Optimise 9

Page 1


ADVANCE NOTICE

Welcome to Optimise เป็นไปได้วา่ หากใครได้ลองพลิกอ่าน Optimise ฉบับนีเ้ พียง 2 บทความแรก กล่าว คือ ‘รถไฟฟ้าไร้คนขับจะพลิกโฉมการขนส่งภายใน 15 ปี?’ ของดร.ศุภวุฒิ สายเชือ้ และ ‘เทคโนโลยีกบั การลงทุน’ ของดร.พิพฒ ั น์ เหลืองนฤมิตชัย ก็อาจนำ�มาสูค่ วามรูส้ กึ ว่า โลกใบนีไ้ ม่ใช่โลกทีเ่ คยรูจ้ กั อีกต่อไป สุดยอดนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ทเ่ี มือ่ ก่อนเป็น เพียงความน่าตืน่ เต้นในห้องแล็บอันห่างไกล ปัจจุบนั ได้มรี าคาถูกลง และแพร่ไปใน อุตสาหกรรมกว้างขวางขึน้ เรือ่ ยๆ จนในอนาคตอันใกล้ รถไร้คนขับและปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะไม่ใช่เพียงเทคโนโลยีของหนัง sci-fi หากเป็นอีกหนึง่ องค์ประกอบแสนสามัญ ในชีวติ คน กระนัน้ ในระหว่างทีป่ ระเทศไทยยังต้องวุน่ อยูก่ บั เรือ่ งภายใน เช่น การปฏิรปู ทีต่ อ้ ง เกิดก่อน-เกิดหลังการเลือกตัง้ เหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ ราคาข้าว ราคายาง หรือแม้กระทัง่ เรือ่ งน�ำ้ ท่วมถนนอยูอ่ ย่างทุกวันนี้ นับเป็นเรือ่ งยากทีเ่ ราจะได้มเี วลาคิด เรือ่ งความเปลีย่ นแปลงของโลกทีห่ อ้ มล้อมเราอยูไ่ ด้อย่างตกผลึก เพราะปัญหาภายใน แต่ละเรือ่ งทีก่ ล่าวมา ถึงจะไม่ใช่เรือ่ งระดับโลก ก็ลว้ นต้องสิน้ เปลืองกำ�ลังเงิน กำ�ลัง ความคิด หรือกำ�ลังทางการเมืองเข้าจัดการจนแทบไม่มเี วลาพอไปคิดทำ�อย่างอืน่ ทัง้ สิน้ น่าเสียดายทีป่ ระเทศไทยไม่ได้มที างเลือก บทสัมภาษณ์ดร.สุรนิ ทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน (‘Higher Purpose’) บ่งบอกให้เรารูว้ า่ พลังความเปลีย่ นแปลง ของโลกโลกาภิวตั น์ไม่ได้หยุดรอความพร้อมของประเทศไหนๆ ระหว่างทีเ่ ราคิดแก้ ปัญหารถชนช่วงเทศกาลสงกรานต์ Google กำ�ลังทดสอบระบบรถไร้คนขับบนถนนจริง ในแคลิฟอร์เนีย ระหว่างทีเ่ ราพยายามควบคุมการแสดงความเห็นบนโลกโซเชียล IBM Amazon Facebook และอีกหลากหลายบริษทั กำ�ลังสร้างโมเดลธุรกิจทีจ่ ะเปลีย่ นโลก จากข้อมูลการใช้อนิ เทอร์เน็ตของผูค้ น ในขณะทีเ่ รากังวลเรือ่ งการเลือกตัง้ ของเรา การเลือกตัง้ ของสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรัง่ เศส และอีกหลายประเทศได้เกิดขึน้ แล้วและ ล้วนสามารถนำ�ไปสูก่ ารเปลีย่ นแปลงทีจ่ ะกระทบสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ได้ทง้ั หมด ฯลฯ ประเทศไทยจะปฏิรปู สิง่ ต่างๆ เสร็จแล้วหรือไม่กต็ าม หากไม่อยากถูกทิง้ ไว้ เบือ้ งหลัง โลกบังคับให้เราอยูใ่ นภาวะทีต่ อ้ งสร้างเครือ่ งบินพร้อมๆ กับบินไปให้ได้ ความน่ากังวลมีอยูอ่ ย่างเดียวเท่านัน้ บทเรียนจากโลกและประวัตศิ าสตร์ชใ้ี ห้เห็น ว่าประเทศทีจ่ ะ ‘บิน’ ไปบนกระแสโลกาภิวตั น์ได้อย่างสง่าผ่าเผยนัน้ ยากทีจ่ ะปฏิเสธ ชิน้ ส่วนสำ�คัญอย่างการมีสว่ นร่วม ประชาธิปไตย และกลไกของตลาดได้ ดังนัน้ หากแนวทางการปฏิรปู ประเทศไทยไม่ได้เป็นไปโดยให้ความสำ�คัญกับองค์ประกอบ เหล่านีด้ งั เช่นทีน่ กั คิด นักวิชาการหลายคนตัง้ ข้อสังเกต ก็เท่ากับเรากำ�ลังพยายามสร้าง ‘เครือ่ งบิน’ ในแบบทีไ่ ม่มใี ครเคยทำ�มาก่อน ถ้าสิง่ นีไ้ ม่ได้ท�ำ ให้ประเทศไทยกลายเป็นเครือ่ งบินรุน่ ใหม่ไปเลย ก็อาจเป็นว่า ณ ขณะทีเ่ รากำ�ลังต้องยกเครือ่ งประเทศเพือ่ จะบินนี้ เรากลับถอดปีกและใบพัดทิง้ ไป เพราะไม่เชือ่ ว่ามันสำ�คัญ ธนกร จ๋วงพานิช บรรณาธิการ OPTIMISE | JULY 2017

002-003 Advance Notice.indd 3

03

6/22/17 2:38 PM


Contents 06

24

36

52

รถไฟฟ้าไร้คนขับจะพลิกโฉม เศรษฐกิจและการขนส่งภายใน 15 ปี?

Sweet Magic

Going Global

เชฟทำ�ขนมผู้เป็นทั้งนักทดลองและศิลปิน กำ�ลังก้าวออกมาจากภายใต้เงามืดของ เชฟทำ�อาหาร

ขยายความมั่งคั่งไร้พรมแดนกับ Global Investment Service (GIS)

Golden Tears หลังผ่านพ้นทศวรรษแห่งความเป็นเลิศ อุตสาหกรรมโฆษณาไทยต้องหันมาเผชิญหน้ากับ ความผันเปลี่ยนของยุคดิจิตัล

ECONOMIC REVIEW

FULL FLAVORS

SERVING YOU

THINKING BIG

บรรณาธิการ ธนกร จ๋วงพานิช

CLIENT VALUES

08

INVESTMENT REVIEW

เทคโนโลยีกับการลงทุน

12

OPTIMUM VIEW

Higher Pursuit ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ กับความแปรปรวนของ โลกาภิวัตน์และการสร้างโอกาสให้ประเทศไทย

46

BEYOND BOUNDARIES

30

STATE OF THE ARTS

In Their Hands การจัดสร้างพระเมรุมาศในพระราชพิธี ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 คือภารกิจยิ่งใหญ่ในการ ถ่ายทอด 70 ปีแห่งพระราชวิสัยทัศน์อัน ล้ำ�สมัยผ่านขนบธรรมเนียมศิลป์โบราณ

Persian Escapade วิวทิวทัศน์ตื่นตาในเมืองที่ผู้คนให้การต้อนรับ ขับสู้อย่างอบอุ่นนี้ไม่ได้อยู่ไกลเกินเอื้อมแล้ว ด้วยเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพฯ สู่เตหะราน

ที่ปรึกษา บรรยง พงษ์พานิช อภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ภัทรพร มิลินทสูต บรรณาธิการที่ปรึกษา ผกาภรณ์ บุณยัษฐิติ

40

Exchanging Ideas สิตามนินท์ สุสมาวัตนะกุล กับการต่อยอด Superrich Thailand ให้ก้าวผ่าน ครึ่งศตวรรษอย่างงดงามและร่ำ�รวยความสุข

Team

จัดทำ�โดย สำ�นักสื่อสารองค์กรกลุ่มธุรกิจ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร

58

COMMON PURPOSE

ผลิตโดย

Asia City Media Group www.asiacity.com

Seeds of Change ผู้ประกอบการหนุ่มวัย 30 ปีพยายามสร้างความ เปลี่ยนแปลงในสังคมผ่านการพักโรงแรมห้าดาวและ การรับประทานมื้อหรู

62

LIVING SPACE

From the Ground up โครงการออกแบบของไทยที่มีชื่อเสียงในระดับ นานาชาติเริ่มใช้วัสดุและดีไซน์ใหม่ๆ แสดงให้เห็นถึง ความก้าวล้ำ�ในแวดวงสถาปนิกเพื่อชุมชนของไทย

68

Contact กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร 209 อาคาร เคเคพี ทาวเวอร์ ถนนสุขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร. 02 165 5555

www.kiatnakinphatra.com E-mail: corporate.communications@kiatnakin.co.th

THE AGENDA

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 โดยกลุ่มธุรกิจการเงิน เกียรตินาคินภัทร ห้ามนำ�ส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้ไปลอกเลียนแบบ ทำ�สำ�เนา ถ่ายเอกสาร หรือนำ�ไปเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต และเครือข่ายต่างๆ ไม่ว่าในรูปแบบใดๆ นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางบริษัทเท่านั้น 04

OPTIMISE | JULY 2017

004-005 TOC.indd All Pages

OPTIMISE | JULY 2017

05

6/22/17 2:29 PM


ECONOMIC REVIEW

รถไฟฟ้าไร้คนขับจะพลิกโฉม เศรษฐกิจและการขนส่งภายใน 15 ปี?

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ และหัวหน้าสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จ�ำกัด (มหาชน)

06

OPTIMISE | JULY 2017

006-007 Economic Invesment.indd All Pages

ในช่วงประมาณ 100 ปีทผี่ า่ นมา การสอบ ให้ได้ใบขับขีร่ ถยนต์ การได้ขบั รถยนต์และเป็น เจ้าของรถยนต์สว่ นตัว มองได้วา่ เป็นส่วนส�ำคัญ ยิง่ ของการเติบโตเป็นผูใ้ หญ่และความเจริญ รุง่ เรืองตามล�ำดับของพวกเราทุกคน นอกจากนี้ การเป็นเจ้าของรถยนต์สว่ นตัวยังเป็นความ ภูมใิ จและถือได้วา่ เป็นเครือ่ งใช้ทบี่ ง่ บอกถึง ความส�ำเร็จและสถานะทางสังคม แต่บทวิเคราะห์ Rethink X: Disruption, Implications and Choices­­—Rethinking Transportation 2020-2030 (พฤษภาคม 2017 โดยเจมส์ อาร์บบี และโทนี เซบา) ท�ำนายว่า อุตสาหกรรมรถยนต์และระบบขนส่ง ตลอดจน อุตสาหกรรมข้างเคียง (เช่น ภาคพลังงาน) ก�ำลังจะถึงคราวพลิกผัน เพราะพัฒนาการทาง เทคโนโลยีวา่ ด้วยรถไฟฟ้าและรถไร้คนขับจะ ท�ำให้การเป็นเจ้าของรถและความผูกพันกับ รถยนต์สว่ นตัวสาบสูญไปภายในไม่ถงึ 15 ปี ข้างหน้า โดยคนส่วนใหญ่จะหันมาใช้บริการ ขนส่ง (Transportation-as-a-Service หรือ TaaS) ซึง่ จะเปลีย่ นแปลงวิถชี วี ติ ของมนุษย์ ทุกคนให้มคี ณ ุ ภาพดีขนึ้ แต่กจ็ ะส่งผลกระทบ ในเชิงลบต่ออุตสาหกรรมและการจ้างงานบาง ภาคส่วนอย่างกว้างขวาง ซึง่ หากการวิเคราะห์ ของเจมส์ และโทนี ถูกต้อง เราจะเริม่ เห็นผล พวงของความพลิกผันในสหรัฐอเมริกาภายใน ปี 2030 ดังนี้ 1. ยอดขายรถยนต์ในสหรัฐฯ จะลดลงไป 70% เมือ่ เทียบกับปี 2020 และจ�ำนวนรถยนต์ ทีใ่ ช้วงิ่ บนถนนจะลดลงจาก 247 ล้านคัน เหลือ เพียง 44 ล้านคัน รถยนต์ประมาณ 100 ล้านคัน จะถูกเจ้าของจอดทิง้ ไว้เพราะไปใช้บริการขนส่ง ทีถ่ กู และสะดวกกว่า 2. ต้นทุนการซือ้ บริการขนส่งต่อ 1 กิโลเมตร จะถูกกว่าการเป็นเจ้าของรถยนต์ถงึ 10 เท่า ท�ำให้ทกุ ครอบครัวประหยัดเงินรวมกันได้ 1 ล้าน ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเปรียบเสมือนกับการมี รายได้เพิม่ 10% เพือ่ น�ำไปซือ้ สินค้าและบริการ อืน่ ๆ เพิม่ ขึน้ 3. น�ำ้ มันทีป่ จั จุบนั ราคาประมาณ 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลจะลดลงเหลือ 25 ดอลลาร์สหรัฐ โชว์รมู ขายรถยนต์จะเลิก

กิจการทัง้ หมดภายใน 2024 เบีย้ ประกันรถยนต์ จะลดลง 90% และรถยนต์สนั ดาปภายใน (เช่น ทีเ่ ราใช้กนั อยูท่ กุ วันนี)้ จะแทบขายไม่ได้เลยหลัง จากปี 2030 และอาชีพคนขับรถก็จะหายไปจาก โลกนีภ้ ายในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ท่านทีส่ นใจเรือ่ งนีใ้ นรายละเอียด ย่อมจะ สามารถเข้าไปอ่านบทวิเคราะห์ดงั กล่าวใน อินเทอร์เน็ตได้ ซึง่ มีขอ้ มูลเชิงลึกอีกมากมาย แต่ในขัน้ นีผ้ มจะขออธิบายโดยสรุปว่าแนวคิด ของนักวิเคราะห์ทงั้ 2 ทีน่ ำ� มาสูข่ อ้ สรุปดังกล่าว นัน้ มีทมี่ าทีไ่ ปอย่างไร ดังนี้ 1. ประเด็นพืน้ ฐานคือปัจจุบนั ทุกครัวเรือน เป็นเจ้าของรถยนต์บา้ นละ 1-3 คัน โดยใช้ รถยนต์ 10-15% ต่อวัน (ส่วนใหญ่จอด 20-22 ชัว่ โมง ใช้จริงวันละ 2-4 ชัว่ โมง) โดยรถคันหนึง่ ถูกใช้ขบั ประมาณ 2 แสนกิโลเมตรในช่วง 5 ปี ทีเ่ ป็นเจ้าของ แต่รถไฟฟ้าทีใ่ ห้บริการ TaaS นัน้ จะถูกใช้ทงั้ วันทัง้ คืน จึงคาดว่าจะใช้งานคันละ 8 แสนกิโลเมตรภายใน 5 ปี แต่เสียค่าเสือ่ มสภาพ เท่ากันและค่าบ�ำรุงรักษาต�ำ่ เป็นเพราะรถไฟฟ้า มีชนิ้ ส่วนทีส่ กึ หรอเพียง 20 ชิน้ เมือ่ เทียบกับรถ สันดาปภายในทีเ่ ราใช้กนั อยูป่ จั จุบนั ซึง่ มีชนิ้ ส่วน ทีส่ กึ หรอได้ 2,000 ชิน้ (รถไฟฟ้าไม่มที อ่ ไอเสีย หัวเทียนระบบ หัวฉีดน�ำ้ มัน หม้อน�ำ้ ถังน�ำ้ มัน เครือ่ งปัน่ ไฟ ฯลฯ) ส�ำหรับแบตเตอรีล่ เิ ธียมนัน้ นักวิเคราะห์ยนื ยันว่ามีอายุใช้งานเกือบ 1 ล้าน กิโลเมตร และน่าจะพัฒนาดีขนึ้ ไปอีกภายใน 10 ปีขา้ งหน้า 2. เนือ่ งจากบริษทั ทีใ่ ห้บริการขนส่งจะซือ้ รถไฟฟ้ามาเป็นจ�ำนวนหลายพันหลายหมืน่ คัน จึงย่อมสามารถน�ำรถไฟฟ้ามาใช้งานได้คมุ้ ค่า กว่า (ใช้ทกุ วันทัง้ วัน) และยังกดราคาตลอด จนค่าบ�ำรุงรักษาและค่าประกันได้ จึงสามารถ ขายบริการขนส่งได้ถกู กว่าการทีค่ รัวเรือนซือ้ รถ ใช้เองถึง 4-5 เท่า นอกจากนัน้ พัฒนาการของ ระบบไร้คนขับ ซึง่ เชือ่ ว่าจะมีกฎหมายออกมา รองรับอย่างเต็มรูปแบบ พร้อมกับเทคโนโลยี (เช่น Lidar ทีร่ าคาลดลงเหลือไม่ถงึ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ) ภายในปี 2020-2025 จะท�ำให้ ต้นทุนอีกส่วนหนึง่ คือคนขับรถยนต์ ลดลงไปได้ อย่างมากและเพิม่ ความสะดวกสบายและความ ปลอดภัยในการบริการอย่างเต็มรูปแบบ

พัฒนาการทางเทคโนโลยีวา่ ด้วยรถไฟฟ้าและรถไร้คนขับ จะท�ำให้การเป็นเจ้าของรถ และความผูกพันกับรถยนต์ ส่วนตัวสาบสูญไปภายใน ไม่ถงึ 15 ปีขา้ งหน้า 3. รถทีใ่ ห้บริการขนส่งจะเปลีย่ นไปจาก รถยนต์สว่ นตัวทีเ่ ราใช้กนั อยูใ่ นปัจจุบนั มาเป็น ห้องรับแขกหรือห้องท�ำงานเคลือ่ นที่ กล่าวคือ เมือ่ ขึน้ รถ เราก็จะเริม่ ท�ำงานบนโลกออนไลน์ หรือดูหนัง ฟังเพลง ซือ้ สินค้า ฯลฯ ได้อย่างต่อ เนือ่ ง ดังนัน้ บริษทั ยักษ์ใหญ่ เช่น Google, Didi, Apple จึงต้องลงทุนและให้ความส�ำคัญกับ เทคโนโลยีไร้คนขับอย่างมาก เพราะคาดว่าจะ เป็นอีกลูท่ างหนึง่ ทีจ่ ะขายบริการของตน ตลอดจนผลิตอุปกรณ์และเทคโนโลยีทเี่ ป็น ส่วนส�ำคัญของรถไร้คนขับได้ในอีกทางหนึง่ ด้วย กล่าวคือการให้บริการดังกล่าวจะท�ำให้เกิดการ แข่งขันตัดราคาค่าให้บริการขนส่งลงไปได้อกี โดยหวังว่าจะขายบริการอืน่ ๆ ให้กบั ผูบ้ ริโภคได้ เมือ่ มานัง่ ในรถไร้คนขับของบริษทั ตน 4. การขนส่งส่วนบุคคลกับการขนส่ง สาธารณะจะแบ่งแยกออกจากกันล�ำบาก และรัฐบาลจะต้องแปรเปลีย่ นบทบาทมาเป็น ผูค้ วบคุมระบบการขนส่ง (รวมทัง้ ท�ำให้เกิดการ แข่งขันอย่างเป็นธรรม) มากกว่าการทีร่ ฐั บาลจะ ต้องเป็นเจ้าของหรือสร้างระบบขนส่งด้วยตัวเอง เช่นปัจจุบนั กล่าวโดยสรุปคือเทคโนโลยีรถไฟฟ้า ไร้คนขับจะท�ำให้อตุ สาหกรรมรถยนต์และ อุตสาหกรรมทีเ่ กีย่ วเนือ่ งในสหรัฐฯ ซึง่ ปัจจุบนั มีมลู ค่ารวมทัง้ สิน้ 1.48 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลปี 2015) ลดลงเหลือเพียง 393,000 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐในปี 2030 ครับ

OPTIMISE | JULY 2017

07

6/22/17 12:47 PM


INVESTMENT REVIEW

เทคโนโลยี กับการลงทุน ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และหัวหน้าทีมวิจัยลูกค้าบุคคล สายงานลูกค้าบุคคล บริษทั หลักทรัพย์ ภัทร จ�ำกัด (มหาชน)

ในโลกปัจจุบัน เทคโนโลยีที่พัฒนาไป อย่างรวดเร็วส่งผลให้โมเดลธุรกิจหลาย ประเภทถูกสั่นคลอนจนผู้เล่นเดิมต้องดิ้นรน เพื่อความอยู่รอดและต้องเตรียมการวางแผน ปกป้องธุรกิจของตน ในขณะที่นักลงทุนก็ต้อง วิเคราะห์กันอย่างจริงจังว่าอนาคตต่อการ ลงทุนของตนจะเป็นอย่างไร ในบางธุรกิจ เราเริ่มเห็นผู้เล่นรายใหม่ น�ำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาแข่งขันในรูปแบบ ที่ต่างออกไป ท�ำเอาผู้เล่นเดิมต้องปรับตัว กันยกใหญ่ กรณีศึกษาอย่างธุรกิจพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) แอพพลิเคชัน ส�ำหรับเรียกรถรับจ้างผ่านทางสมาร์ทโฟนของ Uber หรือบริการจองที่พักผ่าน Airbnb เป็น ตัวอย่างที่ดีของผู้เล่นรายใหม่ที่เข้ามาสร้าง ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในธุรกิจ ในบางธุรกิจ แม้ว่าจะยังไม่มีผู้เล่นใหม่ กระโดดเข้ามาในตลาดอย่างชัดเจนหรือผู้เล่น เดิมจะยังคงครองตลาดใหญ่ แต่ก็พอจะคาด เดาได้ว่า เทคโนโลยีใหม่ก�ำลังค่อยๆ คืบคลาน เข้ามา และเป็นความเสี่ยงต่อธุรกิจรูปแบบเดิม ที่ควรจะต้องเริ่มส�ำรวจตรวจสอบกันแล้วว่า จะต้องเตรียมพร้อมรับมือกับโมเดลธุรกิจแบบ ใหม่ที่ก�ำลังจะเปลี่ยนแปลงไป เช่น รถยนต์ ไฟฟ้า รถยนต์ไร้คนขับ หรือธุรกิจ Financial Technology (FinTech) ต่างๆ และในบางกรณี เราพอจะรู้ได้ว่า เทคโนโลยีก�ำลังพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ แต่เราอาจ 08

OPTIMISE | JULY 2017

008-011 Investment Review.indd 8-9

จะยังไม่ค่อยแน่ใจว่าจะออกมาในรูปแบบไหน และจะเป็นความเสี่ยงกับธุรกิจได้อย่างไร

ปัญญาประดิษฐ์

ช่วงนีม้ กี ารพูดถึงเทคโนโลยีลำ้� สมัย อย่าง ‘ปัญญาประดิษฐ์’ (artificial intelligence) หรือที่ เรียกกันทัว่ ไปว่า AI ซึง่ หมายความถึงวิทยาการ ด้านคอมพิวเตอร์ทพี่ ฒ ั นาการคิด การหารูปแบบ การให้เหตุผล การปรับตัว และการตัดสินใจที่ เลียนแบบการท�ำงานของสมองมนุษย์ เมื่อไม่นานนี้ AlphaGo โปรแกรม คอมพิวเตอร์ที่พัฒนาโดย Google Deepmind ได้สร้างประวัติศาสตร์โดยการเอาชนะเซียน หมากล้อมมือหนึ่งของโลก หรือ ‘โกะ’ 9 ดั้ง ในเกมการแข่งขันบนกระดานขนาด 19x19 เส้นไปได้ คนที่เล่นหมากล้อมคงทราบดีว่า โอกาสที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเอาชนะ มนุษย์บนเกมหมากล้อมแบบเต็มกระดาน เกิดขึ้นได้ยากมาก เพราะบนกระดานหมากมี ความเป็นไปได้แบบมหาศาล โดยมีการเดิน เกมต่างๆ กันได้ถึงกว่า 2E+170 (ใช่ครับ เลข สองตามด้วยศูนย์ 170 ตัว) เครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถหาทางเดินที่ดีที่สุดโดยพิจารณา ทุกทางเดินที่เป็นไปได้แบบเกมอื่นๆ ในขณะที่ คนเล่นหมากล้อมเก่งๆ พอจะใช้ทักษะ ความ เคยชิน และการตัดสินใจโดยใช้กึ๋นมาช่วย การเอาชนะเซียนหมากล้อมจึงเป็นความ ส�ำเร็จครั้งส�ำคัญของเทคโนโลยีปัญญาOPTIMISE | JULY 2017

09

6/22/17 2:26 PM


INVESTMENT REVIEW

แม้แต่ด้านงานวิเคราะห์หุ้น ก็เริ่มมีการน�ำ ปัญญาประดิษฐ์มาใช้ จากเดิมที่นักวิเคราะห์ต้อง นั่งกรอกงบกันทุกไตรมาสและเขียนออกมาเป็น บทวิเคราะห์ ตอนนี้ก็เริ่มมีการใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ ข้อมูลที่ออกมา และใช้ความสามารถด้านภาษาของ ปัญญาประดิษฐ์เขียนออกมาเป็นข่าวและบทวิเคราะห์ กันแล้ว ประดิษฐ์ที่มีเคล็ดลับมาจากการ ‘เรียนรู้’ ของ เครื่อง โดยใช้ข้อมูลจากเกมการเล่นเก่าๆ ของ มนุษย์ นอกจากนี้ ยังมีการฝึกเดินหมากทั้ง กับมนุษย์และฝึกกับตัวเอง อีกทั้งยังสามารถ พัฒนาโปรแกรมเพิ่มเติมด้วยตัวเอง แล้วจับ มาแข่งกันเองแบบแพ้คัดออก เรียกว่าสามารถ เรียนรู้ ฝึกฝน และคัดเลือกได้อย่างไม่รู้จัก เหนื่อยเลยทีเดียว หลังจากชัยชนะครั้งนั้น วงการปัญญา ประดิษฐ์ก็เริ่มคึกคักขึ้นมาอีกครั้ง และเริ่ม มีการตั้งค�ำถามว่า เทคโนโลยีแบบนี้เอาไป ประยุกต์ท�ำอะไรได้บ้างและขีดจ�ำกัดอยู่ที่ไหน ดูเหมือนว่าจะมีการน�ำเอาปัญญา ประดิษฐ์เข้ามาใช้งานกันบ้างแล้วในงานทีใ่ ช้ สามัญส�ำนึก ใช้เหตุผลเบือ้ งต้นและใช้ความ เคยชิน เช่น การควบคุมรถแบบไร้คนขับ การควบคุมหุน่ ยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม การเรียนการสอน การให้บริการในโรงพยาบาล การให้บริการลูกค้า การจัดการจราจร การจดจ�ำ ใบหน้า น�ำ้ เสียง และรูปแบบการใช้ภาษา การเลือกน�ำเสนอสินค้าทีเ่ หมาะกับลูกค้า หรือ แม้แต่การเลือกและแต่งเพลง และต่อไปก็นา่ จะ มีการพัฒนาและน�ำมาใช้งานกันมากขึน้ อาจกล่าวได้วา่ เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ เริ่มเข้ามามีบทบาทในหน้าที่ที่เคยเป็นของ มนุษย์แล้ว

โปรแกรมคอมพิวเตอร์กับการ ลงทุน

แม้กระทั่งธุรกิจให้บริการการลงทุนก็ไม่ อาจจะหลีกหนีความเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาได้

10

OPTIMISE | JULY 2017

008-011 Investment Review.indd 10-11

หลายคนก�ำลังพูดถึงว่า คอมพิวเตอร์อาจจะ เข้ามาจัดการด้านการเงินและการลงทุน โดย เทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งฝั่งบริหารเงินลงทุน (buy side) ฝั่งตัวแทน คนขาย (sell side) และฝั่งให้คำ� ปรึกษาการ ลงทุน ในฝั่งบริหารเงินลงทุน เทคโนโลยีที่พัฒนา ขึ้นเริ่มเข้ามามีบทบาทในการจัดการการลงทุน มากขึ้นเรื่อยๆ มีการใช้ algorithmic trading หรือการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการตัดสิน ใจซื้อขายหลักทรัพย์ เพื่อหาก�ำไรส่วนต่างของ ราคาในตลาดต่างๆ หรือหากลยุทธ์ในการ ลงทุนจากรูปแบบของราคาและปัจจัยพื้นฐาน หรือแม้แต่การหาแนวโน้มของราคาระยะสั้น แบบรวดเร็วมากขนาดที่คนยังคิดและเคาะ ไม่ทัน ในบางกรณี ความเร็วของการท�ำธุรกรรม เป็นเรื่องส�ำคัญมากจนมีการน�ำคอมพิวเตอร์ ที่เร็วที่สุดใส่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไปติดตั้ง ให้ใกล้คอมพิวเตอร์ของตลาดหลักทรัพย์มาก ที่สุด เพื่อให้คำ� สั่งไปถึงและเคาะราคาได้ก่อน คนอื่น ค�ำว่า ‘ก่อนคนอื่น’ ในที่นี้ เราก�ำลัง พูดถึงความแตกต่างของความเร็วในการส่ง ค�ำสั่งเป็นหนึ่งส่วนพันของวินาทีหรือน้อยกว่า สายส่งยาวกว่ากันไม่กี่เมตรก็อาจเป็นปัญหา ได้ ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจถ้าจะถึงกับมีการ แย่งชั้นวางคอมพิวเตอร์กันเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า คอมพิวเตอร์ ยังไม่สามารถเอาชนะมนุษย์ในการตัดสินใจ ลงทุนแบบใช้ปัจจัยพื้นฐานระยะยาวได้

แม้วอร์เรน บัฟเฟตและนักลงทุนระดับโลก หลายคนได้เปิดเผยเคล็ดลับมาให้แล้วก็ตาม อาจจะเป็นเพราะว่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการ ลงทุนมีมากมายจนการประมวลข้อมูลทั้งหมด กลายเป็นการเสียเวลา แต่การใช้กึ๋นและการ ตัดสินใจแบบมนุษย์โดยใช้ประสบการณ์ยัง เหนือกว่าปัญญาประดิษฐ์ทั้งหลายอยู่ (แต่อนาคตก็ไม่แน่นะครับ) แม้แต่ด้านงานวิเคราะห์หุ้น ก็เริ่มมีการน�ำ ปัญญาประดิษฐ์มาใช้ จากเดิมที่นักวิเคราะห์ ต้องนั่งกรอกงบกันทุกไตรมาสและเขียนออก มาเป็นบทวิเคราะห์ ตอนนี้ก็เริ่มมีการใช้ คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ข้อมูลที่ออกมา และใช้ ความสามารถด้านภาษาของปัญญาประดิษฐ์ เขียนออกมาเป็นข่าวและบทวิเคราะห์กันแล้ว แน่นอนว่าเขียนออกมาได้เร็วกว่ามนุษย์คน ไหนๆ แต่เรื่องความคิดและความเฉียบคมของ การวิเคราะห์อาจจะยังไม่สามารถทดแทนคน ได้ในขณะนี้ (แต่อนาคตก็ไม่แน่เหมือนกัน) นอกจากนี้ ยังเริ่มมีการใช้ปัญญาประดิษฐ์ ในการให้คำ� แนะน�ำด้านการเงินและการลงทุน ที่เรียกว่า Robo-advisor กันมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ ว่าจะเป็นการวางแผนภาษี การวางแผนด้าน การเงินระยะยาว หรือให้ค�ำแนะน�ำในการ เลือกลงทุนในกองทุนและสินทรัพย์ต่างๆ ให้ เหมาะสมกับนักลงทุนแต่ละคน ซึ่งในปัจจุบัน มีผู้ให้บริการด้านนี้มากขึ้นเรื่อยๆ และมีการ เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เห็นไหมครับว่าคอมพิวเตอร์และ เทคโนโลยีต่างๆ ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นใน หลายๆ อุตสาหกรรม ไม่เว้นแม้กระทั่งธุรกิจ ด้านการเงินและการลงทุน แม้ในปัจจุบันอาจ จะยังไม่สามารถทดแทนมนุษย์ได้ทั้งหมด แต่ดูจากแนวโน้มของการพัฒนาแล้ว คงจะ ประมาทไม่ได้ มนุษย์อย่างเราๆ คงต้องเตรียม พร้อมกันไว้ดี ๆ ทั้งจากมุมมองของแรงงาน และมุมมองของนักลงทุนที่ต้องเตรียมรับมือ กับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต สักวัน บทความแบบนี้อาจจะถูกเขียนโดย ปัญญาประดิษฐ์ก็ได้นะครับ

OPTIMISE | JULY 2017

11

6/22/17 2:26 PM


optimum view

Higher Pursuit ธนกร จ๋วงพานิช

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ วิเคราะห์ความแปรปรวนของ โลกาภิวัตน์และการสร้างโอกาสให้ประเทศไทย ในหมูผ่ นู้ บั ถือศาสนาอิสลาม มี ‘ฮะดีษ’ หรือ ภาษิตบทหนึง่ บอกว่าสิง่ แรกทีพ่ ระอัลเลาะห์ ทรงสร้างคือปากกาและสรรพปรากฏการณ์ใน จักรวาลล้วนเป็นสิง่ ทีถ่ กู เขียนไว้แล้วทัง้ สิน้ ไม่วา่ จะเป็นการขึน้ และตกของดวงอาทิตย์ หรือเส้น ทางชีวติ ของมนุษย์แต่ละคน กระนัน้ แม้ส�ำ หรับ ผูท้ ไ่ี ม่ได้สมาทานความเชือ่ แบบอิสลาม เรือ่ งราว ชีวติ ของดร.สุรนิ ทร์ พิศสุวรรณ ยังอาจให้ความ รูส้ กึ ของปรากฏการณ์ทเ่ี กิดขึน้ อย่างเหมาะเจาะ ราวถูกกำ�หนดไว้กอ่ นไม่นอ้ ย บทบาทสำ�คัญทีส่ ดุ ของดร.สุรนิ ทร์ คือ การดำ�รงตำ�แหน่งเลขาธิการอาเซียนระหว่าง ปี 2551-2555 ซึง่ เป็นช่วงเวลาทีค่ กึ คักไปด้วย กระแสของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จนดร.สุรนิ ทร์กลายเป็นเสมือนตัวแทนความ เป็นไทยทีโ่ ดดเด่นได้ในระดับสากลควบคูก่ นั กับ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ ผูด้ �ำ รงตำ�แหน่ง ผูอ้ �ำ นวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (WTO) ใน ช่วงเวลาไล่เลีย่ กัน แต่สง่ิ ทีน่ อ้ ยคนทราบคือก่อน จะ ‘โก-อินเตอร์’ เช่นนัน้ ดร.สุรนิ ทร์เติบโตมา จากครอบครัวมุสลิมทีย่ ดึ ถือธรรมเนียมและเคร่ง ศาสนายิง่ ยวดถึงขนาดทีว่ า่ ในยามดร.สุรนิ ทร์ ได้รบั ทุน AFS ไปเรียนชัน้ มัธยมศึกษาทีป่ ระเทศ สหรัฐอเมริกา ทางบ้านเคยคิดปฏิเสธไม่ให้ไป เพราะกลัวเสียดร.สุรนิ ทร์ไปให้กบั ‘ซาตาน’ ดังนัน้ เมือ่ เปรียบเทียบประชาคมอาเซียนซึง่ มี ลักษณะต่างคนต่างอยูแ่ ละเต็มไปด้วยความ 12

OPTIMISE | JULY 2017

012-023 Optimum View.indd 12-13

หวาดระแวงกันและกันในอดีตจนมาเป็น อาเซียนทีเ่ ปิดเผยมากขึน้ ในเวทีโลกทุกวันนี้ อาเซียนจึงเปรียบคล้ายภาพขยายของชีวติ ดร.สุรนิ ทร์ขณะก้าวจากความอนุรกั ษ์นยิ มมา สูค่ วามเป็นสากลนิยมทีส่ อดคล้องกันอย่างน่า ประหลาด อย่างทีด่ ร.สุรนิ ทร์บอกเองว่า “หาก อาเซียนเปรียบเสมือนมนุษย์สกั คน เรือ่ งราวของ เขาหรือเธอกับเรือ่ งราวของชีวติ ของผมคือนิยาย ชีวติ เรือ่ งเดียวกัน” ด้วยเหตุนเ้ี อง ในวันนีท้ ป่ี ระเทศไทยกำ�ลัง พยายามวางโครงสร้างของประเทศต่อไปใน อนาคต ทัง้ ในด้านสังคม การเมืองและเศรษฐกิจ และหลายครัง้ ต้องตัดสินใจเลือกระหว่างการ เป็นประเทศอนุรกั ษ์นยิ มทีม่ องเข้าข้างในหรือ ประเทศโลกาภิวตั น์ทม่ี องออกข้างนอก มุมมอง ของดร.สุรนิ ทร์ทไ่ี ด้สงั เกตการณ์โจทย์คล้ายคลึง กันทัง้ ในระดับส่วนตัวและระดับอาเซียนมา อย่างยาวนานจึงน่าจะเป็นข้อมูลประกอบการ ตัดสินใจชิน้ สำ�คัญ โดยเฉพาะในโลกทีไ่ ม่มผี ใู้ ด หยัง่ รูว้ า่ พระเจ้าบันทึกปลายทางของนโยบาย ต่างๆ ไว้เช่นไร

พหุวฒ ั นธรรม

“ผมเกิดทีต่ นี เขาหลวงในนครศรีธรรมราช บ้านเป็นปอเนาะหรือโรงเรียนศาสนา คุณตา คุณพ่อ คุณแม่ ก็เป็นครูสอนศาสนา แต่พออายุ 6 ขวบ ต้องเรียนสายสามัญในโรงเรียนปกติก็

