วารสารย่านจีนถิ่นบางกอก ปีที่ 2 ฉบับที่ 6

Page 1

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๖ | เมษายน – มิถุนายน ๒๕๕๗

U R B A N F OR E S T

กิจกรรมการสำรวจต้นไม้ จุดเริ่มต้นของการ ปลูกจิตสำนึกชุมชน

คมความคิด สวนสาธารณะชุมชน “ประตูสู่ตลาดน้อย”

มะละกา เมืองแห่งพหุวัฒนธรรม

ศิลปะบนกำแพง สร้างสรรค์ได้ ในย่านเก่า


สวนสาธารณะชุมชน “ประตูสู่ตลาดน้อย”

กิจกรรมการสำรวจต้นไม้ จุดเริ่มต้นในการดูแลและ สร้างพื้นที่สีเขียวของชุมชน

โรงงานซีอิ๊ว เก็กเอี๊ยว การเปลี่ยนผ่านจากอดีต สู่ปัจจุบัน

เรื่องจากปก ป่าไม้ในเมือง

๘ ๑๐

๑๐

๒๔

บ้านมากกว่าแค่อยู่อาศัย แต่คือลมหายใจของชีวิตและ เรื่องราวของพื้นที่

๒๒

มะละกา เมืองแห่งพหุวัฒนธรรม

๒๔

ข่าวประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมในย่านจีน

๓๐

๒๘

สารพันสาระบันเทิง เกี่ยวกับวัฒนธรรมจีน

๓๑

๒๒

คมความคิด ศิลปะบนกำแพง สร้างสรรค์ได้ ในย่านเก่า

ทำความรู้จักกับโครงการย่านจีนถิ่นบางกอก

โครงการย่านจีนถิ่นบางกอก (Bangkok Chinatown World Heritage) เกิดขึ้นจาก ความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ สถาบันอาศรมศิลป์ เพื่อดำเนินงาน “โครงการสร้างเสริมสุขภาวะ (พื้นที่สร้างสรรค์) ในย่านไชน่าทาวน์กรุงเทพฯ ด้วยแนวคิดที่มุ่งไปสู่การดำรงความเป็นย่านไชน่าทาวน์ ทีเ่ ป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึง่ มีคณุ ค่าทางประวัตศิ าสตร์ สถาปัตยกรรม และวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์ ตลอดจนฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในคุณค่าของย่านไชน่าทาวน์ ที่สัมพันธ์อยู่กับท้องถิ่น เมือง และประเทศ อันจะนำไปสู่การสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง และสอดคล้องกับการพัฒนาพื้นที่ย่านไชน่าทาวน์อย่างยั่งยืน

สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ปรึกษา ชูวิทย์ สุจฉายา, ศรินพร พุ่มมณี บรรณาธิการ จุฑารัตน์ นฤพันธาวาทย์ นักเขียน จุฤทธิ์ กังวานภูมิ, อังคณา พุ่มพวง, จุฑารัตน์ นฤพันธาวาทย์, ปรัชญา ลือชาจรัสสิน, ธีรวัฒน์ อาภาสพิพัฒน์ นักเขียนรับเชิญ ศักรพัฒน์ อนุรักษ์ภราดร ช่างภาพ ธีรวัฒน์ อาภาสพิพัฒน์ ออกแบบรูปเล่ม โสภณ สุกแสงแก้ว ภาพปก ริมคลองผดุงกรุงเกษม จัดทำโดย โครงการย่านจีนถิ่นบางกอก สถาบันอาศรมศิลป์ ๓๙๙ ซอยอนามัยงามเจริญ ๒๕ แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ๑๐๑๕๐


สวัสดีค่ะท่านผู้อ่าน “วารสารย่านจีนถิ่นบางกอก” ทุกท่าน กลับมาพบกันเป็น ครั้งที่ ๖ แล้วนะคะ ซึ่งเราก็ยังคงมีเนื้อหาสาระดีๆ มาร่วมแบ่งปันให้แด่ท่านผู้อ่านได้ ร่วมเรียนรู้และแสดงความคิดเห็นไปพร้อมๆ กัน ซึ่งทางทีมงานทุกคนหวังว่าวารสาร ที่ทางเราได้จัดทำขึ้นในทุกๆ ฉบับ จะเป็นสื่อกลางระหว่างโครงการฯ กับคนในพื้นที่และ ผู้ที่สนใจในย่านไชน่าทาวน์แห่งนี้ ทั้งยังจะช่วยกระตุ้นให้เกิดมุมมอง ความคิดสร้างสรรค์ ในการพัฒนาย่านจีน และย่านเมืองเก่าอื่นๆ ให้มีความสมดุลระหว่างวิถีชีวิต วัฒนธรรม ดัง้ เดิม กับรูปแบบสังคม เศรษฐกิจสมัยใหม่ทกี่ ำลังรุดหน้ามากยิง่ ขึน้ เพือ่ ทีเ่ ราจะรูเ้ ท่าทัน และสามารถยืนหยัดลุกขึ้นมาร่วมกันกำหนดบทบาทและทิศทางการพัฒนาย่าน ซึ่งเป็น ถิ่นที่อยู่อาศัย เป็นแหล่งทำมาหากินตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยไม่ถูกกระแสของเงินทุนถาโถมจนหลงไปคนละทิศคนละทาง สำหรับเนื้อหาในวารสารฉบับที่ ๖ นี้ จะขอนำเสนอประเด็นเรื่องพื้นที่สีเขียวและ ป่าไม้ในเมือง ซึง่ ในทุกวันนีจ้ ะดูเป็นเรือ่ งที่ไกลตัวคนเมืองออกไปทุกที ทัง้ ทีค่ วามเป็นจริง เรายังคงโหยหาความรื่นรมย์จากพื้นที่สีเขียว จากต้นไม้ใหญ่เหล่านี้อยู่...แต่ด้วยเพราะ เหตุใด? และเราในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมเมือง เราจะวางบทบาทกับเรื่องนี้ได้ อย่างไรบ้าง? อาจเป็นคำถามที่ใครหลายๆ คนพยายามค้นหาคำตอบ ซึ่งเราจะพาท่าน ไปพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเรื่องการป่าไม้ในเมืองทั้งสองท่าน ท่านแรกคือ ดร. ฉัตรชัย

เงินแสงสรวย หัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และท่านที่สองคือ อาจารย์ธราดล ทันด่วน หรือที่รู้จักกันดีในนาม “ครูต้อ” ผู้ชำนาญการ ด้านการดูแลต้นไม้ใหญ่ในเขตเมือง ที่มีประสบการณ์มามากกว่า ๑๘ ปี เพื่อรับฟัง

ความคิดเห็นจากมุมมองที่หลากหลายทั้งภาควิชาการ และภาคปฎิบัติจากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งสองท่าน ซึ่งอาจจะทำให้ท่านผู้อ่านได้ค้นพบกับคำตอบอะไรบางอย่างให้กับตนเอง ก็เป็นได้ นอกจากเรื่องของพื้นที่สีเขียวและป่าไม้ในเมืองแล้ว เรายังมีบทสัมภาษณ์พิเศษ ถึงมุมมองและแนวความคิดของคนตัวเล็กๆ ที่ลุกขึ้นมาปรับปรุงฟื้นฟูบ้านเก่าของต้นเอง “บ้าน” ที่เป็นมากกว่าที่อยู่อาศัย แต่คือลมหายใจของชีวิตและเป็นตัวบันทึกเรื่องราว ประวัติศาสตร์ของพื้นที่นั้นๆ อีกด้วย ซึ่งท่านสามารถตามอ่านได้ที่คอลัมน์เยาวราช เมืองน่าอยู่ รวมไปถึงบทความดีๆ อีกมากมายที่จะทำให้ท่านผู้อ่านได้มองเรื่องราวย้อน กลับไปในอดีตจนถึงปัจจุบัน ในขณะเดียวกันก็ชวนให้ท่านได้คิดต่อไปถึงอนาคต อนาคต ที่เราทุกคนสามารถสร้างได้ เพียงแค่เริ่มต้นลงมือทำในวันนี้ และเช่นเคยหากท่านผู้อ่านท่านใดมีข้อเสนอแนะ หรืออยากแลกเปลี่ยนความคิด เห็ น กั บ เรา สามารถติ ด ต่ อ มาได้ ที่ Email: livelybkk@gmail.com และทาง www.facebook.com/bangkokchinatown รวมถึงช่องทางการส่งจดหมาย โดยส่งมาที่ ๓๙๙ ซอยอนามัยงามเจริญ ๒๕ แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ๑๐๑๕๐ ทุกความคิดเห็น ทุกคำติชม ทุกข้อเสนอแนะ ล้วนมีประโยชน์และเป็นแรงผลักดัน ให้เราได้ปรับปรุง พัฒนาวารสารย่านจีนถิ่นบางกอกให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป จุฑารัตน์ นฤพันธาวาทย์ บรรณาธิการ


เรื่อง : อังคณา พุ่มพวง l ภาพ : ธีรวัฒน์ อาภาสพิพัฒน์

สวนสาธารณะชุมชน “ประตูสู่ตลาดน้อย”

หลายคนที่คุ้นเคยกับย่านตลาดน้อย คงจะพอจำเหตุการณ์ไฟไหม้ชุมชนโปลิศสภา ชุมชนเก่าแก่ที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ริมคลอง ผดุ ง กรุ ง เกษมเมื่ อ ช่ ว งต้ น ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ หลั ง จากเหตุ ก ารณ์ ดั ง กล่ า ว ทางสำนั ก งานเขตสั ม พั นธวงศ์ ไ ด้ ท ำการ

รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเพลิงไหม้ออกจากพื้นที่ ทำให้เกิดพื้นที่โล่งเนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่ ในบริเวณหัวมุมถนนข้าวหลาม ถนนมหาพฤฒาราม ทำให้ชุมชนที่อยู่ในบริเวณนี้จำนวน ๓ ชุมชน คือ ชุมชนโชฎึก ชุมชนโปลิศสภา และชุมชนจงสวัสดิ์

เริ่มมองเห็นความสำคัญของพื้นที่ และต้องการให้พัฒนาพื้นที่เป็นสวนสาธารณะเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ในขณะเดียวกัน

ทางสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินแปลงนี้ ก็ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของพื้นที่ ซึ่งตั้งอยู่ในทำเลที่มีผู้คนสัญจร ผ่านเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่สามารถเชื่อมต่อกับท่าเรือด่วน และท่าเรือข้ามฝาก ประกอบกับ มีชุมชนในละแวกใกล้เคียง ทางสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์จึงมีแผนการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นพื้นที่สีเขียวเพื่อการ นันทนาการสำหรับชุมชน ผู้คนในบริเวณใกล้เคียง และผู้ที่สัญจรผ่านไปมาในบริเวณนั้น จุ ด เริ่ ม ต้ น จากแนวความคิ ด ที่ ต้องการพัฒนาพืน้ ทีเ่ พือ่ ประโยชน์สว่ นรวม ทำให้คุณชัชกูล รัตนวิบูลย์ ผู้อำนวยการ เขตสั ม พั น ธวงศ์ ใ นขณะนั้ น ได้ น ำเรื่ อ ง

ดั ง กล่ า วหารื อ กั บ ทางโครงการย่ า นจี น

ถิ่ น บางกอก ในฐานะที่ เ ป็ น กลุ่ ม ทำงาน เรื่องการฟื้ น ฟู ใ นย่ า นตลาดน้อย ดังนั้น

โครงการฯ จึ ง ได้ เ ข้ า มามี บ ทบาทเป็ น ตั ว กลางในการประสานงานและสร้ า ง กระบวนการออกแบบพืน้ ทีอ่ ย่างมีสว่ นร่วม กั บ เจ้ า หน้ า ที่ เ ขตฯ และชาวชุ ม ชนใน ละแวกใกล้เคียงทั้ง ๓ ชุมชน ผ่านการจัด ประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังความคิดเห็น อันจะนำไปสูข่ อ้ สรุปและรูปแบบทีเ่ หมาะสม 4

ย่านจีนถิ่นบางกอก

ของพื้ น ที่ ซึ่ ง สามารถแบ่ ง ออกเป็ น

๒ ประเด็นหลัก คือ ๑. เป็ น พื้ น ที่ ท างสั ง คมสำหรั บ พบปะและทำกิ จ กรรมร่ ว มกั น เช่ น กิจกรรมวันสำคัญต่างๆ อย่าง วันพ่อ วัน แม่และวันเด็ก รวมถึงเป็นพื้นที่ส่งเสริม การเรียนรู้ระหว่างคนในและนอกชุมชน ๒. เป็นพืน้ ทีส่ เี ขียวและนันทนาการ สำหรับการพักผ่อนออกกำลังกาย เพือ่ ส่งเสริม คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทัง้ นีจ้ ะเห็นได้วา่ ประเด็นทีช่ าวชุมชน เสนอนัน้ เป็นปัญหาร่วมของคนเมืองส่วนใหญ่ ทีย่ งั คงขาดแคลนพืน้ ทีส่ เี ขียว พืน้ ทีร่ องรับ กิจกรรมของผู้คนเพื่อสร้างสรรค์คุณภาพ

ชีวิตที่ดี โดยโครงการย่านจีนถิ่นบางกอก ได้ทำการรวบรวมข้อมูลทั้งหมด รวมถึง แนวความคิดในการออกแบบ จัดทำเป็นโครงการ ออกแบบปรับปรุงพืน้ ทีส่ าธารณะ ริมคลอง ผดุงกรุงเกษม ย่านตลาดน้อย ยื่นเสนอ ไปยังฝ่ายโยธา สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ทีผ่ า่ นมา ในขณะทีโ่ ครงการ ออกแบบปรับปรุง พื้นที่สาธารณะ ริ ม คลองผดุ ง กรุ ง เกษม ย่านตลาดน้อย อยู่ระหว่างดำเนินการและ รอการปรั บ ปรุ ง ครั้ ง ใหญ่ นั้ น กลุ่ ม คน ทำงานสร้างสรรค์ที่มองเห็นประโยชน์ของ การเกิดพื้นที่สีเขียวอย่าง Big Trees และ บริษทั โอเพ่นบ๊อกซ์ จำกัด ได้ให้ความสนใจ


เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันพื้นที่

ดังกล่าว ให้เกิดเป็นรูปธรรม สามารถใช้งาน ได้จริง ซึง่ คุณอรยา สูตะบุตร หนึง่ ในสมาชิก ผู้จัดตั้งกลุ่ม Big Trees สะท้อนให้เห็นถึง ความเป็นไปได้ในการสร้างพื้นที่ว่า “สิ่งที่ Big Trees จะมาเติมได้อีกกับพื้นที่นี้ก็คือ การปลูกต้นไม้ ไม่มีใครคิดว่าการมีต้นไม้ ไม่ดีและเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ร่วมได้ เราจะใช้ วิธกี ารขอความร่วมมือ ขอกล้าไม้หรือไม้ใหญ่ จากหน่ ว ยงานหรื อ CSR (Cooperate Social Responsibility) ของที่ ต่ า งๆ เป็นการคืนประโยชน์ให้สังคม” นี่ถือเป็น เพียงหนึ่งบทบาทของการผลักดันให้พื้นที่ เกิดได้จริง เช่นเดียวกันกับที่คุณวรรณพร สุวรรณไตรย์ สถาปนิกและเจ้าของบริษัท โอเพ่นบ๊อกซ์ จำกัด ซึง่ ได้เล็งเห็นถึงโอกาส และศั ก ยภาพในการปรั บ ปรุ ง พื้ น ที่ นี้ ว่ า “พื้นที่บริเวณนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่พื้นที่ของ ชุมชนเพียงอย่างเดียว แต่เปรียบเสมือน พื้นที่หน้าบ้านของย่านตลาดน้อย” ทั้งนี้ ทางบริษัท โอเพ่นบ๊อกซ์ จำกัด ยังได้รับ อาสาเป็ น ผู้ พั ฒ นาแบบพื้ น ที่ ไ ฟไหม้

ให้ ก ลายเป็ น สวนสวยหน้าประตูบ้านย่าน ตลาดน้อยอีกด้วย และจากแนวคิดที่ว่านี้ ทำให้ ช าวชุ ม ชนเกิ ด การปรั บ เปลี่ ย น ทัศนคติใหม่ จากเดิมที่คิดแค่เพียงการใช้ ประโยชน์ ร่ ว มกั น ของชุ ม ชนและคนใน ละแวกใกล้เคียงเท่านัน้ แต่กลับเริม่ มองเห็น

หุน่ จำลองการพัฒนาแบบพืน้ ที่ ครัง้ ที่ ๑ เพือ่ นำเสนอ ต่อชาวชุมชน

ความสำคัญของพื้นที่ในบทบาทระดับย่าน มากขึ้ น ซึ่ ง กระตุ้ น ให้ เ กิ ด ความร่ ว มมื อ ของคนในชุ ม ชนที่ มี ค วามพยายามจะ ปรับปรุงให้พนื้ ทีแ่ ห่งนี้ และบริเวณโดยรอบ ที่ ยั ง คงมี ต้ น ไม้ ใ หญ่ ต ลอดแนวคลอง

ผดุงกรุงเกษมให้ร่มรื่น สวยงาม เป็นหน้า เป็นตาให้กับย่านตลาดน้อย และจากจุดนี้ เองได้ น ำไปสู่ กิ จ กรรมการสำรวจต้ น ไม้

ริ ม คลองผดุ ง กรุ ง เกษม รวมถึ ง มี ก าร

ให้ความรู้เรื่องต้นไม้ในเมืองแก่ชาวชุมชน เยาวชน นั ก เรี ย นโรงเรี ย นสตรี วั ด มหา พฤฒาราม และผู้ที่สนใจ พื้นที่ไฟไหม้ สวนสาธารณะชุมชน ของย่ า นตลาดน้ อ ยในอนาคต แม้ จ ะมี ขนาดเล็กเมื่อเที่ยบกับสวนสาธารณะใน ระดับเดียวกัน แต่พื้นที่แห่งนี้ก็สามารถ เป็ น แหล่ ง เรี ย นรู้ ข นาดใหญ่ ใ ห้ กั บ ผู้ ค น

ในสั ง คม ที่ ส ะท้ อ นให้ เ ห็ น ถึ ง วิ ธี คิ ด เพื่ อ

คุณรติวฒ ั น์ และคุณวรรณพร สุวรรณไตรย์ ภูมสิ ถาปนิกและเจ้าของบริษทั โอเพ่นบ๊อกซ์ จำกัด ขณะนำเสนอ แบบการพัฒนาพื้นที่ต่อชาวชุมชน

ทัศนียภาพจำลองของพื้นที่ ซึ่งได้มาจากการพัฒนา แบบร่วมกับชาวชุมชน

นำไปสู่เป้าหมายเพื่อประโยชน์ส่วนรวม การที่ เ จ้ า ของที่ ดิ น อย่ า งสำนั ก งานเขต สั ม พั น ธวงศ์ เห็ น ความสำคั ญ ของการ ปรับปรุงพื้นที่โดยสร้างกระบวนการรับฟัง ความคิ ด เห็ น และกระตุ้ น ให้ เ กิ ด การมี

ส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลจัดการพืน้ ที่ อย่างยัง่ ยืน อย่างที่คุณนรมน พระพุทธคุณ หัวหน้าฝ่ายรักษาความสะอาด สำนักงาน เขตสั ม พั น ธวงศ์ ซึ่ ง กำกั บ ดู แ ลพื้ น ที่

ไฟไหม้ แ ห่ ง นี้ ก ล่ า วไว้ ว่ า “การทำอะไร ก็ ต ามถ้ า ไม่ ไ ด้ รั บ ความร่ ว มมื อ จาก ประชาชนหรือชุมชน ไม่สามารถสำเร็จได้ การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นสิ่งที่จำเป็น ที่สุด” ถ้าทุกพื้นที่เมืองมีหน่วยงานและ เจ้ า ของที่ ดี ที่ เ ห็ น ความสำคั ญ ของพื้ น ที่

สีเขียวทีเ่ กิดจากการมีสว่ นร่วมของผู้ใช้งาน อย่างแท้จริง มหานครแห่งนี้คงน่าอยู่ด้วย คุณภาพชีวติ ทีด่ ขี นึ้ อย่างไรก็ตามโครงการ ออกแบบปรั บ ปรุ ง พื้ น ที่ ไ ฟไหม้ บริ เ วณ

ริมคลองผดุงกรุงเกษมยังคงต้องการการ สนับสนุนจากหน่วยงาน องค์กร หรือบุคคล ที่สนใจอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดัน ให้พื้นที่แห่งนี้เกิดขึ้นจริง ซึ่งท่านสามารถ ติ ด ต่ อ ขอรั บ ข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม ได้ จ ากทาง โครงการย่ า นจี น ถิ่ น บางกอกที่ Email: livelybkk@gmail.com หรือทาง www. facebook.com/bangkokchinatown BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

5


เรื่อง : ปรัชญา ลือชาจรัสสิน l ภาพ : ธีรวัฒน์ อาภาสพิพัฒน์ l ออกแบบกราฟฟิค : ตวงพร ปิตินานนท์

กิจกรรมการสำรวจต้นไม้

จุดเริ่มต้นในการดูแลและสร้างพื้นที่สีเขียวของชุมชน

6

ย่านจีนถิ่นบางกอก


จากจุดเริม่ ต้นของโครงการพัฒนาพืน้ ทีไ่ ฟไหม้ สูก่ ารเปลีย่ นเป็นพืน้ ทีส่ วนสาธารณะชุมชนแห่งใหม่ในอนาคตของชาวตลาดน้อย ซึ่ ง ในระหว่ า งดำเนิ นการ ทางคณะทำงานได้ ล งสำรวจพื้ นที่ บ ริ เวณดั ง กล่ า ว รวมถึ ง พื้ นที่ ต่ อ เนื่ อ งบริ เวณริ ม คลอง

