Jamboreer SCG Magazine / October-December 2014
Pure Mastery ดื่มดํ่าสถาปัตย์ ไทยชั้นครู อาจารย์ภิญโญ สุวรรณคีรี
by
เสือ เดคอร์
Flavors of Siam โรงเรียนสอนทำ�อาหาร ใต้ชายคาไทยแท้ Heritage Highlights เยี่ยมเรือนโบราณกลางกรุง
P.2 Tiger Cement edit 225x300.pdf
C
M
Y
CM
MY
CY
CMY
K
1
10/7/14
10:54 AM
page 3 / October-December 2014 / SCG Magazine
Contents
6
4
SCG News & Events
What’s On & What’s New
8 10 Trends
Editor Talk
Property Showcase
14 16 18 20 22 Interview
Travel
Open House
Take a Break
Get the Gear
หลังจากที่ Jamboreer พาท่องโลกสถาปัตยกรรม ระดับโลกมา 2 ฉบับแล้ว ฉบับนี้เลยขอนำ�เสนอความ สามารถของสถาปนิกไทยกันบ้างในธีม VERY THAI เริ่มตั้งแต่ร้านอาหารไทยที่เต็มไปด้วยอาหารไทยตำ�รับ โบราณแต่บรรยากาศร่วมสมัย คอลัมน์ Property Showcase ที่เราภูมิใจนำ�เสนอ บทสัมภาษณ์ อาจารย์ ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติและราชบัณฑิต สำ�นักศิลปกรรม ประเภทสถาปัตยศิลป์ ผู้สืบทอด ตำ�นานสถาปนิกไทยดั้งเดิมสู่งานสถาปัตยกรรม สมัยใหม่ กับผลงานที่เชื่อมโยงงานสถาปัตยกรรมไทย กับการเปลี่ยนผ่านของกาลเวลาได้อย่างลงตัว นอกจากนั้นยังเสนอเส้นทางท่องเที่ยวอยุธยา ด้วยการล่องเรือผ่านแม่นํ้าเจ้าพระยา ชมบรรยากาศ ริมสองฝั่งแม่นํ้าดั่งเช่นการเดินทางในอดีต สู่อดีต ราชธานีอันงดงามของไทย ปิดท้ายด้วยการเยี่ยมชม โรงเรียนสอนทำ�อาหารไทย ที่เน้นการออกแบบ ที่แสดงแนวคิดแบบวิถีไทยผสานกับการใช้สอยใน ยุคใหม่ ทำ�ให้อยากเรียนทำ�อาหารไทยขึ้นมาเลย ทีเดียว เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ขอเชิญทุกท่านมาร่วม ดื่มดํ่ากับความงามของสถาปัตยกรรมไทยกันได้เลย ครับ เรวัต สุริยาภณานนท์
SCG Magazine / October-December 2014 / page 4
page 5 / October-December 2014 / SCG Magazine
SCG News & Events
The Big Revamp ตราเสือ ปรับโฉมครั้งใหญ่ เปิดตัวแพ็คเกจจิ้ง และโลโก้ใหม่ พร้อมแคมเปญดัน “เสือ มอร์ตาร์” ทำ�ตลาด “งานเสร็จไว สวยสมบูรณ์แบบ”
ที่สองจากซ้าย คุณอัญชลี ชวนะลิขิกร ผู้อำ�นวยการฝ่ายการ ตลาดซีเมนต์ บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำ�กัด ที่สองจากขวา คุณเรวัต สุริยาภณานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามมอร์ตาร์ จำ�กัด
ตราเสือ ผู้นำ�นวัตกรรมปูนซีเมนต์ที่มีความเป็น มายาวนานกว่า 97 ปี และเป็นผู้แนะนำ�ปูนซีเมนต์ ผสม สำ�หรับทำ�งานเอนกประสงค์ ก่อ ฉาบ เท ได้ เดินหน้าสร้างความแข็งแกร่งให้แบรนด์จากการ ปรับภาพลักษณ์ของโลโก้และแพ็คเกจจิ้งใหม่ในทุก กลุ่มผลิตภัณฑ์ ให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น และ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ ตราเสือ ในการเป็นผู้นำ� ในการพัฒนาสินค้าที่มีนวัตกรรมหลากหลาย ตอบ โจทย์การใช้งานปูนซีเมนต์ที่ให้ความคงทนยาวนาน สูงสุด ตลอดจนเป็นผู้นำ�เสนอโซลูชั่นหลากหลายที่ สามารถตอบความต้องการลูกค้าได้ทุกกลุ่ม นอกจากนี้ ตราเสือ ที่ไม่เคยหยุดนิ่งในการ คิดค้นและพัฒนาสินค้าออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ยังเพิ่มความแข็งแกร่งในการสื่อสารจุดแข็งของ แต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมาก ยิ่งขึ้นด้วยการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์ ใหม่ตามการใช้ งาน โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กลุ่มปูนซีเมนต์ผสม และปูนซีเมนต์สำ�หรับงานฉาบ เฉพาะ “เสือ ซีเมนต์” กลุ่มปูนซีเมนต์สำ�เร็จรูป “เสือ มอร์ตาร์” กลุ่มปูนซีเมนต์ตกแต่งโชว์พื้นผิว “เสือ เดคอร์” และกลุ่ม “เสือ สินค้าประกอบอื่นๆ” เช่น เสือ กาวซีเมนต์ เสือ วัสดุผสมปูนซีเมนต์ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มงานบริการ ได้แก่ เสือ มอร์ตาร์ บริการพ่นฉาบ และระบบผนังนวัตกรรม WALLi-T (Wall innovation by Tiger Mortar) เป็นต้น โดย “เสือ มอร์ตาร์” ถือเป็นเรือธง (Flag Ship) ที่สำ�คัญในการทำ�ตลาด
SCG Magazine / October-December 2014 / page 6
page 7 / October-December 2014 / SCG Magazine
What’s New
What’s On
Manorah Royal Cuisine
X Sexy Beach Party Concert
ความงามสไตล์นโี อคลาสสิคของอาคารไปรษณียก์ ลาง ที่มีอายุเก่าแก่ร่วมร้อยปีช่วยส่งให้บรรยากาศมื้อ อาหารไทยในร้านมโนราห์ รอยัล คุยซีน ซึ่งตั้งอยู่ด้าน ในคล้ายกับการนัง่ เครื่องย้อนเวลาหวนคืนอดีต โดยใน ร้านตกแต่งด้วยเฟอร์นเิ จอร์ลวดลายไทยแท้แซมความ สดชื่นด้วยกล้วยไม้ไทยกลมกลืนเข้ากับตัวอาคาร ด้านอาหารก็เป็นไทยยอดนิยม และไทยพื้นบ้าน รสจัดจ้านที่ไม่ได้เน้นการตกแต่งที่โมเดิร์นมากไปกว่า ความอร่อย ข้าวตังหน้าตั้ง ผัดไทยมโนราห์ เสิร์ฟคู่กุ้งแม่นํ้า ห่อหมกทะเล คั่วกะปิมโนราห์ ปลากระบอกต้มขมิ้น และคัว่ กลิง้ คือเมนูทเ่ี ชฟแนะนำ� อาจมีบางเมนูทป่ี รับเปลีย่ นวัตถุดบิ เป็นตะวันตกอยูบ่ า้ ง เช่น พะแนงซีโ่ ครงแกะ ปลาแซลมอนผัดขึน้ ฉ่าย ยำ�ปลาแซลมอนฟู ทว่ารับประกันได้วา่ ยังคงความ จัดจ้านแบบไทยในทุกเมนู อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง โทร. 02-206-7310, www.grandpostal.com เปิดบริการทุกวัน เวลา 11:00-14:00 น. และ 17:00-21:00 น.
