Eแมกจริงบน4

Page 1


KING

NARAI’S PALACE

พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี


KING

NARAI’S PALACE พระนารายณ์ราชนิเวศน์

จังหวัดลพบุรี


KING NARAI’S PA

vvvvv v v

พระนารายณ์ราชนิเวศน์

ตั้งอยู่ในเขตต�ำบลท่าหิน อ�ำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี โดยชาวเมืองลพบุรีเรียกกัน ติดปากว่า "วังนารายณ์" ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาติ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นพระราชวังที่สมเด็จพระ นารายณ์มหาราชโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2209 บนพื้นที่ 41 ไร่ ณ เมืองลพบุรี เพื่อใช้เป็นที่ประทับล่าสัตว์ ออกว่าราชการ และ


ALACE

ต้อนรับแขกเมือง พระองค์ทรงประทับ ณ พระราชวังแห่งนี้ประมาณ 8-9 เดือน ในช่วงปลายรัชกาลและเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2232 ภายหลังการ เสด็ จ สวรรคตของสมเด็ จ พระนารายณ์ มหาราช พระนารายณ์ราชนิเวศน์ถูกทิ้ง ร้าง จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดให้ บู ร ณ ะ พ ร ะ ร า ช วั ง ข อ ง ส ม เ ด็ จ พ ร ะ นารายณ์มหาราช และสร้างพระที่นั่งขึ้น ใหม่ในปี พ.ศ. 2399 และพระราชทาน นามว่า "พระนารายณ์ราชนิเวศน์”



สถาปัตยกรรมและสิ่งก่อสร้าง พื้นที่ทั้งหมดภายในพระราชวังแบ่งออกเป็น 3 เขต คือ เขตพระ ราชฐานชั้นนอก เขตพระราชฐานชั้นกลาง และเขตพระราชฐาน ชั้นใน หลังสิ้นรัชกาลพระราชวังแห่งนี้ก็ถูกทิ้งร้างไป จนกระทั่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะซ่อมแซมพระราชวังแห่งนี้และโปรดให้สร้างพระที่นั่งขึ้น ใหม่ ปัจจุบัน พระนารายณ์ราชนิเวศน์ได้ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์


พระนารายณ์ ร าชนิ เ วศน์

อ่างเก็บน�้ำหรือถังเก็บน�้ำประปา อ่างเก็บน�้ำหรือถังเก็บน�้ำประปา : เป็นระบบการจ่ายทดน�้ำ ผลงานของชาวฝรั่งเศส โดยการสร้างที่เก็บน�้ำในถัง ด้วยการ ก่อด้วยอิฐยกขอบเป็นก�ำแพงสูงหนาเป็นพิเศษ สร้างพื้นให้มี ท่อดินเผาฝังอยู่เพื่อจ่ายน�้ำไปใช้ตามตึกและพระที่นั่งต่าง ๆ โดยท่อดินเผา ซึ่งระบบการจัดการน�้ำ ระบบการจ่ายน�้ำ และ ทดน�้ำ เป็นผลงานของชาวฝรั่งเศสและอิตาเลียน

เขตพระร าช


ฐ า น ชั้ น น อ ก


เขตพระร าช


ตึกสิบสองท้องพระคลังหรือพระคลังศุภรัตน์ ตึกสิบสองท้องพระคลังหรือพระคลังศุภรัตน์ : สันนิษฐานว่าเป็นคลังส�ำหรับเก็บสินค้าและ สิ่งของ เป็นตึกที่ตั้งเรียงรายอยู่ระหว่างอ่าง เก็บน�้ำและตึกเลี้ยงรับรองแขกเมือง สร้าง ด้วยอิฐเป็น 2 แถวยาว มีคูน�้ำล้อมรอบตึก ภายในคูน�้ำมีน�้ำพุขึ้นมาอีกด้วย ใช้เป็นคลัง ส� ำ หรั บ เก็ บ สิ น ค้ า หรื อ เก็ บ สิ่ ง ของที่ ใ ช้ ใ น ราชการ

ฐ า น ชั้ น น อ ก


ตึกพระเจ้าเหา ตึกพระเจ้าเหา : ตั้งอยู่ทางด้าน ใต้ของเขตพระราชฐานชั้นนอก ตึ ก ห ลั ง นี้ แ ส ด ง ใ ห ้ เ ห็ น ถึ ง ลั ก ษณะสถาปั ต ยกรรมสมั ย

สมเด็จพระนารายณ์ฯ ได้อย่าง ชัดเจนมาก ตัวตึกเป็นรูปทรง ไทย ฐานก่อด้วยศิลาแลง และ จึ ง ก ่ อ อิ ฐ ขึ้ น ม า อี ก ชั้ น ห นึ่ ง

เขตพระร าช


ปัจจุบันเหลือแต่ผนังประตูหน้าต่าง ท�ำเป็นซุ้มเรือนแก้วฐานสิงห์ ปัจจุบันคงปรากฏลายให้เห็นอยู่ ด้วยเหตุว่าภายในตึกมีฐานชุกชี ปรากฏให้เห็นอยู่และชาวฝรั่งเศสได้ระบุว่าเป็นวัด จึงสันนิษฐานว่า เป็นหอพระประจ�ำพระราชวัง ตึกพระเจ้าเหาหรือ “พระเจ้าหาว”

ฐ า น ชั้ น น อ ก


ตึกรับรองคณะทูตต่างประเทศ ตึกรับรองคณะทูตต่างประเทศ : ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้น นอก ใกล้กับหมู่ตึกสิบสองท้องพระคลังเป็นสถาปัตยกรรม แบบฝรั่งเศส บันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า ตึกหลังนี้อยู่ กลางอุทยาน ซึ่งแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมจัตุรัส รอบตึกมีคูน�้ำ ล้อมรอบ ภายในคูน�้ำมีน�้ำพุเรียงรายเป็นระยะอยู่ 20 แห่ง จากเค้ า โครงที่ เ ห็ น แสดงว่ า ในสมั ย ก่ อ นคงจะสวยงามมาก ทางด้านหน้าตึกเลี้ยงรับรองมีรากฐานเป็นอิฐแสดงให้เห็นว่า