ผดุงกรุงเกษม ทำให้พบข้อมูลที่น่าสนใจ คือ พื้นที่ตลอดแนวริมคลองผดุงกรุงเกษมตั้งแต่บริเวณถนนข้าวหลามจนถึง สะพานพิ ท ยเสถี ย รนั้ น ยั ง คงความเป็ น พื้ นที่ สี เ ขี ย วริ ม คลองได้ เป็ น อย่ า งดี ด้ ว ยปั จ จั ย ทั้ ง การมี ต้ น ไม้ ใหญ่ ให้ ร่ ม เงา

ขนาดทางเท้าที่กว้างกว่า ๒ เมตร และติดกับคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งล้วนเอื้อให้เกิดกิจกรรมการเดินและการใช้จักรยาน

รวมทั้งเป็นที่แวะพักให้แก่ผู้สัญจรผ่านไปมาและนักท่องเที่ยว แต่พื้นที่ดังกล่าวยังขาดการดูแลที่ถูกต้อง ทำให้บางช่วงมีความ เสี่ยงที่จะเกิดอันตรายเพราะเป็นพื้นที่อับ อากาศไม่ระบายจากปัญหาต้นไม้ที่ขาดการดูแล และการจัดการน้ำเสียในคลองเป็นต้น

ปัญหาดังกล่าวถูกยกนำมาพูดคุย เพื่ อ รวบรวมอยู่ ใ นการจั ด การพื้ น ที่ โครงการสวนสาธารณะชุมชนด้วย โดยใน ขั้ น ต้ น คณะทำงานเสนอให้ มี ก ารจั ด ทำการสำรวจสภาพแวดล้ อ มบริ เ วณ ริ ม คลองผดุ ง เกษมขึ้ น เพื่ อ นำไปสู่ การ สร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียวและการจัดการ สิง่ แวดล้อมในภาพรวมริมคลองผดุงกรุงเกษม โดยในขัน้ ตอนแรกจะเน้นการสร้างความรับรู้ ข้อมูลที่น่าสนใจในพื้นที่ เพื่อสร้างคุณค่า และความสำคัญของพื้นที่ โดยโครงการได้ จั ด กิ จ กรรมสำรวจต้ น ไม้ ริ ม คลองผดุ ง กรุงเกษมขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ คือ ๑. เพื่อสร้างองค์ความรู้ ในการ ดู แ ลรั ก ษาต้ น ไม้ ริ ม คลองผดุ ง กรุ ง เกษม และต้นไม้อื่นๆในชุมชน ๒. เพือ่ สร้างการมีสว่ นร่วม ให้คนใน ชุมชนรู้สึกรักต้นไม้ มีความเป็นเจ้าของ และร่วมกันดูแลรักษา ๓. เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดทำ แนวทางการควบคุ ม ภู มิ ทั ศ น์ ริ ม คลอง ผดุงกรุงเกษม ย่านตลาดน้อย

โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึน้ เมือ่ วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗ ที่ผ่านมาโดย ได้ เ ชิ ญ ผู้ ช่ ว ยศาสตราจารย์ ดร.ฉั ต รชั ย เงิ น แสงสรวย หั ว หน้ า ภาควิ ช าพฤกษา ศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ มาบรรยายให้ความรูเ้ กีย่ วกับ คุ ณ ค่ า ความสำคั ญ ของต้ น ไม้ ใ นเมื อ ง และนำผู้ ร่ ว มกิ จ กรรมประกอบด้ ว ย ชาวชุ ม ชน กลุ่ ม นั ก เรี ย นจากโรงเรี ย น สตรี ม หาพฤฒาราม ลงพื้ น ที่ ส ำรวจ ต้นไม้ใหญ่บริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษม โดยมีอาสาสมัครจากสมาคมภูมิสถาปนิก แห่ ง ประเทศไทยมาเป็ น พี่ เ ลี้ ย งให้ คำแนะนำในการสำรวจและสังเกตลักษณะ ของต้นไม้ จากกิจกรรมดังกล่าวผู้เข้าร่วม สามารถนำข้อมูลและสร้างแผนทีต่ น้ ไม้ใหญ่ ริมคลอง โดยข้อมูลดังกล่าวจะเป็นข้อมูล พื้นฐานสำหรับจัดทำแนวทางการควบคุม ภูมิทัศน์ริมคลองผดุงกรุงเกษมในขั้นตอน ต่อไป BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

7


โรงงานซีอิ๊ว

เรื่อง จุฑารัตน์ นฤพันธาวาทย์ I ภาพ : ธีรวัฒน์ อาภาสพิพัฒน์

การเปลี่ยนผ่าน เก็กเอี๊ยว จากอดีตสู่ปัจจุบัน ประวัตคิ วามเป็นมาของโรงซีอวิ๊ เก็กเอีย๊ ว หรือโรงงานซีอวิ๊ โชติสกุลรัตน์ ผูผ้ ลิตซีอวิ๊ หวานตรากุหลาบ และซีอวิ๊ ดำเค็มตราตาแป๊ะ และดอกบ๊วย เริม่ ต้นตัง้ แต่รนุ่ เหล่ากง นายเต็กชึง แซ่องั๊ ซึง่ ทำโรงงาน ซีอวิ๊ มาตัง้ แต่อยูป่ ระเทศจีน และเมือ่ อพยพเดินทางมาประเทศไทย ก็ได้มาเป็นหุน้ ส่วนโรงงานไม้ขดี ชือ่ โรงงานไต้กวงเม้ง และตัง้ โรงงาน ซีอิ๊ว โดยนำสูตร วิธีการทำ และหัวเชื้อซีอิ๊วเข้ามาจากมณฑล เก็กเอีย๊ วในเมืองจีน โดยเริม่ แรกตัง้ โรงงานอยูท่ รี่ มิ ฝัง่ แม่นำ้ เจ้าพระยา (ตรงโรงแรมเพนนินซูลา่ เจริญนคร ในปัจจุบนั ) มีพนื้ ทีป่ ระมาณ ๒ ไร่ ทำเป็นโรงงาน และด้านหน้าติดแม่นำ้ เป็นเรือนไม้สกั เก่าแก่ทรงปัน้ หยา ทีซ่ อื้ ต่อมาจากชาวโปรตุเกส โดยมีหน้าร้านอยูบ่ นถนนมหาพฤฒาราม ซึง่ ในสมัยก่อนทำการค้าขาย ขนส่งสินค้าทางน้ำ โดยการพายเรือตัด ข้ามแม่นำ้ เจ้าพระยาทะลุเข้าทางปากคลองผดุงกรุงเกษมไปยังถนน มหาพฤฒาราม ซึง่ ในอดีตคลองผดุงฯ น้ำใสมาก มีเรือขายก๋วยเตีย๋ ว พายผ่านไปมา บ้างก็เล่นน้ำ บ้างก็ซกั ผ้า ต่อมาเมือ่ เมืองเริม่ มีการ ขยายตัวเพิม่ มากขึน้ การขนส่งสินค้าทำได้ลำบาก ประกอบกับธุรกิจ เริม่ ขยายตัว จึงได้ทำการย้ายโรงงานผลิตไปทีบ่ างปู ในขณะเดียวกัน ก็ได้ยา้ ยร้านและครอบครัวมาอยูอ่ าศัยทีซ่ อยโรงน้ำแข็งในตลาดน้อย เมือ่ เกือบ ๕๐ ปีทผี่ า่ นมา ในยุคสมัยของอากง นายจัก๊ ฮุน้ แซ่องั๊ ทัง้ ยังใช้เป็นสถานทีแ่ บ่งบรรจุขวด โดยในทุกๆ เช้าคนงานจะนำขวด ซีอวิ๊ ไปแช่ และล้างทำความสะอาดในถังไม้ขนาดใหญ่ ก่อนทีจ่ ะนำ ซีอิ๊วมากรอกลงขวด และให้ลูกๆหลานๆ มาช่วยกันตอกจุกซีอิ๊ว เตรียมส่งขายไปยังทีต่ า่ งๆ โดยมีตลาดบริเวณท่าเตียนเป็นจุดกระจาย สินค้าไปยังต่างจังหวัดต่อไป ซึง่ ท่าเตียนถือเป็นเครือข่ายการค้ากับ ตลาดน้อยและเยาวราช

คุณศุภรัตน์ และคุณมาลียา โชติสกุลรัตน์

8

ย่านจีนถิ่นบางกอก

ฉลากผลิตภัณฑ์ซีอิ้วในยี่ห้อต่างๆ

ปัจจุบนั โรงงานซีอวิ๊ โชติสกุลรัตน์เปิดมาเกือบร้อยปี นับตัง้ แต่ ยุคของเหล่ากง อากง คุณพ่อ จนตอนนี้ คุณแน็ต มาณิสสา โชติสกุลรัตน์ ซึง่ เป็นรุน่ ลูก (รุน่ ที่ ๔) ได้มารับช่วงดูแลกิจการต่อจากคุณพ่อ แต่กย็ งั คง เอกลักษณ์ของการผลิตซีอวิ๊ แบบดัง่ เดิม ตัง้ แต่วธิ กี ารคัดเลือกถัว่ เหลือง จนไปถึงกระบวนการหมักในโอ่งดิน และที่เป็นจุดเด่นคือการนำ น้ำหมักทีไ่ ด้ไปเคีย่ วด้วยฟืน ทำให้ซอี วิ๊ ของทีน่ มี่ รี สชาติ และกลิน่ ที่ เป็นเอกลักษณ์ โดยฐานลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนดั้งเดิมที่เคยทำมา ค้าขายกันมาตัง้ แต่ทางเรือ โดยจะเกาะกลุม่ ตามริมแม่นำ้ ไม่วา่ จะเป็น จังหวัด อยุธยา สิงห์บรุ ี อ่างทอง พิษณุโลก ชัยนาท นครสวรรค์ อุทยั ธานี ฯลฯ ซึง่ ในแต่ละจังหวัดก็จะทำตราซีอวิ๊ ทีแ่ ตกต่างกันออกไป “สาเหตุเพราะเวลาเราไปเสนอลูกค้าทีเ่ ป็นยีป่ วั๊ ะ ซาปัว๊ ะ เค้าไม่อยาก ได้ตราเดียวกับร้านคูแ่ ข่ง เค้าอยากได้ความเฉพาะทีแ่ ตกต่างและไม่ซำ้ กับเจ้าอืน่ ๆ จึงทำให้เราต้องทำตราซีอวิ๊ หลายๆ ตราออกมา เช่น ตราบ้าน ตราตาแป๊ะ ตราดอกบ๊วย ตราแดง ตรากุหลาบ ตรากระเช้า” “และด้วยความทีน่ อ้ งสาวเป็นคนรุน่ ใหม่ จึงอยากทดลองทำ อะไรทีน่ อกเหนือจากซีอวิ๊ บ้าง ซึง่ เป็นช่วงจังหวะพอดีทไี่ ด้ทนุ พัฒนา SME จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทำให้มีโอกาสได้เข้าไปพูดคุยและนำเสนอผลิตภัณฑ์ซีอิ๊วของ ครอบครัว ถึงจุดขาย รสชาติ กลิน่ ทีไ่ ม่เหมือนคนอืน่ สูตรโบราณ ไม่ใส่ ผงชู ร ส ไม่ ใ ส่ ส ารกั น บู ด และยั ง ใช้ การเคี่ ย วด้ ว ยเตาฟื น นาน หกชั่ ว โมงแบบดั้ ง เดิ ม และได้ อาจารย์ สุ ช าดา ไชยสวั ส ดิ ์ จากมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี มาเป็นที่ปรึกษาให้ จึงได้ ผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาเป็นไข่เค็มซีอวิ๊ “ตราบ้านตลาดน้อย” และให้ รุน่ น้องทีเ่ ป็นกราฟฟิคดีไซน์ชว่ ยออกแบบแพ็กเกจ โดยโลโก้ได้มาจาก รูปใบหน้าของเหล่าก๋ง อันถือเป็นความอบอุน่ ทางใจ ซึง่ เราได้เริม่ ต้น ทำไข่เค็มซีอวิ๊ เมือ่ ปีทแี่ ล้ว (ปีพ.ศ. ๒๕๕๖) มีตงั้ แต่ไข่เค็มต้ม ไข่เค็มดิบ ขยายมาเป็นน้ำพริกไข่เค็ม โดยทีฐ่ านของกลุม่ ลูกค้ากลุม่ นีจ้ ะเป็นคน


ทีส่ นใจเรือ่ งสุขภาพ เช่น คนสูงอายุ วัยรุน่ ที่ไม่ควรทานเค็มมาก ต้องเป็นธรรมชาติ ไม่ใช้สารกันบูด มีกลิน่ หอมของซีอวิ๊ ในขณะ เดียวกันก็ยงั เป็นการช่วยดูแลรักษาสิง่ แวดล้อม เพราะใช้กากวัตถุดบิ ที่ ได้จากการเคีย่ วซีอวิ๊ เช่น เถ้าทีเ่ หลือ เกลือทีเ่ หลือจากการเคีย่ วซีอวิ๊ มาทำไข่เค็มต่อ เป็นการนำกลับมาใช้ใหม่และช่วยลดปริมาณของเสีย ทีเ่ กิดขึน้ จากกระบวนการทำซีอวิ๊ อีกด้วย” คุณโน๊ตยังกล่าวต่ออีกว่า “การเริม่ ต้นขยายรูปแบบผลิตภัณฑ์ จากซีอวิ๊ สูไ่ ข่เค็มซีอวิ๊ นับว่าค่อนข้างสนุก ซึง่ ทำให้เราได้รจู้ กั กับคน กลุม่ ใหม่ๆ จากเดิมทีล่ กู ค้าส่วนใหญ่เป็นคนต่างจังหวัด นานๆ ก็จะได้ คุยกันทีเ่ วลาออกไปเยีย่ ม พอเริม่ ทำไข่เค็มซีอวิ๊ ทำให้เราได้เล่าเรือ่ ง ราวของเราให้คนรุน่ ใหม่ในกรุงเทพฯ คนทีส่ นใจการออกแบบดีไซน์ คนที่เป็นเพื่อนๆ เรา คนรุ่นใหม่ ได้มาพูดคุยกันเรื่องไข่เค็มซีอิ๊ว และทำให้ได้เล่าเรือ่ งราวความเป็นมาของซีอวิ๊ เป็นการเชือ่ มเรือ่ งราว ระหว่างคนรุน่ เก่ากับคนรุน่ ใหม่ โดยทีเ่ ปลีย่ นผลิตภัณฑ์ให้เหมาะกับ การใช้ชวี ติ มากขึน้ เพราะเดีย๋ วนีพ้ อไปบอกว่าซีอวิ๊ ดำ คนก็จะสงสัยว่า ซีอวิ๊ ดำคืออะไร? ต่างกับซอสถัว่ เหลือง หรือซีอวิ๊ ขาวยังไง มันยากที่ จะเอาไปขายคน ต้องให้ขอ้ มูลพอสมควร และขึน้ อยูก่ บั ไลฟ์สไตล์ของ แต่ละคนด้วย แต่พอบอกว่าไข่เค็ม ใครๆ ก็รจู้ กั สำหรับตลาดของซีอวิ๊ ทีล่ กู ค้าส่วนใหญ่อยูต่ า่ งจังหวัด มีความเชือ่ มัน่ ในซีอวิ๊ แบบดัง้ เดิมที่ เคยกินกันมาตัง้ แต่สมัยรุน่ ปูร่ นุ่ ย่า เราจึงเน้นกระบวนการผลิตแบบ ดัง้ เดิมมากกว่ารูปแบบแพ็กเกจ แต่กม็ กี ารปรับขนาดขวดบรรจุให้เล็กลง เพือ่ ให้เหมาะกับครอบครัวสมัยใหม่มากขึน้ ในขณะเดียวกันก็พยายาม มองหาลูท่ างในการเปิดตลาดใหม่ๆ ควบคูก่ นั ไป” ในด้านความสัมพันธ์ของโรงงานซีอิ๊วเก็กเอี๊ยวกับพื้นที ่ ตลาดน้อย คุณโน๊ตและคุณแม่ได้เราให้ฟงั ว่า “คนทัว่ ไปจะรูจ้ กั โรงซีอวิ๊ ไม่ก็คลีนิกหมอวิบูลย์ ซึ่งเป็นคลีนิกคุณลุงที่เปิดอยู่ในตลาดน้อย บริเวณตรงข้ามโรงงานซีอิ๊ว คนที่เลื่อมใสคาทอลิกก็จะรู้จักที่บ้าน เพราะอาเหล่ากงเป็นคาทอลิกและเคยเป็นครูใหญ่โรงเรียนจีนใน บริเวณวัดกาลหว่าร์ ซึ่งต่อมากลายเป็นโรงเรียนกุหลาบวิทยาใน ปัจจุบนั ในช่วงปีใหม่ของทุกปีทางบ้านจะจัดการสวดอวยพรปีใหม่ เรียกว่าสวดเซีย่ ซิม โดยมีเพือ่ นๆ ของอากงซึง่ เป็นชาวคาทอลิกที่ อาศัยอยูใ่ นละแวกรอบๆ วัดมาจะมารวมตัวกันทีบ่ า้ นและทีบ่ า้ นเราก็ จะทำอาหารเลีย้ ง ทำเป็นประเพณีมาตัง้ แต่บา้ นริมแม่นำ้ เจ้าพระยาที่ เจริญนคร จนภายหลังจึงย้ายมาจัดที่ตลาดน้อย บริเวณชั้น ๒

ภาพบรรยากาศในช่วงวันคริสต์มาส ผู้คนที่เลื่อมใสคาทอลิกก็จะมาร่วมงานสวด เซี่ยซิมที่บ้าน

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ซีอิ๊วของครอบครัวให้มีความแปลกใหม่และเข้ากับ ครอบครัวในยุคปัจจุบันมากยิ่งขึ้น

ของบ้าน โดยคนมาเล่นเปียโนบรรเลงเพลงสวด บาทหลวงก็จะมาทำ พิธี ในขณะที่ทุกคนในบ้านก็จะแบ่งหน้าที่กันรับแขก ทำอาหาร จัดแจกันดอกไม้ สัง่ ขนมปังทีร่ า้ นปัน้ ลี่ ขอยืมเก้าอีจ้ ากวัด” “ต่อมาเมือ่ คุณแม่อายุประมาณ ๓๗ ทำงานด้านสิง่ แวดล้อม ทำให้รวู้ า่ กรุงเทพมหานครมีแผนจะก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสาย สีแดงตัดผ่านในบริเวณตลาดน้อยติดแนวคลองผดุงกรุงเกษม จึงได้ วางแผนย้ายออกจากพืน้ ที่ไปย่านอุดมสุข ซึง่ ตลาดน้อยยังเคยเป็น ที่ตั้งของบริษัทที่ปรึกษาทางสิ่งแวดล้อม เพราะคุณแม่เปิดบริษัท สิง่ แวดล้อม ทำให้ทงั้ ย่านบริเวณนีม้ พี นักงานบริษทั เป็นร้อย ย่านนี้ คึกคักมาก แต่พอย้ายไปย่านนีก้ เ็ งียบลงไปเล็กน้อย บรรดาแม่คา้ ที่ ขายอาหารแถวนีก้ ถ็ ามหา เพราะรายได้หายไป” สำหรับมุมมองทีม่ ตี อ่ ตลาดน้อยในอนาคต คุณโน๊ตได้แสดง ความคิดเห็นดังนี้ “ตอนนีเ้ ริม่ มีอะไรทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป ช่วงปีทผี่ า่ นมา มันเท่มากขึน้ มีแกลอรีม่ าเปิด เป็นทีฮ่ ติ มากขึน้ ในหมูน่ กั ท่องเทีย่ วทัง้ ชาวไทย ชาวต่างชาติ มีทวั ร์จกั รยาน เริม่ มีคนเห็นคุณค่า แนวโน้มจึงน่า มีการอนุรกั ษ์ทนี่ มี่ ากขึน้ เพราะคนเริม่ เห็นคุณค่า น่าจะมีการพัฒนา ให้เหมาะกับการเดินเล่น ให้มขี อ้ มูลมากขึน้ ในขณะเดียวกันก็กงั วลว่า ความเป็นชุมชนจะเริม่ หายไปเมือ่ คนรุน่ เก่าๆหายไป แล้วคนใหม่ยา้ ย เข้ามา เวลาพาเพือ่ นมาเทีย่ ว เพือ่ นๆก็จะบอกว่ารูส้ กึ ไม่เหมือนอยู่ กรุงเทพ พอคนรุน่ เก่าๆ ออกไป ความเป็นเพือ่ นบ้าน ความเป็น ชุมชนก็จะหายไปด้วย” และเมือ่ ถามถึงความเป็นไปได้ในอนาคตว่า จะมีแนวโน้มกลับมาอยูอ่ าศัยในย่านตลาดน้อยอีกหรือไม่ คุณโน๊ต ในฐานะคนรุน่ ใหม่ ก็ได้ให้วธิ คี ดิ ทีน่ า่ สนใจดังนีว้ า่ “การกลับมาคงยาก เพราะธุรกิจเริม่ ขยาย สำหรับตึกนีก้ เ็ ปิดเป็นแกลอรี่ ซึง่ ในอนาคตอาจ จะขยับขยายทำธุรกิจทีเ่ กีย่ วข้องกับธุรกิจซีอวิ๊ อีก เช่นทำผลิตภัณฑ์ จากซีอวิ๊ อืน่ ๆ ซึง่ ถึงแม้เราไม่ได้ตงั้ อยูใ่ นตลาดน้อยแล้ว แต่กเ็ ป็นความ ตัง้ ใจทีจ่ ะสืบสานธุรกิจทีม่ แี หล่งกำเนิดจากตลาดน้อยให้คนรุน่ หลังได้ รู้จักต่อไป พร้อมกับส่งต่อเรื่องราวของตลาดน้อยในอดีตไปยังคน รุน่ หลังด้วย” BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

9


เรื่อง : จุฑารัตน์ นฤพันธาวาทย์ l ภาพ : ธีรวัฒน์ อาภาสพิพัฒน์ l ออกแบบกราฟฟิค : ตวงพร ปิตินานนท์

