ย่านน่าเดิน : กรณีศึกษา และแนวคิดของย่านน่าเดิน

Page 1

การเดินเป็นพฤติกรรมขั้นพื้นฐาน ของมนุษย์ที่สัมพันธ์กับภูมิทัศน์ เมืองอย่างแยกไม่ออก 1



หนังสือ ย่านน่าเดิน เขียนและเรียบเรียง : บริษัท ปั้นเมือง จ�ำกัด (โครงการฟื้นฟูย่านไชน่าทาวน์สู่การเป็นย่านสุขภาวะ แห่งการเดิน) สงวนลิขสิทธิ์โดย : บริษัท ปั้นเมือง จ�ำกัด (โครงการฟื้นฟูย่านไชน่าทาวน์สู่การเป็นย่านสุขภาวะแห่ง การเดิน) ภายใต้การด�ำเนินงานของ ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พิมพ์ครั้งที่ 1 : ตุลาคม 2560 จ�ำนวน 1,000 เล่ม. 42 หน้า. สนับสนุนการจัดท�ำหนังสือ : ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สนับสนุนการจัดพิมพ์ : ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผู้จัดท�ำและบรรณาธิการ : บริษัท ปั้นเมือง จ�ำกัด (โครงการฟื้นฟูย่านไชน่าทาวน์สู่การเป็นย่านสุข ภาวะแห่งการเดิน) ภาพและออกแบบรูปเล่ม : ไอริน บุญนิมิตรภักดี, นภัสสร ลิมปพาณิชย์, สิริรัตน์ ธาราทรัพย์

4

5


ค�ำน�ำ หนังสือ ย่านน่าเดิน เล่มนี้ เกิดจากการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการเดิน ย่านน่าเดิน และการ ออกแบบเพือ่ ส่งเสริมให้เกิดการเดินทีด่ ี ทีด่ ำ� เนินการภายใต้ โครงการพัฒนาและฟืน้ ฟูยา่ นไชน่าทาวน์ เมื่อปี 2559 และคณะผู้จัดท�ำ เห็นว่า ข้อมูลที่ได้รวบรวมและศึกษา ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎี แนวคิด การลงมือปฏิบัติ ที่เป็นตัวอย่างทั้งในและต่างประเทศ เป็นชุดข้อมูลที่น่าจะมีประโยชน์กับบุคคล ทั่วไปที่สนใจและก�ำลังศึกษาเรื่องย่านน่าเดินอยู่ ทางคณะผู้จัดท�ำ จึงได้สรุปเนื้อหาบางส่วนที่คาดว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อการน�ำมาประยุกต์ ใช้ ให้เกิด การริเริ่ม คิด และลงมือท�ำให้เกิด “ย่านน่าเดิน” ทั้งในเขตสัมพันธวงศ์ พื้นที่เป้าหมายของคณะผู้จัด ท�ำ รวมทั้งพื้นที่อื่นๆ ในกรุงเทพฯ และประเทศไทย มาจัดท�ำเป็นหนังสือเล่มนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ให้กับผู้อ่าน และผู้สนใจ ได้น�ำไปคิด ต่อยอด และประยุกต์ ใช้ หรือค้นคว้าวิจัยเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อไปในภายภาคหน้า และคณะผู้จัดท�ำ ต้องขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งนักวิจัย ผู้เสนอแนวคิด และผู้ริเริ่มโครงการ ต่างๆ ที่คณะผู้จัดท�ำได้หยิบยกมาเป็นข้อมูลให้ผู้อ่านได้อ่านกัน ไว้ ณ โอกาสนี้ คณะผู้จัดท�ำ

6

7


"

ไชน่าทาวน์เยาวราช หรือ พื้นที่ทางการปกครองของเขตสัมพันธวงศ์ เป็นพื้นที่เขตที่เล็ก ที่สุดของกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่เพียง 1.416 ตารางกิโลเมตร มีตรอกเล็ก ซอยน้อย จ�ำนวนมาก ที่ร้อยเรียงพื้นที่ประวัติศาสตร์ของชุมชนคนไทยเชื้อสายจีนเอาไว้ บนพืน้ ที่ ไชน่าทาวน์เยาวราชนี้ มีเพียงถนนหลักไม่กี่เส้นที่ผู้คนมักจะรู้จักและแวะมาเดินเยี่ยมเยือน อย่างถนนเยาวราช ถนนทรงวาด ถนนวาณิช หรือถนนส�ำเพ็ง แต่จริงๆแล้ว ในพื้นที่ ยังมีตรอกซอยซอย อีกจ�ำนวนมากที่เชื่อมโยงมรดกวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีน เอาไว้ รอเผยโฉมให้ผู้สนใจได้เข้าไปดู แต่พื้นที่เหล่านั้นจะเอื้อให้คนเข้าไปยลโฉม ก็ต่อ เมื่อเส้นทางเข้าถึง เอื้อให้เกิดการเดินเท้าที่ดี และ น่าเดิน จึงเป็นที่มาของการค้นคว้า งานวิจัย ย่านน่าเดิน ว่า แท้จริงแล้ว ย่านน่าเดินคืออะไร ย่านน่าเดินมีองค์ประกอบอะไร บ้าง การท�ำให้ย่านน่าเดิน ให้ผู้คนออกมาเดิน และใช้เส้นทางเพื่อการเดินนั้น มีวิธีอะไร บ้าง ที่สามารถน�ำมาประยุกต์ ใช้ และเป็นประโยชน์กับพื้นที่ไชน่าทาวน์เยาวราชแห่งนี้

