Planet of slums

Page 1

เรื่องเล่า ต้หลังคาสังกะสี 8 สารคดี บ อกเล่ า เรื่ อ งราวของ

ผู้คนและวิถีใน 4 ชุมชนแออัด: บางนา, ช่องลม, วัดใต้ และบางปิ้ง


2

“สลมั ” หรือ “ชุมชนแออดั ” เป็นผลมาจากแนวทาง การพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมและ เมือง เมื่อวิถีชนบทถูกรัฐท�ำให้ล่มสลาย บีบให้พวก เขาต้องอพยพสูเ่ มือง คนสลมั จึงเป็นผูบ้ กุ เบิกถิน่ ฐาน ในเมือง พวกเขาลงทุนก่อสร้างที่อยู่อาศัยราคาต�่ำ แม้จะแออัดและดูไม่เป็นระเบียบ แต่เป็นการแบ่งเบา งบประมาณรัฐอย่างมหาศาล การด�ำรงอยู่ของชาว สลัมยังเกี่ยวพันอย่างมากกับความเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจของเมอื ง ภาคการผลติ พาณิชยกรรม การ ก่อสร้างและธุรกิจบริการ ต่างต้องพงึ่ พาแรงงานจาก ชุมชน งานหนักและอาชีพที่ไม่มีใครอยากท�ำ เป็นต้น ว่า เก็บขยะ กวาดถนนล้วนแต่ต้องอาศัยพวกเขา เรื่องราวของพวกเขาจึงไม่ธรรมดา เพราะทุกจังหวะ ของชีวติ ล้วนบนั ทึกข้อเท็จจริงของประวัตศิ าสตร์การ พัฒนาประเทศ และสะท้อนชีพจรเศรษฐกิจและสังคม เมืองอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนเหนือดัชนีอื่นใด


01 บางนา

3


(ทำ�ไม) รวมกันเราอยู่:

บทสรุปบางนาสู่บางเพียง

วุฒิพงษ์ วงษ์ชัยวัฒนกุล ศรีสิทธิ์ วงศ์วรจรรย์ อนาลา กุลรัตน์

4

“สองหัวดีกว่าหัวเดียว และหลายหัวดีกว่าหัวเดียว” ค� ำ กล่ า วนี้ ไ ม่ ใ ช่ ข องช่ า งตั ด ผม แต่ ค� ำ กล่ า วนี้ ที่ เ รามั ก พู ด ถึ ง เมื่ อ ปั ญ หาก� ำ ลั ง คื บ คลานเข้ามาหากลุ่มคน ชุมชน ค�ำว่า “หัว” หมายถึง คน เป็นการเปรียบเปรยถึงการท�ำงาน อะไรสักอย่าง ถ้าหากช่วยกันคิด ช่วยกันท�ำ งาน ที่ออกมาก็มักจะดีกว่างานที่ท�ำคนเดียว ชุมชนริมทางด่วนบางนา มีพื้นที่ 6 ไร่ 3 งาน ผูอ้ าศัย 243 ครัวเรือน รวมประมาณ 1000 คน ตั้งอยู่ที่ถนนสุขุมวิท 70 มาตั้งแต่ช่วงปีพ.ศ. 2523 มีสถานะเป็นชุมชนนอกระบบ ซึ่งชาว บ้านที่อยู่ที่นี้ไม่มีทะเบียนบ้านถาวร พวกเขา จะได้รับทะเบียนบ้านชั่วคราวเพื่อออกบัตร ประชาชน และเหตุผลด้านการท�ำสัมมโนครัว ประชากรเท่านั้น ทุกคนที่อยู่ที่นี้จะไม่มีสิทธิ์ และไม่ได้รบั สวัสดิการจากภาครัฐ เท่าเทียมกับ ชาวบ้านข้างนอก ในอดีต ชุมชนแห่งนี้ประสบปัญหาการเข้า ไม่ถงึ ของสาธารณูปโภค และการข่มขูข่ บั ไล่จาก นายทุนที่มุ่งหวังในที่ดินราคาสูงแห่งนี้ ด้วยวิธี การต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการส่งนักเลงมาก่อกวน และเหตุการไฟไหม้กลางชุมชนเมือ่ ปีพ.ศ.2553 ซึง่ บางส่วนตัง้ ข้อสังเกตว่าเป็นฝีมอื จากนายทุน เหล่านี้ แต่ในตอนนี้คนในชุมชนก�ำลังมีชีวิต

ที่ดีขึ้นเมื่อพวกเขาจะได้รับที่ดินแห่งใหม่ ซึ่ง จะกลายเป็นที่อยู่ทะเบียนบ้านถาวรในปีพ.ศ. 2561 นี้ ชุมชนแห่งนีก้ เ็ หมือนกับชุมชนอืน่ ๆ คือผ่าน ปัญหาการขับไล่ทอี่ ยู่ ซึง่ มักจบด้วยการฟ้องร้อง และส่งผลให้ชาวบ้านต้องออกจากพืน้ ทีใ่ นทีส่ ดุ แต่ชุมชนนี้ พวกเขาก�ำลังได้รับที่ดินแห่งใหม่ เป็นการแลกเปลื่ยน ท�ำให้เกิดค�ำถามขึ้นในใจ ของกลุ่มผู้เขียนว่าชุมชนแห่งนี้ต่างจากชุมชน อื่นๆ อย่างไร ท�ำไมพวกเขาถึงได้รับที่ดินแลก เปลี่ยน เราจึงจะตามไปดูจุดเริ่มต้นของชุมชน จากอดีตถึงปัจจุบัน คุ ณ สั ง วาร จาบ ดี (81 ปี ) คนกลุ ่ ม แรกๆ ที่ เ ข้ า มาอาศั ย อยู่ในพื้นที่นี้ราว 40 ปี ที่ แ ล้ ว บอกกั บ เราว่ า ตนมี ภู มิ ล� ำ เนาเดิ ม อยู ่ ที่ จั ง หวั ด ก� ำ แพงเพชร คนในชุ ม ชนมาจาก หลายท้ อ งถิ่ น รวมตั ว เกิดเป็นชุมชนขึ้นมา ในช่วงแรก ที่นี้เป็น

ผื น ป่ า ไม่ มี ไ ฟฟ้ า ประปา หรื อ บริ ก ารเก็ บ ขยะเข้าถึง ตนกับเพื่อนๆ ต้องซื้อน�้ำ มาจาก ที่อื่ น ส่ว นไฟฟ้า บ้ านไหนที่ พอมีเงินก็จะซื้อ แบตเตอรี่มาใช้ และยังมีนักเลงมาก่อกวนเพื่อ หวังให้พวกตนย้ายออกไป หลายๆ ครั้ง แต่ก็ จะรวมคนผลักดันออกไปได้ทุกครั้ง จนเมื่อมี คนมาอยู่มากขึ้น กลุ่มชาวบ้านที่พอมีความรู้ก็ รวมตัวเป็นกรรมการบ้านชุมชนเพื่อต่อรองกับ ส�ำนักงานเขตจนได้รับถังขยะส่วนกลางมาตั้ง หน้าชุมชนในที่สุด คุณณรงค์ ปักษา (61 ปี) กรรมการชุมชน ช่วงปีพ.ศ.2540 บอกกับเราว่าในสมัยรัฐบาล พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ มีการเลือกตั้งหาเสียง

คุณสังวาร จาบดี (81 ปี)


ส่วนส�ำคัญของเกราะป้องกันชุมชน คือ เสาวิ ท ยุ ก ระจายเสี ย งประจ� ำ ชุ ม ชน โดย กระจายเสียงจากทีท่ ำ� การชุมชน เมือ่ เกิดเหตุ ร้ายอะไรขึ้น ทุกคนก็จะรู้ทั่วกัน

“ คุณณรงค์ ปักษา (61 ปี)

อย่างดุเดือด สก. สข. ในสมัยนั้นก็ต่างเข้ามา หาเสียงในพื้นที่นี้ ซึ่งด้วยโอกาสเหล่านี้ คณะ กรรมการชุ ม ชนในสมั ย นั้ น จึ ง ไม่ รี ร อที่ จ ะใช้ โอกาสทางการเมืองเป็นเกราะป้องกันชุมชน จากกลุ ่ ม นายทุ น ต่ า งๆ แต่ ก็ มี เ หตุ ก ารณ์ ไ ฟ ไหม้ในปีพ.ศ.2541 ที่บางส่วนตั้งข้อสังเกตว่า มีบางคนรับ “ใบสั่ง” มาก่อเหตุ แต่โดยรวม ไม่มีใครกล้าเข้ามาสร้างความวุ่นวายในพื้นที่นี้ เพราะเกรงใจนักการเมือง และระบบประปา ไฟฟ้าแบบมิเตอร์ส่วนกลาง และทะเบียนบ้าน ชั่วคราวก็ได้มาในช่วงนี้เช่นกัน คุณมณี ทาสถาน (62 ปี)

คุณปภาวี ช่างนาม (37 ปี)

คุ ณ ณรงค์ ยั ง บอกอี ก ว่ า ส่ ว นส� ำ คั ญ ของ เกราะป้องกันชุมชน ส่วนหนึ่งก็คือเสาวิทยุ กระจายเสียงประจ�ำชุมชน โดยกระจายเสียง ประกาศข่าวสารจากที่ท�ำการชุมชน ซึ่งคณะ กรรมการชุมชนในสมัยของตนเป็นผูร้ เิ ริม่ น�ำเข้า มา เมื่อเกิดเหตุร้ายอะไรขึ้น ทุกคนก็จะรู้ทั่วกัน คุณมณี ทาสถาน (62 ปี) กรรมการชุมชน ชุดปัจจุบนั บอกกับเราว่าช่วงทีเ่ ข้ามารับหน้าที่ ก็ ไ ด้ เ สริ ม ความร่ ว มมื อ ระหว่ า งคนในชุ ม ชน ให้มากขึ้น เช่น การจัดประชุมรวมทุกเดือน จัดงานตามเทศกาล จัดให้มีเงินกองกลางที่ ส่ ว นใหญ่ ม าจากก� ำ ไร การจั ด เก็ บ ค่ า ประปา ไฟฟ้า เพราะชุมชนเป็น ผู ้ ติ ด มิ เ ตอร์ ต ามบ้ า น เอง และรวมเงินไปจ่าย มิเตอร์กลางทีภ่ าครัฐน�ำ มาติดให้ โดยชุมชนจะ ได้ส่วนต่าง ปัจจุบันมี เงินอยูป่ ระมาณห้าแสน บาท ไว้บริหารจัดการ ในชุ ม ชน เพราะว่ า ชุมชนเราไม่มีทะเบียน เป็ น ชุ ม ชนเถื่ อ นใน สายตาภาครัฐ เราต้อง พึ่งตัวเองได้ ไม่ต้องไป อ้อนวอนให้ใครเขาช่วย ทะเบียนบ้านชั่วคราว กับบัตรประชาชนตอน นี้เราก็มีไว้เพื่อเลือกตั้ง เท่านั้น คุณปภาวี ช่างนาม (37 ปี) หัวหน้าอาสา

สมัครสาธารณสุข (อสส.) บอกกับเราว่า ชุมชน นี้มีอสส. รวม 7 คน โดยชุมชนส่งเสริมให้ใคร ที่มีความสนใจด้านไหนก็ไปเข้าร่วมไปต�ำรวจ ชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข หรืออาสากู้ภัย กู้ชีพ ซึ่งวิธีนี้จะท�ำให้คนในชุมชนสามารถใช้ ความรู้ ความสามารถ ไปในทางที่ตนสนใจได้ และน�ำสิ่งที่ได้รับกลับพึ่งพากันเองได้และไม่ ล�ำบากเมื่อถูกตัดความช่วยเหลือ ใครเจ็บป่วย เล็กๆ น้อยๆ ก็มักจะมาหาเราก่อน เพราะเรามี ยาสามัญเก็บไว้ ซึง่ หากแม้ยา้ ยไปอยูท่ แี่ ห่งใหม่ก็ จะคงรูปแบบการจัดการแบบนีต้ อ่ ไป เพราะเรา สามารถดูแลกันเองได้แล้วในระดับหนึ่ง คุณมณี บอกกับเราเกี่ยวกับปัญหาหลัก ของชุมชนว่า แม้ชุมชนนี้จะถูกมองว่ามีความ เข้มแข็งกว่าชุมชนอื่นๆ ที่ก�ำลังประสบปัญหา การขั บ ไล่ อย่ า งเช่ น ชุ ม ชนบางปิ ้ ง จั ง หวั ด สมุ ท รปราการ หรื อ ชุ ม ชนวั ด ช่ อ งลม เขต ยานนาวา กทม. แต่ชุมชนของเราก็ถูกฟ้องร้อง มีคดีตดิ พันในศาลอยูเ่ ป็นระยะเหมือนกัน ทีร่ อด มาเพราะเรารวมตัวกันคล้ายองค์กรจึงท�ำให้มี อ�ำนาจต่อรองกับภาครัฐ กับนายทุนมากกว่า การไปเจรจาโดยคนๆ เดียว ท้ายสุด คุณมณี บอกกับเราเกีย่ วกับข้อสรุป ทีต่ อ้ งย้ายออกไป การเจรจาผ่านคณะกรรมการ ชุมชนนานหลายปี ในทีส่ ดุ เจ้าของที่ (ดร.สม ไม่ ระบุนามสกุล) ตกลงว่าจะแลกเปลืย่ นทีด่ นิ ย่าน บางเพียง เนื้อที่ 15 ไร่ ห่างออกไปประมาณ 30 กม. กับที่ดินผืนนี้ ซึ่งชาวชุมชนตกลงรับ ข้อเสนอดังกล่าว โดยชุมชนวางแผนรูปแบบ การจัดการไว้เป็นระบบ “สหกรณ์เคหะสถานะ บางนา-เมืองใหม่” จะยกระดับชุมชนให้มีสิทธิ เสียงมากขึ้น “ทุกวันนี้คุณอย่าใช้วิธีรุนแรงเลย คุณเจรจาเราก็รเู้ รือ่ งแล้ว” คุณมณีกล่าวทิง้ ท้าย