ป่าไม้ในเมือง เมื่อเอ่ยถึง “ป่าไม้” เชื่อว่าหลายคนคงจะนึกถึงพื้นที่ที่มีต้นไม้สีเขียวหลากหลายชนิดขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นตามธรรมชาติ ทั้งยัง เป็นแหล่งน้ำและที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ แต่ถ้าหากเราจะกล่าวถึง “ป่าไม้ในเมือง” เชื่อว่าหลายคนคงจะไม่ คุ้นเคยกับคำๆ นี้ และอาจจะจินตนาการภาพของป่าในเมืองกันไม่ออกว่าหน้าตาจะเป็นอย่างไร ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงแล้วป่าใน เมืองดูจะเป็นเรื่องใกล้ตัวคนเมืองอย่างเราๆ ท่านๆ มากกว่าป่าไม้ธรรมชาติเสียอีก ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเพราะหน่วยงานภาครัฐ ในบ้านของเราเพิ่งจะเริ่มให้ความสนใจเรื่องการป่าไม้ในเมืองมาได้เพียงสักระยะหนึ่งเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย แต่ถึงกระนั้นก็ยังถือเป็นนิมิตหมายที่ดีของคนเมืองที่จะได้มีโอกาสสัมผัสกับธรรมชาติรอบๆ ตัว ได้ผ่อนคลาย

ความตึงเครียด ความเหนือ่ ยล้าจากการทำงาน ได้มพ ี นื้ ทีอ่ อกมาเดินเล่นชมความสวยงามของต้นไม้ดอกไม้ขา้ งทาง ซึง่ ถือเป็น

การยกระดับคุณภาพชีวิตและจิตใจของผู้คนในสังคม

ดร.ฉัตรชัย เงินแสงสรวย หัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

10

ย่านจีนถิ่นบางกอก

เมื่อกล่าวมาถึงตรงนี้ หลายคนคง อยากจะรู้จักและทำความเข้าใจกับคำว่า “ป่ า ไม้ ใ นเมื อ ง” ให้ ม ากขึ้ น เราจึ ง ขอ นำท่ า นไปพู ด คุ ย กั บ บุ ค คลที่ ท ำงานด้ า น การป่าไม้ในเมืองทั้งสองท่าน คือ ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรชัย เงินแสงสรวย หั ว หน้ า ภาควิ ช าพฤกษศาสตร์ คณะ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอาจารย์ธราดล ทันด่วน หรือที่รู้จัก กันดี ในนาม “ครูต้อ” ผู้ชำนาญการด้าน การดู แ ลต้ น ไม้ ใ หญ่ ใ นเขตเมื อ ง ที่ มี ประสบการณ์มามากกว่า ๑๘ ปี เพือ่ รับฟัง ความคิ ด เห็ น จากมุ ม มองที่ ห ลากหลาย ทั้ ง ภาควิ ช าการ และภาคปฏิ บั ติ จ าก ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองท่าน ดร. ฉัตรชัย เงินแสงสรวย หัวหน้าภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Q : “อยากให้ อ าจารย์ ช่ ว ยอธิ บ าย

คำว่า “ป่าไม้ในเมือง” A : “การป่าไม้ในเมือง (Urban Forestry) เป็นการดูแลและจัดการต้นไม้ใหญ่ที่อยู่ใน เขตเมือง ทั้งที่มนุษย์นำเข้ามาปลูกหรือ ขึ้ น เ อ ง ตา ม ธ ร ร ม ช า ติ ใ น บ า ง พื้ น ที่ เพื่ อ เป็ น การส่ ง เสริ ม และสร้ า งสภาพ แวดล้อมที่ดี ให้กับคนเมือง ในเรื่องของ การป่าไม้ในเมืองเป็นสิ่งสนับสนุนบทบาท


ของต้นไม้ในฐานะที่เป็นองค์ประกอบของ โครงสร้างในระบบนิเวศ คนที่ทำงานด้าน การป่ า ไม้ ใ นเมื อ งจะต้ อ งทำหน้ า ที่ ป ลู ก ดู แ ลรั ก ษาต้ น ไม้ ใ หญ่ ให้ การสนั บ สนุ น อนุ รั ก ษ์ ต้ น ไม้ ป่ า ส่ ง เสริ ม ให้ มี การวิ จั ย เห็นคุณค่าของการใช้ประโยชน์ต้นไม้ที่มี ต่อมนุษย์ ซึ่งต้นไม้ต่างๆ เหล่านี้พอมาอยู่ ในเขตเมืองเป็นอะไรทีน่ า่ สงสารเพราะอยูใ่ น สภาวะที่เครียด สุขภาพของต้นไม้ในเมือง จึงไม่ดีเท่ากับต้นไม้ในป่า ความสามารถ ด้ า นนิ เ วศก็ จ ะน้ อ ยกว่ า ต้ น ไม้ ใ นป่ า

แต่อย่างไรก็ดีต้นไม้ ในเมืองก็ยังมีคุณค่า ม า ก ใ น กา ร เ พิ่ ม คุ ณ ค่ า ใ ห้ แ ก่ เ มื อ ง เสริมสร้างสภาพแวดล้อมในเมืองให้ดีขึ้น ทัง้ ด้านเศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์ นิเวศวิทยา นันทนาการ ความสวยงาม ความรื่นรมย์” Q : “อาจารย์ พ อจะยกตั ว อย่ า ง

คุณประโยชน์ของต้นไม้ในเมืองในด้าน ต่างๆ ได้ไหมคะ?” A : “คุ ณ ประโยชน์ ข องต้ น ไม้ ใ นเมื อ ง จะช่วยดูดความร้อน ลดอุณหภูมิ ถ้าหากว่า มี อ าคารอยู่ แ ละมี ต้ น ไม้ ใ หญ่ ที่ บั ง แสง ก็ จ ะช่ ว ยลดความร้ อ นให้ กั บ อาคาร ช่วยประหยัดพลังงาน ช่วยดูดซับมลพิษ ในอากาศ ต้ อ งมี การคั ด เลื อ กต้ น ไม้ ที่ มี

ใบกว้าง แผ่เรือนพุม่ ได้กว้าง จะช่วยดูดซับ มลพิษในอากาศได้ดีและช่วยในการผลิต ออกซิเจน ตามรายงาน ต้นไม้ที่สมบูรณ์ ๑ ไร่ สามารถผลิตออกซิเจนให้คน ๑๐ คน ในขณะทีป่ ระชากรในกรุงเทพฯ มีประชากร ๙-๑๐ ล้ า นคน ที่ อ ยู่ ใ นทะเบี ย นราษฎร์ ยังไม่รวมประชากรแฝง เพราะฉะนั้นคน กรุงเทพฯต้องการต้นไม้ ๙ แสน - ๑ ล้านไร่ แต่ในขณะเดียวกันกรุงเทพฯมีพื้นที่สีเขียว แค่ ป ระมาณหมื่ น กว่ า ไร่ เพราะฉะนั้ น

คนกรุ ง เทพฯยั ง ต้ อ งการพื้ น ที่ สี เ ขี ย ว ยังต้องการต้นไม้เหล่านี้อีกมาก” “นอกจากนี้ ต้ น ไม้ ยั ง เป็ น แนวกั น เสี ย งสำหรั บ คนที่ อ ยู่ ริ ม ถนนได้ ดี ม าก และยั ง เป็ น ตั ว ควบคุ ม ทิ ศ ทางของลม ในเรื่องของการเพิ่มมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ เรื่องของการสร้างบ้านสร้างคอนโด ก็จะมี การจัดสวนรอบอาคาร มีการล้อมต้นไม้ ใหญ่เข้ามาปลูก เพราะจะช่วยเพิ่มคุณค่า และมู ล ค่ า ของอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ต่ า งๆ เหล่ า นี้ ใ ห้ สู ง ขึ้ นมาก ในเรื่ อ งของความ สวยงาม ความสง่างามของต้นไม้ สังเกต ได้ว่า ณ บริเวณตรงไหนที่มีต้นไม้ใหญ่ๆ สง่างาม สวยงาม ก็จะเป็นที่ดึงดูดของ นักท่องเที่ยว ซึ่งในต่างประเทศเห็นได้ชัด ว่ า ถนนหลายๆ สายมี ต้ น ไม้ ส วยงาม

ต้ น ไม้ ข นาดใหญ่ ที่ มี ก ารจั ด การที่ ด ี

นักท่องเที่ยวก็จะไปเที่ยวชม ในด้านนิเวศ ต้นไม้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ เป็นแหล่ง อาหารโดยเฉพาะพวกนก สัตว์เลื้อยคลาน สังเกตได้ว่าในเขตเมืองตามต้นไม้อย่าง ต้นโพธิ์ ต้นไทร ในช่วงที่ผลสุกจะมีพวก นกมาอาศัยอยู่ นอกจากนี้ยังมีสัตว์อื่นๆ มาทำรัง วางไข่ ผสมพันธุ์ นั่นคือคุณค่า ทางด้านระบบนิเวศ และทีป่ ฏิเสธไม่ได้เลย มนุ ษ ย์ ที่ อ ยู่ ใ นเมื อ งมี ส ภาวะตึ ง เครี ย ด ต้นไม้กม็ สี ว่ นช่วยทางด้านสุขภาพจิตทีด่ ขี นึ้ ทั้ ง ยั ง ช่ ว ยในการบดบั ง ทั ศ นี ย ภาพสิ่ ง ที่ ไม่สวยงามและช่วยปรับภูมิทัศน์ต่างๆ” Q : “สถานการณ์ พื้ น ที่ สี เ ขี ย วของ กรุงเทพฯและประเทศเพื่อนบ้านตอนนี้ เป็นอย่างไร?” A : “ดั ช นี เ มื อ งสี เ ขี ย วในเอเชี ย ๒๒ ประเทศ กรุงเทพฯมีพื้นที่สีเขียวประมาณ ๓.๓ ตารางเมตร/คน เมือ่ เทียบกับค่าเฉลีย่ ๒๒ เมืองในเอเชียอยูท่ ี่ ๓๙ ตารางเมตร/คน ซึ่งกรุงเทพฯมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าถึง ๑๐ เท่า เห็นได้ว่าคนกรุงเทพฯต้องการพื้นที่สีเขียว อี ก มาก ซึ่ ง กรุ ง เทพฯมี พื้ น ที่ สี เ ขี ย วใน เฉพาะบริ เ วณที่ เ ป็ น สวนสาธารณะของ กรุ ง เทพมหานคร หรื อ สถานที่ ร าชการ BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

11


อย่างในมหาวิทยาลัยหรือวัด ตามทีอ่ ยูอ่ าศัย ตามริมถนน อย่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ ไ ด้ รั บ รางวั ล Green University คณะต่ า งๆ ก็ ด ำเนิ น ตามนโยบายของ มหาวิ ท ยาลั ย รวมถึ งคณะวิทยาศาสตร์

ก็เริ่มทำให้เป็น Green Faculty เป็นคณะ ที่ มี สี เ ขี ย ว ไม่ เ พี ย งแต่ ป รั บ ทางด้ า น กายภาพเท่านั้น แต่ยังมองไปถึงเรื่องของ การลดการใช้พลังงานต่างๆ ด้วย” Q : “อาจารย์พอจะยกตัวอย่างป่าไม้ ในเขตเมื อ งในกรุ ง เทพฯ หรื อ พื้ น ที่ รอบๆ ได้ไหมคะ?” A : “ผมขอยกตั ว อย่ า งป่ า ไม้ ใ นเมื อ งที่ เห็นได้ชัดคือ “บางกระเจ้า” เป็นพื้นที่อยู่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งถือเป็นปอดให้กับ คนกรุ ง เทพฯ ทั้ ง ๆ ที่ พื้ น ที่ นี้ อ ยู่ ใ นเขต จังหวัดสมุทรปราการ แต่วา่ พืน้ ทีน่ สี้ ามารถ ที่จะรองรับอะไรต่างๆ ในเรื่องการป่าไม้ใน เมืองให้กับคนกรุงเทพฯ ได้ ก็จะมีกลุ่ม อนุรักษ์อย่างเช่น กลุ่มลำพูบางกระสอบ จะมีนักวิชาการที่สนใจและเห็นคุณค่าใน เรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรพรรณพืช ก็จะดึงกลุ่มนักวิชาการต่างๆ เข้าไปร่วม ศึกษาพรรณพืช พรรณสัตว์ ชุมชนกลาย เป็ น ที่ รู้ จั ก มี ผู้ ค นเข้ า ไปเยี่ ย มชมพื้ น ที่

12

ย่านจีนถิ่นบางกอก

อย่ า งที่ ดั ง ๆ ในตอนนี้ ก็ จ ะเป็ น ต้ น ลำพู

ที่ บ างกระสอบ เป็ น ที่ อ ยู่ ข องหิ่ ง ห้ อ ย เป็นทีอ่ ยูอ่ าศัยทำรังวางไข่ของสิง่ มีชวี ติ ต่างๆ เป็นการรักษาระบบนิเวศ และสร้างรายได้ ให้กับชุมชนจากการท่องเที่ยว ซึ่งชุมชนก็ มีความเข้มแข็ง และให้ความร่วมมือใน การอนุรกั ษ์ดมี าก เพราะเขารักชุมชนของเขา นอกจากนี้ยังมีโครงการพระราชดำริของ สมเด็ จ พระเทพฯ ทำให้ ก ลุ่ ม คนหลาย กลุ่มที่อยากจะสนองพระราชดำริ” Q : “เรามี วิ ธี ก ารคั ด เลื อ กต้ น ไม้

และดู แ ลรั ก ษาต้ น ไม้ ที่ จ ะนำมาปลู ก ใน เมืองเบื้องต้น อย่างไรบ้าง?” A : “การเลือกต้นไม้ที่จะมาปลูกในเมือง ต้องมีการคัดเลือกให้เหมาะสม มีสขุ ภาพดี รูปทรงสวยงาม ไปปลูกในสวนสาธารณะ ประชาชนได้เข้าไปใช้ประโยชน์ออกกำลังกาย แต่หลายคนก็ไม่คำนึงในการที่จะช่วยกัน อนุรักษ์ รักษา เห็นได้ว่าต้นไม้ตามสวน สาธารณะจะมีรอยขีดข่วนถือว่าเป็นการ ทำลายต้นไม้ หรือของกรุงเทพมหานครที่ ดูแลต้นไม้ก็เช่นกัน ในระดับผู้ดูแล ผู้มี ส่วนเกี่ยวข้อง จะต้องเข้าใจธรรมชาติของ ต้นไม้ รูจ้ กั การดูแลบำรุงรักษา มีการตัดแต่ง ต้ น ไม้ ใ ห้ ถู ก วิ ธี ต้ อ งอาศั ย ผู้ เ ชี่ ย วชาญ

ตัดอย่างไรให้ต้นไม้สุขภาพดีและมีทรงพุ่ม ที่สวยงาม แต่เท่าที่เห็นในปัจจุบันนี้การ ตัดแต่งต้นไม้ของคนกรุงเทพฯ เป็นการ ตัดยอดต้นไม้ ทำให้ต้นไม้สุขภาพไม่ดีและ อาจตายได้ ใ นอนาคต อั น นี้ เ ป็ น สิ่ ง ที่ มี ความสำคั ญ มากและต้ อ งช่ ว ยกั น ดู แ ล ต้ อ งตระหนั ก ถึ ง คุ ณ ค่ า และความสำคั ญ ของต้นไม้ให้มากๆ ซึ่งถ้าจะทำให้คนเห็น คุณค่าและความสำคัญของต้นไม้ คนเหล่านัน้ ต้องได้ใช้ประโยชน์ของต้นไม้ ตั้งแต่เกิด จนกระทั้งตาย เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเรา จะไม่ ไ ด้ ใ ช้ ป ระโยชน์ จ ากต้ น ไม้ ทั้ ง ใน เรื่องของพิธีกรรมทางศาสนา ความเชื่อ หรือใช้ ในการรักษาโรคต่างๆ คนที่ ใช้จะ ต้องเห็นคุณค่า เห็นประโยชน์ของต้นไม้ และช่วยกันรักษา” Q : “สุดท้ายนี้อยากจะฝากอะไรถึงคน กรุ ง เทพฯ และหน่ ว ยงานภาครั ฐ ผู้ มี ส่วนเกี่ยวข้องในการผลักดันเรื่องของ ป่าไม้ในเมืองให้เกิดเป็นรูปธรรม?” A : “สำหรับคนกรุงเทพฯ พื้นที่สีเขียวที่มี พื้ น ที่ จ ำกั ด ประชาชนจะต้ อ งเริ่ ม จาก ตัวเราเองก่อน เห็นคุณค่าของต้นไม้ ใน เขตเมือง ร่วมกันดูแลรักษาต้นไม้ รวมถึง ปลูกฝังเยาวชนให้เห็นคุณค่าของต้นไม้ใน


เมืองให้มากๆ เพื่อให้ต้นไม้เหล่านั้นอยู่คู่ กั บ กรุ ง เทพฯ เป็ น ปอดและช่ ว ยสร้ า ง สภาพแวดล้ อ มที่ ดี ใ ห้ กั บ คนกรุ ง เทพฯ สำหรั บ หน่ ว ยงานภาครั ฐ อยากให้ คำนึกถึงหลักวิชาการ อาศัยนักวิชาการ ที่มีความรู้เข้ามาช่วย ก็จะทำให้การปลูก ต้ น ไม้ ใ นเมื อ งเกิ ด ประโยชน์ ต่ อ มหาชน ที่อยู่ในเขตเมืองมากขึ้น” อาจารย์ธราดล ทันด่วน ผู้ชำนาญการด้านการดูแลต้นไม้ใหญ่ ในเขตเมือง Q : “ป่าไม้ในเมือง คืออะไร?” A : “ป่าไม้ ในเขตเมืองคือ พื้นที่สีเขียว เริ่มต้นจากการที่มีต้นไม้ใหญ่เข้าไปยืนต้น ในพื้ น ที่ นั้ น และค่ อ ยๆ ขยายพื้ น ที่ เ ป็ น ต้ น ไม้ ใ หญ่ อ อกไปเราจึ ง เรี ย กว่ า “ป่ า ” ถ้ า ไม่ มี ต้ น ไม้ ใ หญ่ ที่ เ ป็ น พระราชาแห่ ง พืน้ ทีน่ นั้ มีแต่ตน้ ไม้เล็กๆ เรายังไม่สามารถ เรียกมันได้ว่าป่า แต่คำว่าป่าไม้ ในเมือง ไม่ได้หมายความว่าต้นไม้ใหญ่อย่างเดียว ต้องมีไม้เถา ไม้เลื้อย ไม้พื้นล่าง มันต้อง เป็นองค์ประกอบสมบูรณ์ แต่ว่าตัวบ่งชี้ที่ ชั ด เจนคื อ ปริ ม าณต้ น ไม้ ใ หญ่ คื อ พื้ น ที่ เรือนยอดของต้นไม้ใหญ่ในชุมชนนั้นมาก พอทำให้เรารู้สึกร่มรื่นแล้วหรือยัง” “ผมขอยกตั ว อย่ า งป่ า ไม้ ใ นเมื อ ง ของกรุงเทพมหานครที่สมบูรณ์เห็นจะมี สองที่ ที่แรกคือวังสวนจิตรลดา เข้าไป แล้ ว สติ แ ตกไม่ รู้ สึ ก ว่ า อยู่ ก รุ ง เทพฯ เพราะในหลวงท่านทรงเอายางนาไปปลูก ตั้งแต่ผมยังไม่เรียนมหาวิทยาลัย ในหลวง ท่ า นสายพระเนตรยาวไกลมาก ซึ่ ง ผม ถื อ ว่ า วั ง สวนจิ ต รลดาเป็ น ป่ า ไม้ ใ นเมื อ ง ต้ น แบบของเมื อ งไทยที่ ส มบู ร ณ์ ม าก ลำดับต่อมาคือทีส่ ถาบันจิตเวช โรงพยาบาล สมเด็ จ เจ้ า พระยา ตรงนั้ น เขาบั ง คั บ ว่ า จะต้ อ งมี ค วามเขี ย วร่ ม รื่ น เพราะเป็ น ส่วนหนึ่งของจิตบำบัด เพราะฉะนั้นต้นไม้ ที่นั้นจะไม่ตัดถ้าไม่จำเป็น ส่งผลให้พื้นที่ ตรงนีส้ วย อย่างบริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษม ตลาดน้ อ ย ก็ ถื อ ได้ ว่ า เข้ า ข่ า ยป่ า ไม้ ใ น เขตเมือง แต่ว่ายังรกเกินไป ไม่ได้รับการ ดู แ ลที่ ถู ก ต้ อ งเหมาะสม อาจทำให้ เ กิ ด

อาจารย์ธราดล ทันด่วน ผู้ชำนาญการด้านการดูแลต้นไม้ใหญ่ในเขตเมือง

อันตราย เพราะต้นไม้ใหญ่มันจะหักลงมา เมื่อไหร่ก็ได้” Q : “คิ ด อย่ า งไรกั บ ทั ศ นคติ ข องคน

ในเมื อ งกั บ ต้ น ไม้ ใหญ่ ที่ อ าจทำให้ เ กิ ด

มุ ม อั บ ซอกลื บ เสี่ ย งต่ อ การเกิ ด อาชญากรรม?” A : “ในอดี ต ที่ เ มื อ งเรายั ง ไม่ ใ หญ่ ม าก ป่าอาจจะใกล้ตัวเรา ใช้เวลานิดหน่อยก็ สามารถไปสัมผัสความร่มรื่นได้ แต่วันนี้ เมื อ งโตออกไปกว้ า งมาก พื้ น ที่ สี เ ขี ย ว หายไปเยอะ ความรู้สึกโหยหาสีเขียวมัน เป็นสิง่ ทีอ่ ยูภ่ ายใต้จติ ใจของมนุษย์ เพราะว่า จุดกำเนิดของมนุษย์อยูก่ ลางป่าลึก เอาตัวรอด กลางป่ า ลึ ก ใช้ ค วามอุ ด มของป่ า เพื่ อ

