สถาบันองค์ความรู้แห่งเอเชีย (Asian Knowledge Institute) เล็งเห็นถึงความสําคัญของการรวมตัวทาง เศรษฐกิจภายในภูมิภาคอาเซียน เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันต่อเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน การจัดทําเอกสารเผยแพร่ในครั้งนี้ ซึ่งเป็นฉบับแรกและเป็นหนึ่งในโครงการจัดตั้ง ASEAN Business Center จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะได้รับความรู้และสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ในธุรกิจของท่าน เพื่อสร้างความ ตระหนักรับรู้ถึงโอกาสและความท้าทาย เมื่อประชาคมอาเซียนรวมตัวกันอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2558 นี้
ASEAN Business Center มุ่งหวังให้ผู้ประกอบการธุรกิจหรือผู้ที่สนใจทั้งภายในและภายนอกภูมิภาคอาเซียน ได้หยั่ง เห็นถึงศักยภาพและความสามารถของภูมิภาคอาเซียน โดยทางสถาบันมุ่งมั่นที่จะเป็นศูนย์กลางข้อมูล ในการเผยแพร่ องค์ความรู้ทสี่ ําคัญและข่าวสารความเคลือ่ นไหวในภูมิภาคอาเซียนทีก่ ําลังเติบโต โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ เพื่อสร้างความตระหนักและความสนใจในภูมิภาคอาเซียน เพื่อสร้างความเข้าใจถึงความสามารถและความได้เปรียบในปัจจัยต่างๆของประเทศสมาชิกอาเซียน ที่ สามารถทําให้ประเทศสมาชิกมีความได้เปรียบทางการแข่งขันภายในภูมิภาคอาเซียนด้วย เพื่อวิเคราะห์เจาะลึกถึงปัจจัยที่สง่ ผลกระทบต่อจุดแข็งและจุดอ่อนของอาเซียน เพื่อเป็นศูนย์กลางในการระดมความคิดและต่อยอดไปสู่คาํ แนะนําเชิงนโยบายสําหรับประเทศไทย และกล ยุทธ์การปรับตัวของหน่วยธุรกิจ เพื่อสร้างความพร้อมในการรับมือกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ทั้งในระดับจุลภาคและมหภาค
ประชาชนส่วนใหญ่เคยได้ยินคําว่า อาเซียน จากการก่อตั้งที่ยาวนานกว่า 44 ปี ที่มุ่งส่งเสริมให้เกิดการค้าเสรีภายในอาเซียน หรือเรียกกันว่า AFTA (ASEAN Free Trade Area) และต่อมาพัฒนาเป็นความร่วมมือเพื่อสร้างความแข็งแกร่งในภูมิภาค โดยจัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือประชาคมเศรษฐกิจ (ASEAN Economic Community) ประชาคมด้านสังคมและความมั่นคง (ASEAN Political-Security Community) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN SocialCultural Community) การเร่งให้เกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในพ.ศ. 2555 (ปี 2015) ยิ่งทําให้ภาครัฐ จําเป็นต้องสร้างความสนใจและรับรู้ เพื่อให้ธุรกิจและผู้ประกอบการไทย เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง โอกาสและความท้าทายที่จะมาพร้อมกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึง จําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเร่งศึกษาว่า การประชาสัมพันธ์ที่ผ่านมาประสบความสําเร็จในการกระตุ้นการรับรู้ของคนไทยอย่างแท้จริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงการวางแผนของเจ้าหน้าที่ระดับบริหารเท่านั้น จากผลการสํารวจของสมาคมอาเซียน พบว่า การรับรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 8 จาก 10 ประเทศสมาชิก นอกจากนี้ยังพบอีกว่าเด็กไทยเพียงร้อยละ 38.5 เท่านั้นที่รู้จักธงอาเซียน ยิ่งแสดงให้เห็นว่า ถึงแม้ประเทศไทยจะเป็นหนึ่ง ในห้าของประเทศที่ร่วมก่อตั้งอาเซียน แต่มีคนไทยยังรับรู้เรื่องอาเซียนน้อยมาก สถาบั นองค์ความรู้ แ ห่ง เอเชีย เล็ง เห็น ถึง ความสําคั ญต่อ การเตรีย มตัว รับมื อต่อ โอกาสและความท้าทายที่ ผู้ประกอบการ จําเป็นต้องสร้างความเข้าใจ มากกว่าเพียงการรับรู้เท่านั้น และเห็นความสําคัญต่อการวางแผนรับมือดังกล่าว เนื่องจากความได้เปรียบและ เสียเปรียบในปัจจัยภายในประเทศ ย่อมส่งผลต่อประโยชน์แตกต่างกันไป การขาดการเตรียมแผนรับมือ และความเข้าใจ จึงเป็นสิ่งจําเป็น อย่างยิ่ง
