Optimise 8

Page 1

OPTIMISE | ISSUE 08 APRIL 2017

Issue 08 April 2017

KIATNAKIN PHATRA FINANCIAL GROUP

The Power of One

‘ตูน Bodyslam’ กับพลังของ การเปลี่ยนแปลงทีละหนึ่งก้าว



ADVANCE NOTICE

Welcome to Optimise ปัญหาต่างๆ ของเมืองไทยดูเหมือนจะเชือ่ มโยงกันไปหมด ยกตัวอย่างเช่นปัญหาพฤติกรรมของวัยรุน่ เบือ้ งต้นอาจพบว่ามีสาเหตุมาจาก ปัญหาคุณภาพการศึกษา แต่เมือ่ ไปดูปญ ั หาการศึกษา ก็จะพบว่ามีไม่นอ้ ยเกิดขึน้ มา จากความบิดเบือนทางนโยบาย ซึง่ ก็เป็นผลต่อเนือ่ งมาจากปัญหาการทุจริตติดสินบน อีกทอดหนึง่ ฯลฯ ปัญหาทีเ่ ริม่ แรกดูคล้ายด้ายรุย่ ๆ เส้นเดียว พอสาวไปสาวมาจึงอาจ กระทบผ้าได้ทง้ั ผืน สภาพสังคมอย่างนีม้ กั ไม่คอ่ ยเอือ้ ให้คนมีแก่ใจลุกขึน้ มาทำ�อะไร เพราะเห็นว่า ปัญหาทัง้ หลายเชือ่ มโยงยิง่ ใหญ่เกินกำ�ลังจะแก้ได้ดว้ ยตัวคนเดียว หนักเข้ากว่านัน้ ก็ นำ�ไปสูอ่ าการด้านชา คือทำ�ให้พลอยไม่ตน่ื เต้นหรือสนับสนุนเวลาเห็นคนอืน่ ลุกขึน้ มา ทำ�อะไรด้วย โชคยังดีทน่ี านๆ ที ความด้านชานีข้ องสังคมก็จะถูกสัน่ คลอนโดยบุคคลอย่าง คุณ ‘ตูน บอดีส้ แลม’ ผูแ้ สดง The Power of One ให้สงั คมได้ประจักษ์วา่ คนๆ หนึง่ ทีก่ ม้ หน้าก้มตาทำ�ในสิง่ ทีต่ วั เองเชือ่ ไปแบบไม่เห็นฝัง่ อาจสร้างการเปลีย่ นแปลงใน ระดับทีใ่ หญ่กว่าตัวเองจะคาดการณ์ได้ และสำ�หรับหลายๆ กรณี ความพยายามแค่นน้ั ก็เพียงพอแล้วทีจ่ ะหยุดผ้าไม่ให้รยุ่ ไปจนหมดผืน Optimise ฉบับนีจ้ งึ มุง่ เฉลิมฉลองพลังของคนๆ เดียว ไม่วา่ จะเป็นบทสัมภาษณ์ คุณตูน (‘One Step Closer’) เรือ่ งราวของเชฟส่วนตัวทีอ่ อกมาทำ�บริการอาหารโดยไม่ พึง่ ร้าน (‘Kitchen Confidential’) หรือแม้กระทัง่ ชาว 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ผพู้ ร้อม จะแก้ไขปัญหาทีต่ วั เองพานพบโดยไม่จ�ำ ต้องรอความพร้อมของสถานการณ์ (‘Deeply Southern’) คงไม่มใี ครยืนยันได้วา่ The Power of One จะแก้ไขปัญหาได้มากแค่ไหน หรือเป็น ไปได้ในทุกกรณีหรือไม่ แต่นน่ั ไม่ใช่ปญ ั หาของผูท้ เ่ี ชือ่ ใน ‘พลังแห่งหนึง่ ’ เพราะดูเหมือน ความต่างระหว่างบุคคลกลุม่ นีก้ บั กลุม่ อืน่ มีอยูอ่ ย่างเดียวเท่านัน้ คือ ในขณะทีค่ นทัว่ ไปจะใช้โอกาสของความสำ�เร็จเป็นตัวกำ�หนดระดับความ พยายาม บุคคลเหล่านีจ้ ะใช้ความพยายามนีเ่ องเป็นตัวกำ�หนดโอกาสสำ�เร็จ ธนกร จ๋วงพานิช บรรณาธิการ

OPTIMISE | APRIL 2017

03


Contents 06

24

36

เศรษฐกิจไทย: ฝากความหวังไว้กับ EEC

Kitchen Confidential

Grabbing opportunity

เมื่อเหล่า ‘เชฟส่วนตัว’ ไปเยือนถึงบ้าน เพื่อมอบประสบการณ์รับประทานอาหาร อย่างใกล้ชิดและเลิศหรู

Portfolio for Property Financing (PPF) ผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อประโยชน์สูงสุด จากอสังหาริมทรัพย์

ECONOMIC REVIEW

08

FULL FLAVORS

INVESTMENT REVIEW

SERVING YOU

New Wave

ของสะสม-อีกหนึ่ง การลงทุนทางเลือก

KK NeXtGen Program: From Study to Success III โครงการบ่มเพาะ ทายาทธุรกิจเพือ่ โลกทีผ ่ นั เปลีย่ นในวันข้างหน้า

40

CLIENT VALUES

12

OPTIMUM VIEW

One Step Closer ‘ตูน Bodyslam’ กับแต่ละหนึ่งก้าวเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงมหาศาล

Harnessing Science ชนรรค์ สมบูรณ์เวชชการ กับการใช้นวัตกรรมสานต่อมรดก 70 ปี ของอ้วยอันโอสถ

30

STATE OF THE ARTS

Unseen Siam นัยสำ�คัญของภารกิจอนุรักษ์มรดกภาพถ่าย ของชาติท่ามกลางสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น ไม่เป็นใจ

46

BEYOND BOUNDARIES

Deeply Southern ชาวจังหวัด 3 ชายแดนภาคใต้ผนึกกำ�ลัง ถ่ายทอดความงดงามทางวัฒนธรรมและ ธรรมชาติเพื่อแสดงแก่ผู้คนทั่วราชอาณาจักร 04

OPTIMISE | APRIL 2017


52

THE GOOD LIFE

Staying Power คลินิกเวชศาสตร์ชะลอวัยให้คำ�สัญญาจะเอาชนะ ความสึกหรอตามธรรมชาติท่ามกลางการก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุของไทย

58

THE FAST LANE

Plugged in แรงจูงใจและความเข้าใจของผู้บริโภค คือคำ�ตอบ ของการยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยไปสู่ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า

Team ที่ปรึกษา บรรยง พงษ์พานิช อภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ภัทรพร มิลินทสูต บรรณาธิการที่ปรึกษา ผกาภรณ์ บุณยัษฐิติ บรรณาธิการ ธนกร จ๋วงพานิช จัดทำ�โดย สำ�นักสื่อสารองค์กรกลุ่มธุรกิจ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ผลิตโดย

Asia City Media Group www.asiacity.com

62

LIVING SPACE

Urban Experiment การพัฒนาพื้นที่สามย่านของจุฬาฯ นำ�ไปสู่คำ�ถาม ว่านี่คืออีกหนึ่งแผนพัฒนาย่านธุรกิจหรือโครงการ บุกเบิกพื้นที่สาธารณะอย่างแท้จริง

68

Contact กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร 209 อาคาร เคเคพี ทาวเวอร์ ถนนสุขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร. 02 165 5555

www.kiatnakinphatra.com E-mail: corporate.communications@kiatnakin.co.th

THE AGENDA

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 โดยกลุ่มธุรกิจการเงิน เกียรตินาคินภัทร ห้ามนำ�ส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้ไปลอกเลียนแบบ ทำ�สำ�เนา ถ่ายเอกสาร หรือนำ�ไปเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต และเครือข่ายต่างๆ ไม่ว่าในรูปแบบใดๆ นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางบริษัทเท่านั้น OPTIMISE | APRIL 2017

05


06

OPTIMISE | APRIL 2017


ECONOMIC REVIEW การลงทุนของภาครัฐและเอกชน ในการนำ�พา ประเทศไทยไปสูเ่ ศรษฐกิจ 4.0 ภาครัฐประกาศ ว่าจะให้ EEC มีผลในทางปฏิบตั ติ ง้ั แต่ครึง่ หลัง ของปีนเ้ี ป็นต้นไป และหากทำ�สำ�เร็จก็คงคาด หวังว่าจะทำ�ให้เศรษฐกิจไทยขับเคลือ่ นและ ขยายตัวทีร่ ะดับ 5% ต่อปีไปได้อกี เป็นเวลา 20-30 ปี ดังทีเ่ คยเกิดขึน้ แล้วเมือ่ 35 ปีกอ่ นหน้า โดย EEC จะต่อยอด Eastern Seaboard เดิม ซึง่ ผมขอสรุปในเบือ้ งต้นดังนี้ (โดยจะประสบ ความสำ�เร็จดังคาดหรือไม่กจ็ ะต้องรอพิสจู น์ ภายในปลายปีน)้ี ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ 1. จะยึด ‘คันไซ’ โมเดลของญีป่ นุ่ ซึง่ อ้างว่า กรรมการผู้จัดการ และหัวหน้าสายงานวิจัย นักลงทุนญีป่ นุ่ มีความคุน้ เคยและหลักการของ บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) นายกรัฐมนตรีอาเบะคือ ให้ฝา่ ยต่างๆ ร่วมมือกัน ลดอุปสรรคต่างๆ ทีข่ ดั ขวางการลงทุนทัง้ ในเชิง เศรษฐกิจไทยใน 3-4 ปีทผ่ี า่ นมานัน้ ขยายตัว ปัจจุบนั เศรษฐกิจในประเทศไม่กระเตือ้ งขึน้ ของกฎหมายกฎเกณฑ์และกลุม่ ผลประโยชน์ ต�ำ่ กว่าในอดีตครึง่ หนึง่ กล่าวคือขยายตัว 3-4% มากนัก เห็นได้จากการทีธ่ นาคารไม่คอ่ ยอยาก 2. จะทุม่ เงินลงทุนโครงสร้างพืน้ ฐานถึง 2 โดยทีก่ ารส่งออกไม่ขยายตัวเลย ส่วนหนึง่ เพราะ ขยายการปล่อยกูแ้ ละยังระมัดระวังแม้กระทัง่ การ ล้านล้านบาท ทัง้ ในเรือ่ งของการสร้างถนน รถไฟ ปริมาณการค้าโลกไม่ขยายตัวสูงเช่นแต่กอ่ น ปล่อยสินเชือ่ เพือ่ ซือ้ บ้านทีอ่ ยูอ่ าศัย (มีสดั ส่วน ความเร็วสูง (เพือ่ ขนส่งคน) รถไฟรางคู่ (เพือ่ และอีกส่วนหนึง่ เพราะความสามารถในการ การปฏิเสธสินเชือ่ สูงมากตามทีผ่ ปู้ ระกอบการ ขนส่งสินค้า) สนามบินอูต่ ะเภา ท่าเรือสัตหีบ แข่งขันของไทยเองก็ไม่ได้พฒ ั นาขึน้ มากนัก อสังหาริมทรัพย์กล่าวอ้าง) และการลงทุนภาค (เรือหรู) และขยายท่าเรือแหลมฉบัง/มาบตาพุด ยังอาศัย ‘บุญเก่า’ เมือ่ 35 ปีทแ่ี ล้วคือ การนำ� เอกชนในประเทศก็ไม่ขยายตัว แต่มกี ารขน (เพือ่ ขนส่งสินค้าและก๊าซธรรมชาติเหลว) เอาก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยมาใช้เป็น เงินออกนอกประเทศสุทธิมากถึง 25,000 ล้าน 3. ให้ 3 จังหวัด (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง) พลังงานและวัตถุดบิ ในการสร้างอุตสาหกรรม เหรียญในปีทแ่ี ล้ว การทีป่ ระเทศไทยมีการเกิน เป็นฐานการผลิตกลุม่ สินค้าอุตสาหกรรมเดิม 5 ปิโตรเคมีและสร้างนิคมอุตสาหกรรมที่ Eastern ดุลบัญชีเดินสะพัดมากถึง 10% ของจีดพี ี ประเภทและกลุม่ อุตสาหกรรมใหม่ 5 ประเภท Seaboard เพือ่ การส่งออก ซึง่ เป็นเครือ่ งยนต์ (ประมาณ 40,000 ล้านเหรียญ) มา 2 ปีซอ้ น ตลอดจนสร้างเมืองใหม่ให้บริษทั ยักษ์ใหญ่ ขับเคลือ่ นเศรษฐกิจมานานเกือบ 30 ปี เป็นการสะท้อนในเชิงบวกว่ามีเงินตราต่าง ทัว่ โลกมาตัง้ สำ�นักงานใหญ่ใน EEC รวมทัง้ เป็น ประเทศไหลเข้าประเทศเป็นจำ�นวนมหาศาล จนกระทัง่ ปี 2556 ศูนย์การวิจยั และพัฒนา และเป็นแหล่ง แต่ในเชิงลบนัน้ แปลได้วา่ คนไทยผลิตสินค้าและ ท่องเทีย่ วควบคูไ่ ปกับการเป็น Medical Hub ประเทศไทยในสภาวะปัจจุบนั นัน้ จึงสรุป บริการ 100 บาท แต่ใช้จา่ ยซือ้ สินค้าและบริการ กล่าวคือหากประสบความสำ�เร็จตามความ ได้วา่ ยังมองไม่เห็นชัดเจนว่าจะมีหวั จักรอะไร ภายในประเทศเพียง 90 บาท ไม่ยอมเอาเงิน มาขับเคลือ่ นเศรษฐกิจ การกระตุน้ เศรษฐกิจ คาดหมาย EEC ก็คงจะกลายเป็นสิงคโปร์บวก ทีเ่ หลืออีก 10 บาทมาใช้จา่ ยเพือ่ ขับเคลือ่ นให้ ด้วยมาตรการระยะสัน้ ต่างๆ ของรัฐ (ช้อปช่วย Silicon Valley และ French Riviera รวมกัน เศรษฐกิจไทยพัฒนาต่อไปได้ แต่รรี อให้รฐั บาล และยังมีฐานการผลิตภาคอุตสาหกรรมทีท่ นั ชาติ เทีย่ วช่วยชาติ กองทุนหมูบ่ า้ น ฯลฯ) ก็เป็น มาตรการชัว่ คราว การทำ�รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ออกมากระตุน้ เศรษฐกิจจนกระทัง่ ขาดดุลงบ สมัยทีส่ ดุ ของโลกอีกด้วย ก็จะเป็นการกระจุกความเจริญเอาไว้ใน ประมาณและสร้างหนีส้ าธารณะมากขึน้ อย่าง 4. เขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC นีเ้ สนอให้มี กรุงเทพฯ (และอาจประสบปัญหาการขาดทุน ต่อเนือ่ งใน 2-3 ปีทผ่ี า่ นมา ความพิเศษในเชิงธุรกิจ เช่น การให้เช่าทีด่ นิ ได้ในอนาคต) การสร้างรถไฟรางคูท่ ว่ั ประเทศก็ การกระตุน้ เศรษฐกิจโดยภาครัฐทีผ่ า่ นมายัง ยาวนาน 50 ปีและต่ออายุได้ 49 ปี เป็นเขต ไม่แน่ใจว่าจะทำ�ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย มิได้สามารถทำ�ให้ภาคเอกชน (ทัง้ ไทยและต่าง ปลอดภาษี เป็นพืน้ ทีใ่ ช้เงินดอลลาร์ได้โดยไม่ ลดการขาดทุนลงได้มากน้อยเพียงใด ส่วนภาค ประเทศ) หันมาเร่งการลงทุนของตนได้ ซึง่ ใน ต้องแปลงเป็นเงินบาท ลดภาษีบคุ คลธรรมดา เกษตรนัน้ แม้ยางพาราจะฟืน้ ตัวแต่ขา้ วก็ยงั ราคา ความเห็นของผมนัน้ ปัจจุบนั รัฐบาลจึงตัดสิน สำ�หรับนักวิจยั และผูเ้ ชีย่ วชาญ นอกจากนัน้ ต�ำ่ และสินค้าเกษตรอืน่ ๆ ก็คงจะไม่สามารถขับ ใจทุม่ เทให้กบั โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ นักธุรกิจต่างชาติยงั ขอวีซา่ ได้ยาว 5 ปีอกี ด้วย เคลือ่ นเศรษฐกิจได้ เพราะภาคเกษตรโดยรวมนัน้ ภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor เป็นต้น มีสดั ส่วนประมาณ 10% ของจีดพี เี ท่านัน้ หรือ EEC) ให้เป็นหัวจักรหลักในการขับเคลือ่ น

เศรษฐกิจไทย: ฝากความหวัง ไว้กับ EEC

OPTIMISE | APRIL 2017

07


08

OPTIMISE | APRIL 2017


INVESTMENT REVIEW

ของสะสม—อีกหนึ่ง การลงทุนทางเลือก ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และหัวหน้าทีมวิจัยลูกค้าบุคคล สายงานลูกค้าบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน)

ในตอนที่แล้ว เราพูดกันถึงการลงทุน ทางเลือก เช่นการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ การลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนในตราสารต่างๆ หรือการลงทุนโดย ใช้กลยุทธ์ใหม่ๆ อย่างเฮดจ์ฟันด์ เป็นต้น ซึ่ง ถือเป็น ‘การลงทุนทางเลือก’ ในสินทรัพย์ ทางการเงินนอกเหนือจากการลงทุนในหุ้น กับพันธบัตรหรือหุ้นกู้ แต่ยังมี ‘การลงทุนทางเลือก’ อื่นๆ อีกที่ อาจจะไม่ใช่การลงทุนใน ‘สินทรัพย์ทางการ เงิน’ ที่เรารู้จักกันทั่วไป และอาจจะไม่มีการ ซื้อขายในตลาดการเงินที่เรารู้จักกันดี อีกทั้ง ยังอาจจะไม่ได้มีสภาพคล่องที่ซื้อขายไถ่ถอน กันได้ทุกวันอย่างสินทรัพย์ทางการเงินทั่วๆ ไป แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง เพราะ ให้ผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาว (ถ้านัก ลงทุนเข้าใจและเลือกลงทุนได้ถูกต้อง) แม้ผล ตอบแทนนั้นจะมีความเสี่ยงจากความผันผวน ของราคา แต่ก็อาจจะไม่ได้แปรผันไปกับผล ตอบแทนของตลาดมากนัก ทำ�ให้นักลงทุนได้ รับประโยชน์จากการกระจายความเสี่ยงในการ ลงทุนไปด้วย ผมกำ�ลังพูดถึงการลงทุนเฉพาะในของใช้ ของเล่นและของสะสมต่างๆ ที่นักลงทุน นอกจากจะต้องมีความชอบในของเหล่านั้น เป็นชีวิตจิตใจแล้ว ยังต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในตลาดและมูลค่า และกล้าเสี่ยงไปกับของ

เหล่านั้นด้วย หลายคนสามารถทำ�กำ�ไรจาก การลงทุนได้ในอัตราที่สูงมากโดยการหาสินค้า ที่อาจจะยังไม่ได้รับความนิยม แต่มีศักยภาพ ที่ดีและเก็บรักษาไว้รอเวลาให้มูลค่าเพิ่มขึ้นใน อนาคต และในระหว่างที่รอนี้ก็ได้ครอบครอง สิ่งของที่มีมูลค่าทางจิตใจ (หรือได้รับประโยชน์ จากการใช้ของเหล่านี้) ไปด้วย การลงทุนประเภทนี้ได้แก่ การลงทุนใน กระเป๋าถือ นาฬิกา ตัวต่อเลโก้ (Lego) ไวน์ ภาพวาด ตุ๊กตาของเล่นหายาก พรม เหรียญ แสตมป์ แผ่นเสียง รถยนต์หรือจักรยาน คลาสสิกหายากต่างๆ หรือแม้กระทั่งพระ เครื่องซึ่งฟังดูอาจจะไม่เหมือนการลงทุน แต่

ถ้าว่ากันตามหลัก เศรษฐศาสตร์ ของเหล่านี้ มีลักษณะพิเศษ คือเป็น ของที่มีคุณค่าทางจิตใจ (หรือคุณค่าด้านอื่น) สูง ปริมาณของมีอยู่อย่าง จำ�กัด ผลิตเพิ่มไม่ได้แล้ว มีกลุ่มคนที่นิยมชมชอบ เป็นจำ�นวนมาก OPTIMISE | APRIL 2017

09


จะถือเป็นการลงทุนได้เหมือนกัน หลายคนคง เคยเห็นที่มีการแชร์กันเยอะๆ ว่า ราคากระเป๋า สำ�หรับคนไม่ชอบดื่มไวน์ ไม่ชอบถือกระเป๋า Hermès Birkin ที่ฟังราคาแล้วแทบเป็นลม ตัวต่อเลโก้ ของเล่นยอดนิยมในวัยเด็กของหลายคน ปรับขึ้นมาเฉลี่ยปีละ 14.2% ในช่วงเกือบ ก็อาจกลายเป็นการลงทุนชั้นยอดได้ เพราะมีการผลิต 30 ปีที่ผ่านมา [http://bit.ly/1mWXGcH] เรียกว่า เอาชนะผลตอบแทนของตลาดหุ้นไป แต่ละรุ่นที่จำ�กัดและไม่ผลิตเพิ่มอีก ของเล่นบางชุดที่ แบบไม่เห็นฝุ่น และคุณผู้หญิงหลายคนใช้เป็น เปิดตัวที่ราคาร้อยหรือสองร้อยเหรียญเมื่อสิบกว่า เหตุผลในการซื้อกระเป๋าเพิ่มกันเลยทีเดียว สำ�หรับคนไม่ชอบดื่มไวน์ ไม่ชอบถือ ปีที่แล้วอาจจะขายกันหลายพันเหรียญในปัจจุบัน กระเป๋า ตัวต่อเลโก้ ของเล่นยอดนิยมในวัย บางชุดราคาเป็นหมื่นเหรียญก็มี เด็กของหลายคน ก็อาจกลายเป็นการลงทุน ชั้นยอดได้ เพราะมีการผลิตแต่ละรุ่นที่จำ�กัด สำ�หรับใครหลายคน นี่คือการลงทุนชั้นยอด ยกตัวอย่างเช่น การลงทุนในไวน์ราคาแพง และไม่ผลิตเพิ่มอีก ของเล่นบางชุดที่เปิดตัวที่ ราคาร้อยหรือสองร้อยเหรียญเมื่อสิบกว่าปีที่ ที่สามารถหาผลตอบแทนได้พร้อมๆ กับได้รับ ที่ราคาเพิ่มขึ้นมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แล้วอาจจะขายกันหลายพันเหรียญในปัจจุบัน ความสุขจากการศึกษา ติดตาม และการ พร้อมๆ กับรายได้ที่สูงขึ้นของคนในเอเชีย บางชุดราคาเป็นหมื่นเหรียญก็มี (แต่ระวัง ครอบครองของเหล่านี้อยู่ในมือ ไวน์หลายขวดราคาแพงขนาดจับต้องไม่ เด็กๆ ที่บ้านไว้หน่อยนะครับ เพราะราคาจะตก ถ้าว่ากันตามหลักเศรษฐศาสตร์ ของ ได้หรือนึกไม่ออกว่าใครจะซื้อมาดื่มกัน แต่ อย่างมากถ้ากล่องถูกเปิดออกนะครับ) [http:// เหล่านี้มีลักษณะพิเศษ คือเป็นของที่มีคุณค่า สำ�หรับคนที่ชอบและสนใจ นอกจากไวน์จะ on.mash.to/2mzG1sx] ทางจิตใจ (หรือคุณค่าด้านอื่น) สูง ปริมาณ เป็นเครื่องดื่มจากสวรรค์แล้ว ยังเป็นโอกาส คนที่มีของสะสมคงใช้เวลาในการชื่นชม ของมีอยู่อย่างจำ�กัด ผลิตเพิ่มไม่ได้แล้ว การลงทุนชั้นยอด หลายคนชอบที่จะอ่านบท มีกลุ่มคนที่นิยมชมชอบเป็นจำ�นวนมาก วิเคราะห์ของนักชิมไวน์ที่ไปทดสอบไวน์ตั้งแต่ เก็บรักษาและศึกษาเรื่องราวไปไม่น้อย เมื่อระดับรายได้ของคนทั่วไปเพิ่มสูงขึ้น และ ก่อนบรรจุลงขวด สั่งไวน์ไปเก็บไว้ยังที่เก็บใน จนสามารถเล่าเรื่องพวกนี้กันได้เป็นวันๆ คง เป็นการดีถ้าสามารถเปลี่ยนความรู้และความ เมื่อโลกเชื่อมต่อกันมากขึ้น ความต้องการของ ที่ต่างๆ ของโลกและบ่มเพาะไวน์ให้พัฒนา เหล่านี้ก็มีมากขึ้นตามไปด้วย แต่ด้วยปริมาณ คุณภาพเต็มศักยภาพของมันก่อนที่จะขายทำ� สุขในการใช้เวลากับสิ่งของที่มีมูลค่าทางใจให้ เป็นการลงทุนได้ แต่อย่าลืมนะครับ การลงทุน ที่มีอยู่อย่างจำ�กัด ทำ�ให้ราคาของเหล่านี้เพิ่ม กำ�ไร (ถ้าไม่เผลอไปเอามาดื่มหมดเสียก่อน) สูงขึ้น และเพิ่มขึ้นเร็วกว่าเงินเฟ้อ และอาจจะ การลงทุนในไวน์ทุกวันนี้ทำ�ได้สะดวกมาก ทางเลือกประเภทนี้ก็เหมือนการลงทุนอื่นๆ คือ มีความเสี่ยงด้านต่างๆ ดังนั้นควรศึกษา เพิ่มขึ้นเร็วกว่าการลงทุนประเภทอื่นๆ ขึ้น บางคนสามารถเปิดบัญชีทางออนไลน์ และทำ�ความเข้าใจผลตอบแทนและความ อย่างไรก็ดี การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง สั่งไวน์ที่ตัวเองชอบไปเก็บในโกดังที่มีต้นทุน นอกจากความผันผวนของราคาและสภาพ การเก็บและภาษีตำ�่ นานๆ ก็บินไปหยิบกลับ เสี่ยงก่อนการลงทุนเสมอ และเราควรดูสัดส่วน ของการลงทุนประเภทนี้ในพอร์ตการลงทุนรวม คล่องที่อาจจะมีจำ�กัดแล้ว การลงทุนในสิ่งของ มาดื่มบ้าง และคอยนั่งดูราคาไวน์ที่มีการ เหล่านี้ยังมีความเสี่ยงจากคุณภาพของสินค้าที่ เก็บข้อมูลกันแบบจริงจัง [ตัวอย่าง http://bit. ของเราให้เหมาะสม และไม่ให้เกินระดับการ อาจจะลดลงจากการเก็บรักษาที่ไม่เหมาะสม ly/1Lk67Da] แน่นอนครับ ราคาบางขวดอาจ รับความเสี่ยงที่เรารับได้ด้วยนะครับ ผมว่าความเสี่ยงสำ�คัญประการหนึ่งของ หรือมีความเสี่ยงจากถูกการปลอมแปลงได้ จะขึน้ เอาชนะตลาดหุน้ ได้หลายเท่า ในขณะที่ ทำ�ให้ต้นทุนของการลงทุนอาจค่อนข้างสูง บางขวดราคาอาจจะไม่คอ่ ยขึน้ หรือแม้แต่ลดลง การลงทุนประเภทนี้คือ เราจะห้ามใจไม่ไหว เปิดการลงทุนของเรามาดื่ม หยิบการลงทุน สำ�หรับใครหลายคน จนต้องรีบเปิดมาดื่มแก้กลุ้มก็มีครับ ถ้าใคร การลงทุนลักษณะนี้มีสิ่งของหลายประเภท ต้องการกระจายความเสี่ยงมากๆ ก็มีกองทุนที่ ของเรามาถือโดยลืมทะนุถนอม แกะการลงทุน ที่มีการจัดการการลงทุนกันเป็นล่ำ�เป็นสัน มี ลงทุนในไวน์ และมีผู้จัดการกองทุนคอยบริหาร ของเรามาเล่น หรือผูกพันกับ ‘การลงทุน’ มาก จนตัดใจขายไม่ลงน่ะสิครับ การทำ�บทวิเคราะห์ ให้ค�ำ แนะนำ� ติดตามการ จัดการเหมือนกองทุนหุ้นเลยทีเดียว เคลื่อนไหวของราคา มีการจัดการลงทุนเป็น ถ้าคุณผู้ชายลงทุนในไวน์ได้ คุณผู้หญิง ลักษณะกองทุนที่มีการกระจายความเสี่ยงไป หลายคนก็บอกเหมือนกันว่า การซื้อกระเป๋า ในสินค้าหลายๆ ชิ้น มาเก็บเอาไว้ (และเปิดแอร์ให้กระเป๋าอยู่) ก็น่า

10

OPTIMISE | APRIL 2017


INVESTMENT REVIEW

OPTIMISE | APRIL 2017

11


12

OPTIMISE | APRIL 2017


optimum view

One Step Closer ธนกร จ๋วงพานิช

‘ตูน Bodyslam’ กับเรื่องราวของแต่ละหนึ่งก้าวเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงตัวตนและรอบตัว สำ�หรับสาวกของ Bodyslam อิทธิพลของ นักร้องนำ� อาทิวราห์ คงมาลัยหรือ ‘ตูน บอดี-้ สแลม’ ไม่เคยเป็นทีก่ งั ขา เพราะนีค่ อื วงดนตรี ร็อกทีก่ ล่าวกันว่าโดดเด่นทีส่ ดุ ในรอบทศวรรษที่ ผ่านมา คอนเสิรต์ ครัง้ ล่าสุดของวง ‘บอดีส้ แลม ไลฟ์ อิน คราม’ ทำ�ให้สนามกีฬาทีใ่ หญ่ทส่ี ดุ ของ ประเทศไทยอย่างราชมังคลากีฬาสถานทีจ่ คุ น ได้ 65,000 คนและคุน้ เคยกับอารมณ์พลุง่ พล่าน ของแฟนกีฬาต่างๆ เป็นปกติอยูแ่ ล้ว ถึงกับดูเล็ก และเปราะบางด้วยจำ�นวนและเสียงกรีด๊ จาก ผูม้ าชมคอนเสิรต์ เพลงชาติของบอดีส้ แลม อย่าง ‘หวัน่ ไหว’ ‘คนทีถ่ กู รัก’ ‘สักวันฉันจะดี พอ’ ‘อกหัก’ หรือ ‘แสงสุดท้าย’ เหมือนมีผลทาง จิตวิทยาพิเศษทีเ่ ปิดขึน้ เมือ่ ใดก็ท�ำ ให้เท้าของ คนในผับหลุดลอยด้วยแรงกระโดดสุดตัวตาม จังหวะดนตรี จนเป็นทีร่ กู้ นั ว่าคำ�พูดของนักร้อง หนุม่ ในคอนเสิรต์ ครัง้ หนึง่ ทีว่ า่ “ผมอยากเห็นคน ไทยบินได้” นัน้ เป็นสิง่ ทีเ่ ขาสามารถทำ�ให้เกิดขึน้ อย่างง่ายดาย แต่กระทัง่ ในความเงียบ มนต์ขลังของตูน บอดีส้ แลมก็ดเู หมือนจะไม่ได้หายไป เมือ่ วันที่ 1 ธันวาคมทีผ่ า่ นมา ตูนริเริม่ โครงการวิง่ การกุศล โดยวิง่ วันละ 40 กิโลเมตรเป็นระยะเวลา 10 วัน จากกรุงเทพฯ ไปยังอำ�เภอบางสะพาน จังหวัด ประจวบคีรขี นั ธ์ เพือ่ ระดมทุนซือ้ เครือ่ งมือแพทย์ ทีข่ าดแคลนให้กบั โรงพยาบาลบางสะพาน เพียง ไม่กว่ี นั การวิง่ ‘วันละ 1 มาราธอน’ ของเขา

กลายเป็นกระแสทีค่ นติดตามทัง้ ในและนอก โซเชียล มีเดีย ในแต่ละวันมีคนตืน่ ไปดูตนู หรือ ไปวิง่ กับตูน โดยไม่ตอ้ งมีการปลุกเร้าจากกลอง เบส หรือกีตาร์ มีเพียงการย�ำ่ เท้าสม�ำ่ เสมอกับ ลมหายใจสัน่ พร่าเป็น ‘เสียง’ เชือ่ มโยงนักร้อง คนนีก้ บั ผูช้ ม ไม่มใี ครคาดคิดว่าเมือ่ เสร็จโครงการ เขาจะสามารถระดมทุนให้กบั โรงพยาบาลได้ถงึ 80 ล้านบาท และในครัง้ นี้ สาวกหรือผูท้ เ่ี ชือ่ ใน สิง่ ทีต่ นู นำ�เสนอจนมาร่วมบริจาค ไม่ได้มเี พียง แค่รอ็ กเกอร์ในกางเกงยีนส์ขาเดฟ แต่รวมไปถึง เด็กเล็ก หรือแม้กระทัง่ หญิงชราทีน่ า่ จะโตมาใน ยุคของสุเทพ วงศ์ก�ำ แหงหรือชรินทร์ นันทนาคร มากกว่าบอดีส้ แลม หลายคนอาจคิดว่านีค่ อื พลังและศักยภาพ ของความเป็นผูน้ �ำ ทีส่ ามารถขับเคลือ่ นเรือ่ งที่ ยิง่ ใหญ่กว่าตัวเอง แต่เช่นเดียวกับชือ่ โครงการวิง่ ระดมทุนของเขาว่า ‘ก้าวคนละก้าว’ เรือ่ งราวบท สัมภาษณ์บง่ บอกให้เรารูว้ า่ ไม่วา่ หลักไมล์ความ สำ�เร็จทีไ่ ด้ผา่ นจะยิง่ ใหญ่แค่ไหน สำ�หรับตูน บอดีส้ แลม มีเพียงการดูแลก้าวของตัวเองใน แต่ละก้าวอย่างดีทส่ี ดุ เท่านัน้ ทีน่ �ำ พาเขามาถึง จุดนี้ และจะนำ�พาเขาต่อไป

ก้าวแรก

อาจเป็นด้วยความแตกต่างระหว่างภาพของ ผูพ้ พิ ากษาผูต้ อ้ งควบคุมการแสดงออก กับร็อกสตาร์ผพู้ ร้อมจะถอดเสือ้ โผนขึน้ เสาข้างเวทีเพือ่

ทำ�ความรูส้ กึ ให้ปรากฏ ประวัตขิ องตูน บอดีส้ แลม ทีเ่ ริม่ ด้วยการเรียนทีค่ ณะนิตศิ าสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนจะเข้าสูว่ งการ ดนตรีรอ็ ก จึงเป็นสิง่ ทีว่ ยั รุน่ จำ�นวนไม่นอ้ ยรับรู้ และจำ�ได้ โดยเฉพาะสำ�หรับนักเรียนคณะ นิตศิ าสตร์ ผูม้ กั ยกตัวอย่าง ‘พีต่ นู ’ ในฐานะชีวติ ทางเลือกทีย่ งั เป็นไปได้ แม้จะได้เลือกเรียนใน คณะทีม่ เี ส้นทางวิชาชีพชัดเจนอย่างนิตศิ าสตร์ ไปแล้ว “ตอนทีเ่ รียนกฎหมาย ก็รสู้ กึ ตัวแล้วว่าคง ออกไปเป็นทนายทีด่ ไี ม่ได้ เราไม่พร้อมทีจ่ ะไป รับผิดชอบชีวติ ใคร สมมติวา่ เขาถูก แต่เราไปว่า ความให้เขาติดคุกเพราะเราไม่เก่งหรือเก่งสูอ้ กี ฝ่ายไม่ได้ เราไม่พร้อมจะรับผิดชอบ วินาทีแรก ทีเ่ รียนนิตศิ าสตร์ ไม่รเู้ ลยว่าจะต้องมาเจออะไร แบบนี้ เลือกเรียนแค่เพราะคะแนนถึง คิดว่าเป็น คณะทีเ่ ราไปต่อยอดได้หลากหลาย ไปราชการ ก็ได้ เอกชนก็ได้ รูก้ ฎหมายไว้กด็ ี เรารูส้ กึ แปลก แยกตัง้ แต่ปี 3 รูส้ กึ เลยว่า ‘ตายแล้ว’ แต่กไ็ ม่ ได้คดิ ว่าจะต้องเปลีย่ นไปเรียนคณะอืน่ เพราะ เปลีย่ นก็ไม่รจู้ ะไปจบทีต่ รงไหน ฐานะทีบ่ า้ น ก็ไม่ได้สบายมากพอจะเปลีย่ นอะไรได้ตามใจ อุตส่าห์ตดิ นิตฯิ จุฬาฯ ทำ�ไมไม่เรียนให้จบ เป็น มหาวิทยาลัยรัฐด้วย ค่าเทอมก็ไม่แพง …แต่ในขณะเดียวกันก็มเี รือ่ งของดนตรีมา ตลอด ตัง้ แต่ปหี นึง่ เรามีวงดนตรีทช่ี อ่ื ว่า ‘ละอ่อน’ ติดมาตัง้ แต่การประกวดตอนมัธยม และตลอด 4 ปีในมหาวิทยาลัย ก็ไปประกวดทีน่ น่ั ทีน่ โ่ี ดย เล่นกับพีๆ่ เพือ่ นๆ รวมถึงพีบ่ ก๊ิ มือกีตาร์วง พาราดอกซ์ (ขจัดภัย กาญจนาภา) ซึง่ เรียนนิตฯิ เหมือนกัน เราเลยเป็น 2 คนทีไ่ ว้ผมยาว เหมือน เด็กศิลปกรรมเข้าไปนิตฯิ เข้าห้องเรียนบ้าง ไม่ เข้าบ้าง แต่สดุ ท้ายก็จบภายใน 4 ปี เกรดสอง กว่า โดยตลอดเวลาก็ท�ำ เพลงไปด้วย ด้วยความ ฝันว่าหลังเรียนจบจะออกอัลบัม้ สักชุดหนึง่ แต่ ไม่ใช่ในฐานะวงละอ่อนแล้ว เพราะละอ่อนมา จากการประกวด Hot Wave ตอนมัธยมฯ ที่ เราชนะเลิศ มันเป็นการทำ�เพลงแบบสมัครเล่น แบบนักเรียนใช้เวลาว่าง เวลาเรียนจบเราอยาก ทำ�เพลงเต็มที่ อยากทำ�อัลบัม้ ทีด่ สี กั อัลบัม้ นึกแค่นน้ั เอง” แม้จะฟังเหมือนเป็นการตัดสินใจง่ายๆ แต่ OPTIMISE | APRIL 2017

