วารสารย่านจีนถิ่นบางกอก ฉบับที่3

Page 1

คลองผดุงกรุงเกษม คลองที่กลับมามี บทบาทอีกครั้งกับกรุงเทพฯ ในยุคระบบราง

เยาวราช แหล่งทำเลของคนจีนแต้จิ๋ว

เยาวชน กับ...เรื่องเล่า...บ้านเก่าตลาดน้อย

ปัญหากากไขมัน... เรื่องไกลที่ใกล้ตัว

ฉบับที่ ๓ I มกราคม – มีนาคม ๒๕๕๖

ตอน : ริมน้ำย่านจีน

ปลดล็อค เปิดประตู สู่ริมน้ำ

• ริมน้ำย่านจีน • โจวซือกง...กับการพัฒนา • จากงานศิลปะ สูง่ านบูรณะ ศาลเจ้าฮ้อนหว่องกุง


ทำความรู้จักกับ โครงการย่านจีนถิ่นบางกอก โครงการย่านจีนถิน่ บางกอก (Bangkok Chinatown World Heritage) เกิดขึ้นจาก ความร่ ว มมื อ ระหว่ า งสำนั ก งานกองทุ น สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ สถาบันอาศรมศิลป์ เพือ่ ดำเนินงาน “โครงการ สร้ า งเสริ ม สุ ข ภาวะ (พื้ น ที่ ส ร้ า งสรรค์ ) ”

ในย่านไชน่า ทาวน์ กรุ ง เทพ ด้วยแนวคิดที่

มุ่งไปสู่การดำรงความเป็นย่านไชน่าทาวน์

ที่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม และวิ ถี ชี วิ ต ที่ มี เ อกลั ก ษณ์ ตลอดจนฟื้ น ฟู

สิ่ ง แวดล้ อ ม เพื่ อ นำไปสู่ คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ด ี ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อสร้างความ ตระหนั กรู้ ใ นคุ ณ ค่ า ของย่ า นไชน่ า ทาวน์ ที่ สัมพันธ์อยู่กับท้องถิ่น เมือง และประเทศ อันจะนำไปสู่การสร้างชุมชนที่เข้มแข็งและ สอดคล้องกับการพัฒนาพืน้ ทีย่ า่ นไชน่าทาวน์ อย่างยั่งยืน

คลองผดุงกรุงเกษม คลองที่กลับมามีบทบาทอีกครั้ง กับกรุงเทพฯ ในยุคระบบราง เยาวชน กับ...เรื่องเล่า... บ้านเก่าตลาดน้อย เยาวราช แหล่งทำเลของคนจีนแต้จิ๋ว

๓ ๕ ๘

ย่านเก่าวิถีใหม่

คมความคิด เลื่อนฤทธิ์ การพัฒนาบนฐานการอนุรักษ์

๒๔

สิ่งที่หายไปในรอบ ๕๐ ปี และลักษณะเด่นทางสถาปัตยกรรม ในย่านตลาดน้อย

๒๖

ข่าวประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมในย่านจีน

๓๐

สารพันสาระบันเทิง เกี่ยวกับวัฒนธรรมจีน

๓๑

เรื่องจากปก

๑๐ • ริมน้ำย่านจีน • โจวซือกง...กับการพัฒนา ๑๒ • จากงานศิลปะ สูง่ านบูรณะ ๑๕ ศาลเจ้าฮ้อนหว่องกุง

๑๐

ปัญหากากไขมัน... เรื่องไกลที่ใกล้ตัว

๒๐

๒๒

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน วารสาร “ย่านจีนถิ่นบางกอก” เวียน กลับมาพบกับท่านอีกเป็นครั้งที่ ๓ แล้วนะครับ ซึ่งเรายังคงมีเนื้อหา สาระดีๆ มานำเสนอให้คณุ ผูอ้ า่ นทุกท่านได้รบั รู้ รับทราบ และร่วมแสดง ความคิดเห็นไปพร้อมๆ กัน ซึ่งทางทีมงาน “ย่านจีนถิ่นบางกอก” หวังว่าวารสารฉบับนี้จะยังคงทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างโครงการฯ กับคนในพื้นที่และผู้ที่สนใจในย่านไชน่าทาวน์ ให้ ได้รับทราบข้อมูล และเป็นช่องทางหนึ่งในการพูดคุยสื่อสาร ที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิด ความคิดสร้างสรรค์ และเกิดมุมมองใหม่ๆ ในการพัฒนาอย่างสมดุล ระหว่างสิ่งเก่าและสิ่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต กลับมาทีเ่ นือ้ หาของวารสารฉบับนีจ้ ะเพิม่ ระดับความเข้มข้นขึน้ สักนิดหน่อยจากฉบับทีแ่ ล้ว ที่พูดคุยกันถึงของดีในย่านตลาดน้อย ซึ่งมีเรื่องราวประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และสถาปัตยกรรม เก่าแก่ ทีน่ า่ สนใจเต็มไปด้วยสีสนั โดยฉบับนีเ้ ราจะพูดคุยกันถึงประเด็นด้านกายภาพ พืน้ ทีร่ มิ น้ำ และความต้องการของคนในย่านตลาดน้อย รวมถึงศักยภาพในการพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อผู้ที่อยู่อาศัยและสังคมโดยรอบ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมในการระดมความคิดเห็นเพื่อ

นำไปสู่การออกแบบพื้นที่ ซึ่งข้อเสนอจากคนในพื้นที่ย่านตลาดน้อย และผลที่ออกมาจะเป็น อย่างไร สามารถค้นหาคำตอบได้ภายในเล่ม และแน่นอนครับว่าเสียงสะท้อนจากท่านล้วนมี ความหมาย ดังนั้นหากมีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ ขอเรียนเชิญส่งเรื่องมาถึงเราได้ที่ Email: livelybkk@gmail.com และทาง www.facebook.com/bangkokchinatown ตลอดจนการส่ง จดหมาย โดยส่ ง มาที่ ๓๙๙ ซอยอนามั ย งามเจริ ญ ๒๕ แขวงท่ า ข้ า ม เขตบางขุ น เที ย น กรุงเทพฯ ๑๐๑๕๐ มารวมกันพัฒนาย่านจีนของเราให้งดงามอย่างที่ฝันกันไว้เถิดครับ วีรวัฒน์ วรายน บรรณาธิการ

สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ปรึกษา รศ. ประภาภัทร นิยม กองบรรณาธิการ วีรวัฒน์ วรายน, จุฑารัตน์ นฤพันธาวาทย์ นักเขียน จุฤทธิ์ กังวานภูมิ, ชนกนาถ ณ ระนอง, ศรินพร พุ่มมณี, ปณัฐพรรณ ลัดดากลม, อังคณา พุ่มพวง, จุฑารัตน์ นฤพันธาวาทย์, ตวงพร ปิตินานนท์ นักเขียนรับเชิญ เจริญ ตันมหาพราน, ช่างภาพ ธีรวัฒน์ อาภาสพิพัฒน์ สถานที่ถ่ายปก ศาลเจ้าฮ้อนหว่องกุง (ศาลเจ้าโรงเกือก) ออกแบบรูปเล่ม โสภณ สุกแสงแก้ว จัดทำโดย โครงการย่านจีนถิ่นบางกอก สถาบันอาศรมศิลป์ ๓๙๙ ซอยอนามัยงามเจริญ ๒๕ แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ๑๐๑๕๐


เรื่อง : จุฤทธิ์ กังวานภูมิ l ภาพ : ธีรวัฒน์ อาภาสพิพัฒน์

คลองผดุงกรุงเกษม คลองที่กลับมามีบทบาทอีกครั้งกับกรุงเทพฯ ในยุคระบบราง หากเอ่ยถึงชื่อคลองผดุงกรุงเกษมแล้ว ก็คงจะมีผู้คนมากมายที่มีความทรงจำ ร่วมกับคลองเส้นประวัติศาสตร์นี้อยู่ไม่น้อย ซึ่งเมื่อครั้งหนึ่งคลองแห่งนี้ได้เคยเป็น คลองรอบพระนครชั้นนอกของกรุงรัตนโกสินทร์ที่ได้มีการขุดขึ้นในรัชสมัยของ งกรุงเกษม ตรงท่าน้ำสีพ่ ระยา ปี ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั (เริม่ ขุดเมือ่ พ.ศ. ๒๓๙๔ ถึง พ.ศ. ๒๓๙๕) ปากคลองผดุ (ภาพจาก http://www.facebook.com/permalink.php? story_fbid= โดยขุดจากปากคลองริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดเทวราชกุญชร ขนานไปกับคลอง 306017069507605&id=199476353430283) คูเมืองเดิม ผ่านย่านเทเวศร์ นางเลิง้ สะพานขาว ตัดผ่านคลองมหานาค แล้วไปยัง ย่านหัวลำโพง และไปออกปากคลองอีกด้านบริเวณย่านสีพ ่ ระยา รวมความยาวทัง้ สิน้ ๕.๕ กิโลเมตร เพือ่ รองรับการเติบโตของเมืองทัง้ ทางด้านการคมนาคม และเศรษฐกิจ ของกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้คลองผดุงกรุงเกษมยังเป็นคลองที่คั่นระหว่าง ย่านคนจีนในอำเภอสัมพันธวงศ์ และย่านของฝรัง่ ในอำเภอบางรักอีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ คณะรัฐมนตรีจงึ มีมติให้คลองผดุงกรุงเกษมเป็นคลองทีต่ อ้ งอนุรกั ษ์ และกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนให้คลองสายนี้เป็นโบราณสถานที่สำคัญของชาติในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ตลอดแนวคลอง ภาพถ่ายของคลองผดุงกรุงเกษมในอดีต (ภาพจาก http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=5092.0) สภาพแวดล้อมของคลองในอดีต จะมีเรือบรรทุกสินค้าจอดเทียบอยูร่ มิ คลอง เป็นระยะๆ เนือ่ งจากบริเวณริมคลองจะมีทงั้ ตลาดและชุมชนเป็นจำนวนมากเรียงราย อยูส่ องฟากคลอง ไล่ลงมาตัง้ แต่ปากคลอง ตอนเหนือ ก็จะมียา่ นนางเลิง้ ทีเ่ ป็นตลาดข้าว อิฐ ปูนขาว และกระเบื้อง ต่อมาเป็นย่าน คลองมหานาคก็จะเป็นตลาดผลไม้ ถัดลงมา เป็นย่านหัวลำโพงซึง่ เป็นทีพ่ กั สินค้าบรรทุก รถไฟมาจากต่างจังหวัดเพื่อรอการบรรทุก ลงเรือหรือรถยนต์ และท้ายทีส่ ดุ คือบริเวณ สะพานพิ ท ยเสถี ย ร (สะพานเหล็ ก ล่ า ง)

ซึ่งใกล้กับปากคลองทางด้านทิศใต้นั้นจะมี โรงสี โรงน้ำแข็ง บริษัทห้างร้านและโกดัง สินค้ามากมาย จากคำบอกเล่าของชาวชุมชนทีอ่ าศัย และใช้ชีวิตอยู่ริมคลองผดุงกรุงเกษมใน ย่านตลาดน้อยนั้นพบว่าพื้นที่บริเวณนี้ได้ เคยเต็มไปด้วยสถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง กับวิถี ชี วิ ต โดยเฉพาะตลาด ซึ่งจะมีเรือ ค้าขายที่ ม าจากสถานที่ต่างๆ นำสินค้า

เข้ามาขาย โดยเฉพาะผลไม้และของทะเล

จึงทำให้คลองสายนี้เปรียบเสมือนชุมทางที่เต็มไปด้วยผู้คน ส่วนในคลองนั้นก็จะมีน้ำ

ทีใ่ สสะอาดและต้นไม้อยูป่ น็ จำนวนมากจึงทำให้ทงั้ พ่อค้าแม่ขาย และเด็กๆ บริเวณใกล้เคียง ที่มาเล่นน้ำหรือจับปลา ส่งผลให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ได้รู้จักกันเกือบหมดเพราะ พื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่สาธารณะที่เอื้อให้เกิดกิจกรรมและการใช้ชีวิตร่วมกัน เกิดเป็น เส้นทางที่เต็มไปด้วยวิถีชีวิตและเรื่องราวที่น่าสนใจของย่านตลาดน้อยตั้งแต่สถานีรถไฟ หัวลำโพงไปจนถึงบริเวณปากคลองทีต่ ดิ กับแม่นำ้ เจ้าพระยา เพียงแต่ทงั้ หมดทัง้ มวลที่ได้ กล่าวมาขั้นต้นได้เริ่มจางหายไปตั้งแต่มีการปิดปากคลองเพื่อสร้างประตูกั้นน้ำสำหรับ ป้องกันน้ำท่วมเมื่อราวปี พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๒๐ จึงทำให้เรือไม่สามารถผ่านเข้าออกสู่ คลองได้ และน้ำในคลองก็ ไม่ ใสสะอาดเหมือนเดิม แต่ยังคงพอมีเค้ารางให้เห็นและ

คลองผดุงกรุงเกษมที่ยังเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ที่ให้ความร่มรื่นมาจนถึงปัจจุบัน BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

3


สามารถจินตนาการได้ถึงความสวยงามในอตีตจากหลักฐานในรูปถ่ายเก่าและร่อยรอยที่ ปรากฎอยู่บนอาคารเก่าแก่ที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมมากมายหลายหลังที่อยู่บริเวณ ริมคลอง และเมื่อกลับมาในยุคปัจจุบันนั้นจะพบว่าคลองผดุงกรุงเกษมได้เปลี่ยนแปลงไป ตามวันเวลา จากอดีตทีเ่ คยคึกคักเพราะอยู่ในเส้นทางการค้าทางเรือจากแม่นำ้ เจ้าพระยา เข้าสู่ตัวเมืองกรุงเทพฯชั้นใน แต่เมื่อระบบการขนส่งทางรถยนต์เข้ามาแทนที่การขนส่ง ทางน้ำ คลองจึงลดบทบาทลง มีการสร้างถนนจำนวนมากเพื่อรองรับปริมาณรถยนต์ที่ เพิม่ สูงขึน้ อย่างรวดเร็วจนกลายเป็นความแออัดทีค่ นกรุงเทพฯต้องทนทุกข์รว่ มกัน ขณะนี้ ระบบการคมนาคมในกรุงเทพฯกำลังปรับตัวอีกครั้งเข้าสู่ระบบรางและการคมนาคม ขนส่งในแม่นำ้ เจ้าพระยากลับฟืน้ ขึน้ มามีบทบาทอีกครัง้ ในฐานะทางเลือกของการเดินทาง อย่างรวดเร็ว คนกรุงเทพฯอาจต้องหวนกลับมาให้ความสำคัญกับเส้นทางเก่าๆ ในอดีต หลายเส้นที่กลายเป็นจุดเชื่อมต่อกับระบบการคมนาคมในโลกยุคใหม่ เส้นทางหนึ่งที่ สำคัญคือทางเดินเลียบคลองผดุงกรุงเกษมจากแยกหัวลำโพง ถึงท่าน้ำสี่พระยาซึ่งเป็น จุดเชื่อมต่อของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินกับเรือด่วนเจ้าพระยาและเรือข้ามฟากไปสู่ฝั่งธนบุรี เส้ น ทางเส้ น นี้ เ ป็ น เส้ น ทางที่ น่ า สนใจเนื่ อ งจากเป็ น เส้ น ทางมี ก ลิ่ น อายของ ประวัติศาสตร์และความร่มรื่นเป็นจุดสนใจ นอกจากนี้ยังเป็นทางเดินเลียบคลองที่มี

บรรยากาศของเส้นทางเดินที่เชื่อมต่อระหว่างสถานี รถไฟฟ้าใต้ดินหัวลำโพงไปยังบริเวณท่าน้ำสี่พระยา

ภาพถ่ายมุมสูงของคลองผดุงกรุงเกษมบริเวณหน้าวัดมหาพฤฒารามวรวิหาร

อาคารเก่าที่ยังมีรูปแบบและกลิ่นนอายที่ชี้ให้เห็นถึง ร่องรอยของประวัติศาสตร์ในย่านตลาดน้อย

แผนที่แสดงตำแหน่งของคลองผดุงกรุงเกษม

4

สภาพริมคลองบางช่วงในตลาดน้อยที่ยังถูกปล่อย ปะละเลยและขาดการจัดการที่ดี ย่านจีนถิ่นบางกอก

ความร่มรืน่ ด้วยร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ทคี่ อย ปกคลุ ม เพี ย งแห่ ง เดี ย วของไชน่ า ทาวน์ บางกอกก็ว่าได้ แต่เนื่องจากยังไม่ค่อยมี ผู้คนที่ใช้มากมายนัก และขาดการจัดการ ที่ดีในบริเวณทางเท้าหรือพื้นที่สาธารณะ ซึ่ ง หากชาวเมื อ งเกิ ด การรั บ รู้ แ ละเห็ น คุ ณ ค่ า ร่ ว มกั น ในคลองแห่ ง นี้ ก็ น่ า จะมี ส่วนช่วยเรียกร้องและผลักดันให้เกิดการ ฟืน้ ฟูสภาพคลองให้มสี ภาพทีด่ ขี นึ้ ทีจ่ ะนำ ไปสู่ ก ารบริ ห ารจั ด การพื้ น ที่ ส าธารณะ

ริมฝั่งคลองให้เกิดประสิทธิภาพ เพื่อให้ เกิ ด กิ จ กรรมที่ เ อื้ อ ต่ อ การฟื้ น ฟู วิ ถี ชี วิ ต และกระตุ้นเศรษฐกิจของย่านต่างๆ ริมฝั่ง คลอง ซึ่งจะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิต และเป็นตัวอย่างพื้นที่สร้างสรรค์ที่สำคัญ อีกแห่งหนึ่งของเมือง “ให้ ส มกั บ ที่ ค ลองผดุ ง กรุ ง เกษม เป็ น คลองที่ ต้ อ งอนุ รั ก ษ์ และเคยได้ ขึ้ น ทะเบี ย นเป็ น โบราณสถานที่ ส ำคั ญ ของ ชาติ เมื่อครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว...”