8

"

9


ท�ำไมต้อง (ย่าน)น่าเดิน การเดินเป็นพฤติกรรมขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่สัมพันธ์กับ ภูมิทัศน์เมืองอย่างแยกไม่ออก เนื่องจากมนุษย์จะรับรู้ สิ่งแวดล้อมที่รอบตัวอยู่ตลอดเวลาและต้องอาศัยองค์ประกอบของเมืองในการเดิน ได้แก่ ทางเท้า ถนนคนเดิน สะพาน หรือการเดินในย่านต่างๆ เป็นต้น ซึ่งในแต่ละการ เดินนั้นก็จะสัมพันธ์กับเป้าหมายของผู้เดินและองค์ประกอบ ของภูมิทัศน์เมือง เช่น การเดินในชีวิตประจ�ำวัน การเดิน เพื่อจับจ่ายใช้สอย การเดินเพื่อศึกษาย่านหรือท่องเที่ยว โดยเฉพาะในเขตสัมพันธวงศ์หรือย่านไชน่าทาวน์ซึ่งเป็น ย่านศูนย์การค้าดั้งเดิมของเมืองอันมีประวัติศาสตร์การตั้ง ถิ่นฐานยาวนานที่ยังคงวิถีชีวิตของผู้คนที่เชื่อมโยงกับอดีต ผ่านมรดกวัฒนธรรมทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ อีกทั้ง ยั ง เป็ น รากฐานของธุ ร กิ จ การค้ า ที่ ส� ำ คั ญ ระดั บ ประเทศ มากมาย

10

11


" "ผู้เชี่ยวชาญ/นักวิชาการ

การเดินเป็นสิ่งแรกที่ทารกต้องการจะท�ำ และเป็นสิ่งสุดท้าย ที่คนชราต้องการจะเลิก การเดินเป็นการออกก�ำลังกายที่ ไม่ต้องการสถานที่ เป็นยาที่ไม่ต้องมีใบสั่ง เป็นการควบคุม น�้ำหนักที่ไม้ต้องอดอาหาร เป็นเครื่องประทินโฉมที่ไม่มี สารเคมีเป็นการบ�ำบัดจิตที่ไม่ต้องการยาและแพทย์ และ ยังเป็นการพักผ่อนที่ไม่ต้องเสียเงิน การเดินเป็นสิ่งที่มี ประสิทธิภาพที่สุดทั้งไม่ก่อให้เกิดมลพิษและไม่สิ้นเปลือง ทรัพยากรธรรมชาติ การเดินนั้นสะดวกเพราะไม่ต้องการ อุปกรณ์ ใดๆ สามารถเคลื่อนไหวได้ดังใจคิด และมีความ ปลอดภัยตามธรรมชาติ การเดินนั้นถือเป็นธรรมชาติเช่น เดียวกับการหายใจ

"

ได้ศึกษาและให้นิยามเกี่ยว กับการเดินและการส่งเสริม การเดินไว้อย่างหลากหลาย

" จอห์น บุชเชอร์(John Butcher, 1999, Internatiional Chater for Walking) ผู้ก่อตั้งองค์กร Walk21

12

13


"

ภูมิทัศน์เมือง หมายถึงสิ่งแวดล้อมตามเส้นทาง และพื้นที่ นอกอาคารที่สามารถมองเห็นและรับรู้ ได้ ในเมือง ไม่ว่าจะ เป็นลักษณะและรูปทรงที่โอบล้อมจุดที่เรายืนอยู่ โดยจะมี การเปลี่ยนแปลงการรับรู้ภูมิทัศน์เมือง จากการเคลื่อนที่ จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งภายในเมือง ที่เน้นการรับรู้สภาพ แวดล้อมโดยการมองเห็น และการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อม ที่ตอบรับและสอดคล้องกับการรับรู้ของผู้คนโดยผ่านทางการ จัดองค์ประกอบทางกายภาพในสภาพแวดล้อมของเมือง เป็น ศูนย์กลางของกิจกรรมในเมือง และในบางครั้งจุดสังเกตและ จุดศูนย์รวมก็อยู่ในที่เดียวกัน

“กอร์ดอน คัลเลน (Gordon C สถาปนิกผู้ศึกษullาภeมู nิท, 1961)” ัศน์เมือง

14

" 15


"

ระบบการรับรู้เมือง เป็นการรวมองค์ประกอบการรับรู้จาก ผู้พบเห็นซึ่งประกอบด้วยหลัก 5 อย่าง คือ ทางสัญจร (paths) ขอบเขต (edges) ย่าน (districts) ชุมทาง (nodes) และจุด หมายตา (landmarks) โดยองค์ประกอบทั้ง 5 ประการจะสร้าง การรับรู้เมืองของผู้สังเกต หากสภาพแวดล้อมของเมืองมีการ จัดองค์ประกอบทีเ่ หมาะสม ก็จะท�ำให้เกิดจินตภาพทีช่ ดั เจนและ ส่งผลให้เมืองๆนั้นมีความน่าประทับใจต่อผู้พบเห็นเป็นที่สุด

1977) เควิน ลินซ์ (Kevin Lyันนัncกh, สถาปนิกชาวอเมริก วางผัง

16

"

