Loas NPC1

Page 1

LAOS

ตลาดส�ำหรับผู้ประกอบการ

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Northern Provincial Cluster 1

เชียงใหม่

ล�ำปาง

ล�ำพูน

แม่ฮ่องสอน



LAOS

ตลาดส�ำหรับผู้ประกอบการ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 สาธารณรัฐประชาธิป ไตยประชาชนลาว

THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

1


ค�ำน�ำ

PREFACE ความส�ำเร็จของการแสวงหาลู่ทางการค้าการ/ลงทุนของผู้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 (เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ล�ำพูน ล�ำปาง) สู่การเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจกับผู้ประกอบการ สปป.ลาว ย่อมเกิดจาก ความรู้และความเข้าใจในบริบทที่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างครอบคลุมและชัดเจน และในช่วงปี พ.ศ. 2557 นับเป็นโอกาสอันดีที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 สนับสนุนการผนึกก�ำลังครั้งส�ำคัญแบบภาคี ได้แก่ (กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ร่วมกับ ส�ำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศภาคเหนือ(จังหวัดเชียใหม่) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 สภาอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ตอนบน 1 และสมาคมส่งเสริมผูป้ ระกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยจังหวัดเชียงใหม่) มีเป้าหมาย เพื่อเสริมสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจกลุ่มจังหวัดฯ ด้วยการเพิ่มโอกาสทางการค้าการลงทุนของผู้ประกอบการ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดฯสู่ประเทศกลุ่มอาเซียน และมีวัตถุประสงค์ร่วมกันคือ มุ่งส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจทั้งขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีโอกาสในการพัฒนาด้านการขยายการค้า/ การลงทุน ไปสู่ สปป.ลาว ซึง่ ได้รบั การคัดเลือกเป็นประเทศต้นแบบส�ำหรับการบุกเบิกตลาดกลุม่ เศรษฐกิจอาเซียน ด้วยเหตุผลที่ สปป.ลาว เป็นประเทศทีม่ ศี กั ยภาพด้าน Land Link อยูท่ า่ มกลางประเทศเศรษฐกิจดาวรุง่ ระหว่าง จีน ไทย เวียดนาม และประเทศทีเ่ ปิดตัวใหม่ เช่น กัมพูชา เฉพาะตลาดตามรอยตะเข็บชายแดนเหล่านีม้ ปี ระชากร ไม่ตำ�่ กว่าสองร้อยล้านคน และยังเป็นประเทศทีไ่ ด้รบั สิทธิพเิ ศษทางการค้าจาก 48 ประเทศ อีกทัง้ ยังเป็นประเทศ ทีม่ บี ริบทด้านสังคมวัฒนธรรมทีส่ อดคล้องกับกลุม่ จังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 อันเป็นการเพิม่ โอกาสความส�ำเร็จ ทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการรายใหม่ๆที่จะได้ทดลองขยายการค้า/การลงทุนสู่ต่างประเทศ คู่มือเล่มนี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลและประเด็นความรู้หลักส�ำคัญที่มีผู้ศึกษาและน�ำเสนอไว้ในแหล่งต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ส�ำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ที่มีความสนใจพัฒนาธุรกิจเพื่อขยายการค้า/การลงทุนไปสู่ สปป.ลาว ให้มีแนวทางเตรียมความพร้อมทางธุรกิจ เพื่อบุกเบิกตลาดอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


สาธารณรัฐประชาธิปไตย

ประชาชนลาว

ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1

หนังสือเล่มนี้รวบรวมเนื้อหาตามประเด็นที่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกลุ่มจังหวัด ภาคเหนือตอนบน 1 (เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ล�ำพูน ล�ำปาง) ให้ความาสนใจ ประกอบด้วย 3 ประเด็น ได้แก่ ศักยภาพทางการตลาด โอกาสการค้า/การลงทุน ใน สปป.ลาว และการพัฒนารูปแบบการบริหารธุรกิจเพื่อเข้า สู่ตลาด สปป.ลาว โดยมุ่งเน้น 4 หมวดธุรกิจที่มีแน้วโน้มความต้องการสูงในตลาด สปป.ลาว ได้แก่ ธุรกิจผลิต และจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์สขุ ภาพและความงาน ธุรกิจผลิตและจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร/เครือ่ งดืม่ ธุรกิจผลิตและ จ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป และธุรกิจผลิตและจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ คณะผู้จัดท�ำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลที่ได้รวบรวมไว้จะช่วยให้ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถเตรียมการ วางแผนและพัฒนาธุรกิจให้ขยายธุรกิจสู่ สปป.ลาว ได้อย่างมีทิศทางชัดเจน และขอขอบคุณ ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องและสนับสนุนการจัดท�ำหนังสือคู่มือ “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู้ประกอบการ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1”

THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

3


organizer คณะผู จ้ ดั ท�ำ

: ส�ำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศภาคเหนือ (จังหวัดเชียใหม่) ร่วมกับ

: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โดยการสนับสนุนจาก

: กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 (เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ล�ำปาง ล�ำพูน) : หอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 : สภาอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 : สมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยจังหวัดเชียงใหม่

พิมพ์ที่ จ�ำนวน เดือนที่พิมพ์

4

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1

Big4 Publishing 300 เล่ม พฤษภาคม พ.ศ. 2558


สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)

THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR 1

3

นครหลวงเวียงจันทน์

และเป็นเขตการปกครองพิเศษ เรียกว่า นครหลวงเวียงจันทน์ (เดิมเรียกว่า กําแพงนครเวียงจันทน์) อยู่ตรงข้ามกับจังหวัดหนองคาย

ภูมิอากาศ

สปป. ลาวมีสภาพภูมอิ ากาศแบบเขตร้อน มี 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (ธันวาคม – เมษายน) กับฤดูฝน (พฤษภาคม – พฤศจิกายน)

แขวง หลวงพระบาง

ศาสนา

ศาสนาพุทธ ร้อยละ 75

นครหลวง เวียงจันทน์

การปกครอง

แขวง สะหวันนะเขต

สังคมนิยม โดยมีพรรคการเมืองเดียวคือ พรรคประชาชนปฏิวตั ลิ าว มีอาํ นาจสูงสุด แขวง จําปาสัก

2

แขวงส�ำคัญ

“แขวงสะหวันนะเขต” เป็นแขวง (จังหวัด) ที่มี ประชากรมากที่สุดในประเทศ อยู่ตรงข้ามกับ จังหวัดมุกดาหาร “แขวงจํ า ปาสั ก ” เป็ น แขวง (จั ง หวั ด ) ที่ มี ประชากรมากเป็นอันดับสาม มีพื้นที่ติดต่อกับ จังหวัดอุบลราชธานี “แขวงหลวงพระบาง” เป็นแขวง (จังหวัด) ที่มี ประชากรมากเป็นอันดับสีอ่ ยูท่ างตอน เหนือของ สปป. ลาว ได้รบั การประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลก ใน ปี 2541 จากองค์การยูเนสโก (UNESCO) 3

ขนาดพื้นที่

236,800 km 2 หรื อ ประมาณครึ่ ง หนึ่ ง ของ ประเทศไทย สปป.ลาวมี พื้ น ที่ เ พาะปลู ก เพี ย ง 50,000 km2 หรือ 21.11 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ ทั้งหมด

วันชาติ 2 ธันวาคม (พ.ศ. 2518 หรือ ค.ศ. 1975) ภาษาราชการ ภาษาลาว ภาษาที่ใช้ ในการติดต่อธุรกิจ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส สกุลเงิน กีบ (Kip) เวลา เท่ากับประเทศไทย

THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

5


L CATION &KINGDOM ที่ตงั้ และอาณาเขต สปป. ลาว เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งตั้งอยู่บนใจกลางของ คาบสมุทรอินโดจีน ระหว่างละติจูดที่ 14 – 23 องศาเหนือ ลองติจูดที่ 100 – 108 องศา ตะวันออก ความยาวพื้นที่ สปป. ลาว ตั้งแต่เหนือจรดใต้ยาวประมาณ 1,700 กว่ากิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 500 กิโลเมตร และที่แคบที่สุด 140 กิโลเมตร เนื้อที่ทั้งหมด 236,800 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นภาคพื้นดิน 230,800 ตารางกิโลเมตร ภาคพื้นน�้ำ 6,000 km² เป็นประเทศทีไ่ ม่มที างออกสูท่ ะเล เนือ่ งด้วยตลอดแนวชายแดนของสปป.ลาวซึง่ มีความ ยาวรวม 5,083 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศเรียงตาม เข็มนาฬิกา ดังนี้ ทิศเหนือ

ทิศตะวันออก

ทิศตะวันตก ทิศใต้

6

ทิศเหนือ

ทิศตะวันออก

ทิศใต้

ทิศตะวันตก

ติดกับประเทศจีน

ติดกับประเทศเวียดนาม

ติดกับประเทศไทย

ติดกับประเทศไทย

(2,130 กิโลเมตร)

(1,754 กิโลเมตร)

(1,754 กิโลเมตร)

(541 กิโลเมตร)

(235 กิโลเมตร)

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1

และประเทศกัมพูชา

และประเทศพม่า


ชื่อไทย

ชื่อลาว

เมืองเอก

พื้นที่ (km²)

1. แขวงอัตปือ

ແຂວງອັດຕະປ ື

เมืองสามัคคีไชย

10,320

2. แขวงบ่อแก้ว

່ໍ ແກ ແຂວງບ ້ ວ

เมืองห้วยทราย

6,196

3. แขวงบริค�ำไชย

ແຂວງບ ໍ ິ ລໍຄາໄຊ

เมืองปากซัน

14,863

4. แขวงจ�ำปาศักดิ์

ແຂວງຈ ໍ າປາສັກ

เมืองปากเซ

15,415

5. แขวงหัวพัน

ແຂວງຫ ົ ວພັນ

เมืองซ�ำเหนือ

16,500

6. แขวงค�ำม่วน

ແຂວງຄ ໍ າມ ່ ວນ

เมืองท่าแขก

16,315

7. แขวงหลวงน�้ำทา

ແຂວງຫ ຼ ວງນ � ້ ຳທາ

เมืองหลวงน�้ำทา

9,325

8. แขวงหลวงพระบาง

ແຂວງຫ ຼ ວງພະບາງ

เมืองหลวงพระบาง

16,875

9. แขวงอุดมไชย

ແຂວງອ ຸ ດ ົ ມໄຊ

เมืองไชย

15,370

10. แขวงพงสาลี

ແຂວງຜ ີ ົ ້ ງສາລ

เมืองพงสาลี

16,270

11. แขวงสาระวัน

ແຂວງສາລະວັນ

เมืองสาระวัน

10,691

12. แขวงสุวรรณเขต

ແຂວງສະຫວັນນະເຂດ

เมืองไกสอนพมวิหาน

21,774

13.นครหลวงเวียงจันทน์

ນະຄອນຫ ຼ ວງວຽງຈັນ

เวียงจันทน์ (ประกอบด้วยเมือง จันทบุรี, เมืองศรีสัตตนาค, เมืองไชยเชษฐา เมืองศรีโคตรบอง เมืองหาดทรายฟองและตอนใต้ ของเมืองชัยธานี)

3,920

14. แขวงเวียงจันทน์

ແຂວງວຽງຈັນ

เมืองโพนโฮง

15,927*

15. แขวงไชยบุรี

ແຂວງໄຊຍະບ ູ ີລ

เมืองไชยบุรี

16,389

เมืองอนุวงศ์

8,500

เมืองละมาม

7,665

16. แขวงไชยสมบูรณ์ 17. แขวงเซกอง 18. แขวงเชียงขวาง

ແຂວງເຊກອງ ແຂວງຊຽງຂວາງ

เมืองโพนสวรรค์(แปก)

15,880*

หมายเหตุ: * ยังไม่ได้มีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยหลังจากมีการจัดตั้งจังหวัดไชยสมบูรณ์ขึ้นมา THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

7


STRUCTURE POPULATION โครงสร้างประชากร

สปป. ลาว มีประชากรประมาณ 6,850,000 คน (ณ วันที่ 1 มีนาคม 2013) โดย Laos (Lao People’s Democratic Republic) Economic Statistics and Indicators

บรู ไน

เวียดนาม

420

90,657

41,703 dollar

%

กัมพู ชา

1,528 dollar

69 8%

14,656

%

ไทย

5 26

7

64,599

934 dollar

อินโดนิเชีย

5,678 dollar

6%

12

5%

247,188

13

ลาว

6,459

7%

4 7,4

%

26

1,446 dollar

มาเลเชีย

สิงคโปร์

5,301

1,592 dollar

%

86

11%

3 %

71

29,787

10,304 dollar

รวม/เฉลี่ย

จ�ำนวนประชากร (พันคน)1 ความหนาแน่นของประชากรต่อตารางกิโลเมตร2 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (ดอลลาร์)3

51,162 dollar

ฟิ ลปิ ปิ นส์

98,113 2,614 dollar

เมียนมาร์

49,120 835 dollar

จ�ำนวนประชากร (พันคน)1

606,300 ความหนาแน่นของประชากรต่อตารางกิโลเมตร2

861.4* ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว (ดอลลาร์)3

11,980* * ค่าเฉลี่ย ที่มา: 1,2 World Population Prospect, the 2010 Revision, United Nations และผลการคาดประมาณจ�ำนวนประชากรไทย พ.ศ. 2553-2583, ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ, 2555 และ 3 http://en.wikipedia.org/ wiki/List_of_ASEAN_countries_by_GDP_(nominal) 8

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


STRUCTURE AGE โครงสร้างอายุ

ลาว 70-74

70-74

35-39

35-39 0-4

0-4

15.0

10.0

5.0

0.0

5.0

10.0

15.0

ที่มา: World population prospect, the 2010 revision United Nations และผลการคาดประมาณจ�ำนวนประชากรไทย พ.ศ. 2553 - 2583 ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ, 2555

อายุ 65 ปี ขึน้ ไป

อายุ 25-54 ปี อายุ 0-14 ปี

34.8%

21.3%

อายุ 15-24 ปี

35%

5.1%

3.7%

อายุ 55-64 ปี

THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

9


การคมนาคมทางบก

Transportation overland ถนนใน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีระยะทางยาวรวม 21,716 กม. แบ่งเป็นถนนลาดยาง 9,664 กม. และถนนที่ไม่ได้ลาดยาง 12,052 กม. เส้นทางคมนาคมทางบกที่ส�ำคัญ ได้แก่

China (To China)

AH3

Myanmar AH3

(To Viet Nam) Boten Nateuy

AH12 AH13

Viet Nam

Oudomxai Pakmong Louang Phrabang

AH12 Thailand

(To Viet Nam)

AH11

AH15

Vientiane

AH12

Thanaleng

AH11

(To Thailand)

AH15

(To Thailand)

Thailand

Keoneau

Ban Lao

Thakhek Densavanh

Savannakhet

AH16 (To Thailand)

Seno

(To Viet Nam)

AH16 AH11

Asian Highway Routes in Lao People’s Democratic Republic

Pakse

The boundaries and names shown and the designations used on this map do not imply official endorsement or acceptance by the United Nations.

AH11

Veunkham

(To Cambodia)

Cambodia

ที่มา : แผนที่การตลาดอาเซียนส�ำหรับเอสเอ็มอีไทย (ส�ำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม) 10

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


เส้นทางหมายเลข 1 เริม่ จากชายแดนจีน-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นถนนระดับมาตรฐาน สากลมีขนาดความกว้าง 8 เมตร และลาดยางตลอดสายผ่านแขวงพงสาลี หลวงน�ำ้ ทา อุดมไชหลวงพระบาง และ เชื่อมต่อเส้นทางหมายเลข 6 ที่แขวงหัวพัน เส้นทางหมายเลข 2 เป็นเส้นทางเชื่อมโยง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว-เวียดนามเป็น ทางหลวงแขวงต่อจากเส้นทางหมายเลข 3 ทีแ่ ขวงหลวงน�ำ้ ทา ผ่านแขวงพงสาลี จากนัน้ เชือ่ มกับเส้นทางหมายเลข 6 ของเวียดนาม ที่เมืองเดียนเบียนฟู ซึ่งเป็นเส้นทางที่มีความส�ำคัญทางเศรษฐกิจของเวียดนามมุ่งสู่ฮานอยได้ เส้นทางหมายเลข 3 (R3A) เป็นเส้นทางเชื่อมโยงประเทศไทยสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และจีน เป็นทางหลวงแขวง เชือ่ มต่อจากทิศใต้มณฑลยูนานของจีนผ่านหลวงน�ำ้ ทา และแขวงบ่อแก้ว จนถึงด่าน ห้วยทรายเขตติดต่อกับประเทศไทยด้าน อ.เชียงของ ปัจจุบนั มีการสร้างเส้นทางเชือ่ มประเทศไทย จีน และ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยเริม่ จาก เชียงราย-อ.เชียงของ ประเทศไทย ระยะทางประมาณ 113 กม.และข้ามแม่น�้ำโขงไปยังแขวงบ่อแก้วของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ไปยังเวียงภูคา หลวงน�้ำทาและเชื่อมต่อชายแดนจีนที่บ่อเต็น ระยะ ทางในลาว ประมาณ 250 กม. จากนั้นจะไปยังเมืองเชียงรุ้งและไปสิ้นสุดที่คุนหมิง 837 กม. รวมระยะทางจาก เชียงราย-คุนหมิง ประมาณ 1,200 กม. เส้นทางหมายเลข 4 เริม่ ตัง้ แต่เมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุลี ซึง่ อยูต่ รงข้ามกับ อ.ท่าลี่ จ.เลย โดยมีสะพาน มิตรภาพไทย-ลาว ข้ามแม่น�้ำเหืองเชื่อมทั้งสองฝั่ง ถนนหมายเลข 4 ตัดผ่านแขวงไชยะบุลี ไปบรรจบเส้นทาง หมายเลข 13 ที่เมืองเชียงเงิน แขวงหลวงพระบาง เส้นทางนี้ต้องข้ามแม่น�้ำโขง ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีสะพาน แต่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้รับเงินกู้จากธนาคารเพื่อการส่งออกและน�ำเข้าของเกาหลีใต้ จ�ำนวน 18.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯแล้ว เพื่อสร้างสะพานข้ามแม่น�้ำโขง เชื่อมแขวงหลวงพระบางกับแขวงไชยะบุลี(ปาก คอน-ท่าเดื่อ) ความยาว 620 เมตร กว้าง 10.5 เมตร และปรับปรุงถนนจากสะพานไปเมืองเชียงเงิน แขวงหลวง พระบาง ระยะทาง 58 กม. เป็นถนนลาดยาง เส้นทางนี้จะอ�ำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งระหว่าง จ.เลย กับแขวงไชยบุรี และแขวงหลวงพระบาง เส้นทางหมายเลข 6 เชือ่ มจากเส้นทางหมายเลข 7 ทีบ่ า้ นบานเมืองค�ำ แขวงเชียงขวางไปยังเมืองช�ำเหนือ แขวงหัวพัน และผ่านเมืองเวียงไชยเมืองสบเบา สู่ด่านชายแดนน�้ำเสย - นาแมว ลาว - เวียดนาม เส้นทางหมายเลข 7 เชือ่ มต่อเส้นทางหมายเลข 13 ทีแ่ ยกศาลาภูคนู เมืองภูคนู แขวงหลวงพระบาง ผ่าน แขวงเชียงขวาง ไปยังเมืองวินห์ แขวงเหงะอาน ประเทศเวียดนาม มีความยาวทั้งสิ้น 270 กม. ลาดยางเสร็จแล้ว เส้นทางหมายเลข 8 แยกจากเส้นทางหมายเลข 13 ทางตอนกลางของประเทศ เชื่อมต่อจากไทยเข้าสู่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่บ้านเวียง เมืองปากกะดิงแขวงบอลิค�ำไซ ผ่านหลักซาว ไปทางตะวัน ออกของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สู่เวียดนามและเชื่อมกับเส้นทางหมายเลข 1 ของเวียดนามที่ มุ่งสู่เมืองวินห์และฮาติน เส้นทางหมายเลข 9 เป็นเส้นทางหลักทีท่ ำ� ให้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีทางออกสูท่ ะเล อีกทางหนึ่ง และเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) ซึ่งเป็นเส้นทางที่เริ่มต้น จากเมืองเมาะละแหม่งของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์เข้าสู่ ประเทศไทยที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ผ่านพิษณุโลก ขอนแก่น ไปยังมุกดาหาร เป็นระยะทาง 777 กม. ข้ามสะพาน มิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 ไปยังเมืองไกสอน พมมะวิหาน(เมืองคันทะบุลี) แขวงสะหวันนะเขตไปจนถึงเมือง กวางจิ และดานั ง ในเวี ย ดนามมี ร ะยะทางรวมกั น 1,450 กม. เส้ น ทางหมายเลข 9 ในส่ ว นของ THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

11


สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เริม่ จากแขวงสะหวันนะเขตไปทางทิศตะวันออกจรดชายแดนเวียดนาม ที่บ้านแดนสะหวัน เมืองเซโปน ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมระยะทาง 240 กม. เป็นถนน ลาดยางโดยตลอดมี 2 ช่องจราจร สามารถใช้งานได้ตลอดทั้งปีส่วนใหญ่เป็นทางราบ ใช้เวลาประมาณ 3-3.5 ชั่วโมง เชื่อมต่อกับเมืองลาวบ๋าวจังหวัดกวางจิของประเทศเวียดนามต่อไปยังเมืองดองฮา และเชื่อมผ่านเมืองเว้ และต่อไปจนถึงท่าเรือดานังของเวียดนาม รวมระยะทางในเวียดนาม 265 กม. เป็นเส้นทางเศรษฐกิจส�ำคัญ ในปัจจุบันและอนาคตในด้านการท่องเที่ยว และการขนส่งสินค้าจากไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ลาว-เวียดนาม เส้นทางหมายเลข 10 จากเมืองปากเซ แขวงจ�ำปาสัก เชือ่ มต่อกับสะพานข้ามแม่นำ�้ โขงมายังด่านพรมแดน ไทย - ลาว ที่ด่านวังเต่า - ช่องเม็กอ�ำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เส้นทางหมายเลข 12 เป็นเส้นทางที่แยกจากเส้นทางหมายเลข 13 ที่เมืองท่าแขก แขวงค�ำม่วน ซึ่งตรง ข้ามกับ จ.นครพนม มีระยะทาง 146 กม. เส้นทางหมายเลข 13 เป็นเส้นทางคมนาคมที่ส�ำคัญที่สุดของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เชื่อมโยงภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีความยาวประมาณ 1,363 กม. เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของประเทศ เริม่ จากภาคเหนือทีบ่ า้ นนาเตย แขวงหลวงน�ำ้ ทา ผ่านแขวง อุดมไช แขวงหลวงพระบางแขวงเวียงจันทน์ นครเวียงจันทน์ แล้วเลียบขนานไปกับแม่น�้ำโขงทอดยาวลงมาภาค กลางผ่านแขวงบอลิค�ำไซ แขวงค�ำม่วน แขวงสะหวันนะเขต ลงมาถึงภาคใต้ผ่านแขวงสาละวันมาสิ้นสุดที่แขวง จ�ำปาสัก จนถึงชายแดนกัมพูชาและผ่านเข้าถึงท่าเรือโฮจิมินห์ของเวียดนาม เส้นทางหมายเลข 13 นี้ จะเชื่อม กับเส้นทางส�ำคัญๆ อืน่ ๆ ทีเ่ ชือ่ มภูมภิ าคตะวันออกกับตะวันตกของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้า ด้วยกัน ตามเส้นทางหมายเลข 7, 8 และ 9 ท�ำให้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีเส้นทางที่เชื่อมโยง กับประเทศกัมพูชาและเวียดนาม เส้นทางหมายเลข 18 แยกจากเส้นทางหมายเลข 13 ที่แขวงจ�ำปาสัก ตัดผ่านแขวงอัตตะปือไปออก ชายแดนเวียดนาม ที่ด่านพูเกือ

Transportation overland

12

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


สารบัญ CONTENT

01

03

ภาพรวม เศรษฐกิจ

page

14

โอกาสการค้าและการลงทุน

ส�ำหรับธุ รกิจต้นแบบ

page

22

02

สถานการณ์ การค้าการลงทุน

page

44

04

page

63

05

เปิ ดวิชันรุกตลาด หลักการขยายธุ รกิจสูต่ า่ งประเทศ

page

70

การเตรียมความพร้อม ส�ำหรับผู ป้ ระกอบการ ขนาดกลางและขนาดย่อม (กลุม่ จังหวัดภาคเหนือตอนบน 1)

page

86

06

เอกสารอ้างอิง

THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

13


ภาพรวม เศรษฐกิจ เศรษฐกิจของ สปป.ลาว มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา นับตัง้ แต่ปรับเปลีย่ นระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมสูร่ ะบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีเมือ่ ปี พ.ศ. 2529 เศรษฐกิจ สปป.ลาว ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6.2 ต่อปี นับเป็นประเทศที่มีอัตรา การขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงทีส่ ดุ ในกลุม่ ประเทศอาเซียน ทัง้ นีป้ ี 2556 เศรษฐกิจ สปป.ลาว มีอตั รา การเจริญเติบโต (GDP) สูงถึงร้อยละ 7.6 ซึ่งสูงมากกว่าจีนที่มีอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 7.5 ใน ปีเดียวกัน ทว่าเศรษฐกิจ สปป.ลาว ประสบกับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงถึงร้อยละ -21.9 ของ GDP เนือ่ งจากความต้องการน�ำเข้าสินค้าและบริการทีเ่ พิม่ ขึน้ และมีขอ้ จ�ำกัดด้านศักยภาพการ ผลิตเพื่อการส่งออก จึงเป็นโอกาสที่ดีส�ำหรับภาคธุรกิจจากพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ที่ จะขยายการค้าการลงทุนไปสู่ สปป.ลาว โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจที่ สปป.ลาวก�ำลังให้ความส�ำคัญ ได้แก่ ธุรกิจการท่องเที่ยวและการเกษตรเพื่อการส่งออก ซึ่งนับได้ว่าสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ การพัฒนาของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านธุรกิจการท่องเที่ยว และ การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร 2556

2556 2529

Laos

China

2556

6.2% 7.6% 7.5% -21.9%

2529 2556

LAOS 14

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


สปป.ลาว ใช้ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม ตั้ ง แต่ ป ี 2518 และเริ่ ม ปฎิ รู ป ระบบเศรษฐกิ จ เสรี เ มื่ อ ปี พ.ศ.2529 โดยการใช้ “นโยบายจินตนาการใหม่” (NEM : New Economic Mechanism) โดยการส่งเสริมความสัมพันธ์ทาง เศรษฐกิจกับต่างประเทศมากขึ้น

รัฐบาล สปป.ลาว เริ่มผ่อนปรนการควบคุมและกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของภาคธุรกิจมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2529 ส่งผลให้ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยต่อปี ระหว่าง พ.ศ.2529 ถึง 2551 เป็น 6 เปอร์เซ็นต์ต่อปี และนับตั้งแต่ พ.ศ.2551 ถึง 2555 อัตราการขยายตัว ต่อปีเพิ่มเป็น 7 เปอร์เซ็นต์ แต่อย่างไรก็ตาม สปป.ลาว ยังคงเป็นประเทศที่ได้รับการจัด อันดับว่ามีการพัฒนาด้านสาธารณูปโภค โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท อยู๋ในระดับต�่ำ โดย เฉพาะอย่างยิ่งด้านถนนหนทาง และสายโทรศัพท์ ส่วนการเข้าถึงของไฟฟ้ามีเพียง 75 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใน สปป.ลาว

6%

ธุรกิจต่อปี

75%

สาธารณูปโภค

75% ถนน

75% TV

75% ไฟฟ้า

มูล(ประมาณการ ค่าผลิตพ.ศ.2555) ภัณฑ์มวลรวม สปป.ลาว มู ลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวประชากร 2,800 เหรียญสหรัฐ (2012 est.)*

9.047 พันล้านเหรียญสหรัฐ (2012 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 7.9% (2012 est.)*

est.)*

*ตามมู ลค่าอัตราแลกเปลี่ยนทางการ THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

15


เศรษฐกิจปี 25561

สปป.ลาว (BOL, Annual Economic Report 2556) ขยายตัวร้อยละ 7.95 รองลงมาคือ ภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตรตามล�ำดับ ทรงตัวจากปีกอ่ นทีข่ ยายตัวร้อยละ 7.93 ตามการขยายตัวของ ภาคบริการซึง่ รวมถึงภาคการค้า นอกจากนี้ ยังได้รบั ผลจากการปรับขึน้ เงินเดือนและสวัสดิการให้แก่ขา้ ราชการ

การค้าต่างประเทศ2

รายได้จากการส่งออกของ สปป.ลาว ในปี พ.ศ. 2556 มีมูลค่า 2.26 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หดตัวร้อยละ 0.3 จากปีก่อน ตามการส่งออกสินแร่ที่ลดลง (โดยเฉพาะทองค�ำและทองแดง จากราคาที่ปรับลดลงตามราคา ตลาดโลก) รองลงมาคือ กระแสไฟฟ้า และเสื้อผ้าส�ำเร็จรูป ตามล�ำดับ ขณะที่การน�ำเข้ามีมูลค่า 3.02 พันล้าน ดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 1.2 จากการน�ำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่ลดลง ขณะที่สินค้าทุนยังคงเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ ก่อสร้าง

26%

34%

มูลค่าผลิตภัณฑ์ มวลรวมภาคเกษตร

มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม ภาคอุ ตสาหกรรม

40% มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคบริการ

40%

1, 2

16

34%

ทีมเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้าน สภอ. ( มิ.ย.57). ธนาคาแห่งประเทศไทย, www.bot.or.th/

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1

26%


โครงการขนาดใหญ่ (เช่น การก่อสร้างโรงไฟฟ้าหงสา ลิกไนต์ เขื่อนน�้ำอู และเขื่อนไชยะบุรี) ซึ่งเมื่อรวมกับดุล บริการแล้ว ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 376.03 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือขาดดุลร้อยละ 3.6 ของ GDP

THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

17


เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ3

ในปี พ.ศ. 2556 มีมูลค่าการลงทุนที่ได้รับอนุมัติทั้งสิ้น 4,792.41 ล้านดอลลาร์ สรอ. มียอดการโอนเงิน ลงทุนฯ ผ่านระบบธนาคาร 426.67 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจาก 294.44 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี พ.ศ. 2555 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.9 ส่วนใหญ่เข้ามาลงทุนในภาคอุตสาหกรรม อาทิ เหมืองแร่ ไฟฟ้า และการค้า เป็นต้น ประเทศที่โอนเงินลงทุนเข้ามามากที่สุดคือ จีน (ร้อยละ 35.1 ของการลงทุนทั้งหมด) รองลงมาคือ ออสเตรเลีย (ร้อยละ 30.2) และยุโรป (ร้อยละ 11.7)

ภาคการบริการ (สัดส่วนร้อยล่ะ 38.4) ขยายตัวร้อยละ 7.6 จากการ บริโภคของภาคเอกชนที่ยังคงแข็งแกร่ง ทั้งการค้าส่งและค้าปลีก รวมถึงการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดีโดยมีจ�ำนวนนักท่องเที่ยวจ�ำนวน 3.78 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยล่ะ 18.1 จากปี พ.ศ. 2555 ท�ำให้ ส่งผลดีต่อธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และการขนส่ง

ภาคอุ ตสาหกรรม (สัดส่วนร้อยล่ะ 28.6) ขยายตัวร้อยละ 8.9 ชะลอตัว จากปีกอ่ นแต่ยงั อยูใ่ นระดับดี ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมผลิตกระแส ไฟฟ้าและน�้ำประปา (ขยายตัวร้อยล่ะ 3.1) อุตสาหกรรมแปรรูป (ขยายตัว ร้อยละ 2.8) อุตสาหกรรมก่อสร้าง (ขยายตัวร้อยละ 2.4) ส่วนอุตสาหกรรม เหมืองแร่และการส�ำรวจ ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7 รายได้ในภาคอุตสาหกรรม ยังอยูใ่ นเกณฑ์ดจี ากรายได้ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและน�ำ้ ประปาแม้วา่ รายได้ จากแร่ธาตุจะได้รับกระทบจากราคาตลาดโลกที่ลดลง

ภาคการเกษตร (สัดส่วนร้อยล่ะ 25.6) ขยายตัวร้อยละ 2.9

3

18

ทีมเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้าน สภอ. ( มิ.ย.57). ธนาคาแห่งประเทศไทย, www.bot.or.th/

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ร้อยละ 6.4 เร่งตัวขึ้นจากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.3 เป็นผลจากราคาสินค้าใน หมวดอาหาร โดยเฉพาะราคาเนื้อสัตว์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 และราคาผักสดที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 ตามความ ต้องการบริโภคในประเทศที่เพิ่มขึ้นเป็นส�ำคัญ ค่าเงินกีบเฉลี่ยปี พ.ศ. 2556 อยู่ที่ 7,860.51 กีบต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2555 ซึ่งอยู่ที่ 8,007.18 กีบต่อดอลลาร์ สรอ. และแข็งค่าร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเงินบาท โดยค่าเงินกีบ เฉลี่ยปี พ.ศ. 2556 อยู่ที่ 257.21 กีบต่อบาท เทียบกับปี พ.ศ. 2555 อยู่ที่ 258.42 กีบต่อบาท รัฐบาลส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้สะดวกขึ้น ด้วยการสนับสนุนการจัดตั้งสถาบันการ เงินจุลภาค ซึ่งปัจจุบันได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และมีหลายรูปแบบ ณ สิ้นปี พ.ศ. 2556 มีสถาบันการเงินจุลภาคทัง้ หมด 111 แห่ง แยกเป็น สถาบันการเงินจุลภาคทีร่ บั เงินฝาก และไม่รบั เงินฝาก สหกรณ์ สินเชื่อและเงินฝากประหยัด โรงรับจ�ำน�ำ บริษัทเช่าซื้อ บริษัทตัวแทนโอนเงินด่วน สถาบันเงินฝากไปรษณีย์ลาว กองทุนพัฒนาเศรษฐกิจเขต และสหกรณ์ออมทรัพย์ ด้านการคลัง สปป.ลาว ได้น�ำระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเข้ามาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 และมีการลดขั้นตอนด้าน การลงทุน รวมถึงขยายเครดิต ให้แก่ เกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อเป้าหมายการขยายตัว ทางเศรษฐกิจของประเทศ สปป.ลาว ได้เปิดด�ำเนินการตลาดหลักทรัพย์ ขึน้ ใน กรุงเวียงจันทน์ พิธเี ปิดเมือ่ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553 และเปิดด�ำเนินการซื้อ-ขายอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นการร่วมลงทุนของรัฐบาล สปป.ลาว และตลาดหลักทรัพย์ประเทศเกาหลีใต้ในอัตราส่วน 51 : 49 มีสำ� นักงานตัง้ อยูใ่ นนครหลวงเวียงจันทน์ ปัจจุบันมีบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 3 บริษัท ได้แก่ 1) บริษทั ผลิตไฟฟ้าลาว มหาชน (EDL-GEN) เป็นบริษทั ทีแ่ ยกออกมาจากวิสาหกิจไฟฟ้าลาวเฉพาะ ส่วนที่ท�ำก�ำไรคือ เขื่อนและโรงผลิตไฟฟ้า มีทุนจดทะเบียน 2,600 พันล้านกีบ น�ำหุ้นออกขายครั้งแรกจ�ำนวน 217 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 4,000 กีบ ปัจจุบันมีจ�ำนวนหุ้นทั้งหมด 1,226.22 ล้านหุ้น มูลค่าหลักทรัพย์ตาม ราคาตลาด 7.23 ล้านล้านกีบ 2) ธนาคารการค้าต่างประเทศ สปป.ลาว (BCEL) เป็นธนาคารพาณิชย์รฐั ทีใ่ ห้สนิ เชือ่ สนับสนุนเกีย่ ว กับการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ มีทุนจดทะเบียน 682 พันล้านกีบ ใช้วิธีประมูลจากราคาตั้งต้นที่หุ้นละ 5,000 กีบ ปัจจุบันมีจ�ำนวนหุ้นทั้งหมด 136.58 ล้านหุ้น มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 1.16 ล้านล้านกีบ 3) บริษัท ลาวเวิน มหาชน (LWPC : Lao World Public Company) เป็นบริษัทจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ล่าสุด เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2556 เป็นผู้ก่อสร้างและด�ำเนินงานศูนย์การค้า จัดแสดงและ การประชุม “ลาว-ไอเต็ก” ที่บ้านโพนทันเหนือ เมืองไซเสดถา นครหลวงเวียงจันทน์ เริ่มต้นได้รับสัมปทานที่ดิน จากรัฐบาลลาวก�ำหนดเวลา 35 ปี นับแต่วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาออกเป็น 90 ปี (นับเริ่มตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปี 2636) มีทุนจดทะเบียน 71.2 พันล้านกีบ น�ำหุ้นออกขายครั้งแรกจ�ำนวน 3.96 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 2,000 กีบ โดยเปิดให้จองหุ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 17-19 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ราคา ออกจ�ำหน่ายหุ้นละ 10,200 กีบ บริษัทหลักทรัพย์ที่ท�ำหน้าที่ในการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน ตลอดจน การจัดจ�ำหน่าย และรับประกันการจ�ำหน่ายหุ้น มี 2 บริษัท ได้แก่ 1) บริษทั หลักทรัพย์ BCEL-KT (เป็นบริษทั ร่วมทุนระหว่างธนาคารการค้าต่างสปป.ลาว กับบริษทั หลัก ทรัพย์เคทีซิมิโก้ จากประเทศไทย) THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

19


2) บริษทั หลักทรัพย์ลา้ นช้าง มหาชน (เป็นบริษทั ร่วมทุนระหว่าง Sacom Bank จากประเทศเวียดนาม กับธนาคารพัฒนาลาว) ปี 2556 มูลค่าซื้อขายหุ้นรวมทั้งปีอยู่ที่ 188.89 พันล้านกีบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.0 จากปีก่อน โดยมีมูลค่า การซื้อขายหุ้นเฉลี่ยต่อวัน 755.56 ล้านกีบ เทียบกับปี พ.ศ. 2555 ที่มีมูลค่าเฉลี่ยต่อวัน 525.92 ล้านกีบ เพิ่ม ขึ้นร้อยละ 44.0 นักลงทุนส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนต่างประเทศร้อยละ 65.0 ในจ�ำนวนนี้เป็นคนไทยมากที่สุด และ เป็นนักลงทุนในประเทศร้อยละ 35.0 การเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงเวลา 20 ปี่ที่ผ่านมาส่งผลให้อัตราความยากจนใน สปป.ลาวลดลงจาก 46 เปอร์เซ็นต์ เป็น 26 เปอร์เซ็นต์ การขยายตัวที่ส�ำคัญที่ส่งผลให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การลงทุน จากต่างประเทศในด้าน การสร้างเขือ่ นและผลิตพลังงานไฟฟ้า การสัมปทานเหมืองทองและทองแดง การสัมปทาน ไม้ แต่อย่างไรก็ตามการก่อสร้างภายใต้โครงการดังกล่าว ส่งผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ของ สปป. ลาว อย่างมาก สปป.ลาว ได้ร่วมเป็นสมาชิก World Trade Organization (WTO) ในปี พ.ศ. 2555 และธนาคารโลก (World Bank) ได้ระบุว่า สปป.ลาว มีเป้าหมายในการหลุดพ้นจากการเป็นประเทศด้อยพัฒนาตามบัญชีรายชื่อ UN Development Program’s List of least – developed countries ภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ.2020)

เครื่องชี้ เศรษฐกิจส�ำคัญของ สปป.ลาว 2552-2556 * เครือ่ งชีเ้ ศรษฐกิจส�ำคัญของ สปป.ลาว

20

2552

2553

2554

2555

2556P

GDP (ร้อยละต่อปี)

7.50

8.13

8.04

7.93

7.95

อัตราเงินเฟ้อ (เฉลี่ยร้อยละต่อปี)

0.03

6.0

7.6

4.3

6.4

การส่งออก (ล้านดอลลาร์ สรอ.)

1,052.68

1,746.36 2,189.55

2,270.67 2,263.94

การส่งออก (ขยายตัวร้อยละ)

-3.59

65.90

3.70

การน�ำเข้า (ล้านดอลลาร์ สรอ.)

1,461.08

2,060.42 2,404.20

3,055.12 3,019.68

การน�ำเข้า (ขยายตัวร้อยละ)

4.13

41.02

16.68

27.07

-1.16

ดุลการค้า (ล้านดอลลาร์ สรอ.)

-408.41

-314.06

-214.65

-784.45

-755.74

ดุลบัญชีเดินสะพัด (ล้านดอลลาร์ สรอ.) -60.91

29.27

158.14

-377.62

-376.03

ดุลบัญชีเดินสะพัด (ร้อยละของ GDP) -1.09

0.43

1.96

-4.16

-3.56

อัตราแลกเปลี่ยน (ถัวเฉลี่ยธนาคาร ธุรกิจ) (กีบ: ดอลลาร์ สรอ.)

8,258.82 8,029.57

8,007.30 7,835.37

อัตราแลกเปลีย่ น (ถัวเฉลีย่ ระหว่างธนาคาร Na. ธุรกิจและตลาด) (กีบ: ดอลลาร์ สรอ.)

Na.

Na.

8,007.18 7,860.51

เงินส�ำรองระหว่างประเทศ (ล้านดอลลาร์ สรอ.) 632.37

735.84

678.76

739.65

8,515.93

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1

25.38

-0.30

661.90


เครือ่ งชีเ้ ศรษฐกิจส�ำคัญของ สปป.ลาว

2552

2553

2554

2555

2556P

หนี้ต่างประเทศ (ล้านดอลลาร์ สรอ.)

2,694.41

2,808.70 2,943.98

3,974.15 4,173.05

หนี้ต่างประเทศ (ร้อยละของ GDP)

48.24

41.04

36.52

43.34

39.52

เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (ล้านดอลลาร์ สรอ.)

318.62

278.80

466.84

294.44

426.67

ที่มา : Bank of the Lao PDR * ทีมเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้าน สภอ. ( มิ.ย.57). ธนาคาแห่งประเทศไทย, www.bot.or.th/

Lao Mountain Coffee / Le Trio

บริษัท ซ�ำบายดี จ�ำกัด

Lao Brewery Plant Champasack Province

Laos Tea: high quality red tea

เกลือ ผลิตจากบ้านดงนาคอย เมืองจ�ำพอน แขวงสะหวันนะเขต โดย ผูผ้ ลิตจากแขวงสะหวันนะเขต ประเทศลาว โดยการน�ำน�ำ้ เกลือขึน้ มา จากใต้ดินลึก 120 เมตรและท�ำให้แห้งโดยการผึ่งแดด เกลือที่ทรง คุณค่าและมีลักษณะโดดเด่นนี้อุดมไปด้วยแร่ธาตุจากธรรมชาติและ ปราศจากสารเคมี ท�ำให้อาหารของท่านมีรสชาติอร่อยอย่างแตกต่าง

เหล้ากล้วย ท�ำมาจากกล้วยที่เก็บสดๆ จากแขวงสาละวัน ใช้วธิ โี บราณในการผลิต บรรจุขวดทีเ่ มืองคงเซโดน แขวงสาละ วั น เหล้ า ขาวกล้ ว ยนี้ ไ ม่ เ พี ย งแต่ ดื่ ม ได้ ค ล่ อ งคอเท่ า นั้ น ยังสามารถรักษาคุณลักษณะของเหล้าลาวโบราณไว้ได้อกี ด้วย

+Product

LAOS

THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

21


สถานการณ์ การค้าการลงทุน ปี 2553 ไทยเป็นประเทศผูล้ งทุนสะสมอันดับหนึง่ ใน สปป.ลาว โดยมีทงั้ หมด 241 โครงการ มูลค่าประมาณ 2,476.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 23 โครงการ ขนาดใหญ่อยู่ในสาขาพลังงานและเหมืองแร่มากที่สุด สาขาที่ ส าธารณรั ฐ ประชาธิ ป ไตยประชาชนลาวได้ รั บ เงิ น ลงทุ น จากต่ า งชาติ ม ากที่ สุ ด คือ การผลิตพลังงานไฟฟ้า รองลงมา ได้แก่ สาขาเหมืองแร่ ภาคบริการ การเกษตร อุตสาหกรรมหัตถกรรม การค้า การก่อสร้าง โรงแรมและร้านอาหาร ประเทศที่มีมูลค่าการลงทุนสะสมใน สปป.ลาวล�ำดับรองลงมา ได้แก่ จีน เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย มาเลเซียสิงคโปร์ แคนาดา รัสเซีย

รูปแบบ

22

การลงทุนโดยตรงของต่างประเทศในสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


1 ธุ รกิจร่วมตามสัญญา

(Business Cooperation by Contract)

คือ การร่วมท�ำธุรกิจกันระหว่างนิติบุคคลลงทุนภายใน สปป.ลาวกับต่างประเทศ โดยไม่ได้ก่อ ตั้งนิติบุคคลใหม่ใน สปป.ลาว

2 วิสาหกิจร่วมทุนระหว่าง นักลงทุนต่างประเทศกับนักลงทุนภายใน (Joint Venture between Foreign and Domestic Investor)

ซึ่งอัตราส่วนของนักลงทุนต่างประเทศต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของทุนจดทะเบียนทั้งหมด) เป็นกรรมสิทธิร์ ว่ มกันระหว่างนักลงทุนต่างประเทศ กับนักลงทุนภายในของ สปป.ลาว การลงทุน เป็นเงินตราต่างประเทศต้องคิดเป็นเงินกีบ ตามอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารแห่ง สปป.ลาว

3 วิสาหกิจลงทุนต่างประเทศ 100% (100% Foreign-Owned Enterprise)

เป็นวิสาหกิจของต่างประเทศทีล่ งทุนฝ่ายเดียว โดยวิสาหกิจลงทุนของต่างประเทศมีอายุไม่เกิน 50 ปี และสามารถต่ออายุได้ไม่เกิน 75 ปี

THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

23


สภาแห่งชาติลาวได้เห็นชอบกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่เมื่อเดือนกรกฎาคม 2552 ภายใต้กฎหมายฉบับใหม่นี้ นักลงทุนลาวและนักลงทุนต่างประเทศจะได้รับสิทธิประโยชน์เดียวกัน สาระส�ำคัญ ของกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่ คือ การปรับปรุงการอ�ำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน ผ่านบริการประตูเดียว (One Stop Service) เพื่อลดขั้นตอน การก�ำหนดระยะเวลาพิจารณา อนุมติโครงการ ลงทุนให้ชัดเจน และการเสนอมาตรการส่งเสริมการลงทุน เช่น การยกเว้นภาษีโดยพิจารณาจากประเภทกิจการ และพื้นที่ที่ลงทุน และการอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติมีสิทธิซื้อสิทธิใช้ที่ดินเพื่ออยู ่อาศัย

นักลงทุนต่างชาติ

มีสท ิ ธิซื้อสิทธิใช้ที่ดินเพื่ออยูอ ่ าศัย 24

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


เกษตร

โครงการลงทุนด้านการเกษตรขนาดใหญ่ใน สปป.ลาว ได้แก่ การท�ำไร่กาแฟ การปลูกยางพาราการท�ำไร่ออ ้ ย การ เลี้ยงสัตว์ และการปลูกพืชเกษตรภายใต้ความร่วมมือแบบ เกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นการ ผลิตเพือ่ ส่งออก เนือ่ งจากตลาดภายในประเทศมีจำ� กัด ส่วนเกษตรกร รายย่อยอาจเพาะปลูกพืชการเกษตรเพือ่ จ�ำหน่ายให้ผบู้ ริโภคในท้องถิน่

อุตสาหกรรมการเกษตรที่ส�ำคัญ ได้แก่ โรงงานน�้ำตาล โรงงานผลิตอาหารสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงไก่และสุกร เป็นต้น พืน้ ทีเ่ พาะปลูกกาแฟทีส่ ำ� คัญของ สปป. ลาว คือ ทีร่ าบสูงบริเวณในแขวงจ�ำปาสัก ซึง่ สมาคมผูผ้ ลิตกาแฟ สปป.ลาว ก�ำลังรณรงค์การปกป้องพื้นที่ดังกล่าวจากโครงการท�ำเหมืองบ็อกไซต์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสิ่ง แวดล้อมและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ การปลูกยางพารา พบมากในแขวงทางภาคเหนือและภาคใต้ เช่น หลวงน�้ำทา สะหวันนะเขต อัดตะปือ โครงการส่วนมากได้รับพื้นที่สัมปทานขนาดใหญ่ ผู้ลงทุนรายใหญ่ คือ จีนและเวียดนามและมีเอกชนไทยบ้าง ส�ำหรับการปลูกอ้อยและท�ำโรงงานน�ำ้ ตาลพบมากทีแ่ ขวงสะหวันนะเขตและค�ำม่วน เอกชนไทยรายส�ำคัญทีล่ งทุน ใน สปป. ลาว ในสาขานี้ คือ บริษัทมิตรลาว ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบริษัทมิตรผล จ�ำกัด กลุ่ม KSL เป็นต้น ปัจจุบนั รัฐบาล สปป.ลาว ได้ชะลอการพิจารณาอนุมตั สิ มั ปทานพืน้ ทีข่ นาดใหญ่ และได้กำ� หนดให้เจ้าแขวง มีอ�ำนาจอนุมัติสัมปทานพื้นที่ไม่เกิน 100 เฮกตาร์ หากเกิน 100 เฮกตาร์ แต่ไม่เกิน 10,000 เฮกตาร์ ต้องขอ อนุมัติจากนายกรัฐมนตรี และหากเกิน 10,000 เฮกตาร์ ต้องขออนุมัติจากสภาแห่งชาติ

บริการ

ในปี พ.ศ. 2554 สปป. ลาว มี นั ก ท่ อ งเที่ ยวต่ า งชาติ ประมาณ 2.5 ล้านคน ในจ�ำนวนดังกล่าวเป็นนักท่องเที่ยวไทย ถึงกว่า 1.5 ล้านคน รายได้จากการท่องเทีย่ วเป็นแหล่งรายได้อนั ดับ 2 รองจากสาขาพลังงานและเหมืองแร่ สปป. ลาว ตั้งเป้าให้จ�ำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเพิ่มเป็น 4 ล้านคนภายในปี พ.ศ. 2563 และให้ สร้างรายได้ 600 - 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของ สปป. ลาว จะช่วยเพิ่ม โอกาสการลงทุนในอุตสาหกรรมบริการตามเมืองท่องเที่ยว เช่น นครหลวงเวียงจันทน์และ เมืองหลวงพระบาง รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในพื้นที่ชนบท สร้างความยั่งยืนให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ-เอกชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ โดยทั่วไปนักลงทุนไทย มักลงทุนในกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก ส่วนมากเป็นร้านอาหาร โรงแรมขนาดเล็กถึงขนาดกลางและสปา ส่วนกิจการอื่นๆ เช่น ร้านดอกไม้ ร้านท�ำผม มินิมาร์ท มีอยู่บ้างที่นครหลวงเวียงจันทน์

1 พลังงานและเหมืองแร่

2รายได้จากการท่องเที่ยว THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

25


ระเบียบ การน�ำเข้าและการส่งออกสินค้า

ระเบียบเกี่ยวกับการน�ำเข้าและการส่งออกสินค้าใน สปป. ลาว แผนกต่างๆ ของ หน่วยงานราชการจะเป็นผู้ก�ำหนดรายการสินค้าที่อยู่ภายใต้การควบคุมการน�ำ เข้าและการส่งออก โดยมีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเป็นใจกลางประสาน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้รายการสินค้าที่อยู่ภายใต้การควบคุม ณ วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555 มีดังต่อไปนี้

สินค้าต้องห้ามน�ำเข้า เป็นสินค้าประเภทที่ไม่สามารถน�ำเข้าหรือส่งออกได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นรายกรณีไป ประกอบไปด้วย ล�ำดับที่

26

รายการสินค้า

ระเบียบการ

1

สารเคมีที่มีอันตรายสูงที่ น�ำไปใช้ในอุตสาหกรรม

- ปัจจุบันระเบียบการคุ้มครองยังอยู่ในกระบวนการร่างพิจารณา - ด�ำรัสว่าด้วยการน�ำเข้าและการส่งออกสินค้า เลขที่ 114/ลบ. ลงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

2

ลูกกระสุนและอาวุธทุก ชนิด (ยกเว้นธาตุระเบิด เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม) และพาหนะใช้ในสงคราม

- มาตรา 76 และ 77 ของกฎหมายอาญา เลขที่ 12/ สพช.ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 - ข้อตกลงของนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยระเบียบการคุ้มครองและน�ำ ใช้ธาตุระเบิดอยู่ สปป.ลาว ฉบับเลขที่ 39/นย. ลงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2544

3

ฝิ่น เมล็ดฝิ่น แก่นฝิ่น ดอกฝิ่น ดอกฝิ่นแห้ง ฝิ่นส�ำเร็จรูปอื่นๆ ที่ท�ำ จากฝิ่น ใบโกโก้ กัญชาใน รูปแบบต่างๆ โคเคนและ อนุพันธ์ของโคเคน

- มาตรา 146 ของกฎหมายอาญา เลขที่ 12/สพช. ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 - กฎหมายว่าด้วยยาเสพติด - ด�ำรัสจัดตั้งปฏิบัติกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด เลขที่ 076/นย. ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

4

เครื่องมือหาปลาที่ท�ำให้ ปลาตายในทันที

- กฎหมายว่าด้วยการประมง

5

สื่อลามกอนาจาร - กฎหมาย เลขที่ 05/สพช. ลงวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ว่าด้วยสิ่งพิมพ์

6

กระดาษพิมพ์เงิน หมึกส�ำหรับ - มาตรา 4 ขอบเขตสิทธิของธนาคาร กฎหมายว่าด้วยธนาคาร แห่ง พิมพ์เงิน เครื่องจักรพิมพ์เงิน สปป.ลาว เลขที่ 05/สพช. ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2542 และเครือ่ งจักรถลุงเงินเหรียญ

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


สินค้าต้องห้ามส่งออก ล�ำดับที่

1

รายการสินค้า วัตถุโบราณที่เก่าแก่ รวมทั้ง พระพุทธรูป เทวรูป และสิง่ สักการะ บูชา วัตถุ มรดกแห่งชาติทมี่ ี คุณค่าสูง ทางด้านประวัตศิ าสตร์ โบราณคดี และวัฒนธรรม ซึ่ง มีอายุแต่ 50 ปีขึ้นไป

ระเบียบการ หน่วยงานที่รับผิดชอบ - มาตรา 15 ของกฎหมายว่า ด้วยภาษี กระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม - กฎหมายว่าด้วยมรดกแห่งชาติ และท่องเที่ยว (กรมมรดก) - มาตรา 2 รัฐบัญญัตขิ อง ประธาน ประเทศ ว่าด้วยการอนุรักษ์มรดก แห่ ง ชาติ ท างด้ า นวั ฒ นธรรม ประวัติศาสตร์และธรรมชาติ

ขี้ค้างคาว

- มาตรา 29 กฎหมายว่ า ด้ ว ย กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ กสิกรรม เลขที่ 01/98. สพช. ลง (กรมปลูกฝัง) วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - ค�ำสั่งของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ ว่าด้วย การคุม้ ครองและน�ำใช้ขคี้ า้ งคาวอยู่ ภายในประเทศ เลขที่ 0613/กป. 05 ลงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2548

2

สินค้าที่ต้องขออนุญาตน�ำเข้าหรือส่งออก

เป็นสินค้าที่ผู้ขออนุญาตต้องยื่นค�ำร้องเพื่อขออนุญาตน�ำเข้าหรือส่งออกก่อนด�ำเนินการดังกล่าว แบ่งออกเป็น สินค้าที่ต้องขออนุญาตน�ำเข้าแบบอัตโนมัติ เป็นสินค้าที่การออกใบอนุญาตน�ำเข้าสามารถกระท�ำได้ทันที หรืออย่างช้าไม่เกิน 10 วันท�ำการนับจากวันที่เอกสารครบถ้วน ล�ำดับที่

สินค้า

หน่วยงานที่ออกใบอนุญาต

1

พาหนะทางบกทุกประเภททีข่ บั เคลือ่ น กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ด้วยเครื่องจักร ยกเว้นรถสามล้อ (กรมการน�ำเข้าและส่งออก)

2

น�้ำมัน (น�้ำมันรถ) และไอก๊าซ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า

(กรมการน�ำเข้าและส่งออก)

3

ไม้ซุง ตอไม้ ปมไม้ และไม้แปรรูป

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (กรมการน�ำเข้าและส่งออก)

4

ข้าวกล้อง ปลายข้าว ข้าวที่สีครึ่งหนึ่ง แผนกอุตสาหกรรมและการค้า นครหลวงและแขวงต่างๆ แล้ว หรือสีทั้งหมด จะขัดหรือไม่ก็ตาม THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

27


ล�ำดับที่ 5

สินค้า

หน่วยงานที่ออกใบอนุญาต

เหล็กเส้นและเหล็กรูปพรรณต่างๆ

แผนกอุตสาหกรรมและการค้า นครหลวงและแขวงต่างๆ

ปูนซีเมนต์ มอทาร์ คอนกรีต

แผนกอุตสาหกรรมและการค้า นครหลวงและแขวงต่างๆ

7

ผลิตภัณฑ์สิ่งพิมพ์

8

กระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยว (กรมพิมพ์จ�ำหน่าย)

แร่และผลิตภัณฑ์แร่

กระทรวงพลังงานและบ่อแร่ (กรมบ่อแร่)

9

เครื่องจักรขุดไม้ เครื่องตัดไม้ เลื่อยโซ่ กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ (กรมป่าไม้) รวมทั้งส่วนประกอบ – อุปกรณ์

6

สินค้าทีต่ อ้ งขออนุญาตน�ำเข้าแบบไม่อตั โนมัติ เป็นสินค้าทีก่ ารออกใบอนุญาตน�ำเข้าใช้เวลาเกินกว่า 10 วันท�ำการ นับจากวันที่เอกสารครบถ้วน ทั้งนี้เพื่อเป็นการจ�ำกัดจ�ำนวนสินค้าที่จะน�ำเข้าสู่ สปป.ลาว ล�ำดับที่

สินค้า

หน่วยงานออกอนุญาต

1

ปืนและกระสุนปืนส�ำหรับใช้ในการฝึกซ้อม และแข่งกีฬา

กระทรวงป้องกันประเทศ (กรมใหญ่เสนาธิการ)

2

วัตถุธาตุระเบิดทีใ่ ช้ในอุตสาหกรรมธาตุระเบิด อุปกรณ์ระเบิด กระทรวงป้องกันประเทศ วัตถุระเบิด ดอกไม้ไฟ (กรมอุตสาหกรรมป้องกันชาติ)

3

ทองค�ำแท่ง (เฉพาะทองค�ำแท่งที่สากลยอมรับการน�ำใช้ใน ธนาคารแห่ง สปป. ลาว การช�ำระ) (กรมนโยบายเงินตรา)

สินค้าที่ต้องขออนุญาตส่งออกแบบอัตโนมัติ

เป็นสินค้าที่การออกใบอนุญาตส่งออกสามารถกระท�ำได้ทันทีหรืออย่างช้าไม่เกิน 10 วันท�ำการนับจากวันที่ เอกสารครบถ้วน

สินค้าที่ต้องขออนุญาตส่งออกแบบอัตโนมัติ ล�ำดับที่

หน่วยงานออกอนุญาต

1

ไม้ซุง ตอไม้ ปมไม้ ไม้แปรรูป และไม้กึ่ง กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (กรมการน�ำเข้า ส�ำเร็จรูปจากสวนไม้ปลูก และส่งออก)

2

ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง ปลายข้าว ข้าวที่สีครึ่ง แผนกอุตสาหกรรมและการค้า นครหลวง และ หนึ่งแล้ว หรือสีทั้งหมด จะขัดหรือไม่ก็ตาม แขวงต่างๆ

3 28

สินค้า

แร่ และผลิตภัณฑ์แร่

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1

กระทรวงพลังงานและบ่อแร่ (กรมบ่อแร่)


สินค้าที่ต้องขออนุญาตส่งออกแบบไม่อัตโนมัติ

เป็นสินค้าที่การออกใบอนุญาตส่งออกใช้เวลาเกินกว่า 10 วันท�ำการนับจากวันที่เอกสารครบถ้วน ทั้งนี้ เพื่อ เป็นการจ�ำกัดจ�ำนวนสินค้าที่จะส่งออกจาก สปป.ลาว ล�ำดับที่