13


ผมไม่เคยเทียบกับเพือ่ นเลย เพราะผมรูส้ กึ ว่าวิถชี วี ติ ของ ผมกับเพือ่ นต่างกัน ผมไม่เคยเทียบว่าเพือ่ นเข้าบริษทั ไหนได้ เพือ่ นสอบเนติฯ ได้ เพือ่ นได้เงินเดือนเท่าไหร่ ไม่เคยคิดว่า เขาเข้าลอว์เฟิรม์ ได้เงินเดือนหลายหมืน่ ส่วนเราร้องเพลง ได้เงินวันละ 300-400 เพราะเราก็แฮปปีช้ บิ เป๋ง ในความเป็นจริง การทำ�ตามความฝันของตูน ได้วางอยูบ่ นเหตุผลและความเป็นจริงอืน่ ๆ ของ ชีวติ ไม่นอ้ ยไปกว่าความต้องการส่วนตัว หลัง เรียนจบเขาสมัครเข้าทำ�งานเป็นสจ๊วตทีส่ าย การบินโอเรียนท์ไทยเพือ่ สะสมเงินทุนสำ�หรับ ดำ�รงชีวติ โดยไม่ตอ้ งรบกวนทีบ่ า้ นในระหว่าง ทีท่ �ำ เพลง จนเมือ่ ครบระยะเวลาสัญญาจ้าง 6 เดือน ก็ออกมาเป็นนักร้องในผับ เพือ่ ให้มเี วลา ทำ�เพลงได้อย่างเต็มที่ “ตอนเรียนจบรับปริญญา จำ�ได้เลยว่ามอบ ใบปริญญาให้แม่แล้วพูดว่า ‘ทำ�ให้แม่แล้วนะ’ ผมรูส้ กึ ว่า ถึงเรามีความฝันอยากเป็นนักดนตรี เราต้องไม่ทง้ิ หน้าทีข่ องเรา หรือความฝันของ แม่กบั พ่อเราด้วย เขาส่งเรามาเรียนในกรุงเทพฯ ตัง้ แต่มธั ยม เขาคงมีความฝันอยากให้ลกู ได้ เรียนดีๆ จบดีๆ ให้รบั ผิดชอบตัวเองได้ดี ดังนัน้ ถึงเราจะชอบร้องเพลงมาก เราก็ตอ้ งรับผิดชอบ การเรียนหนังสือไม่ให้ขาดตกบกพร่องด้วย …แต่ทนี พ้ี อเราเรียนจบแล้ว ก็เลยขอแม่ ว่าจะยังไม่ท�ำ งานประจำ� ขอสำ�รวจตัวเองก่อน ว่าเราชอบทำ�อะไรทีส่ ดุ ทำ�อะไรได้ดที ส่ี ดุ ซึง่ พอสำ�รวจแล้วก็ตอบตัวเองได้วา่ สิง่ ทีเ่ ราทำ�ได้ ดีทส่ี ดุ และมีความสุขกับการทำ�คือร้องเพลง โอเค---มันอาจไม่ได้ดเี ลิศ ไม่ได้ดไี ปกว่านักร้องที่ มีอยู่ แต่ในเมือ่ สำ�รวจแล้วมันคือสิง่ ทีเ่ ราทำ�ได้ดี ทีส่ ดุ ทำ�ไมจะไม่ลองทำ�มันดูสกั ตัง้ อย่างน้อยใน ฐานะลูกคนหนึง่ เราก็รบั ผิดชอบพ่อแม่แล้ว เรียน จนจบปริญญา มีแผนสำ�รองไว้เผือ่ ว่าถ้าฝันไม่ สำ�เร็จ เราสามารถทีจ่ ะกลับไปใช้แผนสองได้ เรา ไม่มหี ว่ งอะไร เรามีอย่างเดียวทีต่ อ้ งรับผิดชอบ อย่างเต็มทีค่ อื ชีวติ กับความฝันของเราเอง 14

OPTIMISE | APRIL 2017

...อาจโชคดีทต่ี อนนัน้ ผมยังไม่มหี ว่ งด้วย มุทะลุได้เต็มที่ ไม่ตอ้ งผ่อนนัน่ นี่ พ่อแม่อยูต่ า่ ง จังหวัดยังประคองตัวเองได้ ถึงเขาจะมีหนีส้ นิ แต่หนีส้ นิ ของเขาก็เกินทีค่ นจบใหม่คนหนึง่ ต่อ ให้มเี งินเดือน 3 หมืน่ จะรับได้อยูด่ ี ก็เลยคิดลุย เต็มตัว แต่ลองคิดว่าถ้าเป็นคนอายุ 27-28 ปี เริม่ ผ่อนรถคันแรกแล้ว ผ่อนบ้านหลังแรกแล้ว ต้องมีรายได้แน่นอน 12,000 บาทต่อเดือนแล้ว หรือแม้กระทัง่ แต่งงาน มีลกู แล้ว ผมว่าตรงนี้ มันจะเป็นข้อแม้ส�ำ คัญ เป็นความจริงทีป่ วดร้าว สำ�หรับนักฝันหลายคนเลยว่าคุณไม่สามารถ ล่องลอยไปไหนก็ได้อกี แล้ว แต่ไม่ใช่วา่ เราจะกล้า แนะนำ�ใครว่าถ้าจะทำ�อะไรต้องทำ�ตอนเด็กนะ เพราะคนทีป่ ระสบความสำ�เร็จเมือ่ อายุมากก็มี ตัง้ เยอะแยะ แต่เราผ่านมาแบบนีเ้ ราเลยรูส้ กึ ว่าที่ ผ่านมาได้ เพราะไม่ตอ้ งมีภาระ ไม่อย่างนัน้ มัน คงเป็นอีกแบบทันที การคิดงานดนตรีคงไม่อสิ ระ แบบทีเ่ กิดขึน้ โดยเฉพาะในเมือ่ สิง่ ทีเ่ ราทำ�เป็น พาณิชย์ศลิ ป์ ซึง่ ต้องหาสมดุลระหว่างพาณิชย์กบั ศิลปะอยูต่ ลอด มันจะเป็นโดมิโนไปหมด” ความโชคดีอกี อย่างหนึง่ ทีต่ นู อาจไม่ทนั สังเกต คือความสุขในการทำ�งานของเขา ไม่ถกู กระทบโดยความสำ�เร็จในหน้าทีก่ ารงานของคน อืน่ แม้วา่ ความสำ�เร็จนัน้ ดูเหมือนจะนำ�มาซึง่ ตัว เงินทีม่ ากกว่า “ผมไม่เคยเทียบกับเพือ่ นเลย เพราะผม รูส้ กึ ว่าวิถชี วี ติ ของผมกับเพือ่ นต่างกัน ผมไม่ เคยเทียบว่าเพือ่ นเข้าบริษทั ไหนได้ เพือ่ นสอบ เนติฯ ได้ เพือ่ นได้เงินเดือนเท่าไหร่ ไม่เคยคิดว่า เขาเข้าบริษทั กฎหมาย ได้เงินเดือนหลายหมืน่ ส่วนเราร้องเพลงได้เงินวันละ 300-400 เพราะ

เราก็แฮปปีช้ บิ เป๋ง แล้วเพือ่ นเราก็ดมี าก เรานัด เตะฟุตบอล นัดกินข้าวกันตลอด บางทีเพือ่ นก็ ‘เออ---เดีย๋ วกูมาดูมงึ ร้องนะ’ เพือ่ นทีเ่ ตะฟุตบอล ด้วยกัน จบเยล จบฮาร์วาร์ด ผมไม่เคยรูส้ กึ เปรียบเทียบ ดีใจกับเขาด้วยซ�ำ้ ดีใจกับเพือ่ นเรา ทีเ่ ก่งแบบนัน้ …มันคือไฟของการได้ออกมาใช้ชวี ติ ของ ตัวเอง กลางคืนร้องเพลง กลางวันไปทำ�เดโม ทีบ่ า้ นพีอ่ อ๊ ฟ บิก๊ แอส (พูนศักดิ์ จตุระบุล) ไม่มี อะไรกินก็กนิ มาม่า สตางค์ไม่มกี ไ็ ปนอนบ้านพี่ เขา นัง่ รถเมล์ไปร้องเพลง ร้านไม่มรี ถเมล์ผา่ น ก็ลงตรงป้ายเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน แล้วเดิน ไปร้านทีอ่ ยูเ่ ลยธุรกิจบันฑิตย์ไปประมาณกิโล กว่าๆ เรายังมีความรูส้ กึ ‘ได้ๆ’ ตลอด ไม่มปี ญ ั หา ตอนนัน้ เรามีซาวด์อะเบาท์อนั หนึง่ เราก็เดินฟัง ไปและหัดร้องเพลงทีเ่ ราจะร้องในคืนนัน้ ใช้ชวี ติ อย่างมีความสุข”

ระยะทีเ่ ริม่ ล้า

อย่างไรก็ตาม ความสุขอย่างเดียวไม่ท�ำ ให้ เกิดวงบอดีส้ แลม เพราะแม้กระทัง่ นักร้องที่ เจียมตัวและกินอยูง่ า่ ยทีส่ ดุ ก็ยงั ต้องการได้เห็น เพลงทีต่ วั เองแต่งสำ�เร็จออกมาเป็นรูปร่าง แต่ใน ยุคสมัยทีย่ งั ไม่มไี อโฟนและอุปกรณ์ราคาถูกให้ อัดเพลงได้ในห้องนอน สิง่ ๆ นัน้ ดูเหมือนจะไม่ เกิดกับตูนง่ายๆ “หลังเรียนจบ การทำ�อัลบัม้ แรกให้เสร็จ เป็น หลักไมล์แรกทีเ่ ราคาดหวังจะทำ�ให้ได้ แต่กอ่ น จะเป็นซีดที ส่ี �ำ เร็จ มันไม่งา่ ยเลย ค่ายทีเ่ ราสังกัด คือ Music Bugs เป็นค่ายอินดี้ ไม่มสี ตางค์เยอะ ผมจบปริญญาตรีปี 2543 แต่ได้ออกอัลบัม้ แรก


optimum view

OPTIMISE | APRIL 2017

15


16

OPTIMISE | APRIL 2017


optimum view ชือ่ Bodyslam ในปี 2545 สองปีทไ่ี ม่ได้ท�ำ งาน อะไร สองปีทร่ี อ้ งเพลงกลางคืน สองปีทม่ี คี �ำ ถาม จากทีบ่ า้ นตลอดเวลา พ่อแม่ถาม ตัวเราถาม รวมถึงญาติพน่ี อ้ งถามพ่อแม่เราว่า ‘ลูกชาย คนโต จบนิตฯิ จุฬาฯ ทำ�อะไรอยู’่ เรารูส้ กึ ว่า เราสงสารเขา ช่วงนัน้ เป็นช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ด้วย ทีบ่ า้ นมีหนีส้ นิ ก็เหมือนต้องการให้เราเป็น ทีพ่ ง่ึ ให้เขาได้บา้ ง แต่ในขณะเดียวกันเรามาอยู่ กรุงเทพฯ เอาแค่ตวั เองยังไม่คอ่ ยจะรอดเลย …เราทำ�เดโมตัง้ แต่เรียนนิตฯิ แล้ว ดังนัน้ เป็นเวลา 3-4 ปีทเ่ี ราเทียวส่งเดโมเข้าออฟฟิศ ด้วยความหวังว่าเขาจะให้เข้าห้องอัดทำ�อัลบัม้ เสียที แต่ท�ำ อัลบัม้ สมัยก่อนต้องใช้เงินเยอะ หลายแสนบาท มันไม่ได้เข้าง่ายๆ เหมือนตอนนี้ ทีเ่ ป็นโฮมคอมพิวเตอร์ท�ำ ห้องอัดทีบ่ า้ นได้ สมัย นัน้ ต้องไปเช่าห้อง ต้องใช้ซาวด์เอ็นจิเนียร์ แต่จน เรียนจบ 6 เดือน 1 ปีไปแล้ว ส่งเดโมไปแล้ว ร้อง เพลงกลางคืนก็แล้ว ทำ�อะไรก็แล้ว ก็ยงั ไม่ได้รบั ความไว้วางใจให้เข้าห้องอัดเสียที พอถึง 2 ปี มัน เหมือนความคุกรุน่ ในความฝันมันเริม่ มอด …วันหนึง่ รูส้ กึ ท้อมาก จำ�ได้เลยนัง่ คุยกับพี่ อ๊อฟ บิก๊ แอส โปรดิวเซอร์ และทีมเขียนเพลง คุยกันไปคุยกันมาว่าทำ�ไมเราทำ�ไปมันไม่ได้ขอ้ สรุปเสียที ผมเลยลุกกลางทีป่ ระชุมแล้วบอกว่า โอเคครับ เดีย๋ วผมเข้าไปคุยอะไรบางอย่างกับ พีเ่ อก (ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ ผูก้ อ่ ตัง้ ) ดีกว่า ตัดสินใจเลยว่าจะไปเล่าให้เขาฟัง แต่ไม่ได้เพือ่ จะไปกดดันให้เขาออกอัลบัม้ เราคิดว่าเราก็ แฟร์ เรารูด้ วี า่ นีค่ อื สตางค์ของเขา เราไม่ได้คดิ ว่า ‘พีท่ �ำ ให้ผมนะ ขอร้องเถอะ’ ไม่มคี �ำ พูดนีจ้ าก ผมแน่ๆ แต่เราอยากเข้าไปเล่าให้เขาฟังว่าตอน นี้ สถานการณ์เราเป็นยังไง สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ในใจเรา เกิดกับตัวเอง เกิดกับทางบ้านเป็นยังไง เพือ่ ให้ เขาเห็นความเป็นเราชัดขึน้ เพราะเขาอาจไม่รู้ ว่าเราเป็นแบบนีอ้ ยู่ คิดแบบนีอ้ ยู่ หรือเดือดร้อน อะไรบางอย่างอยู่ แต่รแู้ ล้วเขาจะตัดสินใจยังไง เราแล้วแต่เขา …ตอนนัน้ ไม่ได้คดิ ว่าจะต้องออกอัลบัม้ มา แล้วดัง ประสบความสำ�เร็จ วันนัน้ เราขอแค่ท�ำ เสร็จ เป็นผลงาน เป็นซีดแี ผ่นหนึง่ เป็นเพลงของ เรา มีชอ่ื เรา รูปเรา เพือ่ เราจะได้เอางานตรงนี้ กลับไปให้คนทีบ่ า้ นดูวา่ 2-3 ปีทเ่ี ราเคว้งคว้าง

แต่ทง้ั หมดก็คอื ก้าวเล็กๆ เหมือนเดิม เราไม่เคยตัง้ ว่าจาก ซีดแี ผ่นแรก อีก 5 ปีเราต้องไปอยูแ่ กรมมี่ อีก 5 ปี เราต้องโด่งดัง อีก 5 ปีเราจะต้องมีคอนเสิร์ตในฮอลล์ นัน้ ในสเตเดียมนี้ มีคนดูเป็นพันเป็นหมืน่ มันไม่ได้ถกู วางแผนระยะยาวแบบนัน้ เลย เลือ่ นลอยในสายตาเขา มันมีตรงนีอ้ ยูท่ เ่ี ราตัง้ ใจ ทำ�นะ เราไม่ได้ไปสำ�มะเลเทเมาทีไ่ หน เราทำ�ซีดี แผ่นนี้ ทีม่ เี พลงบรรจุอยู่ 11-12 เพลงนี้ มันจะ เป็นเครือ่ งยืนยันว่า 2 ปีทเ่ี ราเรียนจบมา เรา ทำ�งานตรงนี้ แค่นน้ั เอง ไม่ได้ขอว่าทำ�แล้วจะ โด่งดัง ทำ�แล้วจะมีเงิน ไม่แล้ว แรงมันเริม่ หมด ถ้าวันนัน้ คำ�ตอบออกมาอีกอย่าง เราคงต้อง กลับมาแผนสำ�รองของเราเหมือนกัน”

ทีมเขียนเพลงทีมเดิม มีพก่ี บ (ขจรเดช พรมรักษา) พีอ่ อ๊ ฟ บิก๊ แอส คอยชีแ้ นะสัง่ สอน แต่งเพลง ควบคุมการผลิตให้เหมือนเดิม แต่สง่ิ ทีไ่ ม่เหมือน เดิมคือเราได้มาอยูใ่ นค่ายทีม่ วี ทิ ยุ มีทวี ี พร้อมที่ จะพาเพลงเราไปในช่องทางทีห่ ลากหลายมาก ขึน้ ดังนัน้ อัลบัม้ ที่ 3 คือ Believe จึงเหมือนมี บันไดเลือ่ น คือยังต้องก้าวอยู่ แต่เริม่ เบาแรง เพราะมีคนพาขึน้ ไป …แต่ทง้ั หมดก็คอื ก้าวเล็กๆ เหมือนเดิม เรา จุดหมายเฉพาะหน้า ไม่เคยตัง้ ว่าจากซีดแี ผ่นแรก อีก 5 ปีเราต้องไป แต่ในเมือ่ ตูนไม่ตอ้ งใช้แผนสำ�รอง ปีนน้ั จึง อยูแ่ กรมมี่ อีก 5 ปี เราต้องโด่งดัง อีก 5 ปีเรา เป็นปีทว่ี ง Bodyslam พร้อมกับอัลบัม้ ชือ่ เดียวกัน จะต้องมีคอนเสิรต์ ในฮอลล์นน้ั ในสเตเดียมนี้ มี ได้ถอื กำ�เนิดขึน้ และการ ‘ทุม่ ’ หรือ Slam ตัวของ คนดูเป็นพันเป็นหมืน่ มันไม่ได้ถกู วางแผนระยะ เขาเกือบ 2 ปีไม่ได้สญ ู เปล่า เกือบทุกเพลงใน ยาวแบบนัน้ เลย สิง่ ทีถ่ กู วางแผนไว้คอื โคตรสัน้ อัลบัม้ ไม่วา่ ‘งมงาย’ ‘อากาศ’ ‘สักวันฉันจะดีพอ’ แผนเอาตัวรอดไปวันๆ ด้วยซ�ำ้ แต่สง่ิ ทีห่ ล่อเลีย้ ง ทีเ่ ชือ่ มโยงแนบแน่นกับอดีตของวัยรุน่ ยุคปี 90s ให้กา้ วขึน้ มาได้คอื ความสุขทีจ่ ะทำ�แต่ละวัน ได้ และยังคงได้ยนิ อยูใ่ นผับและห้องคาราโอเกะแม้ ร้องเพลงของเรา แต่งเพลงของเรา ได้ออกอัลบัม้ ในทุกวันนี้ ไม่ได้เพียงยืนยันว่าเขาได้ท�ำ งาน แต่ ดีๆ ในแต่ละปีสองปีให้เราภูมใิ จ ความสุขทำ�ให้ ยืนยันว่าเขากำ�ลังจะเป็นตำ�นานต่อไป เราก้าวขึน้ บันไดมาเรือ่ ยๆ จนเวลา 3-4 ปีผา่ น “ชีวติ หลังจากออกอัลบัม้ มาแล้ว มันเหมือน ไป เราไม่เคยมองย้อนกลับหลังไปเลยว่าเราเดิน เราขึน้ บันไดทีละขัน้ ก้าวสัน้ ๆ เล็กๆ แต่มคี วาม มาแค่ไหน สุขมาเรือ่ ยๆ ไม่ได้วางแผนทีจ่ ะก้าวกระโดด ทำ� …ลองคิดดู ถ้าในวันทีผ่ มเริม่ ต้นร้องเพลง อัลบัม้ เสร็จ ก็เริม่ ได้ทวั ร์คอนเสิรต์ มีคนจ้างให้ไป ผมตัง้ เป้าว่าอีก 10 ปี ผมต้องมาร้องเพลงใน เล่นทีโ่ น่นทีน่ ่ี มีรายได้หล่อเลีย้ งเข้ามา เฮ้ย---ไม่ สนามกีฬาทีใ่ หญ่ทส่ี ดุ ในเมืองไทย มีคนมาดูผม เคยเจอ มีคนจ้างเราไปเล่นต่างจังหวัด ออกตัว๋ 65,000 คนให้ได้ มันไม่ดเู ป็นแรงบันดาลใจทีน่ า่ เครือ่ งบิน ค่าโรงแรมให้ดว้ ย เฮ้ย---ไม่เคยเจอ สนุกเลย มันดูเย่อหยิง่ เพ้อฝัน มันดูมแี ต่การเอา เฮ้ย---สนุก ได้เริม่ ทำ�อัลบัม้ ที่ 2 เพราะค่ายเห็น ตัวเองไปยึดติดกับตัวเลขชือ่ เสียง มันดูบนั ดาล แล้วว่าไม่ท�ำ ให้เขาเจ๊ง ก็เหมือนได้ขน้ึ บันไดเล็กๆ ใจในทางเหนือ่ ย พอเหนือ่ ยก็ไม่อยากทำ� แต่พอ อีกขัน้ มีคนจำ�ได้มากขึน้ มีงานเพิม่ มากขึน้ เป็น มันไม่มี เราก็รสู้ กึ ว่า วันนีล้ กุ ขึน้ ไปทำ�เพลงให้ บันไดอีกขัน้ ให้เราได้ตอ่ ยอด หมดสัญญากับ เสร็จดีกว่า จาก 1 เพลงเป็น 2 เพลง เป็น 4 เพลง มิวสิก บัก๊ ส์ ได้มาอยูแ่ กรมมี่ ทีนเ้ี หมือนเป็น เป็นอัลบัม้ ทีด่ อี ย่างทีเ่ ราคิด ทำ�เพลงมา 3-4 ก้าวยาวๆ ก้าวหนึง่ คือวิธกี ารทำ�งานเหมือนเดิม อัลบัม้ ก็ เฮ้ย---ทำ�คอนเสิรต์ ใหญ่ๆ อันหนึง่ ได้ OPTIMISE | APRIL 2017

17


สังเกตไหมว่าทำ�ไมเพลง​‘ความเชือ่ ’ ต้องเป็นเสียงอาแอ๊ด คาราบาว...ตอนนัน้ ผมอายุ 25-26 ผมบอกได้เลยผม ร้องท่อนฮุคนีไ้ ม่ได้ ผมยังไม่ตกผลึกพอทีจ่ ะร้องท่อนนี้ แล้วมันน่าเสียดายพลังของเพลงถ้าให้ผมร้องใน อายุเท่านัน้ แล้วนี่ ค่อยๆ ต่อจิก๊ ซอว์ไป ทำ�ในสิง่ ทีช่ อบแล้วก็ ใช้ความรักแก้ปญ ั หาไประหว่างทาง” หากจะมีอกี สักสิง่ นอกเหนือจากความรักใน สิง่ ทีท่ �ำ ทีช่ ว่ ยให้ตนู สามารถปะติดปะต่อเส้นทาง โดยไม่ตอ้ งล้มเลิกไปกลางคัน สิง่ นัน้ ก็คอื ความ รักและการประคับประคองโดยไม่มเี งือ่ นไขจาก คนใกล้ตวั “ผมไม่ได้เก่ง ปัจจัยหนึง่ ทีช่ ว่ ยให้ผมรอดมา ได้ คือการมีเพือ่ นทีด่ ี พีท่ ด่ี ี พีอ่ อ๊ ฟ พีก่ บ บิก๊ แอส หรือพีโ่ ทน ผูจ้ ดั การวง คอยเป็นทีป่ รึกษาทีด่ เี วลา เรามีปญ ั หา เราเป็นแค่ฟนั เฟืองหนึง่ เท่านัน้ เล่าได้เลย ในช่วง 2 ปีทผ่ี มยังไม่ได้ออกอัลบัม้ บิก๊ แอสดังมาก เพลง ‘เล่นของสูง’ ดังมากตอน นัน้ ทีบ่ า้ นผมต้องการสตางค์กอ้ นหนึง่ ไปใช้หนี้ ทีบ่ า้ นก็ไม่ได้มาถามอะไรผมหรอก เพราะเขา รูอ้ ยูแ่ ล้วว่าผมไม่มเี งินก้อนนัน้ แต่ผมก็รวู้ า่ ทำ� อะไรได้กต็ อ้ งทำ� ตอนนัน้ ผมชอบตามไปร้อง เป็นเกสต์ของบิก๊ แอสอยูแ่ ล้ว เป็นเหมือนเด็ก ติดวงไปกับเขาคนหนึง่ ผมก็ไปเล่าให้พก่ี บฟัง ‘พีค่ รับ ทีบ่ า้ นผมมีปญ ั หา’ ไม่คดิ ว่าตัวเองจะ ได้อะไรมากมายจากตรงนัน้ คิดแค่เล่าปัญหา ให้พท่ี เ่ี คารพคนหนึง่ ฟัง แต่เล่าไปยังไม่ทนั จบ ประโยคดี พอพีก่ บรูว้ า่ เป็นเรือ่ งสตางค์ พีเ่ ขา บอก ‘เออ---ไม่ตอ้ งพูด ตูนต้องการเท่าไหร่ ทีบ่ า้ นต้องการเท่าไหร่’ จำ�ได้เลย เพิง่ เสร็จงาน กำ�ลังขึน้ รถตู้ พีก่ บเรียกพีอ่ อ๊ ฟ พีห่ มู พีๆ่ ในวง มาช่วย ‘เฮ้ย---ไอ้ตนู มันเดือดร้อนทีบ่ า้ น ต้องการ เงิน มึงมีเท่าไหร่เอามาช่วยก่อน’ …ลองคิดสภาพตอนนัน้ ผมเป็นใครก็ไม่รู้ เป็นแค่วยั รุน่ ทีไ่ ม่รจู้ ะมีเงินมาคืนเขาหรือเปล่า แต่พเ่ี ขาไม่เคยเอามาเป็นประเด็นทีจ่ ะไม่ให้ เราเลย พีก่ บเอามาให้กอ้ นหนึง่ พีอ่ อ๊ ฟเอามา 18

OPTIMISE | APRIL 2017

ให้กอ้ นหนึง่ หลายคนรวมมา รวมประมาณ เกือบล้านโดยไม่มขี อ้ แม้อะไรเลย ผมถึงได้บอก ว่าชีวติ ผมโชคดี มีพด่ี ๆี เพือ่ นดีๆ คอยประคับ ประคองเกือ้ หนุนกันอยู่ ให้ผมเล่าอีกกีท่ ผี มก็เล่า ได้ ไม่มลี มื เด็ดขาด”

“เราไม่ได้จะลุม่ ลึกอะไร เราแค่ชอบเล่าใน สิง่ ทีเ่ ราเป็นในช่วงเวลานัน้ มากกว่าสิง่ ทีเ่ ราไม่ได้ รูส้ กึ อย่างเพลงในอัลบัม้ บอดีส้ แลม ก็คอื เพลง ของวัยรุน่ กลุม่ หนึง่ แน่นอนคนอายุ 20 ต้นๆ พูด เรือ่ งอะไรได้ไม่เยอะ มันก็คกุ รุน่ อยูก่ บั เรือ่ งความ รัก ความคิดถึง ขนาดพูดเรือ่ งความฝัน ก็เป็น เติบโตตามเส้นทาง ความฝันในมุมแคบ ในแบบทีเ่ รายังมองไม่เห็น กระนัน้ ท่ามกลางการก้าวไปเรือ่ ยๆ อย่างไม่ ด้านไหนของมันนอกจากการพยายามทำ�มัน ยัง หยุดยัง้ ของบอดีส้ แลม ไม่ใช่แฟนเพลงทุกคนจะ ไม่ได้เห็นความจริงของมันในด้านความล้มเหลว ถูกใจกับแต่ละก้าว หรือแม้กระทัง่ เห็นว่าบอดี-้ พูดถึงความรักก็เป็นความรักหวานชืน่ สิง่ เหล่านี้ สแลมได้เดินมาผิดทาง แฟนเพลงบางส่วน เราไม่รหู้ รอกว่าเท่หรือไม่เท่ เราเลือกจะร้องเพลง ทีโ่ ตมากับบอดีส้ แลมในยุคต้นอย่างอัลบัม้ ทีเ่ รารูส้ กึ มากกว่าร้องเพลงทีค่ นอืน่ คิดว่าเท่แต่ ‘Bodyslam’ ‘Drive’ ‘Believe’ ทีม่ เี นือ้ เพลง เราไม่รสู้ กึ กับมันเลย เพราะมันจะเบาหวิวมาก ว่าด้วยความสมหวังผิดหวังของความรักใน สำ�หรับเรา ตรงกันข้าม ถ้าเรารูส้ กึ แล้ว เราก็จะ ท่วงทำ�นองเข้าใจง่ายจนกลายเป็นเพลงชาติของ ไม่แคร์คนว่า แหม---ทำ�ไมเพลงหวานเลีย่ นจัง ผับทัว่ ประเทศ (“อดใจไม่ไหวเมือ่ ได้พบหน้า หน่อมแน้มจัง ก็เพราะเราคิดได้แค่น้ี เล่นได้แค่ ยิง่ เธอส่งยิม้ คืนมายิง่ หวัน่ ไหว”) พบว่าเพลงของ นี้ เราก็ภมู ใิ จนำ�เสนออย่างนี้ เราจริงกับตัวเรา อัลบัม้ ในระยะหลังอย่าง ‘คราม’ หรือ ‘ดัม-มะในตอนนัน้ เพียงแต่สดุ ท้ายมันอาจมีคนทีไ่ ด้ฟงั ชา-ติ’ ทีม่ กั พูดถึงมิตอิ น่ื ของชีวติ นอกเหนือจาก เพลงแล้วรูส้ กึ ว่า เฮ้ย---เพลงนีม้ นั จริงกับเขาด้วย ความรักนัน้ มีเนือ้ หาลึกซึง้ เกินกว่าจะฟังให้ ‘อิน’ เหมือนกันนี่ บังเอิญมีเรือ่ งราวเหมือนกัน ก็สมั ผัส ได้เหมือนก่อน (“แต่งเติมสีและสัน ด้วยห่าฝน มันได้ แค่นน้ั เอง จากฟ้าแต่งขอบผาด้วยไฟของเมฆดำ� เปรียบ …สังเกตไหมว่าทำ�ไมเพลง​‘ความเชือ่ ’ ต้อง พายุทโ่ี หมกระหน�ำ่ ดังปลายพูก่ นั สัน่ ไหว”) บาง เป็นเสียงอาแอ๊ด คาราบาว (ยืนยง โอภากุล) คนถึงกับใช้ทอ่ นฮุคจากเพลง ‘เรือเล็กควรออก เพราะตอนทีแ่ ต่งเพลงนีเ้ สร็จ มีทอ่ นหนึง่ บอก จากฝัง่ ’ ในอัลบัม้ ดัม-มะ-ชา-ติ ทีบ่ อกว่า “จะ ว่า “ชีวติ มันต้องเดินตามหาความฝัน หกล้มคลุก ออกไปแตะขอบฟ้า สุดท้ายแม้โชคชะตาไม่ คลานเท่าไหร่ มันจะไปจบทีต่ รงไหน แต่จะยังไง เข้าใจ” มาตัดพ้อแนวทางการทำ�เพลงในยุคหลัง ก็ตอ้ งไปให้ถงึ ทีส่ ดุ ถ้ามันจะไม่คมุ้ แต่มนั ก็ดที ่ี ของตูนว่า “หลังจากพีต่ นู ออกไปแตะขอบฟ้า อย่างน้อยได้จดจำ�ว่าครัง้ หนึง่ เคยก้าวไป แค่คน แล้ว พีต่ นู ก็ยงั ไม่กลับมาอีกเลย” อย่างไรก็ตาม ทีเ่ ชือ่ ในความฝัน จะเหน็ดจะเหนือ่ ยก็ยงั ต้องเดิน สำ�หรับตูน แต่ละอัลบัม้ ถูกสร้างมาด้วยกลวิธไี ม่ ต่อไป” ตอนนัน้ ผมอายุ 25-26 ผมบอกได้เลยผม ต่างกัน คือการถ่ายทอดความรูส้ กึ จริงแท้ทเ่ี กิด ร้องท่อนฮุคนีไ้ ม่ได้ ผมยังไม่ตกผลึกพอทีจ่ ะร้อง ขึน้ กับตัวเขาเองในแต่ละช่วงเวลา ท่อนนี้ แล้วมันน่าเสียดายพลังของเพลงถ้าให้ผม


optimum view

OPTIMISE | APRIL 2017

19


20

OPTIMISE | APRIL 2017


optimum view

ถ้าทุกคนทำ�มิตติ วั เองดีทส่ี ดุ แล้ว ในองค์รวมมันจะดีขน้ึ เองโดยอัตโนมัติ ไม่ตอ้ งคิดใหญ่ ไม่ตอ้ งคิดจะไปกอบกู้ โลก ไม่ตอ้ งตัง้ ใจว่าพรุง่ นีจ้ ะไปช่วยการกุศล ไปมอบเงิน ให้ใครเป็นหมืน่ เป็นแสน แค่กลับบ้านไปถามว่า ‘แม่กนิ ข้าว หรือยัง พ่อกินข้าวหรือยัง’ ทำ�รอบตัวเราให้ดสี ดุ ก่อน ร้องในอายุเท่านัน้ ผมบอกกับทีมเลยว่าผมอยาก ให้อาแอ๊ด คาราบาว เป็นคนร้องเพลงนี้ เพราะ นัน่ ถึงจะเป็นเสียงของคนทีป่ ระสบความสำ�เร็จ แล้ว ผ่านสิง่ ต่างๆ มาแล้ว เขา ‘มีสทิ ธิ’์ ทีจ่ ะร้อง เราไม่มสี ทิ ธิ์ ถึงมันจะเท่แค่ไหน เราก็รอ้ งไม่ได้ ตอนนัน้ เรายังเอาตัวเองไม่รอดเลย …คนอายุ 30 เกือบ 40 ในอัลบัม้ ดัม-มะชา-ติ ก็เป็นคนเดียวกันกับอัลบัม้ แรก แต่ได้ผา่ น เวลามากขึน้ ได้พดู คุยกับคนมากขึน้ ได้พดู คุย กับความผิดหวังมากขึน้ ได้คดิ ได้เห็นมากขึน้ มัน ก็เลยทำ�ให้เรือ่ งทีพ่ ดู มัน ‘เดินทาง’ ผมไม่อยาก ใช้ค�ำ ว่าเปลีย่ นแปลง ถ้ามันเปลีย่ น มันก็เปลีย่ น ในทุกวัน แน่นอน ถ้าเอาอัลบัม้ แรกกับอัลบัม้ ที่ 6 ไปเปิดต่อกัน มันเหมือนเปลีย่ น แต่ถา้ ค่อยๆ ลองฟังต่อกันไปทุกอัลบัม้ มันจะเห็นเป็นการเดิน ทาง ผมว่ามันไม่แฟร์ทจ่ี ะเปรียบเทียบว่าอัลบัม้ ที่ 6 ดีหรือไม่ดกี ว่าอัลบัม้ อืน่ ๆ สำ�หรับเรา มัน คืออัลบัม้ ทีด่ ที ส่ี ดุ ในแต่ละช่วงเวลา เรือ่ งราวใน อัลบัม้ ที่ 6 ก็พดู ในความทีเ่ ราเป็นคนอายุเท่านี”้ อาจเป็นเช่นเดียวกับทีเ่ คิรท์ โคเบน ร็อกเกอร์ ระดับตำ�นานของวง Nirvana บอกไว้ในเพลง ว่า “I would rather be dead than cool” ตูนไม่ เห็นว่าความหวานเลีย่ นเป็นความผิดเท่าใด เขา ก็ไม่เห็นว่าการทำ�เพลงยากเพือ่ ให้ดู ‘เท่’ มีความ จำ�เป็นเท่านัน้ สิง่ สำ�คัญคือคุณภาพและความ ซือ่ สัตย์ตอ่ สิง่ ทีต่ วั เองเป็น “เราไม่เคยคิดเลยนะว่ามันเป็นเพลงพาณิชย์ หรือเพลงศิลปะ เพราะสุดท้ายตัวเราก็เป็นคนฟัง เพลงป๊อป ไปดูคอนเสิรต์ ป็อปอย่างทุกคน นีแ่ หละ ฉะนัน้ สิง่ ทีเ่ ราอยากทำ� ก็ไม่พน้ สิง่ ทีเ่ รา ชอบ คือทำ�เพลงดีๆ เหมือนทีท่ กุ คนอยากได้ยนิ เพียงแต่เราอยากทำ�ให้มนั มีคณ ุ ภาพมากทีส่ ดุ

เท่านัน้ เอง คำ�ว่าขายหรือไม่ขายไม่เคยอยูใ่ น หัวเรา ในหัวเราคือทำ�แล้วมันดีไหม”

จูงมือกันไป

อย่างไรก็ตาม ดัง่ เห็นได้จากความสำ�เร็จ ของโครงการก้าวคนละก้าว มุมมองแบบปัจเจก ของตูนทีใ่ ห้ความสำ�คัญกับความรูส้ กึ และการ กระทำ�ส่วนตัว ไม่เพียงเอือ้ ต่อการสร้างผลงาน ดนตรีคณ ุ ภาพ หากเมือ่ ได้ท�ำ อย่างมุง่ มัน่ ยังมี ศักยภาพทีจ่ ะเปลีย่ นแปลงในสิง่ ทีก่ ว้างไกลกว่า ตัวเองอีกด้วย “ทุกคนทำ�ในส่วนทีต่ วั เองรับผิดชอบให้ดี ทีส่ ดุ มีแรงเท่าไหร่ ทำ�แค่นน้ั ผมไม่เชือ่ กับการ ออกไปทำ�ข้างนอกสวยหรู แต่ในบ้านตัวเอง พ่อแม่ยงั อยูไ่ ม่ดี กินไม่ดี ทุกคนไม่ตอ้ งวิง่ 400 กิโลเมตร ทุกคนไม่ตอ้ งออกมาดูแลโรงพยาบาล ใหญ่ๆ ทุกคนทำ�ในจุดเล็กๆ ของตัวเอง ดูแล ตัวเองให้เป็นคนทีม่ คี ณ ุ ภาพดีๆ คนหนึง่ อย่างที่ ตัวเองทำ�ได้ ดูแลพ่อแม่ พีส่ าวน้องชาย ญาติพน่ี อ้ ง เอามิตเิ ล็กๆ ในครอบครัวให้ดที ส่ี ดุ ถ้าทุกคนทำ�มิตติ วั เองดีทส่ี ดุ แล้ว ในองค์รวม มันจะดีขน้ึ เองโดยอัตโนมัติ ไม่ตอ้ งคิดใหญ่ ไม่ ต้องคิดจะไปกอบกูโ้ ลก ไม่ตอ้ งตัง้ ใจว่าพรุง่ นี้ จะไปช่วยการกุศล ไปมอบเงินให้ใครเป็นหมืน่ เป็นแสน แค่กลับบ้านไปถามว่า ‘แม่กนิ ข้าวหรือ ยัง พ่อกินข้าวหรือยัง’ ทำ�รอบตัวเราให้ดสี ดุ ก่อน ความจริงโครงการก้าวคนละก้าวก็เริม่ มาอย่าง นีเ้ หมือนกัน เราไม่ได้เป็นคิดออกแบบอย่างนี้ มาตัง้ แต่ตน้ เราแค่ท�ำ เล็กๆ ของเรา แต่เพราะ จังหวะและโอกาสต่างๆ มันทีเ่ ข้ามาพอดีกนั ต่างหาก เหมือนเดิม มันแค่ขน้ั บันไดทีละขัน้ ” ในกรณีน้ี ขัน้ บันไดทีเ่ กิดขึน้ คือ ตูนไปสร้าง บ้านพักตากอากาศและใช้ชวี ติ อยูท่ อ่ี �ำ เภอ

