Issue 03 January 2016
Blazing New Trails
สามพี่น้องจาติกวณิชกับเส้นทางที่เป็นตัวของตัวเอง
ADVANCE NOTICE
Welcome to Optimise คงไม่มใี ครเถียงว่าการบุกเบิกเส้นทางใหม่ หรือ Blazing New Trails นัน้ เป็นความต้องการลึกๆ ของมนุษย์เสมอมา เพราะในโลกทีเ่ ต็มไปด้วยความเป็นไปได้ และมนุษย์ทกุ คนมีศกั ยภาพเฉพาะตัว ไม่มเี หตุผลอะไร ทีค่ นเราต้องทนดำ�เนินตามวิถแี บบเดิมๆ อยูต่ ลอด กระนัน้ ในความเป็นจริง เนือ่ งจากการบุกเบิก เส้นทางใหม่มกั มีสภาพเหมือนการหลงทางอยูเ่ รือ่ ยไปจนกว่าจะบรรลุถงึ เป้าหมาย จึงมีคนเพียง จำ�นวนน้อยทีก่ ล้าริเริม่ บุกเบิกจริงๆ และนัน่ คือความสูญเสียโอกาสชนิดหนึง่ ด้วยเหตุน้ี เพือ่ รับกับโอกาสอีกมากทีจ่ ะผ่านมาในปี 2559 นี้ Optimise จึงขอพาไปพบกับเรือ่ งราว ทีจ่ ะช่วยยา้ํ เตือนให้เราไม่ลมื ถึงความเป็นไปได้ และความหอมหวานของการบุกเบิกเส้นทางใหม่ เริม่ ตัง้ แต่ อธิไกร-กรณ์-อนุตร สามพีน่ อ้ งจาติกวณิช ผูอ้ อกมาสร้างกิจการ และนิยามความสำ�เร็จ ของตัวเองมากกว่าจะเฝ้ารอการไต่ต�ำ แหน่งในบริษทั ของผูอ้ น่ื (‘Carving Their Own Paths’) หรือในรูปแบบทีต่ า่ งออกไปเล็กน้อย กิตพิ งษ์-กร-ปรีชา สามพีน่ อ้ งกุลไพศาลธรรม แห่งเปีย่ มสุข กรุป๊ ผูเ้ ล่นรายสำ�คัญในวงการอสังหาริมทรัพย์ของนนทบุรี และลูกค้าคนสำ�คัญของเกียรตินาคินภัทร เริม่ เดินทางมาในเส้นทางธุรกิจทีค่ รอบครัวได้แผ้วถางไว้ แต่สดุ ท้ายก็กา้ วไปได้ไกลกว่าขอบเขตเดิม (‘In Pursuit of Happiness’) ในวงการก่อสร้าง สถาปนิกไทยกำ�ลังใช้โครงการก่อสร้างของมหาวิทยาลัย เช่น หอประชุมมหิดล สิทธาคารของมหาวิทยาลัยมหิดล อาคารบียู ไดมอนด์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หรือศาลากวนอิมของ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นพืน้ ทีแ่ สดงศักยภาพในการออกแบบ และหนีออกจากกรอบเรือ่ งต้นทุน กระแส หรือผลกำ�ไรทีบ่ งั คับการออกแบบของภาคธุรกิจ (‘Building Blocks’) เช่นเดียวกับในวงการศิลปะ กลุม่ ศิลปะการแสดงร่วมสมัยอย่าง B-Floor, ‘พระจันทร์เสีย้ ว’ และ Democrazy ได้แสดงให้เห็นถึงวิธกี ารอยูร่ อด โดยไม่จ�ำ ต้องยอมรับความเชือ่ เดิมๆ ทีว่ า่ ศิลปะต้องเอาใจ กระแส (‘Big Little Stages’) ในขณะทีค่ วามทันสมัยของกรุงโซลก็ก�ำ ลังประกาศให้โลกรูว้ า่ การสร้าง อัตลักษณ์ของประเทศสามารถทำ�ได้มากกว่าการอาศัยของเก่าและเถ้าถ่านของประวัตศิ าสตร์แต่เพียง อย่างเดียว (‘Electric Seoul’) อย่างไรก็ตาม หลายครัง้ การบุกเบิกเส้นทางใหม่ ก็เป็นเพียงการกลับไปเดินในเส้นทางเก่าทีอ่ าจถูก ละทิง้ ไปแล้ว เช่นกระแสการกลับมากินวัตถุดบิ พืน้ ถิน่ ตามฤดูกาลทีไ่ ม่ถกู ปนเปือ้ นโดยสารเคมี หรือผ่าน กระบวนแปรรูป (‘Agrarian Utopia’ และ ‘Palate Cleansers’) ในขณะทีอ่ กี หลายครัง้ กิจกรรมขับรถ โฟร์วลี ไดรฟ์ได้แสดงให้เห็นว่าหากจะดืม่ ดา่ํ ชีวติ ได้มากทีส่ ดุ ก็ตอ้ งทำ�โดยการตะลุยไปแบบ ‘ออฟโรด’ เท่านัน้ (‘Off the Beaten Path’) แน่นอนทีส่ ดุ ไม่ใช่ทกุ การบุกเบิกจะประสบความสำ�เร็จ แต่ทกุ ครัง้ ทีม่ กี ารบุกเบิก โลกนีก้ ด็ เู หมือน จะกว้างขึน้ อีกไม่นอ้ ยจากเส้นทางใหม่ทเ่ี กิดขึน้ อย่างทีร่ าฟ วัลโด เอเมอร์สนั กวีอเมริกนั ได้กล่าวไว้ “Do not go where the path may lead, go instead where there is no path and leave a trail.” จงอย่าเดินแต่ตามทาง ลองเหยียบโลกกว้าง และสร้างรอยของตัวเอง... ธนกร จ๋วงพานิช บรรณาธิการ
02
OPTIMISE | JANUARY 2016
OPTIMISE | JANUARY 2016
03
Contents 06
22
แก่ชรา เป็นหนี้และ กำ�ลังซื้อถดถอย
Agrarian Utopia
ECONOMIC REVIEW
08
FULL FLAVORS
กระแสอาหารออร์แกนิกสดจากฟาร์ม แท้จริงคือหัวใจของความยั่งยืน หรือเป็นเพียงอีกหนึ่งปาหี่ของโลกอาหาร
INVESTMENT REVIEW
เมื่อสหรัฐอเมริกาปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ย...
12
OPTIMUM VIEW
Carving Their Own Paths สามพี่น้องจาติกวณิชกับเส้นทาง ที่เป็นตัวของตัวเอง
Phatra Edge ตัวช่วยทุกเรื่องการลงทุน
36
CLIENT VALUES
The Pursuit of Happiness
48
THE GOOD LIFE
Palate Cleansers ทำ�ความรู้จักกับ ‘อาหารคลีน’ อีกหนึ่งเรื่องถกเถียงใหม่ของวงการสุขภาพ
บรรณาธิการ ธนกร จ๋วงพานิช
52
THE FAST LANE
28
Off the Beaten Path เมื่อรถขับเคลื่อนสี่ล้อเป็นของเล่นใหม่ของชาวกรุง ผู้ฝักใฝ่หวนคืนสู่ธรรมชาติ
STATE OF THE ARTS
Big Little Stages ติดตามความคึกคักของวงการศิลปะการ แสดงร่วมสมัยของกรุงเทพฯ
42
โซลโอบรับเทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนตัวเอง ให้กลายเป็นเมืองหลวงแห่งอุตสาหกรรม บันเทิงของเอเชีย
32
SERVING YOU
KK NeXtGEN ส่งต่อกิจการ และความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่น
จัดทำ�โดย สื่อสารองค์กร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ผลิตโดย บริษัท เอเชีย ซิตี้ พับบลิชชิ่ง (ไทยแลนด์) จำ�กัด
Contact กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร
Electric Seoul
56
LIVING SPACE
Building Blocks ในยามที่ภาครัฐและธุรกิจเงียบงัน มหาวิทยาลัยไทย ออกโรงสร้างแรงกระเพื่อมในวงการสถาปัตย์ฯ
60
THE AGENDA
OPTIMISE | JANUARY 2016
ที่ปรึกษา บรรยง พงษ์พานิช อภินันท์ เกลียวปฏินนท์ กฤติยา วีรบุรุษ บรรณาธิการที่ปรึกษา ผกาภรณ์ บุณยัษฐิติ ธัญญ์นภัส นราศิริอภิพงษ์
สามทหารเสือแห่ง ‘เปี่ยมสุข กรุ๊ป’ กับ ประสบการณ์ฝ่าอุปสรรคล้างหนี้กว่า 700 ล้านบาท
BEYOND BOUNDARIES
04
Team
209 อาคาร เค ทาวเวอร์ ถนนสุขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร. 02 165 5555 ต่อ 3876
www.kiatnakinphatra.com E-mail: corporate.communications@kiatnakin.co.th
corporate.communications@phatracapital.com
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 โดยกลุ่มธุรกิจการเงิน เกียรตินาคินภัทร ห้ามนำ�ส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้ไปลอกเลียนแบบ ทำ�สำ�เนา ถ่ายเอกสาร หรือนำ�ไปเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต และเครือข่ายต่างๆ ไม่ว่าในรูปแบบใดๆ นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางบริษัทเท่านั้น OPTIMISE | JANUARY 2016
05
ECONOMIC REVIEW
การแก่ชรา เป็นหนี้และ กำ�ลังซื้อถดถอย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ และหัวหน้าสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน)
นักกลยุทธ์ของแบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ พันธมิตรของภัทรกล่าวโดย สรุปว่า โลกปัจจุบันเป็นโลกของ ความแก่ชรา (old) การเป็นหนี้ (indebted) และกำ�ลังซื้อของ ประชาชนส่วนใหญ่ถดถอย เพราะช่องว่างระหว่างคนรวย กับคนจนมีแต่จะขยายเพิ่มขึ้น (unequal) 06
OPTIMISE | JANUARY 2016
ต้องยอมรับกันตัง้ แต่ตน้ ปีเลยครับว่า การลงทุนในปี 2559 นีย้ ากลำ�บาก และท้าทาย อย่างมาก ไม่แตกต่างจากปีทผ่ี า่ นมา โดยเฉพาะ สำ�หรับการลงทุนในสินทรัพย์เสีย่ ง (เช่น หุน้ ) ในประเทศไทย และประเทศตลาดเกิดใหม่โดย รวม ซึง่ นักกลยุทธ์ของแบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์รลิ ลินช์ พันธมิตรของภัทรกล่าวโดยสรุปว่า โลกปัจจุบนั เป็นโลกของความแก่ชรา (old) การ เป็นหนี้ (indebted) และกำ�ลังซือ้ ของประชาชน ส่วนใหญ่ถดถอย เพราะช่องว่างระหว่างคนรวย กับคนจนมีแต่จะขยายเพิม่ ขึน้ (unequal) โลกใน ปี 2559 นี้ จึงจะหาการขยายตัว (growth) ได้ยาก ดังนัน้ แม้วา่ นักวิเคราะห์สว่ นใหญ่กย็ งั คาดการณ์ ว่ากำ�ไรของบริษทั ในตลาดหุน้ ทัว่ โลกจะขยายตัว 10% แต่หากไม่ขยายตัวเลย (ดังทีเ่ กิดขึน้ ในปี 2558) ก็จะไม่นา่ แปลกใจมากนัก จึงสรุปได้วา่ การ ลงทุนในปี 2559 นัน้ ต้องเพิม่ ความระมัดระวังมาก ยิง่ ขึน้ และทีส่ �ำ คัญคือ จะต้องกระจายความเสีย่ ง ของการลงทุนออกจากประเทศตลาดเกิดใหม่ เพราะมีแนวโน้มว่าตลาดประเทศพัฒนาแล้ว (สหรัฐฯ ยุโรป และญีป่ นุ่ ) จะให้ผลตอบแทนสูง กว่าตลาดประเทศตลาดเกิดใหม่ ‘old’ นั้นหมายความว่าประชากรของโลก กำ�ลังเข้าสู่วัยสูงอายุ ทั้งนี้ไม่เว้นแม้กระทั่ง ประเทศจีน และประเทศในเอเชียเอง ปัญหา นี้ก็จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เพราะนอกจาก จีนแล้ว ประชากรญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และแม้ กระทั่งประเทศไทย ก็อยู่ในข่ายของประเทศ ที่จะขาดแคลนทั้งแรงงาน และอุปสงค์ในไม่ ช้า ทำ�ให้ต้องปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของแรงงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่พูดง่าย แต่ท�ำ ได้ยาก สำ�หรับหนี้สินหรือ ‘indebted’ นั้น
ตัวเลขก็ฟ้องว่าทั้งโลกได้เพิ่มการกู้หนี้ยืมสิน อย่างเมามัน โดยเฉพาะประเทศตลาดเกิดใหม่ นั้น หนี้ภาคเอกชนเพิ่มจาก 72% ของจีดีพี มาเป็น 130% ของจีดีพีระหว่างปี 2552-2558 และสำ�หรับประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย ก็เพิ่มขึ้นจาก 100% ของจีดีพีมาเป็น 160% ของจีดีพีในช่วงเดียวกัน การเป็นหนี้ที่เกิดขึ้น เพราะนโยบายดอกเบี้ยตํ่า และคิวอีของสหรัฐฯ กำ�ลังเป็นภาระที่จะเหนี่ยวรั้งการขยายตัวทาง เศรษฐกิจของประเทศตลาดเกิดใหม่ใน 2-3 ปี ข้างหน้า ซึ่งไอเอ็มเอฟได้เตือนว่า ความเสี่ยง หลักในปี 2559 คือการที่บริษัทต่างๆ ในประเทศ ตลาดเกิดใหม่จะเผชิญกับปัญหาการจ่ายคืนหนี้ ทั้งนี้ อาจรวมถึงรัฐบาลของประเทศที่พึ่งพาการ ส่งออกนํ้ามัน และสินค้าโภคภัณฑ์เป็นหลัก อีกด้วย สำ�หรับนักลงทุนนั้นคงจะต้องจับตา มองความเคลื่อนไหวของดอกเบี้ยพันธบัตรของ บริษัทที่มีความเสี่ยงสูง เพราะหากปรับตัวสูงขึ้น อย่างรวดเร็วจะสะท้อนว่านักลงทุนกลัวความ เสี่ยง และจะนำ�เงินลงทุนออกจากประเทศตลาด เกิดใหม่ต่อไปอีก ในปี 2559 ประเด็นที่จะต้อง จับตาเป็นพิเศษอีกเรื่องหนึ่งคือ ค่าเงินหยวน ของจีน ซึ่งธนาคารกลางของจีนส่งสัญญาณว่า อยากให้อ่อนค่าลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อไม่ ให้ตลาดตื่นตระหนก โดยแบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ มองว่าเงินหยวนจะอ่อนค่าลง จาก 6.4 หยวนต่อ 1 ดอลลาร์ในขณะนี้ มาปิด ที่ 6.9 หยวนต่อ 1 ดอลลาร์ในปลายปี 2559 ซึ่ง จะส่งผลให้การลงทุนในประเทศตลาดเกิดใหม่ ในเอเชียมีความน่าสนใจลดน้อยลงไปอีกเพราะ เงินสกุลต่างๆ ในเอเชียก็คงจะอ่อนค่าลงตาม เงินหยวน
แต่ในด้านบวกนั้นประเทศในเอเชียจะได้ ประโยชน์สูงสุดในกรณีที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ มองโลกในแง่ร้ายเกินจริง และเศรษฐกิจโลก ขยายตัวดีเกินคาด ในกรณีดังกล่าว หุ้นเอเชีย อาจปรับตัวสูงขึ้นถึง 30% ในความเห็นของ นักกลยุทธ์ของแบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ เพราะนักลงทุนได้ขายหุ้นประเทศตลาดเกิดใหม่ ในเอเชียลงไปมากแล้วและมีหุ้นเหลืออยู่ ตํ่ากว่าเกณฑ์ปกติอย่างมาก สำ�หรับผู้ที่ต้องการลงทุนในภาคเศรษฐกิจ ที่ห่างเหินจากวัฏจักรของเศรษฐกิจ (เศรษฐกิจ จะดีหรือไม่ดี ภาคเศรษฐกิจที่กล่าวถึงก็จะยัง ขยายตัวอยู่ดี) นั้นมีดังนี้ ธุรกิจที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ การศึกษา การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน ความ มั่นคงของอาหาร ความต้องการของวัยที่เกิด ในศตวรรษนี้ การลดความอ้วน การเสริมสวย/ เสริมสุขภาพ หุ่นยนต์ นํ้าประปา และการกำ�จัด ขยะ เป็นต้น ในส่วนของประเด็นสุดท้ายคือ ‘unequal’ หรือช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนนั้นก็เป็นผล มาจากการที่คนรวยเป็นผู้ที่รํ่ารวยมากขึ้นไปอีก ในช่วงดอกเบี้ยตํ่าใกล้ศูนย์ และคิวอีซึ่งกระตุ้น ให้ราคาสินทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้น (แต่รายได้ของ มนุษย์เงินเดือนอยู่ที่เดิม) ทั้งนี้ ‘มหาเศรษฐี’ ที่มีจำ�นวนประมาณ 0.1% เป็นเจ้าของทรัพย์สิน คิดเป็นมูลค่า 23% ของทรัพย์สินของประเทศ ‘ชนชั้นกลาง’ ของประเทศนั้นมีทรัพย์สินอีก 54% ส่วน ‘คนจน’ ที่เหลือ 90% นั้นมีทรัพย์สิน เพียง 23% เมื่อดอกเบี้ยกลับมาปรับตัวขึ้น และราคาสินทรัพย์ไม่เพิ่มขึ้น กำ�ลังซื้อของ คนรวยก็แย่ลงเช่นกัน
OPTIMISE | JANUARY 2016
07
INVESTMENT REVIEW
ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยืนยันว่า การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเป็นไปอย่างระมัดระวัง สอดคล้องกับสถานการณ์ทาง เศรษฐกิจ ดังนั้น แม้อัตราดอกเบี้ย ของสหรัฐฯ จะอยู่ในขาปรับขึ้น แต่ตลาดก็คาดว่าการปรับขึ้นน่าจะ เป็นไปแบบค่อยๆ ขึ้น
เมื่อสหรัฐอเมริกา ปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ย... ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และหัวหน้าทีมวิจัยลูกค้าบุคคล สายงานลูกค้า บุคคลบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน)
ประเด็นหนึ่งที่มีพูดถึงกันค่อนข้าง มาก และน่าจะมีผลสำ�คัญต่อการลงทุนใน ระยะข้างหน้าพอสมควร คือเรื่อง ‘policy divergence’ หรือแนวโน้มที่มีโอกาสที่ เศรษฐกิจ และนโยบายการเงินของประเทศ ใหญ่ๆ ในโลกกำ�ลังจะไปคนละทิศคนละทาง ถ้าเราย้อนดูอดีตที่ผ่านมา ส่วนใหญ่แล้ว วงจรเศรษฐกิจของโลกจะอยู่ในระยะใกล้ เคียงกัน เวลาที่เศรษฐกิจของโลกดี ประเทศ ส่วนใหญ่ก็จะมีเศรษฐกิจดีพอสมควร เวลา เศรษฐกิจทั้งโลกอยู่ในภาวะแย่ ประเทศส่วน ใหญ่โดยเฉพาะประเทศใหญ่ๆ ก็จะอยู่ใน สถานการณ์ใกล้เคียงกัน การตอบสนองของ นโยบายอัตราดอกเบี้ยของประเทศใหญ่ๆ ก็ มักจะขึ้นลงพร้อมๆกัน แต่ในช่วงนี้ภาพดัง กล่าวอาจจะกำ�ลังเปลี่ยนไป และอาจจะทำ�ให้ เกิดผลกระทบต่อภาพการลงทุนพอสมควร ในปัจจุบัน เราอาจจะแบ่งโลกออกเป็น สามกลุ่มใหญ่ๆ หนึ่งคือกลุ่มที่เริ่มพ้นจาก ภาวะเศรษฐกิจถดถอย และเริ่มทยอยลดการ กระตุ้นเศรษฐกิจ หลังจากทำ�การ ‘พิมพ์เงิน’ มาสักระยะหนึ่งแล้ว และกำ�ลังจะขึ้นดอกเบี้ย เรื่อยๆ กลุ่มนี้ได้แก่ประเทศสหรัฐอเมริกาและ อังกฤษ กลุ่มที่สอง คือกลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจ ยังคงต้องการการกระตุ้นอยู่ กลุ่มนี้ปรับ ลดอัตราดอกเบี้ยลงมาอยู่ในระดับตํ่ามา สักระยะหนึ่งแล้ว และกำ�ลังทำ�การ ‘พิมพ์เงิน’ แบบขนานหนัก กลุ่มนี้ได้แก่ กลุ่มประเทศที่ใช้ 08
OPTIMISE | JANUARY 2016
เงินยูโร และประเทศญี่ปุ่น ที่ยังคงการ กระตุ้นเศรษฐกิจ และมีแนวโน้มอาจจะทำ� เพิ่มเติมได้อีก ส่วนกลุ่มที่สาม ได้แก่ประเทศกำ�ลัง พัฒนาทั้งหลาย ที่เริ่มมีปัญหาเศรษฐกิจชะลอ ตัว แต่อาจจะมีความพร้อมในการกระตุ้น เศรษฐกิจเพิ่มเติมได้ต่างกันไป ตามปัจจัย พื้นฐานของแต่ละประเทศ แนวโน้มของทั้งเศรษฐกิจและแนวโน้ม นโยบายการเงินของแต่ละกลุ่มประเทศ อาจ จะทำ�ให้เกิดความผันผวนต่อทั้งราคาสินทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยน และการเคลื่อนย้ายของ เงินทุนได้ อย่างที่เห็นเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เริ่มปรับอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.25% หลังจากที่ปรับ ลดลงเหลือ 0% มาตั้งแต่ปลายปี 2008 และ ต้องเรียกว่าเป็นการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเป็น ครั้งแรกในรอบ 9 ปี แม้ว่าตลาดจะมีความ กังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ พร้อมรับมือกับ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยจริงหรือ การขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ จึงเป็นการ ยืนยันว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ฟื้นตัวขึ้นมาใน ระดับที่เพียงพอต่อการปรับนโยบายอัตรา ดอกเบี้ยเข้าสู่ภาวะปกติ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยืนยันว่าการปรับ อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะเป็นไปอย่างค่อยเป็น ค่อยไป และเป็นไปอย่างระมัดระวัง สอดคล้อง กับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ดังนั้น แม้อัตรา OPTIMISE | JANUARY 2016
09
INVESTMENT REVIEW
อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ยุโรป และไทย และการคาดการณ์ของตลาด
ทีม่ า: www.bloomberg.com, บริษทั หลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน)
ดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จะอยู่ในขาปรับขึ้น แต่ตลาดก็ คาดว่าการปรับขึ้นน่าจะเป็นไปแบบค่อยๆ ขึ้น แต่ก็ยัง มีความแตกต่างกันระหว่างการคาดการณ์ของตลาด กับการคาดการณ์ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน อยู่ เพราะตลาดคาดว่าดอกเบี้ยคงขึ้นได้แค่ 2 ครั้งใน 1 ปีข้างหน้า ขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน ยังคงคาดว่าน่าจะขึ้นได้ถึง 4 ครั้ง จึงมีความจำ�เป็น ในการจับตาดูพัฒนาการทางเศรษฐกิจ และการคาด การณ์ของตลาดอย่างใกล้ชิด
เมื่อดอกเบี้ยขึ้นแล้วจะมีผลอย่างไร?
มีความกังวลว่าเมื่ออัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ถูกปรับสูงขึ้น อาจจะส่งผลต่อตลาดการเงินใน 3 ด้าน ใหญ่ๆ ได้แก่ 1. เมื่ออัตราดอกเบี้ยซึ่งเป็นต้นทุนทางการเงินสูง ขึ้น และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ อาจจะแข็งค่าขึ้น อาจ จะเป็นการแตะเบรกให้กับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังคง มีความเปราะบางทางเศรษฐกิจอยู่แล้ว และแบกรับ ภาระในการอุ้มเศรษฐกิจโลกไว้ และทำ�ให้เกิดความ เสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกได้ 2. อัตราดอกเบี้ยเป็นปัจจัยสำ�คัญในการตีมูลค่า สินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเร็วกว่า ปัจจัยพื้นฐาน อาจจะส่งผลต่อราคา และความผันผวน ของสินทรัพย์ ทั้งหุ้น พันธบัตร ที่ดิน และสินค้า โภคภัณฑ์ต่างๆ ได้ แต่อย่างไรก็ดี จากประสบการณ์ในการขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ในอดีต ดอกเบี้ยที่ขึ้นไม่ได้ 10
OPTIMISE | JANUARY 2016
หมายความว่าตลาดหุ้นจะอยู่ในขาลงเสมอไป ในทาง ตรงข้ามตลาดหุ้นอาจจะสามารถปรับตัวสูงขึ้นได้ ถ้าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจ มีความแข็งแกร่ง และทำ�ให้ก�ำ ไรของบริษัทดีขึ้น 3. การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ อาจจะส่งผลต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความ แข็งแกร่งขึ้น และการลงทุนได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น นักลงทุนอาจจะดึงเงินที่ลงทุนในต่างประเทศกลับไป ลงทุนในสหรัฐฯ ทำ�ให้ประเทศอื่นๆ ที่มีปัญหาด้าน เสถียรภาพ เช่น การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด มีแนวโน้มเศรษฐกิจอ่อนแอ หรือพึ่งพาเงินทุนจาก ต่างประเทศมาก ได้รับผลกระทบ รวมไปถึงค่าเงินที่ อาจเกิดความผันผวน จนอาจต้องตอบสนองด้วยการ ขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะเป็นการซํ้าเติมสภาพเศรษฐกิจ ที่ยังคงค่อนข้างอ่อนแออยู่ มีความเป็นไปได้ที่เงินดอลลาร์สหรัฐ อาจจะแข็ง ค่าขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศกำ�ลังพัฒนา และประเทศที่ กำ�ลังกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างยุโรป ญี่ปุ่น และจีน นอกจากนี้ เมื่อต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น อาจจะ ทำ�ให้เกิดปัญหาการจ่ายคืนหนี้กับหลายประเทศที่ สะสมหนี้มาในช่วงดอกเบี้ยตํ่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศกำ�ลังพัฒนา ดังที่เริ่มเห็นปัญหาเกิดขึ้นกับ บางประเทศ และกองทุนพันธบัตรเอกชนบางแห่งใน สหรัฐฯ เมื่อไม่นานมานี้
ผลกระทบต่อการลงทุน
แล้วเราควรจัดการลงทุนอย่างไร เมื่อมี ‘policy divergence’ โดยเฉพาะจากแนวโน้มดอกเบี้ยที่กำ�ลัง จะปรับขึ้นในสหรัฐฯ ผมเชื่อว่าตลาดการเงินน่าจะมี ความผันผวนมากขึ้นในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะจาก ความไม่แน่นอนต่างๆ และความแตกต่างกันในเรื่อง ของการคาดการณ์ แต่หุ้นยังคงเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนใน ระยะยาวดีกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ แม้ความผันผวน จะมีสูงกว่ามาก จากประสบการณ์การขึ้นดอกเบี้ย ในอดีต การเลือกประเทศและอุตสาหกรรมที่มี ศักยภาพในการเติบโตเป็นเรื่องจำ�เป็น จึงอาจจะมีความจำ�เป็นมากยิ่งขึ้น ในการกระจาย ความเสี่ยงไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงที่มีจากประเทศไทย ที่เป็นหนึ่งใน ประเทศกำ�ลังพัฒนา ที่อาจได้รับผลกระทบในทางลบ จากการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ประเทศที่พัฒนาแล้ว ดูมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งกว่าประเทศกำ�ลังพัฒนาอย่าง เห็นได้ชัด อัตราดอกเบี้ยระยะยาวในสหรัฐฯ ก็อาจจะมีความ เสี่ยงที่จะปรับขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งอาจจะ ส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยระยะยาวในไทยด้วย ถ้าจะซื้อพันธบัตร ช่วงนี้อาจจะดูพันธบัตรที่อายุไม่ยาว เกินไปนัก นอกจากนี้ คงต้องระมัดระวังเรื่องความ เสี่ยงด้านเครดิตเป็นพิเศษ และการลงทุนในสินค้า โภคภัณฑ์อาจจะยังไม่ค่อยน่าสนใจนักในภาวะ ปัจจุบัน ช่วงนี้การลงทุนค่อนข้างยาก คงต้องติดตามข้อมูล กันใกล้ชิดหน่อยครับ
อาจจะมีความจำ�เป็นมากยิ่ง ขึ้น ในการกระจาย ความเสี่ยงไปลงทุน ในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงที่มีจาก ประเทศไทย ที่เป็นหนึ่งใน ประเทศกำ�ลังพัฒนา ที่อาจได้รับผลกระทบใน ทางลบจากการขึ้นดอกเบี้ย ของสหรัฐฯ ประเทศที่ พัฒนาแล้วดูมีพื้นฐานที่ แข็งแกร่งกว่าประเทศกำ�ลัง พัฒนาอย่างเห็นได้ชัด
C
M
Y
CM
MY
CY
CMY
K
optimum view
Carving Their Own Paths ธนกร จ๋วงพานิช
เส้นทางความเป็นตัวของตัวเองทีน่ ำ�สามพีน่ อ้ งจาติกวณิชไปสูค่ วาม สำ�เร็จและอิสระของชีวติ คงไม่ผิดหากจะกล่าวว่าสามพี่น้อง‘จาติกวณิช’ คือ จี๊ป-อธิไกร ดอน-กรณ์ และพิพ-อนุตร ล้วนแล้ว แต่สร้างความสำ�เร็จที่น่าตื่นเต้นในแบบที่เป็นตัวของ ตัวเองอย่างยิ่ง เริ่มตั้งแต่จี๊ป พี่ชายคนโต สำ�เร็จการศึกษา ศิลปศาสตร์บัณฑิตด้านความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ แต่กลับผันตัวมาทำ�งานในตลาดทุน และใน ที่สุดก็เป็นผู้ก่อตั้งของ Hunters Investments และ Ton Poh Fund บริษัทออฟชอร์ที่เชี่ยวชาญการลงทุน ในหุ้นของไทยและอนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขง พิพ น้องชายคนสุดท้อง เริ่มต้นทำ�งานใน ตำ�แหน่งกรรมการผู้จัดการของบริษัท พลังงาน อุตสาหกรรม และบริษัท เอช เพาเวอร์ ในกลุ่มบริษัท เหมราช ซึ่งผลิตไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย (กฟผ.) ด้วยวัยเพียง 26 ปี และเป็น หนึ่งในผู้ผลักดันให้เกิดธุรกิจผลิตไฟฟ้าโดยภาค เอกชนของประเทศ จนเคยได้รับสมญาจากสื่อฯ ว่า ‘หนุ่มไฟแรงสูง’ และแน่นอนที่สุด ดอน หรือที่สังคมนิยมเรียกแต่ ชื่อจริงว่ากรณ์ ก่อตั้งบริษัทหลักทรัพย์ เจเอฟ ธนาคม เป็นของตัวเองตั้งแต่อายุ 24 ปี ก่อนที่จะขายให้กับ JP Morgan Chase และขึ้นเป็นประธานของบริษัท หลักทรัพย์ เจพีมอร์แกน (ประเทศไทย) ภายหลังการ ควบรวม ยิ่งกว่านั้น เมื่อหันมาทำ�งานการเมือง ก็ได้ เป็นถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง และได้รับการ ยกย่องจากนิตยสาร The Banker ให้เป็น Finance Minister of the Year ทั้งในระดับภูมิภาคเอเชียและ ในระดับโลก อย่างไรก็ตาม การได้สัมภาษณ์สามพี่น้องพร้อม กัน ทำ�ให้ได้พบว่าท่ามกลางภาพชีวิตที่ดูเป็นตัวของ ตัวเองแบบ‘ทางใครทางมัน’ของทั้งสาม แท้จริงแล้ว ล้วนมี ‘ต้นทาง’ เดียวกัน คือต้นทางที่มาจาก ไกรศรี และ รัมภา จาติกวณิช บุคคลที่ทั้งสามยอมรับว่า เป็นต้นฉบับของความเป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง 12
OPTIMISE | JANUARY 2016
ทางที่พ่อเดิน
กรณ์ : “คุณพ่อและคุณแม่เป็นคนที่มีอิสระ ทางความคิดสูงมาก โดยเฉพาะคุณพ่อไม่ค่อยสนใจ กระแสสังคม กระแสไปทางไหน พ่อจะไปอีกข้าง ไม่ใช่เพื่อจะเรียกร้องความสนใจ แต่เป็น DNA ของ เขา ไม่จำ�เป็นต้องอธิบายชี้แจงให้คนอื่นเข้าใจ …มันมีส่วนในเกือบๆ ทุกการตัดสินใจ ใช้คำ�ว่า ขวางโลกก็ได้ คนอื่นเขามีบ้านพักตากอากาศหัวหิน พ่อจะอยู่ชะอำ� สมัยนั้นยังไม่มีใครไปอยู่เลย จะอยู่ที่ นั่นต้องมีปืนลูกซองอยู่ที่บ้าน เพราะมันเปลี่ยว พอไปอยู่ที่เชียงใหม่ คนอื่นเขาอยู่แม่ริม พ่อก็ไปอยู่ จอมทอง ตอนที่พวกผมไปเรียนหนังสือที่อังกฤษแล้ว คิดว่าจะซื้อแฟลต คนอื่นเขาอยู่ในลอนดอน เราต้อง ไปอยู่ริชมอนด์ ชานเมือง ถามว่าโดยเจตนาหรือเปล่า ที่เลือกจะไม่อยู่กับคนอื่น ก็ไม่ถึงขนาดนั้น แต่พอ เอาการตัดสินใจแต่ละครั้งๆ มารวมกัน มันเห็น แพทเทิร์นบางอย่าง” จี๊ป : “ที่เห็นแน่ๆ เราไม่เคยไหว้พ่อแม่เลย ไม่เคยโดนสอนให้ไหว้พ่อแม่ ไม่เคยเรียก ‘คุณพ่อคุณ แม่’ เรียก ‘พ่อแม่’ ไม่พูด ‘ครับ’ พูด ‘จ๊ะจ๋า’ คุณพ่อนี่ เลี้ยงลูกแบบฮาร์ดมาก ความอบอุ่นวัยเด็กจากพ่อ แทบไม่มี ไม่ได้หมายความว่าไม่รักนะ แต่แกมีสไตล์ แสดงออกความรักที่เป็นเอกลักษณ์ของแกเอง เป็นแบบคนสมัยนั้น ไม่มีแบบพ่อสมัยนี้ ลูกเก่งลูกดี อย่างนั้นอย่างนี้” กรณ์ : “เป็นแบบข้าราชการยุคนั้น แข็งๆ พ่อจะ เล่าเรื่องคุณปู่ เรื่องสงคราม ชีวิตสมัยสงคราม เราโตขึ้นถึงรู้ว่าเรื่องจริงบ้างไม่จริงบ้าง แล้วคุณพ่อ จะเปรียบเทียบว่าสมัยคุณปู่เลี้ยงพ่อยังไง เพื่อจะให้ เราเห็นว่าความจริงที่พ่อทำ�กับเรานี่ก็ค่อนข้างอบอุ่น แล้วนะ (หัวเราะ) พ่อเคยเล่าให้ฟังว่าทั้งชีวิตของพ่อ เคยกินข้าวร่วมโต๊ะกับคุณปู่แค่สองหน นอกนั้นก็ คือกินหลังบ้าน ถ้ามาดูจริงๆ น่าจะเป็นนิสัยประจำ� ตระกูล ลุงป้าเป็นอย่างนั้นหมด independent