เดินไปเรียนทีว่ ดั บ้านตาล ต.กำ�แพงเซา อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เพราะฉะนัน้ พอกลางวัน เรียนหนังสือในชายคาวัด มีครูบางท่านเป็นพระ แล้วกลางคืนก็กลับมาอยูใ่ นบริบทของศาสนา อิสลามทีเ่ คร่งครัด จึงทำ�ให้บคุ ลิกถูกหล่อหลอม โดย 2 วัฒนธรรม มองกลับไปแล้วเหมือนกับ เป็นอุบตั เิ หตุทท่ี �ำ ให้เตรียมตัวมาอยูใ่ นแวดวง การทูต อยูใ่ นพหุวฒ ั นธรรม” พหุวฒ ั นธรรมไม่ใช่ค�ำ ทีห่ นักเกินไป ทวด ของดร.สุรนิ ทร์คอื ผูบ้ กุ เบิกชุมชนมุสลิมใน นครศรีธรรมราช ตาของเขาคือโต๊ะครูคนแรก ของปอเนาะหรือโรงเรียนสอนศาสนาบ้านตาล ในขณะทีบ่ ดิ าก็อทุ ศิ จิตวิญญาณให้กบั ศาสนา ถึงขนาดเดินทางไปแสวงบุญทีน่ ครเมกกะเป็น เวลาถึง 11 ปี ตัง้ แต่ดร.สุรนิ ทร์ ยังมีอายุเพียง 6 ขวบ ในวัยเด็ก ดร.สุรนิ ทร์ ยังจำ�ได้วา่ เขาเริม่ ต้น แต่ละวันด้วยการละหมาดในเวลาตี 4 ใช้เวลา กลางวันท่องมงคลสูตรของพระพุทธศาสนา และฟังแม่อา่ นคัมภีรก์ รุ อานให้ฟงั ก่อนเข้านอน “ถ้าพูดว่าการเกิดมาในครอบครัวทีเ่ คร่งครัด และสุดท้ายต้องมาทำ�งานเคลือ่ นไหวอยูบ่ นเวที โลกเป็นข้อยกเว้น มันก็เป็นข้อยกเว้น แต่ถา้ มอง อีกทางหนึง่ นีแ่ หละคือวิถชี วี ติ ของโลกาภิวตั น์ เราต้องเคลือ่ น เลือ่ น ย้าย ไปในบริบทหลาก หลายตลอดเวลา ไม่วา่ เราจะเป็นนักธุรกิจ เป็น นักการทูต ผูบ้ ริหาร นักการเมือง ทุกคนต้อง มองไปพ้นภูมศิ าสตร์ของตัวเอง เปิดกว้างต่อทุก อย่าง เราต้องเรียนรูท้ จ่ี ะทำ�ตัวให้เป็นประโยชน์ ในสภาวะทีม่ นั หลากหลาย เปลีย่ นแปลงตลอด เวลา แล้วถามว่ามันมีความขัดแย้งกันจริงหรือ จากการทีเ่ คยเคร่งครัดเข้มงวดแล้วมาเปิดกว้าง อาจจะไม่เสมอไป เพราะสุดท้ายชีวติ ในตอน เด็กก็คอื การเตรียมให้คณ ุ มีกรอบ มีอตั ลักษณ์ ชีวติ ทีไ่ หลเลือ่ นเคลือ่ นย้ายในโลกาภิวตั น์ไม่ได้ หมายความว่าคุณต้องสูญเสียอัตลักษณ์หรือ ความเป็นตัวเองไป คุณต้องรูจ้ กั ตัวเอง ต้อง มัน่ ใจในความเป็นตัวเอง แต่ในขณะเดียวกัน ก็ตอ้ งสามารถตัง้ รับประเด็นปัญหาทีจ่ ะเข้ามา 360 องศาไม่วา่ เรือ่ งเศรษฐกิจ ความมัน่ คง การทูต การลงทุน การท่องเทีย่ ว ปรัชญา ศาสนา ประวัตศิ าสตร์ หรืออะไรก็ตาม” หนึง่ ในวิถชี วี ติ ของโลกาภิวตั น์ทช่ี ดั เจนทีส่ ดุ OPTIMISE | JULY 2017

13

6/22/17 2:22 PM


optimum view

หลักสำ�คัญคือความใจกว้าง พร้อมจะรับรูค้ วามแตกต่าง หลากหลายทีม่ อี ยู่ ฝรัง่ เรียกว่า ‘philosophical humility’ คือความรูส้ กึ ถ่อมตนในทางวิชาความรู้ เหมือนกับทีโ่ สเครตีสบอกว่า ‘I know that I know nothing’ เรารูว้ า่ เราไม่รอู้ ะไรเลย ดังนัน้ เราจึงอยาก ถามมากขึน้ อยากฟังมากขึน้ อยากเรียนมากขึน้ สามารถเห็นได้จากตารางงานของดร.สุรนิ ทร์เอง ในระยะเวลาเพียงไม่กส่ี ปั ดาห์ ภารกิจของเขา ครอบคลุมตัง้ แต่การไปประชุมในฐานะทีป่ รึกษา ประธานธนาคารอิสลามเพือ่ การพัฒนา (Islam Development Bank) ในเจดดาห์ การรับเสด็จ เจ้าฟ้าชายชาร์ลสในฐานะทีป่ รึกษาของสถาบัน ในมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด การร่วมงาน 50 ปี อาเซียนทีโ่ ตเกียว การดูงานสมาร์ทซิตใ้ี น โยโกฮามา ไปจนถึงการกลับมารับศีลอดใน เดือนรอมฎอนทีบ่ า้ นเกิด บทบาทหน้าทีใ่ น หลากหลายพืน้ ทีภ่ มู ศิ าสตร์เหล่านีอ้ าจชวนให้ นึกถึงองค์ความรูท้ จ่ี �ำ ต้องกว้างขวางครอบคลุม แต่ส�ำ หรับดร.สุรนิ ทร์ การยอมรับใน ‘ความไม่ร’ู้ อาจเป็นสิง่ ทีส่ �ำ คัญยิง่ กว่า “หลักสำ�คัญคือความใจกว้าง พร้อมจะรับ รูค้ วามแตกต่างหลากหลายทีม่ อี ยู่ ฝรัง่ เรียกว่า ‘philosophical humility’ คือความรูส้ กึ ถ่อมตน ในทางวิชาความรู้ เหมือนกับทีโ่ สเครตีสบอกว่า ‘I know that I know nothing’ เรารูว้ า่ เราไม่รู้ อะไรเลย ดังนัน้ เราจึงอยากถามมากขึน้ อยาก ฟังมากขึน้ อยากเรียนมากขึน้ ถ้าเราไม่ปดิ ตัวเอง ไม่แข็งกร้าวว่าสิง่ ทีเ่ รารูเ้ ป็น absolute truth เราก็จะพร้อมรับฟัง พร้อมทีจ่ ะแลกเปลีย่ น ตรงกันข้าม ถ้าไม่มที ศั นคติน้ี มันจะนำ�ไปสูส่ ง่ิ ที่ ท่านพุทธทาสเรียกว่า ‘ตัวกูของกู’ ยึดมัน่ ถือมัน่ โดยไม่ยอมรับว่าคนอืน่ อาจจะมีอะไรทีเ่ ราน่าจะ เรียนรูไ้ ด้ และความมีตวั กูของกูอย่างนีน้ แ่ี หละ ทีน่ �ำ ไปสูค่ วามขัดแย้งในสังคม ความขัดแย้งใน ประเทศ แต่สว่ นตัวโชคดีทส่ี งั คม 2 วัฒนธรรม ในวัยเด็กช่วยให้เราเห็นมาแล้วว่าความจริงมันมี มากกว่า 1 ดังนัน้ มันทำ�ให้เราพร้อมทีจ่ ะถามว่า 14

OPTIMISE | JULY 2017

012-023 Optimum View.indd 14-15

อะไรคือความจริงในมิตทิ ่ี 3 ในมิตทิ ่ี 4 ต่อไปอีก …อย่างตอนทีเ่ ป็นเด็กอายุ 5-6 ขวบเราได้ ฟังคุณปู่ คุณตา คุณพ่อ น้า อาทัง้ หลายสนทนา ถกเถียงกันเรือ่ งเทววิทยาในปอเนาะซึง่ มีแต่ คำ�ถามทีเ่ ด็กยังไม่นา่ ได้ยนิ ได้ฟงั แต่ผมนวดให้ คุณตาอยูต่ รงนัน้ ก็เลยพลอยได้ยนิ เช่นเขาถาม กันว่าพระเจ้าสร้างและกำ�หนดสิง่ ต่างๆ ด้วยการ พูด แต่การทีด่ อกไม้บานทุกวัน ผลิใบทุกวัน ราก งอกทุกวัน กิง่ งอกทุกวันนีแ่ ปลว่าพระเจ้าพูดให้ มันเป็นอย่างนัน้ ทุกๆ ครัง้ ทุกๆ วันเลยหรือ หรือ ว่าพระเจ้าเพียงแค่สร้างกฎเกณฑ์ขน้ึ มา อย่างที่ อริสโตเติลใช้ค�ำ ว่า The Mechanics แล้วให้สง่ิ ต่างๆ มันไหลไปของมันเอง โดยพระเจ้าไม่ตอ้ ง มาคอยพูดๆ สัง่ นูน่ สัง่ นี่ สัง่ ทุกสิง่ ทุกอย่างทุกครัง้ ทีม่ นั แปรเปลีย่ นไปในจักรวาลนี้ นีค่ อื สิง่ ทีเ่ ขา ถกเถียงกัน เราก็นง่ั ฟังไป”

ประเทศไทยอาจกำ�ลังดำ�เนินไปในทิศทางแรก และนัน่ ดูจะไม่ใช่สง่ิ ทีด่ ร.สุรนิ ทร์เห็นพ้องนัก “แนวทางนีเ้ กิดขึน้ มาจากสิง่ ทีเ่ รียกว่า ‘framing’ หรือการตัง้ สมมติฐาน คือถ้าคุณตัง้ สมมติฐานอย่างนี้ คุณก็ยอ่ มได้ขอ้ สรุปอย่างนี้ สมมติฐานทีว่ า่ คืออะไรบ้าง หนึง่ ประชาธิปไตย เต็มไปด้วยความวุน่ วาย สอง คนไทยยังไม่พร้อม มีประชาธิปไตย สาม พรรคการเมืองเต็มไปด้วย ผลประโยชน์ สี่ พรรคการเมืองคอร์รปั ชันทัง้ นัน้ แน่นอนพอสมมติฐานเป็นอย่างนี้ ข้อสรุปก็คอื กฎเกณฑ์ควบคุมเต็มไปหมดอย่างนี้ คอร์รปั ชัน กันนัก อย่ากระนัน้ เลย ต้องควบคุมอย่าให้ออก นอกลูน่ อกทางได้ …ผมไม่แน่ใจว่านีค่ อื สมมติฐานทีถ่ กู ต้อง สมมติฐานเหล่านีอ้ าจไม่ได้ผดิ ทัง้ หมด เราเคยมี ประสบการณ์การเมืองทีโ่ กลาหล วุน่ วาย รุนแรง เห็นแก่ตวั คอร์รปั ชันกันจริง เพียงแต่เราจะเอา คำ�สัง่ หรือโครงสร้าง ประสบการณ์ทเ่ี กิดขึน้ ในช่วงระยะหนึง่ มาสรุป ในวันนี้ คำ�ถามอภิปรัชญาของจักรวาลที่ เพือ่ อนาคตทีไ่ กลอีก 20-30 ปีขา้ งหน้าไม่ได้ ไม่ ดร.สุรนิ ทร์ได้ยนิ ได้ฟงั ในวัย 5 ขวบ ย้อนกลับมา เช่นนัน้ อนาคตมันจะอึดอัด ตีบตัน และอาจจะ ให้เขาพิจารณาอีกครัง้ ในรูปของคำ�ถามเกีย่ ว ทำ�ให้รฐั ธรรมนูญทีเ่ ราตัง้ ใจให้ถาวรกลายเป็น กับการปฏิรปู เพราะดูเหมือนประเทศไทยก็ตอ้ ง แค่รฐั ธรรมนูญชัว่ คราวอีกฉบับเท่านัน้ เพราะ เลือกระหว่างแนวทางการสร้างสังคมทีด่ ผี า่ น ถ้าเราไม่คดิ ให้ตกว่าอะไรคือปัจจัย คือองค์ การควบคุมและสัง่ ทีละเรือ่ ง กับการสร้างกรอบ ประกอบ คือแรงทีจ่ ะกำ�หนดอนาคตต่อไป กฎเกณฑ์ทย่ี ดื หยุน่ เพือ่ เปิดโอกาสให้สง่ิ ต่างๆ มี แล้วออกแบบโครงสร้างทีร่ องรับสิง่ เหล่านัน้ ได้ พัฒนาการและปรับตัวไปตามครรลองได้โดย วันหนึง่ ทุกอย่างมันจะต้องพังลงมาอีกอยูด่ ี ไม่ตอ้ งสัง่ เช่นกัน สิง่ เดียวทีต่ า่ งคือในขณะที่ …ปัญหาคือในวันนี้ สังคมยังยอมรับ คำ�ถามทางปรัชญายังไม่ได้ขอ้ สรุป เนือ้ หาของ สมมติฐานเหล่านัน้ ตัวอย่างง่ายๆ พอมีรา่ ง รัฐธรรมนูญ ยุทธศาสตร์ชาติ และกฎหมายอีก รัฐธรรมนูญออกมาแล้วนักการเมืองออก ไม่นอ้ ยกว่า 200 ฉบับทีค่ อ่ นข้างให้ความสำ�คัญ มาแสดงความคิดเห็นคัดค้านว่ามันอาจจะ กับกลไกการกำ�หนดควบคุม ชีใ้ ห้เห็นแนวโน้มว่า สร้างปัญหาในระยะยาว นักการเมืองคนนัน้ OPTIMISE | JULY 2017

15

6/22/17 2:23 PM


optimum view อาจจะเป็นนักการเมืองทีด่ เี ลยนะ เป็นคนทีม่ ี ประสบการณ์ มองไกล แต่ผลสรุปของสังคม กลายเป็นว่า ถ้านักการเมืองไม่ชอบรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ แสดงว่ารัฐธรรมนูญต้องมีอะไรดี มัน เป็นตรรกะทีบ่ ดิ เบีย้ วมาก คือไม่ยอมรับเลยว่า นักการเมืองอาจจะมีแนวคิดทีว่ างอยูบ่ นพืน้ ฐาน ทีถ่ กู ต้องได้”

โลกาภิวตั น์ยอ้ นกลับ

ในขณะทีแ่ นวทางการบริหารแบบมุง่ ควบคุมให้เกิดระเบียบภายในประเทศสูงสุดของ รัฐบาล เช่น แนวคิดร่างพ.ร.บ.มาตรฐานวิชาชีพ สือ่ มวลชน พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำ�ความผิด เกีย่ วกับคอมพิวเตอร์ ตลอดจนมาตรา 44 และ ประกาศคสช. อีกหลายฉบับอาจขัดแย้งกับ หลักการเสรีนยิ มซึง่ เป็นหัวใจสำ�คัญของโลก ยุคโลกาภิวตั น์ในช่วงหลายสิบปีทผ่ี า่ นมา แต่ ในแง่หนึง่ กลับสอดคล้องไปกับกระแสอนุรกั ษ์ นิยมทีก่ �ำ ลังเฟือ่ งขึน้ ในโลกตะวันตกไม่วา่ จะ เป็นปรากฏการณ์ Brexit ในประเทศอังกฤษ นโยบาย America First ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ในสหรัฐอเมริกา หรือขาขึน้ ของ พรรคการเมืองอนุรกั ษ์นยิ มขวาจัดในฝรัง่ เศส อิตาลี และเยอรมนี “ย้อนหลังกลับไปเมือ่ 10-15 ปีทแ่ี ล้ว พวกที่ ต่อต้านกระแสโลกาภิวตั น์คอื พวกโลกที่ 3 อย่าง พวกเรา เพราะกลัวว่าอำ�นาจโลกาภิวตั น์จะมา เอาเปรียบ เป็นจักรวรรดินยิ มยุคใหม่ สังเกตได้ ว่าทุกครัง้ ที่ G7 ประชุม ทุกครัง้ ที่ World Bank หรือ IMF ประชุม จะมีการเดินขบวนโดยเอ็นจีโอ ของพวกเรา แต่ตอ่ มาเราพบว่าโลกาภิวตั น์เป็น สิง่ ทีด่ ี มันช่วยยกคนจนขึน้ จากเส้นความยากจน (poverty line) คนจีนกับอินเดียกว่า 500 ล้าน คนกลายเป็นชนชัน้ กลาง การลงทุนการส่งออก เฟือ่ งฟู ฝรัง่ ซือ้ เราขาย ฝรัง่ ดีไซน์อะไรมา เราก็ ผลิตให้ได้ เราเริม่ ได้ประโยชน์ …แต่พอเราได้ประโยชน์ เจ้าของโลกาภิวตั น์ เดิมกลับเริม่ ต่อต้าน เพราะรูส้ กึ ว่าตัวเองสูญเสีย งานไปอยูต่ า่ งประเทศ ไก่ทเ่ี ขาเป็นคนแพร่พนั ธุ์ พอไปอยูป่ ระเทศอืน่ มันไปผสมจนกลายเป็น ไก่ชนทีม่ คี วามเชีย่ วชาญ มีความคล่องตัว มีความแกร่ง แถมเอาค่าแรงถูก ทีเ่ ขาชักสูไ้ ม่ได้ 16

OPTIMISE | JULY 2017

012-023 Optimum View.indd 17

เขาไม่นกึ หรอกว่าทีจ่ ริงเขาก็ได้สนิ ค้าราคาถูก สินค้าคุณภาพ และยังเป็นเจ้าของทรัพย์สนิ ทาง ปัญญาทัง้ หลายอยูด่ ี แต่ในเมือ่ งานอยูข่ า้ งนอก ประเทศ ชนชัน้ กลางของเขาก็เริม่ หยุดนิง่ มันจึง เกิดเป็นกระแสต่อต้านโลกาภิวตั น์ โดยเฉพาะ อังกฤษทีเ่ คยคิดว่า ตัวเองมี ‘exceptionalism’ หรือมีความพิเศษ มีความเป็นข้อยกเว้นไม่ เหมือนคนอืน่ กลับต้องมาเจอคนงานจากทัว่ โลก เจออาชญากรรม เจอความรุนแรง แถมยังต้อง คอยรับเอามติของยุโรปมาออกเป็นกฎหมาย ภายในประเทศด้วย เขาจึงรูส้ กึ ว่าเสียอำ�นาจ อธิปไตย เสียการควบคุม อย่ากระนัน้ เลย แยก ดีกว่า” อย่างไรก็ตาม ดร.สุรนิ ทร์เห็นว่ารัฐทีค่ ดิ ว่า ตนแตกต่างจนสามารถอยูเ่ ป็นเอกเทศจาก กระแสของโลก และตึงตัวไม่ยอมเปลีย่ นแปลง สุดท้ายกลับจะยิง่ ขับตัวเองเข้ามุมอับเข้าไปอีก ในแง่น้ี น่าสนใจว่าความสำ�เร็จอันมีลกั ษณะ เฉพาะของประเทศไทยในหลายมิติ ไม่วา่ วัฒนธรรม ประวัตศิ าสตร์ อุปนิสยั ของผูค้ น จะ ทำ�ให้ประเทศตกอยูใ่ นความเสีย่ งของอคติเรือ่ ง exceptionalism หรือความไม่เหมือนใครเช่น เดียวกันกับอังกฤษหรือไม่ “ผมคิดว่าความพิเศษของประเทศเรามีอยู่ จริง การทีเ่ ราอยูร่ อดไม่เป็นเมืองขึน้ ของคนอืน่ คือความสำ�เร็จพิเศษของเรา แต่นน่ั เป็นความ สำ�เร็จของบรรพบุรษุ สมัยนัน้ ประเทศต่างๆ ขับเคีย่ วกันด้วยอำ�นาจการทหาร แต่เรากลับ ใช้การทูตสร้างสมดุลทางการเมืองกับประเทศ มหาอำ�นาจได้ เราเปิดประเทศ ตัง้ แต่รชั กาลที่ 4 เริม่ ส่งลูกไปเรียนในยุโรป รัชกาลที่ 5 เรียนภาษา อังกฤษกับแหม่มแอนนา เลียวโนเวนส์ แล้ว เสด็จทีต่ า่ งๆ เพือ่ ศึกษาแนวทางการปกครอง ของชาติตะวันตกแบบ pro-active เพราะฉะนัน้ ในวันทีก่ �ำ แพงเบอร์ลนิ ล้มลงปี 1989 เราคือ ประเทศเดียวทีพ่ ดู ได้เลยว่า ‘ฉันจะกลับไปยัง สถานทีต่ ง้ั เก่าของคณะทูตไทยทีต่ ง้ั อยูท่ ม่ี มุ ถนน ในเซนต์ปเี ตอร์สเบิรก์ ในรัสเซีย’ ประเทศอืน่ พูด ไม่ได้ เพราะสมัยก่อนนัน้ เขายังไม่เป็นประเทศ เลย ความสำ�เร็จเหล่านีค้ อื exceptionalism ของเรา แต่ปญ ั หาคือเราอยูใ่ นอดีตนานเกิน ไป เราไม่เห็นว่าโลกทีก่ �ำ ลังเปลีย่ นแปลงลืน่

ความสำ�เร็จเหล่านีค้ อื exceptionalism ของเรา แต่ปญ ั หาคือ เราอยูใ่ นอดีตนานเกินไป เราไม่เห็นว่าโลกทีก่ ำ�ลัง เปลีย่ นแปลงลืน่ ไหลอย่าง รวดเร็วแล้วมันต้องการ ทักษะความเชีย่ วชาญที่ ต่างไปจากเดิม ไหลอย่างรวดเร็วแล้วมันต้องการทักษะความ เชีย่ วชาญทีต่ า่ งไปจากเดิม …ในอาเซียน ผมสังเกตว่าการทูตมีอยู่ 2 แบบ แบบแรกคือการทูตของกลุม่ ประเทศ ทีเ่ ป็นอาณานิคม ซึง่ ก็คอื ทุกประเทศยกเว้น ประเทศไทย ผมใช้ค�ำ ว่า ‘diplomacy of defiance’ คือเขาต้องต่อสู้ ดิน้ รนกว่าจะได้มา ซึง่ อิสรภาพ เขามีความรูส้ กึ ว่าต้องสร้างประเทศ สร้างชาติ สร้างอัตลักษณ์ ดังนัน้ ประวัตศิ าสตร์ จึงเตรียมเขามาให้เก่งการทูตของการแข่งขัน การทูตของการขัดแย้ง เก่งการเจรจาเรือ่ งผล ประโยชน์ เรือ่ งการสร้างการเติบโต เพราะเขา ต้อง defy ต้องต่อสูก้ บั มหาอำ�นาจเพือ่ สร้าง ชาติขน้ึ มา ส่วนของไทยเป็น ‘diplomacy of accommodation’ คือใครมาเราก็รบั มือได้ รูจ้ กั สร้างสมดุล ประสบการณ์ของประเทศไม่ได้เกิด มาจากการดิน้ รน สูญเสีย เราอยูก่ บั ความสำ�เร็จ มาตลอด ซึง่ ก็ดเี ยีย่ ม ไม่ใช่เรือ่ งเสียหายเลย เพียงแต่ถงึ วันนี้ ในโลกยุคทีต่ อ้ งแข่งขันกัน ต้องออกไปข้างนอก ต้องไปต่อรองรักษา ผลประโยชน์ เราต้องถามว่าการทูตสไตล์ไหน ทีจ่ ะตอบปัญหาเราได้ดกี ว่ากัน”

อย่าให้เป็นข้อยกเว้น

ดร.สุรนิ ทร์เขียนหนังสือเรือ่ ง ‘ความสำ�เร็จ ไม่มขี อ้ ยกเว้น’ (สำ�นักพิมอมรินทร์, 2556) ซึง่ OPTIMISE | JULY 2017

17

6/22/17 2:23 PM


optimum view

เราเอาเอกชนไปพูดแทน ไม่ได้ เราต้องพูดในนามรัฐ แต่ตลอดเวลา 5 ปีทผ ่ี มไป อยูอ่ าเซียน ผมพบว่าระบบ เราไม่สามารถสร้างคนที่ พร้อมจะไปแข่งขันเจรจา ต่อรองในนามประเทศ ได้เลย ผูแ้ ทนไทยคือคนที่ เงียบทีส่ ดุ ในวงเจรจา บอกเล่าเรือ่ งราวในเส้นทางชีวติ ของเขา ไม่วา่ จะ เป็นการเติบโตมาในปอเนาะ การปัน่ จักรยานวัน ละ 20 กิโลเมตรเพือ่ ไปเรียนในตัวเมืองจังหวัด นครศรีธรรมราช การสร้างความประทับใจ ให้กบั อาจารย์ฝรัง่ จนนำ�ไปสูท่ นุ การศึกษา ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด การรับจ้างล้างจานใน ร้านอาหารตัง้ แต่คนื แรกทีถ่ งึ สหรัฐฯ ด้วยความ ขัดสนทุนทรัพย์จนเป็นลมสลบอยูข่ า้ งอ่างล้าง จาน หรือแม้กระทัง่ การบริหารการเมืองระหว่าง ประเทศในยามดำ�รงตำ�แหน่งเป็นเลขาธิการ อาเซียน ฯลฯ เพือ่ สร้างแรงบันดาลใจว่าหาก เด็กรุน่ เก่าทีเ่ ติบโตมาจากพืน้ ทีช่ นบทขาดการ รูเ้ ห็นอย่างเขายังสามารถสะสมต้นทุนจนมา ทำ�งานบนเวทีโลกได้ เด็กรุน่ ใหม่ยอ่ มไม่ควรยก เอาข้อจำ�กัดต่างๆ มาเป็นเหตุทอ้ ถอยง่ายเกินไป อย่างทีเ่ ขาเขียนไว้ในหนังสือว่า “เมือ่ เราเตรียม ตัวเองให้พร้อมอยูเ่ สมอ ไม่เคยหยุดทีจ่ ะดิน้ รน เรียนรูแ้ ละมองหาสิง่ ทีด่ กี ว่า เมือ่ นัน้ โอกาสทีบ่ นิ อยูส่ งู ลิบลับจะร่อนลงมาเกาะทีบ่ า่ เอง” แต่ใน ขณะเดียวกัน ดร.สุรนิ ทร์กเ็ ชีอ่ ว่าหากประเทศจะ แข่งขันได้อย่างแท้จริง โครงสร้างทางสังคมต้อง เอือ้ ให้ความสำ�เร็จของบุคคลในสังคมเกิดได้โดย สม�ำ่ เสมอทัว่ ไป มากกว่าจะเป็นข้อยกเว้นเช่นกัน “ท่านชวน (ชวน หลีกภัย) ชอบใช้ค�ำ ว่าอย่า สุกเพราะบ่ม อย่าใช้เครือ่ งทุน่ แรง เมือ่ ก่อนคน ปักษ์ใต้จะเอาแก๊สตะเกียงกรีดยางมาบ่มมะม่วง ให้สกุ เร็วๆ คุณชวนบอกว่าอย่าใช้เครือ่ งทุน่ แรง 18

OPTIMISE | JULY 2017

012-023 Optimum View.indd 18-19

มะม่วงทีส่ กุ เองมันหวานกว่ามะม่วงบ่มแก๊ส สังคมไทยเป็นสังคมทีเ่ ต็มไปด้วยการบ่ม การ หล่อเลีย้ งกันด้วยอภิสทิ ธิ์ ด้วยนามสกุล ด้วย สถานภาพทางสังคม ถ้าสิง่ เหล่านีไ้ ม่ลดลง มัน ยากทีค่ นจำ�นวนมากจะรูส้ กึ ว่าลูกของเขาเองก็ มีโอกาสเติบโตงอกงามขึน้ ได้เท่าเทียมกับคนอืน่ แล้วเมือ่ ไหร่ทเ่ี ขารูส้ กึ อย่างนัน้ เขาย่อมไม่เห็นว่า มันเป็นภาระ เป็นความรับผิดชอบทีจ่ ะต้องทำ� ทุกอย่างเพือ่ บำ�รุงรักษาประเทศนี้ เขาก็จะคิดแค่ ว่า ‘แรงงานของฉันได้มาเท่านี้ ไปได้ไม่ไกลกว่านี้ ลูกหลานของฉันก็คงไปไม่ไกลกว่านี้ ดังนัน้ ฉันก็ อยูไ่ ปแค่วนั ต่อวันนีแ่ หละ’ แล้วเราจะสร้างความ สามารถในการแข่งขันของประเทศได้ยงั ไง …สิง่ เหล่านีจ้ ะนำ�ไปสูค่ วามแปลกแยก (alienation) คือคนไม่มองตัวเองว่าเป็นส่วน หนึง่ ของระบบและกระบวนการ เดีย๋ วนีค้ นหนุม่ สาวทีม่ คี วามสามารถไม่เข้าราชการแล้ว แต่ จะทำ�งานเป็นนายตัวเอง เก็บเงินไปเมืองนอก สะสมทักษะมาก็ไปทำ�งานเป็นทีป่ รึกษา คนทีม่ ี คุณภาพจะไม่อยูใ่ นระบบ คนทีอ่ ยูใ่ นระบบกลับ เป็นคนทีไ่ ม่สามารถเข้าใจความเปลีย่ นแปลง ได้ แล้วถ้าคนเหล่านีต้ อ้ งออกไปปกป้องผล ประโยชน์ของประเทศในต่างประเทศ เขาจะ ทำ�ได้ไหม บนเวทีระหว่างประเทศ เราเอาเอกชน ไปพูดแทนไม่ได้ เราต้องพูดในนามรัฐ แต่ตลอด เวลา 5 ปีทผ่ี มไปอยูอ่ าเซียน ผมพบว่าระบบเรา ไม่สามารถสร้างคนทีพ่ ร้อมจะไปแข่งขันเจรจา ต่อรองในนามประเทศได้เลย ผูแ้ ทนไทยคือคนที่ เงียบทีส่ ดุ ในวงเจรจา” สุดท้ายแล้วการไม่ให้โอกาสทีเ่ ท่าเทียมกับ คนในประเทศ จึงเท่ากับเป็นการไม่ให้โอกาส ประเทศทีจ่ ะขับเคลือ่ นไปด้วยคนทีด่ ที ส่ี ดุ “กลไกทีเ่ ป็นหลักทีส่ ดุ ของการบริหาร ประเทศ คือกลไกระบบราชการ แต่ในเมือ่ ระบบนีเ้ ต็มไปด้วยการเมืองและระบบอุปถัมภ์ ข้าราชการจะไม่สามารถขึน้ ไปบนเวทีเพือ่ ต่อ รองกับใครได้ เพราะหนึง่ เขาไม่ได้มาด้วยความ พร้อมหรือความรูค้ วามสามารถ และสอง เขา ไม่รสู้ กึ ผูกพันกับงาน เพราะทัง้ ชีวติ ก็เติบโตมา ด้วยการวิง่ ได้เป็นรองอธิบดีซี 8 วันนีก้ เ็ ริม่ วิง่ ซี 9 พรุง่ นี้ งานของอธิบดีทค่ี วรจะเรียนรู้ เขาไม่ สนใจเลย

…อย่างทีเ่ ราพูดกันเรือ่ ง philosophical humility การทำ�งานในเวทีโลก เราต้องตระหนัก ในความไม่รขู้ องเรา และเมือ่ ไม่รู้ เราก็ตอ้ งอ่าน เพือ่ หาข้อมูลเพิม่ และซึมซับแนวคิดหลากหลาย ประสบการณ์ของผมคือ เวลาคุณอ่านหนังสือ เล่มหนึง่ คุณจะคล้อยตามคนเขียน พออ่านเล่ม ทีส่ อง คุณจะรูส้ กึ เอ๊ะ---ถูกทัง้ สองคน แต่พอ อ่านเล่มทีส่ าม คุณจะเริม่ มีความคิดของคุณเอง ทีม่ นั อยูท่ า่ มกลางความคิดของสามสีเ่ ล่ม แต่ถา้ คุณไม่อา่ นเลย คุณไม่มที างทีจ่ ะมี analytical skill ทีจ่ ะใช้ในการตัดสินใจเพือ่ ตัวคุณเอง เพือ่ ประเทศชาติ เพือ่ สังคมได้ …ของประเทศอืน่ คนทีจ่ ะขึน้ ไปเป็นตัวแทน ประเทศเขาต้องมี ‘facility of the language’ เพราะกว่าเขาจะขึน้ ไปอยูถ่ งึ ตรงจุดนัน้ เขาต้อง ผ่านการกลัน่ กรอง ทดสอบ แลกเปลีย่ น เรียนรู้ สิง่ ต่างๆ มาก่อนแล้ว ในวันทีเ่ ขามีต�ำ แหน่ง เขา จึงมีอะไรมากไปกว่าตำ�แหน่ง แต่ของเราไม่ เวลานัง่ อยูบ่ นโต๊ะเจรจาในวงการทูตของเรา ไม่ ว่าระดับไหน หนึง่ คือเงียบ สอง คือพูดได้แค่ เรือ่ งกอล์ฟ แต่เรือ่ งอืน่ ๆ เช่น ปรัชญา วรรณคดี ดนตรี ละคร ฯลฯ finer things in life เหล่านี้ เรา แทบไม่รเู้ ลย …แน่นอน เราอาจพอรูเ้ รือ่ งวัฒนธรรมของ เรา แต่มนั ไม่พอ เวลาคุณอยูต่ รงนัน้ คุณต้องรู้ อีกหลายเรือ่ งเพือ่ ละลายน�ำ้ แข็ง เพือ่ ทีจ่ ะบอก กับคนอืน่ ได้วา่ เรามีหลายสิง่ ร่วมกัน ไม่ใช่วา่ คุณ ไปถึงตรงนัน้ แล้วอ่าน 10 ข้อทีก่ ระทรวงเตรียม มาให้แล้ว Thank you เลย มันไม่มที างเจรจา สำ�เร็จ มันจะสำ�เร็จก็ตอ่ เมือ่ เขารูส้ กึ ว่าเราเข้าใจ ในเรือ่ งเดียวกัน เป็นห่วงในเรือ่ งเหมือนๆ กัน เรา ต้องสร้างจุดร่วมตรงนีใ้ ห้ได้ แต่คนของเราไม่มี และนีค่ อื บุคคลทีจ่ ะกำ�หนดทิศทางของประเทศ ไปอีก 20 ปี”

ทางออก

สำ�หรับดร.สุรนิ ทร์ ในเมือ่ สิง่ ทีเ่ ป็นปัญหา คือความรูส้ กึ ไม่มสี ว่ นร่วมของคนส่วนใหญ่ใน ประเทศ ทางออกหรือคำ�ตอบก็อยูต่ รงปัญหา นัน้ เอง “ผมไม่เห็นทางอืน่ นอกจากสร้างบรรยากาศ ให้เราได้การมีสว่ นร่วม ทางรอดของประเทศคือ OPTIMISE | JULY 2017