บางสะพาน ทำ�ให้คนุ้ เคยกับชุมชน (คนในพืน้ ที่ รูจ้ กั เส้นทางวิง่ ประจำ�วันของตูนดีวา่ จะไปจบที่ ร้านน�ำ้ แข็งไสในตลาด) จนวันหนึง่ ผูอ้ �ำ นวยการ โรงพยาบาลบางสะพานได้ขอให้เขามาช่วยเป็น ‘ดารา’ เข้าร่วมโปรโมตกิจกรรมวิง่ 10 กิโลเมตรที่ โรงพยาบาลจะจัดขึน้ เพือ่ ระดมทุนมาซือ้ อุปกรณ์ การแพทย์ทข่ี าดแคลน ซึง่ แน่นอนว่าตูนตอบ ตกลง อย่างไรก็ตาม เมือ่ ได้ไปถึงโรงพยาบาล และเห็นภาพรายละเอียดเบือ้ งหลังคำ�ว่า ขาดแคลน ไม่วา่ จะเป็นจำ�นวนเตียงทีไ่ ม่พอ ภาพผูป้ ว่ ยทีน่ ง่ั รออย่างแออัด หมอทีต่ อ้ งยืมตัว มาจากโรงพยาบาลหัวหินหรือโรงพยาบาล ประจวบคีรขี นั ธ์แบบไม่มคี า่ จ้าง หรือแม้กระทัง่ เด็กทารกทีต่ อ้ งถูกย้ายออกจากตูอ้ บเพือ่ เปิดที่ ให้กบั เด็กทารกอีกคนทีอ่ าการหนักกว่า ตูนก็ ตัดสินใจทำ�มากกว่าทีถ่ กู ขอ “จุดประสงค์ของคุณหมอคือจัดอีเวนท์ เพือ่ กระตุน้ การรักสุขภาพ และถ้ามันได้ก�ำ ไร จากอีเวนท์น้ี ก็จะเอามาซือ้ ของสนับสนุน โรงพยาบาลในส่วนทีข่ าดแคลนต่อไป แต่มอง แล้วอีเวนท์ทค่ี ณ ุ หมอจะจัดไม่มที างเหลือกำ�ไร มาซือ้ อุปกรณ์แม้แต่เครือ่ งเดียว เพราะอุปกรณ์ การแพทย์แพงมาก มันทำ�ได้แค่เป็นสีสนั และ กระตุน้ เตือนให้คนมาออกกำ�ลังกาย ผมเลยรับ ปากไวๆ กับคุณหมอเลยว่า ‘คุณหมอครับ ผมขอ อาสาทำ�ตรงนีใ้ ห้คณ ุ หมอเองครับ’ โดยทีต่ อนนัน้ ผมไม่มภี าพอะไรในหัวเลยว่าจะทำ�อะไรให้เขา ผมแค่มน่ั ใจว่าอย่างไรก็แล้วแต่ เราน่าจะทำ�แล้ว เหลือเงินได้มากกว่าเขา เพราะเรารูจ้ กั ออร์แกไนเซอร์ รูจ้ กั เพือ่ น รูจ้ กั สินค้าทีเ่ ราไปขอให้ชว่ ยได้ จับแพะชนแกะง่ายๆ แล้วเราน่าจะทำ�ได้” แต่เมือ่ กลับมาถึงกรุงเทพฯ ตูนพบว่าราย ละเอียดไม่งา่ ยอย่างทีเ่ ขาคิด การจัดงานวิง่ ที่ บางสะพานไม่ใช่เรือ่ งยาก แต่จดั ให้เหลือเงิน เยอะพอจะซือ้ อุปกรณ์แพทย์ไม่ใช่เรือ่ งง่าย โดย เฉพาะในเมือ่ การเชิญชวนให้คนกรุงเทพฯ ขับรถ เป็นระยะทางถึง 400 กิโลเมตรหรือกว่าครึง่ วัน เพือ่ มาเข้าร่วมกิจกรรมย่อมหมายความว่า ระยะ การวิง่ ไม่ควรสัน้ เพียงแค่ 10 กิโลเมตร แต่ควร ยาวถึงระยะ 21 กิโลเมตรหรือ Half-Marathon ซึง่ สุดท้ายจะนำ�ไปสูค่ า่ ใช้จา่ ยทีม่ ากขึน้ และ กำ�ไรทีน่ อ้ ยลง OPTIMISE | APRIL 2017

21


เราไม่ได้ทำ�ตรงนีเ้ พราะมันเป็นหน้าที่ เราทำ�เพราะสิง่ ทีเ่ ป็น หลักยึดของเรามาตลอดคือความสุข ผมชอบออกกำ�ลัง กาย ผมชอบวิง่ แต่มนั ดันพอดีวา่ สิง่ ทีเ่ ราชอบมันส่งเสริม ให้ไปต่อยอดทำ�อะไรได้มากขึน้ ผมจึงบอกเสมอว่าผมโชคดี ทีช่ อบทำ�เรือ่ งพวกนี้ เราไม่ได้เป็นคนดีกว่าใคร ไม่ได้พเิ ศษ กว่าใคร เราเป็นคนปกติ ถ้าเราทำ�อะไรก็เพราะเรามีความสุข “สุดท้ายผมเลยตัดค่าใช้จา่ ยทุกอย่างออก หมดเลย ไม่ตอ้ งมีคา่ สมัครของคน ไม่ตอ้ งมีคา่ ใช้จา่ ยเรือ่ งอาหารทีพ่ กั ของทีมงานหลายร้อยคน ไม่ตอ้ งมีคา่ เสือ้ ทีร่ ะลึก ค่าอาหารของคนทีเ่ ข้า แข่ง ใช้ตวั เราเองนีแ่ หละ ต้นทุนคือตัวเรา วิง่ จาก กรุงเทพฯ ลงไปบางสะพานเพือ่ เรีย่ ไรเงินจากคน ไทยทัว่ ประเทศเอาไปให้คนทีก่ �ำ ลังขาดแคลนที่ บางสะพาน ใช้การวิง่ บอกข้อความไปตลอดทาง บอกปากเปล่า บอกผ่านโซเชียล มีเดีย ให้รวู้ า่ ปัญหานีเ้ ป็นปัญหาทีเ่ ราต้องช่วยกัน ว่าปัญหานี้ ไม่ได้เกิดทีบ่ างสะพานเท่านัน้ แต่เกิดขึน้ กับ โรงพยาบาลรัฐโดยทัว่ ไป บอกปัญหานีไ้ ปให้ ไกลทีส่ ดุ โดยใช้ความไกลเกินจริงของการวิง่ ใช้ระยะทาง 400 กิโลเมตร มาทำ�ให้คนสนใจว่า ไอ้นกั ร้องหุน่ ขีย้ าคนนีจ้ ะวิง่ ได้ไหม ถ้าแค่จดั งาน วิง่ ในสวนสาธารณะ 4 รอบ 40 กิโลเมตร เพือ่ ให้ ทุกคนเห็นความขาดแคลนของเครือ่ งมือแพทย์ ในโรงพยาบาล มันจะเบาหวิวมากเลย เป็นแบบ ตืน่ มาวิง่ กันเช้าวันอาทิตย์แล้วก็ ‘โอเค---เรารับรู้ ปัญหา’ แล้วก็กลับบ้านใครบ้านมัน ตกเย็นก็ลมื แล้ว แต่ พอบอกผ่านวิธนี ้ี มันจะเข้มข้น แล้วถูก ตอกย�ำ้ ด้วย 10 วันทีเ่ ราวิง่ …แต่ทง้ั หมดทัง้ มวล เราไม่ได้ท�ำ ตรงนีเ้ พราะ มันเป็นหน้าที่ เราทำ�เพราะสิง่ ทีเ่ ป็นหลักยึดของ เรามาตลอดคือความสุข ผมชอบออกกำ�ลังกาย ผมชอบวิง่ แต่มนั ดันพอดีวา่ สิง่ ทีเ่ ราชอบมัน ส่งเสริมให้ไปต่อยอดทำ�อะไรได้มากขึน้ ผมจึง บอกเสมอว่าผมโชคดีทช่ี อบทำ�เรือ่ งพวกนี้ เราไม่ ได้เป็นคนดีกว่าใคร ไม่ได้พเิ ศษกว่าใคร เราเป็น

22

OPTIMISE | APRIL 2017

คนปกติ เป็นคนไม่ดดี ว้ ยซ�ำ้ พูดคำ�หยาบมาก ด้วย อารมณ์รอ้ นมากด้วย เราเป็นคนปกติ ถ้าเราทำ�อะไรก็เพราะเรามีความสุข …มีคนถามว่าเงิน 80 ล้านทีเ่ ราไปมอบให้ โรงพยาบาลบางสะพาน เราไม่เข้าไปตรวจสอบ เหรอ ไม่เข้าไปดูการใช้จา่ ยให้มปี ระสิทธิภาพ ทีส่ ดุ เหรอ ผมไม่อยาก ผมไม่ได้มหี น้าทีต่ รวจ สอบ ผมเชือ่ ในคนทีผ่ มให้ ผมเชือ่ ว่าเราได้ท�ำ ดี ทีส่ ดุ ในหน้าทีข่ องเราแล้ว และเชือ่ ว่าคุณหมอที่ มีหน้าทีต่ รงนัน้ เขาก็จะทำ�หน้าทีด่ ที ส่ี ดุ ของเขา เหมือนกัน เหมือนเราทำ�บุญ เรายกขึน้ จบแล้ว เราได้ยกให้เขาแล้ว เรามีความสุขทีส่ ดุ แล้ว เรา ไม่สนุกทีจ่ ะเข้าไปเจ้ากีเ้ จ้าการ แล้วผมก็เชือ่ ว่า คนไทยก็เป็นเช่นเดียวกัน เขามีความสุขแล้วที่ เขาได้ให้ แล้วเขาก็เชือ่ ว่าคนทีเ่ ขาได้ให้จะนำ�เงิน 5-10 บาทจากคนไทยทัว่ ประเทศไปใช้อย่างมี ประสิทธิภาพมากทีส่ ดุ ”

“ผมก็เห็นโรงพยาบาลรัฐเป็นแบบนีม้ าตัง้ แต่ เด็ก อีก 10-20 ปีขา้ งหน้า ก็ยงั อาจจะเป็นแบบ นีต้ อ่ ไป เท่าไหร่กไ็ ม่พอ ต่อให้รฐั บาลช่วยแล้วก็ อาจไม่พอ เราเองนีแ่ หละทีถ่ งึ เวลาแล้ว ไม่ตอ้ ง โทษใคร ไม่ใช่เวลาหาคนผิด มันเป็นเวลาของ การช่วยคนละเล็กละน้อย ช่วยแรง ช่วยเป็น กระบอกเสียง ช่วยสมทบกองรวม อะไรก็แล้ว แต่ ทำ�ได้ในส่วนทีท่ �ำ ได้ ไม่ใช่เวลาคอมเมนต์ คนนีผ้ ดิ ทำ�ไมคนนีไ้ ม่ท�ำ ไม่ใช่แล้ว มันไม่เกิด ประโยชน์ ระหว่างทาง ผมวิง่ เจอเด็กน้อยคน หนึง่ ยกกระปุกออมสินมาให้ผมทัง้ กระปุก ทัง้ ปี เขาเก็บออมมา อยากจะได้ของเล่นสักชิน้ แต่พอ รูว้ า่ จะเอาเงินมาช่วยคนป่วย เขายกกระปุกทีเ่ ขา สะสมมาเป็นปีๆ ตัดใจไม่เอาของเล่นนัน้ เอามา ยกให้คนอืน่ เงิน 5 บาท 10 บาทของเด็กน้อยยัง เกิดประโยชน์มากกว่าคอมเมนต์ทเ่ี ราตัดสินกัน ถึงแม้เราจะถูกก็ตาม” เงินจำ�นวน 80 ล้านบาทแม้จะเป็นจำ�นวน ก้าวคนละก้าว มาก แต่เมือ่ ใช้จา่ ยสำ�หรับเครือ่ งมืออุปกรณ์ ท่ามกลางกระแสการจัดซือ้ จัดจ้างขนาดใหญ่ การแพทย์ทร่ี าคาอยูใ่ นหลักแสนและล้าน ของรัฐบาลหลายโครงการทีป่ ระชาชนยังตัง้ ช้าเร็วย่อมต้องหมดลง และแม้ในทีส่ ดุ ข้อกังขา โครงการระดมทุนเพือ่ โรงพยาบาลที่ โรงพยาบาลบางสะพานจะจัดหาเครือ่ งมือ ขาดแคลนอาจถูกมองได้วา่ เป็นการแสดงออก อุปกรณ์การแพทย์ได้ครบตามความต้องการ เพือ่ ประท้วงการดำ�เนินงานของภาครัฐ กระนัน้ ปัญหาอย่างเดียวกันก็ยงั คงเกิดขึน้ กับโรง คำ�ตอบของตูนบอกชัดว่าโครงการของเขา พยาบาลรัฐในท้องทีอ่ น่ื ๆ แต่ส�ำ หรับตูนผูต้ น่ื มา ต่อยอดขึน้ มาจากความสุข และหากโครงการนี้ ซ้อมวิง่ วันละ 10-21 กิโลเมตรทุกเช้า เขารูด้ วี า่ จะตัง้ คำ�ถามต่อสิง่ ใด สิง่ นัน้ ก็ไม่ใช่นโยบายใด ระยะทางกว่าจะถึงเส้นชัยยังไม่ใช่สง่ิ ทีเ่ ขาต้อง นโยบายหนึง่ ของรัฐ หากแต่เป็นการกระทำ�หรือ กังวลในตอนนี้ ไม่กระทำ�อะไรของประชาชนทุกคนนีเ่ อง ชีวติ ของเขาดำ�เนินไปทีละก้าวเสมอมา


optimum view

OPTIMISE | APRIL 2017

23


01

24

OPTIMISE | APRIL 2017


FULL FLAVORS

Kitchen Confidential เมือ่ เหล่า ‘เชฟส่วนตัว’ ไปเยือนถึงบ้านเพือ่ มอบประสบการณ์ รับประทานอาหารอย่างใกล้ชดิ และเลิศหรู เมือ่ จัดโต๊ะและพิมพ์เมนูอาหารเสร็จสิน้ ‘เชฟแพม’ พิชญา อุทารธรรม ก็ปลีกตัวมานัง่ พักเหนือ่ ยในครัวของทีท่ ป่ี กติเธอใช้เป็นบ้าน แม้แขกกำ�ลังจะเดินทางมาถึงในอีก 4 ชัว่ โมง แต่บนเคาน์เตอร์เตรียมอาหารกลับปราศจาก กองเครือ่ งครัววางระเกะระกะอย่างทีม่ กั จะ เกิดขึน้ เวลาจัดปาร์ตท้ี บ่ี า้ น สัญญาณเดียวที่ บ่งบอกว่ามีงานเลีย้ งกำ�ลังจะเกิดขึน้ คือเสียง จากเครือ่ งซูวี (sous-vide) ทีท่ �ำ งานอยูเ่ งียบๆ ตรงมุมห้อง และกลิน่ น�ำ้ สต๊อกเนือ้ ทีล่ อยคลุง้ ในอากาศ พิชญาเพิ่งเริ่มเข้ามาจับธุรกิจนี้ในช่วง 02

เดือนกุมภาพันธ์ปีที่ผ่านมา แต่เหล่า ‘ฟู๊ดดี้’ วงในของกรุงเทพฯ ได้พากันมอบตำ�แหน่งเชฟ รุ่นใหม่อนาคตไกลให้เธอไปเป็นที่เรียบร้อย พิชญา ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจเชฟส่วนตัวในชื่อ The Table by Chef Pam บรรจงสร้างสรรค์ มื้ออาหารด้วยเทคนิคการปรุงแบบฝรั่งเศส ที่ ผสมผสานกลิ่นอายความเป็นตะวันออกด้วย เป็นครั้งคราว อาทิ ราวิโอลียัดไส้ฟัวกราส์และ เชอร์รี่เคล้าเนย สลัดเคลเสิร์ฟพร้อมคุ้กกี้ตุอีล ทำ�เอง และเค้กดาร์กช็อกโกแลตลาวาไส้เยิ้ม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นแค่เศษเสี้ยวของเมนูทั้งหมดที่ เธอปรุงเท่านั้น

“ปกติเวลาพูดว่าอาหารฝรั่งเศส คนจะ นึกถึงครีมจัด เนยจัด และของหนักทั้งหลาย แต่อาหารฝรั่งเศสของเราจะออกแนวซุปปี้ รสโปร่งๆ เปรี้ยว เบา แล้วก็สดชื่นกว่า” เชฟสาวร่างเล็กน่ารักวัย 27 อธิบาย บ้านของพิชญาตั้งอยู่ในซอยเงียบๆ แห่ง หนึ่งบนถนนสุขุมวิท เบื้องหลังประตูเหล็กโอ่อ่า ในเดือนหนึ่งๆ พิชญาจัดดินเนอร์มากถึง 10 ครั้ง และอาจมีแขกมากถึงครั้งละ 12 คน โดย สนนราคาสำ�หรับเมนู 6 คอร์ส ซึ่งได้รับการ สร้างสรรค์เฉพาะสำ�หรับแต่ละครั้ง เริ่มต้นที่ 2,500 บาทต่อคน ส่วนลูกค้าคนใดที่ไม่สะดวก

ในเดือนหนึ่งๆ พิชญาจัด ดินเนอร์มากถึง 10 ครั้ง และอาจมีแขกมากถึงครั้ง ละ 12 คน โดยสนนราคา สำ�หรับเมนู 6 คอร์ส ซึ่ง ได้รับการสร้างสรรค์เฉพาะ สำ�หรับแต่ละครั้ง เริ่มต้น ที่ 2,500 บาทต่อคน 01 ห้ อ งรั บ ประทานอาหารอั น โอ่ อ ่ า ของ ลู ก ค้ า รายหนึ ่ ง ของเชฟจาโคโบ แอสเทรย์ 02 เชฟพิ ช ญา อุ ท ารธรรม ปรุ ง อาหาร ในครั ว ส่ ว นตั ว OPTIMISE | APRIL 2017

25


03

04

ด้วยความทีแ่ วดวงอาหาร ของกรุงเทพฯ พัฒนาไป ไม่นอ้ ย เหล่าเชฟมากฝีมอื แบบพิชญาจำ�นวนมากขึน้ เรือ่ ยๆ จึงเลือกปลดแอก ตัวเองจากกิจวัตรอันซ้ำ�ซาก ของร้านอาหารมาสร้างเมนู แบบเสรีทบ่ี า้ นลูกค้า หรือบ้านของตัวเองแทน

26

OPTIMISE | APRIL 2017

06

05

ไปถึงบ้านกว้างขวาง งดงามของเธอ พิชญา จะเป็นฝ่ายไปเยือนเองถึงประตูบ้านและลงมือ ปรุงอาหารจากสิ่งที่มีในครัว โดยเท่าที่ผ่านมา ประสบการณ์การทำ�อาหารที่เธอจัดว่าท้าทาย ที่สุดคือการปรุงดินเนอร์ในห้องครัวของคอนโด ที่ไร้เตาอบ “เราเลยออกแบบเมนูที่ไม่ต้องใช้ เตาอบและยกเตาไฟฟ้าไปเอง” พิชญาเล่า ผูท้ ไ่ี ด้ลม้ิ ลองอาหารฝีมอื เธอคงจะเห็นพ้อง ว่าราคาทีต่ อ้ งจ่ายนัน้ คุม้ ค่า แม้จะอายุยงั น้อย แต่พชิ ญาก็มปี ระวัตกิ ารทำ�งานทีน่ า่ เกรงขาม หลังจบการศึกษาจากสถาบัน Culinary Institute of America อันทรงเกียรติ เธอได้ ร่วมงานกับร้าน Le Beaulieu ในกรุงเทพฯ (ซึ่งปิดตัวไปท่ามกลางความครำ�่ ครวญของ แฟนๆ) และร้านประดับ 3 ดาวมิชลินอย่าง Jean Georges บนอาคาร Trump Tower ในมหานครนิวยอร์ก นอกจากนั้น ในฐานะ ตัวแทนประเทศไทย เธอยังได้รับรางวัลชนะ

เลิศในการแข่งขันทำ�อาหาร Great Escoffier International ในปี 2555 ก่อนจะเดินทางไป แข่งชิงแชมป์โลกต่อที่เมืองอาวีญงและคว้า อันดับ 2 มาครองอีกด้วย ปกติฝีมือระดับพิชญา ย่อมง่ายที่จะไปอยู่ กับร้านหรูใดๆ ในกรุงเทพฯ หรือแม้กระทั่งเปิด ร้านให้เลื่องลือภายใต้ชื่อของตัวเอง แต่ด้วย ความที่แวดวงอาหารของกรุงเทพฯ พัฒนาไป ไม่น้อย เหล่าเชฟมากฝีมือแบบพิชญาจำ�นวน มากขึ้นเรื่อยๆ จึงเลือกปลดแอกตัวเองจาก กิจวัตรอันซ้ำ�ซากของร้านอาหารมาสร้างเมนู แบบเสรีที่บ้านลูกค้า หรือบ้านของตัวเองแทน เจส บาร์นส์ ที่ปรึกษาร้านอาหารและอดีต เชฟจาก Opposite Mess Hall เลิกทำ�ร้าน อาหารตั้งแต่ปี 2559 เขาเป็นอีกคนที่คุ้นเคย กับการทำ�งานแนวใหม่นี้และรู้สึกว่าการที่ ‘private chef’ หรือเชฟส่วนบุคคลในกรุงเทพฯ มีจำ�นวนเพิ่มขึ้นเป็นเรื่องเข้าใจได้ “สำ�หรับ


FULL FLAVORS หลายๆ คน การเป็นเจ้าของร้านอาหารเหมือน เมื่อก่อนกลายเป็นเรื่องไม่ค่อย ‘ว้าว’ แล้ว” เขา กล่าว พร้อมยกเหตุผลน่าเหนื่อยใจอย่างต้นทุน ที่สูงขึ้นและการขาดแคลนพนักงาน “การทำ� ร้านอาหารสักร้านเป็นเรื่องเหนื่อย กำ�ไรน้อย มีช่วงเครียดช่วงหนักตลอด ไม่ใช่ว่าทุกคนจะ ชอบชีวิตแบบนี้ หลายคนแค่อยากทำ�อาหาร เป็นอาชีพ โดยไม่ต้องการทำ�งานส่วนอื่นๆ” ทางด้านพิชญามองเป็นเรื่องของอุปสงค์ อุปทาน “ตอนเรากลับมาจากนิวยอร์ก ก็มี ร้านอาหารเปิดเต็มไปหมดแล้ว แปลกใจมาก ว่าแวดวงอาหารบ้านเราอิม่ ตัวขนาดนี”้ เธอเล่า เป็นความจริงที่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แวดวงร้านอาหารในกรุงเทพฯ มีการเปลี่ยน แปลงขนานใหญ่ อย่างน้อยก็ถึงขนาด ดึงดูดดาวเด่นอย่างโจเอล โรบูชง ยอดเชฟ ชาวฝรั่งเศส และเจมี่ โอลิเวอร์ เชฟดังชาว อังกฤษให้เข้ามาเปิดร้านได้ พิจารณาจาก เว็บ TripAdvisor เพียงอย่างเดียว จำ�นวนร้าน อาหารในกรุงเทพฯ ก็มีถึง 10,000 แห่งแล้ว จึง ไม่ใช่เรื่องแปลกนักที่เชฟหนุ่มสาวไฟแรงจะหา หนทางเอาชนะใจลูกค้าด้วยวิธีการใหม่ๆ ไม่

ว่าจะเป็นการสร้างสรรค์เมนูเฉพาะโอกาส เพิ่ม ลูกเล่นเซอร์ไพรส์ ไปจนถึงการให้บริการแบบ ที่สุดแห่งความเป็นส่วนตัว ซึ่งบ่อยครั้งเกิดขึ้น ภายในบ้านของลูกค้าเอง ความรุม่ รวยจำ�นวนร้านอาหารอย่างเดียว ไม่เพียงพอสำ�หรับกรุงเทพฯ อีกต่อไป ดังทีเ่ ชฟ เจอโรม โกเดอฟี แห่ง Bel-Ami กล่าวว่า “บ่อย ครัง้ เราอาจรูส้ กึ ว่าร้านมันเหมือนๆ กันหมด เมนู ก็คล้ายกัน แถมลูกค้ายังเป็นกลุม่ เดียวกันอีก ทัง้ ๆ ทีบ่ างทีดนิ เนอร์นา่ จะเป็นอะไรทีพ่ เิ ศษและ น่าจดจำ�กว่านัน้ เชฟส่วนตัวจึงเป็นทางเลือก ใหม่เพราะสามารถสร้างเมนูอาหารแบบพิเศษ เฉพาะมือ้ นัน้ มือ้ เดียว” เจอโรมเคยเป็นเจ้าของร้านอาหาร La Cuisine บนเกาะสมุย แต่แม้ในช่วงเวลา ดังกล่าว เขาเองก็จ�ำ กัดจำ�นวนแขกสูงสุดอยู่ ที่เพียง 15 คนต่อมื้อเท่านั้น เขามาได้แนวคิด ใหม่ในการทำ�ร้านอาหารหลังย้ายมาพำ�นักที่ กรุงเทพฯ เมื่อปีที่แล้ว “ผมพยายามมองหา ทำ�เลสักแห่งที่ดูดี แต่พอไม่เจอที่ที่ใช่สักที ผมก็ค่อยๆ ได้คิดว่าบริการเชฟส่วนตัวอาจเป็น อะไรที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนกรุงมากกว่า”

ทุกวันนี้ เจอโรมปรุงอาหารฝรั่งเศสแบบ ดั้งเดิม อาทิ กูร์เมต์สลัดถั่วเขียวและฟัวกราส์ ในแบบพอล โบกุส ล็อบสเตอร์บริตตานีใน ซอสมะนาว และพายแอปเปิ้ล แม้ในยาม ที่สถานการณ์ไม่เป็นใจนัก อย่างเช่นตอนที่ เขาจัดดินเนอร์มื้อพิเศษสำ�หรับนักสะสมงาน ศิลปะจำ�นวน 20 คน ที่เวิร์กช็อปแห่งหนึ่งใน เยาวราช จู่ๆ ไฟก็ปะทุขึ้นในอาคารพร้อมๆ กับ ที่มีพายุกระหน่ำ�เบื้องนอก “ผมตาลีตาเหลือก สุดๆ แต่แขกไม่ได้รู้สึกผิดสังเกตอะไร และทุก อย่างก็ด�ำ เนินไปอย่างราบรื่นเหมือนวันฟ้าใส ไม่มีผิด” เขาเล่า ข้อเท็จจริงนีส้ นับสนุนความคิดของเจส บาร์นส์วา่ การปรุงอาหารให้ดดู ี เชฟจะต้องดู ‘เป๊ะ’ ไม่ตา่ งจากนักแสดง “เชฟไม่ได้แค่ปรุง อาหาร แต่ตอ้ งทำ�ให้แขกรูส้ กึ สนุกด้วย ไม่มี ลูกค้าทีไ่ หนจะยอมจ่ายเงินแพงๆ มาดูเชฟ หน้าตาบอกบุญไม่รบั ใส่เสือ้ เปรอะๆ หรือ เด็กเสิรฟ์ ทีง่ งเป็นไก่ตาแตก ตลอดมือ้ จะต้อง พิถพี ถิ นั และราบรืน่ เชฟอาจพร�ำ่ พรรณาเรือ่ ง แรงบันดาลใจหรืออะไรไป แล้วฝ่ายคนดูก็ คอยเสพ และเพลิดเพลิน”

07

03 เชฟพิ ช ญาปรุ ง วั ต ถุ ด ิ บ อยู ่ ห น้ า ครั ว 04 เป็ ด รมควั น ถู ก แล่ อ ย่ า งบรรจง 05 เป็ ด รมควั น ราดซอสฝี ม ื อ เชฟ พิ ช ญา 06 พิ ช ญา ผู ้ ห ั น หลั ง ให้ ค รั ว ใหญ่ แ ละ เลื อ กรั ง สรรค์ เ มนู ใ ห้ ล ู ก ค้ า อย่ า ง ใกล้ ช ิ ด 07 เชฟเจอโรม โกเดอฟี แห่ ง Bel-Ami OPTIMISE | APRIL 2017

27


สิทธิในการโม้

ลูกค้าที่โชคดีพอจะได้ร่วมรับประทาน อาหารมื้อคำ�่ จากบริการ Gula Private Chef ไม่เพียงจะได้ลิ้มลองเมนู 10-12 คอร์สซึ่งนำ� เอาเทคนิคการปรุงอาหารล้ำ�ยุคมาใช้ แต่ยังมี สิทธิพิเศษในการไปคุยอวดใครต่อใครว่าตนได้ มีโอกาสรับประทานอาหารจากฝีมือเชฟ จาโคโบ แอสเทรย์ ลูกศิษย์เชฟเฟอร์รัน อาเดรีย ปรมาจารย์อาหารโมเลกุลลาร์แห่งร้าน 3 ดาวมิชลิน elBulli เพราะเชฟจาโคโบ เคยใช้ เวลา 3 ปี ทำ�งานรับผิดชอบแผนกครัวเย็นที่นั่น และได้สร้างสรรค์เมนูกว่า 25-30 จานต่อปีร่วม กับทีมพ่อครัวอีก 6-8 คน แน่นอนว่ากูลา ไพรเวท เชฟได้น�ำ กลเม็ด เคล็ดลับของเอลบูญีมาใช้อย่างเต็มที่ โดยแขก สามารถเลือกได้ระหว่างเทสติ้งเมนู (ตัวเลือก ยอดนิยม) เมนูตามใจลูกค้า เมนูเซอร์ไพรส์

เชฟต้องมีความรูแ้ ละ ประสบการณ์กว้างขวาง ทั้งในเรื่องสูตรอาหาร และเทคนิคต่างๆ ต้องรู้วิธีเข้าหาแขก ต้องใส่ใจรายละเอียด มีสัญชาตญาณเฉียบคม รู้จักยืดหยุ่น และสามารถรับมือกับ สิ่งไม่คาดคิดได้

08 เมนู ไ ก่ อ บจากเตาร้ อ นๆ ของเชฟ จาโคโบ 09 เมนู ไ ก่ ก ั บ เห็ ด มอเร็ ล ของเชฟเจอโรม 10 เชฟจาโคโบ แห่ ง Gula Private Chef กำ � ลั ง เตรี ย มอาหารมื ้ อ พิ เ ศษ 11 เชฟโจฮั น คอสท์ เ นอร์ ที ่ ใ ห้ บ ริ ก าร ดิ น เนอร์ ส ่ ว นตั ว และคอร์ ส สอนทำ � อาหารด้ ว ย

28

OPTIMISE | APRIL 2017

ไปจนถึงเมนูอาหารในความมืด ซึ่งแขกจะ ถูกปิดตาเพื่อจะได้สัมผัสถึงรสและกลิ่นของ อาหารได้อย่างลึกซึ้ง แน่นอนว่าความหลาก หลายและพิถีพิถันในระดับนี้ย่อมมาคู่กับราคา ที่สมควร ซึ่งเริ่มต้นที่ 2,950 บาทต่อคน จาโคโบกล่าวว่าข้อดีของการเป็นเชฟ ส่วนตัวคือมีอสิ ระมากกว่าและไม่ใช้เงินลงทุน สูงเท่าการเปิดร้านอาหารปกติ “ทุกวันนี้ ร้าน อาหารในกรุงเทพฯ มีความหลากหลายขึน้ และ นำ�เสนอประสบการณ์การกินล�ำ้ เลิศ แต่ตอนผม ตัดสินใจเริม่ โปรเจ็กต์นเ้ี มือ่ 2 ปีกอ่ น ยังไม่มเี ชฟ ส่วนตัวทีท่ �ำ อาหารไฟน์ไดน์นง่ิ สักคนเลย” การเบนเข็มมาทำ�กูลา ไพรเวท เชฟขับเน้น พรสวรรค์และทักษะในการแก้ปญ ั หาเฉพาะ หน้าของจาโคโบ ซึง่ เขาเห็นว่าเป็นหัวใจของ การเป็นเชฟส่วนตัว “เชฟต้องมีความรูแ้ ละ ประสบการณ์กว้างขวางทัง้ ในเรือ่ งสูตรอาหาร 08

และเทคนิคต่างๆ ต้องรูว้ ธิ เี ข้าหาแขก ต้องใส่ใจ รายละเอียด มีสญ ั ชาตญาณเฉียบคม รูจ้ กั ยืดหยุน่ และสามารถรับมือกับสิง่ ไม่คาดคิดได้” เข้าใจได้ไม่ยากว่าความสามารถเหล่านี้ ย่อมเอื้อประโยชน์ต่อจาโคโบยามเมื่อเขาต้อง ปรุงเมนูอันสลับซับซ้อนโดยใช้เพียงอุปกรณ์ สามัญของครัวตามบ้าน ทั้งนี้โดยไม่กระทบ กับสิ่งที่ลูกค้าคาดหวัง กล่าวคือไม่ว่าครัวจะ เป็นเช่นไร แขกของกูลา ไพรเวท เชฟจะยังคง ได้ดื่มดำ�่ กับสารพัดเมนูวิลิศมาหรา ตั้งแต่โฟม ไคปิรินยา แซลมอนทาร์ทาร์ในข้าวเกรียบ หมึกดำ� แคนาเดียนล็อบสเตอร์ในแกงกะหรี่ และซอสมะพร้าว ตลอดจนเค้กโยเกิร์ตเสิร์ฟคู่ ไวท์ช็อกโกแลตและเบอร์รี่ แต่โดยทั่วไป การจะจัดดินเนอร์ที่ประสบ ความสำ�เร็จนั้น เชฟไม่ได้จำ�เป็นต้องเดินทาง ไปฝึกปรือวิชาถึง 3 ปีที่สเปน หรือต้องจบจาก 09

10


FULL FLAVORS

11

12

13

โรงเรียนสอนทำ�อาหารชื่อดังเสมอไป คริสเตียน โจฮัน คอสท์เนอร์ แห่ง Johann Kitchen กล่าวว่าหัวใจ สำ�คัญที่สุดคือต้องทำ�ให้แขกรู้สึกเหมือนอยู่บ้าน ทั้งที่ บ้านนั้นอาจเป็นบ้านของเชฟเอง “การเป็นเชฟส่วนตัวทำ�ให้ผมได้ปรุงอาหารที่ คนชอบ คนกินจึงเห็นคุณค่าในอาหารที่ผมทำ� ผม ยังจัด chef’s table ที่บ้านหลังเล็กๆ ของผมด้วย บรรยากาศเป็นสิ่งสำ�คัญมาก ผมพยายามทำ�ให้แขก ผ่อนคลายเหมือนนั่งอยู่ในครัวบ้านแม่ และเขาจะ ได้เห็นด้วยว่าผมเตรียมอาหารยังไงและได้เรียนรู้สิ่ง ใหม่ๆ ไปพร้อมกัน” คริสเตียน ผู้นำ�เสนอเมนูอย่าง เนื้อโทมาฮอว์คย่าง พาสต้าหอยตลับ ไปจนถึงชีส ซูเฟล กล่าว นอกจากนัน้ เชฟเจอโรมแห่งเบล อามี อธิบายว่า นอกเหนือจากการจัดโต๊ะอย่างมีศลิ ปะ และอาหาร รสเลิศ การทำ�เซอร์ไพรส์เล็กๆ น้อยๆ ก็อาจสร้างค�ำ่ คืน อันน่าจดจำ�ได้ ไม่วา่ จะเป็นการจ้างวงดนตรีแจ๊สสด ลงทุนจัดซุม้ ถ่ายภาพ หรืออย่างน้อยๆ ก็น�ำ ของหวาน

มาเรียงรายให้ทว่ั โต๊ะ “ผมว่ามันไม่ตอ้ งเว่อร์ แค่เป็น อะไรที่คนนึกไม่ถึงก็พอแล้ว” ใครที่สังเกตวงการอาหารบ้านเราช่วง 2 ปีที่ ผ่านมา อาจพอคาดการณ์เรื่องความสำ�เร็จของ บริการเชฟส่วนตัวไว้บ้างแล้ว เพราะเมื่อแนวคิด chef’s table และโอมากาเสะได้กลายเป็นกระแส ไปทั่วกรุงเทพฯ ย่อมแสดงว่าบรรดานักชิมหันมา ไว้วางใจให้เชฟเป็นผู้เลือกสรรเมนูแทนตน และใน เมื่อครัวแบบเปิดก็เกือบๆ จะเป็นมาตรฐานของร้าน อาหารหลายแห่ง การเชื้อเชิญเชฟเข้ามาทำ�อาหาร จานอร่อยที่บ้านหรือการตามไปกินถึงครัวในบ้านเชฟ จึงเป็นเพียงการต่อยอดไปสู่จุดสูงสุด ด้วยเหตุนี้ คงไม่ผิดหากจะบอกว่าฝีมือที่เด็ดขาดของเชฟและ รสนิยมที่เปิดกว้างของผู้กินได้น�ำ ไปสู่สายใยระหว่าง ผู้สร้างกับผู้เสพซึ่งนับวันยิ่งแน่นแฟ้นขึ้นทุกที