สินค้า

หน่วยงานออกอนุญาต

1

ไม้ซุง ตอไม้ ปมไม้ ไม้แปรรูป และไม้กึ่ง กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (กรมการน�ำเข้า ส�ำเร็จรูปจากป่าธรรมชาติ และส่งออก)

2

ทองค�ำแท่ง (เฉพาะทองค�ำแท่งที่สากล ยอมรับการน�ำใช้ในการช�ำระ)

ธนาคารแห่ง สปป.ลาว (กรมนโยบายเงินตรา)

กฎหมาย

ว่าด้วยแรงงาน

ผู้ลงทุนต้องจ้างแรงงานซึ่งมีสัญชาติลาว ตามเงื่อนไขการจ�ำกัดสัดส่วนการใช้แรงงานชาวต่างประเทศของ ผูล้ งทุน (โดยต้องใช้แรงงานชาวต่างประเทศได้ไม่เกินร้อยละ 20 ส�ำหรับแรงงานมีฝีมือ และ ไม่เกินร้อยละ 10 ส�ำหรับแรงงานอื่น) ถ้ามีความจ�ำเป็นต้องใช้แรงงานชาวต่างประเทศเกินกว่าสัดส่วน ทีก่ ำ� หนด การใช้แรงงานทีเ่ กินกว่าสัดส่วนดังกล่าวต้องได้รบั ความเห็นชอบจากหน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบเรือ่ งแรงงาน ก่อนนายจ้างต้องตีพิมพ์ข้อบังคับการท�ำงาน (Work Regulations) ที่ต้องไม่ขัดกับกฎหมายว่าด้วยแรงงานให้ ลูกจ้างได้รับรู้ ตามที่กฎหมายว่าด้วยแรงงานก�ำหนด

ชั่วโมง การท�ำงาน

• ไม่เกิน 6 วันต่อสัปดาห์ หรือ • 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

การท�ำงาน ล่วงเวลา

• เกิน 3 ชั่วโมง ต่อวัน หรือ • 45 ชั่วโมงต่อเดือน

THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

29


นายจ้างต้องจ่ายค่าท�ำงานล่วงเวลาตามอัตราทีก่ ำ� หนดไว้ในกฎหมายและลูกจ้างมีสทิ ธิมวี นั หยุดประจ�ำปี 15 วัน เมื่อท�ำงานเป็นเวลาหนึ่งปีและวันลาป่วย 30 วันต่อปี การบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีก�ำหนดระยะเวลา นั้น อาจบอกเลิกได้ด้วยการส่งหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า 30 หรือ 45 วัน ทั้งนี้ แล้วแต่ประเภท ของงานทีล่ กู จ้างด�ำเนินการ (ต�ำแหน่งงานทีต่ อ้ งอาศัยทักษะมาก ต้องได้รบั หนังสือแจ้งล่วงหน้านานกว่า) ในการ บอกเลิกสัญญานั้น นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างโดยค�ำนวณในอัตราร้อยละ 10 หรือถ้าลูกจ้าง ท�ำงานมาเป็นเวลา 3 ปี ในอัตราร้อยละ 15 ของฐานเงินเดือนสุดท้ายก่อนการบอกเลิกสัญญา และอัตรา ค่าชดเชยดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็นอัตราร้อยละ 15 และร้อยละ 20 ตามล�ำดับ หากการบอกเลิกสัญญานั้น เป็นการบอกเลิกทีไ่ ม่เป็นธรรม นายจ้างทีจ่ า้ งลูกจ้างตัง้ แต่ 10 คนต้องเข้าร่วมในระบบประกันสังคมด้วยการช�ำระ เงินเป็นจ�ำนวนเท่ากับร้อยละ 5 ของเงินเดือนของลูกจ้าง ให้แก่กองทุนประกันสังคม และหักเงินเดือนของลูกจ้าง ในอัตราร้อยละ 4.5 และส่งเงินจ�ำนวนดังกล่าวเข้ากองทุน กฎหมายว่าด้วยแรงงานอยู่ระหว่างการแก้ไขเพิ่ม เติมโดยคาดการณ์ว่ากฎหมายใหม่ที่ได้รับการแก้ไขนั้นประกาศใช้ได้ในสิ้นปี พ.ศ.2555 ทั้งนี้ ค่าแรงขั้นต�่ำของ แรงงาน สปป.ลาวณ ปี พ.ศ. 2555 คือ เดือนละ 626,000 กีบ

กฎหมาย ว่าด้วยแรงงาน วันลาป่วย วันหยุดประจ�ำปี หักเงินเดือนอัตรา ร้อยละ 4.5

วันหยุดประจ�ำปี 15 วัน วันลาป่วย 30 วันต่อปี การบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน ที่ไม่มีก�ำหนดระยะเวลาส่งหนังสือ เป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า 30 หรือ 45 วัน

30 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1

เลิกสัญญาจ้าง

จ่ายค่าชดเชย

จ่ายค่าชดเชย ลูกจ้างท�ำงาน 3 ปี ในอัตราร้อยละ 15 ของฐานเงินเดือน หักเงินเดือนอัตราร้อยละ 4.5 เข้ากองทุน


สิทธิทางการค้าการลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ เขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone)

เขตเศรษฐกิจเฉพาะ (Specific Economic Zone)

นิยาม

เขตที่รัฐบาลก�ำหนดให้พัฒนาเป็นตัวเมืองใหม่ รอบด้าน เพื่อดึงดูดการลงทุน มีนโยบายส่ง เสริมพิเศษ และมีระบบเศรษฐกิจการเงินเป็น ของตนเอง มีคณะบริหารและสภาบริหารก�ำกับ ดูแลการด�ำเนินการภายใน ต้องเป็นพื้นที่ที่มี เนื้อที่ 1,000 เฮกตาร์หรือ 6,250 ไร่ขึ้นไป หาก มีประชาชนที่อาศัยอยู่ก่อนแล้วในพื้นที่ก็ไม่ จ�ำเป็นต้องย้ายออก

เขตที่รัฐบาลก�ำหนดให้เพื่อส่งเสริมในสาขา ใดสาขาหนึง่ โดยเฉพาะ เช่น เขตอุตสาหกรรม การผลิตเพื่อการส่งออก เขตท่องเที่ยว เขต การค้าปลอดภาษี เขตเศรษฐกิจชายแดน ฯลฯ มีสภาบริหารก�ำกับดูแลการด�ำเนินการ ภายใน โดยต้องเป็นเขตที่ไม่มีประชาชน อาศัยอยู่

รูปแบบ การลงทุน

มี 2 รูปแบบคือ (ก) รัฐบาลลงทุน 100% หรือ มี 3 รูปแบบคือ (ก) รัฐบาลลงทุน 100% (ข) เอกชนร่วมทุนกับรัฐบาล (ข) เอกชนร่วมทุนกับรัฐบาล และ (ค) เอกชน ลงทุน 100%

การจัดตั้ง

ต้องได้รบั ความเห็นชอบจากคณะกรรมการแห่ง ชาติเพื่อคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขต เศรษฐกิจเฉพาะ และลงนามสัญญาสัมปทาน กับรัฐบาล (ส�ำหรับเขตเศรษฐกิจเฉพาะที่อยู่ใน เขตเศรษฐกิ จ พิ เ ศษจั ด ตั้ ง โดยลงนามสั ญ ญา ระหว่างผูล้ งทุนกับคณะบริหารหรือสภาบริหาร เขตเศรษฐกิจพิเศษนั้นๆ)

การจัดการ

คณะบริหาร (ผู้แทนรัฐเป็นประธาน) และสภา สภาบริหารเศรษฐกิจ (ผูพ้ ฒ ั นาเป็นประธาน) บริหารเศรษฐกิจ (ผู้พัฒนาเป็นประธาน)

หัวข้อ

เขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะที่ได้รับอนุมัติจากรัฐบาล สปป.ลาว แล้ว รวม 10 เขต ดังนี้ 1 เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน แขวงสะหวันนะเขต * 2 เขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อเต็นแดนค�ำ แขวงหลวงน�้ำทา * 3 เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองค�ำ แขวงบ่อแก้ว * 4 เขตเศรษฐกิจเฉพาะลองแท็งเวียงจันทน์ นครหลวงเวียงจันทน์ 5 เขตเศรษฐกิจเฉพาะเวียงจันทน์-โนนทอง นครหลวงเวียงจันทน์ 6 เขตเศรษฐกิจเฉพาะภูเขียว แขวงค�ำม่วน 7 เขตเศรษฐกิจเฉพาะบึงธาตุหลวง นครหลวงเวียงจันทน์ 8 เขตเศรษฐกิจเฉพาะดงโพสี นครหลวงเวียงจันทน์ 9 เขตเศรษฐกิจเฉพาะท่าแขก แขวงค�ำม่วน 10 เขตพัฒนาไชยสถานหรือไชยเชษฐากวมรวม นครหลวงเวียงจันทน์ THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

31


เขตเศรษฐกิจพิเศษของ สปป.ลาว ที่ได้รับ การพัฒนาและพร้อมรับการลงทุน เขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อเต็นแดนค�ำ แขวงหลวงน�ำ้ ทา เขตเศรษฐกิจพิเศษ สามเหลี่ยมทองค�ำ แขวงบ่อแก้ว (เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองค�ำ แขวง บ่อแก้ว ความใกล้ชิดเชื่อมโยงกับกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 มากที่สุดใน ด้านพื้นที่) และเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน - เซโน แขวงสะหวันนะเขต ซึ่งที่ผ่านมาเป็นที่สนใจของนักลงทุน อาทิ Savan City Co., Ltd ลงทุน ด้านอสังหาริมทรัพย์ Nanon Logistics Laos Co., Ltd ลงทุน ด้านโลจิสติกส์ Double A logistic Co., Ltd ลงทุนด้าน โลจิสติกส์ เนื่องจากมีจุดเด่นในด้านท�ำเลที่ตั้งใกล้บริเวณชายแดน ไทย - สาธารณรั ฐ ประชาธิ ป ไตยประชาชนลาว บนเส้นทาง R9 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor- EWEC) และอยู่ในกรอบ ความตกลงว่ า ด้ ว ยการขนส่ ง ข้ า มพรมแดนอนุ ภู มิ ภ าคลุ ่ ม น�้ ำ โขง (GMS Cross-Border Transport Agreement: CBTA) และเป้าหมายของเขต เศรษฐกิจพิเศษสะหวัน – เซโน จะเป็นแหล่งอุตสาหกรรมอันทันสมัยของ ประเทศและช่วยสร้างอาชีพ รวมถึงยกระดับความรู้ความสามารถด้านฝีมือ แรงงานของประเทศ

สิทธิประโยชน์ท่ผ ี ู ้ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ

1

บริการ One-stop Service

2

การได้รับยกเว้นภาษีน�ำเข้า

3 32

จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจดทะเบียนการลงทุน และการจัดการด้านแรงงาน

อุปกรณ์ ยานพาหนะ และวัตถุดิบเพื่อการก่อสร้าง

การได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีต่างๆ

เช่น ภาษีก�ำไร (Profit Tax) และภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT) ตามประเภทของ การลงทุน รวมทั้งสิทธิการพ�ำนักใน สปป.ลาว กับครอบครัวในช่วงเวลาที่ระบุไว้ตามสัญญา

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


ขัน้ ตอนการลงทุน กิจการทั่วไป

ผู ้ลงทุนต้องยื่นค�ำร้องผ่านศูนย์บริการ One Stop Service ของ แผนกอุตสาหกรรมและการค้า เพื่อขอขึ้นทะเบียนวิสาหกิจ ผู้ลงทุนต่าง ประเทศที่ลงทุนในกิจการทั่วไปต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 1 พันล้านกีบ กิจการ ทัว่ ไปทีไ่ ม่ใช่กจิ การควบคุมจะได้รบั แจ้งผลการพิจารณาภายใน 10 วันท�ำการ ส�ำหรับกิจการควบคุมใช้เวลาพิจารณาไม่เกิน 13 วันท�ำการ เมื่อได้รับใบ ทะเบียนวิสาหกิจแล้วผู้ลงทุนสามารถด�ำเนินธุรกิจได้ทันที

กิจการ สัมปทาน

กิจการสัมปทาน เช่น สัมปทานที่ดิน เหมืองแร่ พลังงานไฟฟ้า สายการบิน โทรคมนาคม ประกันภัย สถาบันการเงิน ผู้ลงทุนต้องยื่นค�ำร้องผ่านศูนย์ บริการ One Stop Service ของแผนกแผนการและการลงทุน เพื่อพิจารณา และน�ำเสนอรัฐบาลหรือแขวง การคัดเลือกผู้ลงทุนอาจใช้การเปรียบเทียบ การประมูล หรือการประเมินผล เมื่อรัฐบาลหรือแขวงอนุมัติแล้ว กระทรวง แผนการและการลงทุนหรือแผนกแผนการและการลงทุนประจ�ำแขวง (แล้ว แต่กรณี) จะออกใบทะเบียนสัมปทานให้ผู้ลงทุน และผู้ลงทุนต้องด�ำเนินการ ภายใน 90 วัน

กิจการการพัฒนา เขตเศรษฐกิจเฉพาะ

กิจการการพัฒนาเขตเศรษฐกิจเฉพาะ เขตเศรษฐกิจเฉพาะคือพื้นที่ ที่รัฐบาลอนุมัติให้ผู้ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค เพือ่ รองรับการลงทุนและการประกอบธุรกิจในเขตดังกล่าว จึงมีระเบียบที่ ต่างจากพื้นที่ทั่วไป เขตเศรษฐกิจเฉพาะมีหลายแบบ เช่น เขตเศรษฐกิจ พิเศษ เขตอุตสาหกรรม เขตการผลิตเพื่อส่งออก เขตการค้าปลอดภาษี เป็นต้น ผู้ประสงค์จะตั้งเขตเศรษฐกิจเฉพาะต้องยื่นค�ำร้องผ่านแผนก อุตสาหกรรมและการค้า ซึ่งจะเสนอให้รัฐบาลพิจารณา

ทุกโครงการของวิสาหกิจการลงทุนต่างประเทศจะได้รับ การส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเติม ดังนี้ 1

ก�ำไรที่น�ำไปขยายกิจการที่ได้รับอนุญาต จะได้รับการยกเว้นภาษีก�ำไรในปีการบัญชีถัดไป (ภาษาลาวใช้ค�ำว่า อากรก�ำไร ทั้งนี้ อากรหมายถึงภาษีที่เก็บจากรายได้ หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอากร ซึง่ เทียบเท่ากรมสรรพากร ส่วนพาสี (ภาษี) ในภาษาลาวหมายถึงภาษีศลุ กากรซึง่ เรียก เก็บจากการน�ำเข้าและส่งออกสินค้า หน่วยงานที่รับผิดชอบคือกรมพาสี ซึ่งเทียบเท่ากรมศุลกากร) THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

33


2 3 4 5

ส่งผลก�ำไร ทุน และรายรับอื่นๆ (หลังจากที่ได้เสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมอื่นๆ ตามกฎหมาย แล้ว) กลับประเทศของตน หรือผ่านประเทศที่สามได้ โดยผ่านธนาคารของ สปป.ลาว ได้รบั ยกเว้นภาษีนำ� เข้า และอากรทีเ่ ก็บจากการน�ำเข้าอุปกรณ์ เครือ่ งอะไหล่ พาหนะการผลิตโดยตรง วัตถุดบิ ทีไ่ ม่มอี ยูภ่ ายในประเทศ หรือมีแต่ไม่เพียงพอ ผลิตภัณฑ์กงึ่ ส�ำเร็จรูปทีน่ ำ� เข้ามาเพือ่ แปรรูปหรือ ประกอบเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อส่งออก ได้รับยกเว้นภาษีขาออก ส�ำหรับผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก อนุญาตให้ชาวต่างชาติท่ลี งทุนใน สปป.ลาว มากกว่า 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ มีสิทธิถือครองที่ดินเพื่อ อยู่อาศัยตามระยะเวลาของโครงการลงทุน

รัฐบาลลาวส่งเสริมการลงทุนในสาขาเกษตรกรรม อุตสาหกรรม หัตถกรรม และบริการ โดยจะแบ่งสิทธิประโยชน์ เป็น 3 ระดับ ตามประเภทกิจการที่รัฐบาลให้ความส�ำคัญ เช่น กิจการที่ช่วยแก้ปัญหาความทุกข์ยากและช่วยยก ระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน กิจการโครงสร้างพื้นฐาน และกิจการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังนี้ ระดับที่ 1 กิจการที่ได้รบั การส่งเสริมสูงสุด ยกเว้นภาษีกำ� ไร 4 ถึง 10 ปี ตามการแบ่งเขตพืน้ ทีก่ ารลงทุน ระดับที่ 2 กิจการที่ได้รับการส่งเสริมปานกลาง ภาษีก�ำไร 2 ถึง 6 ปี ตามการแบ่งเขตพื้นที่การลงทุน ระดับที่ 3 กิจการที่ได้รับการส่งเสริมต�่ำ ภาษีก�ำไร 1 ถึง 4 ปี ตามการแบ่งเขตพื้นที่การลงทุน

มาตรการส่งเสริมการลงทุนทั่วไป ระดับที่ 1 กิจการที่ได้รับ การส่งเสริมสูงสุด

ระดับที่ 2 กิจการที่ได้รับ การส่งเสริม ปานกลาง

ระดับที่ 3 กิจการที่ได้รับ การส่งเสริมต�่ำ

รัฐบาล สปป.ลาว ส่งเสริมการลงทุนในสาขาเกษตรกรรม อุตสาหกรรม หัตถกรรม และบริการ โดย จะแบ่งสิทธิประโยชน์เป็น 3 ระดับ ตามประเภทกิจการที่รัฐบาลให้ความส�ำคัญ เช่น กิจการที่ช่วยแก้ปัญหา ความทุกข์ยากและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ ดังนี้ 34

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


นอกจากปั จจัยในส่วนของรู ปแบบของธุรกิจแล้ว ล�ำดับการส่งเสริมยังขึ้นอยู ่กับเขตที่ตัง้ ของกิจการด้วย โดยแบ่งออกเป็ น

เขตที่

เขตที่

1

พื้นที่ห่างไกลและยังมี สาธารณูปโภคไม่เพียงพอ

เขตที่

2

พื้นที่ที่มี สาธารณูปโภคบางส่วน

3

เขตเมืองที่มีความพร้อม ในส่วนของสาธารณูปโภค

รัฐบาล สปป.ลาว จะให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี ตามระดับของการส่งเสริมการลงทุนและเขตการส่ง เสริมการลงทุน ดังนี้ รู ปแบบของการส่งเสริมการลงทุน มีหลายรูปแบบ เช่น การยกเว้นภาษีก�ำไร (Profit Tax) ซึ่งใช้ บังคับภายหลังจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมได้เริ่มด�ำเนินธุรกิจเป็นต้นไป ส�ำหรับกิจการการผลิตสินค้าใหม่ กิจการค้นคว้า และสร้างเทคโนโลยีใหม่นั้น ให้นับตั้งแต่วันที่มีก�ำไรเป็นต้นไป เขตที่ 1 พืน้ ทีห่ า่ งไกล ทุ ร กั น ดารโครงสร้ า ง พื้นฐานไม่สะดวก

นโยบาย / เขตที่ตัง้

เขตที่ 1

เขตที่ 2

เขตที่ 2 พื้นที่ที่มี สาธารณูปโภคพืน้ ฐาน ทาเศรษฐกิจบางส่วน

เขตที่ 3 เขตเมือง ใหญ่ มีสาธารณูปโภค พื้นฐานสมบูรณ์

เขตที่ 3

นโยบายส่งเสริมทั่วไป กิจการที่ได้รับการส่งเสริมระดับที่ 1 ยกเว้นภาษีก�ำไร 10 ปี ยกเว้นภาษีก�ำไร 6 ปี ยกเว้นภาษีก�ำไร 4 ปี กิจการที่ได้รับการส่งเสริมระดับที่ 2 ยกเว้นภาษีก�ำไร 6 ปี ยกเว้นภาษีก�ำไร 4 ปี ยกเว้นภาษีก�ำไร 2 ปี กิจการที่ได้รับการส่งเสริมระดับที่ 3 ยกเว้นภาษีก�ำไร 4 ปี ยกเว้นภาษีก�ำไร 2 ปี ยกเว้นภาษีก�ำไร 1 ปี

THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

35


นโยบายส่งเสริมเฉพาะ การสร้างโรงพยาบาล โรงเรียนอนุบาล โรงเรียนหลักสูตรสามัญ โรงเรียนวิชาชีพ วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศูนย์ค้นคว้าวิจัย กิจการสาธารณูปโภคบางโครงการ

ยกเว้นค่าเช่า หรือค่า สัมปทาน 15 ปี และ ยกเว้นภาษีก�ำไรเพิ่ม อีก 5 ปี

ยกเว้นค่าเช่า หรือค่า สัมปทาน 10 ปี และ ยกเว้ น ภาษี ก� ำ ไรเพิ่ ม อีก 5 ปี

ยกเว้นค่าเช่า หรือ ค่ า สั ม ปทาน 3 ปี และยกเว้ น ภาษี ก�ำไรเพิ่มอีก 5 ปี

วิสาหกิจทุกประเภทมีสิทธิ์ได้รับการส่งเสริมการลงทุนนอกเหนือจากมาตรการส่งเสริมการลงทุน ทั่วไป ดังนี้ ได้รับการยกเว้นภาษีก�ำไรในปีการบัญชีถัดไป ในกรณีน�ำเอาเงินก�ำไรสุทธิที่ได้รับจาก การด�ำเนินธุรกิจของตนไปลงทุนเพื่อขยายกิจการ ได้รบั การยกเว้นภาษีนำ� เข้า วัตถุดบิ อุปกรณ์ และพาหนะทีใ่ ช้เพือ่ การผลิตโดยตรง เว้น แต่การน�ำเข้าน�้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภท ได้รับการยกเว้นภาษีส่งออก ส�ำหรับผลิตภัณฑ์ทั่วไปเพื่อการส่งออก เว้นแต่การส่ง ออกทรัพยากรธรรมชาติ และการส่งออกทรัพยากรธรรมชาติให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง ยกเงินขาดทุนประจ�ำปีไปหักออกในปีถัดไปได้ หากมรการขาดทุนประจ�ำปี (ตามที่ได้ รับการตรวจสอบรับรองจากเจ้าหน้าที่ภาษีอากรภายในก�ำหนดเวลา 3 ปี) อนุญาตให้ชาวต่างประเทศที่ลงทุนใน สปป.ลาว มากกว่า 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ มีสทิ ธิถอื ครองทีด่ นิ เพือ่ อยูอ่ าศัยตามระยะเวลาของโครงการลงทุน (ตามมาตรการใน กฎหมายส่งเสริมการลงทุนที่สภาแห่งชาติลาวเห็นชอบเมื่อปี 2552) แต่สิทธิในการ ซือ้ สิทธิเหนือทีด่ นิ ดังกล่าวนัน้ มีขอ้ จ�ำกัด กล่าวคือ เป็นสิทธิเหนือทีด่ นิ เฉพาะส่วนของ ทีด่ นิ ทีร่ ฐั บาลเป็นผูก้ ำ� หนดขึน้ โดยเนือ้ ทีท่ ผี่ ลู้ งทุนต่างประเทศสามารถซือ้ สิทธิเหนือ ทีด่ นิ ได้นนั้ มีพนื้ ทีจ่ ำ� กัดเพียง 800 ตารางเมตร และสามารถใช้ประโยชน์ทดี่ นิ ดังกล่าว ได้เพียงเพือ่ เป็นทีอ่ ยูอ่ าศัย หรือใช้สถานทีด่ ำ� เนินธุรกิจเท่านัน้ นอกจากนี้ ผูล้ งทุนต่าง ประเทศจะสามารถถือสิทธิเหนือทีด่ นิ ดังกล่าวได้เพียงตลอดระยะเวลาการลงทุนของ ตนเองเท่านั้น 36

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตัง้ กิจการ Enterprise Law Enterprise Law ฉบับล่าสุดที่มีผลบังคับใช้ในปี 2550 ก�ำหนดกระบวนการจดทะเบียนธุรกิจที่ไม่ ได้อยู่ในรายการควบคุมให้มีระยะเวลาสั้นลงเหลือเพียง 10 - 13 วัน การจดทะเบียนธุรกิจต้องมีผ่านกระบวนการดังต่อไปนี้ อนุมตั จิ ากกระทรวงสารสนเทศและวัฒนธรรม (Ministry of Information and Culture) 1 ส�oำได้หรัรบบั การลงลายมื อชื่อของบริษัทซึ่งประกอบด้วยชื่อของบริษัท

2

o จดทะเบียนภาษีต่อกรมการคลัง (Financial Department)

3

o ยื่นตราประทับบริษัทต่อกรมต�ำรวจ กระทรวงความมั่นคงสาธารณะ (Ministry of Public Security)

4

o จดทะเบียนประกันสวัสดิการสังคมให้แก่ลูกจ้างต่อกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

5

o จดทะเบียนบัญชีตอ่ หน่วยงานภาษีอากรทีม่ อี ำ� นาจจดทะเบียนสินทรัพย์ทงั้ ทีเ่ ป็นสังหาริมทรัพย์และ อสังหาริมทรัพย์ต่อกรมเคหะและที่ดิน (Department of Housing and Lands) และกระทรวงการคลัง (Ministry of Finance)

(Ministry of Labour and Social Welfare)

ประเภทของการจัดตัง้ ธุรกิจใน สปป.ลาว ส�ำนักงานผู้แทน

(Representative Office)

ผู้ค้าเดี่ยว (Sole Trader)

ส�ำนักงานสาขา

(Branch Office)

หุ้นส่วน

(Partnership)

บริษัทจ�ำกัด (Limited Liability Company) เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ถือหุ้น สามารถถือครอง 5 พันล้านกีบ จะต้องจัดให้มี ผู้ตรวจสอบบัญชีและคณะกรรมการบริษัท

ทรัพย์สินและด�ำเนินธุรกิจด้วยตนเอง แต่มีผู้ถือหุ้นได้ไม่เกิน 20 ราย หากมีทุนจดทะเบียนเกินกว่า บริษัทมหาชน

(Public Company)

รัฐวิสาหกิจ

(Private-State Mixed Enterprise) นักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนใน สปป.ลาว จ�ำเป็นต้องมีใบอนุญาตลงทุน (Investment License) และใบอนุญาตอื่นๆ หากจ�ำเป็นต่อธุรกิจ อาทิ ใบอนุญาตอาคาร (Building Permit) ใบอนุญาตโรงงาน (Factory Operation License) THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

37


ระบบภาษีอากร ภาษี

(Taxes)

ภาษีศลุ กากร

(Customer Duties)

ภาษีท่ดิ ี น (Land Tax)

ภาษีทางตรง 1. ภาษีก�ำไร 2. ภาษีเงินได้ 3. ภาษีมอบเหมา 4. ภาษีสิ่งแวดล้อม

ภาษีกำ� ไร

ภาษีเงินได้

ภาษี มอบเหมา

ภาษี สิ่งแวดล้อม

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax) จัดเก็บบุคคลธรรมดาชาวลาวในอัตราก้าวหน้าเริ่มต้นตั้งแต่ร้อยละ 5 สูงสุดในอัตราร้อยละ 24 ของรายได้สุทธิ ก่อนหักภาษี และจัดเก็บภาษีกับชาวต่างชาติที่เข้ามาท�ำงานใน สปป.ลาวที่มีรายได้จากต่างประเทศ ไม่ว่าจะอยู่ ในประเทศเกินกว่า 180 วันของแต่ละปีหรือไม่ จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราร้อยละ 10 แต่จะ ได้รับยกเว้นในกรณีที่ได้รับการยกเว้นตามความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน

ภาษีเงินได้นต ิ บ ิ ุ คคล หรือภาษีกำ� ไร

(Profit Tax) จัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือภาษก�ำไรจากบริษัทท้องถิ่นและบริษัทต่างชาติในอัตราเดียวกันที่ร้อยละ 24 ของก�ำไรสุทธิก่อนหักภาษี โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เว้นแต่ o ภาษีธุรกิจที่เกี่ยวกับการผลิต การน�ำเข้า และการจ�ำหน่ายยาสูบจะจัดเก็บในอัตราร้อยละ 26 ยกเว้น แต่ธุรกิจอื่นๆ ที่ได้รับยกเว้นให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือภาษีก�ำไรในอัตราที่ต�่ำกว่าร้อยละ 24 ก็จะสามารถ เสียภาษีในอัตราเดิมได้ และ o บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลาว (Lao Securities Exchange : LSX) จะจัดเก็บในอัตราลด ลงร้อยละ 5 จากอัตราปกติเป็นระยะเวลา 4 ปี นับตั้งแต่วันที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลาว LSX

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

(Value Added Tax : VAT) จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากกิจการที่มีรายได้ต่อปีมากกว่า 400 ล้านกีบ โดยเรียกเก็บจากการขายสินค้าตั้งแต่การ ขายส่งจากโรงงานจนถึงผู้ค้ารายย่อยในอัตราเดียวกันที่ร้อยละ 10 38

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


ภาษีมอบเหมา ภาษีทางตรงที่เก็บจากบุคคล นิติบุคคลที่ด�ำเนินธุรกิจขนาดเล็กและกลาง ซึ่งมีรายรับธุรกิจในแต่ละปีต�่ำกว่า 400,000,000.- กีบ (250 กีบ เท่ากับ 1 บาท) ที่ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเป็นการช�ำระเหมาตามสัญญา ระหว่างแขนงการภาษีอากร และผู้เสียภาษีอากรช�ำระเป็นรายเดือน 3 เดือน 6 เดือน หรือรายปี ตามที่ก�ำหนด ไว้ในสัญญา

ภาษีส่งแวดล้ ิ อม ภาษีทางตรงที่เก็บจากบุคคล นิติบุคคล หรือองค์กรต่างๆ ที่ได้รับอนุญาตให้ด�ำเนินธุรกิจให้น�ำเข้าหรือใช้ ทรัพยากรธรรมชาติใน สปป.ลาว ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความเสียหายต่อสุขภาพ ชีวิตของคน สัตว์ พืช และความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ เพื่อใช้ในการบ�ำบัดสิ่งแวดล้อม