เอาตัวรอด เพราะฉะนั้นโดยส่วนลึกแล้ว เรายังโหยหาความร่มรื่น ความเขียวขจี

ของป่า และด้วยความที่เราโหยหาพื้นที่ สี เ ขี ย ว ผมว่ า ไปถามคนส่ ว นใหญ่ ว่ า กรุ ง เทพฯของเราร่ ม รื่ น แล้ ว หรื อ ยั ง ? ทุกคนจะบอกว่าไม่ เพราะร้อน ขาดความ ร่มรื่นของต้นไม้ เพราะฉะนั้นถ้าเราดูแล ป่ า ไม้ ใ นเขตเมื อ งให้ ดี จ ะส่ ง ผลกระทบ กลับมาทีต่ วั เรา ตัวอย่างหนึง่ ทีช่ ดั เจนมาก สถาบันจิตเวชวิทยา ต้นไม้คือส่วนหนึ่งใน การบำบัด เพราะฉะนั้นต้นไม้ที่นั่นร่มรื่น มันส่งผลกระทบทางจิตใจโดยตรงเพียงแต่ เราจะรูส้ กึ หรือไม่ แล้วคนรุน่ เราจะสามารถ หนีสภาพแวดล้อมเมืองไปหาพืน้ ทีท่ ตี่ อบสนอง ทางจิตใจของเราได้ ไหม? เพราะฉะนั้น ความเขียว ความร่มรื่นในเมืองเป็นเรื่องที่ จำเป็นอย่างแน่นอน ต้องมี! แต่เนื่องจาก เราไม่ได้ดูแลต้นไม้ใหญ่ตามที่ควรจะดูแล เราตัดหญ้าทุก ๑๐-๑๕ วัน ไม้พมุ่ ก็ตดั แต่ง BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

13


ในเวลาใกล้เคียงกัน แต่ต้นไม้ใหญ่บางที ๕ ปียังไม่ตัดแต่ง เราไม่ตัดแต่งไม่ดูแล ต้นไม้ ประกอบกับเราไปเอาต้นไม้มาจาก ต่างถิ่น ต้นไม้บางต้นก็เจริญเติบโตอย่างที่ เราไม่คาดคิดมาก่อน เติบโตอย่างรวดเร็ว แผ่กิ่งก้านสาขา กลายเป็นสร้างปัญหาให้ กับชุมชนเมืองเพราะเราไม่ได้ดูแลต้นไม้ กิ่ ง ไม้ หั ก ลงมาโดนรถโดนเด็ ก โดนคน ถามว่าเป็นความผิดของต้นไม้หรือเปล่า? เปล่ า ไม่ ใ ช่ เ พราะเป็ น ความผิ ด ของเรา ที่ ไม่ ได้ดูแลต้นไม้ ในเขตเมืองให้ถูกต้อง เหมาะสม” “ผมขอกลับมาทีต่ น้ ไม้กบั ชุมชนเก่า มีคำพูดอันหนึ่งผมจำไม่ได้ว่าเป็นของใคร บอกว่า “มนุษย์เราจะมีประสบการณ์ความ หลั ง ฝั ง ใจเกี่ ย วกั บ ต้ น ไม้ ต้ น ใดต้ น หนึ่ ง เสมอสำหรับตัวเรา” ในเมื่อชุมชนเกิดขึ้น ต้ น ไม้ บ างต้ น เป็ น ประวั ติ ศ าสตร์ ชุ ม ชน ผู้ ใ หญ่ ใ นชุ ม ชนอาจจะเคยมาประชุ ม ใต้ ต้ น ไม้ ต้ น นี้ เ พื่ อ ตั ด สิ น ใจอะไรบางอย่ า ง เพราะฉะนั้นการดูแลต้นไม้ ในชุมชนเก่า ผมถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องทำ เพราะว่าเป็น ส่วนหนึ่งที่โยงยึดกับประวัติศาสตร์ชุมชน ต้นไม้หลายๆ ต้นเราสูญเสียไปอย่างน่า เสี ย ดายยิ่ ง อย่ า งเช่ น ต้ น ตะเคี ย นซึ่ ง

14

ย่านจีนถิ่นบางกอก

รัชกาลที่ ๑ ท่านมีพระบัญชาให้ปลูกไว้ เพื่อเอาไม้ไปทำเรือรบ รอบคลองหลอด ตอนนี้เหลือ ๙ ต้น แล้วทุกคนก็ ไม่รู้ว่า ต้นไม้นี้เป็นประวัติศาสตร์ เป็นวิสัยทัศน์ ของรัชกาลที่ ๑ ทีท่ า่ นมองเอาไว้ ถ้า ๙ ต้น ตรงนี้ ห มดประวั ติ ศ าสตร์ ต รงนี้ ก็ ห มด เหมือนกันในชุมชนที่หลากหลาย ถ้าเรา รู้จักกับคนเฒ่าคนแก่ของชุมชน ให้เขา นึ ก ถึ ง ต้ น ไ ม้ ใ ห้ เ ข า เ ล่ า ควา ม ห ลั ง ความประทับใจ ในต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่งสิ แล้ ว เราจะรู้ ว่ า ต้ น ไม้ กั บ ชุ ม ชนมั น มี ประวั ติ ศ าสตร์ ร่ ว มกั น เพราะฉะนั้ น ไม่อยากให้ชมุ ชนเมืองเติบโตไปโดยไม่มอง ต้นไม้ในเมือง” Q : “ทำไมเราต้ อ งเรี ย นรู้ เรื่ อ งการ

ตัดแต่งต้นไม้” A : “การตัดแต่งต้นไม้ใหญ่มีความสำคัญ จริ งๆ แล้ ว ต้ น ไม้ ใ นเมื อ งต้ อ งตั ด แต่ ง ให้ กลมกลืนกับอาคารสถานที่ และวิถีชีวิต ของคนในเมื อ ง ต้ น ไม้ ใ นเมื อ งจะเป็ น อิสระแบบต้นไม้ในป่าไม่ได้ เราต้องดูแล อย่างชาญฉลาด ดูแลอย่างมีมุมมองของ ภู มิ ส ถาปั ต ย์ ด้ ว ย ต้ น ไม้ กั บ สถานที่ ต้ อ ง ส่งเสริมซึ่งกันและกัน อาคารที่สวยต้นไม้

ต้องไม่บดบัง แต่ต้องสร้างแรงจูงใจให้คน อยากดู อ าคารมากขึ้ น เราจำเป็ น ต้ อ ง พัฒนาตรงนี้อย่างเร่งด่วน เรามีโครงการ ปลูกต้นไม้มาเป็น ๑๕-๒๐ ปีแล้ว แต่ถามว่า วันนี้เรารู้สึกว่าบ้านเราร่มรื่นแล้วหรือยัง? เรายังไม่รู้สึก เพราะเรายังไม่ได้ดูแลต้นไม้ อย่ า งที่ ค วรจะเป็ น สนามหญ้ า ไม้ พุ่ ม เราต้องตัดทุก ๑๐-๑๕ วัน แต่ว่าถ้าต้นไม้ ใหญ่มันไม่หัก ไม่ก่อปัญหาเราจะไม่ตัด ซึง่ ไม่ใช่วธิ กี ารดูแลทีถ่ กู ต้อง เรือ่ งทีถ่ กู ต้อง จะต้ อ งจั ด โปรแกรมการตั ด ให้ ถู ก ต้ อ ง แล้ ว ต้ น ไม้ ก็ จ ะเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของสั ง คม อย่ า งสงบสุ ข ปรากฏกายอยู่ ใ นสั ง คม เป็ น มิ ต รกั บ ผู้ ค นในสั ง คม และอาคาร สถานทีโ่ ดยรอบ เป็นเรือ่ งทีเ่ ราต้องเริม่ ทำกัน อย่ า งเร่ ง ด่ ว น นอกจากนี้ ยั ง มี ป ระเด็ น เรื่องของศิลปะเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ถ้าเรา ดูแลต้นไม้ในเมืองเพื่อขจัดปัญหาอันตราย ออกไปแล้ว และเอาปัจจัยด้านศิลปะเข้ามา เกี่ ย วข้ อ ง เราจะได้ เ มื อ งที่ เ ขี ย วร่ ม รื่ น และต้นไม้กับอาคารอยู่กันอย่างเหมาะสม กลมกลืน ไม่โดดเด่นจนกระทั่งรู้สึกว่าใหญ่ จนน่ากลัวอันตราย ถ้าเราดูแลชุมชนและ ต้นไม้ก็จะอยู่ร่วมกันอย่างปลอดภัย”


Q : “แล้วศิลปะทีเ่ กีย่ วข้องในการตัดแต่ง ต้นไม้มีอะไรบ้าง?” A : “หนึ่งคือแสงสี เราเชื่อว่าถ้าจัดแสงให้ เข้ามาได้อย่างเหมาะสม จะทำให้เห็นสี

ที่งดงาม ต้นไม้ที่ทึบมากเกินไปเรามอง ขึ้ น ไปจะไม่ เ ห็ น สี เ ขี ย ว ถ้ า เราสางให้ ใ บ ทุกใบได้รับแสงแดดที่เพียงพอเราก็จะเห็น สี เ ขี ย วที่ ส วยงาม และยั ง ช่ ว ยให้ ไ ม่ ต้ อ ง กวาดใบไม้บ่อยๆ เพราะเมื่อต้นไม้ใบทึบ หนามากจะไม่ได้รับแสงและจะสลัดใบทิ้ง ดังนั้นถ้าในหน้าฝนเมื่อเรารู้สึกว่าใบไม้ร่วง ผิดปรกติ ให้ลองแหงนขึ้นไปมองยอดไม้ ต้นไม้จะทึบเริ่มไม่สวย พอเราเปิดต้นไม้ ให้โปร่งลมก็จะเข้า พอเราเปิดแสงเข้ามา ได้อย่างเหมาะสม ก็จะทำให้เห็นสีเขียวที่ สวยงาม ไม้ประดับใต้ตน้ ไม้ใหญ่กจ็ ะสวยขึน้ พอเราเห็นแสงสี เราจะเห็นเส้นสายของ ลำต้นกิ่งก้าน ถ้าเราจัดลำต้นของกิ่งก้าน ให้สวยต้นไม้นนั้ ก็จะสวยมาก เพราะเราไม่ได้ จัดต้นไม้ ให้มีเส้นสายของลำต้นเส้นสาย ของกิ่ ง ที่ ส อดคล้ อ งกั บสายพันธุ์ของเขา ต้ น ไม้ แ ต่ ล ะต้ น แต่ ล ะชนิ ด มี ฟ อร์ ม ไม่ เหมื อ นกั น เราเข้ า ใจฟอร์ ม ต้ น ไม้ ข อง แต่ ล ะต้ น ดี พ อหรื อ เปล่ า เพื่ อ ตั ด แต่ ง ให้ แสดงเอกลักษณ์ของเขาออกมาได้เต็มที่ ต่อมาก็คือพื้นผิว บางทีใบไม้มากเกินไป ไม่ ไ ด้ รั บ การสางออกเราก็ ไ ม่ เ ห็ น ผิ ว น้ ำ ถ้าเราจัดพื้นผิวโดยรอบให้โดดเด่นขึ้นมา ก็จะสวย พอครบทั้ง ๓ องค์ประกอบเราก็ จะเห็นรูปทรง อาคารทีส่ วยก็จะเริม่ ปรากฏ ถ้ า มี แ สงปล่ อ ยลงมาที่ อ าคารในระดั บ ที่เหมาะสม ความสวยของอาคารสถานที่ ก็จะปรากฏขึ้นมา รูปทรงสารพัดสิ่งที่อยู่ ในนั้นก็จะปรากฏ ถัดมาคือวิถีชีวิต ต้นไม้ กับวิถีชีวิตอยู่ด้วยกัน ถ้าเราตัดแต่งต้นไม้ ไม่ ใ ห้ ร บกวนวิ ถี ชี วิ ต ของผู้ ค นในชุ ม ชน เราจะเห็ น อะไรที่ ส วยงามหลากหลาย ไม่ ใช่แค่วิถีชีวิตที่เกิดขึ้นในตอนเช้าและ ตอนเย็ น แต่ ใ นช่ ว งกลางวั น ที่ แ ดดจั ด ๆ ยังมีความร่มรื่นของต้นไม้อยู่ด้วยวิถีชีวิต

ก็ยงั ดำเนินต่อ เพราะฉะนัน้ เราต้องดูวถิ ชี วี ติ ท้ายสุดคือรสนิยมของพื้นที่นั้น บางคน

ถ้าเราตัดแต่งต้นไม้ไม่ให้รบกวนวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชน เราจะเห็นอะไรทีส่ วยงามหลากหลาย ไม่ใช่แค่วถิ ชี วี ติ ทีเ่ กิดขึน้ ในตอนเช้าและตอนเย็น แต่ในช่วงกลางวันที่แดดจัดๆ ยังมีความร่มรื่นของต้นไม้อยู่ด้วย วิถีชีวิตก็ยังดำเนินต่อ ชอบแบบนั้ น บางคนชอบแบบนี้ เ ป็ น รสนิยมของชุมชน นักท่องเที่ยวบางคนนั่ง รถออกจากสนามบินมาเห็นต้นไม้ริมถนน ก็สามารถบอกรสนิยมของคนในกรุงเทพฯได้ เขาก็เข้าใจว่าคนกรุงเทพฯมีรสนิยมแบบนี้ ดังนั้นเราต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเรามีรสนิยมที่ ดีกว่านี้” Q: “แล้วทำไมในต่างประเทศถึงมีรสนิยม เรื่ อ งการตั ด แต่ ง ต้ น ไม้ ที่ ดู ดี ก ว่ า บ้ า น เรา?” A: “ประเด็นแรก ความรู้ ความชำนาญ ด้านนี้ในต่างประเทศไปไกลมาก แต่บ้าน เรายังไม่เริม่ ต้น เหตุทบี่ า้ นเรายังไม่เริม่ ต้น อาจเป็นเพราะในอดีตเราไม่มีความรู้สึก โหยหาต้นไม้ในเขตเมือง เราเดินออกไป ไม่กี่ร้อยเมตรก็เจอป่า ซึ่งเราเข้าไปใช้ชีวิต ในป่าเพือ่ ตอบสนองความต้องการของเราได้ แต่พอเมืองเราโตขึน้ ผูค้ นมากขึน้ เรารูส้ กึ ว่าเราต้องการให้ป่าให้ความร่มรื่นมาอยู่ ใกล้ตัวเรา เพราะฉะนั้นเราจึงเพิ่งเริ่มรู้สึก เพิ่ ง เริ่ ม ต้ น ที่ จ ะเข้ า มาทำตรงนี้ ทำให้ ความรู้ความชำนาญในเรื่องนี้ยังด้อยกว่า ต่ า ง ป ร ะ เ ท ศ เ ย อ ะ ไ ม่ ต้ อ ง ไ ป ไ ก ล อย่ า งประเทศมาเลเซี ย หรื อ สิ ง คโปร์ เขาดูแลต้นไม้ดีกว่าเรา เพราะว่าเขาได้รับ อิทธิพลจากอังกฤษ หรือแม้แต่ประเทศ เวี ย ดนาม พนมเปญ ก็ เ จอต้ น ไม้ ใ หญ่ โบราณที่อลังการ เพราะเขาได้รับอิทธิพล จากประเทศฝรั่งเศส ซึ่งอาจเป็นข้อเสีย ของการเป็นประเทศเอกราชก็ได้ ที่ทำให้ เราพั ฒ นาช้ า ในตรงนี้ แต่ วั น นี้ เ รารู้ ตั ว

ก็ เ ป็ น เรื่ อ งดี ที่ เ ราจะเข้ า ไปจั บ มั น อย่ า ง จริงจัง” Q: “จุ ด เด่ น ของต้ น ไม้ ใ นเมื อ งไทย

คืออะไร?” A: “ผมว่ า เราเหนื อ กว่ า ทั้ ง มาเลเซี ย สิ ง คโปร์ หรื อ แม้ แ ต่ ญี่ ปุ่ น เพราะเรามี พรรณไม้ที่หลากหลายมาก เราจะเห็นว่า ในช่วงจังหวะที่ต้นไม้กลุ่มหนึ่งออกดอก ต้ น ไม้ ใ นกลุ่ ม อื่ น ออกดอก และมั น ก็ จ ะ ออกดอกไล่เรียงกันไป ซึ่งถ้าเราจัดการ ตรงนีใ้ ห้ดี บ้านเราจะสวยยาวจะโดดเด่นยาว ผมยกตั ว อย่ า งต้ น ไม้ ต ระกู ล ตะแบก พอลมหนาวเข้ามา เสลา ชมพูพันธุ์ทิพย์ ออกดอก พอเสลาเริ่ ม โรย อิ น ทนิ ล น้ ำ

จะออกดอก พออินทนิลน้ำเริม่ โรย ตะแบก จะเริม่ ออกดอก แม้กระทัง้ ต้นไม้ในกลุม่ เดียวกับ ซากุระทีเ่ ราเรียกว่า สปริงบลูมเมอร์ (Spring Bloomer) เราก็ยังมีหางนกยูงฝรัง่ ซึง่ ใน ข้อสังเกตของผมเชื่อว่าเขาออกดอกตาม ชัว่ โมงวันยาว ระหว่างทีช่ มพูพนั ธุท์ พิ ย์ออก เสลาออก เรายังไม่เห็นหางนกยูงฝรั่งออก พอพวกนั้นหมดตอนนี้ที่วันยาวช่วงเดือน กรกฎาคม หรือที่ฝรั่งเรียกว่า ซัมเมอร์ บลูมเมอร์ (Summer Bloomer) เราจะเห็น หางนกยูงฝรั่งออกทั่วประเทศ นี่คือความ หลากหลายในสายพันธุ์ ซึง่ ถ้าเรารูท้ จี่ ะเล่น กับมัน เข้าใจอย่างลึกซึ้งในพรรณไม้แต่ละ ชนิดที่จะเล่นกับมัน บ้านเราสวยกว่าเขา มากมายหนักหนา นี่คือข้อที่หนึ่ง” “ข้อทีส่ อง เรายังมีความหลากหลาย ทางด้านดินฟ้าอากาศ ภาคเหนือจะเย็นกว่า

BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

15


เราต้องควบคุมต้นไม้ในเมืองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้ต้นไม้และมนุษย์อยู่กันอย่างสันติ ภาคใต้จะชืน้ กว่า ความแตกต่างตรงนีจ้ ะทำให้ ต้นไม้ชนิดเดียวกันตอบสนองต่อสภาพดินฟ้า อากาศที่ ต่ า งกั น แล้ วมีปฏิกิริยาต่างกัน ถ้าเราเข้าใจ ระหว่างที่เชียงใหม่ออกดอก สวยๆ ภาคกลางอาจจะยังไม่ออก อาจจะ ช้าเหลื่อมกันซักนิดหนึ่ง แต่พอเชียงใหม่ เริม่ โรย ต้นไม้ชนิดเดียวกันในภาคกลางอาจ จะเริ่มบาน เราจะมีสีสันที่โดดเด่นประดับ บ้านเมืองเราเป็นช่วงเวลาทีก่ ว้างกว่าประเทศ อื่นมาก ในขณะเดียวกันเรามีต้ น ไม้ พ วก ซัมเมอร์ บลูมเมอร์ (Summer Bloomer) คือผลัดใบ ออกดอก และแตกยอดอ่อน เราก็ยงั มีพวกนีอ้ อกดอกไปเรือ่ ยๆ จนกระทัง่ เกือบๆ จะหมดฝน พออากาศเย็นหน่อยชงโค จะบาน และหลังจากนัน้ พวกเสลาจะกลับมา เราจะมีไม้ดอกที่วนเวียนตลอดปี บวกกับ สภาพดิ น ฟ้ า อากาศที่ แ ตกต่ า งกั น ตั้งแต่ เหนือจดใต้ เราจะมีอะไรทีห่ ลากหลายตื่นตา ตลอดทัง้ ปี ไม่เหมือนกับซากุระทีม่ ปี ลี ะครัง้ และไม่เหมือนกับสิงคโปร์ทเี่ ขียวตลอดทัง้ ปี เราจะอยู่ตรงกึ่งกลาง ทำให้บ้านเรามีอะไร ที่น่าสนใจมาก ขอให้เราศึกษาให้ลึก” Q : “แสดงว่าจริงๆ แล้วบ้านเรามีความ หลากหลายของพรรณไม้ใหญ่เยอะมาก แต่ ที่ ผ่ า นมาเราไม่ เ คยทำความเข้ า ใจ ธรรมชาติ ข องต้ น ไม้ และเรี ย บเรี ย ง ข้อมูลให้เป็นระบบ?” A : “ถูกต้อง ต้นคูนซึง่ เป็นต้นไม้ประจำชาติ ผมถามว่าอะไรที่กระตุ้นให้มันออกดอก? คื อ มั นมี ตาดอกอยู่ แ ล้ ว อะไรที่ กระตุ้ น ให้ ตาดอกพัฒนามาเป็นช่อดอก ทุกคนก็จะ บอกว่ า ฤดู แ ล้ ง ผมบอกไม่ ใ ช่ ผมเห็ น ต้นคูนที่อยู่ริมน้ำแล้วมันออกดอกสะพรั่ง สิ่งที่กระตุ้นให้ต้นคูนออกดอกอาจจะไม่ใช่ ความแห้งแล้งก็ได้ ผมเชือ่ ว่าความแตกต่าง ระหว่างอุณหภูมิสูงสุดของบ่ายวันนั้นและ 16

ย่านจีนถิ่นบางกอก

อุ ณ หภู มิ ต่ ำ สุ ด ในคื น นั้ น ถ้ า ระยะห่ า ง ระหว่างอุณหภูมิมากพอถึงกี่องศาและต่อ เนือ่ งเป็นเวลากีว่ นั เราจะเห็นต้นคูนออกดอก เคยมีคนถามว่าทำไมต้นคูนในบ้านลูกค้า ท่านหนึ่ง เลี้ยงดีแต่ทำไมต้นคูนที่อยู่ข้าง ถนนไม่ มี ค นดู แ ลกลั บ ออกดอกสวยกว่ า

