rihes CMU
R e s e a r c h I n s t i t u t e f o r H e a lt h S c i e n c e s
ANNIVERSARY
RIHES CMU
48
นั บ เนื่ อ งจากการประกอบพิ ธี ว างศิ ล าฤกษ์ เมื่ อ เดื อ น กันยายน พ.ศ. 2512 ในชื่อ “ศูนย์วิจัยโลหิตและทุโภชนาการ” สั ง กั ด คณะแพทยศาสตร์ เป็ น อาคาร 4 ชั้ น ซึ่ ง เป็ น ศู น ย์ วิ จั ย ที่ ทั น สมั ย และสมบู ร ณ์ ที่ สุ ด แห่ ง หนึ่ ง ในภาคพื้ น เอเซี ย อาคเนย์ โดยการสนั บ สนุ น ค่ า ก่ อ สร้ า งจากรั ฐ บาลไทย 9 ล้ า นบาท สถาบันสาธารณสุขแห่งสหรัฐอเมริกา (NIH) ให้ทุนวิจัยและจัดหา อุปกรณ์การด�ำเนินงานวิจัยผ่านทางมหาวิทยาลัยเซ็นต์หลุยส์ เป็นมูลค่า 60,177,060 บาท และจากมูลนิธิ Rockefeller บริจาค เพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์และยานพาหนะถึง 12,000,000 บาท
R e s e a r c h I n s t i t u t e f o r H e a lt h S c i e n c e s
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชด�ำเนินทรงเปิดอาคารสถาบันวิจัยแทนพระองค์ เมื่อวันจันทร์ท่ี 8 มกราคม 2516 ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านโภชนาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะทุโภชนาการ และภาวะโลหิตจาง ตลอดจนการแก้ไขปัญหาด้านโภชนาการที่มีผลต่อเนื่องจากสาเหตุ ของโรคติดเชื้อ โรคแทรกซ้อนต่างๆ เพื่อก้าวสู่ภาวะโภชนาการประยุกต์ โดยการจัดตั้ง ศูนย์รบั ดูแลทารก ศูนย์โภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน และเป็นศูนย์กลางของการศึกษาและวิจยั ด้านโลหิตวิทยาและโภชนาการของภูมภิ าคนี้ R e s e a r c h I n s t i t u t e f o r H e a lt h S c i e n c e s
R e s e a r c h I n s t i t u t e f o r H e a lt h S c i e n c e s
ความภาคภูมิใจ ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จทรงน�ำเสด็จคณะ TRUSTEE มหาวิทยาลัย JOHNS HOPKINS BLOOMBERG SCHOOL OF PUBLIC HEALTH มาเยือนสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ เมื่อวันที่ 14-15 มกราคม 2546 R e s e a r c h I n s t i t u t e f o r H e a lt h S c i e n c e s
R e s e a r c h I n s t i t u t e f o r H e a lt h S c i e n c e s
ความภาคภูมิใจ ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จทรงน�ำคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ เยือนสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2547 R e s e a r c h I n s t i t u t e f o r H e a lt h S c i e n c e s
10
ความเป็นมา
จาก MALAN สู่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุภาพ เรียบเรียงจากความทรงจำ� ของ รศ. พญ.อุษา ธนังกูล ผู้อำ�นวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพคนแรก
บทนำ� สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก่อก�ำเนิดจากการ ยกฐานะ ของศูนย์วิจัยโลหิตวิทยาและทุโภชนาการ Anemia and Malnutrition Research Center (MALAN) ซึง่ เป็นโครงการร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยเซนหลุยส์ จากสหรัฐอเมริกา ทีเ่ คยเป็นหน่วยงานในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ดำ� เนิน งานวิจัย ในปัญหาโภชนาการ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะโลหิตจางในผู้ป่วยก่อนวัยเรียนที่เป็น โรคขาดอาหารอย่างรุนแรง และได้ท�ำงานวิจัย ในปัญหาสุขภาพส�ำคัญอื่นเพิ่มในระยะหลัง ของโครงการ ซึ่ ง ต่ อ มาเป็ น โครงการวิ จั ย หลั ก ของสถาบั น ฯ เช่ น การศึ ก ษาถึ ง ผล การใช้ยา คุมก�ำเนิดต่อภาวะโภชนาการในหญิงวัย เจริญพันธุ์ และการวิจยั เกีย่ วกับโรคติดเชือ้ ศูนย์วิจัยโลหิตวิทยาและ ทุโภชนาการ ด�ำเนินงานโดยมี Prof.Robert E. Olsen จากแผนกชีวเคมี มหาวิทยาลัย เซ็นหลุยส์ เป็นหัวหน้าโครงการ 11
ได้รับงบประมาณเพื่อด�ำเนินการวิจัยจาก National Institute of Health (NIH) ผ่านทาง มหาวิทยาลัยเซ็นหลุยส์ เป็นเวลาทั้งสิ้น 8-10 ปี ได้ผลิตผลงานที่ดีเด่น มีคุณภาพ ซึ่งได้ เผยแพร่ผลงานต่อวงการวิชาการอย่างมากมาย เป็นทีย่ อมรับทางด้านวิชาการ เป็นศูนย์วจิ ยั ที่ทันสมัยและมีคุณภาพ มีความพร้อมทางด้านเครื่องมือการวิจัย เป็นแหล่งวิชาการที่ม ี หน่วยงานต่างๆ ในต่างประเทศมาเยี่ยม ดูงาน และฝึกงาน ศูนย์วิจัยแห่งนี้ยังได้ฝึกบุคลากร ฝ่ายไทยที่ร่วมงานจนเป็นผู้ช�ำนาญในสาขาวิชาการที่เกี่ยวข้อง เมือ่ ทุนวิจยั จากสหรัฐอเมริกาใกล้จะหมดลง ผู้บริหารทีเ่ กีย่ วข้อง เล็งเห็นประโยชน์ และความจ� ำ เป็ น ที่จ ะคงให้ มีศู น ย์ วิจั ย และเจ้ า หน้ า ที่ที่มีค วามช� ำ นาญเหล่ า นี้ ให้ เ ป็ น หน่ ว ยงานส่ ง เสริ ม งานวิ จั ย ของอาจารย์ ใ นคณะแพทยศาสตร์ จึ ง ได้ เ สนอไปยั ง ทบวงมหาวิทยาลัยในขั้นต้น เพื่อเตรียมของบประมาณเพื่อบริหารศูนย์วิจัย เมื่อทุนวิจัยจาก สหรั ฐ อเมริ ก าหมดลงและต่ อ มามี ค วามเห็ น ว่ า เพื่ อ ความคล่ อ งตั ว ในการด� ำ เนิ น งาน การบริหาร งบประมาณ และเพื่อเป็นศูนย์กลางเพื่อส่งเสริมการวิจัยของคณาจารย์ในกลุ่ม คณะทีเ่ กีย่ วข้องกับสุขภาพ จึงได้เสนอไปยังทบวงมหาวิทยาลัย เพือ่ ยกฐานะเป็นสถาบันวิจยั และเปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อสนับสนุนการวิจัยของคณาจารย์ ในกลุ ่ ม คณะที่เ กี่ย วข้ อ งกั บ สุ ข ภาพ ทบวงมหาวิท ยาลั ย ได้ อ นุ มั ติโ ครงการสถาบั น วิจั ย วิทยาศาสตร์สุขภาพนี้มีฐานะเทียบเท่าคณะในมหาวิทยาลัย และได้รับงบประมาณเบื้องต้น เพื่อการทยอยตัง้ บุคลากรให้เป็นข้าราชการ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอย่างอื่นๆ เพื่อการเตรียมงาน ในระยะการเปลี่ยนผ่านของศูนย์วิจัยโลหิตวิทยาและทุพโภชนาการ มาเป็นสถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์สุขภาพ และการสิ้นสุดของงบประมาณจาก NIH ที่ผ่านทางมหาวิทยาลัย เซ็นหลุยส์
12
ประวัติความเป็นมา และการได้มาของทุนวิจัย ของศูนย์วจิ ัยโลหิตวิทยาและทุโภชนาการ การก่อตั้ง พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) ใน พ.ศ.2508 (ค.ศ. 1965) ได้มีการพบปะหารือระหว่างประธานาธิบดี Lyndon B. Johnson แห่งสหรัฐอเมริกา และนายกรัฐมนตรี Sato ของประเทศญี่ปุ่น ในการ พบปะครัง้ นี้ ได้มกี ารพูดถึงโครงการความช่วยเหลือด้านวิชาการ เพือ่ การวิจยั เพือ่ แก้ไขปัญหา สุขภาพที่เป็นปัญหาส�ำคัญและรุนแรง ของประชาการในประเทศภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ ทางสหรัฐอเมริกาจะช่วยเหลือด้านงบประมาณ เพือ่ โครงการวิจยั นี้ เพือ่ เป็นการแสดงความ ปรารถนาดีของสหรัฐอเมริกา ดังนั้นจึงมีการจัดตั้งคณะกรรมการมีชื่อว่า US-JAPAN Cooperative Medical Sciences Program ซึง่ มี Prof.Nevin S. Scrimshaw เป็นประธาน ฝ่ายอเมริกา และ Prof.Shimazono เป็นประธานฝ่ายญี่ปุ่น โครงการนี้มีมติให้มีการ ท�ำวิจัยเพื่อศึกษาและแก้ไขปัญหาโภชนาการ ซึ่งเป็นปัญหาระดับโลก โดยเฉพาะประเทศ ที่ ด ้ อ ยพั ฒ นา ประเทศในภาคพื้ น เอเชี ย เด็ ก ก่ อ นวั ย เรี ย นได้ รั บ ผลกระทบมากที่ สุ ด มีอัตราตายสูง และมีผลต่อการพัฒนาการของเด็กในที่รอดชีวิต คณะกรรมการโครงการ US-Japan Cooperative Medical Science ได้เชิญ Prof.Robert E. Olsen หัวหน้าภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยเซ็นหลุยส์ ให้เป็นผู้ รับผิดชอบเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนจาก NIH (National Institute of Health) ซึ่ง Prof.Robert E. Olsen ได้เสนอโครงการวิจัยเพื่อศึกษาถึงสาเหตุ กลไก เพื่อการรักษา ภาวะโลหิตจางในผู้ป่วยเด็กก่อนวัยเรียนที่เป็นโรคขาดอาหารอย่างรุนแรง Prof.Robert E. Olsen ได้ท�ำการปรึกษาระหว่าง Prof.Robert E. Olsen กับคณบดีคณะแพทยศาสตร์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และรัฐมนตรีทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ และได้รับ ความเห็นชอบทั้งในระดับคณะ มหาวิทยาลัย และระดับประเทศ เพื่อให้ความร่วมมือ ในการตัง้ ศูนย์วิจัย เพื่อเป็นหน่วยปฏิบัติงานภาคสนามของโครงการวิจัย 13
พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) โครงการวิจัยที่ Prof.Robert E. Olsen เสนอเพื่อขอรับทุน NIH ได้รับการอนุมัต ิ โดย NIH อนุมัติงบประมาณที่เสนอไปในขั้นต้นเป็นเวลา 5 ปี และจะอนุมัติต่อไปอีกตาม ผลของงาน และตามความจ�ำเป็น และการอนุมัติครั้งแรก ซึ่งถือเป็นการอนุมัติเบื้องต้น เพราะการอนุมัตจิ ะสมบูรณ์เมื่อได้รับการรับรองความช่วยเหลือต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1.รัฐบาลไทยยินดีร่วมมือ และรับผิดชอบงบประมาณส�ำหรับอาคาร สถานที่ ของตึกเพื่อการวิจัย 2.มูลนิธิร๊อคกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) จะอนุมัตงิ บประมาณเพื่อ ครุภัณฑ์ใหญ่ที่ติดตั้งกับอาคาร (Heavy Equipment) เช่น เครื่องท�ำความเย็น ห้องเย็น และอื่นๆ ของอาคารศูนย์วจิ ัย 3.คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ความเห็นชอบและยินดีให้ ความร่วมมือ
MALAN
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2510 (1967) เงื่อนไขต่างๆ ตามที่ NIH ต้องการ ได้รับการอนุมัตเิ ห็นชอบ โดยรัฐบาลไทยตกลง ในการก่อสร้างตึกศูนย์วิจัย โดยมีมูลนิธิร๊อคกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) รับผิดชอบในการจัดหา Heavy Equipment ของตึก และมีความเห็นชอบกับคณะแพทยศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 14
การจัดตั้ง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) NIH อนุมัติงบประมาณเพื่อการวิจัยในขั้นต้น เป็นเวลา 3 ปี เมื่อได้รับงบประมาณ จาก NIH ผ่านทางมหาวิทยาลัยเซ็นหลุยส์แล้ว ได้มีการเตรียมการเพื่อเริ่มปฏิบัติงานของ ศูนย์วิจัยโลหิตวิทยาและทุโภชนาการ Anemia and Malnutrition Research Center โดยทางสหรัฐอเมริกา ทีม่ หาวิทยาลัยเซ็นหลุยส์มหี น่วยปฏิบตั งิ านเพือ่ การบริการจัดหาพัสดุ ครุภัณฑ์ เพื่อใช้ที่เชียงใหม่ และติดต่อกับศูนย์วจิ ัยที่เชียงใหม่ และ Prof.Robert E. Olsen ซึ่ ง ขณะนั้ น ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง ผู ้ อ� ำ นวยการศู น ย์ วิ จั ย โลหิ ต วิ ท ยาและทุ โ ภชนาการ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเซ็นต์หลุยส์ จัดหา ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ เพื่อมาปฏิบัตงิ านประจ�ำที่ศูนย์วิจัยที่เชียงใหม่ ทางเชี ย งใหม่ Prof.Robert E. Olsen ได้แต่งตั้งให้ Dr.Jo Anne Whitaker ท�ำหน้าที่ Field Director เป็นหัวหน้างานประจ�ำศูนย์วิจัย เชี ย งใหม่ และแต่ ง ตั้ ง Mr.Donald Gibson ท� ำ หน้ า ที่ หั ว หน้ า ฝ่ า ยธุ ร การงานบริ ห ารทั่ ว ไป ของศูนย์วจิ ัย
Prof.Robert E. Olsen
Dr.Jo Anne Whitaker เดิมเป็น Visiting Professor จากมหาวิทยาลัย Illinois ประจ�ำ แผนกกุมาร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และย้ายมาเป็นผู้อ�ำนวยการ ภาคสนาม Field Director หัวหน้างานเพื่อการเตรียม งานการเริ่มงานของศูนย์วจิ ัยเพื่อการ ปฏิบัติงานวิจัยที่ศูนย์วิจัย ดูแลควบคุมงานด้านวิชาการ เพื่อให้เป็นไปตาม Protocol ที่ Prof.Robert E. Olsen เสนอต่อ NIH, Dr.Jo Anne Whitaker ได้ร่วมจัดพาบุคลากรไทย ที่มีความรู้เหมาะสม เพื่อการปฏิบัติงานในแผนกต่างๆ ของ MALAN 15
การด�ำเนินงาน เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) มีการลงนามความร่วมมือ Memorandum of Understanding ระหว่างผูแ้ ทน ไทย โดยรัฐมนตรีทบวงมหาวิทยาลัย พลเอกเนตร เขมะโยธิน ร่วมกับผู้แทนประเทศ สหรัฐอเมริกา โดยหัวหน้า United States Operation Mistime (USOM) ประจ�ำ ประเทศไทยในขณะนั้น โดยรัฐบาลไทยอนุมัติงบประมาณเพื่อการก่อสร้างอาคารและ สถานที่เพื่อการปลูกสร้าง และคณะแพทยศาสตร์ยินดีให้ความร่วมมือ และให้ความ ช่วยเหลือตามความจ�ำเป็น ทางด้านสหรัฐอเมริกา มูลนิธริ อ็ คกีเ้ ฟลเลอร์อนุมตั งิ บประมาณ ส�ำหรับครุภัณฑ์ Heavy Equipment เพื่อติดตั้งส�ำหรับอาคารศูนย์วิจัย เพื่อการวิจัยตามที่ NIH อนุมัติ
จากความร่วมมือทัง้ หลายเหล่านี้ จึงได้เกิดมีศนู ย์วจิ ยั ขึน้ ในคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีชื่อว่า ศูนย์วิจัยโลหิตวิทยา และทุโภชนาการ Anemia and Malnutrition Research Center เรียกย่อว่า MALAN และเป็นโครงการความร่วมมือ ระหว่างมหาวิทยาลัยเซ็นหลุยส์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 16
ผู ้ เ ชี่ ย วชาญจากสหรั ฐ ได้ ท ยอยมาประจ� ำ ที่ จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ มี จ� ำ นวน รวมทั้งสิ้น 8 คน (ร่วมทั้งบุคลากรชาวต่างประเทศ ที่ประจ�ำอยู่ที่เชียงใหม่แล้ว) ได้แก่ Dr. Jo Anne Whitaker Mr. Donald Gibson Dr. David Morehead Miss Helen Sellup Dr. Charlie Tau Miss Anne Hall Mr. Harmon Miss Fleanor Fort
Field Director Administrator Pediatrician Nurse Biochemis Biochemistry technician Biochemistry technician Hematology technician
17
มีเจ้าหน้าที่ไทยร่วมปฏิบัติงานในขั้นต้น 28 คน ประกอบด้วย พยาบาล ผู้ช่วย พยาบาล โภชนากร นักวิทยาศาสตร์ ชีวเคมี นักวิทยาศาสตร์ด้านโลหิตวิทยา รวมทั้ง เจ้าหน้าที่ธุรการ ซึ่งรวมคนขับรถ โครงการวิจยั นี้ Prof.Robert E. Olsen เป็นหัวหน้าโครงการทัง้ หมด และควบคุม งานทีเ่ ชียงใหม่ ฝ่ายไทยมีศาสตราจารย์ นพ.อาวุธ ศรีศกุ รี เป็นหัวหน้า และเพือ่ ให้การ ประสานงานร่วมมือระหว่างศูนย์วจิ ัย และคณะแพทยศาสตร์ ทางคณะแพทยศาสตร์ ได้อนุมัติและแต่งตั้งให้ พญ.อุษา ธนังกูล เป็นผู้ประสานงานระหว่างศูนย์วิจัย และคณะแพทยศาสตร์ และอนุญาตให้ร่วมท�ำการวิจัย และต่อมาก็ได้เชิญอาจารย์จาก คณะแพทย์มาร่วมท�ำการวิจัยด้วยอีกหลายท่านตามรายชื่อดังต่อไปนี้ 1. พญ.อุษา ธนังกูล ผูป้ ระสานงานระหว่างคณะแพทยศาสตร์ และศูนย์วจิ ยั ฯ และรับผิดชอบ วิจัยด้าน Clinical research ในหอผู้ป่วย (ค.ศ.1968-1978) 2. นพ.ปัญจะ กุลพงศ์ วิจัยด้าน Hematology clinical research (ค.ศ. 1969-1976) 3. นพ.ด�ำริ ด�ำรงศักดิ์ วิจัยด้าน Pediatric medicine clinical research (ค.ศ. 1970-1976) 4. นพ.กอสิน อมาตยกุล วิจยั ด้าน Endocrinocine Obstetrics and Gynecology (ค.ศ. 1972-1976) 5. พญ.บุญหลง ศิวะสมบูรณ์ วิจัยด้าน Internal Medicine (ค.ศ. 1973-1974) 6. นพ.วิชาญ วิทยาศัย วิจัยด้าน Immunology clinical research (ค.ศ. 1972-1978) 7. ดร.ไมตรี สุทธจิตร วิจัยด้าน Biochemistry (ค.ศ. 1972-1976) 8. น.ส.พ.บุญเลิศ ชินบุตร วิจัยด้าน Veterinary Medicine (ค.ศ. 1972-1974)
18
ในระยะเริ่มต้นที่ยังไม่มอี าคารเพื่อการปฏิบัตงิ าน ทางคณะแพทยศาสตร์ได้แบ่งให้ ใช้สถานที่ของอาคารในคณะแพทยศาสตร์ เช่นส�ำหรับหอผู้ป่วย ได้ใช้อาคารชัน้ สองของตึก กุมารเวชศาสตร์ ห้องปฏิบัติการและหน่วยธุรการ อยู่ชั้นสองของตึกในคณะแพทยศาสตร์ และหน่วยงานบางแห่งได้รับอนุญาตให้ใช้ห้องปฏิบัติการของหน่วยมาลาเรีย กระทรวง สาธารณสุข และได้เริม่ ทดลองปฏิบตั งิ านในเดือนกุมภาพันธ์ 2511 และรวบรวมข้อมูลทุกด้าน เสนอต่อ Prof.Robert E. Olsen ซึ่งจะมาติดตามงาน ซักถาม วิจารณ์ ติติง ให้ความเห็น และแก้ไขถ้ามีข้อผิดพลาด Prof.Robert E. Olsen จะมาติดตามงานวิจัยพร้อมทั้งพบ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ และบางครั้ ง พบอธิ ก ารบดี มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ ทุก 6 เดือน ซึ่งผลงานนี้ Prof.Robert E. Olsen จะสรุปเพื่อรายงานต่อ NIH
