Issue 04 April 2016
Tradition Reborn พิเชษฐ กลั่นชื่น กับการสร้าง กำ�เนิดใหม่ให้กับคำ�ว่า ‘วัฒนธรรม’
ADVANCE NOTICE
Welcome to Optimise เมื่อมีคนไปถามหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ปราชญ์แห่งซอยสวนพลู ผู้ที่หลายคนยกย่อง ให้เป็นปัญญาชนผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในการนิยามความเป็นไทยว่า วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป จากอดีตนั้นถือเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมหรือไม่ อาจารย์คึกฤทธิ์ตอบง่ายๆ ว่า “ความจริงคนไทยโบราณก็นุ่งกางเกง มาเจอผ้านุ่งของแขกเข้า ก็นุ่งทับกางเกงเข้าไปเรียกว่าสนับเพลา หนักเข้ามันรุงรังนัก เราก็ถอดทิ้ง ถอดกางเกงทิ้ง เหลือแต่ ผ้านุ่งผืนเดียว ในที่สุดแล้วเราก็กลับมานุ่งกางเกงกันใหม่ มันก็ไม่เห็นเสียหาย ยังเป็นไทยกันอยู่ นั่นเอง” ดูเหมือนจะชัดเจนว่า ไม่ว่ายุคไหนๆ Tradition Reborn หรือวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดตัวเอง โดยการ ‘กำ�เนิดใหม่’ ให้สอดคล้องกับความจำ�เป็นของยุคสมัยย่อมมีอยู่เสมอ และความจริงก็คือ จำ�เป็นต้องมี หากสังคมอยากเติบโตพ้นวันวานของตัวเอง Optimise ฉบับนี้จึงมีเรื่องของความงอกงามจากกิ่งก้านเก่าหลากหลายเรื่อง ตั้งแต่การใช้ วัฒนธรรมบาบ๋ามาฟื้นฟูการท่องเที่ยวของภูเก็ต (‘Baba Reborn’) การดัดแปลงอาหารจีน ในกรุงเทพฯ เพื่อรับความนิยมที่หลากหลายขึ้น (‘China’s New Orders’) การใช้หัตถกรรมไทย สร้างงานฝีมือลักชัวรีในระดับสากล (‘Local Luxe’) และแน่นอนที่สุด บทสัมภาษณ์ร้อนแรง ของพิเชษฐ กลั่นชื่น กับความพยายามในการนำ�เสนอ ‘โขน’ และวัฒนธรรมอื่นๆ ของเรา ให้ร่วมสมัย (‘I am a Demon’) การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ อาจมีคนชอบชังแตกต่างกันไป แต่นั่นเองดูเหมือนจะเป็นเป้าหมาย การเปลี่ยนแปลงมีขึ้นเพื่อให้เกิดการประเมินใหม่ แล้วการประเมินนั้นเองที่จะเติม ‘ชีวิต’ ให้กับ วัฒนธรรมได้แท้จริงยิ่งกว่าการอนุรักษ์ใดๆ ดังที่อาจารย์คึกฤทธิ์สรุปไว้ว่า “ต้องให้การศึกษาให้คนไทยดูวัฒนธรรมไทยด้วยความรู้จักในเรื่องดีเรื่องงาม ไม่ใช่มอง วัฒนธรรมของไทยในทัศนะชาตินิยม คือไม่ใช่หลับตาส่งเสริมหลับตาถ่ายทอดว่าอะไรเป็นของไทย แล้วต้องกัดฟันรักษาไว้ให้ได้ ถ้ากระทำ�เช่นนั้นแล้ว วัฒนธรรมเห็นจะอยู่ไม่รอด” ขอเชิญช่วยวัฒนธรรมของเราให้อยู่รอด โดยร่วมประเมินความดี ความงามในการเปลี่ยนแปลง ของมันไปพร้อมกันครับ ธนกร จ๋วงพานิช บรรณาธิการ
02
OPTIMISE | JANUARY 2016
OPTIMISE | APRIL 2016
03
Contents 06
22
36
48
ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ และการลงทุนที่ต้องระวัง
China’s New Orders
In the Driver’s Seat
Not Your Average Hero
ร้านอาหารจีนในกรุงเทพฯ กำ�ลัง ก้าวพ้นนิยามความอร่อยแบบดั้งเดิม เพื่อเข้าสู่ยุคใหม่
อภินรา ศรีกาญจนา กับแรงขับเคลื่อน ล้นเหลือในการต่อยอดธุรกิจครอบครัว และสร้างธุรกิจเพื่อสังคม
พบกับเหล่านักกีฬาเทเบิลเทนนิสคนพิการ ผู้สามารถสร้างแรงบันดาลใจยิ่งใหญ่ ที่ส่งผลไกล กว่าขอบสนามกีฬา
ECONOMIC REVIEW
08
FULL FLAVORS
CLIENT VALUES
THE GOOD LIFE
52
INVESTMENT REVIEW
เมื่อดอกเบี้ยติดลบ...
OPTIMUM VIEW
I am a Demon พิเชษฐ กลั่นชื่น ถอดหัวโขนเพื่อแสวงหาเนื้อแท้ ของคำ�ว่า ‘วัฒนธรรม’
กฎข้อบังคับที่ผ่อนคลาย และความสนใจของเหล่า มหาเศรษฐีเอเชียที่กำ�ลังเพิ่มมากขึ้น ทำ�ให้ภูเก็ต ฝันหวานถึงการเป็นศูนย์กลางเรือซูเปอร์ยอชท์ แห่งภูมิภาค
จัดทำ�โดย สื่อสารองค์กร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ผลิตโดย บริษัท เอเชีย ซิตี้ พับบลิชชิ่ง (ไทยแลนด์) จำ�กัด
STATE OF THE ARTS
Local Luxe นักออกแบบของตกแต่งบ้านระดับแนวหน้า ของกรุงเทพฯ เปิดโรงงานแสดงเหตุผล ที่บริษัทลักชัวรีเลือกไทยเป็นฐานธุรกิจ
42
32
Baba Reborn
Lombard Loan ผลิตภัณฑ์สินเชื่อสำ�หรับการลงทุนที่พิสูจน์ มาตรฐาน Private Banking ระดับสากล At Your Service ธนาคารเกียรตินาคิน เปิด Financial Hub แห่งแรก เพื่อให้คำ�ปรึกษาด้านการลงทุน อย่างครบวงจร
OPTIMISE | APRIL 2016
บรรณาธิการที่ปรึกษา ธัญญ์นภัส นราศิริอภิพงษ์
Full Speed Ahead
28
SERVING YOU
04
ที่ปรึกษา บรรยง พงษ์พานิช อภินันท์ เกลียวปฏินนท์ กฤติยา วีรบุรุษ
บรรณาธิการ ธนกร จ๋วงพานิช
THE FAST LANE
12
Team
Contact
BEYOND BOUNDARIES
เบื้องหลังตึกแถวสวยขึ้นกล้อง คือมรดกทาง วัฒนธรรม ‘เปอรานากัน’ ที่หยั่งรากลึกของ เมืองภูเก็ต
56
LIVING SPACE
Against the Flow ท่ามกลางกระแสการหวนคืนสู่ริมแม่น้ำ� แนวทางการ พัฒนาแบบเริ่มจากรัฐ ปะทะแนวทางการพัฒนาแบบ เริ่มจากชุมชน
60
THE AGENDA
กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร 209 อาคาร เค ทาวเวอร์ ถนนสุขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร. 02 165 5555 ต่อ 3876
www.kiatnakinphatra.com E-mail: corporate.communications@kiatnakin.co.th corporate.communications@phatracapital.com
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 โดยกลุ่มธุรกิจการเงิน เกียรตินาคินภัทร ห้ามนำ�ส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้ไปลอกเลียนแบบ ทำ�สำ�เนา ถ่ายเอกสาร หรือนำ�ไปเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต และเครือข่ายต่างๆ ไม่ว่าในรูปแบบใดๆ นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางบริษัทเท่านั้น OPTIMISE | APRIL 2016
05
ECONOMIC REVIEW
ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ และการลงทุนที่ต้องระวัง ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ และหัวหน้าสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน)
สำ�หรับปัจจัยต่างประเทศ ความเสี่ยงหลักน่าจะยังเป็น เรื่องของจีน ซึ่งรัฐบาลพยายาม สร้างความเชื่อมั่นว่าจะสามารถ นำ�พาให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวได้ ประมาณ 6.5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ในช่วง 5 ปีข้างหน้า 06
OPTIMISE | APRIL 2016
ตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดนัน้ สะท้อนว่าการฟืน้ ตัวทาง เศรษฐกิจของไทยทีด่ ดู ขี น้ึ ในช่วงปลายปี 2558 ทีผ่ า่ นมา กำ�ลังชะลอตัวลงอีกครัง้ หนึง่ ทำ�ให้หน่วยงานของรัฐ เช่น สภาพัฒน์และธนาคารแห่งประเทศไทยปรับตัวเลขการ คาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนล้ี ดลง การทีเ่ ศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 3 เปอร์เซนต์ในปีนจ้ี งึ กลายเป็นเรือ่ งทีท่ า้ ทาย สำ�หรับประเทศไทยนัน้ ปัจจัยเสีย่ งคือการส่งออก การบริโภคทีม่ ขี อ้ จำ�กัดและปัญหาภัยแล้ง ตลอดจน ความไม่แน่นอนทางการเมืองทีอ่ าจทำ�ให้การลงทุน ภาคเอกชนไม่ขยายตัวดังทีค่ าด (เพราะเอกชนอยากเห็น ความชัดเจนก่อนลงทุน) สำ�หรับปัจจัยต่างประเทศ ความเสีย่ งหลัก น่าจะยังเป็นเรือ่ งของจีน ซึง่ รัฐบาลพยายามสร้างความ เชือ่ มัน่ ว่าจะสามารถนำ�พาให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวได้ ประมาณ 6.5 เปอร์เซ็นต์ตอ่ ปี ในช่วง 5 ปีขา้ งหน้า โดย ในขณะเดียวกันก็ปฏิรปู โครงสร้างเศรษฐกิจโดยการลด อุตสาหกรรมหลัก (เหมืองแร่ ถ่านหิน เหล็ก ฯลฯ) และ อสังหาริมทรัพย์ลงและจัดสรรทรัพยากรส่วนเกิน (คือน่า จะต้องปิดบริษทั หรือลดขนาดบริษทั ลง ทำ�ให้ตอ้ งปลด คนงาน 5 - 6 ล้านคน) ให้เข้ามาในภาคบริการมูลค่าสูง แทน ซึง่ จะทำ�ให้จนี พึง่ พาภาคอุตสาหกรรมและการ ส่งออกลดลงและหันมาขยายภาคบริการและการบริโภค ในประเทศมากขึน้ ตรงนีเ้ ป็นเรือ่ งทีพ่ ดู ง่ายแต่ท�ำ ให้ เกิดขึน้ จริงได้ยาก การทีป่ จั จุบนั ภาคเอกชนจีนมีหนีส้ นิ ประมาณ 200 เปอร์เซนต์ของจีดพี ี แต่สนิ เชือ่ ยังขยายตัว 13 เปอร์เซนต์ตอ่ ปี แปลว่ายอดหนีย้ งั เพิม่ 26 เปอร์เซนต์ เมือ่ เทียบกับจีดพี ี ในขณะทีร่ ฐั บาลตัง้ เป้าให้จดี พี ี (บวก เงินเฟ้อ) ขยายตัว 9 เปอร์เซนต์ตอ่ ปี ผมเปรียบเทียบจีดพี เี ป็นเสมือนยอดขายของบริษทั ดังนัน้ ธุรกิจทีส่ ร้างหนีเ้ พิม่ ขึน้ ปีละ 26 เปอร์เซนต์ของยอด ขาย แต่ยอดขายเพิม่ ขึน้ แค่ปลี ะ 9 เปอร์เซนต์ ซึง่ หากไม่ แก้ตรงนี้ ย่อมจะมีปญ ั หาอย่างแน่นอน ทีส่ �ำ คัญคือใน ระหว่างนีค้ วามกังวลเกีย่ วกับเศรษฐกิจจะทำ�ให้นกั ลงทุน ขาดความเชือ่ มัน่ คนพยายามเอาเงินออกนอกประเทศ ในขณะทีธ่ นาคารกลางสูญเสียทุนสำ�รองเพิม่ ขึน้ ทำ�ให้
ความกังวลทีว่ า่ เงินหยวนจะอ่อนค่าอย่างมีนยั สำ�คัญ เป็นประเด็นความเสีย่ งของเศรษฐกิจจีนตลอดปีน้ี ซึง่ ย่อมจะส่งผลกระทบต่อประเทศอืน่ ๆ โดยเฉพาะใน เอเชีย สำ�หรับไทยนัน้ จีนเป็นตลาดส่งออกทีส่ �ำ คัญและ เศรษฐกิจจีนยังมีผลต่อราคาสินค้าเกษตร ในขณะทีก่ าร อ่อนตัวลงของค่าเงินหยวนก็ยอ่ มจะต้องทำ�ให้เงินบาท อ่อนค่าลงเช่นกัน แต่ในบางช่วงซึง่ ดูเสมือนว่าจีนควบคุมสถานการณ์ ได้และทำ�ให้อตั ราการแลกเปลีย่ นเงินหยวนมีเสถียรภาพ ก็อาจเกิดภาพตรงกันข้ามคือเงินบาทแข็งค่าขึน้ อย่าง ต่อเนือ่ ง เพราะไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอยูม่ ากและ ดอกเบีย้ นโยบายของไทยก็คอ่ นข้างสูง (1.5 เปอร์เซ็นต์) เมือ่ เทียบกับประเทศเศรษฐกิจหลักทีด่ อกเบีย้ นโยบาย ใกล้ศนู ย์หรือติดลบ ทำ�ให้เงินทุนระยะสัน้ ไหลเข้ามาหา ประโยชน์จากส่วนต่างของดอกเบีย้ จึงต้องระมัดระวัง เกีย่ วกับความผันผวนของอัตราแลกเปลีย่ นเป็นอย่างยิง่ นอกจากนัน้ การเพิม่ เติมนโยบายพิมพ์เงินใหม่ มาซือ้ พันธบัตร (คิวอี) ของธนาคารกลางยุโรปและญีป่ นุ่ ้ �ำ่ เพือ่ ลดค่าเงินของประเทศของตน เนือ่ งจากเงินเฟอต กว่าเป้ามาก ก็ยอ่ มจะทำ�ให้เกิดความผันผวนของอัตรา แลกเปลีย่ นและราคาหุน้ อย่างมาก ดังทีเ่ ห็นอยูบ่ อ่ ยครัง้ ในปีนแ้ี ละปีกอ่ นๆ ว่ารัฐบาลประเทศหลักไม่สามารถ กระตุน้ ให้เศรษฐกิจฟืน้ ตัวได้จงึ ต้องใช้มาตรการที่ ‘สุดโต่ง’ ซึง่ หลายครัง้ สร้างความผันผวนและบางครัง้ ก็สง่ ผลกระทบทีไ่ ม่ได้คาดฝันมาก่อน ในสภาวการณ์ดงั กล่าว เราควรจะจัดพอร์ตการ ลงทุนของเราอย่างไร ประเด็นทีค่ วรนำ�ไปพิจารณาคือ 1. การลงทุนในหุน้ ก็ยงั ให้ผลตอบแทนทีส่ งู ทีส่ ดุ ใน ระยะยาว แต่กเ็ ป็นการลงทุนทีม่ คี วามเสีย่ งสูงสุด จึงจะ ต้องลงทุนอยูบ่ นพืน้ ฐานของข้อมูลทีร่ อบด้าน สามารถ กระจายความเสีย่ งไปในประเทศหลักของโลก ไม่ใช่การ คาดหวังจะเลือกหุน้ เด็ดในเมืองไทย หนังสือ A Random Walk Down Wall Street โดย ศ. เบอร์ตนั มาลเคียล กล่าวว่าการตัดสินใจที่สำ�คัญที่สุดของการลงทุนคือ การจัดสรรการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ได้แก่ หุ้น พันธบัตร กองทุน อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ โดยได้มี
การวิจัยพบว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาว นั้นกว่า 90 เปอร์เซนต์ ได้มาจากการจัดสรรการลงทุนที่ เหมาะสม (asset allocation) ส่วนผลจากการเลือกตัว หุ้นนั้นจะให้ผลตอบแทนการลงทุนไม่ถงึ 10 เปอร์เซนต์ 2. การลงทุนในพันธบัตรในสภาวะปัจจุบนั เป็น เรือ่ งทีท่ า้ ทายเป็นพิเศษ เพราะมาตรการคิวอีท�ำ ให้ผล ตอบแทนพันธบัตรถูกบิดเบือนและอยูใ่ นเกณฑ์ต�ำ่ กว่า ปกติ แปลว่านักลงทุนควรยอมรับผลตอบแทนทีต่ �ำ่ ลง เพือ่ ลดความเสีย่ ง (แทนทีจ่ ะยอมเพิม่ ความเสีย่ งเพราะ ไม่อยากเห็นผลตอบแทนลดลง) 3. ในปีนร้ี าคาทองคำ�ปรับตัวสูงขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง ทัง้ ๆ ทีโ่ ลกเสีย่ งกับปัญหาเงินฝืดมากกว่าปัญหาเงินเฟ้อ ซึง่ น่าจะเป็นผลมาจากการทีธ่ นาคารกลางของประเทศ หลักเร่งพิมพ์สกุลเงินของตนเองเพิม่ ขึน้ เพือ่ หวังฟืน้ เศรษฐกิจ แต่ดเู หมือนว่าจะยิง่ ทำ�ให้บคุ คลทัว่ ไปให้ ความเชือ่ มัน่ ในเงินสกุลหลักลดลงและต้องการถือครอง สินทรัพย์ทม่ี คี วามมัน่ คงมากกว่า เช่น ทองคำ� ตรงนีจ้ ะ ต้องระมัดระวังว่าทองคำ�นัน้ ปกติใช้ในการลงทุนเมือ่ กลัวปัญหาเงินเฟ้อ และในสภาวะปกติทองคำ�จะให้ผล ตอบแทนต�ำ่ กล่าวคือ ภัทรแนะนำ�ให้ถอื ทองคำ�เป็น เพียงส่วนย่อยของพอร์ตการลงทุนทัง้ หมด ในยุคทีเ่ ศรษฐกิจโลกฟืน้ ตัวอย่างเปราะบาง มีก�ำ ลังการผลิตส่วนเกิน และมีปญ ั หาหนีส้ นิ นัน้ รัฐบาล ของประเทศหลักจำ�ต้องดำ�เนินนโยบายการเงินที่ แหวกแนว ซึง่ อาจทำ�ให้เกิดความผันผวนมากกว่าปกติ และส่งผลกระทบข้างเคียงทีไ่ ม่สามารถคาดการณ์ได้ ดังนัน้ การลงทุนในระดับบุคคลจึงยิง่ จะต้องยืนอยูบ่ น พืน้ ฐานของความรูแ้ ละข้อมูลทีค่ รบถ้วนและทันท่วงที การลงทุนควรกระจายความเสีย่ งอยางเหมาะสม (ทัง้ ในเชิงของประเภทสินทรัพย์และประเทศหลักทีค่ วร ไปลงทุน) และลดการคาดหวังผลตอบแทนลง เพือ่ มิให้ ต้องเผชิญกับความเสีย่ งมากเกินไป โดยผมมีความเห็น ว่าผลตอบแทนประมาณ 5 เปอร์เซนต์ตอ่ ปี ก็คอ่ นข้างสูง และเป็นทีน่ า่ พอใจในสภาวการณ์ปจั จุบนั ครับ
OPTIMISE | APRIL 2016
07
INVESTMENT REVIEW
เมื่อดอกเบี้ยติดลบ... ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และหัวหน้าทีมวิจัยลูกค้าบุคคล สายงานลูกค้าบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน)
แม้แต่นักวิชาการ และนักเศรษฐศาสตร์ ทั่วไปก็เคยเข้าใจกันว่า อัตราดอกเบี้ยต่ำ�กว่า ศูนย์ไม่ได้ และโมเดล ในการทำ�นายอัตรา ดอกเบี้ยหลายโมเดล ยังไม่สามารถทำ�งานได้ เมื่อดอกเบี้ยแตะศูนย์ หรือติดลบ
08
OPTIMISE | APRIL 2016
หลายๆ คนคงประหลาดใจไม่น้อย เมื่อได้ยินว่า มีการใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบโดยธนาคารกลาง ขนาดใหญ่ของโลกหลายแห่ง ดอกเบี้ยติดลบแปล ว่าอะไร และมีผลต่อการลงทุนของนักลงทุนอย่างไร โดยทั่วไปแล้ว ‘อัตราดอกเบี้ย’ คืออัตราผล ตอบแทนที่ผู้ให้กู้คิดกับผู้กู้ แลกกับการให้ ‘เงิน’ ไปใช้ชั่วคราวในระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติก็จะคิด กันเป็นอัตราร้อยละต่อช่วงเวลา และเป็นที่เข้าใจ กันโดยทั่วไปว่า อัตราดอกเบี้ยจะต้องเป็นบวก หรือ อย่างต่ำ�ที่สุดก็เป็นแค่ศูนย์เท่านั้น (คือให้ยืมกัน ฟรีๆ) เพราะถ้าผู้ให้กู้ได้ ‘ดอกเบี้ยติดลบ’ หรือผู้ให้กู้ ต้อง ‘จ่าย’ เพื่อให้ผู้กู้นำ�เงินไปใช้ ผู้ให้กู้น่าจะมีทาง เลือกคือเก็บเงินนั้นไว้เฉยๆ ดีกว่า หนึ่งในหน้าที่ของ ‘เงิน’ คือการรักษามูลค่า (store of value) ถ้าดอกเบี้ยน้อยกว่าศูนย์ ผู้ให้กู้นั้น ก็น่าจะเก็บเงินไว้กับตัว เหมือนเอาเงินขุดฝังตุ่มไว้ กลับมาก็มีค่าเท่าเดิม แม้แต่นักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์ทั่วไป ก็เคยเข้าใจกันว่าอัตราดอกเบี้ยต่ำ�กว่าศูนย์ไม่ได้ และโมเดลในการทำ�นายอัตราดอกเบี้ยหลายโมเดล ยังไม่สามารถทำ�งานได้เมื่อดอกเบี้ยแตะศูนย์หรือ ติดลบ! แต่ไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลังจากเศรษฐกิจโลกมี ความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืด ธนาคารกลางทั่วโลก มีนโยบายลดอัตราดอกเบี้ยจนเหลือศูนย์ แต่ยังไม่ เพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงเริ่มฉีกตำ�รา เศรษฐศาสตร์ทีละหน้า โดยเริ่มจากการทำ� ‘การ กระตุ้นเชิงปริมาณ’ หรือ quantitative easing โดย การซื้อสินทรัพย์อัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการ เงินโดยตรง แบบที่ไม่เคยทำ�มาก่อน จนงบดุลของ ธนาคารกลางใหญ่ๆ ทั่วโลกขยายใหญ่แบบที่เห็น ธนาคารกลางหลายแห่งกลายเป็นเจ้าหนี้ รายใหญ่ของรัฐบาล (เพราะซื้อพันธบัตรรัฐบาลไว้ เยอะมาก) และในบางประเทศ ธนาคารกลางไล่ซื้อ สินทรัพย์จนแทบจะไม่มีสินทรัพย์เหลือให้ซื้อ ต้องเพิ่มประเภทของสินทรัพย์ที่จะให้ซื้ออยู่เนืองๆ แต่ปัญหาคือ ภาคธนาคารในหลายประเทศยัง ไม่กล้าเอาสภาพคล่องที่ถูกจับยัดใส่มือไปปล่อย
กู้ให้เป็นสภาพคล่องในระบบ เนื่องจากสภาพ เศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืด เงินที่ถูก อัดฉีดเข้าระบบธนาคาร จึงค้างอยู่กับธนาคารกลาง เป็นจำ�นวนมาก ไม่ได้ถูกเอาไปหมุนเพิ่มสภาพ คล่องอย่างที่ตั้งใจ ผลที่ตามมาคือ ธนาคารกลางหลายแห่งต้อง ฉีกตำ�ราธนาคารกลางอีกหน้า แล้วเริ่ม ‘ทดลอง’ นำ�นโยบาย ‘ดอกเบี้ยติดลบ’ มาใช้ เพื่อเหตุผล สองประการ หนึ่ง คือเพื่อไล่ให้ภาคธนาคาร นำ�เงินไปปล่อยกู้หมุนต่อในระบบ ไม่นำ�มาทิ้งค้าง ไว้เฉยๆ อยู่กับธนาคารกลาง และสอง คือเป็นการ ไล่เงินออกจากประเทศ ไม่ให้ถูกเงินจากต่าง ประเทศเข้ามากดดันทำ�ให้ค่าเงินของตนแข็งเกินไป หรือบางประเทศก็คงอยากเห็นเงินตัวเองอ่อนไปอีก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ปัจจุบันมีธนาคารกลางที่ใช้นโยบายดอกเบี้ย ติดลบแล้วอย่างน้อย 5 ธนาคารกลาง ได้แก่ ธนาคารกลางยุโรป ธนาคารกลางของสวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน และญี่ปุ่น และแม้จะมี การใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบแล้วยังไม่ได้ผลตาม ที่คาด ก็ยังมีการประกาศให้ดอกเบี้ยติดลบมาก ขึ้นอีก จนมีคนตั้งข้อสังเกตว่าขีดจำ�กัดของการใช้ นโยบายแบบนี้อยู่ตรงไหน และถ้าไม่ได้ผลจริงๆ อะไรจะเป็นทางเลือกในการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป แต่เมื่อธนาคารกลางใหญ่ๆ เหล่านี้นำ�อัตรา ดอกเบี้ยติดลบมาใช้กับธนาคารพาณิชย์ แม้ว่า อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์คิดกับผู้ฝากเงินจะ ยังไม่ติดลบ ประชาชนทั่วไปก็หลีกเลี่ยงผลกระทบที่ ตามมาไม่ได้ เพราะอัตราดอกเบี้ยในตลาด การเงิน และตลาดพันธบัตรรัฐบาลก็ติดลบตาม ไปด้วย เนื่องจากเมื่อธนาคารพาณิชย์มีเงินเหลือ ก็ยอมไล่ซื้อพันธบัตรรัฐบาลจนผลตอบแทนติดลบ ดีกว่าจะไปให้ธนาคารกลางคิดดอกเบี้ย กองทุน พันธบัตร กองทุนตลาดเงิน ที่ประชาชนทั่วไปเคย ใช้เป็นทางเลือกในการลงทุนคงเห็นผลขาดทุนแบบ แทบจะแน่นอน แปลว่าเราได้เข้าสู่ยุคที่คนยอมจ่ายเงินมากกว่า มูลค่าหน้าตั๋วในวันนี้ เพื่อแลกกับกระดาษที่จะจ่าย
OPTIMISE | APRIL 2016
09
INVESTMENT REVIEW
ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลประเทศต่างๆ (เปอร์เซ็นต์) ณ วันที่ 7 มีนาคม 2559
เราได้เข้าสู่ยุคที่คน ยอมจ่ายเงินมากกว่า มูลค่าหน้าตั๋วในวันนี้ เพื่อแลกกับกระดาษที่ จะจ่ายเงินคืนกลับมาที่ มูลค่าหน้าตั๋วในอนาคต หรือเรียกว่ายอมขาดทุน แบบไม่มีความเสี่ยง และ พันธบัตรมูลค่ามหาศาล ทั่วโลกเริ่มมีผลตอบแทน ติดลบกันแล้ว
ที่มา: www.bloomberg.com, บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน)
เงินคืนกลับมาที่มูลค่าหน้าตั๋วในอนาคต หรือเรียก ว่ายอมขาดทุนแบบไม่มีความเสี่ยง และพันธบัตร มูลค่ามหาศาลทั่วโลกเริ่มมีผลตอบแทนติดลบกัน แล้ว โดยพันธบัตรรัฐบาลเยอรมันติดลบไปจนถึงอายุ 7 - 8 ปี ในขณะที่พันธบัตรอายุ 10 ปีของญี่ปุ่นมีผล ตอบแทนติดลบ เช่นกัน นอกจากนี้ ตัวธนาคารเองก็ยอมให้ธนาคารอื่นๆ ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยติดลบ (แถมเงินให้ด้วย) เพื่อ ให้เงินส่วนเกินนั้นกลายเป็นปัญหาของธนาคารอื่น สาเหตุหนึ่งที่อัตราดอกเบี้ยนั้นสามารถติดลบได้ ถ้วนหน้า โดยคนไม่ถอนไปถือเงินสดแบบที่ทฤษฎีว่า ไว้ น่าจะเป็นเพราะในความเป็นจริงนั้นการถือเงินสด ก็มีต้นทุน ธนาคารที่มีเงินเหลือยินดีให้ธนาคารกลาง คิดค่าเก็บ ดีกว่าถอนออกมาเป็นเงินสดเก็บไว้ใน ห้องนิรภัย แต่นั่นหมายความว่า ถ้าดอกเบี้ยติดลบ ไปมากๆ อาจจะ ‘คุ้ม’ ที่จะถอนออกมาเก็บไว้จริงๆ แต่นั่นจะเป็นการดูดเงินออกจากระบบทำ�ให้การ หมุนเวียนของสภาพคล่องแย่ไปกว่าเดิม และอาจจะ เป็นข้อจำ�กัดของการใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ อย่างไรก็ดี ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ได้มีเพียงแค่ การลงทุนในประเทศที่ใช้ดอกเบี้ยติดลบเท่านั้น
10
OPTIMISE | APRIL 2016
แม้เราคิดว่าอัตราดอกเบี้ยบ้านเราต่ำ�แล้ว แต่เมื่อ เทียบกับอัตราดอกเบี้ยติดลบในประเทศเหล่านี้ อัตราดอกเบี้ยบ้านเราอาจจะดูสูงไปเลยก็ได้ ทำ�ให้ เริ่มเห็นเงินทุนไหลเข้ามาสู่ตลาดพันธบัตรประเทศ เกิดใหม่ทั้งหลาย รวมถึงไทยด้วย ซึ่งกดดันทั้งค่าเงิน และทำ�ให้อัตราดอกเบี้ยของเราต่ำ�ลง และด้วยสภาพ แนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังไม่ค่อยสดใสนัก ก็ยิ่งทำ�ให้ผล ตอบแทนระยะยาวของเราลดต่ำ�ลงไปอีก ภาพของอัตราผลตอบแทนโดยรวมของการลงทุน จึงอยู่ในสภาพต่ำ�กันถ้วนหน้า การลงทุนที่ยังให้ผล ตอบแทนค่อนข้างดี ก็จะเป็นที่ต้องการและถูกไล่ราคา ขึ้นไป จนทำ�ให้ผลตอบแทนเริ่มลดต่ำ�ลง นักลงทุนที่ เคยคุ้นกับการได้ผลตอบแทน 4 - 5 เปอร์เซ็นต์ แบบ ไร้ความเสี่ยง (เช่นเงินฝากธนาคาร หรือพันธบัตร เอกชนคุณภาพดี) อาจจะพบว่าหาการลงทุนแบบนั้น ได้ยากขึ้นทุกที ในฐานะนักลงทุน มีความจำ�เป็นที่เราต้อง วางแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และอาจมีความจำ�เป็นมากขึ้นที่นักลงทุนจะต้อง เลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เพื่อไม่ ให้ผลตอบแทนของการลงทุนลดต่ำ�ลงมากเกินไป
(ซึ่งก็จะนำ�ไปสู่ความเสี่ยงในอีกลักษณะหนึ่ง) ในขณะเดียวกัน ก็ต้องให้ความสำ�คัญกับการรักษา ระดับความเสี่ยงของการลงทุนโดยรวมให้อยู่ในระดับ ที่รับได้และบริหารจัดการได้ การกระจายความเสี่ยงไปในการลงทุนหลาย ประเภท จัดสรรเงินลงทุนให้เหมาะสม และการ ศึกษาทางเลือกในการลงทุน จึงเป็นเรื่องที่สำ�คัญ ยิ่งในภาวะปัจจุบัน ทางเลือกในการลงทุนที่ให้ ผลตอบแทนน่าสนใจและสม่ำ�เสมอ เช่น กองทุน อสังหาริมทรัพย์และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่มี สภาพคล่องสูงยังคงน่าสนใจอยู่ อย่างไรก็ดี ปัญหาคือเรายังไม่ค่อยแน่ใจนักว่า ภาวะที่เราเห็นอยู่เช่นนี้จะนำ�ไปสู่ทางออกใด และ ผลกระทบจะเป็นอย่างไรในอนาคต ซึ่งอาจพูดได้ ว่าเรากำ�ลังอยู่ในดินแดนที่ไม่เคยมีใครไปมาก่อน และเป็นการทดลองทางนโยบายครั้งใหญ่ ที่แม้แต่ ธนาคารกลางที่นำ�นโยบายเหล่านี้ออกมาใช้อาจจะ ไม่ค่อยแน่ใจนักว่าจะจบอย่างไร จับตาดู และติดตามสถานการณ์กันดีๆ ครับ
ความสำเร็จทางการเงินของคุณ คือความสำคัญอันดับแรกของเรา
PRIORITY บริการพิเศษทางการเงินสำหรับลูกคาที่มียอดเงินฝาก และการลงทุน 10 ลานบาทขึ้นไป มุงใหคำปรึกษาโดยใสใจทุกความตองการ เพื่อความสำเร็จทางการเงินขั้นสูงสุด
OPTIMISE | APRIL 2016
11
optimum view
I am a Demon ธนกร จ๋วงพานิช
พิเชษฐ กลัน่ ชืน่ ถอดหัวโขนเพือ่ แสวงหาเนือ้ แท้ ของคำ�ว่า ‘วัฒนธรรม’ เมือ่ มองในแวบแรก การแสดงทีม่ แี ต่ผชู้ ายนุง่ กางเกงขาสัน้ เกือบจะเป็นถกเขมรเพียงตัวเดียวแล้วรำ�ท่าซ�ำ้ ๆ ภายใต้ไฟสลัว และเงามืด โดยไม่มเี นือ้ เรือ่ ง ไม่มคี รู่ �ำ กลับมีแต่การฉายภาพ และเทปอัดเสียงของครูนาฏศิลป์ประกอบเป็นระยะ ย่อมทำ�ให้ I am a Demon หรือผลงานโซโล่ของพิเชษฐ กลัน่ ชืน่ เป็นการแสดง ทีห่ า่ งกันไกลกับคำ�ว่า ‘โขน’ ทีค่ นรูจ้ กั อย่างไรก็ตาม หากระงับความพะวงถึงเศียร พัสตราภรณ์ ตลอดจนเสียงของมโหรีปพ่ี าทย์เพียงชัว่ ครู่ ก็จะพบว่ากล้ามเนือ้ ของพิเชษฐซึง่ บีบดัดตามท่ารำ�จนเครียดและคลายเป็นระลอก นัน้ แม้ทา่ มกลางความเงียบและไฟสลัว ก็ยงั เหมือนกับจะมี ท่วงทำ�นองและความนัยเป็นของตัวเอง ยิง่ เมือ่ พิเชษฐรำ�ถึง ‘แม่ทา่ ยักษ์’ อันเป็นกระบวนท่าสำ�หรับฝึกนักเรียนนาฏศิลป์ ฝ่ายยักษ์ เงาของเขาทีถ่ กู ไฟสปอตไลท์สอ่ งไปทาบกับผนังพลัน ดูยง่ิ ใหญ่ องอาจและเต็มไปด้วยบารมี จนทำ�ให้คนดูไม่สงสัยอีก ต่อไปว่าเขากำ�ลังแสดงโขนในบทของท้าวราพณาสูรแห่งลงกา หรือพูดให้ถกู ก็คอื แสดงศิลปะของ ‘ยักษ์’ ซึง่ พิเชษฐเห็นว่าเป็น สากลและทรงพลังพอจะสือ่ สารผ่านกาลเวลาได้ แม้ในยามทีช่ อ่ื ของทศกัณฐ์และมโหรีของโขนอาจเริม่ เงียบเสียงไปจากสังคมแล้ว
ถอดเครือ่ งทรง
“ผมพยายามอธิบายตลอดเวลาว่า อะไรคือโขน อะไรคือ แดนซ์ อะไรคือรามเกียรติ์ รามเกียรติค์ อื ตำ�นาน เรือ่ งเล่า ทีถ่ กู เขียนออกมาเป็นหนังสือเล่มหนึง่ แต่พอเราทำ�ให้มนั เป็นการแสดง เราเรียกมันว่าโขน แต่ถามว่าโขนเป็นแดนซ์ไหม เปล่า---โขนเป็น ‘dance theater’ คือเป็นการแสดงบนเวทีกบั การเต้นรวมกัน อ้าว---แล้วแดนซ์จริงๆ คืออะไร เสือ้ ผ้าเป็นแดนซ์ไหม ไม่ใช่กเ็ อา ออกไป ดนตรีเป็นไหม ไม่ใช่กเ็ อาดนตรีออกไปอีก บทประพันธ์คอื รามเกียรติก์ ไ็ ม่ใช่ ก็เอาบทประพันธ์ออกไปด้วย นีค่ อื การแยกแยะ ของเหล่านี้ ดนตรีหรือบทประพันธ์อาจอยูไ่ ด้ดว้ ยตัวมันเองอยูแ่ ล้ว ไม่ตอ้ งมีแดนซ์กไ็ ด้ แต่ถามว่าตัวแดนซ์เองอยูไ่ ด้ไหมถ้าไม่มดี นตรี ไม่มบี ทประพันธ์ มีคนบอกว่าไม่ได้ แต่ผมว่าไม่จริง ตัวแดนซ์อยูไ่ ด้ ด้วยตัวเอง นัน่ คือเหตุผลทีผ่ มถอดทุกอย่างออกไป เพือ่ ให้เห็นว่านี่ คือเนือ้ แท้เลยนะ นีค่ อื ร่างกาย การเคลือ่ นไหว เนือ้ แท้ของโขน …งานผมให้ความสำ�คัญกับการศึกษาแยกแยะ เพราะนีค่ อื จุดบอดของเรา เราไม่เคยรูว้ า่ โครงสร้างของโขนเป็นยังไง ร่างกาย เป็นยังไง วิธกี ารเคลือ่ นไหวยังไง ผมจึงสร้าง I am Demon ออกมา เพือ่ deconstruct องค์ประกอบของโขนออกมาให้เห็นทัง้ หมด แล้ว ผมก็ท�ำ ‘พระคเณศร์เสียงา’ 3 รูปแบบ แบบคลาสสิก แบบโมเดิรน์
12
OPTIMISE | APRIL 2016