19

6/22/17 2:24 PM


optimum view แม่ฮอ่ งสอนต้องตัดสินใจทีก่ รุงเทพฯ หรือ เรา อยูต่ รงนีเ้ ราจะไปรูอ้ ะไร อย่าว่าแต่สดุ ท้ายถ้า ทางรอดของประเทศคือการเอาคนทีด่ ที ส่ี ดุ ของประเทศ อยากเปลีย่ นสีผงั เมืองจากสีเกษตรไปเป็นสี เข้ามาร่วมในการแสวงหาหรือวาดอนาคตร่วมกัน ซึง่ นี่ อุตสาหกรรม แค่มเี งินจ่ายก็เปลีย่ นได้อกี แล้ว หมายถึงการเปลีย่ นทัง้ ระบบว่าทำ�อย่างไรคน 65 ล้าน คนในพืน้ ทีเ่ ขาจะได้อะไร เขาก็มแี ต่จะรูส้ กึ ห่าง ก ผมถึงได้บอกว่าระบบนีไ้ ม่แก้ปญ ั หา คนถึงจะมีสว่ นร่วมในกระบวนการ ทำ�อย่างไรทุกคนถึงจะ ออกไปอี มันสร้างปัญหา เดินไปข้างหน้ามันจะยิง่ ทำ�ให้ รูส้ กึ ว่าการทำ�งานของตัวเองมีความหมาย ลูกหลานของ suffocate ตีบตัน และนำ�ไปสูว่ กิ ฤติ” น่าเสียใจทีแ่ ม้กระทัง่ การศึกษาซึง่ น่าจะ เขามีอนาคต เป็นฐานสำ�คัญของพัฒนาการในด้านอืน่ ๆ ก็มี การเอาคนทีด่ ที ส่ี ดุ ของประเทศเข้ามาร่วมในการ สอบตัวเองได้ มันจะ effective มันจะ efficient ปัญหาเป็นของตัวเองเช่นกัน แสวงหาหรือวาดอนาคตร่วมกัน ซึง่ นีห่ มายถึง ใส่เงินไป 500 บาท รัฐจะได้ตอบแทนกลับมา “ผมเองก็มาถึงตรงนีไ้ ด้ดว้ ยการศึกษา ผม การเปลีย่ นทัง้ ระบบว่าทำ�อย่างไรคน 65 ล้าน 1,000 เพราะคนจัดการทรัพยากรนัน้ ได้อย่าง ถึงมีความรูส้ กึ ว่า การศึกษาช่วยได้มาก เพราะ คนถึงจะมีสว่ นร่วมในกระบวนการ ทำ�อย่างไร มีประสิทธิภาพ เพราะเขาตืน่ ขึน้ มาแบบเป็น คุณต้องไปสร้างอนาคตต้องไปปลุกเด็กในวัน ทุกคนถึงจะรูส้ กึ ว่าการทำ�งานของตัวเองมีความ เจ้าของ ไม่ได้อยูแ่ บบซังกะตาย passive ซึง่ จะ ข้างหน้าว่าเขาก็สามารถสร้างอนาคตของเขา หมาย ลูกหลานของเขามีอนาคต ไม่ใช่ตดั สินกัน เอือ้ ต่อการเมืองอุปถัมภ์ แล้วการเมืองอุปถัมภ์ ได้ ความจริงการเมืองในอดีตให้ความสำ�คัญ ด้วยเรือ่ งว่าเขาเกิดทีไ่ หน เขาลูกใคร ก็คอื การเมืองประชานิยม เราจะพูดกันเรือ่ งแก้ กับกระทรวงศึกษาธิการมาก แต่เพราะอะไร …พืน้ ทีเ่ ดียวทีจ่ ะสร้างความเท่าเทียมนีไ้ ด้ วิทยาศาสตร์ แก้การวิจยั แก้เรือ่ งนวัตกรรมอะไร Because of the wrong reasons, not for the คือประชาธิปไตย แต่ในเมือ่ คนยังมีความรูส้ กึ ก็ตาม ถ้าไม่แก้บริบทกว้างเหล่านี้ มันก็จะไม่มี right reasons. การสนใจกระทรวงศึกษาธิการ แต่วา่ ประชาธิปไตยใช้ไม่ได้ ประชาธิปไตย ทางหลุดพ้นไปจากวัฏจักรของการอุปถัมภ์ได้ ด้วยเหตุผลทีผ่ ดิ คือสนใจเพราะงบการศึกษา …ผมเข้าธรรมศาสตร์ครัง้ แรก พอเจอคำ� ไม่เหมาะกับคนไทย ประชาธิปไตยมีแต่ มันมหาศาล คิดเป็น 21% ของงบแผ่นดิน หรือ สัมภาษณ์รนั ทดเลย คือ ‘วัดพระแก้วมรกตอยูฝ่ ง่ั สนใจเพราะกระทรวงการศึกษามีคนมาก เป็น ความขัดแย้ง ประชาธิปไตยเต็มไปด้วยการ แสวงหาผลประโยชน์ สิง่ ทีเ่ ราต้องทำ�คือการ ตะวันตกหรือฝัง่ ตะวันออกของแม่น�ำ้ เจ้าพระยา’ ฐานการเมืองทีด่ ี ถ้าสนใจด้วยเหตุผลทีถ่ กู คือ สร้างพืน้ ทีท่ ดลองให้เห็นว่าประชาธิปไตยที่ เพราะนีค่ อื คำ�ถามโปรคนกรุงเทพฯ คนบ้านนอก ต้องสนใจเพือ่ ไปสร้างอนาคต เพือ่ ปลุกความ อย่างผม ลงรถมาจากต่างจังหวัดเมือ่ เช้านีย้ งั ดี ทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ประสิทธิผล มันเป็นไปได้ รูส้ กึ ของเด็กว่ามีความหวัง ว่านีป่ ระเทศเรา ไม่ได้พกั เลย จะไปรูอ้ ะไรเกีย่ วกับกรุงเทพฯ ได้ จริงในเมืองไทย เราต้องไถ่คนื ชือ่ ทีด่ ๆี ความ อนาคตเรา เราทำ�ได้ ขนาดนัน้ ทำ�ไมเขาไม่ถามว่าวัดพระมหาธาตุท่ี รูส้ กึ ทีด่ ๆี ของประชาธิปไตยกลับมา โดย …อีกเรือ่ งทีต่ อ้ งทำ�ก็คอื Rule of Law นครศรีธรรมราชอยูฝ่ ง่ั ตะวันออก หรือฝัง่ ตะวันตก กฎหมายต้องเป็นกฎหมาย ตรงไปตรงมา เป็นประชาธิปไตยทีเ่ รียกว่า ‘participatory ของถนนราชดำ�เนินบ้าง นีค่ อื สิง่ ทีฝ่ งั อยูใ่ นกลไก โปร่งใส ต้องทำ�ให้คนของเรามีวนิ ยั และเคารพ democracy’ ประชาธิปไตยทีท่ กุ คนมีสว่ น ของสังคมและค่านิยมโดยไม่รตู้ วั ว่ามันเป็นไป ร่วมเป็นเจ้าของตลอดกระบวนการ ไม่ใช่ ในเรือ่ งของกฎเกณฑ์ระเบียบวินยั รอโอกาสของ เพือ่ คนทีม่ อี ภิสทิ ธิแ์ ละมีโอกาสแล้วในสังคม ประชาธิปไตยที่ 4 ปีมสี ว่ นร่วมครัง้ หนึง่ ไม่ใช่ ตัวเอง โดยไม่ใช้กลไกพิเศษ ใช้เครือ่ งทุน่ แรง …ยิง่ กว่านัน้ ในขณะทีเ่ ราคิดว่าคำ�ตอบคือ ทำ�ให้ทกุ คนรูส้ กึ ว่าชีวติ มี mobility คือเคลือ่ นไป ประชาธิปไตยทีบ่ อกว่า ‘เลือกผม ผมก็จะ การมีสว่ นร่วมอย่างนี้ แต่สง่ิ ทีก่ �ำ ลังเกิดขึน้ คือ อุปถัมภ์คณ ุ ’ แต่เป็นประชาธิปไตยทีบ่ อกว่า ได้ ลูกชาวนาสามารถทีจ่ ะเป็นนายกรัฐมนตรีได้ รัฐกำ�ลังรวมศูนย์ยง่ิ ขึน้ ความจริงการรวมศูนย์ ‘เลือกผม ผมจะได้มาร่วมงานกับคุณ’ ลูกเศรษฐีร�ำ่ รวยมหาศาล ถ้าไม่เก่งจริง ก็ตอ้ งลง (centralization) คือแนวคิดสมัยรัชกาลที่ 4 กับ มาข้างล่างได้ ไม่ใช่อยูไ่ ด้ดว้ ยอภิสทิ ธิ์ อยูไ่ ด้ดว้ ย …แล้วเราจะเริม่ กันทีต่ รงไหน ผมเห็นด้วย รัชกาลที่ 5 เพราะท่านต้องการรักษาประเทศไว้ นามสกุล กับอาจารย์เอนก เหล่าธรรมทัศน์วา่ ต้องเริม่ ที่ ระดับชุมชน Local Level ไปฟูมฟักกันตัง้ แต่ตรง ไม่ให้หลุดเป็นของฝรัง่ เศส หรืออังกฤษ มีการ …แน่นอนสิง่ เหล่านีม้ นั ต้องใช้เวลา ถามว่า นัน้ ไปให้อ�ำ นาจคนในระดับล่าง ให้เขาเรียนรูท้ ่ี แต่งตัง้ ข้าหลวงไปจากกรุงเทพฯ ลดอำ�นาจ มันพอทีจ่ ะสร้างการแข่งขันให้เราทันสำ�หรับช่วง จะอยูร่ ว่ มกันเป็นชุมชนเข้มแข็ง ในประสบการณ์ ของเจ้าเมือง ฯลฯ สิง่ เหล่านีร้ กั ษาประเทศไทย ชีวติ นีห้ รือ คำ�ตอบก็คอื ถ้าเราไม่เริม่ ตอนนี้ จะเริม่ ของผมคน งบพัฒนาทีส่ ง่ ไปให้ชมุ ชนใดก็แล้ว มาช้านาน แต่ตอนนีม้ นั เปลีย่ นไปแล้ว ถ้าจะ ตอนไหน มันไม่มคี �ำ ว่าสายไป” ตัง้ ตำ�รวจยศร้อยตรีคนหนึง่ ต้องตัดสินใจโดย แต่ ถ้าชุมชนไม่เข้มแข็ง เหมือนกับเอาเงินไป ละลายแม่น�ำ้ แต่ถา้ ชุมชนแข็งแรง มัน่ คง ตรวจ คนในกระทรวงหรือ ถ้าจะเปลีย่ นสีผงั เมืองของ 20

OPTIMISE | JULY 2017

012-023 Optimum View.indd 20-21

OPTIMISE | JULY 2017

21

6/22/17 2:24 PM


optimum view แกนสร้างพืน้ ทีส่ �ำ หรับประชาธิปไตยทีด่ ใี ห้มนั เกิดขึน้ ให้ได้ เพือ่ ช่วยคนอืน่ ๆ ในประเทศนี้ ซึง่ ผมว่าคนรุน่ ใหม่ตอ้ งคิดถึงปัญหาของสังคมให้มากขึน้ เขาย่อมไม่สามารถยอมแพ้ได้ตลอดไป เพราะ ต้องสร้างแกนสร้างพืน้ ทีส่ ำ�หรับประชาธิปไตยทีด่ ใี ห้มนั ถ้าถึงเวลานัน้ เมือ่ ไหร่ ทุกอย่างมันจะย้อนกลับ เกิดขึน้ ให้ได้ เพือ่ ช่วยคนอืน่ ๆ ในประเทศนี้ ซึง่ เขาย่อมไม่ มาหาพวกเขาเองเหมือนบูมเมอแรง คุณอาจ ดว่าคุณสามารถอยูน่ อกระบบและอยูร่ อด สามารถยอมแพ้ได้ตลอดไป เพราะถ้าถึงเวลานัน้ เมือ่ ไหร่ จะคิ ได้ แต่ไม่จริง เพราะเมือ่ ระบบพังลง ทุกอย่างมัน ทุกอย่างมันจะย้อนกลับมาหาพวกเขาเองเหมือน จะปัน่ ป่วนระส�ำ่ ระสายไปหมด แล้วถึงตอนนัน้ จะโทษใคร เพราะตอนคุณมีโอกาสทำ� คุณหนี บูมเมอแรง ออกไป คนทีเ่ ก่งทีด่ อี ย่างคุณ ยิง่ มีภาระหน้าทีต่ อ่ สังคมต่อประเทศ คุณไม่ได้ถกู ขัดเกลา ถูกฝึกมา เดี ย วกั น ปั ญ หาคื อ คุ ณ มองออกหรื อ เปล่ า ว่ า เรา กำ�หนดร่วมกัน เพือ่ ให้ไปอยูน่ อกระบบ กำ � ลั ง พู ด ถึ ง ภาษาไหนกั น อยู ่ คนส่ ว นใหญ่ ม ก ั แม้แนวทางการพัฒนาประเทศในปัจจุบนั …คุณต้องเข้ามา มีสว่ นร่วม แก้ไปในแบบ จะติ ด กั บ อยู ก ่ บ ั สั ญ ลั ก ษณ์ ข องภาษาคน ทำ � ให้ จะไม่ตรงกับอุดมคติทด่ี ร.สุรนิ ทร์หวังไว้ ถึงขนาด ของคุณ ในอาชีพของคุณ มองหาพืน้ ทีข่ อง รู ส ้ ก ึ ว่ า สิ ง ่ ต่ า งๆ ขั ด กั น ตลอด แต่ บ อ ่ ยครั ง ้ ถ้ า คุ ณ ที่ ณ จุดหนึง่ เขายอมรับว่า Shock Therapy ชุมชนทีค่ ณ ุ จะทำ�อะไรได้ เช่น ถ้าเริม่ จะเป็นพ่อ หลุ ด พ้ น จากสั ญ ลั ก ษณ์ พ วกนี ไ ้ ปได้ คุ ณ จะเข้ า ใจ ในรูปของวิกฤตอาจเป็นหนึง่ ในความเป็นไปได้ แม่ ลูกกำ�ลังจะเรียนอนุบาล ก็ตอ้ งสนใจเรือ่ ง อะไรได้ เ ยอะ คุ ณ จะสามารถอภั ย สามารถอยู ่ ในอนาคต กระนัน้ เขาก็ไม่เชือ่ ในการเพิกเฉย หลักสูตร เรือ่ งคุณภาพการเรียนการสอน มี กั บ ความย้ อ นแย้ ง ไม่ ล งตั ว ต่ า งๆ ได้ ” ทัศนคติไม่ยอมอ้างข้อยกเว้นเหนือความ ส่วนร่วม ขยับมันไป แก้มนั ไป สังคมไทยเคยได้ ทั ง ้ นี ้ เมื อ ่ คลี ค ่ ลายความอึ ด อั ด ย้ อ นแย้ ง ในใจ พยายามคือสิง่ ทีเ่ ขาใช้กบั ทัง้ ตนเองและการ รับการขนานนามจากนักวิชาการฝรัง่ ว่า It’s a เหล่ า นี ไ ้ ด้ สิ ง ่ ที เ ่ หลื อ อยู ก ่ ค ็ อ ื กำ � ลั ง ที จ ่ ะใช้ ช ว ี ต ิ และ ทำ�งาน bureaucratic polity คือเป็นสังคมทีด่ �ำ เนินไป ทำ � หน้ า ที ใ ่ นฐานะมนุ ษ ย์ ไ ด้ อ ย่ า งเต็ ม เปี ย ่ ม “ไม่วา่ เรือ่ งใด ถ้าคุณลองใคร่ครวญกับ ด้วยข้าราชการอย่างเดียว แต่ตอนนีม้ นั ไม่ใช่ “ผมจะสอนลู ก ตลอดเวลาว่ า ลู ก ต้ อ งไม่ อ ยู ่ สถานการณ์ของตัวเองเมือ่ ไหร่ เป็นไปได้มากว่า แล้ว ดังนัน้ เราจะปล่อยให้บรรยากาศยังเหมือน เพี ย งเพื อ ่ ตั ว เอง สั ต ว์ อ ยู เ ่ พี ย งเพื อ ่ ตั ว เอง แต่ ช ว ี ต ิ คุณจะมาถึงชัว่ ขณะทีค่ ณ ุ มี self-doubt สงสัย เดิม ยังมีแต่พฤติกรรมอย่างเดิมๆ ไม่ได้ มันไม่ใช่ มนุ ษ ย์ เ ป็ น ไปได้ เ พราะการอยู ร ่ ว ่ มกั น ในสั ง คม ตัวเองว่าจะดีพอหรือ จะเก่งพอหรือสำ�หรับงาน ลักษณะของประเทศทีเ่ ราควรทิง้ ไว้ให้กบั ลูก เราอาจจะไม่ ไ ด้ ร จ ้ ู ก ั กั น เป็ น ส่ ว นตั ว แต่ เ ราอยู ่ ตรงหน้า แต่สง่ิ ทีค่ ณ ุ ต้องทำ�คือแค่พยายาม หลาน ตอนนีส้ งั คมกำ�ลังวิง่ ไปด้วยแรงหลายแรง ในสิ ง ่ แวดล้ อ มเดี ย วกั น ที บ ่ ริ ห ารความสั ม พั น ธ์ มุง่ หน้าต่อไป อย่างทีผ่ มสอนลูกเลยว่า ‘พรุง่ นี้ เราต้องหันหน้าเข้าหากันแล้วมากำ�หนดร่วมกัน” ระหว่ า งมนุ ษ ย์ ท ง ้ ั หลายอยู ่ ไม่ ว า ่ จะเป็ น กฎหมาย พระอาทิตย์กข็ น้ึ อีกลูก’ คุณจะสงสัยตัวเองแค่ จารีต ประเพณี เพราะฉะนัน้ พอเกิดเป็นมนุษย์ ไหน พรุง่ นีพ้ ระอาทิตย์กย็ งั ขึน้ อีก และมันก็จะ ศาสนาอิสลามมีฮะดีษอีกบทหนึง่ กล่าวไว้วา่ แล้ ว ส่ ว นใหญ่ เ ราอยู เ ่ พื อ ่ คนอื น ่ และเราก็ จ ะค้ น เป็นวันใหม่ “ปากกาของพระเจ้าถูกยกขึน้ แล้ว และหมึกก็ พบความหมายของชี ว ต ิ ความหมายของการมี …ก่อนนอนทุกคืนผมจะนึกเสมอว่า Take แห้งแล้ว” เพือ่ สือ่ นัยว่าชะตากรรมของสรรพสิง่ อยู ข ่ องเราจากการได้ พ บ ได้ ป ฏิ ส ม ั พั น ธ์ ได้ ร ว ่ ม it away God. I’ve done my best today. เป็นสิง่ ทีถ่ กู กำ�หนดไว้เสร็จสิน้ ไม่อาจมีการแก้ไข มื อ กั บ ผู อ ้ น ่ ื เราจึ ง ต้ อ งช่ ว ย ต้ อ งสนั บ สนุ น ต้ อ ง Tomorrow I will wake up and do it again. เพิม่ เติมได้อกี กระนัน้ การได้สมั ภาษณ์มสุ ลิม รู ส ้ ก ึ ร่ ว มกั บ เพื อ ่ นมนุ ษ ย์ สั ต ว์ ท ก ุ ตั ว อยู เ ่ พื อ ่ ตั ว เอง มันฟังง่ายๆ แค่นแ้ี หละแต่มนั ช่วยได้จริงๆ ชีวติ ผูเ้ คร่งครัดอย่างดร.สุรนิ ทร์เกีย่ วกับความเป็นไป ได้ แต่ ส ต ั ว์ ท ป ่ ี ระเสริ ฐ อย่ า งมนุ ษ ย์ ต อ ้ งอยู เ ่ พื อ ่ คน มันเป็นของทีเ่ ต็มไปด้วย contradiction ความ ของสังคมและประเทศ กลับไม่ได้ให้ความรูส้ กึ อื น ่ ทำ � เพื อ ่ คนอื น ่ และสร้ า งความพึ ง พอใจใน ย้อนแย้ง ไม่มชี วี ติ ไหนทีม่ แี ต่ความราบรืน่ ของ ‘ชะตา’ ทีห่ ยุดนิง่ มากเท่ากับ ‘กรรม’ หรือการ ชี ว ต ิ จากการทำ � ให้ ค นอื น ่ ” สมบูรณ์ คนทีเ่ ราคิดว่าเพอร์เฟกต์ทส่ี ดุ ก็ยงั เต็ม กระทำ�ของแต่ละบุคคลทีย่ งั หมุนเวียนเคลือ่ นไหว หากคำ � พู ด เหล่ า นี ฟ ้ ง ั เหมื อ นถ้ อ ยคำ � สร้ า งแรง ไปด้วยความย้อนแย้งในแบบของเขา แต่ศลิ ปะ ปากกาของพระเป็นเจ้าอาจถูกยกขึน้ แล้ว บั น ดาลใจ ข้ อ ความต่ อ ไปทำ � ให้ ร ว ้ ู า ่ มั น เป็ น คำ � ของชีวติ มันอยูต่ รงทีว่ า่ จะบริหาร จะผ่านความ แต่เป็นไปได้วา่ ปากกาของมนุษย์ยงั ขึน้ อยูก่ บั เตื อ นอยู ใ ่ นตั ว ด้ ว ย ย้อนแย้งนีไ้ ปอย่างไรต่างหาก ผมเรียนรูม้ าจาก สิง่ ทีท่ กุ คนกำ�ลังจะได้เขียนต่อไป “เดี ย ๋ วนี ม ้ ค ี นรุ น ่ ใหม่ อ อกไปไกลๆ ไปทำ � อะไร ท่านพุทธทาสว่าโลกนีม้ ี ‘ภาษาคน’ กับ ‘ภาษา ธรรม’ ภาษาคนเต็มไปด้วยสัญลักษณ์แตกต่าง ของตัวเองข้างนอกระบบ แต่ผมว่าคนรุน่ ใหม่ ต้องคิดถึงปัญหาของสังคมให้มากขึน้ ต้องสร้าง หลากหลาย แต่กา้ วเข้าไปทีภ่ าษาธรรมก็คอื สิง่ 22

OPTIMISE | JULY 2017

012-023 Optimum View.indd 22-23

OPTIMISE | JULY 2017

23

6/22/17 2:24 PM


FULL FLAVORS

Sweet Magic เชฟท�ำขนมจ�ำนวนไม่นอ้ ยก�ำลังก้าวออกมาจากภายใต้ เงาของเชฟท�ำอาหาร นักทดลองกึง่ ศิลปินเหล่านีค้ อื องค์ประกอบส�ำคัญของประสบการณ์ไฟน์ไดน์นงิ่

01 24

OPTIMISE | JULY 2017

024-029 Full Flavor.indd 24-25

เชฟเฟอร์รัน อาเดรีย ผู้ก่อตั้งร้าน elBulli มักได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้วางรากฐานให้ กับวงการอาหารสมัยใหม่ แต่ส�ำหรับเขาแล้ว พัฒนาการของวงการอาหารตะวันตกมีที่มา จากเพียง 2 ชื่อเท่านั้น คือ มารี-อองตวน กาแรม ผู้สร้างสรรค์ la grande cuisine หรือ ‘อาหารชั้นสูง’ ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และ มิเชล เกราร์ด ผู้สร้างสรรค์ nouvelle cuisine หรือ ‘อาหารสมัยใหม่’ ในยุค 80’s โดยอาเดรีย บอกว่าสิ่งที่ควรสังเกตคือ ทั้งมารีและมิเชลนั้น เป็น ‘เพสตรี้ เชฟ’ หรือเชฟท�ำขนมทั้งคู่ หากยังจ�ำได้ ในช่วงไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ ขนมฝรั่งที่เราคุ้นเคยในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่มัก หนีไม่พ้นบลูเบอร์รีชีสเค้กที่ใช้บิสกิตป่นเป็น ฐาน เค้กช็อกโกแลตหน้านิ่ม หรือไม่ก็เค้กหน้า ครีมโรยโอรีโอ้ป่น จนไม่ใช่เรื่องแปลกหากคน จะทึกทักเอาว่าขนมหวานเป็นเมนูที่ท�ำง่าย ที่สุดในร้านอาหาร หรือแม้กระทั่งเป็นเมนูที่ น่าเบื่อที่สุดด้วย แต่วันนี้ทัศนคติของคนก�ำลังเปลี่ยนไป เพราะศิลปินผู้อยู่เบื้องหลังแป้งพัฟฟ์บางเฉียบ หรือโดมเมอแรงก์ส้มยูซุ เริ่มออกจากมุมมืด มาให้คนรู้จัก เชฟท�ำขนมเหล่านี้เป็นดั่งวิลลี่ วองก้าแห่งห้องครัว ผู้สามารถเอาส่วนผสม สามัญอย่างเนย น�้ำตาล แป้ง และไข่มาสร้าง สรรค์ผลงานงดงามดุจมายากล และในเมื่อ ทักษะนี้ต้องใช้ทั้งความช�ำนาญเทคนิคและ หัวคิดสร้างสรรค์ เชฟท�ำขนมจึงก�ำลังกลาย เป็นตัวละครส�ำคัญแห่งวงการไฟน์ไดน์นิ่ง

“งานเราเปิดโอกาสให้ใส่ศิลปะลงไปได้ มากกว่า เรามีข้อจ�ำกัดในการสร้างสรรค์เมนู น้อยกว่าเชฟอื่น” ยานนิส ยานส์เซนส์ แห่ง L’Atelier de Joel Robuchon กล่าว เชฟท�ำ ขนมสัญชาติเบลเยี่ยมผู้นี้ใช้เวลาในช่วงวัน หยุดไปกับการวิ่งและปั่นจักรยาน เขาเดินทาง มาพักร้อนที่ประเทศไทยและลงเอยด้วยการ อาศัยอยู่ที่นี่มากว่า 3 ปีแล้ว ยานนิสเริ่มสนใจการท�ำขนมมาตั้งแต่สมัย ที่เขาต้องเดินไปแวะซื้อขนมปัง พัฟฟ์ หรือ

งานเราเปิดโอกาสให้ใส่ ศิลปะลงไปได้มากกว่า เรามี ข้อจ�ำกัดในการสร้างสรรค์ เมนูนอ้ ยกว่าเชฟอืน่ 01 La Foret Noire ช็ อ กโกแลตเห็ ด ป่ า ที่ รั ง สรรค์ โดยเชฟยานนิ ส ยานส์ เ ซนส์ แห่ ง L’Atelier de Joel Robuchon 02 เชฟยานนิ ส ยานส์ เ ซนส์

ครัวซองต์ ทุกเช้าก่อนเข้าเรียน ท�ำให้ต่อมา แม้เขาจะเลือกเรียนวิทยาศาสตร์การกีฬา เป็นวิชาเอก ก็ยังรู้สึกไม่เติมเต็ม จนวันหนึ่ง จึงตัดสินใจสมัครเข้าโรงเรียนสอนท�ำอาหาร PIVA (Provincial Institute for the Catering Industry of Antwerp) และคลุกคลีอยู่ใน แวดวงอาหารนับแต่นั้นเป็นต้นมา เขากล่าว ว่า “การท�ำขนมเป็นการแสดงออกรูปแบบหนึ่ง มันคือศิลปะ คือความสุข เราประทับใจเวลา ได้เห็นรอยยิ้มตอนคนแบ่งขนมกันกิน หรือได้ 02

OPTIMISE | JULY 2017

25

6/22/17 2:30 PM


FULL FLAVORS ชิมมาการงของปิแยร์ แอร์เมสเป็นครั้งแรก สิ่ง พวกนี้ท�ำให้เราไม่เคยรู้สึกเหมือนมาท�ำงาน” ที่ ลัตเตอลิเยร์ เดอ โจเอล โรบูชง นักชิม หลายคนอาจมัวแต่มุ่งจดจ่ออยู่กับชื่อเสียง ของโรบูชง เชฟหลายดาวมิชลิน เจ้าของ อาณาจักรร้านอาหารไฟน์ไดน์นิ่งแห่งนี้ ซึ่งมีเมนูเป็นที่จดจ�ำอย่าง นกกระทายัดไส้ ฟัวร์กราส์ย่างเกรียม หรือคาเวียร์เสิร์ฟคู่เม็ด ครีมดอกกะหล�่ำหยดน้อย กระนั้น บ่อยครั้ง เมนูที่สร้างสรรค์และประณีตที่สุดของมื้อ อาหารอาจเป็นของหวาน เช่น Le Citron ของ หวานจานเปรี้ยวที่โรยกลีบส้มนานาพันธุ์คู่กับ น�้ำมะนาวผสมยูซุ หรือจะเป็น La Foret Noire ที่เชฟใช้ช็อกโกแลตรังสรรค์เห็ดป่าซึ่งงอก อยู่บนดินที่ท�ำจากมูสช็อกโกแลตในแก้วใส ประดับด้วยทองค�ำเปลว ท่ามกลามการแข่งขันที่สูงขึ้นของแวดวง ไฟน์ไดน์นิ่ง ฝีไม้ฝีมือในทางศิลปะของเชฟ ท�ำขนมกลายเป็นความจ�ำเป็นที่ปฏิเสธไม่ได้ เมื่อผนวกกับปัจจัยแวดล้อมอย่างความดัง ของรายการแข่งท�ำขนม The Great British Bakeoff ตลอดจนความรู้ความเข้าใจของ ผู้บริโภคเกี่ยวกับเรื่องอาหารการกินและศิลปะ

ภายในครัวที่มากขึ้นเรื่อยๆ บทบาทของเชฟ ท�ำขนมจึงไม่ใช่แค่ฟุตโน๊ตในเงาของเชฟท�ำ อาหารอีกต่อไป “เมือ่ ก่อนเชฟท�ำขนมจะขลุกตัวอยูห่ ลัง ร้าน แต่ทกุ วันนีเ้ ชฟท�ำขนมเด่นขึน้ มาก สังเกต ได้งา่ ยๆ ว่าเดีย๋ วนีร้ า้ นจะต้องท�ำครัวแบบเปิด ร้านของหวานก็เปิดเป็นบาร์ของหวาน มีการท�ำ ขนมปังสไตล์อาร์ตซิ าน มีชนั้ เรียนสอนท�ำขนม ฯลฯ สิง่ เหล่านีแ้ สดงว่าวงการขนมก�ำลังมาแรง มีไอเดียใหม่ๆ ไหลเวียนอยูต่ ลอด อนาคต วงการขนมของกรุงเทพฯ จึงดูนา่ ตืน่ เต้นมาก” ทักษะด้านศิลปะซึง่ เป็นหัวใจในเมนูของ เชฟอูกส์ พูเจต์ แห่ง Hugo & Victor ร้านท�ำ ขนมชัน้ สูงหรือ ‘haute patisserie’ ในกรุงปารีส และซาดาฮารุ อาโอกิ จากร้าน Patisserie Sadaharu Aoki คือสิง่ ทีจ่ ดุ ประกาย ความสนใจให้กับอริสรา จงพาณิชกุล แห่ง Issaya La Patisserie เชฟสาวร่างเล็กวัย 25 จากกรุงเทพฯ ที่มองเผินๆ เหมือนเด็กมัธยม ปลายคนนี้ได้ทำ� งานเคียงบ่าเคียงไหล่กับเชฟ เอียน กิตติชัยมาเป็นเวลา 6 ปีและได้ช่วยก่อ ร่างสร้างธุรกิจขนมของอิษยา ลา พาติสเซอรี ขึ้นมากับมือ “เรารักงานนี้เพราะเราได้รับ

โอกาสหลายอย่าง มันมีอะไรให้ท�ำตลอดเลย ไม่น่าเบื่อ” อริสรากล่าวระหว่างพักมือจากการ ท�ำส่วนผสมมูสชาไทย อริสราเริ่ม ‘เห่อ’ ท�ำขนมตั้งแต่ครั้งแรกที่ เธอได้อบคุกกี้จากผงส�ำเร็จรูปไปแจกเพื่อนที่ โรงเรียนมัธยม เมื่อได้ไปเรียนท�ำขนมที่ฝรั่งเศส เธอจึงเลือกที่จะศึกษาที่สถาบันสอนท�ำอาหาร Gastronomicom ในมงเปอลีเย โดยเมื่อกลับ มาประเทศไทย อิษยา ลา พาติสเซอรีก็รับเธอ เข้าท�ำงานทันที ซึ่งเป็นที่แรกและที่เดียวที่ อริสราท�ำงานมาจนถึงปัจจุบัน เมนูที่อริสราสร้างสรรค์สะท้อนทั้งรสนิยม ฝรั่งเศสและรากความเป็นไทย “เราชอบผสม ผสานความเป็นไทยเข้ากับฝรั่งเศสอยู่แล้ว ตอนท�ำงานที่ฝรั่งเศส เราเห็นเชฟหลายคนใช้ เสาวรส ตะไคร้ กับมะพร้าวมาท�ำขนม แต่ใน ไทยกลับไม่ค่อยเห็นคนใช้” เธอเล่า ขนมของ อริสราจึงเล่นกับส่วนผสมเหล่านี้อย่างเต็มที่ เช่น เมนูขนมใส่ไส้ดั้งเดิมที่ได้ถูกดัดแปลง เป็นมูสกะทิไส้กระฉีก โรยหน้าด้วยเกล็ด ช็อกโกแลตสีเขียวเพื่อเพิ่มเท็กซ์เจอร์ และ ประดับด้วยใบเตย เพื่อสื่อไปถึงหีบห่อใบตอง อีกหนึ่งจานที่เธอโปรดปรานคือข้าวเหนียว

เมื่อก่อนเชฟท�ำขนม จะขลุกตัวอยู่หลังร้าน แต่ทุกวันนี้เชฟท�ำขนมเด่น ขึ้นมาก สังเกตได้ง่ายๆ ว่าเดี๋ยวนี้ร้านจะต้องท�ำ ครัวแบบเปิด ร้านของ หวานก็เปิดเป็นบาร์ ของหวาน มีการท�ำ ขนมปังสไตล์อาร์ติซาน มีชั้นเรียนสอนท�ำขนม ฯลฯ

06

07

08

03 ขนมใส่ ไ ส้ ที่ เ ชฟอริ ส รา จงพาณิ ช กุ ล ตั้ ง ใจสร้ า งสรรค์ เ พื่ อ ยกระดั บ ขนมไทย 04 เชฟอริ ส ราแห่ ง Issaya La Patisserie 05 ข้ า วเหนี ย วมะม่ ว งของอริ ส รา 06 เชฟอี เ ลี ย นา คาราไกโอไซ บรรจง แต่ ง ขนมที่ ร ้ า น Islero 07 Petit four ในกล่ อ งซิ ก าร์ 08 เชฟอี เ ลี ย นาแสดงทั ก ษะการใช้ มื อ อั น ประณี ต ของเธอ

03

04

05

26

OPTIMISE | JULY 2017

024-029 Full Flavor.indd 26-27

มะม่วง ซึ่งน�ำมาประยุกต์ใหม่โดยใช้ไวท์ ช็อกโกแลตผสมน�้ำมันมะพร้าวปั้นเป็นทรง มะม่วง สอดไส้ด้วยกะทิกับมะม่วงสด ก่อนจะ น�ำไปจัดวางบนข้าวเหนียวโรยหน้าด้วยข้าว พอง “เราอยากยกระดับขนมไทยขึ้นไปอีกขั้น เราดีใจมากเวลาลูกค้าสังเกตเห็นสิ่งเหล่านี้” เธอกล่าว ในยามว่าง อริสราก็ไม่ต่างจากคนหนุ่ม สาวในรุ่นราวคราวเดียวกันนัก เธอชอบไปลอง ร้านอาหารใหม่ๆ กับเพื่อนทุกสัปดาห์ แต่ก็ยัง ไม่วายข้องเกี่ยวกับเรื่องการท�ำขนม งานอดิเรก ของเธอคือการเข้าเวิร์กช็อปงานเซรามิก ซึ่งเธอ เห็นว่าเป็นประโยชน์ส�ำหรับใช้ฝึกทักษะการ ใช้มือ “หลายๆ เทคนิคเราเอามาประยุกต์ใน การท�ำขนมได้” การพยายามใช้มือให้ ‘คล่อง’ นี่เองท�ำให้ เชฟอีเลียนา คาราไกโอไซ แห่งร้าน Islero หัน

มาสนใจการท�ำขนม “คนกรีกส่วนใหญ่มือ หนัก” อีเลียนา ผู้เป็นชาวเอเธนส์โดยก�ำเนิด กล่าว เธอเริ่มเข้าคอร์สเรียนแต่งหน้าเค้กด้วย น�้ำตาลจากค�ำแนะน�ำของสามีผู้เป็นเชฟ เพื่อ ฝึกความประณีตซึ่งจ�ำเป็นในการท�ำของแต่ง จานให้สวยสมบูรณ์แบบหรือจัดวางเมนูอาหาร ที่ซับซ้อน “บางคนเกิดมามีพรสวรรค์เลย ขณะ ที่หลายๆ คนต้องใช้พรแสวง เราเป็นพวกที่ต้อง ใช้พรแสวง” เธอกล่าวพลางยักไหล่ แต่การแต่งหน้าเค้กได้จุดประกายความรัก ในการท�ำขนมและเปลี่ยนภาพลักษณ์ของเชฟ ท�ำขนมในหัวเธอไปอย่างสิ้นเชิง “ฉันเคยคิดว่า เชฟท�ำขนมขี้เกียจเมื่อเทียบกับเชฟท�ำอาหาร แต่มีเฉพาะพวกเชฟท�ำขนมนี่แหละที่สังเกต เห็นเวลามีอะไรบางอย่างบนจานผิดเพี้ยนไป แม้แต่เล็กน้อย” เธอกล่าว ก่อนจะเขยิบมีดตรง หน้าไปทางขวา 1 เซนติเมตร “ถ้าเป็นเชฟท�ำ

อาหารอาจจะไม่เห็นสิ่งเหล่านี้” แม้จะจบปริญญาสาขาจิตวิทยา ปรัชญา และครุศาสตร์ แต่สุดท้ายอีเลียนาก็พ่ายแพ้ ต่อความรักในการท�ำอาหารที่มีมาแต่วัยเยาว์ และสมัครเข้าเรียนในโรงเรียนสอนท�ำอาหาร อันเป็นการตัดสินใจซึ่งน�ำไปสู่การเดินสายรับ งานท�ำอาหารในประเทศต่างๆ ตั้งแต่กรีซ สวิตเซอร์แลนด์ สเปน เยอรมนี เรื่อยมาจนถึง อาร์เจนตินา และจบด้วยการเป็นเชฟท�ำขนมที่ ไทยอย่างทุกวันนี้ ซึ่งเธอยอมรับว่าท้าทายพอ สมควร “ตลาดในเอเชียผิดกับที่อื่นมาก คนที่ นี่เบื่อง่าย ทุกอย่างมาไวไปไว เราจึงต้องหาวิธี น�ำเสนอใหม่ๆ ทุกสัปดาห์” เธอกล่าว ณ อิสเลโร ร้านอาหารสเปนแห่งนี้เอาจริง เอาจังกับความท้าทายดังกล่าวมาก โดยพวก เขาผลัดเปลี่ยนเมนูทุกๆ 2-3 เดือนเพื่อรักษา สปิริตความสดใหม่ โดยอีเลียนาเองมักมี OPTIMISE | JULY 2017

27

6/22/17 2:32 PM


FULL FLAVORS 08

ที่นี่ “ส�ำหรับเรา วัตถุดิบที่นี่ชวนให้ตื่นเต้นมาก มีผัก ผลไม้ให้เลือกตั้งหลายชนิด” เธอกล่าว พร้อมกับไล่ นับชนิดพันธุ์ข้าวและมะม่วงที่เธอรู้จัก ด้วยเหตุนี้เอง เมนูขนมที่เธอสร้างสรรค์ขึ้นจึงแฝงกลิ่นอายความ เป็นพื้นถิ่นอย่างช่วยไม่ได้ แม้เธอจะเป็นชาวแคนาดา เชื้อสายญี่ปุ่นก็ตาม “จริงๆ เราไม่เคยท�ำอาหารไทย เทคนิคที่เราใช้ จะเป็นแบบตะวันตกปนๆ ฝรั่งเศสและญี่ปุ่น” เธอ อธิบาย แต่ซากิก็ได้ค้นพบทางลัดการเพิ่มความเป็น ไทย ด้วยการใส่วัตถุดิบไทยในเมนูฝรั่งเช่นการใช้กะทิ แทนนม “วิธีนี้ท�ำให้เราท�ำขนมที่มีความเป็นไทย แต่ก็ไม่ไทยจ๋าได้” เมนูโปรดซึง่ เธอสร้างสรรค์ขนึ้ เองและทางร้านก�ำลัง จ�ำหน่ายอยูข่ ณะนี้ คือมูสขนุนกับช็อกโกแลต เสิรฟ์ คู่ ขนมดอกจอก ขนมไทยโบราณหอมกรอบในรูปแบบ มินมิ ลั ซากิคดิ ว่าขนุนสุกมีรสชาติคล้ายกล้วย เธอจึง จับคูร่ สชาติสดุ คลาสสิกอย่างกล้วยและช็อกโกแลต โดยน�ำขนุนเชือ่ มและมูสขนุน มาเสิรฟ์ พร้อมเค้ก ช็อกโกแลต สะเก็ดช็อกโกแลตครัมเบิล้ ขนมดอกจอก แต่งหน้าด้วยผงโกโก้และผงมะกรูด “มันเลอะเทอะแต่สนุกดี” เธอกล่าว ซากิได้รับแรงบันดาลใจในการท�ำขนมมาจาก