ระเบียบขัน้ ตอน

เอกสารการน�ำเข้าและส่งออกสินค้า เมื่อสินค้าไปถึง ณ ชายแดน สปป.ลาว (หรือผู้แจ้งภาษีสามารถแจ้งภาษีก่อนสินค้าถึงด่านภาษีชายแดนได้ใน ก�ำหนด 7 วันท�ำการก่อนวันทีส่ นิ ค้าจะขนส่งมาถึงด่าน) ตัวแทนของเจ้าของสินค้าหรือผูข้ นส่ง ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ สปป.ลาว เกี่ยวกับเอกสารขนส่งภายใน 24 ชั่วโมง และต้องแจ้งเกี่ยวกับพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสินค้าตาม ระเบียบกฎหมายก�ำหนด ภายใน 15 วันท�ำการนับจากวันที่เจ้าหน้าที่ สปป.ลาวได้บันทึกสินค้าตามเอกสารการขนส่ง ผู้แจ้งภาษีต้องแจ้ง รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าต่อเจ้าหน้าที่ สปป.ลาว *** การแจ้งล่าช้ากว่าก�ำหนดเวลา ผู้แจ้งภาษีจะถูกปรับในอัตราร้อยละ 0.1 และ ร้อยละ 0.5 ของมูลค่าสินค้า ตาม แต่ระยะเวลาความล่าช้าของการแจ้งเสียภาษี และหากไม่ดำ� เนินการในกรอบระยะเวลาทีก่ ฎหมายก�ำหนด สินค้า ดังกล่าวจะถูกริบเป็นของรัฐ ภายหลังเจ้าหน้าที่ สปป.ลาวได้รับรองการแจ้งภาษีแล้ว ผู้แจ้งภาษีต้องช�ำระค่าภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นๆ เป็น เงินกีบตามระเบียบให้ครบถ้วนและตามก�ำหนดเวลา เจ้าหน้าที่ สปป.ลาว จะด�ำเนินการตรวจนับสินค้าและบันทึกผลการตรวจนับในใบแจ้งภาษี และ/หรือใบ ปล่อยสินค้า

THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

39


การเข้าลงทุนใน สปป.ลาว หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงสารสนเทศและวัฒนธรรม (Ministry of Information and Culture) กรมการคลัง (Financial Department) กรมต�ำรวจ (Police Department) กระทรวงความมั่นคงสาธารณะ (Ministry of Public Security)

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (Ministry of Labour and Social Welfare) หน่วยงานภาษีอากรที่มีอ�ำนาจ (Competent Tax Authority) กรมเคหะและที่ดิน (Department of Housing and Lands) กระทรวงการคลัง (Ministry of Finance) กระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ (Ministry of Industry and Commerce)

Committee for Promotion and Management of Investment (CPMI) เป็นหน่วยงานที่อนุมัติธุรกิจที่ต้องมีสัมปทานเท่านั้น

CPMI

ส่วนกลาง

CPMI

ส่วนท้องถิ่น

Minister of PIanning and Investment เป็นประธานโดยต�ำแหน่งของ CPMI และมี Investment Protection Department (IPD) เป็นส�ำนักงานประจ�ำที่ให้ บริการเป็น One-Stop-Service Unit (OSU) IPD (เดิมชื่อ Department for Promotion and Management of Domestic and Foreign Investment : DDFI) เป็นหน่วยงานกลางของรัฐบาลภายใต้การก�ำกับดูแลของ CPMI ซึง่ อยูใ่ นสังกัด ของ Ministry of Planning and Investment (MPI) IPD มีอ�ำนาจในการประเมิน ค�ำขออนุญาตลงทุนและรายงานไปยัง CPMI เพื่อให้อนุมัตินอกจากนี้ IPD 0มีหน้า ที่ก�ำกับดูแลโครงการการลงทุนที่ได้รับใบอนุญาตจาก CPMI และให้สิทธิประโยชน์ ในการลงทุนภายในประเทศและการลงทุนจากต่างชาติ เจ้าแขวงหรือเจ้าครองนครหลวงของนครหลวงเวียงจันทน์เป็นประธานโดยต�ำแหน่ง มี Provincial Department for Planning and Investment เป็นส�ำนักงานประจ�ำ ที่ให้บริการ One-Stop-Service Unit โดยตั้งอยู่ใน Investment Unit ของ Department for Planning and Investment (DPI)

40 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


ค�ำขออนุญาตลงทุนและขัน้ ตอนการอนุมต ั ิ แบบฟอร์มค�ำขออนุญาตลงทุน (สามารถรับได้ที่ CPMI ทั้งในส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น) จะต้องมีเอกสาร แนบดังต่อไปนี้ o แผนการด�ำเนินธุรกิจ o สัญญาร่วมทุน (Joint Venture Agreement) ในกรณีที่มีผู้ถือหุ้นมากกว่า 2 คน o ร่างข้อบังคับของบริษัทที่จะจัดตั้งใน สปป.ลาว o หนังสือรับรองการจ่ายภาษีนิติบุคคล 3 ปีย้อนหลัง(ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขอเข้ามาลงทุน) o หนังสือรับรองอื่นๆ ส�ำหรับนักลงทุน o ประวัติของนักลงทุน o ส�ำเนาหนังสือเดินทาง o บัตรประจ�ำตัวประชาชน และบัตรบันทึกอาชญากรรมหมายเลข 3 (ในกรณีนักลงทุนภายในประเทศ) o ส�ำเนารูปถ่ายปัจจุบันขนาด 3 x 4 ซม. ของผู้จัดการทั่วไปหรือตัวแทนบริษัทใน สปป.ลาว จ�ำนวน 6 รูป o ส�ำเนาเอกสารดังกล่าวทั้งหมด 7 ชุด

การยื่นค�ำขออนุญาตลงทุน การยื่นค�ำขออนุญาตลงทุนจากต่างชาติใน สปป.ลาว ยื่นได้ที่ One Stop Service Unit ของ CPMI ในกรณี โครงการลงทุนทีเ่ ป็นกิจกรรมทีอ่ ยูใ่ นบัญชีการลงทุนประเภท 1 (Annex 3 ของ Decree Number 300/PMและ Decree Number 301/PM) และมีมูลค่าการลงทุนน้อยกว่า 3 ล้านเหรียญสหรัฐ (หรือน้อยกว่า 5 ล้านเหรียญ สหรัฐ ในกรณีลงทุนในสี่แขวง คือ นครหลวงเวียงจันทน์ สุวรรณเขต จ�ำปาศักด์ และหลวงพระบาง) ยื่นค�ำขอ ได้ที่ CPMI ส่วนกลาง หรือส่วนท้องถิ่น และในกรณีที่การลงทุนไม่ได้อยู่ภายใต้บัญชีการลงทุนประเภท 1 ต้อง ยื่นค�ำขอที่ CPMI ในส่วนกลางเท่านั้น ข้อมูลเพิม่ เติมเกีย่ วกับกฎระเบียบหรือนโยบายของรัฐบาลเกีย่ วกับการลงทุน และค�ำแนะน�ำในการกรอกค�ำขออนุญาตลงทุน นักลงทุนสามารถติดต่อได้ ตามที่อยู่ ดังต่อไปนี้

THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

41


ส่วนกลาง

Investment Promotion Department (IPD) Ministry of Planning and Invesment (MPI)

ถนนสุพานุวงศ์ เวียงจันทน์ 01001 สปป.ลาว

(856-21) 222 690, 219 568, 218 377

(856-21) 215 491 investinlaos@gmail.com www.investlaos.gov.la

ส่วนท้องถิ่น

Department for Planning and Investment

นครหลวงเวียงจันทน์ Administration Office โทรศัพท์ : 021-415941, 412527 โทรสาร : 021-413134 E-mail : amphayvan@hotmail.com บ้านสีเมือง เมืองไซยะบุ รี แขวงไซยะบุ รี

ส�ำนักงานแขวงจ�ำปาศักดิ์

โทรศัพท์ : 074-211445, 211702 โทรสาร : 074-211041, 211262

โทรศัพท์/โทรสาร : 031-212541

บ้านโพนสว่าง เมืองแปก แขวงเชี ยงขวาง

โทรศัพท์ : 061-312023 โทรสาร : 061-312133 บ้านเมืองแก้ว เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว

โทรศัพท์/โทรสาร : 084-211490

โทรศัพท์ : 041-212163, 215042 E-mail : Savacms2@laotel.com ส�ำนักงานแขวงสาละวัน

บ้านภูฟ้า เมืองพงสาลี แขวงพงสาลี

โทรศัพท์ : 088-210846 โทรสาร : 088-210713

โทรศัพท์ : 034-2114477 โทรสาร : 034-211028

บ้านพันไซ ถนนผาไท เมืองสามเหนือ แขวงหัวพัน

บ้านไม้หวั เมือง เมืองละมาม แขวงเซกอง

โทรศัพท์ : 064-312065 โทรสาร : 064-312140

โทรศัพท์ : 038-211015 โทรสาร : 038-211015

บ้านฟงขาม เมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง

โทรศัพท์ : 071-212331 โทรสาร : 071-212781

บ้านไชยสมบู รณ์ เมืองหลวงน�้ำทา แขวงหลวงน�้ำทา

โทรศัพท์ : 086-312165 โทรสาร : 086-211741

บ้านโพนสว่าง เมืองสามัคคีไซย แขวงอัตปื อ

โทรศัพท์ : 036-211120 โทรสาร : 036-211019

บ้านภูเขียว เมืองไชย แขวงอุ ดมไชย

บ้านอนุสรณ์ เมืองปากซั น แขวงบริคำ� ไชย

โทรศัพท์ : 081-312036 โทรสาร : 081-312347

โทรศัพท์ : 054-212204 โทรสาร : 054-212204

บ้านนาโบ เมืองท่าแขก แขวงค�ำม่วน

โทรศัพท์ : 051-212288 โทรสาร : 051-212289 42

บ้านโพนสว่างไท เมืองไกสอนพมวิหาน แขวงสุวรรณเขต

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


การจดทะเบียน เมื่อนักลงทุนได้ใบอนุญาตลงทุนแล้วหน่วย One-Stop Service ของ Investment Promotion Department) จะด�ำเนินการต่อให้ในการจดทะเบียนบริษัทและจดทะเบียนภาษี เมื่อได้จดทะเบียนบริษัทและภาษีแล้ว บริษัท ต้องได้ใบอนุญาตอื่นๆที่จ�ำเป็นในการด�ำเนินธุรกิจก่อนที่จะเริ่มด�ำเนินกิจการด้วย ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1 การลงทุนใน กิ จ การให้ ค� ำ ปรึ ก ษาหรื อ ค้าขายต้องได้รับอนุญาตให้ ใช้ตราประทับของบริษัท

ประเภทที่ 2 การลงทุนในกิจการที่ ไม่มีการก่อสร้างตึกหรือโรงงานใหม่ ต้องได้รับอนุญาตให้ใช้ตราประทับ ของบริษัทและใบอนุญาตด�ำเนินการ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ประเภทที่ 3 การลงทุนในกิจการ เกี่ ย วกั บ การก่ อ สร้ า งตึ ก หรื อ โรงงานใหม่ตอ้ งได้รบั อนุญาตให้ใช้ ตราประทับของบริษัทใบอนุญาต ก่อสร้าง และใบอนุญาตด�ำเนินการ

การส่งเงินทุน/ก�ำไรกลับประเทศ

การโอนเงินจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนของชาวต่างชาติจะต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่ง สปป.ลาว (BOL) ภายใต้กฎหมายว่าด้วยลงทุนของชาวต่างชาติ โดยที่นักลงทุนต่างชาติได้รับอนุญาตให้ส่งคืนก�ำไรกลับ ประเทศตามกฎหมายของประเทศ เช่น เงินภาษีค่าจ้างแรงงาน เงินทุนที่จะส่งกลับจะถูกจ�ำกัด โดยดูจากเงินทุน ที่น�ำเข้ามาผ่านระบบธนาคารซึ่งมีการจดบันทึกโดย BOL นอกจากนี้ กฎระเบียบของ BOL ยังก�ำหนดให้บริษัท แสดงหลักฐานของทุนจดทะเบียนที่ได้ช�ำระแล้วเพื่อขออนุญาตโอนเงินปันผลกลับประเทศได้ การโอนทุน จดทะเบียนกลับประเทศจะต้องได้รบั อนุญาตจากเจ้าหนีแ้ ละการอนุมตั จิ ากรัฐบาลในการทีจ่ ะลดทุนจดทะเบียน THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

43


โอกาสการค้ า และ การลงทุนส�ำหรับ ธุรกิจต้นแบบ การขยายการค้าการลงทุนและการค้าส�ำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 เข้าสู่ตลาด สปป.ลาว (กรณีต้นแบบ) ได้ก�ำหนดกลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจไว้ 4 กลุ่ม

1

กลุม ่ ธุรกิจ สุขภาพความงาม

2

กลุม ่ ธุรกิจ อาหารเครื่องดื่ม

44

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1

3 กลุม ่ ผลผลิตการเกษตร (แปรรูป)

4

กลุม ่ ธุรกิจผลิตภัณฑ์ (Lifestyle)


ธุรกิจที่ สปป.ลาว ให้การส่งเสริมและสนับสนุน 01 02

การผลิตเพื่อการส่งออก เพื่อการจ้างแรงงานลาว ให้ประชากรมีรายได้ เกษตรอินทรีย์ และการปลูกป่า

03 การรักษาสิ่งแวดล้อม

04 05

06

07

การแปรรูปหัตถกรรม

ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี เพื่อการพัฒนา บุคลากรของสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ผลิตวัตถุดิบ อุปกรณ์ที่ใช้ ในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อซัพพอร์ทกับอุตสาหกรรมในพื้นที่ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และบริการ

THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

45


โอกาสทางธุรกิจใน สปป.ลาว 1 สปป.ลาว จะเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้า โดยท�ำได้จากการสร้างเขือ่ นสิง่ ทีต่ ามมา คือ โครงสร้างพืน้ ฐาน วัสดุ ก่อสร้าง และมีการผลิตไฟฟ้าจากลิกไนต์ ไฟฟ้าจากชีวมวล

2 สปป.ลาว มีแร่ธาตุ ทองค�ำ ฟอสเฟต แร่ธาตุเชิงอุตสาหกรรมจ�ำนวนมากซึ่งในเวลานี้ทางบริษัทอิตัลไทย ก�ำลังตั้งโรงงานผลิตอลูมิเนียม ที่แขวงจ�ำปาสัก

3 สปป.ลาว เป็นแหล่งวัตถุดิบทางการเกษตร

พฤติกรรมผู ้บริโภค สปป.ลาว ความนิยมซื้ อสินค้าในร้านค้าปลีก ซึง่ เป็นช่องทางจ�ำหน่ายสินค้าทีส่ ำ� คัญส่วนใหญ่มกั เป็นร้านค้าทีต่ งั้ มานานในย่านชุมชน ซึ่งชาวลาวคุ้นเคยเป็นอย่างดีสามารถซื้อสินค้าได้สะดวก และมีสินค้าอุปโภคบริโภค หลายประเภทให้เลือก อีกทั้งยังต่อรองราคาได้ จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายใน หมู่ผู้บริโภคชาวลาว ทั้งนี้พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของชาวลาวมักซื้อสินค้าบ่อย ครั้ง แต่จะซื้อด้วยปริมาณครั้งละไม่มากนัก ดังนั้นสินค้าที่จะวางจ�ำหน่ายใน สปป.ลาว ควรแบ่งบรรจุกล่อง ห่อ หรือซองขนาดกะทัดรัดเพื่อเพิ่มยอดจ�ำหน่ายสินค้า

วัยแรงงานที่กระจุ กตัวในเขตเมืองใหญ่เป็นผู ้บริโภคส�ำคัญ เนื่องจากชาวลาวกว่าร้อยละ 60 ของจ�ำนวนประชากรทั้งหมด เป็นประชากรวัย แรงงานอายุเฉลี่ยระหว่าง 15-64 ปี ส่วนใหญ่รับราชการ หรือมีอาชีพรับจ้างทั่ว่ ไป อาศัยกระจุกตัวใน 4 เมืองส�ำคัญ คือ นครหลวงเวียงจันทน์ สะหวันนะเขต หลวงพระบาง และจ�ำปาสัก ซึ่งเป็นเมืองศูนย์รวมหน่วยงานราชการ ย่านธุรกิจ และแหล่งท่องเที่ยวส�ำคัญ

การสื่อการตลาด ที่เข้าถึงผู ้บริโภคชาวลาวได้ตรงจุ ด ได้แก่ การโฆษณาสินค้าผ่านสื่อโทรทัศน์ และวิทยุจากไทยเนื่องจากชาวลาวสามารถ รับชมรายการโทรทัศน์และฟังรายการวิทยุทอี่ อกอากาศจากไทยได้ การโฆษณา สินค้าผ่านสื่อโทรทัศน์หรือวิทยุจึงมีส่วนช่วยกระตุ้นยอดจ�ำหน่ายสินค้าได้ นอกจากนีก้ ารประชาสัมพันธ์สนิ ค้าด้วยป้ายโฆษณาขนาดใหญ่บริเวณแยกถนน กลางเมืองส�ำคัญเป็นอีกหนึง่ ช่องทางการตลาดส�ำคัญทีด่ งึ ดูดความสนใจได้ดี ทัง้ นี้ เพื่อให้สื่อโฆษณามีส่วนชักชวนและกระตุ้นให้ผู้บริโภคชาวลาวอยากซื้อสินค้า ควรเลือกดารานักแสดงคนไทยหรือชาวเอเชีย เพราะช่วยให้ผู้บริโภคเกิดความ รู้สึกใกล้ชิดและเข้าถึงสินค้าได้ง่าย 46

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

47


ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว จ�ำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวใน สปป.ลาว เพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งนี้ Lao National Tourism Administration ระบุว่าปี พ.ศ. 2553 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมา สปป.ลาว ประมาณ 2.5 ล้านคน และ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นถึง 2.8 ล้านคน ภายในปี พ.ศ. 2558 ปัจจัยเกื้อหนุนดังกล่าวจึงเป็นโอกาสส่งออกสินค้าที่ เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวโดยเฉพาะ ธุรกิจโรงแรม อาทิ ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม ปลอกหมอน ของใช้ใน ห้องน�้ำโรงแรม อาทิ สบู่ แชมพู ครีมนวดผม หมวกคลุมผม ตลอดจนของที่ระลึกจ�ำพวกพวงกุญแจ แม่เหล็กติด ตู้เย็น ผ้าเช็ดหน้า กระเป๋าใส่เศษสตางค์ และ ธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งเป็นโอกาสส่งออกชุดเครื่องครัว อาทิ หม้อ กระทะ ทัพพี ตะหลิวและเครือ่ งใช้บนโต๊ะอาหารประเภทถ้วย จาน ช้อนส้อม แก้วน�ำ ้ ผ้าปูโต๊ะ รวมถึงของประดับ ตกแต่งในร้านอาหารซึ่งยังเป็นที่ต้องการอีกมาก

สปป.ลาว

SWOT

THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR ด้านการขยายการค้าและการลงทุนส�ำหรับผู ้ประกอบการ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1

48

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


SWOT

S

จุ ดแข็ง สปป.ลาว 1. มี ท รั พ ยากรที่ มี ค วามหลากหลายและอุ ด มสมบู ร ณ์ มีพื้นที่ป่าสมบูรณ์ถึงร้อยละ 47 ของพื้นที่ทั้งหมด และถือว่ามีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดในเอเซีย 2. มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงอารยธรรมและมรดกโลก เช่น หลวงพระบาง 3. มีภูมิศาสตร์ที่มีชายแดนติดกับ 5 ประเทศ คือ จีน พม่า ไทย เวียดนาม และกัมพูชา 4. มีต้นทุนการผลิตอยู่ในระดับต�่ำ อาทิ น�้ำ ไฟฟ้าอุดม สมบูรณ์ ถือว่าเป็นประเทศสามารถผลิตกระแสไฟฟ้า 5. มีเสถียรภาพทางการเมือง

W

จุ ดอ่อน สปป.ลาว 1. มี ข ้ อ จ� ำ กั ด ในการพั ฒ นาระบบราชการให้ ทันสมัย 2. ขาดงบประมาณของประเทศเพื่อใช้ในการ พัฒนา 3. มีโครงการสร้างพื้นฐานที่จะใช้ในการพัฒนา ค่อนข้างล่าช้าและขาดแรงงานมีฝีมือ 4. ไม่มีพรมแดนติดทะเลเพื่อการขนส่งทางน�้ำ โดยตรง

O

โอกาส สปป.ลาว 1. เศรษฐกิจของประเทศเริ่มขยายต่อเนื่องจากความ ต้องการ การลงทุนจากต่างประเทศ 2. เกิดแนวโน้มพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษในลาว เพื่อเป็น เครื่องมือพัฒนาประเทศ 3. กลุ ่ ม ประเทศพั ฒ นาแล้ ว อย่ า งเช่ น จี น สิ ง คโปร์ ประเทศกลุ่มอาหรับ รวมถึงยุโรป สนใจน�ำเงินทุน มาลงในโครงการของรัฐ 4. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเหมือนเป็น สะพานเชือ่ มอินโดจีน และอนุภมู ภิ าค โดยเปลีย่ นจาก สภาพ Land Lock ไปสู่ Land Link เช่น East – West Economic Corridor และ North – South Economic Corridor

T

อุ ปสรรค สปป.ลาว 1. การด�ำเนินธุรกิจยังต้องขึ้นอยู่กับผู้ปกครอง ของแต่ละแขวง และผ่านหลายขั้นตอน 2. ระบบการเงิ น การธนาคารยั ง ไม่ มี ค วาม คล่ อ งตั ว และไม่ เ อื้ อ ต่ อ การด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ การให้สินเชื่อ ไม่เพียงพอ 3. การขนส่งยังใช้ทางรถ ซึ่งมีต้นทุนสูง

THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

49


โอกาสการค้าการลงทุน

กลุม่ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม สถานการณ์ทวั่ ไป ภาคอุตสาหกรรมการเกษตรเป็นโอกาสทีน่ า่ สนใจ การเกษตรของสปป.ลาวยังไม่คอ่ ยได้รบั การพัฒนามาก นัก เกษตรกรลาวยังเคยชินกับการท�ำการเกษตรแบบยังชีพ อิงธรรมชาติ ลงทุนน้อย ดังนั้น หากมีการร่วมทุนใน อุตสาหกรรมการเกษตรร่วมกันในรูปแบบของเกษตรกรพันธสัญญา (Contract Farming) ย่อมก่อให้เกิดการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างกัน และเกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ของสปป.ลาว ปัจจุบนั มีสถานประกอบการแปรรูปอาหารในลาวรวม 32,633 แห่ง แบ่งเป็นขนาดใหญ่ 405 แห่ง ขนาดกลาง 150 แห่ง ขนาดเล็ก 7,911 แห่ง และขนาดเล็กมาก 24,167 แห่ง มีจ�ำนวนแรงงานราว 64,000 คน ทั้งนี้ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารใน สปป.ลาวจ�ำเป็นต้องพิจารณาตั้งแต่ปริมาณวัตถุดิบที่มาก พอและสม�่ำเสมอ เนื่องจากก�ำลังการผลิตวัตถุดิบทางการเกษตรและปศุสัตว์ใน สปป.ลาวจะเป็นการผลิตเพื่อ ด�ำรงชีพเป็นหลัก จึงอาจจะไม่เพียงพอในการป้อนโรงงาน นอกจากนี้ ปัญหาเรือ่ งแรงงานก็อาจเป็นอุปสรรคหาก อยู่นอกพื้นที่การส่งเสริมและเขตเมืองใหญ่ ทั้งเกษตรกรยังอาจขาดความเข้าใจเกี่ยวกับความจ�ำเป็นในการผลิต วัตถุดิบเป็นจ�ำนวนมากเพื่อป้อนให้โรงงาน รวมทั้งทักษะแรงงานในอุตสาหกรรมก็ยังอยู่ในระดับต�่ำ ต้องอาศัย การฝึกฝนอย่างใกล้ชิด ขนาดกลาง 150 แห่ง ขนาดใหญ่

405 แห่ง ขนาดเล็ก

7,911 แห่ง

ขนาดเล็กมาก

24,167 แห่ง 50

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


22%

อาหารสดมีอตั ราขยายตัวสูงถึงร้อยละ

58%

อาหารแปรรูปมีอตั ราขยายตัวถึงร้อยละ

ส่วนการค้าสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูปของ สปป.ลาว มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามอัตราการขยาย ตัวของเศรษฐกิจในประเทศและการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการผลิต โดยใน ปี 2553 การน�ำเข้าอาหารสดของ สปป.ลาว มีไม่มากนัก คิดเป็นร้อยละ 1.93 ของมูลค่าน�ำเข้าทัง้ หมด ขณะทีก่ ารน�ำเข้าอาหารแปรรูปมีสดั ส่วน สูงถึงร้อยละ 7.32 ของมูลค่าน�ำเข้าสินค้าทัง้ หมดของ สปป.ลาว ส่วนภาคการส่งออกนัน้ การส่งออกอาหารสด มีอัตราขยายตัวสูงถึงร้อยละ 22 ส่วนอาหารแปรรูปมีอัตราขยายตัวถึงร้อยละ 58 อย่างไรก็ตาม สินค้าส่ง ออกหลักของ สปป.ลาว ยังเป็นสินค้าเกษตรมากกว่าอาหารแปรรูป

ข้าว

เลี้ย

ียว

เหน

โพด

ผักส

ข้าว

ลือง

ม้สด

สุกร

ว์

ฑ์ขน

งสัต

ภัณ

งดื่ม

ุงรส

งปร

ผลิต

ถั่วเห

ผลไ

ไก่

เนื้อ

กลุ่ม

เครื่อ

เครื่อ

มอบ

สปป.ลาว น�ำเข้าสินค้าอาหารจากไทย 427.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ไทยน�ำเข้าสินค้าส�ำคัญจาก สปป.ลาว 61.35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ด้านการค้าอาหารระหว่างไทยกับ สปป.ลาวนั้น ในปี 2554 สปป.ลาว น�ำเข้าสินค้าอาหารจากไทยมูลค่า ทั้งสิ้น 427.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสินค้าที่ สปป.ลาวน�ำเข้าจากไทยมากที่สุด คือ เนื้อสัตว์ช�ำแหละ (ไก่ และเนื้อสุกร) รองลงมาคือ กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมอบ เครื่องดื่ม และเครื่องปรุงรส ขณะที่ไทยน�ำเข้าอาหารจาก สปป.ลาว มูลค่าทั้งสิ้น 61.35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส�ำคัญที่ไทยน�ำเข้า ได้แก่ ข้าวเหนียว ผักสด ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง และผลไม้สด การลงทุนแปรรูปอาหารเพื่อจ�ำหน่ายใน สปป.ลาว ในบางประเภทสินค้าอาจไม่คุ้มค่านัก ควรพิจารณา การน�ำเข้าเพือ่ จัดจ�ำหน่ายแทน หรือหากจะลงทุนควรเป็นสินค้าขัน้ พืน้ ฐานทีม่ คี วามจ�ำเป็น แต่ตอ้ งประเมินต้นทุน แปรรูปและความคุ้มค่าในการลงทุนอย่างถี่ถ้วน เพราะขนาดตลาดใน สปป.ลาว เล็กมาก จ�ำนวนประชากรมี เพียง 6.59 ล้านคน และส่วนใหญ่ยังมีรายได้น้อย ควรศึกษาลู่ทางการตลาดในจีน เวียดนาม และประเทศที่ THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

51


ได้รับสิทธิประโยชน์เพื่อใช้ลาวเป็นฐานการผลิตและส่งออก แต่ทว่าก็ยังมีโอกาสจากปริมาณนักท่องเที่ยวที่เพิ่ม มากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจภัตตาคารร้านอาหารขนาดใหญ่และขนาดกลางที่รัฐบาล สปป.ลาว ให้การสนับสนุน อย่างไรก็ตาม สปป.ลาว ตั้งเป้าจะให้มีจ�ำนวนภัตตาคารทั่วประเทศ 850 แห่ง ภายในปี พ.ศ. 2558 เพือ่ รองรับอุตสาหกรรมการท่องเทีย่ วทีม่ แี นวโน้มเติบโตสูง จ�ำนวนนักท่องเทีย่ วเพิม่ ขึน้ อย่างรวดเร็วจาก 14,400 คน ในปี 1990 เป็น 2 ล้านคนในปี 2009 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 20.5 ต่อปี และพบว่า ในปี พ.ศ.2553 จ�ำนวนนักท่องเทีย่ วเพิม่ ถึง 2.5 ล้านคน สร้างรายได้เข้าประเทศราว 382 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งยังคาดว่าจ�ำนวนนักท่องเที่ยวจะสูงถึง 4 ล้านคนในปี พ.ศ. 2563 และสร้างรายได้โดยรวมจากการท่องเที่ยว ให้ลาวกว่า 600 ล้านเหรียญสหรัฐ

พ.ศ.

14,400 คน

พ.ศ.

2 ล้านคน

พ.ศ.

2.5 ล้านคน

พ.ศ.