5


The Great Things คนตัวเล็กที่ ไม่ควรถูกมองข้าม

เขมพัฏฐ์สร ธนปัทมนันท์ ปัญยภัสสร์ พรหมชัยวัฒนา พัชรี พรกุลวัฒน์ ศรัณยา ตั้งวรเชษฐ

พวกเขาถูกเรียก ว่าชุมชนเถื่อน เพราะไม่มีโฉนดเป็น ของตนเอง

6

ทันทีที่ก้าวขาลงจากรถตู้ สิ่งที่ปรากฏให้ เห็นเบื้องหน้าคือชุมชนแออัดขนาดย่อม ถนน ที่ ตั ด กลางเชื่ อ มไปยั ง ศาลาศู น ย์ ก ลางของ ชุมชน เข้าไปก็เจอบ้านเรือนจ�ำนวนมากตั้ง ติดๆกันอย่างแออัดและคับแคบ ที่นี่คือชุมชน ริมทางด่วนบางนาหรือที่คนเมืองเรียกกันว่า สลัม ชุมชนแห่งนี้มีบางสิ่งที่แตกต่างจากชุมชน อื่นๆเพราะพวกเขาอาศัยอยู่บนที่ดินที่เป็นของ เอกชนและก�ำลังจะถูกยึดคืน คุณมณี ทาสถาน อายุ 62 ปี เล่าว่า พวก เขาถูกเรียกว่าชุมชนเถื่อน เพราะไม่มีโฉนด

เป็นของตนเอง ก่อนหน้านี้ชาวบ้านร่วมกัน คัดค้านการซือ้ ขายทีด่ นิ มาทุกปีทำ� ให้ไม่มคี นมา ประมูลทีด่ นิ จนกระทัง่ ปี 2553 นายทุนประมูล ที่ดินได้และขายเข้าตลาดโดยไม่บอกชาวบ้าน ท�ำให้ชุมชนโดนไล่ที่ในหลากหลายรูปแบบ ทั้ง มีนักเลงมาขับไล่ มีคนจุดไฟเผากลางสลัม จน ในที่สุดชาวบ้านต้องเดินทางไปต่อรองกับกรม ที่ดิน เกิดการแลกเปลี่ยนกันคือจัดหาที่ดินใหม่ ให้ชาวบ้าน ปัจจุบันชุมชนริมทางด่วนบางนามี 240 ครัวเรือนหรือ 1,000 กว่าชีวิตที่อาศัยอยู่ ในชุมชน และภายในสิ้นปี 2561 พวกเขาจะได้ ย้ายไป ต.บางเพรียง อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ ซึ่งห่างจากที่อยู่เดิมประมาณ 27 กม. โดยได้ โฉนดรวมจากการก่อตัง้ สหกรณ์และทุกบ้านจะ มีโฉนดตัวเอง 20 ตร.วาต่อหนึ่งบ้าน นับว่าเป็นข่าวดีสำ� หรับทุกคนในชุมชน การ ต่อสู้ที่ยาวนานก�ำลังจะจบลง เจ้าของที่ดินได้ที่ ดินคืน ชาวบ้านได้ทอี่ ยูอ่ าศัยอย่างถาวร อย่างไร ก็ตาม เราก�ำลังสนใจในคุณภาพของเด็กใน ชุมชนทีเ่ ติบโตท่ามกลางสภาพแวดล้อมทีไ่ ม่เอือ้ อ�ำนวยเหมือนที่อื่นๆ สังคมจะช่วยหล่อหลอม ให้เขากลายเป็นผูใ้ หญ่ทมี่ คี ณ ุ ภาพได้ในอนาคต หรือไม่ และการต้องโยกย้ายจากที่ที่ตัวเองเกิด จะมีผลต่อความรู้สึกพวกเขาอย่างไร คุณรัศมี หวนถิ่น หรือป้าด�ำ อายุ 49 ปี บอกกับเราว่า ในชุมชนมีเด็กแรกเกิดถึงอายุ

15 ปี จ�ำนวนมากกว่า 100 คน แต่วันธรรมดา เด็กๆเหล่านี้ไปโรงเรียนกันหมด พวกเรารู้สึก เสียดายที่ไม่ได้พูดคุยกับพวกเขาเหล่านั้น แต่ แล้วป้าด�ำก็พาพวกเราเดินลัดเลาะตามซอก ซอยไปเรือ่ ยๆ ด้านซ้ายมือมองเห็นเป็นทางด่วน ทีต่ ดั คูข่ นาดไปกับชุมชนแออัด หลายบ้านเรือน ถูกมุงด้วยสังกะสี ดูเก่าและทรุดโทรมตามกาล เวลา จุดหมายของป้าด�ำคือบ้านหลังหนึ่งที่มี ตะกร้าใส่ผกั นานาชนิดวางขายและมีตนู้ ำ�้ อัดลม อยู่ “เข้ามาเลยๆ ไม่ต้องถอดรองเท้า เข้าไปนั่ง ในบ้านได้เลย” ทันทีที่เสียงของคุณตาคุณยาย ที่ อ ยู ่ ใ นบ้ า นตะโกนเรี ย กด้ ว ยความเป็นมิตร โดยที่พวกเรายังไม่ทันได้ตั้งตัวท�ำให้เกิดรอย ยิ้มออกมาก่อนจะเดินเข้าไปในบ้าน ภาพตรง หน้าเป็นผูห้ ญิงวัยกลางคนก�ำลังนัง่ สอนหนังสือ เด็กผู้ชายคนหนึ่งอยู่บนเตียง เธอแนะน�ำตัวกับ พวกเราว่าชือ่ คุณจรรญาภรณ์ หนูพนั ธ์ อายุ 34 ปี ตัวเธอเองอาศัยอยู่ในชุมชนนี้มาตั้งแต่อายุ 5ขวบ “ชีวิตความเป็นอยู่ตอนนี้สุขสบายดี มี ลูกชายหนึ่งคนชื่อไข่นุ้ย อายุ 5 ขวบ ศึกษาอยู่ ที่โรงเรียนรุ่งเรืองวิทยา” ไข่นุ้ยที่พวกเราเห็น ตอนแรกดูเป็นเด็กร่าเริง แต่อาจเป็นเพราะ ความตกใจที่มีคนแปลกหน้าเดินเข้าไปในบ้าน น้องจึงร้องไห้ออกมาและนั่งหันหลังให้พวกเรา ไม่ยอมพูดจา คุณจรรญาภรณ์เสริมว่า วันนี้ไข่ นุ้ยไม่สบายเลยไม่ได้ไปโรงเรียนเหมือนเพื่อนๆ


ชุมชนเราไม่เอาการเมือง คิดว่าเป็นเรื่องฉาบฉวย ท่านมาหาเสียงกับเรา พอท่านได้เป็นก็ทิ้งเรา เสียงเราออกได้แต่เวลาเราตะโกนกลับไปกลับไม่มีใครได้ยิน

พวกเราจึ ง หั น มาสอบถามเรื่ อ งราวของ เด็กๆ ภายในชุมชนรวมถึงเรื่องราวของน้องไข่ นุ้ยกับฝ่ายที่เป็นแม่ เธอเล่าว่า สมัยก่อนมีศูนย์ เด็กเล็กเตรียมอนุบาล แต่ปัจจุบันถูกท�ำให้เป็น ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย (กศน.) เพราะขาดแคลนครู ซึ่งกศน. นั้นจะมีการเรียนการสอนทุกวันอาทิตย์ เมื่อ ก่อนอะไรๆ ก็ยังดี มีมูลนิธิสุพรรณนิมิตที่ให้ เสือ้ ผ้าและรองเท้านักเรียน โดยทุกบ้านทีม่ เี ด็ก เข้าเรียนจะไม่ต้องเสียค่าใช่จ่าย แต่ถึงตอนนี้มี เพียงหน่วยงานเอกชนบางแห่งเท่านั้นที่เข้ามา ช่วยเหลือ ส่วนด้านทุนการศึกษาก็หมดไป 10 กว่าปีแล้ว น่าเศร้าทีไ่ ม่มหี น่วยงานใดเข้ามาช่วย เหลือเรื่องเด็ก แม้กระทั่งการจัดงานวันเด็กใน ทุกๆ ปี คนในชุมชนก็ต้องช่วยกันเอง “ชุมชน เราไม่เอาการเมือง คิดว่าเป็นเรือ่ งฉาบฉวย ท่าน มาหาเสียงกับเรา พอท่านได้เป็นก็ทิ้งเรา เสียง เราออกได้แต่เวลาเราตะโกนกลับไปกลับไม่มี ใครได้ยิน แม้เราจะเป็นประชาชนโดยแท้ มี สิทธิ์เลือกตั้งเหมือนคนอื่นๆ แต่เรากลับไม่เคย ได้รับการดูแล” เราถามต่อว่าหากลูกชายต้องจากที่ๆ เรียก ว่า “บ้าน” ที่อาศัยอยู่จะรู้สึกอย่างไร? คุณน้า บอกว่าเด็กๆ ไม่รู้เรื่องอะไร แต่ครอบครัวไม่ เสียใจมากเพราะเขาซือ้ ทีใ่ ห้ ครอบครัวจะได้มที ี่ อยู่ที่มั่นคง โดยเฉพาะคนในชุมชนจะได้ไม่ต้อง บุกรุกหรือต่อสู้อย่างที่เคยเป็นในอดีต ปัจจุบันความเป็นอยู่ดีขึ้นเพราะผู้น�ำที่เข้ม แข็ง ต่อสู้เพื่อคนในชุมชม แต่ทั้งนี้การก้าวออก ไปจากตรงนี้คือการเริ่มใหม่ ทั้งหน้าที่การงาน ของตนเองรวมไปถึงโรงเรียนของลูกทีจ่ ะต้องหา ที่ใกล้ๆ อยู่ เด็กๆ คงต้องปรับตัวกับสภาพสังคมใหม่ ในโรงเรียนใหม่ เพื่อนใหม่ ส่วนเรื่องค่าใช้จ่าย นับว่าโชคดีที่ครอบครัวนี้เป็นครอบครัวใหญ่ มี ตาและยายคอยช่วยเหลือจึงไม่มีปัญหา อีกทั้ง เธอและสามีเป็นคนท�ำงาน จึงมีรายได้พอเพียง ส�ำหรับค่าน�ำ้ ค่าไฟรวมไปถึงค่าเล่าเรียนของลูก ครอบครัวอื่นๆ คงคล้ายๆ กัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับ ฐานะความเป็นอยู่ของพวกเขา

ในขณะที่พูดคุยกัน ไข่นุ้ยที่เอาแต่กอดแม่ เริม่ หันมามองเมือ่ พวกเราหยิบของเล่นของเขา ไป ไดโนเสาร์หนึ่งตัวกับเลโก้น้อยชิ้นวางอยู่บน เตียง พวกเราเริม่ พูดคุยกับน้องทีห่ ยุดงอแงและ นั่งหันหน้ามาเล่นด้วย “ชอบเรียนวิชาอะไร ครับ?” เป็นค�ำถามแรกหลังจากไข่นุ้ยเริ่มปรับ ตัวได้ “ชอบวิชาภาษาอังกฤษแล้วก็ศิลปะ” ไข่ นุย้ พูดออกมา คุณน้ากุลกี จุ อหยิบสมุดการบ้าน ของไข่นยุ้ ออกมาให้พวกเราดู “เขาเป็นเด็กโลก ส่วนตัวสูง ไม่คอ่ ยพูด ติดบ้าน เวลาเล่นของเล่น หรือเล่นสมาร์ทโฟนก็จะมีเวลาให้เขาเล่น พอ ขอคืนเขาก็ไม่งอแง ภูมิใจกับลูกคนนี้เหมือน กันนะที่เป็นเด็กดี” เธอยอมรับออกมาว่า ชุมชนแห่งนีก้ ม็ ปี ญ ั หา เรือ่ งเด็กและเยาวชนทีห่ ลงผิด บางครอบครัวไม่ ได้ให้ความสนใจกับลูกๆเท่าไหร่ เรือ่ งการศึกษา บางรายก็อาจจะไม่ได้เรียนต่อ แต่ส�ำหรับเธอ นั้นบอกว่า “อยากให้ลูกชายเรียนสูงๆ แต่ไม่

