B A N G K O K
A R T
A N D
C U L T U R E
C E N T R E -
ห อ ศิ ล ป วั ฒ น ธ ร ร ม แ ห่ ง ก รุ ง เ ท พ ม ห า น ค ร
THE A UTONOMOUS SPIRIT
issue 09
การประกวด “ศิลปกรรมช้างเผือก” ครั้งที่ 4 โดย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เปิดรับผลงานระหว่างวันที่ : 20 - 21 กุมภาพันธ์ 2558 ดาวน์โหลดใบสมัครได้จาก www.thaibev.com, www.bacc.or.th และ Facebook: ศิลปกรรมช้างเผือก สอบถามรายละเอียดเพิม่ เติม หมายเลข: 0-2422-2092, แฟกซ์: 0-2422-2091 อังคาร-เสาร์ 10.30 - 19.00 น. อาทิตย์ 10.30 - 17.30 น. E-mail: ardelgallery@gmail.com
02
baccazine issue 09
baccazine says
การลุกขึ้นมาปฏิวัติวงการศิลปะนับตั้งแต่ยุค 60’s ของศิลปินกลุ่ม Conceptual Art ซึ่งล้มล้างรูปแบบเดิมๆ ของศิลปะที่มุ่งตรงไปสู่การว่าด้วยเรื่องของ “ความงดงาม” และ “การซื้อขาย” มาสู่ “ความคิด” จนก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบแปลกใหม่ ชวนให้ตงั้ ค�ำถาม ขบคิด กระทัง่ วิพากษ์วจิ ารณ์ ขุดรากถอนโคนศิลปะทีก่ ล่าวกันว่าเป็นของ สูงส่ง เต็มเปีย่ มไปด้วยกฎเกณฑ์ทางความงามเพือ่ น�ำไปสูก่ ารค้นพบนิยามใหม่ๆ ในโลกศิลปะ แน่นอนว่า การเปลี่ยนผ่าน การออกจากสิ่งเดิมๆ ไปสู่สิ่งใหม่ ย่อมไม่ใช่การดูแคลน ของเดิมที่มีอยู่ หากแต่เป็นการขยายขอบเขตการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้กว้างออกไป เสนอความเคลือ่ นไหวของแนวคิดและพัฒนาการทางด้านต่างๆ โดยไม่ยดึ ติดกับกรอบเดิมๆ ทางความคิด มีศิลปินหลายคนที่ยังคงเลือกเดินออกจากกรอบและขนบเดิมๆ ด้วยเล็งเห็น แล้วว่าเขาจะค้นพบสิ่งใหม่ๆ เราจึงได้เห็นผลงานศิลปะที่หลากหลายและโดดเด่นก้าวพ้น สุนทรียศาสตร์แบบศิลปะสมัยใหม่ และต่อยอดต่อไปเรื่อยๆ มากยิ่งขึ้นในยุคต่อๆ มา ถึงที่สุดแล้ว งานศิลปะไม่ว่าจะงดงามด้วยรูปแบบหรืองามด้วยความคิด ก็ล้วนแต่ไม่มี ถูก-ผิด ไม่วา่ จะผ่านไปกีย่ คุ สมัย ศิลปินก็ยงั คงสร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนือ่ งได้ในแบบที่ แตกต่าง ตราบใดที่จิตวิญญาณอิสระของพวกเขายังคงโลดแล่น วราภรณ์ พวงไทย บรรณาธิการ ภาพจากปก
By Bangkok Art and Culture Centre (bacc) Magazine for people, three - month free copy Issue 9 / 2014 Bangkok Art and Culture Centre (bacc) is under the supervision of Bangkok Art and Culture Centre Foundation, set up and tremendously supported by Bangkok Metropolitan Administration
Waraporn Puangthai Editor
COVER PHOTO
ศิลปิน : อินสนธิ์ วงศ์สาม ชื่อผลงาน : I Hope My Dream Come True สื่อ : ประติมากรรมไม้ ขนาด : 23x52x45.5 cm ผลิต : ปี 1999 ภาพถ่ายโดย อ.วรนันทน์ ชัชวาลทิพากร
โดยหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร นิตยสารศิลปะเพื่อประชาชน, แจกฟรีรายสามเดือน ฉบับที่ 9 / 2557 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร อยู่ในความดูแลของมูลนิธิ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ด้วยการจัดตัง้ และสนับสนุนหลัก จากกรุงเทพมหานคร
Conceptual Art in the 60s redefined ‘art’, its values and meanings, leading to the innovative and unconventional forms and techniques of creation. It makes people question and think about what art really is. Rules are broken and limitations are lifted off as conceptual artists explore the world with fresh eyes. It gives them freedom and expands their scope of views. We can see diverse schools of art including the contemporary art which still continues to evolve today. In the end, there is no right or wrong, pretty or unsightly artwork as art itself is timeless and artists remain free in their spirit to express themselves through their work.
Artist : Inson Wongsam Title : I Hope My Dream Come True Media : Wood sculpture Size : 23x52x45.5 cm Year : 1999 Photograph by Woranan Chatchawanthiphakorn
บรรณาธิการอ�ำนวยการ ลักขณา คุณาวิชยานนท์
Managing Editor Luckana Kunavichayanont
บรรณาธิการ วราภรณ์ พวงไทย
Editor Waraporn Puangthai
อาร์ตไดเรคเตอร์ กฤษณะ โชคเชาว์วัฒน์
Art Director Krisana Chokchaowat
ด�ำเนินการจัดท�ำและจัดพิมพ์ บริษัท แจสมิน มีเดีย จ�ำกัด โทรศัพท์ : 086 339 1181, 083 130 2744 โทรสาร : 02 254 6381
Producer Jazzmin Media Co.,Ltd. Tel : 086 339 1181, 083 130 2744 Fax : 02 254 6381
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ : 02 214 6630 - 8 โทรสาร : 02 214 6639 Website : www.bacc.or.th www.facebook.com/baccpage
Bangkok Art and Culture Centre Tel : 02 214 6630 - 8 Fax : 02 214 6639 Email : info@bacc.or.th
issue 09 baccazine
0 13
02
baccazine issue 09
contents
issue 09 flash lights theme cover did you know world of art world artist in the mood of art
04 06 14 16 20 22
the sketch my studio places for passion bacc exhibition idea of life art analyze
28 30 34 36 38 40
art of life bacc shop bacc calendar network calendar
06
22
36
16
30
38
20
34
42 issue 09 baccazine
42 49 50 52
0 3
flash light
1
2 4
3
1 bacc literature คุณศักดิ์สิริ มีสมสืบ (ซ้าย) นักเขียนชื่อดัง ก� ำ ลั ง บรรยายให้ ค วามรู ้ กั บ ผู ้ เ ข้ า อบรมใน โครงการ อบรมวรรณกรรมสร้างสรรค์ ปี 3 (Bangkok Creative Writing workshop) ร่วมด้วย คุ ณ ปราบดา หยุ ่ น (ขวา) วิ ท ยากรประจ� ำ โครงการ ณ ห้อง Friend of bacc ชั้น 6 31 May 2014, bacc literature Saksiri Meesomsueb (left), the famous writer, gave a lecture to the participants in the 3rd Bangkok Creative Writing Workshop. Prapda Yoon (right) was also there in the Friend of BACC Room, 6th Floor, as the workshop’s main lecturer. __ 31 พ.ค. 57
17 พ.ค. 57 bacc cinema 2 นนทรี นิมิบุตร (ขวา) ผู้ก�ำกับภาพยนตร์ ชื่อดัง ร่วมพูดคุยในงาน เทศกาลภาพยนตร์ คัดสรร Cinema diverse Director’s Choice ชึ่งน�ำเสนอเรื่อง The Good, The Bad, The
04
baccazine issue 09
6
Weird เป็น ภาพยนตร์คาวบอยจากประเทศ เกาหลี ก�ำกับโดย คิม จี วูน (ซ้าย) ณ ห้อง ออดิเทอเรียม ชั้น 5 17 May 2014, bacc cinema The Thai movie director, Nonzee Nimibutr (right), joined the panel discussion at the Cinema Diverse Director’s Choice movie festival held at the 5th floor Auditorium to talk about the movie “The Good, The Bad”, directed by Kim Jee Woon (left). __
นิทรรศการเป็นกลุ่มแรก ก่อนที่จะเปิดให้ชม อย่างเป็นทางการ 4 April 2014, bacc Exhibition The architect, Toby Blunt (left) and Sunphol Sorakul (right) gave a special interview during the press event for the exhibition “Fosters and Partner: the Art of Architecture”, which presented worldclass architectural works for the first time in Thailand. __
3 bacc exhibition นายโทบี้ บลั น ท์ สถาปนิ ก ชื่ อ ดั ง (ซ้ า ย) พร้อมด้วยนายสรรพล ศรกุล (ขวา) ก�ำลังให้ สัมภาษณ์พเิ ศษกับสือ่ มวลชนพร้อมกับแถลงข่าว การจัดนิทรรศการ ฟอสเตอร์แอนด์พาร์ทเนอร์ : ศิลปะแห่งสถาปัตยกรรม นิทรรศการที่แสดง ผลงานทางสถาปัตยกรรมระดับโลก ครั้งแรก ในประเทศไทย พร้ อ มกั บ พาสื่ อ มวลชนชม
คุ ณ อภิ รั ก ษ์ โกษะโยธิ น ประธานมู ล นิ ธิ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร พบปะ พู ด คุ ย พร้ อ มให้ ค� ำ แนะน� ำ กั บ น้ อ งเยาวชนใน โครงการ BACC Training of Art Manager 2014 (TAM) รุ่นที่ 1 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่ง กรุงเทพมหานคร 30 May 2014, bacc Education Apirak Kosayodhin, the Chairman of
4 เม.ย. 57
30 พ.ค. 57 bacc education
4
5
6
7
Bangkok Art and Culture Centre Foundation, met and spoke with youths at BACC to provide them advice for the project “BACC Training of Art Manager 2014 (TAM)”. __ 15 พ.ค. 57
5
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุ ม ารี เสด็ จ ฯทรงเปิ ด นิ ท รรศการและ พระราชทานรางวัล “ศิลปกรรมช้างเผือก” ครัง้ ที่ 3 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 15 May 2014 H.R.H Princess Maha Chakri Sirindhorn presided at the opening ceremony and bestowed awards to artists at the 3rd White Elephant Art Award at BACC. __
นิทรรศการ Green Sun ของนายเถา โจว (ซ้าย) ศิลปินที่ได้รบั รางวัล Han Nefkens Foundation - BACC Award for Contemporary Art ร่วมด้วย ผู้บริหารหอศิลปกรุงเทพฯ ณ ห้องสตูดิโอ ชั้น 4 5 June 2014, bacc Arts Network Exhibition Erik van Ginkel (second from left), the Vice-President of Han Nefkens Foundation, presided at the opening ceremony at the 4th floor Studio Room for the exhibition by the artist Tao Zhou (left). This Green Sun Exhibition hosts works of the artist who won the Han Nefkens Foundation - BACC Award for Contemporary Art award. __
สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจ�ำประเทศไทย (คนที่ 4 จากขวา) ร่ ว มเป็ น ประธานเปิ ด นิทรรศการ ฟอสเตอร์แอนด์พาร์ทเนอร์ : ศิลปะ แห่งสถาปัตยกรรม พร้อมด้วยผู้บริหารหอศิลป กรุงเทพฯ และแขกผู้มีเกียรติจ�ำนวนมาก 1 May 2014, BACC Exhibition Apirak Kosayodhin (5th from left), the Chairman of Bangkok Art and Culture Centre Foundation, and Bradley Jones (4th from right), the Director of Trade and Investment of British Embassy, presided at the opening ceremony of “Fosters and Partner: the Art of Architecture”. They were joined by the executives of the BACC and honorable guests. •
7 1 พ.ค. 57 bacc exhibition นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ประธานมูลนิธิ 5 มิ.ย. 57 bacc arts network exhibition หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (คนที่ อิริค แวน กินเกิล (คนที่ 2 จากซ้าย) รอง 5 จากซ้าย) และ แบรดลีย์โจนส์ ผู้อ�ำนวยการ ประธานมูลนิธิฮานเนฟเก็นส์ เป็นประธานเปิด แผนกการพาณิ ช ย์ และการลงทุ น ประจ� ำ 6
issue 09 baccazine
0 5
theme cover
60 6
baccazine issue 09
อินสนธิ์ วงศส ์ าม จิตวิญญาณอิสระ COLUMNIST : LUGPILW JUNPUDSA PHOTO : BACC / ANUCH
จิตวิญญาณอิสระ คือ สภาวะวิถท ี ค ี่ วรคูก ่ บ ั ศิลปิน
ธรรมชาติของศิลปินต้องการหนทางทีเ่ อือ้ เฟือ้ และโอบอุม้ ภาวะจิตใจภายในให้มพี นื้ ทีแ่ ห่งความคิดฝัน เพือ่ สร้างสรรค์จนิ ตนาการอันแรงกล้า ล�ำ้ ลึก เฉพาะตัว อย่างไม่มที สี่ นิ้ สุด แต่จะมีศลิ ปินสักกีค่ นทีส่ ามารถ ก�ำหนดเส้นทางเดินตามฝันนี้ได้ หากยังต้องกิน ต้องอยู่ ต้องเป็นครู เป็นหัวหน้า เป็นลูกน้อง เป็นเจ้านาย ต้องเป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นลูก มีภาระหน้าที่ผูกพันที่มิอาจหันตัวหลุดออกจากสภาวะนี้ได้ ยิ่งหากเป็น ประเทศไทยเมือ่ 50 กว่าปีกอ่ นคงยิง่ หมดหวัง ชายคนหนึง่ ผูซ้ งึ่ ไม่เคยผูกมัดตัวเองอยูก่ บั สิง่ ใดนอกจากศิลปะ เมือ่ อายุ 28 ปีเขาตัดสินใจทีจ่ ะเดินทาง ข้ามไปอีกซีกโลกเพือ่ ค้นหาความจริงทีค่ รูฝรัง่ ได้สอนในชัน้ เรียน เขาคนนัน ้ คือ
อาจารย์อนิ สนธิ์ วงศ์สาม ท่านเกิดเมือ่ วันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2477 เป็นผูส้ บื เชือ้ สายตระกูลช่างฝีมอื ชัน้ สูงจากพ่อหมืน่ และแม่เปา วงศ์สาม ทีย่ า้ ยแผ่นดินมาจากเมืองสิบสองปันนา ในมณฑลยูนานตอนใต้ ของประเทศจีนสูต่ อนเหนือของประเทศไทย สร้างวัฒนธรรมของคนยองขึน้ มาใหม่บนผืนดินบ้านป่าซาง ต�ำบลบ้านแป้น อ�ำเภอเมือง จังหวัดล�ำพูน จบการศึกษาจากรัว้ วังท่าพระ วิชาเอกประติมากรรม คณะ จิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นเวลากว่า 50 ปีทศี่ ลิ ปินอาวุโสอาจารย์อนิ สนธิ์ วงศ์สาม ได้ทมุ่ เทพิสจู น์ให้เห็นถึงความรัก ความ ศรัทธาและยืนหยัดอยูบ่ นเส้นทางศิลปะในฐานะศิลปินอิสระ ได้สร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนือ่ งยาวนาน เป็นทีย่ อมรับกันในวงการศิลปะทัง้ ในและต่างประเทศ ทัง้ ผลงานประติมากรรมและภาพพิมพ์ในแนวทาง ศิลปะนามธรรม จนได้รบั ยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) ประจ�ำ ปีพทุ ธศักราช 2542 และได้กอ่ ตัง้ มูลนิธอิ ทุ ยานธรรมะและสวนมรดกบนเนือ้ ที่ 16 ไร่ ภายในบ้าน เป็น โครงการวัฒนธรรมเพือ่ สันติศกึ ษาของยูเนสโก้ ในรูปแบบการสร้างสรรค์เชิงอนุรกั ษ์ เพือ่ เป็นสถานที่ พบปะแลกเปลีย่ นและพัฒนาจิตส�ำนึกทีด่ ีให้กบั ท้องถิน่ และปัจจุบนั อาจารย์อนิ สนธิย์ งั คงสร้างสรรค์พฒ ั นา ผลงานอย่างต่อเนือ่ งภายใต้ความสงบของธรรมชาติในชนบทบ้านป่าซาง จังหวัดล�ำพูน
issue 09 baccazine
07 7
ด้วยแรงบันดาลใจ
ในวัย 28 ปีหนุม่ ล้านนามีความปรารถนาอัน แรงกล้าที่จะเดินทางไปยังบ้านเกิดอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ด้วยความอยากรู้ อยากเห็นในเรือ่ งราว ประวัติศาสตร์ศิลป์ ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศ อิตาลี ที่ครูฝรั่งพร�่ำสอนและด้วยความสงสัย ว่าที่จริงแล้วท่านเป็นคนต่างชาติ ท�ำไมต้องมา สอนเด็กไทย ท�ำไมต้องท�ำให้เป็นศิลปะสมัยใหม่ ท�ำไมไม่สอนให้เป็นคนไทย อาการต่อต้านในใจ และออกจะเป็นศัตรูนดิ ๆ กับอาจารย์ศลิ ป์ในตอนนัน้ ท�ำให้อาจารย์อินสนธิ์ มีแรงจูงใจอยากที่จะไป ให้เห็นของจริง เดินทางไกลจากไทยสูฟ ่ ลอเรนซ์
ด้วยความเป็นคนรักอิสระและชอบเดินทาง พาหนะคู่ ใจที่ต้องการใช้ในการเดินทางครั้งนี้ จึงเลือกวิถีทางที่ผิดแปลกแตกต่างจากคนทั่วไป นัน่ คือรถสกูตเตอร์สองล้อ ด้วยเป้าหมายของการ เดินทางในครั้งนี้มิได้ต้องการเดินทางเพื่อให้ไป ถึงทีห่ มายด้วยความรวดเร็วเพียงอย่างเดียว แต่ อาจารย์อินสนธิ์ต้องการที่จะสัมผัสชื่นชมความ
08 8
baccazine issue 09
งดงามของธรรมชาติ วัฒนธรรม ประเพณี วิถี ชีวติ ความเป็นอยูข่ องผูค้ นต่างบ้านต่างเมืองต่าง ภาษาไปตลอดสองข้างทาง จึงเขียนโครงการ เดินทางด้วยรถสกูตเตอร์เพือ่ เขียนรูปและแสดง งาน พร้อมกับเตรียมผลงานภาพพิมพ์กว่า 200 ชิ้นม้วนไปด้วยเมื่อถึงประเทศไหนก็แสดงงานที่ ประเทศนัน้ อาจารย์อนิ สนธิ์ได้นำ� โครงการนีเ้ สนอขอทุน บริษัทเบอลี่ยุคเกอร์ซึ่งเป็นตัวแทนจ�ำหน่ายรถ จักรยานยนต์สองล้อสกูตเตอร์ รัมเบตต้าทีผ่ ลิต ในอิตาลี มีผจู้ ดั การทีก่ รุงเทพฯและเป็นเพือ่ นกับ อาจารย์ศลิ ป์ จึงได้การรับรองพร้อมให้รถสกูตเตอร์ มา 1 คันเพื่อเป็นตัวแทนหรือพรีเซ็นเตอร์รัม เบตต้าขับจากไทยกลับไปอิตาลีบ้านเกิดของรัม เบตต้าอีกครัง้ ได้เวลาเดินทาง รถสกูตเตอร์พงุ่ ทะยานออก จากกรุงเทพฯด้วยปณิธานอันแรงกล้ามุ่งหน้า ลงใต้ไปปาดังเบซาร์เพื่อรอขึ้นเรือที่ปีนังข้ามไป อินเดีย มุ่งหน้าไปทางตะวันตก ผ่านปากีสถาน
อิหร่าน ตะวันออกกลาง ตุรกี กรีก จนถึงอิตาลี และประเทศอืน่ ๆ ทัง้ ในยุโรปและอเมริกา ตลอด ระยะเวลาการเดินทางอาจารย์อนิ สนธิ์ได้เขียนรูป และแสดงผลงานในเมืองต่างๆ หลายแห่ง แต่ละแห่ง จะขายรูปได้ประมาณ 2-3 รูปเพือ่ เก็บไว้เป็นทุน ในการเดินทางต่อ การเดินทางไปอิตาลีครั้งนี้ ใช้เวลาร่วม 2 ปีและอาศัยอยู่ในยุโรป 4 ปี จากนัน้ ออกเดินทางจากฝรั่งเศสไปอเมริกา สู้ชีวิตเป็น ศิลปินอิสระในฐานะประติมากรไทยร่วม 8 ปี แล้วจึงเดินทางกลับประเทศไทยในปี พ.ศ.2517 จากการเดิน ทางโลดแล่นในต่างแดนร่วม 12 ปีเต็ม อาจารย์อินสนธิ์ วงศ์สามได้ซึมซับ ประสบการณ์ทั้งทุกข์และสุข ค�่ำไหนนอนนั่น ตัง้ แต่ บนเตียง บนกระสอบป่าน ไม่มผี า้ ห่ม นอน ตามต้นไม้ขา้ งทาง ตามโบสถ์ฮนิ ดู ใต้สะพาน อด บ้าง กินบ้าง ต้องเก็บเงินไว้เพือ่ ไปให้ถงึ ทีห่ มาย ต้องขีร่ ถตามรถบรรทุกเพราะรถบรรทุกมักจะไป เมืองใหญ่ พอเจอทางแยกก็ใช้เหรียญเสีย่ งทาย ว่าจะไปทางไหน ได้วาดรูปแลกกับค่าซ่อมรถ ได้
Theme Cover
เป็นเด็กเสิรฟ์ ในร้านอาหาร เป็นบาร์เทนเดอร์ชง เหล้า เป็นกุก๊ ได้เรียนกราฟฟิกดีไซน์ ได้เปิดร้าน เครื่องประดับจากภูมิปัญญาเชิงช่างที่พ่อสอน มา ได้มโี อกาสแสดงงานในแกลเลอรีส่ มัยใหม่ที่ อิตาลีบา้ นเกิดอาจารย์ศลิ ป์สมใจ เป็นการแสดง งานคู่กับอาจารย์ด�ำรง วงศ์อุปราช ซึ่งตอนนั้น ท่านก�ำลังศึกษาอยู่ที่อิตาลี และสามารถพูดได้ หลายภาษาทั้งอังกฤษ อิตาเลี่ยน ฝรั่งเศสและ กรีก จากการเดินทางบนถนนสายศิลปะในครัง้ นี้ ท�ำให้ได้ซมึ ซับประสบการณ์ทางศิลปะอันหลากหลาย ที่ ช ่ ว ยขั บ เคลื่ อ นให้ ป ระติ ม ากรผู ้ มี ไ ฟในการ สร้างสรรค์อย่างแรงกล้าสามารถพัฒนาผลงาน ตนสูร่ ปู แบบงานนามธรรมในระดับสากล
ทางศิลปะทีด่ ี บวกกับการเป็นนักเดินทางกว่า 12 ปี ที่ ได้พบปะผู้คน บ้านเมือง ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ความเชือ่ ต่างๆ ทีเ่ ปิดหูเปิดตาได้อย่าง กว้างไกล รวมกับรากเหง้าของความเป็นช่างชัน้ สูง ที่ได้สบื ทอดจากพ่อมาตัง้ แต่วยั เยาว์ จึงท�ำให้เป็น ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการสร้างสรรค์รูปทรง และการเลือกใช้วสั ดุเป็นอย่างดี พืน้ ที่ เวลาและสถานการณ์เป็นองค์ประกอบ ส�ำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานของอาจารย์ อินสนธิ์ กล่าวคือ จะใช้บริบทของชีวิตตนเอง ก�ำหนดวัสดุ เทคนิค วิธกี ารการสร้างสรรค์ผลงาน เช่น เมื่ออยู่กับธรรมชาติก็จะใช้วัสดุที่มาจาก ธรรมชาติเช่นไม้หรือหิน เมือ่ ครัง้ อยูอ่ เมริกาก็จะ ผลงาน ทีม ่ า - ทีไ่ ป ใช้วสั ดุทถี่ กู ผลิตด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยี “ไม่ตอ้ งถามหรอกว่าท�ำอะไร เดีย๋ วจะท�ำให้ด”ู เช่นโลหะ และเมื่อจังหวะของความคิดพร้อม หากใครถามหาความหมายของผลงาน นีค่ อื พลังในการสร้างสรรค์จะถูกปลดปล่อยออกมา ค�ำตอบทีท่ า่ นจะได้รบั อย่างถล่มทลายอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยและ อาจารย์ อิ น สนธิ์ วงศ์ ส าม เป็ น ลู ก ศิ ษ ย์ เต็มไปด้วยคุณภาพ อาจารย์ศลิ ป์ พีระศรีในรุน่ แรกๆ มีทกั ษะพืน้ ฐาน ความเป็นนามธรรมในรูปธรรม
ตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาไปจนถึงช่วงกลาง คริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปะตะวันตกได้รบั อิทธิพล ในการสร้างทัศนมิตทิ มี่ คี วามสมจริงให้มากทีส่ ดุ ในขณะทีน่ อกฝัง่ ยุโรปเน้นแนวทางอันหลากหลาย ในการอธิบายทัศนะประสบการณ์ของตัวศิลปิน จนถึ ง ปลายคริ ส ต์ ศ ตวรรษที่ 19 ด้ ว ยความ เปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์และ ปรัชญาเป็นต้นตอที่ท�ำให้ศิลปินหลายคนรู้สึก ถึงความต้องการที่จะสร้างสรรค์ศิลปะแนวใหม่ ที่ มี ค วามหลากหลายเพื่ อ สะท้ อ นให้ เ ห็ น การ เปลี่ยนแปลงทางสังคมและปัญญาในแง่มุมของ วัฒนธรรมยุโรป ซึง่ ในช่วงขณะเวลานัน้ อาจารย์ อินสนธิ์ วงศ์สาม ก็ได้อยู่ ในแวดล้อมของการ เปลี่ยนแปลงของกระแสของศิลปะนามธรรมนี้ เช่นกัน และหลังจากที่อาจารย์อินธิ์สนกลับมา จากการเดินทางค้นหาประสบการณ์ทางศิลปะอัน ยาวนานกว่า 12 ปี ท่านไม่เคยย้อนกลับไปท�ำงาน แนวเหมือนจริงอีกเลย การลดทอนรูปทรง เป็นวิธกี ารทีอ่ าจารย์อนิ สนธิ์
issue 09 baccazine
09 9
10
baccazine issue 09
Theme Cover
ไม่ตอ ้ งถามหรอกว่าท�ำอะไร เดีย ๋ วจะท�ำให้ดู
เลือกใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม นามธรรม สกัดให้เหลือเพียงส่วนที่ต้องการ แสดงออก เผยให้เห็นรูปทรงต่างๆที่เกาะเกี่ยว เคลีอ่ นไหวสัมพันธ์กนั แสดงมิตทิ งี่ ดงาม เรียบง่าย และเป็นสากล ผลงานจะเน้นคุณค่าแห่งสัจธรรม ของความงามจากเนือ้ แท้วสั ดุและรูปทรง แสดง ให้เห็นถึงความเคารพและเชิดชูธรรมชาติ
ประติมากรรมกับความห่วงใยเพื่อนมนุษย์ และโลกใบนี้
การสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมใน แต่ละชุดของอาจารย์อินสนธ์ วงศ์สาม ล้วนมี ความสัมพันธ์กับความล�้ำลึกจากจิตใจภายใน ของมนุษ ย์กับธรรมชาติ ด้วยความที่เกิดและ เติบโตอยู่ในเบ้าหลอมของวิถวี ฒ ั นธรรมพืน้ ถิน่ ใน ชนบททีอ่ าศัยแอบอิง พึง่ พิงธรรมชาติ ธรรมชาติ จึงเป็นประเด็นทางความรู้สึกภายในจิตใจที่ ได้ หยิบยกออกมาแสดงผ่านผลงานศิลปะเสมอ เช่น ประติมากรรมไม้ชดุ ห้วยไฟ (2517-2520) เป็น ชุดประติมากรรมเดีย่ ว สร้างสรรค์จากเศษซาก ตอไม้ขนาดใหญ่ ด้วยการก�ำหนดสร้างรูปทรง ใหม่โดยไม่ฝนื รูปทรงเดิม โดยใช้วธิ กี ารแกะสลัก
ขัดเกลาสร้ า งคุ ณค่ า คื น ชี วิ ตให้ กั บ รากไม้ นั้ น อีกครัง้ ประติมากรรมไม้แบบกลุม่ (2540-ปัจจุบนั ) เป็นการสร้างความสัมพันธ์ของประติมากรรม ด้ ว ยรู ป ทรง พื้ น ที่ ว ่ า ง ระนาบ พื้ น ผิ ว และ เส้น ที่สามารถจับขยับปรับเปลี่ยนทิศทางการ เคลื่อนไหวได้ โดยใช้เทคนิควิธีการเข้าไม้สลัก เดือย ในผลงานชุดนีม้ กี ารวางรูปแบบแนวคิดไว้ ชัดเจนในการสร้างสรรค์รูปทรงเพื่อให้ผลงานมี ความประสานกลมกลืนกันอย่างงดงาม ประติมากรรมโลหะขนาดเล็กชุดใต้ทอ้ งทะเล (2511-2517) เป็นโครงการสร้างประติมากรรม ใต้นำ�้ ทีท่ ำ� ไว้กว่า 400 ชิน้ ในช่วงทีอ่ าจารย์อนิ สนธิ์ ใช้ชวี ติ อยูท่ มี่ หานครนิวยอร์กเมืองใหญ่ทเี่ ต็มไปด้วย ปั ญ หาสั ง คมและมลภาวะทางสิ่ ง แวดล้ อ ม อาจารย์ อิ น สนธิ์ ก ล่ า วถึ ง ว่ า “จะท� ำ ยั งไงให้ ประติมากรรมอยู่ใต้ทอ้ งทะเลได้ ปลาอยูไ่ ด้ ถ้า ปลาตายคนในโลกก็ตาย” ผลงานประกอบสร้างด้วย วัสดุที่เป็นผลผลิตจากเทคโนโลยีที่ท�ำด้วยโลหะ ส�ำเร็จรูป เช่น รูปทรงวงกลม ทรงกระบอก ทรงกรวย ทรงสีเ่ หลีย่ มน�ำมาเชือ่ มต่อเป็นผลงาน ประติมากรรมนามธรรมที่ ให้คุณค่าด้วยการคง
รูปและเนือ้ แท้วสั ดุซงึ่ เป็นวิธกี ารสร้างเดียวกันกับ ประติมากรรมไม้ เพียงเน้นจังหวะการจัดวางรูป ทรงองค์ประกอบให้มีความสัมพันธ์กัน ผลงาน ชุดนี้มีเป้าหมายที่จะสร้างจิตส�ำนึกที่ช่วยกระตุ้น มวลมนุษยชาติให้ได้ตระหนักถึงปัญหาและการ มีสว่ นร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคมสิง่ แวดล้อม และวิกฤติทางธรรมชาติ ซึ่งใช้เวลาสร้างสรรค์ ทั้งกลางวันและกลางคืนกว่า 6 ปี นอกจาก ประติมากรรมชุดใต้ทอ้ งทะเลแล้วอาจารย์อนิ สนธิ์ ยั ง มี โ ครงการสร้ า งประติ ม ากรรมในอวกาศ ซึ่งเป็นแนวคิดที่น่าสนใจยิ่งต่อวงการศิลปะใน อนาคต ฝากถึงศิลปินรุน ่ ใหม่
“อย่าเพิง่ ตาย ให้ตงั้ ใจท�ำงาน” ด้วยจินตนาการและความมุง่ มัน่ อันแรงกล้า การ เดินทางครัง้ นีแ้ ม้จะมาไกลร่วม 80 ปีเต็มแล้ว แต่ ทุกวัน อาจารย์อนิ สนธิ์ วงศ์สาม ยังท�ำงานเหมือน คนหนุ่ม ที่มีจิตวิญญาณอิสระไว้ให้เพียงศิลปะ อย่างไม่เคยหมดสิน้ issue 09 baccazine
1 1
THE FREE SPIRIT OF INSON WONGSAM The free spirit – the way of artist’s life
Naturally, artists need to nurture their mind and spirituality to be able to endlessly grow their imagination and creativity. Many are hindered by various limitations which stop them from their dreams. Fifty years ago, a 28-year-old man decided to free himself from all confines and travel to the other part of the world to seek the truth. And that man is…
Inson Wongsam was born on 9 September 1934 to a highly skillful craftsmen family which migrated from the south of China to Lamphun Province in Thailand. He then received education from the Faculty of Painting Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University. For more than 50 years, this master has proven his passion, faith and dedication in art as a freelance artist. His sculptures and abstract graphic arts are highly commended nationwide and worldwide. He has been awarded the National Artist in 1999 and founded the Dhamma Park Foundation and Heritage Park in Lamphun to promote peace, experience the beauty of nature, foreign conservation and creativity among the local culture and way of living along the way. He community. painted and exhibited more than 200 pieces With inspiration of prints upon his arrival in each country. Back then when he was 28 years old, Inson Wongsam proposed for a Rambeta his curiosity about Thailand’s Father of Art, scooter from Berli Jucker Public Co. Ltd. He Silpa Bhirasri (born Corrado Feroci) set him rode this Italian-made scooter from Thailand on his journey to Florence. He hoped to back to its home in Italy. understand why this Italian-born art master He rode the scooter from Bangkok and had done so much for Thailand through his headed down to Penang to get on a ship support for the development of formal art to India. Then he passed through Pakistan, education in Thailand. Iran, Middle East, Turkey, Greece, Italy and Long journey to Florence other European countries and America. He Because of his passion for traveling, painted and exhibited his works in various he chose a scooter as his vehicle to travel cities. Income gained from selling these from Thailand to Italy. He wanted to also works financed his two-year trip. He stayed 4 more years in Europe before setting off to France and America. After 8 years as a sculptor, he returned home in 1974. 12
baccazine issue 09
Theme Cover
During his 12 years of adventure and tough life in the foreign lands, he went through hungry, happiness, and various emotions. He earned a living as a bartender, chef, waiter, graphic designer, painter and owner of handmade ornament shop. His works were exhibited in Italy together with Damrong Wongupparat. He can speak many languages including English, Italian, French and Greek. All these experiences shaped his character and drove him towards world-class art creation. The origin of art
Inson Wongsam is one of the early students of Silpa Bhirasri. His experiences as a traveler combined with his roots and skills transmitted from his father since young made him an expert when it comes to art. He takes the setting and surrounding context as an integral element in the production. Natural materials like wood and rocks are used when he is in the natural environment. Industrial materials like metal were used when he was in the States. He unleashes his creativity to make unique works that are in harmony with his surroundings. Abstract elements in concrete work
The western art in the Renaissance Era until the middle of the 19th century emphasizes on realistic portrayal of subjects. However, the technological advancement since the late 19th century led artists to the
new school of art which reflects more on the social phenomenon. Inson Wongsam is one of the people who are inspired by this change in Europe. They discover the beauty and language of abstract act. He minimizes shapes and forms, and leaves only the fundamental elements in his abstract sculptures to bring out the simplicity and beauty of shapes and materials. They are testimony of respect and admiration for nature. Care for mankind and the world
Each sculpture created by Inson Wongsam reflects the relationship between man and nature. As he grew up amidst nature, he is deeply connected to the greenery as it is often portrayed in his works. When he carved a piece of wood, he first studied its original form in order to maintain its spirit and character. His metal sculpture exhibition, which is comprised of more than 400 pieces and displayed underwater, was inspired by the time when he was residing in New York. He aimed to raise the awareness for the urgent need for the protection of the natural environment. He spent more than 6 years to complete this artwork. Message to the new generation of artists
“Don’t die just yet. And work hard.” Inson Wongsam, who is 80 years old today, is still as active as he was 50 years ago. His free spirit continues to unleash creativity and passion in abstract art as ever.