Essentials Bel-Ami www.fb.com/belamibangkok Gula Private Chef www.gulabangkok.com Johann Kitchen 172/26 ซอยสุขมุ วิท 23 ถนนสุขมุ วิท กรุงเทพฯ โทร. 084-436-5545 The Table by Chef Pam www.bychefpam.com 12 เชฟเจอโรมกั บ โต๊ ะ อาหารท่ า มกลาง ศิ ล ปะสี ส ั น สดใสในสตู ด ิ โ อของ ศิ ล ปิ น หญิ ง เอลิ ซ าเบธ รอมฮิ ล ด์ ในกรุ ง เทพฯ 13 ลู ก ค้ า ของเชฟเจอโรมจะได้ รั บ ประทานอาหารจากจานเซรามิ ก คอลเลกชั น พิ เ ศษของรอมฮิ ล ด์

OPTIMISE | APRIL 2017

29


01

ไม่เพียงจำ�นวนสาธารณชนทีห่ ลัง่ ไหลเข้ามาจะพิสจู น์ ให้เห็นว่าเขาคิดผิด บรรดาหนังสือพิมพ์ยงั ต่าง พากันยกย่องนิทรรศการว่าเป็นหมุดหมายสำ�คัญ ทางวัฒนธรรม พร้อมบอกว่าในทีส่ ดุ ก็ถงึ เวลาอัน สมควรทีส่ มบัตชิ าติเหล่านีจ้ ะได้รบั ความสนใจเสียที 30

OPTIMISE | APRIL 2017


STATE OF THE ARTS

Unseen Siam ภารกิจอนุรกั ษ์มรดกภาพถ่ายของชาติถอื เป็นงานยาก อย่างยิง่ เมือ่ สภาพภูมอิ ากาศร้อนชืน้ ของประเทศไม่เป็นใจ แต่สาธารณชนได้พสิ จู น์ให้เห็นแล้วว่าพวกเขากระหายทีจ่ ะได้ เห็นชัว่ แวบแห่งอดีตทีย่ งั บริสทุ ธิแ์ ละปลอดจากการแต่งเติม

01 นิ ท รรศการภาพถ่ า ย Siam Through the Lens of John Thomson

ในช่วงครึง่ หลังของปี 2559 นิทรรศการ ภาพถ่ายเมืองสยามในศตวรรษที่ 19 สองงาน (นิทรรศการ Siam Through the Lens of John Thomson และนิทรรศการ Unseen Siam) มี ผูเ้ ข้าชมรวมกันประมาณ 45,000 คน ทัง้ สอง นิทรรศการเป็นความร่วมมือระหว่าง ม.ร.ว. นริศรา จักรพงษ์ กับไพศาลย์ เปีย่ มเมตตาวัฒน์ กรรมการผูจ้ ดั การบริษทั สำ�นักพิมพ์รเิ วอร์บคุ๊ ส์ จำ�กัด เดิมที ไพศาลย์กงั วลว่าจะไม่มใี ครมาดู สิง่ ทีเ่ ขาเรียกว่า “ภาพถ่ายเก่าๆ ทีม่ คี นเอาไป พิมพ์ลงหนังสือเต็มไปหมด” แต่สดุ ท้าย ไม่เพียงจำ�นวนสาธารณชนทีห่ ลัง่ ไหลเข้ามาจะ พิสจู น์ให้เห็นว่าเขาคิดผิด บรรดาหนังสือพิมพ์ ยังต่างพากันยกย่องนิทรรศการว่าเป็นหมุด หมายสำ�คัญทางวัฒนธรรม พร้อมบอกว่าใน ทีส่ ดุ ก็ถงึ เวลาอันสมควรทีส่ มบัตชิ าติเหล่านีจ้ ะ ได้รบั ความสนใจเสียที ตามคำ�กล่าวของกรพินธุ์ ทวีตา หัวหน้า กลุม่ เอกสารจดหมายเหตุและบริการ ประจำ� สำ�นักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ประเทศไทยนัน้ มีคลังภาพถ่ายทีใ่ หญ่ทส่ี ดุ ในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ภาพถ่ายทางประวัตศิ าสตร์นบั เป็น แสนๆ ใบถูกเก็บรักษาไว้เบือ้ งหลังประตูเหล็ก หนักอึง้ ของคลังเก็บเอกสารในหอจดหมายเหตุฯ ยังไม่รวมภาพถ่ายในมือนักสะสมเอกชน อีกนับไม่ถว้ น กระนัน้ การจะนำ�ภาพถ่ายเหล่า นีอ้ อกจัดแสดงแก่สาธารณชนถือเป็นงานยาก อย่าว่าแต่สภาพอากาศร้อนชืน้ ยังคอยกัดกิน

ทำ�ลายภาพ ทำ�ให้เวลาสำ�หรับการอนุรกั ษ์ เหลือน้อยลงเรือ่ ยๆ ด้วยเหตุน้ี บรรดานักสะสม เจ้าของแกลเลอรี่ และสำ�นักพิมพ์ตา่ งกำ�ลัง รีบดูแลรักษาภาพถ่ายทีม่ ี อีกทัง้ เดินหน้าเสาะ หาภาพถ่ายเพชรน�ำ้ งามของไทยซึง่ ยังไม่เคย ปรากฏสูส่ ายตาสาธารณชนอืน่ ๆ ให้พบก่อนจะ สายเกินไป

พลังของภาพถ่าย

ในปี 2408 ช่างภาพชาวสกอตรายหนึง่ ได้เดินทางเข้ามาในประเทศสยามเป็นเวลา 9 เดือนเพือ่ ตระเวนถ่ายภาพ ซึง่ ภายหลังแพร่ หลายไปทัว่ โลก เพราะได้รบั การถ่ายทอดลงใน นิตยสารหัวสำ�คัญๆ ในรูปของภาพพิมพ์ ภาพ ต้นฉบับซึง่ ถ่ายโดยแผ่นฟิลม์ กระจกขนาด 8 x 10 นิว้ เหล่านี้ มีตง้ั แต่พระบรมฉายาลักษณ์ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ภาพถ่ายเจ้านายและขุนนาง ทัศนียภาพของ บางกอก ไปจนกระทัง่ รูปของสามัญชน ไม่วา่ นักแสดงโขน ควาญช้าง หรือฝีพาย ทัง้ นี้ แม้ภาพส่วนหนึง่ จะได้รบั การเผยแพร่มาแล้ว แต่ ก็เป็นภาพทีพ่ มิ พ์ซ�ำ้ จากภาพเก่าเลือนราง ไม่ใช่ จากฟิลม์ กระจกต้นฉบับ และทีแ่ น่ๆ คือไม่ได้เผย แพร่ในรูปของภาพพิมพ์ขนาดสูงกว่าเมตร และ มีความละเอียดชวนน�ำ้ ตาไหลอย่างทีน่ ทิ รรศการ ภาพถ่ายเมืองสยามในศตวรรษที่ 19 ณ หอศิลปกรุงเทพฯ และพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ OPTIMISE | APRIL 2017

31


02

ภาพถ่ายจำ�นวนมหาศาลซึง่ ควรค่าแก่การเก็บรักษาเป็น มรดกกลับสูญหาย หรือถูกทำ�ลาย อันเนือ่ ง มาจากปัจจัยหลากหลาย ตัง้ แต่ความเปราะบางของ แผ่นฟิลม์ กระจก ความไวไฟ ของฟิลม์ เซลลูโลสอะซิเตด สีของภาพถ่ายทีซ่ ดี จาง ไปจนกระทัง่ ค่านิยมใน การโละสมบัตเิ ก่าๆ ทิง้ เมือ่ เจ้าของภาพต้องย้ายบ้าน หรือเสียชีวติ 02 ไพศาลย์ เปี ่ ย มเมตตาวั ฒ น์ กั บ คอลเลกชั น ภาพถ่ า ยเก่ า ของ เจ้ า ฟ้ า จั ก รพงษ์ ภ ู ว นาถ

ด้วยเหตุน้ี การเดินชมนิทรรศการทัง้ สองจึง ให้ประสบการณ์แปลกใหม่ทแ่ี ทบจะเทียบได้กบั การเดินทางย้อนอดีต ในภาพขาวดำ�ซึง่ ถ่ายในปี 2408 สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ (ก่อนเสด็จขึน้ ครองราชย์ เป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ) ทรงประทับอยู่ ณ ลานในพระอภิเนาว์นเิ วศน์ ภายในพระบรมมหาราชวัง ขณะนัน้ พระองค์ ทรงมีพระชนมายุเพียง 12 พรรษา พระโมลีบน พระเศียรทีโ่ กนเกลีย้ งเกลาเป็นเครือ่ งหมายว่า ยังทรงพระเยาว์ โดยทรงจ้องมาทีผ่ ชู้ มด้วยแวว พระเนตรและลักษณาการหนักแน่นสมความ เป็นขัตติยะ รูปพระพักตร์ทค่ี มชัดบ่งบอกว่าทรง มิได้ขยุกขยิกระหว่างการฉายภาพยาวนาน ภาพข้าราชบริพารทีก่ ม้ กราบอยูแ่ ทบพระบาท และเครือ่ งราชูปโภคทองคำ�ล้วนสือ่ ให้เห็นถึง พระราชอำ�นาจ และพระราชทรัพย์ในฐานะ 32

OPTIMISE | APRIL 2017

พระยุพราช ในขณะที่พระมาลาปักแบบ ฝรั่งเศสที่วางอยู่เบื้องขวาบอกให้เรารู้กลายๆ ถึงความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระหว่าง ประเทศภายใต้รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความสง่าของรูป ถ่ายทีถ่ กู จัดวางอย่างดีเหล่านี้ หลายครัง้ ได้ถกู แทรกด้วยร่องรอยความดิบอันไม่ตง้ั ใจ เช่น ใน ภาพๆ หนึง่ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ทรง ยืนทอดหุย่ แบบแสดงออกชัดว่าไม่สนุกกับพิธี ซึง่ หากเป็นภาพทีว่ าดโดยจิตรกรประจำ� พระราชสำ�นักคงไม่พน้ ถูกปรับแต่งเสียใหม่ เช่นเดียวกับทีอ่ งค์รชั ทายาทคงถูกจิตรกรบันทึก ในลักษณะทีไ่ ม่ให้เห็นว่ากำ�ลังทรงพยายาม กดมือเจ้าฟ้าภาณุรงั ษีสว่างวงศ์ พระอนุชาไว้ กับพระเพลาหนักแน่นราวกับจะปราม (ซึง่ ดู เหมือนจะได้ผล เพราะพระเศียรของพระอนุชา

พระชนมายุ 6 พรรษา ดูจะเบลอเพียงเล็กน้อย เท่านัน้ ) ยังไม่ตอ้ งพูดถึงผิวคล�ำ้ แดดของผูค้ น ทีถ่ า้ ไม่ใช่ภาพถ่ายคงถูกจิตรกรวาดให้ขาวขึน้ อีกเล็กน้อย หรือมหาดเล็กทางด้านซ้าย ผูย้ อ่ ม ไม่ถกู บันทึกความเผลอไผลทีแ่ อบมองมาทาง กล้องไว้ชว่ั กาลนาน โชคดีทใ่ี นเมือ่ ภาพเหล่านีเ้ ป็นภาพถ่ายไม่ใช่ ภาพวาด รายละเอียดทัง้ มวลทีไ่ ด้กล่าวมา จึง ถูกเก็บไว้ในภาพของจอห์น ทอมสันอย่างครบ ถ้วน กระบวนการบูรณะซ่อมแซมและแปลง ภาพเป็นดิจติ ลั ได้ชว่ ยทำ�ให้เราเห็นชัดเจนตัง้ แต่ ลายปักวิจติ รบนฉลองพระบาท ลายบนพระ ภูษาโจง กระดิง่ บนพระกำ�ไลพระบาท ตลอด จนงานปักบนหมวกฝรัง่ เศส “ผมว่านิทรรศการนีท้ �ำ ให้คนรุน่ ใหม่เขาทึง่ นะ ทัง้ แฟชัน่ ของคนสมัยนัน้ ทัง้ รูปร่างหน้าตาและ สีผวิ ของคนไทยยุคก่อนชาวจีนจะอพยพเข้ามา”


STATE OF THE ARTS ไพศาลย์อธิบายถึงปัจจัยความสำ�เร็จของ นิทรรศการ Siam Through the Lens of John Thomson (สยาม ผ่านมุมกล้อง จอห์น ทอมสัน) ทีพ่ พิ ธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ และ Unseen Siam (ฉายาลักษณ์สยาม) ซึง่ จัดขึน้ ทีห่ อศิลปกรุงเทพฯ

ทางประวัตศิ าสตร์ ดังนัน้ ในปี 2463 ทอมสัน จึง สามารถขายคอลเลกชันฟิลม์ กระจกของเขาให้ กับชายชาวลอนดอนนามว่า เฮนรี่ เอส เวลคัม ซึง่ ในเวลาต่อมาได้กลายเป็นของสะสมชิน้ เอก ของหอสมุดเวลคัม แต่ฟลิ ม์ กระจกอย่างเดียว ไม่เพียงพอ ในปี 2552 แผ่นฟิลม์ เหล่านีไ้ ด้รบั การแปลงเป็นไฟล์ภาพดิจติ ลั ความละเอียดสูง หยุดเวลา เพือ่ ให้เอือ้ ต่อการนำ�ไปพิมพ์ตอ่ และในปีตอ่ มา ในบางแง่มมุ เทคโนโลยีการถ่ายภาพที่ ภัณฑารักษ์ เบตตี้ เยา ได้ตดิ ต่อม.ร.ว.นริศรา พัฒนาจนถึงจุดทีก่ ล้องมีราคาถูกและหาได้ จักรพงษ์ ประธานกรรมการบริหารและผูก้ อ่ ตัง้ ทัว่ ไป กลับทำ�ให้คณ ุ ค่าของภาพถ่ายเองลด สำ�นักพิมพ์​รเิ วอร์บคุ๊ ส์ ให้ชว่ ยประเมินค่า ทอนลง ด้วยเหตุน้ี ในขณะทีง่ านเขียนสีน�ำ้ มัน คอลเลกชันดังกล่าว ไม่นา่ เชือ่ ว่า นับจากวันนัน้ ยังถูกส่งต่อเป็นมรดกชิน้ สำ�คัญ ภาพถ่าย ต้องใช้เวลาอีกถึง 5 ปีกว่าทัง้ สองจะนำ�ภาพ จำ�นวนมหาศาลซึง่ ควรค่าแก่การเก็บรักษา ดังกล่าวมาจัดแสดงทีพ่ พิ ธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นมรดกกลับสูญหายหรือถูกทำ�ลาย อันเนือ่ ง ได้ส�ำ เร็จ ค่าพิมพ์ภาพในนิทรรศการ Unseen มาจากปัจจัยหลากหลาย ตัง้ แต่ความเปราะ Siam ทีค่ ดิ เป็นเงินกว่า 500,000 บาท ช่วย บางของแผ่นฟิลม์ กระจก ความไวไฟของฟิลม์ เสริมให้เห็นภาพของทรัพยากรทางการเงินและ เซลลูโลสอะซิเตด สีของภาพถ่ายทีซ่ ดี จาง เวลาทีจ่ �ำ เป็นต้องใช้ส�ำ หรับโครงการเหล่านี้ ไปจนกระทัง่ ค่านิยมในการโละสมบัตเิ ก่าๆ ทิง้ “สำ�หรับภาพถ่ายหลายๆ ใบเหลือเวลาไม่ เมือ่ เจ้าของภาพต้องย้ายบ้านหรือเสียชีวติ เยอะแล้ว” ไพศาลย์กล่าว ขณะไล่ดอู ลั บัม้ รูป อย่างไรก็ตาม เนือ่ งจากในยุคของจอห์น เก่าๆ ทีเ่ ต็มไปด้วยภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของ ทอมสันนัน้ เทคโนโลยีการถ่ายภาพยังมี เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภวู นาถ พระอัยกาของ ม.ร.ว. กระบวนการยุง่ ยากและค่าใช้จา่ ยสูง และเป็นที่ นริศรา ซึง่ แสดงให้เห็นอิรยิ าบถตรงไปตรงมา รับทราบกันอยูแ่ ล้วว่าภาพถ่ายของเขามีคณ ุ ค่า แบบยากจะหาได้จากรูปถ่ายราชวงศ์ชว่ งจุด

เปลีย่ นศตวรรษ อย่างเช่นภาพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ในฉลองพระองค์ประณีตคูก่ บั พระมาลาแบบปานามา ขณะเสด็จประพาสถ�ำ้ ในจังหวัดราชบุรพี ร้อมกับ พระราชโอรสและข้าราชบริพาร แววพระเนตร หนักแน่นยังปรากฏให้เห็นเหมือนครัง้ ยังทรงมี พระชนมายุ 12 พรรษา หากสิง่ ทีเ่ พิม่ มาคือ พระราชจริยวัตรอันเรียบง่ายในแบบฉบับ ของ ‘พ่อ’ ผูพ้ าครอบครัวไปเทีย่ วในวันหยุดสุด สัปดาห์ ภาพถ่ายเหล่านีซ้ ดี จางและมีรอยแทะ ของแมลงปรากฏให้เห็นตรงภาพส่วนหน้าวังไม้ สักและตรงมุมภาพทีพ่ ระราชโอรสทรงยืนอยู่ ไพศาลย์ลงมือสแกนภาพถ่ายเหล่านีด้ ว้ ย ตัวเอง และหลุดหัวเราะออกมาเมือ่ เราแนะนำ� ให้เขาส่งภาพให้ส�ำ นักหอจดหมายเหตุฯ เป็น คนช่วยดำ�เนินการต่อ “ไม่มที างหรอก พวกเขา เองก็มงี านล้นมือ” “ภาพในฟิลม์ กระจกนัน้ จางลงเร็วมาก ประมาณ 10% อยูใ่ นสภาพใกล้จะเกินเยียวยา แล้ว เราเลยต้องเริม่ จากฟิลม์ พวกนีก้ อ่ น ตอนนี้ เราทำ�ไปได้แล้วครึง่ หนึง่ และตัง้ ใจจะสแกน ภาพทีเ่ หลือให้เสร็จภายใน 5 ปี เรายังมีแผน ระยะยาว 20 ปีในการแปลงเอกสารในคลัง หอจดหมายเหตุฯ ทัง้ หมดเป็นไฟล์ดจิ ติ ลั ด้วย” 03

03 กรพิ น ธุ ์ ทวี ต า หั ว หน้ า กลุ ่ ม เอกสาร จดหมายเหตุ แ ละบริ ก าร

OPTIMISE | APRIL 2017

33


กรพินธุ์ ทวีตา หัวหน้ากลุม่ เอกสารจดหมายเหตุ และบริการกล่าว แต่สง่ิ ทีก่ รพินธุเ์ ป็นกังวลจริงๆ ไม่ใช่ คอลเลกชันภาพถ่ายทีอ่ ยูใ่ นระหว่างรอการ สแกน “ภาพพิมพ์และฟิลม์ ได้รบั การเก็บรักษา ในห้องแอร์ซง่ึ มีระบบควบคุมอุณหภูมิ ทำ�ให้ ส่วนใหญ่ยงั อยูใ่ นสภาพดี จริงๆ แล้วปัญหาที่ ใหญ่ทส่ี ดุ คือเรือ่ งคำ�บรรยายภาพ เพราะรูปถ่าย กว่าครึง่ ไม่มคี �ำ บรรยายใต้ภาพ เราจึงไม่รเู้ ลย ว่าเป็นภาพใครและอะไรบ้าง” อย่างไรก็ตาม ภารกิจอนุรกั ษ์ภาพถ่ายของ หอจดหมายเหตุฯ ไม่ได้จบลงทีป่ ระวัตศิ าสตร์ ช่วงปี 2463 หรือจำ�กัดอยูแ่ ค่ในรัว้ พระราชสำ�นักเท่านัน้ อันทีจ่ ริง หอจดหมายเหตุฯ ยังรับ ภาพถ่ายจากหน่วยงานราชการอืน่ ๆ อยูอ่ ย่าง ต่อเนือ่ ง “พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กำ�หนดว่าหน่วยงานราชการไม่ สามารถทิง้ หรือทำ�ลายอะไรหากไม่ได้รบั อนุญาตจากเรา ดังนัน้ ปกติเขาจะแจ้งมาทีเ่ รา ว่าเขาต้องการจะทิง้ อะไร เราก็จะไล่ดแู ละถ้า มีอะไรน่าสนใจ เราก็จะคัดเก็บไว้” กรพินธุก์ ล่าว

04

ในการรวมภาพสองคนไว้ในภาพเดียว พร้อม มานิต ศรีวานิชภูมิ เป็นช่างภาพทีม่ ชี อ่ื เสียง แนบปริศนาธรรมไว้ให้ผชู้ มขบคิด ช่างภาพถัด มาค่อนข้างจะเด่นไปในทางโลกมากกว่า กล่าว ในระดับนานาชาติ ผลงานภาพถ่ายชุด Pink Man ของเขากัดจิกความโลภของชาวกรุงในยุค คือ ม.ล.ต้อย ชุมสาย ผูถ้ า่ ยภาพนูด้ ในช่วงยุค สังคมบริโภคนิยมอย่างเจ็บปวด ต่อมา มานิต อนุรกั ษ์นยิ มภายใต้รฐั บาล จอมพล ป. พิบลู สงคราม ซึง่ ถือได้วา่ เป็นการต่อต้านกระแส ได้หนั มาให้ความสนใจประเด็นการล่มสลาย อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม พ้นไปจากเรือ่ งเพศ ของประชาธิปไตยในประเทศไทย และยังทำ� และความกล้าแสดงออก ม.ล.ต้อย ถือเป็น หน้าทีเ่ ป็นภัณฑารักษ์ให้กบั แกลเลอรีข่ องตัว บรมครูอย่างแท้จริงในเรือ่ งการใช้แสง โดยเขา เองทีช่ อ่ื Kathmandu ด้วย ในปี 2553 มานิต ใช้แสงขับเน้นเส้นสายแห่งอิสตรีให้โดดเด่นจน ได้เริม่ โปรเจ็กต์ภาพถ่ายอีกงานหนึง่ ซึง่ ได้รบั ทุกสัดส่วนดูเหมือนจะสามารถเต้นออกมาจาก การตีพมิ พ์เป็นหนังสือในปี 2558 ภายใต้ชอ่ื หน้ากระดาษ Rediscovering Forgotten Thai Masters of “ประเทศไทยนัน้ มีแต่ประวัตศิ าสตร์ฉบับที่ Photography (ช่างภาพไทยทีโ่ ลกลืม) เขียนขึน้ โดยรัฐ ซึง่ ผมว่าเผด็จการและล้างสมอง “ตลกดี ถ้าเราดูนทิ รรศการของริเวอร์บคุ๊ ส์ หากจะเชือ่ ในประชาธิปไตย เราจำ�เป็นต้องรู้ จะเห็นว่าเป็นงานของช่างภาพฝรัง่ ทัง้ นัน้ ประวัตศิ าสตร์อกี ฉบับหนึง่ ด้วย อย่างสมัยก่อน ผมพยายามมองหางานของคนไทย แต่หา ไม่เจอเลย ผมก็คดิ กับตัวเองว่าตลอด 150 ปีท่ี ภูเก็ตนัน้ มีความหลากหลายทางชาติพนั ธุม์ าก ผ่านมา เราจะไม่ได้ผลิตช่างภาพฝีมอื ดีสกั คน ผูค้ นจากทีต่ า่ งๆ เข้ามาตัง้ รกราก ทัง้ อินเดีย อาหรับ รัสเซีย มาเลเซีย จีน มันมีความเป็น สองคนเลยหรืออย่างไร” มานิตเล่า ด้วยเหตุน้ี มานิตจึงเริม่ ออกตามล่าช่างภาพ สากลกว่า คนสมัยก่อนคงจะเปิดกว้างกว่านี”้ ไทยฝีมอื ชัน้ ครูในช่วงยุค 30s ถึง 60s ในบรรดา มานิตอธิบาย เมือ่ ถูกถามว่าการอนุรกั ษ์ ภาพถ่ายโบราณนัน้ มีความสำ�คัญต่อเราอย่างไร นัน้ รวมถึงพุทธทาสภิกขุ ผูใ้ ช้เทคนิคแยบคาย

มรดกรอง

ถ้าเราดูนทิ รรศการของ ริเวอร์บคุ๊ ส์ จะเห็นว่าเป็น งานของช่างภาพฝรัง่ ทัง้ นัน้ ผมพยายามมองหางานของ คนไทย แต่หาไม่เจอเลย ผม ก็คดิ กับตัวเองว่านีต่ ลอด 150 ปีทผ ่ี า่ นมา เราจะไม่ ได้ผลิตช่างภาพฝีมอื ดีสกั คนสองคนเลยหรืออย่างไร 04 มานิ ต ศรี ว านิ ช ภู ม ิ ช่ า งภาพ ผู ้ ต ามหาช่ า งภาพไทยที ่ โ ลกลื ม 05 ภาพถ่ า ยสองคนในใบเดี ย วของพุ ท ธทาสภิ ก ขุ 06 ฟิ ล ์ ม กระจกที ่ ส ำ � นั ก หอจดหมายเหตุ แห่งชาติเก็บ รักษาไว้ 07 ภาพบ่ า วสาวของเลี ่ ย งอิ ๊ ว

34

OPTIMISE | APRIL 2017


STATE OF THE ARTS 05

06

07

มานิตกำ�ลังอ้างอิงถึงงานของเลีย่ งอิว๊ ภาพ ผูค้ นในยุค 50s ซึง่ ถ่ายในสตูดโิ อของเขาทีเ่ มือง ภูเก็ต มีตง้ั แต่ภาพชาวอินเดียหวีผมเรียบแปล้ผกู เนคไทแฟชัน่ ชาวมาเลสวมหมวกมุสลิม อาแปะใน เสือ้ เหมา เจ๋อ ตุง บาบ๋า-ย่าหยาในชุดเปอรานากัน เต็มยศ ไปจนกระทัง่ ‘เด็กแนว’ ยุคต้นรัตนโกสินทร์ ในผมทรงเอลวิส หากบรรดาเด็กแฟชันนิสต้าในยุคนี้ จะรูส้ กึ เชือ่ มโยงกับงานของเลีย่ งอิว้ ก็ไม่ใช่เรือ่ งแปลก แต่อย่างใด ไพศาลย์เล่าว่าตัง้ แต่งานนิทรรศการของจอห์น ทอมสันเป็นต้นมา ความสนใจของสาธารณชนทีเ่ พิม่ ขึน้ ทำ�ให้จ�ำ นวนนักสะสมเพิม่ ขึน้ ตามไปด้วย เขาได้ จัดงานพบปะกับนักสะสมทีว่ งั จักรพงษ์ซง่ึ มีนกั สะสม รายใหญ่เข้าร่วมถึง 20 ราย และผูเ้ ข้าร่วมอีกราว 200 คน เขายังยกตัวอย่างชือ่ เพจในเฟซบุก๊ ทีม่ กี าร ซือ้ ขายภาพถ่ายเก่าของราชวงศ์และพระเกจิอาจารย์ กันอย่างคึกคัก โดยสนนราคาเริม่ ต้นทีห่ ลักพัน แม้จะฟังดูเป็นสัญญาณทีด่ ี แต่เมือ่ เทียบแล้วตัวเลข จำ�นวนนีก้ ย็ งั ถือว่าน้อยอยูด่ ี

“สำ�หรับฟากนักสะสมก็ยงั ถือว่าน้อยอยู่ แล้ว ประเด็นมันไม่ได้อยูแ่ ค่เรือ่ งสภาพอากาศบ้านเราจะ ทำ�ลายฟิลม์ เนกาทีฟไปเรือ่ ยๆ เพราะการเก็บรักษา อย่างเดียวไม่พอ คุณต้องพยายามเอาสิง่ เหล่านีอ้ อก มาโชว์ให้ได้ ถ้าภาพถ่ายพวกนีถ้ กู เก็บไว้ในลิน้ ชัก มันก็ไม่มปี ระโยชน์อะไร คุณต้องเอามาสแกน เอามา เผยแพร่สสู่ าธารณะ ต้องเอามาตีพมิ พ์ ถ้าคุณเอา แต่เก็บไว้ คุณจะไม่ได้เรียนรูอ้ ะไรจากมันเลย นีค่ อื มรดกของเรา เราจะปล่อยให้มนั ตายไปเงียบๆ ไม่ได้” มานิตกล่าว ขณะนี้ นิทรรศการจอห์น ทอมสันนัน้ มีก�ำ หนด การตระเวนจัดแสดงทัว่ โลก ในขณะทีส่ �ำ นักหอจดหมายเหตุฯ ได้ยน่ื เรือ่ งไปทางองค์การยูเนสโก เพือ่ ขอขึน้ ทะเบียนคอลเลกชันแผ่นฟิลม์ กระจกให้ เป็นส่วนหนึง่ ของ Memory of the World เรียบร้อย เป็นทีช่ ดั เจนว่าการรักษาสมบัตทิ างวัฒนธรรมไม่ ได้เป็นเพียงแค่เรือ่ งของคนไทย หากยังทรงคุณค่า สำ�หรับมนุษย์ทง้ั มวล

Essentials

พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ

4 ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ โทร. 02-281-2224

สำ�นักหอจดหมายเหตุ แห่งชาติ

ถนนสามเสน กรุงเทพฯ โทร. 02-281-1599 www.finearts.go.th/nat

หอศิลปวัฒนธรรมแห่ง กรุงเทพมหานคร 939 ถนนพระราม 1 กรุงเทพฯ โทร. 02-214-6630 www.bacc.or.th

Kathmandu Photo Gallery 87 ถนนปัน้ กรุงเทพฯ โทร. 02-234-6700 www.kathmanduphoto bkk.com OPTIMISE | APRIL 2017

35


36

OPTIMISE | APRIL 2017


SERVING YOU

Grabbing Opportunity Portfolio for Property Financing (PPF) ผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อประโยชน์สูงสุดจากอสังหาริมทรัพย์ หนึง่ ในบทเรียนแรกทีส่ ดุ ในวิชาเศรษฐศาสตร์ คือหลักการเรือ่ ง Opportunity Cost หรือต้นทุน ค่าเสียโอกาส ทีบ่ อกว่าต้นทุนของการทำ�สิง่ ต่างๆ ย่อมมีคา่ เท่ากับสิง่ ทีบ่ คุ คลจำ�เป็นต้อง อดทำ�หรืออดได้ในเมือ่ ได้เอาเวลาหรือทรัพยากร ไปใช้ท�ำ หรือซือ้ ในสิง่ อืน่ เช่น นักลงทุนทีจ่ �ำ เป็น ต้องขายหุน้ คุณภาพดีเพือ่ เอาเงินไปซือ้ ทีด่ นิ มาพัฒนาโครงการ ย่อมสูญเสียโอกาสใน การเก็บเกีย่ วผลตอบแทนจากหุน้ อีกต่อไป ความตระหนักถึงต้นทุนจากสภาพ ‘ได้อย่าง ก็ตอ้ งเสียอย่าง’ นีค้ อื ทีม่ าของ Portfolio for Property Financing (PPF) ผลิตภัณฑ์สนิ เชือ่ ล่าสุดจากกลุม่ ธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ทีม่ งุ่ ให้ลกู ค้าลดค่าเสียโอกาสและสามารถใช้ ประโยชน์ได้สงู สุดจากอสังหาริมทรัพย์หรือ ทรัพย์สนิ ทางการเงินทีม่ ี

รายใหญ่ทว่ั โลกมักจะมีเหมือนกัน คือ ทรัพย์สนิ ทางการเงิน และอสังหาริมทรัพย์ แต่ในการใช้ งานจริงมีขอ้ จำ�กัดคือ อสังหาริมทรัพย์เดีย่ วๆ เช่น ทีด่ นิ เปล่ามักไม่มสี ภาพคล่อง นำ�ไปเป็นหลัก ประกันขอสินเชือ่ ยาก กลุม่ ธุรกิจเกียรตินาคินภัทร จึงพยายามคิดหาวิธใี ห้ลกู ค้าใช้ประโยชน์จาก สิง่ ทีม่ ไี ด้อย่างแท้จริง โดยเปิดโอกาสให้ลกู ค้าใช้ ทรัพย์สนิ ทางการเงิน และอสังหาริมทรัพย์ทม่ี มี า ผสมกันเป็นหลักประกันสินเชือ่ ได้”

ขจัดข้อจำ�กัด

ในทางปฏิบตั ิ การใช้ประโยชน์จาก ผลิตภัณฑ์สนิ เชือ่ PPF สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี คือกรณีท่ี 1 สำ�หรับลูกค้าทีต่ อ้ งการซือ้ อสังหาริมทรัพย์ ซึง่ ปกติมกั ต้องขายทรัพย์สนิ ทางการเงินเพือ่ เอาเงินมาซือ้ ทีด่ นิ ภายใต้ สินเชือ่ PPF ลูกค้าอาจไม่จ�ำ เป็นต้องขาย นวัตกรรมความคล่องตัว ทรัพย์สนิ ทางการเงินก่อนอีกต่อไป เพียงนำ� ต่อยอดจาก Lombard Loan ผลิตภัณฑ์ ทรัพย์สนิ ทางการเงินทีม่ มี าจำ�นำ�กับธนาคาร และตกลงนำ�ทีด่ นิ นัน้ มาจำ�นองกับธนาคารหลัง สินเชือ่ PPF ของธนาคารเกียรตินาคิน ถูก ออกแบบมาสำ�หรับลูกค้ากลุม่ High Net Worth จากซือ้ ขายเสร็จสิน้ ก็สามารถได้รบั เงินกูเ้ พือ่ ไป ทีม่ ที รัพย์สนิ อยูใ่ นการบริหารจัดการของบริษทั ซือ้ ทีด่ นิ ทีต่ อ้ งการได้ หรือกรณีท่ี 2 สำ�หรับลูกค้า ่ หลักทรัพย์ ภัทร จำ�นวนไม่ต�ำ กว่า 30 ล้านบาท ทีต่ อ้ งการเพิม่ สภาพคล่องด้วยอสังหาริมทรัพย์ ทีม่ คี วามต้องการซือ้ อสังหาริมทรัพย์ หรือ ทีม่ อี ยู่ ภายใต้สนิ เชือ่ PPF ลูกค้าสามารถขอ สินเชือ่ จากธนาคารโดยการนำ�ทรัพย์สนิ ทางการ ต้องการเพิม่ สภาพคล่องด้วยอสังหาริมทรัพย์ เงินทีม่ มี าจำ�นำ�กับธนาคารเพือ่ เป็นหลักประกัน ทีม่ อี ยู่ ณฤทธิ์ โกสลาทิพย์ ผูช้ ว่ ยกรรมการ เสริมนอกเหนือจากการจำ�นองอสังหาริมทรัพย์ ผูจ้ ดั การหัวหน้าทีมทีป่ รึกษาการลงทุน ได้ ณฤทธิบ์ อกว่าผลิตภัณฑ์นเ้ี ป็นไปตาม ส่วนบุคคล บล.ภัทร อธิบายว่า “สิง่ ทีล่ กู ค้า

พัฒนาการทางการเงินของโลก ทีพ่ ยายามสร้าง ความคล่องตัวในการบริหารทรัพย์สนิ ให้มาก ทีส่ ดุ “ถ้าเราเปิดดูไพรเวตแบงก์ของเมืองนอก ก็จะเห็นว่าเขาพยายามเปิดทางเลือกให้ลกู ค้า ให้มากขึน้ เรือ่ ยๆ เช่นลูกค้านำ�เรือยอชท์ เครือ่ ง บินเจ็ต และอสังหาริมทรัพย์ เป็นสินทรัพย์ มูลค่าสูงมาเป็นหลักประกันได้”

ผสานจุดแข็ง

ด้วยโครงสร้างผลิตภัณฑ์ทอ่ี ยูใ่ นรูปของ สินเชือ่ จากธนาคารเกียรตินาคินทีเ่ สนอให้กบั ลูกค้ากลุม่ High Net Worth ของบล.ภัทร สินเชือ่ PPF ถือเป็นอีกหนึง่ ผลลัพธ์ของการใช้ ประโยชน์จากบริษทั ในกลุม่ ธุรกิจเกียรตินาคินภัทร อย่างเต็มที่ ทัง้ นี้ อสังหาริมทรัพย์ทร่ี บั เป็นหลักประกันของสินเชือ่ PPF ได้แก่ ทีด่ นิ เปล่า ทีด่ นิ พร้อมสิง่ ปลูกสร้าง อาคารพาณิชย์ ฯลฯ และสำ�หรับทรัพย์สนิ ทางการเงินทีร่ บั เป็น หลักประกันประกอบด้วยหุน้ ในกลุม่ SET 100 (ยกเว้น KKP), Property Fund, REIT และ Infrastructure Fund โดยลูกค้ายังสามารถซือ้ ขาย โอน และบริหารทรัพย์สนิ ทางการเงินได้เช่น เดียวกับสินเชือ่ Lombard หากต้องการข้อมูลเพิม่ เติมเกีย่ วกับผลิตภัณฑ์ กรุณาติดต่อฝ่ายสินเชือ่ ธุรกิจอพาร์ตเมนต์และ โรงแรม ธนาคารเกียรตินาคิน โทร. 02-680-3475 หรือฝ่ายทีป่ รึกษาการลงทุนส่วนบุคคล บล. ภัทร โทร. 02-305-9407 หรือ 02-305-9442

OPTIMISE | APRIL 2017

37


New Wave KK NeXtGen Program: From Study to Success III โครงการบ่มเพาะทายาท ธุรกิจเพื่อโลกที่ผันเปลี่ยนในวันข้างหน้า

38

OPTIMISE | APRIL 2017

ความโดดเด่นของ KK NeXtGen ไม่ได้อยู่ ทีเ่ พียงความคร่ำ�หวอด ของวิทยากรหรือองค์ ความรู้ทางธุรกิจที่ลึก และหลากหลายเท่านั้น หากยังอยู่ที่สิ่งที่จับต้อง ไม่ได้แต่สำ�คัญอย่างยิ่ง กล่าวคือ ‘แรงบันดาลใจ’