ชายหาด Ocean Marina Yacht Club Pattaya จะ ถูกเปลี่ยนเป็นแดนซ์ฟลอร์เอาท์ดอร์ขนาดยักษ์ ในงาน X Sexy Beach Party Concert โดยกว่าสิบศิลปิน ไทยชั้นนำ�อย่าง เจ เจตริน, ดาเอ็นโดรฟิน, โจอี้ บอย, สิงห์เหนือเสือใต้, D.J สไปด้าร์มังกี้, Mild และ ETC นอกจากนี้ยังได้วงน้องใหม่อย่าง BoomBoomCash และ ตาตั้น มาสร้างความสนุกพร้อมกับ DJ จาก Trasher ที่จะรับรองความสนุกริมชายหาดพัทยาอย่าง ที่ไม่เคยมีมาก่อน ในวันที่ 8 พฤศจิกายนนี้ บัตรราคา 1,500 บาท ที่ Thaiticket Major ทุกสาขา
WaterZonic ไม่ควรพลาดกับอีเวนท์ยักษ์ ใหญ่ประจำ�ปี เทศกาล WaterZonic ที่กำ�ลังจะเปิดตัวอย่าง เป็นทางการครั้งแรกในวันที่ 22 พฤศจิกายนนี้ พร้อมผนึกเอาความสนุกของดนตรี EDM ไว้กับการเฉลิมฉลองปาร์ตี้สงกรานต์ โดย แปลงโฉมสนามราชมังคลากีฬาสถานให้กลาย เป็นนํ้าตกขนาดยักษ์ ขนาบด้วยสระนํ้าและ พลุ ให้คุณได้เพลิดเพลินไปกับการดวลปืนฉีด นํ้าและเสียงดนตรีของศิลปิน EDM ระดับ โลกอย่าง NERVO, Zedd, Showtek และ Krewella รวมถึงเหล่าดีเจชั้นนำ�ของเอเชีย และไทย จองบัตรได้แล้ววันนี้ที่ Thaiticket Major
Noise Market 3 กรุงเทพฯ ต้อนรับลมหนาวปีนี้ด้วยการ กลับมาเป็นครั้งที่สามของงานตลาดนัด เสียงดนตรีที่ลานสนามหญ้าอันร่มรื่นของ Museum Siam ในวันที่ 8-9 พฤศจิกายนนี้ พร้อมเลือกซื้อซีดีและแผ่นเสียงหายาก ไป จนถึงงานฝีมือ หนังสือทำ�มือ และงานศิลปะ พร้อมชมภาพยนตร์ และเสวนาท่ามกลาง เสียงดนตรีจากวงดนตรีมากมายอาทิเช่น Hariguem Zaboy, Basement Tape และ Plastic Section
Apinara Siam Wisdom
NASA A Human Adventure พลาดไม่ได้กับงานนิทรรศการอวกาศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดขององค์การบริหารการ บินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ หรือ นาซา ที่ยกอุปกรณ์ต่างๆ มาร่วมจัด แสดงที่ บางกอก คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ เซ็นทรัล ลาดพร้าว ภายในงาน แบ่งจัดแสดงเป็น 4 ส่วน มีทั้งอุปกรณ์ต่างๆ จากองค์การนาซ่าตั้งแต่ยุค แรกเริ่มจนถึงยุคปัจจุบัน เช่นชิ้นส่วนแผงบังคับยานอวกาศแอตแลนตีส ของจริง ตลอดจนเครื่องเล่นอวกาศที่สามารถเข้าทดลองหรือร่วมสนุกได้ เช่นเครื่อง G-Force ที่ให้ผู้เล่นรู้สึกถึงแรงกดที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของ วัตถุด้วยความเร็วสูงในอวกาศ หรือแรงจีที่เกิดขึ้นระหว่างยานเดินทาง กลับสู่โลก งานมีขึ้นระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2557 - 1 กุมภาพันธ์ 2558 บัตรราคา 250-500 บาท ที่ Thaiticket Major
Kpp Nanda Collection World Tour 2014 หลังจากความสำ�เร็จอันล้นหลามในเทศกาลดนตรี Summer Sonic ครั้งที่ผ่านมา ศิลปินสาวไอดอลฮาราจูกุ เคียริ ปามิว ปามิว (Kyary Pamyu Pamyu) เจ้าของฉายาเลดี้กาก้าแห่งแดนอาทิตย์อุทัย พร้อม กลับมาสร้างความประทับใจอีกครั้งในคอนเสิร์ตครั้งใหม่กับเพลงฮิต ของเธออย่าง Pon Pon Pon, Candy Candy และ Ninja Re Bang Bang ในวันที่ 21 พฤศจิกายนนี้ ที่ เซ็นเตอร์พ้อยท์ สตูดิโอ
ภายใต้บรรยากาศบ้านทรงไทยอายุกว่า 50 ปี ที่ประดับด้วยภาพเขียน ลายไทย คือ ความหรูหราของอาหารไทยที่ยกระดับคุณภาพวัตถุดิบ และการสร้างสรรค์ ให้กลายเป็น Fine Dining จัดเสิร์ฟอาหารเป็น คอร์สอย่างฝั่งตะวันตกคลอไปกับเสียงดนตรีไทยหวานที่บรรเลงสด ในทุกวัน โดยเมนูอาหารนั้นมีให้เลือกทั้งอาหารไทยโบราณที่ถูกลืม แต่่เคยได้ยินมาบ้างในกาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน เช่น แกงบวน แสร้งว่า ไส้กรอกปลาแนม ต่อด้วยอาหารไทยคลาสสิค และอาหาร ไทยโมเดิร์นอย่างซูเฟล่แตงไทยนํ้ากะทิ ส้มตำ�คาเวียร์ ซึ่งทั้งหมด ปรุงแต่งโดยเชฟกระทะเหล็กประเทศไทย ชุมพล แจ้งไพร และที่จะ ขาดไม่ได้คือค็อกเทลจากสุราไทยที่ใช้ความร้อนแรงของแม่โขง มาสร้างสรรค์ ซอยสุขุมวิท 31 แยก 4 ถนนสุขุมวิท โทร. 02-260-7811-2 www.siamwisdomcuisine.com เปิดบริการทุกวัน เวลา 12:0014:30 น. และ 18:00-22:30 น.
หลังจากที่ก๋วยเตี๋ยวเนื้อและอาหารไทยสูตร Nara ประสบความสำ�เร็จ ก็ถึงคราวเปิดร้านใหม่แล้วอัพเกรดรสอร่อยของครัวไทยให้เป็น ความทันสมัยและเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ในแบบ อภินารา (Apinara) ตัวร้านโดดเด่นด้วยงานไม้และงานเครื่องสานแบบไทย ที่ผสมความโมเดิร์นลงไปเพื่อรับคอนเซ็ปต์ที่ออกไปในแนวบิสโทร โดยความโดดเด่นของร้านต้องยกให้เรื่องของอาหาร นอกจากอาหาร ไทยที่คุ้นเคยแล้ว ยังมีเมนูสร้างสรรค์ ใหม่สูตรเฉพาะของอภินารา เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นปาท่องโก๋ไส้หมูสับ ห่อหมกหอยเชลล์ อภินารา ยำ�ใหญ่ เป็ดทอดซอสมะขาม เป็นต้น เลือกสั่งคู่กับค็อกเทลแม่โขง หรือจะเป็นสุรายาดองของไทยก็มีให้เลือกครบทุกสูตรโบราณเลยที เดียว ชั้น 2 The Groove ถนนพระราม 1 โทร. 02-252-0063 เปิดบริการ ทุกวัน เวลา 11:00-2:00 น.