•
นิทรรศการ จิตวิญญาณอิสระ โดย อินสนธิ์ วงศ์สาม จัดแสดง ตัง้ แต่วน ั ที่ 12 กันยายน – 23 พฤศจิกายน 2557 เปิดนิทรรศการวันที่ 11 กันยายน 2557 เวลา 18.30 น. ณ ชัน ้ 9 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สอบถามเพิม ่ เติม โทร. 02 -214-6630-8
INSON WONGSAM The Autonomous Spirit
12 September, 2014 -23 November, 2014 Invite you to an opening of the exhibition on September 11, 2014 at 6.30 pm For more information Tel. 02-214-6630-8
issue 09 baccazine
1 3
did you know?
FREE SPIRIT
COLUMNIST : MODDUM
ในโลกใบนีม ้ ผ ี ค ู้ นมากมายทีไ่ ด้รบ ั ขนานนามว่าศิลปิน ทว่า มีไม่มากนักทีห ่ าญกล้าในการสร้างสรรค์แนวทางใหม่ ที่ขัดแย้งหรือแหวกจากขนบแบบดั้งเดิม ฝ่ารสนิยมความงามตามแบบแผนโดยปราศจากการถูกคุมขัง ด้วยพลังของสังคมรอบข้าง และเขาเหล่านีค ้ อ ื บุคคลซึง่ เลือกทีจ่ ะเดินตามเส้นทางของตัวเอง ด้วยจิตวิญญาณ อิสระอย่างจริงแท้
The following artists are known for their bold and unconventional styles of art.
They are icons of free spirit in the world of art.
3 โคลด โมเน่ต์ (Claude Monet) ไม่มีเขา เราไม่รู้จักอิมเพรสชั่นนิสต์ (ค.ศ.1840-1926)
ศิลปินชาวฝรัง่ เศสทีพ่ ลิกขนบของงานศิลปะ ในโลกตะวันตกด้วยการสร้างสรรค์ผลงานทีต่ อ่ มา ถูกเรียกว่าศิลปะแนวอิมเพรสชั่น นิสต์ (ลัทธิ ประทับใจ) เขาต้องต่อสู้ในสังคมที่ยังยึดติดกับ แบบแผนงานศิลปะทีเ่ น้นความงามสมบูรณ์แบบ ไร้ทตี่ ิ แต่โมเน่ตเ์ ลือกทีจ่ ะถ่ายทอดความงดงาม ตามอย่างทีด่ วงตามองเห็น โดยใช้สที สี่ ว่างสดใส ก้าวเท้าออกไปวาดภาพกลางแจ้งมากกว่าใน สตูดโิ ออย่างทีเ่ คยนิยมกัน จึงมักเป็นภาพทิวทัศน์ อันน่าประทับใจ น�ำเสนอความงามในสิง่ ธรรมดา สามัญ หากโมเน่ตย์ ดึ ติดอยูก่ บั ขนบเดิมๆ เลือก ทีจ่ ะเดินตามรอยศิลปินคนอืน่ อย่างไร้จติ วิญญาณ อิสระในตัวเอง โลกใบนี้จะไม่มี ใครรู้จักค�ำว่า อิมเพรสชัน่ นิสต์ • ผลงานเด่น : Sunrise (ค.ศ.1872) Claude Monet (1840-1926)
จิ ต รกรและกวี ช าวจี น ยุ ค ราชวงศ์ ชิ ง ผู ้ สร้างสรรค์ผลงานอันเป็นอิสระต่อวิถแี ห่งงานศิลป์ แบบจีนในยุคก่อนหน้าซึง่ นิยมใส่รายละเอียดต่างๆ มากมายในภาพเขียน โดยเฉพาะฉากหลังทีม่ กั เป็น ภาพต้นไม้ดอกไม้ ทว่าศิลปินท่านนีก้ ลับวาดภาพ โดยลดทอนรายละเอียดลงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เอกลักษณ์ของเขาคือฉากหลังว่างเปล่าและภาพ สัตว์ดวงตากลอกขึ้นด้านบน ราวกับเสียดเย้ย สังคมที่หลอกลวง ไร้ความจริงใจ ถือเป็นการ หันหลังให้งานในขนบเดิมๆอย่างไม่แยแส • ผลงานเด่น : Two birds
As the Father of Impressionism, this French artist broke all the rules of traditional ชาราคุ (Toshusai Sharaku) and calculated paintings to reveal what his ภาพพิมพ์มีพลัง (คริสต์ศตวรรษที่ 18) eyes could behold. His works often used ศิลปินญี่ปุ่นยุคเอโดะผู้มีประวัติลึกลับ ทว่า vibrant colors to portray the light and beauty ได้ฝากผลงานภาพพิมพ์ (ukiyo-e) อันเลือ่ งชือ่ of the moments. บ่งบอกถึงความไม่ยดึ ติดกับจารีตนิยมซึง่ ศิลปินมัก • Famous work : Sunrise (1872) สร้างงานเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับชนชั้นสูง ศาสนา และปรัชญา ในขณะทีง่ านของชาราคุเป็นอิสระ จากแนวคิดเหล่านั้นอย่างสิ้นเชิง เพราะเขา สร้างสรรค์งานทีส่ ะท้อนถึงวิถชี วี ติ ชนชัน้ ล่างอย่าง นักแสดงละครคาบูกิ ภาพของผูค้ นอันเปีย่ มไปด้วย พลังและการแสดงอารมณ์อย่างแจ่มชัด นับเป็น ภาพเสมือนจริงอย่างทีย่ คุ ก่อนหน้าแทบไม่ปรากฏ • ผลงานเด่น : Otani Oniji III (ค.ศ.1794)
Bada Shanren (1626-1705)
Toshusai Sharaku (18th century)
1
2
ปาตา ซานเหยิน (Bada Shanren) ฉากหลัง อันว่างเปล่า (ค.ศ.1626-1705)
The signature of Bada Shanren’s paintings lies in his swift brushstrokes portraying simplified painting composition as well as his unconventional theme of mocking and ridiculing the society’s hypocrisy during the Qing Dynasty. • Famous work : Two Birds 14
baccazine issue 09
While most artists during the Edo Period liked to portray religion, philosophy and the upper class in their artworks, Sharaku chose to reflect the lower classes’ way of life as he found it fascinating with liveliness and freedom. • Famous work : Otani Oniji III (1794)
5
แอนดี้ วอร์ฮอล (Andy Warhol) เจ้าพ่อป๊อบ อาร์ต (ค.ศ.1928-1973)
ศิลปินอเมริกันชื่อดังแห่งศตวรรษที่ 20 ผู้มี ผลงานโดดเด่นเป็นทีจ่ ดจ�ำ เขาคือศิลปินรุน่ แรกๆ ที่แหวกกฎเกณฑ์ของการสร้างงานศิลปะโดย การน�ำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ โดยในยุคทศวรรษ ที่ 1960 เป็นยุครุง่ เรืองของงานโฆษณา ผลงาน ของเขาจึงสะท้อนให้เห็นถึงความสนใจในหมูค่ นดัง ดารา วงการบันเทิง งานของเขามีหลากหลายแขนง ไม่วา่ จะเป็น จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย หรือแม้แต่ภาพยนตร์ นับเป็นศิลปิน ทีท่ �ำให้โลกรูจ้ กั ค�ำว่า ป๊อบ อาร์ต อย่างแท้จริง เอกลักษณ์อนั เป็นทีก่ ล่าวขวัญ คือการใช้เทคนิค การพิมพ์ซำ �้ (Screen Printing) โดยมักมีเนือ้ หา สื่อถึงวิถีชีวิตคนอเมริกัน เช่น ภาพกระป๋องซุป ยีห่ อ้ แคมป์เบลซ้อนกันอันโด่งดัง • ผลงานเด่น : The Two Marilyns (1962) Andy Warhol (1928-1973)
Andy Warhol is probably one of the world’s most known pop artists in the 20th 4 century. His works, including paintings, แจคสัน พอลลอค (Jackson Pollock) sculptures, photographs, screen prints and films, represented the everyday life of สะบัดสี เปลี่ยนโลก (ค.ศ. 1912-1956) ศิลปินชาวอเมริกนั ทีท่ ำ� ให้โลกหันมามองเส้นสี Americans in an interesting and innovative รูปร่างอิสระบนผืนผ้าใบแล้วเรียกมันว่า งาน way. ศิลปะแบบ “ส�ำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม” • Famous work : The Two Marilyns (1962) (Abstract expressionism) ซึ่งใช้วิธีหยด สาด เทสีลงบนผ้าใบโดยไม่คำ� นึงถึงองค์ประกอบศิลป์ อย่างที่ร�่ำเรียนกัน มา นับเป็นการหัน หลังให้ กฎเกณฑ์ตา่ งๆ ปฏิเสธเครือ่ งพันธนาการทีร่ ดั รึง แนวคิ ดให้ ยึ ด ติ ด อยู ่ กั บ ความงามแบบเดิ ม ๆ นอกจากนี้ ยั ง เป็ น ต้ น แบบของการใช้ เ ทคนิ ค “กัมมันตจิตรกรรม” (Action painting) ซึง่ ศิลปิน จะเคลือ่ นไหวอย่างมีพลังขณะสร้างผลงาน • ผลงานเด่น : No.5 (ค.ศ. 1948) Jackson Pollock (1912-1956)
The works of this American artist called the world’s attention as he splashed, dripped and threw paints at the canvases like no one else dared before. He is known to pioneer abstract expressionism and action painting. • Famous work : No. 5 (1948)
6 จ่าง แซ่ตงั้ กวีรป ู ธรรม (พ.ศ. 2477-2533)
ศิ ล ปิ น ไทยเชื้ อ สายจี น ที่ มี ค วามสามารถ หลากหลายแขนง ทั้ ง จิ ต รกรรม และบทกวี ที่แสดงถึงจิตวิญญาณแสนอิสระ ด้วยการวาง อาวุธส�ำคัญของจิตรกรอย่างพู่กันแล้วหันมาใช้ นิ้วมือรังสรรค์ผลงานอันเป็นเอกลักษณ์ ส่วน บทกวีนนั้ ก็โดดเด่นเฉพาะตัว ด้วยการใช้คำ� ซ�ำ้ ๆ โดยไม่ใส่รูปไม้ยมก แต่จะเขียนค�ำนั้นๆ ลงไป ทัง้ ยังสร้างสรรค์ให้ชนิ้ งานกวีนพิ นธ์นนั้ มีลกั ษณะ คล้ายภาพเขียน ซึง่ ไม่เคยมีศลิ ปินคนไหนเคยท�ำ มาก่อน เรียกว่า “กวีรปู ธรรม” นับเป็นผูม้ อี ทิ ธิพล ต่อวงการศิลปะไทยเป็นอย่างยิง่ • ผลงานเด่น : วรรณรูป (พ.ศ. 2528) Chang Saetang (1934-1990)
This Chinese-Thai artist was both a unique poet and a painter. His works were painted with fingers; his poems were written in a way that they became paintings. These styles have set great influences on Thai art. • Wannarup (1985)
•
issue 09 baccazine
1 5
world of art
GERMANY
TYROL
AUSTRIA
ITALY
ประติมากรรมสลักไม้ ของกลุ่มทริสมา COLUMNIST : JAKAPAN VILASINEEKUL
ประติมากรที่มีแนวคิดก้าวหน้าในยุคศิลปะ สมัยใหม่มักปฎิเสธการสร้างสรรค์รูปคนซึ่งท�ำ สืบทอดมาตั้งแต่ยุคคลาสสิก แต่การต่อต้านนี้ ค่อยๆ คลี่คลายลงในช่วงสองทศวรรษหลังของ ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ในขณะนี้ มีประติมากร รุ ่ น ใหม่ จ� ำ นวนไม่ น ้ อ ยหวนกลั บ มาใช้ รู ป คน เป็นแนวทางสร้างสรรค์จนประสบความส�ำเร็จ ในจ�ำนวนนี้มีประติมากรกลุ่มหนึ่งสร้างสรรค์ ผลงานขึ้ น อย่ างโดดเด่ น พวกเขารวมตัว กัน จากความหลงใหลในสิ่งเดียวกันและมีภูมิหลัง ที่ ค ล้ า ยคลึ ง กั น สมาชิ ก ในกลุ ่ ม ล้ ว นเติ บ โต และซึมซับเอาวัฒนธรรมท้องถิ่นแบบเดียวกัน ประการส� ำ คั ญ ผลงานของพวกเขาแต่ ล ะคน ต่างมีเอกลักษณ์ทโี่ ดดเด่นแยกจากกันได้ชดั เจน ประติมากรกลุ่มนี้ชื่อว่า “ทริสมา” (Trisma) สมาชิกประกอบด้วย วิลลี่ เวอร์จิเนอร์ (Willy Verginer) บรูโน วาลพอธ (Bruno Walpoth) เกฮาร์ด ดิเมตซ์ (Gehard Demetz) อารอน ดิเมตซ์ (Aron Demetz) วอลเทอร์ โมโรเดอร์ (Walter Moroder) พวกเขาเติ บ โตขึ้ น ใน หมู่บ้านเล็กๆ บนเทือกเขาแอลป์บริเวณรอยต่อ 16
baccazine issue 09
I hear the spirit while I whisper (detail) , 2007/ Gehard Demetz
ระหว่างประเทศเยอรมนี ออสเตรีย และอิตาลี เป็นบริเวณที่มีชื่อเรียกว่าทิโรล (Tyrol) หมู่บ้าน เหล่านี้ห้อมล้อมด้วยผืนป่าที่สมบูรณ์มากที่สุด แห่งหนึง่ ในยุโรป ในอดีตพืน้ ทีแ่ ห่งนีม้ กี ารติดต่อ กับโลกภายนอกไม่มากนัก เพราะเดินทางยาก และมีอากาศเย็นเกือบตลอดปี นอกจากชาวบ้าน จะท� ำ กสิ ก รรมเพื่ อใช้ เ ลี้ ย งตั ว เองในหมู ่ บ ้ า น แล้ว พวกเขายังมีงานฝีมือซึ่งสืบทอดมาจาก บรรพบุรุษ ได้แก่ งานสลักไม้ที่รุ่งเรืองมาตั้งแต่ สมัยโกธิค สินค้าพื้นเมืองอย่างหนึ่งในท้องถิ่นนี้ เป็นงานสลักไม้รปู เคารพในคริสต์ศาสนาทีช่ นิ ตา นักท่องเที่ยวทั่วไป เช่น พระเยซูบนไม้กางเขน หรือพระแม่มารีอมุ้ พระบุตร เป็นต้น ประติมากร ในกลุ่มทริสมาก็เริ่มฝึกฝนงานสลักไม้จากการ ลอกแบบรูปเคารพในหมูบ่ า้ นนัน่ เอง หลังจากนัน้ พวกเขาได้ขา้ มพรมแดนไปศึกษาในมหาวิทยาลัย ศิลปะทางตอนใต้ของเยอรมนีและกลับมาตั้ง สตูดิโอในแถบที่เติบโตขึ้น เมื่อตกผลึกความคิด พวกเขาก็เริม่ ประสานศิลปะสมัยใหม่ทเี่ รียนรูม้ า เข้ากับการสลักไม้แบบท้องถิน่ และเมือ่ เผยแพร่ ผลงานสร้างสรรค์ของพวกเขาออกไปไม่นาน
ประติ ม ากรกลุ ่ ม นี้ ก็ เ ริ่ ม เป็ น ที่ รู ้ จั ก มากขึ้ น ในภาพรวมผลงานของประติมากรกลุ่มทริสมา มีรปู แบบเหมือนจริง โดยเฉพาะขนาด สัดส่วนและ รายละเอียดของร่างกาย แต่สิ่งเด่นชัดที่สุดใน ผลงานของสมาชิกแต่ละคนก็คอื วิธกี ารท�ำผิวงาน ให้เสร็จในขัน้ สุดท้ายในแบบของตัวเอง ซึง่ แสดง ถึงการตัดสินใจ รสนิยม และการคาดหวังผล ทางอารมณ์ที่แตกต่างกันไปด้วย ไม้ เ ป็ น วั ส ดุ ที่ ส ามารถขั บ เน้ น อารมณ์ ใ น ประติมากรรมได้อย่างดี ส�ำหรับประติมากรที่ สร้างรูปคนและต้องการความรู้สึกที่มีชีวิต ไม้ สามารถตอบสนองได้ดี ไม่แพ้หินอ่อนทีเดียว เมื่อน�ำไม้มาขัดจนเรียบลื่นเป็น มันเงา สีและ ผิวไม้จะให้ความรู้สึกที่นุ่มนวล ไม้ยังสามารถ แสดงพลังได้ด้วยมวลหนาๆ ของเนื้อไม้และ ประติมากรยังแสดงออกทางอารมณ์ทรี่ นุ แรงได้ดี ด้วยการปล่อยร่องรอยจากการตัด สลัก หรือ การถากด้วยเครื่องมือชนิดต่างๆ ทิ้งไว้บนผิวไม้ นอกจากนีก้ ารท�ำผิวแบบต่างๆ เช่น การเผาผิวไม้ ให้ไหม้ การปล่อยให้ไม้ผุกร่อนจนลายชัดขึ้น การระบายสีและการทาน�ำ้ มันชักเงาก็สามารถใช้
My headphones save my life / Gehard Demetz
แสดงความหมายและอารมณ์ในงานไม้ได้ การ แสดงออกและควบคุมผลลัพธ์ ได้โดยตรงบน ผิวงานประติมากรรมได้อย่างหลากหลายเช่นนี้ ไม่สามารถท�ำได้ง่ายนักในวัสดุอื่น ซึ่งวิธีการ เหล่านี้ ประติมากรกลุม่ ทริสมารับมาจากประติมากร สมัยใหม่ ในทศวรรษก่อนหน้า และได้น�ำมา ทดลองปรั บ ใช้ กั บ รู ป คนอย่ า งได้ ผ ลในงาน ประติมากรรมคลาสสิก การทิ้งรอยสิ่วหยาบๆ และการต่อไม้เข้ากันไม่สนิทแสดงถึงความด้อย ฝีมือ แต่ส�ำหรับผลงานของเกฮาร์ดดิเมตซ์แล้ว ทั้งสองสิ่งนี้เกิดขึ้นอย่างตั้งใจและมีการควบคุม อย่างมืออาชีพ เขามักจะแกะขึน้ รูปทรงรวมๆ จน เห็นเป็นรูปร่าง แล้วปล่อยรอยสิว่ ไว้ในส่วนที่ไม่ ต้องการเน้น เช่น บริเวณเสือ้ ผ้าและผมก่อนทีจ่ ะ แกะและขัดผิวไม้อย่างละเอียดในส่วนทีต่ อ้ งการ ให้ผชู้ มจับจ้อง โดยเฉพาะส่วนใบหน้าและวัตถุที่ อยู่ในมือ ส่วนการต่อไม้ไม่สนิทนัน้ ดิเมตซ์ตงั้ ใจ เปิดช่องว่างไว้เพื่อให้เกิดเงามืดเป็นช่องๆ โดย เฉพาะในด้านหลังของงานเขามักเปิดช่องว่างนัน้ ให้กว้างออกไปอีก เพือ่ ให้เกิดความเหลือ่ มล�ำ้ กัน มากยิง่ ขึน้ จนเกิดเงาเป็นน�ำ้ หนักหลายระดับด้วย
Ricordi di una stanza/ Willy Verginer
วิธกี ารนีด้ เิ มตซ์ทำ� ให้ผชู้ มเห็นประติมากรรมเป็น ภาพในแบบทีเ่ กิดขึน้ บนจอคอมพิวเตอร์ เมือ่ ผูช้ ม มองผลงานของเขาจากระยะไกล น�้ำหนักมืด ซ้อนกันหลายๆ ระดับนัน้ จะดูเหมือนกล่องเหลีย่ ม เล็ก ๆเรี ย งต่ อกั น เป็ น รู ป เช่ น เดี ย วกั บ กล่ องสี พิกเซล (Pixel) ในคอมพิวเตอร์นั่นเอง การใช้ พื้นผิวหลายแบบบนงานของดิเ มตซ์ท�ำให้เกิด ภาพทีซ่ อ้ นกันหลายชัน้ บนผิวสัมผัสเดียว วิธกี ารนี้ ท�ำให้เกิดผลทางสายตาและให้ความรูส้ กึ สะกิดใจ คล้ายคลึงกับผลงานของแอนดี้ วอร์ฮอล (Andy Warhol) เช่น ภาพมาริลีน มอนโรว์ (Marilyn Monroe) ซึ่งวอร์ฮอลจงใจพิมพ์ภาพให้เคลื่อน ท�ำให้เกิดภาพซ้อนบนใบหน้า ประติมากรกลุ่มทริสมาน�ำเอาวิธีการทาง จิ ต รกรรมของศิ ล ปะสมั ย ใหม่ ม าใช้ ใ นงาน ประติมากรรมรูปคนต่างกันไป ผลงานของบรูโน วาลพอธให้ความรูส้ กึ ถึงความเป็นมนุษย์มากกว่า จะเป็นภาพคน สีในประติมากรรมของเขาไม่ได้ เป็นเพียงพืน้ ผิวแบนๆ เพือ่ เน้นรูปทรงให้เด่นชัดใน ทางตรงข้ามประติมากรรมของเขาท�ำหน้าทีเ่ ป็น พื้นรองรับจิตรกรรม สีบนผิวงานของวาลพอธ
ไม่ทึบตัน แต่มีความโปร่งพอที่เนื้อไม้จะแสดง คุณสมบัติออกมา เขามักจะระบายสีซ้อนกัน หลายๆ ชั้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกายและ ใบหน้า เช่น บริเวณหัวตา ด้านในของริมฝีปาก หรื อ รอยพั บ ของหู เพื่ อให้ เ กิ ด ความลึ ก ของ น�้ำหนักสีตามแบบคนจริง รายละเอียดเหล่านี้ ท�ำให้ผลงานของเขาดูมชี วี ติ และน่ามองในระยะใกล้ วาลพอธตั้งใจใช้ความลวงตาแบบจิตรกรรมบน ประติมากรรม ในผลงานของวาลพอธผูช้ มจะพบ ร่องรอยของสิ่วตะไบและบุ้งขัดไม้อยู่ในเนื้อไม้ ใต้ชั้นสี สีที่ระบายทับไว้อย่างดีกับร่องรอยของ เครื่องมือที่ถูกทิ้งไว้จะซ้อนกันเป็น ภาพเดียว วาลพอธเลือกสรรวิธีการของจิตรกรรมและ ประติมากรรมมาประสานกันอย่างชาญฉลาด เขา ระบายสีลงบนผลงานแต่ละชิน้ และแต่ละบริเวณ แตกต่างกันไป ในผลงานบางชิน้ เขาอาจเลือกใช้ เนื้อสีที่มีความทึบมากขึ้น เพื่อเปลี่ยนรูปคนที่ มีชีวิตให้ดูเป็นเพียงแค่หุ่น บางชิ้นอาจเลือกใช้ สีจางๆ เพือ่ ปล่อยให้รอยสิว่ หยาบๆ หรือรอยแตก ของไม้ได้แสดงบทบาทบนใบหน้าของรูปคนมากขึน้ ผลงานของวาลพอธให้ความรูส้ กึ ทีแ่ ตกต่างกันไป issue 09 baccazine
1 7
Hero/ Willy Verginer
โดยรวมผลงานของวาลพอธไม่มีท่าทางคนที่สื่อ เล่าเรือ่ งและไม่มสี ญ ั ลักษณ์ให้คน้ หาความหมาย แต่เต็มเปี่ยมด้วยการแสดงออกทางอารมณ์ ผูช้ มจะรูส้ กึ ถึงความโดดเดีย่ วและอ้างว้าง ความ เงียบเหงาไร้บทสนทนา หรืออาการเหม่อลอย จมอยู่ ในห้วงความคิดของตัวเองที่เคยเกิดขึ้น ขณะใดขณะหนึ่งในชีวิตของทุกคน วิลลี่ เวอร์จเิ นอร์ เป็นอีกคนหนึง่ ในกลุม่ ทริสมา ที่ ใ ช้ สี อ ย่ า งได้ ผ ล สี ใ นผลงานของเขาท� ำ หน้าที่เป็นองค์ประกอบหลัก ไม่ใช่เพียงบทบาท สนับสนุนรูปทรงเท่านั้น เวอร์จิเนอร์มักใช้สีทึบ และมักจะก�ำหนดขอบเขตของการระบายสีบน ผิวหน้างานโดยไม่สมั พันธ์กบั รูปร่างคน เช่น เขา อาจระบายสีม่วงบนใบหน้าเด็กผู้หญิงต่อเนื่อง ลงมาบนเสื้อผ้าของเธอในระดับอก แล้วต่อ จากนัน้ ลงมา เขาระบายด้วยสีขาวจนถึงรองเท้า เขามักจะแบ่งขอบเขตระหว่างสีด้วยเส้นตรง ท�ำให้เห็นเป็นแถบสีหรือกรอบสีคาดทับไปบน รูปคน เมือ่ มองผลงานจากระยะไกลผูช้ มจะเห็น บริ เ วณที่ เ ขาระบายสี เ ป็ น เหมื อ นแผ่ น ฟิ ล ์ ม แทรกเข้ามาในอากาศ ท�ำให้เกิดมิติแปลกแยก ซ้อนเข้ามาในประติมากรรม ด้วยวิธกี ารนี้ รูปคน ของเวอร์จิเนอร์จึงไม่โดดเดี่ยว แต่ความว่างใน อากาศและสิ่งแวดล้อมรอบตัวถูกดึงเข้ามาเป็น องค์ประกอบของผลงานด้วย นอกจากการใช้ แถบสีเข้ามาสร้างมิติ ซึ่งดึงความสนใจของผู้ชม จากรูปคนแล้ว เวอร์จเิ นอร์ยงั เพิม่ ความแปลกใหม่ ในมิ ติ แ ละบรรยากาศของงานด้ ว ยการน� ำ ลวดลายมาใช้ประกอบ ลวดลายเหล่านี้มักใช้ เพื่อประดับตกแต่ง ซึ่งพบได้ทั่วไปบนกระดาษ 18
baccazine issue 09
ปิดผนังลายพิมพ์บนผ้า หรือลายบัวขอบผนัง ในผลงานบางชิ้นเวอร์จิเนอร์ระบายลวดลาย ตกแต่งลงบนตัวคน และต่อเนือ่ งไปยังผนังรอบๆ ท�ำให้รูปคนบริเวณที่มีลวดลายกลืนหายไปกับ อากาศแวดล้อม นอกจากนี้ เขายังน�ำลวดลาย ประดับเฟอร์นิเจอร์และสถาปัตยกรรมมาสลัก ลงบนตัวคนด้วย ซึ่งการแกะสลักลายดังกล่าว เป็นงานช่างฝีมือที่สืบทอดต่อมาในเขตทิโรล เช่นเดียวกับการแกะสลักรูปเคารพ วิลลี่ เวอร์จเิ นอร์ น�ำเอาการแกะสลักลวดลาย ซึ่งเป็น ทักษะที่ เขาเรียนรู้มาจากงานฝีมือท้องถิ่นมาใช้กับงาน ประติมากรรมรูปคนได้อย่างยอดเยีย่ ม ลวดลาย ทีแ่ ทรกเข้ามาในร่างกายคนท�ำให้เกิดปริศนา แต่ ผู้ชมจะสัมผัสได้ว่า รูปคนของเวอร์จิเนอร์ไม่ได้ ตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยวท่ามกลางห้องจัดแสดงที่ ว่างเปล่า ความไม่ต่อเนื่องของสีและลายท�ำให้ เกิดมิตซิ อ้ นทับอยู่ในผลงานของเขา เวอร์จเิ นอร์
ท�ำให้ผู้ชมสัมผัสถึง เวลาและเหตุการณ์ที่ซ้อน เหลื่อมกันในเวลาเดียวกัน ซึ่งปกติแล้วการซ้อน เหลื่อมของเหตุการณ์เช่นนี้มักเกิดขึ้นในศิลปะ สื่ออื่นๆ มากกว่างานประติมากรรม ความส�ำเร็จของประติมากรกลุม่ ทริสมาเป็น ตัวอย่างที่น่าศึกษา แม้พวกเขาจะเริ่มต้นจาก หมูบ่ า้ นเล็กๆ ทีห่ า่ งไกลศูนย์กลางทางศิลปะ แต่ พวกเขาสามารถพลิกฟืน้ รูปแบบประติมากรรมที่ เก่าแก่ทสี่ ดุ ให้กลับมาสูค่ วามสนใจได้อย่างน่าชม โดยเฉพาะการน�ำกลิน่ ไอของศิลปะแบบคลาสสิก ศิลปะสมัยใหม่ และงานช่างฝีมือของท้องถิ่น มาปรับใช้เข้ากันจนกลายเป็นศิลปะร่วมสมัยได้ อย่างไม่เคอะเขิน น่าชื่นชมความคิดสร้างสรรค์ และความพยายามค้ น หารู ป แบบใหม่ ใ นงาน ประติมากรรมของศิลปินกลุม่ นี้ ซึง่ ท้ายทีส่ ดุ ผลงาน ของพวกเขาไม่จ�ำกัดอยู่ ในผู้ชมกลุ่มเล็กๆ ใน หมูบ่ า้ น แต่สามารถสือ่ กับผูช้ มร่วมสมัยได้ทวั่ โลก Il vento di sera la invita/ Willy Verginer
world of art
Tania/ Bruno Walpoth
Mateo/ Bruno Walpoth
TRISMA group’s wood carving Modern artists often strongly reject classical traditions. However, since the second half of 20th century, the trend has subsided. Many young sculptors are returning to the human form for inspiration. Among them is a group of sculptors who embrace similar cultural roots and work together under the name “TRISMA”. The group consists of Willy Verginer, Bruno Walpoth, Gehard Demetz, Aron Demetz, and Walter Moroder, who all grew up in a small remote village at the base of the Alps. The region is called Tyrol, which has one of Europe’s lushest forests. The villagers live a self-sufficient lifestyle and value their traditional handicraft skills, which have been passed down for centuries. For regular tourists, carved wooden figurines of Jesus or Mary are among the most popular souvenir to buy from here. TRISMA’s artists got their starts by practicing carving these statues. Afterwards, they went to art school in south Germany then returned to open a studio in their hometown. They began combining modern arts to the traditional wood carving in a unique way, and it did not take long before art world took notice. TRISMA’s works feature hyper-realistic sculptures of humans, which are stunning to look at because they are so amazingly life-like, from the proportions right down to details of the skin. Wood as a medium is perfect for expressing emotion. The surface can be sanded smoothly to convey softness, or it can be crudely cut, carved, or even burned to convey aggressive emotions. Letting the wood decompose, painting, and oil coating are also among the techniques used. For Gehard Demetz, leaving obvious chisel marks and gaps between wood pieces is not a sign of incompetence, but rather a deliberate method to create aesthetics, e.g. playing with shadows cast by blocky texture. Each member of TRISMA is different in their styles. Bruno Walpoth applies paint on his wooden sculpture as if it was a canvas. He carefully lays down multiple layers of colors over parts that make the sculptures look the most life-like such as the corners of the eyes, the inner side of the lips, etc. His craftsmanship is one that combines painting and sculpting intelligently. In terms of emotions, Walpoth’s works emphasize on the feeling of loneliness. Willy Verginer is another member who uses colors very effectively. He often chooses dark and puts them on strange parts, such as purple on a girl’s face, extending to her torso, then sharply contrasts with white that goes on the rest of the body. He also plays with wallpaper patterns that jumps off the wall onto the wooden figures, making the surrounding a part of the work. In addition, he also uses many traditional carving patterns normally found on furniture or church walls and applies them to the human figure. All in all, the success of TRISMA is a great case study on how to combine local traditional craftsmanship to modern arts and create something stunningly beautiful and incredibly contemporary.