17


"

ภูมิทัศน์เมืองคือ ภาพรวมของเมืองซึ่งเกิดจากองค์ประกอบ ทางกายภาพต่างๆซึ่งปรากฏแก่สายตา และก่อให้เกิดผลทาง อารมณ์และความรู้สึกแก่ผู้รับรู้องค์ประกอบ โดยคุณลักษณะ ของภูมิทัศน์เมืองในปัจจัยส�ำคัญที่มีผลต่อภูมิทัศน์เมือง ได้แก่ วัสดุที่ใช้ (materials) ขนาดสัดส่วน (proportions) และเส้น รอบรูป (profiles) หรือเส้นขอบที่มองจากด้านหน้าอาคารและ ด้านข้างอาคาร

อาชิฮารา โยชิโนบุ (Ashiha translate by Lynne E. Rira Yoshinobu, ggs, 1983)

18

"

19


"

ภูมิทัศน์ถนนทางเดิน (streetscape) เป็นสภาพแวดล้อม ที่สามารถมองเห็นได้จากถนนอันเป็นทางสัญจรขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ว่างริมถนนทั้งที่เป็นสาธารณะและพื้นที่ส่วน บุคคล เช่น พื้นที่หน้าอาคาร ทางเดิน สาธารณูปโภค และ อุปกรณ์ประกอบถนนต่างๆ ดังนัน้ การรับรูภ้ มู ทิ ศั น์ถนนทางเดิน (streetscape) จึงเป็นส่วนส�ำคัญส่วนหนึง่ ของการสร้างการรับรู้ ภาพในองค์รวมของภูมสิ ถาปัตยกรรม และภูมทิ ศั น์เมือง (urban landscape) ท�ำให้ผู้คนที่ใช้พื้นที่นั้นได้รับรู้ถึงความสง่างาม ความร่มรื่น จดจ�ำได้ถึงลักษณะส�ำคัญบนพื้น

(ปรีชญะ โรจน์ฤดากร, 2554)

20

" 21


3

องค์ประกอบของภูมิทัศน์ ถนนทางเดินหลากหลาย ภูมิทัศน์ถนนทางเดินมาจากองค์ประกอบของ ถนนทางเดินที่เป็นสาธารณะซึ่งประชาชน ทุกคนสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย จ�ำนวน 4 ประการดังนี้

ne

zo id ng

1

buil

es

ped

4

one

z train

one

z curb

พื้นที่และทางจักรยาน (bikeway) ทางจักรยานที่ดี ต้องเชื่อมต่อจุดส�ำคัญของเมือง เพื่อให้ติดต่อได้ สะดวกและสั้นที่สุด และควรมีขนาดความกว้างพอ ให้รถจักรยานสองคันสวนกันได้สะดวก ซึ่งกว้าง อย่างน้อย 1.50 – 1.80 เมตร โดยมีป้ายเตือนบอก ระยะทางที่ชัดเจน มีที่จอดรถ โครงจอดรถเสียบ ป้องกันการโจรกรรม การตัดเส้นทางจักยานสามารถ ท�ำได้ดังนี้ -แยกจากทางเท้าโดยเด็ดขาด ใช้ ในบริเวณที่มีการ ใช้จักรยานมาก และหลีกเลี่ยงจุดตัดหรือข้ามของ ทางเท้าและถนน -แยกจากทางเดินรถหรือทางเท้า ใช้ ในบริเวณทีม่ กี าร ใช้จักรยานไม่มาก -ใช้ร่วมกับทางเท้าหรือทางเดินรถ โดยใช้สีหรือ เครื่องหมาย (สัญลักษณ์) เป็นจุดแบ่งเส้นทาง (บุญนาค ตีวกุล, 2556)

3 4

2 1 พื้นผิวและขนาดทางเท้า (sidewalk zones and dimensions) (ด�ำรงศักดิ์ สังข์ทอง, 2549) ประกอบด้วยส่วนพื้นที่หน้าอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง (building zone) พื้นที่ทางเดินเท้า (pedestrian zone) และขอบคันถนน (curb zone) ส่วนการ ออกแบบทางเท้า ที่ดีควรก�ำหนดแนวทางสัญจรให้ อยู่บนกึ่งกลางของทางเท้า และไม่มีสิ่งกีดขวางบน เส้นทาง นอกจากนี้ยังควรจัดวางอุปกรณ์ประกอบ ถนนให้เหมาะสมและเป็นสัดส่วน 22

2 มาตรฐานและความกว้างของเส้นทางเดิน (ทรรศชล ปัญญาทรง, 2551) จากขนาดตัวเลขร่างกายของ มนุษย์ ในการใช้ทางเท้าระบุว่า 1 คนใช้ทางเท้า 0.60 เมตร และใช้ 1.20 เมตรในกรณีเดินสวนกัน