และก็แบบคอนเทมโพรารี เล่นทีเดียวติดต่อกัน 2 ชัว่ โมงเพือ่ ทีค่ น จะได้เห็นว่า อ๋อ---คลาสสิกเป็นแบบนี้ โมเดิรน์ เป็นแบบนี้ เห็นมัน หลุดไปทีละส่วน งาน Pichet Klunchun and Myself ก็เหมือนกัน เป็นการพูดถึงโครงสร้างของโขนทัง้ หมดว่ามีองค์ประกอบอะไร ดูยงั ไง มีอะไรทีซ่ อ่ นอยู่ …แต่การทำ� I am a Demon ออกมาอันตราย เพราะเป็น งานทีถ่ อดสิง่ ทีค่ นอืน่ สร้างออกหมด ไม่วา่ เสือ้ ผ้า ดนตรี จิตรกรรม เหลือแต่ฉนั ร่างกายของฉัน การเคลือ่ นไหวของฉัน เหมือนเป็นการ ประกาศอิสรภาพ อยูด่ ๆี มาประกาศอิสรภาพนีโ่ ดนถล่มเละเลย ทัง้ จากศิลปกรรม จุฬาฯ กรมศิลปากร เพือ่ นทีเ่ รียนมาด้วยกัน ตอนนัน้ ผมเศร้ามากแต่ไม่ยอมแพ้ ยิง่ แรงกับผม ผมยิง่ แรงกลับ อ้าว---คุณให้วชิ าผมมาแล้วไม่ใช่เหรอ ทำ�ไมสาขาวิชาอืน่ มอบวิชา ให้แล้ว ลูกศิษย์เอาไปประกอบอาชีพได้ ทำ�ไมสาขาวิชานี้ ผมเรียน มาแล้ว ผมจะเอามารือ้ เอามาทำ�เองไม่ได้ แล้วผมจะเรียนมาทำ�ไม นีค่ อื ความคิดประหลาดมาก สาขาวิชาอืน่ ทำ�ได้หมด แต่นาฏศิลป์ รือ้ ไม่ได้ พูดไปพูดมาบอก ‘เป็นของสูง’ จบเลย”
เริม่ จับมือ
การฟังอย่างนีป้ ระกอบการไล่ดเู รซูเม่ยาวเหยียดของพิเชษฐ ไม่วา่ จะเป็นการทีเ่ ขาได้รบั ทุน Asian Cultural Council ให้ไปเรียน Contemporary Dance ทีส่ หรัฐอเมริกา การร่วมงานกับยอดศิลปิน โพสต์โมเดิรน์ เฌอโรม เบล ในงานชือ่ Pichet Klunchun and Myself ตลอดจนการรับเครือ่ งอิสริยาภรณ์ Ordre des Arts et des Lettres ของฝรัง่ เศส และโกยรางวัลระดับสากลอย่าง European Cultural Foundation’s Princess Margriet Award for Culture และ John D. Rockefeller Award มาครอบครอง อาจ ทำ�ให้เป็นการง่ายทีจ่ ะสรุปว่าพิเชษฐมีความเห็นรุนแรงต่อระเบียบ แบบแผนของไทยเพราะเขา ‘ถูกฝรัง่ ครอบ’ อย่างไรก็ตามภายใต้ กิง่ ก้านสาขาทีเ่ ป็นสากลนัน้ พิเชษฐมีรากทีห่ ยัง่ ลึกในความเป็น ไทยมากกว่าทีห่ ลายคนตระหนัก เพราะในขณะทีค่ นอืน่ อาจเห็น วัฒนธรรมไทยอย่างเช่นโขนเป็นเพียงมรดกของชาติ แต่ส�ำ หรับพิ เชษฐ สิง่ นีถ้ อื เป็นหลักยึดเหนีย่ วเดียวของชีวติ ในวัยเด็ก เดิมพิเชษฐเป็นคนฉะเชิงเทรา แต่เนือ่ งจากฐานะทางการเงิน ของทีบ่ า้ นไม่ดี พ่อกับแม่จงึ ส่งเขามาอยูก่ บั ป้าทีก่ รุงเทพฯ “ผมเชือ่ มต่อกับทุกอย่างไม่ได้เลย การเข้ามากรุงเทพฯ หนึง่ คือ ไม่มกี ารวางแผน สอง คือไม่รตู้ วั คุณป้าบอกจะเอาไปแล้วก็เอา ไปเลย พ่อกับแม่กย็ กให้มา ผมไม่กล้าทำ�อะไรเลยนอกจากขึน้ รถ ตอนเช้าไปโรงเรียน และ 4 โมงเย็นกลับบ้าน เพราะกลัวหลุดไป OPTIMISE | APRIL 2016
13
optimum view
เราเชื่อในการอนุรักษ์ที่บอกว่าสิ่งๆ หนึ่ง ต้องอยู่แบบเดิม แต่ไม่เชื่อในการอนุรักษ์ที่สิ่งๆ นั้น มันอยู่แล้วใช้ได้จริง เวลาเกิดการเปลี่ยนแปลงเราจะ ไม่ยอมรับ เพราะเราเป็นประเทศขี้เกียจ เราไม่ชอบ เรียนรู้สิ่งใหม่ เราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลง จะทำ�ให้ เราโง่ลง จากเส้นทาง” พิเชษฐเล่า ความรู้สึกแปลกแยกนี้ ยังคงมีอยู่จวบจนเขาขึ้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดย ทุกวันเขาจะพยายามเก็บตัวอยู่ที่โรงเรียนไม่ยอม กลับบ้านและได้รู้จักกับนาฏศิลป์ไทยเพียงเพราะ ห้องดนตรีไทยจะเป็นห้องสุดท้ายของโรงเรียนที่ ภารโรงเดินมาปิด แต่ห้องนี้เองที่เป็นที่ๆ เขาได้ พบกับ ครูชยั ยศ คุม้ มณี ครูโขนอาวุโสของกรม ศิลปากรซึง่ มีชอ่ื เสียงลำ�ดับต้นๆ ของประเทศ ผูจ้ ะ ต่อวิชาโขนให้กบั เขาและเป็นผูท้ เ่ี ขาจะเรียกว่า ‘พ่อ’ ต่อมา “วันแรกพ่อเอาผ้าโจงมาให้ พ่อก็ถามใส่เป็น ไหม เราบอกไม่เป็น พ่อก็ใส่ให้ แล้วก็ให้ผมยืนเต้น เสา ถองสะเอวยาวไปเลย 3 ชัว่ โมง ถึงตาย วันแรก ขึน้ รถเมล์กลับบ้านแล้วเข่าอ่อนทรุดลงไปเลย แต่ก็ ไม่รเู้ หมือนกันว่าทำ�ไมกลับไปเรียนอีก เพราะพ่อไม่ สอนอะไรเลย ให้ผมเต้นเสา เอาเท้ากระทืบซีเมนต์ อย่างเดียว พอสัก 3 เดือน ผมก็ตดั สินใจไม่เอาแล้ว เพราะไม่มอี ะไรคืบหน้า อีกอย่างคือพ่อให้ดดั มือไป เรือ่ ยๆ จนกระดูกข้อหนึง่ มันปูดขึน้ มา ต้องผ่าเอา ออกไป กลายเป็นเหมือนบันทึกแห่งความรักทีแ่ ลก มาด้วยกระดูก 1 ข้อ เจออย่างนีผ้ มหนี 3 เดือน ไม่ไปอีกเลย …แต่สกั พักก็กลับไปอีก ไม่รทู้ �ำ ไม เจอหน้าพ่อ ก็ไม่ดุ แต่บอกวันเสาร์หน้าให้มาหาพ่อใหม่ ให้ใส่ ชุดขาวเอาดอกไม้ธปู เทียนมา แล้วพ่อก็พาผมไปหา ครูของพ่อ คือครูเจริญ เวชเกษม จำ�ได้เลยว่าเป็น บ้านไม้เก่าๆ มืดมาก ครูเจริญนัง่ อยู่ แก่มาก แล้ว พ่อก็บอก ‘พ่อ ผมพาลูกศิษย์มาฝาก มาให้พอ่ จับ มือสอนแม่ทา่ ที่ 1’ ครูเจริญก็จบั มือ จับนิว้ ลงวง เช็คทุกอย่างแล้วครูหนั ไปบอกพ่อว่า ‘เฮ้ย---ยศ กูวา่ เนีย่ มันจะเป็นยักษ์ทด่ี ใี นวันข้างหน้า’ ประโยค นีอ้ ยูใ่ นหัวจำ�แม่นเลย เสร็จแล้วก็กลับมาบ้าน นัน่ แหละถึงจะเป็นวันทีพ่ อ่ เริม่ ต่อท่าที่ 1 ให้ ทีผ่ า่ นมาเป็นแค่การลองใจว่าผมจะเอาจริง หรือเปล่าเท่านัน้ ...กระทัง่ ทุกวันนีเ้ วลาผมจะสอน ก่อนทีจ่ ะจับ ตัวเด็กสอนในลำ�ดับที่ 1 ผมก็ยงั ต้องขออนุญาต ครูผม ไปสอนฝรัง่ ผมก็ท�ำ แบบนี้ ผมจะบอกเลย ว่า ‘เธอต้องเอาดอกไม้มาให้ฉนั แต่ดอกไม้นไ้ี ม่ใช่ 14
OPTIMISE | APRIL 2016
ของฉัน ฉันจะเอาไปขออนุญาตครูฉนั อีกที เพือ่ บอก ครูฉนั ว่าฉันจะสอนเธอแล้ว’ และผมก็จะอธิบาย ให้ฝรัง่ ฟังว่าการกระทำ�อย่างนีเ้ ป็นเหมือนกับการ ส่งต่อคำ�สัญญาว่าเธอจะดูแลรักษาสิง่ นีต้ ลอดไป ไม่วา่ ด้วยวิธกี ารใดก็ตาม เธอจะเป็นผูช้ มทีด่ กี ไ็ ด้ ผูก้ ระทำ�ทีด่ กี ไ็ ด้ ผูส้ นับสนุนทีด่ กี ไ็ ด้ แต่เธอต้อง สัญญาว่ารับไปแล้วเธอจะดูแลสิง่ นีใ้ ห้ด”ี
เนือ้ แท้ของพิธี
เนือ่ งจากวัฒนธรรมโขนทีพ่ เิ ชษฐแรกรูจ้ กั เป็น สิง่ ทีม่ ากกว่าเศียร ภูษา หรือท่าเต้น หากเป็นเรือ่ ง ของสายใยแห่งความผูกพันที่ ‘ถึงกระดูก’ อย่างนี้ จึงไม่นา่ แปลกทีเ่ ขาจะรูส้ กึ อึดอัดกับวัฒนธรรม ในแบบทีเ่ ขาเห็นว่ากลวงเปล่าจากความหมาย ทีแ่ ท้จริง “สมัยก่อนมันยังไม่มแี บบแผนในการอนุรกั ษ์ ศิลปะ เพราะฉะนัน้ สิง่ เดียวทีค่ นสมัยก่อนมีคอื ความ จริงใจทีจ่ ะทำ�ให้ลกู ศิษย์เกิดความรัก ความศรัทธาใน ตัวครูขน้ึ มาอย่างแท้จริง เหมือนอย่างผมเรียนกับพ่อ อยู่ 16 ปี ผมไม่ตอ้ งจ่ายเงินเลย มีปญ ั หาอะไรวิง่ มา หาได้ค�ำ ปรึกษาตลอด เพียงแต่สกั พักหนึง่ เด็กเรียน จบแล้วต้องกลับหมูบ่ า้ น ไม่ได้อยูก่ บั ครูแล้ว จึงได้เริม่ มีการสร้างระบบความเชือ่ ในเรือ่ งครูทเ่ี ป็นเทวดา หรือ ผี เพือ่ เป็นระบบไร้สายทีจ่ ะตามไปกำ�กับลูกศิษย์อกี ชัน้ หนึง่ เอาพ่อแก่ไปวางไว้ทบ่ี า้ นเป็นตัวแทนของครู จะทำ�ผิดอะไร หันหน้าไปเจอพ่อแก่จะได้ เอ้า--พ่อแก่อยูต่ รงนีน้ ห่ี ว่า แต่กอ่ นจะมาเป็นอย่างนีม้ นั เริม่ จากตัวเนือ้ แท้มาก่อน … เนือ้ แท้ของสิง่ เหล่านี้ คือคำ�มัน่ สัญญาว่าจะ ดูแลศิลปะไปชัว่ ชีวติ ในขณะทีค่ นบอกว่าผมก้าวร้าว ผมพยายามทำ�ลายสิง่ ทีเ่ ป็นขนบธรรมเนียมประเพณี ทัง้ หมด แต่ถงึ วันสงกรานต์ ผมก็จะเอาพ่อแก่มาสรง น�ำ้ มาเช็ดตลอด เพราะผมมีความสุขทีไ่ ด้สมั ผัส ได้กระทำ� ผมทำ�เพราะผมยังรูส้ กึ เชือ่ มกับสิง่ เหล่า นีอ้ ยู่ เหมือนคนอีสานทีย่ งั อยากพูดอีสาน เหมือน คนใต้ทย่ี งั อยากกินเผ็ดหรือพูดใต้ ผมทำ�สิง่ เหล่านี้ โดยทีไ่ ม่ได้บอกใคร แต่ทกุ วันนีม้ นั กลายเป็นแฟชัน่ ไปแล้ว มันกลายเป็นการโชว์ขลังว่า กูพเิ ศษกว่ามึง กูมเี ทพ กูมเี ทวดา พวกมึงคนปกติ กูคนเรียน
นาฏศิลป์ กูมคี รู โดยทีไ่ ม่รวู้ า่ เนือ้ แท้ของมันคือ อะไร” ทีส่ �ำ คัญคือพิเชษฐเห็นว่าการเข้าไม่ถงึ เนือ้ แท้น้ี ไม่ได้เกิดจากการครุน่ คิดไม่ลกึ ซึง้ เพียงพอ แต่เป็นการปฏิเสธทีจ่ ะคิดตัง้ แต่ตน้ เพราะกลัวคำ� ตอบทีไ่ ด้จะต่างจากสิง่ ทีเ่ คยยึดไว้เดิม “ไทยเราเชือ่ ในการทำ�ตามๆ กันมา เราเชือ่ ใน การอนุรกั ษ์ทบ่ี อกว่าสิง่ ๆ หนึง่ ต้องอยูแ่ บบเดิม แต่ ไม่เชือ่ ในการอนุรกั ษ์ทส่ี ง่ิ ๆ นัน้ มันอยูแ่ ล้วใช้ได้จริง มันไม่เหมือนกัน เวลาเกิดการเปลีย่ นแปลงเราจะ ไม่ยอมรับ เพราะเราเป็นประเทศขีเ้ กียจ เราไม่ชอบ เรียนรูส้ ง่ิ ใหม่ เราเชือ่ ว่าการเปลีย่ นแปลงจะทำ�ให้ เราโง่ลง โดยเฉพาะผูใ้ หญ่ เพราะการเปลีย่ นแปลง จะทำ�ให้เขาต้องเรียนรูส้ ง่ิ ใหม่แล้วเขาขีเ้ กียจเรียนรู้ สิง่ นัน้ เพิม่ เติม มันจึงเกิดการห้ามเปลีย่ น เพราะเมือ่ ไหร่ทเ่ี ปลีย่ น มันจะเกิดกระบวนการเปลีย่ นแปลง ทางสังคมและอืน่ ๆ ตามไปด้วย ... มันก็เลยกลายเป็นเช้าชามเย็นชาม เราเลีย้ ง ดูกนั มาแบบนี้ เด็กทีเ่ กิดในเมืองไทยสามารถทีจ่ ะมี ชีวติ อยูร่ อดและมีเงินใช้โดยไม่ตอ้ งทำ�งานก็ได้ ด้วย ระบบลุงป้าน้าอาญาติพน่ี อ้ ง สมมุตผิ มโตมาเรียน หนังสือ ไม่ขเ้ี กียจ แต่ไม่มงี านทำ� ผมสามารถไปยืม เงินลุงบ้านนีไ้ ด้ บ้านนัน้ ได้ บ้านนูน้ ได้ พอครบปีก็ วนไปบ้านแรกใหม่ แล้วก็ยงั ให้ยมื อีก สภาพอย่าง นีท้ �ำ ให้เด็กบ้านเราไม่มคี วามฉลาด เพราะมันไม่มี การดิน้ รน ลองไม่ให้ดสู ิ รับรองประเทศนีไ้ ปอีกไกล มาก คนจะแอคทีฟกว่านีอ้ กี เยอะ ...ในสังคมทีเ่ ปลีย่ น ทุกคนต้องแอคทีฟ ทุกคนต้องเรียนรู้ ไม่มใี ครอยูน่ ง่ิ ได้ ถ้าเมือ่ ไหร่เรา ยอมรับเรือ่ งการเปลีย่ นแปลง มันจะทำ�ให้เรามีสง่ิ ทีเ่ ป็นความรูม้ ากขึน้ มีอะไรให้เรียนรูม้ ากขึน้ ทำ�ให้ สังคมเราพัฒนาไปอีกขัน้ หนึง่ ทุกคนจะไปดูงาน ศิลปะ จะไปดูการแสดง ทุกคนจะอ่านหนังสือ ทุกคนจะยอมรับนักคิด นักเขียนมากขึน้ แต่ ประเทศเรามหัศจรรย์มาก แทนทีเ่ ราจะตัดสิง่ ที่ ทำ�ให้เรานิง่ เฉยออกไป เรากลับตัดสิง่ ทีเ่ ป็น avant-garde (ศิลปินหัวก้าวหน้า) ทิง้ ตัดนักคิด นักเขียนทิง้ คนทีเ่ ป็นปัจเจกทิง้ คนทีม่ คี วามชัดเจนทิง้ คนพวกนีอ้ ยูป่ ระเทศนีไ้ ม่ได้เลย เพราะจะทำ�ให้ คนส่วนใหญ่ทไ่ี ม่แอคทีฟอยูไ่ ม่ได้ ...ดังนัน้ พวกนีเ้ ขาถึงต้องออกมาทำ�ของตัวเอง เพราะเมือ่ รูว้ า่ ยังไงสังคมก็ไม่ไปด้วย เขาก็สร้างเอง ยิง่ ทุกวันนีก้ ารสือ่ สารมันเปิดกว้าง คนสามารถทำ� ทุกอย่างเองได้โดยไม่ตอ้ งพึง่ พารัฐ มันติดต่อตรงได้ หมด คุณจะซือ้ หุน้ ทีไ่ หนก็ได้ จะระดมทุนทีไ่ หนก็ได้ มันแหกได้หมด มันไม่จ�ำ เป็นต้องพึง่ พืน้ ฐานของสิง่ ทีร่ ฐั สร้างอีกต่อไป ทำ�นายได้เลยว่าในเมือ่ ฝ่ายนิง่ ก็นง่ิ ไม่ยอมเปลีย่ นอย่างนี้ แล้วฝ่ายทีอ่ ยากเปลีย่ น ก็ท�ำ ไปเลยอย่างนี้ ต่อไปความแตกแยกจะยิง่ แตก กว่านีอ้ กี แตกแบบไม่รตู้ วั แตกแบบงงไปเลย รับไม่ทนั เลย เพราะเราเลือกทีจ่ ะเป็นแบบนีเ้ อง”
OPTIMISE | APRIL 2016
15
optimum view
พอกลับมาเมืองไทยก็เลยเริม่ มองว่าต้องสร้าง งานเต้นให้ได้ แต่กเ็ ตือนตัวเองว่า อย่าหลงทาง เราทำ�อะไรก็ได้ เราอาจจะไปทำ�รายการทีวี เราอาจจะ ไปอยูใ่ นห้องตัดต่อ แต่เราต้องรูว้ า่ เรารับทำ�มันเพือ่ หาเงินมาอยูส่ ตูดโิ อให้นานทีส่ ดุ เพือ่ ฝึก แล้วทำ�ยังไง ก็ได้เพือ่ ไม่ตอ้ งกลับไปทำ�งานอย่างอืน่ อีกในอนาคต จังหวะที่แตกต่าง
แน่นอนพิเชษฐเป็นหนึ่งในผู้ที่ต้อง ‘ออกมาทำ�ของตัวเอง’ เมื่อเขาเป็นอาจารย์นาฏศิลป์ในมหาวิทยาลัยแต่พบว่าแนวทาง การสอนของเขาไม่ตรงกับความต้องการส่วนใหญ่ของคณะ “ผมมีจุดเปลี่ยนแปลง 2-3 จุด จุดแรกคือ ในขณะที่ผมเป็น อาจารย์ ผมเคยสอบเด็กในโครงการช้างเผือก มีเด็กคนหนึ่งมา จากปักษ์ใต้ พี่มาสอบก็หอบเอาน้องมาด้วย มาสอบระบำ�ตีไก่ พอผมเห็นปุ๊บผมก็บอกกับอาจารย์อีก 4 ท่านที่นั่งอยู่ด้วยกัน ว่าผมอยากรับเด็กผู้ชายคนนี้มากเลย เพราะว่ามันจริงมาก ผม มั่นใจว่าถ้าเขาเรียนกับเรา เขาจะเอาศิลปะกลับไปสอนที่บ้าน เขาได้ แต่อาจารย์ทั้ง 4 คนบอกว่า ไม่เอา เพราะเด็กนี่ไม่ได้รำ�ได้ แบบมาตรฐานที่กรมศิลป์ฯ รำ�เลย รำ�แบบระบำ�พื้นบ้านเฉยๆ ...ผมก็ อ้าว---แย่แล้ว สรุปคุณต้องการอะไรกันแน่ ผม ต้องการให้คนเอาศิลปะไปพัฒนา ไปสอนคนต่อไปให้มันเกิดสิ่ง ที่ดีงามในชีวิต แต่คุณแค่ต้องการรักษารูปแบบรัฐนิยมเพื่อให้ตัว เองอยู่รอดได้อย่างสง่างามอย่างเดียว อาจารย์คนหนึ่งบอก ‘พื้นฐานเขาไม่ได้เลยนะ แล้วเขาจะมาเรียนกับคนอื่นได้ยังไง’ ผมบอกว่า ‘หน้าที่คุณคือสอนเขาไม่ใช่เหรอ ปีหนึ่งคุณก็ต้องสอน เพลงช้า เพลงเร็ว แม่บท ที่เป็นพื้นฐานให้เขาอยู่แล้ว’ เด็กที่มา จากวิทยาลัยนาฏศิลป์ มันไม่ต้องสอนเพราะมันเรียนมาหมด แล้ว แต่เด็กพวกนี้คือหน้าที่ที่เราต้องสอน แล้วมันไม่ได้หาได้ ง่ายๆ เด็กที่จริงใจ พาน้องมาด้วย เต้นกันเป็นบ้าเป็นหลังขนาดนี้ …ต่อจากนั้น ก็มีเรื่องการสร้างงานวิทยานิพนธ์อีก อาจารย์ นั่งกันอยู่ที่โต๊ะ ก็มีคนถามขึ้นมาว่า เด็กควรจะสร้างงาน ศิลปนิพนธ์แบบไหน ผมบอกว่า เด็กควรจะสร้างงานที่ไม่ เกี่ยวข้องหรือแตกต่างจากสิ่งที่เรียนมา แต่อาจารย์ทุกคนบอก ว่า ไม่---ต้องสร้างจากสิ่งที่เรียนมาทั้งหมด เอามารวมกัน สร้าง เหมือนระบำ�ดอกไม้ ระบำ�ดอกบัว เสื่อกระจูด ผมก็ เฮ้ย---คุณ ไม่อยากเห็นเด็กมันไปไหนต่อได้เหรอ ทำ�ไมอยากเห็นเด็กอยู่ใน กรอบแบบนี้เหรอ นี่มันชีวิตเขานะ ไม่ใช่ชีวิตเรา แต่ทุกคนไม่ฟัง ผมก็นึกในใจว่า เอาล่ะ---ไม่ใช่อีกแล้ว นี่คือจุดที่สอง …อีกจุดหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องที่ผมคิดต่าง เป็นเรื่องที่ผมคิดเหมือน คนอื่น คิดผิด คือผมพยายามพูดเหมือนอย่างที่อาจารย์ที่สอน ศิลปะทุกคนพูด คือเธอต้องตั้งใจเรียน จบไปเป็นศิลปิน เธอต้องทำ�งาน เธอต้องประกอบอาชีพให้ได้ แต่สุดท้ายมาเอะใจ นิดหนึ่ง คือเราผลักเด็กไปเป็นศิลปิน แต่ตัวเองดันมาเป็นครู เดินถือกระเป๋า แต่งตัวสวย 8 โมงเช้าไปนั่งในห้อง สอนบลา บลา บลา สอนเสร็จกลับบ้าน สิ้นเดือนรับเงินเดือน ไม่เห็นได้ทำ�งาน
16
OPTIMISE | APRIL 2016
ศิลปะ ก็เลยลาออก ไม่งั้นก็เท่ากับว่าสอนในสิ่งที่โกหก” นับเป็นเรื่องลงตัวที่แรงผลักจากสถาบันการศึกษานี้ เกิด ขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกันกับที่เขาได้สัมผัสกับแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในช่วงที่เขาได้รับทุนจาก Asian Cultural Council ให้ไปศึกษา Contemporary Dance ที่มหานครนิวยอร์ก ดินแดนที่บุคคล ในทุกสาขาอาชีพตระหนักดีว่า ‘If you can make it there, you can make it anywhere’ “นิวยอร์กเป็นสถานที่ที่คนไปเพื่อทำ�ตามความฝัน เพื่อ ‘make it happen’ ที่นั่นมีที่เรียนรู้ มีที่สอนเยอะ มีคอมพานี มีออดิชั่นเยอะ เป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยความเป็นไปได้ แล้วก็มี คนจริงๆ อยู่ที่นั่นให้จับต้องได้ ผมเจอนักเต้นที่รับจ้างล้างจานใน ร้านอาหาร ผมก็ถามว่า ทำ�แบบนี้ทำ�ไม เขาบอกเพราะเขาอยาก เป็นนักเต้น ดังนั้นต้องล้างจานก่อน หลังจากนั้นค่อยทำ�ยังไงก็ได้ เพื่อที่จะไม่ต้องล้างจานแล้วเต้นอย่างเดียว เราก็คิดว่า เฮ้ย---มันดี แล้วมันมีเพื่อนแบบนี้เต็มไปหมดเลย ...พอกลับมาเมืองไทยก็เลยเริ่มมองว่าต้องสร้างงานเต้น ให้ได้ แต่ก็เตือนตัวเองว่า อย่าหลงทาง เราทำ�อะไรก็ได้ เราอาจ จะไปทำ�รายการทีวี เราอาจจะไปอยู่ในห้องตัดต่อ งานอีเวนท์ งานแสงสีเสียง แต่เราต้องรู้ว่าเรารับทำ�มันเพื่อหาเงินมาอยู่ สตูดิโอให้นานที่สุดเพื่อฝึก แล้วทำ�ยังไงก็ได้เพื่อจะได้ไม่ต้องกลับ ไปทำ�งานอย่างอื่นอีกในอนาคต ตอนแรกก็สร้างงานโซโล่ชิ้น สั้นๆ 20 นาที ครึ่งชั่วโมง ไปเล่นในเอเชียก่อน ใน dance festival ต่างๆ แล้วก็เริ่มสร้างเป็น 1 ชั่วโมง”
แดนซ์ คอมพานี
ในขณะที่ความสำ�เร็จของพิเชษฐในฐานะนักเต้นอาชีพถือว่า หาได้ยากแล้ว สิ่งที่พิเศษมากกว่าก็คือเขาต้องการขยายความ สำ�เร็จนี้ให้ไปได้พ้นคำ�ว่า ‘พรสวรรค์ส่วนตัว’ เขาเชื่อว่าการเต้น สามารถเป็นอาชีพที่รองรับคนจากหลากหลายพื้นเพและความ สามารถ และหากฝึกฝนจนถึงขั้นย่อมสามารถทำ�เป็นงานประจำ� ได้เช่นเดียวกับอาชีพอื่นๆ เขาต้องการสร้างคณะนักเต้นอาชีพ หรือ ‘dance company’ ขึ้นเป็นแห่งแรกในเมืองไทย “เราไม่มีภาพแดนซ์ คอมพานีในหัว เพราะว่าศิลปะทาง การเต้นทั้งหมดถูกจำ�กัดความว่าเป็นความสามารถพิเศษ ไม่ใช่ความสามารถหลักที่สามารถทำ�เป็นอาชีพได้ อาจมีพ่อแม่ ส่งลูกไปเรียนบัลเลต์ในระดับมัธยม ก็เพื่อเป็นความสามารถ พิเศษ น้อยคนมากที่จะเรียนไปถึงระดับมหาวิทยาลัย ขนาด ระดับมหาวิทยาลัยเอง เมืองไทยก็ยังเพิ่งเริ่มต้นเมื่อมีคณะ OPTIMISE | APRIL 2016
17
optimum view ศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้วแค่นั้น ...ดังนัน้ สำ�หรับผูป้ กครองในประเทศนี้ ถ้าลูกบอก ว่าจะเรียนศิลปะ เขาจะไม่เข้าใจว่าเรียนเพือ่ อะไร จบ มาทำ�อะไร เงินจะมาจากไหน ความมัน่ คงในอนาคต เมือ่ แก่จะเป็นยังไง เพราะมันไม่เคยมี ตัวอย่าง มีอยู่ อย่างเดียว อ๋อ---เป็นครูสอนนาฏศิลป์ไง ซึง่ ก็ไม่ใช่ อาชีพนักเต้นจริงๆ ความจริงพอมีตวั อย่างคล้ายๆ เหมือนกันคือคณะลิเก คณะลิเกคือแดนซ์ คอมพานี ของเมืองไทยจริงๆ แต่สุดท้ายเราก็ไม่ยอมรับ ศาสตร์ประเภทนี้ว่ามันมีคุณค่าอยู่ดี เราไปมองว่า มันเป็นการเต้นกินรำ�กิน อีกอย่าง กระทั่งคนเล่น ลิเก ก็ไม่ได้เป็นลิเก 100 เปอร์เซนต์ เพราะต้องทำ� นาทำ�สวน ยังมีอาชีพอื่นแฝงอยู่ เพราะว่าลิเกเล่น ตลอดทั้งปีไม่ได้ ...มันน่ามหัศจรรย์ สาขาอาชีพอื่น จบหมอเปิด คลินิกตัวเองได้ จบบัญชีมาก็เปิดสำ�นักงานบัญชี ได้ จบสถาปัตย์มาก็มีออฟฟิศของตัวเองได้ แต่คนจบนาฎศิลป์ไทยไม่สามารถทำ�อาชีพได้เลย หนึ่ง เพราะโขนเล่นคนเดียวไม่ได้ สอง คนจะไม่มี ทางเชื่อคุณ เพราะเขาเชื่อแต่กรมศิลปากรอย่าง เดียวเท่านั้นว่านี่คือสิ่งที่มีคุณภาพที่สุด ที่อื่นทำ� ไม่ได้ มันเลยทำ�ให้อาชีพนี้ไม่ถูกสร้างอย่างเป็น รูปธรรมมาตลอด ดังนั้นการแสดงที่เห็นในเมือง ไทยทั้งหมด มันจึงไม่ใช่มืออาชีพ เป็นมือสมัคร เล่น เป็นความสามารถพิเศษ เป็นการแสดงของ โรงเรียน เป็นการแสดงของมหาวิทยาลัย เป็น อีเวนท์ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่อาชีพ ถึงเวลาก็เป็นพ่อมาดู แม่มาดู ญาติมาดู ถามว่าพ่อ แม่ ญาติ มีความตื่น เต้นและสนุกกับอะไร กับความผิดพลาดครับ อุ๊ยตาย---แกไม่เห็นเหรอ เต้นผิด น่ารักจังเลย ความผิดพลาดกลายเป็นเรื่องน่ารัก ทั้งที่มันไม่ใช่ ในการแสดงอาชีพที่คนจ่ายเงินมาดู เต้นผิดคือครั้ง หน้าไม่ต้องมาอีก มันต้องเกี่ยวพันกับอนาคต ไม่งั้นมันก็เป็นอาชีพไม่ได้ …ทีนี้ผมไปเล่นตามเฟสติวัลต่างๆ ก็มีคนมา พูดว่า เฮ้ย---พิเชษฐ สิ่งที่ยูสร้าง ไปไม่ไกลหรอก เพราะยูพิเศษ มีได้แค่ยูคนเดียวเองนี่แหละ ผมก็ว่า จริงเหรอวะ ถ้ามนุษย์คนหนึ่งทำ�ได้ มนุษย์คนอื่น ต้องทำ�ได้สิ ก็เลยเกิดกระบวนการขึ้นมาว่าต้อง เอาคนอื่นมาสอน เพื่อพิสูจน์ว่ามันไม่ใช่สิ่งพิเศษ เฉพาะตัวคนเดียว คนอื่นทำ�ได้ด้วย”
มันน่ามหัศจรรย์ สาขาอาชีพอื่น จบหมอเปิดคลินิกตัวเองได้ จบบัญชีมา ก็เปิดสำ�นักงานบัญชีได้ จบสถาปัตย์มา ก็มีออฟฟิศของตัวเองได้ แต่คนจบนาฎศิลป์ไทย ไม่สามารถทำ�อาชีพได้เลย
นักเต้นรับเงินเดือน ทำ�งานเต้นจริงๆ จบมาแล้ว ไม่ต้องไปฝากตัวกับค่ายเพลง ไม่ต้องไปเต้นให้ นักร้อง ไม่ต้องไปเต้นให้ตลก ไม่ต้องอยู่ตะวัน แดง โรงเบียร์ฮอลแลนด์ เราใช้หลักการทำ�งาน คือ ‘ทำ�งานแบบออฟฟิศ แต่คิดแบบศิลปิน’ แบบออฟฟิศ คือเข้างานตรงเวลาออกงานตรง เวลา มีระเบียบเหมือนออฟฟิศ แต่คิดแหกกรอบ หมดทุกวิธีการ คิดบ้าคิดบอทั้งหมด เพราะ ปัญหาของบ้านเราคือศิลปินไม่ทำ�งานออฟฟิศ ทำ�ทุกอย่างตามใจหมด อยากจะเขียนรูปก็เขียน อยากจะเต้นก็เต้นตอนไหนก็เต้น แล้วแต่อารมณ์ แต่ที่นี่ห้ามแล้วแต่อารมณ์ ที่นี่วินัยสำ�คัญมาก …คนบอกเรามีคอมพานีไม่ได้ ไม่มีคนดู คนดูไม่พร้อม คนดูไม่ยอมจ่ายเงิน อยู่ไกลขนาด นี้ใครจะมา มันเลี้ยงคนไม่ได้ จะเอาเงินมาจาก ไหน จะสร้างเป็นรูปธรรมได้ยังไง ผมบอกว่า ไม่ จริง มันต้องทำ�ได้ แต่สิ่งสำ�คัญอันดับหนึ่งคือทำ� ยังไงอาหารถึงจะอร่อย เมื่อ 10 ปีก่อนที่กระบี่ มีเพื่อนคนหนึ่งพาไปกินก๋วยเตี๋ยวเป็ด มันพาผม ขับรถเข้าไปในสวนยางนานมากเป็นสิบๆ นาที จนผมนึกว่ามันบ้า แต่เข้าไปเจอร้านก๋วยเตี๋ยว เปิดอยู่จริงๆ มีรถจอดเต็มเลย แล้วก็อร่อยจริงๆ ผมบอกนักเต้นทุกคน คุณเชื่อผม ต้องทำ�ให้ได้ แบบนี้ สร้างมันขึ้นมาให้ได้ ทำ�ไมคนกล้าขับรถ หลายชั่วโมงเพื่อกินข้าวแล้วกลับ ก็เพราะมัน พิเศษ ...สอง คือต้องจริงใจ อย่าเสแสร้ง อย่าไปกู้ เงินทำ�ใหญ่โตแล้วมาหน้าเศร้าผ่อนดอกเบี้ยไม่ ได้ มีแค่ไหนเอาแค่นั้น ก็เลยสร้างโรงละครเป็น ทุ่มเทเพื่อมาตรฐาน เอาต์ดอร์แบบนี้ ที่อื่นมีหลังคาไม่เป็นไร เดี๋ยว การสร้างคอมพานีไม่ได้ท�ำ ขึน้ ในครัง้ เดียว ระยะ แรกๆ พิเชษฐเพียงจ้างคนมาทำ�งานโปรดักชัน่ ร่วมกัน ต้องมีคนมาหาเรา เรามีแค่ต้นไผ่ใหญ่ๆ คนมา เป็นครั้งๆ ครั้งละ 2-3 เดือน จวบจนเมื่อระยะเวลา ดูอาจจะร้อนเหงื่อแตก ถึงเขาไม่ชอบ แต่เขาจะ ผ่านไป เขาได้คนที่จะมาร่วมงานกันมากพอ อีกทั้ง ไม่มีวันลืมว่ามาโรงนี้แล้วมันเป็นอย่างนี้ เหมือน ได้ที่ดินที่จะสร้างโรงละครของตัวเอง เขาจึงตั้งเป็น คุณป้าพัฒศรี บุนนาค แกเคยดูงานผม บริษัท Pichet Klunchun Dance Company ซึ่งมี I am a Demon ครั้งแรกที่ซอยนายเลิศ อยู่บน ฐานอยู่ที่ Chang Theater โรงละครขนาด 30 ที่นั่ง ทาวน์เฮาส์ชั้น 4 ดาดฟ้า แกเดินบ่นตั้งแต่ชั้น 1 ว่าคนขายบัตรมันบ้ารึเปล่า แสดงบนชั้น 4 แต่ ในเขตทุ่งครุ ซึ่งเป็นที่ที่พิเชษฐจัดการแสดงของ พอแกดูจบ แกร้องไห้เลย ‘ฉันรอสิ่งนี้มาทั้งชีวิต คอมพานีจำ�นวน 3 ชิ้นต่อปี ฉันชอบรำ�ไทย ฉันอยากเห็นแบบนี้’ และตั้งแต่ “ที่นี่คือแดนซ์ คอมพานีแรกของประเทศที่ 18
OPTIMISE | APRIL 2016
วันนั้นเป็น 10 ปีแล้ว คุณป้าพัฒศรีไม่เคยพลาด โปรดักชั่นของเราเลยแม้แต่ครั้งเดียว เป็นแฟน ประจำ� ทำ�ให้เรารู้สึกว่าต้องจริงใจ ให้ในสิ่งที่ดี ที่สุด แม้จะไม่สมบูรณ์แต่อย่างน้อยเราจะไม่ รู้สึกแย่ ...สาม คือทำ�ยังไงเราถึงจะทำ�ให้คนทีม่ าดูเรา เป็นเหมือนครอบครัวให้ได้ แบบระบบแม่ยก ในอดีต ตอนแรกทีซ่ อ้ื ทีด่ นิ ทำ�โรงละครนัน้ ผม ประกาศลงในเฟซบุคว่าผมซือ้ ทีแ่ ล้วแต่ยงั ไม่มี ต้นไม้เลย ก็มคี นเอาต้นไม้มาให้ ต้นก้ามปูตน้ ใหญ่ ก็ได้มาจากอาจารย์ชลประคัลภ์ จันทร์เรือง บางที มีโปรดักชั่นอะไรคนก็ซื้อขนมมาให้ นี่คือสิ่งที่ช่วย เพราะสิ่งที่เราทำ�อยู่ไม่สามารถทำ�เป็นธุรกิจทำ� กำ�ไรใหญ่โตได้ในระยะสั้น เนื่องจากเราเพิ่งเริ่ม …ผมบอกกับนักเต้นในคอมพานีว่าผมจะ จ่ายเงินเดือนทุกเดือน แต่ถ้าสตางค์ผมหมดเมื่อ ไหร่ ผมจะบอกทุกคนล่วงหน้า 6 เดือนเพื่อให้ทุก คนมีเวลาเตรียมตัวไปที่อื่น แต่ระหว่างที่อยู่กับ ผม อย่าเพิ่งรีบร้อนที่จะสร้างหรือจะทำ�อะไร ขอเวลาผม 5 ปี ผมจะสอนกลไก วิธีการ รูปแบบ การเต้นว่ามันเป็นอย่างไร คุณจะได้ฝึก ได้เดิน ทางไปเมืองนอก ได้เห็นแดนซ์ เฟสติวัล ได้เห็น ว่าจะสร้างงานยังไง คุณจะเริ่มสร้างคอนเน็กชั่น หลังจากนั้นผมจะแนะนำ�ให้คุณสร้างงานของ ตัวเอง ...ผมพูดตลอดว่า สุดท้ายผมต้องการให้ ทุกคนออกจากคอมพานีผมไปให้หมดแล้วผม จะกลับไปเป็น solo performer เหมือนเดิม นี่คือ สิ่งที่ผมต้องการ ถ้าทุกคนอยู่กับผม ผมจะมีแค่ 5 คน แต่ถ้าทุกคนออกไป ผมก็จะได้อีก 5 คนที่ มีความคิดคล้ายกันเข้ามาฝึก บางทีผมหงุดหงิด ผมก็จะบอก ทำ�ไมผมต้องเสียเวลากับพวกคุณ ด้วย ชีวิตผมคนเดียวโคตรมีความสุข ผมไป ทำ�การแสดงที่โน่นที่นี่โดยไม่ต้องกังวล ได้เงิน ได้ชื่อดีกว่า คล่องตัวกว่า ดังนั้นพวกคุณต้องไม่ ขี้เกียจ ต้องไม่พัก ห้ามเหนื่อย เวลามันสั้นเหลือ เกิน ต้องรีบขวนขวาย เพราะคุณคือคนกลุ่มแรก ของประเทศนี้ที่กำ�ลังทำ�สิ่งนี้ ถ้าคุณได้พื้นที่ คุณจะมีอนาคตในภายภาคหน้าเลย” OPTIMISE | APRIL 2016
19
optimum view
ทุกวันนี้คนไปดูโขน คนไม่ได้ไปดูศิลปะเลย คนไปดูวัฒนธรรม เราไม่เคยดูนักเต้น ไม่เคยดู องค์ความรู้ เราไปดูเพื่อประกาศให้ชาวโลกรู้ว่า เรามีวัฒนธรรมเฉยๆ สิ่งเหล่านี้ทำ�ให้ของมันอยู่ ตลอดเวลาเหมือนละครบรอดเวย์ไม่ได้ เพราะเราจะ ไปนั่งดูวัฒนธรรมทุกๆ เดือน ทุกๆ วันไม่ได้ หน้าที่ของศิลปะ
อย่างไรก็ตาม ความทุ่มเทที่พิเชษฐมีให้แก่วงการเต้นไม่ได้ เป็นไปเพื่อพัฒนาวงการอาชีพของตัวเท่านั้น หากแต่มีขึ้น เพราะ เขาคิดว่าศิลปะเป็นสิ่งที่ไม่อาจขาดไปได้จากสังคมที่แข็งแรง “ศิลปะทำ�หน้าที่ 2 อย่างที่สำ�คัญมาก หนึ่ง ศิลปะทำ�หน้าที่ เป็นสวัสดิการในด้านจิตวิญญาณของมนุษย์ ทำ�ให้เรายังคงที่จะ สัมผัสหรือสื่อสารกับความเป็นมนุษย์ของเราได้ ซึ่งมันด้อยลงไป ทุกทีในโลกของการสื่อสาร โรงละครทำ�ให้เราต้องหยุดดูสิ่งๆ หนึ่งที่เราต้องคิดต้องพิจารณา ปกติพออินเทอร์เน็ตช้า เราก็เลื่อน ไปดูข่าวอื่นแล้ว นี่คือการที่จิตวิญญาณเราไม่หยุดนิ่ง แต่พอได้ นั่งอยู่ในโรงละคร ชอบไม่ชอบก็ต้องทนดูไป ต้องถามตอบกับ ตัวเอง และการ deal กับตัวเองนี่แหละคือการได้สัมผัสและรับรู้ ความเป็นมนุษย์ของเรา เหมือนการเข้าไปพิพิธภัณฑ์แล้วยืนดูรูป เงียบๆ สุดท้ายคุณอาจจะเห็นว่าไม่รู้เรื่อง แต่แค่พูดประโยคว่า ‘ไม่รู้เรื่อง’ ก็เวิร์คสุดๆ แล้ว เพราะมันทำ�ให้คุณตื่น ...สอง ศิลปะคือการบอกถึงอนาคตว่าคุณจะอยู่ยังไง กำ�ลังจะเกิดอะไรขึ้น ศิลปะคือการเสี่ยงทายอนาคต ถ้าคุณเชื่อ หมอดู คุณก็ต้องเชื่อศิลปะ ศิลปะมันขายไม่ได้ถ้าคุณสร้างอดีต ศิลปะทุกชิ้นมันคือการสร้างอนาคต ดังนั้นเมื่อไหร่ที่คุณดูงาน ศิลปะ คุณจะระแวดระวังได้ สิงคโปร์เพิ่งได้รางวัลประเทศ ที่มองอนาคตที่สุดในโลก ก็ดูเขาสร้างศิลปะแต่ละอย่าง วันนี้ เราเดินทางไปอดีตเหรอ ไม่ใช่---เราเดินทางไปอนาคต ดังนั้น มันขาดไม่ได้ ...อีกอย่างที่ศิลปะให้คือโอกาส อนาคตกับโอกาสมันอยู่ ใกล้ๆ กัน คือโอกาสที่คนจะได้รับรู้เท่าๆ กันว่าฉันจะต้องเผชิญ กับเรื่องนี้ๆ ในอนาคตงานศิลปินคืองานที่สะท้อนเรื่องราวต่างๆ ในอนาคตกับเรื่องราวต่างๆ ในปัจจุบันทั้งหมดเลย นั่นคือเหตุผล ว่าทำ�ไมในฝรั่งเศสกับเยอรมนี ศิลปินจึงได้เงินเยอะมากกับการ รีเสิร์ช เพราะมันคือการรีเสิร์ชอนาคต ...น่าเสียดาย ศิลปะบ้านเรายังอยู่ในยุคคลาสสิกกับโมเดิร์น ศิลปะ 2 ยุคนี้ เป็นเรื่องพระ เจ้า เหตุบ้านการเมือง ความเชื่อ ถามว่าสิ่งเหล่านี้มีไว้ทำ�ไม มีไว้เพื่อประดับบารมี ไม่ได้มีไว้บอก อนาคต เหมือนคนซื้อรูปพระใหญ่ๆ ศิลปินคนนี้ๆ วาด เสร็จแล้ว ก็เอามาตั้งไว้ในบ้าน ใครมาเห็นก็ต้องยกมือไหว้ แต่ปัจจุบันนี้มัน เป็นยุคคอนเทมโพรารี เป็นยุคของศิลปะเพื่อทุกคน เพื่อสะท้อน สังคม แต่ประเทศเราไม่ได้สร้างงานเหล่านี้ พอมีคนสร้างขึ้นมาก็ ถูกเล่นเลย มึงไม่รักชาติ เอาเรื่องไม่ดีมาพูด บ้าหรือเปล่ามา บอกว่าจะเป็นแบบนี้ในอนาคต แต่เราไม่ได้บ้า เราแค่พยายาม