SERVING YOU

KK NeXtGen ไม่ได้อยูท่ เ่ี พียงความคร�ำ่ หวอด ของวิทยากร หรือองค์ความรูท้ างธุรกิจทีล่ กึ และ หลากหลายเท่านัน้ หากยังอยูท่ ส่ี ง่ิ ทีจ่ บั ต้องไม่ ได้แต่ส�ำ คัญอย่างยิง่ ต่อธุรกิจทีแ่ ข็งแรงกล่าวคือ ‘แรงบันดาลใจ’ อย่างทีอ่ เล็กซานเดรีย คุณานันท์ ทายาทของโตโยต้า นครสวรรค์ 1981 จำ�กัด ผูเ้ ข้าร่วม KK NeXtGen รุน่ ที่ 2 สนับสนุนว่า “ถ้าอยากจะมองโลกในแง่ทก่ี ว้างขึน้ อยากได้ แรงบันดาลใจใหม่ๆ ทีไ่ ม่มโี อกาสเจอทีอ่ น่ื ให้มา ภาวุธ พงษ์วทิ ยภาณุ ผูก้ อ่ ตัง้ เว็บไซต์ นับตัง้ แต่อดีต ธุรกิจครอบครัว ถือเป็นองค์ ลองคอร์สนี”้ โดยสำ�หรับบางคน แรงบันดาลใจ ประกอบสำ�คัญสำ�หรับระบบเศรษฐกิจ นิตยสาร TARAD.com หนึง่ ในวิทยากรยอดนิยมของ นีไ้ ด้เปลีย่ นทัศนคติในการทำ�ธุรกิจครอบครัว The Economist ประเมินว่ากว่า 90% ของธุรกิจ KK NeXtGen บอกว่าหากธุรกิจจะอยูร่ อด “โครงการนีท้ �ำ ให้อยากกลับไปช่วยครอบครัว สิง่ ทีต่ อ้ งเกิดขึน้ คือทายาทต้องรูจ้ กั นำ� ‘ความ ในโลก จัดเป็นธุรกิจครอบครัว (หากถือ ทำ�ให้เราเห็นเลยว่าทำ�ไมธุรกิจครอบครัวจะ ใหม่’ เข้าไปให้ธรุ กิจ “ถ้าทายาทไม่มกี ารเติม นิยามแบบกว้างว่าธุรกิจครอบครัว คือธุรกิจ ทำ�ให้เรามีอนาคตก้าวหน้ากว่าการไปเริม่ ใหม่” อะไรใหม่ๆ เข้าไป การทำ�ธุรกิจทีส่ บื ทอดต่อ ทีบ่ ริหารโดยตระกูลผูก้ อ่ ตัง้ ) เฉพาะในเอเชีย อติทตั หวังกิจจินดา ทายาทของ UNL Shipping จากรุน่ พ่อรุน่ แม่กจ็ ะเป็นแบบเดิมๆ ไม่มี เอง อาณาจักรธุรกิจหลากหลายทีด่ เู ผินๆ and Logistics ผูเ้ ข้าร่วม KK NeXtGen ความแตกต่าง และไม่เติบโต” เหมือนบริษทั มหาชน ไม่วา่ Tata, Samsung, ด้วยเหตุน้ี เพือ่ ช่วยเติมความใหม่ให้ทายาท รุน่ ที่ 2 กล่าว Hutchinson เมือ่ พิจารณาให้ดกี ลับยังเห็นการ ในขณะทีช่ าวตะวันตกมีส�ำ นวนว่าจาก ผสมผสานระหว่างมืออาชีพและสายใยครอบ- สามารถนำ�ไปใช้ในธุรกิจ หลักสูตรของ “จากรองเท้าแตะสูร่ องเท้าแตะในสามชัว่ คน” KK NeXtGen จึงออกแบบมาเพือ่ เอือ้ ให้เกิด ครัวทีส่ านต่อความเจริญรุง่ เรืองขององค์กร หรือทีค่ นญีป่ นุ่ ใช้วา่ “จากกิโมโนสูก่ โิ มโนในสาม อย่างไรก็ตาม การรักษาธุรกิจครอบครัวให้ การเรียนรูท้ ง้ั จากเพือ่ นร่วมหลักสูตร และจาก รุน่ ” ซึง่ ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงความยากในการที่ ยัง่ ยืนไม่ใช่เรือ่ งง่าย ไม่วา่ ด้วยอุปสรรคภายนอก วิทยากร โดยทายาทจากหลากหลายธุรกิจจะ มีโอกาสใช้เวลา 3 สัปดาห์ในการร่วมกันศึกษา คนรุน่ หลังจะเข้ามาสืบทอดและสร้างความมัง่ คัง่ ทีน่ บั วันธุรกิจมีแต่จะต้องแข่งขันกันด้วยความ องค์ความรูท้ เ่ี ป็นหัวใจของการทำ�ธุรกิจ เช่น การ ของธุรกิจได้ดว้ ยพลังเช่นเดียวกับคนรุน่ ก่อนหน้า เป็นมืออาชีพทีเ่ ข้มข้นมากกว่าเคล็ดลับใน ตระกูล หรือบ่อยกว่านัน้ จากอุปสรรคภายในที่ เงินการลงทุน การบริหารทรัพยากรบุคคล การ สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ หรือ ‘นิว้ กลม’ นักคิด นักเขียน ชือ่ ดัง วิทยากรในคลาส Self-Inspiration ทายาทขาดแรงบันดาลใจทีร่ บั ทอดธุรกิจ นีเ่ อง ตลาด จากวิทยากรผูม้ ปี ระสบการณ์ตรง เช่น ของโครงการเห็นว่าไม่เป็นการเกินวิสยั ทีจ่ ะ จึงเป็นทีม่ าของโครงการจากกลุม่ ธุรกิจการเงิน บรรยง พงษ์พานิช ประธานกลุม่ ธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เพือ่ สร้างทายาทธุรกิจรุน่ ใหม่ เกียรตินาคินภัทร ดร.ดิสพล จันศิริ ผูก้ อ่ ตัง้ บริษทั ปลุกพลังนีข้ น้ึ มา “แรงบันดาลใจมักจะเกิดขึน้ เวลาทีเ่ ราออกไปนอกความเคยชินของตัวเอง ดีซเี อ อาร์ต คอนซัลแตนท์ บริษทั ทีป่ รึกษา ทีไ่ ม่เพียงจะ ‘รับคบเพลิง’ ต่อด้วยความเต็มใจ ไปเจออะไรใหม่ๆ เจอผูค้ นใหม่ๆ ซึง่ จะทำ�ให้เรา หากจะยังทำ�กิจการให้รงุ่ โรจน์ยง่ิ กว่าเก่าด้วยไฟ เรือ่ งศิลปะเพือ่ การสะสมและลงทุน จํากัด ของคนรุน่ ปัจจุบนั ดร.การัณย์ อังอุบลกุล ผูช้ ว่ ยประธานกรรมการ เกิดความสนใจใหม่ๆ ทีน่ �ำ ไปสู่ passion หรือ ในขณะทีท่ ายาทอาจเข้ามาสูธ่ รุ กิจครอบครัว บริษทั ศรีไทย ซุปเปอร์แวร์ จำ�กัด (มหาชน) และ ความคลัง่ ไคล้อะไรบางอย่างจนใช้เวลากับสิง่ อีกหลากหลายวิทยากรจากนานาอุตสาหกรรม นัน้ มากขึน้ เรือ่ ยๆ ตรงนีเ้ องทีจ่ ะทำ�ให้เกิดไอเดีย ได้ในหลายลักษณะตัง้ แต่ดว้ ยความสมัครใจ และผลลัพธ์ใหม่ๆ ได้เสมอ” อย่างไรก็ตาม ความโดดเด่นของ ความกตัญญู หรือแม้กระทัง่ ความเสียไม่ได้ OPTIMISE | APRIL 2017

39


01

40

OPTIMISE | APRIL 2017


CLIENT VALUES

Harnessing Science ชนรรค์ สมบูรณ์เวชชการ กับการใช้นวัตกรรมสานต่อ ตำ�นาน 70 ปีแห่ง ‘อ้วยอันโอสถ’ ท่ามกลางพัฒนาการรวดเร็วของเทคโนโลยี ยาแผนโบราณอาจดูเหมือนจะเป็นสิง่ ท้ายๆ ที่ คนนึกถึง แต่ความเจริญของอ้วยอันโอสถจาก ร้านขายยา 2 คูหา บริเวณเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า จนกลายมาเป็นบริษทั ผลิตยามาตรฐาน GMP PIC/S ซึง่ ถือว่าสูงทีส่ ดุ สำ�หรับยาแผน โบราณและได้รบั การจัดจำ�หน่ายในร้านขาย ยากว่า 6,000 แห่งทัว่ ประเทศ บ่งบอกว่าปัจจัย 4 ยังคงความศักดิส์ ทิ ธิแ์ ม้ในโลกดิจติ ลั ชนรรค์ สมบูรณ์เวชชการ ทายาทรุน่ ที่ 3 มุง่ ติดปีกยา แผนโบราณให้ทะยานต่อไปข้างหน้าด้วยกำ�ลัง ของความโมเดิรน์ และเทคโนโลยี

มีกฟี ู แก้น�ำ้ เหลืองเสีย ยาเซียวทีตนั แก้รดิ สีดวง ยังเรียกชือ่ จีนแบบนีแ้ ละยังขายดี​ฟังไม่โมเดิรน์ แต่ลกู ค้าติดใจ

จากร้านสูโ่ รงงาน

พอขายดีมากๆ มาถึงรุน่ คุณพ่อ (สิทธิชยั สมบูรณ์เวชชการ) ก็ตดั สินใจเปิดโรงงานเมือ่ ปี 2559 เพือ่ ผลิตให้เร็วขึน้ เมือ่ ก่อนทำ�เฉพาะ หลังร้าน แต่เมือ่ ความต้องการสูงขึน้ หลังร้าน ทำ�ไม่ทนั แล้ว เลยขยับขยาย แ​ ล้วพอดีชว่ งนัน้ รัฐบาลสนับสนุนเรือ่ งสมุนไพรไทยตามบัญชียา หลักแห่งชาติ เช่นฟ้าทะลายโจร แก้ไข้รอ้ นใน ขมิน้ ชัน แก้ทอ้ งอืดท้องเฟ้อด้วย ก็เลยเป็นจังหวะ ตำ�นาน 70 ปี เหมาะ รูปแบบยาก็เริม่ เปลีย่ น สมัยคุณปูท่ �ำ เป็น ปีนเ้ี ป็นปีท่ี 70 แล้วทีอ่ ว้ ยอันก่อตัง้ มาตัง้ แต่ปี ยาต้ม ยาลูกกลอนเม็ดดำ�ๆ รับประทานที 2490 เมือ่ ก่อนคุณปูเ่ ดินทางเสือ่ ผืนหมอนใบมา 10 เม็ด ไม่สะดวกสำ�หรับบางคน พอมาสมัย คุณพ่อก็เปลีย่ นเป็นแคปซูล 2-3 เม็ด กลืนเข้า จากกวางโจว ก็มาเป็นลูกจ้างร้านขายยา ไปได้เลย ไม่ตอ้ งสัมผัสรสยาโดยตรง เรียนรูม้ าเรือ่ ยๆ จนสามารถสอบเป็นแพทย์ และเภสัชกรแผนโบราณ ได้ใบอนุญาตเป็น ผูกพันแต่เยาว์วยั ผูป้ ระกอบการโรคศิลป์ยาจีน พอเก็บเงินได้ รุน่ คุณพ่อมีความผูกพันกับธุรกิจอยูแ่ ล้ว ท่านก็ไปเปิดร้านขายยาอ้วยอันโอสถทีเ่ ชิง เพราะเวลาเลิกเรียน ก็ตอ้ งกลับมาช่วยคุณปูท่ ่ี สะพานพุทธ คุณปูข่ ยันมาก เอาใจใส่ลกู ค้า ร้าน ส่วนรุน่ ผม คุณพ่อก็จะเล่าเรือ่ งคุณปูใ่ ห้ฟงั ต่อให้หลังเทีย่ งคืน ถ้ามีใครมาให้ชว่ ย มีเด็ก บ่อยๆ เวลาปิดเทอม ก็ให้มาช่วยทีบ่ ริษทั ช่วย ชักมา ท่านก็เปิดประตูชว่ ยตลอด สูตรไหนที่ ปิดกล่อง ปิดฝายาอะไรพวกนี้ ได้คา่ ขนมวัน แมะลูกค้าแล้วจ่ายยาไปได้ผลดีกจ็ ะนำ�ไปจด ทะเบียนกับสำ�นักงานคณะกรรมการอาหารและ ละ 20 บาท เราก็พอใจแล้ว อีกอย่างก็ปลูกฝัง เรือ่ งแนวทางการศึกษาให้เราได้ไปเรียน food ยา (อย.) เป็นตำ�รับของตัวเอง ยาสูตรทีท่ า่ น science ทีอ่ เมริกาทัง้ ปริญญาตรีและโท คิดค้นขึน้ มาทุกวันนีก้ ย็ งั ขายอยู่ เช่นยาผิวหนัง

คุณปูข่ ยันมาก เอาใจใส่ ลูกค้า ต่อให้หลังเทีย่ งคืน ถ้ามีใครมาให้ชว่ ย มีเด็ก ชักมา ท่านก็เปิดประตูชว่ ย ตลอด สูตรไหนทีแ่ มะลูกค้า แล้วจ่ายยาไปได้ผลดีกจ็ ะนำ� ไปจดทะเบียนกับสำ�นักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นตำ�รับของตัวเอง ผมเลือก food science เพราะมันกว้างทีส่ ดุ ความรูไ้ ม่ใช่อยูแ่ ค่เรือ่ งยา แต่รวมถึงเรือ่ ง โรงงาน การควบคุมระบบ เผือ่ วันหลังเราคิดจะ ทำ�สมุนไพรให้เป็นอาหารเราก็ท�ำ ได้ พอเรียน จบทำ�งานเป็น process engineer อยูท่ บ่ี ริษทั FrieslandCampina ทีท่ �ำ นมโฟร์โมสต์ ก่อนจะ กลับไทยมาสานต่องานทีบ่ า้ น

แน่วแน่ในเส้นทาง

ผมไม่เคยมีความคิดจะไปทำ�อย่างอืน่ เลย นอกจากมาสานต่อกิจการ ผมเป็นลูกชาย คนแรกของคุณพ่อ เป็นหลานชายคนแรกของ นามสกุลนี้ เราเป็นเหมือน The Chosen One ในหนังสตาร์วอร์ส แรงบันดาลใจของผมคือ คุณพ่อ เพราะตอนผมอายุ 10 ขวบ ท่านเป็น โรคกล้ามเนือ้ อ่อนแรง กระทัง่ ทุกวันนีท้ า่ นก็เดิน ไม่ได้ ต้องนัง่ รถเข็น แต่ผมปลืม้ ทีท่ า่ นเลือกจะ ใช้ชวี ติ อย่างเข็มแข็ง ไม่สงสารตัวเองทีเ่ ป็นโรค แถมยังเลีย้ งดูลกู และทำ�ธุรกิจให้ดไี ด้ ดีในแบบที่ ตอนผมกลับมา ผมไม่ตอ้ งชุบชีวติ อ้วยอันเลย ผม มาแค่พฒ ั นาต่อเฉยๆ ดังนัน้ พอเห็นคุณพ่อเป็น อย่างนีแ้ ต่เด็ก ผมก็คดิ ว่าผมต้องตอบแทนท่าน

เริม่ ก้าวแรก

ตอนผมกลับมา กิจการก็ไปได้ดอี ยูแ่ ล้ว พูด ตรงๆ ว่าไม่รจู้ ะเริม่ ทำ�อะไรเหมือนกัน ไปนัง่ อยูใ่ นออฟฟิศเฉยๆ เพราะไม่มอี ะไรมาให้ท�ำ สุดท้ายนัง่ อยู่ 2 สัปดาห์ ก็รสู้ กึ ว่าอยูเ่ ฉยๆ ไม่ได้ OPTIMISE | APRIL 2017

41


คุณภาพต้องมาคู่กับคุณธรรม คุณภาพคือทำ�ยาออก มาให้ดีที่สุด หลายคนถามว่าวัดจากอะไร ก็บอกว่าวัด จากที่เรากล้าให้ลูกหลาน ญาติสนิท เพื่อน หรือตัวเรา ใช้เอง ไม่ได้ทำ�ออกมาแล้วไปซื้อของเจ้าอื่นที่คิดว่าดีกว่า แล้ว ก็เลยตัดสินใจเดินไปทัว่ โรงงาน ไปดูแต่ละ แผนกว่าเราทำ�อะไรได้บา้ ง ด้วยความทีเ่ รามา สาย food science เราก็จะดูการผลิตว่าคอขวด อยูต่ รงไหน ใครบ่นทำ�อะไรไม่ทนั ดูวา่ เราซือ้ เครือ่ งอะไรเข้ามาได้บา้ ง พยายามหาเครือ่ งมา ทุน่ แรง โดยไม่ลดจำ�นวนพนักงาน เพราะคอขวด แปลว่ามีอะไรทีไ่ ม่ทนั ทำ�ให้แผนกอืน่ ช้าไปด้วย แต่ถา้ เอาเครือ่ งเข้ามาแก้ให้เร็วได้เมือ่ ไหร่ เราก็ สามารถเอาคนไปแผนกอืน่ ทีย่ งั ต้องใช้คนอยู่

ทำ�เองไม่ได้ ต้องไปหาคนนอกมาช่วย สุดท้าย ก็ ‘ความคิดสร้างสรรค์’ เช่นเราเห็นว่าคนมักจะ คิดว่ายาสมุนไพรเชย แค่บนฉลากก็เขียนว่า ‘ยา แผนโบราณ’ แล้ว ในขณะทีเ่ ราเห็นว่าอันทีจ่ ริง มันใช้ได้ตง้ั แต่เด็กเลย ก็ตอ้ งรีแบรนดิง้ ทำ�ให้ สมุนไพร user-friendly มากขึน้ ปรับรูปลักษณ์ ให้เขาหยิบง่ายขึน้ อะไรทีเ่ กีย่ วกับรสชาติ ก็ พัฒนาให้รบั ประทานง่าย ใช้งา่ ย แต่หลักสำ�คัญ ของการทำ�นวัตกรรมคือเราต้องยอมล้มเหลว บ้าง เพราะไม่มใี ครทำ�ออกมาดีตง้ั แต่ครัง้ แรก ปิดช่องว่างด้วยข้อมูล ยาบางตัวต้องปรับสูตรเป็น 10 กว่ารอบก็มี ต้อง เวลาจะทำ�อะไร generation gap มีอยูแ่ ล้ว อย่าไปท้อ เฉลีย่ ทำ�สูตรยาตัวหนึง่ ก็ประมาณ คนแต่ละรุน่ อาจมีความคิดเห็นไม่ลงรอยกัน แต่ 1-2 ปี ตัง้ แต่ผมเข้ามาทำ� 6 ปี มียาตัวใหม่ออก ในเมือ่ คุณพ่อเขาก็ประสบความสำ�เร็จมาได้ดว้ ย มา 20 ตัว ตัวเอง เวลาเราจะไปโน้มน้าวเขา เราต้องไม่ใช่ แค่พดู ปากเปล่า ทุกอย่างต้องมีขอ้ มูลสนับสนุน พฤติกรรมร่วมเรียนรู้ ว่าทำ�ออกมาแล้วจะดีขน้ึ ยังไงบ้าง คุยไปดือ้ ๆ อีกอย่างทีส่ �ำ คัญสำ�หรับนวัตกรรมคือการ ใครก็ไม่ให้หรอก แต่เราเป็นนักวิทยาศาสตร์อยู่ สร้างพฤติกรรมการเรียนรูใ้ ห้กบั องค์กร เพราะถ้า จะสร้างนวัตกรรมในสเกลเล็ก ทีไ่ หนๆ ก็ท�ำ ได้ แล้ว รูจ้ กั หาข้อมูลมาสนับสนุนมันก็ผา่ นไปได้ แต่ถา้ จะทำ�ในสเกลใหญ่ระดับองค์กร ต้องหา เวลาคุยกับพนักงานก็เหมือนกัน ชอบคลุกคลี มากกว่าสัง่ ว่ากันด้วยข้อมูล ดูทกุ แผนกว่าการ วิธสี อนพนักงาน ให้เขาตืน่ เต้น​ลองอะไรใหม่ๆ ทำ�งานของเขาเป็นยังไง อย่างยาอมสมุนไพร ไปกับเราด้วย เขาก็จะได้มคี วามรูเ้ พิม่ ขึน้ เป็น ของผม เมือ่ ก่อนยอดจะอยูท่ ป่ี ระมาณ 7 ล้าน ทักษะเพิม่ ให้กบั ตัวเอง ยกตัวอย่างยาทีท่ �ำ ยาก ขวดต่อปี แต่เราไม่มเี ครือ่ งช่วยปิดฝา คนงานก็ มากแล้วสำ�เร็จคือยาน�ำ้ แก้ไอเด็ก ตรามิสเตอร์มือช�ำ้ บาดมือ ลาออกไปเยอะ สุดท้ายเราเลยหา เฮิรบ์ ซึง่ เริม่ มาจากความคิดว่าคุณพ่อคุณแม่ บริษทั ทำ�เครือ่ งปิดฝาให้ได้ ผลิตได้ 12,000 ขวด สมัยใหม่คอ่ นข้างเข้มงวดเรือ่ งสารทีจ่ ะเข้าสู่ ต่อชัว่ โมง ก็ชว่ ยไปได้เยอะ ร่างกายลูก มีแอลกอฮอล์หรือเปล่า มีอะไร หรือเปล่า เราก็ตง้ั ใจคิดค้นสูตรยาที่ หนึง่ ไม่ใช้ ผลักดันด้วยนวัตกรรม แอลกอฮอล์ สอง ไม่แต่งกลิน่ สังเคราะห์ ความ ผมเป็นคนชอบนวัตกรรม หลักในการทำ� ยากก็คอื ไม่แต่งแล้วเด็กจะกินได้ยงั ไง ยาดียงั ไง นวัตกรรมของผมมีอยู่ 4 อย่างคือ เจตนา แรง ถ้าเด็กกินแล้วคายออกมา ยังไงมันก็ไม่หาย เรา บันดาลใจ ความคิดสร้างสรรค์ และความ ก็เลยทำ�ตัง้ แต่เริม่ ชิม สมุนไพรตัวไหนขม เชีย่ วชาญ ‘เจตนา’ คือตัง้ ใจทำ�เพือ่ พัฒนา ตัวไหนฝาดตัดทิง้ ตัวไหนทีห่ อมหวาน ก็ใส่ ประสบการณ์ของผูบ้ ริโภค ‘แรงบันดาลใจ’ คือ เข้าไป ชิมเองหมดเลย พยายามหาบาลานซ์ท่ี เห็นอะไรแล้วอยากทำ� ‘ความเชีย่ วชาญ’ คือถ้า ดีทส่ี ดุ ถุยทิง้ จนไม่อยากจะทำ� ปรับอยูน่ านเป็น 42

OPTIMISE | APRIL 2017

ปีๆ กว่าจะผลิตออกมาได้ แต่ตอนนีก้ ก็ ลายเป็น ผลิตภัณฑ์ทย่ี อดขายดีมาก ก็ภมู ใิ จ

เปลีย่ นโฉมเพือ่ ให้คนรูจ้ กั

เมือ่ ก่อนอ้วยอันขายดีกจ็ ริง แต่วา่ ถามคน รูจ้ กั ไหม ไม่รจู้ กั เพราะฉลากไม่ชดั เจน ก็เลย ตัดสินใจเปลีย่ นรูปลักษณ์ใหม่หมด ทำ�โลโก้ ใหม่เป็นใบไม้ เขียนอ้วยอันโอสถ แล้วก็บอกว่า ‘ตัง้ แต่ 1947’ เพือ่ สือ่ ให้คนรูว้ า่ ตัง้ มานานแล้ว โจทย์ของเราคือเอาความขลังไปอยูใ่ นแพ็คเกจ ใหม่ๆ ไม่ให้ลายเส้นรก เพราะคำ�ว่าอ้วยอัน จริงๆ แปลว่า ‘สะอาด’ แล้วก็ ‘ปลอดภัย’ แพคเกจของเราจึงเน้นสะอาดแล้วก็ดปู ลอดภัย


CLIENT VALUES

รูจ้ กั กับชนรรค์ สมบูรณ์เวชชการ หลังจบชัน้ มัธยมศึกษาจากสิงคโปร์ ได้เข้า ศึกษาต่อปริญญาตรีและโทด้าน Food Science and Technology ที่ Ohio State University ประเทศสหรัฐอเมริกา และเริม่ ทำ�งานทีบ่ ริษทั FrieslandCampina ในกรุงนิวเดลีและนครนิวยอร์ก ก่อนกลับมาทำ�งานทีบ่ ริษทั Roha Dyechem ในไทย และเข้าทำ�งานทีอ่ ว้ ยอันโอสถในตำ�แหน่ง Technical Director/Import-Export Director ปัจจุบนั ดำ�รง ตำ�แหน่ง Managing Director ดูแลด้านการผลิตและ เทคโนโลยี การพัฒนาผลผลิต การวิจยั และพัฒนา ผลิตภัณฑ์ การนำ�เข้าและส่งออก เรือ่ งกฎหมายการ ผลิตและจดทะเบียนสินค้า

แต่ทกุ บริษทั ทีป่ ระสบความสำ�เร็จไม่ได้อยูท่ ่ี โฆษณาอย่างเดียว อยูท่ ค่ี ณ ุ ภาพสินค้า และการ บริการทีด่ ดี ว้ ย แพคเกจจิง้ เป็นรักแรกพบ แต่สง่ิ ทีท่ �ำ ให้เขาอยูก่ บั เรานานๆ คือคุณภาพ สำ�คัญ ทัง้ คู่ แพคเกจจิง้ ไม่ท�ำ ให้คนหยิบ เขาก็ไม่รวู้ า่ ของเราดี แต่ถา้ แพคเกจจิง้ ดี ข้างในไม่ดี เขาก็ใช้ แค่ครัง้ เดียว เราอยากให้คนหยิบยาอ้วยอันแล้ว รับรูถ้ งึ ความรักทีเ่ ราให้ลกู ค้า ว่านีค่ อื ยาคุณภาพ ทีผ่ ผู้ ลิตเอาใจใส่ ดูแลคนไทยมา 70 ปีแล้ว ให้ มันเป็น emotional buy ตอนนีย้ อดขายก็เพิม่ ขึน้ 2 หลักทุกปี ยอดขายล่าสุดคือ 420 ล้าน จาก เดิมทีเ่ ข้ามาใหม่ๆ 200 กว่าล้านปลายๆ

ความรักจากรุน่ สูร่ นุ่

สิง่ ทีท่ �ำ ให้การสานต่อจากรุน่ สูร่ นุ่ ของเรา ราบรืน่ คือความรักในสิง่ ทีเ่ ราทำ� ตัง้ แต่รนุ่ คุณ ปูก่ บ็ อกอยูแ่ ล้วว่าเราต้องดูแลสุขภาพของคน ไทย ผูป้ ว่ ยคือคนทีก่ �ำ ลังทุกข์ทางกาย เราโชคดี ทีไ่ ด้มาทำ�ธุรกิจตรงนี้ ได้ชว่ ยเหลือคนไปในตัว ดังนัน้ เราต้องทำ�อย่างมีจริยธรรม คุณภาพต้อง มาคูก่ บั คุณธรรม คุณภาพคือทำ�ยาออกมาให้ดี ทีส่ ดุ หลายคนถามว่าวัดจากอะไร ก็บอกว่าวัด จากทีเ่ รากล้าให้ลกู หลาน ญาติสนิท เพือ่ น หรือ ตัวเราใช้เอง ไม่ได้ท�ำ ออกมาแล้วไปซือ้ ของเจ้า อืน่ ทีค่ ดิ ว่าดีกว่า เราได้มาตรฐานมากมายรวมถึง OPTIMISE | APRIL 2017

43


การพัฒนาควรเริ่มจาก ความคิด ถ้าเราเอาตัว เงินมาตั้ง เราจะพัฒนาได้ จำ�กัดตามจำ�นวนเงิน แต่ถ้าเราเริ่มต้นจาก ความคิด เราจะเริ่มต้น อะไรก็ได้ มันเป็น infinity เลย GMP PIC/S (Good Manufacturing Practice Pharmaceutical Inspection Cooperation Scheme) ซึง่ เป็นมาตรฐานทีส่ งู ทีส่ ดุ ของยาแผน โบราณ นีค่ อื คุณภาพ ส่วนเรือ่ งคุณธรรม คือการ ตัง้ ราคาทีส่ มเหตุสมผล ลูกค้าเข้าถึงได้ ไม่มกี าร โอ้อวดสรรพคุณว่ากินแล้วหายโรคมะเร็ง หาย โรคเบาหวาน

วัตถุดบิ สารไม่ตรงกัน ครัง้ นีก้ นิ 2 แคปซูลหาย ครัง้ หน้ากิน 2 แคปซูลไม่หาย ลูกค้าก็จะเชือ่ ใจ ไม่ได้

ค้นต้นแบบ

นอกจากคุณพ่อแล้ว แรงบันดาลใจของ ผมในเรือ่ งนวัตกรรมคือ อีลอน มัสก์ เคยเป็น CEO ของ PayPal แต่ตอนนีเ้ ป็น CEO ของ มาตรฐานทีต่ ง้ั กับตัวเอง Tesla Motors, Space X, และ Solar City (ทีน่ �ำ ตอนนีใ้ นประเทศไทยมีผผู้ ลิตยาสมุนไพรอยู่ พลังงานแสงอาทิตย์มาใช้เป็นไฟฟ้าในบ้าน) ผม 1,000 ราย แต่ทไ่ี ด้มาตรฐานแบบเดียวกับผมมี ชอบทีเ่ ขาเคยเป็นซีอโี อของ 3 บริษทั ทีไ่ ม่มอี ะไร เกีย่ วข้องกันเลย อันหนึง่ ทำ� internet banking แค่ 20 บริษทั เอง แปลว่า หนึง่ เขาอาจจะไม่มี ความรูท้ จ่ี ะทำ� สอง เขาอาจจะไม่มที นุ ทีจ่ ะทำ�ให้ อย่าง Paypal อีกอันคือ Tesla Motors อีกอัน ดีขนาดนี้ นีเ่ ป็นสิง่ ทีน่ า่ ห่วง เพราะถ้าผูบ้ ริโภค คือ SpaceX บริษทั ทำ�จรวดทีม่ เี ป้าว่าวันหนึง่ จะ เขาลองซือ้ ของไม่ดมี ากินแล้วไม่หาย เขาก็จะมี พาคนไปอยูด่ าวอังคาร มันแสดงให้เห็นว่าความ เชีย่ วชาญไม่จ�ำ เป็นต้องด้านเดียว เราเชีย่ วชาญ ความรูส้ กึ ทีไ่ ม่ดกี บั สมุนไพรแล้ว ทัง้ ๆ ทีเ่ ขาไม่ เคยใช้ของดีมคี ณ ุ ภาพ ดังนัน้ เราจึงเข้มงวดเรือ่ ง หลายๆ อย่างได้ แล้วก็เอาแนวคิดทีเ่ ราเคย มาตรฐาน ถ้าอะไรสำ�คัญ ยากแค่ไหนเราก็ตอ้ ง ศึกษาไปลองประยุกต์ใช้กบั อีกเรือ่ งหนึง่ ได้ ทำ� ในเรือ่ งวัตถุดบิ เรามี contract กับเกษตรกร แล้วการพัฒนาไม่จ�ำ เป็นต้องใช้เงินเพียงอย่าง เช่นขมิน้ ชันจะมาจากฟาร์มในกาญจนบุรที ่ี เดียว เป็นการเปลีย่ นวิธกี ไ็ ด้ ถ้าเราคิดว่าการ ได้มาตรฐานการเกษตรแบบ GAP (Good พัฒนาคือการใช้เงินอย่างเดียวก็คดิ ผิดแล้ว การ Agricultural Practices) ทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ คือเรามี ลงทุนทีต่ อ้ งใช้กใ็ ช้ไป แต่การพัฒนาควรเริม่ จาก การสุม่ ตรวจสารสำ�คัญ ซึง่ เป็นตัวสร้างสรรพคุณ ความคิด ถ้าเราเอาตัวเงินมาตัง้ เราจะพัฒนาได้ ในสมุนไพรทีก่ ล่าวอ้าง เราจึงลงทุนซือ้ เครือ่ ง จำ�กัดตามจำ�นวนเงิน แต่ถา้ เราเริม่ ต้นจากความ วิเคราะห์สารสำ�คัญมาราคาหลักล้าน ซึง่ จริงๆ คิด เราจะเริม่ ต้นอะไรก็ได้ มันเป็น infinity เลย ไม่จ�ำ เป็น เพราะไม่ได้อยูใ่ นข้อกำ�หนด แต่เราให้ ผมชอบหาสิง่ ใหม่ๆ ให้กบั ตัวเองทุกวัน ชอบอ่าน ความสำ�คัญกับคุณภาพ เพราะเราเขียนข้างขวด หนังสือ ชอบไปดูคนพูด จะได้แนวคิดอะไรต่างๆ ว่า รับประทาน 2-3 แคปซูล ถ้าเราไม่ควบคุม มากมาย แต่ทส่ี �ำ คัญ การอ่านหนังสือหรือไปฟัง 44

OPTIMISE | APRIL 2017

คนอืน่ ๆ พูด มันจะไม่มปี ระโยชน์เลย ถ้าเราไม่ นึกถึงตัวเองว่าเราจะเอาสิง่ ดีๆ ทีเ่ ขาพูด เอาสิง่ ดีๆ ทีเ่ ราอ่านมาใช้กบั ตัวเอง กับชีวติ ประจำ�วัน กับองค์กรได้อย่างไร

มุง่ สูศ่ ตวรรษ

ถ้าจะขยายความสำ�เร็จของอ้วยอันก็ตอ้ งทำ� เรือ่ งความยัง่ ยืน ทำ�ยังไงให้อยูไ่ ด้ยาวๆ อยูไ่ ด้ เป็น 100 ปี พันธกิจของเราคือคุณภาพ คุณธรรม เพือ่ พัฒนาประเทศ นีก่ เ็ ป็นปัจจัยความสำ�เร็จ เหมือนกัน นอกจากความรัก นอกจากนวัตกรรม เราต้องรับใช้สงั คมด้วย โชคดีทเ่ี ราได้ท�ำ ธุรกิจ ปัจจัย 4 พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าคนทีจ่ ะเจริญ ในธรรมได้ เขาต้องไม่มปี ญ ั หาเรือ่ งปัจจัย 4 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านก็เน้นคำ�ว่าพอเพียง อยู่ อย่างพอเพียง มีเท่าไหร่ใช้เท่านัน้ คนไม่ควรต้อง กังวลว่าผ่อนบ้านพอหรือเปล่า มือ้ นีเ้ ราจะพอ กินหรือเปล่า ยาทีใ่ ช้จะดี จะพอเพียงหรือเปล่า เสือ้ ผ้าทีใ่ ช้จะตามแฟชัน่ หรือไม่ เพราะฉะนัน้ ใน ธุรกิจยา ซึง่ เป็นปัจจัย 4 เราก็จะเน้นทัง้ คุณภาพ และก็คณ ุ ธรรมอย่างทีบ่ อก คือให้ลกู ค้าใช้แล้ว ดีจริง ราคาสมเหตุสมผล โดยเขาไม่ตอ้ งกังวล ว่าจะดีหรือเปล่า แพงเกินไปหรือเปล่า ถ้าเราทำ� ด้วย service mind ทำ�ทุกอย่างด้วยความรักเพือ่ ช่วยเหลือคนอืน่ เดีย๋ วกำ�ไรก็มาเอง แล้วเวลาคน ทำ� ทำ�ด้วยความรัก ทำ�ด้วยความอดทน ทำ�ด้วย จิตใจดีงาม ก็จะทำ�ให้บริษทั ยัง่ ยืน


CLIENT VALUES

OPTIMISE | APRIL 2017

45


01

Deeply Southern ชาว 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ผนึกกำ�ลังถ่ายทอด ความงดงามทางวัฒนธรรมและธรรมชาติให้ผู้คน ทั่วราชอาณาจักรได้เห็น 46

OPTIMISE | APRIL 2017

เมือ่ วันหนึง่ อัยเยอร์เวง โด่งดังขึน้ มาโดยปัจจุบนั ทันด่วนจากคำ�ร่ำ�ลือกัน ปากต่อปากในโลกโซเชียล มีเดียตัง้ แต่ปี 2558 คนท้องถิน่ จึงไม่พลาดที่ จะคว้าโอกาสทองนีไ้ ว้ 01 วิ ว ทะเลหมอกอั ย เยอร์ เ วง 02 ไก่ เ บตง เมนู ข ึ ้ น ชื ่ อ ของเมื อ งเบตง


BEYOND BOUNDARIES เส้นทางขึน้ จุดชมวิวบนยอดเขามีรถจอด เรียงรายตัง้ แต่ฟา้ ยังไม่สาง คนทีม่ าถึงช้าต่างรีบ วิง่ เหยาะขึน้ ไปยังจุดชมวิวทีน่ กั ท่องเทีย่ วไทย กำ�ลังเบียดเสียดเพือ่ แย่งตำ�แหน่งดีทส่ี ดุ ในการ ชมทะเลหมอก ในอีกไม่กอ่ี ดึ ใจ พระอาทิตย์จะ ลอยขึน้ เหนือทะเลปุยนุน่ สีขาวสุดลูกหูลกู ตา อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับทีเ่ สียงชัตเตอร์จาก กล้องและโทรศัพท์มอื ถือนับไม่ถว้ นจะปะทุแข่ง กันอย่างไม่ลดราวาศอก ภาพนักปีนเขาในเสือ้ กันหนาวคอยตัง้ ท่า ถ่ายทะเลหมอกอย่างทีก่ ล่าวมาข้างต้น ย่อมเป็นภาพชินตาตามยอดดอยในภาคเหนือ หากสถานทีท่ เ่ี รากำ�ลังพูดถึงคือตำ�บล อัยเยอร์เวงในจังหวัดยะลา อันเป็นทีต่ ง้ั ของ เทือกเขาสันกาลาคีรซี ง่ึ ทอดยาวกัน้ พรมแดน ไทยและมาเลเซีย จำ�นวนนักท่องเทีย่ วทีจ่ ดุ ชม วิวนัน้ แสดงให้เห็นเป็นอย่างดีถงึ ความพยายาม ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในการดึงดูด นักท่องเทีย่ วให้มาลงพืน้ ที่ ซึง่ ดูจะได้ผลไม่นอ้ ย นักท่องเทีย่ วทีม่ าเยือนเบตง อันเป็นเมืองอยู่ ติดกับอัยเยอร์เวงเพิม่ ขึน้ 2 เท่าจาก 300,000 คนในปี 2558 เป็น 600,000 คนในปี 2559 เช่นเดียวกับจังหวัดเพือ่ นบ้านอย่างนราธิวาส ยะลาได้น�ำ โครงการในพระราชดำ�ริดา้ นการ อนุรกั ษ์ฟน้ื ฟูทรัพยากร ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 มาต่อยอด โดยท่าม กลางกระแสนิยมการท่องเทีย่ วเชิงนิเวศน์ โครงการในพระราชดำ�ริตา่ งๆ กลายเป็นจุดหมาย สำ�หรับคนเมืองทีแ่ สวงหาธรรมชาติแบบไม่ ปลอมปน ยิง่ กว่านัน้ สเน่หว์ ฒ ั นธรรมของจังหวัด ชายแดนภาคใต้กไ็ ม่ได้ยง่ิ หย่อนไปกว่าทีอ่ น่ื ผูท้ ่ี ได้ลองลัดเลาะไปตามตรอกซอกซอยแคบๆ ชม ความงามของตึกแถวเก่าแบบจีน มัสยิดทีต่ กแต่ง อย่างวิจติ ร และคฤหาสน์จากยุคอาณานิคม จะพบว่าปัตตานี ยะลา และนราธิวาสมีอะไรให้ หลงรักมากกว่าทีเ่ คยรู้ ไม่นา่ แปลกใจ ด้วยของดี ทีม่ อี ยูเ่ หลือล้น ตอนนีช้ าว 3 จังหวัดชายแดน ภาคใต้ได้พยายามปกปักรักษามรดกประจำ�ท้อง ถิน่ อีกทัง้ เชิญชวนให้คนไทยในจังหวัดอืน่ ๆ มา ท่องเทีย่ วให้มากกว่าครัง้ ใดทีผ่ า่ นมา