ส่วนประกอบของภูมิทัศน์ถนน (streetscape element) ได้แก่ -พื้นผิวทางเท้า (pavement) เป็นส่วนที่เด่นชัดที่สุด ของภูมิทัศน์ถนน มีหลายรูปแบบตั้งแต่พื้นคอนกรีต วัสดุปูพื้นแบบย่อย (unit paving) โดยมีขอบถนน (curb) เป็นตัวแบ่งถนนกับทางเท้า -พืชพรรณ (landscape planting) เป็นส่วนช่วย สร้างบรรยากาศที่ดี และลดความกระด้างของถนน ซึ่งควรเลือกใช้ ให้เหมาะกับภาพลักษณ์ถนน สภาพ อากาศ แมลง โรค การดูแลรักษา ความกว้างของ รากเมื่อโต ขนาดของการแผ่กิ่งก้าน และการสร้าง แผ่นปิดหลุมปลูกต้นไม้ (tree gate) -ระบบแสงสว่างบนถนนและทางเท้า (street lighting) ควรค�ำนึงถึง ความสว่างเพียงพอ และให้ความ ปลอดภัยกับทางเท้าและถนนในเวลาค�่ำคืน ซึ่งต้อง พิจารณารายละเอียดคือ ระดับการส่องสว่าง ต�ำแหน่ง ติดตั้ง และชนิดของไฟฟ้าส่องสว่าง 23


ปัจจัยที่มีผลต่อการออกแบบ ภูมิทัศน์ถนนน่าเดิน 1

การออกแบบภูมิทัศน์ถนนน่าเดินนั้นเงื่อนไขที่ส�ำคัญคือการตั้งเป้าหมายร่วมกันของ ชุมชนและองค์การปกครองท้องถิ่น โดยมีปัจจัยที่มีผลต่อการออกแบบภูมิทัศน์ ถนนน่าเดิน 8 ประการ ได้แก่

เชื่อมโยงสถานที่น่าสนใจ 2 แห่งเข้าด้วยกัน เพื่อ ให้ เ กิ ด ความน่ า สนใจและเป้ า หมายในแต่ ล ะ การเดิน เช่น จากย่านการค้าถึงพื้นที่ริมแม่น�้ำ ในระหว่างทางมีจุดน่าสนใจ เช่นร้านค้าที่เป็น เอกลักษณ์ พื้นที่สาธารณะ หรือศาสนสถาน ที่ส�ำคัญ เป็นต้น

3

มีความสะดวกและปลอดภัย ด้วยการมีระบบ ขนส่งมวลชนสาธารณะ การจัดระบบจราจรหรือ ที่จอดรถ และปลอดยวดยานที่สัญจรไปมาด้วย ความเร็วสูง 24

2

เป็นถนนสายหลัก หรือเป็นย่านการค้าหลักของ เมืองแต่ดั้งเดิม เนื่องจากย่านเหล่านี้มักจะมี ภูมิทัศน์ ประวัติศาสตร์ และสถาปัตยกรรม ที่ สะท้อนถึงการตั้งถิ่นฐาน ผู้คน เรื่องราว หรือวิถี ชีวิตที่น่าสนใจและเป็นเอกลักษณ์ของย่าน

4

มีพื้นผิวทางเดินที่มีคุณภาพและสะอาด โดยพื้น ผิวถนนทางเดินจะต้องเดิน ได้สะดวกและเอื้อ ต่อคนทุกประเภท เช่น ระดับทางเดินที่เรียบ เสมอไม่เปลี่ยนระดับบ่อย ทางเดินไม่เป็นหลุม เป็นบ่อ เป็นต้น

5

6

มีแนวทางการพัฒนาที่ผสานมิติของการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและวิถีชีวิตสมัยใหม่เข้าด้วยกัน โดยต้อง ค�ำนึงถึงการให้ความส�ำคัญของสิง่ ต่างๆ เช่น วิถชี วี ติ การอนุรกั ษ์ บูรณะฟืน้ ฟู ปรับปรุงดัดแปลงและต่อ เติมหรือสร้างใหม่ โดยผูพ้ ฒ ั นาจะว่าจะต้องก�ำหนด ว่าสิ่งเหล่านี้ ส่งเสริมหรือเชื่อมโยงกันได้อย่างไร

ก�ำหนดนโยบายและบทบาทของถนนทางเดินที่ ชัดเจน โดยก�ำหนดผู้ ใช้หลัก วิธีการสัญจร และ กิจกรรมที่จะเกิดขึ้นบนถนนทางเดินให้ชัดเจน โดยผู้พัฒนาจะว่าจะต้องก�ำหนดว่าสิ่งเหล่านี้ ส่ง เสริมหรือเชื่อมโยงกันได้อย่างไร

7

8

มี บ รรยากาศที่ ส บายและปราศจากมลภาวะ ทางเสียง โดยภาพรวมบรรยากาศ ควรมีความ ผ่อนคลาย ไม่เร่งรีบ และไม่เอะอะอึกทึกจาก กิจกรรมการค้า ดนตรี หรือการใช้เครื่องขยาย เสียงมากจนเป็นการรบกวนผู้ ใช้ถนนทางเดิน

มีอุปกรณ์ประกอบถนน (street furniture) ที่ เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ ซึ่ง มีการพัฒนาใหม่ หรือบูรณะฟื้นฟูพื้นที่เดิมจะมี สตรีทเฟอร์นิเจอร์ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และ ส่งเสริมบรรยากาศหรือการใช้สอยพื้นที่ได้อย่าง ลงตัว 25


กฎบัตรสากลว่าด้วยการเดิน (Internatiional Chater for Walking) มีเป้าหมายเพื่อชี้ให้เห็นถึงองค์ประกอบที่จ�ำเป็นส�ำหรับการเดิน เท้า และให้เค้าโครงในการด�ำเนินการเพื่อช่วยให้เกิดการทบทวนใน เชิงนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงแนวทางการสร้าง กิจกรรมหรือการปฏิสัมพันธ์ที่ส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการเดินใน สังคม โดยให้แนวทางในการพัฒนาเป็นหัวข้อย่อยๆซึ่งสามารถน�ำ มาปฏิบัติได้จริงซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

