BH : Annual Report 2007 thai

Page 1



















บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

ข้อ มู ล ทางการเงิ น

18


รายงานประจำปี 2550

19



รายงานประจำปี 2550

ข้อมูลทางการเงินโดยสรุป

2550

2549

2548

2547

2546

ผลการดำเนินงานรวม (พันบาท) สินทรัพย์หมุนเวียนรวม 1,416,913 1,629,054 1,103,842 1,503,740 1,635,878 สินทรัพย์รวม 7,465,524 6,622,894 5,727,518 5,021,086 4,456,285 หนี้สินหมุนเวียนรวม 1,781,201 1,571,898 1,580,758 1,181,395 824,743 หนี้สินรวม 3,116,502 2,994,347 3,031,729 2,960,888 3,196,780 ส่วนของผู้ถือหุ้น 4,349,023 3,628,547 2,695,789 2,060,198 1,259,505 รายได้รวม 9,413,123 7,895,518 6,806,775 5,809,298 4,620,311 กำไรสุทธิสำหรับปี 1,605,462 1,095,702 1,052,739 934,547 666,488 กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน 2.20 1.51 1.45 1.36 1.34 กำไรต่อหุ้นปรับลด 1.85 1.26 1.21 1.08 0.78 มูลค่าตามบัญชีขั้นพื้นฐาน 5.97 4.51 3.59 3.00 2.48 มูลค่าตามบัญชีปรับลด 5.01 3.79 3.01 2.39 1.44 เงินปันผลต่อหุ้น 0.80 0.75 0.75 0.70 - อัตราส่วนทางการเงิน อัตรากำไรขั้นต้น (%) 38.5% 37.6% 37.6% 35.6% 34.6% อัตรากำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา 24.2% 24.7% 24.5% 23.4% 22.3% และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA Margin) (%) อัตรากำไรสุทธิก่อนรายการพิเศษ (%) 13.4% 13.9% 15.5% 15.0% 14.4% อัตรากำไรสุทธิ (%) 17.1% 13.9% 15.5% 16.1% 14.4% อัตราการเติบโตของรายได้จากกิจการโรงพยาบาล (%) 8.8% 15.1% 16.9% 26.6% 25.4% อัตราการเติบโตของกำไรสุทธิ (%) 46.5% 4.1% 12.6% 40.2% 194.5% อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (%) 40.2% 34.7% 44.3% 56.3% 72.0% อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (%) 22.8% 17.7% 19.6% 19.7% 16.6% อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 0.72 0.91 1.16 1.44 2.58 อัตราส่วนเงินกู้ยืมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 0.41 0.54 0.68 1.03 1.99 อัตราส่วนเงินกู้ยืมสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 0.28 0.27 0.39 0.37 0.97 อัตราความสามารถชำระดอกเบี้ย (เท่า) 18.73 17.70 15.57 11.36 8.50 อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) 0.80 1.04 0.70 1.27 1.98 ระยะเวลาเก็บหนี้ เฉลี่ย (วัน) 26.05 22.01 17.55 16.36 16.34 ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย (วัน) 13.00 11.92 11.04 9.73 10.04 ระยะเวลาชำระหนี้ (วัน) 41.25 39.06 38.98 39.88 41.46

21


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน 1. เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินรวม

เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2550 บริษัทได้สละสิทธิในการจองหุ้นสามัญที่ออกใหม่ของบริษัทบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เพื่อให้Asian Financial Holding เข้าถือหุ้นในบริษัทบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 19.5% เป็นผลให้บริษัทลดสัดส่วน การถือหุ้นในบริษัทบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จาก 51.0% เป็น 31.5% และเปลี่ยนสถานะจากบริษัทย่อยเป็น บริษัทร่วม ดังนั้นรายการบัญชีของบริษัทบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้รวมอยู่ในงบการเงินรวมของบริษัท ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550 ขณะที่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 รายการบัญชีของบริษัทบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ไม่ได้รวม อยู่ในงบการเงินรวมของบริษัท โดยที่บริษัทใช้วิธีส่วนได้เสียแทน เป็นผลให้งบกำไรขาดทุนของปี 2549 สะท้อนผลการรวม รายการบัญชีของบริษัทบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนลจำกัด ในงบการเงินของบริษัททั้งปี ในขณะที่งบกำไรขาดทุนของ ปี 2550 สะท้อนผลการรวมรายการบัญชีของบริษทั บำรุงราษฎร์อนิ เตอร์เนชัน่ แนล จำกัด ในงบการเงินของบริษทั เฉพาะในไตรมาส แรก และการใช้วิธีส่วนได้เสียของผลประกอบการของบริษัทบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในไตรมาสที่สอง ไตรมาส ที่สาม และไตรมาสที่สี่

2. รายได้และค่าใช้จ่าย

22

สำหรับปี 2550 บริษัทมีรายได้จากกิจการโรงพยาบาล 8,323 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จาก 7,651 ล้านบาทในปี 2549 เนื่ อ งจากการเติ บ โตอย่ า งต่ อ เนื่ อ งของกิ จ การโรงพยาบาล โดยที่ ร ายได้ จ ากผู้ ป่ ว ยในเพิ่ ม ขึ้ น ร้ อ ยละ 9 และรายได้ จ าก ผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 บริษัทมีรายได้รวม 9,413 ล้านบาทในปี 2550 เพิ่มขึ้นจาก 7,896 ล้านบาทในปี 2549 คิดเป็นอัตราร้อยละ 19 เนื่องจากบริษัท มีสว่ นแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมจำนวน 854 ล้านบาทในปี 2550 เทียบกับส่วนแบ่งกำไรจำนวน 8 ล้านบาทในปี 2549 กำไรจำนวน 854 ล้านบาทในปี 2550 ประกอบด้วย (1) ส่วนแบ่งกำไรจากบริษทั  เอเชียน ฮอสพิเทิล อิงค์ ในไตรมาส 1 ปี 2550 จำนวน 8 ล้านบาท ซึ่ง ณ ขณะนั้นรายการบัญชีของบริษัทบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้รวมอยู่ในงบการเงินรวมของ บริษัท (2) ส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนในบริษัทบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด รวม 18 ล้านบาท ในไตรมาส 2, 3 และ 4 ของปี 2550 และ (3) ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนใน บริษทั โกลเบิล แคร์ โซลูชนั่  (ประเทศไทย) จำกัด (“จีซเี อส ประเทศไทย”) จำนวน 829 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้เข้าซื้อ จีซีเอส ประเทศไทยในสัดส่วน 30% ในเดือนกันยายน 2550 จีซีเอส ประเทศไทย เป็น ผูพ้ ฒั นาระบบซอฟต์แวร์สำหรับโรงพยาบาลโดยเฉพาะ โดยที ่ บริษัทใช้ระบบ H2000 ของ จีซีเอส ประเทศไทย อยู ่ ต่อมาในเดือน พฤศจิกายน 2550 บริษัท ไมโครซอฟท์ได้ประกาศการเข้าซื้อสินทรัพย์ทั้งหมดของ จีซีเอส ประเทศไทย ดังนั้นส่วนแบ่งกำไรจาก จีซีเอส ประเทศไทย จำนวน 829 ล้านบาท ส่วนใหญ่ จึงเป็นกำไรจากการขายสินทรัพย์ของจีซีเอส ประเทศไทย ซึ่งเป็นกำไรซึ่ง เกิดขึน้ ครัง้ เดียว หักด้วยผลการดำเนินงานของจีซเี อส ประเทศไทย อย่างไรก็ตามส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษทั ร่วมจำนวน 12 ล้านบาทในไตรมาส 4 ปี 2549 นั้นเป็นของบริษัท เอเชียน ฮอสพิเทิล อิงค์ ซึ่งขณะนั้นเป็นบริษัทร่วมของบริษัทบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชัน่ แนล จำกัด ต้นทุนกิจการโรงพยาบาลสำหรับปี 2550 อยู่ที่ 5,120 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จาก 4,775 ล้านบาท ในปี 2549 ต่ำกว่าอัตรา การขยายตั ว ของกิ จ การโรงพยาบาลเล็ ก น้ อ ยเนื่ อ งจากการควบคุ ม ต้ น ทุ น ที่ ดี ขึ้ น ตลอดปี   2550 ดั ง นั้ น  อั ต รากำไรขั้ น ต้ น จึงสูงขึ้นอยู่ที่ 38.5%ในปี 2550 เทียบกับ 37.6% ในปี 2549 ค่าใช้จ่ายในการบริหารของบริษัทในปี 2550 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 1,356 ล้านบาท เทียบกับ 1,149 ล้านบาท ในปี 2549 หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 18 จากการเพิ่มขึ้นของเงินเดือนและค่าใช้จ่ายในการโฆษณาที่เพิ่มขึ้นตลอดทั้งปี จากการโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์และ สิ่งพิมพ์ ดังนั้นกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) โดยไม่รวมรายการที่ไม่เกี่ยวกับ การดำเนินงานโดยปกติของบริษัทเพิ่มขึ้น 6% จาก 1,946 ล้านบาท ในปี 2549 เป็น 2,070 ล้านบาท ในปี 2550 ส่วน


รายงานประจำปี 2550

อัตรากำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA margin) ลดลงเล็กน้อย จาก 24.7% ในปี 2549 เป็น 24.2% ในปี 2550 บริษัทมีค่าเสื่อมราคาและตัดจำหน่าย จำนวน 408 ล้านบาท ในปี 2550 เทียบกับ 342 ล้านบาท ในปี 2549 จากที่โรงพยาบาล มีการยกระดับเทคโนโลยีของเครื่องมือการแพทย์เนื่องจากอาคารโรงพยาบาลในปัจจุบันได้เปิดการใช้งานมาแล้วร่วม 10 ปี ดังนั้น กำไรสุทธิ ไม่รวมรายการที่ไม่เกี่ยวกับการดำเนินงานโดยปกติของบริษัท ในปี 2550 จึงอยู่ที่ 1,147 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จาก 1,096 ล้านบาทในปี 2549 อัตรากำไรสุทธิ ไม่รวมรายการทีไ่ ม่เกีย่ วกับการดำเนินงานโดยปกติของบริษทั อยูท่ ี่ 13.4% ในปี 2550 เทียบกับ 13.9% ในปี 2549 ในปี 2550 บริษัทมีรายการซึ่งไม่เกี่ยวกับการดำเนินงานโดยปกติของบริษัทและเกิดขึ้นครั้งเดียวสองรายการ ได้แก่ (1) ส่วนแบ่ง กำไรจากเงินลงทุนใน จีซีเอส ประเทศไทย จำนวน 829 ล้านบาท และ (2) ค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์จำนวน 370 ล้านบาท ซึง่ เป็นการด้อยค่าของระบบซอฟต์แวร์สำหรับโรงพยาบาล H2000 ระบบเก่า เมือ่ รวมรายการซึง่ ไม่เกีย่ วกับการดำเนินงาน โดยปกติของบริษัทและเกิดขึ้นครั้งเดียวสองรายการนี้แล้ว บริษัทมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 1,605 ล้านบาท ในปี 2550 หรือร้อยละ 47 จาก 1,096 ล้านบาท ในปี 2549 อัตรากำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 17.1% ในปี 2550 จาก 13.9% ในปี 2549 สำหรับปี 2550 บริษัทมีกำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (ไม่รวมรายการที่ไม่เกี่ยวกับการดำเนินงานโดยปกติของบริษัท) เท่ากับ 1.54 บาท ต่อหุ้น ขณะที่กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานตามที่รายงานอยู่ที่ 2.20 บาทต่อหุ้น หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 และ ร้อยละ 46 ตามลำดับ จาก 1.51 บาทต่อหุ้นในปี 2549 เช่นเดียวกัน สำหรับปี 2550 บริษัทมีกำไรต่อหุ้นแบบปรับลด (ไม่รวมรายการที่ไม่เกี่ยวกับ การดำเนินงานโดยปกติของบริษัท) เท่ากับ 1.29 บาทต่อหุ้น ขณะที่กำไรต่อหุ้นแบบปรับลดตามที่รายงานอยู่ที่ 1.85 บาทต่อ หุ้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 และ 47 ตามลำดับ จาก 1.26 บาทต่อหุ้นในปี 2549 (หน่วย: ล้านบาท) รายได้จากกิจการโรงพยาบาล รายได้รวม กำไรขั้นต้น อัตรากำไรขั้นต้น กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) (ไม่รวมรายการที่ไม่เกี่ยวกับการดำเนินงาน โดยปกติของบริษัท) อัตรากำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่า ตัดจำหน่าย (EBITDA Margin) กำไรสุทธิ (ไม่รวมรายการที่ไม่เกี่ยวกับการดำเนินงาน โดยปกติของบริษัท) อัตรากำไรสุทธิ (ไม่รวมรายการที่ไม่เกี่ยวกับการดำเนินงาน โดยปกติของบริษัท) กำไรสุทธิ อัตรากำไรสุทธิ กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (ไม่รวมรายการที่ไม่เกี่ยวกับการ ดำเนินงานโดยปกติของบริษัท) กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน กำไรต่อหุ้นแบบปรับลด (ไม่รวมรายการที่ไม่เกี่ยวกับการ ดำเนินงานโดยปกติของบริษัท) กำไรต่อหุ้นแบบปรับลด

2550

2549

Growth

8,323 9,413 3,203 38.5% 2,070

7,651 7,896 2,875 37.6% 1,946

9% 19% 11% 6%

24.2% 1,147

24.7%

13.4% 1,605 17.1% 1.54

13.9% 1,096 13.9% 1.51

47% 2%

2.20 1.29

1.51 1.26

46% 3%

1.85

1.26

47%

1,096

5%

23


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

3. งบดุล

24

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียน 1,417 ล้านบาท ลดลงจาก 1,629 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 จากการลดลงของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดจาก 854 ล้านบาท ณ วันที ่ 31 ธันวาคม 2549 เป็น 550 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 เนือ่ งจาก ณ วันที ่ 31 ธันวาคม 2550 บริษทั ไม่ได้รวมรายการเงินสดของบริษทั บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชัน่ แนล จำกัดในงบการเงินรวมของบริษัท เงินลงทุนในบริษัทร่วมเพิ่มขึ้นจาก 465 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 เป็น 1,523 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 เงินลงทุนจำนวน 465 ล้านบาทในปี 2549 คือการบันทึกเงินลงทุนในบริษัท เอเชียน ฮอสพิเทิล อิงค์ เนื่องจาก ณ ขณะนั้น รายการบัญชีของบริษัทบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้รวมอยู่ในงบการเงิน รวมของบริษทั  ในขณะที ่ เงินลงทุนจำนวน 1,523 ล้านบาทในปี 2550 เป็นการบันทึกเงินลงทุนในบริษทั บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชัน่ แนล จำกัด จำนวน 1,091 ล้านบาท และเงินลงทุนใน บริษัท ซีดีอี เทรดดิ้ง จำกัด (เดิมคือ จีซีเอส ประเทศไทย) จำนวน 432 ล้าน บาท จีซีเอส ประเทศไทย ได้ดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ซีดีอี เทรดดิ้ง  จำกัด เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2550 ส่วน ทีด่ นิ  อาคารและอุปกรณ์สทุ ธิ ณ วันที ่ 31ธันวาคม 2550 อยูท่  ี่ 4,145 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ จาก 3,752 ล้านบาท ณ วันที ่ 31 ธันวาคม 2549 จากการเพิ่มขึ้นของเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์โรงพยาบาลจากการยกระดับเทคโนโลยี และการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ระหว่าง ก่อสร้างและติดตั้ง เนื่องจากการก่อสร้างชั้นเพิ่มอีก 7 ชั้นในอาคารบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล คลินิก ซึ่งเป็นอาคารใหม่ จะเปิดให้บริการในกลางปี 2551 ในทางตรงข้าม สินทรัพย์ไม่มีตัวตนลดลงอยู่ที่ 349 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 จาก 732 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 เนือ่ งจากบริษทั ได้มกี ารตัง้ ค่าเผือ่ การด้อยค่าของโปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวน 370 ล้าน บาท ดังนัน้  สินทรัพย์รวมของบริษทั  ณ วันที ่ 31 ธันวาคม 2550 เพิม่ ขึน้ เท่ากับ 7,466 ล้านบาท ณ วันที ่ 31 ธันวาคม 2550 เทียบ กับ 6,623 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษทั มีระยะเวลาเก็บหนีเ้ ฉลีย่ เพิม่ ขึน้ เป็น 26 วัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 จาก 22 วัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 จากการที ่ บริษทั มีลกู ค้าเป็นบริษทั ประกันและบริษทั คูส่ ญั ญาทีเ่ ป็นต่างชาติมากขึน้  ซึง่ โดยทัว่ ไปจะใช้เวลาในการดำเนินการและเก็บหนีน้ านขึน้ ส่วนระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ยของบริษัท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 12 วัน ในปี 2549 เป็น 13 วัน ในปี 2550 หนีส้ นิ รวมของบริษทั  เท่ากับ 3,117 ล้านบาท ณ วันที ่ 31 ธันวาคม 2550 เทียบกับ 2,994 ล้านบาท ณ วันที ่ 31 ธันวาคม 2549 จากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายค้างจ่ายและค่าธรรมเนียมแพทย์ค้างจ่าย ที่เพิ่มขึ้นตามผลการดำเนินงานของบริษัท ค่าใช้จ่ายค้าง จ่ายเพิม่ ขึน้ เป็น 622 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 จาก 552 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 ในขณะทีค่ า่ ธรรมเนียม แพทย์ค้างจ่ายเพิ่มขึ้นเป็น 293 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 จาก 256 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 ระยะเวลา ขายสินค้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จาก 39 วัน ในปี 2549 เป็น 41 วัน ในปี 2550 เงินกู้ยืมระยะยาว (รวมเงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึง กำหนดชำระภายในหนึ่งปี) ยังใกล้เคียงเดิม เป็นผลให้อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุน (Net debt to equity) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 0.27 เท่า ณ วันที ่ 31 ธันวาคม 2549 เป็น 0.28 เท่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 อัตราความสามารถชำระดอกเบีย้ ของบริษทั ดีขนึ้ เป็น 18.7 เท่าในปี 2550 จาก 17.7 เท่าในปี 2549 ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท (ไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของบริษัทย่อย) เพิ่มขึ้นเป็น 4,349 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 จาก 3,284 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 จากส่วนเกินทุนจากการทีบ่ ริษทั ร่วม คือบริษทั บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชัน่ แนล จำกัด ขายหุน้ เพิม่ ทุนให้พนั ธมิตรเชิงกลยุทธ์ (strategic partners) เกินมูลค่าทีต่ ราไว้ (ที่ 153.52 บาทต่อหุน้ เทียบกับมูลค่าทีต่ รา ไว้ 100 บาทต่อหุน้ ) จำนวน 96 ล้านบาท และกำไรสุทธิของปี 2550 จำนวน 1,605 ล้านบาท หักด้วยเงินปันผลจ่ายจำนวน 621 ล้านบาท และดอกเบี้ยจ่ายหุ้นกู้แปลงสภาพจำนวน 18 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัทมีส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ของบริษัทย่อย 344 ล้านบาท ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของบริษัทบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในขณะที่บริษัทไม่มีส่วน ของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 เนื่องจากรายการบัญชีของบริษัทบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ไม่ได้รวมอยู่ในงบการเงินรวมของบริษัท อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์เฉลี่ย (Average ROA) ของปี 2550 อยู่ที่ 22.8% เพิม่ จาก 17.7% ในปี 2549 เนือ่ งจากกำไรสุทธิของปี 2550 รวมรายการซึง่ ไม่เกีย่ วกับการดำเนินงานโดยปกติของบริษทั จำนวน 473


รายงานประจำปี 2550

ล้านบาท (ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนใน จีซีเอส ประเทศไทย หักด้วยค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์) อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น เฉลีย่ (Average ROE) ยังคงสูงอยู่ที่ 40.2% สำหรับปี 2550 เทียบกับ 34.7% ของปี 2549 (หน่วย: ล้านบาท) สินทรัพย์รวม หนี้สินรวม ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท (ไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ของบริษัทย่อย) ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย (วัน) ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย (วัน) ระยะเวลาชำระหนี้ เฉลี่ย (วัน) อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุน (Net Debt to Equity) อัตราความสามารถชำระดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio) อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์เฉลี่ย (Average ROA) อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นเฉลี่ย (Average ROE)

2550

2549

Growth

7,466 3,117 4,349

6,623 2,994 3,284

13% 4% 32%

26 13 41 0.28x 18.7x 22.8% 40.2%

22 12 39 0.27x 17.7x 17.7% 34.7%

4. สภาพคล่อง

บริษทั มีกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานจำนวน 1,341 ล้านบาท ในปี 2550 เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 18 จากปี 2549 ที ่ 1,137 ล้านบาท เนื่องจากผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น และค่าใช้จ่ายค้างจ่ายที่เพิ่มขึ้น กระแสเงินสดใช้ไปในกิจกรรมลงทุนลดลงเป็น 585 ล้านบาท ในปี 2550 จาก 678 ล้านบาทในปี 2549 เนือ่ งจากในปี 2550 บริษทั ได้รบั เงินปันผลจาก จีซเี อส ประเทศไทย จำนวน 418 ล้าน บาท เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงินเพิม่ ขึน้ มากจาก 141 ล้านบาท ในปี 2549 เป็น 617 ล้านบาทในปี 2550 เนือ่ งจากในปี 2549 บริษัทบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มีเงินสดรับจากการออกหุ้นสามัญจำนวน 453 ล้านบาท ซึ่งขณะนั้นรายการ บัญชีของบริษัทบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้รวมอยู่ในงบการเงินรวมของบริษัท เมื่อหักเงินสดและรายการเทียบเท่า เงินสดของบริษัทย่อย (บริษัทบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด) ณ วันที่บริษัทย่อยเปลี่ยนเป็นบริษัทร่วมเป็นจำนวน 442 ล้านบาทแล้ว บริษัทมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดปลายงวดลดลงเป็น 550 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 จาก 854 ล้านบาท วันที่ 31 ธันวาคม 2549 อัตราส่วนสภาพคล่องอยู่ที่ 0.80 เท่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ลดลงจาก 1.04 เท่า ณ วันที ่ 31 ธันวาคม 2549 อัตราส่วน สภาพคล่องหมุนเร็วอยูท่  ี่ 0.64 เท่า ณ วันที ่ 31 ธันวาคม 2550 จาก 0.88 เท่า ณ วันที ่ 31 ธันวาคม 2549 การลดลงของอัตราส่วน สภาพคล่องและอัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็วเป็นผลจากเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดทีล่ ดลงจำนวน 304 ล้านบาท จาก 854 ล้านบาท ณ วันที ่ 31 ธันวาคม 2549 เป็น 550 ล้านบาท ณ วันที ่ 31 ธันวาคม 2550 (หน่วย: ล้านบาท) กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดปลายปี อัตราส่วนสภาพคล่อง อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว

2550

2549

1,341 -585 -617 139 550 0.80x 0.64x

1,137 -678 -141 318 854 1.04x 0.88x

25


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

5. การเปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกบัญชี

บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบันทึกบัญชีของเงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม และกิจการที่ควบคุมร่วมกันในงบการเงินเฉพาะ กิจการจากวิธีส่วนได้เสียมาเป็นวิธีราคาทุน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เพื่อให้เป็นไปตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 26/2549 เรือ่ งมาตรฐานการบัญชีฉบับที ่ 44 เรือ่ ง “งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษทั ย่อย” (แก้ไขเพิม่ เติมครัง้ ที ่ 1) โดยบริษทั ได้ปรับปรุงย้อนหลังงบการเงินที่แสดงเปรียบเทียบด้วย ทั้งนี้ เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมที่แสดงอยู่ในงบการเงินเฉพาะกิจการ นั้น บันทึกด้วยวิธีราคาทุน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าวส่งผลกระทบดังนี้ กำไรสุทธิในงบการเงินเฉพาะกิจการไม่เท่ากับกำไรสุทธิในงบการเงินรวมในปี 2550 งบการเงินเฉพาะกิจการแสดงกำไรสุทธิ 1,129 ล้าน บาท น้อยกว่างบการเงินรวมที่แสดงกำไรสุทธิ 1,605 ล้านบาท เป็นจำนวน 476 ล้านบาท และในปี 2549 งบการเงินเฉพาะกิจการ แสดงกำไรสุทธิ 1,039 ล้านบาท ต่ำกว่างบการเงินรวมที่แสดงกำไรสุทธิ 1,096 ล้านบาท เป็นจำนวน 57 ล้านบาท เนื่องจากงบการเงิน เฉพาะกิจการไม่ได้รวมรายการส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนซึง่ บันทึกโดยวิธสี ว่ นได้เสียจำนวน 476 ล้านบาท และ 57 ล้านบาทในปี 2550 และปี 2549 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีดังกล่าวส่งผลต่อการแสดงรายการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ในงบการเงินเฉพาะกิจการเท่านั้น ไม่ได้มีผลกระทบต่อการจัดทำงบการเงินรวมและปัจจัยพื้นฐานในการทำธุรกิจของบริษัทแต่อย่างใด

26


รายงานประจำปี 2550

รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ

เรียน ท่านผู้ถือหุ้น บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) คณะกรรมการบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์จำกัด (มหาชน) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วยกรรมการบริษัทที่เป็น อิสระจากการบริหารงาน 3 ท่านโดยมี น.ส. โสภาวดี อุตตโมบล เป็นประธานกรรมการตรวจสอบ นายบุญปกรณ์ โชควัฒนา และ นายสรดิษ วิญญรัตน์ เป็นกรรมการตรวจสอบ โดยกำหนดให้มีหน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญคือดูแลรายงานทางการเงินของ บริษัทให้เป็นไปตามมาตรฐานบัญชี มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้องและเพียงพอ ดูแลให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน การประเมิน ความเสี่ยงและการควบคุมความเสี่ยงที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และดูแลกรณี ที่อาจเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการทำรายการระหว่างบริษัทกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน ในปี พ.ศ. 2550 คณะกรรมการตรวจสอบ มีการประชุม ทั้งหมด 6 ครั้ง เพื่อดำเนินงานตามความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย โดยมี ประเด็นที่เป็นสาระสำคัญคือ 1. สอบทานงบการเงินของบริษัทและบริษัทย่อยก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท จากการสอบทานและฟังคำชี้แจงจากผู้ตรวจ สอบบัญชีและฝ่ายบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นและเชื่อได้ว่างบการเงินดังกล่าวได้จัดทำตามมาตรฐานบัญชี โดย มีการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญอย่างถูกต้องและครบถ้วน 2. พิจารณาเสนอแนะการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีคือนางสาวสุมาลี รีวราบัณฑิต จากบริษัทสำนักงาน เอินส์ท แอนด์ยัง จำกัด และการ กำหนดค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีประจำปีต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติ 3. พิจารณาอนุมัติงบประมาณประจำปีของฝ่ายตรวจสอบภายใน แผนงานการตรวจสอบประจำปี ทบทวนกระบวนการตรวจสอบ ภายในซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ของนโยบายการบริหารงานของบริษทั  และให้ความเห็นชอบในการกำหนดขัน้ ตอนการปฏิบตั งิ านการตรวจสอบ ภายในเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานสากล 4. พิจารณาการทำรายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน การเปิดเผยสารสนเทศของรายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน และการได้มาหรือ จำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ 5. พิจารณาและรับฟังคำชีแ้ จงรายงานผลการตรวจสอบภายในจากผูต้ รวจสอบภายในของบริษทั  และให้ขอ้ เสนอแนะแก่คณะกรรมการ และผู้บริหาร เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการควบคุมภายใน นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญในการจัดประชุมผู้ถือหุ้น อย่างเหมะสมตามแนวทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบและวิธีปฏิบัติ และความมี ประสิทธิภาพเพียงพอในการประเมินความเสี่ยงและกิจกรรมป้องกันความเสี่ยงของฝ่ายต่าง ๆ และขององค์กร คณะกรรมการมี ความเห็นว่าระบบการควบคุมภายในมีความเหมาะสมและเพียงพอกับการป้องกันความเสี่ยงจากการดำเนินงานตามแนวนโยบาย และในกลยุทธ์ต่าง ๆ ของบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายด้วยความระมัดระวังและอย่างเต็มความสามารถ เพื่อประโยชน์ของบริษัท ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียทั้งปวง นางสาวโสภาวดี อุตตโมบล ประธานกรรมการตรวจสอบ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 27


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานการเงิน

คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบต่องบการเงินรวมของบริษัทและบริษัทย่อย และสารสนเทศที่ปรากฏในรายงานประจำปี งบการเงิน ดังกล่าวจะจัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปโดยเลือกใช้นโยบายการบัญชีที่เหมาะสมและถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ โดย จัดทำขึ้นอย่างระมัดระวังตลอดจนประเมินถึงความเหมาะสมของการแสดงรายการที่นำเสนอในงบการเงินโดยรวม รวมทั้งมีการเปิดเผย ข้อมูลอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบงบการเงิน คณะกรรมการบริษัทได้จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลทางบัญชีมีการบันทึกอย่าง ครบถ้วน ถูกต้อง และมีระบบการจัดเก็บรักษาทรัพย์สิน เพื่อป้องกันการทุจริตหรือเสียหายอย่างมีสาระสำคัญ คณะกรรมการมีความเห็นว่า ระบบควบคุมภายในของบริษัทโดยรวมอยู่ในระดับที่น่าพอใจ และสามารถสร้างความเชื่อมั่นต่อความ เชื่อถือได้ของงบการเงินของบริษัทและบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 นายชัย โสภณพนิช นางลินดา ลีสหะปัญญา ประธานกรรมการ กรรมการผู้จัดการ

28


รายงานประจำปี 2550

บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย รายงาน และงบการเงินรวม 31 ธันวาคม 2550 และ 2549

29


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

เสนอต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุลรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 งบกำไรขาดทุนรวม งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น รวมและงบกระแสเงินสดรวมสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปีของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และได้ตรวจสอบงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) ด้วยเช่นกัน ซึ่งผู้บริหารของกิจการเป็น ผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้ ส่วนข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่อ งบการเงินดังกล่าวจากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามิได้ตรวจสอบงบการเงินของบริษัท บำรุงราษฏร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมในประเทศ งบการเงินรวมนี้ได้รวมเงินลงทุนในบริษัทร่วมดังกล่าวตามวิธีส่วนได้เสียจำนวน 1,090.6 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 14.6 ของยอดสินทรัพย์รวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมจำนวน 25.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.3 ของยอดรายได้รวมสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกัน งบการเงินของบริษัทร่วมดังกล่าวตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอื่น โดย ข้าพเจ้าได้รับรายงานของผู้สอบบัญชีนั้นและความเห็นของข้าพเจ้าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจำนวนเงินของรายการต่างๆ ของบริษัทร่วม ดังกล่าวซึ่งรวมอยู่ในงบการเงินรวมได้ถือตามรายงานของผู้สอบบัญชีอื่นนั้น ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งกำหนดให้ข้าพเจ้าต้องวางแผนและปฏิบัติงานเพื่อ ให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่างบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการ ทดสอบหลักฐานประกอบรายการทั้งที่เป็นจำนวนเงินและการเปิดเผย ข้อมูลในงบการเงิน การประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชี ที่กิจการใช้และประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการเงินที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งผู้บริหารเป็นผู้จัดทำขึ้น ตลอดจนการประเมินถึงความ เหมาะสมของการแสดงรายการที่นำเสนอในงบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าการตรวจสอบดังกล่าวประกอบกับรายงานของผู้สอบ บัญชีอื่นที่กล่าวถึงในวรรคแรกให้ข้อสรุปที่เป็นเกณฑ์อย่างเหมาะสมในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า จากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้าและรายงานของผู้สอบบัญชีอื่น ข้าพเจ้าเห็นว่า งบการเงินข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปีของบริษัท โรงพยาบาล บำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อยและเฉพาะกิจการของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) โดยถูกต้องตามที่ ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป โดยมิได้เป็นการแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขต่องบการเงินข้างต้น ข้าพเจ้าขอให้สังเกตตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ข้อ 4 เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2550 บริษัทฯได้เปลี่ยนนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยในงบการเงินเฉพาะ กิจการจากวิธีส่วนได้เสียเป็นวิธีราคาทุน โดยบริษัทฯได้ปรับย้อนหลัง งบการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และสำหรับ ปีสิ้นสุดวันเดียวกัน เพื่อสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังกล่าว

สุมาลี รีวราบัณฑิต ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 3970 บริษัท สำนักงาน เอินส์ท แอนด์ ยัง จำกัด กรุงเทพฯ: 27 กุมภาพันธ์ 2551 30