•
issue 09 baccazine
1 9
world artist ITALY
MAURIZIO CATTELAN COLUMNIST : PROF.WUTIGORN KONGKA
งานศิลปะแห่งศตวรรษนี้ หลายผลงานคือการก้าวพ้นสุนทรียศาสตร์แบบเดิมๆ ทีน ่ ย ิ ามกัน ว่าเป็นสุนทรียศาสตร์แบบศิลปะสมัยใหม่ ซึ่งเน้นถึงความงามทางรูปทรง สี และเรื่องราวที่ สอดคล้อง สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากยุค 60’s ที่ศิลปินกลุ่ม Conceptual Art ได้ลุกขึ้น ปฎิวัติวงการศิลปะ ด้วยการล้มล้างรูปโฉมที่งดงามของมัน เพื่อจะสร้างปรากฎการณ์ใหม่ นัน ่ ก็คอ ื ศิลปะคือ ความคิด ไม่ใช่ความงามเพือ ่ ซือ ้ ขาย แต่ศลิ ปินเป็นผูก ้ ำ� หนดลงไปว่าอะไร คือศิลปะ แน่นอนความคิดเหล่านีม ้ น ั ได้ทำ� ลายล้างความเชือ ่ ว่า อะไรกันแน่คอ ื ศิลปะ ทัง้ การ ตัง้ ค�ำถามทีท ่ า้ ทายด้วยผลงานชวนตะลึง และล่อแหลมชวนให้วพ ิ ากษ์อย่างอือ้ ฉาว รวมไปถึงการค้นคว้าภาษาใหม่ๆ ทีจ่ ะสือ่ สาร และนับได้วา่ ศิลปะแบบ Conceptual ได้ขุดรากถอนโคน และถากถางทางที่เหมือนกับคูคลองเส้นเล็กเส้นน้อยออกไปสู่ทะเล จนโลกศิลปะได้ค้นพบ นิยามใหม่ๆ ได้เป็นผลส�ำเร็จ
Maurizio Cattelan คือศิลปินอิตาเลียน ที่โด่งดังขึ้นมาในยุค 90’ เขาเป็นผลิตผลของ แนวทางแบบ Conceptual Art ซึ่ ง ศิ ล ปิ น อิตาเลียนรุ่น พี่ ในแนวทางนี้ Piero Manzoni บุกเบิกท้าทายไว้ งานเด่นของ Manzoni คือการ ใช้งานศิลปะแอนตี้สุนทรียะศิลปะ ดังตัวอย่าง งาน Artist’s Shit หรือ ขี้ของศิลปิน ที่บรรจุ กระป๋อง เพือ่ ท้าทายถึงสภาวะของศิลปินแห่งยุค Modern ได้แสดงตัวตนที่ยิ่งใหญ่ผ่านผลงานที่ เลอค่าชั้นสูง และเพียบพร้อมไปด้วยกฎเกณฑ์ ทางความงาม นี่ คื อ การประชดประชั น สุนทรียะอย่างเจ็บแสบแต่เรียกเสียงหัวเราะได้ อย่างน่าพรั่น พรึงถึงความกล้าในการวิพากษ์ ของ Manzoni ส�ำหรับ Cattelan เขาท�ำทั้ง ภาพถ่าย ประติมากรรม และศิลปะการแสดง โดยเฉพาะประติมากรรมจะโดดเด่นเป็นพิเศษ ด้วยแนวคิดและผลงานที่ชวนให้ตกตะลึง ทว่า เต็มไปด้วยอารมณ์ขันร้ายเหลือ ผ่านไหวพริบ และสติปัญญาที่คมคายในการเสียดสีทุกๆเรื่อง ในโลกของความเป็น Popular Culture หรือ การย้อนแย้งประวัตศิ าสตร์ศลิ ป์ การเสียดสีงาน ศิลปะด้วยกัน ลามปามไปถึงการวิพากษ์สังคม ศาสนา การเมือง กระทั่งการเสียดสีความเป็น ศิลปินของตัวเอง การล้อเลียนด้วยผลงานที่ ไม่อาจคาดเดา ท�ำให้เกิดเป็นลายเซ็นของเขา ทั้งๆ ที่เขาไม่เคย 20
baccazine issue 09
เซ็นชื่อในผลงาน นั่นหมายถึงว่า เขาคือศิลปิน น้อยคนในโลกที่ “ท�ำอะไรก็ได้” โดยไม่จ�ำเป็น ต้องยึดถือสื่อที่จะต้องสะท้อนอัตลักษณ์ของ ตัวเอง แต่ทว่าผลงานเหล่านี้กลับไม่ได้ฉาบฉวย มันถูกผลิตอย่างมีคุณภาพด้วยทั้งระบบโรงงาน หรือฝีมือที่ยอดเยี่ยม คุณภาพของ Production จึงปรากฎเห็นอารมณ์ขัน ที่เขย่าคนดูได้อย่าง อัศจรรย์ Cattelan สร้างตัวหนังสือ Hollywood ขนาดสูงถึง 122 เมตรและยาว 180 เมตร ตั้ง ตะหง่านบนเนินเขาที่ ซิซิลี ในปี 2001 ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งในงาน Venice Biennale ครั้งที่ 49 เพื่อเสียดสีถึงความยิ่งใหญ่ของตัวหนังสือแบบ เดียวกันนี้ในลอสแองเจลิส นี่คือความเป็น Icon ที่ Popular ที่สุดอัน หนึ่งของโลก เมื่อมันถูก จ�ำลองมาสร้างใหม่ในอิตาลี จึงเต็มไปด้วยความ ย้อนแย้ง ผิดที่ผิดทาง และเปิดจินตนาการต่อ ผู้ชมที่จะมีส�ำนึกต่อค�ำว่าศิลปะ ว่ามันสามารถ รบกวนความเชื่อที่มีต่อของสิ่งนั้นได้อย่างชวน ฉงน งานบางชิ้นของเขาดูคล้ายกับการ์ตูนล้อ การเมือง การใช้ Icon อย่างอดอฟ ฮิตเลอร์ มาสร้างเป็นประติมากรรมที่มีสัดส่วนผิดปกติ ในท่านั่งคุกเข่าเหมือนคนส�ำนึกบาป เป็นอะไร ที่เสียดสีด้วยอารมณ์ขันด้านมืด หรือบรรดา รูปปั้นม้าทั้งตัวเดียวและหลายตัว หัวจมหายไป ในก�ำแพงมิวเซียม โผล่ช่วงตัวและบั้นท้ายให้
คนดูได้มองพื้น ที่ที่หัวของมัน หายเข้าไปอย่าง น่าหัวเราะ รูปปั้นทั้งกระดูกสัตว์และซากสัตว์ เป็นวัตถุที่ Cattelan น�ำมาใช้บ่อยๆ มันคือ การล้อเลียนทั้งตัวงาน Art และบริบทของพื้นที่ ที่ มั น ด� ำรงอยู ่ ไม่ เ ว้ น แม้ แ ต่ น กกระจอกเทศ ที่ มุ ด หั ว หายไปในพื้ น หรื อ รู ป ปั ้ น ตั ว เขาเอง ซึ่งเหมือนการ์ตูนโผล่หัวมาจากพื้น ที่ทะลุของ มิวเซียม แม้แต่ความคิดที่ซุกซนด้วยการปล่อย ให้กระรอกน้อยฆ่าตัวตายคอพับนั่งอยู่บนเก้าอี้ กับโต๊ะอาหารตัวจิ๋ว การเสียดสีวัตถุที่เคยคุ้น ในโลกแห่ ง ทุ น นิ ย มก็ มี ใ ห้ เ ห็ น ทั้ ง รถเข็ น ใน ซูเปอร์มาร์เก็ตที่ถูกสร้างใหม่จนยืดยาวออกไป อย่างน่าขันพร้อมๆ กับความคมคายทีล่ อ้ เลียนถึง การซื้อที่บ้าคลั่ง และโต๊ะบอลที่เคยมีคนเล่นแค่ สองคนถูกขยายยืดยาวออกไปจนเล่นเป็นทีมได้ หรือกระทั่งรถยนต์ Audi ที่ถูกต้นไม้เสียบแทง ทะลุขึ้นมากลางคัน สิ่งที่เหนือความคาดหมาย คือการพลิกฟังก์ชั่นของวัตถุให้เกิดรูปลักษณ์ ใหม่ซงึ่ ยัว่ เย้าจินตนาการและสร้างประสบการณ์ ใหม่ให้กับคนดู Cattelan ยังยั่วยุวงการศิลปะ ด้วยทั้งการ ทีเ่ ขาท�ำหัวปิกสั โซ่ขนาดใหญ่ใส่เดินทักทายผูค้ น เหมือนกับมาสคอทของโลกศิลปะสมัยใหม่ และ แม้แต่การกรีดผ้าใบด้วยความสวยงามเพื่อล้อ ศิลปินรุ่นใหญ่กว่าอย่าง Lucio Fontana นอกจากนี้ วงการกฎหมายและศาสนาก็ไม่
1 5
6
2
3
4
7
8
10
9
1. Bidibidobidiboo, 1996, Taxidermized squirrel, ceramic, formica, wood, paint, steel, squirrel, lifesize 2. Hollywood, 2001, Scaffolding, aluminum, lights, 23 x 170 m, Installation, XLIX Biennale de Venezia, Palermo, Sicily 3. La Nona Ora, 1999, mixed media 4. Him, 2001, wax, human hair, suit, polyester resin, 101 x 41 x 53 cm 5. Untitled, 1998, Paper mache, paint, costume Mask, 31 x 21 x 24 cm, Greeting visitors in entrance areas at The Museum of Modern Art, New York 6. Frank and Jamie, 2002, Wax, clothes, Life size figures, Frank: 191.5 x 63.5 x 52.5 cm, Jamie: 182 x 63 x 45.5 cm 7. Love Lasts Forever, 1997, Skeletons, 210 x 120 x 60 cm 8. Untitled, 2000, Audi car, tree, Lifesize 9. Stadium, 1991, Wood, glass, metal, plastic, 700 x 100 x 120 cm, AC Fornitore table football fixture 10. Untitled, 2007, stuffed horse, natural dimensions • ภาพ 1, 2, 5, 6, 8, 9 จากหนังสือ Maurizio Cattran ส�ำนักพิมพ์ Phaidon • ภาพ 3, 4, 7, 10 จากหนังสือ 100 Contemporary Artist ส�ำนักพิมพ์ Taschen
ได้รับการละเว้น เขาสร้างรูปปั้นต�ำรวจแล้วจัด การควํา่ หัวลงซะ หรือแม้แต่รปู ปัน้ โป๊บ จอห์นปอล ที่สอง แห่งวาติกันก็ล้มลงบนพรมแดงเพราะ โดนลู ก อุ ก าบาตตกจากฟ้ า ลงมาทั บ มั น คื อ การสื่ อ สารถึ งโลกวิทยาศาสตร์กับความเชื่อ ที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างมาก และไม่ลังเลที่จะพุ่งหอก ออกไปทิ่มแทงวาทกรรมทางจิตวิญญาณของ ผู้คนอย่างไม่กลัวผลสะท้อนกลับ ไม่แปลกที่ Cattelan จะกลายเป็นตัวแสบที่สร้างความตก ตะลึงให้กับผู้คนได้เสมอ เพราะในขนบของ งานศิลปะย่อมไม่มีพรมแดนหรือเกณฑ์ใดๆ ที่ ตายตัว กฎของสุนทรียศาสตร์พร้อมจะถูกแหก แม้แต่ความหมิน่ เหม่ตอ่ ศีลธรรม ความเชือ่ ขนบ จารีต ก็พร้อมจะถูกความซุกซนของเขาถอดรื้อ เพื่อโยนไปสู่คนดูให้เกิดความตระหนักถึงความ ไม่คุ้นเคยที่ชวนให้ขบคิดต่อ ทว่าความเจ็บแสบ เหล่านี้ถูกท�ำให้น่าหัวเราะ และอารมณ์ขันคือ ไม้เด็ดของเขา ซึ่งท�ำให้เขามีที่ยืนบนโลกศิลปะ ร่วมสมัยอย่างไม่มีใครท�ำได้ Maurizio Cattelan เกิดปี 1960 ใน Padua, Italy เขาเป็นดาราในระนาบเดียวกับศิลปิน
กลุ่มอังกฤษที่โด่งดังในยุค 90’ จนมาถึงปัจจุบัน with sculptures of an ostrich and horses เช่นเดียวกัน with their heads buried in the ground. Furthermore, he wore a costume with the MAURIZIO CATTELAN gigantic head of Picasso and walked around Maurizio Cattelan was born in Padua, in the city to greet people in the modern Italy in 1960. He is a famous conceptual art world. artist, whose works are often satirical In the 2001 Venice Biennale, Cattelan and provocative against social norms installed the 122-meter tall and 180-meter and systems of orders. He is considered long “Hollywood” sign on the Sicily hill in as a smart prankster and joker, often Italy to mock the world’s most popular shocking people with his dark sense of icon. The replication in wrong setting humor reflected through his photographs, challenged visitors to rethink their attitude sculptures and performances. and perception toward symbolism. To illustrate his signature - the sculpture Audiences are provoked to question of Pope John Paul II hit by a meteor is one and think about their perception and of his most famous works as it mocks the beliefs toward religion, high art, social division between religious and scientific practices and norms, and history. Cattelan worlds. Another sculpture depicts Adolf makes them shocked as he redefines these Hitler in the body of a schoolboy kneeling elements and introduces them to a new down in supplication - a contradiction to way of seeing the world. • the reality. He also amused museum visitors issue 09 baccazine
2 1
in the mood of art
จิระเดช-พรพิไล มีมาลัย “อยากทำ�อะไรก็ท�ำ ” COLUMNIST : MODDUM PHOTO : ANUCH
จิระเดช-พรพิไล มีมาลัย ศิลปินดูโอทีม ่ ผ ี ลงานระดับนานาชาติมากมาย ไม่เพียงการผสมผสานศิลปะหลากหลาย แขนงไว้ด้วยกันอย่างน่าสนใจ แต่ยังก้าวข้ามผ่านเส้นกั้นของศาสตร์ในสาขาวิชาต่างๆ โดยน�ำมาใช้สร้าง งานศิลปะได้อย่างลุ่มลึก มีมิติ ล่าสุดเพิ่งเปิดตัว POP-UP MUSEUM ส่วนหนึ่งของโครงการศิลปะชุมชน ซึ่ ง ด� ำ เนิ น การมาอย่ า งต่ อ เนื่ อ งโดยกลุ ่ ม บ้ า นนอก (องค์ ก รศิ ล ปะไม่ ห วั ง ผลก� ำ ไรริ เ ริ่ ม โดยศิ ล ปิ น ) Baan Noorg (nonprofit organization,an independent artist-run initiative) ที่มาจาก ชื่อหมู่บ้านในต�ำบลหนองโพ จังหวัดราชบุรี ที่ตั้งของสตูดิโอส่วนตัว ฐานที่มั่นในการสร้างสรรค์งานศิลปะ หลากหลาย ทัง้ ยังมีโปรเจ็กต์ใหญ่อน ั อบอวลด้วยมิตรภาพของศิลปินเอเชียอย่างโครงการ MITT ยังไม่รวม โปรเจ็กต์สว่ นตัวซึง่ เป็นงานศิลปะในพืน ้ ทีส่ าธารณะ ---แต่กอ่ นจะมาเป็นอาจารย์ยน ิ่ และอาจารย์บอย ของเด็กๆ ในชุมชน ก่อนจะมาเป็นศิลปินคู่ ก่อนจะมาถึงวันนี้ เส้นทางแห่งจิตวิญญาณอิสระของเขาและเธอ ก็น่าสนใจ ไม่แพ้งานศิลปะเลย
22
baccazine issue 09
อัพเดตงานปัจจุบนั ท�ำอะไรอยูบ่ า้ ง? อ.บอย : “ตอนนีห้ ลักๆ ก็มงี านทีต่ อ่ เนือ่ งมาตัง้ แต่ ปี 2553 คือโครงการ TAI-THAI ซึง่ เป็นการท�ำงาน ร่วมกันระหว่างศิลปินไทยกับไต้หวัน ที่ตอนนี้ มันขยายตัวกลายเป็น MITT อ่านว่า มิตร แปลว่า เพื่อน โดยมีภัณฑารักษ์และศิลปินในอาเซียน มาสร้างงานด้วยกันในกรอบเวลาประมาณ 3 ปี จากนีต้ อ่ ไป ตัว M มาจาก Myanmar I มาจาก Indonesia บวกฟิลปิ ปินส์ ส่วน T T ก็คอื Thailand กับ Taiwan นอกจากนีก้ ม็ โี ครงการของ ‘บ้านนอก’ ซึง่ เป็นกลุม่ ทีเ่ ราก่อตัง้ ขึน้ มา ล่าสุดเพิง่ เปิด POP-UP MUSEUM ไปเมือ่ เสาร์ที่ 14 มิ.ย.ทีผ่ า่ นมา เรา ก�ำลังด�ำเนินการเพื่อจัดเทศกาลภาพยนตร์ในปี 2558 ซึ่งประกอบด้วยงานเวิร์คชอปส� ำหรับ เยาวชน และหนังแอนิเมชัน่ ทีจ่ ะท�ำทุก 2 ปี งาน อีกส่วนหนึง่ ก็คอื โปรเจ็กต์สว่ นตัวทีท่ ำ� ต่อเนือ่ งมา 4 ปีแล้วคือ โครงการ Dialogue : seeing and being ซึง่ เป็นงาน Interactive Performance” POP-UP MUSEUM คืออะไร? อ.บอย : “คือมิวเซียมทีม่ คี วามหลากหลายในสือ่ และเนื้อหา ซึ่งชาวบ้านและเยาวชนของต�ำบล หนองโพ อายุตั้งแต่ 6-15 ปี ช่วยกันผลิตงาน ร่วมกับนักศึกษาจากศิลปากรและธรรมศาสตร์ ที่ เข้าไปอบรมกับโครงการของเรา โดยแบ่งเป็น 5 กลุม่ ย่อย ได้ผลงานออกมาเป็น มิวเซียมเคลือ่ นที่ มิวเซียมกินได้ มิวเซียมระหว่างทาง มิวเซียม เสียง และมิวเซียมสามัญ อย่างมิวเซียมเสียง ท�ำงานมีเดียอาร์ต งานวิดีโอ มิวเซียมเคลื่อนที่ เป็นขบวนพาเหรด เป็นต้น วิธีคิดคือ เราตั้ง ค�ำถามว่าชุมชนสามารถพัฒนาศิลปวัฒนธรรม ร่วมสมัยด้วยขบวนการทางทัศนศิลป์ได้อย่างไร” คาดหวังว่าชุมชนจะได้อะไรจากโครงการนี?้ อ.บอย : “เราเชือ่ ว่าสิง่ ทีท่ ำ� เป็นการเอาเครือ่ งมือ บางอย่างมาขยายภาพของสิง่ ทีด่ งี ามอยูแ่ ล้ว มา ปรับเปลี่ยนรูปทรงให้ทุกคนมีส่วนร่วมได้ เช่น งานของนักศึกษากลุ่มหนึ่ง เขามีไอเดียจัดเป็น แบบท�ำบุญเลีย้ งพระ เพือ่ บอกว่าในชุมชนนีม้ ชี ดุ ความรูอ้ ยูช่ ดุ หนึง่ ทีส่ ำ� คัญมากและก�ำลังจะหายไป คื อ อาหารไทยวน เพราะชุ ม ชนนี้ เ ป็ น กลุ ่ ม ชาติพนั ธุไ์ ทยวนทีอ่ พยพมาจากเชียงแสนเมือ่ 200 ปีทแี่ ล้ว เขาใช้วธิ เี ดินเข้าไปในหมูบ่ า้ น ขอให้ชว่ ย สอนวิธีท�ำอาหารไทยวน จากนั้นก็จัดเลี้ยงพระ ที นี้ ช าวบ้ า นคนอื่ น ๆ ก็ ม ากั น เต็ ม เลย นี่ คื อ
‘มิวเซียมกินได้’ การพัฒนาชุมชนท้องถิน่ ถ้าคิด แบบรวมศูนย์ไม่มีทางส�ำเร็จ แต่ต้องกระจาย ออกไป ทุกชุมชนต้องยืนได้ดว้ ยตัวเอง แนวคิดนี้ ผมได้แรงบันดาลใจมาจากหมอประเวศ วะสี” ปัญหาและอุปสรรค? อ.บอย : “อุปสรรคคือตัวเองมั้งครับ อารมณ์ ปรี๊ดเยอะ (หัวเราะ) การท�ำงานที่เกี่ยวข้องกับ ผูค้ นเยอะๆ ปัญหาส่วนใหญ่คอื เรือ่ งการสือ่ สาร ให้เกิดความเข้าใจ ก็พยายามแก้ไขด้วยการ สือ่ สาร มันก็จะผ่านไป ไม่มอี ะไรทีแ่ ก้ไขไม่ได้” ความพอใจกับผลงานในโครงการ และแนวโน้ม ของคนในชุมชนที่เข้ามามีส่วนร่วมมีมากน้อย แค่ไหน ? อ.บอย : “ในช่วงแรกเขามาร่วมในฐานะการ เป็นส่วนหนึง่ ของชุมชน เช่น ผูใ้ หญ่บา้ นบอกให้ อพปร.มาดู ร ถให้ เจ้ า อาวาสบอกให้ แ ม่ ครั ว เตรียมอาหารให้ ทางโรงเรียนจัดการเรือ่ งเก้าอี้ ให้ คือ เริม่ จากสิง่ ทีเ่ ขาท�ำได้กอ่ น แล้วพอได้ชม ภาพยนตร์ที่เด็กๆ ของเขาท�ำ ก็ตื่นเต้นกันพอ สมควร เป็นการท�ำให้เขาตื่นตัวกับวัฒนธรรม ร่วมสมัย ต่อมาก็ค่อยๆ ขยับขึ้น มาจากคนที่ ให้ความช่วยเหลือมาเป็นผู้มีส่วนร่วมในการ ผลิตงานแล้ว (ยิม้ )” ทั้งสองท่านมีพื้นฐานมาจากสายงานออกแบบ จุดพลิกผันคืออะไรทีท่ ำ� ให้หนั มาท�ำงานศิลปะที่ หลากหลาย หรือแท้จริงแล้วไม่ได้พลิกผัน แต่ ศิลปะมันเชือ่ มโยงกันอยูแ่ ล้ว? อ.ยิน่ : “ตัวเองท�ำงานออกแบบเครือ่ งประดับก็จริง แต่เป็นเครื่องประดับในลักษณะของ fine arts (วิจิตรศิลป์) เพียงแต่พื้นที่และการน�ำเสนอคือ ร่างกายมนุษย์ มันมีกรอบแค่ตรงนัน้ เองทีแ่ ตกต่าง ส่วนระบบการเรียน การฝึกฝนก็ใกล้เคียงกับ ระบบคิดของ fine arts เราก็ลองขยายงานออกไป คือ แทนที่จะจ�ำกัดพื้นที่แค่ร่างกายมนุษย์ คือ ออกสเกลกว้างขึน้ ไปทีง่ านประติมากรรม แล้ว ขยับไปที่ Installation เป็นการผนวกกันระหว่าง พื้นฐานงานออกแบบที่ตัวเองมีกับการศึกษา เพิ่มเติม ซึง่ เป็นการทดลองเองค่อนข้างเยอะ” อ.บอย : “อาจารย์มานิต ภูอ่ ารีย์ เคยพูดว่า งาน ทัศนศิลป์ไม่ตอ้ งออกแบบหรือไง? นีเ่ ป็นค�ำถามที่ เปลีย่ นวิธคี ดิ เราเลย มันท�ำให้รสู้ กึ ว่าศิลปะไม่ได้ แยกออกจากกัน ผมถูกฝึกมาในสาขาออกแบบ แต่ไ ม่ เ คยคิ ด จะเรี ย นเพื่ อท� ำ อาชี พ ผมเรี ย น
เพื่อมีความรู้ เพื่อฝึกฝนตัวเอง เรียนจบก็ไป ท�ำงานออฟฟิศ แต่มนั ไม่ใช่สงิ่ ทีต่ อ้ งการ ซึง่ พอ เราเดินเลยจุดที่คิดว่าจะท�ำงานศิลปะแบบไหน ความรูส้ าขาต่างๆ ทัง้ ทัศนศิลป์ สถาปัตยกรรม มานุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ และทุก อย่างมันเป็นสิ่งที่ถูกใช้ร่วมกันหมด ไม่มีอะไร แยกกันเลย สิ่งส�ำคัญที่เราค้นพบในช่วงเวลาที่ ผ่านมา คือการใช้ความรู้ที่นอกเหนือจากศิลปะ มาสร้ า งงานศิ ล ปะ มั น มี ค วามน่ า สนใจและ ใกล้เคียงกับความเป็นจริงในวิถชี วี ติ แบบร่วมสมัย มากกว่าการใช้ความรูท้ างศิลปะมาท�ำงานศิลปะ” ทัง้ สองท่านท�ำงานดูโอมาตัง้ แต่ปี 2545 ถึงตอนนี้ 10 กว่าปีแล้ว เคยมีความคิดเห็นแตกต่างกัน บ้างไหม แล้วแก้ไขอย่างไร? อ.บอย : “ไม่เคยมีความเห็นทีต่ รงกันเลย ถึงท�ำ กันมาทุกวันนี้ เพราะถ้าตรงกันก็คงจะแบนๆ พอ แตกต่างกันของเราด้านหนึ่ง ของเขาด้านหนึ่ง กลับท�ำให้เกิดสิง่ ใหม่ขนึ้ ” อ.ยิ่น : “มันก็คล้ายๆ กับเวลาคุยกันแล้วเกิด ความสงสัย คนสงสัยก็ตอ้ งถาม อีกคนต้องตอบ จนกว่ามันจะคลายความสงสัย” อ.บอย : (พูดแทรก) “แล้วก็จะทะเลาะกัน” (หัวเราะ) อ.ยิน่ : “เรือ่ งไหนทีห่ าค�ำตอบไม่ได้กจ็ ะต้องถูก พักไว้ จนกว่ามันจะวนกลับมาใหม่ แล้วก็จะหา จุดลงได้ คือมันไม่สามารถทีจ่ ะก�ำหนดให้มนั จบ ลงเดี๋ยวนั้นตรงนั้น ถ้าเบ็ดเสร็จในคนเดียวอาจ จะไม่มตี วั แปรแบบนี”้ อ.บอย : “เป็นธรรมชาติของการท�ำงานร่วม เพราะฉะนัน้ ก็ตอ้ งปรับตัวและเรียนรูค้ นอืน่ ” นิยามค�ำว่า จิตวิญญาณอิสระในความคิดของ แต่ละท่าน? อ.บอย : ผมว่าธรรมชาติของศิลปะ มันเป็นจิต วิญญาณ แบบที่นิทเช่ (Friedrich Nietzsche) บอก มันมี Will to Power มันเป็นเจตจ�ำนงเสรี ผมมองว่าท้ายทีส่ ดุ ศิลปะต้องท�ำให้เราเป็นอิสระ จากกรอบและขบวนการทีเ่ ราคิด เราสร้าง ตัวอย่าง เช่น ในสายประติมากรรม เราถูกสอนให้ปั้น ให้หล่อ กรอบตรงนีค้ อื เทคนิคทางศิลปะ แต่พอจบ การศึกษาแล้ว เราต้องตัง้ ค�ำถามว่า ศิลปะให้เสรี กับเรา หรือว่าสัง่ ให้เราท�ำแต่รปู ทรงนี้ ผมคิดว่า ศิลปะท�ำให้เราเป็นอิสระ เรามีเจตจ�ำนงเสรีที่ จะคิด จะสร้างสรรค์อะไรก็ได้โดยไม่มีกรอบ
issue 09 baccazine
2 3