4 ล้านคน

2533 2552 2553 2563

พฤติกรรมผู บ้ ริโภค ผู้บริโภค สปป.ลาว ส่วนใหญ่ยังมีรายได้ไม่มาก จึงมักให้ความสําคัญกับผลิตภัณฑ์ อาหารและเครื่องดื่มที่ ราคาไม่สูงนัก แต่เน้นที่ประโยชน์หรือความจําเป็นเป็นสําคัญ แม้การจําหน่ายสินค้าในตลาดนี้อาจต้องแข่งขัน ด้านราคาสูง แต่จากการทีผ่ บู้ ริโภคลาว มีทศั นคติดา้ นบวกกับสินค้าไทยและมีรสนิยมในการบริโภคสินค้าอาหาร และเครือ่ งดืม่ ใกล้เคียงกับคนไทย จึงเป็นโอกาสสาํ หรับผูป้ ระกอบการ ไทยในการเข้าไปเจาะตลาด โดยไม่จาํ เป็น ต้องลงทุนเพิ่มเพื่อปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์สินค้าส่งออกให้ต่างจากที่วางจําหน่ายในประเทศไทยมากนัก อย่างไรก็ตามเพื่อให้ตราผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักและอยู่ในใจผู้บริโภค ผู้ประกอบการควรศึกษาวิธีการ ประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการขาย และวิธีการจัดจําหน่ายที่เหมาะสมกับแต่ละตลาด ผลการวิจัยใน สปป.ลาว พบว่า ชาวลาว 90% ชอบท�ำอาหารเองที่บ้าน “ทุกวัน” และจ�ำนวน 94% ที่ท�ำเอง คือ อาหารลาว ส่วนใหญ่ ไปตลาดสดทุกวัน และอาหารสดจะซื้อ “วันต่อวัน” โดยไม่แช่ตู้เย็น นิยมซื้ออาหารตามตลาดสดและร้านขาย ของช�ำ ทัง้ นี้ ชาวลาวออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านประมาณสัปดาห์ละครัง้ หรือเดือนละครัง้ ส่วนใหญ่ 40% รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพทุกสัปดาห์ เป็นผักออร์แกนิกและผักต่างๆ วิตามิน อาหารเสริม และเครื่องดื่ม สมุนไพร อีกทั้งชาวลาว 68% ยังพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่ผงชูรสอีกด้วย ถึงแม้ว่าชาวลาวส่วนใหญ่จะรับ 52

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


22 % ทานอาหารฟาสฟู้ด 68 % ยังพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่ผงชูรส 40 % รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพทุกสัปดาห์ 94% ที่ท�ำเอง 90% ชอบท�ำอาหารเองที่บ้าน ประทานอาหารเพื่อสุขภาพ แต่จ�ำนวนคน 1 ใน 4 ก็นิยมรับประทานหมูกระทะและอาหารปิ้งย่างเดือนละ 1-2 ครั้ง และ 22% ทานอาหารฟาสฟู้ดเพียงสัปดาห์ละ 1-2 ส่วนพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์พบว่าผู้ชาย ส่วนใหญ่ด่ืมแอลกอฮอล์ 91% และผู้หญิงกว่าครึ่งดื่มแอลกอฮอล์ 57% แต่ส่วนใหญ่จะดื่มเป็นครั้งคราวและ บางโอกาสเท่านั้น ส่วนเครื่องดื่มที่ชาวลาวนิยมคือ นมสด นมถั่วเหลือง น�้ำผักผลไม้ ชาวลาวส่วนมากนิยม ดืม่ กาแฟมากกว่าชา และอาหารประเภทขนม ของหวาน เบเกอรี่ และไอศกรีม จะรับประทานประมาณ 3-4 ครัง้ ต่อสัปดาห์ ลาวชอบอยู่บ้านพักผ่อนให้รางวัลกับชีวิต ส�ำหรับชาว สปป. ลาว บ้านคือที่อยู่อาศัยที่ดีที่สุด ทั้งเพื่อ พักผ่อน ได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัวที่ท�ำให้รู้สึกอบอุ่นปลอดภัย และยังเป็นการให้รางวัลกับชีวิต ส่วนใหญ่ 72% จะมีลักษณะเป็นบ้านเดี่ยว ที่นิยมสร้างเองและห้องที่นิยมใช้งานมากที่สุด คือ ห้องนั่งเล่น 57% ชาวลาว ส่วนใหญ่ไม่นิยมจ้างสถาปนิก มัณฑนากร หรือดีไซน์เนอร์ การซื้อของตกแต่งบ้านก็เน้นเป็นของชิ้นเล็กๆ เช่น โคมไฟ กรอบรูป และอื่นๆ ส่วนไอเดียการแต่งบ้านส่วนใหญ่ ได้มาจากโทรทัศน์ในรายการต่างๆ และซื้อ เฟอร์นิเจอร์จากร้านขายเฟอร์นิเจอร์ในการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ ชาวลาวให้ความส�ำคัญกับเรื่องการจัดส่งสินค้า และค�ำนึงถึงอายุการใช้งานของสินค้าเมื่อต้องตัดสินใจซื้อ

91% 57%

กลยุ ทธ์การตลาด ปัจจุบนั จากการที่ สปป.ลาว ให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาภาคเกษตรกรรม และส่งเสริมให้มกี ารน�ำวิทยาการ และเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในขบวนการผลิต เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพการผลิตให้เพิม่ สูงขึน้ ท�ำให้ความต้องการ สินค้าในกลุม่ นีเ้ พิม่ สูงขึน้ ตามมา ซึง่ สินค้าไทยทีม่ ศี กั ยภาพทางการค้าคือเครือ่ งสีขา้ ว รถไถขนาดเล็ก เครือ่ งใส่ปยุ๋ THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

53


เครื่องสูบน�้ำ เครื่องพ่นยาฆ่าแมลง ปุ๋ยอินทรีย์ และเครื่องบรรจุหีบห่อสินค้าแปรรูป ซึ่งจากการผลการประเมิน ปัจจัยทีม่ ผี ลต่อการตัดสินใจซือ้ ของผูบ้ ริโภคจะเห็นได้วา่ หากสินค้าเป็นสินค้าที่มงุ่ เน้นเพือ่ การจ�ำหน่ายนักลงทุน เกษตรรายใหญ่ จะมุ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงมายาวนาน คุณภาพสูง แข็งแรง ทนทาน มีบริการหลังการขาย ดังนั้นควรให้ความส�ำคัญอย่างมากกับการวางกลยุทธ์การตลาดด้านผลิตภัณฑ์ และช่องทางการจัดจ�ำหน่าย ในขณะที่ด้านราคาและการส่งเสริมการขาย จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออยู่ในระดับปานกลาง แต่ถ้าเป็น กลุ่มสินค้าที่ผู้ซื้อเป็นเพียงเกษตรกรรายย่อยสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้งานได้ ในราคาที่ไม่สูงมากนัก และพร้อมที่จะซื้อสินค้าที่ไม่มีตราผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าลอกเลียนแบบ

กลยุ ทธ์ ด้านผลิตภัณฑ์ สินค้าทีส่ ง่ จ�ำหน่ายในตลาดนีค้ วรมีตราผลิตภัณฑ์ทไี่ ด้รบั การยอมรับในด้านมาตรฐาน สินค้า และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และมีเครื่องหมายการค้าที่ผ่านการรับรองด้าน มาตรฐานของสินค้า ด้วยความมั่นใจในประสิทธิภาพและความแข็งแกร่งทนทาน ย่อมส่ง ผลให้ผู้บริโภคลาวมีกระแสตอบรับกับสินค้าไทยเป็นอย่างดี ดังนั้นการวางกลยุทธ์ทางด้าน สินค้าจึงให้ความส�ำคัญกับการสร้างตราผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมคุณภาพสินค้า และสมรรถนะ การท�ำงานของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ที่คุ้มค่าต่อราคา

กลยุ ทธ์ ด้านราคา การวางกลยุทธ์ทางด้านราคาคือตั้งราคาที่สูงกว่าประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะสินค้าจาก จีน ควบคู่กับการสร้างความเข้าใจในเรื่องของราคาสินค้าที่เหมาะสมกับคุณภาพสินค้า เพื่อ สร้างความแตกต่างจากสินค้าจากจีน ส่วนสินค้าตลาดล่างอาจจะต้องเผชิญกับการแข่งขัน กับสินค้าที่น�ำเข้าจากจีนที่มีราคาต�่ำกว่ามาก ส่งผลให้การวางกลยุทธ์ทางด้านราคาอาจ กระท�ำได้ยาก ดังนัน้ ผูป้ ระกอบการไทยควรเน้นการเจาะตลาดระดับกลางขึน้ ไป โดยหลีกเลีย่ ง การแข่งขันด้านราคา แต่อาจต้องมีการปรับกลยุทธ์สินค้า อาทิ การปรับขนาดสินค้าลดลง เพื่อให้สามารถจ�ำหน่ายได้ในราคาที่ต�่ำลง สอดคล้องกับอ�ำนาจซื้อของผู้บริโภคลาวมากขึ้น

กลยุ ทธ์ ด้านการจัดจ�ำหน่าย ช่องทางการจัดจ�ำหน่ายนั้นก็มีตั้งแต่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก โดยอาจจะมีช่อง ทางการจัดจ�ำหน่ายโดยตรง (Direct Channel) จากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค โดยพนักงานขาย ของบริษัทในไทยที่ไม่ต้องผ่านคนกลางไปจนถึงรูปแบบของช่องทางการจัดจ�ำหน่ายสอง ระดับ สามระดับ หรือมากกว่านั้น โดยควรเพิ่มร้านค้าที่เป็นตัวแทนจ�ำหน่ายให้มากยิ่งขึ้น

54

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


กลยุ ทธ์ การส่งเสริมการตลาด กลยุทธ์การส่งเสริมการขายควรมุ่งเน้นการสร้างความรู้จักในตราผลิตภัณฑ์ (Brand Awareness) เข้าใจและสร้างความรู้ความเข้าใจในตราผลิตภัณฑ์ (Brand Knowledge) เพื่อให้ผู้ซื้อมีความเชื่อมั่นในตัวสินค้า นอกจากนีอ้ าจมีการแถมสินค้าอืน่ ๆ หรือสินค้าตัวอย่างบ้าง เช่น การขายพ่วงร่วมกับ สินค้าอืน่ หรือการมอบส่วนลดกรณีซอื้ หลายชิน้ เป็นต้น ส�ำหรับการโฆษณาประชาสัมพันธ์ อาจใช้การน�ำเสนอขายสินค้าผ่านทาง Catalog และการโฆษณาผ่านทีวใี นประเทศไทย ส่วน สื่อสิ่งพิมพ์ อาทิ โปสเตอร์ โบชัวร์ และวารสารสิ่งพิมพ์อื่น ๆ เป็นต้น แม้ว่าจะยังอยู่ในวง จ�ำกัดที่แคบอยู่แต่ก็สามารถกระท�ำได้เช่นกัน ชาวลาวนิยมฟังวิทยุท้องถิ่นของจังหวัด อุดรธานี และหนองคาย การโฆษณาสินค้าผ่านวิทยุท้องถิ่นของจังหวัดอุดรธานี และ หนองคายก็เป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพและประหยัด นอกจากนี้อาจจะโฆษณาผ่านทาง สื่อท้องถิ่นของสปป,ลาว อาทิ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น และโปสเตอร์ เป็นต้น

กลยุ ทธ์ ด้านการให้บริการ พนักงานการให้บริการใน สปป.ลาว ซึง่ ส่วนใหญ่เป็นคนท้องถิน่ จะยังขาดความรูค้ วาม สามารถ และประสบการณ์เกี่ยวกับงานด้านนี้ ดังนั้นการเพิ่มทักษะความช�ำนาญให้กับ บุคลากรจึงเป็นเรือ่ งส�ำคัญ โดยอาจท�ำความร่วมมือกับสถาบันทางด้านช่างเทคนิคทัง้ ทางฝัง่ ไทยและทาง สปป.ลาว หรืออาจจะเปิดโอกาสให้นักเรียนที่มีความรู้มาฝึกงานด้วย การให้บริการถือเป็นหัวใจส�ำคัญของการครองใจลูกค้า ซึง่ พนักงานผูใ้ ห้บริการจะต้อง มีจิตส�ำนักที่ดีต่อการให้บริการ และตั้งใจให้บริการ การให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ลูกค้า การสาธิตสินค้าที่ส�ำคัญคือควรเน้นความรวดเร็วในการให้บริการเพื่อสร้างความประทับใจ แก่ลูกค้า ที่ไม่ต้องการสูญเสียเวลามากนัก

นครหลวงเวียงจันทน์ การสร้างบรรยากาศในการให้บริการ สามารถกระท�ำได้โดยอาจจะเปิดร้านโชว์รมู ทีจ่ งั หวัดหนองคาย หรือ อุดรธานี รวมถึงทางฝั่งลาวที่สะดุดตา การโชว์สินค้าและแสดงสมรรถนะของสินค้า

หลวงพระบาง การสร้างบรรยากาศในการให้บริการ สามารถกระท�ำได้โดยอาจจะเปิดร้านโชว์รมู ทีห่ ลวงพระบางทีส่ ะดุด ตา การโชว์สินค้าและแสดงสมรรถนะของสินค้า

นครหลวงเวียงจันทน์ การสร้างบรรยากาศในการให้บริการ สามารถกระท�ำได้โดยอาจจะเปิดร้านโชว์รมู ทีจ่ งั หวัดหนองคาย หรือ อุดรธานี รวมถึงทางฝั่งลาวที่สะดุดตา การโชว์สินค้าและแสดงสมรรถนะของสินค้า THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

55


หลวงพระบาง การสร้างบรรยากาศในการให้บริการ สามารถกระท�ำได้โดยอาจจะเปิดร้านโชว์รมู ทีห่ ลวงพระบางทีส่ ะดุด ตา การโชว์สินค้าและแสดงสมรรถนะของสินค้า

จ�ำปาสัก การสร้างบรรยากาศในการให้บริการ สามารถกระท�ำได้โดยอาจจะเปิดร้านโชว์รูมที่จังหวัดอุบลราชธานี รวมถึงทางฝั่งลาวที่สะดุดตา การโชว์สินค้าและแสดงสมรรถนะของสินค้า

ตลาดด้านธุ รกิจบริการ

และสุขภาพใน สปป.ลาว4 กลุม่ สินค้าบริการ สุขภาพ กล่าวได้วา่ เป็นกลุม่ ทีม่ โี อกาสและเหมาะกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ของไทยได้แก่ สปา นวดแผนโบราณ ร้านกาแฟ ร้านเสริมสวย อู่ซ่อมรถ และคาร์แคร์เป็นต้น โดยอาจจะอยู่ใน รูปของการด�ำเนินธุรกิจระบบแฟรนไซน์ ซึง่ ได้รบั ความนิยมอย่างมากในไทยและคาดว่าน่าจะเติบโต และมีอนาคต ที่ดีในสปป.ลาว โดยเฉพาะธุรกิจที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับการเติบโตของธุรกิจการท่องเที่ยว อาทิ สปาและ นวดแผนโบราณ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางไปท่องเที่ยวที่แขวงหลวงพระบาง จ�ำปาสักใน สปป.ลาว

ธุรกิจสปา รูปแบบบริการของสปานั้นมีทั้งการแช่น�้ำ การอบตัว การนวด การใช้อาหารและเครื่องดื่ม สมุนไพร โดยจะมีสินค้าต่อเนื่องเช่นน�้ำมันหอมระเหย ซึ่งส่วนใหญ่ได้มาจากการสกัดจากส่วน ต่างๆ ของพืช เช่น ต้น ใบ ผล และดอกไม้ ทั้งนี้น�้ำมันที่ได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวชาว ต่างประเทศ คือ ลาเวนเดอร์ เจอราเนีย่ ม กุหลาบ ตะไคร้หอม และเปปเปอร์มนิ้ ท์ เป็นต้น การ ใช้น�้ำมันหอมระเหยที่ได้จากดอกไม้ในประเทศไทยและสปป.ลาว เช่น ดอกมะลิ ดอกราตรี ดอกลีลาวดี (ดอกไม้ประจ�ำชาติ สปป.ลาว) และดอกไม้ประเภทอืน่ ๆ รวมทัง้ พืชหลายประเภท ที่สามารถปลูกได้ในพื้นที่แถบภาคเหนือของสปป.ลาวที่มีอากาศเย็นคล้ายคลึงกันกับไทย ตลาดด้านธุรกิจบริการและสุขภาพใน สปป.ลาว. ส�ำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). 2557. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: http://122.155.9.68/talad/index.php/laos/sector/services 56

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


ส่วนสมุนไพรทีน่ ยิ มน�ำมาใช้ในสปา จะเน้นในเรือ่ งของการดูแลรักษาสุขภาพเสริมความงามให้กบั ผิวพรรณ และใบหน้า ด้วยกรรมวิธีการทา การพอกผิว และยังน�ำมาเป็นอาหารหรือเครื่องดื่มด้วย ซึ่งสมุนไพรหลักๆ ที่ใช้ และมีสรรพคุณเด่น อาทิ ขมิ้น มะขาม แตงกวา ขิง ข่า ตะไคร้ มะนาว มะเขือเทศ และมะละกอเป็นต้น ดังนั้น การท�ำธุรกิจสปาจึงถือว่าได้มีส่วนในการใช้วัตถุดิบธรรมชาติของไทยและวัตถุดิบท้องถิ่นจาก สปป.ลาวให้เกิด ประโยชน์ และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากยิ่งขึ้น เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และส่งเสริมให้เกิดผู้ ประกอบการรายใหม่ๆ ร่วมกัน ธุรกิจร้านเสริมสวย ก็เป็นธุรกิจที่น่าสนใจ เพราะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับความสวยงามที่ต้องตามแฟชั่นและ สมัยนิยม ซึง่ ปัจจุบนั ทัง้ ชาวลาว ได้รบั ข้อมูลข่าวสารจากสือ่ ทีวขี องประเทศไทยผ่านสัญญาณดาวเทียมและเคเบิล้ ทีวี และสือ่ บันเทิงจากแหล่งต่างๆ ท�ำให้สตรีของ สปป.ลาว มีความสนใจด้านการเสริมสวยมากยิง่ ขึน้ โดยเฉพาะ การท�ำผมและท�ำเล็บทีม่ หี ลายรูปแบบ หลายสไตล์ ซึง่ ไทยมีความพร้อมทัง้ ทางด้านบุคลากรและวิทยาการจึงถือ เป็นโอกาสอันดีสำ� หรับการด�ำเนินธุรกิจของไทย อย่างไรก็ตามการด�ำเนินธุรกิจต้องศึกษากฎ ระเบียบอย่างดี อาทิ กฎระเบียบต่างๆ ซึง่ ท�ำให้การด�ำเนินธุรกิจในสปป.ลาว มีขอ้ จ�ำกัดอยูบ่ า้ ง แต่ในแง่ของการแข่งขันยังถือว่ามีระดับ ต�่ำ อันเนื่องมาจากนโยบายการส่งเสริมการค้าการลงทุน จึงนับว่าสถานการณ์อย่างนี้ก่อให้เกิดข้อได้เปรียบการ ด�ำเนินธุรกิจของไทย

เสริมความงาม-สถานพยาบาล5 ตามรายงานของส�ำนักงานส่งเสริมการค้าต่างประเทศของไทย ในนครเวียงจันทน์ ปัจจุบันมีโรงพยาบาลที่เป็นระดับศูนย์กลางเพียง 5 แห่งขณะที่เมืองหลวงลาวมีประชากร ถึง 600,000 คน และในแต่ละแขวง (จังหวัด) ก็มีโรงพยาบาลที่รองรับด้านสาธารณสุขได้ เพียง 1 แห่งเท่านั้น ขณะที่เครื่องมือการแพทย์ยังไม่ทันสมัยเท่ากับในประเทศไทย ในปี 2551 รายได้ตอ่ หัวประชากรประเทศนีเ้ พิม่ ขึน้ เป็น 728 ดอลลาร์ เทียบกับเพียง 432 ดอลลาร์ในปี 2547 ตัวเลขนี้ก�ำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี พร้อมๆ กับการลงทุนจากต่าง ประเทศที่เพิ่มสูง และการท่องเที่ยวที่ขยายตัวในอัตราสูง แต่สถานพยาบาลใน สปป.ลาว ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของประชากร แขวงตามชายแดนของ สปป.ลาว คนไข้ที่มี อาการหนักและมีฐานะดีกจ็ ะข้ามมาใช้บริการรักษาพยาบาลทีฝ่ ง่ั ไทย สถานพยาบาลทีช่ าว เวียงจันทน์นิยมน�ำผู้ป่วยข้ามแดนไปรับการรักษานั้น ล้วนแต่เป็นโรงพยาบาล “เกรดเอ” ASTV ผู้จัดการออนไลน์. คลินิกเสริมความงาม-สถานพยาบาลธุรกิจรุ่งในลาว. 2551. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: http://www. manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9510000135025 THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

57


ในท้องถิน่ เช่น โรงพยาบาลเอกอุดร โรงพยาบาลวัฒนา หรือ โรงพยาบาลเปาโล สภาพคล้ายกันนีเ้ กิดขึน้ ในจังหวัด ชายแดนต่างๆ เช่น ชาวลาวแขวงบ่อแก้วจะข้ามไปรักษาใน จ.เชียงราย ชาวจ�ำปาสักไปรักษาในอุบลราชธานี หรือจากแขวงค�ำม่วนไปนครพนม ค่าตอบแทนส�ำหรับบุคลากรแพทย์และพยาบาลในลาวยังค่อนข้างต�่ำและแพทย์ส่วนใหญ่ที่เรียนจบแล้ว จะรอท�ำงานในโรงพยาบาลของรัฐ ยังไม่มที นุ รอนเปิดคลินกิ ของตัวเอง ทัง้ พยาบาล ทันตแพทย์หรือแพทย์จำ� นวน หนึ่งยังต้องหางานท�ำ ซึ่งต่างไปจากในประเทศไทยที่ยังขาดแคลนบุคลากรด้านนี้ ผู้ลงทุนสามารถน�ำบุคคลากร ทางการแพทย์ของลาวไปต่อยอดให้เป็นประโยชน์ได้โดยผ่านการอบรมส่งเสริมความรู้ความเชี่ยวชาญเพิ่มเติม

กลยุ ทธ์การตลาด การวางกลยุทธ์ควรให้ความส�ำคัญอย่างมากเกือบทุกด้าน เว้นแต่เพียงด้านส่งเสริมการ ขายทีอ่ าจให้ความส�ำคัญรองลงมา แต่กไ็ ม่อาจละเลยความส�ำคัญด้วยเช่นกัน เพราะหัวใจของ งานบริการคือน�ำเสนอสิง่ ทีด่ ใี ห้กบั ลูกค้าและสร้างความพึงพอใจให้กบั ลูกค้าของตนมากทีส่ ดุ นั่นเอง

กลยุ ทธ์ดา้ นผลิตภัณฑ์ นครหลวงเวียงจันทน์ การน�ำเสนอบริการที่ได้มาตรฐานการบริการระดับสากล มุ่งกลุ่มลูกค้าในนครหลวงเวียงจันทน์ที่มีรายได้ สูง ชาวต่างชาติที่ท�ำงานในสปป.ลาว นักท่องเที่ยว ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นวัตถุดิบ ที่มีคุณภาพสูง ที่ส�ำคัญ การสร้างความสะดวกสบาย รวดเร็ว และรับประกันในการให้บริการก็เป็นสิ่งส�ำคัญและควรมีการติดต่อสัมพันธ์ กับบริการในเมืองไทย เพือ่ สร้างเครือข่ายในการขยายตลาด นอกจากนีก้ ารน�ำเสนอบริการในรูปแบบใหม่ ๆ เพือ่ ตอบสนองตามความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น อาทิ สถานบริการสปาในรูปแบบใหม่ที่ไม่เพียงแต่จะเป็นการ นวดเพื่อการผ่อนคลายแล้ว ยังให้บริการนวดเชิงบ�ำบัดรักษา ด้านความงามและสุขภาพอีกด้วย

หลวงพระบางและจ�ำปาสัก การน�ำเสนอบริการที่ได้มาตรฐานการบริการระดับสากล มุ่งกลุ่มลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยว และประชาขน ในพื้นที่ทั้งแขวงหลวงพระบางและแขวงจ�ำปาสักที่มีรายได้ ปานกลางถึงสูง ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นวัตถุดิบ มีความหลากหลาย เพื่อสร้างทางเลือกให้กับผู้ใช้บริการตั้งแต่วัตถุดิบที่มีคุณภาพปานกลางไปจนถึงคุณภาพสูง ที่ส�ำคัญการสร้างความสะดวกสบาย รวดเร็ว และรับประกันในการให้บริการก็เป็นสิ่งส�ำคัญและควรมีการติดต่อ สัมพันธ์กับบริการในเมืองไทย เพื่อสร้างเครือข่ายในการขยายตลาด 58

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


นอกจากนีก้ ารน�ำเสนอบริการในรูปแบบใหม่ๆ เพือ่ ตอบสนองตามความต้องการของลูกค้าได้มากขึน้ อาทิ สถานบริการสปาในรูปแบบใหม่ที่ไม่เพียงแต่จะเป็นการนวดเพื่อการผ่อนคลายแล้ว ยังให้บริการนวดเชิงบ�ำบัด รักษา ด้านความงามและสุขภาพอีกด้วย

กลยุ ทธ์ดา้ นราคา ส�ำหรับอัตราค่าบริการที่น�ำเสนอค่อนข้างมีราคาสูงแต่ต้องเป็นราคาที่สมเหตุสมผล ซึ่งราคาจะขึ้นอยู่กับ โปรแกรมหรือรูปแบบทีล่ กู ค้าเลือก ในบางบริการอาจมีการแข่งขันกันทางด้านราคาบ้างอาทิ บริการสปา เป็นต้น

กลยุ ทธ์ดา้ นการจัดจ�ำหน่าย

ส่วนของช่องทางการจัดจ�ำหน่าย จะอยูใ่ นแหล่งชุมชน โรงแรม รีสอร์ท ดังนัน้ การสร้างช่องทางการจ�ำหน่าย อาจผ่านสถานประกอบการที่มีความเกี่ยวเนื่องกันเอง อาทิ สปา นวดแผนโบราณ ร้านกาแฟ ร้านเสริมสวย ร้าน อาหาร บริษัทน�ำเที่ยวและโรงแรม เป็นต้น บางธุรกิจอาจมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการให้สะดวก และเข้าถึงลูกค้า เช่น การติดต่อค้าขายผ่านทางโทรศัพท์ โทรสาร และระบบอินเตอร์เน็ต การจองห้องพัก การ สั่งจองอาหาร เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการจัดการที่จ�ำเป็นและเข้ามามีบทบาทอย่างมาก สามารถสร้างความสะดวก สบายในการติดต่อสื่อสารให้แก่ลูกค้า

กลยุ ทธ์ดา้ นการส่งเสริมการตลาด การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายส่วนใหญ่จะเป็นการสาธิตและทดลองการบริการ ในบางช่วงอาจมีการจัด โปรโมชั่นอาทิการจัดโปรแกรมใหม่ๆ จัดแพ็จเกจใหม่ๆ เพื่อดึงดูดลูกค้าเข้ามาใช้บริการ นอกจากนีอ้ าจมีการร่วมมือกับหน่วยงานของภาครัฐทัง้ ไทยและลาวเพือ่ ท�ำการตลาดหาลูกค้า เช่นการจัด ประชุมสัมมนา ถ้าเป็นธุรกิจบริการด้านสุขภาพอาจสร้างความร่วมมือกับโรงพยาบาล การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมถึงการมีเว็บไซด์ให้ลูกค้า ได้ศึกษาข้อมูลและติดต่อกับสถานประกอบการนั้นๆ ได้

กลยุ ทธ์ดา้ นการบริการ การสร้างจุดขายของงานบริการควรมุ่งไปที่บุคลากรและวิทยาการ นั่นคือการให้ความส�ำคัญกับ - คุณภาพการบริการ การดูแลเอาใจใส่ของพนักงาน ความพร้อมและทันสมัยของอุปกรณ์และความโดด เด่นมีเอกลักษณ์ - การพัฒนาบุคลากรทั้งทักษะความช�ำนาญและภาษาในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าให้มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ในการให้บริการ โดยอาจน�ำผู้เชี่ยวชาญจากไทยมาท�ำการสอนและอบรมอย่างต่อเนื่อง กระบวนการในการให้บริการถือเป็นสิ่งที่ส�ำคัญ โดยการให้บริการที่เป็นมาตรฐาน ได้หรือมีใบรับรองมาตรฐาน สากลต่างๆ เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจและประทับใจ บางบริการต้องมีความละเอียดและประณีต คุณภาพดี ครบวงจร ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีส่วนช่วยในการรักษาและขยายตลาดได้อย่างมาก การสร้างบรรยากาศในการให้บริการ สามารถกระท�ำได้โดยการสร้างจุดขาย และกระตุ้นยอดจ�ำหน่าย ไม่ ว่าจะเป็นการจัดบริเวณด้านหน้าและภายในสถานประกอบการให้สะดุดตา สามารถดึงดูดใจลูกค้าและผู้พบเห็น ทั่วไป มีความสะอาด เป็นระเบียบและสะดวกต่อการให้บริการ เน้นสร้างบรรยากาศความเป็นกันเอง ทั้งนี้หาก มีการด�ำเนินกิจการร่วมกับคนลาวที่มีศักยภาพก็จะสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้เร็วขึ้นโดยเฉพาะกับคนท้องถิ่น THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

59


ตลาดสินค้าอุ ปโภคบริโภคใน สปป.ลาว6 :

ส�ำหรับการเปิ ดตลาดผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป และผลิตภัณฑ์ไลฟ์ สไตล์ สถานการณ์ทวั่ ไป สินค้าอุปโภคบริโภคถือเป็นสินค้าที่จ�ำเป็นต่อการด�ำรงชีพ และเป็นที่ต้องการอย่างมาก จากสถิติรายการ สินค้าน�ำเข้าของสปป.ลาว พบว่ามีการน�ำเข้าสินค้า อุปโภค บริโภคอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ที่เป็น เช่นนีอ้ าจเป็นเพราะสปป.ลาวยังขาดเทคโนโลยี และ เงินลงทุนในการผลิตสินค้าแปรรูปและอุตสาหกรรมแปรรูป โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตน�ำ้ มันพืช อุตสาหกรรมน�ำ้ ตาล อุตสาหกรรมอาหารกึง่ ส�ำเร็จรูป เครือ่ งใช้ในครัว เรือน ของเล่นเด็ก รองเท้า เป็นต้น จากการที่สปป.ลาว มีจ�ำนวนประชากรไม่มาก คือมีเพียงประมาณ 6 ล้านคน การจัดตั้งโรงงานผลิตสินค้า ส�ำหรับการป้อนตลาดท้องถิน่ จึงไม่คมุ้ ค่าต่อการลง ทุนในระดับอุตสาหกรรม ท�ำให้ประเทศไม่สามารถผลิตสินค้า อุปโภคบริโภคได้เพียงพอกับความต้องการใน ประเทศหรือไม่มีสินค้าประเภทนั้นๆ จึงน�ำไปสู่ความจ�ำเป็นต้อง พึ่งพาสินค้าน�ำเข้าจากต่างประเทศ ด้วยเหตุนจี้ งึ ถือเป็นโอกาสทางการค้าของผูป้ ระกอบการไทย ในการหาช่องทางเพือ่ เพิม่ ปริมาณและมูลค่า การส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคเข้า สู่ตลาด และเมืองในพื้นที่เป้าหมายให้มากขึ้นและอาจใช้สปป.ลาวเป็นฐาน กระจายสินค้าไป สู่ตลาดจีนตอนใต้ กัมพูชา หรือยุโรป ส�ำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีศักยภาพในตลาด อาทิ สินค้าจ�ำพวกอาหาร อาหารแปรรูป และขนม ขบเคี้ยวต่างๆ ตัวอย่างเช่น ใน สปป.ลาว ตามร้านอาหาร ภัตตาคาร ผู้บริโภคทั่วไปยังมีค่านิยมชื่นชอบเครื่อง ปรุงรสเช่นน�้ำปลา ซอส กะปิ น�้ำตาลทรายจากประเทศไทย ดังนั้น สินค้าไทยที่ส่งออกไปจ�ำหน่ายในปัจจุบันและที่ต้องการจะเจาะตลาดใหม่ในอนาคต มีความเป็นไป ได้ทั้งสินค้าชนิดที่มุ่งเน้นคุณภาพ มีตราผลิตภัณฑ์สินค้าเป็นที่รู้จัก รวมถึงสินค้ากลุ่มราคาประหยัด ถูก ที่เน้น เจาะตลาดกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย หรือที่เรียกว่า “ตลาดล่าง” ส่วนของธุรกิจร้านกาแฟ จากการสอบถามและส�ำรวจพฤติกรรมการบริโภคเครือ่ งดืม่ ของชาวลาวในปัจจุบนั พบว่าสปป. ลาวนั้นถือเป็นประเทศที่มีการปลูกและส่งออกกาแฟชื่อดังไปยังสหภาพยุโรป ผู้ประกอบการลาวได้ พัฒนาธุรกิจร้านกาแฟของตัวเองและขยายสาขาไปทัว่ สปป.ลาว ส่งผลให้มกี ารปรับเปลีย่ นพฤติกรรมการบริโภค ตลาดด้านสินค้าอุปโภคและบริโภคใน สปป.ลาว. ส�ำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). 2557. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: http://122.155.9.68/talad/index.php/laos/sector/consumer-products