จะใช้เป็นสโลแกนของเมืองเบตงได้ ไก่เบตง ในเดือนเมษายน 2557 เกิดเหตุระเบิด 8 ลูก นัน้ มีชอ่ื เสียงไปทัว่ ราชอาณาจักรเพราะเนือ้ ในจังหวัดยะลา ซึง่ ภายในระยะเวลาเกิดเหตุ 2 เหนียวกำ�ลังดี หนังนุม่ ฉ�ำ่ และอร่อยน�ำ้ ราดซีอว้ิ วัน มีผเู้ สียชีวติ 1 รายและได้รบั บาดเจ็บ 28 ราย สูตรพิเศษ ซึง่ หากินได้จากร้านอาหารไม่กแ่ี ห่ง ในเมืองเท่านัน้ ถ้าให้แน่นอนทีส่ ดุ คนท้องถิน่ จวบจนวันนี้ สำ�นักงานต่างประเทศของ แนะนำ�ให้ไปลองชิมทีร่ า้ นอาหารจีนต้าเหยิน ซึง่ สหราชอาณาจักรยังคงไม่แนะนำ�ให้เดินทาง ยังคงดำ�เนินกิจการโดยกิตติ ยงวิรยิ กุล ผูก้ อ่ ตัง้ ไปยังสงขลา ปัตตานี นราธิวาส และยะลา “หากไม่มเี หตุจ�ำ เป็น” ส่วนประเทศออสเตรเลีย แม้ปจั จุบนั กิตติจะอายุ 70 ปีแล้ว แขกไปใคร มายังสามารถเห็นกิตติเดินรับแขกในร้านพร้อม แนะนำ�ให้หลีกเลีย่ งการเดินทางไปยะลาโดย คุยจีนกลางโขมงโฉงเฉง เรือ่ งราวของกิตตินบั สิน้ เชิง ภาพลักษณ์ของจังหวัดยะลาได้รบั ผล เป็นตัวอย่างทีด่ ที แ่ี สดงให้เห็นถึงความหลาก กระทบอย่างหนักไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย หลายทางวัฒนธรรม ณ สถานทีแ่ ห่งนี้ “ตอน เอง ยะลาไม่ถกู นับเป็นรายชือ่ จุดหมายปลาย ผมมาทีน่ ่ี ผมพูดภาษาจีนไม่ได้สกั คำ� แต่อาศัย ทางยอดนิยมอย่างเชียงใหม่หรือภูเก็ตมานาน มาเรียนเอาตอนทำ�งานเป็นลูกมือในร้านอาหาร แล้ว อย่างมากผูม้ าเยือนยะลาจึงมีแค่ชาว มาเลย์ทข่ี า้ มชายแดนมาเทีย่ วครัง้ ละวันสองวัน จีนทีร่ บั ซือ้ ผักจากพ่อผม” เขาเล่า ผูท้ ไ่ี ด้รบั ประทานไก่เบตงของกิตติจะ ด้วยเหตุน้ี เมือ่ วันหนึง่ อัยเยอร์เวงโด่งดังขึน้ มาโดยปัจจุบนั ทันด่วนจากคำ�ร�ำ่ ลือกันปากต่อ ตระหนักได้ทนั ทีวา่ ไม่ได้มแี ต่ภาษาจีนเท่านัน้ ทีเ่ ขาชำ�นาญ กิตติถอื เป็นหนึง่ ในหัวหอกทีช่ ว่ ย ปากในโลกโซเชียล มีเดียตัง้ แต่ปี 2558 คน ผลักดันอาหารขึน้ ชือ่ ของจังหวัดให้เป็นทีร่ จู้ กั แก่ ท้องถิน่ จึงไม่พลาดทีจ่ ะคว้าโอกาสทองนีไ้ ว้ สมยศ เลิศลำ�ยอง นายกเทศมนตรีเมืองเบตงจึง คนภายนอก เขาเพิง่ เซ้งกิจการโรงงานผลิต ได้ผลักดันข้อตกลงมูลค่า 90 ล้านบาทร่วมกับ ซีอว๊ิ และเอาความรูม้ าสร้างสรรค์น�ำ้ ซีอว้ิ ดำ�สูตร รัฐบาลในการสร้างสะพานกระจกบนจุดชมวิว เฉพาะสำ�หรับไก่เบตง ในทำ�นองเดียวกัน นอกจากนีย้ งั เดินหน้าก่อสร้างสนามบินสำ�หรับ เอกรัตน์ สุวรรณรัตน์ ก็จวนจะสร้างโรงงานใน ใจกลางเมืองยะลาเสร็จสมบูรณ์ ซึง่ ในอนาคต เครือ่ งบินขนาด 30 ทีน่ ง่ั จากหาดใหญ่และ โรงงานแห่งนีจ้ ะผลิตซอสขึน้ ชือ่ ในตำ�รับอาหาร ภูเก็ต ทีจ่ ะแล้วเสร็จในปี 2562 ด้วย “มาเพือ่ ชมธรรมชาติ อยูต่ อ่ เพือ่ ชิม” เกือบๆ ใต้ตา่ งๆ ตัง้ แต่น�ำ้ จิม้ ไก่กอและ น�ำ้ สลัดแขก

เปิดตัวยะลา

02

OPTIMISE | APRIL 2017

47


ไปจนกระทัง่ น�ำ้ จิม้ ไก่สตู รปักษ์ใต้ “คนหนุม่ สาวย้ายออกไปเยอะ เพราะมอง ไม่เห็นโอกาสทางธุรกิจ แต่จริงๆ มันอยูต่ รงหน้า นีแ่ หละ รอแค่คนมาเห็น” เอกรัตน์กล่าว เขา เป็นเจ้าของคาเฟ่ยอดนิยมในหมูค่ นท้องถิน่ ชือ่ Living Room ซึง่ เสิรฟ์ ของหวานสไตล์ญป่ี นุ่ ใน แบบฉบับร้านอาฟเตอร์ ยู แต่นอกจากนัน้ เขา ยังนำ�ความรูด้ า้ นการออกแบบมาเปลีย่ นโฉม อาคารเก่าในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาให้เป็น โรงแรมบูตกิ ชือ่ Mintra Dhevi Heritage Hotel ซึง่ ตกแต่งด้วยผ้าปาเต๊ะอันลือนามของปักษ์ใต้ ชาวจีนอพยพได้สร้างสเน่หใ์ ห้กบั ท้องถิน่ แห่งนีอ้ ย่างไม่ตง้ั ใจ ในช่วงหลังสงครามโลก ครัง้ ที่ 2 พรรคคอมมิวนิสต์มลายาซึง่ ซ่อนตัว อยูต่ ามป่าเขารอบเบตงได้ขอลีภ้ ยั จากรัฐบาล ไทย รัฐบาลจึงมอบพืน้ ทีป่ า่ 15 ไร่บนไหล่เขาให้ ปรากฏว่าในปัจจุบนั กลุม่ คนเหล่านีไ้ ด้กลายมา เป็นผูร้ บั ผิดชอบดูแลโครงการหลวงต่างๆ อาทิ สวนไม้ดอกเมืองหนาวเบตง โครงการใน พระราชดำ�ริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทีม่ จี ดุ มุง่ หมายเพือ่ สร้าง ไม้ดอกมูลค่าสูงให้แก่พน้ื ที่ 03

อดีตกองกำ�ลังกบฏ เหวินฉี แซ่เฉิน รูส้ กึ ซาบซึง้ ในพระมหากรุณาธิคณ ุ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 เป็นอย่างสูง “พระองค์ทา่ นเป็นผูล้ งพระปรมาภิไธยใน ข้อตกลงระหว่างเรากับรัฐบาลไทย พระองค์คอื ผูอ้ นุญาตให้เราอาศัยอยูท่ น่ี ”่ี ปัจจุบนั นี้ เขาใช้ ความรูท้ ม่ี เี กีย่ วกับพรรณไม้ในพืน้ ทีเ่ ปิดร้านขาย สมุนไพรอยูข่ า้ งอุโมงค์ปยิ ะมิตรซึง่ เป็นสถาน ทีท่ อ่ งเทีย่ วยอดนิยมอีกแห่งหนึง่ เพราะเป็น อุโมงค์ทก่ี บฎคอมมิวนิสต์ได้สร้างขึน้ ในปี 2519 สำ�หรับไว้ใช้หลบระเบิด

ธรรมชาติในนราธิวาส

พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ รัชกาลที่ 9 ในพืน้ ทีภ่ าคใต้ของ ไทยเห็นเด่นชัดในนราธิวาส พระองค์และ สมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชินนี าถ ทรงเสด็จพระราชดำ�เนินไปเยือนนราธิวาสครัง้ แรกเมือ่ ปี 2502 และตัง้ แต่ปี 2516 เป็นต้นมา พระองค์ทรงเสด็จไปนราธิวาสอยูเ่ ป็นประจำ� โดยจะทรงประทับแรมทีพ่ ระตำ�หนักทักษิณราชนิเวศน์คราวละ 2 เดือน เพือ่ ทรงงานตาม

โครงการในพระราชดำ�ริในละแวก แม้ จุดประสงค์หลักของพระตำ�หนักจะมีไว้เพือ่ การ ทรงงาน แต่ดว้ ยสัดส่วนทางสถาปัตยกรรมอัน ลงตัว และไม้ฉลุลายประดับงดงามก็ได้ท�ำ ให้ สถานทีป่ ระทับแห่งนีก้ ลายเป็นอีกสัญลักษณ์ หนึง่ ของภาคใต้ทต่ี อ้ งไปเยือนให้เห็นกับตา ตลอดระยะเวลา 50 ปีทท่ี รงเสด็จฯ ไป ยังภาคใต้ พระองค์ได้ทรงริเริม่ โครงการใน พระราชดำ�ริเป็นจำ�นวนถึง 884 โครงการ ซึง่ กว่า 534 โครงการนัน้ อยูใ่ นเขตพืน้ ที่ 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะนราธิวาส (378 โครงการ) ทัง้ นี้ โครงการส่วนใหญ่เกีย่ วข้องกับ การบริหารจัดการน�ำ้ และการเกษตร เช่น ศูนย์ ศึกษาการพัฒนาพิกลุ ทอง อันเนือ่ งมาจาก พระราชดำ�ริ ซึง่ ถือเป็นหนึง่ ในโครงการเกษตร ทีม่ โี จทย์ยากทีส่ ดุ ของประเทศ พืน้ ทีป่ ระมาณ 4 แสนไร่ในจังหวัดนราธิวาส นัน้ เป็นดินพรุ ซึง่ มีความเป็นกรดสูงไม่เหมาะ ทำ�การเกษตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 จึงทรงพัฒนาวิธกี าร ‘แกล้งดิน’ เพือ่ แปรสภาพดินให้เปรีย้ วจัดผ่านการทำ�ให้ดนิ เปียกและแห้งสลับกันไป การปลูกพืชหลังปรับ

ตลอดระยะเวลา 50 ปีท่ี ทรงเสด็จฯ ไปยังภาคใต้ พระองค์ได้ทรงริเริม่ โครงการในพระราชดำ�ริเป็น จำ�นวนถึง 884 โครงการ ซึง่ กว่า 534 โครงการนัน้ อยูใ่ นเขตพืน้ ที่ 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะ นราธิวาส (378 โครงการ) 03 พรุ โ ต๊ ะ แดง ป่ า พรุ ผ ื น ใหญ่ ท ี ่ ส ุ ด ของประเทศ 04 Malayu Living กลุ ่ ม คนรุ ่ น ใหม่ ท ี ่ จ ุ ด ไฟสร้ า งสรรค์ ใ ห้ ก ั บ เมื อ งปั ต ตานี 05 นกเงื อ ก ตั ว ชี ้ ว ั ด ความสมบู ร ณ์ ของเขตรั ก ษาพั น ธุ ์ ส ั ต ว์ ป ่ า ฮาลา-บาลา

48

OPTIMISE | APRIL 2017


BEYOND BOUNDARIES

04

ดินเปรีย้ วจัดให้ดขี น้ึ เป็นเสมือนบททดสอบวิธี แก้ปญ ั หาดังกล่าว โดยในปัจจุบนั พืน้ ทีแ่ ห่งนี้ ได้มสี ภาพดัง่ พิพธิ ภัณฑ์มชี วี ติ อันหาดูได้ยาก เพราะประกอบด้วยทีน่ าอุดมสมบูรณ์และ แห้งแล้งปะปนกัน “เราเก็บทัง้ แปลงทีด่ แี ละไม่ดไี ว้ให้ทกุ คน ตัง้ แต่นกั วิชาการยันเกษตรกรได้เห็น พวกเขา จะได้เห็นว่าแต่ละวิธกี ารจะนำ�ไปสูผ่ ลลัพธ์แบบ ไหน นีค่ อื วิธขี องพระองค์ทา่ นเลย คือให้เรียนรู้ จากการทำ�จริง” สายหยุด เพ็ชรสุข ผูอ้ �ำ นวยการ ศูนย์กล่าว ปรากฏว่าเมือ่ ได้น�ำ คำ�สอนของพระองค์ไป ปฏิบตั ิ ชาวนาสามารถเก็บเกีย่ วข้าวได้ถงึ 4-5 พันกว่ากิโลกรัมต่อหนึง่ ไร่บนทีน่ าซึง่ ก่อนหน้านี้ ได้แต่ทง้ิ เปล่า โครงการนีย้ งั เปลีย่ นมุมมองทีค่ น ท้องถิน่ มีตอ่ ราชวงศ์อกี ด้วย เดิมทีเกษตรกร ชาวมลายูเรียกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 ว่า ‘รายอซีแย’ หรือกษัตริยแ์ ห่งสยาม แต่ปจั จุบนั นี้ พระองค์ทรงเป็นทีร่ จู้ กั ในนาม ‘รายอกีตอ’ หรือกษัตริยข์ องเรา กระนัน้ พระราชกรณียกิจช่วยชาวนาเพิม่ ผลผลิตได้ท�ำ ไปอย่างสมดุลกับงานอนุรกั ษ์ เพราะนราธิวาสมีปา่ พรุโต๊ะแดง ซึง่ เป็นป่าพรุผนื สำ�คัญผืนเดียวของประเทศ และมีไม้ใหญ่อายุ 7 พันปีตระหง่านเหนือ้ พืน้ ทีก่ ว่า 1,250 ตาราง กิโลเมตร ผลก็คอื ทุกวันนี้ เราสามารถออก สำ�รวจป่าพรุโดยเริม่ ต้นจากศูนย์วจิ ยั ซึง่ คนตาดี

05

อาจได้พบเห็นสิง่ มีชวี ติ 288 สายพันธุใ์ นป่า แห่งนี้ รวมถึงสัตว์หายากอย่างนกจับแมลงคอสี ฟ้าสดด้วย เขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ปา่ ฮาลา-บาลา ซึง่ เป็น พืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์ 270,725 ไร่ในเทือกเขาสันกาลาคีรี ก็เป็นอีกทีห่ นึง่ ทีม่ วี วิ ทิวทัศน์นา่ ตืน่ ตา สถานที่ แห่งนีข้ น้ึ ชือ่ เพราะเป็นทีอ่ ยูอ่ าศัยของนกเงือก จำ�นวนมาก ซึง่ ถือเป็นตัวชีว้ ดั สำ�คัญถึงความ สมบูรณ์ของผืนป่า และแม้แต่นกั ชมวิวสมัคร เล่นก็ตกหลุมรักกับทีน่ ไ่ี ด้ไม่ยาก ด้วยความงาม ของน�ำ้ ตกสิรนิ ธรและน�ำ้ ตกสายรุง้ ซึง่ มีสายรุง้ ในละอองน�ำ้ ให้เห็นอย่างไม่ตอ้ งพึง่ กล้องส่อง ทางไกล สุไลมาน เจ๊ะแม คนพืน้ เมืองนราธิวาสผูใ้ ช้ เวลาว่างออกท่องตระเวนป่ารอบๆ กล่าวว่า ไม่มจี ดุ ชมนกจุดใดในประเทศเหนือกว่าทีน่ ่ี “ความรุนแรงจากกลุม่ แบ่งแยกดินแดนทำ� เอานักท่องเทีย่ วหายไป จนคนทีจ่ ะมาทีน่ ต่ี อ้ ง ศรัทธาแรงกว่าคนอืน่ ๆ หน่อย แต่บอกได้เลย ว่าเพือ่ นผม 100% ชอบทีน่ ห่ี มด โดยเฉพาะ คนกรุงเทพฯ ซึง่ จะได้มาสัมผัสว่าป่าจริงๆ เป็น อย่างไร” เขาเล่า

ทางสำ�หรับนักท่องเทีย่ วสายธรรมชาติ แต่ นอกจากนัน้ ปัตตานียงั เป็นเสมือนชุมทางแห่ง วัฒนธรรมทีซ่ ง่ึ ศาสนาอิสลาม พุทธ และเต๋ามา บรรจบกัน นักโบราณคดีสนั นิษฐานว่าปัตตานี นัน้ เดิมทีเป็นทีต่ ง้ั ของลังกาสุกะ อาณาจักร ฮินดู-พุทธอันสาปสูญในช่วงคริสตศตวรรษที่ 2 ซึง่ ต่อมาตกเป็นเมืองขึน้ ของอาณาจักรศรีวชิ ยั นครรัฐศูนย์กลางพุทธศาสนาซึง่ มีทต่ี ง้ั อยูบ่ น เกาะสุมาตราในช่วงศตวรรษที่ 13 ถึง 15 ก่อน จะเข้าสูย่ คุ อาณาจักรสุลต่านปาตานีดารุสลาม ซึง่ ภายหลังถูกยึดครองโดยสยามในปี 1785 ต่อ มาในปี 1909 แม้องั กฤษจะยึดเกดะห์ กลันตัน ปะลิส และตรังกานู เป็นดินแดนในปกครอง แต่ ก็ยอมรับอำ�นาจอธิปไตยของสยามเหนือปัตตานี (และนราธิวาส) ด้วยประวัตศิ าสตร์อนั ยาวนาน ทำ�ให้ ปัตตานีอดุ มไปด้วยมรดกทางโบราณคดีและ สถาปัตยกรรมซึง่ กระจายอยูท่ ว่ั จังหวัด เช่น ซาก เมืองเก่าแห่งลังกาสุกะในอำ�เภอยะรัง วังยะหริง่ ศาลเจ้าเล่งจูเกียง (เจ้าแม่ลม้ิ กอเหนีย่ ว) มัสยิด กรือเซะ และสุสานพญาอินทิรา เจ้าเมืองปัตตานี คนแรกผูซ้ ง่ึ หันมานับถือศาสนาอิสลามแทน ศาสนาพุทธ และเปลีย่ นพระนามเป็นสุลต่าน ปัตตานีเก่าเล่าใหม่ อิสมาอีล ชาห์ ผูก้ อ่ ตัง้ รัฐปาตานีดารุสลาม หรือ ถัดจากนราธิวาสขึน้ ไป 80 กิโลเมตรเป็นทีต่ ง้ั ‘นครแห่งสันติ’ ของจังหวัดปัตตานี ซึง่ ด้วยหาดทรายขาวบริสทุ ธิ์ สันติภาพ ก็เป็นสิง่ ทีห่ นุม่ พืน้ เมืองปัตตานี ของทะเลอ่าวไทยถือเป็นอีกหนึง่ จุดหมายปลาย เอ็มโซเฟียน เบญจเมธา ให้ความสำ�คัญเป็น OPTIMISE | APRIL 2017

49


Essentials

06

เขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ปา่ ฮาลา-บาลา

บ้านบาลา หมูท่ ่ี 5 อำ�เภอแว้ง นราธิวาส โทร. 087-286-2351

ต้าเหยิน

196/3 ถนนนิพทั ธ์อทุ ศิ 3 ยะลา โทร. 073-230-461

เบญจเมธา เซรามิก

6/4 หมู่ 6 อำ�เภอปานาเระ ปัตตานี โทร. 089-655-3900, 081-609-6834

ศูนย์ศกึ ษาการพัฒนา พิกลุ ทอง อันเนือ่ งมา จากพระราชดำ�ริ อันดับแรก หลังจบการศึกษาด้านศิลปะจากฝรัง่ เศส เขาก็กลับมาเปิดโรงงานเซรามิก ‘เบญจเมธา’ ใน ปัตตานี ซึง่ นับเป็นโรงงานเซรามิกแห่งแรกใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ งานออกแบบของเขาได้รบั แรงบันดาลใจจากความงามของศิลปะมลายู และ ศาสนาอิสลาม จนได้รบั รางวัลไทยสร้างสรรค์ประจำ� ปี 2553 “ผมทำ�งานกับคนหลายภูมหิ ลัง ตัง้ แต่คนขับรถตู้ ไปจนถึงคนขายโรตี ผมสอนให้เขาสร้างสรรค์งาน ศิลปะ ผมว่ามันเป็นภูมคิ มุ้ กันต่อความรุนแรงทีด่ ี คุณเป็นคนหัวรุนแรงไม่ได้ถา้ คุณสร้างสรรค์อะไรที่ สวยงามและสงบแบบนี้ นีค่ อื อีกด้านของวัฒนธรรม มลายูทผ่ี มอยากให้คนเห็น” เอ็มโซเฟียนเล่า มรดกทางสถาปัตยกรรมของปัตตานีกน็ า่ ประทับใจ ตัง้ แต่บา้ นไม้แบบมลายูแกะสลักอย่าง ประณีต ไปจนถึงตึกแถวจีนปูหลังคากระเบือ้ ง ซึง่ ถือ เป็นพืน้ ทีเ่ หมาะเหม็งสำ�หรับกลุม่ สถาปนิกรุน่ ใหม่จาก 3 ชายแดนภาคใต้ใช้เป็นสำ�นักงาน บริษทั Melayu Living ได้เพิม่ ความมีชวี ติ ชีวาให้กบั ย่านอยูอ่ าศัยของ คนจีนทีถ่ กู ปล่อยทิง้ ร้างมานานแห่งนี้ และถือเป็น จุดเริม่ ของโครงการบูรณะตึกแถวเก่าบนถนน ปัตตานีภริ มย์ “ปัตตานีกเ็ หมือนไข่ทเ่ี ปลือกสกปรก สิง่ สกปรกก็ เปรียบเหมือนความรุนแรงทีเ่ กิดขึน้ ถ้าเราตอกไข่ให้ แตก คนก็จะเห็นความงามข้างใน” ราชิต ระเด่น50

OPTIMISE | APRIL 2017

อาหมัด หัวหน้ากลุม่ มลายู ลิฟวิง กล่าว เขาได้ดงึ คนท้องถิน่ รุน่ ใหม่หลายคนมาร่วมด้วย นอกจากมลายู ลิฟวิงแล้ว ยังมีคาเฟ่ In-T-Af ซึง่ เสิรฟ์ ชาในร้านทีต่ กแต่งแนวอินดัสเทรียลผสมกลิน่ อาย ชนบท ส่วนด้านหลังมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ก็เป็นทีต่ ง้ั ของคาเฟ่และโคเวิรก์ กิง้ สเปซเปิดใหม่อย่าง Owly Cafe & Co. ซึง่ นำ�เสนอ พืน้ ทีส่ ดุ ฮิปแห่งใหม่ให้กบั เมืองพร้อมสถาปัตยกรรม ร่วมสมัยแบบทีเ่ รามักจะเห็นกับเมืองดีไซน์เท่ๆ อย่าง เกาหลีใต้หรือญีป่ นุ่ ไม่วา่ การเปิดตัวของร้านรวงเหล่านีจ้ ะชวนให้ ใจชืน้ สักเพียงใด ผูม้ าเยือนคงจะยินดีกว่าหากได้รวู้ า่ วัฒนธรรมปัตตานีไม่ได้กลายเป็นมีแต่เบอร์เกอร์กบั กาแฟลองแบล็คเหมือนอีกหลายๆ จังหวัด ทีน่ ข่ี า้ ว นาซิดาแฆและชาชักยังคงมีขายอยูเ่ กือบทุกหัวมุม ถนน และการได้ลม้ิ รสอาหารพืน้ เมืองทีต่ ลาดนัดปาลัส ก็ถอื เป็นสีสนั และอรรถรสทีย่ งั คงแปลกใหม่ ตลาดแห่ง นีจ้ งึ เป็นสือ่ บอกเล่าเรือ่ งราวของวัฒนธรรมอันหลาก หลายทีห่ ยัง่ รากลึกในภูมภิ าคได้เป็นอย่างดี ในขณะที่เราอาจเห็นแต่พาดหัวข่าวเหตุการณ์ ไม่สงบตามหน้าหนังสือพิมพ์ สิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันที่นี่ คือภาพร้านขายก๋วยเตี๋ยวที่ตั้งติดกับร้านโรตีอย่าง กลมกลืนโดยไม่มีใครเห็นเป็นประเด็นเชื้อชาติ ศาสนาอะไรทั้งนั้น

อำ�เภอเมือง นราธิวาส โทร. 07-363-1033

ศูนย์วจิ ยั และศึกษา ธรรมชาติปา่ พรุสริ นิ ธร (ป่าพรุโต๊ะแดง)

อำ�เภอสุไหงโกลก นราธิวาส โทร. 098-010-5736

In-T-Af 229 ถนนปัตตานีภริ มย์ ปัตตานี โทร. 092-568-8943 Living Room 13/2 ถนนสุขยางค์ ยะลา โทร. 073-222-457 www.fb.com/ Livingroomhomemadecafe Melayu Living www.fb.com/MelayuLiving/ Owly Cafe & Co. 18/54 หมูท่ ่ี 1 ถนนมะกรูด ปัตตานี โทร. 097-349-4999

06 เอ็ ม โซเฟี ย น เบญจเมธา แห่ ง เซรามิ ก เบญจเมธา ผู ้ ใ ช้ ศ ิ ล ปะ สื ่ อ สารถึ ง ความสั น ติ ข องผู ้ ค นที ่ น ี ่


BEYOND BOUNDARIES

OPTIMISE | APRIL 2017

51


01

52

OPTIMISE | APRIL 2017


THE GOOD LIFE

Staying Power ธุรกิจมาแรงอย่างคลินิกเวชศาสตร์ชะลอวัยให้คำ�สัญญา จะเอาชนะความสึกหรอตามธรรมชาติ ท่ามกลางการก้าว เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย เคยมีคนกล่าวไว้วา่ “ความงามอยูท่ ส่ี ายตา ของผูม้ อง” แต่นน่ั คงเป็นเพราะผูพ้ ดู ไม่เคย ได้ลม้ิ ลองเวชศาสตร์แห่งการชะลอวัย (AntiAging Medicine) นับเป็นเวลานับร้อยปีมา แล้ว ทีค่ นไทยเรารูจ้ กั แสวงหาหนทางขจัดร่อง รอยแห่งกาลเวลา ทัง้ ด้วยการชะโลมน�ำ้ มัน มะพร้าวบำ�รุงผิวทัว่ เรือนร่าง พอกหน้าด้วย มะละกอกับมะขาม หรือสระผมด้วยมะกรูด กระทัง่ คนไทยในปัจจุบนั ก็คนุ้ เคยดีกบั การฉีด โบท็อกซ์ การอบซาวน่าอินฟราเรดขับเหงือ่ หรือ การรับประทานอาหารเสริมกำ�ใหญ่ ทัง้ หมดทัง้ มวลเพือ่ ยืดเวลาแห่งความอ่อนเยาว์ของชีวติ กระแสการแสวงหาน�ำ้ พุแห่งความเยาว์ วัยในปัจจุบนั เกิดขึน้ ในเวลาทีจ่ �ำ นวนผูส้ งู อายุ ในประเทศไทยพุง่ สูงขึน้ อย่างรวดเร็ว จากสถิติ ของธนาคารโลก ในปี 2559 ประชากรไทย 7.5 ล้านคน (นับเป็น 11% ของประชากรทัง้ หมด) มีอายุ 65 ปีหรือมากกว่า และภายในปี 2583 ประชากรไทย 17 % หรือคิดเป็น 1 ใน 5 ของ ประชากรทัง้ หมดจะเข้าสูว่ ยั สูงอายุ ในขณะ เดียวกัน ความสนใจในเทคโนโลยีชะลอวัยก็ เพิม่ สูงขึน้ เป็นเงาตามตัว หนังสือพิมพ์เดอะ นิวยอร์กไทมส์คาดการณ์วา่ ภายในปี 2563 มูลค่าของธุรกิจประเภทนีจ้ ะเติบโตสูงถึง 9.7 ล้านล้านบาท จาก 6.8 ล้านล้านบาทในปี 2556

ลึกกว่าชัน้ ผิว

เวชศาสตร์การชะลอวัยนัน้ เริม่ เป็นทีน่ ยิ ม

ในบ้านเรา หากวัดจากบรรดาศูนย์เวชศาสตร์ ชะลอวัยทีเ่ บ่งบานในกรุงเทพฯ อาทิ Royal Life หรือศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัยของโรงพยาบาล กรุงเทพ Vitallife หรือศูนย์สง่ เสริมสุขภาพ ประจำ�โรงพยาบาลบำ�รุงราษฎร์ ตลอดจน คลินกิ Verita Health MahaNakhon ซึง่ เพิง่ เปิด ให้บริการเมือ่ เดือนกุมภาพันธ์เพือ่ เข้าร่วมแย่ง ชิงส่วนแบ่งในธุรกิจกำ�ไรเป็นกอบเป็นกำ�นี้ กระนัน้ ก็ยงั มีค�ำ ถามคาใจว่า เวชศาสตร์ ชะลอวัย ซึง่ บางทีเรียก ‘เวชศาสตร์ฟน้ื ฟู ภาวะเสือ่ ม’ (Regenerative Medicine) หรือ ‘เวชศาสตร์ปอ้ งกัน’ (Preventive Medicine) นัน้ คืออนาคตของการดูแลสุขภาพจริงอย่างที่ สถาบันเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟืน้ ฟูภาวะเสือ่ ม แห่งอเมริกา (American Academy of AntiAging and Regenerative Medicine) กล่าว อ้าง หรือจะเป็นเพียงฝันลมๆ แล้งๆ หรือแม้ กระทัง่ เป็นโทษ ดังทีแ่ พทย์แผนปัจจุบนั หลายๆ คนสงสัย อย่างไรก็ตาม ก่อนจะไปทีค่ �ำ ถามนัน้ สิง่ ทีต่ อ้ งตอบให้ได้กอ่ นก็คอื เวชศาสตร์ชะลอวัย คืออะไร นพ.ตนุพล วิรฬุ หการุญ ผูอ้ �ำ นวยการ ศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัยรอยัลไลฟ์ โรงพยาบาล กรุงเทพ เล่าว่าเขาเองถูกถามคำ�ถามนีม้ าแล้ว นับครัง้ ไม่ถว้ น “หลายคนไม่รวู้ า่ ตัวเองป่วย เป็นอะไรหรือการชะลอวัยคืออะไร ผมต้องใช้ เวลาเยอะมากอธิบายให้คนเข้าใจว่ามันไม่ใช่ แค่เรือ่ งของผิวหนัง” นายแพทย์วยั 35 ปี ผูม้ ี

หลายคนไม่รวู้ า่ ตัวเองป่วย เป็นอะไรหรือการชะลอวัย คืออะไร ผมต้องใช้เวลา เยอะมากอธิบายให้คนเข้าใจ ว่ามันไม่ใช่แค่เรือ่ งของ ผิวหนัง 01 นั ก วิ ท ยาศาสตร์ ก ำ � ลั ง วิ เ คราะห์ ต ั ว อย่ า ง เลื อ ดเพื ่ อ การออกแบบวิ ต ามิ น และฮอร์ โ มน ในรู ป แบบ ‘ค็ อ กเทล’ สำ � หรั บ เฉพาะบุ ค คล

ใบหน้าอ่อนกว่าอายุกล่าว ความจริงแล้ว ศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัย อย่างรอยัลไลฟ์นน้ั เป็นผลพวงของไลฟ์สไตล์ ยุคใหม่ซง่ึ คนทำ�งานหนักพักผ่อนน้อย ใช้เวลา เครียดมากกว่าใช้เวลาหลับ ซ�ำ้ ยังพยายามแก้ เครียดด้วยวิธหี รือกิจกรรมผิดๆ ซึง่ อาจทำ�ร้าย พวกเขาได้ในทีส่ ดุ ยังไม่ตอ้ งพูดถึงว่า สิง่ แวดล้อมในปัจจุบนั ได้สร้างสารพิษแปลกๆ ให้เข้าสูร่ า่ งกายมนุษย์ได้อย่างไม่เคยเป็นมา ก่อนอีกด้วย “หลายคนเหมือนใช้ชวี ติ แค่ครึง่ เดียว ไหนจะนอนไม่หลับ เซ็กส์เสือ่ ม แล้วยัง ต้องพะวงเรือ่ งอาการก่อนมีประจำ�เดือนอะไร พวกนีอ้ กี ” นพ.ตนุพลเล่า นพ.ตนุพล หนึง่ ในแพทย์แนวหน้าของ วงการเวชศาสตร์ชะลอวัยของไทยในปัจจุบนั ประมาณไว้วา่ ตนเองมี ‘คนไข้ประจำ�’ ภายใต้ การดูแลอยูร่ าวๆ 5,000 ราย แต่กร็ บี ชีแ้ จงว่า จำ�นวนคนไข้ไม่ใช่สง่ิ บ่งชีค้ วามสำ�เร็จเสมอไป สำ�หรับการแพทย์แผนปัจจุบนั ทีม่ งุ่ รักษาโรค ทีเ่ กิดขึน้ แล้ว จำ�นวนคนไข้ใหม่ๆ อาจมีขน้ึ ได้ ทุกวัน ต่างกับเวชศาสตร์ชะลอวัยซึง่ มุง่ เน้นการ สร้างความสัมพันธ์กบั ผูค้ นไปในระยะยาวของ ชีวติ “หมอแบบผมถือเป็นของใหม่”

เลอค่าดัง่ คาเวียร์

การจะบรรยายลักษณะของผูม้ าใช้บริการ คลินกิ เวชศาสตร์ชะลอวัยเป็นเรือ่ งยาก เพราะ คนทีย่ งั ไม่ปว่ ยย่อมมีสาเหตุในการมาพบแพทย์ OPTIMISE | APRIL 2017

53


02

การชี้ต้นตอ ของความเจ็บป่วย คือจุดมุ่งหมาย ของเวชศาสตร์ ชะลอวัย 02 นพ.ตนุ พ ล วิ ร ุ ฬ หการุ ญ (ที ่ 2 จากซ้ า ย) และที ม แพทย์ ช ะลอวั ย ของ Royal Life โรงพยาบาล กรุ ง เทพฯ 03 อาหารเสริ ม ท่ ี Royal Life ผลิ ต เองจะถู ก บรรจุ ล งซองให้ เ ภสั ช กร จ่ า ยให้ ก ั บ ลู ก ค้ า 04 ศู น ย์ Vitallife ของโรงพยาบาล บำ � รุ ง ราษฎร์ คลิ น ิ ก เวชศาสตร์ ชะลอวั ย ที ่ เ ก่ า แก่ ท ี ่ ส ุ ด ในประเทศไทย 05 พญ.วรรณวิ พ ุ ธ สรรพสิ ท ธิ ์ ว งศ์ แห่ ง Vitallife

ต่างกันออกไป ผูใ้ ช้บริการอาจเข้ามาเมือ่ ปรากฎ อาการที่ ‘ไม่ทราบสาเหตุ’ และยังไม่มแี พทย์ ระบุโรค หรือมาเพือ่ หาแนวทางป้องกันโรค ทีอ่ าจเกิดขึน้ ในอนาคต หรือมาเมือ่ รูส้ กึ ว่ามี บางอย่างผิดปกติ “เอาเป็นว่าเวลาคุณรูส้ กึ ว่า ร่างกายไม่ปกติ แปลว่าคุณอยูใ่ นข่ายคนไข้ของ ผมแล้ว” นพ.ตนุพลบอก คนไข้ทค่ี ลินกิ รอยัลไลฟ์จะต้องผ่านการ ตรวจเลือดหลายครัง้ เพือ่ วัดระดับฮอร์โมนและ วิตามินในร่างกาย รวมถึงตรวจหาภูมแิ พ้อาหาร แฝง หลังจากนัน้ นพ.ตนุพลจะอธิบายผลตรวจ เลือดกับคนไข้ จ่ายอาหารเสริมซึง่ จะเข้าไป ยับยัง้ อาการบกพร่อง และอาจระบุประเภท อาหารทีค่ วรหลีกเลีย่ ง ทัง้ นี้ ใน 3 เดือนแรก คนไข้ตอ้ งรับประทานอาหารเสริมตามโปรแกรม ทีอ่ อกแบบเฉพาะบุคคล และหลังจากนัน้ จะ ต้องมาพบแพทย์ทกุ ๆ 2-3 เดือนเพือ่ ติดตามผล แน่นอนว่าสิง่ เหล่านีไ้ ม่ได้ราคาถูก อย่างที่ นพ.ตนุพลเปรียบเทียบว่า “ถ้าจะพูดถึงคาเวียร์ แล้วจะให้ไม่แพงมันยากนะ” เขาถือเป็นมือวาง อันดับต้นๆ ของวงการ โดยโปรแกรมชะลอวัย ของเขาครอบคลุมตัง้ แต่การป้องกันโรคเกีย่ วกับ ความเสือ่ มไปจนถึงโปรแกรมเสริมความงาม 54