26

1) เพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนที่ 2) ออกแบบและจัดการพื้นที่หรือสถานที่อย่างประณีตและมีระบบ 3) ปรับปรุงโครงข่ายการเดินให้บูรณาการเข้าหากัน 4) ก�ำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินและวางแผนเชิงพื้นที่ที่เอื้อให้เกิดการเดิน 5) ลดความอันตรายบนท้องถนน 6) ลดอาชญากรรมบนท้องถนน 7) สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานให้เป็นภาคีร่วมสนับสนุนการเดิน 8) สร้างวัฒนธรรมการเดิน

27


ตัวอย่างย่านน่าเดิน

ถนนสตรอยก์ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ค เมืองโทยามะ จังหวัดโทยามะ ประเทศญี่ปุ่น ย่านไชน่าทาวน์ ประเทศสิงค์โปร์ ถนนอัลเบิร์ต เมืองบริสเบน รัฐควีนส์แลนด์

28

29


ถนนสตรอยก์ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ค

30

กรุงโคเปนเฮเกนเคยประสบปัญหารถติด มลพิษ ทางอากาศอย่างรุนแรงในราว ปี1950 เป็นผลให้ สถาปนิก Yan Gehl เริ่มผลักดันให้เกิดการวาง ผังเมืองที่ให้ความส�ำคัญกับ “คน” มากกว่ารถยนต์ และยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวเมืองใน ปี1962 โดยเริ่มต้นจากถนนสตรอยก์ที่ตั้งอยู่ในย่านเมือง เก่ า ของเมื อ งซึ่ ง เชื่ อ มถนนสายหลั ก ห้ า เส้ น ของ เมืองเข้าด้วยกันจากจัตุรัสหน้าศาลาว่าการเมือง โคเปนเฮเกน ที่รายล้อมไปด้วยอาคารเก่าที่งดงาม ปราสาท พระราชวัง และพิพิธภัณฑ์ ไปสิ้นสุดที่ย่าน นูฮาฟน์ (Nyhavn หรือ New Harbor) ย่านเก่าแก่ ของกลาสีในศตวรรษที่ 17 ก่อนแล้วจึงขยายไปยัง ถนนเส้นอื่นๆในเวลาต่อมา ด้วยการ 1) การสร้างวิสยั ทัศน์และนโยบายของเมืองทีช่ ดั เจน ด้วยการวางผังเมือง ทีใ่ ห้ความส�ำคัญกับคนมากกว่า รถร่วมกับการสร้างพื้นที่สาธารณะ และเชื่อมโยง ให้เกิดเป็นเครือข่ายการเดินในเมือง 2) การออกแบบโครงสร้างเมืองทีด่ ี คือการออกแบบ ถนน เลนจักรยาน และสิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่างๆ ให้เป็นมิตรต่อคนเดินถนน และผู้ขับขี่จักรยานและ เชื่อมต่อพื้นที่ส�ำคัญในเมือง 3) การสร้างบรรยากาศทีน่ า่ เดิน คือการสร้างภูมทิ ศั น์ ให้เกิดภาวะความน่าเดิน ของเมืองด้วยการสร้างพืน้ ที่ สาธารณะและพื้นที่สีเขียวควบคู่ไปกับการปรับปรุง อาคารบ้านเรือนที่ส่งเสริมบรรยากาศของความเป็น ย่านเมืองเก่าไปด้วย 4) ขนาดของถนนและเมืองมีขนาดที่เหมาะสม คือ การที่ ถ นนสตรอยก์ มี ข นาดความยาวประมาณ 1.1 กิโลเมตร และเชือ่ มโยงย่านพาณิชยกรรมกลาง เมืองเข้าด้วยกัน ท�ำให้สามารถเดินถึงกันได้โดยง่าย และการมีพื้นที่หน้าอาคารกว้างพอเหมาะที่จะเพิ่ม กิจกรรม หรือรองรับพื้นที่การค้าได้

31


เมืองโทยามะ จังหวัดโทยามะ ประเทศญี่ปุ่น โทยามะเป็นเมืองหลวงของจังหวัดโทยามะ ประสบ ปัญหาการลดลงของประชากรอย่างต่อเนื่อง จึง ท�ำให้มีผู้สูงอายุเป็นจ�ำนวนมาก ท�ำให้ภาคนโยบาย ของเมือง วางแผนการพัฒนาเมืองโดยใช้แนวคิดให้ เป็นเมืองที่อยู่ง่าย เดินทางง่าย และเป็นมิตรกับ ผู้สูงวัย (Compact city) ด้วยการจัดระบบขนส่ง มวลชนสาธารณะภายในเขตเมืองขึ้นใหม่ ด้วยการ 1)การสร้างวิสัยทัศน์และนโยบายของเมืองที่ชัดเจน ด้วยแผนการรองรับ การเพิม่ จ�ำนวนประชากรสูงอายุ ของเมือง ให้สามารถด�ำเนินชีวิตด้วยการพึ่งตนเอง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ โดยไม่ต้องเก็บตัวอยู่แต่ใน บ้านหรือเป็นภาระของผู้ดูแล ท�ำให้ส่งเสริมสุขภาพ กายและจิตของผู้สูงอายุ 2)การออกแบบโครงสร้างเมืองทีด่ ี คือ การออกแบบ ถนน และสิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่างๆ ให้เป็นมิตร ต่อผู้สูงอายุ โดยไม่ให้มีอุปสรรคต่อการเดินและ การใช้ล้อจาก รถเข็นหรืออุปกรณ์ช่วยเดินของผู้สูง อายุ 3)การสร้างภูมิทัศน์ ให้เกิดภาวะความน่าเดินของ เมืองด้วยการปูหญ้าในรางรถรางบางช่วงเพื่อเพิ่ม พื้นที่สีเขียว และลดความแข็งกระด้างให้กับเมือง เช่นกัน 4)สร้ า งการมี ส ่ ว นร่ ว มจากภาคการศึ ก ษาภาค เอกชนและกลุ่มธุรกิจในเมือง ด้วยการตั้งโครงการ Walking-Around Community เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ มาใช้ชีวิตมากขึ้น