เขตพระร าช


ตึกหลังเล็ก ๆ คงจะเป็นโรงมหรสพ ซึ่งมี การแสดงให้แขกเมืองชมภายหลังการเลี้ยง อาหาร สมเด็จพระนารายณ์ฯ ได้ พระราชทานเลี้ยงแก่คณะทูตจากประเทศ ฝรั่งเศส ณ สถานที่นี้ใน พ.ศ. 2228 และ พ.ศ. 2230

ฐ า น ชั้ น น อ ก


เขตพระร าช


โรงช้างหลวง โรงช้างหลวง : ตั้งเรียงราย เป็นแถวชิดริมก�ำแพงเขตพระ ราชฐานชั้นนอกด้านในสุด โรง ช้างส่วนใหญ่ปรักหักพังเหลือ แต่ฐานปรากฏให้เห็นประมาณ 10 โรง ช้างซึ่งยืนโรง

ฐ า น ชั้ น น อ ก

พระราชวังเป็นช้างหลวงหรือ ช้างส�ำคัญ ส�ำหรับใช้เป็น พ า ห น ะ ข อ ง ส ม เ ด็ จ พ ร ะ นารายณ์มหาราชหรือขุนนาง ชั้นผู้ใหญ่


พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท : เป็นพระที่นั่งท้องพระ โรง ส�ำหรับเสด็จออกคณะราชทูตในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช มียอดแหลมทรงมณฑปศิลปกรรมแบบไทยผสมผสานกับ ฝรั่งเศส ตรงกลางท้องพระโรงมีสีหบัญชรที่เสด็จออกเพื่อมี ปฏิสันถารกับผู้เข้าเฝ้าฯ ท้องพระโรงบริเวณประตูและหน้าต่าง สร้างรูปโค้งแหลมแบบฝรั่งเศส ตัวมณฑปซึ่งอยู่ด้านหลังทั้งประตู

เขตพระร าชฐ


และหน้าต่างเป็นซุ้มแบบไทย คือ ซุ้มเรือนแก้วฐาน สิงห์ จุดเด่นอยู่ที่ตรงกลางท้อง พระโรง โดย มี สีหบัญชรเป็นสถานที่เสด็จ ออกเพื่ อ มา ปฏิสันถารกับผู้เข้าเฝ้าในท้องพระ โ ร ง ต อ น หน้า ด้านในท้องพระโรงประดับ ด้วยกระจกเงา ซึ่งน�ำเข้าจาก ประเทศ ฝ รั่ ง เ ศ ส เ พ ด า น เ ป ็ น ช ่ อ ง สี่ เ หลี่ ย ม ประดับลายดอกไม้ทองค�ำและ ผลึกแก้ว ผนั ง ด้ า นนอกเจาะเป็ น ช่ อ ง เ ล็ ก ส� ำ หรั บ ใส่ ต ะเกี ย งในตอน กลางคืน

ฐ า น ชั้ น ก ล า ง


พระที่นั่งจันทรพิศาล พระที่นั่งจันทรพิศาล : หอประชุมองคมนตรีในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช พระที่นั่งจันทรพิศาลใช้เป็นที่ประทับของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่สร้างทับลงไปบนรากฐานเดิมของ พระที่นั่งของพระราเมศวร โอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าอู่ทอง ได้

เขตพระร าชฐ


ฐ า น ชั้ น ก ล า ง

ทรงสร้ า งเมื่ อ ครั้ ง ครองเมื อ งลพบุ รี พระที่นั่งองค์นี้ถือเป็นสถาปัตยกรรมแบบ ไทยแท้ ภายหลังเมื่อได้สร้างพระที่นั่งสุทธ าสวรรย์ขึ้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงย้ า ยไปประทั บ ที่ พ ระที่ นั่ ง องค์ ใ หญ่ และโปรดให้ใช้พระที่นั่งจันทรพิศาลเป็นที่ ออกขุนนาง


หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฎ : สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของรัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งเสด็จบูรณะเมืองลพบุรี ประกอบด้วยพระที่นั่ง 4 องค์ คือ พระที่นั่งพิมานมงกุฎ เป็นที่ประทับ, พระที่นั่งวิสุทธิวินิจฉัย เป็นท้องพระโรงเสด็จออกว่าราชการแผ่นดิน, พระที่นั่งไชย ศาสตรากร เป็นที่เก็บอาวุธ และพระที่นั่งอักษรศาสตราคม เป็นที่

เขตพระร าชฐ


ทรงพระอักษร ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระราชทานให้ เป็นศาลากลางจังหวัด และเมื่อศาลากลางจังหวัดย้ายไปอยู่ที่เมือง ใหม่ พระที่นั่งหมู่นี้จึงรวมกับพระที่นั่งจันทรพิศาลเป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ในปัจจุบัน

ฐ า น ชั้ น ก ล า ง


พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ : เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของสมเด็จพระ นารายณ์มหาราช ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นใน บันทึกของชาว ฝรั่งเศสกล่าวไว้ว่า “พระที่นั่งองค์นี้ตั้งอยู่ในพระราชอุทยานที่ ร่มรื่น ทรงปลูกพรรณไม้ต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง หลังคาพระที่นั่ง

เขตพระร าช


ช ฐ า น ชั้ น ใ น

มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง ที่มุมทั้งสี่ มีสระน�้ำขนาดใหญ่ 4 สระ เป็นที่สรง สนานของพระเจ้าแผ่นดิน” สมเด็จพระ นารายณ์มหาราชทรงเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231