OPTIMISE | APRIL 2017

มาจากวิถชี วี ติ เช่นการอดหลับอดนอน การขาดสมดุลระหว่างชีวติ ส่วนตัวและงาน การ คุณคือผูร้ า้ ย ไม่ออกกำ�ลังกาย และการปาร์ตแ้ี บบหักโหม ซึง่ “การชีต้ น้ ตอของความเจ็บป่วยคือจุดมุง่ พฤติกรรมเหล่านีใ้ นทีส่ ดุ จะทำ�ลายสุขภาพ โดย หมายของเวชศาสตร์ชะลอวัย” พญ.วรรณวิพธุ เฉพาะสำ�หรับผูท้ อ่ี ายุยา่ งเข้า 30 นีค่ อื เหตุผลที่ สรรพสิทธิว์ งศ์ นิยาม เธอคือแพทย์ประจำ�ศูนย์ คนไข้สว่ นใหญ่ของพญ.วรรณวิพธุ อยูใ่ นวัย 30 ไวทัลไลฟ์ของโรงพยาบาลบำ�รุงราษฎร์ คลินกิ กลางๆ จนถึง 50 ปลายๆ ซึง่ ถ้าเป็นผูช้ ายก็มกั เวชศาสตร์ชะลอวัยทีเ่ ก่าแก่ทส่ี ดุ ในประเทศไทย บ่นว่าตนเองรูส้ กึ เหนือ่ ยล้าหรืออยากเพิม่ มวล โดยแทนทีจ่ ะใช้ยาระงับอาการ เวชศาสตร์การ กล้ามเนือ้ ในขณะทีผ่ หู้ ญิงจะกังวลเรือ่ งริว้ รอย ชะลอวัย “พยายามช่วยให้ทกุ คนเข้าใจร่างกาย แต่ถงึ ความชราจะสามารถหยุดยัง้ ได้ดว้ ย มากขึน้ และรูจ้ กั หาวิถชี วี ติ ทีด่ ตี อ่ สุขภาพและ มีดหมอ พญ.วรรณวิพธุ กล่าวว่าปัจจุบนั คนไข้ ลงตัวสำ�หรับตัวเอง” นัน้ เริม่ มองหาวิธแี ก้ไขปัญหาแบบยัง่ ยืนมาก พญ.วรรณวิพธุ เริม่ หันมาสนใจใน ขึน้ “ช่วงสองปีมานี้ คนพยายามแก้ปญ ั หา เวชศาสตร์ชะลอวัยตอนทีเ่ ธอมีปญ ั หาเกีย่ ว จากภายในมากกว่า” เธอกล่าว แม้คลินกิ บาง กับปอด ขณะนัน้ เธอกำ�ลังเรียนเพือ่ เป็นกุมาร แห่งจะมุง่ แก้ไขปัญหาทัง้ ปวงด้วยวิตามินและ แพทย์ ตอนนัน้ เธอคิดว่า “เราเป็นหมอ ทำ�ไมถึง ฮอร์โมน สำ�หรับพญ.วรรณวิพธุ การรักษาควร ป่วยได้ขนาดนี”้ อาการป่วยทำ�ให้เธอเลือกเรียน ออกแบบให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคน “ไม่ใช่ หลักสูตรเวชศาสตร์ชะลอวัยเป็นเวลา 1 ปี ซึง่ ว่าทุกคนจะต้องใช้ฮอร์โมน หรือเดินกลับออก ปรากฏว่าเป็นการตัดสินใจทีท่ �ำ ให้เธอลงหลัก ไปพร้อมอาหารเสริมเป็นกระสอบ” ปักฐานกับเวชศาสตร์แขนงใหม่น้ี “เหมือนเป็น พญ.วรรณวิพธุ ต่างจากหมอหลายๆ คน นักสืบเลย” เธอเล่าถึงงานของเธอ ตรงทีเ่ ธอเอาคำ�แนะนำ�ทีใ่ ห้กบั คนไข้มาปฏิบตั ิ ในจำ�นวนคนไข้ทเ่ี ธอรักษา พญ.วรรณวิพธุ เองจริงๆ เธอเชือ่ ในเวชศาสตร์ชะลอวัย และ ประเมินว่าสาเหตุการเจ็บป่วยหลักๆ 80% นัน้ พยายามหาต้นตอความเจ็บป่วยของตัวเอง

ซึง่ มีคา่ ใช้จา่ ยหลักแสน


THE GOOD LIFE แบบเดียวกับทีท่ �ำ กับคนไข้ หลังประสบปัญหา ปวดหลังเรือ้ รังจากการใส่รองเท้าส้นสูง เธอ จึงเริม่ หันมาออกกำ�ลังกายทีช่ ว่ ยเพิม่ ความ กระปรีก้ ระเปร่าและสร้างกล้ามเนือ้ ช่วงกลาง ลำ�ตัว “เรือ่ งทีบ่ อกคนไข้หมอมัน่ ใจ 100% เพราะลองทำ�ด้วยตัวเองมาแล้ว ฉะนัน้ ไม่เชือ่ ไม่ได้เลย” ถ้าหากคนไข้เวชศาสตร์ชะลอวัยนัน้ ไม่ จำ�เป็นต้องใช้ยาหรืออาหารเสริม จำ�เป็นหรือไม่ ทีค่ ลินกิ เวชศาสตร์ชะลอวัยต้องตัง้ อยูใ่ น โรงพยาบาล ในข้อนี้ แอนดรูว์ คริสตัน ผูจ้ ดั การ ทัว่ ไปของคลินกิ Verita Health MahaNakhon ทีเ่ พิง่ เปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมือ่ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ ทีผ่ า่ นมาเลือกทีจ่ ะฟันธงว่า “ไม่จ�ำ เป็น”

ปัจจุบนั คืออนาคต

‘ห้องรอตรวจ’ ของคลินกิ เวอริตานัน้ ให้ ความรูส้ กึ เหมือนอยูใ่ นล็อบบีโ้ รงแรม เมือ่ ก้าว เข้าไปจะพบกับผนังเงาวับ วิวเส้นขอบฟ้าตรง เบือ้ งหน้า บาร์ซง่ึ เสิรฟ์ น�ำ้ ผลไม้สกัดเย็นและชา

เครือ่ งออกซิเจนบำ�บัด รวมไปถึงสลัดจากร้าน Dean & Deluca ทีอ่ ยูด่ า้ นล่าง “เราต้องการให้ ความรูส้ กึ เหมือนไพรเวทคลับสำ�หรับสมาชิก” แอนดรูวผ์ เู้ คยมีประสบการณ์ท�ำ งานในคลับ ส่วนตัวมาก่อนกล่าว อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางบรรยากาศหรูชคิ กระบวนการทางการแพทย์ยงั ไม่ได้หายไปไหน หลังประสบความสำ�เร็จในสาขาเนือ้ งอกวิทยา บริษทั สัญชาติสงิ คโปร์นภ้ี มู ใิ จกับโปรแกรมการ ตรวจ VIBA (Verita Index Biological Age) ของตัวเองเป็นอย่างมาก เพราะใช้เลือดเพียง 4 หยดและสำ�ลีอกี 1 แผ่น แต่การตรวจดังกล่าว จะทำ�ให้ทราบอายุชวี ภาพ (biological age) ของคนไข้ โดยทางคลินกิ จะส่งตัวอย่างเลือด ทีเ่ จาะไปตรวจยังห้องทดลองในประเทศ ออสเตรียเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ตามด้วยการ แนะแนวทางรักษา ก่อนจะตรวจ VIBA อีกรอบ เพือ่ ติดตามว่าการรักษานัน้ เห็นผลหรือไม่ นอกจากนัน้ ทีน่ ย่ี งั มีเครือ่ งมือการตรวจโรค ้ ทีล่ �ำ สมัย อาทิกล้องอินฟราเรด ไบโอสแกนเนอร์และเครือ่ งมือพิเศษเพือ่ ตรวจการทำ�งาน

ของต่อมไทรอยด์ ซึง่ จะตรวจจับอาการเจ็บป่วย เล็กๆ น้อยๆ และให้ผลทีม่ คี วามแม่นยำ�กว่า การตรวจเลือดทัว่ ไปถึง 20% “เราใช้วธิ ที ไ่ี ม่ ทำ�ให้คนไข้เจ็บตัว แถมยังรวดเร็วและมีความ แม่นยำ�สูง” คริสตันกล่าว วิธกี ารรักษาของเวอริตายังวางอยูบ่ นพืน้ ฐานของวิทยาศาสตร์ และปลอดจากการรักษา แนวใช้ความเชือ่ อย่างการนวดเรกิหรือการใช้ เทปพยุงกล้ามเนือ้ ห้องวีไอพีทน่ี ม่ี าพร้อมกับ ซาวน่าอินฟราเรดซึง่ ช่วยกระตุน้ การ ‘ดีทอ็ กซ์’ ในแบบทีเ่ จ้าแม่สขุ ภาพอย่างกวินเน็ธ พัลโทรว์ คงจะเห็นดีเห็นงาม นอกเหนือไปจากบริการ วารีบ�ำ บัดสวนล้างลำ�ไส้ใหญ่ (ซึง่ จัดเป็นบริการ ยอดนิยมของทางคลับ) และบริการฉีดยาเข้า เส้นเลือด (หรือ IV) อันทีจ่ ริงแล้ว บริการไม่นอ้ ย ก็คอื โปรแกรมทรีตเมนต์ซง่ึ นำ�เสนอใหม่ภายใต้ ชือ่ IV Lounge อาทิ โปรแกรม Revive รักษา อาการอ่อนล้า และโปรแกรมกระชับรูปร่าง Silhouette (มีทง้ั แบบปกติและในห้องมืด) “หลัก การคือให้คนรูส้ กึ ว่าการรับบริการมันง่ายเหมือน ไปนัง่ จิบค็อกเทลทีบ่ าร์” คริสตันเปรียบเทียบ 04

03

05 OPTIMISE | APRIL 2017

55


ยกตัวอย่างเทคโนโลยีซที สี แกนซึง่ ในตอนแรก เคยถูกต่อต้านหนักหน่วงเช่นกัน “เราไม่เคย แน่นอนว่ายังมีอกี หลายกรณีทเ่ี วชศาสตร์ เสียใจเวลาหมอคนอืน่ ๆ ไม่ยอมรับเรา” ชะลอวัยไม่ให้ผลตามคาด หรือให้ผลน้อย กระนัน้ กรณีทด่ี ที ส่ี ดุ ย่อมคือการทีค่ นไข้ พญ.วรรณวิพธุ แห่งศูนย์ไวทัลไลฟ์บอกว่า สำ�หรับเธอ กรณีทย่ี ากทีส่ ดุ คือผลข้างเคียงจาก รักษาสุขภาพได้ดจี นไม่ตอ้ งมาถึงมือหมอ โดย นพ.กำ�พล ภูผาวัฒนากิจ แพทย์ธรรมชาติ การใช้ฮอร์โมน ทีฮ่ อร์โมนเสริมทำ�ให้รา่ งกาย บำ�บัดแห่งคลินกิ เวอริตา เฮลท์ ให้ค�ำ แนะนำ�ไม่ ผลิตฮอร์โมนตามธรรมชาตินอ้ ยลง ในขณะที่ ซับซ้อนเพียงว่าให้ดม่ื น�ำ้ มากๆ นอนหลับให้เต็ม นพ.ตนุพล เห็นว่าอาการเจ็บป่วยทีร่ กั ษายาก อิม่ และไม่กนิ เกินพอดี “ผมเชือ่ เรือ่ งอดอาหาร ทีส่ ดุ คืออาการจากสมอง “เรือ่ งทางจิตใจมัน คนเรากินเยอะและบ่อยเกินไป” นพ.กำ�พล รักษาให้หายยากกว่า” อธิบาย ไม่นา่ แปลกใจนักทีเ่ ขาดูยงั หนุม่ และฟิต สิง่ เหล่านีท้ �ำ ให้เกิดคำ�ถามว่าการไปพบ แพทย์ดา้ นเวชศาสตร์ชะลอวัยเป็นเรือ่ งจำ�เป็น นอกจากนัน้ เขาเห็นว่าการรับประทานวิตามิน เสริมเป็นสิง่ ทีค่ วรทำ�เนือ่ งจากคุณค่าทางอาหาร หรือไม่ “ผมไม่ตอ่ ต้านการกินวิตามินหรือ ฮอร์โมน แต่คณ ุ ควรจะกินเมือ่ มีผลทดสอบบ่งชี้ ในพืชผักต่างๆ ลดลงในช่วงหลายปีทผ่ี า่ นมา ว่าคุณต้องกินเท่านัน้ ” นพ.กิตติ สกาวรัตนโยธิน พร้อมแนะนำ�ไปจนถึงขมิน้ ชา ไวน์แดง ดาร์กช็อกโกแลต และกาแฟสกัดเย็น ซึง่ ล้วน แห่งโรงพยาบาลสมิตเิ วชกล่าว อย่างไรก็ตาม นพ.ตนุพลเห็นว่าการวิจารณ์เวชศาสตร์ชะลอ ดีตอ่ สุขภาพหากรับประทานในปริมาณทีพ่ อ เหมาะ อย่างไรก็ตาม สิง่ สำ�คัญทีส่ ดุ คือทัศนคติ วัยแบบหว่านแหว่าเป็นโฆษณาชวนเชือ่ นัน้ เกิดขึน้ เพียงเพราะคนขาดความเข้าใจ โดยเขา บวก “หากคุณป่วยทางจิต มันจะลามมาทาง กายเข้าสักวัน ในทางกลับกัน ถ้าคุณป่วยกาย

คิดไปเอง

มันก็จะส่งผลกระทบกับสุขภาพจิตด้วย” ในขณะทีส่ �ำ หรับนพ.ตนุพล หัวใจสุขภาพ สรุปได้งา่ ยๆ ว่าคือการรักษาระดับไขมันใน ร่างกายให้อยูใ่ นเกณฑ์ต�ำ่ ออกกำ�ลังกายวันละ 30 นาที รับประทานอาหารทีด่ ตี อ่ สุขภาพ และ ลดการใช้เครือ่ งมืออิเล็กทรอนิกส์ หลัง 2 ทุม่ “โซเชียล มีเดียสร้างคนไข้ให้ผมเยอะมาก ผม บอกได้เลยว่าอย่าไปคาดหวังให้ใครมาทำ�ให้ คุณมีความสุข เราต้องรูจ้ กั สร้างความสุขด้วย ตัวเอง” นพ.ตนุพล ผูช้ น่ื ชอบการนัง่ สมาธิเป็น ชีวติ จิตใจบอกเคล็ดลับ เมือ่ ปริมาณการเสพโซเชียล มีเดียดูไม่มี ทีทา่ จะลดลงเช่นเดียวกับความเครียดสะสม จากการทำ�งาน ความต้องการด้านเวชศาสตร์ ชะลอวัยคงมีแต่จะพุง่ สูงขึน้ เรือ่ ยๆ หาก สถานการณ์ยงั ดำ�เนินไปเช่นนี้ อนาคตของ อุตสาหกรรมเวชศาสตร์ชะลอวัยน่าจะเป็นเส้น ทางทีโ่ รยไว้ดว้ ยกลีบกุหลาบแน่นอน

06

Essentials Royal Life Antiaging Center โรงพยาบาลกรุงเทพ ซอยศูนย์วจิ ยั 7 ถนนเพชรบุรตี ดั ใหม่ กรุงเทพฯ โทร. 02-310-3232 www.fb.com/ BangkokHospital.RoyalLife Verita Health MahaNakhon 96 ชัน้ 3 มหานคร คิวบ์ ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ กรุงเทพฯ โทร. 02-115-7553 http://health.verita.com Vitallife Wellness Center 210 โรงพยาบาลบำ�รุงราษฎร์ อินเตอร์เนชัน่ แนล ถนนสุขมุ วิท กรุงเทพฯ โทร. 02-667-2340 www.vitallife-international.com 06 เลาจน์ ส ุ ข ภาพที ่ เ หมื อ นห้ อ งแล็ บ หรู สำ � หรั บ ลู ก ค้ า มานั ่ ง สู ด ออกซิ เ จน พร้ อ มจิ บ น ้ ำ � ผลไม้ ส กั ด เย็ น

56

OPTIMISE | APRIL 2017


THE GOOD LIFE

OPTIMISE | APRIL 2017

57


Plugged In แรงจูงใจและความเข้าใจของผู้บริโภค คือคำ�ตอบของ การยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยไปสู่อุตสาหกรรม ยานยนต์ไฟฟ้า

กระทัง่ ในกรุงเทพฯ เอง มุมมองของคนเกีย่ วกับ รถไฟฟ้าก็เริม่ ค่อยๆ เปลีย่ น จากการเห็นเป็นของเล่น ราคาแพงแห่งอนาคต มาสู่การมองว่ามันคือ เทคโนโลยีสำ�หรับยุคปัจจุบนั 01 พนั ก งานกำ � ลั ง ประกอบชิ ้ น ส่ ว น เครื ่ อ งยนต์ ข องรถ BMW

01

58

OPTIMISE | APRIL 2017


THE FAST LANE เมือ่ ต้นปีทผ่ี า่ นมา ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผูบ้ ริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพ)ี ได้ออกมาเสนอให้ รัฐบาลไทยเดินหน้าพัฒนาอุตสาหกรรมยาน ยนต์ไฟฟ้าก่อนทีป่ ระเทศเพือ่ นบ้านจะแซงหน้า นีเ่ ป็นสัญญาณบ่งชีว้ า่ ผูน้ �ำ ในภาคอุตสาหกรรม กำ�ลังตืน่ ตัวต่อการเปลีย่ นแปลงครัง้ ใหญ่ หลังมี คำ�ประกาศกร้าวจากฝัง่ ยุโรปและอเมริกา กล่าวคือนอร์เวย์ประกาศยกเลิกการขาย เครือ่ งยนต์เบนซินภายในปี 2568 ในขณะที่ ฟอร์ดมีแผนเพิม่ สัดส่วนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ให้ได้สงู กว่ารถยนต์น�ำ้ มันภายใน 15 ปี ส่วน เยอรมนีกต็ ง้ั เป้าไว้วา่ ภายในปี 2563 สัดส่วน ของรถยนต์จดทะเบียนใหม่อย่างน้อย 30% จะต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ท่ามกลางมาตรการลดหย่อนภาษีให้กบั ผู้ ผลิตแบตเตอรีข่ องภาครัฐ และแผนของปตท. ทีจ่ ะสร้างสถานีชาร์จไฟ 20 แห่งภายในปี 2560 เห็นได้วา่ กระทัง่ ในกรุงเทพฯ เอง มุมมองของคน เกีย่ วกับรถไฟฟ้าก็เริม่ ค่อยๆ เปลีย่ นจากการเห็น เป็นของเล่นราคาแพงแห่งอนาคต มาสูก่ ารมอง ว่ามันคือเทคโนโลยีส�ำ หรับยุคปัจจุบนั อย่างไร ก็ตาม มุมมองไม่ได้แปลว่าข้อเท็จจริง ท้องถนน หรือนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ในบ้านเรายังแทบ จะว่างเปล่าจากรถยนต์ไฟฟ้า ภาวะเช่นนีไ้ ม่ เพียงสร้างความกังวลให้กบั ธนินท์ แต่ยงั รวมไป ถึงบรรดาผูผ้ ลิตรถยนต์และนักวิจยั ด้วย เพราะ สำ�หรับประเทศทีอ่ ตุ สาหกรรมยานยนต์คดิ เป็น 12% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดพี )ี การนำ�พาชาติไปสูย่ คุ สมัยแห่งยานยนต์ไฟฟ้า ย่อมไม่ใช่เพียงเรือ่ งของสิง่ แวดล้อม แต่อาจถือ เป็นความอยูร่ อดทางเศรษฐกิจเลยทีเดียว

มาจากการคมนาคมขนส่ง และกว่า 2 ใน 3 เป็น ผลจากการใช้รถใช้ถนน ทีน่ า่ เป็นห่วงไปกว่านัน้ คือ อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของ การคมนาคมทางบกและทางอากาศเพิม่ ขึน้ เร็ว กว่าอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มวลรวมถึง 2 เท่า จนคาดการณ์กนั ว่าภายใน ปี 2593 ปริมาณก๊าซจากการคมนาคมขนส่งจะ คิดเป็นกว่า 30-50% ของปริมาณการปล่อยก๊าซ ทัว่ โลก อย่างในสหภาพยุโรป 12% ของปริมาณ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทัง้ หมดในบรรดา ประเทศสมาชิกนัน้ มาจากรถโดยสารส่วนบุคคล เพียงอย่างเดียว ดร.วิชสิณี วิบลุ ผลประเสริฐ นักวิจยั ด้าน เศรษฐศาสตร์สง่ิ แวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ สถาบันวิจยั เพือ่ การพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า “ถ้ามองไปจนถึงต้นทุนทางสิง่ แวดล้อม ในการผลิตไฟฟ้าและขยะพิษจากแบตเตอรี่ เราอาจยังตอบไม่ได้แน่ชดั ว่ารถยนต์ไฟฟ้าเป็น เทคโนโลยีทส่ี ะอาดกว่าจริงหรือไม่ แต่ถา้ พูดถึง เรือ่ งการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รถยนต์ ไฟฟ้าปล่อยน้อยกว่ารถทัว่ ไปแน่ๆ” ดร.วิชสิณกี �ำ ลังพูดถึงความแตกต่างระหว่าง การพิจารณามลพิษแบบดูจากปริมาณก๊าซปาก ปล่องท่อไอเสีย (tailpipe emission) และแบบ ดูจากปริมาณก๊าซทีเ่ กิดขึน้ ตัง้ แต่ขน้ั ตอนการขุด เจาะน�ำ้ มันจนกระทัง่ นำ�มาขับขี่ (well-to-wheel emission) แน่นอนว่ารถยนต์ทอ่ี ตั ราปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์จากท่อไอเสียเป็นศูนย์ยอ่ ม ช่วยให้อากาศในเมืองใหญ่ๆ บริสทุ ธิข์ น้ึ แต่หาก ดูพจิ ารณาแบบ ‘บ่อถึงล้อ’ แบตเตอรีท่ ช่ี าร์จด้วย ไฟฟ้าจากระบบโรงงานถ่านหินไม่อาจพูดได้เต็ม ปากว่าเป็นพลังงานสะอาด แม้กา๊ ซทีป่ ล่อยผ่าน ท่อไอเสียจะเป็นศูนย์กต็ าม ทำ�ไมต้องรถยนต์ไฟฟ้า การรูจ้ กั จำ�แนกความแตกต่างระหว่างยาน ราคาน�ำ้ มันไม่ได้เป็นปัจจัยหลักทีท่ �ำ ให้ ยนต์ไฟฟ้าประเภทต่างๆ ก็เป็นสิง่ สำ�คัญ เรา รัฐบาลต่างๆ ผลักดันให้คนหันมาใช้รถยนต์ อาจเคยเห็นรถยนต์ไฮบริดในกรุงเทพฯ ทีใ่ ช้ ไฟฟ้า (โดยเฉพาะเมือ่ น�ำ้ มันดิบมีราคาอยูท่ ่ี 50 เครือ่ งยนต์ไฟฟ้าและเบนซินควบคูก่ นั กล่าวคือ ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) แต่เป็นความกังวล ใช้พลังงานจากการเบรกรถมาชาร์จแบตเตอรี่ เรือ่ งภาวะโลกร้อน คณะกรรมการระหว่าง และใช้เครือ่ งยนต์เบนซินเป็นตัวกำ�เนิดไฟฟ้า รัฐบาลว่าด้วยการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ แต่ทย่ี งั ไม่คอ่ ยปรากฏให้เห็นบ่อยนักในบ้านเรา (IPCC) ภายใต้องค์การสหประชาชาติแถลงว่า ก็คอื ระบบ Plugin Hybrid หรือเครือ่ งยนต์ 14% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทัว่ โลก (ซึง่ มี ไฮบริดแบบเสียบปลัก๊ ซึง่ จะทำ�งานเหมือนกับรถ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นผูร้ า้ ยใหญ่สดุ )

ไฮบริดปกติแต่สามารถเสียบปลัก๊ เพือ่ ชาร์จไฟ ได้ เหมาะสำ�หรับการเดินทางไปกลับบ้านและที่ ทำ�งาน ขอเพียงผูข้ บั ขีค่ อยชาร์จไฟทิง้ ไว้ในตอน กลางคืน ไฮบริดชนิดนีอ้ ยูไ่ ด้หลายสัปดาห์โดย ไม่ตอ้ งพึง่ เครือ่ งยนต์เบนซิน แต่หากต้องการ ขับรถจากกรุงเทพฯ ไปหัวหิน ความอึดของ เครือ่ งยนต์เบนซินยังเป็นสิง่ จำ�เป็น กระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ ได้ประเมิน ว่า โดยเฉลีย่ รถยนต์ไฮบริดจะผลิตก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์นอ้ ยกว่ารถทีใ่ ช้เครือ่ งยนต์ เบนซินประมาณ 2 เท่า (2,800 กิโลกรัม เทียบ กับ 5,200 กิโลกรัม) แต่ทน่ี า่ ประหลาดใจคือ ปริมาณก๊าซทีป่ ล่อยจากรถยนต์ไฟฟ้าประเภทที่ ขับเคลือ่ นด้วยแบตเตอรีอ่ ย่างเดียว (BEV) อย่าง ใน Tesla รถสปอร์ตยีห่ อ้ ดังนัน้ อยูท่ ร่ี าวๆ 2,250 กิโลกรัม ซึง่ ไม่ได้นอ้ ยกว่ารถยนต์ไฮบริดมากนัก ถ้าตัวเลขเหล่านีด้ นู า่ ไม่นา่ ประทับใจสัก เท่าไร นัน่ เป็นเพราะนอกเหนือจากยานยนต์ ไฟฟ้าแล้ว ปัจจัยสำ�คัญอยูท่ ค่ี วามสะอาดของ แหล่งพลังงานไฟฟ้าของยานยนต์เหล่านี้ ยิง่ แหล่งพลังงานไฟฟ้าสะอาดเท่าไร ประโยชน์จาก การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรีก่ จ็ ะยิง่ ทวีคณ ู อย่างในรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึง่ ใช้ไฟฟ้าจากแหล่ง พลังงานหมุนเวียนสะอาด คาร์บอนฟุตพริน้ ท์ หรืออัตราการสร้างคาร์บอนโดยเฉลีย่ ของรถ ไฮบริดมีคา่ ใกล้เคียงค่าเฉลีย่ ของประเทศ ใน ขณะทีข่ องรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรีล่ ว้ นลดลงมา อยูท่ เ่ี พียง 1,200 กิโลกรัม ซึง่ น้อยกว่ารถยนต์ทใ่ี ช้ น�ำ้ มันถึง 4,000 กิโลกรัม นีค่ อื สาเหตุทด่ี ร.วิชสิณี เน้นย�ำ้ ถึงความจำ�เป็นของพลังงานหมุนเวียน และแผนพัฒนาอุตสาหกรรมทีเ่ ป็นมิตรต่อ สิง่ แวดล้อมทีจ่ �ำ เป็นต้องเกิดขึน้ หากหวังจะ ผลักดันยานยนต์ไฟฟ้าให้ผงาดขึน้ อย่างแท้จริง

ความเชือ่ มัน่ ของผูบ้ ริโภค

ในขณะทีร่ ฐั บาลพยายามผลักดันให้ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศเติบโต ประเด็นเรือ่ งสิง่ แวดล้อมกลับถูกยกให้เป็น เรือ่ งรอง ตรงกันข้าม เราเลือกทีจ่ ะเน้นการสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยเป็นหลัก โดย ภายใต้แนวคิดประเทศไทย 4.0 อุตสาหกรรม 10 ประเภททีไ่ ด้รบั การขนานนามว่าเป็นกุญแจ สำ�คัญสำ�หรับเปลีย่ นจากประเทศรายได้ปานOPTIMISE | APRIL 2017

59


02

02 รถยนต์ ไ ฟฟ้ า Model S รุ ่ น ยอดนิ ย ม ของ Tesla

03

04

05

03 ดร.ถวิ ด า มณี ว รรณ์ ยั ง คงตรวจตรารถไฟฟ้ า ที ่ เธอเก็ บ เอาไว้ ร อวั น พั ฒ นาอี ก ครั ้ ง 04 ช่ อ งเติ ม น้ ำ � มั น ถู ก เปลี ่ ย นเป็ น ที ่ เ สี ย บปลั ๊ ก รถยนต์ 05 แผงวงจรไฟฟ้ า และแบตเตอรี ท ี ่ ด ร.ถวิ ด าออกแบบ ขึ ้ น มาใหม่ เ อง 06 ดร.ยศพงษ์ ลออนวลกั บ รถไฟฟ้ า BMW i3 สำ � หรั บ ทดลองใช้

กลางไปสูก่ ารเป็นประเทศรายได้สงู มียานยนต์ ไฟฟ้าเป็นหัวใจ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้ากรุงธนบุรคี อื ส่วนหนึง่ ของคณะทำ�งานทีถ่ กู วางตัวให้คอยให้ คำ�ปรึกษาแก่รฐั บาลสำ�หรับการเปลีย่ นผ่านดัง กล่าว ดร.ถวิดา มณีวรรณ์ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ สถาบันวิทยาการหุน่ ยนต์ภาคสนาม ซึง่ มีสว่ น ร่วมในการดำ�เนินงานช่วงต้นของคณะทำ�งาน และเคยถึงขัน้ สร้างรถยนต์ไฟฟ้าของตัวเองด้วย การถอดเครือ่ งยนต์ออกจากรถปิคอัพนิสสันและ ติดตัง้ ระบบขับเคลือ่ นไฟฟ้าเข้าไปแทน และนำ� แบตเตอรีเ่ ปียกไปยัดใส่เต็มกระบะหลัง กล่าวว่า “มันเวิรก์ มาก และถ้าคิดถึงค่าน�ำ้ มันด้วย อะไรด้วย ในช่วงระยะเวลา 10 ปี เราแค่เสีย ค่าใช้จา่ ยเท่ากับรถเครือ่ งเบนซินเท่านัน้ เอง” เธอเล่า แต่ทา้ ยทีส่ ดุ ดร.ถวิดาก็ตอ้ งเลิกใช้ ‘รถยนต์ทดลองขับ’ คันดังกล่าวไป (อย่างน้อย ก็ในตอนนี)้ “ระบบสาธารณูปโภคบ้านเราแย่ มาก หาสถานีชาร์จไฟไม่ได้เลย ดีทต่ี อนนีร้ าคา แบตเตอรีถ่ กู ลงมาก ต่อไปถ้าได้อพั เกรดเป็น 60

OPTIMISE | APRIL 2017

แบตฯ รุน่ ใหม่แล้วอาจเอามาขับอีก” ถ้าไม่นบั เรือ่ งดังกล่าว สำ�หรับเธอแล้ว การขับรถยนต์ไฟฟ้าถือเป็นประสบการณ์แสน อภิรมย์ การขับขีน่ น้ั ไร้เสียงรบกวน ส่วนการเร่ง ความเร็วก็ท�ำ ได้อย่างคล่องตัวและทรงพลัง แต่ สถานีชาร์จไฟทีข่ าดแคลนได้สะท้อนถึงความไม่ พร้อมของประเทศไทยในปัจจุบนั ชเตฟาน ทอยเชิรท์ ผูซ้ ง่ึ ดำ�รงตำ�แหน่งประธานบริษทั บีเอ็มดับเบิลยู กรุป๊ ประเทศไทย กล่าวว่าการ ปฏิรปู อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของไทยนัน้ จะต้องทำ�แบบองค์รวม ไม่ใช่ทลี ะชิน้ “เราต้องแก้ทง้ั ต้นสายปลายเหตุ สถานการณ์ ตอนนีเ้ หมือนมานัง่ ถกกันว่าไก่กบั ไข่อะไรเกิด ก่อน รถยนต์ไฟฟ้าต้องการสถานีชาร์จไฟแต่ ผูบ้ ริโภคก็คงไม่ไปเรียกร้องให้คอนโดหรือให้หา้ ง ติดตัง้ สถานีชาร์จไฟถ้าเขาไม่มรี ถยนต์ไฟฟ้า เราต้องมองให้มากไปกว่ามาตรการอัดฉีดเงิน อย่างบางประเทศในสหภาพยุโรป รถยนต์ไฟฟ้า จะได้รบั สิทธิพเิ ศษเหนือรถยนต์ดเี ซล เช่นในกรณี ทีน่ อร์เวย์ออกมาตรการให้เฉพาะรถยนต์ไฟฟ้ามี

สิทธิเข้าพืน้ ทีบ่ างส่วนของกรุงออสโล เพือ่ รับมือ กับปัญหามลพิษ” ชเตฟานกล่าว ปัจจุบนั มาตรการลดหย่อนภาษีส�ำ หรับ แบตเตอรีแ่ ละระบบขับเคลือ่ นรถยนต์ไฟฟ้าที่ ผลิตในประเทศนัน้ ประกาศใช้เป็นทีเ่ รียบร้อย และรัฐบาลยังมีแผนจะก่อสร้างสถานีชาร์จไฟ สาธารณะ 150 แห่งภายใน 3 ปี ควบคูก่ บั การ ให้แรงจูงใจกับภาคเอกชนอย่างคอนโดหรือห้าง สรรพสินค้าทีไ่ หวตัวเร็ว ซึง่ สามารถยืน่ ขอเงิน สนับสนุน 70% สำ�หรับการก่อสร้างสถานี ชาร์จไฟ แต่ชเตฟานแนะนำ�ว่าสิง่ ทีป่ ระเทศไทย ยังจำ�เป็นต้องทำ�คือการงดเว้นภาษีน�ำ เข้า รถยนต์ไฟฟ้าทีใ่ ช้แบตเตอรีเ่ ป็นการชัว่ คราว โดย ให้เหตุผลว่าเราจำ�เป็นต้องเพิม่ ปริมาณรถยนต์ ไฟฟ้าบนท้องถนนเสียก่อนเพือ่ กระตุน้ ให้เกิดการ สร้างสถานีชาร์จไฟเพิม่ ขึน้ ซึง่ จะส่งผลให้ยอด ขายรถยนต์ไฟฟ้าพุง่ ขึน้ ตามมาเอง “เราต้องใช้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นน�ำ้ จิม้ ถ้าคน ได้ลองขับแล้วเดีย๋ วเขาเข้าใจเอง แค่แตะคัน เร่งเครือ่ งก็วง่ิ ฉิวแล้ว ความเร็วมันได้ตง้ั แต่เริม่


ออกตัวเลย แถมเครือ่ งก็เงียบมาก เราต้องทำ�ให้ คนเห็นว่ารถไฟฟ้ามันเซ็กซีแ่ ละมีเสน่หอ์ ย่าง มาก” ชเตฟานเชียร์ ดร.ยศพงษ์ ลออนวล ประธานสมาคม ยานยนต์ไฟฟ้าไทยและอาจารย์มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ไม่คดิ ว่ารัฐบาล จะยกเว้นภาษีศลุ กากรสำ�หรับรถยนต์ไฟฟ้า นำ�เข้าจากยุโรป แม้วา่ Volvo, Porsche และ BMW จะมีสว่ นร่วมในคณะทำ�งานก็ตาม “ตอนนีเ้ ราสามารถนำ�เข้ารถยนต์ไฟฟ้าจาก จีนด้วยภาษี 0% แต่ทท่ี �ำ ได้กเ็ พราะข้อตกลง ทางการค้าระหว่างทัง้ สองรัฐบาล ผมไม่คดิ ว่า รัฐบาลไทยจะงดเว้นภาษีศลุ กากรให้วอลโว่ บีเอ็มดับเบิลยู หรือพอร์ช นอกเสียจากว่ารัฐบาล ไทยกับรัฐบาลประเทศเหล่านัน้ จะสามารถบรรลุ ข้อตกลงระหว่างกันได้” เขากล่าว อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนรัฐบาลจะไม่ได้มี เจตนาไปทางนัน้ ตามทีป่ ระกาศในยุทธศาสตร์ ชาติ 20 ปี รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงพลังงาน พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ กล่าวว่าขณะนีม้ ี รถยนต์ไฟฟ้าราว 68,000 คันในประเทศ และ ตัง้ เป้าจะเพิม่ เป็น 1.2 ล้านคันภายในปี 2579 แต่หากวัดจากยอดจำ�หน่ายรถยนต์ทง้ั หมด ที่ 800,000 คันต่อปีในปัจจุบนั เป้าหมายทีต่ ง้ั ไว้ถอื ว่าต�ำ่ พอสมควรเมือ่ เทียบกับฟากยุโรป เพราะเท่ากับเป็นการตีวา่ ส่วนแบ่งการตลาดของ รถยนต์ไฟฟ้าในระยะเวลา 20 ปีจะเพิม่ ขึน้ เพียง

ถ้ามองไปจนถึงต้นทุนทาง สิง่ แวดล้อมในการผลิต ไฟฟ้าและขยะพิษจากแบตเตอรี่ เราอาจยังตอบไม่ได้ แน่ชดั ว่ารถยนต์ไฟฟ้าเป็น เทคโนโลยีทส่ี ะอาดกว่าจริง หรือไม่ แต่ถา้ พูดถึงเรือ่ ง การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รถยนต์ไฟฟ้า ปล่อยน้อยกว่ารถทัว่ ไปแน่ๆ

