Optimise Issue 01

Page 1

Issue 01 July 2015

Aim to Be the Best เปิดปรัชญาทุนนิยม ที่หล่อหลอม บรรยง พงษ์พานิช


ADVANCE NOTICE

Welcome to Optimise คงจะไม่เป็นการเกินเลยไป หากจะกล่าว ว่านิตยสาร “Optimise” ฉบับปฐมฤกษ์ในมือ ท่านขณะนี้คือ “ตัวตน” ของกลุ่มธุรกิจการเงิน เกียรตินาคินภัทร ประการแรก เพราะ Optimise หมายถึง การทำ�ให้ดีที่สุดและการทำ�และเป็นในสิ่งที่ดี ที่สุด คือเป้าหมายของกลุ่มธุรกิจการเงิน เกียรตินาคินภัทรเสมอมา แต่ลึกไปกว่านั้น Optimise ยังหมายถึงการ ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าสิ่งที่ใช้นั้นจะเป็น โอกาส สถานการณ์ หรือในที่สุดก็คือทรัพยากร ทุกอย่าง แท้ที่จริง ต้องบอกว่าการผนึกกันระหว่าง ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ของธนาคารเกียรตินาคิน และธุรกิจตลาดทุนของภัทรจนมาเป็นกลุ่มธุรกิจ การเงินเกียรตินาคินภัทรในวันนี้นั้น ถือกำ�เนิดขึ้น มาบนคำ�ว่า Optimise ในความหมายที่สองนี้ ทีเดียว อย่างที่ทุกท่านทราบกัน หนึ่งในหน้าที่ สำ�คัญที่สุดของตลาดการเงิน (Financial Market) ก็คือการจัดสรรทรัพยากร หรือการนำ� เงินไปหยิบยื่นให้แก่ผู้ที่มีความเหมาะสมที่สุด ไม่ว่าจะในรูปของเงินกู้ผ่านทางตลาดเงิน (Money Market) หรือเงินลงทุนผ่านทาง ตลาดทุน (Capital Market) ด้วยเหตุน้ี แม้เดิมทีทง้ั เกียรตินาคินและภัทร จะต่างทำ�หน้าทีข่ องตัวในตลาดเงิน และตลาดทุน ได้ดีในระดับหนึ่งแล้วก็ตาม แต่ “ความบริบูรณ์” ของบริการย่อมยังไม่อาจเปรียบได้กับการรวม เป็นหนึ่งธุรกิจ ที่สามารถใช้ทั้งตลาดเงินและ ตลาดทุนเกื้อหนุนธุรกิจของกันและกันจนนำ�ไป สู่การจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเต็มศักยภาพของ ตลาดการเงิน อันจะเป็นผลดีกับผู้มีส่วนได้เสีย ทุกฝ่าย “ลูกค้า” ย่อมได้รับประโยชน์จากเงิน ทุน บุคลากร และเครือข่ายที่เติบโตขึ้นในทุกๆ ทาง “พนักงาน” ย่อมทำ�งานได้เต็มความ สามารถ และมีพื้นที่สำ�หรับการเจริญก้าวหน้า ที่กว้างขวาง “ผู้ถือหุ้น” ย่อมมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบ แทนที่สูงขึ้น มั่นคงขึ้น และผันผวนน้อยลง ถึงที่สุด “สังคม” โดยรวมย่อมได้รับ ประโยชน์จากภาวะที่เม็ดเงินถูกใช้จนเกิด ประโยชน์สูงสุดโดยผู้กู้ที่มีศักยภาพหรือ ผู้ประกอบการที่มีอนาคต อันจะหมายถึง ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศอย่างไม่รู้จบ

02

OPTIMISE | JULY 2015

แน่นอนการประสานสองธุรกิจให้ได้ผล อย่างที่ว่ามานี้ ยังต้องอาศัยการทำ�งานและการ พัฒนาต่อเนื่องอีกมาก แต่อย่างน้อยๆ ในระยะ เริ่มต้นนี้ ทั้งเกียรตินาคินและภัทรก็ได้ทำ�ในสิ่งที่ เรียกว่า “การเก็บผลไม้ใกล้มือ” อันเกิดจากการ รวมธุรกิจให้เป็นไปได้แล้วในหลายๆ ส่วน เช่น ภัทรได้ใช้เงินกองทุนของธนาคารเกียรตินาคินใน การลงทุนหรือออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างเต็มที่ ขึ้น ได้มีการเปิดให้ลูกค้า PRIORITY ของ เกียรตินาคินข้ามไปใช้บริการ Wealth Management ของภัทร ในขณะที่ลูกค้าของ ภัทร บัดนี้ก็สามารถเข้าถึงเงินกู้ของธนาคาร เกียรตินาคินไม่ว่าจะเป็นระยะสั้นหรือระยะยาว ได้โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางดังเช่นแต่ก่อน ถึงแม้ว่า ผลกำ�ไรที่เป็นตัวเงินจากการ ควบรวมมาร่วมสองปี จะยังไม่พุ่งสูงเพิ่มขึ้น อย่างหวือหวาเท่าใดนัก แต่การวางรากฐาน การปรับปรุงสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลาที่ผ่านมา ย่อมเป็นเครื่องยืนยัน ถึงอนาคตที่จะเติบโตไปได้อย่างมั่นคง โดยนัยนี้ การรวมกันเข้าเป็นกลุ่มธุรกิจการเงิน เกียรตินาคินภัทร จึงเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ กับทั้งสองฝ่าย และจัดเป็นการ Optimise ตัวเอง เพื่อ Optimise ประโยชน์ของทุกๆ คน อย่างแท้จริง นิตยสาร Optimise นี้ก็เป็นอีกหนึ่งความ พยายามที่จะรวบรวมเอาทรัพยากรของกลุ่ม ธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ไม่ว่าจะเป็น องค์ความรู้จากผู้ชำ�นาญการ ข้อมูลเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ หรือแม้กระทั่งเรื่องราวกิน-ดื่ม-เที่ยว ต่างๆ ที่คัดสรรแล้วว่าประกอบไปด้วยวิสัยทัศน์ (Visionary) ความรู้จริง (Expertise) ความ เชื่อถือได้ (Reliability) อีกทั้งมีรสสัมผัสแห่ง ความเป็นไทย (Thai Touch) ครบถ้วนตาม ปรัชญาขององค์กรมาเพื่อนำ�เสนอให้เป็น ประโยชน์แก่ผู้อ่าน ดังนั้น หากท่านอ่าน “Optimise” แล้วพบว่า โอกาสทางเศรษฐกิจ โอกาสทางการเงิน โอกาส ทางการลงทุน หรือแม้กระทั่งโอกาสในการ ใช้ชีวิต เรียนรู้ และเติบโตยังเป็นไปได้อีกมาก นิตยสารนี้ก็เรียกว่าบรรลุประโยชน์สูงสุด ของมันแล้ว มาร่วม “Optimise” ไปพร้อมๆ กันนะครับ กองบรรณาธิการ

OPTIMISE | JULY 2015

03


Contents 06

20

44

เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว อย่างค่อยเป็นค่อยไป

FULL FLAVORS

Chef’s Table ความโอชะที่เกิดขึ้นเมื่อเชฟทุ่มทุกอย่าง เพื่อหนี่งสำ�รับริมครัว

My Bicycle เมื่อจักรยานกลายเป็น “กีฬากอล์ฟ” ของคนรุ่นใหม่ วงการนี้จึงไม่ธรรมดาอีกต่อไป

ECONOMIC REVIEW

THE GOOD LIFE

08

34

บรรณาธิการ ธนกร จ๋วงพานิช

CLIENT VALUES

26 12

OPTIMUM VIEW

Aim to Be the Best เปิดปรัชญาทุนนิยมที่หล่อหลอม บรรยง พงษ์พานิช

STATE OF THE ARTS

The Rise of Curators ภัณฑารักษ์เลือดใหม่จุดกระแส วงการศิลปะเมืองไทย

Saving Smarts เคล็ดบริหารเงินแบบ Employee’s Life ของ อดิศรา วัลลภศิริ

38

BEYOND BOUNDARIES

How Singapore Got Its Cool Back ตามดูคลื่นของศิลปะที่กำ�ลังเปลี่ยนสิงคโปร์

48

THE FAST LANE

The Drive to Be Different Niche Cars กับบริการเหนือระดับเพื่อคนรักรถ

52

LIVING SPACE

30

A Guide to the Co-Working Revolution ออฟฟิศที่คุณเป็นเจ้านาย

04

OPTIMISE | JULY 2015

ผลิตโดย บริษัท เอเชีย ซิตี้ พับบลิชชิ่ง (ไทยแลนด์) จำ�กัด

Contact กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร 209 อาคาร เค ทาวเวอร์ ถนนสุขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 www.kiatnakinphatra.com

ธนาคารเกียรตินาคิน ปรับโมเดลสาขา สอดรับไลฟ์สไตล์ ลูกค้า เลือกกระจายการลงทุนในภาวะเศรษฐกิจ ผันผวนกับกองทุน PHATRA SG-AA

จัดทำ�โดย สื่อสารองค์กร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร

โทร. 02 165 5555 ต่อ 3876

SERVING YOU

กองทุนที่ตอบโจทย์ทุกสภาวะตลาด

ที่ปรึกษา บรรยง พงษ์พานิช อภินันท์ เกลียวปฏินนท์ กฤติยา วีรบุรุษ บรรณาธิการที่ปรึกษา ผกาภรณ์ บุณยัษฐิติ ธัญญ์นภัส นราศิริอภิพงษ์

INVESTMENT REVIEW

ภาวะอัตราดอกเบี้ยตํ่า กับความเสี่ยงในการลงทุน

Team

E-mail: corporate.communications@kiatnakin.co.th corporate.communications@phatracapital.com

56

THE AGENDA

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 โดยกลุ่มธุรกิจการเงิน เกียรตินาคินภัทร ห้ามนำ�ส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้ไปลอกเลียนแบบ ทำ�สำ�เนา ถ่ายเอกสาร หรือนำ�ไปเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต และเครือข่ายต่างๆ ไม่ว่าในรูปแบบใดๆ นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางบริษัทเท่านั้น OPTIMISE | JULY 2015

05


ECONOMIC REVIEW

เศรษฐกิจไทยน่าจะ ขยายตัวดีขึ้นอย่าง ค่อยเป็นค่อยไป ในปีนี้และหากไม่มี ปัจจัยลบมากระทบ เพิ่มเติม บล. ภัทร ก็เชื่อว่าเศรษฐกิจ ไทยจะขยายตัว 3.7% ในปีหน้า

เศรษฐกิจไทยฟืน้ ตัว อย่างค่อยเป็นค่อยไป ดร.ศุ ภ วุ ฒ ิ สายเชื ้ อ กรรมการผู ้ จ ั ด การและหั ว หน้ า สายงานวิ จ ั ย บริ ษ ั ท หลั ก ทรั พ ย์ ภั ท ร จำ � กั ด (มหาชน)

เศรษฐกิจไทยขยายตัว 3% ในไตรมาส 1 และนักวิเคราะห์สว่ นใหญ่รวมทัง้ รัฐบาลประเมิน ว่าจีดพี ขี องไทยจะขยายตัวได้ประมาณ 3.5% ในปีน้ี (บล. ภัทร ประเมินเอาไว้ท่ี 3.3%) แปลว่า เศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวดีขน้ึ อย่างค่อยเป็น ค่อยไปในปีนแ้ี ละหากไม่มปี จั จัยลบมากระทบเพิม่ เติม บล. ภัทร ก็เชือ่ ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 3.7% ในปีหน้า การประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว ดีขน้ึ ตามลำ�ดับอย่างช้าๆ นีถ้ อื ว่าได้น�ำ เอาปัจจัย ลบต่างๆ มาพิจารณาด้วยแล้ว เช่นความเสีย่ ง ทีเ่ ศรษฐกิจจีนอาจชะลอตัวลงไปอีกได้ ปัญหา ประเทศกรีซทีอ่ าจยืดเยือ้ ต่อไปอีกและความเป็น ไปได้ทธ่ี นาคารกลางสหรัฐฯ จะเริม่ ปรับดอกเบีย้ ขึน้ ตัง้ แต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป กล่าวคือ เศรษฐกิจโลกเองก็ยงั ฟืน้ ตัวอย่างเปราะบาง ทำ�ให้ ภัทรมองว่าการส่งออกของไทย (ซึง่ คิดเป็นสัดส่วน 60% ของจีดพี แี ละหากใช้ตวั เลขจีดพี ที ป่ี รับใหม่ ของสภาพัฒน์ฯ ก็จะเหลือเพียง 55%) ในปีน้ี จะ ติดลบ 0.5% แต่กย็ งั ดีกว่าการส่งออกใน 4 เดือน แรกของปีน้ี ซึง่ ติดลบเกือบ 4% เมือ่ เปรียบเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีกอ่ น ในขณะเดียวกันการ บริโภคของครัวเรือน (ซึง่ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 50% ของจีดพี )ี ก็นา่ จะขยายตัวได้ไม่มากนัก เพราะครัวเรือนมีหนีส้ นิ เกือบ 80% ของจีดพี ี (ตามตัวเลขใหม่) และธนาคารพาณิชย์เองก็ ระมัดระวังยิง่ ขึน้ ในการปล่อยสินเชือ่ ให้กบั ลูกค้า เพราะหนีท้ ไ่ี ม่กอ่ ให้เกิดรายได้ก�ำ ลังเพิม่ ขึน้ อย่าง ต่อเนือ่ ง อย่างไรก็ดรี ฐั บาลให้ความหวังว่าภาครัฐ กำ�ลังประสบความสำ�เร็จในการเร่งการเบิกจ่าย 06

OPTIMISE | JULY 2015

งบลงทุน ทัง้ นี้ รัฐบาลมัน่ ใจว่าทัง้ หน่วยงานของ รัฐและรัฐวิสาหกิจจะสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้ ประมาณ 80% ของงบลงทุนทัง้ หมดทีต่ ง้ั เอาไว้ ซึง่ จะเป็นแรงขับเคลือ่ นให้กบั เศรษฐกิจได้อย่าง มีนยั สำ�คัญในไตรมาส 2 และไตรมาส 3 เพราะ รัฐบาลได้ใช้งบลงทุนเพียง 30% ของงบประมาณ ทัง้ หมดในครึง่ แรกของปีงบประมาณ (ไตรมาส 4 ของปี 2014 และไตรมาส 1 ของปี 2015) นอกจากนัน้ ก็ยงั เห็นการฟืน้ ตัวของการส่งออกไป บางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและยุโรป ตลอด จนการคาดหวังว่าราคาพืชผลของไทยจะขยายตัว ขึน้ ได้บา้ งตามราคานา้ํ มันและภาคเอกชนเองก็จะ ขยายการลงทุนตามทีภ่ าครัฐเชือ้ เชิญให้เข้ามาร่วม ลงทุนในโครงการต่างๆ สำ�หรับความเสีย่ งทีเ่ ศรษฐกิจไทยจะประสบ อุปสรรคในการฟืน้ ตัวทำ�ให้จดี พี ขี ยายตัวตา่ํ กว่า เกณฑ์ (3.3%) ในปีนน้ี น้ั อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ปัจจัยคือ 1. ความไม่แน่นอนทางการเมือง ทำ�ให้ นักลงทุนรีรอเพือ่ ให้เกิดความชัดเจน ทัง้ นี้ เพราะ การเขียนรัฐธรรมนูญนัน้ คือการจัดสรรอำ�นาจ ซึง่ หากทำ�ได้ไม่ลงตัวก็จะนำ�มาซึง่ ข้อโต้แย้งที่ ยืดเยือ้ ได้ และหากมีความจำ�เป็นทีจ่ ะต้องทำ� ประชามติ ก็จะทำ�ให้ตอ้ งรอถึงเดือนมกราคม ปีหน้า จึงจะเกิดความชัดเจนว่ารัฐธรรมนูญเป็นที่ ยอมรับของประชาชนหรือไม่ หลังจากนัน้ ก็ยงั ต้อง เข้าสูก่ ระบวนการร่างกฎหมายลูกเพือ่ ให้สามารถ ดำ�เนินการเลือกตัง้ ซึง่ เป็นการถ่ายโอนอำ�นาจ อันจะเป็นอีกปัจจัยหนึง่ ทีน่ กั ลงทุนจะต้องรอดูการ ถ่ายโอนอำ�นาจว่าจะทำ�ได้อย่างราบรืน่ เพียงใด อำ�นาจการปกครองจะไปอยูก่ บั กลุม่ ใดและกลุม่

ดังกล่าวจะมีนโยบายอะไร เป็นต้น ซึง่ ขณะนี้ คาดการณ์ได้วา่ กว่าจะมีรฐั บาลใหม่กอ็ าจต้องรอ ถึงต้นปี 2017 2. การฟืน้ ตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการ ปรับขึน้ ดอกเบีย้ ซึง่ น่าจะเกิดขึน้ ในปีนแ้ี ต่การ ปรับขึน้ ดอกเบีย้ ของสหรัฐฯ หลังจากทีด่ อกเบีย้ นโยบายอยูท่ ร่ี ะดับใกล้ศนู ย์มานานกว่า 6 ปีนน้ั เป็นเรือ่ งทีป่ ระเมินผลกระทบได้ยาก แม้วา่ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ของ สหรัฐฯ จะพยายามให้ความอุน่ ใจกับนักลงทุน ว่าจะปรับดอกเบีย้ ขึน้ อย่างค่อยเป็นค่อยไป โดย สภาวการณ์ตอ้ งเอือ้ อำ�นวย แต่ผลกระทบของการ ลดสภาพคล่องของโลกลงจากทีเ่ คยมีสภาพ คล่องล้นก็อาจส่งผลกระทบเกินความคาดหมายได้ 3. การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีน เป็นเรือ่ ง ทีค่ ณะกรรมการนโยบายการเงินของไทยกล่าว ถึงในแถลงการณ์และมองว่าเป็นข้อกังวลต่อ เศรษฐกิจไทย เพราะจีนเป็นตลาดส่งออกทีส่ �ำ คัญ ทีส่ ดุ ของไทยและการชะลอตัวลงของอุปสงค์จาก จีนก็เป็นปัจจัยสำ�คัญปัจจัยหนึง่ ทีท่ �ำ ให้ราคา พืชผลตกตํา่ ทัว่ โลก ดังนัน้ ความพยายามของ รัฐบาลจีนในปัจจุบนั ทีผ่ อ่ นคลายทัง้ นโยบายการ คลังและนโยบายการเงินอย่างจริงจัง จึงเป็นเรือ่ ง ทีต่ อ้ งจับตาอย่างใกล้ชดิ ว่าจะทำ�ให้เศรษฐกิจจีน ขยายตัวได้ท่ี 6-7% อย่างมีเสถียรภาพ โดยไม่ได้ สร้างฟองสบูข่ องราคาสินทรัพย์และสามารถแก้ ปัญหาหนีส้ นิ ของบริษทั จีนและรัฐบาลท้องถิน่ ของ จีนได้หรือไม่ ซึง่ ยังมีหลายฝ่ายมองว่าเป็นเรือ่ งที่ ท้าทายรัฐบาลจีนอย่างมาก

OPTIMISE | JULY 2015

07


INVESTMENT REVIEW

ภาวะอัตราดอกเบีย้ ต่ำ�กับ ความเสีย่ งในการลงทุน ดร.พิ พ ั ฒ น์ เหลื อ งนฤมิ ต ชั ย ผู ้ ช ่ ว ยกรรมการผู ้ จ ั ด การ และ หั ว หน้ า ที ม วิ จ ั ย ลู ก ค้ า บุ ค คล สายงานลู ก ค้ า บุ ค คล บริ ษ ั ท หลั ก ทรั พ ย์ ภั ท ร จำ � กั ด (มหาชน)

ต้องยอมรับว่าการลงทุนในช่วงนี้ เริ่มมีความยากขึ้น เรื่อยๆ ในภาวะที่ราคาสินทรัพย์ทั่วโลกปรับตัวขึ้นมาอย่าง ต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเป็นการปรับขึ้นที่ได้รับ การสนับสนุนสำ�คัญจากสภาพคล่องที่มาจากการพิมพ์เงิน ของธนาคารกลางใหญ่ๆ ทั่วโลกเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่อยู่ในระดับตํ่าทั่วโลกเป็นเวลา นาน และเงินที่ถูกอัดฉีดออกมา ทั้งจากธนาคารกลางของ สหรัฐฯ (ที่เพิ่งจะหยุดอัดฉีดเมื่อปีที่แล้ว) ธนาคารกลางยุโรป (ที่เพิ่งเริ่มรับลูกอัดฉีดเพิ่มขึ้นอีก) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (ที่อัดฉีดมาอย่างต่อเนื่อง) เป็นแรงผลักดัน ทำ�ให้ราคาของ

ดัชนีราคาหุน้ เฉลีย่ ทัว่ โลกกับสัดส่วนราคาต่อกำ�ไร

ทีม่ า www.bloomberg.com 08

OPTIMISE | JULY 2015

สินทรัพย์เสี่ยงหลายประเภทถูกปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราคาหุ้นในหลายประเทศทั่วโลกปรับขึ้นไปสู่ระดับสูงสุด ในรอบหลายปี ในขณะที่กำ�ไรของบริษัทจดทะเบียนในหลาย ประเทศเริ่มถูกปรับลดลง ทำ�ให้ราคาของตลาดหุ้นหลาย ประเทศเริ่มดูแพงขึ้น แต่แม้ว่าตลาดหุ้นจะเริ่มดูแพงขึ้น หลายคนยังมองว่า ราคาหุ้นยังมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับ ทางเลือกอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธบัตร พูดง่ายๆ คือหุ้นที่ ว่าแพงแล้ว พันธบัตรนี่ยิ่งแพงเข้าไปใหญ่

แม้ว่าในปัจจุบัน เศรษฐกิจทั่วโลกจะ เริ่มส่งสัญญาณ ปรับตัวดีขึ้น และน่าจะทำ�ให้ ผลตอบแทนของ การลงทุนดีขึ้นใน อนาคต แต่ความ เสี่ยงที่ดูเหมือน ว่ากำ�ลังรออยู่ใน อนาคตอันใกล้คือ ความเสี่ยงที่อัตรา ดอกเบี้ยอาจจะ กำ�ลังปรับตัวสูงขึ้น OPTIMISE | JULY 2015

09


INVESTMENT REVIEW ถ้าวันนี้เราไปซื้อพันธบัตรอายุ 10 ปี ของรัฐบาล ไทย เราจะได้ผลตอบแทนน้อยกว่าร้อยละสามต่อปี ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ก็อยู่ แค่ร้อยละสองต้นๆ ซึ่งถือว่าตํ่ามากเมื่อเทียบกับ ผลตอบแทนพันธบัตรในอดีต (ตามภาพที่แสดง ด้านล่าง) ถ้าไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลของเยอรมัน เราจะได้ผลตอบแทนน้อยกว่าร้อยละหนึ่งต่อปี เสียอีก พร้อมกับความเสี่ยงที่ค่าเงินยูโรอาจจะมี แนวโน้มอ่อนค่าลงไปอีกด้วย แม้ว่าในปัจจุบันเศรษฐกิจทั่วโลกจะเริ่มส่ง สัญญาณปรับตัวดีขึ้น และน่าจะทำ�ให้ผลตอบแทน ของการลงทุนดีขึ้นในอนาคต แต่ความเสี่ยง ที่ดูเหมือนว่ากำ�ลังรออยู่ในอนาคตอันใกล้คือ ความเสี่ยงที่อัตราดอกเบี้ยอาจจะกำ�ลังปรับตัวสูงขึ้น ผมแบ่งอัตราดอกเบี้ยเป็นสองประเภทครับ อันแรกคืออัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่ธนาคารกลาง ตั้งขึ้นเพื่อกำ�หนดนโยบายทางเศรษฐกิจ ทุกวันนี้ ธนาคารกลางทั่วโลกเก็บอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตัวนี้ไว้ที่ร้อยละศูนย์ มาหลายปีแล้ว และอัตรา ดอกเบี้ยอีกประเภทคืออัตราดอกเบี้ยในตลาด เช่น ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี 10 ปี เป็นต้น อัตราดอกเบี้ยประเภทนี้ ในภาวะปกติธนาคารกลาง ควบคุมได้ค่อนข้างน้อย แต่จะถูกกำ�หนดจากการ คาดการณ์แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอนาคต ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยในตลาดระยะสั้นมักจะยึดโยง กับอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากกว่า แต่อัตราดอกเบี้ย ระยะยาวจะถูกกำ�หนดโดยการคาดการณ์ของภาวะ เศรษฐกิจ ถ้าตลาดคาดการณ์กันว่าเศรษฐกิจน่าจะ มีการเติบโตได้ดีในอนาคต เงินเฟ้อน่าจะมีแนวโน้ม สูงขึ้น ธนาคารกลางน่าจะปรับดอกเบี้ยขึ้นในอนาคต อัตราดอกเบี้ยระยะยาวก็น่าจะปรับตัวสูงขึ้น ในทาง กลับกัน ถ้าตลาดคาดว่าเศรษฐกิจน่าจะซบเซาไป เรื่อยๆ ธนาคารกลางคงต้องเก็บดอกเบี้ยตํ่าๆ แบบนี้ ไว้อีกนาน อัตราดอกเบี้ยระยะยาวก็จะพลอยตํ่าลง ไปด้วย นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยระยะยาวมักจะมี ความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ยระยะยาวใน ต่างประเทศด้วย การดำ�เนินนโยบายการเงินของธนาคารกลาง หลายแห่งในปัจจุบนั มีการอัดฉีดสภาพคล่องโดย การเข้าซือ้ พันธบัตรระยะยาว ก็มผี ลเหมือนกับการ กดดอกเบีย้ ระยะยาวให้ตา่ํ กว่าความเป็นจริง และ เมือ่ ธนาคารกลางสหรัฐฯ เริม่ ส่งสัญญาณว่าจะเริม่ ปรับขึน้ อัตราดอกเบีย้ นโยบายเป็นครัง้ แรกภายในปี นี้ หลังจากปรับลดลงมาเหลือร้อยละศูนย์ เมือ่ หกปี ก่อน ก็ยง่ิ เป็นการส่งสัญญาณว่าอัตราดอกเบีย้ ระยะ ยาวมีโอกาสปรับตัวสูงขึน้ ได้ และถ้าการอัดฉีดเงินของ ธนาคารกลางยุโรปและธนาคารกลางญีป่ นุ่ หยุดลง เมือ่ ใด อัตราดอกเบีย้ ทัว่ โลกคงกลับเข้าสูภ่ าวะปกติ ซึง่ ก็คอื ระดับทีส่ งู กว่าในปัจจุบนั และยิง่ ถ้าโลกมีความ เสีย่ งว่าเงินเฟ้อกำ�ลังจะกลับมา โอกาสทีอ่ ตั ราดอกเบีย้ จะปรับตัวสูงขึน้ ก็มมี ากขึน้

แล้วอัตราดอกเบี้ยที่จะปรับตัวสูงขึ้นมีความสำ�คัญ อย่างไร? อัตราดอกเบี้ยเป็นปัจจัยสำ�คัญในการกำ�หนด ราคาของสินทรัพย์เกือบทุกประเภท ถ้าอัตราดอกเบี้ย ตํ่าแปลว่าการลงทุนแบบความเสี่ยงน้อยให้ผลตอบ แทนตํ่า การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น (เช่น หุ้น หรือ อสังหาริมทรัพย์) ก็น่าสนใจมากขึ้น ราคาของสินทรัพย์ที่ มีความเสี่ยงก็ยิ่งปรับตัวสูงขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าอัตรา ดอกเบี้ยเริ่มปรับสูงขึ้น แปลว่าทางเลือกในการลงทุนแบบ มีความเสี่ยงตํ่าให้ผลตอบแทนดีขึ้น สินทรัพย์เสี่ยงก็จะ มีความน่าสนใจในเชิงเปรียบเทียบลดลง และราคาก็มี โอกาสปรับตัวลงได้ แต่อัตราดอกเบี้ยไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่มีผลต่อราคา สินทรัพย์ การลงทุนในหุ้นขึ้นอยู่กับกำ�ไรของบริษัทด้วย ถ้าอัตราดอกเบี้ยขึ้นในภาวะที่เศรษฐกิจดีขึ้น กำ�ไรดีขึ้น ผลกระทบต่อราคาหุ้นก็คงมีไม่มากนัก (แต่คงหลีกเลี่ยง ความผันผวนไม่ได้) แต่ถ้าดอกเบี้ยขึ้นในภาวะที่เศรษฐกิจ ไม่ค่อยดี ผลกระทบต่อราคาสินทรัพย์คงมีมากกว่า เราอยูใ่ นโลกทีอ่ ตั ราดอกเบีย้ ระยะยาวปรับลงมา เป็นเวลานาน มองไปข้างหน้า ความเสีย่ งทีอ่ ตั ราดอกเบีย้ ระยะยาวจะปรับขึน้ น่าจะเป็นความเสีย่ งสำ�คัญ เพราะ ในภาวะเช่นนัน้ สินทรัพย์ทน่ี กั ลงทุนมักจะลงทุนกันทัง้ หุน้ และพันธบัตรคงให้ผลตอบแทนไม่คอ่ ยดีเท่าไร โดยเฉพาะ อย่างยิง่ ถ้าการปรับขึน้ ของอัตราดอกเบีย้ ในต่างประเทศมี ผลทำ�ให้อตั ราดอกเบีย้ ระยะยาวในประเทศต้องปรับสูงขึน้ ในภาวะทีเ่ ศรษฐกิจยังซบเซาน่าจะเป็นความเสีย่ งทีต่ อ้ ง ระวังทีส่ ดุ จากประสบการณ์การขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ในอดีต เราพบว่าราคาหุ้นของตลาดสหรัฐฯ เองแม้ว่าจะ มีความผันผวนบ้างในระยะแรก แต่ราคาหุ้นก็ยังสามารถ ปรับขึ้นได้ตลอดช่วงเวลาที่มีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น แต่ผลกระทบในเชิงลบต่อตลาดประเทศกำ�ลังพัฒนากลับ มีมากกว่า

การกระจายความเสี่ยงไป ยังประเทศที่มีแนวโน้มการ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดีขึ้นน่าจะเป็นทางเลือกที่ เหมาะสม แม้ว่าจะมีความกังวลว่าอัตราดอกเบี้ยระยะยาว คงสูงขึ้นในอนาคต แต่ความกังวลดังกล่าวอยู่กับ เรามาสักระยะแล้ว เศรษฐกิจโลกที่มีแรงส่งตํ่ากว่าที่ คาด อาจจะทำ�ให้อัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับตํ่า นานกว่าที่หลายคนคิดก็ได้ แล้วเราจะรับมือกับภาวะดอกเบีย้ ตํ่าเช่นนี้ อย่างไรดี? การกระจายความเสีย่ งจำ�เป็นครับ เราสามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ทห่ี ลากหลายได้ โดยการลงทุนในหุน้ ยังน่าจะเป็นสินทรัพย์ทใ่ี ห้ ผลตอบแทนในระยะยาวดีทส่ี ดุ การกระจายความเสีย่ ง ไปยังประเทศทีม่ แี นวโน้มการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจดีขน้ึ น่าจะเป็นทางเลือกทีเ่ หมาะสม ใน ภาวะทีผ่ ลตอบแทนจากพันธบัตรระยะยาวมีไม่สงู มาก การลดอายุเฉลีย่ ของพันธบัตรลงมาน่าจะเพิม่ โอกาสในการเลือกลงทุนใหม่เมือ่ ดอกเบีย้ ปรับตัวสูง ขึน้ การลงทุนในสินทรัพย์ทใ่ี ห้ผลตอบแทนดีมคี วาม เสีย่ งไม่สงู มาก (เช่นหุน้ ปันผลสูงหรือกองทุนโครงสร้าง พืน้ ฐาน) หรือสินทรัพย์ใหม่ๆ ทีม่ คี วามเสีย่ งจากอัตรา ดอกเบีย้ จำ�กัดน่าจะเป็นทางเลือกทีเ่ หมาะสม ส่วนใคร ทีก่ งั วลความเสีย่ งนีม้ ากๆ อาจจะเก็บเงินสดไว้ เยอะหน่อยเพือ่ รับมือกับความเสีย่ งในอนาคต นอกจากนีภ้ าวะเช่นนี้ เราจำ�เป็นต้องให้ความสำ�คัญ กับแนวโน้มของค่าเงินมากขึน้ ด้วยนะครับ

อัตราดอกเบีย้ ระยะยาวของสหรัฐอเมริกาอยูใ่ นขาลงในช่วง 35 ปีทผ่ี า่ นมา แต่ในช่วงร้อยปีทผ่ี า่ นมาอัตราดอกเบีย้ ไม่ได้มแี ต่ขาลง

ทีม่ า: National Bureau of Economic Research, Federal Reserve Bank of St Louis 10

OPTIMISE | JULY 2015

OPTIMISE | JULY 2015

11


optimum view

Aim to Be the Best บรรยง พงษ์พานิช ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร กลุม่ ธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร กับมุมมอง เรือ่ งโลกาภิวตั น์ การมุง่ ไปสูม่ าตรฐานสากล และการ สร้างองค์กรการเงินเพือ่ ตลาดไทยทีด่ ที ส่ี ดุ ในโลก