การเผยแพร่ผลงาน ศูนย์วจิ ัย MALAN ได้ปฏิบัติงานวิจัยไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 4 ปี หลังจากเริม่ งานวิจยั ซึง่ ได้ดำ� เนินการอย่างกว้างขวาง รวมทัง้ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล และในปี พ.ศ. 2515 (1972) จะมีการประชุมใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ด้านโภชนาการ ของโลก International Congress and Nutrition ซึ่งจะมีการประชุมทุก 4 ปี ที่ประเทศ ต่างๆ ตามความเหมาะสม เพื่อเป็นการแนะน�ำ MALAN ซึ่งมีความทันสมัยและมีผลงานที่มีคุณภาพ ต่อสังคม วิชาการทางด้านโภชนาการ ซึ่งความพร้อมและมีคุณภาพของศูนย์วิจัย MALAN โครงการ เผยแพร่ผลงานที่มีคุณภาพ มีความทันสมัย และหลากหลาย Prof.Robert E. Olsen ได้ อนุมัติงบประมาณเพื่อให้นักวิจัยจากศูนย์วิจัย MALAN เชียงใหม่ และจากแผนก Pathology จากมหาวิทยาลัยมหิดล รวม 6 คน เดินทางไปเสนอผลงาน 8 Papers ที่ ประเทศ Mexico การเสนอผลงานจาก MALAN ในครั้งนี้ท�ำให้สังคม นักวิชาการ ทางด้าน โภชนาการทั่วโลกได้รู้จัก ศูนย์วิจัย MALAN เชียงใหม่ ผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ได้แก่ Prof.Robert E. Olsan, Dr.Robert Suskind, Mrs.Leslie Suskind, Dr.Leiztman, พญ.อุษา ธนังกูล, นพ.สุขุม บุณยะรัตนเวช
19
ปี พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ตึก อาคารศู น ย์วิจัยที่ท างรัฐบาลไทยได้ ส ร้ า งขึ้น ในบริเ วณคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใกล้จะเสร็จลงในปี พ.ศ. 2516 เป็นอาคารที่ทันสมัย ออกแบบโดย สถาปนิ ก ชาวอเมริ กั น และสถาปนิ ก คนไทย ควบคุ ม การก่ อ สร้ า งโดยบริ ษั ท เดี ย วกั น Prof.Robert E. Olsen มาติ ด ตามการก่ อ สร้ า งทุ ก ครั้ ง ที่ ม าตรวจงานของสถาบั น ฯ มีเครือ่ งท�ำความเย็น ความร้อน Heavy Equipment ติดกับตัวอาคาร มีหอ้ งปฏิบตั กิ าร ชีวเคมีมากกว่า 3 ห้อง ห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยา ห้องปฏิบัติการจุลชีวะส�ำหรับ หอผู้ป่วย ซึ่งเป็น Metabolic Unit ของคนไข้เด็ก ห้องพักส�ำหรับผู้ใหญ่ท่รี ่วมการวิจัย ห้องเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้ในการทดลอง ห้องผ่าตัดส�ำหรับผ่าตัดสัตว์ในการวิจัย และมี เครื่องมือที่ทันสมัยส�ำหรับการวิจัยในห้องปฏิบัติการทุกๆ ห้อง ศูนย์วิจัย MALAN ในขณะนั้นถือว่าเป็นศูนย์วิจัยที่ทันสมัยและมีความพร้อมมากที่สุดในประเทศเอเชีย อาคเนย์ และมี ค วามพร้ อ มและทั น สมั ย ไม่ ด ้ อ ยกว่ า ศู น ย์ วิ จั ย ในสถาบั น หรื อ มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ในปีเดียวกันนี้ (มกราคม พ.ศ. 2516) จะมีการประชุมระดับเอเชีย เรียกว่า Asia Congress of Nutrition ทีป่ ระเทศฟิลปิ ปินส์ และคณะกรรมการจัดงานได้เชิญนักวิชาการ จากทั่วโลกให้มาร่วมเข้าประชุมและบรรยาย Prof.Robert E. Olsen เห็นเส้นทางสมควร อย่างยิ่งที่จะให้มีพิธีเปิดอาคารศูนย์วิจัย พร้อมทั้งมี International Symposium ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2516 จัดก่อนการประชุม Asia Congress of Nutrition เพื่อให้ ผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมประชุมทั้ง 2 แห่ง จะท�ำให้มีผู้เข้าร่วมประชุมมาก และเชิญ องค์ปาฐกมาร่วมด้วยมาก
20
พิธีเปิดอาคารศูนย์วจิ ัยอย่างเป็นทางการได้จัดขึ้นก่อนการประชุม องค์ประธานในพิธีเปิด คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร วันจันทร์ท่ี 8 มกราคม พ.ศ. 2516 ในการเปิดตึกครั้งนี้ ได้จัดให้มีการประชุมที่หอประชุมใหญ่ คณะแพทยศาสตร์ และจัดให้ผเู้ ข้าร่วมประชุมเยีย่ มชมแผนกต่างๆ ของตึกศูนย์วจิ ยั การประชุมครัง้ นีม้ นี กั วิชาการ เข้าร่วมเสนอผลงานจาก 12 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งนักวิชาการจากหลายหน่วยจาก ในประเทศไทย 21
การวิจัยภาคสนามในชนบท ชุมชน เมื่อเด็กผู้ป่วยโรคขาดสารอาหาร วิตามิน เกลือแร่ อย่างรุนแรง ได้รับการรักษา จนหายเป็ น ปกติ ส่ ง กลั บ บ้ า นแล้ ว ทางศู น ย์ วิ จั ย ได้ นั ด มาติ ด ตามภาวะโภชนาการ ที่หน่วยพยาบาลของศูนย์วิจัย ต่อมาจ�ำนวนเด็กที่ควรมารับการตรวจติดตามมีจ�ำนวน มากขึ้น และบางคนบ้านอยู่ห่างไกล ไม่มารับการติดตาม จึงได้มีการตั้งหน่วยเพื่อติดตาม ผู ้ ป ่ ว ยขึ้ น แยกจากแผนกพยาบาลที่ ท� ำ งานในหอผู ้ ป ่ ว ย หน่ ว ยงานนี้ ริ เ ริ่ ม ดู แ ลโดย Mrs.Leslie Suskind เรียกหน่วยนี้ว่าหน่วยเวชศาสตร์ชุมชน ซึ่งต่อมาแผนกนี้เป็นก�ำลัง ส�ำคัญส�ำหรับการวิจยั ในด้านต่างๆ ของศูนย์วจิ ยั อาทิเช่น การวิจยั ด้านการวางแผนครอบครัว การป้องกันภาวะโลหิตจางโดยการเสริมเหล็ก และอื่นๆ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เคยเข้ามา รับการรักษาทีห่ อผูป้ ว่ ยของศูนย์วจิ ยั เมือ่ กลับมาติดตามสุขภาพและภาวะโภชนาการ จะพบว่ามีสุขภาพดี ภาวะโภชนาการดี ไม่กลับเป็นโรคขาดอาหาร จนต้องเข้ารับการ รักษาอีก แต่มเี ด็กจ�ำนวนหนึง่ จากหมูบ่ า้ นเดียวกัน คือเด็กโรคขาดอาหาร จากพระบาท ห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ล�ำพูน เมือ่ มาติดตามพบว่ากลับเป็นโรคขาดอาหารซ�้ำอีก บางคนเป็นรุนแรง จนถึงขั้นเข้ารักษาพยาบาลอีก
22
เด็กจากหมู่บ้านนี้ เป็นโรคขาดอาหารจ�ำนวนมาก และยังเป็นซ�้ำเมื่อรักษาหาย จนส่งกลับบ้านแล้ว พญ.อุษา ธนังกูล จึงได้ไปติดตามเด็กที่เคยเป็นคนไข้ที่หมู่บ้าน ได้เห็น สภาพความเป็นอยู่ของชุมชน เป็นชาวกระเหรี่ยงซึ่งยากจนมาก เป็นชุมชนที่ค่อนข้างใหญ่ มี 3,000 ครัวเรือน ครอบครัวเกือบทั้งหมดยากจนมาก มีลูกมาก ไม่มีอาชีพที่แน่นอน ไม่มี ทีด่ นิ ทีเ่ หมาะสมกับการเพาะปลูก พืน้ ดินในหมูบ่ า้ นไม่สมบูรณ์และเป็นศิลาแลง บ้านเป็นไม้ไผ่ ไม่มีส้วม ขาดน�้ำ อาหารที่กินประจ�ำคือผักต้มกับพริก เกลือ และผงชูรส อาหารขาดโปรตีน ขาดน�้ำ ไขมัน รายได้หลักของครอบครัวมาจากการขุดขายศิลาแลง แม่บ้านทอผ้าเพื่อใช้ ในครั ว เรื อ น และขายบ้ า งเมื่ อ มี โ อกาส ดั ง นั้ น พญ.อุ ษ า จึ ง ได้ เ ขี ย นโครงการวิ จั ย “ศูนย์เลี้ยงเด็กเพื่อการป้องกันการขาดอาหารในเด็กก่อนวัยเรียนในชนบทที่ยากจน และห่างไกล” ได้สง่ โครงการวิจยั นีไ้ ปขอความช่วยเหลือจากมูลนิธเิ อเชีย ซึง่ มีสำ� นักงาน ประจ�ำประเทศไทยที่กรุงเทพฯ มูลนิธิเอเชียได้อนุมัติโครงการตามที่ขอไป จ�ำนวนเงิน 200,000 เหรียญ เพือ่ ท�ำการวิจยั เป็นเวลา 3 ปี และอาจจะอนุมตั งิ บประมาณเพือ่ การดูงาน ของเจ้ า หน้ า ที่ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ งานวิ จั ย นี้ เพื่ อ ไปดู ง านที่ ศู น ย์ โ ภชนาการในประเทศไทย และประเทศในกลุ่มเอเชีย 23
โครงการวิจัยนี้ได้เสนอการจัดตั้ง ศูนย์เลี้ยงเด็กในหมู่บ้าน 3 แห่ง 1. พระบาทห้วยต้ม อยู่ห่างไกล ยากจนมาก มีปัญหาทุกด้าน 2. ดอยเต่า อยู่ห่างไกล มีความยากจน 3. แม่ริม อยู่ใกล้ตัวจังหวัด ความยากจนไม่มาก โครงการนี้ได้เสนอการป้องกันภาวะการขาดอาหารอย่างองค์รวม ใช้พหุวิชาการ โดยใช้ศูนย์เลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อการสาธิต การถึงประชาชน และเป็น สถานที่เพื่อการพบปะและให้ความรู้ แนะน�ำการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยวิทยากรซึ่งเป็น ผู้ช�ำนาญจากหลายสาขาวิชา และหลายหน่วยงาน และให้มารดาเด็กที่เข้ารับการเลี้ยงดู ผลัดเวรมาท�ำงานที่ศูนย์ ที่ศูนย์เลี้ยงเด็กจะรับดูแลเด็กในเวลากลางวัน และมีหน่วยพยาบาลให้การตรวจ และรักษาผู้ป่วยในชุมชนที่ศูนย์เลี้ยงเด็กตั้งอยู่ คือที่พระบาทห้วยต้ม และที่ อ.ดอยเต่า ที่แม่ริมไม่ได้ตัดหน่วยพยาบาล เพราะอยู่ใกล้ตัวเมือง การเข้ารับการรักษาพยาบาลไม่เป็น ปัญหา การปฏิบัติงานของศูนย์เลี้ยงเด็ก ประกอบด้วย 1. อาหารเสริมโปรตีนเป็นอาหารกลางวัน ให้เด็กรับประทานน�้ำนมถั่วเหลือง พร้อมทั้งสาธิตวิธีท�ำอาหารเด็กอ่อน และเด็กก่อนวัยเรียน การท�ำน�้ำนมถั่วเหลือง และการ ท�ำเต้าหู้ 2. สาธิตเกี่ยวกับสุขศึกษา เพื่อดูแลความสะอาดร่างกาย และท�ำความสะอาด สิ่งแวดล้อม 3. ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้นแก่ชาวบ้านที่เจ็บป่วย 4. ส่งเสริมอาชีพเพื่อให้ครอบครัวมีรายได้ขึ้น ส�ำหรับแม่บ้าน ส่งเสริมหัตถกรรม ที่ชาวบ้านมีความช�ำนาญ และหาตลาดเพื่อการจ�ำหน่วยผลิตภัณฑ์ และใช้ศูนย์เลี้ยงเด็กเป็นศูนย์กลางด�ำเนินงาน เพื่อการพัฒนาหมู่บ้านในทุกๆ ด้าน ตามที่เห็นสมควร