อย่างปิกัสโซ่ เมื่อแก่เฒ่าลง เขาพยายามถอน ความอคาเดมิกในตัวออก แต่ยังมีกรอบในเชิง อาร์ตฟอร์ม ทีม่ รี ปู ทรงเส้นสีแสงเงา ซึง่ ประกอบ สร้างขึน้ มาเป็นงานศิลปะ ---ศิลปะต้องปลดปล่อย เราจากพันธนาการของทุกสิ่งทุกอย่างในเชิง ศิลปะได้ ทุกวันนี้ผมเลยสนใจความรู้สาขาอื่นๆ เพราะถ้าเรายังเอาความรู้ในเชิงศิลปะมาสร้าง ศิลปะอย่างเดียว มันจะวนอยู่ในกรอบ” อ.ยิน่ : “ค�ำว่าจิตวิญญาณอิสระนี่ ฟังแล้วนึกถึง เมือ่ 10-20 ปีกอ่ น สมัยทีเ่ ราเพิง่ จะเริม่ แสวงหา ตอนนัน้ อาจจะรูส้ กึ ใกล้ชดิ กับค�ำนีม้ าก แต่วา่ ยิง่ อายุมากขึ้น ยิ่งผ่านอะไรมามากขึ้น รู้สึกว่ามัน ห่างไกลตัวเราออกไป อาจจะเพราะว่าถูกปิดกัน้ ด้วยความรู้ ประสบการณ์ กรอบของโลกอะไร เหล่านี้ แต่มนั ก็เป็นสิง่ ทีต่ อ้ งเผชิญตลอดเวลา ขึน้ อยู่กับว่าจะปรับตัวในแต่ละสถานการณ์อย่างไร แม้แต่การท�ำอาหารสักมื้อ ซึ่งที่จริงแล้วอาหาร ก็มสี ตู รตายตัวอยู่ แต่การท�ำอาหารในแต่ละครัง้ อาจจะต้ อ งนึ ก ถึ ง คนกิ น ในมื้ อ นั้ น ว่ า เป็ น ใคร ส่วนตัวคิดว่า จิตวิญญาณอิสระก็อาจจะหมายถึง การปรับตัวพร้อมกับสิง่ ต่างๆ ทีอ่ ยูร่ อบข้างด้วย เหมือนกัน” ศิลปินกับจิตวิญญาณอิสระ? อ.บอย : “ผมมองต่ า งนะในเรื่ อ งของความ เป็นศิลปิน ถ้าเราบอกว่า โอ… ศิลปินต้องมี จิตวิญญาณอิสระ หรือมีเจตจ�ำนงเสรี ผมว่า มันเป็นการมองศิลปะ ‘เป็นอื่น’ โจเซฟ บอยซ์ (JosephBeuys) ศิลปินชาวเยอรมนีบอกว่า ทุกคน คือศิลปิน ดังนั้น ทุกคนก็มีจิตวิญญาณอิสระ ด้วย อย่างชาวบ้านที่ท�ำงานร่วมกับเราก็มี เขา มาสนุกสนานกับกระบวนการที่เราเตรียมไว้ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นก็เป็นอิสระ ควบคุมไม่ได้ คนเหล่านีม้ จี ติ วิญาณอิสระมากกว่าศิลปินเสียอีก เพราะศิลปินมีกรอบเยอะในวิธคี ดิ เนือ่ งจากถูก ฝึกมาให้ควบคุมรูปทรง เราต้องเรียนรูท้ จี่ ะปล่อย สิ่งต่างๆ ให้มันเป็นไป ไม่ใช่ว่าฉันจะสร้างงาน ศิลปะ แล้วติดว่า ไม่สวย ไม่งาม เพราะรูปทรง ไม่ดีตามที่ถูกสอนมา ผมว่าตรงนี้คือการติดกับ กรอบจนตัวเองไม่กล้าทีจ่ ะออกไปเผชิญกับสิง่ ที่ ไม่เคยรู้จัก ไม่กล้าผจญภัยไปในความคิดหรือ ความรูส้ กึ ของตัวเอง” ในการท�ำงานคู่หรือแม้แต่ความสัมพันธ์ส่วนตัว ของมนุษย์ เป็นไปได้จริงหรือทีแ่ ต่ละคนจะมีจติ วิญญาณอิสระของตัวเอง? อ.ยิน่ : “แม้วา่ ทุกคนมีสว่ นสัมพันธ์กนั ไม่วา่ 24
baccazine issue 09
จะน้ อ ยหรื อ มาก แต่ ส ่ ว นตั ว แล้ ว ยั ง เชื่ อใน Uniqueness ความเป็นปัจเจกมีความส�ำคัญ มี ความพิเศษ มันท�ำให้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นไม่สามารถ ทีจ่ ะเป็นสิง่ ตายตัว ไม่สามารถเป็นรูปแบบทีว่ ดั ค่า เหมือนเดิมได้ อันนี้แหละคือความเป็นปัจเจกที่ มันมีอยู่ในทุกคน” อ.บอย : “ในเชิงปรัชญาจิตวิญญาณอิสระมัน มีอยู่จริง แต่ก็ขึ้นอยู่กับบริบทสังคมที่ต่างกันไป ถ้าคุณมีเจตจ�ำนงเสรีในเกาหลีเหนือ คุณก็จะมี กรอบอย่างหนึง่ ถ้าคุณอยู่ในประเทศไทยตอนนี้ ก็จะมีกรอบอีกแบบหนึง่ ในอเมริกาถึงจะเป็นโลก เสรี ก็มกี รอบของมันอย่างหนึง่ อย่างไรก็ตาม มัน ก็มคี วามเป็นสากลอยู่ เพียงแต่เมือ่ อยู่ในสังคมที่ ต่างกัน หรือถูกน�ำมาใช้บริบททีแ่ ตกต่าง มันก็จะ เกีย่ วข้องกับสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และศิลป วัฒนธรรม ผมมองว่ามนุษย์เรามีความสัมพันธ์ กันแบบองค์รวม” เราทุกคนอยูใ่ นสังคมทีม่ คี า่ นิยมอย่างหนึง่ หาก คิดทีจ่ ะสร้างผลงานซึง่ อาจไม่ตรงกับจารีต หรือ แนวคิดของคนส่วนใหญ่ อาจถูกมองว่าแหกคอก แหวกขนบ หรือถูกมองในแง่ลบ คิดอย่างไรกับ ประเด็นนี?้ อ.บอย : “ผมมองว่างานศิลปะทุกวันนี้ไม่มอี ะไร ใหม่นะ มันมีคนท�ำมาหมดแล้ว เพราะเราเรียนรู้ ผ่านประวัติศาสตร์ศิลปะ งานที่ท�ำแล้วคนมอง ว่าแปลก จริงๆ ก็ไม่ได้มอี ะไรใหม่ อย่างป๊อปอัพ มิวเซียมทีเ่ ราท�ำเนีย่ มันเกิดขึน้ ในนิวยอร์กในช่วง 1990 เพราะในช่วงคาบเกีย่ วจากยุค 80’s ลงมา ศิ ล ปะเริ่ ม ตี ร วน และปฏิ เ สธตั ว เองออกจาก White Cube ในยุค 90’s จึงมีงานศิลปะสเกลใหญ่ คือท�ำมิวเซียมให้กับชุมชน ซึ่งทุกที่เป็นมิวเซียม หมด เราแค่ท�ำในสิ่งที่มันอยู่ ในไทม์ ไลน์ของ ประวัติศาสตร์ที่ ค้ น คว้ า มา แล้ ว น� ำ สิ่ ง นั้ น มา ประยุกต์ให้เข้ากับชุมชนของตัวเอง---การเรียนรู้ ประวัตศิ าสตร์ คือการเรียนรูอ้ นาคต” ในฐานะทีท่ งั้ 2 ท่านคลุกคลีกบั คนรุน่ ใหม่ ไม่วา่ จะนักศึกษาหรือเด็กๆ ในท้องถิน่ เขามีแนวโน้ม จะมีจติ วิญญาณอิสระมากขึน้ หรือย้อนกลับคืน สูแ่ นวทางแบบเก่า? อ. ยิน่ : “ทีเ่ ห็นชัดๆ คือการแบ่งแยกระบบอาวุโส ทีเ่ ริม่ ใกล้กนั มากขึน้ เขาจะไม่แสดงตัวว่าเป็นเด็ก หรือเป็นคนอ่อนวัยกว่า ทุกวันนี้การปฏิสัมพันธ์ ของเด็ก กับคนทีอ่ ายุมากกว่า มันใกล้กนั มากขึน้ การจะท�ำอะไรร่วมกันมันไม่ได้มคี วามรูส้ กึ เหมือน เราก�ำลังท�ำงานกับเด็กอยู่ ไม่เหมือนสมัยก่อน
ที่เด็กต้องเป็นเด็ก ต้องนอบน้อม ถามว่าเขามี ความเคารพผูใ้ หญ่ไหม มีนะ ยังเคารพเหมือนเดิม แต่การแสดงออกเปลี่ยนไป โครงสร้างความ สัมพันธ์ในอดีตมันชัดเจนกว่าสมัยนี้ ทีโ่ ครงสร้าง มันวิง่ ซ้อนกัน” อ.บอย : “ไม่รวู้ า่ เด็กคิดอย่างไร 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ ผ มว่ า เราทุ ก คนก� ำ ลั ง อยู ่ ใ นช่ ว งเวลาของ การเปลี่ยนถ่ายทางวัฒนธรรม ตอนนี้เราอยู่ใน ท่ามกลางของมัน เราก็ยงั มองไม่เห็น ถ้าถัดจากนี้ ไปสัก 5-10 ปีแล้วย้อนมองกลับมาถึงจะเข้าใจ
in the mood of art
กลุม่ ‘บ้านนอก’ เองก็ไม่ได้จะปฏิวตั ฝิ รัง่ เศส (หัวเราะ) ไม่ได้คิดจะปฏิรูปหรือล้มล้างสิ่งเก่า แต่ต้องการดึงสิ่ง ดีงามทีม่ อี ยูแ่ ล้วออกมาให้ฟงั ก์ชนั่ กับความเป็นร่วมสมัย ในช่วงเวลา ทีเ่ ด็ก ป.5 เล่นเฟซบุก๊ ทางมือถือแล้ว ทุกคน ต้องพัฒนาองค์ความรูเ้ พือ่ สร้างฐานในชุมชนของตัวเอง ถ้าเราไม่เตรียมชุมชนของเราไว้ การเปลี่ยนถ่ายจะ ไร้ทศิ ทาง สังคมหลังสมัยใหม่แบบเต็มตัว มันจะสับสน วุน่ วายมาก” ขอย้อนไปถามจุดหักเหในชีวติ ซึง่ ต้องผ่านการตัดสินใจ ครั้งใหญ่อย่าง อ.บอย ซึ่งลาออกจากงานประจ�ำมา ท�ำงานศิลปะเต็มตัว และอ.ยิน่ ซึง่ ลาออกจากการรับ ราชการอาจารย์ทคี่ ณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร อ.บอย : “การออกจากงานออฟฟิศ ไม่ใช่จุดเปลี่ยน ของผมนะ เพราะเป็นความตั้งใจอยู่แล้วว่าจะท�ำงาน เพือ่ หาเงินก้อนหนึง่ ไว้ทำ� งานศิลปะ ฉะนัน้ ผมจะท�ำงาน ประจ�ำ 8 เดือน แล้วลาออก ท�ำอย่างนี้ 2-3 ครัง้ ในชีวติ แล้วออกเดินทาง ท�ำงานศิลปะ ส่วนของยิน่ เนีย่ ระบบ ราชการในเวลานัน้ ยังไม่เอือ้ อ�ำนวยกับการเดินทาง ซึง่ เรามีโชว์ตา่ งประเทศ ถ้าไปคือขาดงาน การลาออกจาก ต�ำแหน่งอาจารย์นจี่ ดุ หักเหของเขาเลย” อ.ยิน่ : “รูแ้ ต่วา่ อยากท�ำอะไรก็ทำ� ตัง้ แต่สมัยมัธยมซึง่ เรียนสายสามัญมา แล้วอยากเรียนศิลปะ ก็พยายามไป สอบเข้า อยากท�ำงานแบบนี้ ก็ลองทีจ่ ะให้ได้ทำ� อย่าง ตอนรับราชการ ก็ไม่เคยคิดเรื่องการได้สวัสดิการใน ยามแก่เฒ่า การมีบ�ำเหน็จบ�ำนาญ แต่เป็นเรื่องของ การพัฒนานักศึกษารุน่ ใหม่มากกว่า ตอนลาออก ก็ไม่ ได้คิดว่าก�ำลังสูญเสียอะไรไป นึกแค่ว่าจะไปท�ำอะไร ทีอ่ ยากท�ำ” อ.บอย : “จุดนี้น่าสนใจ คือยิ่นคิดที่จะพัฒนาตัวเอง พัฒนานักศึกษา ซึง่ ทุกวันนีแ้ ม้ไม่ได้เป็นข้าราชการแล้ว ก็ยังท�ำแบบนั้น เพราะเราท�ำงานกับนักศึกษา อบรม พวกเขาในโครงการของ ‘บ้านนอก’“ ฝากถึงศิลปินคนรุน่ ใหม่ทยี่ งั ลังเลใจว่าจะเลือกอยูใ่ นกรอบ หรือเดินตามเสียงหัวใจอย่างเป็นอิสระ? อ.บอย : “ฟังเสียงตัวเองนะครับ แล้วก็เดินตามความ รู้สกึ ความฝันที่มันเป็นสิ่งดีงาม และอย่าคิดว่าตัวเอง เป็นศิลปินเลย เป็นคนธรรมดาดีกว่า ท�ำงานตามสาย วิชาชีพให้มปี ระสิทธิภาพ เราเป็นหน่วยหนึง่ ของสังคม ฉะนัน้ งานทีเ่ ราท�ำก็ดตี อ่ ตนและดีตอ่ ท่าน เข้าไปท�ำให้ สังคมเดินหน้า เปลีย่ นแปลงกันครับ” อ.ยิ่น : “คิดว่าท�ำอะไรก็ได้ที่เป็นความก้าวหน้าทาง วิชาชีพของตัวเอง สิง่ ทีเ่ ราประสบมาตลอด 10 ปีทผี่ า่ น มาคือค�ำถามทีว่ า่ ท�ำไปท�ำไม ? --- เราท�ำแล้วรูส้ กึ ว่า ตัวเองก้าวหน้าในความคิด ความรู้ เป็นการขยับขึน้ ไป ของตัวเอง นีค่ อื ค�ำตอบ”
ศิลปะท�ำให้เราเป็นอิสระ เรามีเจตจ�ำนงเสรีทจี่ ะคิด จะสร้างสรรค์อะไรก็ได้ โดยไม่มก ี รอบ
issue 09 baccazine
2 5
JIRADEJ AND PORNPILAI MEEMALAI “FREE SPIRIT”
จิระเดช-พรพิไล มีมาลัย
ศิลปินดูโอ และคูช่ วี ติ ทีส่ ร้างสรรรค์ผลงานศิลปะร่วมกันมานานกว่า 10 ปี ทัง้ คูจ่ บการศึกษาจาก คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร หลังเรียนจบ จิระเดชท�ำงานประจ�ำเป็นดีไซเนอร์ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เพื่อสะสมทุนในการท�ำงานศิลปะ ส่วนพรพิไล ได้รับทุนศึกษาต่อปริญญาโทที่อังกฤษ แล้วกลับมา รับราชการเป็นอาจารย์ประจ�ำคณะมัณฑนศิลป์เพื่อใช้ทุน 6 ปี แล้วจึงลาออกเพื่อท�ำงานศิลปะอย่าง ที่ต้องการ โดยร่วมกันสร้างสตูดิโอส่วนตัวที่จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของจิระเดช ปัจจุบัน นอกจากสร้างงานศิลปะอย่างต่อเนื่องแล้ว ทั้งสองยังเป็นอาจารย์พิเศษ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์อีกด้วย ติดตามผลงานของศิลปินคู่นี้ได้ที่ http://www.jiandyin.com
POP-UP MUSEUM พิพธ ิ ภัณฑ์เฉพาะกาล (กรณีศก ึ ษาชุมชนหนองโพ)
นิทรรศการศิลปะร่วมสมัยทีเ่ ป็นโครงการน�ำร่องการศึกษาศิลปสหวิทยาการนอกโรงเรียน ภายใต้ แนวคิดสร้างสรรค์นอกห้องปฏิบตั กิ าร และรูปแบบศิลปะการมีสว่ นร่วม เพือ่ ขับเคลือ่ นศิลปวัฒนธรรม ร่วมสมัย เป็นการท�ำงานร่วมกันระหว่างนักศึกษาหลากหลายสาขา ศิลปินรุน่ ใหม่ ผูเ้ ชีย่ วชาญเฉพาะทาง ฯลฯ ด�ำเนินการโดย บ้านนอก (Baan Noorg) ซึ่งก่อตั้งโดย จิระเดชและพรพิไล มีมาลัย โดยมี ศิลปินเข้าร่วมทั้งชาวไทยและต่างชาติ ได้แก่ สาครินทร์ เครืออ่อน, โล ชื่อ ตง (Lo Shih Tung) และ สวี่เจียเหว่ย (Hsu Chia Wei) พร้อมด้วยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ติดตามข่าวสารได้ที่ https:// www.facebook.com/dayOFFLABoratory
26
baccazine issue 09
Jiradej and Pornpilai Meemalai are internationally renowned duo artists. They have recently established “Pop-Up Museum” as part of the project founded by “Baan Noorg Group” to support community arts in Nong Pho Subdistrict, Ratchburi Province. Present projects? Jiradej : “I’m participating in the 3-year MITT Programme which is an art project collaboration between curators and artists from Myanmar, Indonesia, Thailand and Taiwan. As part of the ‘Baan Noorg Group’, I’ve just opened Pop-Up Museum on June 14th, aiming to organize a film festival with workshops for youths in 2015. Another project that I’m working on for the 4th year now is an interactive performance project called ‘Dialogue: Seeing and Being’”. What is Pop-Up Museum? Jiradej : “It’s a multimedia museum with themes like mobile museum, edible museum, sidewalk museum, sound museum and common museum. It is managed and supported by the Nong Pho Community in collaboration with Silpakorn and Thammasat University. The objective is to integrate visual arts into contemporary art development.” What are the expected benefits for the community? Jiradej : “They help revitalize and revive local traditional knowledge and practices. For instance, they realized that the local knowledge in making Thai Yuan food is vanishing in the village. So they came up with this idea of ‘edible museum’ by organizing an alms-giving event for monks and asked the villagers to teach them how to make Thai Yuan food. The event was very well received by the villagers.” Challenges? Jiradej : “Probably the biggest challenge is my own temperament, but I’ve learned that all problems can be solved through sincere and clear communication.” Level of community participation? Jiradej : “First they just followed the headmaster’s commands to support us, but now they’re more and more involved in the
in the mood of art
project production.” Both of your backgrounds are in design. What was the changing point that led you to work with different media now? Or is it not a change as art is all connected? Jiradej : “I came to realize that everything is connected in design, whether it’s visual arts, architecture, anthropology, economics or political science. It’s much more interesting to use this knowledge to create art as it relates more closely to the real contemporary life”. Both of you have been working together for more than 10 years now. Have there been any differences in ideas and approaches? How did you deal with them? Jiradej : “Our ideas have never been the same, which is a good thing. It makes our works creative and innovative”. Pornpilai : “We just question and answer each other”. Jiradej :“And end up fighting with each other” (laughs). Pornpilai: “If we can’t find an agreement yet, we’d stop until we can come back and settle it”. Jiradej : “It’s natural when you’re working with other people. We just have to adjust ourselves and learn about each other.” Please define “free spirit”. Jiradej : “I believe that the nature of art is about will to power as Friedrich Nietzsche said. It’s true that when we first begun studying art, we may have to follow certain forms and techniques, but as we’ve become more and more experienced, we must be free from all forms and boundaries. That’s why I’m interested in various fields of knowledge to remove those limitations.” Pornpilai : “When I first started thinking about what I wanted to be or make 10-20 years ago, I often thought about free spirit and free will. Now I personally believe that free spirit means the ability to adapt oneself to the surrounding.” Artists and free spirit? Jiradej : “Joseph Beuys once said that everybody is an artist. The villagers enjoy working with us in an unpredictable direction. I think they are even freer than us because
they are not concerned or restricted by principles of art.” Is it really possible for each of you or any of us to have our own free spirit? Pornpilai : “Even though people are more or less related to one another, they are still unique in their own ways, which makes them free.” Jiradej : “Theoretically, free spirit is real but may be defined differently in different societies and in different contexts. People are nevertheless related to one another in a holistic point of view.” We all live within some kind of social norms. We may be perceived negatively if we tried to create work that is not in line with our social values or believes. What do you think about this issue? Jiradej : “I can’t identify any single art today that is completely new. They are all reproductions of past work in the history of art. Even the Pop-Up Museum is not new. People were bored with the existing museums in 1990s and so came to focus on community museums. Learning about the past is learning about the future.” As both of you have been working with a new generation people, do you think they are inclined towards free spirit or repetition of history? Pornpilai : “One of the things I notice is that children nowadays interact with us in a closer relationship kind of way, unlike in the past when there was such a big gap between older and younger people.” Jiradej : “’Baan Noorg Group’ doesn’t aim to start a revolution. We just want to strengthen our community through local knowledge development so that it will be prepared for modernization and globalization.” Why did you, Jiradet, quit his full time job and Phornpilai resign from your teaching job at Silpakorn University? Jiradej : “I just wanted to earn enough money to be able to travel and work on art. But Phornpilai quit her job because of our art exhibitions abroad which required a lot of travelling.”
Pornpilai : “I just wanted to do whatever I wanted to do. I cared very little about welfare and salary. I just knew that I wanted to work in youth development.” Jiradej : “I think her point is very interesting. Even though she is not a university teacher anymore, she still supports youth development through our project.” Can you please say something to the young people who are still hesitating to follow their hearts? Jiradej : “Just follow your heart no matter what occupation you’re having. Just do it well for yourself and the society.” Pornpilai : “Constantly work on your thoughts and knowledge without neglecting your spirit. By this way, you will find progress and happiness in your job.” Jiradej and Pornpilai Meemalai
The duo artists have been collaborating with each other for more than 10 years. Both graduated from the Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University. Jiradet worked as a full time designer while Phornpilai continued her education in the UK and worked as a full time lecturer at the Silpakorn University. They quit your full time job to follow their dreams and establish a studio in Ratchburi Province. They are now guest lecturers at the Faculty of Fine and Applied Arts in Thammasat University. For more information, visit http:// www.jiandyin.com Pop-Up Museum (Case study of Nong Pho Community)
Managed by Baan Noorg Group, which was established by Jiradet and Phornpilai Mimalai, the museum hosts contemporary exhibitions as a pilot project for multidisciplinary art studies. It involves various stakeholders, especially the students, youths, community and experts such as Sakhrin Krue-orn, Lo Shih Tung and Hsu Chia Wei and Thammasat University. See more details on https://www.facebook.com/ dayOFFLABoratory.