ได้ไปบังคับเขา ไม่ได้หวังว่าจะต้องจบปริญญา ตรีแบบคนอื่น แค่อยากให้เขาไปตามทางที่เขา ถนัดและสนใจ เด็กสมัยนีเ้ ลีย้ งยาก ยุคสมัยใหม่ สิ่งล่อตาล่อใจมันเยอะ ทั้งโลกโซเชียล สถาน บันเทิงหรือยาเสพติด” คุณน้ากล่าวยิ้มๆ แสดง ให้เห็นถึงความคิดของคนเป็นแม่ที่อยากให้ลูก เลือกในสิ่งที่คิดว่าเหมาะกับตนเอง สิ่ ง หนึ่ ง ที่ ปรากฏให้ พ วกเราได้เห็นในวัน นี้ ไม่ใช่สิ่งที่ยิ่งใหญ่มากมายหรือมีมูลค่าเฉก เช่ น เงิ น ทอง แต่ ท ว่ า เป็ น สิ่ ง ที่ มี คุ ณ ค่ า ทาง จิตใจ สิ่งนั้นคือ “ความสุข” ที่หาได้จากค�ำว่า “ครอบครัว” แม้คนส่วนมากจะมองว่าเด็กตามชุมชน แออัดเมื่อโตไปคงไม่ได้ดีสักเท่าไหร่ อาจจะไป เป็นเด็กเกเร สร้างความเดือดร้อน กินเหล้าเมา ยา ไม่มีงานท�ำหรือผันตัวไปก่ออาชญากรรม น้อยคนนักที่จะเปิดใจมอง คุณแทบไม่มีโอกาส ได้มาสัมผัสกับวิถีชีวิตจริงๆของเขา สิ่งที่หล่อ หลอมไม่ใช่สภาพแวดล้อม อาจจะจริงที่ดูแล้ว ไม่ได้น่าอยู่ แต่นั่นไม่ใช่ปัจจัยหลักของทัศนคติ ชี วิ ต หากแต่ เ ป็ น คนในครอบครั ว ที่ จ ะช่ ว ย พัฒนาให้เด็กเติบใหญ่ แต่ละบ้านเลือกเส้นทาง ไหน ปูทางให้ลูกก้าวเดินไปอย่างไร ในอนาคต ข้างหน้า เขาอาจจะไม่ใช่คนทีเ่ ก่งทีส่ ดุ หรือมีเงิน ทองมากมาย แต่เขาจะเป็นผู้ใหญ่มีคุณภาพได้ เพราะครอบครัวเขานั่นเอง

7


ชุมชนริมทางด่วนบางนา

สู ตของชุรสำม ชนแออั � เร็ จด จารุกิตติ์ ธีรตาพงศ์ รชนีกร ศรีฟ้าวัฒนา ศิรวิชญ์ บุญทน

8

หนึ่งในปัญหาเรื้อรังของประเทศไทยคือปัญหาชุมชนแออัดที่ตกทอดกันมา จนน�ำไปสู่ความขัดแย้งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หลักแหล่งไม่มั่นคง การศึกษา สิทธิขั้นพื้นฐาน ความปลอดภัย การน�ำที่ดินไปใช้เป็นผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ ข้อตกลงที่ไม่ลงรอยทั้งสองฝ่าย ภาพลักษณ์คนใน ชุมชน ฯลฯ เช่นเดียวกับชุมชนริมทางด่วนบางนาที่ต้องเผชิญชะตากรรม การต่อสู้เพื่อช่วงชิงพื้นที่ชุมชนริมทางด่วนยาวนานกว่าหลายสิบปี จนกระทัง่ แสงไฟเล็กๆ ดวงหนึง่ ทีส่ าดส่องลงมาท่ามกลางการต่อสูอ้ นั ไม่รจู้ บ เป็นแค่เพียงดวงไฟดวงหนึง่ ทีส่ ะท้อนให้เห็นว่า น�ำ้ พักน�ำ้ แรงทีเ่ สีย ไปจากการต่อสูก้ บั นายทุนทีด่ นิ เมือ่ หลายปีกอ่ นไม่สญ ู เปล่าและปัจจุบนั ทีแ่ ห่งนีถ้ กู พิสจู น์แล้วว่า ความส�ำเร็จของชุมชนแห่งนีไ้ ม่ได้มาเพราะโชค ช่วย หากเป็นเพราะพลังบางอย่าง ที่คนในชุมชนเลียบทางด่วนบางนาบอกเล่าด้วยดวงตาเป็นประกาย

๑ ชุมชนริมทางด่วนบางนา หรือชุมชนเลียบ ทางด่วนบางนา ตั้งอยู่เขตบางนา แขวงบางนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ทั้งหมด 6 ไร่ 3 งาน 27 ตารางวา มีครัวเรือนทั้งหมด 243 ครัวเรือน และมีประชากรโดยเฉลี่ย 1000 คน หากย้ อ นกลั บ ไปเมื่ อ ประมาณ 30 ปี ที่ แล้ว พื้นที่แห่งนี้มีสภาพไม่ต่างจากป่าไม้ มี ทุ่งนา ลักษณะโดยทั่วไปจัดว่าเป็นธรรมชาติ โดยสมบูรณ์ โดยมีเพียงบ้านเรือนที่ตั้งอยู่เพียง 3-4 หลัง อาจเพราะค่านิยมการเลือกเข้ามาท�ำงาน ในกรุงเทพฯ ท�ำให้ผู้คนต่างจังหวัดส่วนมาก อพยพย้ายถิน่ ฐานของตนเองเข้ามาสูเ่ มืองหลวง ของประเทศไทย เมื่อเข้าสู่กรุงเทพฯ ผู้มาจาก จังหวัดต่างๆ จึงจับจองพื้นที่ว่างเปล่า ริมคลอง

ทางรถไฟ กระทัง่ วัดวาอาราม และเริม่ ท�ำการลง หลักปักฐานเป็นบ้านเรือนของตนเอง โดยหารู้ ไม่วา่ พืน้ ทีอ่ นั ว่างเปล่าและการเข้ามาอยูอ่ าศัย ของคนหลายภูมิภาคจะก่อให้เกิดปัญหาชุมชน แออัดตามมาในอนาคต แต่นั่นก็ไม่ใช่ความผิด ของผูอ้ พยพ เพราะในสมัยนัน้ ไม่มเี ส้นแบ่งเขต แน่นอนว่าผู้ครอบครองพื้นที่เป็นใคร พืน้ ทีร่ มิ ทางด่วนบางนาซึง่ แต่เดิมเป็นป่าไม้ จึงถือเป็นหนึ่งในพื้นที่จับจองของคนเหล่านั้น ปัญหาต่างๆ นานา เช่น ไม่มีน�้ำประปา ไม่มีไฟ สาธารณะสุขที่เข้าไม่ถึงชุมชนแออัด โดนบุกรุกสถานที่ ตลอดจนสิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีต้นเหตุมาจากการไม่มีโฉนดที่ดินและไม่มี กรรมสิทธิ์ในการครอบครองอย่างเป็นทางการ ปั ญ หาเหล่ า นี้ ล ้ ว นเป็ น ปั ญ หาที่ ค นในชุ ม ชน แออัดต้องเผชิญ และแต่ละชุมชนจะมีวิธีรับมือ ที่แตกต่างกัน น่าเสียดายที่รัฐบาลไม่สามารถหยิบยื่นมือ

แก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ สาเหตุเพราะพวกเขา ไม่มกี รรมสิทธิใ์ นการครอบครองพืน้ ทีอ่ ย่างเป็น ลายลักษณ์อักษร ปั จ จุ บั น ชุ ม ชนแออั ด หลายแห่ ง จึ ง ต้ อ ง ดิ้นรนเพื่อความสะดวกสบายต่างๆ ถึงแม้ว่า ปัญหาบางอย่างจะคลี่คลายลงไปแล้ว เช่น น�้ำ ประปา เรือ่ งไฟฟ้า ฯลฯ แต่ปจั จุบนั ก็ยงั คงเหลือ อีกหลายปัญหาทีย่ งั ไม่คลีค่ ลายราวกับปมเชือก ที่ซ้อนทับกัน และบางปมนั้นยากที่จะแก้ไขได้ ด้วยล�ำพังของประชากรตัวเล็กๆ ในชุมชน และ เคยเป็นปัญหาของชุมชนริมทางด่วนบางนา แต่ไม่ใช่ปัญหา ณ ช่วงเวลาปัจจุบัน จุดเริม่ ต้นของเรือ่ งราวการต่อสูช้ ว่ งชิงพืน้ ที่ ชุมชนริมทางด่วนบางนาแห่งนี้ เริ่มจาก มีชาว บ้านในชุมชนทราบมาว่า ที่ดินแห่งนี้เป็นที่ดิน ของเอกชน ซึ่งเจ้าของที่ดินอาศัยไม่ได้อาศัย อยู่ในประเทศไทย ดังนั้น การที่ใครสักคนเข้า


มาอาศัยในพื้นที่บริเวณนี้จึงเท่ากับว่า พวก เขาไม่ใช่เจ้าของพื้นที่ และการไม่มีโฉนดที่ดิน ยืนยัน ยิ่งช่วยยืนยันว่าการอยู่อาศัยในพื้นที่ เอกชนชุมชนริมทางด่วนบางนานั้นไม่ถูกต้อง ตามกฎหมาย รัฐบาลจึงเรียกว่า “ชุมชนเถือ่ น” จนน�ำไปสู่การฟ้องร้องแบบคดีแดง (การ ฟ้องร้องคดีแดงคือคดีที่ถูกตัดสินผลสรุปเป็นที่ เรียบร้อย) มีการประมูลเกิดขึ้น ชาวบ้านก็รวม ตัวกันคัดค้าน การขับไล่หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การไล่ที่โดยตรง การเผาชุมชน กระทั่งการมีนักเลงเข้ามารุกล�้ำ แต่ทุกครั้งชาว บ้านก็จะรวมตัวกันเพื่อคัดค้านให้ชุมชนอยู่ต่อ ไป จนกระทัง่ มีการประมูลทีด่ นิ ของชุมชนแบบ ลับหลัง จนมีนายทุนได้ซื้อที่แห่งนี้ไป ทว่าไม่มี ชาวบ้านแม้คนเดียวที่รับรู้เรื่องราวการประมูล พอมารู้ภายหลัง ชาวบ้านไม่พอใจอย่างมาก และไม่ยอมรับการตัดสิน ท�ำให้เกิดการรวม ตัวประท้วงเพื่อคัดค้านสิ่งที่เกิดขึ้น นายทุนจึง เจรจาต่อรองโดยการมอบทีด่ นิ ในเขตบางเพียง อ�ำเภอบางบ่อ พืน้ ทีโ่ ดยประมาณ 20 ไร่ อ�ำเภอ แห่งใหม่หา่ งจากหลักแหล่งเดิม 27 กิโลเมตร ที่ ส�ำคัญคือ ทุกบ้านจะมีโฉนดที่ดินถาวร ระยะเวลาการย้ายออกคือตัง้ แต่ปจั จุบนั จน ถึงปีพ.ศ. 2561 และนับเป็นบทสิน้ สุดของความ ขัดแย้งที่เกิดขึ้น หากไร้ เ สี ย งของบุ ค คลผู ้ เ ป็ น ต้ น เสี ย งทั้ ง หลายแหล่ ทุกวันนี้ชะตากรรมของคนชุมชน ริมทางด่วนบางนาอาจกระจัดกระจายไปคนละ ทิศคนละทาง

๒ “ป้าแต่งงานแล้วเช่าบ้านอยู่ในซอยบัวเกิด เขตบางนา อยูแ่ บบนัน้ มาเรือ่ ยๆ จนมีลกู สองคน อายุหา่ งกันปีสองปี จนวันทีล่ กู คนโตอายุ 3 ขวบ แล้วลูกป้าก็ถูกรถมอเตอร์ไซค์ชน” คุณป้ามณี ทาสถาน อายุ 62 ปี ย้อนเล่า อุบัติเหตุของลูกตนเองอย่างฉะฉาน ทว่า อุบตั เิ หตุครัง้ นัน้ เป็นแค่เพียงอุบตั เิ หตุ เล็กๆ จึงไม่มีการสูญเสียแต่อย่างใด นับจากวันที่เด็กน้อยวัยสามขวบถูกรถชน ชายคนหนึง่ จึงเข้ามาชักชวนว่า มีพนื้ ทีแ่ ห่งหนึง่ สงบ ปลอดภัย หางานท�ำง่าย และเสียเงินค่า เช่าไม่แพง ที่ส�ำคัญคือไม่ค่อยมีรถขับผ่าน เป็น สถานที่ที่มีความปลอดภัยต่อเด็ก คุณป้ามณี ทาสถาน จึงตอบค�ำรับเชิญนั้น อย่างไม่รีรอ โดยผู้เชื้อเชิญเป็นผู้ชายนามว่า สุดทา มีมานะ พอเข้ามาอยู่ในชุมชนริมทางด่วนบางนา สภาพการเป็นอยู่ก็ค่อยๆ ดีขึ้น เวลามีปัญหา