SCG Magazine / October-December 2014 / page 8
page 9 / October-December 2014 / SCG Magazine
Trends
Objects of Desire
03 03
อัพเดทไอเท็มดีไซน์ลํ้าจากแวดวงออกแบบทั่วโลก
01 Concrete Lamp แม้ความแตกหักจะเป็นความเสียหาย แต่ Dragos Motica บริษัทออกแบบแห่งเมือง Bucharest ได้ออกแบบโคมไฟ DIY ที่ให้ผู้ ใช้ เลือกออกแบบโคมไฟด้วยตัวเองว่าจะกระเทาะ คอนกรีตสีเทาปล่อยให้แสงส่องตรงออกมาจาก โคมไฟตรงไหน แถมยังใช้ลูกเล่นการชักรอกมา เล่นกับโคมไฟ ทำ�ให้ผู้ ใช้สามารถเลือกความสูงได้ ตามแต่ใจต้องการ
03 Digital Photo Frame เมื่อศิลปะและเทคโนโลยีมาบรรจบกัน กรอบรูป อิเล็กทรอนิกส์ EO1 (Electronic Object) จึง เกิดขึ้น มันถูกออกแบบเพื่อเชื่อมต่อบ้านหรือที่ ทำ�งานเข้ากับอาร์ตแกลเลอรีทั่วโลก ทำ�ให้ผู้ ใช้ สามารถเลือกรูปภาพต้นฉบับจากศิลปินชื่อดังเข้า มาชื่นชมหรือประดับบ้านของคุณได้ไม่ยาก ตัวจอ มีคุณสมบัติไม่สะท้อนแสง ที่สำ�คัญคือประหยัด พลังงาน สามารถตั้งโต๊ะและติดผนังได้อย่าง ง่ายดาย Contact: www.electricobjects.com
01
04 Llar Fireplace การสร้างบรรยากาศเอาท์ดอร์เป็นสิ่งจำ�เป็นอย่าง มากในงานออกแบบ และสถาปนิกชาวสเปน Borja Garcia แห่ง Gandia Blasco ก็เป็น หนึ่งคนที่ไม่ทิ้งรายละเอียดเล็กๆ แต่สามารถสร้าง ประสบการณ์ความประทับใจที่ยิ่งใหญ่ได้กับการ ออกแบบกองไฟสไตล์มินิมอลลิสต์ ที่เรียบง่าย ด้วยรูปทรงสี่เหลี่ยมจากสแตนเลสสตีล นํ้าหนัก เบาสามารถเคลื่อนย้ายไปวางตามมุมต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย มีให้เลือก 4 สี 3 รูปทรง ใช้เพียงไบโอเอททานอลก็สามารถสร้างกองไฟ เล็กๆ ไร้เขม่าควัน เพิ่มบรรยากาศอบอุ่นริมทะเล ได้อย่างง่ายดาย
Contact: www.dragosmotica.ro
02 Quilted Chair สตูดิโอ WertelOberfell จากเยอรมัน กลับมา สร้างความสนุกสนานให้วงการของแต่งบ้าน อีกครั้ง ด้วยการเลือกสีสันในตู้เสื้อผ้ามาแต่งตัว ใหม่ให้เก้าอี้ดูสนุกสนานขึ้น โดยใช้ผ้าบุนวมที่มี สีสันและแพทเทิร์นการตัดเย็บที่ต่างกันออกไป 3 ลาย คือ รูปสามเหลี่ยมฝาหอย คลื่น และ เส้นเฉียง บวกด้วยสีสไตล์วินเทจเพียงเล็กน้อย ทำ�ให้เก้าอี้ทรงเชยๆ ดูโดดเด่นและกลายเป็น Hot ไอเท็มขึ้นมาได้
Contact: www.gandiablasco.com
05 Electric Stove
Contact: www.werteloberfell.com
02 05
04
ปีนี้ Jerome Olivet ได้ออกแบบเตาผิงสุดโมเดิร์น The Revolution Series ให้กับบริษัท Bodart & Gonay ถึง 3 เวอร์ชั่น คือ Curve, Mental และ Skin โดยความโดดเด่นอยู่ที่เป็นเตาผิงรุ่นใหม่ ที่สามารถเคลื่อนย้ายไปตามมุมต่างๆ ของบ้าน ได้อย่างสะดวก ทั้งยังใช้สีขาว ดำ� เทา และผิว แมททาลิคเพื่อความร่วมสมัย มีให้เลือกทั้งรูปทรง สี่เหลี่ยม หรือจะเล่นมุมและเส้นโค้งมนก็สามารถ กลมกลืนไปกับเฟอร์นิเจอร์ชิ้นอื่น และเข้ากับบ้าน สมัยใหม่ได้ไม่ยาก Contact: www.bodart-gonay.com
SCG Magazine / October-December 2014 / page 10
page 11 / October-December 2014 / SCG Magazine
01
Property Showcase
The Master of Thai Elegance งามกาล เทศะ แบบนายช่างใหญ่แห่งรัตนโกสินทร์ เรื่อง บัณฑิต ภิญโญวัฒนชีพ ภาพ ณัฐพล อ้นอารีย์
03
สถาปัตยกรรมไทยดูจะเป็นเรื่องใกล้ตัวเรา แต่น้อย คนนักที่จะรู้จักและเข้าใจอย่างถ่องแท้ ด้วยความ สวยงามอ่อนช้อย ผู้คนมากมายหมายปองเรือนไทย หลังงามสักหลังเป็นสมบัติส่วนตัว แต่เมื่อกาลเวลา ผันเปลี่ยน บริบทของเรือนไทยก็อาจแปรเปลี่ยน ตามยุคสมัยไปด้วย และผู้ที่จะให้คำ�ตอบถึงความ ลงตัวของศิลปะไทยที่เหมาะกับช่วงเวลานี้ ได้คือ รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ สาขา ทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) นายช่างใหญ่แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ ที่ ได้รับการยอมรับในฐานะบรมครู ด้านสถาปัตยกรรมไทย
02
เรือนไทยหมู่ของอาจารย์ภิญโญ บนถนนพระรามเก้า ถือว่า เป็นงานชั้นครูที่ช่วยสะท้อนความงามแบบเรือนไทยหมู่ และยัง เปรียบได้กับตักศิลาทางด้านสถาปัตยกรรมไทย หลังจากตระเวน พานักศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์ไปดูงานที่อาจารย์ออกแบบ ไว้ ในหลายสถานที่ แต่ก็ต้องรบกวนเจ้าของบ้านเพื่อเข้าชม อาจารย์จึงสร้างเรือนไทยหลังนี้ขึ้นเพื่อใช้สอนหนังสือให้สถาปนิก รุ่นใหม่ได้เห็นและได้สัมผัสกับสถาปัตยกรรมไทยจากสถานที่จริง
04
05
“งานสถาปัตยกรรมไทยควรเป็นงานที่ถูกกาลเทศะ สร้างถูกสัดส่วน และถูกฉันทลักษณ์ มีทั้งงานพื้นบ้านและ งานราชสำ�นัก แบ่งเป็นงานเครื่องผูก ใช้ไม้ไผ่กับหวาย งานเครื่องสับ ใช้เดือยการเข้าไม้ เหมือนเรือนไทยหลังนี้ และงานเครื่องก่อ คืองานก่ออิฐถือปูน อย่างเจดีย์และอุโบสถ โดยลักษณะพิเศษของเรือนไทยก็คือ ยกใต้ถุนสูง เพื่อหนีนํ้าท่วม และเหมาะกับสังคมเกษตรกรรม” 01 เรือนไทยหมู่แห่ง มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 02 บานหน้าต่างกับมุมพักผ่อน แบบ Modern Living ใน เรือนไทยหมู่ของอาจารย์ ภิญโญ 03 ต้นไม้กลางชานเรือน และทางขึ้นชานเรือน 04 หอกลาง และหอรีถูกเชื่อม ด้วยชานเรือน 05 นายช่างใหญ่ภิญโญ สุวรรณคีรี ในชุดทำ�งาน อยู่บ้าน