เรื่อง : ชนกนาถ ณ ระนอง l ภาพ : ธีรวัฒน์ อาภาสพิพัฒน์

เยาวชน กับ...เรื่องเล่า...บ้านเก่าตลาดน้อย ต้นกำเนิด ย่านเซียงกง

ผู้คนมีน้ำใจ

ริมคลอง ผดุงกรุงเกษม มีต้นไม้ใหญ่ ร่มรื่น

อาคารเก่า จำนวนมาก เส้นทางลัด ซอยทะลุถึงกัน

มีบ้านจีน โบราณ วิถีชุมชน ชาวจีนดั้งเดิม พึ่งพากัน

มีพื้นที่ ริมน้ำ

แผนที่แสดงเส้นทางที่น้องๆเยาวชนเดินสำรวจ และเก็บข้อมูล

ย่านตลาดน้อย หากกล่าวกันในแง่ของเรื่องราวความเป็นมา ตำนานเรื่องเล่า

กลับไม่น้อยอย่างชื่อเรียก เปรียบดังขุมทรัพย์ที่รอคอยการค้นพบ มีสิ่งล้ำค่าน่า ค้นหาอยู่มากมาย ผสมผสานกันอยู่ในพื้นที่เล็กๆ แห่งนี้ ซึ่งแทรกตัวอยู่ท่ามกลาง เมืองใหญ่ที่วุ่นวาย ทั้งอาหารการกินที่หลากหลาย ผู้คนที่มีน้ำใจไมตรี-มีวิถีชีวิตที่ เกื้อกูลกัน-การสืบทอดอาชีพเฉพาะจากบรรพบุรุษ และยังคงร่วมรักษาประเพณี วัฒนธรรมดั่งเดิมของชาวจีน นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ซึ่งมีบรรยากาศร่มรื่นใต้เงา ต้นไม้ใหญ่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา มีเสน่ห์ของความเป็นตรอกซอกซอย และที่สำคัญ อย่างยิ่งคือ อาคารบ้านเรือนสิ่งก่อสร้างที่มีคุณค่าและมีรูปแบบเฉพาะตามยุคสมัย จำนวนมากที่ยังคงอยู่ทั่วบริเวณ สามารถบอกเล่าประวัติศาสตร์เรื่องราวความ เป็นมาของวิถีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงของสยามประเทศ นับตั้งแต่ยุคก่อนก่อตั้ง กรุงเทพมหานครเป็นราชธานีจวบจนถึงปัจจุบัน เสมือนห้องสมุดเปิดขนาดใหญ่ และคงจะดีไม่น้อยถ้าเยาวชนได้มีโอกาสทำความรู้จักกับย่านตลาดน้อยแห่งนี้. ต้นเดือนมีนาคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา การสอบปลายภาคเพิง่ สิน้ สุดลง โรงเรียนเริม่ ปิดภาคเรียน ผู้คนในย่านตลาดน้อยอาจ สังเกตเห็นว่ามีกลุม่ เด็กนักเรียน มัธยมปลาย ชายหญิง กว่า ๓๐ คน รวมตัวกันเดินสำรวจ ย่ า นตลาดน้ อ ย ผ่ า นตรอกซอกซอยทั่ ว

บริเวณอย่างกระตือรือร้น แทนทีจ่ ะไปเทีย่ วเล่น หาความเพลิดเพลินตามแหล่งบันเทิง ซึง่ เด็กๆ กลุ่ ม นี้ ไ ด้ เ ข้ า ร่ ว ม “โครงการค่ า ยอบรม เยาวชนด้ า นคุ ณ ค่ า ทางสถาปั ต ยกรรม

และประวัติศาสตร์ของอาคารเก่าในย่าน

ตลาดน้อย” ภายใต้ความร่วมมือของโครงการ

ย่ า นจี น ถิ่ น บางกอก ร่ ว มกั บ โรงเรี ย น กุหลาบวิทยา โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย และโรงเรี ย นสตรี วั ด มหาพฤฒารามใน พระบรมราชินูปถัมภ์ โดยคาดหวั ง ให้ เ ยาวชนซึ่ ง เป็ น กำลังสำคัญในการพัฒนาและสร้างชาติใน อนาคต เกิดความสนใจ เห็นความสำคัญ และตระหนักในคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ ของย่านเก่า ผ่านกิจกรรมการเก็บรวบรวม และบั น ทึ ก ข้ อ มู ล เชิ ง ประวั ติ ศ าสตร์ ข อง อาคารทีม่ คี ณุ ค่าในย่านตลาดน้อย อันจะนำ ไปสู่ ก ารสร้ า งเสริ ม ความสั ม พั น ธ์ อั น ดี ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน และเกิดความ ร่วมมือระหว่างสถานศึกษาต่อไปในอนาคต ค่ายอบรมฯ ใช้ระยะเวลารวม ๒ วัน เพือ่ ทำกิจกรรมผ่านกระบวนการ ๑. เสริมความรู้ ๒. ชวนให้ดู ๓. ลงมือทำ ๔. แบ่งปัน ประสบการณ์ โดยกิจกรรมในวันแรกได้รับ การอำนวยความสะดวกและเอื้อเฟื้อสถาน ที่ จากโรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒารามใน พระบรมราชินูปถัมภ์ และวันที่สองจาก โรงเรียนกุหลาบวิทยา

๑. เสริมความรู้

ให้ เ ยาวชนเห็ น คุ ณ ค่ า และความ สำคัญของประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ผ่านรูปแบบ อาคารตามยุคสมัย ที่สามารถบอกเล่าและ เชื่ อ มโยงกั บ ประวั ติ ศ าสตร์ ใ นแต่ ล ะช่ ว ง เวลา รวมถึงตำนานและการเปลี่ยนแปลง ของย่านตลาดน้อย จากคำบอกเล่าของ ผู้คนดั้งเดิมในพื้นที่ ซึ่งได้รับเกียรติจาก คุณดวงตะวัน โปษยะจินดา ทายาทแห่ง บ้ า นจี น โบราณ โซวเฮงไถ่ ลำดั บ ที่ ๗ และ คุณจินดารัตน์ อุครกุล ทายาทร้าน เฮงเสง ผู้ สื บ ทอดอาชี พ การทำหมอน

ด้วยมือซึ่งเปิดมานานกว่า ๑๐๐ ปี BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

5


อาคารที่มีคุณค่าในย่านตลาดน้อย สามารถแบ่งรูปแบบอาคารได้เป็น ๓ ยุค แต่ ล ะยุ ค มี ลั ก ษณะเด่ น แตกต่ า งกั น ไป

ต า ม วิ วั ฒ น า ก า ร ข อ ง เ ท ค โ น โ ล ยี

การก่ อ สร้ า ง ค่ า นิ ย ม สภาพเศรษฐกิ จ สังคม และวิถีชีวิตรวมถึงความจำเป็นใน การใช้งานของยุคสมัยนัน้ กล่าวคือ ยุคแรก เริม่ ตัง้ แต่สมัยก่อตัง้ กรุงรัตนโกสินทร์ ชาวจีน ถู ก ย้ า ยจากเขตพระราชวั ง ให้ ตั้ ง รกราก

อยู่บริเวณนี้ อาคารที่พบโดยมากมักจะ

ตั้ ง อยู่ บ ริ เ วณริ ม แม่ น้ ำ เจ้ า พระยาตาม ลักษณะการตั้งถิ่นฐานและการคมนาคม ขณะนัน้ เป็นอาคารทางศาสนา เช่น ศาลเจ้า โบสถ์กาลหว่าร์ และบ้านจีนโบราณของ เจ้าสัว ต่อมาเมื่อเปิดการค้าเสรี จึงมีการ ก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ค้าขายและพักอาศัย พบว่าอาคารส่วนใหญ่เป็นตึกแถว ยุคที่ ๒ และ ยุ ค ที่ ๓ มี ก ารพั ฒ นาเทคโนโลยี

การก่อสร้างเป็นวัสดุคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) ทำให้โครงสร้างเบาลง สร้างอาคาร ได้สูงขึ้นจำนวนชั้นมากขึ้น แต่การประดับ ตกแต่งจะลดน้อยลงตามรูปแบบสมัยใหม่ (Modern) ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเป็น ลำดับ ๒. ชวนให้ดู ทำความรู้ จั ก ย่ า นตลาดน้ อ ยด้ ว ย การเดินสำรวจผ่านตรอกซอกซอย เพื่อให้ เยาวชนได้รับรู้-เรียนรู้ ฝึกการสังเกตและ บั น ทึ ก ความรู้ สึ ก ที่ มี ต่ อ ผู้ ค น วิ ถี ชี วิ ต บรรยากาศ สภาพแวดล้อม และลักษณะ เฉพาะ ของแต่ละสถานทีท่ เี่ ดินผ่าน รวมถึง ระบุยุคสมัยอาคารจากลักษณะของอาคาร ที่ได้พบเห็นระหว่างเส้นทางเดิน

คนดั้งเดิมในพื้นที่บอกเล่าเรื่องราวย่านตลาดน้อย จากความทรงจำ

6

ย่านจีนถิ่นบางกอก

บรรยากาศระหว่างเดินชมย่านตลาดน้อย

๓. ลงมือทำ

แบ่ ง กลุ่ ม ย่ อ ยเพื่ อ ลงพื้ น ที่ ส ำรวจ และเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาคารทั้ง ประวัติความเป็นมา ลำดับการครอบครอง การใช้งาน และการเปลีย่ นแปลงของอาคาร รวมถึ ง วิ ถี ชี วิ ต และสภาพแวดล้ อ มใน บริ เ วณใกล้ เ คี ย งตั้ ง แต่ อ ดี ต ถึ ง ปั จ จุ บั น

เพื่ อ บั น ทึ ก ลงแบบฟอร์ ม ประวั ติ อ าคาร โดยการสั ง เกต ถ่ า ยภาพ และ พู ด คุ ย สอบถามผู้คนที่เป็นเจ้าของ หรือผู้ใช้งาน อาคาร

๔. ปันประสบการณ์

ภายหลั ง การเดิ น สำรวจและเก็ บ ประวัติอาคาร ให้กลุ่มเยาวชนสรุปความรู้ และฝึกการนำเสนอสิ่งที่ ได้ เพื่อแบ่งปัน ข้ อ มู ล และแลกเปลี่ ย นมุ ม มองความคิ ด

ให้แก่เพือ่ นทีเ่ ข้าร่วมค่ายอบรมฯ และพูดถึง ความประทั บ ใจและสิ่ ง ที่ ไ ด้ เ รี ย นรู้ จ าก กิ จ กรรมเดิ น สำรวจย่ า นตลาดน้ อ ยและ

การเก็ บ ประวั ติ อ าคาร เช่ น ทำให้ รู้ ว่ า

ย่ า นตลาดน้อยมีอาคารเก่าที่มีคุณค่าอยู่ มากมายทั้ง ๓ รูปแบบ, มีบ้านจีนโบราณ, มีประวัติศ าสตร์ แ ละเรื่ อ งเล่ า ที่ น่ า สนใจ, ริมคลองผดุงกรุงเกษมมีต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น, มี ชุ ม ชนชาวจี น ดั้ ง เดิ ม ใช้ ชี วิ ต แบบวิ ถี ชุมชนพึง่ พาอาศัยกัน, มีศาลเจ้าหลายแห่ง ของชาวจีนหลายชาติพนั ธุ,์ มีผคู้ นทีช่ ว่ ยกัน รั ก ษาประเพณี ดั้ ง เดิ ม , เป็ น ต้ น กำเนิ ด

เซี ย งกงซึ่ ง เป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ของนั ก ธุ ร กิ จ

รายใหญ่ ในประเทศ, มีตรอกซอยที่ทะลุ ถึงกัน, และอื่นๆ อีกมากมาย... ปิดท้ายด้วยการนำเสนอตัวอย่าง แนวทางการพั ฒ นาย่ า นเก่ า ซึ่ ง แสดง

ให้ เ ห็ นว่ า การตอบโจทย์ ท างเศรษฐกิ จ

ไม่จำเป็นต้องทุบอาคารเก่าที่มีคุณค่าทิ้ง เพือ่ สร้างใหม่ให้มพี นื้ ทีใ่ ช้งานเพิม่ ขึน้ แต่ใช้ วิธีบูรณะซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมทั้งวิธี ก่อสร้าง วัสดุ สี ให้ความเคารพต่อลักษณะ เฉพาะซึ่ ง แสดงรู ป แบบยุ ค สมั ย อาคาร

ก็ ส ามารถเพิ่ ม มู ล ค่ า และคุ ณ ค่ า ให้ แ ก่ อาคารได้พร้อมกับการสามารถรักษาเรือ่ งราว ทางประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นให้คงอยู่เพือ่ ประโยชน์ทางการศึกษาของคนรุ่นต่อไป... ดังตัวอย่างการอนุรักษ์ย่านเก่าที่เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นมรดกโลก (World Heritage) มีเสน่ห์ ดึงดูดให้ผคู้ นจากทัว่ โลกเดินทางไปค้นหา... ฝากให้เยาวชนได้นำกลับไปทบทวนและ ขบคิดถึงแนวทางการพัฒนาอนุรกั ษ์ยา่ นเก่า ในประเทศไทยต่ อ ไป ว่ า ควรเป็ น ไปใน ทิศทางใด...อย่างไร…


ความในใจส่ ง ท้ า ย ส่วนหนึ่งของเสียงสะท้อนจากเยาวชนที่เข้าร่วมค่ายอบรมฯ “นอกจากจะได้ เ รี ย นรู้ ใ นรู ป แบบ สถาปัตยกรรมตามยุคสมัยแล้ว ยังได้รู้จัก ประเพณีที่ไม่เคยรูม้ าก่อนในย่านตลาดน้อย และอาชีพหลักๆ ในย่านตลาดน้อยก็คือ เซียงกง โครงการนีท้ ำให้ดฉิ นั มีประสบการณ์ ธัญญาลักษณ์ คำเปล่ง ทางด้านภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ใน โรงเรียน สตรีวัดมหาพฤฒาราม เขตตลาดน้อยเพิ่มขึ้น และสุดท้ายดิฉัน ในพระบรมราชินูปถัมภ์ อยากจะให้ทุกๆ คนรักษาย่านนี้ ให้คงอยู่ ตลอดไป” “ทำให้ รู้ ถึ ง ภู มิ ปั ญ ญาในการทำ หมอน และทราบว่าในอดีตถ้าบ้านไหน

ในตลาดน้อยจะแต่งงานต้องมาซื้อหมอน จากร้ า นเฮงเสง และแต่ เ ดิ ม ตรงข้ า ม อาคารหลังนี้เคยเป็นธนาคารจีนในสมัย โบราณซึง่ มีแห่งเดียวในตลาดน้อย...นอกจาก จะได้ความรู้แล้วยังได้มิตรภาพดีๆ กลับไป อีกด้วย”

อัษฎา อยู่ปราโมทย์ โรงเรียน ไตรมิตรวิทยาลัย

สุปาณี จันทร์ต๊ะเขต โรงเรียน สตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์

อิฐิพรจันทวาส โรงเรียน กุหลาบวิทยา

“สิ่งที่ได้จากค่ายนี้คือ การที่เราได้รู้ ประวัตศิ าสตร์ของย่านตลาดน้อยว่ามีสถานที่ สำคัญอะไรบ้าง ชีวิตของชาวบ้านอยู่กัน อย่ า งไร และได้ รู้ ค วามคิ ด ของเพื่ อ นๆ

ทั้ง ๓ โรงเรียนว่าเป็นอย่างไร สุดท้ายนี้ อยากให้ ทุ ก คนเก็ บ รั ก ษาสิ่ ง สำคั ญ ต่ า งๆ ของย่านไว้ให้ดๆี เพือ่ สืบต่อให้ลกู ให้หลานค่ะ”

“ทำให้เรารับรูส้ งิ่ ต่างๆ มากขึน้ เกีย่ วกับ ย่านตลาดน้อยที่เราไม่เคยรู้มาก่อน ได้ลง ไปสอบถามคนในพื้ น ที่ ที่ เ ขาอยู่ อ าศั ย

และช่วยปลุกจิตสำนึกให้เรารู้จักการเก็บ รั ก ษาและสื บ ทอดให้ ค นรุ่ น ต่ อ ไปได้ รั บ รู้ ลักษณะของบ้าน และสิง่ ต่างๆ ทีอ่ ยูร่ อบตัว” วลัยพร เปรมกมลมาศ โรงเรียน กุหลาบวิทยา

“ก่ อ นนี้ ไ ม่ เ คยได้ เ ดิ น เข้ า มาใน

ตลาดน้อยเลย และไม่เคยรู้ว่ามีวัฒนธรรม แบบนี้อยู่ในตลาดน้อย มันเป็นสิ่งใกล้ตัวที่ บางคนอาจมองผ่านข้ามไป และทำให้ฉกุ คิด ได้วา่ ของทุกสิง่ ทุกอย่างทีส่ ร้างขึน้ มา นับวัน ธวัลรัตน์ หาญจางสิทธิ์ ก็ ยิ่ ง เก่ า ลง แต่ ถ้ า เรารั ก ษามั น ไว้ ตั้ ง ใจ โรงเรียน สตรีวัดมหาพฤฒาราม อนุรักษ์ มันก็จะคงอยู่ตลอดไปค่ะ”