10

09

ไอเดียใหม่ๆ มาน�ำเสนออยู่ตลอด ตั้งแต่ ลูกกวาดช็อกโกแลตที่ผสมน�้ำมันมะกอกแทน เนย ไปจนถึง Petit four ขนมชิ้นพอดีค�ำที่ปั้น ให้เหมือนไข่ดาว และ ‘ซิการ์’ ช็อกโกแลตสอด ไส้ไอศกรีมที่บรรจุมาในกล่องซิการ์ขนาดใหญ่ อิเลียนาเล่าว่าเธอยังนึกถึงสมัยที่เธอยังอาศัย อยู่ที่อาร์เจนตินา ซึ่งเธอน�ำชามาเต เครื่องดื่ม ยอดนิยมในอเมริกาใต้ (ได้จากการชงใบชา Yerba mate แห้งซึ่งออกฤทธิ์คล้ายคาเฟอีน) มาใช้เป็นส่วนผสมในของหวานด้วย ในเวลาว่าง เธอจะใช้เวลาเตร็ดเตร่อยู่ตาม ตลาดสดและแวะเวียนไปชิมเมนูตามร้าน อาหารต่างๆ แม้เธอจะชื่นชอบขนมจากร้านคู่ แข่งอย่าง Paris Mikki และ Patisserie Rosie แต่เธอก็ไม่พลาดที่จะลิ้มลองเมนูท้องถิ่น สิ่งเดียวที่เธอยังท�ำใจให้ชอบไม่ได้คือปลาร้า “เราอยากท�ำความรู้จักกับตลาดที่นี่ให้มากขึ้น เรายังต้องเก็บเกี่ยวประสบการณ์อีกเยอะ 28

OPTIMISE | JULY 2017

024-029 Full Flavor.indd 28-29

ยังต้องท�ำอะไรอีกมาก จะลงหลักปักฐานง่ายๆ ไม่ได้” เธอกล่าว แต่คงไม่มีใครจะขัดข้อง หากคู่สามีภรรยา ผู้อยู่เบื้องหลังร้าน 80/20 เลือกที่จะลงหลัก ปักฐานเป็นเรื่องเป็นราว ชื่อร้าน 80/20 นั้นมี ที่มาจากแนวคิดการใช้วัตถุดิบท้องถิ่น 80% และวัตถุดิบน�ำเข้าอีก 20% ที่นี่จึงคอย สับเปลี่ยนเมนูอยู่ตลอดตามวัตถุดิบในตลาด ซึ่งรวมถึงเมนูของหวานด้วย เครมบรูเลฟักทอง และไอศกรีมพริกอาจถูกเปลี่ยนไปเป็นเค้ก แตงโมเสิร์ฟคู่ไอศครีมน�ำ้ ผึ้งมะนาวที่มีกลิ่น หอมของน�ำ้ มันมินต์ หรือข้าวปั้นกับคุ้กกี้ตูอีล งาขาว แต่ไม่ว่าเมนูใด สิ่งที่ชัดเจนก็คือความ สร้างสรรค์และการเลือกใช้วัตถุดิบตามฤดูกาล ของซากิ โฮชิโนะ ซากิ ผู้ซึ่งพ�ำนักอยู่ในประเทศไทยมาเป็น เวลาเกือบ 2 ปี เล่าว่าเธอได้แรงบันดาลใจมา จากความหลากหลายของวัตถุดิบที่มีในตลาด

แม่ของเธอ (ขนมชิ้นโปรดของเธอยังเป็นเค้กชิฟฟอน ฝีมือแม่) เธอเกิดและโตที่ญี่ปุ่นก่อนจะย้ายไปเข้า โรงเรียนมัธยมในแคนาดา และต่อมาได้เข้าศึกษา ในโรงเรียนสอนท�ำอาหารที่นั่น เมื่อถูกถามว่าญี่ปุ่น เป็นชาติที่ท�ำขนมเก่งที่สุดในโลกอย่างที่หลายคน คิดหรือเปล่า ซากิดูเหมือนจะไม่ปลื้มนัก “จริงๆ เรา ไม่ค่อยชอบเวลาคนพูดแบบนี้ คือถ้าไม่ใช่คนญี่ปุ่น แปลว่าไม่เก่งเหรอ เราว่ามันขึ้นอยู่กับฝีมือแต่ละคน มากกว่า” เธอกล่าว อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้วในเมื่อของหวานต้อง มาหลังของคาว งานของเชฟท�ำขนมจึงหนีการปิด ทองหลังพระไปไม่ได้มากนัก ดูอย่างเอลบูญีหรือ El Celler de Can Roca ซึ่งเคยครองแชมป์ถึง 2 ปีซ้อน ในการจัดอันดับ 50 ร้านอาหารที่ดีที่สุดในโลกโดย Restaurant Magazine (และหลายคนกล่าวว่าเป็น ทายาทของร้านเอลบูญี) เชฟท�ำขนมของทั้ง 2 แห่ง ล้วนเป็นน้องชายแท้ๆ ของเชฟท�ำอาหารเจ้าของ ร้านเอง และต่างดูไม่เดือดร้อนที่จะให้สปอตไลท์ ตกอยู่กับเชฟท�ำอาหารผู้เป็นพี่มากหน่อย บางทีอาจเป็นหน้าที่ของนักกินที่จะต้องตระหนัก เองว่า “เบื้องหลังเชฟผู้ยิ่งใหญ่ มักมีเชฟท�ำขนมฝีมือ เยี่ยมเสมอ”

Essentials 80/20 1052-1054 ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ โทร. 02-639-1135 www.fb.com/8020bkk Islero 63 Athenee Tower ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ โทร. 02-168-8100 www.fb.com/IsleroBangkok Issaya La Patisserie 1031 เซ็นทรัลเอ็มบาสซี ชัน้ L/G ถนนเพลินจิต กรุงเทพฯ โทร. 02-160-5636 www.fb.com/ issayalapatisserie L’Atelier de Joel Robuchon 96 มหานคร คิวบ์ ชัน้ 5 ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ กรุงเทพฯ โทร. 02-001-0698 www.robuchon-bangkok.com

11

อีเลียนาเองมักมี ไอเดียใหม่ๆ มาน�ำเสนอ อยู่ตลอด ตั้งแต่ลูกกวาด ช็อกโกแลตที่ผสมน�้ำมัน มะกอกแทนเนย ไปจนถึง Petit four ขนมชิ้นพอดี ค�ำที่ปั้นให้เหมือนไข่ดาว และ ‘ซิการ์’ ช็อกโกแลต สอดไส้ไอศกรีมที่บรรจุมา ในกล่องซิการ์ขนาดใหญ่

08 ข้าวปั้นกับคุ้กกี้ตูอีลงาขาว เมนูขนม ลูกผสมที่ 80/20 09 เชฟซากิ โฮชิโนะ หั่นขนุนใส่ขนม 10 เชฟขนมชาวญี่ปุ่น ซากิ โฮชิโนะ แห่งร้าน 80/20 11 มูสขนุนกับช็อกโกแลต เสิร์ฟคู่ ขนมดอกจอกในรูปแบบมินิมัล

OPTIMISE | JULY 2017

29

6/22/17 2:33 PM


STATE OF THE ARTS 01

Nut Onaree

In Their Hands การจัดสร้างพระเมรุมาศในพระราชพิธถี วายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ถือเป็นภารกิจยิง่ ใหญ่ของวงการศิลปะไทยในการถ่ายทอด 70 ปี แห่งพระราชวิสยั ทัศน์อนั ล�ำ้ สมัยให้ปรากฏได้โดยผ่านขนบธรรมเนียมศิลป์จากครัง้ โบราณ 30

OPTIMISE | JULY 2017

030-035 State of Art.indd 30-31

01 อติ กองสุ ข หนึ่ ง ในประติ ม ากร ผู ้ ป ั ้ น รู ป ปั ้ น พระอิ น ทร์ ป ระดั บ พระเมรุ ม าศในพระราชพิ ธี ถวายพระเพลิ ง พระบรมศพ พระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช

ขณะเขียนบทความนี้ ประชาชนร่วม 7 ล้าน คนได้หลัง่ ไหลมายังท้องสนามหลวงเพือ่ ถวาย สักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช พระผูเ้ สด็จสวรรคต เมือ่ วันที่ 13 ตุลาคม 2559 โดยไม่มใี ครหวัน่ ไหวกับการเข้าแถวหลายชัว่ โมงในอากาศร้อน จัดเพือ่ แลกกับโอกาสเข้าถวายสักการะ พระมหากษัตริยผ์ ไู้ ด้ตรากตร�ำทรงงานเป็นเวลา กว่า 7 ทศวรรษเพือ่ พสกนิกรของพระองค์เป็น ครัง้ สุดท้าย ในขณะเดียวกัน ที่บริเวณสนามหลวง ช่างศิลป์หลายร้อยคนก็ก�ำลังเร่งมือสร้าง พระเมรุมาศตามการออกแบบของก่อเกียรติ ทองผุด นายช่างศิลปกรรม และธีรชาติ วีรยุทธานนท์ สถาปนิกจากส�ำนัก สถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ให้แล้วเสร็จ ภายในสิน้ เดือนกันยายน โดยองค์ประกอบ ของงานมีตงั้ แต่สระอโนดาตประดับปูนปัน้ พระทีน่ งั่ ทรงธรรม และหมูอ่ าคารอืน่ ๆ อีก 7 หลัง ซึง่ มุง่ แสดงความตระการยิง่ ใหญ่ของ จักรวาลตามหลักไตรภูมิ ทัง้ นี้ เฉพาะองค์ พระเมรุมาศเพียงอย่างเดียวก็ประดับประดา ด้วยประติมากรรมกว่า 600 ชิน้ ในขณะที่ บุษบก 9 ยอดซึง่ แกะสลักอย่างวิจติ รก็นบั เป็น พระเมรุมาศทีส่ งู ทีส่ ดุ นับตัง้ แต่มพี ระราชพิธี ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ในปี 2454 เป็นต้นมา

มณฑลพิธถี กู วางผังล้อม พระเมรุมาศซึง่ กว้าง 60 เมตรและสูง 50.49 เมตร หรือใหญ่กว่าพระเมรุมาศซึง่ ถวายแด่สมเด็จพระเจ้าพีน่ างเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวฒ ั นาฯ ร่วม 2 เท่า

พระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดชย่อมจะยิง่ ใหญ่ลน้ พ้นกว่า นัน้ ด้วยงบประมาณ 1 พันล้านบาท มณฑลพิธี ถูกวางผังล้อมพระเมรุมาศซึง่ กว้าง 60 เมตร และสูง 50.49 เมตร หรือใหญ่กว่าพระเมรุมาศ ซึง่ ถวายแด่สมเด็จพระเจ้าพีน่ างเธอ เจ้าฟ้า กัลยาณิวฒ ั นาฯ ร่วมเกือบ 2 เท่า อีกทัง้ แทบทุก ตารางนิว้ ของพระเมรุมาศยังได้รบั การวาดภาพ เขียนเป็นพระราชกรณียกิจตลอดรัชกาล ควบคู่ ไปกับการสลักเสลาสัญลักษณ์ทางพุทธและ พราหมณ์โดยละเอียด เมือ่ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2559 นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร สังกัดกระทรวง วัฒนธรรม ได้ขอความช่วยเหลือไปยังช่างศิลป์ จ�ำนวน 150 คนจากส�ำนักช่างสิบหมู่ และ ประกาศหาช่างฝีมอื ทัว่ ประเทศทีม่ คี วามช�ำนาญ มาร่วมคณะด้วย โดยในทีส่ ดุ สามารถระดมช่าง ภารกิจครัง้ เดียวในชีวติ นับเป็นเรือ่ งยากทีค่ นทัว่ ไปทีจ่ ะจินตนาการ ฝีมอื ได้ 250 คน โดยมี 175 คนมาจากส�ำนัก ช่างสิบหมู่ และอาสาสมัครอีกนับร้อยชีวติ นับ ถึงความยิง่ ใหญ่ของภารกิจนีไ้ ด้อย่างแท้จริง เป็นการระดมสรรพก�ำลังเพือ่ สร้างงานในระดับที่ ครัง้ สุดท้ายทีป่ ระเทศได้เห็นการจัดพระราชพิธี ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริยก์ ค็ อื ไม่เคยปรากฏมาก่อน บวรลักษณ์ สุขชัย ช่างปัน้ ชาวราชบุรวี ยั พระราชพิธขี องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั 52 ปี คือหนึง่ ในอาสาสมัครผูต้ อบรับการระดม อานันทมหิดลในปี 2493 ก่อนจะตามมาด้วย พระราชพิธถี วายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จ- พลดังกล่าว เขามีอาชีพท�ำนาในช่วงฤดูฝนและ พระศรีนครินทราบรมราชชนนีในปี 2538 และ ใช้เวลาในช่วงหน้าแล้งรับปัน้ พระพุทธรูปและ รูปเหมือนพระเกจิอาจารย์ให้กบั วัด หน่วยงาน พระราชพิธถี วายพระเพลิงพระศพสมเด็จราชการ หรือลูกค้าเอกชน บวรลักษณ์เล่าว่า พระเจ้าพีน่ างเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวฒ ั นา “พอผมรูจ้ ากเพือ่ นว่าเขาก�ำลังหาช่างฝีมอื กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ในปี 2551 ผมทิง้ ทุกอย่างแล้วไปทันที ส�ำหรับผมไม่มอี ะไร กระนัน้ แม้พระราชพิธขี องทุกพระองค์จะมี ความสมพระเกียรติ พระราชพิธถี วายพระเพลิง เป็นเกียรติไปกว่าการได้ถวายงานเพือ่ พระองค์ ท่าน เป็นโอกาสครัง้ เดียวของชีวติ ” OPTIMISE | JULRY 2017

31

6/22/17 2:26 PM


STATE OF THE ARTS

แค่การบวกลบเลขง่ายๆ ก็ จะท�ำให้รวู้ า่ พรสวรรค์อย่าง เดียวไม่เพียงพอส�ำหรับ ท�ำงานนีใ้ ห้สำ� เร็จ บรรดา ช่างต้องทุม่ เวลารวมกันให้ ได้หลายหมืน่ ชัว่ โมงเพือ่ เร่ง สร้างประติมากรรมจ�ำนวน 600 ชิน้ ให้เสร็จทันก�ำหนด ก่อนเข้าร่วมงาน อาสาสมัครเช่น บวรลักษณ์ตอ้ งสอบปัน้ รูปปัน้ เล็กๆ ขนาด 30 เซนติเมตร ซึง่ เขาผ่านฉลุย หลังจบการศึกษา จากแผนกช่างปัน้ ทีโ่ รงเรียนเพาะช่าง (โรงเรียน ศิลปะไทยแห่งแรกของประเทศ ก่อตัง้ โดย พระบาทสมเด็จ-พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ใน ปี 2456 เพือ่ รักษาศิลปะไทยท่ามกลางกระแส อิทธิพลตะวันตกทีก่ ำ� ลังไหลบ่าเข้าประเทศ) บวรลักษณ์ได้เข้าท�ำงานทีบ่ ริษทั ผลิตของเล่น Apex เขาเล่าย้อน ด้วยความภาคภูมใิ จถึงสมัย ทีเ่ คยปัน้ ต้นแบบรูปปัน้ ช้างไชโยขนาดยักษ์ เพือ่ ใช้เป็นมาสคอตในพิธเี ปิด Asian Games ในปี 2551 ทุกวันนีบ้ วรลักษณ์ใช้เวลา 1 ชัว่ โมงขับรถ 02 ภาพงาน ออกแบบ สถาปั ต ยกรรม พระเมรุ ม าศเผย ให้ เ ห็ น ถึ ง ความ งามอั น วิ จิ ต ร ของศิ ล ปะแห่ ง ยุ ค สมั ย 03 ประติ ม ากร บรรจงลงราย ละเอี ย ดบนงาน ปั ้ น องค์ เ ทพ 04 บวรลั ก ษณ์ สุ ข ชั ย หนึ่ ง ใน อาสาสมั ค รที่ เ ข้ า ร่ ว มถวายงาน แด่ ใ นหลวง รั ช กาลที่ 9

32

OPTIMISE | JULY 2017

030-035 State of Art.indd 32-33

03

จากราชบุรไี ปยังนครปฐมสัปดาห์ละ 2 ครัง้ เพือ่ ช่วยสร้างพระเมรุมาศและสิง่ ปลูกสร้างประกอบ แค่การบวกลบเลขง่ายๆ ก็จะท�ำให้รวู้ า่ พรสวรรค์อย่างเดียวไม่เพียงพอส�ำหรับท�ำงาน นีใ้ ห้สำ� เร็จ บรรดาช่างต้องทุม่ เวลารวมกันให้ ได้หลายหมืน่ ชัว่ โมงเพือ่ เร่งสร้างประติมากรรม จ�ำนวน 600 ชิน้ ให้เสร็จทันก�ำหนด ซึง่ ถือเป็น ภารกิจท้าทายอย่างยิง่ ปกติสำ� นักช่างสิบหมูจ่ ะ ใช้เวลา 18 เดือนในการสร้างประติมากรรม 1 ชิน้ ให้แก่หน่วยงานราชการหรือภาคเอกชน แต่ เนือ่ งจากงานนีพ้ วกเขามีเวลาเพียง 9 เดือน จึง เป็นทีม่ าของการขอความช่วยเหลือจากบุคคล ภายนอกเพือ่ เสริมทัพดังกล่าว

02

สิน้ ยุคสมัย

ช่างฝีมอื ทัง้ 250 คนจากหลายสาขาของ กรมศิลปากร ไม่เพียงได้รบั มอบหมายให้ ท�ำงานศิลปะแบบตามโบราณ แต่ยงั ต้อง สามารถเล่าเรือ่ งราวน่าประทับใจของในหลวง รัชกาลที่ 9 พระผูท้ รงสืบเชือ้ สายพระราชวงศ์ อันเก่าแก่ หากทรงมีพระราชวิสยั ทัศน์ลำ�้ สมัย และทรงช�ำนาญการใช้วทิ ยาการของโลกสมัย ใหม่เพือ่ บรรเทาปัญหาของราษฎร ก่อเกียรติ ทองผุด นายช่างแห่งกรม ศิลปากร คือหนึง่ ในผูท้ ไี่ ด้รบั มอบหมายให้ ร้อยเรียงประวัตศิ าสตร์กว่า 2 ศตวรรษของ ราชวงศ์จกั รี แต่ดเู หมือนเพียงระยะเวลาใน พระชนม์ชพี ของในหลวงรัชกาลที่ 9 พระองค์

เดียวก็ครอบคลุมประวัตศิ าสตร์ไทยสมัยใหม่ เกือบทัง้ หมด นับตัง้ แต่ยคุ การปกครองระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ การปฏิวตั สิ ยาม การสละราชสมบัตขิ องพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 7 การขึน้ ครองราชย์ของพระองค์เมือ่ พระชนมายุ ได้ 22 พรรษา จวบจนกระทัง่ วันสวรรคต เป็นทีป่ ระจักษ์วา่ ระยะเวลา 70 ปีภายใต้ พระเศวตฉัตรได้ชว่ ยแผ่พระบารมีแห่งราชวงศ์ จักรีให้ขจรขจายในระดับซึง่ แทบไม่เคยปรากฏ เทียบเท่านับตัง้ แต่สนิ้ รัชสมัยของพระบาท04

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยูห่ วั เป็นต้นมา “นานมาแล้วทีเ่ ราคิดกันว่าศิลปะไทยร่วม สมัยหน้าตาเป็นอย่างไร แต่พอสิน้ สุดรัชกาล ทุกอย่างชัดเจนเลย สิง่ ทีเ่ ราก�ำลังท�ำนีแ่ หละคือ ศิลปะร่วมสมัยในแบบรัชกาลที่ 9 เราจะน�ำองค์ ความรูแ้ ละเทคโนโลยีทงั้ หมดทีเ่ ราได้รำ�่ เรียนใน ช่วงเวลาของพระองค์มาถ่ายทอดศิลปะไทยใน แบบทีส่ งู ส่งทีส่ ดุ ” ก่อเกียรติกล่าว โครงสร้างภายนอกของพระเมรุมาศนัน้ รักษาขนบธรรมเนียมเดิมไว้ทกุ กระเบียด ทุกตารางนิว้ ตกแต่งด้วยประติมากรรมและ จิตรกรรมรูปเทวดาและสัตว์หมิ พานต์ตาม คติความเชือ่ ของพุทธและพราหมณ์ องค์ พระเมรุมาศนัน้ เป็นการจ�ำลองเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางแห่งจักรวาลซึง่ เป็นทีต่ งั้ ของสวรรค์ ชัน้ ดาวดึงส์ ส่วนยอดบุษบกของพระเมรุมาศ นัน้ สืบรูปแบบมาจากครัง้ พระราชพิธถี วาย พระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั กระนัน้ การก่อสร้างพระเมรุมาศก็ไม่ได้ คงรูปแบบของพระราชพิธถี วายพระเพลิง พระบรมศพเดิมไว้ทงั้ หมด เริม่ ตัง้ แต่เรือ่ งความ สูง นีเ่ ป็นครัง้ แรกทีใ่ ช้พระเมรุมาศทรงบุษบก 9 ยอด ล�ำ้ จ�ำนวนบุษบก 5 ยอดบนพระเมรุมาศ

ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั นอกจากนัน้ งานจิตรกรรมก็สะท้อนให้เห็นถึงยุค สมัยทีเ่ ปลีย่ นไป พระราชพิธคี รัง้ นีย้ ดึ รูปแบบ จิตรกรรมจากฝาผนังภายในพระพุทธรัตนสถาน พระอุโบสถขนาดเล็กภายในพระบรมมหาราชวัง ซึง่ ในปี 2536 พระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากรเขียน ภาพจิตรกรรมขึน้ ใหม่จากของเดิมทีเ่ สียหาย โดยจิตรกรรมนีม้ ลี กั ษณะต่างจากรูปทรง อุดมคติและสีเรียบแบนในแบบจิตรกรรมไทย เดิม เพราะมีรายละเอียดสมจริงในแบบสัจนิยม (realism) หรือแม้กระทัง่ อภิสจั นิยม (hyperrealism) สังเกตได้จากใบหน้าต่างๆ ทีม่ สี แี ดง ระเรือ่ อากัปกริยา สัดส่วนร่างกาย หรือการเล่น แสงเงาทีด่ เู หมือนมีชวี ติ จริง

อนุรกั ษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี

พระราชพิธถี วายพระเพลิงพระบรมศพไม่ เพียงแสดงถึงความส�ำเร็จในการรวบรวมนาย ช่างฝีมอื เอกทัว่ ราชอาณาจักรไทย แต่ยงั ชีใ้ ห้ เห็นถึงกลไกการอนุรกั ษ์ทกั ษะฝีมอื ดังกล่าวให้ คงอยูต่ อ่ ไปด้วย ส�ำนักช่างสิบหมูน่ นั้ มีประวัติ สืบทอดยาวนานกว่า 235 ปี ตัง้ แต่รชั สมัย ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก บรรดา ‘ช่างหลวง’ เหล่านีม้ หี น้าทีอ่ นุรกั ษ์

ศิลปกรรมแบบสมัยอยุธยาเอาไว้ และขณะ เดียวกันก็สร้างสรรค์ผลงานชิน้ เอกเพือ่ เชิดชู สถาบันพระมหากษัตริยแ์ ห่งแผ่นดินใหม่ โดย สมัยแรกๆ ช่างฝีมอื ยังกระจัดกระจายอยูต่ าม กรมกองต่างๆ จนกระทัง่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั มีพระบรมราชโองการให้ น�ำช่างเหล่านีม้ าสังกัดกรมวังในปี 2430 และ ย้ายไปขึน้ กับกรมศิลปากรในสมัยรัชกาลที่ 6 ตราบจนปัจจุบนั แม้แต่คนนอกอย่างบวรลักษณ์กต็ ระหนัก ถึงบทบาทส�ำคัญยิง่ ของส�ำนักช่างสิบหมู่ “ส�ำนักช่างสิบหมูเ่ ป็นเหมือนมาตรฐานว่าศิลปะ ไทยควรเป็นแบบไหน ถ้าไม่มคี นเหล่านีก้ ค็ ง หายนะ บางครัง้ ผมเห็นพระพุทธรูปทีป่ น้ั ได้ แย่มาก ถ้าน�ำ้ ท่วมโลกแล้วพระพุทธรูปนีผ้ ดุ ขึน้ มาจากน�ำ้ คงบอกไม่ได้วา่ มาจากยุคไหน เพราะอย่างนีถ้ งึ ต้องมีชา่ งสิบหมูเ่ พือ่ ด�ำรงไว้ซงึ่ มาตรฐานศิลปะไทย” เขากล่าว แน่นอน ในการท�ำงานจริง การรักษา ขนบธรรมเนียมประเพณียอ่ มหมายถึงการปรับ อย่างสมควรตามยุคสมัยด้วย กัมพล จันทะรังษี รักษาการหัวหน้ากลุม่ ประณีตศิลป์ ส�ำนักช่างสิบหมู่ ได้เคยถวายงานออกแบบแหวน ก�ำไล และมงกุฎให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ และเป็น OPTIMISE | JULRY 2017

33

6/22/17 2:26 PM


STATE OF THE ARTS หน่วยงานออกแบบเอกสารราชการทัว่ ไป อาทิ ใบส�ำคัญการสมรสและใบส�ำคัญการหย่า หน่วยงานของเขาได้ใช้เครือ่ งถ่ายเอกสาร และ ใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบเพือ่ ให้ทำ� งาน ได้เร็วขึน้ แต่กมั พลก็ยนื กรานว่าในชิน้ งานจริง ต้องอาศัยงานมือของช่างแกะ ช่างสลัก ช่างหล่อ ช่างบุ หรือช่างรักเท่านัน้ มณเฑียร ชูเสือหึง รักษาการจิตรกรเชีย่ วชาญ ส�ำนักช่างสิบหมู่ ก็เป็นอีกผูห้ นึง่ ทีเ่ ห็นด้วยกับ การปรับวิธกี ารให้เข้ากับยุคสมัย เช่น เขาชืน่ ชม สีอะคริลกิ ทีต่ ดิ ทนกว่าสีในยุคเก่า และเห็น ความจ�ำเป็นของการศึกษาวิจยั เกีย่ วกับเทคนิค การอนุรกั ษ์ให้มากขึน้ โดยเฉพาะในเมือ่ วัสดุ บางประเภทอาจหาไม่ได้อกี แล้ว เช่น ดินสี อ่อนเนือ้ เนียนจากจังหวัดปทุมธานีซงึ่ แต่เดิม ใช้ในงานปัน้ ของช่างสิบหมู่ แต่หาคนซือ้ ยาก ปัจจุบนั ธุรกิจต้องปิดตัวลง ซึง่ ประสพสุข รัตน์ใหม่ หัวหน้ากลุม่ ประติมากรรม ส�ำนัก ช่างสิบหมู่ เผยว่า หากต้องหาดินใหม่ คงต้อง ไปขอความช่วยเหลือจากห้องแล็บวิจยั ดินของ วิทยาลัยเพาะช่างเพือ่ หาวัสดุทดแทน โดยนัยนี้ การก่อสร้างพระเมรุมาศส�ำหรับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 จึง ถือเป็นโอกาสพิเศษทีเ่ หล่าช่างฝีมอื เอกจะได้ ร่วมมือกันท�ำสิง่ ทีย่ งิ่ ใหญ่ กล่าวคือการอนุรกั ษ์ ศิลปะประจ�ำชาติไว้ ทักษะจากงานประจ�ำ 05

ของช่างทันตกรรมอย่างภูวดลท์ พมาวัฒนากุล ท�ำให้เขาได้มสี ว่ นร่วมในการบูรณะพระทีน่ งั่ ราเชนทรยาน ซึง่ มีอายุกว่า 200 ปีและใช้งาน มาตัง้ แต่รชั สมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เนือ่ งด้วยขนาดของงาน ภูวดลท์จงึ ขออนุญาตไม่ใช้เครือ่ งมือดัง้ เดิมของ ส�ำนักช่างสิบหมู่ และน�ำเครือ่ งมือท�ำฟันของ เขามาใช้แทน เช่น เครือ่ งกรอฟันและตะขอ เกีย่ วฟัน ท�ำให้ขณะนีส้ ำ� นักช่างสิบหมูไ่ ด้เริม่ จัด ซือ้ เครือ่ งมือทันตกรรมเพิม่ เติม อาทิ เครือ่ งมือ ขูดหินปูน เพือ่ ให้ชา่ งปัน้ ใช้ในการท�ำความ สะอาดพืน้ ผิวทีจ่ ะต้องได้รบั การชุบทองใหม่

ช่างฝีมอื รุน่ หลัง

นอกเหนือจากการใช้เครือ่ งมือและเทคนิค อันทันสมัยแล้ว ยังมีประเด็นเรือ่ งการฝึกสอน ช่างฝีมอื รุน่ ใหม่อกี ด้วย โรงเรียนเพาะช่าง นัน้ ฝึกสอนนักเรียนราวปีละ 200 คน และ ยังมีการเรียนการสอนหลักสูตรวิจติ รศิลป์ที่ มหาวิทยาลัยศิลปากรอีกด้วย จักรพันธ์ หิรญ ั สาลี นักศึกษาคณะจิตรกรรมจาก มหาวิทยาลัยศิลปากร เคยท�ำงานร่วมกับ มณเฑียรมาก่อน โดยทัง้ สองเคยร่วมกันวาด ภาพจิตรกรรมฝาผนังให้แก่วดั ไทยกุสนิ ารา ในประเทศอินเดีย แต่ทว่าพระเมรุมาศนัน้ เป็น ความท้าทายในอีกระดับโดยสิน้ เชิง

“ผมท�ำงานมา 5 ปี แต่กย็ งั ไม่เชีย่ วชาญ เทคนิคดัง้ เดิมทัง้ หมด ทีน่ เี่ ป็นแหล่งความรู้ ชัน้ ครู ยังมีอะไรอีกหลายอย่างให้ผมได้เรียนรู”้ จักรพันธ์กล่าว เขาได้รบั มอบหมายให้วาดภาพบนฉาก บังเพลิงส�ำหรับพระเมรุมาศ โดยทัง้ 4 ด้านจะ เขียนภาพเกีย่ วกับโครงการพระราชด�ำริโดย แบ่งกลุม่ ตามธาตุทงั้ 4 ได้แก่ ดิน น�ำ้ ลม และไฟ นอกจากนัน้ ยังมีภาพต�ำนานนารายณ์ 10 ปาง ซึง่ เขียนออกมาเพียง 8 ปาง เพือ่ สือ่ นัย ลึกซึง้ ว่าอวตารปางที่ 9 ก�ำลังประทับ ณ พระเมรุมาศก่อนจะเสด็จกลับสูไ่ วกูณฐ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีบทบาทส�ำคัญในการก่อตัง้ สถาบันฝึกสอนช่างฝีมอื รุน่ ใหม่ๆ ในปี 2525 ขณะทรงด�ำรงต�ำแหน่งเป็นประธานงานบูรณะ พระบรมมหาราชวัง ส�ำหรับงานสมโภชน์การ สถาปนาราชวงศ์จกั รี 200 ปี พระองค์ทรงพบ ปัญหาการหาช่างฝีมอื ชัน้ ครู ในปี 2532 ส�ำนัก พระราชวังและกระทรวงศึกษาธิการจึงได้กอ่ ตัง้ โรงเรียนช่างฝีมอื ในวัง (วิทยาลัยในวังชาย) ขึน้ ภายในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาในปี 2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ยังมีพระราชด�ำริ ให้กอ่ ตัง้ กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง ขึน้ เพือ่ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 เนือ่ งในวโรกาสที่ 06

07

34

OPTIMISE | JULY 2017

030-035 State of Art.indd 34-35

08

05 พระมหาพิ ชั ย ราชรถที่ ไ ด้ รั บ การ บู ร ณะครั้ ง ใหญ่ ใ นรอบศตวรรษ 06 มณเฑี ย ร ชู เ สื อ หึ ง รั ก ษาการ จิ ต รกรเชี่ ย วชาญ 07 งานบุ เ งิ น ประดั บ พระโกศโดย อาสาสมั ค รนั ก ศึ ก ษาจากวิ ท ยาลั ย ช่ า งทอง 08 งานก่ อ สร้ า งพระเมรุ ม าศที่ ก� ำ ลั ง เป็ น รู ป เป็ น ร่ า ง

โดยนัยนี้ การ ก่อสร้างพระเมรุมาศ ส�ำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 9 จึงถือ เป็นโอกาสพิเศษที่ เหล่าช่างฝีมอื เอกจะ ได้รว่ มมือกันท�ำสิง่ ทีย่ งิ่ ใหญ่ กล่าวคือ การอนุรกั ษ์ศลิ ปะ ประจ�ำชาติไว้

พระองค์ฉลองสิรริ าชสมบัตคิ รบ 50 ปี โดยวิทยาลัย แห่งนีต้ งั้ อยูใ่ นพระบรมมหาราชวัง และมีสาขาที่ ศาลายา จังหวัดนครปฐม นภัสชนา รัตนศรีชยั วรา นักเรียนช่างทองชัน้ ปีที่ 1 ทีว่ ทิ ยาลัยช่างทองวัย 19 ปี กล่าวว่า “เมือ่ เรียนจบ เราสามารถท�ำงานในธุรกิจเครือ่ งประดับ หรือโรงงาน ทีผ่ ลิตงานฝีมอื ก็ได้ แต่ความฝันก็คอื การได้ทำ� งาน ในส�ำนักช่างสิบหมู่ ถ้าเรียนจบแล้วหนูจะรีบไป สมัครเลย” แม้ไม่ใช่พระราชพิธถี วายพระเพลิงพระบรมศพ ส�ำนักช่างสิบหมูก่ ไ็ ม่ใช่หนทางเดียวทีจ่ ะได้ทำ� ภารกิจ อันทรงเกียรติ กัมพลอธิบายว่าทางส�ำนักได้เก็บ รวบรวมรายชือ่ ของช่างฝีมอื เอกทัว่ ประเทศเอาไว้ ไม่ ว่าจะเป็นสมาชิกของส�ำนักช่างสิบหมูห่ รือไม่กต็ าม “พวกเขากระจัดกระจายอยูท่ วั่ ประเทศ โดยเฉพาะที่ ตัง้ ของอารยธรรมโบราณอย่างนครศรีธรรมราช ซึง่ มีชอื่ เสียงในการผลิตเครือ่ งถมทอง หรือจังหวัดน่าน ทีข่ นึ้ ชือ่ เรือ่ งการผลิตเครือ่ งเงิน ถึงพวกเขาจะไม่ได้ ท�ำงานทีน่ แี่ ต่กไ็ ด้รบั การฝึกสอนจากครอบครัวช่าง ฝีมอื เก่าแก่หรือผูเ้ ชีย่ วชาญในท้องถิน่ มาแล้ว” ขณะทีช่ า่ งฝีมอื บางคนไต่ระดับขึน้ มาจาก โครงการระดับจังหวัด อย่างเช่น โครงการหนึง่ ต�ำบล หนึง่ ผลิตภัณฑ์ (โอทอป) จักรกฤษณ์ สุขสวัสดิ์ ช่างจิตอาสาผูร้ บั หน้าทีแ่ กะสลักต้นจันทน์สำ� หรับ

พระโกศและพระหีบจันทน์ เป็นช่างฝีมอื ประดับมุก ผูซ้ งึ่ ท�ำงานให้กบั โครงการโอทอปจังหวัดนครปฐม โดยทักษะทัง้ หมดนัน้ เขาฝึกด้วยตนเอง เขาค่อนข้าง ชืน่ ชมภารกิจของศูนย์สง่ เสริมศิลปาชีพระหว่าง ประเทศ (SACICT) ในเรือ่ งการสนับสนุนหัตถกรรม ไทย “ศูนย์สง่ เสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ ท�ำงานร่วมกับช่างฝีมอื ท้องถิน่ ตัง้ แต่การออกแบบ ผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการบรรจุหบี ห่อ แถมยังหาตลาด และจัดเวิรก์ ช็อปหรือวิดโี อเพือ่ สอนเทคนิคใหม่ๆ ให้ แก่ชา่ งฝีมอื ท้องถิน่ อีกด้วย สิง่ เหล่านีช้ ว่ ยสร้างเครือ ข่ายของช่างฝีมอื เอกกับช่างฝีมอื ท้องถิน่ ได้ดมี าก” ในวันที่ 26 ตุลาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร จะถวายพระเพลิงพระบรมศพในพระเมรุมาศ เป็นสัญลักษณ์วา่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดชได้ เสด็จสูส่ รวงสวรรค์เบือ้ งบน พร้อมกับทีพ่ ระทีน่ งั่ และ พลับพลาต่างๆ จะถูกรือ้ ถอนลง เพือ่ ทิง้ ความอาดูร แห่งการสวรรคตไว้เบือ้ งหลัง ในยามนัน้ ท่ามกลาง ความพากเพียรนับไม่ถว้ นชัว่ โมงของช่างศิลป์ที่ สลายเป็นอากาศธาตุเพือ่ แสดงธรรมแห่งอนิจจัง สิง่ หนึง่ ทีจ่ ะยังด�ำรงอยูต่ อ่ ไปคือชีวติ และความ งอกงามของศิลปะไทย อันเป็นของขวัญอีกชิน้ ที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช พระราชทานแก่พสกนิกรของพระองค์ OPTIMISE | JULRY 2017

35

6/22/17 2:27 PM


SERVING YOU

Going Global ขยายความมั่งคั่งไร้พรมแดนกับ Global Investment Service (GIS) เป็นเวลานานมาแล้วที่คนไทยสามารถ เลือกซื้อหาเครื่องอุปโภคบริโภคที่ตอบโจทย์ รสนิยมและความต้องการได้โดยไม่ถูกจำ�กัด โดยพรมแดน เราสามารถหาซื้อเมล็ดกาแฟ จากบราซิล กระเป๋าจากสหรัฐ เครื่องครัว จากญี่ปุ่น หรือเฟอร์นิเจอร์จากสวีเดนได้ ครบจากการเดินห้างสรรพสินค้าใกล้บ้าน เพียงแห่งเดียว แต่ภายหลังธนาคารแห่ง ประเทศไทยผ่อนคลายกฎระเบียบการลงทุน ในต่างประเทศเมื่อปีที่ผ่านมา สินทรัพย์และ ผลิตภัณฑ์ทางการเงินได้กลายมาเป็นอีกสิ่ง หนึ่งที่นักลงทุนสามารถพิจารณาเลือกหา ได้จากทั่วโลกเพื่อให้ตอบสนองแนวทางการ ลงทุนได้อย่างหลากหลายกว่าเดิม นี่คือที่มาของ Global Investment Service (GIS) บริการพานักลงทุนไทยไป ลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ จากบริษัท หลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) เราพูดคุย กับณฤทธิ์ โกสาลาทิพย์ ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการ ฝ่ายที่ปรึกษาการลงทุนส่วนบุคคล เพื่อเผยให้เห็นขอบเขตใหม่ของการลงทุนที่ เหนือกว่าด้วยโอกาสสร้างผลตอบแทนและ บริหารความเสี่ยงจากผลิตภัณฑ์ที่หาไม่ได้ ในประเทศ