12

OPTIMISE | JULY 2015

OPTIMISE | JULY 2015

13


optimum view

พ่อจะสอนว่า อยากสูงต้องยืดตัว เตะคนอืน่ ล้ม จะไม่ชว่ ยให้สงู ขึน้ ผมจึงได้ถกู ปลูกฝังและฝึกฝน ตัวเองมาตลอดว่าแข่งเพือ่ ทีจ่ ะทำ�ให้ตวั เองดีขน้ึ ... เราจะแข่งอะไร เราใช้วธิ พ ี ฒ ั นาความสามารถ ของตัวเอง ไม่ใช้วธิ กี ารสกปรก นักเขียนคนหนึง่ ออกปากว่า หากคำ�ว่า “เน็ต ไอดอล” สามารถใช้ได้กบั ผูท้ อ่ี ายุเกิน 60 ได้ บรรยง พงษ์พานิชน่าจะเป็นอีกหนึง่ “เน็ต ไอดอล” ทีก่ �ำ ลัง มาแรงในโลกโซเชีย่ ลของประเทศไทยทุกวันนี้ เพราะแม้เพิง่ เริม่ เล่น Facebook ก่อนแซยิดได้ไม่ กีเ่ ดือน แต่ปจั จุบนั บรรยงมีเพือ่ นและผูต้ ดิ ตามสเตตัส ความคิดความเห็นของเขาเป็นจำ�นวนกว่า 25,000 คน ซึง่ ในจำ�นวนนี้ รวมถึงนักคิดนักเขียนหลากหลายค่าย ตัง้ แต่ ดร.สมเกียรติ ตัง้ กิจวานิชย์ กรณ์ จาติกวณิช ดร.ปิยสวัสดิ์ อมระนันทน์ ภิญโญ ไตรสุรยิ ธรรมา เรือ่ ยไปจนกระทัง่ นิว้ กลม และจอห์น วิญญู “เพือ่ น” โซเชีย่ ลเหล่านี้ ล้วนทราบดีวา่ แม้บรรยง จะมีความคิดความเห็นเกีย่ วกับหลากหลายเรือ่ งราว ไม่วา่ จะเป็นเศรษฐกิจ การเมือง ประวัตศิ าสตร์ สังคม วัฒนธรรม การกีฬา ฯลฯ แต่โดยพืน้ ฐานแล้ว ความคิด ของเขาดูเหมือนจะแตกหน่อมาจากความเชือ่ ในตลาด และการแข่งขันอย่างเสรีทง้ั สิน้ โดยในขณะทีห่ ลายคน บอกว่าสองสิง่ นี้ เป็นเพียงชือ่ สวยหรูของระบบอันโหด ร้ายทีป่ ลาใหญ่กดั กินปลาเล็ก บรรยงในฐานะผูบ้ ริหาร ของกลุม่ ธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร อีกหนึง่ ปลา ขนาดไม่ใหญ่ไม่เล็กทีก่ �ำ ลังพยายามแหวกว่ายอยูใ่ น กระแสนา้ํ ทีเ่ ต็มไปด้วยการแข่งขันของตลาดการเงิน เมืองไทยเช่นกัน กลับบอกว่านีค่ อื สิง่ แวดล้อมทีด่ ที ส่ี ดุ “ผมชอบแข่งขันมาตั้งแต่เล็กๆ เพราะผมเป็น Wednesday’s Child ตัวจริง ผมเป็นลูกชายคนที่สาม ของลูกชายห้าคน แล้วก็มีน้องสาวเป็นคนสุดท้าย เราจะรู้สึกว่าเราเป็นคนที่ขาดอยู่ตลอดเวลา จะเบ่ง แบบพี่ใหญ่ก็ไม่ได้ จะโอ๋อย่างน้องเล็กก็ไม่ได้ จึง ได้ทำ�ตัวชอบแข่งขัน ถ้าเป็นสัตว์ คงต้องเรียกว่า เพื่ออยู่รอด แต่ในคน คงต้องเรียกว่าเพื่อให้เป็น “Somebody” ขึ้นมา โดยผมจะแข่งทุกเรื่อง อย่างเช่น แข่งเพื่อให้ได้รับคำ�ชมจากพ่อ ซึ่งเป็นคนใฝ่รู้มาก และชอบให้ลูกๆ แข่งความรู้ เช่นแข่งตอบปัญหา ความรู้รอบตัว แข่งบวกเลขทะเบียนท้ายรถ ผมก็จะ แข่งทั้งหมด และก็ชนะด้วย” บรรยงให้สัมภาษณ์ กับเราอย่างสบายๆ ในออฟฟิศผู้บริหารของธนาคาร เกียรตินาคิน เหนือถนนอโศก อย่างไรก็ตาม นอกจากการแข่งขันแล้ว ดูเหมือน สิง่ สำ�คัญกว่าทีพ่ อ่ ได้มอบให้กบั บรรยงก็คอื การชีใ้ ห้เห็น ประเด็นสำ�คัญของการแข่งขันนอกเหนือจากชัยชนะ 14

OPTIMISE | JULY 2015

“พ่อจะสอนว่า อยากสูงต้องยืดตัว เตะคนอืน่ ล้ม จะไม่ชว่ ยให้สงู ขึน้ ผมจึงได้ถกู ปลูกฝังและฝึกฝนตัวเอง มาตลอดว่าแข่งเพือ่ ทีจ่ ะทำ�ให้ตวั เองดีขน้ึ สมัยทำ�งาน ทีภ่ ทั ร ผมขึน้ ป้ายไว้เลยว่า “เราจะอ้วนโดยไม่เหีย้ ” คือ เราจะแข่งอะไร เราใช้วธิ พี ฒ ั นาความสามารถของตัวเอง ไม่ใช้วธิ กี ารสกปรก อีกอย่างทีพ่ อ่ ไม่ได้สอนตรงๆ แต่คดิ ว่าเราได้มา ก็คอื พ่อไม่ใช่คนฉาบฉวย อย่างเราเป็นเด็กถามอะไรไป เรือ่ ย ทำ�ไมท้องฟ้าสีฟา้ ทำ�ไมมือมีสบิ นิว้ พ่อจะไม่ตอบ อย่างผ่านๆ แต่จะพยายามอธิบายด้วยสาระ บางทีก็ ไปเปิดหามาจากบริแตนนิกา เช่นถามพ่อว่าทำ�ไมแดด ตอนเช้าไม่แสบตา พ่อเอาวงเวียนมาวาดให้เห็นเลยว่า ในเวลาเช้าวงโคจรของโลกทำ�มุมกับแสงอาทิตย์ยงั ไง บรรยากาศมันถึงกรองแสงจนเราไม่แสบตา เราก็คอ่ ยๆ ชึมไปว่าทุกอย่างมันมีแก่นมีสาระ ดังนัน้ ถึงเวลา ไม่ใช่ แค่แข่งยังไงก็ได้ แต่ตอ้ งวัดกันทีแ่ ก่น อย่างสมัยอยูว่ ชิราวุธฯ ผมเคยตืน่ ตีหา้ เพือ่ มาวิง่ รอบ โรงเรียนคนเดียววันละ 10 กิโลเมตรทุกวัน เพราะไปอ่าน เจอหนังสือฝรัง่ เล่มหนึง่ บอกว่าขาเป็นเบสิกทีส่ ดุ ในกีฬา ทุกอย่าง ผมอยากเป็นนักกีฬาทีเ่ ก่ง ผมก็ฝกึ ตามอย่าง นัน้ เลย แล้วปรากฏว่ามศ. 4 ผมก็ได้ตดิ ทีมโรงเรียนรักบี้ บาสฯ กรีฑา พอมศ. 5 ก็ตดิ ทีมชาติ นีเ่ พราะอยากสูง ต้องยืดตัว” ด้วยความทีช่ น่ื ชอบกีฬาอย่างมาก จึงไม่แปลก ทีร่ ะยะแรกๆ “การแข่งขัน” ของบรรยงจำ�กัดอยูใ่ น วงการกีฬาเป็นหลัก บรรยงเป็นนักรักบีท้ มี ชาติ นักบาสเกตบอล วอลเลย์บอล และทศกรีฑาของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นเจ้าของถ้วยและ เหรียญรางวัลนานาชนิด อย่างไรก็ตาม บรรยงได้รจู้ กั กับ การแข่งขันในความหมายทีก่ ว้างขึน้ เมือ่ เขาได้รบั ทุนการ ศึกษาจากทีท่ �ำ งานทีแ่ รก (บริษทั เงินทุนหลักทรัพย์ภทั ร ธนกิจ) ให้ไปศึกษาทีส่ ถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึง่ เพิง่ เปิดขึน้ เป็นปีแรก “ผมมารูจ้ กั กับความหมายทีแ่ ท้จริงของคำ�ว่า ทุนนิยมและโลกาภิวตั น์ทน่ี ่ี ซึง่ ต้องถือว่าโชคดีมาก เพราะนอกจากจะได้เจออาจารย์ระดับโปรเฟสเซอร์จาก Wharton และ Kellogg แล้ว ทีด่ กี ว่าไปเมืองนอกคือ โปรเฟสเซอร์พวกนีจ้ ะพยายามประยุกต์สง่ิ ทีเ่ ขาสอน ให้เข้ากับเมืองไทย ซึง่ ทำ�ให้ผมเห็นชัดเลยว่ายังไงเมือง ไทยก็ตอ้ งเปลีย่ นไปตามโลก วิธกี ารของเขาน่าประทับ

ใจมาก เขาให้ผมเล่าว่าตอนทำ�งานในตลาดทุนทำ�อะไร บ้าง อะไรทีค่ ดิ ว่าเป็น Innovation ทีภ่ าคภูมใิ จ พวก ตัว๋ เงินพวกการวางแผนภาษีอะไรพวกนี้ แต่พอเล่าปุบ๊ เขาก็จะเล่าเรือ่ งเคสของอเมริกาทีเ่ ทียบเคียงกันได้ทนั ที เช่นไปเอาเคสของ Exxon กับ Morgan Stanley ทีเ่ คย ออกบอนด์คล้ายๆ กันมาเล่าให้ฟงั สิง่ เหล่านีท้ �ำ ให้ผม เลิกความคิดทีว่ า่ เมืองไทยวิชาการใช้ไม่ได้หรอก เมืองไทยใช้แต่กน๋ึ กับเส้น เพราะสิง่ ทีผ่ มเรียนรูใ้ หม่คอื อย่างไรโลกาภิวตั น์และการแข่งขันแบบทุนนิยมจะ บีบบังคับให้ทกุ อย่างหมุนไปตามมาตรฐานโลกเสมอ แล้วผมสร้างทัง้ ชีวติ ของผมจากความเชือ่ ในสองเรือ่ งนี้ เท่านัน้ ” ในเมืองไทย คำ�ว่าทุนนิยมมักจะมีความหมายใน แง่ลบ และไม่มใี ครอยากถูกตราหน้าว่าเป็นทุนนิยม พอๆ กับทีไ่ ม่มใี ครอยากถูกตราหน้าว่า “เห็นแก่เงิน” หรือ “หน้าเลือด” แต่ส�ำ หรับบรรยงแล้ว เขารับเอาคำ�นี้ มาเป็นยีห่ อ้ ของตัวเองด้วยความเต็มใจอย่างยิง่ เพราะ สำ�หรับเขาแล้ว คำ�ว่าทุนนิยมไม่ได้เกีย่ วอะไรกับ หน้าเลือด และทีแ่ น่ๆ ไม่ได้มคี วามหมายตืน้ เขินแค่เงิน “เบสิกเลย คำ�ว่าทุนนิยมคืออะไร ทุนนิยมคือระบบ ทีใ่ ช้ตลาดเป็นกลไกในการรวบรวมจัดสรรทรัพยากร และติดตามดูแลทรัพยากรทางเศรษฐกิจ หมายความ ว่ามันเป็นระบบทีด่ แู ลทรัพยากรของประเทศให้มนั ไหล ไปทีๆ่ ควรไป ทีๆ่ จะทำ�ให้ทรัพยากรนัน้ ๆ เกิดประโยชน์ อย่างเช่น ถ้าพูดถึงตลาดทุน ก็หมายถึงว่าเงินของนัก ลงทุนควรจะไปทีบ่ ริษทั ทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ไม่ใช่ไปบริษทั ทีป่ น่ั หุน้ แบงก์กเ็ หมือนกัน เวลาจะให้กู้ ต้องให้กกู้ บั พวกธุรกิจทีม่ รี ากฐานดี อยูถ่ กู ทีถ่ กู ทาง ไม่ใช่พวกซีซ้ ว้ั ดังนัน้ ถ้ามองในแง่ประเทศ ทุนนิยมมีประโยชน์มาก เพราะทำ�ให้ทรัพยากรซึง่ มีอยูจ่ �ำ กัดไม่ถกู ใช้อย่าง ไร้ประสิทธิภาพ แต่สง่ิ ทีผ่ มชอบมากเกีย่ วกับทุนนิยมก็คอื มันไม่ ปฏิเสธธรรมชาติของมนุษย์ อย่างที่ ริชาร์ด พอสเนอร์ บอกว่าชอบไม่ชอบก็แล้วแต่ โลกได้พสิ จู น์ให้เห็นแล้ว ว่าพลังความเห็นแก่ตวั มีพลังกว่าความเห็นแก่สว่ น รวมมากนัก” บรรยงอ้างถึงผูพ้ พิ ากษาศาลอุทธรณ์ของ สหรัฐฯ ทีไ่ ด้ชอ่ื ว่าเป็นนักคิดนักเขียนคนสำ�คัญทีส่ ดุ คนหนึง่ ของศตวรรษทีย่ ส่ี บิ ในด้านเศรษฐศาสตร์และ นิตศิ าสตร์ “คอมมิวนิสต์ลม่ สลายเพราะพยายามสร้าง ระบบทีไ่ ม่สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ คือหวังให้ OPTIMISE | JULY 2015

15


optimum view ทุกคนทำ�มากๆ แล้วใจกว้างรับส่วนแบ่งเท่ากัน ในขณะที่ ทุนนิยมยอมรับว่ามนุษย์เห็นแก่ตวั ดังนัน้ จึงปล่อยให้คน ทำ�มากได้มาก แล้วหันไปสร้างกฎเกณฑ์ทจ่ี ะควบคุมไม่ ให้การทำ�มากได้มากนัน้ มันถึงขัน้ ทำ�ลายตัวเอง แถมทำ�ให้ความเห็นแก่ตวั กลับมารวมกันเกิดพลังทีจ่ ะ เป็นประโยชน์ตอ่ ส่วนรวมได้อกี แน่นอนมันยังไม่สมบูรณ์ แต่ระบบทุนนิยมมันก็ยงั ไม่ตายตัว ทุกวันนีม้ นั ยังอยู่ ในระหว่างแก้ไขตัวเองตลอดเวลา ซึง่ ทำ�ให้ผมเชือ่ ว่า มันมีแต่จะดีขน้ึ คนส่วนใหญ่มกั จะยกข้อบกพร่องของ ทุนนิยมขึน้ มาแล้วก็ย้ี มันทำ�ให้เกิดวิกฤตทางการเงิน เกิด ความเหลือ่ มลํา้ อย่างนัน้ อย่างนี้ แต่ผมเห็นว่านีแ่ หละคือ กระบวนการปรับตัวของมัน มันวิกฤตเพื่อนำ�ไปสู่การ พัฒนาปรับปรุง ดังนั้น ไม่ใช่เห็น Crisis แล้วเลยปิด ประเทศ ปิดตัวเอง เพราะมันจะพัฒนาไม่ได้ อย่าง เกาหลีเหนือ คิวบา พม่าไม่มที างมี Crisis แต่กก็ นิ แกลบ ไป เพราะไม่รจู้ ะเอาเงินทีไ่ หนมาเกิดวิกฤต” ฟังบรรยงสนับสนุนทุนนิยมเต็มปากเต็มคำ�อย่างนี้ แล้ว หลายคนอาจไม่เชือ่ ว่าบรรยงเป็นพีช่ ายแท้ๆ ของ บัญชา พงษ์พานิช ผูอ้ �ำ นวยการหอจดหมายเหตุ พุทธทาส อินทปัญโญ หรือ “สวนโมกข์กรุงเทพฯ” ซึง่ เป็น ทีร่ กู้ นั ดีวา่ มีอดุ มการณ์สอนเพือ่ นมนุษย์ให้ลดละความ เห็นแก่ตวั อันทีจ่ ริงบรรยงเองก็เป็นกรรมการบริหารและ เป็นหนึง่ ในผูอ้ ยูเ่ บือ้ งหลังการก่อตัง้ สถานปฏิบตั ภิ าวนา สำ�คัญของคนกรุงแห่งนีม้ าตัง้ แต่ตน้ “ผมไม่เห็นว่าทุนนิยมจะขัดแย้งกับพุทธศาสนา ตรงไหน พุทธศาสนาบอกความต้องการของมนุษย์มี ไม่จ�ำ กัด ดังนัน้ ต้องละตัณหาจึงจะสุข นีก่ ค็ อื การจัดการ Demand ส่วนทุนนิยมบอกว่า ความต้องการของมนุษย์ มีไม่จ�ำ กัด ดังนัน้ ต้องใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ มันก็คอื การจัดการ Supply สำ�หรับผมสองเรือ่ งนี้ จึงเป็น ความพยายามแก้โจทย์เดียวกัน และทำ�งานด้วยกันได้ แต่ถา้ คิดอีกอย่างจบเลยนะ คือมองว่าทุนนิยมแย้งกับ พุทธศาสนา ซึง่ ก็แปลได้อย่างเดียวว่าถ้าเราเป็นเมืองพุทธ ก็ตอ้ งเลิกเป็นทุนนิยม หรือถ้าเป็นทุนนิยมก็ตอ้ งเลิกเป็น พุทธ คำ�ถามของผมคือมันจะเป็นไปได้ไหม” ทัศนคติทไ่ี ม่เห็นทุนนิยมเป็นเรือ่ งสามานย์ แต่กลับ เป็นกลไกทีแ่ ก้ปญ ั หาของสังคมได้อย่าง “เป็นไปได้” นีเ่ อง ทีท่ �ำ ให้บรรยงพบว่าช่วยสร้างพลังในการทำ�งาน หรือที่ บรรยงเรียกว่า Passion อย่างมาก “มีชว่ งหนึง่ ผมเคยสับสนนะว่าเราเป็นแบงเกอร์ เป็น โบรกเกอร์ซอ้ื ๆ ขายๆ หุน้ กินค่าต๋ง เราทำ�ประโยชน์อะไร ให้กบั สังคมบ้าง แต่พอผมเข้าใจทุนนิยม เข้าใจหน้าที่ ของมันอย่างนี้ Passion มันมาเองเลย เพราะเราไม่รสู้ กึ ขัดแย้งอะไรอีกแล้ว เรารูว้ า่ ผลประโยชน์ของเรา กับผล ประโยชน์ของสังคมมันคือเรือ่ งเดียวกัน ถ้าเราพัฒนา ตลาดทุนให้ดี ทำ�ทุนนิยมให้ดี ประเทศก็จะได้ประโยชน์ ตัวเรายิง่ ได้ประโยชน์ เพราะนีค่ อื ธุรกิจของเรา คือ สิง่ แวดล้อมทีเ่ ราพยายาม Groom ธุรกิจเรามาให้รองรับ อยูแ่ ล้ว ผมพูดเสมอว่าถ้าผูร้ บั เหมาสร้างวัด สนับสนุน ให้คนทำ�บุญสร้างวัด ผมก็ไม่เห็นว่ามันบาปตรงไหน แล้วความเชือ่ นีม้ นั ก็อยูใ่ นคนของบริษทั ทัง้ หมด เราจึง ทำ�งานกันสนุกมาก เงินก็ได้ ความภาคภูมใิ จ 16

OPTIMISE | JULY 2015

ในงานก็ได้ ผมชอบคุยว่าตลอดชีวิตการทำ�งานนี่ทำ� ดีลระดมทุนมาแล้วห้าแสนล้าน เอ็มแอนด์เออีก แปดแสนล้าน เพราะผมภูมิใจจริงๆ และเชื่อว่า ทรัพยากรเหล่านี้มีส่วนทำ�ให้ประเทศดีขึ้น” แต่อย่างที่บรรยงได้บอกตอนต้น นอกเหนือจาก ความเชื่อในทุนนิยมแล้ว อีกหนึ่งแนวคิดที่เป็น รากฐานความสำ�เร็จของธุรกิจของเขาก็คือความเชื่อ ในโลกาภิวัตน์ “คนมักพูดกันว่าโลกาภิวตั น์คอื Free flow of ideas, people, goods, services, capital แค่น้ี แต่ทผ่ี มเรียน จากอาจารย์ที่ศศินทร์มันไม่ใช่แค่นั้น โปรเฟสเซอร์ เค้าสอนว่า มันไม่ใช่แค่ Free flow แต่มันคือการที่ Free flow จะทำ�ให้ หนึง่ สินค้าและบริการทุกอย่างในโลก จะถูกผลักดันให้ไปสูม่ าตรฐานทีด่ ที ส่ี ดุ เพราะต้องแข่งขัน กับโลก และสอง มาตรฐานนัน้ เป็นมาตรฐานทีไ่ ม่หยุด นิง่ แต่จะเปลีย่ นไปเรือ่ ยๆ ตามพัฒนาการของโลก นีค่ อื หัวใจของมันเลย ไม่งน้ั Globalisation ก็ไม่มคี วามหมาย จะ Globalise ไปทำ�ไม ถ้า Globalise แล้ว ไม่ได้ปรับปรุง มาตรฐานการทำ�งาน ไม่ได้เพิม่ Productivity ถ้าเข้าใจได้อย่างนี้ ไม่ตอ้ งกลัวฝรัง่ เลย เปิดประเทศ ให้เขาเข้ามา แล้วแข่งกัน ถึงแข่งแพ้เราก็จะได้เรียนรู้ จากเขา คนชอบบอกว่าผมบ้าเปิดเสรี ผมบอกเปิดเสรี ฝรัง่ เข้ามาได้นผ่ี มก็ล�ำ บากเหมือนคนอืน่ นะ อาจจะเจ๊ง ไม่ใช่สบาย แต่ผมเชือ่ ว่าต่อให้บริษทั เจ๊ง แต่คนมัน ไม่เจ๊งนี่ คนก็จะได้ยา้ ยไปอยูบ่ ริษทั ทีเ่ ขาชนะ แล้วเรียนรู้ และกลับมาแข่งใหม่ให้ดกี ว่าเดิม ประเทศมันก็ดขี น้ึ แต่ไม่รเู้ ป็นไร คนไทยเรานีช่ อบชาตินยิ ม พูดกันมากอย่า ให้สมบัตชิ าติตกอยูใ่ นมือของต่างชาติ ต้องเป็นของ คนไทย ถามว่าคนไทยกีค่ นกันครับทีจ่ ะเป็นเจ้าของสมบัติ ชาติทพ่ี ดู ๆ กันได้ แทนทีต่ ลาดจะดีขน้ึ เพราะได้ฝรัง่ เข้ามา แข่งขัน เลยเป็นตลาดทีผ่ กู ขาดกันอยูท่ ่ี “คนไทย” ไม่กต่ี ระกูล ของไม่ตอ้ งดีมากก็ขายได้เพราะไม่มคี แู่ ข่ง ค่าจ้างไม่ตอ้ งจ่ายมากก็ได้ เพราะไม่มคี แู่ ข่ง ประเทศมัน ก็ตนั อยูอ่ ย่างนี้ แต่ผมไม่ ผมเชือ่ ในตลาดทุน และเชือ่ ว่ายังไง ทุกอย่างก็ตอ้ งเป็นไปตามมาตรฐานโลก ดังนัน้ ผมเดิน ตามฝรั่งเลย ดูว่าเขาทำ�อะไร เพราะอะไร ผ่าน ประสบการณ์อะไรมา ภายใต้บริบทอย่างไร ประสบการณ์เลวเราก็คดั ทิง้ บริบทต่างเราก็ตอ้ ง แอพพลาย แต่ส�ำ คัญคือต้องรูว้ า่ เขาทำ�อะไรเพราะอะไร อย่าไปคิดว่าเมืองไทยแค่แบบไทยๆ ก็พอ เพราะในเมือ่ โลกาภิวัตน์จะผลักดันให้ทุกอย่างวิ่งไปสู่วิธีปฏิบัติ ที่ดีที่สุด อะไรควรเกิด เดี๋ยวมันต้องเกิด มาตรฐาน ในการทำ�งานต้องพยายามทำ�ตามที่โลกเขาทำ� ไม่งั้น ก็แข่งไม่ได้” อันที่จริง หากฟังบรรยงให้ดี ก็จะรู้สึกว่าเขาคง ไม่เพียงต้องการแค่ลงแข่งเท่านั้น แต่ต้องการชัยชนะ เลยด้วย “ทุกวันนี้ ทุกธุรกิจทีเ่ ราทำ�เรามุง่ สูค่ วามเป็น ทีส่ ดุ ของโลก อย่างเราทำ�ธุรกิจวานิชธนกิจ ภัทรก็ตอ้ ง เป็นวานิชธนกิจทีด่ ที ส่ี ดุ ในโลกสำ�หรับบริษทั ไหนก็ตาม ทีต่ อ้ งการทำ�ธุรกรรมทีเ่ กีย่ วกับวานิชธนกิจในประเทศไทย ยา้ํ ธุรกรรมในประเทศไทย ไม่ใช่ธรุ กรรมในโลก พวกผม

ไม่ไปแข่งกับ Goldman Sachs กับ JP Morgan ทีน่ วิ ยอร์ก แต่ถา้ เขามาเมืองไทย เขาเจอเราแน่นอน ที่เกียรตินาคินก็เหมือนกัน ต่อไปเราก็ต้องเป็นบริการ สินเชื่อเช่าซื้อที่ดีที่สุดในโลกสำ�หรับการเช่าซื้อ ในเมืองไทย” อย่างไรก็ตาม หากสังเกตความเห็นของบรรยง ในเรือ่ งต่างๆ แม้ไม่เกีย่ วกับธุรกิจหรือการเงิน เช่นเรือ่ ง ปฏิรปู รัฐวิสาหกิจ เรือ่ งต่อต้านคอร์รปั ชัน ก็จะพบว่าเขา ยังคงไม่เคยไปไกลจากแนวคิดของเรือ่ งทุนนิยมและ โลกาภิวตั น์ โดยเขาเชือ่ ว่าหากเราสามารถวางกลไกคาน และดุลในเรือ่ งต่างๆ ให้มพี ลวัตได้ในลักษณะเดียวกัน กับทีร่ ะบบตลาดใช้การคานกันระหว่างอุปสงค์และ อุปทาน เราจะสามารถพบกับคำ�ตอบได้โดยไม่ตอ้ ง กำ�หนดคำ�ตอบ ได้ความสมดุลโดยไม่ตอ้ งชีจ้ ดุ สมดุล เหมือนกับทีต่ ลาดควบคุมราคาสินค้าต่างๆ ได้โดยไม่ตอ้ ง คอยประกาศเพดานราคา “คำ�ทีผ่ มเกลียดมากทีส่ ดุ เลยก็คอื คำ�ว่า Balance คำ�ว่าจุดทีส่ มดุลอะไรพวกนี้ คำ�พวกนีใ้ ครจะเป็นคน ตัดสินได้ละ่ ว่ามันอยูต่ รงไหน เรากำ�หนดเองไม่ได้ สิง่ ทีเ่ รา ควรทำ�คือดูว่ากลไกต่างๆ ที่จะมาคานและดุลกันนั้น มันอยู่ครบหรือเปล่าต่างหาก เหมือนทุกวันนี้ต่อให้ ไม่มใี ครกำ�หนดว่าราคาต้องอยูต่ รงจุดสมดุล แต่มนั ก็อยูท่ ่ี จุดสมดุลของมันเอง ถ้ากลไกของ Demand/Supply หรือกลไกคานและดุลมันอยูค่ รบ เราไม่สามารถ คาดการณ์อนาคตได้ถกู ต้องทัง้ หมด ดังนัน้ สิง่ ทีด่ ที ส่ี ดุ คือวางกลไก วางกรอบ เพือ่ ให้สง่ิ ต่างๆ มันคลีค่ ลายไปใน ทิศทางทีเ่ ราต้องการ แต่ไม่ใช่ก�ำ หนดคำ�ตอบเบ็ดเสร็จ ทีเดียว มันจะกลายเป็น Deadlock แนวทางเรือ่ งการปฏิรปู ทีไ่ ปช่วยรัฐบาลทำ�อยูก่ เ็ ป็น ไปตามแนวนี้ คือเน้นสร้างกลไกให้มนั นำ�ไปสูส่ ง่ิ ที่ ถูกต้องได้ดว้ ยตัวของมันเอง เช่น ซูเปอร์บอร์ดเราทำ� เรือ่ งรวมศูนย์รฐั วิสาหกิจให้มาอยูใ่ ต้บรรษัทโฮลดิง้ แทน กระทรวง คนบอกเห็นด้วยบริหารแบบเอกชนดี รัฐวิสาหกิจจะได้ท�ำ กำ�ไรสักที แต่เตือนว่า “อย่าลืม บาลานซ์เรือ่ งกำ�ไรของรัฐวิสาหกิจกับเรือ่ งทางสังคม นะ” ผมว่ามันไม่ถกู จะให้ขดี เส้นตรงไหนล่ะว่ากำ�ไรแค่ ไหนบาลานซ์ แนวทางของซูเปอร์บอร์ดจึงเป็นว่าแยก หน้าทีซ่ ะ รัฐวิสาหกิจมีหน้าทีท่ �ำ กำ�ไรก็ท�ำ ไปอย่างเดียว ถ้ากลัวเอาเปรียบสังคม ก็ไปสร้างกลไก Regulator ขึน้ มา เดีย๋ วมันคานและดุลกันเอง แต่ไม่ใช่ให้ รัฐวิสาหกิจทำ�กำ�ไรด้วย ต้องรูด้ ว้ ยว่าตรงไหนเป็น บาลานซ์ มันเป็นไปได้ยาก ไม่ยง่ั ยืน แล้วก็กลายเป็น ข้อแก้ตวั ทีจ่ ะไม่ตอ้ งมีประสิทธิภาพไป เรือ่ งคอร์รปั ชันทีท่ �ำ ก็เหมือนกัน เราไม่คดิ ว่าหาคนดี มาอยูใ่ นตำ�แหน่งอย่างเดียวแล้วจบ เพราะมันมักจะ ไม่เป็นอย่างนัน้ หรือเป็นแค่ชว่ั คราว เราเลยพยายามจะ สร้างกลไกทีจ่ ะมาช่วยคานเรือ่ งคอร์รปั ชัน คือคอร์รปั ชัน เกิดได้มากเพราะคนทำ�ได้ประโยชน์ แต่คนเสียประโยชน์ ไม่รตู้ วั มันจึงไม่สมดุล หากจะให้สมดุลเราต้องทำ�ให้คน เสียประโยชน์รตู้ วั ให้ได้ เราก็เลยทำ�เรือ่ งความโปร่งใส ทำ�เรือ่ งการมีสว่ นร่วมของภาคประชาชนให้เข้มแข็งขึน้ แล้วเดีย๋ วมันก็คานกันเอง”

ทุกวันนี้ ทุกธุรกิจที่เราทำ� เรามุ่งสู่ความเป็นที่สุดของ โลก อย่างเราทำ�ธุรกิจวานิช ธนกิจ ภัทรก็ต้องเป็นวานิช ธนกิจที่ดีที่สุดในโลกสำ�หรับ บริษัทไหนก็ตามที่ต้องการทำ� ธุรกรรมที่เกี่ยวกับวานิชธนกิจ ในประเทศไทย... ทีเ่ กียรตินาคิน ก็เหมือนกัน ต่อไปเราก็ต้อง เป็นบริการสินเชื่อเช่าซื้อ ที่ดีที่สุดในโลกสำ�หรับการ เช่าซื้อในเมืองไทย

OPTIMISE | JULY 2015

17


optimum view

ผมพูดเสมอว่าองค์กรนี้ไม่มี Job Security ไม่มี ใครมีความมั่นคงในอาชีพ แม้แต่ตัวซีอีโอเอง ถ้าไม่มี ประโยชน์ก็เกษียณไปได้ เราต้องการ “ดีที่สุดในโลก” ในทุกธุรกิจที่เราทำ� เรารู้ว่าเราไม่มีทางบรรลุเป้านี้ แต่เราจะไม่หยุดพยายาม แนวคิดการสร้างสมดุลด้วยกลไกนี้ เป็นสิง่ ที่ บรรยงไม่เพียงแต่ใช้ส�ำ หรับการแก้ปญ ั หาระดับ ประเทศเท่านัน้ แม้ในระดับองค์กรเองบรรยงก็ใช้ แนวทางคล้ายๆ กัน “องค์กรส่วนใหญ่มกั พูดว่า “องค์กรต้องมีความ ยุตธิ รรมกับผูร้ ว่ มองค์กรทุกคน” แล้วก็ไม่รวู้ า่ แปลว่า อะไร คนให้กบ็ อกว่าตัวเองยุตธิ รรมแล้ว คนรับก็บอก ว่ายังไม่ยตุ ธิ รรม แต่ผมจะใช้คนละ Approach ผม จะสร้างองค์กรให้ทกุ คนมีโอกาสลุกขึน้ มาเรียกร้องได้ ออกเสียงได้ เป็นองค์กรทีเ่ ปิดให้มากๆ จะยุตธิ รรมหรือ ไม่ยตุ ธิ รรมไม่รลู้ ะ แต่ถา้ บรรยากาศมันทำ�ให้ทกุ คน มีสทิ ธิทจ่ี ะได้ท�ำ ได้ขวนขวาย ได้ออกเสียงในสิง่ ที่ ตัวเองคิดว่ามันไม่ถกู ไม่ตอ้ ง องค์กรมันก็จะปรับไปสู่ สิง่ ทีส่ มควร เมืองไทยเราคุน้ เคยแต่ระบบอุปถัมภ์ อยากได้ความยุตธิ รรม ก็จะต้องให้มใี ครสักคนเป็น ผูร้ กั ษาหรือผูม้ อบความยุตธิ รรมนัน้ แต่วธิ ขี องผมคือ ไม่มใี ครเป็นเจ้าภาพ อยากได้ความยุตธิ รรม ทุกคนก็ มีหน้าทีท่ ง้ั ให้และรับ เพือ่ ขับเคลือ่ นองค์กรไปสูจ่ ดุ นัน้ อย่างทีบ่ อก นีจ่ ะเหมือนกับระบบเศรษฐกิจแบบตลาด หรือประชาธิปไตย คือเป็นเรือ่ งทีใ่ ห้กลไกทัง้ หลาย มันมีสว่ นร่วมให้มากทีส่ ดุ แล้วมันก็จะสร้างสิง่ ทีส่ มดุล ขึน้ มา” บรรยงเชือ่ ว่ากลไกทีเ่ ปิดกว้างและนำ�ไปสูก่ าร ขัดเกลาตัวเองเช่นนี้ ไม่เพียงแต่หมุนให้องค์กรไปสูจ่ ดุ ที่ ดีขน้ึ เรือ่ ยๆ เท่านัน้ แต่ยงั ทำ�ให้องค์กรใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรมนุษย์ของตัวเองได้อย่างเต็มทีด่ ว้ ย “เรากำ�ลังพยายามสร้างสิง่ ทีเ่ รียกว่า Knowledge Working Environment นัน่ ก็คอื ให้มนุษย์ได้เอาสมอง ออกมาเต็มตามศักยภาพ องค์กรทีต่ ง้ั เป็นพีระมิด องค์กรมันจะถูกพัฒนาเท่ากับศักยภาพของคนอยู่ บนยอด เพราะคนอยูบ่ นยอดเป็นคนสัง่ ให้คนอืน่ ทำ� แต่สมัยนีเ้ ขาบอกว่า ทำ�ยังไงเพือ่ ทีจ่ ะให้องค์กรทัง้ องค์กรมันพัฒนาได้มากกว่าศักยภาพของคนทีอ่ ยู่ บนยอด คือให้คนทีอ่ ยูบ่ น ยอดพีระมิด มีหน้าที่ “สนับสนุน” มากกว่า “สัง่ ” ให้คนอืน่ ทำ� คนทีอ่ ยูบ่ น ยอดต้องเคารพว่าคนอืน่ เขาอาจมีในสิง่ ทีค่ ณ ุ ไม่มี ดังนัน้ คุณแค่คอยให้เขาพยายามทำ�งาน ตามความคิด ตามศักยภาพของเขา ไม่ใช่จ�ำ กัดให้เขาทำ�เฉพาะ ตามทีส่ ติปญ ั ญาคุณเห็นว่าดี จากนัน้ คุณแค่ชว่ ย 18