•
issue 09 baccazine
2 7
the sketch
อเล็กซ์ เฟซ
ALEX FACE
28
baccazine issue 09
issue 09 baccazine
2 9
my studio
พื้น ที่แ รงบั น ดาลใจอิ ส ระของ ผู้ชายชื่อ อเล็กซ์ เฟซ COLUMNIST : DD PHOTO : ANUCH
สายลมเย็นสบาย พัดผ่านห้องสีเ่ หลีย ่ มเปิด โล่งขนาดใหญ่ ย่านพุทธมณฑลสาย 2 ที่นี่ คือสตูดิโอสร้างงานของ พัชรพล แตงรื่น หรือ อเล็กซ์ เฟซ (Alex Face) ศิลปิน ผูส้ ร้างงานกราฟฟิตอี้ น ั เป็นเอกลักษณ์ทเี่ ขา ฝากไว้บนก�ำแพง ข้างป้ายรถเมล์ ใต้สถานี รถไฟฟ้า และพืน้ ทีว่ า่ งข้างถนนอันหลากหลาย ให้กลับมามีชีวิต จนกลายเป็นฉายาที่คนใน แวดวงสตรีท อาร์ท ทั้งในและต่างประเทศ ต่างรู้จักกันเป็นอย่างดี
30
baccazine issue 09
ย้อนหลังกลับไปเมื่อราว 10 ปีก่อน สมัย เรียนคณะสถาปัตยกรรม ภาควิชาวิจิตรศิลป์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง อเล็กซ์ เป็นที่รังเกียจของคนย่าน ลาดกระบัง (เจ้าตัวบอกอย่างนัน้ ) เพราะในยาม ราตรีคบื คลาน เขาและกลุม่ เพือ่ นจะออกตระเวน พ่นสีสเปรย์ตามความนึกคิดทีอ่ ยูภ่ ายในทุกตรอก ซอกซอย จนเกือบโดนเหยียบก็หลายครัง้ แต่นนั่ คือความสุขของอเล็กซ์ที่ได้ทงิ้ ผลงานศิลปะไว้ให้ คนได้เห็น “ผมชอบวาดรูป วาดการ์ตูน ท�ำกิจกรรม
มาตั้งแต่เด็กๆ เรียนศิลปะตั้งแต่ประถม มัธยม อาชีวะ พอช่วงเรียนมหาวิทยาลัยตอนนัน้ เพือ่ นๆ ซือ้ หนังสือเกีย่ วกับงานกราฟฟิตขี้ องพวกอเมริกนั มาให้ดู ก็เริ่มรู้สึกว่ามันเจ๋งดี น่าสนใจ ผมก็ มาพ่นสี เพื่อนชวนพ่นกันผมก็เลยพ่นชื่ออเล็กซ์ เพราะตอนเรียนมหาวิทยาลัยเขาตั้งชื่อผมว่า อเล็กซ์ ผมเลยพ่นค�ำนีเ้ ลยเพราะเป็นฉายาผมอยู่ แล้ว เพราะกราฟฟิตี้มันก็ต้องเป็นฉายา แล้วผม ก็พ่นมาเรื่อย ยิ่งอยู่ลาดกระบังนี่ยิ่งพ่นกันแทบ ทุกคืน จนย่านนั้นเขาเกลียดผมทั้งนั้นแหละ (หัวเราะ) “แล้วท�ำไมต้องสร้างงานกราฟฟิตี้ (Graffiti) ตอนกลางคืน?” “มันสนุก เหมือนเราได้ประท้วง เราได้แหกกฎ อะไรบางอย่าง เราได้พดู ในสิง่ ทีเ่ ราอยากพูด พอ เราปลอดภัยกลับมาได้ เราจะรูส้ กึ มีความสุข แต่ สิ่งที่เราท�ำมันไม่ได้เป็นสิ่งที่ไม่ดีนะ ผมไม่ได้ไป ท�ำร้ายใคร ผมคิดว่าผมไปท�ำงานศิลปะ เวลา
เลือกสถานที่นี่ ใช้เซ้น ท์ ใช้จิตใต้ส�ำนึกอย่าง เดียวครับ เมื่อไหร่ก็ตามที่เราได้เห็น สถานที่ เรารู้สึกยังไงกับมัน เราอยากท�ำอะไรกับพื้นที่นี้ คอมโพสิชนั่ ได้ เรามีไอเดีย ประสบการณ์มนั จะ บอกกับเรา พืน้ ทีค่ วรจะสัมพันธ์กบั สิง่ ทีค่ ดิ บางที ก็เอาพื้นที่เป็นโจทย์ให้เราท�ำงานก็มี ประเด็นหลักๆ ถ้าเป็นสเกลใหญ่ผมจะมอง เรื่องอนาคตของมนุษยชาติ เพราะมันเริ่มท�ำให้ ผมคิดตัง้ แต่ผมมีลกู เรามีผลผลิตของรุน่ เราต่อไป นะ และเขาก็จะโตมาอีกยุคนึง เมื่อเขามีลูก ลูกเขาก็จะโตในอีกยุคนึง ผมว่ามันเป็นเรือ่ งของ การสืบเผ่าพันธุ์ไปเรื่อยๆ อนาคตจะเป็นยังไง ทุกวันนี้เราเชื่อว่าทุกอย่างพัฒนา มีเทคโนโลยี แล้วเราจะเจริญขึน้ จึงมีการก่อสร้างเต็มไปหมด แต่ว่าพื้นที่ที่เคยปลูกข้าว พื้นที่ธรรมชาติก็ถูก ท�ำลายไปเรื่อยๆ ซึ่งมันจะสวนทางกับสิ่งที่เรา คิดว่ามันจะศิวไิ ลซ์นะ ผมคิดว่าในเมือ่ พืน้ ทีเ่ พาะปลูก มั น น้ อ ยลง แล้ ว คนมั น เยอะขึ้ น ทุ ก ปี ๆ สิ่ ง ที่
เราต้องการมากที่สุดก็คืออาหารน่ะ อย่างบ้าน ผมเมื่อก่อนเป็นทุ่งนา แต่ตอนนี้มันเป็นโรงงาน หมดแล้ว ฝัง่ ตรงข้ามบ้านผมทีเ่ ป็นทุง่ นา ตอนนีก้ ็ ถูกถมท�ำเป็นหมูบ่ า้ นจัดสรรแล้ว น้องผมก็ไปจอง ไว้หลังนึง 5555 คือพื้นที่สีเขียวที่เคยปลูกข้าว กิน มันเริ่มหายไป ผมเลยเนกาทีฟกับเรื่องราว เหล่านี้ +ลูกสาวผมชื่อ...มาร์ดี “มาร์ด”ี ภาพการ์ตนู เด็กผูห้ ญิงหน้าตาบึง้ ตึง กลายมาเป็นคาแรกเตอร์ที่ทุกคนรู้จักดีว่า นี่คือ ลายเส้ น และลายเซ็ น อั น เป็ น เอกลั ก ษณ์ ข อง อเล็กซ์ มาร์ดีไม่ใช่ใครที่ไหน หากแต่คอื ลูกสาววัย 4 ขวบกว่าๆ ของอเล็กซ์ ทีก่ ลายมาเป็นส่วนหนึง่ ของแรงบันดาลใจชัน้ ดีทที่ ำ� ให้ “ทีว่ า่ ง” นัน้ มีชวี ติ ไปโดยปริยาย “แรกๆ ผมก็ชอบพ่นชื่อฉายาตัวเอง (ที่เรียก กันว่า สาย ‘ฟอนท์’ หรือ Letter Style) บน ก�ำแพง แต่พอมาถึงจุดหนึง่ ผมเริม่ เบือ่ กับรูปแบบ กราฟฟิตี้ที่ซ�้ำซาก แล้วผมเรียนทางด้านศิลปะ มา ก็เลยเริ่มสร้างคาแรกเตอร์ในแต่ละชิ้นงาน (Character Style) พ่นเป็นรูปหน้าคนที่ดูมีมิติ และใส่ชนั้ เชิงมากขึน้ ผมคิดว่า งานกราฟฟิตมี้ นั ควรจะมีแมสเสจอะไรบางอย่างที่จะสื่อสารกับ คนทั่วไปได้ ผมจึงเล่าผ่านตัวละครเด็กหน้าบึ้ง ของผม บ่อยๆ ก็เป็น ประสบการณ์แต่ละวัน ในแบบที่ผมเจอ เรื่องของลูกก็จะผสมอยู่ในนั้น แรงบันดาลใจของผมจะมาจากทุกอย่าง ทั้งตัว ผมเอง ครอบครัว เพื่อน ลูก” +My Studio พื้นที่นี้มีชีวิต อเล็กซ์ใช้เวลาสร้างสรรค์ผลงานอยู่ในสตูดโิ อ แทบจะทั้งวัน ตื่นขึ้นมาไม่ล้างหน้า แปรงฟัน ก็พงุ่ เข้ามาทีส่ ตูดโิ อ แล้วนัง่ ขลุกท�ำงานจนเย็นย�ำ ่ บางวันเลยเถิดไปจนถึงค�่ำมืด นอนเกลือกกลิ้ง อยู่ในนี้ ก่อนจะไปล้างหน้า แปรงฟัน กินข้าว “สตูผมเปิดโล่งทั้งสองฝั่ง เป็นเหมือนร้าน ขายของเก่า ท�ำอะไรคนเห็น หมดน่ะ ลมพัด เย็นสบายผมชอบ มุมที่ชอบทิ้งตัวที่สุดคือโซฟา ตัวนึง ง่วงๆ ก็นอนเหมือนกันนะ (หัวเราะ) ผม อยู่ในสตูดิโอทั้งวัน ทั้งคืน นอนกลิ้งไปกลิ้งมา ผมพยายามจะมีวินัยในการท�ำงานแต่นั่งทั้งวัน บางทีมาท�ำงานตอนกลางคืน แล้วช่วงนี้ผมอาจ จะได้งานช่วง 2 ชั่วโมงสุดท้ายประมาณตีหนึ่ง ตีสองก่อนทีจ่ ะร่วงไป คือเวลาเขียนรูปผมต้องการ อยู่คนเดียว ลูก เมียก็ไม่ต้องการนะ อยู่คนละ บ้านได้ยิ่งดีเลย เสร็จงานแล้วค่อยมาเจอกัน ซึ่ง ผมจะท�ำงานได้มากกว่า ตื่นมาผมจะวิ่งไปหา เฟรมเลยไง นัง่ ทัง้ วัน บางทีไม่แปรงฟัน ไม่กนิ ข้าว
ไม่อาบน�้ำ ถ้าตื่นมาแล้ววาดก็จะวาดทั้งวันแล้ว ค่อยมาอาบน�้ำ แปรงฟันตอนเย็น แต่เดี๋ยวนี้ด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ก็ต้อง จั ด สรรเวลามากขึ้ น เพราะตอนเย็ น ลู ก กลั บ จากโรงเรียนก็จะชอบมาเล่นด้วย ผมก็ต้องเล่น กับเขา ตอนเช้าก็ต้องรีบตื่นเพื่อขับรถไปส่ง ลูกที่โรงเรียน ผมก็คิดหาวิธีการใหม่ๆ ในการ ท�ำงาน ผมมีวธิ เี ยอะ เช่น ออกเดินทางไปท�ำงาน นอกสถานที่บ้าง ผมเคยปั่นจักรยานจากบ้านไป สวนผึ้ง ราชบุรี กับเพื่อน แล้วก็แวะพ่นไปเรื่อย มันเจออะไรจริงๆ มีเด็กมาจอยกับเรา เจอชาวบ้าน ผมปั ่ น จะไปหมดแรงตายบนภู เ ขาก็ มี ค นมา ช่วยผม มีแขนขาอยูข่ า้ งอยูก่ บั ลูกสาว ดราม่าเจอ เรื่องราวนี้ ผมก็คิดว่าถ้าเราสร้างแรงบันดาลใจ ให้เด็กก็น่าจะดี เราปั่นจักรยานไป ชวนเด็กปั่น จักรยานให้เขาเห็นว่าท�ำได้ เอาหนังสือนิทาน ดีๆ ไปให้เด็กอ่าน ผมว่าบ้านเราตอนนี้ผู้ใหญ่ มันเสียไปแล้ว เรื่องแบ่งแยกมันจูนกลับไปไม่ได้ มันแก้ไม่ได้แล้ว ฉะนั้นไปแก้ที่เด็กดีกว่า สร้าง แรงบันดาลใจให้เด็ก ผมว่าต้องมีเด็กทีส่ นใจบ้าง เพราะตอนที่ผมเป็นเด็ก เจอใครท�ำอะไรผมก็ อยากท�ำนะ +สตรีทอาร์ท “สตรีทอาร์ท ถ้าแปลตรงตัวภาษาอังกฤษก็คอื ศิลปะบนถนน ศิลปะที่อยู่กับคน งานที่ ใครก็ สามารถเห็นได้ ศิลปะมีนัยท�ำให้คนคิดไปกับมัน มีอารมณ์ มีแรงบันดาลใจไปกับมันได้ ขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์คนที่ตีความ ส�ำหรับผม ผมว่างาน กราฟฟิตี้อาจจะอยู่ในยุคของผม เป็นช่วงเวลา ที่ผมสนใจพอดี ทุกวันนี้คนรุ่นๆ ผมสนใจแล้ว ก็ชอบกราฟฟิตี้กัน กลายเป็นว่ากราฟฟิตี้ได้รับ ความสนใจ เพราะยุคสมัยมันเริ่มเปลี่ยน คนรุ่น ผมเริ่มโตขึ้น เริ่มซัพพอร์ตกัน เริ่มมีก�ำลังที่จะ จัดกิจกรรมที่ตัวเองชอบกัน แล้วกราฟฟิตี้มัน ก็มที วั่ โลกเลย แต่ทผี่ มเริม่ ท�ำกราฟฟิตเี้ พราะมัน สนุก ผมท�ำงานปั้น ภาพพิมพ์ กระบวนการมัน จะเยอะ แต่เวลาผมไปจับกระป๋องสีพ่นครั้งแรก ผมก็รู้สึกว่ามันเร็ว มันสนุก ผมเปิดเทคนิคใหม่ ของผมแล้วสนุกไปกับมัน ผมชอบเดินทาง มันก็ เหมือนผมชอบออกไปท�ำงานข้างนอก สนุกกับ พืน้ ที่ พอโตขึน้ เริม่ มีวธิ คี ดิ หลายๆ อย่าง ผมมองว่า ศิลปะบ้านเราไม่ค่อยมี ใครเข้าไปดูงาน อย่าง ทีเ่ ห็นๆ กันในวงการเรา ปัญหาคืออะไร งานไม่คอ่ ย กระจายไปสู่คนทุกคน งานไม่ค่อยไปสู่คนอาชีพ อื่นๆ สังเกตว่าเมื่อก่อนผมเรียนงานศิลปะ จะมี แต่เพื่อนนักศึกษา อาจารย์ แต่พอผมมาท�ำ กราฟฟิตี้ คนรู้จัก เห็นงานเรา ก็เป็นวิธีหนึ่ง issue 09 baccazine
3 1
ศิลปะมีนัยท�ำให้คนคิด ไปกับมัน มีอารมณ์ มีแรงบันดาลใจไปกับมันได้ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ คนที่ตีความ
ที่งานจะเข้าสู่ผู้คนได้ ข้อดีคือการได้พีอาร์ คน ได้เห็นงานเรา จอยกับมัน ไม่ใช่เราท�ำแทบตาย แต่ไม่มีใครมาดู” “ไอดอลของอเล็กซ์ เฟซ คือใคร?” ถ้าตัวจี๊ดๆที่ผมอยากเป็นเขามาก คือโมเน่ต์ (Claude Monet) เมื่ อ ก่ อ นตอนผมเรี ย น มหาวิทยาลัย ไปไหนผมต้องมีเฟรมมีสีน�้ำมัน ติดตัวไปด้วย ผมจะวาดรูปของผม ผมจะเป็น โมเน่ต์ (หัวเราะ) ผมว่างานเขาสวย ตอนแรก เริ่มจากเราเรียนแลนด์สเคป ผมก็ต้องมาหา เรฟเฟอเรนท์ว่าเขาเขียนกันยังไง ใช้สียังไง พอ ผมไปดูงานโมเน่ต์แล้วผมชอบมาก ผมว่าใครๆ ก็ต้องชอบงานโมเน่ต์ เรื่องของการเดินทางเท่า ที่ดูมันก็คล้ายกับกราฟฟิตี้ มันเป็นแค่เรื่องการ เปลี่ยนผ่านยุคสมัยของศิลปะ ยุคนั้นมันมีสี มี การออกไปเขียนนอกสถานที่ ออกไปเจอพื้นที่ ออกไปเจอบรรยากาศจริง เหมือนกราฟฟิตี้ แต่ สีจะอยู่ในกระป๋อง แต่ออกไปท�ำในพืน้ ทีเ่ หมือนกัน มันเป็นการก้าวข้ามเหมือนการเดิน ทางของ ศิลปะน่ะ เดินทางจากคลาสสิกแล้วค่อยๆ เปลีย่ น ยุคมา ผมว่าบริบทมันก็คือบริบทเดียวกันของ 32
baccazine issue 09
การเดินทางในยุคศิลปะแล้วมันก็มีอะไรคล้ายๆ กัน อิมเพรสชัน่ นิสต์ กราฟฟิตี้ ผมก็เลยชอบ แต่ ถ้าเป็นกราฟฟิตสี้ ตรีทอาร์ทผมก็ชอบหลากหลาย นะ เพราะมันเยอะมาก ผมไม่สามารถโฟกัสว่า ชอบใครเป็ น พิ เ ศษขนาดนั้ น ได้ ผมเห็ น ผมก็ ชอบหมด นี่ก็เจ๋ง นั่นก็เจ๋ง ดีไปคนละแบบ” +กราฟฟิตี้ ผลิบาน “ตอนนี้อยู่ในช่วงหาแรงบันดาลใจ ยังไม่ได้ โฟกัสว่าจะท�ำโชว์ ยังเค้นๆ ตัวเองอยู่ มีท�ำงาน ให้กับแบรนด์นาฬิกาอย่างจีชอคบ้าง ก็วุ่นวาย กับชีวิตอยู่พักใหญ่ คือผมไม่ ใช่สายดี ไซเนอร์ ไง วิธีการท�ำงานต่างกัน ผมท�ำงานไฟน์อาร์ทก็ ต้องปรับหน่อย ก็เกือบเสร็จแล้ว จากนั้นเดือน สิงหาคมผมก็เตรียมเดินทางไปยุโรป จะพาลูก ไปด้วย ผมไปพ่นที่เดนมาร์ก อยู่เดนมาร์ก 20 วัน แล้วอาจไปหาเพื่อนที่สวีเดน จากนั้นก็ไป นอร์เวย์ต่อ อยู่ที่นอร์เวย์ประมาณ 1 เดือน เพราะต้องเวิร์กช้อปกับเด็กๆ ผมไปสอนเด็กๆ พ่นกราฟฟิตี้ ผมไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น เพื่อนผม อยู่ที่นอร์เวย์บอกว่า หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของ นอร์เวย์ลงข่าวผม เด็กๆ ก็เขียนการ์ดมาหา
บอกอเล็กซ์จะมาเขียนรูปเป็นไทยแลนด์ เป็นช้าง ผมรู้สึกเหมือนเป็นตัวแทนทูตวัฒนธรรมอะไร สักอย่าง (หัวเราะ) ผมก็เออเด็กสวีเดนคงน่ารักดี สีห่ า้ ขวบ สิบสองขวบ แล้วผมก็จะไปเยอรมนี ไปดู แกลเลอรีท่ ผี่ มจะต้องเอางานไปแสดง ถ้ามีเวลาต่อ ก็จะไปฮอลแลนด์ ไปจบที่ฝรั่งเศส ตั้งใจจะไปดู โมเน่ต์ในมิวเซียมฝรั่งเศสให้ได้ และก็ไปตึก โมเน่ต์ แต่ไม่รู้จะได้ป่าว เพราะผมเคยไปดูงาน โมเน่ตท์ อี่ งั กฤษมาแล้ว ตอนไปญีป่ นุ่ ก็ได้จงั หวะดี ทีม่ กี ารจัดแสดงงานของโมเน่ต์ ผมก็ได้ดอู กี แต่ ที่สุดต้องไปรังของเขาที่ฝรั่งเศสให้ได้ กลับมาก็มีอะไรที่ท�ำ อาจจะท�ำงานร่วมกับ พี่สุกี้ (กมล สุโกศล แคลปป์) พี่สุกี้เขาท�ำเพลง ใหม่ ให้ผมช่วยท�ำคาแรกเตอร์ให้ ผมก็อาจจะ ไปอยู่ในวงการเพลงนิดหน่อย สนุกดี พี่สุกี้เขา น่ารัก ผมไหว้ได้สนิทใจ อ้อ ผมมีโปรเจ็กต์ปั่น จักรยานเวอร์ชั่น 2 ด้วย มันไม่ต้องมีอะไรมาก แค่มเี วลา ก็ไปได้เลย ผมอยากท�ำช่วงต้นปีหน้า ปั่นจักรยานไป ตั้งใจจะท�ำหนังสือนิทานไปแจก สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ และผมก็จะไปหา แรงบันดาลใจของผมเองด้วย”
my studio
The inspiration of ALEX FACE The spacey studio located on Phuttamonthon 2 Road is where all the great ideas for the graffiti of Phatcharaphol Tangreun, or Alex Face, come up. His street art has transformed several dull and vacant spots in Bangkok into colorful and vibrant areas. Ten years ago during his studies at the Faculty of Architecture, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang, Alex and his friends would go out at night to spray paints in all the alleys. “From a young age I loved drawing”. Then one day when I was in college, I came across a graffiti book for the first time. It really got my attention. So I started making graffiti with my friends under the name ‘Alex’. I spray painted every night and I’m sure a lot of people in those neighborhoods hated me,” he laughed. “Why did you have to do it at night?” “It was fun. It felt like a rebellious thing to do. It allowed me to freely express my mind. I don’t believe that graffiti is a bad thing. I didn’t hurt anyone. What I did was art. I used my instinct in selecting the locations and subjects for my graffiti.” “Many things have inspired me, especially the question about the future of humanity. Technology has brought us convenience and buildings. People believe that it enhances our lives, but how come our mother nature has been constantly deteriorating? It’s opposite to the concept of civilization.” My daughter’s name is Mardi
Mardi is a character of a four-year-old girl with a pouted face. She has become the signature of Alex Face’s works. Did you know that the character is based on his daughter? “At first I liked to paint my name on the walls until I became really bored with the redundant style. So I tried working on characters to create human faces with dimension and stories. Mardi is how I tell the everyday life of me and my family.” My studio is my life Alex spends most of his time at his studio. Right after he gets up, he often works immediately until very late at night. “My studio is an open space. People from outside can see everything. It’s breezy here and my favorite corner is the sofa right there. I can stay here all day all night and prefer to be alone while working. I’m very focused on my work that sometimes I even forget to brush my teeth or eat or wash myself.” “But now my life has become different since I have become a father. My daughter loves to play with me after school so I have to make time for that. I have to get up early to send her off to school. I have also learned to enjoy working outside of my studio. I used to bike with my friends from home to Ratchaburi, making frequent stops to create graffiti along the way. I also love to inspire children to discover their new interests and talents.” Street art “Street art is open to people’s interpretation. Anyone can create art and appreciate it. When I first made graffiti, I was hooked on it because of the fun and
quick movements. I also enjoyed working on the streets. Now it’s become famous and graffiti artists support one another across the world. I notice that art in general is not that acknowledged in Thailand. The public doesn’t know much about it. But graffiti is a great way to publicize your work. People get to see and appreciate your efforts and talents.” Who is Alex Face’s idol? “My idol is Claude Monet. He carried paints with him everywhere to capture the moments in various outdoor settings. I used to carry oil paints with me, too, when I was in college, but now I have my aerosol paints with me whenever I go outside. I want to be able to create art on the spot, which is pretty much the same concept as impressionism. There are a lot of cool graffiti street artists that I admire. It’s hard to pick just one.” Multiplying graffiti “At the moment, I’m working on my designs for G-Shock watches. When I’m done, I’ll be traveling to Europe with my daughter. I will make graffiti in Denmark and Sweden. I will also teach children how to create graffiti in Norway, and visit the gallery in Germany where my works will be displayed. Then I’ll continue to Holland and France. Of course, I’d love to see Monet’s paintings in the museum there.” “When I’m back, I may collaborate with Suki Kamol Sukosol Clapp on character development for his new song. I also like biking and making story books for children to help them find their inspiration as well as mine.”
•
issue 09 baccazine
3 3
place for passion
PEDAL LANE
เลนนีส ้ �ำ หรับคนรักจักรยาน COLUMNIST : ARTIT PHOTO : ANUCH
เพราะความรักการปัน่ จักรยานโดยแท้ ทีท่ ำ� ให้ คุณยู - วัจนา ลือวัฒนานนท์ และคุณติก๊ -สุปรีญา ปองเกษม ร่วมกันเปิดร้าน Pedal Lane ที่ ให้ นิยามว่าเป็นบูตกิ ไบค์ชอป จ�ำหน่ายจักรยานดีไซน์ และแอสเซสเซอรี่สุดเก๋ ให้คนคอเดียวกันได้ เพลิดเพลินกับการปัน่ และแต่งจักรยานกันเพลินๆ แบรนด์หลักๆ ทีท่ างร้านน�ำเข้าคือ PUBLIC จาก ซานฟรานซิสโกที่เจ้าของแบรนด์เป็นดีไซเนอร์ ออกแบบให้จกั รยานซิตี้ไบค์สวย สะดุดตา มีดเี ทล น่าสนใจ และปัน่ สบายเหมาะส�ำหรับคนเมือง “โดยส่วนตัวยูชอบปั่นจักรยานมาตั้งแต่เด็ก พอมาอยูก่ รุงเทพฯ ก็ปน่ั ใช้งานตามปกติ วันนึงมา เจอหุน้ ส่วนคือพีต่ กิ๊ ซึง่ ชอบจักรยานและน�ำแบรนด์ PUBLIC เข้ามา จึงชวนกันมาเปิดร้านขายจักรยาน แล้วก็น�ำแบรนด์ PUBLIC มาขาย ซึ่งแบรนด์นี้ โด่งดังมากทีอ่ เมริกา เจ้าของเป็นดีไซเนอร์ ชอบ ปั่นจักรยาน และซานฟรานซิสโกก็เป็นเมืองที่ เหมาะกับการปัน่ จักรยาน เขาก็เลยออกแบบ ผลิต ท�ำขายเอง จริงๆ บ้านเรามีจกั รยานซิตี้ไบค์มานาน
แล้วทรงแบบนี้คือจักรยานญี่ปุ่นที่เราเห็นโดย ทัว่ ๆ ไป จักรยานซิตี้ไบค์ลอ้ ใหญ่ หน้ากว้าง ซับ แรงกระแทก ปัน่ สบายมาก ใส่กระโปรงก็ปน่ั ได้ และตัวจักรยานก็สามารถใส่กระเป๋าข้าง ตะกร้า สามารถใช้ในชีวติ ประจ�ำวันได้เลย ปัน่ ออกก�ำลังกาย ก็ได้ นีค่ อื วัตถุประสงค์ของซิตี้ไบค์ คือเราไม่ได้ เน้นเรือ่ งความเร็ว ความแรง แต่ถา้ บางคนจะเอา ไปปัน่ แบบแรงๆ ก็ได้เพราะมี 7 เกียร์ ซึง่ แบรนด์ PUBLIC ถือเป็นสินค้าใหม่ในบ้านเรา ปกติตอ้ ง ไปซื้อที่ซานฟรานซิสโกแล้วขนกลับมาเอง ไม่ สามารถสัง่ ซือ้ ทางออนไลน์ได้” ไม่เฉพาะแต่จกั รยานซิตี้ไบค์แบรนด์ดงั อย่าง PUBLIC ทีร่ า้ นยังมีแบรนด์ Bobbin จากอังกฤษ แถมยังมีจกั รยานฝึกการทรงตัวของเด็กแบรนด์ดงั อย่าง Kinderfeets ทีท่ ำ� จากไม้ ซึง่ ปลูกขึน้ มาเพือ่ ผลิตจักรยานนีโ้ ดยเฉพาะ อีกทัง้ ยังมี Yepp seat ซึง่ เป็นเบาะติดจักรยานส�ำหรับให้เด็กนัง่ อายุ 9 เดือน - 6 ขวบ อีกด้วย อีกทัง้ มีของตกแต่งใช้กบั จักรยานดีไซน์เก๋ๆ ไม่วา่ จะเป็นกระดิง่ สีลกู กวาด จาก PUBLIC ตะกร้า Peterboro ตะกร้าหน้า wald แรคหลังจักรยาน ตะกร้าหญ้ากาน่า (Asungtaba Bike Basket) ทีเ่ ป็นแฮนด์เมด แต่ละใบลายไม่ซำ�้ กันเลย จับมาเข้าคู่กับซิตี้ไบค์ได้เก๋ เท่ โดนใจ นอกจากนีย้ งั มีแบรนด์อนื่ ๆ ทีด่ ีไซน์เท่ ไม่แพ้กนั ทั้งหมวก กระเป๋า เสื้อยืดจากฝีมือพี่ไทยก็มีให้ เลือกจับจ่ายในราคาเบาๆ
“ทางร้านเราเลือกสรรของดีๆ มาให้ลูกค้า นอกจากจักรยานซิตี้ไบค์ PUBLIC แล้วยังออกแบบ ของใช้อนื่ ๆ ที่ใช้กบั จักรยาน อย่างกระดิง่ ทีม่ สี สี นั สวยงามตามสีรถจักรยาน หรือตะกร้าหลังเขาก็ ออกแบบมาให้มีตัวล็อก สามารถดึงปลดออกมา ใช้ได้ เราน�ำเข้าตะกร้าหวายจากประเทศกาน่า เป็น หมูบ่ า้ นทีแ่ อฟริกา เขาจะให้แม่บา้ นมาสานตะกร้าหวาย กัน เพราะฉะนัน้ แต่ละใบ ลายและสีกจ็ ะไม่เหมือนกัน และจะมีชอื่ ของคนสานติดไว้ดว้ ย ซึง่ รายได้จากการ ขายเขาก็จะน�ำไปให้กบั แม่บา้ น” คนรักจักรยานรับทราบกันทัว่ หน้า แล้วขอบอก เลยว่าห้ามพลาด PEDAL LANE FOR BIKE LOVERS
Watchana Luewattananon and Supriya Pongkasem share their passion in biking. They opened the bike boutique shop “Pedal Lane” together to provide other bike fans to get only the coolest bikes and accessories. Most of their products are imported from “Public” in San Francisco. Other brands are also available at the shop, including Bobbin from UK, Kinderfeets, Yepp seats, Peterboro baskets, Wald baskets, and Asungtaba baskets, as well as Thai brands.
Pedal Lane Bangkok Art and Culture Centre, Fl. 1 Open daily 11.00-20.00 except on Monday Telephone: 081 615 6592 / 081 619 6582 • www.facebook.com/pedallane/info • email: pedallanebkk@gmail.com
34
baccazine issue 09
LE PLA DAAK IN THE CITY AT BACC
อิม ่ ท้อง อิม ่ ใจ อร่อยแซ่บเวอร์แบบ 2 อิน 1 ที่ เลอปลาแดก อินเดอะซิต้ี แอท บีเอซีซี COLUMNIST : ARTIT PHOTO : ANUCH
จากต้น ทาง ไม่ว่าจะเป็น หมูยอ ปลาส้มทอด ปลาร้าหมักและกรองอย่างดีปราศจากกลิ่นจาก จังหวัดอุบล อุดร ข้าวเกษตรอินทรีย์จากบ้าน สีกาย จังหวัดหนองคาย ผักปลอดสารพิษ จาก จังหวัดปทุมธานี อีกทัง้ ยังเป็นการกระจายรายได้ สูช่ มุ ชน ส่วนเมนูในร้านเรียกได้วา่ เด็ดทุกเมนู พร้อมเสิรฟ์ ด้วยไอเดียสุดคูลในภาชนะพืน้ บ้านอย่างจานชาม
เพราะทีน่ เี่ ขาใช้ขนมปังปิง้ หอมกรุน่ เนือ้ ขนมปัง จึงไม่ยุ่ยแถมกลิ่นยังหอมกรุ่น ทานกับน�้ำแดง นมข้นหวาน น�ำ้ แข็ง อร่อยชืน่ ใจ นอกจากนี้ ยังมีเ มนูยอดฮิตคือ ข้าวเบบี้ ล็อบสเตอร์ ที่ใช้กงุ้ ฝอยมาเพิม่ มูลค่าท�ำให้เกิดเมนู จานอร่อย รสชาติกลมกล่อม อีกเมนูคอื ขนมจีน กุง้ พิโรธ ทีด่ ดั แปลงเอาเส้นขนมจีนมาผัดเหมือน เส้นสปาเก็ตตี้ แต่มดี ตี รงทีเ่ ส้นขนมจีนนัน้ ให้รส สัมผัสทีน่ มุ่ ลิน้ อร่อยกว่า ฝรัง่ จึงติดอกติดใจ เมนู ทุกเมนูนอกจากรสชาติอร่อยถูกปาก พี่ป๋อมยัง บอกว่าอยากให้ลกู ค้าถูกปากมากกว่านัน้ ด้วยการ สัง่ ตามความชอบส่วนตัวได้ เพราะทีน่ เี่ ขาปรุงกัน แบบจานต่อจาน ใครไม่ทานเผ็ด ไม่ทาน โน่น นัน่ นีก่ ส็ ามารถบอกกับทางร้านได้ “อาหารทีน่ ที่ ำ� จานต่อจาน ส้มต�ำครกต่อครก คุณ มาชมงานศิลปะคุณไม่จ�ำเป็นต้องรีบร้อน เวลาคุณกินอาหารคุณก็คอ่ ยๆ กิน ดืม่ ด�ำ่ รสชาติ บรรยากาศของร้าน อยากให้ทกุ คนภูมใิ จ มีความสุข ในการกินอาหาร” ลองหยุดเวลาให้ชวี ติ ได้มาละเลียดเสพงานศิลป์ แล้วแวะมาชิมอาหารอร่อยพร้อมอาหารตา ทีเ่ ลอ ปลาแดกอินเดอะซิตี้ แอท บีเอซีซี ดูสกั วัน แล้ว คุณจะรู้ว่า การใช้ชีชีวิตช้าๆ มันช่างน่าอภิรมย์ เสียจริงๆ Le Pla Daak in the City at BACC
เมือ่ สาวอุดร พีน่ อ้ ย วิภาณฏา กุลสุจริต คน ชอบทาน โคจรมาพบกับหนุม่ อุบล พีป่ อ๋ ม นพคุณ กุลสุจริต คนชอบออกแบบตกแต่ง เรื่องราวของ อาหารอีสานฟิวชัน่ สุดแซ่บกับการออกแบบตกแต่ง ร้านสุดคูล จึงเกิดขึน้ “พีน่ อ้ ยคิดว่าร้านอาหารอีสานไม่จำ� เป็นต้องอยู่ หน้าปั๊มอย่างเดียวน่ะ เมื่อมีโอกาสเราก็อยากจะ ท�ำให้คนขายอาหารอีสานได้เห็นว่า ถ้าเราท�ำดีๆ อาหารอีสานก็สามารถเพิม่ มูลค่าได้” นอกจากบรรยากาศร้านที่ชวนนั่งด้วยการน�ำ ของย้อนยุค ของสะสมมากมายทีพ่ ปี่ อ๋ มเก็บสะสม ไว้ตงั้ แต่ปี 2522 มาตกแต่งให้ดเู ป็นอาหารตาแล้ว จุดเด่นทีส่ ำ� คัญคือการน�ำวัตถุดบิ จากต้นน�ำ้ สูป่ ลายน�ำ้ ท�ำให้ลกู ค้าได้ทานวัตถุดบิ ทีส่ ดใหม่ ปลอดสารพิษ
สังกะสีทสี่ อดคล้องกับบรรยากาศภายในร้าน ไม่วา่ จะเป็น ข้าวกะเหรีย่ งปลากะพง เนือ้ ปลากะพงทอดกรอบ คลุกเคล้าด้วยพริกกะเหรีย่ ง พริกแห้งคัว่ กลิน่ หอมฉุย ทานกับข้าวจากบ้านสีกายทีพ่ นี่ อ้ ยน�ำมาผสมผสาน ด้วยสูตรเฉพาะตัวจนออกมาเป็นข้าวรสชาติอร่อย นุม่ หอม มัน ทานแล้วฟินสุดๆ เมนูตอ่ มาเป็นการ ประยุกต์อาหารจานเดียวที่พี่น้อยบอกว่าอยาก ให้ได้ลองชิมกัน คือข้าวหมูตกน�้ำ ใช้คอหมูอย่าง ดีแล่มันออกเหลือแต่เนื้อนุ่มอร่อย ปรุงเครื่อง แบบน�้ำตก เสิร์ฟพร้อมข้าวและไข่ดาว ทานกัน แบบหยุดไม่อยู่ แล้วตามด้วยต้มแซ่บเกี๊ยวกุ้ง ซดน�้ำต้มแซ่บรสชาติจี๊ดจ๊าด กับเกี๊ยวกุ้งตัวโตๆ เต็มค�ำ อร่อยล�ำ้ แซ่บหลาย ปิดท้ายล้างปากด้วย จ�ำ้ บ๊ะ ขนมหวานอร่อยชืน่ ใจ ทีต่ า่ งจากจ�ำ้ บ๊ะทัว่ ไป
This Thai Northeastern fusion food restaurant was founded by Noi Wiphanta Kulsujarit and Pom Noppakhun Kulsajarit. All the ingredients used in this restaurant come from various communities in Thailand. They are fresh, organic, tasty and of high quality. Recommended dishes are crispy sea bass mixed with roasted chilies and served with soft aromatic rice, spicy pork salad served with sunny side up and aromatic rice, shrimp wonton in hot and sour herbal soup, and chamba toast served in iced red milk syrup. “You can fully enjoy all the senses around you at our restaurant, just like when you visit the BACC as you take your time in appreciating each of the artworks in the exhibition. Le Pla Daak offers you a memorable dining experience.”
