
บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท
บาท
่ ้อง มช. และญาติมต กลุ่มพีน ิ ร คุณนวลลออ เกรียงไกรรัตน์ คุณกนิษฐา จันทรงาม...............................................................................๕๐๐.๐๐ คุณกัญญา เดชยาภิรมย์. .........................................................................๕๐๐.๐๐ คุณกัมปนาท น้อยพานิช - คุณฐานิดา ปลื้มไพบูลย์วงศ์ ............๑๕,๐๐๐.๐๐ คุณกัลยาณี - คุณจิรภัทร์ โตสงวน........................................................๓๐๐.๐๐ คุณกิตติ ตุงคะเศรณี. ................................................................................๓๐๐.๐๐ คุณชลิดา เจษฎานันท์...........................................................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณณัฏฐกัญ จันทร์สมบูรณ์................................................................๒,๐๐๐.๐๐ คุณดาลัด ปโยราศิสกุล. .......................................................................๑,๐๐๐.๐๐
บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท
87 คุณด�ำรงค์ ปึ้ งสุวรรณ...........................................................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณเตือนใจ แซ่เล้า. ...................................................................................๕๐๐.๐๐ นพ. เธียร - พญ. วิไลวรรณ ธาริน.....................................................๓,๐๐๐.๐๐ ผศ.ดร. นฤจร - ผศ. นวลอนงค์ อิทธิจีระจรัส. .................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณนิตยา ชัยวิชยานันท์.......................................................................... ๒๐๐.๐๐ คุณนวลลออ - คุณแม่อารีย์ เกรียงไกรรัตน์......................................๕,๐๐๐.๐๐ คุณเนาวรัตน์ ทองสิมา..........................................................................๓,๐๐๐.๐๐ คุณเบญจวรรณ วรรณประเสริฐ........................................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณปราณี สัจจกมล...............................................................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณพูนสิน - ดร.โสมพรรณ ถิ่นว่อง....................................................๔,๐๐๐.๐๐ คุณภาวนา เขมะลิลิต...........................................................................๓,๐๐๐.๐๐ คุณมณทนัญ จรัสศรี. ...............................................................................๕๐๐.๐๐ คุณมยุร ี หิมารัตน์......................................................................................๓๐๐.๐๐ คุณมวลชน นัยนะแพทย์.......................................................................... ๒๐๐.๐๐ คุณมัลลิกา เจียจันทร์พงษ์.......................................................................๕๐๐.๐๐ คุณมาลี วงศาโรจน์. ................................................................................๕๐๐.๐๐ คุณยิ้มฮวง แซ่โค้ว.................................................................................๑,๕๐๐.๐๐ คุณเย็นใจ ถิ่นว่อง..................................................................................๒,๐๐๐.๐๐ นพ. รัธชัย - พญ. ยุพดี ฤทธาภรณ์....................................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณลัคนา บุญเสรฐ....................................................................................๕๐๐.๐๐ คุณลัลณา งานทวี......................................................................................๕๐๐.๐๐ คุณล้�ำค่า ณ นครพนม..........................................................................๒,๐๐๐.๐๐ นอ.หญิง เลขา ไตรฟื้ น..............................................................................๕๐๐.๐๐ คุณวิวัฒนา เกตุราทร............................................................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณวีรศักดิ์ - คุณวิสาร์กร เกรียงไกรรัตน์........................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณวีระวัฒน์ เจษฎานันท์.........................................................................๕๐๐.๐๐ รศ. ศิริ - อ. ศิรล ิ ักษณ์ จรดล...............................................................๑,๐๐๐.๐๐ พ.ต.อ. ศุภรัตน์ สวัสดิ์พาณิชย์.............................................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณสมชาย - คุณดารณี เผ่าทวี...............................................................๖๐๐.๐๐ ทพ. สมชาย - คุณอรพินท์ อัครวัชรางกูร.........................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณสมพงษ์ เลาหบุตร...............................................................................๕๐๐.๐๐
บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท
88 คุณสมพิศ สุขพอดี.................................................................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณสมร - คุณปกรณ์ - คุณแองเจิล วูวนิช. ......................................๑,๐๐๐.๐๐ อ. สันติ เย็นสบาย.................................................................................๓,๐๐๐.๐๐ คุณสาธิต วรธนารัตน์...........................................................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณสุนทร - คุณบุปผา ดุจพ่วงลาภ....................................................๒,๐๐๐.๐๐ คุณสุมลรัตน์ เลาหเลิศวัฒนา...................................................................๖๐๐.๐๐ คุณสุวรรณี กุลปิยะวาจา และครอบครัว. ............................................๖๐๐.๐๐ คุณสุวรรณี น้อยรักษา..............................................................................๕๐๐.๐๐ คุณสุวัชชัย เจษฎานันท์........................................................................๑,๐๐๐.๐๐ นพ. อดิศักดิ์ เจษฎานันท์......................................................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณอภิชาต ธรรมสโรช.............................................................................๕๐๐.๐๐ คุณอรณัฐ ปรัชญกุล. ..............................................................................๕๐๐.๐๐ คุณอัครพล - คุณเฉลา ปรัชญกุล...........................................................๕๐๐.๐๐ คุณอัมราภรณ์ อัคระศิรพ ิ งศ์...................................................................๓๐๐.๐๐ คุณอารีย ์ ขาวส�ำอางค์..........................................................................๑,๐๐๐.๐๐ คุณอิทธิพล - คุณสิรว ิ รรณา ปภาวสิทธิ์............................................๑,๐๐๐.๐๐ อุทิศส่วนกุศล แก่ คุณเกียรติชัย เกรียงไกรรัตน์..............................๑,๐๐๐.๐๐ อุทิศส่วนกุศล แก่ คุณอนิก เจษฎานันท์.............................................๑,๐๐๐.๐๐ อุทิศส่วนกุศล แก่ ศ.(คลินิก) นพ. สมศักดิ์ เกรียงไกรรัตน์.............๑,๐๐๐.๐๐
บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท บาท
รวมทั้งสิน ้ ......................................................................๓๑๑,๙๙๙.๙๙ บาท
คณะผู้จัดท�ำขออภัยเป็นอย่างยิ่งหากมีรายนามผิดพลาดหรือขาดหายไป ท่านที่ประสงค์จะรับหนังสือ “สงสัยหนอ” เพิ่มเติม กรุ ณาติดต่อ รศ. แจ่มใส สุวรรณศักดิ์ศรี โทร/ไลน์ ๐๘-๑๙๓๕-๙๗๔๒ คุณมัชฌิมน สุวรรณศักดิ์ศรี โทร/ไลน์ ๐๖-๑๘๗๔-๑๖๖๖ หรือส่งอีเมล์ไปที่ suwansaksri.m@gmail.com