Issue 02 October 2015
The Stage for Reinvention ไอคอนแห่งวงการละครเวทีไทย บอย-ถกลเกียรติ วีรวรรณ เปิดความหมายใหม่ให้กับภาพที่ทุกคนคุ้นตา
ADVANCE NOTICE
Welcome to Optimise เราโปรยปกด้วยคำ�ว่า The Stage for Reinvention อย่างไม่ต้องคิดมาก เพราะเมื่อคนบนปกคือ ‘คุณบอย-ถกลเกียรติ’ คำ�ว่าเวทีหรือ stage ย่อมเป็นคำ�ที่ผุดขึ้นมาเอง โดยธรรมชาติ และผู้ที่ได้เคยประจักษ์กับผลงานของคุณบอย ผู้นำ�บทประพันธ์คลาสสิกเรื่องแล้ว เรื่องเล่า มาให้ความหมายใหม่ มิติใหม่ รสใหม่ จนกลายเป็นผลงานคลาสสิกไปอีกชิ้นหรือหลายชิ้น เสียเอง ย่อมเห็นอยู่แล้วว่า คุณบอยสามารถ ‘reinvent’ หรือปรุงของเดิมให้เด่นขึ้นใหม่ได้ยอดเยี่ยม เพียงใด กระนั้น ถ้อยคำ�เหล่านี้ ไม่ได้เป็นเพียงคำ�บรรยายที่เหมาะสมสำ�หรับเรื่องของคุณบอย ผู้เป็นแขก ในคอลัมน์สัมภาษณ์ Optimum View เท่านั้น เพราะหากท่านผู้อ่านพลิกต่อไปเรื่อยๆ ก็จะเห็นได้ว่า นอกเหนือจากคุณบอยกับละครเวทีแล้ว เมืองไทยขณะนี้ กำ�ลังเป็นจังหวะของการ ‘ปรุงใหม่’ ในอีก หลายวงการ เริ่มตั้งแต่วงการอาหาร ที่เชฟอาหารไทยยุคใหม่ อย่างเช่นเชฟต้น-ธิติฏฐ์ ทัศนาขจร แห่งร้าน Le Du พร้อมท้าทายความศักดิ์สิทธิ์ของตำ�ราอาหารไทยโบราณด้วยเมนูหน้าตาแปลก วัตถุดิบ แปลก แต่วิญญาณยังเป็นไทยอย่างยิ่ง (‘Messing With a Good Thing’) หรือวงการรถมอเตอร์ไซค์ ที่แบรนด์รถมอเตอร์ไซค์ยักษ์ใหญ่หลากหลายยี่ห้อพยายามปัดฝุ่น วัฒนธรรมนักซิ่งรุ่นเก๋าด้วยการออกรถมอเตอร์ไซค์รุ่น SR400, R nineT, Thruxton, Scrambler มารองรับกระแสนิยมแต่งรถแบบ ‘café racer’ ระลอกใหม่ (‘Café Culture’) หรือวงการอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ ที่ผู้ประกอบการอย่างเช่น Here Hostel, Glur Bangkok หรือ Yim Huai Kwang นำ�ตึกเก่าทรุดโทรมอายุร้อยปีของกรุงเทพฯ มาใส่ดีไซน์และสปิริตใหม่จน กลายเป็นโฮสเทลสุด ‘ฮิป’ ที่แบ็คแพ็คเกอร์ยุคดิจิตอลแย่งกันจับจอง (‘Makeover Mavens’) แม้กระทั่ง อีสานที่เคยเป็นเพียงดินแดนไกลปืนเที่ยง ตอนนี้ก็กลับคึกคักด้วยโรงแรม ร้านกาแฟ หรือร้านจักรยานที่มีกลิ่นอายพื้นถิ่นแบบหาไม่ได้ในกรุงเทพฯ (‘Isaan Redux’) ในขณะที่มรดก ท้องถิ่นอย่างฮูปแต้มก็กำ�ลังออกมาโลดแล่นผาดโผนราวงานอาร์ตโมเดิร์นบนผ้าใบของศิลปิน ยุคใหม่ (‘Isaan’s Wonder Walls’) สิ่งหนึ่งที่น่าสังเกต คือรสใหม่เหล่านี้ ไม่ใช่ผลของการประดิษฐ์ใหม่ ตรงกันข้าม สิ่งเหล่านี้ ดูเหมือนจะเป็นเพียงผลของการทำ�ความรู้จักกับของเดิม รสเดิม ประสบการณ์เดิม และตัวตนเดิม อย่างลึกกว่าเดิม ซึ่งสุดท้ายกลับนำ�มาสู่ความเข้าใจใหม่ที่สามารถทำ�ลายข้อจำ�กัดเก่า บทสัมภาษณ์ ความสำ�เร็จของลูกค้าคนสำ�คัญของเราอย่างคุณน็อต-วิศรุต รังษีสิงห์พิพัฒน์แห่ง Racer Group ที่พลิกจุดอ่อนของธุรกิจเดิมให้เป็นจุดแข็งของธุรกิจใหม่ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนอย่างยิ่งของ Reinvention ในความหมายนี้ สิ่งเดียวที่อาจจะหลุดธีมไปบ้างก็คือเศรษฐกิจ ซึ่งยังไม่ถึงกับสว่างสดใสนัก ด้วยข้อจำ�กัด ภายในภายนอกหลายอย่าง ดังที่ท่านผู้อ่านสามารถอ่านได้จากคอลัมน์ Economic Review และ Investment Review บางที เศรษฐกิจของประเทศเรานี้อาจมาถึงเวลาต้อง ‘reinvent’ กับเขาบ้างแล้วเหมือนกัน ธนกร จ๋วงพานิช บรรณาธิการ
02
OPTIMISE | OCTOBER 2015
OPTIMISE | OCTOBER 2015
03
Contents 06
20
Infinite Wealth ประกันความมั่งคั่งไม่มีสิ้นสุด
เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ใน 10 ปีข้างหน้า
Messing With a Good Thing
34
ECONOMIC REVIEW
08
FULL FLAVORS
เหล่าเชฟหัวก้าวหน้าในกรุงเทพฯ พร้อม ผลักดันอาหารประจำ�ชาติสู่ศตวรรษใหม่
INVESTMENT REVIEW
ควรทำ�อย่างไรเมื่อตลาด เกิดความผันผวน
12
OPTIMUM VIEW
Behind the Painting ถกลเกียรติ วีรวรรณ ผู้สร้างปรากฏการณ์ ละครเวทีในเมืองไทย เผยเรื่องราวเล็กๆ ที่นำ�ไปสู่ภาพความสำ�เร็จยิ่งใหญ่
CLIENT VALUES
Bright Ideas
44
THE GOOD LIFE
Harder, Faster, Stronger เมื่อผู้บริหารรุ่นใหม่หันมาใช้มาราธอน ครอสฟิต และไตรกีฬา สร้างความเป็นเลิศให้กับตัวเอง
วิศรุต รังษีสิงห์พิพัฒน์ ผู้นำ�อาณาจักร ธุรกิจหลอดไฟ Racer Group เผย เคล็ดลับบริหาร พร้อมสร้างแรงบันดาลใจ
Team ที่ปรึกษา บรรยง พงษ์พานิช อภินันท์ เกลียวปฏินนท์ กฤติยา วีรบุรุษ บรรณาธิการที่ปรึกษา ผกาภรณ์ บุณยัษฐิติ ธัญญ์นภัส นราศิริอภิพงษ์ บรรณาธิการ ธนกร จ๋วงพานิช
48
26
THE FAST LANE
Café Culture
STATE OF THE ARTS
Isaan’s Wonder Walls เมื่อ ‘ฮูปแต้ม’ มรดกแห่งลุ่มน้ำ�โขงที่กำ�ลัง สูญหาย กลับกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ ศิลปินรุ่นใหม่แห่งที่ราบสูง
38
BEYOND BOUNDARIES
Isaan Redux คลื่นลูกใหม่แห่งอีสานพร้อมใจพลิกโฉม บ้านเกิดด้วยความคิดสร้างสรรค์ และฝีมือ
มอเตอร์ไซค์ ‘cafe racers’ รุกคืบสู่ท้องถนน พร้อมเสน่ห์ความสวยย้อนยุคไม่ซํ้าใคร
52
LIVING SPACE
Makeover Mavens นักธุรกิจรุ่นใหม่ชุบชีวิตตึกเก่าเป็นโฮสเทลสุดฮิป
จัดทำ�โดย สื่อสารองค์กร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ผลิตโดย บริษัท เอเชีย ซิตี้ พับบลิชชิ่ง (ไทยแลนด์) จำ�กัด
Contact กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร 209 อาคาร เค ทาวเวอร์ ถนนสุขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร. 02 165 5555 ต่อ 3876
www.kiatnakinphatra.com
30
E-mail: corporate.communications@kiatnakin.co.th corporate.communications@phatracapital.com
SERVING YOU
Phatra Wealth Management เหนือไปกว่าความสำ�เร็จ คือความไว้วางใจ ที่คุณมีให้เรา 04
OPTIMISE | OCTOBER 2015
56
THE AGENDA
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 โดยกลุ่มธุรกิจการเงิน เกียรตินาคินภัทร ห้ามนำ�ส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้ไปลอกเลียนแบบ ทำ�สำ�เนา ถ่ายเอกสาร หรือนำ�ไปเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต และเครือข่ายต่างๆ ไม่ว่าในรูปแบบใดๆ นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางบริษัทเท่านั้น OPTIMISE | OCTOBER 2015
05
ECONOMIC REVIEW
คาดว่าไทยจะสามารถ ยกระดับเป็นประเทศที่มี รายได้สูงในปี 2571 หากจีดีพีขยายตัวปีละ 3.8% ซึ่งเป็นกรณีฐาน แต่หากขยายตัวตํ่ากว่านั้น เช่น 3.3% ต่อปีก็จะต้อง รอถึงปี 2574
เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ใน 10 ปีข้างหน้า ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ และหัวหน้าสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน)
เป็นที่ทราบกันดีว่าสภาวะเศรษฐกิจใน ระยะสั้นมีแนวโน้มไม่แจ่มใส รัฐบาลพยายาม เรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาโดยนำ�เสนอ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นอย่างรีบเร่ง เพื่อมิให้เศรษฐกิจอ่อนตัวลงไปอีก โดยคาดหวัง ว่าการลงทุนของภาครัฐในโครงการโครงสร้างพื้น ฐานขนาดใหญ่ที่น่าจะเกิดขึ้นในปีหน้าจะเป็น ตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ในขณะที่ความผันผวน และเปราะบางของเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ โดยเฉพาะความไม่น่าไว้วางใจของเศรษฐกิจ ในประเทศตลาดเกิดใหม่ก็จะสามารถคลี่คลาย ไปในทางที่ดีเช่นกัน แต่ที่กล่าวถึงและอยากรู้กันมากคือแนวโน้ม เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกในระยะยาวอีก 5 ปี 10 ปีจะเป็นอย่างไร เพราะปัญหาระยะสั้น นั้นพอที่จะบริหารจัดการรับมือได้ แต่อยากรู้ว่า ระยะยาวจะเป็นอย่างไรจะได้วางแผนได้ถูก รวมทั้งการวางแผนการลงทุนส่วนตัวในระยะ ยาวด้วย ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงเดียวกันกับที่รัฐบาล เองก็กำ�ลังเขียนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับใหม่ (แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12: ปี 2560-2564) ขึ้นมา ซึ่งผมขอ นำ�เอามุมมองของรัฐบาลไทยเกี่ยวกับอนาคต ของเศรษฐกิจไทยมาเป็นจุดตั้งต้น สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) กำ�หนด Mission Statement สำ�หรับอนาคต ของประเทศไทย (มองภาพในแง่ดี) ดังนี้ “ประเทศไทย (จะเป็น) ประเทศรายได้สูงที่มี การกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม เป็นศูนย์กลาง ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาค สู่การ 06
OPTIMISE | OCTOBER 2015
เป็นชาติการค้าและบริการ (trading and service nation) เป็นแหล่งผลิตสินค้า เกษตรกรรมยั่งยืน แหล่งอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และมีนวัตกรรมสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” อ่านดูแล้วก็อาจคิดว่าดูดีแต่ทำ�ยาก อย่างไร ก็ดีก็จะเห็นว่าภาครัฐต้องการผลักดันภาค เศรษฐกิจภาคใด (เช่นให้ความสำ�คัญกับการ ขนส่งและการบริการ) และอยากกระจายรายได้ ตลอดจนทำ�ให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีราย ได้สูงในที่สุด โดยคาดว่าไทยจะสามารถ ยกระดับเป็นประเทศที่มีรายได้สูงในปี 2571 หากจีดีพีขยายตัวปีละ 3.8% ซึ่งเป็นกรณีฐาน แต่หากขยายตัวตํ่ากว่านั้นเช่น 3.3% ต่อปีก็ จะต้องรอถึงปี 2574 กว่าประเทศไทยจะเป็น ประเทศรายได้สูง ซึ่งสมมุติฐานหนึ่งในการนำ� มาซึ่งการคาดการณ์ว่าจีดีพีไทยจะขยายตัว ประมาณ 3.3-4.3% (จุดกลางคือ 3.8%) คือ การกำ�หนดให้จีดีพีโลกขยายตัว 3.8% ในช่วง 2560-2564 (แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ 12) และ ขยายตัว 4.2% ในช่วง 2565-2569 กล่าวคือ เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเท่ากับเศรษฐกิจโลก ซึ่งตํ่ากว่าอดีตที่เศรษฐกิจไทยเคยขยายตัวสูง กว่าเศรษฐกิจโลก 1.5 ถึง 2 เท่า นอกจากนั้นสภาพัฒน์ฯ ยังประเมินว่าการ ส่งออกจะขยายตัวได้ 4% ต่อปีและภาคเกษตร จะขยายตัว 3% ต่อปี แปลว่าการเกษตรจะ หดตัวลงไปอีกหากคิดเป็นสัดส่วนของจีดีพี นอกจากนั้นยังคาดว่าผลิตภาพ (productivity) ของภาคเกษตรจะติดลบ 0.8% ซึ่งทำ�ให้ ตั้งข้อสงสัยว่าประเทศไทยจะเป็นแหล่งผลิต สินค้าเกษตรกรรมที่ยั่งยืนได้อย่างไรหากภาค
เกษตรกรรมด้อยกว่าภาคอื่นๆ ดังการประเมิน ข้างต้น ในขณะเดียวกันก็ประเมินว่าภาคบริการ จะขยายตัวถึง 7% ต่อปีและอยากเห็นพื้นที่ป่า ของประเทศเพิ่มขึ้นจาก 31.2% ในปี 2556 มาเป็น 36% ในปี 2564 ซึ่งก็น่าจะทำ�ให้การ ขยายตัวของภาคเศรษฐกิจต่างๆ ทำ�ได้ยาก ขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อสภาพัฒน์ฯ มอง ว่าแรงงานของไทยจะลดลง 0.2% ต่อปีในช่วง แผนฯ 12 และลดลง 0.7% ต่อปีในช่วงแผนฯ 13 หรือในอีกปี 10 ปีข้างหน้าแรงงานจะหดตัว อย่างมีนัยสำ�คัญ ในความเห็นของผมนั้น ข้อจำ�กัดดังกล่าว ข้างต้นน่าจะเป็นเหตุให้สภาพัฒน์ฯ มิได้กำ�หนด การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยสูงมากนัก นอกจากนั้นหัวจักรที่เคยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ให้รุ่งเรือง เช่น การส่งออกและการลงทุนภาค เอกชนก็คาดการณ์ว่า จะขยายตัวเพียง 4% และ 5% ตามลำ�ดับ (การลงทุนของรัฐนั้นกำ�หนดให้ ขยายตัวเพียง 4% คงเพราะไม่ต้องการให้หนี้ สาธารณะต่อจีดีพีสูงเกิน 50-55%) ดังนั้นผมจึง มองว่าการคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะอยู่ประมาณ 2-3% จึงน่าจะถูกต้องและอาจตํ่ากว่านั้นอีกก็ เป็นได้หากเศรษฐกิจโลกอ่อนแอกว่าที่คาด ในทำ�นองเดียวกันสภาพัฒน์ฯ มองว่าไทย น่าจะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดไม่เกิน 2% ของ จีดีพี ซึ่งการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดหรือขาดดุล ไม่มากจะช่วยทำ�ให้เงินบาทไม่อ่อนค่าในระยะ ยาว จึงอาจสรุปได้ว่าเศรษฐกิจไทยก็น่าจะ มีเสถียรภาพระดับหนึ่ง ขณะที่การลงทุนใน อนาคตก็ไม่ควรหวังผลตอบแทนสูงมากนักและ ควรกระจายความเสี่ยงไปในต่างประเทศบ้าง OPTIMISE | OCTOBER 2015
07
INVESTMENT REVIEW
ควรทำ�อย่างไรเมือ่ ตลาด เกิดความผันผวน ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และหัวหน้าทีมวิจัยลูกค้าบุคคล สายงานลูกค้าบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน)
ต้องยอมรับนะครับว่า บรรยากาศการลงทุนในช่วงนี้ มีความผันผวนสูงขึ้นมากนับตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกที่อาจจะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวเริ่ม มีมากขึ้น จากความกังวลต่อสัญญาณเศรษฐกิจที่อ่อนแอลง ของประเทศกำ�ลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศจีน เรียกว่าตั้งแต่ตลาดหุ้นจีนเริ่มปรับตัวลดลงแบบ ถล่มทลาย และจีนประกาศลดค่าเงินแบบช็อกโลก 3 วันติด เมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาตลาดหุ้นทั่วโลกก็เริ่มจะอยู่ ไม่ติดขึ้นลงหวือหวากันวันละ 3-5% แบบที่เห็นกันไม่บ่อยนัก ถ้าไม่ใช่ช่วงเกิดวิกฤต ความผันผวนของตลาดหุ้นใหญ่อย่าง สหรัฐฯ พุ่งขึ้นไปที่ระดับพอๆ กับช่วงเกิดวิกฤตหนี้สาธารณะ ของประเทศในยุโรปเมื่อปี 2011 ทั้งๆ ที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะเกิด วิกฤตในระดับเดียวกันเลย ดูเหมือนว่า ตลาดกำ�ลังตั้งคำ�ถามว่า ถ้าจีนและประเทศ
กำ�ลังพัฒนาทั้งหลายเริ่มจาม ประเทศที่รอออกจาก โรงพยาบาลอย่างสหรัฐฯ และประเทศที่นอนรักษาตัวอยู่ อย่างประเทศในยุโรป และญี่ปุ่น จะกลับมาป่วยหนักขึ้น หรือไม่ ปัจจุบันประเทศกำ�ลังพัฒนามีสัดส่วนเศรษฐกิจ กว่า 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลก (เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าเมื่อเทียบ กับสมัยไทยเกิดวิกฤต ปี 1997) และนับเป็นประมาณครึ่งหนึ่ง ของการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกในทศวรรษที่ผ่านมา สุขภาพทางเศรษฐกิจของประเทศกำ�ลังพัฒนาจึงเป็นสิ่งที่ ทั่วโลกให้ความสำ�คัญเป็นอย่างมาก ด้วยราคาหุ้นทั่วโลกที่ต้องยอมรับว่าไม่ถูกนักก่อนหน้านี้ ทำ�ให้ตลาดรับข่าวร้ายอย่างค่อนข้างรุนแรง ยิ่งมีความไม่ แน่นอนเรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลาง สหรัฐฯ มาผสมโรงอีก ตลาดยิ่งแกว่งหาทิศทางกันไม่ค่อยถูก
ความผันผวนของตลาดหุน้ สหรัฐฯ (Implied volatility—VIX)
ทีม่ า www.bloomberg.com 08
OPTIMISE | OCTOBER 2015
OPTIMISE | OCTOBER 2015
09
INVESTMENT REVIEW
สินทรัพย์อย่างหุ้นเป็น สินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทน สูงที่สุดในระยะยาว แต่ผลตอบแทนที่สูง ก็มากับความผันผวน นักลงทุนควรให้ความ สำ�คัญกับเป้าหมาย การเติบโตของสินทรัพย์ ระยะยาว และในขณะ เดียวกันก็ตรวจดูความ เสี่ยงของพอร์ตตนเอง ด้วย C
M
Y
ความผันผวนและความเสี่ยง เป็นของคู่กับ ผลตอบแทนจากการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในหุ้น ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวค่อนข้างดี แต่ก็มาพร้อมๆ กับความเสี่ยงที่สูงกว่าสินทรัพย์ ประเภทอื่นๆ ความผันผวนครั้งนี้คงเป็นเรื่องธรรมดา และอยู่ในระดับที่รับได้สำ�หรับนักลงทุนที่ได้เตรียม พร้อม กระจายความเสี่ยง และมีพอร์ตที่มีความเสี่ยง เหมาะสมกับตัวเองอยู่แล้ว
แล้วนักลงทุนควรทำ�อย่างไรกับภาวะ ตลาดผันผวนเช่นนี้? 1. ตรวจดูการจัดสรรเงินลงทุนและความเสี่ยง ของพอร์ต อย่างแรกที่นักลงทุนควรทำ� คือตรวจดู การกระจายเงินลงทุนของตัวเอง ว่าอยู่ในสินทรัพย์ ใดบ้าง (หุ้น พันธบัตร เงินสด และสินทรัพย์ทางเลือก อื่นๆ) มีนํ้าหนักเท่าใด มีระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับ ที่เหมาะสมที่ท่านรับได้และสอดคล้องกับเป้าหมาย การลงทุนระยะยาวหรือไม่ ความผันผวนที่ผ่านมาเป็น เครื่องวัดที่ดีว่าพอร์ตของท่านอยู่ในระดับที่เสี่ยงเกิน ไปหรือไม่ 2. ให้ความสำ�คัญกับเป้าหมายการลงทุน ระยะยาว มากกว่าความผันผวนระยะสั้น บางครั้ง การติดตามข่าวความผันผวนมากเกินไป อาจจะทำ�ให้ นักลงทุนให้ความสำ�คัญกับความผันผวนของหุ้น บางตัว มากกว่าผลตอบแทนรวมของพอร์ต และ เป้าหมายการลงทุนระยะยาว 10
OPTIMISE | OCTOBER 2015
อย่างที่บอกครับ สินทรัพย์อย่างหุ้นเป็นสินทรัพย์ที่ ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดในระยะยาว แต่ผลตอบแทนที่ สูงก็มากับความผันผวน นักลงทุนควรให้ความสำ�คัญ กับเป้าหมายการเติบโตของสินทรัพย์ระยะยาว และใน ขณะเดียวกันก็ตรวจดูความเสี่ยงของพอร์ตตนเองด้วย 3. กระจายความเสี่ยง ในภาวะที่มีความผันผวน สูง การกระจายความเสี่ยงเป็นเรื่องจำ�เป็น การมี สินทรัพย์หลายๆ ประเภทที่ไม่ขึ้นลงพร้อมกัน ช่วยพยุง มูลค่าของเงินลงทุน และเปิดโอกาสรับผลตอบแทน ได้ในเวลาเดียวกัน เช่นในช่วงที่ตลาดหุ้นปรับลดลง ค่อนข้างมาก พันธบัตรและเงินสดจะได้รับผลกระทบ น้อยกว่ามาก ซึ่งช่วยลดผลกระทบต่อผลตอบแทนของ พอร์ตโดยรวม และในช่วงที่เงินบาทอ่อนค่า การมีเงิน ลงทุนในต่างประเทศก็ช่วยลดผลกระทบได้ในระดับ หนึ่ง แต่ก็ต้องยอมรับนะครับว่า ในช่วงวิกฤต ดูเหมือน สินทรัพย์เสี่ยงทุกประเภทจะขึ้นลงพร้อมๆ กัน ทำ�ให้ ประโยชน์จากการกระจายความเสี่ยงลดลงไปบ้าง 4. ไม่ตื่นตระหนกจนเกินไป (แต่ไม่ใช่ไม่ทำ� อะไรเลย) เมื่อมีข่าวความผันผวนของตลาดอาจจะ ทำ�ให้นักลงทุนอยากเทขายทุกอย่างที่มี แต่การขายหุ้น ในวันที่ตลาดตกหนักๆ (และกลับไปซื้อคืนตอนตลาด ขึ้นกลับไปแล้ว) มักเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดอยู่ บ่อยๆ การหาข้อมูล วิเคราะห์ผลกระทบต่อการลงทุน อย่างมีเหตุผล และตัดสินใจอย่างมีสติเป็นสิ่งจำ�เป็น ในภาวะตลาดผันผวน
5.หาโอกาสจากความผันผวน ทุกวิกฤตมีโอกาส เสมอ ราคาหุ้นที่ลดลงในภาวะตลาดตื่นตระหนก อาจ เป็นโอกาสให้นักลงทุนที่รอจังหวะอยู่ สามารถซื้อหุ้น พื้นฐานดีในดวงใจ หรือลงทุนในตลาดหุ้นที่ชอบได้ใน ราคาที่สมเหตุสมผลมากขึ้น สำ�หรับนักลงทุนที่จัดพอร์ตแบบกระจายสินทรัพย์ อยู่แล้ว ช่วงที่ราคาผันผวนมากๆ อาจเป็นโอกาสใน การปรับพอร์ต เช่น ซื้อหุ้นที่ราคาปรับลดลงมามากๆ แต่เรายังมั่นใจในปัจจัยพื้นฐานอยู่ และการขยับอาจ จะทำ�ในวันที่ตลาดเริ่มนิ่งแล้วก็ได้ เพราะไม่จ�ำ เป็น ที่เราต้องซื้อหุ้นที่จุดตํ่าที่สุดพอดี และไม่มีใคร คาดการณ์ตลาดในระยะสั้นได้ ดังนั้น สิ่งที่นักลงทุนควรทำ�คือพยายามหาข้อมูล และพยายามหาข้อสรุปเรื่องมุมมองการลงทุน และปรับพอร์ตการลงทุนอย่างมีสติ ให้เหมาะสมกับ มุมมองการลงทุนของเราโดยยึดเป้าหมายการลงทุน ระยะยาว ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่เรารับได้เป็นหลัก ไม่มีใครรู้ว่าพรุ่งนี้ตลาดจะขึ้นหรือจะลง แต่การ วางแผนการลงทุนอย่างมีสติ เหมาะสมกับเป้าหมาย การลงทุน และระดับการรับความเสี่ยงของเราเอง เป็นเรื่องสำ�คัญมาก ผมเชื่อว่า การจัดสรรเงินลงทุนและการ กระจายความเสี่ยงจะช่วยลดผลกระทบต่อเงินลงทุน ของท่านได้ครับ ขอให้ทุกท่านโชคดีและสนุกกับการ ลงทุนครับ
CM
MY
CY
CMY
K
OPTIMISE | OCTOBER 2015
11
optimum view
Behind the Painting ธนกร จ๋วงพานิช
ถกลเกียรติ วีรวรรณ ผูส้ ร้างปรากฏการณ์ ละครเวทีในเมืองไทย เผยเรือ่ งราวเล็กๆ ทีน่ ำ�ไปสู่ ภาพความสำ�เร็จอันยิง่ ใหญ่ ตลอดจนพันธกิจของละคร ต่อสังคมและประเทศ เมื่อพูดถึงบอย-ถกลเกียรติ วีรวรรณ น่าเชื่อได้ว่าน้อย คนจะนึกถึง ‘จุด’ ตรงกันข้าม สิ่งที่ทุกคนนึกถึงน่าจะเป็น ‘ภาพ’ ไม่ว่า ภาพนั้น จะเป็นห้องนั่งเล่นอันอบอุ่นของสามพี่น้อง กบ-แท่ง-มอส ใน ซิทคอม ‘3 หนุ่ม 3 มุม’ ยอดเขาทิตลิสอัน ขาวโพลนไปด้วยหิมะในละครโทรทัศน์ ‘ยามเมื่อลมพัดหวน’ บุคลิกยิ่งใหญ่ของปานรุ้งในละครเวที ‘บังลังก์เมฆ’ ความ เรืองรองของบ้านเมืองในละครเวที ‘สี่แผ่นดิน’ หรือภาพอื่น ใดก็ตามในละครโทรทัศน์ 15 เรื่อง และละครเวทีอีก 17 เรื่อง และซิตคอมอีกนับไม่ถ้วนที่ผู้ชายคนนี้ดูแลการผลิต แต่เช่นเดียวกับที่ภาพย่อมเกิดมาจากจุดเหลือคณานับ ที่ทับซ้อนกันเป็นเส้นและสี ถกลเกียรติก็เชื่อว่าชีวิต และ ผลงานของเขาไม่ใช่อะไรเลยนอกจากสิ่งที่ถูกร้อยเรียงขึ้นมา จากประสบการณ์สารพันที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ประสบการณ์ ที่เขาเรียกว่าจุดหรือ ‘dots’ นั่นเอง “คนเราต้องคิดจากสิ่งที่เคยเห็น คิดจากประสบการณ์ มันต้องเอามาจากจุดนั้น จุดนี้ มันเหมือนกับที่สตีฟ จ็อบส์ พูด ‘It’s all about connecting the dots.’ น่ะ ดอตส์ก็คือ สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม เราเดินตามถนนเราเห็นอะไร เราเดิน ในถนนเราเห็นป้ายโฆษณานี้ เอ๊ะ---มันแปลว่าอะไร ทำ�ไม เราเห็นป้ายโฆษณานี้แล้วเรารู้สึกแบบนี้ ทำ�ไมเห็นแล้ว เราอยากดูอันนี้จังเลย หรืออยากซื้ออันนี้จังเลย เราเห็นป้าย โฆษณาอันนั้น เราไม่เห็นจะสนใจเลย … ยกตัวอย่างดอตส์ของผมนะ สมัยผมเรียนที่อเมริกา อายุ 12 รายการที่ผมชอบดูมากรายการหนึ่งชื่อ Family Feud มันเป็นเกมโชว์ ผมช๊อบชอบ นั่งดูทุกวันเลย สนุ๊ก สนุก แล้ววันหนึ่งมันก็จบไป สิบกว่าปีผ่านไป ผมมาทำ�ทีวี ยุคนั้นเกมส์โชว์บ้านเรามีแต่ดารามาเล่นเกมโชว์ ไม่มีคน 12
OPTIMISE | OCTOBER 2015
ธรรมดา ผมอยากทำ�เกมโชว์แบบที่คนทางบ้านมาเล่นกัน ผมว่ามันลุ้นกว่า ไม่ต้องมาเฟกแบบดารา ก็ได้รับคำ�ตอบว่า ประเทศไทย ถ้าเกมโชว์ไม่มีดาราเล่น ไม่มีทางขายได้ ไม่มีงบ จบ---เราก็พักไอเดียนั้นไป เขาพูดมาอย่างนี้ เราก็ต้องเชื่อเขา …จนวันหนึ่งพี่ต๋อย-ไตรภพ มีเกมเศรษฐีขึ้นมา เราก็ อ้าว---ดาราเหรอนั่นน่ะ มีแต่คนทางบ้านมาเล่น ก็เลย คิดเอาวะ ถ้าเผื่อยุคนี้มันเป็นยุคที่คนดูยอมรับแล้วว่า คนธรรมดาทั่วไปมาเล่นเกมส์โชว์ได้ ก็อยากเอาความคิดนี้ กลับมาทำ� แฟมิลี่ ฟิวด์ก็เข้ามาในหัวทันที และเพราะยุคนี้ มันเป็นยุคการซื้อฟอร์แมต ก็เลยไปซื้อฟอร์แมตรายการของ เขา เอามาทำ�เป็นเวอร์ชั่นไทย ก็เลยกลายมาเป็น ‘4 ต่อ 4 แฟมิลี่เกม’ นี่มันก็เป็นดอตส์ของผม”
เริ่มจุ่มหมึก
หากชีวิตของถกลเกียรติเป็นภาพที่ก่อขึ้นทีละน้อยจาก ดอตส์หรือ ‘จุด’ อย่างที่ว่ามานี้จริง จุดแรกๆ ที่เข้ามาแต้ม ชีวิตของเขาน่าจะเป็นละครจักรๆ วงศ์ๆ หนังซูเปอร์ฮีโร่ มายากล และละครชาตรีที่มีคนเอามาเล่นแก้บนใกล้บ้าน เพราะนี่คือสิ่งแรกๆ ที่แสดงให้เห็นว่าถกลเกียรติรับรู้ สิ่งเหล่านี้ในลักษณะที่แปลกกว่าเด็กอื่น ตามธรรมชาติเด็กเล็กย่อมถูกผูกติดกับเรื่องราวหรือ นิทานได้ง่ายอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ถกลเกียรติอาจต่าง ออกไปก็คือ ในขณะที่เด็กอื่นเพียงสนุกกับท้องเรื่องด้าน หน้า ความสนใจของ ถกลเกียรติ กลับพุ่งไปยังเบื้องหลังที่ ก่อให้เกิดความสนุกเบื้องหน้านั้นอีกชั้นหนึ่ง ตั้งแต่อายุเพียง เจ็ดแปดขวบ ถกลเกียรติจะเดินไปหลังเวทีเพื่อดูการ แต่งหน้าของตัวละคร เมื่อดูมายากลก็จะไปซื้อหนังสือ OPTIMISE | OCTOBER 2015
13
optimum view มายากลมาศึกษาเคล็ดลับ “เป็นความชอบตั้งแต่เด็กน่ะครับ ชอบในฐานะที่เป็นคนดู ก่อน ตั้งแต่เด็กก็คิดว่า เขาทำ�ยังไง เห็นสิ่งที่เราดูแล้วเราก็อยาก ทำ�ตามบ้าง ตั้งแต่ 8-10 ขวบ ผมก็ดูไอ้มดแดง แล้วก็จะรู้สึก ว่า เออ---เขาทำ�ยังไง มันเหมือนเด็กชอบวาดรูป เห็นอะไรก็จะ อยากวาดออกมาให้มันเหมือนรูป” ไม่เพียงแต่อยากเฉยๆ ถกลเกียรติยังทดลองทำ�จริงเลยด้วย บุคคลใกล้ชิดเล่าว่าในยามเด็ก ถกลเกียรติจะชอบเล่นเชิดหุ่น ในบ้าน โดยคิดบทและกำ�กับให้เด็กคนอื่นในบ้านเชิดตามที่ กำ�หนด พร้อมกะเกณฑ์ญาติๆ มาดู ปรากฏว่าความชอบใน การแสดงและเรื่องราวเบื้องหลังนี้ได้ติดตามถกลเกียรติไป แม้ยามที่เขาถูกทางบ้านส่งไปเรียนต่อหลังจากจบชั้นประถม 6 ที่โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ดินแดนที่เต็ม ไปด้วยรูปแบบความบันเทิงอีกหลายอย่างที่ถกลเกียรติยัง ไม่รู้จัก “โทรทัศน์ที่อเมริกาเขาจะแตกต่างจากบ้านเรา อย่าง ซิทคอมเขามีเสียงหัวเราะ เราก็จะ เอ๊ะ---เขามีคนดูสดจริงๆ เหรอ หรือว่าเขาใส่เสียงลงไป หรืออย่างละครเวที พ่อพาไปดู เรื่องแรกคือ The Sound of Music ที่ซานฟรานซิสโก แล้วก็บอก ว่า นี่เขาร้องสดทุกเพลงเลยนะ เราก็จริงเหรอ นึกว่าเขาเปิดเทป พ่อบอกว่า ไม่---เขาร้องสดเลย ดนตรีก็เล่นสด เราก็ อ้าว---มัน เป็นอย่างนี้ได้ด้วย ทำ�ไมฉากมันเปลี่ยนกันอลังการมโหฬารกัน ขนาดนั้น จากภูเขากลายมาเป็นบ้านอะไรอย่างนี้” ความประทับใจแรกพบนี้ที่ได้ทำ�ให้ถกลเกียรติกลายมาเป็น แฟนละครเวที เมื่อหนังเพลงเรื่อง The King and I ที่นำ�แสดง โดย ยูล บรีนเนอร์ ถูกนำ�มาฉายทางทีวี เขาก็อัดวีดีโอไว้แล้ว นำ�มาดูซํ้าแล้วซํ้าอีก เพื่อให้หายคิดถึงเมืองไทย จนเขาบอกว่า ทุกวันนี้หากปิดเสียงภาพยนตร์เรื่องนี้ เขาก็ยังพากษ์ได้ทั้งเรื่อง “เราอยู่ไฮสคูลเราก็เข้าดราม่าคลับ เล่นด้วยและก็เป็น ตัวตั้งตัวตี เพราะด้วยความที่มันเป็นโรงเรียนเล็ก และก็ชาย ล้วน ความสนใจในดราม่ามันเลยไม่เยอะ เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ สนใจกีฬา แต่เราอยากให้ดราม่าคลับมันเกิด เราก็ต้องเป็น ตัวตั้งตัวตี บางที อ้าว---บทนี้ไม่มีคนเล่น จะหาใครมาเล่นดี” อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการคลายเหงาและความสนุก นอกห้องเรียนชั่วครั้งชั่วคราว ละครเวทียังทำ�ให้ถกลเกียรติเริ่ม ตั้งคำ�ถามเกี่ยวความหมายของการดำ�รงชีวิต เขาได้มีโอกาสไป ดู A Chorus Line ละครเวทีระดับตำ�นานซึ่งเกี่ยวกับชีวิตของ นักเต้น 17 คนซึ่งต้องแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงตำ�แหน่งในหาง เครื่องที่มีอยู่จำ�กัด และพบว่าเมื่อตัวเองออกจากโรงละครนั่ง รถเมล์กลับบ้าน เนื้อเพลง What I Did for Love ซึ่งตัวละครตัว หนึ่งร้องออกมา เมื่อซ้อมเต้นจนขาแพลงและตระหนักว่าตน จะไม่ได้ไปต่อนั้น ได้ทำ�ให้เขาต้องนํ้าตาคลอและนั่งเหม่อไป ตลอดทาง เนื้อเพลงที่ว่า “We did what we had to do. Won’t forget, can’t regret what I did for love.” ทำ�ให้เขาต้องคิด ซํ้าๆ ว่าสิ่งที่ตัวเขารักคืออะไร และต่อไปจะได้ทำ�สิ่งที่รักหรือไม่ แต่ปรากฏว่าคำ�ถามนั้น ถกลเกียรติเป็นผู้ตอบเองในเวลา อีก 4 ปี ต่อมาเมื่อเขาเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาตรี สาขา เศรษฐศาสตร์ที่ Boston College และได้ดูละครเวทีอีกเรื่องหนึ่ง คือ Death of a Salesman ที่ในฉากหนึ่งตัวละครผู้เป็นลูก ระเบิดอารมณ์ใส่ผู้เป็นพ่อที่บังคับให้เขาทำ�อาชีพเซลส์แมน ทั้งที่เขาอยากใช้ชีวิตกลางแจ้งว่าทำ�ไมเขาต้อง “ทนทำ�สิ่งที่ ไม่ชอบ 50 สัปดาห์ต่อปีเพื่อแลกกับพักร้อนเพียง 2 สัปดาห์ 14
OPTIMISE | OCTOBER 2015
ด้วย” ประโยคนี้ทำ�ให้ถกลเกียรติตัดสินใจเปลี่ยนมาเรียน Communications and Theatre โดยต้องโน้มน้าวผู้เป็นพ่อ ดร.อำ�นวย วีรวรรณ นักเศรษฐศาสตร์ระดับพระกาฬของเมือง ไทยให้เห็นว่าเศรษฐศาสตร์มีคนเรียนมาก เธียเตอร์มีคนเรียน น้อย เขาน่าจะกลับไปแข่งขันในอาชีพที่มีคนเรียนน้อยและเขา ได้ A มากกว่าอาชีพที่มีคนเรียนมาก และเขาได้เพียงเกรด D ซึ่งโชคดีว่าเหตุการณ์ในชีวิตจริงของถกลเกียรติไม่ดราม่าเหมือน ละคร เพราะคำ�ตอบของนักเศรษฐศาสตร์ผู้ที่เข้าใจกฎการ ลดน้อยถอยลงของผลตอบแทนเป็นอย่างดีอย่างดร.อำ�นวย ก็คือ “ก็คิดถูกแล้วล่ะ”
วาดลวดลาย
ตั้งแต่เด็กก็คิดว่าเขาทำ�ยังไง เห็นสิ่งที่เราดูแล้วเราก็อยากทำ�ตาม บ้าง ตั้งแต่ 8-10 ขวบ ผมก็ดู ‘ไอ้มดแดงอาละวาด’ แล้วก็จะรู้สึกว่า เออ เขาทำ�ยังไง มันเหมือนเด็กชอบ วาดรูป เห็นตรงนั้นแล้วก็จะอยาก วาดออกมาให้มันเหมือนรูป เราเห็นตรงนั้น เราก็อยากทำ�ให้มัน ออกมาเป็นอย่างนั้นได้เหมือนกัน
พร้อมๆ กับที่ชีวิตของถกลเกียรติถูกแต่งแต้มโดยจุดแห่ง ประสบการณ์ต่างๆ ในอีกทางหนึ่งเขาเองก็เริ่มวาดจุดและ ลายเส้นของตัวเองลงในวงการบันเทิงไทยเช่นกัน หลังกลับ จากสหรัฐฯ ถกลเกียรติเริ่มทำ�งานที่บริษัท แกรมมี่ในฐานะ โปรดิวเซอร์ ที่นี่ ทัศนคติในการเป็นผู้ที่ต้องการสร้างสิ่งต่างๆ ให้ปรากฏออกมาเหมือนกับเด็กที่อยากวาดภาพ ได้ทำ�ให้ ถกลเกียรติกลายเป็นผู้ริเริ่มหลายสิ่งขึ้นในวงการละคร อย่างเช่น ซิทคอม ‘3 หนุ่ม 3 มุม’ “ไม่รู้ ไหนๆ มันไม่มีก็อยากไปลองทำ�ให้มันมี อยากเห็นว่า ถ้ามันมีอย่างนี้แล้วจะทำ�ยังไง อย่าง 3 หนุ่ม 3 มุม ละคร ซิทคอมเรื่องแรก แค่คนในทีมเองยังต่อต้านกันเยอะมาก ละครอะไรไม่รู้มีแต่พระเอกสามคน คืออะไร น่าดูตรงไหน ไม่มี นางเอก ประเด็นนี้โดนถามเยอะมาก แต่พอทำ�แล้วฉาย ปรากฏ ว่ามันก็เป็นการดูละครอีกแบบหนึ่งซึ่งประสบผลสำ�เร็จได้ ตอน นั้นเราแค่คิดว่า เราดูแล้วสนุก ก็เชื่อว่าคนอื่นน่าจะดูแล้วสนุก เหมือนกับที่เราดู เราคงไม่ใช่มนุษย์ประหลาดหนึ่งเดียวในโลก ที่ดูแล้วสนุก” อันที่จริงต้องเรียกว่าไม่ใช่แค่ประสบผลสำ�เร็จ เพราะไม่ เพียง 3 หนุ่ม 3 มุมจะกลายเป็น ‘สถาบัน’ อย่างหนึ่งของช่อง 7 ที่ออกอากาศต่อเนื่องกันถึง 8 ปี และทำ�ให้ภาษาไทยมีสำ�นวน ติดปากสำ�หรับเรียกผู้ชายสามคนขึ้นใหม่เท่านั้น แต่ 3 หนุ่ม 3 มุม ยังทำ�ให้คนไทยรู้จักกับการดูละครชนิดใหม่ ที่ความสนุก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ ‘ความฟิน’ ที่ได้เห็นพระเอกนางเอกลงเอยกัน อย่างเดียว หากอยู่ที่การได้ผูกพันกับตัวละคร และเห็นตัวละคร นั้นเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ถึงขนาดที่ว่าเมื่อครั้งหนึ่งที่ตัวละครเอกพล (กบ-ทรงสิทธิ์) พูดเบอร์บ้าน 3 หนุ่ม 3 มุมออกอากาศไป ก็ทำ�ให้ ผู้ชมจำ�นวนมากโทรเข้าไปที่เบอร์นั้น จนเจ้าของเบอร์ในชีวิตจริง ต้องโทรร้องเรียนมายังรายการ นอกเหนือจากการทำ�ให้ซิทคอมกลายเป็นอีกหนึ่งความปกติ ของรายการทีวีไทยแล้ว อีกหนึ่งสถาบันที่ถกลเกียรติสร้างขึ้นมา ก็คือ ‘ละครเอ็กแซ็กท์’ กล่าวคือละครจากบริษัท เอ็กแซ็กท์ ที่ตั้งขึ้นมาโดยบริษัท แกรมมี่เพื่อผลิตละครโทรทัศน์อย่าง จริงจัง เพราะในยุคนั้นที่ละครหลังข่าวโดยมากยังเล่นแบบตาม ขนบธรรมเนียมที่แสดงอุดมคติว่าดีต้องดี ร้ายต้องร้าย และใน ที่สุดดีต้องชนะร้ายจนนำ�มาซึ่งสันติสุขชั่วกัลปาวสานนั้น ละคร เอ็กแซ็กท์ได้เลือกที่นำ�เสนอมิติอื่นๆ ของชีวิตซึ่งไม่ค่อยถูกแสดง ชัดเจนในละคร เช่นความรักของแม่ที่ทำ�ลายลูก (‘บัลลังก์เมฆ’) ฉากเลิฟซีนของพระเอกและนางเอก (‘อยากหยุดตะวันไว้ที่ ปลายฟ้า’) หรือการตายจากของพระเอกในจุดที่ควรจะเป็น แฮปปี้ เอ็นดิ้ง (‘รักในรอยแค้น’) OPTIMISE | OCTOBER 2015
15
optimum view “เราก็อยากให้ละครของเรามันมีความกลม คนดู จะได้เห็นว่าคนเรามีทั้งข้อดีและข้อเสีย เขาจะได้เห็น ว่า อ๋อ---เพราะข้อเสียแบบนี้ มันจึงเป็นอย่างนี้ แล้ว คนดูจะได้เรียนรู้อะไรจากตัวละครมากขึ้น แต่ถ้าเผื่อ เราแค่ทำ�แบนๆ ไป คนนี้ดี คนนี้ร้าย คนร้ายเข้าคุก แล้วคนดีก็แฮปปี้ เอนดิ้ง จบ---อย่างนี้ผมว่าอาจจะมี enjoyment ของมัน แต่ว่าคนดูก็จะคิด นี่ละค๊อน ละคร แล้วก็ไม่ได้เรียนรู้อะไรจากตรงนั้น พอละคร จบก็ใช้ชีวิตปกติ แต่ถ้าเผื่อมันเป็นละครที่สามารถ กระตุ้นให้คนนึก เออ---มันมีอย่างนี้ด้วย ตายแล้ว--เราต้องเปลี่ยนวิธีคิดของเราไหม หรือเราต้องเปลี่ยน วิธีการดำ�เนินชีวิตของเราไหม ผมว่าอันนี้ ต่างหากที่จะมีความสำ�คัญต่อสังคม” แนวคิดนี้แม้จะแปลกแหวกแนวแต่ก็ถือได้ว่า ประสบความสำ�เร็จอย่างมาก เพราะละครเรื่องแรก ของเอ็กแซ็กท์คือ ‘รักในรอยแค้น’ ซึ่งนำ�แสดงโดย แหม่ม-แคทรียา และแท่ง-ศักดิ์สิทธิ์ที่เริ่มต้นอย่าง ไม่เป็นที่สนใจเพราะคนดูแล้วงงจับทางไม่ค่อยได้ สุดท้ายกลับเป็นกระแสให้ผู้ชมลุ้นตอนจบกัน ทั่วบ้านทั่วเมือง ถึงขนาดมีการพาดหัวข่าวบันเทิง ถึงพระเอกของละครเรื่องนี้ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐว่า “พัดยศ ตายแน่!”