ปีละ 1 จุด ซึง่ น้อยกว่าตัวเลขจากทางบีเอ็มดับเบิลยูทก่ี ล่าวว่าจำ�หน่ายรถยนต์ไฟฟ้าไปแล้ว 100,000 คันในประเทศไทย และยอดขายจะ พุง่ ไปแตะ 200,000 คันได้ภายในสิน้ ปี 2560 ดร.ยศพงษ์เองก็คอ่ นข้างมองในเชิงบวก โดย คิดว่า 30% ของยอดขายรถยนต์ใหม่ภายในปี 2568-2573 จะมาจากรถยนต์ไฟฟ้า ชเตฟานแนะอีกว่า “ผูบ้ ริโภคไม่มที างซือ้ รถ เพียงเพราะมันดีตอ่ สิง่ แวดล้อม อย่างในเยอรมนี รถยนต์ไฟฟ้าได้สว่ นแบ่งในตลาดน้อยกว่า 1% จนกระทัง่ รัฐบาลประกาศมาตรการจูงใจถึงได้ดี ขึน้ ” โดยเมือ่ ต้นปี 2559 รัฐบาลเยอรมันได้เริม่ จ่ายเงินสนับสนุน 190,000 บาท สำ�หรับรถยนต์ ไฟฟ้าส่วนบุคคลและ 112,000 บาท ให้กบั บริษทั ห้างร้าน “ปีทแ่ี ล้ว ประเทศไทยเริม่ เก็บภาษี สรรพสามิตตามปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จริง แต่กย็ งั ไม่พอจะกระตุน้ ตลาด” นอกจากนัน้ ดร.ยศพงษ์เชือ่ ว่ามาตรการ จูงใจ การงดเว้นภาษี และการสร้างสถานีชาร์จ ไฟ ยังไม่ตอบโจทย์ส�ำ คัญอีกบางประการ “เรา จำ�เป็นต้องให้ความรูก้ บั ผูใ้ ช้ให้มากทีส่ ดุ รถยนต์ ไฟฟ้านัน้ มีหลายประเภท ทัง้ รถไฮบริดทีเ่ สียบ ปลัก๊ และไม่เสียบปลัก๊ แถมยังมีแบบระบบเซลล์ เชือ้ เพลิงทีไ่ ม่จดั ว่าเป็นรถยนต์ไฟฟ้าด้วยซ�ำ้ เราจึงสร้างเพจในเฟซบุก๊ เพือ่ กระจายข้อมูลเหล่า นีย้ งั ไม่ตอ้ งพูดถึงประเด็นว่าทางรัฐบาลจะออก กฎเกณฑ์เพือ่ ควบคุมเทคโนโลยีแต่ละประเภท

อย่างไร มันเป็นสิง่ ทีเ่ ราเองก็พยายามช่วยดูอยู”่ ในฐานะผูข้ บั ขีร่ ถยนต์ไฟฟ้า ดร.ยศพงษ์ ยกย่องเหล่ารถยนต์ไฟฟ้าบีเอ็มดับเบิลยู i3 ที่ ผูผ้ ลิตรถยนต์สญ ั ชาติบาวาเรียนรายนีม้ อบให้ นักวิจยั มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้ากรุงธนบุรี ยืมใช้ ดร.ยศพงษ์ไม่เพียงชอบการขับขีท่ เ่ี งียบ และราบรืน่ แต่รถสำ�หรับใช้รว่ มกันนีย้ งั สามารถ จองผ่านแอปพลิเคชันได้ดว้ ย ซึง่ เป็นเครือ่ งเตือน ใจว่าอนาคตของรถยนต์นน้ั ไม่ได้จ�ำ กัดอยูแ่ ค่ การเปลีย่ นไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า เพราะนอกเหนือ จากรถพลังงานสะอาดแล้ว ยานยนต์ไร้คนขับ และแนวคิดการใช้รถร่วมกัน จะปฏิวตั มิ มุ มอง ทีค่ นมีตอ่ ยานยนต์ และเปลีย่ นความคิดเรือ่ ง ความจำ�เป็นในการครอบครองรถ เหมือนกับที่ Uber ได้ปฏิวตั วิ งการรถแท็กซี่ แน่นอน ทุกครัง้ ทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลงเกิดขึน้ จะต้องมีบางฝ่ายไม่พอใจ ขณะทีค่ นส่วนใหญ่ น่าจะยินดีทจ่ี ะได้เห็นรถไฮเทคโลดแล่นทัว่ ท้อง ถนนในกรุงเทพฯ ด้วยระบบคำ�สัง่ คอมพิวเตอร์ โดยปราศจากการจราจรติดขัดหรืออุบตั เิ หตุ คงมีคนอีกไม่นอ้ ยทีย่ งั ถวิลหาเสน่หข์ อง เครือ่ งยนต์น�ำ้ มันดังกระหึม่ ทีม่ มี นุษย์เป็นคน ควบคุม อย่างไรก็ตาม พิจารณาจากยุทธศาสตร์ ชาติทย่ี งั ว่ากันด้วยระยะเวลาหลักทศวรรษของ รัฐบาล คงยังมีเวลาอีกล้นเหลือสำ�หรับผูค้ ลัง่ ไคล้เครือ่ งเบนซินทีจ่ ะปรับเปลีย่ นทัศนคติให้ทนั กับยุคสมัยทีเ่ ปลีย่ นไป

06

OPTIMISE | APRIL 2017

61


01

62

OPTIMISE | APRIL 2017


LIVING SPACE

Urban Experiment พื้นที่ 290 ไร่ บริเวณสามย่านของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยที่กำ�ลังคึกคักไปด้วยการก่อสร้าง นำ�ไปสู่คำ�ถามว่านี่จะเป็นเพียงอีกหนึ่งแผนพัฒนาย่าน ธุรกิจของกรุงเทพฯ หรือโครงการบุกเบิกพื้นที่เพื่อ สาธารณะอย่างแท้จริง สถานีรถไฟฟ้าสยาม ซึง่ คราคร�ำ่ ไปด้วย ผูโ้ ดยสารกว่า 50,000 คนต่อวัน ถือเป็นแหล่ง ขนส่งมวลชนทีใ่ หญ่และพลุกพล่านทีส่ ดุ แห่ง หนึง่ เบือ้ งล่างสถานีแห่งนีค้ อื ถนนพระราม 1 ซึง่ ขนาบข้างด้วยห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ 3 แห่งและสถาบันศึกษาชัน้ เลิศของประเทศ ภายในรัว้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาคือสถานทีห่ ล่อหลอม ความคิดของผูท้ อ่ี าจเติบโตมาเป็นผูน้ �ำ ใน อนาคต ในขณะทีก่ ระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีในละแวกใกล้เคียงก็ก�ำ ลังทวีความ สำ�คัญและอิทธิพลมากขึน้ เรือ่ ยๆ อันเนือ่ งมา จากความพยายามของรัฐบาลในการผลักดัน ประเทศเข้าสู่ ‘ยุคดิจติ ลั ’ ทางฟากถนน อังรีดนู งั ต์ ผูม้ อี นั จะกินของกรุงเทพฯ จำ�นวน ไม่นอ้ ยมาพบปะกันทีร่ าชกรีฑาสโมสรเพือ่ เล่น กอล์ฟและเทนนิส อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางบรรยากาศหรูวไิ ล นี้ ชีวติ ในฝัง่ ตรงกันข้ามของถนนพญาไทกลับให้ รสชาติทต่ี า่ งออกไป เพราะเป็นย่านทำ�มาค้าขาย ค่าเช่าต�ำ่ ทีข่ ายของ ‘สากกะเบือยันเรือรบ’ ตัง้ แต่ อุปกรณ์กฬี าไปจนถึงอะไหล่เซียงกง อีกทัง้ เป็น ทีต่ ง้ั ตลาดสดทีใ่ หญ่ทส่ี ดุ แห่งหนึง่ ของกรุงเทพฯ อย่างตลาดสามย่าน แหล่งของกินอายุกว่า สีท่ ศวรรษของเหล่านิสติ นักศึกษาและชาวบ้าน

ในละแวก ก่อนจะมีการรือ้ ถอนลงในปี 2551 การย้ายตลาดสามย่านจัดเป็นภารกิจแรก ของแผนการปรับภูมทิ ศั น์ของจุฬาฯ ซึง่ ดำ�เนิน มาถึงจุดสำ�คัญเมือ่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ไปเปิด อุทยานจุฬาฯ 100 ปีอย่างเป็นทางการในเดือน มีนาคมทีผ่ า่ นมา นีค่ อื การเปิดสวนสาธารณะที่ ใหญ่ทส่ี ดุ ของกรุงเทพฯ ในรอบ 15 ปี ซึง่ ถือเป็น หัวใจของอภิมหาโครงการขนาด 290 ไร่ ทีห่ มายสร้างสามย่านให้กลายเป็นซิลคิ อนแวลลียห์ รือศูนย์กลางแห่งการสร้างสรรค์ นวัตกรรมและธุรกิจสตาร์ทอัพของกรุงเทพฯ ทัง้ นี้ ด้วยลักษณะของโครงการทีใ่ หญ่ยกั ษ์ และการถูกกำ�หนดให้ผสมผสานการออกแบบ เพือ่ สังคมควบคูไ่ ปกับพืน้ ทีก่ ารค้าอย่างลงตัว โครงการนีไ้ ด้กลายเป็นทีจ่ บั ตาอย่างมากของ กลุม่ คนทีใ่ คร่จะเห็นกรุงเทพฯ มีการออกแบบ เมืองอย่างจริงจังเสียที

เมืองในฝัน

ในอีก 10 ปีขา้ งหน้า จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ผูถ้ อื กรรมสิทธิท์ ด่ี นิ ไล่จากถนน พระราม 1 จนถึงถนนพระราม 4 มาตัง้ แต่สมัย รัชกาลที่ 6 มีแผนจะสร้าง 20 โครงการย่อย ในพืน้ ที่ เช่น ศูนย์ฟติ เนส Stadium One พืน้ ที่ สำ�หรับการศึกษาและธุรกิจในอุตสาหกรรม

ท่ามกลางบรรยากาศ หรูวิไลนี้ ชีวิตในฝั่งตรง กันข้ามของถนนพญาไท กลับให้รสชาติที่ต่างออกไป เพราะเป็นย่านทำ�มาค้าขาย ค่าเช่าต่ำ�...อีกทั้งเป็นที่ตั้ง ตลาดสดที่ใหญ่ที่สุดแห่ง หนึ่งของกรุงเทพฯ อย่าง ตลาดสามย่าน 01 ภาพโครงการอุ ท ยานจุ ฬ าฯ 100 ปี ท ี ่ จ ุ ฬ าฯ หวั ง จะให้ เ ป็ น ของขวั ญ แด่ ก รุ ง เทพฯ

สร้างสรรค์ อาคารอเนกประสงค์ส�ำ หรับนักเรียน และนักศึกษาทีช่ อ่ื ‘สามย่าน มิตรทาวน์’ ศูนย์การค้า ‘สวนหลวงสแควร์’ รวมไปถึงพืน้ ที่ อยูอ่ าศัยจำ�นวนหนึง่ สำ�หรับการลงทุนใน ภาครัฐ​โดยตัง้ ใจว่าจะให้โครงการเหล่านี้ สนับสนุนการสร้างผูป้ ระกอบการ การศึกษา และคุณภาพชีวติ ทีด่ ใี ห้เกิดขึน้ นอกจากนีย้ งั มีการพูดคุยถึงแผนก่อสร้าง รถไฟรางเดีย่ ว (monorail) เพือ่ เชือ่ มต่อรถไฟฟ้า สถานีสนามกีฬาแห่งชาติกบั รถไฟฟ้าใต้ดนิ สามย่าน ในขณะทีถ่ นนสายใหม่ทจ่ี ะทำ�หน้าที่ เป็นเส้นกระดูกสันหลังเชือ่ มต่อพืน้ ทีแ่ ต่ละโซน เข้าด้วยกัน ภายใต้ชอ่ื เล่นว่า 5th Avenue จะ มาพร้อมกับทางเดินในร่มแสนสะดวกสบายไม่ ผิดจากถนนออร์ชาร์ด ในประเทศสิงคโปร์ ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองอธิการบดีก�ำ กับ ดูแลด้านการจัดการทรัพย์สนิ และนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หวังว่าโครงการ พัฒนาดังกล่าวจะผลักดันกรุงเทพฯ ไปสู่ ‘สังคมแห่งปัญญา’ ด้วยการสร้างพืน้ ทีใ่ ห้ ประชาชนสามารถเรียนรู้ ทำ�งาน สร้างสรรค์ ออกกำ�ลังกาย และผ่อนคลายพร้อมกันในที่ เดียว เขากล่าวว่า “พืน้ ทีก่ ลางเมืองทีใ่ หญ่ขนาด นีไ้ ม่ได้หาง่ายๆ เราไม่ได้สร้างทีน่ โ่ี ดยมีเรือ่ ง ธุรกิจเป็นจุดประสงค์หลัก เราต้องการมอบ OPTIMISE | APRIL 2017

63


คุณค่าให้กบั สังคมไทย ด้วยการพาประเทศไป ข้างหน้าและในขณะเดียวกันก็มอี ะไรคืนให้กบั คนในชุมชน” ในมหานครซึง่ ขึน้ ชือ่ เรือ่ งการวางผังเมือง แบบตามอำ�เภอใจ การพัฒนาทำ�เลทองขนาด ใหญ่อย่างสามย่านตามแผนแม่บทถือเป็นอะไร ทีพ่ บเห็นได้ยาก และเป็นโอกาสสำ�หรับแสดง ตัวอย่างการพัฒนาโครงการย่านใจกลางเมือง ทีม่ อี ะไรมากไปกว่าการสร้างห้างสรรพสินค้า คอนโดมิเนียม และตึกสำ�นักงาน “เดีย๋ วนีท้ �ำ เลทองเกือบทัง้ หมดในกรุงเทพฯ ตกอยูใ่ นมือกลุม่ ดีเวลลอปเปอร์รายใหญ่ไม่ก่ี ราย” ยศพล บุญสม นักภูมสิ ถาปนิกกล่าว เขา เริม่ ให้ความสนใจในโครงการสามย่านเมือ่ จุฬาฯ เปิดโอกาสให้มกี ารแข่งขันออกแบบสวน 30 ไร่ใจกลางโครงการเมือ่ 4 ปีกอ่ น “ปกติจะมี เฉพาะแต่ดเี วลลอปเปอร์พวกนีท้ เ่ี ป็นคนกำ�หนด โครงสร้างของกรุงเทพฯ แต่จฬุ าฯ สามารถ ทำ�ให้ตา่ งจากดีเวลลอปเปอร์รายอืน่ ได้ เพราะ จุฬาฯ มีทง้ั ความรูค้ วามเข้าใจ มีทง้ั งบประมาณ มีทง้ั ทรัพยากรต่างๆ จุฬาฯ ต้องคิดหาทางทำ� อะไรให้กรุงเทพฯ ดีขน้ึ ได้มากกว่าคนอืน่ เพราะ

ปัจจุบนั มาตรฐานกรุงเทพฯ ยังต�ำ่ กว่าเมือง ใหญ่อน่ื ๆ มาก” สอดคล้องกันกับแผนอันยิง่ ใหญ่ของจุฬาฯ ในการสร้างศูนย์กลางสีเขียวสำ�หรับนวัตกรรม การเรียนรู้ และคุณภาพชีวติ พิมพ์เขียวของ สามย่านดูจะเป็นโครงการพัฒนาพืน้ ทีข่ อง กรุงเทพฯ ทีค่ มุ้ ค่าแก่การรอคอยไม่นอ้ ย โดยใน ปีทผ่ี า่ นมา อุทยานจุฬาฯ 100 ปี สวนใจกลาง โครงการทีถ่ กู สร้างขึน้ ในโอกาสครบรอบ 100 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ รับการขนานนามโดยอธิการบดี ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุลว่าเป็น “ของขวัญอันยิง่ ใหญ่ ให้สงั คม” ผลงานออกแบบอุทยานจุฬาฯ ทีช่ นะการ ประกวดทีเ่ ปิดให้นกั ภูมสิ ถาปนิกทัว่ ไปเข้าร่วม ในปี 2556 เป็นของกชกร วรอาคม แห่งบริษทั Landprocess ร่วมกับ N7A Architects กชกร เป็นศิษย์เก่าจุฬาฯ และเคยได้รว่ มงานกับ ทางมหาวิทยาลัยในการกำ�หนดทิศทาง Siam Square One ห้างโอเพ่นแอร์ทเ่ี ชือ่ มต่อกับ สถานีรถไฟฟ้าสยามมาก่อนหน้า “พืน้ ทีต่ รงนีเ้ ป็นหน้าเป็นตาของกรุงเทพฯ

เราหวังว่าโครงการนีจ้ ะช่วยพาคนให้มองพ้นไป จากเรือ่ งธุรกิจอย่างเดียว ไปสูก่ ารสร้างคุณภาพ ชีวติ ทีด่ ขี น้ึ และการใช้พน้ื ทีข่ นาดใหญ่เพือ่ คืน ประโยชน์ให้กบั เมืองและสังคม” เธอกล่าว ระบบการดูดซึมน�ำ้ ถือเป็นหัวใจสำ�คัญใน ดีไซน์ของเธอ โดยมีจดุ มุง่ หมายเพือ่ ป้องกัน น�ำ้ ท่วมในพืน้ ทีโ่ ดยรอบ และในขณะเดียวกันก็ ทำ�หน้าทีเ่ ป็นระบบหมุนเวียนน�ำ้ แบบปิดสำ�หรับ สระน�ำ้ และระบบทดน�ำ้ ของอุทยาน ในส่วนของ สนามหญ้าหลักก็จะสร้างบนพืน้ ลาดเอียงเพือ่ ป้องกันน�ำ้ ท่วมอีกชัน้ หนึง่ และสามารถใช้เป็น พืน้ ทีห่ อ้ งเรียนกลางแจ้ง นอกจากนัน้ ทางฝัง่ ตะวันออกของอุทยานยังจะมีศาลาใหญ่ ทรงตัวยู ซึง่ ออกแบบโดย N7A ให้กลมกลืนกับ สภาพแวดล้อมโดยรอบภายใต้ระบบ ‘หลังคา เขียว’ (Green Roof System)

การพาณิชย์และนวัตกรรม

แผนการสำ�คัญอีกประการหนึง่ สำ�หรับ โครงการพัฒนาชุมชนสามย่านคือการสร้าง ‘ศูนย์นวัตกรรมและการเรียนรู’้ ‘เขตนวัตกรรม’ และ ‘ศูนย์ธรุ กิจสร้างสรรค์รว่ ม’ โดยพืน้ ที่

02

02 กชกร วรอาคม ดี ไ ซเนอร์ แ ห่ ง Landprocess ผู ้ อ อกแบบอุ ท ยาน จุ ฬ าฯ 100 ปี 03 วิ ศ ณุ ทรั พ ย์ ส มพล รองอธิ ก ารบดี กำ � กั บ ดู แ ลด้ า นการจั ด การทรั พ ย์ ส ิ น และนวั ต กรรม จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิ ท ยาลั ย 04 โครงการ ‘สามย่ า น มิ ต รทาวน์ ’ ที ่ ก ำ � ลั ง ก่ อ สร้ า ง 05 ‘สวนหลวงสแควร์ ’ แหล่ ง ช้ อ ปปิ ้ ง ใหม่ ใ นสามย่ า น

64

OPTIMISE | APRIL 2017


LIVING SPACE

03

04

05

อุทยานจุฬาฯ 100 ปี สวนใจกลางโครงการทีถ่ กู สร้างขึน้ ในโอกาสครบรอบ 100 ปีแห่งการสถาปนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รบั การขนานนามโดย อธิการบดี ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุลว่าเป็น “ของ ขวัญอันยิง่ ใหญ่ให้สงั คม” ดังกล่าวจะถูกแบ่งย่อยเป็น 4 ส่วน เพือ่ ให้การ สนับสนุนและจัดแสดงผลงานสร้างสรรค์ ล่าสุด 30 ชิน้ จากบริษทั ชัน้ นำ�ของประเทศ ทีไ่ ด้รบั การคัดเลือกจากทางมหาวิทยาลัย ตัง้ แต่ธรุ กิจสตาร์ทอัพไปจนถึงผูเ้ ล่นเจนสนาม ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล เชือ่ ว่าทีน่ จ่ี ะกลายเป็น แหล่งฟูมฟักความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของ

ประเทศ​เพราะระหว่างทีผ่ ลงานได้รบั การจัด แสดงต่อสาธารณชน มืออาชีพก็ยงั คงพัฒนา ปรับปรุงผลงานนัน้ อย่างต่อเนือ่ งไปด้วย “มัน จะไม่เหมือนพิพธิ ภัณฑ์ นิทรรศการเหล่านีจ้ ะ เหมือนถูกถ่ายทอดสด และมีการอัพเดตอยู่ ตลอดการแสดง” เขากล่าว กระนัน้ โครงการทัง้ หมดไม่ได้จ�ำ กัด อยูแ่ ค่การสร้างสวนสาธารณะและการจัด แสดงนิทรรศการ ในขณะทีท่ ด่ี นิ 30 ไร่ของ อุทยานจุฬาฯ 100 ปี (ขนาดราว 1 ใน 10 ของสวนลุมพิน)ี ได้รบั การอุทศิ และเปิดให้ สาธารณชนทัว่ ไปเข้าชมเรียบร้อย ทีด่ นิ จำ�นวน 40 ไร่ทางฝัง่ ทิศใต้ของสามย่านได้ถกู จัดสรร ให้แก่โครงการสามย่าน มิตรทาวน์ ภายใต้การ พัฒนาของบริษทั แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ต้ี ดีเวลลอปเมนท์ บริษทั ในกลุม่ ธุรกิจของ ทีซซี ี กรุป๊ เพือ่ ทำ�เป็นห้าง สำ�นักงาน และ คอนโดมิเนียมขนาด 554 ห้อง การรวมห้างสรรพสินค้าไว้ในส่วนหนึง่ ของ แผนไม่ใช่สง่ิ ทีถ่ กู ใจทุกฝ่ายนัก โดยเฉพาะเมือ่ คำ�นึงว่าโครงการนีจ้ ะเป็นอีกหนึง่ พืน้ ทีพ่ าณิชย์

ต่อท้ายจากจามจุรสี แควร์และสยามแควร์วนั ซึง่ สร้างขึน้ บนพืน้ ทีข่ องมหาวิทยาลัย ในปี 2551 และ 2557 ตามลำ�ดับ “ในอดีต จุฬาฯ ถ​ กู สาธารณชนวิจารณ์วา่ ชอบพัฒนาพืน้ ทีใ่ นเชิงการค้ามากไป สังคม อยากเห็นอะไรทีส่ ร้างสรรค์กว่านี้ เราจึงหวังว่า โครงการนีจ้ ะช่วยแสดงความสำ�คัญของการทำ� อะไรทีไ่ ม่ใช่เชิงการค้าอย่างเดียว เพราะอย่างที่ บอก จุฬาฯ มีองค์ความรูแ้ ละทรัพยากรในเรือ่ ง นีพ้ ร้อมอยูแ่ ล้ว” ยศพล แห่งบริษทั Shma กล่าว แม้แต่ประธานบริษทั แผ่นดินทอง ธนพล ศิรธิ นชัย ก็เห็นด้วยว่ากรุงเทพฯ ต้องการ วิสยั ทัศน์การพัฒนาทีช่ ดั เจนมากขึน้ “มันมาถึง จุดทีแ่ ข่งกันอุตลุด ห้างและคอนโดใหม่ตอ้ งทำ� ทุกวิถที างเพือ่ แย่งลูกค้าจากเจ้าทีเ่ ปิดก่อนหน้า ผลก็คอื กรุงเทพฯ ได้พน้ื ที่ ‘ดาวน์ทาวน์’ ใหม่ จำ�นวนมากทีแ่ ทบจะไม่มอี ะไรต่างกัน จนทุกวัน นีย้ งั ไม่มที ไ่ี หนทีเ่ ราเรียกว่าเป็นศูนย์กลางของ กรุงเทพฯ ได้จริงๆ สักที”่ เขาอธิบาย ยศพลยังเสริมด้วยว่า “ยังไม่มกี ารประกาศ ใช้แผนแม่บทสำ�หรับกรุงเทพฯ มีเพียงแผนทีส่ ี OPTIMISE | APRIL 2017

65


ไว้บอกนักพัฒนาคร่าวๆ ว่าตึกต้องมีขนาดหรือ สูงแค่ไหน แต่ไม่มกี ารแบ่งโซนชัดเจน ไม่มกี าร ระบุแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ประวัตศิ าสตร์ หรือเรือ่ งราวของแต่ละพืน้ ที่ ดังนัน้ ดีเวลลอปเปอร์อาจจะได้โปรเจกต์ทด่ี มี าก แต่ในเมือ่ ประโยชน์สาธารณะไม่ใช่สง่ิ ทีเ่ ป็น โจทย์ส�ำ คัญอันดับแรก เราเลยได้เห็นห้างร้าน และศูนย์การค้าแบบเดิมๆ ขึน้ เต็มไปหมด”

เข้ากับแผนแม่บทของจุฬาฯ แนวทางการแก้ ปัญหาดังกล่าวก็เป็นไปไม่ได้ในทางการเงิน “เพือ่ นบ้านผมย้ายออกไปหมดแล้ว เพราะไม่มี ใครสูค้ า่ เช่าทีจ่ ฬุ าฯ เรียกไหว แพงขึน้ ทุกปี ตอน นีผ้ มจ่ายเดือนละ 8 หมืน่ แต่กไ็ ม่อยากย้าย ไปไหนเพราะลูกค้าผมส่วนใหญ่อยูใ่ นเมือง” สมบัติ จิรสาธิตวรกุล เจ้าของร้านจักรยานวัย 63 ปี ผูเ้ ช่าตึกแถวห้องท้ายๆ เล่าให้ฟงั ก่อนย้าย ออกถาวร เปิดรับสิง่ ใหม่ สำ�หรับนักประวัตศิ าสตร์กรุงเทพฯ อย่าง ผลอันหลีกเลีย่ งไม่ได้อกี ประการของแผน สุดารา สุจฉายา ผูด้ �ำ รงตำ�แหน่งบรรณาธิการ พัฒนาทีด่ นิ ของจุฬาฯ คือการโยกย้ายผูอ้ ยู่ ใหญ่ประจำ�วารสารราย 3 เดือน เมืองโบราณ อาศัยนับพันคนออกจากพืน้ ทีเ่ ก่าแก่ซง่ึ เคยเป็น การพัฒนาจะต้องกระทำ�อย่างสมดุลกับชุมชน ทีต่ ง้ั ของตึกแถวค่าเช่าถูก ดร.วิศณุหวังว่าผูอ้ ยู่ “เราไม่สามารถยึดติดกับประวัตศิ าสตร์ไปได้ อาศัยทีเ่ หลือจะรับได้กบั แผน โดยบอกว่าจะ ตลอด เพราะทุกอย่างต้องก้าวหน้าไปตาม มีการแบ่งสรรพืน้ ทีค่ า้ ขายและพืน้ ทีอ่ ยูอ่ าศัย กาลเวลา แต่อย่างไรเราก็ตอ้ งพยายามพาเอา ชัดเจน แปลว่าเจ้าของร้านและคนในพืน้ ทีจ่ ะไม่ ประวัตศิ าสตร์ให้ไปกับเราด้วยบ้าง สามย่าน ต้องย้ายไปไหนไกล เปลีย่ นไปเยอะแล้ว บุคลิกบางอย่างหายไป แต่ “ผมไม่เถียงว่าบางคนอาจต้องถูกขอให้ยา้ ย ในขณะเดียวกันพืน้ ทีร่ ว่ มของชุมชนทีม่ ที ง้ั ร้าน ออก แต่ในกรณีดงั กล่าว เราจะช่วยหาทีใ่ หม่ให้ ค้าและร้านอาหารตามแผน ก็ดจู ะเป็นการปรับ ส่วนร้านไหนทีข่ ายสินค้าทีไ่ ปกันได้กบั แผนของ ตลาดสามย่านเดิมให้เข้ากับบริบทใหม่ได้ด”ี เรา เราจะพยายามอย่างดีทส่ี ดุ ให้เขามีทข่ี าย อย่างไรก็ตาม แผนการสร้างชุมชนทีว่ าดไว้ ของในโครงการ” เขากล่าว บนกระดาษอาจทำ�ให้เกิดขึน้ จริงได้ยาก แม้ อย่างไรก็ตาม สำ�หรับผูเ้ ช่าในปัจจุบนั แหล่งช้อปปิง้ สวนหลวงสแควร์จะเปิดตัวอย่าง ค่าเช่าทีส่ งู ขึน้ ทำ�ให้แม้ธรุ กิจของพวกเขาจะ ไม่เป็นทางการไปแล้วเมือ่ สิน้ ปี 2559 แต่

ปัจจุบนั ก็ยงั ร้างผูค้ นและแทบไม่มนี กั ช้อปรูจ้ กั ในขณะทีค่ วามล่าช้าหลายประการก็ท�ำ ให้ โครงการพัฒนาต่างๆ ไม่เกิดขึน้ ตามทีว่ างไว้ กระทัง่ ดร.วิศณุกเ็ ลีย่ งทีจ่ ะชีช้ ดั ว่าจะโครงการ จะเสร็จสมบูรณ์เมือ่ ไร โดยบอกว่าหลายอย่าง ต้องรอการอนุมตั จิ ากรัฐบาล ซึง่ เป็นกระบวน การปลายเปิดทีอ่ าจกินเวลายากจะกำ�หนด อาจเป็นเรือ่ งธรรมดาทีโ่ ครงการพัฒนาระดับ นีย้ อ่ มหลีกเลีย่ งคำ�วิจารณ์และอุปสรรคต่างๆ ไป ไม่ได้ แต่หากนึกให้ดี คำ�วิพากษ์วจิ ารณ์ทง้ั หมด ชีใ้ ห้เห็นถึงปัญหาทีก่ ว้างไกลกว่าพืน้ ที่ 290 ไร่ ของจุฬาฯ ไปมาก กล่าวคือ ค่าเฉลีย่ พืน้ ทีส่ เี ขียว ต่อหัวประชากรในตัวเมืองชัน้ ในของกรุงเทพฯ​ อยูท่ ร่ี ะหว่าง 0.72-1.73 ตารางเมตร ในขณะที่ ของสิงคโปร์อยูท่ ่ี 66 ตารางเมตร ด้วยเหตุน้ี ในความคิดของผูท้ ใ่ี ฝ่ฝนั จะเห็นกรุงเทพฯ ดีขน้ึ ของขวัญทีแ่ ท้จริงจากจุฬาฯ จึงไม่ควรเป็นเพียง สวนสาธารณะบนพืน้ ที่ 30 ไร่เท่านัน้ หากต้อง เป็นแรงบันดาลใจของการวางผังเมืองทีจ่ ะทำ�ให้ ทัง้ รัฐบาลและกรุงเทพมหานครต้องหาคำ�ตอบ แนวทางใหม่ๆ ให้กบั กรุงเทพฯ ด้วย หลายคนบอกว่าความคาดหวังทีส่ งู เช่นนีไ้ ม่ เป็นธรรมกับจุฬาฯ นัก แต่กน็ น่ั เอง นีค่ อื สิง่ ทีค่ น คาดหวังจากสถาบันทีไ่ ด้ขน้ึ ชือ่ ว่าเป็น ‘เสาหลัก ของแผ่นดิน’ 06

06 อุ ท ยานจุ ฬ าฯ 100 ปี ท ี ่ ก ำ � ลั ง เป็ น รู ป เป็ น ร่ า ง

66

OPTIMISE | APRIL 2017



1

ภัทรคว้า 2 รางวัลดีเด่น จากงาน SET Awards 2016

บริษทั หลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) รับ 2 รางวัลในงาน SET Awards 2016 ซึง่ เป็นงานที่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดขึน้ เพือ่ มอบ รางวัลให้แก่บริษทั จดทะเบียน บริษทั หลักทรัพย์ บริษทั หลักทรัพย์จดั การกองทุน และผูบ้ ริหาร สูงสุดในตลาดทุนทีม่ คี วามโดดเด่นในสาขาต่างๆ สะท้อนความแข็งแกร่งและความสำ�เร็จของภาค ธุรกิจในตลาดทุนไทย โดยรางวัลทีไ่ ด้รบั ประกอบ ด้วย รางวัลดีเด่นของหมวดบริษทั หลักทรัพย์ดา้ น การให้บริการแก่นกั ลงทุนสถาบัน และรางวัลดีเด่น สำ�หรับธุรกรรมทางการเงินยอดเยีย่ มในตลาดทุน ในการนี้ พัชนี ลิม่ อภิชาต กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ และศุภโชค ศุภบัณฑิต กรรมการผูจ้ ดั การและ หัวหน้าฝ่ายวานิชธนกิจ เป็นผูแ้ ทนรับรางวัล ณ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมือ่ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560

2

ธนาคารเกียรตินาคินรับรางวัลหุ้นยั่งยืน เป็นปีที่ 2 ต่อเนื่องจากตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย

วรกฤต จารุวงศ์ภคั ประธานสายปฏิบตั กิ าร ธนาคารเกียรตินาคินจำ�กัด (มหาชน) เป็นตัวแทนเข้า รับมอบรางวัล Thailand Sustainability Investment 2016 หรือรายชือ่ หุน้ ยัง่ ยืนประจำ�ปี 2559 จากเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผูจ้ ดั การตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย ในพิธมี อบรางวัล SET Sustainability Awards ณ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมือ่ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 โดยธนาคารเกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) เป็น 1 ใน 55 บริษทั จดทะเบียนทีไ่ ด้ รับคัดเลือกให้อยูใ่ นรายชือ่ หุน้ ยัง่ ยืนประจำ�ปีตอ่ เนือ่ ง เป็นปีท่ี 2 เนือ่ งจากมีผลการดำ�เนินงานโดดเด่นในด้าน สิง่ แวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล สอดคล้องกับ แผนงานสำ�คัญของตลาดหลักทรัพย์ฯ ในการพัฒนา คุณภาพบริษทั จดทะเบียนให้เติบโตอย่างยัง่ ยืน

68

OPTIMISE | APRIL 2017


THE AGENDA

3

กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร สนับสนุนการ จัดประกวด The mai Bangkok Business Challenge @ Sasin 2017

กลุม่ ธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร สนับสนุนการประกวดแผนธุรกิจ ภาษาอังกฤษ The mai Bangkok Business Challenge @ Sasin ต่อเนือ่ งเป็นครัง้ ที่ 15 ทัง้ นี้ การประกวดดังกล่าวจัดขึน้ โดยความร่วมมือ ระหว่างสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ในการนี้ วรกฤต จารุวงศ์ภคั รอง กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) เป็นผูแ้ ทน รับมอบโล่เกียรติคณ ุ ผูส้ นับสนุนการจัดแข่งขันจากพลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ผูแ้ ทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ ณ สถาบัน บัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ กุลนันท์ ซานไทโว กรรมการผูจ้ ดั การ และหัวหน้าสายงานลูกค้าบุคคล บริษทั หลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) ได้รว่ มเป็นกรรมการตัดสินในรอบ Kiatnakin Phatra Venture Exhibit และภัทรพงศ์ รักตะบุตร ประธาน สายช่องทางการตลาด และพัฒนาฐานลูกค้า ธนาคารเกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินในรอบ Mitr Phol 99-Second Pitch ด้วย การแข่งขันปีนจ้ี ดั ขึน้ ระหว่างวันที่ 16-18 กุมภาพันธ์ 2559 ณ ศศินทร์ ฮอลล์ ชัน้ 9 มีผแู้ ข่งขันทัง้ สิน้ 70 ทีม จาก 17 ประเทศทัว่ โลก

4

กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร จัดงานสัมมนา 1H2017 Economic Outlook & Asset Allocation Strategy

กลุม่ ธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร จัดงานสัมมนา 1H2017 Economic Outlook & Asset Allocation Strategy เพือ่ ให้ขอ้ มูลแนวโน้มเศรษฐกิจ และกลยุทธ์การจัดสรรการลงทุนในปี 2560 ให้แก่ลกู ค้า บล.ภัทร และลูกค้า PRIORITY ของธนาคาร โดยมีวทิ ยากรผูเ้ ชีย่ วชาญจาก บล.ภัทร ได้แก่ ดร. ศุภวุฒิ สายเชือ้ กรรมการผูจ้ ดั การและหัวหน้าสายงานวิจยั ธีระพงษ์ วชิรพงศ์ กรรมการผูจ้ ดั การและหัวหน้าฝ่ายวิจยั หลักทรัพย์ และดร. พิพฒ ั น์ เหลืองนฤมิตชัย ผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การและหัวหน้าทีมวิจยั ลูกค้าบุคคล ร่วมให้ขอ้ มูลภาพรวมเกีย่ วกับเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจโลก ตลอดจนกลยุทธ์ การลงทุนภายใต้ปจั จัยความเสีย่ งต่างๆ ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล เมือ่ วันที่ 18 มกราคม 2560 OPTIMISE | APRIL 2017

69


5

บล.ภัทร ร่วมสนับสนุนคอนเสิรต์ การกุศล ‘ยามเย็น...กับเพลงของพ่อ’

บริษทั หลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) ร่วมเป็นผูส้ นับสนุนหลักคอนเสิรต์ การกุศล ‘ยามเย็น…กับเพลงของพ่อ’ จัดโดยวิทยาลัยดุรยิ างคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพือ่ เทิดพระเกียรติพระอัจฉริยภาพทางดนตรีของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช โดยมีบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหาร กลุม่ ธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร พัชนี ลิม่ อภิชาต กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ บริษทั หลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) และกุลนันท์ ซานไทโว กรรมการผูจ้ ดั การและหัวหน้าสายงานลูกค้าบุคคล บริษทั หลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) นำ�ผูบ้ ริหารและลูกค้าเข้าร่วมชมคอนเสิรต์ ทัง้ นี้ ในงานมีการแสดง ‘เพลงของพ่อ’ 3 รูปแบบ คือเพลงพระราชนิพนธ์ เพลงทีแ่ ต่งขึน้ เพือ่ พ่อ และเพลง โปรดของพ่อ บรรเลงโดยวงดุรยิ างค์ฟลี ฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย และถ่ายทอดโดยศิลปินชัน้ นำ�ของเมืองไทย เช่น บี-้ สุกฤษฏิ์ วิเศษแก้ว น�ำ้ ชา-ชีรณัฐ ยูสานนท์ หนูนา-หนึง่ ธิดา โสภณ เนม-ปราการ ไรวา น�ำ้ มนต์-ธีรนัยน์ ณ หนองคาย พินต้า-ณัฐนิช รัตนเสรีเกียรติ ฯลฯ คอนเสิรต์ จัดขึน้ เมือ่ วันที่ 5 มีนาคม 2560 ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยรายได้หลังหักค่าใช้จา่ ยจะถูกมอบให้มลู นิธชิ ยั พัฒนาเพือ่ สมทบทุนสานต่อ โครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดำ�ริ 70

OPTIMISE | APRIL 2017




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.