ต้นคูนที่อยู่ในบ้าน ซึ่งผมบอกว่ามันเป็น ไปได้หรือเปล่าว่าต้นไม้ทอี่ ยูข่ า้ งถนนมันร้อน เพราะความร้อนจากถนนเผา ในระหว่างที่ ต้นคูนในบ้านลูกค้า มันร่มรื่น เย็นสบาย ไม่มีความเครียดเกิดขึ้น พอกลางคืนบ้าน ลู ก ค้ า ต้ น ไม้ เ ยอะ อุ ณ หภู มิ ก็ ไ ม่ ล ดวู บ ระหว่ า งที่ ต้ น คู น ข้ า งถนนลมหนาวเข้ า ปะทะเต็มๆ ยิง่ กลางคืนระหว่างตี ๒ ถึง ตี ๔ ถนนรถโล่งไม่มคี วามร้อนจากรถ ความร้อน จากถนนระเหยหมด แล้วมีลมหนาวเข้า ลมหนาวจะปะทะต้นคูนเต็มที่ เพราะฉะนัน้ อุณหภูมทิ ตี่ น้ คูนได้รบั จะลดต่ำลงมามากกว่า พอเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นถึงระยะหนึ่งต้นคูน ก็จะออกดอก อันนี้เป็นความเชื่อของผม สำหรับต้นคูน สำหรับต้นอืน่ ก็ไม่แน่ เราต้อง ศึกษาเรื่องพวกนี้อย่างลึกซึ้ง เราจะเล่นได้ ทัว่ ประเทศ เอาพูดถึงเรือ่ งต้นคูนก่อน ต้นคูน เป็นพวก สปริง บลูมเมอร์ (Spring Bloomer) นิสยั การออกดอกเหมือนพวกซากุระ เรามี ต้นไม้ในกลุม่ จำพวก สปริง บลูมเมอร์ (Spring Bloomer) เยอะแยะทัว่ ประเทศ นางพญาเสือโคร่ง ประจำจังหวัดหนึง่ เสลาประจำจังหวัดนครสวรรค์ ประดู่ประจำจังหวัดชลบุรี ฯลฯ ถ้าจังหวัด เหล่านีศ้ กึ ษาต้นไม้ประจำจังหวัดของตัวเอง ให้ดี แล้วปลูกโดยเข้าใจสภาพแวดล้อมที่ ต้นไม้ชนิดนั้นต้องการ เราจะสามารถจัด งานประจำปีวนั ทีด่ อกไม้ประจำจังหวัดบาน ได้อลังการ แล้วเดี๋ยวก็เกิดขึ้นที่นู่นเกิดขึ้น ที่นี่ มันเยอะแยะหลากหลายกว่าซากุระ ชนิดเดียว ทัว่ ประเทศไม่ใช่แค่จงั หวัดเดียว แต่เป็นในหลายๆ จังหวัด ที่เรายังก้าวไป

ไม่ถึงจุดนี้เพราะเรายังศึกษาน้อยเกินไป นักวิชาการต้องเข้ามาช่วยมากกว่านี้” Q : “แล้วอะไรที่เราควรจะต้องทำความ เข้าใจต้นไม้ในเมืองเป็นลำดับแรกๆ?” A : “มีสองเรื่องด้วยกัน อันดับแรกเรา เข้าใจหรือไม่วา่ ต้นไม้นนั้ สุขภาพดีหรือเปล่า บางที ต้ น ไม้ บ อกว่ า เขาป่ ว ย เขาแสดง อาการว่าเขาป่วย แต่เราก็ไม่รู้ว่าเขาป่วย พื้ น ที่ ใ บของต้ น ไม้ เ ป็ น ตั ว บอกว่ า ต้ น ไม้

ต้ น นั้ น แข็ ง แรงดี ห รื อ ป่ ว ย ถ้ า ปี ที่ แ ล้ ว

พื้นที่ใบเยอะในหน้าฝน แต่ปีนี้ในหน้าฝน ใบบางลง และพื้ น ที่ ใ บจะลดลงเรื่ อ ยๆ จนวันที่เขาตายคือไม่มี ใบเลย ซึ่งถ้าเรา เข้าใจว่าเข้าป่วยเราก็จะสามารถตามคนทีร่ ู้ มาได้ ข้อสอง ต้องสังเกตต้นไม้ว่าจะก่อ อันตรายให้กบั เราหรือเปล่า ต้นเอนหรือเปล่า กิ่งทอดยาวหรือเปล่า ต้นใหญ่จนกระทั่ง ปะทะลมมากหรือเปล่า ถ้าลมแรงๆ ต้นไม้ อาจจะปะทะลมจนกระทั่ ง ล้ ม ลงมาก็ ไ ด้ ต้องสังเกตอันตราย มีคำพูดในเรื่องการ จัดการต้นไม้ใหญ่ เราจะต้องรักษาสมดุล ระหว่างอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับความ สวยงามของต้ น ไม้ ต้ น นั้ น เราสามารถ ทำได้ เราตัดต้นไม้ที่เรารู้สึกไม่ปลอดภัย เราตัดให้เรามัน่ ใจได้ ๑๐๐% ว่าต้นไม้ตน้ นี้ ไม่ล้ม แต่เราก็จะได้ต้นไม้ที่อัปลักษณ์มา ต้นหนึ่ง ขณะเดียวกันถ้าเราอยากได้ต้นไม้ สวยต้นไม้ใหญ่ ระดับความอันตรายก็จะ สูงขึ้น เพราะฉะนั้นสองตัวเป็นตัวที่ผกผัน กั น อยู่ คนที่ ดู แ ลต้ น ไม้ ต้ อ งรั ก ษาสมดุ ล ระดับความอันตรายแค่ไหนทีร่ บั ได้ เป็นศิลปะ ตัวหนึง่ ทีส่ ร้างสมดุลระหว่างความอันตราย ที่รับได้กับความสวยงาม ซึ่งตรงนี้บ้านเรา ยังขาดมาก” Q : “ทราบมาว่ า ตอนนี้ เ กิ ด อาชี พ

ที่ เรี ย กว่ า รุ ก ขกร ซึ่ ง อาชี พ นี้ เริ่ ม ต้ น

เมื่อไหร่ มีบทบาทเกี่ยวกับต้นไม้อย่างไร ในเมืองไทยมีคนทำเยอะแค่ไหน และแนวโน้ม ของอาชี พ นี้ ในอนาคตจะไปในทิ ศ ทาง ใด?” A : “ในสมัยก่อนเราจะเรียกว่า “วนกร” (Forester) พวกนี้จะดูแลสวนป่า ป่าใน


ธรรมชาติ แต่ “รุกขกร” (Arborist) เป็นคำใหม่ ซึ่งเป็นสำนวนที่ท่านอาจารย์เดชา บุญค้ำ บัญญัติขึ้นเพื่อเรียกคนที่ทำงานในอาชีพนี้ ทีพ่ ฒั นามาจาก “หมอต้นไม้” (Tree Surgeon) เพราะว่าจาก Tree Care พัฒนาขึ้นมา เป็น Urban Tree Care รุกขรจึงเป็นผู้ ดูแลต้นไม้ทุกชนิดในเขตเมืองไม่เฉพาะ แค่ ต้ น ไม้ ใ หญ่ โดยต้ อ งมองภาพพื้ น ที่ สี เ ขี ย วในเมื อ งว่ า เป็ น ป่ า ไม้ ใ นเขตเมื อ ง และมองภาพรวมทัง้ หมด ทัง้ ไม้ใหญ่ ไม้เถา ไม้เล็ก ไม้ลา่ ง เพราะฉะนัน้ ตรงนีเ้ ป็นเรือ่ งใหม่ ในต่างประเทศเป็นกระแสทีแ่ รงมาก แต่บา้ นเรา เพิ่ ง เริ่ ม ต้ น นั กวิ ช าการบางสาขายั ง ไม่ ยอมรับ สำหรับบทบาทหน้าที่ของรุกขกร หลายคนมั ก จะถามว่ า ทำไมเราต้ อ งมา ดูแลต้นไม้ในเมือง ต้นไม้ในป่าไม่เห็นต้อง มี ใ ครดู แ ล? เพราะต้ น ไม้ ใ นป่ า เราเน้ น ธรรมชาติรอบตัวของเขาเป็นหลัก เราเน้น การอยู่ ร อดของต้ น ไม้ ใ นป่ า เป็ น หลั ก

โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในอุ ท ยานทุ ก คนจะ บอกว่ า เราอย่ า ไปรบกวนต้ น ไม้ เข้ า ไป เยีย่ มต้นไม้ได้จดุ หนึง่ ที่ไม่รบกวนป่า แต่วา่ ในเมืองไม่ใช่ ต้นไม้กับมนุษย์ ต้นไม้กับ วิ ถี ชี วิ ต ของคนเมื อ งจะต้ อ งอยู่ ด้ ว ยกั น

อย่างปกติสุข มนุษย์ต้องไม่รบกวนต้นไม้ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ปล่อยให้ต้นไม้เติบโต อย่างอิสระ เราต้องควบคุมต้นไม้ในเมือง ให้อยู่ ในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้ต้นไม้ และมนุษย์อยู่กันอย่างสันติ สิ่งที่แตกต่าง อีกข้อหนึ่งของป่าไม้ ในเขตเมืองและป่า ธรรมชาติก็คือ มนุษย์มีความสามารถไม่มี ที่สิ้นสุด ต้นไม้ ในป่าเป็นองค์ประกอบที่ สมบูรณ์ตายตัวแล้ว เราเดินเข้าไปป่าเต็งรัง เราจะรู้ว่าองค์ประกอบของป่าจะมีต้นไม้ ชนิดนี้ๆ ตายตัว แต่ป่าไม้ ในเมืองไม่ ใช่ บางต้นเอามาจากอเมริกาใต้ เอามาจาก แอฟริกา เอามาจากภาคเหนือ เอามาจาก ชายทะเล เอามารวมกั น อยู่ ใ นเมื อ ง เพราะฉะนั้นความหลากหลายของต้นไม้ ในเมืองจะมากกว่า เป็นองค์ประกอบทีไ่ ม่เคย ปรากฏในธรรมชาติมาก่อน เพราะฉะนั้น คนที่ จ ะดู แ ลต้ น ไม้ ใ นเมื อ งจะต้ อ งเข้ า ใจ ต้นไม้แต่ละต้น ย้อนกลับไปถึงเทือกเขา เหล่ากอของต้นไม้แต่ละสายพันธุ์ ซึง่ ถือว่า เป็นงานที่ยาก เป็นงานที่ประณีต ต้องเป็น คนที่เข้าใจต้นไม้ ยกตัวอย่างต้นหูกระจง เป็นต้นไม้ ที่ ม าจากแอฟริ กาซึ่ ง แห้ ง แล้ ง

พอนำเอามาปลูกทีก่ รุงเทพฯ ดินดี เราก็จะ

พบปัญหาต้นหูกระจงก็โตไปทับต้นไม้อนื่ หมด ทำให้ ต้ น ไม้ อื่ น ไม่ โ ต ในขณะเดี ย วกั น ต้นไม้บางชนิดที่เคยอยู่ ในที่เย็น พอเอา ลงมาปลูกที่กรุงเทพฯร้อน ต้นไม้ก็ ไม่ โต ซึ่งเป็นปัจจัยที่เราต้องเข้าใจ ต้นไม้จะตอบ สนองต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มใหม่ โ ดยมี พื้ น ฐาน จากประวัติถิ่นที่อยู่เดิมของเขา เราต้อง เข้าใจตรงนี้เป็นปัจจัยที่ต้องดูแลอย่างลึกๆ ต้องใช้ความรู้อย่างมาก ซึ่งในปัจจุบันนี้ แม้กระทั่งตัวผมเองก็ยังไม่กล้าที่จะเรียก ตัวเองว่าเป็นรุกขกร ถ้าผมอยู่เมืองนอก ผมเรียกตัวเองว่าเป็นรุกขกรได้ เพราะใน เมื อ งนอกมี ต้ น ไม้ ใ หญ่ อ ยู่ ๕๐ ชนิ ด

เราสามารถที่จะรู้ได้อย่างละเอียด แต่ว่า บ้านเราต้นไม้เยอะ เราเข้าใจต้นไม้เพียง เศษเสี้ยวของมัน เพราะฉะนั้นในเวลานี้ เรายั ง ไม่ มี รุ ก ขกรตั ว จริ ง แต่ ณ วั น นี้ ทางคณะวนศาสตร์ ซึง่ เป็นหน่วยงานทีผ่ ลิต คนในเรือ่ งนีก้ เ็ ริม่ ให้ความสนใจ กรมป่าไม้

ซึง่ แต่เดิมสนใจแต่ปา่ ธรรมชาติ ในปัจจุบนั นี้ ก็ เ ริ่ ม หั นมาให้ ความสนใจป่ า ไม้ ใ นเมื อ ง ผมเชือ่ ว่าเมือ่ สอดประสานกัน คณะวนศาสตร์ อาจจะเริ่ ม ผลิ ต คนระดั บ บั ณ ฑิ ต ที่ เ ข้ า ใจ เรื่ อ งป่ า ไม้ ใ นเมื อ งที่ เ ป็ น อยู่ จ ริ ง ในบ้ า น BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

17


18

ย่านจีนถิ่นบางกอก


แหล่งข้อมูล

www.suansavarose.com www.qsbg.org www.baanlaesuan.com www.oknation.net www.travelaround.bloggang.com (TraveLAround)

“เรามีต้นไม้ในกลุ่มจำพวก สปริง บลูมเมอร์ (Spring Bloomer) เยอะแยะทั่วประเทศ นางพญาเสือโคร่ง ประจำจังหวัดหนึ่ง เสลาประจำจังหวัดนครสวรรค์ ประดู่ประจำจังหวัดชลบุรี ฯลฯ ถ้าจังหวัดเหล่านี้ ศึกษาต้นไม้ประจำจังหวัดของตัวเองให้ดี แล้วปลูกโดยเข้าใจสภาพแวดล้อมที่ต้นไม้ชนิดนั้นต้องการ

เราจะสามารถจัดงานประจำปีวันที่ดอกไม้ประจำจังหวัดบานได้อลังการ แล้วเดี๋ยวก็เกิดขึ้นที่นู่นเกิดขึ้นที่นี่ มันเยอะแยะหลากหลายกว่าซากุระชนิดเดียว ทั่วประเทศไม่ใช่แค่จังหวัดเดียว แต่เป็นในหลายๆ จังหวัด”

BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

19


เมืองเรา กรมป่าไม้สั่งสมความชำนาญ ในการดูแลป่าไม้ในเขตเมือง ยื่นมือออก ไปจับกับเทศบาล อบต. กทม. เพือ่ สนับสนุน การดูแลต้นไม้ ในเขตเมือง ผมเชื่อว่าถ้า เราร่วมแรงแข็งขันกันจริงๆ ผมว่าผมได้ เห็นก่อนตาย บ้านเมืองทีร่ ม่ รืน่ และในวันนี้ กระแสมันมาจากชาติตะวันตกมาถึงเมืองไทย ในเมืองไทยก็เริ่มเป็นกระแสที่แรงขึ้นใน การดูแลต้นไม้อย่างถูกต้อง มันไม่มีทาง จะลดลง คนทีท่ ำงานในอาชีพนีจ้ ะก้าวเข้ามา ทำมากขึ้น หลากหลายมากขึ้น คนที่เคย ทำเรื่องโรคแมลงก็อาจจะหันมาทำเรื่อง โรคแมลงศั ต รู ป่ า ไม้ ใ นเมื อ งซึ่ ง มี อ ะไรที่ หลากหลาย ในอนาคตผมเชือ่ ว่ายังมีแนวโน้ม ที่ดีที่จะเกิดขึ้นในเมืองไทย แต่คนที่เป็น ปัจเจกชนอย่างพวกเราต้องตั้งหลักให้ดี อย่างทีบ่ อกว่าต้นไม้มนั ไม่ใช่ตน้ ไม้อย่างเดียว มันมีนิสัยของมันติดมาด้วย มีความคุ้นชิน กับภูมปิ ระเทศอย่างใดอย่างหนึง่ ติดมาด้วย เพราะฉะนั้นต้นไม้แต่ละต้นไม่เหมือนกัน ดูแลไม่เหมือนกัน นิสัยในการออกดอก ต่างกัน รูปทรงโครงสร้างต่างกัน เราต้อง หัดมอง เมืองไทยเราโชคดีนักหนาที่ยังมี พื้นที่เหลืออยู่เยอะ เพราะต้นไม้หลายๆ ชนิดไปเกิดและเติบโต ผมใช้คำว่า “เบ่งบาน ได้เต็มที”่ เราจะเห็นต้นไม้สวยๆ ฟอร์มสวยๆ เยอะแยะมาก เราก็ต้องจำว่าต้นจามจุรี ฟอร์ม เป็ น แบบนี้ น ะ หางนกยูงฝรั่งเป็น แบบนี้นะ ต้นนั้นต้นนี้เป็นแบบนี้ ถ้าเรา คุ้นชินกับพวกนี้แล้วเอามาปรับใช้ต้นไม้ บ้านเราจะสวยกว่านี้ มันมีอะไรทีห่ ลากหลาย มากสำหรับต้นไม้ที่เอามาใช้ปลูกในเมือง ของบ้านเรา” Q : “เราจะร่ ว มกั น สร้ า งป่ า ในเมื อ ง

และการเริ่มต้นเป็นรุกขกรในพื้นที่บ้าน ของตัวเองได้อย่างไร?” A : “ถ้าเราทุกคนปลูก พื้นที่สีเขียวมันก็ เริ่ ม จะกระจายต่ อ เนื่ อ งกลายเป็ น ป่ า ได้

สิ่ ง ที่ ต้ อ งทำให้ เ กิ ด ขึ้ น คื อ ทำให้ เ กิ ด ขึ้ น ในบ้ า นเรา แต่ เ ราเลื อ กต้ น ไม้ ม าปลู ก

อย่าเอาใจเราเป็นหลัก เราต้องเอาใจเรา กั บ ต้ น ไม้ ม าประกอบกั น เราต้ อ งเข้ า ใจ ต้นไม้ ต้องคัดกรองต้นไม้ โดยที่ยึดต้นไม้ 20

ย่านจีนถิ่นบางกอก

เป็ น หลั ก ก่ อ น แล้ ว คั ด กรองว่ า ในชุ ด นี้ มั นน่ า จะอยู่ ไ ด้ ใ นพื้ น ที่ เ รา แล้ ว เราค่ อ ย เลือกต้นที่เราชอบเอามาปลูก ปัญหาก็จะ น้อยลง เราอาจจะทำงานเป็นรุกขกรไม่ได้ ๑๐๐% แต่เราจะเริ่มดูแลมัน ถ้าเราเริ่ม ดูแลมันให้ถูกต้อง ผมว่าไม่ ใช่เรื่องที่จะ พัฒนายาก ถ้าเราเริม่ ต้นปลูกจากต้นเล็กๆ แต่ พ อต้ น ใหญ่ ก็ ค งทำเองไม่ ไ ด้ ต้ อ งใช้

มืออาชีพ” Q : “อย่างในตอนนี้มีการเปิดอบรม หลักสูตรการเป็นรุกขกรของโรงเรียน ต้ น ไม้ ที่ ส ถาบั นจิ ต เวช โรงพยาบาล สมเด็ จ เจ้ า พระยา อยากจะทราบว่ า โครงการนี้ เ กิ ด ขึ้ น มาได้ อ ย่ า งไร แนว ความคิด เป้าหมาย วัตถุประสงค์ของ การทำคืออะไร?” A : “เริ่มต้นจากสถาบันจิตเวชเชิญผมไป บรรยายเรื่องการดูแลต้นไม้ เพราะทาง สถาบั น ฯรู้ สึ ก ว่ า ต้ น ไม้ เ ริ่ ม เป็ น ปั ญ หา แล้วถ้าขืนตัดต้นไม้แบบที่ตัดกันข้างถนน ต้ น ไม้ ก็ จ ะหมดสวย ผมก็ ไ ปบรรยาย พอบรรยายคุณหมอก็บอกว่าจ้างครูต้อมา ตัดได้ไหม ซึ่งถ้าคุณหมอจ้างผมก็จะต้อง เปิ ด ประมู ล ตามระเบี ย บของราชการ แล้วคุณหมอก็จะได้คนตัดที่ถูกที่สุดและ เราจะไม่ ไ ด้ วิ ธี การที่ ตั ด แบบนี้ มั น ก็ จ บ ตอนนัน้ ก็งงกันว่าจะทำอย่างไร? เพราะต้นไม้ ในสถาบันจิตเวชถึงเวลาที่ต้องดูแลแล้ว จนกระทั่ ง วั น หนึ่ ง รองผู้ อ ำนวยการ นพ. วีระพล อุณหรัศมี ท่านก็โทรศัพท์มา ชวนเปิดโรงเรียนต้นไม้ที่สถาบันฯ ใช่เลย! เพราะว่าคนที่มาเรียนจะได้ความรู้สึกของ การทำงานในป่าของเมืองที่ร่มรื่น เขาจะ ดูดซับความรู้สึกตรงนั้นเอาไว้ เขามีโอกาส ที่จะได้เรียนรู้และสร้างประสบการณ์ กั บ ต้ น ไม้ ที่ ต้ อ งเริ่ ม ทำอะไรแล้ ว จึ ง จั ด หลักสูตรที่นั่นและผมมีสัมพันธ์อยู่กับทาง Big Trees ระดับหนึ่ง วันหนึ่ง Big Trees ก็บอกว่าปี พ.ศ. ๒๕๕๗ เราจะมีโปรเจค อะไรกั น บ้ า ง ผมก็ บ อกให้ เ ปิ ด โรงเรี ย น ต้นไม้เลยโดยที่ ปตท. สนับสนุนมา ก็ทำให้ โรงเรี ย นต้ น ไม้ เ ป็ น จริ ง โดยนั ก เรี ย น ชุดแรกที่เราจัดอบรมเป็นชุดหัวหน้างาน