“ผมเข้าใจแล้วครับว่าทำไมบางคน

ทีเ่ ลือกทีจ่ ะอยู่ในบ้านเก่าไม่ยอมย้ายไปไหน เพราะว่าบ้านคือสิง่ หนึง่ ทีเ่ ขารัก และยังคง รักษาไว้จนถึงทุกวันนี้ให้ถึงชั่วลูกชั่วหลาน ซึ่ ง บ้ า นเก่ า ก็ ค ล้ า ยกั บ ศิ ล ปะประจำชาติ ผสมผสานจากหลายยุคสมัย ก็เหมือนกับ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ สิ่งที่เกิดขึ้นในบ้านเรา เราควรอนุรักษ์ไว้”

“โครงการนีท้ ำให้ผมได้เห็น ได้ลงพืน้ ที่ สัมผัสกับสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวที่เคยมองข้ามไป เช่น อาคารและสถานทีส่ ำคัญอันทรงคุณค่า และสถาปั ต ยกรรมยุ ค ต่ า งๆ กระผมมี ความรู้ สึ ก ดี ที่ ไ ด้ ม าร่ ว มเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ใน ต่ายอ้น การเผยแพร่และร่วมอนุรกั ษ์สถาปัตยกรรม เมธี โรงเรียน ที่มีคุณค่าที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน” ไตรมิตรวิทยาลัย

“สิง่ ทีผ่ มได้รบั นัน้ มากกว่าการเรียนรู้ ในห้องเรียน และสามารถนำความรู้นั้นมา ใช้ได้จริง “โครงการย่านจีนถิ่นบางกอก” นั้น ได้สอนเกี่ยวกับเรื่องตึกเก่า อาคาร เก่าๆ และวิธีการสังเกตยุคของอาคารว่ามี กี่ยุคสมัย ได้รับรู้คุณค่าของตึกอาคารเก่า ว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไรและเรานั้น รติ พันธา ควรจะอนุรักษ์รักษาให้คงสืบไว้แทนที่จะ กีโรงเรี ยน ไปทำลายมันทิ้ง สุดท้ายนี้ ผมอยากให้คน ไตรมิตรวิทยาลัย ทุ ก คน มองมุ ม มองเดี ย วกั บ ผมว่ า มั น ไม่ ใช่เพียงแค่ตึกอาคารเก่าๆ แต่มันคือ ประวัติศาสตร์” BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

7


เรื่อง I ภาพ : เจริญ ตันมหาพราน

เยาวราช

แหล่งทำเลของคนจีนแต้จิ๋ว

ทีม่ าของถนนเจริญกรุง เกิดขึน้ เนือ่ งจากกงสุลต่างประเทศ ได้ พ ากั น เข้ า ชื่ อ กราบบั ง คมทู ลว่ า “...ชาวยุ โ รปเคยขี่ ม้ า ตาก อากาศได้ความสบายไม่มีไข้เจ็บ เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ไม่มีถนนหนทางที่จะขี่ม้า พากันเจ็บไข้เนืองๆ ได้ทรงทราบ หนั ง สื อ แล้ ว ทรงพระราชดำริ เ ห็ นว่ า พวกยุ โ รปเข้ า มาอยู่ ใ น กรุงเทพฯมากขึ้นทุกปีๆ ด้วยประเทศบ้านเมืองของเขามีถนน หนทางก็เรียบรื่นสะอาดไปทุกบ้านทุกเมือง บ้านเมืองของเรามี แต่เรี้ยวรก หนทางก็เป็นตรอกเล็กซอกน้อย หนทางใหญ่ก็เปรอะ เปือ้ น ไม่เป็นทีเ่ จริญตา ขายหน้าแก่ชาวนานาประเทศ เขาว่าเข้ามา เป็นการเตือนสติ เพื่อจะให้บ้านเมืองงดงามขึ้น…” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๔ ทรงมี พระเนตรอันกว้างไกลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างถนน เจริญกรุงมีความกว้างใหญ่และเป็นถนนสายที่ยาวที่สุดในขณะนั้น โดยได้ ท ำการฉลองพร้ อ มกั น กั บ ถนนบำรุ ง เมื อ งและถนน เฟื่องนคร ถนนเจริญกรุงนัน้ แต่กอ่ นเรียกกันว่า “ถนนใหม่” เพราะเป็น ของสร้างขึ้นใหม่ ฝรั่งก็เลยเรียกตามว่า New Road แต่ในหมู่ พวกชาวจีนนั้นเขาเรียกกันว่า “ซินพะโล่ว” ซึ่งก็แปลว่า ถนนตัด ใหม่เหมือนกัน ครั้น พ.ศ.๒๔๓๔ กรุงเทพมหานครมีการขยายตัวอย่าง รวดเร็ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

8

ย่านจีนถิ่นบางกอก

ทรงมีรบั สัง่ ให้กรมขุนนริศรานุวตั วิ งศ์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ ดำเนินการตัดถนนขึ้นใหม่อีกจำนวน ๑๘ สาย หนึ่งในจำนวนนั้น สร้างแทรกลางระหว่างถนนสำเพ็งกับถนนเจริญกรุง คือถนน ยุพราช โดยชื่อถนนดังกล่าวตั้งขึ้น เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ แด่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิส สยามมกุฎ ราชกุมาร การทำถนนในยุคนั้น ติดขัดแทบจะทุกถนน เพราะเหตุไป ต้องทีค่ นใต้บงั คับชาวต่างชาติ จะไล่ไปก็ไม่ตลอด เจ้าของทีจ่ ะเรียก เอาราคาค่าที่ เช่นการทำถนนในประเทศทั้งปวงก่อน จึงจะรื้อไป เหตุที่ติดขัดนี้ก็เพราะธรรมเนียมการทำถนนที่มีมาแต่เดิม ไม่มี ธรรมเนียมพระราชทานเงินทำขวัญค่าที่ ซึ่งบังคับได้แต่คนไทย นอกจากนีก้ ารตัดถนนใหม่เช่นนี้ มักมีคำเล่าลือว่าทีข่ า้ งถนนจะต้อง เป็นของหลวงบ้าง จะสร้างตึกหลวงบ้าง ราษฎรซึง่ ใจเบาก็มกั พากัน ตกใจขายเสียโดยเร็วและราคาอย่างถูก โดยเข้าใจว่าจะซื้อเป็น ของหลวงบ้าง หรือบางทีเข้าใจว่าชิงขายเสียก่อนถึงจะได้ราคา น้อยไม่สมควร ก็ยังดีกว่าที่จะต้องสูญเปล่า คราวต้องพระราช ประสงค์ บ้ า ง การเป็ น เช่ น นี้ จึ ง ทรงพระกรุ ณาโปรดเกล้ า ฯ

ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า การตัดถนนสายนี้ พระราชประสงค์ จะทรงอุดหนุนให้เป็นการเจริญแก่บ้านเมือง และเป็นประโยชน์ แก่ชนทั้งหลายฝ่ายเดียว ไม่ ได้ตัดถนนเพราะจะต้องพระราช ประสงค์ที่สองข้าง อย่าให้ชนทั้งหลายตื่นตกใจ เหตุที่จะตัดถนน สายนี้โดยทรงพระราชดำริเห็นว่า พื้นที่แขวงสามเพ็งเป็นที่ทำเล ที่ประชุมชนไปมาค้าขายมาก แต่ทางไปมาลำบากเพราะแคบเล็ก ไม่สมกับประโยชน์ซึ่งจะเกิดได้ในที่นั้นอีกเป็นอันมาก แต่การที่จะ ตัดถนนใหญ่ไปในอันที่ชนทั้งหลายได้ตั้งบ้านเรือนตึกร้านเป็นอัน มากแล้วนี้ ย่อมเป็นทางที่เดือดร้อนอยู่บ้าง เพราะจะต้องรื้อตึก


แลเรือนทีม่ รี าคามาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้กรมโยธาธิการ ตรวจทำแผนที่ โดยละเอียด แล้วกะทางที่จะตัดถนนนั้นลงโดย หลบหลีกไม่ให้ถูกตึกและเรือนซึ่งมีราคามาก ยกเสียแต่เป็นการ จำเป็นที่ ไม่มีทางหลบหลีกแลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแก่ชน

ทั้งหลายให้ยกเว้นพระราชทานอีกชั้นหนึ่ง ว่าตึกทั้งหลายซึ่งตั้งใน กรุ ย แนวถนนนั้ น ถ้ า ตึ ก หลั ง ใดยื่ น ล้ ำ เข้ า มาในแนวกรุ ย ถนน

ไม่กว่าวาหนึ่งแล้ว พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยื่นอยู่ใน ถนนได้ไม่ต้องรื้อ พระบรมราชานุญาติอันนี้ สำหรับแต่ตึกเก่าซึ่ง ได้สร้างไว้แล้วก่อนประกาศนี้ ตึกซึ่งสร้างภายหลังประกาศนี้จะทำ ล้ำออกมาไม่ได้เป็นอันขาด ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๕ กระทรวงโยธาธิการ

ปักกรุยทางเพื่อตัดถนนยุพราชเสร็จ แต่มีอุปสรรคที่ไม่สามารถ ทำให้ตัดถนนนี้ได้โดยตลอด ต้องทำเป็นระยะๆ เพราะเกิดความ ไม่เข้าใจกันระหว่างกระทรวงโยธาธิการ กับกระทรวงนครบาล ผู้รับผิดชอบร่วมกันในการตัดถนนในกรุงเทพฯ วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๗ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิส สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จทิวงคต ทำให้ ถนนยุพราช จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “ถนนเยาวราช” แต่ก็เป็น ถนนที่ใช้เวลาในการตัดนานถึง ๘ ปี คือ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๕๒๔๔๓ และในวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ.๒๔๑๔ พระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จพระราชดำเนินโดย เรือพิทยัมรณยุทธออกจากกรุงเทพฯ ในการเสด็จประพาสเมือง สิงคโปร์ ปัตตาเวีย และเกาะชวา ได้ทอดพระเนตรความศิวิไลซ์ ของบ้ า นเมื อ งของเขา จึ ง มี พ ระราชดำริ ส ร้ า งความเจริ ญ ให้ ทั ด เที ย มกั น ขึ้ น ที่ ถ นนเยาวราช แต่ ต ลอดระยะเวลา ๘ ปี

ด้วยพื้นที่อันจำกัด ทำให้ไม่สามารถขยายออกไปอีก จึงได้ขยาย ขึ้นสู่ที่สูง ทำให้ถนนเยาวราชมีตึกสูง ๖ ชั้น, ๗ ชั้น และ ๙ ชั้น เป็นแห่งแรกของประเทศไทย เมื่ อ ชาวจี น ได้ อ พยพเข้ า มาพึ่ ง พระบรมโพธิ ส มภาร

พระมหากษัตริย์ ไทย โดยเฉพาะบรรดาชาวจีนแต้จิ๋วที่มีความ ขยันขันแข็ง ทำงานทุกชนิดอย่างไม่เลือกงาน ด้วยความอดทน หนักเอาเบาสู้ เป็นกลุม่ คนทีร่ จู้ กั สะสมทุนรอนและประกอบการค้า อย่างชาญฉลาด รูจ้ กั ปรับสภาพชีวติ ให้ลงตัวกับสถานะความเป็นอยู่ โดยเช่าอาศัยอยู่ในตึก ชั้นล่างเปิดทำการค้าขาย ชั้นบนเป็นที่อยู่ อาศัย ด้วยความเป็นชนชาติทขี่ ยันทำมาหากิน มัธยัสถ์ ไม่ชา้ นาน จากกุลีที่อพยพมาจากเมืองจีนได้กลายเป็นเจ้าสัวมหาเศรษฐีที่ ผู้คนรู้จัก นอกจากนี้ชาวจีนแต้จิ๋วยังเป็นผู้ที่รู้จักกตัญญูต่อแผ่นดินที่ อยูอ่ าศัย พร้อมทีจ่ ะตอบแทนบุญคุณเสมอ โดยยึดถือหลักคุณงาม ความดี และการอยู่ร่วมกันกับชาติพันธุ์กลุ่มต่างๆ อย่าสงบสุข อีกทั้งยังมีความมั่นคงในวัฒนธรรมประเพณีของตนเอง ทำให้ เขตท้ อ งที่ สั ม พั น ธวงศ์ ซึ่ ง เป็ น พื้ น ที่ ที่ เ ล็ ก ที่ สุ ด ของกรุ ง เทพฯ

คิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้ว แค่ ๑ เปอร์เซ็นต์เศษ แต่มีวัดไทย วัดจีน วัดญวน มัสยิด และศาลเจ้าจีนกลุม่ ต่างๆ เรียงรายอยูเ่ ป็นจำนวนมาก จนกล่า วได้ ว่า ท้ องที่เ ยาวราชเป็ นแหล่ง ชุม นุ มของผู้ คนหลาก

เชื้อชาติ หลายศาสนา แต่ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข และในแต่ละปีเมื่อถึงเทศกาลตรุษจีน กินเจ ผู้คนจะหลั่งไหลมา จากทั่วทุกสารทิศ เพื่อมาประพฤติปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมที่ได้ รับสืบทอดมาจากบรรพชน ดำรงเจตนารมณ์ความเป็นความเป็น คนจีนให้ยังยั่งยืนสืบไป BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

9


เรื่อง : ปณัฐพรรณ ลัดดากลม l ภาพ : ธีรวัฒน์ อาภาสพิพัฒน์

ริมน้ำย่านจีน

เยาวราช จากย่ า นที่ เคยเป็ น ศู น ย์ ก ลางการค้ า ทางเรื อ ที่ เคยคึ ก คั ก ด้ ว ยผู้ ค น เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า ปัจจุบันย่านนี้กลับซบเซาไปตามกาลเวลา รวมถึงวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป พื้นที่ประวัติศาสตร์ที่เคยรุ่งเรืองในอดีตจึงเริ่มจางหาย และถูกลืม ในขณะทีย่ า่ นต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียง ต่างถูกรุกล้อมและแทนทีด่ ว้ ยตึกสูง ที่ไร้ซึ่งคุณค่าและวิถีทางวัฒนธรรม คงปฏิ เ สธไม่ ไ ด้ ว่ า ทุ กวั น นี้ ย่ า น เยาวราชหรือไชน่าทาวน์มีเศรษฐกิจการ ค้าอยู่ในทุกตารางเมตรไม่ว่าจะในอาคาร ทางเท้า ถนน รวมทั้งพื้นที่ติดริมแม่น้ำ เจ้าพระยาที่มีความยาวตลอดริมน้ำกว่า

๒ กิโลเมตร ก็ถูกจับจองทำการค้าเพื่อ ตอบสนองกับความต้องการและความคุม้ ค่า ทางมูลค่าของที่ดิน แทบจะไม่หลงเหลือ พื้นที่สาธารณะริมน้ำหรือที่โล่งว่างสำหรับ

10

ย่านจีนถิ่นบางกอก

ชุมชน ในย่านที่มีมูลค่าทางที่ดินสูงเช่นนี้ หากลองดูบริเวณทีพ่ อจะเป็นพืน้ ที่ (สาธารณะ) ริมน้ำได้ ก็คงจะมีเพียงแต่ท่าน้ำจำนวน

๖ ท่าน้ำในย่านไชน่าทาวน์ ได้แก่ ท่าน้ำ จั กรวรรดิ ท่ า เรื อ ราชวงศ์ ท่ า เรื อ สวั ส ดี ท่าน้ำภาณุรังสี ท่าเรือกรมเจ้าท่า ท่าเรือ สี่พระยา ที่ยังคงพอให้เราเดินออกไปเห็น น้ ำ ได้ บ้ า ง ซึ่ ง ท่ า น้ ำ จำนวน ๔ ท่ า น้ ำ นี้

ตั้ ง อยู่ ใ นบริ เ วณย่ า นตลาดน้ อ ย ทำให้


ตลาดน้อยมีพื้นที่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ยาวกว่า ๙๐๐ เมตร ซึ่งถือว่ามีที่ติดริมน้ำ เกือบครึ่งหนึ่งของทั้งย่านเยาวราช นอกจากย่านตลาดน้อยจะมีความ สำคัญทั้งด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตดั้งเดิมอัน ทรงคุณคุณค่าแล้วนัน้ สิง่ ทีต่ ลาดน้อยยังคง รักษาความเป็นย่านเก่าที่สำคัญจากอดีตสู่ ปัจจุบนั คือ ร่องรอยการตัง้ ถิน่ ฐาน รูปแบบ พื้นที่โล่งที่สัมพันธ์กับการคมนาคมทางน้ำ ในอดีต และสถาปัตยกรรมที่แสดงความ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ รวมทัง้ ย่านตลาดน้อย ยังไม่มีอาคารสูงที่ทำลายภูมิทัศน์มากนัก ทำให้ ยั ง คงรั ก ษาแนวเส้ น ขอบฟ้ า หรื อ ความสูงของอาคารในย่านเก่าไว้ได้ จากการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น กลุ่มตัวแทนชุมชนย่านตลาดน้อยเมื่อวันที่ ๒๔ กั น ยายน ๒๕๕๕ ทำให้ ไ ด้ ค วาม ต้องการและทิศทางการพัฒนาพื้นที่ย่าน ตลาดน้อยร่วมกัน คือ ความต้องการรักษา ประวั ติ ศ าสตร์ ชุ ม ชน ต้ อ งการมี ศู น ย์