ผมจำ�ได้ลุงกษาน (ศ.นพ.กษาน จาติกวณิช) ขับรถ จะไปงานสังคมอะไรสักอย่าง แล้วไปถึงหน้างาน ปรากฏว่าคนเยอะ ลุงก็บอก ‘เฮ้ย---ไม่มีที่จอดรถ กลับบ้าน’ คือจะไม่จอดเลย ทั้งๆ ที่ท่านผู้หญิงสุมาลี ภรรยาของท่านนี่เป็นคนโซเชียลมาก อีกอย่างน้อง สาวกับพี่ชายคุณพ่อผมแต่งงานกับตระกูลลํ่าซำ� นานๆ ทีเวลามีงานรวมญาติ พวกลํ่าซำ�เขาจะมา แพ็กใหญ่มาก ในขณะที่ฝั่งเรา ทั้งๆ ที่บ้านก็อยู่ติดๆ กันในซอยนี้หมด แต่คุณย่าต้องส่งสาส์นมาเกณฑ์ ว่าให้ไปร่วมงานกันหน่อย เพราะรู้ว่า ถ้าไม่ตาม ก็จะหายหมด (หัวเราะ)” จี๊ป : “นานๆ ไปสิ่งเหล่านี้มันทำ�ให้เรามี confidence ในการใช้ชีวิตแบบของเรา พวกเรา ภูมิใจในการมีความคิดที่เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง เหมือนที่ฝรั่งพูด ‘It’s never wrong to do the right thing.’ พ่อทำ�ให้รู้สึกว่าอยากทำ�อะไรก็ได้ ไม่ต้องตาม คนอื่น พ่อไม่เคยมานั่งพูด แต่พวกเราเอาแบบอย่าง คุณพ่อมาตลอด เพราะคุณพ่อไม่เคยต้องขอใคร มีก็มี ไม่มีก็ไม่ว่าอะไร เงินที่ได้คือได้จากการลงทุน หรือความคิดของตัวเอง แล้วไม่ได้ตั้งใจด้วยว่าจะ ต้องไม่เหมือนคนอื่น แต่มันเป็นปกติของเขา ทัศนคติ ของพ่อต่อการชวนไปโน่นไปนี่ คือ ‘ไปทำ�ไมวะ? ทำ�ทำ�ไมวะ?’ เป็นคำ�ถามที่ยากต่อการหาคำ�ตอบ (หัวเราะ)” พิพ : “เขาคิดว่าอะไรควรทำ� อะไรถูกต้อง เขา ก็จะทำ� ไม่สนคนอื่นคิดยังไง และที่สำ�คัญ ไม่ชอบ พึ่งคนอื่น” กรณ์ : “แต่ไม่ได้เป็นประโยชน์กับเราเสมอไป เช่น ถ้าเทียบกับคนอื่นๆ ในรุ่นต้องถือว่าเป็นเรื่อง แปลกที่เราสามคนไม่เคยเรียนหลักสูตร วปอ. วตท. บยส. หรือหลักสูตร ‘สร้างรุ่น’ ประเภทต่างๆทั้งสิ้น” จี๊ป : “มันกลับไปที่คำ�ถามของพ่อ ‘เรียนทำ�ไม วะ?’ ถ้าตอบไม่ได้มันก็จบ มันฟังง่ายๆ นะ แต่เป็น benchmark ที่ดี” OPTIMISE | JANUARY 2016
13
optimum view พิพ : “ถ้าเป็นคำ�ตอบที่ว่า ใครๆ ก็เรียนกัน นั่นไม่ใช่ค�ำ ตอบของพวกเราแล้ว” กรณ์ : “อย่างน้อยมัน ไม่ใช่คำ�ตอบที่ดีพอ เรา มักจะมีความรู้สึกเหมือนคุณพ่อว่า ทำ�อะไรก็ควรทำ� ด้วยตัวเอง เพราะคุณต้องยอมรับว่าแรงจูงใจส่วน หนึ่งของการเข้าไปเรียนหลักสูตรพวกนี้ก็คือการหา พวก หาเน็ตเวิร์ก เราไม่ได้ปฏิเสธคนอื่น แต่เรามี ความรู้สึกว่า ปัจจัยสำ�คัญปัจจัยหนึ่งในความสำ�เร็จ ของเราคือ การเป็นตัวของตัวเอง พอมีพวก มีรุ่น มัน เป็นตัวของตัวเองยากขึ้น”
เกียรติข้าราชการ
แม้การทำ�ตามหลักการมากกว่ากระแสจะฟังดู เป็นอุดมคติที่ดี แต่น่าสงสัยว่าโดยทั่วไป ข้าราชการ มักจะมีภาพลักษณ์ของการต้องดำ�เนินตามกฎ ระเบียบ ผู้บังคับบัญชา หรือครรลองอื่นๆ อะไร คือสาเหตุที่ทำ�ให้ข้าราชการอย่างไกรศรีสามารถ คงความเป็นตัวของตัวเองได้ อีกทั้งยังดูเหมือนจะ เจริญก้าวหน้าเป็นอย่างดี เพราะสุดท้าย เขาเคยรับ ตำ�แหน่งเป็นถึงอธิบดีกรมศุลกากร กรมธนารักษ์ และผู้อำ�นวยการสำ�นักงานเศรษฐกิจการคลัง กรณ์ : “ข้าราชการสมัยนั้นกับสมัยนี้ไม่เหมือน กันนะ คุณต้องนึกภาพว่าข้าราชการยุคนั้นนี่คือคน อย่างอานันท์ ปัณยารชุน ศิววงศ์ จังคศิริ พวกนี้ไม่ เคยวิ่งตำ�แหน่ง ไม่ว่าจะด้วยเชื้อสายวงศ์ตระกูลเอย การศึกษาเอย ข้าราชการยุคนั้นนี่คืออำ�มาตย์แท้จริง เลย แล้วเราโตมาในบ้านราชการ เราจะได้เห็นได้ยิน ทัศนคติของข้าราชการที่มีต่อฝ่ายการเมืองผ่านคุณ พ่อ มันชัดเจนว่าเขามองสถานะเขายังไง มันไม่ เหมือนสมัยนี้” จี๊ป : “ข้าราชการสมัยนั้น integrity (คุณธรรม) สูงมาก มีความคิดในหัว กูแน่ กูเรียนสูง กูรู้ best practice เอาอย่างนี้ดีกว่า ตอนยืนกับรัฐมนตรีสมัย นั้น พ่อไม่เคยต้องกุมกระเป๋ง ยืนเท้าสะเอว มือ ซุกกระเป๋า มีความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก มัน ถ่ายทอดมาถึงเราว่าในช่วงชีวิตของเรา ตำ�แหน่งอาจ จะไม่เท่ากัน แต่ไม่ได้หมายความว่าเราไม่เท่าเทียม พวกเราถึงโตขึ้นมาโดยที่ไม่เคยรู้สึกว่าด้อยกว่าใคร เลย มีความมั่นใจในตัวเอง เขามีก็มีของเขาไป ไม่เคยต้องเปรียบเทียบ เรามั่นใจในสิ่งที่เราเป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นวิธีคิด วิธีการทำ�งาน” กรณ์ : “ทำ�ให้นึกถึงคุณชาตรี (โสภณพนิช) บ้านเก่าของเราเล็กๆ 2 ชั้น 3 ห้องนอน คุณชาตรี เขาสนิทกับบ้านเรา วันดีคืนดีเขาก็เดินมาบ้าน แม่ก็ ออกไปต้อนรับ แล้วก็พาเดินดูบ้าน เดินดูบ้านนี่คือ ประมาณ 30 วินาทีก็จบแล้ว แล้วประโยคของคุณ ชาตรีที่ทักตอนดูบ้านเสร็จ พวกเรารู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ น่ารักมาก ‘โห บ้านคุณไกรศรี ดีนะ เล็กดี ได้ใช้ ทุกห้อง’ เขาพูดด้วยความจริงใจ ทั้งๆ ที่ความจริง คอนเซ็ปต์ ‘ได้ใช้ทุกห้อง’ นี่มันเป็นคอนเซ็ปต์ปกติ ของคนทั่วไปทั้งนั้น แต่บ้านแกคงใหญ่โต พวกเรา ห้องรับแขก ห้องกินข้าว ห้องนั่งเล่น ห้องเดียวกัน (หัวเราะ)” 14
OPTIMISE | JANUARY 2016
จี๊ป : “ผมว่าสมัยนั้นการเมืองยังไม่แข็ง คนจบ นอกเข้ามารับราชการเพราะศักดิ์ศรี เพราะต้องการ สร้างผลประโยชน์ให้กับประเทศชาติ คนสมัยนั้น เหมือนกับโดน mold มาว่าต้องกลับมาทำ�ประโยชน์” กรณ์ : “สมัยนั้น ข้าราชการมีบทบาททำ�อะไร ได้เยอะ เพราะบทบาทรัฐทางเศรษฐกิจมีมากกว่า ตอนนี้ อะไรๆ ก็รัฐ ไม่มีรัฐเรื่องก็เดินไม่ได้ ข้าราชการเลยได้จับต้องงานบริหารมากกว่าปัจจุบัน สมัยนี้อาจมีข้าราชการเข้าไปนั่งเป็นบอร์ด แต่ก็แค่ นั่งเฉยๆ ในขณะที่สมัยนั้น ข้าราชการเข้าไปดันงาน จริงๆ คุณพ่อท่านเข้าไปดันหลายเรื่อง มีทั้งสำ�เร็จ และไม่สำ�เร็จ ทั้งเรื่องปุ๋ยแห่งชาติ เรื่องวิกฤตราชา เงินทุน เรื่องตั้งบริษัทผาแดง เรื่องตั้งตลาดหลักทรัพย์ สิ่งเหล่านี้ท�ำ ให้เรารู้สึกว่างานสมัยนั้นมันหลากหลาย และต้องรับผิดชอบสูง สมัยนี้เวลาถามคนว่ามาเป็น ข้าราชการทำ�ไมโดยเฉพาะข้าราชการผู้น้อย ก็มักจะ ได้รับคำ�ตอบว่าเพราะสิทธิประโยชน์ โดยเฉพาะสิทธิ การรักษาพยาบาลสำ�หรับตัวเอง และครอบครัว ใน ขณะที่สมัยนั้น เราอยู่ที่บ้านไม่เคยได้ยินคุณพ่อพูด เรื่องประโยชน์ที่ได้รับ จำ�ได้อย่างเดียวเลย คือพ่อได้ เบี้ยดูแลบุตรคนละ 50 บาท ต่อเดือน เพราะพ่อจะ โจ๊กว่า ‘ได้เงินมาดูแลพวกลื๊อ 50 บาทต่อเดือน’” จี๊ป : “เรื่องพวกนี้เป็นสิ่งที่กรณ์ค่อนข้างต่างจาก เราทั้งสองคน คือกรณ์จะรู้ แต่พวกเราไม่เคยรู้เลย (หัวเราะ)”
เกษมเกษียณไปแล้ว คงจะช่วยไม่ได้ แต่สิ่งที่ช่วยก็ คือทุกคนที่อยู่ก็ลูกน้องเก่าลุงทั้งนั้น เราเข้าไปติดต่อ นี่ครึ่งชั่วโมงแรกเขาก็จะต้องเล่าเรื่องราวของตัวเอง เกี่ยวกับคุณลุง สมัยก่อนอยู่บางปะกง เคยสร้างเขื่อน กันมายังไง เป็นสิ่งที่น่ารัก แต่ด้านลบก็มี เช่นเขาจะ บอกว่าลุงสร้างมาแล้วทำ�ไมเราจะมาแยก เพราะการ ไฟฟ้าเอง ก็ไม่ยอมรับว่าเอกชนจะทำ�ไฟฟ้าได้ ใหม่ๆ คุยกับลุงเกษม ลุงยังบอก ‘เอกชนทำ�ไม่ได้หรอก เรื่องใหญ่ต้องรัฐทำ�’ ผมก็เข้าใจนะเพราะกฟผ. ทำ�มาตลอด อีกอย่างถ้ารัฐไม่ท�ำ เอาไว้ ก็ต่อยอด เป็นเอกชนไม่ได้ อย่างไรก็แล้วแต่ กฟผ.เป็นองค์กร ที่ผมรักมาก สัมผัสได้ว่ามาตรฐานของคนที่นั่นไม่ เหมือนกับรัฐวิสาหกิจบางที่ เวลาเข้าไปติดต่อกฟผ. ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน ทำ�ทุกอย่างเพื่อผล ประโยชน์ของประเทศ ไม่มีนอกมีใน คนมีความรู้ ความสามารถ มีความภูมิใจในงานที่ตัวเองทำ� แต่ตอนนี้เข้าไปแล้วมีความรู้สึกว่าไม่เหมือนเดิม องค์กรเปลี่ยนไปมาก ถูกการเมืองเข้ามาแทรกแซง เยอะมาก
ครอบครัว ‘อัลฟา’
ความเป็นตัวของตัวเองทำ�ให้ไกรศรีเลี้ยงลูก ทั้งสามโดยแนวทางที่ตัวเองเห็นว่าสมควร ซึ่งกรณ์ เรียกว่าเป็นแนวทางแบบ ‘อัลฟา’ (Alpha) หรือภาวะ ที่จ่าฝูงกำ�หนดทุกอย่าง โดยอย่างหนึ่งที่ไกรศรีเห็น ว่าดีต่อลูกๆ และพยายามผลักดันเป็นอย่างมากก็ คือกีฬา นามของคน เงาของไม้ กรณ์ : “เรื่องกีฬาพ่อให้เราเต็มที่ คือไม่ได้มุ่ง ในอีกแง่หนึ่ง ในเมื่อสถาบันข้าราชการมีความ มั่นว่าจะต้องปั้นให้เราเป็นอะไร แต่แค่อยากให้เราได้ เข้มแข็งอย่างนี้ ชวนให้คิดว่าตำ�แหน่งระดับสูงของ บิดาจะส่งผลกระทบให้พี่น้องจาติกวณิชเติบโตมาใน เล่นในสิ่งที่พ่อได้เล่น ตอนนั้นพ่อให้เราไปเล่นเทนนิส ภาวะที่พิเศษกว่าปกติ โดยเฉพาะในเมื่อไม่เพียงแต่ ตอนเช้าก่อนเข้าเรียน นึกภาพดู 6 โมงเช้า เช้ามาก ตัวไกรศรีเองที่มีต�ำ แหน่งสูง พี่น้องของเขาหลายคน ไปตีเทนนิส โดยเราก็ไม่ได้ enjoy เลย คืออะไรที่ทำ� ก็เป็นข้าราชการระดับสูงทั้งสิ้น เช่นเกษม จาติกวณิช กับคุณพ่อนี่มันทรมานมาก ไม่่มีการตีไป หัวเราะไป” ผู้ก่อตั้งและผู้ว่าการคนแรกของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต จี๊ป : “ยิ่งตีกอล์ฟกับพ่อนี่คือฝันร้ายสำ�หรับ แห่งประเทศไทย ผู้ได้รับการขนานนามว่า ‘ซูเปอร์เค’ พวกเรา (หัวเราะ)” หรือ Energy Tzar ของประเทศ หรือศ.นพ.กษาน พิพ : “จริงๆ พ่อเป็นคนที่ท�ำ ให้ทีแรกผมไม่เล่น จาติกวณิช อธิการบดีของมหาวิทยาลัยมหิดล กอล์ฟเลย เพราะพ่อชอบกีฬานี้มาก แต่เขาเครียด กรณ์ : “ความจริงตอนทีเ่ ราโตมา คุณพ่อก็ไม่ได้ มาก วิธีการสอนจะทำ�ให้เครียด อย่างเวลาซ้อม รา่ํ รวย หรือใหญ่โตอะไร ตอนนัน้ เด็กอยูก่ ไ็ ม่ได้สน เทนนิส เราน็อคลูกกับกำ�แพงอยู่ เขาก็จะเดินมายืน หรอกว่าใครเป็นใคร แต่นานๆ ครัง้ ก็จะเจออะไรบาง สักพักแล้วก็ส่ายหน้า แล้วก็เดินไป นี่คือการสอนของ เขา(หัวเราะ)” อย่างทีท่ �ำ ให้เรารูส้ กึ ว่าญาติผใู้ หญ่เรามีสถานะใน กรณ์ : “ตีกอล์ฟทั้งวันก็จะได้ยินเสียง (จึ๊กปาก) สังคม จำ�ได้เคยไปบ้านเพือ่ น พ่อของเพือ่ นทำ�งาน กฟผ. ตอนนัน้ เราแค่ 8-9 ขวบเอง แต่เรารูส้ กึ ว่าท่าทีพอ่ ตลอดทั้งวัน พวกเราก็แบบ...อืม” พิพ : “เคยโดนไปครั้งหนึ่ง แชงค์เลย (หัวเราะ) แม่เพือ่ นมันผิดปกติ เราไม่ชอบ อึดอัดมาก แล้วก็คดิ ได้ ทันทีวา่ เป็นเพราะพ่อเขาอยูก่ ฟผ. และลุงผมเป็นผูว้ า่ ฯ และนั่นทำ�ให้เวลาผมสอนลูกเล่นกีฬา ผมจะให้คน ผมจำ�ได้วา่ รีบพยายามปลีกตัวออกมา เพราะอึดอัด อื่นสอน เวลาลูกเล่นเราต้องพยายามปิดปากไม่พูด มาก ลูกๆ เราเหมือนกัน สมัยผมเป็นรัฐมนตรี เวลาลูก ให้เขาเล่นสนุกๆ ดีกว่า จะได้รักกีฬา แต่ตอนแรกๆ ผมซึง่ เรียนเมืองนอก ปิดเทอมจะกลับบ้าน ลูกผมจะส่ง ก็ต้องคอยดันนะ ให้เขาไปเรียน ไปซ้อม เพราะกีฬา ข้อความมาว่า ‘พ่ออย่าบอกใครเลยนะว่าลูกกลับบ้าน มันเป็นสิ่งที่เริ่มยาก อย่างเทนนิสนี่กว่าจะตีเป็นก็ อย่าส่งใครมารับทีส่ นามบิน’ ลูกพีล่ กู น้องก็เหมือนกัน” นาน ต้องเดินเก็บลูกเป็นเดือน แต่พอมันติดตัวเขา จี๊ป : “ไม่รู้ พ่อลูกพวกเราไม่เคยใหญ่ (หัวเราะ)” แล้วก็โอเค” กรณ์ : “บทเรียนทั้งหมดนี้ คือมีบางเรื่องที่ต้อง พิพ : “ของผมมีช่วงที่เข้าไปเรื่องการผลิตไฟฟ้า ฝืนใจลูกในระดับหนึ่ง แล้วความจริงมันเป็นการเสีย โดยเอกชน ตอนนั้นเข้าไปติดต่อกับกฟภ. กฟผ. ลุง
เราโตมาในบ้าน ราชการ เราจะได้ เห็นได้ยินทัศนคติ ของข้าราชการที่มี ต่อฝ่ายการเมือง ผ่านคุณพ่อ มัน ชัดเจนว่าเขามอง สถานะเขายังไง มันไม่เหมือนสมัยนี้
OPTIMISE | JANUARY 2016
15
optimum view
ข้าราชการสมัยนั้น มี integrity (คุณธรรม) สูงมาก ...เอาอย่างนี้ดีกว่า ตอนยืนกับรัฐมนตรี พ่อไม่เคยต้องกุมกระเป๋ง ...มันถ่ายทอดมาถึงเราว่า ในช่วงชีวิตเรา ตำ�แหน่ง อาจจะไม่เท่ากัน แต่ไม่ได้ หมายความว่าเราไม่เท่าเทียม พวกเราถึงโตขึ้นมาโดยที่ไม่ เคยรู้สึกว่าด้อยกว่าใครเลย
16
OPTIMISE | JANUARY 2016
สละ อย่างวันนั้นเราไม่ได้สำ�นึกว่าพ่อต้องเสีย สละเวลาของพ่อแค่ไหน ทั้งเช้าทั้งมืดแต่ก็ยังพา ไป พ่อไม่เคยพูด ไม่เคยลำ�เลิก เราก็ไม่ได้คิดอะไร มาก เล่นเสร็จก็เปลี่ยนชุดเดินข้ามไปเรียนหนังสือ แค่คิดว่าทำ�ไปเพราะพ่ออยากให้ทำ� แต่สุดท้าย มันกลับเป็นสิ่งที่มีคุณค่ากับชีวิตเรามาก ดังนั้น บางอย่างเราต้องฝืนทำ� แต่ฝืนในระดับไหน นั่น คือศิลปะ ฝืนถึงจุดที่ไปไม่ได้ก็ต้องหยุด แต่พ่อ จะมีอคติ เพราะบางเรื่องหยุดเร็วมาก เช่นเรื่องที่ เกี่ยวกับการดนตรี พวกเราเรียนเปียโนคนละครั้ง แล้วเลิก ไม่เคยได้มากกว่านั้นเพราะพ่อจะถาม ‘เรียนไปทำ�ไมวะ เปิดแผ่นเสียงเอาเพราะกว่า’ พวกเราก็จบเลย ผมก็ไม่เคยคิดเรื่องเปียโนอีกเลย เพราะดูตรรกะของพ่อแล้ว ไม่มีทางเถียงได้ มัน เป็น logic ที่ไม่ใช่ logic (หัวเราะ)” ทั้งนี้ ความเป็นครอบครัวอัลฟาของ ไกรศรี ย่อมรวมถึงการปล่อยให้ลูกๆ ทั้งสาม ได้แย่งชิงพื้นที่ภายในฝูงกันเอง โดยไม่มีการ ประคบประหงมใครเป็นพิเศษ ซึ่งทั้งสามคน บอกว่าไม่รู้สึกผิดปกติอะไร จนเติบโตขึ้นแล้วมี ครอบครัวถึงได้เห็นว่ามารดารู้สึกดีมากที่มีผู้หญิง เพิ่มเข้ามาในบ้านหลังจากต้องอยู่กับครอบครัว ชายล้วนมานาน จี๊ป : “ถ้ามีปัญหาทะเลาะกัน พ่อจะไม่ชอบ ให้ลูกๆ มาฟ้อง แต่จะซื้อนวมให้จัดการเล่นกันเอง เลย” พิพ : “ซึ่งมันเป็นสิ่งที่แย่มากสำ�หรับผม เพราะตัวเล็กสุด แล้วคิดดูนวมมีแค่ 2 คู่ แต่ต่อย กัน 3 คน ผมก็ซวยไปเลย อีกทีหนึ่งเพื่อนพ่อไป ญี่ปุ่นแล้วซื้อชุดเคนโด้มาให้ พี่จี๊ปก็ใช้ให้ผมใส่ ชุดเคนโด้ แล้วก็เอาไม้ตี (หัวเราะ) ยังดีที่เขาให้ ใส่ชุด อันที่จริงชุดนั้นมันเหมือนเขาซื้อมาให้แค่ ตั้งโชว์ด้วย” จี๊ป : “แล้วสมัยก่อนจะมีแค่กรณ์คนเดียว ที่เรียนเก่ง ลุงเกษมจะให้ 100 บาททุกครั้งที่ ลูกหลานสอบได้ที่หนึ่ง กรณ์ได้ทุกเทอม ปีละ 3 ครั้ง ตั้งแต่ป.1 จนก่อนไปนอกเข้า Oxford เพราะฉะนั้น กรณ์จะรวยกว่าพี่น้องมาตั้งแต่เด็ก ส่วนผมนี่ช่างมันเลย super average” พิพ : “ผมก็เหมือนกัน ถ้าเป็นสมัยนี้คง ต้องกินยา ADD - Attention Deficit Disorder เพราะไม่เคยสนใจ ไม่มีสมาธิในการเรียน ชอบไป เล่นกีฬา ไปสนุกกับอะไรก็ตามที่ไม่ใช่เรียน แค่ พยายามตอนสอบให้พอผ่าน” จี๊ป : “มีกรณ์คนเดียวที่โดดเด่น มันเป็นพวก goody goody คืออยู่วินเชสเตอร์ก็เป็นหัวหน้า นักเรียน แล้วก็เข้าออกซ์ฟอร์ดได้อะไรพวกนี้ ผมว่าเหตุผลที่กรณ์โดดเด่น เพราะมันเป็นคนที่มี เป้าหมายในชีวิตมากกว่าคนอื่น ambitious มาก (เน้นเสียง) ผมก็รำ�คาญมันตอนเด็กๆ เพราะมัน ชอบทำ�ให้เราดูไม่ดีในสายตาพ่อแม่ (หัวเราะ)” กรณ์ : “โดยเจตนาด้วย (หัวเราะ) สมัยนั้น
ก่อนไปทำ�งานกระทรวง พ่อก็จะขับรถไปส่งเราที่ โรงเรียน ตอนนั้นพวกผมอยู่โรงเรียนสมถวิลตรง ซอยมหาดเล็ก ส่วนพีจี๊ปอยู่สาธิตปทุมวัน ช่วง เวลาที่ทรมานที่สุดก็คือช่วงเวลาที่อยู่บนรถใน ตอนเช้า เพราะพ่อจะมีชุดความคิดของตัวเอง ว่าการทำ�หน้าที่เป็นพ่อที่ดีต้องทำ�ยังไง ซึ่งความ จริงมันไม่ใช่ เพราะพ่อจะใช้เวลาที่อยู่ในรถในการ ทดสอบลูก ด้วยการท่องศัพท์ภาษาอังกฤษ แต่ ผมก็ไม่เคยมีปัญหา คนที่มีปัญหามากคือพี่จี๊ป ผมจำ�ได้เลย คำ�ว่า Europe นี่พี่จิ๊ปไม่เคยสะกดได้ ผมก็นั่งหัวเราะคิกๆ” พิพ: “พี่จี๊ปขึ้นมาก็ ‘ยู…’ ทุกวัน (หัวเราะ)” จี๊ป : “มีอยู่รอบหนึ่งที่ผมหมั่นไส้มันมาก เพราะพ่ออ่านนิตยสาร Time แล้วไอ้กรณ์มันก็ พูดขึ้นมาว่า ‘เอ๊---พ่อ นี่มันขึ้นราคานี่’ มันสังเกต กระทั่งราคา! พ่อก็แบบ ‘โอ้โห---เก่งมากลูก ช่าง สังเกต’ แล้วก็ตบกบาลผม ทรมานมาก นี่ขนาด รถไม่ติดนะ” พิพ : “ข้อดีก็คือพวกเราจะเป็นเด็กที่ดีใจมาก เมื่อรถถึงโรงเรียน”
เรียนรู้โลกกว้าง
อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงดูแบบอัลฟาของ ไกรศรีไม่ได้เกิดขึ้นนานนัก เพราะด้วยปัญหา สุขภาพของจี๊ป ทำ�ให้ไกรศรี และภรรยาตัดสิน ใจส่งลูกคนโตไปเรียนเมืองนอก ตามด้วยคน รองอีกสองคน โดยส่งจี๊ปไปอยู่โรงเรียน Milton Abbey กรณ์ไป Winchester College และพิพอยู่ Canford School จี๊ป : “เป็นเพราะเรื่องสุขภาพ ผมขี้โรคมาก เกิดมาเป็นโรคหอบหืด ขาดเรียนตลอด แม่อยาก ให้ไปอยู่ชนบทอังกฤษเพราะอากาศดีกว่า แล้ว อาการก็ดีขึ้นจริงๆ แต่เราไม่ได้เป็นคนเลือกนะ เด็กสมัยนั้นไม่ได้มีทางเลือกในชีวิต พ่อแม่รู้ดี ที่สุดก็จัดการให้ ตอนผมไปเรียนผมยังไม่รู้ตัวเลย คิดว่าไปเที่ยว ไม่ได้ลาเพื่อน ไม่ได้เตรียมอะไร 13 ขวบเข้าโรงเรียนประจำ�ที่นู่นเลย พูดภาษา อังกฤษไม่ได้สักคำ� ถึงเตรียมก็ไม่ได้ เมืองไทยมัน มีที่ไหนสมัยนั้น ใช้เวลาปรับตัวประมาณปีหนึ่ง ” กรณ์ : “ไม่ได้อยู่ด้วยกัน คนละโรงเรียน แม่ เป็นคนเลือกหมด ท่านตั้งใจให้เป็นอย่างนั้น” จี๊ป : “จริงๆ แล้วนี่เป็นข้ออ้างของกรณ์ที่ บอกให้สาธารณะชนรับรู้ สิ่งที่ทุกคนไม่รู้คือ กรณ์ เข้าโรงเรียนผมไม่ได้ เลยต้องไปเข้าโรงเรียนอีก โรงเรียนหนึ่ง (หัวเราะ)” พิพ : “ในอีกด้านหนึ่ง นี่แสดงให้เห็นว่าพ่อ แม่หาวิธีให้เราดูแลตัวเองในแบบของตัวเอง” กรณ์ : “ตอนปิดเทอมค่อยมาอยู่ด้วยกัน ปกติถ้าเป็นครอบครัวอื่น เวลาส่งลูกไปเรียนเมือง นอกอย่างนี้ ก็จะต้องแจ้งกพ. แล้วก็จ่ายเบี้ยให้ เขาช่วยดูแล ปิดเทอมเขาก็จะให้เด็กไทยมาอยู่ รวมกันในลอนดอน แต่พ่อไม่เอาเลย พวกผมไม่
ได้เข้ากพ. ช่วงสุดสัปดาห์ โรงเรียนให้ออกไปอยู่ บ้าน พ่อแม่ก็ให้ไปอยู่กับฝรั่งที่พ่อรู้จักสมัยอยู่ ลอนดอน ซึ่งมีข้อดีข้อเสีย ข้อดีชัดเจนคือได้ฝึก ภาษาเข้มข้นกว่า ได้ซึมซับเรียนรู้วัฒนธรรมฝรั่ง จริงๆ แต่สมัยนั้น ฝรั่งอังกฤษอยู่กันอย่างกันดาร มาก ไม่ได้เหมือนกับอังกฤษสมัยนี้” ด้วยเหตุที่ยุคสมัยดังกล่าวตรงกับช่วงปี 70’s ซึ่งถือกันว่าเป็นช่วงที่เศรษฐกิจของอังกฤษตกตํ่า ที่สุดนับแต่ Great Depression ประกอบกับชาว อังกฤษในยุคดังกล่าวมักคุ้นเคยแต่กับการใช้ ชีวิตอย่างกระเบียดกระเสียนเนื่องจากเติบโตมา ในภาวะขาดแคลนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สามพี่น้องจึงเท่ากับได้ไปฝึกใช้ชีวิตแบบอังกฤษ ในช่วงเวลาที่อัตคัตที่สุดช่วงหนึ่ง กรณ์ : “บางทีเรานึกย้อนกลับไปแล้วอยาก ร้องไห้ พูดตรงๆ ว่านึกภาพลูกเราต้องอยู่อย่างนั้น ไม่ค่อยออก หนาวๆ เย็นๆ แล้วต้องเดินไปเข้า ส้วมนอกบ้าน หนาวขนาดนํ้าในโถส้วมแข็ง ผมจำ�ได้วันหนึ่ง เราเดินไปดูละครกับแม่บ้าน เดินไปเดินกลับรวม 6 กิโล แล้วแม่บ้านแกซื้อ เฟรนช์ฟรายด์ให้เราคนละถุง แค่นั้นเรารู้สึกว่ามัน พิเศษมาก ยังจำ�ได้จนทุกวันนี้ คือชีวิตไม่ได้แย่นะ แต่มันกันดาร ก่อนเข้ามัธยม ผมกับน้องต้องไป อยู่โรงเรียนเด็ก แล้วต้องอาบนํ้าถังสังกะสี แบบที่ ใช้เสร็จแล้วต้องควํ่าเทนํ้าทิ้ง เขาจะเติมนํ้าแล้ว เราต้องอาบพร้อมกันทีละคู่ นั่งหันหน้าหา กัน แต่บังเอิญช่วงที่ไป อังกฤษแล้งแบบเป็น ประวัติการณ์ เขาเลยต้องให้เด็กอาบนํ้าครบ 3 คู่ ก่อนถึงจะเปลี่ยนนํ้าทีหนึ่ง” พิพ : “เทนํ้าส้มใส่แก้วแล้วดื่มก็โดนดุ ‘ทำ�ไม กินเปลืองขนาดนี้’ ต้องกินนํ้าส้มครึ่งหนึ่ง แล้ว เติมนํ้าครึ่งหนึ่ง” กรณ์ : “แล้วมันก็ติดมาถึงทุกวันนี้ ทุกวันนี้ เวลาผมเข้าครัว จะหยิบอุปกรณ์อะไรมาใช้ผมจะ คิดอย่างดี เพราะมีอยู่วันหนึ่ง ผมช่วยแม่บ้านทำ� กับข้าวแล้วผมก็หยิบตะหลิวอีกอันมาใช้ เขาก็ บอก ‘หยิบมาทำ�ไม มีใช้อยู่อันหนึ่งแล้ว ทำ�ให้ต้อง ล้างสองอัน’ ดังนั้นมันสอนเราว่าจะใช้อะไร ต้อง คิดให้ดีๆ ในรายละเอียดทั้งหมด อย่างมีดนี่ (หยิบ มีดหั่นขนม) เดี๋ยวผมใช้แล้วก็ใช้อีก” จี๊ป : “ตอนผมอยู่เมืองนอก ผมถึงกินข้าวผัด ในกะทะเลย ทำ�ไมต้องใช้จาน (หัวเราะ)” กรณ์ : “หรืออีกอย่าง เราล้างแก้วเสร็จก็จะ วางควํ่าไว้ที่ควํ่าข้างอ่างก่อนใช่ไหม ลูกผมเดิน เข้ามาในครัวไปหยิบแก้วจากตู้ ผมก็ถามว่าจะ หยิบจากตู้ทำ�ไม ให้หยิบจากที่คว่ำ�สิ มันจะได้ไม่ สร้างงาน สิ่งเหล่านี้มันติดมาจากวิธีการเลี้ยงดู เกือบจะเรียกว่าช่วยไม่ได้ มันเป็นเอง มันคิดเอง หรืออย่างเรื่องกินขนม ลูกๆ กับภรรยาก็จะแซวผม ตลอด ถ้ามีขนม 2 ถุง ผมจะให้แกะแค่อันเดียว ก่อน คือถึงแม้มันจะไม่ใช่ขนมที่เหมือนกันสักที เดียวก็ตาม แต่ถ้าเป็น category ขนมปั๊บ ต้อง OPTIMISE | JANUARY 2016
17
optimum view กินอันแรกให้หมดก่อน ผมไม่ชอบเวลาเห็นเปิดสองถุง พร้อมกัน เพราะมันจะขาดความสด ความอร่อย ถ้าทิ้ง ไว้ สิ่งเหล่านี้มันมาจากสมัยเราเด็ก” พิพ : “ระหว่างอยู่ที่นู่นไม่มีการติดต่ออะไร ทำ�ได้ แค่เขียนจดหมายถึงกัน แต่มีอยู่ครั้งหนึ่งเป็นข้อยกเว้น คือพี่ดอนเขาสอบเข้าวินเชสเตอร์ได้ไปก่อน อีกสัก พักผมก็สอบเข้าแคนฟอร์ดได้ ก็ดีใจไม่รู้จะโทรหา ใคร โทรหาบ้านก็แพง แต่ดีใจอยากบอกใคร ก็เลย โทรหาโรงเรียนพี่ดอน ขอคุยกับดอน ครูเขาก็บอกว่า ‘นี่โรงเรียน ไม่ใช่ที่ให้น้องเล็กโทรหาพี่’ ผมก็ ‘โอเค--อย่างนั้นฝากบอกพี่ด้วยว่าผมสอบเข้าแคนฟอร์ดได้ แล้ว’ ทีนี้เขารู้สึกสมเพชมั้ง เลยไปตามพี่ดอนมาคุย ด้วย (หัวเราะ)” จี๊ป : “เขาคงสมเพชว่าแค่เข้าแคนฟอร์ดได้ก็ ตื่นเต้น (หัวเราะ)” กรณ์ : “สมัยแรกๆ ผมยังอยู่โรงเรียนเด็ก พี่จี๊ป อยู่มิลตัน แอบบีย์ ผมบังเอิญมีเพื่อนที่พ่อเขาเป็นครูที่ โรงเรียนพี่จี๊ป ดังนั้นเวลาโรงเรียนให้กลับบ้าน เราก็จะ ติดรถครูคนนี้ไปนอนที่โรงเรียนพี่ แล้วโรงเรียนพี่จี๊ปก็ กันดารมาก หนาวก็หนาว นึกภาพว่าชื่อแอบบีย์ ก็คือต้องเป็นโบสถ์ อยู่บนเนินเขา สวยมากถ้าเป็น โปสต์การ์ด แต่อยู่แล้วกันดาร ผมจำ�ได้แม่นเลยกติกา โรงเรียนพี่จี๊ป คือ ห้ามเด็กออกไปไกลเกินรัศมี 5 ไมล์ แต่ร้านขนมที่ใกล้ที่สุดมันห่างออกไป 5.1 ไมล์ แล้ว ทุกวันอาทิตย์ก็จะมีรถขนมของร้านขับเข้ามาขาย สมัย นี้คงเรียก food truck แต่อารมณ์มันไม่ใช่ มันคือรถที่ เอาขนมจะหมดอายุมาขายมากกว่า เด็กทุกคนก็จะ เก็บเงินมาต่อคิวซื้อ ก็จะอยู่กันอย่างนี้ (หัวเราะ)” พิพ : “ชีวิตโรงเรียนประจำ�พวกเราน่าเบื่อมาก นึกถึงชีวิตลูกตอนนี้ที่ไปเรียน มีเวลาว่างแป๊ปเดียวก็ บอกว่าเบื่อแล้ว แต่ของเราไม่มีอะไรนี่คือไม่มีอะไร จริงๆ ที่อังกฤษตอนนั้น วันอาทิตย์ทุกอย่างปิดหมด” กรณ์ : “ไม่ใช่น่าเบื่อ มันแค่ไม่มีอะไรทำ� คือวัน อาทิตย์เข้าโบสถ์ตอนเช้าจากนั้นก็ว่างทั้งวัน เขาไม่มี กิจกรรม และครูจะหยุดพัก ร้านค้าก็ปิดหมด การบ้าน สมัยนั้นไม่ต้องพูดถึง ไม่มีหรอก จะให้เด็กทำ�อะไร ก็ นั่งคิดกันเอง โรงเรียนพวกเราอยู่ในชนบท กิจกรรมก็ คือการไปวิ่งเล่นในป่า ตอนนั้นมีตำ�นานว่าเครื่องบิน รบเยอรมันตกในป่า พวกเราก็พยายามไปหา หรือไป เก็บพวกผลไม้ป่า สตรอว์เบอร์รี่ป่า” พิพ : “ที่อังกฤษเขามีชื่อเสียงว่าไม่มีงูมีพิษ มีแต่ตัวเล็กๆ เรียกว่าแอ็ดเดอร์ (adder) อะไรอย่าง นี้ เพื่อนๆ ก็จะออกไปหางูกัน ตอนวันหยุด ไปอยู่บ้าน เพื่อน เป็นฟาร์ม จำ�ได้เลย คืนแรกไปอยู่ โดนปลุกตอน ตี 3 ให้ไปช่วยหน่อย วัวออกลูก (หัวเราะ)” กรณ์ : “เชื่อไหม ตอนผมไปอยู่ dorm นอนกัน 6-7 คน เพื่อนทุกคนจะมีโปสเตอร์ติดที่ริมผนังเป็น แทรคเตอร์ยี่ห้อต่างๆ คือเขาเป็นฟาร์มเมอร์จริงๆ ผมก็เลยจะรู้จักรถแทรคเตอร์พวกนี้หมด Massey Ferguson, John Deere, Ford อะไรพวกนี้ คือ เขาอินกับรุ่นแทรคเตอร์เหมือนเด็กสมัยนี้อินกับ 18
OPTIMISE | JANUARY 2016
ซูเปอร์คาร์ เพราะนั่นคือชีวิตของพวกเขา สมัยโรงเรียน ประถม พอวันอาทิตย์ ไม่มีอะไรทำ� ครูคนหนึ่งจะเข้า เมืองที่อยู่ใกล้สุดซึ่งอยู่ห่างไป 3 ไมล์ ก็มีประเพณี ว่าเราสามารถฝากให้ครูซื้ออะไรเล็กๆ น้อยๆ ได้ เช่น หนังสติ๊ก ลูกปิงปอง เราก็จะได้เอามาต่อมาเล่นอะไร ของเรา อารมณ์มันคล้ายๆ กับหนังเรื่อง Shawshank Redemption ทีม่ ตี วั ละครชือ่ Red (Morgan Freeman) ที่มีความสามารถในการจัดหาของเข้ามาในคุกได้ ครู คนนี้ก็จะเป็นแบบนั้น ทั้งหมดนี้มันสอนให้พวกเราเห็น ว่าเรื่องเล็กๆ สำ�คัญและให้เรา enjoy ชีวิตจากของที่ มันเบสิก”
เส้นทางที่หักเห
ภายหลังทั้งสามคนสำ�เร็จการศึกษาในต่าง ประเทศ กล่าวคือจี๊ปจาก Miami University กรณ์จาก Oxford University และพิพจาก Lehigh University หนึ่งในทางเลือกอาชีพที่เหมาะสมก็คือการกลับมารับ ราชการ เพราะภาครัฐในสมัยนั้นมีขนาดและบทบาท ในระบบเศรษฐกิจที่ไม่แพ้ภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ในเวลาไล่เลี่ยกันนั้น ชีวิตราชการของไกรศรีก็ต้อง ประสบเหตุไม่คาดฝัน โดยเขาถูกกล่าวหาในฐานะ อธิบดีกรมศุลกากรว่าได้กระทำ�ผิดทางวินัยอย่าง ร้ายแรง ในการหลีกเลี่ยงภาษีอากรนำ�เข้ารถยนต์ ยี่ห้อโตโยต้า ซอเรอร์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘คดีโตโยต้า ซอเรอร์’ จนคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยมีมติให้ พักราชการ แม้ในที่สุด ไกรศรีจะพ้นมลทิน เนื่องจาก อัยการไม่สั่งฟ้องในคดีอาญา ศาลยกฟ้องในคดีแพ่ง และสำ�นักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ได้มีหนังสือให้เขาสามารถกลับเข้ารับราชการ ได้ แต่เหตุการณ์นี้ก็ดูเหมือนส่งผลกระทบต่อการ ตัดสินใจของลูกๆ ทั้งสามคน จีป๊ : “ความคิดต่างๆ ทีอ่ ยากเข้าราชการ มันจบ ตัง้ แต่พอ่ เกิดอุบตั เิ หตุทางการเมือง เพราะตอนนัน้ ผม เป็นคนแรกทีก่ ลับมา เห็นผลกระทบกระเทือนทางด้าน จิตใจกับครอบครัวโดยเฉพาะกับคุณพ่อซึง่ เป็นคนมี ศักดิศ์ รีในตัวเองสูงมากแล้วมาโดนตัง้ คำ�ถามในสิง่ ทีต่ วั เองให้ความสำ�คัญสูงสุดนัน่ คือ integrity (คุณธรรม) มัน เป็นสิง่ ทีก่ ระทบกระเทือนจิตใจมาก เห็นคุณแม่ตอ้ งทุกข์ แล้วมันก็ bring reality home ว่านีไ่ ม่ใช่สง่ิ ทีอ่ ยากทำ� ไม่ อยากจะเข้าไปยุง่ แล้วบังเอิญช่วงนัน้ ผมฝึกงานอยูท่ ผ่ี า แดง ก็เริม่ รูส้ กึ ชอบภาคเอกชนอยูแ่ ล้ว พอเกิดเรือ่ ง เรือ่ ง ความคิดรับราชการก็เลยจบไป” กรณ์ : “ผมก็รู้กลายๆ จำ�ได้ว่าวันที่พ่อรู้ว่าเกิด เรื่อง ผมอยู่กับพ่อที่ฝรั่งเศส แต่พ่อไม่เคยเอามาเป็น ภาระกับเรา ผมรู้ว่ามันเรื่องใหญ่ แต่พ่อไม่ได้มีความ รู้สึกว่าเราต้องมาร่วมรับรู้ด้วย พ่อก็แก้ปัญหาของ พ่อไป ผมก็เริ่มต้นชีวิตการทำ�งานที่อังกฤษ กว่าผม จะกลับมา เรื่องก็ใกล้จบแล้ว จำ�ได้ลางๆ ว่าช่วงที่ ผมกลับมาศาลมีค�ำ พิพากษาออกมาเคลียร์ข้อครหา ทั้งหมด มีคำ�สั่งให้พ่อสามารถเข้าไปรับราชการเหมือน เดิมได้ ซึ่งพวกเราก็รู้สึกว่าอยากให้พ่อกลับ เพื่อ