20
OPTIMISE | APRIL 2016
จะบอกอนาคต ทำ�ไมเชื่อหมอดูเชื่อได้ช่วยบอกหน่อย หมอดู เหมือนศิลปินเลย แต่หมอดูพูดไปเรื่อย ศิลปินยังมีภาพให้เก็บ ไว้ได้”
อะไรคือวัฒนธรรม
ในขณะที่ประเทศไทยเป็นที่รู้จักจากมรดกศิลปวัฒนธรรม ของประเทศอันวิจิตรบรรจง แต่สำ�หรับพิเชษฐ คำ�ว่า ‘วัฒนธรรม’ นี่เองที่เป็นอุปสรรคปิดกั้นสายตาไม่ให้เห็นถึงศิลปะ “ทุกวันนี้คน ไปดูโขน คนไม่ได้ไปดูศิลปะเลย คนไปดูวัฒนธรรม เราไม่เคย ดูนักเต้น ไม่เคยดูองค์ความรู้ เราไปดูเพื่อประกาศให้ชาวโลกรู้ ว่าเรามีวัฒนธรรมเฉยๆ สิ่งเหล่านี้ทำ�ให้ของมันอยู่ตลอดเวลา เหมือนละครบรอดเวย์ไม่ได้ เพราะเราจะไปนั่งดูวัฒนธรรมทุกๆ เดือน ทุกๆ วันไม่ได้ เรายังไม่รู้เลยว่าวัฒนธรรมคืออะไร ...มันไม่เกี่ยวกับเรื่องดูเป็นไม่เป็นนะครับ คิดว่าเราดูบัลเลต์ เป็นเหรอครับ คนไทยดูบัลเลต์ไม่เป็นนะครับ ดูโขนยังดูไม่เป็น เลย จะไปดูบัลเลต์เป็นได้ยังไง แต่เราเห็นว่ามันพร้อม นักเต้น มันระหง ขาว สวย ยกขาเท่ากัน จังหวะไปพร้อมกับดนตรี นี่คือ สัญชาตญาณความเป็นมนุษย์สื่อสารกับสิ่งนั้นแล้ว ฉะนั้นดูเป็น ดูไม่เป็นไม่เกี่ยวเลย ถ้าเราเปิดใจ เราจะรู้เลยว่าอาหารนี้อร่อย แต่ถ้าเรายังคลั่งวัฒนธรรมอยู่ เราก็จะพูดว่า ชีสมันไม่อร่อย สปาเก็ตตี้มันจืด เพราะเราไม่ได้มองไปที่รสชาติของมัน ปลาดิบ มันไม่ปรุงไม่ได้ เอาน้ำ�จิ้มซีฟู้ดมา” ยิ่งกว่านั้น พิเชษฐเห็นว่าการมองศิลปวัฒนธรรมเป็นเรื่อง ตายตัว ที่เกี่ยวข้องแค่โขน ลายกนก เรือนไทย หรือรายละเอียดที่ ถือกันว่า ‘ไทย’ ตามโบรชัวร์ทัวร์อื่นๆ ยังทำ�ให้สังคมขาดพลวัต และขาดความรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่เกิด ขึ้นต่อหน้าต่อตา “ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรฝังรากลึกเท่าการเปลี่ยนแปลง กระบวนการทางความคิดในสังคม และศิลปะนี่แหละที่เป็นตัว เปลี่ยนแปลงกระบวนการคิดของคน ถ้าสังคมตามงานของศิลปิน คนหนึ่งไปสัก 15 ปี เราจะเห็นเลยว่ามุมมองของสังคมจะค่อยๆ เปลี่ยนตามไป นี่คือสาเหตุที่ศิลปินในอดีตถูกเก็บ ถูกฆ่า เพราะ ศิลปะมันสามารถฝังลึกเข้าไปทางกระบวนการทางความคิด ...ถามว่าเรารู้ตัวกันไหมครับ ว่าเราโตมาในยุคของ โดเรมอน นี่แหละครับเราถูกฝังชิพมาแล้ว นี่คือการเอาชนะ กันทางวัฒนธรรม วันนี้เราก็กำ�ลังถูกฝังอีกชิพหนึ่งว่าหน้าต้อง เป็นบล็อกแบบเกาหลี แม้กระทั่งเมคอัพอันหนึ่งที่ขายนี่ก็เรื่อง วัฒนธรรมแล้ว เพราะมันฝังความคิดเรื่องผิว เรื่องรูปทรงที่เป็น ของประเทศนั้นทั้งหมด นี่คือการใช้วัฒนธรรมแบบกินลึก OPTIMISE | APRIL 2016
21
optimum view กับการทำ�บุญให้วัด เราจะได้เห็นคนจูงลูกมา มีคนมาเรียนรู้ มีคนๆ หนึ่งที่ได้กลับมาอยู่กับตัวเอง สิ่งเหล่านี้สำ�คัญมาก …ถามว่าทำ�ไมผมถึงอยู่ที่นี่ เพราะผมเป็นคน ที่นี่ ผมสื่อสารกับประเทศนี้ ศิลปะของผมอยู่ที่นี่ แต่ผมมีความรู้สึกว่าความรักต้องเป็นแบบจริงใจ สื่อสารกันตรงๆ ไม่ได้อวยกันไปมาแล้วอยู่กันไป เวลาผมไปแสดงที่อื่น ต่อให้ผมแสดงยังไง ผมก็ ไม่ใช่พวกเขา ภาษาที่ผมพูด กลิ่นที่ผมได้ สัมผัส ที่ผมได้ บุคคล บ้าน เรือน ต้นไม้ มันไม่ใช่ ทุกครั้ง ที่ผมไปงานเดือนสองเดือน เวลาผมกลับมาเมือง ไทย ผมรู้สึกว่าผมกลับมาบ้าน ผมเที่ยวด่าทุกคน ไปทั่วว่าไม่เป็นระเบียบ ไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ใน ขณะที่ผมเกลียดมันอยู่ ผมก็โตมาจากสิ่งนี้ ทำ�ให้ ผมต้องดูว่าเราเกลียดอะไร และรักอะไร เราเกลียด ความสกปรก ไม่มีระเบียบ จะแก้เรื่องนี้ยังไง เรารัก คนฉลาดและเรียนรู้ แม้กระทั่งสิ่งที่ผิดก็จะให้ ถอนรากถอนโคนจิตวิญญาณหลุดไปเลย เรื่อง สิ่งที่มันเรียบง่ายแบบนี้ รสชาติแบบนี้ เราจะเก็บ ความรู ว ้ า ่ สิ ง ่ นี เ ้ ป็ น แบบนี ้ ถ้ า ไม่ ม ผ ี ด ิ วั น นี ไ ้ ม่ ม ี เหล่านี้รัฐไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ว่าเขาเล่นเกมอะไรกันอยู่ สิ่งนี้ไว้ยังไง หรอกพระพุทธเจ้า ท่านไปนั่งอดก็แล้ว นู่นแล้ว มันหมดยุคการถือปืนไปยิงกันแล้ว ...งานที่ผมทำ�อยู่ทุกๆ ชิ้น มันถูกสร้างขึ้นมา นี่แล้ว ผิดไม่รู้กี่ผิดถึงได้รู้ว่าถูกคืออะไร ท่านลอง ...คนไทยยังมองวัฒนธรรมแคบ เรายังมอง เพื่อสังคมนี้ ในมุมมองของวันนี้ และคนในสังคม มาหมดแล้วจึงได้บอกทุกคนว่าสิ่งที่ถูกคือสาย วัฒนธรรมเป็นเรือ่ งอาหาร ไหว้พระ เจ้านาย กลาง ไม่ตึงไม่หย่อน แล้วพวกเราในฐานะคนโง่ ควรจะภาคภูมิใจที่เห็นสิ่งเหล่านี้มันงอกงาม สถาปัตยกรรม เราไม่ได้มองวัฒนธรรมเป็นเรือ่ ง เติบโตไปได้ ผมมั่นใจว่าการที่มีผมอยู่ทำ�ให้ฝ่าย การใช้ชวี ติ ประจำ�วัน เราไม่ได้มองตรงนีเ้ ลย เราแค่ ทั้งหลายก็จะไปเอาทางสายกลางเลย คิดว่าจะ โชว์การมีวฒ ั นธรรม และทีส่ �ำ คัญคือโชว์แต่สง่ิ ซ�ำ้ ๆ บรรลุเหมือนท่าน ก็คุณยังไม่รู้เลยว่าความไม่ใช่ ดั้งเดิม มองเห็นสิ่งต่างๆ มากขึ้น แล้วก็ไม่เสวยสุข กันจนเกินไป ขอเพียงงานผมช่วยให้คนเหล่านี้ได้ คืออะไร คุณจะบรรลุความใช่ได้ยังไง เรือ่ งเดิมๆ ทีไ่ ม่มสี ง่ิ ใหม่งอกงามขึน้ มา ในขณะที่ เห็นว่าตัวเองกระทำ�หรือไม่กระทำ�อะไรบ้าง ผมว่า ...ผมก็ ไ ม่ ร ว ้ ู า ่ จะพู ด เรื อ ่ งนี ท ้ � ำ ไม เพราะมั น เกาหลีเขามีวฒ ั นธรรมเหมือนกันแต่เขาพัฒนาไป นั่นเป็นสิ่งที่ดีแล้ว ถ้าไม่มีคนอย่างผมเลย มันจะยิ่ง ยากมากกับการให้คนเข้าใจว่าวัฒนธรรมเดิม เรือ่ ยๆ ในมุมมองใหม่ๆ รูปลักษณ์ใหม่ๆ อ่อนแอ ยิ่งบิดเบี้ยว เพราะความอ่อนแอนี้คือความ ของประเทศนี้จะไม่เสียหายหรอก เชื่อผมเถอะ เมื่อถามว่าอะไรคือเส้นแบ่งระหว่างการ การให้เงินพิเชษฐ กลั่นชื่น ไม่ได้ทำ�ให้โขนแย่ลง อ่อนแอที่จิตวิญญาณข้างใน แต่เป็นความเข้มแข็ง ทำ�ศิลปวัฒนธรรมให้เป็นพลวัตกับการเจือจาง ดัดแปลงเพื่อหวังขายของอย่างเดียว พิเชษฐบอก หรอก เชื่อผมเถอะ ของจะพังจะอยู่ก็อยู่ที่ตัวของ ของเปลือกแทน” ระหว่างพิเชษฐร่ายรำ�ในการแสดง I am a Demon มันเอง ไม่ใช่การส่งอีเมล์หรือข้อความมาหาผม เลยว่าคำ�ตอบจะตัดสินตัวมันเอง “ผมว่าทุกอันถูกหมดเลย เพราะวัตถุประสงค์ แล้วพูดว่า มึงย้ายไปอยู่ที่อื่นเถอะ มันไม่ได้เกี่ยว จะมีการเปิดคลิปเสียงสัมภาษณ์พิเชษฐไป พร้อมกัน โดยเมื่อใดก็ตามที่บทสัมภาษณ์ดำ�เนิน ต่าง ของก็ต้องออกมาแตกต่างกันไป ต้องถามว่า อะไรกันเลย” ถึงช่วงที่พิเชษฐวิพากษ์วิจารณ์วัฒนธรรมไทยอย่าง คนที่นั่งมองมันเข้าใจวัตถุประสงค์นั้นหรือเปล่า ยั ก ษ์ ท ม ่ ี ากรั ก รุนแรง ตัวอักษร I am a Demon จะถูกฉายขึ้นจอ ยอมรับหรือเปล่า หรือยังมีความคิดว่าเกิดสิ่งใหม่ การตอบฟันธงอย่างเกรี้ยวกราดของพิเชษฐ ราวกับคำ�เตือนภัยพิบัติ อย่างไรก็ตาม คลิปบันทึก แล้วสิ่งเก่าต้องล่มสลายไป ในทุกประเด็นที่เกี่ยวกับศิลปะและสังคมไทย เสียงการสอนของครูชัยยศที่เปิดคลอการแสดงใน ...จริงๆ แล้วการเกิดสิง่ ใหม่ขน้ึ ไม่ได้แปลว่า ทำ � ให้ เ ราได้ ร ว ้ ู า ่ ความเป็ น ยั ก ษ์ ข องเขามี ม ากกว่ า อีกช่วง ก็ทำ�ให้คนดูเริ่มรู้ว่าความประณีตบริบูรณ์ สิง่ เก่าจะล่มสลาย อย่างเช่นเราบอกอาหารถูก ท่ า กระทื บ บาทบนเวที อย่ า งไรก็ ต าม ในขณะที ่ ของท่าโขนของพิเชษฐนัน้ ไม่ใช่สิ่งพิสดาร หากเป็น ดัดแปลงเพือ่ ขายฝรัง่ แต่จริงๆ มันก็คอื การตัดทอน หลายคนเห็นยักษ์เป็นสัญลักษณ์ของอธรรม มาตรฐานที่ครูโขนโบร่ำ�โบราณเพียรสร้างขึ้นใน เพือ่ ให้เกิดการกินการเสพ มันเป็นกระบวนการ และการทำ � ลายล้ า ง พิ เ ชษฐบอกว่ า สำ � หรั บ เขา ตัวลูกศิษย์มาตลอด ความ ‘นอกคอก’ ของพิเชษฐ หนึ่งของสังคมที่เปลี่ยนไป มีฝรั่งเข้ามามากขึ้น ยั ก ษ์ เ ป็ น เพี ย งผู ท ้ ย ่ ี อมทำ � สงครามกั บ ทุ ก คนเพี ย ง ้ แท้จริงจึงไม่ใช่ความนอกคอก หากเป็นเพียงการ มีความจำ�เป็นใหม่ๆ เกิดขึ้น ดีด้วยซำ�ไปที่ของมัน เพื อ ่ รั ก ษาสิ ง ่ ที ต ่ นรั ก ไม่ ต า ่ งอะไรจากรั ก ของ กลับไปสู่แก่นสารความเป็นไทยดังที่เขาเคยได้รับ ปรับตัวได้ ทุกสิ่งมันควรมีอิสระที่จะเปลี่ยนแปลง ทศกัณฐ์ต่อนางสีดาที่กลายมาเป็นรามเกียรติ์ มอบมาจากครู เพื่อคงอยู่ต่อไป ที่สำ�คัญคือการทำ�ให้คนมีสิทธิ “คนทำ�งานศิลปะบ้านเรามักมองออกไปข้าง และนี่เองอาจจะเป็นสาเหตุให้เขาไม่กลัวกับ เลือกในสิ่งที่แตกต่างต่างหาก เพราะพอคนมี นอก ไปที เ ่ ทศกาล หรื อ รางวั ล สากลต่ า งๆ แต่ ผ ม การถู กตราหน้าว่าเป็น ‘ยักษ์มาร’ ของวงการศิลปะ สิทธิเลือกในสิ่งที่แตกต่างได้ มันก็กลับไปสู่สิ่งที่ อยากบอกว่ า อย่ า เพิ ง ่ ทิ ง ้ เมื อ งไทย คนบ้ า นเราก็ เพราะสำ�หรับเขาแล้ว นั่นไม่ใช่คำ�ปรามาส แต่เป็น ง่ายมากเลย คือกลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย ยังต้องการศิลปะเหมือนกัน มันเป็นการให้โอกาส คำ�ยืนยันว่าสิ่งที่ครูเจริญพูดกับครูชัยยศว่าพิเชษฐ มันเรื่องเดียวกัน แต่ถ้าคุณไม่ยอม นั่นแสดงว่า คุณไม่ยอมให้ประชาธิปไตยเกิดขึ้นและยังคงใช้ ให้สังคมได้มองเห็นอนาคตข้างหน้าเพื่อให้สังคม จะเป็น ‘ยักษ์ที่ดีในวันข้างหน้า’ นั้น เขาสามารถทำ�ให้เป็นจริงได้แล้วในวันนี้ อำ�นาจชี้ขาดว่าสิ่งต่างๆ ต้องเป็นแบบนี้ๆ เท่านั้น ได้ระวังตัว มันเป็นการให้สวัสดิการกับคนใน สั ง คม คนมั ก ไม่ เ ข้ า ใจทำ � ไมต้ อ งให้ เ งิ น ศิ ล ปิ น แต่ ...ถ้าสิ่งไหนไม่ถูกไม่ดี มันจะล่มสลายไป การบริจาคเงินช่วยศิลปะให้เกิดขึ้น มันก็เหมือน ด้วยตัวของมันเอง แต่ประเด็นคือ ถ้าคุณเป็น
ทุกสิ่งมันควรมีอิสระที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อคงอยู่ ต่อไป ที่สำ�คัญคือการทำ�ให้คนมีสิทธิเลือกในสิ่งที่ แตกต่างต่างหาก เพราะพอคนมีสิทธิเลือกในสิ่งที่ แตกต่างได้ มันก็กลับไปสู่สิ่งที่ง่ายมากเลย คือกลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย ...ถ้าคุณไม่ยอม นั่นแสดงว่าคุณไม่ยอมให้ประชาธิปไตยเกิดขึ้นและ ยังคงใช้อำ�นาจชี้ขาดว่าสิ่งต่างๆ ต้องเป็นแบบนี้ๆ เท่านั้น
22
OPTIMISE | APRIL 2016
OPTIMISE | APRIL 2016
23
FULL FLAVORS
China’s New Orders หลากหลายร้านอาหารจีนในกรุงเทพฯ กำ�ลังก้าวพ้นนิยาม ความอร่อยแบบดั้งเดิมที่เคยอยู่คู่เมืองมาหลายทศวรรษ เพื่อเข้าสู่ยุคใหม่ ห้องสว่างไสวอบอุ่น พนักงานเสิร์ฟคล่องแคล่ว ตลอดจนการจัดโต๊ะและแต่งร้านที่สุขุมมีระดับนั้น อาจ ทำ�ให้ร้านอาหารแห่งนี้กลมกลืนไปกับบรรดาร้านอาหาร ดาวมิชลินบนฝั่งขวาของแม่น้ำ�แซนในปารีสได้ไม่ยาก กระนั้น ท่ามกลางบรรยากาศแบบฝรั่งเศส 3 ดาวมิชลิน อาหารของร้านกลับพลิกทุกความคาดหมาย เพราะนี่คือ M Krub ร้านอาหารจีนสไตล์ Nouvelle Chinese แห่ง แรกของกรุงเทพฯ ผลงานการสร้างสรรค์ล่าสุดจากเชฟ แมน ไว ยิน แห่ง Chef Man
ฉีกกฎเดิมๆ
เป็นเวลา 2 - 3 ปีมาแล้วที่ ร้านเชฟแมน ซึ่งตั้งขึ้นตามชื่อของเชฟแมน ไว ยิน ชาวฮ่องกงได้ดึงดูด
ชาวกรุงเทพฯ ด้วยเมนูขึ้นชื่ออย่างซาลาเปาลาวา ไส้เยิ้มและเป็ดย่างหนังกรอบ แต่นับจากนี้ เชฟแมน จะยกระดับประสบการณ์การรับประทานอาหารจีนให้ ล้ำ�เลิศขึ้นอีกในแบบที่เชฟโจเอล โรบูชง ได้ทำ�กับวงการ อาหารฝรั่งเศสในกรุงเทพฯ มาแล้ว ด้วยเหตุนั้น อาหาร ที่นี่อาจต่างจากร้านแต้จิ๋วเจ้าประจำ�ของอากงที่เสิร์ฟ สลัดกุ้งอาบมายองเนสหรือหมี่ผัดน้ำ�มันเยิ้มไปบ้าง เพราะสิ่งที่นักชิมจะได้สัมผัส ณ เอ็ม ครับ คืออาหาร หลากคอร์สซึ่งปรับเปลี่ยนไปตามฤดูกาล ตลอดจน จานชามลายจิตรกรรมจีนวาดมืออันวิจิตร และคลังแห่ง ยอดวัตถุดิบที่หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์เคยประเมินไว้ ว่าอาจมีมูลค่าสูงถึง 40 ล้านบาท และยิ่งไม่ต้องพูดถึงอาหาร อาหารของเอ็ม ครับ
สิง่ ทีน่ กั ชิมจะได้สมั ผัส ณ M Krub คืออาหาร หลากคอร์สซึง่ ปรับเปลีย่ น ไปตามฤดูกาล ตลอดจน จานชามลายจิตรกรรมจีน วาดมืออันวิจติ ร และคลังแห่งยอดวัตถุดบิ ทีห่ นังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์เคย ประเมินไว้วา่ อาจมีมลู ค่า สูงถึง 40 ล้านบาท
01 เชฟ M Krub บรรจงตกแต่ ง จานด้ ว ยความ ประณี ต 02 ห้ อ งอาหาร สไตล์ จ ี น ร่ ว ม สมั ย ที ่ Man Fu Yuan 03 ปู ห ่ อ ไข่ ข าว ในซุ ป ฟั ก ทอง สี ส วยที ่ M Krub
01 24
OPTIMISE | APRIL 2016
02
03 OPTIMISE | APRIL 2016
25
FULL FLAVORS
ผมคิดว่าอาหารจีนจะกลับมาบูมอีกครั้งแน่นอน อาหารจีนนั้น ราคาไม่แพง เข้าถึงง่าย เข้าใจง่าย คนส่วนใหญ่ก็ชอบกิน และการที่กรุงเทพฯ มีรากวัฒนธรรมจีนอยู่ก่อนแล้วก็คงจะ เป็นปัจจัยช่วยด้วย เรียกว่าเป็นอาหารจีนที่นำ�เสนอในแบบตะวันตก โดยเสริมทัพ ด้วยวัตถุดิบชั้นอ๋องอย่างคาเวียร์ วากิว และทรัฟเฟิล ยกตัวอย่างเช่น เมนูหอยเชลล์ของที่นี่ จะใช้หอยเชลล์แปซิฟิก หั่นบางลนไฟพอสุกวางบนซอสมะม่วง ซึ่งรองไว้อีกชั้นด้วย ขนมปังที่ถูกซอยจนละเอียดดุจเส้นหมี่และสานเป็นรังนก เมนู คลาสสิกอย่างหมูแดงอบนํ้าผึ้งได้รับการยกเครื่องใหม่โดยใช้ แฮมอิเบอริโกจากสเปนหั่นสี่เหลี่ยมย่างแล้วเสิร์ฟมา บนรวงผึ้งออสเตรเลียชิ้นหนา เมนูซิกเนเจอร์อย่างเต้าหู้ ดอกเบญจมาศ ก็แสดงวิชามีดอันเลิศล้ำ�ของพ่อครัว ผู้สามารถเจียนเต้าหู้เป็นเส้นละเอียดปานกลีบเบญจมาศพริ้ว ไหว ก่อนร้อยเรียงเป็นดอกไม้และเสิร์ฟมาในน้ำ�เชื่อม อัลมอนด์แต้มทองคำ�เปลว กระทั่งเมนูสามัญอย่างกะหล่ำ�ปลี น้ำ�ใส ยังแสนวิเศษด้วยการใช้ซุปซึ่งต้องสกัดจากกะหล่ำ�ปลี จีนจำ�นวนกว่า 20 กิโลกรัมที่ผ่านการนึ่งถึง 7 ชั่วโมง “ผมเป็นนักกิน และในฐานะคนจีนผมรู้สึกเสียดายที่ ศิลปะจีนไม่ได้รับการยกย่องเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่มันเป็นของ ประณีตมาก คนส่วนใหญ่มักจะชอบอาหารจีนตรงรสชาติ และปริมาณ แต่น้อยคนจะพูดถึงความงาม ผมจึงตั้งใจจะทำ� อาหารที่งดงามเทียมเท่าความอร่อย โดยประยุกต์เอาลิปิศิลป์ และจิตรกรรมของจีนเข้ามาแต่งจาน จะเสพในฐานะศิลป์ ก็งาม ในฐานะอาหารก็น่าสนใจ” เชฟแมนกล่าว ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่บรรดานักวิจารณ์ อาหารจะใช้คำ�ว่า ‘วิจิตร’ หรือ ‘เลิศล้ำ�’ สำ�หรับบรรยายร้าน ใหม่ของเชฟแมน แต่ด้วยสนนราคาที่กว่า 8,000 - 12,000 บาทต่อหัวสำ�หรับเซ็ตเมนู คงมีนักชิมอาหารเพียงไม่มากที่จะ มีโอกาสได้ดื่มด่ำ�บรรยากาศของเอ็ม ครับ กระนั้น ที่นี่ยังถือ เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่สำ�หรับวงการร้านอาหารในกรุงเทพฯ ด้วยความสามารถในการชุบอาหารจีนของร้านให้กลายเป็น ฟิวชันในอีกหนึ่งรูปแบบและเขยิบมาตรฐานของอาหารจีนใน กรุงเทพฯ ให้ล้ำ�ไปอีกขั้นหนึ่ง “นีค่ อื อนาคตของอาหารจีน ถ้าผมคิดจะเปิดโรงแรม 5 ดาว ผมจะทำ�ร้านอาหารจีน แต่ท�ำ แบบตะวันตก” ยันน์ กูรยิ ู กรรมการผู้จัดการบริษัทที่ปรึกษาด้านร้านอาหารซึ่งตั้งอยู่ใน กรุงเทพฯ อย่าง Unicorn Hospitality กล่าว กูริยู ผู้ย้ายมาอยู่กรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี 2550 ได้พบเห็น ความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในวงการอาหารเมืองไทย ตลอด 9 ปีที่ผ่านมา ด้วยผู้เล่นทั้งชาวไทยและชาวต่าง ประเทศที่เพิ่มจำ�นวนมากขึ้นทุกวัน “ช่วงนี้ใครอยู่ในวงการ อาหารถือเป็นเรื่องเท่ ทุกคนต่างก็คิดว่าตัวเองสามารถทำ�ร้าน อาหารและเป็นเชฟได้ทั้งนั้น แต่ที่ยังขาดอยู่ก็คือมีฝีมือแท้จริง หรือเปล่า”
26
OPTIMISE | APRIL 2016
05
อย่างไรก็ตาม กระแสวงการอาหารจีนในกรุงเทพฯ ต่าง จากกระแสการเห่อร้านกาแฟ และคัพเค้กตรงที่ผู้เล่นของ วงการนี้ มักจะเป็นผู้เล่นตลาดบน ไม่ว่าจะเป็นผู้เล่นไทยที่ทำ� อาหารจีนแบบหรูหราหรือแบบนอกกระแส หรือแฟรนไชส์ใหญ่ จากโพ้นทะเลอย่าง Din Tai Fung และ Tim Ho Wan ที่พยายามเข้ามาขับเคี่ยวแย่งลูกค้านักชิมอย่างคนไทย เหมือนกัน “นี่คือเทรนด์ของทุกวันนี้ อาหารจีนกลายเป็นกระแส เพราะว่าทุกวันนี้มีคนจีนที่เดินทางมากขึ้นเรื่อยๆ และที่ กรุงเทพฯ เองก็มีคนไทยเชื้อสายจีนอยู่เต็มไปหมด” กูริยูพูด ถึงบรรดาร้านอาหารจีนสายพันธุ์ใหม่ซึ่งต่างไปโดยสิ้นเชิงจาก บรรดาเจ้าเก่าในเยาวราชซึ่งอยู่คู่กรุงเทพฯ มาช้านาน โดยเมื่อเราถามว่าเหตุใดอาหารจีนจึงทำ�เป็นร้านระดับบน ได้ดีกว่าอาหารชาติอื่น อย่างเช่นเกาหลี กูริยูเฉลยว่ามันเป็น หลักเศรษฐศาสตร์ง่ายๆ “ก็คนเกาหลีมือไม่เติบเท่าคนจีน”
เข้าถึงท้องถิ่น
ร้านอาหารจีนประยุกต์ไม่ได้มีแต่ประเภทที่ได้รับแรง บันดาลใจจากอาหารฝรั่งเศสสุดหรูอย่างเดียว ยกตัวอย่างเช่น ร้าน Bao & Buns ซึ่งมีเมนูหลักเป็น ‘กั้ว เปา’ หรืออาหารกิน เล่นข้างถนนจากไต้หวัน วีรวรรธน์ ชินพิลาศ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง เบา แอนด์ บันส์ เล่าให้ฟังว่า “เราเลือกอาหารจีนเพราะมัน เป็นอะไรที่เรากินกันมาตั้งแต่เด็ก และเลือกกั้ว เปา เพราะเป็น อาหารที่เชฟดังๆ มักจะเอามาปรุงใหม่ให้มีเอกลักษณ์ของตัว เอง โดยกั้ว เปาของทางร้านได้รับการปรับรสชาติให้ถูกปาก คนไทยเนื่องจากมันอาจจะยังเป็นเมนูที่คนไม่คุ้นเคย” การปรับรสชาติให้ถูกปากคนไทยที่ว่านี้ก็คือการเสริมทัพ ไส้หมูสามชั้นดั้งเดิมด้วยไก่ทอด ปลาทอด เห็ด เต้าหู้ ตลอดจนของโปรดประจำ�ยุคอย่างซอสพริกศรีราชา กั้ว เปา ของที่นี่ขายเป็นชุดแบบฟาสต์ฟู้ด โดยเสิร์ฟพร้อมเผือกเส้น ทอดกรอบและโซดาลิ้นจี่หรือนมถั่วเหลือง อย่างไรก็ตาม ที่นี่ไม่มีตัวเลือกให้สั่ง ‘ซูเปอร์ไซส์’ ได้แต่อย่างใด “ตั้งแต่โตมา เรามักจะเห็นภาพอาหารจีนเป็น แต่เรื่องของงานเลี้ยงใหญ่ กินกันทีละเยอะๆ พอมาทำ�ร้านก็ เลยอยากให้มันเป็นแค่ร้านง่ายๆ ที่คนมาซื้อกั้ว เปาหรือเบอร์ เกอร์ไต้หวันได้เท่านั้น วีรวรรธน์กล่าว โดยเขาเพิ่งได้ฤกษ์เปิด ร้าน ‘ทาปาส’ สไตล์จีนและไต้หวันใช้ชื่อว่า Xiao Chi ซึ่งตั้งอยู่ ณ แหล่งรวมฮิปสเตอร์ใหม่ของกรุงเทพฯ อย่าง The Commons นอกจากนี้ แรงบันดาลใจในการทำ�อาหารจีนยังอาจได้มา จากเมนูซึ่งไม่ได้มีประวัติศาสตร์หรือรากฐานทางวัฒนธรรม เก่าแก่เท่าไหร่ ยกตัวอย่างเช่น อาหารจีนแบบอเมริกัน
04 04 ห้ อ งอาหารสุ ด หรู ข อง M Krub
07
05 เสี ่ ย วหลงเปาอั น เลื ่ อ งชื ่ อ ของ Din Tai Fung 06 กั ้ ว เปา อาหารจี น สไตล์ ไต้ ห วั น ที ่ Bao & Buns 07 เต้ า หู ้ ด อกเบญจมาศของ M Krub 08 ติ ่ ม ซำ � ที ่ ป รุ ง แบบคลาสสิ ก ของ Man Fu Yuan
Essentials
08
หูฉลาม ไชน่าทาวน์ สกาล่า 483-5 ถนนเยาวราช กรุงเทพฯ โทร. 02-623-0183 www.fb.com/ chinatownscala
06
ที่ครั้งหนึ่งนักปากะศิลป์ถือกันว่าเป็นเรื่องน่าตลก เพราะไม่มี ขายในเมืองจีนนั้น ทุกวันนี้กลับกลายเป็นเมนูคลาสสิกในตัว เองที่ใครๆ ก็โปรดปราน ไม่ว่าจะเป็น Chop Suey เนื้อกับ ผักนานาชนิดผัดรวมกันแบบราดหน้าหรือ General Tso’s Chicken ไก่เปรีย้ วหวานในน�ำ้ ซอส และเมนูท�ำ นองนีเ้ องทีเ่ ป็น แรงบันดาลใจให้เชฟชาวออสซี่ เจส บาร์นส์ ไปเปิดป็อปอัพ สโตร์ขายอาหารจีนทีร่ า้ น Maggie Choo’s แหล่งท่องราตรี ในธีม ‘ผับเซีย่ งไฮ้’ อยูห่ ลายครัง้ โดยให้ชอ่ื ว่า Big Trouble in Little China (ตามชือ่ ภาพยนตร์ ‘คัลท์’ ปี 2529 ของเคิรท์ รัสเซลล์) ในมุมนี้ เชฟบาร์นส์จะเสิรฟ์ เมนูซง่ึ เอาอาหารจีนแบบซือ้ กลับบ้าน (เทค เอาท์) ยอดนิยมทัง้ หลายมาปรุงใหม่ ไม่วา่ จะ เป็น General Tso’s Rabbit กระต่ายทอดในนมเปรีย้ วและราด หน้าด้วยซอสพริกแห้งทอดกับถัว่ ป่น Drunken Chicken ไก่ ทอดเสิรฟ์ บนข้าวโพด หน่อไม้และไก่นง่ึ เกี๊ยวยัดไส้ไขกระดูก ในซุปเข้มข้นที่ตุ๋นจากหางและแก้มวัว หรือซาลาเปาพะโล้ย่าง กรอบ แทรกกิมจิและซอสมายองเนส ซึ่งเป็นเมนูที่เชฟบาร์นส์ สืบสานมาจาก Opposite Mess Hall ร้านเก่าที่เพิ่งปิดไป “ผมคิดว่าอาหารจีนจะกลับมาบูมอีกครั้งแน่นอน อาหารจีนนั้นราคาไม่แพง เข้าถึงง่าย เข้าใจง่าย คนส่วนใหญ่ ก็ชอบกิน และการที่กรุงเทพฯ มีรากวัฒนธรรมจีนอยู่ก่อนแล้ว ก็คงจะเป็นปัจจัยช่วยด้วย” เชฟบาร์นส์กล่าว แม้ว่าเชฟบาร์นส์กำ�ลังจับมือกับ Sapparot Group เพื่อนำ�ร้านอาหารกริลล์ชื่อดังประจำ�ซอยสาทร 12 อย่าง Lady Brett Tavern ไปเปิดสาขาใหม่ในย่านทองหล่อ แต่เขาก็เชื่อว่า อาหารจีนยังคงเป็นสิ่งที่ทุกคนถวิลหาอยู่เสมอ “เราแค่อยากจะทำ�อาหารที่คนรู้จักและคุ้นเคย โดยใส่ความ เป็นตัวของตัวเองของเราลงไปบ้าง บางอย่างทำ�เอาขำ� บางอย่างจริงจังหน่อย บางอย่างก็เป็นแค่อาหารจังก์ฟู้ด เราพยายามให้มีอาหารสำ�หรับทุกคน แต่ก็ไม่ถึงกับตามใจ ทุกอย่าง สำ�คัญอยู่อย่างเดียวคือ ทุกอย่างต้องอร่อย” OPTIMISE | APRIL 2016
27
FULL FLAVORS Essentials
ที่ Man Fu Yuan เรามองไกลกว่านั้น เราไม่หวั่นไหวตาม กระแส วิธีคิดของเรา คือยึดตามสูตรต้นตำ�รับ แต่ถ่ายทอดออกมาด้วย วัตถุดิบที่เลิศที่สุดเท่าที่ จะหามาได้
ฮัว่ เซ่งฮง 371-373 ถนนเยาวราช กรุงเทพฯ โทร. 02-222-7053 www.huasenghong.co.th
10 11
Bao & Buns 27/1 ซอยสุขมุ วิท 33 ถนนสุขมุ วิท กรุงเทพฯ โทร. 090-950-1666 www.fb.com/baoandbuns Din Tai Fung ชัน้ 7 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ 99/9 ถนนพระราม 1 กรุงเทพฯ โทร. 02-646-1282 M Krub ชัน้ 2 อาคารมหานคร คิวบ์ ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ กรุงเทพฯ โทร. 02-019-8105 www.fb.com/ MkrubMahanakhon
09
ตั้งมั่นอยู่ในความคลาสสิก
ไม่ใช่เรือ่ งแปลกอะไรทีธ่ รุ กิจร้านอาหารจะต้องเน้นทีค่ วาม อร่อย ทัง้ นี้ ในขณะทีภ่ ตั ตาคารอาหารจีนในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ ได้สร้างความอร่อยโดยการเสริมรสไทยเข้าไปในอาหารจีน (อย่างการเสิรฟ์ พริกกระเทียมให้ลกู ค้ากินกับติม่ ซำ� หรือเสิรฟ์ มะม่วงสุกเฉือนบางๆ พร้อมเป็ดปักกิง่ ของร้านเชฟ แมน) แฟรนไชส์อาหารจีนจากต่างประเทศได้สร้างความสำ�เร็จโดย ใช้รสชาติในแบบฉบับดั้งเดิมของตัวเองไม่ว่าจะเป็นร้าน ติ่น ไท่ ฟง ต้นตำ�รับเสี่ยวหลงเปารสเลิศจากไต้หวัน หรือร้าน ทิม โฮ วาน ผู้ชำ�นาญการเรื่องติ่มซำ�จากฮ่องกง อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ภัตตาคารจีนทุกแห่งในกรุงเทพฯ จะคิดว่าต้องดัดแปลงรสชาติเพื่อสร้างความอร่อยเสียหมด ภัตตาคารอาหารกวางตุ้งจากโรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล สิงคโปร์อย่าง Man Fu Yuan ที่ขึ้นชื่อในเมนูคลาสสิกอย่าง เป็ดรมควันชา หอยเป๋าฮื้อตุ๋น และปลิงทะเลกับผักโสภณ ยังคงยึดมั่นในสูตรอาหารกวางตุ้งดั้งเดิมซึ่งได้สร้างความ สำ�เร็จให้กับทางร้าน ดังที่ ณัฐิกา สหวัฒนพงศ์ ที่ปรึกษาด้าน ธุรกิจระหว่างประเทศของทางร้านกล่าว “จริงอยู่ร้านอาหาร ต้องรู้ทันกระแสใหม่ๆ ของผู้บริโภค แต่ไม่ได้แปลว่าเราจะต้อง
28
OPTIMISE | APRIL 2016
ตามกระแสทั้งหมด ที่หม่าน ฟู่ หยวน เรามองไกลกว่านั้น เรา ไม่หวั่นไหวตามกระแส วิธีคิดของเราคือยึดตามสูตรต้นตำ�รับ แต่ถ่ายทอดออกมาด้วยวัตถุดิบที่เลิศที่สุดเท่าที่จะหามาได้” ขณะเดียวกัน ภัตตาคารอาหารจีนรุ่นเดอะอย่าง ‘สกาล่า’ และ ‘ฮั่วเซ่งฮง’ ก็ยังคงมีแฟนคลับเป็นของตัวเอง โดยแฟนๆ เหล่านั้นพร้อมที่จะมุ่งหน้าไปยังเยาวราชเพื่ออิ่มอร่อยกับเมนู ที่เคยสร้างความประทับใจมาแต่ครั้งอดีต “ภัตตาคารรุ่นเก๋า อย่างสกาล่า สร้างชื่อได้ เพราะรู้จักผสานรสจีนและไทย ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าอร่อยถูกปากแน่” บาร์นส์กล่าว วีรวรรธน์แห่ง เบา แอนด์ บันส์ เองก็ยอมรับในความจริง ข้อนี้ “ผมเป็นขาประจำ�ที่ฮั่วเซ่งฮง ซาลาเปาลาวากับหม้อไฟ เจงกีสข่านของที่นั่นรสชาติสุดยอดมาก อยากให้ไปลองชิมดู” ด้วยความหลากหลายของแนวทางการตีความความ อร่อยนี้เอง คนกรุงเทพฯ จึงต้องรีบเตรียมตัวเตรียมใจให้ พร้อมรับบรรดาร้านอาหารจีนที่จะหลั่งไหลเข้ามาเพื่อแย่ง ชิงตำ�แหน่งร้านโปรดประจำ�เมืองให้ดี ดังที่กูริยูทิ้งท้ายว่า “ปัจจุบันกรุงเทพฯ เปรียบเสมือนแหล่งอนุบาลชั้นดีสำ�หรับ ร้านอาหารแนวต่างๆ ตอนนี้ก็ได้แต่หวังว่าคนที่เข้ามาจะเป็น ตัวจริงเสียงจริง ไม่ใช่แค่คนที่ตามกระแสเท่านั้น”
Man Fu Yuan ชัน้ 1 ราชพฤกษ์คลับ ถนนวิภาวดีรงั สิต กรุงเทพฯ โทร. 02-955-0403 www.rajpruek.com Tim Ho Wan ชัน้ 3 ศูนย์การค้าเทอร์มนิ อล 21 ซอยสุขมุ วิท 21 ถนนสุขมุ วิท กรุงเทพฯ โทร. 02-006-5288 Xiao Chi ชัน้ M เดอะ คอมมอนส์ ซอยทองหล่อ 17 กรุงเทพฯ โทร. 02-185-2497 www.fb.com/xiaochishop
09 ติ ่ ม ซำ � ระดั บ มิ ช ลิ น ของ Tim Ho Wan 10 ฮั ่ ว เซ่ ง ฮง ขวั ญ ใจคนรั ก อาหารจี น ที ่ เ ยาวราช 11 เมนู เ ป๋ า ฮื ้ อ ตุ ๋ น และเป็ ด รมควั น ชา อาหารจี น ตำ � รั บ ดั ้ ง เดิ ม ที ่ Man Fu Yuan พยายามรั ก ษาไว้
OPTIMISE | APRIL 2016
29
STATE OF THE ARTS Essentials
Local Luxe
ศูนย์สง่ เสริม ศิลปาชีพระหว่าง ประเทศ (ศศป.)