24
โครงการป้องกันภาวะการขาดอาหารในเด็กก่อนวัยเรียนนี้ ศูนย์วิจัยได้ร่วมงาน และได้รับความร่วมมือกับคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เช่นคณะเกษตรศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์ และศูนย์วิจัยได้รับความร่วมมือช่วยเหลือจาก ผูน้ ำ� หน่วยราชการต่างๆ เช่น ผูว้ า่ ราชการจังหวัด นายอ�ำเภอ ผูใ้ หญ่บา้ น เกษตร และพัฒนากร รวมทัง้ หน่วยงานชลประทาน ป่าไม้ เป็นต้น โครงการศูนย์เลีย้ งเด็กทีพ่ ระบาทห้วยต้ม ซึง่ เป็น หมู่บ้านที่ยากจนอย่างมาก ยังได้รับความช่วยเหลือ พระราชทานจากพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า จุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และได้ทรงเสด็จเยี่ยม ณ หมู่บ้านพระบาท ห้วยต้มถึง 2 ครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2521 และ พ.ศ. 2522 อันเป็นพระมหากรุณาธิคุณ อย่างหาที่เปรียบมิได้จนถึงปัจจุบัน 25
การส่งเสริมอาชีพที่ได้ท�ำในโครงการศูนย์เลี้ยงเด็ก มีอาทิเช่น การพัฒนาการ ทอผ้า การเพาะเห็ด การท�ำโอ่งเพื่อเก็บน�้ำ การท�ำเต้าหู้เพื่อการบริโภค และเป็นการค้า ในหมู่บ้าน การถนอมอมหาร เช่นท�ำหน่อไม้ปี๊บ สนับสนุนและช่วยเหลือด้านการเกษตร ความช่วยเหลือที่ให้ชาวบ้านมิได้เป็นการให้เปล่า
26
การวิจยั เป็นไปได้ดตี ามวัตถุประสงค์ เด็กในศูนย์เลีย้ งเด็กมีภาวะโภชนาการโดยการ วัดน�้ำหนักส่วนสูงที่ดี ไม่เป็นโรคขาดอาหาร และดีกว่าเด็กที่ไม่ได้เข้ามาศูนย์เลี้ยงเด็ก เด็กทีศ่ นู ย์แม่รมิ มีภาวะโภชนาการดีทสี่ ดุ เด็กทีพ ่ ระบาทห้วยต้มไม่พบการขาดอาหาร แต่การเจริญเติบโตไม่ดีเท่าเด็กจากศูนย์อกี สองแห่ง งานวิจัยที่ขอไปที่มูลนิธิเอเชีย Asia Foundation นั้นได้ตั้งยอดเงินจ�ำนวน 500,000 บาท เพื่อการช่วยเหลือชาวบ้าน โดยไม่คาดว่าจะได้กลับคืน แต่เมื่อ ปฏิบตั งิ านส่งเสริมอาชีพ ทางโครงการวิจยั มิได้ให้เงินไปเลย แต่ชาวบ้านต้องน�ำผลผลิต มาจ�ำหน่าย ซึ่งปรากฎว่าเงินยอดนี้คงอยู่และมีจ�ำนวนเงินเพิ่มขึ้น เมื่อจบโครงการวิจัย ยอดเงินที่ค้างจะต้องส่งคืนเจ้าของทุน แต่ในกรณีนี้ได้ขออนุมัตจิ ากมูลนิธิ เพื่อใช้เงินจ�ำนวน ที่เหลือนี้ เพื่อตั้งเป็นมูลนิธิส่งเสริมโภชนาการ และใช้เงินเพื่อช่วยเหลือชาวบ้าน สนับสนุน การวิจัยโภชนาการและเน้นค่าใช้จ่าย เพื่อไปร่วมประชุมทางโภชนาการของบุคลากรของ ศูนย์วจิ ัย มูลนิธิเอเชียซึ่งเป็นผู้อนุมัติโครงการศูนย์เลี้ยงเด็ก ได้ให้ทุนเพื่อการไปศึกษา และเยี่ยมชมหน่วยงานโภชนาการในประเทศทางแถบพื้นเอเชีย 3 ประเทศ คือมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ และในประเทศไทย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานหลักของ ศูนย์เลี้ยงเด็กได้มีความรู้เพิ่มเติม และพบว่าที่ประเทศฟิลิปปินส์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ ประเทศฟิลิปปินส์มโี ครงการโภชนาการร่วมกับการพัฒนาชนบท คล้ายกันกับศูนย์เลี้ยงเด็ก เพื่อป้องกันการขาดอาหารของศูนย์วจิ ัย และเป็นโครงการซึ่งน่าจะเป็นรูปแบบ ดังนั้น FAO จึงได้จัดให้มีการสัมมนาระดับประเทศอาเซียน เพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะการขาดอาหาร ของเด็กก่อนวัยเรียน มีผู้เข้าร่วมประชุมจากหลายประเทศ และ FAO ได้จัดท�ำ Proceeding ของการประชุมอีกด้วย
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง อุษา ธนังกูล 3 กันยายน 2557
ความในใจของประธานคณะกรรมการอำ�นวยการ ประจำ�สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อาวุธ ศรีศุกรี อดีต : ผู้อ�ำนวยการฝ่ายไทย พ.ศ.2515-2518 ศูนย์วจิ ัยด้านโลหิตวิทยาและทุโภชนาการ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเซ็นต์หลุยส์ ปัจจุุบัน : ประธานคณะกรรมการอ�ำนวยการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ใ
นโอกาสที่ ศู น ย์ วิ จั ย โลหิ ต วิ ท ยาและทุ โ ภชนาการ ซึ่ ง ต่ อ มาจั ด ตั้ ง ให้ เ ป็ น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ จะมีวาระครบ 48 ปี ขอแสดงความยินดีที่สถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ ได้มกี ารพัฒนามาอย่างต่อเนือ่ ง และมีผลส�ำเร็จอันน่าชืน่ ชม เป็นหนึง่ ในน้ อ ยๆ แห่ ง ในบรรดาสถาบั น วิ จั ย ที่ จ ะได้ รั บ การยอมรั บ นั บ ถื อ อย่ า งเชื่ อ มั่ น ใน นานาประเทศทั่วโลก ในระยะที่ศูนย์วิจัยโลหิตวิทยาและทุโภชนาการ ได้เริ่มจัดตั้งขึ้นในฐานะที่เป็น ส่วนงานของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับโรงเรียนแพทย์ของ มหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ สหรัฐอเมริกา ภายใต้การสนับสนุนของ มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ และสถาบัน NIH ของสหรัฐอเมริกา ผมโชคดีที่ได้รับมอบหมายให้มีส่วนร่วมในงานอัน ส�ำคัญนี้ โดยเฉพาะในด้านการประสานงานและการบริหารจัดการฝ่ายไทย และได้ม ี ส่วนร่วมเรือ่ ยมาจนศูนย์วจิ ยั โลหิตและทุโภชนาการ ได้รบั การสถาปนาขึน้ เป็นสถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สุขภาพ ในระยะเริ่มต้นได้ใช้ที่ด�ำเนินการในอาคารสองชั้นของกลุ่มอาคารตึกเจ็ดชั้น ของคณะแพทยศาสตร์ ต่อมาได้ย้ายเข้าในอาคารใหม่ท่กี ่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2515 เป็นแบบอย่างของงานวิจัยที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง มีห้องปฏิบัติการที่มีคุณภาพสูง มีมาตรฐานระดับโลก เนื่องจากเชียงใหม่ในขณะนั้นยังไม่สามารถรับภาระงานสนับสนุน ได้ดีพอ จึงต้องมีทั้งโรงช่างและศูนย์บริการยานยนต์ ท�ำให้การปฏิบัติงานวิจัยในท้องที ่ ห่างไกลราบรื่นเรียบร้อย เป็นผลดียิ่ง 28
ขอระลึกถึงนามของบุคคล 2 คน ที่เป็นคนส�ำคัญที่สร้างรากฐานให้ศูนย์วิจัยฯ ได้รับความส�ำเร็จตลอดมาคือ โปรเฟสเซอร์ โรเบิร์ด อี โอลสัน หัวหน้าโครงการ และ มิสเตอร์ โดนัลด์ เจ กิบสัน ผู้จัดการศูนย์วจิ ัยฯ ความประทับใจในผลงานของศูนย์วิจัยฯ นี้ อยู่ที่ในระยะเริ่มแรกของงานวิจัย ที่มีการศึกษาถึงโรคขาดอาหารอย่างรุนแรงในผู้ป่วยเด็ก ซึ่งในขณะนั้นมีเป็นจ�ำนวนมาก โดยเฉพาะในภาคเหนือของประเทศ ผลของงานวิจัยได้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งทั้งในด้าน การรักษาพยาบาลและการป้องกันโรคในผู้ป่วยเด็กเหล่านี้ จนในระยะท้ายของโครงการนี ้ มีผปู้ ว่ ยจ�ำนวนน้อยลงมากจนเกือบไม่มใี ห้ทำ� การวิจยั เรือ่ งนีไ้ ด้ตอ่ ไป งานหลักทีเ่ ป็นเป้าหมาย ระยะแรกนี้ เป็นที่มาของชื่อศูนย์วิจัย งานวิจัยของสถาบันฯ ได้ปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของท้องถิ่นและของโรค ในเมื่อมีโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องจาก HIV แพร่ระบาดไปทั่วโลก และสถาบันวิจัยฯ ก็ยังคง สร้างผลงานตีพมิ พ์เป็นทีเ่ ชือ่ ถือแพร่หลาย และน�ำไปใช้ในการพัฒนาการป้องกันรักษาผูป้ ว่ ย AIDS ทั่วโลก จนถึงปัจจุบัน มีงานไม่มากนักที่จะสร้างความภูมิใจให้กับผู้มีส่วนร่วมได้มากเท่ากับศูนย์วิจัย และสถาบันวิจัยแห่งนี้ ซึ่งมีผลงานเป็นที่ยอมรับนับถือไปทั่วโลก จนท�ำให้งานวิจัยได้รับ การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากองค์กรระหว่างประเทศและในประเทศ เป็นอย่างดีตลอดมา ผลส�ำเร็จนี้เป็นตัวอย่างของความมานะบากบั่นทุ่มเทให้กับงานของผู้อ�ำนวยการ ทุ ก ท่ า นที่ผ ่ า นมาถึง ปั จ จุ บั น และความสมานสามั ค คีข องบุ ค ลากรทุ ก ระดั บ อย่ า งดียิ่ง สถาบันวิจยั นีเ้ ป็นหน่วยงานวิจยั หนึง่ ในน้อยแห่งทีอ่ ยู่นอกสหรัฐอเมริกา ทีย่ งั คงได้รบั ทุนวิจยั จากสถาบั น สาธารณสุ ข แห่ ง สหรั ฐ อเมริ ก าอย่ า งต่ อ เนื่อ ง และยั ง คงสร้ า งผลงานวิ จั ย คุณภาพสูงที่เป็นประโยชน์ต่อชาวโลกตลอดไป