•
Le Pla Daak in the City at BACC Fl. 5, BACC Open Tuesday-Sunday, 10.30-21.00 Tel. 094 551 3455 / 089 710 3292 • Facebook.com/lepladaak
issue 09 baccazine
3 5
bacc exhibition
ศิลปะในพื้นที่สาธารณะ “เถา โจว” เกิดทีก่ วางเจา สาธารณรัฐประชาชนจีน พอ เติบใหญ่กเ็ ริม่ ท�ำงานศิลปะอยูท่ นี่ นั่ แต่ไม่นานมานี้ “เถา โจว” มีโอกาสเดินทางมาประเทศไทย หลัง ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 30 ศิลปินเอเชีย ผู้มีความโดดเด่นและยังไม่เคยจัดแสดงผลงาน เดีย่ วมาก่อน โจทย์หลักการเดินทางมาครัง้ นี้ เถา โจว ต้อง สร้างสรรค์งานศิลปะขณะพ�ำนักในประเทศไทย จากนั้ น ก็ น� ำ เสนอผลงานต่ อ คณะกรรมการ กิตติมศักดิ์ 5 ท่าน ประกอบด้วย ผูอ้ ำ� นวยการ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร “ ลักขณา คุณวิชยานนท์” “ฮาน เนฟเกนส์” ผูก้ อ่ ตัง้ มูลนิธิ ฮาน เนฟเกนส์ “ฮิลเดอร์ เทียร์ลนิ ค์” ผูอ้ ำ� นวยการ มูลนิธฮิ าน เนฟเกนส์ “ยูโกะ ฮาเซกาว่า” หัวหน้า ภัณฑารักษ์ พิพธิ ภัณฑ์ศลิ ปะร่วมสมัยกรุงโตเกียว “เฟิง บอยอิ” ภัณฑารักษ์อิสระและนักวิจารณ์ ศิลปะชาวจีน เพือ่ เป้าหมายสูงสุด นัน่ คือผูช้ นะเลิศ รางวั ล Han Nefkens-BACC Award of Contemporary Art และแล้วมติของคณะกรรมการก็เป็นเอกฉันท์ มอบรางวัลเกียรติยศนี้ ในปีแรกให้แก่ เถา โจว พร้อมทัง้ เปิดพืน้ ทีแ่ สดงผลงานเดีย่ ว ณ สตูดโิ อ 36
baccazine issue 09
COLUMNIST : DARAH
ชั้น 4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 6 มิ.ย.จนถึงวันที่ 29 มิ.ย. Green Sun นับเป็นดอกผลของศิลปินวัย 39 (เกิดปี 2519) ที่ท�ำให้ทุกคนประจักษ์แจ้ง เขาทุ่มเทแรงกายแรงใจ ลงพื้นที่ ใช้เวลาส�ำรวจ จังหวัดสมุทรสาคร ต่อเนือ่ งไปถึงจังหวัดจันทบุรี ในเดือนมีนาคม ปี 2556 ก่อนจะย้ายมาพ�ำนักที่ กรุงเทพมหานคร ตัง้ แต่เดือนสิงหาคมปีเดียวกัน กระทัง่ เดือนมกราคมเมือ่ ต้นปีทผี่ า่ นมา ก็สนิ้ สุด พันธกิจส�ำคัญนี้ ผลงานที่ เถา โจว น�ำเสนอค่อนข้างหลากรูปแบบ และหลายเทคนิค อาทิ งานวิดีโอ ภาพถ่าย จิตรกรรม และจิตรกรรมฝาผนัง ซึง่ ส่วนใหญ่ก็ เป็นแนวทางที่เขาถนัดดังเช่นเคยท�ำเป็นปกติที่ บ้านเกิด โดยให้นำ�้ หนักกับกิจวัตรประจ�ำวันและ องค์ประกอบรายรอบอืน่ ๆ ยิง่ เฉพาะงานวิดโี อที่ มีทที า่ กึง่ ทีเล่นทีจริง แฝงไว้ดว้ ยบรรยากาศความ ขบขัน เฝ้ามอง จับจ้อง และตัง้ ค�ำถามต่อบริบท สังคม เพียงแต่ผลงานชุดนี้ดูเหมือนเขาจะให้ น�ำ้ หนักเรือ่ ง “พืน้ ทีส่ าธารณะ” เป็นพิเศษ พืน้ ทีส่ าธารณะในกรุงเทพมหานครถูกน�ำมา เรียงร้อยผ่านรูปแบบและเทคนิคต่างๆ บางแห่ง
คุน้ ตา บางทีน่ า่ สงสัย ที่ไหนกันเหรอ ไม่แปลกถ้า คนไทยจะนึกไม่ออก แต่คำ� ตอบมีในผลงานของ ศิลปินจีนรายนี้ นอกจากนั้นเขายังน�ำเรื่องราว พืน้ ทีส่ าธารณะทีก่ วางเจามาร่วมถ่ายทอด อย่าง ในงานวิดีโอภาพผู้คน สถานที่ เคลื่อนไหวสลับ ไปมา ผสมผสานกันระหว่างพื้นที่สาธารณะทั้ง 2 จุดหมาย ศิลปินให้ความเห็นว่า การส�ำรวจโครงการนี้ ให้ความส�ำคัญกับลานสาธารณะในกรุงเทพ มหานครและกวางเจาเป็น ส่วนใหญ่ รวมทั้ง เหมืองโลหะและหมู่บ้านชนบทที่ตั้งอยู่กลาง หุบเขาทางตอนใต้ของจีน “มันอาบด้วยสีสนั อันหลากเฉด ผูค้ นในลาน สาธารณะนั้นเหมือนโดนย้อมด้วยแสงสีฟ้าที่ แผ่รัศมี ในระยะที่มองหาจุดหักเหที่แน่ชัดไม่ได้ ค่ายที่พักชั่วคราวบนถนนไม่มีชื่อ ผิวสีส้มของ ทะเลสาบเวิ้งว้าง ซึ่งเกิดจากการปนเปื้อนจาก แคดเมียม” สิ่งที่ศิลปินก�ำลังเฝ้ามองและส�ำรวจนั้น จึง เป็นเสมือนภาพเชิงสัญลักษณ์ คล้ายร่องรอย ของการสัมผัสผิวหนังชั้นนอก ที่ได้แผ่ขยายไป ตามพื้นที่สาธารณะต่างๆ มันคือเลือดเนื้อและ ผิวหนังที่ติดกับเปลือกโลก ก่อนที่คนจะค่อยๆ บิดตัวเพื่อทัดท่านต่อฉากความเป็นจริง ขณะที่ ผมและผิวหนังซึ่งหลุดลอกจะฟื้นกลับมามีชีวิต ชีวา จนกลายเป็นเรือ่ งน่าอัศจรรย์ใจยิง่ นัก ไม่ตา่ งกัน ผลงานทีเ่ หลือ ภาพถ่าย จิตรกรรม
และจิตรกรรมฝาผนัง เถา โจว ก็นำ� เสนอด้วยภาพ เชิงสัญลักษณ์ มุมกล้องทีเ่ ขาโฟกัส ลายเส้นทีเ่ ขา วาด สีที่เขาใช้พู่กันจุ่ม แล้วละเลงบนเฟรม ล้วน แต่เป็นสัมพันธภาพอันเกิดขึ้นบนพื้นที่สาธารณะ ไม่วา่ จะเป็นกรุงเทพมหานคร หรือกวางเจา ทีเ่ ขามี โอกาสได้ไปสัมผัสด้วยตาและเฝ้ามองด้วยใจ ส�ำหรับ เถา โจว แล้ว ในสายตาเขามองพืน้ ที่ สาธารณะ ไม่ใช่แค่เพียงพืน้ ทีส่ าธารณะธรรมดาๆ มากกว่านั้น มันคือพื้นที่ศิลปะที่เต็มไปด้วยความ งดงาม ความมีชวี ติ ชีวา และเรือ่ งราวชวนตะลึงงัน Art in Public Space by Tao Zhou
Born and worked in Guangzhou, Tao Zhou was awarded as one of the 30 most outstanding Asian artists who never had a solo exhibition before. The 39-year-old artist presented his works during his artist residency in Thailand to the Han Nefkens-BACC Award of Contemporary Art committee and received unanimous decision from all 5 judges as the most outstanding candidate. His solo exhibition was then held at the 4th Floor Studio in Bangkok Art and Culture Centre during 6-29 June 2014. “Green Sun” reflects his year-long dedication in site survey in Samutsakorn, Chantaburi and Bangkok. It is a series of multimedia display including video, paintings, photographs and mural paintings speaking of daily life and public space. Public spaces in Bangkok were intertwined and alternated with those in Guangzhou in his video to raise the awareness about these places and their underlying issues. Metal mines and rural villages in Southern China were also depicted. People in those public spaces were dyed with blue light. The orange surface of the cadmium-contaminated lake spanned endlessly. These are the images that the artist saw and contemplated upon. He chose them to symbolize the epidermic elements of earth and man. For Tao Zhou, public spaces possess astonishing meanings, liveliness, beauty and overwhelming stories to be revealed.
•
issue 09 baccazine
3 7
idea of Life
MOVIE BOOK MUSIC COLUMNIST : DARAH
สุนทรียะในงานศิลปะ
ก้อง สหรัถ สังคปรีชา ถูกจัดให้เป็นนักร้อง-นักแสดงที่มีบุคลิกสุดเนี๊ยบและอบอุ่น สไตล์ “โรแมนติก กาย”ล่าสุดตอกย�ำ้ ด้วยงานแสดง ละครฮิตติดลมบน “อย่าลืมฉัน” ทางช่อง 3 ที่ ฝ ากฝี ไ ม้ ล ายมื อ ไว้ ใ นบท “เอื้ อ ” ก็ ยิ่ ง ส่ ง ให้ “ก้ อ ง-สหรั ถ สั ง คปรี ช า” กลับเข้ามาอยู่ในใจแฟนๆ อีกครั้ง ขนาดเด็กวัยรุ่นที่ไม่เคยรู้จัก “พี่ก้อง” ยังต้องหันมาถามหากันยกใหญ่ เรียกได้วา่ อยูใ่ นวงการมาเกือบ 30 ปี เรตติง้ ไม่เคยลดน้อยลงเลย นอกจากจะมีผลงานคุณภาพออกมาให้แฟนๆ ได้เสพกันแล้ว ส่วนตัวเขาเองก็ยัง
เป็นนักเสพสุนทรียะจากผลงานที่เน้นคุณภาพและสร้างแรงบันดาลใจดีๆ ซะด้วย แต่ จะเป็นเรื่องไหน เล่มใด อัลบั้มของใคร ไปฟังเขาเล่าจากปากเลยดีกว่า
38
baccazine issue 09
MOVIE /BOOK/MUSIC
ภาพยนตร์
“ผมชอบเรือ่ ง ทองพูนโคกโพ ราษฎรเต็มขัน้ นักแสดงตอนนั้น คุณจตุพล ภูอภิรมย์ เสียชีวิต ไปแล้ว กับ คุณวิยะดา อุมาริน ทร์ ท่านมุ้ย (หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล) ก�ำกับ มันซึ้งดี หนังนานล่ะ เกือบ 30 ปี แต่ผมยังให้เป็นหนังไทย ทีป่ ระทับใจทีส่ ดุ เพราะมันเรียลิสติก มีอรรถรส ซาบซึ้ง ตีแผ่ชีวิตคนจน คนล�ำบากคนหนึ่งที่เข้า มาดิ้นรนในเมืองใหญ่ได้ดี เป็นเรื่องของคนขับ แท็กซี่คนหนึ่ง เป็นคนดีโดยสันดานโดยจิตใจ แต่มาอยู่ ในสังคมไม่ดี ผมประทับใจในพล็อต เรื่อง คนดีคนหนึ่งตั้งใจท�ำดี ซื่อสัตย์ แต่ในที่สุด กลับติดคุก สังคมไม่ยตุ ธิ รรม หนังหยิบเรือ่ งนีม้ า น�ำเสนอได้ซาบซึ้งดีครับ”
หนังสือ
“มีหลายเรือ่ งทีผ่ มอ่านแล้วชอบ แต่ถา้ ช่วงนี้ ที่ประทับใจแล้วอ่านบ่อยๆ คือ หนังสือธรรมะ ของท่านพุทธทาส มีโอกาสได้อ่านบ่อย เริ่มต้น จากคุณพ่อชอบเอาหนังสือธรรมะมาให้อ่าน อยู่แล้ว ทีนี้หนังสือเกี่ยวกับธรรมะมีเยอะมาก บางเล่ ม ก็ ห นามาก บางเล่ ม ก็ เ ข้ า ใจยาก อ่านยังไม่ทนั เข้าใจ หรืออ่านแล้วรูส้ กึ ยาก ก็วาง แต่ส�ำหรับหนังสือธรรมะของท่านพุทธทาสจะ สั้นๆ เข้าใจง่ายอ่านแล้วเราได้ข้อคิดเลย จดจ�ำ ได้ง่าย”
เพลง
“เพลงนี้ก็นานแล้วเหมือนกัน ผมชอบเพลง นักเดินทาง ของวงกัมปะนี เป็นเพลงสัจธรรม ดูเนื้อหาดีๆ พูดถึงเรื่องสัจธรรม น�ำเสนอผ่าน การเดินทาง ชีวติ เราก็เหมือนสายน�ำ้ ไหล ไปแล้ว ไม่ไหลย้อนกลับ สิ่งที่จดจ�ำได้ก็คือความทรงจ�ำ เนื้ อ หาเพลงให้ ข ้ อ คิ ดในการใช้ ชี วิ ต เพลงที่ เนือ้ หาโดนใจ จะอยู่ในความทรงจ�ำได้ยาว ดนตรี ก็ดี ผมว่าเพลงที่ดีที่อยู่ได้ยาว ต้องประกอบ หลายอย่ า ง ทั้ ง เนื้ อ หาดี ดนตรี ดี เมโลดี้ ดี คนร้องดี ดีอย่างใดอย่างหนึ่งก็อยู่ได้ไม่ยาว”
Ratsadon Temkhan” is the best Thai movie understand.” Kong Saharat Sangkapricha has been in my opinion. It’s a story about a poor but MUSIC one of Thailand’s top actors and singers honest taxi driver, struggling against the “Good songs are those with the right for more than 30 years, with unshaken injustice in the corrupted big city.” lyrics and melody, sung by good singers. popularity all along these years. He is also BOOKS The song “Nak Deong Thang” - the traveler an avid fan of books, music and movies. “Lately I’m into dhamma books by - by Company compares our lives to a river MOVIES Bhudadasa. It’s an influence from my which never returns. It has remained in my “The old movie “Thong Phoon Khok Pho father. I find his books easy to read and memory for a long time”. • Kong Saharat Sangkapricha
issue 09 baccazine
3 9
art analyze
อิสรภาพของศิลปะ
นอกจากเทพีเสรีภาพกลางกรุงนิวยอร์กแล้ว สิ่งที่เราไม่ค่อยรู้คือ สหรัฐอเมริกายังมีเทพี อีกองค์หนึง่ ทีป ่ ระดับอยูเ่ หนือยอดโดมของรัฐสภาในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เทพีดงั กล่าวมีชอื่ ว่า เทพีอิสรภาพ (Statue of Freedom) เทพีองค์นี้ต่างจากเทพีเสรีภาพที่ถือหนังสือ และชูคบเพลิง เทพีอิสรภาพเป็นเทพีนักรบ ผู้ถือดาบและโล่ ดูเหมือนว่าในเชิงปฏิมาณ วิทยาแล้ว อิสรภาพนัน ้ จึงมาพร้อมกับการต่อสู้ ไม่วา่ จะเพือ ่ ปกป้องหรือช่วงชิง ราวกับว่า เจตจ� ำ นงอิ ส ระ (free will) จะเกิ ด ขึ้ น ได้ ต ่ อ เมื่ อ เรารั บ รู ้ ถึ ง สภาวะของความไม่ อิ ส ระ (unfreedom) เสียก่อน ความอิสระนัน ้ จึงต้องการคูต ่ รงข้ามหรือสถานการณ์ของความ ไม่อิสระเป็นปัจจัย อิสรภาพจึงจะสามารถเป็นที่ถกเถียงและอ้างอิงได้ภายใต้ญัตติที่ว่า “อิสระจากอะไร” ดังนั้น เมื่อศิลปินกล่าวถึง “จิตวิญญาณอิสระ” จึงต้องตอบค�ำถาม เดียวกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
40
baccazine issue 09
COLUMNIST : VIPASH PURICHANONT
เจตจ�ำนงอิสระในปรัชญาตะวันตกนั้น มีความสัมพันธ์อย่างเหนียวแน่นกับกรอบ จริยธรรม เนื่องจากมนุษย์ต่างจากสัตว์ตรง ที่สามารถเลือกกระท�ำตามความจ�ำนงหรือ ความต้ อ งการ และมี ค วามสามารถที่ จ ะ ท�ำความเข้าใจถึงผลระยะยาวของการกระท�ำ นั้ น การกระท� ำ จากเจตจ� ำ นงอิ ส ระนั้ น จึ ง ต้องอยูภ่ ายใต้การค�ำนึงถึงการรับผิดชอบของ ผลทีต่ ามมา ในแง่นกี้ ารท�ำอะไรตามใจตนเอง หรือสัญชาตญาณนั้น จึงไม่ ใช่ความอิสระ ที่แท้จริงส�ำหรับสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่ามนุษย์ แต่ เจตจ�ำนงอิสระจึงเกิดจากความสามารถที่จะ ท�ำความเข้าใจตนเอง และปัจจัยภายนอก
ทั้ ง ด้ า นเศรษฐกิ จ การเมื อ ง สั ง คมและ วัฒนธรรมอย่างลึกซึง้ แล้วน�ำข้อมูลเหล่านัน้ มาประกอบการตั ด สิ น ใจที่ เ ป็ น “อิ ส ระ” อย่ างแท้ จ ริ ง ความอิ ส ระจึ ง ต้ อ งการการ ครุ่นคิด การไตร่ตรอง และการตั้งค�ำถาม เจตจ�ำนงอิสระจึงหมายถึงความสามารถทีจ่ ะ เป็นอิสระจากอ�ำนาจกดขีแ่ ละการประเมินค่า ดั้งเดิม ในห้วงเวลาสั้นๆ เจตจ�ำนงอิสระอาจ จะเป็นเพียงความสามารถในการตัดสินใจ ภายในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งเพียง เท่านั้น แต่เมื่อค�ำนึงถึงสภาวะการด�ำรงอยู่ ของมนุษ ย์ในช่วงเวลาของชีวิต เจตจ�ำนง อิสระก็สามารถหมายถึง ความสามารถที่ จะเป็นนายของตนเอง (self-mastery) ซึ่ง มีความหมายไปในทางเป็นผู้ที่บังคับความ ต้องการตามธรรมชาติของตนเอง อิสรภาพ ในทีน่ จี้ งึ กลับหมายถึงอิสรภาพในการควบคุม ตนเอง มิเชล ฟูโกต์ นักประวัติศาสตร์และนัก ปรัชญาชาวฝรัง่ เศส กล่าวใน “ความกล้าหาญ ของความจริง” (TheCourage of Truth) วิชา สุดท้ายที่เขาสอนในมหาวิทยาลัย ในช่วงปี ค.ศ.1984 ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตว่า การใช้ ชีวิตของศิลปินหัวก้าวหน้า (avant-garde) หลังคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้น มีต้นแบบมา จากความกล้าหาญที่จะน�ำเสนอความจริง ทางสังคม (Parrhēsia) ในสมัยกรีกโบราณ แบบหนึง่ ทีเ่ รียกว่า การท�ำให้อบั อายขายหน้า แบบซีนิก (Cynic Scandal) ซึ่งถือเอาการใช้ ชีวติ ตนเองเป็นอุปกรณ์ในการวิพากษ์วจิ ารณ์ สภาวะของสังคม1 ศิลปะสมัยใหม่ที่มีความ สามารถในการสร้างรูปแบบชีวิตที่หลุดจาก รูปแบบชีวติ อืน่ ๆ คือชีวติ ทีเ่ อาศิลปะเป็นทีต่ งั้ แต่ในเมือ่ ศิลปะสมัยใหม่คอื ขนบในการสร้าง ศิลปะที่เป็นกบฏแตกต่างจากค่านิยมที่เป็น อยู่เดิม ศิลปะจึงไม่ได้เป็นเอกเทศจากสังคม ตั้งแต่ต้น แต่เป็นสิ่งที่น�ำเสนอความสามารถ
ในการมีเอกเทศจากสังคม ฉะนั้น ศิลปิน หัวก้าวหน้าที่ไม่ได้มีอิสระอยู่แล้ว แต่เป็นผู้ แสวงหาความสามารถทีจ่ ะเป็นอิสระอยูเ่ สมอ และรู้ว่าควรจะมีชีวิตอิสระจากอะไร ความ อิสระของศิลปินหัวก้าวหน้าจึงมิใช่ความเป็น ปัจเจกผู้ใช้ชีวิตตามสัญชาตญาณอย่างที่เรา มักเข้าใจกัน แต่การใช้ชวี ติ ตามสัญชาตญาณ นั้นเป็นเพียงแค่ “วิธีการ” หนึ่งของศิลปินหัว ก้าวหน้าที่ปฏิบัติได้อย่างยากเย็นน้อยที่สุด เพียงเท่านั้น โลกสมั ย ใหม่ เ ปรี ย บกั บ ศิ ล ปิ น หั ว ก้าวหน้า เสมือนทหารกองหน้าในสงคราม ทางวัฒนธรรมที่เข้าชนกับอ�ำนาจเก่าก่อน การเมืองแบบอ�ำนาจนิยม ความอยุติธรรม ในสังคม หรือคุณค่าทางวัฒนธรรมชั้น สูง แต่ในเมื่อเขามีสถานะเป็นทหารแนวหน้าใน การสู้รบ เขามีสิ่งที่ต้องปกป้องอยู่เบื้องหลัง นั่นก็คือ อิสรภาพของศิลปะ เพราะศิลปะที่ ไม่ได้แสวงหาอิสรภาพอาจจะไม่ใช่ศิลปะอีก ต่อไป การสู้รบกับข้อจ�ำกัดของสังคมจึงเป็น หนทางสู่อิสรภาพของศิลปะที่แท้จริง วิภาช ภูริชานนท์ พฤษภาคม 2014 1 อ่ า นเพิ่ ม เติ ม ใน Foucault, Michel. Courage of Truth : the Government of the Self and Other II. New York : Palgrave Macmillan, 2011.