เป็นการยืนยันความบริสุทธ์ และลึกๆ ก็คืออยากให้พ่อ เข้าไปชำ�ระแค้นพวกที่แกล้งพ่อซึ่งก็เป็นที่รู้กันว่ามีใคร บ้าง แต่พ่อไม่เอาเลย พ่อปล่อยวาง ไม่กลับไป ตอน นั้นผมก็ข้องใจในประเด็นนี้อยู่พอควร แต่พอเวลาผ่าน ไป ผมถึงได้เข้าใจว่าพ่อแมนกว่าพวกเราทุกคน เด็ด ขาด เด็ดเดี่ยว เป็นตัวของตัวเอง เป็น benchmark ที่ สูงมากสำ�หรับผม คือเมื่อมีการตัดสินใจสำ�คัญๆ แล้ว ยังตัดสินใจได้อย่างเป็นตัวของตัวเองขนาดนั้น ผ ม ว่ามันสุดยอด คือสำ�หรับพ่อ สิ่งที่จะได้รับจากการก ลับเข้าไปรับราชการ ไม่ใช่สิ่งที่พ่อต้องการเลย ไม่ว่า จะเป็นเรื่องผลประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโอกาสใน การเหยียบหน้าคนที่เคยทำ�ไม่ดีกับคุณพ่อ วันนั้นผม มีความรู้สึกว่าคุณพ่อนิ่งแล้ว และเพียงอยากเห็นลูกๆ ได้เริ่มต้นในชีวิตการงานของพวกเรา”
บุกเบิกหนทางใหม่
เมื่อการรับราชการไม่ใช่ค�ำ ตอบ ความเป็นตัวของ ตัวเองที่ทั้งสามได้ค่อยๆ สั่งสมมาตั้งแต่เด็ก ได้ทำ�ให้ พวกเขาเลือกที่จะแยกย้ายกันไปประกอบอาชีพของ ตัวเอง โดยจี๊ปเริ่มงานที่บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร ก่อนจะ ออกมาตั้งบริษัท ฮันเตอร์ส อินเวสเมนต์ส และบริษัท ต้นโพธิ์ ฟันด์ของตนเอง พิพ ขอเงินจาก บิดามาร่วมทุนกับสวัสดิ์ หอรุ่งเรืองและดำ�รงตำ�แหน่ง กรรมการผู้จัดการของบริษัท พลังงานอุตสาหกรรม และบริษัท เอช เพาเวอร์ ในกลุ่มบริษัท เหมราช ใน ขณะที่กรณ์ หลังจากเป็นผู้จัดการกองทุนระยะเวลา สั้นๆ ที่บริษัท เอส จี วอร์เบิร์ก ก็กลับมาเมืองไทยเพื่อ เปิดบริษัทหลักทรัพย์เจเอฟ ธนาคม เป็นของตัวเอง จี๊ป : “ผมเป็นพี่คนโต แต่เป็นคนพัฒนาช้า ที่สุด ผมมาเจอสิ่งที่ผมชอบค่อนข้างช้า อย่างไรก็ แล้วแต่ ชีวิตการทำ�งานของผมตอกเสาเข็มที่ภัทร เริ่มทำ�งานกับพี่เผือก (สุวิทย์ มาไพศาลสิน) ทั้งด้าน best practice ทั้งด้าน ethics ทั้งด้านการแข่งขันใน ขอบเขตกติกา ผมอยู่ภัทรแค่ 3 ปี แต่มีความเป็นภัทร สูงมาก ถือเป็นช่วงเวลาของชีวิตที่ภูมิใจ แล้วที่ภัทร รับผมก็ไม่ใช่เพราะผมดีเด่นอะไร พี่เตา (บรรยง พงษ์พานิช) เป็นคนสัมภาษณ์ แกไม่ต้องการอะไรมาก แกแค่ต้องการคนที่ GPA ตํ่ากว่าแก GPA ของแก 2.03 แล้วผมได้ 2.00 (หัวเราะ) แต่เข้ามาวงการนี้แล้ว ก็พัฒนาไปเรื่อยๆ จนมาตั้งบริษัทของตัวเอง” พิพ : “ของผมตอนที่เริ่มทำ�ก็ทำ�โครงการไฟฟ้า ไปเสนอคุณสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง ซึ่งก็ต้องถือว่าแกใจถึง มาก ให้โอกาสผมอายุแค่ 26 เอง ไม่มีประสบการณ์ อะไร แล้วพอทำ�ไปสักพักเริ่มมีวี่แววจะตั้งบริษัท ผมก็ไปหาพ่อเล่าให้ฟังว่ามีธุรกิจไฟฟ้าให้เอกชนเข้า มา แล้วก็บอกว่าอยากลงทุนในบริษัท ถือหุ้นเท่านี้ ใช้เงินเท่านี้ จำ�ได้เลยถามพ่อว่ามรดกส่วนของพิพ ในพินัยกรรมเท่าไหร่ ขอเอามาใช้ก่อน คุยกันเป็น ชั่วโมงเลย พ่อก็ยอม แต่ไม่ให้บอกพี่จี๊ป ถือเป็นการ ตัดสินใจที่แน่มาก เพราะตอนนั้นมันไม่เคยมีอะไร อย่างนั้นในเมืองไทยเลย เราก็เอามาลง และอีกสอง
ก็ธรรมดา อุปสรรค ก็ต้องเจออยู่แล้ว การทำ�งานก็คือการ แก้ปัญหา ไอเดียมัน เรื่องเล็ก แค่ 5% อีก 95% มันคือ การแก้ปัญหา แก้ ได้ก็ผ่าน แก้ไม่ได้ก็ พัง ...มันก็เป็นสิ่งที่ ผมคอยสอนลูกนะ ว่าความล้มเหลวไม่ใช่ สิ่งที่เลวร้าย
OPTIMISE | JANUARY 2016
19
optimum view
wealthy คือ การมีสมดุลในชีวิต ...มีอิสระที่จะทำ�ในสิ่ง ที่อยากทำ� ...ซึ่งผมว่าเราสามคนไม่แพ้ใครในเรื่องนี้ ใน เรื่อง rich เราอาจจะห่างไกลกับคนอื่นเยอะ แต่ความ wealthy ของชีวิต ไม่น่าจะมีได้ดีกว่านี้อีก เรามีเพื่อน ที่สุดยอด มีพี่น้องที่ไม่ต้องทะเลาะกัน และเจอกันโดย สมัครใจแม้ไม่ได้มีกงสี สามปีก็ได้คืน สองคนนี้ก็เลยไม่รู้” จี๊ป : “อ้อเหรอ---ไม่เคยรู้” กรณ์ : “ถ้ารู้ก็จะขอต่อรอง profit share (หัวเราะ)” เรื่องราวความสำ�เร็จเหล่านี้อาจฟังดูง่ายดาย รวบรัดเมื่อมาเล่าย้อนหลัง แต่น่าสงสัยว่า ณ ขณะ ตัดสินใจลงทุน อะไรคือสิ่งที่ทำ�ให้สามพี่น้องกล้าเสี่ยง เชื่อความสามารถของตัวเอง หรือสามพี่น้องรับมือ ปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากตัดสินใจไปแล้วแต่ยังไม่ ประสบผลสำ�เร็จอย่างไร พิพ : “ก็ธรรมดา อุปสรรคก็ต้องเจออยู่แล้ว การ ทำ�งานคือการแก้ปญ ั หา ไอเดียมันเรือ่ งเล็ก แค่ 5% อีก 95% มันคือการแก้ปัญหา แก้ได้ก็ผ่าน แก้ไม่ได้ก็พัง” จีป๊ : “ผมว่าจริงๆ แล้ว อีกสิง่ ทีไ่ ด้มาจากพ่อและ เป็นจุดแข็งของเราก็คอื เราไม่เคย overthink อะไร ‘Just do it’ แบบไนกี้ ถ้าคิดว่ามันเป็นไอเดียทีด่ กี ท็ �ำ ไปเลย” กรณ์ : “ใช่ ตอนผมเขียนไอเดียไปเสนอ โบรกเกอร์ฝรั่งเพื่อตั้งเจเอฟก็แค่หน้าครึ่ง นั่งเขียนเอง เพราะการเขียนประเด็นหลัก เหตุผลหลักว่าธุรกิจนี้น่า ทำ�หรือไม่ มันไม่ต้องใช้พื้นที่มากกว่านั้น” จี๊ป : “เพราะแย่ที่สุดก็แค่ล้มเหลว ซึ่งไม่ใช่เรื่อง ใหญ่ ไม่ใช่ big deal เริ่มต้นใหม่ได้” พิพ : “มันก็เป็นสิ่งที่ผมคอยสอนลูกนะว่าความ ล้มเหลวไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย” กรณ์ : “คือมันอาจจะแฝงด้วยอัตตา แล้วแต่วา่ เราเลือกจะมองยังไง เราอาจจะมองเป็นเรือ่ งของความ เชือ่ มัน่ ในตัวเอง แต่คนอืน่ เขาอาจจะมองว่าหยิง่ เป็น สองด้านของเหรียญเดียวกัน แต่ในการตัดสินใจแบบ นี้ สิง่ ทีเ่ ราคิดก็คอื เราทำ�ได้ ทำ�ไมเราต้องไปทำ�กับคน อืน่ ทำ�ไมเราต้องไปพึง่ คนอืน่ เขาไม่ได้มอี ะไรเหนือเรา อย่างตอนทีผ่ มกลับมา ทางเลือกชัดเจน หนึง่ ก็คอื เข้า บริษทั ใหญ่ หรือสอง เปิดเอง แต่ดว้ ยความทีต่ อนนัน้ ผมเพิง่ ทำ�จากต่างประเทศมา มันเหมือนผมมีของ และ เป็นของทีค่ นอืน่ เขายังไม่มี ผมก็คดิ ทำ�ไมผมต้องทำ�กับ เขา คือคนอืน่ อาจจะคิดว่าลองไปทำ�งานบริษทั ใหญ่ดู ก่อนเพือ่ ดูวา่ เขาทำ�อะไรกันอย่างไง แต่ผมแค่รสู้ กึ ว่าไม่ อยากทำ�อย่างนัน้ คิดแค่นน้ั ”
จุดหมายของชีวิต 20
OPTIMISE | JANUARY 2016
สำ�หรับกรณ์ การตัดสินใจสำ�คัญของเขาไม่ได้มี แต่เพียงการเปิดบริษัท แต่ยังรวมถึงการก้าวเข้ามา เล่นการเมือง ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาไม่อาจทำ�ได้ด้วยตัวคน เดียวอีกต่อไป การตัดสินใจครั้งนี้เป็นสิ่งที่พี่น้องไม่รู้ มาก่อน ซึ่งทั้งสามยอมรับว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะ ต่างเชื่อว่าพี่น้องมีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ท�ำ และมี วิจารณญาณที่ดีอยู่แล้ว จี๊ป : “ตอนนั้นยังโวตให้ทักษิณอยู่เลย กรณ์ไม่ ได้มาถามด้วย (หัวเราะ)” พิพ : “ความจริงผมไม่ได้คิดว่าเป็นเรื่องที่เขา จะมาถามด้วย ไม่แปลกใจที่เขาเข้าการเมือง จริงๆ ก็ ภูมิใจมากที่พี่ชายเข้าไป” จี๊ป : “แต่กังวลนิดหนึ่งที่เข้าประชาธิปัตย์” (หัวเราะ) กรณ์ : “จริงๆ คือผมเข้าพรรคนี้ เพราะรู้ว่าพรรค นี้แพ้แน่ ในการเลือกตั้งปี 48 แพ้เท่าไหร่เท่านั้นเอง คือตอนนั้นคุณอภิสิทธิ์เป็นรองหัวหน้าพรรคและคาด ว่าไม่นานหลังเลือกตั้งคงได้เป็นหัวหน้าพรรค เราก็ คิดว่าไปช่วยเพื่อน แต่ที่ส�ำ คัญที่สุดเลยคือตอนนั้น ไทยรักไทยแข็งมาก ผมก็คิดว่าถ้าผมเข้าไทยรักไทย บทบาทที่จะเข้าไปทำ�อะไรได้ไม่มาก เพราะคน เก่งๆ เยอะอยู่แล้ว แต่ผมจะทำ�อะไรได้มากกว่า ถ้า ผมทำ�ให้คู่แข่งเป็นคู่แข่งที่แท้จริงได้ ผมเชื่อในการ แข่งขัน เหมือนกับธุรกิจ ถ้าไม่มีคู่แข่ง การค้าก็เสื่อม ด้วยความเชื่อว่าไทยรักไทยต้องเป็นรัฐบาลแน่ ผม ก็ตัดสินใจเข้าพรรคประชาธิปัตย์เพราะคิดว่าตัวเอง จะช่วยให้ประชาธิปัตย์เป็นคู่แข่งที่ดีขึ้นได้ มันน่าจะ เป็นการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่ากว่า” พิพ : “การที่พี่ดอนได้เป็นรัฐมนตรี มีผลกับผม 2 ทาง คือ หนึ่ง ไปไหนมีคนทักผิด จนช่วงที่เขาได้ ตำ�แหน่ง ผมต้องไว้หนวด ใส่ขาสั้น รองเท้าแตะ เพื่อ ไม่ให้ดูเป็นรัฐมนตรีคลัง สอง ตอนนั้นผมกำ�ลังทำ� โปรเจกต์ไฟฟ้าใหญ่ ช่วงประชาธิปัตย์เข้ามามีข้อดีคือ เป็นการช่วยเปิดประตูให้เราได้เจอคนได้ง่าย แต่ ขณะเดียวกันก็เป็นข้อเสีย เพราะคนจะมองว่าเรา เป็นพวกนั้นพวกนี้ นี่เป็นเหตุผลที่ในที่สุดผมถอยออก มาจากธุรกิจไฟฟ้า เพราะหนึ่ง บรรยากาศกาศการ ทำ�งานมันไม่เหมือนเดิม สองก็คือผมเอาความสุข เป็นที่ตั้ง ความสุขไม่ใช่แค่เรื่องเงิน อาจเป็นทั้งเรื่อง
ครอบครัว ความภูมิใจ ถ้าเป็นสิ่งที่คนอื่นให้ความ สำ�คัญ แต่ส�ำ หรับเรามันไม่ใช่แล้ว เราก็ไม่ต้องไป เสียเวลาสะสมมัน ผมว่าเหมือนกับตอนที่พ่อตัดสิน ใจไม่กลับเข้ารับราชการ” จี๊ป : “คนสับสนกับคำ� 2 คำ� คือคำ�ว่า ‘rich’ กับคำ�ว่า ‘wealthy’ คำ�ว่า rich เป็นตัวเลข เอา หลักทรัพย์ทุกอย่างมารวมกันก็จะเป็น rich แต่สิ่งที่ เรากำ�ลังพูดถึงกันอยู่คือคำ�ว่า wealthy จะ wealthy ได้นี่ต้องมี rich ระดับหนึ่ง ระดับไหนก็ต้องแล้วแต่ คน หลังจากนั้น wealthy คือ การมีสมดุลในชีวิต สามารถทำ�ในสิ่งที่ตัวเองชอบ มีอิสระที่จะทำ�ในสิ่งที่ อยากทำ� ใช้ชีวิตกับครอบครัวในแบบที่อยากใช้ ใช้ชีวิตกับเพื่อนในแบบที่ต้องการ นี่คือ wealth ซึ่ง ผมว่าเราสามคนไม่แพ้ใครในเรื่องนี้ เราไม่รู้สึกว่า เราขาดอะไรเลย ในเรื่อง rich เราอาจจะห่างไกลกับ คนอื่นเยอะ แต่ความ wealthy ของชีวิต ไม่น่าจะมี ได้ดีกว่านี้อีก เรามีเพื่อนที่สุดยอด มีพี่น้องที่ไม่ต้อง ทะเลาะกัน และเจอกันโดยสมัครใจแม้ไม่ได้มีกงสี” พิพ : “ อีกอันคือ เราไม่เป็นหนี้บุญคุณใคร มีอิสระ เราอยากทำ�อะไรทำ� ไม่ใช่ทำ�เพราะเป็นหนี้ บุญคุณเขา” จี๊ป : “ปรัชญาชีวิตของผมตอนที่มาตั้งบริษัท ลงทุนของตัวเอง ผมมีกฎที่ง่ายมากเรียกว่า NonDickhead Rule คือ ผมจะทำ�ธุรกิจกับคนที่ผมชอบ ไม่ทนกับเรื่องไร้สาระ” กรณ์ : “wealth คือคนอื่นเขาอาจมีอะไรที่เรา ไม่มี แต่เราก็ไม่เคยรู้สึกว่าเราอยากจะมี ไม่ได้มี เยอะ แต่รู้สึกว่าไม่ขาดอะไร” จี๊ป : “แต่คนอื่นอาจจะคิด มึงมีแค่นี้ก็พอแล้ว เหรอ (หัวเราะ)” กรณ์ : “และต้องมีคนคิดว่า ก็พวกมึงมีเยอะ อย่างนี้ แล้วยังจะต้องอยากได้อะไรอีก”
วิถีแห่งกอล์ฟ
แม้จะแยกทางกันเดิน แต่สิ่งหนึ่งที่ดึงให้ สามพี่น้องกลับมาเจอกันเสมอก็คือกีฬากอล์ฟ เป็น ที่รู้กันในหมู่คนรู้จักว่าสามพี่น้องจะแข่งขันสูงมาก ในยามเล่นกอล์ฟ ไม่ว่าจะระหว่างกันเองหรือกับ คนอื่น (แฮนดิแคพของกรณ์ และพิพอยู่ที่ 5-6 และ จี๊ปอยู่ที่ 8-9) โดยสามคนมักมีกอล์ฟทริปร่วมกัน ไปแข่งกอล์ฟการกุศลร่วมกัน หรือแม้กระทั่งทำ� เสื้อทีม และหนังสือบันทึกทริปการไปตีกอล์ฟที่ ตั้งชื่อว่า ‘Bros & Buds’ (พี่น้องและผองเพื่อน) จี๊ป : “ถ้าไม่มีกอล์ฟ เราอาจจะไม่เจอกันเลย (หัวเราะ) แต่ความจริงคือทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับ กอล์ฟมันนำ�มาใช้ในชีวิตได้ คือคนอื่นทำ�อะไรไม่ สำ�คัญ สำ�คัญคือการทำ�ของเราให้ดี มันเหมือนการ นั่งสมาธิชนิดหนึ่ง อยู่กับปัจจุบัน ไม่คิดถึงอดีต ไม่คิดถึงอนาคต นั่นก็คือกอล์ฟ one shot at a time ทำ�ไม่ดีก็ไม่เป็นไร อย่าไปมัวคิดถึงผล” กรณ์: “เราไม่ดีก็ไม่เป็นไร เพราะคนอื่นอาจจะ แย่กว่าเรา” พิพ : “ทำ�ของเราให้ดที ส่ี ดุ ก็จบแล้ว เราอาจจะตี
ตกนา้ํ ก็ท�ำ ต่อไป เพราะคนอืน่ อาจจะตกนา้ํ สองหน ตก ช็อตสอง พลาดกว่าเราก็ได้ (หัวเราะ) ไม่ตอ้ งสนใจ” กรณ์ : “แต่ต้องดู ต้องดูของคนอื่นเพื่อปรับ ตัวเองด้วย เพราะเช่นถ้าเขาตีตกนํ้าไปก่อน เราก็ ต้องมาลดอัตตาในตัวเรา เช่นแทนที่จะตีไม้หนึ่ง ก็ เอาเหล็กหรือไม้สามมาตีแทน ซึ่งอาจลดโอกาสที่จะ ทำ�ให้เราตีได้ดีที่สุด แต่จะเพิ่มโอกาสให้เราตีได้ดีพอ” จี๊ป : “กอล์ฟสอนให้เราเห็นว่าข้อจำ�กัดของ แต่ละคนไม่เหมือนกัน พรสวรรค์ ของแต่ละคน ไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้น เราต้องอยู่ใน comfort zone ของเรา คนอื่นเขาอาจจะตีเร็วกว่า แรงกว่า เราไปแข่ง กับเขาตรงนั้น เราแพ้แน่นอน”
สองแพร่งของประเทศไทย
ด้วยความที่ทั้งสามอยู่ในฐานะที่ต้องจับตาความ เคลื่อนไหวของสิ่งรอบตัวโดยปกติ ไม่ว่าจะในฐานะ นักลงทุน นักธุรกิจ หรือนักการเมือง จึงเป็นเรื่อง น่าสนใจว่าทั้งสามมองสภาวการณ์ของบ้านเมือง ในขณะนี้เป็นอย่างไร กรณ์ : “ตอนนีม้ นั ถือเป็นหัวเลีย้ วหัวต่อเหมือนกัน
นะว่าเราอยากไปทางไหน แบบ ‘พีร่ ดู้ กี ว่า’ แล้วพาไป หรือจะไปแบบร่วมกันช่วยกันไม่วา่ จะบกพร่องอย่างไร ผมว่าคนยังไม่ตลกผลึก ส่วนตัวผมเลือกทางทีส่ อง แล้ว ก็ยดึ ทางนัน้ คนชอบถามว่าผมหวังสูงแค่ไหนทางการ เมือง ผมบอกได้แค่วา่ สูงแค่ไหน ก็ตอ้ งเป็นรูปแบบ ของเรา ตัวตนของเรา ไม่งน้ั ทำ�ไปก็ไม่สนุก และไม่นา่ ประสบความสำ�เร็จ ถ้าเรามีโอกาสในรูปแบบของเรา เราก็ท�ำ เต็มที่ แล้วก็คดิ ว่าจะทำ�ได้ดดี ว้ ย แต่ถา้ แบบ ของเราแล้วคนอืน่ ไม่ตอ้ งการ ก็สดุ แล้วแต่” พิพ : “ผมอาจจะห่างๆ มากว่าพี่ดอน ผมแค่ มองว่าสถานการณ์เป็นไง แล้วก็พยายามปรับตัว คิดว่าเรื่องสำ�คัญที่ต้องทำ�ก็คือเรื่องการศึกษาและ คอร์รัปชัน เรื่องคอร์รัปชันก็คิดว่าถ้าเอาจริงก็ดี ส่วน เรื่องการศึกษา ยังไม่เห็นพัฒนาการเท่าไหร่ อาจจะ เป็นเรื่องระยะยาวเกินไปสำ�หรับการเมือง” กรณ์ : “อันนั้น ผมคิดว่าผมรู้ว่าจะต้องทำ�ยังไง” จีป๊ : “ผมเหมือนพิพ คือกรณ์วา่ ไง เอางัน้ มันกลับมาเรือ่ งเดิม เราไม่ผดิ เมือ่ เราทำ�สิง่ ทีถ่ กู สิง่ ทีถ่ กู นีค้ อื ถูกสำ�หรับเรา ถูกสำ�หรับประเทศชาติ และทีแ่ น่ๆ คือต้องยัง่ ยืน ไม่ใช่ตอ้ งมาเริม่ ใหม่ทกุ 5 ปี 10 ปี ผม
ไม่ฉลาดพอทีจ่ ะรูว้ า่ สิง่ นัน้ คืออะไร แล้วคนจะตกผลึก เมือ่ ไหร่ แต่กห็ วังว่าทีส่ ดุ แล้วเราจะตัดสินได้วา่ เราจะ ไปทางไหน ประเทศไทยทีผ่ า่ นมาเหมือนกับ Alice in Wonderland คืออลิซเดินมาถึงทางสามแพร่งแล้วก็ ตะโกนถามแมวว่า ‘ไปทางไหนดี’ แมวถามว่า ‘อยาก ไปไหนล่ะ’ อลิซตอบว่า ‘ไม่ร’ู้ แมวบอก ‘อย่างนัน้ ไปทาง ไหนก็ได้’ ผมว่ามันสรุปได้ทกุ อย่าง” สำ�หรับพี่น้องที่โตมากับคำ�ถามที่ว่า ‘ทำ�ทำ�ไม? ไปทำ�ไม?’ ไม่แปลกที่พวกเขาจะรู้สึกว่าประเทศไทย ยังไร้ทิศทาง แต่ไม่ว่าสถานการณ์ข้างหน้าจะเป็น อย่างไร ดูเหมือนสามพี่น้องได้เลือกมานานแล้วว่า อะไรคือเส้นทางที่พวกเขาต้องการเดิน และสิ่งนี้น่าจะ เป็นสาเหตุที่ทำ�ให้พวกเขาได้พบกับหนึ่งใน ‘wealth’ ที่ดีที่สุดของชีวิตมนุษย์ คือความสำ�เร็จที่มาพร้อมกับความอิสระ นั่นเอง
OPTIMISE | JANUARY 2016
21
FULL FLAVORS
Agrarian Utopia
01
งานตลาดนัดเกษตรกร ในวันนัน้ ได้จดุ ประเด็นให้ คนรูจ้ กั เกีย่ วกับกระแส เกษตรกรรมยัง่ ยืนและ การสืบเสาะแหล่งทีม่ า ของวัตถุดบิ (food provenance) ซึง่ แทบไม่เคยมีการพูด ถึงกันมาก่อนในกรุงเทพฯ
กระแสอาหารออร์แกนิกสดจากฟาร์ม แท้จริงคือ หัวใจของความยั่งยืน หรือเป็นเพียงอีกหนึ่งปาหี่ของ โลกอาหาร ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กระแส ‘farmto-table’ เป็นที่นิยมมากขึ้นในวงการอาหารใน ประเทศไทย เรามาดูกันว่ากระแสนี้ ได้เปลี่ยนโฉมหน้า ธุรกิจร้านอาหารในกรุงเทพฯ รวมถึงความสัมพันธ์ ระหว่างร้านกับผู้ผลิตอย่างไร แล้วมันช่วยสร้างอาหาร ที่ดีกว่าสำ�หรับผู้บริโภคหรือเปล่า
01 เชฟดิ ล ลั น แห่ ง Bo.lan 02 ห้ อ งอาหารเมดิ เ ตอร์ เ รเนี ย น Seven Spoons 03 ขนมจี น ข่ า ของร้ า น Bo.lan 04 เชฟโบผู ้ พ ิ ถ ี พ ิ ถ ั น ในการเลื อ กวั ต ถุ ด ิ บ ออร์ แ กนิ ก ของไทยให้ น ั ก ชิ ม จากทั ่ ว โลก
เมือ่ เดือนมกราคม ปี 2555 เชฟโบ-ดวงพร ทรงวิศวะ และเชฟดิลลัน โจนส์ ได้จดั ‘farmer’s market’ หรือตลาดนัดเกษตรกรขึน้ เป็นครัง้ แรกในกรุงเทพฯ หลัง จากสองปีกอ่ นหน้านัน้ ทัง้ คูไ่ ด้รว่ มกันสร้างร้าน Bo.lan ให้ประสบความสำ�เร็จอย่างดียง่ิ โดยนำ�เมนูอาหารไทย โบราณหลากหลายตำ�รับกลับมานำ�เสนอผ่านฝีมอื ปรุงที่ ประณีต และวัตถุดบิ ทีม่ ใี นท้องถิน่ ตามฤดูกาล แม้ตลาดนัดออร์แกนิกภายใต้แนวคิด ‘Eat Responsibly Day จากผืนดินสูป่ ากเรา’ จะเป็นเรือ่ ง ใหม่ส�ำ หรับชาวกรุงเทพฯ แต่กป็ ระสบความสำ�เร็จได้ ในแทบจะทันที ระหว่างทีบ่ รรดาสุนขั นอนกลิง้ เอกเขนก และเด็กๆ วิง่ เล่นในสวนครัวทีช่ ะอุม่ ไปด้วยพืชผักของ ร้านโบ.ลาน ชนชัน้ กลางชาวกรุงก็ได้มโี อกาสพบปะ เกษตรกรโดยตรงเป็นครัง้ แรก โดยสินค้าไม่ได้มเี พียง ผักท้องถิน่ สดจากไร่ หากยังมีวตั ถุดบิ คุณภาพเลิศทีค่ รัว โบ.ลาน เลือกใช้ปรุงอาหารด้วย เช่น ข้าวจากศรีสะเกษ นํา้ ตาลปีบ๊ จากสมุทรสงคราม และมะนาวจากเพชรบุรี งานตลาดนัดเกษตรกรในวันนัน้ ได้จดุ ประเด็นให้คน รูจ้ กั เกีย่ วกับกระแสเกษตรกรรมยัง่ ยืนและการสืบเสาะ แหล่งทีม่ าของวัตถุดบิ (food provenance) ซึง่ แทบ ไม่เคยมีการพูดถึงกันมาก่อนในกรุงเทพฯ ทัง้ ทีก่ ระแส ดังกล่าวได้รบั การตอบรับอย่างดีในมหานครต่างๆ 22
OPTIMISE | JANUARY 2016
ทัว่ โลก เช่นในประเทศเดนมาร์ก ร้าน Noma ของ เชฟเรเน่ เรดเซปี ได้รบั การจัดลำ�ดับให้เป็นภัตตาคารที่ ดีทส่ี ดุ ของโลกจากการรังสรรค์เมนูขน้ึ จากของป่าและ วัตถุดบิ เฉพาะถิน่ ของนอร์ดกิ ในประเทศอังกฤษ แหล่ง ตลาดนัดเกษตรกรถูกย้ายจากชุมชนในชนบทเข้าสูเ่ ขต โคเวนต์ การ์เดน ใจกลางลอนดอน เพือ่ เปิดโอกาสให้ ชาวเมืองมีโอกาสเข้าถึงผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรียท์ อ้ งถิน่ แบบทีเ่ ชฟเซเลบริตอ้ี ย่างเจมี โอลีเวอร์ และ ฮิวจ์ เฟิรน์ ลีย์ วิทติงสตอลล์ สนับสนุน ภัตตาคารหลายๆ แห่งใน นิวยอร์ก เช่น ร้าน Blue Hill at Stone Barns และร้าน ABC Kitchen ของเชฟประดับดาวมิชลิน ฌอง-จอร์จ วองเกอริชเทน ก็ก�ำ ลังพานิวยอร์กเกอร์กลับไปทำ�ความ รูจ้ กั กับพืชผลจากแหล่งปลูกทีเ่ กือบถูกลืมของประเทศ อย่างไรก็ตาม พอเวลาผ่านมาถึงทุกวันนี้ คำ�ว่า ‘ออร์แกนิก’ ‘farm-to-table’ หรือ ‘nose-to-tail’ (การ ใช้เนือ้ ทุกส่วนของสัตว์ตง้ั แต่หวั จรดหางในการปรุง อาหาร) ได้กลายเป็นคำ�ติดปากในแวดวงร้านอาหารของ กรุงเทพฯ ไปแล้ว ทัว่ กรุงมีงานออกร้านทีโ่ ฆษณา ตัวเองว่าเป็น ‘farmers’ market’ หรือ ‘ตลาดนัด เกษตรกร’ อยูแ่ ทบไม่เว้นสัปดาห์ งานเหล่านีม้ กั เป็นทัง้ ตลาดนัดอาหารนำ�เข้าราคาแพง มากพอๆ กับเป็นพืน้ ที่ ให้ผผู้ ลิตท้องถิน่ ได้ขายผลผลิตโดยตรงให้แก่ผบู้ ริโภค
และร้านอาหาร “ตอนทีเ่ ริม่ ทำ�ตลาดนัดเกษตรกร เรายังเด็กมาก แล้วก็มองทุกอย่างแบบอุดมคติ เราเห็นว่ากรุงเทพฯ ควร จะมีตลาดนัดเกษตรกร เพราะผูบ้ ริโภคควรจะมีโอกาส เลือกซือ้ วัตถุดบิ ดีๆ คุณภาพสูงได้โดยไม่ตอ้ งผ่านพ่อค้า คนกลาง” ดิลลัน โจนส์ เจ้าของและหัวหน้าเชฟร้าน โบ.ลาน กล่าวท่ามกลางบรรยากาศห้องอาหารใหม่ใน ซอยสุขมุ วิท 53 โดยเช่นเดียวกับร้านเดิม พืน้ ทีข่ องร้าน ใหม่ทง้ั ภายนอกภายในไหลลืน่ ต่อเนือ่ งกัน โดยมีบริเวณ สวนทีถ่ กู แปลงเป็นสวนครัวไว้ปลูกผักและสมุนไพร สำ�หรับใช้ปรุงอาหารของทางร้านทีข่ ายแบบเป็นชุด เท่านัน้ “เราก็เลยคิดว่า มาทำ�ตลาดนัดเกษตรกรกันดีกว่า แล้วก็ลองชวนผูผ้ ลิตทีส่ ง่ ของให้เรามาร่วมด้วย มันยาก ตรงทีเ่ กษตรกรเขาไม่อยากมา เขารูส้ กึ ว่ามันไม่มตี ลาด ไม่นา่ ขายได้ เขาไม่อยากทิง้ ไร่นามาทีน่ ่ี เพราะจะไม่มคี น ทำ�คนปลูกแทนเขา” แม้โบ.ลาน จะไม่ได้จดั ตลาดนัดเกษตรกรแล้ว (เชฟ ดิลลันให้เหตุผลว่า “มันกลายเป็นอะไรทีไ่ ม่ตรงกับสิง่ ที่ เราอยากให้มนั เป็น”) แต่รา้ นอาหารแห่งนีก้ ย็ งั มีบทบาท สำ�คัญในหมูร่ า้ นอาหารในกรุงเทพฯ ทีม่ องว่ากระแส อาหารออร์แกนิกสดจากฟาร์ม เป็นมากกว่าเพียงชัน้ เชิง
02
03
04
OPTIMISE | JANUARY 2016
23
FULL FLAVORS
05
06
07
โครงการประมงพื้นบ้าน-สัตว์นํ้าอินทรีย์
การมีใบรับรองมันก็แค่หมายความว่า คุณเตรียมเอกสารครบ และจ่ายเงินครบเท่านั้นเอง แต่เกษตรอินทรีย์มันใหญ่กว่านั้นมาก มันเป็นเรื่อง องค์รวม ตั้งแต่เรื่องเกษตรกร เรื่องดิน การจัดการ ศัตรูพืช การค้าอย่างเป็นธรรม การรู้จักใช้ของเดิม เพื่อสร้างของใหม่ ทั้งหมดนี้คือเกษตรอินทรีย์ทั้งนั้น ไม่ใช่แค่งานเอกสาร
08
รสชาติพื้นถิ่น
รับรองว่าสด
ลลนา ศรีคราม ผูก้ อ่ ตัง้ บริษทั ไร่ทอง ออร์แกนิกส์ ฟาร์ม ไม่เพียงแต่สง่ ออกข้าวทีไ่ ด้รบั การรับรองมาตรฐานออร์แกนิก ไปทัว่ โลก แต่ยงั ทำ�งานร่วมกับเครือข่ายเกษตรกรทัว่ ประเทศ เพือ่ ป้อนวัตถุดบิ ของผูผ้ ลิตรายย่อยเข้าสูก่ รุงเทพฯ และเป็นฟัน เฟืองสำ�คัญในกระแสขับเคลือ่ นให้คนรูจ้ กั กับการกินอาหารโดย ตระหนักเรือ่ งความยัง่ ยืน “เกษตรอินทรียเ์ ป็นมากกว่าใบรับรอง” ลลนาอธิบาย ขณะ นัง่ อยูใ่ นห้องนัง่ เล่น บรรยากาศสงบ ซึง่ ทำ�ขึน้ ชัว่ คราวในห้อง แถวสีช่ น้ั แถบพระโขนงอันถูกใช้เป็นร้านของเธอ โดยชัน้ ล่างตึก ทำ�เป็นโรงบ่มเบียร์ขงิ ของบริษทั (สาเหตุทเ่ี ธอเลือกผลิตเบียร์ขงิ 24
OPTIMISE | JANUARY 2016
เพราะชาวนาสามารถปลูกขิงได้ตลอดปีและเก็บเกีย่ วได้ระหว่าง ฤดูปลูกข้าว) ขิงทีก่ �ำ ลังบ่มส่งกลิน่ กรุน่ ไปทัว่ บ้าน “การมีใบรับรองมันก็แค่หมายความว่า คุณเตรียมเอกสาร ครบ และจ่ายเงินครบเท่านัน้ เอง แต่เกษตรอินทรียม์ นั ใหญ่กว่า นัน้ มาก มันเป็นเรือ่ งองค์รวม ตัง้ แต่เรือ่ งเกษตรกร เรือ่ งดิน การ จัดการศัตรูพชื การค้าอย่างเป็นธรรม การรูจ้ กั ใช้ของเดิมเพือ่ สร้างของใหม่ ทัง้ หมดนีค้ อื เกษตรอินทรียท์ ง้ั นัน้ ไม่ใช่แค่งาน เอกสาร” เชฟดิลลันแห่งร้านโบ.ลาน เห็นพ้องกับลลนา “เวลาผมพูด ถึงเกษตรอินทรีย์ ผมไม่ได้พดู ถึงสินค้าทีไ่ ด้รบั การรับรองอย่าง เดียว สำ�หรับผูผ้ ลิตรายย่อย กระบวนการขอใบรับรอง เป็นเรือ่ ง แพงเกินไป แล้วก็ไม่จ�ำ เป็นด้วย หลายครัง้ ใบรับรองมีหลาย มาตรฐาน หลายมาตรฐานก็ไม่ได้โปร่งใส คนเล่าว่าบางครัง้ ก็ ต้องมีการจ่ายเงินใต้โต๊ะกันด้วย” สำ�หรับเชฟดิลลัน การออกจากห้องครัวไปเยือนไร่นา ไปดู ว่าทีไ่ ร่เขาทำ�งานกันอย่างไร และลองชิมผลผลิตว่าตรงกับความ ต้องการหรือไม่ ซึง่ เป็นสิง่ ทีส่ �ำ คัญกว่าใบรับรองมาก “ถ้าเราได้ไปไร่ และได้เห็นว่าเขาปลูกอย่างทีค่ ยุ ให้เราฟัง ก็เหมือนกับเราได้ออกใบรับรองให้ผลผลิตนัน้ ด้วยตัวเองไปแล้ว เกษตรอินทรียห์ มายถึงปลูกอาหารในแบบทีค่ วรปลูก โดยใส่ใจ ว่าการเติมอะไรเข้าไปไปในพืชผลแต่ละอย่างนัน้ มันจะนำ�ไปสู่ ผลเสียอะไรบ้างหรือเปล่า” เชฟหนุม่ เผย ตามคำ�ของลลนา วัตถุดบิ ไทยสดๆ ทีป่ ลูกแบบออร์แกนิก นัน้ มีอยูแ่ ล้ว แต่ปญ ั หาคือทำ�อย่างไรจึงจะขนส่งผลผลิตเหล่านัน้ เข้าสูก่ รุงเทพฯได้ และทำ�อย่างไรร้านอาหารในกรุงเทพฯ จึงจะ เห็นคุณค่าของวัตถุดบิ ท้องถิน่ ของไทย “เราก็ชอบกินวัตถุดบิ ของฝรัง่ นะ แต่มนั เรือ่ งอะไรทีต่ ลาดนัด เกษตรกรของเราต้องขายแต่ผลผลิตนอกอย่างเดียว เราเป็นคน ศรีสะเกษ อาหารท้องถิน่ ของอีสานทัง้ สดใหม่ ไขมันตา่ํ แล้วยัง ใช้วตั ถุดบิ จากป่าซึง่ ให้รสธรรมชาติดมี าก แต่พอเข้ามากรุงเทพฯ ถ้าไม่ไปร้าน Nahm หรือโบ.ลาน ก็แทบจะหาผักท้องถิน่ พวก นีไ้ ม่ได้เลย ทัง้ ทีม่ นั ควรจะเป็นของธรรมดาสามัญทีส่ ดุ ” ลลนา บ่นให้ฟงั
อุดมศักดิ์ ปาติยเสวี
ทางการตลาด ตรงกันข้ามร้านอาหารเหล่านี้ มองกระแสนีเ้ ป็น โอกาสสำ�หรับสานความสัมพันธ์ระหว่างร้านกับเกษตรกร เพือ่ ให้ได้มาซึง่ วัตถุดบิ อินทรียต์ ามฤดูกาล ทีม่ กี ระบวนการผลิต อย่างยัง่ ยืน และมีคณ ุ ภาพดีทส่ี ดุ สำ�หรับผูบ้ ริโภค หากลองถามเชฟทัว่ กรุงเทพฯ จะพบว่าเชฟโบ และเชฟ ดิลลัน มักถูกกล่าวถึงครัง้ แล้วครัง้ เล่า ในฐานะหนึง่ ในผูป้ ระกอบ การร้านอาหารทีท่ มุ่ เทกับการสืบค้นแหล่งทีม่ าของแทบทุก วัตถุดบิ ในร้าน ผลลัพธ์กค็ อื อาหารทีส่ ดกว่าและอร่อยกว่า สำ�หรับลูกค้า เพราะอาหารทุกจานถูกเลือกมาให้ตรงกับจังหวะ ของฤดูกาลทีส่ ดุ โดยเมนูของร้านจะเปลีย่ นทุกๆ สามเดือน เพือ่ ให้วตั ถุดบิ ถูกใช้เฉพาะในเวลาทีม่ คี ณ ุ ภาพดีทส่ี ดุ และลูกค้ามี เฉพาะเมนูอาหารชุดให้เลือกเท่านัน้ เนือ่ งจากการเสิรฟ์ อาหาร แบบเป็นชุดจะทำ�ให้เชฟนำ�เสนออาหารทีค่ รบ และสมดุลได้ มากกว่า ทัง้ นี้ ผลิตภัณฑ์ทถ่ี กู คัดสรรอย่างประณีตนัน้ ไม่ได้มแี ต่ราคา คุย เพราะสลัดทีเ่ ต็มไปด้วยใบผักพืน้ ถิน่ ได้ให้รสชาติแปลกใหม่ ซึง่ หาได้ยากในเมนูอาหารทัว่ ไป ไก่ทถ่ี กู เลีย้ งโดยพืชสมุนไพร หรือเนือ้ วัวจากชุมนุมสหกรณ์เกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้รสทีเ่ ข้มข้นผิดกับของนำ�เข้าดาดๆ กระทัง่ ข้าวกล้องงอกซึง่ ร้านโบ.ลาน เลือกรับมาจากบริษทั ‘ไร่ทอง ออร์แกนิกส์ฟาร์ม’ ก็มกี ลิน่ อายของดิน และรสชาติอนั ทรงพลังในแบบของมันเอง
09
05 ปะนี ร ์ (ชี ส อิ น เดี ย ) ย่ า งเสิ ร ์ ฟ บนถั ่ ว เลนทิ ล ในซอสเนยขิ ง เมนู ว ั ต ถุ ด ิ บ พื ้ น ถิ ่ น ของ Seven Spoons 06 กุ ้ ง ตั ว ยั ก ษ์ จ ากโครงการประมง พื ้ น บ้ า น-สั ต ว์ น ํ ้ า อิ น ทรี ย ์ มู ล นิ ธ ิ ส ายใย แผ่ น ดิ น 07 ลลนาแห่ ง ไร่ ท อง ออร์ แ กนิ ก ส์ ลงมื อ เกี ่ ย วข้ า วอิ น ทรี ย ์ ด ้ ว ยตั ว เอง 08 ชาวประมงในพั ท ลุ ง ออกเรื อ เก็ บ สั ต ว์ น ํ ้ า จากโครงการประมงพื ้ น บ้ า นฯ ยามเช้ า 09 เชฟโจ๊ ก แห่ ง Seven Spoons บรรจงแต่ ง จานสวย