ก็จะมีคุณลุงสุดทาและภรรยาของคุณลุงคอย ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน คนในชุมชนจะถามไถ่สาร ทุกข์สุกดิบกัน ชุมชนแห่งนี้จึงมีแต่ความอบอุ่น สามัคคี และรักใคร่กลมเกลียวเหมือนพี่น้อง ท้องเดียวกัน กระทั่งมีเสียงจากคณะกรรมการชุมชนว่า ต้องการให้ปา้ เป็นเข้ามาเป็นทีมคณะกรรมการ ชุมชนริมทางด่วนบางนา ร่วมกับคุณสุดทา และ ภรรยาของคุณสุดทา ดังนัน้ คุณป้ามณี ทาสถาน จึงตอบตกลง “เมื่อก่อนป้าดูแลเรื่องเงิน เพราะเขาไว้ใจ เรา มันก็มเี หนือ่ ยบ้าง อย่างบางเรือ่ งทีต่ อ้ งควัก เงินตัวเองจ่ายแทนเพื่อไม่ให้มันกระทบต่อคน ส่วนใหญ่ แล้วพอเริ่มจัดการเรื่องเงินได้ เราก็ น�ำมาพัฒนาอย่างอื่นต่อ เช่น จัดกิจกรรม ท�ำ ทางเข้าชุมชน แต่กย็ งั มีปญ ั หาอยูบ่ า้ ง อย่างเช่น เรือ่ งท่อน�ำ้ เก่าผุพงั มันรัว่ บ้าง แต่กเ็ ข้าใจเพราะ เสื่อมสภาพตามเวลา” ด้วยความที่ป้าเป็นคนโผงผาง พูดจาไม่ อ้อมค้อม ตรงไปตรงมา เวลาใครท�ำอะไรไม่ถูก ต้องป้าจะแย้งทันที จนบางครั้งมีปากเสียงกัน บ้าง กับทั้งคนในชุมชนและคณะกรรมการ แต่ ป้าเชื่อว่ามันจะน�ำไปสู่การพัฒนาที่ดี ในแต่ละเดือนจะมีการประชุมหนึง่ ครัง้ เพือ่ บอกข่าวสารจากภาครัฐ นโยบายต่างๆ ตลอด จนยอดเงินของชุมชนที่มาจากการบริจาคและ ระดมทรัพยากร อีกทั้งเงินทุกบาททุกสตางค์ สามารถตรวจสอบได้ ปัจจุบนั นีใ้ นชุมชนริมทางด่วนบางนาแห่งนี้ พัฒนากว่าเดิมมาก ถ้าเทียบกับเมื่อก่อนที่เป็น ป่าดง แต่ทุกวันนี้เป็นบ้านเรือน มีน�้ำไฟ ความ สะดวกสบายต่างๆ ซึง่ เข้าถึงหมด จนท�ำให้ชวี ติ สะดวกสบายมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงเหล่า นี้เป็นเพราะความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านที่ เชื่อใจศักยภาพการท�ำงานของคุณป้ามณี “มันเป็นความภูมิใจอย่างหนึ่ง เพราะ เวลาไปไหนมาไหน ชาวบ้านเขาก็เรียกกินข้าว ถามไถ่สารทุกข์สกุ ดิบกัน ชุมขนนีเ้ ปรียบเสมือน ครอบครัวเรา เหมือนพี่เหมือนน้อง ขนาดเรา อยูห่ ลังชุมชน เขาก็ยงั เดินไปเรียกเราให้มาทาน ข้าวเลย และพอย้ายไปทีใ่ หม่ เราจะทิง้ กันไม่ได้ ยังต้องดูแลกันต่อไป” คุณป้ามณี ทาสถาน กล่าวปิดท้ายด้วยรอย ยิ้มแห่งความภาคภูมิ

ลุงสุดทา มีอาชีพหาบเร่ขายขนมในละแวก บ้านเช่าของตนเอง ซึ่งหาเช้ากินค�่ำเหมือนคน ส่วนใหญ่ในเมืองชนบท โดยคุณลุงนั้นอาศัยอยู่ กับภรรยาในบ้านเช่าจังหวัดร้อยเอ็ด จนกระทั่ ง มี ค วามคิ ด อยากหางานท� ำ ใน กรุงเทพฯ เพราะเงินจากการค้าขายเริ่มไม่พอ กินพอใช้ คุณลุงจึงจ�ำเป็นต้องเลือกทางเดินใหม่ นัน่ คือ ลาจากบ้านเกิดเมืองนอนและภรรยา ซึง่ ภรรยาก็เข้าใจเป็นอย่างดี โดยทั้งคู่ต่างเชื่อว่า การท�ำงานเมืองหลวงนั้นจะมอบชีวิตการเป็น อยู่ที่ดีกว่าเดิม ระยะทางกว่า 512 กิโลเมตร จากจังหวัด ร้อยเอ็ดสูเ่ มืองหลวงของประเทศไทย คือชีวติ ที่ คุณสุดทา มีมานะ เลือกเข้ามาท�ำงานในตัวเมือง ทันทีที่เข้ากรุงเทพฯ คุณลุงก็เห็นพื้นที่แห่ง หนึง่ มีลกั ษณะเป็นป่า และมีบา้ นทรงโบราณอยู่ เพียง 3-4 หลัง จากนั้นคนในชุมชนจึงชักชวน เข้ามาอยู่บริเวณเดียวกัน และเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่คุณลุงสุดทา ชักชวนป้ารัศมีให้เข้ามาเป็นผู้อาศัยร่วมชุมชน “แต่ ก ่ อ นก็ อ ยู ่ ท้ั ง ๆ ที่ เ ป็ น ป่ า เราก็ เ ห็ น วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ แถวนั้นมีแค่เสาเข็มมา ปลักๆ ด้วยความที่ไม่มีเงิน ลุงเลยเอาไม้ลัง มาท�ำเป็นพื้น ค่อยๆ ท�ำเป็นเพลิงขึ้นมา” คุณ ลุงเล่าต่อว่า “จากนั้นไปรับเมีย แล้วช่วยกัน ท�ำมาหากิน” ต่อมา พื้นที่แห่งนี้เริ่มมีคนมาอาศัยเพิ่มขึ้น อย่างเห็นได้ชัด จากพื้นที่ป่าไม้รกร้าง ก็ค่อยๆ แปรเปลี่ยนเป็นบ้านทีละหลัง ทีละหลัง เมื่อ จ�ำนวนบ้านและครัวเรือนมีมากเข้า พื้นที่แห่ง นี้จึงถูกเรียกว่าชุมชน เมื่อชุมชนได้ถือก�ำเนิดขึ้น ต�ำแหน่งชนชั้น คุณลุงสุดทา มีมานะ เกิดเมื่อปีพ.ศ. 2497 คณะกรรมการชุมชนจึงตามมา เพื่อดูแลและ ปัจจุบันอายุ 61 ปี แต่เดิมเป็นคนร้อยเอ็ด พัฒนาชุมชนต่อไป

9


คุณลุงเล่าว่า พออยูห่ ลายปีเข้า คนในชุมชน ก็เริ่มมีความสนิทชิดเชื้อกับคุณลุงและภรรยา ทั้งคู่จึงถูกทาบทามให้ด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการ ชุมชน โดยงานแรกทีท่ งั้ คุณลุงและภรรยาได้ทำ� ในฐานะกรรมการคือ เทปูนเป็นทางเดิน และ ดูแลงานเล็กๆ น้อยๆ ในเวลาถัดมา ซึง่ มีภรรยา ของลุงสุดทาเป็นคนประสานงานร่วมกับป้ารัศมี เงินจากการพัฒนาชุมชนเป็นเงินกองกลาง ซึ่งมาจากการระดมเงินของคนในชุมชน คนละ เล็กคนละน้อย และ คณะกรรมการของลุงก็ จะแจ้งยอดเงินให้ทราบทุกครั้ง คุณลุง ภรรยาและเพื่อนๆ ในชุมชนต่างใช้ ชีวิตอย่างมีความสุขมาเรื่อยๆ กระทั่งวันหนึ่ง วันที่เปลี่ยนชีวิตของคุณลุงสุดทา และเป็นวัน ที่ต้องจดจ�ำอย่างไม่มีวันลบเลือน โรคเบาหวานที่หลบซ่อนภายในร่างกาย ของภรรยาลุ ง สุ ด ทา ค่ อ ยๆ ขยายตั ว จนถึ ง ระยะสุดท้าย ก่อนลุกลามมาเป็นไตวายเรื้อรัง แล้วอาการค่อยๆ ก�ำเริบทีละเล็กทีละน้อย เริ่มจากภรรยาต้องตัดขาข้างหนึ่งเพื่อต่อชีวิต ตามค� ำ แนะน� ำ ของแพทย์ สภาพร่ า งกายที่ บกพร่องจึงท�ำให้ภรรยาของลุงสุดทาท�ำงานได้ ไม่เต็มที่ ภาระต่างๆ จึงถูกส่งมาทีล่ งุ แทนภรรยา นอกจากจะต้องท�ำงานทีม่ ากขึน้ ทัง้ ยังต้องดูแล ชีวิตที่รักอีกหนึ่งชีวิตเป็นพิเศษ แต่คุณลุงก็ไม่ 10 เคยปริปากบ่น เพราะความรักที่มีให้กัน จนวัน แห่งความเศร้ามาเยือน คุณลุงก็สูญเสียคนรัก ไปอย่างไม่มีวันกลับคืน ถึ ง แม้ ก ารสู ญ เสี ย ครั้ ง นี้ จ ะไม่ ไ ด้ พ ราก ทรัพย์สินของคุณลุงไปมากนัก เหมือนเปลวไฟ ในจิตใจที่ไหม้เพียงครั้งเดียว แต่กวาดล้างเอา ทุกสิ่งทุกอย่างไปหมดสิ้น ทิ้งไว้เพียงความทรง จ�ำของวันวาน การงานมากมายที่ภรรยาได้ท�ำคั่งค้างเอา ไว้ ท�ำให้คุณลุงต้องสานต่อเจตนารมณ์นั้น คุณ ลุงยอมรับว่าตนเองไม่เก่งในด้านนี้ แต่จะขอสู้ เพื่อตอบแทนคนรัก และเพื่อชุมชนที่คอยหล่อ เลี้ยงเรามา คุณลุงมองว่า การสูญเสียภรรยาในครั้งนั้น เปรียบเหมือนแรงผลักดันที่หวังให้ชุมชนริม ทางด่วนบางนามีความเป็นอยู่ที่ดีกว่าเดิม

๔ ท่ามกลางเปลวไฟการต่อสูท้ ยี่ าวนานหลาย สิบปี กลับมีผสู้ งั เกตการณ์คนหนึง่ เขามีสถานะ เป็นชาวบ้านซึง่ ดูคล้ายสถานะธรรมดาทัว่ ไป แต่ เผอิญว่า ชาวบ้านมองเห็นสถานะนั้นโดดเด่น กว่าคนสถานะเดียวกัน ผู้สังเกตการณ์คนนี้มี ศักยภาพที่ซุกซ่อนอยู่ข้างใน

เขาชือ่ จ�ำนงค์ หนูพนั ธุ์ เกิดเมือ่ ปีพ.ศ. 2514 อายุ 44 ปี ประธานชุมชนริมทางด่วนบางนา ตัง้ แต่ปพี .ศ. 2550 จวบจนปัจจุบนั และเป็นผูผ้ ลัก ดันชุมชนให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ครั้งหนึ่ง ชาวบ้านในชุมชนกับผู้น�ำคนก่อน มีปญ ั หาเรือ่ งเงินทอง น�ำไปสูค่ วามไม่ลงรอยกัน จนต้องเปลี่ยนผู้น�ำ ชาวบ้านจึงเลือกคุณจ�ำนง หนูพนั ธุ์ ขึน้ มาด�ำรงต�ำแหน่งตัง้ แต่ปพี .ศ. 2550 “แกเสียสละ ใจถึง เป็นคนสู้ชีวิต แกเข้าอก เข้าใจความรู้สึกของชาวบ้าน เป็นเพราะสมัย ก่อนแกท�ำงานโรงงานแล้วถูกเลิกจ้าง เพราะ โรงงานปิดกิจการ จากนั้นจึงย้ายมาอยู่กับญาติ ในชุมชนริมทางด่วนบางนา” คุณป้ารัศมี หวน ถิ่น ซึ่งเป็นญาติกับภรรยาของคุณจ�ำนงค์ เล่า ชีวิตประธานชุมชน ชาวบ้านเล่าถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น นับจากวันที่คุณจ�ำนงค์เป็นประธานชุมชน มี หลายต่อหลายอย่างพัฒนาขึ้นมาก เช่น การ ท�ำให้การประปาและการไฟฟ้าเข้าถึงชุมชนแห่ง นี้ การพัฒนาถนนหนทางในชุมชน ตั้งแต่ทาง เข้าออกชุมชนจนถึงถนนในตรอกซอกซอย จาก แต่เดิมซึง่ เป็นพืน้ ดินโคลนเปลีย่ นเป็นพืน้ ซีเมนต์ เงินออมทรัพย์กว่า 4 ล้านบาท และเงินเก็บกอง กลางจากค่าน�ำ้ ค่าไฟราวๆ 7 แสนบาท ส่งผลให้ ชีวิตการเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้นอย่างชัดเจน นอกจากความเปลี่ ย นแปลงทางสภาพ แวดล้อม สภาพจิตใจของชาวบ้านก็ดีขึ้นอย่าง เห็นได้ชดั ด้วยความสนิทสนมตามประสาพีน่ อ้ ง เพราะชาวบ้านหลายคนเห็นเป็นเสียงเดียวกัน ว่า ประธานจ�ำนงค์คือเสาหลักของชุมชน