สีต้องห้าม
อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป สุดท้าย ความ สำ�เร็จนี้ก็กลับมาท้าทายถกลเกียรติ เมื่อสังคมใน ปัจจุบันเริ่มตั้งข้อหาว่าละครไทยยั่วยุให้เกิดความ รุนแรง พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทางเพศ หรือมีแต่ เรื่องชิงรักหักสวาท ถึงขนาดมีผู้ไปเรียกร้องผ่าน เว็บไซต์ Change.org ให้กสทช. “หยุดการเผยแพร่ ละครนํ้าเน่า” เสียที โดยอ้างว่าละคร “ไม่ได้ทำ�ให้ สังคมของเรามีค่านิยมที่ดีขึ้น หากแต่ทำ�ให้เราเป็น ทาสการบริโภค และการอวดมั่งอวดมี จนทำ�ให้กลุ่ม คนที่อ่อนแอทางจิตใจ และความคิดในสังคม มุ่งเสพ ซึ่งวัตถุต่างๆ โดยการกระทำ�ที่ไม่ชอบ” เมื่อเราถามว่าถกลเกียรติรู้สึกอย่างไรกับ คำ�วิพากษ์วิจารณ์เกรี้ยวกราดเหล่านี้ ถกลเกียรติ หัวเราะออกมาเสียงดังเหมือนกับได้ยินตลกร้ายๆ ที่เขาได้ยินมาแล้วหลายครั้งเรื่องหนึ่ง ในขณะที่ ผู้ช่วยของเขาเปิดโทรทัศน์ขึ้นมา “นี่ไงครับ ความเห็น ของผม ผมกำ�ลังเป็นประเด็นในฉากนี้พอดีเลย” ภาพที่ปรากฏบนโทรทัศน์คือภาพบี้-สุกฤษฏิ์ ที่กำ�ลัง ‘จูบ’ กับแป้ง-อรจิรา ในละครเรื่อง ‘จัดรัก..วิวาห์ลวง’ จูบที่ไม่ใช่แค่มุมกล้องเฉยๆ แต่เป็นจูบแบบ ฝรั่งเศสจริงๆ ความยาวเกือบ 3 นาที ที่กระทู้ใน Pantip.com ตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นจูบที่ “ดุเดือด ที่สุดในประวัติศาสตร์ละครไทย” “ผมว่ามันเป็นเรื่องของสังคมปัจจุบัน เป็นเรื่องที่ เราต้องยอมรับว่ามี ทำ�ไมเราจะต้องมาปิดบังการจูบ กันด้วย การจูบเป็นสิ่งไม่ดีเหรอ ถามว่าจูบในละคร ไทยมีไหม มีมาตลอดนะ เพียงแต่ว่าไอ้จูบอันนี้มันได้ อารมณ์มากกว่าอันอื่นเท่านั้นเอง เรามีจรรยาบรรณ 16
OPTIMISE | OCTOBER 2015
นะครับ แต่มันก็ต้องดูยุคสมัย ต้องดูสิ่งที่มันเกิดขึ้น ในสังคม ผมว่าแต่ละคนเรามีเส้นของความพอดีไม่ เท่ากัน อันนี้ยอมให้หน่อย หรืออันนี้ไม่ยอม เราไม่ เท่ากันอยู่แล้ว แต่เราจะไม่ทำ�ร้ายสังคมแน่ๆ …อย่างเช่น ทุกวันนี้ปัญหายาเสพติดมีเต็มไป หมดในประเทศไทย แต่ในละครทีวีนี่แทบจะไม่เห็น แล้ว อะไรที่เกี่ยวกับยาเสพติด ไม่เอา---ห้าม! ผมโตมากับหนังเรื่อง ‘นํ้าพุ’ แล้วทำ�ให้ผมกลัวเรื่อง ยาเสพติด แต่สมัยนี้ไม่มีหนังแบบนั้น ไม่มีละครแบบ นั้นที่จะเตือนสติเด็ก แล้วก็หวังว่ายาเสพติดจะหาย ไป เพราะเด็กไม่เคยเห็นจากโทรทัศน์ แต่สุดท้าย มันกลายเป็นว่ายาเสพติดมีเยอะกว่ายุคผมอีก …คือคนเรามันหนีความจริงไม่ได้ เอาแค่ปัญหา คอร์รัปชัน ทำ�ออกมาในละครไม่ได้หรอก โดนด่ากัน หมดเลย คนทำ�โดนด่า จะทำ�ฉากให้ตัวละครไปตรง ไหนแล้วยื่นเงินให้ เขาบอก ไม่ได้---ห้าม! คนไทยไม่ รับเงินใต้โต๊ะ ความจริงสิ่งที่เราพยายามจะนำ�เสนอ คือ ‘เพราะคุณทำ�อย่างนี้นะ มันจึงเกิดอย่างนี้’ แต่ไอ้ ตอน ‘เพราะคุณทำ�อย่างนี้’ มันออกอากาศไม่ได้ คน เลยไม่ถูกกระตุกให้คิด แล้วสิ่งเหล่านี้มันก็เลยยังเกิด ในเมืองไทย เกิดแบบง่ายๆ …การที่ไม่มีภาพเกี่ยวกับยาเสพติดหรือภาพ เกี่ยวกับคอร์รัปชันในทีวี มันก็อาจจะเป็นความตั้งใจ ดี แต่ทุกวันนี้โลกมันไปไหนแล้ว นี่มันยุคอินเทอร์เน็ต เขาอยากดูอะไรเขาก็เสิร์ชได้หมด ถ้าทีวีไม่มีให้ดู เขาก็ไปดูในอินเทอร์เน็ต เราจะมาทำ�เหมือนกับว่า ‘ถ้าฉันไม่พูดถึงเรื่องนี้ แปลว่าฉันเซฟ คนอื่นพูดฉัน ไม่เกี่ยว’ ไม่ได้ แล้วสังคมจะเป็นยังไง ผมชอบมอง ข้ามช็อต แต่อย่างละครวัยรุ่นบางเรื่องผมก็ไม่เห็น ด้วยกับการนำ�เสนอเพียงแค่สะท้อนสังคมแต่ว่าไม่ ได้มีคำ�ตอบ ผมก็จะ เฮ้ย---ถ้ามันเป็นประเด็นใหญ่ ขนาดนี้ มันต้องสร้างสรรค์สังคมหรือเปล่า สะท้อน สังคมกับสร้างสังคมนี่มันต่างกันนะ”
เก็บรายละเอียด
อย่างที่ถกลเกียรติได้บอกว่า เส้นความพอดี ของแต่ละคนไม่เท่ากัน สุดท้ายละครโทรทัศน์ของ ถกลเกียรติ จะสะท้อนหรือสร้างสังคมได้แค่ไหน ผู้ชมคงต้องวัดและตัดสินไปตามเส้นของตัวเอง อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ทุกคนน่าจะเห็นได้ตรงกัน ก็คือ สำ�หรับละครเวทีเมืองไทย ถกลเกียรติถือเป็น ที่สุด อย่างที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐขนานนามว่าเขาเป็น ‘จอมทัพวงการละครเวทีไทย’ ก่อนหน้ายุคของถกลเกียรติ ละครเวทีจัดเป็น ศิลปะที่ลึกซึ้งแต่มีคนดูจำ�กัด ละครเวทีมิวสิคัลที่ สหรัฐฯ ที่ทำ�ให้ ถกลเกียรติประทับใจนั้น เมื่อมาถึง เมืองไทยในรูปของหนังเพลงก็ปรากฏว่าไม่ค่อยมี คนดู ราวกับว่าโลกที่ตัวละครวิ่งเข้าไปร้องเพลงใน ตลาดแล้วคนในตลาดไม่แตกตื่น แต่กลับลุกขึ้นมา ร้องคอรัสประสานเสียงด้วย ไม่สามารถทำ�ให้คนไทย เชื่อมโยงกับชีวิตจริงได้ จนถกลเกียรติเคยยอมรับว่า ขณะทำ� ‘วิมานเมือง’ มิวสิคัลเรื่องแรกของเขานั้น
สิ่งที่กลัวที่สุดก็คือ การที่คนดูหัวเราะออกมา แล้ว หาว่าตัวละครเป็นบ้า เพราะหนึ่งในสิ่งแรกๆ ที่เขาได้ เรียนรู้จากชั้นเรียนวิชาเธียเตอร์ ก็คือ ถ้ามีคนเพียง หนึ่งคนในโลกที่จะทำ�ให้เกิดละครขึ้นมา คนๆ นั้นจะ ไม่ใช่ผู้กำ�กับ ไม่ใช่นักแสดง ไม่ใช่คนเขียนบท หาก แต่เป็น ‘คนดู’ คนดูเพียงหนึ่งคนก็เพียงพอที่จะทำ�ให้ ภาพภูเขานํ้าตกใบไม้ร่วงตามธรรมชาติกลายเป็น ละครขึ้นมาได้ ในทางตรงกันข้าม ถ้าสร้างคนดูไม่ได้ การแสดงและโปรดักชั่นอลังการทั้งหมด ก็ไม่อาจถือ เป็นละคร “ละครเวทีเรื่องแรกนี่คนดูในไทยส่วนใหญ่ไม่มี ใครเคยดู คนไม่เข้าใจว่ามันจะเป็นยังไง แต่โชคดีที่ เราได้ดาราแม่เหล็กมาอย่างคุณสินจัย คุณจอห์น นูโว คนส่วนใหญ่ก็เลยกลายแบบว่า ไหนๆ---มีดารา ดังนี่ เขามาทำ�อะไรกันน่ะ ก็ไปดู แล้วก็อุ๊ยตาย--มันมีอย่างนี้ด้วยเหรอ สนุกจังเลย ดีจังเลย เราก็ โห---ชื่นใจ …เพราะว่าก่อนหน้านั้นเราเคยมีประสบการณ์ ไปทำ�งานอะไรที่มันสดๆ อย่างงานเช่นแชริตี้ งาน ร้องเพลงแล้วเราจะเห็นตลอดว่า ถ้างานมันมีเบรก เมื่อไหร่ ในองก์สอง คนจะหายไปครึ่งหนึ่ง ในตอนทำ� วิมานเมือง ผมก็เลยแค่หวังว่า พอมันมี intermission แล้วให้คนหายไปแค่ 10-20% พอ อย่าหายไป 50%” แต่ผลที่ออกมาในวันนั้น ถกลเกียรติเล่าไว้ในหนังสือ ‘A Boy Story: 20 ปี ในชีวิตการทำ�งานของบอย ถกลเกียรติ’ ว่า “ผู้ชมยังอยู่กันครบทั้งศูนย์ วัฒนธรรม” การกล่าวถึงดาราแม่เหล็ก นำ�ไปสู่คำ�ถามที่ คนไม่น้อยมักหยิบยกมาตั้งแง่ว่า ละครเวทีของ ถกลเกียรติมักใช้แต่ดาราที่ดังอยู่แล้ว จนดูเหมือน ไม่พยายามให้ละครอยู่ได้ด้วยกำ�ลังของมันเอง ถกลเกียรติยอมรับว่าจริง แต่ไม่ใช่เพียงเพราะเหตุผล ผิวเผินอย่างการเอาใจคนดูอย่างที่พูดกัน หากเป็น เหตุผลซึ่งบังคับมาจากความเป็นจริงของวงการ บันเทิงในปัจจุบัน “ทำ�ไมน่ะเหรอครับ ก็เพราะในเมืองไทยตอนนี้ มีแต่ star แต่ว่า actor นี่น้อย เพราะฉะนั้น ถ้าเกิด คุณเอาคนโนเนมมา มันเล่นไม่ได้ มันต่างกับต่าง ประเทศ ต่างประเทศนี่ actor เต็มไปหมดเลย ดังไม่ ดังแต่เล่นดีชิบเป๋งเลย ไม่ดังเลยแต่เล่นดีโคตรเลยก็ มีเยอะแยะ แต่ของไทยนี่น้อย เพราะถ้าเขาเล่นดี ป่านนี้เขาดังแล้ว ประเด็นนี้ ไม่ค่อยมีใครพูดถึงเลย อย่างเด็กที่เรียนดราม่าทุกวันนี้ บางทีจุดมุ่งหมายคือ ฉันอยากเป็นดารา ไม่ได้อยากเป็นนักแสดงด้วยซํ้า” ดูเหมือนสภาวะที่นักแสดงอยากเป็นดารา มากกว่านักแสดงที่ดี ผนวกกับความโปรดปรานดารา มากกว่าฝีมือการแสดงของคนดู ทำ�ให้อาชีพนักแสดง ที่ไม่เป็นดาราหาได้ยากเต็มที แต่ถกลเกียรติเชื่อว่า สถานการณ์ในเรื่องนี้น่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ “มันอาจจะสุกงอมขึ้นครับ เพราะทุกวันนี้ คนแข่งมันเยอะ พอคนแข่งมันเยอะ คนก็ต้องหาวิธี
ผมโตมากับหนังเรื่อง ‘นํ้าพุ’ แล้วทำ�ให้ผมกลัวเรื่อง ยาเสพติด แต่สมัยนี้ ไม่มีหนัง แบบนั้น ไม่มีละครแบบนั้นที่จะ เตือนสติเด็ก แล้วก็หวังว่า ยาเสพติดจะหายไป เพราะเด็ก ไม่เคยเห็นจากโทรทัศน์ แต่สุดท้ายมันกลายเป็นว่า ยาเสพติดมีเยอะกว่ายุคผมอีก
OPTIMISE | OCTOBER 2015
17
optimum view
ยิ่งมีประสบการณ์ในชีวิตเยอะเท่าไหร่ ไอ้ดอตส์ต่างๆ มันจะยิ่งมาเชื่อมต่อกัน แล้วมันก็เอาไปใช้ได้ในอนาคต เราไม่รู้ก่อนหรอกว่า สิ่งที่เราพบเจอมัน จะเอาไปใช้ต่อได้หรือไม่ เพราะฉะนั้นเราต้อง เปิดโอกาสให้ประสบการณ์ต่างๆ ผ่านเข้ามาในชีวิต แล้วก็เรียนรู้มัน อย่าตัดอะไรทิ้งง่ายๆ
การแข่งว่าจะสู้ยังไง พอจะสู้ก็เลยต้องศึกษาไป จนถึงรากฐาน ซึ่งมันอาจทำ�ให้คนๆ นั้นเรียนรู้ อะไรจนโดดเด่น ผมกล้าพูดได้ว่าละครเวที บางเรื่องที่เราทำ� เราก็ใช้คนที่ไม่ได้เป็นสตาร์ อะไรเลย แต่พอไปดูแล้ว กลายเป็นว่าคนดู ประทับใจคนๆ นั้นมากที่สุด ผมก็หวังว่ามันจะ มีอย่างนี้ต่อมาอีกเรื่อยๆ เหมือนคนไปดูสี่แผ่น ดินแล้วอึ้ง โอ้โห---พินต้า คือใครกันนี่ แล้วพอ เป็นอย่างนี้ใครก็เอาสิ่งนั้นไปจากเธอไม่ได้ …เมื่อวานนี้ผมยังเพิ่งพูดกับรุ่นน้องอยู่เลย ว่า ในการแสดงเพลงหนึ่งเพลง การที่คนดูจะ ตบมือหรือไม่ตบมือมันมีความหมายมาก ผม บอกเลยว่าสำ�หรับคนดูเมืองไทย อย่าดูแค่ที่ เสียงกรี๊ด คนที่กรี๊ดคุณคือแฟนคลับ ซึ่งพอเป็น แฟนคลับคุณทำ�อะไรเขาก็กรี๊ดอยู่แล้ว แต่ไม่ ได้หมายความว่าเขาชื่นชมศิลปะที่คุณกำ�ลัง แสดงอยู่ตอนนั้น ถ้าเผื่อคุณร้องเพลงจบแล้ว เขาตบมือ นั่นสิคือเขาชื่นชมคุณจริงๆ เพราะ ฉะนั้นคุณต้องทำ�อย่างไรก็ได้ให้เวลาที่คุณร้อง เพลงจบแล้วคนดูตบมือ เพราะนั่นแปลว่าคุณ ได้ใจทั้งแฟนคลับและคนอื่นๆ อันนี้ผมว่ามันมี คุณค่ามากกว่า มันเป็นเสี้ยววินาทีที่จะตัดสิน ว่าการแสดงนั้นจะอยู่ในความทรงจำ�ของคนดู ไปตลอดหรือเปล่า”
ภาพที่มีความหมาย
หลังจากวิมานเมือง ถกลเกียรติก็ประสบ ความสำ�เร็จในการทำ�ละครเพลงเรื่องแล้วเรื่อง เล่า ไม่ว่าจะเป็น ‘บัลลังก์เมฆ’ ‘ทวิภพ’ ‘สี่แผ่นดิน’ ‘ฟ้าจรดทราย’ หรือ ‘ข้างหลังภาพ’ ถึงขนาดที่ว่าศูนย์วัฒนธรรมฯ ที่เป็นสถานที่ เดียวที่สามารถรับรองโปรดักชั่นที่มีความซับ ซ้อนได้ ไม่มีช่วงเวลาให้เขาแสดงละครได้เพียง พอ เนื่องจากต้องเวียนไปจัดกิจกรรมอื่นๆ นี่จึง เป็นกำ�เนิดของเมืองไทยรัชดาลัยเธียเตอร์ โรง ละครจำ�นวน 1,500 ที่นั่ง ที่ถกลเกียรติทุ่มทุน สร้างด้วยเหตุผลว่าต้องการสร้างพื้นที่ให้กับคน ประกอบอาชีพละครเวทีที่เขาเห็นว่านับวันยิ่ง เก่งขึ้นเรื่อยๆ แต่ที่ยิ่งกว่านั้น เขาบอกอีกหนึ่ง เหตุผลสำ�หรับการสร้างโรงละครไว้ในหนังสือ ตัวเองว่า “ผมว่าสิ่งที่ขาดหายไปนานแล้วในสังคม ไทยก็คือ การอยู่ร่วมกันเพื่อชื่นชมอะไรบาง อย่าง ส่วนใหญ่การชุมนุมในบ้านเรา มักจะ มีจุดประสงค์เพื่อชุมนุมในการด่า หรือขับไล่ น้อยนักที่จะดูเพื่อชื่นชม คนทำ�ดีก็ดีไป ไม่ดีก็ โดนด่าเละ sense of appreciation มันหายไป ดูอย่างในต่างประเทศการได้รับรางวัลต่างๆ ไม่ ว่าจะ Academy Awards, Grammy Awards หรือ Tony Awards มันมีเกียรติ มันมีที่มาที่ ไป และคนก็ยกย่อง มันเป็นสิ่งที่สนับสนุนและ เป็นกำ�ลังใจให้คนทำ�สิ่งดีๆ ผมหวังว่าโรงละคร 18
OPTIMISE | OCTOBER 2015
จะเป็นส่วนหนึ่ง ถึงแม้จะเป็นส่วนเล็กๆ ให้คน ดูรู้สึกดีที่จะชื่นชมกันและกันมากขึ้น แค่เสียง ปรบมือดังๆ ในแต่ละรอบก็ทำ�ให้นักแสดงและ ทีมงาน มีกำ�ลังใจที่จะทำ�สิ่งดีๆ ต่อไป ในขณะ ที่คนดูก็จะอิ่มเอมไปด้วย” ไม่ต้องถามเลยว่าหากเขาตั้งภารกิจใน เรื่องสังคมกับโรงละครขนาดนี้ เขาจะคาดหวัง กับละครเวทีของตัวเองขนาดไหน อย่างน้อยๆ ผู้ที่ไปชมละครเวทีอย่างทวิภพของถกลเกียรติ ก็จะเห็นว่าทวิภพของเขาไม่ใช่แค่เรื่องโรมานซ์ ระหว่าง คุณหลวงกับ มณีจันทร์ แต่เป็นความ เจ็บปวดของการเสียดินแดน ในสมัย รศ. 112 ยิ่งไม่ต้องไม่พูดถึงสี่แผ่นดินที่นักวิจารณ์บาง คนเห็นว่าเจือไว้ด้วยเนื้อหาที่พยายามตอบ ต่อสถานการณ์การเมืองไทยในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนถกลเกียรติจะเห็นว่านี่ ไม่ใช่เรื่องยิ่งใหญ่อะไร เป็นเพียงเรื่องของการ ทำ�เพื่อความสุขของตัวเขาเองเท่านั้น “ผมคิดแค่ว่าถ้าเราดีคนเดียว ยังไงเราก็อยู่ ไม่มีความสุข บ้านเราต้องดีด้วย สังคมต้องดี ด้วย ประเทศต้องดีด้วย เราถึงจะอยู่ได้อย่างมี ความสุข ผมถามหน่อยว่าถ้าเผื่อเรามีรถยนต์ สปอร์ตเปิดประทุนอยู่คันนึง หรือหลายคัน ก็ตาม แล้วเราอยากขับมัน แต่พอออกจากบ้าน แล้วมันมีแต่มลพิษ บ้านเมืองก็ทุรกันดาร ขับไปฝุ่นก็เข้า เราจะเอ็นจอยไหม ไอ้รถสปอร์ต เปิดประทุนคันนั้นของเรามันจะมีความหมาย ไหม มันก็ไม่มีความหมายใช่ไหมฮะ แต่ถ้าเผื่อ เราขับไปแล้วมัน โอ้โห---ไม่มีมลพิษ สบาย ขับไปเราก็เอ็นจอย เพราะฉะนั้นผมจึงรู้สึกว่า ถ้าเผื่อเรามีของดีอยู่คนเดียว แต่ว่ามันใช้ไม่ได้ มันก็ไม่มีความหมาย …อย่างเรื่องชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ที่คนบอก ว่าเป็นธีมของละครผมหลายเรื่อง ก็เพราะผม เห็นว่านี่คือความดีงามที่ทำ�ให้สังคมมันดีขึ้น อยากให้คนตระหนักถึงสิ่งที่เป็นเสาหลักของ บ้านเมือง สิ่งที่คํ้าจุนเรามา สิ่งที่ทำ�ให้เรามีวัน นี้ คือเราจะไปข้างหน้าได้เราต้องมีภูมิหลัง ไม่อย่างนั้น เวลาเราเดินไปข้างหน้า มันจะ เหมือนเริ่มใหม่ไปเรื่อยๆ หาอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ ซึ่งผมว่ามันทำ�ให้ หนึ่ง ประสบการณ์จากอดีต เสียประโยชน์สูญเปล่า และสอง ทำ�ให้เราเดิน ไปอย่างไม่มีจุดหมาย …อย่างเรื่อง Waterfall (ละครเวทีที่ ดัดแปลงจาก ‘ข้างหลังภาพ เดอะมิวสิคัล’ เพื่อเตรียมนำ�เสนอต่อผู้ชมนานาชาติหรือ บรอดเวย์) ก็เหมือนกัน ผมอยากบอกผู้ชม นานาชาติว่า เมืองไทยมีดีอะไร วัฒนธรรมไทย มีดีอะไร เพราะวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรม ตะวันตกต่างกันมากขนาดผมเคยไปเรียนอยู่ อเมริกา 12 ปี แต่พอกลับมาเมืองไทยแล้ว กลับไปอีกครั้งมัน โห---ตกใจ วิธีคิดของคนไทย
กับคนอเมริกัน มันต่างกันมาก มันจึงยิ่งกลาย เป็นแรงผลักให้เราอยากนำ�เสนอละคร ให้ฝรั่ง ได้คิดอีกแบบ แสดงให้เขาเห็นว่านี่อาจเป็น โลกที่เขาไม่รู้จัก แต่มันเป็นโลกที่สวยงามนะ นี่อาจเป็นวิธีคิดที่เขาไม่เคยพบเคยเห็น แต่ว่า มันมีความสวยงามของมัน เพื่อจะได้หาวิธีปรับ เข้าหากัน ถ้าเราบอกว่า ไทยแปลว่าวัฒนธรรม ตะวันตกแปลว่าโมเดิร์น การที่คนเราจะล้างไพ่ ทุกอย่างแล้วบอกว่า ‘Let’s be modern’ เรา ก็จะกลายเป็นคนที่อยู่ดีๆ ก็ทิ้งรากเหง้า ละคร เรื่องนี้กำ�ลังจะบอกว่าจะผสาน modern และ traditional เข้าด้วยกันอย่างไรให้อยู่ด้วยกันได้ …แล้วอย่าลืมว่าประสบการณ์ในอดีตคือ สิ่งสำ�คัญ มันกลับไปที่คำ�พูดของสตีฟ จ็อบส์ ผมช๊อบชอบ เรื่อง connecting the dots การที่เรายิ่งมีประสบการณ์ในชีวิตเยอะเท่าไหร่ ไอ้ดอตส์ต่างๆ มันจะยิ่งมาเชื่อมต่อกัน แล้ว มันก็เอาไปใช้ได้ในอนาคต เราไม่รู้ก่อนหรอก ว่า สิ่งที่เราพบเจอมันจะเอาไปใช้ต่อได้หรือไม่ เพราะฉะนั้นเราต้องเปิดโอกาสให้ประสบการณ์ ต่างๆ ผ่านเข้ามาในชีวิตแล้วก็เรียนรู้มัน อย่าตัดอะไรทิ้งง่ายๆ ดอตส์ของเราอาจจะ โผล่มาวันไหนก็ได้”
ลงลายเซ็น
อาจเป็นเพราะมุมมองที่เห็นสิ่งต่างๆ เป็นเพียงผลลัพธ์ของประสบการณ์ที่ผ่านเข้า มาในชีวิต ดังนั้น ในขณะที่คนอื่นมักนึกถึง ถกลเกียรติในฐานะ ‘บุคคล’ ผู้มีพรสวรรค์และ ความสามารถจนสร้างปรากฎการณ์ในวงการ บันเทิงหลายครั้ง ถกลเกียรติกลับมองตัวเอง เป็น ‘แบรนด์’ ทั้งนี้ ไม่ใช่ในความหมายว่า มีบุคลิกยิ่งใหญ่จนกลายเป็นแบรนด์ แต่ใน ความหมายว่าตัวเองเป็นผลลัพธ์ขององค์ ประกอบต่างๆ มากกว่าคนหนึ่งคน “คำ�ว่า ‘บอย ถกลเกียรติ’ สำ�หรับผม ไม่ได้เป็นเพียงชื่อที่คนในวงการบันเทิงใช้เรียก ผมอย่างเดียวเท่านั้น แต่มันเป็นชื่อยี่ห้อยี่ห้อ หนึ่งที่คนทั่วไปจดจำ� เช่น ‘ละครของบอยถกลเกียรติ’ ‘รายการของบอย-ถกลเกียรติ’ ‘ละครเวทีของบอย-ถกลเกียรติ’ ซึ่งจริงๆ แล้ว ผลงานเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากผมคนเดียว แต่เกิดจากการทำ�งานของคนเก่งๆ หลายคน ที่ได้มาร่วมชะตากรรมกับผม ร่วมทุกข์ ร่วมสุข ร่วมชีวิต ‘คนสร้างงาน และงานก็สร้างคน’ ผมอยากจะบอกว่ามีหลายคนมากมายที่ ร่วมกันสร้างงานต่างๆ เหล่านี้ และงานต่างๆ เหล่านี้ก็ย้อนกลับมาสร้างคนๆ นี้” ข้างหลังภาพของถกลเกียรติ คือจุดที่ ร้อยเรียงกันมาลงตัวอย่างยิ่งจริงๆ
OPTIMISE | OCTOBER 2015
19
FULL FLAVORS
Messing With a Good Thing เหล่าเชฟหัวก้าวหน้าในกรุงเทพฯ ตั้งคำ�ถามกับ ‘สูตรดั้งเดิม’ ของอาหารไทย พร้อมผลักดันอาหาร ประจำ�ชาติสู่ศตวรรษใหม่ ด้วยเทคนิคลํ้าสมัยและวัตถุดิบ ชั้นเยี่ยม ขณะนีใ้ นห้องครัวร้านอาหารไทยชัน้ สูงระดับ ไฟน์ ไดนิง่ ในกรุงเทพฯ กำ�ลังเกิดการปฏิวตั คิ รัง้ ใหญ่ อย่างน้อยๆ ก็ส�ำ หรับเชฟอาหารไทยกลุม่ หนึง่ ซึง่ พยายามท้าทายความเชือ่ ฝังลิน้ คนไทยทีว่ า่ อย่างไร เสียเทคนิคการปรุงอาหารสมัยใหม่หรืออิทธิพลรสชาติ ต่างประเทศก็จะไม่สามารถเพิม่ เติมอะไรให้กบั ความ อร่อยของอาหารไทยอันเป็นสุดยอดอยูแ่ ล้วได้ ทัง้ ๆ ที่ ในขณะนี้ ร้านอาหารไทยแบบต้นตำ�รับกำ�ลังตกอันดับ โลก ดังจะเห็นได้จาก ร้าน Nahm ของเชฟเดวิด ทอมป์สนั (สาขาย่อยของร้าน ‘นา้ํ ’ ในกรุงลอนดอนที่ เคยได้ประดับดาวมิชลิน) ทีไ่ ด้รว่ งจากอันดับ 1 ของการ จัดอันดับ 50 ร้านอาหารทีด่ ที ส่ี ดุ ในเอเชียในปี 2014 มาเป็นอันดับ 7 ในปี 2015
จำ�เป็นต้องเปลี่ยนแปลง
01
20
OPTIMISE | OCTOBER 2015
แต่ค�ำ ถามก็คอื อาหารง่ายๆ อย่างผัดกะเพราจะทวี ความอร่อยขึน้ หากได้เพิม่ ส่วนผสมนำ�เข้าหรือเทคนิค การทำ�อาหารสมัยใหม่เข้าไปจริงหรือ เชฟต้น-ธิตฏิ ฐ์ ทัศนาขจร เชือ่ แน่วา่ อย่างนัน้ เชฟต้นเป็นเจ้าของและ เชฟประจำ�ร้าน Le Du (ฤดู) ซึง่ เป็นร้านอาหารไทย ฟิวชัน่ ทีม่ กี ารปรุงอาหารแบบโมเลกุล (molecular gastronomy) ตัง้ อยูใ่ นย่านสีลม และเปิดทำ�การใน ปลายปี 2013 เชฟต้นกล่าวว่า “อาหารทุกตำ�รับเกิดขึน้ จากการ ปฏิวตั ทิ ง้ั นัน้ เพราะทุกครัง้ มันต้องเริม่ จากใครสักคน ลองทำ�อะไรใหม่ๆ ขึน้ มา ถ้าดูประเทศอย่างฝรัง่ เศส หรือแม้แต่ญป่ี นุ่ ซึง่ ใกล้กบั เรามาก ก็จะเห็นได้วา่ ตลอด 10 ถึง 20 ปีทผ่ี า่ นมานีว้ งการอาหารของเขาได้ ยอมให้อาหารประจำ�ชาติถกู เอาไปลองทำ�ท่านูน้ ท่านี้ มากมาย อาหารเขาเลยยิง่ ดีขน้ึ วงการอาหารในฝรัง่ เศส
และญีป่ นุ่ ตอนนีก้ ลายเป็นสวรรค์นกั ชิมทีส่ ร้างสรรค์และ น่าตืน่ เต้นทีส่ ดุ ในโลก เราจะเรียกมันว่าอาหารสมัยใหม่ นวัตกรรมใหม่ หรือฟิวชัน่ หรืออะไรก็ชา่ ง แต่ถา้ มัน ช่วยเพิม่ รสให้อาหารและถ้าเชฟทำ�มันอย่างเข้าใจ สิง่ เหล่านีก้ อ็ าจกลายเป็นอะไรทีเ่ หนือชัน้ กว่าแค่อาหาร แนวทดลองก็ได้” ร้านอาหารของเชฟต้นได้รบั การขนานนามโดย เชฟจำ�นวนไม่นอ้ ยว่าเป็นหนึง่ ในร้านอาหารทีด่ ที ส่ี ดุ ใน กรุงเทพฯ ณ เวลานี้ อีกทัง้ ยังเป็นรองเพียงร้าน Gaggan และ L’Atelier de Joel Robuchon ในการจัดอันดับ Top Tables 2015 ซึง่ ถือเป็นคูม่ อื แนะนำ�ร้านอาหาร กรุงเทพฯ เพียงเล่มเดียวทีจ่ ดั อันดับร้านอาหารโดย ใช้เฉพาะคะแนนโหวตจากเจ้าของร้านอาหาร เชฟและ กูรนู กั ชิม ห้องอาหารของร้านฤดูนน้ั อาจไม่ได้ตกแต่งแบบ หรูระยับเหมือนร้านทีเ่ ป็นคูแ่ ข่ง ทัง้ นีเ้ พราะศิษย์เก่า สถาบัน CIA (Culinary Institute of America) ผูน้ เ้ี ลือก จะทำ�ให้แขกพิศวงด้วยอาหาร มากกว่าด้วยสถานที่ คุณลักษณะหนึง่ ทีโ่ ดดเด่นมากๆ ของอาหารร้านฤดู ก็คอื การทำ�อาหารทีม่ รี สไทยอย่างยิง่ ให้ปรากฏออกมา ในหน้าตาทีไ่ ม่เป็นไทยเลย เช่นข้าวเหนียวอาจถูกทำ� ออกมาในรูปของครีมทีม่ เี นือ้ สัมผัสเหมือนกับมันบด เข้มข้น แต่กลับได้รสชาติของข้าวเหนียวทีเ่ พิง่ หุงเสร็จ ใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม ร้านฤดูนน้ั เปลีย่ นเมนูทกุ ๆ 3-4 เดือน (ตามฤดูกาล) ดังนัน้ ขณะทีไ่ ด้อา่ นบทความนี้ เมนูโจ๊กไก่ทอดเกลือเคล้าหมูปน่ ทีเ่ สิรฟ์ พร้อมเจลใบ ชะพลู ก็นา่ จะไม่มแี ล้ว กระนัน้ ไม่วา่ จะเมนูอะไร สิง่ ที่ จะคงมีอยูเ่ สมอทีร่ า้ นฤดูกค็ อื ความสร้างสรรค์ แม้บาง ครัง้ ความสร้างสรรค์นน้ั อาจจะไม่ได้ถกู ปากเราเสมอไป เราถามเชฟต้นว่าเขาเชือ่ จริงๆ หรือว่าแขกต้องการ
อาหารทุกตำ�รับเกิดขึน้ จาก การปฏิวตั ทิ ง้ั นัน้ เพราะ ทุกครัง้ มันต้องเริม่ จากใคร สักคน ลองทำ�อะไรใหม่ๆ ขึน้ มา
OPTIMISE | OCTOBER 2015
21
FULL FLAVORS
ในต่างประเทศ ร้านอาหารไทย ไปถึงระดับมิชลินอยูแ่ ล้ว แต่เรา ต้องการเป็นไทยในเมืองไทย นีแ่ หละ ตอนนีเ้ รามีทง้ั ทำ�เลดี ทีมดี แถมยังมีคอนเซ็ปต์ แปลกใหม่พอทีจ่ ะลองอะไร ใหม่ๆ การท่องเทีย่ วไทยกำ�ลัง มาแรง และการบริการก็เป็น อุตสาหกรรมอันดับ 1 ของเรา แล้วจะปล่อยโอกาสไปทำ�ไม
02