เช่นเดียวกับร้านโบ.ลาน ร้าน Seven Spoons ซึง่ เป็นร้าน อาหารกลิน่ อายเมดิเตอร์เรเนียนได้สร้างเครือข่ายกับชุมชน เกษตรกรในชนบทเช่นกัน ตัง้ แต่เปิดมาเมือ่ ปี 2554 ร้านอาหาร ขนาดย่อมหน้าตาอบอุน่ สไตล์ ‘urban-rustic’ แห่งนี้ และเชฟ โจ๊ก-สมเกียรติ ไพโรจน์มหกิจ ผูเ้ ป็นหัวหน้าเชฟ ได้เริม่ สร้าง ชือ่ จากการนำ�วัตถุดบิ พืน้ ถิน่ มาปรุงเป็นอาหารทีม่ กี ลิน่ อาย เมดิเตอร์เรเนียนได้อย่างลงตัว เชฟโจ๊กเล่าว่า “แฟนผมทำ�งานพัฒนาชุมชน เราพบเจอ วัตถุดบิ ทีเ่ ป็นของป่าจำ�นวนมาก ซึง่ ถ้าไม่น�ำ มาใช้กจ็ ะเป็นเรือ่ ง เสียโอกาสอย่างมาก เราสนใจพวกผักหรือสมุนไพรท้องถิน่ และ อยากทำ�ความรูจ้ กั ให้มากขึน้ เพือ่ ให้ของทีเ่ รากินมันหลากหลาย และสร้างแรงกระตุน้ ให้ชมุ ชนเขาอยากปลูกพืชพวกนี้ เราเลย พยายามนำ�วัตถุดบิ พวกนีเ้ ข้ามาใช้ในเมนูอาหาร” สปิรติ ความสดใหม่แทรกซึมอยูท่ ว่ั รายการอาหารของร้าน เซเว่น สปูนส์ ซึง่ มักใช้พชื ผักตามฤดูกาลเป็นจุดเด่น เช่น Lentil Fritters ให้รสชาติ และความกรอบหนึบของขนมผักกาดอันคุน้ ปาก ในอีกด้าน สลัดแตงโมของทีน่ จ่ี ะราดด้วยนา้ํ สลัดเปรีย้ ว หวานไอเกรดูซ์ ซึง่ ให้รสเบา และสดชืน่ เป็นอย่างยิง่ เชฟโจ๊กอธิบายอาหารของเซเว่น สปูนส์วา่ “หลักคือเป็น อาหารตะวันตก แต่ทกุ เมนูจะใช้วตั ถุดบิ พืน้ บ้าน” ยกตัวอย่าง เช่นตาฮีนสี ลัดของทีน่ ่ี จะใช้ผกั เก็บจากราวป่าปรุงรสด้วยขมิน้ ส่วนเมนูปะนีร์ (ชีสอินเดีย) ย่างเสิรฟ์ บนถัว่ เลนทิลในซอสเนยขิง รสชาติละเมียดละไม ก็ใช้ปะนีรซ์ ง่ึ ผลิตในชุมชนอินเดียทีพ่ าหุรดั ซึง่ อยูห่ า่ งไปไม่ไกล เชฟโจ๊กบอกว่า แม้กระทัง่ ใจกลางกรุงเทพฯ เอง ก็เป็น แหล่งวัตถุดบิ ชัน้ ดีได้ “มีผกั กาดชนิดหนึง่ ซึง่ เหมาะสำ�หรับทำ� สลัดมาก ก็ปลูกในชุมชนท้องถิน่ และขายอยูแ่ ถวนีเ้ อง คล้ายๆ ผักร็อกเก็ตแต่รสจัดกว่า เพือ่ นบ้านผมเป็นคนปลูกเองแล้วก็ตง้ั เพิงเล็กๆ ขายอยูต่ รงหัวมุม ผมชิมแล้วเห็นว่าเอามาปรุงอาหาร ก็ไม่เสียหาย แต่ปญ ั หาคือคนมักจะชอบของนอก แนวคิดเรือ่ ง อาหารพืน้ ถิน่ มันฟังดูดี แต่สดุ ท้ายคนก็ยงั ติดแต่ของทีเ่ ขาเคยกิน เรายังต้องเปลีย่ นมุมมองของคนอีกเยอะ”
Essentials
โครงการประมง พืน้ บ้าน-สัตว์นา้ํ อินทรีย์ มูลนิธสิ ายใยแผ่นดิน (Pla Organic)
141 ซอยลาดพร้าว 48 แยก 5-1 ถนนสุทธิสาร กรุงเทพฯ โทร. 090-004-2401 www.greennet.or.th
โบ.ลาน
24 ซอยสุขมุ วิท 53 ถนนสุขมุ วิท กรุงเทพฯ โทร. 02-260-2961 www.bolan.co.th
โร่ทอง ออร์แกนิก ฟาร์ม
1940-1942 ซอยสุขมุ วิท 60 ถนนสุขมุ วิท กรุงเทพฯ โทร. 02-115-8105 www.raitongorganics farm.com Grand Hyatt Erawan 494 ถนนราชดำ�ริ กรุงเทพฯ โทร. 02-254-1234 www.bangkok.grand. hyatt.com Seven Spoons 211/8 ถนนจักรพรรดิพงษ์ กรุงเทพฯ โทร. 02-629-9214 www.sevenspoonsbkk. wordpress.com
OPTIMISE | JANUARY 2016
25
FULL FLAVORS
ขยับขยาย
แต่ทส่ี ดุ แล้ว ทัง้ โบ.ลาน และเซเว่น สปูนส์ ต่างก็ เป็นธุรกิจขนาดเล็ก และต่างเป็นร้านอาหารทีร่ บั ลูกค้าได้ คืนละเพียงร้อยคนเศษเท่านัน้ จะน่าท้าทายเพียงใดหาก ร้านเหล่านีล้ องขยับขยายการใช้ผลผลิตทีม่ าจากท้องถิน่ และสร้างความยัง่ ยืนแก่เกษตรกร ไปสูร่ า้ นอาหาร ขนาดใหญ่ได้จริง ไรอัน ดันน์ รองหัวหน้าแผนกครัวแห่งโรงแรม Grand Hyatt Erawan ขอเป็นผูร้ บั คำ�ท้านี้ ปัจจุบนั เชฟไรอันเป็นผูร้ บั ผิดชอบโครงการของกลุม่ Hyatt International ทีม่ นี โยบายให้อสังหาริมทรัพย์ในเครือ ทัว่ โลกซือ้ วัตถุดบิ อาหารทะเลอย่างน้อย 35 เปอร์เซ็นต์ จากธุรกิจประมงรายย่อย ซึง่ มีใบรับรองทีอ่ อกในประเทศ หรือต่างประเทศ เชฟไรอันอธิบายว่า “เรากะจะเริม่ ทีแ่ หล่งเดียวก่อน แล้วดูวา่ จะพัฒนาต่อไปได้อย่างไรบ้าง เพราะเราต่าง จากร้านขนาดเล็กอย่าง โบ.ลาน หรือ Gaggan ซึง่ สัง่ ของปริมาณน้อย ความยากของเราคือจะทำ�งานกับ ชาวประมงท้องถิน่ อย่างไร เพือ่ ให้ปลาทีเ่ ราต้องการ ในเวลาทีเ่ ราต้องการ” เชฟไรอันอธิบายต่อว่า “ชาวประมงรายย่อยเขา มีแต่ปลาทีจ่ บั ได้วนั ต่อวันมาส่ง ดังนัน้ ในฝัง่ ของเรา ถ้าชาวประมงการันตีไม่ได้วา่ จะจับอะไรได้บา้ ง เราก็ใส่มนั ลงไปในเมนูไม่ได้ ปลาทีเ่ ป็นทีน่ ยิ ม อย่างปลากระพง และปลาเก๋ามักจะไม่ได้มพี ร้อมส่ง ตลอดเวลา ปลาหลายพันธุก์ ม็ เี ฉพาะฤดู” เชฟไรอันกำ�ลังทำ�งานร่วมกับ โครงการประมง พืน้ บ้าน-สัตว์นา้ํ อินทรีย์ มูลนิธสิ ายใยแผ่นดิน หรือ Pla Organic บริษทั สัญชาติไทยซึง่ นำ�โดย สุภาภรณ์ อนุชริ าชีวะ นักวิชาการด้านการจัดการชายฝัง่
10
เพือ่ วางระบบทีเ่ ชือ่ ถือได้มากขึน้ ในการจัดส่งอาหารทะเล คุณภาพจากชาวประมงไทยรายย่อยทีม่ ใี บรับรองการ ประมงอย่างยัง่ ยืนไปสูโ่ รงแรม ทัง้ คูห่ วังจะแก้ปญ ั หาการส่งอาหารทะเลท้องถิน่ ปริมาณมากจากแหล่งประมงเหล่านีไ้ ปให้บรรดาโรงแรม ใหญ่ทอ่ี าจขาดคุณสมบัตใิ นการเป็นผูส้ นับสนุนการผลิต แบบยัง่ ยืน กล่าวคือ ความยืดหยุน่ ในการวางเมนู สุภาภรณ์ ซึง่ มีทง้ั ปริญญาเอกด้านการจัดการ ชายฝัง่ ในเขตร้อนจาก Asian Institute of Technology (AIT) และประสบการณ์การทำ�งานกับชาวประมงท้อง ถิน่ กว่า 20 ปี อธิบายถึงความท้าทายในการทำ�งานกับ องค์กรใหญ่อย่างโรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ ว่า “เราต้องหาคนซือ้ ทีย่ ดื หยุน่ ได้ และเข้าใจฤดูกาล ปลาทีค่ นนิยมอย่างปลาเก๋าอาจไม่ได้มตี ลอด ถ้าเรามี สต็อกสัก 20 ถึง 30 กิโลกรัม เราก็อาจจะบอกโรงแรม เป็นครัง้ ๆ ไป แต่เรารับประกันไม่ได้วา่ จะมีตลอด คนซือ้ จึงต้องยืดหยุน่ พอสมควร หรืออย่างกุง้ แชบ๊วย เราบอกได้เลยว่าเราจะหาให้ได้ 100 กิโลกรัม ภายใน สองสัปดาห์ แต่พอ 15 วันแล้วเป็นจังหวะพีคของการ จับกุง้ ผูซ้ อ้ื ก็ตอ้ งรับซือ้ ครัง้ ละปริมาณมากๆ และต้องมี ระบบแช่เย็นทีร่ บั ไหว” ขณะนี้ ปลา ออร์แกนิก ได้รบั ทุนสนับสนุนจาก สหภาพยุโรป หรือ EU ในการช่วยนำ�พาอาหารทะเลจาก ชาวประมงรายย่อยในหกจังหวัดได้แก่ สตูล กระบี่ พังงา สงขลา พัทลุง และเพชรบุรี ให้เข้าถึงตลาดในกรุงเทพฯ สุภาภรณ์เล่าว่าจุดประสงค์ของโครงการนีค้ อื การส่งเสริม ให้ชาวประมงท้องถิน่ อยูไ่ ด้อย่างยัง่ ยืน “เราเชือ่ ว่าการประมงของชาวบ้านเป็นมิตรต่อ สิง่ แวดล้อม แล้วเขาก็รวู้ ธิ อี นุรกั ษ์ธรรมชาติอยูแ่ ล้ว เราจึงอยากส่งเสริมวิถชี วี ติ และผลผลิตการประมงของ
ชาวบ้าน คุณภาพอาหารทะเลท้องถิน่ นัน้ ดีอย่างไม่นา่ เชือ่ แต่กม็ าติดอยูท่ ป่ี ญ ั หาระบบการขนส่งนีแ่ หละ” แม้ปจั จุบนั จะมีรา้ นอาหารในกรุงเทพฯ เพียงน้อย รายทีใ่ ส่ใจทีม่ าของวัตถุดบิ อย่างจริงจัง ทว่า จำ�นวนร้าน เหล่านัน้ กำ�ลังเพิม่ ขึน้ ในบรรดานี้ ชือ่ ทีเ่ กษตรกรอินทรีย์ ต่างคุน้ เคยได้แก่ เชฟต้น-ธิตฏิ ฐ์ ทัศนาขจร แห่งร้าน อาหารไทยร่วมสมัย Le Du และร้านอาหารบรรยากาศ ติดดินเครือเดียวกันอย่าง Baan รวมถึงเชฟทิม บัทเลอร์ แห่งร้าน Eat Me เช่นเดียวกับ เชฟกักกัน อานันต์ เจ้าของร้านอาหารระดับโลก กักกัน ในซอยหลังสวน และเชฟแนน–รังสิมา บุญยะสาระนันท์ แห่งร้าน Little Beast ทองหล่อ ซึง่ ผสมผสานอาหารสไตล์ นิวยอร์ก ฝรัง่ เศส และฮ่องกงเข้าด้วยกัน เชฟแดเนีย ล บุชเชอร์ ผูเ้ ป็นหัวเรีย่ วหัวแรงสำ�คัญในการส่งเสริม การผลิตอาหาร และใช้พลังงานอย่างยัง่ ยืน ณ โรงแรม Plaza Athenee (ก่อนจะย้ายไป El Osito ร้านเดลี เรียบง่ายกลิน่ อายสเปนซึง่ เสิรฟ์ อาหารมือ้ ด่วนย่าน เพลินจิต เมือ่ ต้นปีทแ่ี ล้ว) และสุดท้ายคือ เชฟปริญญ์ ผลสุข หัวหน้าเชฟทีร่ า้ นนา้ํ ผูป้ ระยุกต์ดาดฟ้าโรงแรม Metropolitan ให้เป็นสวนขนาดย่อมสำ�หรับปลูกผักสลัด และเครือ่ งแกง ในมหานครทีม่ รี า้ นอาหารจำ�นวนนับพัน ไม่นา่ เชือ่ ว่าร้านเหล่านีก้ ลับมีจ�ำ นวนไม่เกินนิว้ มือสองข้าง ซึง่ ใน ทัศนะของเชฟดิลลัน นีเ่ องคือปัญหาของกรุงเทพฯ เขาสรุปง่ายๆ ว่า “อาหารอะไรก็ตามควรจะเป็นของ ออร์แกนิกทัง้ นัน้ คนมักจะชืน่ ชมเชฟทีเ่ ลือกใช้วตั ถุดบิ อินทรีย์ แต่จริงๆ แล้วเราควรจะทำ�ตรงกันข้าม คืออย่า ไปยอมคนทีไ่ ม่ยอมใช้ตา่ งหาก อาหารออร์แกนิกไม่ใช่ ของพิเศษ มันแค่เป็นของทีถ่ กู ต้องเท่านัน้ เอง”
คนมักจะชื่นชมเชฟ ที่เลือกใช้วัตถุดิบอินทรีย์ แต่จริงๆ แล้วเราควรจะทำ� ตรงกันข้าม คืออย่าไปยอม คนที่ไม่ยอมใช้ต่างหาก อาหารออร์แกนิกไม่ใช่ของ พิเศษ มันแค่เป็นของที่ ถูกต้องเท่านั้นเอง 10 เชฟไรอั น แห่ ง Grand Hyatt Erawan ผู ้ ห ั น มาใช้ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ป ระมงรายย่ อ ย เสิ ร ์ ฟ อาหารสเกลโรงแรม
26
OPTIMISE | JANUARY 2016
OPTIMISE | JANUARY 2016
27
STATE OF THE ARTS
01
01 การแสดงอั น เต็ ม ไปด้ ว ยชี ว ิ ต ชี ว า ของคณะละคร B Floor
28
OPTIMISE | JANUARY 2016
Big Little Stages
การแสดงในสเกลขนาดนี้ แทบไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ เลยในช่วง 2-3 ปีที่แล้ว เมื่อคณะละครอิสระยังคง อยู่เพียงตามหลังคาเฟ่ ย่านบางลำ�พู แต่ใน วงการศิลปะการแสดงร่วมสมัยของกรุงเทพฯ ปัจจุบัน การแสดง อาจตื่นตัวอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ลักษณะนี้ได้กลายมาเป็น สื่อทางเลือกใหม่ที่มีความ แต่ความยั่งยืนของวงการนี้ยังเป็นเรื่องน่ากังขา โดยเฉพาะเมื่อมันดูเหมือนจะเดินสวนทางกับอุดมการณ์ เป็นพลวัตสูงที่สุด และความเห็นทางการเมืองของศิลปิน ในคํ่าคืนของวันจันทร์หนึ่งแถวย่านทองหล่อ หนุ่มสาวชาวกรุงกลุ่มหนึ่งมารวมตัวโดยมือหนึ่ง ถือขวดเบียร์ และอีกข้างคีบประคองมวนบุหรี่ น่าแปลกที่พวกเขาไม่ได้กำ�ลังรอดูวงร็อคอินดี้ขึ้น แสดงบนเวที หากแต่มาเพื่อชมการแสดงล่าสุด ของ คาเงะ-ธีระวัฒน์ มุลวิไล ผู้กำ�กับแห่งคณะ ละคร B-Floor ผู้ซึ่งในการแสดงเดี่ยวครั้งก่อน หน้าได้เจาะน็อตโชกเลือดลงไปในก้อนนํ้าแข็ง ใช้เครื่องมือช่างทุบทำ�ลายมัน และขนลาก กระสอบนํ้าแข็งไปทั่วเวที ในครั้งนี้ ผู้ชมต่างทยอยเข้าสู่แถวที่นั่งของ โรงละครชั่วคราว แสงไฟหรี่สลัวขณะที่ชายหนุ่ม คนหนึ่งปรากฏกายบนเวที เขาพุ่งแขนไปด้าน หน้าครั้งแล้วครั้งเล่าด้วยท่าทางอันเก้กังแต่ชวน พิศวง “เขากำ�ลังเศร้าสะเทือนใจจากการสูญเสีย” นักแสดงคนหนึ่งโพล่งออกมาจากข้างเวที “เขาเชี่ยวชาญในการทำ�ซูชิปลาไหล!” อีกคนว่า “มันเป็นภัยสังคม! มันเป็นเพนกวินจักรพรรดิ!” คนอื่นๆ พูดแทรกขึ้นมา ไม่นานนัก ผู้ชมก็ต่าง หัวเราะร่วน ความสนุกสนานไหลเวียนอยู่ในหมู่ ผู้ชมอย่างสัมผัสได้ การแสดงในสเกลขนาดนี้แทบไม่มีโอกาสเกิด ขึ้นได้เลยในช่วง 2-3 ปีที่แล้ว เมื่อคณะละคร อิสระยังคงอยู่เพียงตามหลังคาเฟ่ย่านบางลำ�พู แต่ในปัจจุบัน การแสดงลักษณะนี้ได้กลายมา เป็นสื่อทางเลือกใหม่ที่มีความเป็นพลวัตสูง ที่สุด การมีรอบแสดงประจำ� การมีพื้นที่แสดง โดยเฉพาะ และการมีฐานผู้ชมที่เพิ่มขึ้น ทำ�ให้ คณะละครอย่าง B-Floor ‘พระจันทร์เสี้ยว’ และ Democrazy สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่า ผู้ชมไทย
ไม่น้อยกำ�ลังกระหายสื่อสร้างสรรค์ที่มากกว่า หนังผีหรือละครเพลงย้อนยุค
พื้นที่
ความเปลี่ยนแปลงสำ�คัญอย่างหนึ่งสำ�หรับ วงการนี้ ก็คือการที่คณะละครอิสระได้มีโอกาส เปิดการแสดงในพื้นที่ใจกลางเมืองที่จัดไว้ให้ โดยเฉพาะ ที่ผ่านมา คณะละครอิสระ ‘ลํ้าๆ’ มักถูกจัดให้อยู่แต่ชายขอบพื้นที่ทางวัฒนธรรม ของกรุงเทพฯ และมีโอกาสแสดงแต่เฉพาะใน ที่ลับหูลับตาคน คณะละครเล็กๆ เหล่านี้ มักถูก บดบังโดยการแสดงที่ทุนหนักอย่างโขนในศูนย์ วัฒนธรรมฯ หรือละครเพลงอันเต็มไปด้วยดารา ของเมืองไทยรัชดาลัย เธียร์เตอร์ จนดูเหมือนว่า พวกเขาถูกชะตาบังคับให้เป็นเจ้าไม่มีศาล ต้อง วิ่งหาพื้นที่แสดงเป็นครั้งๆ เรื่อยไป จนกระทั่งเมื่อ ไม่นานมานี้ นับเป็นเรื่องเข้าใจยากว่าเหตุใดคณะละคร อิสระจึงต้องประสบกับปัญหาขาดแคลนพื้นที่ แสดง เพราะประเทศไทยจัดว่ามีสถานที่ในด้านนี้ อยู่เป็นจำ�นวนมาก ไม่ว่าจะเป็นโรงละครในตึกเก่า ทรงอาร์ตเดโค เช่น โรงละครแห่งชาติ หรือศาลา เฉลิมกรุง โรงละครในห้างหรู เช่น เมืองไทย รัชดาลัย เธียร์เตอร์ โรงละครอักษรา และรอยัล พารากอน ฮอลล์ โรงละครในมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีอุปกรณ์ครบครันเป็น พิเศษ ตลอดจนศูนย์ประชุมต่างๆ เช่น ไบเท คบางนา อิมแพ็คเมืองทองธานี และศูนย์ประชุม แห่งชาติสิริกิติ์ กระนั้น ในช่วงเทศกาลละคร กรุงเทพ (Bangkok Theatre Festival) เมื่อเดือน
พฤศจิกายนปีที่ผ่านมา กลับไม่มีสถานที่เหล่านี้สัก แห่งที่เปิดรับการแสดงแม้แต่สักชุด (จากทั้งหมด 66 ชุด) ของคณะละครอิสระ ท้ายที่สุด การแสดง ทั้งหมดต้องมาเปิดรอบที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่ง กรุงเทพมหานคร (Bangkok Art and Culture Centre) และพื้นที่ขนาดเล็กอื่นๆ เช่น Thong Lor Art Space หรือโรงมหรสพทองหล่อ ตลอดจน โรงละครของ Democrazy Studio และ พระจันทร์เสี้ยวการละคร แม้หลายต่อหลายครั้ง ‘โรงละคร’ เหล่านี้แทบจะเป็นเพียงห้องที่มีชุดไฟ ติดเพดานเท่านั้น “ประเทศเราอาจมีสถาบันที่ส่งเสริมศิลปะ การแสดง แต่ถ้าคุณไม่ได้แสดงตามของเก่า คุณก็ไม่มีตัวตนสำ�หรับเขา การแสดงอย่างนี้ที่ เมืองนอกเขามีเงินช่วย แต่ที่นี่เราเคยลองติดต่อ ภาครัฐแล้ว เขาไม่สนใจ เขาบอกว่าไม่มีนโยบาย ถ้าคุณทำ�การแสดงที่เข้ากับภาพลักษณ์ที่รัฐบาล ต้องการนำ�เสนอ เขาก็อาจจะสนับสนุนคุณบ้าง แต่ส่วนใหญ่เขามักจะเห็นว่าเรา controversial เกินไป” ธนพล วิรุฬหกุล ผู้อำ�นวยการฝ่าย ครีเอทีฟของคณะเดโมเครซี่กล่าว เดโมเครซี่แก้ปัญหาโดยการสร้างโรงละคร ของตัวเอง ซึ่งแล้วเสร็จในปี 2551 โดยหาก มุ่งหน้าไปซอยสะพานคู่ มองหาร้านกาแฟตีไม้ กระดานสีฟ้า แล้วเดินเข้าไปในตึกแถวที่หน้าตา เหมือนโรงเรียนกวดวิชา ด้านหลังจะพบเวทีหน้า กว้างขนาดสองห้องแถว ทาสีดำ�สนิท และดู ง่อนแง่นราวกับจะถล่มลงมาทับที่นั่งแถวหน้าได้ ทั้งแถบ อย่างไรก็ตาม แม้โรงละครแห่งนี้จะห่าง ไกลกับที่นั่งบุกำ�มะหยี่สีแดงในโรงละครแห่งชาติ OPTIMISE | JANUARY 2016
29
STATE OF THE ARTS
ศิลปะมันเปิดให้ตีความอยู่แล้ว แค่คนออกไปคุยกันหลังการ แสดง แลกเปลี่ยนความคิดกัน เอาความคิดมาปะทะสังสรรค์ กัน แค่นั้นก็พอแล้วสำ�หรับผม ผมไม่ได้ต้องการให้คน มาคิดแบบผม ผมแค่อยากให้ ผู้ชมรับรู้ว่าตัวเองกำ�ลังมีชีวิต อยู่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม
02
02 ละครเรื ่ อ ง ‘มโนแลนด์ ’ ที ่ ส ื ่ อ สาร แนวคิ ด ผ่ า นท่ า ทางของตั ว ละคร
แต่ก็จุผู้ชมได้ถึง 60 คน “พื้นที่แคบๆ เหมาะกับการแสดงแนวทดลอง ซึ่งมีการเล่นปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนดูกับนักแสดง แต่จะไม่ค่อยเหมาะกับการแสดงที่ต้องมี visual effect” ธนพลกล่าว ในการแสดง 2 ชุดล่าสุดของเขา ได้แก่ Transaction และ Hipster the King เขาได้ ผสมผสานการเต้นร่วมสมัย เข้ากับการฉายภาพ วีดิทัศน์ และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม ในละครเวที บางละเมิด ของคณะบี-ฟลอร์ อรอนงค์ ไทยศรีวงศ์ ซึ่งเป็นผู้แสดงเดี่ยว ยิ่งสามารถ ใช้พื้นที่อันแคบนั้นได้อย่างทรงพลัง การแสดงของเธอ จัดขึ้นภายในห้องปิดทึบที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ โดยผู้แสดงอยู่ห่างจากผู้ชม (ราว 12 คน) เพียงเอื้อม ซึ่งช่วยสร้างบรรยากาศของความใกล้ชิดที่ชวน กระอักกระอ่วนได้เป็นอย่างดี ยิ่งกว่านั้น เมื่อ บี-ฟลอร์เปิดรอบการแสดงนี้ครั้งล่าสุดในปีที่ผ่านมา ที่โรงมหรสพทองหล่อ ความกระอักกระอ่วนที่ว่าก็ได้ พุ่งทะยานถึงขีดสุด เพราะมีทหารนอกเครื่องแบบ มานั่งสังเกตการณ์การแสดงแทบทุกรอบ (โดยทหาร เหล่านี้เองก็ถูกเฝ้าสังเกตโดยองค์การสหประชาชาติ อยู่อีกต่อหนึ่ง) ไม่เท่านั้น ทุกๆครั้ง อรอนงค์จะ แนะนำ�นายทหารแก่ผู้ชม ก่อนจะร้อยเรียงเรื่องราว การปรากฏตัวของทหารเหล่านั้นเข้าไว้ในการแสดง ของเธอ ซึ่งยิ่งสร้างภาวะการณ์ตึงเครียดให้ทุกคนได้ อึดอัดเต็มที่เข้าไปอีก อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีแต่เพียงเดโมเครซี่ และ บี-ฟลอร์เท่านั้นที่กำ�ลังพยายามแสวงหาพื้นที่ใหม่ๆ เพื่อแสดงศิลปะของตน ขณะนี้ พระจันทร์เสี้ยวการ 30
OPTIMISE | JANUARY 2016
ละครก็เปิดการแสดง 4 ชุดทุกๆ ปี รับเชิญไปแสดง ต่างประเทศเป็นประจำ� พร้อมกับเลี้ยงคนสิบคนไว้ เป็นทีมงาน คณะละครแห่งนี้ก่อตั้งมาแล้วกว่า 4 ทศวรรษ แต่ สินีนาฏ เกษประไพ ผู้กำ�กับฝ่ายศิลป์ ซึ่งอยู่กับพระจันทร์เสี้ยวมาตั้งแต่ปี 2538 ยังระลึก อยู่เสมอว่าการหาพื้นที่แสดงเคยเป็นเรื่องต้องดิ้นรน อย่างมาก ก่อนที่ในปี 2549 พระจันทร์เสี้ยวจะได้รับ อนุญาตให้ใช้สถาบันปรีดี พนมยงค์ เป็นที่ฝึกซ้อม และเปิดการแสดง ซึ่งช่วยให้คณะสั่งสมชื่อเสียงขึ้นมา ได้จนวันนี้ ทั้งนี้ ในช่วงปีต่อจากนี้ พระจันทร์เสี้ยวจะ เปิดการแสดง 4 ชุด และร่วมงานกับคณะละครเกาหลี ใน ‘ไม่เป็นไร โปรเจ็กต์ 2016’ และจัด ‘เทศกาลละคร 24 ชั่วโมง’ สมกับกิตติศัพท์ความเป็น ‘คณะละคร ซีเรียส’ ที่แม้แต่พระจันทร์เสี้ยวเองก็ยอมรับว่าจริง
เติบโตแต่ไม่เปลี่ยนแปลง
ในทัศนะของอมิธา อัมระนันท์ นักวิจารณ์ละคร เวทีแห่งคอลัมน์ Life ของ Bangkok Post และรอง ประธานชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง ประเทศไทย (International Association of Theatre Critics, Thailand Chapter) พื้นที่ใหม่ๆ เหล่านี้เป็นปัจจัย สำ�คัญต่อการเติบโตของแวดวงการละครนอกกระแส “เราเริ่มเขียนเกี่ยวกับวงการนี้ตั้งแต่ปี 2549 ตอน นั้นเขาจะเล่นกันที่ชั้นบนของร้านอาหารแถวถนน พระอาทิตย์หรือไม่ก็ในสวนสาธารณะ ซึ่งอาจไม่ได้ เข้ากับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มผู้ชมกลุ่มใหม่ที่จะบากบั่น ไปดูละครเวทีถึงบางลำ�พู การได้มีพื้นที่แสดง ติดรถไฟฟ้า BTS จะทำ�ให้คนวัยหนุ่มสาวเข้ามาพบ
เป็นการพูดผ่านภาษาภาพ” ในฉากหนึ่งของมโนแลนด์ ตัวละครตัวหนึ่งพยายามจะสื่อสารความคิดของตัวเอง แต่ทุกครั้งก็จะถูกตัวละครอื่นผลักให้ล้มลงอยู่เรื่อยไป และทุกครั้งที่ตัวละครนั้นตั้งหลักจะยืนขึ้นพูด ตัวละครอื่นๆ ก็ขัดขึ้นด้วยเสียงรับว่า “จ้า!” ซํ้าแล้วซํ้าเล่า ทำ�ให้ผู้ชมทั้งขำ� รำ�คาญ และอึดอัดไปในคราเดียวกัน ภาวิณี สมรรคบุตร ผู้ก่อตั้งเดโมเครซี่ อธิบายที่มาที่ไป ของชื่อคณะว่า “คนที่พูดความจริงในสังคมนี้ คุณอาจเรียก เขาว่าบ้า” อย่างไรก็ตาม การมองคณะละครเหล่านี้เป็นเพียง กลุ่มการเมือง ย่อมเป็นการมองข้ามเสน่ห์อันเป็นสากลของ พวกเขา อันที่จริง การแสดงเรื่องเอกอย่าง Survival Games ของบี-ฟลอร์ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบัน Wellcome การเมืองในศิลปะ Trust นั้น เป็นการเอาเรื่องเกี่ยวกับโรคเขตร้อนมาแสดงออก โดยทั่วไป โรงละครชายขอบมักชวนให้คนนึกถึง เป็นภาษากาย โดยการแสดงชุดนี้มีคำ�โปรยว่าเป็น รูปแบบการแสดงแปลกๆ คอสตูมพิสดาร และภาษากาย ‘การแสดงแนววิทยาศาสตร์’ (A science performance) อันบิดเบี้ยว แต่เหนือกว่านี้ ละครชายขอบยังมีเนื้อหาที่ ซึ่งดูเผินๆ ไม่น่านำ�มาแสดงบนเวทีได้ แต่สุดท้ายเซอร์ไววัล ต้องการสื่อต่อสังคมด้วย ในการแสดง ‘มโนแลนด์’ ของ เกมส์ ก็ถูกนำ�เสนออออกมาได้อย่างสนุก น่าดึงดูด หรือแม้ บี-ฟลอร์ ผู้ชำ�นาญเรื่องการเมืองคลื่นใต้นํ้าอาจได้เห็นใบหน้า กระทั่งสั่นสะเทือนใจ ที่คุ้นเคยอยู่ในหมู่ผู้ชม เช่น สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ ‘บ.ก. “ศิลปินไม่เหมือนนักเคลื่อนไหว ผู้ชมควรจะได้ประจักษ์ ลายจุด’ หรือ ‘แชมป์ 1984’ นักศึกษานักกิจกรรมผู้โดนจับ กับความคิดของตัวเขาเอง ศิลปะมันเปิดให้ตีความอยู่แล้ว ขณะกินแซนด์วิชพลางอ่านนิยายเล่มดังของจอร์จ ออร์เวล แค่คนออกไปคุยกันหลังการแสดง แลกเปลี่ยนความคิดกัน เพื่อต่อต้านรัฐบาลทหาร การแสดง ‘บางละเมิด’ เองก็ประกาศ เอาความคิดมาปะทะสังสรรค์กัน แค่นั้นก็พอแล้วสำ�หรับผม จุดยืนของบี-ฟลอร์อย่างชัดเจนอยู่แล้ว ในขณะที่ธีระวัฒน์ก็ไม่ ผมไม่ได้ต้องการให้คนมาคิดแบบผม ผมแค่อยากให้ผู้ชมรับรู้ ลังเลที่จะบอกว่าเขาต้องการปฏิรูปสังคมผ่านงานศิลปะ ว่าตัวเองกำ�ลังมีชีวิตอยู่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม” ธนพลกล่าว “เราใช้ชีวิตท่ามกลางบรรยากาศของความกลัว ถูกคุม ภาวิณี หนึ่งในทีมงานเดโมเครซี่ เสริมว่า “พื้นที่เปิดให้ ทุกอย่าง งานศิลปะ และวัฒนธรรมจึงเป็นเหมือนทางออก สนทนาถกเถียงกันในสังคมไทยมีอยู่น้อยมาก และเราคือ สำ�หรับเรา เราพยายามสร้างพื้นที่ปลอดภัยขึ้นมา เราจะไม่ พื้นที่นั้น” เซ็นเซอร์เพราะละครโดยตัวของมันเองก็เป็นรหัสอยู่แล้ว มัน ตั้งแต่ 480 – 600 บาท ตั๋วเทศกาลของเดโมเครซี่ มีราคา เพียง 1,245 บาท และสามารถใช้เข้าชมการแสดงของทั้ง บี-ฟลอร์และเดโมเครซี่ได้ถึง 3 รอบ ความสมํ่าเสมอไม่ได้เป็นปัจจัยสำ�หรับสร้างผู้ชมเท่านั้น หากเป็นกุญแจสำ�คัญสำ�หรับสร้างทีมงานด้วย “เรากำ�ลัง พยายามทำ�ให้มันเป็นวิชาชีพจริงๆ เราเสียคนเก่งๆ ไปเยอะ ทั้งนักแสดง ช่างไฟ เราต้องทำ�ให้งานนี้กลายเป็นอาชีพ เสียที” ธนพลกล่าว ธีระวัฒน์ แห่งบี-ฟลอร์ชี้ว่า “เวลาเราจัดการแสดง เราจะ เอาเงินที่ได้มาจ่ายค่าตัวนักแสดงก่อนเลย ถึงจะขาดทุน เราก็ต้องจ่ายเขา”
กับวงการนี้ได้ง่ายกว่าเดิมมาก” ถึงตรงนี้ อาจกล่าวได้ว่าโรงละครอิสระได้เข้าถึง ผู้ชมมากพอสมควรแล้ว แต่เรื่องนี้ก็ทำ�ให้สินีนาฏแห่ง พระจันทร์เสี้ยวการละครเป็นห่วงเหมือนกัน เธอกล่าว ว่า “ถ้าคุณมีพื้นที่มากขึ้น คุณก็ต้องเอาใจคนจำ�นวน มากขึ้นด้วย หมายความว่าคุณต้องทำ�อะไรที่มันเบา สมองขึ้น สนุกขึ้น ซึ่งมันไม่ใช่เป้าหมายของเรา” เดโมเครซี่ก็ไม่ต้องการผลิตละครเวทีเพื่อการค้า เช่นกัน ธนพลกล่าวว่า “ผมโอเคถ้าคนจะว่าเราเห็น แก่ตัว บางคนอยากจะทำ�งานเพื่อตอบตลาดมากๆ ก็งานของเขาคือความบันเทิง แต่งานของผมคือการ ทำ�งานศิลปะ ถึงเราจะรู้ว่าการแสดงมันทำ�ได้ยาก เราก็ทำ�อยู่ดี เราตัดคนได้ ตัดงบได้ แต่เราจะไม่ พยายามทำ�การแสดงเพื่อเอาใจผู้ชม” แต่ถึงบี-ฟลอร์ พระจันทร์เสี้ยว และเดโมเครซี่จะ มีจุดยืนคนละด้านกับสื่อบันเทิงพาณิชย์ คณะละคร เหล่านี้ก็ไม่ย่อหย่อนเรื่องการจัดการการเงินอย่างเป็น ระบบ เดโมเครซี่ชี้ว่าละครเรื่องหนึ่งอาจใช้งบ 3 แสน บาท และเก็บเงินค่าตั๋วได้เพียงแสนเดียว ดังนั้น การจะประคับประคองตัวเองให้อยู่ต่อไปได้ ก็ต้องอาศัยเงินสนับสนุนจากสถาบันเกอเธ่ และ คำ�เชิญไปจัดการแสดงที่ต่างประเทศ อีกทั้งความ พยายามสร้างประสบการณ์ที่จะทำ�ให้ผู้ชมติดใจ และกลับมาดูอีกครั้งแล้วครั้งเล่า ตั๋วเทศกาลและรอบการแสดงประจำ� ซึ่งแตกต่าง โดยสิ้นเชิงกับรอบแสดงอันเอาแน่เอานอนไม่ได้ใน อดีต ล้วนแต่ถูกออกแบบมาเพื่อเชื้อชวนให้ผู้ชมใหม่ กลายเป็นขาประจำ� ในขณะที่ตั๋วหนึ่งใบอาจมีราคา
Essentials
พระจันทร์เสี้ยว การละคร
65/1 ซอยสุขมุ วิท 55 (ทองหล่อ) ถนนสุขมุ วิท กรุงเทพฯ โทร. 081-929-4246 www.crescentmoontheatre. org
โรงมหรสพทองหล่อ
33/2 ซอยสุขมุ วิท 57 ถนนสุขมุ วิท กรุงเทพฯ โทร. 095-542-4555 www.facebook.com/ Thonglorartspace
สถาบันปรีดี พนมยงค์ 65/1 ซอยสุขมุ วิท 55 (ทองหล่อ) ถนนสุขมุ วิท กรุงเทพฯ โทร. 02-381-3860 www.pridiinstitute.com
B-Floor Theatre 65/1 ซอยสุขมุ วิท 55 (ทองหล่อ) ถนนสุขมุ วิท กรุงเทพฯ โทร. 089-167-4039 www.bfloortheatre.com Democrazy Studio ซอยสะพานคู่ ถนนพระราม 4 กรุงเทพฯ โทร. 081-441-5718 www.facebook.com/ democrazystudio
03 สิ น ี น าฎ แห่ ง พระจั น ทร์ เ สี ้ ย ว การละคร
03
04
04 ภาวิ ณ ี และธนพล สองหั ว เรี ่ ย ว หั ว แรงหลั ก ของเดโมเครซี ่ สตู ด ิ โ อ
OPTIMISE | JANUARY 2016
31
SERVING YOU 01
KK NeXtGen : ส่งต่อประสบการณ์ จากรุ่นสู่รุ่น
หากต้องไปสัมผัส และเรียนรู้เองอาจต้อง ใช้เวลานับสิบปี แต่เมื่อ ผู้มีประสบการณ์มาแล้ว นับ 30-40 ปีมาบอก เล่าให้ฟังว่า เรื่องใดควร ทำ� เรื่องใดไม่ควรทำ� เรื่อง เหล่านี้เมื่อรู้ และนำ�ไปปรับ ธุรกิจส่วนใหญ่เติบโตมาจากการเป็นธุรกิจครอบครัว ส่งต่อ ใช้กับธุรกิจของตัวเองแล้ว ความมัง่ คัง่ จากรุน่ สูร่ นุ่ แต่จะทำ�อย่างไรเมือ่ ธุรกิจครอบครัว ย่อมทำ�ให้ธุรกิจเติบโตไป ได้อย่างยั่งยืน ต้องเผชิญกับปัญหาสำ�คัญของการสืบทอดธุรกิจ ไม่วา่ จะเป็นในกรณีทท่ี ายาทไม่มคี วามเชีย่ วชาญเพียงพอ หรือมี 01 ฐิตินันท์ (ที่ 2 จากซ้าย) และศิษย์เก่าจาก KK NeXtGen สุ ร ี ว รรณ (ซ้ า ยสุ ด ) ธนพล และ อเล็ ก ซานเดรี ย ความสนใจในสายอาชีพอืน่ ทีไ่ ม่ตรงกับธุรกิจของตระกูล 02 ฐิ ต ิ น ั น ท์ วั ธ นเวคิ น
32
OPTIMISE | JANUARY 2016
ด้วยความตระหนักในปัญหาการสืบทอดธุรกิจทีเ่ กิด ขึน้ กับหลายครอบครัว ธนาคารเกียรตินาคิน ได้สร้างสรรค์ 02 โครงการ KK NeXtGen: From Study to Success หลักสูตรพิเศษสำ�หรับลูกค้าเงินฝาก PRIORITY ของ ธนาคาร ทีช่ ว่ ยเตรียมความพร้อมให้กบั ทายาทธุรกิจ ในการเป็นผูป้ ระกอบการรุน่ ใหม่ โดยเน้นการถ่ายทอด ประสบการณ์และมุมมองการทำ�ธุรกิจของวิทยากรหลาก หลายกลุม่ ไม่วา่ จะเป็นวิทยากรทีม่ ปี ระสบการณ์เติบโต จากธุรกิจครอบครัว วิทยากรทีม่ คี วามเชีย่ วชาญด้านการ ดูแลและบริหารสินทรัพย์จากกลุม่ ธุรกิจการเงิน เกียตินาคินภัทร หรือวิทยากรทีม่ คี วามรูค้ วามเชีย่ วชาญใน ด้านอืน่ ๆ อาทิ การสร้างแบรนด์ การบริหารจัดการ และ สร้างแรงบันดาลใจ เช่น บุญชัย เบญจรงคกุล ทีม่ าพูดคุย เรือ่ งการลงทุนทางเลือก (งานศิลปะ), นิว้ กลม – ศราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ นักคิดนักเขียนชือ่ ดัง, ดร.การัณย์ อังอุบลกุล ผูช้ ว่ ยประธานกรรมการ บริษทั ศรีไทย ซุปเปอร์แวร์ จำ�กัด ตลอดจนบรรยง พงษ์พานิช ผูบ้ ริหารระดับสูงของกลุม่ ธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ทัง้ นี้ ฐิตนิ นั ท์ วัธนเวคิน กรรมการ ธนาคาร เกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) บริษทั ในกลุม่ ธุรกิจการเงิน เกียรตินาคินภัทรเล่าถึงความเป็นมาของโครงการสัน้ ๆ ว่า “โดยปกติธนาคารได้ให้ขอ้ มูลเกีย่ วกับการลงทุนหรือ เศรษฐกิจเพือ่ สิทธิประโยชน์ให้กบั ลูกค้าอยูแ่ ล้ว แต่ลกู ค้าก็มกั พูดว่าอยากให้ทายาทได้รบั รูเ้ รือ่ งเหล่านีด้ ว้ ย และอยากให้เราช่วย เตรียมพร้อมทายาทของเขา จึงได้เป็นทีม่ าของโครงการการได้รบั ฟังจากคนทีม่ ปี ระสบการณ์มาก่อนนับเป็นโชคดี เพราะหากต้องไป สัมผัสและเรียนรูเ้ องอาจต้องใช้เวลานับ 10 ปี แต่เมือ่ ผูม้ ปี ระสบการณ์มาแล้วนับ 30-40 ปีมาบอกเล่าให้ฟงั ว่า เรือ่ งใดควรทำ� เรือ่ งใด ไม่ควรทำ� เรือ่ งเหล่านีเ้ มือ่ รูแ้ ละนำ�ไปปรับใช้กบั ธุรกิจของตัวเองแล้วย่อมทำ�ให้ธรุ กิจเติบโตไปได้อย่างยัง่ ยืน”
ทายาทธุรกิจ