OPTIMISE | JULY 2015

เข้ามาสนับสนุนตามทีเ่ ขาต้องการ การบริหารของผม เลยเป็นเหมือนพีระมิดหัวกลับ คือทุกคนทำ�ไป ถึงเวลา อยากให้ชว่ ยอะไรก็คอ่ ยสัง่ ลงมาทีผ่ ม อันนีม้ นั จะขยาย Capacity, Capability, Boundary ทุกอย่าง” อันทีจ่ ริงการพยายามทำ�สิง่ ต่างๆ เต็มตามศักยภาพ มากกว่าสิง่ ทีถ่ กู ทีส่ ง่ั คือสิง่ ทีบ่ รรยงบอกว่าเป็นสิง่ ที่ ทำ�ให้เขาเดินทางมาถึงจุดนี้ “ตอนแรกเขาจ้างมาทำ�เราก็ท�ำ เขาบอกให้ท�ำ ให้ สำ�เร็จให้ได้มากทีส่ ดุ ก็พยายามทำ�ให้ได้มากทีส่ ดุ แล้วก็พยายามเสือก ถ้าถามว่าผมเติบโตมาได้ยงั ไง อย่างหนึง่ ก็คอื “เสือก” เสือกแปลว่า ไปทำ�เรือ่ งทีไ่ ม่ใช่ หน้าที่ แต่ถา้ ผมจะเสือกในเรือ่ งของคุณ ผมจะเสือก ให้คณ ุ ชอบ ผมชอบพูดว่าอย่างนี้ “เราเสือก แต่ให้คน รูส้ กึ ว่าเราเซิรฟ์ ” ซึง่ พอเสือกปับ๊ มันก็ได้ประโยชน์อะไร หลายอย่าง ได้ความรู้ ได้เห็นอะไรมากกว่าเดิมอีกเยอะ มันทำ�ให้เราพัฒนา” เมือ่ ถามว่าในเมือ่ องค์กรมีมาตรฐานสูงและมุง่ เข้า สูแ่ ข่งขันเข้มข้นขนาดนี้ พนักงานจะไม่กดดันหรอกหรือ บรรยงรีบตอบว่า “แน่นอน ผมพูดเสมอว่าองค์กรนีไ้ ม่มี Job Security ไม่มใี ครมีความมัน่ คงในอาชีพ แม้แต่ตวั ซีอโี อเอง ถ้าไม่มปี ระโยชน์กเ็ กษียณไปได้ เราต้องการ “ดีทส่ี ดุ ในโลก” ในทุกธุรกิจทีเ่ ราทำ� เรารูว้ า่ เราไม่มที าง บรรลุเป้านี้ แต่เราจะไม่หยุดพยายาม ดังนัน้ ทุกคนต้อง เรียนรูแ้ ละขวนขวายตลอดไป ทัง้ นีท้ ง้ั นัน้ ทัศนคติเป็น เรือ่ งสำ�คัญทีส่ ดุ เรือ่ งคนเก่ง การศึกษาดีๆ นัน่ เรือ่ งหนึง่ นะ เพราะเท่าทีผ่ มมีประสบการณ์ คนธรรมดาๆ นีแ่ หละ แต่เปิดโลกทัศน์ใหม่ เปิดโอกาสใหม่ สร้าง แรงจูงใจใหม่ มันก็ท�ำ ขึน้ มาได้” สัมภาษณ์ถงึ ตอนนี้ เลขาฯ ของบรรยงก็เข้ามา ตามว่าแขกทีน่ ดั ประชุมไว้มาถึงแล้ว “ผมขอตัวไปทำ�งานก่อนนะครับ ประเดีย๋ วจะถูก เชิญให้ออก”

OPTIMISE | JULY 2015

19


FULL FLAVORS

Chef’s Table อีกขัน้ ของการกินดืม่ เมือ่ เชฟตัง้ โต๊ะ พิเศษเพือ่ รับรองนักชิมถึงริมครัว แม้ซอยนราธิวาส 17 จะเป็นซอยเงียบๆ ไม่คอ่ ยมีรถแล่นผ่าน และมีบรรยากาศห่างไกลจากสีสนั และความพลุกพล่านของย่าน สาทรซึง่ อยูต่ ดิ กัน กระนัน้ ในหมูน่ กั ชิมผูพ้ ถิ พี ถิ นั ต่างรูก้ นั ดีวา่ ซอย เล็กๆ แห่งนีเ้ อง เป็นทีต่ ง้ั ของ Sensi ร้านอาหารเมดิเตอร์เรเนียนหรู ติดระดับต้นๆ ของกรุงเทพฯ ซึง่ เพียงเปิดตัวมาได้ปกี ว่า ก็กลับเป็น ทีก่ ล่าวขานถึงฝีมอื อันยอดเยีย่ มของคริสเตียน มาร์เตน่า เชฟและ เจ้าของร้านชาวอิตาเลียน ผูน้ ำ�พาทัง้ รสชาติและกลวิธกี ารปรุงที่ ทันสมัยมาให้ชาวกรุงเทพฯ ได้ลม้ิ ลอง ร้าน Sensi ตัง้ อยูใ่ นบ้านเก่า ทีต่ กแต่งใหม่อย่างอบอุน่ ด้วยพืน้ ไม้ลายก้างปลาและเก้าอีน้ วมหนังสีลอ้ กัน แต่มมี มุ หนึง่ ของร้านทีใ่ ห้ ความรูส้ กึ อบอุน่ มากเป็นพิเศษ นัน่ คือบริเวณหน้าห้องครัวทีม่ โี ต๊ะไม้ ขนาดเขือ่ งตัง้ อยูต่ รงกลาง ไม่ผดิ อะไรกับห้องกินข้าวของครอบครัว ใหญ่ๆ สักครอบครัวหนึง่ ยิง่ กว่านัน้ เมือ่ นัง่ ลงบนโต๊ะนี้ ทุกๆ คนจะ สามารถมองลอดเข้าไปในครัว ซึง่ เชฟและลูกมือกำ�ลังสาละวนอยู่ กับการปรุงอาหาร ชวนให้นกึ ถึงบรรยากาศการตัง้ ตารอเมนูเด็ดของ แม่เมือ่ ยามเป็นเด็กอย่างไรอย่างนัน้ ที่ “โต๊ะ” นี้ เมือ่ ทุกคนนัง่ เรียบร้อยแล้ว เราพบว่าไม่มพี นักงาน เข้ามาหยิบยืน่ เมนูอย่างเช่นร้านอาหารทัว่ ไป จะมีกเ็ พียงคลาร่า ภรรยาร่างสูงโปร่งชาวฝรัง่ เศสของเชฟคริสเตียน ซึง่ เข้ามาทักทาย ลูกค้าอย่างเป็นกันเอง พร้อมทัง้ ถามไถ่ถงึ อาหารทีเ่ ราอาจจะแพ้ หรือประเภทของเนือ้ ทีเ่ ราต้องการสำ�หรับเป็นอาหารจานหลัก แต่ รายละเอียดอืน่ ๆ นอกเหนือจากนัน้ ยังถูกอุบไว้เป็นความลับ เรียกได้ ว่าทีโ่ ต๊ะนี้ เราอาจรูไ้ ด้แต่วตั ถุดบิ ส่วนความอัศจรรย์อน่ื ๆ เป็นเรือ่ งที่ จะเกิดขึน้ ที่ “โต๊ะ” เลยเท่านัน้ และเราก็ได้อศั จรรย์สมใจ คํา่ คืนนัน้ เชฟคริสเตียนให้เรา ลิม้ ลองอาหารเมดิเตอร์เรเนียน ทีถ่ กู เปลีย่ นรูปลักษณ์ให้หวือหวา แปลกตา ด้วยวิธกี ารปรุงอาหารแบบเล่นกับปฏิกริ ยิ าเคมีและ อุปกรณ์ครัวไฮเทค อย่างทีเ่ รียกกันว่าการปรุงอาหารแบบโมเลกุล (Molecular Gastronomy) ชีส Stracciatella หนึบนุม่ จากเมือง Andria ประเทศอิตาลี ถูกนำ�มาจับคูก่ บั นํา้ ส้มบาลซามิคซึง่ ต้มในนํา้ มันให้กลายเป็นกระเปาะเล็กๆ รสจัดจ้าน เข้ากันได้เป็นอย่างดี ใน 20

OPTIMISE | JULY 2015

02

เมือ่ ใดทีจ่ งั หวะความเร่งร้อนใน ครัวพอจะผ่อนคลาย เขาก็จะ รีบออกจากครัวมาอธิบายราย ละเอียดของอาหารแต่ละจาน ด้วยความกระตือรือร้นของผูท้ ่ี แสวงหาความอร่อยเป็นอาชีพ

ขณะทีเ่ นือ้ แกะเมือง Normandy หรือนกพิราบเมือง Bresse ประเทศฝรัง่ เศส ถูกขับให้สดชืน่ ด้วยรสเปรีย้ วหวานแปลกลิน้ ทีม่ าในรูปของไอศกรีมซอร์เบต์รส มะเขือเทศ และมูสแอปเปิล้ แม้กระทัง่ เมนูตบท้ายก็ยงั คงความลึกลับไม่คลาย เชฟคริสเตียนซ่อนของหวานไว้ในโดมลูกบอลช็อคโกแลตทึบระหว่างทีย่ กมันออก มาจากครัว ก่อนทีจ่ ะมาเฉลยต่อหน้าเราบนโต๊ะ ด้วยการราดช็อตกาแฟร้อนจัด ลงบนลูกบอลเพือ่ ละลายมันลงเป็นนํา้ ซอส และเผยให้เห็นทีรามิสรุ สละมุนทีซ่ อ่ น อยูภ่ ายใน ด้วยความยุง่ ยากซับซ้อนของอาหารแต่ละจาน ไม่แปลกทีต่ ลอดมือ้ เราจะ มองเห็นเชฟคริสเตียนขมักเขม้นอยูก่ บั การปรุงอาหารไม่ผดิ อะไรกับวาทยกรกลาง คอนเสิรต์ กระนัน้ ก็ตาม ดูเหมือนเมือ่ ใดทีจ่ งั หวะความเร่งร้อนในครัวพอจะผ่อน คลาย เขาก็จะรีบออกจากครัวมาทีโ่ ต๊ะของเราเพือ่ พูดคุยและอธิบายรายละเอียด ของอาหารแต่ละจานด้วยความกระตือรือร้นของผูท้ แ่ี สวงหาความอร่อยเป็นอาชีพ นีก่ ระมัง คือความพิเศษของการนัง่ กินอาหาร ไม่ใช่แค่ทโ่ี ต๊ะธรรมดา แต่เป็นการกินอาหารที่ “โต๊ะของเชฟ” หรือ Chef’s Table

จากครอบครัวสูล่ กู ค้า

01

เว็บไซต์ Foodtimeline.org ซึ่งรวบรวมประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมการ รับประทานอาหารทั่วโลก ระบุว่า Chef’s Table นั้นมีจุดเริ่มต้นในยุโรปเมื่อร้อย กว่าปีก่อน โดยในเวลานั้น Chef’s Table ภายในร้านอาหารเป็นเพียงการเปิด ครัวให้พนักงาน หรือเพื่อนและครอบครัว ได้เข้ามารับประทานอาหารร่วมกัน หลังจากที่ทำ�งานหนักมาทั้งวันเท่านั้น แต่ต่อมา กระแสความนิยมและความ พิเศษของการบริการแบบ Chef’s Table ได้เพิ่มมากขึ้นในยุค ปี 70 และ ปี 80 เมื่อโรงแรมระดับห้าดาวในสหรัฐอเมริกา ถือเป็นธรรมเนียมที่จะเชิญดาราหรือ นักการเมืองเข้ามารับประทานอาหารที่โต๊ะในครัว เพื่อจะแนะนำ�เมนูพิเศษ หรือเชฟคนใหม่ของโรงแรม โดยเชฟที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำ�ให้ Chef’s Table เป็นที่ นิยมไปทั่วสหรัฐอเมริกาในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 คือ ชาร์ลี ทรอทเทอร์ แห่ง ร้าน Charlie Trotter’s เมื่อเขาเริ่มเปิดให้บริการ Chef’s Table ที่ร้านในเมือง Chicago ในปี 1987 สำ�หรับประเทศไทยนัน้ การให้บริการอาหารแบบ Chef’s Table เพิง่ จะได้เริม่ ขึน้ เมือ่ 3-4 ปีทผ่ี า่ นมา โดยปัจจุบนั มีรา้ นอาหารทีใ่ ห้บริการนีใ้ นกรุงเทพฯ

03 01 แอคร์ เ ว เฟรราร์ แห่ ง ร้ า นอาหาร ฝรั ่ ง เศส Le Beaulieu 02 ลู ก ค้ า นั ่ ง พู ด คุ ย กั น อย่ า งออกรส บนโต๊ะ Chef’s Table ที่ Sensi 03 ฟั ว กราส์ ใ นซุ ป ทรั ฟ เฟิ ล สุ ด ละเมี ย ดของ Sensi

OPTIMISE | JULY 2015

21


FULL FLAVORS ไม่กร่ี า้ น และเกือบทุกร้านเป็นร้านอาหารตะวันตก อย่างไร ก็ตาม ร้านอาหารร้านแรกในประเทศไทยทีเ่ ปิดให้บริการ Chef’s Table กลับเป็นร้านอาหารไทย และเชฟคนแรกทีใ่ ห้บริการนี้ คือเชฟวิชติ มะกุระ อดีตเชฟแห่งร้านอาหาร ศาลาริมนํา้ ของ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล ร้านเดียวในกรุงเทพฯ ทีพ่ าลูกค้า เข้าไปลิม้ ลองอาหารถึงในห้องครัว ด้วยความทีเ่ ชฟวิชติ ต้องเดินทางเป็นประจำ�ในนามของ โรงแรม เขาจึงมีโอกาสได้รจู้ กั กับ Chef’s Table ครัง้ แรกใน ครัวของ Mandarin Oriental du Rhone ในกรุงเจนีวา ประเทศ สวิสเซอร์แลนด์ และ Mandarin Oriental Hyde Park ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ “เขาเข้ามาตัง้ โต๊ะกลมในครัวเลยแล้วก็บอกผมว่า มีแขก พิเศษ เคลียร์บริเวณพืน้ ที่ Room Service หน้าห้องครัวทีเ่ ต็ม ไปด้วยรถเข็นอาหารออก เอาโต๊ะมาตัง้ ให้ผมทำ�อาหารแล้ว เสิรฟ์ แขกตรงนี้ เราก็โอเค ทำ�เลย ทำ�อาหารออกมาแล้วก็เสิรฟ์ อธิบาย เสิรฟ์ อธิบาย” เชฟวิชติ เล่า ความประทับใจครัง้ นัน้ ทำ�ให้เชฟวิชติ ตัดสินใจนำ�แนวคิด Chef’s Table กลับมาใช้ทร่ี า้ นศาลาริมนํา้ ซึง่ ปรากฏว่าได้รบั ความนิยมอย่างสูงจากทัง้ คนไทยและต่างชาติ เพราะแม้อาหาร รสเลิศจะไม่ใช่ของแปลกใหม่สำ�หรับร้านศาลาริมนํา้ แต่การทีม่ ี เชฟออกมาอธิบายกระบวนวิธกี ารทำ� ตลอดจนแหล่งทีม่ าของ วัตถุดบิ อย่างเช่นข้าวจากจังหวัดไหน หรือกุง้ แหล่งใด ช่วยเพิม่ อรรถรสการกินให้กบั แขกได้อย่างวิเศษ เรียกได้วา่ เมือ่ เสร็จเมนู 9 คอร์สของเชฟวิชติ แล้ว แขกหลายคนอาจเพลิดเพลินถึงกับลืม ว่าทุกคนไม่ได้กำ�ลังอยูท่ โ่ี ต๊ะริมแม่นา้ํ เจ้าพระยาแสนโรแมนติก ของร้านศาลาริมนํา้ หากแต่นง่ั อยูบ่ นโต๊ะสแตนเลสแคบๆ ใน ครัวของร้านซึง่ เป็นอาณาจักรของเชฟวิชติ เอง หลังจากทำ�งานทีร่ า้ นศาลาริมนํา้ มาได้ 28 ปี เชฟวิชติ ก็ออก มาตัง้ ร้านอาหารชือ่ สัน้ ๆ ว่า “Khao” ซึง่ เปิดให้บริการเมือ่ กลาง เดือนมกราคมของปีน้ี โดยเช่นเดียวกับทีเ่ ขาเคยทำ�สำ�เร็จมาแล้ว ร้าน Khao นำ�เสนออาหารไทยในรูปแบบ Chef’s Table แต่ท่ี

ต่างออกไปก็คอื ทีน่ ่ี Chef’s Table ไม่ได้เป็นแค่บริการพิเศษของ ร้าน แต่เป็นบริการเพียงอย่างเดียว เพราะในแต่ละคํา่ คืน เชฟ วิชติ จะทำ�อาหารให้ลกู ค้าเพียง 4-12 คน ซึง่ จะมานัง่ รวมกัน ทีโ่ ต๊ะยาวทีม่ อี ยูเ่ พียงโต๊ะเดียวกลางร้าน โดยห่างไปเพียงไม่ก่ี ก้าวก็คอื ครัวเปิด ซึง่ เป็นพืน้ ทีส่ ำ�หรับให้เชฟวิชติ สร้างสรรค์เมนู ประจำ�วัน ทุกคนทีเ่ ข้ามาเห็นโต๊ะ ดูเหมือนจะรับทราบไปโดย ปริยายว่าสำ�หรับทีน่ ่ี ห้องครัวก็คอื ร้าน และร้านก็คอื ห้องครัว และนัน่ ก็คอื เครือ่ งแสดงความเอาจริงกับ Chef’s Table ของเชฟวิชติ ได้เป็นอย่างดี เพราะเชฟวิชติ ไม่เป็นเพียงแต่เชฟคน แรกทีท่ ำ�อาหารไทยในรูปแบบ Chef’s Table แต่ปจั จุบนั ยังไม่มี เชฟไทย หรือร้านอาหารไทยอืน่ ใดทีท่ ำ� Chef’s Table นอกจาก เชฟวิชติ ทีร่ า้ น Khao เลย

การทีม่ เี ชฟออกมาอธิบายกระบวนวิธกี ารทำ� ตลอดจนแหล่งทีม่ าของวัตถุดบิ อย่างเช่นข้าวจาก จังหวัดไหน หรือกุง้ แหล่งใด ช่วยเพิม่ อรรถรส ในการกินให้กบั แขกได้อย่างวิเศษ

ใกล้ชดิ สนิทเชฟ

ถึงแม้ว่า Chef’s Table จะกำ�เนิดมาจากยุโรป แต่ วัฒนธรรมการรับประทานอาหารแบบไทยหรือจีน ที่นำ�สำ�รับ มาวางกลางโต๊ะเพื่อแบ่งปันกันนั้น ก็มีอิทธิพลต่อ Chef’s Table ของเชฟต่างชาติในประเทศไทยไม่น้อย กระทั่งเชฟ แอคร์เว เฟรราร์ เจ้าของร้านอาหารฝรัง่ เศส Le Beaulieu ซึง่ ให้บริการ Chef’s Table มาเป็นเวลากว่าสองปีแล้ว ก็นำ�วิธี รับประทานอาหารแบบนีม้ าใช้กบั อาหารฝรัง่ เศสทีป่ กติ มีธรรมเนียมจานใครจานมันเคร่งครัด ดังนัน้ จากเดิมทีล่ กู ค้า แต่ละคนจะได้อาหารคนละจานในแต่ละคอร์ส เชฟแอคร์เวก็ เปลีย่ นมาเป็นการนำ�อาหารทานเล่น 3-5 อย่าง และอาหารจาน หลักอีก 5-6 อย่าง มาวางรวมกันกลางโต๊ะเพือ่ ให้ลกู ค้าได้แบ่ง กันรับประทานอย่างเป็นกันเอง ความเป็นกันเองนีเ่ องทีเ่ ป็นอีกส่วนประกอบสำ�คัญของการ รับประทานอาหารแบบ Chef’s Table โดยเชฟแต่ละคนจะตี โจทย์ความเป็นกันเอง ความใกล้ชดิ กับเชฟและกระบวนการ ทำ�อาหารนีแ้ ตกต่างออกไป เช่น เชฟแอคร์เวลดการบริการเติม นํา้ โดยพนักงานเสิรฟ์ เพือ่ ให้ลกู ค้าได้รบั ความเป็นส่วนตัวมาก

Essentials

05

06 04 เชฟวิ ช ิ ต บรรจงแต่ ง จาน อาหารที ่ ร ้ า น Khao 05 Seasonal Salad ของ ร้ า น Le Beaulieu 06 เนื ้ อ แกะในซอสมะขามฝี ม ื อ เชฟวิ ช ิ ต

04 22

OPTIMISE | JULY 2015

07 เชฟคริ ส เตี ย นแห่ ง Sensi

07 ขึน้ แต่จะเพิม่ ปฏิสมั พันธ์ระหว่างคนกินและคนปรุงโดยออกมา เสิรฟ์ และอธิบายอาหารแต่ละจานกับลูกค้าด้วยตนเอง หรือ ในขณะที่ Le Beaulieu มีกระจกกัน้ ระหว่างครัวกับห้องอาหาร Chef’s Table เพือ่ ไม่ให้กลิน่ และเสียงไปรบกวนลูกค้า Sensi กลับจงใจไม่นำ�กระจกมากัน้ ระหว่างครัวและห้องอาหาร เพือ่ ให้ ลูกค้าได้สมั ผัสบรรยากาศของครัวอย่างแท้จริง “ผมไม่ชอบเรียลลิต้ี โชว์ทเ่ี กีย่ วกับการทำ�อาหารเลย มัน เหมือนจัดฉากและดูไม่สมจริง ในวันทีร่ า้ นยุง่ จริงๆ ครัวจะชุลมุน วุน่ วายกว่าทีเ่ ห็นในโทรทัศน์มาก ซึง่ ลูกค้า Chef’s Table จะมี โอกาสได้เห็นบรรยากาศในวันทีร่ า้ นยุง่ มากๆ อย่างนี้ ได้เห็น ถึงความเครียด อารมณ์ขน้ึ ๆ ลงๆ บางทีผมก็โมโหลูกมือผม บางทีเราก็หวั เราะกัน บางทีผมก็ High Five พวกเขา” เชฟคริสเตียนเล่าอย่างอารมณ์ดี อย่างไรก็ตาม สำ�หรับเชฟบางคน ความเป็นกันเองนัน้ ไม่ ได้จำ�กัดว่าจะต้องหมายถึงการกินแบบแชร์สำ�รับกันเท่านัน้ เช่น เชฟวิชติ ซึง่ ยืนยันว่าอาหารทีเ่ ต็มไปด้วยรายละเอียดอย่างเช่น อาหารบน Chef’s Table นัน้ จะโดดเด่นขึน้ อีกมากเมือ่ ได้รบั การเสิรฟ์ ทีละลำ�ดับๆ เป็นคอร์สแบบตะวันตก “เราอย่าไปมองว่าอาหารไทยจะต้องแชร์กนั อย่างเดี ยว ผม ก็แชร์มาเยอะแล้ว แล้วใครๆ ก็ไม่ได้ลม้ิ ลองอะไรเป็นจริงเป็นจัง

ตักอันนีฉ้ นั ไม่ชอบ ก็ไม่กนิ แล้ว แทนทีจ่ ะอยูก่ บั มัน ศึกษามัน นี่ มันสวยนะ พอกินไปมันอาจจะอร่อยนะ อาหารไทยมันทำ�ได้ มากกว่าแชร์เยอะ” เชฟวิชติ กล่าวอย่างหนักแน่น

ห้องทดลองแสนอร่อย

ในวัฒนธรรมอาหารของญีป่ นุ่ มีวลีหนึง่ ทีม่ กั ใช้กบั ร้าน ซูชิ นัน่ คือโอมากาเสะแปลว่า “ฉันเชือ่ ใจคุณ” ซึง่ หมายถึง ธรรมเนียมทีล่ กู ค้ายกให้เชฟเป็นคนตัดสินใจว่าจะทำ�ซูชแิ บบใด ให้รบั ประทาน แทนทีจ่ ะสัง่ เอาจากเมนู โดยโอมากาเสะทีม่ ชี อ่ื เสียงทีส่ ดุ ในโลกอยูท่ ร่ี า้ น Sukibayashi Jiro ของ จิโร่ โอโนะ ซึง่ ได้รบั ดาวมิชลินถึงสามดวง และเป็นต้นกำ�เนิดของภาพยนตร์ สารคดีอาหารเรือ่ งเยีย่ ม “Jiro Dreams of Sushi” ปัจจุบนั ในกรุงเทพฯ ร้านซูชใิ นรูปแบบโอมากาเสะได้รบั ความนิยมมากขึน้ เรือ่ ยๆ อาทิ ร้าน Sushi Hinata ที่ Central Embassy และร้าน Fillets ในซอยหลังสวน แต่นอกเหนือจาก ร้านอาหารญีป่ นุ่ อีกสถานทีห่ นึง่ ทีพ่ บว่าวัฒนธรรมการกินแบบ โอมากาเสะนัน้ เหมาะกับรูปแบบอาหารของร้านก็คอื ร้านทีม่ ี Chef’s Table เช่น ร้าน Water Library Thonglor แม้รา้ นนีจ้ ะเพิง่ ปิดบริการไปเมือ่ เดือนกุมภาพันธ์ทผ่ี า่ น มา แต่เมือ่ ยังเปิดกิจการอยูน่ น้ั Water Library Thonglor จัด

Sensi ราคา: ลูกค้าสามารถเลือก ทาน Chef’s Table ได้จากเมนู A la carte ในราคาปกติ หรือ จะเลือกทานเป็นคอร์ส 1. เมนู 5 คอร์ส ราคา 1,890 บาท++ ต่อคน 2. เมนู 8 คอร์ส ราคา 2,690 บาท++ ต่อคน

ทีอ่ ยู่ 1040 นราธิวาสราช นครินทร์ ซอย 17 แยก 5 เขตสาทร โทร. 02-117-1618 www.sensibangkok.com Khao ราคา: มี 3 แบบให้เลือกจาก 3 เมนู

1. เมนูเมล็ดข้าว 6 คอร์ส ราคา 4,990 บาท++ ต่อคน 2. เมนูตน้ ข้าว 8 คอร์ส ราคา 7,500 บาท++ ต่อคน 3. เมนูขา้ ว 10 คอร์ส ราคา 9,900 บาท++ ต่อคน ทีอ่ ยู่ 64 ถนนสุขมุ วิท ซอย 51 โทร. 098-829-8878 www.fb.com/khaogroup OPTIMISE | JULY 2015

23


FULL FLAVORS เป็นร้านทีน่ ำ�แนวคิดโอมากาเสะมาใช้อย่างเต็มทีแ่ ละ บางทีอาจมากกว่าต้นฉบับเสียด้วย ลูกค้าทีน่ จ่ี ะได้นง่ั ที่ เคาน์เตอร์เหมือนกับทีซ่ ชู บิ าร์ เพียงแต่แทนทีเ่ บือ้ งหลัง เคาน์เตอร์ จะเป็นพ่อครัวเพียงหนึง่ หรือสองคน ก็กลับ เป็น Line cooks หรือพ่อครัวผูช้ ว่ ยยืนเรียงกันเป็นหน้า กระดาน เพราะหนึง่ พ่อครัวผูช้ ว่ ยทีน่ จ่ี ะบริการลูกค้าเพียง สองคนเท่านัน้ ซึง่ นัน่ หมายถึงหน้าทีใ่ นการตกแต่งจาน เสิรฟ์ และอธิบายอาหารแต่ละจานให้กบั ลูกค้าอย่างไม่ ให้ขาดตกบกพร่อง ยิง่ กว่านัน้ ด้วยความทีอ่ าหารของ Water Library Thonglor ให้ความสำ�คัญกับเทคนิคการ ปรุงทีเ่ หนือชัน้ และการตกแต่งจานอย่างละเอียดบรรจง การได้รบั ประทานอาหารภายใต้การดูแลของพ่อครัวที่ นี่ จึงน่าหฤหรรษ์ไม่ตา่ งอะไรกับการชมการแสดงทีถ่ กู ฝึก ซ้อมมาอย่างดีและพร้อมเพรียง นอกจากที่ Water Library Thonglor แล้ว กลิน่ อาย โอมากาเสะยังสามารถพบได้ใน Chef’s Table ของร้าน Sensi ร้าน Le Beaulieu และ ร้าน Khao เพราะทุกแห่ง ทีก่ ล่าวมา เชฟจะเป็นคนตัดสินใจว่าลูกค้าจะได้ทาน อะไรในวันนัน้ โดยเชฟทีเ่ ลือกมาทำ� Chef’s Table ต่าง พูดตรงกันว่า พวกเขาไม่เพียงต้องการสร้างประสบการณ์ ใหม่ให้กบั ลูกค้าผ่านรูปแบบการเสิรฟ์ อาหารทีแ่ ตกต่าง ออกไป แต่ยงั ต้องการท้าทายฝีมอื การทำ�อาหารของตัว เอง ด้วยการทดลองกับวัตถุดบิ และรสชาติแปลกใหม่ ยกตัวอย่างเช่นร้าน Khao ซึง่ ปกติจะใช้วตั ถุดบิ เดียว กับ Yuutaro ร้านญีป่ นุ่ ระดับหรูในละแวกใกล้กนั แต่เชฟวิชติ ก็จะท้าทายตัวเอง โดยพยายาม “กล่อม” ให้รสชาติของวัตถุดบิ ต่างชาติเหล่านัน้ มารวมกันแสดง ความเป็นไทยแท้ๆ ให้ได้ เขาจึงนำ�สเปิรม์ ปลาคอด ทอดกรอบมาใส่รวมกับยำ�ถัว่ พลู นำ�ปลาชูโตโรมาคลุก กับนํา้ ส้มตำ� นำ�หอยเชลล์มาทำ�เป็นห่อหมก ส่วน ของหวาน เชฟนำ�เกาลัดและถัว่ แดงมาสอดใส้ถว่ั แปบ

สิง่ สำ�คัญบน “โต๊ะของเชฟ” ไม่ใช่แค่รสชาติ หรือความเลอเลิศของ วัตถุดบิ เพียงอย่างเดียว หากแต่คอื การให้ลกู ค้า ได้สมั ผัสถึงความพิเศษ จากการได้มานัง่ อยูบ่ นโต๊ะ ในครัว 08 Chef’s Table เพี ย ง โต๊ ะ เดี ย วในร้ า น Khao ตั ้ ง อยู ่ ห น้ า ครั ว พอดี

24

OPTIMISE | JULY 2015

หรือนำ�มันเทศญีป่ นุ่ มาทำ�ขนมหม้อแกงได้อย่าง แนบเนียน

รสชาติทย่ี ง่ั ยืน

ในชัว่ ระยะเวลาเพียงสองปีกว่า บริการ Chef’s Table ของร้านอาหารในกรุงเทพฯ มีทง้ั ทีป่ ระสบความสำ�เร็จและ ทีล่ ม้ เหลว ร้านอาหารทีป่ ระสบความสำ�เร็จกับ Chef’s Table มักเป็นร้านของเชฟผูม้ สี ไตล์ชดั เจนและเป็นตัว ของตัวเอง เพราะเชฟเหล่านี้ ไม่เพียงได้เคีย่ วกรำ�ฝึกฝน แสวงหา “ทาง” ของตนมาอย่างยาวนาน แต่ยงั ได้สร้างชือ่ และสร้างกลุม่ ลูกค้าประจำ�ของตัวเองได้ไม่นอ้ ยแล้ว กระนัน้ ความเป็นตัวของตัวเองของเชฟ หรือแนวคิด ให้ลกู ค้าเชือ่ ใจเชฟแบบโอมากาเสะ ก็ไม่ได้งา่ ยเสมอ ไป เช่นเชฟไฮคาล โจฮาริ แห่ง Water Library ทีพ่ บว่า ความรูส้ กึ สบายๆ ทีค่ นมักพกติดตัวไปยามออกมากิน ข้าวนอกบ้านนัน้ ออกจะท้าทายการบริการแบบ Chef’s Table อยูบ่ า้ ง เดิมทีเดียว เชฟไฮคาลต้องการ Chef’s Table ของ ตัวเอง มีความเคร่งครัดสักหน่อย เช่น เมือ่ ลูกค้าจองทีน่ ง่ั ล่วงหน้าแล้ว ทางร้านก็ตอ้ งการให้ลกู ค้าอ่านเมนูทท่ี าง ร้านส่งไปให้ทางอีเมล์และตอบกลับมาว่าไม่สามารถรับ ประทานอะไรได้ เพือ่ ทีท่ างร้านจะได้ปรับเปลีย่ นเมนูให้ ลูกค้าได้กอ่ น อีกทัง้ ลูกค้าต้องมาถึงตรงเวลา รับประทาน ทุกคอร์สพร้อมกัน ฯลฯ แต่เมือ่ ทดลองเปิดร้านได้ไม่นาน เชฟไฮคาลก็พบว่าแนวทางนี้ ยากจะเป็นไปได้ในทาง ปฏิบตั ิ เพราะหลายครัง้ การจราจรในกรุงเทพฯ ทำ�ให้ ลูกค้าต้องมาสายหรือแม้แต่ยกเลิกการจอง และบางครัง้ ลูกค้านักธุรกิจก็ยงุ่ เกินกว่าจะมีเวลาเปิดเลือกเมนูกอ่ น วันจองนานๆ ได้ และการทีบ่ ริการ Chef’s Table มักมี ราคาสูงอย่างยิง่ ลูกค้าทุกคนย่อมคาดหวังว่า มาแล้วจะ ไม่ถกู บังคับจนหมดสนุก “การทานอาหารทีน่ เ่ี ปรียบเสมือนการเดินทางทีไ่ ด้ ถูกออกแบบมาแล้วสำ�หรับคุณ ตอนแรกผมอยากทำ� เหมือนกับทีร่ า้ นอาหารในยุโรปทำ�กัน แต่ในทีส่ ดุ เราก็รวู้ า่ มันยังเป็นไปไม่ได้ทง้ั หมด” เชฟไฮคาลกล่าว