โดยส่วนใหญ่เป็นเมนูทแ่ี ม้แต่นกั ท่องเทีย่ วหน้าใหม่ทส่ี ดุ ก็ยงั รูจ้ กั แต่เสิรฟ์ ในแบบทีต่ อ้ งเรียกว่าอลังการถึงไหนถึงกันเลยทีเดียว ยกตัวอย่าง เช่นเมนูตม้ ยำ�ร้านโอชาจะเสิรฟ์ ในเครือ่ ง ชงกาแฟแบบกาลักนา้ํ (coffee syphon) ซึง่ นา้ํ ต้มยำ�จะถูก สุญญากาศดึงขึน้ ไปผสมกับเครือ่ งสมุนไพรทีเ่ ตรียมไว้เช่น ข่า ตะไคร้ และมะกรูด ส่วนเมนูแกงเขียวหวานจะมาพร้อมกับ นา้ํ กะทิทถ่ี กู ‘สเฟียริไฟด์’ ให้อยูใ่ นรูปกระเปาะคาเวียร์เล็กๆ แม้บางคนอาจไม่เห็นว่าอาหารทุกจานมีรสวิเศษขึน้ จาก รอบรู้รากเหง้า กระบวนการอะร้าอร่ามเหล่านี้ เช่นเห็นว่าต้มยำ�แบบเครือ่ งชง วิธคี ดิ แบบ ‘Revolution not evolution’ หรือ ‘ต้องปฏิวตั ิ ไม่ได้มรี สจัดจ้านกว่าต้มยำ�ดีๆ ราคาร้อยบาทเท่าใดนัก แต่ก็ ไม่ใช่แค่คอ่ ยๆ วิวฒ ั น์’ ของเชฟต้น ถือว่าไม่คอ่ ยลงรอยกับ ต้องถือว่าอาหารทีโ่ อชามีรสชาติไม่บกพร่องเลยทีเดียว ตัง้ แต่ แนวทางของร้านอาหารไทยแบบไฟน์ ไดนิง่ ทีเ่ ปิดตัวในกรุงเทพฯ ปลาเนือ้ อ่อนทอดพอกรอบเคล้าเครือ่ งแกงฉูฉ่ ก่ี ลิน่ หอมฉุย ช่วง 5 ปีกอ่ นหน้านี้ เพราะสำ�หรับร้านนา้ํ ของเชฟเดวิด ไปจนกระทัง่ เมนูฟวิ ชัน่ น่าประทับใจ อย่างข้าวตังหน้าตับห่าน ทอมป์สนั และร้าน ‘โบ.ลาน’ ของเชฟโบ-ดวงพร ทรงวิศวะ ฟัวกราส์เกร็ดหิมะ และเชฟดิลลัน โจนส์ ซึง่ ต่างเคยเป็นศิษย์เอกของเชฟเดวิด อารยา ขันทปราบ ผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายบริหารของร้านโอชา มาก่อน หัวใจสำ�คัญของการปรุงอาหารไทยคือการรักษา ยอมรับว่าด้วยการลงทุนตกแต่งร้านให้หรูหราเช่นนีค้ งทำ�ให้ องค์ประกอบและรสชาติของอาหารให้ตรงตามสูตรต้นตำ�รับ หุน้ ส่วนของร้านยากจะได้ตน้ ทุนคืนครบหมด แต่เธอบอกว่า พร้อมๆ กับพยายามรือ้ ฟืน้ เมนูทถ่ี กู ลืมหรือหาทานได้ยาก จะ ร้านนีไ้ ม่ได้มไี ว้แค่หากำ�ไร หรือไม่ได้มไี ว้แค่ท�ำ อาหาร หากมีไว้ ประดิดประดอยการจัดวางต่างไปจากเดิมบ้างก็เพียงเพือ่ ให้เข้า เพือ่ ลองสร้างปรากฏการณ์ทส่ี ดุ ยอดให้เกิดขึน้ ในกรุงเทพฯ กับบรรยากาศไฟน์ ไดนิง่ เท่านัน้ “ในต่างประเทศ ร้านอาหารไทยไปถึงระดับมิชลินอยูแ่ ล้ว เชฟหนุม่ -ธนินทร จันทรวรรณ ดาวเด่นจากรายการ แต่เราต้องการเป็นไทยในเมืองไทยนีแ่ หละ ตอนนีเ้ รามีทง้ั ทำ�เลดี ‘เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย’ ซึง่ เคยทำ�หน้าทีเ่ ชฟของร้าน ทีมดี แถมยังมีคอนเซ็ปต์แปลกใหม่พอทีจ่ ะลองอะไรใหม่ๆ การ อาหารไทยรุน่ ใหม่ของกรุงเทพฯ นาม Osha ทีเ่ พิง่ เปิดไปเมือ่ ปี ท่องเทีย่ วไทยกำ�ลังมาแรง และการบริการก็เป็นอุตสาหกรรม 2557 รูต้ วั ดีวา่ อาหารไทยแบบของเขานัน้ เป็นไปได้กเ็ พราะบุญ อันดับ 1 ของเรามาแต่ไหนแต่ไร แล้วจะปล่อยโอกาสไปทำ�ไม” คุณของเชฟเดวิด “ร้านนา้ํ เขาเป็นผูบ้ กุ เบิกจริงๆ ฝรัง่ ทีท่ �ำ อาหาร ความจริงแล้ว แบรนด์รา้ นอาหารโอชานัน้ เกิดขึน้ ครัง้ แรก ไทยช่วยทำ�ให้อาหารไทยมันไปในทิศทางของไฟน์ ไดนิง่ ในเมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึง่ ในปัจจุบนั ก็ยงั วิธกี ารนำ�เสนออาหารเปลีย่ นไปมาก เพราะได้อทิ ธิพลมาจาก เปิดให้บริการอยูแ่ ละมีสาขาอีกถึง 6 สาขาในเมืองเดียวกัน เวลาฝรัง่ เขาเสิรฟ์ อาหารไทยหรือตัง้ ใจให้มรี สไทย” (แต่ไม่หรูหราเท่าร้านหลัก) อารยาบอกว่าโอชาสาขากรุงเทพฯ และจุดแข็งของร้านโอชาก็คอื รูปแบบการนำ�เสนอนีเ่ อง มีคณ ุ สมบัตจิ ะดันมาตรฐานอาหารไทยให้ไปได้ไกลในระดับ ไม่วา่ จะพูดถึงห้องอาหารหรืออาหาร ความวิลศิ มาหราของ ทีร่ า้ นอาหารไทยในต่างประเทศทำ�ไม่ได้ “โอชาทีน่ เ่ี หมาะทีส่ ดุ ห้องอาหารร้านโอชานัน้ ถือเป็นหนึง่ ในทีส่ ดุ ของกรุงเทพฯ ด้วย แล้ว เหตุผลง่ายๆ เลยก็คอื อยูเ่ มืองไทยเราทำ�อะไรได้เยอะกว่า บันไดทรงหอยทากปิดทอง และวอลเปเปอร์สง่ั พิมพ์พเิ ศษเป็น ทีซ่ านฟรานฯ มากๆ เราหาวัตถุดบิ ได้ทกุ อย่าง ส่วนผสมทีว่ า่ มหากาพย์รามเกียรติ์ ส่วนอาหารนัน้ แม้เชฟหนุม่ จะไม่ได้เป็น หายาก อยูน่ ก่ี ห็ าได้งา่ ยๆ การแต่งร้านก็เถอะ แต่งอย่างนีใ้ น เชฟทีน่ แ่ี ล้ว แต่หลายเมนูทเ่ี ชฟหนุม่ ได้สร้างสรรค์ไว้กย็ งั คงอยู่ ซานฟรานฯไม่ได้หรอก จ่ายไม่ไหว” ลิม้ ลองการเล่นแร่แปรธาตุของเขา หรือเขาแค่คดิ ไปเอง เขาตอบว่า “ร้านอาหารอย่างฤดูน่ี controversial อยูแ่ ล้ว หลาย คนจะชอบมากๆ แต่บางคนก็เกลียดไปเลย คนทีเ่ กลียดก็จะคิด ว่าอาหารไทยมันก็ดขี องมันอยูแ่ ล้ว จะไปทดลองกับมันทำ�ไม ทำ�ไมไม่แค่ท�ำ กับแล้วก็เสิรฟ์ กับข้าวเฉยๆ แต่ส�ำ หรับอีกหลาย คน การออกมากินข้าวนอกบ้านนี่ มันหมายถึงการออกมาพบ เจอประสบการณ์อะไรใหม่ๆ”
22
OPTIMISE | OCTOBER 2015
ยอมรับและขัดขืน
03
Essentials Aston: Dining Room & Bar ซอยสุขมุ วิท 31 ถนนสุขมุ วิท กรุงเทพฯ โทร. 02-102-2323 www.astonbkk.com Le Du 399/3 ซอยสีลม 7 ถนนสีลม กรุงเทพฯ โทร. 092-919-9969 www.ledubkk.com Nahm โรงแรมเมโทรโพลิแทน 27 ซอยสาทร 7 แยก 1 ถนนสาทรใต้ กรุงเทพฯ โทร. 02-625-3333 www.goo.gl/o3y7bJ Osha 99 ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ โทร. 02-256-6555 www.oshabangkok.com Paste ศูนย์การค้าเกษรพลาซ่า ชัน้ 3 999 ถนนเพลินจิต กรุงเทพฯ โทร. 02-656-1003 www.pastebangkok.com Sra Bua by Kiin Kiin โรงแรมสยามเคมปินสกี้ 991/9 ถนนพระราม 1 กรุงเทพฯ โทร. 02-162-9000 www.goo.gl/Zb4Y5V
04
05
01 เชฟต้ น แห่ ง Le Du บรรจงแต่ ง อาหารจานอร่ อ ย 02 ห้ อ งอาหารตกแต่ ง ตระการตาของโอชา 03 ข้ า วตั ง ปลากระพงของร้ า น Le Du ที ่ เ ชฟออกแบบให้ ก ลายร่ า งเป็ น ข้ า วต้ ม ยามเทน้ ำ� ซุ ป แล้ ว 04 เชฟเจสั น แห่ ง Paste 05 หมูออร์แกนิคตุ๋นเคล้าด้วยดอกไม้ไ ทย ข้ า วพอง และเกรปฟรุ ต เมนู ส ร้ า งสรรค์ ข อง Paste
แล้วใครคือฐานลูกค้าสำ�หรับอาหารไทยหน้าตาวิจติ ร รสชาติดง้ั เดิมเหล่านี้ อารยา ตอบว่า ตอนนีล้ กู ค้าประมาณ ครึง่ หนึง่ ของร้านคือนักท่องเทีย่ ว แต่คนกรุงเทพฯ ทีม่ าร้านก็มี มากขึน้ เรือ่ ยๆ เพราะอยากสัมผัสประสบการณ์แปลกใหม่ทร่ี า้ น โอชามีให้ ในความคิดของเชฟหนุม่ สิง่ นีถ้ อื ว่าเป็นข่าวดีส�ำ หรับเชฟ ทีต่ อ้ งการทดลองอะไรใหม่ๆ เขาอธิบายว่า “คนไทยเริม่ ให้ความ สำ�คัญกับการรับประทานอาหารนอกบ้าน และดืม่ ดํา่ กับอาหาร มากขึน้ ซึง่ เป็นเรือ่ งดีมากสำ�หรับเชฟ เพราะเราจะได้แสดงวิธี คิดเรือ่ งอาหารได้มากขึน้ จะนำ�เสนออาหารแบบเป็นคอร์สก็ยงั ได้ ซึง่ ร้านอาหารไทยต้นตำ�รับไม่มอี ะไรแบบนี”้ แต่เชฟคนอืน่ ๆ อาจยังไม่ได้เห็นโลกสวยเท่านัน้ หนึง่ ในนัน้ คือเชฟศรา จิรารัตน์ ผูเ้ ป็นหัวหน้าทีมพ่อครัว Aston: Dining Room & Bar แอสตันเป็นร้านอาหารทีม่ กั จะนำ�เมนูอาหารไทย เข้าไปผสมผสานกับเมนูอาหารยุโรปทีเ่ ป็นเมนูหลักของร้าน โดยให้แขกนัง่ รับประทานอยูท่ ร่ี มิ ครัวและเสิรฟ์ แบบหลายๆ คอร์ส แต่แขกจะไม่มโี อกาสได้เลือกเมนูเลยสักคอร์ส หนึง่ ใน เมนูลา่ สุดของเชฟศรา ก็คอื ปลาฮิรามาสะ อบผิวด้วยบร็อคโคลี่ และมะม่วงหิมพานต์ ซึง่ เสิรฟ์ พร้อมซอสแกงเขียวหวาน ข้าวมันกะทิและซูกนิ ที อดเทมปุระ (แต่ตอนนีไ้ ม่มเี มนูนแ้ี ล้ว) “แขกบางคนยังไม่พร้อมสำ�หรับร้านอาหารอย่างนี้ บางคน อาจจะอยากแค่นง่ั กินง่ายๆ สบายๆ คล้ายกับร้านแบบ Harvey มากกว่า (ฮาร์วยี เ์ ป็นร้านอาหารสไตล์แคลิฟอร์เนียนสุดโปรด ของคนมีอนั จะกินย่านทองหล่อ) ถ้าคุณชอบอะไรแบบว่า ‘ฉัน อยากกินอันนีอ้ นั นี้ และเชฟต้องไปทำ�ตามทีส่ ง่ั ’ คุณก็อาจไม่ใช่ กลุม่ ลูกค้าเป้าหมายของร้านผม เพราะผมจะไม่มวี นั ทำ�ให้คณ ุ ชอบได้ คุณอาจจะลองสักครัง้ หนึง่ แต่ถา้ คุณไม่ชอบก็ไม่เป็นไร” เชฟศราไม่ใช่คนเดียวทีม่ แี นวคิดอย่างนี้ เชฟเจสัน เบลียก์ ็ เห็นด้วยเช่นกัน เชฟเจสันเป็นเชฟชาวออสเตรเลีย และเจ้าของ ร้าน Paste ซึง่ เป็นร้านอาหารทีม่ คี วามชำ�นาญในการทำ�อาหาร ไทยร่วมสมัย และเพิง่ เปิดสาขาทีส่ องในห้างเกษร พลาซ่าเมือ่ ไม่นานมานี้ เป็นทีร่ กู้ นั ดีวา่ เชฟเจสันนัน้ มีความเห็นโผงผางที เดียวเมือ่ ต้องพูดถึงความท้าทายในการเอาชนะใจลูกค้าทีย่ ดึ ติด กับอาหารไทยต้นตำ�รับ “ถ้าจะเอาคนไทยให้อยู่ เพสท์ตอ้ งทัง้ รูจ้ กั ใช้กระบวนการ ปรุงแบบโมเดิรน์ แต่ในขณะเดียวกัน รสชาติกต็ อ้ งไม่ออ่ นลง ด้วย ไม่อย่างนัน้ เกิดไม่ได้ เวลาคนไทยกินอาหารตะวันออก มักจะต้องการให้รสชาติกระแทกทุกส่วน ไม่วา่ กระพุง้ แก้ม โคนลิน้ ปลายลิน้ เพดานปาก คนไทยชอบให้ตอ่ มรับรสทุกต่อม ถูกประจุดว้ ยรสชาติ” เชฟเจสันไม่กลัวทีจ่ ะยอมรับว่าอาหารของเขายังไม่ สามารถทำ�ให้แขกรูส้ กึ อย่างนัน้ ได้เสมอไป “ผมถามคนไทย มาหลายคนแล้ว ผมออกจากครัวมารอฟังจากปากเขาเลยว่า รสชาติเป็นยังไง มีเชฟคนหนึง่ ผมขอไม่บอกแล้วกันว่าเป็น เชฟร้านไหน บอกกับผมว่า ‘เจสัน ฟังนะ อย่ามาพลาดแบบนี้ เราชอบคอนเซ็ปต์รา้ น ชอบการตกแต่งร้าน แต่รสชาติมนั ผิด นีม่ นั รสอาหารฝรัง่ มันห่วย’ เขาพูดแบบนีเ้ ลย เขาให้โอกาสเรา ครัง้ เดียวแล้วก็ไม่กลับมาอีกเลย” ด้วยบรรยากาศร้านทีป่ ระกอบด้วยรังไหมต่อเป็นริว้ วน เอือ้ มขึน้ ไปแตะเพดาน โดมกระจกครอบใบไม้เขียวขจี และส่วน โค้งเว้าแต่งด้วยช่อดอกไม้อลังการ ร้านเพสท์สาขาใหม่ดโู ออ่า OPTIMISE | OCTOBER 2015
23
FULL FLAVORS 06 ต้ ม ข่ า แห่ ง ร้ า น Sra Bua by Kiin Kiin 07 เชฟศราแห่ ง Aston: Dining Room & Bar
กว่าร้านแรกทีต่ ง้ั อยูใ่ นตึกแถวมาก และอาหารของเชฟ เจสันก็จดั วางประณีตพอกัน โดยเฉพาะเมนูสลัดและ ยำ� ทีแ่ ม้จะผสมด้วยสารพัดเครือ่ ง แต่กลับยังสามารถ รักษาเอกลักษณ์ของแต่ละวัตถุดบิ ให้ชดั และจัดจ้านไว้ ได้ เช่นเมนูย�ำ เป็ดย่างจานเดียวก็มสี ว่ นผสมตัง้ แต่ ปลีกล้วย ผักชี พริก ลิน้ จี่ งาขาว แตงกวา ข้าวตัง มะพร้าวคัว่ ถัว่ งอกหัวโต กระเทียมเจียว ผงสาหร่าย หอมแดง ไปจนถึงผักแพว พูดได้ค�ำ เดียวว่าอร่อย! แต่ถงึ แม้รา้ นเพสท์จะได้ขยายกิจการจากสาขา แรกทีเ่ ปิดทำ�การไปเมือ่ ปี 2556 เชฟเจสันก็ยงั ไม่คดิ ว่าแวดวงอาหารไทยได้โตไปเท่าใดนัก “ผมไม่เห็นว่า มันเติบโตขึน้ เลย ผมเชือ่ ว่ามันก็ยงั อยูท่ เ่ี ดิม เรามีรา้ น อาหารไทยไฟน์ ไดนิง่ กีท่ ่ี ไม่เยอะเลย มีรา้ นของผม ร้าน ฤดู ร้านเบญจรงค์ ผมคิดว่าวงการมันไม่ได้ขยาย ไปไหน แต่มรี า้ นสระบัวซึง่ ประสบความสำ�เร็จดีมาก”
06
ตั้งเป้าให้สูง
ห้องอาหาร Sra Bua by Kiin Kiin ทีโ่ รงแรม สยามเคมปินสกี้ ซึง่ เปิดกิจการในปี 2553 นัน้ เป็นร้าน อาหารไทยสมัยใหม่แห่งแรก และแม้ปจั จุบนั ก็ยงั ถือ เป็นร้านทีม่ วี ธิ กี ารปรุงอาหารลา้ํ หน้าทีส่ ดุ ของกรุงเทพฯ หนึง่ ในอาหารจานเด็ดของทีน่ ค่ี อื ต้มข่าซึง่ มีเนือ้ สัมผัส เหมือนครีมข้น และมีอณ ุ หภูมเิ หมือนไอศกรีม เปรียบ ได้กบั ระเบิดแห่งรสต้มข่าทีม่ สี มั ผัสสุดบรรยาย ทัง้ นี้ ร้านสระบัวมีเจ้าของคือเฮนริค อูล-แอนเดอร์เซน เชฟ ชาวเดนมาร์ก โดยร้าน Kiin Kiin เป็นร้านอาหารไทย แห่งทีส่ องของโลกทีไ่ ด้รบั ดาวมิชลินต่อจากร้านนา้ํ ของ เชฟเดวิด ทอมป์สนั แม้จะเปิดกิจการในกรุงเทพฯ มาได้เกือบ 5 ปีแล้ว ห้องอาหารเพดานสูงกรุดว้ ยไม้สกั หรูหราแห่งนี้ ก็ยงั มี ลูกค้าทัง้ ไทยและเทศแน่นขนัด อาหารของทีน่ ่ี ซึง่ มี เชฟชยวีร์ สุจริตจันทร์ เชฟสัญชาติไทยผูม้ ปี ระวัตกิ าร ศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์และไม่เคยเข้าฝึกอบรม การทำ�อาหารอย่างเป็นทางการเป็นผูค้ วบคุมก็ชวนให้ ตะลึงพอกัน เช่นแกงทีถ่ กู แปรเป็นเนือ้ แป้งทีม่ อี ณ ุ หภูมิ เย็นเหมือนนา้ํ แข็งด้วยไนโตรเจนเหลว หรือผัดไทย หอยเชลล์ทไ่ี ม่มเี ส้นอะไรทัง้ นัน้ เชฟเฮนริคมีความเห็นเช่นเดียวกับเชฟเจสันแห่ง ร้านเพสท์ทว่ี า่ วงการอาหารของกรุงเทพฯ ยังไม่ถกู พัฒนาให้ถงึ ขีดสุด “ในแง่ของเทรนด์อาหาร กรุงเทพฯ ถือว่าล้าหลังอยู่ 5 ปี เชฟจากยุโรปหลายคนมาสร้างชือ่ ทีน่ ไ่ี ด้งา่ ยๆ โดยเฉพาะพวกเชฟอินเทอร์เน็ตทีท่ �ำ เป็น แค่เปิดดูรปู และขโมยไอเดียของเชฟระดับมาสเตอร์มา นำ�เสนอว่าเป็นเมนูของตัวเอง กรุงเทพฯ มีเชฟแบบนี้ เต็มไปหมด สิง่ ทีผ่ มหวังกับเชฟรุน่ ใหม่กค็ อื ขอให้เขา ไปทำ�งานทีเ่ มืองนอก และก็ตง้ั เป้าสูงๆ เรียนทุกอย่าง ทีเ่ รียนได้ เก็บเกีย่ วประสบการณ์ให้มากทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะ ทำ�ได้ เสร็จแล้วก็เอาทุกอย่างกลับมาใช้ทก่ี รุงเทพฯ” 24
OPTIMISE | OCTOBER 2015
07 ตัวอย่างทีเ่ ห็นได้ชดั ทีส่ ดุ ของเชฟไทยรุน่ ใหม่ทว่ี า่ นีก้ ค็ งเป็นเชฟต้น-ธิตฏิ ฐ์ ทัศนาขจร แห่งร้านฤดูนน่ั เอง หลังจากเชฟต้นสำ�เร็จการศึกษาจากยอดสถาบัน อาหารอย่าง Culinary Institute of America เขาก็เพิม่ ชัว่ โมงปรุงให้ตวั เองด้วยการทำ�งานในครัวระดับสุดยอด ของนิวยอร์ก เช่น The Modern และ Jean-Georges นอกจากนีเ้ ขายังเป็นหนึง่ ในคนไทยไม่กค่ี นทีไ่ ด้รบั การ รับรองโดย The Court of Master Sommeliers ให้มี ตำ�แหน่ง Certified Sommelier หรือผูเ้ ชีย่ วชาญเรือ่ งไวน์ อีกด้วย เรียกได้วา่ ในเมืองทีน่ กั เรียน Le Cordon Bleu เปิดร้านหลังเรียนจบได้เพียงไม่กเ่ี ดือนอย่างกรุงเทพฯนี้ ประสบการณ์อดั แน่นอย่างเชฟต้นต้องถือว่าหายาก อย่างยิง่ จริงๆ การให้ความสำ�คัญกับหลักวิชาเช่นนี้ ถือเป็นหลักที่ เชฟต้นใช้กบั การทำ�อาหารไทย “ผมไม่ได้เปิดร้านฤดู มาเพือ่ ล้างครู หรือล้างวิธกี ารปรุงแบบเดิมๆ ก่อนจะมา ทำ�ร้านนี้ ผมไปศึกษาอย่างดีเลยว่าอาหารไทยแท้ๆ ต้นตำ�รับนัน้ เขาทำ�กันยังไง มีรากฐานจากไหน เพราะผม ต้องใช้ความรูน้ เ้ี ป็นจุดเริม่ ” การศึกษาค้นคว้านีเ่ องทีช่ ว่ ยให้เขาอธิบายสิง่ ทีเ่ ขา
เมื่อ 300 ปีก่อน อาหารไทยไม่ได้มีหน้าตา เหมือนกับอาหารที่เราเรียก ว่าอาหารไทยต้นตำ�รับ ในทุกวันนี้ เพราะนี่คือ อาหารที่รับเอาอิทธิพลจาก ทั่วทั้งจีนและอินเดียมาแล้ว
C
M
Y
CM
MY
CY
CMY
K
พยายามทำ�อยูท่ กุ วันนีไ้ ด้ เชฟต้นเล่าว่า “เมือ่ 300 ปีกอ่ น อาหารไทยไม่ได้มหี น้าตาเหมือนกับอาหารทีเ่ ราเรียกว่า อาหารไทยต้นตำ�รับทุกวันนีเ้ ลย เพราะนีค่ อื อาหารทีร่ บั เอาอิทธิพลจากทัว่ ทัง้ จีนและอินเดียมาแล้ว คนไทยตอน นัน้ กินแต่อาหารต้มๆ เช่นต้มจืด แกงยังไม่มเี ลยด้วยซา้ํ ก่อนจะมีจนี มีแขก เมืองไทยไม่มกี ระทะ ไม่มเี ครือ่ งเทศ แล้วทำ�ไมทุกวันนีเ้ รายังเรียกอาหารพวกนีว้ า่ เป็นของ อาหารไทยได้ละ่ ” ประเด็นทีเ่ ชฟต้นยกขึน้ มาเกีย่ วกับรากเหง้าอาหาร ทีม่ าจากต่างด้าวนี้ ไม่ได้เกิดขึน้ กับอาหารไทยชาติเดียว เพราะอาหารตำ�รับไหนๆ ก็ลว้ นแล้วแต่เป็นผลของการ รับเอาอิทธิพลภายนอกมาผสานกับของตัวเองทัง้ สิน้ ไม่วา่ จะเป็นมะเขือเทศของอิตาลี วัฒนธรรมการดืม่ ชา ของอังกฤษหรือมันฝรัง่ ของไอร์แลนด์ เชฟต้นทิง้ ท้ายว่า “ไม่วา่ ทีไ่ หนก็ตาม ณ เวลาใด เวลาหนึง่ ในประวัตศิ าสตร์ ต้องมีคนทีล่ กุ ขึน้ มาสร้าง รสใหม่ สร้างวิธปี รุงใหม่ การปฏิวตั มิ นั ก็เกิดขึน้ ตอนนัน้ และทำ�ให้อาหารดีขน้ึ อาหารไทยเป็นทีห่ นึง่ ของโลกทุกวันนี้ ก็เพราะมันเคยถูกปฏิวตั มิ าก่อน นัน่ แหละครับ” OPTIMISE | OCTOBER 2015
25
STATE OF THE ARTS
Isaan’s Wonder Walls
01
เมือ่ ‘ฮูปแต้ม’ มรดกแห่งลุม่ น้ำ�โขงทีก่ ำ�ลังสูญหาย กลับกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ศลิ ปินรุน่ ใหม่แห่งทีร่ าบสูง
01
02
26
OPTIMISE | OCTOBER 2015
ช่างแต้มเขาฝึกฝนกันเอง ในหมู่บ้าน เพราะอิทธิพล จากงานช่างหลวงมาไม่ถึง อีสาน ดังนั้น พอทดลอง ทำ�ไปด้วยตัวเองทำ�ให้ศิลปะ ที่นี่เกิดลายเซ็น เกิดบุคลิก ของตัวเองขึ้นมา
01 ลวดลายฮู ป แต้ ม ที ่ ด ้ า นนอกสิ ม วั ด สระบั ว แก้ ว 02 อาจารย์ ต นุ พ ล ศิ ล ปิ น รุ ่ น ใหม่ ผู ้ ช ุ บ ชี ว ิ ต ฮู ป แต้ ม ให้ เ ป็ น ที ่ ร ู ้ จ ั ก ใน แวดวงศิ ล ปะ
ลึกเข้าไปในวัดสนวนวารีพัฒนาราม คือ ‘สิม’ หรือโบสถ์เก่าแก่ ที่มีสีพื้นผนังเหมือนกระดาษฟางที่ ถูกรดด้วยนํ้าชาแก่เป็นหย่อมๆ สลับกับแผ่นปูน หลุดล่อนบ่งบอกอายุเกือบร้อยปี อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ ปรากฏอยู่บนผนังนั้น กลับดูเหมือนจะยังไม่ยอมแพ้ให้ แก่กาลเวลาง่ายๆ กล่าวคือ ‘ฮูปแต้ม’ หรือรูปที่ แต่งแต้มขึ้นมาด้วยลายเส้นอิสระไหลลื่นและสีสัน ผาดโผนอย่างอุลตร้ามารีนและเหลืองมะนาว ที่น่าสังเกตคือ แม้รูปเหล่านี้จะถ่ายทอดเรื่องราว จากวรรณคดีไทยอย่างพระเวสสันดรหรือรามเกียรติ์ แต่แทนที่ผู้ชมจะเห็นตัวยักษ์ตัวลิงและลายกนกเรียง รายเป็นแบบแผนตามอย่างผนังวัดในเมืองหลวง ฮูปแต้มกลับมีเสน่ห์นอกตำ�ราบางอย่าง ที่ชวนให้ นึกไปถึงศิลปะโมเดิร์นอย่าง Guernica ของ Picasso หรือ Park Güell ของ Gaudí เลยทีเดียว จะเรียกว่าเป็นโชคดีในคราเคราะห์ก็เป็นได้ที่ความ ทุรกันดาร และการเดินทางอันยากลำ�บากระหว่าง อีสานกับภูมิภาคอื่นๆ เป็นเสมือนปราการธรรมชาติที่ ช่วยรักษาวัฒนธรรมของภูมิภาคให้คงความเฉพาะตัว ไว้ได้ โดยเฉพาะกับฮูปแต้ม ซึ่งมีลายเส้นและสีสันที่ สะท้อนความซื่อ ความสนุก และความตรงไปตรงมา ของคนอีสานไว้ได้อย่างประหลาด จนถือเป็นอีกหนึ่ง ตัวแทนวัฒนธรรมแห่งที่ราบสูง หนึ่งในคนรุ่นใหม่ที่ช่วยผลักดันให้งานฮูปแต้มเป็น ที่รู้จักในวงกว้างคือ ตนุพล เอนอ่อน ศิลปินลูกอีสาน อาจารย์คณะจิตรกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ กลับมาค้นรากเหง้าวัฒนธรรมที่ซ่อนอยู่ตามโบสถ์ปูน ทรุดโทรมอายุร่วมศตวรรษที่กระจัดกระจายอยู่ตาม ที่ราบสูงแอ่งโคราช เพราะด้วยยุคสมัยที่ผันเปลี่ยน ความงดงามของฮูปแต้มได้ถูกหลงลืมไปอย่าง น่าเสียดาย “ผมสอนเด็กมาก็หลายรุ่น ด้วยข้อบังคับของวิชา ศิลปะ ทำ�ให้ต้องพาเด็กๆ ไปรู้จักฮูปแต้มเหมือนกับ ตอนที่ผมเรียน บางคนผมพาไปถึงวัด ยังตกใจเลยว่า ‘อ้าว นี่มันวัดบ้านหนูเองนี่อาจารย์’ ซึ่งมันทำ�ให้เห็น
เลยว่า เด็กอีสานเองหลายคนยังไม่รู้จักฮูปแต้มเลย” อาจารย์ตนุพลเล่าให้ฟัง อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่า จริงๆ แล้วสิ่งเหล่านี้ไม่อาจถือเป็นความผิดของเด็กเสีย ทั้งหมด เพราะในสมัยเขายังเป็นนักเรียนจิตรกรรม เขา เองก็ไม่ได้มีความสนใจในฮูปแต้ม ด้วยความคุ้นชินที่ ทำ�ให้เขาเห็น ‘เอกลักษณ์’ ของฮูปแต้มเป็นเพียงความ ‘ไร้มาตรฐาน’ “มันไม่ได้มีแบบแผนวิลิศมาหราเหมือนงานช่าง ศิลป์จากวังหลวงแบบภาคกลาง เลยไม่สนใจ ไม่ หวงแหน เห็นว่ามันดูตลก แล้วการเรียนศิลปะบ้านเรา ยังเน้นศิลปะตะวันตก กับศิลปะภาคกลาง เลยทำ�ให้ คนรุ่นใหม่หลงลืมศิลปะท้องถิ่นไปหมด ทุกวันนี้เรา ไม่มีหรอกเขียนฮูปแต้มอีสาน มีแต่เขียนลายกนก เอนทรานส์เข้ามหาวิทยาลัยก็ต้องเขียนหุ่นเดวิด ไม่มี ใครเขียนหน้าพระพุทธรูป”
ให้เข้าไปในสิม “หน้าที่ของฮูปแต้มอีสาน มีสองสามอย่าง หนึ่ง คือเพื่อความสวยงาม สร้างความขลังให้กับ ศาสนสถาน สอง ทำ�หน้าที่เหมือนหนังสือ คนสมัยก่อน อ่านหนังสือไม่ออก ฉะนั้นคนทั่วไปจะเข้าใจธรรมมะได้ ก็ต้องเป็นภาษาภาพ ฮูปแต้มจะวาดให้เห็นเลยว่านี่คือ นรก ทำ�บุญแบบนี้ขึ้นสวรรค์ ทำ�ให้นอกจากชาวบ้าน จะได้ฟังเทศน์ฟังธรรมแล้ว ก็จะได้ชมภาษาภาพไป ด้วย สาม ก็เพื่อให้ทุกคนได้ซึมซับคำ�สอนอย่าง เท่าเทียมกัน เป็นการแก้ปัญหาเรื่องสถานะหรือชนชั้น ที่บางทีทำ�ให้ทุกคนไม่สามารถเข้าสิมได้ทั้งหมด” ด้วยความที่วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนใน อดีต เรื่องราวที่ปรากฏบนสิมล้วนเป็นการถ่ายทอด วัฒนธรรมเฉพาะถิ่นของอีสาน ตั้งแต่เรื่องพุทธประวัติ เรื่อง ‘ผะเหวด‘ หรือพระเวสสันดรชาดก เรื่อง ‘พระลักพระลาม’ หรือรามเกียรติ์ ภาพชีวิตประจำ�วัน ปริศนาธรรมที่ทุกคนเข้าถึง ของชาวบ้าน ไปจนถึงเรื่อง ‘สินไซ’ หรือ สังข์ศิลป์ชัย ด้วยความที่ไม่ได้มีแบบแผนกลางอันเป็น วรรณกรรมชิ้นเอกแห่งลุ่มแม่นํ้าโขงที่ได้รับความนิยม มาตรฐานนี่เอง ฮูปแต้มในอีสานจึงมีการลงสีและ อย่างมากจนถูกนำ�มาวาดในแทบทุกสิมที่มีฮูปแต้ม ฝีแปรงแตกต่างไปตาม ’ความถนัด’ ของช่างแต้ม โดยเรื่องสินไซ มีจุดสังเกตอยู่ที่ตัวเอกทั้งสามพี่น้อง หรือช่างวาดในแต่ละพื้นที่ โดยมักจะต่อยอดมาจาก ได้แก่ สังข์ ซึ่งเป็นหอย สีโห ซึ่งเป็นคชสีห์ และสินไซ ภูมิปัญญาของกลุ่มช่างแต้มในแถบจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นมนุษย์ พร้อมด้วยสิ่งที่เป็นอุปสรรคท้าทาย มหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ดซึ่งมีช่างแต้มอยู่มาก บารมีและคุณธรรมต่างๆ ของสามพี่น้อง เช่น งูซวง อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นลักษณะร่วมของฮูปแต้ม ยักษ์กันดาร พญาช้างฉัททันต์ ยักขินี และมักรีผล อันหลากหลายคือ ช่างแต้มมักเลือกที่จะใช้สีนํ้าเงิน ซึ่งรวมเรียกว่า ‘หกย่านนํ้า เก้าด่านมหาภัย’ สีเหลือง สีแดง สีเขียวในการวาดตัวละครและลาย “ฮูปแต้มที่ฮิตมากก็คือฮูปแต้มที่เขียนเป็นเรื่อง ลงบนพื้นกำ�แพงสีขาวหรือสีอ่อน มากกว่าจะวาดตัว สินไซ เพราะเนื้อเรื่องเต็มไปด้วยการผจญภัย ตะลุย ละครสีอ่อนลงบนพื้นสีเข้มทึบอย่างเทคนิคจิตรกรรม ออกรบทีละด่าน สู้กับยักษ์เป็นล้านตัว มันยิ่งกว่า ฝาผนังของภาคกลาง เมื่อมองฮูปแต้มจึงเหมือนมอง Lord of the Rings เสียอีก นอกจากนั้นยังอาจเป็น ภาพศิลป์อันเฉพาะตัวบนผ้าใบผืนใหญ่ มากกว่าเพียง เพราะสินไซเป็นวรรณกรรมที่สอนคติที่สำ�คัญมาก แถบลวดลายซํ้าไปซํ้ามาแบบวอลเปเปอร์ ยิ่งกว่านั้น สำ�หรับการใช้ชีวิตในอีสาน คือสามัคคี ทำ�ให้ประสบ ในขณะที่วัดภาคกลางจะปล่อยผนังด้านนอกโบสถ์เป็น ความสำ�เร็จ ไม่สามัคคี ก็ทำ�ให้เกิดความเดือนร้อน สีขาว ฮูปแต้มจะปรากฏอยู่บนกำ�แพงด้านนอกสิมด้วย ครอบครัวและสังคมแตกแยก” อาจารย์ตนุพล เพื่อทำ�หน้าที่แสดงคำ�สอนให้ชาวบ้านได้เห็นในทุกครั้ง เปรียบเทียบให้ฟัง ที่มาวัด โดยเฉพาะกับผู้หญิงที่ในอดีตไม่ได้รับอนุญาต OPTIMISE | OCTOBER 2015
27
STATE OF THE ARTS
03
03 สิ ม ที ่ เ ต็ ม ไปด้ ว ยฮู ป แต้ ม ของ วั ด สนวนวารี ฯ 04 สิ ม เก่ า แก่ ข องวั ด สนวนวารี ฯ 05 ผลงาน ‘มรดกชุ ม ชน’ โดยอาจารย์ ต นุ พ ล
04
อิมเพรสชันนิสม์บนผนังสิม