32

33


ย่านไชน่าทาวน์ ประเทศสิงค์โปร์

34

ย่านไชน่าทาวน์ ประเทศสิงค์โปร์ รัฐบาลได้ก�ำหนด ให้ย่านนี้เป็นย่านอนุรักษ์ และฟื้นฟูที่เก่าแก่ของ ประเทศสิงคโปร์ โดยตึกแถวเก่าๆ ที่มีลักษณะ คับแคบได้ถูกดัดแปลงเป็นร้านค้า ร้านอาหารและ โรงแรมเล็กๆ ที่ตกแต่งด้วยสีสันที่สดใส พื้นที่นี้มี การออกแบบเมืองที่ดี เนื่องจากสามารถรักษาย่าน เก่าควบคู่ไปกับการพัฒนาสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว ด้วย 1)การออกแบบโครงสร้างเมืองที่ดี คือ การค�ำนึงถึง การออกแบบเพื่อให้คนใช้งานเป็นหลัก (Places for people) การปรับปรุงฟืน้ ฟูสว่ นของเมืองทีเ่ สือ่ มโทรม ให้คืนสภาพมีชีวิตชีวา สร้างการเชื่อมโยงพื้นที่ส่วน ต่างๆ ภายในเมือง สร้างสมดุลกับธรรมชาติ ผสาน กิจกรรมและอาคารให้สอดคล้องกับการลงทุน และ สามารถปรับเปลี่ยนได้ ในอนาคต โดยการออกแบบ โครงสร้างเมือง 2)โครงร่างการสัญจรทีเ่ หมาะสม โดยศึกษาท�ำความ เข้าใจ เส้นทางการสัญจร แต่ละเส้นทางและสามารถ จ�ำแนกตามการใช้งานได้ ดังนี้ -การเป็ น ละแวกชุ ม ชนที่ ค นเดิ น ได้ ส ะดวกมี ก าร ก�ำหนดเส้นทางเดินของคน นักท่องเที่ยว และมี กิจกรรมระหว่างทางที่ท�ำให้ ไม่น่าเบื่อ และมีการ ก�ำหนดพื้นที่ ที่สามารถจอดรถได้ไว้อย่างชัดเจน -สร้างบรรยากาศที่คึกคักมีสีสันระหว่างทางเดิน ด้วยกิจกรรมและการตกแต่งอาคาร โดยปรับอาคาร เก่ า ให้ ดู ทั น สมั ย จนเกิ ด เป็ น อั ต ลั ก ษณ์ ข องพื้ น ที่ ท�ำให้ผู้คน รู้สึกประทับใจเมื่อได้สัมผัส (Sense of Places) เป็นการสร้างประสบการณ์ ที่ดีให้กับผู้เดิน เท้า -การสร้ า งระบบขนส่ ง มวลชนเชื่ อ มต่ อ เข้ า มา เป็นการสนับสนุนให้ผู้คนจ�ำนวนมากเข้ามายังพื้นที่ ด้ ว ยการเดิ น ซึ่ ง เป็ น วั ต ถุ ป ระสงค์ ห ลั ก ของการ ออกแบบชุมชน เมืองที่ดีและขณะเดียวกันเป็นการ สร้างทางเลือกในการเดินทางของคนที่หลายหลาย