เพราะถ้าเราไม่สร้างหัวหน้างานทีม่ คี วามคิดที่ ถูกต้อง เราไปสร้างคนงาน งานก็จะยังไม่เกิด เราจึงต้องสร้างหัวหน้างานก่อนแล้วรุน่ ต่อไป จะสร้ า งคนงานที่ ป ฏิ บั ติ ง านบนต้ น ไม้ หลังจากนัน้ ก็จะจับประกบคูก่ นั กับหัวหน้างาน โดยให้ Big Trees เป็ น ศู น ย์ รั บ งาน เพราะฉะนั้นต่อไปใครอยากตัดต้นไม้ก็อาจ จะเรียกไปที่ Big Trees เท่าที่ทราบเริ่มมี คนก้าวออกไปทำอาชีพนี้บ้างแล้ว เขาก็ ยั ง เริ่ ม ต้ น เตาะๆ แตะๆ แต่ ว่ า มั น เป็ น สั ญ ญาณที่ ดี ในอนาคตพอเราสร้ า งคน ระดับผูป้ ฏิบตั งิ านป้อนเข้าไปในสังคมมากๆ การดู แ ลต้ น ไม้ บ้ า นเราก็ จ ะสวยขึ้ น ดี ขึ้ น เราคาดหวังว่าจะมีรุ่นอื่นๆ อีกไม่เฉพาะ รุ่นนี้ และเราฝันว่าเมื่อมีคนเรียนรู้เรื่องนี้ หลายๆ รุ่ น เราจะระดมพลขอทำงาน สาธารณะกุศล เลือกต้นไม้ขา้ งถนนสายหนึง่ เอาลูกศิษย์ทงั้ หมดลงไปตัดต้นไม้สกั ทีหนึง่ อั น นี้ ก็ เ ป็ น แผนอี ก ๓-๔ ปี ข้ า งหน้ า

ถ้ า โครงการนี้ ยั ง ต่ อ เนื่ อ งไป และเชื่ อว่ า หลังจากนีอ้ าจจะมีหน่วยงานอืน่ ๆ ทีเ่ ห็นว่า ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องสร้าง ผูม้ คี วามชำนาญในด้านนี้ ก็อาจจะประสานกัน เพือ่ เปิดการอบรมมากขึน้ ในวันหนึง่ เราก็จะ เห็นต้นไม้ที่สวยขึ้นๆเรื่อยๆ” Q : “อยากให้ ค รู ต้ อ พู ด ถึ ง วิ ธี ก าร จั ด การพื้ น ที่ สี เ ขี ย วที่ เ หมาะสมกั บ กรุงเทพมหานคร” A : “ผมว่าฝีมือในการบริหารเมืองของ เรายั ง ด้ อ ยกว่ า เขา เปรี ย บเที ย บกั บ สิ ง คโปร์ เขาไม่ ไ ด้ เ ขี ย วทุ ก ตารางเมตร แต่ เ ขามี ก ารกำหนดเป้ า หมายพื้ น ที่ ตรงบริเวณไหนให้เป็นพืน้ ทีส่ เี ขียว แล้วทำให้ เป็นจริงเป็นจังขึ้นมา เราขาดนักออกแบบ เมืองหรือเปล่า เราขาดนักภูมิทัศน์เมือง หรื อ เปล่ า ที่ จ ะบอกว่ า กรุ ง เทพฯ ตรงนี้ ขอเป็นพืน้ ทีส่ เี ขียวได้ไหม เรากำหนดพืน้ ที่ ไม่ตอ้ ง ๑๐๐% ของกรุงเทพ ขอเริม่ ต้นแค่ ๑๐% ได้ไหม ๕% ได้ไหม ขอเป็นพื้นที่ ตรงนี้ เ ป็ น สี เ ขี ย ว ไม่ จ ำเป็ น ต้ อ งเคลี ย ร์ อาคารออกไป แต่ว่าให้มันเขียวร่มรื่นมาก กว่านี้ จัดการพื้นที่สีเขียวอย่างชาญฉลาด อย่างมืออาชีพ นักบริหารต้องขีดพืน้ ทีล่ งมา


ย่อยลงมาในระดับเขต ระดับเขตตัดสินใจ ได้ ไ หมว่ า พื้ น ที่ ต รงนี้ ข อเป็ น สี เ ขี ย ว ตัดสินใจได้ไหมว่าจะทำอะไรกับมัน ผมว่า นักบริหารเมืองของเรายังชกสะเปะสะปะ เราเห็ น ความพยายามที่ จ ะซื้ อ ต้ น ไม้ สู ง

๒ เมตร เป็นเสาเข็ม เอาไปปลูกในพื้นที่ จากถนนถึ ง ขอบรั้ ว ๕๐ เซนติ เ มตร ก็ พ ยายามจะปลู ก เข้ า ไป ทำไมไม่ สนับสนุนให้เจ้าของบ้านสร้างพื้นที่สีเขียว ข้ามรั้วมาหาถนน พื้นที่สาธารณะ แล้วก็ เอางบประมาณไปทุ่มในพื้นที่สีเขียวที่เรา อยากได้จริงๆ อันทีส่ องนอกจากชกสะเปะสะปะ เรายังเลือกอาวุธทีจ่ ะบรรลุเป้าหมายผิดด้วย ในทางป่าไม้เรามีสำนวนว่าต้นไม้ใหญ่คือ พระราชาแห่งป่า เหมือนกันป่าไม้ในเขตเมือง ถ้าเราไม่เอาไม้ใหญ่เข้ามาไม่มีทางที่เมือง จะร่มรืน่ เราจะเห็นว่าในกรุงเทพฯ ไม้ประดับ ข้ า งถนนดั ด เป็ น ตั ว สั ตว์ ต่ า งๆเยอะมาก ต้องตัดแต่งทุก ๑๕ วัน พอเข้าฤดูแล้ง ก็ต้องรดน้ำ เพราะมันเหี่ยว รดน้ำแล้วเรา ก็ยงั รูส้ กึ ว่าไม่รม่ รืน่ เพราะเราไม่มตี น้ ไม้ใหญ่ ต้ น ไม้ ใ หญ่ ไ ม่ ไ ด้ รั บ การดู แ ลให้ ร่ ม รื่ น ความรู้สึกร่มรื่นจากต้นไม้ ใหญ่จะเป็นตัว บอกว่าเขตนี้จะเขียวร่มรื่นไหม สิงคโปร์ อยากให้ไปดูช่วงหน้าแล้ง สนามแดงเถือก ปล่อยให้หญ้าตาย ต้นไม้ประดับข้างถนน ลิ้ น กระบื อ เหี่ ย วใบร่ ว ง เฟิ ร์ น ที่ ติ ด ตาม ลำต้ น แห้ ง บ้ า ง เขี ย วบ้ า ง เหี่ ย วบ้ า ง ข้าหลวงหลังลายใบแห้งหมดไม่มใี บเขียวเลย แต่เวลาเรายืนไกลๆ แล้วมองเข้าไปเรายัง รู้สึกว่าร่มรื่น เพราะต้นไม้ใหญ่เขาร่มรื่น เพราะต้นไม้ ใหญ่เอาตัวรอดได้จากรากที่ หยั่งลึกลงไปดึงอาหาร ดึงน้ำจากใต้ดิน เมืองเขาจึงยังสวย ดูเขียวร่มรืน่ ทัง้ ๆ ทีเ่ รา ไปดูรายละเอียดข้างถนนดูไม่ได้เลย ฝีมือ ไม่ดีเลย ฝีมือเราเหนือกว่า แต่เราต้อง ดู แ ลมากกว่ า เหนื่ อ ยมากกว่ า เราต้ อ ง รดน้ำมากกว่า แต่เมืองเราก็ยงั ไม่เขียวซักที เพราะเราเลือกอาวุธผิด ถามว่าต้นไม้ใหญ่ ในพื้ น ที่ สี เ ขี ย วของสิ ง คโปร์ เขาดู แ ล หรือเปล่า? ลองแหงนขึ้นไปดูว่ามีกิ่งไม้ แห้งค้างอยู่บนยอดไหม มีกิ่งไม้ที่มีโอกาส จะหักมาโดนคนไหม เวลารถเมล์จะเข้า ป้ า ยต้ อ งวิ่ ง หลบกิ่ ง ไม้ ไ หม ไม่ มี เ ลย

ถ้าเราดูแลรักษาอย่างถูกต้องสวยงาม นั่นคือมูลค่า ของต้นไม้ มูลค่าของที่ดิน ถ้าเราทำกรุงเทพฯ ให้สวยงาม ที่ของเราจะมีค่ามากกว่านี้ มูลค่าทางเศรษฐกิจจะมีค่ามาก กว่านี้

เพราะต้นไม้เขาได้รบั การดูแลทีด่ ี เพราะฉะนัน้ วิ ถี ชี วิ ต ของคนเมื อ งไม่ ถู ก รบกวนจาก ต้นไม้ และการที่เอาต้นไม้ใหญ่เข้าไปและ ดูแลมันอย่างถูกต้องไม่ว่าจะแล้งแค่ไหน บ้านเมืองเขาก็ยังรู้สึกว่าเขียวร่มรื่น” Q : “สุดท้ายนี้อยากจะฝากอะไรถึงคน กรุ ง เทพฯ และหน่ ว ยงานภาครั ฐ ผู้ มี ส่วนเกี่ยวข้องในการผลักดันเรื่องของ ป่าไม้ในเมืองให้เกิดเป็นรูปธรรม?” A : “แทนที่เราจะเลือกผู้บริหารที่โฆษณา เรื่องสีเขียว ให้เขาลงรายละเอียดว่ามันคือ อะไรและความเป็นไปได้ในการสร้างพื้นที่ สีเขียวตามแนวคิดนั้น การสร้างสวนไม่ได้ หมายความว่ า พื้ น ที่ สี เ ขี ย วเราจะเพิ่ ม

ถ้ า เราไม่ ไ ด้ เ พิ่ ม ต้ น ไม้ ใ หญ่ ถ้ า เราเพิ่ ม ต้นไม้ใหญ่แต่ไม่เพิ่มการดูแลรักษาเข้าไป ต้ น ไม้ ใ หญ่ ก็ อ ยู่ ไ ม่ ไ ด้ เพราะฉะนั้ น ผู้บริหารกรุงเทพฯ คนทั่วไปจะต้องเลือก วิเคราะห์ให้ลึกในเรื่องนโยบายพื้นที่สีเขียว และแผนปฏิบัติการที่เป็นไปได้ เราต้องดู ความเป็นไปได้ของความฝัน ส่วนคนทัว่ ไป ต้องบอกเลยว่าต้นไม้ทอี่ ยูร่ อบตัวคนกรุงเทพฯ เป็นต้นไม้แปลกถิ่น เราไม่พยายามเข้าใจ ต้ น ไม้ ที่ ม าจากป่ า หลากหลายประเภท มั น ก็ มี อ ะไรที่ แ ตกต่ า ง ความต้ อ งการ ที่แตกต่าง เพราะฉะนั้นก่อนที่จะตัดสินใจ อะไรเกี่ยวกับต้นไม้ เดี๋ยวนี้มีอินเทอร์เน็ต ลองเช็คถิ่นที่อยู่ของต้นไม้ต้นนั้น เขาอยู่ ที่ ไหน และลองเช็คนิเวศวิทยาของป่าที่ เขาอยูเ่ ราจะเข้าใจต้นไม้มากขึน้ และปฏิบตั ิ ต่อเขาอย่างถูกต้อง ต้นไม้ไม่ใช่ปลูกอย่าง

เดียวต้องดูแลรักษา และถ้าดูแลรักษาให้ ถูกต้องเอาศิลปะไปกำกับ เราจะได้ผลงาน ศิลปะขึ้นมาอีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งผลงานศิลปะนี้ ถ้าดูแลอย่างสม่ำเสมอต่อเนือ่ งไประยะยาว เท่ า ไหร่ มั น จะมี มู ล ค่ า ในตั ว มั นมากขึ้ น เพี ย งนั้ น ยกตั ว อย่ า ง ต้ น ไทรต้ น หนึ่ ง

คนเขาเกือบตัดทิ้งเพราะรู้สึกว่ามันเกะกะ แต่ พ อเราไปตั ด แต่ ง ต้ น ไม้ ใ ห้ เ รี ย บร้ อ ย มันก็ยืนต้นอยู่หน้าสำนักงานที่สำคัญได้ พอตัดแต่งเสร็จเรียบร้อยอาคารสร้างเสร็จ เรียบร้อย เราก็ ไปเรียกคนขายต้นไม้ ให้

มาดูต้นไม้ต้นนี้ ถ้าหาต้นไม้มาแทนต้นนี้ ไม่ต้องเหมือน ๑๐๐% เอาแค่ ๖๐% ของ ต้นไม้ตน้ นี้ ราคาเท่าไหร่ เขาตอบว่า ๕ แสน ก็เอาเข้ามาไม่ได้ นั่นคือมูลค่าของต้นไม้ ต้ น นั้ น หรื อ เปล่ า เพราะฉะนั้ น ตรงนี้ ที่ อยากจะบอก ถ้าเราดูแลรักษาอย่างถูกต้อง สวยงาม นั่นคือมูลค่าของต้นไม้ มูลค่า ของที่ดิน ถ้าเราทำกรุงเทพฯ ให้สวยงาม ที่ ข องเราจะมี ค่ า มากกว่ า นี้ มู ล ค่ า ทาง เศรษฐกิจจะมีค่ามากกว่านี้”

BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

21


บ้มากกว่านาแค่อยู่อาศัย

เรื่อง : จุฤทธิ์ กังวาลภูมิ l ภาพ : ธีรวัฒน์ อาภาสพิพัฒน์

แต่คือลมหายใจของชีวิตและเรื่องราวของพื้นที่

หากเราจะสร้างสรรค์เมืองให้น่าอยู่ คงต้องเริ่มจากองค์ประกอบเล็กๆ ที่เรียกว่า “บ้าน” เพราะบ้านคือปัจจัยพื้นฐานของการ ดำรงชีวิต บทบาทของบ้านจึงไม่ใช่แค่เพียงที่หลับที่นอนเท่านั้น แต่บ้านยังเป็นสถานที่ที่บันทึกเรื่องราวความทรงจำของคน

ในบ้าน รวมไปถึงยังเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ของพื้นที่นั้นๆ ได้อีกด้วย ดังนั้นคำว่า “บ้าน” สำหรับใคร หลายๆ คน คงเปรียบได้กับลมหายใจของการมีชีวิตอยู่นั่นเอง

บ้ า นโซวเฮงไถ่ มรดกทางวั ฒ นธรรม ของจี น ฮกเกี ้ ย นสยาม

ย่านตลาดน้อยก็เช่นกัน หากใครที่ เคยแวะเวียนเข้ามาในพื้นที่แห่งนี้ ก็คงจะ ได้เห็น “บ้าน” รูปแบบสถาปัตยกรรมจีน ที่ยืนตระหง่านมาร่วมร้อยกว่าปี และยังคง หลงเหลือให้เห็นอยู่ประปราย ซึ่งหากจะ เปรียบเปรยบ้านเหล่านี้เป็นคน ก็คงเป็น คนรุ่นอาเหล่ากง อาเหล่าม่า ซึ่งเราคงจะ ได้รับฟังเรื่องราวสนุกสนานของคนที่เคย อาศัยอยู่ ความสัมพันธ์ของผู้คนในละแวก และเหตุการณ์สำคัญๆ ของย่านตลาดน้อย ให้ เ ราๆ ท่ า นๆ ได้ เ รี ย นรู้ อี ก มากมาย

ติดเพียงแต่วา่ บ้านเหล่านี้ไม่สามารถพูดได้ เหมื อ นคน เราจึ ง ต้ อ งพยายามเข้ า ไป ศึ ก ษาเรี ย นรู้ แ ละทำความเข้ า ใจในสิ่ ง ที่ ปรากฎ ซึง่ ถือว่าเป็นเรือ่ งทีน่ า่ ยินดีอย่างยิง่ ที่ ยั ง มี เ จ้ า ของบ้ า นอยู่ จ ำนวนหนึ่ ง ได้ ใ ห้ ความสนใจบ้ า นเก่ า แก่ เ หล่ า นี้ แล้ ว พยายามพลิ ก ฟื้ น ให้ บ้ า นกลั บ น่ า อยู่ สวยงาม และมีคุณค่า เพื่อให้เป็นมรดก ทางวั ฒ นธรรมกั บ คนรุ่ น หลั ง ได้ ศึ ก ษา

ได้ เ รี ย นรู้ ต่ อ ไปในอนาคต อย่ า งเช่ น

“บ้ า นโซวเฮงไถ่ ” และ “บ้ า นทรงจี น

หลังศาลเจ้าโจวซือกง” ที่เจ้าของบ้านได้ เล็งเห็นถึงความสำคัญ และลุกขึ้นมาฟื้นฟู บ้านของตนเอง 22

ย่านจีนถิ่นบางกอก

การเล่นระดับของชานบ้าน ที่ไม่พบในสถาปัตยกรรมจีนทั่วไป

คุณภู่ศักดิ์ โปษยจินดา ผู้สืบทอดบ้านโซวเฮงไถ่ คนปัจจุบัน

“...ที่นี้ผมอยากจะสร้างอะไรขึ้นมา สักอย่างหนึ่งขึ้นมาสำหรับให้คนที่เข้ามาดู ได้เห็นว่าจริงๆ ตลาดน้อยนี่เป็นชุมชนซึ่ง อยู่มานานมากแล้วนะ...ซึ่งเมื่อบ้านนี้ซ่อม

บำรุ ง เสร็ จ แล้ ว ก็ จ ะทำให้ ต ลาดน้ อ ยเป็ น แหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมที่ค่อนข้างจะดี เลยสำหรับคนกรุงเทพฯ...” นี่คือคำกล่าว ของคุณภู่ศักดิ์ โปษยจินดา ผู้สืบทอดบ้าน โซวเฮงไถ่ คฤหาสน์ทรงจีนสมัยต้นกรุง รัตนโกสินทร์ทตี่ งั้ อยู่ใจกลางย่านตลาดน้อย โดยคุณภู่ศักดิ์ได้อธิบายถึงความน่าสนใจ ของบ้านโซวเฮงไถ่ว่า “บ้านหลังนี้เคยมี การซ่ อ มแซมปรั บ ปรุ ง หลายหนจาก

ผู้สืบทอดบ้านในแต่ละสมัยอยู่แล้ว โดยมี หลายรูปแบบที่เพิ่มเติมเข้ามาตามรสนิยม ของเจ้ า บ้ า นรุ่ น ก่ อ นๆ ทำให้ บ้ า นอาจมี ความเปลี่ยนแปลงไปบ้างแต่ ในภาพรวม นั้ น ยั ง คงรู ป แบบดั้ ง เดิ ม ไว้ อ ยู่ ซึ่ ง สิ่ ง ที่

น่าสนใจของบ้านหลังนี้นอกจากรูปแบบ


และการวางผั ง แบบสถาปั ต ยกรรมจี น ที่ เห็ น ได้ ง่ า ย ยั ง มี การผสมผสานรู ป แบบ ความเป็ น ไทยที่ แ สดงถึ ง ความเป็ น

จี น สยาม เช่ น การยกพื้ น สู ง หรื อ การมี ชานบ้านเล่นระดับซึ่งจะไม่พบในบ้านจีน ทั่วๆ ไป” ทั้ ง นี้ คุ ณ ภู่ ศั ก ดิ์ ยั ง ได้ อ ธิ บ ายถึ ง คุณค่าและความสำคัญของการฟื้นฟูบ้าน หลังนี้อยู่ ๓ ประเด็น คือ การทำหน้าที่ ของลู ก หลานในการรั ก ษาสมบั ติ ข อง ตระกูล การเปิดเผยมรดกภูมิปัญญาของ ชาวจีนสยามให้ปรากฏต่อสังคม และการ ฟื้นฟูบ้านโซวเฮงไถ่กับชุมชนตลาดน้อย ไปพร้อมๆ กัน เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถ สะท้อนความสัม พัน ธ์ที่เกื้อหนุนกันของ บ้ า นโซวเฮงไถ่ และชุ ม ชนตลาดน้ อ ย

ที่มีมาแต่อดีตได้เป็นอย่างดี ทั้งจากธุรกิจ การค้าและท่าเรือสินค้าในชุมชน แม้ว่า

ในปัจจุบันจะไม่มีธุรกิจเหล่านี้แล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีผู้คนมากมายและนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่หลงไหล

ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแวะเวียน มาอย่างไม่ขาดสาย และปฏิเสธไม่ได้ว่า หนึ่งในจุดสนใจของการมาเที่ยวชมย่าน ตลาดน้ อ ยคื อ การมาเยี่ ย มชมบ้ า น

โซวเฮงไถ่ นั่ น เอง ซึ่ ง หากมี ก ารฟื้ น ฟู

ไปพร้อมๆ กันทั้งย่านโดยเริ่มจากพื้นที่

บริ เ วณบ้ า นโซวเฮงไถ่ ก็ จ ะทำให้ เ กิ ด

แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วริ ม แม่ น้ ำ เจ้ า พระยา

ที่ ส ามารถเอื้ อ ประโยชน์ ใ ห้ กั บ ชุ ม ชน

ทั้งในด้านของเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้นได้ในอนาคต

บ้ า นทรงจี น หลั ง ศาลเจ้ า โจวซื อ กง ที ่ ร อการกลั บ มา

บ้านทรงจีนหลังศาลเจ้าโจวซือกง บ้ า นทรงจี น เก่ า แก่ ข องคนหนุ่ ม รุ่ น ใหม่ อย่างคุณปรีชา อธิปธรรมวารี ชาวตลาดน้อย ที่สนใจสถาปัตยกรรมจีน แม้ว่าจะเพิ่งย้าย มาอยู่ อ าศั ย ที่ บ้ า นหลั ง นี้ เ พี ย งสิ บ กว่ า ปี

คุณปรีชา อธิปธรรมวารี เจ้าของบ้านทรงจีนหลัง ศาลเจ้าโจวซือกง

เท่ า นั้ น แต่ ก ลั บ เล็ ง เห็ น ถึ ง คุ ณ ค่ า ความ สำคั ญ ของบ้ า นหลั ง นี้ โดยคุ ณ ปรี ช า

