ASEAN INNOVATION

Page 1

ASEAN Business Center

ASEAN

INNOVATION

ดร. สุทธิกร กิ่งเเก้ว

ที่ปรึกษาสถาบันองค์ความรู้เเห่งเอเชีย ASEAN INNOVATION


ASEAN

INNOVATION

ASEAN

INNOVATION ASEAN INNOVATION


สถานะนวัตกรรม และเทคโนโลยีไทย ในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก

เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าความก้าวหน้าของโลกในยุคปัจจุบันนั้นเกิดขึ้นบนพื้นฐานของ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สิง่ อำ�นวยความสะดวกรอบๆ ตัวเรา ทัง้ ในรูปแบบฮาร์ดแวร์ เช่น สมาร์ทโฟน (Smart phone) และแท็บเล็ต (Tablet) หรือในรูปแบบซอฟท์แวร์ เช่นระบบนำ�ทางในรถยนต์ (GPS Navigation) โปรแกรมที่สามารถใช้งานได้ออนไลน์ (Cloud Computing) ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากการ พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีของบริษัทในประเทศต่างๆ.ทั่วโลก..เมื่อเราพิจารณาลงไปในต้นทุนการ ผลิตของสินค้าและบริการที่ใช้เทคโนโลยีสูงเหล่านี้แล้วจะรู้ว่าต้นทุนวัตถุดิบที่จับต้องได้ที่ใช้ในการผลิต สิง่ เหล่านีม้ มี ลู ค่าทีต่ �ำ่ มากหรือแทบไม่มเี ลย..หากแต่มลู ค่าแท้จริงของสิง่ ของเหล่านีค้ อื ..ความรู้ ความคิด ของคน ทีใ่ ส่ลงไปในผลิตภัณฑ์นน้ั ๆ ต้นทุนของพลาสติก แก้ว หรือ โลหะทีป่ ระกอบขึน้ เป็นสินค้านั้นๆ คิดเป็นมูลค่า เพียงเล็กน้อย ตัวอย่างเช่น ไอโฟน จากการศึกษาโดย IHS บริษัทข้อมูลชั้นนำ�ของโลกพบว่า สำ�หรับไอ โฟน 5S นั้นแอปเปิ้ลมีต้นทุนในการจ้างผลิตเพียงประมาณ 6,000 บาท หากแต่ว่าราคาขายกลับอยู่สูง ถึงประมาณ 20,000 บาท สิ่งที่แอปเปิ้ลใส่ลงไปในไอโฟน 5S แต่ละเครื่องคือสิ่งที่ทีมงานแอปเปิ้ลได้คิด ศึกษาและนำ�ไปทดลองในตลาดเป็นเวลานาน...กว่าจะออกมาลงตัวว่าเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคอย่าง แท้จริง..สิ่งเหล่านี้คือมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากเทคโนโลยีและนวัตกรรม..บริษัทชั้นนำ�ของโลกในปัจจุบันไม่ ว่าจะเป็น Google Facebook Intel Microsoft Walmart ต่างมุ่งแสวงหามูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและ บริการของตนบนพื้นฐานการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม...เศรษฐกิจโลกในยุคปัจจุบันจึงก้าวข้าม ผ่านยุคที่พึ่งพาอุตสาหกรรมหนัก..มาสู่ยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่พึ่งพาองค์ความรู้..เทคโนโลยี..และ นวัตกรรม..ประเทศต่างๆ.มุ่งสร้างเศรษฐกิจของตัวเองบนพื้นฐานองค์ความรู้นี้..ประเทศไทยก็คงจะ หลีกเลี่ยงที่จะเดินไปในแนวทางนี้ไม่ได้..คำ�ถามจึงกลับมาอยู่ที่ว่า..ประเทศไทย..บริษัทไทย..มีความ พร้อมมากน้อยแค่ไหนเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอาเซียนและระดับโลก

ASEAN INNOVATION


ที่มา : AKI ASEAN Business Center จากข้อมูล Global Innovation Index 2013 **หมายเหตุ ไม่มีการจัดอันดับของประเทศพม่า ลาว และเวียดนาม เนื่องจากไม่มีข้อมูลเพียงพอ

จากการจัดอันดับ Global Innovation Index ที่จัดทำ�โดย มหาวิทยาลัย Cornell มหาวิทยาลัย INSEAD และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก หรือ WIPO พบว่าสำ�หรับปี 2013 ไทยเรา อยู่ในอันดับที่ 3 ของอาเซียน รองจาก สิงคโปร์ และมาเลเซีย แต่เมื่อเปรียบเทียบในระดับโลกจะพบ ว่ามีสิงคโปร์เพียงประเทศเดียวในอาเซียนเท่านั้นที่มีระดับนวัตกรรมติดอันดับ 1 ใน 20 ของโลก โดย สิงคโปร์นั้นอยู่ในอันดับที่ 8 ของโลก ทิ้งห่างมาเลเซียซึ่งอยู่ในอันดับที่ 32 และมาเลเซียเองยังทิ้งห่าง ไทยซึ่งอยู่ในอันดับที่ 57 ของโลก เมื่อพิจารณาถึงการที่ไทยเรามีค่าดัชนีนวัตกรรมอยู่ในระดับต่ำ�จะพบ สาเหตุของปัญหาหลายประการด้วยกัน