บุคคลสำ�คัญในอดีต สมัยอยุธยา

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นพระ ราชโอรสในสมเด็ จ พระเจ้ า ปราสาททอง พระมหากษั ต ริ ย ์ ผู ้ ค รองกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา ระหว่าง พ.ศ.2123 - 2198 ส่วนพระราช มารดานั้น เป็นพระราชธิดาในสมเด็จ พระเจ้าทรงธรรม ทรงพระราชสมภพวัน จันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ.2175 ท�ำพระราช พิธี เบญจเพศในเดือนยี่ พ.ศ. 2199 และเหตุ ที่มีพระนามว่า " นารายณ ์" นั้น มีอ้างไว้ใน พระราชพงศาวดารว่า เมื่อพระราชเทวี ประสูตินั้น พระญาติวงศ์เหลือบเห็นเป็นสี่ กร สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระราช บิดาจึงพระราชทานนามว่า " พระนารายณ์ ราชกุมาร " แต่ในหนังสือ " ค�ำให้การชาว กรุงเก่า " และ " ค�ำให้การของขุนหลวงหา วัด " ว่า เมื่อเพลิงไหม้พระที่นั่งมังคลาภิเษก สมเด็จพระนารายณ์ยังเป็นพระราชกุมาร อยู่ เสด็จขึ้นไปดับเพลิง บรรดาคนทั้งปวง เห็นเป็นสี่กร ครั้นขึ้นเสวยราชสมบัติ

ข้าราชการ ทั้งปวงจึงถวายพระนามว่า พระนารายณ์ สมเด็จพระนารายณ์มีพระ อนุชาร่วมพระชนกหลายองค์ แต่ต่างพระ ชนนีกัน คือ เจ้าฟ้าศรีสุวรรณ ซึ่งเรียกกัน ว่า พระราชกัลยา เมื่อทรงพระเยาว์สมเด็จ พระนารายณ์ได้รับการศึกษาจากพระโหรา ธิบดี และทรงใฝ่พระทัยศึกษาจาก พระ อาจารย์พรหม พระพิมลธรรม และจาก สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อขึ้นเสวยราชย์ พ.ศ.2199 พระนาม ว่า " สมเด็จพระรามาธิบดี ที่ 3 " เป็นพระ มหากษัตริย์ล�ำดับที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดี แรม 2 ค�่ำ เดือน 12 จุลศักราช 1018 ปีวอก ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2199 พระชนมายุ 25 พรรษา ประทับเสวยราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยา 10 ปี จึงโปรดให้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานี แห่งที่สอง ในปี พ.ศ. 2209 พระองค์เสด็จ ประทับที่ลพบุรีปีหนึ่ง ๆ เป็นเวลาถึง 8-9


เดือน พระองค์สวรรคตเมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 รวมด�ำรงราชสมบัติ นาน 32 ปี สิริรวมพระชนมายุ 56 พรรษา มี พระราชธิดาพระองค์เดียวคือ กรมหลวง โยธาเทพ

ผลงานและเกียรติคุณ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหา กษัตริย์ล�ำดับที่ 27 ของกรุงศรีอยุธยา ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2199 - พ.ศ. 2231 พระองค์เป็น พระมหากษัตริย์ที่ทรง พระปรีชาสามารถยิ่งจนได้รับการเทิดพระ เกียรติเป็น " มหาราช " และทรงน�ำความ เจริญรุ่งเรืองมาสู่กรุงศรีอยุธยา เป็นอย่าง มากทรงมีพระบรมเดชานุภาพที่ยิ่งใหญ่ ท�ำ สงครามกับอาณาจักรต่างๆ ใกล้เคียงได้ รั บ ชั ย ช น ะ ห ล า ย ค รั้ ง มี ก า ร เ จ ริ ญ สัมพันธไมตรี กับประเทศต่างๆ อย่างกว้าง ขวาง เช่น จีน ญี่ปุ่น ฮอลันดา อังกฤษ

อิหร่าน ที่ส�ำคัญที่สุดคือได้ส่งทูตไปเจริญ สัมพันธไมตรีกับราชส�ำนัก พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสถึง 4 ครั้ง จนได้รับการ เทิดทูนว่าทรงเป็นนักการค้าและนักการทูต ที่ ยิ่งใหญ่ นอกจากนั้นยังทรงพระปรีชา ใน ด้านวรรณกรรมเป็นอย่างยิ่ง โดยทรงพระ ราชนิพนธ์วรรณคดีไว้หลายเรื่อง เช่น โคลง ทศรถสอนพระราม พาลีสอนน้อง ราช สวัสดิ์ สมุทรโฆษค�ำฉันท์(ตอนกลาง) ค�ำ ฉันท์กล่อมช้าง(ของเก่า) และพระราชนิพนธ์ โคลงโต้ตอบกับศรีปราชญ์ และกวี มีชื่ออื่นๆ ทั้งยังทรงสนับสนุน งานกวีนิพนธ์ให้เฟื่องฟู เช่น สมุทรโฆษค�ำฉันท์ของพระมหาราชครู โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช ของหลวงศรีมโหสถ จินดามณี ของพระโหราธิ บ ดี ซึ่ ง นั บ เป็ น ตต� ำ ราเรี ย น

หนังสือไทยเล่มแรก และ อนิรุทธค�ำฉันท์ ของศรีปราชญ์ กวีเอกแห่งราชส�ำนัก เป็นต้น จนยุคนี้ได้ชื่อว่ายุคทองของ วรรณคดีไทย การที่พระองค์โปรดให้สร้างเมือง ลพบุรีเป็นราชธานีที่สอง และโปรดประทับ ที่เมืองลพบุรีปีละ 8 - 9 เดือนนั้นเป็นการ น�ำความเจริญ รุ่งเรืองมาสู่เมืองลพบุรี เพราะมี ก ารน� ำ เทคโนโลยี ส มั ย ใหม่ เ ข้ า สู ่ เมืองลพบุรี อาทิ ระบบประปา หอดูดาว สร้างก�ำแพงเมือง ประตูเมือง และป้อมปืน เมืองลพบุรี จึงคึกคักมีชีวิตชีวา ตลอด รัชกาลของพระองค์ มีการคล้องช้าง มี ชาวต่างชาติ คณะทูตเข้ามาเจริญ สัมพันธไมตรี มีบาทหลวงเข้ามาส่อง กล้องดูดาว ดูสุริยุปราคา จันทรุปราคา เมื่อพระองค์สวรรคต เมืองลพบุรีก็ถูกทิ้ง ร้างอยู่ระยะหนึ่ง แต่ยังมีอนุสรณ์สถาน ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ณ เมือง ลพบุรี เป็นมรดกตกทอด ให้ชาวเมือง ลพบุรี ได้ภาคภูมิใจ ซึ่งเป็นพระราชานุสาว รีย์ที่เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2502 สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็น นายกรัฐมนตรี แต่ด�ำเนินการเสร็จ เรียบร้อยในปี พ.ศ. 2509 สมัยพลเอก ถนอม กิตติขจร(ยศขณะนั้น) เป็นนายก รัฐมนตรี และท�ำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2509 ซึ่งเป็นวันคล้าย วันพระราชสมภพของพระองค์ พระบรม ราชา- นุสาวรีย์นี้เป็นพระรูปปั้นประทับ ยืนบนแท่นฐานสี่เหลี่ยม หล่อด้วยทอง สัมฤทธิ์ ทรงเครื่องฉลองพระองค์ เต็มยศ สวมพระพิชัยมงกุฎ


เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ ราชทูตฝรั่งเศสถวายพระราชสาส์นของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๘


บุคคลสำ�คัญในอดีต สมัยรัตนโกสินทร์

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห ่ วั

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น พระราชโอรสในพระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธ เลิศหล้านภาลัย และสมเด็จพระศรีสุริเยน ทรามาตย์ พระบรมราชชนี เสด็จพระราช สมภพเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๓๔๗ มี พระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ พระองค์ทรงศึกษาวิชาการด้านต่างๆ ที่ เป็นประโยชน์แก่การปกครองมากมายได้แก่ ต�ำราพิชัยสงคราม การฝึกอาวุธ วิชา คหกรรม โหราศาสตร์ และทรงโปรดวิชา ภาษาต่างประเทศ เป็นพิเศษ เนื่องจากเห็น ว่ามีความจ�ำเป็นในอนาคต สมเด็ จ เจ้ า ฟ้ า มงกุ ฎ ยั ง ทรงสนพระทั ย ใน ด้านพระพุทธศาสนาอยู่เสมอ โดยเมื่อพระ ชนมายุครบผนวชพระองค์ได้ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ.๒๓๖๗ ทรงได้รับพระฉายาว่า “วชิรญาณภิกขุ” ประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุ ๓ วัน แล้วจึง เสด็จไปจ�ำพรรษาที่วัดสมอราย (วัด

ราชาธิราช) หลังจากทรงผนวชได้เพียง ๒ สัปดาห์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย พระบรมชนกนาถก็เสด็จสวรรคต แต่ มิ ไ ด้ ต รั ส มอบพระราชสมบั ติ ใ ห้ กั บ ผู ้ ใ ด พระบรมวงศานุ ว งศ์ จึ ง ประชุ ม ลงมติ ใ นที่ ประชุมว่าควรอัญเชิญพระเจ้าลูกเธอกรม หมื่นเจษฎาบดินทร์ ขึ้นเถลิงถวัลย์ราช สมบัติสืบแทน สมเด็จฟ้ามงกุฎจึงมิได้ทรง ลาผนวช และทรงผนวชอยู่ตลอดรัชสมัย ของรัชกาลที่ ๓ ท�ำให้ทรงมีเวลามากมายใน การศึกษาหาความรู้ในวิชาการแขนงต่างๆ จนแตกฉาน ก่อนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จสวรรคต ได้ตรัสมอบคืนพระราช สมบั ติ ใ ห้ แ ก่ บ รรดาพระบรมวงศานุ ว งศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ บรรดาทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้องจึงประชุมกัน และมีมติอัญเชิญ สมเด็ จ เจ้ า ฟ้ า มงกุ ฎ ขึ้ น ครองราชย์ ส มบั ติ


๓. สมเด็จเจ้าฟ้าชายจาตุรนต์รัศมี กรมพระ จักรพรรดิพงศ์ประสูติเมื่อ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๓๙๙เป็นต้นราชสกุลจักรพันธุ์ สิ้นพระชนม์ เมื่อ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๓ ๔. สมเด็จเจ้าฟ้าชายภาณุรังสีสว่างวงศ์ ประสูติเมื่อ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๒ สิ้นพระชนม์เมื่อ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๑ ณ วังบูรพาภิรมย์

เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๔ แห่งราชวงศ์ จักรี ในวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๓๙๔ ทรง พระนามว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว และหลังจากที่พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว เสด็ จ ขึ้ น ครองสิ ริ ราชสมบั ติ แ ล้ ว พระองค์ ก็ ไ ด้ ท รงสถาปนา สมเด็ จ พระเจ้ า น้ อ งยาเธอเจ้ า ฟ้ า กรมขุ น อิศเรศรังสรรค์ ขึ้นเป็น พระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีฐานะเสมอ เท่ากับพระเจ้าแผ่นดิน สมัยนั้นจึงอาจกล่าว ได้ว่า มีพระมหากษัตริย์คู่แผ่นดินถึง ๒ พระองค์ พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว มี พระอัครมเหสีพระนามว่า สมเด็จพระเทพ ศิรินทราบรมราชินี โดยมีพระนามเดิมว่า ร�ำเพยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวมีพระราชโอรสและพระพระราชโอรสราช ธิดารวมทั้งสิ้น๔๒ พระองค์ โดยมี ๓ พระองค์ที่ประสูติจากพระอัครมเหสี ได้แก่ ๑. สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ต่อมาได้ รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ๒. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑลโสภณ ภควดี สิ้นพระชนม์ตั้งแต่พระชนมายุ ๘ พรรษา