KK NeXtGen เกิดขึน้ แล้ว 2 รุน่ โดยมีผเู้ ข้าร่วมโครงการประมาณ 30-35 คนต่อรุน่ ซึง่ ล้วนมีทม่ี าจากหลากหลายธุรกิจและ อุตสาหกรรม ทำ�ให้เป็นโอกาสอันดีส�ำ หรับพบปะและต่อยอดธุรกิจ สุรวี รรณ หวังกิตติพร : โรงพิมพ์กติ ติพร ทายาทธุรกิจโรงพิมพ์ กิตติพรการ พิมพ์ ซึง่ ครอบคลุมตัง้ แต่การพิมพ์หนังสือ สือ่ โฆษณา บรรจุภณ ั ฑ์และสือ่ สิง่ พิมพ์ อืน่ ๆ ทัง้ นี้ แม้ สุรวี รรณจะได้เข้ามาสาน ต่อธุรกิจเป็นเวลา 3 ปีแล้ว แต่เนือ่ งจาก เธอไม่ได้เรียนจบด้านการบริหารมา โดยตรง KK NeXtGen จึงเป็นโอกาส ทีเ่ ธอใช้ส�ำ หรับเสริมความรูพ้ น้ื ฐานใน การทำ�ธุรกิจ โดยเธอบอกว่า “หลักๆ เรา ได้ความรูเ้ รือ่ งบริหาร อย่างทีส่ องคือได้ เพือ่ น ได้รวู้ า่ ข้างนอกไม่ได้มแี ค่ธรุ กิจเรา แค่ธรุ กิจเดียว เวลาคุยกับเพือ่ นก็จะได้รวู้ า่ อะไรคือจุดแข็งและจุดด้อยของเรา แล้วก็ นำ�มาปรับปรุง เหมือนเอาธุรกิจข้างนอก มาประยุกต์ใช้กบั ธุรกิจเรา”
ธนพล หวังกิจจินดา : ร้านโชติวฒ ั น์ ร้านโชติวฒ ั น์ เป็นร้านขายกระเพาะ ปลาเก่าแก่ของย่านเยาวราช ทัง้ นี้ ธนพล เข้าร่วมโครงการ KK NeXtGen โดยคาด หวังเพียงความรูด้ า้ นการบริหาร แต่หลัง จากจบโครงการเขาพบว่าสิง่ ทีม่ คี ณ ุ ค่า ทีส่ ดุ ทีเ่ ขาได้รบั จากโครงการก็คอื “คอร์ส นีท้ �ำ ให้ผมมีไฟขึน้ มา มีจดุ มุง่ หมายมาก ขึน้ ผมชอบคำ�พูดของปิติ เดชคง รุน่ ที่ 3 ของบริษทั ห้างยาไทย 1942 จำ�กัด ผูผ้ ลิต ยาธาตุน�ำ้ ขาวตรากระต่ายบิน เขาบอกว่า ถ้าคุณคิดจะทำ�ธุรกิจของครอบครัวแล้ว ถ้าคุณตัดสินใจ คุณไม่ตอ้ งคิดทำ�อย่าง อืน่ คุณทำ�ให้เต็มตัวไม่ตอ้ งลังเล เพราะว่า เด็กทีเ่ รียนจบใหม่ๆ มักคิดว่าจะทำ�ดีไหม หรือควรไปทำ�อย่างอืน่ ก่อน ถ้าคิดว่าเข้า มาทำ�แล้วต้องทุม่ เทให้เต็มตัว”
อเล็กซานเดรีย คุวานันท์ : โตโยต้า นครสวรรค์ อเล็กซานเดรียเป็นรุน่ ที่ 3 ของ ดีลเลอร์รถยนต์แบรนด์โตโยต้าในจังหวัด นครสวรรค์ทม่ี อี ายุยาวนานถึง 30 ปี เธอ เข้าร่วมโครงการ KK NeXtGen ในรุน่ ที่ 2 เพือ่ เพิม่ เติมความรูพ้ น้ื ฐานด้านการ บริหาร แต่พบว่าโครงการได้ให้อะไรที่ มากกว่านัน้ โดยเธอกล่าวว่า “การที่ มีหลากหลายธุรกิจมาเรียนในคอร์ส เดียวกันถือเป็นจุดแข็งของคอร์ส บางที เราอยูแ่ ค่ในธุรกิจของเรามุมมองก็อาจจะ แคบ แต่พอมาคอร์สแบบนีเ้ ราก็ได้เปิด โลก เปิดวิสยั ทัศน์ แต่วา่ สิง่ ทีช่ อบเกีย่ วกับ คอร์สนีม้ ากทีส่ ดุ คือวิทยากรทีม่ าบรรยาย เป็นอะไรทีห่ าไม่ได้อกี แล้ว บางท่านก็เพิง่ ก่อตัง้ ธุรกิจ บางท่านก็มปี ระสบการณ์ ยาวนาน ทำ�ให้ได้รวู้ า่ วิธกี ารทำ�งานมี หลากหลายรูปแบบมาก เราก็เอามาปรับ ใช้กบั ตัวเรา ธุรกิจของเรา”
NeXtGen Program: From Study to Success หลักสูตรที่เน้นสร้างทักษะการเป็น ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มองการณ์ไกล และกล้าเปลี่ยนแปลง เตรียมความ พร้อมเพื่อส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่น มีเนื้อหาสาระสำ�คัญคลอบคลุมตลอด ระยะเวลา 4 สัปดาห์ดังนี้ สัปดาห์ที่ 1: A Successful Past การถ่ายทอดเรื่องราวประสบการณ์ ตลอดจนสร้างแรงบันดาลใจในการทำ� ธุรกิจโดยวิทยากรกิตติมศักดิ์ที่ ประสบความสำ�เร็จ สัปดาห์ที่ 2: Path to Greater Success-Wealth Management การเสริมความรู้ด้าน Wealth Management สำ�หรับนักธุรกิจ รุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการทำ�กรณี ศึกษา การเยี่ยมชมห้องค้าหุ้น รวม ถึงการวางแผนทางการเงินโดยทีมผู้ เชี่ยวชาญจากภัทร สัปดาห์ที่ 3: Path to Greater Success – Skills & Planning การเปิดมุมมองเกี่ยวกับ การวางแผน เชิงกลยุทธ์ ( Strategic Planning) กลยุทธ์การตลาด (Marketing Strategy) รวมไปถึงเนื้อหาพิเศษ เกี่ยวกับการบริหารองค์กร (HR Management) สัปดาห์ที่ 4: Securing a Successful Future การอบรมเรื่อง Corporate Social Responsibilities (CSR) เพื่อสร้างการ เติบโตอย่างยั่งยืนให้ธุรกิจ
OPTIMISE | JANUARY 2016
33
SERVING YOU
“จากความสำ�เร็จในการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนให้กับ ลูกค้า High Net Worth. . . Phatra Edge จึงได้ ถูกพัฒนาขึ้น โดยนำ� ‘value proposition’ ที่มอบ ให้ลูกค้า High Net Worth มาปรับใช้และนำ�เสนอให้ กับลูกค้ากลุ่ม Mass Affluent ที่เริ่มมีบทบาทและแนว โน้มเติบโตมากขึ้นในสังคมปัจจุบัน”
มีตัวช่วย
ครบถ้วน สะดวกสบาย ทุกทีท่ กุ เวลา
พลังลงทุน ก็เหนือกว่าใคร
Phatra Edge ตัวช่วย. . . ทุกเรื่องการลงทุน ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน ค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น และอัตราดอกเบี้ย เงินฝากที่ค่อนข้างต่ำ�ในปัจจุบัน การออมเงินผ่านการฝากธนาคารเพียงอย่างเดียว จึงอาจไม่ใช่ทางเลือกในการบริหารเงินที่เพียงพอ เราจำ�เป็นต้องหาทางเลือกใน การลงทุนอื่นๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลงทุนและเป้าหมายชีวิตที่แต่ละคนตั้งไว้ หลายคนจึงกลัวที่จะลงทุน ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร รวมถึงไม่กล้าตัดสินใจ เพราะคิด ว่าการลงทุนเป็นเรื่องยากและซับซ้อน แต่การลงทุนจะไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากและไกล ตัวอีกต่อไป หากคุณมีแผนการลงทุนที่ด และเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจ รวมถึง คำ�แนะนำ�จากผู้เชี่ยวชาญที่มากด้วยประสบการณ์ 34
OPTIMISE | JANUARY 2016
Phatra Edge ตัวช่วยทุกเรื่องการลงทุน เป็นตัวช่วยที่มีทั้ง ‘เครื่องมือ’ และ ‘คำ� แนะนำ�’ ให้กับลูกค้ากลุ่ม Mass Affluent (ผู้มีเงินลงทุนตั้งแต่ 2-30 ล้านบาท) ที่มี ความซับซ้อนในการลงทุนตั้งแต่น้อยจนถึงมากที่สุด และยังเป็นตัวช่วยที่ท�ำ ให้การ บริหารจัดการเงินการลงทุนเป็นเรื่องง่ายและสะดวกสบาย ด้วยการรวมทุกเรื่องการ ลงทุนไว้ในที่เดียว เพื่อตอบทุกโจทย์ความต้องการของลูกค้า
บรรลุเป้าหมายในชีวติ ได้เร็วและง่าย ขึน้ ...ด้วยการวางแผนการลงทุนทีเ่ ป็น ระบบ Phatra Edge เข้าใจดีถงึ เป้าหมายการลงทุนที่ แตกต่างกันของแต่ละบุคคล และการมีขอ้ จำ�กัด ทางการเงินทีไ่ ม่เหมือนกัน เราพร้อมเป็นทีป่ รึกษาทีด่ ี ในการวางแผนการลงทุนทีเ่ ป็นระบบ โดยช่วยวางแผน การลงทุนและแนะนำ�ผลิตภัณฑ์ให้เหมาะกับแต่ละ บุคคล โดยการกระจายการลงทุนทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ภาย ใต้ระดับความเสีย่ งทีเ่ หมาะสม (Asset Allocation) นอกจากนี้ เรายังให้ค�ำ แนะนำ�ในการวางแผนการเงิน (Financial Roadmap) ทีค่ รอบคลุมด้านการวางแผน ภาษี แผนเกษียณ แผนการศึกษาบุตร และแผนการ ลงทุน ทีป่ รึกษาวางแผนการลงทุน (Investment Advisor: IA) ของ Phatra Edge ล้วนเป็นผูเ้ ชีย่ วชาญที่ มากด้วยประสบการณ์ดา้ นการแนะนำ�การลงทุน โดย ท่านสามารถติดต่อขอคำ�แนะนำ�ได้ทง้ั ทางโทรศัพท์ หรือ นัดหมายเพือ่ เข้ารับคำ�ปรึกษาด้วยตนเองได้ท่ี KK Investment Hub หรือธนาคารเกียรตินาคินทุกสาขา
ท่ามกลางวิถชี วี ติ ทีเ่ ร่งรีบในสังคมปัจจุบนั ไม่วา่ จะเป็นกิจวัตรทีม่ ากมาย การทำ�งานทีต่ อ้ งแข่งกับเวลา หรือการเดินทางทัง้ ในและต่างประเทศ ทำ�ให้บางคน ละเลยทีจ่ ะติดตามเรือ่ งการลงทุน ไม่ได้ตามติดความ เคลือ่ นไหวของตลาด ส่งผลให้พลาดโอกาสในการ ลงทุนและไม่สามารถบริหารจัดการเงินลงทุนให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุดตามทีค่ าดหมาย Phatra Edge ช่วยให้คณ ุ ไม่ตอ้ งเสียเวลากับการ รวบรวมข้อมูลการลงทุนทีก่ ระจัดกระจายตามทีต่ า่ งๆ โดยการจัดทำ� One Report หรือ รายงานการลงทุน ที่ ให้ขอ้ มูลภาพรวมของการลงทุนของคุณ การเติบโตของ สินทรัพย์และอัตราผลตอบแทนไว้ในทีเ่ ดียว ส่งมอบ ให้เป็นประจำ�ทุกเดือน หรือแม้ในช่วงระหว่างเดือนคุณ สามารถตรวจสอบข้อมูลจากรายงานดังกล่าวของ วันนัน้ ได้ตลอดเวลาผ่านระบบออนไลน์ ช่วยให้คณ ุ สะดวกสบายในการติดตามและตรวจสอบผลการลงทุน เพือ่ ช่วยให้คณ ุ ไม่ตอ้ งลำ�บาก ยุง่ ยาก และใช้เวลา ไปกับการหาข้อมูลเพือ่ ประกอบการพิจารณาตัดสินใจ ลงทุน เราจะแจ้งเตือนทุกเรือ่ งการลงทุนอย่าง ทันเหตุการณ์ ผ่านระบบ Message Center พร้อม คำ�แนะนำ�เกีย่ วกับการลงทุนในช่วงเวลานัน้ ๆ จาก นักวิเคราะห์คณ ุ ภาพผ่าน Market Update ทำ�ให้ คุณรับมือกับทุกสถานการณ์การลงทุนได้งา่ ยขึน้ นอกจากนี้ คุณสามารถเข้าถึงบทวิเคราะห์สภาวะ เศรษฐกิจทัง้ ในและต่างประเทศของนักวิเคราะห์ คุณภาพทีใ่ ห้บริการนักลงทุนสถาบันรายใหญ่ ซึง่ ได้รบั การยอมรับในระดับสากล และได้รบั รางวัลต่อเนือ่ งทุกปี เพือ่ ให้คณ ุ เลือกลงทุนได้อย่างมัน่ ใจ นวัตกรรมเหล่านีจ้ ะหมดความหมาย หากระบบ ออนไลน์ของเราไม่สามารถเข้าถึงได้ทกุ ทีท่ กุ เวลา เพราะทุกอย่างทีเ่ ราทำ�ได้ผา่ นการคิดทบทวนมาอย่าง รอบคอบ เราจึงพัฒนาระบบออนไลน์ทส่ี ามารถใช้ได้ทง้ั บนคอมพิวเตอร์ แทบเล็ต และโทรศัพท์มอื ถือ ทำ�ให้คณ ุ สามารถทำ�ธุรกรรมซือ้ -ขาย และติดตามการลงทุนได้ ทุกทีท่ กุ เวลา เหมือนมีตวั ช่วยทุกเรือ่ งการลงทุนอยูเ่ คียง ข้างคุณ 24 ชัว่ โมง
อิสระในการเลือกลงทุน...พร้อมคำ� แนะนำ�ทีเ่ ป็นกลาง ปัจจุบนั มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินมากมาย จาก หลากหลายสถาบันการเงิน แต่มคี นจำ�นวนไม่นอ้ ยที่ ไม่รวู้ า่ จะซือ้ ได้ทไ่ี หน ซือ้ ได้อย่างไร และควรเลือกลงทุน ในผลิตภัณฑ์ของสถาบันการเงินใด Phatra Edge มีค�ำ ตอบให้คณ ุ เรานำ�เสนอผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนหลากหลาย ประเภท ไม่วา่ จะเป็น ตราสารทุน ตราสารหนี้ ตราสาร อนุพนั ธ์ และกองทุนรวม ไว้ทน่ี ท่ี เ่ี ดียว เพือ่ ให้คณ ุ สามารถกระจายการลงทุนและจัดพอร์ตได้ตามความ ต้องการของคุณ การนำ�เสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินและการลงทุนที่ หลากหลายแบบ Open Architecture ทำ�ให้คณ ุ มีอสิ ระ ในการเลือกลงทุนกับกองทุนรวมกว่า 1,000 กอง จาก 20 บลจ. ชัน้ นำ�ของประเทศ พร้อมทัง้ เพิม่ ความมัน่ ใจให้ กับนักลงทุนมือใหม่ หรือผูท้ ต่ี อ้ งการคำ�แนะนำ�ในการ เลือกซือ้ กองทุน โดยการจัดทำ� Phatra Selected Fund ซึง่ รวบรวมกองทุนรวมแนะนำ�ทีผ่ า่ นการคัดสรรอย่าง เป็นกลาง โดยพิจารณาจากผลตอบแทนทีส่ อดคล้องกับ ความเสีย่ งในการลงทุนของแต่ละบุคคล เพือ่ มอบอิสระ ในการลงทุนแบบทีเ่ ป็นตัวคุณมากทีส่ ดุ
ตัวช่วยส่วนตัวเรือ่ งการลงทุนทีใ่ กล้ชดิ กับ คุณ...ทุกทีท่ กุ เวลา ภัทรมุง่ มัน่ และไม่หยุดยัง้ ทีจ่ ะพัฒนาบริการและ ผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพือ่ ตอบสนองความต้องการของ คุณ ทำ�ให้การลงทุนไร้ขดี จำ�กัด ไม่วา่ คุณจะทำ�อะไร อยูท่ ไ่ี หน เราจะเป็นตัวช่วยแบบส่วนตัวให้คณ ุ ทุกที่ ทุกเวลา เรามัน่ ใจว่า เรานำ�เสนอบริการทีเ่ หมาะกับความ ต้องการของแต่ละคนเพราะเชือ่ ว่าทุกคนย่อมมีเป้าหมาย ทีแ่ ตกต่างกัน Phatra Edge คือ ‘ตัวช่วย’ ทีค่ รบครันทุก เรือ่ งการลงทุนเพือ่ ประโยชน์สงู สุดของคุณ
OPTIMISE | JANUARY 2016
35
CLIENT VALUES
01
The Pursuit of Happiness สามทหารเสือแห่ง ‘เปีย่ มสุข กรุป๊ ’ กับประสบการณ์ฝา่ อุปสรรคล้างหนี้ กว่า 700 ล้านบาท ก่อนผงาดขึน้ มาเป็นหนึง่ ในผูเ้ ล่นรายสำ�คัญของ วงการอสังหาริมทรัพย์ชน้ั นำ�ของเมืองไทย และลูกค้าคนสำ�คัญของ เกียรตินาคินภัทร ย้อนกลับไปเมื่อปี 2540 วิกฤตการเงินเอเชีย หรือที่เรียกกัน คุ้นปากว่า ‘วิกฤตต้มยำ�กุ้ง’ ทำ�ให้ธุรกิจจำ�นวนมากต้องล้ม ระเนระนาด โดยเฉพาะกับรายเล็กที่สายป่านไม่ยาวพอ ธุรกิจ ดังกล่าวรวมถึง ‘เปี่ยมสุข กรุ๊ป’ ที่ต้องชะงักงันเมื่อประสบกับ ยอดหนี้ท่วมท้นกว่า 700 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม หลังวิกฤต ผ่านพ้น การวางมือของ บัญชา กุลไพศาลธรรม ผู้บุกเบิกรุ่นแรก ได้เปิดทางให้ลูกชายทั้งสามคน โล่ห์-กิติพงษ์ กร-ภูภกร และ อ๋อง-ปรีชา กุลไพศาลธรรม ก้าวขึ้นมาแสดงฝีมือพลิกฟื้นธุรกิจ โดยในช่วงเวลาเพียงหนึ่งทศวรรษ ได้เปลี่ยนยอดหนี้ 700 ล้าน บาท ให้เป็นยอดขายปีละเกือบ 1 พันล้านบาท มาร่วมพูดคุยกับ สามพี่น้องผู้ใช้พลังของ ‘ครอบครัว’ ฟันฝ่าอุปสรรค และเติบโตมา ได้อย่างสง่างาม
01 ภู ภ กร (ซ้ า ยสุ ด ) ปรี ช า และกิ ต ิ พ งษ์ สามหนุ ่ ม กุ ล ไพศาลธรรมแห่ ง เปี ่ ย มสุ ข กรุ ๊ ป
36
OPTIMISE | JANUARY 2016
ผิดแผนแต่ไม่ผดิ พลาด โล่ห์: ผมเป็นคนชอบพวกต้นไม้ เพาะปลูกมาตั้งแต่เด็ก เลยฝันว่าอยากเรียนด้านการเกษตร จะเข้าวิทยาลัยเกษตรเลย แต่พอได้คุยกับผู้ใหญ่หลายคนที่บ้าน ก็แนะนำ�ว่าทำ�ไมไม่ไป เรียนกว้างๆ อย่างพวกบริหารธุรกิจก่อน ก็เลยเรียนสายวิทย์ ต่อบริหารที่ม.กรุงเทพ จบแล้วก็ไป MBA ด้านการบริหารที่ ซีแอตเทิล ชอบพวกไฟแนนซ์บัญชี กลับบ้านมาก็ช่วงฟองสบู่แตก พอดี ก่อนหน้านั้นระบบธนาคาร และการปล่อยสินเชื่อง่ายมาก พ่อก็เหมือนคนอื่นๆ ไม่ได้สำ�รองเงินในการทำ�ธุรกิจ พอมีปัญหา ก็หมดสภาพคล่อง ผมทำ� cash flow ดูแล้วก็บอกกับพ่อแม่ว่า ครั้งนี้ไม่รอดแน่ๆ แต่พ่อกับแม่ไม่ตื่นเต้น แล้วก็อยู่กับมันมา ก็ปรากฎว่าทำ�จนรอด ก็เลยได้รู้ว่าบางทีทฤษฎีดูเหมือนจะไป ไม่ได้ แต่ก็ไปได้ กร: ตอนจะเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ผมฝันอยากทำ�งาน ธนาคาร ใส่สูท ผูกไทเท่ๆ ได้ไปเรียนต่อด้านการเงินกับพี่ที่ ซีแอตเทิล จบการเงินทั้งตรี และโท ก็คิดว่ากลับมายังไงก็ต้อง ทำ�งานด้านการเงินแน่ๆ แต่กลับมาก็วิกฤตพอดี ทำ�อะไรไม่ได้
แต่พอได้เข้าไปดูไซต์งาน เห็นกระบวนการเริ่มต้นถมดิน ทำ�บ้าน ตัวอย่าง ทำ�สำ�นักงานขาย โอนนิติบุคคล ก็เริ่มชอบ ชอบพัฒนา ชอบเห็นความเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่ต้นจนเห็นความสวยงามถึงมือ ลูกค้า จนจบกระบวนการ อ๋อง: ผมจะแตกต่างจากพี่ชาย เนื่องจากพี่เขาเกิดไล่ๆ กัน เลยไปคู่กันตลอดตั้งแต่ประถมจนมหาวิทยาลัย แต่ผมอยู่ คนเดียวตลอด เข้าเตรียมอุดมฯ แล้วก็ต่อวิศวะฯ ธรรมศาสตร์ ซึ่งไม่ได้เลือกเพราะเกี่ยวกับธุรกิจที่บ้านเลย แค่มองว่ามันเท่ดี ตอนแรกเกือบจะได้ไปเรียนเมืองนอกเหมือนกัน แต่เจอวิกฤต ก่อน ทำ�ให้ไม่มีเงินไป ขนาดตอนเรียน 2 เทอมสุดท้ายยังต้อง กู้เงินมาจ่ายเลย พอเรียนจบก็ไม่ได้คิดว่าจะมาช่วยที่บ้าน เพราะ หนี้สินเยอะ ยังไงก็ไปไม่รอดแน่นอน ลำ�พังแค่หนี้นอกระบบที่เกิด จากการที่เพื่อนฝูงให้หยิบยืมก็ 100 ล้านเข้าไปแล้ว ส่วนหนี้ของ ธนาคารก็มีอีกเกือบ 600 ล้านบาท ดอกเบี้ยเดือนหนึ่งก็ 2 ล้าน ช่วยกันเริม่ ใหม่ อ๋อง: พอดีช่วงนั้น ปี 2541-2542 ภาวะวิกฤตมันเริ่ม คลายตัว เจ้าหนี้รายใหญ่คนหนึ่งของเรา ซึ่งเป็นเจ้าหนี้นอกระบบ ดูโปรไฟล์พวกเราแล้วเห็นว่าถ้าไม่เข้ามาช่วยเราก็คงไม่มีความ สามารถใช้หนี้คืนได้แน่ แต่ถ้าจะเริ่มใหม่ก็ต้องใส่เงินเข้ามาอีก ด้วยความที่เขาเชื่อเรื่องโชคชะตา เลยเอาดวงพวกเราไปให้ พระอาจารย์ที่นับถือดูว่าถ้าจะเริ่มธุรกิจใหม่กับเราจะสำ�เร็จไหม พระอาจารย์ก็ฟันธงว่าให้เริ่มต้นทำ�งานกับสามคนนี้ได้เลย เขาก็ เลยเชื่อ ให้เราสามคนทำ� ในบ้านเราก็คุยกันเองว่าลูกๆ ต้องช่วย เพราะธุรกิจจะ recover ได้ยาก ต้องมาบริหารแทนคุณพ่อ โล่ห์: พวกเราก็เลยแยกย้ายกันไปรับผิดชอบ ผมไปดูแลสวน เกษตรของพ่อที่กาญจนบุรี ส่วนน้องๆ ก็แยกกันไปกับหุ้นส่วน คนละกลุ่ม กรไปทำ�งานกับกลุ่มหนึ่ง อ๋องไปทำ�กับอีกกลุ่มหนึ่ง ต่างคนต่างไปทำ�งานใช้หนี้กันหมด แต่เจ้าหนี้รายนี้ถือว่ามีความ สำ�คัญ เพราะเขาเป็นคนวางแผนระเบียบวินัยทางการเงินให้เรา OPTIMISE | JANUARY 2016
37
CLIENT VALUES
ตอนแรกที่เรากลับมารวมกัน เราตกลงกันว่าทุกอย่าง ต้องเป็นมติที่ประชุมแบบ 3 คน เรื่องสำ�คัญทุกอย่าง ต้องได้เสียง 3 ใน 3 ไม่ใช่ 2 ใน 3 เคสสำ�คัญ ต้อง yes ทุกคน ไม่งั้นถ้ามีคนหนึ่ง no ผลลัพธ์ออก มาไม่ดี ก็จะทำ�ให้ไม่ดี แล้วเวลาทำ�งานเราก็จะเชื่อใจกัน ลงมติที่ประชุมแล้วก็ปล่อยให้เขาทำ�งานกันไปเลย
02
03
04
02 ภู ภ กร 03 ปรี ช า 04 กิ ต ิ พ งษ์
ให้ทำ�เท่าที่เราทำ�ไหว ไม่ต้องอาศัยเงินกู้ธนาคาร แล้วทำ�บัญชีแบบสั้น เคลียร์บัญชีให้เร็ว ไม่หนี ปัญหา กร: พ่อแม่เราเป็นคนมีความรับผิดชอบ ทำ�ให้ เราทิ้งไม่ได้ ประสบการณ์เราไม่มีหรอก เรารู้แต่ว่า เราต้องทำ� อนาคตเป็นยังไงค่อยไปว่ากันข้างหน้า เราก็ไม่คิดว่าเราจะเดินมาถึงทุกวันนี้ เพียงแต่ตอน นั้นมันจำ�เป็นต้องทำ� จะยังไงก็ได้เพื่อชำ�ระหนี้ โล่ห์: แม่เป็นคนซีเรียส เรื่องวินัยชำ�ระหนี้มาก พ่ออาจจะไม่เป็นอะไร เป็นนักธุรกิจ ไม่มีก็คุยกัน แต่ แม่ไม่ใช่ เป็นคนที่มีความรับผิดชอบสูง เขาทำ�ใจไม่ ได้ ตอนที่เกิดวิกฤต แม่สั่งพ่อว่าให้เอาแหวนเพชร นาฬิกาไปขายใช้หนี้ให้หมด ทุกวันนี้ผมเลยกล้าซื้อ นาฬิกา กล้าซื้อเพชร เพราะมันเอาไปใช้ชำ�ระหนี้ได้ แต่ตอนนั้นต้องขายทุกอย่าง เอาเงินไปซื้อรถถูกๆ ไว้ ขับทำ�งาน จากที่เคยมีกลุ่มหุ้นส่วน 6-7 กลุ่ม สุดท้าย ก็เหลือทำ�ด้วยกันจริงๆ แค่ 2 กลุ่ม ทีป่ รึกษา อ๋อง: เรามีที่ปรึกษาสองกลุ่มหลัก กลุ่มแรกคือ พ่อแม่ แรกๆ จะเข้ามาประชุมด้วย วางแผนให้ ถ้าจะ ทำ�เรื่องนี้ ให้ติดต่อกลุ่มนี้กลุ่มนั้น ส่วนกลุ่มที่สอง คือ หุ้นส่วนที่เป็นเพื่อนพ่อ พวกท่านมีประสบการณ์ อายุ 50 กว่าปีกันหมดแล้ว เข้ามาช่วยจัดระเบียบเรื่องการ เงิน งานก่อสร้างการขาย ก็มีวินัยมากขึ้นกว่าแต่ก่อน 38
OPTIMISE | JANUARY 2016
เราเองก็เริ่มพัฒนาตัวเอง ไปหาความรู้อบรม สัมมนา เริ่มเรียนปริญญาโทด้านอสังหาริมทรัพย์โดยตรง ส่วนพี่ชายก็ไปเรียนเพิ่มด้านเคหะการ หลังจากที่ เริ่มมีรายได้เชิงบวก ธุรกิจเริ่มมีกำ�ไร ก็เลยตาม พี่โล่ห์เข้ามาช่วย และรวมเป็นก้อนเดียว เป็น ‘เปี่ยมสุข กรุ๊ป’ และได้ทำ�งานร่วมกันมาตลอดตั้งแต่ ปี 2547 โดยพี่โล่ห์จะดูด้านบัญชี ส่วนผมกับพี่กรจะ ออกไปลุยดูไซต์งานกันสองคน หลักง่ายๆในการทำ�งาน โล่ห์: ตอนแรกที่เรากลับมารวมกัน เราตกลงกัน ว่าทุกอย่างต้องเป็นมติที่ประชุมแบบ 3 คน เรื่อง สำ�คัญทุกอย่างต้องได้เสียง 3 ใน 3 ไม่ใช่ 2 ใน 3 เคสสำ�คัญต้อง yes ทุกคน ไม่งั้นถ้ามีคนหนึ่ง no ผลลัพธ์ออกมาไม่ดี ก็จะทำ�ให้ไม่ดี แล้วเวลาทำ�งาน เราก็จะเชื่อใจกัน ลงมติที่ประชุมแล้วก็ปล่อยให้เขา ทำ�งานกันไปเลย อ๋อง: อีกอย่างคือเอาคำ�สอนจากพ่อแม่ และกลุ่มผู้ถือหุ้นมารวมกันนั่นคือ ‘ทำ�สิ่งที่ชำ�นาญ ตรวจงานให้รอบคอบ อย่าทะนงว่าประสบความ สำ�เร็จแล้วจะประสบความสำ�เร็จอีก ต้องปรับปรุง เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อย่าเวอร์ ไม่ลงทุนเกินตัว ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน’ ทุกวันนี้กระดาษที่พิมพ์ หลักการนี้ไว้ตั้งแต่ต้นก็ยังอยู่ในห้องทำ�งานตลอด แล้วก็พยายามแสวงหาความรู้เอา ตอนแรกไปอบรม
เป็นช็อตๆ ยังรู้ไม่รอบ ก็เลยตัดสินใจเรียนโท แล้วก็ วางแนวธุรกิจผสมจากสิ่งที่รู้มาเองกับสิ่งที่เรียน เริ่มมีโมเดลธุรกิจของตัวเอง ซึ่งสามารถแข่งขันได้ ช่วงระยะเวลาหนึ่ง อาจเป็นเพราะการแข่งขันในช่วง แรกๆ ยังไม่รุนแรงด้วย รายใหญ่เพิ่งล้ม ต่างคนก็ต่าง เริ่มลุกกันมา แต่มาเริ่มแข่งขันรุนแรงจริงๆ คือช่วงปี 50 เป็นต้นมา ซึ่งแต่ละรายเขาก็แข็งแกร่งกว่าเรา ใช้ประโยชน์จากจุดแข็ง อ๋อง:พื้นที่เป้าหมายของเราคือนนทบุรี เพราะมี พื้นที่น่าอยู่ ผมว่าเป็นจังหวัดที่ 2 ก็ว่าได้ที่เหมาะกับ การอยู่อาศัย ความที่เราเป็นคนนนท์มาแต่เกิด ทำ�ให้ เราเข้าใจพื้นที่เมืองนนท์ได้ดีกว่าคนทั่วไป อย่างคน เชียงใหม่มา คนหน้าใหม่มาในพื้นที่ ก็ไม่รู้ว่าพื้นที่ ตรงไหน คือพื้นที่น่าอยู่ของนนท์ ทีนี้ พอเรามีความ ชำ�นาญพื้นที่เราก็เริ่มพัฒนาโปรดักท์ต่อเนื่อง ก็เริ่ม เกิดความน่าเชื่อถือ เกิดจากคุณภาพที่เราทำ�ซํ้าๆ ใน พื้นที่เดิม คนท้องถิ่นเห็น ญาติคนนั้นซื้อบ้านเรา ยังไม่พังเลย เทียบกับเจ้าอื่น บ้านโทรมเร็ว แต่ถ้าพูด เรื่องแข่งกับแบรนด์ใหญ่แล้ว แค่นี้มันไม่พอ ตอน แบรนด์ใหญ่เข้ามาในพื้นที่ เราก็นั่งคิดกันว่า เราจะ หนีออก หรือเราจะปรับตัวเองสู้กับรายใหญ่ ถ้าเรา หนีออกไป เราก็ต้องหนีไปเรื่อยๆ แต่สุดท้าย เราก็ ตัดสินใจไม่หนี ปักหลักสู้ ก็เปลี่ยน business model มา 2-3 ครั้ง
รับมือยักษ์ใหญ่ อ๋อง: ตอนแรกๆพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟคมาก่อน คนอื่นยังไม่มา ก็ใช้โมเดลที่เท่าที่มีแข่ง ช่วงที่สอง แสนสิริมา แลนด์ แอนด์ เฮาส์มา พฤกษามา ทำ�ให้ ตลาดเราหายไป 60-70% เราเลยต้องเปลี่ยนโมเดล จากเดิมที่แค่สร้างบ้าน ก็เริ่มมาศึกษาจริงจังเกี่ยวกับ ลูกค้าและการตลาดว่าลูกค้าใช้ปัจจัยอะไรในการซื้อ บ้าน ถึงขนาดทำ�ทีเป็นลูกค้าขับรถไปวิเคราะห์คู่แข่ง แบบเชิงมิลลิเมตรเลย แต่ละหลังใช้พื้นที่เท่าไหร่ วัสดุอะไร คลับเฮาส์บริการยังไง เซลส์พูดจายังไง พอเห็นแล้วเรารู้เลยว่า เฮ้ย--ถ้าเราทำ�แบบเดิม เหนื่อยแน่ๆ จึงได้เปลี่ยน คุณภาพสินค้าบริการ และเอกสารที่ลูกค้ารับไป ทุกอย่างต้องเป็นอย่างมือ อาชีพ คอนเซ็ปต์โครงการเมื่อก่อนไม่มีก็เริ่มมี แต่ หลังจากนั้นมาอีก คู่แข่ง Top 10 มาครบ มาทุก โปรดักท์ เซกเมนต์ ราคา ทำ�ให้ช่องว่างการตลาด ไม่พอ ไม่มีช่องให้เสียบเลย เราก็ต้องแข่งโปรดักท์ เดียวกัน ทำ�ยังไง ก็ขับรถไปดูมันอีกรอบ อะไรคือสิ่ง ที่เราต้องปรับ เราได้เปลี่ยนโลโก้ รีแบรนดิ้ง ทำ�ทีมรี แบรนด์ขึ้นมาใหม่
กลยุทธ์ธรุ กิจ กร: เลือกดูที่ดินก่อน อ๋องสกรีนก่อน ว่าจะ เอาที่ดินแปลงนี้มั้ย ทำ�อะไรได้บ้าง ตัดสินใจร่วม กัน แล้วก็จะ assign ว่าใครไปทำ� โปรดักท์อะไร เมื่อก่อนทาวน์เฮาส์ เปี่ยมสุข ดีไซน์ไม่เหมือนใคร แน่นอน งานสถาปัตย์ภายนอกเราไม่เหมือนใคร มีทั้งแบบ ‘ทรอปิคัล’ ‘โมเดิร์น’ ‘ทัสคานี’ ไม่มีใครทำ� ในตลาด ไปเดินดูได้เลย ปัจจุบัน เทรนด์อะไรมา ก็จะนำ�มาปรับใช้ในเรื่องการตลาดเหมือนกัน อ๋อง: เรื่องการออกแบบ เราพยายามดูเทรนด์ Top 5 หรือ Top 10 เขาจะเป็นคนกำ�หนดเทรนด์ เช่นถ้าแสนสิริบอกว่า บ้านเทรนด์โมเดิร์นดี เขาก็โหมว่าเทรนด์นี้ดีในแมส เราก็ไม่ทำ�โดดจาก เทรนด์เท่าไหร่ เทรนด์คือโมเดิร์น เราก็จะทำ�โมเดิร์น เพียงแต่ถ้าเขาโมเดิร์นแบบ A เราก็จะโมเดิร์นแบบ B ให้ทีมสถาปนิกออกแบบให้ดีกว่าเขา เพราะเรา เป็นแบรนด์เล็ก ถ้าทำ�เท่าเขา เราก็แพ้ ต้องทำ�ให้ดี กว่าเขา โครงการแห่งความสำ�เร็จ อ๋อง: จะเรียกว่าโม้นิดๆ ก็ได้ เราทำ�มา 30 กว่า โครงการ ไม่มีโครงการไหน ไม่ประสบความสำ�เร็จ กำ�ไรอาจไม่ถึงตามเป้าหมาย แต่ขายหมดไม่เหลือ โครงการบ้านเปี่ยมสุข ติวานนท์ 56 เป็นจุดเปลี่ยน ที่พิสูจน์ว่าโมเดลธุรกิจใหม่ของเรามันได้ผล มันเวิร์ค
รูจ้ กั สามหนุม่ กุลไพศาลธรรม กิติพงษ์ จบการศึกษาบริหารธุรกิจ สาขาการ จัดการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ก่อนไปศึกษาต่อ ปริญญาโท ด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัย City University ในสหรัฐอเมริกา และต่อปริญญา โทอีกใบในสาขา Housing Development จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภูภกร หลังจบการศึกษาด้านการเงินจาก มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ก็เดินทางไปศึกษาปริญญาโท ด้าน Finance Management จาก City University ก่อนเดินทางกลับมาช่วยธุรกิจของครอบครัว ปรีชา หลังจบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ศึกษาปริญญาโทด้าน บริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จากมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์เช่นกัน ปัจจุบันกิติพงษ์ดูแลด้านการเงิน ขณะที่ภูภกร และปรีชา รับหน้าที่ดูแลโครงการใหม่ของเปี่ยมสุข ทั้งหมด
OPTIMISE | JANUARY 2016
39
CLIENT VALUES
เราสามคนอาจโชคดีที่ฟันฝ่ามาด้วยกัน ผ่านอะไรมาเยอะ ทําให้เรามีความซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ ตอนนั้นไม่มีเงิน มีแต่หนี้ มีอะไรก็ช่วยกันทํา ทุกคนมีความเข้าใจกันและกัน เสียสละ เราก็คุยกันเสมอว่า เปี่ยมสุขมีวันนี้ ก็เพราะครอบครัว ถ้าครอบครัวทะเลาะกันเมื่อไหร่ ก็มีปัญหากันหมด แข่งรายใหญ่ได้ ในพื้นที่เท่ากัน คู่แข่งเขาขาย 1.6 ล้าน เราขาย 2.2-2.3 ล้าน เราขายแพงกว่า แต่ด้วยความที่ดีไซน์เราแตกต่าง facilities ดีกว่า มัน ทำ�ให้เราขายหมดก่อนคู่แข่งอีก กร: ถ้าถามผม ขายหมดถือว่าประสบความ สำ�เร็จทั้งนั้น แต่ถ้าถามเรื่องความภูมิใจ เรื่องการ ออกแบบสถาปัตยกรรม ผมชอบโครงการติวานนท์ 22 เป็นทัสคานี ทาวน์เฮาส์ สวยดี คนอื่นรายละเอียด ไม่เท่าเรา ยิ่งไปดูในบ้าน บันได ผมใช้เหล็กอิตาลี ตัววงกบพีวีซีมีโค้ง งานเป็นก่อฉาบปูน โล่ห์: โครงการติวานนท์ 56 เป็นโครงการใหญ่ ที่ขายดี แข่งขันได้ แต่ส่วนตัวผมชอบโครงการ ติวานนท์ 22 เล็กแต่มีสไตล์ สไตล์นี้ไม่มีใครทำ� เป็น ทาวน์เฮาส์ ขนาดเพื่อนที่ทำ�ธุรกิจด้วยกันยังตาม มาชม เฮ้ย--ทำ�โครงการแบบนี้ในเมืองด้วย มันสวย แล้วมันก็เกิดแบบนี้ อีก 2-3 โครงการ อ๋อง: ต้องนึกว่าเดิมทีเราไม่มีสาธารณูปโภค มากมาย เป็นหมู่บ้านที่ถูกพัฒนาจาก local brand ผิดกับรายใหญ่ๆ ที่แค่ทางเข้าก็อลังการมากแล้ว คน ที่เคยรู้จักเราจะเห็นเลยว่าเปี่ยมสุขเปลี่ยนไป นี่คือ ภาพที่ได้ ตอนที่เราเปลี่ยนจากสิ่งหนึ่ง ไปอีกสิ่งหนึ่ง ไม่ใช่แค่ตัวเราบอกนะ คนรอบข้างก็พูดกันหลายคน ทั้งหุ้นส่วน สถาบันการเงิน ทีมงาน ว่าเราสร้างจุด เปลี่ยนได้ นำ�องค์กรแบบครอบครัว โล่ห์: เรื่องพนักงาน เราดูแลกันสไตล์พี่น้อง เราเปิดโอกาสให้เขาร้องเรียนได้ในทุกเรื่อง มีอะไร ก็จะถึงตัวผู้บริหารได้ทุกคนพยายามไม่ให้เกิดความ เหลื่อมลํ้า ถ้าเรายอมทำ�ให้กับคนหนึ่งแล้ว คนอื่น ก็ได้สิทธินี้เดียวกัน ถ้าใครได้อะไร ก็ได้ทุกคน องค์กรเราปรับตัวบ่อย ตั้งแต่โบนัส สวัสดิการ ปรับค่อนข้างถี่ แต่ละปี จะให้พนักงานรายงาน ปัญหาโดยตรงกับผู้บริหาร อยากรู้ว่าเขาอยู่กันยังไง เช่นอยากจะมีสวัสดิการแบบบริษัทมหาชน กองทุน สำ�รองเลี้ยงชีพ เรื่องนี้พนักงานทำ�มา ปีแรกไม่ผ่าน ปีที่สองก็มีลิสต์มาอีก ก็ทำ�ให้ ทุกวันนี้เปี่ยมสุขเรา เลยมีกองทุนคล้ายกับสำ�รองเลี้ยงชีพเหมือนบริษัท 40