เรือนไทยสมัยก่อน มีวิวัฒนาการมาจากการขยายขนาดของ ครอบครัว และฐานะทางสังคม เดิมคนที่มีฐานะทางสังคมเป็น คนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชุบเลี้ยงไว้ เมื่อเข้ารับ ราชการมีฐานะทางสังคมดีขึ้นก็แต่งงานออกเรือน จึงสร้างเรือน หลังใหม่ขึ้นเป็นเรือนหอ แล้วเรือนเดี่ยวก็ยังมีนอกชาน และ แยกครัวออกจากตัวเรือน เมื่อมีลูกก็จะขยายนอกชานเป็นเรือน ฝั่งตรงข้ามเรียกว่า “หอรี” ส่วนเรือนนอนของพ่อแม่ เรียกว่า “หอกลาง” เมื่อมีศักดินามากขึ้นก็มีบริวารมากขึ้น จึงมักจะสร้าง “หอขวาง” ขึ้นมานอกชานให้มีฝาสามด้าน มีพื้นที่กว้างกว่า เรือนอื่นทั้งหมดไว้สำ�หรับทำ�กิจกรรม นอกจากนั้นยังมี “หอนั่ง” ศาลารับแขกที่มีเชี่ยนหมากและนํ้ายาอุทัย หากยื่นออกไปจาก นอกชานเรียกว่า “หอนก” เรือนไทยหมู่ของอาจารย์เป็นเรือนเครื่องสับที่มีครบทุกองค์ ประกอบที่กล่าวมา แต่อาจารย์ออกแบบเพิ่มเติมให้เป็น Modern Living เข้ากับยุคสมัยปัจจุบันมากขึ้น เพื่อประโยชน์ ใช้สอย
SCG Magazine / October-December 2014 / page 12
page 13 / October-December 2014 / SCG Magazine
และอยู่สบาย เนื่องจากราคาที่ดินที่สูงขึ้นจึงออกแบบโดยใช้พื้นที่ ทุกตารางนิ้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากเป็นบ้านสมัยก่อนใต้ถุน บ้านก็จะใช้เป็นลานอเนกประสงค์ แต่เรือนหลังนี้ก่ออิฐและแบ่ง เป็นห้องครัว ห้องกินข้าว ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น และห้อง ทำ�งาน นอกจากนั้นยังสร้างห้องใต้ดินต่อจากใต้ถุนบ้าน ปรับเอา หอขวางแบบโบราณมาไว้ ใต้ดินแทน ไว้สำ�หรับสอนหนังสือและ เป็นห้องทำ�งาน สำ�หรับขยายแบบจากร่างขนาดเล็กเป็นลวดลาย ขนาดเท่าของจริง เพดานของหอขวางยังเจาะช่องลมไว้ เพื่อ ระบายอากาศจากใต้ถุนบ้าน เรือนไทยหลังนี้เรียกว่า เรือนหมู่ 3 เนื่องจากมี 3 หลัง นอกจากนี้ยังมีเรือนหมู่ 5 เรือนหมู่ 7 ตามขนาดของครอบครัว ครอบครัวใหญ่เท่าไหร่ก็ต่อนอกชานออกไป เรือนหมู่ 9 ไม่นิยม สร้างเป็นบ้านคน แต่นิยมใช้สร้างเป็นกุฏิสงฆ์ โดยนอกเหนือจาก เรือนไทยหลังนี้แล้วอาจารย์ภิญโญยังออกแบบเรือนไทยอีกหลาย แห่ง เช่น เรือนหมู่ ธ ทูลกระหม่อมแก้ว พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญา ไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒน์ วิทยาเขตองครักษ์ จังหวัด นครนายก หรือบ้านเรือนไทยที่เป็นศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัย กรุงเทพ
01
03
02 01 โครงสร้างทางเข้าเรือน เครื่องก่อ 9 หลังของสถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง 02 เรือนเครื่องก่อตั้งอยู่เหนือ สระบัวของสถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง 03 อาคารพุ่มข้าวบิณฑ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช 04 ศาลาไทยที่ประเทศเยอรมัน 05 ลวดลายไทยครอบโคมไฟ ที่อาคารพุ่มข้าวบิณฑ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช 06 โบสถ์วัดไทยลุมพินี ในประเทศเนปาล 04
05
06
เป็นพิพิธภัณฑ์ของมหาวิทยาลัย และชั้นสาม ออกแบบเป็น นอกจากงานออกแบบดั้งเดิมแล้ว อาจารย์ยังออกแบบ หอจดหมายเหตุ ส่วนยอดเป็นเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์ตามฉันทลักษณ์ อาคารร่วมสมัยตามแบบที่อาจารย์เรียกว่า Modern Living ดั้งเดิม อีกหลายแห่ง อาทิ ศูนย์อบรมการแพทย์แผนไทย กระทรวง สาธารณะสุข เรือนเครื่องก่อ 9 หลัง ที่สถาบันเทคโนโลยี ไม่เฉพาะเรือนไทยใน พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ประเทศ งานที่สร้างชื่อเสียง ลาดกระบัง ซึ่งอาจารย์ ให้กับอาจารย์ ในต่างประเทศ งานสถาปัตยกรรมไทย เลือกใช้วัสดุตามยุคสมัย ก็มีมากมาย อาทิ ศาลาไทย ออกแบบเป็นโครงสร้าง ในศูนย์อีสต์เวสต์เซ็นเตอร์ ควรเป็นงานที่ถูกกาลเทศะ เหล็กอยู่ภายใต้คอนกรีต เกาะฮาวาย, เรือนไทย งานออกแบบของอาจารย์ ถูกสัดส่วน และถูกฉันทลักษณ์ หมู่ ณ เอ็คโค่ วัลเลย์ จึงสะท้อนความเป็นไทย แรนช์ สปา แอนด์ รีสอร์ท แบบประเพณี ประเทศแคนาดา, ศาลาไทย ไม่เพียงเท่านั้น งานออกแบบของอาจารย์ยังนำ�เอา ฉันทลักษณ์เป็นพื้นฐานของการออกแบบ ที่สะท้อนภูมิปัญญา ร่วมสมัย ยกตัวอย่าง หอจดหมายเหตุ อาคารพุ่มข้าวบิณฑ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เครื่องก่อที่ถูกออกแบบ เพื่อเป็นตึกกิจกรรม อาจารย์ออกแบบชั้นล่างไว้สำ�หรับ จัดเลี้ยง จัดงานมหาวิทยาลัย และเลี้ยงพระ ชั้นสอง ออกแบบ
เฉลิมพระเกียรติ เมืองฮัมบรูก ประเทศเยอรมัน, พระอุโบสถ วัดไทยกุสินารา ประเทศอินเดีย และมหาวิหารพระอุโบสถ วัดไทยลุมพินีมหาวิหาร ประเทศอินเดีย
ทั้งหมดล้วนแต่แสดงอัตลักษณ์อันงดงามโดดเด่นของ บ้านเรือนไทยในสายตาชาวโลก
SCG Magazine / October-December 2014 / page 14
page 15 / October-December 2014 / SCG Magazine เมื่อพูดถึงงานออกแบบที่กำ�ลังดำ�เนินการแต่ยังไม่แล้ว เสร็จคงต้องพูดถึงงานออกแบบที่มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งดูจะ สะท้อนความเป็นตัวตนของคุณณัฐกฤตได้ดี งานออกแบบ ชิ้นนี้พูดถึงความสัมพันธ์ของงานสมัยใหม่ที่ผสมผสาน กลมกลืนไปกับงานไทย แม้ว่ารูปแบบที่ออกแบบไว้คร่าวๆ จะเป็นงานสมัยใหม่ แต่ก็อาศัยเนื้อหาทางสถาปัตยกรรมเล่า เรื่องราวประวัติศาสตร์เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยผ่านบทกลอนใน การออกแบบอาคารดนตรี อาคารเรียนรวม และพระมณฑป พระศรีศาสดา
04
Interview