รายงานประจำปี 2550

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549

(หน่วย: บาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ หมายเหตุ 2550 2549 2550 2549 (ปรับปรุงใหม่) สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 549,863,854 853,860,177 508,939,898 353,636,646 เงินลงทุนชั่วคราว - เงินฝากประจำกับ สถาบันการเงิน - 10,000,000 - 10,000,000 ลูกหนี้การค้า - สุทธิ 596,667,691 525,196,532 594,447,215 468,695,611 6,7 ลูกหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 7,140,769 6,520,043 7,225,215 17,242,430 7 เงินทดรองแก่พนักงานและกรรมการ 10,337,972 11,300,539 10,329,872 9,563,658 เงินให้กู้ยืมระยะสั้นและดอกเบี้ยค้างรับ - กิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน - - 10,058,348 18,121,384 7 สินค้าคงเหลือ 203,483,802 166,413,300 199,829,831 161,111,044 8 ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า 48,036,054 44,390,574 46,088,460 37,078,848 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 1,382,929 11,372,648 919,161 2,209,237 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 1,416,913,071 1,629,053,813 1,377,838,000 1,077,658,858 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เงินฝากประจำกับสถาบันการเงิน 9 ที่นำไปค้ำประกัน 12,146,800 9,605,495 3,792,400 1,251,095 10 เงินลงทุนในบริษัทย่อย - สุทธิ - - 1,172,512,972 1,772,512,372 เงินลงทุนในบริษัทร่วม 464,948,666 887,703,313 - 11 1,522,607,253 เงินลงทุนระยะยาวอื่น - สุทธิ 2,247,213 2,047,213 2,047,213 2,047,213 12 เงินจ่ายล่วงหน้าค่าหุ้น - สุทธิ - 16,370,994 - - ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ 2,680,514,143 13 4,144,586,821 3,751,950,703 3,128,389,655 14 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน - สุทธิ 349,177,979 732,093,327 476,188,623 786,428,585 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 17,845,161 16,823,645 20,845,159 19,823,645 รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 6,048,611,227 4,993,840,043 5,691,479,335 5,262,577,053 รวมสินทรัพย์ 7,465,524,298 6,622,893,856 7,069,317,335 6,340,235,911 หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

31


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบดุล (ต่อ) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 (หน่วย: บาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ หมายเหตุ 2550 2549 2550 2549 (ปรับปรุงใหม่) หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น หนี้สินหมุนเวียน เจ้าหนี้การค้า 621,648,668 551,815,024 619,621,227 547,325,609 เจ้าหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 7 - 1,800,000 - 1,800,000 เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี 437,148,619 328,521,802 81,250,000 - 15 เงินกู้ยืมระยะสั้นและดอกเบี้ยค้างจ่าย - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 7 - - 1,212,236,428 1,465,263,415 ค่าธรรมเนียมแพทย์ค้างจ่าย 292,550,253 255,561,894 291,726,160 253,511,894 ดอกเบี้ยค้างจ่าย 1,091,635 768,021 400,328 - ดอกเบี้ยค้างจ่าย - หุ้นกู้แปลงสภาพ ที่ถือเป็นตราสารทุน 6,232,877 6,232,877 6,232,877 6,232,877 ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย 197,048,251 196,122,348 196,325,517 196,122,348 ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 155,050,856 137,849,661 154,270,167 126,178,348 เจ้าหนี้อื่น 29,372,607 27,802,694 29,298,631 27,576,890 7 รายได้รับล่วงหน้า 7 524,531 25,391,445 - - หนี้สินหมุนเวียนอื่น 40,532,554 40,031,930 40,259,870 38,130,678 รวมหนี้สินหมุนเวียน 1,781,200,851 1,571,897,696 2,631,621,205 2,662,142,059 หนี้สินไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาว 568,750,000 300,000,000 15 1,335,300,872 1,422,449,491 รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน 1,335,300,872 1,422,449,491 568,750,000 300,000,000 รวมหนี้สิน 3,116,501,723 2,994,347,187 3,200,371,205 2,962,142,059 หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

32


รายงานประจำปี 2550

บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบดุล (ต่อ) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 (หน่วย: บาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ หมายเหตุ 2550 2549 2550 2549 (ปรับปรุงใหม่) ส่วนของผู้ถือหุ้น 17 ทุนเรือนหุ้น ทุนจดทะเบียน หุ้นสามัญ 920,853,235 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท (2549: หุ้นสามัญ 920,475,835 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท) 920,853,235 920,475,835 920,853,235 920,475,835 หุ้นบุริมสิทธิ 1,849,450 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท (2549: หุ้นบุริมสิทธิ 2,226,850 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท) 1,849,450 2,226,850 1,849,450 2,226,850 ทุนที่ออกและชำระแล้ว หุ้นสามัญ 728,202,772 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท (2549: หุ้นสามัญ 727,825,372 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท) 728,202,772 727,825,372 728,202,772 727,825,372 หุ้นบุริมสิทธิ 1,849,450 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท (2549: หุ้นบุริมสิทธิ 2,226,850 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท) 1,849,450 2,226,850 1,849,450 2,226,850 ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ 285,568,300 285,568,300 285,568,300 285,568,300 ส่วนเกินทุนอื่นของบริษัทย่อย/ร่วม 256,548,996 156,134,945 - - ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงิน 9,985,279 13,045,673 - - 16 หุ้นกู้แปลงสภาพที่ถือเป็นตราสารทุน 550,000,000 550,000,000 550,000,000 550,000,000 ส่วนเกินมูลค่าเงินลงทุนที่สูงกว่ามูลค่าตามบัญชี ของบริษัทย่อย (192,661,558) (192,661,558) - - กำไรสะสม 18 จัดสรรแล้ว - สำรองตามกฎหมาย 92,275,000 92,275,000 92,275,000 92,275,000 ยังไม่ได้จัดสรร 2,617,254,336 1,649,836,524 2,211,050,608 1,720,198,330 รวมส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ 4,349,022,575 3,284,251,106 3,868,946,130 3,378,093,852 ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของบริษัทย่อย - 344,295,563 - - รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 4,349,022,575 3,628,546,669 3,868,946,130 3,378,093,852 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 7,465,524,298 6,622,893,856 7,069,317,335 6,340,235,911 หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

33


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบกำไรขาดทุน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 (หน่วย: บาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ หมายเหตุ 2550 2549 2550 2549 (ปรับปรุงใหม่) รายได้ รายได้จากกิจการโรงพยาบาล 7 8,323,137,073 7,650,579,386 8,247,922,455 7,585,397,295 รายได้จากกิจการบริหารโรงพยาบาล 7 17,456,184 57,093,812 - - รายได้ค่าเช่า 7 132,305,227 118,423,241 159,555,897 145,367,048 ดอกเบี้ยรับ 7 12,493,388 18,480,051 8,668,544 11,328,721 กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 29,876,972 15,218,810 32,293,650 21,446,128 7,11.1 รายได้เงินปันผลจากบริษัทร่วม - - 418,430,250 - รายได้อื่น 7 43,466,165 27,958,782 57,692,932 63,067,370 11.1 ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม 854,387,550 7,763,568 - - รวมรายได้ 9,413,122,559 7,895,517,650 8,924,563,728 7,826,606,562 ค่าใช้จ่าย ต้นทุนกิจการโรงพยาบาล 5,120,231,716 4,775,141,818 5,090,027,778 4,752,401,403 ค่าเสื่อมราคาและตัดจำหน่าย 407,634,558 342,093,936 369,775,988 300,424,972 13,14 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 7 1,355,876,375 1,148,589,490 1,409,294,059 1,195,092,972 14 ค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ (โอนกลับ) 370,232,632 10,426,768 370,232,632 (6,788,266) รวมค่าใช้จ่าย 7,253,975,281 6,276,252,012 7,239,330,457 6,241,131,081 กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ 2,159,147,278 1,619,265,638 1,685,233,271 1,585,475,481 ดอกเบี้ยจ่าย 7 (110,513,805) (109,946,409) (116,445,159) (120,396,441) 20 ภาษีเงินได้นิติบุคคล (445,375,457) (432,140,026) (439,891,445) (426,209,024) กำไรหลังภาษีเงินได้นิติบุคคล 1,603,258,016 1,077,179,203 1,128,896,667 1,038,870,016 ขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของบริษัทย่อย 2,204,185 18,522,897 - - กำไรสุทธิสำหรับปี 1,605,462,201 1,095,702,100 1,128,896,667 1,038,870,016 21 กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน กำไรสุทธิ 2.20 1.51 1.55 1.43 จำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (หุ้น) 728,119,020 727,798,572 728,119,020 727,798,572 21 กำไรต่อหุ้นปรับลด กำไรสุทธิ 1.85 1.26 1.30 1.20 จำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (หุ้น) 867,414,859 867,414,859 867,414,859 867,414,859 หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

34


รายงานประจำปี 2550

35


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

36


รายงานประจำปี 2550

บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบกระแสเงินสด สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน กำไรสุทธิ รายการปรับกระทบกำไรสุทธิ เป็นเงินสดรับ (จ่าย) จากกิจกรรมดำเนินงาน ค่าเสื่อมราคาและตัดจำหน่าย หนี้สูญและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ (โอนกลับ) ขาดทุนจากการจำหน่ายอุปกรณ์ รายได้จากการได้รับหุ้น รายได้เงินปันผลจากบริษัทร่วม ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม ขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของบริษัทย่อย กำไรจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลง ในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน สินทรัพย์ดำเนินงานลดลง (เพิ่มขึ้น) ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกัน สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น หนี้สินดำเนินงานเพิ่มขึ้น (ลดลง) เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ค่าธรรมเนียมแพทย์ค้างจ่าย ดอกเบี้ยค้างจ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เจ้าหนี้อื่น รายได้รับล่วงหน้า หนี้สินหมุนเวียนอื่น เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

(หน่วย: บาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550 2549 2550 2549 (ปรับปรุงใหม่)

1,605,462,201

1,095,702,100

1,128,896,667 1,038,870,016

407,634,558 342,093,936 31,082,828 54,482,057 370,232,632 10,426,768 6,631,038 6,098,983 (200,000) - - - (854,387,550) (7,763,568) (2,204,185) (18,522,897)

369,775,988 30,342,286 370,232,632 6,631,038 - (418,430,250) - -

300,424,972 52,550,495 (6,788,266) 6,098,983 - - - -

1,564,251,522

1,482,517,379

1,487,448,361 1,391,156,200

(165,307,995) 76,297 (37,070,502) (6,646,871)

(240,203,567) (5,136,279) (16,517,404) 3,803,550

(156,093,890) (206,594,622) 10,017,215 (11,379,358) (38,718,787) (13,929,135) (7,719,436) (11,969,411)

(94,955,762) (1,800,000) 36,988,359 323,614 925,903 34,545,393 1,985,353 6,320,394 1,019,011 1,340,654,716

(11,127,448) 1,800,000 42,321,180 182,982 (9,500,052) (65,507,398) (43,323,385) (8,739,827) 6,453,371 1,137,023,102

(48,003,846) (13,777,958) (1,800,000) 1,800,000 38,214,266 40,462,522 400,328 - 203,169 (8,421,601) 28,091,819 (44,836,930) 1,721,741 (39,596,491) - - 2,129,192 5,684,780 1,315,890,132 1,088,597,996

37


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบกระแสเงินสด (ต่อ) สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 (หน่วย: บาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550 2549 2550 2549 (ปรับปรุงใหม่) กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน เงินฝากสถาบันการเงินซึ่งถึงกำหนดจ่ายคืนเกินกว่า 3 เดือน และที่นำไปค้ำประกันลดลง 7,458,695 210,278,350 7,458,695 209,999,877 เงินทดรองแก่พนักงานและกรรมการ (เพิ่มขึ้น) ลดลง 938,452 (1,286,520) (766,214) (40,216) รับคืนเงินให้กู้ยืมระยะสั้นและดอกเบี้ยค้างรับ กิจการที่เกี่ยวข้องกัน - - 8,063,036 24,580,138 ขาย (ซื้อ) เงินลงทุนในบริษัทร่วม (287,704,013) 209,354 (287,704,013) 209,354 เงินปันผลรับจากบริษัทร่วม 418,430,250 - 418,430,250 - เงินจ่ายล่วงหน้าค่าหุ้นเพิ่มขึ้น - (33,586,028) - - เงินสดจ่ายซื้ออาคารและอุปกรณ์ (569,699,256) (689,537,673) (612,467,920) (679,259,938) เงินสดรับจากการจำหน่ายอุปกรณ์ 4,276,313 9,102,810 4,276,313 9,102,810 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนและสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นเพิ่มขึ้น (159,145,650) (172,926,881) (156,805,651) (172,926,880) เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุน (585,445,209) (677,746,588) (619,515,504) (608,334,855) กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน เงินเพิ่มทุนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในบริษัทย่อย - 452,644,323 - - ชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้นและดอกเบี้ยค้างจ่าย - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน - - (253,026,987) (243,973,013) รับเงินกู้ยืมระยะยาว 350,000,000 300,000,000 350,000,000 300,000,000 ชำระคืนเงินกู้ยืมระยะยาว (328,521,802) (328,521,802) - - เงินปันผลจ่าย (620,544,389) (547,539,167) (620,544,389) (547,539,167) ดอกเบี้ยจ่ายสำหรับหุ้นกู้แปลงสภาพที่ถือเป็นตราสารทุน (17,500,000) (17,500,000) (17,500,000) (17,500,000) เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน (616,566,191) (140,916,646) (541,071,376) (509,012,180) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ 138,643,316 318,359,868 155,303,252 (28,749,039) ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงิน (553,904) (8,005,810) - - เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นปี 853,860,177 543,506,119 353,636,646 382,385,685 หัก: เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดของบริษัทย่อย (BIL) ณ วันที่บริษัทย่อยเปลี่ยนเป็นบริษัทร่วม (442,085,735) - - - เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดปลายปี 549,863,854 853,860,177 508,939,898 353,636,646 ข้อมูลกระแสเงินสดเปิดเผยเพิ่มเติม เงินสดจ่ายในระหว่างปีสำหรับ ดอกเบี้ยจ่าย 110,190,191 109,763,427 126,071,817 110,369,454 ภาษีเงินได้นิติบุคคล 445,646,733 441,640,078 439,726,779 435,396,812 หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

38


รายงานประจำปี 2550

บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงินรวม สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549

1. ข้อมูลทั่วไป

1.1 ข้อมูลทั่วไปของบริษัทฯ บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) จัดตั้งขึ้นเป็นบริษัทมหาชนและมีภูมิลำเนาในประเทศไทย ธุ ร กิ จ หลั ก ของบริ ษั ท ฯ คื อ  กิ จ การโรงพยาบาล การลงทุ น ในบริ ษั ท อื่ น  และให้ เ ช่ า อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์   โดยมี ที่ อ ยู่ ต ามที่ จดทะเบียนอยู่ที่ 33 ซอย 3 (นานาเหนือ) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 1.2 การลงทุนในระหว่างปี ก) เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2550 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ครั้งที่ 1/2550 ได้มีมติอนุมัติการสละสิทธิของบริษัทฯ ในการ จองซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ในอนาคตของบริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (“BIL”) จำนวนไม่เกิน 3,714,283 หุ้น ในราคาหุ้นละ 153.52 บาท คิดเป็นจำนวนเงิน 570,216,726 บาท ให้แก่ Asia Financial Holdings Limited (“AFH”) หรือ บริ ษั ท ย่ อ ยของ AFH ซึ่ ง การสละสิ ท ธิ ดั ง กล่ า วจะทำให้ สั ด ส่ ว นการถื อ หุ้ น ของบริ ษั ท ฯ ใน BIL ลดลงจากร้ อ ยละ 51 เป็ น ร้อยละ 31.5 ซึ่งเป็นผลให้ BIL ไม่มีสถานะเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ข) เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2550 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯได้มีมติอนุมัติให้บริษัทฯ ซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ซีดีอี เทรดดิ้ง จำกัด (“CDE”) (เดิมชื่อ “บริษัท โกลเบิล แคร์ โซลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด”) จำนวน 29,995 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท คิดเป็นร้อยละ 30 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ CDE ส่งผลให้ CDE เป็นบริษัทร่วมของบริษัทฯ

2. เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงิน

2.1 งบการเงินนี้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดในพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 และการแสดงรายการใน งบการเงินได้ทำขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดในประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ลงวันที่ 14 กันยายน 2544 ออกตามความ ในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 งบการเงินนี้ได้จัดทำขึ้นโดยใช้เกณฑ์ราคาทุนเดิมเว้นแต่จะได้เปิดเผยเป็นอย่างอื่นในนโยบายการบัญชี 2.2 เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินรวม ก) งบการเงินรวมนี้ได้จัดทำขึ้นโดยรวมงบการเงินของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) บริษัทย่อยและกิจการ ที่ควบคุมร่วมกัน (ใช้วิธีการรวมตามสัดส่วน) ซึ่งบริษัทฯหรือบริษัทย่อยมีส่วนร่วมในการควบคุมดังต่อไปนี้

39


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

ชื่อบริษัท บริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดยบริษัทฯ บริษัท บำรุงราษฎร์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ จำกัด (BMC) บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (BIL) บริษัท ไวทัลไลฟ์ จำกัด (VTL)

ลักษณะธุรกิจ

จัดตั้ง ขึ้นใน ประเทศ

ให้เช่าอาคาร ไทย ลงทุนในบริษัทอื่น ไทย ศูนย์ดูแลสุขภาพ ไทย

อัตราร้อยละ ของการถือหุ้น 2550 2549 ร้อยละ ร้อยละ 100 100

ร้อยละของสินทรัพย์ ร้อยละของรายได้ ที่รวมอยู่ใน ที่รวมอยู่ในรายได้รวม สินทรัพย์รวม สำหรับปีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม วันที่ 31 ธันวาคม 2550 2549 2550 2549 ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ 14 17 - -

-

51

-

8

-

1

100

100

1

1

1

1

อัตราร้อยละของการ จัดตั้งขึ้น ถือหุ้นโดยทางอ้อม ในประเทศ 2550 2549 ร้อยละ ร้อยละ ฟิลิปปินส์ - 100.00 ฟิลิปปินส์ - 40.00 ฮ่องกง - 100.00 ฮ่องกง - 100.00 สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ - 49.00

ชื่อบริษัท ลักษณะธุรกิจ บริษัทย่อยที่ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย (BIL) บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล บริหารกิจการโรงพยาบาล ฟิลิปปินส์ อิงค์ และลงทุนในบริษัท เอเชียน ฮอสพิทอล อิงค์ บริษัท เนปจูน สตรอยก้า โฮลดิ้ง อิงค์ ลงทุนในบริษัท เอเชียน ฮอสพิทอล อิงค์ บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ลงทุนในบริษัท เอเชีย รีนัล โฮลดิ้ง (ฮ่องกง) จำกัด แคร์ จำกัด บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล บริหารกิจการโรงพยาบาล เมเนจเม้นท์ (ฮ่องกง) จำกัด กิจการที่ควบคุมร่วมกันที่ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย (BIL) บริษัท บำรุงราษฎร์ ฮอสพิทอล ดูไบ แอลแอลซี กิจการโรงพยาบาล (ยังมิได้เริ่มประกอบกิจการ) ข) งบการเงินของบริษัทย่อยซึ่งจัดตั้งในต่างประเทศได้แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ย ณ วันที่ในงบดุล สำหรับรายการสินทรัพย์และหนี้สินหรืออัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยรายเดือนในระหว่างปีสำหรับรายการที่เป็นรายได้และค่าใช้จ่าย ผลต่างซึ่งเกิดขึ้นจากการแปลงค่าดังกล่าวได้แสดงไว้เป็นรายการ “ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงิน” ในส่วนของผู้ถือหุ้น ค) ยอดคงค้างระหว่างบริษัทฯ และบริษัทย่อย รายการค้าระหว่างกันที่มีสาระสำคัญได้ตัดออกจากงบการเงินรวมนี้แล้ว ง) ยอดเงินลงทุนในบริษัทย่อยในบัญชีของบริษัทฯ ได้ตัดกับส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อยแล้ว ผลต่างที่เหลือจะตัดจำหน่ายภายใน ระยะเวลา 10 ปี นับตั้งแต่วันที่เข้าซื้อหุ้นในบริษัทย่อย จ) บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (“BIL”) ได้เปลี่ยนสถานะจากบริษัทย่อยเป็นบริษัทร่วมของบริษัทฯ ตั้งแต่วันที ่

40


รายงานประจำปี 2550

1 เมษายน 2550 จากการเปลี่ยนสัดส่วนเงินลงทุนในหุ้นสามัญของ BIL จากร้อยละ 51 เป็นร้อยละ 31.5 ซึ่งเป็นผลมาจากการ สละสิทธิของบริษัทฯ ในการจองซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ของ BIL ฉ) ในเดือนกันยายน 2549 บริษัทย่อยแห่งหนึ่ง (บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด) ได้ลงทุนในบริษัท บำรุงราษฎร์

ฮอสพิทอล ดูไบ แอลแอลซี ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในอัตราร้อยละ 49 2.3 บริษัทฯ ได้จัดทำงบการเงินเฉพาะกิจการเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะซึ่งแสดงเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมตามวิธีราคาทุน

3. การประกาศใช้มาตรฐานการบัญชีใหม่ ก) ข)

สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศสภาวิชาชีพบัญชีฉบับที่ 9/2550 ฉบับที่ 38/2550 และฉบับที่ 62/2550 เกี่ยวกับมาตรฐาน การบัญชี โดยให้ใช้มาตรฐานการบัญชีใหม่ดังต่อไปนี้ มาตรฐานการบัญชีที่มีผลบังคับใช้ในปีปัจจุบัน ฉบับที่ 44 (ปรับปรุง 2550) งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ ฉบับที่ 45 (ปรับปรุง 2550) เงินลงทุนในบริษัทร่วม ฉบับที่ 46 (ปรับปรุง 2550) ส่วนได้เสียในการร่วมค้า มาตรฐานการบัญชีข้างต้นให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป ในระหว่างไตรมาสที่ 1 ของปีปัจจุบัน บริษัทฯได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อย ในงบการเงินเฉพาะกิจการ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 44 ฉบับปรับปรุงใหม่ ตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบ งบการเงินข้อ 4

มาตรฐานการบัญชีที่ยังไม่มีผลบังคับใช้ในปีปัจจุบัน ฉบับที่ 25 (ปรับปรุง 2550) งบกระแสเงินสด ฉบับที่ 29 (ปรับปรุง 2550) สัญญาเช่า ฉบับที่ 31 (ปรับปรุง 2550) สินค้าคงเหลือ ฉบับที่ 33 (ปรับปรุง 2550) ต้นทุนการกู้ยืม ฉบับที่ 35 (ปรับปรุง 2550) การนำเสนองบการเงิน ฉบับที่ 39 (ปรับปรุง 2550) นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด ฉบับที่ 41 (ปรับปรุง 2550) งบการเงินระหว่างกาล ฉบับที่ 43 (ปรับปรุง 2550) การรวมธุรกิจ ฉบับที่ 49 (ปรับปรุง 2550) สัญญาก่อสร้าง ฉบับที่ 51 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน มาตรฐานการบั ญ ชี ข้ า งต้ น ให้ ถื อ ปฏิ บั ติ กั บ งบการเงิ น สำหรั บ รอบระยะเวลาบั ญ ชี ที่ เ ริ่ ม ในหรื อ หลั ง วั น ที่   1 มกราคม 2551 เป็ น ต้ น ไป ฝ่ า ยบริ ห ารของบริ ษั ท ฯได้ ป ระเมิ น แล้ ว เห็ น ว่ า มาตรฐานการบั ญ ชี ฉ บั บ ดั ง กล่ า วจะไม่ มี ผ ลกระทบอย่ า ง เป็ น สาระสำคั ญ ต่ อ งบการเงิ น สำหรั บ ปี ที่ เ ริ่ ม ใช้ ม าตรฐานการบั ญ ชี ฉ บั บ ดั ง กล่ า ว ยกเว้ น มาตรฐานการบั ญ ชี ดั ง ต่ อ ไปนี ้

มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 43 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การรวมธุรกิจ มาตรฐานการบั ญ ชี ฉ บั บ ที่   43 (ปรั บ ปรุ ง  2550) กำหนดให้ บ ริ ษั ท ฯไม่ ต้ อ งตั ด จำหน่ า ยค่ า ความนิ ย มจากการรวมธุ ร กิ จ

อีกต่อไป แต่บริษัทฯต้องทดสอบการด้อยค่าของค่าความนิยม และแสดงค่าความนิยมด้วยราคาทุนหักค่าเผื่อการด้อยค่าสะสม โดยให้ ถื อ ปฏิ บั ติ ส ำหรั บ ค่ า ความนิ ย มที่ เ กิ ด จากการรวมธุ ร กิ จ ซึ่ ง มี ข้ อ ตกลงตั้ ง แต่ วั น ที่   1 มกราคม 2551 เป็ น ต้ น ไป ส่ ว นค่ า ความนิ ย มที่ รั บ รู้ ก่ อ นหน้ า นี้   บริ ษั ท ฯ สามารถใช้ วิ ธี เ ปลี่ ย นทั น ที เ ป็ น ต้ น ไป โดยหยุ ด ตั ด จำหน่ า ยค่ า ความนิ ย ม แต่ต้องทดสอบการด้อยค่าของค่าความนิยม โดยเริ่มตั้งแต่งวดปีบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 41


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

4. การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยในงบการเงินเฉพาะกิจการ

ในระหว่างไตรมาสที่ 1 ของปีปัจจุบัน บริษัทฯ ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการบันทึก เงินลงทุนในบริษัทย่อย ในงบการเงิ น เฉพาะกิ จ การจากวิ ธี ส่ ว นได้ เ สี ย เป็ น วิ ธี ร าคาทุ น ตามมาตรฐานการบั ญ ชี   ฉบั บ ที่   44 (ปรั บ ปรุ ง  2550) เรื่องงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ ซึ่งกำหนดให้เงินลงทุนในบริษัทย่อยในงบการเงินเฉพาะกิจการต้องแสดง ตามวิธีราคาทุน ในการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังกล่าว บริษัทฯ ได้ปรับย้อนหลังงบการเงินเฉพาะกิจการงวดก่อนที่นำมาแสดงเปรียบเทียบ เสมือนว่าบริษัทฯ ได้ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อยตามวิธีราคาทุนมาโดยตลอด การเปลี่ยนแปลง นี้ทำให้บริษัทฯ มีกำไรสุทธิในงบกำไรขาดทุนเฉพาะกิจการสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 ลดลงเป็นจำนวน 477 ล้านบาท (0.65 บาทต่อหุ้น) และ 57 ล้านบาท (0.08 บาทต่อหุ้น) ตามลำดับ ผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงนโยบาย การบัญชีดังกล่าวได้แสดงไว้ในหัวข้อ “ผลสะสมจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อย” ในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นเฉพาะกิจการแล้ว ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังกล่าวมีผลกระทบเฉพาะต่อรายการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนในบริษัทย่อยใน งบการเงินเฉพาะกิจการเท่านั้น ไม่ได้มีผลกระทบต่องบการเงินรวมแต่อย่างใด

5. นโยบายการบัญชีที่สำคัญ

5.1 การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย ก) รายได้จากการประกอบกิจการโรงพยาบาลโดยส่วนใหญ่ประกอบด้วยรายได้ค่ารักษาพยาบาล ค่าห้องพัก ค่ายา โดยจะบันทึก

เป็นรายได้เมื่อได้ให้บริการหรือเมื่อได้ส่งมอบยาแล้ว ข) รายได้ค่าบริการที่ปรึกษาและการจัดการรับรู้เมื่อได้ให้บริการแล้วโดยพิจารณาถึงขั้นความสำเร็จของงาน ค) รายได้จากการให้เช่าพื้นที่และการให้บริการที่เกี่ยวข้องรับรู้ตามเกณฑ์คงค้างตามระยะเวลาของสัญญา ง) ดอกเบี้ยรับ และค่าใช้จ่ายบันทึกตามเกณฑ์คงค้าง จ) เงินปันผลรับถือเป็นรายได้เมื่อมีสิทธิในการรับเงินปันผล 5.2 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด หมายถึง เงินสดและเงินฝากธนาคาร และเงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งถึงกำหนด จ่ายคืนภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือนนับจากวันที่ได้มาและไม่มีข้อจำกัดในการเบิกใช้ 5.3 ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้การค้าแสดงตามมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ บริษัทฯและบริษัทย่อยบันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับผลขาดทุนโดยประมาณ ที่อาจเกิดขึ้นจากการเก็บเงินลูกหนี้ไม่ได้ ซึ่งโดยทั่วไปพิจารณาจากประสบการณ์การเก็บเงินและการวิเคราะห์อายุลูกหนี้ 42


รายงานประจำปี 2550

5.4 สินค้าคงเหลือ สินค้าคงเหลือแสดงมูลค่าตามราคาทุน (วิธีถัวเฉลี่ย) หรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า 5.5 เงินลงทุน ก) เงินลงทุนในตราสารทุนทีไ่ ม่อยูใ่ นความต้องการของตลาดถือเป็นเงินลงทุนทัว่ ไป ซึง่ แสดงในราคาทุนสุทธิจากค่าเผือ่ การด้อยค่า (ถ้ามี) ข) เงินลงทุนในกิจการที่ควบคุมร่วมกันและบริษัทร่วมที่แสดงอยู่ในงบการเงินรวมแสดงมูลค่าตามวิธีส่วนได้เสีย ค) เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมที่แสดงอยู่ในงบการเงินเฉพาะกิจการแสดงมูลค่าตามวิธีราคาทุน 5.6 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์และค่าเสื่อมราคา ที่ดินแสดงมูลค่าตามราคาทุน อาคารและอุปกรณ์แสดงมูลค่าตามราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสม และค่าเผื่อการด้อยค่า ของสินทรัพย์ (ถ้ามี) ค่าเสื่อมราคาของอาคารและอุปกรณ์คำนวณจากราคาทุนของสินทรัพย์โดยวิธีเส้นตรงตามอายุการใช้งาน โดยประมาณดังต่อไปนี้ สิทธิการเช่า - ตามอายุสัญญาเช่า (30 ปี) ส่วนปรับปรุงที่ดิน - 3 ปี และ 30 ปี อาคารและสิ่งปลูกสร้าง - 8 - 30 ปี เครื่องอุปกรณ์ระบบอำนวยความสะดวก - 5 - 20 ปี เครื่องมือแพทย์ - 5 - 15 ปี อุปกรณ์โรงพยาบาล - 3 - 15 ปี เครื่องใช้และเครื่องตกแต่ง - 5 - 15 ปี ยานพาหนะ - 5 - 10 ปี ค่าเสื่อมราคารวมอยู่ในการคำนวณผลการดำเนินงาน ไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคาสำหรับที่ดิน และสินทรัพย์ระหว่างก่อสร้างและติดตั้ง 5.7 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนและค่าตัดจำหน่าย สินทรัพย์ไม่มีตัวตนแสดงตามราคาทุนหักค่าตัดจำหน่ายสะสม ค่าตัดจำหน่ายของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนคำนวณจากราคาทุนของ สินทรัพย์ โดยวิธีเส้นตรงตามอายุการให้ประโยชน์โดยประมาณของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนแต่ละประเภทดังต่อไปนี้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ - 5 ปี และ 10 ปี ค่าความนิยมในการซื้อธุรกิจ - 10 ปี สินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่น - 10 ปี ค่าตัดจำหน่ายรวมอยู่ในการคำนวณผลการดำเนินงาน 5.8 รายการธุรกิจกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันกับบริษัทฯ หมายถึง บุคคลหรือกิจการที่มีอำนาจควบคุมบริษัทฯ หรือถูกควบคุมโดยบริษัทฯไม่ว่า

จะเป็นโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรืออยู่ภายใต้การควบคุมเดียวกันกับบริษัทฯ 43


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

นอกจากนี้ บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันยังหมายรวมถึงบริษัทร่วมและบุคคลซึ่งมีอิทธิพลอย่างเป็นสาระสำคัญกับบริษัทฯ ผู้บริหารสำคัญ กรรมการหรือพนักงานของบริษัทฯ ที่มีอำนาจในการวางแผนและควบคุมการดำเนินงานของบริษัทฯ 5.9 เงินตราต่างประเทศ รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศแปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ที่เกิดรายการ สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็น ตัวเงินที่เป็นเงินตราต่างประเทศคงเหลือ ณ วันที่ในงบดุลแปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ในงบดุล กำไรและขาดทุนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนได้รวมอยู่ในการคำนวณผลการดำเนินงาน 5.10 การด้อยค่าของสินทรัพย์ ทุ ก วั น ที่ ใ นงบดุ ล  บริ ษั ท ฯ และบริ ษั ท ย่ อ ยจะทำการประเมิ น ว่ า มี ข้ อ บ่ ง ชี้ ซึ่ ง แสดงว่ า สิ น ทรั พ ย์ ข องบริ ษั ท ฯ และบริ ษั ท ย่ อ ย ด้อยค่าลงหรือไม่ หากมีข้อบ่งชี้ของการด้อยค่า บริษัทฯ และบริษัทย่อยจะทำการประมาณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์