ความห่างไกลจากอิทธิพลของช่างหลวงจาก ภาคกลาง ทำ�ให้ช่างแต้มอีสานมีอิสระอย่างเต็มที่ ในการแสดงออกทางความคิด การใช้เทคนิค และการจัดวางองค์ประกอบภาพ ในหนังสือ ‘จิตรกรรมฝาผนังอีสาน’ ซึ่งเป็นโครงการสำ�รวจ และถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนังอีสาน โดยอาจารย์ ไพโรจน์ สโมสร ผู้บุกเบิกเรื่องการศึกษาฮูปแต้ม และคณะ จึงได้ยกย่องฮูปแต้มว่าเป็น “งานศิลปะ พื้นบ้านอันบริสุทธิ์” “ช่างแต้มเขาฝึกฝนกันเองในหมู่บ้าน เพราะ อิทธิพลจากงานช่างหลวงมาไม่ถึงอีสาน ดังนั้น พอทดลองทำ�ไปด้วยตัวเองทำ�ให้ศิลปะที่นี่เกิดลาย เซ็น เกิดบุคลิกของตัวเองขึ้นมา เรื่องที่เขียนก็เอามา จากวรรณกรรมที่รู้จักในท้องถิ่น เพราะวรรณกรรม เกิดก่อนจิตรกรรม ผมชอบสรุปง่ายๆ ว่าฮูปแต้ม ‘ซื่อในความหมาย ง่ายในรูปทรง ตรงต่อการ แสดงออก’ ซื่อในความหมายคือเห็นอย่างไรก็แปล อย่างนั้น ไม่ต้องตีความ ง่ายในรูปทรงก็คือเขียน ง่ายๆ ไม่ประดิดประดอย ตรงต่อการแสดงออกก็คือ ไม่มีข้อจำ�กัดเรื่องพิธีรีตอง มีแรงบันดาลใจอย่างไรก็ วาดอย่างนั้น บางทีเริ่มตรงนี้ แล้วไปต่อตรงนั้น ไม่มี ข้อจำ�กัดว่าอะไรต้องก่อนหลัง ซึ่งความไม่มีรูปแบบ นี่เองที่ทำ�ให้มันมีคุณค่า ไม่น่าเบื่อ” อาจารย์ตนุพล เล่าให้ฟังอย่างครื้นเครง ปัจจุบัน มีหลายวัดที่ยังคงเก็บรักษาฮูปแต้มเอา 28
OPTIMISE | OCTOBER 2015
ไว้ให้ชมได้อย่างสมบูรณ์ เช่นวัดสระบัวแก้ว ที่มี ฮูปแต้มทั้งด้านในและด้านนอก โดยภายในจะเป็น เรื่องพุทธประวัติ และเรื่องสินไซ ส่วนภายนอกเป็น เรื่องพระลักพระลาม แต่ที่คนประทับใจกันมาก ก็เพราะจังหวะจะโคนของลวดลายฮูปแต้มที่นี่ถูก เกลี่ยไปทั่วทั้งโบสถ์อย่างประณีต เมื่อมองไกลๆ แล้วคล้ายเครื่องกระเบื้องที่ลงลายอย่างดี แต่เมื่อ พิจารณาใกล้ๆ ก็กลับเห็นเป็นฝีแปรงโลดโผนไม่แพ้ ภาพศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ “ช่างแต้มเมื่อก่อนเค้าใช้สีได้มันมาก สดๆ ทั้งนั้น ผมยังคิดเลยว่า นี่ขนาดผ่านไป 100 กว่าปี สียังสดขนาดนี้ ถ้าเป็นตอนเขียนเสร็จใหม่ๆ มันคง แปร๋นมาก เดินออกจากป่าเข้าหมู่บ้านมานี่คงเห็น สีของสิมเข้าตามาแต่ไกล สีอาจจะแปลกๆ ไปบ้าง เพราะการเดินทางค้าขายไม่สะดวก ได้สีอะไรมาก็ ต้องใช้ไปอย่างนั้น หรือไม่ก็ใช้สีธรรมชาติ เช่น สีนํ้าเงินจากต้นคราม สีแดงจากต้นครั่ง สีเหลืองจาก ต้นรัง” อาจารย์ตนุพลอธิบาย นอกจากนั้น ช่างแต้ม ยังแก้ปัญหาการขาดแคลนสีด้วยการใช้วิธีระบาย สีหนักเบาเพื่อเพิ่มความหลากหลายของเฉด หรือคิด นอกกรอบเกี่ยวกับการใช้สี เช่นให้สีใบไม้ด้วยสีนํ้า เงินแล้วให้สีลำ�ต้นด้วยสีเหลือง แทนที่จะเป็นสีเขียว กับนํ้าตาล ซึ่งสิ่งเหล่านี้กลับทำ�ให้ฮูปแต้มยิ่งมีเสน่ห์ เฉพาะตัวยิ่งขึ้น ชนิดที่ว่าผู้ที่ได้เห็นฮูปแต้มเข้าสัก ครั้ง มักจะบอกได้ไม่ยากว่าจิตรกรรมชิ้นไหนมาจาก ฮูปแต้ม
สังขารและกาลเวลา
อย่างไรก็ตาม แม้จะได้รับการยกย่องให้เป็น ศิลปะแห่งลุ่มนํ้าโขง แต่สถานการณ์ของฮูปแต้ม กลับน่าเป็นห่วง เพราะตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ฮูปแต้มอีสานถูกทำ�ลายด้วยทั้งดินฟ้าอากาศ กาลเวลา หรือแม้กระทั่งฝีมือของคนในท้องถิ่นเอง “ย้อนไปเมื่อ 20-30 ปีก่อน สิมกับฮูปแต้มยํ่าแย่ มาก อาจารย์ไพโรจน์เคยเล่าให้ฟังว่า ตอนที่อาจารย์ ขับรถไปดูฮูปแต้ม อาจารย์แทบจะล้มทั้งยืน เพราะไปเจอตอนเจ้าอาวาสกำ�ลังเอาแปรงจุ่มสีขาว มาทาทับพอดี หรือหนักหน่อยก็ทุบสิมทิ้งไปเลย คนทั่วไปมองว่ามันเป็นของโบราณ ไม่สวยเหมือน โบสถ์แบบภาคกลางที่เป็นค่านิยมเข้ามาในยุคหลัง หรือบางแห่ง แม้จะไม่ทำ�ลาย แต่ก็หันไปสร้างโบสถ์ หลังใหม่ ปล่อยของเก่าให้ตากแดดตากลม ตากขี้นก เสื่อมไปตามกาลเวลา” อาจารย์ตนุพลเล่าให้ฟัง อย่างสะท้อนใจ “ผมเคยพารุ่นน้องนักจิตรกรรมไปรับจ้างเขียน โบสถ์ เจ้าอาวาสก็บอกเลยว่าไม่เอาแบบฮูปแต้ม บอก ‘อยากได้แบบเฉลิมชัย (โฆษิตพิพัฒน์) เขียนได้ ไหม’ ซึ่งก็ไม่ผิด งานแบบอาจารย์เฉลิมชัย สวยจริงๆ แต่ก็จะเห็นได้ว่างานฮูปแต้มยังไม่ได้รับการ เหลียวแล แม้กระทั่งจากคนในพื้นที่เอง” ยิ่งกว่านั้น แม้ทุกวันนี้ฮูปแต้มจะได้รับการ ดูแลและคุ้มครองจากกรมศิลปากรแล้ว แต่ก็ทำ�ได้ เพียงห้ามไม่ให้มนุษย์ทำ�ลาย แต่ไม่สามารถห้าม
05
ช่างแต้มเมื่อก่อนเค้าใช้สีได้มัน มาก สดๆ ทั้งนั้น ผมยังคิด เลยว่า นี่ขนาดผ่านไป 100 กว่าปี สียังสดขนาดนี้ ...เดิน ออกจากป่าเข้าหมู่บ้านมานี่คง เห็นสีของสิมเข้าตามาแต่ไกล
กาลเวลาได้ “ฮูปแต้มมันก็เหมือนกับคน มีสังขารของมัน อย่างฮูปแต้มที่วัดสนวนวารีฯ วัดสวยอีกแห่งในจังหวัด ขอนแก่น ผมทายได้เลยว่าฮูปแต้มฝั่งตะวันตกไม่เกิน 3 ปี หายหมด เพราะแดดบ่ายอีสานแรงมาก แถมดินแถวนั้นยัง เป็นดินเค็ม หรือดินเอียด ความชื้นและความเค็มจากดินก็ คงจะทำ�ให้มันร่อนหมดในไม่ช้า”
อนุรักษ์ด้วยความรัก
ด้วยเหตุนี้ นอกจากการรักษาของเก่าให้เสื่อมโทรมน้อย ที่สุดแล้ว อาจารย์ตนุพลพบว่าเส้นทางที่จะช่วยอนุรักษ์ฮูป แต้มไว้ได้อย่างยั่งยืน ก็คือการชักนำ�คนให้รู้จัก และเข้าใจ ความงามแบบฮูปแต้มให้ได้ อันเป็นเส้นทางที่เขาได้เคย ผ่านมาก่อน “ตอนแรกผมทำ�แต่งานร่วมสมัย ไม่เกี่ยวกับอีสานเลย ผมพูดเรื่องความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม การเอารัดเอา เปรียบทางชนชั้น จนผมเริ่มเบื่อกับการนำ�เสนองานของตัว เอง ก็เลยตั้งโจทย์ลอยๆ ขึ้นมาว่าอยากทำ�งานจิตรกรรมที่มี ความเป็นสมัยใหม่ และมีความเป็นท้องถิ่นอีสานอยู่ด้วย” หลังจากนั้น ได้มีโอกาสพบอาจารย์ไพโรจน์ ผู้พาเขาขับรถ ไปดูสิมและฮูปแต้มทั่วอีสาน สิ่งที่เคยเป็นโจทย์ลอยๆ ก็เลย เริ่มชัดขึ้นว่าฮูปแต้มคือสิ่งที่เขาจะยึดเป็นแรงบันดาลใจใน การสร้างงาน “ผมเริ่มอินกับฮูปแต้ม เหมือนผมเคยเจอผู้หญิงคนหนึ่ง มานานแล้ว ตอนแรกก็เฉยๆ แต่คบไปคบมา เริ่มเห็นความ งาม แล้วทีนี้ก็หลงรักเลย ฉุดไม่อยู่ เป็นความโหยหาราก เหง้า แล้วเราก็ภูมิใจที่สุดท้ายคนมักจำ�เราได้จากการที่เรา เป็นคนแรกๆ ที่เอาฮูปแต้มอีสาน มาทำ�เป็นงานร่วมสมัย ...นอกจากนั้น ผมให้ความสำ�คัญกับการคัดลอกผลงาน เดิม ในเมื่อเราไปแตะอะไรกับกำ�แพงไม่ได้เพราะกรมศิลป์ฯ ห้าม ก็คัดลอก เพราะจะมีความสำ�คัญอย่างมากในอนาคต อย่างผลงานคัดลอกวัดระฆัง ของอาจารย์เฟื้อ (หริพิทักษ์) ก็ทำ�ให้งานแพร่หลาย กระจายออกไปให้คนรู้จักมากขึ้น เราอาจไม่สามารถยกสิมทั้งหลังมาตั้งที่กรุงเทพฯ ได้ แต่เรา สามารถลอกลาย ไปให้คนที่ไหนในโลกดูก็ได้ เหมือนกับ ภาพของไมเคิลแองเจโล ภาพของดาวินชี ที่คนไม่ได้เห็น ของจริงทุกคนหรอก แต่ก็เป็นที่แพร่หลายรู้จัก เพราะมีการ คัดลอกออกมาให้คนได้เห็นกัน และถ้าเห็นแล้ว เขาอาจจะ รักมันก็ได้” ดูเหมือนความพยายามของอาจารย์ตนุพล จะเป็นผล บ้างแล้วเหมือนกัน เพราะทุกวันนี้ฮูปแต้มเริ่มได้รับการสาน ต่อจากคนรุ่นใหม่ ที่ใช้ฮูปแต้มไปสร้างสรรค์งานศิลปะยุค ดิจิตอลอย่างภาพแอนิเมชั่น หรืองานดีไซน์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ แม้กระทั่งอาจารย์ตนุพลเอง ก็มีความฝันที่จะต่อยอด ฮูปแต้มให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เขาเล่าให้ฟังอย่างเขินๆ ถึงความฝันจะสร้างวัดฮูปแต้มที่เป็นสัญลักษณ์แห่งอีสาน “ใจผมนี่อยากทำ�สิมเวอร์ชั่น 2015 ขึ้นมาเลย คงมันมาก โมเดิร์นมาก แต่คงไม่ได้สร้างขึ้นง่ายๆ ต้องใช้หลาย องค์ประกอบที่จะทำ�ให้มันเกิดขึ้น” แม้จะดูเป็นเรื่องยาก แต่เมื่อใดก็ตามที่ความฝันของ อาจารย์ตนุพลเป็นจริง สิ่งหนึ่งที่เรารู้ก็คือฝีแปรงอัน โมเดิร์นบนสิมนั้น จะคงอยู่ไปนานอีกนับร้อยปี
OPTIMISE | OCTOBER 2015
29
SERVING YOU
“Phatra Wealth Management continued to hold onto its crown as the best private bank in Thailand despite an increasingly more competitive landscape...” FinanceAsia 2015
ก้าวไปสูเ่ ป้าหมายด้วยคำ�แนะนำ�ที่ เปิดกว้าง และบริการทีค่ รอบคลุม
Phatra Wealth Management เหนือไปกว่าความสำ�เร็จ คือความไว้วางใจทีค่ ณ ุ มีให้เรา นอกเหนือไปจากความรับผิดชอบหลักในหน้าที่การงาน ครอบครัว และอื่นๆ แล้ว การบริหารการลงทุนจัดเป็นส่วนสำ�คัญ อีกส่วนหนึ่งในชีวิตประจำ�วันทุกวันนี้ ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจ ที่ทวีความผันผวน ผู้ลงทุนยิ่งจำ�เป็นต้องมีเวลาดูแลการลงทุนของ ตัวเองมากขึ้น เพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงและปรับเปลี่ยน พอร์ตการลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์และสภาวะเศรษฐกิจ
30
OPTIMISE | OCTOBER 2015
ด้วยเหตุนี้ เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระ และอำ�นวยความ สะดวกให้ท่านสามารถใช้ชีวิตได้อย่างที่ต้องการโดยไร้กังวล มีเวลาให้กับคนที่ท่านรัก และสิ่งที่มีค่าอื่นๆ ในชีวิต บริการ Wealth Management ของภัทร ขอเป็นทางเลือกหนึ่งในการ บริหารการลงทุนด้วยคำ�แนะนำ�ทางการเงินที่ครบถ้วนจากผู้ เชี่ยวชาญที่มากความสามารถ และประสบการณ์ เพื่อเพิ่มพูน ความมั่งคั่งของท่าน พร้อมสำ�หรับส่งต่อสู่ครอบครัวและลูกหลาน ต่อไป
แหล่งรวมผูเ้ ชีย่ วชาญทางการลงทุน
ปัจจุบนั มีผใู้ ห้บริการ ‘wealth management’ หรือ ‘private banking’ หลายราย แต่สง่ิ หนึง่ ทีล่ กู ค้าจะได้รบั จากภัทร คือ ความมัน่ ใจในการลงทุน และผลตอบแทน ทีไ่ ด้รบั เพราะภัทรเชือ่ ในการรวบรวมความเชีย่ วชาญ เฉพาะด้านของบุคลากรในองค์กรมากลัน่ กรองเป็นคำ� ตอบทีด่ ที ส่ี ดุ สำ�หรับลูกค้าแต่ละบุคคล ได้แก่ ทีป่ รึกษา ทางการเงินทีส่ ง่ั สมประสบการณ์การให้ค�ำ แนะนำ� มากว่า 10 ปี ทีมผูเ้ ชีย่ วชาญเฉพาะสำ�หรับผลิตภัณฑ์ ทางการเงินทุกประเภท อาทิ หุน้ พันธบัตร หุน้ กู้ กองทุน รวม หุน้ กูอ้ นุพนั ธ์ และตราสารอนุพนั ธ์ประเภทต่างๆ ตลอดจนแผนกวิจยั ทีผ่ ลิตงานวิจยั ในมาตรฐานสากล และได้รบั การยอมรับจากนักลงทุน ดังจะเห็นได้จาก รางวัลนักวิเคราะห์ยอดเยีย่ มทีภ่ ทั รได้รบั อย่างต่อเนือ่ ง ทัง้ นี้ ด้วยการให้ค�ำ ปรึกษาแบบเป็นทีม กล่าวได้วา่ ใน ทุกๆ ประสบการณ์การลงทุน ลูกค้าจะได้รบั คำ�แนะนำ� ทีม่ าจากประสบการณ์ในวิชาชีพรวมหลายทศวรรษ
เป้าหมายทางการเงินของลูกค้า รวมถึงการเสริม สร้างความมัน่ คงทางการเงิน ถือเป็นหนึง่ เป้าหมาย หลักทีภ่ ทั รมุง่ มัน่ ทีจ่ ะมอบให้กบั ลูกค้า ไม่วา่ เป้าหมาย ทางการเงินของลูกค้าจะเป็นไปเพือ่ การสร้างฐานความ มัน่ คงเพือ่ สืบทอดไปยังลูกหลาน เพือ่ ต่อยอดทางธุรกิจ หรือเพือ่ ตอบโจทย์ความสุขในชีวติ ภัทรพร้อมจะเคียง ข้างลูกค้าเพือ่ ไปสูเ่ ป้าหมายทีต่ ง้ั ไว้ ด้วยเป้าหมายการลงทุนทีแ่ ตกต่างกัน ภัทรจึงมุง่ เน้นการให้บริการแบบ “เฉพาะตัว” กับลูกค้าแต่ละราย โดยศึกษาและทำ�ความเข้าใจกับลักษณะและความ ต้องการเฉพาะของลูกค้าโดยละเอียด ทัง้ ในส่วนของ เป้าหมายการลงทุน ระดับความเสีย่ ง หรือข้อจำ�กัด เพือ่ ให้สามารถให้ค�ำ แนะนำ�ทีต่ รงกับความต้องการ ของลูกค้าได้มากทีส่ ดุ ลูกค้าแต่ละท่านจึงมัน่ ใจได้วา่ ทุกคำ�ปรึกษาหรือคำ�แนะนำ�ได้ผา่ นการกลัน่ กรองและ วิเคราะห์มาอย่างเหมาะสม โดยคำ�นึงถึงความ แตกต่างเฉพาะตัวของลูกค้า
ตอบโจทย์ทกุ การลงทุนและบริการที่ เหนือกว่า
นอกเหนือจากการดูแลอย่างใกล้ชดิ แล้ว การ เพิม่ พูนความมัง่ คัง่ ของลูกค้าเป็นอีกหนึง่ โจทย์ส�ำ คัญ ของภัทร นโยบายการนำ�เสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และการลงทุนทีห่ ลากหลายแบบ Open Architecture ตามมาตรฐานเดียวกับผูใ้ ห้บริการ private banking ใน ต่างประเทศ เป็นแนวทางทีภ่ ทั รยึดในการดำ�เนินการมา โดยตลอด ภัทรนำ�เสนอผลิตภัณฑ์กองทุนรวมของบริษทั หลัก ทรัพย์จดั การกองทุนชัน้ นำ�โดยยึดเอาผลประโยชน์สงู สุด ของลูกค้าเป็นเกณฑ์ ไม่จ�ำ กัดด้วยค่ายหรือกลุม่ ของ ผูอ้ อกผลิตภัณฑ์ ดังนัน้ นักวิเคราะห์ของภัทรจึงสามารถ วิเคราะห์และคัดเลือกกองทุนเพือ่ นำ�เสนอแก่ลกู ค้าได้ อย่างเป็นกลาง และสอดคล้องกับความต้องการของ ลูกค้ามากทีส่ ดุ นอกจากนี้ ภัทรไม่เพียงนำ�เสนอการ
ลงทุนเป็นรายผลิตภัณฑ์ แต่ยงั รวบรวมและคัดสรร ผลิตภัณฑ์เพือ่ นำ�มาจัดทำ�ในรูปแบบทีส่ ะดวก ต่อการบริหารจัดการของลูกค้า และทำ�ให้การลงทุน ของลูกค้าเป็นระบบ ลดความเสีย่ ง และเพิม่ โอกาส ได้รบั ผลตอบแทนมากยิง่ ขึน้ ยิง่ กว่านัน้ รูปแบบการลงทุนภายใต้หลักการ จัดสรรเงินลงทุน (asset allocation) ของภัทรช่วย แปรลักษณะและความต้องการเฉพาะตัวของลูกค้ามา เป็นกรอบการลงทุนทีเ่ ป็นระบบ ง่ายต่อการประเมินผล และปรับเปลีย่ นให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยลูกค้า จะได้รบั รายงานการลงทุนซึง่ สรุปสถานะรายละเอียด การลงทุนทัง้ หมด รวมทัง้ ข้อมูลผลตอบแทนของลูกค้าไว้ อย่างครบถ้วน ชัดเจน เพือ่ ให้ลกู ค้าเห็นภาพรวมของการ ลงทุนและตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คูค่ ดิ ทางการเงินทีค่ ณ ุ ไว้วางใจได้
ในปี 2015 นีเ้ ป็นอีกครัง้ ทีภ่ ทั รได้พสิ จู น์ถงึ คุณภาพ การให้บริการ private banking และการเป็นคูค่ ดิ การลงทุนทีล่ กู ค้าไว้วางใจ ด้วยการได้รบั รางวัล Best Private Bank in Thailand จาก FinanceAsia เป็นปีท่ี 4 ติดต่อกัน โดยได้รบั การคัดเลือกจากความ สามารถในการคงไว้ซง่ึ มาตรฐานระดับสากลของการ ให้บริการ private banking ในภาวะทีม่ กี ารแข่งขันสูง กอปรกับความสามารถในการขยายธุรกิจให้มกี ารเจริญ เติบโตต่อเนือ่ งอย่างมีคณ ุ ภาพ ทัง้ นี้ ภัทรยังคงไม่หยุดพัฒนาผลิตภัณฑ์ และคำ�ตอบทางการลงทุนให้มคี ณ ุ ภาพและความ หลากหลายทัดเทียมกับสถาบันการเงินระดับโลก เพือ่ ให้มน่ั ใจว่าลูกค้าจะได้รบั ผลประโยชน์สงู สุดจาก โอกาสทางการลงทุนทีไ่ ร้ขอ้ จำ�กัดอย่างแท้จริง
OPTIMISE | OCTOBER 2015
31
SERVING YOU
Infinite Wealth ประกันความมัง่ คัง่ ไม่มสี น้ิ สุด ทุกวันนี้จำ�นวนผู้มีความมั่งคั่งสูงหรือที่เรียกกันว่า High Net Worth (มีสินทรัพย์เกิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือมากกว่า 30 ล้านบาท) เพิ่มมากขึ้นจากทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะในเอเชียกำ�ลังสร้างสถิติแซงหน้ากลุ่มประเทศ ในอเมริกาและยุโรปขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัดเจน สำ�หรับใน ประเทศไทยนั้นกลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูงยังคงเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง คำ�ถามคือคนกลุ่มนี้มีมุมมองอย่างไร มีการใช้ชีวิต อย่างไร และมีการวางแผนทางการเงินเพื่อสร้างความมั่งคั่ง และส่งต่อไปยังทายาทรุ่นถัดไปอย่างไร
วางแผนประกันชีวิตเพื่ออนาคต อีกหนึ่งทาง เลือกในการส่งต่อความมั่งคั่ง การสร้างความมั่งคั่งทางการเงินด้วยผลิตภัณฑ์ประกัน ชีวิตเป็นรูปแบบหนึ่งในการออมที่ได้รับผลตอบแทนพร้อมๆ กับได้รับการปกป้องในความเสี่ยงของชีวิตจากบริษัท ประกัน การเลือกซื้อประกันชีวิตยังเป็นวิธีหนึ่งเพื่อวางแผน ส่งผลประโยชน์ไปยังคู่ชีวิต หรือลูกหลาน เพื่อเป็นสะพาน ในการส่งต่อสินทรัพย์ของท่านไปยังคนที่ท่านห่วงใยโดย จัดสรรสัดส่วนของผลประโยชน์ให้แต่ละคนไว้ล่วงหน้า สำ�หรับครอบครัวใหญ่ อาจบริหารด้วยการแบ่งเงินกอง กลางหรือกงสีออกมาซื้อประกันชีวิตให้ลูกของพี่น้องแต่ละ คน เพื่อเตรียมส่งต่อผลประโยชน์ให้รุ่นหลานในอนาคต ซึ่ง เมื่อผู้ซื้อประกันชีวิตได้จากไปแล้ว เงินเอาประกันภัยที่ส่ง ต่อให้คู่ชีวิต หรือลูกหลานจะไม่เสียภาษี ขณะเดียวกันยัง สามารถนำ�มาใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีรายได้ต่อปีได้ อีก เรียกได้ว่านอกจากจะตอบโจทย์เรื่องความคุ้มครองเป็น อย่างดีแล้ว ยังส่งต่อความมั่งคั่งให้กับทายาทรุ่นถัดไปได้ อีกด้วย ปัจจุบันการทำ�ประกันถือเป็นส่วนหนึ่งของ Wealth Management ที่ครอบคลุมการสร้างความมั่งคั่งทางการ เงิน การปกป้องทรัพย์สิน และการบริหารกระแสเงินสดด้วย เช่นกัน
หากเคยผ่านประสบการณ์ จะเข้าใจและ พร้อมรับมือ
มีเหตุการณ์ที่หัวหน้าครอบครัวเสียชีวิต แต่ไม่ได้เขียน พินัยกรรมเอาไว้ ซึ่งต้องมีการตั้งผู้จัดการมรดก และต้องใช้ ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ในขณะที่ค่าใช้จ่ายต่างๆ ยัง ดำ�เนินอยู่ หากผู้นำ�ครอบครัวมีการทำ�ประกันไว้ เงินจาก ประกันชีวิตจะเสริมสภาพคล่องในสถานการณ์อย่างนี้ได้ อีกทั้งเงินคืนจากประกันชีวิตนั้นยังได้สิทธิ์ยกเว้นไม่เสียภาษี ฉะนั้น การเลือกซื้อประกันชีวิตต้องมีความเข้าใจก่อน 32
OPTIMISE | OCTOBER 2015
ว่าจะซื้อเพื่อใคร และซื้อเพื่อคุ้มครองชีวิต สุขภาพ หรือ ทรัพย์สิน โดยสถิติแล้วคนไทยนิยมซื้อประกันชีวิตเพื่อ การลดภาษี ซึ่งอาจจะไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักในการโอน ความเสี่ยง ฉะนั้นการซื้อประกันชีวิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด ผู้ซื้อควรเลือกสิทธิประโยชน์ความคุ้มครองให้ตรงกับ วัตถุประสงค์ของการทำ�ประกันชีวิตมากกว่า
KKGEN Infinite Wealth ผสานความร่วมมือ กับกลุ่มเจนเนอราลี่
เมื่อปลายปี 2557 ธนาคารเกียรตินาคินได้ลงนามความ ร่วมมือการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ด้าน Bancassurance กับ เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ บริษัทประกันในกลุ่มเจนเนอราลี่ จากประเทศอิตาลี โดยเป็นบริษัทประกันอันดับหนึ่งใน ภูมิภาคยุโรปตะวันตกและอันดับสามในโลก มีเครือข่าย ประกันชีวิตครอบคลุมทั่วโลก ด้วยผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต ที่หลากหลายและครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ สำ�หรับลูกค้าที่มีความมั่งคั่งสูง ในปัจจุบัน ความร่วมมือดังกล่าวเห็นภาพที่ชัดเจน แข็งแกร่งมากขึ้น ดังเห็นได้จากผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดสำ�หรับ ท่านที่ต้องการส่งต่อมรดกให้กับครอบครัวหรือต้องการ กระจายความเสี่ยงในกรณีที่มีบริษัทของครอบครัว ผ่าน ผลิตภัณฑ์ “KKGEN Infinite Wealth” ซึ่งเป็นแผนประกัน ชีวิต ที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่ม ลูกค้า และเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเงื่อนไขที่ดีที่สุด ทั้งนี้ ท่านสามารถเลือกแผนประกันได้ 2 แผนคือ KKGEN Infinite Wealth 88/4 และ 88/8 ซึ่งจะได้รับความ คุ้มครองถึงอายุ 88 ปี โดยชำ�ระเบี้ยประกันแบบระยะ สั้น (4 ปี) หรือระยะยาว (8 ปี) โดยในเรื่องทุนประกันก็ สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของท่าน โดยมอบ ความคุ้มครองชีวิตยาวนานถึงอายุ 88 ปี และยังได้รับ อภิสิทธิ์เหนือระดับจาก GENERALI 365 ซึ่งเป็น Privilege Program จากเจนเนอราลี่ ไทยแลนด์สำ�หรับลูกค้าที่เลือก ซื้อแผนประกันภัยต่างๆ อีกด้วย สำ�หรับท่านที่ต้องการการวางแผนการเงินในลักษณะ ‘tailor-made’ ที่ออกแบบให้เหมาะสมกับความต้องการของ ลูกค้าแต่ละราย สำ�หรับประกันชีวิตภายใต้กลุ่ม Infinite Wealth นี้ ธนาคารได้ร่วมกับทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผน ทางการเงิน จาก บล.ภัทร และ เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ร่วม ให้คำ�ปรึกษาเพื่อตอบรับทุกความต้องการของท่าน โดย สามารถติดต่อได้ที่สาขาของธนาคารเกียรตินาคินทั่ว ประเทศ OPTIMISE | OCTOBER 2015
33
CLIENT VALUES
สำ�หรับผม ทรัพยากร บุคคลจะเป็นตัวขับเคลื่อน สำ�คัญที่จะทำ�ให้องค์กร make or break ผู้นำ�ต้องแบ่งงานได้ งานต้องเดินทั้งๆ ที่ตัวเรา ไม่อยู่ได้ แต่ก่อนที่งาน จะเดินได้ด้วยตัวมันเอง เราต้องจ่ายงานให้เป็น สร้างคนให้เป็น
Bright Ideas วิศรุต รังษีสงิ ห์พพ ิ ฒ ั น์ ผูน้ ำ�อาณาจักรธุรกิจหลอดไฟ Racer Group เผยเคล็ดลับบริหารให้ทนั ต่อโอกาสและยุคสมัย พร้อมสร้างแรงบันดาลใจ ให้กบั พนักงานนับพันชีวติ แม้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาการมีชื่อในฐานะ ‘ปรินซ์ ชาร์มมิ่ง’ ผู้ครอบครองหัวใจของนักแสดงสาวแถวหน้าของเมืองไทยอย่าง ชมพู่-อารยา เอ ฮาร์เก็ตจะทำ�ให้ชื่อของนักธุรกิจหนุ่มสุดสมาร์ท อย่าง น็อต-วิศรุต รังษีสิงห์พิพัฒน์ กรรมการบริหารบริษัท เรเซอร์ การไฟฟ้า (ประเทศไทย) จำ�กัด บริษัทผลิตหลอดไฟฟ้าอันดับ หนึ่งของประเทศปรากฏตัวบนพื้นที่หน้าข่าวบันเทิงมากกว่าหน้า ข่าวธุรกิจ แต่นั่นไม่อาจเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงที่ว่านี่คือหนึ่ง ในนักธุรกิจรุ่นใหม่ผู้โดดเด่นที่สุด ผู้สามารถนำ� Racer Group เปลี่ยนผ่านจากการเป็นผู้รับจ้างผลิตสินค้าเพื่อป้อนแบรนด์อื่น หรือ OEM (Original Equipment Manufacturer) ไปสู่การเป็น แบรนด์หลอดไฟครบเช็ต Racer ซึ่งอยู่ระดับชั้นนำ�ของภูมิภาค ขอเชิญพบกับเบื้องหลังของการกระโดดไต่ ‘ห่วงโซ่คุณค่า (value chain)’ ที่กล้าหาญและน่าจับตาเป็นอย่างยิ่ง จุดเริ่มต้นทำ�แบรนด์ Racer อย่างที่ทราบคือเราทำ� OEM ให้กับแบรนด์ชั้นนำ�ระดับโลก มาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อจากเริ่มทำ�บัลลาสต์ ทำ�หลอดไฟ ทำ� สตาร์ทเตอร์ ทำ�เซ็ตตัวรางขาไฟ ขายเป็น complete set ไป พอบริษัทโตมาในระดับหนึ่งเราก็เห็นว่าเราผลิตสินค้าดี มีคุณภาพ ต้นทุนถูก แต่คนอื่นเขาซื้อชุดหลอดไฟของเราไปใน ราคา 100 บาท เขาเอาไปขายในห้างได้ 200-300 บาท เพราะคน อื่นเขามีแบรนด์ ในขณะที่เราไม่มีแบรนด์ของตัวเอง ยิ่งกว่านั้น ทุกปีลูกค้าจะมาบอกตลอดว่าต้องลดต้นทุนนะ เศรษฐกิจไม่ดี เราก็ต้องลดราคาทุกปี ทั้งๆ ที่สินค้าในตลาดราคาเพิ่มตลอด สิ่งเหล่านี้ทำ�ให้เรามองว่ามาร์จินที่ต้องหายไปเพราะลดต้นทุนนั้น เราควรเอาไปลงทุนสร้างแบรนด์เพื่อให้มันเป็น asset ของเราดี กว่า มันถึงจะเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัทได้มากขึ้น อย่างน้อยๆ มันก็ จะสร้าง value ให้กับบริษัทเราในเรื่องสินค้า กล้าลุกขึ้นมาทำ�แบรนด์ ผมมองว่าการที่เราเป็น OEM ก็เหมือนการเช่าบ้านอยู่ แต่ การสร้างแบรนด์ของตัวเองมันเหมือนการผ่อนบ้าน พูดง่ายๆ คือ OEM มันเป็นรายได้เลี้ยงธุรกิจได้ไปวันๆแต่มันไม่ได้สร้าง value ให้กับองค์กร สาเหตุที่คนส่วนใหญ่ยังไม่อยากลุกขึ้นมาทำ� แบรนด์ ก็อาจเป็นเพราะพื้นฐานแนวคิดที่ต่างออกไป เหมือนเช่า บ้านอยู่มันไม่มีภาระ แต่ถ้าเกิดผ่อนบ้านก็มีภาระ ต้องไปดาวน์