OPTIMISE | JANUARY 2016
ครอบครัวใกล้ชดิ โล่ห์: ลูกๆ พวกเราเรียนที่เดียวกันหมด ก็จะ จัดเวรขับรถไปส่งลูกใช้รถคันเดียว 3 บ้าน 6 คนเด็กๆ ก็เจอกันทุกวัน สนิทกันอยู่แล้ว แล้วเราก็มีไลน์กลุ่ม ครอบครัวเปี่ยมสุขไว้คุยกันด้วย
ไร้ปญ ั หาทำ�ธุรกิจกับพีน่ อ้ ง โล่ห์: เราแคร์เรื่องความรู้สึกกันและกัน บางครั้ง ได้ข้อตกลงแบบ 2 ใน 3 เราก็รู้สึกว่า เฮ้ย---เขาไม่เห็น ด้วย เขาคงจะ upset ก็ต้องจะมีวิธีการปลอบโยนกัน และกัน ให้รู้สึกว่ามันเป็นความสำ�เร็จของทั้งสามคน อ๋อง: เราสามคนอาจโชคดีที่ฟันฝ่ามาด้วยกัน ผ่านอะไรมาเยอะ ทำ�ให้เรามีความซื่อสัตย์ มีความ รับผิดชอบ ตอนนั้นไม่มีเงิน มีแต่หนี้ มีอะไรก็ช่วย กันทำ� ทุกคนมีความเข้าใจกันและกัน เสียสละ เรา มหาชน ซึ่งจริงๆ เป็นสิ่งที่ทำ�ไม่ได้หรอกสำ�หรับ ก็คุยกันเสมอว่า เปี่ยมสุขมีวันนี้ ก็เพราะครอบครัว บริษัทเล็กๆ มีพนักงานแค่ 70 คนแบบนี้ เราจัดให้ ถ้าครอบครัวทะเลาะกันเมื่อไหร่ ก็มีปัญหากันหมด หมด คลอดลูก เลี้ยงบุตร ถ้ามันเป็นปัญหาที่เขาลิสต์ บางทีเห็นครอบครัวอื่นตามหน้าหนังสือพิมพ์เขาเข้า ขึ้นมา ก็ทำ�ให้ กันยาก มีปัญหากงสี แต่เราไม่ค่อยทะเลาะกันเลย กร: เราให้ความสำ�คัญกับสิทธิ เรื่องของ พวกเรารู้ว่าแต่ละคนมีครอบครัว มีภรรยา มีลูก พนักงาน บางทีมองว่าเล็กน้อย แต่ถ้าปล่อยไว้นาน มีบุคคลที่สามเข้ามาเยอะ อยู่บ้านรั้วเดียวกันก็วุ่นวาย ก็เป็นเรื่องใหญ่ได้ ก็มาแก้เลยดีกว่า หมด ฉะนั้น ถ้าพี่น้องสามคนไม่แข็ง ก็จะแย่ โล่ห์: ตั้งแต่เริ่มทำ�ธุรกิจ มีครอบครัวแรกๆ ไลฟ์สไตล์ในการพักผ่อน จะคุยเลยว่า เราจะทำ�ธุรกิจกันสามคน ตัดสินใจกัน โล่ห์: ผมจะเน้น 2 เรื่องคือการประกันชีวิต สามคนเท่านั้น ภรรยาที่บ้านไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อ กับเที่ยว เรื่องประกันบังคับให้เราเก็บเงิน มีวินัยใน ไม่ให้มีบุคคลที่สาม งานเราสามคนไม่เหมือนกัน การออมเงินไปในตัว ส่วนการเที่ยว บางคนมองว่า ความรับผิดชอบไม่เหมือนกัน แต่เราให้ความสำ�คัญ ผมใช้เงินเยอะ แต่ผมเป็นคนชอบถ่ายภาพ ชอบ ทุกคนเท่าๆ กัน เราเป็นหนึ่งเดียวกัน เราเหมือนกัน เปิดหูเปิดตา ผมก็สะสมไมล์เป็นการหลอกตัวเองให้ ไม่มีการเหลื่อมลํ้า ไม่มีการทำ�น้อยกว่า มากกว่า ไปเที่ยวบ่อยๆ เป็นวิธีเก็บเกี่ยวประสบการณ์พร้อม เพราะทำ�คนละแบบ เปรียบเทียบกันไม่ได้ กับครอบครัว เช่นอยากรู้เรื่องเครื่องบิน ก็เสิร์ชดู สายการบินเลยว่าสายการบินไหนบินเครื่องอะไร อนาคตของเปีย่ มสุข สายการบินไหนเอาเครื่องใหม่มาบิน เช่น ANA เป็น อ๋อง: ตอนนี้เรายังไม่มีแนวคิดเข้าจดทะเบียน สายการบินแรกที่ได้รับเครื่อง 787 Dreamliner ก็ไป ในตลาดหลักทรัพย์ แต่ยังตั้งเป้าเติบโตเหมือนเดิม ญี่ปุ่น ไปลองนั่งดู แล้วเวลาจะไปเที่ยวไหน ผมจะ โดยพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ในอีก 5 ปีข้างหน้า ซื้อหนังสือให้ลูกอ่านให้เขาศึกษาว่าสถานที่ๆ จะไป จะมีโปรดักท์หลากหลายขึ้น เช่นปีที่ผ่านมาเราเปิด สำ�คัญยังไง หมุดทอง Golden Gate อยู่ตรงไหน ขายโปรดักท์จับตลาดระดับสูงชื่อ The Master เวลาเที่ยวก็เป็นโอกาสให้ใกล้ชิดกับลูกมากขึ้นด้วย ปีหน้าเราจะเปิดแบรนด์ตัวใหม่ S Gate เป็น ได้เห็นพฤติกรรมเขาตลอด 24 ชม. ได้มีโอกาสได้ fighting brand ในตลาดล่าง เป็นการกระจายตัว สอนลูก ทำ�ให้การเที่ยวเป็นเวลาที่มีคุณค่า แนวราบให้ครอบคลุมทุกระดับสินค้า อนาคต กร: ผมก็พาครอบครัวไปเที่ยวแบบพี่ แต่ไม่หนัก เราอาจจะมีคอนโดมีเนียมเข้ามาด้วย ส่วนพื้นที่ เท่าเขา ส่วนใหญ่จะไปช่วงปิดเทอม ไปในประเทศสัก เป้าหมาย ตอนนี้เราขยายพื้นที่เข้าไปทำ�โครงการใน ทริป 2 ทริป ต่างประเทศสักทริป จะไปที่ไหนก็ดูอีกที กรุงเทพฯ และปริมณฑลบ้างแล้วเช่นที่สมุทรปราการ แปลกๆ ใหม่ๆ อีกเรื่องก็ชอบออกกำ�ลังกาย เราต้องการพิสูจน์ว่าโมเดลธุรกิจของเราแข็งแกร่ง เล่นกอล์ฟ วันที่รายใหญ่เข้ามา เราก็สู้ได้ แล้วทำ�ไม เราจะออก อ๋อง: จริงๆ คล้ายๆ กัน มีเที่ยว ทริป ผมจะเยอะ ไปสู้พื้นที่อื่นไม่ได้ เราตั้งเป้าประมาณ 1 พันล้าน กว่าคนกลาง น้อยกว่าคนโต แล้วก็เล่นกอล์ฟ แต่ไป แต่ยังไม่ถึง ได้ประมาณ 700 ล้าน โตมาปีละ เล่นกับก๊วนเพื่อนมากกว่า คนละก๊วนกัน 20-30% จริงๆ อยากโตสัก 50% ภายใน 5 ปี โล่ห์: เวลาไปเที่ยวต่างประเทศ หรือให้พนักงาน 3 พันล้าน ซึ่งเราเชื่อว่า เวลาวางโปรดักท์ใหม่จะทำ�ให้ ไปต่างประเทศ เราก็ต้องแยกเที่ยวบินเพื่อความ ไปถึง 3 พันล้านได้ ปลอดภัย ไม่ใช่แค่ไปลำ�เดียวกันหมด มันก็ต้องมีคน คอยดูแลคนข้างหลัง
รูท้ นั คูแ่ ข่ง อ๋อง: ตอนนี้เราร่วมกับทีมของบริษัทใหญ่ ที่ทำ�การตลาดให้บริษัทอสังหาฯ ระดับ Top 5 ของ ประเทศเพื่อทำ� Market Fit สมัยก่อนไม่มี เราอยาก ได้โปรดักท์ก็ทำ�เลย แต่พอได้ฟังคนเหล่านี้พรีเซนต์ ก็ทำ�ให้เห็นว่า เราสามารถทำ�โปรดักท์ที่ดีกว่าเดิม ได้ ทั้งๆ ที่เป็นที่ดินแปลงเดิม โจทย์เดียวกัน ทุน ก่อสร้างเท่ากัน ตอนนี้เราให้ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ เราทำ�งานแข่งกับเขาหมดเลย ทุนก่อสร้างเท่านี้ ให้ไปให้คิดโปรดักท์มาแข่งกับเขา คนในพอเห็น คนนอกเก่งกว่าก็ต้องพยายามพัฒนา ทีมงานเรา ก็ได้ความรู้ ต่อยอดไปเรื่อย เราก็ได้โปรดักท์ที่ดีขึ้น ได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น ที่ผ่านมา สิ่งที่คุณทำ�อาจจะ สำ�เร็จ แต่คุณไม่ได้เก่งสุด มีวิธีอื่นเหมือนกัน แต่คุณไม่รู้ เพราะคุณไม่รู้ด้วยซํ้าว่าคุณไม่รู้อะไร ยกตัวอย่าง ซื้อที่ตารางเมตรละ 2 หมื่นบาท มาขายเป็นคอนโดตารางเมตรละ 3 แสนบาท ถ้าคนเก่าคุณไม่กล้าทำ�แบบนี้หรอก แต่จริงๆ แล้ว มันทำ�ได้ แต่คุณไม่รู้ว่ามันทำ�ให้ดีขึ้นได้ เคล็ดลับกงสี อ๋อง: จริงๆ เรื่องกงสี หลายๆ ครอบครัว มีโจทย์ยากที่เราไม่เจอ คือพ่อแม่ไม่เชื่อว่าลูกทำ�ได้ และอยากให้ทำ�แบบเดิมๆ อยากแนะนำ�ให้คน รุ่นใหม่ยึดหลักว่า หนึ่ง ต้องเข้าใจพ่อแม่ก่อน จะรบให้ชนะ ต้องเข้าใจอีกฝ่าย และทำ�ให้เขาเชื่อ ว่าคุณทำ�ได้ พอเขาเชื่อคุณแล้ว ก็ต้องตั้งใจทำ�งาน ให้เต็มที่ สอง ในกงสี การทำ�งานต้องมีความรักเป็น พื้นฐาน พี่น้องข้างในเกลียดกัน ก็ไปไม่ได้แล้ว ทำ�ถูกก็กลายเป็นผิด รักอย่างเดียวไม่พอ ต้อง เข้าใจเขาด้วย บางที การทำ�งานในกลุ่มญาติด้วย กัน มันไม่มีความแฟร์ 100% ฉะนั้น บางสิ่งคุณ ต้องเสียสละ สาม นักธุรกิจรุ่นใหม่ อสังหาฯ ต้องมีความรู้ ถ้าคุณมาแบบไม่รู้อะไร จะเหนื่อย มาก เพราะแข่งขันสูงกว่าในอดีตมาก ปัญหา อุปสรรคมีอยู่แล้ว โจทย์ยากกว่าเมื่อก่อน ปรึกษา คนอื่นเยอะๆ เช่นสถาบันการเงิน ช้าบ้าง เร็วบ้าง ยังไงก็เดินได้ พอเดินได้ ก็สร้างประสบการณ์ได้ และต้องขยันเรียนรู้นะ ไม่ใช่ทำ�ได้แล้วเหลิง ยิ่งอสังหาฯ มันไม่ได้ มันไม่ใช่ขายด้วยตัวเองได้ มันต้องหาข้อมูล คุณลองออกโปรดักท์เชยๆ สิ รับรองงานเข้า ต้องพัฒนาตัวเองตลอดเวลา โล่ห์: จริงๆ ผมว่า เราทำ�งานด้วยความซื่อสัตย์ ขยัน อดทน ใช้เหตุผล เอาใจเขามาใส่ใจเรา เวลา ความเห็นไม่ตรงกัน ถ้าใช้เหตุผล จะรู้ว่าไม่มีอะไร สู้เหตุผลได้หรอก
OPTIMISE | JANUARY 2016
41
BEYOND BOUNDARIES 01
01 สีสันยามคํ่าคืนของงาน สถาปัตยกรรมสุดลํ้า Dongdaemun Design Plaza ศูนย์กลางการออกแบบ ของโซล
กรุงโซลได้ผนวกเอาการออกแบบลํา้ สมัย เข้ากับเทคนิค แสงสีเสียงทีก่ า้ วหน้าทีส่ ดุ ในโลก เพือ่ ยกศิลปะ แฟชัน่ และดนตรีให้กา้ วหน้าขึน้ ไปอีกขัน้ หนึง่
Electric Seoul เมืองหลวงของเกาหลีใต้ไม่ได้ใช้วิถีเดิมๆ ในการเชิดชู อัตลักษณ์และวัฒนธรรมของตน ตรงกันข้ามกรุงโซล ทุ่มให้กับเทคโนโลยีสามมิติ พื้นที่การแสดงลํ้าสมัย และจอ LED ลอยนํ้าขนาดยักษ์เพื่อเปลี่ยนตัวเองให้กลาย เป็นเมืองหลวงแห่งอุตสาหกรรมบันเทิงของเอเชีย
42
OPTIMISE | JANUARY 2016
ทุกวันนี้ ใครก็ไม่อาจพูดได้ว่าเมืองหลวงของ เกาหลีใต้เป็นเมืองที่จมอยู่กับอดีต กว่า 600 ปีมา แล้วที่โซลเป็นจุดศูนย์กลางทางการเมือง การค้า และ วัฒนธรรมของคาบสมุทรเกาหลี ประวัติศาสตร์ของ เมืองเก่าแก่แห่งนี้ยังคงโลดแล่นอยู่ภายในรั้ววัง วัดวา และพิพิธภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน แทบทุกๆ หนึ่งวังเก่าของเจ้าผู้ปกครองในอดีต จะปรากฏว่ามี ตึกโครงเหล็กกับกระจกสมัยใหม่ล้อมรอบอีกเป็นร้อย ภาพผู้มาสักการะศาลขงจื๊อ ถูกแทนที่ด้วยนักท่องเที่ยว ผู้พิสมัยแบรนด์หรู ในขณะที่แสงของโคมน้อยหน้า วัดพุทธ ก็ดูด้อยรัศมีไปภายใต้แสงของหลอด LED ที่เจิดจ้าอยู่ตลอดช่วงถนน และเส้นขอบฟ้าของ มหานครแห่งนี้ ประชากรกว่าสิบล้านชีวิตในกรุงโซลล้วนมีคาถา ประจำ�ตัวอยู่บทหนึ่ง คือ ‘bali bali’ หรือ รีบ รีบ ซึ่ง วัฒนธรรมเร่งด่วนนี้เองคือสิ่งที่พลิกโฉมหน้ากรุงโซล จากเมืองอันทรุดโทรมเพราะสงคราม ให้กลายเป็น
มหานครที่ทันสมัย และมีเทคโนโลยีลํ้าหน้าที่สุดแห่ง หนึ่งของโลก ชีวิต ณ กรุงโซลในศตวรรษที่ 21 นั้นแสดงออก ได้ชัดที่สุดด้วยโครงข่ายขนส่งสาธารณะที่ขยายตัว อย่างต่อเนื่อง อินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ที่รวดเร็ว ตลอดจนศูนย์แสดงศิลปวัฒนธรรม และความบันเทิง ที่ก้าวหน้าที่สุด โซลเป็นเมืองที่เปี่ยมด้วย ‘ประจุไฟ’ อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะมาจากสาธารณูปโภค หรือ พลังงานของคนในเมืองเองก็ตาม ตอนนี้เป็นช่วงเวลาอันเหมาะอย่างยิ่งแก่การไป เยี่ยมเยือนเกาหลีใต้ เพราะนักท่องเที่ยวจะสามารถ สัมผัสความเป็นหนึ่งทางเทคโนโลยีของประเทศนี้ได้ ด้วยตนเอง แหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ทั่วกรุงโซลได้ผนวก เอาการออกแบบลํ้าสมัย เข้ากับเทคนิคแสงสีเสียงที่ ก้าวหน้าที่สุดในโลก เพื่อยกศิลปะ แฟชั่น และดนตรี ให้ก้าวหน้าขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง การผจญภัยในสวรรค์เทคโนโลยีแห่งนี้จะเริ่มขึ้น ทันทีที่แตะท่าอากาศยานนานาชาติอินชอน และขึ้น รถไฟฟ้าสายด่วนเข้าสู่ใจกลางโซล หลังจากนั้น นักท่องเที่ยวอาจใช้เวลาสักวันหนึ่งเพื่อเยี่ยมชมย่าน ที่ทันสมัยที่สุดของเมือง โดยเริ่มจากเดินชมการแสดง งานออกแบบที่จัดขึ้นภายในโถงนิทรรศการลํ้ายุค ก่อนจบวันด้วยการเดินเล่นชมพระอาทิตย์ตกดินที่ เกาะเทียมสุดตระการตาทั้งสามเกาะบริเวณริมแม่นํ้า ระหว่างวันอาจเข้าไปเสพ K-pop ให้หนำ�ใจ ณ แหล่ง ท่องเที่ยวที่จะทำ�ให้ผู้มาเยี่ยมชมรู้สึกว่าได้เข้าไปเป็น ส่วนหนึ่งในคอนเสิร์ตของศิลปินในดวงใจจริงๆ
เทคโนโลยีผสานการท่องเที่ยว
มอรีน โอคราวลีย์ ผู้อำ�นวยการฝ่ายบริหาร แห่งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวกรุงโซล กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นหัวใจสำ�คัญของภาพลักษณ์กรุงโซล “คนรู้จักประเทศเกาหลีใต้เยอะ โดยเฉพาะนัก ท่องเที่ยวจากประเทศในแถบเอเชีย พวกเขาจะรู้สึกว่า เกาหลีใต้หมายถึงความโมเดิร์น ความนำ�เทรนด์ และ เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างมาก” แต่ก่อนจะออกท่องมหานครอันเพียบพร้อมไป ด้วยเทคโนโลยีนี้ มีเคล็ดลับหลายประการที่จะทำ�ให้ ประสบการณ์ท่องกรุงโซลประทับใจไม่มีวันลืม อย่างแรก ควรซื้อบัตร T-money ซึ่งหาซื้อได้ที่ตู้ ขายตั๋วที่ชานชาลารถไฟของสนามบิน เพราะบัตรนี้ สามารถใช้จ่ายค่าขนส่งสาธารณะในเมืองได้เกือบ ทุกประเภท ตั้งแต่รถไฟใต้ดิน รถประจำ�ทาง ไปจนถึง แท็กซี่ นอกจากนี้ บัตรนี้ยังสามารถใช้ซื้อขนมขบเคี้ยว
ที่ร้านสะดวกซื้อหลายๆ สาขาได้ โดยเงินในบัตร สามารถเติมได้เรื่อยๆ ตลอดทริป และสามารถใช้ใน ทริปต่อไปได้อีกด้วย ระหว่างอยู่โซล ไม่ต้องกังวลว่าจะขาดการติดต่อ กับเพื่อนฝูงญาติพี่น้อง เพราะโซลมีจุดปล่อยสัญญาณ อินเทอร์เน็ตฟรีจำ�นวนมาก รวมถึงคาเฟ่แทบทุกแห่ง ก็มีบริการ Wi-Fi ให้ใช้ฟรี แต่ถ้าอยากมีอินเทอร์เน็ต ติดตัวให้อุ่นใจ ก็เพียงซื้อซิมจาก Olleh หรือ SK Telcom ที่สนามบินอินชอนแล้วก็เตรียมสัมผัสกับ ระบบ 4G ที่เร็วที่สุดแห่งหนึ่งในโลกได้ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเหล่านี้จะยิ่งมีประโยชน์ อย่างมาก เมื่อประกอบเข้ากับการดาวน์โหลด แอพพลิเคชั่นบางตัวที่ออกแบบมาเพื่อช่วยสร้างความ สบายให้กับการท่องเที่ยวในโซล เช่นองค์การส่งเสริม การท่องเที่ยวเกาหลีใต้ได้สร้าง Visit Korea App ขึ้นมาเพื่อเป็นไกด์ให้แก่ผู้มาเยือน โดยเน้นแหล่ง ท่องเที่ยวยอดนิยม และข้อมูลที่พักและร้านอาหาร นอกจากนั้น เนื่องจากระบบขนส่งมวลชนในกรุงโซล ค่อนข้างซับซ้อนด้วยเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินกว่า 10 สาย และรถประจำ�ทางอีกนับไม่ถ้วน แอพพลิเคชั่น อย่าง Seoul Bus และ Jihachul ซึ่งมีทั้งแผนที่ และข้อมูลตารางเดินรถ จะช่วยลดปัญหาในเรื่องการ เดินทางได้มาก อีกอย่างหนึ่ง ด้วยเหตุที่ชาวโซลอาจ ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษได้ทุกคน และยิ่งไม่พูดภาษา ไทย แอพพลิเคชั่นแปลภาษาไทย-เกาหลี ก็อาจเป็น ประโยชน์เหมือนกัน แล้วก็อย่าลืมพกไม้เซลฟี่ไว้ ถ่ายภาพอัพโหลดขึ้นสู่โซเชียล มีเดียด้วย เมื่อรู้ข้อมูลพื้นฐานครบถ้วนแล้ว ก็คว้าโทรศัพท์ สมาร์ทโฟนแล้วมุ่งหน้าสู่กรุงโซลได้เลย
Dongdaemun Design Plaza
ศูนย์การค้าครบวงจรรูปทรงลํ้ายุค ณ ใจกลาง ย่านสำ�คัญของโซลที่ได้ปฏิวัติวงการการออกแบบ ของเกาหลีใต้มาแล้ว แม้ย่านทงแดมุนจะเป็นแหล่ง อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มระดับประเทศมานานแล้ว แต่ก่อนหน้านี้ ย่านนี้ยังไร้ระเบียบและมีแต่โรงงาน สกปรกและแผงขายกระเป๋าทำ�ปลอม ที่ใจกลางย่าน มีสนามเบสบอลซึ่งทรุดโทรมจนไม่เหลือเค้าความ รุ่งเรืองในอดีต จวบจนปี 2013 ย่านทงแดมุนจึงได้รับ การพลิกโฉมให้กลายเป็นศูนย์กลางของดีไซเนอร์ และ นักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ โดยมีจุดเริ่มที่การเปิด Dongdaemun Design Plaza (DDP) นั่นเอง คิม แฮ ซู จากมูลนิธิทงแดมุนดีไซน์ ซึ่งเป็น หน่วยงานบริหารของ DDP กล่าวว่า อาคารนี้ได้ OPTIMISE | JANUARY 2016
43
BEYOND BOUNDARIES
ด้วยราคาเพียง 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ นักท่องเทีย่ วสามารถสร้าง มิวสิควิดโี อระดับมืออาชีพ และก้าวขึน้ เป็นดาวดวง ใหม่ในวงการเค-ป็อบได้ ด้วยแพ็คเกจทีค่ รอบคลุม ตัง้ แต่การแต่งหน้า ทำ�ผม เรียนเต้น เรียนร้อง ไปจนถึงมีชดุ ให้เช่าด้วย 03
สัมผัสคลื่นวัฒนธรรมเกาหลี
02
เมื่อราวทศวรรษที่แล้ว กระแสความนิยม เกาหลีใต้ถาโถมไปทั่วเอเชียตะวันออกและเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ คลื่นวัฒนธรรมนี้ได้ช่วยแนะนำ�ให้ ผู้ฟังได้รู้จักวัฒนธรรมร่วมสมัยของเกาหลี และทำ�ให้ ชื่อดารานักร้องเกาหลีเป็นจำ�นวนมาก กลายเป็น คำ�สามัญประจำ�บ้านของคนในต่างประเทศ ผู้สังเกตการณ์ธุรกิจบันเทิงบางคนเชื่อว่า ความสำ�เร็จในการส่งออกวัฒนธรรมนี้เอง ที่เป็น แรงผลักดันให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเกาหลีใต้ เติบโตอย่างมาก “สื่อโฆษณาใหญ่ที่สุดของโซลก็คือดนตรี เค-ป๊อบ และซีรีส์เกาหลี มันช่วยทำ�ให้โซลดูเซ็กซี่ น่าค้นหา และพาให้นักท่องเที่ยวเข้ามาอยู่เรื่อยๆ” เบอร์นี่ โช ประธาน DFBS Kollective หน่วยงาน ส่งเสริมศิลปะสัญชาติเกาหลีใต้กล่าว นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติหลายคนมาเกาหลีใต้ เพื่อเยี่ยมเยือนฉากถ่ายทำ�ของซีรีส์เรื่องโปรด ขณะที่ อีกหลายคนมาเพื่อดูคอนเสิร์ตศิลปินในดวงใจ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทุกคนอาจไม่โชคดีได้ตั๋วดั่ง ใจ แหล่งท่องเที่ยวใหม่ 3 แห่งในกรุงโซล จึงมีขึ้นเพื่อ ช่วยให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสคลื่นแห่งวงการบันเทิง เกาหลีใต้ ผ่านเทคโนโลยีแสงสีเสียงล่าสุดของประเทศ
04
05
02 การแสดงโฮโลแกรมของ Psy ที่ K-Live ที่เสมือนเล่น คอนเสิร์ตจริงให้แฟนๆ ได้ชม กันทุกวัน 03 ฉากซีรีส์เรื่องดังในสตูดิโอ MBC Studio 04 เกาะลอยน้ำ� Som Sevit ปล่อยสีสันเรืองรองริมแม่นำ้ �ฮัน ในยามพลบค่ำ� 05 ด้วยเทคโนโลยีถ่ายภาพดิจิทัล ยุคใหม่ ทำ�ให้แฟนเพลง สามารถยืนถ่ายรูปอย่างใกล้ชิด กับวง K-Pop ระดับโลกอย่าง Big Bang ได้อย่างง่ายดาย
44
OPTIMISE | JANUARY 2016
พลิกโฉมวงการแฟชั่นเกาหลีใต้ พร้อมกับได้คืนชีวิตให้กับ เศรษฐกิจในท้องถิ่น “DDP ช่วยทำ�ให้ย่านกลับมาคึกคักอีกครั้ง” คิมอธิบายพร้อม เสริมว่าตั้งแต่ศูนย์การค้าแห่งนี้เปิดทำ�การ ดีไซเนอร์จ�ำ นวนมาก ก็เข้ามาเปิดร้านของตัวเองในห้างสรรพสินค้าทั่วย่าน รูปร่างหน้าตาของ DDP นั้นไม่มีใครเหมือน และไม่เหมือน ใครเลยทั้งในเกาหลีใต้ หรือกระทั่งในโลก โดยมันเป็นผลงานการ ออกแบบของ Saha Hadid สถาปนิกชื่อดังชาวอังกฤษเชื้อสาย อิรัก อาคารหลักทั้งสามของ DDP หน้าตาเหมือนยานอวกาศของ เอเลียน ซึ่งมีผิวด้านนอกบุด้วยแผ่นอลูมิเนียมกว่า 45,000 แผ่น ในยามคํ่าคืน ไฟสปอตไลท์ของสนามกีฬาเดิมซึ่งติดตั้งหลอด LED ใหม่ จะส่องแสงลงมายังสวนประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ทงแดมุนที่อยู่โดยรอบ ในขณะที่แปลงดอกไม้ LED ก็จะสว่างไสว ขึ้นสร้างสีสันให้พื้นที่ งานแสดงศิลปะและแฟชั่นนั้นไม่เคยขาดจากพื้นที่รอบ DDP โดยแต่ละงานจะจัดแสดงอยู่เป็นเวลา 2-3 เดือน ดังนั้น ควรเช็ค
ล่วงหน้าว่าอะไรกำ�ลังจัดแสดงในช่วงที่ไป พื้นที่เหล่านี้ไม่เหมือน หอศิลป์หรือแกลเลอรีทั่วไป เพราะงานนิทรรศการอาจจัดขึ้น ที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะนอกหรือในอาคาร หรือกระทั่งตามผนังโค้งวน ของอาคาร งานที่เป็นสัญลักษณ์ส�ำ คัญที่สุดของ DDP คงเป็นอะไรไม่ ได้นอกจาก Seoul Fashion Week ที่จัดขึ้นปีละสองครั้งในช่วง เดือนมีนาคม และตุลาคม ซึ่งดีไซเนอร์เกาหลีใต้ทั้งหน้าเก่าหน้า ใหม่ จะมารวมกันเพื่อแสดงผลงานล่าสุด โดยก่อนจะย้ายมา จัดถาวรที่ DDP นั้น โซล แฟชั่น วีค ไม่มีสถานที่จัดงานตายตัว จึงต้องย้ายไปจัดที่พื้นที่ต่างๆ อยู่หลายปี สำ�หรับดีไซเนอร์แล้ว การที่สามารถใช้พื้นที่ ณ ใจกลางทงแดมุนเป็นพื้นที่จัดงานได้ ถาวรนั้น ทำ�ให้การจัดแฟชั่น วีคพัฒนาไปดีขึ้นอีกมาก ฮวาง แจ กึม ดีไซเนอร์อายุ 38 ปีเห็นว่า “พอมีสถานที่ประจำ� แล้ว ความเป็นไปได้มันเยอะกว่าเดิม เพราะคนเข้าถึงได้ง่าย มันทำ�ให้แฟชั่น วีคกลายเป็นงานที่เปิดสำ�หรับทุกคน ไม่ใช่งาน เฉพาะสำ�หรับคนในวงการ”
SM Town
เมื่อก้าวเข้าสู่อาคาร 6 ชั้นของ SM Town ซึ่งตั้ง อยู่ใกล้กับศูนย์การค้า Coex Mall เพลงของ Girls’ Generation Exo หรือวงดนตรีอื่นๆ ในสังกัด S.M. Entertainment ก็จะกระหึ่มก้องโสตประสาททันที นักท่องเที่ยวจะได้พบห้องสมุดเพลงดิจิทัลคาเฟ่ มิวสิควิดีโอ และร้านขายของที่ระลึกยอดนิยมอย่าง ปลอกหมอนพิมพ์ลายบอย แบนด์ แถมยังสามารถ ชมเทปบันทึกคอนเสิร์ตของศิลปินอันดับต้นๆ ของค่าย อย่าง Super Junior ฉายบนจอพาโนรามา เต็มอิ่ม 2 ชั่วโมงได้ทุกวันที่โรงละครของ SM ซึ่งแทบจะดีไม่ แพ้การดูคอนเสิร์ตจริงๆ นอกจากนี้ ด้วยราคาเพียง 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ นักท่องเที่ยวยังสามารถสร้าง มิวสิควิดีโอระดับมืออาชีพ และก้าวขึ้นเป็นดาวดวง ใหม่ในวงการเค-ป็อบได้ด้วยแพ็คเกจที่ครอบคลุม ตั้งแต่การแต่งหน้า ทำ�ผม เรียนเต้น เรียนร้อง ไปจนถึง ชุดให้เช่า
K-Live
แม้ Psy จะไม่ได้ออกทัวร์คอนเสิร์ตมากนักใน ช่วงหลัง แต่ภาพโฮโลแกรมของเขาก็ยังร้อง และเต้น ท่าควบม้าอันเป็นเอกลักษณ์ของเพลง Gangnam Style อยู่บนเวทีของเค-ไลฟ์ ที่ตั้งอยู่บนชั้น 8 ของห้าง สรรพสินค้า Lotte Fitin ในย่านทงแดมุน
ในระหว่างที่รอเข้าชมคอนเสิร์ตโฮโลแกรมที่ล็อบบี้ นักท่องเที่ยวอาจเต้นตามภาพศิลปินบนจอ โดยขยับ ตามแผ่นเหยียบบนพื้น (เหมือนแผ่นเต้นจากเกม Dance Dance Revolution) ซึ่งจะทำ�ให้ลีลาการเต้น ถูกฉายขึ้นบนจอใหญ่เคียงข้างศิลปิน แต่ถ้าอยากเป็น ส่วนหนึ่งของคอนเสิร์ตโฮโลแกรม ภายในฮอลล์จัด แสดงจะมีบูทซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถถ่ายรูปหน้าตรง ของตัวเอง เพื่อให้ถูกนำ�ไปฉายซ้อนทับใบหน้าหนึ่งใน บรรดาแดนเซอร์แบ็คอัพของ Psy ได้ด้วย
MBC Studio
สถานีโทรทัศน์ MBC ของเกาหลีใต้ ได้สร้างความ สำ�เร็จในหมู่ผู้ชมนานาชาติมาแล้วจากซีรีส์ระดับ ปรากฏการณ์อย่าง ‘แดจังกึม’ และ Coffee Prince แต่ในปัจจุบัน ผู้มาเยือนสตูดิโอใหม่ของเอ็มบีซี ที่ Digital Media City สามารถเป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์ เกาหลีดังกล่าวได้เลย นักท่องเที่ยวสามารถทัวร์ฉาก เสมือนจริงจากละครต่างๆ หรือถ่ายรูปตัวเองโดยมี ภาพดิจิทัลของชุดย้อนยุคที่ปรากฏในละครฉายทับ บนตัว หรืออาจเข้าไปในบูทถ่ายรูป และสัมผัสกับหน้า จอ interactive ซึ่งมีศิลปิน G-Dragon คอยส่งจูบ หรือสอนร้องเพลง ในขณะที่นักท่องเที่ยวย่อมรู้ ว่าปฏิสัมพันธ์กับดาราที่เกิดขึ้นเป็นผลลัพธ์ของ เทคโนโลยีทางภาพ แต่เพื่อนๆ ทางบ้านอาจไม่รู้ก็ได้
Essentials Dongdaemun Design Plaza (DDP) 281 Eulji-ro, Jung-gu, Seoul. www.ddp.or.kr K-Live 100-196 9F LOTTE FITIN, 264 6-ga Eulji-ro Jung-gu, Seoul. www.klive.co.kr MBC Studio 267 Seongam-ro, Mapo-gu, Seoul. www.imbc.com SM Town 513, Yeongdong-daero, Gangnam-gu, Seoul. www.smtownland.com Some Sevit 683 Olympic-daero, Seocho-gu, Seoul. www.somesevit.com
OPTIMISE | JANUARY 2016
45
BEYOND BOUNDARIES
07
ซอมเซบิทเป็นส่วนหนึง่ ของโครงการบูรณะ แม่นา้ํ ฮันในปี 2009 ซึง่ มุง่ เปลีย่ นสวน สาธารณะรกเรือ้ ริม แม่นา้ํ ให้กลายเป็นพืน้ ที่ สาธารณะเปีย่ มชีวติ ชีวา
07 ชาวเมือง และนักท่องเที่ยวมา นั่งพักผ่อน และชมการแสดงที่ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันฉาย บนจอ LED ยักษ์ที่เกาะลอยน้ำ� Some Sevit
46
OPTIMISE | JANUARY 2016
จึงมีบริการช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถเก็บไฟล์วิดีโอ รูปภาพ และสื่ออื่นๆ ที่ได้สัมผัสลงใน USB หรือพิมพ์ ภาพลงกระดาษได้ด้วย
เกาะลอยนํ้า Some Sevit
หากเสพเค-ป๊อบจนหนำ�ใจแล้ว และอยากหาที่ เงียบๆ ผ่อนคลาย สามารถมุ่งหน้าไปยังริมแม่นํ้าฮัน ทางใต้ใกล้กับสะพานพันโพ เพื่อพบกับ Some Sevit (ซอมเซบิท) หรือ ‘เกาะอันเรืองรอง’ ทั้งสาม ซึ่งเป็น สถาปัตยกรรมกลางนํ้าที่โมเดิร์นที่สุดของกรุงโซล สถาปัตยกรรมลอยนํ้านี้ได้แรงบันดาลใจมาจาก ดอกไม้บาน โดยสามารถปรับระดับความสูงได้ถึง 8 เมตร ขึ้นอยู่กับระดับนํ้าในแม่นํ้า โครงสร้างของอาคาร ทั้งหมดถูกควบคุมด้วยระบบ GPS และมีดาวเทียม คอยตรวจสอบ ระดับนํ้าเพื่อรักษาสมดุลของตัวอาคารไว้ ไม่ว่าแม่นํ้ าฮันเชี่ยวกรากแค่ไหน ระบบรอกอันทันสมัยก็จะทำ� หน้าที่ ยึดเกาะทั้งสามไว้ไม่ให้ลอยไปกับกระแสนํ้า อาคารอเนกประสงค์แต่ละหลังนั้นมีหน้าที่ใช้งาน ต่างกัน อาคารหนึ่งเป็นภัตตาคาร อีกอาคารเป็นแกล เลอรีซึ่งมองเห็นวิวแม่นํ้า ในขณะที่อีกอาคารเป็นสถาน
ที่จัดการประชุมหรืองานแต่งงาน แต่ถ้าอยากจัดงาน แต่งที่นี่ “คุณควรจองไว้ตั้งแต่วันนี้เลย” ลี ยอนซิก จาก บริษัท Hyosung ซึ่งบริหารดำ�เนินการซอมเซบิทกล่าว “แนวคิดของซอมเซบิทคือ เป็นพื้นที่บันเทิงสำ�หรับ ทุกคนในโซล ดังนั้นไม่วันไหนก็วันไหน จะมีงานสนุกๆ จัดขึ้นที่นี่อยู่ตลอด” ลีเสริม ซอมเซบิทเป็นส่วนหนึ่งของโครงการบูรณะแม่นํ้ าฮันในปี 2009 ซึ่งมุ่งเปลี่ยนสวนสาธารณะรกเรื้อ ริมแม่นํ้าให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะเปี่ยมชีวิตชีวา โครงการนี้ประสบความสำ�เร็จอย่างยิ่ง ในช่วงเดือนที่ อากาศดี (พฤษภาคม-กันยายน) สวนสาธารณะหน้า เกาะจะเต็มไปด้วยคู่รัก หนุ่มสาว และครอบครัวชาวเมืองซึ่งมาปูผ้านั่งเล่น ผ่อนคลายอารมณ์บนพื้นหญ้า ระหว่างชมคอนเสิร์ต หรือกีฬาจากจอยักษ์ขนาด 1,200 นิ้วบนเกาะ ในช่วงคํ่า ซอมเซบิทจะเรืองรองด้วยแสงไฟจาก หลอด LED ซึ่งเปลี่ยนสีไปเรื่อยๆ นํ้าพุโค้งพุ่งเป็นสาย จากสะพาน พันโพ ขณะที่แสงไฟส่องลงกระทบผิวแม่นํ้า “ที่นี่ท�ำ ให้คุณสามารถสัมผัสธรรมชาติ สายนํ้า สายลมได้แม้ในใจกลางเมือง มันเป็นจุดหมายทาง วัฒนธรรมสำ�หรับทุกคนในโซล” ลีกล่าวทิ้งท้าย OPTIMISE | JANUARY 2016
47
THE GOOD LIFE
Palate Cleansers
01 Farmer’s Market เปิ ด โอกาสให้ ผ ู ้ บ ริ โ ภค ได้ ร ู ้ จ ั ก กั บ ผู ้ ผ ลิ ต โดยตรง 02 แม่ ค ้ า Farmer’s Market เตรี ย มอาหาร จากวั ต ถุ ด ิ บ เพื ่ อ สุ ข ภาพ 03 Tspoon คื อ หนึ ่ ง ในธุ ร กิ จ นํ ้ า ผลไม้ ส กั ด เย็ น ที ่ ไ ด้ ร ั บ ความนิ ย มจากคนรั ก สุ ข ภาพ
02
ตอนนี้ดูเหมือน ‘อาหารคลีน’ จะกลายเป็นคำ�ติดปากของคนรักสุขภาพไปแล้ว แต่อาหารคลีนจะเป็นเพียงแค่สมัยนิยมชั่วครู่หรือเป็นของมีประโยชน์จริงๆ หรือที่สุด แล้ว ‘อาหารคลีน’ หมายความว่าอย่างไรกันแน่ เราเปิดเวทีให้ผู้ชื่นชอบอาหารคลีน (ตั้งแต่ธุรกิจบริการส่งอาหารเพื่อสุขภาพรายวัน ไปจนถึงคนขายอาหารคลีนในตลาด เกษตรกร) และผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ ได้มีโอกาสคุยประเด็นนี้ให้ชัดๆ 01
03
48
OPTIMISE | JANUARY 2016