29
ความในใจ
ของอดีตผู้อำ�นวยการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ R e s e a r c h I n s t i t u t e f o r H e a lt h S c i e n c e s
30
ความในใจของอดีตผู้อำ�นวยการ รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอุษา ธนังกูล ต�ำแหน่ง :ผูป้ ระสานงานระหว่างศูนย์วจิ ยั ด้าน โลหิตวิทยา และทุโภชนาการ และคณะแพทยศาสตร์ :ผู้อ�ำนวยการ พ.ศ. 2521 - 2525 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ท่
า นผู ้ อ� ำ นวยการสถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ ได้ ข อให้ ข ้ า พเจ้ า เขียนบทความ เพื่อน�ำลงในหนังสือที่ระลึก การเฉลิมฉลองการก้าวย่างจากศูนย์วิจัย โลหิตวิทยาและทุโภชนาการ มาสู่การเป็นสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ เพื่อทราบถึงการบริหาร และวิวัฒนาการของการด�ำเนินงานในอดีต ศูนย์วิจัยโลหิตวิทยา และทุโภชนาการ ถือก�ำเนิดจากความร่วมมือ ระหว่าง รัฐบาลไทย และรัฐบาลสหรัฐอเมริกา โดยทุนวิจัยจาก National Institute of Health (NIH) และมูลนิธริ อ๊ คกีเ้ ฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) และเป็นโครงการความร่วมมือ ระหว่าง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซ็นหลุยส์ สหรัฐอเมริกา
31
ความร่วมมือทัง้ หมดนี้ เกิดขึน้ จากการพบและปรึกษาหารือ ระหว่างประธานาธิบดี แห่งสหรัฐอเมริกา Lyndon B. Johnson และนายกรัฐมนตรี Sato แห่งประเทศญี่ปุ่น ใน พ.ศ. 2508 และประธานาธิ บ ดี ส หรั ฐ อเมริ ก าด� ำ ริ ใ ห้ มี โ ครงการเพื่ อ แสดงความ ปรารถนาดีด้วยการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพที่รุนแรง ของประชากรในประเทศภาคพื้ น เอเชี ย อาคเนย์ โ ดยการจั ด ตั้ ง โครงการ US-Japan Co-operative Medical Sciences Program โดยมี Prof.Nevin S. Scrimshaw เป็นประธาน ฝ่ายสหรัฐอเมริกา และ Prof.Shimazono เป็นประธานฝ่ายประเทศญี่ปุ่น คณะกรรมการ ของโครงการนี้ประกอบด้วยนักวิชาการชั้นน�ำจากประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น คณะกรรมการดั ง กล่ า วมี ม ติ ใ ห้ เ ชิ ญ Prof.Robert E. Olson หั ว หน้ า ภาควิ ช าชี ว เคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซ็นหลุยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ ชัน้ น�ำ มีชอื่ เสียง ให้เป็นหัวหน้าโครงการจัดท�ำโครงการวิจยั โดยผ่านมหาวิทยาลัยเซ็นหลุยส์ เพื่อขอรับทุนจาก NIH เพื่อจัดตัง้ ศูนย์วิจัย ท�ำการวิจัย แก้ปัญหาเรื่อง Multiple Etiologies of Nutritional Anemia ซึ่งเป็นปัญหาส�ำคัญของประชากรในแถบเอเชียอาคเนย์ รวมทั้งประเทศ ที่ยากจนทั่วโลก Prof.Robert E. Olson ได้ปรึกษาถึงความเป็นไปได้ในการด�ำเนินการวิจัย ตามแผนนี้กับคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้รับความเห็นชอบ และยินดีให้ความร่วมมือ Prof.Robert E. Olson จึงได้ส่งโครงการวิจัยดังกล่าว และจะท�ำการ วิจัยที่เชียงใหม่ เสนอขอรับทุนจาก NIH
32
ปีต่อมา พ.ศ. 2509 NIH ได้อนุมัติทุนวิจัยระยะเวลา 5 ปี และอาจขยายเวลา ได้ตามความจ�ำเป็น โดย NIH มีเงื่อนไขก่อนการอนุมัติงบวิจัยที่ Prof.Robert E. Olson ได้เสนอขอไป ดังต่อไปนี้ 1. ต้องได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลไทย และช่วยเหลือด้านงบประมาณ งานก่อสร้างอาคารวิจัย 2. ต้องได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ โดยรับผิดชอบ งบประมาณส�ำหรับ Heavy Equipment ส�ำหรับอาคารวิจัย 3. ต้องได้รบั ความเห็นชอบ ความร่วมมือ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชี ย งใหม่ รวมทั้ ง ได้ รั บ ความเห็ น ชอบจากมหาวิ ท ยาลั ย อิ ล ลิ น อยส์ ประเทศ สหรัฐอเมริกา ซึ่งให้ความร่วมมือกับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในขณะนั้น หลั ง จาก Prof.Robert E. Olson และคณะได้ ติ ด ต่ อ ประสานงาน และได้ รั บ ความเห็นชอบจากทุกหน่วยงานแล้ว ได้รายงานไปยัง NIH และได้รับอนุมัตทิ ุนวิจัย โดยผ่าน มหาวิทยาลัยเซ็นหลุยส์ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2510 เมื่อทุนวิจัยได้รับการอนุมัติแล้ว Prof.Robert E. Olson ได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้น 2 แห่ง คือที่มหาวิทยาลัยเซ็นหลุยส์ ประเทศ สหรัฐอเมริกา และที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยหน่วยงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ ด�ำเนินการสรรหาผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ เพื่อด�ำเนินงานในหน่วยงานวิจัยต่างๆ ที่เชียงใหม่ ท�ำหน้าที่ประสานงาน อ�ำนวยความสะดวกและจัดหาครุภัณฑ์ วัสดุภัณฑ์ จากประเทศ สหรัฐอเมริกา เพื่อใช้ที่ศูนย์วจิ ัยเชียงใหม่
33
ส�ำหรับที่เชียงใหม่ Prof.Robert E. Olson ได้แต่งตั้งผู้อ�ำนวยการศูนย์วิจัย ซึ่งคือ Dr.Jo Anne Whitaker อดีต Visiting Professor จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ซึ่งขณะนั้น ปฏิบตั งิ านทีภ่ าควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และแต่งตัง้ Mr.Donald Gibson อดีตกงศุลอังกฤษประจ�ำจังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นหัวหน้าฝ่ายงานธุรการ และบริหาร ทั้งสองท่านท�ำหน้าที่ติดต่อประสานงานและเตรียมงานเพื่อด�ำเนินงานวิจัย รวมทั้งสรรหาบุคลากรไทย เพื่อปฏิบัติงานในหน่วยงานต่างๆ ที่จะมีขึ้นของศูนย์วจิ ัยฯ ในระยะแรกที่ยังไม่มีอาคารวิจัย คณะแพทยศาสตร์ได้ให้ความช่วยเหลือให้ใช้ สถานที่บางส่วนของคณะแพทยศาสตร์ เป็นห้องธุรการ ห้องปฏิบัติการ ฯลฯ และใช้พื้นที่ บางส่วนของอาคารผู้ป่วยแผนกกุมารเวชศาสตร์ เพื่อรับผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคขาดอาหาร อย่างรุนแรงเข้ารับการรักษาและร่วมการวิจัย หน่วยปฏิบัติงานวิจัยที่เชียงใหม่นี้มีชื่อว่า “ศูนย์วิจัยโลหิตวิทยา และทุโภชนาการ” (Anemia and Malnutrition Research Center) ชื่อย่อ MALAN และผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศได้ทยอยมาเพื่อปฏิบัติงานในปี พ.ศ. 2511 ส�ำหรับการก่อสร้างอาคารวิจัยได้เริ่มโดยมีพิธีการวางศิลาฤกษ์ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2512 อาคารสร้างเสร็จในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2515 และมีพิธีการเปิดอาคาร อย่ า งมี เ กี ย รติ โดยได้ รั บ พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ จาก สมเด็ จ พระบรมโอรสาธิ ร าช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดอาคารศูนย์วิจัยฯ ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2516 34