-การจัดการระบบสัญจร เส้นทางคนเดิน เส้นทางรถ ทีจ่ อดรถทีเ่ ป็นระบบชัดเจน ท�ำให้สามารถแยกบริเวณ ส� ำ หรั บ คนและรถยนต์ อ อกจากกั น เพื่ อ ให้ เ กิ ด คุ ณ ภาพที่ ดี ใ นการใช้ พื้ น ที่ ที่ มี ค วามปลอดภั ย 3)ขนาดบล็อกเมือง (Blocks) ที่พอเหมาะ บล็อก เมือง คือ พื้นที่ซึ่งถูกก�ำหนด โดยโครงข่ายถนน แบบตาราง ถนน มีขนาดและรูปร่างไปตามลักษณะ ของถนน ขนาดของบล็อกในย่านไชน่าทาวน์พบว่า แต่ละบล็อกมีรูปร่างแคบยาวไปตามแนวถนนล้อม รอบ ขนาดของบล็อกโดยเฉลี่ยมีระยะด้านแคบ ประมาณ 40-50 เมตร ด้านยาวมี 2 รูปแบบตาม ลักษณะการแบ่งช่วงถนน มีระยะประมาณ 130 และ 250 เมตร ด้วยระยะด้านแคบประมาณ 40 เมตร ท�ำให้ต้องวางอาคารหันหน้าออกถนนและหันหลัง ชนกัน โดยส่วนใหญ่เป็นอาคารประเภทตึกแถว ค้าขาย (Shophouse) 4)เปิดหลังบ้านเข้าหากัน เพิ่มความสะดวก เพิ่ม ความสัมพันธ์ ลักษณะพิเศษอีกข้อหนึ่ง ที่ควรกล่าว ถึงของย่านนี้คือการวางโครงสร้างการใช้งานภายใน ที่เปิดหลังบ้านเข้าหากัน เป็นทางเดินที่เดินทะลุผ่าน ได้ โดยตลอดจากถนนสายหลัก ซึ่งท�ำให้อาคารมี ทางเข้าออก 2 ทาง และสามารถใช้เป็นทางบริการ (Service area) ส�ำหรับเข้าสู่ร้านค้าต่างๆ ได้ด้วย

35


ถนนอัลเบิร์ต เมืองบริสเบน รัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ถนนอัลเบิร์ต (Albert Street) เป็นถนนสายส�ำคัญ มีความยาว 1.3 กิโลเมตรเชื่อมระหว่าง สวน พฤกษศาสตร์ ของเมือง (City Botanic Gardens) ที่ตั้งอยู่ริมแม่น�้ำบริสเบน (Brisbane River) ผ่าน ย่านศูนย์กลางธุรกิจของเมือง (Central Business District) บริเวณจตุรัสคิงจอร์จ (King George Square) ไปยังสวนสาธารณะถนนโรมา (Roma Street Parkland) ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร ระบบรางที่ส�ำคัญของเมือง ด้วยเหตุนี้เทศบาลเมือง จึงได้วางแผนท�ำผังแม่บท (Masterplan) เพื่อให้ ถนนเส้นนี้เป็นพื้นที่มิติใหม่ของเมืองที่เอื้อให้เกิด การอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลของกิจกรรมการค้า คน เดินถนน จักรยาน และยานพาหนะ ภายใต้แนวคิด การสร้างแกนสีเขียว (Green spine concept) ให้ กับเมืองด้วยการเปลี่ยนถนนอัลเบิร์ตให้เป็นดั่งห้อง นั่งเล่นและถนนทางเดินที่เหมาะสมกับภูมิอากาศ แบบกึ่งเขตร้อนของเมือง นอกจากนี้ยังเป็นการดึง ศักยภาพของพื้นที่สีเขียวที่ส�ำคัญ ทั้งสามให้รวม เป็นพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่กลางเมืองที่ให้กับคน เดินเท้าได้มาใช้ชีวิตกลางแจ้ง ทานอาหาร หรือจัด กิจกรรม ด้วยการ 1)สร้ า งองค์ ป ระกอบของถนนให้ เ อื้ อ กั บ การเดิ น และแบ่งปันพื้นที่ให้กับคนเดินเท้า เช่น การขยาย

36

ทางเท้า หรือจัดการจราจรของยานพาหนะต่างๆ เพื่อสร้างบรรยากาศที่น่าเดินบนท้องถนน 2)สร้างความร่มรื่นให้กับพื้นที่ด้วยการปลูกต้นไม้ และ สร้างผนังสีเขียวให้กับอาคาร 3)สร้างพื้นที่รองรับกิจกรรมต่างๆทั้งชั่วคราว และ ถาวร 4)การออกแบบให้สอดคล้องกับภูมิอากาศแบบกึ่ง เขตร้อนด้วยการใช้พื้นที่เปิดโล่ง -สร้างบรรยากาศที่คึกคักมีสีสันระหว่าง ทางเดินด้วย กิจกรรมและการตกแต่งอาคาร โดยปรับอาคารเก่าให้ดู ทันสมัยจนเกิดเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ ท�ำให้ผู้คน รู้สึก ประทับใจเมื่อได้สัมผัส (Sense of Places) เป็นการ สร้างประสบการณ์ ที่ดีให้กับผู้เดินเท้า -การสร้างระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อเข้ามาเป็นการ สนับสนุนให้ผู้คนจ�ำนวนมากเข้ามายังพื้นที่ด้วยการเดิน ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของการออกแบบชุมชน เมือง ที่ดีและขณะเดียวกันเป็นการสร้างทางเลือกในการเดิน ทางของคนที่หลายหลาย

37


การสื่อสาร ให้เกิดการส่งเสริมการเดิน ป้ า ยและแผนที่ บ อกทาง กรุง ลอนดอน สหราช อาณาจักรโครงการ Legible London เกิดขึ้น โดยความร่วมมือของส�ำนักงานออกแบบ Applied Information Group (AIG) ร่วมกับองค์การคมนาคม ส�ำหรับลอนดอน (Transport for London: TFL) และเทศบาลนครลอนดอน เพื่อพัฒนาและจัดท�ำ ระบบป้ายบอกทางที่เป็นมิตรกับคนเดิน จึงสร้าง ต้นแบบป้ายในย่านเมย์แฟร์ (Mayfair) เป็นจุดแรก ในปี พ.ศ. 2550 และขยายเพิ่มเติมในเวลาต่อมา โดยวางเป้าหมายให้ลอนดอนเป็นเมืองที่น่าเดินมาก ที่สุดของโลกในปี พ.ศ. 2558 ด้วยการ