ด้วยเหตุน้ี Water Library Thonglor จึงได้ปรับเปลีย่ น กฎของร้านหลายกฎตลอดระยะเวลา 3 ปี กฎการจองโต๊ะ ล่วงหน้าในทีส่ ดุ ก็ตอ้ งยกเลิกไป และเมือ่ เชฟไฮคาลและ ทีมงานย้ายไปทีร่ า้ นอีกแห่งหนึง่ ในเครือ Water Library การบริการก็ถกู เปลีย่ นให้กลับเป็นการให้ลกู ค้าสัง่ อาหาร จากเมนูแบบปกติแทน เพือ่ ให้เข้ากับ “จังหวะ” ของคนทีน่ ่ี “ปัญหาใหญ่ของเชฟคือ Ego คุณจะยืนยันว่าคุณ จะให้บริการในแบบทีค่ ณ ุ ต้องการอย่างเดียวไม่ได้ ใน เมืองไทยนี่ ผมว่าคุณต้องยืดหยุน่ ได้ คุณต้องพบกับลูกค้า ครึง่ ทาง” เชฟไฮคาลอธิบาย นอกจากนัน้ เขายังมองว่า Chef’s Table ในไทยอาจอยูต่ อ่ ไปได้อกี ไม่นานเนือ่ งจาก ลูกค้ากลุม่ เป้าหมาย กล่าวคือกลุม่ คนทีม่ รี ายได้เหลือ มากๆ นัน้ เป็นกลุม่ คนทีม่ จี ำ�นวนไม่มากนัก ซึง่ ในทีส่ ดุ พวก เขาก็จะเบือ่ กับการให้บริการแบบนีแ้ ละเริม่ เสาะหาหรือ เรียกร้องวิธกี ารรับประทานแบบใหม่ อย่างไรก็ตาม มีบริการ Chef’s Table ของอีกหลาย ร้าน ทีป่ รับตัวเข้ากับจังหวะสบายๆ ของทีน่ ไ่ี ด้เป็นอย่างดี เช่นที่ Sensi ซึง่ ลูกค้าทีม่ าอุดหนุน Chef’s Table ทุกสัปดาห์เป็นครอบครัวคนไทย จนดูเหมือนว่า ร้านที่ ประสบความสำ�เร็จกับการทำ� Chef’s Table ทีน่ ่ี ก็คอื ร้าน ทีม่ องออกว่าสิง่ สำ�คัญบน “โต๊ะของเชฟ” นัน้ ไม่ใช่ แค่ รสชาติของอาหารหรือความเลอเลิศของวัตถุดบิ เพียงอย่าง เดียว หากแต่คอื การให้ลกู ค้าได้สมั ผัสถึงความพิเศษจาก การได้มานัง่ อยูบ่ นโต๊ะในครัว ซึง่ ครัง้ หนึง่ เคยเป็นเขตหวง ห้าม พูดอีกอย่างหนึง่ ก็คอื Chef’s Table เป็นพืน้ ทีส่ ำ�หรับ การแหกกฎ ไม่ใช่พน้ื ทีแ่ ห่งความเข้มงวด เพราะหนึง่ สิง่ ที่ ลูกค้าย่อมไม่ตอ้ งการจากการเข้ามากินถึงโต๊ะในครัวก็คอื กฎเกณฑ์ อย่างทีเ่ ห็นได้ชดั จาก Chef’s Table ที่ Sensi “ผมมักให้ลกู ชายของลูกค้าประจำ�คนนัน้ เข้ามาช่วย ผมทำ�อาหารในครัวเป็นประจำ� ผมจะเรียกเขาว่า เชฟตัวน้อย เพราะบางทีเขาก็ชว่ ยทำ�อาหารให้แม่เขาด้วย เหมือนกัน” เชฟคริสเตียนเล่าพร้อมรอยยิ้ม ในระหว่างการพิมพ์ กองบรรณาธิการได้รบั แจ้งว่า ร้าน Le Beaulieu ได้ปดิ กิจการแล้ว

08 OPTIMISE | JULY 2015

25


STATE OF THE ARTS “เราอยากทำ�แกลเลอรีทม่ี นั เข้าถึงได้ ดูเป็นมิตร โดยเฉพาะกับ คนทีเ่ ขาไม่ได้ศลิ ปะจ๋าขนาดนัน้ แต่ในขณะเดียวกันงาน ก็ตอ้ งมีคณ ุ ภาพ มีมมุ มองอะไรใหม่ๆ ทีจ่ ะกระตุน้ ให้คนดู เขาเกิดความคิดเชิงวิพากษ์ได้” สมรักเล่า ปรากฏว่าแนวคิดอย่างนีเ้ ป็นทีช่ น่ื ชมไปทัว่ แม้แต่กบั สือ่ ยักษ์ใหญ่อย่าง Wall Street Journal และทำ�ให้สมรักกลาย เป็นหนึง่ ในทูตทางวัฒนธรรมของกรุงเทพฯ ไปโดยปริยาย อันทีจ่ ริง ไม่เฉพาะแต่สมรักเท่านัน้ ภัณฑารักษ์รนุ่ หนุม่ สาว แบบเธออีกไม่นอ้ ยกำ�ลังแผ่ขยายอิทธิพลไปพร้อมๆ กับที่ วงการศิลปะเติบโต เพราะในขณะทีส่ งั คมกำ�ลังเปลีย่ นแปลง หลากหลายยิง่ ขึน้ ทุกวันๆ ภัณฑารักษ์เหล่านีม้ บี ทบาท อันสำ�คัญยิง่ ในการแปลงความสับสนวุน่ วายของสังคมมาเป็น นิทรรศการทีผ่ ชู้ มจะสามารถรับรูแ้ ละเข้าใจ “ก่อนหน้านี้ ภัณฑารักษ์มกั จะถูกมองว่าเป็นอาชีพแปลก แต่ตอนนีไ้ ม่ใช่แล้ว พอมีแกลเลอรีและศิลปินเกิดใหม่แทบทุกวัน ใครแขวนงาน ศิลปะบนผนังได้กเ็ รียกภัณฑารักษ์กนั ทัง้ นัน้ คำ�ถามก็คอื จะมี กีค่ นทีจ่ ดั นิทรรศการเป็นจริงๆ” สมรักตัง้ ข้อสังเกต เพราะแน่นอนว่างานภัณฑารักษ์นน้ั ไม่ใช่แค่การแขวน ภาพบนผนัง ตรงกันข้าม ภัณฑารักษ์เดีย๋ วนีท้ ง้ั ต้องชำ�นาญ ในวิชาของตัวเอง ทัง้ ต้องฉลาดใช้ชอ่ งทางสือ่ สารทีจ่ ะ “คลิก” กับคนรุน่ ใหม่ได้ “เทียบกับเมือ่ 10 ปีกอ่ นแล้ว จำ�นวนของ ศิลปินในกรุงเทพฯ ทัง้ ไทยและต่างชาติโตขึน้ มาก เดีย๋ วนี้ ทีจ่ ดั แสดงงานศิลปะมีได้ตง้ั แต่พพิ ธิ ภัณฑ์ โรงแรม ห้างสรรพสินค้า บาร์ และร้านอาหาร ยังไม่ตอ้ งนับพวกโซเชียลมีเดียอย่าง เฟซบุค ซึง่ ช่วยให้ศลิ ปินมาเจอมาแลกเปลีย่ นกันได้งา่ ยกว่า แต่กอ่ นมาก” ไมตรี สิรบิ รู ณ์ ศิลปินและทีป่ รึกษาเรือ่ ง พิพธิ ภัณฑ์ของ Whitespace Gallery กล่าว ดูเหมือนความหมายโดยนัยของเขาก็คอื ภัณฑารักษ์ ยุคใหม่ไม่สามารถมองข้ามพัฒนาการของสังคมเหล่านีไ้ ด้เลย

The Rise of Curators ภัณฑารักษ์เลือดใหม่จดุ กระแสศิลปะเมืองไทย พร้อมทะยานสูค่ วามยิง่ ใหญ่ 02

26

OPTIMISE | JULY 2015

01

ห้องแถวโล่งๆ ดิบๆ ของ WTF Gallery นัน้ มีหน้าตา เหมือนกับห้องทีล่ กู หนีท้ เ่ี พิง่ โกยข้าวของหนีเจ้าหนีม้ ากกว่าเป็น แหล่งฟูมฟักวงการศิลปะร่วมสมัยของกรุงเทพฯ กระนัน้ ตลอดระยะเวลาทีผ่ า่ นมา พืน้ ทีจ่ ดั แสดงงาน ศิลปะกึง่ บาร์ของ WTF Gallery (ย่อมาจาก Wonderful Thai Friendship) นีเ่ อง ได้ท�ำ หน้าทีป่ ะทุความคิดสร้างสรรค์ ของคนเมืองให้แตกเปรีย้ งปร้าง ผ่านการจัดนิทรรศการทีก่ ระตุน้ ให้ผชู้ มต้องมีสว่ นร่วมอย่างเช่นนิทรรศการ “Build Your Own Bangkok” ซึง่ ทัง้ โชว์ผลงานการ์ตนู สุดเสียดสีของนักวาดการ์ตนู เคที แมคลอยด์ ทัง้ ยังเอาผลงานของเธอมาประมูลออนไลน์เพือ่ ดึงปฏิกริยาคนดู ไม่เชือ่ ก็ตอ้ งเชือ่ นิทรรศการแปลกๆ อย่างนี้ ผนวกกับ สารพัดค็อกเทลพิสดารในบาร์ ได้สร้างลูกค้าขาประจำ�ให้กบั WTF Gallery เป็นจำ�นวนมาก และย้อมนักดืม่ หลายคน ให้กลายเป็นผูค้ ลัง่ ไคล้ศลิ ปะไปโดยปริยาย แต่ WTF Gallery ไม่ใช่สง่ิ เดียวทีแ่ สดงให้เห็นว่าตอนนี้ วงการศิลปะบ้านเราได้เริม่ เข้าถึงกลุม่ คนทีก่ ว้างขึน้ ด้วยวิธี ทีโ่ ลดโผนกว่าเดิม “Bukruk” หรือนิทรรศการสตรีทอาร์ต ในปี 2556 นัน้ ถูกใจเด็กไทยซึง่ เห็นลวดลายกราฟฟิตส้ี ดุ คูล

01

01 พิ ช ญา ศุ ภ วานิ ช ภั ณ ฑารั ก ษ์ ประจำ � หอศิ ล ป วั ฒ นธรรมแห่ ง กรุ ง เทพมหานคร (BACC) 02 สมรั ก ศิ ล า ภั ณ ฑารั ก ษ์ แ ละ เจ้ า ของร่ ว ม WTF Gallery 03 นิ ท รรศการ “Build Your Own Bangkok” ของ เคที แมคลอยด์

03

เป็นแบ็คกราวด์ให้กบั เซลฟีอ่ ย่างมาก นิทรรศการ Hotel Art Fair ซึง่ จัดขึน้ เป็นครัง้ ทีส่ องในปีกลาย ก็สามารถดึงคนอายุ ยีส่ บิ ต้นๆ ซึง่ ปกติไม่เคยเข้าแกลเลอรีให้มาเข้ามาชมงานได้ เป็นจำ�นวนไม่นอ้ ย จะอย่างไรก็แล้วแต่ ปรากฏการณ์เหล่านี้ เป็นพยานถึงพลังของกลุม่ “ภัณฑารักษ์” ยุคใหม่ทก่ี ล้าเดิน ออกจากขนบเดิม และลองนำ�เสนอศิลป์ใหม่ๆ ด้วยวิธกี าร ใหม่ๆ แทน ตัวอย่างแรกก็คอื เมอธิล ทิเบรองค์ ผูจ้ ดั งาน Bukruk ซึง่ มีอดีตเป็นเจ้าหน้าทีท่ างวัฒนธรรมของสถาบันสอนภาษา Alliance Francaise แต่ปจั จุบนั มาเปิด Toot Yung Art Center เป็นของตัวเอง เพือ่ จะได้จดั นิทรรศการอย่างทีอ่ ยากจัด ตลอดจนทำ�เรือ่ งทีอ่ ยากทำ�อืน่ ๆ อย่างเช่นออกทุนหาทีพ่ �ำ นัก ให้ศลิ ปิน หรือจัดงานปาร์ตด้ี เี จ เช่นเดียวกัน สมรัก ศิลา ภัณฑารักษ์และเจ้าของร่วม WTF Gallery บอกว่าเธอเปิดแกลเลอรีกง่ึ บาร์นข้ี น้ึ มา เพือ่ คลาย “ความเซ็ง” ทีเ่ กิดขึน้ หลังจากงานเอ็นจีโอของเธอทีช่ ว่ ย ส่งเสริมศิลปะร่วมสมัยในกลุม่ ประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนามถูกพับไป เธอเริม่ อยากมีพน้ื ทีท่ จ่ี ะทำ�อะไรๆ ได้ โดยไม่ตอ้ งห่วงเรือ่ งงบประมาณหรือวาระของคนอืน่

ปรากฏการณ์นี้ เป็นพยานถึง พลังของกลุ่ม “ภัณฑารักษ์” ยุคใหม่ที่กล้าเดิน ออกจากขนบเดิม และลองนำ�เสนอ ศิลป์ใหม่ๆ ด้วย วิธีการใหม่ๆ แทน

พืน้ ทีเ่ พือ่ การเติบโต

น่าสังเกตว่าภัณฑารักษ์เลือดใหม่ของไทยผงาดขึน้ มา ในช่วงทีศ่ ลิ ปินไทยก็ก�ำ ลังเริม่ เป็นทีย่ อมรับในวงการศิลปะ สากลพอดี ศิลปินท้องถิน่ อย่าง กมล ทัศนาญชลี, อริญชย์ รุง่ แจ้งและวศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ได้ไปแสดงผลงานที่ Venice Biennale ซึง่ เป็นเสมือนตรารับรองจากโลกศิลปะ ระดับสากล โดยเหล่าภัณฑารักษ์ยนื ยันว่าความสำ�เร็จของ ศิลปินเหล่านีม้ าจากส่วนผสมของพรสวรรค์ บุคลิกส่วนตัว และความคงเส้นคงวาในผลงานทีเ่ ข้ากันได้อย่างลงตัว “งานของพวกนีม้ กั จะมีองค์ประกอบบางอย่างทีส่ ามารถ ตีความได้หลายแง่อยูแ่ ล้ว แต่ทส่ี �ำ คัญไปกว่านัน้ คือองค์ประกอบ ในตัวของพวกเขาเองทีท่ �ำ ให้พวกเขาสามารถผลิตงานคุณภาพ ออกมาได้อย่างต่อเนือ่ ง อย่างงาน Venice Biennale อาจจะ ถือเป็นความสำ�เร็จขัน้ หนึง่ แต่สง่ิ ทีเ่ จ๋งจริงๆ ก็คอื งานทีศ่ ลิ ปิน พวกนีท้ �ำ ขึน้ มาหลังผ่านช่วงนัน้ มาแล้วต่างหาก” พิชญา ศุภวานิช ภัณฑารักษ์ประจำ�หอศิลปวัฒนธรรมแห่ง กรุงเทพมหานคร หรือ BACC พูดถึงกมล อริญชย์ และวศินบุรี แต่ในขณะทีศ่ ลิ ปินหลายคนเริม่ ติดปีกโบยบิน วงการศิลปะ ของไทยโดยรวมกลับถูกมองว่าตายซาก และติดอยูก่ บั อดีต อย่างยิง่ เราไม่มสี ถานทีถ่ าวรสำ�หรับเก็บผลงานศิลปะไทย ร่วมสมัย บรรยากาศทีเ่ อือ้ ต่อศิลปะและศิลปินก็นบั วันมีแต่จะ แพ้เพือ่ นบ้านอย่างสิงคโปร์ ฟิลปิ ปินส์ และเวียดนาม เช่น ใน เดือนพฤษภาคม ปี 2556 ฮ่องกงจัดงานอาร์ตแฟร์ Art Basel OPTIMISE | JULY 2015

27


STATE OF THE ARTS

04

04 มานิ ต ศรี ว านิ ช ภู ม ิ ศิ ล ปิ น และ เจ้ า ของ Kathmandu Gallery 05 ไมตรี สิ ร ิ บ ู ร ณ์ แห่ ง Whitespace Gallery

06 “The Private Expectation of Gods and the Common Reason of Investment” ของ นที อุ ต ฤทธิ ์

06

07 Whitespace Gallery

05

ขึน้ เป็นครัง้ แรกมีผเู้ ข้าชมกว่า 60,000 คน และมีแกลเลอรี ต่างๆ เข้าร่วม 245 แห่ง แต่ในงาน Hotel Art Fair ซึง่ จัดขึน้ ที่ กรุงเทพฯ ในปีเดียวกันและสือ่ ออกปากว่าเป็นงานทำ�ให้คน เข้าถึงศิลปะร่วมสมัยของไทยอย่างมากแล้วนัน้ กลับมีแกลเลอรี เข้าร่วมเพียง 12 แห่ง และมีคนร่วมงานประมาณ 2,000 คน เท่านัน้ พูดอีกนัยหนึง่ คือแม้วงการศิลปะเมืองไทยจะได้กระแส สนับสนุนจากสือ่ ท้องถิน่ บ้างแล้วก็ตาม แต่ยงั อีกนานกว่าเรา จะได้มตี วั เลขสวยๆ มาอวดอย่างเพือ่ นบ้าน “ถ้าเราไม่มงี าน อาร์ตแฟร์ให้เป็นเรือ่ งเป็นราวขึน้ มาก่อน ผมว่าป่วยการ ทีเ่ ราจะไปพูดถึงการสร้างตลาดศิลปะ จะมีตลาด เราก็ตอ้ ง สร้างตลาด สร้างคนซือ้ ขึน้ มา แล้วเราสร้างสิง่ เหล่านีไ้ ม่ได้ ถ้าเราไม่มอี าร์ตแฟร์” มานิต ศรีวานิชภูมิ ศิลปินและเจ้าของ Kathmandu Gallery กล่าว สาเหตุทง่ี านอาร์ตแฟร์มคี วามสำ�คัญ ก็เพราะงานอาร์ตแฟร์ จะช่วยให้ศลิ ปินได้รบั สิง่ ทีค่ นยุค “ไม่ดงั ก็ดบั ” อย่างทุกวันนี้ ต้องการมากทีส่ ดุ กล่าวคือพืน้ ทีส่ อ่ื เพราะการออกสือ่ มาก ย่อมหมายถึงโอกาสหาสตางค์ทม่ี ากขึน้ พูดตรงๆ ก็คอื ศิลปะ อาจดูเป็นเรือ่ งของจิตวิญญาณ แต่สดุ ท้าย เช่นเดียวกับอีก หลายเรือ่ งในโลกนี้ ศิลปะจำ�เป็นต้องใช้เงินเหมือนกัน มูลค่า ของตลาดศิลปะไทยนัน้ ไม่มตี วั เลขบอกชัดๆ แต่อาจพอ เทียบเคียงขึน้ มาได้จากราคาซือ้ ขายผลงานศิลปะหนึง่ ชิน้ ทีผ่ า่ นมามีศลิ ปินไทยขายผลงานในราคาสูงได้ไม่นอ้ ย เช่น ผลงาน “The Private Expectation of Gods and the Common Reason of Investment” ของ นที อุตฤทธิ์ ทีข่ าย ได้ในราคา 350,000 ดอลลาร์ในงาน Art Stage Singapore 28

OPTIMISE | JULY 2015

เมือ่ ต้นปีน้ี กระนัน้ ราคานีเ้ ทียบไม่ได้เลยกับราคาทีศ่ ลิ ปิน จีนอย่างเช่น อ้าย เว่ยเว่ย สามารถเสกได้จากผลงานของเขา เมล็ดทานตะวันจำ�ลองของ อ้าย เว่ยเว่ย ขายไปได้ในราคาถึง 782,000 ดอลลาร์ ในการประมูลของ Sotheby’s ในปี 2555 อย่างไรก็ตาม ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านศิลปะบอกว่าการนำ� ประเทศไทยทีม่ ขี อ้ จำ�กัดเรือ่ งงบประมาณไปเทียบกับประเทศ เพือ่ นบ้านทีร่ า่ํ รวยกว่ามากนัน้ ไม่ยตุ ธิ รรม เพราะเป็นการเปรียบ แอปเปิล้ กับส้ม “ผมไม่คดิ ว่าตลาดไทยล้าหลังประเทศเพือ่ นบ้านอะไร ขนาดนัน้ อินโดนีเซียเป็นประเทศทีใ่ หญ่ทส่ี ดุ ในอาเซียน และมี ฐานนักสะสมทีใ่ หญ่ทส่ี ดุ จึงไม่แปลกทีอ่ นิ โดนีเซียจะเป็นตลาด งานศิลปะที่ใหญ่ที่สุดไปด้วย สิงคโปร์ก็เป็นตลาดที่ดี แต่สิงคโปร์มีรายได้ต่อหัวประชากรสูงกว่าประเทศอื่นใน ภูมิภาคเยอะมาก จะเอาไปเปรียบก็ไม่ได้อีก จริงๆ แล้ว เทียบกับประเทศอืน่ ในภูมภิ าคนี้ ต้องถือว่าประเทศไทยทำ�ได้ ไม่เลวเลยทีเดียว” จอร์น มิดเดิลบอร์ก กรรมการผูจ้ ดั การ Thavibu Gallery กล่าว ไผทวัฒน์ จ่างตระกูล กรรมการผู้จัดการของ Farmgroup และออร์กาไนเซอร์งาน Hotel Art Fair ในกรุงเทพฯ สรุปสั้น กว่านั้นอีก “ประเทศไหนมีเศรษฐีมาก ก็มคี นซือ้ ศิลปะมาก เท่านัน้ เอง”

ภัณฑารักษ์รนุ่ ใหม่

เพียงในช่วงไม่กป่ี ที ผ่ี า่ นมา บทบาทของภัณฑารักษ์ ได้เปลีย่ นแปลงไปอย่างรวดเร็วอย่างยิง่ จากเดิมทีอ่ าชีพนีม้ กั มี แต่เจ้าหน้าทีข่ องรัฐทีค่ อยทำ�แต่งานเบือ้ งหลัง และมักจะถูก

07

กลืนอยูใ่ นองค์กรโดยไม่ปรากฏชือ่ ในขณะนี้ ภัณฑารักษ์ได้ขน้ึ มาอยูบ่ นเวทีเสียเองทีเดียว และบ่อยครัง้ ก็มชี อ่ื พอๆ กับศิลปิน ทีพ่ วกเขาช่วยจัดนิทรรศการให้ ทัง้ นี้ เพราะในโลกทีค่ วามสนใจ ของผูค้ นสัน้ อย่างยิง่ ทักษะในการสือ่ สารของภัณฑารักษ์ มีความสำ�คัญไม่แพ้ชน้ิ งานศิลปะ พูดอีกอย่างก็คอื ภัณฑารักษ์ เดีย๋ วนีก้ ลายเป็น “เซเลบ” ไปแล้ว “ภัณฑารักษ์ท�ำ งานต่างจากเมือ่ ก่อน คุณไม่ใช่แค่ตอ้ งมี ความรูต้ ามสาขาทีต่ วั เองเรียนอย่างเดียว แต่ตอ้ งติดตามสาขา วิชาอืน่ ๆ เพือ่ จะได้เข้าใจและดึงความหมายของงานศิลปะ ออกมาให้ได้ อย่างทีห่ อศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เราจะเอาผูช้ มเป็นศูนย์กลางมากขึน้ คือแทนทีเ่ ราจะเสนอแต่ คอนเซปต์นามธรรมของชิน้ งานแบบทือ่ ๆ เราจะพยายามคิดว่า จะทำ�อย่างไรให้คนเข้าใจงานได้มากทีส่ ดุ ” พิชญาจากหอศิลป วัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครกล่าว ความพยายามทีจ่ ะสือ่ สารกับผูช้ มอย่างนี้ ได้ชว่ ยขยาย พืน้ ทีศ่ ลิ ปะออกไปกว้างกว่าเดิมอีกมาก และเปลีย่ นให้ พิพธิ ภัณฑ์อย่างหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เริม่ มี สภาพของตลาดทีค่ นมาเลือกซือ้ เลือกเสพแนวคิด และทำ�ให้ บาร์อย่าง WTF Gallery กลายเป็นสถานทีถ่ กเถียงเรือ่ งศิลปะ หลังจากลูกค้ากรึม่ เตอกิลา่ ได้ทแ่ี ล้ว นับได้วา่ ยุคสมัยของการเสพศิลปะแบบเดิมซึง่ ลูกค้าที่ เสพต้องทำ�ท่าขลังๆ และเป็นอาณาจักรเฉพาะของนายแบงก์ กับคุณหญิงคุณนายนัน้ ได้หมดไปแล้ว เพราะบัดนี้ ภัณฑารักษ์ทม่ี ที กั ษะของนักจิตวิทยา คนงานก่อสร้าง ไปจน กระทัง่ เซลล์แมนรวมอยูใ่ นตัวคนเดียว ได้ชว่ ยทำ�ให้งานศิลปะ เข้าถึงง่ายอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

คุณไม่ได้แค่ต้องมีความรู้ ตามสาขาที่ตัวเองเรียนมา เท่านั้น แต่ยังต้องรู้สาขา วิชาอื่นๆ เพื่อจะได้เข้าใจ และดึงความหมายของ งานศิลปะออกมาให้ได้ “บทบาทของภัณฑารักษ์ไม่ได้อยูแ่ ค่การมองศักยภาพ ในตัวศิลปินให้ออกเท่านัน้ แต่ยงั ต้องประสานให้ได้ทง้ั สิบทิศ คุณต้องหาข้อมูลและก็ตหี วั ข้อนิทรรศการของคุณให้แตก ต้องทำ�ให้ศลิ ปินไว้ใจ ต้องรูว้ ธิ จี ดั นิทรรศการทีจ่ ะสือ่ กับคนได้ ต้องอ่านพืน้ ทีโ่ ชว์ให้ออก ต้องเจาะรูบนผนังได้ หาสตางค์เป็น พีอาร์เป็น ต้องทำ�ให้นกั สะสม และสปอนเซอร์ไว้ใจ และทำ�ให้ ศิลปินเลิกประหม่า มันเป็นหลายเรือ่ งทีต่ อ้ งทำ�ซึง่ ต้องใช้วสิ ยั ทัศน์ทง้ั นัน้ ” สมรัก จาก WTF Gallery กล่าว ปัญหาอยูท่ ว่ี า่ นับแต่น้ี วงการศิลปะไทยควรจะพัฒนาต่อไป อย่างไร ซึง่ ความเห็นดูเหมือนจะยังแยกเป็นหลายทาง บางสาย ก็บอกว่าเป็นภาระของศิลปินทีจ่ ะต้องพยายามสือ่ สารกับผูช้ ม ให้มากขึน้ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์รว่ มของทุกคน “ศิลปินต้องคิดว่า ผูช้ มของเราไม่ได้อยูแ่ ค่ในประเทศไทย เรามีปญ ั หาร่วมกับคนในโลกตัง้ เยอะแยะ ทัง้ เรือ่ งวิกฤตเศรษฐกิจ เรือ่ งโลกร้อน แรงงานอพยพ เรือ่ งการก่อการร้าย ไม่ใช่มแี ต่ เรือ่ ง “ความเป็นไทย” เทคโนโลยีเดีย๋ วนี้ ทำ�ให้ศลิ ปะของ เราไปถึงคนอีกซีกโลกได้ภายในเวลาไม่กว่ี นิ าที” มานิตจาก Kathmandu Gallery กล่าว ในขณะเดียวกัน บางคนบอกว่าการปฏิรปู สถาบันที่ เกีย่ วกับการศึกษาศิลปะจะเป็นการบ่มเพาะตลาดศิลปะไทย ให้ยง่ั ยืน “ภาครัฐต้องให้ทนุ สนับสนุนศิลปะ และการศึกษา ศิลปะ เพราะความรูท้ างศิลปะจะทำ�ให้คนดูศลิ ปะเป็น และ ขยายตลาดศิลปะให้ใหญ่ขน้ึ ” เชน สุวกิ ะปกรณ์กลุ ผูจ้ ดั พิมพ์ และเจ้าของ Serindia Gallery กล่าว อย่างไรก็ตาม จอร์นจาก Thavibu บอกว่า ตลาดศิลปะ ทีย่ งั ซบเซาของไทยนีเ้ อง ถือเป็นแหล่งเฟ้นหาเพชรในตมชัน้ เยีย่ ม “สาเหตุทต่ี ลาดไทยหรือตลาดในประเทศอาเซียน ยังเล็กอยู่ ก็เพราะสภาพเศรษฐกิจ ไม่เกีย่ วกับเนือ้ งาน ดังนัน้ มองอีกแง่หนึง่ นีค่ อื โอกาส ให้เราซือ้ งานศิลปะร่วมสมัยของ อาเซียนดีๆ ได้ในราคาตํา่ กว่าปกติ อันทีจ่ ริง ตอนนีพ้ พิ ธิ ภัณฑ์ ทัว่ โลกกำ�ลังตืน่ เต้นกับศิลปะอาเซียนกันทัง้ นัน้ เพราะเขาเริม่ ชินกับงานจากอินเดีย และจีนแล้ว” หากเป็นดังทีว่ า่ มานีจ้ ริง ฝีมอื นำ�เสนอศิลปะของภัณฑารักษ์ ไทยน่าจะเป็นทีต่ อ้ งการอีกไม่นอ้ ยเลยทีเดียว

OPTIMISE | JULY 2015

29


SERVING YOU

ธนาคารเกียรตินาคิน ปรับโมเดลสาขา สอดรับไลฟ์สไตล์ลูกค้า

ธนาคารเกียรตินาคิน

ปรับโมเดลสาขา สอดรับไลฟสไตลลูกคา

ธนาคารเกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) บริษัทใน กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ปรับกลยุทธ์ รูปแบบสาขาทั่วประเทศ ชูความต่างที่สะดวก เพื่อรองรับ ยุทธศาสตร์ใหม่ให้เหมาะสมกับลูกค้าเงินฝากและการ ลงทุน รวมถึงการเปิดสาขาใหม่ในทำ�เลศักยภาพ อาทิ สาขาในกรุงเทพฯ จะย้ายเข้าห้างสรรพสินค้า และเปิด เพิม่ ในจังหวัดใหญ่ (ชลบุรี เชียงใหม่ ภูเก็ต) คาดว่าสิน้ ปีน้ี ธนาคารจะมีสาขาราว 74 แห่ง ซึ่งถือว่าเหมาะสมกับ ขนาดของธนาคาร เนื่องจากในอนาคตพฤติกรรมลูกค้า จะเปลี่ยนไปสู่การใช้บริการธนาคารออนไลน์มากขึ้น ปัจจุบันได้ด�ำ เนินการปรับโฉมสาขาแล้วสองแห่ง คือ สาขาซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ (เปิด 9 พ.ค.) และ สาขาเซ็นทรัลพลาซา ระยอง (เปิด 27 พ.ค.) นอกจากนี้ จะมีการปรับปรุงสาขาใหญ่ (Flagship) ให้เป็น Financial Hub ที่รวมผลิตภัณฑ์ทางการเงินและ การลงทุนที่หลากหลายของกลุ่มธุรกิจการเงินฯ ได้แก่ สาขาเซ็นทรัลเวิลด์ สาขาอโศก และสาขาเยาวราช เป็นต้น อนึ่ง สาขาโฉมใหม่นี้ ได้รับการออกแบบโดย บุญเลิศ เหมวิจิตรพันธ์ แห่ง Boon Design สถาปนิก อันดับต้นของไทย ภายใต้แนวคิด United Dynamic Framework ที่สร้างความรู้สึกถึงความเป็นเอกภาพและ ความโดดเด่นของธนาคารที่มีบุคลิกสุขุมลุ่มลึกควบคู่ไป กับความสดใส 30

OPTIMISE | JULY 2015

ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) บริษทั ในกลุม ธุรกิจการเงิน เกียรตินาคินภัทร ปรับกลยุทธปรับรูปแบบสาขาทั่วประเทศ ชูความตาง ที ่ ส ะดวก เพื ่ อ รองรั บ ยุ ท ธศาสตร ใ หม ใ ห เ หมาะสมกั บ ลู ก ค า เงิ น ฝาก และการลงทุน รวมถึงการเปดสาขาใหมในทำเลศักยภาพ อาทิ สาขาใน กรุงเทพฯ จะยายเขาหางสรรพสินคา และเปดเพิ่มในจังหวัดใหญ (ชลบุรี เชียงใหม ภูเก็ต) คาดวาสิ้นปนี้ ธนาคารจะมีสาขาราว 74 แหง ซึ่งถือวา เหมาะสมกับขนาดของธนาคาร เนือ่ งจากในอนาคตพฤติกรรมลูกคาจะเปลีย่ น ไปสูการใชบริการธนาคารออนไลนมากขึ้น

พบกับธนาคารเกียรตินาคิน

โฉมใหม ไดที่

สาขาซีคอนสแควร ศรีนครินทร l สาขาเซ็นทรัลพลาซา ระยอง l

และสาขาอื่น ในเร็วๆ นี้ ที่ กรุงเทพฯ เซ็นทรัลเวิลด l เซ็นทรัลพลาซา บางนา l เซ็นทรัลพลาซา ปน  เกลา l เซ็นทรัลพลาซา พระราม 3 l เซ็นทรัลพลาซา เวสตเกต l เซ็นทรัลเฟสติวล ั อีสตวลิ ล l เดอะมอลล ทาพระ l ทองหลอ l ฟวเจอรพารค รังสิต l เมเจอร รัชโยธิน l เมืองไทยภัทร คอมเพล็กซ l