พระราชกรณียกิจด้านการท�ำนุบ�ำรุง พระศาสนา ในขณะที่ทรงผนวชอยู่ ทรงจัดตั้งนิกายใหม่ เรียกว่า ธรรมยุติกนิกาย ในปี พ.ศ. ๒๓๗๒ เนื่ อ งด้ ว ยพระองค์ ท รงผนวชอยู ่ เ ป็ น เวลา นาน ท�ำให้ทรงแตกฉานเชี่ยวชาญในภาษา มคธ บาลี และสันสกฤต พระองค์จึง สามารถสอบสวนข้อความต่างๆ ในพระ คัมภีร์พระไตรปิฎกทุกฉบับได้โดยละเอียด ตลอดจนสามารถเรียนรู้และก�ำหนดจดจ�ำ ตามพระอรรถกถาด้วยพระองค์เอง จึงได้ ความว่า คลาดเคลื่อนจากพุทธบัญญัติเป็น อันมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระมหา สมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งเป็นศิษย์ใกล้ชิด ได้ร่วมกันจัดตั้งธรรมยุ ติกนิกายขึ้น ซึ่งได้ทรงอนุเคราะห์สั่งสอน กุลบุตรและผู้มีศรัทธาในข้อวินัยวัตรและสุต ตันตปิฎกต่างๆ อย่างถูกต้องตามพระ ธรรมวินัย จนกุลบุตรเหล่านั้นเกิดความ ศรัทธา ขอบรรพชาและอุปสมบทประพฤติ ตามธรรมยุติกนิกาย นับเป็นมหา มหัศจรรย์แห่งพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง


ลงมือก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๔๐๓ และ พระราชทานพระนามพระราชวั ง แห่ ง นี้ ว ่ า พระนครคีรี หรือที่เราคนไทยรู้จักกันดีใน นาม เขาวัง นั่นเอง พระราชกรณียกิจด้านการปกครอง พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดตั้งต�ำรวจนครบาล ขึ้นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้าน เมืองหรือ ชาวบ้านเรียกว่า หัวแดงแข้งด�ำ พร้อมกับทรงจัดตั้งศาลยุติธรรม และโปรด เกล้าฯ ให้แก้ไขกฎหมายให้ทันสมัยและเป็น สากลมากขึ้น โดยได้ทรงประกาศพระราช บัญญัติและกฎหมายต่างๆ มากมายถึง ๕๐๐ ฉบับ พระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์ สุริยุปราคา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรงมี ค วามเชี่ ย วชาญในวิ ช า พระ ราชกรณียกิจด้านการท�ำนุบ�ำรุง โหราศาสตร์ แ ละดาราศาสตร์ อ ย่ า งมาก ประเทศ ถนนเจริญกรุง ในอดีต ในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการขยาย ตัวทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมีการติดต่อ ค้าขายกับชาวต่างประเทศมากขึ้น ท�ำให้ บ้านเมืองในขณะนั้นดูคับแคบไป พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนขึ้นอีก หลายสาย เช่น ถนนเจริญกรุง ถนน บ�ำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร เพื่อการ ทรงสามารถค� ำ นวณวั น เวลาที่ จ ะเกิ ด สุริยุปราคาล่วงหน้าถึง ๒ ปีได้อย่างถูก ต้องและแม่นย�ำ พระองค์จึงทรงเป็นนัก ดาราศาสตร์ไทยคนแรกที่สามารถค�ำนวณ การเกิ ด สุ ริ ยุ ป ราคาปวงชนชาวไทยจึ ง ได้ ถวายพระราชสมัญญาให้พระองค์เป็น พระ บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย โดยก�ำหนดให้ วั น ที่ พ ร ะ อ ง ค ์ ท ร ง ค� ำ น ว ณ ก า ร เ กิ ด สุริยุปราคา (๑๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๑๑) เป็น วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ นอกจากนี้ในแผ่น คมนาคมภายในประเทศจะได้สะดวกยิ่งขึ้น ดินของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ นอกจากนี้พระองค์ยังได้โปรดเกล้าฯ ให้ หัวได้มีดาวหางปรากฏถึง ๓ ดวง ได้แก่ ดา สร้างพระราชวังขึ้นที่เขามหาสมณะ (ภาย วหางฟลูเกอร์กูส์ ดาวหางโดนาติ และดาว หลังเปลี่ยนชื่อเป็นเขามหาสวรรค์) โดยเริ่ม หางเทบบุท


บุคคลสำ�คัญในอดีต สมัยรัตนโกสินทร์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห ่ วั

พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ ป ร มิ น ท ร ม ห า จุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๔ ในพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๔ และ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระ ราชสมภพเมื่อวันอังคาร ที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ ตรงกับ เดือน ๑๐ แรม ๓ ค�่ำ ปี ฉลู ทรงพระนามเดิมว่าสมเด็จเจ้าฟ้าชาย จุฬาลงกรณ์ ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับผม หรือ พระเกี้ยว ส�ำหรับ ประดับหัวจุกของ เด็กไทยโบราณ พระองค์ ท รงมี ข นิ ษ ฐาร่ ว มพระสมเด็ จ พระบรมราชินี ๓ พระองค์ คือ ๑. สมเด็จพระเจ้าน้องนางยาเธอเจ้า ฟ้าจันทรมณฑลโสภณภควดี ต่อมาได้รับ โปรดเกล้าฯเฉลิมพระนามอัฐิ เป็น สมเด็จ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงวิสุทธิกษัตริย์ ๒. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้า

จาตุรนต์รัศมี ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้น เป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระ จักรพรรดิพงศ์ ๓. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้า ภาณุรังษีสว่างวงศ์ ต่อมาได้รับโปรด เกล้าฯสถาปนาขึ้น เป็น สมเด็จพระราช ปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ทรงเป็น พระราชโอรสองค์ที่ ๙ ใน จ�ำนวนพระราชโอรส ธิดา ทั้งสิ้น ๘๒ พระองค์ ในราชวงศ์จักรี ในขณะพระชันษา ๙ พรรษา ได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่น พิฆเณศ วรสุรกาศ ตรงกับ ปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔ ต่อมาอีก ๔ ปี ก็ได้รับสถาปนาเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ ต่อมาในปีเถาะ พ.ศ.๒๔๑๑ ได้ทรงก�ำกับราชการในกรม


มหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ กรม ทหารบกวังหน้าในช่วงซึ่งพระองค์ได้ ตาม เสด็จพระราชบิดา เพื่อทอดพระเนตร สุริยุปราคา ที่ต�ำบลหว้ากอ แขวงเมือง ประจวบคีรีขันธ์ ได้เกิดประชวรด้วยไข้ป่า อย่างแรงทั้งสองพระองค์ ในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จสู่สวรรคต ในขณะซึ่ง สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ มีพระชนมายุเพียง ๑๕ ปี กับ ๑๐ วัน ทั้งยังทรงประชวร ด้วย ไข้ป่าอย่างหนักเกือบจะสิ้นพระชันษาด้วย ต่อมาพระองค์ได้รับให้สถาปนาขึ้น เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕ แห่ง ราชวงศ์จักรี ด้วยที่วัยพระองค์ยังไม่บรรลุ นิติภาวะ ซึ่งตรงกับ วันอังคารที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๑ สมเด็จพระยาบรม มหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้ส�ำเร็จราชการ แทน พระองค์ ได้สถาปนากรมหมื่นบวรวิไชย ชาญ (พระราชโอรสองค์ใหญ่ของ สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) ขึ้นเป็น พระ มหาอุปราช ต่อมาก็ได้ปรากฏ พระนามว่า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ใน พระพุทธศาสนา เมื่อ วันพุธที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๖ และทรงลาผนวชใน วัน พฤหัสบดีที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๖ แล้วทรง เข้าพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ครั้งที่ สอง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ได้ทรงมีพระมเหสี และ เจ้าจอมรวม ๙๒ พระองค์ มีพระราชโอรส ๓๒ พระองค์ พระราชธิดา ๔๔ พระองค์ ประสูติจากพระ มเหสี และ เจ้าจอมมารดา เพียง ๓๖ พระองค์ อีก ๕๖ พระองค์ ไม่มีพระราชโอรส ธิดาเลย ส�ำหรับ พระมเหสี ที่ส�ำคัญ จะกล่าวถึง มี ดังนี้ ๑. สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารี รัตนพระบรมราชเทวี ๒. สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ต่อมาได้รับการโปรด

เกล้าฯสถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีสวรินท ราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ๓. สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรม ราชินีนาถ สมเด็จพระปิยมหาราช ทรงเป็นที่รัก เทิดทูนของปวงชนชาวไทย ตลอดที่พระองค์ ทรงครองราชย์ ถึง ๔๒ ปี นอกเหนือจากที่ พระองค์ ทรงครองราชย์ ถึง ๔๒ ปี นอก เหนือจากที่ยาวนานกว่า พระมหากษัตริย์ที่ ปรากฏในพระราชพงศาวดารทุกพระองค์ แล้ว พระองค์ยังทรงด้วยพระปรีชา สามารถ อย่างเฉลียวฉลาดพัฒนาฟันฝ่า อุปสรรคนานับประการ ทั้งต่อสู่กับการไล่ ล่ า เมื อ งขึ้ น ของบรรดาชาติ ม หาอ� ำ นาจใน ยุคนั้น มาได้แม้จะเป็นการสูญเสียดินแดน ไปบางส่วน แต่พระองค์ทรงไว้ซึ่งความสุขุม พาประเทศชาติ ข องพระองค์ ร อดพ้ น จาก การตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ น่าทึ่ง ส�ำหรับซีกโลกส่วนนี้ของโลก ที่ ประเทศ สยามแห่งนี้มิได้ตกเป็นทาสใครด้วยสายตา มองทางไกลของพระองค์ ได้ทรงพัฒนาน�ำ ความเจริญก้าวหน้าเร่งรัดในแขนงวิชาการ การศึกษาการปกครอง การศาล การต่าง ประเทศ การสาธารณูปโภค ทั้งยังทรงสน พระทัยถึง ความเป็น อยู่ของประชาชนทรง ออกเยี ย มประชาราษฎร์ อ ยู ่ เ ป็ น เนื อ งนิ จ พระองค์จึงเป็นที่จงรักภักดี ของปวงชน ชาวไทยทั้งแผ่นดิน การเสด็จยังต่างประเทศ เปรียบ เสมือนเปิดประตูสู่โลกกว้างในช่วงของต้น รัชกาล พระองค์ทรงเสด็จสิงคโปร์ ชวา พม่า อินเดีย และ หลายๆ ประ เทศในยุโรป ถึง ๒ ครั้ง ด้วยกัน คือในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ และ ในปี พ.ศ.๒๔๕๐ แนวทางความสัมพันธ์ด้วย การทูตของพระองค์ท่านท�ำให้เป็นที่ยอมรับ จากนานาประเทศทั่วยุโรป ข้อพิพาท และ ปัญหาต่างๆก็ได้คลายเบาบางลงความลึก ซึ้งพระปรีชาของพระองค์ ได้ท�ำให้ปัญหา ต่ า งๆทั้ ง เรื่ อ งของชายแดนไทย-อั ง กฤษ หรือกับฝรั่งเศส ก็ผ่อนคลายในที่สุด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเก้าเจ้า อยู่หัว ทรงประชวร พระวักกะ (ไต) พิการ กระทั่งเวลา ๒๔ นาฬิกา ๔๕ นาที ของคืน


วันเสาร์ที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ พระองค์ ก็ เสด็จสู่สวรรคต รวมพระชนมายุ ๕๗ พรรษา ทรงเสวยราชย์ ๔๒ ปี พระองค์ทรง เป็นพระมหากษัตริย์ ที่ยิ่งใหญ่ของแผ่นดิน สยาม พระราชกรณีกิจสุดคณานับ ยังทั้ง ประโยชน์ ความเจริญรุ่งเรือง น�ำชาติให้ เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ พระคุณสุดล้น ที่จะพรรณนาจากใจของประชาชนชาวไทย ได้หมด พระองค์จึงเป็นที่รักเคารพของคน ไทยเสมอมา