หลังปีพ.ศ. 2561 ไม่มใี ครเดาได้วา่ หลังจาก ชาวบ้านย้ายออกจากชุมชนริมทางด่วนบางนา

แล้ว บ้านหลังเล็กหลังน้อยจะถูกแปรเปลี่ยน เป็นพืน้ ทีว่ า่ งเปล่าหรือถูกแทนทีเ่ ป็นตึกคอนโด สูงระฟ้า ทัง้ นีข้ นึ้ อยูก่ บั การตัดสินใจของนายทุน กว่าจะได้มาซึ่งความต้องการอันน่าพอใจ แล้ ว ชาวบ้ า นในชุ ม ชนล้ ว นผ่ า นเรื่ อ งราว มากมาย ทั้งการไม่เข้าใจกัน การเจอกับผู้น�ำ ที่มีปัญหา การขับไล่หลากหลายรูปแบบ ฯลฯ แต่เมือ่ ปัญหาต่างๆ ทีเ่ คยเกิดขึน้ ได้รบั การแก้ไข อย่างถูกต้องและได้รับการจัดสรรอย่างเป็น ระบบ ท�ำให้ความต้องการของชาวบ้านไม่ใช่ แค่ฝันลมๆ แล้งๆ แม้ความใจหายที่ต้องจากบ้านเกิดเมือง นอนที่ชาวบ้านผูกพันมานานหลายสิบปี จะ ยังคงตกค้างอยู่ในความทรงจ�ำ แต่การย้าย ไปบางพลีในคราวนี้ ความสุขส�ำหรับชาวบ้าน อาจไม่ใช่ช่องทางท�ำกินที่ดีกว่าเดิม ไม่ใช่ความ สะดวกสบายที่มากขึ้น และไม่ใช่ปัญหาที่จะไม่ เกิดขึ้นอีก หากเป็นเพราะความฝันเดียวของพวกเขา คือ การได้มีบ้านเป็นหลักแหล่งอันมั่นคง


02 บางปิ้ง

11


เสียงจากบางปิ้ง ภ า พ ส ะ ท้ อ น จ า ก

อำ�นาจของความเจริญ

วราภัสร์ มาลาเพชร พชชนัน คะนึงหมาย ชญานิศ จำ�ปีรัตน์

เราไม่ได้ต่อต้าน ความเจริญ แต่ ความเจริญท�ำให้ ประชาชนที่มีสิทธิ์ มีเสียง ไม่มีที่อยู่

12

ชุมชนบางปิ้ง สลัมในจังหวัดสมุทรปราการ ที่มีความเก่าแก่มานานกว่า 150 ปีจากค�ำบอก เล่าของคนในชุมชน ในพื้นที่ 35 ไร่นี้ มีผู้คน อาศัยมากกว่าหนึ่งพันคน กับบ้านอีก 350 หลังคาเรือน ความผูกพัน ความใกล้ชิดภายใต้ สถานะของคนชนชัน้ ล่าง เชือ่ มคนเหล่านีไ้ ว้ดว้ ย กัน แม้คนนอกจะมองว่าบางปิ้งเป็น ‘สลัม’ แต่ พวกเขาเรียกที่แห่งนี้ว่า ‘บ้าน’ ในประเทศทีก่ ำ� ลังพัฒนา พืน้ ทีเ่ หล่านีก้ ลาย

เป็นที่ไม่พึงประสงค์ของคนชั้นกลาง แต่กลาย พื้นที่ในฝันของนักอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อสถานีรถไฟฟ้าบนดินอย่าง BTS ถูกสร้างขึ้นติดกับชุมชนบางปิ้ง จึงเป็นเหตุให้ ชุมชนที่มีมากว่า 100 ปี แห่งนี้ ต้องถูกยึดโดย นักธุรกิจที่ต้องการพื้นที่นี้ในการสร้างคอนโด นางสุ ป รี ย า นาวาทอง หรื อ นุ ๊ ก เกอร์ แกนน�ำชุมชนวัยเพียง 26 ปี ได้ให้สัมภาษณ์ถึง ความสั่นคลอนในครั้งนี้ว่ารู้สึกไม่มั่นคงตั้งแต่ รู้ว่ารถไฟฟ้ามา พวกเขานั้นปรารถนาที่จะยก ชุมชนทั้งชุมชน ไปยังอยู่ที่ใหม่ หากต้องออก จากบางปิ้งจริง ๆ เพราะคนที่ท�ำอาชีพเดิมจะ ได้มีรายได้ต่อไป สถานที่จะย้ายก็ต้องการให้ ไม่ใกล้ไม่ไกลจากเดิมนัก เพราะบางคนท�ำงาน โรงงาน ลูกหลานยังต้องเรียนหนังสือ จะท�ำให้ พวกเขานั้นต้องล�ำบาก “เราไม่ได้ตอ่ ต้านความเจริญ แต่ความเจริญ ท�ำให้ประชาชนที่มีสิทธิ์ มีเสียง ไม่มีที่อยู่” 10 ธันวาคม 2557 ได้มกี ารปิดป้ายประกาศ ที่ทางเข้าชุมชนบางปิ้ง ว่าให้ผู้คนย้ายออกจาก พื้นที่ภายใน 30 วัน สร้างความตื่นตระหนกให้ กับคนในชุมชนเป็นอย่างมาก ไม่เคยมีใครคาด คิดว่าบนพื้นที่ที่พวกเขาเรียกมันว่าบ้านนั้น จะ ถูกคนนอกมายึดไปอย่างไม่สนใจใยดี

บางคนรีบขนข้าวของออกไปเพราะกลัวจะ ถูกฟ้องข้อหาบุกรุกพืน้ ที่ บางคนรับเงินเพียงไม่ กี่บาทจากเจ้าของที่คนใหม่เพื่อหวังจะไปเริ่ม ต้นชีวิต แต่ก็ยังมีคนอีกจ�ำนวนมากที่ยังคงรอ ความหวังว่าพวกเขานั้นจะได้อยู่ร่วมกันต่อไป ไม่กลายเป็นคนเร่ร่อนในเมืองใหญ่แห่งนี้ คุณยายท่านหนึ่ง เล่าว่า แต่ก่อนมีบ้านไม่ กี่หลัง มีต้นสน ด้านหลังเป็นทุ่งนา ถึงเวลาก็ไป เล่นน�้ำที่บ่อ ชวนเพื่อนแถวนี้ไปเล่นด้วยกัน โต มาด้วยกัน อยู่กันเป็นครอบครัว มีที่ว่างอิสลาม ก็เข้ามาอยู่ขยายที่ต่อไปเก็บค่าที่ปีละ 20 บาท มีความสุขดีที่อยู่ตรงนี้ คุณยายยังเล่าอีกว่า ตอนที่รถไฟฟ้าจะมาหลายก็รู้สึกดีใจ จะได้ขึ้น รถไฟฟ้าสักที เพราะไม่เคยขึ้น โดยที่พวกเขา นั้นก็ไม่คากคิดว่าเพราะรถไฟฟ้านั่นแหละ จะ มาเอาทีข่ องพวกเขาไป เพราะความเจริญก�ำลัง เขยิบเข้ามา “ตรงนีม้ แี ต่คนแก่หาเช้ากินค�ำ่ ไม่ได้ดอื้ แค่ ไม่มีที่ให้ไป ตอนกลางคืนเครียด หลับไม่สนิท บางคนเครียดจนตายก็มี เพราะกลัวว่าจะมีคน มาเผาบ้าน กลัวโดนข่มขู่ ฟ้องศาล เลยจ้างยาม 4 คน เดือนละ 100 บาท เป็นกองทุนหมู่บ้าน” คุณยายบอกเล่าถึงสภาพความเป็นอยูข่ องคนใน ชุมชนตอนนี้ ที่ต่างก็หวาดระแวง ไม่มีใครคาด


ความเจริญอาจไม่ใช่ทางออกของทุกปัญหา และอาจไม่ใช่เหตุผลเพื่อขับไล่ใคร

เดาได้ว่าในวันพรุ่งนี้ที่ลืมตาตื่น พวกเขาจะยัง มีบ้านให้อาศัยอยู่ไหม หรือจะมีใครมาท�ำร้าย พวกเขาหรือเปล่า นับตั้งแต่วันที่มีประกาศไล่ที่จากเจ้าของที่ ใหม่ ซึ่งก็คือบริษัทไทยเคหะนั้น กว่าครึ่งชุมชน ก็ได้ย้ายออกไป บ้านไม้ถูกทุบทิ้งกลายเป็นเพีย เศษไม้ตามพื้นดิน คนเหล่านั้นได้รับเงินเป็นค่า รื้อถอนบ้านจ�ำนวน 3,000 – 15,000 บาท ต่อ หนึ่งครัวเรือน บางบ้านยังคงซื้อเวลาอาศัยอยู่ ต่อ แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งพวกเขาก็เลือกที่จะยอม แพ้จากที่อยู่เดิม เพื่อไปเริ่มต้นใหม่ คุณป้าสมศรี อยู่ยืนยงค์ วัย 56 ปี อาศัยอยู่ กับหลานและลูกชาย ลูกสาวคนเล็กจะไปอยูก่ บั สามีทางบ้านจึงตัดสินใจจะพาป้าไปอาศัยอยู่ ด้วยข้างนอก ส่วนลูกชายคนโตจะไปอาศัยอยู่ กับเพื่อนแทน คุณป้าเล่าว่าขายบ้านและที่ดิน

นี้ได้ในราคาเพียง 30,000 บาทเท่านั้น ก่อจะ ต่อรองจนได้มา 40,000 บาท แต่นั่นก็ไม่คุ้ม กับบ้านไม้หลังนี้ อีกทั้งข้าวของบางชิ้นก็ยังท�ำ จากไม้สักด้วย แต่เพราะความจน ท�ำให้พวก เขาไม่มีทางเลือก และนั่นก็ท�ำให้เราได้เห็นน�้ำตาแห่งความ เสียใจที่เกิดขึ้นกับเหตุการณ์ไล่ที่ครั้งนี้... สิ่งที่คนในชุมชนบางปิ้งต่างกังวลคืออาชีพ และการหาเงินเลีย้ งดูตนเองและครอบครัว เช่น เดียวกับยายขาบ วัย 84 ที่ท�ำอาชีพเก็บขวด และของเก่าขายในแต่ละวัน เพือ่ น�ำเงินมาเลีย้ ง ลูกชายที่พิการ และเพื่อนของลูกชายที่ก�ำลัง ป่วยรอการรักษา คุณยายขยันและไม่ยอ่ ท้อ แม้ จะได้เงินเพียง 1,000 บาท ซึง่ จะมีคนมาเก็บไป ขาย 2 อาทิตย์ครั้งเท่านั้น คุณยายยังเล่าอีกว่า เคยโดนจี้แม้ทั้งตัวจะมีเงินเพียง 16 บาท

เมื่อความเจริญรุกล�้ำเข้ามาแบบไม่ทันตั้ง ตัว สิ่งที่ว่าดี ก็อาจไม่ดีเสมอไป สังคมไทยอาจ ถึงเวลาที่จะต้องเปิดมุมมองให้กว้าง เอียงหู รับฟังเสียงของกลุ่มคนเหล่านี้บ้าง ความเจริญ อาจไม่ใช่ทางออกของทุกปัญหา และอาจไม่ใช่ เหตุผลเพื่อขับไล่ใคร

13

ภาพบ้านสองข้างทางในชุมชนบางปิ้ง จ.สมุทรปราการ


พลัง(ใจ) แห่ง ความหวัง โชติกา กนิษฐนาคะ รัตนสุดา ศุภรัตน์บรรพต กุลนิษฐ์ แสงจันทร์

14

“บ้าน” คือที่อยู่อาศัยที่สร้างความอบอุ่น ใจให้ กับเราทุกครั้งที่นึกถึงบ้าน เพราะบ้าน เป็นสถานทีท่ ใี่ ห้ความรูส้ กึ ปลอดภัย ให้ความสุข ให้ความสบายใจ จนหลายๆ คนมักพูดว่า “ไม่มี ที่ไหนอุ่นใจเท่าบ้านเรา” แม้ว่าบ้านหลังนั้น อาจจะไม่หรูหรา เป็นเพียงบ้านไม้ที่เรียบง่าย ธรรมดาๆ ก็ตาม แต่หากวันหนึง่ บ้านทีเ่ ราอาศัย อยู่มานานนับหลายปีถูกบอกเลิกสัญญาเช่า กระทันหันและบังคับให้ออกจากพื้นที่ภายใน ระยะเวลาที่ก�ำหนด เราคงรู้สึกเสียศูนย์ไม่น้อย ชุมชนบางปิ้ง ก็เป็นหนึ่งในชุมชนที่ประสบ ปัญหาจากการบอกเลิกสัญญาเช่าบ้านและโดน ไล่ที่ โดยไม่คาดคิดว่าวันหนึ่งตัวเองจะต้องย้าย ที่อยู่ เพราะอยู่กันมานานนับ 150 ปี ตั้งแต่รุ่น ปู่รุ่นย่า เสียค่าเช่าปกติตลอดมา โดยไม่รู้เลย ว่าเจ้าของที่ยกเลิกการเก็บเงินค่าเช่าตั้งแต่ปี 2552 แต่ตัวแทนที่มาเก็บเงินค่าเช่ากลับเก็บ เงินจนถึงปี 2557 แต่แล้ววันหนึ่งก็มีคนมาบอกว่าไม่ให้อยู่ใน พื้นที่นี้แล้วและให้เวลาย้ายออกไปภายใน 30 วัน!! ค�ำพูดที่ราวกับสายฟ้าฟาด สร้างความ ตกใจให้กับชาวบ้านในชุมชนบางปิ้งไม่น้อย