และหากพบว่าราคาตามบัญชีของสินทรัพย์นั้นมีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน บริษัทฯ และบริษัทย่อยจะลดมูลค่า ของสิ น ทรั พ ย์ ล งให้ เ ท่ า กั บ มู ล ค่ า ที่ ค าดว่ า จะได้ รั บ คื น  และรั บ รู้ ผ ลขาดทุ น จากการด้ อ ยค่ า ของสิ น ทรั พ ย์ ใ นงบกำไรขาดทุ น มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์หมายถึงราคาขายสุทธิหรือมูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์นั้นแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า 5.11 ผลประโยชน์พนักงาน บริษัทฯ และบริษัทย่อยรับรู้เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัสและเงินสมทบกองทุนประกันสังคมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นค่าใช้จ่าย เมื่อเกิดรายการ 5.12 ประมาณการหนี้สิน บริ ษั ท ฯ และบริ ษั ท ย่ อ ยจะบั น ทึ ก ประมาณการหนี้ สิ น ไว้ ใ นบั ญ ชี เ มื่ อ ภาระผู ก พั น ซึ่ ง เป็ น ผลมาจากเหตุ ก ารณ์ ใ นอดี ต ได้ เ กิ ด ขึ้นแล้ว และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่าบริษัทฯและบริษัทย่อยจะเสียทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจไปเพื่อปลดเปลื้องภาระ ผูกพันนั้น และบริษัทฯและบริษัทย่อยสามารถประมาณมูลค่าภาระผูกพันนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ 5.13 ภาษีเงินได้ บริษัทฯ และบริษัทย่อยในประเทศไทยบันทึกภาษีเงินได้โดยคำนวณจากกำไรสุทธิทางภาษีตามกฎหมายภาษีอากร บริษัทย่อยในต่างประเทศคำนวณภาษีเงินได้ตามอัตราภาษีที่ระบุในกฎหมายภาษีอากรของประเทศนั้น 5.14 การใช้ประมาณการทางบัญชี ในการจัดทำงบการเงินตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ในบางสถานการณ์ฝ่ายบริหารอาจต้องใช้ การประมาณและการตั้ง สมมติฐาน ซึ่งมีผลกระทบต่อจำนวนเงินที่แสดงในงบการเงินและหมายเหตุประกอบงบการเงิน ด้วยเหตุนี้ผลที่เกิดขึ้นจริงจึง อาจแตกต่างไปจากจำนวนที่ประมาณไว้

44


รายงานประจำปี 2550

6. ลูกหนี้การค้า

ยอดคงเหลือของลูกหนี้การค้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 แยกตามอายุหนี้ที่คงค้างนับจากวันที่ถึงกำหนดชำระได้ดังนี้ (หน่วย: บาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ อายุหนี้ค้างชำระ 2550 2549 2550 2549 ยังไม่ครบกำหนดชำระ 238,286,240 269,103,295 237,733,792 232,975,428 ค้างชำระ 1 - 30 วัน 110,174,464 98,189,592 109,797,275 97,876,579 31 - 60 วัน 52,175,107 50,190,426 52,015,929 49,951,413 61 - 90 วัน 48,448,335 34,091,683 48,083,562 33,766,064 91 - 180 วัน 72,415,810 40,457,551 71,799,674 37,451,898 181 - 365 วัน 73,276,794 21,432,824 72,534,450 20,331,900 มากกว่า 365 วัน 56,895,538 39,555,519 56,120,157 20,746,572 รวม 651,672,288 553,020,890 648,084,839 493,099,854

หัก: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (55,004,597) (27,824,358) (53,637,624) (24,404,243) ลูกหนี้การค้า - สุทธิ 596,667,691 525,196,532 594,447,215 468,695,611

7. รายการธุรกิจกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

ในระหว่ า งปี   บริ ษั ท ฯและบริ ษั ท ย่ อ ยมี ร ายการธุ ร กิ จ ที่ ส ำคั ญ กั บ บุ ค คลหรื อ กิ จ การที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั น  รายการธุ ร กิ จ ดั ง กล่ า ว เป็ น ไปตามเงื่ อ นไขทางการค้ า และเกณฑ์ ต ามที่ ต กลงกั น ระหว่ า งบริ ษั ท ฯ และบริ ษั ท เหล่ า นั้ น  ซึ่ ง เป็ น ไปตามปกติ ธุ ร กิ จ โดยสามารถสรุปได้ดังนี้

(หน่วย: ล้านบาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ นโยบายการกำหนดราคา 2550 2549 2550 2549 รายการธุรกิจกับบริษัทย่อย (ตัดออกจากงบการเงินรวมแล้ว) รายได้ค่าเช่า - - 27.3 26.9 ราคาตามสัญญา 7.1) ดอกเบี้ยรับ 1.2 4.6 1.0 2.1 อัตรา MLR ต่อปี (2549: อัตราร้อยละ 10 ต่อปี, อัตรา MLR ลบร้อยละ 0.5 ถึง MLR บวกร้อยละ 0.25 ต่อปี) รายได้ค่าบริการทางการแพทย์ - - 14.7 17.0 ราคาทุนบวกกำไรส่วนเพิ่ม

45


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

รายได้ค่าที่ปรึกษา ค่าเช่าจ่าย ดอกเบี้ยจ่าย รายการธุรกิจกับบริษัทร่วม รายได้ค่าเช่า รายได้ค่าบริการติดตั้งระบบ รายได้ค่าลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ รายได้ค่าธรรมเนียมการจัดการ รายได้ค่าที่ปรึกษา รายได้เงินปันผล รายจ่ายค่าบำรุงรักษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ รายการธุรกิจกับกิจการที่ควบคุมร่วมกัน (ตัดออกจากงบการเงินรวมแล้ว) รายได้ค่าที่ปรึกษา รายการธุรกิจกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน รายได้ค่าบริการทางการแพทย์ รายได้ค่าเช่า รายจ่ายค่าบำรุงรักษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ รายได้อื่น ค่าเช่าจ่าย ค่าบริจาคจ่าย ค่าที่ปรึกษาจ่าย ซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ค่าบริการติดตั้งระบบจ่าย ค่าเบี้ยประกันจ่าย ประกันภัย รายได้ค่าบริการติดตั้งระบบ

46

งบการเงินรวม 2550 2549 0.4 11.9 - - - - 0.8 - - 5.4 1.9 7.7 12.7 40.6 13.0 - - - 18.7 - 139.1 -

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550 2549 15.5 36.9 86.0 84.0 84.6 116.0 0.8 - - - - - - - 13.0 - 418.4 - 18.7 - 139.1 -

0.3

2.8

-

-

31.7 1.0 56.2 2.3 35.7 7.8 5.3 - 1.8 20.2

85.4 1.3 74.9 0.9 31.5 7.2 9.3 139.1 3.5 18.5

31.7 1.0 56.2 2.3 35.7 7.8 5.3 - - 20.1

85.4 1.3 74.9 0.9 31.5 7.2 4.0 139.1 - 18.5

2.2

-

-

-

(หน่วย: ล้านบาท) นโยบายการกำหนดราคา ราคาตามสัญญา 7.10), ตามที่จ่ายจริง ราคาตามสัญญา 7.2) อัตรา MLR ลบร้อยละ 1.00 ต่อปี (2549: อัตรา MLR ลบร้อยละ 0.45 ถึง MLR ต่อปี) ราคาตามสัญญา 7.3), ตามที่จ่ายจริง ราคาตามสัญญา 7.6) ราคาตามสัญญา 7.7) ราคาตามสัญญา 7.8) ราคาตามสัญญา 7.10), ตามที่จ่ายจริง ตามที่ประกาศจ่าย ราคาตามสัญญา 7.9) ราคาตามสัญญา 7.5) ราคาทุน ราคาทุนบวกกำไรส่วนเพิ่ม ราคาตามสัญญา 7.3) ราคาตามสัญญา 7.9) ราคาทุน ราคาตามสัญญา 7.4) - ราคาตามสัญญา ราคาตามสัญญา 7.5) ราคาตามสัญญา 7.11) (2549: ราคาตามสัญญา 7.6)) ตามที่ระบุในกรมธรรม์ ราคาตามสัญญา 7.11)


รายงานประจำปี 2550

7.1) บริษัทย่อย (บริษัท บำรุงราษฎร์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ จำกัด) ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับบริษัทฯ เพื่อประกอบธุรกิจโรงพยาบาลเป็น

ระยะเวลา 30 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2539 ค่าเช่าดังกล่าวคิดเป็นจำนวนเงินปีละ 22 ล้านบาท บริษัทย่อย (บริษัท ไวทัลไลฟ์ จำกัด) ได้ทำสัญญาเช่าอาคารกับบริษัทฯเพื่อประกอบธุรกิจเป็นระยะเวลา 11 ปี เริ่มตั้งแต่ ปี 2544 ค่าเช่าอาคารดังกล่าวคิดเป็นจำนวนเงินปีละ 3 ล้านบาท เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 บริษัทฯ และบริษัทย่อย ได้ทำบันทึกแก้ไขเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญาเช่า โดยบริษัทย่อยต้องจ่ายค่าเช่าในอัตราร้อยละ 5 ของรายได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ไม่น้อยกว่าเดือนละ 238,200 บาท 7.2) บริ ษั ท ฯ ได้ ท ำสั ญ ญาเช่ า อาคารโรงพยาบาลกั บ บริ ษั ท  บำรุ ง ราษฎร์   เมดิ ค อล เซ็ น เตอร์   จำกั ด  เพื่ อ ดำเนิ น กิ จ การ โรงพยาบาลเป็นระยะเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2547 ค่าเช่าอาคารดังกล่าวคิดเป็นจำนวนเงินปีละ 84 ล้านบาท ในเดื อ นกรกฎาคม 2550 บริ ษั ท ฯ และบริ ษั ท ย่ อ ยได้ ท ำสั ญ ญาเช่ า อาคารฉบั บ ใหม่ เ พื่ อ ต่ อ อายุ ก ารเช่ า อาคารโรงพยาบาล เป็นระยะเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2550 ค่าเช่าอาคารดังกล่าวคิดเป็นจำนวนเงินปีละ 89 ล้านบาท 7.3) บริษัท ซีดีอี เทรดดิ้ง จำกัด (เดิมชื่อ “บริษัท โกลเบิล แคร์ โซลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด”) ได้ทำสัญญาเช่าพื้นที่อาคาร กั บ บริ ษั ท ฯ เพื่ อ ประกอบธุ ร กิ จ เป็ น ระยะเวลา 3 ปี   เริ่ ม ตั้ ง แต่ ปี   2544 และสามารถต่ อ อายุ สั ญ ญาได้ อี ก  3 ปี   ค่ า เช่ า

อาคารดังกล่าวคิดเป็นจำนวนเงินปีละ 1 ล้านบาท ซึ่งไม่รวมค่าเช่าห้องพักอาคารบีเอช เรสซิเดนซ์ 7.4) บริษัทฯ ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง (อาคารบีเอช เรสซิเดนซ์) กับธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นระยะ เวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2543 ค่าเช่าจ่ายจำนวนดังกล่าวคำนวณขึ้นในอัตราร้อยละ 75 ของรายได้สุทธิ (รายรับรวม หักรายจ่ายรวม) จากการให้เช่าช่วง แต่ไม่น้อยกว่าปีละ 8 ล้านบาท ต่อมาธนาคารได้อนุมัติให้บริษัทฯ ต่อสัญญาเช่า ซึ่งเริ่ม ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2548 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 โดยอัตราค่าเช่าและเงื่อนไขอื่นให้เป็นไปตามสัญญาเช่าเดิม ค่าเช่าค้างจ่าย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 มีจำนวน 6.7 ล้านบาท (2549: 8.0 ล้านบาท) ได้บันทึกรวมอยู่ในบัญชีเจ้าหนี้ อื่นในงบดุลรวมและงบดุลเฉพาะกิจการ

7.5) ในเดือนธันวาคม 2550 บริษัทฯ ได้ทำสัญญากับบริษัท ซีดีอี เทรดดิ้ง จำกัด (“CDE”) (เดิมชื่อ “บริษัท โกลเบิล แคร์ โซลูชั่น

(ประเทศไทย) จำกั ด ”) เพื่ อ ซื้ อ โปรแกรมคอมพิ ว เตอร์ เ พิ่ ม เติ ม เป็ น จำนวนทั้ ง สิ้ น  130 ล้ า นบาท (ไม่ ร วมภาษี มู ล ค่ า เพิ่ ม ) และได้ชำระค่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวแล้วทั้งจำนวน ในเดือนธันวาคม 2549 บริษัทฯ ได้ทำสัญญากับ CDE เพื่อซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพิ่มเติมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 3.25 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) โดยในเดือนธันวาคม 2549 บริษัทฯ ได้ชำระค่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวแล้ว

ทั้งจำนวน 7.6) ในเดือนเมษายน 2548 บริษัทย่อย (บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด) ได้ทำสัญญากับบริษัท ซีดีอี เทรดดิ้ง จำกัด (เดิมชื่อ “บริษัท โกลเบิล แคร์ โซลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด”) เกี่ยวกับการให้บริการติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้แก่บริษัท เอเชียน ฮอสพิทอล อิงค์ (“AHI”) เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจโรงพยาบาลในต่างประเทศ ค่าบริการดังกล่าวคิดเป็นจำนวน เงินทั้งสิ้น 200,000 เหรียญสหรัฐฯ โดยในปี 2549 บริษัทย่อยได้บันทึกค่าบริการติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวเป็น จำนวน 94,000 เหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ บริษัทย่อยได้ทำสัญญาเกี่ยวกับบริการติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวข้างต้นกับ AHI โดยคิดค่าบริการเป็นจำนวน เงินทั้งสิ้น 350,000 เหรียญสหรัฐฯ โดยในปี 2549 บริษัทย่อยได้เรียกชำระค่าบริการติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าว เป็นจำนวน 140,000 เหรียญสหรัฐฯ 47


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

7.7) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 บริษัทย่อย (บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด) ได้ทำสัญญาขายลิขสิทธิ์โปรแกรม คอมพิวเตอร์กับบริษัท เอเชียน ฮอสพิทอล อิงค์ (“AHI”) โดย AHI ได้จ่ายชำระค่าลิขสิทธิ์เป็นจำนวน 52,676,342 เปโซแล้ว

ในปี 2548 ทั้งนี้ บริษัทย่อยจะทยอยรับรู้ค่าลิขสิทธิ์ดังกล่าวเป็นรายได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา ค่าลิขสิทธิ์ที่ยังไม่รับรู้ เป็นรายได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 มีจำนวน 24.9 ล้านบาท ได้บันทึกรวมอยู่ในบัญชีรายได้รับล่วงหน้าในงบการเงินรวม

7.8) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 บริษัทย่อย (บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ฟิลิปปินส์ อิงค์) ได้ทำสัญญาให้บริการการ จัดการแก่บริษัท เอเชียน ฮอสพิทอล อิงค์ (“AHI”) ซึ่งสัญญากำหนดให้ AHI ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการจัดการให้แก่บริษัทย่อย ตามอัตราร้อยละของรายได้สุทธิและกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย โดยค่าธรรมเนียม ดังกล่าวจะจ่ายเป็นเงินสดจนถึงยอดคงที่จำนวนหนึ่ง ส่วนเกินยอดคงที่ดังกล่าวจะจ่ายเป็นหุ้นของ AHI จนถึงร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วของ AHI (วิธีปรับลด) สัญญามีระยะเวลา 5 ปี สิ้นสุดปี 2553 และสามารถต่ออายุ

สัญญาได้ ค่าธรรมเนียมการจัดการที่ยังไม่ได้รับชำระ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 มีจำนวน 52.8 ล้านบาท ได้บันทึก

รวมอยู่ในบัญชีลูกหนี้การค้าในงบการเงินรวม

7.9) เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2550 บริษัทฯ ได้ทำสัญญา Agreement for Maintenance Services for Software Hospital 2005/ DOT NET and Its Version 2 กับ บริษัท ซีดีอี เทรดดิ้ง จำกัด (“CDE”) (เดิมชื่อ “บริษัท โกลเบิล แคร์ โซลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด”) เป็นจำนวนทั้งสิ้น 70 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) สัญญาดังกล่าวสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2549 บริษัทฯ ได้ทำสัญญา Maintenance Services for Software Hospital 2000/DOT NET กับ CDE เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,750,000 เหรียญสหรัฐฯ (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) สัญญาดังกล่าวสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549

7.10) เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2549 บริษัทฯ ได้ทำสัญญา Consulting Support Agreement กับบริษัทย่อย (บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด) เป็นจำนวนเงิน 4.9 ล้านบาทต่อเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2549 จนถึงเดือนมีนาคม 2550 และเป็นจำนวนเงิน 1.2 ล้านบาทต่อเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2550 เป็นต้นไป สัญญาดังกล่าวจะสิ้นสุดตามเงื่อนไข ในสัญญา นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้คิดค่าธรรมเนียมที่ปรึกษาสำหรับเดือนมกราคมถึงกรกฎาคม 2549 เป็นจำนวนเงิน 14 ล้านบาท

7.11) ในเดือนมีนาคม 2550 บริษัทย่อย (บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด) ได้ทำสัญญากับบริษัท ซีดีอี เทรดดิ้ง จำกัด (เดิมชื่อ “บริษัท โกลเบิล แคร์ โซลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด”) เกี่ยวกับการให้บริการติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้แก่ กิจการที่ควบคุมร่วมกัน (บริษัท บำรุงราษฎร์ ฮอสพิทอล ดูไบ แอลแอลซี) (“BHD”) เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจโรงพยาบาล ในต่างประเทศ ค่าบริการดังกล่าวคิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 200,000 เหรียญสหรัฐฯ โดยในระหว่างไตรมาสที่ 1 บริษัทย่อยได้ บันทึกค่าบริการติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวแล้วเป็นจำนวน 50,000 เหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ บริษัทย่อยได้ทำสัญญาเกี่ยวกับการติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวข้างต้นกับ BHD โดยคิดค่าบริการเป็นจำนวน ทั้งสิ้น 400,000 เหรียญสหรัฐฯ โดยในระหว่างไตรมาสที่ 1 บริษัทย่อยได้เรียกชำระค่าบริการติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ดังกล่าวเป็นจำนวนเงิน 125,000 เหรียญสหรัฐฯ

48


รายงานประจำปี 2550

ยอดคงค้างระหว่างบริษัทฯและบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 มีรายละเอียดดังนี้ (หน่วย:บาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจ 2550 2549 2550 2549 ลูกหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทย่อย บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด - - - 15,932,419 บริษัท ไวทัลไลฟ์ จำกัด - - 84,446 1,041,658 บริษัทร่วม บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 2,754,583 - 2,754,583 - บริษัท ซีดีอี เทรดดิ้ง จำกัด 20,258 - 20,258 - บริษัท เอเชียน ฮอสพิทอล อิงค์ - 514,127 - - กิจการที่ควบคุมร่วมกัน บริษัท บำรุงราษฎร์ ฮอสพิทอล ดูไบ แอลแอลซี - 5,737,563 - - บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท ซีดีอี เทรดดิ้ง จำกัด - 67,268 - 67,268 มูลนิธิโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ 4,365,928 201,085 4,365,928 201,085 รวม 7,140,769 6,520,043 7,225,215 17,242,430 เงินให้กู้ยืมระยะสั้นและดอกเบี้ยค้างรับ - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทย่อย บริษัท ไวทัลไลฟ์ จำกัด - - 10,058,348 18,121,384 เจ้าหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน มูลนิธิโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ - 1,800,000 - 1,800,000 เงินกู้ยืมระยะสั้นและดอกเบี้ยค้างจ่าย - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทย่อย บริษัท บำรุงราษฎร์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ จำกัด - - 1,212,236,428 1,465,263,415 ในระหว่างไตรมาสที่ 2 ของปีปัจจุบัน บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (“BIL”) ได้เปลี่ยนสถานะจากบริษัทย่อยของ บริษัทฯ เป็นบริษัทร่วม ดังนั้น จึงไม่แสดงยอดรายการธุรกิจระหว่าง BIL กับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน และยอดคงเหลือของรายการ ดังกล่าว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ในเดือนกันยายนของปีปัจจุบัน บริษัท ซีดีอี เทรดดิ้ง จำกัด (“CDE”) (เดิมชื่อ “บริษัท โกลเบิล แคร์ โซลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด”) ได้ เ ปลี่ ย นสถานะจากบริ ษั ท ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั น เป็ น บริ ษั ท ร่ ว มของบริ ษั ท ฯ ยอดคงเหลื อ ของรายการธุ ร กิ จ ระหว่ า งบริ ษั ท ฯและ CDE ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 จึงแสดงเป็นยอดคงค้างระหว่างบริษัทฯและบริษัทร่วม เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บริษัท ไวทัลไลฟ์ จำกัด คิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ต่อปี (2549: อัตรา MLR ลบร้อยละ 0.5 ต่อปี, MLR ต่อปี

และ MLR บวกร้อยละ 0.25 ต่อปี) 49


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

เงินกู้ยืมระยะสั้นจากบริษัท บำรุงราษฎร์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ จำกัด คิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1 ต่อปี (2549: อัตรา MLR ลบร้อยละ 0.45 ต่อปี และ MLR ต่อปี) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ให้เงินกู้ยืมระยะสั้นแก่บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์

เนชั่นแนล โฮลดิ้ง (ฮ่องกง) จำกัด จำนวน 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 0.45 ต่อปี และให้เงินกู้ยืม ระยะยาวแก่บริษัท เนปจูน สตรอยก้า โฮลดิ้ง อิงค์ จำนวน 30 ล้านเปโซ คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี โดยครบกำหนด ชำระในเวลา 7 ปี (ภายในปี 2555) เงินให้กู้ยืมดังกล่าว ค้ำประกันโดยหุ้นของบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นของ Mr. Augusto G. Gan ในระหว่างปี 2550 เงินให้กู้ยืมแก่และเงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันมีการเคลื่อนไหวดังต่อไปนี้ (หน่วย: บาท) ยอดคงเหลือ ยอดคงเหลือ ณ วันที่ ในระหว่างปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 เพิ่มขึ้น ลดลง 31 ธันวาคม 2550 เงินให้กู้ยืมระยะสั้นและดอกเบี้ยค้างรับ - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทย่อย บริษัท ไวทัลไลฟ์ จำกัด เงินต้น 18,000,000 - 8,000,000 10,000,000 ดอกเบี้ยค้างรับ 121,384 990,162 1,053,198 58,348 18,121,384 990,162 9,053,198 10,058,348 เงินกู้ยืมระยะสั้นและดอกเบี้ยค้างจ่าย - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทย่อย บริษัท บำรุงราษฎร์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ จำกัด เงินต้น 1,455,236,428 - 243,000,000 1,212,236,428 ดอกเบี้ยค้างจ่าย 10,026,987 84,622,886 94,649,873 - 1,465,263,415 84,622,886 337,649,873 1,212,236,428 ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร ในปี   2550 บริ ษั ท ฯ และบริ ษั ท ย่ อ ยได้ จ่ า ยเงิ น เดื อ น โบนั ส  ค่ า เบี้ ย ประชุ ม และเงิ น บำเหน็ จ ให้ แ ก่ ก รรมการและผู้ บ ริ ห ารเป็ น จำนวนเงิน 143.2 ล้านบาท (เฉพาะกิจการ: 138.0 ล้านบาท) (2549: 126.3 ล้านบาท (เฉพาะกิจการ: 118.2 ล้านบาท))

8. สินค้าคงเหลือ ยา เวชภัณฑ์ วัสดุอื่น รวมสินค้าคงเหลือ

งบการเงินรวม 2550 2549 130,853,499 103,969,481 34,866,537 28,613,789 37,763,766 33,830,030 203,483,802 166,413,300

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550 2549 127,199,528 98,667,225 34,866,537 28,613,789 37,763,766 33,830,030 199,829,831 161,111,044

9. เงินฝากประจำกับสถาบันการเงินที่นำไปค้ำประกัน

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 เงินฝากกับสถาบันการเงินจำนวน 12.1 ล้านบาท (2549: 9.6 ล้านบาท) ได้นำไปวางไว้กับธนาคาร เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับหนังสือค้ำประกันที่ธนาคารออกให้ในนามของบริษัทฯและบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง (บริษัท บำรุงราษฎร์

เมดิคอล เซ็นเตอร์ จำกัด) 50


-

สัดส่วน เงินลงทุน ร้อยละ 100.00 - 100.00

ทุนชำระแล้ว 958,953,608 -

31,500,000

25,610,000 1,717,512,972 (545,000,000) 1,172,512,972

เงินลงทุน วิธีราคาทุน 1,691,902,972

2550

- -

-

31,500,000

744,117,525

599,999,400 100.00 25,610,000 2,317,512,372 (545,000,000) 1,772,512,372

51.00

- -

-

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2549 เงินปันผลรับ สัดส่วน เงินลงทุน เงินปันผลรับ ในระหว่างปี ทุนชำระแล้ว เงินลงทุน วิธีราคาทุน ในระหว่างปี ร้อยละ (ปรับปรุงใหม่) - 958,953,608 100.00 1,691,902,972 -

(หน่วย: บาท)

ในระหว่างไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (“BIL”) ได้เปลี่ยนสถานะจากบริษัทย่อยเป็นบริษัทร่วมตามที่กล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 1.2

ชื่อบริษัท บริษัท บำรุงราษฎร์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ จำกัด บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด บริษัท ไวทัลไลฟ์ จำกัด รวมเงินลงทุนในบริษัทย่อย หัก: ค่าเผื่อการด้อยค่า รวมเงินลงทุนในบริษัทย่อย - สุทธิ

10. เงินลงทุนในบริษัทย่อย

รายงานประจำปี 2550

51


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

11. เงินลงทุนในบริษัทร่วม

11.1 รายละเอียดของบริษัทร่วม

สัดส่วน เงินลงทุน ร้อยละ

2550

งบการเงินรวม

มูลค่าตามบัญชี ราคาทุน ตามวิธีส่วนได้เสีย

สัดส่วน เงินลงทุน ร้อยละ

(หน่วย: บาท) 2549

มูลค่าตามบัญชีตาม ราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย

บริษัทร่วม บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์ 31.50 866,040,600 1,090,598,513 - - - เนชั่นแนล จำกัด บริษัท ซีดีอี เทรดดิ้ง จำกัด (เดิมชื่อ “บริษัท โกลเบิล แคร์ โซลูชั่น 30.00 21,662,713 432,008,740 - - - (ประเทศไทย) จำกัด”) บริษัทร่วมที่ถือโดยบริษัทย่อย บริษัท เอเชียน ฮอสพิทอล อิงค์ - - - 35.10 385,759,564 464,948,666 กิจการที่ควบคุมร่วมกันที่ถือโดยบริษัทย่อย บริษัท บำรุงราษฎร์ ฮอสพิทอล - - - 49.00 25,051,549 - ดูไบ แอลแอลซี รวมเงินลงทุนในบริษัทร่วม 887,703,313 1,522,607,253 410,811,113 464,948,666 (หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550 2549 สัดส่วน มูลค่าตามบัญชีตาม สัดส่วน มูลค่าตามบัญชีตาม เงินลงทุน วิธีราคาทุน เงินลงทุน วิธีราคาทุน ร้อยละ ร้อยละ (ปรับปรุงใหม่) บริษัทร่วม บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 31.50 866,040,600 - - บริษัท ซีดีอี เทรดดิ้ง จำกัด (เดิมชื่อ “บริษัท โกลเบิล แคร์ โซลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด”) 30.00 21,662,713 - - รวมเงินลงทุนในบริษัทร่วม 887,703,313 -

52


รายงานประจำปี 2550

(หน่วย: บาท) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ ส่วนแบ่งกำไรจาก เงินลงทุนในบริษัทร่วม บริษัท ในระหว่างปี เงินปันผลรับระหว่างปี 2550 2549 2550 2549 บริษัท เอเชียน ฮอสพิทอล อิงค์ 8,042,866 7,763,568 - - บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 17,568,407 - - - บริษัท ซีดีอี เทรดดิ้ง จำกัด (เดิมชื่อ “บริษัท โกลเบิล แคร์ โซลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด”) 828,776,277 - 418,430,250 - 854,387,550 7,763,568 418,430,250 - 11.2 ข้อมูลทางการเงินโดยสรุปของบริษัทร่วม (หน่วย: ล้านบาท) ทุนเรียกชำระ สินทรัพย์รวม หนี้สินรวม รายได้รวมสำหรับ กำไรสุทธิสำหรับปี ณ วันที่ ณ วันที่ ณ วันที่ ปีสิ้นสุดวันที่ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม 31 ธันวาคม บริษัท 2550 2549 2550 2549 2550 2549 2550 2549 2550 2549 บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด 2,749.3 - 4,300.8 - 737.8 - 1,442.5 - 47.7 - บริษัท ซีดีอี เทรดดิ้ง จำกัด

(เดิมชื่อ “บริษัท โกลเบิล

แคร์ โซลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด”) 10.0 - 1,579.2 - 16.5 - 3,044.0 - 2,765.3 -

บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (“BIL”) ดำเนินธุรกิจหลักในการลงทุน (Investment holding company) ในหุ้นทุน

ของบริ ษั ท และกิ จ การที่ ค วบคุ ม ร่ ว มกั น ที่ ด ำเนิ น ธุ ร กิ จ หลั ก ในการบริ ห ารกิ จ การโรงพยาบาล ลงทุ น ในกิ จ การโรงพยาบาลและ ประกอบกิจการโรงพยาบาลตามที่กล่าวไว้ใน หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 2.2 ในระหว่างปี 2550 BIL ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิม 1,176,470,100 บาท เป็น 2,749,336,700 บาท (หุ้นสามัญจำนวน 27,493,367 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท) โดยการทยอยออกหุ้นสามัญใหม่หลายครั้ง บริษัทฯได้ลดสัดส่วนการลงทุนใน BIL จากร้อยละ 51 เป็นร้อยละ 31.5 โดยในเดือนพฤษภาคม 2550 บริษัทฯ ได้ลงทุนซื้อหุ้นสามัญของ BIL ที่ออกใหม่ จำนวน 2,660,414 หุ้น ในราคา หุ้นละ 100 บาท ในมูลค่าเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 266 ล้านบาท เพื่อคงสัดส่วนการถือหุ้นใน BIL ที่ร้อยละ 31.5 ซึ่งเป็นผลให้ BIL เปลี่ยนสถานะจากบริษัทย่อยเป็นบริษัทร่วมของบริษัทฯตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ในระหว่างปี 2550 BIL ได้ลงทุนซื้อหุ้นร้อยละ 100 ของบริษัท เอเชีย รีนัล แคร์ จำกัด (“ARC”) ในราคา 74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดย ผ่านการถือหุ้นของบริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้ง (ฮ่องกง) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ BIL ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 100

53


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

บริษัท ซีดีอี เทรดดิ้ง จำกัด (เดิมชื่อ “บริษัท โกลเบิล แคร์ โซลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด”)

เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2550 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯได้มีมติอนุมัติให้บริษัทฯซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ซีดีอี เทรดดิ้ง จำกัด

(“CDE”) จากบริษัท โกลเบิล แคร์ โซลูชั่น เอส.เอ. (บริษัทฯ มีสัดส่วนเงินลงทุนร้อยละ 14) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ถือหุ้นรายเดิมในประเทศ ลักเซมเบิร์ก จำนวน 29,995 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 100 บาท คิดเป็นร้อยละ 30 ของทุนที่ออกและเรียกชำระแล้วในมูลค่าเป็น

จำนวนทั้งสิ้น 630,000 เหรียญสหรัฐฯ (หรือประมาณ 21 ล้านบาท) บริษัทฯได้ลงนามในเอกสารรับโอนหุ้นดังกล่าวเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2550 เป็นผลให้ CDE มีสถานะเป็นบริษัทร่วมของบริษัทฯ ต่อมาเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2550 บริษัทฯ ได้จ่ายชำระเงินลงทุน ดังกล่าวแล้วทั้งจำนวน CDE เป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งและมีภูมิลำเนาในประเทศไทย และดำเนินธุรกิจหลักในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับ

กิจการโรงพยาบาล บริษัทฯเริ่มรับรู้ส่วนแบ่งผลการดำเนินงานของ CDE ในงบการเงินรวมตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550 ในเดือนธันวาคม 2550 CDE ได้ขายผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ ทรัพย์สินทางปัญญา ความชำนาญ และสินทรัพย์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมดให้แก่บริษัท ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2550 CDE ได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อกับกระทรวงพาณิชย์จากเดิม “บริษัท โกลเบิล แคร์ โซลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด” เป็น “บริษัท ซีดีอี เทรดดิ้ง จำกัด”

12. เงินลงทุนระยะยาวอื่น

บริษัท บริษัท จันทบุรีคันทรีคลับ จำกัด บริษัท โกลเบิล แคร์ โซลูชั่น เอส.เอ. บริษัท ศูนย์ไตเทียมบำรุงราษฎร์ จำกัด รวม หัก: ค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุน เงินลงทุนระยะยาวอื่น - สุทธิ

54

สัดส่วนเงินลงทุน งบการเงินรวม 2550 2549 2550 2549 ร้อยละ ร้อยละ 0.5 0.5 4,500,000 4,500,000 14.0 14.0 347,213 347,213 20.0 - 200,000 - 5,047,213 4,847,213 (2,800,000) (2,800,000) 2,247,213 2,047,213

(หน่วย: บาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550 2549 4,500,000 4,500,000 347,213 347,213 - - 4,847,213 4,847,213 (2,800,000) (2,800,000) 2,047,213 2,047,213


ที่ดิน

ราคาทุน 31 ธันวาคม 2549 290,861,482 ซื้อเพิ่ม - จำหน่าย - โอน - 31 ธันวาคม 2550 290,861,482 ค่าเสื่อมราคาสะสม 31 ธันวาคม 2549 - ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี - ค่าเสื่อมราคาสำหรับส่วน ที่จำหน่าย - โอน - 31 ธันวาคม 2550 - ค่าเผื่อการด้อยค่า 31 ธันวาคม 2549 - 31 ธันวาคม 2550 - มูลค่าสุทธิตามบัญชี 31 ธันวาคม 2549 290,861,482 31 ธันวาคม 2550 290,861,482 ค่าเสื่อมราคาที่รวมอยู่ในงบกำไรขาดทุนสำหรับปี 2549 2550

13. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

อาคารและ สิ่งปลูกสร้าง 2,007,568,678 27,760,549 - (173,542) 2,035,155,685 629,512,660 74,253,856 - (83,907) 703,682,609 - - 1,378,056,018 1,331,473,076