การเรียนรู้ชุมชนที่ ให้ความรู้กับเยาวชน คนในท้ อ งถิ่ น และนั ก ท่ อ งเที่ ย ว พื้ น ที่ สาธารณะริมน้ำสำหรับพักผ่อนออกกำลังกาย รองรับกิจกรรมภายในชุมชนและกิจกรรม ระดับย่าน ซึ่งประเมินว่าย่านตลาดน้อย สามารถตอบสนองความต้องการเบื้องต้น ของชุมชนได้ เนือ่ งจากริมน้ำย่านตลาดน้อย มีความพิเศษกว่าย่านริมน้ำอื่นในเยาวราช คือ ประกอบไปด้วยที่ริมน้ำผืนใหญ่ซึ่งเป็น ศาสนสถาน สถานที่ ร าชการและที่ ดิ น เอกชนรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย ทำให้พื้นที่ ริมน้ำแห่งนี้ ไม่กลายเป็นพืน้ ทีท่ ตี่ อบสนอง ทางมูลค่าเช่นที่ผืนอื่นๆ มากนัก ซึ่งใน เบื้องต้นเริ่มมีการพัฒนาต่อยอดแนวคิด ของชุมชน เพื่อเปิดพื้นที่ริมน้ำที่มีคุณค่า ได้แก่ พื้นที่หน้าศาลเจ้าโรงเกือก พื้นที่ หน้าศาลเจ้าโจวซือก๋ง พืน้ ทีท่ า่ น้ำภาณุรงั สี พื้นที่ท่าน้ำสวัสดี และพื้นที่กรมธนารักษ์ โดยเริม่ มีการพูดคุยกับเจ้าของทีด่ นิ เพือ่ หา แนวทางปรับปรุงภูมทิ ศั น์รมิ น้ำ ให้ตอบสนอง กับความต้องการของชุมชน โดยแนวคิด ในการปรับปรุง คือ

“อยากมีพื้นที่

ให้เราได้ออกกำลังกาย” ๑. สร้ า งการรั บ รู้ ความเป็ น ย่ า น

ไชน่าทาวน์บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ๒. ส่งเสริมและเชิดชูองค์ประกอบ เดิมที่มีความสำคัญกับชุมชน ทั้งกายภาพ สังคม วัฒนธรรม ๓. รักษาบริบทความเป็นย่านเก่า ของเมือง คือ ไม่รอื้ ทำลาย หรือสร้างอาคาร ขนาดใหญ่ในพืน้ ที่ อันจะส่งผลทำให้ทำลาย ทัศนียภาพเดิมของย่าน ๔. สร้างพื้นที่ต้นแบบการพัฒนา ริมน้ำในบริเวณย่านเก่าของเมือง หากมีการพัฒนาริมน้ำย่านตลาดน้อย ตามศักยภาพพื้นที่และตามความต้องการ เบือ้ งต้นของชุมชม ก็จะทำให้เพิม่ พืน้ ทีร่ มิ น้ำ

ให้กบั ชุมชน ย่านและเมือง อีกทัง้ ยังเป็นการ สร้างต้นแบบการพัฒนาริมน้ำในย่านเก่า ที่ไม่ทำลายทัศนียภาพเดิม และเป็นการ ใช้ต้นทุนของย่านให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยสามารถรักษาคุณค่าของย่านนั้นไว้ได้ แต่อย่างไรก็ตามการปรับปรุงพื้นที่ริมน้ำ จะส่งผลและสร้างภูมิทัศน์ริมน้ำย่านเก่า

ให้ เ กิ ด คุ ณ ค่ า ขึ้ น เพี ย งบางส่ ว นคงไม่ ไ ด้

คงต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายที่ เกี่ยวข้องตลอดริมแม่น้ำย่านตลาดน้อย และไชน่าทาวน์ เพื่อร่วมกันรักษา ฟื้นฟู วิ ถี ชี วิ ต ริ ม น้ ำ ให้ ก ลั บ มารุ่ ง เรื อ งในการ

ใช้งานของผู้คนดังเช่นอดีตอีกครั้ง

BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

11


เรื่อง : ศรินพร พุ่มมณี l ภาพ : ธีรวัฒน์ อาภาสพิพัฒน์

โจวซือกง...กับการพัฒนา ศาลเจ้าโจวซือกง เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นศูนย์รวม ศิลปะ วัฒนธรรม ความเชื่อและความศรัทธาที่ไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะชาวจีนฮกเกี้ยน เท่านั้น แต่ความเลื่อมใสศรัทธาในองค์หลวงปู่เช็งจุ้ยโจวซือยังแพร่ขยายไปยัง

ชาวจีนในทุกกลุ่มภาษา เนื่องจากในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ได้ช่วยรักษาบรรเทา ทุกข์ภัยให้แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากในเวลาเกิดโรคระบาด สิ่งนี้จึงเป็นสัญลักษณ์สำคัญ

ที่ช่วยเชื่อมโยงชาวจีนเข้าไว้ด้วยกัน นอกจากนีศ้ าลเจ้าโจวซือกงยังถือเป็นส่วนหนึง่ ทีส่ ำคัญของย่านตลาดน้อย ทีบ่ อกเล่า เรื่องราวประวัติศาสตร์ความเป็นมา และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ซึ่งศาลเจ้า แห่ ง นี้ จ ำเป็ น ต้ อ งมี ก ารปรั บ ปรุ ง เปลี่ ย นแปลงเพื่ อ ให้ เ หมาะสมกั บ การใช้ ง านและ สอดคล้องกับการพัฒนาไปตามยุคสมัย เราจึ งขอนำท่ านไปพบกับผู้รับผิดชอบในการปรั บปรุง และพัฒ นาศาลเจ้า ถึง แนวคิดในการดำเนินงานในครั้งนี้ที่ส่งผลถึงการพัฒนาพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาโดยรวม คือ คุณสัก กอแสงเรือง นายกสมาคมฮกเกี้ยนแห่งประเทศไทย และคุณธีราศักดิ์

สุขะโชติพรชัย รองนายกสมาคมฮกเกี้ยนแห่งประเทศไทย และดำรงตำแหน่งผู้จัดการ ศาลเจ้าโจวซือกง

12

ย่านจีนถิ่นบางกอก

คุณสัก กอแสงเรือง นายกสมาคมฮกเกี้ยนแห่งประเทศไทย

คุณสัก กอแสงเรือง นายกสมาคม ฮกเกี้ ย นแห่ ง ประเทศไทย ผู้ ที่ ใ ห้ ความ สำคัญและสนใจในเรือ่ งราวของชาวฮกเกีย้ น

อย่างลึกซึ้ง ทั้งยังรวบรวมประวัติศาลเจ้า ฮกเกี้ยนและจัดงานเฉลิมฉลองโดยเชิญ ชาวฮกเกี้ ย นจากทั่ ว ทุ ก ภู มิ ภ าคต่ า งๆ

ทัว่ โลกมาร่วมงานในประเทศไทย ได้เล่าถึง ความสำคั ญ ของศาลเจ้ า โจวซื อ กงว่ า

“ศาลเจ้าโจวซือกงเป็นศาลเจ้าเก่าแก่อายุ ๒๐๐ กว่าปี ซึ่งในช่วงเทศกาลกินเจจะมี ผู้คนจากทั่วทุกสารทิศมาเข้าร่วมพิธีของ ศาลเจ้ า เป็ น จำนวนมาก โดยจะมี พิ ธี ที่ สำคัญๆ เช่น พิธีรับ-ส่งองค์หลวงปู่เช็งจุ้ย โจวซือ, พิธีลอยกระทง, มีการจุดธูปใหญ่ ที่ เ ป็ น มงคล ๙ วั น ๙ คื น , การถวาย เสื้อผ้ากระดาษ เป็นต้น ซึ่งพิธีเหล่านี้เป็น พิธีเก่าแก่ที่สืบทอดกันมานาน นอกจากนี้ ศาลเจ้าโจวซือกงยังถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม ๙ ศาลเจ้าที่ต้องไปกราบไหว้บูชาเพื่อความ เป็นศิริมงคลของนักท่องเที่ยวชาวไต้หวัน ทีม่ คี วามเคารพศรัทธาต่อองค์หลวงปูเ่ ช็งจุย้ โจวซืออย่างมาก” ทั้ ง นี้ คุ ณ สั ก ได้ ก ล่ า วถึ ง ที่ ม าที่ ไ ป ของแนวคิดในการปรับปรุงพื้นที่ริมน้ำของ ศาลเจ้าโจวซือกงว่า “เนื่องจากดังที่กล่าว ไปแล้วนั้นว่าศาลเจ้าแห่งนี้เป็นที่เคารพ นั บ ถื อ อย่ า งมากของคนไทยเชื้ อ สายจี น ตลอดจนชาวต่างชาติอีกจำนวนมากที่แวะ เวียนมากราบไหว้ขอพรกันอยู่เป็นประจำ ทำให้ศาลเจ้ามีแนวความคิดที่จะปรับปรุง พื้นที่ริมน้ำหน้าศาลเจ้าให้มีทัศนียภาพที่ สวยงาม โดยแนวทางการปรับปรุงศาลเจ้า ที่สำคัญเริ่มจากแนวความคิดในการสร้าง เจดี ย์ เ งิ น ๙ ชั้ น คู่ กั บ เจดี ย์ ฝั่ ง ตรงข้ า ม แม่ น้ ำ เจ้ า พระยาที่ เ ป็ น เจดี ย์ ท อง เพื่ อ


คุณสัก กอแสงเรือง นายกสมาคมฮกเกี้ยนแห่งประเทศไทย

ความเป็นสิริมงคลของผู้คนที่เดินทางผ่าน ไปมาและยั ง ช่ ว ยเสริ ม ให้ ทั ศ นี ย์ ภ าพ บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยามีความงดงาม มากขึ้ น” นอกจากนี้ คุ ณ สั ก ยั ง มี แ นวคิ ด เรือ่ งการพัฒนาพืน้ ทีร่ มิ แม่นำ้ เจ้าพระยาว่า “อยากเห็ น กรุ ง เทพมหานครมี ท างเดิ น เลี ย บแม่ น้ ำ คล้ า ยกั บ บริ เ วณหน้ า กุ ฎี จี น จนถึงโบสถ์ซางตาครูส ถ้ามีทางเดินก็จะ สะดวกและสามารถเข้ า ถึ ง วิ ว แม่ น้ ำ เจ้าพระยา ซึ่งควรมีการพัฒนาท่าเรือเพื่อ บริ การประชาชนและนั ก ท่ อ งเที่ ย วและ

ให้ เ กิ ด ความเชื่ อ มโยงกั น ตลอดลำน้ ำ

เช่นเดียวกับในประเทศสิงค์โปร์” ทั้งนี้คุณสัก ยังได้แสดงทัศนะต่อ การพั ฒ นาพื้ น ที่ โ ดยรวมของย่ า นจี นว่ า “พืน้ ทีน่ จี้ ะต้องเจอการเปลีย่ นอย่างแน่นอน ซึ่ ง ปั จ จั ย ที่ ส ำคั ญ ขึ้ น อยู่ กั บ บริ บ ทของ การขนส่ ง มวลชน รู ปแบบการอยู่อาศัย อาจจะเหมือนฮ่องกงที่มีการใช้งานของ พื้นที่ทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งการทำ ธุรกิจแบบเชียงกงก็จะไม่คุ้มค่าอีกต่อไป เพราะมูลค่าของที่ดินจะสูงขึ้น จำเป็นต้อง ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย แต่ถึงอย่างไร ก็ ต ามการพั ฒ นาย่ า นจี น บางอย่ า งต้ อ ง รักษาคุณค่าเอาไว้ เช่น วัฒนธรรม ภาษาถิน่ การสร้างความต่อเนื่องระหว่างรุ่นเก่ากับ ใหม่ รวมถึงสถานที่ที่มีความสำคัญ เช่น วั ด เล่ ง เน่ ย ยี่ ที่ ส มเด็ จ พระเทพฯ เสด็ จ พระราชดำเนินทุกปี ในช่วงตรุษจีน ทั้งนี้

การพัฒนาเปลีย่ นแปลงทีส่ ำคัญอีกประการ คื อ ต้ อ งมี ความสวยงาม สะอาด มี การ บริหารจัดการที่ดี สะดวกและปลอดภัย”

คุณธีราศักดิ์ สุขะโชติพรชัย (เฮียฮ้อ) รองนายกสมาคมฮกเกีย้ นแห่งประเทศไทย

คุณธีราศักดิ์ สุขะโชติพรชัย หรือที่ ชาวชุมชนย่านตลาดน้อยรู้จักกันดี ในชื่อ “เฮียฮ้อ” รองนายกสมาคมฮกเกี้ยนแห่ง ประเทศไทย ซึง่ ได้รบั มอบหมายจากคุณสัก กอแสงเรือง ให้มาทำหน้าที่ดูแลศาลเจ้า โจวซือกง ศาลเจ้าสำคัญที่มีความเก่าแก่ และใหญ่ทสี่ ดุ ในย่านตลาดน้อย ได้เล่าให้ฟงั ถึงแนวความคิดในการพัฒนาพื้นที่ริมน้ำ หน้าศาลเจ้าโจวซือกงว่า “ศาลเจ้าโจวซือกง เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ที่มีอายุ ๒๐๐ กว่าปี เป็นที่ประดิษฐานขององค์หลวงปู่ เช็งจุ้ย โจวซือ ซึ่งเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาอย่างมาก ของคนในและคนนอกพื้นที่ โดยเฉพาะใน ช่วงเทศกาลกินเจ ที่จะมีผู้คนจากทั่วทุก สารทิศเดินทางมากราบไหว้องค์หลวงปู่ เป็ น จำนวนมาก ประกอบกั บ ขณะนี้ มี โครงการก่ อ สร้ า งเขื่ อ นกั้ น น้ ำ ของทาง กรุงเทพมหานคร ซึ่งทั้งสองจุดนี้เองทำให้ ทางคณะกรรมการของศาลเจ้ า มี แ นว

ความคิดทีจ่ ะปรับปรุงพืน้ ทีร่ มิ น้ำหน้าศาลเจ้า ให้มีทัศนียภาพที่สวยงาม เพื่อให้ผู้ที่มา กราบไหว้รวมถึงผู้คนในละแวกใกล้เคียง สามารถเข้ า มานั่ ง พั ก ผ่ อ นและเดิ น เล่ น

ริมน้ำได้ โดยแผนในอนาคตถ้าการก่อสร้าง เขื่อนกันน้ำเสร็จสิ้นแล้ว จะทำการปรับ เปลี่ยนโรงงิ้วในปัจจุบันนี้ให้สามารถถอด ประกอบได้ เพื่ อ จะนำพื้ น ที่ ดั ง กล่ า วมา ปรั บ ปรุ ง ซึ่ ง จะทำให้ ค นเข้ า ถึ ง ริ ม น้ ำ ได้ สะดวกขึ้น” เมือ่ ถามถึงแนวทางการพัฒนาศาลเจ้า โจวซือกงต่อไปในอนาคตข้างหน้า เฮียฮ้อ ได้อธิบายให้ฟงั ดังนีว้ า่ “ทางคณะกรรมการ ศาลเจ้าได้มีการหารือกันว่าจะทำอย่างไร ให้ศาลเจ้าโจวซือกงที่ๆ มีคนมากราบไหว้ เป็นพื้นที่ที่สวยงาม ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบ กับจีจินเกาะที่อยู่ตรงข้ามของแม่น้ำนั้นมี เจดี ย์ ๙ ชั้ น อยู่ ก่ อ นแล้ ว จึ ง ได้ น ำเรื่ อ ง

ดังกล่าวไปหารือกับทางจีจินเกาะจนเกิด แนวความคิดร่วมกันที่จะสร้างเจดีย์คู่ซึ่ง เปรียบเสมือนเจดีย์เงิน เจดีย์ทอง และ สั ญ ลั ก ษณ์ ท างน้ ำ ของย่ า นไชน่ า ทาวน์

แต่ ถึ ง อย่ า งไรก็ ต าม ศาลเจ้ า มี พื้ น ที่ ประมาณ ๗๐๗ ตารางวา ซึ่งอาคารที่มีอยู่ ในปัจจุบนั สร้างจนแทบจะเต็มพืน้ ทีอ่ ยูแ่ ล้ว การจะทำอะไรเพิม่ เติมนอกเหนือจากทีม่ อี ยู่ จำเป็ น ต้ อ งขยายพื้ น ที่ เ พิ่ ม ทางคณะ กรรมการจึ ง ได้ น ำเรื่ อ งนี้ ไ ปปรึ ก ษากั บ

คุ ณ สั ก กอแสงเรื อ ง ประธานสมาคม ฮกเกี้ยนแห่งประเทศไทย ซึ่งทางสมาคม ฮกเกี้ยนฯ เห็นด้วยถ้าหากจะทำเพื่อสังคม และมีประโยชน์ต่อสังคม และทางสมาคม มีความยินดีเข้ามาร่วมออกความคิดและ สนับสนุนอย่างเต็มที่” ทั้ ง นี้ เ ฮี ย ฮ้ อ ยั ง ได้ แ สดงมุ ม มอง ความคิ ด เห็ น ต่ อ พื้ น ที่ ย่ า นตลาดน้ อ ยว่ า “คำว่ า ตลาดน้ อ ย ไม่ ว่ า คนเก่ า คนใหม่ คงจะเคยได้ยินได้เห็นกันมาบ้าง เพราะมี มาเป็ น ร้ อ ยๆ ปี ซึ่ ง คนส่ ว นใหญ่ ห รื อว่ า ชาวจี น จะรู้ จั ก ตลาดน้ อ ยกั น พอสมควร และเอกลักษณ์ของตลาดน้อยจะมีอยู่อย่าง หนึ่งก็คือขายเครื่องมือสองหรือที่เรียกว่า เซียงกง เป็นที่ที่มีชื่อเสียง คนส่วนใหญ่ มาแสวงหาเพื่อนำไปประกอบในชิ้นส่วนที่ เค้าขาด ส่วนอาคารเก่าๆ โบราณมีหลาย อาคารที่ ค นมาชมและก็ ป ระทั บ ใจเช่ น บ้านโซวเฮงไถ่ หรือแม้แต่อาคารที่ติดอยู่

BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

13


คุณธีราศักดิ์ สุขะโชติพรชัย (เฮียฮ้อ) รองนายกสมาคมฮกเกี้ยนแห่งประเทศไทย

กับปากทางเข้าศาลเจ้าก็เป็นอาคารไม้สกั ทอง อายุ ร้ อ ยกว่ า ปี เป็ น ของเครื อ ญาติ ท่ า น

องค์ ม นตรี สุ เ มธ ตั น ติ เ วชกุ ล มี พื้ น ที่ ประมาณ ๖๐ ตารางวา และอาคารหลังนี้ ได้ มี การพู ด คุ ย กั บ เจ้ า ของอาคาร ซึ่ ง ใน อนาคตอาจจะมีการให้เช่าหรือจะทำยังไง

ก็แล้วแต่ เนื่องจากเจ้าของอาคารหลังนี้ เล็ ง เห็ นว่ า ศาลเจ้ า มี ผู้ ค นมากราบไหว้ อยากทำอาคารหลังนั้นให้เกิดประโยชน์แก่ สังคม เบือ้ งต้นกรรมการศาลเจ้าได้คยุ กันว่า ถ้ า มี โ อกาสได้ เ ช่ า ก็ ดี ห รื อ อะไรก็ ดี จ ะ ปรั บ ปรุ ง อาคารหลั ง ดั ง กล่ า วให้ เ ป็ น พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ข องศาลเจ้ า เก็ บ พวกของ โบราณหรื อ ประวั ติ เ ก่ า ๆ ของศาลเจ้ า ” เมื่อเอ่ยถึงอาหารการกินในย่านตลาดน้อย เฮี ย ฮ้ อ ก็ ไ ม่ พ ลาดที่ จ ะอธิ บ ายให้ ฟั ง ถึ ง ความสำคั ญ ของเทศกาลกิ น เจ ซึ่ ง เป็ น เทศกาลใหญ่และสำคัญของคนในย่านนี้ว่า “อาหารการกินของที่นี่มีหลายอย่าง ถ้าได้ ไปสัมผัส เพียงแต่ว่าพอเนินนานไปแล้ว

คนอาจจะลืมแต่ถ้าไปถามแถวบ้านเก่าๆ จะได้ ข้ อ มู ล อาหารที่ มี ชื่ อ จำนวนมาก

ส่วนอาหารทีล่ อื ชือ่ ในเทศกาลกินเจก็ได้แก่ ขนมตุบตับ ขนมรังผึ้ง เป็นต้น ซึ่งอาหาร ในช่วงเทศกาลกินเจของที่นี่จะค่อนข้าง มีชื่อเสียงกว่าหลายๆ ที่ และที่นี่น่าจะเป็น จุดเริ่มต้นของการกินเจในยุคแรกๆ ก่อนที่ จะขยายไปที่อื่นๆ” นอกเหนือจากเอกลักษณ์และจุดเด่น ต่างๆ ที่เฮียฮ้อได้เล่าให้ฟังในเบื้องต้นแล้ว ยังได้แสดงถึงทัศนคติทสี่ ำคัญอีกอย่างหนึง่ ซึ่ ง เป็ น โอกาสที่ จ ะดึ ง ศั ก ยภาพของย่ า น ตลาดน้อยไปสู่ทิศทางการพัฒนาในอนาคต ไว้ได้อย่างน่าสนใจ ดังนี้ “ตลาดน้อยมีพื้นที่ ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่มา

ที่นี่ก็อยากมาชมทัศนียภาพริมแม่น้ำแต่ ไม่ ส ามารถเข้ า ถึ ง ได้ เพราะความไม่ สมบูรณ์ ความผุพัง ไม่สามารถเดินไปถึง ริมแม่น้ำเจ้าพระยาได้ นี่คือจุดที่ผมคิดว่า ควรจะมี ก ารปรั บ ปรุ ง ให้ ดี เ พื่ อ สร้ า ง

[รู้หรือไม่] ศาลเจ้าโจวซือกง มีประติมากรรมปูนปันฝาผนังลอยตัว

รูปแบบสามมิติที่หาดูได้ยาก และยังเป็นที่ประดิษฐาน ๓๖ เทพเจ้า แตกต่างจากศาลเจ้าอืน่ ๆ ทีจ่ ะมีเพียง ๑๘ อรหันต์ ซึง่ ๓๖ เทพเจ้า จะช่วยปกปักคุ้มครองและดูแลภพทั้ง ๓ คือ สวรรค์ มนุษย์ และ ภพล่าง เฮียฮ้อยังได้ฝากบอกมาว่าหากมีโอกาสพบเห็นว่าศาลเจ้า ใดมีองค์เทพ ๓๖ เทพเจ้าเหมือนที่ศาลเจ้าโจวซือกง กรุณาแจ้ง

ให้ทราบเพื่อจะได้เผยแพร่และบอกกล่าวต่อๆ กันไป 14

ย่านจีนถิ่นบางกอก

ทัศนียภาพที่สวยงาม ซึ่งถ้าทำได้จะเป็น จุ ด เด่ น จุ ด ขายอั น หนึ่ ง ของตลาดน้ อ ย” และเมื่ อ ถามถึ ง บทบาทของศาลเจ้ า กั บ การมี ส่ ว นร่ ว มในการพั ฒ นาพื้ น ที่ ย่ า น ตลาดน้ อ ย ในฐานะที่ ศ าลเจ้ า โจวซื อ กง เป็ น โบราณสถานเก่ า แก่ แ ละสำคั ญ

ของย่านนี้ ได้รับคำตอบว่า “ศาลเจ้ากับ ตลาดน้อยผูกพันกัน แยกกันไม่ได้ เพราะ ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน ศาลเจ้าจะตั้งอยู่ ได้ก็ต้องอาศัยคนในพื้นที่เป็นแรงผลักดัน ถึงจะเกิดในสิ่งต่างๆ ได้ ดังนั้นมีอะไรที่ ศาลเจ้าเราจะสามารถอำนวยความสะดวก ได้ในหลายๆ ด้าน เราก็ยินดีที่จะช่วยเพื่อ ให้สังคมในตลาดน้อยน่าอยู่ ใครเข้ามาก็ ประทับใจ ยกตัวอย่างเช่น เทศกาลกินเจ เราพยายามอนุรักษ์ของเก่า แต่ก็มีผสม ผสานของใหม่บ้างเล็กๆ น้อยๆ เพื่อความ สะดวกของคนรุน่ ใหม่ แต่กย็ งั คงเอกลักษณ์ ของเก่าไว้อยู่ เนื่องจากว่าในอดีตที่ผมยัง เป็นเด็ก คนที่มาร่วมงานจะเคร่งในเรื่อง ของพิธีกรรมมาก แต่มาในรุ่นผมก็หารือ กันว่าบางสิง่ บางอย่างถ้าเราไม่ออ่ นโยนบ้าง คนรุ่นใหม่อาจไม่เข้าใจและกลายเป็นว่า ห่างเหินไป จึงต้องผสมผสานอนุรักษ์บ้าง แต่ ก็ ผ่ อ นคลายบ้ า งเพื่ อ ให้ ค นรุ่ น ใหม่ ยอมรับ และใช้เป็นเครื่องมือเชื่อมโยงคน รุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่เข้าด้วยกัน” สุดท้ายเฮียฮ้อยังได้ฝากข้อคิดดีๆ ให้ทุกคนที่เข้ามาในย่านตลาดน้อยช่วยกัน ดูแลรักษา และช่วยกันทำนุบำรุงไม่ว่าเก่า หรือใหม่ให้คงอยู่คู่กับตลาดน้อย เพื่อให้ ลูกหลานจะได้มีโอกาสสืบทอดต่อไป


เรื่อง : อังคณา พุ่มพวง l ภาพ : ธีรวัฒน์ อาภาสพิพัฒน์

จากงานศิลปะ สู่งานบูรณะ ศาลเจ้าฮ้อนหว่องกุง... ศาลเจ้าฮ้อนหว่องกุง หรือที่คนตลาดน้อยรู้จักในชื่อ “ศาลเจ้าโรงเกือก” เป็นศาล เจ้าของกลุ่มชาวจีนฮากกา มีอายุประมาณ ๑๒๔ ปี (ก่อตั่งเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๓๒) และได้อัญเชิญองค์เจ้าพ่อฮ้อนหว่องกุง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฮั่น ซึ่งชาวจีน ฮากกาให้ความเคารพนับถืออย่างมากจากประเทศจีนมาประดิษฐาน ณ ศาลเจ้า แห่งนี้ เพื่อทำการสักการบูชา และเตือนใจถึงชาติกำเนิดของตนที่สืบเชื้อสายมาจาก ชาวฮั่น

ศาลเจ้าฮ้อนหว่องกุงตั้งอยู่บริเวณ เขตสัมพันธ์วงศ์ ย่านตลาดน้อย สุดตรอก ศาลเจ้ า โรงเกื อ ก ใกล้ กั บ กรมเจ้ า ท่ า

จุ ด สั ง เกตง่ า ยๆ ถ้ า ท่ า นผู้ อ่ า นเดิ น ทาง

ทางน้ำจะพบศาลเจ้าฯอยู่บริเวณซ้ายมือ ของกรมเจ้ า ท่ า แต่ ถ้ า เดิ น ทางทางบก สามารถลั ด เลาะมาตามถนนวานิ ช ๒ สังเกตปากซอยจะเป็นที่ตั้งของวิทยาลัย สารพัดช่างสี่พระยา ซึ่งตรอกศาลเจ้าโรง เกือกอยู่ติดกับกำแพงของวิทยาลัยนั่นเอง ปัจจุบันศาลเจ้าฮ้อนหว่องกุงอยู่ใน สภาพทีท่ รุดโทรม ขาดการบูรณะอย่างต่อเนือ่ ง องค์ประกอบของสถาปัตยกรรมและวัสดุ โบราณจึงค่อยๆ ชำรุดเสียหายไปตามกาลเวลา อย่างเช่น โครงสร้างไม้ของศาลเจ้าที่เริ่ม

ผุพัง ลายปูนปั้นหลุดร่วง และกระเบื้อง หลั ง คาที่ ปั จ จุ บั น เริ่ ม มี การรั่ ว ซึ ม เข้ า มา ภายในอาคาร ส่ ง ผลให้ รู ป จิ ต รกรรม

ฝาผนังเริ่มเลือนรางหายไป

จากสภาพดังกล่าวทำให้ผู้ดูแลวิตก กั ง วลว่ า หากไม่ รี บ ปรั บ ปรุ ง จะส่ ง ผลให้

ตั ว อาคารมี ค วามทรุ ด โทรมมากขึ้ น

ซึ่งอาจทำให้ประวัติศาสตร์ด้านศิลปะและ สถาปัตยกรรมของศาลเจ้าลบเลือนและ จางหายไปพร้ อ มกั บ กาลเวลา จึ ง ได้ น ำ เรือ่ งดังกล่าวมาปรึกษากับโครงการย่านจีน ถิ่นบางกอก และได้มีการพูดถึงแนวทาง การปรั บ ปรุ ง ศาลเจ้ า อย่ า งมี ส่ ว นร่ ว ม

อันนำไปสู่ “โครงการสร้างกระบวนการมี ส่วนร่วมในการบูรณะศาลเจ้าฮ้อนหว่องกุง” เพื่อเป็นสื่อกลางในการประสานงานความ ร่วมมือ ระหว่างผูด้ แู ลศาลเจ้า สมาคมฮากกา และกลุ่มผู้ที่สนใจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งใน การบู ร ณะศาลเจ้ า ฮ้ อ นหว่ อ งกุ ง โดยใช้ กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลทางด้าน สถาปัตยกรรม (Vernadoc) เป็นเครื่องมือ เบื้องต้นเพื่อให้เกิดการบูรณะศาลเจ้าอย่าง ถูกต้องและยังคงสามารถรักษาอาคารเดิมไว้

กระบวนการในการปรั บ ปรุ ง ศาล เจ้าฮ้อนหว่องกุงเริ่มจากการสร้างการมี ส่วนร่วมให้เกิดการพูดคุยของกลุ่มคนที่ ต้องการการบูรณะศาลเจ้า อาทิ ผู้ดูแล ศาลเจ้า สมาคมฮากกา กลุ่มนักวิชาการ รวมถึ ง สถาบั น การศึ ก ษาอย่ า งวิ ท ยาลั ย เทคนิ ค ดุ สิ ต ซึ่ ง ได้ นั ก วิ ช าการอย่ า ง ผศ.สุ ด จิ ต (เศวตจิ น ดา) สนั่ น ไหวและ อาจารย์ปริญญา มรรคสิริสุข ผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านการเก็บข้อมูลเชิงสถาปัตยกรรม (Vernadoc) มาให้ความรู้กับทีมทำงาน

ผูด้ แู ลศาลเจ้า อาจารย์และนักเรียนวิทยาลัย เทคนิคดุสิต เพื่อนำความรู้ที่ ได้มาใช้กับ การเก็บข้อมูลศาลเจ้าอย่างถูกวิธีเพื่อสร้าง ผลงานเวอร์นาดอค (Vernadoc) ให้ออกมา สมบูรณ์แบบและสามารถนำไปใช้ในการ ระดมทุนจากผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเพื่อ นำไปสู่การบูรณะศาลเจ้าสืบต่อไป BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

15


ตัวอย่างผลงานการเก็บข้อมูลทางสถาปัตยกรรม ศาลเจ้าฮ้อนหว่องกุง (ศาลเจ้าโรงเกือก) ด้วยเทคนิค Vernadoc ๐๑ วรินธิดา วรรณวัฒน์ แผนกช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม วิทยาลัยเทคนิคดุสิต

๐๒ จิรายุ อุดมเพ็ญ, พันทิพย์ เทียนอวน แผนกช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม วิทยาลัยเทคนิคดุสิต

๐๓ จุฑารัตน์ นฤพันธาวาทย์, อังคณา พุ่มพวง สถาบันอาศรมศิลป์

๐๔ ปริญญา มรรคสิริสุข คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตธัญบุรี ๐๕ นิธิ ศิริสัตยะวงศ์ แผนกช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม วิทยาลัยเทคนิคดุสิต

๐๖ กมลวรรณ ก้องวัฒนากุล แผนกช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม วิทยาลัยเทคนิคดุสิต 16

ย่านจีนถิ่นบางกอก


หลายท่านคงสงสัยว่าทำไมเราจึงต้อง ช่ ว ยกั น บู ร ณะศาลเจ้ า เก่ า ๆ ทั้ ง ที่ ค่ า

ใช้จ่ายในการบูรณะสูงลิ่ว...? ไม่แปลกที่ จะคิดกันแบบนั้นแต่ทว่าลองมองผ่าน มิติ ๔ มิติ คือ ๑. มิติด้านศาสนา หลายท่านคง ทราบอยู่บ้างแล้วถึงการจะสร้างศาลเจ้า แต่ละครั้งที่ต้องอาศัยความเชื่อและความ ศรั ท ธาของคนจำนวนไม่ น้ อ ยในการ

สร้ า งขึ้ น ซึ่ ง ความเชื่ อ และความศรั ท ธา เหล่ า นี้ เ ป็ น เครื่ อ งยึ ด เหนี่ ย วผู้ ที่ เ คารพ นับถือให้ตั้งตนอยู่บนฐานของความดีที่ไม่ เบียดเบียนผู้อื่น ๒. มิติด้านเศรษฐกิจ “บ้านเมือง ไหนสวยคนก็อยากไป” เป็นเรื่องที่อธิบาย ได้และเกิดขึน้ จริงในทัว่ โลก และถ้าศาลเจ้า ฮ้ อ นหว่ อ งกุ ง กลั บ มามี ส ภาพสวยงาม เหมื อ นเดิ ม ผู้ มี จิ ต ศรั ท ธาเข้ า มาเพิ่ ม ขึ้ น ทำให้พื้นที่โดยรอบกลับมามีชีวิตชีวาและ เพิ่มลู่ทางทางเศรษฐกิจให้กับผู้คนในพื้นที่ ได้อีกด้วย ๓. มิติด้านสังคม “ความสวยงาม ของศาลเจ้ า ก็ เ ปรี ย บเสมื อ นความมั่ ง คั่ ง ของผู้ศรัทธา” เป็นคำกล่าวของผู้คนสมัย ก่อนที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตระหว่างคน กับศาสนสถานที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ปัจจุบันศาลเจ้าฮ้อนหว่องกุงยังคงเป็นที่ พึ่งของผู้ศรัทธาและชุมชนโดยรอบทั้งใน เรื่องการนับถือเทพเจ้าหรือแม้แต่การเป็น พื้นที่นันทนาการของชาวชุมชนในละแวก ศาลเจ้า ๔. มิตดิ า้ นภูมสิ ถาปัตย์ ถ้าศาลเจ้า ฮ้ อ นหว่ อ งกุ ง ได้ รั บ การบู ร ณะให้ ก ลั บ สู่ สภาพที่ ส วยงาม ก็ จ ะทำให้ พื้ น ที่ เ ล็ ก ๆ