ปจจุบันไดดำเนินการปรับโฉมสาขาแลวสองแหง คือ ซีคอนสแควร ศรีนครินทร (เปด 9 พ.ค.) และเซ็นทรัลพลาซา ระยอง (เปด 27 พ.ค.) นอกจากนีจ้ ะมีการปรับปรุงสาขาใหญ (Flag Ship) ใหเปน Financial Hub ทีร่ วมผลิตภัณฑทางการเงินและการลงทุนทีห่ ลากหลายของกลุม ธุรกิจการเงินฯ ไดแก สาขาเซ็นทรัลเวิรล สาขาอโศก และสาขาเยาวราช เปนตน อนึ่ง สาขา โฉมใหมนี้ ไ ดรับการออกแบบโดยคุณบุญเลิศ เหมวิจิตรพันธ แหง Boon Design สถาปนิกอันดับตนของไทย ภายใตแนวคิด United Dynamic Framework ที่สรางความรูสึกถึงความเปนเอกภาพและ ความโดดเดนของธนาคารที่มีบุคลิกสุขุมลุมลึกควบคูไปกับความสดใส

ตางจังหวัด โคราช 2 l ชลบุรี l เซ็นทรัลพลาซา ขอนแกน l เซ็นทรัลเฟสติวล ั เชียงใหม l พัทยา l ศรีราชา l สุณย ี  ทาวเวอร อุบลราชธานี l หัวหิน l

OPTIMISE | JULY 2015

31


SERVING YOU

สัดส่วนพอร์ตการลงทุนจะถูกปรับเปลี่ยน ให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอ โดยมีจุดมุ่งหมายให้กองทุน มีอัตราผลตอบแทนที่ดีเมื่อเทียบกับความเสี่ยง มีความ เหมาะสมในทุกภาวะตลาด เพื่อผลประโยชน์สูงสุด

PHATRA SG-AA

ทำ�ไมต้องเป็น PHATRA SG-AA

กองทุนทีต่ อบโจทย์ทกุ สภาวะตลาด

ปัจจุบันสภาวะการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ มีความไม่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นทางฝั่งเอเชียที่ เศรษฐกิจจีนเกิดการชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ทำ�ให้ใน ปีที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจตํ่าที่สุดใน รอบ 24 ปี ส่งผลกระทบต่อประเทศคู่ค้าทั่วโลกรวม ถึงประเทศไทย อีกทั้งทางฝั่งยุโรปก็มีความกังวลที่ ประเทศกรีซอาจผิดนัดชำ�ระหนี้กับประเทศสมาชิกของ สหภาพยุโรป และความเสี่ยงที่กรีซจะถอนตัวจาก การเป็นภาคีสมาชิก ซึ่งเป็นเหตุกระตุ้นให้เกิดผล กระทบกับเศรษฐกิจยุโรปในวงกว้างได้ โดยปัจจัย ที่กล่าวมานั้นส่งผลกระทบต่อตลาดเงินและตลาดทุน ของประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความผันผวนที่มากขึ้นส่งผลให้นักลงทุนไทยหา แหล่งลงทุนที่ให้ผลตอบแทนในระดับที่น่าพอใจอย่าง สมํ่าเสมอได้ยากยิ่งขึ้น และความกังวลเกี่ยวกับภาวะ ตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในแต่ละวัน ทำ�ให้ นักลงทุนที่แม้จะยอมรับความเสี่ยงได้ ยังหันไปลงทุน 32

OPTIMISE | JULY 2015

ในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนตํ่ากว่าแทนเพื่อลดความ กังวลที่มีอยู่ แล้วจะมีการลงทุนใดทีเ่ หมาะสมกับสภาวการณ์ ตลาดเช่นนี้ ทีส่ ามารถให้ผลตอบแทนทีด่ ใี นระยะยาว และมีความผันผวนตา่ํ โดยทีน่ กั ลงทุนไม่ตอ้ งคอยติดตาม ภาวะการณ์ตลาดอย่างใกล้ชดิ และไม่ตอ้ งปรับเปลีย่ น สินทรัพย์ในพอร์ตการลงทุนด้วยตนเองตลอดเวลา PHATRA SG-AA (กองทุนเปิดภัทร สตราทิจคิ แอสเซ็ท อโลเคชัน่ ) สามารถตอบโจทย์สภาวะตลาดใน ปัจจุบนั ได้ เนือ่ งด้วยมีการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ หลากหลายประเภท ทัง้ ในและต่างประเทศอย่างมี ประสิทธิภาพ อาทิ ตราสารทุนในประเทศ ตราสารทุน ต่างประเทศ ตราสารหนีใ้ นประเทศ ตราสารหนีต้ า่ ง ประเทศ ตราสารทางเลือกประเภทสินค้าโภคภัณฑ์ และ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ซึง่ การกระจายการลงทุนเช่นนี้ ส่งผลให้ความผันผวนของผลตอบแทนการลงทุนลดลง และสร้างผลตอบแทนทีด่ สี มา่ํ เสมอให้กบั นักลงทุน

ทำ�ไมต้องกระจายการลงทุน

นักลงทุนบางส่วนคิดว่าสิง่ ทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ ในการลงทุน คือ การคัดเลือกหลักทรัพย์ทด่ี ี และลงทุนในจังหวะตลาดที่ ถูกต้องเท่านัน้ ซึง่ ความเข้าใจดังกล่าวยังไม่ถกู ต้องทัง้ หมด ปัจจัยทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ ทีท่ �ำ ให้ได้ผลตอบแทนทีเ่ หมาะสมใน ระยะยาวคือ “การกระจายการลงทุน” (Asset Allocation) ที่มีประสิทธิภาพ ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่กำ�หนด โดยจากงานวิจยั ของ โรเจอร์ อิบบอทสัน ศาสตราจารย์ ภาควิชาการเงินของมหาวิทยาลัยเยล (Yale University) ร่วมกับ พอล ดี. แคพแลน หัวหน้าฝ่าย ด้านงานวิจัยเชิงปริมาณของ บริษัทมอร์นิ่งสตาร์ (Morningstar) ซึ่งเป็นบริษทั ชัน้ นำ�ทางด้านงานวิจยั กองทุนรวมระดับโลกได้สรุปไว้วา่ “มากกว่าร้อยละ 90 ของปัจจัยทีม่ ผี ลต่อผลตอบแทนของกองทุนในประเทศ สหรัฐฯ ในช่วงปี 2544-2553 มาจากการกระจายการ ลงทุน”

PHATRA SG-AA เป็นกองทุนทีใ่ ห้ความสำ�คัญกับ การกระจายการลงทุนเป็นอย่างมาก กลยุทธ์สดั ส่วนการ ลงทุนกำ�หนดโดยทีมงานวิจยั ของบริษทั หลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) นำ�โดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชือ้ ด้วยการใช้ปจั จัยทางเศรษฐกิจทัง้ ในระดับจุลภาคและ มหภาคมาคำ�นวณหาจุดทีเ่ หมาะสมในการกระจาย การลงทุนไปยังสินทรัพย์ประเภทต่างๆ เพือ่ ให้ได้ผล ตอบแทนทีเ่ หมาะสมตามภาวะการณ์เศรษฐกิจในช่วง เวลานัน้ ๆ จะเห็นได้วา่ PHATRA SG-AA มีการกระจายการ ลงทุนไปยังสินทรัพย์ประเภทต่างๆ อย่างทัว่ ถึง เหมาะ สำ�หรับนักลงทุนทีม่ คี วามเสีย่ งปานกลางค่อนข้างสูง ซึง่ สัดส่วนพอร์ตการลงทุนจะถูกปรับเปลีย่ นให้มคี วาม เหมาะสมอยูเ่ สมอ โดยมีจดุ มุง่ หมายให้กองทุนมีอตั รา ผลตอบแทนทีด่ เี มือ่ เทียบกับความเสีย่ ง (Risk Adjusted Return) มีความเหมาะสมในทุกภาวะตลาด เพือ่ ผล ประโยชน์สงู สุดกับผูล้ งทุน ดังนัน้ การลงทุนใน PHATRA SG-AA เท่ากับนักลงทุนมีทมี งานระดับมืออาชีพจากบริษทั หลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) ซึง่ เป็นพันธมิตรทาง ธุรกิจกับ Bank of America Merrill Lynch ทีเ่ ป็นหนึง่ ในสถาบันการเงินทีใ่ หญ่ทส่ี ดุ ของโลก ให้ค�ำ แนะนำ�ใน ส่วนของกลยุทธ์การกระจายสัดส่วนพอร์ตการลงทุนที่ เหมาะสม อีกทัง้ ยังมีทมี งานของบริษทั หลักทรัพย์จดั การ กองทุน ภัทร จำ�กัด ซึง่ เชีย่ วชาญด้านการวิเคราะห์ จังหวะและโอกาสการลงทุนเป็นผูจ้ ดั การกองทุน (Fund Manager) ทำ�หน้าทีต่ ดิ ตามสถานการณ์ การลงทุนอย่างใกล้ชดิ รวมถึงคัดเลือกสินทรัพย์เพือ่ การลงทุนภายใต้กรอบการกระจายการลงทุนตามคำ� แนะนำ�ของบริษทั หลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) โดยจะพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ตัวอย่างสัดส่วนการลงทุนโดยประมาณของ กองทุนเปิดภัทร สตราทิจคิ แอสเซ็ท อโลเคชัน่ (PHATRA SG-AA) ตราสารทางเลือกประเภทสินค้า โภคภัณฑ์ 3%

ทองคำ� 2% เงินฝาก 5%

กองทุนอสังหาริมทรัพย์ 5% ตราสารหนีต้ า่ งประเทศ 5% ตราสารทุนใน ประเทศ 40% ตราสารหนีใ้ น ประเทศ 30% ตราสารทุน ต่างประเทศ 10% *สัดส่วนการลงทุนอาจมีการเปลีย่ นแปลงตามดุลยพินจิ ของผูจ้ ดั การกองทุน

จึงเชือ่ มัน่ ได้วา่ แม้ตลาดจะผันผวนอย่างไร กองทุนนีจ้ ะถูก ปรับให้เหมาะสมตามสภาวะตลาดเพือ่ สร้างผลตอบแทน ทีด่ ใี นระยะยาวให้กบั นักลงทุน การลงทุนใน PHATRA SG-AA เพียงกองทุนเดียว ทำ�ให้นกั ลงทุนสามารถลงทุนในสินทรัพย์ทห่ี ลากหลาย ทัว่ โลกด้วยเงินลงทุนขัน้ ตา่ํ เพียง 10,000 บาท อีกทัง้ มี สภาพคล่องสูง สามารถทำ�การซือ้ ขายกองทุนได้ทกุ วัน ทำ�การ นอกจากนีผ้ ลู้ งทุนยังสามารถใช้บริการ Saving

Plan เพือ่ จัดการเงินออมด้วยการลงทุนในกองทุนอย่าง สมา่ํ เสมอทุกเดือน โดยการหักบัญชีอตั โนมัติ นักลงทุนที่ สนใจสามารถสอบถามและขอข้อมูลกองทุนเพิม่ เติมได้ท่ี ธนาคารเกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) ทุกสาขา หรือ บริษทั หลักทรัพย์จดั การกองทุน ภัทร จำ�กัด โทรศัพท์ 02 305 9800 หรือ อีเมล์ ที่ customerservice@ phatraasset.com

การลงทุนมีความเสีย่ ง ผูล้ งทุนควรศึกษาข้อมูลสำ�คัญก่อนการตัดสินใจลงทุน โดยเฉพาะนโยบายการลงทุน และความเสีย่ ง โดยขอข้อมูลดังกล่าวจากบุคคลทีข่ ายหน่วยลงทุนท่าน •การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสีย่ งของการลงทุน รวมทัง้ ไม่อยูภ่ ายใต้ความคุม้ ครองของสถาบันคุม้ ครองเงินฝาก จึงมีความเสีย่ งจากการลงทุนซึง่ ผูล้ งทุน อาจไม่ได้รบั เงินลงทุนคืนเต็มจำ�นวน ผูล้ งทุนควรลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าวเมือ่ เห็นว่าการลงทุนในกองทุนรวมเหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตนและผูล้ งทุนยอมรับความ เสีย่ งทีอ่ าจเกิดขึน้ จากการลงทุนดังกล่าวได้ •กองทุนมีการกระจายการลงทุนน้อยกว่ากองทุนรวมทัว่ ไป เนือ่ งจากมีการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สนิ อืน่ เป็นอัตราส่วนมากกว่า อัตราส่วนการลงทุนตามทีส่ �ำ นักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำ�หนด ผูล้ งทุนควรศึกษานโยบายการลงทุนของกองทุนรวมให้เข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุน •เนือ่ งจากกองทุนอาจ ลงทุนในสัญญาซือ้ ขายล่วงหน้า (Derivatives) เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพการบริหาการลงทุน และ/หรือแสวงหาผลประโยชน์ตอบแทน (Efficient Portfolio Management) โดยพิจารณา จากสภาวะตลาดในขณะนัน้ กฎข้อบังคับ และปัจจัยอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง จึงเหมาะสมกับผูล้ งทุนทีต่ อ้ งการผลตอบแทนสูงและสามารถรับความเสีย่ งได้สงู กว่าผูล้ งทุนทัว่ ไปผูล้ งทุน ควรลงทุนในกองทุนรวมเมือ่ มีความเข้าใจในความเสีย่ งของสัญญาซือ้ ขายล่วงหน้า และผูล้ งทุน ควรพิจารณาความเหมาะสมของการลงทุน โดยคำ�นึงถึงประสบการณ์การลงทุน วัตถุประสงค์ และฐานะการเงินของผูล้ งทุนเอง •กองทุนป้องกันความเสีย่ งจากอัตราแลกเปลีย่ นตามดุลยพินจิ ของผูจ้ ดั การกองทุน ดังนัน้ ผูล้ งทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รบั ผลกำ�ไรจาก อัตราแลกเปลีย่ น/หรือได้รบั เงินคืนตา่ํ กว่าเงินลงทุนเริม่ แรกได้ OPTIMISE | JULY 2015

33


CLIENT VALUES

Saving Smarts การบริหารเงินที่มีอยู่อย่างจำ�กัดให้ลงตัวและคุ้มค่าที่สุด ยังคง เป็นโจทย์ยากสำ�หรับใครหลายคน แต่สำ�หรับสาวสวย รวยความ สามารถอย่าง อดิศรา วัลลภศิริ ผู้บริหารคนสำ�คัญ สินค้าอุปโภค บริโภคอย่าง “ยูนิลีเวอร์” และลูกค้าเงินฝากกลุ่ม PRIORITY ของ ธนาคารเกียรตินาคินและลูกค้า Private Wealth Management ของ บล.ภัทร เธอคุ้นเคยกับการบริหารเงินมานานแล้ว ผ่าน “การออม” และ “การลงทุน” ได้นสิ ยั การออมมาอย่างไร ด้วยความทีเ่ ป็นลูกคนจีน และคุณพ่อคุณแม่ของเราก็ท�ำ ธุรกิจ เพราะฉะนัน้ เราจึงได้รบั การปลูกฝังนิสยั การออม การ ลงทุน การคิดในแง่มมุ ธุรกิจมาตัง้ แต่เด็ก ตัง้ แต่ประถมเราก็ เริม่ ฝากเงินไว้กบั คุณแม่ จากนัน้ พอมัธยม คุณแม่กเ็ ปิดบัญชี ธนาคารให้ แล้วเราก็เริม่ ฝากเงิน ออมรายได้เป็นรายสัปดาห์ และรายเดือนต่อเนือ่ ง แต่ยยุ้ มาเริม่ เลือกธนาคารทีอ่ อมเองจริงๆ ตอนเข้ามหาวิทยาลัย เริม่ เปลีย่ นธนาคารตามทีต่ วั เราพิจารณา เอง เพราะตอนนัน้ รูม้ ากขึน้ แล้ว ก็หาข้อมูลเองเลย ด้วยการเดิน ดุย่ ๆ บุกไปถามทีธ่ นาคาร เพราะสมัยนัน้ ไม่มอี นิ เทอร์เน็ต ไม่มี เว็บไซต์เสิรช์ เอนจินให้หาข้อมูล จริงๆ สมัยก่อนเดินเข้าธนาคาร เป็นเรือ่ งน่ากลัวนะ ยุย้ รูส้ กึ “ตายแล้ว แบงก์ใหญ่โต โอ่โถง น่ากลัว” (หัวเราะ) แต่ตอนนัน้ ก็ไม่มที างเลือก ก็ตอ้ งเดินดุย่ ๆ เข้าไปนีแ่ หละ หาข้อมูลสัก 3-4 แบงก์ ไปคุยเลยว่า พีท่ ห่ี น้า เคาน์เตอร์เขาแนะนำ�อย่างไร เงินเราสมัยนัน้ ก็นอ้ ยนิดนะ แต่เรา ก็อยากเลือกผลประโยชน์ทด่ี ที ส่ี ดุ สำ�หรับเรา

34

OPTIMISE | JULY 2015

เขาแนะนำ�ว่าอย่างไรบ้าง เราได้รจู้ กั เงินฝาก 2 แบบ คือแบบออมทรัพย์กบั แบบ ประจำ� เราเข้าใจว่าฝากประจำ�คือเงินเย็นของเรา กับฝาก ออมทรัพย์คอื การฝากระยะสัน้ ถ้าเราต้องการใช้กถ็ อนได้ แต่กอ่ น ดอกเบีย้ เงินฝากประจำ�ต่างจากแบบออมทรัพย์พอ สมควร ทีไ่ หนมีดอกเบีย้ มากหรือเงือ่ นไขการออมดี เราก็เปลีย่ น เงือ่ นไขการออมไป แต่สดุ ท้ายลักษณะการออมของยุย้ ก็เปลีย่ น ไปตามเวลา ตามสภาพเศรษฐกิจ ตามยุค ตามเหตุการณ์คะ่ ตอนนีเ้ ราทำ�งานแล้ว ถ้าต้องการจะเก็บออม หมายความว่า ต้องใช้ให้นอ้ ยกว่าทีห่ ามา ถ้าเราต้องการใช้เยอะ นัน่ หมายความ ว่าเราต้องหามาให้ได้มากกว่าทีใ่ ช้ ประเด็นของยุย้ จึงอยูท่ ว่ี า่ เรา จะหามาให้มากตามทีเ่ ราอยากจะใช้ได้อย่างไร หรือเรามีโอกาส จะหารายได้ทม่ี ากขึน้ ด้วยวิธใี ดบ้าง ทีส่ �ำ คัญ การออมต้องไม่ใช่ ออมแบบแค่ให้ขน้ึ ชือ่ ว่า “ได้ออม” ถึงแม้วา่ จะประหยัดอย่างไร แต่ถา้ ออมโดยไม่คดิ ก็มโี อกาสทีเ่ งินของเราจะน้อยลง เพราะ ค่าเงินมันเฟ้อขึน้ เรือ่ ยๆ เราต้องเปลีย่ นเงินออมทีม่ อี ยูใ่ ห้เป็นราย ได้ทเ่ี พิม่ ขึน้

การออมต้องไม่ใช่ แค่ให้ขึ้นชื่อว่า “ได้ออม” ถึงแม้ว่า จะประหยัดอย่างไร แต่ถ้าออม โดยไม่คิด ก็มี โอกาสที่เงินของเรา จะน้อยลง เพราะค่าเงินมันเฟ้อ ขึ้นเรื่อยๆ

OPTIMISE | JULY 2015

35


CLIENT VALUES

การมี Consolidated Statement ทำ�ให้เรามอง เห็นง่าย วิเคราะห์เงินลงทุนทั้งหมด ไม่ว่าจะฝากไว้ ตรงจุดไหน เราก็สามารถเห็นได้ภายในครั้งเดียว เวลาบริหารเราสั้นลง มีผู้ช่วยจัดการเรื่องนี้ให้เรา เป็นบริการที่ดี ตอบโจทย์คนงานยุ่งอย่างเรามาก

รูจ้ กั อดิศรา อดิศรา วัลลภศิริ เริม่ ต้น งานแรกของเธอในฐานะนักวิจยั จากนัน้ เริม่ ก้าวเท้าเข้าสูส่ าย งานการตลาดอย่างเต็มตัว มีประสบการณ์ครา่ํ หวอดใน บริษทั ไทยและบริษทั ข้ามชาติ ชัน้ นำ�หลายแห่ง อาทิ พีแอนด์จี โอสถสภา โอเรียนทอล พริน้ เซส ปัจจุบนั เธอทำ�งานทีบ่ ริษทั ยูนลิ เี วอร์ ไทย เทรดดิง้ จำ�กัด มาเกือบ 15 ปีแล้ว ล่าสุด อดิศรา ดำ�รงตำ�แหน่ง ผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายกลยุทธ์การ ตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์และ ผูบ้ ริหารกลุม่ การตลาดระดับโลก ยูนลิ เี วอร์ เน็ทเวิรค์ รับผิดชอบ ธุรกิจ MLM ภายใต้แบรนด์ อาวียองซ์ ดูแลสมาชิกธุรกิจ MLM ใน 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา มาเลเซีย และสิงคโปร์ พร้อมทัง้ รับผิดชอบกลยุทธ์การตลาดของ สินค้ากว่า 200 ชนิด 36

OPTIMISE | JULY 2015

ส่วนตัวมีวิธีการออมอย่างไร เพื่อไม่ให้แค่ขึ้นชื่อว่า “ได้ออม” เนื่องด้วยชื่นชอบสายงานด้านการตลาด และปัจจุบันก็ ทำ�งานเป็นพนักงานประจำ�ในบริษัท จึงใช้ชีวิตอย่างที่เรียกว่า “Employee’s Life” ซึ่งเป็นที่ทราบกันอยู่ว่ารายได้จะมีความ สมํ่าเสมอ มั่นคง ไม่หวือหวาเหมือนการเป็นเจ้าของธุรกิจ ดังนั้นเราต้องคิดว่าจะทำ�อย่างไรให้รายได้สมํ่าเสมอนี้พอกพูน ขึ้น และต่อยอดรายได้ของเราให้มากที่สุดอย่างไรได้บ้าง ยิ่งปัจจุบัน ยุ้ยต้องดูแลธุรกิจ ผลประกอบการ กิจกรรม ทางการตลาดทุกอย่างของแบรนด์ที่รับผิดชอบ ค่อนข้างยุ่ง มีคิวประชุมค่อนข้างแน่น ทำ�งานตั้งแต่เช้าถึงมืดคํ่าพอสมควร ต้องเดินทางทั้งต่างจังหวัดและต่างประเทศ บางครั้งเดินทาง สัปดาห์สองสัปดาห์ ทำ�ให้ยุ้ยออมอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องมี ผู้ช่วยมาช่วยดูแลเรื่องการออมและการลงทุนโดยเฉพาะ มีวิธีเลือกผู้ช่วยอย่างไรบ้าง ก็ตอ้ งดูในแง่องค์กรก่อน ดูสถาบันการเงินทีม่ คี วามมัน่ คง และให้ผลประโยชน์ทเ่ี หมาะสมกับความเป็นตัวเรา คือไม่ได้ เสีย่ งสูงสุด แต่กไ็ ม่ถงึ ขัน้ ไม่เสีย่ งเลย ต้องเป็นความเสีย่ งทีเ่ รา รับไหว จริงๆ ในเมืองไทยมีสถาบันการเงินทีม่ น่ั คงหลายแห่ง เกียรตินาคินภัทร ก็เป็นหนึง่ ในนัน้ ผลตอบแทนทีใ่ ห้ เป็น ผลตอบแทนทีเ่ หนือกว่ามาตรฐานของสถาบันอืน่ ทัว่ ไป เป็นผลตอบแทนทีแ่ ข่งขันกับสถาบันอืน่ ได้ ยุย้ จึงฝากเงินกับ เกียรตินาคินมานานกว่า 10 ปีแล้ว ตัง้ แต่สมัยทีย่ งั เป็น เงินทุนหลักทรัพย์ ถือว่านานทีเดียว ค่ะ เหตุผลที่ชอบเพราะที่นี่จะให้ข้อมูลกับเราอย่าง สมํ่าเสมอต่อเนื่อง เกียรตินาคินภัทร ไม่ได้มีมุมมองแค่ใน ระดับท้องถิ่น แต่มีทีมวิเคราะห์เฉพาะทำ�ให้ข้อมูลที่แชร์ให้กับ ลูกค้า เป็นข้อมูลที่ถูกต้องทันสมัย มีความเป็นสากล สามารถ คาดการณ์แนวโน้มในอนาคตได้ระดับหนึ่ง ถ้าเราไปเป็น ลูกค้าบริษัทอื่น บริษัทนั้นมักเสนอสินค้าที่มาจากธนาคารของ ตัวเอง หลักทรัพย์ของตัวเอง หรือหน่วยงานใดที่ตัวเองมีผล ประโยชน์ แต่ที่นี่ไม่ได้เป็นแบบนั้น มีความเป็นกลาง ไม่ได้นำ� เสนอสินค้าที่มาจากตัวเอง แต่เปิดโอกาสมองในทุกมิติ แล้ว ก็นำ�เสนอผลประโยชน์ของเรา ให้เราได้ผลประโยชน์สูงสุด

มากกว่าที่เกียรตินาคินภัทร ได้ผลประโยชน์สูงสุด อีกเรื่องคือเข้มแข็งทั้งตลาดออมและตลาดทุน เกียรตินาคินภัทร มีลักษณะความเป็นธนาคาร ขณะเดียวกัน ก็มีประสบการณ์ด้านหลักทรัพย์ มีความสามารถการแข่งขัน ระดับหนึ่ง ทำ�ให้ยุ้ยจับมือกับคู่ค้าเพียงคนเดียว แต่เหมือนจับ มือกับอีกหลายสถาบัน ทำ�ให้บริหารเงินทุนของเราได้ง่ายขึ้น สุดท้ายให้ข้อมูลพอเหมาะตามความต้องการลูกค้า ไม่ได้ ให้ข้อมูลมาเยอะแยะ แต่ดูไม่รู้เรื่อง และไม่ได้ให้ข้อมูลน้อย ไปจนไม่มั่นใจ รู้ว่าเรามีตัวตนยังไง มีความชอบด้านไหน แต่ก็ ไม่ได้หยุดอยู่แค่ตามที่เราชอบ มีการแนะนำ�เรื่องใหม่ๆ เข้ามา ด้วย เพื่อให้เรามีวิสัยทัศน์กว้างขึ้น เผื่อเราจะเปลี่ยนแผนวิธี การออมและลงทุนในรูปแบบอื่นบ้าง ชื่นชอบบริการใดเป็นพิเศษหรือไม่ บริการ Consolidated Statement ค่ะ เป็นบริการที่ชอบ มาก ทุกวันนี้ยุ้ยมีงาน มีประชุมต่อเนื่อง ถ้ามีเงินก้อนหนึ่ง แล้วไปทำ�เอง แบ่งไปฝากสถาบัน A สถาบัน B สถาบัน C ยุ้ยจะได้ Statement A B และ C มาอย่างละใบ แล้วบางที กำ�หนดวันของแต่ละแห่งไม่ตรงกัน เงื่อนไขต่างกัน เวลามา ดูตัวยุ้ยเองจะสับสน และถ้าเผลอลืมติดตามสเตทเมนท์การ เงิน เราก็จะขาดทุนทันที วันเดียวก็เสียผลประโยชน์แล้ว ดัง นั้น การมี Consolidated Statement ทำ�ให้เรามองเห็นง่าย วิเคราะห์เงินลงทุนทั้งหมด ไม่ว่าจะฝากไว้ตรงจุดไหน เรา สามารถเห็นได้ภายในครั้งเดียว แผ่นเดียวทีเดียว เวลาบริหาร เราสั้นลง มีผู้ช่วยจัดการเรื่องนี้ให้เรา เป็นบริการที่ดี ตอบโจทย์คนงานยุ่งอย่างเรามาก อีกส่วนคือการรับมอบอำ�นาจทำ�แทนระหว่างเราอยู่ ต่างประเทศ เมื่อมอบอำ�นาจให้ เราก็ไม่ต้องไปเซ็นหรือทำ� ธุรกรรมเอง สามารถทำ�โฟนเซล โฟนคอลคุยกับทางภัทร ทำ�ธุรกรรมในวันที่เรากำ�หนดได้เลย โดยมีความไว้ใจได้ และไม่ผิดพลาด ซึ่งเข้ากับชีวิตการทำ�งานของเราอย่างมาก

OPTIMISE | JULY 2015

37


BEYOND BOUNDARIES

How Singapore Got Its Cool Back 01

02

01 Red Dot Design Museum 02 ArtScience Museum 03 Gillman Barracks

38

OPTIMISE | JULY 2015

03

จากประเทศเกาะเล็กๆทีห่ ลายคนตีตราว่าน่าเบือ่ ตอนนี้ สิงคโปร์ได้พลิกโฉมตัวเองมาเป็นสุดยอดผูน้ ำ�ในด้านการ ออกแบบ ศิลปะ และความบันเทิงของภูมภิ าคไปแล้ว ปีนเ้ี ป็นปีทส่ี งิ คโปร์เฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 50 ปี แห่งการ ก่อตัง้ ประเทศ ซึง่ แม้จะเป็นระยะเวลาไม่นานนัก แต่หากใครได้มี โอกาสได้ไปเยือนสิงคโปร์ในช่วงนี้ ก็จะเห็นว่าสิงคโปร์ได้เดินทาง มาไกลไม่นอ้ ยเลยทีเดียว เพราะจากเมืองท่าโทรมๆ ทีเ่ ต็มไปด้วย โรงงานไม่นา่ ดูภายใต้การปกครองของมาเลเซีย สิงคโปร์ได้กลาย มาเป็นหนึง่ ในประเทศยอดนิยมของนักท่องเทีย่ วและศูนย์กลาง การเงินชัน้ นำ�ของโลก เอาเป็นว่าในช่วงเวลา 10 ปี ตัง้ แต่ปี 2545 ถึง 2555 รายได้จากนักท่องเทีย่ วทีม่ าเยือนสิงคโปร์เติบโตถึง ร้อยละ 10 ต่อปีโดยเฉลีย่ ตัวเลขนักท่องเทีย่ วก็เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 6.6 ต่อปีโดยเฉลีย่ ซึง่ ถือว่าสูงมาก ทัง้ ๆ ทีช่ ว่ งระยะนี้ มีเหตุไม่ชวนให้ ท่องเทีย่ วอย่างสถานการณ์โรคซาร์สระบาดในปี 2546 และวิกฤต การเงินโลกเมือ่ ปี 2550-2551 ความสำ�เร็จนีไ้ ม่ใช่ความบังเอิญ หากแต่เป็นผลจากการร่วม แรงร่วมใจกันของรัฐบาลและเอกชนสิงคโปร์ทต่ี อ้ งการจะผลักดัน ประเทศขึน้ ไปเป็นแหล่งท่องเทีย่ วในฝันของคนในโลกให้ได้ ไม่ ว่าจะด้วยการเปิดสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วแปลกๆ ใหม่ๆ อย่างสวนสนุก Universal Studio บนเกาะ Resorts World Sentosa โดมแก้ว มหึมาและต้นไม้เหล็กสวยประหลาดในสวน Gardens by the Bay หรือตึกตระการตาอย่าง Marina Bay Sands ซึง่ เพียบพร้อม ไปด้วย โรงแรมระดับ 6 ดาว แหล่งช้อปปิง้ และ คาสิโนหรูเทียบ ชัน้ ลาสเวกัส “เราตัง้ ใจจะเป็นผูน้ �ำ แหล่งท่องเทีย่ วของเอเชียไม่วา่ จะใน ด้านธุรกิจ พักผ่อน หรือบันเทิง เป็นไอคอนทางการท่องเทีย่ ว ทีไ่ ม่ใช่แค่ส�ำ หรับชาวสิงคโปร์ แต่ตอ้ งเป็นแลนด์มาร์กทีค่ น ทัว่ โลกจดจำ�ได้” กายาตรี รามัศมี ผูจ้ ดั การฝ่ายสือ่ สารของ Marina Bay Sands อาคารรูปกระดานโต้คลืน่ ของสิงคโปร์ท่ี กลายเป็นไอคอนระดับโลกไปแล้วกล่าว อย่างไรก็ตาม แม้หลายคนอาจจะมองว่าตัวเลขนักท่องเทีย่ ว ทีเ่ พิม่ จาก 8,943,041 คน ในปี 2548 มาเป็นมากกว่า 15 ล้านคน เมือ่ ปีกลาย หมายถึงสิงคโปร์ท�ำ ได้ส�ำ เร็จตามเป้าแล้ว แต่ความ จริงคือสิงคโปร์ยงั ต้องพยายามอีกมากเพือ่ ลบภาพความเป็นรัฐ เผด็จการไร้หวั จิตหัวใจ ทีค่ รัง้ หนึง่ เป็นทีร่ จู้ กั กันในฐานะประเทศที่ ห้ามเคีย้ วหมากฝรัง่ มากกว่าจะในฐานะประเทศทีน่ า่ ท่องเทีย่ ว

โดยในปีฉลองครบรอบห้าสิบปีน้ี สิงคโปร์ได้เริม่ เปิดใจรับศิลปิน ทีโ่ ลดโผนแตกแถวมากกว่าแต่กอ่ น พร้อมๆ กันกับทีค่ น้ หาราก เหง้าของตนเอง และอ้าแขนรับคลืน่ แห่งความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ให้ถาโถมเข้ามาในเมือง