34
OPTIMISE | OCTOBER 2015
บ้าน เช่นเดียวกัน ก่อนจะสร้างแบรนด์ได้ก็ต้องลงทุน คนอื่น อาจมองว่าอย่าไปลงทุนเลย สร้างแบรนด์ ถ้าไม่ติดก็เสียดายเงิน ไหนจะความเสี่ยงที่ต้องไปอธิบายกับลูกค้าว่าเราจะสร้างแบรนด์ มาแข่งกับเขาหรืออย่างไร คนเลยไม่กล้า แต่ผมเชื่อว่าถ้าเรารู้จัก คำ�นวนความเสี่ยงแล้วโอกาสประสบความสำ�เร็จมันเยอะกว่า เพราะถ้าเป็น OEM เราไม่มีทางรู้ว่าลูกค้าจะเดินจากเราไปเมื่อ ไหร่ เราต้องพึ่งคนอื่นหายใจ แต่ปัจจุบันนี้ เราสร้างแบรนด์ของ ตัวเอง และก็สร้างช่องทางจากโรงผลิตไปถึงลูกค้าด้วยตัวเอง ซึ่ง สำ�หรับผมมันก็พิสูจน์แล้วว่าคุ้มค่า เมื่อก่อน OEM คือ 80% ของ รายได้ ทุกวันนี้มันเหลือ 30-40% ของรายได้ ต่อไปมันน่าจะเหลือ 10-20% ทั้งๆ ที่เราเพิ่งเริ่มทำ�การตลาดมาได้แค่ 3-4 ปี บางคน อาจคุ้นเคยการทำ�ธุรกิจที่เป็น OEM รับจ้างทำ� เอาราคาถูกเข้าสู้ แต่ว่าผมมองว่าในระยะยาว มันเป็นธุรกิจที่แข่งกันไปตาย ผมไม่ อยากรอให้ถึงวันที่ผมไม่มีทางเลือก แล้วค่อยกระโดดลงมาเล่น วิธีจัดการความเสี่ยง ผมจะใช้วิธีประเมินว่า risk กับ return คืออะไร upside คือ อะไร downside คืออะไร โดยผมจะประเมินศักยภาพตัวเองเรื่อง 4P ก่อน เรื่องของ product ผมไม่กลัว เพราะคุณภาพ product ผมสู้ได้ เรื่องของ price ผม competitive เพราะเราผลิตเอง เรื่อง place ช่องทางการจัดจำ�หน่ายผมก็มีท่อเลี้ยงออกจากโรงผลิต ไปถึงลูกค้าด้วยช่องทางที่เราพยายามสร้างขึ้นมา เช่นขายให้กับ โครงการอสังหาฯ โครงการรัฐบาล โมเดิร์น เทรด หรือหน้าร้าน โดยตรง ส่วนเรื่อง promotion ผมก็ทำ�การบ้านดูคู่แข่งว่าเขาใช้ งบโฆษณาเท่าไหร่ เราลงทุนอย่างนั้นได้ไหม ดังนั้นเราได้กำ�ไรมา เราก็แบ่งมาเป็นค่าสร้าง asset ที่มันเป็น tangible ส่วนหนึ่ง อีก ส่วนเอามาสร้างสิ่งที่มันเป็น intangible อย่างการสร้างแบรนด์ บทบาทการเป็นผู้นำ� ผมพยายามจะ ‘work hard, work smart’ คือทำ�งานเต็มที่ แต่ไม่ได้ทำ�แบบก้มหน้าก้มตาทำ�อย่างเดียว จริงๆ แล้วปรัชญา ของผมคือการสร้างคน เพราะผมเป็นคนขี้เกียจ อะไรที่ผมทำ�ไม่ เป็น ผมจะหาคนมาทำ�ให้ผม สำ�หรับผม ทรัพยากรบุคคลจะเป็น ตัวขับเคลื่อนสำ�คัญที่จะทำ�ให้องค์กร make or break ผู้นำ�ต้อง แบ่งงานได้ งานต้องเดินทั้งๆ ที่ตัวเราไม่อยู่ได้ แต่ก่อนที่งานจะ เดินได้ด้วยตัวมันเอง เราต้องพยายามจ่ายงานให้เป็น สร้างคน OPTIMISE | OCTOBER 2015
35
CLIENT VALUES ให้เป็น อย่างผู้จัดการโรงงานของผมทุกวันนี้ อยู่มา 6-7 ปี ทุกคนก็จะบอกเลยว่าเขาก็อปปี้ผมมา 100% งานมัน จึงเดินนิ่งมาก เมื่อก่อนงานผมจะเยอะมาก เข้าโรงงาน 5 วัน ทำ�อย่างไรก็ไม่ทัน ทุกวันนี้ผมเข้าไปอาทิตย์ละวัน ไม่มีอะไรทำ� งานประจำ�แทบไม่มีอะไรทำ�แล้ว ได้แต่คุย กับผู้จัดการว่ามีปัญหาอะไรไหม ปรึกษาอะไรไหม ความสำ�เร็จครั้งใหญ่ของชีวิต ตอนผมกลับมาทำ�งานใหม่ๆ ตั้งแต่ปี 2543 ผมอยาก จะมีโรงงานที่ทันสมัยเพื่อจะแข่งขันได้ในเวทีโลก ดังนั้น ช่วง 7-8 ปีแรกก็พยายามศึกษา พยายามอัพเกรดโรงงาน และระบบบริหาร พยายามเอามาตรฐานสากลเข้ามา อย่างรุ่นคุณพ่อจะบริหารแบบ micro management คือ ลงไปดูทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตัวเองเป็น ‘one man show’ แปดโมงเช้าถึงโรงงาน ออกจากโรงงานสองทุ่ม แต่ สำ�หรับผม ผมมองว่าชีวิตคนเราน่าจะมีอะไรได้มากกว่า นี้ จะบริหารงานใหญ่ไม่ได้แปลว่าต้องทำ�งานหนักขนาด นี้ ผมจึงพยายามสร้างทีมขึ้นมา ซึ่งยากมาก เพราะ ช่วงแรกๆ มาตรฐานเรายังสู้บริษัทญี่ปุ่นไม่ได้ เราจึงไม่ สามารถจ้างคนเก่งได้ ได้แต่คนที่คนอื่นเขาไม่เอา บาง คนที่เขาเป็นมืออาชีพเขาก็จะบอกเลยว่าไม่อยากทำ�กับ ธุรกิจครอบครัวเพราะฉะนั้นมันใช้เวลามาก เราค่อยๆ เอานํ้าเสียออก นํ้าดีเข้า ปรับระบบจนกระทั่งโรงงาน เราทันสมัย สวย ใช้เครื่องจักรไฮเอนด์ทั้งหมด สภาพ แวดล้อมการทำ�งานสะอาด ภาพลักษณ์ทุกอย่างดูดี คราวนี้เราถึงเริ่มได้คนดี อัตรา turnover เริ่มตํ่า อยากจะ จ้างใครก็จ้างได้ ตอนนี้ แต่ละคนที่ผมสร้างมาอยู่กับผม มาเป็นสิบๆ ปี หลายคนตัดสินใจได้ 95% เหมือนที่ผมคิด เลย อีก 5% เป็นแค่คอมเมนต์ปลีกย่อยเท่านั้นเอง อันนี้ คือความภูมิใจอันหนึ่ง สร้างศรัทธา คำ�ๆ เดียวเลยคือความไว้ใจ เขาต้องมี trust กับเรา ผมมองว่ามนุษย์ทุกคนต้องการมีชีวิตที่ดีขึ้น เราต้องใจ เขาใจเรา ผมจะทำ�เหมือนเขาเป็นพาร์ทเนอร์ ทำ�งานกับ ผมแล้วชีวิตคุณควรจะดีขึ้น อย่างมีคีย์แมนของผมคน หนึ่ง เป็นนักศึกษาต่างจังหวัดเรียนจบแล้วมาอยู่กับผม 10 กว่าปี ตอนนี้เขามีบ้าน มีเงินซื้อที่ดินที่ต่างจังหวัดได้ พาครอบครัวไปเที่ยวเมืองนอกได้ ทำ�ในสิ่งที่ไม่เคยได้ทำ� จากการทำ�งานกับเรา ผมมองว่า ถ้าชีวิตเขาไม่ดีขึ้น อย่า อยู่กับผม เพราะฉะนั้น สำ�หรับคีย์แมนรอบๆตัวผม ผมจะ คอยวัดตลอดเวลาว่าเป็นอย่างไร ชีวิตดีขึ้นไหม ทุกวันนี้ บางคนจะซื้อรถแพงๆ เขาก็มาขอผมว่าจะซื้อได้มั้ย ผม บอกเงินคุณนี่ คุณเงินเหลือคุณก็ไปซื้อสิ คติในการทำ�งาน มี 3 คำ�ที่คุณพ่อสอนมาตั้งแต่เด็กๆคือ ‘เข้มแข็ง อดทน เป็นคนดี’ ซึ่งความจริงผมว่ามันใช้ได้หมดทุก อย่าง เพราะว่าเวลาเราทำ�งาน แน่นอนปัญหามันควบคุม ไม่ได้ แต่ผมเข้มแข็ง ผมไม่ท้อ แล้วสิ่งที่คุณพ่อเน้น มากๆคือเราต้องมีจริยธรรมหรือ business ethic ซึ่งเป็น เรื่องใหญ่สำ�หรับคนทำ�ธุรกิจ ผมว่าชื่อเสียงเป็นสิ่งที่ใช้ เวลาสร้างเป็นสิบๆ ปี แต่มันสามารถจะเสียหายได้ใน 36
OPTIMISE | OCTOBER 2015
เวลานิดเดียว แล้วถ้าเราทำ�อะไรไม่ดีลูกน้องก็จะขาด ความศรัทธา ตรงกันข้าม ถ้าเขาเชื่อ เขาศรัทธาในผู้นำ� performance เขาจะดีมาก ถ้าเราอยากจะเป็นผู้นำ� ผม ว่าเราต้องมีคุณธรรมก่อนแล้วเขาจะรู้สึกได้
มา แต่ผมแค่มองว่า ข้อแรกโรงสายไฟ 4 โรงในไทยนี่รวยทุกโรง ข้อสองผมไม่คิดว่าจะมีอะไรมาแทนสายไฟได้เพราะอย่างไร ไฟ ก็ต้องวิ่งตามทองแดง ประเทศเราจะโตได้ต้องใช้สายไฟ ผมพูด เสมอหลอดไฟเหมือนดวงตา สายไฟเหมือนเส้นเลือด ประเทศ เราจะขยายก็ต้องใช้สายไฟ
เรื่องพลาดในชีวิต ผมพลาดเยอะแยะมาก แต่ผมมองว่าพลาดแล้วก็ ต้องยอมกลับลำ� อย่างผมเคยคิดว่าจะทำ�การตลาดแบบ ป่าล้อมเมือง ไปบุกยึดพวกเอเยนต์ต่างจังหวัด แต่ถึง เวลาแล้วเสียหายเยอะ ลงทุนไป 8 เดือนก็ยังขาดทุนอยู่ ผมก็ตัดสินใจกลับลำ� ผมเชื่อว่าผมคิด 100 อย่างผมอาจ จะผิดสัก 80 หรือ 90 อย่าง แต่เจ้า 10 อย่างที่ผมทำ�ถูก นี่มันสามารถทำ�ให้ผมเลี้ยงดูตัวเองอยู่ได้และเติบโตขึ้น ผมว่าดีกว่าไม่เคยพลาดเลย แต่ทั้งชีวิตมีโอกาสได้ทำ� อะไรแค่ 2-3 อย่าง
วางเป้าอนาคต Racer เรื่องของ product variety ผมว่าเราครบแล้วแต่คงพัฒนา สายไฟเพิ่ม เพราะสายไฟเป็นตัวที่โลจิสติกส์เคลื่อนย้ายมาไม่ได้ มันหนักมาก และมาร์จินตํ่า โรงงานสายไฟมันจึงต้องอยู่ในพื้นที่ นั้นๆ ถึงจะ supply บริเวณนั้นได้ ดังนั้น นี่เป็นสิ่งที่จีนจะมาแข่ง กับเราไม่ได้ ในเมืองไทยก็มีแค่ 4 ยักษ์ใหญ่ครองตลาดมา 50 ปี คนอื่นไม่เข้า ผมก็ไปดูว่าเพราะอะไร ก็เห็นว่ามันเป็นเรื่องของการ ลงทุนและเงินหมุนเวียน ดังนั้นผมก็เลยสร้างพอร์ตเงินหมุนเวียน ผมมา แล้วก็ลงทุนอีกประมาณพันล้านเพื่อพัฒนาโรงงานให้เทียบ เท่ากับ 4 ยักษ์ใหญ่ ส่วนเรื่องผลผลิตผมไม่ค่อยห่วง เพราะเป็น เรื่องของคอนเน็คชันกับมาร์เก็ตติ้งซึ่งผมว่าทุกวันนี้ชื่อเสียงของ บริษัทและส่วนตัวน่าจะพอทำ�ได้ พอสิ้นปีหน้า ถ้าเครื่องจักรผม โรงงานผม การตลาดผมมันแน่น ผมว่าผมน่าจะมีโอกาสเข้าไปชิง ตลาดสายไฟได้ ส่วนตลาดต่างประเทศผมไม่ได้มองไกล มองแค่ CLMV ประเทศเพื่อนบ้าน กัมพูชา ลาว พม่า และก็เวียดนาม โดย คิดว่าแค่จะเป็น 1 ใน 5 ผู้ผลิตสายเคเบิลรายใหญ่ก็พอแล้ว แต่ คงไม่คิดเข้าตลาดหุ้นเพราะผมอยากให้เป็นธุรกิจเจ้าของคนเดียว ตัดสินใจคนเดียวแบบนี้แหละ
สไตล์การลงทุน ผมเป็นคนกล้าได้กล้าเสียนะ แต่ก็ตามอายุ เมื่อก่อน โสด ผมก็กล้าเสี่ยง แต่ทุกวันนี้เริ่มมีครอบครัว ก็ต้อง ปรับตามอายุ นอกจากเรื่องขยายธุรกิจแล้วก็สนใจธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ เพราะผมมองว่าพอเศรษฐกิจไม่ดี พวก หุ้นมันก็ devalue แต่สิ่งหนึ่งและสิ่งเดียวในโลกที่ราคา ขึ้นตลอดก็คือที่ดิน อนาคตเลยอยากทำ�บริษัทอสังหาฯ ผมมองว่ามันเป็นอะไรที่สนุก อาจจะเป็นเพราะผมชอบ ดีไซน์ด้วย อย่างสร้างโรงงานใหม่นี่ผมจะตื่นเต้น เฮ้ย--ขอดูแบบหน่อยสิ โรงงานจะสวยไหม ข้างในเป็นอย่างไร ผมว่าจริงๆ ถ้าย้อนกลับไปได้ผมคงเรียนสถาปัตย์ฯ ไม่ใช่ วิศวะฯ ไลฟ์สไตล์ที่ชอบ ตัวผมเป็นคนไม่ชอบเที่ยวคือให้ผมไปอยู่ทะเลมัลดีฟส์ 4 วันนี่ผมตาย อยู่ไม่ได้ จะเริ่มรู้สึกอยากกลับมาทำ�งาน หยุดปีใหม่ หรือสงกรานต์ 10 วันนี่ไม่ชอบเลย สิ่งเดียวที่ ผมชอบมากกว่าการอยู่ออฟฟิศก็คือการอยู่สนามฟุตบอล ชอบเตะฟุตบอลสมัยหนุ่มๆ ก็เล่นตำ�แหน่งปีก ทุกวันนี้ ก็ยืนอยู่ตรงกลางเฉยๆ เริ่มเดิน เริ่มเขี่ย ทีมโปรดก็แมน เชสเตอร์ ยูไนเต็ด ทีมไทยยังไม่ได้ดูมาก แต่ผมชอบดู มาร์เก็ตติ้งของทีมไทยอย่างบุรีรัมย์ เมืองทอง แล้วก็ทีมที่ กำ�ลังมาอย่างสุพรรณบุรี มองว่ามันอาจจะเป็นธุรกิจที่ดี เพราะเล่นบอลแล้ววันหนึ่งก็อยากมีสโมสรเป็นของตัวเอง บ้าง ก็เลยมองๆ ดูว่ามันทำ�เงินได้ไหม แต่คงไม่มีสตางค์ ไปซื้อทีม คงค่อยๆ ปั้นเอง แต่ทำ�สโมสรมันเป็นฟูลไทม์ จ็อบนะครับ จะไปทำ�เล่นๆ ไม่ได้ เคล็ดลับการสานต่อธุรกิจ ผมนี่รุ่นเก่าแล้วหรือครับ ผมก็ยังล้มลุกคลุกคลานอยู่ เลย ไม่รู้จะแนะนำ�อะไร ผมว่าต้องหูไวตาไว ทุกอย่างมัน เปลี่ยนแปลงเร็ว ถ้าตัดสินใจผิดปุ๊บก็ผิดทางเลย อย่าง 10 ปีที่แล้วผมอยากขยายธุรกิจ พ่อก็แนะให้ทำ�โรงงาน แก้วไว้มาทำ�หลอดไฟ แต่ผมไม่เอา ผมไปเรียนรู้วิธีทำ� สายไฟแล้วก็กลับมาเปิดโรงงานสายไฟ ซึ่งหากผมคิดทำ� โรงงานแก้วในวันนั้น ตอนนี้ผมคงไม่มีงาน เพราะหลอด ไฟเป็น LED หมดแล้ว ตอนนั้นผมก็ไม่รู้หรอกว่า LED จะ
รูจ้ กั วิศรุต
ผมมองตัวเองว่าผมเป็น นักล่าสมบัติ เวลาผม มองหาของขาย ผมจะ พยายามสแกนว่าตรง ไหนมีขุมทรัพย์ แล้วก็ พยายามไป เปิดขุมทรัพย์ นั้น อย่างวันก่อนมีข่าวว่า รัฐบาลจะเปลี่ยนสายไฟฟ้า ลงดินใช้งบ 14,000 ล้านบาท มันเป็นขุมทรัพย์ สุดขอบฟ้าเลย
วิศรุต รังษีสิงห์พิพัฒน์ เรียนจบระดับมัธยมต้น จากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ก่อนไปเรียนต่อมัธยมปลาย ที่ออสเตรเลีย และคว้า ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการไฟฟ้าจาก RMIT University ต่อด้วยการ เรียน MBA ที่สถาบันบัณฑิต บริหารธุรกิจศศินทร์ ปัจจุบัน วิศรุตเป็นกรรมการบริหาร Racer Group ซึง่ ประกอบด้วย
1. บริษัท เรเซอร์การไฟฟ้า (ประเทศไทย) จำ�กัด ผู้ผลิต บัลลาสต์ และอุปกรณ์ แสงสว่าง 2. บริษัท เรเซอร์โกลบอล เทรด จำ�กัด นำ�เข้า และส่งออกอุปกรณ์ไฟฟ้า 3. บริษัท เรเซอร์ ไวร์ เวิร์คส จำ�กัด ดูแลการผลิตวัตถุดิบ กลุ่มทองแดงขดลวด และ ตัวนำ�ไฟฟ้า และ 4. บริษัท มิราเคเบิ้ล จำ�กัด ผู้ผลิต และจัดจำ�หน่ายสายไฟ
OPTIMISE | OCTOBER 2015
37
BEYOND BOUNDARIES 01 ธนฤกษ์ แห่ง สุพรรณิการ์ โฮม 02 ห้องพัก สไตล์โมเดิร์น กลมกลืนเข้ากับ สวนเขตร้อน ภายใน สุพรรณิการ์ โฮม 03 ‘มัสยายองใย’ หรือฉู่ฉี่ปลา อินทรีย์ของ ร้านซาหมวย & Sons
01
Isaan Redux เหล่านักเที่ยวตัวจริงเบนเข็มเข้าสู่อีสาน เมื่อคลื่นลูกใหม่ แห่งที่ราบสูงพร้อมใจพลิกโฉมบ้านเกิดให้เต็มไปด้วย โรงแรมบูทีคหลังงาม ร้านอาหารชั้นยอด และคาเฟ่ แสนรื่นรมย์ ในอดีต สเตฟาน ชุนกามีอาชีพที่คนหลายคนคง ได้แต่ฝันถึง นั่นคือ เขามีหน้าที่ต้องไปพักตามบรรดา โรงแรมสุดหรูชั้นนำ�ของโลกในฐานะแขกลึกลับเพื่อ จะประเมินว่าโรงแรมนั้นๆ ควรค่าแก่การเข้าร่วมเป็น โรงแรมหรูในกลุ่ม Relais & Châteaux หรือไม่ ในปี 2550 สเตฟานได้เดินทางไปทั่วภาคอีสาน และเล่าถึง ประ สบการณ์นั้นในภายหลังว่า “ต้องขับรถเยอะมากๆ แล้วคนขับก็หลงทางอยู่นั่นแหละ” แต่เมื่อเขาเข้ามา ถึงถนนที่มีต้นไม้สูงตระหง่านขนาบสองข้างทาง ที่สุด ถนนนั้นเอง เขาก็ได้พบโรงแรม ‘สุพรรณิการ์ โฮม บูติค ไฮอะเวย์’ โรงแรมบูติคขนาดเล็กที่มีห้องพักแบบวิลล่า สามหลังท่ามกลางสวนเมืองร้อนที่จัดแต่งอย่าง มีศิลป์ จากตอนนั้นจนถึงตอนนี้ จำ�นวนคนที่มาพักที่ สุพรรณิการ์ โฮมได้เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 40 เป็นถึง ร้อยละ 65 ซึ่งยังไม่นับรวมงานแต่งและงานเลี้ยงอีกไม่ 38
OPTIMISE | OCTOBER 2015
น้อยที่จัดขึ้นที่นี่อีกด้วย ดูเหมือนว่าแม้อีสานจะค่อน ข้างเงียบและอยู่นอกทางท่องเที่ยวหลักสักหน่อยแต่ เห็นได้ชัดว่าสายลมแห่งความเปลี่ยนแปลงกำ�ลังพัด ผ่านทุ่งนาอีสาน ตั้งแต่บาริสตาสาวในอุดรธานีที่ฝึก วิชามาจากนครซิดนีย์ ไปจนถึงเชฟหนุ่มในโคราชที่ จบจากสถาบัน Le Cordon Bleu นี่คืออีสานยุคใหม่ที่ เต็มไปด้วยคนพื้นเพผู้สามารถนำ�ความเท่ของท้องถิ่น ผสานเข้ากับไอเดียจากต่างแดนได้อย่างลงตัว
ความสดใหม่ในแดนไกล
ด้วยเนื้อที่กว่า 170,000 ตารางกิโลเมตร ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือจัดเป็นภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดและ มีประชากรเยอะที่สุดของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีภาษาเป็นของตัวเอง ซึ่งใกล้เคียงกับภาษาลาว และมีมรดกทางศิลปะที่สืบย้อนไปได้ถึงยุคก่อน
02
ประวัติศาสตร์ ดำ�รงผ่านยุครุ่งเรืองของอาณาจักรเขมร ก่อนจะกลั่นตัวมาเป็นสถาปัตยกรรมอันสง่างามที่ ปรากฏเป็นวัดลาวและไทย จริงอยู่ว่าภาคอีสานซึ่งไม่ ติดทะเล ย่อมไม่อาจแข่งขันในเรื่องชายหาดกับภูเก็ต และสมุยได้ แต่ถ้าใครกำ�ลังตามหาทัศนียภาพชนบท อันงดงามล่ะก็ ต้องถือว่าภาคอีสานถูกเชียงใหม่บดบัง รัศมีอย่างไม่สมควรมานานเกินไปแล้ว ที่เป็นเช่นนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะถนนหนทางที่ไม่ ค่อยดีนักของอีสานเอง เมื่อสองปีที่แล้ว เนาวรัตน์ คู่วัจนกุล เจ้าของร้านกาแฟ Dose Espresso ในจังหวัดอุดรธานี ได้เดินทางกลับสู่บ้านเกิดหลังจาก ที่ได้ทำ�งานอยู่หลายปีในร้านกาแฟและโรงคั่วที่ดีที่สุด แห่งหนึ่งของซิดนีย์ซึ่งถูกยกให้เป็นเมืองหลวงกาแฟ ของประเทศออสเตรเลีย เนาวรัตน์บอกว่า “พูดตรงๆ นะ ตั้งแต่เกิดจนถึงตอนนี้ ถนนแทบไม่ได้เปลี่ยนไป
เท่าไหร่เลย จะไปไหนมาไหนในอีสานนี่ยังยากมากๆ” หรือที่ธนฤกษ์ เจ้าของสุพรรณิการ์ โฮม สรุปง่ายๆ ว่า “จะไปไหนแต่ละที มีขับรถ 250 กิโล” แต่นี่ไม่ใช่สาเหตุที่ควรเมินอีสาน เพราะในขณะที่ ความเจริญอันรวดเร็วทำ�ให้เชียงใหม่สูญเสียเสน่ห์ความ ‘เนิบ’ ของล้านนาไปไม่น้อย ถนนสองเลนของอีสานนี้เอง กลับเป็นสิ่งที่ทำ�ให้อีสานยังคงความสดใหม่ไร้รอย เหยียบยํ่าไว้ได้ สเตฟาน เล่าให้เราฟังถึงความประทับใจแรกที่มีต่อ สุพรรณิการ์ โฮมว่า “นึกภาพดูนะ คุณเดินเข้ามาในสวน ใหญ่ๆ ปากทางเข้าขอนแก่น แล้วคุณแม่ของธนฤกษ์ ก็เดินเข้ามาต้อนรับคุณ ทำ�พิธีชงชาอยู่ที่ใต้ต้นไทรบน ระเบียงไม้สักผืนโตๆ มันรู้สึกเหมือนอยู่บ้าน อยู่กับ เพื่อนๆ แล้วในอีสานนี่มันไม่มีรถทัวร์จีนหรือรัสเซียมา ลงหรอก”
03 OPTIMISE | OCTOBER 2015
39
BEYOND BOUNDARIES เนื่องด้วยสุพรรณิการ์ โฮมมีบ้านพักวิลล่าเพียงสามหลัง เท่านั้น จึงจัดว่าห่างไกลจากการท่องเที่ยวแบบ ‘mass tourism’ อย่างลิบลับ นอกเหนือจากสวนสวย ซึ่งเป็นสวน มะม่วงสอดผสานไปกับสวนอังกฤษที่ปกคลุมด้วยต้นไม้ ใบหญ้าเขียวชอุ่ม สุพรรณิการ์ โฮมยังมีสถานปฏิบัติธรรม อันกว้างใหญ่ และมักจัดทริปเยี่ยมชมแหล่งทำ�ไหมที่อยู่ใน ละแวกใกล้ๆ กันเป็นประจำ�อีกด้วย ธนฤกษ์ ผู้รวมกลุ่มตั้ง Isan Boutique Collection หรือ กลุ่มโรงแรมหรูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีสมาชิกใน ปัจจุบันประกอบไปด้วยสุพรรณิการ์ โฮม ‘แม่นํ้าโขง วิลล่า’ และ ‘ภูนาคำ� รีสอร์ท’ บอกว่า “คนเริ่มเลือกที่จะมาเที่ยวที่นี่ แทนเชียงใหม่แล้ว เพราะมันยังสด ยังไม่ชํ้า” ด้วยสถานที่ตั้งที่อยู่ห่างขอนแก่นไปอีกถึง 200 กิโลเมตร ในจังหวัดเลย ภูนาคำ� รีสอร์ต ซึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางเนินเขาเตี้ยๆ ที่ปกคลุมไปด้วยทุ่งนาจัดเป็นดินแดนไกลปืนเที่ยงโดยแท้จริง ทั้งนี้ แม้ว่าจังหวัดเลยจะมีเที่ยวบินมาลงจากกรุงเทพฯ ใน แต่ละวันเพียงสามเที่ยวบิน เนื่องจากเลยเป็นจังหวัดที่มี ประชากรหนาแน่นน้อยที่สุดในประเทศไทย แต่เลยก็ไม่เคย ขาดแคลนเสน่ห์แห่งท้องถิ่น ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นที่ภูนาคำ� รีสอร์ทนี้จะมีควายอยู่สองตัว ซึ่งคอยเดินอ้อยอิ่งไปทั่วบริเวณ รีสอร์ทพร้อมกับชมทัศนียภาพของหุบเขาด่านซ้าย (เช่น เดียวกันกับแขกผู้สามารถเพลิดเพลินกับวิวอันผ่อนคลายนี้ ระหว่างจิบเบียร์สดเย็นๆ ในสระว่ายนํ้าของรีสอร์ท) เทศกาลผีตาโขนเป็นประเพณีที่จัดขึ้นทุกปีในจังหวัดเลย จะมีการทำ�หน้ากากนี้กันตลอดทั้งปี ดังนั้น ถ้าเดินเข้าไปเที่ยว เล่นตามหมู่บ้าน ก็จะมีโอกาสได้เห็นชาวบ้านนั่งตกแต่งทาสี หน้ากากเหล่านี้ ซึ่งทั้งชวนขนลุกขนพองและงามประหลาด ในคราวเดียวกัน ในละแวกใกล้ๆ กัน มีภูเรือและภูหลวง ซึ่ง สามารถใช้เป็นที่เดินขึ้นเขาเบาๆ และชมภาพจับใจของทุ่ง นาผืนงามเบื้องล่างได้ แต่ถ้ากลัวเหนื่อย การไปเที่ยวไร่องุ่น Chateau de Loei ในช่วงเก็บเกี่ยวเดือนกุมภาพันธ์ก็สนุกไม่ หยอก เพราะถึงแม้ว่าไวน์องุ่นที่ไร่นี้จะคุณภาพไม่ถึงขั้น กรองค์ ครู คลาเซ (Grand Cru Classé) หรือไม่สามารถ แม้แต่แข่งกับไวน์เขาใหญ่ แต่สถานที่ถือว่าสวยงามราวกับ ได้เห็นเศษเสี้ยวดินแดนฝรั่งเศสในไทยจริงๆ
ลี้ภัยจากเมืองกรุง
ในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติชอบเที่ยวแบบจุดต่อ จุดไปเรื่อยๆ ให้ทั่วอีสาน เช่นพักในขอนแก่นสองคืน ต่อใน เลยอีกสามคืน แล้วขับรถเอ้อระเหยลงมาตามแม่นํ้าโขงจนไป จบที่อุดรธานี นักท่องเที่ยวไทยไม่จำ�เป็นต้องเสียเวลาขับรถ นานหลายชั่วโมงอย่างนั้น เพราะถ้านักท่องเที่ยวไทยใช้วิธีไป เที่ยวแค่ครั้งละหนึ่งจังหวัด ก็จะสามารถนั่งเครื่องบินไปลงที่ ขอนแก่น อุดรธานี หรืออุบลราชธานี แล้วก็บินกลับได้ภายใน เสาร์อาทิตย์เลย ด้วยเหตุนี้ ธนฤกษ์บอกว่าสัดส่วนแขกที่มา พักได้เปลี่ยนไป จากที่ร้อยละ 70 เคยเป็นคนต่างชาติ ตอนนี้ ร้อยละ 70 ของจำ�นวนแขกกลายเป็นคนไทยไปแล้ว ธนฤกษ์ บอกว่า “ขอนแก่นมีไดโนเสาร์ มีผ้าไหม แต่ ของกินนี่แหละดึงดูดที่สุด อาหารอีสานอย่างไก่ย่างนี่ขายดี มาก แล้วก็มีพวกไส้กรอกอีสาน หมูยอ หรือหมํ่า” วิธีลองอาหารอีสานที่ดีที่สุด ก็คือการไปเดินเล่นตามแนว บึงแก่นนครเหมือนคนท้องถิ่น ซึ่งมักจะมีบรรยากาศเหมือน 40
OPTIMISE | OCTOBER 2015
งานวัดอยู่ตลอดเวลา เพราะมีวัดหนองแวงเมืองเก่าตั้งสูง ตระหง่านอยู่ใกล้ๆ อย่างไรก็ตาม เดี๋ยวนี้ขอนแก่นยังมีร้าน รวงเท่ๆ เปิดใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย แน่นอน บางส่วนอาจ เป็นร้านหน้าเดิมของกรุงเทพฯ เข้ามาเปิดสาขา เช่น ร้านเบียร์ HOBS แต่ว่าส่วนใหญ่ ร้านกาแฟที่เปิดในระยะหลัง มักจะ เป็นร้านของคนขอนแก่นเอง เช่น ร้าน ‘คอฟฟี่ เด้อ หล่า’ โดยปรากฏว่าองค์ประกอบของการตกแต่งแนวโมเดิร์น ยุคกึ่งศตวรรษผนวกกับบาริสต้าในผ้ากันเปื้อนสีขาวของ คอฟฟี่ เด้อ หล่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนร้านต้อง เปิดสาขาที่สองในขอนแก่น และมีแผนที่จะเปิดอีกสาขาหนึ่ง ในอุดรธานี ธนฤกษ์ ผู้ส�ำ เร็จการศึกษาจากมหานครนิวยอร์กใน สหรัฐอเมริกา ไม่ใช่ลูกอีสานเพียงคนเดียวที่กลับบ้านเกิด พร้อมด้วยความคิดสดใหม่จากต่างแดน เชฟบุ๋น-วรงค์ เหล่าไพบูลย์ ก็เป็นอีกคน ที่ได้ไปเรียนทำ�อาหารที่สถาบัน เลอ กอร์ดอง เบลอของโรงแรมดุสิตธานี ก่อนเข้าทำ�งานใน โรงแรมดับเบิลยู กรุงเทพ และโรงแรมฮิลตัน สุขุมวิท เชฟบุ๋นได้กลับขอนแก่นมาเป็นเชฟทำ�อาหารไทยและเทศ ที่ร้านอาหาร The Concept Aromatic Thai Cuisine ร่วมกับโชติ วงศ์สามัญ เมนูเด็ดของร้านนี้ก็มี แกงอ่อมเนื้อ ลาบปลาดุก และเมนูฟิวชั่นอย่างขาหมูทอดนํ้าปลา ที่ร้านยัง
05
เดีย๋ วนีม้ คี นรุน่ ใหม่ คนที่ มีไอเดียดีๆ ทีร่ สู้ กึ ว่าถึง เวลาแล้วทีต่ อ้ งกลับบ้าน เกิด เพราะเบือ่ การใช้ชวี ติ ในกรุงเทพฯ พวกนีม้ กั จะ เดินทางมาเยอะ แล้วก็ อยากกลับมาหาครอบครัว 04 Blue Jays Burger ฟู้ดทรัค สุดฮิปแห่งขอนแก่น 05 บรรยากาศร้าน Dose Espresso ยามพลบค่ำ�
04
06 วีระวัฒน์ (ซ้าย) และวรวุฒิ สองพี่น้องยอดเชฟแห่งร้าน ซาหมวย & Sons
มีเบียร์นำ�เข้าจากต่างประเทศจำ�นวนมากให้เลือก ดื่ม ซึ่งจะคอยเปลี่ยนเอาตัวใหม่ๆ เข้ามาอย่างสมํ่า เสมออีกด้วย ถ้าเบื่อส้มตำ�แล้ว อีสานก็มีอย่างอื่นให้ลอง เช่น รถฟู้ดทรัค Blue Jays Burger ของศุภชัย ศรีสุทโธ ที่เรียกได้ว่าอร่อยสูสีกับ Daniel Thaiger ของ กรุงเทพฯ โดยหลังจากศุภชัยเรียนเป็นเชฟ ที่ George Brown College ในเมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา ก็ได้ท�ำ งานในครัวร้านอาหาร อิตาเลี่ยนและฝรั่งเศสมากมายอีกเป็นเวลาถึงเจ็ดปี เขากล่าวว่า “วัฒนธรรมการกินของขอนแก่นเปลี่ยน ไปมากจริงๆ คนรุ่นใหม่เริ่มตื่นตัวกับกระแสอาหาร ต่างประเทศ และชอบมีประสบการณ์การกินใหม่ๆ ลูกค้าของผมไม่ได้มาแค่เพื่อรับประทานอาหาร แต่ เพราะหลายคนเรียนจบนอก ก็เลยมาเพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันด้วย”
คนรุ่นใหม่ไฟแรง