สุปรียา นาวาทอง ผู้ประสานงานภายใน ชุมชน เล่าว่า หลังจากที่เจ้าของที่ให้คนมาติด ประกาศให้รื้อถอนบ้านเรือนในพื้นที่ 35 ไร่ ภายใน 30 วัน ชาวบ้านก็รวมตัวกันไปร้อง เรียนที่ศูนย์บริการประชาชน ท�ำเนียบรัฐบาล มีการเจรจาต่อรองร้องขอพื้นที่ส่วนท้ายเพื่อ อยูอ่ าศัยกับเจ้าของทีแ่ ต่ไม่เป็นผล เพราะผูท้ มี่ า เจราจาเป็นเพียงตัวแทน เมื่อเสนออะไรไปจึง ถูกปฏิเสธทุกครั้ง ทางออกถัดมาคือต้องหาพื้นที่ใหม่ แต่ด้วย การอยู่ร่วมกันมานานหลายปีจนเกิดเป็นความ ผูกพัน ชาวบ้านหลายคนจึงไม่ตอ้ งการทีจ่ ะแยก กันอยู่ อยากอยู่ด้วยกันเหมือนเดิม อีกทั้งเงินที่ เจ้าของที่เสนอให้เมื่อย้ายออก ชาวบ้านมองว่า ไม่เพียงพอที่จะไปเริ่มใหม่ จึงตัดสินใจรวบรวม เงินกันเข้าสหกรณ์ของชุมชนเพือ่ เป็นทุนในการ ไปซื้อที่ดินผืนใหม่ส�ำหรับอยู่อาศัย สาริษา เจริญสุข ผู้ท�ำบัญชีเงินออมของ ชุมชน เปิดเผยว่า หลังจากที่รู้ว่าต้องออกจาก พื้นที่ ก็เริ่มเก็บเงินออมมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2558 เก็บเงินคนละ 1,730 บาทต่อเดือน เดือน ละ 128 คน เพื่อสมทบทุนซื้อที่ดินและสร้างที่

อยู่ผืนใหม่ โดยตั้งเป้าว่าจะต้องเก็บเงินให้ได้ ประมาณ 4,500,000 บาท โดยใน 5 เดือนที่ ผ่านมามีเงินเก็บแล้ว 700,000 กว่าบาท “จ�ำนวนเงินที่เราเก็บกันแต่ละเดือนเป็น จ�ำนวนเงินที่ชาวบ้านสามารถจ่ายได้ ไม่สูงเกิน ไป แต่ถา้ คนไหนไม่สามารถจ่ายในเดือนนัน้ ได้ก็ จะน�ำมาจ่ายทบกับเดือนถัดไป เรื่องจ�ำนวนคน ที่ออมเป็นจ�ำนวนคนที่ไม่มีที่อยู่อาศัยที่อื่นแล้ว จึงมาร่วมออม ส่วนคนอื่นๆ ที่มีที่อยู่หรือมีที่ไป ทีอ่ นื่ เขาก็ไม่ได้มาออมกับเรา แต่เขาก็ไม่ได้ยา้ ย ออกไปจากพืน้ ทีท่ นั ทีเ่ พราะเขาจะอยูช่ ว่ ยคนที่ เหลือในการสู้คดีนี้” จ�ำนวนเงินเกือบ 5 ล้านนี้จะน�ำไปซื้อที่ บริเวณถนนแพรกษาหากแพ้คดี โดยคาดว่าจะ สร้างเป็นบ้านอย่างดี เป็นบ้านมั่นคง ในส่วนนี้ สาริษาเล่าว่า เคยเสนอเจ้าของทีใ่ ห้ชว่ ยซือ้ ทีด่ นิ บริเวณแพรกษาแล้วจะให้ชาวบ้านผ่อนจ่ายให้ ภายหลัง แต่เจ้าของที่ไม่ยินยอม โดยอ้างว่า ไม่มีเงินซื้อให้ ยืนยันแต่ค�ำตอบเดิมนั่นคือชาว บ้านต้องออกจากพื้นที่ นอกจากปั ญ หาที่ ช าวบ้ า นในชุ ม ชนบาง ปิ้งจะไม่มีที่อยู่อาศัยแล้ว สาริษา บอกว่ายัง


ส่งผลกระทบกับโรงเรียนเทศบาล 2 อีกด้วย เพราะเด็กที่เรียนในโรงเรียนเทศบาล 2 ส่วน ใหญ่เป็นเด็กในชุมชนบางปิง้ นับว่าเกินครึง่ ของ โรงเรียน หากชุมชมบางปิง้ ต้องย้ายทีอ่ ยูจ่ ริงๆ ก็ ต้องให้ลกู ๆ หลานๆ ย้ายโรงเรียนไปด้วย เพราะ ต้องการให้ลูกหลานเรียนใกล้บ้าน “ถ้าต้องย้ายไปจริงๆ โรงเรียนเทศบาล 2 นี่ แทบจะไม่เหลือเด็กเรียนเลยนะ เพราะฉะนั้น ปัญหาการโดนไล่ที่นี้มันไม่ใช่แค่เรื่องไม่มีที่อยู่ เพียงเรื่องเดียว” เมื่อมองถึงความเป็นไปได้ของการต่อรอง กับเจ้าของที่ ชาวบ้านคงไม่สามารถชนะการ ต่อรองที่จะอยู่ในพื้นที่เดิมได้ เนื่องจากท�ำเลที่ ตั้งของชุมชน ณ ตอนนี้ มีการก่อสร้างรถไฟฟ้า บีทเี อสตัดผ่าน ความหวังสุดท้ายคือการต่อรอง ให้เจ้าของที่ช่วยเหลือในการหาที่อยู่ผืนใหม่ให้ ตลอดเวลาที่พูดคุยกับสาริษา แม้ว่าเธอ จะพูดคุยอย่างปกติ แต่แววตาของเธอเมื่อพูด ถึงเรื่องบ้านกลับฉายความเศร้าออกมาอย่าง ไม่รู้จบ เช่นเดียวกันกับเสียงชาวบ้านในชุมชนที่ เรียกร้องให้เจ้าของที่ดิน และหน่วยงานภาค รัฐ จัดการกับสภาพปัญหาให้เป็นไปตามความ ยุติธรรมที่พึงมีเช่นกัน แม้วา่ การช่วยเหลือและการเยียวยาอาจยัง ไม่กระจ่างชัดให้เห็น แต่สิ่งที่เห็นได้จากชุมชน บางปิ้ง คือ ความรัก ความผูกพัน ความสามัคคี ของคนในชุมชนที่แสดงให้เห็นถึงความเป็น ชุมชนทีแ่ ข็งแกร่ง แม้วา่ ปัจจัยภาพลักษณ์ทผี่ คู้ น ภายนอกอาจมองว่าไม่สมบูรณ์ แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ จะมาตัดสินได้ด้วยการมองแบบผิวเผิน

เราไม่ได้ต้องการ เงินทองมากมาย เราต้องการแค่ ที่อยู่ก็พอแล้ว

ชุมชนบางปิ้ง

ชาวชุมชนร่วมใจสามัคคี หรือ ชุมชนบางปิ้ง ชุมชน 2 ศาสนาระหว่างไทยพุทธและ มุสลิม ตัง้ อยูท่ หี่ มู่ 8 ต�ำบลบางเมือง อ�ำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ แต่เดิมมีผพู้ กั อาศัย ประมาณ 350 ครอบครัว จ�ำนวนคนประมาณ 2,000 คน มีพื้นที่ชุมชนประมาณ 35 ไร่เศษ ปัจจุบันเหลือเพียง 284 หลังคาเรือน จ�ำนวนคนประมาณ 1,000 คน เนื่องมีชาวบ้านบาง ส่วนได้เคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ชุมชนแล้ว 15

โครงการบ้านมั่นคง เป็นนโยบายของ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การเคหะแห่ง ชาติ และ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) น�ำร่องตามนโยบายของรัฐที่เร่ง แก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้ที่มีรายได้น้อย และสร้างความมั่นคงให้แก่คนจนในเมือง ที่ยัง ไม่มที อี่ ยูอ่ าศัยเป็นของตนเอง โดยเฉพาะกลุม่ ผูอ้ ยูอ่ าศัยในชุมชนแออัด ชุมชนบุกรุก ผูด้ อ้ ย โอกาส ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยต�่ำกว่ามาตรฐาน ขาดบริการพื้นฐานด้านสาธารณูปโภคที่จ�ำเป็น ต่อการด�ำรงชีพ พบว่ามีชุมชนที่ประสบปัญหาความมั่นคงในการอยู่อาศัยถึง 3,750 ชุมชน คิดเป็นครัว เรือนมากถึง 1.14 ล้านครัวเรือน หรือเป็นประชากรถึง 5.13 ล้านคน เป็นชุมชนกลุ่มที่อยู่ ในที่ของรัฐ วัด เอกชน หรือที่ผสมมีปัญหาไล่ที่ในระดับต่างๆ รวม 445 ชุมชน ประมาณ 200,000 ครัวเรือน จึงจ�ำเป็นต้องมีการพัฒนาความมั่นคงในการอยู่อาศัย


03 ช่องลม

16


ชุ ม ช น แ อ อั ด

วั ด ช่ อ งลม จิรายุ สุทธิเดชานัย อัคริมา ครุธสอน พุฒิกร บุญเติม ภูริณัฐ ชัยศิริลาภ 17

ปัญหาไล่รื้อถอนบ้านไม่ใช่ปัญหาเดียวของ หรือกางเต๊นท์อาศัยหน้ากระทรวง การต่อสู้กิน ชาวชุมชน เพราะยังมีปัญหาอีกนับไม่ถ้วนที่ ระยะเวลาเกือบสามเดือน แต่ผลที่ได้คือบ้านที่ ต้องเจออยู่ทุกวัน ทั้งบ้านช�ำรุดทรุดโทรมหรือ ทุกคนได้อยู่กันอย่างมีความสุข สาธารณูปโภคไม่มีใช้ เนื่องจากไม่มีทะเบียน บ้าน ชาวบ้านต้องขอต่อน�้ำไฟจากชุมชนตรง ข้ามโดยมีค่าน�้ำยูนิตละ 20 บาท และไฟยูนิต ละ 12 บาท เป็นอัตราแลกเปลื่ยน อีกทัง้ การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลทีไ่ ม่เข้าใจ ถึงวิถีชีวิตของชุมชน “เขาจะให้เราขึน้ ฝักข้าวโพดอย่างเดียวเลย จะไปอยู่ไหวหรอ ชีวิตเราไม่ใช่แบบนั้น” พี่กุ้ง นันทวัลย์ อ�่ำปรีดา หัวหน้าชุมชนอีกหนึ่งคน กล่าวถึงฝักข้าวโพด หรือ แฟลต ซึ่งไม่เหมาะ กับการท�ำมาหากินของชาวบ้านที่แตกต่างกัน มีทงั้ คนชรา ท�ำอาชีพรับจ้าง ต้องใช้พนื้ ทีก่ บั ดิน ความเป็นอยูท่ ยี่ ากล�ำบากบวกกับการไล่รอื้ ถอนบ้านทีเ่ กิดขึน้ บ่อยครัง้ ท�ำให้ชาวบ้านลุกขึน้ สูโ้ ดยมีความช่วยเหลือ จากเครือข่ายประชาชน ที่มาจากการรวมตัวกัน ของผู้เดือดร้อนด้าน สิทธิทอี่ ยูอ่ าศัย สลัมสีภ่ าค เข้ามาช่วยเหลือ เริม่ จากการประท้วงเล็กๆ ไปจนถึงการอดอาหาร

การต่อสู้กิน ระยะเวลาเกือบ สามเดือน แต่ผลที่ได้ คือบ้านที่ ทุกคนได้ อยู่กันอย่าง มีความสุข

ท่ามกลางตึกระฟ้าในกรุงเทพมหานคร ใน เขตยานนาวา ย่านพระรามสาม ผู้คนต่างพากันรีบเร่งใช้ชีวิตสัญจรผ่านไป มา แต่หากหยุดสังเกตชุมชนเล็กๆ ที่มีบ้าน ทาวเฮ้าส์สองชั้นสีสันสดใสเรียงกันเป็นทิวแถว คงคิดได้ว่าเป็นโครงการบ้านจัดสรรสวยงาม โครงการหนึ่ง แต่ถ้าลองย้อนหลังไปสัก 9 ปี อาจต้องมองดูกันใหม่อีกหนึ่งครั้ง ย้ อ นไปเมื่ อ 2521 เมื่ อ ชุ ม ชนแออั ด วั ด ช่องลมเกิดขึ้น ชาวบ้านที่มาอาศัยล้วนมาจาก ต่างบ้านต่างถิน่ พากันจับจองพืน้ ทีร่ มิ ทางรถไฟ โดยสิ่งที่มีติดตัวมามีเพียง แรงกาย แรงใจมา ต่อสู้ในเมืองใหญ่ แต่อยู่ไปเรื่อยๆก็พบว่าแรง กายแรงใจที่มีอยู่ ต้องมาใช้ต่อสู้เพื่อให้ตนเอง และครอบครัวมีพื้นที่อยู่อาศัยท�ำกิน “หนักสุดก็คราวนั้นแหละ คราวที่ท�ำคลอง ขุด เขาเอาดินมาถม บ้านน้าเอียงเลยนะ” พีห่ นู อ�ำไพร รมยะปาน ผู้แทนชุมชน กล่าวถึงการไล่ รื้อถอนบ้านครั้งที่ร้ายแรงที่สุด เกิดจากรัฐบาล ต้องการท�ำคลองขุดในปี 2547 โดยไม่ได้คุยกับ ชุมชนก่อน ส่งผลให้บ้านหลายหลังพังเสียหาย