ศิลป์สะบัดใบ

การสร้างสิงคโปร์ให้เป็นเมืองทีข่ ายวัฒนธรรมได้นน้ั เป็นงาน ทีร่ ฐั บาลให้ความสำ�คัญมากขึน้ เรือ่ ยๆ ซึง่ เห็นได้จากโครงการ หลากหลายของรัฐบาลในขณะนี้ โดยทีน่ า่ ตืน่ เต้นทีส่ ดุ น่าจะเป็น โครงการสร้าง National Gallery Singapore หรือหอศิลป์แห่ง ชาติทก่ี �ำ หนดจะเปิดตัวครัง้ แรกในเดือนพฤศจิกายนปีน้ี โครงการ นีเ้ ป็นโครงการทีร่ ฐั บาลผลักดันมานานเกือบ 10 ปี และมีงบ ประมาณสูงถึง 530 ล้านดอลลาร์สงิ คโปร์ (ราว 13,000 ล้านบาท) แต่ทส่ี �ำ คัญคือโครงการนีไ้ ม่ได้มไี ว้แค่เพียงเป็นแหล่งดึงดูด นักท่องเทีย่ วเท่านัน้ “เราตัง้ ใจให้หอศิลป์แห่งชาติท�ำ หน้าทีป่ กั ธงสิงคโปร์ลงบน แผนทีศ่ ลิ ปะของโลก และก็ยกระดับให้เราเป็นผูน้ �ำ ทางความ คิดของศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ลอว์เรนซ์ หว่อง รัฐมนตรี กระทรวงวัฒนธรรม ชุมชน และเยาวชน ประกาศชัดเจนในงาน เปิดตัวตราหอศิลป์เมือ่ ปีทแ่ี ล้ว คนทีไ่ ด้ผลประโยชน์เต็มๆ จากความพยายามขายวัฒนธรรม ของสิงคโปร์นก้ี ค็ อื นักท่องเทีย่ วอย่างเราๆ นัน่ เอง เพราะหอศิลป์ แห่งใหม่ตง้ั อยูใ่ นอาคารทรงนีโอ-คลาสสิกหลังงามซึง่ เคยทำ� หน้าทีเ่ ป็นศาลากลาง และศาลฎีกามาก่อน โดยมีเนือ้ ทีจ่ ดั แสดง นิทรรศการกว้างถึง 64,000 ตารางเมตร ภายในจะเป็นทีร่ วบรวม ศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระดับชัน้ นำ�ของโลกกว่า 8,000 ชิน้ พร้อมกับนิทรรศการถาวรทีจ่ ะแสดงงานศิลปะชุด Collection of Singapore และนิทรรศการหมุนเวียนทีส่ งิ คโปร์จะร่วมจัดกับ หอศิลป์ของประเทศอืน่ ๆ ทัว่ โลก แต่หมัดเด็ดของสิงคโปร์ไม่ได้มเี พียงแค่การเปิดหอศิลป์ อลังการเพียงอย่างเดียว ในเดือนพฤษภาคมทีผ่ า่ นมานีเ้ อง สิงคโปร์เพิง่ เปิดตัว Pinacotheque de Paris หอศิลป์เอกชนใหญ่ ทีส่ ดุ ของปารีส ทีข่ า้ มนา้ํ ข้ามทะเลมาเปิดสาขาแรกในเอเชียทีน่ ่ี โดยสิงคโปร์ได้มอบค่ายทหารเก่า Fort Canning Centre OPTIMISE | JULY 2015

39


BEYOND BOUNDARIES

การอนุรกั ษ์อดีตของประเทศ ถือเป็นองค์ประกอบสำ�คัญของ นโยบายการขับเคลือ่ นไปข้าง หน้าของสิงคโปร์... จนแทบไม่ น่าสงสัยเลยว่าทำ�ไมย่านเมือง เก่าอย่าง Chinatown, Little India และ Arab Quarter ถึงได้กลายเป็นย่านทีน่ า่ ไปเยีย่ ม เยือนทีส่ ดุ ของเกาะในตอนนี้ ทีต่ ง้ั ตระหง่านอยูบ่ นยอดเขาท่ามกลางแมกไม้เขียวขจีของสวน สาธารณะ Fort Canning Park ให้เป็นทีอ่ ยูใ่ หม่ของหอศิลป์แห่ง นี้ โดยเพียงนิทรรศการปฐมฤกษ์ชดุ Myth of Cleopatra ก็เรียก เสียงฮือฮาได้ทนั ทีจากการจัดแสดงวัตถุโบราณทีเ่ กีย่ วข้องกับอดีต ราชินแี ห่งอาณาจักรอิยปิ ต์โบราณผูโ้ ด่งดัง หอศิลป์ขนาดใหญ่ทง้ั สองนีจ้ ะมาร่วมเสริมทัพให้กบั หอศิลป์ ดีๆ อีกหลายแห่งของสิงคโปร์ อย่างเช่นพิพธิ ภัณฑ์ ArtScience Museum รูปกลีบบัวข้าง Marina Bay Shoppes ซึง่ ถึงแม้ พิพธิ ภัณฑ์แห่งนีจ้ ะถูกคอศิลปะบางคนดูแคลนว่าจัดแสดง นิทรรศการเอาใจตลาดเกินไป แต่ถา้ พูดถึงคุณภาพงานแล้ว ก็ถอื ว่าไม่เลวเลยทีเดียวนับตัง้ แต่พพิ ธิ ภัณฑ์แห่งนีเ้ ริม่ ดำ�เนินการมา เมือ่ ปี 2544 โดยมีการแสดงผลงานของศิลปินนามอุโฆษอย่าง ซัลวาดอร์ ดาลี วินเซนต์ แวน โก๊ะ แอนดี้ วอร์ฮอล และ เลโอนาร์โด ดา วินชี อยูไ่ ม่ขาด ยิง่ กว่านัน้ ทีน่ ย่ี งั จัดงาน Gallery Late Nights ขึน้ เดือนละครัง้ ในบาร์ของพิพธิ ภัณฑ์ ในคืนวันพฤหัสบดี ซึง่ จะมี งานสนุกๆ มากมาย ตัง้ แต่ปาร์ตร้ี วมของดีเจไปจนกระทัง่ ศิลปิน โดยจะมีการแจกส่วนลดค่าเข้าชมนิทรรศการด้วย นอกจากนีก้ ม็ ี Gillman Barracks หอศิลป์ของรัฐบาล อีกแห่งทีเ่ ปิดบริการมาตัง้ แต่ปี 2555 และเป็นทีจ่ ดั นิทรรศการ ศิลปะร่วมสมัยและกิจกรรมแปลกใหม่อย่างสมา่ํ เสมอ รวมทัง้ มีรา้ นอาหารดีๆ อย่าง The Naked Finn และร้าน Red Baron รวมอยูด่ ว้ ย โดยท่ามกลางร่มเงาไม้เขตร้อนอันเงียบสงบในสวน สาธารณะ Hort Park และ Southern Ridges รัฐบาลได้เปลีย่ น บ้านพักสีขาว และอาคารโคโลเนียลของอดีตค่ายทหารแห่งนีใ้ ห้ กลายเป็นแหล่งรวมแกลเลอรีนานาชาติไว้ถงึ 17 แห่ง ซึง่ ได้แสดง ผลงานของศิลปินอย่างเช่น กิลเบิรต์ แอนด์ จอร์จ ศิลปินคูห่ รู ะดับ ตำ�นานชาวอังกฤษ แอนนี เลโบวิตซ์ ช่างภาพชือ่ ก้องชาวอเมริกนั และ อริญชย์ รุง่ แจ้ง ศิลปินชาวไทย จนเป็นทีก่ ล่าวขวัญมาแล้ว น่าสังเกตว่า การเกิดขึน้ ของสถานทีเ่ หล่านี้ แสดงให้เห็นถึง “ความผาดโผน” ของวงการศิลปะสิงคโปร์ซง่ึ เพียงเมือ่ สองสามปี ทีแ่ ล้ว แทบไม่มใี ครคาดคิดว่าจะเป็นไปได้ โดยเฉพาะ Gillman Barracks เองซึง่ สร้างชือ่ จากการจัดงาน Art After Dark ซึง่ อยูใ่ น รูปของ Block Party แบบอเมริกนั ซึง่ มีทง้ั ดนตรี อาหาร ตลอดจน การขยายเวลาเปิดทำ�การของห้องศิลป์ ให้คนมาสังสรรค์กนั ได้ เต็มที่ ชนิดทีพ่ ดู ได้เลยว่าหากแอนนี เลโบวิตซ์มาเห็นเข้าก็จะต้อง ชอบใจ 40

OPTIMISE | JULY 2015

03

Gillman Barracks

Address 9 Lock Road www.gillmanbarracks.com

The Naked Finn

Address Block 39, Malan Road, Gillman Barracks Phone +65-6694-0807 www.nakedfinn.com

Red Baron

04

05

เยือนย่านฮิป

บรรดาอาคารศิลปะทัง้ หลายทีไ่ ด้กล่าวมา ยกเว้นไว้แต่ ArtScience Museum ล้วนแต่เป็นการปรับปรุงมาจากอาคาร เก่าของสิงคโปร์ทง้ั สิน้ ทัง้ นี้ เพราะการอนุรกั ษ์อดีตของประเทศ ถือเป็นองค์ประกอบสำ�คัญของนโยบายการขับเคลือ่ นไปข้างหน้า ของสิงคโปร์มาตัง้ แต่ชว่ งปี 80 จนแทบไม่นา่ สงสัยว่าทำ�ไมย่าน เมืองเก่าอย่าง Chinatown, Little India และ Arab Quarter ถึงได้กลายเป็นย่านทีน่ า่ ไปเยีย่ มเยือนทีส่ ดุ ของเกาะในตอนนี้ ยิง่ กว่านัน้ ด้วยสถานะความเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมภิ าค การฟืน้ ฟูรากเหง้าของตัวเองยิง่ มีความสำ�คัญต่อสิงคโปร์เพราะ จะช่วยหล่อหลอมให้ประเทศมีภาพลักษณ์ของ “มหานคร (Metropolis)” ทีจ่ ะเทียบชัน้ ได้กบั มหานครชือ่ ก้องอย่างเช่น บาร์เซโลนา หรือโตเกียว และปรากฏว่าความพยายามอนุรกั ษ์นก้ี เ็ ริม่ แสดงผลแล้ว เช่นกัน ทุกวันนี้ ตึกแถวสูง 2-3 ชัน้ ในย่าน Chinatown และย่าน Duxton Hill ไม่เพียงแต่สวยขึน้ กล้องอย่างเดียวเท่านัน้ แต่ยงั เป็นแหล่งทีก่ นิ ทีเ่ ทีย่ วสุดฮิปยามคา่ํ คืน โดยตัวอย่างก็เช่น Sorrel ภัตตาคารทีท่ �ำ ให้คนทัง้ เมืองพูดถึงด้วยวัตถุดบิ แสนสดและ การตกแต่งจานสุดประณีต (ควรจองล่วงหน้า) หรือบาร์อาหาร ย่างอย่าง Burnt Ends ของเชฟ เดวิด พินท์ ทีเ่ พิง่ ได้รบั เลือกให้ ติดอันดับ 30 ในการจัดอันดับร้านอาหารยอดเยีย่ มทีส่ ดุ แห่ง เอเชียในปีน้ี นอกจากนัน้ ย่านนีย้ งั เป็นแหล่งค็อกเทลเลิศลา้ํ ของ สิงคโปร์ ไม่วา่ จะค็อกเทลของบาร์แต่งเรียบสวยอย่าง Jigger and Pony และ Tippling Club หรือบาร์แบบ Speakeasy

06

Essentials

ศิลป์สะบัดใบ National Gallery Singapore

07 อย่าง Spiffy Dapper ซึง่ ลูกค้าจะหาเจอก็ตอ่ เมือ่ เดิน ขึน้ บันไดโทรมๆ แถว Amoy Street ไปจนถึงประตูท่ี ไม่มเี ครือ่ งหมายใดๆ บอกชือ่ ร้าน ขณะทีย่ า่ น Arab Quarter ก็มี ร้าน Blu Jaz และ ร้าน Long Play เป็น สวรรค์ของคนรักเสียงเพลง และอาหารจานอร่อย การปัดฝุน่ ย่านเก่าให้สอ่ งประกายขึน้ มาอีกรอบนี้ ไม่ได้จ�ำ กัดอยูแ่ ค่ยา่ นกลางเมืองเท่านัน้ ย่านทีถ่ อื เป็น ตัวอย่างทีด่ ที ส่ี ดุ ของความ “แนว” ของสิงคโปร์ในวันนี้ ก็คอื ย่าน Tiong Bahru ซึง่ เป็นบริเวณย่านทีอ่ ยูอ่ าศัย แบบการเคหะทีต่ กแต่งในแบบ Art-Deco ทีส่ ร้างขึน้ ตัง้ แต่ปี 40 และได้รบั การขนานนามจากนิตยสาร Thrillist และนิตยสาร Vogue ว่าเป็นย่านที่ “ฮิป” ทีส่ ดุ แห่งหนึง่ ของโลก เพราะเต็มไปด้วยคาเฟ่เท่ๆ และร้านขายของดีไซน์สวยมีเอกลักษณ์ (อย่างเช่น ร้านกาแฟ 40 Hands ทีต่ ง้ั ขึน้ ตัง้ แต่ปี 2553) อีกทัง้ รุม่ รวยด้วยวัฒนธรรมทีแ่ ตกต่างจากทีใ่ ดในสิงคโปร์

“นักท่องเทีย่ วทัว่ ไปมักจะคิดว่าสิงคโปร์มแี ต่ตกึ สร้างจากเหล็ก และกระจกทีห่ น้าตาเหมือนๆ กัน หมด และทันใดนัน้ พวกเขาก็จะได้เจอย่านอย่าง Tiong Bahru ทีม่ ตี กึ Art-Deco สวยๆ มีตรอกเล็ก ตรอกน้อยน่ารักทีเ่ ต็มไปด้วยร้านกาแฟ ร้านขาย ขนมปัง และร้านขายหนังสือ แทรกตัวอยูก่ บั ร้าน อาหารพืน้ เมืองยอดนิยม” แฮร์รี โกรเวอร์ ผูก้ อ่ ตัง้ ร้าน กาแฟชือ่ ดังอย่าง 40 Hands และโรงคัว่ เมล็ดกาแฟ Common Man Coffee Roasters ให้ความเห็น ทุกวันนี้ ร้าน 40 Hands มีเพือ่ นใหม่มาร่วมย่าน อีกมากมาย เช่นร้านหนังสืออิสระ Books Actually และหนึง่ ในร้านเบเกอรีทอ่ี ร่อยทีส่ ดุ ของสิงคโปร์ อย่าง Tiong Bahru Bakery เรียกได้วา่ มาถึงย่านนี้ แล้ว เราสามารถใช้เวลาทัง้ วันเดินสำ�รวจร้านทีแ่ ข่ง กัน “แนว” แถวนีไ้ ด้อย่างไม่รเู้ บือ่ จนไม่มเี วลาได้แวะ Zara หรือ Starbucks เลยทีเดียว

08 04 Tippling Club 05 Blu Jaz 06 Burnt Ends 07 Books Actually 08 แฮร์ ร ี โกรเวอร์ แห่ ง ร้ า นกาแฟ 40 Hands 09 Sorrel

Address Block 45, Malan Road Phone +65-9637-9201 www.fb.com/redbaronsg

เยือนย่านฮิป Sorrel

Address 21 Boon Tat Street Phone +65-6221-1911 www.sorrel.sg

Burnt Ends

Address 20 Teck Lim Road Phone +65-6224-3933 www.burntends.com.sg

Tippling Club

Address 38 Tanjong Pagar Road Phone +65-6475-2217 www.tipplingclub.com

Address 1, St. Andrew’s Road Phone +65-6690-9400 www.nationalgallery.sg

Spiffy Dapper

Pinacotheque de Paris

Address 2nd Floor, 73 Amoy Street Phone +65-8233-9810 www.spiffydapper.com

Address Fort Canning Arts Centre, Fort Canning Park Phone +65-6883-1588 www.pinacotheque.com.sg

Blu Jaz

Address 11 Bali Lane, Historic Gampong Glam Phone +65-9199-0610 www.fb.com/blujazcafe

ArtScience Museum

Address 6 Bayfront Avenue Phone +65-6688-8888 www.marinabaysands.com

09

OPTIMISE | JULY 2015

41


BEYOND BOUNDARIES

ผมคิดว่านักท่องเทีย่ วจะต้อง แปลกใจเมือ่ เห็นว่าวงการ ออกแบบและชุมชนศิลปะใน สิงคโปร์ใหญ่แค่ไหน 10 โถงกลางอาคาร National Design Centre

10

ดงดีไซน์

แม้การอนุรกั ษ์ยา่ นเก่าจะเป็นของทีไ่ ม่เลวนัก แต่ สิงคโปร์เองก็ตระหนักดีถงึ ความจำ�เป็นทีจ่ ะต้องหาทาง กระตุน้ ให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ ทีจ่ ะผลักดันประเทศให้ ขับเคลือ่ นไปข้างหน้าด้วย​เพราะเหตุน้ี ในกระบวนการ แปลงโฉมประเทศ การออกแบบและความคิด สร้างสรรค์จงึ ถูกให้ความสำ�คัญอย่างเต็มที่ สิง่ นีไ้ ด้ แสดงให้เห็นแง่มมุ ของสิงโปร์ทค่ี นไม่เคยรูจ้ กั มาก่อน “ผมคิดว่านักท่องเทีย่ วจะต้องแปลกใจเมือ่ เห็นว่า วงการออกแบบและชุมชนศิลปะในสิงคโปร์ใหญ่แค่ ไหน” เอลวิน เซียะ ผูจ้ ดั งาน MADD หรือตลาดนัดงาน ออกแบบสร้างสรรค์ประจำ�เดือนทีไ่ ด้รบั ทุนสนับสนุน จากรัฐบาลภายใต้โครงการชุมชนคนสร้างสรรค์ สิงคโปร์ (Creative Community Singapore Program) กล่าว โดยงานนีไ้ ด้รบั ความนิยมอย่างมาก ในหมูน่ กั ออกแบบรุน่ หนุม่ สาว นับตัง้ แต่เริม่ จัดงานมา เมือ่ เดือนมิถนุ ายน 2549 “ผมว่ามันน่าปลืม้ นะทีไ่ ด้เห็น แง่มมุ อืน่ ๆ ของสิงคโปร์อย่างนี”้ จุดเริม่ ชมงานทีด่ กี ค็ อื การไปเยีย่ ม “บ้าน” ของ งาน MADD คือ Red Dot Design Museum อดีต สำ�นักงานตำ�รวจจราจรสีแดงเหมือนตูไ้ ปรษณียท์ ่ี ได้เปิดทำ�การมาเมือ่ ปี 2548 และปัจจุบนั กลายมา เป็นสวรรค์ของนักออกแบบทีร่ วบรวมงานออกแบบ ผลิตภัณฑ์และงานออกแบบนิเทศศิลป์กว่า 1,000 ชิน้ มาจากทัว่ โลก ผูช้ น่ื ชอบงานดีไซน์สามารถไปเยีย่ มชม National Design Centre อีกหนึง่ สถานแสดงงานดีไซน์ทไ่ี ด้ รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลทีเ่ ปิดขึน้ เมือ่ ปีกลายและ เตรียมทำ�หน้าทีเ่ ป็นแหล่งฟูมฟักและสนับสนุนความ 42

OPTIMISE | JULY 2015

คิดสร้างสรรค์ของสิงคโปร์ นอกจากนัน้ สำ�นักงานใหญ่ ของ Singapore Design Council ทีร่ บั หน้าทีจ่ ดั งาน Singapore Design Week เป็นประจำ�ทุกปี ก็ก�ำ ลัง จัดงานนิทรรศการ Fifty Years of Singapore Design ซึง่ เน้นแสดงนวัตกรรมการออกแบบชิน้ สำ�คัญของ สิงคโปร์นบั แต่เป็นเอกราชมาจนถึงปัจจุบนั โดยจะจัด แสดงไปจนถึงสิน้ ปีน้ี อีกหนึง่ สถานทีท่ พ่ี ลาดไม่ได้ส�ำ หรับสำ�รวจงาน ออกแบบท้องถิน่ ดีๆ ก็คอื ร้าน Keepers ซึง่ อยูใ่ จกลาง แหล่งช็อปปิง้ อย่าง Orchard Road โดยร้านนีเ้ ดิมเปิด เป็น ร้าน Pop-up ชัว่ คราว ก่อนจะกลายสภาพมาเป็น Concept store ทีเ่ ราสามารถเข้าไปเลือกเสือ้ ผ้า และ สินค้าต่างๆ จากแฟชัน่ ดีไซเนอร์และศิลปินชัน้ นำ�ของ สิงคโปร์กว่า 50 คน จากกระแสความเปลีย่ นแปลงสดใหม่ทไ่ี ด้กล่าว มาทัง้ หมด เห็นได้ชดั ว่าปีนจ้ี ะเป็นปีทน่ี า่ ตืน่ เต้น อย่างมากสำ�หรับสิงคโปร์ ถึงขนาดว่าอาจเป็นปีท่ี สิงคโปร์สามารถสลัดภาพของความเป็นประเทศ น่าเบือ่ ทิง้ ไปได้ส�ำ เร็จ และพิสจู น์ให้โลกได้เห็น ว่าสิงคโปร์นน้ั มีอะไรมากกว่าตึกสูง คาสิโน หรือ Resorts World Sentosa โดยหากสิงคโปร์ท�ำ ได้ ก็ไม่ตอ้ งแปลกใจ เพราะนีค่ อื ประเทศทีไ่ ม่เพียง ทะนุถนอมวัฒนธรรมและรากเหง้าของตัวเอง แต่ยงั มองไปยังอนาคตด้วยวิสยั ทัศน์ อันเปีย่ มไป ด้วยความคิดสร้างสรรค์อกี ด้วย ดูเหมือนไม่มเี วลาไหนเหมาะเจาะกว่านีอ้ กี แล้ว ทีเ่ ราจะจับจองตัว๋ เครือ่ งบินราคาดีสกั ใบและไปเยีย่ ม โฉมใหม่ของสิงคโปร์อกี สักครัง้ หนึง่

เยือนย่านฮิป Long Play

Address 4 Haji Lane Phone +65-6291-3323 www.longplay.sg

40 Hands

Address 78 Yong Siak Street Phone +65-6225-8545 www.40handscoffee. com

Books Actually

Address 9 Yong Siak Street Phone +65-6222-9195 www.booksactually.com Tiong Bahru Bakery

Address 56 Eng Hoon Street Phone +65-6220-3430 www.tiongbahru bakery.com

ดงดีไซน์ Red Dot Design Museum

Address 28 Maxwell Road Phone +65-6327-8027 www.museum.red-dot. sg

National Design Centre

Address 111 Middle Road Phone +65-6333-3737 www.design singapore.org

Keepers

Address Junction of Cairnhill Road and Orchard Road Phone +65-8299-7109 www.keepers.com.sg

OPTIMISE | JULY 2015

43


THE GOOD LIFE

01

My Bicycle ในขณะทีก่ ารปัน่ จักรยานเริม่ กลายเป็นของ ไม่แปลกใหม่ นักปัน่ ต้องหันไปพึง่ มืออาชีพ เพือ่ สร้าง “เอกลักษณ์” ให้กบั สองล้อคูใ่ จของตัวเอง ไม่ต้องบอกก็รู้ว่า กระแสการปั่นจักรยานในกรุงเทพฯ นั้นกำ�ลังโลดแล่น ร้านกาแฟที่มีไว้สำ�หรับนักปั่นโดยเฉพาะ หรือไบค์คาเฟ่ผุดขึ้นตามย่านเก๋ๆ ทั่วเมืองกรุงราวกับเห็ดหลัง ฝน หน่วยงานภาครัฐอย่างสำ�นักงานกรุงเทพมหานครเอง ก็พยายามทำ�เลนจักรยาน สร้างเส้นทางปั่น ออกโครงการ จักรยานสาธารณะ (Bike sharing) และรับอาสาเป็นเจ้าภาพ จัดงานกิจกรรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนกระแสนี้อย่างเต็มแรงถีบ ยิ่งกว่านั้น เดี๋ยวนี้ เราต้องใช้เวลาอย่างน้อยๆ ไม่ตํ่ากว่าสอง อาทิตย์ในการจองคิวจากร้านแต่งจักรยานอย่างเช่น Jumm Bike Studio ซึ่งมีบัญชีลูกค้าอัดแน่นไปด้วยรายชื่อผู้บริหาร กระเป๋าหนักและลูกหลานเจ้าสัว นึกดูแล้วก็น่าสงสัยว่าเหตุ ใดกิจกรรมที่ครั้งหนึ่ง เคยมีแต่ภาพของคนหน้ากร้านแดด มะเมี่ยมในชุดแนบเนื้อไม่ชวนมอง กลับทำ�ท่าจะกลายมาเป็น กีฬากอล์ฟรูปแบบใหม่สำ�หรับผู้มีอันจะกินในกรุงเทพฯ ยุคนี้ การบริการแบบเฉพาะตัวลูกค้า หรือ Personalization ดูเหมือนจะเป็นหนึง่ ในคำ�อธิบายทีเ่ ป็นไปได้ เพราะในการเล่น จักรยานระดับบนสุดนัน้ ว่ากันว่าไม่มคี �ำ ว่า “One-size-fits-all” ไม่มีจักรยานคันไหนที่ทำ�ขึ้นมาแล้วจะเข้าได้กับสรีระและ รสนิยมของทุกคน ยิ่งร้านเฉพาะทางอย่างร้าน Jumm Bike Studio ร้าน Cuca หรือร้าน Cog ’n Roll ยิ่งทำ�ให้การเป็น เจ้าของจักรยานคันหนึ่ง กลายเป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคลไม่ ต่างกับการตัดสูท ถึงขนาดที่ว่านักปั่นจำ�นวนมากยอมทุ่มเท่า ไหร่เท่ากันกับเครื่องเคราและบริการพิเศษๆ ที่ร้านจักรยาน เหล่านี้สรรหามานำ�เสนอ เพียงเพื่อแลกกับคำ�ว่าไม่เหมือน ใครเท่านั้น

เริ่มออกตัว

แต่แน่นอนว่าธุรกิจนี้ไม่ได้วิ่งฉิวมาตั้งแต่เริ่ม ย้อนกลับ ไปในปี 2551 อานุศานติ์ เผ่าจินดา หรือ จํ้า ผู้ก่อตั้ง Jumm Bike Studio เพียงแค่ใช้ห้องหนึ่งห้องในบ้านเปิดเป็นร้าน จักรยานเล็กๆ เพื่อหารายได้เสริมอาชีพมัคคุเทศก์ที่เขาทำ�ใน ตอนกลางวัน โดยปกติเขาจะหาลูกค้าจากทางอินเทอร์เน็ต แล้วก็เดินทางไปยังบ้านของลูกค้าเพื่อซ่อมจักรยานระดับ ไฮเอนด์ ที่บางคันราคาหลายแสนบาท กระนั้น กลุ่มตลาด ลูกค้าของเขาก็ยังถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับจำ�นวนลูกค้าที่ เขามีอยู่ในคิวขณะนี้ “ตอนนั้นผมมีลูกค้าแค่ไม่กี่คนเอง เดือน 44

OPTIMISE | JULY 2015

ละแค่ 2-3 คนเท่านั้น” อานุศานติ์ย้อนความหลังให้ฟัง แต่แม้ธุรกิจจะไม่ดิบดีอะไรนัก อานุศานติ์ก็ยังคงมานะ ทำ�ร้านต่อไปด้วยความชอบและวิสัยทัศน์ส่วนตัว “ผมเห็น ว่าคนเริ่มซื้อของทางออนไลน์ และก็เริ่มค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์มากขึ้น ผมเลยรู้สึกว่า เฮ้ย เดี๋ยวธุรกิจนี้มันต้องโต เพราะตลาดมันยังเล็ก แต่คนยอมควักเงินก้อนใหญ่ออกมา จ่ายได้ง่ายๆ” แล้วเหตุการณ์ก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะในขณะที่ อานุศานติ์กำ�ลังวุ่นตอบสนองตลาดจักรยานระดับบนของผู้มี อันจะกิน กระแส “ฟิกซี่ (Fixie)” หรือจักรยานแบบฟิกซ์เกียร์ ที่ไม่มีเบรก ไม่มีสปีดเกียร์ แต่เรียบเท่และราคาไม่แพง ก็กำ�ลัง ได้รับความนิยมขึ้นมาในกลุ่มของเด็กวัยรุ่นที่เรียกกันว่า เด็กแนว ในปี 2553 ร้าน Cuca ของ วิศศเวศ กำ�ปั้นทอง และ ร้าน Cog n’ Roll ของ ธิษัณย์ อมรวิทยารักษ์ ได้เข้ามาร่วม ตลาดที่กำ�ลังโตนี้ ซึ่งปรากฏว่า หลังจากนั้นไม่กี่ปี ใครผ่าน ไปแถวเอกมัย รับรองจะต้องเห็นฝูงฟิกซี่คันงามของบรรดา กราฟฟิกดีไซเนอร์ นักศึกษามหาวิทยาลัย และพวกเด็กเริ่ม งานในบริษัทโฆษณาอยู่เสมอๆ แม้กระแสจักรยานทั้งสองประเภทจะแตกต่างกันด้วย ราคา แต่ดูเหมือนสิ่งที่กลุ่มนักปั่นจักรยานทั้งสองมีร่วมกันก็ คือ รสนิยมในการแต่งจักรยานให้แสดงออกถึงตัวตน และการ เน้นใช้แต่อุปกรณ์นำ�เข้าเท่านั้น แต่ผลลัพธ์ก็คือ เมื่อจักรยาน ได้รับความนิยมในวงกว้างมากขึ้น อุปกรณ์จักรยานถูกๆ หรือ

ในการเล่นจักรยานนั้นระดับ บนสุดนั้น ว่ากันว่าไม่มีคำ�ว่า “One-size-fits-all” ไม่มี จักรยานคันไหนที่ทำ�ขึ้นมาแล้ว จะเข้าได้กับสรีระและรสนิยม ของทุกคน OPTIMISE | JULY 2015

45


THE GOOD LIFE ของปลอมที่นำ�เข้าจากจีน หรือผลิตขึ้นเองในไทยก็ถาโถมเข้ามาในตลาด “ทีนี้ขาย ของลำ�บากเลย เพราะของถูกๆ เข้ามาในตลาดเต็มไปหมด” ธิษัณย์เล่า ในขณะที่ วิศศเวศ เปรียบให้ฟังว่า “หลายปีก่อน ถ้ายังไม่รู้ว่าจะทำ�อะไรกับชีวิตดี คนก็จะเปิด ร้านกาแฟ แต่เดี๋ยวนี้มันเหมือนว่า เฮ้ย ถ้ายังไม่รู้ว่าจะทำ�อะไร ก็เปิดร้านจักรยาน ดีกว่า” อานุศานติ์เห็นด้วย และประเมินว่าตอนนี้ น่าจะมีร้านจักรยานในกรุงเทพฯ ไม่ตํ่ากว่า 300 ร้าน สภาพตลาดแบบนี้ ทำ�ให้เกิดยุทธศาสตร์ในการเอาตัวรอดสองแบบ แบบแรก ก็คือการแข่งด้วยราคา “พอมีร้านจักรยานแข่งกันเยอะ มันก็แปลได้อย่างเดียว ว่าจะต้องมีสงครามราคา เพราะส่วนใหญ่คนกระโจนเข้ามาทำ�ธุรกิจนี้ โดยไม่มี ประสบการณ์ แต่ละคนจึงไม่คิดหาจุดขายแบบอื่น นอกจากแข่งด้วยราคา” อานุศานติ์อธิบาย อย่างไรก็ตาม เมื่อกลุ่มเด็กแนวและ “ฮิปสเตอร์” ที่ไม่ต้องการเป็นและใช้ของ เหมือนคนอื่น เริ่มขยายตัวเพิ่มมากขึ้น และคนมีฐานะจำ�นวนมากเริ่มเห็นการปั่น จักรยานเป็น “กีฬากอล์ฟ” ในรูปแบบใหม่ ที่ไม่ได้มีความหมายแค่การออกกำ�ลัง หากแต่ยังหมายถึงความสุขจากการได้เลือกซื้ออุปกรณ์ การแสดงออกซึ่งสถานะ และตัวตน โฉมใหม่ของธุรกิจจักรยานก็ถือกำ�เนิดขึ้นมา

03

จับกระแส Personalized service ณรงค์ศักดิ์ พรมมาลา ก็เป็นอีก หนึ่งคนที่เชื่อในการสร้างความต่าง เขาตั้งร้าน Plusone ขึ้นมา เพื่อ ทำ�หมวกสำ�หรับใช้สวมปั่นจักรยานโดยเฉพาะ ซึ่งปรากฏว่าตอนนี้ ได้กลายเป็นเครื่องแต่งตัวยอดฮิตในหมู่ฮิปสเตอร์นักปั่นฟิกซ์เกียร์ที่ เราเห็นอยู่ตามร้านกาแฟชิคๆ ย่านทองหล่อไปแล้ว โดยปกติ ราคา หมวกจะเริ่มต้นที่ 500 บาท แต่ที่เจ๋งจริงๆ ก็คือหมวกที่ลูกค้าแต่ละ คนออกแบบกันเอง ซึ่งจะเริ่มต้นที่ 850 บาท นอกจากนี้ ก็ยังมีร้าน จักรยานอย่าง Bico ซึ่งนำ�เข้าจักรยานยี่ห้อ Araya จากญี่ปุ่น แต่มี บริการปรับและประกอบจักรยานให้เข้ากับสรีระลูกค้าแต่ละคน “ตอนนี้ มีหลายเจ้ารับทำ�โครงจักรยานแบบสั่งทำ�เฉพาะของใคร ของมันจริงๆ ซึ่งข้อดีอย่างแรกก็คือความพอดี เพราะโครงขึ้นตาม รูปร่างคนขี่เลย แต่ข้อดีอีกอย่างก็คือเรื่องของการตกแต่ง เราเลือก ได้เลยว่าจะเอาเหล็กอย่างไหน ใช้สีอะไร คนจะชอบจักรยานที่ไม่ เหมือนใครอย่างนี้” ธิษัณย์เล่า ในขณะที่วิศศเวศเสริมว่า “อุปกรณ์ ทุกอย่างต้อง Handmade หรือเป็น Limited edition ขี่ไปแล้วต้อง เท่ที่สุดบนถนน ซึ่งอุปกรณ์พวกนี้ส่วนใหญ่ราคาไม่มีตํ่ากว่าห้าหรือ หกหลัก” ไม่ต้องดูอื่นไกล โปรแกรมวิเคราะห์จักรยานในร้าน Jumm Bike Studio ของเขานั้นเต็มไปด้วยศัพท์แสงหรือชื่อเทคนิค แปลกๆ อย่างกับหลุดมาจากหนังไซไฟ เช่น Dartfish video analysis, Guru DFU, Gebiomized pressure mapping ซึ่ง ทั้งหมดเป็นนวัตกรรมที่ใช้วัดจักรยานให้เข้ากับสรีระของผู้ขับขี่มาก ที่สุด และคิดเป็นค่าบริการกว่า 6,500 บาท “ร้านจักรยานในกรุงเทพฯ มีเป็นร้อย แต่ผมบอกได้เลยว่าร้าน ที่ใช้หลักแมคานิกส์วัดหรือออกแบบจริงๆ มีไม่ถึงสิบ” อานุศานติ์ ยืนยัน