ในขณะที่ขอนแก่นเริ่มสุกงอมในฐานะเมือง หลวงของภาคอีสานอย่างเต็มตัว อุดรธานีก็กำ�ลัง กลายเป็นเมืองกำ�ลังโต (boom town) ของภูมิภาค นี้ เนื่องจากอุดรธานี เป็นประตูสู่ลาว อุดรธานีจึงมี นักธุรกิจและเจ้าของกิจการนักสัญจรเป็นจำ�นวน มากที่ได้กลับบ้านเกิดมาพร้อมความคิดใหม่ๆ ร้าน ‘ซาหมวย & Sons’ ในอุดรธานี เคยเป็น ร้านตัดเย็บมาก่อนจะผันตัวเป็นร้านอาหารเล็กๆ สองพี่น้องเจ้าของร้าน วีระวัฒน์ และวรวุฒิ ตริยเสนวรรธน์ เคยมีประสบการณ์ทำ�งานในครัวดัง เมืองซานฟรานซิสโก อย่าง Commonwealth (ซึ่ง เพิ่งเสียดาวมิชลินไปในปีนี้) และร้าน Osha (ที่มี
06 สาขาในกรุงเทพฯ ด้วย) เมนูของร้านนี้เต็มไปด้วย อาหารไทยเก่าแก่ที่ปรุงใหม่ด้วยความสร้างสรรค์ ส่วนตัว เช่น แสร้งว่าและปลาร้าทรงเครื่อง วีระวัฒน์ หรือเชฟหนุ่ม ซึ่งเคยผ่านงานที่ร้าน ‘นํ้า’ และร้าน ‘โบ.ลาน’ ในกรุงเทพฯ อยู่หลายเดือน บอกว่า “อุดรธานีเปลี่ยนไปเยอะมาก เดี๋ยวนี้มีคน รุ่นใหม่ คนที่มีไอเดียดีๆ ที่รู้สึกว่าถึงเวลาแล้วที่ต้อง กลับบ้านเกิด เพราะเบื่อใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ พวก นี้มักจะเดินทางมาเยอะแล้วก็อยากกลับมาหา ครอบครัวสักที” ร้านซาหมวยฯ เปลี่ยนเมนูอาหารทุกๆ 4 เดือน ขึ้นอยู่กับว่ามีอะไรขายในตลาดสด ผลลัพธ์ที่ได้ก็ มักจะแหวกแนว เช่น แหนมหมูโรยหน้าด้วย ไข่เค็มแช่แข็งขูดฝอย ซึ่งให้ความรู้สึกราวกับชีส “คนท้องถิ่นไม่ค่อยเข้าใจหรอกว่าเราทำ�อะไร กันอยู่ แต่ตอนนี้ก็ดีขึ้นเรื่อยๆ แล้วนะ มีคนกรุงเทพฯ มาร้านเราด้วย เพราะเขาได้ยินคนพูดถึงเรากันแบบ ปากต่อปากในโซเชียล มีเดีย” เชฟหนุ่มกล่าว “อาหารของเราเป็นอาหารร่วมสมัย จริงๆ ทุกอย่างก็คือเมนูอาหารไทยโบรํ่าโบราณนั่นแหละ เหมือนร้านนํ้า หรือโบ.ลาน แต่ผมว่าเราตีความเมนู ในแบบของตัวเองด้วย การอนุรักษ์วัฒนธรรมก็ดี อยู่แล้ว แต่ผมก็อยากมีความสุขกับงานของผมด้วย ผมจะถามตัวเองตลอดว่า จะดัดแปลงมันอย่างไร ให้มันดีขึ้น อร่อยขึ้น” สองพี่น้องคู่นี้ไม่ได้เป็นคนเดียวในอุดรธานีที่ กล้าลุกขึ้นมาทำ�อะไรแหวกๆ เนาวรัตน์ คู่วัจนกุล ก็เช่นกัน เธอเติบโตในอุดรธานี ทำ�งานที่บริษัทซีพี ก่อนที่จะลาออกเพื่อไปเรียนภาษาที่เมลเบิร์น เธอตกหลุมรักกับวัฒนธรรมกาแฟที่นั่นและหลัง
จากที่ได้ทำ�งานที่ร้านโดส เอสเปรสโซ อันโด่งดัง ก็ได้ตัดสินใจนำ�แนวคิดของร้านกลับมาทำ�ที่ ประเทศไทยบ้างในชื่อเดียวกัน เนาวรัตน์บอกว่า “อีสานกำ�ลังอยู่ในขาขึ้นมากๆ ถ้าเราเปิดร้านก่อนหน้านี้สัก 7 ปี รับรองเจ๊ง แต่ 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ คนเริ่มรู้แล้วว่ากาแฟที่ดีมันเป็นยังไง ตั้งแต่เราเปิดร้านมา 2 ปีกว่าๆ ก็เห็นมีร้านกาแฟ เปิดใหม่ 10 กว่าที่ได้ เจ้าของร้านก็อายุราวๆ 30 ปี หรือน้อยกว่านั้น ร้านโปรดของเราก็มี Wood You Like Cafe ซึ่งเป็นร้านกาแฟที่ขายของทำ�มือด้วย และร้าน ‘สุนทรี’ ที่ขายของตกแต่งบ้าน ในอนาคต อีสานสู้เชียงใหม่ได้แน่นอน อีสานเรามีเอกลักษณ์ เป็นของตัวเอง” ‘บ้านระรี เกสต์เฮาส์’ ซึ่งได้รับการออกแบบ โดยนักสถาปนิกผู้เป็นเจ้าของ นับเป็นตัวอย่างที่ แสดงความมั่นใจในเอกลักษณ์ของตัวเองของเมือง อุดรธานีได้เป็นอย่างดี เกสต์เฮาส์สไตล์มินิมอล แห่งนี้เต็มไปด้วยสัมผัสแห่งอีสาน ตั้งแต่หมอนผ้า ขาวม้า ไปจนถึงกระติ๊บข้าวเหนียว นอกจากนี้ฤกษ์ เชาวนะกวี เจ้าของบ้านระรี ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่อง ภาคอีสานอีกด้วย ซึ่งทำ�ให้การมาพักที่นี่ยิ่งคุ้มเป็น สองเท่า โดยเฉพาะเมื่อฤกษ์มีธุรกิจทัวร์จักรยาน ชื่อ Otto ซึ่งพร้อมจัดโปรแกรมขี่จักรยานไปจนถึง ประเทศลาว
พบกับเหล่าฮิปสเตอร์
แต่ถ้าพูดถึงเรื่องการปั่นจักรยานแล้ว เมืองหลวงในด้านนี้ของอีสานดูเหมือนจะต้องยกให้ โคราช ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีคาเฟ่จักรยานผุดขึ้น ราวเห็ดหลังฝน หนึ่งในคาเฟ่เหล่านั้นคือร้าน Fika OPTIMISE | OCTOBER 2015
41
BEYOND BOUNDARIES 07 คาเฟ่ FIKA พร้อมจักรยาน Tokyobike
08 บาริสตาสาว บรรจงชงกาแฟ ที่ร้าน Class Cafe’
08
07
ซึ่งตั้งอยู่ในบ้านโมเดิร์นหลังงาม ร้านนี้เป็นทั้งคาเฟ่ โคเวิร์คกิ้งสเปซ และเป็นตัวแทนจำ�หน่ายจักรยาน Tokyobike สุดฮิป นอกจากนี้ร้านฟิก้ายังเปิดบ้านให้เป็น ตลาดของทำ�มือทุกๆ เดือนอีกด้วย เดินลงมาทางทิศใต้ 30 นาทีฝั่งในคูเมือง ก็จะเจอ ร้าน Yellow Pumpkin หรือแปลเป็นไทยว่าฟักทอง เหลือง ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักในชีสเค้กและมัฟฟินของ คาเฟ่เล็กๆ แห่งนี้ นอกจากนี้ ที่นี่ยังให้ความสำ�คัญกับ การขี่จักรยานมากพอๆ กัน เห็นได้จากที่ทางร้านจัดงาน เสวนาพูดคุยและกิจกรรมขี่จักรยานกลุ่มอยู่เป็นประจำ� และบางครั้งยังมีจัดแสดงศิลปะแบบชั่วคราวอีกด้วย มารุต ชุ่มขุนทด เจ้าของร้าน Class Cafe’ ร้าน กาแฟประจำ�ท้องถิ่นที่ใช้เมล็ดกาแฟทั้งที่ผลิตในไทย และนำ�เข้า ได้พูดถึงวัฒนธรรมกาแฟในเมืองโคราช ว่า “ถ้ามองย้อนกลับไป 3 ปี ไม่มีร้านกาแฟร้านไหนที่ เราผูกพันด้วยเลย มีแต่สตาร์บัคส์แพงๆ ในห้าง ซึ่งกว่า จะเปิดร้านก็ปาเข้าไป 10 โมงแล้ว ผมอยากที่จะสร้าง
วัฒนธรรมกาแฟด้วย ซึ่งต้องมาจากร้านชนิดที่เปิด ตอน 7 โมงเช้าและเสิร์ฟกาแฟคุณภาพดีๆ พวกนัก ธุรกิจเด็กๆ นี่ชอบกันมาก ตอนเช้าร้านเราอยู่เฉยไม่ ได้เลย คนแน่นเอี้ยดตลอด” ‘อยู่เฉยไม่ได้’ ดูจะเป็นวลีที่บรรยายเมืองโคราช ได้อย่างเหมาะเจาะจริงๆ เห็นได้จากตลาดนัด ที่จัดขึ้นในสัปดาห์แรกของทุกเดือนอย่าง Art & Friends Market ที่จะโยกย้ายเปลี่ยนสถานที่ ไปเรื่อยๆ ทั่วเมือง เพื่อขายของทำ�มือท้องถิ่น อย่าง เช่น ของประดับบ้านที่ทำ�มาจากไม้ เครื่องเซรามิก และผ้ามัดย้อมจากร้าน Baan Baan Décor แต่กระแสฮิปสเตอร์ก็มีจุดต้องระวังเหมือน กัน เช่น C’est Si Bon ในโคราชนั้นเป็นคาเฟ่ที่น่า รักสวยงามทุกอย่างด้วยแผ่นกระเบื้องผนังสีขาว แบบสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินนครนิวยอร์ก โคมไฟแบบ โรงงานอุตสาหกรรมชิคๆ และเมนูหน้าตาดีอย่างเป็ด กงฟีต์ และไข่เบเนดิกต์ แต่สุดท้ายก็ต้องยอมรับว่า
คนที่มาที่นี่จะได้รสของกรุงเทพฯ มากกว่ารสอีสาน จริงอยู่ว่าอีสานไม่จำ�เป็นต้องใช้แต่ผ้าขาวม้า กับข้าวเหนียวรํ่าไปเพื่อแสดงความเป็นอีสาน แต่อีสานก็จำ�เป็นต้องหาวิธีรักษาและแสดงตัวตน ของตัวเองเอาไว้ให้ได้ หากหวังจะดึงดูดนักท่องเที่ยว ที่ชื่นชอบเอกลักษณ์ของท้องถิ่นต่อไป “ผมไม่รู้จริงๆ ว่าตัวตนของอีสานจะออกมาเป็น อย่างไร ผมถามตัวเองตลอด แต่ก็ต้องยอมรับว่ายัง ไม่เจอคำ�ตอบเลย” เชฟหนุ่ม เจ้าของร้านซาหมวย แอนด์ ซันส์ กล่าว อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนนี้เองที่เป็นสิ่งที่ ช่วยทำ�ให้ความเปลี่ยนแปลงในขอนแก่น อุดรธานี และโคราชดูน่าสนใจ เวลานี้จึงถือเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ สำ�คัญของอีสาน ซึ่งถึงแม้ว่าเรายังไม่รู้ว่าภูมิภาคนี้ จะมุ่งหน้าไปในทิศทางไหน สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนก็คือนี่ เป็นเวลาที่เหมาะจะไปเที่ยวอีสานที่สุดแล้ว
Essentials
คอฟฟี่ เด้อ หล่า
สาขาโอโซนวิลเลจ 238/8 ถ.เทพารักษ์ ขอนแก่น โทร. 087-854-9922 www.fb.com/coffeederlakk
ซาหมวย & Sons
133/25 ถ.โพนพิสยั ต.หมากแข้ง อุดรธานี โทร. 086-309-6685 www.fb.com/samuaynsons
บ้านระรี
4/8 ถ.โพศรี ต.หมากแข้ง อุดรธานี โทร. 081-260-1333 www.baanrare.com 42
OPTIMISE | OCTOBER 2015
ภูนาคำ� รีสอร์ท
461 หมู่ 3 บ้านเดิน่ ต.ด่านซ้าย เลย โทร. 042-892-005 www.phunacomeresort. com
สุพรรณิการ์ โฮม บูตคิ ไฮอะเวย์
130/9 ถ.โพธิสาร ต.ในเมือง ขอนแก่น โทร. 089-944-4880 www.supannigahome. com
Blue Jays Burger 180/1 ถ.มะลิวลั ย์ ต.ในเมือง ขอนแก่น โทร. 098-584-287 www.fb.com/great canadianbluejays C’est Si Bon 1849/25-27 ถ.สืบศิริ นครราชสีมา โทร. 044-353-525 www.fb.com/cestsibon.th Class Cafe’ 174/2 ถ.จอมสุรางค์ยาร์ต ต.ในเมือง นครราชสีมา
โทร. 044-400-7277 www.class.coffee Dose Espresso 106/40 อาคารราชพัสดุ ตลาดธนารักษ์ อุดรธานี โทร. 092-991-9225 www.doseespressoth. com Fika ถ.ช้างเผือก ซอย 6 ต.ในเมือง นครราชสีมา โทร. 062-139-2699 www.fb.com/welovefika
The Concept Aromatic Thai Cuisine 192 ถ.มะลิวลั ย์ ต.บ้านเป็ด ขอนแก่น โทร. 094-512-8685 www.fb.com/concept. khonkaen Yellow Pumpkin ตรอกสำ�ราญจิตร์ ถ.จอมพล ตัดกับถนนอัษฎางค์ นครราชสีมา โทร. 098-221-2001 www.fb.com/yellowpump kincafe OPTIMISE | OCTOBER 2015
43
THE GOOD LIFE
Harder, Faster, Stronger
01
เมื่อการยกนํ้าหนักและลู่วิ่งเริ่มเป็นเรื่องง่ายเกินไป บรรดา ผู้บริหารและชาวออฟฟิศรุ่นใหม่จึงหันมาใช้กีฬาอย่าง มาราธอน ครอสฟิต และไตรกีฬา เพือ่ สร้างสุขภาพและความ เป็นเลิศให้กบั ตัวเอง เดี๋ยวนี้เป็นเรื่องไม่แปลกเลยที่กิจกรรมวิ่งใน กรุงเทพฯ จะมีคนลงทะเบียนเต็มตั้งแต่ 1 เดือนหรือ 2 เดือนล่วงหน้า ทั้งๆ ที่กิจกรรมวิ่งก็มีอยู่ไม่ได้ขาด อย่าง เฉพาะในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนนี้ กรุงเทพฯ จะ มีงานวิ่งถึง 5 งานด้วยกัน คือ The Color Run, Nike We Run, Bangkok Marathon, UN Day Run และ The Music Run เรียกได้ว่า ยุคสมัยที่การสมัครสมาชิก ฟิตเนสเป็นยาครอบจักรวาลหนึ่งเดียวสำ�หรับแก้โรค ออฟฟิศซินโดรมได้หมดไปแล้ว เช่นเดียวกับความคิด เก่าๆ ที่ว่าการออกไปวิ่งข้างนอกให้ผิวคลํ้าและรองเท้า เปรอะนั้นถือเป็นเรื่องแปลกประหลาด ตรงกันข้าม เดี๋ยวนี้ เหล่ามนุษย์ออฟฟิศพากันกระเหี้ยนกระหือรือที่ จะได้แข่งความฟิตกับคนอื่นไม่ว่าจะในการแข่ง ไตรกีฬาหรือชั้นเรียนครอสฟิต จนกีฬาที่มีการแข่งขัน ทั้งหลายพากันได้รับความนิยมแบบแทบจะเรียกได้ว่า นี่คือการ ‘จ็อกกิ้ง’ ของคนยุคใหม่ทีเดียว
เหนือกว่าความสำ�เร็จ
01 นั ก ปั ่ น บี ้ เ ข้ า โค้ ง ในการแข่ ง หั ว หิ น ไตรกี ฬ า
02
02 นั ก กี ฬ าไตรกี ฬ าแข่ ง ว่ า ยนํ ้ า กั น อย่ า ง ดุ เ ดื อ ด 03 แดน เรมอน แห่ ง ศู น ย์ ฟ ิ ต เนส Aspire
44
OPTIMISE | OCTOBER 2015
03
แดน เรมอน เจ้าของศูนย์ฟิตเนส Aspire ผู้ก่อตั้งบริษัท Fitcorp Asia และครูฝึกกีฬาครอสฟิต แบบมีใบรับรอง กล่าวว่า การที่คนออฟฟิศหันมานิยม เล่นกีฬาที่มีการแข่งขันนั้นเป็นเรื่องธรรมดาอย่างยิ่ง เพราะนี่คือธรรมชาติของคนที่มี ‘บุคลิกภาพแบบ A (type A personality)’ ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือพวกทำ�งาน เก่งๆ “กีฬาประเภทนี้เป็นเหมือนภาพสะท้อนของคนที่ มุ่งมั่น ทะเยอทะยาน และต้องการประสบความสำ�เร็จ เพราะจะว่าไปความสำ�เร็จก็เป็นเรื่องของสุขภาพที่ดี กำ�ลังที่สมบูรณ์ และก็การบริหารจัดการพลังงานให้ เหมาะสม ไม่แปลกที่ผู้บริหารที่มุ่งมั่นจะเป็นพวกชอบ แข่งขัน” กระแสการพัฒนาตนเองนี้เกิดขึ้นพร้อมกับกระแส การดูแลสุขภาพโดยทั่วๆ ไป ข้อมูลสำ�รวจชี้ว่า ในปี 2550 มีคนไทยกว่า 260,000 คนเล่นฟิตเนสในศูนย์
800 แห่งทั่วประเทศ ต่อมาในปี 2554 จำ�นวนคนที่ เป็นสมาชิกศูนย์ฟิตเนสได้เพิ่มขึ้นสูงถึง 546,000 คน โดยกระจายไปตามศูนย์ฟิตเนสที่เพิ่มขึ้นเป็น 1,011 แห่งทั่วประเทศ ปัจจุบัน ตามข้อมูลของ International Health, Racquet & Sportsclub Association หรือ IHRSA อุตสาหกรรมฟิตเนสในประเทศไทยมีมูลค่า อย่างน้อย 1.1 หมื่นล้านบาท กระนั้น ในขณะที่ยอด สมัครฟิตเนสเพิ่มมากขึ้น ขาฟิตเนสหลายคนก็เริ่มเบื่อ กิจวัตรเดิมๆ ที่มีแต่จ็อกกิ้งและยกเวทมากขึ้นทุกที แชมป์-ศิรเดช โทณวณิก เป็นที่รู้จักมากที่สุดใน ฐานะผู้ร่วมจัดงานเทศกาลดนตรี Wonderfruit และ ผู้อำ�นวยการฝ่ายการลงทุนโรงแรมของบริษัทดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล แต่นอกจากนี้ เขายังเป็นนัก ไตรกีฬาตัวยงอีกด้วย แชมป์เล่าว่า “ตอนเรียนอยู่ มหาวิทยาลัยก็ชอบไปออกกำ�ลังกายในยิมอยู่แล้ว แต่ไม่ได้รู้สึกอะไรมากมาย แต่พอเวลาวิ่ง 90 กิโลเมตร แล้วหันไปทางไหนก็มีแต่คนวิ่งแข่งด้วยข้างละอย่าง น้อยสามคนนี่ทำ�ให้รู้สึกดีมากๆ เรื่องวิ่งถึงเส้นชัยยิ่งไม่ ต้องพูดถึง” แดน เรมอน กล่าวว่า จำ�นวนคนสมัครเข้า คลาสเรียนครอสฟิตที่แอสปายร์ได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่โปรแกรมครอสฟิตถือว่า มีความท้าทายอย่างยิ่ง ทั้งนี้ ในขณะที่นักวิจารณ์มัก ตำ�หนิกีฬานี้อย่างรุนแรงว่าทำ�ให้ผู้เล่นสะบักสะบอม เกินควร เนื่องจากเป็นกีฬาที่ผนวกการออกกำ�ลังกาย แบบฝึกกล้ามเนื้อและคาร์ดิโอเข้าด้วยกันอย่าง เข้มข้น แต่บรรดาสาวกครอสฟิต หรือที่เรียกกันว่า ‘ครอสฟิตเตอร์’ กลับชื่นชมกีฬานี้อย่างมาก เพราะ เป็นกีฬาที่ได้ใช้วิธีออกกำ�ลังสารพัดแขนง สามารถวัด ระดับเพื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานของโลกได้ อีกทั้ง ยังเห็นผลอย่างรวดเร็ว
OPTIMISE | OCTOBER 2015
45
THE GOOD LIFE 04 บอยฝึ ก หนั ก ใน ชั ่ ว โมง Crossfit ก่ อ นไปทำ � งาน
04
05 แชมป์ ม ุ ่ ง มั ่ น กั บ การ ปั ่ น จั ก รยานในการ แข่ ง ขั น Laguna Phuket Triathlon 2014 06 ออยลี ่ ใ นขบวน จั ก รยานซ้ อ มปั ่ น ทาง ไกลจากกรุ ง เทพฯ ไปอยุ ธ ยา
ครอสฟิตเป็นกีฬาที่เน้นความเข้มข้น ไตรกีฬาเน้นความ อึด แต่ทั้งสองกีฬาเหมือนกันตรงที่ว่ามันเทสต์ว่าคุณ ทนความเจ็บปวดได้ขนาดไหน แข่งแต่ละครั้งนี่เราจะได้ เรียนรู้อะไรเยอะ สำ�นวน What doesn’t kill you makes you stronger นี่เราซึ้งเลย แดนเห็นว่าสิ่งที่น่าสนใจของกีฬาครอสฟิตคือ “ครอสฟิตดึงดูดคนที่มีคุณลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่ง คือคนที่มุ่งมั่น มีวินัย และเล็งผลสำ�เร็จ ในครอสฟิต ไม่มีใครแข่งกับใคร ทุกคนแข่งกับเวลา แข่งกับสถิติ เก่าของตัวเอง แล้วใช้สิ่งเหล่านี้เป็นแรงผลักดัน”
ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป
06
Credit MJ Athlethic Studio
05
Essentials Aspire 384/2 ตึกแอสปายร์ ถนนสุขมุ วิท กรุงเทพฯ โทร. 02-229-4114 www.theaspireclub.com Bangkok Marathon 15 พ.ย. www.bkkmarathon.com
46
OPTIMISE | OCTOBER 2015
Crossfit TEN500 2 อาคารเคซีซี ซอยสีลม 9 ถนนสีลม กรุงเทพฯ โทร. 081-869-9679 www.crossfitten500.com
Music Run 7 พ.ย. www.themusicrun.com/ country/thailand
The Color Run 31 ต.ค.-1 พ.ย. www.fb.com/thecolorrun thailand UN Day Run 25 ต.ค. www.fb.com/amazing fieldrunning
ด้วยความเบื่อหน่ายจากการเล่นเครื่อง ยกนํ้าหนักซํ้าแล้วซํ้าเล่า บวกกับผลการเช็คสุขภาพ เมื่อย่างเข้าสู่วัยกลางคน บอย-สิทธิกุล บุญอิต จึงได้ เปลี่ยนมาเล่นครอสฟิตที่ Crossfit TEN500 เมื่อ 2 ปี ก่อน เขาพูดถึงการออกกำ�ลังกายแบบธรรมดาที่เขา เคยเล่นว่า “น่าเบื่อมาก จนเพื่อนผมคนหนึ่งแนะนำ� ให้ผมลองเล่นครอสฟิต ปรากฏว่าชอบมาก” ทุกวันนี้ บอย รองประธานจัดงาน Bangkok’s International Festival of Dance & Music ที่ออก กำ�ลังกาย 5 วันต่อสัปดาห์ วันละ 2 ชั่วโมง และออก ไปวิ่งสั้นๆ 5 กิโลเมตรในวันหยุด เล่าว่าเคยกังวล เรื่องคุมอาหาร แต่พอได้เล่นครอสฟิต ก็พบว่าตัวเอง เริ่มได้อภิสิทธิ์ในการกินอะไรตามใจปาก เพราะว่า “กินเข้าไปกี่แคลอรี่ วันต่อไปก็เผาผลาญหมดอยู่ดี” ระหว่างฝึกยกนํ้าหนักเพื่อเตรียมแข่งครอสฟิต ในประเทศเกาหลีใต้ ออยลี่-ศุภราภรณ์ อัศวทิพย์ไพบูลย์ ประสบอุบัติเหตุจนเอ็นข้อไหล่ อักเสบ ซึ่งปวดรุนแรงขนาดยกปากกายังไม่ได้ เธอจึงหันไปวิ่งแทน ซึ่งปรากฏว่าเป็นถึงการวิ่ง อัลตร้ามาราธอน 50 กิโลเมตร แต่ยิ่งกว่านั้น ต่อมา เธอค่อยๆ แปรความมุ่งมั่นที่เธอมีต่อกีฬาครอสฟิต ให้กลายมาเป็นความสนใจในกีฬาวิ่ง ปั่นจักรยาน และว่ายนํ้า จนในที่สุด เธอได้ลงแข่งมินิไตรกีฬา ครั้งแรก (หรือที่เรียกว่า Triathlon Dash) ซึ่ง ประกอบไปด้วยการว่ายนํ้า 400 เมตร ปั่นจักรยาน 20 กิโลเมตร และวิ่งอีก 5 กิโลเมตร หลังจากนั้น ออยลี่ ซึ่งทำ�งานเป็นผู้จัดการที่ ศิวาลัย เพลส และศิวาลัย คลับเฮ้าส์ ได้เล่าว่า “เราได้ลงแข่งอีกหลายครั้ง ได้พบคนหลายคนมากๆ ที่ชอบอะไรเหมือนกัน เก่งกีฬาชนิดหนึ่งนี่ว่ายากแล้ว แต่เก่งกีฬาสามชนิดนี่เป็นอะไรที่หฤโหดมาก แถมอะไรก็เกิดขึ้นได้ในวันแข่ง” ออยลี่กล่าวว่า ถึงแม้กีฬาครอสฟิตจะเล่นยาก แต่ไตรกีฬานั้นก็ท้าทายพอๆ กัน ถึงจะสำ�หรับคน บ้าฟิตเนสอยู่แล้วก็ตาม “ครอสฟิตเป็นกีฬาที่เน้น ความเข้มข้น ไตรกีฬาเน้นความอึด แต่ทั้งสองกีฬา
เหมือนกันตรงที่ว่ามันเทสต์ว่าคุณทนความเจ็บปวด ได้ขนาดไหน แข่งแต่ละครั้งนี่เราจะได้เรียนรู้อะไร เกี่ยวกับตัวเองเยอะ สำ�นวน What doesn’t kill you makes you stronger นี่เราซึ้งเลย” สำ�หรับมาร์ค-อมฤต ศุขะวณิช แรงขับเคลื่อนที่ ทำ�ให้เขาและภรรยาหันมาลองเล่นไตรกีฬา คือ ความต้องการผลักดันตนเองให้ถึงขีดสุด มาร์คบอก ว่า “ความจริงภรรยาผมคือคนที่อยากลองไตรกีฬา ไม่ใช่ผม เธอตั้งใจและมุ่งมั่นมาก เป็นแรงบันดาลใจ ของผมเลย” ทั้งสองเริ่มจากการลงแข่งมินิไตรกีฬา (Tri Dash) ก่อนแล้วจึงลงแข่งระยะโอลิมปิก (Olympic Distance Triathlon) และในที่สุดก็ลงแข่ง สนามลากูน่าภูเก็ต (Laguna Phuket Triathlon) ได้ภายในสิ้นปี 2555 ตั้งแต่นั้นมา ทั้งคู่ได้ลงแข่ง ไตรกีฬาระยะครึ่งคนเหล็ก (Half Ironman Triathlon) ที่จัดขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์และ ออสเตรเลีย และในอนาคตมีแผนจะลงแข่งระยะ คนเหล็กเต็มตัว (Ironman Triathlon) ครั้งแรกด้วย เนื่องด้วยมาร์คทำ�งานเป็นประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บริษัท ซีทีเอช จำ�กัด เขาจึงมีเวลาออกกำ�ลัง กายเพียง 3 หรือ 4 วันต่อสัปดาห์เท่านั้น แทนที่ จะเป็น 6 วันอย่างปรกติ อย่างไรก็ตาม มาร์คก็ได้ พยายามใช้เวลาไม่กี่วันนั้นอย่างเต็มที่ โดยจัดตาราง วันหยุดสุดสัปดาห์ให้ได้ออกกำ�ลังกายตั้งแต่ 4 ถึง 8 ชั่วโมง มาร์คเชื่อว่าตารางออกกำ�ลังกายเช่นนี้ อย่างน้อยก็มีข้อดีอยู่อย่างหนึ่ง “ผมเลิกไดเอทตั้งแต่ ปี 2555 ซึ่งเป็นตอนที่เริ่มฝึกไตรกีฬาแล้ว ผมกิน อะไรก็ได้ เท่าไหนก็ได้ ยิ่งบางอาทิตย์ที่ปั่นจักรยาน แล้วนํ้าหนักลงเยอะเกินไป ตอนนั้นยิ่งต้องฝืนกินให้ เยอะขึ้นเลยด้วยซํ้า”
ร่วมชุมชนคนฟิต
ถ้าเปรียบเทียบการแข่งขันกีฬากับการก้มหน้า ก้มตาเข้ายิมแล้วก็จะเห็นได้ว่าการแข่งขันกีฬามี ความเป็นสังคมสูงกว่ามาก โดยสำ�หรับพลภัทร อัครปรีดี หรือพอล อาร์ค ถ้าไม่นับเรื่องที่เขาเป็น นักลงทุนอิสระหรือ ‘แองเจิล อินเวสเตอร์’ ในบริษัท แองเจิลเวสต์แล้ว พอลยังเป็นผู้อำ�นวยการโครงการ Amazing Maasai Girls Project ซึ่งช่วยระดมเงิน เพื่อมอบเป็นทุนการศึกษาให้แก่เด็กผู้หญิงชนเผ่ามา ไซในเคนย่า โดยผ่านการจัดงานวิ่งฮาล์ฟ มาราธอน ฟูล มาราธอน และอัลตร้า มาราธอนทุกปีด้วย “ถึงงานนี้จะมีนักวิ่งขาโหดเข้าร่วมเยอะมาก
แต่ก็มีนักวิ่งสมัครเล่นเข้าร่วมเยอะอยู่เหมือนกัน ซึ่งพวกนี้จะแข็งแรงธรรมดา ไม่ถึงขั้นนักวิ่งโอลิมปิก แต่ก็มาวิ่งแบบฮาล์ฟ ฟูล หรืออัลตร้า มาราธอนแล้ว พอได้มาอยู่กับนักวิ่งธรรมดาแบบนี้เรื่อยๆ ทำ�ให้ ผมมีข้ออ้างไม่ได้เลยว่าทำ�ไมจะไม่วิ่ง หรือไม่รักษา สุขภาพตัวเองให้ดี” พอลเล่า เนื่องจากได้เห็นเพื่อนวัยเด็กอายุเลขสี่หลายคน สามารถวิ่งฮาล์ฟ มาราธอนได้สำ�เร็จ พอลก็ตัดสิน ไถ่บาปชีวิตที่มีแต่การนั่งๆ นอนๆ และกินอาหารขยะ ปีแล้วปีเล่า โดยตั้งใจว่าจะเข้าร่วมฮาล์ฟ มาราธอน ครั้งแรก ถ้าโครงการ Amazing Maasai Marathon ของเขาอยู่ได้ถึง 3 ปี ปรากฏว่าเขาก็ได้ทำ�สำ�เร็จ จริงๆ เมื่อปีกลาย ซึ่งช่วยให้เขายิ่งรักการวิ่ง และนำ� ไปสู่การวิ่งฮาล์ฟ มาราธอนอีกถึง 3 ครั้ง ทั้งยังมีแผน ฝึกวิ่งเพื่อลงแข่งรายการ 5K และ 10K ด้วย เนื่องจากเราอยู่ในปี 2558 กันแล้ว โซเชียลมีเดีย จึงมีบทบาทอย่างมากในการสร้างชุมชนนักกีฬาและ ถ่ายทอดเรื่องราวความสำ�เร็จระหว่างนักกีฬาด้วยกัน พอลเองก็ใช้เทคโนโลยีเพื่อทำ�ให้การออกกำ�ลังกาย ของเขาเป็นไปตามตารางฝึกสมกับที่เคยทำ�งานกับ บริษัทแอปเปิ้ลและบริษัทไมโครซอฟท์มาก่อน “ผม เป็นพวกบ้าตัวเลขและข้อมูล จึงได้ชอบใช้แอปที่ช่วย บันทึกสถิติการวิ่ง และช่วยติดตามหรือช่วยพัฒนา ให้ผมมีจังหวะการวิ่งหรือระยะทางดีขึ้น พอจัดการ การฝึกได้ตามแผนเรื่อยๆ มันจะรู้สึกยิ่งใหญ่มาก แถมโซเชียล มีเดียยังช่วยให้เราโม้พัฒนาการตัวเอง ให้คนอื่นรู้ได้ ซึ่งนอกจากจะทำ�ให้เรารู้สึกดีและภูมิใจ แล้ว คนอื่นก็ยังเข้ามาให้กำ�ลังใจด้วย” แชมป์-ศิรเดช โทณวณิก ก็ไม่เขินต่อการโอ้อวด ผ่านโซเชียลมีเดียเป็นครั้งคราวบ้างเหมือนกัน เช่น หลังจากจบการแข่งไตรกีฬาที่ต้องว่ายนํ้า วิ่ง และ ปั่นจักรยาน รวม 113 กิโลเมตร แชมป์ก็ได้เขียน สเตตัสในเฟสบุ๊คของตัวเองว่า “Ironman 70.3 ที่ Cebu บรรยากาศดีมาก คนมาเชียร์เพียบ เข้าเส้นชัย เป็นคนที่ 236 จากประมาณ 2,500 คน…พร้อมแล้ว สำ�หรับงานแข่งครั้งสุดท้ายของปีในอีก 2 อาทิตย์ที่ หัวหิน” อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผลักดันให้เขารักไตรกีฬา จริงๆ ก็คือสังคมนักกีฬาที่เป็นสังคมระดับโลก แชมป์บอกกับเราว่า “ตอนไปแข่งที่เซบู ผมรู้สึก เชื่อมโยงกับผู้คนรอบข้างมากๆ หันไปมองรอบตัว แล้วได้เห็นคนที่มาลงแข่งอะดรีนาลีนเต็มพอๆ กับ เราเพราะฝึกกันมาเป็นเดือนทั้งนั้น มันสุดยอดมาก” แชมป์เตือนว่าการฝึกอาจจะน่าเบื่อหน่ายและ ต้องใช้เวลาเยอะ ยังไม่ต้องนับค่าใช้จ่ายอีก 4-5 หมื่นบาท เป็นค่าจักรยานสำ�หรับใช้แข่งอีกด้วย ดังนั้น สังคมระหว่างนักกีฬาด้วยกันจึงเป็นกุญแจ สำ�คัญที่จะช่วยให้นักกีฬาไม่หลุดวงโคจรไป ดังที่เขา กล่าวว่า “ไตรกีฬาจริงๆ เป็นกีฬาประเภททีมนะ ตอนลงแข่งอาจจะแข่งคนเดียว แต่จริงๆ แล้วคุณ เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคนที่ฝึกมาด้วยกัน มาวิ่งแล้ว ผมเจอคนเจ๋งๆ ไม่น้อยเลย พวกนี้เป็นเพื่อนที่ผม คบไปได้ชั่วชีวิต” OPTIMISE | OCTOBER 2015