สิทธิการเช่าและ ส่วนปรับปรุง ที่ดิน

34,880,909 - - - 34,880,909

12,672,852 1,103,020

- - 13,775,872 - -

22,208,057 21,105,037

78,645,071 75,471,063

- -

- (19,392) 63,690,154

56,067,006 7,642,540

134,712,077 4,533,759 - (84,619) 139,161,217

เครื่องอุปกรณ์ ระบบอำนวย ความสะดวก

814,693,153 1,031,563,450

13,641,982 13,641,982

(7,162,683) - 878,625,119

724,818,121 160,969,681

1,553,153,256 294,993,210 (15,943,020) 91,627,105 1,923,830,551

เครื่องมือ แพทย์

199,351,523 225,811,822

- -

(3,300,527) - 442,128,181

381,574,542 63,854,166

580,926,065 81,055,949 4,284,540) 10,242,529 667,940,003

อุปกรณ์ โรงพยาบาล

งบการเงินรวม

128,034,315 122,654,526

- -

(37,166) (79,302) 200,693,200

183,498,562 17,311,106

311,532,877 11,986,446 (96,696) (74,901) 323,347,726

เครื่องใช้และ เครื่องตกแต่ง

13,213,066 11,698,477

- -

(1,275,200) - 35,182,876

32,145,694 4,312,382

45,358,760 3,881,264 (2,358,671) - 46,881,353

826,888,018 1,033,947,888

- -

- - -

- -

826,888,018 309,834,396 - (102,774,526) 1,033,947,888

สินทรัพย์ ระหว่างก่อสร้าง ยานพาหนะ และติดตั้ง

277,408,663 329,446,751

3,751,950,703 4,144,586,821

13,641,982 13,641,982

(11,775,576) (182,601) 2,337,778,011

2,020,289,437 329,446,751

5,785,882,122 734,045,573 (22,682,927) (1,237,954) 6,496,006,814

รวม

(หน่วย: บาท)

รายงานประจำปี 2550

55


56

ที่ดิน ราคาทุน 31 ธันวาคม 2549 290,861,482 ซื้อเพิ่ม - จำหน่าย - โอน - 31 ธันวาคม 2550 290,861,482 ค่าเสื่อมราคาสะสม 31 ธันวาคม 2549 - ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี - ค่าเสื่อมราคาสำหรับส่วน ที่จำหน่าย - 31 ธันวาคม 2550 - ค่าเผื่อการด้อยค่า 31 ธันวาคม 2549 - 31 ธันวาคม 2550 - มูลค่าสุทธิตามบัญชี 31 ธันวาคม 2549 290,861,482 31 ธันวาคม 2550 290,861,482 ค่าเสื่อมราคาที่รวมอยู่ในงบกำไรขาดทุนสำหรับปี 2549 2550

อาคารและ สิ่งปลูกสร้าง 402,341,889 27,760,549 - 192,600 430,295,038 77,180,602 19,521,767 - 96,702,369 - - 325,161,287 333,592,669

สิทธิการเช่าและ ส่วนปรับปรุง ที่ดิน

15,563,340 - - - 15,563,340

7,312,341 459,101

- 7,771,442 - -

8,250,999 7,791,898

85,675,189 82,697,322

- -

- 31,737,662

24,226,036 7,511,626

109,901,225 4,533,759 - - 114,434,984

เครื่องอุปกรณ์ ระบบอำนวย ความสะดวก

838,884,712 1,053,620,590

13,641,982 13,641,982

(7,162,683) 415,587,520

259,646,103 163,104,100

1,112,172,797 294,993,210 (15,943,020) 91,627,105 1,482,850,092

เครื่องมือ แพทย์

197,539,465 214,994,596

- -

(3,300,527) 215,762,319

156,748,865 62,313,981

354,288,330 80,753,125 (4,284,540) - 430,756,915

อุปกรณ์ โรงพยาบาล

งบการเงินเฉพาะกิจการ

104,024,875 99,229,683

- -

(37,166) 104,536,972

87,812,574 16,761,564

191,837,449 11,883,705 (96,696) 142,197 203,766,655

เครื่องใช้และ เครื่องตกแต่ง

13,213,057 11,698,469

- -

(1,275,200) 12,747,127

9,709,946 4,312,381

22,923,003 3,881,264 (2,358,671) - 24,445,596

ยานพาหนะ

816,903,077 1,033,902,946

- -

- -

- -

816,903,077 309,531,867 - (92,531,998) 1,033,902,946

สินทรัพย์ ระหว่างก่อสร้าง และติดตั้ง

222,267,605 273,984,520

2,680,514,143 3,128,389,655

13,641,982 13,641,982

(11,775,576) 884,845,411

622,636,467 273,984,520

3,316,792,592 733,337,479 (22,682,927) (570,096) 4,026,877,048

รวม

(หน่วย: บาท)

บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)


รายงานประจำปี 2550

บริษทั ฯได้จำนองทีด่ นิ ทัง้ หมดซึง่ มีมลู ค่าตามบัญชีจำนวน 290.9 ล้านบาท (มูลค่ายุตธิ รรมซึง่ ประเมินเมือ่ วันที่ 19 เมษายน 2550 เท่ากับ 1,365 ล้านบาท) กับธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งในฐานะผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้เพื่อเป็นหลักประกันการออกหุ้นกู้แปลงสภาพที่ถือเป็นตราสารทุน ตามที่กล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 16 บริษัทฯและบริษัทย่อย (บริษัท บำรุงราษฎร์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ จำกัด) ได้จดจำนองอาคารและจำนำเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ โรงพยาบาลซึ่งมีมูลค่าสุทธิตามบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 จำนวน 1,193 ล้านบาท (เฉพาะกิจการ: 179 ล้านบาท) (2549: 1,236 ล้านบาท) (เฉพาะกิจการ: 170 ล้านบาท) เพื่อค้ำประกัน เงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคารพาณิชย์ในประเทศแห่งหนึ่งตามที่กล่าว ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 15 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีอุปกรณ์จำนวนหนึ่งซึ่งตัดค่าเสื่อมราคาหมดแล้วแต่ยังใช้งานอยู่ ราคาทุนของ สินทรัพย์ดังกล่าวมีจำนวนเงิน 204 ล้านบาท (เฉพาะกิจการ: 202 ล้านบาท) (2549: 105 ล้านบาท) (เฉพาะกิจการ: 97 ล้านบาท)

14. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (หน่วย: บาท) งบการเงินรวม

ราคาทุน 31 ธันวาคม 2549 ซื้อเพิ่ม หัก: ราคาทุนของ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ของบริษัทย่อย (BIL) ณ วันที่บริษัทย่อย เปลี่ยนเป็นบริษัทร่วม 31 ธันวาคม 2550 ค่าตัดจำหน่ายสะสม 31 ธันวาคม 2549 ค่าตัดจำหน่ายสำหรับปี หัก: ค่าตัดจำหน่ายสะสม ของสินทรัพย์ไม่มี ตัวตนของบริษัทย่อย (BIL) ณ วันที่บริษัทย่อย เปลี่ยนเป็นบริษัทร่วม 31 ธันวาคม 2550

สินทรัพย์ โปรแกรม คอมพิวเตอร์ ไม่มีตัวตนอื่น

งบการเงินเฉพาะกิจการ รวม

โปรแกรม คอมพิวเตอร์

ค่าความนิยม ในการซื้อธุรกิจ

รวม

856,185,291 155,784,134

1,687,000 -

857,872,291 155,784,134

756,185,291 155,784,138

192,927,561 -

949,112,852 155,784,138

(100,000,000) 911,969,429

(1,687,000) -

(101,687,000) 911,969,429

- 911,969,429

- 192,927,561

- 1,104,896,990

125,090,107 77,530,241

688,857 657,566

125,778,964 78,187,807

116,060,107 76,498,711

46,624,160 19,292,757

162,684,267 95,791,468

(10,061,530) 192,558,818

(1,346,423) -

(11,407,953) 192,558,818

- 192,558,818

- 65,916,917

- 258,475,735

57


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

(หน่วย: บาท) งบการเงินรวม รวม

โปรแกรม คอมพิวเตอร์

- - -

- 370,232,632 370,232,632

- 370,232,632 370,232,632

- - -

- 370,232,632 370,232,632

998,143 -

732,093,327 349,177,979

640,125,184 349,177,979

146,303,401 127,010,644

786,428,585 476,188,623

660,662 657,566

64,685,273 78,187,807

58,864,611 76,498,711

19,292,756 19,292,757

78,157,367 95,791,468

สินทรัพย์ โปรแกรม คอมพิวเตอร์ ไม่มีตัวตนอื่น

ค่าเผื่อการด้อยค่า 31 ธันวาคม 2549 - เพิ่มขึ้นระหว่างปี 370,232,632 31 ธันวาคม 2550 370,232,632 มูลค่าสุทธิตามบัญชี 31 ธันวาคม 2549 731,095,184 31 ธันวาคม 2550 349,177,979 ค่าตัดจำหน่ายที่รวมอยู่ในงบกำไรขาดทุนสำหรับปี 2549 64,024,611 2550 77,530,241

งบการเงินเฉพาะกิจการ ค่าความนิยม ในการซื้อธุรกิจ

รวม

ในระหว่างปี 2550 บริษัทฯประเมินการด้อยค่าของโปรแกรมคอมพิวเตอร์เนื่องจากการยกเลิกการใช้สินทรัพย์ดังกล่าว โดยบริษัทฯ บันทึกค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์จำนวน 370.2 ล้านบาทในงบกำไรขาดทุนสำหรับปี 2550

15. เงินกู้ยืมระยะยาว (หน่วย: บาท) งบการเงินรวม 2550 2549 เงินกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ หัก: ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี ส่วนที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่าหนึ่งปี

1,772,449,491 (437,148,619) 1,335,300,872

1,750,971,293 (328,521,802) 1,422,449,491

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2550 2549 650,000,000 (81,250,000) 568,750,000

300,000,000 - 300,000,000

การเปลี่ยนแปลงของบัญชีเงินกู้ยืมระยะยาวในระหว่างปี 2550 มีรายละเอียดดังนี้ (หน่วย: บาท) ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 บวก: กู้เพิ่มระหว่างปี หัก: จ่ายคืนเงินกู้ ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550

58

งบการเงินรวม 1,750,971,293 350,000,000 (328,521,802) 1,772,449,491

งบการเงินเฉพาะกิจการ 300,000,000 350,000,000 - 650,000,000


รายงานประจำปี 2550

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2545 บริษัทย่อย (บริษัท บำรุงราษฎร์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ จำกัด) ได้เข้าทำสัญญากู้ยืมเงินสกุลบาทกับธนาคาร พาณิชย์ในประเทศแห่งหนึ่งในวงเงินจำนวน 2,400,000,000 บาท เงินกู้ยืมดังกล่าวคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5.5 ต่อปีในปีที่ 1-2 หลัง จากนั้นคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบด้วยอัตราร้อยละ 0.5 ต่อปี โดยมีกำหนดชำระดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือนและมีกำหนดชำระคืนเงินต้น ทุก 3 เดือน จำนวน 24 งวด เริม่ ตัง้ แต่วนั ที ่ 30 ธันวาคม 2547 เงินกูย้ มื นีค้ ำ้ ประกันโดยการจดจำนองอาคารและจำนำเครือ่ งมือแพทย์ และอุปกรณ์โรงพยาบาลและเงินฝากประจำตามที่กล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 13 และ 9 ในเดือนกรกฎาคม 2547 บริษัทฯ ได้เข้าทำสัญญา Amendment Agreement และสัญญา Amended and Restated Facility Agreement กับธนาคารดังกล่าว เพื่อร่วมรับผิดชอบหนี้สิน เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2549 บริษัทฯและบริษัทย่อยได้เข้าทำสัญญา Second Amendment Dated 25 May 2006 to Baht 2,400,000,000 Facility Agreement Dated 12 September 2002 (As Amended and Restated) กับเจ้าหนีธ้ นาคาร โดยมีการปรับ อัตราดอกเบี้ยสำหรับวงเงิน 2,250,000,000 บาท จากอัตรา MLR ลบร้อยละ 0.5 ต่อปี เป็นอัตรา MLR ถัวเฉลี่ยลบร้อยละ 1.25 ต่อปี และได้ยกเลิกเงื่อนไขการจำนำบัญชีเงินฝากประจำ นอกจากนี้ บริษัทฯและบริษัทย่อยได้เพิ่มวงเงินกู้อีกจำนวน 1,370,000,000 บาท โดยแบ่งเป็น 4 วงเงินดังนี้ ก) วงเงิน B2 จำนวน 650,000,000 บาท คิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ถัวเฉลี่ยลบร้อยละ 1.25 ต่อปี มีกำหนดชำระคืนเงินต้นทุก 3 เดือน จำนวน 32 งวด เริ่มตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2551 ข) วงเงิน C จำนวน 400,000,000 บาท คิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ถัวเฉลี่ยลบร้อยละ 1.25 ต่อปี มีกำหนดชำระคืนเงินต้นทุก 3 เดือน จำนวน 32 งวด เริ่มตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2551 ค) วงเงิน D จำนวน 300,000,000 บาท เป็นวงเงินหมุนเวียนภายในระยะเวลา 8 ปี คิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ถัวเฉลี่ยลบร้อยละ 1.25 ต่อปี ง) วงเงิน E จำนวน 20,000,000 บาท เป็นวงเงินหมุนเวียนภายในระยะเวลา 8 ปี คิดดอกเบี้ยในอัตรา MOR ต่อปี ทั้งนี้ บริษัทฯและบริษัทย่อยได้ใช้หลักประกันเดิมคือ อาคาร เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์โรงพยาบาล ที่ได้จำนองและจำนำไว้เพื่อ ค้ำประกันเงินกู้ยืมดังกล่าว เว้นแต่วงเงิน C ซึ่งจะต้องจำนองอาคารบีเอช เรสซิเดนซ์ เมื่อบริษัทฯซื้อคืนอาคารดังกล่าวจากธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) แล้ว สัญญากู้ยืมเงินได้ระบุข้อปฏิบัติและข้อจำกัดบางประการ เช่น การดำรงอัตราส่วนทางการเงิน ข้อจำกัดเกี่ยวกับการก่อหนี้เพิ่มและ การจ่ายเงินปันผล เป็นต้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีวงเงินกู้ยืมระยะยาวตามสัญญาเงินกู้ที่ยังมิได้เบิกใช้เป็นจำนวน 720 ล้านบาท

59


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

16. หุ้นกู้แปลงสภาพ

หุ้นกู้แปลงสภาพ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 ประกอบด้วย ก) หุ้นกู้แปลงสภาพมีประกันบางส่วนจำนวน 300 ล้านบาท ระยะเวลาชำระคืน 12 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.5 ต่อปีในปีที่ 1-4 ร้อยละ 5 ต่อปีในปีที่ 5-8 และร้อยละ 10 ต่อปีในปีที่ 9-12 จ่ายชำระทุก 6 เดือน โดยมีราคาแปลงสภาพ ณ ปัจจุบันเท่ากับ 4.55 บาทต่อ 1 หุ้นสามัญ ผู้ถือหุ้นกู้มีสิทธิเลือกแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ตลอดอายุหุ้นกู้ หุ้นกู้มีหลักประกันเป็นที่ดิน ของบริษัทฯ ข) หุ้นกู้แปลงสภาพมีประกันบางส่วนจำนวน 250 ล้านบาท (ภายหลังการใช้สิทธิแปลงสภาพจำนวน 750 ล้านบาท ในปี 2546) ระยะเวลาชำระคืน 12 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี จ่ายชำระทุก 6 เดือน โดยมีราคาแปลงสภาพ ณ ปัจจุบันเท่ากับ 3.50 บาทต่อ 1 หุ้นสามัญ ผู้ถือหุ้นกู้มีสิทธิเลือกแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ตลอดอายุหุ้นกู้ หุ้นกู้มีหลักประกันเป็นที่ดินของบริษัทฯ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2543 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทฯได้มีมติอนุมัติให้แก้ไขเพิ่มเติม ข้อกำหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพ โดยให้สิทธิบริษัทฯเลือกที่จะไถ่ถอนหุ้นกู้หรือแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญเมื่อครบกำหนด ภายใต้มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 48 “การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน” การให้สิทธิบริษัทฯเป็น ผู้เลือกที่จะไถ่ถอนหุ้นกู้หรือแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญเมื่อครบกำหนดและจำนวนตราสารทุนที่บริษัทฯต้องส่งมอบจะไม่เปลี่ยนแปลง ตามมูลค่ายุติธรรมของตราสารทุนนั้น (เนื่องจากบริษัทฯกำหนดราคาแปลงสภาพที่แน่นอนไว้แล้ว) ทำให้หุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าวไม่อยู่ ภายใต้คำจำกัดความของหนี้สินทางการเงินและถือเป็นตราสารทุน นอกจากนี้ ฝ่ายบริหารของบริษัทฯมีความตั้งใจที่จะเลือกใช้สิทธิ แปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญเมื่อครบกำหนด ดังนั้น หุ้นกู้แปลงสภาพดังกล่าวทั้งจำนวนจึงได้แสดงรวมอยู่ในส่วนของผู้ถือหุ้นของ บริษัทฯ และดอกเบี้ยในอนาคตของหุ้นกู้ดังกล่าวจะบันทึกหักกับส่วนของผู้ถือหุ้นโดยตรง บริษัทฯได้สำรองหุ้นสามัญไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้ดังกล่าวข้างต้นจำนวน 178,571,433 หุ้น ดอกเบี้ยจ่ายสำหรับปี 2550 ของหุ้นกู้แปลงสภาพมีจำนวนเงิน 17.5 ล้านบาท (2549: 17.5 ล้านบาท) โดยดอกเบี้ยดังกล่าวบันทึกเป็น ส่วนที่นำไปลดกำไรสะสม

60


รายงานประจำปี 2550

17. ทุนเรือนหุ้น

ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิมีสิทธิเท่าเทียมกับหุ้นสามัญ ยกเว้นสิทธิในการรับเงินปันผลก่อนในอัตราร้อยละ 15 ของทุนที่เป็นหุ้นบุริมสิทธิ หุ้น บุริมสิทธิดังกล่าวสามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ ในไตรมาสที่หนึ่งของปี 2550 มีผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจำนวน 377,400 หุ้น (2549: 134,000 หุ้น) ขอแปลงหุ้นบุริมสิทธิเป็นหุ้นสามัญในอัตรา 1 หุ้นบุริมสิทธิต่อ 1 หุ้นสามัญ โดยบริษัทฯได้ดำเนินการจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวกับกระทรวงพาณิชย์เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2550

18. สำรองตามกฎหมาย

เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 บริษัทฯต้องจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีส่วนหนึ่งไว้เป็น ทุนสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิประจำปีหักด้วยยอดขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) จนกว่าทุนสำรองนี้จะมีจำนวนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียน สำรองตามกฎหมายดังกล่าวไม่สามารถนำไปจ่ายเงินปันผลได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 บริษัทฯได้จัดสรรสำรองตามกฎหมายคิดเป็นร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียนแล้ว

19. จำนวนและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน

งบการเงินรวม

2550 จำนวนพนักงาน ณ วันสิ้นปี (คน) 3,253 ค่าใช้จา่ ยเกีย่ วกับพนักงานสำหรับปี (พันบาท) 1,228,341

2549 3,130 1,090,770

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2550 3,214 1,215,116

2549 3,089 1,061,837

20. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับปี 2550 ของบริษัทฯคำนวณขึ้นในอัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิทางภาษี ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับปี 2549 ของบริษัทฯ คำนวณขึ้นในอัตราร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในส่วนที่ ไม่เกิน 300 ล้านบาท และใน อัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิในส่วนที่เกิน 300 ล้านบาท ทั้งนี้ อัตราดังกล่าวเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 387 (พ.ศ. 2544) ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2544 ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับปี 2550 และ 2549 ของบริษัทย่อยในประเทศคำนวณขึ้นในอัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิทางภาษี

61


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

21. กำไรต่อหุ้น

กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานคำนวณโดยหารกำไรสุทธิสำหรับปีด้วยจำนวนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญที่ออกอยู่ในระหว่างปี กำไรต่อหุ้นปรับลดคำนวณโดยหารกำไรสุทธิสำหรับปีด้วยผลรวมของจำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ย ถ่วงน้ำหนักที่ออกอยู่ในระหว่างปีกับ จำนวนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญที่บริษัทฯอาจต้องออกเพื่อแปลงหุ้นสามัญเทียบเท่าปรับลดทั้งสิ้นให้เป็นหุ้นสามัญ โดยสมมติว่า ได้มีการแปลงเป็นหุ้นสามัญ ณ วันต้นปีหรือ ณ วันออกหุ้นสามัญเทียบเท่า การกระทบยอดระหว่างกำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลดแสดงได้ดังนี้

62


รายงานประจำปี 2550

22. ข้อมูลทางการเงินจำแนกส่วนงาน

บริษทั ฯและบริษทั ย่อยดำเนินกิจการใน 2 ส่วนงานหลัก คือ (1) ธุรกิจโรงพยาบาลและศูนย์ดแู ลสุขภาพ และ (2) ธุรกิจบริหารโรงพยาบาล และดำเนินธุรกิจในส่วนงานทางภูมิศาสตร์หลักในประเทศ ข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงานของบริษัทฯและบริษัทย่อยสำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 เป็นดังนี้ (หน่วย: ล้านบาท)

รายได้จากภายนอก รายได้ระหว่างส่วนงาน รายได้ทั้งสิ้น กำไรจากการดำเนินงานตามส่วนงาน รายได้และค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้ปันส่วน: รายได้อื่น ค่าเสื่อมราคาและตัดจำหน่าย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุน ในบริษัทร่วม ดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย กำไรสุทธิ สินทรัพย์ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน - สุทธิ สินทรัพย์อื่น รวมสินทรัพย์

ธุรกิจโรงพยาบาล และศูนย์ดูแลสุขภาพ 2550 2549 8,323 7,651 21 17 8,344 7,668 3,203 2,875 4,175 3,784 476 786 5,182 4,303 9,833 8,873

ธุรกิจบริหาร โรงพยาบาล 2550 2549 17 57 - - 17 57 17 57 - - - 114 - 1,018 - 1,132

รายการตัดบัญชี 2550 2549 - - (21) (17) (21) (17) - - (30) (32) (127) (168) (2,210) (3,182) (2,367) (3,382)

รวม 2550 2549 8,340 7,708 - - 8,340 7,708 3,220 2,932 218 180 (408) (342) (1,726) (1,159) 855 8 (110) (110) (445) (432) 2 19 1,606 1,096 4,145 3,752 349 732 2,972 2,139 7,466 6,623

บริษทั ฯ และบริษทั ย่อยใช้เกณฑ์ในการกำหนดราคาระหว่างกันตามทีก่ ล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 7

23. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

บริษัทฯ บริษัทย่อยและพนักงานได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ซึ่ง ประกอบด้วยเงินที่พนักงานจ่ายสะสมเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 5 ของเงินเดือนและเงินที่บริษัทฯและบริษัทย่อยจ่ายสมทบให้เป็น รายเดือนในอัตราร้อยละ 5-7 ของเงินเดือนพนักงาน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้บริหารโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนฟินันซ่า จำกัด และจะจ่ายให้แก่พนักงานเมื่อพนักงานนั้นออกจากงานตามระเบียบของกองทุนฯ ในระหว่างปี 2550 บริษัทฯและบริษัทย่อยได้จ่ายเงิน สมทบเข้ากองทุนฯเป็นจำนวนเงิน 28.1 ล้านบาท (2549: 24.7 ล้านบาท)

63


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

24. เงินปันผลจ่าย (หน่วย: บาท) เงินปันผล เงินปันผลประจำปีสำหรับปี 2548 เงินปันผลระหว่างกาลจากผลการ ดำเนินงานสำหรับงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2549 รวมเงินปันผลสำหรับปี 2549 เงินปันผลประจำปีสำหรับปี 2549 เงินปันผลระหว่างกาลจากผลการ ดำเนินงานสำหรับงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2550 รวมเงินปันผลสำหรับปี 2550

25. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น

อนุมัติโดย ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2549 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2549 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2550 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2550

เงินปันผลจ่าย เงินปันผลจ่ายต่อหุ้น 328,523,500

0.45

219,015,667 547,539,167

0.30 0.75

328,523,500

0.45

292,020,889 620,544,389

0.40 0.85

25.1 ภาระผูกพันเกีย่ วกับรายจ่ายฝ่ายทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 บริษทั ฯมีภาระผูกพันรายจ่ายฝ่ายทุนอันเกีย่ วเนือ่ งกับสัญญาก่อสร้างอาคารจำนวนเงิน 237.1 ล้าน บาท (2549: 98.4 ล้านบาท) และเกี่ยวกับการซื้อเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์โรงพยาบาลเป็นจำนวนเงิน 171.3 ล้านบาท (2549: 120.2 ล้านบาท)

64


รายงานประจำปี 2550

25.2 ภาระผูกพันเกีย่ วกับสัญญาบริการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 บริษทั ฯมีภาระผูกพันเกีย่ วกับสัญญาบริการทีจ่ ะต้องจ่ายในอนาคตดังนี ้ (หน่วย: ล้านบาท) รายละเอียดภาระผูกพัน

จ่ายในปี

จำนวนเงิน

บริษัท 1) การจ่ายค่าธรรมเนียมให้แก่ธนาคารแห่งหนึ่งในฐานะผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้แปลงสภาพ 2551 2552 - 2555 2) การจ่ายค่าเช่าที่ดินเพื่อสร้างหอพักพยาบาล (สามารถต่ออายุสัญญาเช่าได้อีก 20 ปี) 2551 2552 - 2578 3) การจ่ายค่าเช่าอุปกรณ์การแพทย์ 2551 2552 4) การจ่ายค่าเช่าที่ดินและอาคารเพื่อให้บริการห้องพัก (สามารถต่ออายุสัญญาเช่าได้อีก 2 ปี) 2551 5) การจ่ายค่าเช่าอาคารหอพักพยาบาลและบริการที่เกี่ยวข้อง (สามารถต่ออายุสัญญาเช่าได้) 2551 2552 - 2553 6) การจ่ายค่าบำรุงรักษาอุปกรณ์การแพทย์ 2551 2552 - 2553 7) การจ่ายค่าเช่าและค่าบำรุงรักษารถยนต์ 2551 2552 - 2554 8) การจ่ายค่าบริการทดสอบห้องปฏิบัติการ 2551 - 2553 รวม

0.3 0.9 32.1 59.6 20.0 20.0 6.4 11.7 10.2 16.2 9.6 10.3 18.5 3.6 219.4

25.3 การค้ำประกัน ณ วันที ่ 31 ธันวาคม 2550 มีหนังสือค้ำประกันทีอ่ อกโดยธนาคารในนามของบริษทั ฯเหลืออยูเ่ ป็นจำนวนเงิน 5.9 ล้านบาท (2549: 3.4 ล้านบาท) และในนามบริษัทย่อยเป็นจำนวนเงิน 8.4 ล้านบาท (2549: 8.4 ล้านบาท) ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับภาระผูกพันทางปฏิบัติ บางประการตามปกติธรุ กิจ เช่น การจ่ายค่าสาธารณูปโภคและการเช่าสถานที ่ 25.4 หนีส้ นิ ทีอ่ าจเกิดขึน้ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2548 บริษัท เอเชียน ฮอสพิทอล อิงค์ (“AHI”) ได้รับแจ้งผลในเบื้องต้นจากสำนักงานสรรพากรของประเทศ ฟิลิปปินส์ว่า อาจจะมีการชำระภาษีสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2545 ไม่ครบถ้วน ซึ่งผู้บริหารของ AHI เชื่อว่าผลการตรวจ สอบดังกล่าวไม่มีมูลและได้โต้แย้งในเรื่องนี้อย่างหนักแน่น ดังนั้น AHI จึงมิได้บันทึกสำรองเผื่อความเสียหายจากการถูกประเมินดัง กล่าวไว้ในบัญชี

26. เครือ่ งมือทางการเงิน

26.1 นโยบายการบริหารความเสีย่ ง เครื่องมือทางการเงินที่สำคัญของบริษัทฯและบริษัทย่อยตามที่นิยามอยู่ในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 48 “การแสดงรายการและการ เปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน” ประกอบด้วย เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้และเจ้าหนี้การค้า เงินให้กู้ยืม เงินลงทุน เงินกู้ยืมระยะสั้น และเงินกู้ยืมระยะยาว บริษัทฯและบริษัทย่อยมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงินดังกล่าว และมีนโยบายในการบริหารความเสีย่ งดังนี ้ 65


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

ความเสีย่ งด้านการให้สนิ เชือ่ บริษทั ฯและบริษทั ย่อยมีความเสีย่ งด้านการให้สนิ เชือ่ ทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับลูกหนีก้ ารค้า เงินให้กยู้ มื และลูกหนีอ้ นื่ ฝ่ายบริหารควบคุมความเสีย่ ง นีโ้ ดยการกำหนดให้มนี โยบายและวิธกี ารในการควบคุมสินเชือ่ ทีเ่ หมาะสม ดังนัน้ บริษทั ฯและบริษทั ย่อยจึงไม่คาดว่าจะได้รบั ความเสียหาย ที่เป็นสาระสำคัญจากการให้สินเชื่อ นอกจากนี้ บริษัทฯและบริษัทย่อยมีฐานของลูกค้าที่หลากหลายและมีอยู่จำนวนมากราย จำนวน เงินสูงสุดทีบ่ ริษทั ฯและบริษทั ย่อยอาจต้องสูญเสียจากการให้สนิ เชือ่ คือมูลค่าตามบัญชีของลูกหนี้ เงินให้กยู้ มื และลูกหนีอ้ นื่ ทีแ่ สดงอยูใ่ นงบดุล ความเสีย่ งจากอัตราดอกเบีย้ บริษัทฯและบริษัทย่อยมีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญอันเกี่ยวเนื่องกับเงินฝากสถาบันการเงินและเงินกู้ยืมระยะยาวที่มีดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินส่วนใหญ่มีอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นลงตามอัตราตลาด หรือมีอัตราดอกเบี้ยคงที ่ ซึง่ ใกล้เคียงกับอัตราตลาดในปัจจุบนั  ความเสีย่ งจากอัตราดอกเบีย้ ของบริษทั ฯและบริษทั ย่อยจึงอยูใ่ นระดับต่ำ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 สินทรัพย์และหนีส้ นิ ทางการเงินทีส่ ำคัญสามารถจัดตามประเภทอัตราดอกเบีย้ และสำหรับสินทรัพย์และหนีส้ นิ ทางการเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่สามารถแยกตามวันที่ครบกำหนด หรือ วันที่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยใหม่ (หากวันที่มีการกำหนด อัตราดอกเบีย้ ใหม่ถงึ ก่อน) ได้ดงั นี้

งบการเงินรวม อัตรา ดอกเบี้ย คงที่ (ภายใน 1 ปี)

อัตราดอกเบี้ย ปรับขึ้นลง ตามราคาตลาด

ไม่มี อัตรา ดอกเบี้ย

รวม

(ล้านบาท) สินทรัพย์ทางการเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้การค้า - สุทธิ ลูกหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินฝากประจำกับสถาบันการเงินที่ นำไปค้ำประกัน เงินลงทุนระยะยาวอื่น - สุทธิ หนี้สินทางการเงิน เจ้าหนี้การค้า เงินกู้ยืมระยะยาว

66

260 - 12 - 272 - - -

219 - - - - 219 - 1,772 1,772

อัตรา ดอกเบี้ย (ร้อยละต่อปี)

71 597 7 - 2 677 622 - 622

550 597 7 12 2 1,168 622 1,772 2,394

0.13 - 3.25 - - 2.25 - 3.50 - - MLR - 1.25


รายงานประจำปี 2550

งบการเงินเฉพาะกิจการ อัตรา ดอกเบี้ย คงที่ (ภายใน 1 ปี)

อัตราดอกเบี้ย ปรับขึ้นลง ตามราคาตลาด

ไม่มี อัตรา ดอกเบี้ย

รวม

ล้านบาท สินทรัพย์ทางการเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้การค้า - สุทธิ ลูกหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินให้กู้ยืมระยะสั้นและดอกเบี้ยค้างรับ กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินฝากประจำกับสถาบันการเงินที่ นำไปค้ำประกัน เงินลงทุนระยะยาวอื่น - สุทธิ หนี้สินทางการเงิน เจ้าหนี้การค้า เงินกู้ยืมระยะสั้นและดอกเบี้ยค้างจ่าย กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินกู้ยืมระยะยาว

อัตรา ดอกเบี้ย (ร้อยละต่อปี)

260 - - -

178 - - 10

71 594 7 -

509 594 7 10

0.13 - 3.25 - - MLR

4 - 264 - - - -

- - 188 - 1,212 650 1,862

- 2 674 620 - - 620

4 2 1,126 620 1,212 650 2,482

2.25 - 3.00 - - MLR - 1.00 MLR - 1.25

ความเสีย่ งจากอัตราแลกเปลีย่ น

บริษัทฯและบริษัทย่อยมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่สำคัญอันเกี่ยวเนื่องจากการซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์และการจ่ายค่า บริการเป็นเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 บริษทั ฯและบริษทั ย่อยไม่มยี อดคงเหลือของสินทรัพย์และหนีส้ นิ ทางการเงินทีเ่ ป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ 26.2 มูลค่ายุตธิ รรมของเครือ่ งมือทางการเงิน เนื่องจากสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินส่วนใหญ่ของบริษัทฯและบริษัทย่อยจัดอยู่ในประเภทระยะสั้น เงินให้กู้ยืมและเงินกู้ยืมมี อัตราดอกเบี้ยใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด บริษัทฯและบริษัทย่อยจึงประมาณมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สินทางการ เงินใกล้เคียงกับมูลค่าตามบัญชีทแี่ สดงในงบดุล มูลค่ายุติธรรม หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์กันในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้ และเต็มใจใน การแลกเปลี่ยนและสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน วิธีการกำหนดมูลค่ายุติธรรมขึ้น อยู่กับลักษณะของเครื่องมือทางการเงิน มูลค่ายุติธรรมจะกำหนดจากราคาตลาดล่าสุด หรือกำหนดขึ้นโดยใช้เกณฑ์การวัดมูลค่าที่ เหมาะสม 67