The Descendent สานศิลป์งามจรรโลงใจแบบนายช่างรุ่นใหม่แห่งสยาม เรื่อง บัณฑิต ภิญโญวัฒนชีพ ภาพ นิธิพล เต็มพริ้ม 01
นอกเหนือจากสถาปนิกมากประสบการณ์แล้ว โชคดีที่เรายังมีนายช่างศิลปินรุ่นใหม่อย่าง คุณณัฐกฤต สุนทรีรัตน์ หนึ่งในลูกศิษย์ฝีมือ ดีของรศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่ง ชาติ สาขาทัศนศิลป์ ที่มาช่วยสืบสานงาน สถาปัตยกรรมไทย พร้อมผสานแนวคิดใหม่ๆ เพื่อพัฒนาและสืบทอดความงามอันเป็น เอกลักษณ์ของไทยให้ โดดเด่นเท่าทวีคูณ คุณณัฐกฤต หรือคุณตั้น จบการศึกษาโดยตรงทางด้าน สถาปัตยกรรมไทย เรียนรู้ทั้งหลักการสถาปัตยกรรมสากล ควบคู่กับกระบวนการช่างไทยโบราณ จับงานไทยจริงจังโดย ได้รับคำ�แนะนำ�จากอาจารย์หลายท่าน อาทิ รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี, พลอากาศตรีอาวุธ เงินชูกลิ่น, ศาสตราจารย์ กิตติคุณ หม่อมราชวงศ์ แน่งน้อย ศักดิ์ศรี และอาจารย์ เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นบรมครูทางด้าน สถาปัตยกรรมไทย
01 คุณณัฐกฤตขณะร่างเส้นสาย สถาปัตยกรรมไทย 02 งานออกแบบพระที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาท 03 อาคารศาลาดนตรี และ พระสุริยเทพ มหาวิยาลัย รังสิต 04 RSU Student Center และมณฑปพระศรีศาสดา มหาวิทยาลัยรังสิต
02
03
“จำ�ลองห้วงแห่งจักรวาล ประดิษฐานใต้ดุมล้อรถม้า แห่ง พระสุริยเทพเทวา ผู้จรมาชั่วนิรันดร์กาล” คือการ จำ�ลองโดมนํ้าเป็นจักรวาล มีพระสุริยเทพวิ่งข้ามจักรวาล ส่วน “ผืนนํ้าโค้งไปตามทรง คือผืนองค์พิภพปาฏิหารย์ อรุณาสารถีอัศวบาล เทียมทะยาน ณ รุ่งอรุณ” เป็นการ อธิบายกายภาพของสถาปัตยกรรม เมื่อพระอาทิตย์ตก อาคารหลังนี้จะขึ้นมาเป็นพระอาทิตย์แทนในยามคํ่าคืน และ “องค์ประธานห้วงอนันตกาล จักรวาลโคจรรอบรัศมี สุริยงทรงองค์แสงอัญมณี ด้วยแสงแห่งจักราศีบริวาร” จะพูดถึงเรื่องแสงสี จำ�ลองโดมเป็นผังของจักราศี ไฟที่ส่อง เปรียบได้กับแสงของจักรวาล
“ความแตกต่างของงานสถาปัตยกรรมสากลกับ สถาปัตยกรรมไทยอยู่ที่มุมมอง สถาปัตยกรรมสากลตอบโจทย์ เรื่องการใช้สอย ส่วนสถาปัตยกรรมไทยช่วยจรรโลงและ สะเทือนใจ แต่จริงๆ แล้วคนเป็นสถาปนิกควรเปิดกว้าง และรับรู้ศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่อง จึงควรรู้ทั้งไทยและสากล เพราะ “งานออกแบบชิ้นนี้เน้นไอเดียที่จะนำ�เสนออาคารสมัย งานสถาปัตยกรรมเป็นพัฒนาการ ใหม่บนพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ จะทำ�อย่างไรไม่ให้ ต่อเนื่องยาวไกล ขึ้นกับว่าหยิบ เก้อเขิน ให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน แต่ผม ความรูเ้ ชิง ช่วงไหนมาใช้” คุณณัฐกฤต ก็ ไม่ได้สร้างวัดอยู่ด้านหลัง ไม่ต้องไทย พูดในฐานะที่ทำ�งานทั้งสอง สถาปัตยกรรมไทยเอาไปใช้ จ๋า เป็นเรื่องกระบวนการทางความคิด แบบ เขาสร้างสมดุลของงาน �ลองปรากฏการณ์ของแสงเป็นเรื่อง ในงานสมัยใหม่ได้เยอะมาก ผมจำ สถาปัตยกรรมสากล ควบคู่ไป ราวไทยๆ ที่ผูกโยงไปกับเรื่องราวของเด็ก กับความชอบส่วนตัวในงาน ในเรือ่ งของ Story Telling มหาลัยรังสิตที่มาวิ่งแก้บน ณ บริเวณที่มี สถาปัตยกรรมไทย ซึ่งทำ�ให้เขา พระสุริยเทพเป็นองค์ประธานของพื้นที่” การออกแบบมีเรือ่ งราว เข้าใจว่าอาชีพสถาปนิกมีคุณค่า โจทย์ต่อมาอยู่ที่ พระมณฑป ต่อผู้อื่น เป็นเหตุเป็นผล พระศรีศาสดา นอกจากจะสร้างขึ้นใหม่ “ความเป็นสถาปัตยกรรม บนตำ�นานเดิมแล้ว ยังพบกับโจทย์ที่ ไทย อาจารย์ภิญโญเคยสอนว่าความเป็นประเพณีไม่ได้ ท้าทายในการเชื่อมโยงงานสมัยใหม่อย่างอาคารดนตรีและ เหมาะสมกับทุกอย่าง ถ้าใช้ไม่ถูก ก็ผิดกาลเทศะ สมมุติว่า อาคารเรียนรวม เข้ากับพระมณฑปพระศรีศาสดา ศูนย์รวม เราออกแบบงานไทยในสถานที่ไม่ควรวางก็เกิดคำ�ถามว่า จิตใจของมหาวิทยาลัยรังสิต ที่สร้างใหม่ตามขนบประเพณี ทำ�ไปทำ�ไม ทำ�เรียบง่ายเหมาะแก่การใช้สอยดีกว่า แต่ถ้า ช่างหลวง เราสร้างอาคารประดิษฐานพระพุทธรูปในอาคารสมัยใหม่ คุณณัฐกฤต เล่าว่า “พระมณฑปพระศรีศาสดา เป็น ความศักดิ์สิทธิ์ในพื้นที่ก็ถูกริดรอนไป ความเป็นไทยเองก็ ตัวแทนของปัญญา มีตราอุนาโลม เปรียบได้กับแสงของ เปลี่ยนแปลงไปตามยุค สมัยนี้เราใส่สูทผูกไท แต่เวลาเจอ ปัญญา ซึ่งเป็นตรามหาวิทยาลัย อาคารหลังนี้จึงสื่อถึงรัศมี ผู้ ใหญ่ก็ยกมือไหว้ ลึกๆ แล้ว เราก็สำ�แดงความเป็นไทยตาม แห่งสติปัญญา กระจกและผืนนํ้าจะสะท้อนปรากฎการณ์ทาง แบบยุคของเรา” นี่เป็นสิ่งที่คุณณัฐกฤต ได้รับการปลูกฝังมา สถาปัตยกรรมทั้งหมด ผมปลุกจิตวิญญาณในนั้นให้ตื่น ผม ความน่าสนใจในผลงานของคุณณัฐกฤตอยู่ที่การผสม ไม่ได้ทำ�เพราะสวยอย่างเดียว แต่ต้องหล่อหลอมหัวใจของ ผสานงานสถาปัตยกรรมไทยเข้ากับงานสถาปัตยกรรมสากล คนในมหาวิทยาลัยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผมจึงเชื่อม ได้อย่างน่าสนใจ บางครั้งงานของเขาออกมาในรูปของ โยงพื้นที่สถาปัตยกรรมสมัยใหม่กับพื้นที่สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมสากลที่บอกเล่าเรื่องราวไทยๆ ในขณะเดียวกัน ด้วยการสร้างทางเดินที่เรียกว่า เส้นทางแห่งความภาคภูมิใจ งานสถาปัตยกรรมไทยก็สะท้อนรูปแบบประเพณีนิยมได้อย่าง รอดแสงสุริยเทพเข้าไป นำ�ปรากฎการณ์ธรรมชาติมาขับ ชัดเจน เร้นด้วยเทคนิคทางสถาปัตยกรรม ต้องคุมเรื่องราว นี่เป็น เทคนิคที่ได้จากงานประเพณีเลย” “ความรู้เชิงสถาปัตยกรรมไทยเอาไปใช้ ในงานสมัยใหม่ได้ เยอะมาก ในเรื่องของ Story Telling การออกแบบมีเรื่องราว “อาคารไม่ต้องแข่งกันสวย แต่ต้องเชื่อมโยงกันได้” เป็นเหตุเป็นผล ผมศึกษางานไทยผมรู้ว่าสิ่งที่เค้าเติมลงไปมี คุณณัฐกฤตยํ้าถึงงานออกแบบที่บอกเล่าได้ถึงแก่นแท้ของ เรื่องราวซ่อนอยู่ ถ้าสื่อสารข้อความได้ก็จะเกิดความต่างและ ความหมายในงานสถาปัตยกรรมไทย ตอบโจทย์ ในสิ่งที่วิญญาณของโครงการเป็น” คุณณัฐกฤตพูด ถึงความสมดุลการออกแบบ