6

60 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


กาแฟในหมู่คนลาว สภาพการณ์นี้จึงมีบทบาทส�ำคัญต่อการปรับพฤติกรรมของคนลาวให้หันมาดื่มกาแฟ หรือ เครื่องดื่มประเภทชง ปั่น รูปแบบต่างๆ มากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ตามห้างสรรพสินค้า หรือบริเวณหน้าโรงแรม ย่าน การค้าในนครหลวงเวียงจันทน์มี Kios ของกาแฟและเครื่องดื่มชง ปั่น คล้ายประเทศไทยที่เป็นธุรกิจใหม่ในช่วง ปีกว่าที่ผ่านมา ดังนั้นจึงอาจเป็นโอกาสของธุรกิจ SMEs ไทยที่จะเข้าไปบุกเบิกตลาดและถือว่ายังไม่มีคู่แข่งจาก ชาติตะวันตก ซึ่งการด�ำเนินธุรกิจร้านกาแฟอาจอยู่ในรูปของแฟรนไชส์ ดังเช่นในไทย อาทิตัวอย่างร้านกาแฟสด สยามเบส ทีท่ ำ� ธุรกิจกาแฟครบวงจร ตัง้ แต่ แฟรนไชส์รา้ นกาแฟสดสยามเบส การจ�ำหน่ายเมล็ดกาแฟคัว่ สด พันธุ์ อาราบิก้า 100% ชาเขียว ชาเย็น โกโก้ จ�ำหน่ายเครื่องชงกาแฟ เครื่องบดกาแฟ และอุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจน การอบรมในการท�ำธุรกิจกาแฟสด รับปรึกษาและออกแบบร้านกาแฟสด เป็นต้น

กลยุ ทธ์การตลาด ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคคือด้านผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัด จ�ำหน่าย และการส่งเสริมการขาย ซึง่ ส่งผลต่อการตัดสินใจซือ้ อยูใ่ นระดับมาก ขณะทีด่ า้ น ราคาสินค้ากลับมีอิทธิพลน้อยที่สุด

กลยุ ทธ์ดา้ นผลิตภัณฑ์ จากการที่ สปป.ลาว ไม่สามารถผลิตสินค้า เพือ่ ตอบสนองกับความต้องการบริโภคของประชากรในประเทศ ได้ ส่งผลให้มีการน�ำเข้าสินค้าจากไทยเป็นจ�ำนวนมาก โดยตัวสินค้าที่เสนอให้กับลูกค้าจะมีลักษณะเดียวกันกับ สินค้าที่จ�ำหน่ายให้กับคนไทย ทั้งนี้เพราะรสนิยมในเรื่องของรสชาติและบรรจุภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกัน ประกอบกับ ความมัน่ ใจในคุณภาพสินค้า และสุขอนามัยทีด่ ขี องสินค้าไทย จึงท�ำให้สนิ ค้าไทยเข้าสูต่ ลาดนีไ้ ด้งา่ ย แต่ทง้ั นีส้ นิ ค้า ที่วางขายจะต้องมีตราผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยม อาทิ น�้ำปลา ก็ต้องเป็นตราปลาหมึก เป็นต้น นัน่ แสดงว่าผูบ้ ริโภคส่วนใหญ่ยงั คงให้ความส�ำคัญในตราผลิตภัณฑ์อยูม่ าก ดังจะเห็นได้จากตามร้านอาหาร และ ภัตตาคารต่างๆ ใน สปป.ลาว จะมีเครื่องปรุงรส เช่น น�้ำปลา ซอส กะปิ น�้ำตาลทรายที่มีตราผลิตภัณฑ์จาก ประเทศไทยปรากฏให้เห็นชัดเจน ทัง้ นีผ้ ซู้ อื้ สินค้ามักจะอาศัยความคุน้ เคยและรสนิยมดัง้ เดิมทีผ่ บู้ ริโภคยังยึดติด อยู่และจะซื้อเป็นประจ�ำ ดังนั้นจึงควรรักษาระดับคุณภาพและมาตรฐานสินค้าของไทย ซึ่งติดตลาดลาวอยู่แล้ว ให้คงที่และไม่ควรมีการเปลี่ยนแปลงสูตรหรือหีบห่อ ซึ่งผู้บริโภคชาวลาวอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าต่างชนิด กันได้

กลยุ ทธ์ดา้ นราคา ส�ำหรับราคาสินค้าส่วนใหญ่จะตัง้ ราคาให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ โดยหลักการคือราคาบวกต้นทุน ควรตัง้ ราคาที่ใกล้เคียงกับสินค้าที่จ�ำหน่ายในไทยหรือชายแดนไทย ซึ่งราคาสินค้าไทยที่จ�ำหน่ายใน สปป.ลาว จะเป็น ราคาที่บ่งบอกถึงภาพลักษณ์ของสินค้าเป็นส�ำคัญ ดังนั้นสินค้าไทยหากเปรียบเทียบกับสินค้าคู่แข่งอย่างจีนจึง นับว่ามีราคาที่สูงกว่า อย่างไรก็ตามความนิยมและมั่นใจในสินค้าไทยก็ยังมีอยู่มาก THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

61


กลยุ ทธ์ดา้ นช่ องทางการจ�ำหน่าย วิธกี ารขายหรือการกระจายสินค้าใน นครหลวงเวียงจันทน์และหลวงพระบางนัน้ สินค้าทีว่ างจ�ำหน่ายส่วน ใหญ่จะอยู่ตามร้านค้าปลีกที่กระจายอยู่ทั่วไป หรือห้างสรรพสินค้า ในเมืองหลวงอย่างเวียงจันทน์ จะมีตัวแทน จ�ำหน่ายอยูใ่ นพืน้ ทีแ่ ละติดต่อกับส�ำนักงานสาขาทีห่ นองคาย นครหลวงเวียงจันทน์ถอื เป็นเมืองทีส่ ำ� คัญทีเ่ ป็นจุด กระจายสินค้าเพื่อส่งต่อไปยังแขวงต่างๆ สินค้าไทยส่วนใหญ่จะมาจากเวียงจันทน์ ดังนั้นช่องทางผ่านผู้ค้าส่งที่จังหวัดอุดรธานี หนองคาย และ เวียงจันทน์เป็นจุดส�ำคัญ หลวงพระบางจะเป็นจุดกระจายสินค้าของลาวตอนเหนือ การทีส่ นิ ค้าเข้าและติดตลาดหลวงพระบางได้ ก็ จะท�ำให้สินค้ากระจายไปสู่แขวงต่างๆ ในภาคเหนือของ สปป.ลาว แขวงจ�ำปาสักจะเป็นจุดกระจายสินค้าของลาวตอนใต้ การที่สินค้าเข้าและติดตลาดในแขวงจ�ำปาสักได้ ก็ จะท�ำให้สินค้ากระจายไปสู่แขวงต่างๆ ในภาคใต้ของ สปป.ลาว สินค้าบางชนิดโดยเฉพาะเครื่องส�ำอางอาจใช้การขายตรง ส�ำหรับสินค้าตลาดใหม่ที่ต้องการเปิดตัวสินค้า อาจมีช่องทางจัดจ�ำหน่ายผ่านทางการแสดงสินค้า ซึ่งมีทั้งหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมส่งเสริมการส่งออก และ เอกชนเป็นผู้ด�ำเนินการ สินค้าบางชนิดโดยเฉพาะเครื่องส�ำอางอาจใช้การขายตรง ส�ำหรับสินค้าตลาดใหม่ที่ต้องการเปิดตัวสินค้า อาจมีช่องทางจัดจ�ำหน่ายผ่านทางการแสดงสินค้า ซึ่งมีทั้งหน่วยงานภาครัฐเช่น กรมส่งเสริมการส่งออก และ เอกชนเป็นผู้ด�ำเนินการ

กลยุ ทธ์ดา้ นการส่งเสริมการตลาด กิจกรรมส่งเสริมการขายใน สปป.ลาว อาจจะมีบ้างในบางช่วงเวลา โดยพนักงานส่งเสริมการขายอาจร่วม กันกับบริษัทเอเย่นต์ไทยใน สปป.ลาว อาทิการให้ส่วนลด การสะสมยอดเพื่อรับของรางวัล เป็นต้น นอกจากนี้ อาจมีการลดราคาประจ�ำปี เพื่อกระตุ้นยอดขาย ซึ่งอาจพบเห็นบ้างในกรณีที่มีการจัดงานแสดงสินค้า การแจก ตัวอย่างสินค้าให้กับลูกค้าทดลองใช้ รวมทั้งแนะน�ำและสาธิตวิธีการใช้สินค้าใหม่ พร้อมทั้งให้ค่าคอมมิชชั่นกับ ผู้น�ำเข้าของ สปป.ลาว ที่สามารถท�ำยอดขายได้ตรงตามเป้าหมาย การโฆษณาโดยส่วนใหญ่ จะผ่านทางสื่อโทรทัศน์ที่สามารถรับสัญญาณจากทางฝั่งไทยอยู่แล้ว ชาว เวียงจันทน์นยิ มฟังวิทยุทอ้ งถิน่ ของจังหวัดอุดรธานี และหนองคาย การโฆษณาสินค้าผ่านวิทยุทอ้ งถิน่ ของจังหวัด อุดรธานี และหนองคายก็เป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพและประหยัดนอกจากนี้อาจจะโฆษณาผ่านทางสื่อท้อง ถิ่นของสปป.ลาว อาทิ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น และโปสเตอร์ เป็นต้น

62

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


การเตรียมความพร้อมส�ำหรับ

ผู ป ้ ระกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม

(กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1)

โมเดลส�ำหรับผู ้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาค เหนือตอนบน 1 เพื่อขยายการค้าและการลงทุนเข้าสู่ตลาด สปป.ลาว (กรณีต้นแบบ) โดยเฉพาะ ส�ำหรับผู ้เริ่มต้นก้าวสู่ตลาดต่างประเทศ ควรเริ่มจากโมเดลการค้าเพื่อการศึกษาตลาดเชิ งลึก และสร้างความสัมพันธ์ทางธุ รกิจกับผู ้ประกอบการ/นักธุ รกิจใน สปป.ลาว เพื่อความร่วมมือ ด้านการค้าและการลงทุนในระยะยาว THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

63


การพัฒนาธุรกิจสู่ สปป.ลาว ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ควรต้องพัฒนา ความพร้อมในการด�ำเนินธุรกิจภายในองค์ประกอบ 6 ด้านหลัก

1. การพัฒนาทักษะการประกอบธุ รกิจ แบบมืออาชี พ 2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ และมาตรฐาน 3. การพัฒนาบุ คลากร สนับสนุนธุ รกิจ 4. การพัฒนาเพื่อการเพิ่มผลผลิต

และบริหารต้นทุนการผลิต อย่างมีประสิทธิภาพ

5. การบริหารกระแสเงินสด 6. การบริหารความเสี่ยง 64

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


คุณลักษณะ

ผู ป้ ระกอบการ 1 ต้องการมุ่งความส�ำเร็จ (Need for Achievement) 2 มีวิสัยทัศน์กว้างไกล (Visionary) 3 ยืนหยัดต่อสู้ท�ำงานหนัก (Hard Working) 4 ความกล้าเสี่ยงอย่างมีหลักการและข้อมูลชั ดเจน (Risk Taking) 5 รักการเรียนรู ้และพัฒนาจากการเรียนรู ้ (Learning from Experience) 6 มีความรับผิดชอบ (Responsibility) 7 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity Thinking) 8 มีความสามารถในการบริหารงานและมีความเป็ นผู ้น�ำที่ดี (Management and Leadership Capability) 9 มีความกระตือรือร้น และไม่หยุ ดนิ่ง (Enthusiastic) 10 ใฝ่หาความรู ้เพิ่มเติม (Take New Knowledge) 11 รู ้จักตนเองและรู ้ระดับความสามารถของตนเอง (Self-Assessment) 12 ต้องมีความร่วมมือและแข่งขัน (Participation and Competition) 13 มีความซื่ อสัตย์ (Loyalty) THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

65


พืน้ ฐานความคิด สู่

ความส�ำเร็จ

1. มีพื้นฐานความเข้าใจซึ่งกันและกันก่อน 2. มีการเจรจราสร้างความสัมพันธ์ ให้มีความเข้าใจอันดี

กันก่อนที่จะเข้าร่วมลงทุนการค้ากัน 3. มีการแลกเปลี่ยนระหว่างกันเพื่อสร้างความสัมพันธ์ อันดีในการด�ำเนินธุรกิจ 4. ผู้ประกอบการทั้งสองฝ่ายควรจะได้รับผลผระโยชน์ ร่วมกันอย่างเป็นธรรม 5. ต้ อ งมี จุ ด ยื น ร่ ว มกั น ในการด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ ไม่ ใช่ ต ่ า ง ฝ่ า ยต่ า งแยกความคิ ด เห็ น หรื อ มี แ นวความคิ ด ที่ ไ ม่ ตรงกัน เนื่องจากการประกอบธุรกิจของ สปป.ลาว เป็นลักษณะการท�ำธุรกิจแบบครอบครัว แต่ของไทย เป็นการท�ำธุรกิจแบบ SMEs 6. ความเข้าใจในกฎหมาย กฎระเบียบ ธรรมเนียมปฏิบัติ เพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างกัน

66

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


รูปแบบส�ำหรับ

่มต้นธุรกิจ เริ ใน สปป.ลาว ผู ้ประกอบการต้องค�ำนึงถึงปั จจัยต่างๆ ได้แก่ ประสบการณ์ระหว่างประเทศของ ผู ้ประกอบการว่ามีเพียงพอหรือไม่ แนวโน้มการขยายตัวของหมวดผลิตภัณฑ์หรืออุ ตสาหกรรม ใน สปป.ลาว ว่าอยู ใ่ นระดับใด ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของผู บ้ ริโภค ความรูท้ างการตลาด อาทิ ระดับการแข่งขันและกลยุ ทธ์ท่มี ุ่งใช้ในอุ ตสาหกรรมที่เข้าสู่ตลาด ผู้ประกอบการต้องเตรียมความพร้อมด้วยการศึกษาข้อมูลสภาพแวดล้อมทั่วไป ภาวะเศรษฐกิจ รวมถึง รสนิยมของผู้บริโภคในตลาด สปป.ลาว ควรต้องมีการแบ่งส่วนทางการตลาด (Segmentation) และการเลือกตลาดเป้าหมาย(Target Market) ซึ่งท�ำได้โดยการจัดแบ่งผู้บริโภคในตลาด สปป.ลาว ที่มีอยู่ทั้งหมดออกเป็นกลุ่มๆ และศึกษาความต้องการและ ความพอใจของแต่ละกลุ่ม ท�ำให้สามารถเลือกตลาดส่วนย่อยส่วนหนึ่ง หรือหลายส่วนมาเป็นตลาดเป้าหมายได้ และสามารถศึกษาวิจยั ตลาดและศึกษาพฤติกรรมผูบ้ ริโภคในกลุม่ ได้งา่ ยและเฉพาะเจาะจงมากขึน้ และท�ำให้การ วางแผนทางการตลาดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การเสริมสร้างประสบการณ์ในการท�ำธุรกิจในต่างประเทศย่อมส่งผลให้กิจการมีความรู้ถึงปัญหาที่จะเกิด และการแก้ปัญหาตลอดจนแนวทางในการพัฒนาธุรกิจในแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกันในข้อจ�ำกัดต่างๆ ช่วยให้สามารถก�ำหนดกลุม่ ลูกค้าเป้าหมายทีช่ ดั เจน ก�ำหนดความแตกต่างโดดเด่นของผลิตภัณฑ์ทจี่ ะขายได้อย่าง ชัดเจนแม่นย�ำในการตอบสนองความต้องการของกลุม่ ลูกค้าเป้าหมายนัน้ ๆ รวมถึงสามารถก�ำหนดช่องทางการ จัดจ�ำหน่ายที่เหมาะสมและเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายใน สปป.ลาว ได้อย่างแม่นย�ำ เมื่อผู้ประกอบการได้ประเมินศักยภาพของตลาดและตัวเองในเบื้องต้นแล้ว ล�ำดับต่อมาคือการก�ำหนด รูปแบบกลยุทธ์ของผู้ประกอบการในการเข้าสู่ตลาด สปป.ลาว ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายตามศักยภาพของ ผูป้ ระกอบการเอง อาทิ การส่งออก การท�ำสัญญาผลิต การให้ลขิ สิทธิ์ การขยายแฟรนไชส์ และการลงทุนโดยตรง ใน สปป.ลาว การที่ผู้ประกอบการจะเลือกวิธีการใดในการเข้าสู่การค้าระหว่างประเทศกับ สปป.ลาวนั้นจะขึ้นอยู่กับ ปัจจัยทัง้ ภายในกิจการและขึน้ อยูก่ บั ปัจจัยภายนอกโดยเฉพาะอย่างยิง่ ปัจจัยในสปป.ลาว ซึง่ การเลือกวิธกี ารเข้า สู่ตลาดที่ถูกต้องเป็นการตัดสินใจที่ส�ำคัญมากในการลดความเสี่ยงและประหยัดต้นทุน THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

67


ค้าขาย

ติดขอบชายแดน การส่งออก (Exporting) เป็นวิธกี ารพืน้ ฐานทีส่ ดุ ในการด�ำเนินงานของธุรกิจระหว่างประเทศ และเป็น วิธีการที่มีความเสี่ยงน้อย เพราะเพียงแต่จัดส่งสินค้า ไปจ�ำหน่ายในต่างประเทศ ซึ่งการส่งออกแบ่งได้ 2 วิธี ได้แก่ การส่งออกทางอ้อม (Indirect Exporting) คือ การที่กิจการจะมอบหมายให้ผู้อื่นท�ำหน้าที่ในส่วนที่ เป็นการส่งสินค้าออกแทนตนเอง และการส่งออกทาง ตรง (Direct Exporting) หมายถึง การที่กิจการท�ำ หน้าที่ส่งสินค้าของตนไปสู่ลูกค้าใน สปป.ลาว เอง โดยตรงไม่ผ่านคนกลางใดๆ ซึ่งทั้ง 2 วิธี ท�ำได้ โดยเริ่มต้นจากการพบปะคู่ค้าใน สปป.ลาว โดยตรง จากการออกงานแสดงสินค้าใน สปป.ลาว หรือ การ เปิดหน้าร้านในพื้นที่ติดต่อชายแดนที่มีการค้าขาย ระหว่าง ไทย-ลาว ท�ำให้มีการซื้อขายกันโดยตรง

เกาะติด

คูค่ า้ สัญชาติไทย Direct

Laos

Thailand 68

Exporting

การขยั บ เข้ า สู ่ ต ลาด สปป.ลาว โดยที่ ผู ้ ป ระกอบการยั ง มี ประสบการณ์น้อย ต้องอาศัยผู้ช่วยด้านการตลาด ดังนั้น วิธีการส่งออก ทางตรง (Direct Exporting) โดยการอาศัยกิจการหรือผู้ประกอบการที่ เข้าไปค้าขาย-ลงทุนใน สปป.ลาว แล้วระดับหนึ่ง ในการน�ำสินค้าของผู้ ประกอบการไปสูล่ กู ค้าใน สปป.ลาว ซึง่ ท�ำได้โดยเริม่ ต้นจากการพบปะคู่ ค้าในพืน้ ทีก่ ลุม่ จังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ทีข่ ยายตลาดสู่ สปป.ลาวแล้ว โดยตรง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจ และอาศัยให้เป็นช่องทางการ จัดจ�ำหน่ายไปสู่ตลาด สปป.ลาว

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


การร่วมทุน

ปั ้ นธุรกิจ การร่วมลงทุนระหว่างประเทศ เป็นวิธีการก้าวสู่ ตลาดต่างประเทศแบบเต็มตัวและเป็นวิธีการที่มีความ เสีย่ งสูงสุด เพราะเป็นการลงทุนทรัพยากรทัง้ หมดในต่าง ประเทศ ส�ำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาด ย่อม ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ที่มีศักยภาพ ในการลงทุนลักษณะนี้ ควรเน้นการสร้างความสัมพันธ์ ทางธุรกิจกับนักธุรกิจใน สปป.ลาว เพื่อให้เกิดการร่วม ลงทุน และพัฒนาธุรกิจไปร่วมกัน เมื่อกิจการมีความ ก้าวหน้าขึน้ อาจมีการเจรจาขายกิจการให้แก่ผปู้ ระกอบ การ สปป.ลาว รับผิดชอบอย่างเต็มตัว ซึ่งจะท�ำให้ผู้ ประกอบการของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ได้มี โอกาสในการพัฒนาธุรกิจและตลาดใหม่ๆ ต่อไป

THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

69


ลาด ต ก ุ ร เปิ ดวชิ ั น

05 หลักการขยายธุรกิจ สูต่ า่ งประเทศ SME

การท�ำธุรกิจออกไปสูต่ า่ งประเทศ นับเป็น แนวทางการต่อยอดธุรกิจที่นา่ สนใจ ที่สามารถ น�ำสูก่ ารเพิ่มขึน้ ของทัง้ ยอดขายและผลก�ำไร แต่ การท�ำธุรกิจในต่างประเทศมีขอ้ แตกต่างอย่าง กับการท�ำธุรกิจภายในประเทศ ทัง้ เรื่องของ วัฒนธรรม ค่านิยมของผู บ้ ริโภค กฎหมายและ ระบบการเสี ย ภาษี ดั ง นั้น การประสบความ ส�ำเร็จของธุรกิจในตลาดต่างประเทศ จ�ำเป็ น ต้องอยู บ่ นพืน้ ฐานของการพัฒนาความพร้อม ของธุ ร กิ จ และการพั ฒ นากลยุ ท ธ์ ก ารตลาด ของผู ้ประกอบการ หัวใจส�ำคัญของความส�ำเร็จอย่างยัง่ ยืนในตลาด ต่างประเทศ ส�ำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและ ขนาดเล็ก หรือที่เราเรียกกันว่า SME (Small and Medium Enterprise) การศึกษาข้อมูลตลาดใน ประเทศทีส่ นใจ ไม่วา่ จะเป็นข้อมูลความต้องการ ความ คาดหวัง ค่านิยมการบริโภค พฤติกรรมการซื้อ และ รวมถึงข้อมูลด้านการแข่งขันในตลาดนั้นๆ นับเป็นจุด เริ่มต้นของหัวใจของความส�ำเร็จ เพื่อเตรียมก้าวไปสู่ การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศ ผู ้ ป ระกอบการต้ อ งท� ำ การตรวจสอบโอกาส ทางการตลาดของประเทศที่จะไป ว่าสินค้าของผู้

70

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1

ประกอบการมีแนวโน้มที่จะประสบความส�ำเร็จมาก ขนาดไหน โดยต้องพิจารณาข้อมูลในทุกเรื่องไม่ว่าจะ เป็นราคา จุดเด่น จุดด้อย การวางแผนธุรกิจ การท�ำ ตลาด คู่แข่งขัน พิจารณาและวิเคราะห์อย่างละเอียด ว่าธุรกิจจะสามารถเข้าไปเจาะและตีตลาดได้หรือไม่ โดยใช้แนวค�ำถามต่อไปนี้ในการตรวจสอบ 1) ตลาดต้ อ งการสิ น ค้ า /บริ ก ารประเภทใด ลักษณะเป็นอย่างไร มีประโยชน์อะไร เราท�ำได้หรือไม่ 2) ความต้องการของตลาดอยู่ภายใต้เงื่อนไข อะไรบ้าง อาทิ รสนิยม วัฒนธรรม ความเชื่อ และเรา สามารถปรับเปลีย่ นสินค้า/บริการ รวมทัง้ รูปแบบการ ท�ำธุรกิจให้สอดคล้องได้หรือไม่ 3) การแข่งขันในตลาดทีจ่ ะเข้าไปรุน่ แรงหรือไม่ และเรามีความพร้อมในการที่จะแข่งขันได้หรือไม่ 4) ความพร้ อ มของเรามี ม ากน้ อ ยแค่ ไ หน ทั้งด้าน ก�ำลังคน ก�ำลังเงิน และก�ำลังความรู้/ข้อมูล ซึง่ ต้องใช้ทกั ษะด้านช่างสังเกตและพร้อมเรียนรูเ้ พือ่ จะ ได้ปรับตัวอยู่ตลอดเวลา จึงจะเป็นแนวทางและเคล็ด ลับส�ำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถลงไปปักธงยังดินแดน ต่างประเทศได้ประสบความส�ำเร็จในที่สุด


5) เรามีประสบการณ์ท�ำธุรกิจในต่างประเทศมากน้อยเพียงใด ประสบการณ์ในการค้า/ลงทุนในต่าง ประเทศทีเ่ พิม่ ขึน้ ย่อมส่งผลให้ผปู้ ระกอบการมีความรูถ้ งึ ปัญหาทีจ่ ะเกิดและแนวทางการแก้ปญ ั หา รวมถึงแนวทาง ในการพัฒนาธุรกิจในต่างประเทศ อาทิ การก�ำหนดกลุม่ ลูกค้าเป้าหมายได้ชดั เจน ก�ำหนดต�ำแหน่งทางการตลาด ของสินค้า/บริการทีแ่ ม่นย�ำตรงกับความคาดหวังของลูกค้าเป้าหมาย การก�ำหนดช่องทางการจัดจ�ำหน่ายทีแ่ ม่นย�ำ เข้าถึงลูกค้าเป้าหมายได้อย่างทั่วถึงและต้นทุนที่ต�่ำกว่าหรือแข่งขันได้กับคู่แข่งอื่นๆ

ขัน้ ตอนพืน้ ฐานในการ เริ่มต้นท�ำธุรกิจในต่างประเทศ 11. การท�ำวิจยั และการวางแผนทางธุรกิจ

ผูป้ ระกอบการควรใช้เวลาในการส�ำรวจข้อมูล ประเมินสภาพธุรกิจและเป้าหมายของการลงทุน เพือ่ เป็นการ เพิ่มโอกาสของความส�ำเร็จ โดยใช้ข้อมูลอย่างรอบด้านเพื่อสร้างแผนธุรกิจที่มีความถูกต้องและมีประสิทธิภาพ แผนธุรกิจจะช่วยให้ผู้ประกอบการด�ำเนินธุรกิจไปสู่เป้าหมายที4่วางไว้ กระบวนการของการพัฒนาแผนธุรกิจจะ ช่วยให้ผู้ประกอบการมองเห็นถึงประเด็นต่างๆ ที่ผู้ลงทุนอาจมองข้ามไป แผนธุรกิจจะเป็นเครื่องมือส�ำคัญที่ผู้ ประกอบการจะใช้เพือ่ ท�ำให้ธรุ กิจได้กำ� ไรและสามารถใช้เป็นเครือ่ งมือในการประเมินถึงผลส�ำเร็จของการด�ำเนิน ธุรกิจได้อีกทางหนึ่งด้วย

22. การรับค�ำปรึกษาและฝึ กอบรม

ผู้ลงทุนควรใช้ประโยชน์จากหลายองค์กรที่บริการให้ค�ำปรึกษาและโครงการฝึกอบรมธุรกิจที่มีอยู่ทั่วไป ตั้งแต่โครงการฝึกอบรมที่เสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย ไปจนถึงการให้ค�ำปรึกษาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่าง ใด องค์กรที่ให้ค�ำปรึกษาดังกล่าวสามารถช่วยผู้ประกอบการหาแหล่งเงินทุน รวมถึงลู่ทางเพื่อขยายธุรกิจได้

33. การเลือกช่ องทางจัดจ�ำหน่าย ตัวแทนจัดจ�ำหน่าย หรือการหาท�ำเลที่ ตัง้ ของธุรกิจ ผู้ประกอบการควรตรึกตรองถึงปัจจัยต่างๆ อย่างรอบด้านเมื่อต้องตัดสินใจในการเลือกช่องทางการจัด จ�ำหน่าย ตัวแทนจัดจ�ำหน่าย หรือการหาท�ำเลทางธุรกิจ ส่วนมากแล้วท�ำเลที่ดีส�ำหรับการท�ำธุรกิจมักจะต้อง สอดคล้องกับประเภทของธุรกิจทีผ่ ปู้ ระกอบการต้องการจะลงทุน จากปัจจัยต่างๆ อาทิ ความใกล้เคียงของธุรกิจ คูแ่ ข่ง หรือกฎหมายข้อบังคับเกีย่ วกับผังเมืองและป้ายโฆษณา สิง่ เหล่านีน้ กั ลงทุนควรน�ำมาพิจารณาประกอบใน การเลือกท�ำเลที่ตั้ง

THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

71


4 การหาแหล่งช่ วยเหลือทางด้านเงินทุน

ธุรกิจทุกประเภทต้องการเงินทุนเพือ่ การปรับปรุง พัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการ และการด�ำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ แหล่งเงินทุนต่างๆ อาทิ จากบัญชีเงินฝาก การจ�ำนองบ้าน หรือจากเพื่อนและ ครอบครัว ปัญหาส�ำคัญส่วนใหญ่ของผู้ลงทุนก็คือจะท�ำอย่างไรเพื่อหาแหล่งเงินทุนเพื่อกู้ยืมในการท�ำธุรกิจ ส�ำหรับผู้ที่ไม่มีเงินลงทุนเพียงพอ ผู้ประกอบการธุรกิจสามารถหาแหล่งเงินทุนโดยเริ่มตั้งแต่จากรัฐบาลกลาง รัฐบาลแคลิฟอร์เนีย ไปจนถึงหน่วยงานระดับท้องถิน่ ทีม่ โี ครงการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินส�ำหรับผูต้ อ้ งการ เริ่มท�ำธุรกิจ

55. การเลือกรูปแบบการด�ำเนินงานของธุรกิจ

เมื่อเริ่มต้นธุรกิจในต่างประเทศ ผู้ลงทุนต้องตัดสินใจว่าจะด�ำเนินธุรกิจของตนในรูปแบบหรือลักษณะใด เช่น การส่งออกเพียงอย่างเดียว หรือการจัดตัวแทนจัดจ�ำหน่ายในต่างประเทศ หรือการจัดตัง้ ธุรกิจในต่างประเทศ เป็นเจ้าของเพียงคนเดียว นิติบุคคล หรือ ห้างหุ้นส่วน ซึ่งรูปแบบธุรกิจนี้จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงจ�ำนวนของเอกสารที่ คุณจะต้องยืน่ ต่อรัฐบาลเพือ่ แสดงถึงความรับผิดชอบของผูป้ ระกอบการทีแ่ ตกต่างกันไปในแต่ละประเภทรูปแบบ ธุรกิจการลงทุน และกฎระเบียบการเสียภาษีต่อรัฐที่ผู้ประกอบการจะต้องจ่าย

66. การเลือกชื่ อหรือเครื่องหมายการค้า ผูป้ ระกอบการจะต้องใช้ชอื่ หรือเครือ่ งหมายการค้า หากผู้ประกอบการมิได้ใช้ชื่อของตนเป็นชื่อของธุรกิจ ส�ำหรับเครือ่ งหมายการค้าหรือชือ่ ของธุรกิจ ผูล้ งทุนสามารถขอรับหรือตรวจสอบได้จากหน่วยงานในท้องถิน่ ทีผ่ ู้ ลงทุนต้องการประกอบธุรกิจ

77. การตรวจสอบด้านการจดทะเบียนธุรกิจและระบบภาษีธุรกิจ

ผู้ประกอบธุรกิจต้องตรวจสอบเกี่ยวกับรูปแบบ และลักษณะการด�ำเนินงานของธุรกิจ กฎหมายการจ้าง งาน บัญชีค่าจ้าง (Payroll) ภาษีรายได้ (Income Tax) และภาษีการขายสินค้าและบริการ (Sale Tax) รวมทั้ง ผูล้ งทุนควรศึกษาเพิม่ เติมเกีย่ วกับโครงการช่วยเหลือด้านภาษีสำ� หรับธุรกิจขนาดเล็ก รวมถึงกรอบความร่วมมือ อาเซียน กรณีที่ผู้ประกอบการมีความสนใจในการประกอบธุรกิจในประเทศกลุ่มอาเซียน เป็นต้น

88. การลงทะเบียนเพื่อรับใบอนุญาตในการท�ำธุรกิจ

รูปแบบกิจกรรมทางธุรกิจเป็นตัวบ่งชีถ้ งึ ใบอนุญาตหรือการยินยอมจากรัฐบาลในการประกอบธุรกิจอย่าง ถูกต้องตามกฎหมาย ส�ำหรับใบอนุญาตธุรกิจ (Business licenses) ผูป้ ระกอบธุรกิจสามารถขอรับได้จากรัฐบาล ท้องถิ่น

72

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


พืน้ ฐานการเริ่มต้นของธุรกิจใน ต่างประเทศส�ำหรับ SMEs

1) ท�ำธุรกิจต้องดูขนาดของตลาด และดูคแู่ ข่ง หากตลาดมีขนาดเล็กหรือมีคู่แข่งในตลาดมากมาย ท�ำลงทุนลงแรงอย่างไร ก็ยากที่จะประสบผลส�ำเร็จและต่อยอดไปอีก 2) ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ของเราเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดเป้าหมายหรือไม่ 3) ผลิตภัณฑ์ที่น�ำเข้าสู่ตลาดต้องแตกต่าง ต้องเป็นของใหม่ 4) การควบคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5) การเลือกช่องทางการกระจายสินค้าที่เข้าถึงผู้บริโภคในตลาดเป้าหมาย 6) การท�ำวิจยั หรือศึกษาข้อมูลเกีย่ วกับผลิตภัณฑ์ของเราว่ามีคนสนใจมากน้อยเพียงใด มีกี่คนที่ซื้อ 7) การเน้นบรรจุภัณฑ์ที่ลงทุนท�ำดีไซน์ให้ดี เพราะได้ประโยชน์ทั้งการช่วยเป็นตัวโฆษณาที่ ไม่ เ สี ย เงิ น เพิ่ ม หากมี ดี ไซน์ ส วย แตะตาโดนใจผู ้ บ ริ โ ภค ก็ จ ะถู ก เลื อ กซื้ อ ไปได้ โ ดยง่ า ย นอกจากนั้นยังต้อง เน้นประสิทธิภาพด้านต้นทุนการขนส่งและจัดเก็บรักษา 8) วางแผนการเติบโตของธุรกิจให้ชัดเจน

LAOS

ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1

THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

73


ระดับการเปิ ดสูต่ ลาด

ต่างประเทศ

การท�ำธุรกิจในต่างประเทศมีหลากหลายวิธกี าร ทัง้ นีข้ นึ้ อยูก่ บั ความพร้อมและวัตถุประสงค์ของผูป้ ระกอบ การในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ การที่ธุรกิจจะเลือกวิธีการใดในการเข้าสู่การค้าระหว่างประเทศนั้นจะขึ้นอยู่ กับปัจจัยทัง้ ภายในกิจการ และขึน้ อยูก่ บั ปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิง่ ปัจจัยในประเทศทีจ่ ะไปลงทุน ส�ำหรับ การออกสูก่ ารด�ำเนินงานในต่างประเทศจะประกอบด้วย การส่งออก (Exporting) เป็นวิธกี ารพืน้ ฐานทีส่ ดุ ในการ ด�ำเนินงานของธุรกิจระหว่างประเทศ และเป็นวิธีการที่มีความเสี่ยงน้อย เพราะเพียงแต่จัดส่งสินค้าไปจ�ำหน่าย ในต่างประเทศมิใช่การลงทุนสร้างโรงงานหรือฐานการผลิตซึ่งต้องการระยะเวลาผูกพันในการที่จะให้ได้ทุนคืน การที่ธุรกิจจะส่ง สินค้าออกไปจ�ำหน่ายในต่างประเทศแบ่งได้สองวิธีได้แก่ การส่งออกทางอ้อม (Indirect Exporting) หรือการส่งออกทางตรง (Direct Exporting) การส่งออกเป็นการที่กิจการเริ่มใช้ประโยชน์จาก ผู้บริโภคในตลาดโลกเท่านั้น แต่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบในด้านต่างๆ เช่น ต้นทุนการผลิต แหล่งวัตถุดิบหรือปัจจัยอื่นเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์และศักยภาพทางการบริหารของกิจการ 1. การส่งออกทางอ้อม (Indirect Exporting) ได้แก่การที่กิจการจะมอบหมายให้ผู้อื่น ท�ำหน้าที่ในส่วนที่เป็นการส่งสินค้าออกแทนตนเอง ซึ่งควรเลือกใช้ผู้ที่มีความช�ำนาญในส่วนของการค้าขายกับ ต่างประเทศ (ready-made experience) ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของวัฒนธรรม กฎหมาย ตัวแทนการน�ำเข้าใน ต่างประเทศ หรือแม้กระทั่งกระบวนการทางศุลกากรของประเทศคู่ค้า ตัวแทนการส่งออกที่ดีควรจะมีบทบาท ในการให้ค�ำปรึกษาด้วย ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อกับลูกค้าปัจจุบัน การโฆษณา การท�ำการส่งเสริมการจ�ำหน่าย เพื่อเพิ่มยอดขาย แม้กระทั่งในกรณีที่ยอดขายลดลงตัวแทนที่ดีอาจแนะน�ำให้ใช้วิธีอื่นๆ เพื่อให้รักษาตลาดไว้ได้ 1. SMEs มีทางเลือกส�ำหรับการส่งออกทางอ้อม ดังนี้ 1.1 มีตัวแทนที่รับค่าคอมมิชชั่น (Commission Agents) ท�ำการส่งออกให้ 1.2 ผ่านบริษทั จัดการส่งออก ทีด่ �ำเนินการภายใต้สัญญาในช่วงระยะเวลาหนึ่งมาท�ำหน้าทีเ่ ป็นผู้กระจาย สินค้าและถือกรรมสิทธิ์ในตัวสินค้าเองหรือเป็นตัวแทนจ�ำหน่ายที่ได้รับค่าคอมมิชชั่นเท่านั้นท�ำหน้าที่เหมือน แผนกส่งออกของ SMEs 1.3 จ้างบริษัทติดต่อการค้าให้ ผู้ซื้อและผู้ขายมาพบกัน เพื่อเจรจาตกลงซื้อขายสินค้า 1.4 การส่งออกแบบรวมๆ กันไปกับสินค้าหลัก (Piggyback Export) เป็นการส่งออกโดยใช้ ผู้ส่งออกราย อื่นเป็นคนกลางให้ ทั้งนี้เหมาะส�ำหรับ ธุรกิจส่งออกขนาดเล็ก หรือไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทุกชนิดตามที่ลูกค้า ต้องการ จึงใช้วิธีการรวบรวมจากบริษัทอื่นๆ จนได้ปริมาณมากพอกับการส่งออก

74

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


2. การส่งออกทางตรง (Direct Exporting) หมายถึง การทีก่ จิ การท�ำหน้าทีใ่ นการส่งสินค้าไปสูล่ กู ค้าในต่างประเทศโดยตรงไม่ผา่ นคนกลางใดๆ ส�ำหรับ กิจการที่เพิ่งเริ่มต้นแล้ววิธีการดังกล่าวอาจมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าวิธีการส่งออกทางอ้อม ทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดจาก การขาดประสบการณ์ แต่ในระยะยาวจะเป็นประโยชน์ตอ่ กิจการในหลายด้าน ไม่วา่ จะเป็นประสบการณ์ในเรือ่ ง กระบวนการทางศุลกากร กระบวนการทางธุรกิจในประเทศต่างๆ ความต้องการผลิตภัณฑ์ของชาติตา่ งๆ สิง่ เหล่า นี้จะเป็นรากฐานต่อการเข้าไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ อย่างไรก็ดีหลายกิจการอาจติดต่อกับลูกค้าของตน ในต่างประเทศโดยตรง แต่งานบางชนิดอาจใช้บริษัทส่งออก-น�ำเข้าทั้งภายในและต่างประเทศเป็นผู้ช่วยเหลือ การเข้าไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ ส�ำหรับการท�ำตลาดในประเทศเป้าหมาย อาจเลือกด�ำเนินการดังนี้ 2.1 ตั้งตัวแทนจ�ำหน่าย (Sales Representative) ผู้ด�ำเนินการจะไม่มีกรรมสิทธิ์ในตัวสินค้า แต่ได้รับค่า นายหน้า (Commission) จากการท�ำตลาดนั้น 2.2 มอบให้ผู้กระจายสินค้า (Distributor) โดยขายส่งสินค้าให้ และผู้กระจายสินค้าจะรับไปขายต่อใน ราคาขายปลีกอีกทอดหนึ่ง ในกรณีนี้ SMEs จะไม่สามารถควบคุมราคาขายหรือกลยุทธ์การตลาดได้ 2.3 ท�ำการขายตรงผ่านแคตาล็อคไปรษณีย์ ออกร้านตามงานแสดงสินค้า หรือเปิด Website ขายสินค้า มักใช้กับสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมาก่อนแล้ว

ปัจจุบนั ระบบการสือ่ สารสมัยใหม่เช่นระบบอินเตอร์เน็ทท�ำให้เกิดเครือข่ายการสือ่ สารระหว่างแหล่ง ต่างๆ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการค้าระหว่างประเทศ กล่าวคือท�ำให้คู่ค้าสามารถเข้าถึงกันได้เร็วและ หลากหลายแหล่งขึน้ ทีร่ จู้ กั ดีในนามของพาณิชย์อเิ ลคทรอนิค (E-Commerce) หรืออีคอมเมิรซ์ ระบบ การสือ่ สารชนิดนีท้ ำ� ให้เกิดผลต่อธุรกิจการค้าระหว่างประเทศอย่างมหาศาล เนือ่ งจากเป็นปัจจัยที่ ช่วยให้เกิดการติดต่อรับทราบข่าวสารกันได้อย่างรวดเร็วและต้นทุนทีต่ ำ�่ มาก และเป็นการติดสือ่ สาร กันเป็นเครือข่ายไปทัว่ โลก (Global Network) ท�ำให้ผนู้ ำ� เข้า (Importer) และผูส้ ง่ ออก (Exporter) จากทัว่ โลกสามารถทราบความต้องการเสนอซือ้ และเสนอขายสินค้าของผูอ้ นื่ ได้ และสามารถติดต่อซือ้ ขายโดยตัดคนกลางลงไปได้มาก ท�ำให้ตน้ ทุนขายของสินค้าชนิดหนึง่ ต�ำ่ ลงมาก

THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

75


วิธกี ารอื่นในการเปิ ดสู่ ตลาดต่างประเทศ การทีธ่ รุ กิจจะเลือกวิธกี ารใดในการน�ำธุรกิจของตนเข้าท�ำการค้าในต่างประเทศนัน้ ไม่มกี ฎเกณฑ์ทเี่ ป็นข้อ สรุปว่าจะต้องใช้วธิ กี ารอย่างไรเป็นการตายตัว ทัง้ นีเ้ พราะการเลือกวิธกี ารเข้าสูต่ ลาดต่างประเทศจะต้องพิจารณา ทัง้ ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกประกอบกัน และเมือ่ สถานการณ์เปลีย่ นแปลงไปธุรกิจก็ตอ้ งปรับวิธกี ารของ ตนให้เหมาะสม ในขณะเดียวกันในกรณีทเี่ ป็นการลงทุนขนาดใหญ่ในต่างประเทศ ธุรกิจจะต้องพิจารณาเหตุการณ์ ล่วงหน้าเป็นระยะเวลานานๆ เนือ่ งจากการลงทุนขนาดใหญ่ตอ้ งการระยะเวลาการคืนทุนนาน ท�ำให้ความผันผวน ของสถานการณ์ภายนอกมีผลต่อการตัดสินใจมาก การตัดสินใจเข้าสูธ่ รุ กิจระหว่างประเทศอย่างเหมาะสมจึงต้อง พิจารณาข้อจ�ำกัดต่างๆ อย่างรอบคอบเหมาะสม

1. การท�ำสัญญาการผลิต (Contract manufacturing) หมายถึง การที่ผู้ประกอบการหนึ่งว่าจ้างผู้ผลิตในต่างประเทศให้ท�ำการผลิตสินค้าให้ตามคุณภาพและ มาตรฐานที่ก�ำหนด และผู้จ้างจะเป็นผู้ท�ำการจ�ำหน่ายสินค้าดังกล่าวเอง รวมทั้งเป็นผู้รับผิดชอบกระบวนการ ทางการตลาดไม่วา่ จะเป็นการโฆษณาและการส่งเสริมการจ�ำหน่ายด้วย วิธกี ารดังกล่าวเป็นวิธกี ารทีล่ ดความเสีย่ ง ในการลงทุนขนาดใหญ่ในตลาดต่างประเทศ เมื่อตลาดยังไม่โตพอที่จะลงทุนตั้งโรงงานผลิตซึ่งต้องใช้ต้นทุนสูง และใช้ระยะเวลาคืนทุนนาน ถ้าตลาดมีปริมาณไม่มากอาจไม่สามารถท�ำให้ถึงจุดคุ้มทุนได้ หรืออาจนานมากจน ไม่คมุ้ ค่า ในขณะเดียวกันการทีต่ ลาดมีขนาดไม่ใหญ่มากหรือมีคแู่ ข่งขันสูง แต่กย็ งั มีปริมาณผูบ้ ริโภคมากพอทีจ่ ะ สร้างผลก�ำไรให้กิจการ ดังนั้นการจ้างผู้อื่นผลิตให้และกิจการขายจึงท�ำให้เกิดผลก�ำไรจากส่วนดังกล่าวได้บนพื้น ฐานของความเสี่ยงต�่ำ

2. การมอบใบอนุญาติ (Licensing) หมายถึง การที่ผู้ประกอบการเจ้าของเครื่องหมายการค้า (Licensor) ได้อนุญาติให้ผู้อื่นในต่างประเทศ ท�ำการผลิตสินค้าหรือบริการ (Licensee) ภายใต้เครือ่ งหมายการค้าและการควบคุมคุณภาพจากกิจการเจ้าของ โดยผู ้ ไ ด้ รั บ อนุ ญ าติ ใ ห้ ท� ำ การผลิ ต จะต้ อ งเสี ย ค่ า ธรรมเนี ย มในการได้ รั บ อนุ ญ าติ (Royalty) ให้ เจ้ า ของ เครื่องหมายการค้า นับเป็นการส่งออก เทคโนโลยี (Technology) และวิธีการผลิต (Know-How) สู่ผู้รับ อนุญาติจะมีความเสี่ยงในแง่ของการที่ผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีกลายไปเป็นคู่แข่งในอนาคตเสียเอง ธุรกิจ ระหว่างประเทศหลายรายที่มอบใบอนุญาติการผลิตให้กิจการท้องถิ่นของประเทศก�ำลังพัฒนา และถ่ายทอด เทคโนโลยีให้แต่กิจการท้องถิ่นก็ไม่สามารถผลิตออกแข่งขันในตลาดโลกได้ เนื่องจากไม่มีเครื่องหมายการค้าที่ มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับทั่วโลกท�ำให้ไม่มีตลาดรองรับ การที่จะรู้เทคโนโลยีก็ไม่มีประโยชน์อะไรมากต่อ กิจการเหล่านัน้ ทีจ่ ะขึน้ ไปแข่งขันกับเจ้าของเครือ่ งหมายการค้าในตลาดโลก และการสร้างเครือ่ งหมายการค้าให้ เป็นที่รู้จักในระดับโลกเป็นสิ่งที่ยากและต้องใช้เวลา ซึ่งจะต้องใช้เวลาสร้างเครื่องหมายการค้าให้เป็นที่รู้จัก เทคโนโลยีก็อาจเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว 76

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


3. การให้สมั ปทาน (Franchising) จัดเป็นวิธีการหนึ่งของการได้รับอนุญาต (License) จากเจ้าของเครื่องหมายการค้า (Franchiser) โดย ผู้ได้รับ (Franchisee) อาจเป็นธุรกิจหรือบุคคลที่จะใช้ระบบการท�ำงาน เครื่องหมายการค้าและสิทธิพิเศษอย่าง อื่นเพื่อด�ำเนินธุรกิจตามข้อก�ำหนดที่ได้ตกลงกันไว้ และเจ้าของสัมปทานก็จะได้รับค่าธรรมเนียมเป็นการแลก เปลีย่ น (Franchise fee) ผูใ้ ห้สมั ปทานยังคงต้องท�ำการบริหารผูร้ บั สัมปทานเพือ่ ให้รกั ษาคุณภาพและมาตรฐาน ในการขายสินค้าและบริการตามข้อก�ำหนด มิฉะนั้นชื่อเสียงของผลิตภัณฑ์อาจตกต�่ำลงได้ ธุรกิจที่ขยายตัวโดย วิธีการขายสัมปทานนี้จะเริ่มในท้องถิ่นก่อน เมื่อขยายตัวจนมีสาขามากแล้วจึงออกสู่ต่างประเทศ เนื่องจาก กระบวนการผลิตและให้บริการทีเ่ หมือนกันท�ำให้กจิ การมีความช�ำนาญในการทีจ่ ะบริหารผูร้ บั สัมปทาน ส�ำหรับ ผลประโยชน์ทจี่ ะเกิดขึน้ ต่อคูค่ า้ ได้แก่ ในส่วนของผูร้ บั สัมปทานนัน้ สามารถเริม่ ต้นธุรกิจในเวลาอันสัน้ เพราะส่วน หนึง่ ของธุรกิจขึน้ อยูก่ บั ชือ่ เสียงของกิจการ นักลงทุนรายใหม่ทลี่ งทุนโดยการซือ้ สัมปทานจากกิจการทีม่ ชี อื่ เสียง ย่อมจะได้ลูกค้าโดยทันที นอกจากนี้ยังได้รับเทคโนโลยีและวิธีการ (Know-How) ซึ่งเป็นผลจากการวิจัยโดย กิจการขนาดใหญ่ โดยถ้าเริม่ ต้นเองแล้วย่อมเป็นไปได้ยากมากทีจ่ ะมีเทคโนโลยีในทุกด้านเทียบเท่ารวมถึงต้นทุน ต่อหน่วยของเทคโนโลยีและต้นทุนสินค้าต่อหน่วยด้วย ในส่วนของผูข้ ายสัมปทานนัน้ ผลทีจ่ ะเกิดขึน้ อย่างเห็นได้ ชัดได้แก่การที่สามารถขยายสาขาและส่วนแบ่งตลาดโดยไม่ต้องลงทุนเอง โดยเฉพาะธุรกิจสัมปทานมักเป็นร้าน ค้าปลีกทัง้ อาหารและ สินค้าอุปโภคซึง่ ต้องการท�ำเลทีก่ ระจัดกระจายเข้าสูช่ มุ ชน การจะลงทุนเองนัน้ จะมีปญ ั หา ทั้งการเงินและการบริหารสาขา การขายสัมปทานให้ผู้อื่นเท่ากับเป็นการระดมทุนเพื่อธุรกิจของตนทางหนึ่งโดย ไม่ตอ้ งผ่านตลาดทุน เพราะผูซ้ อื้ สัมปทานจะต้องปฏิบตั ติ ามเงือ่ นใขนานับประการจนไม่ตา่ งอะไรกับเป็นส่วนหนึง่ ของกิจการ นอกจากนี้กิจการยังสามารถหารายได้จากหลายทางเช่นการขายเครื่องจักรและวัตถุดิบต่างๆนอก เหนือจากค่าธรรมเนียม (Franchise Fee) ตัวอย่างของธุรกิจสัมปทาน เช่น ธุรกิจโรงแรม มาริออต (Marriot) ฮิลตัน (Hillton) รวมทั้งธุรกิจ รถเช่าเช่น เอวิส (Avis) และเฮิร์ซ (Hertz) เป็นต้น

4. การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (Equity-Based Ventures) การลงทุนในต่างประเทศ จะประกอบด้วยวิธีการสองรูปแบบได้แก่ การลงทุนในตลาดทุน (Port folio Investment) และการลงทุนโดยตรง (Foreign Direct Investment หรือ FDI) การลงทุนในตลาดทุน (Portfolio) นั้นผู้ลงทุนเพียงหวังผลจากการได้รับเงินปันผลหรือการเปลี่ยนแปลง มูลค่าของหุ้นโดยมิได้หวังผลที่จะเข้าไปบริหารจัดการใดๆ การลงทุนที่จะเน้นในที่นี้ได้แก่การลงทุนโดยตรง (FDI) ของกิจการในต่างประเทศ หมายถึงการที่กิจการ ลงทุนด้วยทรัพยากรต่างๆเพือ่ มุง่ สร้างผลผลิตให้เกิดขึน้ ในต่างประเทศ ซึง่ หมายถึงกิจการจะต้องเข้าท�ำการบริหาร จัดการในรูปแบบต่างๆ ผลผลิตที่เกิดขึ้นอาจจ�ำหน่ายในประเทศที่ผลิตหรือส่งต่อไปยังประเทศที่สาม การลงทุน ทีเ่ กิดขึน้ ในต่างประเทศจะเกิดขึน้ ได้ทงั้ จากการทีบ่ ริษทั แม่ลงทุนทัง้ หมด (Wholly Own) หรือร่วมทุนกับกิจการ อื่น (Joint Venture)

THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

77


4.1 ) การลงทุนด้วยเงินทุนเองทัง้ หมด (Wholly Own) หมายถึง การที่กิจการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศด้วยเงินทุนของตนเอง ตัวอย่างเช่นการที่ประเทศที่ ก�ำลังพัฒนาต้องการการลงทุนจากธุรกิจเพิ่มขึ้น ในขณะที่ธุรกิจภายในประเทศไม่มีฐานทุน เทคโนโลยีและการ จัดการทีด่ พี อ ท�ำให้ตอ้ งพึง่ พาฐานการลงทุนจากต่างชาติ อย่างไรก็ตามผูป้ ระกอบการทีต่ อ้ งการจะลงทุนลักษณะ นีต้ อ้ งศึกษากฏหมายทีก่ ำ� กับสัดส่วนการลงทุนของต่างชาติ เป้าหมายส�ำคัญของการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ มักจะได้แก่ค่าแรงถูกท�ำให้ลดต้นทุนการผลิตได้มาก ในขณะที่การไปลงทุนในประเทศที่พัฒนาแล้วมีค่าแรงสูงก็ มักจะมีเหตุผลจากการเข้าใกล้แหล่งตลาดและแหล่งเทคโนโลยี

4.2 ) การร่วมทุนระหว่างประเทศ (International Joint Venture) หมายถึง การร่วมลงทุนกับกิจการจากประเทศอืน่ ๆ ในการท�ำธุรกิจในประเทศใดประเทศหนึง่ ทัง้ นีเ้ พราะ การร่วมลงทุนในลักษณะนีจ้ ะก่อให้เกิดผลดีหลายประการ ไม่วา่ จะเป็นด้วยเงือ่ นใขทางข้อจ�ำกัดของกฎหมายใน บางประเทศที่ห้ามต่างชาติถือหุ้นทั้งหมด ท�ำให้ต้องหากิจการจากท้องถิ่นเข้าร่วมทุนด้วย มิฉะนั้นจะไม่สามารถ เปิดด�ำเนินการได้ นอกจากนี้แล้วในบางประเทศที่ความชาตินิยมมีสูงการเข้าร่วมกับกิจการท้องถิ่นจะท�ำให้ สามารถเข้าถึงประชาชนได้ดีกว่าที่จะเป็นกิจการจากต่างชาติแท้ๆ ผลดีอีกประการหนึ่งของการเข้าร่วมทุนกับ ธุรกิจท้องถิ่นได้แก่ธุรกิจจากต่างชาตินั้นแม้จะมีความช�ำนาญทางด้านการวิจัย และเทคโนโลยีต่างๆ แต่อาจไม่มี ความช�ำนาญในเรื่องของการท�ำตลาดในท้องถิ่นและช่องทางการจัดจ�ำหน่าย ธุรกิจท้องถิ่นอาจมีความช�ำนาญ กว่า การเข้าร่วมทุนกันย่อมจะท�ำให้ธุรกิจท้องถิ่นได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในขณะที่ธุรกิจจากต่างชาติก็จะ ได้เรียนรู้ตลาดท้องถิ่น

5. การท�ำธุรกิจระหว่างประเทศเฉพาะโครงการ (Turnkey Project) มักเป็นลักษณะทีพ่ บในกลุม่ ธุรกิจบางประเภททีต่ อ้ งใช้เทคโนโลยีสงู ธุรกิจลักษณะนีห้ มายถึงการทีก่ จิ การ ใดกิจการหนึ่งได้รับสัญญาในการจัดออกแบบจัดสร้างตามโครงการใดโครงการหนึ่ง เช่นการสร้างเขื่อน ถนน รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน หรือโรงไฟฟ้าปรมาณู โดยเป็นผู้ทั้งออกแบบและก่อสร้างจนโครงการแล้วเสร็จ ก็จะท�ำการ ส่งมอบสิ่งที่จัดสร้างให้อยู่ภายใต้การบริหารของประชาชนท้องถิ่น ในการนี้ผู้สร้างอาจต้องฝึกอบรมและติดตาม ในระยะแรก เพื่อให้ฝ่ายบริหารจัดการท้องถิ่นได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ก่อนที่จะรับผิดชอบตามล�ำพังทั้งหมด ในภายหลัง ผู้จัดสร้างก็จะได้รบั ผลประโยชน์เป็นค่าธรรมเนียมตามที่ก�ำหนดไว้ในสัญญา ธุรกิจลักษณะนี้มักเป็น รายการทีเ่ กิดกับรัฐบาลของประเทศคูส่ ญ ั ญา เนือ่ งจากมักจะเป็นโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ทำ� ให้รฐั บาล ต้องรับผิดชอบ ในขณะเดียวกันรัฐบาลในประเทศเหล่านัน้ ก็ไม่มเี ทคโนโลยีสงู พอ ท�ำให้ตอ้ งพึง่ พิงเทคโนโลยีจาก ต่างประเทศ แต่ความที่เป็นโครงการสาธารณูปโภคที่ประเทศก�ำลังพัฒนาหลายประเทศให้ความส�ำคัญและถือ เป็นความมั่นคงของชาติ ท�ำให้รัฐบาลต้องเข้าด�ำเนินการเอง ดังนั้นเมื่อบริษัทต่างชาติสร้างเสร็จจึงต้องส่งมอบ (Turnkey) ให้อยู่ในความดูแลของรัฐบาลท้องถิ่น