59 หมู่ 4 บางไทร พระนครศรีอยุธยา โทร. 035-367-054 ถึง 9 www.sacict.net
นักออกแบบของตกแต่งบ้านระดับแนวหน้าของกรุงเทพฯ เปิดโรงงานแสดงเนื้อแท้ของงานลักชัวรี พร้อมเผยเหตุผล ที่แบรนด์หรูเลือกประเทศไทยเป็นฐานธุรกิจ สำ�หรับ Lotus Arts de Vivre แล้วคำ�ว่า ‘mass production’ หรือการผลิตของทีละจำ�นวนมากถือเป็น คำ�แสลง อันทีจ่ ริงแบรนด์เครือ่ งเพชรและของแต่งบ้าน หรูเลิศแห่งนีพ้ ยายามต่อต้านการผลิตในรูปแบบดังกล่าว อย่างแข็งขัน จนน้อยครัง้ จะผลิตสินค้าดีไซน์เดียวซ�ำ้ กัน สองชิน้ ห้าชิน้ ยิง่ ไม่เคยปรากฏ โลตัส อาร์ต เดอ วีฟว์ ซึง่ ก่อตัง้ โดยครอบครัวบือเรน ในช่วงปี พ.ศ. 2523 เป็นหนึง่ ในแบรนด์ลกั ชัวรีระดับสากล จำ�นวนไม่นอ้ ยทีม่ ายึดเอากรุงเทพฯ เป็นบ้าน เนือ่ งจาก เห็นว่าเมืองไทยมีสว่ นผสมอันลงตัวระหว่างเสน่หแ์ ห่ง ประเทศตะวันออก และความเป็นแหล่งฝีมอื ชัน้ เยีย่ ม ทำ�ให้นอกจากประเทศไทยจะสามารถผลิตสินค้าคุณภาพ ไร้ทต่ี แิ ล้วยังเปีย่ มเรือ่ งราวทีจ่ ะใช้เล่าต่อบรรดาลูกค้า ผูพ้ ถิ พิ ถิ นั ทัว่ โลกได้ แต่ผดิ กันกับความเชือ่ ทีว่ า่ ชาวต่างชาติเข้ามาตัง้ โรงงานในเอเชียเพียงเพราะต้องการแรงงานราคาถูก บริษทั เหล่านีบ้ อกว่าเหตุผลทีต่ ง้ั ธุรกิจในไทยก็เพราะ ต้องการฝีมอื อันเหนือชัน้ ของช่างไทย ไม่วา่ จะเป็นงานฝีมอื ท้องถิน่ อย่างการทอผ้าไหมและการปัน้ หุน่ หรืองานฝีมอื ต่างชาติอย่างการเคลือบแลคเกอร์สไตล์ญป่ี นุ่ และการ หุม้ หนังกระเบน
วิถไี ทย
นิกกี้ ฟอน บือเรน ซีอโี อคนปัจจุบนั และบุตรชาย ของเฮเลนและโรล์ฟ ฟอน บือเรน สองสามีภรรยาผูก้ อ่ ตัง้ โลตัสฯ กล่าวว่า “ลองดูพวงมาลัยของไทยเป็นตัวอย่างก็ได้ ประเทศไหนๆ ในเอเชียต่างมีพวงมาลัยแบบของตัวเองทัง้ นัน้ แต่พวงมาลัยของไทยจะประณีตกว่าเพราะร้อยแน่น กว่า นีก่ ค็ อื เอกลักษณ์ของไทย ถ้าดูพวงมาลัยอินเดียหรือ อินโดนีเซียจะค่อนข้างหลวม แต่ของไทยจะแน่น และสิง่ เหล่านีแ้ สดงออกมาเหมือนกันหมด ไม่วา่ จะในราย ละเอียดของบ้านทรงไทยหรือการจัดวางอาหาร เวลาเรา ผลิตของทีน่ จ่ี ะได้คณ ุ ภาพเหนือกว่าทีอ่ น่ื มาก” เมือ่ แรกเริม่ ธุรกิจของโลตัสฯ คือการทำ�เครือ่ งเพชร สุดประณีตจากวัสดุธรรมชาติทง้ั ชิน้ และมีเพียงชิน้ เดียว ในโลกเพือ่ ขายให้กบั สุภาพสตรีผมู้ ง่ั คัง่ ในวงสังคมชัน้ สูง แต่หลังจากนัน้ บริษทั ก็ได้ขยายออกไปทำ�เครือ่ งเรือนด้วย
30
OPTIMISE | APRIL 2016
โดยเน้นเครือ่ งเรือนชิน้ โดดเด่นแบบ ‘statement piece’ ซึง่ ออกแบบโดยใช้วสั ดุหลักเพียงชิน้ เดียวและตกแต่ง ด้วยงานหัตถกรรมนานาแขนงของเอเชียรวมถึงไทย ทัง้ นี้ แนวทางการออกแบบจะมาจากตัวช่างเอง ไม่ใช่ตาม คำ�สัง่ ของบริษทั นิกกีอ้ ธิบายว่า “ช่างฝีมอื พวกนีเ้ ขาเป็นศิลปิน ไม่ใช่ เครือ่ งจักร กว่าจะทำ�งานด้วยกันได้เราต้องมีคนช่วย แนะนำ�ตัวให้ ต้องค่อยๆ ทำ�ความรูจ้ กั ค่อยๆ สร้างความ ไว้เนือ้ เชือ่ ใจกันไป เราทิง้ ของไว้กบั เขา แล้วเขาก็เอามันไป แต่งไปทำ� ผลงานอาจไม่ได้ออกมาดีเสมอไป แต่กไ็ ม่ใช่วา่ เราจะเอางานชิน้ ทีเ่ ราไม่ชอบโยนทิง้ ไปได้ เราต้องเข้าใจว่า คนพวกนีเ้ ขาหลงรักสิง่ ทีเ่ ขาทำ�อย่างมาก และเป็นไปไม่ได้ อยูแ่ ล้วทีเ่ ราจะเห็นพ้องกันทุกครัง้ ” แต่ไม่วา่ โลตัสฯ จะผลิตงานชิน้ ใดอยูก่ ต็ าม สุดท้าย งานชิน้ นัน้ จะต้องกลับเข้ามาสูก่ รุงเทพฯ เสมอ เพือ่ ให้ทมี ช่างฝีมอื ชัน้ เยีย่ มของบริษทั ประกอบ ประดับและตกแต่ง ชิน้ งานเป็นขัน้ สุดท้าย ไม่วา่ จะเป็นเครือ่ งประดับหรือ เฟอร์นเิ จอร์ ทัง้ นีโ้ รงงานของโลตัสฯ ซึง่ ซุกตัวอยูห่ ลังถนน พระราม 3 มีคลังสินค้ามโหฬาร ซึง่ ได้รบั การขนานนามว่า Theatre of Indulgence เนือ่ งจากเป็นทีแ่ สดงของ แต่งบ้านล�ำ้ ค่าของบริษทั ตัง้ แต่ชน้ิ ไม้หงิกงอฝังแผ่นเงิน รูปวานร ไปจนถึงโต๊ะจัดเลีย้ งทำ�จากรากไม้ขนาดยักษ์ทไ่ี ด้ รับการขัดไสจนไร้ทต่ี ิ “เราไม่สามารถทำ�แบบนีท้ อ่ี น่ื ในโลกได้ เป็นไปไม่ได้ เลย ของธรรมชาติแต่ละชิน้ ไม่มเี หมือนกันและจะต้องเอา มาแต่งด้วยฝีมอื ทีต่ า่ งกัน เราไม่มที างทำ�ของอย่างนีแ้ บบ ทีละเยอะๆ ได้”
ตามหาความหรูหราทีแ่ ท้
ครอบครัวบือเรนอาศัยอยูใ่ นหมูเ่ รือนไทยยกสูง 9 หลัง ท่ามกลางเงาของตึกระฟ้าในย่านทีท่ นั สมัยทีส่ ดุ ของสุขมุ วิท เมือ่ พิจารณาดูแล้ว ครอบครัวนีแ้ ละกิจการของพวกเขา เป็นเสมือนภาพทีฉ่ ายให้เห็นอดีตของวงการลักชัวรีกอ่ น ยุคทีบ่ ริษทั คอนกลอเมอเรตยักษ์ใหญ่อย่าง LVMH และ Kering จะทำ�ให้ลกั ชัวรีกลายเป็นของทีผ่ ลิตทีละนับไม่ถว้ น ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากโลตัสฯ ผลิตของน้อยชิน้ มากต่อ 1 แบบ โรล์ฟ ฟอน บือเรน พ่อของนิกกีจ้ งึ ต้องออกแบบดีไซน์
Alexander Lamont ชัน้ 2 ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี 1031 ถนนเพลินจิต กรุงเทพฯ โทร. 02-160-5772 www.alexanderlamont.com Lotus Arts de Vivre 41/21 ถนนพระราม 3 กรุงเทพฯ โทร. 02-294-1821 www.lotusartsdevivre.com P. Tendercool 48-58 ซอยเจริญกรุง 30 กรุงเทพฯ โทร. 02-266-4344 www.ptendercool.com Thinkk Studio 7/8 ถนนเย็นอากาศ กรุงเทพฯ โทร. 02-671-9317 www.thinkk-studio.com
01
ถ้าดูพวงมาลัยอินเดีย หรืออินโดนีเซีย จะค่อนข้างหลวม แต่ของไทยจะแน่น และ สิ่งเหล่านี้แสดงออกมา เหมือนกันหมด ไม่ว่า จะในรายละเอียดของ บ้านทรงไทยหรือการจัด วางอาหาร เวลาเราผลิต ของที่นี่ จะได้คุณภาพ เหนือกว่าที่อื่นมาก
02
03
01 การบรรจงเก็ บ รายละเอี ย ดของช่ า ง ฝี ม ื อ ของ P. Tendercool 02 Baby Ganesha ของแต่ ง บ้ า น ดุ จ งานประติ ม ากรรมศิ ล ป์ ข อง Lotus Arts de Vivre 03 แจกั น ทรงแปลกตาของ Alexander Lamont
OPTIMISE | APRIL 2016
31
STATE OF THE ARTS ใหม่ๆ ทุกวันเพือ่ ให้ทนั ความต้องการของตลาด “เราทำ�กันแบบนีม้ าตลอด สมัยก่อนก็ท�ำ กันแบบนี้ แต่ตอนนีเ้ ป็นยังไง เขาใช้ค�ำ ว่า ‘luxury for the masses’ มันฟังดูไม่ใช่เลยสำ�หรับผม แต่มนั เป็นอย่างนีไ้ ปแล้ว” นิกกีก้ ล่าว ถึงแม้การนิยามผลิตภัณฑ์ลกั ชัวรีในแบบของ โลตัสฯ จะสวนทางกับแนวทางทีเ่ น้นเข้าถึงลูกค้ากลุม่ ใหญ่แบบ ‘mass appeal’ ของแบรนด์ใหญ่อน่ื ๆ ในตลาด แต่โลตัสฯ และแบรนด์ลกั ชัวรีทอ้ งถิน่ เจ้าอืน่ ๆ ต่างตระหนักดีวา่ สำ�หรับโลกภายนอกแล้ว การมีฐานที่ ตัง้ ในประเทศไทยอาจทำ�ให้แบรนด์ของพวกเขาถูกมอง ว่ามีมลู ค่าต�ำ่ กว่าแบรนด์ดงั ของยุโรปอยูด่ ี ในเรือ่ งนี้ อเล็กซานเดอร์ ลามอนต์ ดีไซเนอร์จากอังกฤษผูซ้ ง่ึ เติบโตขึน้ มาในลักษณะเดียวกับนิกกี้ คือเดินทางไปทัว่ เอเชียกับบิดาทีเ่ ป็นพ่อค้าของเก่า เห็นว่าเป็นความคิดที่ ผิดอย่างยิง่ “คนมักเชือ่ ว่าการทีอ่ ยูเ่ อเชียแปลว่าเราจะต้องราคา ถูกกว่าพวกบริษทั ยุโรปทีท่ �ำ ของอย่างเดียวกัน ความเชือ่ นีเ้ ป็นสิง่ ทีท่ า้ ทายมาก ช่วงแรกๆ ทุกคนทีผ่ มได้พบจะมี ความคิดอยูใ่ นหัวว่าการทำ�แบรนด์ลกั ชัวรีในเอเชียนัน้ จะ ต้องถูกกว่าและเผลอๆ ก็งา่ ยกว่า แต่ความจริงก็คอื การ ทำ�งานทีน่ ย่ี ากกว่ามาก” อเล็กซานเดอร์เล่า อเล็กซานเดอร์ใช้เวลาอยูห่ ลายปีในการทำ�งานร่วม กับช่างฝีมอื มากหน้าหลายตาในเวียดนาม ฟิลปิ ปินส์ กัมพูชาและจีน ก่อนจะตัดสินใจรวมธุรกิจทัง้ หมดไว้ท่ี กรุงเทพฯ โรงงานของ Alexander Lamont หลบอยูใ่ น ซอยทีห่ า่ งไกลจากถนนใหญ่ โดยเป็นทีผ่ ลิตของตกแต่ง บ้านอันเปีย่ มศิลปะทีค่ นส่วนมากมักได้เห็นจากนิตยสาร Elle Decoration ทีต่ พี มิ พ์ภาพทีอ่ ยูอ่ าศัยอันไร้ทต่ี ใิ น นิวยอร์ก
เมือ่ เดินเข้าไปในเขาวงกตทีม่ แี ต่หอ้ งและประตูบาน เตีย้ ซึง่ รวมกันเป็นโรงงานของบริษทั อเล็กซานเดอร์ ลามอนต์ จะพบกับคนกลุม่ หนึง่ ทีก่ ม้ หน้าก้มตาขัดเงา พืน้ ผิว เขียนภาพ และลงสีอย่างใจเย็น ในขณะทีง่ าน หนักอย่างการทำ�ตูว้ างของระดับไฮเอนด์นน้ั จะเกิดขึน้ ใน ตึกข้างๆ (“บอกได้เลยว่าห้องเครือ่ งระดับนีใ้ นเมืองไทย มีจ�ำ นวนนับได้ดว้ ยมือข้างเดียว” อเล็กซานเดอร์แอบ กระซิบ) แต่จดุ ต่างระหว่างช่างฝีมอื ของอเล็กซานเดอร์ ลามอนต์และโลตัสฯ คือช่างฝีมอื ของโลตัสฯ จะทำ�งาน หัตถศิลป์แบบเอเชียดัง้ เดิมเป็นหลัก ในขณะทีง่ านของ ลามอนต์จะครอบคลุมงานฝีมอื แบบยุโรปตลอดจนการ ทดลองวัสดุแปลกใหม่ทล่ี ามอนต์คดิ ค้นขึน้ เองด้วย อเล็กซานเดอร์เป็นทีร่ จู้ กั มากทีส่ ดุ จากผลิตภัณฑ์ ตูว้ างของและโต๊ะหุม้ หนังกระเบน ซึง่ เขาเล่าว่าเป็นวัสดุท่ี เขาต้องใช้เวลาถึง 12 ปีในการศึกษาและทำ�ความเข้าใจ โดยเรียนมาจากนักหุม้ หนังกระเบนมือหนึง่ ของฝรัง่ เศส
เทคนิค vs. ทัศนะ
อเล็กซานเดอร์บอกว่าข้อจำ�กัดใหญ่ทส่ี ดุ สำ�หรับวง การลักชัวรีในประเทศไทย ไม่ใช่เรือ่ งฝีมอื ไม่ถงึ แต่เป็น ความรูเ้ ห็นทีจ่ �ำ กัดและการไม่ตระหนักว่าแบรนด์ ลักชัวรีใหญ่ๆ สามารถทำ�อะไรได้ขนาดไหน “เรามีชา่ ง ฝีมอื ทีโ่ ดยรวมแล้วยังนึกตามไม่ออกว่าสิง่ ทีข่ อให้เขาทำ� มันเป็นยังไง เพราะเขาไม่เคยเห็น ผิดกับช่างของ แอร์เมส พวกนัน้ เดีย๋ วก็เห็นของโชว์จากหน้าร้านต่างๆ ในปารีส เดีย๋ วก็ได้เห็นจากสือ่ คุณภาพและลีลาฝรัง่ เศส ทัง้ หลายมันเป็นส่วนหนึง่ ของคนๆ นัน้ ไปแล้ว ของพวก นีไ้ ม่ได้โจ่งแจ้ง แต่มนั แทรกซึมอยูก่ บั ตัวช่าง และทำ�ให้ งานของพวกเขามันมีความพิเศษขึน้ มาอีก” แล้วสาเหตุใดทำ�ให้อเล็กซานเดอร์ตดั สินใจทำ�
ธุรกิจทีน่ ่ี เขาตอบว่า “เราดูหลายๆ ประเทศแล้วทัง้ จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า แต่เราคิดว่าถ้าเราเลือก ประเทศพวกนีก้ ารทำ�ธุรกิจคงจะลำ�บาก เพราะประเทศ เหล่านัน้ มีผผู้ ลิตราคาถูกครองตลาดอยูแ่ ล้ว ในขณะที่ ประเทศไทย ถึงจะมีปญ ั หาเรือ่ งกฎระเบียบยุบ่ ยับ่ และ ภาษีศลุ กากรอะไรก็แล้วแต่ อย่างน้อยประเทศไทยก็ยงั เอือ้ ให้เราทำ�ในสิง่ ทีอ่ ยากทำ�ได้ อยูเ่ วียดนามกับจีนเรา อาจสร้างธุรกิจทีใ่ หญ่กว่านีไ้ ด้ แต่ผมรูส้ กึ ว่านัน่ ไม่เหมาะ กับเราเท่าไร” ปีเตอร์ คอมเพอร์นอล ชายชาวเดนมาร์กผูม้ พี อ่ ตา เป็นพ่อค้าโบราณวัตถุระดับแนวหน้าของกรุงเทพฯ (ถ้า ได้ไปเยือน Fifty Years Arts & Antiques คลังสินค้า ผสมโชว์รมู ในบ้านริมแม่นา้ํ ของเขาจะรูส้ กึ เหมือนได้เข้า ชมพิพธิ ภัณฑ์ทส่ี วยทีส่ ดุ แห่งหนึง่ ของกรุงเทพฯ) ก็เป็น อีกคนหนึง่ ทีไ่ ด้สร้าง P.Tendercool แบรนด์เฟอร์นเิ จอร์ ของตัวเอง โดยเน้นเทคนิคการผลิตแบบยุโรป ปีเตอร์ช�ำ นาญในเรือ่ งการทำ�โต๊ะจากไม้โบราณแผ่น หนาๆ จากแหล่งในภูมภิ าคเอเชียตะวันออก โดยผิวของ โต๊ะจะได้รบั การขัดจนเรีย่ มไร้ทต่ี กิ อ่ นนำ�มาวางบน ขาโต๊ะทองแดงอ่อนช้อย แต่เขาเองก็ประสบกับปัญหา ช่างฝีมอื อ่อนความรูเ้ กีย่ วกับงานลักชัวรีชน้ั เลิศเช่นกัน โดยเฉพาะหากเป็นงานในสาขาทีช่ า่ งนัน้ มีความชำ�นาญ เก่าก่อนอยูแ่ ล้วจนเกิดความยึดติด ปีเตอร์เล่าว่า “โดยหลักๆ แล้ว เทคนิคทีเ่ ราใช้ท�ำ ขา โต๊ะนัน้ ไม่ตา่ งจากเมือ่ 5 พันปีกอ่ นเลย พูดอย่างง่ายๆ ก็คอื ทำ�กล่องทรายขึน้ มา กรอกวัสดุลงไป ดึงออกมา แค่นก้ี จ็ ะได้ทองแดงก้อนหนึง่ แต่ผมผิดหวังมากเพราะ โรงหล่อทีน่ ไ่ี ม่มคี วามตัง้ ใจทีจ่ ะวิจยั ศึกษาเกีย่ วกับวิธี ทำ�ขาโต๊ะให้มนั ลึกซึง้ ขึน้ เลย ผมพูดกับเขาว่า ‘คุณครับ คุณทำ�ขาโต๊ะมาตัง้ แต่สมัยไหนแล้ว มันก็เหมือนเดิมนัน่ แหละ
04 อเล็ ก ซานเดอร์ ลามอนต์ 05 ขาเตี ย งทองเหลื อ ง ที ่ P. Tendercool ออกแบบให้ เ ข้ า กั บ เดย์ เ บด ที ่ ท ำ � ด้ ว ยไม้ จ ากบ้ า นเก่ า ในอยุ ธ ยา 06 โคมไฟดี ไ ซน์ ส วยของ Thinkk ผลงานร่ ว มกั บ ชุ ม ชนหั ต ถกรรมท้ อ งถิ ่ น 07 ฝีมือช่างของ Alexander Lamont 08 สินค้าหรูเรียบในโชว์รูมของ P. Tendercool
32
OPTIMISE | APRIL 2016
04
05
06
07
ผู้ที่ได้เข้ามาทำ�งานศิลป์ ในไทยล้วนตระหนักดีว่า ศักยภาพของฝีมือ คนท้องถิ่นนั้นดีเกินพอที่จะ ไปสู่ความเป็นเลิศ
และนีค่ อื จุดที่ แสงระวี สิงหวิบลู ย์ เข้ามามีบทบาท สำ�คัญ แสงระวีเป็นผูจ้ ดั การสายงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตศิลป์แห่งศูนย์สง่ เสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (ศศป.) ซึง่ เป็นหน่วยงานทีม่ งุ่ ให้ความรูก้ บั ชุมชน เกษตรกรในเรือ่ งศิลปหัตถกรรมพืน้ บ้านของไทย เพือ่ ให้ นำ�ไปใช้หารายได้เลีย้ งชีพระหว่างรอเก็บเกีย่ วผลผลิต ทางการเกษตร แม้วา่ ฟังเผินๆ อาจดูเหมือนโอท็อปแต่กไ็ ม่ใช่ เสียทีเดียว โดยในขณะทีง่ านอืน่ ๆ ของศศป. อาจทำ�ให้ นึกถึงของโบราณโดยเฉพาะในเมือ่ มีค�ำ ว่า ‘หัตถกรรม’ เข้ามาเกีย่ ว แต่ส�ำ หรับงานนี้ กลับเป็นการร่วมมือกับ นักออกแบบรุน่ ใหม่ชน้ั แนวหน้าของกรุงเทพฯ เพือ่ สร้าง ผลิตภัณฑ์รว่ มสมัยทีล่ �ำ้ หน้า ก่อนจะนำ�ออกแสดงต่อ วงการดีไซน์ระดับโลก “งานส่วนหนึง่ ของเราคือการทำ�งานร่วมกับ นักออกแบบ เพือ่ สร้างผลิตภัณฑ์ทเ่ี ข้ากับไลฟ์สไตล์ คนสมัยใหม่ เราจับคูช่ า่ งฝีมอื ท้องถิน่ กับนักออกแบบ ขนาดนี้ เราพยายามทำ�ทุกอย่างตามแบบเก่า โดยใช้แต่ โดยนักออกแบบจะได้ไปเยีย่ มชุมชนของช่าง ประเมิน กำ�ลังการผลิตและช่วยพัฒนาชิน้ งานต้นแบบทีจ่ ะนำ�ไป ไม้โบราณและวัสดุธรรมชาติเท่านัน้ ในขณะทีบ่ ริษทั อืน่ ทดลองในตลาดต่างประเทศได้” แสงระวีกล่าว ใช้สารเคมีเช่นยูรเี ทนเพือ่ เคลือบไม้” ถึงแม้วา่ ผลลัพธ์ของโครงการนีจ้ ะไม่ใช่งานลักชัวรี เพิม่ พูนศักยภาพ ในระดับเดียวกับแบรนด์อย่างอเล็กซานเดอร์ ลามอนต์ แม้วา่ ความพิถพี ถิ นั ในระดับของพิเศกนัน้ จะยังหา และ พี.เทนเดอร์คลู แต่กเ็ รียกว่าเป็นงานทีเ่ ข้าสูต่ ลาด ยากในประเทศไทย แต่สง่ิ ต่างๆ กำ�ลังเริม่ เปลีย่ น ปีเตอร์ ของนวัตกรรมและดีไซน์ทร่ี าคาสูงได้ส�ำ เร็จ เมือ่ ต้นปีน้ี กล่าวว่า “ผมมัน่ ใจว่างานฝีมอื กำ�ลังมา คนเริม่ ใส่ใจ ใส่ เอง Thinkk Studio หนึง่ ในนักออกแบบทีแ่ สงระวี ความรักในงาน และไม่ใช่แค่งานเฟอร์นเิ จอร์ดว้ ย แต่ ร่วมงานด้วยได้น�ำ ผลงานไปออกนิทรรศการร่วมกับ รวมถึงทุกๆ อย่างทัง้ อาหารและเครือ่ งดืม่ งานของคนทีน่ ่ี ศศป. ทีง่ านแสดงเฟอร์นเิ จอร์ชน้ั นำ�ของยุโรปไม่วา่ จะ คุณภาพแข่งกับนานาชาติได้เลย เมือ่ ปีทแ่ี ล้วผมไปเทีย่ ว เป็น Maison & Objet ในปารีส ประเทศฝรัง่ เศสหรือ งาน Chiang Mai Design Week และทึง่ กับคุณภาพ IMM ในโคโลญจน์ ประเทศเยอรมนี ของงานมาก มีแต่คนตัง้ ใจทำ�งานดีๆ แต่สง่ิ ทีอ่ าจยังขาด โดยนัยนี้ แม้ค�ำ ว่า ‘made in Thailand’ อาจยัง ไปก็คอื ทัศนคติในการทำ�ธุรกิจ” ต้องการเวลาอีกนิดก่อนจะสามารถทำ�หน้าทีเ่ ป็นตรา เขายกตัวอย่างผูจ้ ดั จำ�หน่ายสินค้า OTOP รายหนึง่ แสดงคุณภาพชัน้ เยีย่ มในระดับสากลได้เต็มภาคภูมิ ทีม่ พี รมทีเ่ ขาต้องการซือ้ “ผมอยากเชิดชูศลิ ปะท้องถิน่ แต่ผทู้ ไ่ี ด้เข้ามาทำ�งานศิลป์ในไทยล้วนตระหนักดีวา่ และอยากร่วมงานกับคนตำ�บลนีท้ ท่ี �ำ พรมคุณภาพดีมาก ศักยภาพของฝีมอื คนท้องถิน่ นัน้ ดีเกินพอทีจ่ ะไปสูค่ วาม แต่ปรากฏว่ายากมาก ผมไม่สามารถขอตัวอย่างพรม เป็นเลิศ เพราะมันเป็นเช่นนัน้ เสมอมา จากเขาได้ ผมบอกเขาไปว่าผมต้องการพรมขนาดเท่านีๆ้ ดังที่ นิกกี้ แห่งโลตัส อาร์ต เดอ วีฟว์ กล่าวว่า สำ�หรับห้องตัวอย่าง แต่เขาบอกว่าทำ�ให้ไม่ได้ ต้องสัง่ “ลองไปดูเรือพระราชพิธี ไปดูพระทีน่ ง่ั อนันตสมาคมแล้ว จำ�นวนมากกว่านี้ หลายๆ บริษทั เป็นแบบนีค้ อื ทำ�ธุรกิจ ดูคณ ุ ภาพงานดูสิ แล้วคุณจะทิง้ ความเชือ่ ผิดๆ ทีว่ า่ แบบแข็งเกินไป และไม่เข้าใจความต้องการของธุรกิจใน ศิลปหัตถกรรมไทยด้อยกว่าชาติอน่ื ไปได้ในทันที” ศตวรรษที่ 21”
08
สิง่ เดียวทีต่ า่ งคือตัวแบบทีใ่ ห้ใส่ลงไปในทรายแค่นน้ั เอง’ แต่ปรากฏว่าไม่มใี ครอยากจะลอง ขนาดตอนนัน้ คือช่วง เศรษฐกิจแย่มากด้วย ประเทศไทยมีศกั ยภาพเต็ม ไปหมด แต่คนยังอยากทำ�อะไรแต่แบบเดิมๆ ทำ�ตาม ขัน้ ตอนเดิมไปเรือ่ ยๆ โดยไม่พฒ ั นาความรูท้ ม่ี อี ยู”่ ธุรกิจของปีเตอร์เล็กกว่าโลตัสฯ และอเล็กซานเดอร์ ลามอนต์ เขามีชา่ งฝีมอื 8 คนทำ�งานให้กบั แบรนด์ ในกรุงเทพฯ ส่วนงานหล่อทองแดงนัน้ เขาต้องจ้าง ช่างหล่อชาวอิตาเลียน ผูอ้ า้ งว่าเคยร่วมงานกับศิลปิน เซอเรียลลิสต์ ชาวสเปน ซัลวาโด ดาลี มาก่อน ปีเตอร์ เล่าว่า “เราไม่เคยมีชา่ งฝีมอื ทีล่ าออกจากบริษทั สักคน” พิเศก เขตสันเทียะ ได้ท�ำ งานกับ ปีเตอร์ คอมเพอร์ นอลมาตัง้ แต่เขาเปิดบริษทั เมือ่ 8 ปีกอ่ น พิเศกประกอบ อาชีพช่างไม้ตง้ั แต่อายุ 12 และตอนนีเ้ ป็นผูจ้ ดั การฝ่าย ผลิตทีบ่ ริษทั พี.เทนเดอร์คลู โดยมีหน้าทีด่ แู ลการผลิตทุก ขัน้ ตอนรวมไปถึงควบคุมคุณภาพงานด้วย ตามคำ�บอก เล่าของพิเศก ผิวโต๊ะทุกชิน้ ต้องใช้เวลาทัง้ เดือนในการ ผลิต ทัง้ นีข้ น้ึ อยูก่ บั แบบและปัจจัยอืน่ ๆ เช่นความชืน้ ซึง่ อาจทำ�ให้ความมันเงาของผิวโต๊ะเสือ่ มลงได้ เขาเล่าว่า “ผิวโต๊ะเป็นส่วนทีใ่ ช้เวลาทำ�นานทีส่ ดุ อย่างเทคนิค French polishing ต้องใช้เวลาทำ�นานถึง 2 เดือน แค่ขดั แต่งอย่างเดียวก็ใช้เวลาเป็นอาทิตย์แล้ว ผมไม่เคยได้ยนิ ว่ามีบริษทั อืน่ ในไทยทีท่ �ำ โต๊ะคุณภาพสูง
OPTIMISE | APRIL 2016
33
SERVING YOU 01
Lombard Loan ผลิตภัณฑ์สนิ เชือ่ สำ�หรับการลงทุนทีพ ่ สิ จู น์มาตรฐาน Private Banking ระดับสากล ด้วยประสบการณ์ Wealth Management ทีเ่ ป็นคูค่ ดิ การลงทุนของลูกค้ามากว่า 15 ปี บริษทั หลักทรัพย์ ภัทร ยังคงนำ�เสนอผลิตภัณฑ์และบริการทีม่ คี ณ ุ ภาพ ตลอดจน ความหลากหลายทัดเทียมสถาบันการเงินระดับโลก เพือ่ ให้ ลูกค้าได้รบั ผลประโยชน์สงู สุดจากโอกาสทางการลงทุนที่ ไร้ขอ้ จำ�กัด ณฤทธิ์ โกสาลาทิพย์ ผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การ หัวหน้าทีม ทีป่ รึกษาการลงทุนส่วนบุคคล บริษทั หลักทรัพย์ ภัทร กล่าวว่า “เราให้ความสำ�คัญกับการยกระดับบริการ Private Banking ให้เทียบเท่ามาตรฐานสากลมาโดยตลอด ไม่วา่ จะเป็นการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมความต้องการของลูกค้า เช่น กองทุน Phatra SG-AA (Strategic Asset Allocation) กองทุนแรกทีใ่ ช้การจัดสรรเงินลงทุนอย่างเป็นระบบในหลาก หลายประเภทสินทรัพย์เพือ่ ตอบโจทย์ในทุกสภาวะตลาด หรือการพัฒนาบริการ เช่นการริเริม่ จัดทำ� Consolidated Statement ซึง่ ช่วยให้ลกู ค้าเห็นภาพรวมการลงทุน การเติบโต ของสินทรัพย์และอัตราผลตอบแทนในทีเ่ ดียวได้” เช่นเดียวกัน ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบนั ทีม่ คี วามผันผวนอยูต่ ลอดเวลา กลุม่ ธุรกิจการเงิน เกียรตินาคินภัทร มุง่ เสริมสภาพคล่องและสร้างโอกาส ในการบริหารเงินลงทุนของลูกค้าให้มปี ระสิทธิภาพมาก ยิง่ ขึน้ ผ่านการพัฒนา Lombard Loan ผลิตภัณฑส์ นิ เชือ่ ลักษณะพิเศษทีเ่ พิง่ มีขน้ึ เป็นครัง้ แรกในประเทศไทย
รูจ้ กั กับ Lombard Loan
Lombard Loan เป็นผลิตภัณฑ์ส�ำ หรับกลุม่ ลูกค้า High Net Worth ทีม่ ที รัพย์สนิ ทางการเงิน หรือพอร์ตลงทุน กับบริษทั หลักทรัพย์ ภัทร โดยมีลกั ษณะเป็นสินเชือ่ หมุนเวียน อเนกประสงค์ทใ่ี ช้ทรัพย์สนิ ทางการเงินของลูกค้าเป็น หลักประกัน และเปิดโอกาสให้ลกู ค้าสามารถนำ�สินเชือ่ ไปใช้ โดยไม่จ�ำ กัดวัตถุประสงค์ เช่น • เสริมสภาพคล่องทางการเงินทัว่ ไป เช่น ใช้เป็นเงิน หมุนเวียนสำ�หรับการทำ�ธุรกิจ • ลงทุนเพือ่ เพิม่ อัตราผลตอบแทนของพอร์ตลงทุน โดยลงทุนในทรัพย์สนิ ทางการเงินอืน่ ๆ ทีใ่ ห้ผลตอบแทน คาดหวังทีส่ งู กว่าต้นทุนสินเชือ่ เช่น กองทุนอสังหาริมทรัพย์ กองทุนโครงสร้างพืน้ ฐาน และตราสารอนุพนั ธ์ • ลงทุนในสินทรัพย์อน่ื ๆ เช่น อาคาร ทีด่ นิ • นำ�ไปใช้ทดแทนสินเชือ่ รูปแบบอืน่ ๆ ทีม่ ตี น้ ทุนทางการ
34
OPTIMISE | APRIL 2016
เงินสูงกว่า หรือมีความคล่องตัวต�ำ่ กว่า ทัง้ นี้ เนือ่ งจาก Lombard Loan ช่วยให้ลกู ค้าได้รบั เงิน โดยไม่จ�ำ เป็นต้องขายทรัพย์สนิ ทีม่ อี ยู่ จึงเป็นการรักษาผล ตอบแทนจากทรัพยส์ นิ เดิม และช่วยให้ลกู ค้าใช้ศกั ยภาพจาก ทรัพย์สนิ ทีถ่ อื ครองได้อย่างเต็มที่
หลักประกันทีห่ ลากหลาย
ในเบือ้ งต้น ทรัพย์สนิ ทางการเงินทีล่ กู ค้าสามารถใช้เป็น หลักประกัน ได้แก่ เงินสด หุน้ สามัญของบริษทั ทีจ่ ดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในดัชนี SET100 หน่วยลงทุนของกอง ทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) ทรัสต์เพือ่ การ ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) และหน่วยลงทุนของ กองทุนรวมโครงสร้างพืน้ ฐาน (Infrastructure Fund) ทีม่ กี าร ซือ้ ขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างไรก็ตาม ในอนาคต กลุม่ ธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร มีแผนจะขยายประเภท ของทรัพย์สนิ ทางการเงินทีส่ ามารถนำ�มาใช้เป็นหลักประกัน เพิม่ เติมให้ครอบคลุมถึง หุน้ กู้ พันธบัตร หรือกองทุนรวมด้วย
ยืนยันมาตรฐานสากล
เนือ่ งจาก Lombard Loan ช่วยให้บริการด้านเงินทุนใน รูปแบบของสินเชือ่ (Liability Solution) กับลูกค้านอกเหนือ ไปจากการให้บริการด้านการลงทุน (Investment Solution) Lombard Loan จึงถือเป็นหนึง่ ในผลิตภัณฑ์พน้ื ฐานทีส่ �ำ คัญ ของไพรเวท แบงก์ในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม สำ�หรับ ประเทศไทย กลุม่ ธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ถือเป็นทีแ่ รก ทีไ่ ด้พฒ ั นาและนำ�เสนอผลิตภัณฑ์นใ้ี ห้กบั ลูกค้าเป็นผลสำ�เร็จ จึงนับเป็นก้าวย่างสำ�คัญในการยกระดับมาตรฐานการให้ บริการ Private Banking ในไทยให้ทดั เทียมสากล “เนือ่ งจากลูกค้าให้ความไว้วางใจมาโดยตลอด จึงทำ�ให้ เราไม่อาจหยุดพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของเราได้เลย และ Lombard Loan ก็ถอื เป็นอีกหนึง่ ตัวอย่างทีช่ ว่ ยพิสจู น์ ความตัง้ ใจของเราได้เป็นอย่างดี” ณฤทธิ์ กล่าวทิง้ ท้าย หากลูกค้าท่านใดสนใจทีจ่ ะเปิดบัญชี Lombard Loan หรือต้องการข้อมูลเพิม่ เติมเกีย่ วกับผลิตภัณฑ์น้ี สามารถ ติดต่อทีป่ รึกษาการลงทุนของท่านทีบ่ ริษทั หลักทรัพย์ ภัทร หรือติดต่อฝ่ายทีป่ รึกษาการลงทุนส่วนบุคคลของบริษทั หลักทรัพย์ ภัทร ได้ท่ี 02-305-9407 หรือ 02-305-9442
เนื่องจาก Lombard Loan ช่วยให้ลูกค้า ได้รับเงินโดยไม่จำ�เป็น ต้องขายทรัพย์สิน ที่มีอยู่ จึงเป็นการ รักษาผลตอบแทน จากทรัพย์สินเดิม และช่วยให้ลูกค้าใช้ ศักยภาพจากทรัพย์สิน ที่ถือครองได้อย่าง เต็มที่
OPTIMISE | APRIL 2016
35
SERVING YOU