SCG Magazine / October-December 2014 / page 16
page 17 / October-December 2014 / SCG Magazine
Travel
Ayutthaya off the Beaten Path เรื่อง ณัฐชา สงวนเกียรติชัย ภาพ มลฤดี จันทร์สุทธิพันธุ์
02
03
01 01 วัดพระศรีสรรเพชญ์ 02 พิพธิ ภัณฑ์เรือพระราชพิธี 03 วัดนิเวศธรรมประวัติ ราชวรวิหาร 04 นัง่ กระเช้าข้ามแม่นา้ํ เจ้าพระยาที่ วัดนิเวศธรรม ประวัตริ าชวรวิหาร 05 ล่องเรือผ่านหน้าวัด ไชยวัฒนาราม 06 ดินเนอร์ยามคํา่ คืนบนเรือ 07 นัง่ ช้างชมเมืองโบราณ
ในฐานะราชธานีเก่าอายุกว่า 500 ปี ทำ�ให้จงั หวัด พระนครศรีอยุธยาไม่ได้มคี ณ ุ ค่า แค่เสีย้ วส่วนทางประวัตศิ าสตร์ ดินแดนอันอุดม ด้วยมรดกทางศิลปะวัฒนธรรมแห่งนีย้ งั มีความ หมายเป็นอย่างมากต่อรูปแบบของสถาปัตยกรรม ไทยในปัจจุบนั ต้นแบบของบ้าน วัด วัง งานจิตรกรรมฝาผนัง ปูนปัน้ ประดับลาย งานฉลุไม้ ล้วนมีความเฟื่องฟูมาจากกรุงศรีอยุธยาทัง้ สิน้ ช่างศิลป์ชอื่ ดังแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ก็ ได้รบั อิทธิพล มาจากอยุธยาตอนปลายด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้หัวใจของการเที่ยวเมืองอยุธยาจึงไม่ใช่ชะโงก ทัวร์แบบเช้าไปเย็นกลับ ตรงกันข้ามการค่อยๆ ละเลียดสาย ลมเย็นฉํ่าของแม่นํ้าเจ้าพระยาจากปลายนํ้าคือกรุงเทพฯ แล้วย้อนเวลาหวนคืนสู่ต้นนํ้าคือ อยุธยา จึงเป็นตัวเลือกที่ จะทำ�ให้เห็นความยิ่งใหญ่ทางสถาปัตยกรรมของเมืองมรดก โลกพร้อมวิถีริมนํ้าแบบก่อนเก่าได้แจ่มชัดยิ่งขึ้น 06
07
05
04 การท่องเที่ยวแบบ 3 วัน 2 คืนรอบนี้ เราเลือก ล่องเรือไปกับเรืออนันตรา สอง ที่เริ่มต้นด้วยการล่องเรือ ชมแสงแรกของวันที่พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม วัดที่ พระเจ้าตากสินมหาราชทรงทอดพระเนตรเห็นยามรุ่งอรุณ เมื่อครั้งกรีฑาทัพออกจากกรุงศรีอยุธยาที่แตกพ่าย ก่อนจะ มาชมประวัติศาสตร์ไทยผ่านพิพิธสถานแห่งชาติ ชมเรือ ราชพิธีที่ประณีตด้วยศิลปะไทยหลากหลายแขนง ก่อนที่ จะล่องเรือต่อไปยังวัดปทุมคงคา และปิดท้ายวันแรกของ การเดินทางด้วยดินเนอร์อาหารไทยบนเรือโดยมีภาพยาม อาทิตย์อัสดงอยู่เบื้องหน้าก่อนที่จะกล่าวราตรีสวัสดิ์เข้านอน ฟังเสียงคลื่นเบาๆ ของเจ้าพระยา เช้าตรู่วันที่สองอิ่มเอมด้วยการไปทำ�บุญตักบาตรที่วัด สามัคคียาราม แล้วล่องเรือต่อไปยังวัดพนัญเชิงเพื่อกราบ ไหว้ หลวงพ่อโต หรือ พระพุทธไตรรัตนนายก พระคู่บ้าน คู่เมืองที่สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น จากนั้น เปลี่ยนบรรยากาศจากเรือมาเป็นรถลีมูซีนคันหรูขับเที่ยวชม วัดเก่าสำ�คัญในบริเวณพื้นที่มรดกโลก ซึ่งมีเอกลักษณ์ของ เจดีย์ อุโบสถ และพระพุทธรูปที่แตกต่างจากสุโขทัย ก่อน จะเปลี่ยนจากความทันสมัยไปลองขี่ช้างเยี่ยงชาวอโยธยา ในอดีต ส่งท้ายทริปเที่ยวเมืองเก่าอยุธยาในวันที่สามด้วยการ เดินเท้าเข้าเที่ยวชมวัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร ที่ โดดเด่นด้วยอุโบสถศิลปะโกธิค (Gothic) ที่ถอดแบบมา จากโบสถ์คริสต์ทุกกระเบียด ปัจจุบันได้กลายเป็นวัดไทย สไตล์ยุโรปแห่งเดียวในเมืองไทย และนอกจากวัดแล้วการ เที่ยวอยุธยายังมีไฮไลต์อยู่ที่พระราชวังบางปะอิน ซึ่งมีทั้ง ศิลปะไทย จีน ยุโรป ผสมผสานกัน พระราชวังแห่งนี้สร้าง ในสมัยพระเจ้าปราสาททองเมื่อ พ.ศ.2175 ทำ�หน้าที่คล้าย พระราชวังฤดูร้อนที่พระเจ้าแผ่นดินในสมัยกรุงศรีอยุธยา เรื่อยมาถึงรัตนโกสินทร์เสด็จประพาส และแปรพระราชฐาน นอกจากวัด วัง และบ้านเรือนไทยเก่าแก่ที่มีให้เห็นอยู่ ทั่วอยุธยาแล้ว เมืองเก่าแห่งนี้ยังมีงานศิลปะหัตถกรรมไทย ให้ได้ชมและเลือกซื้ออยู่ที่ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ใช่เพียง แต่ผ้าไหม ผ้าทออันเลื่องชื่อ แต่ที่นี่ยังได้รวมภูมิปัญญาไทย ทุกแขนงทั้งงานจักสาน เครื่องเรือน งานแกะสลัก ตุ๊กตา ชาววัง เครื่องเคลือบดินเผา เป็นอันครบโปรแกรมท่อง เที่ยววิถีไทย ก่อนที่จะล่องเรือเลียบเจ้าพระยากลับมาสู่ มหานครอีกครั้ง Choose Your Cruise • เรืออนันตรา สอง ราคาสำ�หรับ 2 ท่าน 1 เม.ย.- 31 ต.ค. 64,000 บาท 1 พ.ย. - 31 มี.ค. ราคา 72,000 บาท โทร. 02-477-0770 www.bangkok-cruises.anantara.com • เรือเบญจรงค์ ราคา 39,000 บาท nabenjarong.com
SCG Magazine / October-December 2014 / page 18
page 19 / October-December 2014 / SCG Magazine
Open House
A New Taste of Thainess
03