78

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


เทคนิคการท�ำธุรกิจ ใน สปป.ลาว

การประเมินศักยภาพและปั จจัยต่างๆ ของผู ล้ งทุน

ก่อนที่ผู้ลงทุนจะตัดสินใจด�ำเนินธุรกิจใน สปป.ลาว แม้ว่าลักษณะทาง ภูมิศาสตร์ ภาษา และวัฒนธรรมของ สปป.ลาว จะมีความใกล้เคียงกับประเทศไทยเป็น อย่างมาก แต่ในความคล้ายคลึงกันดังกล่าวยังมีความแตกต่างซ่อนอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่นัก ลงทุนพึงท�ำความเข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน มิฉะนั้นผู้ลงทุนอาจประสบกับปัญหาและอุปสรรคในการด�ำเนิน ธุรกิจโดยคาดไม่ถึงตัวอย่าง เช่น การท�ำธุรกิจขายรถยนต์ในเมืองไทย การซื้อรถยนต์ด้วยระบบเงินผ่อนเป็นที่ นิยมในหมู่คนทั่วไปเป็นอย่างมาก แต่ใน สปป.ลาว ประชาชนยังนิยมซื้อรถยนต์ด้วยเงินสด เพราะมีความเชื่อม โยงกับสถานภาพทางสังคม ผ่านรูปแบบแผ่นป้ายทะเบียนรถที่ติดอยู่กับตัวรถ บ่งบอกความแตกต่างว่ารถคันใด ซือ้ ด้วยเงินสด และคัดใดซือ้ ด้วยเงินผ่อน เป็นต้น ต้องเรียนรูอ้ ปุ นิสยั พฤติกรรม ผู้บริโภคลาวให้ชัดเจนคือ ไม่ชอบเป็นหนี้ สังเกตได้จากป้ายทะเบียนรถใน สปป.ลาว ทีม่ แี ต่ปา้ ยสีเหลืองเต็มไปหมด เพราะหมายถึงซือ้ เงินสด ส่วนป้ายสี ขาวคือซือ้ เงินผ่อน ซึง่ คนลาวจะอายมากหากต้องขับรถป้ายทะเบียนสีขาว แม้ คนลาวจะมีรายได้ไม่มาก แต่กล้าซือ้ และต่อต้านการใช้ของลอกเลียนแบบ ใช้ แต่ของแท้เท่านัน้ ดังนัน้ ก่อนทีน่ กั ลงทุนจะเข้าไปลงทุนใน สปป.ลาว ผูล้ งทุน ควรศึกษาข้อมูลของ สปป.ลาว อย่างละเอียด โดยการศึกษาข้อมูลดังกล่าวไม่ ควรมุง่ เน้นเฉพาะข้อมูลในเชิงตัวเลข เช่น ข้อมูลทางการตลาด การเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ แต่นักลงทุนควรพิจารณาข้อมูลด้านอื่นๆที่อาจส่งผลต่อการ ด�ำเนินธุรกิจเช่น วัฒนธรรมและอุปนิสัยของพลเมือง สปป.ลาว การส่งเสริม การลงทุนใน สปป.ลาว หน่วยงานราชการ ที่เกี่ยวข้อง และการบังคับใช้ กฎหมายเพือ่ ทีจ่ ะสามารถตอบสนองความต้องการของผูบ้ ริโภคใน สปป. ลาว ได้อย่างถูกต้อง THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

79


การสร้างสัมพันธภาพที่ดกี บั ผู ป้ ระกอบการ ในท้องถิ่น สปป.ลาว

2

เพื่อสามารถเข้าถึงตลาดได้มากกว่า และสามารถทราบ ถึงข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างทันเหตุการณ์และทันสมัย คน ลาวชอบท�ำธุรกิจแบบผูกมิตรและช่วยเหลือพึง่ พากัน หากต้องการ เข้ามาลงทุน การบ้านที่ต้องท�ำ คือศึกษาข้อกฎหมายของ สปป. ลาว ให้ดี เพราะข้อกฎหมายของลาวซึ่งต่างจากไทยที่พบในช่วง แรก คือลาวไม่มีกฎหมายเช่าซื้อ เมื่อจดทะเบียนท�ำธุรกิจเช่าซื้อ จึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็นเช่าสินเชื่อ อิงตามกฎหมายเช่าสินเชื่อของ ลาว การสร้างพันธมิตรเป็นวิธีการที่ช่วยได้ดีในขั้นตอนการท�ำธุรกิจ อาทิ ขั้นตอนการยื่นเรื่อง การติดต่อกับ ราชการยากมาก และไม่เป็นไปตามระเบียบ นอกจากนัน้ กฎหมายด้านการลงทุนทีล่ าวมีการเปลีย่ นแปลงมาโดย ตลอด ทูตพิษณุย�้ำว่า การเปลี่ยนแปลงกฎหมายการลงทุนของลาวที่มีอยู่ตลอด เป็นไปเพื่อตอบสนองการปรับ ตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์โลก และมีความเป็นสากลมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้เวลาในถึง 15 ปี ปรับกฎหมาย ให้เข้ากับกฎขององค์การการค้าโลก (WTO) ที่ลาวได้เข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ดังนั้น การแก้ไขระบบระเบียบต่างๆ ของ สปป.ลาว นักลงทุนไทยที่สนใจประเทศเพื่อนบ้านแห่งนี้จะต้องท�ำการบ้าน มาเป็นอย่างดี

3

การเน้นภาพลักษณ์ท่ดี ขี องผลิตภัณฑ์ประเทศไทย เป็ นการต่อยอดธุรกิจ

แสดงความเป็นไทยจากการท�ำให้รวู้ า่ สินค้านีเ้ ป็นของไทย คนลาวมองว่าสินค้าไทยคุณภาพ ดีกว่าสินค้าจีน โดยเฉพาะสินค้าประเภทแฟชั่น รวมไปถึงอาหารและของใช้ในชีวิตประจ�ำวันทุกอย่าง เครื่อง อุปโภคบริโภคของไทยจะดีกว่า มีคุณภาพ และมีมาตรฐานที่สูงกว่า สปป.ลาว มีวัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่ใกล้ เคียงกับคนไทยมากที่สุด และยังสะดวกเรื่องการขนส่ง โอกาสทางธุรกิจและความง่ายในการสื่อสาร เนื่องจาก คนลาวรับวัฒนธรรมไทยไปเต็มๆ เขาใช้สินค้าไทย ดูทีวีไทย ฉะนั้นโอกาสที่เขาจะรับรู้ถึงแบรนด์ไทยมีมากกว่า จะเห็นได้ว่าที่ลาวตอนนี้มีทั้ง แบล็คแคนยอน, ฟู จิ, โคคา, นีโอสุกี้ ไปเปิดแล้ว ซึ่งก็เป็นแบรนด์ไทยทั้ง นัน้ หรือกระทัง่ พวกสินค้าต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นเครือ่ งกรองน�ำ้ ยีห่ อ้ ดังๆในประเทศไทยก็ไปเปิด สินค้าอุปโภคบริโภค โออิชิก็มีที่ลาว อิชิตันมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่นการแจก ทองแยกจากประเทศไทย ในช่วงเวลาทีผ่ า่ นมาขณะทีล่ าวยังไม่สามารถ ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจ�ำวันได้ และยังต้องพึ่งพาการน�ำ เข้าอยู่มาก ธุรกิจจากนานาประเทศจึงมุ่งเข้าสู่ประเทศลาว จังหวัด ชายแดนอย่างหนองคาย และอุดรธานี รวมถึงจังหวัดเกิดใหม่อย่าง บึงกาฬจึงกลายเป็นประตูที่เปิดเข้าสู่การค้าข้ามประเทศและเจริญ ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วตามไปด้วย 80 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


4

สร้างแบรนด์ท่มี คี วามชั ดเจนมากที่สดุ เน้นการผลิตภัณฑ์ทมี่ เี อกลักษณ์ทโี่ ดดเด่นและสอดคล้องกับวัฒนธรรม การบริโภคของคนลาว การเสริมสร้างศักยภาพ ด้านการผลิต การลดต้นทุน การผลิต ด้วยการบริหารจัดการต้นทุนอย่างมี ประสิทธิภาพ มีการน�ำ เครือ่ งจักรและ เทคโนโลยีทที่ นั สมัยเข้ามาใช้ใน กระบวนการผลิต ผลักดันการ ผลิตสินค้าและบริการให้มมี ลู ค่าเพิม่ สูงขึน้ และหลีกจากการแข่งขันด้านราคา ถูก ตัวอย่างเช่น “ไวตามิ้ลค์ดับเบิลแบล็ก” ที่ใส่งาดําบวกข้าวสีนิล จะ เรียกใหม่ว่า “ไวตามิ้ลค์เอเนอร์จี้” คือ กินแล้วมีกําลังทํางาน เพราะคน ลาวไม่สนใจงาดํา หรือข้าวสีนิล แต่ต้องการรสชาติที่แตกต่างระหว่างไวตา มิ้ลค์ ทั้งของไทยและมาเลเซีย หากน�ำชื่อเดิมไปใช้ จะพ้องกับมาเลเซีย ท�ำให้ เข้าใจว่าเป็นของปลอม และยังเลือกที่จะออกแบรนด์ “วีซอย” มาเป็นทาง เลือก เพื่อไม่ให้ลูกค้าเกิดความสับสน อีกหนึ่งตัวอย่าง คือ การเข้าไปที่ สปป.ลาว ที่มี เบียร์ลาวหรือเขยลาว (ภาษาไทย เบียร์ลาว) เป็นเจ้าตลาด ไทยเบฟเวอเรจเลือกที่จะเป็นพันธมิตร ไม่เลือกวิธีที่จะต้องไปแข่งขันเพราะ ไม่เคยได้ค�ำตอบว่าจะชนะ แต่ที่แน่ๆ คือ เสียเงินและเจ็บตัวทั้งคู่ ต้องทุ่มเงิน จ�ำนวนมากไปกับการโปรโมต แม้ว่าคนลาวจะดูทีวีไทย ดูโฆษณาสินค้าไทย ซึง่ จริงๆ แล้วคนลาวชอบมาก สินค้าทีว่ างบนชัน้ ระหว่างชิน้ ทีเ่ ป็นภาษาอังกฤษ ล้วนกับที่มีภาษาไทยด้วย จะถูกเลือกซื้อสินค้าที่มีภาษาไทยในฉลากด้วย แต่อย่างไรก็ตามการท�ำธุรกิจจะมองข้ามเรื่องของประเพณี สังคม วัฒนธรรม และความเชื่อต่างๆ ไม่ได้

การประกอบธุรกิจใน สปป.ลาว ต้องให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิต คนลาว อาทิ การแสดงป้ายหน้าร้านบังคับว่าต้องเป็นภาษาลาวกับภาษาอังกฤษ เท่านั้น การพูดจาอะไรต้องระวัง แสดงให้เห็นว่าเราให้เกียรติถึงจะท�ำธุรกิจด้วยกัน ได้ ถึงแม้คนลาวจะยอมรับสินค้าไทย แต่อาจจะยังไม่ยอมรับคนไทย เพราะคิดว่าเรา ไปดูถูกเขา ไปกลืนกินวัฒนธรรมของเขา

THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

81


โอกาสทางการตลาด

กลุม่ ผลิตภัณฑ์บริการสุขภาพ ใน สปป.ลาว

กลุม่ ผลิตภัณฑ์บริการสุขภาพ กล่าวได้วา่ เป็นกลุม่ ทีม่ โี อกาสและเหมาะกับธุรกิจ SMEs ของไทย ได้แก่ สปา นวดแผนโบราณ ร้านกาแฟ ร้านเสริมสวย อู่ซ่อมรถ และคาร์แคร์เป็นต้น โดยอาจจะอยู่ ในรูปของการด�ำเนินธุรกิจระบบแฟรนไซน์ ซึง่ ได้รบั ความนิยมอย่างมากในไทยและคาดว่าน่าจะเติบโต และมีอนาคตที่ดีในสปป.ลาว โดยเฉพาะธุรกิจที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับการเติบโตของธุรกิจการ ท่องเทีย่ ว อาทิ สปาและนวดแผนโบราณ ซึง่ ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเทีย่ วชาวต่างชาติทเี่ ดินทาง ไปท่องเที่ยวที่แขวงหลวงพระบาง จ�ำปาสักใน สปป.ลาว จ�ำปาสักใน สปป.ลาว รูปแบบบริการของสปานั้นมีทั้งการแช่น�้ำ การอบตัว การนวด การใช้อาหารและเครื่องดื่ม สมุนไพร โดยจะมีสินค้าต่อเนื่องเช่นน�้ำมันหอมระเหย ซึ่งส่วนใหญ่ได้มาจากการสกัดจากส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ต้น ใบ ผล และดอกไม้ ทั้งนี้น�้ำมันที่ได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ คือ ลาเวนเดอร์ เจอราเนี่ยม กุหลาบ ตะไคร้หอม และเปปเปอร์มิ้นท์ เป็นต้น การใช้น�้ำมันหอมระเหย ที่ได้จากดอกไม้ในประเทศไทยและ สปป.ลาว เช่น ดอกมะลิ ดอกราตรี ดอกลีลาวดี (ดอกไม้ประจ�ำ ชาติ สปป.ลาว) และดอกไม้ประเภทอื่นๆ รวมทั้งพืชหลายประเภทที่สามารถปลูกได้ในพื้นที่แถบภาค เหนือของสปป.ลาวที่มีอากาศเย็นคล้ายคลึงกันกับไทย จึงมีแนวโน้มที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ ประกอบการร่วมกันได้เป็นอย่างดี ส่วนสมุนไพรที่นิยมน�ำมาใช้ในสปา จะเน้นในเรื่องของการดูแลรักษาสุขภาพเสริมความงามให้ กับผิวพรรณและใบหน้า ด้วยกรรมวิธีการทา การพอกผิว และยังน�ำมาเป็นอาหารหรือเครื่องดื่มด้วย ซึ่งสมุนไพรหลักๆ ที่ใช้และมีสรรพคุณเด่นอาทิขมิ้น มะขาม แตงกวา ขิง ข่า ตะไคร้ มะนาว มะเขือ เทศ และมะละกอเป็นต้น ดังนั้นการท�ำธุรกิจสปาจึงถือว่าได้มีส่วนในการใช้วัตถุดิบธรรมชาติของไทย และวัตถุดบิ ท้องถิน่ จาก สปป.ลาว ให้เกิดประโยชน์ และสามารถสร้างมูลค่าเพิม่ ได้มากยิง่ ขึน้ เป็นการ แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการ SMEs รายใหม่ๆ ร่วมกัน 82

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


โอกาสทางการตลาด ธุรกิจร้านกาแฟ ใน สปป.ลาว

พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มของชาวลาวในปัจจุบัน พบว่าสปป. ลาวนั้นถือเป็นประเทศที่มี การปลูกและส่งออกกาแฟชื่อดังไปยังสหภาพยุโรป ผู้ประกอบการลาวได้พัฒนาธุรกิจร้านกาแฟของ ตัวเองและขยายสาขาไปทั่วประเทศลาว ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคกาแฟในหมู่ คนลาว สภาพการณ์นี้จึงมีบทบาทส�ำคัญต่อการปรับพฤติกรรมของคนลาวให้หันมาดื่มกาแฟ หรือ เครื่องดื่มประเภทชง ปั่น รูปแบบต่างๆ มากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ตามห้างสรรพสินค้า หรือบริเวณหน้า โรงแรม ย่านการค้าในนครหลวงเวียงจันทน์มี Kios ของกาแฟและเครื่องดื่มชง ปั่น คล้ายประเทศไทย ที่เป็นธุรกิจใหม่ในช่วงปีกว่าที่ผ่านมา ดังนั้นจึงอาจเป็นโอกาสของธุรกิจ SMEs ไทยที่จะเข้าไปบุกเบิก ตลาดและถือว่ายังไม่มีคู่แข่งจากชาติตะวันตก ซึ่งการด�ำเนินธุรกิจร้านกาแฟอาจอยู่ในรูปของแฟรน ไชส์ดังเช่นในไทยอาทิตัวอย่างร้านกาแฟสดสยามเบส ที่ท�ำธุรกิจกาแฟครบวงจร ตั้งแต่ แฟรนไชส์ร้าน กาแฟสดสยามเบส การจ�ำหน่ายเมล็ดกาแฟคัว่ สด พันธุอ์ าราบิกา้ 100 % ชาเขียว ชาเย็น โกโก้ จ�ำหน่าย เครื่องชงกาแฟ เครื่องบดกาแฟ และอุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจนการอบรมในการท�ำธุรกิจกาแฟสด รับ ปรึกษาและออกแบบร้านกาแฟสด เป็นต้น ส�ำหรับธุรกิจร้านเสริมสวย ก็เป็นธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับความสวยงาม ที่ต้องตามแฟชั่นและสมัยนิยม ซึ่งปัจจุบันทั้งชาวลาว ได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อทีวีของประเทศไทย ผ่านสัญญาณดาวเทียมและเคเบิ้ลทีวี และสื่อบันเทิงจากแหล่งต่างๆ ท�ำให้สตรีของ สปป.ลาว มีความ สนใจด้านการเสริมสวยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการท�ำผมและท�ำเล็บที่มีหลายรูปแบบ หลายสไตล์ ซึ่ง ไทยมีความพร้อมทัง้ ทางด้านบุคลากรและวิทยาการจึงถือเป็นโอกาสอันดีสำ� หรับการด�ำเนินธุรกิจ SMEs ของไทยในพม่า อย่างไรก็ตามการด�ำเนินธุรกิจต้องศึกษากฎ ระเบียบอย่างดี อาทิกฎระเบียบต่างๆ ซึ่ง ท�ำให้การด�ำเนินธุรกิจในสปป.ลาว มีข้อจ�ำกัดอยู่บ้าง แต่ในแง่ของการแข่งขันยังถือว่ามีระดับต�่ำ อัน เนื่องมาจากนโยบายการส่งเสริมการค้าการลงทุน จึงนับว่าสถานการณ์อย่างนี้ก่อให้เกิดข้อได้เปรียบ และสร้างแต้มต่อให้กับการด�ำเนินธุรกิจของไทย THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

83


กรณีศกึ ษาธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดเล็ก:

ร้านเย็นตาโฟเครื่องทรง เปิ ดใน สปป.ลาว

“มัลลิการ์ อินเตอร์ ฟู๊ด” ภายใต้การบริหารของ “ชยพล หลีระพันธ์” ตัดสินใจไปเปิดร้าน 2 สาขาใน สปป.ลาว สาขาแรกเป็นแบรนด์ อ.มัลลิการ์ ทีส่ นามกอล์ฟลองเวียง อยูต่ ดิ กับด่านหนองคาย เส้นสะพานมิตรภาพไทย-ลาว เป็นการร่วมหุ้นกับนักธุรกิจชาวเวียดนามเจ้าของสนามกอล์ฟสาขานี้ เปิดให้บริการไปเมือ่ เดือนกุมภาพันธ์ทผี่ า่ นมา ซึง่ ก็ได้รบั ผลตอบรับทีด่ ี กลุม่ เป้าหมายจะเป็นชาวต่าง ชาติที่อยู่ใน สปป.ลาว กรุ๊ปทัวร์ และคนไทยที่ข้ามฝั่งไปเล่นกอล์ฟช่วงเดือนตุลาคม-มีนาคมจะเป็น ฤดูหนาว ซึ่งถือว่าเป็นช่วงไฮซีซัน อากาศจะดี เย็นสบาย คนจะมาเล่นกอล์ฟกันเยอะ ยอดขายขึ้น ตามไปด้วย ส่วนสาขาที่ 2 เป็นแบรนด์เย็นตาโฟเครื่องทรงที่มัลิการ์ฯ ลงทุนเองทั้งหมด เปิดขาย ในปั๊ม ปตท. สาขาโพนต้อง สาขานี้ผลตอบรับดีกว่าสาขาแรกเพราะอยู่ตรงข้ามกับกรมป่าไม้ ซึ่งเป็น สถานที่ราชการ ผู้คนพลุกพล่านทั้งคนลาวและคนไทย รวมถึงชาวต่างชาติที่มาติดต่อราชการ ท�ำให้ยอดขายสาขานี้ดีมาก ปัจจัยส�ำคัญในการท�ำธุรกิจร้านเย็นตาโฟที่ สปป.ลาว คือ สภาพเศรษฐกิจนั้น ถึงแม้คนลาว จะมีความแตกต่างทางชนชัน้ สูงมาก ทีจ่ นก็จนมาก ทีร่ วยก็รวยมาก แต่การจะเข้าไปท�ำตลาดที่ สปป. ลาว หากจะศึกษาถึงกลุ่มเป้าหมายให้ดีก็มีโอกาสประสบความส�ำเร็จสูง จะเห็นว่าการเปิดสาขาที่ สนามกอล์ฟ และปั๊มน�้ำมันดังกล่าว เนื่องจากถือว่าเป็นปั๊มหรูของคนลาว คนที่เข้ามาใช้บริการก็จะ ขับรถหรู ทานอาหารดีๆ แพงๆ ซึ่งตรงกับกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายหมายที่เลือกไว้ นอกจากนั้นการมี จุดเด่นที่ชัดเจนของร้านก็เป็นหัวใจส�ำคัญ เช่น ความสะอาด มีมาตรฐาน ร้านเย็นตาโฟเครื่องทรงมี จุดเด่นที่แตกต่างจากคนอื่น ซอสแดงนี่ถือเป็นจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ส่วนเรื่องเมนูอาหาร และราคา ขายนั้น ทั้งสองร้านจะใช้เมนูและราคาเดียวกันกับร้านในเมืองไทย 84

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


ส่วนเรื่องที่อาจจะมีปัญหาบ้างก็คือเรื่องวัตถุดิบ ที่ สปป.ลาว วัตถุดิบคุณภาพยังไม่ค่อยดี ผักอาจจะมี คุณภาพดี แต่ว่าพวกเนื้อสัตว์ พวกนม ของแห้งหลายๆ อย่างคุณภาพค่อนข้างต�่ำ ดังนั้นวัตถุดิบบางอย่างก็ต้อง น�ำเข้าจากประเทศไทย หรืออย่างอาหารทะเลนีย่ งิ่ หาได้ยาก มีนอ้ ยมาก และราคาสูง ก็ตอ้ งน�ำเข้าจากประเทศไทย ไป ถึงแม้จะมีค่าขนส่งที่เพิ่มเข้ามา แต่ก็สามารถทดแทนได้ เพราะค่าแรงที่ สปป.ลาว ถูกกว่า ค่าจ้างพนักงาน เสิร์ฟ ประมาณ 4,000 บาทต่อเดือน ถ้าระดับผู้จัดการก็ประมาณ 8,000 บาทต่อเดือน การบริหารจัดการ ร้านมีผจู้ ดั การคนไทย และก็สง่ ทีมเทรนเนอร์เข้าไปทุกเดือน เดือนละประมาณ 7-8 คน เพือ่ เข้าไปเทรนพนักงาน เพราะพนักงานที่ สปป.ลาว จะมีการเข้าออกตลอด ค่อนข้างจะเทิรน์ โอเวอร์บอ่ ยเพราะ เขายังไม่คุ้นชินกับระบบงานที่ต่างจากระบบราชการของ สปป.ลาว ที่ต้องมีการพักช่วงบ่ายหลังทานอาหารอีก หนึ่งชั่วโมง ตามระบบฝรั่งเศสมัยก่อนคนลาวก็จะคุ้นชินกับระบบแบบนี้ ซึ่งพอท�ำงานแบบไม่มีพัก บางคนก็ลา ออกไป แต่ถ้าเป็นเด็กวัยรุ่นหรือคนรุ่นใหม่จะเข้าใจกับระบบว่าเป็นสากล ก็ถือว่าเป็นวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ก็ ต้องค่อยๆ ต้องอธิบายและปรับกันไป

*ROYAL THAI EMBASSY VIENTIANE, LAO PDR. http://vientiane.thaiembassy.org/vientiane/th/about/about_ investments/detail.php?ELEMENT_ID=658 **โอกาสและประสบการณ์การลงทุนของ SMEs ไทยใน สปป.ลาว http://www.thai-aec.com/291#ixzz3Sq2sJ135 ***ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ ส่องโอกาสลงทุนลาว เรียนรู้อุปสรรค เบิกทางความส�ำเร็จ updated: 06 ส.ค. 2556 เวลา 17:00:05 น. THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

85


เอกสาร อ้างอิง 06 ASEAN SME Investment. ส�ำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). 2557. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: http://www.sme.go.th/Documents/ internationalization/ASEAN%20SME%20Investment.pdf Asia News Network “Vietnam tops list of foreign investors in Laos” (http://www.asianewsnet.net) ASTV ผู้จัดการออนไลน์. คลินิกเสริมความงาม-สถานพยาบาลธุรกิจรุ่งในลาว. 2551. [ระบบออนไลน์ ] แหล่ ง ที่ ม า: http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews. aspx?NewsID=9510000135025 http://www.oie.go.th/sites/default/files/attachments/article/semi-TradeWithFoodIndustry Survey-Laos.pdf Industry News and Trade “Laos economy: An industrial revolution” (http://news.zurichna.com) Lao Statistics Bureau, Ministry of Planning and Investment, http://www.nsc.gov.la/ Ministry of Planning and Investment, Laos “Special Economic Zone” (http://www.investlaos.gov.la) Ministry of Planning and Investment, Laos “Toyota to set up production base in Laos” www.thaiaec2013.com/download/asean_pavilion/Myanmar.pdf กิจกรรมการจัดทําแผนที่การตลาดสําหรับ SMEs สู่ตลาดอาเซียน (ASEAN Niche Market Mapping) กลุ่มที่ 1 ประเทศพม่า และลาว ภายใต้โครงการ SMEs Capacity Building: Win for ASEAN Market. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. [ระบบออนไลน์] การต่ า งประเทศ, กระทรวง. กรมอาเซี ย น. (2555). ข้อมูลพื้นฐานอาเซียน. [ออนไลน์] สืบค้นจาก http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/other-20121228-150233-310833.pdf. [ตุลาคม 2557] 86

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


คว้าโอกาสเศรษฐกิจลาว 2557: ม้ามืดปีมะเมีย. เอกจรินทร์ รอดเจริญ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้า และการพัฒนา (ITD). 2557. [ระบบออนไลน์] แหล่งทีม่ า: http://www.bangkokbiznews.com/home/ detail/finance/asean-plus/20140222 คู่มือการค้าการลงทุนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์. 2554. [ระบบออนไลน์]แหล่งที่มา: http://www.tourismkm-asean.org/wp-content/pdf/asean investment-thai-sme/Laos-Trade-and-Investment-Handbook.pdf คู่มือการค้าและการลงทุนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทร์ และส�ำหนังกานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เวียงจันทร์ พ.ศ.2555 ตลาดด้านธุรกิจบริการและสุขภาพใน สปป.ลาว. ส�ำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). 2557. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: http://122.155.9.68/talad/index.php/laos/sector/services ตลาดด้านสินค้าเกษตรและจักรกลการเกษตรใน สปป.ลาว. ส�ำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม (สสว.). 2557. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: http://122.155.9.68/talad/index.php/laos/ sector/agro-products ตลาดด้านสินค้าอุปโภคและบริโภคใน สปป.ลาว. ส�ำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). 2557. [ระบบออนไลน์ ] แหล่ ง ที่ ม า: http://122.155.9.68/talad/index.php/laos/sector/ consumer-products ตลาดสินค้าอาหารในอาเซียน...หลายประเด็นที่ SMEs ควรทราบ. ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพื่อการน�ำเข้าและ ส่งออกแห่งประเทศไทย.2557. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: http://www.thaifranchisecenter. com/download_file/files/group12120120629145033.pdf

THE LAO PEOPLE’S DEMOCRATIC REPUBLIC or LAO PDR

87


ธนาคารไทยพาณิชย์. กูรกู ารลงทุนแนะแนวการท�ำธุรกิจในเมียนมาร์ ส�ำหรับนักลงทุนรายย่อย ค้นจาก http:// www.bangkokbiznews.co ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ........โอกาสของไทยในการรุกตลาดอาเซียน. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. 2555. [ระบบ ออนไลน์] แหล่งที่มา: http://www.ksmecare.com/Article/82/28465 ธุรกิจร้านอาหารไทยใน สปป.ลาว... ผสานกลิ่นอายวัฒนธรรมบ้านใกล้เรือนเคียง. สถาบันความรู้แห่งเอเชีย. 2557. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: https://www.facebook.com/AsianKnowledgeInstitute/ posts/396196293780414 ประเด็นเร่งด่วนในการพัฒนา ASEAN SMEs. สดุดี วงศ์เกียรติขจร. สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและ การพัฒนา. 2556. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: http://www.thai-aec.com/800#more-800 เปรียบเทียบฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุม่ AEC. Energy. 2555. [ระบบออนไลน์] แหล่งทีม่ า: http:// jarukiat.blogspot.com/2012/07/aec.html เผยผลวิจยั เจาะลึกพฤติกรรมผูบ้ ริโภคชาวลาว/เมียร์มา่ โอกาสขยายตลาดร้านอาหารและสินค้าตกแต่งบ้าน. ผู้จัดการออนไลน์.2557. [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา: http://www.manager.co.th/iBizchannel/ viewNews.aspx?NewsID=9570000001508 พาณิชย์, กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. “Fact sheet : ประเทศลาว” .[ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www.ditp.go.th/aec/attachments/article/900/Fact%20sheet_Laos%2%E0%B8% A1.%E0%B8%84.55-%E0%B9%80%E0%B8%A1.%E0%B8%A2.56.pdf [30 ธันวาคม 2556] พาณิชย์, กระทรวง.กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2556). ASEAN Comprehensive on Investment Agreement (ACIA). [ออนไลน์] สืบค้นจากhttp://www.dtn.go.th/index.php?option=com_ content&view=article&id=6804%3Aacia&catid=310%3Aasean--afas--acia&Itemid=789&lang=th. [ตุลาคม 2557] พาณิชย์, กระทรวง. กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2556). ACIA. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http:// www.ditp.go.th. [ตุลาคม 2557] สถาบันอาหารชี้ลงทุนอุตฯ อาหารในลาวเน้นส่งออก-ป้อนนักท่องเที่ยว. ผู้จัดการออนไลน์. 2557. [ระบบ ออนไลน์] แหล่งที่มา: http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID= 9550000153317 ส�ำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ส�ำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. คู่มือการค้าการลงทุน สาธารณรัฐแห่งสาธารณรัฐ แห่งสหภาพเมียนมาร์ ค้นจาก www.sme.go.th ส�ำนักอาเซียน (2552) กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ แหล่งทีม่ า: http://122.155.9.68/ talad/images/stories/reports/la_ch05.pdf อุตสาหกรรม. กระทรวง. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ม.ป.ป) “โครงการเตรียมความพร้อมและสร้างเครือข่าย ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”. [ออนไลน์]. สืบค้นจากhttp://strategy. dip.go.th/LinkClick.aspx?fileticket= Jm8aIqmB5%2B8%3D&tabid=38 [ตุลาคม 2557]

88

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ตลาดส�ำหรับผู ้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.