ได้เล่าถึงแนวคิดการฟื้นฟูบ้านว่า “เดิมที นั้ น ไม่ ไ ด้ มี ความคิ ด ที่ จ ะอนุ รั ก ษ์ บ้ า นไว้ อย่างชัดเจนเท่าไหร่นัก เรียกได้ว่าเคยคิด จะรื้ อ สร้ า งใหม่ เ ลยที เ ดี ย ว เพราะว่ า ยั ง

ไม่ ไ ด้ เ กิ ด ความรู้ สึ ก เข้ า ใจในคุ ณ ค่ า

ทางสถาปั ต ยกรรมของบ้ า นหลั ง นี้

เท่าไรนัก แต่สิ่งที่สัมผัสได้จากบ้านหลังนี้ คื อ บ้ า นอยู่ ส บาย และมี เ อกลั ก ษณ์

เฉพาะตั ว ที่ ไ ม่ เ หมื อ นใคร ทำให้ เ วลา

มี แ ขกหรื อ ผู้ ค นผ่ า นไปผ่ า นมานั้ นมั ก จะ ได้ ยิ น คำกล่ า วชมถึ ง ความสวยงามของ บ้านอยู่เป็นประจำ” เ มื่ อ รู้ สึ ก ดั ง นี้ แ ล้ ว คุ ณ ป รี ช า

จึงได้ลองพิจารณาบ้านของตนเองอย่าง ละเอียด ทำให้เห็นถึงคุณค่าความเก่าแก่ รูปแบบอาคาร ลักษณะโครงสร้าง ตลอดจน การใช้วัสดุ รวมถึงลวดลายศิลปะและการ ตกแต่ ง ที่ ค นสมั ย นี้ ไ ม่ ส ามารถสร้ า งได้

จึ ง เกิ ด ความรู้ สึ ก อยากอนุ รั ก ษ์ อ าคาร อยากศึ ก ษาประวั ติ ข องบ้ า น และเมื่ อ

ได้ พ บกั บ กลุ่ ม คนที่ อ ยากมาร่ ว มกั น

ฟื้นฟูบ้าน ก็ยิ่งทำให้มองเห็นโอกาสและ ความเป็ น ไปได้ ใ นการที่ จ ะฟื้ น ฟู บ้ า น

ให้กลับมาสวยงามดังเดิม และสามารถ

ใช้ ป ระโยชน์ ได้ อ ย่ า งเต็ ม ศั ก ยภาพ

“ด้ ว ยอายุ บ้ า นที่ เ ก่ า แก่ เ ป็ น ร้ อ ยกว่ า ปี

ถ้าเรายุบรื้อมันลงไปย่อมเป็นเรื่องง่ายกว่า การซ่ อ ม คื อ มั น ยากกว่ า มากๆ แต่ เ รา ถือว่าถ้าเราซ่อมบำรุงบ้านมันก็น่าจะอยู่

ไปได้ ต่ อ อี ก เป็ น อี กร้ อ ยปี ให้ ค นรุ่ น หลั ง

จะได้เห็นมันอีกครั้งหนึ่ง...” ซึ่ ง คุ ณ ปรี ช าได้ ว างแผนไว้ ว่ า

ห า ก บ้ า น ห ลั ง นี้ ป รั บ ป รุ ง เ ส ร็ จ แ ล้ ว

ก็จะสามารถใช้อยู่อาศัย ประกอบธุรกิจได้ และสามารถพั ฒ นาให้ เ ป็ น อี ก หนึ่ ง

จุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจสำหรับผู้มาเยือน ให้ได้รับความรู้ ได้พักเหนื่อยและชื่นชม ความสวยงามที่ เ ป็ น เอกลั ก ษณ์ ข อง

ย่านตลาดน้อยต่อไป

องค์ประกอบของสถาปัตยกรรมจีน ภายในบ้านคุณปรีชา อธิปธรรมวารี ที่รอวันเผยตัวสู่สาธารณะ BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

23


เรื่อง l ภาพ : ศักรพัฒน์ อนุรักษ์ภราดร (ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง)

มะละกา เมืองแห่งพหุวัฒนธรรม

จากฉบับที่แล้ว ได้พาท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักและเรียนรู้ประสบการณ์ทำงานของกลุ่มคนตัวเล็กๆ ที่ลุกขึ้นมาผลักดันเรื่อง การฟื้นฟูเมือง โดยอาศัยการมีส่วนร่วมและพลังของคนในพื้นที่ อย่างกลุ่มภาคีคนรักเมืองสงขลา รวมถึงองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น อย่างเทศบาลตำบลปริก จังหวัดสงขลา ที่ดำเนินนโยบายการทำงานแบบเข้าหาชุมชน เพื่อให้การพัฒนาเมืองเป็น ไปตามความต้องการและส่งผลกระทบต่อชุมชนน้อยที่สุด สำหรับเรื่องราวในฉบับนี้ จะขอนำท่านผู้อ่านไปเรียนรู้การทำงาน ฟื้ น ฟู เมื อ งในระดั บ นโยบายภาครั ฐ ในพื้ นที่ ป ระวั ติ ศ าสตร์ ที่ มี ค วามหลากหลายของกลุ่ ม เชื้ อ ชาติ และสถาปั ต ยกรรม

อย่างมะละกา ประเทศมาเลเซีย นั่นเอง

24

ย่านจีนถิ่นบางกอก


เมืองท่าประวัติศาสตร์

เมื อ งประวั ติ ศ าสตร์ แ ห่ ง มะละกา (Historical City of Melaka) ได้รบั การประกาศจากองค์กรยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็น เมืองมรดกโลกเนื่องจากมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันน่าสนใจ ประกอบกับมรดกทางสถาปัตยกรรมการวางผังเมือง ชุมชนและ องค์ประกอบด้านภูมิทัศน์เมืองที่ดี ที่ประชาชนท้องถิ่นสามารถ ช่วยกันเก็บรักษาไว้จนสามารถตกทอดมาถึงอนุชนรุ่นปัจจุบันนี้ ได้เป็น อย่ า งดี ก่ อ นจะถูกรวมเข้าเป็นประเทศมาเลเซี ย ในยุ ค ปัจจุบนั ดินแดนมะละกานีเ้ ป็นชุมชนริมทะเล ซึง่ เป็นเมืองหน้าด่าน เมืองหนึ่งของชนชาติมาเลย์ มีการติดต่อระหว่างชนชาติในเอเชีย ภาพวาดเมืองมะละกาในปี ค.ศ. ๑๗๕๐ โดยชาวฝรั่งเศส

เช่น จีนและอินเดียมาก่อนแล้ว ต่อมาดินแดนนี้จึงได้เปิดต้อนรับ การเข้ามาเยือนของชาวตะวันตกและชนชาติต่างๆ ในเอเชีย

เพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งคนเหล่านี้แรกเริ่มได้เข้ามาติดต่อด้านการ ค้าขายทางทะเล กระทั่งในปี ค.ศ. ๑๕๑๑ เมืองมะละกาจึงได้ ถู ก ยึ ด ครองโดยชนชาติ โ ปรตุ เ กส ในยุ ค สมั ย ต่ อ มาคื อ ตั้ ง แต่ ป ี

ค.ศ. ๑๖๔๑ ชาวดัตช์ (Dutch) หรือชาวฮอลันดาในสมัยนั้นซึ่ง

ก็ คื อ ประเทศเนเธอร์ แ ลนด์ ใ นปั จ จุ บั น ได้ ใ ช้ ค วามพยายาม อย่ า งยาวนานที่ จ ะเข้ า ซื้ อ และครอบครองเมื อ งมะละกาจาก ชาวโปรตุเกส จนกระทัง่ สำเร็จในท้ายทีส่ ดุ ในปีดงั กล่าว ตัง้ แต่นนั้ มา ชาวดัตช์จึงได้นำรูปแบบบ้านเรือน โบสถ์ สุสาน และอาคาร สาธารณะรูปแบบของตนเองเข้ามาสู่มะละกา

เมืองเก่าเล่าใหม่

รูปแบบสถาปัตยกรรมในมะละกา, มาเลเซีย

เมืองมะละกาในปัจจุบันก็ได้กลายเป็นเมืองที่มีเสน่ห์อัน เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ และรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แสดงถึง ความหลากหลายทางมรดกวัฒนธรรม คือ ทั้งสถาปัตยกรรมของ โปรตุเกส ดัตช์ อังกฤษ มาเลย์ อินเดีย จีน และอื่นๆ จนกระทั่ง ได้มีการรวบรวมและเรียบเรียงประวัติศาสตร์ให้เกิดความชัดเจน โดยมี ห ลั ก ฐานที่ ส ำคั ญ เป็ น เอกลั ก ษณ์ ที่ ป ระจั ก ษ์ ชั ด ที่ สุ ด

BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

25


26

ในปัจจุบนั ได้แก่ อาคารสถานที่ ภูมทิ ศั น์เมือง ซึง่ รวมแล้วถือได้วา่ เป็ น มรดกทางสถาปั ต ยกรรมอั น เป็ น อนุ ส รณ์ ส ถานของการ เปลี่ยนแปลงด้านการเมือง การปกครอง วิถีชีวิต วัฒนธรรม ศาสนา และสั ง คมของชาวมะละกามาตลอดหลายๆ ยุ ค สมั ย ทำให้ในปัจจุบันมะละกาได้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง ของมาเลเซีย พร้อมทั้งได้รับความสนใจถูกศึกษาค้นคว้าและ ได้รับการประมวลความสำคัญ โดยเฉพาะแนวทางการจัดการ สถาปัตยกรรมทีม่ กี รรมสิทธิ์โดยเอกชนกว่าร้อยละ ๙๗.๓ ซึง่ ส่งผล ต่อการอนุรักษ์และรักษาอัตลักษณ์ของเมืองมะละกา ด้วยเหตุนี้ ทางเทศบาลมะละกาจึงได้มีการจัดทำผังการอนุรักษ์และควบคุม เมืองมะละกา รวมทั้งแนวทางการควบคุมและออกแบบรูปแบบ อาคาร โดยเฉพาะบริเวณริมแม่น้ำมะละกา ซึ่งมีการควบคุมและ การอนุญาตให้ทางเจ้าของสามารถปฏิบัติตาม อาทิ ๑. การควบคุมมาตรฐานทางด้านสถาปัตยกรรม โดยมุ่ง เน้นการฟื้นฟูอาคารและพื้นที่สาธารณะริมน้ำ เพื่อส่งเสริมให้เกิด กิจกรรมในอาคารทั้งด้านหน้าและด้านหลัง รวมถึงพื้นที่ระหว่าง อาคาร ซึง่ หันเข้าหาน้ำให้มปี ฏิสมั พันธ์กบั น้ำมากขึน้ เพือ่ เป็นการ สร้างความสัมพันธ์ของผู้คนให้กลับมามีการปฏิสัมพันธ์กับน้ำ

อีกครั้ง ๒. ข้อกำหนดกฎระเบียบควบคุมการใช้ประโยชน์อาคาร โดยมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชยกรรมในพื้นที่เขตอนุรักษ์ ซึ่งต้องเป็นไปเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของพื้นที่ประวัติศาสตร์และ เอื้ อ ให้ เ กิ ด ภาพจำที่ ดี ต่ อวั ฒ นธรรมชาวมะละกา โดยเฉพาะ การกำหนดกิจกรรมการใช้ประโยชน์ระดับอาคารอย่างละเอียดทั้ง ชั้นบนและชั้นล่าง ด้านหน้าและด้านหลังอย่างเคร่งครัด เช่น การขายสิ น ค้ า ทำมื อ เอกลั ก ษณ์ ข องชาวมะละกาไม่ ว่ า จะเป็ น เสื้อผ้าทอ รองเท้าเกี๊ยะไม้ หรือการขายอาหารต้นตำรับท้องถิ่น เป็นต้น โดยการจั ด ทำแผนผั ง และรายละเอี ย ดของการอนุ รั ก ษ์ ฟื้นฟูของเมืองมะละกานั้น ได้รับการกำหนดแผนและนโยบาย จาก ๓ หน่วยงานหลัก คือ ๑. รัฐบาลกลาง: มีบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบ ในการปกป้ อ งมรดกทางวั ฒ นธรรมของชาติ โ ดยการออก

พระราชกิจจานุเบกษา เพื่อกำหนดนโยบายของการวางแผน การพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด ๒. สภาเทศบาล: มี บ ทบาทและหน้ า ที่ ใ นการออกใบ อนุญาตเพื่อระดับปฏิบัติการ ๓. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น: มีบทบาทและหน้าที่ ความรับผิดชอบ ในการจัดการกลไกระดับปฏิบัติการ โดยให้ รายละเอียดของการพัฒนา การควบคุมเก็บรักษาสถาปัตยกรรม และโบราณสถาน สำหรับแผนและผังการอนุรักษ์เมืองมะละกา ประกอบ ไปด้วยการแบ่งเขตทีต่ อ้ งอนุรกั ษ์ดแู ลเป็น ๒ ส่วน คือ เขตเมืองเก่า ที่ ค รอบคลุ ม เนิ น เขาโบสถ์ เ ซนต์ ป อล ย่ า นการค้ า เมื อ งเก่ า หน่วยงานรัฐ พิพธิ ภัณฑ์ โบสถ์ ซึง่ อยู่ในยุคโปรตุเกส-ดัตช์ และจีน ในขณะที่อีกส่วนเป็นบริเวณล้อมรอบที่จัดเป็นเขตกันชนบนถนน สายหลัก ซึ่งจำแนกในรายละเอียดดังนี้ ๑. นโยบายและแผนเมืองมะละกา (ออกโดยสภาเทศบาล, ปี ค.ศ. ๑๙๙๓) แสดงรายละเอียดนโยบายและข้อเสนอในการใช้ ประโยชน์ ที่ ดิ น ที่ อ ยู่ อาศั ย การพั ฒ นาโครงสร้ า งพื้ น ฐานและ สาธารณูปโภค ระบบคมนาคมขนส่งรวมทั้งแผนการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์

แม่น้ำมะละกาในปี ค.ศ. ๑๙๒๐

แม่น้ำมะละกาในปัจจุบัน

ย่านจีนถิ่นบางกอก

ภาพถ่ายทางอากาศ และแผนที่แสดงการแบ่งเขตอนุรักษ์ในพื้นที่ประวัติศาสตร์ ของมะละกา, มาเลเซีย


๒. แผนโครงสร้างรัฐมะละกา (ออกโดยสภาเทศบาลและ รัฐบาลรัฐมะละกา, ปี ค.ศ. ๒๐๐๒) แสดงรายละเอียดส่วนที ่

เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากร รวมทั้งกลยุทธ์สำหรับการป้องกัน มรดกทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะการกำหนดรายละเอียดเพื่อการ กำหนดแผนระดับท้องถิ่น ๓. แผนท้องถิ่นมะละกา (ออกโดยองค์การปกครองส่วน ท้องถิ่ น ในปี ค.ศ. ๒๐๐๑, ปรับปรุงปี ค.ศ. ๒๐๐๖) แสดง แผนผั ง รายละเอี ย ดการอนุ รั ก ษ์ พื้ น ที่ ครอบคลุ ม ถึ ง อาคาร สถาปัตยกรรม นอกจากรัฐบาลและหน่วยงานส่วนท้องถิ่น อันมีบทบาท ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองมะละกาแล้ว ในเมืองมะละกานั้นมี พิพิธภัณฑ์ของเมือง ทำหน้าที่ ในการสร้างความรู้ความเข้าใจ รวมทั้ ง การบริ ห ารจั ด การและอนุ รั ก ษ์ แ หล่ ง มรดกวั ฒ นธรรม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการอนุรักษ์ ผ่านขั้นตอน ดังนี้ ระดั บ ที่ ๑ การอนุ มั ติ ท างนโยบาย โดยที่ ป รึ ก ษาคณะ กรรมการ ระดั บ ที่ ๒ การอนุ มั ติ ท างการปฏิ บั ติ โดยหน่ ว ยงาน อนุรักษ์ ระดับที่ ๓ การอนุมัติทางเทคนิคการอนุรักษ์ โดยคณะ กรรมการการอนุรักษ์ของรัฐ ระดับที่ ๔ การอนุมัติโดยสมบูรณ์ โดยคณะรัฐมนตรี โ ด ย เ งื่ อ น ไ ข ส ำ คั ญ ใ น กา ร อ นุ รั ก ษ์ ฟื้ น ฟู อา คา ร สถาปัตยกรรม คือ การสร้างนโยบายที่จูงใจแก่เจ้าของอาคาร ที่มีเอกชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ซึ่งอาคารเหล่านี้จำเป็นต้อง ได้รับการซ่อมแซมและบำรุงรักษา โดยให้การสนับสนุนเงินทุน และให้ความรู้ความเข้าใจในการปรับปรุงอาคารสถาปัตยกรรม ที่ถูกต้อง

เมืองพหุวัฒนธรรมแห่งการมีส่วนร่วม

ในการสัมมนาระหว่างประเทศในปี ๑๙๙๘ ทางมาเลเซีย มีนโยบายในการสร้างความตระหนักรู้ของประชาชน รวมทั้งการ ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสม ผ่านการ ประชุมเชิงปฏิบัติการที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับวิธีการฟื้นฟูอาคาร สถาปั ต ยกรรม เพื่ อ สร้ า งความตระหนั ก และมี ส่ ว นร่ ว มของ ประชาชน ซึ่ ง ได้ รั บ การดำเนิ น การตั้ ง แต่ ปี ค.ศ. ๒๐๐๒ โดยหน่วยงานองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน นับว่าเป็นส่วนสำคัญ ในการกำหนดนโยบายการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในฐานะ ที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างกลยุทธ์การพัฒนาอย่าง ยั่งยืน เนื่องจากมาเลเซียมีประชากรชาวจีนอพยพมาอยู่ จึงเกิด การรวมกลุ่มกันเป็นสมาคมเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนและ พวกพ้อง รวมทั้งส่งเสริมช่วยเหลือกันในหมู่สมาชิก โดยส่วน ใหญ่เป็นคนแซ่เดียวกันเรียกว่าสมาคมแซ่หรือกงซี (Kongsi)

ภาพวาดศิลปะบนตัวอาคารที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำมะละกา

บรรยากาศริมแม่น้ำมะละกาในยามค่ำคืน

ซึ่ ง อาคารกงซี แ ต่ ล ะแห่ ง ก่ อ สร้ า งตามสถาปั ต ยกรรมจี น แบบ ดั้งเดิม สมาคมแซ่จึงมีอำนาจบทบาทหน้าที่อย่างมากในการทำ หน้าที่จัดการและบำรุงรักษาทรัพย์สินมรดก รวมทั้งการสนับสนุน ชาวจีนเดิมที่อยู่อาศัยในพื้นที่เมืองมะละกาซึ่งดำเนินการแยกจาก ส่วนของภาครัฐ ตั ว ชี้ วั ด ที่ ส ำคั ญ ของการอนุ รั ก ษ์ เ มื อ งมะละกา คื อ

การตรวจสอบสถานะของการอนุ รั ก ษ์ ทั้ ง ก่ อ นและหลั ง การ ปรับปรุง การตรวจสอบสภาพและประเมินผลหลังการปรับปรุง โดยภาครั ฐ เป็ น ประจำ การตรวจสอบสภาพการใช้ ง านของ เจ้ า ของ เพื่ อ จั ด ทำนโยบายและแผนการฟื้ น ฟู ใ นอนาคต กระบวนการตรวจสอบดังกล่าวนำไปสู่การให้รางวัลแก่เจ้าของ อาคาร จากสถาบันด้านการอนุรักษ์ทั้งในและต่างประเทศ จนกระทั่งในปี ค.ศ. ๒๐๐๘ เมืองมะละกาจึงถูกเสนอ เป็นเมืองมรดกโลกด้วยเหตุผลที่ โดดเด่นทั้งด้านประวัติศาสตร์ ความหลากหลายของกลุ่มเชื้อชาติ สถาปัตยกรรม รวมทั้งการ เป็ น ตั ว อย่ า งการใช้ นวั ต กรรมการจั ด การเมื อ งประวั ติ ศ าสตร์ ทั้ ง ด้ า นกายภาพ เศรษฐกิ จ สั ง คม ตลอดจนเป็ น การสร้ า ง กระบวนการมี ส่ ว นร่ ว มทั้ ง ประชาชน หน่ ว ยงานและองค์ กร ส่วนท้องถิ่น ภาคการศึกษา ซึ่งเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ทำให้เมืองมะละกาเป็น “เมืองท่องเที่ยวในด้านประวัติศาสตร์” แล้ว ยังเป็นตัวอย่างที่ดีในฐานะ “เมืองพหุวัฒนธรรม” ในด้าน การอนุ รั ก ษ์ เ มื อ ง ที่ ป ระกอบไปด้ ว ยความหลากหลายทาง ชาติพันธุ์ ความคิดความเชื่อ ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของเมือง ต่างๆ ในทวีปเอเชีย ที่สมควรแก่การศึกษาปฏิบัติงานต่อไป BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

27


เรื่อง : ปรัชญา ลือชาจรัสสิน l ภาพ : ธีรวัฒน์ อาภาสพิพัฒน์

ศิลปะบนกำแพง

สร้างสรรค์ได้ ในย่านเก่า ผู้อ่านหลายท่านคงจะพอรู้จักงานประเภท “กราฟฟิตี้” (Graffiti) ที่มักจะพบเห็นได้ตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เรา

จะพบเห็นตามอาคารร้างทีไ่ ม่ได้ใช้งาน และบนผนังกำแพงในชุมชน หลายคนอาจจะตัง้ คำถามว่างานลักษณะเช่นนีเ้ จ้าของผลงาน ต้องการทำด้วยวัตถุประสงค์ใด? สร้างสรรค์เพื่อเป็นประโยชน์กับสถานที่นั้น หรือเพียงแค่แสดงอารมณ์และตัวตนของ