2)สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้ของคนเดิน ด้วย การส�ำรวจจุดติดตั้ง ที่สามารถเข้าถึงคนเดินถนนได้ มากที่สุด และท�ำสัญลักษณ์ ให้พบเห็น ได้โดยง่าย โดยใช้รูปคนเดินคาดแถบสีเหลืองที่ด้านบนสุดของ ป้าย

3)ใช้การออกแบบที่เป็นมิตรต่อผู้ ใช้ ด้วยการปรับ แผนที่ ให้ผู้ ใช้เป็นศูนย์กลางด้วยการใส่ภาพอาคาร ส�ำคัญ (landmark) เป็นรูปสามมิติ และใช้วิธี ให้ทิศ ทางที่ผู้ ใช้มุ่งหน้า ไปอยู่ด้า นบนของแผนที่ (Heads-up) แทนทิศเหนือ เพื่อง่ายต่อความเข้าใจ ทิศทางและน�ำสัญลักษณ์บอกทิศไปติดตั้งที่พื้นถนน 1)ใช้การออกแบบที่มีประสิทธิภาพ โดยป้ายบอก แทน ตามผลการวิจัยที่พบว่า แผนที่ภาพ 2 มิติใน ทางที่ อ อกแบบใหม่ นั้ น สามารถบอกเส้นทางที่ ลักษณะมอง จากด้านบนและมีทิศเหนืออยู่ด้านบน ชัดเจนและช่วยให้ผู้ ใช้เข้าใจต�ำแหน่งปัจจุบันตนเอง นั้นไม่สามารถท�ำให้เข้าใจเส้นทางได้ดีเท่ากับแผนที่ ที่แสดงให้เห็นลักษณะอาคารโดยรอบ

38

4)สร้างแรงจูงใจให้คนเดิน ด้วยการใช้จิตวิทยาใน การออกแบบป้ายบอกทาง ให้มีแผนที่การเดิน 2 แบบ โดยแบ่งจากระยะจากการเดิน 5 นาที (Finder Map) และ 15 นาที (Planner Map) เพื่อให้มอง เห็นภาพรวมการเดินทางก่อนทีจ่ ะวางแผน และเลือก เส้นทางเดินได้อย่างถูกต้อง โดยยังคงรักษาดัชนี อ้างอิงชื่อถนน (Street Finder) ซึ่งเรียงตามล�ำดับ ตั ว อั ก ษรจากพฤติ ก รรมของผู ้ ใ ช้ ส ่ ว นใหญ่ ที่ คุ ้ น เคยจากการค้นหาชื่อสถานที่จากดัชนีก่อนแล้วจึง ค้นหาบนแผนที่ตามมา ท�ำให้สะดวกรวดเร็วใน การท�ำความเข้า ใจทั้งยังช่วยให้รู้สึกว่าจุดหมายที่ ต้องการเดินนั้นอยู่ไม่ไกลจึงเป็นการสร้างแรงจูงใจ ให้ผู้คนหันมาเดินเท้ามากขึ้น

5)สร้างการท�ำงานร่วมกันหลายฝ่ายที่ร่วมมือกัน ตั้งแต่การวิจัย เก็บข้อมูลสังเกต พฤติกรรมผู้ ใช้ และออกแบบอย่ า งเป็ น ระบบซึ่ ง สามารถท� ำ ให้ ประชาชน หรือผู้ ใช้บริการเป็นศูนย์กลาง (peoplecentred) เพื่อประโยชน์สูงสุด ของผู้ ใช้ถนนทาง เดิน

39


ข้อมูลอ้างอิง กฤษณุ ผโลปกรณ์, โครงสร้างเมืองที่ดีในย่านไชน่าทาวน์ประเทศสิงคโปร์ ด�ำรงศักดิ์ สังข์ทอง, 2549 ทรรศชล ปัญญาทรง, 2551 บุญนาค ตีวกุล, 2556 ปรีชญะ โรจน์ฤดากร, 2554 ยงธนิศร์ พิมลเสถียร, 2556 รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการไชน่าทาวน์ย่านน่าเดิน, 2559 โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านตลาดน้อยและพื้นที่ต่อเนื่อง, 2558 Ashihara Yoshinobu, translate by Lynne E. Riggs, 1983 © atkinsglobal.co.uk © flickr.com © sustainablecitiesnet.com © visit-toyama.com Gordon Cullen, 1961 International Chater for Walking John Butcher, 1999, International Chater for Walking Kevin Lynch, 1977 http://www.brisbane.qld.gov.au/planning-building/planning-guidelines-tools/city-centremaster-plan/priority-projects/albert-street/ http://i.imgur.com http://www.tcdc.or.th/src/18049/#โทยามะ-Compact-City-แห่งอนาคตที่เป็นมิตรกับผู้สูงวัย http://toyamawalk.meetingdesign.jp https://www.rbkc.gov.uk/images/legible.jpg https://i.pinimg.com/originals/4b/3e/54/4b3e545ec5cedde1af0b11ab256ec0a4.jpg https://i.pinimg.com/originals/af/75/c6/af75c6545a834703ae8bbd8ebbfcdff7.jpg 40




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.