ภาพดังต่อไปนีอ้ าจเกิดขึน้ ที่ ‘farmer’s market’ หรือ ตลาดนัดเกษตรกรแห่งไหนก็ได้ในโลก กล่าวคือภาพ เด็กๆ วิง่ หัวเราะฝ่าฝูงชนทีเ่ พิง่ เดินมาจากสถานีรถไฟฟ้า ในขณะที่ผู้ชายหน้าตาเหนื่อยคนหนึ่งกำ�ลังหอบ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก และกระเป๋าทรงแมสเซนเจอร์ หนักอึ้งเดินหลีกคนไปยังโต๊ะไม้ไผ่ที่ตั้งอยู่ในมุม เขาดู เหมือนจะไม่รับรู้ถึงโต๊ะตัวโตทางขวามือซึ่งมีขนมปัง หน้าตาดีวางอยู่แน่นขนัด ไม่สนใจเทียนทำ�มือที่ โชยกลิ่นหอมมาแตะจมูก และไม่สนใจเคาน์เตอร์ อันอบอวลด้วยพลังงานคริสตัลเสริมพลังชีวิต ทั้งนี้ เพราะชายคนนี้ หรือ ริว ซากาโมโต้ ผู้ร่วมจัดตลาดนัด เกษตรกรกรุงเทพฯ หรือ Bangkok Farmer’s Market กำ�ลังเตรียมตัวตอบคำ�ถามของเรา ด้วยความรู้สึกไม่ ต่างจากจำ�เลยรอคำ�ตัดสิน จากกิจกรรมนานทีมีหนซึ่งจัดขึ้นราวเดือนละครั้ง เดี๋ยวนี้ตลาดนัดเกษตรกรกรุงเทพฯ ได้กลายเป็นงาน ที่จัดขึ้นทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ การเติบโตอย่างก้าว กระโดดนี้มาจากกระแสการบริโภคแบบใหม่ที่ชมชอบ ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ อาหารที่ปลูกเองในท้องถิ่น หรือ ผลิตภัณฑ์ที่จัดสรรมาโดยผู้ขายที่มีชื่อเสียงในทาง สุขภาพ โดยท่ามกลางซุ้มขายฟาลาเฟล โยเกิร์ต ออร์แกนิก และอาหารดองโฮมเมดซึ่งคราครํ่าด้วยผู้คน เราจะเห็นทั้งชาวไทยและต่างชาติพูดคุยกันอย่าง ออกรสถึงสินค้าที่แต่ละคนเพิ่งซื้อหามา บรรยากาศ ในงานจึงไม่ต่างจากบาร์ฮิปสเตอร์ในทองหล่อแบบ ไม่มีแอลกอฮอล์ เมื่อเราถามว่าตลาดนัดเกษตรกรจะเป็นที่นิยมใน กรุงเทพฯ ไปตลอดหรือไม่ ริวยักไหล่เล็กน้อยแล้วตอบ ว่า “มันเหมือนเวลาคุณซื้อรถคันใหม่แล้วก็รักมันมาก แล้วสักพักคุณก็จะเห็นมันเต็มไปหมด นี่ก็เหมือนกัน ผมว่าของพวกนี้อยู่ไปสักพัก คนก็จะเบื่อแล้วเดี๋ยวก็ ต้องมีของใหม่เข้ามาแทนที่” แต่เขาและผู้จัดคนอื่น ก็ยังร่วมกันจัดตลาดนัดเกษตรกรขึ้นมาก็เพราะว่า “เรา อยากจะสร้างความเป็นชุมชน” ริวตั้งใจให้อาหารเป็นจุดร่วมของชุมชนที่ว่า อย่างน้อยๆ ผู้ขาย ผู้จัดงาน และผู้บริโภคก็จะได้สร้าง เครือข่ายระหว่างกัน ซึ่งจะเสริมสร้างนิสัยการกินที่ดี ขึ้น ถึงกระนั้น ริวยังกังขาว่าคนจะสามารถเปลี่ยนแปลง นิสัยการกินของตนได้จริงๆ อย่างที่เขาสรุปว่า “คนทั่วไปมักเลือกอาหารโดยเอาอร่อยเป็นตัวตั้ง ไม่ใช่ เรื่องสุขภาพ ผมดูจากภรรยาผมเอง เพราะแทนที่เขา จะซื้ออาหารออร์แกนิก เขาชอบซื้อพวกอาหารข้างทาง มากกว่า” อย่างไรก็ดี ริวหวังว่าวิถีชีวิตแบบที่ตลาดเกษตรกร ส่งเสริมให้เกิด ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์การกินอาหารแบบ สโลว์ ฟู้ด อาหารที่ปลูกในท้องถิ่น อาหารออร์แกนิก หรือนิสัยการกินอย่างมีจิตสำ�นึก จะขยายตัวในวงกว้าง โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ที่ประชากรไทย 1 ใน 13 คน เป็นโรคเบาหวานตามการประเมินขององค์การอนามัย โลก (WHO) แม้ริวจะเชื่อว่าตลาดเกษตรกรที่มีอยู่อย่าง
เกลื่อนกลาดในตอนนี้เป็นเพียงสมัยนิยม แต่ปรากฏ ว่าลูกค้าประเภทแฟนพันธุ์แท้ก็มีอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน “ฉันรักตลาดนัดเกษตรกรมากๆ จะบอกว่าอยู่เพื่อตลาด นัดเกษตรกรก็ได้ อาจจะเป็นเพราะได้โตที่แคลิฟอร์เนีย ซึ่งคนเขาใช้ชีวิตอย่างตื่นตัว ก็เลยสอนให้เรารู้จักรักษา สุขภาพ” สาวลูกครึ่งไทยอเมริกัน น้อง ธรรมสุทธิพงศ์ เล่าอย่างตื่นเต้นขณะยืนเลือกขนมปังฟูกัสส์ สไตล์ โปรวองซ์ที่ตกแต่งหน้าด้วยคงฟีต์มะเขือเทศเชอร์รี่ ในเมื่อสิ่งที่เรากินจะส่งผลต่อสุขภาพของเรา ในที่สุด ปัจจุบันนักโภชนาการจึงกลายมาเป็นเหมือน เทรนเนอร์สำ�หรับคนยุคใหม่ ถ้อยคำ�ของนักโภชนาการ ที่มีชื่อเสียงอาจถูกเสพราวอาหารทิพย์ (ปลอดกลูเตน) จากสวรรค์ ภายใต้บรรยากาศนี้เองที่แนวคิดเรื่องการ ‘กินคลีน’ ได้เบ่งบานขึ้น แต่การ ‘กินคลีน’ นั้นคืออะไร กันแน่ ตามคำ�กล่าวของปฏิมา พรพจมาน นักกำ�หนด อาหารจากโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท การกินคลีน ก็คือ “อาหารเพื่อสุขภาพประเภทหนึ่ง มันคือการกิน อาหารที่มาจากธรรมชาติ ปรุงโดยกรรมวิธีย่าง นึ่งหรือ ต้ม ไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป มีสารอาหารครบทุกหมู่ ปราศจากผงชูรส และไม่หวานหรือเค็มจนเกินไป” อย่างไรก็ตาม เหนือไปกว่านั้น ‘อาหารคลีน’ ยังกลายมาเป็นวิถีชีวิตแบบหนึ่งด้วย กล่าวคือวิถีชีวิต แบบที่ประกอบไปด้วยการใช้เวลายามบ่ายเดิน ทอดน่องที่ตลาดนัดเกษตรกรและดื่มนํ้าผักผลไม้แทน อาหารป็นครั้งคราว น่าคิดเหลือเกินว่าการสร้างสุขภาพ ที่เป็นเลิศโดยผ่านอาหารที่กินนี้จะเป็นเพียง ไฟไหม้ฟาง หรือว่าปากท้องของคนไทยกำ�ลังจะเข้าสู่ การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จริงๆ ไม่ว่าคำ�ตอบจะเป็นอย่างไร การเปลี่ยนแปลง ดูจะเป็นสิ่งที่จำ�เป็นอย่างยิ่ง หนุ่มชาวอเมริกัน ชอว์น เอ็ดเวิร์ดส์ กล่าวขณะรับประทานอาหารเที่ยงที่ร้าน Rasayana Retreat ซึ่งขายเฉพาะอาหารดิบเท่านั้น “เรากินอาหารแคลอรี่สูงๆ แต่มันแทบไม่ให้สารอาหาร อะไรเราเลย แถมเรายังได้รับพวกสารพิษที่ไม่เคยมีมา ก่อน ถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ คนก็จะป่วยกันมากขึ้น เราต้องหาทางแก้ปัญหา” เขากล่าว ถ้าตลาดนัดเกษตรกรเป็นจุดออกตัวของฮิปสเตอร์ ที่คลั่งไคล้เรื่องอาหารการกิน ร้านรัสยานา ก็เรียกได้ว่า เป็นจุดพักพิงสำ�หรับผู้บริโภคกลุ่มที่มีความคิดเห็นลํ้า หน้าต่อประเด็นสุขภาพทุกเรื่อง ตั้งแต่ผงชูรส (“มันเป็น สารพิษต่อระบบประสาทที่ร้ายแรงที่สุดสำ�หรับมนุษย์”) ไปจนถึงภาวะชรา (“มันเป็นแค่ผลจากสิ่งแวดล้อมที่ เสื่อมโทรมต่อร่างกายมนุษย์”) หากลองใช้เวลาสักวัน ที่รัสยานา (ซึ่งมีบริการส่งอาหารถึงบ้านด้วย) เราจะ ได้เจอทุกอย่าง ตั้งแต่การสอนวิธีใช้นํ้ามันมะพร้าวไป จนถึงแพทย์ทางเลือก พร้อมกับสามารถ ลิ้มลองเมนูยอดนิยมของร้านซึ่งทำ�จากของดิบ ไม่ปรุง ไม่ผ่านกระบวนการ เพื่อรักษาสารอาหารไม่ให้ถูก ทำ�ลาย รัสยานาเป็นคาเฟ่แห่งแรกและแห่งเดียวในไทย
OPTIMISE | JANUARY 2016
49
THE GOOD LIFE
04 ร็ อ บบี ้ เวิ ส พุ ย ผู ้ น ำ� เสนออาหารสู ต ร Paleo ที ่ เ ชื ่ อ ว่ า ช่ ว ย ให้ ส ุ ข ภาพดี ข ึ ้ น
04
ถ้าซื้ออาหารที่คลองเตย เราจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่า อาหารที่เราซื้อนั้น มาจากไหน เวลาเราจะซื้อ อะไรเราอยากมั่นใจว่ามัน ปลอดภัยและเรารู้ที่มา ของมันจริงๆ
05 อะโวคาโดสดที ่ ร ็ อ บบี ้ ปรุ ง ให้ ก ั บ ลู ก ค้ า 06 พิ ม พวรรณ ผู ้ ก ่ อ ตั ้ ง Healthbox 07 พิ ซ ซาฮาวายเอี ้ ย น ตามสู ต ร raw food ของรั ส ยานา
05 ที่มีปรัชญาการเสิร์ฟแต่อาหารดิบ โดย 12 ปีที่เปิด ทำ�การนับเป็นเครื่องพิสูจน์ความนิยมของร้านได้อย่าง ดี “อาหารดิบใช้ต้นทุนการผลิตสูงมาก แต่ถามว่ามัน ช่วยกำ�จัดสารพิษได้จริงๆ หรือเปล่า บอกเลยว่าแน่ๆ” ชอว์นกล่าวระหว่างละเลียดผักกาดม้วนสอดไส้พาเต้ มะม่วงหิมพานต์ แต่นักโภชนาการกลับไม่ได้หลงมนต์สะกดของ อาหารคลีนอย่างชอว์น “โดยปกติแล้ว การปรุงอาหาร ให้สุกช่วยให้อาหารปลอดภัยต่อร่างกายและย่อยง่าย ขึ้น อาหารดิบบางชนิดอาจทำ�ให้ป่วยหรือเกิดอาหาร เป็นพิษ บางทีการรับประทานอาหารแบบนี้มีความ เสี่ยงมากกว่าประโยชน์เสียอีก” ผกาวลี ประกายสิทธิ์ นักโภชนาการผู้เชี่ยวชาญด้านการบริโภคประจำ� โรงพยาบาลกรุงเทพกล่าว ในทางกลับกัน สเตลลา อึงพงศ์พันธ์ ผู้อ�ำ นวยการ ศูนย์สุขภาพรัสยานาเห็นว่าคำ�แนะนำ�ด้านสุขภาพ แบบเดิมๆ ไม่ค่อยมีประโยชน์เพราะ “มันเป็นเรื่อง ลางเนื้อชอบลางยา” โดยส่วนตัว สเตลลาให้นิยาม การกินอาหารคลีนว่าเป็น “อะไรก็ตามที่ไม่ได้ผ่านการ ปรุง” และเห็นว่า “แต่คนไทยมักคิดว่าอาหารคลีนคือ อะไรที่กินแล้วผอม” ร็อบบี้ เวิสพุย หรือที่รู้จักกันในนาม ‘เพเลโอ ร็อบบี้’ (paleorobbie.com) เป็นอีกคนหนึ่งที่คิดว่า โภชนาการแบบดั้งเดิมไม่น่าเชื่อถือสักเท่าใด “เมื่อ ก่อนผมตัวใหญ่มาก และกินแต่อาหารที่ไม่ดีต่อ สุขภาพเช่นแฮมเบอร์เกอร์ เบียร์อะไรพวกนั้น แต่พอ ไปกินอาหารไขมันตํ่าตามนักโภชนาการ ผมยิ่งรู้สึกแย่ 50
OPTIMISE | JANUARY 2016
เข้าไปอีก แถมยังอ้วนขึ้นกว่าเดิม จนถึงจุดที่ผมต้อง บอกตัวเองว่ามันไม่ใช่แล้วล่ะ” โดยหลังจากเลิกกิน อาหารสูตรไขมันต่ํ่า ร็อบบี้ก็หันไปปฏิบัติ ‘เพเลโอ ไดเอต’ (paleo diet) ซึ่งคือการกินอาหารที่ปลอด กลูเตน นํ้าตาล และธัญพืช โดยทำ�ติดต่อมาเป็นระยะ เวลา 5 ปีแล้ว อาหารเพเลโอนั้นมีชื่อเสียงที่ไม่ค่อยดีนักว่าเป็น ‘อาหารยุคหิน’ ซึ่งชวนให้สงสัยว่าจะให้สารอาหารที่ จำ�เป็นอย่างครบถ้วนหรือไม่ กระนั้นการเน้นกิน เนื้อสัตว์ และผัก ซึ่งร็อบบี้อธิบายว่าเป็น “อาหารที่ ปู่ย่าตายายกินกันในสมัยก่อน” นั้นก็ดูเหมือนจะให้ ผลลัพธ์ที่เป็นบวก เห็นได้จากฐานลูกค้า 2,500 คน ของร็อบบี้นั่นเอง ร็อบบี้เล่าว่า “คนส่วนใหญ่เลือกที่ใช้วิธีนับแคลอรี่ แต่วิธีผมให้กินทีละเป็นมื้อใหญ่ทีเดียว ผมอยากให้ คนได้กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ไม่ใช่ให้กินอาหารดีต่อ สุขภาพแบบทีละนิดเดียว แล้วคนก็ออกไปซื้อคุกกี้มา กินต่อ” ด้วยวัตถุดิบอย่างปลาแซลมอนแดง หรือแกะ กับวัวที่เลี้ยงโดยหญ้าจากนิวซีแลนด์ อาหารกล่อง ส่งถึงบ้านของเพเลโอ ร็อบบี้จัดว่าห่างไกลกับคำ�ว่า ไม่น่ากิน กระนั้น นักโภชนาการก็ยังเตือนให้ผู้บริโภค ระมัดระวังเพเลโอ ไดเอต ดังที่ผกาวลี นักโภชนาการ แห่งโรงพยาบาลกรุงเทพ ได้กล่าวว่า “คนที่มีปัญหา สุขภาพ เช่นโรคเบาหวานควรจะปรึกษาแพทย์ก่อน ที่จะกินอาหารแผนนี้ อาหารเพเลโอมีคาร์โบไฮเดรต ตํ่า ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระดับนํ้าตาลในเลือด และ
อาหารเพเลโอก็มีโปรตีน และแร่ธาตุสูงมาก ดังนั้นจึง ไม่เหมาะกับคนที่ไตมีปัญหา” รูปแบบการรับประทานอาหารที่ทำ�ให้คนถกเถียง กันมากที่สุดดูเหมือนจะเป็น ‘juice fast’ หรือการ อดอาหารโดยกินนํ้าผักผลไม้แทนเป็นเวลาติดต่อกัน หลายชั่วโมงหรือกระทั่งหลายสัปดาห์ กระนั้น สาเหตุ หลักที่ผู้ก่อตั้งร้านขายนํ้าผักผลไม้สกัดเย็น Tspoon เริ่มธุรกิจก็เพราะอยากมีสุขภาพที่ดีนั่นเอง อรนิภา สุวรรณวลัยกร ผู้ก่อตั้งทีสปูนร่วมกับ เอกพันธ์ วงศ์วิเศษกิจเมื่อสองปีที่แล้วเล่าให้ฟังว่า “เราสังเกตว่าคนใกล้ตัวกินอาหารไม่ถูกหลัก โภชนาการ โดยหลายครั้งสาเหตุมาจากเขาไม่ชอบกิน ผัก เราจึงเริ่มทดลองทำ�นํ้าผักผลไม้เพื่อลองดูว่าจะ ทำ�ให้พวกเขาได้สารอาหารครบขึ้นไหม แล้วมันก็ได้ ผลจริงๆ” นํ้าผักผลไม้สกัดเย็นของทีสปูนเป็นนํ้าผักผลไม้ ร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่มีเจือนํ้า หรือใส่นํ้าแข็ง โดยการ สกัดเย็นแบบไม่ใช้ความร้อนจะช่วยรักษาสารอาหาร วิตามิน และโปรตีนไว้ได้อย่างครบถ้วน อรนิภากล่าว ว่าการกินนํ้าผักผลไม้ได้เปลี่ยนชีวิตเธอ ทำ�ให้เธอมี ความสุขมากขึ้น สุขภาพดีขึ้น และสร้างสมดุลที่ดีขึ้น “การกินนํ้าผักผลไม้ไม่ได้แค่ช่วยลดนํ้าหนัก เพิ่ม พลังงาน สร้างภูมิต้านทานและทำ�ให้ผิวใสอย่างเดียว แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ มะเร็ง และ เส้นเลือดสมองตีบตันด้วย” อย่างไรก็ดี นักโภชนาการยังขอให้ผู้บริโภค ระมัดระวังตามที่นักกำ�หนดอาหารโรงพยาบาล
สมิติเวชกล่าวว่า “คนที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมี ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง หรือกำ�ลังคุมอาหารอยู่ ต้องระมัดระวังการไดเอตนํ้าผักผลไม้อย่างนี้ การกิน ผลไม้ทั้งลูกเลยจะได้รับกากใยมากกว่า” ผกาวลีมีความเห็นสอดคล้องกัน “ถ้ากินนํ้าผัก ผลไม้เพียงอย่างเดียว ร่างกายจะไม่ได้กากใยอาหาร โปรตีน และแคลอรี่ในปริมาณที่มากพอ ซึ่งอาจทำ�ให้ ลดนํ้าหนักได้ แต่ก็มีโอกาสโยโย่กลับมาเช่นกัน” โปรแกรมอาหารเพื่อสุขภาพพร้อมบริการ จัดส่งที่นักโภชนาการทั้งสองอาจจะพอยอมรับได้คือ Healthbox ซึ่งร่วมก่อตั้งโดย พิมพวรรณ แสงนาค ผู้ออกตัวว่า ‘บ้าสุขภาพ’ และมีประวัติเคยทำ�ธุรกิจ ร้านอาหารมาก่อน และจุฑากาญจน์ เชาว์นํ้าทิพย์ นักโภชนาการอาชีพผู้มีฉายาว่า ‘คลั่งโภชนาการ’ ทั้งนี้ แม้เฮลท์บอกซ์จะเป็นธุรกิจส่งอาหารกล่องเพื่อ สุขภาพเจ้าเดียวที่มีนักโภชนาการอาชีพเป็นหุ้นส่วน อาหารของเฮลท์บ็อกซ์กลับไม่ถูกจำ�กัดโดยค่ายความ คิดแบบใดแบบหนึ่ง เพราะอาหารของเฮลท์บ็อกซ์ จะยึดหลัก ‘พีระมิดอาหาร’ ที่รวมอาหารทุกหมู่เข้า ไว้ด้วยกันดังที่องค์การอาหารและยาแห่งประเทศ สหรัฐอเมริกา (USFDA) แนะนำ� เช่นวันหนึ่งเมนูอาจ
06
เป็นแกงฟักทองกับข้าวออร์แกนิก และอีกวันเป็น แซนวิชไก่ฮาวายเอี้ยน เช่นเดียวกับธุรกิจอาหารสุขภาพเจ้าอื่นๆ ใน กรุงเทพฯ เฮลท์บ็อกซ์ก็เริ่มมาจากความกังวลในเรื่อง สุขภาพ พิมพวรรณเล่าว่า “เมื่อ 2 ปีที่แล้ว เราเริ่ม ป่วยก็เลยพยายามหาทางรักษาตัวเอง กินยาเท่าไร ก็ไม่หาย แต่ตอนนี้ไม่ต้องกินยาแล้ว” และก็เช่นเดียวกับเจ้าอื่นๆ เฮลท์บ็อกซ์ได้ ปฏิญาณตนว่าจะขายเฉพาะอาหารออร์แกนิกที่ทำ� มาจากวัตถุดิบที่ไม่ผ่านการปรุงแต่ง และปราศจาก วัตถุกันเสีย ความรักที่พิมพวรรณมีต่ออาหาร ออร์แกนิก (“อร่อยกว่าจริงๆนะ”) ทำ�ให้เธอมักหา โอกาสเดินซื้อพืชผลในตลาดนัดเกษตรกรเมื่อใด ก็ตามที่เธอไม่ได้กินอาหารของเฮลท์บ็อกซ์ โดย พิมพวรรณให้เหตุผลว่า “ถ้าซื้ออาหารที่คลองเตย เราจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าอาหารที่เราซื้อนั้นมา จากไหน เวลาเราจะซื้ออะไรเราอยากมั่นใจว่ามัน ปลอดภัย และเรารู้ที่มาของมันจริงๆ” แต่พมิ พวรรณก็ยงั เป็นคนไทยอยูว่ นั ยังคํา่ จึงไม่ แปลกเมือ่ เธอสารภาพว่า “เรารักอาหารข้างทาง”
Essentials Farmer’s Market โทร. 092-257-1106 www.bkkfm.org Healthbox 147/19 ถนนพหลโยธิน กรุงเทพฯ โทร. 02-972-9919, 091-771-1179 www.healthbox.co.th
07
Paleo Robbie 916/13-14 ซอยสุขมุ วิท 55 (ซอยทองหล่อ) ถนนสุขมุ วิท กรุงเทพฯ www.paleorobbie.com Rasayana Retreat 57 ซอยสุขมุ วิท 39 ถนนสุขมุ วิท กรุงเทพฯ โทร. 02-662-4803 www.rasayanaretreat.com Tspoon โทร. 089-011-6363, 089-532-1456 www.facebook.com/tspoon
OPTIMISE | JANUARY 2016
51
THE FAST LANE 01
Off the Beaten Path
02
รถขับเคลือ่ น 4 ล้อในประเทศไทยกำ�ลังได้รบั ความ นิยมในหมูห่ นุม่ สาวชาวกรุงทีฝ ่ กั ใฝ่จะหวนคืนสู่ ธรรมชาติและนำ�ของเล่นชิน้ ใหญ่ออกผจญป่า
ความคิดที่ว่ารถกระบะ 4x4 นั้นเป็นรถที่สงวน ไว้ใช้สำ�หรับการทำ�ไร่ไถนา แต่เพียงอย่างเดียวกำ�ลัง เปลี่ยนไป เนื่องด้วยชาวกรุง จำ�นวนมากขึ้นเรื่อยๆ ต่างพยายามหาวิธีการใหม่ๆ ที่จะหวนคืนสู่ธรรมชาติรวม ถึงการขับ 4x4 นี่ด้วย 01 อธิ ณ ั ฐ แห่ ง Ironman 4x4 02 กลุ ่ ม Overland ลุ ย เข้ า ป่ า ที ่ แม่ ว าง จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ 03 ขบวนรถ 4x4 ที ่ พ ร้ อ มบุ ก ป่ า ฝ่ า ดงไปในถิ ่ น ทุ ร กั น ดารที ่ ค วาม เจริ ญ เข้ า ไม่ ถ ึ ง
52
OPTIMISE | JANUARY 2016
03
ขณะทีเ่ รากำ�ลังเลีย้ วรถผ่านช่องเขา อันลาดชันแห่งหนึง่ ในทางเหนือ ‘กอล์ฟ’ ไกด์ นำ�เทีย่ วท้องถิน่ และผูน้ �ำ ทางในกิจกรรมขับขี่ โฟร์วลี ไดรฟ์ อธิบายให้เราฟังว่าสิง่ ทีว่ เิ ศษทีส่ ดุ สำ�หรับการตะลุยรถกระบะ 4x4 (โฟร์บายโฟร์) ท่ามกลางหุบเขาลำ�เนาห้วยอย่างนี้ มิใช่ความ ตืน่ เต้นจากการได้เอาชนะเส้นทางออฟโรด ทุรกันดาร แต่เป็นรสชาติของเบียร์เย็นๆ ทีจ่ บิ ณ ยอดเขาสูงต่างหาก อย่างไรก็ตาม เมือ่ สำ�นึกว่าในขณะทีเ่ รา กำ�ลังไต่ขน้ึ เขาบนถนนลาดชัน 45 องศาเพือ่ ไป สูห่ มูบ่ า้ นลาหูน่ ้ี เรามีเพียงแถบโคลน และหิน บางๆ ช่วยกัน้ ไม่ให้เราตกลงไปในแม่นา้ํ แม่แตง เบือ้ งล่าง เบียร์ถอื เป็นสิง่ ท้ายๆ ทีเดียวทีเ่ รานึกถึง โดยเมือ่ ลุถงึ ยอดเขา เรายิง่ ซาบซึง้ ว่าภาพของ ภูเขาทีห่ ม่ อยูใ่ นผืนป่าบริสทุ ธิท์ กุ ทิศทุกทางนัน้ อาจทำ�ให้มนุษย์รสู้ กึ ระย่อได้เพียงใด พืน้ ทีใ่ นชนบทห่างไกลของประเทศไทย ล้วนแต่ก�ำ ลังเชือ้ เชิญให้คนนำ�กระบะเข้าไปลุย อันทีจ่ ริง ยานพาหนะทีส่ ามารถวิง่ ‘ออฟโรด’ หรือลุยถนนขรุขระนัน้ ไม่ใช่แค่เพียงกิจกรรม แก้เครียดชัว่ ครัง้ ชัว่ คราวของชาวกรุง แต่ถอื เป็น ปัจจัยทีห่ า้ ของบ้านป่ามาช้านาน แต่ความคิดที่ ว่ารถกระบะ 4x4 นัน้ เป็นรถทีส่ งวนไว้ใช้ส�ำ หรับ ทำ�ไร่ไถนาแต่เพียงอย่างเดียวกำ�ลังเปลีย่ นไป เนือ่ งด้วยชาวกรุงจำ�นวนมากขึน้ เรือ่ ยๆ ต่าง พยายามหาวิธกี ารใหม่ๆ ทีจ่ ะหวนคืนสูธ่ รรมชาติ รวมถึงการขับ 4x4 นีด่ ว้ ย ซึง่ ชุมชนคนรักรถ 4x4
จะมีจดุ ต่างจากกลุม่ คนขีจ่ กั รยานเสือภูเขา และนักปีนเขาอยูบ่ า้ ง ตรงทีพ่ วกนีม้ กั จะหมกมุน่ กับการสร้างเครือ่ งยนต์ทเ่ี ร็วกว่า แรงกว่า และ สามารถลุยเข้าไปในถิน่ ทุรกันดารได้ลกึ กว่า พาหนะอืน่ ใด อธิณฐั อินทรประสงค์ ผูจ้ ดั การทัว่ ไปของ กิจกรรม Ironman 4X4 Thailand กล่าวว่า “ตอน ผมเริม่ ทำ� Ironman 4X4 Thailand เมือ่ 5 ปีกอ่ น นัน้ ตลาดโตปีละเกือบ 100% แม้กระทัง่ ตอน นี้ ตลาดก็ยงั โตคงทีป่ ลี ะ 25% เห็นได้ชดั เลยว่า อุตสาหกรรมเครือ่ งยนต์ก�ำ ลังมาแรงมาก” ทัง้ นี้ Ironman 4X4 Thailand เป็นสาขาของ Ironman 4x4 PTY จากประเทศออสเตรเลีย เป็นทีร่ จู้ กั ใน ฐานะผูจ้ ดั จำ�หน่ายอะไหล่รถเช่นล้อ ยาง กันชน และไฟ ทีจ่ ะช่วยเพิม่ สมรรถนะให้กบั รถ 4x4 จำ�พวก Ford Ranger และ Toyota Hilux ให้ไป ได้เหนือกว่าสเปคของโรงงาน เช่น รถ ‘ริก (Rig)’ จะหมายถึงรถทีถ่ กู ยกให้สงู ขึน้ กว่าปกติเป็น หลายๆ นิว้ อีกทัง้ ยังมียางทีเ่ กาะถนนได้แน่นกว่า และมีกนั ชนทีก่ ะทัดรัด ไม่เกะกะ อธิณฐั เห็นว่าการเติบโตแบบพุง่ พรวดนีม้ ี รากฐานมาจากการเกิดขึน้ ของกลุม่ ชนชัน้ กลาง ใหม่ๆ โดยบอกว่า “คนกลุม่ นีโ้ ตมากับรถกระบะ ฉะนัน้ เมือ่ เขามีเงิน เขาก็อยากจะซือ้ กระบะดีๆ ให้กบั ตัวเอง” ยกตัวอย่างตัวรถฟอร์ด เรนเจอร์ 4x4 แบบแต่งทัง้ คัน ราคาอาจสูงเฉียดล้าน โดยมีราคาของแต่งรถทีว่ า่ คิดเป็นเงินร่วม 200,000 บาท ด้วยเหตุนก้ี ารแต่งรถจึงนับว่าเป็น
งานอดิเรกทีแ่ พงพอสมควร ภูมริ วิชญ์ วุฒศิ ลิ ป์โสภณ เป็นเจ้าของร้าน Overland 4x4 ในนนทบุรี ซึง่ ขายของแต่งรถที่ ช่วยทำ�ให้รถลุยไปในทีท่ ร่ี ถกระบะธรรมดาไปไม่ ได้ อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่ารูปลักษณ์เป็น เรือ่ งสำ�คัญสำ�หรับลูกค้าจำ�นวนไม่นอ้ ย “เรา ใส่ใจเรือ่ งดีไซน์มาก เพราะเราไม่ได้ตอ้ งการ เน้นแต่ตลาดนักขับขีอ่ อฟโรดเคีย่ วๆ อย่างเดียว แต่อยากได้กลุม่ ทีเ่ ขาอาจจะขับออฟโรดเบาๆ แต่ชน่ื ชอบลุคเอาต์ดอร์เท่ๆ ด้วย” ความแรงของเทรนด์รถขับเคลือ่ นสีล่ อ้ นี้ เห็นได้ชดั ทางโซเชียลมีเดีย ซึง่ ภูมริ วิชญ์บอกว่า เป็นสือ่ สำ�คัญทีช่ ว่ ยดึงคนให้หนั มาสนใจใน ไลฟ์สไตล์ 4x4 มากขึน้ โดยอินสตาแกรมของ ร้านโอเวอร์แลนด์ 4x4 มีผตู้ ดิ ตามแล้วเกือบ 3,000 คน ส่วนเพจในเฟสบุค๊ ยิง่ มีแฟนคลับ มาไลค์ลน้ หลามถึง 188,000 คนด้วยกัน แต่ไม่ใช่วา่ ทุกคนจะตืน่ เต้นไปกับการทีง่ าน อดิเรกนีไ้ ด้รบั ความนิยมในวงทีก่ ว้างขึน้ นิติ พจน์ปฏิญญา เจ้าของร้านอาหารเล็กๆ แห่งหนึง่ ในย่านลาดพร้าวผูช้ อบขับฟอร์ด เรนเจอร์ ทีป่ รับ แต่งเรียบร้อยแล้วของตนออกไปผจญภัยใน ภาคเหนือ และภาคตะวันตกทีละหลายๆ เดือน ไม่คอ่ ยปลืม้ นักกับรถบางคันทีเ่ ขาเห็นในงาน มีตติง้ ของกลุม่ 4x4 โดยอธิบายว่า “ผมมักจะเห็น รถรุน่ ทีข่ บั เคลือ่ น 2 ล้อเสียเยอะ ไม่วา่ ของ โตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ ฟอร์ด เรนเจอร์ หรืออีซซู ุ วี-ครอส ดูแล้วไม่รวู้ า่ คันไหนเป็น 4x4 จริงๆ OPTIMISE | JANUARY 2016
53
เจ้าของรถบางคนอาจจะแค่เอารถขับเคลือ่ น 2 ล้อมายกรถให้ สูง และก็ตดิ ไฟ light bars กับกันชน brush guard เท่านัน้ เอง” ในวันจันทร์ถงึ ศุกร์ อภิโชค คงดำ� เป็นช่างเทคนิคอยูท่ ส่ี ยาม กีฬาทีวี แต่ในวันเสาร์-อาทิตย์ เขาจะขนของขึน้ รถ Suzuki Jimny คูใ่ จออกลุยป่าพร้อมกับสาวกออฟโรดคนอืน่ ๆ ซึง่ มี ตัง้ แต่บรรยากาศสมบุกสมบันเต็มทีไ่ ปจนเบาะๆ เขาพูดถึงชมรม คนรักซูซกู ิ จิมนีของตัวเองว่า “บางทีเราก็แข่งออฟโรด แต่บางที เราก็แค่เอารถมาอวดกันเล่นๆ” แต่อภิโชคมองว่าเบือ้ งหลังการ อวดของเล่นอย่างนี้ คือสังคมอันเหนียวแน่นของคนรักรถ เช่น บางครัง้ ชมรมนีก้ ช็ ว่ ยนำ�ของใช้ และอาหารเข้าไปส่งในชุมชน ห่างไกล หรือร่วมมือกับกลุม่ อนุรกั ษ์สตั ว์ปา่ ทำ�ภารกิจต่างๆ ภูมริ วิชญ์แห่งโอเวอร์แลนด์ 4x4 ก็มคี วามเห็นทำ�นอง เดียวกันว่ากลุม่ คนรักรถไม่ได้สนใจแต่จะอวดรถ แต่มารวม ตัวกันก็เพราะเสียงเพรียกจากพงไพร และความต้องการทีจ่ ะ ช่วยเหลือชุมชนต่างๆ ในชนบท พืน้ ทีท่ รุ กันดารหลายแห่งเป็น บ้านของชนเผ่าต่างๆ ซึง่ เทคโนโลยีและยารักษาโรคสมัยใหม่ เข้าไม่ถงึ เขากล่าวว่า “ชมรม 4x4 หลายชมรมใช้เฟสบุค๊ เป็น ช่องทางในการรับเงินสนับสนุนเพือ่ นำ�ไปช่วยเหลือโรงเรียนใน ป่า หรือบางทีกช็ ว่ ยเป็นคนขับรถพาหมอในโครงการ Doctors Without Borders เข้าไปส่งถึงชุมชนห่างไกลเหล่านี”้ อธิณฐั แห่งไอร์ออนแมน 4x4 บอกว่า “เดีย๋ วนีใ้ ครๆอาจจะ ย้ายเข้ามาอยูใ่ นเมือง แต่ในขณะเดียวกันอุทยานแห่งชาติของ เราเป็นทีน่ ยิ มมากขึน้ เรือ่ ยๆ” ทัง้ นี้ ในบรรดาอุทยานแห่งชาติ ทัง้ หมด ไม่มแี ห่งใดทีแ่ สดงให้เห็นถึงความ ‘หลงป่า’ ของชาว กรุงเทพฯ ได้ดไี ปกว่าเขาใหญ่ เห็นได้จากการทีเ่ ขาใหญ่ใน วันสุดสัปดาห์อาจมีรถติดพอๆ กับย่านสุขมุ วิทหลังเลิกงานวัน ศุกร์ โดยเขาใหญ่นเ่ี องคือสถานทีท่ น่ี กั แสดงขวัญใจสาวๆ อย่าง พีท-พันธกานต์ ทองเจือได้เริม่ จัดรายการแข่งรถกระบะเล็ก Polaris RZR ซึง่ เขาเองเป็นผูจ้ ดั จำ�หน่ายด้วย พีทเล่าให้ฟงั ว่า “ตอนแรกทีเ่ พิง่ เอาเข้ามาขายผมก็ไม่รู้ หรอกว่า RZR มันทำ�อะไรได้ขนาดไหน แต่พอเอามาลองขับ
กลุ่มคนรักรถไม่ได้สนใจแต่ จะอวดรถ แต่มารวมตัวกัน ก็เพราะเสียงเพรียกจาก พงไพร และความต้องการ ที่จะช่วยเหลือชุมชนต่างๆ ในชนบท ...ซึ่งเทคโนโลยี และยารักษาโรคสมัยใหม่ เข้าไม่ถึง 04 รถ Polaris ออฟโรดจิ ๋ ว แต่ แ จ๋ ว ที ่ บ ุ ก ป่ า ได้ ค ล่ อ งแคล่ ว กว่ า
54
OPTIMISE | JANUARY 2016
บนถนนทีเ่ ขาใหญ่แล้วก็รเู้ ลยว่ามันเป็นรถออฟโรดทีเ่ พอร์เฟ็กต์ สุดๆ” ด้วยความง่ายในการขับขี่ ความเบา และราคาทีย่ อ่ มเยา รถโพลาริสรุน่ นีจ้ งึ จัดเป็นของเล่นทีส่ มบูรณ์แบบ แม้วา่ มันอาจ จะไม่เอือ้ ต่อการใช้เดินทางจริงๆ จังๆ ก็ตาม รายการแข่งรถของพีทช่วยกระตุน้ ยอดขายรถ ซึง่ สนนราคา อยูท่ ป่ี ระมาณคันละ 670,000 บาทสำ�หรับรุน่ ทีม่ เี ครือ่ งยนต์ 900 ซีซี แต่เพือ่ ให้ชมุ ชนเติบโตขึน้ เรือ่ ยๆ พีทยังจัดงานให้บรรดา ผูท้ ส่ี นใจได้มารวมตัว และลิม้ ลองความหฤหรรษ์ของการขับรถ ออฟโรด พีทเชือ่ ว่างานของเขาได้ “เปิดมิตใิ หม่ให้กบั วัฒนธรรม การขับรถออฟโรดในประเทศไทย ซึง่ กำ�ลังเติบโตขึน้ เรือ่ ยๆ” อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณยังรูส้ กึ ว่าเขาใหญ่ ไม่ใช่ชนบท แต่เป็น แค่ชานเมืองกรุงเทพฯ ทีอ่ ยูห่ า่ งออกไปหน่อยเท่านัน้ รถกระบะ ขับเคลือ่ น 4 ล้อดีๆ ย่อมสามารถพาคุณไปไกลได้มากกว่านีอ้ กี มาก อย่างเช่นกอล์ฟ ผูเ้ ป็นไกด์ และคนขับของเรานีก้ ท็ �ำ งานที่ ‘อุดมพร ทัวร์’ บริษทั เล็กๆ ในเชียงใหม่ ทีพ่ าคนไปเดินป่า และ ผจญภัยในป่า โดยแม้ลกู ค้าจะเป็นชาวต่างชาติเสียส่วนใหญ่ แต่กอล์ฟก็สงั เกตเห็นว่ามีนกั เดินทางคนไทยขับรถมาผจญภัย ออฟโรดกันมากขึน้ และขับไกลขึน้ เรือ่ ยๆ อันทีจ่ ริง อธิณฐั มองว่ากระแสออฟโรดนีย้ งั สามารถสุดโต่ง ได้มากกว่านีอ้ กี “ผมว่าอีกหน่อยการขับรถจากไทยไปทิเบต จะฮิต” ซึง่ ลูกค้าของเขาบางคนได้ไปทริปอย่างนีม้ าแล้วโดยใช้ รถทีเ่ ขาเป็นคนแต่งให้ “บางทีลกู ค้ายอมเสียเงิน 500,000 บาท ไปกับทริปพวกนี้ ทัง้ ๆ ทีน่ ย่ี งั ไม่รวมค่าแต่ง และเตรียมรถเลย!” ถึงแม้วา่ เสียงครวญครางของเครือ่ งยนต์เทอร์โบจะทำ�ให้เรา กังขามาตลอดทาง แต่ในทีส่ ดุ รถปาเจโรทีด่ จู ะพังแหล่มพิ งั แหล่ ก็พาเรามาถึงจุดหมายได้โดยไม่พงั ลงเสียก่อน ตามทีก่ อล์ฟ สัญญาไว้ มีเบียร์รอเราอยูใ่ นหมูบ่ า้ นชาวลาหูเ่ หนือแนวเมฆ ทีส่ ดุ แสนจะคุม้ ค่าการเดินทางแห่งนี้ ทีซ่ ง่ึ เราได้พบว่าสิง่ ทีก่ อล์ฟ พูดเป็นเรือ่ งจริงทัง้ สิน้ เพราะหลังจากข้ามแม่นา้ํ ไถท่อนไม้ และ ลุยโคลนมาทัง้ วัน เบียร์ทห่ี มูบ่ า้ นลาหูม่ รี สชาติดกี ว่าเบียร์หลัง เลิกงาน 8 ชัว่ โมงในออฟฟิศลิบลับทีเดียว
Essentials
อุดมพรทัวร์
330/12 หมู่บ้านเชียงใหม่แลนด์ ถนนช้างคลาน เชียงใหม่ โทร. 053-204-718 www.udomporntours.co.th Ironman 4X4 Thailand
KK Contact Center
02 165 5555
ชั้น 17 อาคารบางนา ทาวเวอร์ ตึก A 2/3 หมู่ 14 ถนนบางนา-ตราด สมุทรปราการ โทร. 02-751-9021-4 www.goo.gl/KKuzYS Overland 4x4 160 ซอยสวนผัก แยก 4 ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ โทร. 02-408-8197-8 www.fb.com/Overlandteam Polaris ATV (Thailand) 1 หมู่ 3 ถนนทางรถไฟสายเก่า ปากนํ้า สมุทรปราการ โทร. 02-748-5088 www.polarisatvthailand.com
04
เพิ่มบริการใหม
NEWVersion
เปด
บัญชี
ถาม ยอด
อายัด เช็ค
ขอ
Statement
สั่งซื้อ
สมุดเช็ค
โอน เงิน
บริการสำหรับลูกคาเงินฝาก งายๆ เพียงติดตอ KK Contact Center กอนเริ่มใชบริการในครั้งแรก ลูกคาสามารถ สมัครและรับทราบเงือ่ นไข Phone Service ไดที่สาขาของธนาคารทั่วประเทศ
*เงื่อนไขการใหบริการเปนไปตามที่ธนาคารกำหนด OPTIMISE | JANUARY 2016
55
LIVING SPACE
ในขณะที่ประเทศไทยอาจยัง ขาดแคลนเมกะโปรเจ็กต์จากภาค รัฐในระดับที่จะก่อให้เกิด Bilbao Effect ได้ สถาปนิกชั้นแนวหน้า ของไทยได้ค้นพบว่ายังมีช่องทาง อื่นสำ�หรับปลดปล่อยความคิด สร้างสรรค์อยู่เหมือนกัน
01 หอประชุมมหิดล สิทธาคาร 02 กราฟฟิกสนุกสนาน ที่ด้านนอก BU Lounge ของ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 03 เส้นสายศิลปะแบบ จีนที่ศาลากวนอิม มหาวิทยาลัยรังสิต 04 เพชร โอสถานุเคราะห์ อธิการบดีผู้ผลักดัน งานออกแบบให้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
56