18

“บ้านเราออกแบบเหมือนกัน ลักษณะบ้าน เหมือนกันหมด แต่โครงสร้าง วัสดุดิบที่ใช้ต่าง กัน ใครจะใช้อะไรก็ได้” พี่หนูพูดถึงบ้านที่ใน ชุมชนที่มีหน้าตาไม่ต่างกัน สะดุดตากว่ากัน เพียงแค่สีสันและการตกแต่ง บ้านเหล่านี้คือ ความส�ำเร็จของชาวชุมชน ท�ำให้เกิดเป็นสัญญา เช่าพื้นที่เอกชนอยู่อาศัยเป็นเวลา 30 ปี โดย อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของชาวชุมชนเพื่อสังคมที่ เป็นระเบียบวินัย ซึ่งมีทั้งคณะกรรมการชุมชน ผูแ้ ทนชุมชน กิจกรรมต่างๆทีเ่ กิดขึน้ เป็นประจ�ำ “เราเริ่มจากอากาศเลยนะ คนอื่นเขาเริ่ม จากดินทราย เราเริ่มจากไม่มีอะไรเลย” พี่กุ้ง กล่าว บ้านแต่ละหลังในชุมชนมี 70% ที่สร้าง เสร็จหมดแล้วและมีที่ยังเป็นโครงเสาเข็มอยู่ เนื่องจากทุนของแต่ละคนต่างกัน บ้านจึงต้อง ทยอยสร้าง

แม้ ป ั ญ หาทั้ ง หมดคลี่ ค ลายไปในทางที่ ดี ขึ้น แต่ชาวบ้านก็ยังต้องแบกรับค่าครองชีพใน เมืองใหญ่และภาระหนี้ส้ินหลังจากการกู้เงิน ต่อเติมบ้าน นอกจากที่ได้รับการช่วยเหลือจาก รัฐบาล 150,000 บาท ต่อครัวเรือน ซึ่งพี่หนู พูดอย่างติดตลกถึงชีวิตตัวเองหลังท�ำสัญญาว่า คือ “ชีวิตพร้อมหนี้” ชีวิตที่มีหนี้สินอาจไม่สุขสบายแต่นั่นก็ย่อม ดีกว่าการไม่มีบ้านที่มั่นคงอยู่อาศัย “ไม่มีเงิน ไม่เป็นไร แต่เรามีใจ” พีก่ งุ้ พูดขึน้ ด้วยแววตามุง่ มั่น ในตอนนี้ชุมชนแออัดวัดช่องลมก�ำลังกลาย เป็นภาพอดีตไปแล้ว มีเพียงอนาคตที่ก�ำลังจะ เกิดขึ้นรออยู่ หนึ่งในนั้นคือเมืองเศรษฐกิจใหม่ พระรามสาม สร้างความหวังใหม่ให้ชาวชุมชน มีพื้นที่ท�ำกินมากขึ้น แดดเที่ยงสาดส่อง บ้านหลังน้อยนิ่งเงียบ

สงบหลังเจ้าของบ้านออกไปท�ำงานตั้งแต่ย�้ำ รุ่ง นอกจากหน้าที่ดูแลชุมชนแล้ว หน้าที่ดูแล ครอบครัวก็ยังต้องด�ำเนินต่อไป พี่หนูและพี่กุ้ง ขอตัวกลับไปดูที่บ้านหลังจากพาเดินชมชุมชน จนเหนื่อย พร้อมยิ้มแย้มอวยพรให้เราโชคดี แม้สิ่งที่ผ่านมาจะสอนมาว่าไม่เคยมีอะไรได้มา เพราะโชคช่วย ท่ามกลางตึกระฟ้า รถพาเราออกมาไกล จนเมือ่ เราหันกลับไปมองชุมชนก็เป็นเพียงภาพ ความหลัง รถคล้ายเหมือนแล่นไปสู่อนาคต แต่การเดินทางให้ถึงจุดหมายโดยไม่ใส่ใจรอบ ข้างก็อาจจะท�ำให้ไปได้ไม่ไกลตามที่หวัง ยิ่ง ถ้าเป็นการพัฒนาประเทศ การเร่งพัฒนาเพียง อย่างใดอย่างหนึ่งอาจไม่ใช่ค�ำตอบที่ถูกต้อง ที่สุด ในยามที่ไทยก�ำลังก้าวขาใหญ่ๆเข้าสู่การ แข่งขันทางเศรษฐกิจที่ก�ำลังจะเกิดขึ้น


ชุมชนวัดช่องลม ณิชาบูล ตั้งหิรัญวิรุฬห์ นวรัศมิ์ อาชญาสิทธิวัตร ตติสรา แจ้งมณี

สลัม ความวุ่นวาย แออัด ขยะ ความสกปรก ค�ำเหล่านี้มักเกิดขึ้นมาทันทีเมื่อได้ยินค�ำว่า “ชุมชนแออัด” ชุมชนวัดช่องลม ถ.พระราม 3 เขต ยานนาวา เป็นหนึ่งในชุมชนแออัดที่เรียกได้ ว่ามีความเจริญขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับ เมื่อก่อน เพราะชาวบ้านที่สู้ชีวิต ต่อสู้ฝ่าฝัน อุปสรรคมาด้วยกันจนถึงทุกวันนี้

จุด...เริ่มต้น

เมื่อก่อนชาวบ้านวัดช่องลมก็อยู่ในชุมชน คลองขวางเหมือนกันแต่พวกดันไปอยู่ลุกล�้ำ พื้นที่ของการรถไฟ แล้วชาวบ้านจะเช่าอย่างไร “แล้วท�ำไมเราไม่สู้ล่ะ” เราก็ร่วมกันสู้สิ พวก คุณไม่อยากมีบ้านที่เป็นรั้วของตัวเอง ไม่อยาก มีโฉนดที่เช่ากันเหรอ โดยที่พวกเราไม่ต้องกลัว ว่าเขาจะมาไล่เราไปเมื่อไหร่ เพื่อความมั่นคง กว่าเดิม นี่คือจุดเริ่มต้นชาวบ้านเลยเข้าร่วม กับโครงการชุมชน 4 ภาคเพื่อที่จะได้มีพื้นที่ ของตนเอง

จุดที่...ต้องสู้

ตอนแรกชาวบ้านอยู่กันไม่เป็นที่ไม่เป็น ทาง ไร้ที่อยู่มาโดยตลอด เดิมทีพื้นที่ตรงนี้ไม่มี อยู่ ซึ่งถ้าชาวบ้านต้องการทะเบียนบ้านจะต้อง เสีย 3,000 - 4,000 ต่อหลัง ซึ่งชาวบ้านที่ส่วน มากไม่มรี ายได้ ไม่มเี งินทีจ่ ะจ่ายมากมายขนาด นี้ พวกเขาเริ่มรวมตัวกันจนได้ทะเบียนบ้านฟรี มาใช้แบบชั่วคราว ได้มิเตอร์น�้ำเป็นของชุมชน จนปี พ.ศ. 2547 ชาวบ้านได้ท�ำสัญญาเช่า กับการรถไฟ เริ่มมีการพัฒนาอยู่เรื่อยๆ จนกระทัง่ ปี พ.ศ. 2549 มีการปลูกบ้าน ทุก คนก็มีทะเบียนบ้าน มีน�้ำมีไฟของหลวงใช้ ไม่ ต้องผ่านคนกลางที่น�้ำยูนิตละ 20 บาท ไฟยูนิต ละ 12 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงเกินปกติ รัฐบาลท�ำเขื่อนบ�ำบัดน�้ำเสีย เมื่อประมาณ ปีพ.ศ. 2547 โดยไม่ได้แจ้งชาวบ้าน รัฐบาลเอา ทรายเข้ามาถม ส่งผลต่อที่อยู่อาศัยของชาว บ้านอย่างมาก พวกเขาเริ่มเดินหน้าไปก็เจรจา กับบรรดารัฐมนตรี เพื่อหยุดการก่อสร้าง แต่ ก็ไม่เป็นผล รัฐบาลก็ไม่ยอมชุมชน 4 ภาคแล้ว ก็พี่น้องชาวบ้านก็ช่วยกัน ต่อสู้กว่าเขาจะยอม นอนกินอยู่ในดิน ประมาณ 2-3 เดือน ชาวบ้าน ผลัดเวรกัน คือทุกบ้านต้องมีสมาชิกคนนึงเพื่อ มานอนเฝ้า กางเตนท์นอนกลางดิน กับข้าวก็จะ

หมุนเวียนกันมาส่ง พีน่ อ้ งเครือข่ายก็จะช่วยกัน ขนของส่งของมาให้ เราใช้ระบบแบบนี้ เพราะ เราไม่มีเงิน เราคนจนไม่มีเงินแต่มี “ใจ” ถาม ว่าคนรวยมีใจไหม? ไม่มี ถามว่าบ้านคุณใกล้ๆ กัน คุณรู้จักกันไหม? แต่ถ้าถามพวกเขา บ้าน นึงแกงส้ม บ้านนึงข้าวต้มปลา ก็สามารถแบ่งกัน ได้ ท�ำกับข้าว 1 บ้านแต่มีกับข้าวทาน 2 อย่าง ถามพวกคนรวยได้ไหม ไม่ได้...

เราคนจน ไม่มีเงินแต่มีใจ ถามว่าคนรวย มีใจไหม? ไม่มี

เรามาอยู่จุดนี้...จุดที่เราพัฒนาได้ อย่างไร ?

19


“ความฝันเป็นจริงได้ทุกอย่าง ถ้าคนจนรวมกันสู้

ชุมชนวัดช่องลม ชุมชนคลองขวางตอนนี้ยังคง ล�ำบากอยู่ เพราะอยู่คนละกลไกกัน รวมไปถึง ชาวบ้านในชุมชนยังไม่พร้อม เขาไม่เคยต่อสู้ เลยไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรตามมา เขาก็พอใจในสิ่ง ที่เขาเป็นอยู่ ชุมชนของวัดช่องลมห้ามซื้อขาย ถ้าสมมติ ว่าคุณจะย้ายออกไป คุณต้องขายคืนให้กลุม่ มัน มีสัญญาอยู่ แต่ถ้าคุณจะโอนกรรมสิทธิ์ได้ ก็คือ ลูกหลาน แต่คุณไม่มีสิทธิ์จะให้คนภายนอกเข้า มาซือ้ ในกรณีทคี่ นภายนอกเข้ามาซือ้ ถ้าชุมชน เรารู้เราจะยึดคืน เอาเงินคืน เอาสมาชิกเรามา ซือ้ คืนจากคนอืน่ เพราะเราไม่มกี ารให้บา้ นหลุด จุดนี้...ปลอดภัยแค่ไหน ชุมชนวัดช่องลมจะมีหัวหน้าซอย เวลามี ออกไปเป็นของคนข้างนอก เนื่องจากถ้าชาว ปัญหาอะไร หรือว่าของหาย ชาวบ้านเขาก็จะ บ้านเอาคนนอกมาอยู่ จะควบคุมล�ำบาก อีก บอกกัน พอหัวหน้ารู้ ทุกคนก็จะช่วยกันสังเกต อย่างคนนอกจะไม่รู้กฏกติกาของชุมชน ยาก กันหลายทาง แต่ในกรณีที่ขโมยขึ้นบ้าน ยัง เกินควบคุม เรามีกฎว่าบ้านหนึ่งหลังถ้าอยู่เกิน 5 คน ไม่เคยมีมาก่อน ชาวบ้านในชุมชนอยู่กันอย่าง ครอบครัว บางบ้านก็มีกล้องวงจรปิดหน้าบ้าน เราให้ขยายเป็น 2 หลัง ไม่ใช่ว่าเราไม่อยากให้ เพื่อรักษาความปลอดภัยด้วย หลักๆแล้วเลย เขาอยู่ เราอยากให้ทกุ คนอยูก่ บั เราหมดแต่ถาม ว่าในพื้นที่แค่นี้หรือ? แต่เวลาพี่น้องเราเดือด คือการมีระบบจัดการที่ดี ในเรือ่ งยาเสพติดในชุมชนค่อนข้างน้อย แต่ ร้อน ไม่ใช่ว่าเราอยู่เฉยๆ เราต้องไปช่วยพี่น้อง มันก็คงต้องมีบ้าง จะบอกว่าไม่มีเลยก็คงไม่ใช่ เราอยู่แล้ว เพราะเราไม่ได้อยู่กันแบบคนเห็น แต่ถึงขั้นรุนแรงไม่มี คืออยู่แบบเช้ามาชาวบ้าน แก่ตัว ถ้าเราอยู่กันแบบคนเห็นแก่ตัวเราคงไม่ ก็ต้องไปท�ำมาหากิน คือถ้าไม่ท�ำมาหากินบ้าน ได้พื้นที่ผืนนี้มา เขาก็จะถูกยึด ก็เลยไม่ค่อยมีเวลามากเท่าไหร่ จุดที่...สัญญา 30 ปีใกล้หมดอายุ ในการท�ำอย่างอื่น เช่าต่อไป เมื่อเหลือประมาณ 20 ปีก็ต่อ ชุมชนนี้อยู่แบบสลัม 4 ภาค ก็คือพี่น้อง 4 ภาคต้องมาดูแลช่วยกัน ถ้าเทียบกับชุมชนข้าง สัญญาใหม่ ท�ำโครงการใหม่ ถ้ารัฐบาลจ�ำเป็น เคียง (คลองขวาง) ชุมชนวัดช่องลมปลอดภัย ที่จะต้องใช้ที่ผืนนี้ เขาจะต้องมีพื้นที่รองรับให้ กว่า ทั้งสองชุมชนอยู่ห่างกันแค่เพียงถนนเส้น ชาวบ้านเพราะเรามีสัญญาต่อกัน ชาวบ้านอยู่ เดียวมากั้นเท่านั้น เดิมทีชุมชนคลองขวางได้ อย่างไม่ตอ้ งกลัว เพราะถ้ามีอะไรขึน้ มาพวกเขา โครงการเหมือนกันแต่ไม่ท�ำ ชุมชนคลองขวาง จะมีสถานทีร่ องรับ คนไหนทีส่ ร้างเสร็จแล้วก็รอื เลยยังไม่มีการจัดระบบและพัฒนาเหมือนกับ บ้านเก่าทิ้ง คืนสถานที่ให้กับกทม.เขาไป