เจ้าของผลงาน? และถ้าหากงานลักษณะนีเ้ กิดขึน้ กับชุมชนของคุณหรือกำแพงบ้านของคุณเอง คุณจะรูส้ กึ อย่างไรและจะมีวธิ กี าร รับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง? ซึ่งในวันนี้เรามีตัวอย่างความคิดเห็นและการลุกขึ้นมาแสดงพลังและจุดยืนของชาวชุมชน ย่านตลาดน้อย ผู้ได้รับผลกระทบจากงานศิลปะที่ไม่คำนึงถึงบริบทของย่าน เพื่อเป็นกรณีศึกษาให้กับชุมชนอื่นๆ ที่กำลัง ประสบปัญหาเดียวกันในขณะนี้

ชาวชุมชนในย่านตลาดน้อย ร่วมกับสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ รวมถึงน้องๆ นักเรียนจากโรงเรียนรุง่ อรุณ กำลัง ช่วยกันลบภาพกราฟฟิตี้ (Graffiti) บนกำแพง บริเวณปากซอยเจริญกรุง ๒๔ (ซอยโรงน้ำแข็ง ๑)

28

ย่านจีนถิ่นบางกอก

ย่ า นตลาดน้ อ ย ชุ ม ชนย่ า นจี น

ในกรุ ง เทพฯ ภายหลั ง จากการเผยแพร่ เรื่องราวและความสำคัญของย่านมากขึ้น ประกอบกั บ กระแสความห่ ว งใยของ กลุ่ ม คนที่ เ ห็ น ความสำคั ญ ของย่ า นเก่ า ในเขตเมื อ งมี ม ากขึ้ น จากผลกระทบ ของรถไฟฟ้ า สายสี น้ ำ เงิ น ที่ ตั ด ผ่ า นย่ า น ไชน่ า ทาวน์ ส่ ง ผลให้ ค นเกิ ด การตื่ น ตั ว ตลาดน้อยจึงเป็นพื้นที่หนึ่งที่ ได้รับความ สนใจจากสังคมและกำลังได้รับความสนใจ อย่างมากจากกลุ่มศิลปิน ทั้งชาวไทยและ


ภาพกราฟฟิตี้ (Graffiti) บริเวณซอยเจริญกรุง ๒๔ (ซอยโรงน้ำแข็ง ๑) ย่านตลาดน้อย ที่ไม่สอื่ สารถึง เรือ่ งราวของพืน้ ทีแ่ ละทำลายบริบทของย่านเก่า

ชาวต่างชาติ ในการเข้ามาสร้างผลงานศิลปะ ประเภท กราฟฟิตี้ (Graffiti) ซึง่ ในบางครัง้ ภาพ (Graffiti) กลับไม่ช่วยแสดงให้เห็นถึง เอกลักษณ์ของความเป็นย่านเก่า แต่กลับ ทำลายคุ ณ ค่ า ของพื้ น ที่ ก ลายเป็ น ความ สกปรกไม่ น่ า ดู ดั ง ตั ว อย่ า งบริ เ วณผนัง อาคารของโรงพิมพ์ซิงจงเอี๋ยน ทางเข้า ซอยเจริญกรุง ๒๔ (ซอยโรงน้ำแข็ง ๑) ซึ่งปรากฎภาพที่ไม่เหมาะสมกับความเป็น ย่านตลาดน้อย ซึ่งโดยเนื้อแท้แล้วคนใน บริเวณย่านตลาดน้อยมิได้ปฏิเสธการทำงาน ศิลปะใดๆ และเห็นว่าการทำงานแนว (Graffiti) นั้นถ้ามีการดำเนินงานอย่างเหมาะสมจะ สามารถสร้างผลในเชิงบวกต่อชุมชนได้ใน ระยะยาว ซึง่ การทำศิลปะดังกล่าวสามารถ ทำได้หากต้องมีกติการ่วมกัน หลั ง จากการเหตุ ก ารณ์ ดั ง กล่ า ว กลุม่ ชุมชนคนรักตลาดน้อย ได้ประชุมหารือ แนวทางการแก้ไข และป้องกันโดยเสนอ ให้ ท ำการลบล้ า งงานดั ง กล่ า วออกจาก กำแพงอาคาร โดยร่วมกันจัดกิจกรรมการ ทำความสะอาด ลบภาพไม่สร้างสรรค์ขึ้น เมือ่ วันเสาร์ที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๗ ทีผ่ า่ นมา ด้ ว ยต้ อ งการแสดงพลั ง ของชุ ม ชนเพื่ อ

บอกกล่าวและสื่อสารกับศิลปินกราฟฟิตี้ (Graffiti) ทัง้ หลายว่า “คุณไม่สามารถทำงาน ศิลปะเหล่านี้ได้ตามอำเภอใจโดยเฉพาะใน พืน้ ทีย่ า่ นเก่าทีม่ คี ณุ ค่า ชุมชนคนรักตลาดน้อย มีกติการ่ ว มกั นว่ า กลุ่ มใดที่มีเจตนาดี ต่อ ย่านตลาดน้อย ควรเข้าร่วมปรึกษาหารือ

ภาพก่อนและหลังลบทำความสะอาด

กับชุมชนก่อนเพือ่ สร้างความเข้าใจร่วมกัน และเพื่อให้เกิดผลดีต่อย่านและสังคม” ซึ่ ง กิ จ กรรมนี้ ไ ด้ รั บ ความร่ ว มมื อ เป็นอย่างดี จากชาวชุมชนย่านตลาดน้อย อีกทัง้ ยังมีหน่วยงานท้องถิน่ คือสำนักงาน เขตสัมพันธวงศ์, เครือข่ายชุมชน นักเรียน รวมทั้งสื่อสาธารณะอย่าง ไทยพีบีเอส, บางกอกโพสต์ , a day หรื อ แม้ กระทั่ ง หนังสือพิมพ์จีนซิงจงเอี๋ยน ที่มาร่วมเป็น กระบอกเสียงสื่อสารพลังชุมชนในครั้งนี้

ภายหลั ง จากกิ จ กรรมนี้ ชุ ม ชน จะนัดหมายเพื่อหารือแนวทางการป้องกัน เพื่อกำหนดเป็นข้อตกลงร่วมกัน รวมทั้ง แนวความคิด ประเภทรูปแบบ และกรณี ศึกษาของงานศิลปะที่สร้างสรรค์เหมาะสม และส่ ง เสริ ม ความเป็ น ย่ า นเก่ า ที่ มี ประวัติศาสตร์ เพื่อให้เป็นตัวอย่างสำหรับ ชุ ม ชนอื่ น ๆ ที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบในกรณี เดียวกัน

BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

29


เรื่อง : จุฑารัตน์ นฤพันธาวาทย์, ธีรวัฒน์ อาภาสพิพัฒน์ I ภาพ : ธีรวัฒน์ อาภาสพิพัฒน์

ถือศีลกินเจสองรอบ ในรอบร้อยกว่าปี ขอเชิญร่วมงานเทศกาลถือศีลกินเจ ศาลเจ้าโจวซือกง ตลาดน้อย ชิมและเลือกซื้ออาหารเจ รสอร่อย สูตรดั้งเดิมที่หาทานได้เฉพาะช่วงเทศกาลกินเจตลาดน้อยเท่านั้น และในปีนี้มี ความพิเศษกว่าปีก่อนๆ เพราะกำหนดการเทศกาลถือศีลกินเจในแต่ละปีนั้น จะยึดถือตาม ปฏิทนิ จันทรคติของจีน โดยจะเริม่ ต้นตัง้ แต่วนั ขึน้ ๑ ค่ำ - ขึน้ ๙ ค่ำ เดือน ๙ ตามปฏิทนิ จีน ของทุกปี รวมเป็นเวลา ๙ วัน แต่สำหรับปี พ.ศ. ๒๕๕๗ นี้มีเดือน ๙ ถึง ๒ ครั้ง ซึ่งในช่วง เวลาร้อยกว่าปีจึงจะเกิดขึ้น โดยครั้งที่ ๑ จะตรงกับวันที่ ๒๔ กันยายน - ๒ ตุลาคม ๒๕๕๗ และครั้งที่ ๒ จะตรงกับวันที่ ๒๔ ตุลาคม - ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ทั้งนี้ทางศาลเจ้า

และกลุ่มชุมชนคนรักตลาดน้อยยังกระซิบมาอีกว่าเทศกาลกินเจตลาดน้อยปีนี้จะยิ่งใหญ่

อลังการกว่าปีก่อนๆ อย่างแน่นอน รู้แบบนี้คงพลาดไม่ได้แล้ว!

ปั่นจักรยานในบ้านตลาดน้อย เมือ่ วันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ทีผ่ า่ นมา กลุม่ ชุมชนตลาดน้อยได้จัดกิจกรรมปั่น จักรยานเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในย่านตลาดน้อย ให้ได้รจู้ กั ใกล้ชดิ กันมากขึน้ ซึง่ งานนีช้ าวชุมชนได้รว่ มมือกันจัดงานและได้ผลเกินคาด มีผเู้ ข้าร่วมเกือบ ๑๐๐ คน โดยจุดเริม่ ต้นของการจัดงานเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของสมาชิก “ชุมชนคนรักตลาดน้อย” ซึ่ง รวมกลุ่มและเปิดใช้ช่องทางสื่อสารผ่านทาง “LINE” โดยมีจดุ ประสงค์แลกเปลีย่ นความ คิดเห็น เสนอแนะไอเดียและอัพเดทสถานการณ์ในตลาดน้อย รวมถึงเป็นช่องทางบอกข่าว ทีท่ างโครงการย่านจีนถิน่ บางกอกต้องการสื่อสารกับคนตลาดน้อย กิจกรรมปั่นจักรยานเชื่อมความสัมพันธ์ตลาดน้อยครั้งนี้เกิดขึ้นได้จากการเสนอไอเดียของคุณแนน นนลนีย์ อึ้งวิวัฒน์กุล ได้เสนอความคิดสนุกๆ เกีย่ วกับการปัน่ จักรยานร่วมกันจากสมาชิกทีม่ อี ยู่ใน LINE จนกระทัง่ ขยายมาเป็นการชวนทั้งชุมชน โดยต่างคน ต่างช่วยกัน ติดต่อประสานงานกันเอง ประชาสัมพันธ์กันเอง ทำโปสเตอร์ และชักชวนกันปากต่อปาก จนมีคนเข้าร่วมมากถึงเกือบ ๑๐๐ คน ซึ่งมีทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ ผู้สูงวัย ต่างมาเข้าร่วมกันอย่างเป็นกันเอง ซึ่งหลังจากเมือ่ ปัน่ กันครบเส้นทางแล้วก็มกี ารจัดเลีย้ ง อาหาร โดยร้านอาหาร River Vibe Restaurant & Bar ชัน้ ที่ ๘ ของ River View Guest House ซึ่งทาง River View Guest House ยังได้ ร่วมสนับสนุน โดยมอบเงินทั้งหมดจำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท ที่ได้จากการร่วมกันบริจาคของผูเ้ ข้าร่วมงานเพือ่ ใช้เป็นค่าอาหารตามอัธยาศัย ให้มาเป็นเงินทุน เข้าสูก่ องทุนของชุมชนคนรักตลาดน้อย ไว้ใช้เป็นทุนในการจัดกิจกรรมอืน่ ๆ ในชุมชนต่อไป ทั้งนี้ยังได้มีการเปิดตัว Facebook กลุ่มชุมชนคนรักตลาดน้อยอย่างเป็นทางการ ซึ่งสามารถเข้าไปกด Like เพื่อพูดคุย ทำความรู้จัก รวมทั้งติดตามข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมดีๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ที่ www.facebook.com/Taladnoitoday และหาก ท่านใดสนใจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ “ชุมชนคนรักตลาดน้อย” หรือต้องการสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานของกลุ่ม สามารถติดต่อ ได้ที่คุณสุรีย์ ฤกษ์ศิริสุข ศูนย์ประสานงานชุมชนคนรักตลาดน้อย เกสต์เฮ้าส์บ้านอุดม ๖๑๘/๖-๗ ซ.ภาณุรังษี ถ.ทรงวาด ตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ๑๐๑๐๐ โทร ๐๘๔-๓๘๘-๒๔๘๙

โครงการค่ายสารคดีครั้งที่ ๑๐ โครงการย่านจีนถิน่ บางกอกร่วมมือกับนิตยสารสารคดี พาผูเ้ ข้าอบรม โครงการค่ายสารคดีครั้งที่ ๑๐ จำนวน ๕๐ คน ซึ่งประกอบด้วย นักเขียนและช่างภาพ ลงพื้นที่แนะนำตลาดน้อยเพื่อเก็บข้อมูล สำหรับการสร้างผลงานสารคดีในตลาดน้อย ผลงานจะอ่านสนุก ได้ความรู้มากแค่ไหน สามารถหาอ่านได้ในวารสารสารคดีเล่ม ล่าสุด ฉบับที่ ๓๕๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ 30

ย่านจีนถิ่นบางกอก


เรื่อง : จุฑารัตน์ นฤพันธาวาทย์

คอลัมน์โต๊ะน้ำชาในฉบับนี้ เรายังคงสรรหาภาพยนตร์ดๆี ทัง้ ทีอ่ ยูใ่ นกระแสและนอกกระแส มาให้ทา่ นผูอ้ า่ นได้ลองเลือกดูเลือกชม กันเหมือนเคย ซึง่ การชมภาพยนตร์นอกจากจะได้รบั สาระความบันเทิงแล้ว หากมองให้ลกึ ลงไป เนือ้ หาของภาพยนตร์ทสี่ ะท้อน

แง่มมุ ต่างๆ ในสังคมทัง้ ข้อดีขอ้ เสียนัน้ เราสามารถทีจ่ ะเรียนรูแ้ ละเลือกหยิบสิง่ ดีๆ เพือ่ นำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวติ ได้อย่างมีสติ อีกด้วย นอกจากนี้เรายังมีหนังสือมาแนะนำให้ได้ลองซื้อหาอ่านกันดู โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สนใจในเรื่องของวัฒนธรรมของ

ชาวจีนสยามไม่ควรพลาดเป็นอันขาด The Wind Rise

“นายแม่” ตำนานหญิงจีนสยาม หลังจากที่เราเคยแนะนำการ์ตูนสัญชาติญี่ปุ่นจาก โดย พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร ค่ายดังอย่าง Studio Ghibli กับเรื่อง From Up on “นายแม่” เป็นหนังสือทีจ่ ะพาผูอ้ า่ น Poppy Hill กันไปแล้ว และก็พลาดไม่ได้ทจี่ ะนำเสนอ ไปรำลึกอดีต โดยผ่านทางประวัติ ภาพยนต์การ์ตนู เรือ่ งล่าสุดของค่ายดังแห่งนีก้ บั เรือ่ ง “โซวเฮงไถ่ ” เก๋ ง จี น แก่ ช รา The Wind Rise ผลงานแอนิเมชั่นเรื่องสุดท้าย ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พาย้อนอดีต ก่อนวางมือของ “พ่อมดแห่งวงการการ์ตูนญี่ปุ่น” ไปพบกั บ สี สั น อั น เลื อ นรางของ ฮายาโอะ มิยาซากิ (Hayao Miyasaki) ผู้ก่อตั้ง วัฒนธรรมจีนสยาม ลวดลายไทยที่ Studio Ghibli ทีท่ ำรายได้ขนึ้ เป็นอันดับหนึง่ ในญีป่ นุ่ สอดแทรกอยู่ในชีวิตเจ๊สัวสมัยต้น ยาวนานถึง ๘ สัปดาห์ ทั้งยังทำรายได้สูงสุดขึ้นไปถึง ๑๑,๖๐๐ ล้านเยน กรุงรัตนโกสินทร์ เผยเรือ่ งเล่าขานทีท่ ราบกันเฉพาะคนในวง จนกลายเป็นภาพยนตร์ทที่ ำรายได้สงู สุดในญีป่ นุ่ ประจำปีทแี่ ล้ว และยังได้รบั “นายแม่” ปริศนาการสืบทอดมรดกของชาวจีนในสยาม การคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในห้าแอนิเมชั่นที่เข้าชิงรางวัลออสการ์ เมื่อต้นปี ทีม่ กี ารสืบทอดมรดกของครอบครัวไทยเชือ้ สายจีนในมุมมอง ค.ศ. ๒๐๑๔ รวมถึงได้รับรางวัลแอนิเมชั่นยอดเยี่ยมจากหลายสถาบัน ใหม่ทจี่ ะช่วยตอบข้อกังขาแก่นกั วิชาการจีนสยามเรือ่ งการ ไม่ว่าจะเป็น Japan Academy Prize, สมาคมวิจารณ์หนังนานาชาติ, สืบทอดมรดกแห่งตระกูลไปยังทายาทฝ่ายหญิงที่เป็น สมาคมนักวิจารณ์นิวยอร์ค และอื่นๆ อีกมากมาย ตำนานอีกบทหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ไทยที่ไม่ค่อยมี โดยเนือ้ หาของ The Wind Rises แตกต่างไปจากธรรมเนียมแอนิเมชัน่ ผูก้ ล่าวถึงมากว่าสองร้อยปี ซึง่ ผูอ้ า่ นสามารถศึกษาได้จาก ของ Studio Ghibli ทีเ่ น้นไปทางจินตนาการ โลกแห่งความฝันซะส่วนใหญ่ หนังสือเล่มนี้ (ทีม่ า www.se-ed.com) โดยภาพยนตร์เรื่องนี้เป็น “เรื่องแต่งกึ่งชีวประวัติ” ของ “จิโร่ โฮริโคชิ” (Jiro Horikoshi) วิศวกรเครือ่ งบินชือ่ ดังในช่วงสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง ผูป้ ระดิษฐ์ อย่างไม่รู้จักเพียงพอ เครือ่ งบิน Mitsubishi A6M Zero อันลือลัน่ ทีก่ องทัพญีป่ นุ่ ใช้เป็นแกนกลาง ของยุทธการ “คามิคาเซะ” ถล่มฐานทัพเพิร์ลฮาเบอร์ของสหรัฐอเมริกา และสั่งสอนผู้อื่น ซึ่งฮายาโอะ มิยาซากิ (Hayao Miyasaki) ได้กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้เขา อย่างไม่รู้จัก เลื อ ก The Wind Rises เป็ น ผลงานแอนิ เ มชั่ น สั่ ง ลาเรื่ อ งสุ ด ท้ า ยว่ า

ขงจื้อ “ผมอยากเล่าเรื่องที่เป็นตัวแทนของจิตวิญญาณชาวญี่ปุ่น เรารู้ว่าสิ่งที่ขึ้น ในช่ ว งสงครามโลกครั้ ง ที่ ส อง ไม่ ใ ช่ เ รื่ อ งที่ น่ า ภู มิ ใ จ แต่ มั น ก็ คื อ รับวารสารย่านจีนถิ่นบางกอกได้ที่ ประวัติศาสตร์ที่เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของพวกเรา ผมอยากให้เรายืดหน้า • เกสต์เฮ้าส์บ้านอุดม ซอยภาณุรังษี ถนนทรงวาด แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ยอมรับกับสิ่งที่พวกเราสร้างขึ้น มันคือแรงกระตุ้นที่ทำให้เรามาไกลจนถึง ๖๑๘/๖-๗ กรุงเทพฯ ๑๐๑๐๐ ทุกวันนี้ นี่แหละคือเหตุผลที่ผมต้องการทำแอนิเมชั่นเรื่องนี้” • ร้านชา Double Dogs และเนื้ อ หาของภาพยนตร์ เ รื่ อ งนี้ ยั ง ได้ ส อดแทรกเรื่ อ งราว ๔๐๖ ถนนเยาวราช เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ๑๐๑๐๐ ร้านหนังสือริมขอบฟ้า พัฒนาการด้านการบินของญี่ปุ่นในยุคเริ่มต้น ผ่านเรื่องราวความฝันและ • ๗๘/๑ ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร ความพยายามไล่ตามความฝันนั้นให้สำเร็จของจิโร่ ที่ต้องการออกแบบ กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ เครื่องบินที่สวยงามให้ล่องลอยไปบนท้องฟ้า ถึงแม้ว่าสุดท้ายแล้วเขาจะ • มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป ระหว่างซอยเจริญนคร ๒๐-๒๒ แขวงบางลำภูล่าง เขตคลองสาน สามารถออกแบบเครื่องบินที่มีหน้าตาสวยงาม และมีประสิทธิภาพสูง ๖๖๖ กรุงเทพฯ ๑๐๖๐๐ เทียบชั้นได้กับเครื่องบินของเยอรมัน แต่มันกลับถูกใช้เป็นเครื่องมือ • Café Velodome (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์) ในการประหัตประหารกันของมนุษยชาติในยุคของสงครามโลกครั้งที่สอง ๒ ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร งเทพฯ ๑๐๒๐๐ ซึ่งไม่มีเครื่องบินที่เขาออกแบบลำใดเลยที่ ได้กลับมายังประเทศญี่ปุ่น กรุ • ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ อีกครั้ง ๑๘/๑๘ ถนนบางนา-ตราด อำเภอบางพลี สมุทรปราการ ๑๐๕๕๐

จงขยันเรียนรู้

เหน็ดเหนื่อย

BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

31


ขอขอบคุณ ในการจัดทำวารสาร ย่านจีนถิ่นบางกอก ตอน “ป่าไม้ในเมือง” สำเร็จไปด้วยดี โดยได้รับความร่วมมือจากผู้มีอุปการคุณดังรายนามต่อไปนี้ สำนักงานเขต สัมพันธวงศ์, กลุม่ ชุมชนคนรักตลาดน้อย, ชุมชนตลาดน้อย, ชุมชนวานิชสัมพันธ์, ชุมชนผูค้ า้ อะไหล่เก่า, ชุมชนโชฎึก, ชุมชนจงสวัสดิ,์ ชุมชนโปสิศสภา, ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UDDC), สมาคมภูมสิ ถาปนิกแห่งประเทศไทย, ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรชัย เงินแสงสรวย หัวหน้าภาควิชาพฤกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, อาจารย์ธราดล ทันด่วน แห่งโรงเรียนต้นไม้, บริษทั โอเพ่นบ๊อกซ์ จำกัด, Big Trees, โรงงานซีอวิ๊ โชติสกุลรัตน์, คุณภู่ศักดิ์ โปษยจินดา, คุณปรีชา อธิปธรรมวารี, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และสถาบันอาศรมศิลป์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.