โอกาสในตลาดใหญ่

ขนาดมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) ของประเทศไทยที่ คิดเป็นเพียง 0.6% เมื่อเทียบกับมูลค่า

36

OPTIMISE | JULY 2017

036-039 Serving You.indd 36-37

หลักทรัพย์ตามราคาตลาดทั่วโลก สะท้อน ให้เห็นพื้นที่สำ�หรับการลงทุนนอกประเทศที่ ยังเปิดกว้างสำ�หรับนักลงทุนไทย ไม่ว่าในแง่ ของผลิตภัณฑ์ ภูมิภาค หรือสินทรัพย์ กระนั้น ดูเหมือนยังมีนักลงทุนเพียงจำ�นวนไม่มากที่ ตระหนักถึงโอกาสนี้ “นักลงทุนโดยทั่วไปจะมีสิ่งที่เรียกว่า ‘ความติดบ้าน’ หรือ Home Country Bias อยู่ คือถึงแม้โอกาสข้างนอกประเทศจะดี อย่างไรก็ตาม แต่ถ้ารู้สึกไม่คุ้นเคย รู้สึกว่า ติดตามยาก สุดท้ายก็มักจะลงทุนเฉพาะ ภายในประเทศตัวเอง ยิ่งในรอบสัก 10 กว่าปี ที่ผ่านมา หุ้นไทยก็เป็นอีกตลาดหนึ่งที่ให้ผล ตอบแทนดีที่สุดในโลก โอกาสตรงนี้เลยอาจ ถูกมองข้ามไป” อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาวะตลาดใน ประเทศที่ให้ผลตอบแทนต่ำ�ในปัจจุบัน การมองข้ามโอกาสการลงทุนในต่างประเทศ ย่อมหมายถึงการพลาดโอกาสในการหา ผลตอบแทนจากแหล่งที่ดีกว่า โดยณฤทธิ์ได้ ยกตัวอย่างที่ทำ�ให้เห็นภาพได้ง่ายๆ “อย่างตอนนี้ ถ้าเรารู้สึกว่าคนอายุยืนมาก ขึ้น ธุรกิจนวัตกรรมการรักษาพยาบาล หรือ ไบโอเทคโนโลยีต่างๆ น่าจะเติบโตไปได้ดี แต่ พอมองตลาดหุ้นไทย เราจะพบว่าไม่มีหุ้น พวกนี้ให้ซื้อ ใครอยากซื้อหุ้น Google หรือ Facebook เมืองไทยก็ไม่มีให้เขาซื้อเหมือนกัน ...แม้บางอุตสาหกรรมอาจจะมีอยู่แล้วใน OPTIMISE | JULY 2017

37

6/22/17 2:22 PM


SERVING YOU

ตลาดไทย แต่ราคาของหุ้นอาจไม่ใช่ราคาที่ดี ที่สุดสำ�หรับนักลงทุน เช่นในตลาดไทย หุ้นบริษัทพลังงานที่น่าสนใจอาจขายกันอยู่ที่ ราคา P/E 11 เท่า แต่บางครั้งในตลาด ต่างประเทศ บริษัทพลังงานที่ใหญ่กว่านั้น สายการผลิตครบกว่านั้น อาจขายที่ P/E ไม่ถึง 10 เท่า”

มีมุมมองเกี่ยวกับตลาดอย่างไร ก็เป็นการ ยากที่นักลงทุนจะได้กำ�ไรจากการซื้อขายหุ้น เพราะราคาของหุ้นไม่ขยับมากนักในความ เป็นจริง แต่ในต่างประเทศ นักลงทุนอาจซื้อ ผลิตภัณฑ์เช่น หุ้นกู้ Equity-Linked Notes (ELN) ซึ่งออกแบบมาให้ให้ดอกเบี้ยสูงแก่ นักลงทุนที่มี ‘มุมมอง’ ที่ถูกต้องว่าราคาหุ้น ที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) ทางเลือกทีห่ ลากหลาย ของหุ้นกู้ชนิดนี้จะขยับในช่วงราคาใด ณ ชั่ว อย่างไรก็ตาม ความหลากหลายของ ระยะเวลาหนึ่ง นักลงทุนจึงมีโอกาสสร้างผล หุ้นและราคาหุ้น ไม่ใช่สิ่งเดียวที่น่าดึงดูดใจ ตอบแทนที่สูงได้แม้จากตลาดที่ราคาหุ้นไม่ สำ�หรับต่างประเทศ ในขณะที่นักลงทุนส่วน ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก ใหญ่อาจจะคุ้นเคยกับการลงทุนเฉพาะใน “เมืองนอกมีนวัตกรรมแบบนี้หรือหลาก สินทรัพย์พื้นฐานอย่างหุ้น หุ้นกู้ ตราสาร หลายกว่านี้เยอะเลย ดังนั้นเศรษฐกิจจะดี ตั๋วเงินคลัง พันธบัตร หรือตั๋วเงิน พัฒนาการ ไม่ดี หรือทรงๆ ตัวอย่างไรก็ตาม ตราบเท่าที่ ทางการเงินที่สูง ทำ�ให้ตลาดต่างประเทศเต็ม นักลงทุนมีมุมมองบางอย่างที่ถูกต้องเกี่ยว ไปด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินซับซ้อนที่ยัง กับเศรษฐกิจ เราสามารถสร้างผลตอบแทน ไม่มีในประเทศไทย ให้กับนักลงทุนได้” ณฤทธิ์ยกตัวอย่างสถานการณ์ตลาด ยิ่งกว่านั้น แม้ไม่พูดถึงเรื่องความแตก ทรงตัว ซึ่งในตลาดไทย ไม่ว่านักลงทุนจะ ต่างของผลตอบแทนการลงทุน ความ 38

OPTIMISE | JULY 2017

036-039 Serving You.indd 38-39

ผันผวนในทางการเมืองและเศรษฐกิจทั้ง ภายในประเทศและต่างประเทศ ทำ�ให้การ เก็บไข่ทุกใบไว้ในประเทศๆ เดียว ไม่ใช่ทาง เลือกที่ปลอดภัยอีกต่อไป การใช้ความหลาก หลายของภูมิภาค สินทรัพย์ ผลิตภัณฑ์ หรือ แม้แต่สกุลเงินของการลงทุนในต่างประเทศ สามารถช่วยปรับพอร์ตการลงทุนให้ทนทาน ต่อภาวะผันผวนได้มากขึ้น “หลักการคือแต่ละคนมีความต้องการ ทางการลงทุนไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่ค่อนข้าง เหมือนกันคือทุกคนไม่ชอบความผันผวน และ ต้องการให้ผลตอบแทนเป็นบวกในระยะยาว ดังนั้น ยิ่งเราหาประเภทการลงทุนที่ไม่มีความ สัมพันธ์กันมาผสมอยู่ในพอร์ตได้มากเท่าไหร่ คือการลงทุนอันใดอันหนึ่งราคาขึ้น อันอื่น อาจจะไม่ขึ้นตาม แต่ในระยะยาวทุกอันให้ผล ตอบแทนเป็นบวก ก็จะทำ�ให้โดยรวมพอร์ต ให้ผลตอบแทนที่ดีได้โดยไม่ต้องเผชิญภาวะ ขึ้นๆ ลงๆ ให้ตกใจ การลงทุนในหลายประเทศ หลายภูมิภาค จึงเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมในเรื่อง พวกนี้ เพราะบางช่วงเศรษฐกิจแถวเอเชียดี มาก แต่แถวยุโรปไม่ค่อยดี กลับกัน พอยุโรป ดี เอเชียอาจจะแผ่วไปหน่อย มันไม่มีความ สัมพันธ์กัน …เราไม่ควรมีความมั่งคั่งทุกบาททุก สตางค์เป็นเงินบาท ควรจะมีการกระจาย ความเสี่ยงไปในเงินสกุลหลักๆ จะเป็น ดอลลาร์ ยูโร หรือเยนก็ได้ ยิ่งถ้าเรามี ไลฟ์สไตล์ชอบกินหรือใช้ของที่มีราคาเป็นเงิน ต่างประเทศ เราก็ควรลงทุนเป็นเงินสกุลต่าง ประเทศด้วย เพื่อรักษาอำ�นาจซื้อ ไม่ให้เรา เสียเปรียบในทางค่าเงิน” ณฤทธิ์อธิบายก่อน ยกตัวอย่างสมัยวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ที่คน ที่ซื้อรถยนต์หรูด้วยเงินไทยจะเสียอำ�นาจซื้อ ไปเกือบครึ่งหนึ่งทันทีเมื่อค่าเงินบาทลอยตัว

ลงทุนประเภทที่มีความซับซ้อน เช่น อนุพันธ์ Hedge Fund หรือ Private Equity ได้ ปัจจุบันจึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่ง สำ�หรับการเริ่มออกไปลงทุนในต่างประเทศ โดยสำ�หรับนักลงทุนไทยที่ยังไม่คุ้นเคยกับ การออกไป ‘นอกบ้าน’ ด้วยตัวเอง บริการ Global Investment Service (GIS) จาก บล. ภัทร ถือเป็นตัวเชื่อมที่จะพานักลงทุน ไทยให้ออกไปตักตวงโอกาสข้างนอกได้โดย ไม่ต้องไกลจากบริการที่มั่นใจ “ภัทรเราเป็นองค์กรที่เชื่อเรื่อง Globalization มาตั้งแต่ต้นว่าทุกอย่างต้อง ถูกพัฒนาไปในมาตรฐานโลก โดยไม่จำ�กัด ด้วยเรื่องพรมแดน ดังนั้น เราจึงเชื่อว่านัก ลงทุน ก็ไม่ควรจะถูกจำ�กัดอยู่เพียงการ ลงทุนในประเทศ พอกฎเกณฑ์เปิด เราจึงหา วิธีบริการลูกค้าโดยให้ผลประโยชน์ดีที่สุด ซึ่งนำ�ไปสู่การจับมือกับไพรเวตแบงค์ระดับ โลกที่เชี่ยวชาญบริการในด้านนี้เพื่อช่วยให้ ลูกค้าสามารถลงทุนในต่างประเทศได้บน แพลตฟอร์มที่ดีที่สุด …แต่ในขณะเดียวกัน เราก็อยู่กับลูกค้า ที่ใช้บริการ Wealth Management ของ

บริการ Global Investment Service (GIS) จากบล. ภัทร ถือเป็นตัวเชือ่ มทีจ่ ะพานักลงทุนไทยให้ ออกไปตักตวงโอกาสข้างนอกได้โดยไม่ตอ้ งไกลจาก บริการทีม่ น่ั ใจ เรามายาวนานเป็น 10-20 ปี ทำ�ให้เรารู้จัก ลักษณะธุรกิจ ความต้องการ หรือแม้กระทั่ง พฤติกรรมการลงทุนของเขาในช่วงวงจร เศรษฐกิจต่างๆ เป็นอย่างดี จนสามารถให้ คำ�แนะนำ�ที่เราคิดว่าดีที่สุดสำ�หรับเขาได้ เช่น ลูกค้าบางคนตกใจง่าย เวลาเจอวิกฤต ขาย หมดเลย ทั้งๆ ที่มันอาจเป็นเวลาที่แย่ที่สุดใน การขาย เราก็จะรู้ และช่วยป้องกันสิ่งเหล่านี้ได้ …พูดอีกอย่างก็คือสิ่งต่างๆ ที่เป็น องค์ประกอบบริการของภัทร ไม่ว่าจะเป็นบท วิเคราะห์ที่มีคุณภาพ การแนะนำ�การลงทุนแบบ Open Architecture หรือแม้กระทั่งบุคลากรที่ คุ้นเคยและมีความเข้าใจลูกค้า สิ่งเหล่านี้ลูกค้า จะได้เหมือนเดิม สิ่งที่เพิ่มเติมคือทางเลือกที่ กว้างขวาง และไม่ถูกจำ�กัดอีกต่อไป”

ภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วฉับพลัน ของโลกยุคดิจิตัล และความไม่แน่นอนใน สถานการณ์การเมืองโลกและไทย การลงทุน ที่หลากหลายย่อมหมายถึงการกระจายความ เสี่ยงและการสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า โดยในเมื่อกฎเกณฑ์ได้ถูกผ่อนคลายลงและ มีบริการที่เชื่อถือได้ช่วยเชื่อมต่อการลงทุน ในมาตรฐานโลก คงไม่มีสิ่งใดเป็นอุปสรรค สำ�หรับคนไทยที่ต้องการลงทุนโดยไร้ข้อจำ�กัด ด้านพรมแดนอีกต่อไป Global Investment Service (GIS) จึง เป็นถือ​ยุคใหม่แห่งการลงทุนของคนไทยโดย แท้จริง สอบถามข้อมูลเกีย่ วกับ Global Investment Service (GIS)​​ได้ท่ี 02-305-9449

ใกล้กว่ารูใ้ จกว่า

เมื่อพิจารณาข้อดีของการลงทุนในต่าง ประเทศ ประกอบกับการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ ในเรื่องมาตรการควบคุมเงินทุน (Capital Control) ของธนาคารแห่งประเทศไทยใน ช่วงปลายปีที่ผ่านมาที่เปิดโอกาสให้นักลงทุน ไทยสามารถลงทุนในต่างประเทศแม้ในการ OPTIMISE | JULY 2017

39

6/22/17 2:22 PM


CLIENT VALUES นับจากวันทีค่ รอบครัวสุสมาวัตนะกุล ตัดสิน ใจก่อตัง้ ธุรกิจแลกเปลีย่ นเงินตราต่างประเทศ Superrich Thailand เมือ่ 50 ปีทแ่ี ล้วโดยยึด หลักการให้อตั ราแลกเปลีย่ นทีด่ ที ส่ี ดุ กับลูกค้า ปัจจุบนั Superrich Thailand ได้กลายเป็น ชือ่ สามัญประจำ�บ้านทีผ่ บู้ ริโภคมักนึกถึงเมือ่ ต้องการแลกเงิน แต่การปรับเปลี่ยนธุรกิจครอบครัวให้เป็น องค์กรมืออาชีพที่ก้าวทันยุคสมัยไม่ใช่เรื่อง ง่าย อะไรคือสิ่งที่สิตามนินท์ สุสมาวัตนะกุล ทายาทรุ่นที่ 2 แห่ง Superrich Thailand ใช้ ขับเคลื่อนกิจการให้ไปได้ไกลกว่าการเป็น สถานที่แลกเปลี่ยนเงินตรา และสร้างการ เปลี่ยนแปลงด้านชีวิตและความสุขให้กับ คนในองค์กร

ครอบครัวมากๆ คือแทบจะไม่ได้มีโครงสร้าง เลย เราต้องทั้งบริหารจัดการอารมณ์ตัวเอง ทั้งต้องเรียนรู้เรื่องงานเอง เพราะทุกคนยุ่งอยู่ กับงานของตัวจนไม่มีเวลาสอน เราก็เวียนไป ทำ�ตั้งแต่รับโทรศัพท์ บอกเรท ส่งเอกสาร หัดนับเงิน หัดดูแบงก์ปลอมเหมือนเด็กฝึกงาน เรียนรู้จากความผิดพลาดไปเรื่อยๆ

มุมมองต่าง

แบบเห็นตัวเองคนเดียว แต่มองดูความสัมพันธ์ ทุกที่ ดูเรา ดูอกี ฝ่าย ดูบริบทอืน่ ๆ ซึง่ ถ้าเราเห็น ทัง้ หมดอย่างนีแ้ ล้วเลือกทำ� อะไร ก็จะไม่เกิดผลกระทบ เสียหาย แต่ถา้ มองมาจาก เราคนเดียว มันจะสร้าง ผลกระทบในบริบทรอบๆ

จุดเปลี่ยน

ด้วยความที่เราจบด้านการตลาด เราก็ อยากจะเปลี่ยนทุกอย่างไปหมดโดยที่ยังไม่ เข้าใจว่าในองค์กรมีวัฒนธรรมดั้งเดิมอะไรอยู่ ไม่เห็นคุณค่าของประสบการณ์คนเก่าแก่ พอ ไปพยายามปรับด้วยความไม่เข้าใจ มันก็เลย ไม่เกิดผลอะไรขึ้น หลายช่วงถึงกับรู้สึกว่าอยู่ ไม่ไหวแล้ว เพราะเราเป็นคนชอบทำ�อะไรเร็วๆ อิสระที่ได้เลือก แต่อยู่มา 4-5 ปี แล้วยังทำ�อะไรไม่ได้ก็เลย เราคลุกคลีกับคุณพ่อคุณแม่ที่ออฟฟิศ อึดอัด อยากยอมแพ้ไปทำ�งานที่อื่น แต่พอถึง ก็เห็นเงินมาตั้งแต่เด็กแล้ว ตอนแรกไม่ได้รู้สึก จุดต่ำ�สุดแล้ว เรานึกขึ้นมาว่าสิ่งที่คุณพ่อคุณ ว่าสนุก รู้แค่ว่าโตขึ้นมาก็ต้องทำ�อันนี้ แต่คุณ แม่สร้างมาทั้งหมดมันจะได้เท่านี้เหรอ ก็เลย พ่อคุณแม่ก็ไม่ได้บังคับ เราจะเลือกเรียนอะไร เริ่มใหม่ พอดีกับได้มาเจอกับดร.ขวัญนภา ก็ได้ เลยเลือกเรียนวารสารศาสตร์ ความจริง ชูแสง นักจิตวิทยาด้านการจัดการด้วย เลือกบัญชีไว้ด้วย แต่พอดีตอนม. 5 ได้ไปเรียน ทำ�ให้เรารู้ว่าเรามองแคบเอง ไม่เข้าใจเรื่อง แลกเปลี่ยนที่แคนาดา ทำ�ให้รู้ว่าชอบชีวิต อิสระ เลยไม่เอาบัญชีเป็นตัวเลือกแรก แล้วรู้ ว่าสุดท้ายอะไรที่จำ�เป็นไปเรียนโทเพิ่มเอาก็ได้ ในที่สุดจึงไปเรียนต่อการตลาดที่อังกฤษก่อน พอได้ขยายมุมมองแล้ว จะมาทำ�งานที่บ้าน ทำ�ให้เราเริม่ ปรับ ไม่ได้มอง

Exchanging Ideas สิตามนินท์ สุสมาวัตนะกุล กับการต่อยอดอาณาจักรธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ Superrich Thailand ให้ก้าวผ่านครึ่งศตวรรษอย่างงดงามและร่ำ�รวยความสุข 40

OPTIMISE | JULY 2017

040-045 Client Values.indd 40-41

ตอนที่ไปอยู่แคนาดา มันต่างไปจากที่นี่ มาก เป็นเมืองเล็กไม่อยู่ในแผนที่ชื่อแคมแซก สนามบินที่ใกล้ที่สุดต้องขับรถไป 3 ชั่วโมง วัฒนธรรม ความคิด วิธีการสื่อสารของเขา มันแตกต่างกับคนไทยชัดเจน เราสั่งสมกรอบ บางอย่างมาเป็นสิบกว่าปี พอได้เดินทางไปที่ นั่น มันเห็นความต่าง อาจจะไม่ถึงกับทำ�ให้เรา หลุดจากกรอบเดิม แต่อย่างน้อยก็ทำ�ให้รู้ว่า ชีวิตมันมีมุมมองอื่น

ช็อกวัฒนธรรม

ตอนเข้ามาทำ�งานเริ่มแรกก็เรียกว่า ‘ช็อก’ เหมือนกัน เพราะโครงสร้างเป็นแบบ

OPTIMISE | JULY 2017

41

6/22/17 2:31 PM


CLIENT VALUES

การเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุด คือการ เตรียมคนของเราให้ปรับตัวได้เร็วเวลามีเรื่องที่ไม่เคยเกิด ขึ้นมาก่อน เช่นรัฐบาลอินเดียประกาศยกเลิกธนบัตร มีผลตอนเที่ยงคืน โดยไม่มีเวลาให้เราจัดเตรียมได้เลย แต่พอเกิดขึ้นแล้ว จะมัวแต่โทษรัฐบาลไม่ได้ ต้องยอมรับ แล้วมองว่าจะเดินไปทางไหนต่อ แจ้งลูกค้ายังไง สูญเสีย เท่าไหร่ เรารับได้เท่าไหร่ ซึ่งสุดท้ายเราก็ผ่านมาได้แบบไม่ ได้ใช้เวลามากนัก generation ได้แต่พูดว่า นี่คนเก่า นี่คนใหม่ แบ่งแยกคนตั้งแต่ยังไม่ทำ�อะไร พอได้ขยาย มุมมองแล้วทำ�ให้เราเริ่มปรับ ไม่ได้มองแบบ เห็นตัวเองคนเดียว แต่มองดูความสัมพันธ์ ทุกที่ ดูเรา ดูอีกฝ่าย ดูบริบทอื่นๆ ซึ่งถ้าเราเห็น ทั้งหมดอย่างนี้แล้วเลือกทำ�อะไร ก็จะไม่เกิด ผลกระทบเสียหาย แต่ถ้ามองมาจากเราคน เดียว มันจะสร้างผลกระทบในบริบทรอบๆ

ความเปลี่ยนแปลง

หลังจากเริ่มจัดเทรนนิ่งเห็นความ เปลี่ยนแปลงชัดเจนมาก เมื่อก่อนเดินเข้า บริษัท จะมีความอึมครึม ทุกคนง่วนกับงานตัว เอง ซึ่งพอข้างในเต็มอย่างนี้จะรับสถานการณ์ ข้างนอกไม่ได้ เหมือนเก็บขยะสะสมไว้ พอเจอ เรื่องใหม่จะรับไม่ได้ คอยแต่คิดวนเรื่องเดิมๆ ก็ เลยไม่ได้เจออะไรใหม่ๆ ไม่ได้มีวิธีใหม่ในการ บริหารจัดการ ตอนแรกพนักงานยังไม่เข้าใจว่า การสื่อสาร เรียนไปเพื่ออะไร แต่เนื่องจากจิตวิทยามันคือ เราเริ่มมองออกว่าองค์กรไม่มีการสื่อสาร กระบวนการของสมอง ถ้าเรียนตรงนี้ มันก็ไป แต่ละคนทำ�งานของตัวเอง ทำ�ให้คนแต่ละรุ่น ใช้ได้กับเรื่องอื่นๆ ของชีวิตด้วย ไม่ใช่แค่เรื่อง ไม่เห็นคุณค่าของกันและกัน คนรุ่นบุกเบิกมี งาน พอตัวเองเรียนรู้ที่จะเข้าใจตัวเอง ก็ท�ำ ให้ ประสบการณ์ มีความเก๋าในการตัดสินใจ เวลา สามารถเข้าใจคนอื่นได้ เข้าใจครอบครัวได้ มีเรื่อง เขาสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว พอครอบครัวมีความสุข ก็มาทำ�งานได้อย่างมี แล้วก็ปลอดภัย ส่วนคนรุ่นใหม่ ก็มีความรู้ ความสุข มีแรง มีเทคโนโลยีที่ทำ�ให้ทำ�งานได้รวดเร็วขึ้น ก็เลยร่วมมือกับคุณเจน พี่สาว (ธณัทร์ษริน โมเดลสร้างองค์กร สุสมาวัตนะกุล) สร้างฝ่ายทรัพยากรบุคคล​(HR) เริ่มแรกตัวเราเองได้เรียนจิตวิทยาแล้วเห็น ขึน้ จากทีเ่ ดิมมีแค่อาซ้อ อาเฮีย 2 คน ตอนนีก้ ็ ว่าเป็นประโยชน์มาก เพราะทำ�ให้เราชื่นชมใน เริม่ มีโครงสร้างองค์กร เริม่ แบ่งแผนก มีเอชอาร์ หลายๆ สิ่งที่เรามี ทำ�ให้เราเห็นว่าชีวิตไม่ได้ มีมาร์เกตติง้ มีเทรนนิง่ เรื่องจิตใต้ส�ำ นึก เพิ่มการ มีแค่เรื่องงานกับเรื่องเงิน แต่ยังมีเรื่องความ สื่อสารให้พนักงานเห็นคุณค่ากันและกัน ทำ�ให้ รัก เรื่องครอบครัว เรื่องการได้ดูแลตัวเอง เรื่อง ทำ�งานร่วมกันได้ พูดตรงๆ ได้ บอกได้ว่าตัวเอง การเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีแง่มุม ต้องการอะไร อีกฝ่ายเขาก็บอกได้เหมือนกันว่า หลากหลายที่สร้างความสุขได้ มันเป็นทั้งหลัก เขาตอบสนองให้ได้ไหม การจัดการโลกภายในและโลกภายนอกซึ่งพอ เข้าใจแล้วช่วยให้ชีวิตมันเติมเต็ม ก็เลยอยาก 42

OPTIMISE | JULY 2017

040-045 Client Values.indd 42-43

ส่งต่อให้กับพนักงาน เพราะสุดท้ายบริษัท ก็คือพนักงาน แล้วพนักงาน 200 ชีวิตไม่ได้ หมายความแค่ 200 คน แต่อาจหมายถึง ครอบครัวเล็กๆ ของเขาด้วย การดูแลพนักงาน จึงเหมือนการได้ดูแลส่วนเล็กๆ ในสังคม เรา เลยคิดเป็นโมเดล Superrich Life ทำ�พนักงาน ให้มีความสุข แล้วเขาก็ส่งต่อบริการที่ดีไปถึง ลูกค้าของเราได้

ปรับตัวตามลูกค้า

เราคิดมาตั้งแต่แรกว่าจะเปลี่ยนธุรกิจ ตามไลฟ์สไตล์ลูกค้าที่เปลี่ยนไป เดี๋ยวนี้คน จะทำ�อะไรในที่ที่เดียวเป็น one stop เพื่อ ประหยัดเวลา ดั้งนั้นการมี 2 สาขาอย่างเดิม คงไม่สะดวก จึงเริ่มขยายไปตามจุดที่เราเห็น ว่าลูกค้าเราไปใช้ชีวิตอยู่ เพิ่มเป็น 15 สาขา

รูจ้ กั กับ สิตามนินท์ สุสมาวัตนะกุล สิตามนินท์ สุสมาวัตนะกุล จบการศึกษาปริญญาตรีจาก คณะวารสารศาสตร์และสื่อสาร มวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศึกษาต่อระดับปริญญาโท ด้าน Marketing Management ที่ มหาวิทยาลัย Kingston University London ประเทศอังกฤษ ปัจจุบัน ดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัท ซุปเปอร์ริช (ไทยแลนด์) จำ�กัด

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่ก่อนจะขยาย การสื่อสาร ภายในองค์กรเป็นเรื่องสำ�คัญ เพราะถ้าจะไปเปิด สาขาข้างนอก ก็ต้องถามภายในเขาว่าพร้อมไหม อย่างเรื่องเรท ที่คุณพ่อตั้งใจให้ลูกค้าได้เรทที่ดีที่สุด ก็ต้องมีการบริหารจัดการภายในเพื่อให้ทุกสาขา แลกเงินในเรทเท่ากันให้ได้ หรือปัจจุบันที่มีเทคโนโลยี มีข้อมูลเร็วขึ้น ก็ต้องปรับให้ทัน เมื่อก่อนปรับเรทวัน ละแค่ 1-2 ครั้ง แต่ว่าตอนนี้ปรับตลอดเหมือนราคา หุ้นไม่รู้กี่รอบต่อวัน

มากกว่าแลกเงิน

ลูกค้าไม่ได้ต้องการแค่เรทดีที่สุด แต่ลูกค้ายัง ต้องการบริการ ประสบการณ์อื่นๆ ด้วย พอเป็น Superrich Life จะต้องไม่ใช่แค่เงินอย่างเดียว แต่มี เรื่องอื่นๆ ด้วย ลูกค้าเดินเข้ามาด้วยอารมณ์ยังไง ก็ตาม แต่พนักงานเรารับมือได้ และส่งเขาออกไป

พร้อมกับรอยยิ้มได้ นอกจากนั้น เราก็จับมือกับ พันธมิตรทางธุรกิจเพื่อเติมเต็มชีวิตส่วนอื่นๆ ของ ลูกค้า เช่น ให้ไปดูโชว์ ไปดูพิพิธภัณฑ์ มีสิทธิพิเศษ ของสายการบินแต่ละกลุ่ม ฯลฯ

เตรียมคนเพื่อวิกฤต

การเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุด คือ การเตรียมคนของเราให้ปรับตัวได้เร็วเวลามีเรื่องที่ไม่ เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่นรัฐบาลอินเดียประกาศยกเลิก ธนบัตร มีผลตอนเที่ยงคืน โดยไม่มีเวลาให้เราจัด เตรียมได้เลย แต่พอเกิดขึ้นแล้ว จะมัวแต่โทษรัฐบาล ไม่ได้ ต้องยอมรับแล้วมองว่าจะเดินไปทางไหนต่อ แจ้งลูกค้ายังไง สูญเสียเท่าไหร่ เรารับได้เท่าไหร่ ซึ่งสุดท้ายเราก็ผ่านมาได้แบบไม่ได้ใช้เวลา มากนัก

OPTIMISE | JULY 2017

43

6/22/17 2:31 PM


CLIENT VALUES

01

01 Superrich Thailand สาขาสยามพารากอน

ตอนเดินขึน้ เราใช้เวลา 7-8 วันกว่าจะถึงยอด แต่ พอไปถึงยอด เราก็ตอ้ งเดิน ลงจากยอดหนึง่ เพือ่ ทีจ่ ะ ไปขึน้ อีกยอด มันก็เหมือน กับการประสบความสำ�เร็จ สุดท้ายเราก็ตอ้ งกลับมาเริม่ เดินทางใหม่เพือ่ ทีจ่ ะไปให้ถงึ อีกเป้าหมายหนึง่ เรารูส้ กึ ว่านีค่ อื การเรียนรูช้ วี ติ จริง ผ่านการเดินทางทีไ่ ม่ใช่แค่ ฟัง หรือจำ�คำ�พูดมาเท่านัน้

44

OPTIMISE | JULY 2017

040-045 Client Values.indd 44-45

เรียนรู้สิ่งใหม่

เป็นคนชอบลอง ชอบกิจกรรมแอคทีฟ เล่นกีฬาหลายอย่าง เพราะรู้สึกว่าเวลาเราไป ทำ�อะไรที่ไม่เคยเรียนรู้มาก่อน มันได้พัฒนา ทักษะใหม่ๆ ได้เห็นอะไรใหม่ๆ เจอคนใหม่ วัฒนธรรมใหม่ เห็นชีวิตมากขึ้น ถ้าไปกับเพื่อน ก็จะได้มิตรภาพกลับมามากขึ้นด้วย ไม่งั้นจะ เหมือนเราอยู่แต่ในนำ�้ ถังเดิมๆ เป็นน้ำ�ไม่ไหล เป็นนำ�้ ที่เน่า ถ้าได้ออกไปเจออะไรข้างนอก มัน ก็จะสดชื่นกว่า อย่างช่วงหลังไปลองเดินปีนเขา ที่เวียดนาม ไป Base Camp ที่เนปาล ทำ�ให้ เห็นสิ่งที่คนพูดกันว่าเราอยู่ที่สูงที่สุดไม่ได้ ตลอดไป ตอนเดินขึ้น เราใช้เวลา 7-8 วันกว่า จะถึงยอด แต่พอไปถึงยอด เราก็ต้องเดินลง จากยอดหนึ่ง เพื่อที่จะไปขึ้นอีกยอด มันก็ เหมือนกับการประสบความสำ�เร็จ สุดท้ายเรา ก็ต้องกลับมาเริ่มเดินทางใหม่เพื่อที่จะไปให้ ถึงอีกเป้าหมายหนึ่ง เรารู้สึกว่านี่คือการเรียนรู้ ชีวิตจริงผ่านการเดินทางที่ไม่ใช่แค่ฟัง หรือ จำ�คำ�พูดมาเท่านั้น

สมบัติอันมีค่า

สิ่งที่แพมได้รับจากคุณพ่อคือการดูแลคน คุณพ่อดูแลพนักงานเหมือนลูกเหมือนหลาน ทำ�ให้เกิดวัฒนธรรมภายในองค์กรที่สั่งสมมา พอรุ่นแรกได้รับมาเขาก็ส่งต่อให้รุ่นน้องต่อไป เป็นความอบอุ่นเหมือนอยู่ในครอบครัว พอ เราหลอมรวมวัฒนธรรม และประสบการณ์ เหล่านี้เข้ากับแนวคิดบริหารจัดการสมัยใหม่ก็ ทำ�ให้เกิดความเป็นมืออาชีพขึ้นมา ก่อนหน้านี้ แพมไม่เคยเข้าใจเลยว่าดูแลใคร ทำ�ไม เพราะ เราไม่เห็นคุณค่า พอโตขึ้นถึงได้เรียนรู้จาก ประสบการณ์ตรง เพราะเคยมีพนักงานเดินมา ขอบคุณและบอกว่าเขาภูมิใจ และดีใจที่ได้ ทำ�งานและอยู่ในองค์กรแบบนี้ เราซาบซึ้งกับ สิ่งที่เขามอบให้แบบอธิบายไม่ได้ ทำ�ให้เห็น เลยว่าเงินซื้อใจคนไม่ได้ จะมีเงินที่ไหนไปซื้อ คนเหล่านี้ที่เขามีใจทุ่มเทรักองค์กรแบบนี้ เขาเป็นสมบัติอันมีค่าในองค์กรจริงๆ

OPTIMISE | JULY 2017

45

6/22/17 2:32 PM


BEYOND BOUNDARIES

01

Persian Escapade วิวทิวทัศน์น่าตื่นตาในเมืองที่ผู้คนให้การต้อนรับขับสู้ อบอุ่นเป็นอันดับต้นๆ ของโลกนั้นไม่ได้อยู่ไกลเกินเอื้อม อีกแล้ว ด้วยเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพฯ สู่เตหะราน ท่ามกลางความระส�ำ่ ระส่ายทางการเมือง ในภูมภิ าคตะวันออกกลาง ชาวอิหร่านตระหนัก ดีถงึ ‘ชือ่ เสียง’ ของตนในความคิดของชาวโลก ยิง่ เมือ่ เดือนมกราคมทีผ่ า่ นมา อิหร่านติดโผ หนึง่ ใน 7 ประเทศมุสลิมที​โ่ ดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ออกค�ำสัง่ ห้ามเดินทาง เข้าประเทศ ชาวอิหร่านยิง่ อยากจะแสดงให้ ผูม้ าเยือนได้เห็นถึงเนือ้ แท้ของอิหร่านทีไ่ ม่ ถูกน�ำเสนอในข่าว โดยผูท้ ไี่ ด้เข้าไปในอดีต ทีต่ งั้ ของจักรวรรดิเปอร์เซียนี้ จะได้พบกับ สถาปัตยกรรมอิสลามอันวิจติ รและวิวทิวทัศน์ ธรรมชาติตระการตา ยิง่ กว่านัน้ สิง่ ทีต่ ราตรึง ยิง่ กว่าคือการต้อนรับขับสูอ้ ย่างจริงใจของคน ท้องถิน่ ซึง่ อาจท�ำให้การไปช้อปปิง้ ของนักท่อง เทีย่ วที่ ‘บาซาร์’ จบลงด้วยการไปจิบน�ำ้ ชาหรือ แม้กระทัง่ พักค้างแรมทีบ่ า้ นคนแปลกหน้า เมือ่ ผนวกสิง่ เหล่านีเ้ ข้ากับธรรมชาติบริสทุ ธิข์ อง หุบเขา ความงามของสุเหร่า และท้องถนนอัน เซ็งแซ่คกึ คัก อิหร่านนับเป็นอีกหนึง่ จุดหมาย ปลายทางทีเ่ ต็มไปด้วยมนต์ขลังชวนพิสจู น์ สาธารณรัฐอิสลามอิหร่านตัง้ อยูร่ ะหว่าง ทวีปยูเรเชียและเอเชียตะวันตก โดยมีพรมแดน จรด 8 ประเทศ 2 อ่าว และ 1 ทะเล ชุมทางแห่ง นีค้ อื แหล่งก�ำเนิดอารยธรรมเก่าแก่ทสี่ ดุ แห่ง หนึง่ โดยในช่วง 6 ปีกอ่ นคริสตกาล อิหร่านเป็น จักรวรรดิทมี่ ขี นาดใหญ่ทสี่ ดุ ของโลก ก่อนจะถูก รุกรานโดยชาวอาหรับและกลับมาเรืองอ�ำนาจ

46

OPTIMISE | JULY 2017

046-051 Beyond Boundaries.indd 46-47

อีกครัง้ ในช่วงศตวรรษที่ 18 แม้ในช่วงศตวรรษ ต่อๆ มา อิหร่านจะเสือ่ มอ�ำนาจลงอย่างรวดเร็ว แต่กย็ งั คงเป็นแรงขับเคลือ่ นส�ำคัญในภูมภิ าค ตะวันออกกลาง และส�ำหรับผูม้ าเยือนแล้ว ประวัตศิ าสตร์อนั ยาวนานหลายพันปียอ่ ม หมายถึงรายละเอียดทางวัฒนธรรมส�ำหรับ ดืม่ ด�ำ่ ได้ไม่รจู้ บ ดังมีมรดกโลกจ�ำนวน 21 แห่ง ทีอ่ งค์การ UNESCO ยกย่องเป็นหลักฐานชัน้ ดี การออกตามล่ามรดกโลกในอิหร่านให้ครบ ถ้วนอาจต้องกินเวลาหลายสัปดาห์ กระนัน้ ภายใน 4-5 วัน นักท่องเทีย่ วสามารถเดินสาย ทัวร์เตหะราน ก่อนจะบินตรงจากเขตชานเมือง อันหรูหราทางตอนเหนือไปสูช่ รี าซ นครแห่ง วัฒนธรรม และปิดท้ายด้วยการเทีย่ วชมสิง่ มหัศจรรย์ทางสถาปัตยกรรมในอิสฟาฮานได้ ง่ายๆ โดยเฉพาะในเมือ่ การเปิดเส้นทางบินตรง จากกรุงเทพฯ สูเ่ ตหะรานของสายการบิน Air Asia X และการบินไทยในเดือนมิถนุ ายนและ ตุลาคมปีทผี่ า่ นมา ได้ทำ� ให้การไปเยือนอิหร่าน สะดวกยิง่ ขึน้ กว่าครัง้ ใด