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 ได้มีการลงนามตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลสหรัฐอเมริกา (Memorandum of Understanding) โดยพลเอกเนตร เขมะโยธิน รัฐมนตรีทบวงมหาวิทยาลัย เป็นผู้แทนฝ่ายไทย และหัวหน้า USOM ประจ�ำประเทศไทย (United States Operations Mission) เป็นผู้แทนฝ่ายสหรัฐอเมริกา และการด�ำเนินงานวิจัย ของศูนย์วจิ ัยฯ ได้เริ่มในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 ในระยะเริ่ ม ต้ น การท� ำ งานของศู น ย์ วิ จั ย ฯ มี บุ ค ลากรซึ่ ง เป็ น ผู ้ เ ชี่ ย วชาญจาก สหรัฐอเมริกา และอังกฤษรวมทั้งสิ้น 8 ท่าน บุคลากรไทยในทุกหน่วยงานรวม 28 คน ข้าพเจ้าเป็นบุคลากรของคณะแพทยศาสตร์ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานระหว่าง ศูนย์วิจัยฯ และคณะแพทยศาสตร์ฯ และได้ร่วมงานกับศูนย์วิจัยฯ ตั้งแต่เริ่มต้น ต่อมา ศูนย์วจิ ัยฯ ได้เชิญอาจารย์แพทย์ นักวิทยาศาสตร์ และสัตว์แพทย์จากคณะแพทย์ศาสตร์ฯ เข้าร่วมวิจัย และเป็นหัวหน้างานในหน่วยต่างๆ รวมทัง้ สิ้น 8 ท่าน ใน พ.ศ. 2515 มีการประชุมนานาชาติด้านโภชนาการ “International Congress of Nutrition” ซึ่งมีการจัดประชุมทุก 4 ปี หมุนเวียนจัดการประชุมในประเทศสมาชิกทั่วโลก ตามทวีป และภูมิภาคต่างๆ ในปีนั้นได้จัดที่ประเทศ Mexico การประชุมครัง้ นี้ Prof.Robert E. Olson ได้จัดให้บุคลากรจากศูนย์วจิ ัยฯ (MALAN) 4 ท่าน ผู้ร่วมงานจากมหาวิทยาลัยมหิดล 1 ท่าน รวมทั้ง Prof.Robert E. Olson เป็น 6 ท่าน ไปร่วมเสนอผลงานวิจัยจาก MALAN จ�ำนวน 8 บทความ ในการประชุมครั้งนั้น MALAN นับเป็นหน่วยงานใหม่ในวงการวิจัย ได้เสนอผลงานที่หลากหลายถึง 8 บทความ ท�ำให้นักวิชาการจากทั่วโลกที่เข้าประชุมได้เริ่ม รู้จักและเห็นความส�ำคัญของ MALAN
35
ใน พ.ศ. 2516 มีการประชุมระดับภูมภิ าค “Asian Congress of Nutrition” ซึ่งจัดขึ้น ทุก 4 ปี หมุนเวียนตามประเทศต่างๆ ในทวีปเอเซีย ในปีนั้นจัดขึ้น ณ ประเทศฟิลิปปินส์ ในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นเวลาใกล้เคียงกับพิธีการเปิดอาคารวิจัย (MALAN) ซึ่งเป็นอาคารที่มีความพร้อม และทันสมัยมาก มีห้องปฏิบัติการทุกสาขา มีหอผู้ป่วยเด็ก ซึง่ เป็น Metabolic Unit มีหอผู้ปว่ ยผู้ใหญ่ทเี่ ข้าร่วมวิจยั มีห้องสถิติ ห้องอาหารและโภชนาการ ห้องธุรการห้องประชุม หน่วยสัตว์ทดลองและอื่นๆ Prof.Robert E. Olson เห็นเป็นโอกาส อันดีที่จะแนะน�ำนักวิชาการจากทั่วโลกให้รู้จักและได้เข้าเยี่ยมชม MALAN จึงวางแผนจัด การประชุมนานาชาติขึ้นที่ MALAN เชียงใหม่ ในวาระพิธีเปิดอาคารนี้โดยจัดการประชุมขึ้น ในวันที่ 8-11 มกราคม พ.ศ. 2516 ก่อนการประชุม Asian Congress of Nutrition ที่ประเทศ ฟิลิปปินส์ เพื่อความสะดวกต่อผู้บรรยาย ผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งเป็นนักวิชาการจากทั่วโลก ที่จะสามารถเข้าประชุมได้ทงั้ 2 แห่ง Prof.Robert E. Olson ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดงานประชุมนานาชาติ และใช้ ห้องประชุมคณะแพทยศาสตร์เพื่อจัดการประชุม เรียกการประชุมครั้งนี้ว่า “International Symposium on Protein–Calories-Malnutrition” การประชุมครัง้ นี้ มีนักวิชาการที่มีชื่อเสียง จาก 12 ประเทศทั่วโลกร่วมบรรยาย และเสนอผลงาน เช่นจาก ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย อังกฤษ เลบานอน จาไมก้า อเมริกาใต้ กัวเตมาลา อินโดนีเซีย ฟิลลิปปินส์ และไทย มีผู้เข้าร่วมฟังการประชุมจาก 15 ประเทศทั่วโลก Prof.Robert E. Olson และนักวิจัยอาวุโส ของ MALAN ทัง้ ชาวต่างประเทศ และชาวไทย ได้รว่ มเสนอผลงานในการประชุมครัง้ นี้ ส�ำหรับ ประเทศไทย มีผู้เข้าร่วมฟังการประชุมจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข SEATO Lab และผู้แทนจากองค์การ อนามัยโลก องค์การอาหารและโภชนาการและหน่วยงานอืน่ ๆ ในการประชุมครัง้ นี้ ศูนย์วจิ ยั ฯ ได้จดั ให้มเี จ้าหน้าทีท่ กุ แผนก น�ำผูเ้ ข้าร่วมการประชุม เข้าเยีย่ มชมหน่วยงานต่างๆ ของอาคาร วิจยั พร้อมทัง้ ตอบข้อซักถาม หลังจากประชุมครัง้ นีบ้ คุ ลากรจาก MALAN ได้ไปเข้าร่วมประชุม และเสนอผลงานที่ Asian Congress of Nutrition ที่ประเทศฟิลลิปปินส์ในปีนนั้ ด้วย
36
การเสนอผลงานที่ ก ารประชุ ม นานาชาติ ที่ ป ระเทศ Mexico และการจั ด International Symposium ที่จัดขึ้นที่เชียงใหม่ ท�ำให้ MALAN มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับอย่างสูง ท�ำให้ได้รบั เชิญให้เข้าร่วมประชุมเสนอผลงานทุกครัง้ ทีม่ กี ารประชุมด้านโภชนาการ บุคลากร อาวุโสคนไทยได้รับเชิญเป็นกรรมการขององค์การด้านวิชาการนานาชาติเช่น International Union of Nutritional Sciences (IUNS) และได้รับเชิญให้เป็น Temporary Consultant ขององค์การอนามัยโลกในด้านโภชนาการด้านวางแผนครอบครัว ในการประชุมวิชาการ ที่ส�ำนักงานใหญ่องค์การอนามัยโลกที่ เจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ การประชุมที่อนิ เดีย การประชุมที่ประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ชื่อเสียงของ MALAN เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมให้ นักวิจัยอาวุโสของ MALAN ได้รับทุนเพื่อการวิจัยหรือร่วมงานวิจัยกับองค์กรที่ส�ำคัญต่างๆ จากต่างประเทศในเวลาต่อมา ท�ำให้ศูนย์วิจัยฯมีงบประมาณเพียงพอส�ำหรับการบริหาร ศูนย์วจิ ยั ฯ เมือ่ ทุนวิจยั จากสหรัฐอเมริกาลดลง และเป็นช่วงเวลาของการบริหารงานในระยะ เปลี่ยนผ่าน ทุนวิจัยที่ได้รับเพื่อการวิจัย หรือร่วมงานวิจัยจากองค์กรส�ำคัญต่างๆ เช่น • องค์การอนามัยโลก (Reproductive Division) • องค์การอนามัยโลก (Nutrition Division) • USAID Regional Education Development (RED) ศึกษาเรื่อง Vitamin A • รัฐบาลเยอรมัน โดยผ่านมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ ศึกษาการใช้ สาหร่าย (Algae) เพื่อเป็นอาหารเสริมโปรตีน • Asia Foundation โครงการศูนย์ดูแลเด็กอ่อน และเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อป้องกัน การเกิดภาวะทุโภชนาการในเด็กในชนบทที่ยากจน • Massachusetts Institute of Technology (MIT) ประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า โดยร่วมโครงการกับ Prof.Barbara Underwood ในโครงการภาวะโภชนาการของทารก แรกคลอดน�ำ้ หนักน้อยที่ได้รับน�้ำนมแม่ (Breast feeding project) • มหาวิทยาลัย Illinois ในโครงการ Leprosy
37
การพัฒนาบุคลากรเป็นเรือ่ งส�ำคัญของทุกองค์กร ถึงแม้เจ้าหน้าทีศ่ นู ย์วจิ ยั ฯ ได้รบั ความรูแ้ ละประสบการณ์จากการร่วมงานวิจยั กับผูเ้ ชีย่ วชาญของ MALAN แต่เพือ่ การเตรียม ความพร้อมในการที่จะให้บุคลากรของศูนย์วิจัยฯ ได้พัฒนาเพื่อเป็นแกนส�ำคัญในการขอ ทุ น วิ จั ย และเพื่ อ เป็ น หั ว หน้ า งานวิ จั ย ต่ อ ไปในอนาคต การไปศึ ก ษาต่ อ ในต่ า งประเทศ ตลอดจนการได้มีวุฒิปริญญาสูงขึ้นเป็นเรื่องที่จ�ำเป็นและส�ำคัญ ศูนย์วิจัยฯ ได้พยายาม ส่ ง เสริ ม ให้ บุ ค คลากรได้ รั บ ทุ น จากองค์ ก รต่ า งๆ ในช่ ว งท้ า ยของการรั บ ทุ น วิ จั ย จาก สหรัฐอเมริกาได้มีหน่วยงาน และองค์กรต่างๆ ให้ความช่วยเหลือศูนย์วิจัยฯ โดยเฉพาะ ความช่วยเหลือจากรัฐบาลอังกฤษทั้งนี้โดย Mr.Donald Gibson หัวหน้าหน่วยบริหารธุรการ ของศูนย์วิจัยฯ ซึ่งเคยเป็นอดีตกงศุลอังกฤษประจ�ำจังหวัดเชียงใหม่ มีความคุ้นเคยกับ ท่านเอกอัครราชทูตอังกฤษประจ�ำประเทศไทย ได้เชิญท่านเอกอัครราชทูตมาเยี่ยมชม ศูนย์วิจัยฯ ท่านได้เห็นผลงานและการท�ำงานอย่างเข้มแข็งของบุคลากร และรับทราบถึง การต้องการความช่วยเหลือของศูนย์วิจัยฯ และเห็นความส�ำคัญของการพัฒนาบุคลากร จึงได้ให้ความช่วยเหลือด้านทุนการศึกษา และทุนฝึกอบรมที่ประเทศอังกฤษ เพื่อบุคลากร จากศูนย์วิจัยฯ และต่อมาคือสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้มีโอกาสไปศึกษาต่อที ่ สหราชอาณาจักรอย่างต่อเนื่องมากกว่า 10 ทุน และบุคลากรยังได้สอบชิงทุน เพื่อรับทุน ไปศึกษาต่อในประเทศต่างๆ เช่น อินโดนิเชีย ออสเตรเลีย เดนมาร์ค และสหรัฐอเมริกา อีกด้วย 38