จุดเปลี่ยน...หลังท�ำสัญญา

หลังจากทีช่ วี ติ ความเป็นอยูข่ องคนในชุมชน เริ่มดีขึ้น แต่พวกเขาก็ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น หากแต่มีความคิด การวางแผนพัฒนาชุมชนให้ มีความเจริญก้าวหน้าขึน้ ไปมากขึน้ กว่าเดิม เพือ่ คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างที่หวัง ชาวบ้านกู้เงินจากสถาบันพัฒนาองค์กร ชุมชน (พอช.) ครอบครัวละ 150,000 บาท เพื่อมาปลูกสร้างบ้าน ในส่วนที่เหลือชาวบ้าน ออกค่าใช้จา่ ยเอง ส่วนมากชาวบ้านจะมีอาชีพ รับจ้าง กับค้าขาย บางคนเป็นครู มีหลากหลาย อาชีพมาก ท�ำงานธนาคารยังมี อาชีพมีทุก อย่าง เก็บของเก่าบ้าง จนกระทั่งค้าขาย มีทุก 20 อย่าง ส่วนมากจะเป็นอาชีพค้าขายกับรับจ้าง จะเยอะที่สุด ทางชุมชนมีกิจกรรมตลอด เช่น วันเด็ก วัน สงกรานต์ ท�ำบุญชุมชน มีประชุมประจ�ำเดือน ทุกเดือน รายงานความคืบหน้าของชุมชนให้ ชาวบ้านรู้ โดยกิจกรรมต่างๆจะใช้งบบริหาร จัดการ 2% จัดงานวันเด็ก เวลามีกจิ กรรมจะมี เด็กอยูป่ ระมาณ 300-400 คน สถานทีท่ จี่ ดั งาน ทางชุมชนมีการวางแผนจะสร้างศูนย์กิจกรรม ประมาณ 4 คูหา นอกจากนีแ้ ล้ว ภายในชุมชนยังท�ำเกีย่ วกับ คุณภาพชีวิตด้วย ท�ำน�้ำยาล้างจาน น�้ำยาถูพื้น น�้ำยาปรับผ้านุ่มใช้เอง มีกิจกรรรมเยอะมาก ตอนนี้กลุ่มแม่บ้านก�ำลังจะท�ำผ้าวน โครงการ ร้อยมือสร้างเมือง มีงบประมาณชุมชนละ 2 แสนกว่า ที่ก�ำลังขออยู่ตอนนี้ ชุมชนจะได้มี แม่บ้านอุตสาหกรรมหมุนเวียนกัน จับคู่กัน มาท�ำรายได้ส่วนหนึ่งก็หักเข้าชุมชน เข้าเครือ ข่าย แล้วก็ให้กับคนที่ท�ำงานไป เป็นกิจกรรม ที่ท�ำให้เราสามัคคีกัน มีอะไรก็แลกเปลี่ยนกัน คุยกันได้ทุกเรื่อง ความฝันเป็นจริงได้ทุกอย่าง ถ้าคนจนรวม กันสู้ ถ้าทุกคนมีความสามัคคีรวมใจกันไม่ต้อง กลัวอุปสรรคใดๆ ทั้งสิ้นเราต้องผ่านไปได้

พลังของเรา ถ้าทุกคนมีความสามัคคี รวมใจกัน ไม่ต้องกลัวอุปสรรคใดๆ ทั้งสิ้น เราต้องผ่านไปได้


04 วัดใต้

21


22

ความเจริญ ขับไล่คนจน ศิวพร อริยกานนท์ กชกร มั่นคงเจริญกิจ วสันต์ โตอาจ

ภาพความเจริญของสังคมเมืองในหลาย ประเทศทัว่ โลก เริม่ เป็นสิง่ ทีเ่ ราเห็นกันจนชินตา ตึกสูง รถไฟฟ้า บ้านเรือนที่ดูเปลี่ยนไปเหมือน ก�ำลังบอกให้เราต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เข้า กับพวกมัน ชุมชนวัดใต้ เป็นชุมชนเก่าแก่บน ที่ดินริมถนนอ่อนนุชที่มีผู้ใจบุญบริจาคพื้นที่ ส่วนนีใ้ ห้กบั วัดใต้ และวัดก็ได้แบ่งทีด่ นิ บางส่วน ให้ชาวบ้านได้อยู่อาศัยกันตั้งแต่ในอดีต ชุมชน วัดใต้อยูไ่ ม่ไกลจากสถานีรถไฟฟ้า BTS อ่อนนุช มีรถโดยสารสาธารณะวิ่งผ่านด้านหน้าชุมชน หลายสายเรียกได้ว่าชุมชนวัดใต้เป็นชุมชนที่มี การคมนาคมที่สะดวกมากแห่งหนึ่ง หากย้อนกลับไปสักสิบปีชุมชนแห่งนี้อาจ จะดูไม่แปลกตาเรามากนัก แต่ในปี พ.ศ.2558

ชุมชนวัดใต้กลับกลายเป็นความแปลกแยกของ ถนนสายนี้ เพราะเมือ่ แหงนมองไปรอบๆชุมชน เราจะเห็นภาพคอนโดสูงทีโ่ อบล้อมชุมชนวัดใต้ ไว้ทุกทิศทาง ทุกสิ่งในย่านนี้ก�ำลังพัฒนาไป อย่างรวดเร็ว ความเจริญก�ำลังไล่รื้อความทรุด โทรมให้พน้ ทาง เช่นเดียวกับชุมชนวัดใต้ทกี่ ำ� ลัง จะถูกรื้อถอนในไม่ช้านี้ พี่เหย กรรมการเครือข่ายสลัมสี่ภาค ซึ่ง เกิดและเติบโตทีช่ ุมชนวัดใต้แห่งนี้ เล่าถึงความ เปลีย่ นแปลงแบบก้าวกระโดดของบริเวณรอบๆ ชุมชน ทีใ่ ช้เวลาไม่ถงึ ห้าปี คอนโดก็ผลุดขึน้ เป็น จ�ำนวนมาก จากการลงพื้นที่สอบถามพบว่า ชาวบ้าน ที่อาศัยอยู่ในชุมชนวัดใต้มีความเห็นไปในทาง

คล้ า ยกั น คื อ ชาวบ้ า นต้ อ งการเหตุ ผ ลที่ แ ท้ จริงของการรื้อถอนชุมชนแห่งนี้ โดยมันจะ หมายความไปถึงการไล่ที่อยู่แต่เดิมของชาว บ้านด้วย เนื่องจากเป็นที่ดินที่มีผู้บริจาคให้ กับวัด วัดจึงเป็นเจ้าของที่ดิน การไล่ที่จึง เป็นปัญหาระหว่างวัดกับชาวบ้าน มีค�ำถาม มากมายที่ ช าวบ้ า นยั ง คงคั บ ข้ อ งใจและทาง วัดก็ยังไม่ได้ให้ความกระจ่างนี้ บ้างก็ว่าวัด จะน�ำที่ดินคืนเพื่อปรับปรุงให้กลายเป็นตลาด บ้างก็ว่าจะน�ำมาท�ำที่จอดรถหรือการน�ำที่ดิน ส่วนนี้ไปท�ำส�ำนักสงฆ์และที่เป็นประเด็นท�ำให้ ชาวบ้านไม่ยอมออกจากพื้นที่ คือ การหาผล ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นบนผืนดินหลังจากที่รื้อ ถอนชุมชนแล้ว นอกจากนี้ยังพบว่ามีชาวบ้านอีกสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่พร้อมจะย้ายออกแต่อยากจะขอให้ ทางวัดให้เวลาพวกเขาได้หาที่อยู่ใหม่ เพราะ การแจ้งให้ออกจากพื้นที่ของวัดมีระยะเวลา ที่เร่งด่วนท�ำให้ชาวบ้านตั้งตัวไม่ทัน และอีก กลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่ไม่ขอย้ายออก แต่ต้องการ ให้ทางวัดแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งให้ชาวบ้าน โดย ชาวบ้านจะท�ำการปรับปรุงให้ชุมชนวัดใต้มี สภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นให้เป็นไปในทางเดียวกัน กับพืน้ ที่บริเวณรอบๆชุมชนที่พัฒนาไปแล้ว ซึ่ง ทางวัดก็ไม่ยอมผ่อนปรนให้ บอกเพียงแต่ชาว บ้านจะต้องย้ายออกภายในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2558 นี้


23

ก็ไม่มีก�ำลังเหลือพอ ด้วยอายุที่มากแล้วอีก ทั้งยังมีหนี้สิน ค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นจากการ หาห้องเช่า และหากย้ายออกจากชุมชน ก็ไม่ แน่นอนว่าจะมีหน่วยงานใดทีจ่ ะคอยช่วยเหลือ เยียวยาพวกเขา ชุมชนวัดใต้เป็นเพียงหนึง่ ในอีกหลายชุมชน บนพื้นที่ในกรุงเทพมหานครที่ก�ำลังจะถูกรื้อ ถอนและไล่ที่ ปัญหาเหล่านี้มีความเจริญและ เศรษฐกิจของบ้านเมืองเข้ามาเป็นปัจจัยหลัก ส�ำหรับชุมชนวัดใต้ ชุมชนซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ ดินของวัด แม้ในอดีตชุมชนและวัดต่างพึ่งพา อาศัยซึ่งกันและกัน แต่ปัจจุบันวัดกับชาว บ้านในชุมชนกลับมีข้อบาดหมาง แม้เพียงการ ประนีประนอมก็ยังไม่มีให้พบเห็น หากจะโทษ ว่าความเจริญก็วา่ ไม่ได้เสียทีเดียวเพราะไม่เช่น นั้นก็จะกลายเป็นว่า ความเจริญเป็นต้นเหตุ ของปัญหาที่ท�ำให้วิถีชีวิต ความคิด ของคน เปลี่ยนไป จากถ้อยทีถ้อยอาศัยเป็นขับไล่กัน ทางออกของปัญหานี้จึงอยู่ที่การเจรจาของทั้ง สองฝ่ายคือวัดกับชาวบ้านที่ต้องหาข้อตกลง ร่วมกัน โดยไม่ยึดเอาประโยชน์ หรือเหตุผล ของตนเป็นใหญ่

พวกเรา เกิดที่ ไหน พวกเราก็ อยากจะตายที่นั่น

ส่ ว นมากแล้ ว ผู ้ ที่ พ ร้ อ มจะย้ า ยออกจาก พื้ น ที่ ชุ ม ชนวั ด ใต้ คื อ ผู ้ ที่ มี อ ายุ ไ ม่ ม ากและ ยังพอมีก�ำลัง จะไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้ อย่าง ลุงตุย้ อดีตพนักงานบริษทั ทีเ่ กิดและโตในชุมชน วัดใต้ ซึ่งผันตัวมาเป็นพ่อค้าขายผักสดราคาถูก ในชุมชนวัดใต้ เพราะเบื่อหน่ายกับชีวิตที่ไม่มี อิสระแบบลูกจ้าง ร้านของลุงตุ้ยอยู่บริเวณทาง เข้าของวัด ลุงตุ้ยพูดถึงความขัดแย้งของวัดกับ ชาวบ้านให้เราฟังว่าเริม่ มีมานานแล้ว แต่เพิง่ จะ มีปัญหาหนักขึ้นไม่กี่ปีมานี้ กิจการร้านขายผัก ของลุงตุ้ย เป็นอีกหนึ่งรายได้เลี้ยงปากท้อง ของสมาชิกในชุมชนวัดใต้ คนหนุ่ม คนสาว ถึง วัยกลางคนกลุ่มหนึ่งต่างมาท�ำงานขายผักกับ ลุงตุ้ย ลุงตุ้ยบอกกับเราว่า ลุงตุ้ยพร้อมที่จะ ย้ายออกจากชุมชน หากแต่อยากจะฟังเหตุผล ดีๆ จากทางวัด ซึ่งสวนทางกับคนเฒ่าคนแก่ที่อยู่ในชุมชน มาหลายสิบปี มีความผูกพันกับพืน้ ทีซ่ งึ่ ใช้อยู่ ใช้ ท�ำมาหากินมานาน ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกัน ว่าไม่อยากออกจากชุมชน นอกจากชุมชนวัดใต้ ที่อยู่มาตั้งแต่เกิดแล้วก็ไม่มีบ้านที่ไหนอีก หาก จะต้องออกไปเริ่มต้นสร้างเนื้อสร้างตัวที่ใหม่


จัดทำ�โดย


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.