ASEAN INNOVATION


1) ปัญหาการลงทุนวิจัยของไทยที่ยังอยู่ ในระดับที่ต่ำ�

เมือ่ พิจารณาจะพบว่าเม็ดเงินทีใ่ ช้ในการวิจยั และพัฒนาทัง้ ภาครัฐและเอกชน (Gross domestic expenditure on R & D, GERD) ของแต่ละประเทศ จะพบว่าประเทศไทยเราอยู่ในระดับที่น้อยมากเมื่อ เทียบกับสิงคโปร์และมาเลเซีย โดยประเทศไทยนั้นมีการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาที่ต่ำ�ทั้งในภาครัฐ และเอกชน โดยสิงคโปร์นั้นลงทุนในการวิจัยและพัฒนามากกว่าเราถึง 9 เท่า และมาเลเซียนั้นมากกว่า เราถึง 4 เท่า โดยเมื่อคิดเทียบกับสัดส่วนของ GDP พบว่าสิงคโปร์ลงทุนคิดเป็นสัดส่วนถึง 2.6% ของ GDP ส่วนมาเลเซียอยู่ที่ 0.8% ของ GDP ในขณะที่การลงทุนวิจัยและพัฒนาของไทยคิดเป็นเพียง สัดส่วน 0.2% ของ GDP อยู่ในระดับเดียวกับประเทศอินโดนีเซีย หรือเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศชั้นนำ� ของโลกจะยิ่งเห็นความแตกต่างถึงการให้ความสำ�คัญกับการพัฒนานวัตกรรมโดยเห็นได้จากสัดส่วน การลงทุนด้านการวิจัยพัฒนาต่อ GDP ที่อยู่ในระดับที่สูง เช่น สหรัฐฯที่ลงทุนด้านการวิจัยประมาณ 2.7% ของ GDP ญี่ปุ่นที่ลงทุนในการวิจัยประมาณ 3.67% ของ GDP และเกาหลีใต้ที่ลงทุนในการวิจัย ถึงประมาณ 3.74% ของ GDP หรือแม้แต่ประเทศจีนที่พึ่งเปิดประเทศเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ก็ยังให้ความ สำ�คัญกับการวิจัยและพัฒนาเป็นอย่างมาก โดยมีการลงทุนในด้านนี้คิดเป็นสัดส่วนถึงประมาณ 2% ของ GDP สูงกว่าประเทศกำ�ลังพัฒนาอื่นๆ

ที่มา : จากการรวบรวมข้อมูลโดย AKI ASEAN Business Center

ASEAN INNOVATION


2) ผลสำ�เร็จจากการวิจัยพัฒนาที่สามารถต่อยอดสู่ธุรกิจยังอยู่ ในระดับต่ำ�

โดยเห็นได้จากจำ�นวนสิทธิบัตรที่จดโดยภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทยยังอยู่ใน ระดับที่น้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศสิงคโปร์..จากข้อมูลขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกเกี่ยวกับ จำ�นวนสิทธิบัตรที่ได้รับการรับรองแล้วของแต่ละประเทศในอาเซียนจะพบว่า ในปี 2012 ประเทศไทย มีสิทธิบัตรที่ได้รับการรับรองพียง 1,008 สิทธิบัตร ยังตามหลังสิงค์โปร์ที่มีถึง 5,633 สิทธิบัตร ประมาณ เกือบ 6 เท่า มาเลเซียเองก็มีจำ�นวนสิทธิบัตรที่ได้รับการรับรองในปี 2012 ถึง 2,082 สิทธิบัตร หรือ แม้แต่ประเทศฟิลิปปินส์ (1,111 สิทธิบัตร) และเวียดนาม (1,068 สิทธิบัตร) ก็มีจำ�นวนสิทธิบัตรที่ได้ รับการรับรองมากกว่าไทย ยิ่งไปกว่านั้นถ้าเปรียบเทียบกับประเทศชั้นนำ�ของโลก เช่น ญี่ปุ่น (274,791 สิทธิบัตร) สหรัฐฯ (253,155 สิทธิบัตร) จีน (217,105 สิทธิบัตร) เกาหลีใต้ (113,467 สิทธิบัตร) จะพบ ว่าไทยรวมทั้งประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียนมีจำ�นวนสิทธิบัตรที่ได้รับการรับรองอยู่ในระดับต่ำ�..แสดง ให้เห็นถึงการขาดการต่อยอดการวิจัยไปสู่การประยุกต์ใช้จริง..และเป็นความจำ�เป็นเร่งด่วนของไทย และอาเซียนที่จะต้องร่วมมือกันในการส่งเสริมการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนา เป็นนวัตกรรม สร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมต่อไป