47
THE FAST LANE
01
รถคาเฟ่ เรเซอร์ดีๆ จะถูก แต่งด้วยความประณีตใส่ใจ แบบที่ชวนให้นึกถึงยุคจิ๊กโก๋ มอเตอร์ไซค์ครองเมือง ไม่ว่าจะเป็นเบาะหนังแบบ สั่งตัด การลงสีตราประจำ� แก๊งด้วยมือ และความงาม อันเรียบง่ายอื่นๆ ที่พร้อม สำ�หรับการพลิกท้องถนน ให้ลุกเป็นไฟ
Café Culture มอเตอร์ไซค์ ‘cafe racers’ รุกคืบสู่ ท้องถนนของกรุงเทพฯ ด้วยความสวย ย้อนยุคแกมดุดนั ทีม่ าพร้อมเสน่หแ์ ห่งการ แต่งรถทีไ่ ม่ซา้ํ ใคร ทุกๆ วันเสาร์นกั บิดมอเตอร์ไซค์ราวๆ ร้อยคันจะมารวมพลกันทีต่ ลาดนัดรถไฟ ซึง่ เป็นตลาดนัดธีมวินเทจในกรุงเทพฯ นัก บิดเหล่านีล้ ว้ นใส่กางเกงยีนส์ โพกหัวและ สวมเรย์แบนส์ยคุ เก่าบังหน้าเกือบมิด จน แม้ในยามทีพ่ วกเขาถอดหมวกกันน็อค แบบเปิดคางออก เราก็แทบจะเห็นแต่ เพียงผมทีจ่ ดั ทรงมาอย่างดีเท่านัน้ สำ�หรับ คนไม่รอู้ โิ หน่อเิ หน่ นักบิดกลุม่ นีอ้ าจทำ�ให้ นึกถึงแก๊งนักเลงมอเตอร์ไซค์นสิ ยั กร่าง อย่างเช่นกลุม่ ‘เฮลส์ แองเจิลส์’ หรือกลุม่ ‘บันดิโดส’ ของสหรัฐอเมริกาซึง่ มีสมาชิก กว่า 2,500 คนใน 13 ประเทศมากกว่า อะไรทัง้ หมด
โหยหาความงามวันวาน
แต่ในความเป็นจริงนักบิดกลุม่ นีไ้ ม่มี อะไรทีอ่ นั ธพาลเลย เพราะแม้ภายนอกจะ มีลคุ ดิบไปบ้าง แต่คนเหล่านีม้ าพบกันก็ เพียงเพือ่ จะ ‘เนิรด์ ’ เรือ่ งมอเตอร์ไซค์สมัย ปูท่ ผ่ี ลิตออกมาเมือ่ 30-40 ปีทแ่ี ล้วเท่านัน้ พวกเขาจะตืน่ เต้นตาลุกตาวาวไปกับงาน เชือ่ มโลหะเนีย้ บๆ คาร์บเู รเตอร์รนุ่ หายาก หรือไม่กร็ ะบบเกียร์แมน่วล ทีต่ อบสนอง ดีๆ ข้างนอกบาร์ธมี เรโทรแถวตลาดนัด รถไฟนี้ เราจะเห็นไทรอัมฟ์ ฮอนด้า และคาวาซากิ รุน่ เก่าจอดเรียงกันเป็น แถว แต่ทม่ี เี ยอะทีส่ ดุ เห็นจะเป็น Yamaha SR400 เครือ่ งยนต์สบู เดียวสีจ่ งั หวะ ซึง่ ได้ รับความนิยมอย่างมากเนือ่ งจากเป็นรถรุน่
48
OPTIMISE | OCTOBER 2015
ทีม่ อี ะไหล่ให้เลือกมากมาย จนนักบิดไม่ ต้องกลัวว่าแต่งจักรยานยนตร์รนุ่ นีอ้ อกมา แล้วจะมีรปู ลักษณ์หรือเสียงคำ�รามเหมือน กับคนอืน่ อันทีจ่ ริงการชุมนุมของเหล่า นักบิดก็มสี าระอยูต่ รงนีเ้ อง คือมาดูวา่ คน อืน่ เขาแต่งรถกันอย่างไร ในปีน้ี ยามาฮ่าเพิง่ ปล่อยเจ้า SR400 ออกมาสูต่ ลาดอีกครัง้ หากพินจิ โดย ละเอียดก็จะเห็นว่ามอเตอร์ไซค์รนุ่ นีไ้ ม่ ได้ดนู า่ ตืน่ เต้นอะไร ซึง่ ก็ไม่นา่ แปลกใจ สำ�หรับมอเตอร์ไซค์ทเ่ี ปิดตัวครัง้ แรกมา ตัง้ แต่ปี 1978 แต่อะไรคือเหตุผลทีท่ �ำ ให้ มอเตอร์ไซค์รนุ่ เก่าอายุเหยียบ 40 ปีนถ้ี กู นำ�ออกมาโละฝุน่ และนำ�กลับไปตัง้ ใน โชว์รมู อีกครัง้ คำ�ตอบก็คอื สิง่ ทีเ่ รียกว่า วัฒนธรรม ‘café racer’ นัน่ เอง คาเฟ่ เรเซอร์เป็นคำ�เรียกรถมอเตอร์ไซค์ยโุ รป และญีป่ นุ่ ในช่วงยุค 60’s และ 70’s ทีถ่ กู แต่งเพือ่ ใช้แข่ง แต่สง่ิ ทีแ่ ต่งนัน้ กลับ เพิม่ ความเท่ให้กบั รถอย่างบอกไม่ถกู รถคาเฟ่ เรเซอร์ดๆี จะถูกแต่งด้วยความ ประณีตใส่ใจแบบทีช่ วนให้นกึ ถึงยุคจิก๊ โก๋ มอเตอร์ไซค์ครองเมือง ไม่วา่ จะเป็นเบาะ หนังแบบสัง่ ตัด การลงสีตราประจำ�แก๊ง ด้วยมือ และความงามอันเรียบง่ายอืน่ ๆ ทีพ่ ร้อมสำ�หรับพลิกท้องถนนลุกเป็นไฟ เนือ่ งจาก SR400 เป็นเสมือนไอคอน ของรถคาเฟ่ เรเซอร์นเ่ี อง Half Caste Creations ผูเ้ ชีย่ วชาญการแต่งรถคาเฟ่
02
03
02 ก๊ ว นคาเฟ่ เรเซอร์ ท ี ่ ตลาดนั ด รถไฟ รั ช ดา
เรเซอร์ของกรุงเทพฯ จึงได้เลือกใช้ SR400 เป็น โครงของผลงานแต่งชือ่ Reptilia โดยเปิดตัวไป เมือ่ ปีทแ่ี ล้วในงาน Le Cabinet de Curiosités de Thomas Erber ทีห่ า้ งเซ็นทรัล เอ็มบาสซี ซึง่ เป็นโอกาสทีบ่ รรดานักสร้างสรรค์อนาคตไกลจะ ได้น�ำ ผลงานชนิด ‘ชิน้ เดียวในโลก’ ของตัวเองมา แสดงควบคูก่ บั สุดยอดงานฝีมอื จากช่างแต่งชัน้ เลิศของยุโรป ในงานนี้ ความลงตัวระหว่าง ส่วนโค้งเว้าได้จงั หวะและถังแก๊ซทรงหยดนา้ํ ตา หุม้ หนังจระเข้แดนสยามสีด�ำ ขลับของเรปทิเลีย ถือเป็นเครือ่ งแสดงฝีมอื อันสุดยอดของฮาล์ฟ คาสท์ ครีเอชัน่ ส์ได้เป็นอย่างดี แต่แน่นอน ความ สำ�เร็จนีไ้ ม่ได้เกิดเพียงชัว่ ข้ามคืน ริชาร์ด ไคล์ ผูร้ ว่ มก่อตัง้ ได้พดู ถึงความสำ�เร็จของฮาล์ฟ คาสท์ ครีเอชัน่ ส์วา่ “การทีก่ ระแสวัฒนธรรมสตรีทเริม่ มาแรง ได้ชว่ ยให้วฒ ั นธรรมมอเตอร์ไซค์คอ่ ยๆ กลับมา อยูแ่ ล้ว ทีย่ ากคือ ในช่วงแรกๆ การพยายามขาย คุณภาพจริงๆ เป็นเรือ่ งยากมาก แต่ตอนนีด้ ขี น้ึ แล้ว เดีย๋ วนีเ้ รามี waiting list และก็มงี านเข้ามา เรือ่ ยๆ ซึง่ แสดงว่าวงการมอเตอร์ไซค์เริม่ ปักหลัก ได้แล้ว”
03 Ducati Scrambler
ขยายแก๊ง
01 มอเตอร์ ไ ซค์ ของ Half Caste Creations
นอกจากนีย้ งั มีหลักฐานอีกมากทีแ่ สดงให้ เห็นว่าวัฒนธรรมคาเฟ่ เรเซอร์ ยังเติบโตได้อกี มหาศาล แม้ตอนนีร้ ชิ าร์ดจะกลับอินโดนีเซียไป แล้ว แต่เดนนิส คาร์ลสัน หุน้ ส่วนของริชาร์ด ยังคงทำ�กิจการฮาล์ฟ คาสท์ ครีเอชัน่ ส์ ต่อ และ ยังได้เปิดร้านใหม่ทใ่ี หญ่ขน้ึ บนถนนสุโขทัย
ยิง่ กว่านัน้ ถึงวัฒนธรรมคาเฟ่ เรเซอร์จะเกิดจาก ช่างแต่งอิสระอย่างฮาล์ฟ คาสท์ ครีเอชัน่ ส์ แต่แบรนด์มอเตอร์ไซค์ยกั ษ์ใหญ่กช็ กั เริม่ สนใจ ตลาดนีแ้ ล้วเช่นกัน “วงการมอเตอร์ไซค์ตอนนีม้ นั เหมือนผ้าใบ ทีข่ งึ รออยูแ่ ล้ว ทีนก้ี ข็ น้ึ อยูก่ บั ว่าคนจะวาดอะไร ใหม่ๆ ลงไป อย่างพวกบริษทั ใหญ่ๆ เขาก็เริม่ เห็นหมดแล้ว เขาทุม่ กับตลาดรถคาเฟ่เรโทรมาก จนเดีย๋ วนีด้ เู หมือนเขาเป็นคนนำ�กระแส ไม่ใช่ ร้านเล็กร้านน้อยอย่างพวกเราแล้ว” ริชาร์ดบอก อันทีจ่ ริง ไม่ใช่มแี ต่ยามาฮ่าแบรนด์เดียว ทีป่ ล่อยรถยุค 70s ออกมาวางจำ�หน่ายอีกครัง้ บีเอ็มดับเบิลยู ได้เปิดตัวรถรุน่ R nineT และ ไทรอัมพ์กไ็ ด้น�ำ Thruxton กลับมา ซึง่ พวกนี้ ล้วนแต่เป็นรถรุน่ ลายครามทัง้ นัน้ ยิง่ กว่านัน้ ในเมืองไทยตอนนี้ ดูคาติซง่ึ ปกติจะเป็นทีร่ จู้ กั กัน แต่ในเรือ่ งสร้างมอเตอร์ไซค์สายแข่งนา้ํ หนักเบา ทีเ่ น้นสมรรถภาพและความเร็ว ก็ก�ำ ลังผลิตรถรุน่ Scrambler อันเป็นมอเตอร์ไซค์ส�ำ หรับคนเพิง่ เริม่ เล่นทีต่ ง้ั ใจเลียนแบบมอเตอร์ไซค์รนุ่ เก่าของ บริษทั ช่วงท้ายยุค 60s ต่อยุค 70s อันเป็น ยุคทองของวัฒนธรรมมอเตอร์ไซค์ในอิตาลี อีกด้วย ปรากฏว่าพอสแครมเบลอร์วางจำ�หน่าย แล้ว ในกรุงเทพฯ ก็มรี า้ นขายเสือ้ ผ้าสำ�หรับคน ขีส่ แครมเบลอร์ผดุ ขึน้ มาเต็มไปหมด เช่นเสือ้ แจ็คเก็ตหนังทำ�เก่า และแว่นตากันลม ซึง่ รวม กันเป็นสไตล์ทด่ี คู าติเองตัง้ ชือ่ ให้วา่ เก่าจนใหม่ หรือ ‘post-heritage’ แสดงให้เห็นว่าผูผ้ ลิตรถ
มอเตอร์ไซค์รายใหญ่เริม่ สร้างตลาดของสาวกขึน้ มาได้เหมือนกับทีพ่ วกคาเฟ่ เรเซอร์เคยทำ� และก็ กำ�ลังหาเงินได้มากมายจากตลาดนี้ ซึง่ เป็นตลาด ของไลฟ์สไตล์ไปแล้ว ความรักครัง้ ใหม่ของคนไทยกับวัฒนธรรม คาเฟ่ เรเซอร์นด้ี งึ ดูดความสนใจจากต่างประเทศ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะจากออสเตรเลียซึง่ มี วัฒนธรรมคาเฟ่ เรเซอร์มายาวนาน ดังจะเห็น ได้จาก Deus Ex Machina แบรนด์ไลฟ์สไตล์ ของผูช้ น่ื ชอบการโต้คลืน่ และมอเตอร์ไซค์ (ซึง่ ได้สร้างชือ่ ประดับวงการในฐานะผูส้ ร้างรถ คาเฟ่ เรเซอร์ดไี ซน์ดทุ ส่ี ดุ ในโลก และก็ขยาย ร้านไปตามเมืองใหญ่อย่างบาหลี โตเกียว ลอสแองเจลิส และมิลานมาแล้ว) กำ�ลังมีเป้าที่ จะมากรุงเทพฯ ทัง้ นี้ แม้รา้ น The Deus Garage and Gallery จะยังไม่ได้เปิดอย่างเป็นทางการ แต่ระยะหลังนี่ เดอุส เอ็กส์ มาคีนาก็ได้สร้าง กระแสในกรุงเทพฯ มาโดยตลอด โดยล่าสุดได้ นำ�รถคาเฟ่ เรเซอร์ของตนไปตัง้ โชว์ทต่ี ลาดนัด สินค้าวินเทจ Made By Legacy และร้านเสือ้ ผ้า American Rag Cie ในโซนกรูฟ๊ ทีเ่ ซ็นทรัลเวิลด์ ชายยุทธ ยุทธวรเดชกุล ตัวแทนแบรนด์ทก่ี �ำ ลัง มาแรงแบรนด์น้ี เห็นว่าตอนนีเ้ ป็นเวลาทีส่ กุ งอม ทีส่ ดุ สำ�หรับแนะนำ�คนกรุงเทพฯ ให้รจู้ กั กับวิถี ของเดอุส เอ็กส์ มาคีนา “ลัทธิแต่งรถกำ�ลังมาแรง และแบรนด์ เดอุสฯ ก็เหมาะมากกับคัลท์อย่างนี้ เรามีคนที่ สนใจไลฟ์สไตล์แบบเดอุสฯ อยูเ่ ยอะ ตัง้ แต่ศลิ ปะ ดนตรี ไปจนการแต่งรถ มอเตอร์ไซค์นา่ จะขายดี OPTIMISE | OCTOBER 2015
49
04 ชั ย วั ฒ น์ แ ห่ ง 8080 Café กั บ มอเตอร์ ไ ซค์ ค ั น เก่ ง
04
รถคาเฟ่ เรเซอร์นั้นเป็น สัญลักษณ์แห่งการกบฏ แต่ก็เช่นเดียวกับวัฒนธรรม สวนกระแสอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น กางเกงยีนส์หรือย่านศิลป์ ในสลัม ในที่สุด สิ่งที่สวน กระแสก็จะต้องกลายเป็น กระแสหลักเข้าสักวัน C
M
อยูแ่ ล้ว แต่ดา้ นแฟชัน่ ของแบรนด์นา่ จะยิง่ ดีเข้าไปอีก”
ของเล่นหัวขบถ
ชัยวัฒน์ สิงหะรู้นานแล้วว่าเทรนด์คาเฟ่ เรเซอร์กำ�ลัง จะมา ก่อนที่แบรนด์ใหญ่จะเริ่มผลิตรถและเครื่องแต่งกาย แนวคาเฟ่ เรเซอร์เสียอีก ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง 8080 Café ในกรุงเทพฯ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมมากจนมีสาขาในเชียงใหม่ เชียงรายและภูเก็ต ชัยวัฒน์บอกว่าเทรนด์นี้เริ่มมาตั้งแต่ยุค 80’s เมื่อรถมอเตอร์ไซค์ญี่ปุ่นอย่างพวก SR400 และ Honda GB500 Clubman เข้ามาตีตลาดไทย เพราะพวกเหล่านักบิด ที่อยากมีลุคเหมือนร็อคเกอร์โหดๆ ของอังกฤษก็ต้องพยายาม เลียนแบบสไตล์คาเฟ่ เรเซอร์ไปโดยปริยาย อย่างไรก็ตาม คาเฟ่ เรเซอร์เพิ่งจะมาฮิตในคนหมู่มากก็ตอนนี้เอง “คนไทย อยากให้รถตัวเองดูโดดเด่นกว่ารถคันอื่น ให้รถมันช่วยแสดง ตัวตนออกมาโดยเจ้าของไม่ต้องพูด รูปลักษณ์ของรถจึงต้อง พูดให้แทน” แต่แม้มีผู้ผลิตรายใหญ่ผลิตรถคาเฟ่ เรเซอร์ออกมาใน ตลาดมากมาย ถนนสำ�หรับนักบิดคาเฟ่ เรเซอร์ก็ไม่ได้ราบ เรียบเสมอไป หัวใจสำ�คัญของวัฒนธรรมคาเฟ่ เรเซอร์คือการ หารถมาแต่งให้แสดงความเป็นตัวเองให้ถึงที่สุด แต่โชคร้ายที่ มอเตอร์ไซค์รุ่นที่นิยมนำ�มาแต่งเช่น SR400 หรือ W650 ของ คาวาซากิมักเป็นรถที่ถูกนำ�เข้ามาเมืองไทยแบบไม่โปร่งใส นัก ทำ�ให้ไม่สามารถนำ�มาขับขี่บนถนนอย่างถูกกฎหมาย ต้อง อย่าลืมว่า แม้ชาวคาเฟ่ เรเซอร์จะดูกบฏอย่างไร แต่สุดท้าย ก็ไม่อยู่เหนือกฎหมาย นรินทร์นักบิดรุ่นเก๋าในวงการคาเฟ่ เรเซอร์เล่าว่า นักบิดบางคนวางมือจากวงการไปเลยก็เพราะ เรื่องนี้ “คนซื้อรถมาแล้วก็เอามาขี่บ้าง แต่พอโดนใบสั่งตำ�รวจ เข้าไปหลายทีก็เซ็งแล้วก็ขายรถทิ้งไปเลย บางทีนะ ขนาดซื้อ รถจากร้านอย่างถูกกฎหมายยังโดนใบสั่งเลย หาว่าท่อไอเสีย 50
OPTIMISE | OCTOBER 2015
เสียงดังไป ทั้งๆ ที่มันก็มาจากโรงงานแบบนี้ตั้งแต่แรก” หากรถที่ขายในร้านยังสามารถโดนใบสั่งได้ ป่วยการที่จะ พูดถึงรถคาเฟ่ เรเซอร์ซึ่งล้วนแล้วแต่แต่งกันอย่างจัดเต็ม ถึงจะมีบ่นบ้าง แต่นักบิดที่มีใจรักจริงๆ อย่างนรินทร์ก็ ไม่ยอมให้ค่าปรับมาเป็นอุปสรรค พวกเขายังคงนำ�คาเฟ่ เรเซอร์แต่งเองออกมาซิ่งอยู่ทุกวัน ดูเหมือนการขับเครื่องยนต์ สองล้อจะสามารถให้อิสระไร้ขอบเขตซึ่งคุ้มค่ากับความอึดอัด จากใบสั่ง เช่นเดียวกับกลุ่มก๊วนคนชอบอะไรเฉพาะทางทั่วไป ชุมชนนักบิดใช้โซเชียล มีเดียในการนัดแนะการชุมนุมและ แบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับด่านตรวจและย่านที่ต�ำ รวจใจดี นับ เป็นความพยายามของชุมชนนี้ที่จะหาทางอยู่รอดและเติบโต ต่อไปในแบบของตน ในอีกทางหนึ่ง บริษัทผลิตมอเตอร์ไซค์ ก็พยายามตอบโจทย์คนชอบรถคาเฟ่ เรเซอร์ ด้วยการต้อนรับ นักบิดหน้าใหม่สู่ตลาด และเสนอขายรถที่ขับขี่บนถนนได้ อย่างถูกกฎหมายแทน รถคาเฟ่ เรเซอร์นั้นเป็นสัญลักษณ์แห่งการกบฏ แต่ก็เช่น เดียวกันกับวัฒนธรรมการสวนกระแสอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นกาง เกงยีนส์ หรือย่านศิลป์ในสลัม ในที่สุดสิ่งสวนกระแส ก็จะต้อง กลายมาเป็นกระแสหลักเข้าวันหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแย่เสมอไป เพราะอย่างน้อยๆ ความเป็นกระแสหลักก็ได้ท�ำ ให้มีรถเลือก มากกว่าแต่ก่อน จนเหมาะอย่างยิ่งที่ผู้สนใจจะรีบหาคาเฟ่ เรเซอร์มาจับจองเสียในตอนนี้ ไม่ว่าคาเฟ่ เรเซอร์ที่ว่านั้นจะ เป็น SR400 รุ่นเก๋ากึ๊กหรือดูคาติใหม่แกะกล่องก็ตาม
Essentials
ตลาดรถไฟ
ถนนรัชดาภิเษก (หลังเอสพลานาด) กรุงเทพฯ โทร. 081-827-5885, 086-126-7787, 081-732-8778 www.fb.com/taradrodfi 8080 Café RCA ถนนพระราม 9 กรุงเทพฯ โทร. 02-203-0725 www.goo.gl/EYnkES
Y
CM
MY
CY
CMY
K
American Rag Cie เซ็นทรัลเวิลด์ โซนกรู๊ฟ ชั้น 1 ถนนราชดำ�ริ กรุงเทพฯ โทร. 02-251-6880 www.fb.com/americanragbkk Deus Ex Machina โทร. 086-989-5541 www.deuscustoms.com Half Caste Creations 396 สุโขทัยแมนชั่น ถนนสุโขทัย กรุงเทพฯ โทร. 087-654-9141, 087-044-2886 www.halfcastecreations.com
OPTIMISE | OCTOBER 2015
51
LIVING SPACE 01
Makeover Mavens 01 ล็อบบี้ของ ยิ้ม ห้วยขวาง 02 สัญลักษณ์ของ เฮีย โฮสเทล 03 ชลดากับเฮีย โฮสเทลของเธอ 04 หน้าตึกยิ้ม ห้วยขวาง ที่ดัดแปลง มาจากตึก ทรงโมเดิร์น
02
03
กระแสการชุบชีวิต ตึกแถวเก่าทรุดโทรมให้ เป็น ‘design hostels’ ที่ขับเคลื่อนโดย ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่พยายามรักษาตึกราม อันเป็นมรดกของ กรุงเทพฯ ไว้ โดย ยกเครื่องการตกแต่ง ภายในเสียใหม่ด้วยดีไซน์ แปลกตาและเทคโนโลยี
นักธุรกิจรุ่นใหม่ชุบชีวิตตึกเก่าให้กลายเป็นโฮสเทลสุดฮิป ทั่วกรุง บนถนนราชดำ�เนิน มีโฮสเทลแห่งหนึง่ ตัง้ อยูใ่ นตึก แถวเก่าครา่ํ คร่าอายุรว่ มร้อยปี เราไปเยือนโฮสเทลนีใ้ น คืนวันพฤหัสบดีในช่วงโลว์ซซี น่ั แต่กพ็ บว่าเตียงสองชัน้ ในโฮสเทลนีถ้ กู จองไปแล้วทุกเตียง ยิง่ ไปกว่านัน้ โฮสเทลนีย้ งั ถูกจองเต็มยาวไปจนถึงสิน้ ปี 2558 ซึง่ เป็น อัตราการจองทีแ่ ม้แต่โรงแรมห้าดาวยังได้แค่ฝนั ถึง แต่กน็ น่ั แหละ Here Hostel ไม่ใช่แค่หอพักคุณภาพ และรูปลักษณ์เส็งเคร็ง อย่างทีเ่ รามักนึกภาพโฮสเทล ทัว่ ไป แต่โฮสเทลแห่งนีเ้ ป็นส่วนหนึง่ ของกระแสการ ชุบชีวติ ตึกแถวเก่าทรุดโทรมให้เป็น ‘design hostels’ กระแสทีข่ บั เคลือ่ นโดยผูป้ ระกอบการรุน่ ใหม่ทพ่ี ยายาม รักษาตึกรามอันเป็นมรดกของกรุงเทพฯ ไว้ โดยยกเครือ่ ง การตกแต่งภายในเสียใหม่ดว้ ยดีไซน์แปลกตาและ เทคโนโลยี
พลิกเก่าเป็นใหม่ 04
52
OPTIMISE | OCTOBER 2015
เฮีย โฮสเทลตัง้ อยูใ่ นซอยเงียบๆ ใกล้อนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย ซึง่ เป็นการนำ�ตึกเก่าร้อยปีจ�ำ นวน 6 ตึก ทีส่ ร้างขึน้ ตัง้ แต่สมัยรัชกาลที่ 6 มาแปลงโฉมให้กลาย เป็นโฮสเทลน่าเข้าพักทีม่ ี 10 ห้อง 51 เตียง โดยงาน ดีไซน์ของโฮสเทลแห่งนีส้ ามารถรักษาเสน่หโ์ บราณของ ตึกแถวในยุคก่อนเอาไว้ดว้ ยการคงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ให้แตกเหล่าไปจากตึกแถวข้างๆ เท่าใดนัก แต่ถา้ เข้ามาดูภายในเมือ่ ไหร่ ก็ตอ้ งถือว่าเป็นคนละ เรือ่ งเลยทีเดียว ตึกทัง้ หมดถูกเลาะผนังข้างในทิง้ ออก และได้รบั การปรับปรุงให้ทนั สมัย มีการวางระบบท่อ ประปาใหม่เพือ่ รองรับห้องอาบนา้ํ ทีม่ เี พิม่ ขึน้ ถึง 6 ห้อง มีการเดินระบบสายไฟใหม่เพือ่ ปรับปรุงโครงสร้าง ไฟฟ้าในอาคาร และมีการออกแบบพืน้ ทีใ่ ช้สอยเพือ่ ให้ สามารถเพิม่ จำ�นวนเตียงให้ได้มากทีส่ ดุ และทีไ่ ม่ตอ้ ง
พูดถึงก็คอื งานดีไซน์หวือหวาอย่างสไลเดอร์จากชัน้ สอง ถึงห้องล็อบบีซ้ ง่ึ คงไม่มใี ครหลงเข้าใจว่ามันติดมากับตึก ตัง้ แต่แรกแน่นอน ชลดา ทัพแสง หนึง่ ในเจ้าของเฮีย โฮสเทลกล่าวถึง การแปลงโฉมตึกแถวเหล่านีว้ า่ “นักสถาปนิกบอกว่าตึก เก่าๆ แบบนีอ้ อกแบบพืน้ ทีย่ ากมาก เพราะตึกมันเป็น ทรงแปลกๆ ไม่สมํา่ เสมอกัน” แต่ชลดาไม่ใช่คนทีเ่ บือน หน้าหนีความท้าท้าย อันทีจ่ ริงแล้ว เจ้าของเฮีย โฮสเทล ทัง้ สีค่ นได้เริม่ งานโปรเจกต์ตอ่ ไปแล้ว โดยวางแผนว่าจะ แปลงตึกอีก 6 ตึกในซอยเดียวกันให้เป็นส่วนต่อขยาย ในไม่กป่ี ที ผ่ี า่ นมานี้ การนำ�เอาตึกแถวทรุดโทรมที่ ไม่มคี นอยูอ่ าศัยมาชุบชีวติ ใหม่จดั เป็นกระแสทีม่ าแรง มากๆ ในกรุงเทพฯ และกระแสล่าสุดก็คอื การทำ� ดีไซน์ โฮสเทล ซึง่ จะแตกต่างจากหอพักนักท่องเทีย่ ว แบ็คแพ็คเกอร์ในรูปแบบทีท่ กุ คนคุน้ เคยโดยสิน้ เชิง โฮสเทลใหม่กลุม่ นีจ้ ะมีสถาปัตยกรรมทีล่ า้ํ สมัยและ มีดไี ซน์ทแ่ี สดงถึงความเป็นไทย ทัง้ นี้ เพือ่ ให้ตอบสนอง ต่อสิง่ ทีน่ กั ท่องเทีย่ วทัว่ โลกต่างโหยหามากขึน้ เรือ่ ยๆ นัน่ ก็คอื สถานทีท่ ส่ี ามารถให้ความรูส้ กึ ว่า “ทีน่ ม่ี ลี กั ษณะ เฉพาะ ทีน่ ส่ี ร้างมาด้วยมืออย่างพิถพี ถิ นั และทีน่ อ่ี บอุน่ เป็นกันเอง” โรงแรมแบรนด์เนมทีห่ น้าตาเหมือนๆ กันไป หมดนัน้ ตอบโจทย์เหล่านีไ้ ด้ยากเต็มที อย่าว่าแต่โฮสเทล เหล่านีล้ ว้ นมีจดุ ขายอย่างบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง และเตียงราคาประหยัดทีต่ กเพียง 400-500 บาทต่อคืน
ห้องแห่งความสนุก
เอาเป็นว่านักท่องเทีย่ วไม่จ�ำ เป็นต้องทนทุกข์ ทรมานกับเตียงสองชัน้ เก่าๆ เสียงเอีย๊ ดอ๊าดชนิดใคร พลิกตัวกลางดึกก็ปลุกทุกคนในห้องได้แบบโฮสเทลใน อดีต เพราะห้องพักทีเ่ ฮีย โฮสเทลแยกเป็นแบบ 4 เตียง OPTIMISE | OCTOBER 2015
53
LIVING SPACE
ความยากก็คอื การรักษาความ งามของเดิม แต่ตอ้ งทำ�ให้มนั เวิรค์ ใส่มมุ มองใหม่เข้าไป ผม ชอบตรงทีม่ นั ยังมีอะไร ‘ผิดๆ’ เหลืออยู่ เช่นพวกเสาแปลกๆ และการออกแบบทีไ่ ม่สมํา่ เสมอ ผมว่ามันเป็นเอกลักษณ์ดี 6 เตียง 8 เตียงและ 12 เตียง โดยแต่ละเตียงถูกออกแบบมา ให้เหมือนเตียงในรถไฟตูน้ อน มีผา้ ม่านเสริมความเป็นส่วนตัว และมีลอ็ คเกอร์ให้เก็บของ ห้องพักแต่ละห้องมืดแบบกำ�ลังดี และปรับอากาศให้เย็นสบายราวรังดักแด้แม้ในยามบ่ายทีแ่ ดด เปรีย้ งทีส่ ดุ ภายในโฮสเทล สถาปนิกได้พยายามเก็บองค์ประกอบเดิม ของตึกไว้โดยผสานให้เข้ากับการออกแบบใหม่ เช่นนำ�แผ่นไม้ท่ี เคยใช้มงุ หลังคามาตกแต่งผนังของโถงทางเดินชัน้ บน และถอด กรอบหน้าต่างเก่าออกมาใช้เป็นของประดับภายในแสนโก้เก๋ ชลดาทีเ่ คยเป็นแม่คา้ ขายก๋วยเตีย๋ วมาก่อน ยอมรับว่า ตอนทีเ่ ริม่ สร้างเฮีย โฮสเทล เธอไม่รเู้ ลยว่าเขาทำ�โรงแรมกัน อย่างไร แต่เพราะหุน้ ส่วนของเธอมัน่ ใจในทำ�เลนี้ เธอจึง ตัดสินใจทำ� เฮีย โฮสเทล ทีต่ ง้ั อยูห่ ลังนิทรรศน์รตั นโกสินทร์ และอยูใ่ กล้ถนนข้าวสารขนาดเดินถึง แต่กย็ งั ไกลพอจะเพลาหู จากความอึกทึกของมหานครแห่งแบ็คแพ็คเกอร์นไ้ี ด้ ชลดาบอกเลยว่า “โฮสเทลเราไม่ใช่โรงแรมสำ�หรับปาร์ต้ี เป็นทีพ่ กั ผ่อนสบายๆ มากกว่า แต่ถา้ ใครอยากจะไปเทีย่ วกลาง คืนก็เดินไปได้ โฮสเทลเราอยูใ่ กล้พระบรมมหาราชวัง และ ทิพย์สมัย ผัดไทยเจ้าดังทีส่ ดุ ในกรุงเทพฯ” อีกฟากหนึง่ ของเมืองบนถนนรัชดาภิเษกมีดไี ซน์ โฮสเทล อีกแห่งหนึง่ ทีม่ จี ดุ ขายตรงข้ามกับเฮีย โฮสเทลอย่างสิน้ เชิง โชติรตั น์ อภิวฒ ั นาพงศ์ เจ้าของ Yim Huai Khwang Boutique Hostel บอกว่าโฮสเทลของเขาเป็นจุดหมายปลายทางนอก สารบบ สำ�หรับคนที่ “ไม่อยากอยูใ่ กล้ถนนข้าวสาร” การตกแต่งภายในสุดร่าเริงของโฮสเทลนีเ้ ต็มไปด้วย สีจดั จ้าน เช่นส้มแปร๊ดหรือเหลืองมะนาว นอกจากนีบ้ ริเวณ ล็อบบีซ้ ง่ึ ทำ�หน้าทีเ่ ป็นร้านกาแฟสุดฮิปไปด้วยในเวลาเดียวกัน ยังแต่งได้อย่างน่านัง่ ด้วยนาฬิกาติดผนังเรือนใหญ่ทเ่ี อาของเล่น เด็กเก่าๆ มาจัดเรียงไว้อยูข่ า้ งใน ยิง่ กว่านัน้ ชัน้ บนก็มหี อ้ งอ่าน หนังสือ ทีม่ เี บาะรองนัง่ กองไว้ส�ำ หรับให้แขกทอดอารมณ์ไปยัง สวนเขียวขจีเบือ้ งนอก อาคารหลังนีถ้ กู สร้างขึน้ เมือ่ 30 ปีกอ่ น สำ�หรับเป็นบ้าน หนึง่ ครอบครัว ก่อนทีต่ อ่ มาจะถูกใช้เป็นสำ�นักงานขายให้กบั คอนโดแห่งหนึง่ เมือ่ โชติรตั น์และภรรยา (ผูเ้ ป็นหุน้ ส่วนด้วย) พบอาคารหลังนีซ้ ง่ึ ตอนนัน้ ไม่มคี นเช่าอยูก่ ค็ ดิ ทันทีวา่ ทำ�เลนี้ เหมาะสำ�หรับทำ�โฮสเทล เพราะอยูใ่ กล้รถไฟฟ้าใต้ดนิ ห้วยขวาง โชติรตั น์เล่าว่าทัง้ เจ้าของอาคารและเพือ่ นบ้านต่างรูส้ กึ ตืน่ เต้นทีเ่ ขาจะเช่าอาคารนีแ้ ละชุบชีวติ มันขึน้ ใหม่ ล็อบบีส้ ว่าง สดใสของโฮสเทลยิม้ ห้วยขวางได้ชว่ ยให้แสงสว่างกับบริเวณที่ 54
OPTIMISE | OCTOBER 2015
นักเที่ยวพันธุ์ใหม่
05
05 ห้องพักผ่อน สีสันสดใสของ ยิ้ม ห้วยขวาง 06 ปราบ เจ้าของ เกลอ แบงค็อค 07 ด้านหน้าของ เฮีย โฮสเทลที่ เป็นตึกเก่าแก่ 08 สไลเดอร์ ในล็อบบี้ของ เฮีย โฮสเทล
06 เคยเป็นเพียงถนนมืดๆ และอัดฉีดให้ยา่ นนีม้ พี ลังคึกคักขึน้ มา ย่านนีย้ งั เปิดโอกาสให้นกั ท่องเทีย่ วได้สมั ผัสกับชีวติ แบบ คนท้องทีข่ องกรุงเทพฯ มากขึน้ อีกด้วย เพราะทัง้ บริเวณถนน ใหญ่และท้ายซอยต่างเรียงรายไปด้วยร้านรถเข็นเปิด 24 ชัว่ โมง ซึง่ มีเมนูให้เลือกหลากหลายมากกว่า ‘ผัดไทยขายฝรัง่ ’ แถม ใกล้ๆ ยังมีตลาดกลางคืนซึง่ เปิดถึงตี 4 ทุกวันด้วย โชติรตั น์เรียนจบทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการและได้ ทำ�งานกับบริษทั ผลิตรถยนต์วอลโว่ในประเทศสวีเดนเป็นเวลา ราวๆ 10 ปี ในช่วงนัน้ เขาได้แบกเป้เดินทางทัว่ ยุโรปและเริม่ ฝัน เกีย่ วกับการทำ�ธุรกิจโรงแรมเป็นของตัวเอง โชติรตั น์เล่าว่า “ผมชอบบรรยากาศโฮสเทลในยุโรป มันสนุกมาก เป็นมิตรมาก และเจ้าของจะเก่งสรรหากิจกรรม ดีๆ ให้แขกทำ� ต่อมา ผมได้ไปพักโรงแรมดีไซน์ดๆี ซึง่ จะเป็น ทางการกว่าและเท่กว่า ผมก็เลยคิดว่าถ้าเอาสองสิง่ นีม้ าผสม กันได้คงดี ก็เลยกลายมาเป็นดีไซน์ โฮสเทล” การสร้างและตกแต่งโฮสเทลใช้เวลาประมาณ 8 เดือน โดยมี ปิตพุ งษ์ เชาวกุล สถาปนิกของบริษทั Supermachine Studio เป็นผูด้ �ำ เนินการ “แต่งอาคารเก่าๆ แบบนีก้ ส็ นุกดีแต่กม็ คี วามท้าทายใน ตัวเองเหมือนกัน โครงสร้างตึกแบบนีส้ ร้างในช่วงทีก่ ระแส โมเดิรน์ เพิง่ เข้ามาในเมืองไทยยุคแรกๆ ตอนนีไ้ ม่มใี ครสร้าง ตึกแบบนีแ้ ล้ว โครงสร้างมันแปลกมากๆ” ปิตพุ งษ์พดู ทำ�นอง เดียวกันกับสถาปนิกของเฮีย โฮสเทล ก่อนจะเล่าต่อว่า “ความยากก็คอื การรักษาความงามของเดิม แต่ตอ้ งทำ�ให้มนั เวิรค์ ขึน้ มาใหม่ ใส่มมุ มองใหม่เข้าไป จริงๆ แล้วเราพยายาม ทำ�ทัง้ สองอย่างเลย คือพยายามเก็บของเดิมไว้ให้ได้มากทีส่ ดุ อย่างภายนอกก็จะดูเก่าๆ แต่ภายในเราทำ�ใหม่หมด แล้วผม ก็ชอบตรงทีม่ นั ยังมีอะไร ‘ผิดๆ’ เหลืออยู่ เช่นพวกเสาแปลกๆ และการออกแบบทีไ่ ม่สมา่ํ เสมอกัน ผมว่ามันเป็นเอกลักษณ์ด”ี