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมพ ิ ลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเสด็จเยี่ยม ณ หมู่บ้านพระบาทห้วยต้ม 2 ครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2521 และ พ.ศ. 2522 ใน พ.ศ. 2517 คณะแพทยศาสตร์ได้ให้การสนับสนุนโดยเตรียมการรับศูนย์วิจัยฯ ให้เป็นหน่วยส่งเสริมการวิจัยของคณาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์ โดยบรรจุให้ศูนย์วิจัยฯ เข้าเป็นหน่วยงานของคณะแพทย์ศาสตร์ ในแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 เพื่อการได้รับงบประมาณ และการรับบุคลากรของศูนย์วจิ ัยฯ ให้ได้เป็นข้าราชการ ในเวลาต่อมา ใน พ.ศ. 2519 คณะแพทย์ศาสตร์เห็นความเป็นไปได้ท่จี ะให้ศูนย์วิจัยฯ ได้รับการ ยกฐานะจากการเป็นศูนย์วจิ ัยฯ ของคณะแพทย์ศาสตร์ เพื่อให้เป็นสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ สุขภาพ ซึ่งเป็นหน่วยงานส่งเสริมและร่วมมือวิจัยส�ำหรับคณะต่างๆ ในสาขาวิทยาศาสตร์ สุขภาพ จึงได้มอบหมายให้ผู้ประสานงานของศูนย์วิจัยฯ เขียนโครงการเพื่อการยกฐานะ โดยแสดงถึงความพร้อมของสถาบันฯ ทั้งในด้านเครื่องมือ และบุคลากร รวมทั้งผลงาน และชื่อเสียงที่ผ่านมา แสดงถึงความพร้อม ที่สมควรจะได้รับการยกฐานะให้เป็นสถาบันฯ เป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมร่วมมือการวิจัยของคณาจารย์ในคณะต่างๆ ในสาขาวิท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ และได้ เ สนอไปยั ง ทบวงมหาวิท ยาลั ย เพื่อ การพิจ ารณา ทบวงมหาวิทยาลัยได้อนุมัติ และศูนย์วจิ ัยฯ ได้รับการสถาปนาเป็นสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ สุขภาพ ในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2521 39
ความส�ำเร็จและชื่อเสียงทั้งหมดของศูนย์วิจัยฯ เป็นผลจาการการที่มีผู้น�ำคือ Prof.Robert E. Olson ซึง่ มีความสามารถ มีประสบการณ์ มีวสิ ยั ทัศน์ ร่วมกับการมี Teamwork ที่ดี บุคลากรของศูนย์วจิ ัยฯ ทุกคนท�ำงานอย่างเข้มแข็ง สามัคคี มี spirit ได้สร้างผลงานที่มี คุณภาพ ท�ำให้มผี ลงานจ�ำนวนมากเข้าร่วมในการประชุม ทัง้ ในและต่างประเทศ ท�ำให้องค์กร มีชื่อเสียงได้รับการยอมรับและความช่วยเหลือ จากองค์กรส�ำคัญต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศทุกคนที่ได้เคยร่วมงานมีความทรงจ�ำที่ดี มีความภูมิใจ ที่ได้เคยมาร่วมท�ำงานกับศูนย์วิจัยฯ หลายคนท�ำหน้าที่เป็นประชาสัมพันธ์ให้ศูนย์วิจัยฯ บางคนเมือ่ กลับมาเยีย่ มสถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ ทุกคนยินดีทไี่ ด้เห็นการวิวฒ ั นาการ ของศูนย์วจิ ยั ฯ มาเป็นสถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ เห็นความเจริญขยายงาน มีบคุ ลากร นักวิจัยเพิ่มขึ้นอย่างมาก และงานวิจัยครอบคลุมหัวข้อเรื่องส�ำคัญอย่างกว้างขวาง ข้าพเจ้าขอร่วมแสดงความยินดี และเป็นก�ำลังใจในโอกาสที่สถาบันวิจัย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ จะมี ก ารฉลองการก้ า วย่ า งจากศู น ย์ วิ จั ย โลหิ ต วิ ท ยา และทุโภชนาการ สู่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มช. ครบรอบ 48 ปี
40
ความในใจของอดีตผู้อำ�นวยการ
ศาสตราจารย์ นายแพทย์กอสิน อมาตยกุล ต�ำแหน่ง :ผู้อ�ำนวยการ พ.ศ.2525-2532 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ผู้
เขียนได้รับราชการที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อต้นปี พ.ศ. 2507 ตอนที่ มหาวิทยาลัยเปิดพอดีที่เป็นภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาที่คณะแพทยศาสตร์ หลั ง จากกลั บ มาเมื่ อ ส� ำ เร็ จ การศึ ก ษาแพทยศาสตร์ จ ากมหาวิ ท ยาลั ย Edinburgh แห่งประเทศ Scotland และหลังจากนัน้ ได้ฝึกงานต่อ 5 ปี และสอบได้ membership จาก Royal College of Obstetricians and Gynaecologists แห่งกรุง London, สหราชอาณาจักร (UK) (แต่คณะแพทยศาสตร์ได้เปิดมาก่อนภายใต้มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์แล้ว 5 ปี คือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502) ในปีแรกๆ ของมหาวิทยาลัยเรามุ่งไปทางสอน ฝึก และอบรมนักศึกษาและ สรรหาคณาจารย์ให้เพียงพอกับความต้องการก่อน จากนั้นจึงเริ่มมีงานวิจัยและรับ นักศึกษาปริญญาโทและเอกต่อไป และได้ด�ำริให้มี Graduate School ขึ้นในปี พ.ศ. 2520 และผูเ้ ขียนได้รบั เกียรติจากมหาวิทยาลัยให้เป็นคณบดีคนแรกของหน่วยงานนี้ และได้ดำ� รง ต�ำแหน่งนี้จนกระทั่งปี พ.ศ. 2522 41
แต่เนือ่ งจากผูเ้ ขียนได้รบั ทุนใหญ่จากองค์การอนามัยโลกเพือ่ มาศึกษาผลเสียทีอ่ าจ จะเกิดขึ้นในผู้ใช้ยาคุมก�ำเนิดชนิดต่างๆ ทั้งที่รับประทาน และฉีด ที่มีใช้กันอยู่ในขณะนั้น ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อ�ำนวยการต่อจาก รองศาสตราจารย์ พญ.อุษา ธนังกูล จากปี พ.ศ.2525 ถึง 2532 งานวิ จั ย ทางด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพที่ ด� ำ เนิ น มาตั้ ง แต่ อ ดี ต จนถึ ง ปั จ จุ บั น และในอนาคตนั้นล้วนแต่มุ่งที่การแก้ปัญหาทางด้านสาธารณสุขทั้งสิ้น เพื่อส่งผลไปถึง การพัฒนาคน ซึง่ เป็นทรัพยากรทีม่ คี า่ ทีส่ ดุ ของประเทศ การวิจยั ทางด้านนีม้ กี ารเปลีย่ นแปลง เพื่อให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลาในแง่ของการหาวิธีแก้ปัญหาซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการ ปรับเพื่อให้เหมาะและผสมผสานเข้ากับปัจจัยที่เกี่ยวข้องในสภาวะแวดล้อม เช่น การศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอารยธรรมตะวันตก เมือ่ ประมาณสีห่ า้ สิบปีมาแล้ว นับตัง้ แต่เริม่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปัญหาทีเ่ ราเห็นมีอยูด่ าดดืน่ คือความเจ็บป่วยซึง่ เกิดจากความชุกชุมของโรคติดเชือ้ และภาวะ ทุโภชนาการโดยเฉพาะในท้องถิ่นที่ห่างไกลและทุรกันดาร แนวทางของงานวิจัยสมัยนั้น จะมุ่งไปในทางที่พยายามจะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น มีผู้เจ็บป่วยไม่ว่าจะเนื่องจาก โรคติดเชื้อหรือสาเหตุอื่นๆ ก็พยายามรักษาให้หายด้วยวิธีทางการแพทย์ แผนพั ฒ นาฯ ในระยะนั้ น ได้ พ ยายามเพิ่ ม จ� ำ นวนโรงพยาบาลและบุ ค ลากร ทางการแพทย์ เพื่อ ให้ เ พีย งพอส� ำหรั บ การบริก ารพื้น ฐาน ผู ้ ป ่ ว ยเมื่อ มารั บ การรั ก ษา แล้วหายป่วยกลับบ้านไป มีมากมายที่เมื่อกลับไปสู่สภาวะแวดล้อมเดิมอันเอื้ออ�ำนวย ให้มีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นอีกต้องมารับการรักษาใหม่วนเวียนกันเช่นนี้ ท�ำให้เห็นว่าการแก้ ปัญหาด้วยวิธที ผี่ า่ นมาไม่ถกู ต้อง เพราะปัญหามีแต่จะเพิม่ ขึน้ ตามจ�ำนวนประชากร ซึง่ ขัดกับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้นในแผนพัฒนาฯ ฉบับต่อมาจึงได้พิจารณาถึงสาเหตุ ที่ท�ำให้เกิดความเจ็บป่วย รวมทั้งปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนสนับสนุนแต่ยังคง ให้ความส�ำคัญแก่การบริการขั้นพื้นฐานเป็นหลัก โดยมีความสอดคล้องและไปในทิศทาง เดียวกันกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
42
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น การท�ำวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพซึ่งเดิมท�ำกันอยู่ ในหมู่นักวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ก็เปลี่ยนเป็นการวิจัยในลักษณะร่วมสาขา โดยมี นักวิจยั สาขาอืน่ ๆ เช่นสังคมศาสตร์ เข้ามาร่วมศึกษาปัจจัยอืน่ ๆ ทีส่ ง่ ผลกระทบให้เกิดปัญหา สุขภาพต่างๆ เช่นปัญหาทางด้านโภชนาการ แผนลดอัตราการเพิ่มประชากร และอนามัย ครอบครัวเป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศเราถึงแม้ว่าจะมีความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม น�ำหน้ากว่าหลายประเทศในโลกทีส่ ามก็ตาม แต่งบประมาณทางด้านงานวิจยั จากงบประมาณ ของประเทศยั ง มี ไ ม่ เ พี ย งพอ ดั ง นั้ น ในการท� ำ การวิ จั ย จึ ง ต้ อ งค� ำ นึ ง ถึ ง แหล่ ง ทุ น ด้ ว ย จากการสร้างบุคลากรและหน่วยงานต่างๆ เพื่อท�ำการศึกษาวิจัยสภาวะทุโภชนาการในเด็ก ของท่านรองศาสตราจารย์ พญ.อุษา ธนังกูล และคณะ ชวนให้มาร่วมท�ำวิจัยด้วย ท�ำให้ ผู้เขียนและคณะได้มีโอกาสท�ำการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับสภาวะโลหิตจางในหญิงมีครรภ์ และการเปลี่ยนแปลงของการท�ำงานของต่อมไร้ท่อในเด็ก ที่ขาดสารอาหาร โดยได้รับ การสนับสนุนจากรัฐบาลไทยผ่านทางงบประมาณของสถาบันฯ และองค์การอนามัยของชาติ แห่งสหรัฐอเมริกา (NIH, USA) ได้พบว่าการท�ำงานของต่อมใต้สมองและต่อมหมวกไต ทำ� งาน ไม่ปรกติแต่จะกลับมาเป็นปรกติหลังที่ได้รับการรักษาจนหายเป็นปรกติ