ริ ม น้ ำ แห่ ง นี้ เ ป็ น ที่ พั ก สายตาให้ กั บ ผู้ ที่ พบเห็นทั้งทางน้ำ ทางบกและยังเป็นการ ส่ ง เสริ ม บรรยากาศที่ ดี ใ ห้ กั บ อาคาร

โดยรอบ เพียงแค่มิติเล็กๆ ทั้ง ๔ มิตินี้ก็คง ทำให้ท่านผู้อ่านเห็นแล้วว่าทำไมถึงต้อง บูรณะศาลเจ้าฮ้อนหว่องกุง BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

17


ตัวอย่างผลงานการเก็บข้อมูลทางสถาปัตยกรรม ศาลเจ้าฮ้อนหว่องกุง (ศาลเจ้าโรงเกือก) ด้วยเทคนิค Vernadoc ๐๗ เมทินี กาญจนพันธุ์วงศ์ แผนกช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม วิทยาลัยเทคนิคดุสิต

๐๘ สุทธิกา สุทธิเลิศอรุณ แผนกช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม วิทยาลัยเทคนิคดุสิต

๐๙ เกล็ดแก้ว ฮ่วนต๋ำ แผนกช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม วิทยาลัยเทคนิคดุสิต

๑๐ อัญชัน มวยพิมาย คณะคุรุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาสถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ๑๑ ดลพร เลื่อนไธสง คณะคุรุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาสถาปัตยกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง

๑๒ วรฐ อัศวลาภสกุล อาจารย์ประจำวิทยาลัยเทคนิคดุสิต 18

ย่านจีนถิ่นบางกอก


[Vernadoc คืออะไร]

Vernadoc เป็ น คำย่ อ มาจาก Vernacular Documentation หมายถึง กระบวนการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เน้นการเก็บข้อมูลจริงในพื้นที่ด้วยเทคนิค พื้ น ฐานอย่ า งการใช้ มื อ ดิ น สอ ปากกา เขี ย นแบบ และไม้ บ รรทั ด เท่ า นั้ น แต่ สามารถได้คุณภาพของผลงานในระดับที่

ดีเยี่ยม อย่างการเขียนแบบอาคาร และ ภู มิ ทั ศ น์ ใ นท้ อ งถิ่ น ต่ า งๆ โดยละเอี ย ด

ตรงกับความเป็นจริงในทุกองค์ประกอบ อย่ า งเป็ น มิ ติ แสงเงา สั ด ส่ ว นต่ า งๆ

ของอาคาร รวมถึงร่องรอยการทรุดโทรม เพื่ อ ให้ ไ ด้ ค วามถู ก ต้ อ ง แม่ น ยำ และ สมจริง

BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

19


เรื่อง : จุฑารัตน์ นฤพันธาวาทย์ l ภาพ : ธีรวัฒน์ อาภาสพิพัฒน์

ปัญหากากไขมัน... เรื ่ อ งไกลที่ใกล้ต ัว

เมื่อเอ่ยถึงแหล่งรวมของกินเลิศรสในกรุงเทพฯ หลายๆคน คงนึกถึง “เยาวราช” ถนนเก่าแก่สายสำคัญตั้งแต่ยุคต้น

กรุงรัตนโกสินทร์ ที่ปัจจุบันเป็นศูนย์รวมร้านอาหารอร่อย จำนวนมากถึง ๑๕๒ ร้าน ซึ่งยังไม่นับรวมถึงร้านหาบเร่ แผงลอยอีกจำนวนมาก ที่พากันซับเปลี่ยนหมุนเวียน ให้เราๆ ท่านๆ ได้เลือกลิ้มลองอาหารกันอย่างจุใจตลอดทั้งวันทั้งคืน และจากจำนวนร้านอาหารทีม่ มี ากในพืน้ ที่ ทำให้เขตสัมพันธวงศ์ มีปริมาณกากไขมันที่เกิดจากการประกอบอาหาร เฉลี่ยสูงถึง ๑.๗ ตันต่อเดือน ซึ่งหากลองจินตนาการภาพตาม ปริมาณ กากไขมันที่จับตัวเป็นก้อนจะมีขนาดใหญ่เทียบเท่ากับรถกระบะ ๑ คันเลยทีเดียว และหากกากไขมันดังกล่าวถูกปล่อยทิ้งลงสู่ ท่อระบายน้ำสาธารณะ จะทำให้เกิดการอุดตันของท่อระบายน้ำ เนือ่ งจากกากไขมันจะจับตัวเป็นก้อนไปเกาะตามผนังท่อระบายน้ำ กลายเป็นแหล่งอาหารของหนู และแมลงสาบ เมื่อปล่อยทิ้งไว้ นานเข้าจะส่งกลิ่งเหม็นคละคลุ้งไปทั่ว แต่ถ้าหากกากไขมันถูก ปล่ อ ยทิ้ ง ลงสู่ แ ม่ น้ ำ ลำคลอง จะส่ ง ผลให้ เ กิ ด น้ ำ เน่ า เสี ย เนื่ อ งจากคราบน้ ำ มั นจะแผ่ ก ระจายปกคลุ ม ทั่ ว ผิ ว น้ ำ ทำให้ ออกซิเจนไม่สามารถลงสู่ผิวน้ำได้ สัตว์น้ำก็จะพากันล้มตาย ในที่สุด

กากไขมันอัดแท่งที่ถูกแปรรูปให้กลายเป็นพลังงานทางเลือก ด้วยการทำเป็น ถ่านหุงต้ม

20

ย่านจีนถิ่นบางกอก

กากไขมันที่ตักได้จากบ่อดักไขมันในร้านอาหาร เริ่มจับตัวเป็นก้อน และส่งกลิ่นเหม็น

แต่ ก็ ใ ช่ ว่ า กากไขมั น จากการประกอบอาหารจะไม่ มี ประโยชน์เลยซะทีเดียว เพราะความจริงแล้วกากไขมันสามารถ นำไปแปรรูปเป็นพลังงานทางเลือกอย่างเช่น น้ำมันไบโอดีเซล หรือถ่านสำหรับการหุงต้มได้เช่นกัน ดังจะเห็นได้จากโครงการ “แปรรู ป กากไขมั น เป็ น เชื้ อ เพลิ ง อั ด แท่ ง ” ที่ ด ำเนิ น การโดย สำนั ก งานเขตสั ม พั น ธวงศ์ ร่ ว มกั น ชมรมร้ า นอาหารเพื่ อ

สิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ และโครงการย่านจีนถิ่นบางกอก นำตั ว อย่ า งงานวิ จั ย ของอาจารย์ นงลั ก ษณ์ สมั ต รั ฐ คณะ วิ ศ วกรรมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ วิ ท ยาเขต กำแพงแสน มาบู ร ณาการให้ เ กิ ด เป็ น รู ป ธรรมของการแก้ ไ ข ปัญหาดังกล่าวอย่างชัดเจน และยังเป็นการเพิม่ มูลค่าของของเสีย โดยการนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบของพลังงานทางเลือกอีกด้วย ล่าสุดได้มีการเชิญกลุ่มชมรมร้านอาหารเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึง่ ประกอบด้วย ภัตตาคารตัง้ จัว้ หลี ภัตตาคารกัม่ หลง ภัตตาคาร

ฮั่วเซงฮง ภัตตาคารแว่นฟ้า โรงแรมไชน่าทาวน์ โรงแรมเซี่ยงไฮ้ แมนชั่น และโรงแรมแกรนไชน่า เข้าเยี่ยมชมฐานปฏิบัติการ แปรรู ป กากไขมั น เป็ น เชื้ อ เพลิ ง อั ด แท่ ง ณ ท่ า น้ ำ สวั ส ดี

เขตสัมพันธวงศ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความคืบหน้า ของการทำงาน และสร้างแรงกระตุ้นในการรักษาสิ่งแวดล้อม

ร่วมกัน ทั้งนี้ได้มีการร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงาน และ เสนอแนะแนวทางการสร้างสรรค์และพัฒนาโครงการฯในระยะ ต่อๆ ไป โดยในขณะนี้ทางโครงการฯ กำลังมีความพยายามที่จะ ผลักดันเรื่องดังกล่าวให้เข้าสู่แผนนโยบายของกรุงเทพมหานคร ต่อไปในอนาคต นีค่ อื ตัวอย่างหนึง่ ของการจัดการกากไขมันซึง่ ไม่เคยมีผู้ใด เหลียวแล และทุกทิ้งให้กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด การแก้ไขปัญหาที่ถูกวิธีและยั่งยืนนั้นจำเป็นต้องให้ความรู้ความ เข้าใจ เพื่อสร้างทัศนคติที่ถูกต้องต่อการแก้ ไขปัญหาดังกล่าว


บรรยากาศการเยี่ยมชมฐานปฏิบัติการแปรรูปกากไขมันเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง ของกลุ่มชมรมร้านอาหารเพื่อสิ่งแวดล้อม

[มาทำความรู้จักบ่อดักไขมันกันเถอะ] บ่อดักไขมัน เป็นอุปกรณ์สำหรับแยกกากไขมันจากการประกอบ อาหารไม่ให้ไหลไปปนกันน้ำทิ้ง ช่วยรักษาสภาพน้ำในชั้นต้นก่อน ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ หรือท่อระบายน้ำทิ้ง การจัดการ น้ำมันและกากไขมันโดยใช้บ่อดักไขมัน เป็นวิธีการที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย การดูแลรักษา ๑. ต้องติดตะแกรงดักขยะและเศษผงก่อนเข้าบ่อดักไขมัน เพื่อ ไม่ให้ขยะและเศษผงเข้าไปอุดตัน ๒. หมั่นตักไขมันออกจากบ่อดักไขมันอย่างน้อยทุกสัปดาห์ และ นำไขมันที่ตักได้ ใส่ ในภาชนะที่ปิดมิดชิด เพื่อให้เทศบาลนำไป กำจัดหรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ๓. ล้างถังดักไขมันอย่างสม่ำเสมออย่าน้อยทุก ๖ เดือน ที่มา: กรมควบคุมมลพิษ

วิธีการแปรรูปกากไขมันจากบ่อดักไขมัน เป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง เมื่อนำกากไขมันอัดแท่งไปเผาในเตา เผาถ่าน ๒๐๐ ลิตร จะได้ถ่านหุงต้มที่ มีหน้าตาแบบทางขวามือ ส่วนถ่านที่ แตกหักเสียหาย ก็จะนำไปอัดขึ้นรูป ใหม่ได้หน้าตาแบบทางซ้ายมือ ดูดีน่า ใช้เชียวล่ะ

การทดสอบความร้อนและระยะเวลา ติดไฟ เทียบเท่ากับถ่านไม้ทั่วไปที่ ขายกันตามท้องตลาด แต่พิเศษกว่า ตรงที่ถ่านนี้เกิดขึ้นจากการนำกากไข มัน ที่หลายๆคนมองข้ามไปนำกลับ มาแปรรูป นอกจากจะช่วยรักษาสิ่ง แวดล้อมแล้วยังเป็นสร้างมูลค่าเพิ่ม อีกต่างหาก

ซึง่ การจัดการกากไขมันจากการประกอบอาหารจะไม่ใช่เรือ่ งไกลตัว หรื อ เป็ น เรื่ อ งของคนใดคนหนึ่ ง อี ก ต่ อ ไป เพราะเราทุ ก คนที่

กินอาหารกันอยู่ ในทุกวันนี้ คือกลไกหนึ่งในการกระตุ้นให้เกิด กระบวนการผลิตกากไขมัน ซึ่งถ้าไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี ก็ จ ะส่ ง ผลเสี ย อย่ า งที่ ก ล่ า วมาในข้ า งต้ น กลายเป็ น ปั ญ หา

สิ่งแวดล้อมที่ลดทอนความน่าอยู่ของเมือง แล้วเราจะมีคุณภาพ ชีวิตที่อยู่ดี กินดี มีสุขได้อย่างไร ? หากสนใจเข้ า ร่ ว มโครงการ หรื อ ข้ อ รั บ ข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม สามารถติ ด ต่ อ ได้ ที่ ฝ่ า ยรั ก ษาความสะอาด สำนั ก งานเขต สัมพันธวงศ์ หรือติดต่อผ่านทางโครงการย่านจีนถิ่นบางกอกได้ที่ Email: livelybkk@gmail.com และทาง www.facebook.com/ bangkokchinatown รวมถึงทางจดหมาย โดยส่งมาที่ ๓๙๙ ซอย อนามัยงามเจริญ ๒๕ แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ๑๐๑๕๐

วัสดุอุปกรณ์ ๑. กากไขมันสกปรก ๕ กิโลกรัม ๒. ขี้เลื่อย ๓ กิโลกรัม ๓. ถังใส่ส่วนผสม ๔. ตาชั่ง ๕. เครื่องกวนผสมวัสดุ ๖. เครื่องอัดแท่งเชื้อเพลิงขนาด ๕ หรือ ๑๐ แรงม้า ๗. เตาเผาถ่าน วิธีทำ ผ ส ม ก า ก ไ ข มั น สกปรกและขี้เลื่อยให้เข้ากัน ตามอั ต ราส่ ว น ๕:๓ กวน ด้ ว ยเครื่ อ งกวนผสม นาน ๑-๒ นาที นำส่วนผสมที่ได้ ใส่ลงในเครื่องอัดแท่ง ถ้ามี การแตกหั ก และพองฟู

ให้นำเข้าเครือ่ งอัดซ้ำอีกครัง้ และนำแท่ ง เชื้ อ เพลิ ง ตาก แดด ๓ วั น นำแท่ ง เชื้ อ เพลิงที่แห้งดีแล้ว เรียงใส่เตาเผาถ่านแบบนอนหรือแบบตั้ง เผาที่ อุณหภูมิประมาณ ๒๐๐ องศาเซลเซียส นานประมาณ ๖ ชั่วโมง ทิ้งไว้ให้เย็นในเตาเผา ๑ คืน ก่อนนำออกจากเตาเผา ที่มา: กรมควบคุมมลพิษ BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

21


เรื่อง : ปณัฐพรรณ ลัดดากลม l ภาพ : ธีรวัฒน์ อาภาสพิพัฒน์

ย่านเก่าวิถีใหม่ หากย้อนอดีตย่านเยาวราชไปสักต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ย่านนี้ถือเป็นเมืองท่าทางการค้าที่สำคัญริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่รับเอา วัฒนธรรมจากหลากหลายเชื้อชาติ ผสมผสานกัน จนทำให้ทุกวันนี้เป็นย่านที่รวบรวมความหลากหลายและคงความรุ่งเรือง ทางเศรษฐกิจ ซึ่งในยุคใกล้เคียงกันนี้ยังมีเมืองท่าที่ผสมผสานความหลากหลายทางวัฒนธรรมใกล้เคียงกับย่านเยาวราช

ทั้งที่อยู่ในและนอกประเทศ อย่างเมืองสงขลา, เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย และย่านเมืองเก่า ประเทศสิงคโปร์ที่ล้วนแต่ยังดำรง ความหลากหลายทางวัฒนธรรมสะท้อนผ่านสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิต ที่มีวิธีการดำรงรักษาด้วยการอนุรักษ์เมืองที่

น่าสนใจ ซึ่งไม่ได้เป็นการอนุรักษ์แบบแช่แข็ง(ห้ามมิให้ทำอะไรเลย)แบบที่เห็นทั่วไปในบ้านเรา แต่เป็นการอนุรักษ์อาคารเก่าโดยที่ สามารถตอบสนองการใช้สอยสมัยใหม่ได้อย่างเต็มที่

“ย่านเก่าวิถีใหม่...ในสงขลา”

หากกล่าวถึงเมืองท่าทีเ่ คยเจริญรุง่ เรืองของสงขลา คงหนีไม่พน้ ย่านเมืองเก่าอย่างถนนนครนอก ถนนนครใน และถนนนางงาม ที่มีความหลากหลายของต้นทุนทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เชื้อชาติ และสถาปัตยกรรม หลากหลายยุคสมัยทั้งไทย จีน และ ตะวันตก ดังเช่นปรากฏให้เห็นจากสถาปัตยกรรมตึกแถวแบบไทย และตึกแถวแบบจีนฮกเกี้ยน ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ (ประมาณ ปี ๒๓๙๗) และสถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกิส อิทธิพลแบบ ตะวันตกผสมจีน ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ (ประมาณปี ๒๓๙๔) ทีต่ งั้ เรียงรายสลับไปสลับมา บ้างก็เกาะกลุม่ เป็นแนว ตลอดทัง้ ย่าน ประกอบกัน ทำให้เมืองแห่งนีด้ มู เี สน่หแ์ ละหากยิง่ ได้เดินสัมผัสกับ วิถีชีวิต ที่อาจไม่ได้เก่าแก่ตามยุคสมัยอาคาร แต่กลับเป็นวิถีชีวิต อาชีพทีม่ อี ยูท่ วั่ ไป เช่น ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านหนังสือ ร้านขาย น้ำแข็งก้อน ร้านขายอุปกรณ์ประมง ร้านล้างรูป ฯลฯ ตอบสนอง วิ ถี ส มั ย ใหม่ แ ละอาชี พ ของคนเมื อ ง โดยที่ อาคารยั ง มี รู ป ร่ า ง หน้าตาเฉกเช่นอดีตหรืออาจมีการปรับปรุงเปลีย่ นแปลงให้สอดรับ กับกิจการเพิ่มสีสันด้วยการทาสีใหม่ แต่อย่างไรก็ยังคงเค้าโครง เดิมของอาคารเก่าแก่ที่มากด้วยประวัติศาสตร์ไว้ได้ดังเดิม การที่ย่านเมืองเก่าสงขลา สามารถดำรงความหลากหลาย ทางสถาปัตยกรรมมาได้ในทุกวันนี้ ล้วนเกิดจากความเข้าใจใน ประวัติศาสตร์และคุณค่าของสิ่งที่ตนเองมี ซึ่งเบื้องหลังความ สำเร็จของการอนุรักษ์เมืองสงขลา เกิดจากการรวมกลุ่มกันของ ชุมชน นักวิชาการในพื้นที่และรัฐท้องถิ่น ภายใต้ชื่อ กลุ่มภาคีคน รักเมืองสงขลา (Songkhla heritage society) ที่มีเป้าหมายร่วม ในการรักษามรดกท้องถิ่นของตนเองร่วมกัน โดยมีวิธีการในการ ปลูกจิตสำนึก ให้ความรู้ กับชุมชน ผ่านการใช้สื่อรูปแบบต่างๆ ทั้งสิ่งพิมพ์ สารคดี เพลง และโซเชี่ยลเนตเวิร์ค รวมถึงการส่งต่อ ความรู้ สู่ รุ่ น ลู กรุ่ น หลาน ปลู ก ฝั ง ให้ เ ยาวชนรั ก ในถิ่ น ฐานและ