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

27. เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน

27.1 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 บริษัทฯได้จ่ายเงินซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ของบริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (“BIL”) จำนวน 1,417,500 หุน้  มูลค่าทีต่ ราไว้หนุ้ ละ 100 บาท ในราคาหุน้ ละ 100 บาท คิดเป็นร้อยละ 31.5 ของหุน้ ทีอ่ อกใหม่ รวมเป็น จำนวนเงินทั้งสิ้น 142 ล้านบาท โดยบริษัทฯยังคงสัดส่วนการถือหุ้นใน BIL คิดเป็นร้อยละ 31.5 27.2 เมือ่ วันที ่ 12 กุมภาพันธ์ 2551 บริษทั ฯและบริษทั ย่อยได้เข้าทำสัญญา “Third Amendment Dated 12 February 2008 to Baht 2,400,000,000 Facility Agreement Dated 12 September 2002 as amended and restated on 28 July 2004 and 25 May 2006” กับเจ้าหนี้ธนาคาร โดยมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระยะยาวสำหรับวงเงิน D 300 ล้านบาท จากอัตรา MLR ถัวเฉลี่ยลบร้อยละ 1.25 ต่อปี เป็นอัตรา MMR ต่อปี 27.3 เมือ่ วันที ่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 บริษทั ฯได้ซอื้ ทีด่ นิ และอาคารบีเอช เรสซิเดนซ์ จากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในราคา 470 ล้านบาท ตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที ่ 1/2551 เมื่อวันที ่ 22 มกราคม 2551เพื่อใช้ในการดำเนินกิจการโรงพยาบาล 27.4 เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 บริษัทฯได้เบิกเงินกู้ยืมระยะยาว (วงเงิน C) จำนวน 400 ล้านบาทจากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ แห่งหนึ่ง เพื่อใช้ในการซื้อที่ดินและอาคารบีเอช เรสซิเดนซ์ และได้จำนองที่ดินและอาคารดังกล่าวเพื่อค้ำประกันเงินกู้ยืมระยะยาว ตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 15 27.5 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯได้มีมติเห็นชอบให้เสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งจะจัดขึ้นในเดือน มีนาคม 2551 ในเรื่องการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นจากกำไรของปี 2550 ในอัตราหุ้นละ 0.40 บาท รวมเป็นเงิน 292 ล้านบาท เงินปันผลนี้จะจ่ายและบันทึกบัญชีภายหลังจากได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมสามัญประจำปีผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ

28. การจัดประเภทรายการในงบการเงิน

นอกจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีตามที่กล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 4 ซึ่งมีผลกระทบต่อกำไรสุทธิและส่วน ของผู้ถือหุ้นตามที่ได้รายงานไปแล้ว บริษัทฯได้มีการจัดประเภทรายการบัญชีบางรายการในงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที ่ 31 ธันวาคม 2549 ใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดประเภทรายการบัญชีในปีปัจจุบัน  ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อกำไรสุทธิหรือส่วนของ ผู้ถือหุ้น นอกเหนือไปจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังกล่าว

29. การอนุมัติงบการเงิน

งบการเงินนี้ได้รับอนุมัติให้ออกโดยคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551

68



บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

สรุ ป สารสนเทศ ที่ส ำคั ญ

70


รายงานประจำปี 2550

71



รายงานประจำปี 2550

1. ข้อมูลทั่วไป

1.1 ข้อมูลบริษัท ชื่อ : บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) ประเภทธุรกิจ: โรงพยาบาลเอกชน สถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ : 33 ซอย สุขุมวิท 3 (นานาเหนือ) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 เลขทะเบียนบริษัท : บมจ. 173 Home page : http://www.bumrungrad.com E-mail address : ir@bumrungrad.com โทรศัพท์ : 0 2667 1000 โทรสาร : 0 2677 2525 ทุนจดทะเบียน 922,702,685 บาท แบ่งเป็น หุ้นสามัญ จำนวน 920,853,235 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท หุ้นบุริมสิทธิ จำนวน 1,849,450 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท ทุนชำระแล้ว 730,052,222 บาท แบ่งเป็น หุ้นสามัญ จำนวน 728,202,772 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท หุ้นบุริมสิทธิ จำนวน 1,849,450 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท 1.2 นิติบุคคลที่บริษัทฯ ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไป บริษัท ประเภทธุรกิจ จำนวนหุ้นสามัญ ที่จำหน่ายแล้ว บริษัท บำรุงราษฎร์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ จำกัด ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ 119,869,201 หุ้น 33/3 ซอยสุขุมวิท 3 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0 2667 1000 โทรสาร 0 2667 2525

บริษัท ไวทัลไลฟ์ จำกัด ศูนย์สุขภาพ 315,000 หุ้น 210 ซอยสุขุมวิท 1 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0 2667 2340 โทรสาร 0 2667 2341

บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด การลงทุนในต่างประเทศ 27,493,367 หุ้น 33 ซอยสุขุมวิท 3 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0 2667 1000 โทรสาร 0 2667 2525 บริษัท ซีดีอี เทรดดิ้ง จำกัด หยุดดำเนินการ 100,000 หุ้น 33/3 ซอยสุขุมวิท 3 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0 2667 1000 โทรสาร 0 2667 2525

บริษัท โกลเบิล แคร์ โซลูชั่น เอส. เอ. หยุดดำเนินการ 31,426 หุ้น 9 Rue Schil er, L-2519 Luxembourg โทรศัพท์ 41 (76) 565 1533 โทรสาร 41 (44) 496 6319

สัดส่วน การถือหุ้น 100.0%

100.0%

31.5%

30.0%

14.0%

73


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

1.3 บุคคลอ้างอิง 1. ผู้สอบบัญชี 2. ที่ปรึกษากฎหมาย 3. นายทะเบียนหลักทรัพย์ 4. นายทะเบียนหุ้นกู้แปลงสภาพ 5. ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้

2. ข้อมูลทางการเงินโดยสรุป

บริษัท บริษัท สำนักงาน เอินส์ท แอนด์ ยัง จำกัด ชั้น 33 อาคารเลครัชดา เลขที่ 193/136-137 ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0 2264 0777 โทรสาร 0 2264 0789-90 บริษัท ที่ปรึกษาไทย จำกัด 63 ซอย 8 (ซอยปรีดา) ถนนสุขุมวิท กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0 2255 2552 โทรสาร 0 2653 1133 บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด 62 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชั้น 4, 6-7 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0 2229 2888 โทรสาร 0 2359 1259 บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) 33 ซอย สุขุมวิท 3 (นานาเหนือ) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ

เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0 2667 2025 โทรสาร 0 2667 2031 ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) 3000 ถนนพหลโยธิน จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0 2299 1111, 0 2617 9111 โทรสาร 0 2299 1784

2.1 ข้อมูลจากงบการเงิน (หน้า 21) 2.2 อัตราส่วนทางการเงิน (หน้า 21)

3. ลักษณะการประกอบธุรกิจ

3.1 สรุปสาระสำคัญ บริ ษั ท  โรงพยาบาลบำรุ ง ราษฎร์   จำกั ด  (มหาชน) (“บริ ษั ท ”) ประกอบกิ จ การโรงพยาบาลเอกชนในกรุ ง เทพมหานคร ด้วยความสามารถในการรองรับผู้ป่วยในได้ 554 เตียงและผู้ป่วยนอก 3,500 คนต่อวัน และเป็นหนึ่งในผู้นำในการให้บริการ ทางการแพทย์ ใ นประเทศไทยและในภู มิ ภ าคเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้   โดยมี ก ารให้ บ ริ ก ารอย่ า งครบวงจรทั้ ง การบริ ก าร ผู้ป่วยนอกและการบริการผู้ป่วยใน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทได้ให้ความสำคัญกับการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพ คณะแพทย์และพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญ และเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในเอเชียที่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลระดับสากล (JCIA) ตามมาตรฐานการรับรองของ สหรัฐอเมริกา ขณะนี้ บริษัทอยู่ระหว่างการขยายและยกระดับอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กรุงเทพมหานคร ภายใน 4-6 ปี ข้ า งหน้ า  เพื่ อ รองรั บ ความต้ อ งการบริ ก ารทางการแพทย์ เ อกชนที่ เ พิ่ ม ขึ้ น  โดยที่ ก ารขยายธุ ร กิ จ ดั ง กล่ า ว จะทำให้ความสามารถในการให้บริการของบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 650 เตียงและคนไข้นอกจำนวน 6,000 คนต่อวัน ซึ่งคิดเป็นเกือบ สองเท่าของความสามารถในการทำรายได้ของบริษัทในปัจจุบัน นอกจากนี้ บริษัทยังมีความต้องการที่จะขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ 74


รายงานประจำปี 2550

ผ่ า นบริ ษั ท ร่ ว มซึ่ ง บริ ษั ท ถื อ หุ้ น อยู่   31.5% คื อ บริ ษั ท  บำรุ ง ราษฎร์   อิ น เตอร์ เ นชั่ น แนล จำกั ด  ซึ่ ง บริ ษั ท  บำรุ ง ราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มีนโยบายที่จะหาโอกาสในการลงทุนใหม่ ๆ ในภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่อง บริษัทมีบริษัทย่อยซึ่งบริษัทถือหุ้น 100% อยู่ 2 บริษัท คือ บริษัท บำรุงราษฎร์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ จำกัด และบริษัท ไวทัลไลฟ์ จำกัด มีบริษัทร่วม 2 บริษัท คือ บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งบริษัทถือหุ้น 31.5% และบริษัท ซีดีอ ี

เทรดดิ้ง จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท โกลเบิลแคร์ โซลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด) ซึ่งบริษัทถือหุ้น 30% และบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 1 บริษัท คือบริษัท โกลเบิล แคร์ โซลูชั่น เอส. เอ. ในประเทศลักเซมเบิร์ก ซึ่งบริษัทถือหุ้นอยู่ 14% โครงสร้างบริษัทมีดังต่อไปนี้

บริษัท โรงพยาบาล บำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) 100.0%

31.5%*

บริษัท บำรุงราษฎร์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ จำกัด

บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด

เจ้าของอาคารโรงพยาบาลปัจจุบัน

ผู้ดำเนินการด้านกิจการต่างประเทศ

45.5%

49.0%

100.0%

14.0%

บริษัท โกลเบิล แคร์ โซลูชั่น เอส. เอ. (ประเทศลักเซมเบิร์ก)

บริษัท ไวทัลไลฟ์ จำกัด ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแบบครบวงจร

100.0%

บริษัท โกลเบิล แคร์ โซลูชั่น พี. ที. อี. (ประเทศสิงคโปร์)

100.0%

บริษัท เอเชียน ฮอสพิทอล บริษัท บำรุงราษฎร์ บริษัท เอเชีย รีนัล แคร์ อิงค์ ฮอสพิทอล ดูไบ แอลแอลซี จำกัด 30.0% หมายเหตุ ข้อมูล ณ ธันวาคม 2550

* นักลงทุนเชิงกลยุทธ์ของบริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด ประกอบด้วย - Istithmar 19.5% - Temasek 19.5% - Asia Financial Holding 19.5% - ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 10.0%

บริษัท ซีดีอี เทรดดิ้ง จำกัด** หยุดดำเนินกิจการชั่วคราว

** เปลี่ยนชื่อจากบริษัท โกลเบิล แคร์ (ประเทศไทย) จำกัดในเดือนธันวาคม 2550 หลังจากได้ขาย สินทรัพย์หลัก คือ โปรแกรม H2000 ให้กับไมโครซอฟท์

รายละเอียดของบริษัทย่อย บริษัทร่วม และบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน มีดังต่อไปนี้ 1. บริษัท บำรุงราษฎร์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ จำกัด (“BMC”) เป็นเจ้าของอาคารโรงพยาบาล ซึ่งให้บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) เช่า 2. บริษัท ไวทัลไลฟ์ จำกัด (“Vitallife”) เป็นผู้ริเริ่มศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและเวชศาสตร์วัยยุวัฒน์ (anti-aging) แบบครบวงจร เชี่ยวชาญทางด้านการให้บริการป้องกันและรักษาเพื่อชะลอความเสื่อมของร่างกาย โดยมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายที่สนใจการดูแล รักษาสุขภาพเป็นพิเศษ โปรแกรมไวทัลไลฟ์มีการผสมผสานระหว่างคณะแพทย์มืออาชีพที่มีความเชี่ยวชาญและวิทยาการ มาตรฐานระดับสากล เพื่อออกแบบโปรแกรมสุขภาพสำหรับลูกค้าแต่ละรายโดยเฉพาะ ซึ่งมีทั้งโปรแกรมการออกกำลังกาย โปรแกรมโภชนาการ และโปรแกรมอาหารเสริม เพื่อสุขภาพที่ดี 3. บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นผู้ดำเนินการลงทุนในโครงการต่างๆ ในต่างประเทศของบริษัท โดยบริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มีนโยบายที่จะลงทุนและบริหารจัดการโรงพยาบาลและผู้ให้บริการด้านสุขภาพใน ต่างประเทศ ในขณะนี้ บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดมีโรงพยาบาลและคลินิกจำนวน 80 แห่งใน 7 ประเทศ โดยที่นักลงทุนเชิงกลยุทธ์ของบริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ประกอบด้วย Istithmar ซึ่งเป็นบริษัทลงทุนของ รัฐบาลประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, Temasek แห่งประเทศสิงคโปร์, Asia Financial Holdings ในฮ่องกง และ ธนาคาร 75


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งพันธมิตรเหล่านี้ของบริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดมีชื่อเสียงในระดับนานาชาติและ มีอทิ ธิพลในภูมภิ าคนัน้  ๆ ทำให้บริษทั  บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชัน่ แนล จำกัดมีโอกาสในการลงทุนใหม่ ๆ และเครือข่ายพันธมิตร โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และเอเชียเหนือ 4. บริษัท ซีดีอี เทรดดิ้ง จำกัด (“CDE Trading”) (เดิมชื่อ บริษัท โกลเบิลแคร์ โซลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด) เดิมเป็นบริษัท พัฒนาระบบซอฟท์แวร์สำหรับโรงพยาบาล ในเดือนธันวาคม 2550 บริษัท โกลเบิลแคร์ โซลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัดได้ขาย สินทรัพย์หลัก คือผลิตภัณฑ์ซอฟท์แวร์บริหารโรงพยาบาล และสินทรัพย์อื่น ๆ ให้กับ ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศ สหรัฐอเมริกา และบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท โกลเบิลแคร์ โซลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ได้ดำเนิน การจดทะเบียนเปลีย่ นชือ่ เป็นบริษทั  ซีดอี  ี เทรดดิง้  จำกัด โดยทีข่ ณะนี ้ CDE Trading หยุดการดำเนินกิจการชัว่ คราว และอยูร่ ะหว่าง การศึกษาโครงการลงทุนใหม่ ๆ 5. บริษัท โกลเบิล แคร์ โซลูชั่น เอส. เอ. (“GCS Luxemburg”) ขณะนี้หยุดการดำเนินกิจการชั่วคราว 3 .2 โครงสร้างรายได้ กลุ่มธุรกิจ

% การถือหุ้นของ บริษัท ธุรกิจการแพทย์ บมจ. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ธุรกิจการแพทย์ บจ. ไวทัลไลฟ์ 100.00 รวมธุรกิจการแพทย์ ธุรกิจบริหารโรงพยาบาล บจ. บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล 31.50* รวมธุรกิจบริหารโรงพยาบาล ธุรกิจให้เช่า บมจ. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ รวมธุรกิจให้เช่า อื่นๆ บมจ. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์** อื่นๆ บจ. บำรุงราษฎร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์ 100.00 อื่นๆ บจ. บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล 100.00 รวมอื่นๆ รวม * **

ดำเนินการโดย

2550 รายได้รวม % 8,227 87.4 97 1.0 8,324 88.4 17 0.2 17 0.2 132 1.4 132 1.4 925 9.9 2 - 13 0.1 940 10.0 9,413 100.0

2549 รายได้รวม % 7,572 95.9 78 1.0 7,650 96.9 57 0.7 57 0.7 118 1.5 118 1.5 57 0.7 1 - 12 0.2 70 0.9 7,895 100.0

2548 รายได้รวม % 6,586 96.8 61 0.8 6,647 97.6 7 0.1 7 0.1 89 1.3 89 1.3 58 0.9 - - 6 0.1 64 1.0 6,807 100.0

เมื่อเดือนเมษายน 2550 บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เปลี่ยนสถานะจากบริษัทย่อยเป็นบริษัทร่วมของบริษัท ดังนั้น รายได้จากธุรกิจบริหารโรงพยาบาล จำนวน 1 7 ล้านบาทในปี 2550 จึงเป็นรายได้ในไตรมาส 1 เท่านั้น เนื่องจากบัญชีของบริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ไม่ได้รวมอยู่ในบัญชีของบริษัท ตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2550 เป็นต้นมา ในปี 2550 บมจ. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีรายได้อื่นๆจำนวน 925 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งจำนวน 829 ล้านบาทเป็นส่วนแบ่งกำไรจาก GCS Thailand ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกำไร จากการขายสินทรัพย์ของ GCS Thailand ซึ่งเป็นกำไรซึ่งไม่เกี่ยวกับการดำเนินงานโดยปกติของบริษัทและเกิดขึ้นครั้งเดียว หักด้วยผลการดำเนินงานของ GCS Thailand

3.3 ลักษณะผลิตภัณฑ์หรือบริการธุรกิจ บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) บริษัทเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ในกรุงเทพมหานคร และเป็นผู้ที่ทำรายได้หลัก โดยรายได้จากกิจการโรงพยาบาล ของบริษัท คิดเป็น 87.4% ของรายได้รวมทั้งหมด บริการของโรงพยาบาล โรงพยาบาลใช้ ร ะบบสารสนเทศทางการแพทย์   Hospital 2000 ที่ ทั น สมั ย  และบริ ก ารของโรงพยาบาล บำรุ ง ราษฎร์ ใ น กรุงเทพมหานครสามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้ 1. การบริการผู้ป่วยนอก มีศูนย์บริการผู้ป่วยนอกจำนวน 34 ศูนย์ และคลินิกตรวจผู้ป่วย 150 ห้อง สามารถรองรับผู้ป่วย นอกได้ 3,500 คนต่อวัน 2. การบริการผู้ป่วยใน มีจำนวนเตียง 554 เตียง โดยที่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 โรงพยาบาลมีเตียงพร้อมให้บริการ จำนวน 458 เตียง 76


รายงานประจำปี 2550

3. การพยาบาลฉุกเฉินและห้องผ่าตัด มีแผนกผูป้ ว่ ยฉุกเฉินพร้อมการสวนหัวใจฉุกเฉิน ซึง่ เปิดบริการตลอด 24 ชัว่ โมง นอกจากนี ้ โรงพยาบาลยังมีห้องผ่าตัดซึ่งมีเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เพียบพร้อมและทันสมัย 19 ห้อง ห้องปฏิบัติการสวน หัวใจ 2 ห้อง และห้องผ่าตัดหัวใจ 2 ห้อง ในปี 2550 บริษัทได้ให้บริการรักษาผู้ป่วยทั้งสิ้นกว่าหนึ่งล้านคน โดยที่มีส่วนแบ่งรายได้จากผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกในปี 2550 ดังต่อไปนี้ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก (% ของรายรับรวม) ผู้ป่วยใน 51 %

ผู้ป่วยนอก 49 % ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550

การให้บริการผู้ป่วยต่างประเทศ บริษัทประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในการเป็นที่รู้จักในตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนมีฐานลูกค้าชาวต่างชาติที่เข้มแข็ง บริษัทมีศูนย์บริการผู้ป่วยต่างชาติ เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ แก่ผู้ป่วยต่างชาติ เช่น บริการล่าม บริการประสานงาน กับ ประกันภัยระหว่างประเทศ บริการประสานงานทางด้านการแพทย์ บริการรับย้ายผูป้ ่วย (referral center) บริการติดต่อสื่อสาร ทางอีเมล บริการต่อวีซ่า การติดต่อสถานทูต การต้อนรับที่สนามบินและการช่วยเหลือในการเดินทาง เป็นต้น นอกจากนี ้

บริ ษั ท ยั ง มี บ ริ ก ารห้ อ งพั ก สำหรั บ ผู้ ป่ ว ยและครอบครั ว  2 อาคาร คื อ บี . เอช.เรสสิ เ ดนซ์   (อาคารบี เ อช ทาวเวอร์ )  ซึ่ ง ประกอบด้วยห้องพัก 74 ห้องพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก โดยมีทางเดินเชื่อมติดกับอาคารโรงพยาบาล และอาคารบีเอช สวีท ซึ่งประกอบด้วยห้องพัก 51 ห้อง ทั้งนี้บริษัทยังมีสำนักงานตัวแทนต่างประเทศ 17 แห่งใน 15 ประเทศ ในปี 2550 โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ในกรุงเทพมหานครได้ให้บริการรักษาผู้ป่วยชาวต่างชาติจากกว่า 190 ประเทศ รวมประมาณ 430,000 คน โดยที่ประเทศที่ทำรายได้สูงสุดให้กับบริษัทสามอันดับแรกยังคงเป็นสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอเมริกา และโอมาน รูปภาพต่อไปนี้ แสดงถึงรายรับของบริษัทแบ่งตามผู้ป่วยในประเทศและผู้ป่วยต่างประเทศ 5 ปีที่ผ่านมา

77


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

ผู้ป่วยในประเทศและผู้ป่วยต่างประเทศ (%ของรายรับรวม) 100% 80% 59%

51%

47%

46%

45%

49%

53%

54%

55%

2547

2548

2549

2550

60% 40% 20%

41%

0% 2546

ผู้ป่วยต่างประเทศ

ผู้ป่วยในประเทศ

โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน บริการผู้ป่วยในและส่วนมากของบริการผู้ป่วยนอก อยู่ในอาคารโรงพยาบาลหลัก 12 ชั้น และเพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วย ที่เพิ่มขึ้น บริษัทมีแผนงานที่จะขยายและยกระดับการให้บริการของโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครในอีก 4 - 6 ปีข้างหน้า ซึ่งรวมถึง การเปิดอาคารบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล คลินิก ซึ่งเป็นอาคารผู้ป่วยนอกใหม่ การขยายการให้บริการผู้ป่วยในไปยังอาคาร บีเอช ทาวเวอร์ และการปรับปรุงและยกระดับอาคารโรงพยาบาลในปัจจุบัน เนื่องจากอาคารปัจจุบัน ได้เปิดให้บริการมา 10 ปีแล้ว อาคารบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล คลินิก เป็นอาคารผู้ป่วยนอกใหม่ สูง 22 ชั้น โดย 10 ชั้นแรกเป็นที่จอดรถ และ 12 ชั้นข้างบน เป็นคลินิกคนไข้นอก โดยบริษัทได้เปิดที่จอดรถและชั้น 11 เพื่อให้บริการศูนย์ตรวจสุขภาพแล้ว และบริษัทมีแผนการที่จะเปิดให้บริการ อีก 7 ชั้นในกลางปี 2551 บริษัทมีแผนที่จะปรับเปลี่ยนอาคารบีเอช ทาวเวอร์ ซึ่งในปัจจุบันใช้เป็นที่พักอาศัยของครอบครัวและญาติของผู้ป่วย ให้เป็นเตียงสำหรับ ผู้ป่วยใน ในอีก 2 - 3 ปีข้างหน้า โดยบริษัทมีแผนที่จะทยอยเปิดชั้นที่ยังไม่ได้เปิดในอาคารบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล คลินิก และอาคารบีเอช ทาวเวอร์ ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลา 4 - 6 ปี กว่าจะเปิดให้บริการเต็มพื้นที่ ซึ่งจะทำให้ ความสามารถในการให้บริการของบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 650 เตียงและผู้ป่วยนอก 6,000 คนต่อวัน หรือเท่ากับการเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า ของความสามารถในการทำรายได้ในปัจจุบัน และจะทำให้โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เป็นหนึ่งในคลินิกผู้ป่วยนอกที่ใหญ่ที่สุดในโลก

78


รายงานประจำปี 2550

บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นบริษัทร่วมที่บริษัทถือหุ้นอยู่ 31.5% ทำหน้าที่ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวกับการให้บริการ รักษาพยาบาลโดยการร่วมทุนกับผู้ร่วมทุนในประเทศนั้น ๆ พร้อมกับให้บริการเป็นที่ปรึกษาและบริหารจัดการโรงพยาบาล ในปัจจุบัน บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้ลงทุนในโรงพยาบาล 2 แห่งและผู้ให้บริการฟอกไต 1 บริษัท บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มีสัดส่วนการถือหุ้น 45.5% ใน เอเชียน ฮอลพิทอล อิงค์ (AHI) ในประเทศฟิลิปปินส์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 โดย AHI เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2545 เป็นโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่แห่งแรกในทางใต้ ของกรุงมะนิลา AHI มีขนาด 253 เตียง และเป็นที่รู้จักเนื่องจากมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยและคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะในด้านโรคหัวใจ AHI มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ใกล้เคียงกับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กรุงเทพมหานคร คือประชากรที่เป็น ชนชั้นกลางขึ้นไป บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้ลงทุนในสัดส่วน 49% โดยลงทุนร่วมกับ Istithmar ซึ่งเป็นหน่วยงานในการลงทุนของ รัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อดำเนินกิจการโรงพยาบาลเอกชนขนาด 250 เตียงภายใต้ชื่อ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ดูไบ ในขณะนี้ โรงพยาบาลอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2552 บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มีสัดส่วนการถือหุ้น 100% ใน บริษัท เอเชีย รีนัล แคร์ จำกัด (“ARC”) ARC เป็นผู้นำ ในเอเชียในการเป็นผูใ้ ห้บริการไตเทียมเอกชนและบริการทีเ่ กีย่ วข้องสำหรับผูป้ ว่ ยทีป่ ว่ ยจากไตล้มเหลวเรือ้ รัง ARC ได้กอ่ ตัง้ ขึน้ ในปี 2540 และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สิงคโปร์ ในปัจจุบัน ARC มีคลินิกรวม 77 แห่ง (ณ 31 ธันวาคม 2550) ใน 6 ประเทศในเอเชีย ซึ่งรวมถึง ไต้หวันเกาหลีไต้ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น และให้บริการรักษาผูป้ ว่ ยกว่า 4,400 คน นอกจากนี้ บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดได้ลงนามในสัญญากับสำนักงานสาธารณสุขรัฐอาบูดาบี เพื่อเข้าบริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อัล มาฟรัก ในรัฐอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นเวลาสี่ปี โดยที่บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลระดับนานาชาติที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมบริหารจัดการโรงพยาบาลในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่ง รวมถึง Johns Hopkins และ Cleveland Clinic ของสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อัล มาฟรักมีความสามารถในการรองรับ ผู้ป่วยในได้ 460 เตียง มีเตียงผู้ป่วยหนัก 14 เตียง และเตียงสำหรับทารกที่ต้องการการดูแลพิเศษอีก 14 เตียง และให้บริการรักษา พยาบาลผู้ป่วยประมาณ 310,000 รายต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยในกว่า 25,000 ราย นอกจากการลงทุนในสามโครงการนี ้ บริษทั  บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชัน่ แนล จำกัด ยังคงมองหาการลงทุนอืน่  ๆ ในภูมภิ าคอย่างต่อเนือ่ ง โดยพันธมิตร ซึ่งรวมถึง Istithmar, Temasek, Asia Financial Holdings และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แนะนำโอกาส ในการลงทุนใหม่ ๆ จากเครือข่ายในแต่ละภูมิภาค ได้แก่ตะวันออกกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และเอเชียเหนือ

79


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

ภาวะอุตสาหกรรมและการแข่งขัน ณ สิ้นปี 2549 ประเทศไทยมีโรงพยาบาลเอกชนทั้งสิ้น 344 แห่ง โดยที่ 102 แห่ง อยู่ในกรุงเทพมหานคร ความต้องการของผู้ป่วยยังมี การขยายตัวตามผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ทีเ่ พิม่ มากขึน้  กลุม่ ประชากรสูงอายุทเี่ พิม่ ขึน้  และการทีป่ ระชากรมีอายุยนื ยาวขึน้  นอกจากนี้ รัฐบาลได้ริเริ่มโครงการประกันสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรคในปี 2544 ซึ่งประชาชนจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพียงครั้งละ 30 บาท ในโรงพยาบาลที่ร่วมโครงการ เป็นผลให้ประชาชนที่มีโอกาสและสิทธิในการใช้บริการโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจาก งบประมาณการชำระเงินคืนโดยรัฐบาลต่ำและปริมาณผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้โรงพยาบาลที่ร่วมโครงการมีหนี้สินเพิ่มขึ้นและ บุคลากรไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบสองอย่างคือ (1) บุคลากรทางการแพทย์ในระบบราชการย้ายไปโรงพยาบาลเอกชน และ (2) ผูป้ ว่ ยที ่ ไม่ต้องการรอการบริการที่นานขึ้นในโรงพยาบาลรัฐย้ายไปใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนแทน อย่างไรก็ตาม ภาวะผันแปรทางการเมือง ในเดือนกันยายน ปี 2549 ทำให้เศรษฐกิจในประเทศเติบโตช้าลง ซึ่งส่งผลให้การใช้บริการทางการแพทย์เอกชนเติบโตช้าลงด้วย และ จำนวนโรงพยาบาลในประเทศไทยยั ง คงมี ป ริ ม าณมากกว่ า ความต้ อ งการของผู้ ป่ ว ยในประเทศ เป็ น ผลให้ ก ารแข่ ง ขั น ระหว่ า ง โรงพยาบาลเอกชนมีความรุนแรง โดยโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านคุณภาพการให้ บริ ก ารและการปรั บ ปรุ ง อาคารและสิ่ ง อำนวยความสะดวก อย่ า งไรก็ ต าม อุ ต สาหกรรมการแพทย์ เ อกชนในประเทศไทย เป็นการแข่งขันแบบไม่สมบูรณ์ (fragmented market) และมีโรงพยาบาลเอกชนเพียงไม่กี่แห่งที่ดำเนินงานได้เต็มความสามารถ ในการให้บริการ ตลาดที่มีขนาดใหญ่กว่าและขยายตัวเร็วกว่าความต้องการในประเทศ คือตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism) มีการ คาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก จะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีผู้เดินทางออกนอกประเทศเพื่อใช้ บริการรักษาพยาบาลมากยิ่งขึ้น นักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ใช้บริการในประเทศไทยเพิ่มขึ้นจาก 630,000 ในปี 2545 เป็น 1.4 ล้านคน ในปี 2549 คู่แข่งในภูมิภาคของประเทศไทยที่สำคัญคือ โรงพยาบาลในประเทศต่าง ๆ เช่นสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินเดีย โรงพยาบาล เอกชนในประเทศไทยมีความได้เปรียบในการแข่งขันเมื่อเทียบกับหลาย ๆ ประเทศ เนื่องจากประเทศไทยมีองค์ประกอบที่แตกต่าง คือ คุณภาพการรักษาพยาบาลที่สูง ความสามารถในการเข้าถึงได้ง่ายของผู้ป่วย และราคาที่สามารถจ่ายได้ รวมถึงการที่ประเทศไทยเป็น จุดหมายทีเ่ ป็นทีน่ ยิ มของนักท่องเทีย่ ว และมีโครงสร้างพืน้ ฐานของประเทศทีด่  ี และในประเทศไทยเอง มีโรงพยาบาลเอกชนเพียงไม่กแี่ ห่ง ที่มีเทคโนโลยีและการบริหารและระบบที่มีความซับซ้อนมากพอที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของผูป้ ว่ ยชาวต่างชาติได้ กลยุทธ์ในการแข่งขันของบริษัท คือการรักษาคุณภาพในการบริการที่เป็นเลิศและแตกต่าง ซึ่งรวมถึงการที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เป็น โรงพยาบาลแห่งแรกในเอเชียที่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลระดับสากล (JCIA) นอกจากนี้ บริษัทมีนโยบายในการกำหนดราคา ให้อยู่ในระดับเดียวกับโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำในประเทศและขณะเดียวกันเป็นราคาที่แข่งขันได้ในภูมิภาคเอเชีย สำหรับการแข่งขันในระดับภูมิภาค นอกจากการรักษาคุณภาพและการกำหนดราคาดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว บริษัทมีแผนที่จะรักษาความ เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโดยการขยายเครือข่ายการให้บริการของโรงพยาบาลและการให้บริการทางการแพทย์ไปยังตลาดกลุ่มเป้าหมาย อื่นผ่านการลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันรวมถึงประเทศฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และตะวันออกกลาง นอกจากนี้ บริษัทมีสำนักงานตัวแทนในต่างประเทศ 17 แห่งในตลาดที่สำคัญ และมีการจัดตั้งศูนย์บริการผู้ป่วยต่างชาติอย่างเป็น ทางการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วยชาวต่างชาติ อีกทั้งเป็นศูนย์รับย้ายผู้ป่วย (Tertiary Referral Center) จากทั้งในและ นอกประเทศ

80


รายงานประจำปี 2550

4. ปัจจัยความเสี่ยง

1. 2.