freedom has a state of unfreedom as its proposition. Western philosophy has a long history of inquiry into the matter of free will. In short, it argued that free will could be established not by instinct but cognition. Humans are capable of thinking of the possibility of freedom only when the bounded factors are well defined. In his last lecture, Michel Foucault, a french historian and philosopher, wrote that avant-garde artists in modernism were able to shape their form of life according to modern art that enable them to break free from other forms. It was a result from the rebellious characteristic of modern art that were constantly opposing the established culture, power and value. Avant-garde artists, thus, were named as the vanguard who continuously fought a cultural war against domination of unfreedom. Their task was to protect freedom of art that was, in return, to reassure the quality of freedom in art. The battle with limitations of a given state of affair was, therefore, a path to the true freedom of art in modernism.•
FREEDOM OF ART Unlike the Statue of Liberty that holds a book and a torch, the Statue of Freedom in Washington D.C. Has a sword and a shield in her hands. Iconographically, it infers that freedom needs to be sought and protected. The condition of issue 09 baccazine
4 1
art of life
มูลค่าทางจิตใจกับการสะสมงานศิลปะ ของณรงค์ อิงค์ธเนศ COLUMNIST : WARAPORN PHOTO : CHALERMPON PANNANAWASAKUL
คุณณรงค์ อิงค์ธเนศ นักธุรกิจระดับแนวหน้าของเมืองไทย ผู้ก่อตั้งและประธานบริหารของบริษัทเดอะแวลลู ซิสเตมส์ จ�ำกัด หนึ่งในผู้ค้าส่งสินค้าไอทีรายใหญ่ของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท วีเน็ท แคปปิทอล จ�ำกัด ซึง่ เป็นบริษท ั ร่วมลงทุน (venture capital) ของไทย
เป็นอีกหนึง่ ท่านทีช่ นื่ ชอบงานศิลปะ จนกลายมาเป็นนักสะสมงานศิลปะทีม่ งุ่ เน้นคุณค่าทางด้านจิตใจ ไม่ใช่ การเก็งก�ำไรแต่อย่างใด ทีส่ ำ� คัญคุณณรงค์เป็นนักสะสมที่ให้การสนับสนุนศิลปินรุน่ ใหม่ โดยมุง่ หวังให้วงการ ศิลปะไทยก้าวไกล ศิลปินไทยได้รบั เกียรติ ได้รบั การยกย่องและได้รบั การสนับสนุนส่งเสริมอย่างจริงจัง วันฟ้าใส แดดสวย คุณณรงค์เปิดบ้าน “อิงค์ธเนศ” พร้อมแกลเลอรี่ส่วนตัวที่ออกแบบโดย มร.โรเบิร์ต จี บุย สถาปนิกชือ่ ดัง ผลงานศิลปะอันงดงามและทรงคุณค่าทัง้ จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์หลายร้อยชิน้ อวดโฉมอยูบ่ นพืน้ ทีท่ ปี่ ระมาณค่ามิได้ พร้อมบทสนทนาท่ามกลางบรรยากาศอันสุนทรีย์ ท�ำไมคุณณรงค์จงึ สนใจมาสะสมงานศิลปะคะ? ผมท�ำธุรกิจเกีย่ วกับเทคโนโลยี ซึง่ ต้องอาศัยความฉับไว ต้องรีบขายสินค้า ถ้าช้ามูลค่ายิง่ ลด ไม่เหมือนศิลปะ ทีต่ อ้ งใจเย็นๆ ไม่รบี ร้อน รูปภาพยิง่ เก็บยิง่ มีคา่ ยิง่ เป็นศิลปินทีม่ คี ณ ุ ภาพผลงานทีผ่ ลิตออกมายิง่ มีคา่ ถ้าเปรียบ แล้วธุรกิจอาจจะเป็นขวามาก ศิลปะอาจจะเป็นซ้ายมาก ผมถือว่าเป็นคนโชคดีมากทีม่ โี อกาสได้สมั ผัสทัง้ 2 สิง่ นี้ เวลาท�ำงานเครียดๆ กลับมาเห็นงานศิลปะแล้วมีความสุข เสาร์อาทิตย์มเี วลาว่างก็มโี อกาสได้สมั ผัสกับศิลปะ ได้ผอ่ นคลาย ไม่ตอ้ งเครียดกับงานอย่างเดียว เรือ่ งงานศิลปะนัน้ โดยพืน้ ฐานตัวผมเองไม่ได้เป็นคนชอบวาดรูป เพียงแต่มคี วามสนใจและชืน่ ชอบมาตัง้ แต่ เด็ก ทางบ้านของผมก็เช่นเดียวกัน เห็นมาตัง้ แต่สมัยคุณพ่อของผมเอง สมัยก่อนเวลาเดินทางไปอินโดนีเซีย ก็มกั จะซือ้ ผลงานประติมากรรมติดไม้ตดิ มือกลับมาบ้านเสมอ แต่ผมก็ไม่เคยคิดเหมือนกันว่าตนเองจะกลายเป็นนัก สะสมงานศิลปะของไทยไปได้ จุดเริม่ ต้นผมก็ไม่ได้ตงั้ ใจทีจ่ ะสะสม แต่ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 นัน้ สถาบัน การเงิน 58 แห่งประสบปัญหาต้องปิดกิจการ และมีการน�ำทรัพย์สนิ ทัง้ หลายออกมาขายทอดตลาด รวมถึงงาน ศิลปะด้วย เพราะสมัยนั้นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ จะตกแต่งสถานที่ด้วยรูปภาพและประติมากรรม บริษทั บริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จ�ำกัด จึงน�ำงานศิลปะเหล่านีอ้ อกมาขายทอดตลาด ผมทราบข่าวว่าเมืองไทย ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจมาก ในข่าวพูดประมาณว่าถ้าคนไทยไม่ช่วยกันรักษาไว้อนาคตต่างชาติ
42
baccazine issue 09
ผมสะสมงานศิลปะเพื่อวัตถุประสงค์ ในการสร้างหอศิลป์ของผมเอง ไม่ได้สะสมเพื่อเก็งก�ำไรหรือการขาย ตั้งแต่สะสมมาเกือบ 20 ปี ผมไม่เคยขายเลยแม้แต่ชิ้นเดียว
issue 09 baccazine
4 3
ก็จะซือ้ ไป ลูกหลานคนไทยอาจต้องเดินทางไปชืน่ ชมงานศิลปะทีต่ า่ งประเทศ ในความรูส้ กึ ของผมและภรรยาตอนนัน้ เห็นว่าเราควรจะช่วยกันรักษาไว้ เพราะ เราไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ และพอดีได้รู้จักกับคุณปัญชรี เพ็ญชาติ ซึง่ เป็นผูบ้ ริหารระดับสูงคนหนึง่ ของคริสตีป้ ระเทศไทย เขาก็ชวนไปดู การประมูลของบริษทั บริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จ�ำกัด ผมกับภรรยา ได้มโี อกาสไปร่วมงาน ไปดูวา่ มีรปู ภาพอะไรบ้าง จึงตัดสินใจประมูลซือ้ เก็บ ไว้ แทนทีจ่ ะปล่อยให้ขายออกไปยังต่างประเทศ อย่างน้อยเราก็ยงั ช่วยรักษา ไว้ได้สว่ นหนึง่ นัน่ นับเป็นครัง้ แรกที่ได้ไปประมูลภาพศิลปะ ซึง่ ครัง้ นัน้ ผมก็ยงั ไม่รจู้ กั เรือ่ งศิลปะ ก็เลือกซือ้ ในสิง่ ทีต่ วั เองชอบ อย่างน้อยตัวเองชอบก็เอาไป แขวนได้ทบี่ า้ น และพอดีคนทีน่ งั่ ข้างๆ ผมเขาท�ำแกลเลอรีเ่ ลยช่วยแนะน�ำว่า ภาพไหนควรซือ้ ด้วย ตอนนัน้ ผมซือ้ มาทัง้ หมด 14 ภาพ ก็ยงั ไม่คอ่ ยมีความรู้ เท่าไหร่ ใช้เงินไป 2 ล้านกว่าบาท หลังจากนัน้ ผมจึงเริม่ ศึกษาหาความรูเ้ พิม่ เติม คุณณรงค์มวี ธิ กี ารศึกษางานศิลปะอย่างไรบ้างคะ? หลายอย่างครับ ทัง้ การอ่านหนังสือของอาจารย์อภินนั ท์ โปษยานนท์ที่ เขียนเกีย่ วกับประวัตงิ านศิลปะในบ้านเรา ท�ำให้ยงิ่ ชืน่ ชอบในประวัตศิ าสตร์ ศิลปะของไทยมากยิง่ ขึน้ เพราะมีความเป็นมาทีเ่ ป็นเอกลักษณ์และมีความคิด สร้างสรรค์ดีมาก นอกจากนั้นผมก็คุยกับศิลปิน ฟังศิลปิน มีอยู่วันหนึ่ง ผมมีโอกาสเข้าไปชมนิทรรศการและฟังการสัมมนาในกิจกรรมตอนครบรอบ 100 ปีความสัมพันธ์ไทย-ญีป่ นุ่ ทีม่ หาวิทยาลัยศิลปากรจัดขึน้ งานนัน้ มีศลิ ปิน ทีเ่ คยเดินทางไปประเทศญีป่ นุ่ มาแสดงผลงาน ผมมีโอกาสได้เห็นผลงานของ อาจารย์ประพันธ์ ศรีสตุ า และอาจารย์ดำ� รง วงศ์อปุ ราช ซึง่ ผมสนใจเป็นพิเศษ และเมือ่ มีโอกาสได้พดู คุยกับอาจารย์ประพันธ์ จึงตัดสินใจซือ้ ชุดภาพพิมพ์ไม้แกะ 87 ชิ้นของอาจารย์ประพันธ์ในช่วงปี 2531 ไว้ จากนั้นอาจารย์ประพันธ์ ก็แนะน�ำอาจารย์ด�ำรงซึ่งเป็นเพื่อนกันให้รู้จักว่า อาจารย์ด�ำรงเป็นศิลปินที่ เก่งและมีผลงานที่ดี พอมีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้ชีวิตและ การมองงานศิลปะ ท�ำให้ผมได้รบั ความรูเ้ ยอะมาก นับว่าอาจารย์ดำ� รงเป็น ผูช้ นี้ ำ� และเป็นแรงบันดาลใจให้กบั ผมก่อนทีอ่ าจารย์จะเสียชีวติ ใน 4-5 ปีตอ่ มา และในช่วงนั้นทางคริสตี้มีการจัดประมูลประมาณ 4-5 ครั้ง ทุกครั้งที่มี การประมูลผมก็จะไปปรึกษาอาจารย์ดำ� รงว่ามีงานชิน้ ไหนทีค่ วรซือ้ ไหม ผม ก็จะซือ้ ตามทีอ่ าจารย์แนะน�ำ บางส่วนก็เป็นชิน้ ทีต่ วั เองชอบ ก็เป็นจุดเริม่ ต้น ของการสะสมงานศิลปะ ตอนเริม่ ต้นซือ้ งานศิลปะนัน้ ส่วนใหญ่ผมจะซือ้ กับ สุรพลแกลเลอรี่ คุณสุรพล บุญญาปะมัย ซึง่ เป็นเจ้าของนิสยั ดีมาก และเป็น ผูท้ แี่ นะน�ำให้ผมรูจ้ กั กับศิลปินอีกหลายท่านในเวลาต่อมา ผลงานทีค่ ณ ุ ณรงค์ชนื่ ชอบมากทีส่ ดุ ในยุคแรกคือชิน้ ไหนคะ? ที่ผมชื่นชอบมากที่สุดก็คือผลงานของอาจารย์ด�ำรง เพราะเป็นงานที่มี ความริเริ่มสร้างสรรค์ที่ดีมาก เป็นงานที่ดูกี่ครั้งก็ไม่เคยเบื่อ และเนื่องจาก ผมรู้จักในตัวศิลปินค่อนข้างลึกซึ้ง ถึงท่านจะเสียชีวิตไปอย่างกะทันหัน แต่ ความทีเ่ คยไปเยีย่ มท่านทีบ่ า้ น ไปทานข้าวด้วยกันบ่อย ท�ำให้ได้รจู้ กั ผลงาน รูจ้ กั สไตล์ รูว้ ธิ กี ารเขียนงาน และแรงบันดาลใจของท่านเป็นอย่างดี ทุกวันนี้ ผลงานของอาจารย์ดำ� รงยังเป็นงานทีผ่ มชืน่ ชอบมากทีส่ ดุ ถ้าอ่านหนังสือของ อาจารย์อภินนั ท์ โปษยานนท์ ยุค 60s อาจารย์ศลิ ป์กพ็ ดู ถึงอาจารย์ดำ� รงว่า เป็นศิลปินรุน่ ใหม่ทนี่ า่ ชืน่ ชมมากทีเดียว อาจารย์ดำ� รงเขียนรูปน้อยแต่ทมุ่ เท เขียนงานอย่างดีเลยครับ ผมเคยถามอาจารย์วา่ ท�ำไมงานบางชิน้ เขียนข้ามปี ไม่ได้ท�ำปีเดียวกัน อาจารย์บอกว่าเขียนครึ่งหนึ่ง ถ้าไม่มีก�ำลังใจไม่พร้อม ก็จะหยุดไว้ก่อน สักพักจึงกลับมาเขียนต่อ ดีอย่างว่าศิลปินไม่ได้รีบ ถือว่า งานศิลปะต้องให้เวลา อาจารย์เป็นคนคิดละเอียด จะเห็นว่างานของอาจารย์ดำ� รง มีการเปลีย่ นไปเป็นยุคๆ ในขณะทีศ่ ลิ ปินบางท่านยึดแนวทางการสร้างสรรค์ 44
baccazine issue 09
Damrong Wong-Uparaj “Shore Scene” Oil on canvas, 79.5x147.5 cm Painted in 1961
งานศิลปะรูปแบบเดียวตลอดทัง้ ชีวติ เราจะเห็นว่า งานสมัยแรกของอาจารย์ด�ำรงเป็นแอบสแตรค ส่วนหนึ่ง ยุคหลังก็จะเปลี่ยนเป็นอีกส่วนหนึ่ง หลายคนอาจเข้ าใจว่า อาจารย์ด�ำรงเน้นงาน ครีเอทีฟอาร์ทด้านชนบทเพราะอาจารย์เป็นคน เชียงราย แต่ในความเป็นจริงงานทั้งหลายเป็น งานมิกซ์มีเดีย ไม่ ใช่งานที่ท�ำเสร็จภายในไม่กี่ สัปดาห์ แต่ตอ้ งใช้เวลาเป็นเดือนเป็นปี อีกเหตุผล หนึ่งที่ผมชอบงานของอาจารย์เพราะเป็นงาน ที่เกี่ยวกับชีวิตคนไทยในชนบท งานที่ออกมา สามารถแสดงให้เห็นถึงวิถชี วี ติ ในชนบทได้ดคี รับ ชีวิตผมเป็นชีวิตที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเป็นสูตร ส�ำเร็จ มีแค่ศนู ย์กบั หนึง่ อย่างเดียว ทุกอย่างคือ ดิจติ อล ต้องรวดเดียว พอได้มาสนทนากับศิลปิน ซึง่ มีอดุ มการณ์ ความรู้ ความสามารถ ไอเดีย ใช้ ชีวติ คนละอย่างกับผมแล้วมีความสุขมาก เทคนิค การซือ้ รูปภาพไม่ใช่งา่ ยนะครับ ศิลปินบางท่านมี ความปราณีตบรรจงมาก ท่านจะเลือกคนทีจ่ ะมา ซือ้ ภาพของท่านด้วย ต้องเป็นคนทีท่ า่ นพิจารณา แล้วว่าเหมาะสมและคู่ควรที่จะครอบครองงาน ของท่านอย่างแท้จริง บางศิลปินจะยึดมั่นใน อุดมคติ บุคลิกแต่ละท่านจะไม่เหมือนกัน บางท่าน ออกแนวเชิงพาณิชย์ บางท่านก็เป็นอาจารย์จริงๆ ถ้าไม่รู้จักสนิทสนมกันมาก่อนท่านก็ไม่ขายให้ ศิลปินบางท่านยังไม่เอางานเข้าแกลเลอรี่เลย ถ้าจะซือ้ ต้องติดต่อซือ้ กับศิลปินโดยตรง และจะ ขายให้กบั ผูท้ เี่ ห็นคุณค่าในผลงานนัน้ อย่างแท้จริง เท่านัน้ นอกจากนัน้ ในยุคแรกทีค่ วามรูผ้ มยังไม่คอ่ ยเยอะ ผมก็พยายามเก็บรักษาผลงานเก่าๆ ทีม่ ชี อื่ เสียง ไว้ดว้ ย เช่น ของอาจารย์ทวี นันทขว้าง อาจารย์ ถวัลย์ ดัชนี และอาจารย์เฟือ้ หริพทิ กั ษ์ ผลงาน ส่วนใหญ่จะเป็นแนวคลาสสิก แนวอิมเพรสชัน่ นิสต์ และแนวคิวบิกซึม่ ซึง่ ค่อนข้างเป็นผลงานทีค่ ลาสสิก หน่อย แต่ในช่วง 5 ปีหลังต้องยอมรับว่าผมให้ ความสนใจกับงานคอนเทมโพรารีคอ่ นข้างมาก
Damrong Wong-Uparaj “Three Thai Women Weaving Fronds info Baskets” 122x88.5 cm Painted in 1962
จึงเริม่ สะสมผลงานของศิลปินรุน่ ใหม่ และศิลปิน แนวแอบสแตรคไว้ดว้ ย การได้รจู้ กั ศิลปินเป็นการส่วนตัว มีผลต่อการซือ้ หรือเก็บสะสมงานศิลปะหรือไม่คะ? มีผลครับ เช่นอาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร จริงๆ งานของอาจารย์ค่อนข้างนีโอคลาสสิก หน่อย ซึ่งไม่ ใช่แนวที่ผมจะสะสมมากนัก แต่ เนื่องจากผมรู้จักอาจารย์ รู้จักงานที่อาจารย์ เขียนไว้กย็ งิ่ ชอบ ท�ำให้ผมเข้าใจว่าท�ำไมงานของ อาจารย์จงึ มีนกั สะสมจ�ำนวนมากจองไว้ตลอด มี นิทรรศการหนึ่งของอาจารย์ปัญญาที่เคยจัดที่ สีลมแกลเลอเรีย ผมได้ไปชมงานในวันทีส่ ามของ การจัดแสดง ปรากฏว่าผลงานทุกชิน้ ถูกจองหมด แล้ว นับว่าผลงานของอาจารย์ปญ ั ญาเป็นทีส่ นใจ ของนักสะสมจริงๆ ท�ำให้ผมเกิดความสนใจทีจ่ ะดู และซือ้ ผลงานของอาจารย์เก็บไว้ดว้ ย ผลงานชิ้นไหนที่คุณณรงค์ประทับใจเป็นพิเศษ บ้างคะ? ที่ ป ระทั บ ใจเป็ น พิ เ ศษก็ เ ป็ น ผลงานของ อาจารย์ชาติชาย ปุยเปีย ชื่อ Where are we from? Who are we? Where are we going? คุณสุรพลเป็นผูแ้ นะน�ำให้ซอื้ ตอนแรกยังไม่รจู้ กั อาจารย์ ก็เลยไปทีบ่ า้ นของท่าน อาจารย์กไ็ ม่ได้ พูดอะไรมาก เท่าทีท่ ราบก็คอื เป็นงานชิน้ ใหญ่ทมี่ ี ทัง้ หมด 3 ชิน้ และอาจารย์ไม่มที เี่ ก็บ โดยส่วนตัว ผมชื่นชอบผลงานชิ้นนี้เพราะดูเป็นเอกลักษณ์ ดี และเป็นงานแบบ very contemporary จึง ตัดสินใจซื้อเอาไว้ เป็นการซื้อที่แทบจะไม่ได้คุย อะไรกับศิลปินเลย แต่ถอื ว่าเป็นการตัดสินใจทีด่ ี เพราะเป็นผลงานชิน้ เอกของอาจารย์ชาติชาย ปุยเปีย เลยทีเดียว ผลงานชิน้ ไหนมีราคาแพงทีส่ ดุ คะ? Lost in the City ครับ เป็นผลงานของ อาจารย์นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล ตอนนั้นมีคนเชิญ ผมไปงาน จิม ทอมป์สนั ครบรอบ 100 ปี พอไป เห็นงานชิ้นนี้ผมกับภรรยาก็ชอบมาก ผมชอบ สไตล์คือไม่ใช่เฉพาะการเพนติ้งที่ผนัง แต่มันมี กระบวนการทีส่ ร้างปฏิสมั พันธ์กบั คนทีเ่ ข้าไปชม งานศิลปะ มีทั้งโรงหนังฉายหนังให้ดู มีเกมให้ เล่นก่อนเข้าไปดูหนัง มีร้านก๋วยเตี๋ยวที่สามารถ เข้าไปนัง่ ทานได้ มีฟตุ บาธทีเ่ หมือนจริง ผมชอบ คอนเซ็ปต์ อาหารที่เสิร์ฟ งานศิลปะที่จัดแสดง ซึ่งผสมผสานกันระหว่างของเก่ากับของใหม่ได้ น่าทึ่งมาก ท�ำให้ผมจินตนาการไปถึงว่าถ้าจิม ทอมป์สนั ยังมีชวี ติ อยูถ่ งึ ตอนนีก้ จ็ ะมีอายุ 100 ปี ออกจากป่าทีม่ าเลเซียแล้วมากรุงเทพฯ ในยุคนี้ จะได้เจออะไรบ้าง ผมได้คยุ กับอาจารย์นาวิน ก็ได้
art of life
ทราบว่ามีชาวต่างชาติสนใจ แต่อาจารย์นาวิน คิดว่าให้คอลเลคเตอร์คนไทยเก็บไว้ดกี ว่า ผมจึง ตัดสินใจซือ้ แล้วเก็บไว้ทบี่ ริษทั ฮ่องกงบรรจุพสั ดุ จ�ำกัด ซึง่ มีสาขาในกรุงเทพฯ หอศิลป์เกาหลีเคย ยืมไปแสดงครัง้ หนึง่ เมือ่ ปี 2554 เวลาใครมายืม งานไปจัดแสดงผมก็ยนิ ดีทจี่ ะให้ยมื ครับ แล้วชิน้ ทีห่ ายากทีส่ ดุ ล่ะคะ คือผลงานชิน้ ไหน? เป็นภาพสีนำ�้ มันของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี จริง ๆ แล้วผมชอบงานยุคเก่าของอาจารย์ถวัลย์มาก ผมมีอยู่หลายชิ้น แต่งานสีน�้ำมันนั้นผมไม่เคยมี อาจารย์ถวัลย์เคยเขียนภาพสีนำ�้ มันเกีย่ วกับชาวเขา ไว้ 2 ชิ้น ซึ่งเป็นงานเก่ามาก เพื่อนผมบอกว่า มีชนิ้ หนึง่ อยูท่ ซี่ รู คิ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ผมจึง ไปตามซือ้ กลับมา ตอนนัน้ ผมต้องไปนอนทีซ่ รู คิ ก่อนสองคืน เพราะสายการบินไทยไม่ได้บนิ ทุกวัน ปกติผมต้องพักโรงแรมห้าดาว อยูด่ ๆี เขาจองให้ ผมพักที่โฮสเทล 3 ดาวอยู่ในมหาวิทยาลัยซูริค ไม่มเี ตียงด้วยนะ นอนบนพืน้ ช่วงนัน้ เป็นช่วงฤดูรอ้ น ไม่มีแอร์ อากาศร้อนมาก หน้าต่างก็เปิดไม่ได้ (ยิ้ม) แต่ที่ซูริคจะมีหอศิลป์ ใหญ่มาก ผมชอบ มาก อยู่ในนั้นได้ทั้งวัน ผมไปหาด็อกเตอร์ท่าน หนึง่ เขาเป็นคนดูแลรูปภาพ ซ่อมแซมรูปภาพ เขา มีผลงานอิมเพรสชัน่ นิตส์สวยมากของยุโรป เขา สอนวิธกี ารดูงานศิลปะว่าชิน้ ไหนมีการซ่อมหรือ เปล่า โดยใช้วธิ ฉี ายแสงอัลตราอินฟาเรดเหมือน การท�ำเอ็กซเรย์รปู ภาพ ด็อกเตอร์บอกว่าผลงาน ของอาจารย์ถวัลย์ชนิ้ นีไ้ ม่ตอ้ งท�ำอะไรเลย ดูเสร็จปุป๊ แกก็ม้วนจัดเก็บให้เรียบร้อยพร้อมน�ำกลับมา เมืองไทย วินาทีทไี่ ด้รบั ภาพของอาจารย์ถวัลย์กลับมารูส้ กึ อย่างไรคะ? ประทับใจมาก ด้วยความที่ผมเห็นแต่ภาพ ผลงานทีเ่ ขาส่งเป็นไฟล์มาให้ทางอีเมลซึง่ ไม่คอ่ ย ชัดเท่าไหร่และถ่ายมาจากหนังสือ จึงดูไม่ค่อย เด่นเท่าไหร่ แต่พอไปเห็นผลงานจริงปุ๊ป โอ้โห โดดเด่นจริงๆ สียังสด สวยมาก เขาเก็บรักษา ไว้ได้ดมี าก พอกลับมาถึงเมืองไทยผมก็ให้เพือ่ น ศิลปินช่วยดู แล้วท�ำกรอบใหม่เลยเพราะกรอบ เก่ารูปภาพมันติดกันจะท�ำให้มปี ญ ั หา เราจึงต้อง ท�ำกรอบใหม่หมด ผมเอาทองค�ำเปลวมาใส่เข้าไป ในกรอบใหม่ดว้ ยนะ ส่วนกรอบเก่าก็ยงั เก็บไว้เป็น ทีร่ ะลึกนะครับ ทิศทาง เอกลักษณ์ในการสร้างคอลเลคชัน่ ของ คุณณรงค์เป็นอย่างไรคะ? ผมสะสมผลงานทีห่ ลากหลาย สนับสนุนผลงาน ของศิลปินรุ่นใหม่ เพื่อให้เขามีก�ำลังใจในการ สร้างสรรค์ผลงานต่อไปด้วย issue 09 baccazine
4 5
Thawan Dachanee / “The Nemi Jakata” Oil on canvas, 200x150 / cmPainted in 1976
มีศิลปินรุ่นใหม่คนไหนที่คุณณรงค์ชื่นชอบเป็น พิเศษมัย๊ คะ? ถ้าเป็นรุน่ 30 ต้นๆ ผมชอบงานของอาจารย์ อนุพงษ์ จันทร จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ก่อนหน้านั้นผมได้ไป เห็นงานแสดงของอาจารย์ที่แกลเลอรี่แห่งหนึ่ง เป็นงานทีแ่ รงมากทีเดียว ต้องยอมรับไม่ใช่งานที่ สามารถแขวนในบ้านได้ อาจารย์จะเขียนรูปพระ ซึ่งสะท้อนความเป็นจริงของสังคมให้เราเห็น ทัง้ ด้านดีและไม่ดี มิตใิ นศาสนาก็มที งั้ ด้านดีและ ด้านที่ไม่ดี อันนี้เราต้องยอมรับ และอาจารย์ก็ เขียนได้ดมี าก เอาผ้าจีวรมาเขียนได้ดขี นาดนัน้ มัน ไม่งา่ ยเลย และผมก็ได้ไปเยีย่ มอาจารย์ทสี่ ตูดโิ อ ซึ่งก็อยู่ ในออฟฟิศของอาจารย์ซึ่งเป็นสถานที่ ท�ำงานร่วมกับอาจารย์อีกท่านหนึ่ง ห้องเล็กนิด เดียวเอง แต่อาจารย์กส็ ามารถท�ำงานได้ หลังจาก สอนเสร็จอาจารย์กม็ าเขียนรูป ตอนนีอ้ าจารย์เพิง่ ซือ้ บ้านใหม่ สามารถเก็บรูปได้ ผมก็สนับสนุนให้ อาจารย์ได้พฒ ั นางานต่อ ก็เป็นศิลปินอีกคนหนึง่ ทีผ่ มอยากเห็นการเปลีย่ นแนวทาง ไม่ใช่เขียนจีวร กับพระอย่างเดียว ผมหวังไว้วา่ อยากเห็นอาจารย์ พัฒนางานในอีกเวอร์ชนั่ หนึง่ ต่อไป ในความคิดของคุณณรงค์ มองวิถีชีวิต การ ท�ำงานของศิลปินไทย เป็นอย่างไรบ้างคะ? ศิลปินไทยมีความคิดสร้างสรรค์ทดี่ มี าก มีจติ วิญญาณดี ฝีมอื ดี มีชอื่ เสียงเป็นทีย่ อมรับ แต่ยงั ไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐมากเท่าที่ควร เช่น ค่าตอบแทนแก่ศลิ ปินแห่งชาติยงั น้อยเกินไป เมือ่ เทียบกับประเทศอืน่ อย่างประเทศญีป่ นุ่ เขา ให้ค่าตอบแทนต่อเดือนแก่ศิลปินแห่งชาติค่อน ข้างสูง ดูแลเป็นอย่างดี เพือ่ ศิลปินจะได้มกี ำ� ลังใจ สามารถสร้างสรรค์ผลงานทีด่ ยี งิ่ ขึน้ เพือ่ ส่วนรวม ต่อไปได้ ภาครัฐหรือเอกชนควรมีบทบาทอย่างไรบ้าง 46
baccazine issue 09
Navin Rawanchaikul Lost in the City_installation view
ในการเข้ามาส่งเสริม สนับสนุนวงการศิลปะ ร่วมสมัยไทย? ผมอยากเสนอให้ภาครัฐจัดกิจกรรมส่งเสริม เผยแพร่ความรูด้ า้ นศิลปะให้ประชาชนได้มคี วามรู้ ความเข้าใจ และได้มโี อกาสเสพงานศิลปะเพิม่ ขึน้ มี พื้ น ที่ ใ ห้ ศิ ล ปิ น แสดงผลงานมากขึ้ น ล� ำ พั ง หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครเพียง แห่งเดียวไม่เพียงพอ ผมคิดว่าถ้าภาครัฐให้การ สนับสนุนงบประมาณการลงทุนทางด้านศิลปะ เพื่อการศึกษา เราก็จะได้มีอีกหนึ่งสายวิชาชีพ ที่ไม่ใช่เน้นแค่การเป็นหมอหรือวิศวะเท่านัน้ ถ้า คนไหนมีไอคิวหรือจีเนียสทางด้านศิลปะก็ควร ส่งเสริม มีทนุ มีรางวัลดีๆ ให้ ประเทศไทยควร มีการจัดนิทรรศการศิลปะเพื่อสร้างการรับรู้ให้ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ศิลปะบ้านเราจะได้คึกคัก ประชาชนก็จะเริม่ สนใจ เพราะทุกวันนีป้ ระชาชน ไม่คอ่ ยสนใจศิลปะเท่าไหร่ เขาไปวัดไหว้พระเพือ่ ความสบายใจ วงจรชีวติ ของคนไทยก็คอื เกิดทีว่ ดั ตายทีว่ ดั ถ้าสะสมก็จะสะสมพระเครือ่ ง รถยนต์ เพชรพลอย เขาไม่ได้คดิ ว่าการสะสมงานศิลปะก็ เป็นการลงทุนชนิดหนึง่ ต่างจากศิลปะร่วมสมัย ของจีนในยุคทีด่ ที สี่ ดุ แม้จะเกิดมาไม่ถงึ 15 ปี แต่ เป็น 15 ปีทงี่ านศิลปะร่วมสมัยของจีนขยายตัวมาก ชนชัน้ กลางของจีนเริม่ มีการลงทุนซือ้ ภาพ ราคา ภาพของจีนจึงพุง่ ขึน้ คือวัฒนธรรมหรือการสะสม มันคนละอย่างกัน บ้านเราเน้นวัตถุอย่างเงิน ไม่ได้ เน้นวัตถุอย่างศิลปะ บ้านเรามีศลิ ปวัฒนธรรมทีด่ มี าก เหมาะสม สมบูรณ์ แต่ไม่มคี นกลางทีม่ าช่วยบริหารจัดการ ด้านการประชาสัมพันธ์ ถ้าเอกชนอยากท�ำก็ตอ้ ง ท�ำเอง ภาครัฐยังให้การสนับสนุนไม่มากพอ ถ้า ผมเข้าใจไม่ผิด ไม่ถึงสิบปีที่ผ่านมา กระทรวง วัฒนธรรมมีนโยบายสะสมรูปภาพของศิลปินไทย แต่เนื่องด้วยงบประมาณที่มีอยู่อย่างจ�ำกัด จึง
ท�ำให้ซอื้ ผลงานศิลปะมาเก็บสะสมได้นอ้ ย ครัง้ หนึง่ มีงานเบียนนาเล่ทตี่ า่ งประเทศ เมืองไทยต้องส่ง ศิลปินไปร่วมด้วย แต่เพราะงบประมาณมีน้อย มาก ทุกวันนี้ก็ยังน้อยอยู่นะ ศิลปินที่ไปก็ต้อง หาสปอนเซอร์กันเอง ท�ำทุกอย่างเองหมด อาจ เป็นเพราะประเทศไทยยังอยู่ในช่วงก�ำลังพัฒนา การจัดสรรงบประมาณเพือ่ ปากท้องของชาวบ้าน ส�ำคัญทีส่ ดุ ท�ำยังไงให้ชาวนา ให้ประชาชนอยูด่ ี กินดีมีเงินใช้ส�ำคัญกว่าสิ่งอื่นใด ก็หวังว่าจะ เปลีย่ นแปลงไปในทางทีด่ ขี นึ้ เรือ่ ยๆ ในส่วนของ เอกชนผมว่าต้องมีแกลเลอรีท่ มี่ คี ณ ุ ภาพ ทุกวันนี้ แกลเลอรีเ่ ปิดๆ ปิดๆ ตลอดเวลา การทีแ่ กลเลอรี่ ต้องปิดตัวลงก็มาจากหลายสาเหตุ สาเหตุหนึ่ง คือศิลปินไม่คอ่ ยเชือ่ มัน่ ในแกลเลอรี่ เพราะบาง ครั้งแกลเลอรี่ขายงานได้แต่ไม่จ่ายเงินให้ศิลปิน หรือไม่กจ็ า่ ยเงินช้า ศิลปินก็อยูไ่ ม่ได้ หรืออาจจะ เป็นเปอร์เซ็นต์ที่หักจากศิลปินมากเกินไป อันนี้ ก็เป็นปัญหา ผมว่ามันต้องครบวงจรน่ะ เหมือน กับล้อจะหมุนได้กต็ อ้ งมีหลายส่วนทีซ่ พั พอร์ต มี งานดี มีแกลเลอรีท่ คี่ นจะไปซือ้ งานได้ มีหอศิลป์ ทีจ่ ะได้แสดงงานมาสเตอร์พชี นักสะสมถ้าไม่ซอื้ งาน ศิลปินก็อยูไ่ ม่ได้ วัตถุประสงค์ของนักสะสม ในบ้านเราก็แตกต่างกัน ส่วนหนึง่ ซือ้ มาเพือ่ เก็ง ก�ำไร ส่วนหนึง่ ซือ้ เพราะชืน่ ชอบ บางส่วนก็อาจ จะอยากท�ำหอศิลป์ ส�ำหรับคุณณรงค์วางแผนการสะสมไว้อย่างไรใน ปลายทางคะ? ผมสะสมงานศิลปะเพื่อวัตถุประสงค์ในการ สร้างหอศิลป์ของผมเอง ไม่ได้สะสมเพือ่ เก็งก�ำไร หรือการขาย ตัง้ แต่สะสมมาเกือบ 20 ปี ผมไม่เคย ขายเลยแม้แต่ชนิ้ เดียว มีแต่ให้คนอืน่ เป็นของขวัญ ไปบ้าง ซึง่ ทุกวันนีย้ งั เสียดายอยูเ่ ลย (ยิม้ ) เหตุผล ทีผ่ มอยากสร้างหอศิลป์คอื ผมถือว่าตระกูลเรามา จากต่างประเทศ แต่ผมเกิดทีน่ ี่ ประเทศไทยให้
art of life
“Where are we from? Who are we? Where are we going?” Oil on canvas, 200x510 cm / Painted in 1999 หมายเหตุ : ทั้ง 3 ภาพเขียนเพื่อน�ำมาต่อให้เป็นภาพเดียวกัน ขนาดเมื่อต่อกันแล้ว 200x510 ซม.