22

ย่านจีนถิ่นบางกอก

ประวัตศิ าสตร์ของตนเอง โดยการผลักดันให้เกิดหลักสูตรการศึกษา นอกห้องเรียนในย่านเก่าเมืองสงขลาและที่สำคัญคือการจัดการ ต้ น ทุ น ที่ ต นเองมี โดยไม่ ป ฏิ เ สธการพั ฒ นาและความทั น สมั ย

แต่หยิบนำมาใช้และผสมผสานกับย่านเมืองเก่าสงขลาบนฐาน ของการอนุรักษ์เมืองอย่างลงตัว


“ย่านเก่าวิถีใหม่...ในปีนัง”

ปีนัง (Penang) หลายคนคงรู้จักเมืองนี้ในนาม ไข่มุกแห่ง ตะวันออก เนือ่ งจากปีนงั เป็นเมืองทีม่ คี วามสวยงามเมืองหนึง่ ของ ดินแดนตะวันออก บนเกาะปีนงั มีเมืองจอร์จทาวน์ (Georgetown) เป็นเมืองหลวง เป็นศูนย์กลางความร่ำรวยทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากในอดีตเกาะปีนังเป็นทั้ง เมืองหน้าด่านทีถ่ กู ค้นพบโดย กัปตัน ฟรานซิสไลท์ และเป็นเมืองท่า ที่สำคัญทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการศึกษาโดยเฉพาะที่ จอร์จทาวน์ ที่มีความรุ่มรวยทางต้นทุนทางวัฒนธรรมที่ถูกแต่ง แต้มให้อยู่ในวิถีชีวิตและสถาปัตยกรรมในเมืองที่ผสมผสานความ หลากหลายทั้ง มาเลเซีย จีน ตะวันตก อินเดีย อินโดนีเซีย ฯลฯ ที่ต่างมีความโดดเด่นในตนเอง แต่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่าง กลมกลืนมาอย่างยาวนาน ทำให้จอร์จทาวน์ได้รับการขึ้นทะเบียน จากยู เ นสโก้ (UNESCO) ให้ เ ป็ น มรดกโลกทางวั ฒ นธรรม (World Cultural Heritage Site) เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๐๐๘ ถึงแม้จะเป็นเมืองที่ ได้รับการขึ้นทะเบียนฯ แต่ก็ ไม่ ได้ หมายความว่าจะไม่สามารถทำอะไรกับอาคารเก่าแก่ หรือย่าน ประวัติศาสตร์เหล่านี้ เมืองจอร์จทาวน์ถูกแบ่งออกเป็น ๒ โซน คือคอร์โซน (Core Zone) ประกอบไปด้วย พื้นที่ประวัติศาสตร์ ของเมืองและอาคารประวัติศาสตร์มากกว่า ๑,๗๐๐ อาคาร และ โซนที่ ๒ คือ บัฟเฟอร์โซน (Buffer Zone) ประกอบไปด้วยพื้นที่ ที่มีประวัติศาสตร์แต่อาจมีความเข้มข้นน้อย ซึ่งการแบ่งโซนจะ สัมพันธ์กับการพัฒนาในพื้นที่แต่ละโซนที่สามารถทำได้มากน้อย แตกต่างกัน เช่น ในพืน้ ที่ Core Zone มีการควบคุมความสูงของอาคาร ไม่ให้ขนึ้ สูงเพือ่ รักษาย่านเมืองเก่า แต่ในเขต Buffer Zone ให้ขนึ้ สูงได้ แต่มีข้อจำกัดที่เหมาะสมกับการพัฒนาในย่านเมืองเก่า รวมทั้งมี การปรับปรุงอาคารให้ดมู สี สี นั ทันสมัย และเหมาะสมกับการใช้งาน ทั้งอยู่อาศัย ค้าขาย และรองรับการท่องเที่ยว ทั้งร้านอาหาร ธนาคาร โรงแรม เกสท์เฮ้าส์ หรือแม้แต่ซปุ เปอร์มาร์เก็ต ก็ถกู จัดสรร ให้ใช้พื้นที่ในอาคารเก่าในเมืองได้ โดยที่หน้าตาอาคาร ความสูง และยุคสมัยของอาคาร ยังคงปรากฏให้เห็นเด่นชัด แสดงความเป็น ย่านเก่าอันทรงคุณค่าอยู่ได้ การดำรงอยู่ ในฐานะของเมืองที่ ได้รับการขึ้นทะเบียนฯ ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ ในคุณค่า เพือ่ ดำรงรักษาเมืองแห่งนี้ ให้ทรงคุณค่าสืบต่อไป การให้ความรู้ และการทำความเข้าใจ

ในสิง่ ทีต่ นเองมีอยูจ่ งึ เป็นสิง่ ทีส่ ำคัญทำให้เกิดกลุม่ ทีข่ บั เคลือ่ นเรือ่ ง ต่างๆ ในจอร์จทาวน์ ทั้งด้านศิลปะ ด้านการสื่อสารหรือแม้แต่ ด้านเยาวชน ดังจะเห็นได้จากการจัดทำ ถนนศิลปะ (Art Street) ขึน้ ตามตรอกซอกซอยต่างๆ ในเมือง แต่แฝงไปด้วยเรือ่ งราววิถชี วี ติ

ที่ถ่ายทอดถ่ายชิ้นงานศิลปะ แม้แต่การสื่อสารประวัติศาสตร์ของ ย่าน ถนน หรืออาคาร ที่ถ่ายทอดผ่านตัวการ์ตูนและคำอธิบายที่ เข้าใจง่าย รวมทั้งการปลูกฝังและใช้พลังเยาวชนของกลุ่ม ในการ ขับเคลื่อนและส่งต่อความรู้สู่ชุมชน ผ่านการทำใบปลิว โปสเตอร์ และคู่มือให้ความรู้เกี่ยวกับอาคารในจอร์จทาวน์ ส่งผลให้เยาวชน ได้ความรู้ ชุมชนได้เข้าใจ นำไปใช้งาน ทำให้เกิดการร่วมกัน รักษามรดกของโลกจากทุกฝ่ายและทุกภาคส่วนในเมืองซึ่งเกิด จากการร่วมมือกันของหลายองค์กร ทั้งภาพรัฐและเอกชน อาทิ รัฐบาล กลุม่ GTWHI (George Town World Heritage Incorporated), Penang Heritage Trust (PHT), Think City, ฯลฯ เมืองสงขลา และเมืองจอร์จทาวน์ คงเป็นตัวอย่างที่บอก ได้ว่า วิถีใหม่ก็สามารถอยู่ได้กับอาคารเก่าได้ โดยที่การอนุรักษ์ ไม่ได้ห้ามที่จะทำอะไรกับอาคาร สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ได้ตามวิถกี ารใช้งาน เพียงแต่เราต้องเข้าใจในคุณค่า เพือ่ ผสมผสาน การอยู่ ข องคนกั บ การอยู่ ข องสถาปั ต ยกรรมให้ ส อดคล้ อ งกั น

และสำหรับย่านเก่าวิถีใหม่ในสิงคโปร์จะขอเล่าสูก่ นั ฟังในฉบับหน้า รับรองว่าจะเพิ่มสีสันการอนุรักษ์ให้สนุกและมีทางเลือกมากขึ้น กว่าเดิม

BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

23


เรื่อง : ศรินพร พุ่มมณี l ตรวจสอบข้อมูล : ศุเรนทร์ ฐาปนางกูล l ภาพ : ธีรวัฒน์ อาภาสพิพัฒน์

เลื่อนฤทธิ์

การพัฒนาบนฐานการอนุรักษ์ ชุมชนเลือ่ นฤทธิ์ เป็นทีร่ จู้ กั กันดีในแหล่งค้าส่งผ้าทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในย่านไชน่าทาวน์ ทีม่ คี วาม โดดเด่นในด้านสถาปัตยกรรมอันบอกเล่าถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่ผ่านกาลเวลา มาร่วม ๑๐๕ ปี ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ และยังคงความหลากหลายทางชาติพันธุ์

ที่อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขมาเป็นเวลาช้านานของชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวไทย เชื้อสายอินเดียในชุมชนแห่งนี้

แต่ถงึ อย่างไรก็ตามชุมชนเลือ่ นฤทธิ์ เกื อ บจะกลายเป็ น เพี ย งเรื่ อ งเล่ า ในอดี ต เมื่ อ การพั ฒ นาเมื อ งในยุ ค สมั ย ของ ทุนนิยมกำลังขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกขณะ แต่ด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของ ชาวชุมชนเลื่อนฤทธิ์ ประกอบกับการมี ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ และมุมมองที่เฉียบคม ทำให้ชุมชนแห่งนี้สามารถยืนยัดต่อสู่จน สำเร็จ และตั้งตระหง่านอยู่เคียงข้างถนน เยาวราชมาจนถึงทุกวันนี้ ดังนั้นคอลัมน์คมความคิดฉบับนี้ จึงขอนำพาทุกท่านไปทำความรูจ้ กั และพบกับ มุ ม มองทั ศ นคติ ที่ น่ า สนใจของผู้ มี ส่ ว น สำคัญในการนำพาชุมชนเลือ่ นฤทธิใ์ ห้ประสบ ผลสำเร็จดังที่กล่าวมาในข้างต้น อันได้แก่ ศาสตราจารย์ เ กี ย รติ คุ ณ นพ.ไพโรจน์

อุ่ น สมบั ติ อดี ต ข้ า ราชการประจำคณะ แพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช 24

ย่านจีนถิ่นบางกอก

คุณหมอไพโรจน์ ผู้เป็นที่รักและ เคารพนับถืออย่างมากจากชาวชุมชนเลือ่ นฤทธิ์ และเป็ น บุ ค คลสำคั ญ คนหนึ่ ง ที่ น ำพา ชุมชนเลือ่ นฤทธิก์ า้ วผ่านวิกฤต สูก่ ารก่อตัง้ บริษทั ชุมชนเลือ่ นฤทธิ์ จำกัด เพือ่ อนุรกั ษ์ ฟื้นฟูอาคารประวัติศาสตร์ในชุมชนแห่งนี้ ได้ เ ล่ า ให้ ฟั ง เกี่ ย วกั บ ความเป็ น มาของ ชุ ม ชนเลื่ อ นฤทธิ์ ว่ า “พระบาทสมเด็ จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงเล็งเห็นว่าถ้าปล่อยให้ชาวจีนกระจาย ตั ว กั น อยู่ จะลำบากในการควบคุ ม ดู แ ล

จึงทรงสร้างที่นี่ขึ้นเพื่อให้คนจีนได้เช่าอยู่ อาศัยและทำการค้าขาย ส่วนชือ่ เลือ่ นฤทธิ์ นั้นมาจากชื่อของคุณหญิงเลื่อน ภรรยา หลวงฤทธิ์ ณ นายเวร ซึ่งต่อมาคุณหญิง เลื่อนได้ขายให้กับพระคลังข้างที่ และได้ ปรั บ ปรุ ง เป็ น อาคารพาณิ ช ย์ เ ปิ ด ดำเนิ น การให้ประชาชนเช่า โดยมีผู้เช่าทั้งที่เป็น

คนไทย คนจีน และคนอินเดีย ในพื้นที่ ชุมชนยังมีหลักฐานสำคัญเป็นแผ่นป้าย ประกาศทำด้วยโลหะที่กล่าวถึงเรื่องการ เก็บค่าเช่าติดไว้บริเวณหน้าอาคาร เขียนเป็น ๓ ภาษา ได้แก่ ไทย จีน อังกฤษ ซึง่ ยังคงอยู่ จนถึ งทุ กวั นนี้ ปั จจุ บัน ชุ มชนเลื่อ นฤทธิ์ มีอายุประมาณ ๑๐๐ ปี เนือ้ ทีท่ งั้ หมด ๗ ไร่ มีกลุ่มคนจีน อินเดียและคนไทยเชื้อสาย จีน อยู่ร่วมกัน” เมือ่ ถามถึงความสัมพันธ์และอาชีพ ดัง้ เดิมของผูค้ นในชุมชนเลือ่ นฤทธิ์ คุณหมอ ไพโรจน์จงึ เล่าให้ฟงั ต่อว่า “ผมมาเปิดคลินกิ รั ก ษาผู้ ป่ ว ยในชุ ม ชนเลื่ อ นฤทธิ์ ตั้ ง แต่ ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ซึง่ สมัยนัน้ คนในชุมชนทำอาชีพ ค้ า ขายผ้ า และธุ ร กิ จ ค้ า ส่ ง ผ้ า โดยรั บ มา จากโรงงานย่านพระประแดง ย่านชุมชน เลื่อนฤทธิ์นี้เจริญมาก การค้าคึกคัก มีรถ ขนส่งสินค้าวิง่ กันทัง้ วันทัง้ คืน ความสัมพันธ์ ของคนในชุมชนส่วนใหญ่รู้จักกันในฐานะ ที่อยู่ในละแวกเดียวกัน ต่างคนต่างทำมา หากินโดยส่วนมากแล้วจะใช้เป็นทีอ่ ยูอ่ าศัย ด้วย แต่ในช่วงหลังมานี้มีคนอยู่อาศัยน้อย ลงใช้เป็นที่ทำงานในเวลากลางวัน ส่วน กลางคืนอยู่ข้างนอก เป็นชีวิตทางการค้า ที่ค่อนข้างสงบและราบรื่น” ถึงแม้ทุกชีวิตในชุมชนเลื่อนฤทธิ์ จะอยู่อาศัยกันอย่างสงบสุข แต่ก็มีวิกฤติที่ เป็นจุดเปลี่ยน และเป็นจุดเริ่มต้นของการ ก่อตั้งบริษัท ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ จำกัด ดังที่ คุณหมอไพโรจน์เล่าว่า “เหตุการณ์ที่กลาย เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของชุมชนคือเมื่อ ๑๐ ปีที่ผ่านมา สำนักงานทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย์ ได้ข้อมูลที่ผิดพลาดจาก บริษทั เอกชนรายหนึง่ ทีอ่ า้ งว่าสามารถพูดคุย กั บ ชาวบ้ า นเพื่ อ ทำการพั ฒ นาปรั บ ปรุ ง พื้นที่ สำนักงานทรัพย์สินฯจึงยินยอมให้ เอกชนรายนี้เช่าพื้นที่ทั้งแปลงเพื่อทำการ พัฒนา แต่ชาวบ้านไม่เคยได้รับการแจ้งให้ ทราบมาก่อน และเมื่อเซ็นสัญญากันแล้ว


แผ่นป้ายประกาศทำด้วยโลหะที่กล่าวถึงเรื่องการ เก็บค่าเช่าติดไว้บริเวณหน้าอาคาร

จึงมีจดหมายแจ้งให้ชาวบ้านเตรียมย้าย ออกภายในเวลา ๑ เดือน ทำให้ผู้อยู่อาศัย เกิดความแตกตื่น ชาวบ้านมีการจับกลุ่ม พุดคุยกันและนำมาซึ่งการรวมตัวกันใน

รูปแบบของคณะกรรมการชุมชนจำนวน ๑๐ คน และผมเป็นประธานในการหาทางออก โดยใช้แนวทางการเจรจาเป็นหลัก” จากเหตุ ก ารณ์ ดั ง กล่ า วส่ ง ผลให้ ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนดีขนึ้ กว่าเดิม เนือ่ งจากมีการพบปะพูดคุยในเรือ่ งทีเ่ กีย่ วกับ ชุ ม ชนมากขึ้ น โดยคุ ณ หมอไพโรจน์ ยั ง กล่ า วถึ ง ยุ ท ธวิ ธี ก ารต่ อ สู่ ข องชุ ม ชนว่ า “แนวทางสำคัญของการเจรจาคือการยื่น ข้อเสนอให้มีการอนุรักษ์ชุมชนเลื่อนฤทธิ์

ในฐานะที่เป็นชุมชนที่มีสถาปัตยกรรมของ อาคารที่สวยงาม มีอายุมากกว่า ๙๐ ปี ในขณะนั้ น และมี ห ลั ก ฐานชั ด เจนว่ า รัชกาลที่ ๕ เป็นผู้สร้าง เพราะการเสนอ ให้เป็นชุมชนอนุรักษ์จะทำให้ ไม่สามารถ สร้างอย่างอื่นได้” การต่ อ สู้ กั น ในเชิ ง การใช้ แ นวคิ ด การอนุรกั ษ์ทำให้ชมุ ชนจำเป็นต้องรวมตัวกัน อย่างเข้มข้นเพือ่ ประชุมหาทางแก้ไขปัญหา “การยื่ น เรื่ อ งกั บ กรมศิ ล ปากร มี การส่ ง