(0= , 5 =
) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มุ่งการเป็น ตลาดและฐานการผลิ ต ร่ ว ม เพื่ อ ขจั ด ข้ อ จํ า กั ด ต่ า งๆ เพื่ อ เคลื่ อ นย้ า ยปั จ จั ย การผลิ ต อย่ า งเสรี ทั้ ง สิ น ค้ า บริ า ร เงินทุน การลงทุนและแรงงานมีฝีมือ จากการประเมิ น ระดั บ การรั บ รู้ ยั ง คง น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยผู้ประกอบการ ไทยมี ก ารรั บ รู้ ที่ แ ตกต่ า งกั น ไปตาม ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นและ ยังคงขาด ความเข้าใจในเบื้องลึก ปัจจัยใดที่ทําให้ผู้ประกอบการไทย ยัง มีความรู้และข้อมูลในระดับน้อยมาก ?
ความได้เปรียบเสียเปรียบในปัจจัยที่ส่งผลต่อการดําเนินธุรกิจ กระทบโดยตรงต่อการตัดสินใจลงทุนในต่างประเทศ นอกจากนี้การขาดการสนับสนุนของภาครัฐเพื่อส่งเสริมด้านเงินทุน ความรู้ ความเข้าใจต่อการลงทุน ยังเป็นประเด็นสําคัญที่จะ ช่วยพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทย เมื่อพิจารณาความได้เปรียบในปัจจัยต่อการดําเนินงานเปรียบเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียน คนไทยยังมองว่า ประเทศไทยยังมีข้อจํากัดทั้งด้านกฎหมายกฎระเบียบ ด้านแรงงาน และด้านผู้บริโภค ในขณะเดียวกันการขาดการวางแผนรองรับ หรือการเพิ่มศักยภาพของธุรกิจ ทําให้ธุรกิจไทยไม่กล้าที่จะขยายไปในตลาดอาเซียน
! " # ... สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีสถานะทางเศรษฐกิจดีที่สุดและมีการเตรียมตัวในการลงทุนมากที่สุดในอาเซียน อย่างไร ก็ตามแต่ละประเทศมีจุดแข็งและความโดดเด่น เพื่อดึงดูดเงินทุนจากการลงทุนทางตรง (Foreign Direct Investment) ส่งผลให้เกิดการแข่งขันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ในมุมมองของผู้ประกอบการไทย ประเทศไทยมีความได้เปรียบทางการแข่งขันด้านแรงงานมีฝีมือ และต้นทุนใน การกระจายสินค้า ผู้ประกอบการไทยเผชิญกับอุปสรรคในนโยบายของภาครัฐและความขัดแย้งทางการเมือง ทําให้ความ เชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติลดลง นอกจากนี้ จากข้อตกลงร่วมในการเปิดเสรีด้านบริการ ประเทศไทยเป็นแกนนํา(country coordinator) ในด้าน การท่องเที่ยว(Tourism) และธุรกิจการบิน(Air transportation) ซึ่งปัจจุบันภาครัฐเร่งผลกดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการ ขนส่งทางอากาศ ประกอบกับคุณภาพของระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ไทยเป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์และยังคงได้เปรียบ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียนด้วย
" % & & # ' ' (' ! " #" $
“ ! "
#$ % & ' ( ) ” ” Source: AKI
#)% * &' ' +! &