OPTIMISE | JANUARY 2016
03
01
04
Building Blocks มหาวิทยาลัยไทยหลายแห่งกำ�ลังร่วมกับบริษัทรายย่อย สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมดีไซน์โดดเด่นอย่างที่หาดู ได้ยากจากจากภาคธุรกิจ นับเป็นเรื่องน่าจับตาว่าโครงการ เหล่านี้จะสามารถยกระดับมาตรฐานงานสถาปัตยกรรมและ สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ภาคส่วนอื่นของสังคมเพียงใด
02
หลังวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ทำ�ให้วงการ ก่อสร้างต้องหยุดชะงักไปชั่วครู่ ประเทศไทยในปัจจุบัน ได้พบเห็นตึกใหม่ๆ อย่างไม่ขาดสาย ตั้งแต่ห้างใหม่ เอี่ยมอ่องไปจนถึงคอนโดสูงระฟ้า อย่างไรก็ตาม คำ�ถามก็คือว่า ในช่วงเวลาเกือบสองทศวรรษที่ล่วงไป นี้ ประเทศไทยได้สร้างอะไรที่ควรค่าแก่การเชิดชูใน ระดับโลกบ้าง จริงอยู่ที่การตัดสินงานสถาปัตยกรรม อาจเป็นเรื่องลางเนื้อชอบลางยาเช่นเดียวกับศิลปะ แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีเกณฑ์สำ�หรับวัดคุณค่าของ สิ่งก่อสร้างเสียเลย เช่น ปรากฏการณ์ The Bilbao Effect ได้ทำ�ให้เราเห็นคุณค่าของสถาปัตยกรรม อย่างชัดเจน กล่าวคือหลังพิพิธภัณฑ์ Guggenheim Museum Bilbao ได้เปิดตัวขึ้นมา ภายในสามปี เมือง บิลเบาก็สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้กว่า 4 ล้าน คน ทำ�ให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเมืองริมชายฝั่ง สเปนแห่งนี้เติบโต จนเก็บภาษีมาคืนทุนค่าก่อสร้าง จำ�นวน 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้จนหมด ซึ่งก็ไม่ใช่ เรื่องน่าประหลาด เพราะพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รับการ ออกแบบโดย Frank Gehry ผู้กรุยทางให้กับบรรดา ‘starchitects’ หรือสถาปนิกดาวเด่นแห่งยุคนี้อย่าง Saha Hadid หรือ Rem Koolhaas และ Jean Nouvel มองใกล้เข้ามามากขึ้น มหานครอย่างสิงคโปร์ และ ฮ่องกงก็ไม่พลาดโอกาสเรียนรู้จากปรากฏการณ์นี้ อย่างรวดเร็ว โดยสร้างสถาปัตยกรรมที่จะมาเป็น หน้าตาของประเทศอย่างเช่น Marina Bay Sands และ West Kowloon Cultural District ขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ในห้วงเวลาเดียวกันนี้เอง กรุงเทพฯ ของเราถือว่าเดินได้ช้าอย่างน่าใจหาย เรามีเพียงการ
เปิดศูนย์ศิลปะที่ไม่มีคอลเลกชั่นถาวรของตัวเอง มีเพียงการใช้เวลา 20 ปีและเงินทุน 9.9 พันล้านบาท เพื่อสร้างศาลาว่าการกรุงเทพมหานครที่จนถึงตอนนี้ก็ ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ มีเพียงการป่าวประกาศแผนที่จะ สร้างรัฐสภาแห่งใหม่ในปี 2552 (ซึ่งยังอยู่ระหว่างการ ก่อสร้างอยู่) และมีเพียงโครงการทางเลียบแม่นํ้าซึ่งยัง ไม่รู้ออกหัวออกก้อย และยังไม่มีการทำ�รายงานผลกระ ทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ในขณะที่ประเทศไทยอาจยังขาดแคลน เมกะโปรเจ็กต์จากภาครัฐในระดับที่จะก่อให้เกิด Bilbao Effect ได้ สถาปนิกชั้นแนวหน้าของไทยได้ ค้นพบว่ายังมีช่องทางอื่นสำ�หรับปลดปล่อยความ คิดสร้างสรรค์อยู่เหมือนกัน เพราะเช่นเดียวกับที่ มหาวิทยาลัยอย่าง Yale และ Harvard เคยทำ� หน้าที่เป็นสนามเด็กเล่นให้กับยอดสถาปนิกโมเดิร์น นิสม์ อย่าง Ludwig Mies van der Rohe และ Le Corbusier หรือ Walter Gropius ขณะนี้ มหาวิทยาลัย เอกชนในประเทศไทยก็กำ�ลังเป็นแหล่งเพาะสร้าง ผลงานสถาปัตยกรรมที่ก้าวหน้าที่สุดของประเทศ “ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มหาวิทยาลัยเอกชน แข่งขันกันสูงมาก แต่ละที่ก็ต้องมีของเอาไว้ประชัน กับคนอื่น เช่นในตอนแรกก็พยายามแข่งกันว่าใครมี มาตรฐานการศึกษาที่ดีกว่าหรือมีความสัมพันธ์กับ มหาวิทยาลัยดีๆ ในเมืองนอก ยุคต่อมาก็แข่งกันสร้าง วิทยาเขตในเมืองพร้อมด้วยแผนการเรียนปริญญาโท พอมาถึงตอนนี้ก็แข่งกันแล้วว่าใครจะสร้างตึกได้ เจ๋งกว่ากัน” ปิตุพงษ์ เชาวกุล กล่าว เขาเป็นผู้ก่อตั้ง และผู้อำ�นวยการออกแบบของดีไซน์สตูดิโอนามว่า
Supermachine และมีประสบการณ์ทำ�โครงการน้อย ใหญ่กับมหาวิทยาลัยกรุงเทพ มาแล้วกว่า 10 โครงการ หนึง่ ในอาคารสถานทีเ่ จ๋งๆ อย่างทีว่ า่ นัน้ ก็คอื ‘หอประชุมมหิดลสิทธาคาร’ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล โรงละครทีเ่ พิง่ สร้างเสร็จเมือ่ ปี 2557 แห่งนี้ จุคนได้มาก ถึง 2,000 ทีน่ ง่ั และมีเทคโนโลยีซบั เสียง (acoustics) ทีล่ า้ํ หน้าทีส่ ดุ อันเป็นผลมาจากหลังคาทรงปลายปีกนก มหึมาทีอ่ อกแบบโดย A49 กลุม่ สถาปนิกทีป่ กติมกั จะ เป็นทีร่ จู้ กั ในฐานะผูอ้ อกแบบอาคารกระจกแก้วทันสมัย ทีส่ ว่ นใหญ่เป็นคอนโด หรือออฟฟิศของบรรดาบริษทั และห้างสรรพสินค้าตามกระแสนิยมทีแ่ ฝงไปด้วย ประโยชน์ใช้สอยมากกว่าดีไซน์ ในทางตรงกันข้าม แนวคิดด้านการดีไซน์แบบไร้ขดี จำ�กัดของ A49 กลับ แสดงออกมาอย่างโดดเด่นในงานออกแบบอาคารเรียน มากกว่า อันทีจ่ ริง รางวัลสถาปัตยกรรมยอดเยีย่ มแห่ง เอเชีย (ARCASIA Awards for Architecture) เหรียญ ทองสองเหรียญที่ A49 ภาคภูมใิ จนัน้ เหรียญหนึง่ มา จากงานออกแบบทีพ่ กั อาศัย และอีกเหรียญมาจาก อาคาร BU Diamond แลนด์มาร์คของมหาวิทยาลัย กรุงเทพ นีเ่ อง เพชร โอสถานุเคราะห์ อธิการบดีมหาวิทยาลัย กรุงเทพ เป็นคนสั่งเดินหน้าโครงการบียู ไดมอนด์ ที่ วิทยาเขตรังสิตด้วยตนเอง แต่เขาปฏิเสธว่าไม่ได้ทำ� ไปเพราะต้องการแข่งสถาปัตยกรรม “ผมไม่เคยคิดถึง สถาปนิกหรือสถาปัตยกรรมเลย ผมคิดแต่เรื่องการ พัฒนาสภาพแวดล้อมที่ดีให้นักศึกษา” บียู ไดมอนด์ แบ่งออกเป็น 3 อาคารย่อยๆ โดยอาคารทรงเพชรแต่ละอาคารมีผนังที่ลาดเอียง
OPTIMISE | JANUARY 2016
57
LIVING SPACE
05
เหมือนจะชวนให้นักศึกษาคิดนอกกรอบ เส้นทางเดิน เท้ามีพื้นที่กว้างและลากเป็นทางผ่านตึกเรียนขณะที่ สนามหญ้าตรงกลางอาคารทั้งสามทำ�หน้าที่เป็นพื้นที่ ร่มเงาให้เหล่านักศึกษาได้มาพบปะและจับกลุ่มกัน พื้นที่ใช้งานของอาคารซึ่งมีตั้งแต่หอประชุม 1,600 ที่นั่ง ไปจนถึงห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่อาจไม่ได้ ลํ้าสมัยที่สุด แต่ต้องยอมรับว่าตัวอาคารนั้นเอง กลับสามารถแสดงออกถึงความมั่นใจในพลังของ เทคโนโลยีและดีไซน์ได้เป็นอย่างดี “ผมรู้แค่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างผมกับสถาปนิก ก็คือ ผมเคารพเขา และเขาก็เคารพผม เขาบอกว่า เราเป็นลูกค้าชั้นยอด ‘เรา’ ในที่นี้ผมหมายถึงทั้ง มหาวิทยาลัยและตัวผมเองด้วย เพราะลึกๆ แล้วผม เข้าใจศิลปะ และการสร้างงานสถาปัตยกรรมที่น่าตื่น ตาตื่นใจ จำ�เป็นจะต้องมีทั้งสถาปนิกที่ดีและลูกค้าที่ดี ประกอบกัน” เพชรกล่าว ใกล้ๆ กันนั้น มหาวิทยาลัยรังสิตก็กำ�ลังเป็นที่ จับตามองในแวดวงสถาปัตย์เช่นกัน ‘ศาลากวนอิม’ ซึ่งออกแบบโดย Studiomake ได้ขึ้นปกนิตยสาร Art4D ฉบับเดือนกันยายนที่ผา่ นมาโดยได้รับการ ขนานนามว่าเป็น “สิ่งก่อสร้างอันเป็นไอคอนแห่งใหม่” ของมหาวิทยาลัย แต่เช่นเดียวกับเพชร ดร. อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ไม่ได้เห็นว่ามีการแข่งขัน กันระหว่างมหาวิทยาลัยเอกชน เขากล่าวว่า “ผมไม่ เคยคิดอย่างนั้น ผมมองว่ามันคือการให้บ้านหลังที่ สองกับนักศึกษา มันไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องโมเดิร์นหรือ ไม่โมเดิร์น แต่มันควรจะต้องทำ�ให้นักศึกษามีความ ภาคภูมิใจในสถาบัน และบันดาลใจให้เขาขวนขวาย หาความรู้ เพราะเวลามองในแง่นี้ สถาปัตยกรรมถึงจะ เป็นสิ่งสำ�คัญ” ดร. อาทิตย์ ยังเน้นยํ้าถึงความสำ�คัญของชุมชน อีกด้วย สำ�หรับเขาแล้วมหาวิทยาลัยรังสิต มีบทบาท ที่สำ�คัญในการยกระดับความน่าอยู่ของย่านรังสิต ซึ่งเคยเป็นแต่แหล่งรวมตึกแถวรกร้าง และอาคารเก่า 58
OPTIMISE | JANUARY 2016
06
ทรุดโทรม โดยเขาบอกว่า “เราเป็นตัวอย่างให้เขาได้ มหาวิทยาลัยก็เหมือนเมืองๆ หนึ่ง สิ่งที่เราสร้างขึ้นที่นี่ สามารถเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นได้” อาคารศาลากวนอิมออกแบบโดยสถาปนิกสอง สามีภรรยา อรพรรณ สาระศาลิน และ เดวิด เชฟเฟอร์ ผูเ้ คยได้ฝากผลงานอาคารพัฒนาแกลเลอรี ไว้กบั มหาวิทยาลัยรังสิต มาก่อนแล้ว โดยศาลากวนอิมเป็น ทีต่ ง้ั ของสถาบันไทย-จีน ซึง่ มีขน้ึ เพือ่ สร้างความสัมพันธ์ ระหว่างมหาวิทยาลัยรังสิต กับมหาวิทยาลัยในประเทศ จีน พืน้ ทีข่ องอาคารแห่งนีแ้ สดงให้เห็นการเล่นกับแสง เงาอยูต่ ลอด ซึง่ เกิดมาจากองค์ประกอบของโถงทางเดิน ตรงกลางทีม่ ดื อับแสง หน้าต่างเพดานทีจ่ ดั วางอย่าง ชาญฉลาด และโถงนิทรรศการกระจกใส ซึง่ มีเสาอิฐ เรียงรายโดยรอบ โดยอิฐทีถ่ กู ต่อให้ได้อารมณ์ของ หลังคาเจดียจ์ นี เหล่านัน้ เป็นหนึง่ ในองค์ประกอบทีถ่ กู ใส่ เข้าไปเพือ่ ให้อาคารสามารถแสดงออกถึงวัฒนธรรมไทย และจีนได้ในเนือ้ ของตัวอาคารเอง นอกจากนัน้ อิฐซึง่ ต้องผ่านการเผาสองรอบจากโรงงานผลิตอิฐทีเ่ ก่าแก่ ทีส่ ดุ ในประเทศไทย ยังแสดงให้เห็นถึงความพิถพี ถิ นั ที่ สตูดโิ อเมกใส่ลงไปในงานสถาปัตยกรรมอีกด้วย “สถาบันอุดมศึกษาเป็นที่ที่ยอมรับการทดลอง เทคโนโลยีหรือของแปลกใหม่ได้มาก อาจเป็นเพราะนี่ คือสิ่งที่เขาพรํ่าสอนกันในสถาบัน และเขาก็พยายาม ทำ�ให้ได้อย่างที่สอน เลยรู้สึกได้วา่ มันมีบรรยากาศที่ เปิดกว้าง” เดวิด เชฟเฟอร์กล่าว นอกจากนั้น เขายัง เห็นว่ามหาวิทยาลัยจะเป็นตัวขับเคลื่อนสถาปัตยกรรม ไทยได้ดีกว่าภาคธุรกิจโดยบอกว่า “ทั่วไปแล้ว มหาวิทยาลัยเขาไม่ถูกจำ�กัดโดยเรื่องกำ�ไร เทรนด์ หรือ การแข่งขันมากเท่าภาคธุรกิจ เขาสนใจในเรื่องระยะ ยาวและสนใจในวิธีถ่ายทอดโปรเจ็กต์นั้นๆ มากกว่า” “เราโชคดีกันมากที่มีโอกาสสร้างตึกดีๆ สองตึกนี้ ออกมา มันเป็นการสร้างลูกค้าในอนาคตให้เรา อย่าง น้อยลูกค้าที่ต้องการให้ออกแบบบ้าน เขาก็จะสามารถ นึกถึงงานสถาปัตยกรรมขั้นสูงที่มีรายละเอียด และมี แนวคิดมากๆ ได้ ซึ่งนี่เป็นประโยชน์อย่างมากในทุก
สเกลงาน ตั้งแต่งานออกแบบตกแต่งในบริษัทไปจนถึง บ้านหลังเล็กๆ ในปราณบุรี” อรพรรณเสริม บุญเสริม เปรมธาดา เจ้าของ Bangkok Project Company มีอะไรหลายอย่างคล้ายๆ กับสองสามี ภรรยาแห่งสตูดิโอเมก ในขณะนี้บุญเสริมกำ�ลัง ออกแบบโครงการที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเก่าของอยุธยา หลังเขากลายเป็นที่รู้จักจากการออกแบบอาคารให้ ‘สถาบันกันตนา’ โดยเขาชอบใช้อิฐเป็นอย่างมาก ดู เหมือนว่าสถาปนิกทั้งสามคนจะพยายามเรียกร้อง ให้เพื่อนร่วมอาชีพเลิกทำ�งานดีไซน์เพื่ออวดดีไซน์ อย่างเดียว (design for design’s sake) อรพรรณ บอก Art4D ว่า “ดีไซน์ไม่ใช่แค่ภาพสวยๆ ที่เห็นในเว็บ Archdaily” ในขณะที่บุญเสริมก็กล่าวว่า “เราต้อง ดีไซน์เพื่อนักเรียนและอาจารย์ งานดีไซน์ของผมไม่ได้ มีไว้เป็นภาพสวยๆ ในนิตยสาร แต่มีไว้ให้ใช้ได้จริง” อาคารสถาบันกันตนาซึ่งผ่านเข้าสู่รอบสุดท้าย ของรางวัลอันทรงเกียรติ Aga Khan Award for Architecture ไม่ได้มีไว้แค่ใช้งานอย่างที่บุญเสริม พูดแต่อย่างใด อิฐของอาคารเรียงตัวกันเป็นคลื่นก่อ ให้เกิดความงามจากการเล่นเงาไม่ซํ้าแบบ ในขณะที่ โครงสร้างชั้นเดียว และวัสดุที่ใช้ชวนให้ได้กลิ่นอาย ของโบราณสถานในอยุธยา อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ ภาพถ่ายไม่อาจแสดงให้เห็นก็คือโครงเหล็กภายในซึ่ง ช่วยกันความร้อน นอกจากนี้ ยังมีทางเดินเท้าที่อุดม ไปด้วยร่มเงา และพื้นที่สีเขียวที่ช่วยสร้างบรรยากาศ สบาย เอื้อให้เกิดสมาธิ บุญเสริมกล่าวว่า “ผมไม่ได้คิดถึงรูปทรงหรอก ผมคิดถึงความสงบ ความเงียบและสมาธิ ผมอยากให้ นักเรียนได้ยินเสียงแห่งความเงียบ” บุญเสริมนึกไปถึง ความเชื่อมโยงระหว่างสถาบันกันตนาและโรงเรียน แหล่งแรกๆ ในประเทศไทย ซึ่งก็คือวัด สำ�หรับเขาแล้ว สถาปัตยกรรมไทยกำ�ลังหลงทาง “ดูอย่างที่จุฬาฯ อาจารย์มักจะจบจากอเมริกา มา ทุกอย่างเลยออกแนวโกรเปียสไปหมด แต่ทำ�ไม เราถึงต้องตามตะวันตกด้วย เราควรต้องถามตัวเอง
ว่าอยากสร้างสถาปัตยกรรมเพื่อสถาปัตยกรรม หรือสร้าง สถาปัตยกรรมที่มันจับต้องได้จริงๆ” ออกจะเป็นเรื่องแปลกที่บุญเสริมวิจารณ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เพราะเขาเองก็จบมาจากที่นั่น และสอนอยู่ที่ นั่นด้วย อย่างไรก็ตาม บุญเสริมไม่ใช่คนในสถาปัตยกรรม จุฬาฯ คนเดียวที่เห็นว่าคณะสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดใน ประเทศไทยแห่งนี้ยังตามมหาวิทยาลัยเอกชนไม่ทัน ปิตุพงษ์แห่ง Supermachine เป็นคนออกแบบห้อง นั่งเล่น BU Lounge และศูนย์กิจกรรมนักศึกษาของ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซึ่งทั้งสองแห่งมีสีลูกกวาดสดใส จนอาจ กล่าวได้ว่า หากบุญเสริมกำ�ลังพยายามสร้างสถานที่เพื่อสงบ จิตใจ ปิตุพงษ์ก็คือผู้ที่พยายามปลุกเร้ามันด้วยการใช้พื้นผิว ซับซ้อนและลายเส้นกราฟฟิกอันเป็นเอกลักษณ์ กระนั้น ปิตุพงษ์ก็มองคณะเก่าของเขาที่จุฬาฯ แบบเดียวกับบุญเสริม “ทุกอย่างขึน้ อยูก่ บั คณะกรรมการเท่านัน้ ต่อให้เป็น มหาวิทยาลัยเอกชนก็ตาม ถ้ามีพวกอนุรกั ษ์นยิ มเป็นคณะ กรรมการ พืน้ ทีม่ หาวิทยาลัยก็จะออกมาน่าเบือ่ ตรงกันข้าม ถ้ามีคณะกรรมการทีม่ วี สิ ยั ทัศน์ พืน้ ทีม่ หาวิทยาลัยก็จะดูมวี สิ ยั ทัศน์ไปด้วย และมหาวิทยาลัยควรเป็นตัวอย่างทีด่ ใี ห้กบั องค์กร อืน่ ๆ ในสังคม ผมฝันว่าคณะสถาปัตยกรรม จุฬาฯ จะมีอาคาร ดีๆ เพือ่ แสดงให้เห็นว่าคนของสถาบันมุง่ มัน่ และมีวสิ ยั ทัศน์ เพียงใดและเป็นการสร้างแบบแผนให้กบั อาคารอืน่ ๆ แต่สดุ ท้าย กลับกลายเป็นว่า ของๆ เราเองนัน่ แหละทีผ่ ดิ ทีผ่ ดิ ทางไปหมด” สำ�หรับสตูดิโอเมก ทางแก้ปัญหาคือมหาวิทยาลัยต่างๆ เปิดรับการแข่งขัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศไทยพยายามเพิกเฉย มาช้านาน เดวิด เชฟเฟอร์ กล่าวว่า “โครงการก่อสร้างใน มหาวิทยาลัยจำ�นวนไม่น้อยเป็นเรื่องของเส้นสาย อย่างงานที่ เราได้ทำ�ที่รังสิต ก็เพราะเราเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่นั่น ไม่ใช่ว่า เพราะเรามีคุณสมบัติพร้อมหรือเพราะเราชนะงานคนอื่น ผมรู้สึกว่าเราอาจไม่ได้สมควรได้รับงานที่สุด” อรพรรณเสริมว่า “มหาวิทยาลัยไทยต้องเปิดกว้างกว่านี้ กว้างกว่าครอบครัว กว้างกว่าคณะตัวเอง กว้างกว่าประเทศไทย
07
ถ้าดูอเมริกาเหนือ ยุโรป และญีป่ นุ่ จะเห็นว่าเขาจัดการแข่งขัน ระดับนานาชาติกนั อยูต่ ลอด ประเทศไทยก็มเี งินทุนทีจ่ ะทำ� แค่ตอ้ งพยายามแข่ง และสร้างสรรค์ให้ได้มากกว่านี”้ แต่ปัญหาอาจไม่ได้มีแค่นั้น เพราะประเทศไทยยังมี กฎหมายคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศอยู่ กฎหมาย ไทยห้ามไม่ให้สถาปนิกชาวต่างชาติออกแบบอะไรใน ประเทศไทยได้เลย แม้กระทั่งภายใต้การกำ�กับดูแลของบริษัท สถาปนิกท้องถิ่น กระนั้น ก็เป็นที่รู้ๆ กันว่า สถาปนิกอย่าง Ole Scheeren หรือจะเป็น Kerry Hill และ Ed Tuttle รวมทั้งคน อื่นๆ อีกมากมาย เป็นผู้ออกแบบโครงการก่อสร้างระดับ ไฮเอนด์ในประเทศเราแทบทั้งสิ้น ปิตุพงษ์กล่าวว่า “ห้างในประเทศไทยออกแบบโดย ชาวต่างชาติ แต่เอามาพัฒนาต่อโดยคนไทยเหมือน แฟรงเกนสไตน์ ไอเดียอาจมาจากฝรั่งเศส บราซิล มาจาก ลอสแอนเจลีส แล้วสถาปนิกไทยก็เอามาทำ�ต่อ แล้วลูกค้า ก็เอามาปรับเปลี่ยนอะไรแบบนี้ ตามกฎหมาย การจ้าง สถาปนิกชาวต่างชาติทำ�ไม่ได้ แต่หา้ งที่เราเห็นนี่ 80 เปอร์เซ็นต์ออกแบบโดยชาวต่างชาติทั้งนั้น” มหาวิทยาลัยไทยจะเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการกลับ สู่ความเป็นไทยและบริบทของท้องถิ่นในงานสถาปัตยกรรม หรือในทางตรงกันข้าม จะผลักดันให้เกิดการแข่งขันระดับ นานาชาติที่โปร่งใสขึ้น ดูเหมือนจะเป็นคำ�ถามที่ยังไม่มี คำ�ตอบ กระนั้น หนทางทั้งสองนี้อาจไม่ได้อยู่ตรงกันข้ามอย่าง ที่คิด อันที่จริง หาก Pyramide du Lourve ในประเทศฝรั่งเศส โรงอุปรากรซิดนีย์ Cloud Gate ในเมืองชิคาโกหรือแม้กระทั่ง เทพีเสรีภาพที่ล้วนออกแบบโดยคนต่างประเทศ ยังสามารถ แสดงสปิริตของพื้นที่นั้นๆ ได้ การเปิดกว้างสำ�หรับการแข่งขัน ก็ไม่น่าเสียหาย โดยนัยนี้ ในขณะที่มหาวิทยาลัยไทยต่างกำ�ลังพยายาม สร้างสรรค์สถาปัตยกรรมของตนให้เจริญงอกงาม ในไม่ชา้ จะต้องนำ�ไปสู่การผลักดันให้เกิดการแข่งขันที่โปร่งใส และ เปิดกว้างมากขึ้นเช่นกัน
05 อาคารทรงเพชร แลนด์มาร์คมหาวิทยาลัย กรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต 06 เหล่าสถาปนิกแห่ง Studiomake 07 สถาบันกันตนาที่ออกแบบโดยใช้โครงสร้าง อิฐทั้งหมด
Essentials
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 119 ถนนพระราม 4 กรุงเทพฯ โทร. 02-350-3500 ถึง 99 www.bu.ac.th
มหาวิทยาลัยมหิดล
999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 นครปฐม โทร. 02-849-6000 www.mahidol.ac.th
มหาวิทยาลัยรังสิต
52/347 ซอยเอกทักษิณ ถนนพหลโยธิน ปทุมธานี โทร. 02-997-2200 www2.rsu.ac.th
A49 81 ซอยสุขมุ วิท 26 ถนนสุขมุ วิท กรุงเทพฯ โทร. 02-260-4370 www.a49.com Bangkok Project Studio 192-193 ซอยสหมิตร ถนนริมคลองประปา กรุงเทพฯ โทร. 081-812-8224 www.facebook.com/ BangkokProjectStudio Studiomake 44 ซอย บ้านไทรม้า ถนนรัตนาธิเบศร์ นนทบุรี โทร. 02-528-6212 www.studiomake.com Supermachine 57/7 ซอยโชคชัยร่วมมิตร 16/13 ถนนวิภาวดีรงั สิต กรุงเทพฯ โทร. 02-276-6279 www.supermachine. wordpress.com
OPTIMISE | JANUARY 2016
59
THE AGENDA
1
4
Thailand Focus 2015 - Opportunity Growth and Reform
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับบริษทั หลักทรัพย์ ภัทร และธนาคาร แห่งอเมริกา เมอร์รลิ ลินซ์ จัดงาน Thailand Focus 2015 - Opportunity Growth and Reform เพือ่ เปิดโอกาสให้ผลู้ งทุนสถาบันและนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ทว่ั โลก ได้เห็นถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ และมีโอกาสรับฟังนโยบายรวมไปถึง ยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ โอกาส และบรรยากาศการลงทุนจากทัง้ หน่วยงาน ภาครัฐและเอกชน รวมทัง้ เป็นเวทีให้นกั ลงทุนได้พบปะผูบ้ ริหารระดับสูงจากบริษทั จด ทะเบียนเพือ่ รับฟังนโยบายการบริหารจัดการ ผลการดำ�เนินงานทีผ่ า่ นมา และแผน งานทีส่ �ำ คัญในอนาคต เพือ่ ประกอบการตัดสินใจลงทุน โดยในปีน้ี ยังคงได้รบั การ ตอบรับเป็นอย่างดี มีผลู้ งทุนสถาบันจากทัว่ โลกร่วมงานกว่า 80 ราย และบริษทั จด ทะเบียน 100 บริษทั จากทุกกลุม่ อุตสาหกรรม ร่วมประชุมและนำ�เสนอข้อมูล
ธนาคารเกียรตินาคิน โดย อภินันท์ เกลียวปฏินนท์ และ กุลนันท์ ซานไทโว เปิดตัวสินเชือ่ รูปแบบใหม่ Lombard Loan หรือสินเชือ่ หมุนเวียนอเนกประสงค์ สำ�หรับกลุม่ ลูกค้า Wealth Management ของ บริษทั หลักทรัพย์ ภัทร เพือ่ เสริมสภาพคล่อง และสร้างโอกาสใน การบริหารเงินลงทุน ทัง้ นี้ Lombard Loan เป็นผลิตภัณฑ์พน้ื ฐานของ Private Banking ในต่างประเทศ แต่นบั ว่ายังใหม่มากในเมืองไทย กลุม่ ธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทรเป็นรายแรกทีน่ �ำ เสนอผลิตภัณฑ์ นี้ ในประเทศไทย ซึง่ สะท้อนถึง Synergy และการทำ�งานร่วมกันของ กลุม่ ธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ในการเติมเต็มธุรกิจตลาดเงินและ ตลาดทุนได้อย่างสมบูรณ์
2
Phatra Wealth Management จัดงานสัมมนา Thai Equity Conference 2015
Phatra Wealth Management จัดงานสัมมนา Thai Equity Conference 2015 เพือ่ เปิดโอกาสให้ลกู ค้าได้รบั ฟังมุมมอง พร้อม สอบถามกลยุทธ์การลงทุนในสภาวะเศรษฐกิจผันผวนจากทีมนัก วิเคราะห์ของบริษทั หลักทรัพย์ ภัทร อย่างใกล้ชดิ โดยเนือ้ หาการ พูดคุยในงานครอบคลุมกลุม่ ธุรกิจหลัก ประกอบด้วย หลักทรัพย์ และธนาคาร พาณิชย์ อสังหาริมทรัพย์ วัสดุกอ่ สร้าง รับเหมา ก่อสร้าง การสือ่ สาร พลังงาน ปิโตรเคมีและเคมีภณ ั ฑ์ การขนส่ง และโลจิสติกส์ ซึง่ งานดังกล่าวได้รบั การตอบรับเป็นอย่างดีจาก ลูกค้า งานสัมมนาจัดขึน้ ทีห่ อ้ ง แอสเตอร์ บอลรูม โรงแรม เดอะ เซนต์ รีจสิ กรุงเทพฯ
3
Phatra Asset Management จัดงานสัมมนา Global Investment Opportunities Conference
บริษทั หลักทรัพย์จดั การกองทุน ภัทร ร่วมกับ Capital Group จัดงานสัมมนา Global Investment Opportunities Conference เพือ่ แนะนำ�มุมมอง และกลยุทธ์ การลงทุนทัว่ โลกแบบเจาะลึก โดยมียทุ ธพล ลาภละมูล และ ดร. พิพฒ ั น์ เหลืองนฤมิตชัย พร้อมได้รบั เกียรติจาก Mr. Andy Budden, Investment Director, Capital Group ร่วมเสวนา โดยงานดังกล่าวจัดขึน้ ที่ โรงแรม ดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ Capital Group เป็นหนึง่ ในบริษทั บริหารการลงทุนชัน้ นำ�ระดับโลก ด้วยสินทรัพย์ ภายใต้การจัดการกว่า 1.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีประสบการณ์ในการบริหาร การลงทุนกว่า 84 ปี 60
OPTIMISE | JANUARY 2016
ธนาคารเกียรตินาคิน นำ�ร่องสินเชื่อใหม่ Lombard Loan สินเชื่อหมุนเวียน อเนกประสงค์ สำ�หรับลูกค้า Phatra Wealth Management
5
ธนาคารเกียรตินาคิน กระตุกต่อมผู้ฝากเงิน ผ่านไวรัล THE DREAM ค่าเงินลดลง ทุกวัน เก็บเงินอย่างเดียวไม่พอ
ธนาคารเกียรตินาคิน นำ�โดย อภินันท์ เกลียวปฏินนท์ กุลนันท์ ซานไทโว และ ดร.อนุชิต อนุชิตานุกูล เดินหน้าสร้าง ความตระหนักให้ลูกค้าและประชาชน พลิกกลยุทธ์ การออมด้วยเงินฝากคู่การลงทุนสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืน ผ่านไวรัลคลิป THE DREAM ด้วยแนวคิดค่าเงินลดลงทุกวัน เก็บเงินอย่างเดียวไม่พอ ชี้ให้เห็นความสำ�คัญของการลงทุน ทางเลือกด้วยรูปแบบ Asset Allocation ช่วยเพิ่มผลตอบแทน ให้มากกว่าการฝากเงินเพียงอย่างเดียว และความเสี่ยงที่ตํ่ากว่า การลงทุนในหุ้นหรือทองคำ� ติดตามชมคลิป THE DREAM ได้ที่ www.youtube.com/ kiatnakinlive หรือ www.facebook.com/kiatnakinlive
6
ธนาคารเกียรตินาคิน เปิดสาขาเมืองไทย-ภัทร คอมเพล็กซ์ พร้อมบริการทางการเงิน และการลงทุนอย่างเต็มรูปแบบ
กฤติยา วีรบุรุษ ประธานธุรกิจตลาดทุน กลุ่มธุรกิจการเงิน เกียรตินาคินภัทร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร ร่วมด้วย มานิตย์ วรรณวานิช ประธานสายเครือข่ายการ ขายและบริการ ธนาคารเกียรตินาคิน ร่วมเปิดสาขาใหม่ เมือง ไทย-ภัทร คอมเพล็กซ์ ที่พร้อมตอบโจทย์การบริการครบวงจร ทั้ง ผลิตภัณฑ์ด้านการเงินและการลงทุน
OPTIMISE | JANUARY 2016
61
7
ธนาคารเกียรตินาคิน นำ�ลูกค้าโครงการฯ ร่วมงานมหกรรมบ้านและคอนโด
ผู้บริหารธนาคารเกียรตินาคิน ให้การต้อนรับ สุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ประธานในพิธีเปิด งานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 33 โดยธนาคารนำ�ลูกค้า ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เข้าร่วมออกบูธภายใต้แนวคิด Good Living โครงการดีๆ ในสังคมน่าอยู่
8
ธนาคารเกียรตินาคิน และมูลนิธธิ นาคารเกียรตินาคิน ร่วมกับ มูลนิธเิ กียรติรว่ มมิตรเพือ่ การศึกษา มอบทุนการศึกษา และสอนน้อง ‘ออมก่อนรวยก่อน ใช้เป็นรวยเร็ว’
ธนาคารเกียรตินาคิน และมูลนิธิธนาคารเกียรตินาคิน สนับสนุนโครงการมอบทุนการศึกษาของ มูลนิธิเกียรติร่วมมิตรเพื่อการศึกษาต่อเนื่องเป็นปีที่ 44 โดยมอบทุนช่วยเหลือนักเรียนยากจนรวมกัน 300 ทุนเป็นประจำ�ทุกปี โดยในปีนี้ วีระศักดิ์ ตันตินิกร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคิน นำ�คณะผู้บริหารของธนาคาร และมูลนิธิธนาคารเกียรตินาคินร่วมมอบทุนในงาน 108 ปี วันแห่ง ความทรงจำ� เกียรติ วัธนเวคิน ประธานผู้ก่อตั้งธนาคารเกียรตินาคิน ในพิธีมอบรางวัลนพรัตน์แห่งเกียรติ ร่วมมิตรเพื่อการศึกษา และพิธีมอบทุนการศึกษาประจำ�ปี 2558 ที่จัดขึ้น ณ อาคาร 100 ปี เกียรตินาคิน อุทยานปิยมาตานุสรณ์ และในโอกาสเดียวกัน มูลนิธิธนาคารเกียรตินาคิน นำ�โดยสุรีย์ หาญพินิจศักดิ์ กรรมการและ เลขาธิการ พร้อมด้วยคณะวิทยากรด้านการเงินสำ�หรับเยาวชนของธนาคาร ได้จัดฐานกิจกรรม ‘ออมก่อน รวยก่อน ใช้เป็นรวยเร็ว’ เพื่อสร้างทักษะการวางแผนทางการเงินด้วยแนวคิดบันได 4 ขั้นสู่ความมั่งคั่ง ซึ่งประกอบด้วย (1) ตั้งเป้าหมาย (2) ฉลาดออม (3) ฉลาดใช้จ่าย และ (4) ฉลาดลงทุน ให้กับนักเรียน ที่ได้รับทุนทั้ง 300 คนอีกด้วย
9
ธนาคารเกียรตินาคิน ส่งเสริม สร้างวินัยทางการ เงินและการออมให้สมาชิกชุมชนคลองเตย
ธนาคารเกียรตินาคิน ร่วมกับมูลนิธธิ นาคารเกียรตินาคิน ส่งเสริม การสร้างวินยั ทางการเงินและการออมให้กบั สมาชิกชุมชนคลองเตย ต่อเนือ่ งเป็นปีท่ี 14 ในลักษณะของการสนับสนุนการดำ�เนินงานของ สหกรณ์บริการเพือ่ การพัฒนา จำ�กัด ทีก่ อ่ ตัง้ โดยมูลนิธดิ วงประทีป ผลของการสนับสนุนอย่างต่อเนือ่ งทำ�ให้มสี มาชิกสหกรณ์จ�ำ นวน 1,791 คน เปลีย่ นมาใช้บริการเงินกูจ้ ากสหกรณ์ซง่ึ มีตน้ ทุนดอกเบีย้ ต�ำ่ แทน การกูเ้ งินนอกระบบซึง่ มีอตั ราดอกเบีย้ สูงเกินอัตราทีก่ ฎหมายกำ�หนด โดยในปี 2558 ได้มอบรางวัลสมาชิกสหกรณ์ดเี ด่น รวม 538 คน แบ่งเป็นประเภทการออม 478 คน และการชำ�ระหนีค้ นื 60 คน และได้ จัดอบรม ‘หลักสูตร 4 รูส้ คู่ วามมัง่ คัง่ ’ ให้กบั นักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีท่ี 3 โรงเรียนชุมชนหมูบ่ า้ นพัฒนาซึง่ ตัง้ อยูใ่ นชุมชนดังกล่าว จำ�นวน 40 คน เพือ่ ให้เยาวชนกลุม่ นีไ้ ด้ตระหนักถึงความสำ�คัญของการรูเ้ ป้าหมาย รูใ้ ช้จา่ ย รูจ้ กั ออม และรูจ้ กั ลงทุน ซึง่ เป็นหลักการพืน้ ฐานของการมีชวี ติ ทางการเงินทีม่ น่ั คงต่อไปในอนาคต 62
OPTIMISE | JANUARY 2016
*Phatra Edge บริการสำหรับนักลงทุนที่มีเงินลงทุนตั้งแต 2 ลานบาทขึ้นไป
OPTIMISE | JANUARY 2016
63