At Your Service ธนาคารเกียรตินาคิน เปิด Financial Hub แห่งแรก สาขาพิเศษเพือ่ การให้คำ�ปรึกษาด้านการลงทุนอย่างครบวงจร ธนาคารเกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) เปิด Financial Hub แห่งแรก ที่ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยมีจรรย์สมร วัธนเวคิน ประธาน ผู้ก่อตั้ง สุพล วัธนเวคิน ประธานกรรมการ บรรยง พงษ์พานิช ประธาน กรรมการบริหาร อภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและ กรรมการผู้จัดการใหญ่ พร้อมด้วยลูกค้าและแขกผู้มีเกียรติเป็นจำ�นวน มากเข้าร่วมพิธีเปิดในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Financial Hub เป็นการเชื่อมโยงจุดแข็งระหว่างบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร และธนาคารเกียรตินาคิน เพื่อสร้างสาขารูปแบบใหม่ของธนาคารที่ เน้นให้คำ�ปรึกษาด้านการเงินและการลงทุน และให้บริการด้านตลาดทุน อย่างครบวงจร
ทั้งนี้ Financial Hub ประกอบไปด้วย บริการ PRIORITY ของธนาคาร เกียรตินาคิน ซึ่งเป็นบริการสำ�หรับผู้ฝากเงินรายใหญ่ที่มีความสัมพันธ์กับ ธนาคารมายาวนาน และบริการเงินฝากหลากหลายประเภทสำ�หรับลูกค้า ที่สนใจวางแผนทางการเงินอื่นๆ ถัดมาคือบริการด้านการลงทุน จากบริษัท หลักทรัพย์ ภัทร ได้แก่ Phatra Wealth Management บริการที่ปรึกษา ทางการลงทุนส่วนบุคคล และ Phatra Edge บริการโซลูชั่นการลงทุน ภายใต้แนวคิด ‘ตัวช่วยที่ดี พลังการลงทุนก็เหนือกว่าใคร’ โดยในเร็วๆ นี้ ธนาคารเกียรตินาคิน มีแผนพัฒนาและยกระดับ Flagship Branch อีก 3 แห่ง ได้แก่ ทองหล่อ เยาวราช และอโศก ให้เป็น Financial Hub ต่อไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ KK Contact Center 02-165-5555
Financial Hub เป็นการเชื่อมโยง จุดแข็งระหว่างบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร และธนาคารเกียรตินาคิน เพื่อ สร้างสาขารูปแบบใหม่ของธนาคาร ที่เน้นให้คำ�ปรึกษาด้านการเงินและ การลงทุน และให้บริการด้านตลาด ทุนอย่างครบวงจร
36
OPTIMISE | APRIL 2016
OPTIMISE | APRIL 2016
37
CLIENT VALUES
In the Driver’s Seat อภินรา ศรีกาญจนา กับแรงขับเคลื่อนล้นเหลือ ในการต่อยอดธุรกิจครอบครัว และสร้างธุรกิจเพื่อสังคม ภาพธุรกิจที่หลากหลายของตระกูล ‘ศรีกาญจนา’ ตั้งแต่ร้านอาหารไทยนารา บริษัท เอเชียประกันภัย และธุรกิจนาฬิกาเพนดูลัม อาจทำ�ให้หลายคนคิดว่า อภินรา ศรีกาญจนา คงเป็นเพียงอีกหนึ่งทายาทธุรกิจผู้โชคดีได้เดินบน เส้นทางความสำ�เร็จที่ปูรอเอาไว้เรียบร้อย กระนั้น การสัมภาษณ์เธอได้แสดงให้เห็นว่า สาวสวยหวาน บอบบางผู้นี้ ไม่เคยห่วงเรื่องความสบายมากเท่ากับ การได้ออกไปล้มลุกคลุกคลานเพื่อเรียนรู้และพิสูจน์ ศักยภาพของตนเอง จนกลายมาเป็นความสำ�เร็จ ของสตาร์ทอัพเพื่อสังคม U Drink I Drive และอีก หลากหลายธุรกิจของครอบครัวที่เธอช่วยบริหาร ขอ เชิญพบกับเรื่องราวของ ‘เจนวาย’ ผู้มีคติการดำ�เนิน ชีวิตง่ายๆว่า ‘Never say ‘no’ to anything’ ผู้นี้
ต้องเจอลูกค้าอารมณ์เสียเหวี่ยงใส่ ล้างจานจน เล็บฉีก แต่การที่ต้องเอาตัวรอดมันทำ�ให้เราโตขึ้น แต่ไม่ใช่ว่าคุณพ่อไม่ให้เงินไปใช้นะคะ ให้เหลือเฟือ แบบพ่อที่มีลูกสาว แต่เราคิดทำ�เอง เพราะคุณพ่อ จะสอนเสมอว่า ถ้าคุณเป็นลูกผมแล้วผมต้องสอน คุณทุกเรื่อง ก็ไม่ต้องมาเป็นพ่อลูกกันดีกว่า
เติบโตจากการดิ้นรน สาเหตุที่เลือกไปเรียนญี่ปุ่นเพราะเราชอบภาษา แล้วคุณแม่ก็เกิดญี่ปุ่น คุณปู่ได้ดีวันนี้ก็เพราะ ทำ�งานกับคนญี่ปุ่น เราก็เลยโดนปลูกฝังให้ชอบ ประเทศนี้ อีกอย่างเราอยากพาตัวเองเข้าไปอยู่ใน สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีวันเป็นไปได้ เพราะเราพูดภาษา ญี่ปุ่นไม่ได้สักคำ� ไม่งั้นเดี๋ยวจะเรียนไม่สำ�เร็จ สบาย จนไม่เคยรู้รสชาติของความหิว เพราะปรางค์รู้ว่า เวลาคนเราสบาย จะเลิกล้มอะไรง่ายมาก ก็เลย ปลูกฝังความรักงาน สมัครไปเข้ามหาวิทยาลัยวาเซดะ ทั้งๆ ที่ตัวเอง สำ�หรับปรางค์ที่บ้านนี้คุณแม่ (นราวดี ไม่มีพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นเลย แล้วปรากฏว่าเขารับ ศรีกาญจนา) จะมีอิทธิพลในด้านการใช้ชีวิต ปรางค์จึงกลายเป็นเด็กไทยคนแรกและคนเดียวจาก ส่วนคุณพ่อ (จุลพยัพ ศรีกาญจนา) จะเป็นด้าน จิตใจ คุณแม่สนับสนุนให้ปรางค์เริ่มทำ�งานมาตั้งแต่ Harrow (Harrow International School Bangkok) เด็ก ด้วยความที่ท่านเลี้ยงเรามาเอง ทำ�ให้ท่านรู้ว่า ที่เข้าเรียนที่วาเซดะ แต่แน่นอน ไปวันแรกสอบตก ลูกคนไหนควรฝึกงานแบบไหน ให้ไปฝึกตั้งแต่อายุ เพราะเขียนไม่ได้แม้แต่ตัวเดียว เปิดข้อสอบมา 10 หน้าไม่เข้าใจอะไรเลย แต่เราคิดว่ายังไงก็ไม่ 15 ตั้งแต่นิตยสาร Seventeen คลื่นวิทยุ Virgin กลับจะต้องรอดให้ได้ จะโดยวิธีไหนไม่รู้แต่ต้องขอ Hitz ฝึกเขียน ช่วยถ่ายเอกสารอะไรไป เพื่อจะได้ ลองไปก่อน บอกตัวเองอย่างเดียวว่าห้ามถอดใจ มีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์อื่น ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ พอเห็นคะแนนว่า 0 จากเต็ม 100 ดีใจมาก! มอง มันจริง ไม่ได้มีแต่คนเอาอกเอาใจเรา อย่างตอนที่ โลกในแง่ดีว่าเราโชคดีกว่าคนอื่นในห้องนะ เพราะ ไปฝึกงานที่โรงแรม Four Seasons มีนายเป็นฝรั่ง กว่า 0 จะไปถึง 100 ปรางค์มีพื้นที่ในสมองที่จะได้ เข้มงวดมาก แค่ติดสแตมป์เบี้ยว ก็โดนติงว่าไม่ได้ เรียนรู้เยอะมาก ไม่เหมือนคนที่สอบได้ 80-90 แล้ว มาตรฐานโรงแรม 5 ดาว ยังจำ�ขึ้นใจจนทุกวันนี้ มีพื้นที่ให้เรียนรู้อีกนิดเดียว ดังนั้นเราจะมี growth พอไปเรียนที่ญี่ปุ่น ก็แอบคุณพ่อไปทำ�งานเสิร์ฟ opportunity สูงกว่าคนอื่น อาหาร ได้เรียนรู้ที่จะเก็บขยะ เรียนระบบทุกอย่าง
38
OPTIMISE | APRIL 2016
ซึมซับคุณค่าญี่ปุ่น ปรางค์ไปญี่ปุ่นตอนอายุ 18 ซึ่งมันเฟรชมาก มีข้อดีเวลาเราเห็นสิ่งต่างๆเราจะประทับใจและ รับไว้ได้เร็ว เหมือนผ้าขาวซึ่งซึบซับอะไรได้ไว โดยสิ่งที่เห็นก็คือคนญี่ปุ่นมีความเห็นแก่ส่วนรวม สูงมาก อย่างเช่นตอนเกิดแผ่นดินไหวโทโฮะกุ 9 ริคเตอร์ ซึ่งถือว่าแรงที่สุดที่เคยเกิดกับญี่ปุ่น ปรางค์ก็อยู่ในเหตุการณ์ เห็นเลยว่าตอนนั้นถ้าเป็น เราก็คงคิดจะวิ่งอย่างเดียว ไม่เชื่อไฟแดง แต่ปรากฏ ว่าคนญี่ปุ่นเขาหยุด คนข้ามถนนก็หยุด รถก็หยุด เพราะเขาคิดว่าถ้าตื่นตระหนกแล้วทำ�ให้เกิดรถชน ก็จะเพิ่มประชากรที่ตาย ทำ�ให้ประเทศสูญเสีย ทรัพยากรมนุษย์ที่ควรจะไปช่วยขนข้าวขนนํ้าช่วย ผู้ประสบภัยคนอื่น มันเป็นตัวตนที่ชัดมาก ...ขนาดเจ้านายปรางค์ซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่น เขาทำ�งานอยู่เมืองไทยตอนนั้น เขายังร้องไห้ เราก็ ถามว่าร้องทำ�ไม อยู่เมืองไทย ปลอดภัยแล้วไม่ต้อง กังวล เขาก็บอกว่า ทั้งๆ ที่เขารู้ว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศ เกาะที่ต้องเจอกับภัยธรรมชาติอยู่แล้ว แต่เขาเสียใจ ที่เขาไม่สามารถคิดเทคโนโลยีที่สามารถแก้ปัญหา ได้ หรือคิดแล้วก็ยังดีไม่พอ ทำ�ให้ปรางค์ซาบซึ้ง มาก เพราะนี่คือผู้ชายอายุ 50 ปีที่นั่งอยู่ในออฟฟิศ ที่เมืองไทยแล้วยังคิดแบบนี้ ถ้าสิ่งแบบนี้เกิดกับเรา เราคงคิดแต่เรื่องให้เรารอด ครอบครัวเรารอด บ้าน เรารอด เราคงลืมคิดเรื่องให้หมู่บ้านเรารอด ให้คน บริษัทเรารอด ให้ประเทศเรารอด มันก็ทำ�ให้ปรางค์ ชัดเจนมากขึ้นว่าการเสียสละมันเป็นยังไง
OPTIMISE | APRIL 2016
39
CLIENT VALUES
ปรางค์เลือกที่จะลงทุนกับ ยู ดริงค์ ไอ ไดรฟ์ ในวันที่มันแย่ที่สุด ทำ�ไป 2-3 เดือน คุณพ่อคุณแม่ ท่านก็ถามว่าเลิกทำ�ไหม กว่าจะได้เงินดูมันยากมากนะ ทำ�ร้านอาหารที่บ้านวันหนึ่ง profit margin ก็แซง ธุรกิจสตาร์ทอัพแล้ว ทำ�ไมต้องหาเงินโดยใช้วิธียาก แต่ปรางค์ถือเป็น challenge ต้องเชื่อในตัวเอง ตั้งใจว่าจะทำ�ให้ได้ ไม่ได้เป็นไร ชีวิตที่ได้เปลี่ยนชีวิต ปรางค์รู้ว่าปรางค์ชอบอยู่กับคน ดังนั้นคิดว่าจะ ทำ�ธุรกิจอะไรก็ตามที่กระทบหรือต้องเกี่ยวกับชีวิต ของคน ตอนไปฝึกอยู่ฝ่ายขายหน้าร้านเพนดูลัมที่ เชียงใหม่ ก็รู้สึกเลยว่าธุรกิจลักชัวรีนี่ชอบเลย ธุรกิจ ร้านอาหารก็ชอบมาก ได้มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า เช่น ตอนที่ไปยืนเสิร์ฟที่นารา สาขาเซ็นทรัลเวิลด์ช่วง Golden Week มีลูกค้าคนจีนมารอ 200-300 คิว ปรางค์รู้สึกสนุกมาก แต่เราก็มองว่าทั้งสองที่นี้ธุรกิจ ไปได้ดีอยู่แล้ว ไม่มีพื้นที่ให้เราเติมเต็มเท่าไหร่ ...ก็เหลือธุรกิจประกัน อันนี้เราคงไม่ชอบแต่ ก็ไม่เคยได้ลอง เพราะรู้สึกว่ามันเป็นของที่ซื้อขาย กันบนความกลัว เจอคนก็เจอแต่ตอนอุบัติเหตุ หรือ เอาความกลัวเขามาขายของ พอดีได้เจอ ยู ดริงค์ ไอ ไดรฟ์ (บริการคนขับรถสำ�หรับผู้ขับขี่ที่เมาจนไม่ สามารถขับรถกลับบ้านเองได้) ก็คิดเลยว่านี่แหละ คือประกันภัยแห่งอนาคต เราควรจะมีผลิตภัณฑ์ เพื่อป้องกันคนจากอุบัติเหตุ ไม่ใช่รอให้มีอุบัติเหตุ ให้คนกลัวแล้วค่อยให้เขากลับมาซื้อประกัน จาก การค้นคว้าของหุ้นส่วนจึงทำ�ให้ทราบว่ากว่า 80% ของคนไทยเสียชีวิตเพราะอุบัติเหตุ และส่วนใหญ่ ของอุบัติเหตุคือเมาแล้วขับ เราก็คิดว่าอย่างน้อย ปัจจุบันที่มีคนมาใช้บริการ ยู ดริงค์ ไอ ไดรฟ์ กว่า 2,500 เที่ยวต่อเดือนนี่ก็เท่ากับเราได้ช่วยคน 100 คนต่อวัน จากการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ทำ�ให้คนได้ กลับบ้านที่เขารักอย่างปลอดภัย และรับผิดชอบ หรือทำ�สิ่งดีๆ อีกตั้งหลายอย่างในชีวิต ดังนั้นนี่คือ สิ่งที่เราอยากทำ� ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อชีวิตคน เรา อาจจะไปเปิดร้านเครื่องประดับหรือคาเฟ่อีกร้าน ก็ได้ แต่มันก็จะไม่ท้าท้าย และไม่ได้เปลี่ยนชีวิตใคร ลองเพื่อรู้ ธุรกิจ ยู ดริงค์ ไอ ไดรฟ์ เป็นโลกใหม่สำ�หรับ ปรางค์ เพราะปรางค์จบรัฐศาสตร์ ไม่มีความรู้เรื่อง รถยนต์หรือธุรกิจ ไลฟ์สไตล์ก็ไม่ได้ดื่มเหล้าหรือ
40
OPTIMISE | APRIL 2016
สังสรรค์ แล้วชื่อสตาร์ทอัพก็บอกอยู่ในตัวแล้วว่า มันไม่มีธุรกิจในปัจจุบันที่จะมา benchmark ได้ แต่ ปรางค์รู้สึกว่าต้องลอง ปรางค์ไม่ชอบให้คนมาจำ�กัด ว่าทำ�นี่ได้ ทำ�นั่นไม่ได้ เวลามีคนบอกว่าทำ�อะไรไม่ ได้ ปรางค์จะ โอเค---ไม่เป็นไร เราไม่ถนัด เราอาจ ทำ�ไม่ได้เกรด A แต่ขอลองก่อนได้ไหม ให้จุดแข็ง จุดอ่อนมันถูกแสดงออกมา ได้ C ก็ยังดี สำ�คัญคือ ปรางค์ต้องได้ลองลงมือทำ� ไม่งั้นปรางค์ใช้ชีวิตต่อ ไปไม่ได้ ถ้ามีเครื่องหมายสงสัยอยู่ในหัว อย่างที่ ปรางค์เชื่อว่า ‘Never say no to anything’ โอกาส มีอยู่ทุกมุมห้องลองขอให้ได้ลองด้วยสติและความ ต้องการไว้ก่อน อย่างอื่นไม่มีอะไรจะเสีย ...เมื่อตัดสินใจว่าจะทำ� ก็ไปเอาเงินเก็บของ ตัวเองตั้งแต่ทำ�งานที่ญี่ปุ่นมาทำ� ไม่อยากกู้เงิน ที่ไหน และก็ไม่อยากรบกวนคุณพ่อคุณแม่ เพราะ วงจรของสตาร์ทอัพนี่ปกติอาจล้มได้ประมาณ 6 ครั้ง ถ้ายืมสตางค์คุณพ่อคุณแม่ ก็กลัวล้มแล้ว ท่านจะสูญเสียความเชื่อมั่นในตัวเราท่านคงเป็น ห่วง คิดว่าเรามีเงินในบัญชีเท่านี้ ต่อให้ไม่สำ�เร็จ burn out เงินทั้งหมด เราก็ยังล้มนุ่ม คนอาจจะมอง ว่าลูกคนมีเงินกล้าทำ�ธุรกิจเพราะเวลาล้มก็ไม่เป็นไร อยู่แล้ว แต่ในทางกลับกัน ปรางค์คิดว่าในเมื่อเรา โชคดีเกิดมาล้มนุ่มได้ เราก็ยิ่งต้องกล้าเสี่ยง เพื่อจะ ได้ใช้ประโยชน์จากความโชคดีของเราให้เต็มที่ ดีกว่าเก็บเงินไปเรื่อยๆ แต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น มันเสียโอกาส ตอนแรก ยู ดริงค์ ไอ ไดรฟ์ มีผู้ถือหุ้น 8 คน วันที่ปรางค์เข้าไปร่วมลงทุนผู้ถือหุ้นทั้งหมด ถอนหุ้นออกไปหมดแล้ว เหลือเงินในบริษัทแค่ หลักพัน คือล้มแล้วเรียบร้อย แต่ปรางค์ก็ยังเข้าไป ด้วยสัญชาติญาณว่ามันต้องเวิร์ค แล้วสุดท้ายมัน ก็พลิกได้จริงๆ ยอดใช้บริการขึ้นจาก 13 เที่ยวต่อ เดือน มาเป็น 2,500 เที่ยวต่อเดือน ถ้าวันนั้นเราไม่ ได้เอาเงินมาลงทุนตรงนี้ เงินที่เราเก็บไว้ก็คงจะ หมดไป โดยที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตใครเลย
ที่พึ่งที่คนนึกถึง ความจริงธุรกิจสตาร์ทอัพมีเรื่องสำ�คัญอยู่ 4 อย่าง คือ size, network, branding และ technology เรื่อง size เราสู้เจ้าใหญ่ไม่ได้อยู่แล้ว เรื่อง network เจ้าไหนๆ ก็มี เรื่อง technology ก็ใช้ เวลาพัฒนานานมาก แต่สิ่งหนึ่งที่เราคิดว่าสู้ได้ก็คือ การสร้างแบรนด์ด้วย trust เราต้องทำ�ให้คนมั่นใจ และทำ�ให้มัน addictive เป็นที่พึ่งให้เขาถึงนึกถึงแต่ เราเพียงเจ้าเดียว เหมือนกระบวนการคิดที่ว่าปวดหัว แล้วอยากหายก็ต้องทานยา ยาชื่อพาราเซตามอล เหมือนกัน สำ�หรับ ยู ดริงค์ ไอ ไดรฟ์ ถ้าวันนั้นดื่ม แต่คุณไม่ได้วางแผนและกลัวภรรยากลัวลูกเป็น ห่วง คุณก็ต้องหาตัวช่วย ก็ให้คุณจำ�ได้เลยว่าถ้าคุณ drink ก็ให้ที่นี่ drive …แต่การจะสร้างความมั่นใจนี้ก็ต้องมาจาก ประสบการณ์ของลูกค้า เราถึงได้คิดอย่างละเอียด ละออเรื่องการสร้างประสบการณ์ที่ดี เช่นให้คนขับ ใส่สูทสีฟ้า ไม่ใช้สีส้มสีเหลืองเพราะจะเหมือนมีเหตุ ฉุกเฉิน แต่ใช้สีฟ้าเพราะคนเมาเที่ยวที่มืดก็จะได้เห็น ว่า อ้อ---สูทฟ้ามารับแล้ว แล้วเพื่อให้คนมั่นใจว่า เราไม่ได้เอาใครไม่รู้มาขับรถเขา เราก็ร่วมกับ บริษัท Limousine Express ซึ่งบริการลิมูซีนให้โรงแรม 5 ดาวหรือสายการบินมาช่วยฝึกพนักงานเรา พอขึ้นรถ ปั๊บก็ได้นํ้าได้ผ้าเย็น คนก็ประทับใจ เอาไปพูดปาก ต่อมาก ซึ่งสิ่งนี้สำ�คัญมาก เป็นการตลาดที่แข็งแรง ที่สุดและเป็น branding ของเรา คือถ้าเราขับรถให้ คุณ เรามั่นใจว่าคุณต้องไปบอกต่อเพื่อนอีก 2 คนซึ่ง เท่าที่ผ่านมามันก็พิสูจน์ว่าได้ผล คุณค่าที่มากกว่าเงินเดือน สิ่งที่สำ�คัญที่สุด 3 อย่างสำ�หรับองค์กรไหนๆ ก็คือ people, people และก็ people เวลาทำ� ยู ดริงค์ ไอ ไดรฟ์ พนักงานขับรถของปรางค์มีที่มา หลากหลาย มีทั้งมีฐานะ จนถึงติดหนี้แล้วหางาน พิเศษ ปรางค์ต้องทำ�ให้เขารู้สึกว่าธุรกิจอันนี้ ไม่ได้ แค่ช่วยหาเงินไปวันๆ แต่ต้องให้เขารู้สึกภูมิใจที่ได้ มาเป็นคนขับของเรา ให้เขารู้สึกว่าออกไปขับรถ ทุกวันแล้วได้ช่วยชีวิตคน มันถึงจะทำ�ให้ปรางค์ ซื้อใจเขาได้ เหมือนกับที่คนญี่ปุ่นซื้อใจปรางค์ได้ แม้กระทั่งในวันแย่ๆของเขา ไม่อย่างนั้น ปรางค์ก็ จะโดนลูกค้าแย่งพนักงานตลอด ลูกค้าเห็นพนักงาน เราขับดี ก็แย่งตัวไป แต่นี่คนขับเราไม่ไป เพราะเขา ไม่ได้ทำ�เพราะเงินอย่างเดียว แต่เขารู้สึกว่า core value ขององค์กร คือมีหน้าที่ขับรถไปส่ง และพาคน กลับบ้านอย่างปลอดภัย เราให้คุณค่าเขานอกเหนือ ไปจากเงินเดือน …นอกจากนั้น เราจะไม่มองอะไรข้างเดียว ไม่ ฟังอะไรข้างเดียว เลือกที่จะมองคนของเราดีไว้ก่อน ให้เขามีสิทธิอธิบายตัวเอง พอเราไม่มีอคติ เราก็จะ หาความจริงได้ ไม่อย่างนั้น ใคร complain อะไรมา เราก็เชื่อเลยว่าคนของเราผิดอย่างเดียวแน่ๆ เราอาจ จะเสียบุคลากรที่ดีที่สุดคนหนึ่งไปเลย ปรางค์มองว่า
คนเราอาจไม่ได้เกิดมาเป็นพี่น้องกัน แต่มันต้องมีคำ�ว่า trust อยู่ พนักงานต้อง trust องค์กรเรา แล้วลูกค้าก็ต้อง trust ใน ตัวพนักงานเรา พอทุกคนรู้สึกได้รับความไว้วางใจ เขาก็จะ รู้สึกมีเกียรติ และนี่ทำ�ให้เราซื้อใจคนได้ เจตจำ�นงที่จะแข่งขัน หลักการหนึ่งที่คุณพ่อสอนเสมอคือบนท้องฟ้ามีว่าวหลาย ไซส์ มีตัวใหญ่ตัวเล็ก แต่พออยู่บนท้องฟ้าแล้วก็สูงเท่ากันหมด แต่สำ�คัญคือลูกจะได้มีโอกาสได้เข้าไปเล่นในลีกเดียวกัน กับเขาหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่ท่านให้ว่าวเราได้ ให้การศึกษา การเลี้ยงดูที่ดี ความปลอดภัย ให้ปรางค์มีว่าวตัวเล็กๆ ถือไป แต่มันอยู่ที่ว่าขึ้นฟ้าไปแล้ว ปรางค์จะมี will power มากพอ จะลอยได้กับคนอื่นไหม มีเจตนาที่จะวัดตัวเองในลีกนั้นไหม เหมือนอย่างที่ปรางค์เลือกที่จะลงทุนกับ ยู ดริงค์ ไอ ไดรฟ์ ในวันที่มันแย่ที่สุด ทำ�ไป 2-3 เดือน คุณพ่อคุณแม่ท่านก็ถามว่า เลิกทำ�ไหม กว่าจะได้เงินดูมันยากมากนะ ทำ�ร้านอาหารที่บ้าน วันหนึ่ง profit margin ก็แซงธุรกิจสตาร์ทอัพแล้ว ทำ�ไมต้องหา เงินโดยใช้วิธียาก แต่ปรางค์ถือเป็น challenge ต้องเชื่อในตัว
เอง ตั้งใจว่าจะทำ�ให้ได้ ไม่ได้เป็นไร แต่ขอเป็นว่าวสีฟ้า ตัวเล็กๆ ตัวนึงที่ลอยแข่งในนั้น ความสุขที่แท้ คุณพ่อบอกเสมอว่า ความสำ�เร็จที่สำ�คัญที่สุด คือความ สำ�เร็จของครอบครัว ถ้าครอบครัวไม่สำ�เร็จ ก็ไม่มีความหมาย อะไร ต่อให้มีเงิน ก็ไม่มีความสุขอะไรเลย ปรางค์ไม่เคยรู้สึก ขาดอะไรเลย เวลาวันเกิดที่บ้านถามอยากได้อะไรก็คิดไม่ออก เพื่อนยังบอกเลยว่า บ้านขายนาฬิกา ทำ�ไมไม่ชอบใส่นาฬิกา แพงๆ เราก็แค่ไม่ได้ให้คุณค่าสิ่งเหล่านั้น ที่บ้านอาจจะทำ� ธุรกิจอาหาร แต่จะให้ทานแต่ไฟน์ ไดนิ่งอย่างเดียวมันไม่ได้มี คุณค่าทางจิตใจสำ�หรับปรางค์ ความจริงที่บ้านชอบออกไปรับ ประทานข้าวที่ร้านเก่าแก่ดั้งเดิม เช่นอยู่แถวแจ้งวัฒนะก็จะมี ร้านข้าวหมูแดงหมูกรอบ ร้านบะหมี่ปู ไปถึงอากงอาม่าก็จะทัก ว่าเราโตขึ้นเยอะ หรือร้านเย็นตาโฟหลังการบินไทยที่ชอบ เวลาป่วยคุณพ่อก็จะมาถาม ไปร้านนี้ไหมลูก เพราะรู้ว่ามัน เป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งที่ทำ�ให้เรารู้สึกดีขึ้น เดี๋ยวลูกจะได้หาย เราดูแลกันแบบนี้ เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่สำ�คัญมาก
รูจ้ กั อภินรา อภินรา ศรีกาญจนา จบการศึกษาด้านรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จาก Waseda University ประเทศญีป่ นุ่ ต่อด้วยปริญญา โทด้านวัฒนธรรมและสังคม จาก มหาวิทยาลัย London School of Economics & Political Science ประเทศอังกฤษ ปัจจุบนั รับหน้าทีด่ แู ลฝ่าย Business Development ของ บริษทั เอเชียประกันภัย 1950 และหนึง่ ในผูบ้ ริหารสตาร์ทอัพ U Drink I Drive, Thailand OPTIMISE | APRIL 2016
41
BEYOND BOUNDARIES
01
02
Credit: Phuket Walking Street
01 ถนนคนเดินที่ปลุกให้เมืองภูเก็ต คึกคักทุกวันอาทิตย์ 02 หน้าร้าน Mirror Mirror ที่แต่งแต้มสีสันให้กับตึกแถว ชิโน-โปรตุกีส 03 นุชรี ไกรทัศน์ สาวบาบ๋ารุ่นใหม่ ที่หวนกลับมาหารากเหง้าของ ตัวเอง 04 ติ่มซำ�ร้านบุญรัตน์ แหล่งอาหารเช้ายอดนิยม ของคนพื้นเมือง
42
OPTIMISE | APRIL 2016
03
Baba Reborn เบื้องหลังตึกแถวสวยขึ้นกล้อง คือมรดกทางวัฒนธรรม ‘เปอรานากัน’ ที่หยั่งรากลึกของเมืองภูเก็ต
ก่อนที่แสงส้มยามเช้าจะสาดกระทบผนังปูน ประดับลวดลายใต้ชายคาของตึกแถวอันเป็น เอกลักษณ์แห่งเมืองภูเก็ต รถสองแถวสีนํ้าเงินสลับ ทองก็เริ่มออกสัญจรเพื่อรับเด็กนักเรียนชุดแรก ในเวลา เดียวกัน ณ หัวมุมถนนบางกอก เถ้าแก่กำ�ลังเดิน หยิบธูปจากหน้าร้านไปยังหิ้งบูชาบรรพบุรุษด้านหลัง ในขณะที่พระภิกษุยืนสำ�รวมรอบิณฑบาตอยู่ริมถนน มอเตอร์ไซค์หลายคันจอดที่ข้างร้านติ่มซำ�เพื่อส่ง บรรดานักเรียนตัวน้อยหน้าตางัวเงียที่มาพร้อม ผู้ปกครองหน้าตาเร่งรีบหรืออากงอาม่า บางคน เริ่มสั่งหมูห่อสาหร่าย หมั่นโถว ไส้กรอกปูสมุนไพร และปลานึ่งร้อนๆ จากหม้อใบโตที่ตั้งอยู่หน้าร้านตั้งแต่ ยังไม่ได้ถอดหมวกกันน็อคออก อย่างไรก็ตาม หากแทรกตัวผ่านฝูงชนแล้ว เอี้ยวหลบถาดวางบ๊ะจ่างห่อเล็กๆ กับซาลาเปาที่ เด็กในร้านถือสวนมาได้ ก็จะพบกับโต๊ะใหญ่ของร้าน ซึ่งเหล่าลูกค้ารุ่นเดอะกำ�ลังจิบกาแฟเจือนมข้นหวาน พลางคุยกันขโมงโฉงเฉงเป็นภาษาภูเก็ต เมื่อ 10 กว่า ปีก่อน อากงรุ่นนี้อาจถูกถือว่าเป็น ‘บาบ๋า’ รุ่นสุดท้าย
04
แห่งภูเก็ต กล่าวคือตัวแทนของวัฒนธรรมลูกผสมไทยจีนแผ่นดินใหญ่หรือที่บางทีก็เรียกว่าวัฒนธรรม ‘เปอรานากัน’ ที่เริ่มขึ้นเมื่อห้าอายุคนที่แล้วและกำ�ลัง ค่อยๆ เลือนหายไปในกระแสโลกาภิวัฒน์ โชคดีที่ก่อน เมืองเก่าแห่งนี้จะก้าวเข้าสู่อัสดง ลูกหลานของบาบ๋า ได้แปลงมรดกวัฒนธรรมประจำ�เมืองให้กลายเป็นร้าน อาหาร คาเฟ่ และโฮสเทล ที่ไม่เพียงเปี่ยมบุคลิกอย่าง ยิ่ง หากยังคงชีวิตและกลิ่นอายแห่งครั้งกระโน้นไว้ มิคลาย
จุดเริ่มและจุด (เกือบ) จบของบาบ๋า
วิวรรณ บำ�รุงวงศ์ เป็นชาวภูเก็ตรุ่นใหม่ ซึ่งมี บรรพบุรุษเป็นเจ้าของร้านยาสมุนไพรที่เก่าแก่ที่สุด ในเมืองภูเก็ตซึ่งตั้งอยู่บนถนนถลาง ชั้นบนของร้าน กรุไว้ด้วยบานเกล็ดไม้เก่าคร่ำ�คร่า ในขณะที่ชั้นล่าง ยังคงคึกคัก โดยมีผนังร้านเรียงรายไปด้วยลิ้นชักเล็กๆ และตาชั่งแบบแขวนไม่ต่างจากอดีต ติดกับร้านคือ ‘โกปี้เตี่ยม by วิไล’ ร้านกาแฟที่ครอบครัวของวิวรรณ เปิดขึ้นเมื่อ 5 ปีก่อนและขณะนี้อยู่ภายใต้การบริหาร งานของวิวรรณเองหลังจากเธอลาออกมาจากงาน
ลูกหลานของบาบาได้แปลง มรดกวัฒนธรรมประจำ� เมืองให้กลายเป็นร้าน อาหาร คาเฟ่ และโฮสเทล ทีไ่ ม่เพียงเปีย่ มบุคลิก อย่างยิง่ หากยังคงชีวติ และกลิน่ อายแห่ง ครัง้ กระโน้นไว้มคิ ลาย ด้านการตลาดในกรุงเทพฯ “เมื่อก่อนบาบ๋าไม่ใช่เรื่องเท่เรื่องแนวอะไร คุณพ่อบอกว่าเวลาไปเรียนที่กรุงเทพฯ เราจะไปพูด ภาษาภูเก็ตให้เขาฟังไม่ได้ ต้องเรียนภาษาอังกฤษ และภาษากลาง คนรุ่นใหม่จึงไม่ค่อยรู้อะไรเกี่ยวกับ วัฒนธรรมบาบ๋า” วิวรรณกล่าว วิวรรณได้ตกแต่งผนังร้านโกปีเ้ ตีย่ มฯ ด้วยภาพถ่าย ขาวดำ�ซึ่งชวนให้ประหวัดถึงสมัยที่เกาะภูเก็ตยังเต็มไป ด้วยเหมืองแร่ เช่นภาพของหญิงสาวทีท่ามั่นอกมั่นใจ กำ�ลังนั่งคร่อมมอเตอร์ไซค์พลางหันมายิ้มให้กับกล้อง ภาพของเครื่องขุดดีบุกขนาดยักษ์ที่จอดลอยอยู่บน บ่อโคลน และภาพของโต๊ะสังสรรค์ใหญ่โตอลังการ ในงานเลี้ยงฉลองของบรรดาคหบดีเมืองภูเก็ต ดีบุก คือสิ่งที่สร้างเมืองภูเก็ต นับตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา โลหะสีสุกขาวที่ทนการกัดกร่อนนี้ คือสิ่งที่ ดึงดูดให้ชาวจีนฮกเกี้ยนและฝูเจี้ยนซึ่งหนีความไม่สงบ ทางการเมืองและภาวะเศรษฐกิจย่ำ�แย่ในจีนหลั่งไหล เข้ามาภูเก็ตทีละหลายลำ�เรือ เมื่อชาวจีนโพ้นทะเล เหล่านี้ได้แต่งงานกับหญิงท้องถิ่น วัฒนธรรมใหม่จึง ถือกำ�เนิดขึ้น ไม่ต่างอะไรกับกำ�เนิดของวัฒนธรรม เปอรานากันในบ้านพี่เมืองน้องของภูเก็ตอย่างปีนัง ความจริง ยุครุ่งเรืองของอุตสาหกรรมเหมืองดีบุก สิ้นสุดไปนานแล้วนับตั้งแต่ยังไม่เข้าสู่ศตวรรษที่ 21 โดยเหมืองแห่งสุดท้ายปิดไปเมื่อต้นยุค ‘90 เมืองภูเก็ต ณ เวลานั้นยังมีประชากรไม่ถึงหนึ่งแสนคน ทำ�ให้ทาง เทคนิคแล้วภูเก็ตจัดเป็นเพียงเมือง ไม่ใช่นคร แต่ยิ่ง นานไปการทำ�มาหากินทั้งหลายก็มักย้ายไปกระจุกอยู่ ที่หาดป่าตอง อันเป็นพื้นที่อุดมนักท่องเที่ยวตะวันตก ที่บรรดาตระกูลเจ้าสัวใช้เป็นแหล่งหารายได้หลังจาก เลิกทำ�ดีบุกอีกด้วย “ต้องยกความดีความชอบให้กับรัฐบาลและ องค์กรส่วนท้องถิ่นที่ช่วยนำ�ชีวิตกลับคืนสู่เมืองภูเก็ต” วิวรรณกล่าวชื่นชมทำ�นองเดียวกันกับชาวภูเก็ตอีก หลายต่อหลายคน พวกเขาไม่ได้กล่าวผิดไป การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ช่วยยกประเด็น ฟื้นฟูย่านเมืองเก่าขึ้นมาเล่น ในขณะที่เทศบาลจังหวัด OPTIMISE | APRIL 2016
43