ไปเยือนเตหะราน

ใครทีเ่ ดินท่องไปตามถนนวาลีอซั ร์ ในเตหะราน อาจได้เห็นอิหร่านในด้านที่ น้อยคนนักจะรูจ้ กั ถนนสายทีย่ าวทีส่ ดุ ใน ตะวันออกกลางนีเ้ ป็นทีต่ งั้ ของชุมชนเมืองอัน ทันสมัยและมีชวี ติ ชีวา ทัง้ สองฟากถนนซึง่ ทอด

ส�ำหรับผูม้ าเยือนแล้ว ประวัตศิ าสตร์อนั ยาวนาน หลายพันปียอ่ มหมายถึง รายละเอียดทางวัฒนธรรม ส�ำหรับดืม่ ด�ำ่ ได้ไม่รจู้ บ ดังมีมรดกโลกจ�ำนวน 21 แห่งทีอ่ งค์การ UNESCO ยกย่องเป็นหลักฐานชัน้ ดี 01 หิมะปกคลุมยอดเขาโทจาลเผยให้เห็นภูมิทัศน์ อันน่าตื่นตาของกรุงเตหะราน

ยาวกว่า 17 กิโลเมตรประกอบด้วยร้านรวง ร้านอาหาร และบาซาร์ซงึ่ ขายสินค้าสารพัน ตัง้ แต่เคบับหอมฉุย โทรทัศน์จอแบน ไปจนถึง พรมเปอร์เซียทีถ่ กั ทออย่างวิจติ ร ขาดไปก็แต่ เครือ่ งดืม่ แอลกอฮอล์ซงึ่ เป็นสิง่ ผิดกฎหมาย ใครอยากได้ราคาดีให้ลองแอบฟังวิธที ชี่ าว อิหร่านต่อราคาอย่างไม่ลดราวาศอกกับพ่อค้า ในตลาดดู แต่บอกก่อนว่าหากจะให้ได้ผล ก�ำลังใจต้องแข็งไม่นอ้ ย นักท่องเทีย่ วควรเริม่ ต้นเดินทางจากเชิง เทือกเขาอัลบอร์ซ ฝัง่ เหนือของเตหะราน ซึง่ มี อากาศทีบ่ ริสทุ ธิแ์ ละตึกรามบ้านช่องโอ่อา่ กว่า ส่วนอืน่ ๆของเมือง ก่อนการปฏิวตั อิ หิ ร่านใน ปี 1979 พระเจ้าชาห์ เรซา ชาห์ของอิหร่านทรง เห็นว่าบริเวณทีต่ งั้ ของ Golestan พระราชวัง เดิมนัน้ แออัดเกินไป จึงทรงย้ายพระราชวังไป ยัง Sa’dabad Complex ทีอ่ ยูข่ นึ้ ไปทางเหนือ ซึง่ ในสมัยนัน้ พืน้ ทีป่ า่ เขียวขจี 1 พันกว่าไร่ใน บริเวณถือว่ามากเกินพอส�ำหรับใช้หลีกเร้นจาก ความวุน่ วายของเมือง มาห์ซา โมตาฮาร์ มัคคุเทศก์ผคู้ ร�ำ่ หวอด ในวงการกว่า 10 ปีเล่าว่า อาณาจักรแห่งใหม่ ของชาห์นนั้ กลายเป็นทีห่ มายปองของเหล่า คหบดีผมู้ งั่ คัง่ “หลังจากนัน้ ไม่นาน ครอบครัว ชาวอิหร่านทีม่ สี ตางค์กแ็ ห่กนั ซือ้ บ้านหลังใหญ่ ทางตอนเหนือของเตหะราน แถวนีส้ บายๆ กว่า ผิดกับทางใต้ทปี่ ระชากรหนาแน่น อากาศร้อน OPTIMISE | JULY 2017

47

6/22/17 2:34 PM


BEYOND BOUNDARIES และเคร่งศาสนากว่า” และในเมือ่ ถนนวาลีอซั ร์ ท�ำหน้าทีเ่ ชือ่ มเตหะรานเหนือและใต้เข้าด้วย กัน “คุณจะได้เห็นวัฒนธรรมทัง้ สองฟากของ เตหะรานบนถนนสายนี”้ เธอเสริม ขณะออกท่องตัวเมือง เป็นเรือ่ งปกติที่ นักท่องเทีย่ วอาจได้เจอกับชาวท้องถิน่ ทีเ่ สนอ ตัวเป็น ‘ไกด์เฉพาะกิจ’ คอยพาผูม้ าเยือนเทีย่ ว ชมตามสถานทีต่ า่ งๆ อาทิ ตลาด Tajrish และ สวนสาธารณะ Mellet Park ซึง่ เต็มไปด้วย ต้นไม้ทไี่ ด้รบั การตัดแต่งอย่างดี ฮามิด แซม คนในพืน้ ทีเ่ ล่าว่า “คนชอบมาทีส่ วนแห่งนีเ้ พือ่ พักผ่อนหย่อนใจ ชมวิวและสูดอากาศบริสทุ ธิ์ แถมทีน่ คี่ นก็มกั จะปล่อยตัวหน่อยๆ ด้วย” ดาร์บนั ด์ หมูบ่ า้ นเล็กๆ ในละแวกคือ ตัวอย่างของสิง่ ทีฮ่ ามิดพูดถึง ชุมชนอยูอ่ าศัย อันทันสมัยแห่งนีต้ งั้ อยูใ่ กล้เส้นทางไต่เขายอด นิยมซึง่ มุง่ หน้าไปยังเขาโทจาล และเป็นสถาน ทีห่ ย่อนใจของชาวอิหร่านทุกเพศทุกวัยทีม่ กั มานัง่ จิบชาและสูบชิชา แม้การสวมฮิญาบจะ ถือเป็นข้อบังคับส�ำหรับสตรีทกุ เชือ้ ชาติ หญิง สาวในดาร์บนั ด์มกั จะแอบแหกกฎเล็กๆ น้อยๆ

โดยเฉพาะตามร้านอาหารบนเชิงเขาซึง่ ตัง้ อยู่ ในจุดทีเ่ งียบสงบและมีเทือกเขาโอบล้อม หญิง สาวหลายคนทีน่ ถี่ อดผ้าคลุมหน้าออกเผยให้ เห็นผมท�ำสี ลายสัก และรอยเจาะ และบางคน ก็รสู้ กึ ปลอดภัยถึงขนาดเอียงศรีษะไปซบไหล่ แฟนหนุม่ ของตน ทัง้ ๆ ทีก่ ารแสดงความรักในที่ สาธารณะเป็นสิง่ ต้องห้าม หากเดินขึน้ เขาจนเหนือ่ ย ผูม้ าเยือนอาจแวะ พักรับประทานอาหาร ดืม่ ชา และสูบชิชาทีร่ า้ น Bagh-E Behesht ตรงช่วงต้นถนนดาร์บนั ด์ นอกเหนือจากวิวสวยๆ ของเทือกเขาอัลบอร์ซ แล้ว ทีน่ ยี่ งั จ�ำลองบรรยากาศให้เหมือนกับนัง่ รับประทานอาหารอยูใ่ นสวนด้วย ส�ำหรับนักท่องเทีย่ วผูอ้ อกตามล่ามรดกโลก ทัง้ 21 แห่ง การฝ่ารถติดใจกลางเมืองทีเ่ ลือ่ ง ชือ่ เรือ่ งการจราจรติดขัดอย่างเตหะรานเพือ่ ไป ยังพระราชวังโกเลสตันและตลาด Old Bazaar นัน้ เป็นสิง่ ทีค่ มุ้ ค่า เมือ่ เดินเทีย่ วจนหน�ำใจแล้ว ลองแวะไปยังคาเฟ่ Gole Rezaieh ซึง่ ใช้เวลา เดิน 25 นาทีจากพระราชวังโกเลสตัน ภายใน พืน้ ทีแ่ คบๆ แห่งนีแ้ ฝงไปด้วยกลิน่ อายของช่วง

ยุคก่อนการปฏิวตั อิ สิ ลาม ทัง้ รูปถ่ายขาวด�ำ เก่าๆ ทีแ่ ขวนอยูเ่ ต็มฝาผนังและแสงไฟสลัวๆ ชวนให้นกึ ถึงสมาคมลับ โดยหากไปในช่วงสุด สัปดาห์ควรรีบไปจับจองทีน่ งั่ แต่เนิน่ ๆ เสียก่อน โต๊ะจะเต็ม

จิบรสชาติแห่งชีราซ

ไม่มเี มืองใดในอิหร่านจะมีสสี นั ทาง วัฒนธรรมมากไปกว่าชีราซ เพราะนครแห่งนี้ เป็นถิน่ ของสุเหร่าและสวนอันตระการตา เป็น แหล่งก�ำเนิดวรรณคดีอนั ยิง่ ใหญ่ อีกทัง้ ยังเป็น เมืองแห่งบุปผชาติ และไวน์ แน่นอน ทุกวันนี้ แอลกอฮอล์อาจเป็นสิง่ ผิดกฎหมาย แต่ครัง้ หนึง่ ไวน์เคยเป็นหัวใจของวัฒนธรรมเปอร์เซีย และไวน์อายุกว่า 7,000 ปี ทีว่ า่ กันว่าเก่าแก่ ทีส่ ดุ ในโลกก็ถกู ค้นพบในชีราซนีเ่ อง สุสานของฮาเฟซ กวีนามอุโฆษของอิหร่าน คือสถานทีแ่ รกๆ ทีค่ วรจะไปเยีย่ มชม สถานที่ แห่งนีค้ ลาคล�ำ่ ไปด้วยชาวเมืองทีม่ าพบปะร่วม ร้องเพลงหรืออ่านบทกวีของฮาเฟซ (“ข้าฯหลง รักทุกโบสถ์ ทุกสุเหร่า ทุกอาราม ทุกแท่นบูชา

03

04

02 48

OPTIMISE | JULY 2017

046-051 Beyond Boundaries.indd 48-49

ทุกวันนีแ้ อลกอฮอล์อาจ เป็นสิง่ ผิดกฏหมาย แต่ครัง้ หนึง่ ไวน์เคยเป็น หัวใจของวัฒนธรรม เปอร์เซีย และไวน์อายุกว่า 7,000 ปี ทีว่ า่ กันว่าเก่าแก่ ทีส่ ดุ ในโลก ก็ถกู ค้นพบ ในชีราซ 02 มัสยิด Nasir-ol-Molk ในเมืองชีราซ 03 สะพาน Khaju แห่งเมืองอิสฟาฮาน 04 ผู้คนเดินคลาคล�ำ่ ในตลาด Vakil Bazaar

05

05 มัสยิด Shah Cheragh ในเมืองชีราซ

เพราะข้าฯ รู้ ทุกสถานย่อมก้องไปด้วยนาม นานาแห่งพระผูเ้ ป็นหนึง่ เดียว”) “สุสานของฮาเฟซคือความภาคภูมใิ จของ ชาวอิหร่านโดยเฉพาะคนชีราซ เรามาทีน่ กี่ นั เป็น ประจ�ำ ทุกคนยกย่องฮาเฟซในฐานะยอดกวี และยึดบทกวีของท่านเป็นแนวทางการด�ำเนิน ชีวติ เราใช้เวลาหลายชัว่ โมงคุยกันในสวนหรือ อ่านบทกวีของฮาเฟซข้างแท่นหลุมศพ” เมห์ดี ฮาร์ทแมน ชาวเมืองชีราซเล่า ในขณะที่ บรรยากาศช่วงพลบค�ำ่ ยามทีส่ วนเปิดไฟส่อง สว่างและผูค้ นเริม่ ขับขานบทกลอนของฮาเฟซ ยิง่ ท�ำให้ทแี่ ห่งนีม้ บี รรยากาศแห่งมนต์ขลัง “ทีน่ คี่ ณ ุ จะได้เห็นชาวอิหร่านในอิรยิ าบถทีเ่ สรี และผ่อนคลาย” ถ้าฝึกต่อราคาจนคล่องดีแล้ว ตลาด Vakil Bazaar น่าจะเป็นสนามประลองฝีมอื ทีส่ มน�ำ้ สมเนือ้ เมือ่ เทียบกับบาซาร์แห่งอืน่ ในเตหะราน หรืออิสฟาฮาน ศูนย์กลางการค้าขนาดมหึมา แห่งนีโ้ ดดเด่นกว่าในเรือ่ งสถาปัตยกรรม กล่าว คือ เพดานสูงทีแ่ กะสลักอย่างประณีต โดย แทนทีจ่ ะพยายามจ�ำทางในเขาวงกตแห่งนี้ อย่างป่วยการ แนะน�ำให้เดินชมร้านขายของ ทีร่ ะลึก โรงอาบน�ำ้ ร้านชา และมัสยิดวากีล อย่างไร้จดุ หมายจะเพลินกว่า

ในท�ำนองเดียวกับเตหะราน เป็นเรือ่ งปกติ ทีน่ กั ท่องเทีย่ วอาจได้พบกับคนท้องถิน่ ทีส่ มัคร ใจเป็นไกด์พาเทีย่ วชมรอบๆ ตลาดแบบไม่ หวังอะไรตอบแทนทัง้ สิน้ โดยหลังเดินส�ำรวจ จนรูจ้ กั ตลาดทุกซอกทุกมุมแล้ว ให้ถามทาง คนในละแวกเพือ่ ไปยัง Sharzeh ร้านอาหาร ข้างมัสยิดวากีลซึง่ เสิรฟ์ คิบบั แบบอิหร่านแท้ๆ ควบคูไ่ ปกับเสียงดนตรีสด มัสยิดในชีราซนัน้ ขึน้ ชือ่ เรือ่ งความอลังการ โดยทีโ่ ดดเด่นทีส่ ดุ น่าจะเป็นมัสยิด Nasir-olMolk หรือทีร่ จู้ กั กันในชือ่ ‘มัสยิดสีชมพู’ นักท่องเทีย่ วควรรีบไปเข้าชมตัง้ แต่หลัง พระอาทิตย์ขนึ้ ใหม่ๆ แล้วจะได้เห็นแสงจาก กระจกสีทสี่ อ่ งสะท้อนพรรณรายจากทุกมุมมอง เป็นของก�ำนัล ถัดมา มัสยิด Shah Cheragh อาจดูภายนอกไม่หวือหวาเท่า แต่ภายในซึง่ ประกอบด้วยห้องหับต่างๆ นัน้ ได้รบั การตกแต่ง อย่างวิจติ ร โดยห้องบางส่วนประดับประดาด้วย ชิน้ ส่วนกระจกระยิบระยับตัง้ แต่เพดานจรดพืน้ ทีม่ สั ยิดแห่งนีม้ ไี กด์องั กฤษให้บริการฟรีสำ� หรับ นักท่องเทีย่ ว และผูห้ ญิงจะต้องสวม ‘ชาดอร์’ ผ้าคลุมยาวสีดำ� ทีส่ ตรีมสุ ลิมใส่ตลอดเวลาที่ เข้าชม ซึง่ มีให้บริการฟรีเช่นเดียวกัน องค์การยูเนสโกได้ขนึ้ ทะเบียนสวนเปอร์เซีย

ให้เป็นมรดกโลก โดยสวนทีง่ ดงามทีส่ ดุ ทัง้ 9 แห่งนัน้ กระจายอยูต่ ามแคว้นต่างๆ ของอิหร่าน รวมถึง Eram Garden ซึง่ ตัง้ อยูใ่ จกลางย่านที่ วุน่ วายทีส่ ดุ ของชีราซ สวนแห่งนีม้ ที างน�ำ้ กัน้ แบ่งพืน้ ทีอ่ อกเป็น 4 ส่วน เพือ่ สือ่ นัยยะถึงความ สมบูรณ์แบบแห่งสรวงสวรรค์ โดยภายในมี ต้นไม้นานาพันธุค์ อยแผ่รม่ เงาให้ชาวเมืองใช้ หลบแสงแดดร้อนระอุในช่วงหน้าร้อน แต่สำ� หรับใครทีอ่ ยากหลบร้อนไกลกว่านัน้ ควรมุง่ หน้าไปที่ Ferdowsi Cafe ซึง่ ตัง้ อยูต่ รง ตึกแถวเลขที่ 194 บนถนนฟิรโดซี บาร์เก่าจาก ช่วงยุคก่อนปฏิวตั นิ ปี้ จั จุบนั เสิรฟ์ กาแฟเย็นหอม มันและเครือ่ งดืม่ ชารสต่างๆ ท่ามกลางเสียงพูด คุยขโมงโฉงเฉงจากโต๊ะหนึง่ ไปยังอีกโต๊ะหนึง่ ตามต�ำรับสภากาแฟทีด่ ที กุ ประการ

หนีเทีย่ วอิสฟาฮาน

ชาวอิหร่านมักพูดว่าอิสฟาฮานเป็นเมืองที่ สวยติดอันดับต้นๆ ของโลก มรดกโลกอย่าง จตุรสั Naqsh-e Jahan หรือทีร่ จู้ กั กันในชือ่ ‘จตุรสั อิหม่าม’ นัน้ รายล้อมไปด้วยพระราชวัง มัสยิด สวนหย่อม และน�ำ้ พุ โดยมีขนาดใหญ่ เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากจตุรสั เทียนอันเหมินในสาธารณรัฐประชาชนจีน OPTIMISE | JULY 2017

49

6/22/17 2:34 PM


BEYOND BOUNDARIES

ทุกคนจะนัง่ ปิกนิก กันบนหญ้า ซึง่ เป็น เรือ่ งปกติสำ� หรับ ชาวอิหร่าน ถ้าลองเข้าไปนัง่ รับรองได้เลยว่าจะ ต้องมีคนมาชวน คุณคุยเรือ่ งมุม มองและวัฒนธรรม ของคุณ ณ จตุรสั แห่งนีม้ รี ถม้าหลายคันไว้รองรับ นักท่องเทีย่ วและครอบครัวชาวอิหร่านทีต่ อ้ งการ ทัศนาจรไปรอบๆ บริเวณ ขณะทีก่ ลุม่ วัยรุน่ ส่วนใหญ่ จะนัง่ จับเข่าคุยกันบนพืน้ หญ้า จะเห็นได้วา่ ในอิหร่าน บรรดาสวนหย่อมและจตุรสั ต่างๆ นัน้ ใช่แค่เพียงรูป แบบของงานสถาปัตยกรรม หากเป็นส่วนหนึง่ ของวิถี ชีวติ อย่างแท้จริง อาลี มาซาเฮรี ชาวเมืองเล่าว่า “ทุก คนจะนัง่ ปิกนิกกันบนหญ้า ซึง่ เป็นเรือ่ งปกติสำ� หรับ ชาวอิหร่าน ถ้าลองเข้าไปนัง่ รับรองได้เลยว่าจะต้องมี คนมาชวนคุณคุยเรือ่ งมุมมองและวัฒนธรรมของคุณ” นอกจากนี้ อิสฟาฮานยังมีชอื่ เสียงจากสะพาน ทัง้ 11 แห่งซึง่ ทอดข้ามแม่นำ�้ ซายันเดรุดด้วย โดย เฉพาะสะพานซี-โอ-เซห์-โพลและคาจูซงึ่ สร้างใน แบบสถาปัตยกรรมอิสลามแท้ แถววงโค้งทีร่ องรับตัว สะพานทัง้ 2 ชัน้ ทอดยาวเหนือผิวน�ำ้ อย่างสง่างาม ในยามค�ำ่ คืน สะพานอิฐแห่งนีจ้ ะเปิดไฟมลังเมลือง โดยมีนกั ร้องชายขับขานบทเพลงพืน้ ถิน่ ภายใต้เงา ของงานสถาปัตย์อนั วิจติ ร อย่าลืมปิดท้ายค�ำ่ คืนอันสมบูรณ์แบบใน อิสฟาฮานด้วยมือ้ ค�ำ่ ทีร่ า้ น Azam Beryani ตรงถนน คามาล อิสมาอีลใกล้ๆ สะพานคาจู ร้านอาหารแห่งนี้ เสิรฟ์ เมนูเด็ดของอิสฟาฮานอย่างบริยานีเนือ้ แกะบด คูก่ บั ขนมปังนานอบสดจากเตาทีม่ กี ลิน่ หอมของถ่าน เป็นส่วนผสมของรสชาติกลมกล่อมและสมุนไพรที่ ชวนให้กนิ ไม่เลิก 50

OPTIMISE | JULY 2017

046-051 Beyond Boundaries.indd 50-51

06

เยือ้ งย่างเมืองยัซด์

ถ้ามีเวลาเหลือ ผูม้ าเยือนอาจลองเปลีย่ น บรรยากาศจากหัวเมืองใหญ่มาใช้เวลาสักหนึง่ หรือ สองคืนทีย่ ซั ด์ นครเก่าแก่ซงึ่ ได้ชอื่ ว่า ‘นครแห่งหอคอย ดักลม’ (Windcatcher) แห่งนี้ จะท�ำให้นกั ท่องเทีย่ ว รูส้ กึ เหมือนได้กา้ วเข้าไปในห้วงเวลาไกลโพ้น บ้าน เรือนทีส่ ร้างจากอิฐดินบ่งบอกประวัตศิ าสตร์อนั ยาว นานถึง 5,000 ปี อีกทัง้ ยังเป็นสถานทีต่ งั้ ของวิหารไฟ ในศาสนาโซโรอัสเตอร์ คูคลองโบราณ และอ่างเก็บน�ำ้ ก่อด้วยแท่งหิน กิจกรรมทีค่ วรท�ำคือการจิบชาในสวน ของโรงแรม Orient Hotel หรือขึน้ ไปร้านอาหารบน ดาดฟ้า แล้วสัง่ มิลค์เชกอินทผาลัมและเมนูพนื้ เมือง ของอิหร่านอย่าง ghormeh sabzi สตูวผ์ กั รสชาติ เข้มข้นด้วยสมุนไพรมาลองชิม ส�ำหรับนักท่องเทีย่ วทีก่ ำ� ลังคิดไปเยือนอิหร่าน ครัง้ แรก ทุกสิง่ ทุกอย่างทีก่ ล่าวมานี้ ไม่วา่ จะเป็นวิว ทิวทัศน์ วัฒนธรรม หรือภูมอิ ากาศทีห่ ลากหลาย อาจท�ำให้รสู้ กึ เวียนหัวไม่นอ้ ย กระนัน้ วัฒนธรรม และความงามอันละลานตานีเ่ องทีท่ ำ� ให้แน่ใจได้วา่ อย่างไรเสีย การไปเทีย่ วอิหร่านจะไม่ทำ� ให้ผดิ หวัง ยังไม่ตอ้ งพูดถึงว่าหากหลงมะงุมมะงาหราขึน้ มา ประเทศนีก้ ย็ งั เต็มไปด้วยคนทีพ่ ร้อมจะบอกทางให้ หรือทีเ่ ป็นไปได้งา่ ยกว่านัน้ คือ อาจมีคนอาสาพาคุณ เทีย่ วไปรอบๆ เมืองก่อนจะเชิญให้ไปรับประทานมือ้ ค�ำ่ ทีบ่ า้ นด้วยเลยทีเดียว

Essentials Azam Beryani ถนน Kamal Esmaeel อิสฟาฮาน Bagh-E Behesht ถนน Darband เตหะราน Ferdowsi Cafe 194 ถนน Kashi Ferdowsi ชีราซ www.fb.com/CafeFerdowsi Gole Rezaieh ถนน Ghavam Saltane เตหะราน Orient Hotel ถนน Masjed-e-Jaameeh Mosque, 6th Alley ยัซด์ theorienthotel.blogspot.com

06 ชายชาวอิหร่านยิ้มให้กับกล้อง แสดงไมตรีซึ่งหาได้ทั่วไปในประเทศนี้

OPTIMISE | JULY 2017

51

6/22/17 2:35 PM


thinking big ชายไร้บา้ นหน้าตามอมแมมก�ำลังนอนหลับ พริม้ อยูบ่ นฟุตบาทหน้าร้านหนังสือ แต่ตอ้ ง สะดุง้ ตืน่ ขึน้ เมือ่ ถูกเจ้าของร้านท่าทางฉุนเฉียว สาดน�ำ้ และเตะเข้าอย่างจัง สิง่ เหล่านีเ้ กิดขึน้ วันแล้ววันเล่าจนกลายเป็นภาพชินตา จนกระทัง่ วันหนึง่ ชายไร้บา้ นได้หายตัวไปติด กัน 3 วัน ท�ำให้เจ้าของร้านรูส้ กึ เอะใจและไป ตรวจดูกล้องวงจรปิดหน้าร้าน เมือ่ นัน้ เขาถึงได้ รูว้ า่ ตลอดระยะเวลาทีผ่ า่ นมา ชายไร้บา้ นผูน้ ไี้ ด้ คอยเฝ้ายามหน้าร้านให้ และยังเคยช่วยไล่กลุม่ เด็กมือบอนและคนเมาทีม่ ายืนฉีใ่ ส่ประตูรา้ น ด้วย และในวิดโี อสุดท้าย ภาพฟ้องว่าชายไร้ บ้านต้องต่อสูอ้ ย่างรุนแรงกับชายฉกรรจ์ 2 คนที่ พยายามงัดประตูรา้ นเข้าไปขโมยของจนกระทัง่ ตัวเองถูกแทง ภาพตัดกลับมาทีเ่ จ้าของร้านผูซ้ งึ่ นัง่ น�ำ้ ตานองหน้าขณะมองดูภาพ ‘ผูพ้ ทิ กั ษ์’ ของ ร้านพยายามต่อสูเ้ พือ่ ลมหายใจเฮือกสุดท้าย ก่อนทีห่ น้าจอจะค่อยๆ เปลีย่ นไปเป็นสีดำ� สนิท และมีขอ้ ความในอักษรตัวหนาใหญ่ปรากฏขึน้ ว่า “ยังมีความจริงอีกมาก ทีเ่ รามองไม่เห็น” โฆษณากล้องวงจรปิดของ Vizer ชิน้ นีไ้ ด้ กลายหนึง่ ในเป็นวิดโี อ ‘ไวรัล’ ประจ�ำปี 2558 โดยปัจจุบนั วิดโี อดังกล่าวมียอดผูช้ มสูงถึง 17 ล้านครัง้ บนเว็บไซต์ Youtube ในขณะทีโ่ ฆษณา ของ TrueMove H ในปี 2556 ชุด ‘การให้ คือ การสือ่ สารทีด่ ที สี่ ดุ ’ ซึง่ แสดงเรือ่ งราวของเด็ก

01

ชายฐานะยากจนผูข้ โมยยาไปให้แม่ทกี่ ำ� ลัง ป่วยหนักมียอดผูช้ ม 20 ล้านครัง้ และโฆษณา ไทยประกันชีวติ ปี 2557 ชุด Unsung Hero ซึง่ บอกเล่าการท�ำความดีของชายผูห้ นึง่ มียอดผู้ ชม 29 ล้านครัง้ เหล่านีเ้ ป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ของโฆษณาไทยทีไ่ ด้รบั การส่งต่อไปทัว่ โลกออนไลน์ เพราะในปี 2557 เพียงปีเดียว ประเทศไทยก็สามารถกวาดรางวัลสิงโตทองถึง 9 ตัวจากเทศกาลงานประกวดรางวัลโฆษณา นานาชาติ Cannes Lions สือ่ ตะวันตกถึงขัน้ บัญญัตคิ ำ� ว่า sadvertising มาใช้เรียกเรือ่ งราว สุดเศร้า อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของโฆษณา ไทย ซึง่ ต่อมายังได้กอ่ ให้เกิดกิจกรรมออนไลน์ที่ เด็กฝรัง่ ต่างท้ากันว่าใครดูโฆษณาไทยให้ตลอด รอดฝัง่ ได้โดยไม่รอ้ งไห้กถ็ อื ว่าเก่ง ในขณะที่ หนังสือพิมพ์​The Wall Street Journal เรียก ปรากฏการณ์ดงั กล่าวในบทความทีต่ พี มิ พ์เมือ่ ปี 2559 ว่า ‘กีฬาเพือ่ ความบันเทิงแห่งยุคดิจติ ลั ’ (digital spectator sport) อย่างไรก็ตาม แม้โฆษณาทีป่ ระสบความ ส�ำเร็จอย่างล้นหลามนีจ้ ะแสดงให้เห็นถึงพลัง สร้างสรรค์ในระดับโลกของคนไทย แต่การ เปลีย่ นแปลงอย่างมหาศาลในแวดวงสือ่ ในขณะนี้ ก�ำลังบีบให้อตุ สาหกรรมโฆษณาไทย ต้องรีบหา ‘มุก’ ใหม่ในการน�ำเสนอหากยัง หวังจะครองความเป็นผูน้ ำ� ไว้ตอ่ ไป 02

Golden Tears หลังผ่านพ้นทศวรรษแห่งความเป็นเลิศ อุตสาหกรรมโฆษณาไทยถึงเวลาต้องหันมาเผชิญหน้า กับการแข่งขันและความผันเปลี่ยนของยุคดิจิตัล

สือ่ ตะวันตกถึงขัน้ บัญญัติ ค�ำว่า sadvertising มาใช้เรียกเรือ่ งราวสุดเศร้า อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ของโฆษณาไทย

น�ำ้ ตาแห้งเหือด

ตัง้ แต่ชว่ งปี 2543 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้ สร้างสรรค์ผลงานโฆษณาคุณภาพหลักๆ อยู่ 2 ประเภททีก่ ระตุน้ อารมณ์ผชู้ มอย่างยิง่ ทัง้ คู่ กล่าวคือโฆษณาแนวซึง้ กินใจ และโฆษณาตลก หน้าตายทีห่ ยิบยกเรือ่ งในชีวติ ประจ�ำวันมา ล้อเลียน โฆษณาทัง้ 2 ประเภทนีก้ วาดรางวัล มาแล้วทัว่ โลกในช่วงทศวรรษทีผ่ า่ นมา ผูก้ ำ� กับ โฆษณามือวางอันดับต้นๆ ของไทยอย่าง ธนญชัย ศรศรีวชิ ยั คว้ารางวัลมาแล้วหลายเวที ทัง้ Cannes Lions (29 รางวัล), Adman (200 รางวัล) และ B.A.D. (145 รางวัล) รวมทัง้ รางวัล อืน่ ๆ อีกนับไม่ถว้ น ท�ำให้เขากลายเป็นหนึง่ ใน ผูก้ ำ� กับโฆษณาแนวหน้าของโลก ทัง้ นี้ นอกเหนือ จากผลงานชิน้ คลาสสิกแล้ว เขายังมีผลงาน จ�ำพวกโฆษณาต่อมน�ำ้ ตาแตก โฆษณาตลก อาทิ โฆษณาบาร์บคี วิ พลาซ่า ซึง่ ตัวละครใน เรือ่ งร้องห่มร้องไห้เพราะช่องตักน�ำ้ ซุปในกะทะ ซิกเนเจอร์ของร้านแคบเกินไป โดยเอกลักษณ์ งานโฆษณาของธนญชัย คือการบอกเล่าเรือ่ ง ราวง่ายๆ ใช้คนธรรมดาเป็นตัวละคร ประกอบ ด้วยเสียงพากษ์ไร้อารมณ์ ทีก่ ลายมาเป็น ‘สูตร’ ของโฆษณาไทย ซึง่ ปูทางให้กบั ความส�ำเร็จของ อุตสาหกรรมนีม้ าจวบจนปัจจุบนั จุรพี ร ไทยด�ำรงค์ ประธานกรรมการฝ่าย สร้างสรรค์บริษทั GREYnJ และผูก้ ำ� กับหญิง 03

04

01 หนึ่ ง ในรางวั ล Cannes Lions ที่ ป ระดั บ อยู ่ ใ น ออฟฟิ ศ Leo Burnett Thailand 02 โฆษณาชุ ด Unsung Hero 03 โฆษณาชุ ด ‘การให้ คื อ การสื่ อ สารที่ ดี ที่ สุ ด ’ 04 โฆษณากล้ อ งวงจรปิ ด ของ Vizer

52

OPTIMISE | JULY 2017

052-057 Thinking Big.indd 52-53

OPTIMISE | JULY 2017

53

6/22/17 2:33 PM


thinking big ฝ่ายสร้างสรรค์คนส�ำคัญของไทย คือผูอ้ ยูเ่ บือ้ ง หลังโฆษณาดังพลุแตกหลายชุดของธนญชัย อาทิ โฆษณา ‘Thai Waiters’ Mom พนักงานร้าน อาหารก็มแี ม่’ ของบาร์บคี วิ พลาซ่า โฆษณาชุด Love Story ของสมูทอี และโฆษณา ‘งานบุญ’ ของส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุข ภาพ (สสส.) เธอมองว่าความส�ำเร็จของโฆษณา ในบ้านเรานัน้ มีรากฐานมาจากวัฒนธรรมไทย เอง “คนไทยชอบเรือ่ งอารมณ์ความรูส้ กึ เราเป็น ชนชาติทอี่ อ่ นไหวง่าย จิตใจดี ชอบดูละครและ หนังตลกโปกฮา ในขณะทีก่ ารตัดสินใจของฝรัง่ จะคิดเรือ่ งการใช้งานและเหตุผลเป็นหลัก คน ไทยจะใช้ความรูส้ กึ น�ำ จะเรียกว่าเป็นจุดขาย ของเราก็วา่ ได้” ด้วยจ�ำนวนหน้าจอในครัวเรือนทีเ่ พิม่ ขึน้ ทวีคณ ู ทัง้ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มอื ถือ และ แท็บเล็ต ผูบ้ ริโภคสือ่ ในศตวรรษที่ 21 จึงไม่ถกู บังคับให้ตอ้ งทนดูสงิ่ ใดทัง้ สิน้ อย่างในกรณีของ ยูทปู คนดูสามารถกดข้ามโฆษณาได้หลังรอ เพียง 5 วินาที นักโฆษณาจึงต้องเปลีย่ นกลยุทธ์ จากการขายของแบบฮาร์ดเซลมาเป็นการใช้ เรือ่ งราวดราม่าดึงดูดเพือ่ ไม่ให้ผชู้ มเบือนหน้า

มันง่ายทีจ่ ะทึกทักเอาว่า โฆษณาพวกนีม้ นั ประสบ ความส�ำเร็จเวลาเห็นคนยัง แชร์กนั อยูบ่ นโลกโซเชียล มีเดีย แต่นนั่ ไม่ได้ชว่ ยให้เรา ชนะรางวัล คือโฆษณาเหล่า นีอ้ าจจะให้ความบันเทิงจริง แต่ตอ้ งดูดว้ ยว่ามันเป็น โฆษณาทีด่ หี รือเปล่า มันช่วยโปรโมตแบรนด์หรือ ตัวสินค้าหรือเปล่า 05 สุ ร ชั ย พุ ฒิ กุ ล างกู ร มื อ รางวั ล แห่ ง Illusion Studio 06 โฆษณากระเป๋ า Samsonite ที่ ก วาด รางวั ล จากทั่ ว โลก

54

OPTIMISE | JULY 2017

052-057 Thinking Big.indd 54-55

หนี ในแง่นี้ sadvertising ของไทยจึงเหมาะสม กับการโฆษณาในบริบทใหม่อย่างยิง่ ดังทีเ่ ห็นได้ จากยอดผูช้ มกว่าสิบล้านคนทีเ่ ข้ามาชมโฆษณา เหล่านีโ้ ดยไม่ตอ้ งมีการซือ้ หา (หรือทีภ่ าษา โฆษณาเรียกว่า organic view) บริษทั การตลาดดิจติ ลั Unruly ซึง่ เฝ้า ติดตามผลกระทบของโฆษณาต่ออารมณ์ของ ผูช้ ม กล่าวว่ายอดคนดูทสี่ งู อย่างเหลือเชือ่ นีเ้ ป็น เพราะโฆษณาไทยนัน้ กระชากอารมณ์ให้ขนึ้ ลง ได้ราวกับนัง่ รถไฟเหาะ ส่งผลให้คะแนนในการ ตอบสนองทางอารมณ์ตอ่ โฆษณาของคนไทยพุง่ แรงแซงชาติอนื่ โดยคนไทยกว่า 22% รูส้ กึ สนุก เพลิดเพลินเมือ่ ได้ชมโฆษณาของประเทศตัวเอง เทียบกับค่าเฉลีย่ ของโลกที่ 4% ฟิล ทาวน์เซนด์ ผูอ้ ำ� นวยการประจ�ำภูมภิ าคเอเชียแปซิฟกิ ของ อันรูลกี ล่าวกับส�ำนักข่าว AFP ว่า “มีหลายคน ถามเราว่าจะสร้างโฆษณาแบบนัน้ บ้างได้ยงั ไง” แม้อตุ สาหกรรมโฆษณาไทยจะประสบ ความส�ำเร็จเป็นพลุแตกในช่วง 10 ปีทผี่ า่ นมา แต่วงการโฆษณาก็ตอ้ งเผชิญกับความท้าทาย และการแข่งขันทีส่ งู ขึน้ ในยุคดิจติ ลั ทีเ่ ติบโต อย่างรวดเร็ว รวมถึงความนิยมในโซเชียล มีเดีย 05

06

ซึง่ ท�ำให้พฤติกรรมผูบ้ ริโภคเปลีย่ นแปลงไป ส�ำหรับ ภารุจ ดาวราย กรรมการบริหาร Leo Burnett ประเทศไทย ความเปลีย่ นแปลงอย่าง หนึง่ ทีเ่ ห็นได้ชดั คือผูบ้ ริโภคฉลาดขึน้ ส่งผลให้ โฆษณาต้องปรับเปลีย่ นรูปแบบให้กลมกลืน และแปลกใหม่มากขึน้ เพือ่ ป้องกันไม่ให้คนดูหนั