3. 4.

ผลกระทบจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ถดถอย ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย ได้แก่ โรคระบาดต่าง ๆ ปัญหาผู้ก่อการร้าย ข้ามชาติ ความไม่สงบในภาคใต้ ภาวะทางการเมืองในประเทศ และการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก ถึงแม้ว่าการท่องเที่ยว เชิงสุขภาพจะไม่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงเท่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั่วไป เนื่องจากส่วนมาก ผู้ป่วยจะมีความสัมพันธ์

ที่ค่อนข้างมั่นคงกับโรงพยาบาลและแพทย์ แต่เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ อาจทำให้ผู้ป่วยเลื่อนการเดินทางออกไป หรืออาจทำ ให้ จ ำนวนชาวต่ า งชาติ ที่ เ ดิ น ทางเข้ า มาในประเทศลดน้ อ ยลง และเป็ น ผลให้ มี ค วามเสี่ ย งที่ จ ะกระทบต่ อ รายได้ จ ากผู้ ป่ ว ย ชาวต่ างชาติของบริษัท เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น บริษัทมีการรักษาสัดส่วนจำนวนผู้ป่วยชาวไทยและชาวต่างชาติให้มีความสมดุลกัน

่อไม่ให้บริษัทต้องพึ่งพิงรายได้จากผู้ป่วยชาวต่างชาติในสัดส่วนที่มากเกินไป เพื ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นของโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ ในสภาวะปัจจุบันที่กำลังซื้ออ่อนตัวลงเนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจก่อนหน้านี้ ในขณะที่โรงพยาบาล เอกชนมีอยู่เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้การแข่งขันของโรงพยาบาลเอกชนมีความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความเสี่ยงที่บริษัท

จะสูญเสียลูกค้าไปให้แก่โรงพยาบาลอื่นๆ จึงมีสูงขึ้นตามไปด้วย เพื่อคงความเป็นโรงพยาบาลชั้นนำของประเทศและของภูมิภาคเอเชียและลดความเสี่ยงดังกล่าว บริษัทได้ลงทุนในอุปกรณ์ การแพทย์ที่ทันสมัย และมีการพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากการที่บริษัทเป็นโรงพยาบาล แห่งแรกในเอเชียที่ได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลระดับสากลจากสถาบัน Joint Commission International Accre- ditation (JCIA) ตามมาตรฐานการรับรองของสหรัฐอเมริกา และเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน คุณภาพโรงพยาบาลไทย (Thai Hospital Accreditation - HA) นอกจากนี้บริษัทมีฐานผู้ป่วยรับย้าย (Referral Patients) จากทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงเป็นการตอกย้ำถึงชื่อเสียงของการเป็นผู้นำทั้งในประเทศและต่างประเทศของบริษัท การขาดแคลนบุคลากร ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการประกอบธุรกิจโรงพยาบาล คือ การมีบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะทาง ซึ่งรวมถึงพยาบาล วิชาชีพ เภสัชกรและเจ้าหน้าที่เทคนิคสาขาต่าง ๆ บริษัทจึงมีความเสี่ยงที่จะขาดแคลนบุคลากรวิชาชีพเหล่านี้จากความต้องการ ที่เพิ่มขึ้นและเนื่องจากบริษัทให้ความสำคัญกับฐานลูกค้าที่เป็นผู้ป่วยชาวต่างชาติ จึงมีความต้องการบุคลากรวิชาชีพที่พูดได้ หลายภาษาอีกด้วย เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว บริษัทจึงได้กำหนดค่าตอบแทนและผลประโยชน์ในระดับที่จูงใจสำหรับบุคลากรของบริษัท อีกทั้งยัง

จัดให้มีการศึกษาและฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง จัดให้มีกิจกรรมเสริมสร้างคุณภาพชีวิต และจัดสวัสดิการในรูปแบบต่าง ๆ ให้

ทัดเทียมกับผู้ประกอบการรายอื่น เพื่อเป็นการรักษาบุคลากรของบริษัทเอาไว้ ตลอดจนมีแผนกลยุทธ์เพื่อสร้างความก้าวหน้าใน หน้าที่การงาน โดยผ่านโครงสร้างการจัดการแบบการกระจายอำนาจ การลงทุนในต่างประเทศ บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มีการลงทุนในโครงการต่าง ๆ ใน 7 ประเทศในเอเชียและตะวันออกกลาง ซึ่งการลงทุนดังกล่าวมีความเสี่ยงจากตัวโครงการที่ลงทุน ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุนและความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เพื่ อ เป็ น การลดความเสี่ ย ง ผู้ บ ริ ห ารของบริ ษั ท  บำรุ ง ราษฎร์   อิ น เตอร์ เ นชั่ น แนล จำกั ด  ซึ่ ง มี ป ระสบการณ์ ใ นการบริ ห าร โรงพยาบาลในหลายประเทศ ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการอย่างละเอียดรอบคอบ และมีการทำ due diligence อย่างละเอียดโดยใช้บริษัทที่มีความรู้และความชำนาญในประเทศนั้น ๆ ก่อนที่จะแนะนำการลงทุน นอกจากนี้ บริษัทมีการลด ความเสี่ยงโดยมีผู้ร่วมลงทุนซึ่งเป็นชาวท้องถิ่นในประเทศนั้น ๆ และมีการลดความเสี่ยงจากการกู้ยืมเงิน โดยการกู้ยืมเงินใน ประเทศที่เข้าไปลงทุนโดยไม่มีการค้ำประกันจากบริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือจากบริษัทโรงพยาบาล บำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) 81


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

5.

ข้อพิพาททางกฎหมาย การประกอบธุรกิจโรงพยาบาลอาจมีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการบริการทางการแพทย์ของพนักงานหรือแพทย์ของ โรงพยาบาล เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น บริษัทจึงได้จัดให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงในการรักษาพยาบาล (Healthcare Risk Management System) เพื่อให้มั่นใจว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่โดยบุคลากรของบริษัท จะได้ รับการป้องกันและแก้ไขในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ บริษัทยังได้ทำประกันภัยความเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรองรับความเสียหายที่อาจ เกิดขึ้นจากการถูกฟ้องร้องดังกล่าวอีกด้วย

5. โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ

5.1 ผู้ถือหุ้น รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 รายของบริษัท ณ วันที่ 2 มกราคม 2551 มีดังต่อไปนี้ กลุ่มผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้น*

สัดส่วนการถือหุ้น** (ร้อยละ)

1. บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) 95,816,502 13.12 2. บริษัท บริหารสินทรัพย์ทวี จำกัด 63,258,514 8.66 3. HSBC (Singapore) Nominees Pte Ltd 58,833,800 8.06 4. Istithmar PJSC 43,370,743 5.94 5. Littledown Nominees Limited 9 34,760,100 4.76 6. UOB Kay Hian Private Limited 30,920,390 4.24 7. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 30,744,850 4.21 8. บริษัท วัฒนโสภณพนิช จำกัด 25,121,875 3.44 9. Citibank Nominees Singapore Pte Ltd 21,685,372 2.97 - Aranda Investments Pte Ltd 10. TLS Alpha Pte Ltd 21,685,371 2.97 รวม 426,197,517 58.38 * จำนวนหุ้นรวมทั้งหุ้นบุริมสิทธิและหุ้นสามัญ ** การคิดสัดส่วนการถือหุ้น รวมทั้งหุ้นบุริมสิทธิและหุ้นสามัญ บริษัทมีผู้ถือหุ้นที่เป็นสถาบันการเงินต่างประเทศ หรือผู้รับฝากและดูแลหุ้น (Custodian) หรือผู้ถือหลักทรัพย์แทน (Trust company หรือ Nominee account) อยู่ในสิบอันดับแรกของรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัท ซึ่งบริษัทไม่ทราบชื่อผู้ถือหุ้นที่แท้จริง

เนื่องจากผู้ถือหุ้นเหล่านั้นไม่ได้ส่งบุคคลเข้ามาเป็นกรรมการบริษัท หรือมีส่วนร่วมในการบริหารงานของบริษัท กลุ่มผู้ถือหุ้นที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายการจัดการหรือการดำเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท โดยถือหุ้นในสัดส่วน 9.75%* มีตัวแทนจากธนาคารเป็น กรรมการของบริษัท 2 ท่าน คือ นายชาตรี โสภณพนิช และ นางกุลธิดา ศิวยาธร ส่วนผู้ถือหุ้นรายใหญ่อีกกลุ่มหนึ่ง คือ

Istithmar และ Temasek ถือหุ้นรวมกัน 11.88%** มีสิทธิในการส่งกรรมการเข้ามาเป็นตัวแทนร่วมกัน 1 ท่าน โดยปัจจุบัน แพทย์หญิงเจนนิเฟอร์ ลี จาก Temasek เป็นตัวแทนในคณะกรรมการของบริษัท * ข้อมูล ณ วันที่ 2 มกราคม 2551 รวมการถือหุ้นโดยบริษัท บริหารสินทรัพย์ทวี จำกัด และธนาคารกรุงเทพ จำกัด ** ข้อมูล ณ วันที่ 2 มกราคม 2551 รวมการถือหุ้นโดย Istithmar PJSC. Arada Investments Ple Ltd และ TLS Alpha Pte Ltd. 82


รายงานประจำปี 2550

5.2 การจัดการ (1) โครงสร้างการจัดการ บริ ษั ท มี ค ณะกรรมการ 5 ชุ ด  คื อ  คณะกรรมการบริ ษั ท  คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่ า

ตอบแทน (อนุมัติโดยคณะกรรมการบริษัท ในการประชุมครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551) คณะกรรมการอำนวยการ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (Governing Board) และคณะกรรมการการลงทุน โดยรายละเอียดของคณะกรรมการแต่ละชุด

มีดังต่อไปนี้ คณะกรรมการบริษัท รายชื่อคณะกรรมการบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 มีดังต่อไปนี้ 1. นายชัย โสภณพนิช ประธานกรรมการ 2. นายแพทย์ชาญวิทย์ ตันติ์พิพัฒน์ รองประธานกรรมการ 3. นางลินดา ลีสหะปัญญา กรรมการ และกรรมการผู้จัดการ 4. นายเคอร์ติส จอห์น ชโรเดอร์ กรรมการ และผู้อำนวยการด้านบริหารกลุ่ม 5. นายแพทย์ธนิต เธียรธนู กรรมการ และประธานกรรมการแพทย์ 6. นายชาตรี โสภณพนิช กรรมการ 7. นายแพทย์อนันต์ เตชะเวช กรรมการ 8. นายแพทย์จอน ยังพิชิต กรรมการ 9. แพทย์หญิงคุณสวรรยา เดชอุดม กรรมการ 10. นางกุลธิดา ศิวยาธร กรรมการ 11. นายชอง โท กรรมการ 12. แพทย์หญิงเจนนิเฟอร์ ลี กรรมการ 13. นายแพทย์สิน อนุราษฎร์ กรรมการ และผู้อำนวยการด้านการแพทย์กลุ่ม 14. นางสาวโสภาวดี อุตตโมบล กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ 15. นายสรดิษ วิญญรัตน์ กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ 16. นายบุญปกรณ์ โชควัฒนา กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ โดยมีนางจุฑาทิพ อดุลพันธุ์ เลขานุการบริษัท เป็นเลขานุการคณะกรรมการบริษัท วิธีการลงนามผูกพันบริษัทของกรรมการ กรรมการสองคน นอกจากนายชาตรี โสภณพนิช นางกุลธิดา ศิวยาธร และนายชอง โท ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตรา สำคัญของบริษัท อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท ซึ่งอยู่ในกฎบัตรคณะกรรมการบริษัท และได้รับอนุมัติโดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551 มีดังต่อไปนี้ 1. ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และระมัดระวัง เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของบริษัท 2. มีหน้าที่กำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทาง และกลยุทธ์ของบริษัท เพื่อเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว 3. ให้ความเห็นชอบกลยุทธ์และนโยบายสำคัญของบริษัท รวมถึงวัตถุประสงค์ แผนธุรกิจ เป้าหมายทางการเงิน งบประมาณ การดำเนินงานและการลงทุนที่เสนอโดยผู้บริหาร รวมทั้งดูแลให้เกิดการปฏิบัติตามและติดตามผล

83


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

4. จัดให้มีนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจริยธรรมธุรกิจ และดูแล ติดตามให้มีการสื่อสารและการปฏิบัติตามนโยบาย ดังกล่าว รวมทั้งอนุมัติการแก้ไขตามความเหมาะสม และจัดให้มีการรายงานในรายงานประจำปี 5. จัดให้มีระบบบัญชี การรายงานทางการเงิน และการสอบบัญชีที่มีความน่าเชื่อถือ รวมทั้งดูแลให้มีกระบวนการในการประเมิน ความเหมาะสมของการควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน และการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีการทบทวนทุกปี และมอบหมายให้หน่วยงานตรวจสอบภายในตรวจสอบและรายงานระบบเหล่านี้อย่างเป็นอิสระ 6. อนุมัติงบการเงินประจำไตรมาสและประจำปี และรับรองงบการเงินว่าได้จัดทำขึ้นอย่างถูกต้องและเชื่อถือได้ เป็นไปตาม มาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป และจัดทำรายงานแก่ผู้ถือหุ้นในรายงานประจำปีของบริษัท 7. ดู แ ล ควบคุ ม และอนุมัติ แล้วแต่กรณี การเข้า ทำรายการที่ เ กี่ ย วโยงกั น ที่ อ าจส่ ง ผลให้ เ กิ ด ความขั ด แย้ ง ทางผลประโยชน์ รวมทั้งดูแลให้มีความโปร่งใสในการเข้าทำรายการดังกล่าว และจัดทำนโยบายในการอนุมัติและการเปิดเผยข้อมูลของการทำ รายการที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ 8. จัดตั้งและแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยตามความเหมาะสมเพื่อศึกษา ดำเนินการ และดูแลเรื่องต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งอนุมัติกฎบัตรซึ่งรวมถึงหน้าที่และความรับผิดชอบและค่าตอบแทนของคณะกรรมการชุดย่อย คณะกรรมการตรวจสอบ รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 มีดังต่อไปนี้ 1. นางสาวโสภาวดี อุตตโมบล ประธานกรรมการตรวจสอบ 2. นายสรดิษ วิญญรัตน์ กรรมการตรวจสอบ 3. นายบุญปกรณ์ โชควัฒนา กรรมการตรวจสอบ โดยมี นางทวิชา ตัณสถิตย์ เป็นเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งอยู่ในกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ และได้รับอนุมัติโดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551 มีดังต่อไปนี้ 1. ดูแลรายงานทางการเงินของบริษัทให้เป็นไปตามมาตรฐานบัญชี เพียงพอและเชื่อถือได้ ก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบ อาจจัดให้มีการประชุมร่วมกันกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าประชุม เพื่อขอความเห็นจาก ผู้สอบบัญชีในเรื่องต่างๆ ได้ตามที่เห็นสมควร 2. พิจารณาคัดเลือก และเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของบริษัท พร้อมทั้งค่าธรรมเนียมการสอบบัญชี 3. ดูแลให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดูแลให้มีกระบวนการในการประเมินความเหมาะสม ของการควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน และการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีการทบทวนทุกปี 4. ดูแลให้บริษัทปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 5. ดูแลไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ระหว่างบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน 6. จัดทำรายงานการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อเผยแพร่ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งอย่างน้อยต้องแสดง ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ เกี่ยวกับความถูกต้องเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน และความเพียงพอของระบบการ ควบคุมภายใน รายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ 7. เปิดเผยข้อมูลกรรมการตรวจสอบพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระพร้อมสาเหตุต่อตลาดหลักทรัพย์ทันที 8. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย 9. พิจารณางบประมาณ และกำลังคนของสำนักงานตรวจสอบภายใน 10. ประสานงานกับฝ่ายตรวจสอบภายในของบริษัท เกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน แผนงาน แนวทางการตรวจสอบ รวมทั้ง ประเมินผลการตรวจสอบการดำเนินงานต่าง ๆ ของบริษัทตามวิธีการและมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วไป 11. แต่งตั้ง ถอดถอน โยกย้าย หรือเลิกจ้าง ผู้อำนวยการ (หัวหน้าฝ่าย) ฝ่ายตรวจสอบภายใน

84


รายงานประจำปี 2550

คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน คณะกรรมการบริษัทได้มีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551 โดยที่คณะกรรมการบริษัทมีมติที่จะแต่งตั้งกรรมการคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนต่อไป อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ซึ่งอยู่ในกฎบัตรคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน และ ได้รับอนุมัติโดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551 มีดังต่อไปนี้

ก. งานด้านสรรหา 1. พิจารณาขนาด องค์ประกอบ และวาระดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการบริษัทที่เหมาะสม 2. แนะนำการเกษียณอายุของกรรมการบริษัทให้แก่คณะกรรมการบริษัท 3. กำหนดและตรวจสอบคุณสมบัติของกรรมการบริษัทและกรรมการของคณะกรรมการชุดย่อย 4. พิจารณาสรรหา คัดเลือก และเสนอบุคคลที่เหมาะสมให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทที่ว่างลง หรือเนื่องจากเหตุผลใดก็ตาม และรวมถึงรวบรวมรายชื่อบุคคลที่ผู้ถือหุ้นเสนอ เพื่อขออนุมัติในการประชุมคณะกรรมการบริษัท และ/หรือการประชุมผู้ถือหุ้น

แล้วแต่กรณี 5. พิจารณาและเสนอกรรมการบริษัทที่เหมาะสม ให้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการชุดย่อยเมื่อตำแหน่งว่างลง ข. งานด้านกำหนดค่าตอบแทน 1. กำหนดขั้นตอนและหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าตอบแทนของกรรมการบริษัท และกรรมการของคณะกรรมการชุดย่อย ให้มี ความยุติธรรมและสมเหตุสมผล 2. นำเสนอค่าตอบแทนของกรรมการบริษัท และกรรมการของคณะกรรมการชุดย่อย รวมถึงของกรรมการของคณะกรรมการสรรหา และกำหนดค่าตอบแทนด้วย เพื่ออนุมัติในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท และ/หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น แล้วแต่กรณี 3. จัดทำระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อย รวมถึงเสนอแนะแบบฟอร์ม

การประเมินผล

ค. ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการอำนวยการโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (Governing Board) รายชื่อคณะกรรมการอำนวยการโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กรุงเทพมหานคร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 มีดังต่อไปนี้ 1. นายแพทย์ชาญวิทย์ ตันติ์พิพัฒน์ ประธาน 2. นายเจมส์ แมทธิว แบนเนอร์ เลขานุการ 3. นายชอง โท กรรมการ 4. นายแพทย์การุณ เมฆานนท์ชัย กรรมการ 5. แพทย์หญิงอรดี จันทวสุ กรรมการ 6. นายแพทย์รุจาพงศ์ สุขบท กรรมการ 7. นายแพทย์สิร สุภาพ กรรมการ 8. นางสาวโสภาวดี อุตตโมบล กรรมการ 9. นายแพทย์วัฒนา สุพรหมจักร กรรมการ 10. นายแพทย์วิสุทธิ์ วิเวกาภิรัต กรรมการ 11. นายแพทย์วัชระพงศ์ แซ่ซือ กรรมการ 12. นางอรุณี เกษตระทัต กรรมการ 13. นายแพทย์อภิชาติ ศิวยาธร ผู้เข้าร่วมประชุมโดยตำแหน่ง (Ex officio) 14. นางสาวเจนนิส ชานมันยี ผู้เข้าร่วมประชุมโดยตำแหน่ง (Ex officio) 15. นางคอร์ ลี ชาน ผู้เข้าร่วมประชุมโดยตำแหน่ง (Ex officio) 16. นายแพทย์สิน อนุราษฎร์ ผู้เข้าร่วมประชุมโดยตำแหน่ง (Ex officio) 85


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอำนวยการโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ คณะกรรมการอำนวยการโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อการเสนอแนะและดำเนินการเกี่ยวกับนโยบายการดำเนิน งานของโรงพยาบาล ส่งเสริมความปลอดภัยของผู้ป่วยและปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น การให้บริการที่มีคุณภาพ และการบริหาร และวางแผนงานของโรงพยาบาล โดยคณะกรรมการอำนวยการโรงพยาบาลบำรุ ง ราษฎร์   มี อ ำนาจหน้ า ที่ ค วามรั บ ผิ ด ชอบ ตามกฎเกณฑ์ ข้อบังคับและนโยบายหลักในการกำกับดูแลกิจการของโรงพยาบาล (Governing Board Bylaws Rules and Regulations of Bumrungrad International Hospital, Bangkok) ดังต่อไปนี้

1. จัดระบบแพทย์ที่มีสิทธิในการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลให้เป็นคณะแพทย์ และอยู่ภายใต้ธรรมนูญแพทย์ (Professional Staff Bylaws, Rules and Regulations) ซึ่งได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการอำนวยการโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ 2. แต่งตั้งสมาชิกของคณะแพทย์ และกำหนดสิทธิในการรักษาพยาบาลให้เป็นไปตามธรรมนูญแพทย์ 3. จัดทำ แก้ไขร่วมกับคณะแพทย์ และอนุมัติธรรมนูญแพทย์ เพื่อควบคุมการดำเนินงาน 4. กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะแพทย์ที่สมเหตุสมผล เพื่อให้สามารถรักษาพยาบาลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม รวมถึงการดำเนินการ ของคณะแพทย์และฝ่ายบริหารเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของ Joint Commission International Accreditation (JCIA) และการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลไทย (HA) และทำตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการการลงทุน รายชื่อคณะกรรมการการลงทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 มีดังต่อไปนี้ 1. นายชัย โสภณพนิช ประธาน 2. นางลินดา ลีสหะปัญญา กรรมการ 3. นายชอง โท กรรมการ 4. นางสาวโสภาวดี อุตตโมบล กรรมการ 5. นายเคอร์ติส จอห์น ชโรเดอร์ กรรมการ 6. นายเดนิส บราวน์ ผู้สังเกตการณ์ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการลงทุน พิจารณาโอกาสในการลงทุน ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และโครงสร้างการลงทุนของโครงการ ทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาค ผู้บริหาร รายชื่อผู้บริหารของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 มีดังต่อไปนี้ 1. นางลินดา ลีสหะปัญญา กรรมการผู้จัดการ 2. นายแพทย์ธนิต เธียรธนู ประธานกรรมการแพทย์ 3. นายเคอร์ติส จอห์น ชโรเดอร์ ผู้อำนวยการด้านบริหารกลุ่ม 4. นายแพทย์สิน อนุราษฎร์ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์กลุ่ม 5. นายแพทย์การุณ เมฆานนท์ชัย ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ 6. แพทย์หญิงจามรี เชื้อเพชระโสภณ รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์อาวุโส 7. นายเจมส์ แมทธิว แบนเนอร์ ผู้อำนวยการด้านบริหาร 8. นางคอร์ ลี ชาน ผู้อำนวยการด้านการเงิน 9. นางสาวเจนนิส ชานมันยี ผู้อำนวยการด้านการปฏิบัติการ

86


รายงานประจำปี 2550

รายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริหารและผู้มีอำนาจควบคุมบริษัท กรรมการบริษัท

นายชัย โสภณพนิช

- 2530 - 2531 - 2531 - 2535

Chairman, ASEAN Insurance Council, Jakarta Chairman, ASEAN Insurance Corp., Ltd., Singapore

อายุ 64 ปี ตำแหน่งในบริษัท ประธานกรรมการ คุณวุฒิทางการศึกษา - ปริญญาบริหารธุรกิจบันฑิต University of Colorado นายแพทย์ชาญวิทย์ ตันติ์พิพัฒน์ สหรัฐอเมริกา อายุ 64 ปี - Advanced Management Program, The Wharton ตำแหน่งในบริษัท School, University of Pennsylvania สหรัฐอเมริกา รองประธานกรรมการ - ปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตร ปรอ. คุณวุฒิทางการศึกษา รุ่นที่ 6 - MB. ChB. (ปริญญาตรีแพทย์ศาสตร์และศัลยศาสตร์) - ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Certification Leeds University สหราชอาณาจักร Program รุน่ 16/2002 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ - วุฒิบัตร F.R.C.S. (Fellowship of the Royal College of บริษทั ไทย Surgeons/ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร) - ประกาศนียบัตรหลักสูตร Chairman 2000 รุ่น10/2004 สหราชอาณาจักร จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย สัดส่วนการถือหุ้น* สัดส่วนการถือหุ้น* 0.07% 1.09% ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร - ไม่มี - คู่สมรสของพี่สาวนางลินดา ลีสหะปัญญา ประสบการณ์ทำงาน - น้องชายของนายชาตรี โสภณพนิช ศาสตราจารย์ กิ ต ติ คุ ณ  ภาควิ ช าศั ล ยศาสตร์   คณะแพทย์

ประสบการณ์ทำงาน ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - 2519 - ปัจจุบัน กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. กรุงเทพประกันภัย นางลินดา ลีสหะปัญญา - 2521 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการ บมจ. กรุงเทพ อายุ 56 ปี ประกันภัย ตำแหน่งในบริษัท - 2529 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการ บมจ. จรุงไทยไวร์ กรรมการ แอนด์ เคเบิ้ล กรรมการผู้จัดการ - 2531 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการ บมจ. ฟูรูกาวาเม็ททัล คุณวุฒิทางการศึกษา (ไทยแลนด์) - ปริญญาโท สาขาการเงิน University of Illinois - 2521 - ปัจจุบัน รองประธานกรรมการ สหรัฐอเมริกา บมจ. ไทยรับประกันภัยต่อ - ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Certification - 2511 - ปัจจุบัน กรรมการ บมจ. กรุงเทพประกันชีวิต Program รุ่น 78/2006 จากสมาคมส่งเสริมสถาบัน - 2515 - ปัจจุบัน กรรมการ สมาคมประกันวินาศภัย กรรมการบริษัทไทย - 2548 - 2549 และปี 2540-2543, 2533, 2532, 2528, 2527 สัดส่วนการถือหุ้น* นายกสมาคมประกันวินาศภัย 0.01% - 2549 - ปัจจุบัน ประธานสภาธุรกิจประกันภัยไทย ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร - 2548 - 2549, 2529, 2528 - น้องสาวของคู่สมรสของนายชัย โสภณพนิช President, The East Asian ประสบการณ์ทำงาน Insurance Congress กรรมการผู้จัดการ บมจ.โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ * สัดส่วนการถือหุ้น ณ วันที่ 2 มกราคม 2551 นับรวมการถือหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 87


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

นายเคอร์ติส จอห์น ชโรเดอร์

อายุ 52 ปี ตำแหน่งในบริษัท กรรมการ ผู้อำนวยการด้านบริหารกลุ่ม คุณวุฒิทางการศึกษา - ปริญญาโท สาขาบริหารโรงพยาบาล University of Southern California สหรัฐอเมริกา - ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Certification Program รุ่น 78/2006 จากสมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย สัดส่วนการถือหุ้น* 0.01% ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร - ไม่มี ประสบการณ์ทำงาน - 2536 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการด้านบริหารกลุ่ม บมจ. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ - 2530 - 2536 ผู้อำนวยการ USC University Hospital, Los Angeles, California สหรัฐอเมริกา

นายแพทย์ธนิต เธียรธนู

นายชาตรี โสภณพนิช

อายุ 74 ปี ตำแหน่งในบริษัท กรรมการ คุณวุฒิทางการศึกษา - ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - ปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ ์

จาก Pepperdine University, Los Angeles สหรัฐอเมริกา - ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก De La Salle University ฟิลิปปินส์ - ประกาศนียบัตรวิชาการธนาคารจาก Institute of Bankers ลอนดอน สหราชอาณาจักร สัดส่วนการถือหุ้น* 0.50% ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร - พี่ชายของนายชัย โสภณพนิช ประสบการณ์ทำงาน - 2542 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการ บมจ. ธนาคารกรุงเทพ - 2542 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการ บจ. บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนท์ - ปัจจุบัน ประธานกรรมการ บมจ. ดุสิตธานี - 2506 - ปัจจุบัน กรรมการ บมจ. ธนาคารกรุงเทพ

อายุ 72 ปี ตำแหน่งในบริษัท กรรมการ นายแพทย์อนันต์ เตชะเวช ประธานกรรมการแพทย์ อายุ 74 ปี คุณวุฒิทางการศึกษา ตำแหน่งในบริษัท - แพทยศาสตร์บันฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการ - วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์ระบบประสาท สหราชอาณาจักร คุณวุฒิทางการศึกษา สัดส่วนการถือหุ้น* - MB. ChB. (ปริญญาตรีแพทยศาสตร์และศัลยศาสตร์) 0.02% Edinburgh University สก็อตแลนด์ สหราชอาณาจักร ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร - DCH ประเทศอังกฤษ - ไม่มี - FRCP (Fellow of the Royal College of Physicians / ประสบการณ์ทำงาน ราชวิทยาลัยอายุรศาสตร์) Edinburgh สก็อตแลนด์ ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ สหราชอาณาจักร หัวหน้าหน่วยประสาทศัลยศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ - ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Accreditation คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล Program รุ่น 47/2005 จากสมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย สัดส่วนการถือหุ้น* 0.11% ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร - ไม่มี * สัดส่วนการถือหุ้น ณ วันที่ 2 มกราคม 2551 นับรวมการถือหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

88


รายงานประจำปี 2550

ประสบการณ์ทำงาน ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

นายแพทย์จอน ยังพิชิต

อายุ 72 ปี ตำแหน่งในบริษัท กรรมการ คุณวุฒิทางการศึกษา - MRCOG (Member of Royal College of Obstetricians and Gynecologists / ราชวิทยาลัย

สูตินรีแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร) Queens University สหราชอาณาจักร - FRCOG (Fellow of Royal College of Obstetricians and Gynecologists / ราชวิทยาลัย สูตินรีแพทย์แห่งสหราชอาณาจักร) Queens University สหราชอาณาจักร สัดส่วนการถือหุ้น* - ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร - ไม่มี ประสบการณ์ทำงาน แพทย์อิสระ ร่วมฤดีคลินิก

แพทย์หญิงคุณสวรรยา เดชอุดม

อายุ 62 ปี ตำแหน่งในบริษัท กรรมการ คุณวุฒิทางการศึกษา - แพทยศาสตร์บันฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล - วุฒิบัตร - อายุรศาสตร์ - อายุรกรรมโรคหัวใจ - ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Accreditation Program รุ่น 47/2005 จากสมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย สัดส่วนการถือหุ้น* 0.04% ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร - ไม่มี

ประสบการณ์ทำงาน - 2523 - ปัจจุบัน - 2535 - ปัจจุบัน - ปัจจุบัน - ปัจจุบัน

อายุรแพทย์โรคหัวใจ บมจ. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ คลินิกศูนย์แพทย์ พัฒนา ประธานฝ่ายวิชาการ มูลนิธิหัวใจแห่ง

ประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขาธิการมูลนิธิส่งเสริมสุขภาพ

นางกุลธิดา ศิวยาธร

อายุ 55 ปี ตำแหน่งในบริษัท กรรมการ คุณวุฒิทางการศึกษา - ปริญญาตรีวิทยาศาสตร์สาขาเคมี Stetson University สหรัฐอเมริกา - โครงการอบรมเพื่อรับประกาศนียบัตร CFO รุ่นที่ 6 (Chief Financial Officer Certificate Program) - Advanced Management Program, Harvard Business School, 1997 - ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Certification Program รุ่น 3/2000 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย สัดส่วนการถือหุ้น* - ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร - ไม่มี ประสบการณ์ทำงาน - 2519 - ปัจจุบัน ตำแหน่งปัจจุบันผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บมจ. ธนาคารกรุงเทพ

นายชอง โท

อายุ 40 ปี ตำแหน่งในบริษัท กรรมการ คุณวุฒิทางการศึกษา - ปริญญาโทสาขาการจัดการ Massachusetts Institute of Technology สหรัฐอเมริกา - ปริญญาตรี สาขาปรัชญา รัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ Oxford University สหราชอาณาจักร - ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Accreditation Program รุ่น 54/2006 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย

* สัดส่วนการถือหุ้น ณ วันที่ 2 มกราคม 2551 นับรวมการถือหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

89


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

สัดส่วนการถือหุ้น* - ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร - ไม่มี ประสบการณ์ทำงาน - 2548 - ปัจจุบัน ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ กิจการธนาคาร ต่างประเทศ บมจ. ธนาคารกรุงเทพ - 2548 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการบริหาร บมจ. หลักทรัพย์บัวหลวง - 2544 - ปัจจุบัน กรรมการ บมจ. หลักทรัพย์บัวหลวง - 2543 - ปัจจุบัน กรรมการ บมจ. ปูนซีเมนต์ เอเชีย - 2544 - 2548 กรรมการผู้อำนวยการ บมจ. หลักทรัพย์บัวหลวง - 2544 - 2548 กรรมการบริหาร บมจ. หลักทรัพย์บัวหลวง - 2544 - 2548 ประธานกรรมการบริหาร บริษัทเงินทุน บัวหลวง จำกัด - 2543 - 2544 กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทเงินทุน บัวหลวง จำกัด