BEYOND BOUNDARIES ภูเก็ตก็เริ่มดำ�เนินการเอาเสาไฟฟ้าลงใต้ดินในบริเวณ ถนนที่สวยที่สุดในเมืองอย่างถนนดีบุกและถนนถลาง สมาคมชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ตสนับสนุนโดยผลัก ดันให้มีการจัดเส้นทางถนนคนเดินประจำ�สัปดาห์ และจัดพิธีสมรสแบบพื้นเมืองบาบ๋าเป็นครั้งแรกใน รอบหลายทศวรรษ ยิ่งกว่านั้น เมื่อเดือนธันวาคม ปีที่แล้ว ทางจังหวัดภูเก็ตยังทำ�ให้องค์การยูเนสโก ตระหนักถึงเอกลักษณ์ของอาหารพื้นเมืองจนได้รับการ ขนานนามให้เป็น ‘เมืองแห่งปากะศิลป์’ หรือ City of Gastronomy อีกด้วย “คนรุ่นเรามักจะพูดกันว่า ‘อ๋อ วัฒนธรรมของพวก เราเป็นอย่างนี้เองหรือ’ แต่ความจริงเรารู้จักของพวกนี้ กันอยู่แล้ว เพราะมันอยู่รอบตัวไปหมด เพียงแต่เราเห็น เป็นของธรรมดาไป” วิวรรณกล่าว ด้วยเหตุนี้ เมนูของ โกปี้เตี่ยมฯ จึงได้พยายามแสดงรากเหง้าและรสชาติ ของพื้นถิ่น ไม่ว่าจะเป็นบักกุ๊ดเต๋ ซึ่งเป็นหมูตุ๋นใน เครื่องยาจีนกับผักดอง หรือหมี่ฮกเกี้ยนซึ่งผัดรวม เนื้อหมูและของทะเลให้เข้ากันอย่างดีด้วยกำ�ลังของ ซีอิ๊วรสชาติกลมกล่อม “โกปี้เตี่ยม เป็นคำ�มาเลย์ซึ่งแปลว่าร้านกาแฟ เรามีญาติข้างคุณแม่เปิดโกปี้เตี่ยม ที่ถนนถลางอยู่ร้าน หนึ่ง แล้วก็มีคุณย่าซึ่งเป็นคนเอาสูตรอาหารบาบ๋า ต้นตำ�รับมาบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรจนถือได้ว่า เป็นผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้น พอจะเปิดร้านจึงได้พยายาม ผสมผสานทั้งสองเรื่องเข้าด้วยกัน โดยตั้งใจจะทำ� อาหารที่พวกเรากินมาตั้งแต่เด็กจนโต จะเรียกว่าเป็น
คนรุน่ เรามักจะพูดกันว่า ‘อ๋อ วัฒนธรรมของ พวกเราเป็นอย่างนีเ้ อง หรือ’ แต่ความจริงเรารูจ้ กั ของพวกนีก้ นั อยูแ่ ล้ว มันอยูร่ อบตัวไปหมด เพียงแต่เราเห็นเป็นของ ธรรมดาไป 05 อิทธิพร เชฟหนุ่มแห่งร้าน Mirror Mirror 06 เหลี่ยมต้อผัดเค็ม เมนูก้นครัวของ ร้าน ‘ตู้กับข้าว’ 07 มุมพักผ่อนของห้องพักที่ เดอะ รมณีย์บูทีค เกสต์เฮาส์ ที่รักษา เสน่ห์ของอาคารชิโน-โปรตุกีสไวได้ อย่างลงตัว 08 สาขาที่ 2 ของโกปี้เตี่ยมฯ บน สายเดียวกันกับสาขาแรกเต็มไป ด้วยลูกค้ามานั่งไม่ขาดสาย
44
OPTIMISE | APRIL 2016
‘คอมฟอร์ท ฟู้ด’ ของคนภูเก็ตก็ได้”
กลับคืนถิ่น
หากสอบถามเรื่องที่พักจากวิวรรณ เธอจะแนะนำ� ‘เดอะ รมณีย์ บูทิค เกสต์เฮาส์’ ซึ่งอยู่ห่างจากร้าน โกปี้เตี่ยมฯ เพียงระยะเดินไม่เกิน 3 นาทีเท่านั้น ที่เกสต์เฮาส์แห่งนี้ วาทินี ผู้เป็นเจ้าของ ก็มีเรื่องราวของ การหวนคืนสู่รากเหง้าคล้ายๆ กับวิวรรณ เธอเติบโตใน ย่านชานเมืองภูเก็ตและฝันที่จะได้เปิดกิจการในย่าน ประวัติศาสตร์นี้มาตลอด ‘ซอยรมณีย์’ ที่เชื่อมระหว่างถนนดีบุกและถนน ถลาง อันเป็นที่มาของชื่อโรงแรมนั้น จัดเป็นย่าน ที่ ‘แรง’ ที่สุดย่านหนึ่ง ทั้งนี้ ไม่เฉพาะแต่ด้วยสีสัน อันฉูดฉาดของสถาปัตยกรรมเท่านั้น หากยังรวมถึง ข้อเท็จจริงที่ว่าครั้งหนึ่งย่านนี้เคยทำ�หน้าที่ให้บริการ ชาวเหมืองด้วยธุรกิจอื้อฉาวอย่างเดียวกันกับที่ หาดป่าตองมีให้กับนักท่องเที่ยว ต่างกันแค่ว่าแทนที่ จะใช้กระท่อมติดไฟสีแปร๋น ที่นี่มีเพียงผนังฉาบปูนที่ ตกแต่งอย่างวิจิตรงดงามบนอาคารตึกแถว 2 ชั้นแคบๆ เป็นสัญลักษณ์ที่รู้กันเท่านั้น “เราอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง แล้วใจหนึ่งก็ อยากอาศัยอยู่ในย่านเมืองเก่ามานานแล้ว เพราะมัน ชวนให้นึกถึงชีวิตสมัยเด็ก นึกถึงบ้านยายที่มีลานกลาง บ้าน สรุปคือที่นึกฝันก็คืออย่างนี้นี่แหละ” วาทินีกล่าว เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของตึกแถวในเมืองภูเก็ตคือ ลานกลางตึก ที่มีไว้เพื่อรับแสงและปล่อยให้อากาศ
05
ถ่ายเทเข้ามาในตัวตึกที่แคบ ลึก และไม่มีหน้าต่างได้ “ถ้านั่งตรงนี้ จะมีลมเย็นพัดมาตลอด ไม่ว่าข้างนอกจะ ร้อนแค่ไหน เวลาฝนตก ก็ไม่ต้องปิดหน้าต่าง ปล่อยให้ ฝนลดอุณหภูมิของตัวบ้าน นี่เป็นมุมโปรดที่สุดในบ้าน” วาทินีอธิบาย วาทินีและสามีได้ขอให้สถาปนิกในท้องถิ่น ออกแบบแปลนของอาคารเพื่อให้ห้องพักทั้ง 4 ห้องของ เกสต์เฮาส์ มีหน้าต่างทุกห้อง โดยปรากฏว่ารมณีย์ฯ เป็นที่นิยมมากจนต้องเปิดสาขา 2 ที่ถนนกระบี่เมื่อปีที่ ผ่านมา โดยชั้นล่างของโรงแรมสาขาใหม่เปิดเป็นร้าน จำ�หน่ายสินค้าพื้นเมืองเก่าแก่อย่างปิ่นโตเคลือบลาย และจานชามทำ�จากไม้ ที่ร้านกาแฟ China Inn ที่ตั้งอยู่บนถนนถลาง ก็มีส่วนที่เปิดเป็นร้านค้าให้แขกเลือกซื้อของพื้นเมือง เช่นกัน โดยมีของให้เลือกตั้งแต่เชี่ยนหมากโบราณจาก พม่า ผ้าไทยปักลวดลายวิจิตร ไปจนกระทั่งรองเท้า เกี๊ยะสีแดงสดแบบจีน ไชน่า อินน์เปิดขึ้นในปี 2548 ด้วยฝีมือบูรณะของ สุภัทร พรหมจรรย์ ลูกหลาน ชาวภูเก็ต โดยเป็นคาเฟ่แห่งแรกๆ ในตัวเมืองภูเก็ต ที่ได้แปลงวัฒนธรรมบาบ๋าดั้งเดิมให้กลายมาเป็น ประสบการณ์ที่นักท่องเที่ยวรับรู้และชื่นชมได้ โดย ลานกลางอาคารของไชน่า อินน์ ตามแบบฉบับตึกแถว ดั้งเดิมของภูเก็ต ได้ถูกแปลงโฉมให้เป็นสวนน้อยๆ ซึ่งประดับด้วยโต๊ะหินและหลังคากระเบื้องดินเผา นุชรี ไกรทัศน์ เพื่อนสนิทของลูกสาวสุภัทร ก็เป็นชาวภูเก็ตรุ่นใหม่อีกหนึ่งคนที่ได้รับแรงบันดาล
06
08
07
เลยเห็นการเปิดพื้นที่ใหม่ หรือฟื้นฟูพื้นที่เก่าเต็มไปหมด เมื่อ ก่อนคนแถวนี้ชอบเดินห้าง แต่เดี๋ยวนี้คนกลับมาเที่ยวใน เมืองกันแล้ว” เธอกล่าว
มื้อหรูแบบบาบ๋า
‘ไฟน์ ไดนิ่ง’ แบบบาบ๋านั้นยืนพื้นอยู่บนรสของท้องถิ่น มากกว่าการพยายามเอาใจชาวตะวันตก ด้วยเหตุนี้ หากก้าวผ่านหน้าร้านโก้หรูของ ‘ตู้กับข้าว’ เข้ามา ภาพที่จะ ได้เห็นคือโต๊ะที่คราคร่ำ�ไปด้วยครอบครัวคนภูเก็ต เจ้าของร้านตู้กับข้าว คือธีระศักดิ์ ผลงาม ซึ่งพื้นเพ เป็นลูกคนเมืองตรัง แต่แม่ของเขาย้ายมาอยู่ที่นี่ตั้งแต่เขา อายุได้ 7 เดือน โดยเริ่มสร้างตัวจากกิจการขนส่งผักและ ผลไม้จากป่าตองมายังตัวเมือง จากนั้นก็ซื้อเรือประมง ลำ�แรก จนปัจจุบันมีเรือหาปลาแล้วกว่า 40 ลำ� “จะเอาคนเรือให้อยู่ต้องเขี้ยวมาก อย่างคุณแม่นี่ ไม่เคยยอมใครเลย แต่ช่วงหลังๆ มานี้ แม่เริ่มหันมาสนใจ อสังหาริมทรัพย์ ล่าสุดเพิ่งขายที่ดินตรงหาดกมลาไป 400 ใจจากความทรงจำ�ในวัยเด็ก ด้วยดีกรีการศึกษาระดับ ล้านบาท” ธีระศักดิ์กล่าว ประวัติส่วนตัวของเขาเป็นเรื่องราว มัธยมจากโรงเรียนนานาชาติ ปริญญาตรีจากจุฬาลงกรณ์ ของการออกแสวงหาและหวนคืนถิ่นไม่ต่างจากคนภูเก็ตอีก มหาวิทยาลัย และปริญญาโทจากศศินทร์ นุชรีถือเป็นแบบ ไม่น้อย โดยเขาเข้าเรียนมัธยมที่เตรียมอุดมศึกษา ศึกษาต่อ ฉบับของลูกจีนจอมขยันทุกกระเบียดนิ้ว ปัจจุบัน เธอเป็นผู้ ปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจที่สหรัฐอเมริกาก่อนจะกลับมา บริหารของ Chalong Chalet Resort และ Coconut Village ภูเก็ต สำ�หรับเขาแล้ว ร้านตู้กับข้าวเปรียบเสมือนสิ่งกระตุ้น Resort ในป่าตอง แต่ปู่ของเธอคืออดีตนายกเทศมนตรีคน ความทรงจำ�ในอดีตให้พรั่งพรูกลับมาแบบเดียวกับเค้ก แรกของภูเก็ต และตัวเธอก็คุ้นเคยกับมนต์เสน่ห์ของเมือง แมดเล็นชิ้นน้อยในนวนิยายของมาร์เซล พรูสต์ เป็นอย่างดี เมื่อว่างเว้นจากการทำ�งาน นุจรีมักจะสวม “เวลาผมเลิกเรียนกลับมาบ้าน จะถามแม่ตลอดว่า ชุดสไตล์บาบ๋าออกไปร่วมงานอีเวนท์ทางวัฒนธรรมที่แม่ ‘เย็นนี้มีอะไรกินบ้าง’ แล้วแม่ก็จะชี้ให้ไปเปิดดูที่ตู้กับข้าว ของเธอจัด (พิธีวิวาห์แบบกลุ่มครั้งถัดไปจะจัดขึ้นในเดือน ของชอบก็คือฟักทองผัดกะปิ ซึ่งเป็นอาหารโปรดของคนใต้ มิถุนายนนี้) หรือไม่เช่นนั้น ก็ออกตระเวนหาผ้าบาบ๋าสวยๆ เวลาพวกลุงๆ ป้าๆ อายุ 60-70 ปี เห็นเมนูนี้อยู่ในรายการ ตามร้านขายผ้าเก่าแก่ในเมือง หรือเดินหาซื้อขนมพื้นเมือง อาหาร ก็จะดีใจกันมาก แล้วผมก็จะคอยฟังคำ�ติชมเพื่อดูว่า สุดโปรดอย่าง ‘ขนมอาโป้ง’ ซึ่งเหมือนขนมเบื้องที่กรอบ เราปรุงรสชาติได้ถูกแล้วหรือยัง เพราะกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย บริเวณขอบส่วนใจกลางหนานุ่ม และ ‘ขนมโอ้เอ๋ว’ หรือวุ้น ของร้านก็คือชาวภูเก็ต ถ้าหวังเอาใจแต่นักท่องเที่ยว สุดท้าย ชนิดพิเศษที่ผสมกล้วยน้ำ�ว้าเข้าไปด้วย “คนรุ่นดิฉันทยอย เมนูมันก็จะเหลือแค่พวกปอเปี๊ยะกับข้าวผัด” กลับมาที่ตัวเมืองภูเก็ตกัน เพราะว่ากระแสของช่วงนี้คือการ อาคารของร้านตู้กับข้าวซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ 122 ปีก่อนเพื่อ มีธุรกิจเป็นของตัวเอง แต่ป่าตองค่าครองชีพสูงมาก เราก็ เป็นโกดังเก็บอาหารของทางจังหวัด ปัจจุบันนี้ได้รับการ
Essentials
โกปี้เตี่ยม by วิไล
14 และ 18 ถนนถลาง ภูเก็ต โทร. 083-606-9776 www.fb.com/ kopitiambywilai
เดอะ รมณีย์ บูทคิ เกสต์เฮาส์
15 ซอยรมณีย์ ถนนถลาง ภูเก็ต โทร. 089-728-9871 www.fb.com/ TheRommanee
ตูก้ บั ข้าว
8 ถนนพังงา ภูเก็ต โทร. 076-608-888 www.fb.com/tukabkhao
บ้านชินประชา
96 ถนนกระบี่ ภูเก็ต www.fb.com/ baanphrapitakchinpracha China Inn 20 ถนนถลาง ภูเก็ต โทร. 076-356-239 Mirror Mirror ถนนดีบกุ ภูเก็ต โทร. 089-796-9956 www.fb.com/ MirrorMirrorPhuket
OPTIMISE | APRIL 2016
45
BEYOND BOUNDARIES
น่าดีใจทีท่ กุ วันนีม้ เี ด็ก นักเรียนเข้ามาเรียนรูเ้ กีย่ ว กับตัวบ้านและวัฒนธรรม ของเราเกือบทุกวัน
09
09 จรูญรัตน์ ตัณฑวนิช ผู้รักษาคฤหาสน์ ‘บ้านชินประชา’ ให้ผู้คนได้มาสัมผัสประวัติ ศาสตร์บาบ๋าผ่านพิพิธภัณฑ์ มีชีวิต
ตกแต่งใหม่ด้วยสิ่งละอันพันละน้อยต่างๆ ที่ ธีรศักดิ์รวบรวมมาจากปีนัง และกรุงเทพฯ เช่นชุด โต๊ะเก้าอี้ไม้แบบวินเทจ ถ้วยชามลายจีน เถาปิ่นโต และก็ตู้กับข้าวตามชื่อร้าน รสชาติอาหารของที่นี่ยิ่ง น่าประทับใจ เมนูหมูฮ้องนั้นต่อยอดจากสูตรปีนัง ให้ถูกลิ้นไทยมากขึ้น โดยแทรกกระเทียมพริกไทย และใช้น้ำ�ตาลปี๊บแทนน้ำ�ตาลทรายแดง ผลที่ได้คือ รสชาติจัดจ้านถึงเครื่อง และเนื้อสัมผัสที่หลากหลาย ส่วนเมนูเหลี่ยมต้อผัดเคยเค็ม ซึ่งสูตรเดิมใช้เนื้อหมู ต้มในซอสถั่วเหลือง ทางร้านก็แปลงโดยเอาไปผัด กับกะปิเพื่อให้รสมีมิติตื่นเต้นเข้าไปอีก นอกจากนี้ ภูเก็ตยังเปิดรับความโมเดิร์นเข้ามา ในอ้อมกอดแห่งประวัติศาสตร์ของเมืองด้วยเช่นกัน ภายในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีร้านกาแฟ และขนมหวานสมัยใหม่เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะ เป็นกาแฟแบบ ‘single origin’ หรือน้ำ�แข็งไสสไตล์ เกาหลี ร้านขนมต่างๆ รวมถึงบรรดาคู่รักชาวเกาหลี ที่จูงมือกันมาถ่ายรูปแต่งงานกันตามท้องถนนเป็น สัญญาณที่เริ่มบอกให้ผู้หลงรักวัฒนธรรมบาบ๋าแท้ๆ รู้ว่าความนิยมในตัวเมืองภูเก็ตที่ก่อตัวขึ้นอาจเป็นได้ ทั้งโอกาสของการฟื้นฟูของเก่า และความเสี่ยงที่จะ ถูกกระแสสมัยใหม่กลืน อาจเป็นด้วยเหตุนั้น อิทธิพร สามารถ เชฟหนุ่ม จากร้าน Miror Miror จึงตั้งปณิธานว่า ถึงเมนูของ เขาจะเป็นอาหารตะวันตก แต่เขาก็จะทำ�อาหารเพื่อ คนท้องถิ่น ซึ่งปรากฏว่าอิทธิพรก็ทำ�ได้จริง ดังจะเห็น ได้จากยามเราไปเยือนที่มิเรอร์ มิเรอร์ มีหนุ่มสาว ภูเก็ตมานั่งรับประทานอาหารพร้อมกับตายายอย่าง 46
OPTIMISE | APRIL 2016
อบอุ่น โดยต่างกำ�ลังจิบไวน์เคล้าอาหารประณีตที่ ปรุงโดยฝีมือของอิทธิพร สำ�หรับเมนูของที่นี่ อิทธิพรได้สำ�แดงทักษะ การปรุงอาหารฝรั่งเศสสูตรดั้งเดิมซึ่งได้เรียนมาจาก สถาบันเลอ กอร์ดอง เบลอ อย่างเต็มที่ โดยไม่ลืมที่ จะใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบของท้องถิ่น ริซอตโต้ของ เขาใช้น้ำ�มันแทนเนย และโรยพริกกับรากผักชีเข้าไป เล็กน้อยเพื่อตัดความเลี่ยนของครีม เช่นเดียวกับ สปาเก็ตตี้ คอน ลา โบตาร์กา (สปาเก็ตตี้ไข่ปลา กระบอก) ของเขาก็ได้ใส่ลูกเล่นปักษ์ใต้เข้าไปเหมือน กันโดยผ่านพริกและกุ้งแห้ง ด้วยความที่เป็นคนนอก อิทธิพรจึงสามารถมอง เห็นความแรงและเร็วของการเปลี่ยนแปลงในเมือง ภูเก็ตได้อย่างชัดเจน “เมื่อประมาณ 5 ปีก่อน ภูเก็ต ยังไม่มีอะไรเลย สองทุ่มคนก็เข้านอนหมดแล้ว แต่เดี๋ยวนี้ สองทุ่มคนเพิ่งจะเริ่มตื่นกัน พวกลูกหลาน ของชาวเหมืองดีบุก เดี๋ยวนี้เป็นเจ้าของกิจการและ ที่ดินกันหมด พวกนี้ปาร์ตี้หนักทั้งนั้น” อิทธิพรเล่า มิเรอร์ มิเรอร์ ได้แสดงความเคารพต่อยุคสมัย ของตัวอาคาร โดยการแต่งบาร์ให้มีกลิ่นอาย ของยุค ‘20 ในอเมริกา แต่ในขณะเดียวกันก็ ทันสมัยด้วยลิสต์ค็อกเทลแบบคลาสสิกที่กำ�ลัง กลับมาเป็นกระแส การขึ้นมาดื่มดํ่าบรรยากาศ สบายๆ บนระเบียงชั้นสองของร้าน พลางจิบค็อกเทล สไตล์โคโลเนียลเรียบง่ายอย่าง Gin Fizz หรือ ค็อกเทลอเมริกันต้นตำ�รับอย่าง Manhattan ถือเป็น เรื่องควรแนะนำ�อย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม หากจะวัดความโก้แล้ว
‘บ้านชินประชา’ ซึ่งตั้งอยู่ข้างภัตตาคาร Blue Elephant ถือว่ากินขาดบรรดาพวกร้านรวงเปิด ใหม่บนถนนดีบกุ และถลางไปไกล ข้าวของเครือ่ งใช้ ทุกชิ้นในบ้านแห่งนี้ล้วนนำ�เข้ามาจากเมืองจีน มาตั้งแต่กว่า 100 ปีที่แล้ว หากยังคงสภาพสมบูรณ์ ราวหยุดอยู่ในกาลเวลา (แม้กระทั่งกระเบื้องหลังคา ก็ยังขนเข้ามาบนเรือสำ�เภา) แน่นอน เช่นเดียวกับ อาคารเก่าอื่นๆ ในละแวก บ้านชินประชามีลาน และอ่างหินอยู่ตรงกลาง เพื่อเพิ่มความสดชื่นให้กับ โครงสร้างทั้งหมด จรูญรัตน์ ตัณฑวนิช เจ้าของคฤหาสน์แห่งนี้ คือภรรยาหม้ายของประชา ทายาทรุ่นที่ 5 ของ ชาวจีนโพ้นทะเลที่เดินทางมาภูเก็ตเป็นกลุ่มแรก ซึ่งเป็นคณะทูตจากราชสำ�นักจีนโดยตรง โดยที่บ้าน ชินประชาแห่งนี้ จรูญรัตน์จะคอยต้อนรับแขก ผู้มาเยือนในชุดแบบบาบ๋าดั้งเดิม ซึ่งประกอบด้วย เสื้อทรงมอญ กี่เพ้าที่ประดับด้วยข้อมือเสื้อแบบ มลายู โสร่งอินโด เข็มกลัดทองอันวิจิตรบรรจง “วัฒนธรรมบาบ๋าเกือบจะสูญสิ้นไปแล้วเมื่อ 40-50 ปีก่อน จนในปี 2536 ท่านผู้ว่าฯ ได้ขอให้สวม ชุดพื้นเมืองบาบ๋ามาในงานที่ท่านเป็นผู้จัด ก็เลยเป็นครั้งแรกที่ได้สวมชุดบาบ๋า น่าดีใจที่ทุกวัน นี้มีเด็กนักเรียนเข้ามาเรียนรู้เกี่ยวกับตัวบ้านและ วัฒนธรรมของเราเกือบทุกวัน วัฒนธรรมบาบ๋าเป็น ของคนภูเก็ตทุกคน หวังว่ามันจะมีชีวิตอยู่ต่อไป บรรพบุรุษคงอยากเห็นอย่างนั้น”
OPTIMISE | APRIL 2016
47
THE GOOD LIFE
01
Not Your Average Hero เชิญพบกับเหล่านักกีฬาเทเบิลเทนนิสคนพิการ ผู้สามารถสร้างแรงบันดาลใจ ยิ่งใหญ่ที่ส่งผลไกลกว่าขอบสนามกีฬา วันที่ 4 มิถนุ ายนปี 2545 ขณะที่ วิจติ รา ใจอ่อน กำ�ลังเดินทางไปโรงเรียนในจังหวัดราชบุรี รถโรงเรียน คันทีเ่ ธอนัง่ มาถูกโจมตีโดยกลุม่ God’s Army กลุม่ กองกำ�ลังกะเหรีย่ งชาวคริสต์ตดิ อาวุธตามแนวชายแดน ไทย-พม่าทีไ่ ด้กอ่ เหตุรนุ แรงในช่วงปี 2540 - 2549 ภายในชัว่ อึดใจเดียว วิจติ ราเห็นรุน่ พีท่ น่ี ง่ั ข้างๆ เธอโดน ยิงเสียชีวติ ต่อหน้าต่อตา เห็นร่างนักเรียนหลายคนร่วง ออกมาจากรถ แล้วเธอก็หมดสติไป เมือ่ วิจติ ราตืน่ ขึน้ ในโรงพยาบาลในวันถัดไป เธอก็ได้ ทราบว่าเธอจะไม่สามารถเดินได้อกี ตลอดชีวติ เธอเล่าว่า “หนูตกใจมาก รูเ้ ลยว่าเราจะต้องเป็นภาระให้ครอบครัว คิดอยูอ่ ย่างเดียวตอนนัน้ คือไม่อยากอยูแ่ ล้ว หนูพยายาม กระทัง่ หยุดหายใจด้วย แต่มเี ครือ่ งช่วยหายใจอยูก่ เ็ ลย ไม่ได้ผล” มองในภาพรวมแล้ว ความรูส้ กึ ในขณะนัน้ ของ วิจติ ราเป็นภาพสะท้อนทีด่ ขี องปฏิกริ ยิ าทีส่ งั คมไทยมีตอ่ ความพิการ คือ ‘ความตกใจ’ คนไม่นอ้ ยยังมองเหยือ่ ความ พิการด้วยสายตาของความเวทนาหรือความเสียวไส้ แต่ไม่นาน วิจติ ราก็กา้ วพ้นความรูส้ กึ แรกของเธอได้ ด้วยพลังของทัศนคติทถ่ี กู บ่มเพาะขึน้ ผ่านการแข่งขัน กีฬาคนพิการ แต่กฬี าคนพิการไม่ได้มไี ว้เพียงเพือ่ ปลอบคนพิการ ว่าชีวติ ยังมีอะไรมากกว่าความพิการ และก็ไม่ได้มไี ว้ เพียงเพือ่ อวดให้คนในสังคมเห็นว่าคนพิการมีความ สามารถเหนือคนปกติทว่ั ไปเท่านัน้ ตรงกันข้าม กีฬา คนพิการดูเหมือนจะมีไว้เพือ่ คนปกติเองนีแ่ หละ เราได้พบกับวิจติ ราทีง่ านเสวนา ‘ธรรมดา 32 พิเศษ 100+’ พร้อมๆ กับนักกีฬาปิงปองพิการคนอืน่ ๆ ทีไ่ ด้เข้าแข่งขันในระดับชาติและนานาชาติ พวกเขามา เพือ่ บอกเล่าเรือ่ งราวเกีย่ วกับการไม่ยอมแพ้ทม่ี งุ่ กระตุน้ ทุกคน ไม่เว้นแม้แต่คน ‘ธรรมดา’ ให้ลกุ ขึน้ ทำ�ลาย ข้อจำ�กัดของตนเองให้ได้ ข้อความของพวกเขามีอยู่ อย่างเดียวเท่านัน้ ‘ถ้าเราทำ�ได้ คุณก็ท�ำ ได้’
48
OPTIMISE | APRIL 2016
สภาพแวดล้อมทีท่ า้ ท้าย
วินาทีทค่ี นคนหนึง่ ต้องรับรูว้ า่ ตนพิการนัน้ เป็น ประสบการณ์ทป่ี วดร้าวอย่างมาก เพราะการกลับไปใช้ ชีวติ ตามปกติกลับกลายเป็นเรือ่ งยากลำ�บากเหมือนปีน เขา กิจวัตรประจำ�วันเช่นการเข้าห้องน�ำ้ ให้ความรูส้ กึ เหมือนภารกิจหฤโหดทีไ่ ม่อาจสำ�เร็จลุลว่ ง ดังที่ วันชัย ชัยวุฒิ แชมป์กฬี าปิงปองเล่าให้ฟงั ถึงวันแรกๆ หลังหมอ วินจิ ฉัยว่าเขาเป็นโปลิโอขัน้ รุนแรงว่า “การกลับไป เข้าเรียน แปลว่าผมจะต้องทนให้คนรังแก ให้คนเรียกว่า ไอ้งอ่ ย ให้ครูเขามองเราด้วยความเวทนา” ในประเทศไทย ความกลัวของคนพิการว่าตนจะ เป็นภาระของคนอืน่ ยิง่ ถูกซ�ำ้ เติมโดยความขาดแคลน โครงสร้างพืน้ ฐานสำ�หรับคนพิการ แค่การเดินทางประจำ� วันก็เหมือนเกมตะลุยด่าน เพราะการต้องขึน้ รถเมล์ หรือ รถไฟซึง่ ไม่มที เ่ี ทียบรถเข็น เพือ่ ไปต่อกับรถแท็กซี่ สอง แถว และมอเตอร์ไซค์รบั จ้างทีไ่ ม่มรี ะบบอะไรแน่นอน นัน้ แม้กบั คนพิการในระดับไม่มากนัก ก็เป็นเรือ่ งยาก เสียแล้ว ในขณะทีค่ วามคิดเรือ่ งการสร้างตึก ผลิตภัณฑ์และ สภาพแวดล้อมต่างๆ ให้เป็นมิตรกับคนพิการและ ผูส้ งู อายุ หรือ ‘universal design’ ปรากฎขึน้ ใน สหรัฐอเมริกาในยุค ‘60 แต่กว่าความคิดนัน้ จะมาถึง เอเชีย (ผ่านทางญีป่ นุ่ ) ก็เป็นยุค ‘90 เข้าไปแล้ว ในปี 2547 ผูเ้ ชีย่ วชาญจากประเทศจีน ญีป่ นุ่ และเกาหลีใต้ ได้รว่ มกันสร้างมาตรฐานของภูมภิ าคในเรือ่ งนีเ้ พือ่ รองรับ งานโอลิมปิกฤดูรอ้ นปี 2551 ส่วนประเทศไทยก็มกี ารตรา พระราชบัญญัตสิ ง่ เสริมและพัฒนาคุณภาพชีวติ คนพิการในปี 2550 ซึง่ กำ�หนดให้คนพิการสามารถเข้า ถึงสวัสดิการรักษาพยาบาล กระบวนการยุตธิ รรม โอกาส ในการจ้างงานและพืน้ ทีส่ าธารณะได้ กระนัน้ ข้อมูลจาก สำ�นักส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวติ คนพิการแห่งชาติ ปี 2552 ประเมินว่าคนพิการร้อยละ 64.8 ยังตกงาน (อัตราของสหรัฐอเมริกาในปีเดียวกันคือร้อยละ14.5)
กีฬาคนพิการไม่ ได้มีไว้เพียงเพื่อ ปลอบคนพิการ ว่าชีวิตยังมีอะไร มากกว่าความ พิการ และก็ไม่ได้ มีไว้เพียงเพื่ออวด ให้คนในสังคมเห็น ว่าคนพิการมีความ สามารถเหนือคน ปกติทั่วไปเท่านั้น ตรงกันข้าม กีฬา คนพิการดูเหมือน จะมีไว้เพื่อคนปกติ เองนี่แหละ 01 โค้ ช หญิ ง กั น ทิ ม า ภิ ร ะบรรณ์ (กลาง) กั บ นั ก กี ฬ าที ม ชาติ ดารารั ต น์ อรรถยุ ท ธ์ (ซ้ า ยสุ ด ) และชิ ล ชิ ต พยั ค บุ ต รวรรณสิ ร ิ ณ า มื อ วางอั น ดั บ 4 ของโลก
OPTIMISE | APRIL 2016
49
THE GOOD LIFE การต้องใช้ชวี ติ ในสภาพแวดล้อมทีไ่ ม่เอือ้ อำ�นวย เช่นนีย้ อ่ มชวนให้ผพู้ กิ ารหมดหวัง และทำ�ให้ครอบครัว ผูพ้ กิ ารต้องเหนือ่ ยมากขึน้ ในการประคับประคองกำ�ลัง ใจผูพ้ กิ าร ประหยัด เทพธรนี พ่อของนิพนธ์ ผูพ้ กิ าร ตัง้ แต่ชว่ งเอวลงไปอันเนือ่ งจากเส้นประสาทกระดูก สันหลังถูกทำ�ลายจากอุบตั เิ หตุทไ่ี ซต์กอ่ สร้างในปี 2540 เล่าว่า “ผมต้องหาว่าเขาชอบอะไรเพือ่ ให้เขาอยากมี ชีวติ อยูต่ อ่ และเรียกความมัน่ ใจของเขากลับคืนมา ผมถือว่ามันเป็นชะตากรรมร่วมของครอบครัว เราต้อง แสดงให้เขาเห็นว่าทุกอย่างยังเหมือนเดิม เพราะ สิง่ ทีเ่ ขาต้องเผชิญนัน้ ก็ยากพออยูแ่ ล้ว ไม่วา่ จะเรือ่ งการ เคลือ่ นไหว เรือ่ งปัญหาสุขภาพ หรือเรือ่ งการกลับเข้า สูส่ งั คมอีกครัง้ ” แต่นเ่ี องคือจุดทีก่ ฬี าสามารถเข้ามามี บทบาทสำ�คัญ
กีฬาๆ เป็นยาวิเศษ
สอดคล้องกันกับคำ�พูดของเมืองไทยทีว่ า่ ‘กีฬาๆ เป็นยาวิเศษ’ ในปี 2541 ประเทศไทยได้ลกุ ขึน้ เป็น เจ้าภาพเอเชียนเกมส์เป็นครัง้ แรก และเพียง 1 เดือน ให้หลัง กรุงเทพฯ ก็ยงั เป็นเจ้าภาพเฟสปิกเกมส์ (FESPIC) หรือการแข่งขันกีฬาคนพิการภาคพืน้ ตะวันออกไกลและแปซิฟกิ ตอนใต้ ซึง่ ตอนนีเ้ ปลีย่ นชือ่ เป็นกีฬาเอเชียนพาราเกมส์อกี ด้วย ไมตรี คงเรือง หัวหน้าทีมเทเบิลเทนนิสคนพิการ กล่าวว่า “หลังจบกีฬาเฟสปิกเกมส์ คนพิการหลายคน หันมาเล่นกีฬา เพราะตอนทีม่ กี ารถ่ายทอดเฟสปิกเกมส์ เป็นครัง้ แรกทีค่ นพิการได้รบั การมองว่ามีศกั ยภาพ และ สามารถสร้างความสำ�เร็จทีย่ ง่ิ ใหญ่ได้ ถือเป็นจุดเปลีย่ น
02
ทัศนคติของสังคมทีม่ ตี อ่ คนพิการ ก่อนหน้านัน้ สังคม ไม่คดิ ว่าคนพิการมีศกั ยภาพ ไม่คดิ ว่าเราจะสามารถใช้ ชีวติ ตามปกติได้ คิดว่ายังไงเราก็ตอ้ งได้รบั ความช่วย เหลือตลอดเวลา” 1 ปีหลังจากอุบตั เิ หตุทท่ี �ำ ให้เธอพิการ วิจติ ราได้รบั การสนับสนุนจากคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้ยา้ ยไปเข้าโรงเรียน ศรีสงั วาลย์ของมูลนิธอิ นุเคราะห์คนพิการฯ ในอำ�เภอ ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ซึง่ เป็นสถานทีๆ่ ชีวติ ของ วิจติ ราจะได้พบจุดหักเหอีกครัง้ เพียงแต่ส�ำ หรับครัง้ นี้ มันเป็นไปในทิศทางทีด่ ี “หนูไม่เคยเห็นคนพิการจำ�นวนเยอะเท่านีม้ าก่อน หลายๆ คนลำ�บากกว่าเราอีก แต่สง่ิ ทีป่ ระทับใจทีส่ ดุ คือ ตอนทีเ่ ห็นคนอืน่ ๆ เขาเล่นฟุตบอลกันโดยใช้มอื เตะบอล แทนขาทีเ่ สียไป ตอนนัน้ เราไม่เข้าใจว่าพวกเขามีความ สุขกันขนาดนัน้ ได้ยงั ไง มันเหมือนเขาดีใจด้วยซ�ำ้ ทีเ่ ป็น อย่างนัน้ ” เรือ่ งราวทำ�นองนีเ้ ป็นทีค่ นุ้ เคยสำ�หรับนักกีฬา ปิงปองคนพิการทีมชาติไทยหลายต่อหลายคน การ หันมาเล่นกีฬานัน้ เป็นมากกว่ากายภาพบำ�บัด วันชัย เล่าว่า “การเคลือ่ นไหวมันเป็นสิง่ ทีน่ า่ ประทับใจและ สง่างามในตัว คนบางคนไม่มแี ขนขา แต่ดแู ล้วรูว้ า่ เขามี ความมุง่ มัน่ แค่ดกู ารเคลือ่ นไหวนีเ่ รารูเ้ ลยว่าเขายังเห็น โลกสวยงาม” วันชัยเป็นเด็กกำ�พร้าตัง้ แต่อายุ 10 ปี โดยการรักษากับหมอเถือ่ นทำ�ให้เขาเป็นอัมพาตมา ตัง้ แต่อายุ 3 ขวบ หลังจากนัน้ ไม่นาน เขาได้พบกับ ไมตรี คงเรือง กัปตันทีมปิงปองคนพิการทีง่ านแข่งกีฬา ในราชบุรี และได้รบั การทาบทามให้เข้าร่วมทีม