ไปหาตัวเลือกอืน่ ทีอ่ ยูห่ า่ งออกไปเพียงหนึง่ คลิก “มุกโฆษณาเรียกน�ำ้ ตาถูกใช้จนเฝือ พอเห็น ว่างานชิน้ ไหนเวิรค์ เราก็พากันใช้ซำ�้ กันเป็นสูตร ส�ำเร็จ โดยไม่ได้คดิ ต่อยอดหรือดูกอ่ นว่ารูปแบบ นัน้ ๆ เหมาะส�ำหรับสินค้าหรือเปล่า เราเลยได้ แต่อะไรทีเ่ หมือนเดิมและซ�ำ้ ซาก” ภารุจกล่าว ทีมของเขาได้ผลิตโฆษณาอย่าง The Power of Woman ส�ำหรับเทสโกโลตัสในปี 2559 และ I’m Thai ให้กบั การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทยใน ปี 2558 เขาเสริมว่า “อุตสาหกรรมโฆษณามีกฎ เหล็กอยูข่ อ้ หนึง่ คืออะไรทีค่ นท�ำแล้ว เราไม่ควร เอามาท�ำซ�ำ้ ” ดูเหมือนการทีป่ ระเทศไทยพึง่ พาสูตร ส�ำเร็จทีต่ นสร้างขึน้ มานัน้ ต่อมาได้กลายเป็น ดาบสองคมทีท่ ำ� ร้ายวงการโฆษณา เพราะแม้ ปัจจุบนั โฆษณากระตุกต่อมฮาหรือเศร้าเคล้า น�ำ้ ตาจะยังดูแล้วบันเทิงอย่างยิง่ แต่กเ็ ริม่ ไม่ ดีพอส�ำหรับเวทีประกวดอีกต่อไป อย่างในปีที่ ผ่านมา ประเทศไทยชวดรางวัลสิงโตทองในเวที คานส์ ไลออน ผิดกับเมือ่ ปี 2557 และ 2556 ที่ คว้ารางวัลไปทัง้ สิน้ 8 และ 17 รางวัล “มันง่ายทีจ่ ะทึกทักเอาว่าโฆษณาพวกนีม้ นั ประสบความส�ำเร็จเวลาเห็นคนยังแชร์กนั อยูบ่ น โลกโซเชียล มีเดีย แต่นนั่ ไม่ได้ชว่ ยให้เราชนะ รางวัล คือโฆษณาเหล่านีอ้ าจจะให้ความบันเทิง จริง แต่ตอ้ งดูดว้ ยว่ามันเป็นโฆษณาทีด่ หี รือ เปล่า มันช่วยโปรโมตแบรนด์หรือตัวสินค้าหรือ

เปล่า หรือได้แค่เอาไว้ดฆู า่ เวลาเพลินๆ ช่วงรอ ละคร นีค่ อื ค�ำถามทีก่ รรมการมักจะถาม” ภารุจกล่าว

ท�ำมากด้วยน้อย

นอกจากโฆษณาออนไลน์เหล่านีแ้ ล้ว คนไทยยังได้พสิ จู น์ความสามารถให้โลกเห็นใน อุตสาหกรรมสือ่ สิง่ พิมพ์ดว้ ย บริษทั Illusion สตูดโิ อคอมพิวเตอร์กราฟฟิกของสุรชัย พุฒกิ ลุ างกูร นัน้ รับท�ำหน้าทีผ่ ลิตงาน คอมพิวเตอร์กราฟฟิกให้เอเจนซีจ่ ากทัว่ โลก ตัง้ แต่ Ogilvy & Mather ในกรุงปารีสไปจนถึง JWT ในมหานครเซีย่ งไฮ้ โดยจากการจัดอันดับ ของนิตยสารระดับโลก Lürzer’s Archive แหล่ง ข้อมูลส�ำคัญของผูค้ นในแวดวงครีเอทีฟ สตูดโิ อ แห่งนีค้ รองแชมป์ในฐานะบริษทั สร้างสรรค์ โฆษณาภาพนิง่ ตลอด 10 ปีทผี่ า่ นมา ด้วยผล งานสุดล�ำ้ ทีน่ ำ� เอารายละเอียดสมจริงมาใช้กบั การเล่าเรือ่ งเหนือจินตนาการ ผลงานทีเ่ ป็นต�ำนานของอิลลูชนั คือโฆษณา กระเป๋า Samsonite ชุด Heaven and Hell ที่ ผลิตให้กบั JWT เซีย่ งไฮ้ และกลายมาเป็นสือ่ โฆษณาประเภทสิง่ พิมพ์ทกี่ วาดรางวัลสูงสุด เป็นประวัตกิ าล โดยประเดิมด้วยรางวัลสิงโต ทอง 4 ตัวจาก Cannes Lions ก่อนจะน�ำไปสู่ ความส�ำเร็จบนเวทีอนื่ ๆ ทัว่ โลก โฆษณาชิน้ ดัง กล่าวน�ำเสนอภาพแกะหินอ่อนนูนสูงในแบบ

บาโรก ซึง่ แสดงให้เห็นภาพกระเป๋าเดินทางอยู่ ท่ามกลางเพลิงโลกันตร์และการถูลถู่ กู งั โดย ยมฑูตผูด้ รุ า้ ย ขัดแย้งกับภาพผูโ้ ดยสารบน เครือ่ งบินทีม่ เี หล่าเทพธิดาในชุดยาวพริว้ ไหว คอยปรนนิบตั ริ าวอยูใ่ นสรวงสวรรค์ ฝีมอื การใช้ คอมพิวเตอร์จำ� ลองภาพงานแกะสลักสุดประณีต ซับซ้อนออกมาได้อย่างสมจริงท�ำให้ผลงานชิน้ ดังกล่าวสามารถสะกดทุกสายตาได้ไม่ยาก กระนัน้ สุรชัยเองก็หนีไม่พน้ การ เปลีย่ นแปลงทีส่ ง่ ผลกระทบต่ออุตสาหกรรม โฆษณาในปัจจุบนั รายงานในเดือนมีนาคมที่ ผ่านมาของบริษทั ให้ขอ้ มูลและการประเมินผล Nielsen ประเทศไทย ชีว้ า่ มูลค่าเม็ดเงินโฆษณา ในประเทศก�ำลังดิง่ ลง เมือ่ เทียบกับปีกอ่ นหน้า จะเห็นได้วา่ เงินทีใ่ ช้จา่ ยส�ำหรับการโฆษณาผ่าน เคเบิลทีวนี นั้ ลดลงถึง 20.4% ส่วนนิตยสารและ หนังสือพิมพ์นนั้ ลดลง 36.4% และ 16.5% ตาม ล�ำดับ ซึง่ การตัดงบโฆษณานีไ้ ด้สง่ ผลกระทบไป ยังงานครีเอทีฟอย่างช่วยไม่ได้ “ลูกค้าเชือ่ ว่าโฆษณาออนไลน์ตน้ ทุนถูก ตัดงบได้ ในขณะทีภ่ าพนิง่ นัน้ หมดสมัยแล้ว ทุกคนก็เลยตาลีตาเหลือกทิง้ ทุกสิง่ ทุกอย่างหมด เราก�ำลังตืน่ เรือ่ งอินเทอร์เน็ตกันมาก แต่ไม่มใี คร มานัง่ ศึกษาแบบลงลึกจริงๆ ว่าธรรมชาติของมัน คืออะไร เหมือนจูๆ่ มีคนโยนลูกบอลมาให้แล้ว เราก็รบั มันไว้ แต่ไม่รวู้ า่ จะท�ำยังไงกับมันดี” สุรชัยเปรียบเทียบ OPTIMISE | JULY 2017

55

6/22/17 2:34 PM


thinking big 10

11

12

จุรพี รแห่ง GREYnJ อธิบายว่าปัญหาจริงๆ ไม่ได้ เป็นเพราะตัวโฆษณาออนไลน์ แต่มาจากความเชือ่ ที่ ว่าต้นทุนโฆษณาออนไลน์นนั้ ต�ำ่ “เมือ่ 20 ปีกอ่ น วงการโฆษณาเชือ่ ในหลักการทีว่ า่ ยิง่ ใช้งบเยอะเท่าไร คนยิง่ เห็นโฆษณาเรามากเท่านัน้ แต่ตอนนีท้ กุ คนท�ำสือ่ ลงออนไลน์หมด แล้วหวังให้คน ช่วยแชร์เนือ้ หากันบนโซเชียล มีเดียฟรีๆ ซึง่ ไม่วา่ จะ จริงหรือไม่จริง สิง่ นีแ้ ปลว่าค่าจ้างของฝ่ายโปรดักชัน จะถูกหดลงไปหมด” เธอกล่าว การทีอ่ นิ เทอร์เน็ตเข้ามาครอบครองธุรกิจโฆษณา ได้กอ่ ให้เกิดการแข่งขันไปทัว่ โลก และยังท�ำให้เวลาใน การสร้างสรรค์งานแต่ละชิน้ สัน้ ลงด้วย “เราต้องคิดให้ เจ๋งมากขึน้ ในเวลาทีน่ อ้ ยลง เมือ่ 20 ปีกอ่ น เรามีเวลา หลายเดือนเพือ่ ผลิตโฆษณาสักตัว ซึง่ พอเสร็จแล้วอาจ อยูไ่ ด้นานเป็นปี แต่ตอนนีเ้ ราต้องเร่งขึน้ อีกหลายเท่า เพือ่ สร้างโฆษณาทีส่ ดุ ท้ายอาจจะถูกลืมไปภายใน 24 ชัว่ โมง” จุรพี รเล่า ในขณะทีเ่ อเจนซีย่ กั ษ์ใหญ่ตา่ งก�ำลังสาละวนกับ การหาทีย่ นื ใหม่ในยุคดิจติ ลั ได้เกิดนักครีเอทีฟสาย พันธุใ์ หม่ทรี่ บั งานโฆษณาได้ดว้ ยตัวคนเดียว บรรดา ‘อินฟลูเอ็นเซอร์’ เหล่านีม้ แี อคเคาท์ยทู ปู หรือ

อินสตาแกรม เป็นของตัวเอง และมักได้รบั ความ เชือ่ ถือมากกว่าสือ่ ใหญ่ๆ “นักสร้างคอนเทนต์และอินฟลูเอ็นเซอร์ทสี่ ร้างตัว ขึน้ มามีจำ� นวนเพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ ท�ำให้เอเจนซีต่ อ้ งท�ำงาน ล�ำบากขึน้ ต้องปรับตัวมากขึน้ แต่กย็ งั ดี เพราะถ้าเรา มาเปลีย่ นเอาตอนทีไ่ ม่มที างอืน่ นอกจากต้องเปลีย่ น ก็แสดงว่ามันสายเกินแก้แล้ว” ภารุจกล่าวถึงความ จ�ำเป็นในการปรับตัว จากรายงานปี 2560 บนเว็บไซต์ We Are Social ประเทศไทยนัน้ ครองอับดับที่ 7 ของโลกในฐานะ ประเทศทีใ่ ช้โซเชียล มีเดียสูงสุด กระนัน้ ในการ ประกาศผล Global Creativity ประจ�ำปี 2016 โดย คานส์ ไลออน กรุงเทพฯ กลับตามหลังโตเกียวและ เมลเบิรน์ โดยรัง้ อันดับที่ 17 ในภูมภิ าคเอเชียแปซิฟกิ ช่องว่างนีบ้ ง่ บอกว่าเรายังมีงานต้องท�ำอีกมากเพือ่ เพิม่ พลังความสร้างสรรค์ให้แรงไม่แพ้ความหมกมุน่ ในโซเชียล มีเดีย เพราะสุดท้ายแล้ว ในยุคทีเ่ ต็มไป ด้วยนักการตลาดออนไลน์และอินฟลูเอ็นเซอร์ในห้อง นอนอย่างทุกวันนี้ สิง่ หนึง่ ทีน่ า่ โหยหาก็คอื งานโฆษณา คุณภาพอย่างในยุคทองของธนญชัยนัน่ เอง

Essentials GreynJ UNITED 1028/5 อาคารพงษ์อมร ถนนพระราม 4 กรุงเทพฯ โทร. 02-119-0200 www.fb.com/GREYnJUNITED Illusion 62 อาคาร The Millenia ห้อง 2601 ชัน้ 26 ถนนหลังสวน กรุงเทพฯ โทร. 02-650-5091-4 www.illusion.co.th Leo Burnett Thailand 130-132 อาคารสินธร 1 ชัน้ 3 ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ โทร. 02-684-5555 www.leoburnett.co.th

10 ภารุ จ ดาวราย กรรมการบริ ห าร Leo Burnett ประเทศไทย 11 โฆษณาชุ ด I’m Thai 12 โฆษณาชุ ด Power of Woman

56

OPTIMISE | JULY 2017

052-057 Thinking Big.indd 56-57

OPTIMISE | JULY 2017

57

6/22/17 2:35 PM


COMMON PURPOSE “สวัสดีครับ ผมชือ่ อาชว์ ก�ำลังอยูร่ ะหว่าง ปฏิบตั ภิ ารกิจเปลีย่ นแปลงโลก” คือข้อความ แนะน�ำตัวทีห่ นุม่ ไทย อาชว์ วงศ์จนิ ดาเวศย์ โพสต์ลงบนเว็บไซต์ Global Shapers Community เครือข่ายเพือ่ คนรุน่ ใหม่ทวั่ โลกที่ ต้องการสร้างความเปลีย่ นแปลงในสังคม ความ พยายามของอาชว์ทผี่ า่ นมาส่งผลให้เขาได้รบั ทุนในโครงการ Eisenhower Fellowship และ ติดหนึง่ ในบุคคลผูท้ รงอิทธิพล ‘30 Under 30’ ประจ�ำปี 2559 จากการจัดอันดับโดยนิตยสาร Forbes ประเทศไทย ส�ำหรับผูป้ ระกอบการไทย รุน่ ใหม่ทหี่ ลงใหลกับเสน่หข์ องธุรกิจ ‘เทค สตาร์ทอัพ’ และฝันจะใช้เทคโนโลยีสร้างโลกให้ น่าอยูข่ นึ้ อาชว์อาจถือเป็นนิยามหนึง่ ของความ ส�ำเร็จในศตวรรษ 21 นี้

01

ราคาพิเศษ​

Seeds of Change ผู้ประกอบการหนุ่มวัย 30 ปีพยายามสร้างความ เปลี่ยนแปลงในสังคมผ่านการพักโรงแรมห้าดาวและ การรับประทานมื้อค�่ำในร้านหรู

โซเชียลกิฟเวอร์ไม่ใช่มลู นิธิ หรือองค์กรการกุศลใดๆ เว็บไซต์นเี้ ป็นเพียงจุด บรรจบอันลงตัวของโมเดล ธุรกิจในยุคนี้ กล่าวคือ การพาณิชย์อเิ ล็กทรอนิกส์ การบริหารจัดการรายได้ และกิจการเพือ่ สังคม 01 อาชว์ วงศ์ จิ น ดาเวศย์ ผู ้ ก ่ อ ตั้ ง Socialgiver 02 โครงการ 4DekDoi ที่ ไ ด้ รั บ บริ จ าคเงิ น จาก Socialgiver

58

OPTIMISE | JULY 2017

058-061 Common Purpose.indd 58-59

อาชว์มีชื่อเสียงขึ้นจากการก่อตั้งเว็บไซต์ Socialgiver.com ซึ่งมอบข้อเสนอที่พักหรือ บริการต่างๆ ให้กับผู้ซื้อในราคาพิเศษ ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้าอาจซื้อแพ็คเกจที่พัก 2 คืนที่ศรีพันวา โรงแรมหรูระดับ 5 ดาวบน เกาะภูเก็ตของตระกูลอิสสระได้ในราคาเพียง 21,000 บาท จากปกติ 70,000 บาท ทั้งนี้ โดยที่ศรีพันวาจะไม่ได้รับเงินจ�ำนวนดังกล่าว แม้แต่บาทเดียว เพราะส�ำหรับทุกธุรกรรมซื้อขายที่ท�ำผ่าน โซเชียลกิฟเวอร์ 70% ของยอดใช้จ่ายแต่ละ ครั้งจะถูกน�ำไปมอบให้กับมูลนิธิต่างๆ ส่วน อีก 30% ที่เหลือจะถูกกันไว้เป็นค่าใช้จ่าย ส�ำหรับการด�ำเนินงาน แต่โซเชียลกิฟเวอร์ ไม่ใช่มูลนิธิหรือองค์กรการกุศลใดๆ เว็บไซต์นี้ เป็นเพียงจุดบรรจบอันลงตัวของโมเดลธุรกิจ ในยุคนี้ กล่าวคือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) การบริหารจัดการรายได้ (Yield management) และกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) โดยโซเชียลกิฟเวอร์ได้ ประสบความส�ำเร็จในการระดมทุนจาก นักลงทุนอิสระหรือ angel investor ในภาษา สตาร์ทอัพ ที่มีอยู่จ�ำนวนหยิบมือ พยุงธุรกิจให้ อยู่รอด และยังสามารถบริจาคเงินกว่าครึ่งล้าน เพื่อการกุศลได้เป็นผลส�ำเร็จ

“โซเชียลกิฟเวอร์ท�ำงานแบบไม่แสวงผล ก�ำไร ฉะนั้นหากค่าใช้จ่ายในการด�ำเนินงาน ต�ำ่ กว่า 30% เมื่อไร เราก็จะปรับลดสัดส่วนนี้ ลงอีก ส่วนพาร์ทเนอร์ธุรกิจของเราก็ไม่ได้อะไร ตอบแทนเหมือนกัน นอกเหนือจากฐานลูกค้า ใหม่ๆ ที่มีแนวโน้มจะกลับมาซื้อซ�้ำ อยู่โรงแรม นานขึ้นอีกคืน หรือจองตั๋วเพิ่มอีก 2-3 ใบ” อาชว์ในวัย 30 ปีอธิบาย เขาสละเวลา 2 ชั่วโมงเพื่อให้สัมภาษณ์กับเราก่อนจะต้อง เดินทางไปยังโตเกียวร่วมกับสถาบันเพื่อการ ยุติธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเหล่าผู้น�ำจาก หลายภาคส่วนได้รับเชิญให้มาร่วมหารือ และสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดภายใต้ หัวข้อทิศทางการพัฒนากรอบกฎหมายของ ประเทศไทย กิจการเพื่อสังคมนั้นต่างจากมูลนิธิตรงที่ กิจการเพื่อสังคมไม่ได้อยู่ได้ด้วยเงินบริจาคแต่ จะต้องขายสินค้าหรือบริการต่างๆ เพื่อหาผล ก�ำไรมาใช้เป็นทุนแก้ปัญหาสังคม และในเมื่อ วัตถุประสงค์ของกิจการเพื่อสังคมต้องเป็นไป เพื่อประโยชน์สาธารณะ ผลก�ำไรส่วนใหญ่ต้อง ถูกน�ำกลับไปใช้ลงทุนเพื่อสังคม ไม่ใช่แบ่งปัน กันเองในหมู่ผู้ท�ำกิจการ อาชว์ ผู้เป็นอดีตที่ปรึกษาโครงการพัฒนา แห่งสหประชาชาติ (UN Development Program) และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่ง สหประชาชาติ (UN Environment Program) ประจ�ำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เป็นผู้ให้ก�ำเนิด

กิจการเพื่อสังคมที่ประสบความส�ำเร็จมา แล้วหลายโครงการ อาทิ IDEACUBES, MYSOCIALMOTION, Food4Good และ Wipe the Tide ในปี 2558 เขาได้ร่วมก่อตั้ง Socialgiver.com และคว้ารางวัลชนะเลิศจาก เวทีการแข่งขันระดับภูมิภาคเพื่อค้นหา สุดยอดแอปพลิเคชันมือถืออย่าง Singtel Group-Samsung Mobile App Challenge 2015 ที่ประเทศอินโดนีเซียมาแล้ว ปัจจุบันนี้ โซเชียลกิฟเวอร์มีพาร์ทเนอร์ ธุรกิจมากกว่า 160 แห่ง ซึ่งหมายถึงบริษัทที่ ล้วนพร้อมจะจ�ำหน่ายสินค้าหรือบริการต่างๆ ในราคาพิเศษให้กับผู้มาใช้เว็บไซต์โชเชียลกิฟ เวอร์ ไม่ว่าจะเป็นที่พักในห้องสวีทของโรงแรม 5 ดาว มื้อค�่ำในร้านอาหารไฟน์ไดน์นิ่ง หรือ บริการสปาสุดหรู โดยในบางกรณีผู้มาช้อปปิ้ง ผ่านเว็บไซต์อาจไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลย “5 บริษัทแรกที่เราเข้าไปคุยด้วยโน้มน้าว ยากมาก เพราะเราเองก็ค่อนข้างต้องเลือก บริษัทที่จะมาเข้าร่วมโครงการ เราไม่อยากถูก มองเป็นเว็บขายดีลรายวัน ซึ่งเป็นคนละตลาด กลุ่มเป้าหมายของเราคือแบรนด์พรีเมียมที่ คนจะไม่มีทางได้ไปเจอบน Ensogo แบรนด์ ที่ต้องการรักษาภาพลักษณ์ เราท�ำหน้าที่เป็น ตัวกลางให้แบรนด์ที่มาร่วมงานกับเราได้พบ กับกลุ่มคนที่อาจกลายมาเป็นลูกค้าในอนาคต โดยไม่ให้แบรนด์เหล่านั้นต้องถูกมองว่ามานั่ง ลดแลกแจกแถมบนเว็บไซต์ขายดีล” อาชว์เล่า

02

OPTIMISE | JULY 2017

59

6/22/17 2:20 PM


COMMON PURPOSE 03

การจัดการรายได้นับเป็นศาสตร์อัน ละเอียดอ่อนในการสร้างผลก�ำไรสูงสุดให้ กับธุรกิจ หลักการดังกล่าวคือปัจจัยที่ท�ำให้ บรรดาสายการบินโลว์คอสต์ต่างๆ สามารถ ขายตั๋วได้ในราคาถูกเหมือนฝัน และเป็นตัว ขับเคลื่อนบรรดาเว็บไซต์ขายดีลรายวันอย่าง Groupon และเอ็นโซโก้รวมถึงแอปพลิเคชัน Eatigo ที่มอบส่วนลดค่าอาหารให้กับผู้ใช้ หากจองโต๊ะในช่วงเวลาที่ก�ำหนดไว้ แต่ด้วยเหตุที่การเพิ่มผลก�ำไรให้กับธุรกิจ ผ่านการกระหน�่ำลดราคาสินค้าแบบบน เว็บไซต์ขายดีล อาจไม่ใช่สิ่งที่แบรนด์ไฮเอนด์ อยากท�ำ เพราะเหมือนเป็นการก้าวลงไป หั่นราคาแข่งกับแบรนด์ระดับล่าง อาชว์จึง ตระหนักว่าหากเขาสามารถสร้างแพลตฟอร์ม ที่พรีเมียมและบริจาคผลก�ำไรทั้งหมดให้กับ การกุศล เขาก็จะเป็นพื้นที่ที่ช่วยให้แบรนด์ ใหญ่สามารถลดจ�ำนวนสินค้าคงคลังได้ใน ท�ำนองเดียวกับอีททิโกหรือเอ็นโซโก้ โดยที่ยัง รักษาภาพลักษณ์สง่างามของแบรนด์เหล่า นั้นไว้ได้

04

กลับมายังกรุงเทพฯ และกลับไปศึกษาต่อยัง สหราชอาณาจักรในคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยวอร์วิค แรกเริ่มเดิมที เขามีความ ใฝ่ฝันอยากท�ำงานในสายเทคโนโลยีทางการ เงินและการท�ำธุรกรรมออนไลน์ จนกระทั่ง ได้พบกับจุดเปลี่ยน 2 ประการที่ทำ� ให้เขาเบน เข็มมาท�ำกิจการเพื่อสังคมแทน “อย่างแรกคือสารคดี An Inconvenient Truth ของอัล กอร์ พอดูเสร็จผมคิดว่าเราต้อง ลงมือท�ำอะไรสักอย่าง ไม่งั้นโลกเราคงถึง คราวอวสานแน่ๆ จุดเปลี่ยนอีกข้อคือหนังสือ 50 Facts that Should Change the World ของเจสสิก้า วิลเลียมส์ การได้เห็นสถิติตัวเลข ควบคู่ไปกับค�ำอธิบายในหนังสือ เช่นที่ว่า ประชากรโลก 700 คนนั้นก�ำลังประสบภาวะ หิวโหย และ 21 ล้านคนต้องตกเป็นเหยื่อ แรงงานทาสยุคใหม่ ท�ำให้เราต้องเริ่มคิดว่าจะ ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง” อาชว์อธิบายว่านี่คือเหตุผลที่โซเชียล กิฟเวอร์ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง แต่ท�ำหน้าที่เสมือนเป็นช่องทางส่งต่อเงินทุน ไปยังองค์กรไม่แสวงหาผลก�ำไรต่างๆ ที่ได้รับ เห็นแสงสว่าง การคัดเลือกมาแล้ว ขณะนี้โซเชียลกิฟเวอร์ อาชว์เป็นลูกชายคนเดียวของครอบครัว ร่วมงานกับมูลนิธิ 15 แห่ง ซึ่งผู้ใช้สามารถ ไทยเชื้อสายจีนเจ้าของกิจการค้าขายจิวเวลรี แสดงความประสงค์ได้ว่าจะบริจาคเงินจาก เขาจบการศึกษาระดับประถมศึกษาจาก การซื้อสินค้าของตนให้กับองค์กรใด จนถึง โรงเรียนประจ�ำในประเทศอังกฤษ ก่อนจะย้าย ตอนนี้ เว็บไซต์ดังกล่าวได้ระดมทุนให้กับ 60

OPTIMISE | JULY 2017

058-061 Common Purpose.indd 60-61

มูลนิธิต่างๆ เป็นจ�ำนวนเงินกว่าครึ่งล้านแล้ว “ผมว่ามันยังน้อยนิดเมื่อเทียบกับเป้าที่เรา ตั้งไว้ว่าจะท�ำให้ได้ภายใน 2 ปี แต่เราก็ยัง เชื่อมั่นว่าถึงจุดหนึ่งกระแสสังคมจะท�ำให้ โซเชียลกิฟเวอร์เป็นสิ่งแรกๆ ที่คนนึกถึงหาก ต้องการลงมือสร้างความเปลี่ยนแปลงบาง อย่าง หัวใจหลักของเราไม่ใช่การมองหาคน บริจาค เพราะคนที่อยากบริจาคยังไงเขาก็จะ ท�ำอยู่แล้ว แต่เราต้องการมองหาและสร้างกลุ่ม ผู้บริโภคมีจิตส�ำนึก (conscious consumer) ที่ใช้จ่ายโดยมองเรื่องผลกระทบของเงินแต่ละ บาทของตัวเองต่อสังคม” ประสบการณ์ที่ผ่านมาของอาชว์ช่วยให้เขา จ�ำแนกแยกแยะคุณภาพของมูลนิธิได้ อันที่จริงนี่คือหนึ่งในประเด็นศึกษาของเขา ขณะเข้าร่วมโครงการ Eisenhower Fellowship ในช่วงปี 2559 ซึ่งเขาพยายามศึกษาหาวิธีการ วัดผลกระทบที่ธุรกิจต่างๆ มีต่อสังคมอย่างมี ประสิทธิภาพ “เราพยายามหาหน่วยวัดมาวัดผลกระทบที่ มูลนิธติ า่ งๆ มีตอ่ สังคม แต่ละมูลนิธกิ ไ็ ม่เหมือน กัน เราจึงพยายามคิดค้นระบบเก็บข้อมูลทีจ่ ะ ช่วยให้คนรูว้ า่ ค่าอาหารหรือโรงแรมทีซ่ อื้ ผ่าน โซเชียลกิฟเวอร์สร้างความแตกต่างอะไรให้กบั สังคม เราต้องพูดคุยกับมูลนิธเิ พือ่ หาว่าจะวัดผล กระทบดังกล่าวด้วยวิธไี หนได้บา้ ง” เขาอธิบาย

เขาค่อนข้างมีทัศนคติในเชิงบวกต่อภารกิจของ เอ็นจีโอที่ปฏิบัติงานในระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นองค์กร ที่โซเชียลกิฟเวอร์เลือกบริจาคเงินส่วนใหญ่ให้ แต่ เขาเองก็ยอมรับว่ามีปัญหาอยู่ประปราย “แน่นอนว่า เอ็นจีโอบางแห่งในภูมิภาคก็ไม่โปร่งใส ค�ำถามคือ จะท�ำยังไงให้มันโปร่งใสมากขึ้น อย่างเมื่อ 2 อาทิตย์ ก่อน มูลนิธิช่วยเหลือช้างแห่งหนึ่งประกาศจะปิดตัว ลงเพราะเป็นหนี้ 40 ล้านบาท คนก็เลยแห่บริจาคให้ มูลนิธิดังกล่าวจนได้ยอดรวมกว่า 40 ล้านในอาทิตย์ เดียว แต่ค�ำถามคือ ท�ำไมคนถึงอยากบริจาคให้กับ มูลนิธิที่ก�ำลังจะปิดตัวลง และถ้ามูลนิธิปิดตัวลง เงินบริจาคจะไปที่ไหน เรื่องเหล่านี้ถ้ามีมาตรฐาน เรื่องความโปร่งใสมันก็จะช่วยได้มาก” เขากล่าว ทุกวันนี้ บริษัทของเขายังเดินหน้าสานต่อธุรกิจ แม้จะท�ำได้แค่ในระดับเล็กๆ ด้วยเงินทุนอันจ�ำกัด โดยพนักงานทั้ง 7 คนของเขาต้องพึ่งพาเงินทุนจาก นักลงทุนอิสระที่มีเพียงหนึ่งราย รวมถึงเงินอัดฉีด ส่วนตัวจากอาชว์เอง ถึงกระนั้น เขาเล่าว่าในช่วงไม่กี่ ปีที่ผ่านมา นักลงทุนไทยเริ่มหันมาให้ความสนใจกับ ธุรกิจที่เพิ่งตั้งไข่มากขึ้น แทนที่จะเป็นมูลนิธิ “ผมเห็นธุรกิจในลักษณะร่วมทุนค่อยๆ พัฒนาขึ้น คนจ�ำนวนมากอยากลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพ ในตอนนี้ การจะหาคนมาร่วมลงทุนในกิจการเพื่อ สังคมอาจยากหน่อย แต่ถ้าประเทศไทยเริ่มมีบริษัท สตาร์ทอัพ ‘ยูนิคอร์น’ (สตาร์ทอัพที่มูลค่าสูงกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ) สักแห่งสองแห่งแล้ว ผมเชื่อ ว่าตลาดจะคึกคักมาก”

ส�ำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เม็ดเงินลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพนั้นเพิ่มขึ้นทวีคูณใน ช่วงปีที่ผ่านมา จาก 25,000 ล้านบาท ในปี 2558 มาอยู่ที่ 50,000 ล้านบาท ในปี 2559 นักลงทุน รายใหญ่อย่าง Sequoia, Rakuten และ B Capital ได้จับมือกับยักษ์ใหญ่บนโลกอินเทอร์เน็ตอย่าง Alibaba และ Tencent ซึ่งส่งผลให้พฤติกรรมการ ใช้สอยของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป เราจึงได้เห็น Central Group เข้าซื้อกิจการของ Zalora เห็น อาลีบาบาซื้อ Lazada หรือแม้กระทั่งเครือเจริญ โภคภัณฑ์ก็ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับอลีบาบาเพื่อ เปิดตัว Ali-Pay ตามร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven แล้ว อย่างไรก็ตาม ในขณะที่วงการธุรกิจสตาร์ทอัพ เริ่มมีสีสันขึ้นเรื่อยๆ การแข่งขันก็สูงขึ้นเช่นกัน อาชว์ กล่าวว่า “การท�ำกิจการเพื่อสังคมนั้นยากเป็น 2 เท่า ของการท�ำกิจการเฉยๆ เพราะนอกจากจะต้องสนใจ หุ้นส่วนกับนักลงทุน เรายังต้องค�ำนึงถึงความส�ำเร็จ ของบรรดามูลนิธิและโครงการเพื่อสังคมต่างๆ ด้วย” อาชว์ประเมินว่ามีคนราว 12,000 คนทีไ่ ด้รบั ประโยชน์จากการด�ำเนินงานของ Socialgiver.com โดยมูลนิธทิ เี่ ข้าร่วมนัน้ ไล่เรียงตัง้ แต่บา้ นพักเด็กพิการ ไปจนถึงโครงการทีพ่ กั อาศัยส�ำหรับเด็กหญิง ด้วย เหตุนี้ ในยุคสมัยทีเ่ ทคโนโลยีเกิดใหม่ถกู มองว่าเป็น สาเหตุทคี่ นจ�ำนวนมากตกงานรวมทัง้ ไม่มคี วามมัน่ คง ในอาชีพการงาน โซเชียลกิฟเวอร์นบั เป็นตัวอย่างที่ พิสจู น์ให้เห็นได้เป็นอย่างดีวา่ เทคโนโลยีกส็ ามารถ เป็นแรงขับเคลือ่ นเพือ่ โอบอุม้ สังคมได้เช่นกัน

หัวใจหลักของเรา ไม่ใช่การมองหาคน บริจาค เพราะคนที่ อยากบริจาคยังไง เขาก็จะท�ำอยูแ่ ล้ว แต่เราต้องการมอง หาและสร้างกลุม่ ผูบ้ ริโภคมีจติ ส�ำนึก (conscious consumer) ทีใ่ ช้จา่ ยโดยมอง เรือ่ งผลกระทบของ เงินแต่ละบาทของ ตัวเองต่อสังคม

Essentials Socialgiver 110/1 อาคาร Knowledge Exchange ชั้น 11 ถนนกรุงธนบุรี กรุงเทพฯ โทร. 086-506-5574 www.socialgiver.com

03 ร้ า นอาหาร Harvest ก็ ร ่ ว มช่ ว ย สั ง คมผ่ า นอาหารมื้ อ อร่ อ ย 04 ที ม งานทั้ ง 7 ชี วิ ต ของ Social Giver

05

05 ห้ อ งพั ก ราคาพิ เ ศษของรี ส อร์ ต หรู อ ย่ า ง ศรี พั น วาสามารถหาซื้ อ ได้ ใ นเว็ บ นี้

OPTIMISE | JULY 2017

61

6/22/17 2:21 PM


LIVING SPACE

From the Ground Up โครงการออกแบบของไทยที่มีชื่อเสียงไปยังระดับนานาชาติ เริ่มทดลองวัสดุ และดีไซน์ใหม่ๆ อย่างอาจหาญ ซึ่งแสดงให้ เห็นว่าแวดวงสถาปนิกเพื่อชุมชนในบ้านเราได้ก้าวล�้ำไปอีกขั้น 01

62

OPTIMISE | JULY 2017

062-067 Living Space.indd 62-63

เราก�ำลังก้าวเข้าสูย่ คุ ที่ การสร้างทีอ่ ยูอ่ าศัยเพือ่ ผูป้ ระสบภัยพิบตั หิ รือ ชุมชนแออัดจะไม่ได้เป็น แค่งานชัน้ ปลายแถวของ สถาปนิกไทยอีกต่อไป 01 โรงเรียนบ้านห้วยส้านยาวของบริษัท สถาปนิกวิน วรวรรณ

เมือ่ วันที่ 5 พฤษภาคม 2557 เวลา 18:08 นาฬิกา ทีเ่ ชียงรายได้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว ครัง้ รุนแรงทีส่ ดุ ทีเ่ คยวัดได้ในประเทศไทย โดยมี จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยูห่ า่ งจากอ�ำเภอ แม่ลาวไปทางใต้ 9 กิโลเมตร และห่างจากตัว เมืองเชียงรายออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 27 กิโลเมตร ณ ช่วงเวลาเกิดเหตุ ไพโรจน์ ยะจอม ผูอ้ ำ� นวยการโรงเรียนบ้านห้วยส้านยาววิทยา ก�ำลังนัง่ พักผ่อนอยูใ่ นบ้านของเขา ซึง่ อยูห่ า่ งจากโรงเรียนไปราว 7 กิโลเมตร หลัง จากหมดอาฟเตอร์ชอ็ ก ไพโรจน์รบี เดินทางไป ยังโรงเรียนเพือ่ ตรวจสอบความเสียหายและ พบว่าโครงสร้างได้พงั ทลายลงมาเกือบทัง้ หมด ห้วยส้านยาววิทยาเป็นเพียง 1 ใน 73 โรงเรียนที่ ประสบชะตากรรมเดียวกัน ซึง่ ส่งผลให้นกั เรียน กว่า 2,000 คนไร้ซงึ่ อาคารส�ำหรับการเรียน การสอนในทันที ภายในระยะเวลา 3 สัปดาห์หลังจาก เหตุการณ์แผ่นดินไหว วิภาวี คุณาวิชยานนท์ ผูอ้ ำ� นวยการเครือข่ายความคิดสร้างสรรค์เพือ่ เตรียมพร้อมรับมือและจัดการกับภัยพิบตั ิ (Design for Disasters) ได้รวบรวมรายชือ่ โรงเรียน 9 แห่งทีจ่ ำ� เป็นต้องได้รบั การซ่อมแซม อย่างเร่งด่วน ซึง่ หนึง่ ในนัน้ มีโรงเรียนบ้าน ห้วยส้านยาววิทยารวมอยูด่ ว้ ย เธอและบริษทั สถาปนิกดาวรุง่ อาทิ Supermachine Studio และ Department of Architecture ได้รว่ มกันใช้ เวลาเพียง 6 สัปดาห์ ร่างแบบอาคารสร้างจาก ไม้ไผ่ซงึ่ ฉีกขนบจากแบบอาคารเดิมๆ ทีโ่ รงเรียน ไทยใช้มาตัง้ แต่ชว่ งยุค ‘60s โดยสิน้ เชิง ปรากฏว่า เมือ่ การก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ผลงานดังกล่าวได้ถกู น�ำไปจัดแสดงในงาน แสดงศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Venice Architecture Biennale ครัง้ ที่ 15 ภายใต้ชอื่ ‘นิทรรศการห้องเรียนพอดี พอดี The Class of 6.3’ (6.3 คือตัวเลขในมาตราริกเตอร์แสดงระดับ ความรุนแรงของแผ่นดินไหวทีเ่ กิดขึน้ ) ด้วยเหตุ นี้ โครงการดังกล่าวจึงถือเป็นจุดเปลีย่ นส�ำคัญ เพราะแสดงให้เห็นว่าเราก�ำลังก้าวเข้าสูย่ คุ ทีก่ าร สร้างทีอ่ ยูอ่ าศัยเพือ่ ผูป้ ระสบภัยพิบตั หิ รือชุมชน แออัดจะไม่ได้เป็นแค่งานชัน้ ปลายแถวของ สถาปนิกไทยอีกต่อไป