05

02

Essentials

04

Cog n’ Roll ราคาค่าบริการพ่นสีเริม่ ต้นที่ 3,000 บาท

ทีอ่ ยู่ 6 ถนนนวลจันทร์ เขตบึงกุม่ โทร. 087-711-3543 Cuca

แตกฝูง

ไม่ใช่นักปั่นจักรยานทุกคนจะมองหาแต่ของราคา ถูก ตรงกันข้ามหลายคนกลับแสวงหาความพิเศษ มากกว่า “พวกนักปั่นระดับกลางจนถึงระดับบนที่เราเห็น ทุกวันนี้ เมื่อ 5 ปีที่แล้วก็แทบจะเริ่มด้วยฟิกซี่ทั้งนั้น ตอนนั้นแต่ละคนอาจจะยังเด็ก ไม่ค่อยมีสตางค์ แต่ตอนนี้ทุกคนเริ่มมีเงินซื้อของดีๆ ได้ เอาเป็นว่าใคร มีเงินก็ซื้อจักรยานคันที่ดีที่สุดได้ แต่ทีนี้มันก็เลยเป็น ปัญหา เพราะใครจะซื้ออะไรก็ได้ แต่คนไทยชอบที่จะ ซื้ออะไรที่คนอื่นซื้อไม่ได้” วิศศเวศเล่าให้ฟัง ธิษัณย์เองก็มีประสบการณ์คล้ายกัน “ลูกค้าแต่ละ คนเข้ามาดูจักรยานแล้วเดี๋ยวก็ต้องอยากเปลี่ยนสีโครง อย่างผมมีสีเขียว ลูกค้าก็จะต้องอยากได้สีนํ้าเงิน” สิ่งเหล่านี้ทำ�ให้ร้านจักรยานอย่างร้าน Jumm Bike Studio ร้าน Cog n’ Roll และร้าน Cuca เริ่มรู้ว่า 46

OPTIMISE | JULY 2015

วิธีเดียวที่จะหนีพ้นจากสงครามราคาก็คือแต่ละร้าน ต้องทุ่มกับการขายอะไรที่หาที่อื่นไม่ได้ อานุศานติ์เริ่มขยับขยายกิจการจากแค่เป็นร้าน ขายอุปกรณ์เสริมแปลกๆ ไปเป็นร้านให้บริการแต่ง จักรยานแบบเฉพาะคัน จนทุกวันนี้ Jumm Bike Studio กลายเป็นร้านจักรยานสุดไฮเทคในย่าน หัวหมากที่สามารถหาสินค้าทุกแบบที่ลูกค้าต้องการ ปรับ หรือ “ฟิต” จักรยานให้เข้ากับสรีระของลูกค้า และ ขายโครงจักรยานแบบ “สั่งทำ� (Custom builds)” แต่สำ�หรับวิศศเวศแห่ง Cuca นั้น เขายกเครื่อง ธุรกิจใหม่ทั้งหมดเลยทีเดียว “ผมตัดสินใจเลิกขาย จักรยาน และมาทำ�แต่สีรถจักรยานอย่างเดียว เพราะ ผมรู้ดีว่า วงการมันเปลี่ยนไปแล้ว ถ้าจะอยู่รอด ผม ต้องทำ�ให้กิจการมันเล็ก แต่เจ๋งที่สุดให้ได้” วิศศเวศ พูดอย่างไม่อาลัยอาวรณ์อดีต ทั้งๆ ที่ครั้งหนึ่ง Cuca เคยเป็นทั้งร้านขายจักรยานและบาร์ ซึ่งเป็นที่ชุมนุม

สังสรรค์แบบสุดเหวี่ยงของเหล่าคนชอบฟิกซี่มาตลอด 5 ปี “ผมมีลูกค้าที่ยกเฟรมจักรยานราคาหกแสนมา หาผมตอนตี 3 เพื่อให้แก้สีเล็กๆ น้อยๆ เพราะเขาไม่ ต้องการให้ใครรู้จนกว่ามันจะเสร็จพร้อมเอาไปโชว์ ได้ มันเหมือนตอนนี้คนไม่ได้แค่จ่ายเงินเพื่อให้ได้ของ ที่ดีที่สุด แต่ต้องเป็นของที่ไม่มีใครมีด้วย” Cog n’ Roll มีประสบการณ์คล้ายกับ Jumm Bike Studio และ Cuca ในปี 2555 ธิษัณย์ย้ายออกจาก ร้านตึกแถวเล็กน่ารักของเขาในสุรวงศ์เพื่อไปเปิดร้าน ที่รามอินทรา ซึ่งเป็นที่ๆ เขาให้บริการทาและพ่นสีฝุ่น ชิ้นส่วนจักรยานและมอเตอร์ไซค์ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา “เรามีทั้งลูกค้าที่เอาจักรยานเก่ามาเปลี่ยนสีเฟรม หรือ แม้แต่ลูกค้าที่เอาจักรยานใหม่มาเลย เพราะไม่อยาก ได้สีแบบธรรมดาทั่วไป บางคนวาดแบบมาจากบ้าน ด้วยซํ้า แล้วมาถามว่า “พี่ท�ำ นี่ได้ไหม ทำ�นั่นได้ไหม?”” อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีแค่สามร้านนี้เท่านั้น ที่หันมา

ราคาค่าบริการพ่นสีเริม่ ต้นที่ 3,000 บาท ทีอ่ ยู่ 333/3 ทรี เซ็นเตอร์ ถนนศรีวรา ทาวน์ อิน ทาวน์ โทร. 083-019-1999

ข้อดีอย่างแรกก็คือความ พอดี เพราะโครงขึ้นตาม รูปร่างคนขี่เลย แต่ข้อดีอีก อย่างก็คือเรื่องของการ ตกแต่ง เราเลือกได้เลยว่า จะเอาเหล็กอย่างไหน ใช้สี อะไร คนจะชอบจักรยานที่ ไม่เหมือนใครอย่างนี้

Jumm Bike Studio

01 ธิ ษ ั ณ ย์​ก ั บ จั ก รยานคู ่ ใ จที ่ ร้ า น Cog n’ Roll ของเขา

ทำ� Fitting จักรยานด้วยการใช้ เครือ่ งวิเคราะห์ Dartfish video analysis + Guru DFU + Gebiomized pressure mapping เริม่ ต้น 6,500 บาท ทีอ่ ยู่ 32 ซอยรามคำ�แหง 24 โทร. 087-813-7117

02 วิ ศ ศเวศ นั ่ ง ทำ � สี เ ฟรม จั ก รยานที ่ ร ้ า น Cuca 03 จั ก รยานลู ก ค้ า รอทำ � สี ท ี ่ ร ้ า น Cuca 04 พ่ น สี ท ี ่ ร ้ า น Cog n’ Roll 05 ลู ก ค้ า ทำ � Fitting จั ก รยาน ที ่ ร ้ า น Jumm Bike Studio

รอบต่อไป

จากเจ้าของร้านเล็กๆ ในบ้าน ตอนนีว้ ศิ ศเวศแห่ง Cuca มีสถานะ เป็นเหมือนเจ้าพ่อในวงการนักปัน่ ไปแล้ว แต่เขากลับไม่พอใจอยูแ่ ค่ นัน้ และเริม่ แสวงหาความท้าทายใหม่ๆ ด้วยการจัดกิจกรรมจักรยาน โดยใช้ชอ่ื เสียงทีเ่ ขาสัง่ สมมาเป็นต้นทุน โดยตอนนี้ เขากำ�ลังพยายาม จัดการแข่งขัน Bangkok Criterium ซึง่ เป็นซีรยี ก์ ารแข่งจักรยานแบบ นับรอบทีจ่ ดั ขึน้ ทัว่ ประเทศไทย โดยวิศศเวศบอกว่า “เดีย๋ วนีเ้ มืองไทยมี คนขีจ่ กั รยานมาก จนผมเชือ่ ว่าจะมีคนเข้าแข่งมากพอทีจ่ ะทำ�ให้ ชาวต่างชาติอยากเข้ามาร่วมแข่งด้วย และทำ�ให้เมืองไทยกลายเป็น จุดหมายปลายทางสำ�หรับนักปัน่ ทัว่ โลกได้” ส่วนอานุศานติ์แห่ง Jumm Bike Studio เอง อยากจะทำ�ให้ วงการจักรยานมีความยั่งยืนมากขึ้น โดยอาศัยทักษะด้านการซ่อม และประกอบจักรยานของเขาเอง “ผมอยากทำ�ให้จักรยานได้รับความนิยมในวงกว้างกว่านี้ คือไม่ใช่แค่เฉพาะสำ�หรับคนมีเงิน ผมอยากจะสอนคนให้ซ่อม จักรยานเป็น ผมว่ามันจะไม่ทำ�ให้งานผมน้อยลง แต่จะช่วยให้วงการ จักรยานมันโตขึ้น” อานุศานติ์บอก แม้วัฒนธรรมจักรยานของคนกรุงเทพฯ นั้น อาจจะมองเห็นได้ ง่ายที่สุดจากจำ�นวนของคาเฟ่จักรยานสุดเก๋ที่ผุดขึ้นทั่วเมือง แต่พิเคราะห์ให้ดีแล้ว สิ่งที่เป็นแก่นสารของวงการจักรยานในช่วง ห้าปีที่ผ่านมา กลับเป็นบรรดามืออาชีพเหล่านี้ ที่ไม่เพียงเริ่มกิจการ ได้ถูกจังหวะ แต่ยังรู้จักที่จะมองไปไกลกว่ากระแสตรงหน้า และ พยายามนำ�เสนอบริการที่โดดเด่นยิ่งกว่า คงไม่เป็นการเกินไปที่จะพยากรณ์ว่า ในอีกห้าปีข้างหน้า กิจการ ของมืออาชีพเหล่านี้น่าจะยังคงอยู่ แม้ในเวลาเดียวกัน คาเฟ่จักรยานทั้งหลายอาจจะปิดตัวลงไป หมดแล้ว OPTIMISE | JULY 2015

47


THE FAST LANE

The Drive to Be Different หากจะพูดถึงเรือ่ งรถยนต์ และธุรกิจซูเปอร์คาร์ในเมืองไทย ในขณะนี้ คงต้องกล่าวว่าไม่มใี ครแซงหน้า บริษทั นิช คาร์ จำ�กัด (Niche Cars Co., Ltd.) ลูกค้ากว่าสิบปีของ ธนาคารเกียรตินาคิน ซึง่ เป็นผูจ้ ำ�หน่ายสุดยอดซูเปอร์คาร์ แสนโฉบเฉีย่ ว Lamborghini และ McLaren อย่างเป็น ทางการเพียงเจ้าเดียวของประเทศ เบื้องหลังความแรงของธุรกิจนี้คือ วิทวัส ชินบารมี กรรมการผู้จัดการ บริษัท นิช คาร์ จำ�กัด ผู้เป็นทายาทรุ่นที่สองที่บริหารธุรกิจนำ�เข้าและ จำ�หน่ายรถซูเปอร์คาร์ โดยด้วยวัยเพียง 33 ปี วิทวัส ก็รับสืบทอดธุรกิจต่อมาจากบิดา คือ เสรี รักษ์วิทย์ นักธุรกิจผู้ครํ่าหวอดอยู่ในวงการซื้อ ขายรถยนต์มากว่า 30 ปี และต่อยอดธุรกิจจากการ ซื้อขายรถยนต์ธรรมดาไปสู่ความเป็น “นิช” หรือ ตลาดเฉพาะที่มากมูลค่า นิช คาร์นั้นเริ่มก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ 15 ปีที่แล้ว โดย นอกเหนือจากการจำ�หน่าย Lamborghini ที่ยอดขาย เป็นที่หนึ่งในกลุ่มรถซูเปอร์คาร์ และ McLaren ซูเปอร์คาร์คุณภาพจากอังกฤษแล้ว ปัจจุบัน นิช คาร์ ยังจำ�หน่ายรถสปอร์ต Lotus และเรือยอร์ช Princess อีกด้วย “ต้องบอกว่าเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ตลาดบนไม่ได้ แพร่หลายขนาดนี้ในเมืองไทย พอเราเห็นรถ 48

OPTIMISE | JULY 2015

ซูเปอร์คาร์คันหนึ่งบนท้องถนนสมัยนั้นก็ตื่นเต้นแล้ว ทางเราเองที่เป็นคนปลุกตลาดนี้ขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันเรา ขาย Lamborghini คันใหม่ได้ถึง 50 คันต่อปี” ด้วยไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปของคนรุ่นใหม่ วิทวัสกล่าวว่า “รถสมัยนี้มันเป็นเฟอร์นิเจอร์ เป็นสิ่งที่ สื่อว่าเราประสบความสำ�เร็จมาจุดหนึ่งแล้วนะ และ ยังเป็นของเล่นได้อีก เพราะมันมีความเร็วมาเกี่ยว ด้วย ผู้ชายเรา ผมว่ามันก็มี 5 อย่าง นาฬิกา เรือ พระ รถ และปากกา ผมว่ารถยนต์นี่แหละคือที่สุดแล้ว สำ�หรับการให้รางวัลตัวเองและการแสดงความเป็น ตัวของตัวเอง” ในขณะที่กลุ่มผู้มีฐานะในเมืองไทยหันมาสนใจ ซื้อรถตลาดบนกันมากขึ้น รถซูเปอร์คาร์ก็สามารถหา ซื้อกันได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ถึงอย่างนั้น วิทวัส ได้เปิดเผยถึงเคล็ดลับที่ทำ�ให้ นิช คาร์ ยังคงครอง ความเป็นที่หนึ่งในตลาดซื้อขายรถที่มีการแข่งขัน เพิ่มสูงขึ้นนี้ OPTIMISE | JULY 2015

49


เราดูแลลูกค้า แบบ “นิช” จริงๆ แบบตามตัวบุคคล บริการอย่างหนึ่ง ที่เรามีให้และที่อื่น ไม่มี ก็คือการรับ แลกรถเก่าทุกยี่ห้อ มาเปลี่ยนกับรถใหม่ ซึ่งเราจัดการให้ ทุกอย่าง ตั้งแต่ การเอารถเข้ามา จนจบบริการ

50

OPTIMISE | JULY 2015

“ด้วยความเป็นนิช คาร์ เราดูแลลูกค้าแบบ “นิช” จริงๆ แบบตามตัวบุคคล บริการอย่างหนึง่ ทีเ่ รามีให้และทีอ่ น่ื ไม่มี ก็คอื การรับแลกรถเก่าทุกยีห่ อ้ มาเปลีย่ นกับรถใหม่ ซึง่ เราจัดการให้ ทุกอย่าง ตัง้ แต่การเอารถเข้ามาจนจบบริการ และเรายังได้รบั การสนับสนุนจากเกียรตินาคินเอง ซึง่ รับจัดไฟแนนซ์ให้ลกู ค้าเรา มีทางเลือกยาวถึง 7 ปี” วิทวัสบอกว่า จุดเด่นอีกประการของ นิช คาร์ คือ มาตรฐาน สินค้า และการบริการหลังการขายทีพ่ ถิ พี ถิ นั และครบเครือ่ ง โดย ทางนิช คาร์เสาะหาช่างชาวอิตาเลียนผูม้ ปี ระสบการณ์ตรงกว่า 10 ปี จากบริษทั Lamborghini มาดูแลสภาพรถของลูกค้า “เรามีเครือ่ งมือทีต่ รงกับจุดประสงค์การซ่อมรถ อย่างการ ถอดเครือ่ ง เราจะมีเครือ่ งมือพิเศษโดยเฉพาะ ถ้าเป็นทีอ่ น่ื อาจ จะใช้เวลา 5 วัน แต่ของเราใช้แค่วนั เดียว และรถก็จะไม่ชา้ํ มาก แต่ตอ้ งบอกว่าเราจะไม่รบั ซ่อมรถทีซ่ อ้ื มาจากทีอ่ น่ื เพราะว่ารถที่ เราขายเองเป็นรถใหม่ทส่ี ง่ั ตรงมาจากโรงงานต่างประเทศ ส่วน รถทีม่ าจากเกรย์มาร์เก็ต 90 เปอร์เซนต์เป็นรถเก่าใช้มาแล้ว ราคาถูกกว่าเราจริง แต่ปญ ั หาเยอะ และเรือ่ งมาตรฐานสินค้า และการเซอร์วสิ ดูแล ก็คนละระดับกับเรา” ถึงตอนนี้ วิทวัสช่วยแนะนำ�หัวใจการดูแลซูเปอร์คาร์ ไว้วา่ การดูแลรถซูเปอร์คาร์นน้ั “ละเลยไม่ได้” โดยเฉพาะยางทีต่ อ้ ง เปลีย่ นทุก 2 ปี และแบตเตอรี่ ซึง่ สำ�คัญมากและต้องดูแลเป็น พิเศษ “เราจะมี Maintenance list ให้วา่ ปีแรกต้องทำ�อะไร มันจะ มีทง้ั ระยะทางและเวลา ซึง่ ถ้าอย่างไหนถึงก่อน ก็ตอ้ งเข้ารับการ ตรวจเช็ค เมือ่ ลูกค้าซือ้ รถซูเปอร์คาร์ แล้วใช้งานมันหนักอย่าง เต็มประสิทธิภาพ เราก็ไม่ควรละเลยการดูแลมัน ปกติเวลา ลูกค้าซือ้ เราก็แนะนำ�ให้ตดิ ฟิลม์ ก่อน ซึง่ จะป้องกันรอยหินดีด

หรือขูดต่างๆ ซึง่ ตอนนีเ้ ราดีลกับ Autozkin ซึง่ ใช้คอมพิวเตอร์ ในการตัดฟิลม์ และเป๊ะมากกว่าการตัดโดยมือคนเหมือนทีอ่ น่ื ๆ นอกจากนีเ้ ราก็แนะนำ�ให้ซอ้ื ทีช่ าร์จแบต ซึง่ ลูกค้าสามารถเสียบ ทิง้ ไว้ได้ตลอด โดยทีไ่ ม่ตอ้ งสตาร์ทรถบ่อยๆ สองเดือนใช้รถทียงั ได้เลย” วิทวัสแนะนำ�เพิม่ เติมว่า ก่อนทีจ่ ะขับรถด้วยความเร็วสูง ให้วง่ิ รถสักประมาณ 3,000 รอบเครือ่ งยนต์ เป็นระยะสัก 3-5 กิโลเมตรก่อน “เพือ่ ให้นา้ํ มันขึน้ ไปถึงอุณหภูมทิ ม่ี นั จะสามารถ รักษาเครือ่ งยนต์และทุกอย่างได้เต็มทีก่ อ่ น เพราะนา้ํ มันเครือ่ ง ตอนเย็นกับร้อนนัน้ มีประสิทธิภาพการทำ�งานได้ไม่เหมือนกัน” ในอนาคตอันใกล้น้ี นิช คาร์ก�ำ ลังขยายธุรกิจ โดยเปิด โชว์รมู แห่งใหม่ ซึง่ เป็นอาคารสีช่ น้ั ตัง้ อยูบ่ นพืน้ ที่ 5 ไร่ รวม พืน้ ทีก่ ว่า 25,000 ตารางเมตร ใกล้มอเตอร์เวย์ วิทวัสบอกว่า ณ โชว์รมู ใหม่แห่งนี้ จะมีโรงซ่อมดูแลทีใ่ หญ่ขน้ึ และอุปกรณ์ท่ี ครบครันทันสมัย ร้านอาหารคุณภาพครบวงจร สตูดโิ อถ่ายภาพ อย่างดีส�ำ หรับเวลาลูกค้าส่งรถ ห้องรับรองลูกค้า และปัม๊ นา้ํ มัน สำ�หรับคนในองค์กรและลูกค้า ซึง่ จะมีนา้ํ มัน 98 สำ�หรับรถ ซูเปอร์คาร์โดยเฉพาะ ยิง่ กว่านัน้ ยังมีโชว์รมู เรือยอร์ชอีกด้วย “อีกหน่อยเราก็จะมีบริการถ่ายรูปให้กบั ลูกค้าเวลาส่งรถ ซึง่ มันจะทำ�ชุย่ ๆ ไม่ได้ เราจะทยอยเปิดโชว์รมู ทีละตึก ผมว่าทัง้ หมด น่าจะเสร็จพร้อมปลายปีน้ี ทาง CEO ของ Lamborghini ทีอ่ ติ าลี ได้แจ้งเรามาแล้วว่า ต้องการมาร่วมงานเปิดกับเราด้วย” วิทวัสกล่าวอย่างตืน่ เต้น ก่อนทีจ่ ะทิง้ ท้ายว่า “สำ�หรับผม ความภูมใิ จในการทำ�ธุรกิจนีค้ อื การทีเ่ ราได้ มอบความสุขให้กบั ลูกค้า ซึง่ ต่างจากคนสมัยก่อนทีค่ นตัง้ ใจ ทำ�งาน หาเงิน แต่กลับไม่คอ่ ยรูจ้ กั ใช้”

OPTIMISE | JULY 2015

51


LIVING SPACE

A Guide to the Co-Working Revolution เมือ่ วัฒนธรรมการทำ�งานของคนรุน่ ใหม่เริม่ เปลีย่ นแปลง “ออฟฟิศ” ก็ไม่ใช่สถานทีแ่ ห่งเดียวทีค่ นจะใช้ทำ�งาน และสร้างกิจการทีร่ งุ่ เรืองอีกต่อไป

01 52

OPTIMISE | JULY 2015

ในช่วงเวลาไม่กป่ี มี านี้ ต้องเรียกว่ากรุงเทพฯ ได้กา้ วเข้าสูย่ คุ รุง่ เรืองของ Startup หรือธุรกิจไอที “เพิง่ เริม่ ” อย่างแท้จริง บริษทั ยักษ์ใหญ่อย่าง Zalora และ Lazada ทำ�ให้คนไทยใช้บริการซือ้ ของทางอินเทอร์เนตอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน แท็กซีใ่ นเมืองไทย กำ�ลังร้อนๆ หนาวๆ กับแอพพลิเคชันเรียกรถแท็กซีท่ ม่ี าแรงทีส่ ดุ อย่าง Uber ในขณะที่ Taamkru แอพพลิเคชันส่งเสริมการเรียน รูข้ องเด็กวัยอนุบาลก็ไปคว้ารางวัล “Most Promising Startup” ในงาน Echelon 2014 ทีก่ ล่าวกันว่าเป็นงานชุมนุมเกีย่ วกับ เทคโนโลยีทใ่ี หญ่ทส่ี ดุ ของเอเชีย แม้กระทัง่ เรือ่ งพืน้ ฐานทีส่ ดุ ของสังคมมนุษย์อย่าง “การทำ�งาน” ก็ก�ำ ลังถูกปฏิวตั คิ รัง้ ใหญ่ ทุกวันนี้ เจ้าของกิจการ สามารถจ้างคนนอกมาทำ�งานจนเสร็จสิน้ โดยไม่เคยแม้แต่เห็น หน้า หรือระดมสมองออกแบบแพ็คเกจผลิตภัณฑ์ใหม่ผา่ น กระบวนการ Crowdsourcing ซึง่ คนช่วยคิดมาจากทุกมุมโลก การเสาะหาคนมาทำ�งานเล็กๆ น้อยๆ ทีค่ อมพิวเตอร์ท�ำ ไม่ได้และ เคยต้องใช้คา่ แรงรวมๆ กันเป็นจำ�นวนมหาศาลกลายเป็นเรือ่ ง ประหยัดไปมาก เมือ่ เว็บไซต์อย่าง Amazon Mechanical Turk ช่วยทำ�หน้าทีส่ อ่ื กลางให้งานกระจายไปยังผูร้ บั จ้างอิสระทีพ่ ร้อม จะทำ� พูดง่ายๆ ก็คอื งานของคนทุกวันนีห้ ลวม และยืดหยุน่ กว่า ยุคสมัยใด เพราะวัฒนธรรมการเป็นเจ้านายตัวเอง จัดสรรเวลาเอง อย่างทีว่ า่ มานี้ พืน้ ทีก่ ารทำ�งานรูปแบบใหม่จงึ ผุดขึน้ ราว ดอกเห็ดทัว่ กรุงเทพฯ พืน้ ทีท่ �ำ งานร่วมกัน หรือทีน่ ยิ มเรียกทับ ศัพท์วา่ Co-working space กลายเป็นคำ�ตอบของชาวสตาร์ทอัพ ลูกค้าคนหนึ่งสามารถเดินเข้ามาใน Co-working space พร้อมกับแล็ปท็อปตัวหนึง่ และก็เริม่ ใช้โต๊ะ หรือห้องประชุมทำ�งาน ได้เหมือนกับอยูบ่ ริษทั โดยไม่ตอ้ งยอมเป็นพนักงานออฟฟิศให้กบั ใคร ลูกค้าจะเช่าเป็นรายชัว่ โมง วัน หรือเดือนก็ได้ สุดแท้แต่จะเห็น

ว่าจำ�เป็นกับ “กิจการ” ของตัวเอง แต่ความยืดหยุน่ ไม่ใช่ปจั จัยเดียวทีท่ �ำ ให้ Co-working space แพร่หลาย รูปลักษณ์ของสถานทีถ่ อื เป็นอีกหนึง่ หัวใจสำ�คัญ “รับรองคนทีเ่ คยเห็นทีท่ �ำ งานของ Google และ Facebook จากอินเทอร์เน็ตแล้ว ไม่มใี ครอยากมาเป็นแค่หนุ่ ยนต์ในคอก กับเฟอร์นเิ จอร์ถกู ๆ แอร์เหม็นๆ และใช้เวลาแทบทัง้ วันยืนต่อ แถวรอขึน้ ลิฟต์ วนหาทีจ่ อดรถ หรือรถติดอยูบ่ นทางด่วนเป็น ชัว่ โมงๆใครก็อยากจะทำ�งานให้มคี วามสุขด้วยกันทัง้ นัน้ ” อมฤต เจริญพันธ์ หนึง่ ในผูก้ อ่ ตัง้ Hubba Co-working space แห่งแรก ของประเทศ ซึง่ ประกอบไปด้วยสวนสวย งานดีไซน์ทนั สมัย และ เก้าอีน้ ง่ั สบายแบบ Ergonomic ช่วยอธิบายถึงสาเหตุความนิยม Co-working space ทีเ่ พิม่ มากขึน้ สำ�หรับคนทำ�งานฟรีแลนซ์ ทีป่ กติท�ำ งานตัวคนเดียว ก็ได้ Co-working space นีเ่ องเป็นทีส่ ร้างเครือข่ายของตัวเองขึน้ มา วินเซนต์ เศรษฐีวรรณ ผูร้ ว่ มก่อตัง้ Launchpad หนึง่ ใน Co-working space ยอดนิยมอีกแห่งของกรุงเทพฯ บอกว่า “พืน้ ที่ ทำ�งานอย่างนีม้ นั เปิดกว้างมาก คุณจะทำ�งานเวลาไหน อย่างไร ก็ได้ทง้ั นัน้ คนเลยมีความคิดสร้างสรรค์ได้มากขึน้ และก็โฟกัสได้ มากขึน้ ” ซึง่ แรกทีเดียวอาจฟังดูไม่คอ่ ยเป็นเหตุเป็นผลกันเท่าไหร่ แต่อมฤตกลับเห็นด้วย โดยบอกว่า ความอิสระเสรีทม่ี าจากการ ไม่มเี จ้านายหายใจรดต้นคอนัน้ ให้ผลเป็นแรงกระตุน้ ได้เหมือนกัน “ทำ�ไมงานมันจะไม่เสร็จ ในเมือ่ ทุกคนเป็นแรงบันดาลใจให้กบั กัน และกัน การได้เห็นคนเก่งๆ เขาทุม่ เทอยูก่ บั งานของตัวเอง จะเป็น แรงผลักให้คณ ุ ยิง่ ทำ�งานของตัวเองหนักเข้าไปอีก” หากความอิสระและแรงบันดาลใจแบบนีเ้ ป็นสิง่ ทีค่ ณ ุ มอง หาเราได้รวบรวม Co-working space ทีด่ ที ส่ี ดุ ในกรุงเทพฯ มาให้ แล้ว พร้อมกับข้อมูลว่ามีใครใช้บริการทีน่ น่ั บ้างและอะไรคือจุดเด่น ทีท่ �ำ ให้แตกต่างจากทีอ่ น่ื

รับรองคนทีเ่ คยเห็น ทีท่ ำ�งานของ Google และ Facebook จากอินเทอร์เน็ตแล้ว ไม่มใี ครอยากมาเป็น แค่หนุ่ ยนต์ในคอก กับเฟอร์นเิ จอร์ถกู ๆ แอร์เหม็นๆ และใช้ เวลาแทบ ทั้งวันยืนต่อแถว รอขึ้นลิฟต์ วนหา ที่จอดรถ หรือรถ ติดอยู่บนทางด่วน เป็นชั่วโมงๆ ใครก็ อยากจะทำ�งานให้มี ความสุขด้วยกัน ทั้งนั้น OPTIMISE | JULY 2015

53


LIVING SPACE

02

03

04

06

05

01 One Day The place: One Day ตัง้ อยูใ่ นย่านทีว่ นุ่ วายอย่างอโศก แต่กลับมีบรรยากาศเงียบสงบและอบอุน่ ทีน่ แ่ี ตกต่างจาก Co-working space อืน่ เพราะนอกจากมีสว่ นบริเวณ Co-working space ทีช่ อ่ื ว่า Forward แล้ว ยังมีบริเวณ โฮสเทล ชือ่ ว่า Pause อีกทัง้ มีรา้ นอาหาร และคาเฟ่ชอ่ื ดัง อย่าง Casa Lapin X26 ตามคอนเซ็ปต์ทต่ี อ้ งการให้ลกู ค้า สามารถใช้ชวี ติ อยูใ่ นทีน่ ไ้ี ด้ทง้ั วันสมชือ่ ภายในยังแบ่งเป็น โต๊ะทำ�งานแบบรวมทีช่ น้ั ล่างสำ�หรับลูกค้าทีม่ าคนเดียว หรือสองคน ในขณะทีช่ น้ั สองเป็นห้องประชุมใหญ่ทบ่ี าง ออฟฟิศเช่าไว้ส�ำ หรับให้คนในทีมพูดคุยทำ�งานร่วมกัน Your co-workers: ส่วนมากเป็นชาวต่างชาติ อาชีพคละ กัน ทัง้ สถาปนิก วิศวกร นักออกแบบ นักศึกษา คนทำ�งาน ด้าน IT และอืน่ ๆ มากมาย โดยบริษทั สตาร์ทอัพมักจะใช้ บริการ Mini Office ของทีน่ ่ี ก่อนขยับขยายไปยังทีอ่ น่ื ๆ เมือ่ บริษทั ใหญ่ขน้ึ The service perk: ทีน่ ม่ี คี วามยืดหยุน่ สูงทัง้ เรือ่ งการ ใช้บริการ Co-working space ทีซ่ อ้ื ได้เป็นระยะเวลา หรือเป็นครัง้ รวมไปถึงการทีม่ ที พ่ี กั และร้านอาหารในทีท่ ่ี เดียวทำ�ให้สามารถใช้เวลาอยูท่ น่ี ไ่ี ด้ทง้ั วันโดยไม่ตอ้ งเดิน ทางออกไปไหน ส่วนกลุม่ คนทำ�งานทีเ่ ดินทางบ่อยและ ต้องการหาทีพ่ กั ซึง่ สามารถใช้เป็นห้องประชุมและทำ�งาน ได้ดว้ ย ก็สามารถพักทีโ่ ฮสเทลด้านบน และทำ�งานใน บริเวณด้านล่างได้เลย

02 Hubba The place: Co-working space แห่งแรกของไทย ทีเ่ ปิด ขึน้ เพือ่ ผูป้ ระกอบการรุน่ ใหม่และกลุม่ สตาร์ทอัพเมือ่ 2 ปีท่ี แล้ว โดยครัง้ แรกทีเ่ ห็นบ้านสีขาวทัง้ หลังแห่งนี้ อาจทำ�ให้ นึกถึงบาร์ทต่ี ง้ั อยูใ่ นบ้านอย่างร้าน 6ixcret หรือ เสือนอนกิน มากกว่าสถานทีท่ �ำ งานของเหล่านักธุรกิจรุน่ ใหม่ โดยนอกจากจะมี Hot desk หรือโต๊ะทำ�งานรวม และ ห้องออฟฟิศส่วนตัวแล้ว ทีน่ ย่ี งั มีมมุ ห้องสมุดทีต่ กแต่ง ด้วยบีนแบ็ก เก้าอีต้ วั เล็กๆ และม้าโยก ให้ความรูส้ กึ สบาย และอบอุน่ มีสวนเขียวๆ เอาไว้พกั สมองหรือจัดกิจกรรม วันไหนทีต่ อ้ งหักโหมหามรุง่ หามคา่ํ ทีน่ ก่ี ม็ ชี ากาแฟให้ดม่ื ฟรี และมีหอ้ งครัว ห้องอาบนา้ํ ให้บริการ Your co-workers: มีสมาชิกจากหลากหลายอาชีพ โดย ส่วนมากเป็นผูท้ ท่ี �ำ งานสายเทคโนโลยี และนวัตกรรม ใหม่ๆ หนึง่ ในสมาชิกทีน่ า่ จับตามองคือ SkillLane เว็บไซต์ รวบรวมผูเ้ ชีย่ วชาญในด้านต่างๆ มาทำ�บทเรียนในรูปแบบ ของวิดโี อ และ Globish Academia โครงการส่งเสริมและ พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของคนไทย The service perk: Hubba มีความตัง้ ใจทีจ่ ะสร้างชุมชน และเป็นมากกว่าพืน้ ทีท่ �ำ งาน ทีน่ จ่ี งึ มีการจัดกิจกรรมต่างๆ อยูเ่ ป็นประจำ� ตัง้ แต่เวิรค์ ช็อปด้านธุรกิจ ไปจนถึงคลาส โยคะ กิจกรรมหลักทีน่ า่ สนใจคือ Power Lunch ซึง่ เปิด โอกาสให้สมาชิกได้มาร่วมรับประทานอาหาร และพบปะ พูดคุยแลกเปลีย่ นความคิดกันทุกๆ วันพุธ

51 สุขมุ วิท ซอย 26 โทร. 02-108-8855 เปิด 24 ชัว่ โมง www.onedaybkk.com

19 เอกมัยซอย 4 (สุขมุ วิท ซอย 63) โทร. 02-714-3388 เปิดทุกวัน 9:00-22:00 น. www.hubbathailand.com