ตัวแทนเข้าร่วมให้ข้อมูลกับหน่วยงานที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ การพิ จ ารณาแบบการ ก่อสร้างของบริษัทเอกชนที่เสนอเช่าที่ดิน ผื น นี้ ในที่ สุ ด กรมศิ ล ปากรยั ง ไม่ อ นุ มั ติ แบบก่ อ สร้ า งของบริ ษั ท เอกชนรายนั้ น และในที่ สุ ด บริ ษั ท เอกชนก็ ต้ อ งล้ ม เลิ ก โครงการไป ต่อมาสำนักงานทรัพย์สินฯ เห็นความตั้งใจจริงของชาวบ้าน ในการจะ ร่วมแรงร่วมใจกันอนุรกั ษ์และบูรณะปรับปรุง พื้นที่ให้มีคุณภาพชีวิตและสภาพการค้าที่ ดีขนึ้ จึงอนุญาตให้ชมุ ชนจัดตัง้ บริษทั ชือ่ ว่า บริ ษั ท ชุ ม ชนเลื่ อ นฤทธิ์ เพื่ อ ทำสั ญ ญา ระยะยาวกับสำนักงานฯ โดยที่ชาวบ้าน

จะต้องเป็นผู้ระดมทุนจากสมาชิกชุมชน เพือ่ ทำการอนุรกั ษ์และปรับปรุงพืน้ ทีใ่ ห้ถกู ต้อง ตามหลักวิชาการ ให้เป็นไปตามแนวทาง ของความเป็นอาคารโบราณสถาน และให้ ถูกต้องตามที่กฏหมายกำหนด”

คุ ณ หมอไพโรจน์ ยั ง ได้ ก ล่ า วถึ ง ความสำคัญของการอนุรกั ษ์ชมุ ชนเลือ่ นฤทธิ์ ว่า “ชุมชนนี้เป็นชุมชนตัวอย่างที่มีความ เป็นระเบียบ รัชกาลที่ ๕ ท่านทรงตัดถนน ไว้เป็นซอยๆ ชุมชนก็อยู่ร่วมกันอย่างสงบ สุขระหว่าง คนจีน อินเดียและคนไทยเชื้อ สายจีน เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นรากฐาน สำคัญของการสร้างเมืองกรุงเทพฯ” เมื่อถามถึงทิศทางการพัฒนาของ ชุ ม ชนเลื่ อ นฤทธิ์ ใ นอนาคต คุ ณ หมอ ไพโรจน์ได้แสดงทัศนคติไว้ดงั นี้ “การพัฒนา ไม่จำเป็นต้องเป็นศูนย์การค้า ควรมีของ โบราณไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ ชุมชนนี้ เป็นประวัติศาสตร์ที่ต้องจารึกไว้ มีคำสั่ง รัชกาลที่ ๕ ที่เป็นหลักฐานแสดงไว้ด้วย เป็ น ประวั ติ ศ าสตร์ ที่ ดี ม ากนั บ แต่ ส มั ย

สมบู ร ณาญาสิ ท ธิ ร าชที่ แ สดงให้ เ ห็ นว่ า

พระเจ้าแผ่นดินรักประชาชน” นอกจากนี้คุณหมอยังได้กล่าวถึง ความสำคั ญ ของการอนุ รั ก ษ์ ย่ า นเก่ า ว่ า

“เพื่อเป็นการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รู้ความ เป็ น มาของแต่ ล ะชุ ม ชน เป็ น ที่ ค้ า ขาย เป็ น ที่ ร วมน้ ำ ใจของคนต่ า งเชื้ อ ชาติ ศาสนา ทีม่ าอยูร่ ว่ มกัน ให้เด็กรุน่ หลังได้เห็น ไม่อย่างนั้นเด็กรุ่นหลังก็จะเห็นแต่ Siam Paragon / Central World” สุดท้ายคุณหมอไพโรจน์ยังได้แสดง ความคิดเห็นที่น่าสนใจว่า “ผมเห็นด้วยว่า บ้านเมืองต้องพัฒนา แต่อาคารเก่าแก่ที่ ยังสวยงาม ควรรักษาเอาไว้ มันเป็นเรื่อง ของจิตใจ ความผูกพัน ทำให้เห็นพัฒนาการ ของยุคสมัยตั้งแต่สุโขทัย อยุธยา จนถึง กรุงเทพฯ ซึ่งกรุงเทพฯไม่ได้เริ่มสร้างมา จากการเป็นตึก ๑๐ ชั้น บ้านอย่างนี้หา

ไม่ได้แล้ว กรุงเทพฯควรมีความหลากหลาย ต่างประเทศเขาก็มที งั้ ของใหม่และของเก่า ควรเก็ บ รั ก ษาไว้ เ ป็ น ประวั ติ ศ าสตร์ ข อง ชาติไทย”

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ไพโรจน์ อุ่นสมบัติ อดีตข้าราชการประจำคณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช ปัจจุบันอายุ ๗๙ ปี BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

25


สำรวจข้อมูล : อัษฎา อยู่ปราโมทย์, เมธี ต่ายอ้น, กีรติ พันธา, คุณาธิป อดิศรธนาวุฒิ, นิธิพัฒน์ สอนศรีธงชัย เหลืองศิริฉาย, สุปาณี จันทร์ต๊ะเขต, ธัญญาลักษณ์ คำเปล่ง ออกแบบกราฟฟิค : ตวงพร ปิตินานนท์

26

ย่านจีนถิ่นบางกอก


BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

27


28

ย่านจีนถิ่นบางกอก


BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

29


เรื่อง : จุฑารัตน์ นฤพันธาวาทย์

คอลัมน์บอกเล่าเก้าสิบฉบับนี้นอกจากจะมีข่าว กิจกรรมต่างๆ มาประชาสัมพันธ์ให้คุณผู้อ่าน ได้รับทราบกันแล้ว เรายังมีความภูมิใจที่จะขอ

นำเสนอผลงานของน้ อ งๆ โรงเรี ย นสตรี

วั ด มหาพฤฒาราม ในพระบรมราชิ นู ป ถั ม ภ์

ทีถ่ า่ ยทอดภาพความประทับใจในย่านตลาดน้อย ผ่านฝีไม้ลายมือ มาให้พวกเราได้ชื่นชมกัน... ลายเส้นสวยไม่เบาเลยใช่ไหมล่ะคะ?

ภาพโดย : สุปาณี จันทร์ต๊ะเขต ภาพโดย : ตุลยา สวนสันต์ (โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม (โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์) ในพระบรมราชินูปถัมภ์)

[กิจกรรมย่านจีน] กิจกรรมแชร์ภาพถ่ายโดนใจ...ย่านตลาดน้อย

ขอเชิ ญ ชวนผู้ อ่ า นทุ กท่านร่วมกิจกรรมแชร์ภาพถ่ายประทั บ ใจในย่ า นตลาดน้ อ ย พร้อมชื่อภาพและคำบรรยาย ส่งมาที่ www.facebook.com/bangkokchinatown

และทาง Instagram โดยพิมพ์ Hashtag มาที่ #yaanjean โดยทางทีมงานจะตัดสิน และคัดเลือกภาพโดนใจมาลงตีพิมพ์ ในวารสารเล่มถัดไป และไม่แน่ว่าอาจมีของ รางวัลพิเศษสำหรับผู้ โชคดีที่ ได้รับการคัดเลือก โดยสามารถติดตามข่าวสารและ

รายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ทางเฟสบุ๊ค

งานสถาปนิก’๕๖ ขอเชิญเยีย่ มชมบูธโครงการย่านจีนถิน่ บางกอก ในส่วนจัดแสดง “เมืองสุขภาวะ” โซน D และส่วนงานอนุรกั ษ์ ในพืน้ ทีบ่ ธู อาษา (ASA) อาคารชาเลนเจอร์ฮอลล์ เมืองทองธานี ในงานสถาปนิก’๕๖ ระหว่างวันที่ ๓๐ มีนาคม ถึง ๕ เมษายน ๒๕๕๖

บูรณะศาลเจ้าโรงเกือก ขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันบริจาค เพื่อสมทบทุนสนับสนุนการ บูรณะศาลเจ้าฮ้อนหว่องกุง (ศาลเจ้าโรงเกือก) ที่ปัจจุบันอยู่ในสภาพ ทรุดโทรม ขาดการบูรณะ ให้กลับมามีสภาพที่สวยงามดั่งเดิม

สนใจติดต่อ คุณบุญชู ภมรวรานนท์ (ไท) ผู้ดูแลศาลเจ้า โทร ๐๒-๒๓๓-๘๙๒๙

30

ย่านจีนถิ่นบางกอก


เรื่อง : จุฑารัตน์ นฤพันธาวาทย์

กลับมาพบกันเป็นครัง้ ที่ ๓ แล้ว และเช่นเคยทีเ่ ราจะไม่พลาดการนำเสนอสาระบันเทิงดีๆ สอดแทรกวัฒนธรรมจีนผ่านภาพยนตร์ ซึง่ ในฉบันนีจ้ ะขอแนะนำภาพยนตร์ทหี่ ลายๆ คนคงรูจ้ กั และเคยผ่านหูผา่ นตากันมาบ้างแล้ว แต่สำหรับอีกหลายคนทีย่ งั ไม่เคยชม ขอแนะนำว่าไม่ควรพลาดเป็นอันขาด เพราะนอกจากคุณจะได้รบั สาระความบันเทิงแล้ว ยังได้ขอ้ คิดดีๆ ทีส่ ามารถนำมาปรับใช้ในการ ดำเนินชีวติ ได้อย่างมีสติอกี ด้วย Aftershock ภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นจากเค้าโครงเรื่องจริงในเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ของประวัติศาสตร์จีน เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๗๖ ที่เมืองถังซาน มลฑลเหอเป่ย ซึ่งได้คร่าชีวิตชาวจีนไปถึง ๒๔๒,๗๖๙ คน และบาดเจ็บกว่า ๑๖๔,๐๐๐ คน ว่ากันว่า เป็นภัยพิบัติที่ร้ายแรงที่สุดในรอบ ๕ ศตวรรษ โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านครอบครัวๆ หนึ่ง ที่ต้อง ดำเนินชีวติ ต่อไปข้างหน้าหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว สะท้อนให้เห็นถึงวิถชี วี ติ คติความเชือ่ และค่านิยมของชาวจีน ในสมัยนั้น ซึ่งค่อยๆ เปลี่ยนแปลงและเติบโตไปพร้อมกับตัวละครหลักของเรื่อง แต่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเพียงใด ความรัก ความผูกพันธ์และความทรงจำที่เคยมีร่วมกันมา ยังชัดเจนอยู่ในจิตใจและไม่มีวันเปลี่ยนแปลง นำแสดงโดย สวี่ฟาน (Xu Fan), จางกั๋วเฉียง (Zhang Guoqiang), จางจิ้นชู (Zhang Jinchu), หลี่เฉิน (Li Chen), หวางจือเหวิน (Wan Ziwen), เฉิน เต้าหมิง (Chen Daoming), เฉิน จิง (Chen Jing), จาง จือเฟิง (Zhang Zifeng), จาง เจียจวิน (Zhang Jiajun) The Joy Luck Club ภาพยนตร์ทสี่ ร้างขึน้ จากนวนิยายทีเ่ รียกเสียงฮือฮาอย่างมาในแวดวงวรรณกรรมของอเมริกา ซึง่ เขียนโดย เอมี่ ทาน (Amy Tan) นักเขียนหญิงชาวอเมริกนั เชือ้ สายจีน ทีห่ ยิบยกเรือ่ งรางบางส่วนของประวัตศิ าสตร์สงั คมจีนหลังยุคสงครามโลกครัง้ ที่ ๒

ซึง่ สะท้อนถึงชีวติ ทัศนคติความเชือ่ ของชาวจีนโพ้นทะเลทีย่ า้ ยมาตัง้ ถิน่ ฐานในอเมริกา ทัง้ ยังบรรยายถึงความคิดของ

คนอเมริกนั เชือ้ สายจีนยุคใหม่ ทีเ่ ป็นการตัง้ คำถามและกระตุน้ จิตสำนึกของชาวจีนโพ้นทะเลไม่วา่ ในประเทศใดให้ฉกุ คิดได้ไม่

ต่างกัน โดยเรือ่ งราวดังกล่าวถูกถ่ายทอดผ่านชีวติ ชาวจีน ๔ ครอบครัว สองวัฒนธรรม สองยุคสมัย โดยมีสายใยแห่งความ สัมพันธ์ของแม่และลูกเป็นตัวเชือ่ มประสานคนกลุม่ นีเ้ ข้าไว้ดว้ ยกัน ซึง่ ภาพยนตร์เรือ่ งนีไ้ ด้ผกู้ ำกับมือดีอย่าง เวย์น หวาง (Wayne Wang) มาช่วยถ่ายทอดเรือ่ งราวดังกล่าวให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามต้นฉบับดัง่ เดิม และยังดึงความโดดเด่นของตัวละคร หลักซึง่ เป็นคนเอเชียได้อย่างสมจริง จนทำให้ภาพยนตร์เรือ่ งนีป้ ระสพความสำเร็จอย่างดีทงั้ รายได้และคำวิจารณ์ กลายเป็น

ก้าวหนึง่ แห่งความสำเร็จและการประกาศศักดิศ์ รีของผูส้ ร้างภาพยนตร์ชาวเอเชียอีกด้วย Lost In Beijing ภาพยนตร์เรือ่ ง Lost In Beijing ถูกนำมาฉายครัง้ แรกในงาน เทศกาลภาพยนตร์ Bangkok Film Festival ๒๐๐๗ โดยสามารถ คว้ารางวัล Special Jury Prize มาครอบครอง โดยภาพยนตร์เรือ่ ง นีพ้ ยายามสะท้อนภาพของสังคมจีนทีเ่ ปลีย่ นแปลงค่านิยมไป อย่างรวดเร็ว ผ่าน “ผิงกัว่ ” ตัวละครหลักซึง่ เป็นนางเอกของเรือ่ ง โดยเธอและสามีได้ละทิง้ บ้านเกิดในชนบทเพือ่ เข้ามาขายแรงงาน ในมหานครปักกิง่ เมืองทีห่ ลายๆ คนวาดฝันว่าจะนำพาพวกเขาไปพบกับความสุข ความร่ำรวยมัง่ คัง่ โดยผิงกัว่ เข้าทำงานเป็นพนักงานนวดของร้านนวดเท้าแห่งหนึง่ ส่วนสามีทำงานเป็นช่างเช็ดกระจกตามตึกสูงโดยจุดหักเหของเรือ่ งเกิดขึน้ เมือ่ ผิงกัว่ ถูกเจ้านายข่มขืน โดยทีส่ ามีบงั เอิญเห็นเหตุการณ์เข้าพอดี และเกิดการต่อรองต่างๆ นาๆ ขึน้ บทสนทนาและการถ่ายทอดเรือ่ งราวอย่างเสียดสี ประชดประชัน บรรยายให้ เห็นถึงทัศนคติของคนจีนในยุคทุนนิยมได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามภาพยนตร์เรือ่ งนี้ มีฉากการร่วมรักทีไ่ ม่ได้รบั อนุญาตให้เผยแพร่ ทำให้ ฟัง ลี่ (Fang Li) โปรดิวเซอร์ และเจ้าของบริษทั Laurel Films ผูผ้ ลิตภาพยนตร์เรือ่ งนีถ้ กู ทางการจีนแบน ห้ามยุง่ เกีย่ วกับวงการภาพยนตร์เป็นเวลา ๒ ปี ดังนัน้ การรับชมภาพยนตร์เรือ่ งนี้ ผูป้ กครอง ควรให้คำแนะนำแก่เด็กทีม่ อี ายุตำ่ กว่า ๑๕ ปี

โลกนี้เป็นของพวกคุณ และเป็น ของพวกเราด้วย แต่พินิจพิเคราะห์ จนถึ ง แก่ น แท้ แ ล้ ว เป็ น ของพวกคุ ณ แน่ น อน พวกคุ ณคนหนุ่ ม สาวเปี่ ย มด้ ว ย ชี วิ ต ชี ว า อยู่ ใ นช่ ว งที่ รุ่ ง โรจน์

ดุจดวงตะวันในยามเช้า ๘-๙ นาฬิกา

ความหวังทั้งหลาย ขอฝากไว้ที่พวกคุณ

เหมาเจ๋อตง

BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

31


ขอขอบคุณ ในการจัดทำวารสาร ย่านจีนถิน่ บางกอก ตอน “ริมน้ำย่านจีน” สำเร็จไปด้วยดี โดยได้รบั ความร่วมมือจากผูม้ อี ปุ การคุณดังรายนามต่อไปนี้ สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์, สมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย, สมาคมฮกเกีย้ นแห่งประเทศไทย, วิทยาลัยเทคนิคดุสติ , ศาลเจ้าฮ้อนหว่องกุง (ศาลเจ้าโรงเกือก), ศาลเจ้าโจวซือกง, ชมรมร้านอาหาร เพือ่ สิง่ แวดล้อม เขตสัมพันธวงศ์, โรงเรียนกุหลาบวิทยา, โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย, โรงเรียนสตรีวดั มหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินปู ถัมภ์, ชุมชนตลาดน้อย, ชุมชน วานิชสัมพันธ์, ชุมชนผูค้ า้ อะไหล่เก่า, ชุมชนโชฎึก, ชุมชนจงสวัสดิ,์ ชุมชนโปสิศสภา, ชุมชนเลือ่ นฤทธิ,์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ สถาบันอาศรมศิลป์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.