ประเทศฝรัง่ เศส) แต่เขาก็โด่งดังไม่แพ้กนั ใน สถาปัตยกรรมเพือ่ ชุมชนนัน้ ถือเป็นแนวคิด เรือ่ งงานออกแบบทีพ่ กั อาศัยต้นทุนต�ำ่ ทีท่ งั้ สวยและมีประสิทธิภาพ เพือ่ ผูป้ ระสบภัยพิบตั ิ ทีก่ ว้างมาก เพราะดูเหมือนบรรดาสถาปนิก และเหยือ่ สงครามกลางเมืองในประเทศจีน ได้พยายามคิดแก้ปญ ั หาเรือ่ งความเป็นอยู่ รวันดา และนิวซีแลนด์ มาเป็นเวลากว่า 20 ปี ของผูค้ นผ่านทางการสร้างอาคารมานานแล้ว หนังสือพิมพ์ The New York Times ได้บรรยาย เช่น แนวคิดการสร้างเมืองในอุดมคติ (Urban ถึงรางวัลพริตซ์เกอร์ทชี่ เิ งรุได้รบั ไว้วา่ “รางวัลนี้ Utopia) ทีเ่ ฟือ่ งฟูขนึ้ หลังสงครามโลกครัง้ ที่ 1 โดยได้รบั แรงบันดาลใจจากลัทธิสนั ตินยิ มและ เคยถูกเรียกว่าเป็นรางวัลส�ำหรับการประกวด ความงาม แต่ตอนนี้ มันได้สง่ สัญญาณว่าทัง้ เทคโนโลยีใหม่ๆ หรือการพัฒนาจากสังคม ชนบทไปสูส่ งั คมเมืองในยุโรปหลังสงครามโลก ความงามและความดีอาจได้รบั รางวัลทัง้ คู”่ และเรือ่ งราวของชิเงะรุเป็นแค่จดุ เริม่ เท่านัน้ ครัง้ ที่ 2 ทีไ่ ด้ทำ� ให้การออกแบบทีอ่ ยูอ่ าศัย ในปี 2558 รางวัล Turner Prize ส�ำหรับทัศนส�ำหรับชนชัน้ แรงงานจ�ำนวนมากกลายเป็น วาระเร่งด่วน อย่างไรก็ตาม ความล้มเหลวของ ศิลป์อนั โด่งดังและมีคนตัง้ ตารอฟังผลอย่างมาก บรรดาโครงการบ้านจัดสรรขนาดใหญ่ได้ทำ� ให้ ของอังกฤษได้เซอร์ไพรส์ทกุ คนด้วยการให้รางวัล กับ Assemble ส�ำนักดีไซน์ทชี่ ว่ ยโครงการชุมชน ผูค้ นเริม่ เสือ่ มศรัทธาในเมกะโปรเจกต์สำ� หรับ ฟืน้ ชีวติ ให้กบั ตึกรกร้างของอังกฤษ (ในขณะที่ ชุมชนทีด่ ำ� เนินการในลักษณะ ‘บนลงล่าง’ (top-down) เหล่านี้ การถล่มตึกเพือ่ ยุบโครงการ โครงการก่อสร้างสนามฟุตบอลขนาดมหึมาใน บ้านจัดสรรพรูอติ ต์ อิโก ในรัฐมิสซูรขี องสหรัฐฯ ประเทศกาตาร์เพือ่ ใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก ปี 2565 ซึง่ เป็นผลงานออกแบบของซาฮา ฮาดิด ในปี 2515 ในเวลาเพียงไม่ถงึ 20 ปีหลังจาก สร้างเสร็จ ถือเป็นการปิดฉากความฝันการสร้าง กลับถูกวงการสือ่ ประนาม เนือ่ งจากมีคนงาน หลายร้อยคนเสียชีวติ ลงในระหว่างการก่อสร้าง) ชุมชนด้วยคอนกรีต ในระยะเวลาต่อมา สถาปนิกชือ่ ดังทัง้ หลาย ถัดมา ผลงานออกแบบของอเลฮันโดร อราเวนา บนพืน้ ทีป่ ระสบภัยพิบตั ิ ท�ำให้เขาได้รบั ต�ำแหน่ง ซึง่ แจ้งเกิดจากเถ้าถ่านของสถาปัตยกรรมยุค โมเดิรน์ ดูเหมือนจะไม่ได้ให้ความสนใจกับการ ผูอ้ ำ� นวยการงานเวนิสเบียนนาเลปี 2559 ก่อน ออกแบบทีอ่ ยูอ่ าศัยต้นทุนต�ำ่ อีกต่อไป หากแต่ ทีจ่ ะตามมาติดๆ ด้วยการคว้ารางวัลพริตซ์เกอร์ เลือกทีจ่ ะรับงานของผูม้ อี นั จะกินทีพ่ ร้อมจะเสพ ไปครองในปีเดียวกัน พัฒนาการในระดับโลก สุนทรียข์ องสถาปัตยกรรมแบบใหม่ๆ มากกว่า เหล่านีแ้ สดงให้เห็นว่ากระแสสถาปัตย์เพือ่ สังคม ก�ำลังลงหลักปักฐานในความคิดของผูค้ นมาก สถาปนิกอย่างซาฮา ฮาดิด, เรม โคลฮาส, แฟรงก์ เกห์รี และนอร์แมน ฟอสเตอร์ ล้วนแล้ว ขึน้ เรือ่ ยๆ อย่างไรก็ตาม คงไม่ผดิ นักหากจะกล่าวว่า แต่สร้างชือ่ จากการออกแบบพิพธิ ภัณฑ์หรือ ประเทศไทยค่อนข้างจะเป็นผูน้ ำ� กระแส อาคารส�ำนักงานมูลค่าโครงการละหลายพัน สถาปัตย์เพือ่ สังคมดังกล่าว เมือ่ พิจารณาถึง ล้านบาททัง้ นัน้ อย่างไรก็ตาม 2 เดือนก่อนการเกิดแผ่นดิน ข้อเท็จจริงว่าวิภาวี คุณาวิชยานนท์ ได้กอ่ ตัง้ เครือข่ายความคิดสร้างสรรค์เพือ่ เตรียมพร้อม ไหวทีเ่ ชียงราย ในปี 2557 ถือเป็นจุดเปลีย่ น รับมือและจัดการกับภัยพิบตั ิ (Design for ของวงการสถาปนิก เมือ่ รางวัลอันทรงเกียรติ สูงสุดในสายงานสถาปัตยกรรมอย่าง Pritzker Disasters) มาตัง้ แต่ปี 2553 ในขณะเดียวกัน ม.ล.วรุตม์ วรวรรณ แห่งบริษทั สถาปนิก วิน Prize ได้ตกเป็นของสถาปนิกผูใ้ ช้ทอ่ กระดาษ วรวรรณ หนึง่ ในบริษทั ทีเ่ ข้าร่วมโครงการ สร้างบ้านชัว่ คราวให้กบั ผูป้ ระสบภัยสงคราม กลางเมืองหรือสึนามิอย่างชิเงะรุ แบน ทัง้ นี้ แม้ ออกแบบโรงเรียนในเชียงรายเองก็รสู้ กึ ว่า สถาปนิกชาวญีป่ นุ่ ผูน้ จี้ ะเคยผ่านงานออกแบบ รางวัลพริตซ์เกอร์อาจไม่ใช่จดุ เริม่ ต้นทีแ่ ท้จริงที่ สถาปนิกไทยหันมาท�ำโครงการเพือ่ สังคมมาก อาคารหรูมาบ้าง (ผลงานทีโ่ ดดเด่นทีส่ ดุ คือ ขึน้ “ในระดับนานาชาติ ผมเห็นด้วยว่ารางวัล พิพธิ ภัณฑ์ Centre Pompidou ในเมืองแม็ส

ก�ำเนิดสถาปนิกชุมชน

OPTIMISE | JULY 2017

63

6/22/17 2:23 PM


LIVING SPACE

เราเริ่มจากงบศูนย์ บาท โดยพยายาม มองว่าเราท�ำอะไรเอง ได้บ้างจะได้ไม่ต้อง หวังพึ่งคนอื่นลูก เดียว เราสนับสนุนให้ ชุมชนแต่ละแห่งช่วย เหลือตัวเอง ซึ่งจัด เป็นสิ่งท้าทายส�ำหรับ สถาปนิกด้วย

พริตซ์เกอร์ของอราเวนาเป็นจุดเปลีย่ น แต่ในบ้านเราน่าจะเป็นเพราะพีป่ อ๋ งจาก CASE มากกว่า” ป๋อง-ปฐมา หรุน่ รักวิทย์ ผูก้ อ่ ตัง้ CASE Studio คือสถาปนิกผูร้ ว่ มงานกับชาวบ้านเพือ่ ออกแบบทีอ่ ยูอ่ าศัยส�ำหรับผูม้ ฐี านะยากจนมา ตลอดระยะเวลา 20 ปี โดยในปี 2558 เธอเป็น หนึง่ ในผูเ้ ข้ารอบชิงชนะเลิศรางวัล arcVision ซึง่ มอบให้กบั นักออกแบบหญิงทีม่ ผี ลงานโดดเด่น ท�ำให้โครงการของเธอเป็นทีส่ นใจไปทัว่ โลก “เราเริม่ จากงบศูนย์บาท โดยพยายามมอง ว่าเราท�ำอะไรเองได้บา้ งจะได้ไม่ตอ้ งหวังพึง่ คน อืน่ ลูกเดียว เราสนับสนุนให้ชมุ ชนแต่ละแห่ง ช่วยเหลือตัวเอง ซึง่ จัดเป็นสิง่ ท้าทายส�ำหรับ สถาปนิกด้วย แทนทีจ่ ะเอะอะซือ้ ใหม่ เราต้อง มานัง่ คิดว่าอะไรเอามาใช้ซำ้� ได้บา้ ง” ปฐมาเล่า โดยยกตัวอย่างชุมชนคนต่างด้าวแห่งหนึง่ ใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึง่ ถูกน�ำ้ ท่วมทุกปี ท�ำให้ผอู้ ยูอ่ าศัยต้องเดินลุยน�ำ้ เกือบตลอดฤดูฝน เธอได้ชว่ ยชุมชนออกแบบทางเดินโดยใช้ขยะ เป็นตัวหนุน “ถ้าแก้ปญ ั หาเชิงกายภาพอย่างนีไ้ ด้ มันจะ ท�ำให้คนเกิดส�ำนึกรับผิดชอบและเป็นส่วนหนึง่ ของชุมชน เราต้องสอนให้คนเริม่ ซ่อมอะไรเป็น ก่อน จากนัน้ ค่อยถอยออกมาให้พวกเขาคิดหา 64

OPTIMISE | JULY 2017

062-067 Living Space.indd 64-65

คนได้รสู้ กึ ว่ามีสว่ นร่วม แต่ชาวบ้านก็ไม่ได้ถกู เสมอไป บางครัง้ เราก็ตอ้ งรูจ้ กั เผด็จการอย่างมี ศิลปะ คือฟังและคิดตาม แต่ไม่จำ� เป็นต้องเห็น ด้วยทุกเรือ่ ง ถ้าท�ำงานแบบล่างขึน้ บนมากเกิน ไป งานก็ไม่ไปถึงไหน เรือ่ งการเมืองและเรือ่ ง ไหนๆ ก็เป็นอย่างนี้ เราต้องรูจ้ กั ตัดสินใจ และหาทางสอดแทรกความคิดสร้างสรรค์ ต่างๆ ลงไป”

02

คืนสิง่ ดีๆ สูส่ งั คม

หนทางแก้ปญ ั หาต่อไปด้วยตนเอง” เธอเสริม ในขณะทีส่ ถาปนิกอย่าง ม.ล.วรุตม์อาจยก ย่องปฐมาว่าเป็นผูบ้ กุ เบิกด้านสถาปนิกชุมชนใน บ้านเรา แต่ทกุ อย่างก็ใช่จะราบรืน่ ชัดเจนอย่าง นีม้ าตัง้ แต่ตน้ “รุน่ พีช่ อบถามเราว่าท�ำแบบนีไ้ ป ท�ำไม ท�ำแบบนีม้ นั ไม่ใช่สถาปนิก นีม่ นั งานนัก สังคมสงเคราะห์ แต่สถานการณ์เริม่ เปลีย่ นไป เมือ่ 7 ปีกอ่ น เราหวังว่ามันจะไม่ได้เป็นแค่ไฟ ไหม้ฟาง เราอยากให้มนั อยูไ่ ปตลอด” เธอกล่าว

“คนในพืน้ ทีไ่ ม่ได้มสี ว่ นร่วมกับโปรเจกต์ มากนัก ส่วนใหญ่เราจะพูดคุยกับทางโรงเรียน โดยตรง ท่านผอ. เป็นห่วงเรือ่ งสิง่ แวดล้อม มาก ท่านอยากให้เราใช้วสั ดุธรรมชาติในการ ออกแบบ แต่สดุ ท้ายก็ขนึ้ อยูก่ บั ตัวสถาปนิกว่า เราจะตัดสินใจน�ำเสนออะไร” ม.ล.วรุตม์เล่า ครัง้ หนึง่ ม.ล.วรุตม์ยนื ยันทีจ่ ะใช้ไม้ไผ่ ปล้องตันแทนวีวา่ บอร์ดในบริเวณทีม่ ฝี นสาด เพราะมีรอ่ งระแนงให้นำ�้ ฝนไหลลง ท่ามกลาง ความกังวลของผูอ้ ำ� นวยการโรงเรียนเรือ่ งความ ใครใหญ่กว่าใคร คงทนของวัสดุ ในขณะที่ ปิตพุ งษ์ เชาวกุล จาก สไตล์การท�ำงานของปฐมานัน้ แตกต่าง Supermachine Studio ก็เลือกใช้ไม้ไผ่ในการ จากม.ล.วรุฒม์และบริษทั สถาปนิกอืน่ ๆ ใน ออกแบบโรงเรียนในเชียงราย แม้กระทัง่ ในส่วน โครงการ The Class of 6.3 เป็นอย่างมาก ทีเ่ ป็นโครงสร้าง จนเป็นเหตุให้เขามีภาระต้อง กล่าวคือ แม้โครงการห้องเรียนพอดี พอดีของ โน้มน้าวใจบรรดาผูเ้ กีย่ วข้องไม่นอ้ ยเช่นกัน ม.ล.วรุตม์จะดูเรียบง่าย แต่การก่อสร้างก็ไม่ “เราต้องโน้มน้าวสมาคมสถาปนิกสยามและ ได้ใช้แค่ ‘งบศูนย์บาท’ ตรงกันข้ามในเวลา ผอ.โรงเรียนหนักมาก แต่เราเห็นแล้วว่าบ้านของ เพียง 3 อาทิตย์หลังจากเหตุการณ์แผ่นดิน ชาวเขาต้านแผ่นดินไหวได้ เราเลยอยากแสดง ไหว กลุม่ Design for Disasters ได้จบั มือกับ ให้เห็นว่าการออกแบบโรงเรียนด้วยวัสดุเดียวกัน สมาคมสถาปนิก-สยาม ท�ำให้สามารถระดมเงิน ก็ทำ� ได้เหมือนกัน” ปิตพุ งษ์กล่าว สนับสนุนจากบริษทั ชัน้ น�ำ อาทิ ช.การช่าง และ ลักษณะการท�ำงานทีด่ ดุ นั แบบนีอ้ าจขัดกับ อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเมนต์ได้ โดยเฉพาะใน แนวทางของเคสในเรือ่ งการมีสว่ นร่วมของชุมชน โครงการของม.ล.วรุฒม์นนั้ พระมหาวุฒชิ ยั วชิร พอสมควร แต่ปติ พุ งษ์ยนื ยันว่าการท�ำงานแบบ เมธี เป็นผูอ้ อกเงินทุนสนับสนุนทัง้ โครงการ การ บนลงล่างมีขอ้ ดี “หลายครัง้ เราเห็นสถาปนิก ออกแบบเหล่านีจ้ งึ มีลกั ษณะ ‘top-down’ อย่าง ชุมชนทีเ่ ทีย่ วแจกโพสต์อทิ ให้คนออกไอเดีย ให้ ช่วยไม่ได้

ทรัพยากรทีต่ อ้ งใช้กบั โครงการไร้คา่ ตอบแทน เหล่านีถ้ อื ว่ามหาศาล ในช่วง 10 วันแรก ทีมงาน ของซุปเปอร์มาชีน สตูดโิ อ ต้องท�ำงานหามรุง่ หาม ค�ำ่ เพือ่ ขึน้ แบบจ�ำลองโครงสร้างหลักของโรงเรียน บ้านป่าก่อด�ำเพือ่ รีบน�ำไปใช้ขอสปอนเซอร์ สาย การบินบางกอกแอร์เวย์ตอ้ งสนับสนุนเทีย่ วบิน กว่า 200 เทีย่ วเพือ่ พานักออกแบบและวิศวกรไป ลงพืน้ ทีต่ ลอดระยะเวลา 18 เดือนของโครงการ ส่วน ม.ล.วรุตม์เองก็จำ� ได้วา่ ทัง้ ออฟฟิศยอม อยูด่ กึ ท�ำโปรเจกต์ตงั้ แต่ 6 โมงเย็นถึงตี 3 อยู่ 2 สัปดาห์เพือ่ ไม่ให้กระทบกับงานอืน่ จนเกือบฟัง ดูเป็นเรือ่ งเหลือเชือ่ ทีบ่ ริษทั เอกชนจะยอมเข้ามา ท�ำโครงการเพือ่ สังคมเหล่านีเ้ พียงเพือ่ เอาบุญ “บอกได้เลยว่าจุดมุง่ หมายหลักของเราไม่ใช่

เรือ่ งพีอาร์ เพราะตัง้ แต่เริม่ ก่อตัง้ บริษทั เราก็ได้ ออกสือ่ ต่างๆ เป็นประจ�ำอยูแ่ ล้ว แต่ทเี่ ราท�ำ เพราะเรามองว่ามันท้าทาย ปกติโรงเรียนไทย สร้างมาพิมพ์เดียวกันหมด คือยึดแบบจาก ช่วงยุค ‘60s แต่โรงเรียนทัง้ 9 แห่งในโครงการ เชียงรายหน้าตาไม่ซำ�้ กันเลย ซึง่ มันสือ่ ถึงนัยยะ บางอย่าง” ปิตพุ งษ์กล่าว โรงเรียนทัง้ 9 แห่งเปลีย่ นห้องเรียนแบบเดิม ทีม่ กี ารแยกส่วนอินดอร์-เอาท์ดอร์ชดั เจนและ หุม้ ห่อนักเรียนจากสิง่ แวดล้อมภายนอก ให้เป็น ห้องเรียนทีม่ ลี กั ษณะเปิดกว้างสูธ่ รรมชาติรอบๆ เพือ่ ส่งเสริมการเรียนรูข้ องเด็ก “การมีหอ้ งเรียนทีเ่ ปิดและล้อมรอบด้วย ธรรมชาติสวยๆ จะสามารถช่วยเรือ่ งพัฒนาการ ในระยะยาวส�ำหรับเด็กทีเ่ ป็นโรคสมาธิสนั้ ได้ เรา จึงพยายามใช้ประโยชน์จากตรงนี้ เด็กๆ จะได้ ออกไปนัง่ เรียนนอกห้องในวันทีอ่ ากาศดี ได้ฟงั เสียงนกร้อง หรือนัง่ เรียนใต้ตน้ ไม้” ม.ล.วรุตม์ อธิบาย โรงเรียนในโครงการทัง้ 9 แห่งนัน้ ยังสวยเสีย ด้วย อย่างห้องเรียนของซุปเปอร์มาชีน สตูดโิ อ นัน้ ได้รบั การออกแบบเป็นอาคารคูท่ รงโค้งเพือ่ รักษาต้นไม้ใหญ่ทงั้ หมดในบริเวณเอาไว้ โดย มีหลังคาไม้ทสี่ อดสลับซับซ้อนไม่ตา่ งจากงาน

ประติมากรรมชัน้ เลิศ และมีองศาความลาด เอียงทีช่ ว่ ยให้ความรูส้ กึ ของใบไม้ใหญ่รม่ สบาย ในทางตรงกันข้าม แม้หอ้ งเรียนของ ม.ล.วรุฒม์จะไม่ได้มหี น้าตาเหมือนหลุดออก มาจากนวนิยายแฟนตาซีหรือเน้นใช้แต่วสั ดุ ธรรมชาติ แต่หอ้ งเรียนทีเ่ ขาออกแบบก็มเี สน่ห์ ด้วยการตกแต่งเรียบโล่ง ใต้ถนุ สูง หลังคา สังกะสี และชายคาลึก ทีค่ งเอกลักษณ์ความ เป็นไทย และเหมาะสมกับสภาพภูมอิ ากาศ บ้านเราเป็นอย่างยิง่ ม.ล.วรุตม์ยอมรับว่าแม้โครงการนีจ้ ะไม่ได้ มีจดุ ประสงค์เพือ่ ประชาสัมพันธ์บริษทั แต่ละ แห่งทีเ่ ข้าร่วม แต่อย่างไรมันก็ชว่ ยสร้างชือ่ ให้กบั แวดวงสถาปนิกไทยในเวทีโลก เพราะโรงเรียน 9 แห่งต่างได้รบั การตีพมิ พ์ลงในนิตยสารและ หนังสือเกีย่ วกับสถาปัตยกรรมการออกแบบ เกือบทุกฉบับ ส่วนตัวเขาเองได้รบั การติดต่อ จากองค์กรในประเทศเอกวาดอร์ซง่ึ เกิดแผ่น ดินไหวบ่อยครัง้ และได้ดำ� รงต�ำแหน่งทีป่ รึกษา ให้กบั 2 โครงการ นอกจากนี้ ม.ล.วรุตม์เห็นว่า โครงการเหล่านีย้ งั ช่วยสร้างแรงขับเคลือ่ นบาง อย่างให้กบั คนในบริษทั “บริษทั เรามีสถาปนิก อยู่ 9 คน มัณฑนากร 2 คน และบางทีกม็ เี ด็ก ฝึกงานด้วย เวลาท�ำพวกโครงการเพือ่ สังคม

04

02 ปฐมา หรุ่นรักวิทย์ ผู้ก่อตั้ง CASE Studio

03

03 โรงเรียนพอดี พอดี บ้านห้วยส้านยาว 04 ม.ล.วรุตม์ วรวรรณ แห่งบริษัทสถาปนิก วิน วรวรรณ OPTIMISE | JULY 2017

65

6/22/17 2:24 PM


LIVING SPACE 05

แบบนี้ ทัง้ ออฟฟิศจะช่วยกันหมด ผมว่าทีมตัง้ ใจท�ำ กว่าโปรเจกต์ทไี่ ด้เงินเสียอีก” ส�ำหรับปฐมา ผลตอบแทนจากการช่วยเหลือ ชุมชนยังมาในรูปแบบความสุขเล็กๆ น้อยๆ จาก การสร้างสัมพันธ์กบั ‘ลูกค้า’ ด้วย เธอเล่าว่า “เราเคย ทดลองโครงการบ้านจัดสรรส�ำหรับชนชัน้ กลางใน กรุงเทพฯ อยูค่ รัง้ หนึง่ ตอนนัน้ เราคิดในแง่ดวี า่ มันน่า จะง่ายกว่าท�ำงานกับคนจน แต่เอาเข้าจริง คนจนตรง ไปตรงมากว่า ตรงประเด็นกว่า ดูเหมือนชนชัน้ กลาง กับเราจะเข้าใจอะไรไม่ตรงกันสักเท่าไร” ความฝันของเธอคือการท�ำให้ชมุ ชนจ้างสถาปนิก ไม่ได้แค่ให้ทำ� ฟรีๆ “เอ็นจีโอและองค์กรใหญ่ๆ บางที ก็เหมือนมาเฟีย พูดเสียงดังกลบเสียงชาวบ้าน การ ท�ำผ่านองค์กรจึงไม่เหมือนการได้สอื่ สารกับชาวบ้าน โดยตรง แล้วเอาเข้าจริงๆ ส�ำหรับชุมชนทีม่ ปี ระชากร 500 คน แค่ชว่ ยกันลงขันคนละ 20 บาทต่อเดือนก็พอ จ่ายค่าจ้างสถาปนิกเดือนละ 10,000 บาทแล้ว” อย่างไรก็ตาม ไม่วา่ วิธกี ารท�ำงานจะเป็นแบบให้ ชาวบ้านเข้ามามีสว่ นร่วมหรือในลักษณะบนลงล่าง ความท้าทายยิง่ ใหญ่ตอ่ จากนีค้ อื การเพิม่ จ�ำนวน สถาปนิกชุมชน ในช่วงระหว่างปี 2548 ถึง 2557 โลก ประสบภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติเฉลีย่ 335 ครัง้ ต่อปี ซึง่ เพิม่ ขึน้ 14% จากทศวรรษก่อน ในขณะทีบ่ า้ นเรือน 19,000 หลังได้รบั ความเสียหายจากเหตุการณ์นำ�้ ท่วม ปี 2554 เป็นทีน่ า่ สังเกตว่าแค่การก่อสร้างโรงเรียน 9 แห่งในเชียงรายอย่างเดียวก็กนิ ก�ำลังคนทัง้ หมดของ บริษทั สถาปนิก 9 แห่ง รวมถึง Design for Disasters 66

OPTIMISE | JULY 2017

062-067 Living Space.indd 66-67

06

และองค์กรอืน่ ๆ ทีเ่ ชีย่ วชาญในด้านวิศวกรรมและ การก่อสร้าง ถ้าอยากดึงให้สถาปนิกมาเข้าร่วมมากขึน้ ปฐมา เชือ่ ว่าทัศนคติตอ้ งเปลีย่ น “เราไม่ชอบค�ำว่าสถาปนิก ชุมชน จริงๆ แล้วสถาปนิกคนไหนก็ทำ� ได้ ถ้าคุณขีด เส้นแบ่งแบบนีข้ นึ้ มา ก็เท่ากับเป็นการจ�ำกัดจ�ำนวน สถาปนิกทีจ่ ะอยากเข้าร่วมโครงการในลักษณะนีไ้ ป โดยปริยาย” ในขณะทีป่ ติ พุ งษ์เชือ่ ว่าสถาปนิกก็ควร ต้องเริม่ คิดถึงประเด็นทางสังคมมากขึน้ “ในฐานะ สถาปนิก สิง่ แรกทีค่ ณ ุ ต้องท�ำคือวางรากฐานในอาชีพ การงานก่อน แต่พอคุณมีพาวเวอร์มากขึน้ มีเวลามาก ขึน้ คุณก็ตอ้ งคืนอะไรกลับไปให้สงั คมบ้าง ผมไม่ได้ บอกว่าต้องท�ำ แต่นคี่ อื สิง่ ทีเ่ ราควรท�ำเมือ่ มีโอกาส” สถาปนิกอย่างปิตพุ งษ์หรือปฐมาไม่ได้เพียงสร้าง ประโยชน์ให้กบั หมูบ่ า้ นหรือชุมชนแออัดทีพ่ วกเขา เข้าไปช่วยเหลือ ในปัจจุบนั แวดวงสถาปนิกชุมชน ของไทยประสบความส�ำเร็จไม่นอ้ ยแล้วในฐานะ ห้องทดลองทางสถาปัตย์และความภาคภูมใิ จบนเวที โลกของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ในสภาวะที่ ภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติมแี ต่จะทวีความรุนแรงขึน้ ประเทศต้องสามารถขยายผลโครงการเชิงทดลองไปสู่ การแก้ปญ ั หาในระดับมหภาคให้ได้ ซึง่ การท�ำเช่นนัน้ อาจไม่ได้เพียงหมายถึงสถาปนิกจ�ำนวนมากขึน้ หรือ เงินทุนสนับสนุนจากบริษทั เอกชน หากแต่ยงั ต้องรวม ถึงนโยบายรัฐทีเ่ อือ้ ต่อการบ่มเพาะพลังสร้างสรรค์มาก ขึน้ กว่าปัจจุบนั ด้วย

Essentials CASE Studio 121/1 ถนนรามค�ำแหง กรุงเทพฯ โทร. 02-919-5577 www.casestudio.info Design for Disasters www.designfordisasters.org Supermachine Studio 57/7 ซอยโชคชัยร่วมมิตร 16/13 ถนนวิภาวดี กรุงเทพฯ โทร. 02-276-6279 www.supermachine.co Vin Varavarn Architects 89/15 ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ โทร. 02-650-9558 www.fb.com/VinVaravarn ArchitectsLimited 05 ปิตุพงษ์ เชาวกุล แห่ง Supermachine Studio 06 โรงเรียนพอดีพอดีของ Supermachine Studio

OPTIMISE | JULY 2017

67

6/22/17 2:24 PM


THE AGENDA

1

3

บล.ภัทร ร่วมแสดงความยินดีในโอกาส บมจ.โกบอลกรีนเคมีคอล (GGC) เริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ วันแรก

วันที่ 11 พฤษภาคม 2560 อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลัง ประธานในพิธีเปิดงานมหกรรมการเงิน ครั้งที่ 17 (MONEY EXPO 2017) พร้อมด้วยสันติ วิริยะรังสฤษฎ์ ประธาน จัดงานฯ เข้าเยี่ยมชมบูธธนาคารเกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) โดยมี มานิตย์ วรรณวานิช ประธานสายเครือข่ายการขายและบริการ ให้การ ต้อนรับ ทั้งนี้ ภายในบูธมีการนำ�เสนอโปรโมชันพิเศษในด้านเงินฝาก สินเชื่อ และการลงทุน ภายใต้แนวคิดการเชื่อมโยงนวัตกรรมการ เงิน 4.0 สู่ความมั่งคั่งสำ�หรับคุณ โดยงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-14 พฤษภาคม 2560 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี

อภินนั ท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร กลุม่ ธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร และทีม วานิชธนกิจและตลาดทุน บริษทั หลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) นำ�โดยอนุวฒ ั น์ ร่วมสุข กรรมการ ผูจ้ ดั การ หัวหน้าฝ่ายตลาดทุน ร่วมแสดงความยินดี กับ บมจ.โกบอลกรีนเคมีคอล หรือ GGC ในโอกาส เข้าจดทะเบียนและเริม่ ซือ้ ขายในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยเป็นวันแรก เมือ่ วันที่ 2 พฤษภาคม 2560 โดยมี บล.ภัทร และ บล.ฟินนั ซ่า เป็นที่ ปรึกษาทางการเงินและผูจ้ ดั การการจัดจำ�หน่าย และรับประกันการจำ�หน่าย ทัง้ นี้ GGC เป็นบริษทั แกนนำ�ในธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีเพือ่ สิง่ แวดล้อม (green flagship company) ของกลุม่ บมจ. พีทที ี โกลบอล เคมิคอล และเป็นหนึง่ ในกลุม่ ผูผ้ ลิต เมทิลเอสเทอร์รายใหญ่ทส่ี ดุ และเป็นผูผ้ ลิตแฟตตี้ แอลกอฮอล์เพียงรายเดียวในประเทศไทย

2

OPTIMISE | JULY 2017

068-070 The Agenda.indd 68-69

4

ธนาคารเกียรตินาคิน จัดงานสัมมนาประจำ�ปี KKP Focus Forum ‘เจาะลึกอสังหาฯไทย ท่ามกลาง ไทยแลนด์ 4.0’

ธนาคารเกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) จัดงานสัมมนาประจำ�ปี KKP Focus Forum ‘เจาะลึกอสังหาฯ ไทย ท่ามกลางไทยแลนด์ 4.0’ โดยมี บรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหาร และทีมวิทยากรผูเ้ ชีย่ วชาญ จากกลุม่ ธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ได้แก่ ดร.พิพฒ ั น์ เหลืองนฤมิตชัย ผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การและหัวหน้าทีมวิจยั ลูกค้าบุคคล บริษทั หลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) จิราภรณ์ ลินมณีโชติ ผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การ สายงานวิจยั บริษทั หลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) และดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์ ผูอ้ �ำ นวยการอาวุโส หัวหน้าฝ่ายวิจยั เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ธนาคารเกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) ร่วมให้ขอ้ มูล โดยงานจัดขึน้ ณ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ เมือ่ วันที่ 28 มีนาคม 2560

ธนาคารเกียรตินาคิน เข้าร่วมโครงการคลินิกแก้หนี้

วันที่ 7 พฤษภาคม 2560 อภินนั ท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร กลุม่ ธุรกิจการเงิน เกียรตินาคินภัทร และวรกฤต จารุวงศ์ภคั ประธาน สายปฏิบตั กิ าร ธนาคารเกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) ร่วมพิธลี งนามความร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ 16 แห่ง ในการจัดทำ�โครงการแก้ไขปัญหาหนี้ ส่วนบุคคลทีไ่ ม่มหี ลักประกัน (คลินกิ แก้หนี)้ ทัง้ นี้ โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างธนาคาร แห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สมาคม ธนาคารนานาชาติ และบริษทั บริหารสินทรัพย์สขุ มุ วิท จำ�กัด (SAM) ทีเ่ ล็งเห็นถึงความสำ�คัญในการวาง โครงสร้างพืน้ ฐานเพือ่ การแก้ปญ ั หาหนีภ้ าคครัวเรือน อย่างเป็นระบบ โดยโครงการได้เริม่ ดำ�เนินการตัง้ แต่ วันที่ 1 มิถนุ ายน 2560 เป็นต้นมา

68

ธนาคารเกียรตินาคิน ร่วมงาน Money Expo 2017

5

บล.ภัทร จัดงานสัมมนา ‘ภาพรวมเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มเศรษฐกิจไทย พร้อมกลยุทธ์การลงทุนหุน้ ไทยและต่างประเทศ’

บริษทั หลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) จัดงานสัมมนา ‘ภาพรวมเศรษฐกิจโลกและแนวโน้มเศรษฐกิจไทย พร้อมกลยุทธ์การลงทุนหุน้ ไทยและต่าง ประเทศ’ ให้แก่ลกู ค้า บล.ภัทร โดยมีทมี นักวิเคราะห์ผเู้ ชีย่ วชาญ ได้แก่ ดร.พิพฒ ั น์ เหลืองนฤมิตชัย ผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การและหัวหน้าทีมวิจยั ลูกค้า บุคคล พรทิพย์ ทันตสุวรรณ ผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การและหัวหน้าทีมวิจยั ลูกค้าบุคคล และพงศธร ลีลาประชากุล ผูช้ ว่ ยผูอ้ �ำ นวยการ ร่วมให้ขอ้ มูล โดย งานจัดขึน้ ณ ห้องประชุมบรรยง พงษ์พานิช อาคารสำ�นักงานเมืองไทย-ภัทร 1 เมือ่ วันที่ 20 พฤษภาคม 2560 OPTIMISE | JULY 2017

69

6/22/17 2:04 PM


7

6

ธนาคารเกียรตินาคิน เดินหน้าธุรกิจ Credit House

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2560 ธนาคารเกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) จัดงานแถลงข่าวการจัดตั้งสายงานใหม่ภายใต้ชื่อ ‘สายงานช่องทาง การตลาดและพัฒนาฐานลูกค้า (Alternative Distribution Channel หรือ ADC)’ ณ ธนาคารเกียรตินาคิน สาขาอโศก ทั้งนี้ สายงานใหม่ จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เพื่อให้บริการสินเชื่อแก่รายย่อย ทั้งสินเชื่อบุคคล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อ KK SME รถคูณ 3 ผ่านระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และบุคลากรที่มีความ เชี่ยวชาญ นำ�โดยภัทรพงศ์ รักตะบุตร ประธานสายงานช่องทางการ ตลาดและพัฒนาฐานลูกค้า โดยภายในระยะเวลา 10 เดือนภายหลัง การจัดตั้ง สายงาน ADC สามารถสร้างการเติบโตของสินเชื่อได้ถึง 5,000 ล้านบาท

บล.ภัทร และ บลจ.ภัทร สนับสนุนการแข่งกอล์ฟอาชีพ รายการ Queen’s Cup Bangkok Airways – SAT Samui Golf Tournament 2017

เมือ่ วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 ธริศา ชัยสุนทรโยธิน ผูอ้ �ำ นวยการอาวุโส บริษทั หลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) เป็นตัวแทนเข้ารับโล่ขอบคุณ ผูส้ นับสนุนจากสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ในงานแถลงข่าวการจัด การแข่งขันกอล์ฟอาชีพ ชิงถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชินนี าถ ในรัชกาลที่ 9 รายการ Queen’s Cup Bangkok Airways – SAT Samui Golf Tournament 2017 เนือ่ งในโอกาสทีบ่ ริษทั หลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด (มหาชน) และบริษทั หลักทรัพย์จดั การกองทุน ภัทร จำ�กัด เป็นผูส้ นับสนุนหลักการแข่งขันต่อเนือ่ งเป็นปีท่ี 8 โดยการแข่งขันจัด ขึน้ ในวันที่ 15-18 มิถนุ ายน 2560 ณ สนามกอล์ฟสันติบรุ ี สมุย คันทรี คลับ อำ�เภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎ์ธานี

8

กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร สนับสนุนแพทย์ อาสาฯ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ลงพื้นที่รักษาผู้ป่วย จ.ปราจีนบุรี

กลุม่ ธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร นำ�โดยอภินนั ท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร กลุม่ ธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร และ ฐิตนิ นั ท์ วัธนเวคิน กรรมการ ธนาคารเกียรตินาคินจำ�กัด (มหาชน) รับโล่ขอบคุณจากศาสตราจารย์เกียรติคณ ุ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ประธานมูลนิธธิ รรมาภิบาลทางการแพทย์ ในโอกาสนำ�จิตอาสาเข้า ช่วยงานและสนับสนุนเงินจำ�นวน 1 ล้านบาทให้กบั โครงการหน่วย แพทย์อาสาเฉพาะทางร่วมใจเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในวโรกาสทีท่ รงครองสิรริ าชสมบัตเิ ป็นพระมหากษัตริยร์ ชั กาลที่ 10 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ โดยจัดขึน้ ในวันที่ 13-14 พฤษภาคม 2560 ณ โรงพยาบาล เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี 70

OPTIMISE | JULY 2017

068-070 The Agenda.indd 70

6/22/17 2:05 PM


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.