04 เป็นอันดับแรก หลังจากที่เคยประสบปัญหามาก่อนสมัย ใบพายเดิม ทีมสถาปนิกจึงแบ่งกลุ่มอาคารเป็น 2 ส่วน คือ Public มีสองอาคารเป็นเรือนรับรองแขกและเรือน Workshop ส่วน Service ไว้สำ�หรับพนักงานเตรียมของ ถูกซ่อนไว้หลังเรือน Workshop พร้อมกำ�หนดพื้นที่ให้ สัมพันธ์กับระบบของโรงเรียน เริ่มที่เรือนรับรอง แล้วไป ยังใต้ถุนที่ออกแบบเป็นลาน Workshop เมื่อเรียนก็เสร็จ นำ�อาหารที่ทำ�มารับประทานที่ชั้นบนบริเวณห้องอาหาร มีมุมขายของที่ระลึก และอุปกรณ์ทำ�อาหาร เพื่อสร้าง ความประทับใจให้นักเรียน “สำ�หรับวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง โครงสร้างส่วนใหญ่ใช้ไม้ เนื้อแข็ง เลือกใช้ปูนเข้ามาผสมกัับไม้เพราะเรามองเรื่อง ฟังก์ชั่น ที่นี่เป็นโรงเรียนสอนทำ�อาหาร การทำ�อาหารมี เรื่องควัน เรื่องคราบไขมัน เราจึงเลือกปูนมาใช้เพราะ ทนทาน ทำ�ความสะอาดง่าย ใช้สองแบบคือ ปูนขัดมัน กับปูนขัดทาสีนํ้ามัน ซึ่งง่ายต่อการเช็ดทำ�ความสะอาด ผิวมันทำ�ความสะอาดง่าย” คุณนิตยาพูดถึงวัสดุที่ใช้ ส่วนบันได 2 แห่ง ออกแบบไว้แตกต่างกัน บันได ด้านหน้าเป็นไม้ล้วนเพราะล้อไปกับตัวอาคารไทยประยุกต์ ส่วนบันไดที่เชื่อมห้องเวิร์คช็อปกับห้องอาหารผสมกัน ระหว่างไม้และปูน เพราะไม่อยากให้เสียพื้นที่มาก ทาง ขึ้นทำ�เป็นปูนเปิดบันไดส่วนล่างให้กว้าง แล้วไล่ขึ้นไปเป็น ไม้ แม้ว่าจะกว้างเพียง 2 เมตร แต่ก็ทำ�ให้บันไดดูไม่แคบ เกินไป “ที่นี่เปิดมาตั้งแต่ปี 2008 ถ้าสังเกตจะรู้สึกว่าใหม่ มาก เพราะเราเลือกวัสดุเป็นปูนขัดมันทั้งหมด ไม่ทำ� รอยต่อเยอะ ทำ�ให้ที่นี่ไม่ค่อยมีคราบดำ�และง่ายต่อการ ทำ�ความสะอาด” คุณเสริมสุขกล่าวทิ้งท้าย
01
เรื่อง บัณฑิต ภิญโญวัฒนชีพ ภาพ ณัฐพล อ้นอารีย์ พูดถึงงานออกแบบอาคารแบบไทย มักทำ�ให้ เรานึกไปถึงเรือนไทยที่มีองค์ประกอบที่จำ�เป็น หลายอย่าง อาทิ ชานบ้าน เรือนรับรอง หรือ การยกพื้นเพื่อให้มี ใต้ถุนสำ�หรับใช้เป็นลาน อเนกประสงค์ ซึ่งค่อนข้างมีความสำ�คัญและ สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทยในสมัยก่อน แต่ด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป เรือนไทยแบบในอดีตอาจ จะไม่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของความเป็นไทยในปัจจุบัน จึง กลายเป็นที่มาของ Open House ฉบับนี้ ที่จะเดินทาง ไปเปิดบ้านพูดคุยกับสถาปนิกผู้ออกแบบโรงเรียนสอนทำ� อาหารไทยใบพาย คุณเสริมสุข กิจเจริญวงศ์ และคุณ นิตยา อัศรานุรักษ์ จากบริษัท อาร์คิเตกส์สเปซ จำ�กัด (A.SPACE) ซึ่งมาเล่าแทนคุณสุวรรณ จักรจิต เจ้าของ โรงเรียน ที่หันมาใช้ความงามของไทยในแบบประยุกต์ ให้ คงไว้ซึ่งตัวตนความเป็นไทย ความร่วมสมัย และความ งดงามในเวลาเดียวกัน “คุณสุวรรณเห็นว่าอาหารไทยมีความน่าสนใจ และ สามารถดึงดูดชาวต่างชาติได้ แต่โรงเรียนส่วนใหญ่อาศัย ครัวและห้องอาหารของโรงแรมสอน ซึ่งไม่ได้รู้สึกถึง ความเป็นไทย ก็เลยอยากทำ�ให้สถานที่รายล้อมไปด้วย
ความเป็นไทย แต่คุณสุวรรณไม่อยากได้ไทยจ๋า อยากได้ แบบทรอปิคอล ส่วนใบพายแห่งใหม่ก็ยังคงคอนเซปต์เดิม แต่เติมวิญญานความเป็นไทยเข้าไป” คุณเสริมสุข เล่าถึง แนวคิดหลักที่คุยร่วมกันกับคุณสุวรรณ เมื่อมีนักเรียนเข้ามามาก เริ่มทำ�ให้ โรงเรียนใบพาย แห่งเดิมแออัด จึงย้ายมายังสถานที่ในปัจจุบันที่ใหญ่กว่า เดิม 3-4 เท่า เปลี่ยนคอนเซปต์ ใหม่เป็นไทยประยุกต์ที่ ดูโมเดิร์น “ตัวผมมองว่า เราเป็นยุคสมัยของคนรุ่นใหม่ที่เป็น คนไทย จึงควรเป็นไทยที่มีกลิ่นอายแบบดั้งเดิมบ้างแต่ ไม่ทั้งหมด เราเลยเลือกแบบร่วมสมัย อย่างนึงที่เราไม่ เปลี่ยนคือเรื่องของพื้นที่และวิญญาณความเป็นไทย เรา ออกแบบบ้านเปิดโล่งหลังคาทรงสูง ใช้วัสดุเป็นไม้ผสม ปูน” คุณเสริมสุขพูดถึงดีไซน์ภาพรวม ไม่เพียงการออกแบบที่เน้นความเป็นไทย แต่เจ้าของ และสถาปนิกได้มองถึงแลนด์สเคปรอบอาคารด้วย เพราะ ไม่อยากให้นักเรียนมาเรียนเสร็จแล้วก็กลับบ้านไป จึงออก แบบแลนด์สเคปให้เป็นพื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัวสำ�หรับ เก็บไปใช้สอนได้ พื้นที่บางส่วนขุดเป็นสระนํ้าให้อารมณ์ ของเรือนไทยริมนํ้า นอกจากนั้นยังปลูกต้นไม้ไทยไว้ โดย รอบ ทั้งไม้ยืนต้นและไม้ดอก เพื่อสร้างความแตกต่างและ เชื่อมโยงระหว่างภายในและภายนอกไปด้วยในตัว ที่สำ�คัญยังมองถึงฟังก์ชั่นการใช้งานของอาคารมา
05
02
06
07
01 กลุม่ เรือนไทยดีไซน์แบบร่วมสมัย 02 คุณเสริมสุข และคุณนิตยา สถาปนิก 03 บันไดปูนผสมไม้เชื่อมระหว่างห้องเวิรค์ ช็อป และห้องอาหาร 04 ห้องเวิรค์ ช็อป ออกแบบโต๊ะให้ขยับการจัดวางได้ 05 ห้องอาหารเพดานสูงโปร่ง ให้อากาศถ่ายเทสะดวก 06 บันไดหน้าทีเ่ ชื่อมกับเรือนรับรองแขก 07 รอบๆ เรือนไทยตกแต่งด้วยข้าวของแสดงความ เป็นไทย
SCG Magazine / October-December 2014 / page 20
page 21 / October-December 2014 / SCG Magazine
Old House Museums
บ้านศิลปินคลองบางหลวง 03
บ้าน ม.ร.ว. คึกฤทธิ์
Take a Break
Showcasing our Legacy
04
ติดต่อ: 19 ซอยพระพินิจ ถนนสาทรใต้ กรุงเทพฯ ต้องติดต่อขอเข้าชมล่วงหน้าที่ โทร. 02-286-8185 www.kukritshousefund.com ค่าเข้าชม: 50 บาท
เรื่องและภาพ ศรัณย์ วรรณา
01
01 พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด 02 หัวโขนรามเกียรติ์ในวังสวน ผักกาด 03 ชานเรือนบ้านม.ร.ว.คึกฤทธิ์ 04 พื้นไม้กระดานกับฝาปะกน แบบไทยบ้านม.ร.ว.คึกฤทธิ์ 05 ห้องทานอาหารพิพิธภัณฑ์ บ้านไทย จิม ทอมป์สัน 06 โถงหน้าบ้านพิพิธภัณฑ์ บ้านไทย จิม ทอมป์สัน
พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด
02