แพทย์หญิงเจนนิเฟอร์ ลี

นายแพทย์สิน อนุราษฎร์

อายุ 67 ปี ตำแหน่งในบริษัท กรรมการ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์กลุ่ม คุณวุฒิทางการศึกษา - แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - วุฒิบัตร - อายุรศาสตร์ สหรัฐอเมริกา - วุฒิบัตร - โรคระบบทางเดินอาหาร สหรัฐอเมริกา สัดส่วนการถือหุ้น* - ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร - ไม่มี ประสบการณ์ทำงาน - 2532 - 2537 ศาสตราจารย์ ผู้อำนวยการ ด้านการแพทย์ University Medical Center Lubbock, Texas สหรัฐอเมริกา

นางสาวโสภาวดี อุตตโมบล

อายุ 48 ปี อายุ 56 ปี ตำแหน่งในบริษัท ตำแหน่งในบริษัท กรรมการ กรรมการ ประธานกรรมการตรวจสอบ คุณวุฒิทางการศึกษา คุณวุฒิทางการศึกษา - แพทยศาสตร์บัณฑิต University of Singapore - ปริญญาโทบริหารธุรกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัดส่วนการถือหุ้น* - ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Accreditation - Program รุ่น 5/2003 จากสมาคมส่งเสริมสถาบัน ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร กรรมการบริษัทไทย - ไม่มี - ประกาศนียบัตรหลักสูตร Audit Committee Program ประสบการณ์ทำงาน รุ่น 2/2004 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย - 2550 - ปัจจุบัน ประธานกรรมการ Eu Yan Sang - ประกาศนียบัตรหลักสูตร The Role of Chairman International Ltd. สิงคโปร์ Program รุ่น 14/2006 จากสมาคมส่งเสริมสถาบัน - 2549 - ปัจจุบัน กรรมการ Health Sciences กรรมการบริษัทไทย Authority สิงคโปร์ สัดส่วนการถือหุ้น* - 2547 - ปัจจุบัน Corporate Advisor, Temasek - Holdings (Pte.) Ltd. สิงคโปร์ ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร - 2534 - 2547 ผู้อำนวยการด้านการปฏิบัติการ - ไม่มี KK Women’s & Children’s ประสบการณ์ทำงาน Hospital สิงคโปร์ - 2534 - ปัจจุบัน ที่ปรึกษากฎหมาย สำนักงาน - 2531 - 2534 ผู้อำนวยการด้านการปฏิบัติการ กฎหมายดำรงธรรม Singapore General Hospital - 2544 - ปัจจุบัน กรรมการ บมจ. เอส แอนด์ พี สิงคโปร์ ซินดิเคท * สัดส่วนการถือหุ้น ณ วันที่ 2 มกราคม 2551 นับรวมการถือหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 90


รายงานประจำปี 2550

นายสรดิษ วิญญรัตน์

อายุ 68 ปี ตำแหน่งในบริษัท กรรมการ กรรมการตรวจสอบ คุณวุฒิทางการศึกษา - การบริหารธนาคาร City of London College of Banking สหราชอาณาจักร - ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Accreditation Program รุ่น CP วันที่ 4 พฤษภาคม 2548 จาก สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย สัดส่วนการถือหุ้น* 0.03% ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร - ไม่มี ประสบการณ์ทำงาน - 2525 - ปัจจุบัน รองประธานกรรมการ กลุ่มโรงแรมแลนด์มาร์ค - 2500 - 2533 ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่

บมจ. ธนาคารกรุงเทพ

นายบุญปกรณ์ โชควัฒนา

อายุ 73 ปี ตำแหน่งในบริษัท กรรมการ กรรมการตรวจสอบ คุณวุฒิทางการศึกษา - ปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ University of Nottingham สหราชอาณาจักร - ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Certification Program รุ่น 68/2005 จากสมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย - ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Accreditation Program รุ่น 3/2003 จากสมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย สัดส่วนการถือหุ้น* 0.04% ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร - ไม่มี ประสบการณ์ทำงาน - ประธานกรรมการ บมจ. นิวซิตี้ (กรุงเทพ) - ประธาน มูลนิธิ ดร. เทียม โชควัฒนา - รองประธานกรรมการ บมจ. สหพัฒนพิบูลย์ - รองประธานกรรมการ บมจ. สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง - กรรมการ บมจ. ไอที ซิตี้

* สัดส่วนการถือหุ้น ณ วันที่ 2 มกราคม 2551 นับรวมการถือหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 91


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

ผู้บริหารบริษัท

นางลินดา ลีสหะปัญญา

อายุ 56 ปี ตำแหน่งในบริษัท กรรมการ กรรมการผู้จัดการ คุณวุฒิทางการศึกษา - ปริญญาโท สาขาการเงิน University of Illinois สหรัฐอเมริกา - ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Certification Program รุ่น 78/2006 จากสมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย สัดส่วนการถือหุ้น* 0.01% ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร - น้องสาวของคู่สมรสของนายชัย โสภณพนิช ประสบการณ์ทำงาน กรรมการผู้จัดการ บมจ.โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

นายแพทย์ธนิต เธียรธนู

อายุ 72 ปี ตำแหน่งในบริษัท กรรมการ ประธานกรรมการแพทย์ คุณวุฒิทางการศึกษา - แพทยศาสตร์บันฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล - วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์ระบบประสาท สหราชอาณาจักร สัดส่วนการถือหุ้น* 0.02% ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร - ไม่มี ประสบการณ์ทำงาน ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ หัวหน้าหน่วยประสาทศัลยศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

นายเคอร์ติส จอห์น ชโรเดอร์

อายุ 52 ปี ตำแหน่งในบริษัท กรรมการ ผู้อำนวยการด้านบริหารกลุ่ม คุณวุฒิทางการศึกษา - ปริญญาโท สาขาบริหารโรงพยาบาล University of Southern California สหรัฐอเมริกา - ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Certification Program รุ่น 78/2006 จากสมาคมส่งเสริมสถาบัน กรรมการบริษัทไทย สัดส่วนการถือหุ้น* 0.01% ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร - ไม่มี ประสบการณ์ทำงาน - 2536 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการด้านบริหารกลุ่ม บมจ. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ - 2530 - 2536 ผู้อำนวยการ USC University Hospital, Los Angeles, California สหรัฐอเมริกา

นายแพทย์สิน อนุราษฎร์

อายุ 67 ปี ตำแหน่งในบริษัท กรรมการ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์กลุ่ม คุณวุฒิทางการศึกษา - แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - วุฒิบัตร - อายุรศาสตร์ สหรัฐอเมริกา - วุฒิบัตร - โรคระบบทางเดินอาหาร สหรัฐอเมริกา สัดส่วนการถือหุ้น* - ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร - ไม่มี ประสบการณ์ทำงาน - 2532 - 2537 ศาสตราจารย์ ผู้อำนวยการ ด้านการแพทย์ University Medical Center Lubbock, Texas สหรัฐอเมริกา

* สัดส่วนการถือหุ้น ณ วันที่ 2 มกราคม 2551 นับรวมการถือหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 92


รายงานประจำปี 2550

นายแพทย์การุณ เมฆานนท์ชัย อายุ 58 ปี ตำแหน่งในบริษัท ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ คุณวุฒิทางการศึกษา - แพทยศาสตร์บันฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล - วุฒิบัตร: ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ สัดส่วนการถือหุ้น* - ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร - ไม่มี ประสบการณ์ทำงาน แพทย์ที่ปรึกษาออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาล - 2532 บำรุงราษฎร์ - 2526 - 2531 อาจารย์ภาควิชาออร์โธปิดิกส์และเวชศาสตร์ ฟืน้ ฟู คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาล รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล - 2521 - 2526 แพทย์ประจำโรงพยาบาลศูนย์จังหวัดสระบุรี แพทย์หญิงจามรี เชื้อเพชระโสภณ อายุ 53 ปี ตำแหน่งในบริษัท รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์อาวุโส คุณวุฒิทางการศึกษา - แพทยศาสตร์บันฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล - วุฒิบัตร: General Radiology ประเทศไทย - การศึกษาหลังปริญญา: - Vascular and Interventional Radiology สหรัฐอเมริกา - Body Imaging สหรัฐอเมริกา สัดส่วนการถือหุ้น* - ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร - ไม่มี ประสบการณ์ทำงาน - 2541 - ปัจจุบัน กรรมการ ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่ง ประเทศไทย - 2541 - ปัจจุบัน ที่ปรึกษารังสีวิทยา ศูนย์มะเร็งแห่งชาติ - 2533 - 2538 อาจารย์ แผนกรังสีวิทยา คณะ แพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นายเจมส์ แมทธิว แบนเนอร์ อายุ 60 ปี ตำแหน่งในบริษัท ผู้อำนวยการด้านบริหาร คุณวุฒิทางการศึกษา - ปริญญาโท สาขาบริหารโรงพยาบาล Medical College of Virginia สหรัฐอเมริกา

สัดส่วนการถือหุ้น* - ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร - ไม่มี ประสบการณ์ทำงาน - Bupa Health Care Asia (เดิมชื่อ VISTA) - กรรมการและผู้อำนวยการด้านบริหาร Subang Jaya Medical กัวลาลัมเปอร์ นางคอร์ ลีชาน อายุ 53 ปี ตำแหน่งในบริษัท ผู้อำนวยการด้านการเงิน คุณวุฒิทางการศึกษา - ปริญญาตรี Victoria University of Wellington นิวซีแลนด์ สัดส่วนการถือหุ้น* - ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร - ไม่มี ประสบการณ์ทำงาน - 2530 - 2537 ผูอ้ ำนวยการด้านการเงิน Mount Elizabeth Hospital Ltd. - 2527 - 2529 Chief Accountant, Scotts Holding (S) Pte. Ltd. - 2525 - 2526 Internal Audit Manager, Diethelm Singapore Pte. Ltd. นางสาวเจนนิส ชานมันยี อายุ 46 ปี ตำแหน่งในบริษัท ผู้อำนวยการด้านปฏิบัติการ คุณวุฒิทางการศึกษา - ปริญญาโท George Washington University สหรัฐอเมริกา สัดส่วนการถือหุ้น* - ความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้บริหาร - ไม่มี ประสบการณ์ทำงาน - 2546 - 2548 รองผู้อำนวยการด้านปฏิบัติการ บริษัทบำรุงราษฎร์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ จำกัด - 2543 - 2546 ผู้อำนวยการฝ่าย สังกัดสำนัก ผู้บริหาร บริษัทบำรุงราษฎร์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ จำกัด

* สัดส่วนการถือหุ้น ณ วันที่ 2 มกราคม 2551 นับรวมการถือหุ้นของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 93


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

รายละเอียดเกี่ยวกับกรรมการบริษัทย่อย รายชื่อบริษัทย่อย

บริษัท บำรุงราษฎร์ เมดิคอล เซ็นเตอร์ จำกัด X / // / // / / // //

บริษัท ไวทัลไลฟ์ จำกัด

บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด / X

รายชื่อกรรมการ 1. นายชัย โสภณพนิช X 2. น.พ.ชาญวิทย์ ตันติ์พิพัฒน์ 3. นางลินดา ลีสหะปัญญา / 4. นางกุลธิดา ศิวยาธร 5. น.พ. ธนิต เธียรธนู 6. นายชอง โท 7. นายบุญปกรณ์ โชควัฒนา 8. นายเคอร์ติส จอห์น ชโรเดอร์ / 9. น.พ. สิน อนุราษฎร์ / 10. นางคอร์ ลี ชาน / หมายเหตุ 1. / = กรรมการ X = ประธานกรรมการ // = กรรมการบริหาร 2. บริษทั ซีดอี ี เทรดดิง้ จำกัด (เดิมชือ่ บริษทั โกลเบิลแคร์ โซลูชนั่ (ประเทศไทย) จำกัด) และ บริษทั โกลเบิล แคร์ โซลูชนั่ เอส. เอ. ไม่ปรากฏในตารางข้างต้น เนื่องจากไม่มีกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทเป็นกรรมการ ประธานกรรมการ หรือกรรมการบริหารใน บริษัท ซีดีอี เทรดดิ้ง จำกัด และ บริษัท โกลเบิล แคร์ โซลูชั่น เอส. เอ. (2) การสรรหากรรมการและผู้บริหาร คณะกรรมการบริษัท ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551 โดยในปี 2550 บริษัทยังไม่มีคณะกรรมการสรรหาทำหน้าที่คัดเลือกคณะกรรมการและผู้บริหาร อย่างไรก็ตาม บริษัทได้เปิดโอกาส ให้ผู้ถือหุ้นสามารถเสนอชื่อบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และคุณสมบัติที่เหมาะสมเพื่อรับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัท ล่ ว งหน้ า ก่ อ นที่ จ ะมี ก ารจั ด ประชุ ม สามั ญ ผู้ ถื อ หุ้ น ขึ้ น  ผ่ า นทางเวปไซต์ ข องบริ ษั ท  นอกจากนี้   การเลื อ กตั้ ง กรรมการของบริ ษั ท จะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ 1. ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง 2. ในการเลือกกรรมการ อาจใช้วิธีเสียงลงคะแนนเลือกกรรมการเป็นรายบุคคลคราวละคน หรือคราวละหลายคนรวมกันเป็นคณะ ตามแต่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะเห็นสมควร แต่ในการลงมติแ ต่ละครั้ งผู้ถือหุ้น ต้องออกเสียงด้ วยคะแนนที่มีอยู่ทั้ง หมด จะแบ่ง คะแนนเสียงแก่คนใด หรือคณะใดมากน้อยเพียงใดไม่ได้ 3. การออกเสี ย งลงคะแนนเลื อ กตั้ ง กรรมการให้ ใ ช้ เ สี ย งข้ า งมาก หากมี ค ะแนนเสี ย งเท่ า กั น  ให้ ผู้ เ ป็ น ประธานที่ ป ระชุ ม เป็ น ผู้ออกเสียงชี้ขาด อนึ่ ง กระบวนการในการสรรหากรรมการอิ ส ระของบริ ษั ท  ใช้ วิ ธี เ ดี ย วกั น กั บ กระบวนการในการสรรหากรรมการและผู้ บ ริ ห าร โดยคุณสมบัติของกรรมการอิสระของบริษัทมีดังต่อไปนี้ 1. ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 5 ของทุนชําระแล้วของบริษัท บริษัทในเครือ บริษัทร่วมหรือบริษัทที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ให้นับรวมหุ้นที่ถือโดย ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย 2. เป็ น กรรมการที่ไม่มีส่วนร่วมในการบริหารงานในบริ ษั ท  บริ ษั ท ในเครื อ  บริ ษั ท ร่ ว ม บริ ษั ท ที่ เ กี่ ย วข้ อ งหรื อ ผู้ ถื อ หุ้ น รายใหญ่ ของบริ ษั ท  ไม่ ว่ า จะเป็ น ในลั ก ษณะของลู ก จ้ า ง พนั ก งาน หรื อ ที่ ป รึ ก ษาที่ ไ ด้ รั บ เงิ น เดื อ นประจํ า จากบริ ษั ท  บริ ษั ท ในเครื อ บริษัทร่วม บริษัทที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท 94


รายงานประจำปี 2550

3. 4. 5. 6.

เป็นกรรมการทีไ่ ม่มผี ลประโยชน์หรือส่วนได้เสียไม่วา่ ทางตรงหรือทางอ้อมทัง้ ในด้านการเงินและการบริหารงานของบริษทั  บริษทั ในเครือ บริษัทร่วม หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทในระยะเวลา 1 ปี ก่อนได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบ เว้นแต่คณะกรรมการ บริษัทได้พิจารณาอย่างรอบคอบ แล้วเห็นว่าการเคยมีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียนั้นจะไม่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่และ การให้ความเห็นที่เป็นอิสระ เป็นกรรมการที่ไม่เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องหรือญาติสนิทของผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท ต้องมิใช่กรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นตัวแทนเพื่อรักษาผลประโยชน์ของกรรมการบริษัท ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท สามารถปฏิบัติหน้าที่ แสดงความเห็นหรือรายงานผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท โดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องหรือญาติสนิทของบุคคลดังกล่าว

(3) ค่าตอบแทนกรรมการ กรรมการตรวจสอบและผู้บริหาร ค่าตอบแทนกรรมการและคณะกรรมการตรวจสอบ บริษัทได้จ่ายค่าตอบแทนกรรมการและคณะกรรมการตรวจสอบ สำหรับงวดสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 สำหรับกรรมการ 17 ท่าน ดังต่อไปนี้ เบี้ยประชุมคณะกรรมการ

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17

เบี้ยประชุมคณะกรรมการ ตรวจสอบ เบี้ย รวม จำนวนครั้งที่เข้า เบี้ย จำนวนครั้งที่เข้า ค่า รายชื่อ ประชุม/จำนวน ตอบแทน ประชุม ประชุม/จำนวน ประชุม รวม ครั้งที่เชิญประชุม รายปี รายครั้ง ครั้งที่เชิญประชุม รายครั้ง ค่าตอบแทน 600,000 นาย ชัย โสภณพนิช 7/7 320,000 280,000 600,000 490,000 น.พ. ชาญวิทย์ ตันติ์พิพัฒน์ 7/7 280,000 210,000 490,000 365,000 นาง ลินดา ลีสหะปัญญา 5/7 240,000 125,000 365,000 นาย เคอร์ติส จอห์น ชโรเดอร์ 390,000 6/7 240,000 150,000 390,000 น.พ. ธนิต เธียรธนู 415,000 7/7 240,000 175,000 415,000 นาย ชาตรี โสภณพนิช 290,000 2/7 240,000 50,000 290,000 น.พ. อนันต์ เตชะเวช 390,000 6/7 240,000 150,000 390,000 น.พ.จอน ยังพิชิต 390,000 6/7 240,000 150,000 390,000 พ.ญ. คุณสวรรยา เดชอุดม 365,000 5/7 240,000 125,000 365,000 นาง กุลธิดา ศิวยาธร 365,000 5/7 240,000 125,000 365,000 นาย ชอง โท 390,000 6/7 240,000 150,000 390,000 น.พ. สิน อนุราษฎร์* 290,000 2/4 240,000 50,000 290,000 พ.ญ. เจนนิเฟอร์ ลี** 165,000 1/2 140,000 25,000 165,000 สุลต่านอาเหม็ด บิน ซูลาเยม** 80,000 0/5 80,000 - 80,000 น.ส. โสภาวดี อุตตโมบล 240,000 655,000 7/7 240,000 175,000 415,000 6/6 6/6 นาย สรดิษ วิญญรัตน์ 150,000 565,000 7/7 240,000 175,000 415,000 6/6 นาย บุญปกรณ์ โชควัฒนา 7/7 240,000 175,000 415,000 150,000 565,000 3,940,000 2,290,000 6,230,000 540,000 6,770,000

* น.พ. สิน อนุราษฎร์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการของบริษัท โดยมติของที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 14 ประจำปี 2550 เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2550 ** พ.ญ. เจนนิเฟอร์ ลี ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการของบริษัทแทนสุลต่าล อาเหม็ด บิน ซูลาเยม โดยมติของที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 5/2550 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2550

95


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

ค่าตอบแทนกรรมการ คือค่าตอบแทนที่จ่ายให้แก่กรรมการของบริษัท โดยไม่รวมเงินเดือนและผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องที่จ่ายให้แก่ ผู้บริหาร และค่าตอบแทนกรรมการดังกล่าว ได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นแล้ว ค่าตอบแทนของกรรมการบริหารและผู้บริหาร ค่ า ตอบแทนรวมของกรรมการบริ ห ารและผู้ บ ริ ห ารของบริ ษั ท และบริ ษั ท ย่ อ ย จำนวน 9 ท่ า น ประจำปี   2550 เป็ น จำนวนเงิ น 136.97 ล้านบาท โดยที่ค่าตอบแทนดังกล่าว รวมถึงเงินเดือนและผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องของผู้บริหาร (4) การกำกับดูแลกิจการ (หน้า 104-112) (5) การดูและเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน บริษัทมีนโยบายและวิธีการดูแลผู้บริหารในการนำข้อมูลไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนดังนี้ 1. ข้ อ บั ง คั บ ของบริ ษั ท  กำหนดให้ ก รรมการต้ อ งแจ้ ง ให้ บ ริ ษั ท ทราบโดยไม่ ชั ก ช้ า  หากมี ส่ ว นได้ เ สี ย ในสั ญ ญาที่ ท ำกั บ บริ ษั ท หรือถือหุ้นหรือหุ้นกู้เพิ่มขึ้นหรือลดลงในบริษัทหรือบริษัทในเครือ 2. กรรมการและผู้บริหารต้องจัดทำและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ ต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ภายในเวลาที่กำหนด มาตรการลงโทษ หากกรรมการท่านใดฝ่าฝืนมีดังนี้ 1. แจ้งด้วยวาจาเพื่อแก้ไข 2. รายงานผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณา 3. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีเกิดความเสียหาย 4. เปิดเผยให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทราบ (6) การควบคุมภายใน รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (หน้า 27) (7) นโยบายการจ่ายเงินปันผล 1. นโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัท มีดังนี้ 1.1 เมื่อบริษัทมีกำไรสุทธิที่จะจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นได้ บริษัทจะจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นตามสิทธิของหุ้นบุริมสิทธิก่อน ถ้าปีใดผู้ถือหุ้น บุริมสิทธิได้รับแจกเงินปันผลถึงร้อยละ 15 ของทุนของบริษัทที่เป็นหุ้นบุริมสิทธิแล้ว กำไรส่วนที่เหลือจะแจกให้แก่ผู้ถือหุ้น สามัญเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตามมติที่ประชุมใหญ่˜ถ้าปีใดบริษัทสามารถแจกเงินปันผลได้เกินกว่าร้อยละ 15 ของทุนของบริษัท ให้ผู้ถือหุ้นทั้งสองชนิดได้รับแจกเงินปันผลเท่ากัน 1.2 การจ่ายเงินปันผล ให้กรรมการปฏิบัติตามมติของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น 1.3 ทุกคราวที่บริษัทจ่ายเงินปันผล บริษัทจะจัดสรรเงินไว้เพื่อเป็นทุนสำรองอย่างน้อยร้อยละ 5 ของจำนวนผลกำไรจนกว่าทุน สำรองมีถึงร้อยละ 10 ของจำนวนทุนของบริษัท 1.4 เงินปันผลค้างจ่ายบริษัทจะไม่คิดดอกเบี้ยให้ 2. นโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทย่อย มีดังนี้ 2.1 เมื่อบริษัทมีกำไรสุทธิที่จะจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นได้ บริษัทจะจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตามมติที่ประชุมใหญ่ 2.2 เงินปันผลค้างจ่ายบริษัทจะไม่คิดดอกเบี้ย 96


รายงานประจำปี 2550

ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551 คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติการจ่ายเงินปันผลประจำปี 2550 ซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุม ผู้ ถื อ หุ้ น ในเดื อ นเมษายน 2551 โดยจะจ่ า ยให้ แ ก่ ผู้ ถื อ หุ้ น บุ ริ ม สิ ท ธิ   และผู้ ถื อ หุ้ น สามั ญ ในอั ต ราหุ้ น ละ 0.80 บาท รวมเป็ น เงิ น 584 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 49 ของกำไรสุทธิของบริษัท โดยกำไรสุทธิที่ใช้ในการคำนวณอัตราการจ่ายเงินปันผล คือกำไรสุทธิปี 2550 ของงบการเงินรวม หักด้วยส่วนแบ่งกำไรจากบริษัท โกลเบิล แคร์ โซลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัดที่ไม่ใช่เงินสด ซึ่งเป็นรายการ ที่ ไ ม่ เ กี่ ย วกั บ การดำเนิ น งานโดยปกติ ข องบริ ษั ท และเกิ ด ขึ้ น ครั้ ง เดี ย ว โดยที่ บ ริ ษั ท ได้ จ่ า ยเงิ น ปั น ผลระหว่ า งกาลในอั ต ราหุ้ น ละ 0.40 บาท รวมเป็นเงิน 292 ล้านบาท เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2550 และจะจ่ายเงินปันผลส่วนที่เหลือในอัตราหุ้นละ 0.40 บาท รวมเป็น เงิน 292 ล้านบาท หลังจากที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น สำหรับผลการดำเนินงานปี 2549 บริษัทได้จ่ายเงินปันผล ในอัตรา 0.75 บาทต่อหุ้น เป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 548 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 50.0 ของกำไรสุทธิของบริษัท

6. รายการระหว่างกัน

1. ลักษณะของรายการระหว่างกัน บริษัทมีธุรกิจกับบริษัทย่อย บริษัทร่วม และบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ดังรายละเอียดในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ข้อ 7 ในงวด 31 ธันวาคม 2549 และ 31 ธันวาคม 2550 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายการระหว่างกันกับบุคคลที่มีอาจมีความขัดแย้งกับ บริษัทและบริษัทย่อยหลายรายการ ซึ่งมีทั้งรายการที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจปกติและรายการอื่นๆ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

97


98

มีกรรมการร่วม และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

ของบริษัทโดย ณ วันที่ 2 มกราคม 2551 BKI ถือหุ้นในบริษัท ร้อยละ 13.12

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด กรรมการร่วม (มหาชน) (BBL)

บริษัท กรุงเทพ ประกันภัย จำกัด (มหาชน) (BKI)

ลักษณะความสัมพันธ์ ชื่อบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ของผู้ทำรายการ ระหว่างกัน

ปลูกสร้างจ่าย BBL

- ค่าเช่าที่ดินพร้อมสิ่ง

ค่าใช้จ่าย - ค่าธรรมเนียมการใช้ บัตรเครดิตที่บริษัทจ่าย ให้แก่ BBL

31.5

44.3

รายได้ - รายได้ค่าบริการการ 20.9 รักษาพยาบาลจาก BBL

นโยบายราคา

ความสมเหตุสมผลและ ความจำเป็นของรายการ ระหว่างกัน

35.7

53.4

29.5

20.2

คณะกรรมการตรวจสอบเห็นว่าเป็น รายการที่สมเหตุสมผล

บริษัทได้เช่าอาคาร จาก BBL เพื่อ ผ่านการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นแล้ว สนับสนุนกิจการของโรงพยาบาลซึ่งมี วัตถุประสงค์หลักในการใช้เป็นอาคารจอด รถ และห้องพักญาติผู้ป่วย โดยราคาที่จ่าย ชำระค่าเช่าเป็นราคาที่สมเหตุสมผล

BBL เป็นผู้ให้บริการด้านบัตรเครดิตที่ คณะกรรมการตรวจสอบเห็นว่าเป็น บริษัทใช้บริการมาโดยตลอด โดยบริษัทได้ รายการที่สมเหตุสมผล ลงทุนในสาธารณูปโภคต่างๆ เพื่อใช้ ประโยชน์จากระบบการรับชำระเงินผ่าน บัตรเครดิตอย่างมีประสิทธิภาพ โดยราคา ทีบ่ ริษทั จ่ายชำระแก่ BBLเป็นราคาทีส่ ามารถ เปรียบเทียบได้กับราคาตลาดโดยทั่วไป

เป็นการดำเนินงานตามปกติธุรกิจของ บริษัทโดยใช้ราคาและผลตอบแทนปกติ ตามที่บริษัทให้บริการแก่ลูกค้าโดยทั่วไป

คณะกรรมการตรวจสอบเห็นว่า BKI เป็นผู้ให้บริการในด้านประกันภัยที่ บริษัทและบริษัทย่อยได้ใช้บริการมาโดย เป็นรายการที่สมเหตุสมผล ตลอด และค่าบริการที่บริษัทและบริษัท ย่อยจ่ายแก่ BKI เป็นราคาที่ BKI ให้บริการ แก่ลูกค้าโดยทั่วไป

เป็นการดำเนินงานตามปกติธุรกิจของ คณะกรรมการตรวจสอบเห็นว่า

25.4 บริษัท โดยใช้ราคาและผลตอบแทนปกติ เป็นรายการที่สมเหตุสมผล ตามที่บริษัทให้บริการแก่ลูกค้าโดยทั่วไป

สำหรับปีสิ้นสุด สำหรับปีสิ้นสุด 31 ธ.ค. 2549 31 ธ.ค. 2550

รายได้ - รายได้ค่าบริการการ 21.3 รักษาพยาบาลรับ จาก BKI ค่าใช้จ่าย - ค่าเบี้ยประกันภัยที่ 18.5 บริษัทและบริษัทย่อย จ่ายแก่ BKI

ลักษณะรายการ

มูลค่ารายการ (ล้านบาท)

บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)


รายได้ - รายได้ค่าที่ปรึกษาใน การบริหารงาน โรงพยาบาล จากบริษัท บำรุงราษฎร์

อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

บริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้น ร้อยละ 51 (ณ 31 ธันวาคม 2549) และได้ เปลี่ยนสถานะเป็นบริษัท ร่วมที่บริษัทถือหุ้น

ร้อยละ 31.5 (ณ 27 เมษายน 2550) และมีกรรมการร่วม

- ค่าดอกเบี้ยหุ้นกู้แปลง สภาพจ่าย BBL

ลักษณะรายการ

BBL ต่อ

ลักษณะความสัมพันธ์ ชื่อบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ของผู้ทำรายการ ระหว่างกัน

36.9

17.5

นโยบายราคา

บริษัทได้จ่ายดอกเบี้ยหุ้นกู้แปลงสภาพ 17.5 จำนวนเงินต้น 550 ล้านบาท โดยอัตรา ดอกเบี้ยเป็นไปตามสัญญาการปรับ โครงสร้างหนี้ บริษัทคิดค่าที่ปรึกษาในการบริหารงาน โรงพยาบาลโดยมีความสัมพันธ์กับต้นทุน 28.4 ทรัพยากรที่เกิดขึ้นจริง

สำหรับปีสิ้นสุด สำหรับปีสิ้นสุด 31 ธ.ค. 2549 31 ธ.ค. 2550

มูลค่ารายการ (ล้านบาท)

คณะกรรมการตรวจสอบเห็นว่า เป็นรายการที่สมเหตุสมผล

ผ่านการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นแล้ว

ความสมเหตุสมผลและ ความจำเป็นของรายการ ระหว่างกัน

รายงานประจำปี 2550

99


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

รายการอื่น

1. บริษัทได้สละสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ให้กับธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2549 ผู้ถือหุ้นของบริษัทได้มีมติอนุมัติการสละสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด ให้กับธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดยที่การเสนอขายหุ้นดังกล่าวเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน และมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ชื่อบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ลักษณะความสัมพันธ์ ธนาคารกรุ

งเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัทบริหารสินทรัพย์ทวี จำกัด ซึ่งเป็น บริ ษ ท ั ย่ อ ยที ธ่ นาคารกรุงเทพถือหุน้ อยูท่ งั้ หมด เป็นผูถ้ อื หุน้ ใหญ่ของบริษทั โดยถือหุน้ ของผู้ทำรายการระหว่างกัน รวมกันเป็นจำนวน 136,158,279 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 18.65 ของทุนจดทะเบียน (ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2549) ที่เรียกชำระแล้วของบรษัท ณ วันที่ 20 มกราคม 2549 ในฐานะผู้ที่จะลงทุนใน บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นอยู่ ร้อยละ 99.99 ธนาคารกรุงเทพจึงเข้าข่ายเป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับบริษัท ลักษณะรายการ - การสละสิทธิของบริษัทในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด จำนวน 1,176,469 หุ้นเพื่อให้ธนาคารกรุงเทพจองซื้อแทน - การที่บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 1,176,469 หุ้นให้แก่ธนาคารกรุงเทพ มูลค่ารายการ ธุรกรรม มีมูลค่าประมาณ 180.6 ล้านบาท นโยบายราคา ราคาจองซื้อหุ้นใหม่ของบริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ที่ราคาหุ้นละ 153.52 บาท คำนวณโดยใช้ต้นทุนเงินลงทุนของบริษัทในบริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด บวกอัตราผลตอบแทนที่ตกลงกัน ณ ระดับราคานี้จะมีส่วนเกิน

จากมูลค่าทางบัญชีของบริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งมีมูลค่า

120.18 บาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของที่ปรึกษา ทางการเงินอิสระ ความสมเหตุสมผลและความจำเป็น รายการนี้ ได้ผ่านการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2549 แล้ว ของรายการระหว่างกัน 2. บริษัทได้สละสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ให้กับ Asia Financial Holdings เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2550 ผู้ถือหุ้นของบริษัทได้มีมติอนุมัติการสละสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ให้กับ Asia Financial Holdings โดยที่การเสนอขายหุ้นดังกล่าว เป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน และมีรายละเอียดดังต่อไปนี ้

ชื่อบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน AFH International Company Limited (AFH) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ Asia Financial Holdings Limited ถือหุ้นอยู่ 100% ลักษณะความสัมพันธ์ของผู้ทำรายการ นายโรบิน ยัว ฮิง ชาน (Mr. Robin Yua Hing Chan) ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจและ ระหว่างกัน (ณ วันที่ 12 มีนาคม 2550) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ AFH เป็นพี่น้องกับนายชาตรี โสภณพนิช และนายชัย โสภณพนิช ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัท ดังนั้น AFH จึงเป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันของบริษัท และทำให้ ธุรกรรมเข้าข่ายเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน 100


รายงานประจำปี 2550

ลักษณะรายการ - การสละสิทธิของบริษัท ในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จำนวน 3,714,283 หุ้น เพื่อให้ AFH จองซื้อหุ้น - บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เสนอขายหุ้นใหม่จำนวน 3,714,283 หุ้น