Essentials Glur Bangkok Hostel 45 ซอยเจริญกรุง 50 กรุงเทพฯ โทร. 02-630-5595 www.glurbangkok.com Here Hostel 196/3-8 ซอยดำ�เนินกลางใต้ ถนนราชดำ�เนิน กรุงเทพฯ โทร. 090-987-7438, 084-458-4040 www.herehostel.com Yim Huai Khwang Boutique Hostel 70 ถนนประชาราษฎร์บ�ำ เพ็ญ กรุงเทพฯ โทร. 02-118-6038 www.yimhuaikhwang.com
08
ยิม้ ห้วยขวางเปิดทำ�การในปี 2556 และตอนนีแ้ ขกทีม่ าพักจำ�นวน 2 ใน 3 เป็นแขกจากเอเชีย โดยส่วนมากเป็นคนจีน ไต้หวันและเกาหลีใต้ แต่กม็ มี าจากจากประเทศอาเซียนด้วยเช่นกัน แขกทีม่ าพักจำ�นวนมากติด ดาวและเขียนรีววิ ให้ยม้ิ ห้วยขวางอย่างสวยหรู จนทำ�ให้โฮสเทลแห่งนีไ้ ด้ ขึน้ อันดับหนึง่ ของเว็บ TripAdvisor เมือ่ ปีทแ่ี ล้วสำ�หรับการจัดอันดับสถาน ทีพ่ กั ในหมวด ‘specialty lodging’ (ทีพ่ กั แบบพิเศษ) รีววิ ห้าดาวอันหนึง่ ในเว็บทริปแอดไวเซอร์ขนานนามยิม้ ห้วยขวางว่า เป็น “หนึง่ ในโฮสเทลทีด่ ที ส่ี ดุ ทีฉ่ นั เคยไปพัก” ส่วนอีกอันหนึง่ ชมโฮสเทลนีว้ า่ “โมเดิรน์ มาก ดีไซน์มรี สนิยมและน่าสนใจ ทำ�ให้โฮสเทลดูมเี อกลักษณ์เป็น ของตัวเอง ขอแนะนำ�ให้ทกุ คนไปพักทีน่ จ่ี ริงๆ” ขณะทีช่ ลดาเจ้าของเฮีย โฮสเทลให้ความเห็นว่า โฮสเทลได้รบั ความนิยมมากขึน้ เพราะ “นักท่องเทีย่ วอยากได้ทง้ั เพือ่ นใหม่ และความเป็นส่วนตัวไปพร้อมกัน” นอกจากนี้ ด้วยเหตุทแ่ี บ็คแพ็คเกอร์บางคนต้องระหกระเหินในต่าง แดนอยูเ่ ป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน คุณสมบัตทิ จ่ี ะทำ�ให้โฮสเทลดึงดูด แบ็คแพ็คเกอร์ได้ดกี ค็ อื การมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและบรรยากาศเป็น กันเอง สังเกตได้วา่ โฮสเทลยอดนิยมมักจะสามารถทำ�หน้าทีเ่ ชือ่ มช่องว่าง ระหว่างวัฒนธรรม โดยทำ�ให้แขกรูส้ กึ เป็นส่วนหนึง่ ของชุมชน และสร้าง พืน้ ทีส่ าธารณะบรรยากาศสบายๆ ไว้ให้แขกได้ใช้พบปะและก้าวข้ามความ
07
แตกต่างทางวัฒนธรรมของกันและกันได้ สำ�หรับที่ Glur Bangkok Hostel ซึง่ ตัง้ อยูใ่ กล้แม่นา้ํ เจ้าพระยา บริเวณ สาทร ปรัชญาหลักในการดำ�เนินธุรกิจคือต้องสร้างบรรยากาศให้แขกรูส้ กึ เหมือนมาพักบ้านเพือ่ นทีร่ จู้ กั กันมานาน หรือพูดอีกอย่างก็คอื ทำ�ให้แขกรูส้ กึ เหมือนเพือ่ น ไม่ใช่ลกู ค้า ปราบ เอือ้ พัชรพลเจ้าของ เกลอ แบงค็อค อธิบายว่า “เราไม่มกี ฎ ระเบียบมากมายเหมือนโฮสเทลอืน่ เกลอเป็นคำ�เก่าในภาษาไทย แปลตรงๆ ว่าเพือ่ น แต่มนั มีนยั ยะลึกซึง้ กว่านัน้ คือมันเหมือนเพือ่ นทีเ่ ราสนิทจริงๆ หรือ ทีเ่ พือ่ นทีเ่ รารูจ้ กั กันมาตัง้ แต่เด็กๆ” ในตึกสูงเจ็ดชัน้ ของ เกลอ แบงค็อค มีหอ้ งนัง่ เล่นซึง่ เปิดมุมอาหารเช้า ให้แขกบริการตัวเองได้ตามสบายตลอด 24 ชัว่ โมง นอกจากนัน้ แขกยัง สามารถเก็บอาหารทีซ่ อ้ื มาส่วนตัวไว้ในตูเ้ ย็นได้ (แต่มปี า้ ยเขียนว่า “กรุณา อย่าแช่ทเุ รียน”) หรือชงชากาแฟได้ตลอด ห้องนัง่ เล่นของโฮสเทลมีโซฟา นัง่ สบายหลายตัว และทุกๆ คืน เกลอ แบงค็อค จะจัด Movie Night เปิด ภาพยนตร์ให้แขกนัง่ ชม โดยบ่อยครัง้ ภาพยนตร์ทน่ี �ำ มาเปิดก็จะกำ�หนดเป็น ธีม (ปราบบอกว่า “อาทิตย์นเ้ี ป็นหนังสตาร์วอร์ส”) เกลอ แบงค็อคขอให้แขกถอดรองเท้าทิง้ ไว้ชน้ั ล่างทุกครัง้ ก่อนขึน้ ไปชัน้ บนเหมือนกับเวลาไปเยีย่ มบ้านคนอืน่ เพราะจะช่วยทำ�ให้พน้ื ชัน้ บนสะอาด และ “เหมือนบ้าน” มากขึน้ ธุรกิจกำ�ลังไปได้สวยสำ�หรับเกลอ แบงค็อคและเจ้าของก็ได้วางแผน จะแปลงโฉมตึกแถวในซอยเดียวกันเพือ่ เปิดอีกสาขาหนึง่ แล้ว โดยไฮไลท์ สำ�คัญของสาขาใหม่นจ้ี ะเป็นบริเวณ Moon Bath ทีช่ น้ั บนสุดของตึก ซึง่ จะ ทำ�เพดานเป็นกระจกทัง้ หมดเพือ่ ให้แขกสามารถชมวิวทัง้ ท้องฟ้าและแม่นา้ํ ได้ในเวลาเดียวกัน ปราบ นักธุรกิจวัย 29 ปีผอู้ ยูเ่ บือ้ งหลังความสำ�เร็จของเกลอ แบงค็อค นัน้ มาจากครอบครัวทีท่ �ำ โรงแรมอยูแ่ ล้ว โดยพ่อและแม่ของเขามีโรงแรมอยู่ ในอยุธยาซึง่ มีกลุม่ ลูกค้าหลักเป็นเหล่านักธุรกิจทีท่ �ำ งานในนิคมอุตสาหกรรม ใกล้ๆ กัน นอกจากนัน้ น้องชายของเขายังเปิดโฮสเทลแห่งหนึง่ ในย่าน ประตูนา้ํ อีกด้วย ปราบกล่าวว่า “ผมทำ�งานเป็นผูจ้ ดั การทัว่ ไปในโรงแรมของพ่อแม่ใน อยุธยาอยูส่ องปีจนได้รวู้ า่ ธุรกิจนีม้ นั เป็นอย่างไร แต่ตอนนัน้ ผมก็รสู้ กึ ว่ามัน ยังมีระยะห่างระหว่างลูกค้ากับพนักงานอยู”่ ปราบเกิดและเติบโตริมแม่นา้ํ เจ้าพระยาในย่านซึง่ เป็นแหล่งของ โรงแรมห้าดาวชือ่ ดังของกรุงเทพฯ เช่นแชงกรีลาและแมนดาริน โอเรียนเต็ล ดังนัน้ เขาจึงรูส้ กึ ว่าทำ�เลทีน่ ส่ี กุ งอมเพียงพอทีจ่ ะสร้างทีพ่ กั ราคาประหยัด เพราะทีน่ ท่ี ง้ั อยูใ่ กล้บที เี อส และยังใกล้ทา่ เรือสำ�คัญอีกด้วย “ย่านแถวนีเ้ ป็น เหมือนหม้อหลอม เป็นทีร่ วมทัง้ คนไทย คนฝรัง่ ผมก็เลยอยากจะสร้างดีไซน์ โฮสเทลให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของพืน้ ทีแ่ ถบนีใ้ ห้ได้” ตลอดหลายปีทผ่ี า่ นมา ปราบได้ยา้ ยบ้านมาแล้วมากกว่า 15 ครัง้ และ ทุกครัง้ ทีเ่ ขาย้ายเข้าทีใ่ หม่เขาจะเริม่ สร้างห้องนอนห้องใหม่ตามความชอบ ของตัวเอง และจากนัน้ ก็จะลามไปแต่งห้องนัง่ เล่นและห้องครัวด้วย “ผมไม่เคยเรียนด้านสถาปัตยกรรมหรือการออกแบบเลย แต่ผมชอบซือ้ นิตยสาร ถ้าเห็นสไตล์หรืออะไรทีช่ อบผมก็จะตัดหน้านัน้ ออกมาเก็บไว้ ผม ทำ�แบบนีม้ า 10 ปีแล้ว ดังนัน้ พอตอนเริม่ โปรเจกต์โฮสเทลนี้ ผมก็มแี ฟ้มที่ แน่นไปด้วยไอเดียอยูใ่ นมือแล้ว” เนือ่ งด้วยโครงการขยายโฮสเทลของปราบกำ�ลังเดินหน้าไปได้ดว้ ยดี ปราบจึงกำ�ลังคิดการใหญ่ “คนรุน่ ผมมักจะเริม่ ด้วยดีไซน์ โฮสเทลแบบเล็กๆ ก่อน แต่พอไปเรือ่ ยๆ ก็จะใหญ่ขน้ึ เรากำ�ลังเรียนรูส้ ง่ิ ทีต่ อ้ งเรียกว่าธุรกิจการสร้างความทรงจำ� พอเวลาเห็นนักท่องเทีย่ วทีเ่ ดินทางนานๆ เป็น 6 เดือน 1 ปี ผมรูส้ กึ ว่ามันเป็น หน้าทีเ่ ราทีจ่ ะมอบประสบการณ์ทด่ี ที ส่ี ดุ ให้เขา ระหว่างทีเ่ ขาอยูก่ บั เรา”
OPTIMISE | OCTOBER 2015
55
THE AGENDA
1
4
ภัทรตอกย้ำ�ความเป็นเลิศระดับสากล คว้ารางวัล Country Awards: Best Private Bank in Thailand ประจำ�ปี 2558 จาก FinanceAsia
บริษทั หลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) คว้ารางวัล Country Awards 2015: Best Private Bank in Thailand เป็นปีท่ี 4 ติดต่อกัน จาก FinanceAsia โดยได้ รับคัดเลือกจากความสามารถในการคงไว้ซง่ึ มาตรฐานระดับสากลของการให้บริการ Wealth Management ในภาวะทีม่ กี ารแข่งขันสูง กอปรกับความสามารถในการ ขยายธุรกิจให้มกี ารเจริญเติบโตต่อเนือ่ งอย่างมีคณ ุ ภาพ โดย ณฤทธิ์ โกสาลาทิพย์ ผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การ ฝ่ายทีป่ รึกษาการลงทุนส่วนบุคคล เป็นตัวแทนบริษทั รับมอบ รางวัลทีโ่ รงแรมเดอะริทซ์-คาร์ลตัน ฮ่องกง
2
3
ภัทร สร้างความพร้อมนักบริหารเงินรุ่นใหม่ รุ่นที่ 1 และ รุ่นที่ 2
บรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บริษทั หลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) ถ่ายทอดแนวคิดและประสบการณ์เกีย่ วกับตลาดทุน พร้อม มอบประกาศนียบัตรแก่นสิ ติ และนักศึกษาผูเ้ ข้าร่วมอบรมในโครงการ Phatra Wealth Management Internship Program 2015 รุน่ ที่ 1 และ รุน่ ที่ 2 โดยโครงการดังกล่าวจัดโดยฝ่ายทีป่ รึกษาการลงทุนส่วนบุคคล บริษทั หลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) เพือ่ เปิดโอกาสให้นสิ ติ นักศึกษาทัว่ ไป และทายาทของลูกค้าผูม้ อี ปุ การคุณ มีโอกาสสัมผัสบรรยากาศในการทำ�งาน จริง พร้อมเพิม่ พูนความรูเ้ กีย่ วกับเศรษฐกิจ การเงิน และการลงทุนเพือ่ ความ มัง่ คัง่ อย่างยัง่ ยืนในอนาคต
56
OPTIMISE | OCTOBER 2015
Phatra Wealth Management และ PRIORITY ธนาคาร เกียรตินาคิน ร่วมกันจัดงานสัมมนา An All-Weather Strategy: A Portfolio to Ride Out Any Market Environment เพื่อแนะนำ� แนวทางการลงทุนที่เหมาะสมสำ�หรับทุกสภาวะตลาด โดยในงาน มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาพรวมเศรษฐกิจโลก และกลยุทธการ จัดสรรเงินลงทุน พร้อมทั้งนำ�เสนอกองทุนเปิดภัทร Strategic Asset Allocation (PHATRA SG-AA) กองทุนที่ตอบโจทย์ทุก สภาวะตลาด เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนให้กับนัก ลงทุน โดยมี ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ และหัวหน้า สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้าทีมวิจัยลูกค้า บุคคล สายงานลูกค้าบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) และยุทธพล ลาภละมูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนภัทร จำ�กัด ร่วมเสวนาในงานนี้ ซึ่งงานดังกล่าวได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้า งานสัมมนาจัดขึ้นที่ ห้องฉัตราบอลรูม โรงแรมสยาม เคมปินสกี้ กรุงเทพ
ภัทรคว้า 3 รางวัลจาก Alpha Southeast Asia
บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) คว้ารางวัล Best Investment Bank (ปีที่ 5) Best Institutional Broker (ปีที่ 5) และ รางวัล Best Private Wealth Management Bank (ปีที่ 2) จาก Alpha Southeast Asia นิตยสารการเงินชั้นนำ�แห่งเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ ซึ่งรางวัลดังกล่าวพิจารณาจากผลประกอบการ วิสัยทัศน์ และกลยุทธ์การ ดำ�เนินธุรกิจ รวมถึงความสามารถในการขยายธุรกิจ โดยคงไว้ซึ่งมาตรฐาน ความเชี่ยวชาญ และความน่าเชื่อถือในการให้บริการ ตรัยรักษ์ เต็งไตรรัตน์ กรรมการผู้จัดการหัวหน้าสายงานวานิชธนกิจ และตลาดทุน อนุวัฒน์ ร่วมสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายตลาดทุน สายงานวานิชธนกิจ และตลาดทุน ปาริชาติ สมบูรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายซื้อขายหลักทรัพย์ สถาบันในประเทศ และหัวหน้าฝ่ายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและณฤทธิ์ โกสาลาทิพย์ ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการฝ่ายที่ปรึกษาการลงทุนส่วนบุคคล เป็นตัวแทนบริษัทเข้ารับมอบ รางวัลที่โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ
Phatra Wealth Management ร่วมกับ PRIORITY ธนาคารเกียรตินาคิน จัดสัมมนา An All-Weather Strategy: A Portfolio to Ride Out Any Market Environment
5
กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร จัดงานสัมมนา Global Outlook & Asset Allocation Strategy for 2H2015
กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร จัดงานสัมมนา Global Outlook & Asset Allocation Strategy for 2H2015 เพื่อให้ข้อมูลภาพรวมเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลัง ของปี 2558 รวมถึงสรุปประเด็นเศรษฐกิจโลกสำ�คัญที่กำ�ลังเป็นที่น่าจับตามอง เพื่อนักลงทุนสามารถปรับกลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทย และการจัดสรรเงินลงทุน โดยมี ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการและหัวหน้าสายงานวิจัย ธีระพงษ์ วชิรพงศ์ กรรมการผู้จัดการและหัวหน้าฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ และ ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้าทีมวิจัยลูกค้าบุคคล สายงาน ลูกค้าบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) ร่วมบรรยายในงานดังกล่าว งานสัมมนาจัดขึ้นที่ ห้องฉัตราบอลรูม โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพฯ
OPTIMISE | OCTOBER 2015
57
THE AGENDA
6
Phatra Wealth Management ขอบคุณลูกค้าด้วย Moonlight Serenade: The World of Musical Through Times
อลังการแห่งบทเพลงรักอมตะใต้แสงจันทร์ Phatra Wealth Management ผู้บุกเบิก และผู้นำ�ในธุรกิจการให้ บริการ Wealth Management แสดงความขอบคุณต่อ ลูกค้าผู้มีอุปการะคุณ ด้วยการจัดงานกาลาดินเนอร์ สุดเอ็กซ์คลูซีฟ เนรมิตมิวสิคัลคอนเสิร์ตภายใต้คอนเซปต์ Moonlight Serenade: The World of Musical Through Times รวบรวมนักร้องนักแสดงแก้วเสียงคุณภาพมาขับขาน บทเพลงรักจากละครเพลงอมตะทุกยุคทุกสมัย โดยมีลูกค้า คนสำ�คัญมาร่วมงานคับคั่ง ณ ห้องบอลรูม ซึ่งถูกแปลงให้ เป็นบรอดเวย์เธียร์เตอร์ชั่วข้ามคืนของโรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ
58
OPTIMISE | OCTOBER 2015
7
ธนาคารเกียรตินาคิน ร่วมขับเคลือ่ น SMEs ไทย
ฐิตินันท์ วัธนเวคิน กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ ใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) เป็นผู้แทน ธนาคารเข้าร่วมลงนามความร่วมมือข้อตกลงในโครงการ สินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า (soft loan) เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบ การ SMEs ปี 2558 พร้อมกับธนาคารพาณิชย์และสถาบัน การเงินเฉพาะกิจของรัฐที่เข้าร่วมในโครงการ เพื่อเป็นเงิน ทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs และภายในงานได้ รับเกียรติจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถา ‘ขับเคลื่อน SMEs ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย’
OPTIMISE | OCTOBER 2015
59
9
ธนาคารเกียรตินาคิน ร่วมสนับสนุนเงินกู้ให้กับ PRASAC สถาบันไมโครไฟแนนซ์ขนาดใหญ่ที่สุดในกัมพูชา
บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC) ซึง่ เป็นสมาชิกของกลุม่ ธนาคารโลก ร่วมกับ ธนาคารพาณิชย์ของไทย ประกอบด้วย ธนาคารเกียรตินาคิน ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารทหารไทย สนับสนุนเงินกูร้ ว่ มมูลค่า 65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้กบั PRASAC ของประเทศกัมพูชา ซึง่ เป็นสถาบันไมโครไฟแนนซ์ขนาดใหญ่ทส่ี ดุ ของ ประเทศ ให้สามารถเพิม่ สินเชือ่ สำ�หรับวิสาหกิจในชนบทและวิสาหกิจเกษตรกรรม ทัง้ ทีเ่ ป็นวิสาหกิจรายย่อย วิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง โดยมี ชัยณรงค์ โรจนสินธุ (ซ้ายสุด) ผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) เป็นตัวแทนธนาคารในพิธลี งนามสัญญา ณ โรงแรม เซนต์ รีจสี กรุงเทพฯ
8
ธนาคารเกียรตินาคิน พลิกโฉมสาขาพัทยาและหัวหิน ตอบโจทย์บริการครบวงจร ‘สินเชือ่ -เงินฝาก และการลงทุน’
ธนาคารเกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) ปรับโมเดลรูปแบบสาขาใหม่ 2 สาขา ได้แก่สาขาพัทยา และสาขาหัวหิน เพือ่ อำ�นวยความสะดวกแก่ลกู ค้าในภูมภิ าค ตะวันออกและตะวันตก ตลอดจนตอบสนองชีวติ ประจำ�วันของลูกค้า พร้อมทัง้ รองรับ ธุรกรรมต่างๆ อย่างครบครันทัง้ เงินฝาก สินเชือ่ และ การลงทุน โดยคัดเลือกบุคลากร ทีม่ คี วามเชีย่ วชาญในธุรกิจ มีความตัง้ ใจจริงทีจ่ ะให้บริการลูกค้าอย่างเต็มความ สามารถ และได้รบั การปลูกฝังให้มอบบริการทีด่ ที ส่ี ดุ แก่ลกู ค้า นอกจากนี้ สาขาพัทยา ยังได้จดั ให้มกี ารบริการสำ�หรับลูกค้าเงินฝากรายใหญ่ ทีเ่ รียกว่า PRIORITY เป็นโซนพิเศษ โดยมีเจ้าหน้าหน้าที่ Relationship Manager (RM) พร้อมให้ค�ำ แนะนำ�ด้านบริหารเงินฝากและการลงทุนกับลูกค้าทีส่ นใจอย่าง ใกล้ชดิ พร้อมกันนี้ เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ พันธมิตรทางธุรกิจของธนาคาร ได้น�ำ เสนอ ผลิตภัณฑ์ทห่ี ลากหลาย ทัง้ ประกันชีวติ และประกันภัย ตลอดจนของทีร่ ะลึกพิเศษ ตอบแทนลูกค้าทีซ่ อ้ื ผลิตภัณฑ์ของบริษทั ฯ ทีส่ าขาเปิดใหม่ของธนาคารทุกสาขา ตลอดปี 2558
10
ธนาคารเกียรตินาคิน จับมือซูซูกิ ให้บริการ Captive Finance
อภินันท์ เกลียวปฏินนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานธุรกิจธนาคาร พาณิชย์ ธนาคารเกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) ร่วมลงนามในสัญญาการเป็น พันธมิตรทางธุรกิจด้าน Captive Finance กับ มร. ทาคายูคิ ซูกิยามา กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำ�กัด เพื่อต่อยอดความ แข็งแกร่ง และอำ�นวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่ซื้อรถยนต์ผ่าน โชว์รูมซูซูกิทั่ว ประเทศ พร้อมแคมเปญชื่อ MY WAY ซึ่งเป็นรูปแบบการผ่อนชำ�ระที่ยืดหยุ่นเป็น พิเศษสำ�หรับลูกค้าซูซูกิเท่านั้น 60
OPTIMISE | OCTOBER 2015
11
ธนาคารเกียรตินาคิน ร่วมขับเคลื่อน ทายาทธุรกิจ
บรรยง พงษ์พานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์และมุมมองการทำ�ธุรกิจ ให้กับทายาทธุรกิจที่เข้าอบรมในโครงการ KK NeXt GEN : From Study to Success ซึ่งเป็นหลักสูตรพิเศษสำ�หรับลูกค้าเงินฝาก PRIORITY ของธนาคารในการเตรียมความพร้อมทายาทธุรกิจ ด้วยรูปแบบกิจกรรม ที่เน้นการสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก ผู้บริหารธนาคาร และวิทยากรที่ประสบความสำ�เร็จจากแขนงต่างๆ มาร่วมพูดคุย และแบ่งปันประสบการณ์ OPTIMISE | OCTOBER 2015
61
C
M
Y
12
ธนาคารเกียรตินาคินร่วมสร้างความสำ�เร็จ ในโครงการ ‘รูเ้ ก็บ รูใ้ ช้ สบายใจ’
CM
MY
CY
CMY
ชมรม CSR สมาคมธนาคารไทย โดยฐิตนิ นั ท์ วัธนเวคิน (ภาพบน ที่ 2 จากขวา) กรรมการและรองกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ ธนาคารเกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) เป็นประธานชมรม ร่วมกับสภาองค์การพัฒนาเด็กและ เยาวชน ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (สอ.ดย.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศูนย์คมุ้ ครองผูใ้ ช้บริการทางการ เงิน ธนาคารแห่งประเทศ สำ�นักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และเครือข่ายนักพัฒนารุน่ ใหม่ภาคตะวันตก จัดแสดงผลสำ�เร็จโครงการ ‘รูเ้ ก็บ รูใ้ ช้ สบายใจ’ ดำ�เนินงานตัง้ แต่มกราคม 2557 ถึงกันยายน 2558 ณ หอประชุมมหิศร ธนาคารไทยพาณิขย์ สำ�นักงานใหญ่ ในการนี้ ชวลิต จินดาวณิค (ภาพบน ซ้ายสุด) รองกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ ประธานสายการเงิน และงบประมาณ ธนาคารเกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) เป็นตัวแทนธนาคาร เข้าร่วมรวมพลังกับภาคีทกุ ภาคส่วน เพือ่ ให้พนั ธสัญญาในการดำ�เนินการให้ ความรูท้ างการเงินแก่เยาวชนอย่างต่อเนือ่ ง ทัง้ นี้ โครงการ ‘รูเ้ ก็บ รูใ้ ช้ สบายใจ’ มีผลสำ�เร็จ ดังนี้ • พัฒนาวิทยากรของธนาคารพาณิชย์ 15 แห่งซึง่ เป็นสมาชิกชมรม CSR สมาคมธนาคารไทยให้มที กั ษะในการให้ความรูท้ างการเงินแก่เยาวชนได้ 41 คน • ให้ความรูท้ างการเงินแก่แกนนำ�นักศึกษารวม 280 คน จาก 7 สถาบัน อุดมศึกษาในจังหวัดนครปฐม รวมถึงสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดนครปฐม และในจำ�นวนนี้ 75 คนได้ขยายผลทำ�โครงการเพิม่ เติมกับชุมชนอีก 15 โครงการ • พัฒนาหลักสูตรมาตรฐานสำ�หรับสถาบันการเงินใช้ในการให้ความรู้ ทางการเงินแก่เยาวชน 62
OPTIMISE | OCTOBER 2015
13
ธนาคารเกียรตินาคิน มอบธรรมะฟืน้ ฟูจติ ใจผูต้ อ้ งขัง หญิงในโครงการ ‘มอบโอกาสดีๆ ให้สตรีอกี ครัง้ ’
ธนาคารเกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) ร่วมโครงการ’มอบโอกาสดีๆ ให้สตรีอีกครั้ง’ ซึ่งจัดโดยสมาคมสตรี นักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยกรุงเทพฯ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ (สธวท.-กรุงเทพฯ) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 เพื่ออบรมทักษะอาชีพ และพัฒนา สภาพจิตใจของผู้ต้องขังหญิง เตรียม ความพร้อมก่อนพ้นโทษและกลับคืน สู่สังคมภายนอก ในปีนี้ ธนาคารนำ�โดย ฐิตินันท์ วัธนเวคิน กรรมการและรองกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ได้สนับสนุนจัดอบรม ธรรมะในชื่อหลักสูตร ‘วัดที่ใจ’ โดยมีพระมหาบุญถิน ถาวโร วัดบ้านไผ่ อำ�เภอเขื่องใน จังหวัด อุบลราชธานี และดร. สร้อยเพชร
K
เรศานนท์ อุปนายก สธวท.-กรุงเทพฯ เป็นวิทยากรนำ�ฝึกวิปัสสนาภาวนา ตามหลักมหาสติปัฏฐานสี่ให้กับ ผู้ต้องขังหญิง 30 คนที่ประจำ�อยู่ที่ ทัณฑสถานบำ�บัดพิเศษหญิง ธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี และเมื่อจบ การฝึกวิปัสสนาภาวนาดังกล่าวแล้ว ได้มีการแสดงธรรมะ โดยพระมหา สุเนตร์ จตฺตมโล ซึ่งจำ�พรรษา ณ วัดปทุมคงคาราชวรวิหารด้วย นอกจากนี้ ธนาคารได้มอบ คู่มือฝึกวิปัสสนาภาวนาตามหลัก มหาสติปัฏฐานสี่ให้กับห้องสมุดของ ทัณฑสถานบำ�บัดพิเศษหญิง ธัญบุรี เพื่อเผยแผ่ธรรมะเป็นวิทยาทานต่อไป
OPTIMISE | OCTOBER 2015
63