ยลเสน่ห์ความเป็นไทยผ่านบ้านเก่ากลางกรุง ที่ ไม่ได้มีเพียงร่องรอยทางประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่เสน่ห์ของการท่องเที่ยวย้อนเวลาไปในบ้านเก่า ทรงไทยโบราณ และสถาปัตยกรรมไทยแห่งยุคสมัย รัตนโกสินทร์ยังหมายถึงการเรียนรู้ภูมิปัญญา พื้นบ้าน ศิลปะ วัฒนธรรม รวมทั้งความเชื่อ การเมือง และเศรษฐกิจในยุคนั้นๆ ซึ่งแฝงเร้นอยู่ บนไม้กระดาน และฝาปะกนทุกแผ่น
พื้นที่ 6 ไร่บนความวุ่นวายของถนนศรีอยุธยา คือที่ตั้ง ของหมู่เรือนไทยโบราณ 8 หลัง ที่ประกอบกันเป็น วังสวนผักกาด ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่พำ�นักของ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต และ หม่อมราชวงศ์ พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ด้านในจัดแสดงงานศิลปะและ โบราณวัตถุลํ้าค่าทั้งของไทยและต่างชาติที่เป็น ของเก่าสะสมมาจากต้นตระกูลบริพัตร ไม่ว่าจะเป็น พระพุทธรูปสำ�ริดศิลปะสุโขทัย เครื่องดนตรีไทย ชามสังคโลก หัวโขน อาวุธโบราณ แต่ที่โดดเด่นสุด คือภาพลายรดนํ้าเรื่องราวพุทธประวัติที่ประดับ อยู่ในหอเขียนที่สร้างตามสถาปัตยกรรมไทยสมัย กรุงศรีอยุธยาทุกรายละเอียด ติดต่อ: 352-354 วังสวนผักกาด ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 9.00-16.00 น. โทร. 02-245-4934 และ 02-246-1775-6 ต่อ 229 www.suanpakkad.com ค่าเข้าชม: คนไทย 50 บาท ต่างชาติ 100 บาท
06
เสน่ห์ไทยไม่เคยจางหายไปจากหมู่เรือนไทยอายุกว่า 200 ปี ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางความสงบเงียบในซอยสวนพลู บ้าน ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช แห่งนี้ถือได้ว่าเป็น ตัวอย่างที่ดีของการอนุรักษ์เรือนไทยภาคกลางที่ สร้างตามแบบโบราณให้สะดวกสบายตามยุคสมัย โดยตัวบ้านยังคงรักษาเอกลักษณ์การยกพื้นสูง มีชาน ระเบียง และมีพื้นที่ส่วนกลางเชื่อมเรือนไทยหลังเล็กๆ เข้าด้วยกัน แบ่งเป็น หอพระ หอนก เรือนนั่งเล่น เรือนนอน เป็นต้น ที่นี่แม้จะเป็นบ้านพักอาศัย แต่ก็ ไม่ต่างอะไรจากพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมที่เก็บของเก่า ของสะสมที่สะท้อนศิลปะและวิถีไทย รวมทั้งเรื่อง ราวของนักประพันธ์คนสำ�คัญนั่นก็คือ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ผู้เป็นเจ้าของบ้านหลังนี้
พิพิธภัณฑ์บ้านไทย จิม ทอมป์สัน
05
แม้การหายตัวไปอย่างลึกลับของ เจมส์ เอช. ดับเบิลยู. ทอมป์สัน ผู้สร้างตำ�นานผ้าไหม จิม ทอมป์สัน จะยัง คงเป็นปริศนา แต่ความรักในศิลปะไทยของชายชาว อเมริกันคนนี้ยังคงอยู่และถ่ายทอดสู่พิพิธภัณฑ์บ้านไทย ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่พักอาศัยของเขา โดยหมู่เรือนไทย ที่ตั้งอยู่กลางย่านสยามแห่งนี้ประกอบด้วยเรือนไทยไม้ สักจำ�นวน 6 หลัง ซึ่งซื้อมาจากหลายภูมิภาคของไทย แล้วนำ�มาปรุงใหม่ให้มีความร่วมสมัยขึ้นโดยช่างไทย ผสมกับความรู้ด้านสถาปัตยกรรมของนายห้าง ปัจจุบัน เป็นสถานที่จัดแสดงศิลปะไทยทั้งเครื่องเคลือบ งาน จิตรกรรม และประติมากรรม พร้อมเรื่องราวเกี่ยวกับ ผ้าไหม และประวัติของนายห้างจิม ทอมป์สัน ติดต่อ: ซอยเกษมสันต์ 2 ถนนพระราม 1 กรุงเทพฯ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 9.00-17.00 น. โทร. 02-216-7368 www.jimthompsonhouse.com ค่าเข้าชม: ผู้ ใหญ่ 100 บาท นักศึกษา 50 บาท
ย้อนอดีตบ้านไม้มุงสังกะสีริมนํ้ากับคลองบางหลวงที่ ตลอดสองฟากคลองเต็มไปด้วยวิถีชีวิตริมนํ้าให้ได้ชม พร้อมไฮไลต์สำ�คัญคือ บ้านศิลปิน บ้านไม้อายุร้อยปี ที่ถูกทิ้งร้างกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งด้วยการแสดง หุ่นละครเล็ก และแกลเลอรีอาร์ตขนาดย่อม (ซอย จรัลสนิทวงศ์ 3 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ โทร. 02-868-5279 www.facebook.com/Baansilapin)
พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก ที่นี่คือตัวอย่างที่ชัดเจนที่สามารถบอกเล่าสถาปัตยกรรม บ้านพักอาศัยของชนชั้นกลางชาวบางกอกที่เป็นบ้านไม้ ผสมดีไซน์จากตะวันตก หลังคาปั้นหยา กระเบื้องว่าว จานชาม สุขภัณฑ์ เปียโนงาช้าง เครื่องมือแพทย์ ใน ยุคก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ล้วนยังคงถูกเก็บ รักษาไว้อย่างสมบูรณ์ (273 ซอยเจริญกรุง 43 ถนน เจริญกรุง เขตบางรัก กรุงเทพฯ โทร. 02-233-7027)
พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ คุณสกุล อินทกุล นักออกแบบดอกไม้ไม่ได้นำ�ความงาม และประวัติศาสตร์ของดอกไม้มาให้ได้ชมเท่านั้น ที่นี่ยัง โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมบ้านไม้สักสไตล์ไทยแต่งเติม ความทันสมัยด้วยกลิ่นอายโคโลเนียล ซึ่งได้รับความ นิยมอย่างมากในสมัยรัชกาลที่ 6 (315 ถนนสามเสน ซอย 28 ดุสิต กรุงเทพฯ โทร. 02-669-3633-4 www.floralmuseum.com)
SCG Magazine / October-December 2014 / page 22
Get the Gear
Being Thai ไอเท็มสุดคูลจากดีไซเนอร์สายเลือดไทย
01 กระเป๋าลายผ้าขาวม้า Pakamian Thailand
02 ซองใส่พาสปอร์ต Labrador
03 กระเป๋าหนัง Ittirit Handmade Leather
04 กระเป๋าใส่เหรียญ Kanita
02
01 03
04
05
08
06
05 เข็มขัด Hare & Hounds Leather Shop
06 กระเป๋าเป้ Big Foot
07
07 นาฬิกาไม้ Mink’s
08 หมอนอิง Buabhat
edit-AWoutline_MagAd_DecorPaint.pdf
C
M
Y
CM
MY
CY
CMY
K
1
4/11/14
12:11 PM
P.24 Back Cover___AW_ad_225 x 300 mm_cre-2.pdf
C
M
Y
CM
MY
CY
CMY
K
1
6/25/14
11:22 AM