03 The Hive Bangkok The place:The Hive Bangkok เป็นสาขานอกประเทศ สาขาแรกของ The Hive จากเกาะฮ่องกง เปิดให้บริการ 24 ชัว่ โมง มี Hot Desk ห้องประชุม และสำ�นักงานพร้อม ใช้ รวมถึง Dedicated Desk ทีล่ กู ค้าสามารถเช่าเพือ่ ใช้ เป็นโต๊ะทำ�งานของตัวเองโดยเฉพาะ ตึกสีเขียวของทีน่ เ่ี ต็ม ไปด้วยหน้าต่างบานใหญ่ซง่ึ พาแสงธรรมชาตินวลตาเข้า มาให้บรรยากาศปลอดโปร่ง มีสวนดาดฟ้าทีเ่ ป็นทัง้ บาร์ ร้านอาหาร ทีฉ่ ายหนัง รวมไปถึงสถานทีจ่ ดั กิจกรรมและ งานเลีย้ งของทัง้ สมาชิกและบุคคลทัว่ ไป Your co-workers: ค่อนข้างมีความหลากหลายทางอาชีพ กว่าทีอ่ น่ื ตัง้ แต่นกั ออกแบบ นักเขียน นักพัฒนาโปรแกรม เกม และแอพพลิเคชันไปจนถึงดีเจ โดย Noonswoon แอพพลิเคชันหาคูช่ อ่ื ดังก็เคยใช้ทน่ี เ่ี ป็นทีท่ �ำ งาน รวมทัง้ กิจการเพือ่ สังคมอย่าง Teach for Thailand ซึง่ มีเป้าหมาย สรรหาคนรุ่นใหม่มาพัฒนาอนาคตการศึกษาให้กับ เด็กยากไร้ทั่วประเทศ The service perk: ทีน่ เ่ี ปิดตลอด 24 ชัว่ โมง เหมาะสำ�หรับ สมาชิกทีต่ อ้ งโหมงานนอกเวลาออฟฟิศปกติ หรือต้อง ทำ�งานข้ามประเทศ นอกจากนี้ ยังมีกจิ กรรมพบปะทีช่ ว่ ย เพิม่ โอกาสทางธุรกิจและเครือข่ายทางสังคมให้กบั สมาชิก อยูเ่ สมอ เช่น Sexy Salad @ The Hive กิจกรรมทีใ่ ห้ ผูเ้ ข้าร่วมนำ�ส่วนผสมสลัดหนึง่ อย่างทีค่ ดิ ว่าเด็ดมาแชร์กนั ในงาน กิจกรรม Thirsty Thursday ซึง่ เป็นการพบปะและ ดืม่ สังสรรค์หลังเลิกงาน และกิจกรรม Try Out ซึง่ เชิญชวนบุคคลทัว่ ไปให้เข้ามาชม The Hive ได้ฟรี 46/9 สุขมุ วิท ซอย 49 (ตรงข้าม Grease) โทร. 02-662-6062 เปิด 24 ชัว่ โมง www.thehive.co.th

54

OPTIMISE | JULY 2015

04 Launchpad The place: แทรกตัวอยูใ่ นย่านสีลมซึง่ เป็นย่านธุรกิจ และการลงทุนแห่งสำ�คัญของเมืองไทย และมุง่ เน้นการ ส่งเสริมธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยรวม Launchpad มีบริการ ทีค่ รบในทุกๆ ด้าน และมีอนิ เทอร์เน็ต ทีห่ ลายคนยืนยัน ว่า “แรง” ส่วนพืน้ ทีภ่ ายในมีทง้ั ทีท่ �ำ งานร่วม ห้องประชุม Presentation Hall สำ�หรับแถลงข่าวหรือจัดกิจกรรม ตลอดจน Silent Room หรือห้องทำ�งานแบบเงียบๆ ยิง่ กว่านัน้ ทีแ่ ตกต่างกว่าใครคือ ทีน่ ม่ี หี อ้ งเล่นเกมด้วย แถม พืน้ ทีย่ งั กว้างขวางถึง 2 ชัน้ ทำ�ให้ไม่รสู้ กึ แออัด Your co-workers: นักธุรกิจ คนทำ�งาน​ฟรีแลนซ์ และ โปรแกรมเมอร์ท�ำ งานเกีย่ วข้องกับวงการ IT เช่น บริษทั Infographic Thailand ให้บริการทำ� Infographic หรือ ผังแสดงข้อมูลแบบเข้าใจง่ายให้กบั บริษทั ต่างๆ เพือ่ การ สือ่ สารกับกลุม่ เป้าหมายทีม่ ปี ระสิทธิภาพยิง่ ขึน้ บริษทั เกม Magic Box Asia ทีผ่ ลิตเกมสำ�หรับสมาร์ทโฟน หรือ โครงการ True Incube ซึง่ เป็นโครงการส่งเสริมนักธุรกิจ สตาร์ทอัพทีก่ ลุม่ บริษทั ทรูเป็นผูใ้ ห้การสนับสนุน The service perk: จุดเด่นของทีน่ ค่ี อื ความกว้างของ พืน้ ที่ และมีบริเวณสำ�หรับผ่อนคลายมากกว่าทีอ่ น่ื ๆ ไม่ ว่าจะเป็นห้องเกมหรือโต๊ะปิงปอง รวมไปถึงโซนเครือ่ งดืม่ ทีด่ แู ลโดยร้าน Roast ผูเ้ ชีย่ วชาญเรือ่ งกาแฟ นอกจากนี้ Launchpad ยังจัดกิจกรรมอบรมเกีย่ วกับธุรกิจสตาร์ทอัพ ให้ผสู้ นใจ หรือผูป้ ระกอบการรุน่ ใหม่อยูเ่ สมอ

05 FabCafe The place: Co-working space แห่งใหม่จากญีป่ นุ่ เหมาะสำ�หรับเหล่าครีเอทีฟและดีไซเนอร์ ด้วยบริการ สิง่ อำ�นวยความสะดวกครบเครือ่ งในเรือ่ งดีไซน์ เช่น เครือ่ ง 2D Laser Cut หรือ 3D Printing เปิดโอกาสให้ นักออกแบบรุน่ ใหม่ได้ลองทำ�ชิน้ งานของตัวเองโดยไม่ตอ้ ง ลงทุนซือ้ เครือ่ งของตัวเอง นอกจากส่วนพืน้ ทีก่ ารทำ�งาน ร่วมกันแล้ว FabCafe ยังมีสว่ นคาเฟ่ทพ่ี ร้อมเสิรฟ์ อาหาร และเครือ่ งดืม่ มีการจัดเวิรค์ ชอป และกิจกรรมต่างๆ ทีเ่ กีย่ ว กับด้านดีไซน์ โดยติดตามได้จากเพจเฟซบุค Your co-workers: นักออกแบบและสถาปนิกจากหลาก หลายสาขาและนักศึกษา ทีม่ าใช้พน้ื ทีท่ �ำ งานหรือสร้าง ผลงานออกมาด้วยเครือ่ งมือ เครือ่ งใช้ในร้าน นอกจากนีก้ ็ มีสาวๆ ทีห่ ยิบยืมเครือ่ งเลเซอร์มาสลักลายบนมาการอง พ่อแม่ทพ่ี าลูกๆ มาเสริมสร้างทักษะและทำ�ความรูจ้ กั กับ อุปกรณ์การออกแบบตัง้ แต่ยงั เล็ก The service perk: อุปกรณ์ตา่ งๆ ทีเ่ พียบพร้อมไม่วา่ จะ เป็น เครือ่ ง 2D Laser Cut หรือ 3D Printing เครือ่ ง Plotter รวมถึงพืน้ ทีท่ พ่ี ร้อมสำ�หรับทำ�เวิรค์ ชอปและการทำ�งาน อืน่ ๆ โดยมีผเู้ ชีย่ วชาญทีพ่ ร้อมให้ค�ำ แนะนำ�และคิดราคา ตามเวลาทีใ่ ช้งาน

06 Joint The place: Co-working space สีขาวสะอาดตาที่ ตกแต่งด้วยเฟอร์นเิ จอร์สอี อ่ นในพืน้ ทีโ่ ปร่ง สบาย ตัง้ อยูบ่ น แนวคิด Work and Play ด้วยสถานทีอ่ ยูช่ น้ั ดาดฟ้า ทำ�ให้มี ความโปร่ง เน้นแสงธรรมชาติ ทีส่ อ่ งทัว่ ถึงทัง้ สถานที่ และมี ห้องกระจกใสทีแ่ สงลอดผ่านได้ Your co-workers: คนจากหลากหลายอาชีพ ทัง้ ติวเตอร์ นักเรียนทีม่ าติวหนังสือ วิศวกรไอทีหรือประชุมงานกลุม่ กับเพือ่ น รวมทัง้ ธุรกิจสตาร์ทอัพอย่างธุรกิจเว็บไซต์ เขียน เว็บไซต์ หรืองาน Online marketing ตลอดจนนักพัฒนา โปรแกรม เกมส์ และเขียนแอพพลิเคชันสำ�หรับ สมาร์ทโฟน นอกจากนี้ยังมีธุรกิจสอนแต่งหน้าอย่าง Magique Makeup ที่มาเปิดสอนเป็นประจำ�ด้วย The service perk: แม้วา่ ทีน่ จ่ี ะไม่ได้มบี ริการพิเศษ แต่ดว้ ยสถานทีต่ ง้ั ทีอ่ ยูเ่ พียงไม่กก่ี า้ วจากสถานีรถไฟฟ้า ทำ�ให้สะดวกในแง่ของการเดินทาง อีกทัง้ มีพน้ื ทีใ่ ช้สอย ภายในกว้างขวาง มีหอ้ งประชุมทีส่ ามารถรองรับได้มาก ถึง 60 คน มีพน้ื ทีก่ ารใช้งานภายในทีห่ ลากหลายเช่น มีทน่ี ง่ั ริมระเบียงยาวสำ�หรับการทำ�งานทีต่ อ้ งการใช้ สมาธิสงู หรือห้องขนาดเล็กสำ�หรับทำ�งานเพียงแค่ 2-3 คน นอกจากนัน้ ก็ยงั มีทจ่ี อดรถให้บริการอย่างเหลือเฟือ

77/1 อารีย์ ซอย 1 โทร. 02-116-1017 และ 083-619-9983 เปิดอังคาร-อาทิตย์ 10:00-20:00 น. www.fabcafe.com

ชัน้ 12 อาคารจอดรถ โรงแรมเอเชีย ถนนพญาไท โทร. 02-611-1132 เปิดทุกวัน 9:00-20:00 น. www.jointbkk.com

ชัน้ 1 ตึกเศรษฐีวรรณ ถนนปัน้ โทร. 02-266-6222 เปิดจันทร์-ศุกร์ 9:30-20:00 น. เสาร์ 9:30-18:00 น. www.fb.com/ launchpadhq

OPTIMISE | JULY 2015

55


THE AGENDA

1

ภัทรคว้ารางวัล Triple A Country Award: Best Domestic Investment Bank จาก The Asset เป็นปีที่ 7

นรเชษฐ์ แสงรุจิ กรรมการบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) รับมอบรางวัลTriple A Country Award: Best Domestic Investment Bank เป็นปีที่ 7 จาก The Asset นิตยสารทางการเงินชั้นนำ�แห่งเอเชีย สะท้อนให้เห็น ถึงความสามารถของบริษัทในการให้บริการด้านวานิชธนกิจ และการเป็นที่ ยอมรับในระดับสากล นับจากปี 2544 ภัทรได้รับรางวัลรวม 20 รางวัลในหลายประเภทจาก The Asset ได้แก่ Best Domestic Investment Bank, Best Equity House, Best Merger & Acquisition House และ Best Deal for IPO, Secondary Offering และ Domestic M&A

2

กลุม่ ธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร จัดงานสัมมนา “1H2015 Economic Outlook & Asset Allocation Strategy” เพือ่ ให้ขอ้ มูลภาพรวมเศรษฐกิจไทย รวมถึงกลยุทธ์การลงทุน ตลาดหุน้ ไทยและการจัดสรรเงินลงทุนสำ�หรับครึง่ ปีแรกของ ปี 2558 ให้กบั ลูกค้า Phatra Wealth Management และ PRIORITY โดยได้รบั เกียรติจากดร.ศุภวุฒิ สายเชือ้ กรรมการ ผูจ้ ดั การและหัวหน้าสายงานวิจยั ธีระพงษ์ วชิรพงศ์ กรรมการ

ผูจ้ ดั การและหัวหน้าฝ่ายวิจยั หลักทรัพย์ และดร.พิพฒ ั น์ เหลือง นฤมิตชัย ผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การ หัวหน้าทีมวิจยั ลูกค้าบุคคล สายงานลูกค้าบุคคล บริษทั หลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) ร่วมบรรยายในงานดังกล่าว งานสัมมนาจัดขึน้ ที่ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมอินเตอร์ คอนติเนนตัล กรุงเทพ เมือ่ วันอังคารที่ 20 มกราคม 2558

ภัทรร่วมงาน IFR ASIA AWARDS 2014 ในฐานะผูจ้ ดั การจัดสรร หุน้ ร่วม (Joint Bookrunner) ในการออกหุน้ กูแ้ ปลงสภาพ ของบริษทิ ซีพี ออลล์ จำ�กัด (มหาชน) มูลค่ารวม 290.4 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ ( CPF USD 290.4 Million Exchangable Bond)

IFR Asia นิตยสารด้านตลาดทุนชั้นนำ�ในภูมิภาคเอเชีย มอบรางวัล The Best Structured Equity Deal ระดับ Global และ Regional Awards ให้กับบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำ�กัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ที่ประสบความสำ�เร็จในการระดมทุน ผ่านการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ (Exchangeable Bond) มูลค่ารวม 290.4 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ ตรัยรัตน์ เต็งไตรรัตน์ กรรมการผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวานิชธนกิจและตลาดทุน อนุวัฒน์ ร่วมสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายตลาดทุน สายงานวานิชธนกิจ และตลาดทุน และศุภโชค ศุภบัณฑิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการหัวหน้าฝ่ายวานิชธนกิจ สายงานวานิชธนกิจและตลาดทุน บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) ร่วมเป็นเกียรติ และแสดงความยินดี ในฐานะที่ภัทรเป็นผู้จัดการจัดสรรหุ้นร่วม (Joint Bookrunner) ในการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ (Exchangeable Bond) ดังกล่าว ในงาน IFR Asia Awards 2014 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ประเทศฮ่องกง

56

4

กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร จัดงานสัมมนา “1H2015 Economic Outlook & Asset Allocation Strategy”

OPTIMISE | JULY 2015

3

ภัทรร่วมแถลงข่าวในงาน “ซีพี ออลล์ เตรียมจำ�หน่ายหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2558“

อนุวัฒน์ ร่วมสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้าฝ่าย ตลาดทุน สายงานวานิชธนกิจและตลาดทุน บริษัทหลัก ทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) ร่วมแถลงข่าวในงาน “ซีพี ออลล์ เตรียมจำ�หน่ายหุ้นกู้ครั้งที่ 1/2558” ในฐานะ ที่บริษัทเป็นผู้จัดการจัดสรรหุ้นร่วม (Joint Bookrunner) ในการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ (Exchangeable Bond) ดังกล่าว ณ ซีพี ทาวเวอร์ ถนนสีลม เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 บริษัท ซีพี ออลล์ จำ�กัด (มหาชน) เสนอขายหุ้นกู้ชนิด ระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และมีผู้แทน ผู้ถือหุ้นกู้ อายุ 2 ปี ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.55 และ 5 ปี ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.10 แก่นักลงทุนทั่วไประหว่าง วันที่ 16-19 มีนาคม 2558

OPTIMISE | JULY 2015

57


THE AGENDA

6 5

PRIORITY ร่วมสานต่อความสำ�เร็จธุรกิจจากรุ่นสู่รุ่น Forbes Thailand Forum 2015: The Next Tycoons

เปิดตัวอย่างเป็นทางการครัง้ แรกสำ�หรับ PRIORITY ของธนาคารเกียรตินาคิน (จำ�กัด) มหาชน ด้วยการเป็นผูส้ นับสนุนหลักของงาน Forbes Thailand Forum 2015: The Next Tycoons ของนิตยสาร Forbes Thailand งานใหญ่แห่งปีทร่ี วมนักธุรกิจ แถวหน้าของไทย มาถ่ายทอดประสบการณ์การสานต่อธุรกิจครอบครัวจากรุน่ สูร่ นุ่ ให้เติบโต อย่างแข็งแกร่ง และยัง่ ยืน โดยภายในงานแบ่งออกเป็น 2 ฟอรัม่ เริม่ ต้นจาก Grooming the Next Tycoons การแบ่งปันประสบการณ์การส่งทอดธุรกิจจากรุน่ พ่อแม่สรู่ นุ่ ลูก โดย บีกริม และ บิวตี้ เจมส์ ตามด้วย Enhancing the Fortune จาก 4 ผูบ้ ริหารรุน่ ใหม่ จากกลุม่ ธุรกิจอิตลั ไทย สามมิตรมอเตอร์สแมนูแฟคเจอริง ฮัว่ เซ่งเฮง และมาลีสามพราน ทีต่ อ้ งพบกับความท้าทายเพือ่ ขับเคลือ่ นธุรกิจของครอบครัวให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง PRIORITY ของธนาคารเกียรตินาคิน ภาคภูมใิ จทีไ่ ด้มสี ว่ นร่วมสานต่อความสำ�เร็จ และพร้อมเดินเคียงข้างลูกค้าทุกท่านด้วยทีมงานผูเ้ ชีย่ วชาญ ทีม่ งุ่ ให้ค�ำ ปรึกษาด้านการเงิน และการลงทุนทีส่ อดรับกับเป้าหมายของลูกค้าได้อย่างลึกซึง้ เฉพาะบุคคลเพือ่ ความสำ�เร็จ ทางการเงินทีย่ ง่ั ยืน ควบคูไ่ ปกับการเตรียมความพร้อมให้กบั ทายาท ผูส้ บื ทอดกิจการ เฉกเช่นโครงการ NeXt Gen Program: From Study to Success ที่ PRIORITY ดำ�เนินการ เพือ่ วางรากฐานการสืบทอดธุรกิจให้กบั ลูกค้ามาอย่างต่อเนือ่ ง 58

OPTIMISE | JULY 2015

ธนาคารเกียรตินาคิน วิเคราะห์ตลาดอสังหาฯ ปี 58 จับตาตลาดเช่า “อพาร์ตเมนต์และโรงแรม” ยังคงเติบโตได้ดี

ธนาคารเกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) จัดงานสัมมนาใหญ่ประจำ�ปี KK Annual Seminar 2015 เพือ่ ลูกค้าสินเชือ่ ผูป้ ระกอบการอสังหาริมทรัพย์ โดยมีบรรยง พงษ์พานิช ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร ร่วมเปิดงาน พร้อมผูเ้ ชีย่ วชาญและผูท้ รงคุณวุฒจิ ากแวดวงต่างๆ ร่วมให้มมุ มองต่อลูกค้าผูป้ ระกอบการ “จากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมและข้อมูลจาก บล. ภัทร ประเมินว่าในปี 2558 นี้ ตลาดทีอ่ ยูอ่ าศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะขยายตัวประมาณ 17% โดยมีมลู ค่า ประมาณ 4 แสนล้านบาท โดยการเติบโตคาดว่าจะมาจากการเปิดตัวใหม่ของโครงการ คอนโดมิเนียม แต่หากพิจารณาจากยอดขายใน 2 เดือนแรก (มกราคม-กุมภาพันธ์) ทีผ่ า่ น มา พบว่าการฟืน้ ตัวของยอดขายของผูป้ ระกอบการรายใหญ่ ส่วนใหญ่มาจากทีอ่ ยูอ่ าศัย แนวราบ ในขณะที่ Take-up rate ของโครงการคอนโดยังไม่เปลีย่ นแปลงนัก และยังไม่มี การเปิดตัวโครงการใหม่อย่างชัดเจน” สำ�หรับทิศทางภาคอสังหาริมทรัพย์เพือ่ เช่าของไทยในปี 2558 นัน้ ธนาคาร เกียรตินาคินประเมินว่าตลาดหอพักสำ�หรับพนักงานโรงงานน่าจะขยายตัวต่อเนือ่ ง จังหวัด ทีน่ า่ สนใจได้แก่นคิ มอุตสาหกรรมแถบระยอง ชลบุรี นครปฐม และสมุทรปราการ ส่วน ตลาดอพาร์ตเม้นต์และหอพักสำ�หรับนิสติ นักศึกษาน่าจะมีทศิ ทางทรงตัว แต่จะมีแนวโน้ม ทีด่ ใี นสถาบันอุดมศึกษาขนาดใหญ่ เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต เป็นต้น ส่วนธุรกิจโรงแรม ยังเติบโตได้ดใี นระยะต่อไปได้แก่จงั หวัดด้านการท่องเทีย่ ว เช่น ภูเก็ต พังงา เชียงราย จังหวัดทีไ่ ด้แรงสนับสนุนจากการค้าชายแดน เช่น สงขลา หนองคาย และจังหวัดทีไ่ ด้ แรงสนับสนุนจากการค้าการผลิต เช่น สมุทรสงคราม และลำ�พูน เป็นต้น

7

ธนาคารเกียรตินาคิน เปิดตัวยูนิฟอร์มใหม่ สะท้อน “BECOME A BETTER YOU”

ธนาคารเกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) เปิดตัวเครือ่ งแบบใหม่ สอดคล้องกับสโลแกนธนาคาร “BECOME A BETTER YOU” สือ่ ถึงภาพลักษณ์ทท่ี นั สมัย สะท้อนความเป็นผูเ้ ชีย่ วชาญ อย่างมืออาชีพ ได้รบั การออกแบบภายใต้แนวคิด Color Block ใช้โทนสีสญ ั ลักษณ์ธนาคาร คือสีฟา้ เป็นองค์ประกอบหลัก จับคูส่ กี บั สีมว่ ง ซึง่ เป็นสีสญ ั ลักษณ์ของกลุม่ ธุรกิจการเงิน เกียรตินาคินภัทร ออกแบบโดยดีไซเนอร์ชอ่ื ดังของประเทศ วิค – ธีรร์ ฐั ว่องวัฒนสิน เจ้าของแบรนด์ VICKTEERUT (วิคธีรร์ ฐั ) โดยลูกค้าสามารถพบพนักงานในเครือ่ งแบบใหม่ พร้อมให้บริการ อย่างมืออาชีพได้ทส่ี าขาธนาคารเกียรตินาคินทัว่ ประเทศ

OPTIMISE | JULY 2015

59


9 8

ธนาคารเกียรตินาคิน ส่ง “KK Smart Invest” จุดกระแสลงทุนง่ายๆ ผลตอบแทนเกินคาด พร้อมเปิดตัว Viral Clip ตอกย้ำ�การสื่อสาร

ธนาคารเกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) โดยอภินันท์ เกลียวปฏินนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานธุรกิจธนาคารพาณิชย์ เปิดตัวผลิตภัณฑ์ “KK Smart Invest” บัญชีออมทรัพย์คู่การลงทุน ที่เชื่อมโยงระหว่างเงินฝากออมทรัพย์กับการลงทุน ในกองทุนรวมตราสารหนี้ โดยจะทำ�การสื่อสารผ่าน Viral Clip เรื่อง The Dog (จัดทำ�โดยโอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ ประเทศไทย ดูได้ทาง YouTube, search คำ�ว่า “The Dog ธนาคารเกียรตินาคิน”) เป็น เรื่องราวของชายหนุ่มผู้เสียสละลูกชิ้นเพียงไม้เดียว ให้เจ้าหมาหิวข้างทาง (แสดงโดยริชาร์ด จากมะหมา 4 ขา) แต่กลับส่งผลดีตามมามากมายจนคาดไม่ถึง เปรียบเทียบได้กับการลงทุนผ่าน KK Smart Invest จากธนาคารเกียรตินาคิน ที่เป็นการลงทุนกับเงินฝาก ออมทรัพย์พร้อมกับการลงทุนเพื่อสร้างโอกาส 60

OPTIMISE | JULY 2015

รับผลตอบแทนที่ดีกว่า เพียงลูกค้าเปิดบัญชี KK Smart Invest ซึ่งลูกค้าเป็นผู้กำ�หนดวงเงิน คงเหลือในบัญชีสูงสุดและตํ่าสุดได้เองให้สอดคล้อง กับพฤติกรรมการใช้จ่ายของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ ยังสามารถปรับเปลี่ยนวงเงินคงเหลือในบัญชีได้ ทุกวันที่สาขาธนาคาร (มีผลหลังจากนั้น 2 วันทำ�การ) โดยระบบ KK Smart Invest จะทำ�การตรวจสอบ ยอดเงินทุกวันทำ�การ หากมีเงินในบัญชีมากกว่า วงเงินที่กำ�หนด ธนาคารจะนำ�เงินส่วนที่เกินไปลงทุน ในกองทุนรวมตราสารหนี้อัตโนมัติ (กองทุนเปิดภัทร ตราสารหนี้พลัส ของ บลจ.ภัทร) ซึ่งจะช่วยอำ�นวย ความสะดวกและจัดการเรื่องการลงทุนให้ตลอดเวลา ในขณะที่หากลูกค้ามีเงินในบัญชีคงเหลือตํ่ากว่าที่ ตั้งไว้ ธนาคารจะเป็นผู้ส่งคำ�สั่งให้คืนหน่วยลงทุน อัตโนมัติ เพื่อให้เงินคืนกลับเข้ามาในบัญชี

KK Smart Invest เตรียมพร้อมสำ�หรับการใช้จ่าย อื่นๆ ต่อไป” KK Smart Invest หรือบัญชีออมทรัพย์คู่ การลงทุนนี้ เปิดบัญชีขั้นตํ่าเพียง 1,000 บาท กลุ่มเป้าหมายหลักคือคนทำ�งานช่วงอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ที่เริ่มสนใจเรื่องลงทุนและอยากได้ ผลตอบแทนที่มากกว่าการฝากเงิน แต่ไม่มีเวลาที่ จะติดตามพอร์ตการลงทุนหรือติดตามสภาวะตลาด การเงิน ลูกค้าที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ธนาคารเกียรตินาคินทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ โทร. 02 165 5555 ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.kiatnakin. co.th

ธนาคารเกียรตินาคิน ร่วมกับชมรม CSR สมาคมธนาคารไทย และสอ.ดย. สร้างแกนนำ�ศึกษาเพื่อต่อยอดการสร้างวินัยทางการเงินใน จ.นครปฐม

ความรูแ้ ละความสามารถในการบริหารจัดการ ทางการเงินเป็นทักษะสำ�คัญในการใช้ชวี ติ ให้มคี วามสุข มัน่ คงและปลอดภัยทักษะหนึง่ ในปัจจุบนั ธนาคาร เกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) จึงมุง่ มัน่ ให้ความรูท้ าง การเงินกับกลุม่ เป้าหมายต่างๆ ตลอดมา โดยถือว่า การดำ�เนินการให้ความรูท้ างการเงินเป็นส่วนหนึง่ ของ หน้าทีใ่ นการเป็นธนาคารทีม่ คี วามรับผิดชอบต่อสังคม หรือ Responsible Bank ล่าสุด ธนาคารในฐานะหนึง่ ในสมาชิกของชมรม CSR สมาคมธนาคารไทย ซึง่ มีสมาชิกประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์ 15 แห่งในประเทศ ได้รว่ มกับ สภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชน ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (สอ.ดย.) ดำ�เนินโครงการ “รูเ้ ก็บ รูใ้ ช้ สบายใจ” (Saving for Change) ตัง้ แต่ปี 2557 จนถึงเดือนสิงหาคม ปี 2558 โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ 1. พัฒนาวิทยากรของธนาคารสมาชิกชมรม CSR สมาคมธนาคารไทย ให้มที กั ษะในการเผยแพร่ความรู้ ทางการเงินแก่กลุม่ เยาวชน

2. สร้างแกนนำ�นักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษา 6 แห่งในจังหวัดนครปฐม ให้สามารถต่อยอดการเผยแพร่ ความรูท้ างการเงินไปยังชุมชนรอบข้างได้ 3. พัฒนาหลักสูตรมาตรฐานสำ�หรับสถาบันการเงิน เพือ่ ใช้ในการให้ความรูท้ างการเงินแก่เยาวชน ฐิตนิ นั ท์ วัธนเวคิน กรรมการและรองกรรมการ ผูจ้ ดั การใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) และประธานชมรม CSR สมาคมธนาคารไทย เปิดเผยถึง ผลจากการดำ�เนินโครงการนีข้ องธนาคารสมาชิกชมรม CSR สมาคมธนาคารไทยคือ 1. วิทยากรของธนาคารสมาชิกชมรม CSR สมาคม ธนาคารไทย เข้ารับการพัฒนาทักษะจากตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย รวม 49 คน และในจำ�นวนนี้ วิทยากร 6 คนได้ท�ำ หน้าทีว่ ทิ ยากรหลักในการอบรมความรูท้ างการ เงินให้กบั แกนนำ�นักศึกษาทีเ่ ข้าร่วมโครงการ 2. นิสติ นักศึกษา 270 คน จากสถาบันอุดมศึกษา 7 แห่ง และสภาเด็กและเยาวชน จังหวัดนครปฐม เข้ารับ การอบรมกับโครงการ “รูเ้ ก็บ รูใ้ ช้ สบายใจ” และสามารถ จัดกิจกรรมกลุม่ เผยแพร่ความรูใ้ ห้กบั ชุมชนได้อกี 15

กิจกรรม ซึง่ แต่ละกิจกรรมได้รบั งบประมาณสนับสนุนจาก โครงการ “รูเ้ ก็บ รูใ้ ช้ สบายใจ” ไม่เกิน 50,000 บาท 3. คณะวิทยากรของธนาคารสมาชิกชมรม CSR สมาคมธนาคารไทย ได้รว่ มกันพัฒนาหลักสูตร “4 รู้ สูค่ วามมัง่ คัง่ ” ขึน้ โดยค่อยๆ ปรับปรุงให้มคี วามเหมาะสม กับผูเ้ รียนรูก้ ลุม่ เยาวชนจากการตอบสนองของนักศึกษา ในแต่ละสถาบันการศึกษา นอกจากการเรียนรูต้ ามหลักสูตร “4 รูส้ คู่ วามมัง่ คัง่ ” แล้ว น้องๆ นิสติ นักศึกษายังได้รบั ทราบเรือ่ ง “ภัยทางการเงิน” จากคณะวิทยากรของศูนย์คมุ้ ครอง ผูใ้ ช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย และเรือ่ ง ”คอร์รปั ชัน่ ในสังคมไทย” โดยวิทยากรจากสำ�นักงาน ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ” อีกด้วย ทีมวิทยากรได้เล่าให้ฟงั ว่า นอกจากความรูท้ ่ี ได้มอบให้กบั น้องๆ ไปแล้ว สิง่ ทีท่ �ำ ให้ปลืม้ ใจอีกอย่างหนึง่ คือ การทีน่ อ้ งๆ บอกว่ารูส้ กึ ใกล้ชดิ กับธนาคารมากยิง่ ขึน้ จากเดิมทีเ่ คยรูส้ กึ ว่าธนาคารเป็นสิง่ ทีเ่ ข้าถึงยากและ มีโอกาสไม่บอ่ ยนักทีจ่ ะได้แบ่งปันประสบการณ์กบั พีๆ่ ชาวธนาคารอย่างนี้ OPTIMISE | JULY 2015

61


10

กลุม่ ธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร สนับสนุนการ ดำ�เนินงาน ของหอจดหมายเหตุพทุ ธทาส อินทปัญโญ

กลุม่ ธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทรสนับสนุนการดำ�เนินงานของมูลนิธิ หอจดหมายเหตุพทุ ธทาส อินทปัญโญ ตัง้ แต่เริม่ ก่อตัง้ ในปี 2549 จนถึงปัจจุบนั ทัง้ ในด้านการวางระบบบริหารจัดการองค์กร การดำ�เนินกิจกรรมต่างๆ และงบประมาณ เพือ่ ร่วมสร้างความยัง่ ยืนให้กบั มูลนิธฯิ ในการส่งเสริมให้ประชาชน ทัว่ ไปสามารถเข้าถึงหัวใจของศาสนาตามปณิธานของท่านพุทธทาส ได้แก่ 1. พยายามทำ�ตนให้เข้าถึงหัวใจแห่งศาสนาของตน 2. พยายามทำ�ความเข้าใจระหว่างศาสนา 3. พยายามช่วยกันถอนตัวออกจากอำ�นาจของวัตถุนยิ ม และเมือ่ เร็วๆ นี้ ผูแ้ ทนกลุม่ ธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร นำ�โดย กฤติยา วีรบุรษุ (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารเกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) และ กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ บริษทั ทุนภัทร จำ�กัด (มหาชน) และบริษทั หลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) มอบทุนจำ�นวน 4 ล้านบาท ให้แก่มลู นิธฯิ เพือ่ สนับสนุนการดำ�เนิน งานในปี 2558 โดยมีนายแพทย์บญ ั ชา พงษ์พานิช (ที่ 3 จากขวา) กรรมการและ เลขานุการมูลนิธฯิ เป็นผูแ้ ทนรับมอบ ณ หอจดหมายเหตุพทุ ธทาส อินทปัญโญ กลุม่ ธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทรขอเชิญผูอ้ า่ นทุกท่านร่วมกิจกรรมดีๆ

62

OPTIMISE | JULY 2015

ของหอจดหมายเหตุพทุ ธทาส อินทปัญโญ โดยเลือกตารางกิจกรรมตลอดปีได้จาก www.bia.or.th สำ�หรับผูส้ นใจบุญจาริก (กิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงศาสนา) หอจดหมายเหตุฯ มีก�ำ หนดจัดกิจกรรมในไตรมาส 3 ดังนี้ • 18-21 กันยายน บุญจาริก – วัดป่าธรรมอุทยาน จังหวัดขอนแก่น กับหลวงพ่อกล้วย • 16-18 ตุลาคม บุญจาริก- วัดเขาใหญ่เจริญธรรม ญาณสัมปันโน จังหวัดนครราชสีมา (วัดป่ากรรมฐาน สายหลวงปูม่ น่ั ภูรทิ ตั โต) กับพระอาจารย์อทุ ยั สิรธิ โร ดูตารางกิจกรรมบุญจาริก และอาจารย์บชู า ตลอดปี 2558 ได้ท่ี http://ow.ly/ OYBPD ขอเชิญแบ่งปันประสบการณ์ ความประทับใจจากการร่วมกิจกรรม ของหอจดหมายเหตุฯ ได้ท่ี csr@kiatnakin.co.th ภายใน 15 กันยายน 2558 ผูโ้ ชคดี 5 ท่านจากการสุม่ จับรางวัลจะได้รบั เสือ้ ยืดทีร่ ะลึกจากหอจดหมายเหตุฯ

OPTIMISE | JULY 2015

63



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.