คนส่วนใหญ่อาจพอใจทีจ่ ะเล่นกีฬาเอาสนุก แต่การฝึกเพือ่ เป็นนักกีฬามืออาชีพนัน้ นับว่าเป็นอีกเรือ่ ง หนึง่ เลยทีเดียว โดยเฉพาะสำ�หรับผูท้ ส่ี ภาพร่างกาย ไม่เอือ้ อำ�นวย เพราะผูฝ้ กึ ซ้อมจะต้องมีวนิ ยั และความ รับผิดชอบมากเป็นพิเศษ อย่างเช่นวันชัย ซึง่ ต้อง ตืน่ นอนตอนตีหา้ และฝึกซ้อมหลายชัว่ โมงทุกวัน “ถ้าเราฝึกแค่พอๆ กับคนทัว่ ไป เราก็ไม่มวี นั เก่ง เท่าเขาได้ บางทีผมรูส้ กึ เจ็บปวดเกินกว่าจะทนไหว แต่ผมก็พยายามสูต้ อ่ ไป เพราะผมรูว้ า่ ไม่มใี ครมาทำ�แทน ผมได้” วันชัย ซึง่ ปัจจุบนั ครองตำ�แหน่งนักกีฬาเทเบิล เทนนิสชายมือวางอันดับ 11 ของโลกกล่าว โดยเขาได้ เคยแสดงฝีมอื อันน่าประทับใจเมือ่ คราวชนะมือวาง อันดับ 3 ของโลกในปี 2557 และโดยไม่ยง่ิ หย่อน กว่ากันเท่าไหร่ วิจติ ราได้ครองตำ�แหน่งมือวางอันดับ 6 ของฝ่ายหญิง โค้ชปริญญา นนท์สาเกตุ ผูเ้ ป็นอดีตนักกีฬาปิงปอง ทีมชาติเมือ่ 20 ปีกอ่ นเล่าว่า “ก่อนทีเ่ ขาจะได้มาเป็น ตัวแทนประเทศ นักกีฬาพวกนีต้ อ้ งผ่านอะไรมามากกว่า คนปกติเยอะ” ทัง้ นีค้ วามมุง่ มัน่ ของนักกีฬา ทำ�ให้โค้ช ปริญญาติดใจจนยอมรับหน้าทีเ่ ป็นผูฝ้ กึ สอนให้เต็ม เวลา โดยเขาเล่าให้ฟงั ถึงการฝึกซ้อมครัง้ แรกกับเหล่า นักกีฬาว่า “มันไม่ยากอย่างทีผ่ มคิดไว้เลย ทีแรกผมก็ ถามตัวเองว่า ‘นักกีฬาพิการเขายอมตืน่ มาซ้อมตอน 6 โมงจริงๆ หรือ’ แต่ปรากฏว่าพอผมมาถึง พวกเขาก็มา รออยูแ่ ล้ว แต่ละคนกระตือรือร้นทีจ่ ะเรียน ถึงร่างกาย เขาจะมีขอ้ จำ�กัดแต่ทกุ คนสดใสและมีพลัง ผมไม่เคย ต้องกระตุน้ พวกเขาเลย จิตใจพวกนีเ้ ข้มแข็งเหลือเชือ่ ”
03
04
50
OPTIMISE | APRIL 2016
05
ส่งต่อแรงบันดาลใจ
ไม่เพียงแต่นกั กีฬาทีมชาติกลุม่ นีจ้ ะใช้กฬี าเปลีย่ นแปลง ชีวติ ตัวเองเท่านัน้ พวกเขายังยืน่ มือออกไปหาคนอืน่ ๆ เพือ่ แสดงให้เห็นว่าความพิการไม่อาจหยุดพวกเขาจากการบรรลุ ความเป็นเลิศได้ หนุม่ น้อยอายุ 14 ปีอย่าง บุสรี วาแวนิ ก็เป็นอีกหนึง่ คนทีไ่ ด้รบั แรงใจจากโครงการนี้ โดยเขาเป็น เหยือ่ เหตุการณ์ความรุนแรงในภาคใต้ซง่ึ ทำ�ให้เขาเดินไม่ได้ ไปตลอดชีวติ หลังเขาโดนยิงทีม่ สั ยิดในยะลา “ผมไม่ออกจากบ้านเป็นเวลา 2 ปีกว่า ผมอยูแ่ ต่ในบ้าน ดูทวี ี เล่นเกม เพือ่ จะได้ไม่ตอ้ งคิดถึงความพิการของตัวเอง” บุสรีเล่า บุสรีได้พบกับเหล่านักกีฬาทีมชาติผา่ นโครงการช่วย เหลือพิเศษทีเ่ ข้ามารับตัวผูป้ ระสบเหตุจากภาคใต้ไป กรุงเทพฯ “พีๆ่ เขาขอเฟสบุค๊ ของผมไปเพือ่ เอาไว้ตดิ ต่อ เขาถามว่าทำ�ไมผมถึงใช้รปู ณเดชน์ (คูกมิ ยิ ะ) เป็นรูปโปรไฟล์ ผมบอกเขาว่าเพราะผมอาย ผมไม่อยากให้ใครมาเห็นแล้ว จำ�ผมได้” แต่หลังจากได้เข้าโครงการและสังสรรค์กบั พวก รุน่ พีน่ กั กีฬา ปัจจุบนั บุสรีได้กลับไปเรียนหนังสืออีกครัง้ และ ยังเข้าฝึกซ้อมปิงปองทีศ่ นู ย์เยาวชนยะลาเป็นประจำ� “แล้วผมก็เปลีย่ นรูปโปรไฟล์แล้วด้วย” เขาบอกอย่างเขินๆ ดร. อรรถฤทธิ์ ศฤงคไพบูลย์ ประธานชมรมเทเบิล เทนนิสคนพิการไทย เห็นว่าบทบาทของชมรมไปได้ไกลกว่า ขอบเขตของคนพิการ “ผมคุน้ ชินกับการเห็นผูป้ ว่ ยพิการทุกๆ วันทีโ่ รงพยาบาล แต่นกั กีฬาเหล่านีเ้ ป็นกลุม่ ทีส่ ร้างโอกาสให้ กับตัวเอง ไม่ยอมจมอยูก่ บั ข้อบกพร่อง เขาฝึกซ้อมอย่างหนัก ด้วยสิง่ ทีย่ งั เหลืออยูเ่ พือ่ มาชดเชยสิง่ ทีข่ าดหายไป มันน่า อัศจรรย์มากว่ากีฬาสามารถเปลีย่ นแปลงชีวติ คนๆ หนึง่ ได้ ขนาดนี”้ โค้ชปริญญาก็เห็นเช่นเดียวกัน “ผมอาจจะเป็นคนสอน เทคนิคพวกเขา แต่ผมรูส้ กึ ว่าผมเป็นฝ่ายได้เรียนรูอ้ ะไรจาก พวกเขามากกว่าอีก พวกเขาสอนให้ผมได้รวู้ า่ ความเข้มแข็ง เป็นอย่างไร รูว้ า่ จะผ่านพ้นช่วงเวลาทีแ่ ย่ทส่ี ดุ ไปได้อย่างไร แค่นกึ ผมยังนึกไม่ออกเลยว่าพวกเขาต้องผ่านอะไรมาบ้าง”
06
หนทางข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม การหาเงินส่งนักกีฬาพิการไปแข่งใน ระดับนานาชาตินน้ั ยังเต็มไปด้วยข้อจำ�กัด ไมตรีเล่าว่า “ไม่มอี งค์กรไหนยินดีจะจ่ายเงินเป็นล้านๆ บาทเพือ่ คน 38 คนเพราะเขาไม่คดิ ว่ามันเป็นการลงทุนทีค่ มุ้ ค่า แต่เรามี เป้าหมายทีย่ ง่ิ ใหญ่กว่าแค่สง่ นักกีฬาไปนอก เราอยากให้ นักกีฬาของเราชนะ เขาจะได้เป็นฮีโร่ คือเป็นฮีโร่ในสนาม ด้วยการฝึกฝนและฝีมอื กีฬา และก็เป็นฮีโร่ในชีวติ จริง ด้วย การสร้างแรงบันดาลใจให้คนอืน่ ๆ ได้ใช้ชวี ติ อย่างมีความสุข กว่าเดิม น้องบี (บุสรี) เคยเป็นเหยือ่ การยิงสังหารหมู่ แต่ตอน นีเ้ ขาก็ได้ใช้ชวี ติ ในแบบทีเ่ ขาต้องการ เขามีเป้าหมายในชีวติ ลองนึกดูวา่ เราสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กบั คนอืน่ อีก จำ�นวนมากแค่ไหน” วิจติ รายังคงจำ�ได้ดถี งึ ตอนทีไ่ ด้ใส่เสือ้ ทีมชาติเป็น ครัง้ แรก เธอเล่าว่า “การทีไ่ ด้มธี งชาติปกั บนอกเสือ้ ทำ�ให้หนู รูส้ กึ มีพลังและมีความหมาย หนูรสู้ กึ ว่าถึงแม้วา่ เราจะพิการ เราก็รบั ใช้ประเทศชาติได้เหมือนกัน โดยการทำ�ให้คนอืน่ ๆ ได้เห็นธงชาติเราถูกชักขึน้ ไปสูงสุดและฟังเพลงชาติเรา พ่อแม่หนูเขาไม่รสู้ กึ ว่าเขามีลกู เป็นคนพิการอีกแล้ว” แต่ขา่ วดีพอมีบา้ ง เพราะเมือ่ ปีกอ่ น ในการแข่งขัน อาเซียนพาราเกมส์ในสิงคโปร์ ประเทศไทยสามารถคว้า 95 เหรียญทอง 76 เหรียญเงิน และ 79 เหรียญทองแดงมาครอง นอกจากนัน้ นักกีฬาเทเบิลเทนนิสคนพิการไทย 6 คนยังได้ รับการรับรองให้มคี ณ ุ สมบัตไิ ปแข่งพาราลิมปิก 2016 ทีร่ โิ อ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิลอีกด้วย “ตอนนี้สังคมเริ่มมองเราในแง่ความสามารถ มากกว่า มองด้วยความเวทนา เขาไม่มองเราเป็นคนที่พึ่งพาตัวเอง ไม่ได้แล้ว ความจริงคือเรามีศักยภาพและเราสามารถ ยืนด้วยลำ�แข้งของตัวเองได้ เราเพียงต้องการโอกาสที่จะ ยกระดับคุณภาพชีวิต เพื่อที่เราจะสามารถช่วยพัฒนา สังคมได้ ประเทศเราจะได้เป็นที่ที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น” ไมตรีกล่าว ทิ้งท้าย
การเคลื่อนไหวมันเป็น สิ่งที่น่าประทับใจ และสง่างามในตัว คนบางคนไม่มีแขนขา แต่ดูแล้วรู้ว่า เขามีความมุ่งมั่น แค่ดูการเคลื่อนไหวนี่ เรารู้เลยว่าเขายังเห็น โลกสวยงาม 02 ที ม ปิ ง ปองฝึ ก ซ้ อ มกั น อย่ า ง ขะมั ก เขม้ น ก่ อ นไปแข่ ง ขั น ชิ ง เหรี ย ญที ่ พ าราลิ ม ปิ ก ในปี น ี ้ 03 วิ จ ิ ต รา ใจอ่ อ น กั บ บทบาทครู และนั ก กี ฬ าที ม ชาติ 04 โค้ ช ปริ ญ ญา นนท์ ส าเกตุ ช่ ว ยดู เ ทคนิ ค ให้ ก ั บ วั น ชั ย 05 วั น ชั ย ชั ย วุ ฒ ิ เผยชี ว ิ ต ที ่ เ ต็ ม ไปด้ ว ย แรงบั น ดาลใจในงาน ‘ธรรมดา 32 พิ เ ศษ 100+’ 06 ไมตรี คงเรื อ ง วาดลี ล าดุ เ ดื อ ดใน การซ้ อ มก่ อ นออกแข่ ง จริ ง
OPTIMISE | APRIL 2016
51
THE FAST LANE เพราะเหตุนน้ั ในปัจจุบนั ด้วยเงินเพียง 9 หมืน่ ยูโร ต่อวัน (3.6 ล้านบาท) นักท่องเทีย่ วก็สามารถนำ�เรือ สำ�ราญแสนงามขนาดยาว 41 เมตรลำ�นี้ ออกล่องทริป ไปกลับภูเก็ต-เกาะรอก เพือ่ หย่อนใจได้ ใบอนุญาตใหม่ แกะกล่องนี้ ได้สร้างความมัน่ ใจว่าภูเก็ตจะสามารถ กลายมาเป็นศูนย์กลางเรือซูเปอร์ยอชท์แห่งใหม่ของ ภูมภิ าคได้ ขอเพียงอุปสรรคทางกฎหมายทีเ่ หลือถูก ผ่อนคลาย และผูซ้ อ้ื ชาวเอเชียเปลีย่ นใจมาชอบสายลม แสงแดดมากขึน้
01
ใบอนุญาตล่องเรือ
Credit: Asia Marine
Full Speed Ahead กฎข้อบังคับทีผ ่ อ่ นคลาย และความสนใจของเหล่ามหาเศรษฐี เอเชียทีก่ ำ�ลังเพิม่ มากขึน้ ทำ�ให้วงการเรือยอชท์ของภูเก็ตฝัน หวานถึงการเป็นศูนย์กลางเรือซูเปอร์ยอชท์แห่งภูมภิ าค
52
OPTIMISE | APRIL 2016
Ocean Emerald เป็นเรือซูเปอร์ยอชท์อลูมเิ นียมที่ สามารถโลดแล่นบนผิวนา้ํ ด้วยความเร็วถึง 12 นอต แม้ความจริงแล้วตัวมันจะมีนา้ํ หนักถึง 346 ตัน เนือ่ งจาก ต้องแบกรับทัง้ ทวินเจ็ตสกี ห้องสวีท 5 ห้อง ตลอดจน ดาดฟ้าเรือไม้สกั ทีล่ อ้ มรอบห้องส่วนกลางกรุผนังกระจก ใส อย่างไรก็ตาม หากต้องการนำ� ‘ของเล่น’ ชิน้ นีอ้ อก ไปท่องอันดามัน ราคาเสนอขาย ในวันทีเ่ ปลีย่ นมือครัง้ ล่าสุดเมือ่ เดือนธันวาคม ปี 2557 นัน้ อยูท่ ่ี 5.5 ล้านยูโร (220 ล้านบาท) ก่อนหน้านีไ้ ม่นาน การซือ้ หรือนำ�เข้าเรือทีช่ กั ธง ต่างประเทศ ถือเป็นหนทางเดียวทีถ่ กู กฎหมายสำ�หรับ ผูท้ อ่ี ยากนำ�เรือซูเปอร์ยอชท์มาแล่นบนน่านนา้ํ ไทย เนือ่ ง ด้วยการเช่าเรือยอชท์ (อย่างน้อยก็ในกรณีทแ่ี ล่นเรือออก จากหรือเข้าเทียบท่าประเทศไทย) ไม่ได้รบั การรับรอง ภายใต้กฎหมายไทย แต่ทกุ อย่างได้เปลีย่ นไปเมือ่ วันที่ 16 กันยายน ปี 2558 เมือ่ เรือโอเชียน เอเมอรัลด์ ได้รบั ใบอนุญาตการค้าและบริการของเรือซูเปอร์ยอชท์ ในประเทศไทยเป็นลำ�แรก โดยมีรฐั มนตรีวา่ การกระทรวง คมนาคม และรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงการท่องเทีย่ ว และการกีฬาเป็นสักขีพยาน
การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทยก็เป็นอีกแรงหนึง่ ที่ ช่วยกระทรวงการคมนาคมผลักดันธุรกิจเรือยอชท์ อัน ทีจ่ ริงโฆษณาของ ททท. ทีอ่ อกฉายในฮ่องกงเมือ่ เดือน พฤศจิกายนทีผ่ า่ นมา ถึงกับเป็นกระแสดราม่าบน อินเทอร์เน็ตเลยด้วยซา้ํ เพราะแสดงการเสพสุขขัน้ หรู เลิศทีเ่ ต็มไปด้วยชุดราตรี ซิการ์ แชมเปญ และภาพเรือ ซูเปอร์ยอชท์ทม่ี คี นไดร์ฟกอล์ฟอยูบ่ นดาดฟ้า จนมีคน เหน็บว่าน่าจะตัง้ ชือ่ โฆษณาว่า ‘ตามล่ามหาเศรษฐี’ ให้รู้ แล้วรูร้ อดไปเสียเลย “ธุรกิจเรือยอชท์ท�ำ ให้เงินไหลเข้าประเทศมหาศาล เรือขนาด 40 - 50 เมตรนีห่ มายถึงเงิน 1 - 2 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 ฤดูกาล เพราะคนต้องจ่ายค่า ทำ�ความสะอาดเรือ ค่าเชือ้ เพลิง ค่านา้ํ ค่าเครือ่ งดืม่ แอลกอฮอล์ ค่าอาหาร ซึง่ ทัง้ หมดต้องเสีย VAT (ภาษี มูลค่าเพิม่ ) อีกต่างหาก” นิโกลาส์ มงฌ์ ผูจ้ ดั การฝ่าย ลูกค้าสัมพันธ์ประจำ�งานมหกรรมเรือยอชท์ ‘ไทยแลนด์ ยอชท์ โชว์’ กล่าว โดยในงานมีเรือซูเปอร์ยอชท์รว่ ม 50 ลำ�มารวมตัวกัน ทีท่ า่ เรืออ่าวปอ แกรนด์มารีนา่ ภูเก็ต ถึงแม้วา่ จำ�นวนเงินทีว่ า่ จะดึงดูดความสนใจจาก รัฐบาลได้ แต่ในทางปฏิบตั ิ ใบอนุญาตเช่าเรือซูเปอร์ ยอชท์ยงั ต้องแหวกว่ายอยูใ่ นกฎระเบียบซับซ้อนอย่าง ไม่รเู้ หนือรูใ้ ต้ แวงซองต์ ทาบูโต กรรมการผูจ้ ดั การบริษทั Asia Marine ในภูเก็ต ซึง่ มีเรือยอชท์ขนาด 20 - 35 เมตรให้เช่ารวมกว่า 20 ลำ� กล่าวว่า “โครงการนีถ้ อื เป็น โครงการทีด่ ี แต่หน่วยงานต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องยังค่อนข้าง มีความเข้าใจไม่ตรงกัน ไม่วา่ จะเป็น กรมสรรพากร กรม ศุลกากร กรมแรงงาน หรือกรมเจ้าท่า” อันทีจ่ ริงคำ�ว่า ‘เข้าใจไม่ตรงกัน’ ยังออกจะเบาไป เสียหน่อย เพราะแม้ในขณะนีก้ ารเช่าเรือซูเปอร์ยอชท์ ทีช่ กั ธงต่างประเทศจะถูกกฎหมายแล้ว (หากเป็นเรือ ขนาด 30 เมตรหรือยาวกว่านัน้ และมีผโู้ ดยสารไม่เกิน 12 คน) แต่ใบอนุญาตไม่ได้ชว่ ยเคลียร์ประเด็นในด้าน ภาษีศลุ กากร สรรพากร และการตรวจคนเข้าเมืองแต่ อย่างใด ผลลัพธ์กค็ อื แม้วา่ เรือซูเปอร์ยอชท์ตา่ งชาติจะ สามารถจอดทีท่ า่ ไทยได้ 6 หรือ 12 เดือน แต่ลกู เรือก็ยงั
มีเพียงวีซา่ นักท่องเทีย่ วทีจ่ �ำ กัดระยะเวลาแค่ 30 วันอยูด่ ี การทีก่ ฎระเบียบต่างๆ ไม่ไปด้วยกันเช่นนี้ ทำ�ให้ ใบอนุญาตเช่าเรือแทบจะไร้ประโยชน์ นอกจากนี้ กรมสรรพากรยังเรียกเก็บภาษีมลู ค่าเพิม่ 7 เปอร์เซ็นต์จาก ตัวเรืออีก ซึง่ สำ�หรับเรือลำ�ละ 5.5 ล้านยูโรแล้ว ภาษีนน้ั ย่อมเท่ากับ 3.85 แสนยูโร แม้จะวัดด้วยมาตรฐาน มหาเศรษฐี การจ่ายเงิน 15 ล้านบาทเพียงเพือ่ ให้โอเชียน เอเมอรัลด์ได้เข้ามาในทะเลอันดามันชัว่ 2-3 เดือนนัน้ ไม่อาจสูร้ าคากับลังกาวี เกาะปลอดภาษีของประเทศ มาเลเซียได้เลย “ด้วยตัวของมันเองนัน้ เรือเป็นสิง่ ทีร่ ฐั บาลบริหาร จัดการไม่คอ่ ยเป็น เพราะมันเคลือ่ นที่ มันเปลีย่ น ประเทศได้ อย่างเมือ่ 2 ปีกอ่ นทีเ่ จ้าหน้าทีร่ ฐั เริม่ บังคับ ใช้กฎหมายเก่าอย่างจริงจัง ปรากฏว่าเรือหนีไปหมด เลย ถ้านับจำ�นวนเรือในประเทศไทยทัง้ ประเทศ จะเห็น ว่ายังน้อยกว่าทีเ่ รือในท่าของยุโรปท่าเดียวด้วยซา้ํ ไม่วา่ โมนาโก หรือคานส์” แวงซองต์ กล่าว ดร. จุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า ได้รบั ปากว่า ปมปัญหาทางกฎระเบียบทีม่ อี ยูใ่ นขณะนีจ้ ะถูกคลีค่ ลาย ในเร็ววัน ซึง่ กูลู ลาลวานี ประธานบริหารโครงการ Royal Phuket Marina ก็ดมู น่ั ใจว่าจะเป็นเช่นนัน้ เห็นได้ จากทีก่ อ่ นหน้านี้ กูลไู ด้ประกาศแผนทุม่ เงิน 5 พันล้าน บาท เพือ่ เพิม่ พืน้ ทีจ่ อดเรือจาก 170 ลำ� เป็น 296 ลำ� “วงการเรือยอชท์ในภูเก็ตนัน้ มีมานานราวๆ 16 ปี แต่กฎหมายทีอ่ อกมาใหม่นน้ั เป็นเรือ่ งใหญ่มาก พอรัฐบาลอนุญาตให้เรือยอชท์ตา่ งประเทศเข้ามาใน ไทยได้แล้วอย่างนี้ มีโอกาสสูงทีจ่ ะดึงดูดพวกเรือลำ�ใหญ่ พวกผูเ้ ล่นรายใหญ่เข้ามา” ชุนเกียรติ โชติธรรมาภรณ์ ผูจ้ ดั การฝ่ายขายแบรนด์เรือยอชท์เชือ้ สายแอฟริกาใต้ Leopard Catamarans กล่าว
กฎหมายที่ออกมาใหม่นั้น เป็นเรื่องใหญ่มาก พอรัฐบาลอนุญาตให้ เรือยอชท์ต่างประเทศ เข้ามาในไทยได้แล้วอย่างนี้ มีโอกาสสูงที่จะดึงดูด พวกเรือลำ�ใหญ่ พวกผู้เล่นรายใหญ่เข้ามา พาคนเอเชียลงเรือ
ถึงแม้จะขจัดปัญหาเรือ่ งกฎข้อบังคับไปได้ อีกหนึง่ อุปสรรคใหญ่กค็ อื การหาลูกค้าชาวเอเชียเพิม่ เติม อุตสาหกรรมเรือสำ�ราญเจ็บหนักจากวิกฤติคา่ เงิน รูเบิลดิง่ เหวในปี 2557 ซึง่ กวาดล้างฐานลูกค้าชาวรัสเซีย เสียจนเกลีย้ ง ดังนัน้ นิโกลาส์ จึงตัง้ เป้าให้ผเู้ ข้าร่วมงาน มหกรรมเรือยอชท์เป็นชาวไทยให้ได้ถงึ 50 เปอร์เซ็นต์ ตลาดเรือสำ�ราญในไทยยังแทบไม่มใี ครเปิดได้ส�ำ เร็จ เพราะแม้คนจะมีก�ำ ลังทรัพย์ แต่ชาวเอเชียโดยทัว่ ๆ ไป ยังไม่ได้นยิ มเสพสุขโดยการล่องเรือยอชท์เท่าใดนัก “ลูกค้าส่วนใหญ่ของเราเป็นชาวตะวันตก หรือเป็น expats ทีม่ าเทีย่ วในภูเก็ตนานๆ ใช้ชวี ติ อยูภ่ เู ก็ต หรือใช้ ชีวติ ครึง่ หนึง่ ในภูเก็ต ความจริงตอนนีก้ เ็ ริม่ มีลกู ค้าชาว จีนและไทยติดต่อมาบ้างแล้ว แต่ยงั ไม่มาก มันเป็นเรือ่ ง ของวัฒนธรรม ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่ทง้ั ภูมภิ าค
02
01 เรื อ Isabella Rose ออกท่ อ งมหาสมุ ท รกว้ า งในอ่ า ว พั ง งา ห่ า งจากภู เ ก็ ต มาไม่ ไ กล 02 ดิ น เนอร์ ก ลางมหาสมุ ท รสุ ด หรู บ นดาดฟ้ า ท้ า ยเรื อ Ocean Emerald
OPTIMISE | APRIL 2016
53
คนเอเชียไม่ถงึ กับบ้าทะเล บ้าเรือเท่าไหร่” ชุนเกียรติกล่าว “เจ้าของเรือทีเ่ ป็นคนจีนไม่คอ่ ยชอบแดดด้วยซา้ํ ไม่เหมือน คนรัสเซีย คนจีนชอบเปิดแอร์อยูแ่ ต่ในเคบิน แล้วก็นง่ั เล่น ไพ่นกกระจอก ร้องคาราโอเกะ ดืม่ ไวน์กบั โค้ก บางคนอาจจะชอบ ตกปลาหรือว่ายนา้ํ ก็จริง แต่สดุ ท้ายแล้ว การมีเรือใหญ่ 30-40 เมตรนีเ่ หมือนมีไว้แสดงฐานะมากกว่า” แวงซองต์ กล่าว ไม่ใช่เรือ่ งแปลกใจหากเรือสำ�ราญและรถยีห่ อ้ หรูจะ เกีย่ วโยงกันอย่างแนบแน่น บริษทั Master Group Corporation (Asia) (เอมจีซ)ี ซึง่ เป็นตัวแทนรถหรูเช่น โรลส์-รอยซ์ และแอสตัน มาร์ตนิ ในประเทศไทย ได้เปิดตัว Azimut Lounge ในพัทยาไปเมือ่ ปีทแ่ี ล้ว โดยมีจดุ ประสงค์เพือ่ จัดแสดงเรือยอชท์ ของแบรนด์อะซิมตุ จากอิตาลี ซึง่ เป็นผูผ้ ลิตเรือสำ�ราญตกแต่ง ประณีต ตัง้ แต่ขนาด 10-35 เมตร ทัง้ นี้ เอมจีซมี แี ผนจะเปิด อะซิมตุ เลาจน์แห่งที่ 2 ในภูเก็ตในปีน้ี “ผมว่าคนไทยทีม่ ฐี านะเริม่ เห็นแล้วว่าเรือไม่ได้แพงขนาดนัน้ รถซูเปอร์คาร์คนั หนึง่ ก็ปาเข้าไปหนึง่ ล้านยูโร (40 ล้านบาท) แล้ว แต่ดว้ ยเงินเท่ากัน คุณสามารถซือ้ เรือขนาด 18 เมตร ได้ 1 ลำ� ยิง่ สำ�หรับหนุม่ ๆ ทีอ่ ยากอวดสาว การพาไปล่องเรือนีช่ นะการนัง่ แลมโบกินแี ล้วไปติดอยูต่ รงไฟแดงในกรุงเทพฯ เป็นไหนๆ” นิโคลัส มงฌ์ กล่าว วรสิทธิ์ อิสสระ นักธุรกิจผูโ้ ด่งดัง เจ้าของ ‘ศรีพนั วา ภูเก็ต’ วิลล่าตากอากาศสุดหรูบนแหลมพันวา ทีม่ ที ะเลครามหาดขาวเป็น ทัศนียภาพ โดยในศรีพนั วานัน้ นอกจากจะมีเรือสปีดโบ๊ท และมี การเช่าเรือยอชท์ให้แขกอยูเ่ ป็นประจำ�แล้ว ก็ยงั มีเรือยอชท์ขนาด ประมาณ 30 เมตร สำ�รองไว้ส�ำ หรับหุน้ ส่วนธุรกิจอีกด้วย วรสิทธิเ์ ล่าให้ฟงั ถึงเหตุผลทีเ่ ขารักเรือยอชท์วา่ “อย่างแรก เลย การจราจรในภูเก็ตแย่มาก แต่เรามีทะเลล้อมรอบและมีทใ่ี ห้ เรือไปได้เยอะแยะ ดังนัน้ ไปเรือดีกว่า แล้วเวลาอยูบ่ น เรือยอชท์ ผมก็สามารถพักผ่อน ฟังเพลง พาครอบครัวไปเทีย่ ว ด้วยได้สบายๆ แต่ทส่ี �ำ คัญทีส่ ดุ คือมันดีกบั ธุรกิจ ถ้าอยากเจรจา ดีลให้จบจริง พาขึน้ ยอชท์แล้วอีกฝ่ายก็จะหนีไปไหนไม่ได้ทง้ั นัน้ ” อย่างไรก็ตาม วรสิทธิย์ อมรับว่าในเรือ่ งการล่องเรือนีย้ งั มีชอ่ งว่างทางวัฒนธรรมเหลืออยูอ่ กี ไม่นอ้ ย “คนเอเชียไม่ได้มี วัฒนธรรมชอบแล่นเรือเหมือนพวกเมดิเตอร์เรเนียน เราไม่ได้ ตืน่ เต้นกับแดด เพราะอากาศบ้านเราร้อนทัง้ ปี แต่มนั ก็เป็น โอกาส เพราะแปลว่าตลาดเรือยังโตได้อกี เยอะ” วรสิทธิก์ ล่าวว่าเขาได้เห็นการเติบโตอย่างมากในตลาดเรือ ซูเปอร์ยอทช์ โดยเฉพาะในช่วงสิน้ ปีทเ่ี รือต่างๆ จะมารวมตัวกัน ทีภ่ เู ก็ต “ผูช้ ายพอมีเงินก็อยากซือ้ ของเล่น ยิง่ ถ้าเพือ่ นมี ก็อยาก มีตาม แต่มนั ก็เหมือนซูเปอร์คาร์ คนบางคนซือ้ มาขับทุกวัน แต่ บางคนซือ้ มา อาจจะเอาออกมาขับแค่ครัง้ เดียว แล้วก็ไม่ขบั ออก ไปไหนอีก ผมเคยเห็นเจ้าของเรือยอชท์คนไทยทีเ่ ป็นแบบนีเ้ ลย”
ค่าใช้จ่าย
ชุนเกียรติเตือนว่าในบางครัง้ ผูซ้ อ้ื รายใหม่มกั จะประเมินต้นทุน ของการเป็นเจ้าของเรือต�ำ่ เกินไป ในแต่ละปี เรือสำ�ราญลำ�หนึง่ มี ค่าบำ�รุงรักษาประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ของราคาป้าย และต้องหัก ค่าเสือ่ มราคาลงอีก ปีละ 15 เปอร์เซ็นต์ ไม่ตา่ งจากรถยนต์ ในส่วน ของเชือ้ เพลิงก็ไม่ใช่เล่นๆ เพราะนา้ํ มัน 750 ลิตรนัน้ แค่พอทีจ่ ะใช้ พาเรือลำ�คู่ (catamaran) ขนาด 15 เมตร เดินทางไปกลับ ภูเก็ตเกาะสิมลิ นั ได้เท่านัน้ “เจ้าของก็จะพูดว่าทำ�ไมต้องซ่อมนูน่ ซ่อมนีต่ ลอดเวลา
54
OPTIMISE | APRIL 2016
03
ผมก็จะบอก อ้าว---เรือมันก็คอื บ้านนัน่ แหละ คนชอบเปรียบเทียบ เรือกับรถหรือเครือ่ งบินเจ็ท แต่ความจริง รถและเครือ่ งบินมันมีไว้ แค่ใช้เดินทางจากจุดหนึง่ ไปยังอีกจุดหนึง่ แต่หวั ใจของการล่องเรือ คือการใช้เวลาระหว่างทางอย่างสำ�ราญ ชมชายหาด ทะเล กินอาหารจิบไวน์ รับการปรนนิบตั พิ ดั วี ทุกๆ อย่างมีไว้เพือ่ สร้าง ความสุข” แน่นอน การเช่าเรือยังคงเป็นทางออกอีกทางหนึง่ ค่าเช่าเรือ 23 เมตร ขนาด 2-3 ห้องพัก จะตกอยูท่ ่ี 2-3.5 แสนบาทต่อวัน ซึง่ ราคานีไ้ ด้รวมค่าเรือ ค่าลูกเรือ ค่าเชือ้ เพลิง และค่าอาหาร แม้กระทัง่ ค่าไวน์ชน้ั ดี 2-3 ขวดไว้แล้ว แต่ยงั ไม่นบั รวม ค่ามัดจำ� APA (Advance Provisioning Allowance) อีก 30 เปอร์เซ็นต์ ซึง่ หากขับเรือออกนอกเส้นทางหรือทำ�สิง่ ของบน เรือเสียหาย เงินก้อนนีก้ จ็ ะหายวับไปได้งา่ ยๆ นอกจากนัน้ การกิน การดืม่ อะไรเป็นพิเศษ ไม่วา่ จะเป็นแชมเปญ Roederer Cristal เย็นๆ หรือ Chateau Petrus ก็จะถูกหักออกจากค่าเอพีเอด้วย สิง่ ทีก่ ล่าวมาทัง้ หมดอาจทำ�ให้การล่องเรือฟังดูแพงไร้เหตุผล แต่ในขณะเดียวกัน ราคากระอักเลือดนีเ่ องทีเ่ ป็นเสน่ห์ เพราะมัน เป็นสิง่ เดียวทีท่ �ำ ให้เรือยอชท์เหล่านีส้ ามารถบ่งบอกสถานะอัน พิเศษของเจ้าของได้ ดังที่ แวงซองต์ ตาบูโต กล่าวว่า “การซือ้ เรือ ไม่ใช่เรือ่ งของเหตุผล มันคือเรือ่ งของความฝันล้วนๆ พวกเจ้าของ เรือยอชท์ในยุคแรกก็เป็นคนยุโรป ซึง่ ต่อมาก็ถกู แทนทีโ่ ดยคน รัสเซีย ซึง่ ต่อมาก็ถกู แทนทีโ่ ดยคนจีนอีก แม้แต่ประเทศไทยเอง เราเจอทัง้ ซาร์ส เจอทัง้ สึนามิ เจอทัง้ วิกฤติการเมือง แต่ตลอด 20 ปีทผ่ี า่ นมา อุตสาหกรรมการล่องเรือไม่เคยหยุดเติบโตเลย” ในงานแสดงเรือนานาชาติภเู ก็ต ซึง่ จัดขึน้ ในเดือนมกราคมที่ ผ่านมา ณ Royal Phuket Marina กูลู ลาลวานี ได้ประกาศว่า ผูเ้ ข้าชมงาน 54 เปอร์เซ็นต์ มาจากภูมภิ าคอาเซียน (มากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์จากยุโรป) ดังนัน้ แทบไม่ตอ้ งสงสัยเลยว่าการเติบโต ในภายภาคหน้าจะมาจากทีใ่ ด ด้วยเหตุน้ี ยิง่ รัฐบาลสามารถ จัดการอุปสรรคของอุตสาหกรรมนีใ้ ห้หมดไปได้รวดเร็วเท่าไร ภูเก็ตก็จะสามารถเปิดตลาดเรือยอชท์อย่างเต็มตัว และบรรลุ ความฝันในการเป็นคูแ่ ข่งของโมนาโก หรือคานส์ได้เร็วเท่านัน้
03 Ocean Emerald เรื อ ยอชท์ ท ี ่ เปรี ย บเสมื อ นซู เ ปอร์ ค าร์ ท างน้ ำ �
Essentials Asia Marine Phuket Boat Lagoon 20/99 หมู่ 2 ถนนเทพกระษัตรี ภูเก็ต โทร. 076-239-111 asia-marine.net Azimut Lounge Pattaya Ocean Marina Yacht Club 274/1-9 หมู่ 4 ถนนสุขมุ วิท กิโลเมตรที่ 157 ชลบุรี www.thailand.azimutyachts. com Leopard Catamarans Ao Po Grand Marina 113/1 หมู่ 6 อ่าวปอ ภูเก็ต โทร. 081-766-1799 www.leopardcatamarans.com Royal Phuket Marina 68 หมู่ 2 ถนนเทพกระษัตรี ภูเก็ต โทร. 076-379-397 www.royalphuketmarina.com
OPTIMISE | APRIL 2016
55
LIVING SPACE
01
Against the Flow ท่ามกลางกระแสการหวนคืนสู่ริมแม่น้ำ� แนวทางการพัฒนา แบบเริ่มจากรัฐ ปะทะแนวทางการพัฒนาแบบเริ่มจากชุมชน
คนเมืองกำ�ลังโหยหาอะไร ทีต่ รงกันข้ามกับการใช้ ชีวติ ในเมือง การกลับมา ทีแ่ ม่นำ้ �ก็เหมือนกับการไป เทศกาลนอกเมือง มันผ่อนคลาย ดังนัน้ การ อยูท่ น่ี น่ี บั ว่าเป็นความ หรูหราอย่างหนึง่ 01 สายน้ำ�เจ้าพระยาที่เคยถูกหลงลืมจากการ พัฒนาเมือง กำ�ลังกลับมาเป็นสถานที่ ยอดนิยมอีกครั้งหนึ่ง
ณ พื้นที่ต่ำ�กว่าระดับน้ำ�ในแม่น้ำ�เจ้าพระยาลงไป 12 เมตร โดยมีประตูน้ำ�ทำ�ด้วยเหล็กหนาเป็นเมตรคอย กันน้ำ�ไม่ให้ทะลักเข้ามา กลุ่มหนุ่มสาววัย 20 กว่าๆ ผู้สะพายกระเป๋าผ้าใบ สวมแว่นดีไซเนอร์ และห้อย กล้องทรงย้อนยุคต่างกำ�ลังนั่งเล่นกันในอู่ต่อเรือเก่า ของกองทัพเรือ ส่วนในอู่ถัดไป Yellowfang เกิร์ลกรุ๊ป ขวัญใจขาร็อคกรุงเทพฯ ก็กำ�ลังเล่นเพลงอินดี้เพราะๆ จากดาดฟ้าเรือให้ผู้ชมที่มาฟังกันอย่างแน่นขนัด โดยมี บูธขายเบอร์เกอร์ ซี่โครงย่าง คราฟท์เบียร์ และเสื้อผ้า แฟชั่น พยายามแย่งความสนใจอยู่เต็มแนวริมน้ำ� นี่คือบรรยากาศของงาน The Great Outdoor Market ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นที่อู่ต่อเรือกรุงเทพฯ หรือ Bangkok Docklands เมื่อเดือนธันวาคมเมื่อปีที่ แล้ว โดยงานลักษณะนี้ผนวกกับบรรดาคาเฟ่ ร้านค้า และแกลเลอรี่เกิดใหม่อีกเป็นจำ�นวนมากนี่เองที่เป็น สัญญาณบอกให้รู้ว่าแม่น้ำ�เจ้าพระยา ซึ่งถูกคนกรุง ละเลยมาตลอด 30-40 ปีที่ผ่านมา บัดนี้กำ�ลังกลับ มาเป็นสถานที่ยอดนิยมอีกครั้ง กระนั้น ท่ามกลาง บรรยากาศคึกคักดังกล่าว อนาคตในระยะยาวของ เจ้าพระยากลับยังอึมครึม ด้วยแนวคิดการพัฒนา ริมแม่น้ำ�ที่ยังไม่ลงรอย
กระแสน้ำ�ที่ไหลคืน
หากเป็นเมื่อ 2 ปีก่อน การที่คนจะมารวมตัวกัน ริมแม่นํ้าอย่างในงานเดอะ เกรท เอาต์ดอร์ มาร์เก็ตนั้น คงเกิดขึ้นไม่ได้ง่ายๆ เพราะแม้เจ้าพระยาจะเคยเป็น เส้นเลือดใหญ่ของเมืองที่ได้ชื่อว่า ‘เวนิสตะวันออก’ อย่างกรุงเทพฯ แต่นับวันการเจริญเติบโตอย่าง พุ่งพรวดในแถบสีลมและสุขุมวิทในช่วงปี 2510 เป็นต้นมาก็ทำ�ให้แม่น้ำ�หมดบทบาทในชีวิตคน กรุงเทพฯ มากขึ้นทุกที จริงอยู่ ตึกรามหน้าตาโก้ขรึม