การเปิดตลาดเสรีในอนาคต อาจมาพร้อมกับโอกาส ความท้าทาย รวมทั้งการแข่งขันภายในภูมิภาค ในปัจจุบันผู้ประกอบการ ไทยส่วนใหญ่ยังไม่พร้อม และไม่มีการเตรียมแผนรองรับต่อประชาคมเศรฐกิจอาเซียน โดยมีเพียงบางส่วนที่เร่งศึกษาการ ขยายตลาดไปยังภูมิภาคอาเซียนเพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้า ผ่านการร่วมทุน (Joint Venture) การจ้างการผลิต(contracted manufacturing) และการลงทุนโดยตรง (Direct Investment) แม้ภายในภูมิภาคอาเซียน จะมีข้อได้เปรียบด้านปัจจัยการผลิต และต้นทุนของแรงงานที่คล้ายคลึงกัน แต่ผลกระทบที่ ผู้ประกอบการไทยกังวล ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับคุณภาพของสินค้าและประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ดังนั้น สิ่งที่ควร เตรียมตัวมากที่สุด คือการสร้างนวัตกรรมให้กับสินค้าเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม มากกว่าการแข่งขันในสงครามราคาจากการลด ต้นทุนวัตถุดิบ ลดต้นทุนแรงงาน หรือลดคุณภาพสินค้าเท่านั้น
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ มักมองว่าประเทศสมาชิกอาเซียนไม่ใช่คู่แข่งที่น่ากลัวของไทย และการรวมตัวทาง เศรษฐกิจนั้น อาจไม่ได้ช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจขนาดเล็กเกิดปริมาณการค้าเพิ่มขึ้น แม้แต่องค์กรชั้นนําบางแห่ง มีเพียงการ รับรู้และพูดถึงเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และยังคงขาดการวางแผนรับมืออีกด้วย
ความเข้าใจผิดที่คิดว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นเพียงการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตโดยเสรี หรือการ ทลายกํา แพงภาษี ทางการค้ า จะเป็น ภั ยอย่า งมหั นต์ ห ากคนไทยยัง ละเลยอย่ า งเช่น ในปั จจุ บั น ในความเป็ นจริง นั้ น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะก่อให้การเปลี่ยนแปลงมากมาย จากโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการศึกษา ที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ยกตัวอย่างเช่น เยาวชนไทยที่จะเติบโตเป็นกําลังของชาติและเข้าสู่ตลาดแรงงานอาเซียนใน อีก 3 ปีข้างหน้า ยังขาดทักษะในการสื่อสารภาษาต่างชาติและทักษะในการทํางานกับเพื่อนร่วมงานที่หลากหลายและ แตกต่างกันไปในแต่ละเชื้อชาติ เมื่อเยาวชนเติบโตสู่โลกธุรกิจการค้า ก็จะเสียเปรียบ ไม่สามารถแข่งขันและทํางานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ไม่สามารถพัฒนาสู่การเป็นผู้นําในอนาคต ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ไม่เพียงสร้างโอกาสทางการค้าเท่านั้น แต่ยังแฝงด้วยการแข่งขันระหว่างประเทศ สมาชิกที่แย่งชิงความได้เปรียบในธุรกิจ จากจุดแข็งหรือทรัพยากรที่โดดเด่นในแต่ละประเทศ ปัจจุบันประเทศสิงคโปร์ มุ่ง เป็น global citizen และเป็นประเทศที่มีศักยภาพที่สุดในอาเซียน , พม่า พัฒนาประเทศและปรับเปลี่ยนระบบการ ปกครอง , ลาว สามารถทําให้ประชาชนตระหนักถึงการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้อันดับที1่ แล้วไทย ทําอะไร ?
AKI’s ASEAN Business Center ดร.ภูมิพร ธรรมสถิตย์เดช วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ poomporn@gmail.com ดร.การดี เลียวไพโรจน์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ karndee@gmail.com วิสสุตา แจ้งประจักษ์ นักวิจัย สถาบันองค์ความรูแ้ ห่งเอเชีย wisuta@akiedu.org ตวงภัทร์ วิสุทธิธรรม นักวิจัย สถาบันองค์ความรูแ้ ห่งเอเชีย tuangpat@akiedu.org วริษฐา โกมลเสน ผู้ออกแบบกราฟฟิค varitta@akiedu.org
%4 5 (c) 2012 ASEAN Business Center -F %4 5
399 34 ! , # $ %& 10110, ) * %+,% -% : 66 2 611 2888 2# : 66 2 611 2777