ทรงแต่งตั้งบุคคลเพื่อถวายความคิดเห็นแก่ พระองค์ ทรงโปรดให้แต่งตั้งสภาที่ปรึกษา ราชการแผ่นดิน(Council of State) ขึ้น เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๗ และปีเดียวกันทรงตั้ง สภาองคมนตรี(Privy Council) ขึ้นเป็น สภาที่ปรึกษาราชการส่วนพระองค์ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๓๕ มี พระบรมราชโองการให้ ย กฐานะกรมขึ้ น เป็ น กระทรวงมี เ สนาบดี เ ป็ น เจ้ า กระทรวง จั ด สรรอ� ำ นาจหน้ า ที่ แ ละความรั บ ผิ ด ชอบ ของแต่ละกระทรวงให้เป็นสัดส่วน ในปลาย รัชกาลได้ปรับปรุงกระทรงใหม่เหลือ ๑๐ กระทรวง การปกครองในส่วนภูมิภาค โปรด ให้จัดตั้งแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้นเป็นครั้ง แรกในปีพุทธศักราช ๒๔๓๗ คือ รวมหัว เมืองหลายเมืองเข้าเป็นมณฑล ซึ่งมีถึง ๑๔ มณฑล แต่ละมณฑลมีจังหวัดคือเมืองใน ปกครอง ๓-๔ จังหวัดหนึ่งแบ่งเป็น อ�ำเภอ ต�ำบล และหมู่บ้าน ผู้บริหารมณฑล เรียก ว่า “สมุหเทศาภิบาล” หรือข้าหลวงใหญ่ ส่วนผู้บริหารจังหวัดเรียกว่า “ข้าหลวง จังหวัด” ขึ้นตรงต่อข้าหลวงใหญ่ประจ�ำ มณฑล มีนายอ�ำเภอ ก�ำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ปกครองเขตท้ อ งที่ ใ นจั ง หวั ด ทุ ก มณฑลมี กองทัพมณฑลไว้ป้องกันเหตุร้าย โดยมี แม่ ทั พ มณฑลขึ้ น ตรงต่ อ เสนาบดี ก ลาโหม ซึ่ ง มี เ สนาบดี ก ระทรวงดู แ ลเป็ น สั ด ส่ ว นขึ้ น มาถึงพระมหากษัตริย์ องค์พระผู้เป็น ประมุ ข ของประเทศท� ำ ให้ ก ารปกครอง สามารถสร้างเอกภาพได้ นอกจากนี้ยัง โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสุขาภิบาลหัวเมืองให้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองรับพระราชทานเงิน เดือนประจ�ำ และมีการแต่งตั้งเจ้าเมืองโดย ยึดถือความรู้ ความสามารถแทนการ สืบสายโลหิต ทั้งเพื่อให้บริหารราชการแผ่น ดินเป็นอันหนึง ่ อันเดียวกันทัว ่ พระอาณาเขต

พระราชกรณียกิจด้านการปกครอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวทรงเป็นนักปกครองที่ทรงพระปรีชา สามารถยิ่งทรงประเพณีการปกครองของ ไทยอย่ า งเก่ า แต่ โ บราณมาผสมผสานกั บ ประเพณีการปกครองอย่างนิยมกันในทวีป ยุโรป แล้วทรงปรับเปลี่ยนรูปแบบการ ปกครองเป็นล�ำดับ ตามล�ำดับ ตาม สถานการณ์และความเหมาะสม ซึ่งเป็นพื้น ฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่พระองค์ทรงด�ำริและริเริ่มในแผ่นดิน ทั้ง ยั ง เป็ น การแสดงให้ เ ห็ น ถึ ง น�้ ำ พระทั ย ที่ มุ ่ ง หวั ง ให้ เ ท่ า เที ย มกั บ ประเทศที่ เ จริ ญ แล้ ว พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบ การเลิกทาส สมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่พระองค์ทรงมิ ประเทศไทยนั้นมีการใช้ทาสมาเป็น ได้ ป ฎิ บั ติ พ ระองค์ แ บบผู ก ขาดอ� ำ นาจแต่ เวลานานเพื่อใช้ท�ำกิจการต่างๆ ในบ้านเจ้า เพียงผู้เดียว ทรงให้อิสระทางความคิดและ นายชั้นผู้ใหญ่ที่สูงศักดิ์ พระองค์ทรงใช้


เวลาถึง ๓๐ ปีก็ทรง ก็ทรงเลิกทาสส�ำเร็จ ในพุทธศักราช ๒๔๔๘ สมตามพระราช ปณิธานที่ได้ทรงตั้งไว้ พระราชกรณียกิจ ส� ำ คั ญ นี้ ก ่ อ ใ ห ้ เ กิ ด ก า ร เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง สถานภาพของพลเมื อ งจากทาสมาเป็ น สามัญชน มีอิสรภาพทางสังคมเท่าเทียมกัน

ความวิ ริ ย ะอุ ต สาหะที่ จ ะท� ำ ให้ สิ่ ง เหล่ า นี้ หมดไป ด้วยทรงพระราชด�ำริกับเสนาบดี และข้าราชการเกี่ยวกับเรื่องทาส พระองค์ ทรงคิ ด หาวิ ธี จ ะปลดปล่ อ ยทาสให้ ไ ด้ รั บ ความเป็นไท ด้วยวิธีการละมุนละม่อม ท�ำ ตามล�ำดับขั้นตอน ในปี พุทธศักราช ๒๔๑๗ โปรดให้ ตราพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุของ ลูกทาสโดยก�ำหนดเอาไว้ว่าลูกทาสที่เกิดแต่ ปีมะโรง พุทธศักราช ๒๔๑๑ อันเป็นปีแรกที่ พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ ก็ให้ใช้อัตรา ค่ า ตั ว เสี ย ใหม่ ต ามที่ ร ะบุ ไ ว้ ใ นพระราช บัญญัตินี้ พออายุครบ ๘ ปี ก็ให้ตีค่าออก มาให้เต็มตัว จนกว่าจะครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ให้กลับเป็นไทแก่ตัว เมื่อก้าวพันเป็นอิสระ แล้วห้ามกลับมาเป็นทาสอีก ทรงพิจารณา ถึงสาเหตุที่ท�ำให้คนขายตัวเป็นทาส จึง ประกาศยกเลิกบ่อนเบี้ย และขยายระบบ การศึกษาให้เป็นที่แพร่หลายยิ่งขึ้น ตลอดรัชกาลได้ทรงพระราชกาลได้ ท ร ง ต ร า พ ร ะ ร า ช บั ญ ญั ติ ลั ก ษ ณ ะ ท า ส หลายฉบับ ออกบังคับใช้ในมณฑลต่างๆ ให้ ลูกทาสเป็นไท ประกาศประมวลกฎหมาย ลั ก ษณะอาญาก� ำ หนดบทลงโทษแก่ ผู ้ ซื้ อ ขายทาสให้มีความผิดเช่นเดียวกับโจรปล้น ทรัพย์ ทรงกระท�ำเป็นแบบอย่างแก่บรรดา เจ้านายและขุนนางในการบ�ำเพ็ญกุศลด้วย การบริ จ าคพระราชทั ร พย์ ไ ถ่ ถ อนทาส พร้อมพระราชทานที่ท�ำกินเป็นผลให้ระบบ ทาสที่ อ ยู ่ คู ่ กั บ สั ง คมไทยมาหลายร้ อ ยปี ก็ได้ถูกยกเลิกไปจนหมดสิ้น ด้วยพระราช หฤทัยแน่วแน่และทรงพระราชอุตสาหะ เป็น

การเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู ่ หั ว ทรงด� ำ เนิ น พระราโชบายโดยหลั ก สัมพันธไมตรีผ่อนหนักผ่อนเบา ถือเอาแต่ สาระประโยชน์เป็นส�ำคัญ จึงทรงสามารถ ระงับเหตุการณ์อันเกิดขึ้นในขณะนั้นได้ ส่วนความสัมพันธ์กับนานาประเทศ ได้ทรงมีพระราชไมตรีกับประเทศออสเตรีย และฮังการี รัสเซีย ญี่ปุ่น ฯลฯ ทรงรักษา ความสัมพันธ์กับประเทศทีมีไมตรีกันมาแต่ ก่อนแล้วให้ยืนยงมีราชการไปมาต่อกันมาก ขึ้น แต่งตั้งอัครราชทูตให้ประจ�ำ ณ ส�ำนัก ต่างๆ เป็นครั้งแรก เมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๔ แม้ จ ะมี ข ้ อ บาดหมางกั บ บางประเทศด้ ว ย สาเหตุต่างๆ ซึ่งต่างรักษาผลประโยชน์ของ ตน พระองค์ยังทรงมุ่งหวังผลแห่งการ ประนีประนอมยอมตกลงกันโดยไมตรีท�ำให้ พระเกียรติยศแผ่กว้างขวางออกไป เมื่อมี การประชุมนานาประเทศด้วยกิจการใดจึง ได้รับเชิญเนืองๆ เช่น การประชุมสากล ไปรษณีย์ ณ เมืองเบอร์น ประเทศสวิตเซอร์ แลนด์ และการประชุมเรื่องการรักษาความ สงบระหว่างประเทศ ณ กรุงเฮก ประเทศ เนเธอร์แลนด์


King Narai Reign Fair

งานแผ่นดิน

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ง า น แ ผ ่ น ดิ น ส ม เ ด็ จ พ


งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ แต่เดิม ชาวลพบุรีเรียกงานประเพณีนี้ว่า "งาน ในวัง" ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๑ โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ จั ด หารายได้ น� ำ ไป ก ่ อ ส ร ้ า ง อ นุ ส า ว รี ย ์ ส ม เ ด็ จ พ ร ะ นารายณ์มหาราช ในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งมีด�ำริให้สร้าง อนุสาวรีย์ในราวปี พ.ศ.๒๕๐๐ ต่อมา จึงได้มีการวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๕ และด�ำเนินการ ก่อสร้างจนเสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์โดย พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ภู มิ พ ล อดุลยเดช เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรง ประกอบพิธีเปิดในวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๙ งานแผ่นดินสมเด็จพระ นารายณ์มหาราช เกิดขึ้นจากแนวคิด ของชมรมอนุ รั ก ษ์ โ บราณวั ต ถุ ส ถาน และสิ่งแวดล้อม จังหวัดลพบุรี กับนาย เชาวน์วัศ สุดลาภา ผู้ว่าราชการ จังหวัดลพบุรีในขณะนั้น ที่จะพัฒนา เมืองลพบุรีให้เป็นเมืองท่องเที่ยว เพื่อ เทิ ด พระเกี ย รติ ส มเด็ จ พระนารายณ์

มหาราชที่ทรงสร้าง เมืองลพบุรีให้เจริญรุ่งเรือง การจัดงาน ครั้งแรก ตั้งชื่องานว่า "นารายณ์ร�ำลึก" ต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อ "งาน แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์" และจัดงานครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๗-๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งเดิมแล้วมีก�ำหนดจัดงานในวันที่ ๒๑-๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๑ แต่เกิดวิกฤตการณ์น�้ำท่วมใหญ่ในจังหวัด ลพบุรี จึงต้องเลื่อนมาเป็นวันที่ ๑๗-๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๒ แทน

ระนารายณ์มหาราช


จุดมุ่งหมายในการจัดงาน เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระ นารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ต่อแผ่นดินลพบุรีและประเทศชาติ อีกทั้ง ยังเป็นการส่งเสริมให้ ประชาชน สนใจในประเพณีและวัฒนธรรม อันเก่าแก่ของชาติไทย และยังส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกด้วย งานจะจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกๆ ปี เพราะถือว่าเดือน กุมภาพันธ์ เป็นเดือนทรง "พระราชสมภพของสมเด็จพระนารายณ์" รูปแบบการจัดงาน ได้เชิญชวนให้ประชาชนผู้ร่วมงาน แต่งกาย ย้อนยุค ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มีการจัดขบวนแห่รอบตัว เมืองลพบุรี ร�ำลึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ สมัยสมเด็จพระ นารายณ์ ซึ่งเรียกความสนใจและความประทับใจ ต่อผู้มาชมงาน เป็นอย่างมาก

ง า น แ ผ ่ น ดิ น ส ม เ ด็ จ พ


ภายในงานยังมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย ทั้งกลางวันกลางคืน เช่น มี การออกร้านขายของบริเวณเขตพระราชฐานชั้นนอก มีมหรสพ เฉลิม ฉลองในงาน การแสดงแสง เสียง เกี่ยวกับแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ งานราตรีวังนารายณ์ มีการประดับประทีป โคมไฟ ตามช่องส�ำหรับ วางประทีปรอบก�ำแพงด้านในพระราชวังได้สร้างความประทับใจให้กับ ผู้มาร่วมงานเป็นจ�ำนวนมาก

ระนารายณ์มหาราช


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.