56
OPTIMISE | APRIL 2016
ในแบบยุคอาณานิคมยังฟ้องถึงความรุ่งโรจน์ในอดีต อีกทั้งคนทำ�งานอีกจำ�นวนมากก็ยังอาศัยเรือข้ามฟาก เที่ยวละ 3 บาทเพื่อหนีรถติด กระนั้น โดยส่วนมากแล้ว พื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำ�ดูเหมือนจะมีไว้เพียงเพื่อสร้างโรงแรม 5 ดาวและคอนโดสำ�หรับชาวต่างชาติ ซึ่งสุดท้ายก็ล้วน เตรียมเรือไว้คอยส่งแขกไปขึ้นรถไฟฟ้าเพื่อมุ่งหน้าไป สู่เส้นเลือดที่แท้จริงของกรุงเทพฯ กล่าวคือสีลมและ สุขุมวิทอยู่ดี อย่างไรก็ตาม การเปิดตัวโครงการ The Jam Factory ในเดือนธันวาคมปี 2556 ดูเหมือนจะเป็น จุดเปลี่ยน เพราะผลงานของสถาปนิกคนดัง ดวงฤทธิ์ บุนนาค แห่งนี้ มีการผสมผสานร้านอาหาร ร้านหนังสือ และแกลเลอรี่งานศิลปะเข้าด้วยกันอย่างลงตัวจน สามารถล่อใจวัยรุ่นคูลๆ ที่ปกติจะพบแต่ตามบาร์ ย่านทองหล่อให้มาเที่ยวเล่นแถวนี้แทนได้ ขนาดร้าน อาหารในโครงการนี้ กล่าวคือร้าน The Never Ending Summer ยังแทบจะกลายเป็นต้นฉบับของร้านและ คาเฟ่แนว ‘ฮิป’ อีกเป็นจำ�นวนมาก ด้วยการแต่งร้าน สไตล์อินดัสเทรียล ผนังสีด่างๆ และเฟิร์นห้อยจาก เพดาน กระนั้น สิ่งเดียวที่ร้านอื่นไม่อาจลอกเลียน เดอะ แจม แฟกตอรีได้ก็คือทำ�เล “วันนี้อากาศดีมาก ผมนั่งอยู่บนม้านั่งแล้วมองดู พระอาทิตย์ตก เยี่ยมเลย ผมฝันว่าจะมาที่นี่มานาน มากแล้ว ดังนั้นพอมีคนเสนอโอกาสให้ ผมก็ไม่ลังเล” นักสถาปนิกผมสีเงินแต่งตัวเท่ผู้นี้กล่าว แน่นอนว่าเป็นเรื่องยากที่จะได้เห็นสนามหญ้า กว้างๆ โกดังโรงงานนํ้าแข็งเก่า และต้นไทรใหญ่ยักษ์ อย่างของเดอะ แจม แฟกตอรี่ในย่านธุรกิจกลางตัว เมืองอันคับแคบได้ โดยในขณะที่ผู้มารับประทาน อาหารที่ เดอะ เนเวอร์ เอ็นดิ้ง ซัมเมอร์นั่งชมเรือบรรทุก เรือหางยาว และเรือข้ามฟากแล่นผ่านไปมาอย่างไม่
ขาดสาย ทุกคนยังสามารถย้อนกลับไปวัยเด็กได้ด้วย เมนูอย่างไข่พะโล้และน้ำ�พริกลงเรือ ส่วนคนทำ�งานก็ อาจปลดปล่อยความเก็บกดจากสัปดาห์แห่งการเผา งานได้ด้วยค็อกเทลสร้างสรรค์ที่มีส่วนผสมหลักเป็น ยาดอง ดวงฤทธิ์กล่าวว่า “ผมคิดว่าคนเมืองกำ�ลังโหยหา อะไรที่ตรงกันข้ามกับการใช้ชีวิตในเมือง เห็นได้จาก การออกไปชานเมืองหรือออกไปงานเทศกาลกลายเป็น อะไรที่ฮิตไปแล้ว การกลับมาที่แม่น้ำ�ก็เหมือนกับการ ไปเทศกาลนอกเมือง มันผ่อนคลาย ดังนั้นการอยู่ที่นี่ นับว่าเป็นความหรูหราอย่างหนึ่ง”
คลื่นความคิดสร้างสรรค์
แม้ว่าเดอะ แจม แฟกตอรี จะไม่ได้ถึงกับเปลี่ยน ให้ธนบุรีกลายเป็นศูนย์กลางความฮิปของกรุงเทพฯ แต่ก็สามารถขยับหัวใจของชาวกรุงให้ใกล้แม่น้ำ�เข้ามา อีกไม่น้อย ดังจะเห็นได้จากที่นิตยสารไลฟ์สไตล์ราย สัปดาห์ BK Magazine ขนานนามว่าเจริญกรุงเป็น The Coolest Place to Be เมื่อธันวาคมปีที่แล้ว ตามมาติดๆ ด้วยงานเดอะ เกรท เอาต์ดอร์ มาร์เก็ต ครั้งแรก แต่ถึงตอนนี้ก็ยังไม่สายไปที่จะร่วมค้นหาย่าน นี้ไปพร้อมๆ กับเหล่าฮิปสเตอร์ เพียงขึ้นเรือข้ามฟาก เที่ยวละ 3 บาทที่เดอะ แจม แฟกตอรี่ไปลง River City จากนั้นก็จะพบกับถนนเจริญกรุงที่มุ่งสู่เยาวราช ซึ่งได้ เริ่มมีชื่อในฐานะ Creative District หรือย่านศิลป์ของ กรุงเทพฯ อันเนื่องมาจากบรรดาบาร์ แกลเลอรี่ หรือ ลูกผสมของทั้งสองอย่างที่กระจัดกระจายอยู่ภายใน ย่านตึกแถวจากครั้งอดีต ใกล้ๆ กับท่าเรือ เราจะพบกับ Speedy Grandma แกลเลอรี่แหวกแนวสำ�หรับศิลปินนอกกระแส ที่มีงาน เปิดตัวศิลปะแต่ละครั้งก็มักจะเป็นปาร์ตี้สุดเหวี่ยงที่
OPTIMISE | APRIL 2016
57
LIVING SPACE
โครงการอย่างนี้ควรต้อง ศึกษาก่อน โครงการ พัฒนาเขตริมฝั่งน้ำ� ในอัมสเตอร์ดัมยังใช้ เวลาศึกษาถึง 10 ปี โครงการอย่างนี้ มีผู้ถือผลประโยชน์ร่วม หลายฝ่าย ต้องระวังมาก เราไม่ได้ต่อต้านโครงการ เราต่อต้านกระบวนการ ที่ไม่ถูกต้อง
02
03 รวมคนแหวกแนวจากทุกสารทิศ ถัดจากนั้น เดินข้าม คลองไปก็จะพบกับ Soy Sauce Bar โรงงานซีอิ๊วเก่า แปลงเป็นบาร์ที่เคยได้จัดงานแสดงภาพถ่ายทรงพลัง และมีสตูดิโอชั้นบนให้จิตรกรเช่า (ถ้าศิลปินคนนั้นรับ ได้กับผ้าปูที่นอนขึงพาเลตไม้) ถัดไปอีกที่หัวมุมถนน ก็มี Soulbar ซึ่งทุกคืนจะมีศิลปินมาแสดงดนดรีแนว โซลและบลูส์ท่ามกลางเครื่องเครารถยนต์เก่าๆ ที่ถูก กว้านแถวจากตลาดน้อยมาแต่งร้าน ทั้งหมดนี้ทำ�ให้ดู เหมือนว่ากรุงเทพฯ กำ�ลังมีย่านศิลปินเป็นของตัวเอง ไม่ผิดอะไรกับย่านโซโหในมหานครนิวยอร์กช่วงยุค ‘70 ดวงฤทธิ์กล่าวถึงโครงการริเริ่ม Creative District ว่า “ผมตื่นเต้นมากๆ ทุกๆ เดือน คนจากแกลเลอรี่ โรงแรม และคาเฟ่ รวมทั้งคนจากชุมชนคลองสานและ บางรักจะมารวมตัวกันพูดคุยกัน เรามีโปรเจคมากมาย เราเพิ่งร่วมงานกับ ‘บุกรุก’ ซึ่งเป็นหนึ่งในเทศกาล จัดแสดงศิลปะแนวสตรีทอาร์ตที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และเรายังมีโปรเจค Brilliant Bangkok ซึ่งเป็น lighting festival ที่จะทำ�ให้พื้นที่ริมแม่น้ำ�สว่างไสวขึ้น มาในช่วงปลายปีอีกด้วย” ฟันเฟืองหลักของความคิดสร้างสรรค์ที่กำ�ลัง ขับเคลื่อนอยู่ขณะนี้ คือศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (Thailand Creative and Design Center หรือ TCDC) ซึ่งมีกำ�หนดย้ายไปที่อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก ในปี 2560 โดยทีซีดีซีมีแผนจะเช่าที่ขนาด 8,000-9,000 ตารางเมตร เพื่อจัดเป็นนิทรรศการพื้นที่ ทำ�งานสำ�หรับสตาร์ทอัพ และแหล่งให้บริการจับคู่
58
OPTIMISE | APRIL 2016
ธุรกิจ แต่ Shma Designs หนึ่งในบริษัทภูมิสถาปนิก ผู้รับผิดชอบการออกแบบทีซีดีซีกล่าวว่าความจริงแล้ว แผนของพวกเขาครอบคลุมย่านทั้งย่านเลยทีเดียว ยศพล บุญสม หนึ่งในกรรมการผู้จัดการของ ฉมา ดีไซนส์ กล่าวว่า “ทีซีดีซีไม่ได้ต้องการแค่ย้ายมา อยู่ที่นี่คนเดียวโดดๆ เขาอยากมาปฏิรูปย่านนี้ใหม่หมด ทั้งย่าน เราได้ศึกษาพื้นที่ทั้งหมดแล้ว เพื่อชี้ว่าจุดไหน ไม่เวิร์ค อย่างแรกเลย เรามองหาปัญหาทางโครงสร้าง แล้วเราก็ไปหาคนมากลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในย่านนี้ ทั้งคนขายอาหารข้างทาง คนในชุมชนเก่า นักศึกษา เอแบค และเจ้าของแกลเลอรี่ แล้วเราก็ทำ�เวิร์คช็อป เพื่อฟังความคิดเห็นของเขา”
ฟื้นฟูอย่างไม่ยัดเยียด
ไม่ใช่ทุกคนจะอดทนพอจะทำ�งานละเอียดอย่าง ที่ยศพลทำ� และเจ้าของคาเฟ่เล็กๆ ก็ไม่ใช่คนกลุ่ม เดียวที่เล็งทำ�เลริมแม่น้ำ�เจ้าพระยา ตั้งแต่ปี 2555 โครงการ Asiatique the Riverfront ได้เปิดศักราชของ พื้นที่ค้าขายสเกลใหญ่ริมแม่น้ำ� เพราะพื้นที่กลางแจ้ง ที่รวมความบันเทิง ร้านอาหาร และร้านค้าเข้าไว้ด้วย กันอย่างนี้ได้นำ�ไปสู่โครงการคอมมูนิต้ี มอลล์อีกหลาย โครงการ ไม่ว่าจะเป็น ‘ท่ามหาราช’ ‘ริเวอร์ไซด์ พลาซ่า’ หรือ ‘ยอดพิมาน ริเวอร์วอล์ค’ ตลอดจนโครงการพื้นที่ แบบผสม (mixed use) อย่าง Icon Siam ซึ่งมีมูลค่า ลงทุนถึง 5 หมื่นล้านบาท และกำ�หนดจะเปิดในปี 2560 นี้ด้วย อย่างไรก็ตาม ในบรรดาโครงการทั้งหมด ไม่มีโครงการใดถูกวิพากษ์วิจารณ์หนาหูเท่ากับ
04 โครงการทางเลียบแม่น้ำ�เจ้าพระยายาว 7 กิโลเมตร ที่กรุงเทพมหานคร วางแผนจะสร้างขนานสองฟาก แม่น้ำ� ตั้งแต่สะพานพระราม 7 ไปจนถึงสะพาน สมเด็จพระปิ่นเกล้า โครงการดังกล่าว ซึ่งเดิมทีมีกรอบงบประมาณ 1.4 หมืน่ ล้านบาท ได้ถกู ตำ�หนิอย่างรุนแรงว่าสิน้ เปลือง ขาดการศึกษาอย่างรอบด้าน เป็นอันตรายต่อ สิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังน่าเกลียด ดวงฤทธิ์ เป็นฝ่าย ต่อต้านที่วิจารณ์โครงการนี้อย่างเผ็ดร้อน และยศพล ก็เป็นสมาชิกสำ�คัญในกลุ่ม Friends of the River ซึ่ง อุทิศตัวเพื่อยับยั้งโครงการนี้ ดวงฤทธิ์กล่าวว่า “โครงการอย่างนี้ควรต้องศึกษา ก่อน โครงการพัฒนาเขตริมฝั่งน้ำ�ในอัมสเตอร์ดัมยังใช้ เวลาศึกษาถึง 10 ปี โครงการอย่างนีม้ ผี ถู้ อื ผลประโยชน์ ร่วมหลายฝ่าย ต้องระวังมาก เราไม่ได้ต่อต้านโครงการ เราต่อต้านกระบวนการที่ไม่ถูกต้อง กระบวนการที่ดี ควรทำ�โดยผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการ แต่เขาจะเริ่ม สร้างในเดือนตุลาคมแล้ว ซึ่งอะไรแบบนี้ไม่ใช่เรื่องที่จะ ศึกษาภายใน 6-7 เดือนได้” ยศพลเห็นด้วย “เราต่อต้านรูปแบบโครงสร้างของ โครงการนี้ แม่น้ำ�เจ้าพระยาไม่ได้เป็นแม่น้ำ�กว้าง มันกว้างแค่ 150-200 เมตรเท่านั้น แล้วเขายังต้องการ ให้มีโครงสร้างคอนกรีตในแม่น้ำ�อีก ซึ่งจะทำ�ลายระบบ นิเวศ และสูงมากจนบดบังทัศนียภาพของทั้งวัดและ พระราชวัง ยิ่งกว่านั้น มันไม่ได้ออกแบบมาเพื่อคน ทุกกลุ่ม ความจริงเขาควรถามประชาชนว่า เราจะ
พัฒนาแม่น้ำ�อย่างไรดี แต่ปรากฏเขามาพร้อมธงคำ�ตอบในใจ ก่อนแล้ว” เมื่อปะทะเข้ากับแรงต้าน กทม.ได้ถอยกลับไปตั้งหลัก ใหม่ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยสัญญาว่าจะศึกษา ประเมินผลกระทบก่อน นอกจากนี้ กทม. ยังจัดการกับ ข้อกังวลว่าทางเลียบกว้างเกินไป โดยลดความกว้างลงจาก 20 เมตร เหลือ 15 เมตร และตัดงบประมาณลงเหลือ 1 หมื่นล้านบาท ในเดือนมกราคม กทม. ได้ประกาศจ้างให้ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มาทำ�การศึกษาประเมินผลกระทบ โดยมีงบ 120 ล้านบาท และมีกำ�หนดเสร็จสิ้นในเดือนสิงหาคมนี้ โดยการศึกษาจะ ครอบคลุมถึงแผนหลัก (master plan) ที่จะสร้างทางเลียบ ฝั่งละ 25 กิโลเมตร ตั้งแต่สะพานพระราม 3 ไปจนถึงสะพาน พระนั่งเกล้า รวมทั้งแผนในระยะที่ 1 ที่จะสร้าง Riverside Promenade หรือทางเลียบระยะทางฝั่งละ 7 กิโลเมตรไว้เป็น ทางให้คนเดินเล่นพักผ่อนหย่อนใจ ผศ. ดร. นิรมล กุลศรีสมบัติ ผู้อำ�นวยการศูนย์ออกแบบ และพัฒนาเมือง (Urban Design and Development Center หรือ UddC) เป็นหนึ่งในผู้ที่เชื่อว่า กทม. ควรทำ� โครงการฟื้นฟูแม่น้ำ�ในแบบที่เล็กและเจาะจงกว่านี้ ทั้งนี้ ยูดีดีซีได้ร่วมมือกับฉมา ดีไซนส์ เสนอแผนสำ�หรับโครงการ ริมน้ำ�ยานนาวาทางตอนใต้ของกรุงเทพฯ นิรมลกล่าวว่า “วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะฟื้นฟูพื้นที่ริมน้ำ� คือเริ่มจากพื้นที่ของรัฐ อย่างกรุงเทพฯ ตอนล่างมีที่ดินแปลงใหญ่จำ�นวนมากที่เป็น ของรัฐ โรงเรียน คลังสินค้า หรือวัด เอาเข้าจริงเราสามารถ สร้างทางเลียบแม่น้ำ�ยาว 1.2 กิโลเมตรในยานนาวา โดยมี 85 เปอร์เซนต์ของเส้นทางอยู่ในเขตที่ดินของรัฐ ศาสนสถาน
และโรงเรียน” นิรมลกล่าวว่าโครงการของเธอจะสร้างทางเลียบยื่น เข้าไปในแม่น้ำ�เพียง 4 เมตรเท่านั้น และเช่นเดียวกับดวงฤทธิ์ และยศพล เธอเน้นถึงความจำ�เป็นที่จะต้องปรึกษาหารือกับ ชุมชนท้องถิ่นให้รอบคอบก่อน “เจ้าของบ้านริมน้ำ�เขากลัวกัน ว่าจะเสียความเป็นส่วนตัวและกลัวเรื่องขโมยขึ้นบ้าน ดังนั้น ต้องคลายความกังวลในเรื่องเหล่านี้ให้ได้ และแสดงให้เขา เห็นศักยภาพของพื้นที่ เช่นว่ามันสามารถกลายเป็นโรงแรม บูติคหรือร้านอาหารได้ แล้วคนยังห่วงเรื่องการบำ�รุงรักษาด้วย ถ้าสร้างเสร็จแล้วจะอย่างไรต่อ” ยศพล แห่ง ฉมา ดีไซนส์ กำ�ลังคิดโครงการฟื้นฟูพื้นที่ ริมน้ำ�ในแบบที่เจาะจง ไม่ปูพรม โดยมุ่งเน้นไปที่ชุมชน ตลาดน้อยก่อนโดยวิธีของยศพลก็คือพยายามสอดร้อย โครงการพัฒนาต่างๆ ให้เข้าไปกับเนื้อของชุมชนเมืองเดิม ดังนั้น ผลที่ได้จึงเป็นโครงการสวนหย่อม ตรอก และทางเท้า แห่งเล็กๆ ที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งจะสามารถชุบชีวิตพื้นที่ ริมนํ้าได้โดยไม่กีดขวางการเข้าถึงแม่น้ำ� ยศพลกล่าวว่า “การที่ กทม. มีความสนใจในแม่น้ำ�นั้น เป็นสิ่งที่ดี เพราะคนกรุงเทพฯ อยู่ในป่าคอนกรีต ซึ่งนอกจาก สวนสาธารณะแล้ว เขาก็มีแต่แม่น้ำ�นี่แหละเป็นพื้นที่ทาง ธรรมชาติอย่างเดียวที่เหลืออยู่ ผมคิดว่าคนไทยผูกพันกับ แม่น้ำ�สายนี้ เพราะเมืองไทยและวิถีชีวิตของคนไทยเกิดจาก แม่น้ำ� แต่สุดท้ายเราก็หักหลังแม่น้ำ� ตอนนี้เป็นเวลาสำ�คัญ ที่ต้องรีบดึงทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม จะเอาอย่างไรกันต่อไป อยากเห็นแม่น้ำ�ทำ�หน้าที่อะไร” นั่นเองดูเหมือนจะเป็นคำ�ถามที่ทุกคนต้องช่วยกันตอบ
05
02 Bangkok Docklands ใช้พื้นที่ริมนํ้า จัดงานสุดคูล 03 โกดังเก่าที่ได้รับการแปลงโฉมเป็นพื้นที่ สุดเท่ของ The Jam Factory 04 ยศพล ผู้ก่อตั้งฉมา ดีไซนส์ และร่วม ทำ�งานกับ Friends of the River 05 พื้นที่ริมน้ำ�ของท่ามหาราช คอมมูนิตี้ มอลล์แห่งใหม่ในย่านเมืองเก่า
Essentials Bangkok Docklands 174/1 ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ โทร. 02-307-8576 www.bangkokdock.co.th Soulbar 945 ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ โทร. 093-220-0441 www.fb.com/ livesoulbarbangkok Soy Sauce Bar 11/1 ซอยเจริญกรุง 24 ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ โทร. 098-956-6549 www.fb.com/soysaucebar Speedy Grandma Gallery 672/52 ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ โทร. 089-508-3859 www.fb.com/ SpeedyGrandma TCDC ชัน้ 24 ตึกเอ็มโพเรียม 622 ซอยสุขมุ วิท 24 ถนนสุขมุ วิท กรุงเทพฯ โทร. 02-664-8448 www.tcdc.or.th The Jam Factory 41/1-5 ถนนเจริญนคร กรุงเทพฯ โทร. 02-861-0950 www.fb.com/ TheJamFactoryBangkok
OPTIMISE | APRIL 2016
59
THE AGENDA
1
3
Phatra Wealth Management จัดงานสัมมนา 2016 Economic Outlook & Asset Allocation Strategy
กลุม่ ธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เผยแผนธุรกิจปี 2559 เดินหน้าตามโมเดลธุรกิจ ทีเ่ น้น 3 ด้านหลัก คือ การเป็น Credit House ทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ต่อยอดธุรกิจ Private Banking ทีบ่ ริษทั หลักทรัพย์ ภัทร มีประสบการณ์มากว่า 15 ปี และรักษาความเป็นผูน้ �ำ ใน ด้าน Investment Banking และจากการทำ�งานอย่างหนักในช่วง 2 ปีทผ่ี า่ นมา ส่งผลให้กลุม่ ธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร มีพน้ื ฐานและโครงสร้างการทำ�งานทีแ่ ข็งแกร่ง และต่อจากนี้ จะเป็นช่วงของการขยายธุรกิจ โดยใช้ประโยชน์จากการลงทุนทุกประเภททีท่ �ำ ไป โดยตัง้ เป้า ว่าสินเชือ่ รวมจะขยายได้ราว 15 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามยังคงมีเรือ่ งภัยแล้ง ภาวะเศรษฐกิจ ของประเทศและของโลกทีย่ งั ต้องระวัง และอาจทำ�ให้การอำ�นวยสินเชือ่ ไม่เป็นไปตามเป้าที่ วางไว้ จากการประเมินของบริษทั หลักทรัพย์ ภัทร คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนจ้ี ะเติบโตได้ระดับ 3.2 เปอร์เซ็นต์ ซึง่ มีแนวโน้มทีด่ ขี น้ึ จากปี 2558 โดยมีอภินนั ท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้า หน้าทีบ่ ริหารและกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ กฤติยา วีรบุรษุ ประธานธุรกิจตลาดทุนและกรรมการ ผูจ้ ดั การใหญ่ บริษทั หลักทรัพย์ ภัทร และชวลิต จินดาวณิค ประธานสายการเงินและงบประมาณ เข้าร่วมให้ขอ้ มูล
Phatra Wealth Management จัดงาน สัมมนา 2016 Economic Outlook & Asset Allocation Strategy เพื่อให้ข้อมูลภาพรวม เศรษฐกิจไทย รวมถึงกลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้น ไทยและการจัดสรรเงินลงทุนสำ�หรับปี 2559 โดย มี ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ธีระพงษ์ วชิรพงศ์ และ ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ร่วมบรรยายใน งานนี้ ซึ่งงานดังกล่าวได้รับการตอบรับเป็นอย่าง ดีจากลูกค้า งานสัมมนาจัดขึ้นที่ ห้องแกรนด์บอล รูม โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ
4
2
ภัทร เปิดตัวบริการใหม่ภายใต้แบรนด์ Phatra Edge ตัวช่วยทุกเรือ่ งการลงทุน เน้นกลุม่ Mass Affluent
บริษทั หลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวบริการใหม่ ภายใต้แบรนด์ Phatra Edge ตัวช่วยทุกเรือ่ งการลงทุน โดยมีกลุ นันท์ ซานไทโว กรรมการ ผูจ้ ดั การและหัวหน้าสายงานลูกค้าบุคคล ร่วมแถลงข่าว ณ โรงแรม ดิโอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ Phatra Edge เป็นบริการทีป่ รึกษาวางแผนการลงทุนส่วนตัวให้กบั กลุม่ Mass Affluent หรือผูท้ ม่ี เี งินลงทุนตัง้ แต่ 2-30 ล้านบาท โดยเป็นตัวช่วยในทุกเรือ่ ง การลงทุนทีค่ รบครันทัง้ ‘เครือ่ งมือ’ และ ‘คำ�แนะนำ�’ เป็นผลรวมทีผ่ สานกันอย่างลงตัว ระหว่างประสบการณ์และความเป็นมืออาชีพในการเป็นทีป่ รึกษาการลงทุนของ บริษทั หลักทรัพย์ ภัทร กับความแข็งแกร่งของธนาคารเกียรตินาคิน ในเรือ่ งช่องทาง ดูแลลูกค้ารายใหญ่ ทัง้ นี้ Phatra Edge ยังเปิดตัวหนังโฆษณาแนวใหม่ดว้ ย คอนเซ็ปต์ ‘ตัวช่วยทีด่ ี พลังการลงทุนเหนือกว่าใคร’ ซึง่ ถือเป็นมิตใิ หม่ของหนังโฆษณาของสถาบันการเงิน เพือ่ เจาะกลุม่ ลูกค้านักลงทุนยุคใหม่ทม่ี องหาตัวช่วยทีด่ ใี นการลงทุน รับชมได้ทางสือ่ online media ต่างๆ ได้แล้ววันนี้ หรือติดตามชมได้ท่ี www.phatraedge.com
60
OPTIMISE | APRIL 2016
กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร รุกสินเชื่อรายย่อย-พัฒนา ช่องทางใหม่ พร้อมจับกลุ่มลูกค้ามั่งคั่ง ขยายพอร์ตการลงทุนเพิ่ม
ธนาคารเกียรตินาคิน เปิดตัวสินเชื่อ KK SME รถคูณสาม
อภินนั ท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารและกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ ธนาคาร เกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารพร้อมทีจ่ ะสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอีของประเทศ เพือ่ ช่วยเพิม่ ทางเลือกในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผูป้ ระกอบการรายเล็ก ซึง่ สอดคล้องกับนโยบาย รัฐบาลทีต่ อ้ งการกระตุน้ เอสเอ็มอี ล่าสุด ได้ออกผลิตภัณฑ์ทางการเงิน สินเชือ่ KK SME รถคูณสาม เป็นครัง้ แรกของสถาบันการเงินไทยทีใ่ ช้รถยนต์ค�ำ้ ประกัน โดยได้ทดลองตลาดผลิตภัณฑ์อย่างไม่ เป็นทางการเมือ่ ปลายเดือนมกราคมทีผ่ า่ นมา ได้รบั การตอบรับอย่างดี เชือ่ ว่าผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์ ลูกค้าเอสเอ็มอีได้ตรงจุด มีการให้วงเงินสูงสุด 3 เท่าของมูลค่ารถยนต์ทค่ี �ำ้ ประกัน ยืน่ ขอสินเชือ่ ได้สงู สุด 3 คันต่อลูกค้าหนึง่ ราย ให้วงเงินตัง้ แต่ 4 แสน - 5 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบีย้ ประมาณ 14-15 เปอร์เซนต์ ระยะเวลาการผ่อนชำ�ระ 24 - 60 เดือน โดยมีการค�ำ้ ประกันวงเงินสินเชือ่ จาก บรรษัทประกันสินเชือ่ อุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ทีไ่ ด้รบั สิทธิยกเว้นค่าธรรมเนียมอยูใ่ นขณะนี้
5
ธนาคารเกียรตินาคินและสถาบันการเงิน 5 แห่ง ลงนามสนับสนุน ทรู คอร์ปอเรชัน่ ออกหนังสือค้ำ�ประกันใบอนุญาตคลืน่ ความถี่ 900 MHz
ธนาคารเกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) โดยอภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ และนรเชษฐ์ แสงรุจิ ประธานสายสินเชื่อบรรษัท ร่วมกับสถาบัน การเงินอีก 5 แห่ง ได้แก่ ธนาคารไอซีบีซี ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ในพิธีลงนามการออกหนังสือค้ำ�ประกัน ให้กับ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำ�กัด บริษัทในกลุ่ม บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น เพื่อนำ�ไปยื่นพร้อมการชำ�ระค่า ใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 MHz ที่กลุ่มทรู ชนะการประมูลเมื่อเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมาให้ กับทางสำ�นักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ
OPTIMISE | APRIL 2016
61
6
ธนาคารเกียรตินาคินและมูลนิธิเกียรตินาคิน ร่วมตัดสินการแข่งขันนำ�เสนอแผนธุรกิจ Kiatnakin Bank 99-Second Pitch ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประกวดแผนธุรกิจ The mai Bangkok Business Challenge @ Sasin 2016
ธนาคารเกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) และ มูลนิธิเกียรตินาคินสนับสนุนการจัดประกวดแผน ธุรกิจภาษาอังกฤษ The mai Bangkok Business Challenge @ Sasin 2016 ซึ่งจัดโดยสถาบันบัณฑิต บริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ โดยในปีนี้ กฤติยา วีรบุรุษ ประธานธุรกิจตลาดทุน กลุ่มธุรกิจ การเงินเกียรตินาคินภัทร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) เป็นผู้แทน ของธนาคารมอบเงินสนับสนุนโครงการนี้ให้กับ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ซึ่งมีศาสตราจารย์ ดร. เกื้อ วงศ์บุญสิน รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผูแ้ ทนรับมอบ ในวันแถลงข่าว นอกจากนี้ วิธพล เจาะจิตต์ รองกรรมการ
62
OPTIMISE | APRIL 2016
ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคินและกรรมการ มูลนิธิเกียรตินาคิน ได้ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน การแข่งขันรอบ Kiatnakin Bank 99-Second Pitch และในพิธีปิดการแข่งขัน ฐิตินันท์ วัธนเวคิน กรรมการธนาคารและรองประธานกรรมการมูลนิธิ เกียรตินาคิน เป็นผู้แทนรับมอบโล่เกียรติคุณ ผู้สนับสนุนการจัดแข่งขันจากพลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ผู้แทนพระองค์ใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ณ สถาบันบัณฑิต บริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้แสดงความยินดีกับทีมที่ได้รับรางวัลต่างๆ ทั้งนี้ ธนาคารและมูลนิธิเกียรตินาคินได้ สนับสนุนการประกวดแผนธุรกิจ The mai Bangkok Business Challenge @ Sasin มาเป็นปีที่ 14
โดยกำ�หนดให้เป็นการสนับสนุนต่อเนื่องภายใต้ โครงการพัฒนาคน พัฒนาชาติ กับเกียรตินาคินภัทร เพื่อนำ�ความรู้ความเชี่ยวชาญทางธุรกิจของบุคลากร ของกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ไปส่งเสริม การเรียนรู้วิธีจัดทำ�และนำ�เสนอแผนธุรกิจให้กับ ผู้เข้าแข่งขันและผู้ประกอบการใหม่ และสร้างโอกาส ให้นิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมการแข่งขันได้ทดสอบ ความรู้ที่เรียนมาผ่านการนำ�เสนอแผนธุรกิจต่อ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงการสนับสนุน การให้นิสิตนักศึกษาได้สร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ กับเพื่อนจากนานาชาติ เพื่อส่งเสริมการพัฒนา ด้านเศรษฐกิจให้กับสังคมอันเป็นแนวทางแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร
*Phatra Edge บริการสำหรับนักลงทุนที่มีเงินลงทุนตั้งแต 2 ลานบาทขึ้นไป
OPTIMISE | APRIL 2016
63
Optimise04.indb 64
3/24/16 3:02 PM