ASEAN INNOVATION


ที่มา : AKI ASEAN Business Center จากข้อมูล WIPO 2013

ASEAN INNOVATION


Thailand’s Innovative Capacity in ASEAN

เมื่อพิจารณาจากปัจจัยนำ�เข้า (Input Factor) เช่น เม็ดเงินที่ใช้ในการวิจัย และผลลัพธ์ (Output Factor) จากการวิจัย เช่นจำ�นวนสิทธิบัตร จะพบว่าไทยเราอยู่ในระดับที่ต่ำ�เมื่อเทียบกับ ประเทศอื่นในโลกหรือแม้แต่กับประเทศอาเซียนเอง..จากทั้งปัจจัยนำ�เข้าและผลลัพธ์ที่ต่ำ�นี้..จึงไม่น่า แปลกใจเลยว่าทำ�ไมในการจัดอันดับ Global Innovation Index 2013 ไทยเราจึงอยู่ในลำ�ดับที่ 52 ตาม หลังทั้งสิงคโปร์และมาเลเซีย

ASEAN INNOVATION


ลักษณะที่สำ�คัญอีกอย่างสำ�หรับการสร้างนวัตกรรมในประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งไทยเรายัง ขาดอยู่คือ ปัญหาการลงทุนของภาคธุรกิจในการวิจัยและพัฒนาที่ยังอยู่ในระดับต่ำ� โดยในประเทศที่ พัฒนาแล้วภาคธุรกิจจะมีบทบาทมากกว่าภาครัฐในการลงทุนสำ�หรับการวิจัยพัฒนา..โดยในประเทศ ที่พัฒนาแล้วเช่น ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และเกาหลีใต้ ภาคธุรกิจจะมีสัดส่วนการลงทุนวิจัยและพัฒนาถึง ประมาณ 70% ของเม็ดเงินทีใ่ ช้ในการวิจยั และพัฒนาของทัง้ ประเทศ ตัวอย่างทีส่ �ำ คัญ เช่น บริษทั ซัมซุง เพียงบริษัทเดียวใช้เงินลงทุนในการวิจัยพัฒนาถึงกว่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็น 20% ของ เงินลงทุนในการวิจัยพัฒนาของทั้งประเทศเกาหลีใต้ ในขณะที่ภาครัฐของไทยยังมีสัดส่วนในการลงทุนสำ�หรับการวิจัยและพัฒนาถึงประมาณ 60-70% ของเงินลงทุนในการวิจัยพัฒนาของทั้งประเทศ จากการรวบรวมข้อมูล AKI ASEAN 100 บริษัท ขนาดใหญ่ของไทย เช่น ปตท. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) เครือซีเมนต์ไทย (SCG) และบริษัทไทย ยูเนี่ยนโฟรเซ่น (TUF) ต่างมีนโยบายในการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมให้กับธุรกิจ เพื่อให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว โดย ปตท ได้มีการประกาศทิศทางที่ชัดเจนว่าจะเน้นการ ลงทุนวิจัยและพัฒนาให้สูงถึงระดับ 3% ของรายได้ในทุกๆ บริษัทในเครือ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร ก็เช่นเดียวกันได้มีการตั้งเป้าหมายที่จะลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาให้เพิ่มขึ้นถึงระดับ 2% ของรายได้ ของบริษัท ที่น่าสนใจคือจากข้อมูลในปี 2012 เครือซีเมนต์ไทยมีการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาสูง ถึงประมาณ 47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่างบลงทุนวิจยั ของคูแ่ ข่งทีส่ �ำ คัญอย่างบริษทั Holcim ซึง่ อยู่ ทีป่ ระมาณ 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทัง้ ๆ ทีบ่ ริษทั Holcim รายได้รวมสูงกว่าเครือซีเมนต์ไทยถึงสองเท่า โดย Holcim นั้นเป็นบริษัทปูนรายใหญ่ของโลกและเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวงใน ประเทศไทย

ASEAN INNOVATION


ทั้งหมดนี้อาจจะกล่าวได้ว่าบริษัทชั้นนำ�ของไทยต่างมุ่งเน้นการเพิ่มการลงทุนในการวิจัย และพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด...แต่กระนั้นบริษัทขนาดกลางและ ย่อม (SMEs) ที่คิดเป็นสัดส่วนถึงประมาณ 98% ของจำ�นวนธุรกิจในเมืองไทย ยังปราศจากศักยภาพทั้ง ในด้านเงินทุน ทรัพยากรบุคคล และองค์ความรู้ที่จะใช้ในการลงทุนวิจัยเพื่อการสร้างนวัตกรรม ซึ่งทุก ฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชนของไทยจำ�เป็นต้องร่วมมือกันเพื่อกำ�หนดแนวทางสนับสนุนให้เกิดการสร้าง นวัตกรรมในภาคธุรกิจโดยรวมมากขึ้น...เพื่อเป็นพื้นฐานที่สำ�คัญของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมของ ไทยในการแข่งขันบนเวทีโลกต่อไป

ดร สุทธิกร กิ่งเเก้ว l ผู้เขียน นางสาว พิณภัทร รัตนสุข l นักวิจัย นางสาว วริษฐา โกมลเสน l ผู้ออกเเบบกราฟฟิค ASEAN INNOVATION


ASEAN

INNOVATION

ASEAN

INNOVATION ASEAN INNOVATION


ASEAN Business Center

ASEAN INNOVATION


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.