ให้แก่ AFH มูลค่ารายการ ธุรกรรม มีมูลค่าประมาณ 570,216,726.16 บาท นโยบายราคา ราคาจองซื้อหุ้นของบริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ที่ราคาหุ้นละ 153.52 บาท เป็นราคาที่มีส่วนเกินมากจากมูลค่าทางบัญชีของบริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งมีมูลค่า 94.88 บาท (รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของบริษัทย่อย) ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 ราคาจองซื้อหุ้นนี้เท่ากับราคาจองซื้อที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2549 ในการที่ให้พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (Strategic shareholders) คือ Istithmar PJSC, V-Sciences Investment Pte Ltd และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จองซื้อ หุ้นสามัญที่ออกใหม่ของบริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และราคาจองซื้อหุ้น

เป็นราคาที่สอดคล้องกับรายงานของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ ความสมเหตุสมผลและความจำเป็น รายการนี้ ได้ผ่านการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2550 แล้ว ของรายการระหว่างกัน 3. บริษัทได้ซื้อที่ดินและอาคารบีเอช ทาวเวอร์จากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 ผู้ถือหุ้นของบริษัทได้มีมติอนุมัติการซื้อที่ดินและอาคารบีเอช ทาวเวอร์ 1 และ 2 จากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาขน) (BBL) โดยที่ ธุรกรรมดังกล่าวเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน และมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ชื่อบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาขน) ลักษณะความสัมพันธ์ของ นายชาตรี โสภณพนิช ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของ BBL และนางกุลธิดา ศิวยาธร ผู้ทำรายการระหว่างกัน ซึ่งเป็นผู้บริหารของ BBL เป็นกรรมการของบริษัท ดังนั้น BBL จึงเป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน

ของบริษัท และทำให้ธุรกรรมเข้าข่ายเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน ลักษณะรายการ การซื้อที่ดินและอาคารบีเอช ทาวเวอร์ 1 และ 2 จาก BBL มูลค่ารายการ 470 ล้านบาท นโยบายราคา เป็นราคาที่ตกลงกันระหว่าง BBL กับบริษัท โดยคำนึงถึงราคาประเมิน ความสมเหตุสมผลและความจำเป็น รายการนี้ ได้ผ่านการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 แล้ว

ของรายการระหว่างกัน 2. ความจำเป็นและความสมเหตุสมผลของรายการระหว่างกัน บริษัทมีรายการกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เพื่อช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัท การเช่าอาคารจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด

(มหาชน) (รายละเอียดตามหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 7) ช่วยให้บริษัทสามารถรักษาและขยายฐานลูกค้าต่างประเทศได้

ขณะเดียวกัน บริษัทคู่สัญญา และบริษัทประกัน ช่วยขยายฐานลูกค้าของบริษัท

101


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

3. ขั้นตอนการอนุมัติการทำรายการระหว่างกัน การทำรายการระหว่างกัน ซึ่งเป็นไปตามธุรกิจปกติของบริษัท ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้มีอำนาจตามขั้นตอนปกติตามนโยบายของ บริษัท โดยคณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาทบทวนถึงความเหมาะสมและความสมเหตุสมผลของรายการด้วย สำหรับรายการ อื่น ๆ ซึ่งมีมูลค่าสูงตามนิยามของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการ และ/หรือ ผู้ถือหุ้น ตามกฎระเบียบ โดยที่ผู้บริหาร และ/หรือกรรมการที่มีส่วนได้ส่วนเสียไม่มีสิทธิออกเสียง 4. นโยบายการทำรายการระหว่างกันในอนาคต บริษัทยังมีนโยบายที่จะมีรายการกับกิจการที่เกี่ยวข้องกันต่อไปในอนาคต หากเป็นรายการที่มีผลดีต่อบริษัทดังที่กล่าวไว้ข้างต้น อย่างไร ก็ตาม บริษัทจะปฏิบัติตามนโยบายของบริษัท และกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ บริษัทจะมุ่งเน้นความโปร่งใสของรายการที่เกี่ยวโยงกัน และจะรักษาประโยชน์สูงสุดของบริษัทเป็นสำคัญ

7. คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน (หน้า 22-26)

8. งบการเงิน

8.1 งบการเงิน (หน้า 29-68)

8.2 ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี (Audit fee) (ก) ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชี บริษัทและบริษัทย่อย มีค่าตอบแทนจากการสอบบัญชีในปี 2550 เป็นจำนวนเงิน 2.32 ล้านบาท อนึ่งค่าสอบบัญชีปี 2550 ของบริษัท ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้ว (ข) ค่าบริการอื่น ในปี 2550 บริษัทมีค่าบริการอื่น เป็นจำนวนเงิน 95,000 บาท ซึ่งเป็นค่าตรวจสอบพิเศษของอาคาร BH Tower

102



บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

การปฏิ บั ติ ต าม หลั ก การกำกั บ ดู แ ล กิจ การที่ ดี

104


รายงานประจำปี 2550

105



รายงานประจำปี 2550

การปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ด ี

บริ ษั ท ได้ ต ระหนั ก ถึ ง ความสำคั ญ ของการกำกั บ ดู แ ลกิ จ การที่ ดี   และมี ค วามตั้ ง ใจที่ จ ะปฏิ บั ติ ต ามหลั ก การกำกั บ ดู แ ลกิ จ การที่ ดี ของตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทย เพื่ อ การบริ ห ารจั ด การธุ ร กิ จ ที่ มี ค วามโปร่ ง ใส และมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพเพี ย งพอที่ จ ะแข่ ง ขั น ในระดับสากล บริษัทจึงขอรายงานเรื่องการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการ ดังต่อนี้ 1. สิทธิของผู้ถือหุ้น บริษัทเล็งเห็นถึงความสำคัญของสิทธิของผู้ถือหุ้นทุกราย ซึ่งรวมทั้งผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และผู้ถือหุ้นรายย่อย บริษัทมุ่งเน้นการให้ข้อมูลแก่ ผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างถูกต้อง ทันเวลา เท่าเทียมกัน และโปร่งใส เพียงพอสำหรับการตัดสินใจในการลงทุนของผู้ถือหุ้นและนักลงทุน สิทธิของผู้ถือหุ้นครอบคลุมสิทธิพื้นฐานต่างๆ ของผู้ถือหุ้นทั้งในฐานะของนักลงทุนในหลักทรัพย์และในฐานะเจ้าของบริษัท เช่น สิทธิในการซื้อ ขาย โอน หลักทรัพย์ที่ตนถืออยู่ สิทธิในการที่จะได้รับส่วนแบ่งผลกำไรจากบริษัท สิทธิต่างๆในการประชุมผู้ถือหุ้น สิทธิในการแสดงความคิดเห็น สิทธิในการร่วมตัดสินใจในเรื่องสำคัญของบริษัท เช่น การเลือกตั้งกรรมการ การอนุมัติธุรกรรมที่สำคัญ และมีผลต่อทิศทางในการดำเนินธุรกิจของบริษัท การแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อบังคับของบริษัท เป็นต้น ในปี 2550 บริษัทยังได้ดำเนินการในเรื่องต่างๆ ที่เป็นการส่งเสริม และอำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้น ดังนี้ 1. ในการประชุมผูถ้ อื หุน้ ทุกครัง้  บริษทั ได้จดั ส่งหนังสือเชิญประชุมให้แก่ผถู้ อื หุน้ ล่วงหน้า เพือ่ แจ้งวาระการประชุม พร้อมความคิดเห็น ของคณะกรรมการในแต่ละวาระ รวมถึงเอกสารประกอบต่างๆ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจ และได้ชี้แจงสิทธิ ของผู้ถือหุ้นในการเข้าร่วมประชุมและสิทธิออกเสียงลงมติของผู้ถือหุ้นไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้น บริษัทมีการเปิดเผยหนังสือเชิญประชุมบนเว็บไซต์ของบริษัท โดยในกรณีของการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ได้เปิดเผย หนังสือเชิญประชุมล่วงหน้าก่อนวันประชุม 30 วัน 2. ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถเข้าประชุมได้ด้วยตนเอง ผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิโดยการมอบฉันทะให้กรรมการอิสระ หรือบุคคลใดๆ เข้าร่วมประชุมแทน และออกเสียงลงคะแนนแทนตนได้ โดยใช้หนังสือมอบฉันทะแบบหนึ่งแบบใดที่บริษัทได้จัดส่งไปพร้อม กับหนังสือนัดประชุม นอกจากนี้ผู้ถือหุ้นสามารถ Download หนังสือมอบฉันทะผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทได้อีกด้วย 3. บริษทั เปิดโอกาสให้ผถู้ อื หุน้ ได้มสี ว่ นร่วมในการเสนอเรือ่ งทีเ่ ห็นว่าสำคัญและควรบรรจุเป็นวาระในการประชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจำปี ของบริษทั  และเสนอชือ่ บุคคลทีม่ คี วามรู ้ ความสามารถ และคุณสมบัตทิ เี่ หมาะสมเพือ่ รับการพิจารณาเลือกตัง้ เป็นกรรมการบริษทั ล่วงหน้าก่อนที่จะมีการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นขึ้น โดยดูรายละเอียดได้ในเว็บไซต์ของบริษัท 4. ระหว่างการประชุมผู้ถือหุ้น ประธานในที่ประชุมจะเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นทุกรายสามารถเสนอแนะ ซักถาม และเสนอข้อคิดเห็นได้ ทุกวาระ โดยประธานและผู้บริหารจะให้ความสำคัญกับทุกคำถาม และตอบข้อซักถามอย่างชัดเจนและตรงประเด็น พร้อมทั้ง มีการบันทึกการประชุมที่ถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจสอบได้ 2. ความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น บริษัทมุ่งมั่นในการสร้างความเท่าเทียมกันให้เกิดขึ้นกับผู้ถือหุ้นทุกราย ทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้ถือหุ้นรายย่อย นักลงทุนสถาบัน หรือผู้ถือหุ้นต่างชาติ โดยพยายามสร้างเครื่องมือที่ช่วยให้เกิดความเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง เช่น 1. การกำหนดให้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมเป็นไปตามจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นถืออยู่ โดยหนึ่งหุ้นมีสิทธิเท่ากับหนึ่งเสียง 2. มีช่องทางให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยสามารถเสนอเรื่องที่เห็นว่าสำคัญและควรบรรจุเป็นวาระในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีของ บริษัท และเสนอชื่อบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และคุณสมบัติที่เหมาะสมเพื่อรับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัท โดยดูรายละเอียดได้ในเว็บไซต์ของบริษัท และกรรมการอิสระจะเป็นผู้กลั่นกรองและเสนอเรื่องดังกล่าวต่อที่ประชุมกรรมการ เพื่อพิจารณากำหนดเป็นวาระการประชุมในการประชุมผู้ถือหุ้นต่อไป 3. บริษัทมีการดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน โดยมีรายละเอียดตามหน้า 96 นอกจากนี ้ เพือ่ ความสะดวกของผูถ้ อื หุน้ บริษทั ได้นำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการลงทะเบียน ตรวจนับองค์ประชุมผูถ้ อื หุน้  และนับคะแนน เสียงโดยเมื่อจบการประชุม ผู้ถือหุ้นสามารถขอตรวจสอบรายละเอียดได้

107


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

3. บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย เพื่อประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืนอันจะส่งผลถึงความมั่นคงและดำเนินธุรกิจไป ได้ตามที่คาดหวัง และมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มอย่างยุติธรรม ผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญของบริษัทมีดังต่อไปนี้ ผู ้ถือหุ้น นอกเหนื อ ไปจากสิ ท ธิ พื้ น ฐาน สิ ท ธิ ที่ ก ำหนดไว้ ใ นกฎหมาย ข้ อ บั ง คั บ บริ ษั ท เช่น สิทธิในการตรวจสอบจำนวนหุ้น สิทธิในการรับใบหุ้น สิทธิในการเข้าประชุม ผู้ถือหุ้นและออกเสียงลงคะแนน สิทธิในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระในที่ประชุม ผูถ้ อื หุน้  รวมถึงสิทธิทจี่ ะได้รบั ผลตอบแทนอย่างเป็นธรรมแล้ว บริษทั ยังมีการให้ขอ้ มูล แก่ผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน และทันเวลา และให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นในการเสนอแนะข้อ คิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทในฐานะเจ้าของบริษัทอย่างอิสระ ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทให้บริการแก่ผู้ป่วยอย่างมีจริยธรรมและในระดับคุณภาพที่สูงสุด คณะกรรมการ ลู กค้า/ผู้ป่ว ย Medical Ethics Committee ของโรงพยาบาลจะช่ ว ยดู แ ลพิ ทั ก ษ์ สิ ท ธิ ผู้ ป่ ว ย นอกจากนี้   โรงพยาบาลมี แ ผนกที่ ดู แ ลและพั ฒ นาคุ ณ ภาพของการบริ ก ารผู้ ป่ ว ย อย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงความต้องการและความคิดเห็นของผู้ป่วย คู ่ค้า/คู่สัญ ญา บริษัทปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับคู่ค้าและคู่สัญญา และจ่ายชำระหนี้คู่ค้าและคู่ สัญญาอย่างตรงเวลา พนั กงาน บริษัทเชื่อมั่นว่าพนักงานคือทรัพยากรที่มีคุณค่าสำคัญยิ่ง ดังนั้นจึงให้โอกาสในการ ทำงานที่ เ ท่ า เที ย มกั น  และมี ม าตรการที่ จ ะให้ ผ ลตอบแทนที่ เ หมาะสมและ มีการตั้งคณะกรรมการสวัสดิการและคณะกรรมการสุขภาพและความปลอดภัย เพื่อดูแลสวัสดิภาพของพนักงาน รวมทั้งมีการพัฒนาบุคลากรโดยให้การฝึกอบรม เสริมสร้างความรู้ใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนีย้ งั ได้จดั กิจกรรมให้พนักงานแสดงความคิดเห็น เสนอข้อร้องเรียนกับผูบ้ ริหาร โดยตรง กิจกรรมเชิดชูเกียรติพนักงาน เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ พนักงาน บริษัทเชื่อว่าประสิทธิภาพในการทำงานที่ดี ย่อมเกิดจากความผูกพัน ต่อองค์กรของพนักงาน จึงมุง่ มัน่ ในการสร้างและมีการสำรวจความผูกพันของพนักงาน ต่อองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงการดำเนินการของบริษัทในด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพต่อไป คู ่แข่งทางการค้ า บริ ษั ท ประพฤติ ต ามกรอบกติ ก าการแข่ ง ขั น ที่ ดี   ภายใต้ ก รอบของกฎหมาย โดยบริษัทถือว่าคู่แข่งทางการค้าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้บริษัทมีความมุ่งมั่นในการ พัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในการให้บริการให้ดียิ่งขึ้นแก่ลูกค้าและผู้ป่วย เจ้ าหนี้ บริ ษั ท ปฏิ บั ติ ต ามเงื่ อ นไขการกู้ ยื ม เงิ น ด้ ว ยความซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต  อย่ า งเคร่ ง ครั ด และจ่ายชำระหนี้ตรงเวลา โดยบริษัทเชื่อว่าการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้าหนี้ รวมทั้งการสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจเป็นภาระที่บริษัทพึงปฏิบัติต่อเจ้าหนี้ 108


รายงานประจำปี 2550

สั งคม บริ ษั ท มี ค วามมุ่ ง มั่ น ในการส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพของสั ง คมและคุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี ข อง ประชากร โดยเฉพาะการรับผิดชอบต่อสาธารณะ รวมถึงสิง่ แวดล้อม โครงการทีส่ ำคัญ ของบริษัทในรอบปีที่ผ่านมา ได้แก่ 1. โครงการผ่าตัดหัวใจเด็ก 80 ราย ถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสพระราช พิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 โดยร่วมกับ มูลนิธิเด็กโรคหัวใจในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่ทางบริษัท ได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2. โครงการพัฒนาอาชีพเยาวชนสตรี (Youth Career Development Program: YCDP) ซึ่ ง บริ ษั ท ร่ ว มกั บ องค์ ก ารทุ น เพื่ อ เด็ ก แห่ ง สหประชาชาติ   (UNICEF) รับนักเรียนหญิงที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายซึ่งขาดแคลน ทุนทรัพย์จากทุกภูมิภาคของประเทศ เข้ารับการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตร ผู้ช่วยเหลือผู้ป่วย โดยบริษัทรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด และเมื่อสำเร็จหลัก สูตรอบรมแล้ว บริษัทจะพิจารณารับเข้าเป็นพนักงานประจำของบริษัทต่อไป ซึง่ โครงการนีไ้ ด้ดำเนินการมากว่า 8 ปี และได้ชว่ ยเหลือเยาวสตรีมากกว่า 250 คน 3. โครงการให้ทุนการศึกษาต่อเนื่องในระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ โดย บริษัทมอบทุนการศึกษาแก่ผู้ช่วยเหลือผู้ป่วยที่สามารถสอบคัดเลือกเข้าเรียนต่อ สาขาพยาบาลศาสตร์ในสถานศึกษาที่บริษัทกำหนด ซึ่งบริษัทจะให้ทุนการศึกษา และค่าใช้จ่ายทั้งหมด รวมทั้งจัดให้นักเรียนทุนดังกล่าวฝึกงานกับบริษัทในช่วง ปิดภาคการศึกษา และบริษัทจะรับเข้าทำงานกับบริษัทเมื่อสำเร็จการศึกษา ปริญญาตรีพยาบาลศาสตร์แล้ว 4. โครงการคลินิกเคลื่อนที่บริการทางการแพทย์แก่ประชาชนในชุมชนต่างๆ ใน กรุ ง เทพมหานคร โดยบริ ษั ท และกองทุ น ทอมสั น  (Thomson Foundation) ได้จัดบริการหน่วยคลินิกเคลื่อนที่ ออกตรวจและให้บริการทางสาธารณะสุขแก่ ประชาชนในชุมชนต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยในรอบปีที่ผ่านมาคลินิก เคลื่อนที่ให้บริการประชาชนไปแล้วทั้งสิ้น 23,672 ราย อีกทั้งยังได้มอบข้าวสาร แก่ประชาชนอีกกว่า 21 ตัน 5. โครงการมอบเงินและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บริษัทจัดกิจกรรมมอบเงินเพื่อสนับสนุนการดำเนินการของโรงเรียนตำรวจตระเวน ชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 13 จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 200,000 บาท รวมทั้งบริจาคอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ด้วย 6. โครงการวิ จั ย ยา โดยมู ล นิ ธิ โ รงพยาบาลบำรุ ง ราษฎร์   บริ ษั ท ร่ ว มกั บ สถาบั น ทางการแพทย์ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ พัฒนาการวิจัยยาและวิทยาการ ทางการแพทย์ในการรักษาโรค เพื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์ 7. นโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม บริษัทมีนโยบายสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีการสื่อสารให้ พนั ก งานทุ ก คนช่ ว ยกั น อนุ รั ก ษ์ สิ่ ง แวดล้ อ มและทรั พ ยากรธรรมชาติ   อี ก ทั้ ง มุ่งเน้นสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ เพื่อรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยขององค์กรและ ชุมชน และมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 4. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส บริษัทมีช่องทางในการสื่อสารกับผู้ถือหุ้นและนักลงทุน และมีการเปิดเผยรายงานทางการเงิน รวมถึงสารสนเทศอื่นๆ ที่มีความสำคัญ ในการตัดสินใจของผูถ้ อื หุน้ และนักลงทุนต่อสาธารณะอย่างโปร่งใส ครบถ้วน เชือ่ ถือได้ และทันต่อเวลา ผ่านช่องทางต่างๆ ทีห่ ลากหลาย 109


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

เช่น การพบปะกับนักวิเคราะห์รายไตรมาส การเข้าร่วมกิจกรรม roadshow และ investor conference การพบปะระหว่างผู้บริหาร กับนักลงทุน รวมถึงมีการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทผ่านเว็บไซต์ของบริษัท ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยในปี 2550 บริษัทมีการพบ ปะกับนักวิเคราะห์รายไตรมาส 4 ครั้ง การเข้าร่วมกิจกรรม roadshow และ investor conference 10 ครั้งทั้งในประเทศและต่าง ประเทศ ซึ่ ง รวมถึ ง สหราชอาณาจั ก ร สิ ง คโปร์   ฮ่ อ งกง ญี่ ปุ่ น  และการพบปะและการประชุ ม ทางโทรศั พ ท์ ร ะหว่ า งผู้ บ ริ ห าร กับนักลงทุน 91 ครั้ง นอกจากนี้   บริ ษั ท ได้ จั ด ให้ มี ฝ่ า ยเลขานุ ก ารบริ ษั ท และนั ก ลงทุ น สั ม พั น ธ์ เ พื่ อ อำนวยความสะดวกแก่ นั ก ลงทุ น และผู้ ถื อ หุ้ น ผู้ ที่ สนใจสามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่โทรศัพท์ 0-2667-2010 อีเมล ir@bumrungrad.com และเว็บไซต์ www.bumrungrad.com 5. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ คณะกรรมการของบริษัท ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มากด้วยความรู้และประสบการณ์ในหลายๆ ด้าน กรรมการทุกท่านมีส่วนร่วม ในการกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ เป้าหมาย แผนธุรกิจ และงบประมาณของบริษัท ตลอดจนกำกับดูแลให้ฝ่ายบริหารดำเนิน การให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้กับกิจการและความมั่นคงสูงสุดให้กับ ผู้ถือหุ้น คณะกรรมการมีการประชุมทุกไตรมาสเพื่อพิจารณาการรายงานผลการดำเนินกิจการของฝ่ายบริหาร โดยรายละเอียด ของอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของกรรมการ สามารถดูได้จากข้อ 5.2 การจัดการ ปัจจุบันคณะกรรมการบริษัทมีจำนวน 16 ท่าน ประกอบด้วยกรรมการบริษัทที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารจำนวน 9 ท่าน และกรรมการบริษัท ที่มาจากฝ่ายบริหารจำนวน 4 ท่าน และมีกรรมการที่มีคุณสมบัติเป็นอิสระตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. กำหนด จำนวน 3 ท่าน บริษัทมีกรรมการจำนวน 4 ท่านที่เป็นผู้บริหาร ดังต่อไปนี้ 1. นางลินดา ลีสหะปัญญา 2. นายแพทย์ธนิต เธียรธนู 3. นายเคอร์ติส จอห์น ชโรเดอร์ 4. นายแพทย์สิน อนุราษฎร์ กรรมการจำนวน 9 ท่านที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารมีดังต่อไปนี้ 1. นายชัย โสภณพนิช 2. นายแพทย์ชาญวิทย์ ตันติ์พิพัฒน์ 3. นางกุลธิดา ศิวยาธร 4. นายแพทย์จอน ยังพิชิต 5. แพทย์หญิงคุณสวรรยา เดชอุดม 6. นายแพทย์อนันต์ เตชะเวช 7. นายชอง โท 8. นายชาตรี โสภณพนิช 9. แพทย์หญิงเจนนิเฟอร์ ลี บริษัทมีกรรมการจำนวน 3 ท่านที่เป็นกรรมการอิสระและเป็นกรรมการตรวจสอบดังต่อไปนี้ 1. นางสาวโสภาวดี อุตตโมบล 2. นายสรดิษ วิญญรัตน์ 3. นายบุญปกรณ์ โชควัฒนา กรรมการที่เป็นอิสระ 3 ท่าน คิดเป็น 19% ของกรรมการทั้งคณะ 110


รายงานประจำปี 2550

บริษัทกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างคณะกรรมการบริษัท และผู้บริหารระดับสูงอย่างชัดเจน โดยกรรมการบริษัท มี ห น้ า ที่ ค วามรั บ ผิ ด ชอบในการกำหนดนโยบายและกำกั บ ดู แ ลการดำเนิ น งานของผู้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง ในระดั บ นโยบาย ขณะที่ ผู้บริหารระดับสูงทำหน้าที่บริหารงานของบริษัทในด้านต่างๆ ให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนด ดังนั้นประธานกรรมการบริษัท และ กรรมการผู้จัดการจึงเป็นบุคคลคนละคนกัน การประชุมคณะกรรมการบริษัท การประชุมคณะกรรมการบริษัทถือเป็นหน้าที่สำคัญของกรรมการบริษัทที่จะต้องเข้าร่วมประชุมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับทราบและ ร่วมตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยในแต่ละปี บริษัทกำหนดให้มีการจัดประชุมคณะกรรมการโดยปกติปีละ 4 ครั้ง ทุกไตรมาส และอาจมีการจัดประชุมครั้งพิเศษตามความจำเป็น ซึ่งแต่ละครั้งจะมีการกำหนดวาระการประชุมล่วงหน้าไว้อย่าง ชัดเจน โดยประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ เป็นผู้ร่วมกำหนดวาระการประชุมและพิจารณาเรื่องเข้าสู่วาระการประชุมคณะ กรรมการบริษัท และเปิดโอกาสให้กรรมการแต่ละท่านสามารถเสนอเรื่องต่างๆ เพื่อเข้ารับการพิจารณาเป็นวาระการประชุมได้ เลขานุการบริษัทเป็นผู้จัดทำหนังสือเชิญประชุมพร้อมวาระการประชุมและเอกสารต่างๆ ส่งให้คณะกรรมการก่อนการประชุมล่วงหน้า อย่างน้อย 7 วัน เพื่อให้กรรมการได้มีเวลาศึกษาหาข้อมูลอย่างเพียงพอก่อนเข้าร่วมประชุม โดยปกติการประชุมจะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง และในการพิจารณาเรื่องต่างๆ ประธานในที่ประชุมได้เปิดโอกาสให้กรรมการได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ในกรณีที่ กรรมการท่ า นใดมี ส่ ว นได้ เ สี ย  กรรมการท่ า นนั้ น จะไม่ เ ข้ า ร่ ว มประชุ ม และ/หรื อ ไม่ ใ ช้ สิ ท ธิ อ อกเสี ย งลงคะแนนในเรื่ อ งนั้ น ในปี 2550 ได้มีการประชุมคณะกรรมการจำนวน 7 ครั้ง แบ่งเป็นการประชุมที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าจำนวน 4 ครั้งและการประชุม พิเศษ 3 ครั้ง โดยรายละเอียดการเข้าร่วมประชุมของกรรมการแต่ละท่าน อยู่ในหน้า 95 ค่าตอบแทนกรรมการ กรรมการตรวจสอบ และผู้บริหาร ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ผู้บริหารระดับสูงจะได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมด้วยเพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์รวมทั้งรับทราบนโยบาย โดยตรงจากคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อสิ้นสุดการประชุมเลขานุการบริษัท จะเป็นผู้ที่มีหน้าที่จัดทำรายงานการประชุมและจัดส่งให้ที่ประชุมกรรมการรับรองความถูกต้อง ในครั้งถัดไป ทั้งนี้กรรมการบริษัทสามารถแสดงความคิดเห็น ขอแก้ไข เพิ่มเติมรายงานการประชุมให้มีความละเอียดถูกต้องมากที่สุด และเลขานุการบริษัทเป็นผู้จัดเก็บรายงานการประชุมที่ได้รับการรับรองจากที่ประชุมแล้ว เพื่อให้คณะกรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบได้ คณะอนุกรรมการ คณะกรรมการบริ ษัทได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดต่ า งๆ เพื่ อช่ ว ยคณะกรรมการพิ จ ารณา และปฏิ บั ติห น้ าที่ เ ฉพาะเรื่ อง และ เสนอให้คณะกรรมการพิจารณาหรือรับทราบ โดยรายชื่อกรรมการ รวมถึงขอบเขตและอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ได้ระบุไว้แล้วในข้อ 5.2 การจัดการ โดยคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ มีดังนี้ 1. คณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วยกรรมการอิสระ 3 ท่าน คณะกรรมการตรวจสอบมีการประชุม 6 ครั้งในปี 2550 และ ได้รายงานการผลการประชุมต่อคณะกรรมการบริษัท สำหรับรายละเอียดการเข้าร่วมประชุมของกรรมการแต่ละท่าน ได้ระบุในหน้า 95 ค่าตอบแทนกรรมการ กรรมการตรวจสอบและผู้บริหาร 2. คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน คณะกรรมการบริษัท ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาและกำหนด ค่าตอบแทนในการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551 โดยคณะกรรมการสรรหาและกำหนด ค่าตอบแทน จะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ในปี 2551 3. คณะกรรมการอำนวยการโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (Governing Board) ประกอบด้วยกรรมการบริษัท 3 ท่าน ผู้บริหาร 2 ท่าน แพทย์ 6 ท่าน และกรรมการที่ได้รับเชิญ 1 ท่าน ในปี 2550 คณะกรรมการอำนวยการโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีการประชุม 6 ครั้ง 4. คณะกรรมการการลงทุน ประกอบด้วยกรรมการอิสระ 1 ท่าน กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร 2 ท่าน และกรรมการที่เป็น ผู้บริหาร 2 ท่าน ในปี 2550 คณะกรรมการการลงทุนมีการประชุม 3 ครั้ง 111


บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

ค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหาร บริษัทมีการพิจารณาค่าตอบแทนที่เหมาะสมให้แก่คณะกรรมการและผู้บริหาร โดยได้มีการเสนออนุมัติต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อจ่าย ค่าตอบแทนให้แก่คณะกรรมการบริษัท โดยจำนวนเงินที่จ่ายจะพิจารณาเปรียบเทียบกับการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการของบริษัท ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน และอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ส่วนค่าตอบแทนผู้บริหาร อยู่ในรูป ของเงินเดือนและโบนัส และขึ้นอยู่กับหน้าที่ความรับผิดชอบ ผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารแต่ละท่าน ประกอบกับผลการดำเนิน งานของบริษัท สำหรั บ รายละเอี ย ดค่าตอบแทนกรรมการบริษัท ซึ่งได้ รั บ อนุ มั ติ จ ากที่ ป ระชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ น ของปี   2550 บริ ษั ท ได้ เ ปิ ด เผยจำนวนเงิ น เป็นรายบุคคลและได้เปิดเผยค่าตอบแทนผูบ้ ริหารรวม ในหน้า 95 ค่าตอบแทนกรรมการ กรรมการตรวจสอบและผูบ้ ริหาร การสรรหากรรมการบริษัท ในปี 2550 คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่สรรหาผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อดำรงตำแหน่งกรรมการแทนกรรมการที่ครบกำหนดออกตามวาระ หรือในกรณีอื่นๆ เพื่อเสนอชื่อเข้ารับการเลือกตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นต่อไป โดยคณะกรรมการจะคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความ เชี่ยวชาญจากหลากหลายอาชีพ มีภาวะผู้นำ วิสัยทัศน์กว้างไกล เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม มีประวัติการทำงานที่โปร่งใส ไม่ด่างพร้อย รวมทั้งมีความสามารถในการแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระ ในกฎบั ต รของคณะกรรมการบริ ษั ท ซึ่ ง คณะกรรมการบริ ษั ท ได้ อ นุ มั ติ ใ นการประชุ ม คณะกรรมการบริ ษั ท ครั้ ง ที่   1/2551 เมื่ อ วั น ที่   27 กุ ม ภาพั น ธ์   2551 บริ ษั ท ได้ ก ำหนดอายุ ข องกรรมการบริ ษั ท ที่   75 ปี   และกรรมการบริ ษั ท แต่ ล ะท่ า นต้ อ งไม่ ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทจดทะเบียนอื่นเกินกว่า 8 บริษัท แต่บริษัทไม่มีการกำหนดจำนวนวาระการดำรงตำแหน่งติดต่อกัน สูงสุดของกรรมการบริษัท เพราะบริษัทเชื่อว่าอำนาจในการตัดสินใจในการเลือกตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทนั้น เป็ น สิ ท ธิ ข องผู้ ถื อ หุ้ น โดยแท้ ที่ จ ะคั ด เลื อ กบุ ค คลเข้ า ทำหน้ า ที่ แ ทนตนในการกำหนดนโยบายและควบคุ ม บริ ษั ท ที่ ต นเป็ น เจ้ า ของ ระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายใน บริษัทได้ให้ความสำคัญกับระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน โดยได้จัดตั้งหน่วยงานตรวจสอบภายใน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ หลักเพื่อสนับสนุน และส่งเสริมให้มีระบบการควบคุมภายในที่ดีภายในองค์กร เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินงาน และเพื่อให้มีคุณภาพ ในระบบงานและในการปฏิบัติงาน โดยมุ่งเน้นถึงความมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีการใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง สมประโยชน์ และรวมถึงการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและ/หรือความต้องการของผู้บริหาร เพื่อให้แน่ใจว่าหน่วยงานตรวจสอบภายในมีการทำงานที่เป็นอิสระ และมีการถ่วงดุลอำนาจ หน่วยงานตรวจสอบภายในมีหน้าที่รายงาน ผลการดำเนินงานโดยตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เพื่ อ ป้ อ งกั น ปั ญ หาความขั ด แย้ ง ของผลประโยชน์   คณะกรรมการมี ก ารพิ จ ารณารายการที่ อ าจมี ค วามขั ด แย้ ง ทางผลประโยชน์ และรายการที่เกี่ยวโยงกันอย่างรอบคอบ และมีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีราคาและ เงื่อนไขเสมือนการทำรายการกับบุคคลภายนอก และได้เปิดเผยรายละเอียด มูลค่ารายการ คู่สัญญา เหตุผลความจำเป็นไว้ในงบ การเงินรายงานประจำปี และแบบ 56-1 แล้ว 112



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.