Tawee “Tawee Nandakwang 81” Oil on canvas, 129x74 cm Painted in 1990
อะไรกับพวกเราเยอะมาก เราก็ควรจะคืนกลับไปให้แผ่นดินทีม่ พี ระคุณต่อเราบ้าง ตอนนีค้ ณ ุ ณรงค์เริม่ ท�ำหอศิลป์หรือยังคะ? ยังครับ มีปจั จัยสามส่วนทีส่ ำ� คัญมากในการสร้างหอศิลป์ หนึง่ ต้องมีคอนเทนต์ คือศิลปะเราต้องมีมากพอและหลากหลายไม่ใช่คลาสสิกอย่างเดียว คนที่เข้า ดูสามารถดูทกุ รูปได้หมด สองต้องดูวา่ จะสร้างที่ไหน ถ้าต่างประเทศสร้างหอศิลป์ นอกเมืองไกลขนาดไหนคนก็ไปดู อย่างผมไปมิลาน ไปเวนิส ต้องข้ามสะพาน 20 สะพาน ลงเรือเพือ่ ไปดูหอศิลป์ ผมก็ไปเพราะมันคุม้ มากที่ได้เห็นงานดีๆ ทัง้ หมด แต่เมืองไทยต้องคิดดูกอ่ นว่าจะมีคนไปดูขนาดนัน้ รึเปล่า ถ้าถามผมตอนนีเ้ ราควร จะเอาศิลปะใกล้ชดิ กับผูช้ มมากทีส่ ดุ คนไทยชอบอะไร ชอบไปชอปปิง้ เซ็นเตอร์ ก็ควรจะมีหอศิลป์อยู่ใกล้สถานทีเ่ หล่านัน้ สามคือต้องท�ำมูลนิธขิ นึ้ มาเพือ่ รักษา และมีเงินก้อนหนึง่ เพือ่ ให้หอศิลป์เดินต่อไปได้ ผลงานทีเ่ รามีอยูน่ นั้ ต้องอยูไ่ ด้หา้ สิบปี ร้อยปี ไม่ใช่ทำ� เสร็จแล้วไม่มเี งินดูแลรักษา คุณณรงค์คดิ ว่าระหว่างความเจริญก้าวหน้าของศิลปะร่วมสมัยไทยกับศิลปะใน ภูมภิ าคเอเชียหรือระดับโลกมีความแตกต่างกันอย่างไรคะ? ศิลปะบ้านเราตั้งแต่สมัยที่เป็นจิตรกรรมฝาผนังในวัด ในวัง ปัจจุบันมี การพัฒนาไปมาก ตัง้ แต่อาจารย์ศลิ ป์ พีระศรี มาสร้างมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นการน�ำพาศิลปินไทยให้ก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง เป็นการผสมผสานระหว่าง ศิลปะตะวันออกและตะวันตก ผลงานที่ได้จึงมีความพิเศษเป็นอย่างมาก บาง คนอาจเป็นแนวคลาสสิก บางคนเป็นแบบสมัยใหม่ งานของไทยค่อนข้างเป็น เอกลักษณ์ คือไม่เป็นแอบสแตรคมากเกินไป ก็เป็นแอบสแตรคแบบไทยๆ แสดงออกมาตามวัฒนธรรมใหม่ๆ ของไทย แต่กม็ ศี ลิ ปินแบบโมเดิรน์ บ้าง ถ้า จะเทียบกับประเทศอืน่ ต้องถือว่าของไทยเราไม่แพ้ใครเลยและงานดีมากด้วย คนไทยเก่งทางด้านศิลปะอยูแ่ ล้ว ไม่วา่ จะเป็นทอผ้าหรือแฟชัน่ งานอะไรทีท่ �ำ ด้วยมือและใช้จนิ ตนาการนัน้ คนไทยเก่ง ปัญหาคือภาครัฐยังให้การสนับสนุน ไม่มากพอ ประกอบกับนักสะสมงานด้านศิลปะยังมีนอ้ ย จึงท�ำให้ราคาผลงาน ศิลปะในบ้านเราไม่ดเี ท่าทีค่ วร ใจจริงผมอยากเชียร์ให้ทกุ คนสนใจงานศิลปะ เพราะศิลปะคือการสะท้อน ให้เห็นถึงวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ จะเห็นว่าในยุโรปหรือญีป่ นุ่ ถ้าเมือ่ ใด ทีท่ กุ คนท้องอิม่ แล้ว เขาจะหันมาสนใจเรือ่ งสมองและความคิด ศิลปะช่วยให้ได้ จินตนาการ ได้พกั ได้ผอ่ นคลาย ได้พบความสุขอีกรูปแบบหนึง่ และยังได้เข้าใจ ถึงความคิดของศิลปินในยุคต่างๆ ว่าท�ำไมถึงวาดภาพแบบนี้ ความหมายทีแ่ ท้จริง คืออะไร ในภาพมีอะไรหลายอย่างทีท่ ำ� ให้เราจินตนาการได้มากมาย แม้ในบางครัง้ ตัวศิลปินจะไม่ได้บอกว่ามันคืออะไร ศิลปะจึงเป็นเสมือนอาหารทีห่ ล่อเลีย้ งชีวติ และจิตใจของเราให้มคี วามสุขครับ issue 09 baccazine
4 7
THE SPIRITUAL VALUE OF the event held at Silpakorn University to NARONG INTANATE’S ART commemorate the 100 years of ThailandCOLLECTION Japan diplomatic relations. Many artists,
Narong Intanate is one of Thailand’s top businessmen who founded several pioneering electronic commerce, information and technology businesses as well as a leading venture capital enterprise. He is also an avid art collector who greatly supports Thai artists. Today he welcomed us into his private gallery built by the famous architect, Robert Gibuy, which houses several fine arts, sculptures, and prints. “My businesses require quick and sharp decision-making skills to make the most profits out of the investment. Art, on the other hand, is quite the opposite. Time makes the collection’s value rise exponentially. I consider myself as a lucky person to be able to experience both sides of the world. I get to sit back and spend my weekends on art.” “Back in 1997, when the economy plummeted and several companies had to liquidate themselves, they brought out their art collection for sales. I just thought that if these properties were bought by foreigners, our children would have to go abroad to see these precious work. So my wife and I decided to attend an art auction. We just wanted to save the works. I confessed that back then I knew very little about art. I just listened to other people’s comments and advices on which pieces to buy. We ended up winning 14 pieces of artworks, spending 2 million baht. Some of pieces were good, some were bad. After that, I started to inquire more knowledge about art. Then I attended 48
baccazine issue 09
both Thai and Japanese, showcased their work. That’s when I saw the work of Praphan Sisuta. They really caught my attention and I bought 87 pieces of Praphan’s wooden carvings. He introduced me to Damrong Wongupparat who later became my close friend and respectable art advisor. I often consulted with him on which pieces to buy in various auctions. He taught me a great deal of knowledge about art. I can say that he was my inspiration. Then I read a book by Apinand Poshyananda about Thai art, which made me realize that Thai art is extremely unique and creative but lacks good marketing schemes. As my personal collection grew larger, I remembered the King of Thailand’s words that we should be grateful towards our homeland. My ancestors came to settle in Thailand a long time ago so it’s my duty to repay her. It is my dream that my collection of 500 pieces of Thai art will one day be displayed in a public gallery for all the see their priceless values.” “Damrong Wongupparat’s works are my favorites because they are very creative, and also because I knew the artist personally before he passed away. You can see the evolution of his works from abstract to other forms. He often spent months and years to finish each piece. Most of his works reflect the rural way of life, and that’s why I like them because it’s such an opposite to my fast-paced urban life.” “I also like other famous artists such
as Tawee Nantakwang, Tawan Datchanee, and Fue Haripitak. In the past five years, however, I’m more and more interested in new generations of artists.” “The pieces I’m especially impressed with are ‘Where are we from? Who we are? Where are we going?’ by Chatchai Puipia. Suraphon Boonyapamai introduced me to him and together we went to his house. I immediately spotted these 3 large interconnected pieces of contemporary work. They are very unique and I bought them right on the spot without exchanging a word with the artist. “ “’Lost in the City’ by Nawin Lawanchaikul is the most expensive piece I’ve ever bought. It’s a multi-media art with paintings, games, clothes, noodles shop, footpath, cinema, food and a good combination between contemporary and vintage elements. My wife and I really like it as it interacts with us. It makes me wonder that if Jim Thompson is still alive, which would make him 100 years old today, what would his reaction be when he sees the modern-day Bangkok?” “The oil painting by Tawan Datchani is the rarest and most difficult to acquire. I had to go to Zurich, Switzerland, to get it.” “My art collections are diverse to support new generations of artists. Generally speaking, Thai artists are very creative. They possess great skills and their works reflect deep spirituality, however, they are not as supported by the public sector. I would like to see the government implement more art educational activities to promote a wider understanding and recognition of art among the public as well as to create more art consumption and public spaces.” I would like everybody to be interested in art because it reflects each country’s culture. It helps stimulate our imagination and makes us question about the meaning behind it. Art makes us happy. My purpose of collecting all these pieces is to establish my own non-profit art gallery. I’ve never sold any of my collection in the past 20 years. Like I said, my ancestors came to settle in Thailand a long time ago so it’s my duty to repay her.
•
bacc shop
BACC SHOP ร้านจ�ำหน่ายสินค้าของมูลนิธหิ อศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (bacc shop) เปิดให้บริการแล้วบริเวณโถงต้อนรับชัน้ 5 อาคารหอศิลปวัฒนธรรมแห่ง กรุงเทพมหานคร โดยสินค้าต่างๆ ทีจ่ ำ� หน่ายในร้านมีทงั้ สินค้าทีจ่ ดั ท�ำขึน้ สืบเนือ่ งจาก นิทรรศการต่างๆ ของหอศิลปฯ นอกจากนีย้ งั มีสนิ ค้าอืน่ ๆ ทีน่ า่ สนใจจากศิลปิน บุคคล และองค์กรภายนอกด้วย ทัง้ นีร้ ายได้จากการจ�ำหน่ายสินค้าจะน�ำเข้ามูลนิธหิ อศิลป กรุงเทพฯ เพือ่ สนับสนุนกิจกรรมอันมีประโยชน์ตา่ งๆ ของหอศิลปกรุงเทพฯ ต่อไป และคอยพบกับ bacc kiosk ร้านจ�ำหน่ายสินค้าของมูลนิธฯิ แห่งทีส่ อง ได้เร็วๆ นี้ ณ บริเวณทางเข้า ชัน้ 3 ของอาคารหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
Visit the BACC Shop on the 5th floor of the BACC for souvenirs inspired by various exhibitions that had been held here. Other products made by artists and other organizations can also be found here. Profits from the sales will contribute to the BACC Foundation. The second shop, called the BACC Kiosk, will arrive soon on the 3rd floor of the BACC.
•
issue 09 baccazine
4 9
bacc calendar Experimental Video Art Exhibition, Thai-European Friendship 2004-2014 (EVA project) จัดแสดงระหว่างวันที่ 18 กรกฎาคม 2557 ถึง 7 กันยายน 2557 ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 7 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร นิทรรศการด�ำเนินงานโดยฝ่ายนิทรรศการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับอาจารย์คมสัน หนูเขียว
โครงการ Experimental Video Art Exhibition, Thai-European Friendship 20042014 (EVA project) เริม่ ต้นมาตัง้ แต่ปี 2004 และ จัดขึ้นทุกๆ ปี โดยโครงการนี้มีความตั้งใจที่จะ แสดงให้เห็นถึงรูปแบบวิดโี อทีศ่ ลิ ปินใช้ในปัจจุบนั ในประเทศไทยมีมหาวิทยาลัย 9 แห่งเข้าร่วม โครงการ ได้แก่ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและ ภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, วิทยาลัยช่างศิลป์ ลาดกระบัง, สาขาศิ ล ปกรรมคณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบั ง , คณะวิ จิ ต รศิ ล ป์ มหาวิ ท ยาลั ย เชียงใหม่, คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนสุนนั ทา, คณะมนุษย์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรสี มุทรปราการ, คณะ ศิลปวิจติ รสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ศาลายา วัตถุประสงค์ของโครงการ แสดงให้เห็นถึง ความหลากหลายจากผลงานของศิลปินนานาชาติ ผนวกกับผลงานของศิลปินไทยและนักศึกษาใน มหาวิทยาลัยต่างๆ เพือ่ แสดงให้เห็นถึงผลงานที่ ท�ำผ่านเทคนิควิดีโอโดยเฉพาะ ผลงานเหล่านี้ จะเป็นตัวแสดงถึงสิง่ ทีพ่ วกเขาเกีย่ วข้อง ตลอดจน ชี้ให้เห็นถึงวิธคี ดิ ทฤษฎีตา่ งๆ โดยเฉพาะในความ หลากหลายของพฤติกรรมที่สะท้อนและได้รับ อิทธิพลจากเทคโนโลยีทอี่ ยูร่ อบๆ ตัว ผ่านการรับรู้ และสุนทรียท์ างศิลปะ โดยได้เชิญศิลปินชาวยุโรป ผู้ซึ่งอาศัยและท�ำงานในประเทศเหล่านั้น อาทิ ศิลปินจากเยอรมนี, ออสเตรีย, อิตาลี, สวิตเซอร์แลนด์, สโลเวเนีย, อังกฤษและประเทศอืน่ ๆ ในบริเวณ
โดยรอบ ซึง่ เหตุการณ์ตา่ งๆ ทีเ่ กิดขึน้ ตลอดทัง้ ศิลปินต่างๆ ทีม่ สี ว่ นร่วมในโครงการต่างมีความ หลากหลายของพืน้ เพเพือ่ เป็นการเชือ่ มสัมพันธ์ใน การท�ำความเข้าใจความแตกต่างของวัฒนธรรม ตลอดทัง้ สุนทรียศ์ ลิ ปะ และเปิดโลกทัศน์ในระดับ นานาชาติ อีกทั้งเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ใน ระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยด้วยกัน และต่อ สถาบันการศึกษาในต่างประเทศให้แน่นแฟ้นมากขึน้ อาทิสถาบัน Academy of Fine Arts, Vienna, Austria, Academy of Media Arts, Cologne, Germany สอบถามข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม ได้ ที่ หอศิ ล ป วัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 02 214 6630 – 8 โทรสาร 02 214 6639 • www. bacc.or.th • www.facebook.com/baccpage
Experimental Video Art Exhibition, Thai-European Friendship 2004-2014 (EVA project) On view July 18, 2014 September 7, 2014 Venue 7th floor, Bangkok Art and Culture Centre Opening ceremony July 17, 2014
at Silpakorn University, Fine Art Faculty at Chiang Mai University, Fine Art Faculty at Burapa University, Department of Fine Art, Architecture Faculty, at King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang, Faculty of Fine Arts, Bangkok University, Fine Art Faculty at SuanSunandhaRajabhat University, Faculty of Humanities and Social Science, DhonburiRajabhat University. College of Fine Arts Ladkrabang, Bangkok. The purpose of the annual project is to showcase a diverse international group of students from various universities and artists working in video art each year to stir up new concerns, methods of practice, art theory and discourses of meaning about global influences of new media on social behavior, perception and artistic expression. We invite many artists from Europe who currently live and work in Germany, Austria, Italy, Switzerland, Slovenia, England and other
countries. Each artist’s style and individual work process contributes to the diversity of the exhibition project providing insights into their cultures, roots and customs, personal interests and issues that tackle concerns about place, time and simulation. Through the participation of artists from various backgrounds we intend to create a network that enhances understanding of different cultures through artistic practices and opens up an international platform for discussions. Additionally, we focus on building academic partnerships within Thailand as well as establishing academic exchange programs with foreign universities and institutes that already include the Academy of Fine Arts in Vienna (Austria), the Academy of Media Arts in Cologne (Germany), and others.
The Experimental Video Art Exhibition is an annual presentation of new video art from Thailand and Europe, which started in 2004. The Experimental Video Art Exhibition Thai-European Friendship installment of this video art series intended to show current styles and modes of video practices in Thailand will be featured from nine participating universities such as Bunditpatanasilata Institute in Bangkok, Painting, Sculpture and Graphic Arts Faculty
50
baccazine issue 09
BACC Exhibition in Poland
ใกล้ ไ ก ล สัม พัท ธ์ นิทรรศการศิลปะระยะทางและความสัมพัทธ์ 29 มิถุนายน - 7 กันยายน 2557 เปิดนิทรรศการ 28 มิถุนายน 2557 หอศิลป Szczecin, ประเทศโปแลนด์
ฝ่ายนิทรรศการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับ in SPIRACJE InternationalVisual Art Festival ‘13 MUZ’ จัดนิทรรศการ ‘PROXIMITY’ น�ำเสนอศิลปะ ร่วมสมัยไทยและโปแลนด์ โดยโครงการนีเ้ ริม่ ขึน้ จากการท�ำงานร่วมกัน ระหว่างพิชญา ศุภวานิช ภัณฑารักษ์ไทยและบาร์เท็ค โอท็อคก์ ภัณฑารักษ์โปแลนด์ในการพัฒนาความคิด ผ่านการโต้ตอบสนทนาเพือ่ น�ำเสนอผลงานทีเ่ ป็นจุดเชือ่ มต่อของทัง้ สองประเทศ โครงการนี้เริ่มขึ้นจากการคิดค้นจากจุดร่วมเดียวกัน ซึ่งประกอบไปด้วยสองส่วน ส่วนแรกคือผลงานของศิลปินไทย ได้แก่ อานนท์ นงเยาว์, กวิตา วัฒนะชยังกูร, แพนแพน นาคประเสริฐ, ปฐมพล เทศประทีป, ปรีชญา ศิรพิ านิช, ไทกิศกั ดิ์ พิสษิ ฐ์, ตุลย์ สุวรรณกิจ, อุกฤษณ์ สงวนให้, วิรยิ ะ โชติปญ ั ญาวิสทุ ธิ์ ซึง่ จะไปจัดแสดงทีห่ อศิลป Szczecin ในเมือง ชเชตซีน ประเทศโปแลนด์ ในเดือนมิถนุ ายน 2557 และส่วนทีส่ องก็จะเป็นผลงานของ ศิลปินโปแลนด์ ได้แก่ อดัม วิทคาวสกี, อกาธาบี เอลสกา, อาเธอร์ มาลูวสกี, ฟรานซิสค์ ออลอวสกี, เกรคกอร์ สโดรซส์, พอลลินา่ ซาดาวสกา, พาวเวล์ คูลา, พิออท สกีบา, โทมัส โคแซค ซึ่งจะจัดแสดงที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ในปี 2558 โดยทัง้ สองส่วนของงานนีม้ จี ดุ ประสงค์ในการน�ำเสนองานศิลปะจากต่างวัฒนธรรมมาไว้ ในต่างพื้นที่ต่างเวลา เพื่อถ่ายทอดความหมายที่เป็นแบบทดสอบทางการตีความ โดย จุดมุ่งหมายท้ายสุดของงานคือ การสื่อสารทางศิลปะกับผู้ชมทั้งสองที่ ในมุมมองที่ถูก ขยายความ รวมไปถึงโอกาสต่อไปในการเชือ่ มต่อผลงานศิลปินบนขอบเขตของความเป็น สากล ท่ามกลางความเป็นไปได้ทหี่ ลัง่ ไหลเข้ามาจากยุคร่วมสมัย P ROX IMITY : An art exhibition of distance and relativity National Museum in Szczecin, Poland( 2014 ) Bangkok Art and Culture Centre, Thailand ( 2015 )
BACC Exhibition department in collaboration with in SPIRACJE InternationalVisual Art Festival ‘13 MUZ’ together organizing a joint exhibition ‘PROXIMITY’ presenting the contemporary art of Poland and Thailand. The project starts with a working in collaboration between Pichaya Aime Suphavanij (Thai curator) and BartlomiejOtocki (Polish curator) developing a dialoging concept proposing the works of Thai and Polish artists to communicate to the general public both in Thailand and Poland. Starting from the same origination, the project will have two parts ; the first part as works of Thai artists presenting in a ‘PROXIMITY’ exhibition at National Museum in Szczecin in June, 2014 and the second part will be the works of Polish artists at Bangkok Art and Culture Centre in 2015. The co-existence of the works of art from different cultural areas in two exhibition at different times will carry varying messages to audience. It aims that the outcome from the project will be an effective communication to an expanded audience and become a further opportunity to explore alternative aspects to connect artworks of artists on the international scene in the flux of the contemporary.
•
issue 09 baccazine
5 1
network calendar
SUMMER SHOW 2014 วันนี้ - 30 กันยายน 2557 Adler Subhashok Gallery สุขุมวิท 33 วันอังคาร – อาทิตย์ เวลา 10.00 – 17.00 น. (หยุดวันจันทร์ และวันหยุดราชการ)
ซั ม เมอร์ โ ชว์ (Summer Show) เป็ น นิทรรศการศิลปะช่วงฤดูร้อนของประเทศ ทางยุโรป โดยไม่มคี อนเซ็ปต์ของนิทรรศการ เป็นตัวก�ำกับชิน้ งาน นิทรรศการนีจ้ งึ เป็นการ รวบรวมผลงานหลากหลายรู ป แบบโดย ปราศจากกรอบเดิมๆทางความคิดหรือข้อจ�ำกัด ทางเทคนิค ซึง่ จะจัดขึน้ เป็นครัง้ แรกทีป่ ระทศไทย ในปีนี้ ด้วยผลงานชุดใหม่ทแี่ สดงความสืบเนือ่ ง ทางความคิดในมุมมองใหม่ พร้อมน�ำเสนอ ความเคลื่อนไหวของแนวคิดและพัฒนาการ ทางด้านเทคนิคในผลงานของศิลปิน ที่เคย ร่วมแสดงในนิทรรศการ Moi/Soi เมือ่ มีนาคม ทีผ่ า่ นมา อาทิ ไมเคิล เชาวนาศัย, พลุตม์ มารอด, มานิต ศรีวานิชภูม,ิ เกียรติอ์ นันต์ เอีย่ มจันทร์ ฯลฯ รวมถึงศิลปินใหม่ทกี่ ำ� ลังจะมีผลงานแสดง กับทางหอศิลป์ดว้ ย SUMMER SHOW 2014 Today - 30 September 2014 Adler Subhashok Gallery Sukhumvit 33 Open daily 10.00 - 17.00 TuesdaySunday (except Monday and public holidays)
Summer Show is an art exhibition hosted in Europe in summer. It is groundbreaking as it is freestyle without any limiting concept. You can expect to see a variety of ideas and techniques in this exhibition which will be held for the very first time in Thailand this year. New art developments will be brought to view, including the work of artists such as Michael Shaowanasai, Palut Marod, Manit Sriwanichpoom, and Kiatanan Iamchan as well as other new artists.
52
baccazine issue 09
นิทรรศการ TRANSMISSION 21 มีนาคม – 30 สิงหาคม 2557 ณ หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน Print in ANGKOR WAT 2014 9-30 กันยายน 2557 หอศิลป์กรุงไทย เลขที่ 260 ถนนเยาวราช วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 09.00 -16.00 น. วันเสาร์เวลา 09.00 – 17.00 น. สอบถามข้อมูลเพิม ่ เติม โทร. 0-2222-0137
เนื่ อ งในโอกาสครบรอบ 48 ปี คณะ จิ ต รกรรม ประติ ม ากรรม และภาพพิ ม พ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดนิทรรศการภาพพิมพ์ จิตรกรรม สือ่ ผสม และประติมากรรมครัง้ ใหญ่ โดยศิลปินชื่อดังและนักศึกษาจ�ำนวน 78 คน กับผลงานทีน่ า่ สนใจ 220 ชิน้ งาน อาทิ ผลงาน ของสันติ เล็กสุขุม ปรีชา เถาทอง พิษ ณุ ศุภนิมติ ปริญญา ตันติสขุ ปัญญา วิจนิ ธนสาร ฯลฯ ภายใต้คอนเซ็ปต์และแรงบันดาลใจทีม่ า จากอังกอร์วดั อันสวยงาม Print in ANGKOR WAT 2014 Art Exhibition The exhibition will be on view during 9th – 30th September, 2014 at Krung Thai Art Gallery, 260 Yaowarat road, Bangkok Open: Monday – Friday 09.00 am. – 4.00 pm. Saturday 09.00 am. – 5.00 pm. For further information, kindly contact: 0-2222-0137
The art exhibition presents print, painting, mixed media art and sculpture by 78 faculty members and art students from Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University as well as art instructors and independent artists who previously participated in historical studies and environmental conservation for printmaking. The project was implemented in Cambodia on the occasion of 48th anniversary of Graphic Arts Department, Faculty of Painting Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University.
นิทรรศการ TRANSMISSION เผยให้เห็น เสีย้ วหนึง่ ของความเป็นไทยก่อนการเป็นรัฐชาติ ผ่ า นสายตาของศิ ล ปะร่ ว มสมั ย 7 ท่ า น จากประเทศไทยและประเทศต่างๆ ในภูมภิ าค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไดแก่ โสเพียพ พิช อัลเบิรต์ โยนาธาน เซ็ตยาวัน เดอะ โพรเพลเลอร์ กรุ๊ป นิค ชาน สุวิชชา ดุษฎีวนิช สาครินทร์ เครืออ่อน และถกล ขาวสะอาด โดยศิลปิน ได้ตีความงานสะสมของพิพิธภัณฑ์บ้านไทย จิม ทอมป์สนั ในรูปแบบของตน ผลงานของ พวกเขาไม่เพียงแสดงให้เห็นว่าอดีตจะเป็น แรงบันดาลใจได้อย่างไร หากยังให้เห็นว่า อดีตยังสามารถเป็นค�ำท้าทายได้เช่นกัน เมื่อ “ประเพณี” ไม่ใช่เพียงแค่มรดกตกทอดในเชิง รูปลักษณ์หรือกลวิธี หากคือกระบวนการอันมี ชีวติ ของการตีความและปรับแปลง ซึง่ เติมเต็ม ประสบการณ์ความเป็นสมัยใหม่ให้สมบูรณ์ นิทรรศการ TRANSMISSION เสนอแนะว่า “มรดกทางวัฒนธรรม” มีค่ามากกว่าเป็นได้ เพียงแค่อตั ลักษณ์ หากยังเป็นองค์ความรูท้ งั้ ในเชิงแนวคิด แก่น และสาระส�ำคัญอันใช้ได้ จริง รวมถึงเป็นทรัพยากรให้เราได้ใช้ครุน่ คิด รูส้ กึ และสร้างสรรค์ได้อย่างไม่มวี นั หมดสิน้ Transmission 21 March – 30 August 2014 The Jim Thompson Art Center
The exhibition, “Transmission”, challenges visitors to ponder upon how the past, in addition to being an inspiration, can also be a perpetual source of knowledge and creativity. It points out through the contemporary artworks of 7 artists in Southeast Asia that traditions are not passed on only as objects or techniques. They are constantly recreated and interpreted, forming, through time and intergenerational transmission, priceless cultural heritage.
•
ที่ตั้งและการเดินทาง
bacc ตั้งอยู่หัวมุมสี่แยกปทุมวัน ตรงข้ามห้างมาบุญครอง และสยามดิสคัฟเวอรี่ ชั้น 3 ของหอศิลปกรุงเทพฯ มีทางเดินเชื่อมต่อกับทางยกระดับ รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ และมีบริการที่จอดรถบริเวณชั้นใต้ดินของอาคาร รถประจ�ำทาง : สาย 15, 16, 21, 25, 29, 34, 36, 40, 47, 50, 54, 73 ก, 79, 93, 141, 159, 204, ปอ.508 และ ปอ.529 เรือโดยสาร : เรือสายคลองแสนแสบ เส้นทางสะพานผ่านฟ้า - ประตูนำ�้ ขึน้ ทีท่ า่ เรือสะพานหัวช้าง เดิน 300 เมตร ถึงหอศิลป์กรุงเทพฯ สีแ่ ยกปทุมวัน เวลาเปิดบริการ : วันอังคาร-วันวันอาทิตย์ เวลา 10.00-21.00 น. (หยุดวันจันทร์) ค่าเข้าชม : ไม่เสียค่าเข้าชม ยกเว้นการจัดการกิจกรรมและการแสดงที่เป็นกรณีพิเศษ How to go to bacc
bacc is located at the Pathumwan Itersection, facing the MBK and Siam Discovery Center. The 3rd floor entrance is connected to the BTS, the National Stadium Station. Limited parking is available at level B1 and B2 Buses : 15, 16, 21, 25, 29, 34, 36, 40, 47, 50, 54, 73 ก, 79, 93, 141, 159, 204, air-con 508 and air-con 529 Boat : Saen-saeb canel route (Panfa Bridge-Pratumnam), use the Sapan Hua-Chang landing, 300 m. to the art Centre Opening hours : 10 a.m.-9 p.m. (closed Monday) Addmission : Free entry to exhibitions, except for special events. Charges to concerts and play will vary
issue 09 baccazine
5 3
handcrafted by artist
Line : shannta Instagram : Shannta_official Facebook.com/shanntaclub email : sales@shannta.com
www.shannta.com
BACC - Bangkok Art and Culture Centre, Room 306, 3rd floor, Pathumwan, Bangkok Tel. (+662) -611- 0290 Fax. (+662) -611 - 0655