43
“ ถึงตอนนี้ พอที่พูดได้ว่า ท่านอาจารย์ พญ. อุษา
ท�ำให้ชีวติ การท�ำงานของผมได้มกี ารเปลี่ยนแปลงไปมาก กล่าวคือผมกลายมาท�ำงานวิจัยมากกว่าท�ำงานทางคลินกิ จนกระทั่งเกษียณอายุราชการ ”
44
ต่อมาได้ทำ� การศึกษาและวิจยั เกีย่ วกับการเลีย้ งลูกด้วยนมของหญิงไทยในภาคเหนือ ตอนบนของเราโดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยผ่านทางงบประมาณของสถาบันฯ และจากบริติชเคานซิล และหน่วยงานอื่นๆ รวมทั้งมหาวิทยาลัย เดอแรม, บริสตรอล และอ๊อกซ์ฟอร์ด แห่งสหราชอาณาจักร British Council (UK), Welcome Trust (UK), Oversea Agency (UK), Nestle Nutrition Research Grant, International Research Centre of Canada & Durham, Bristol and Oxford Universities, United Kingdom การศึกษาครั้งนี้ เราได้พบว่าหญิงทางภาคเหนือของเราส่วนมากจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อเด็กต้องการ (feedings on demand) และยาวนานถึง 1 ปีครึ่ง ทั้งๆ ที่แม่ส่วนมากจะให้อาหารอื่นเสริมค่อน ข้างเร็วมาก กล่าวคือภายในเดือนแรกส่วนมากจะเป็นข้าวที่แม่เคี้ยวจนละเอียดแล้ว แม้กระนั้น ก็มิได้ท�ำการให้นมลูกลดลงแต่อย่างได โดยเด็กได้รับน�้ำนมจากอายุวันที่ 15, 90, 270 และ 360 ถึงวันละ 639, 644, 480 และ 428 แกรมเป็นต้น นอกเหนือจากนี้เด็กยังดูดนมแม่ บ่อยมากอาจจะถึงวันละประมาณ 30 ครั้ง ทั้งกลางวันและกลางคืน พฤติกรรมของการ เลี้ยงลูกของชาวชนบทของเราจะแตกต่างจากทางตะวันตกเป็นอย่างมาก กล่าวคือลูกอ่อน จะนอนเตียงอยู่กับแม่ตลอดทั้งคืน ซึ่งทางตะวันตกจะแยกนอนอยู่ในเตียงเด็กต่างหาก และถ้าเป็นไปได้จะอยู่อีกห้องหนึ่งต่างหากด้วยซ�้ำไป ท�ำให้เด็กได้ดูดนมแม่ได้เมื่อต้องการ ตลอดทั้งคืน เมื่อลูกโตขึ้นสักหน่อยแม่จะออกไปช่วยพ่อท�ำงานในสวนหรือทุ่งนา จะให้ยาย หรือญาติผู้ใหญ่ช่วยดูแทน ท�ำให้การให้นมตอนกลางวันลดน้อยลง ตรงกันข้ามกับของทาง ตะวันตกที่เลี้ยงลูกให้ดูดนมตอนกลางวันบ่อยกว่ากลางคืน การศึ ก ษาวิ จั ย เรื่ อ งที่ ส ามคื อ การศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ การใช้ ย าคุ ม ก� ำ เนิ ด ทั้ ง ชนิ ด รับประทานและชนิดฉีดโดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยผ่านทางงบประมาณของ สถาบันฯ และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization, Geneva, Switzerland) ผลปรากฎว่ายาฉีดคุมก�ำเนิดมีผลทาง metabolism ต่างๆ น้อยกว่ายากินคุมก�ำเนิดมาก ส่วนการมีนำ�้ หนักเพิม่ หลังจาการใช้ยาฉีดคุมก�ำเนิดมีผลท�ำให้หวิ บ่อย และกินอาหารมากขึน้ ท�ำให้มีไขมันที่เก็บไว้ใต้ผิวหนังและที่ต่างๆ มากขึ้น ผลงานของการศึกษาและวิจัยทั้งหมดนี้ สามารถขอดูได้ท่แี ผนกเก็บข้อมูลสถาบันฯ
45
ความในใจของอดีตผู้อำ�นวยการ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์จริ ศักดิ์ ค�ำบุญเรือง ผู้อ�ำนวยการ พ.ศ. 2532 - 2540 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ก่
อนอื่นต้องขอขอบคุณ ศาสตราจารย์นายแพทย์สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ ผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่ได้ให้เกียรติผม ในฐานะที่เป็นอดีต ผู้อ�ำนวยการฯ คนหนึ่ง ในช่วงระยะเวลาปี พ.ศ. 2532 – 2540 เขียนเรื่องความหลังเก่าๆ เล่าสู่กนั ฟัง ในโอกาสทีจ่ ะมีการเฉลิมฉลองครบ “48 ปี ทีก่ ้าวย่างจากศูนย์วจิ ยั โลหิตวิทยา และทุโภชนาการ สู่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ” เนื่ อ งจากผมเกษี ย ณอายุ ม าร่ ว มเกื อ บ 20 ปี ก็ จ ะขอเล่ า เรื่ อ งตามที่ ท ่ า น ผู้อ�ำนวยการฯ ได้ระบุขอบเขตของเนื้อหาไว้ให้ ตามที่ตนเองพอจะจ�ำความหลังเก่าๆ ได้ คงมีการขาดตกบกพร่องบ้าง ไม่ถูกไม่ต้องบ้าง ก็ต้องขออภัยไว้ ณ ที่น้ดี ้วย ผมได้ เ ข้ า มาร่ ว มท� ำ งานวิ จั ย ในสถาบั น วิ จั ย ฯ อย่ า งจริ ง จั ง ในขณะที่ ท่านศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์กอสิน อมาตยกุล ด�ำรงต�ำแหน่งผู้อ�ำนวยการฯ ซึ่งในขณะนัน้ สถาบันฯ ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก Tropical Disease Research (TDR) ของ WHO ท�ำการวิจัยเรื่องโรคไข้มาลาเรีย ท่านอาจารย์กอสินฯ ขอให้ผมดูแลรับผิดชอบ งานวิจัยเรื่องโรคไข้มาลาเรีย หลังจากท่านครบวาระการด�ำรงต�ำแหน่ง ผมได้รับการ แต่งตั้งจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ด�ำรงต�ำแหน่งผู้อ�ำนวยการฯ สืบต่อมา 46
การบริหารงานของสถาบันฯ ในขณะที่ผมด�ำรงต�ำแหน่งในขณะนัน้ มหาวิทยาลัยมีนโยบายว่า สถาบันฯ จะต้อง เป็นหน่วยงานที่สนับสนุน ส่งเสริมและอ�ำนวยความสะดวกการท�ำวิจัย ให้แก่คณาจารย์ หรือนักวิจัยจากคณะต่างๆ ในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และเทคนิคการแพทย์ ที่ต้องการเข้ามาท�ำการวิจัย ในสถาบันฯ ซึ่งในขณะนัน้ สถาบันฯ มีอุปกรณ์การวิจัยที่ดีมาก แต่ขณะเดียวกันนัน้ มีข่าวลือ กันว่าคณาจารย์และนักวิจัยคณะต่างๆ ต่อว่าสถาบันฯ ว่า เป็นสถานที่ด�ำเนินการวิจัย เฉพาะของผู้อ�ำนวยการสถาบันฯ และคณาจารย์จากคณะแพทยศาสตร์ และนักวิจัย ต่างประเทศเท่านัน้ ดังนั้น สิ่งแรกที่ผมด�ำเนินการเมื่อเข้ามาเป็นผู้อ�ำนวยการฯ ผมเดินสาย ไปเยี่ยมคณบดีทุกคณะดังกล่าว ไปขอความร่วมมือและเชิญชวนคณาจารย์ มาท�ำงานวิจัย ร่วมกัน และได้ขอให้แต่ละคณะส่งผู้แทนคณาจารย์มาเป็นคณะกรรมการประจ�ำสถาบันฯ และมาเป็นผู้บริหารสถาบันฯ ด้วย อาทิเช่น ได้เรียนเชิญอาจารย์วันเพ็ญ เอี่ยมจ้อย คณะพยาบาลศาสตร์ มาเป็นรองผู้อ�ำนวยการฝ่ายวิจัย ศาสตราจารย์เภสัชกรหญิงกฤษณา ภู ต ะคาม คณะเภสั ช ศาสตร์ มาเป็ น กรรมการประจ� ำ สถาบั น ฯ เป็ น ต้ น แต่ ผ ลงาน การบริหารงานในด้านนี้ไม่ประสบผลส�ำเร็จเท่าที่ตั้งใจไว้มากนัก จะเนื่องจากเหตุผล ประการใด ผมจะไม่ขอกล่าว เพราะเรื่องคงจะยาว
47
การบริหารงานวิจัย ผมมิได้เปลี่ยนแผนกลุ่มงานวิจัยที่ผู้อ�ำนวยการฯ ที่ผ่านมาได้ด�ำเนินการวิจัย แต่ประการใด อาทิเช่น งานวิจัยในด้านโภชนาการ งานวิจัยโรคเรื้อน และอื่นๆ ผมได้ ด�ำเนินการวิจัยโรคไข้มาลาเรียต่อ ในด้านพาหะ (ยุง) น�ำเชื้อไข้มาลาเรียต่อ การวิจัยเรื่อง การใช้มุ้งอาบน�้ำยาฆ่าแมลงป้องกันการติดเชื้อไข้มาลาเรีย ร่วมกับหน่วยมาลาเรียเขต 10 (ปัจจุบันคือ วัดพันเสา) ต่อมา เมื่อมีการระบาดอย่างรุนแรงของโรคเอดส์ มหาวิทยาลัย ได้เสนอว่าสถาบันฯ น่าจะต้องท�ำการวิจัยเรื่องโรคเอดส์ เพื่อช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา สาธารณสุขโรคเอดส์ในภาคเหนือบ้าง ผมซึ่งเป็นแพทย์ทางปรสิตวิทยา เลยต้องหันมาเป็น นักไวรัสวิทยา ค้นคว้าอ่านเรื่องเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) พอรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง และได้ขอ ศาสตราจารย์นายแพทย์นพพร สิทธิสมบัติ มาช่วยเป็นก�ำลังส�ำคัญ ในการด�ำเนินการวิจัย ด้ า นโรคเอดส์ ซึ่ ง ต้ อ งขอขอบคุ ณ อาจารย์ น พพร เป็ น อั น มาก ต่ อ มามหาวิ ท ยาลั ย Johns Hopkins และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร กรมแพทย์ทหารบก (Armed Forces Research Institute of Medical Sciences) ที่รู้จักกันดีคือ AFRIMS ได้เข้ามาร่วม ด�ำเนินการวิจัยด้วย ท�ำให้การด�ำเนินการวิจัยด้านโรคเอดส์ เป็นที่ยอมรับของนักวิจัย ทั้งในและต่างประเทศจนกระทั่งทุกวันนี้
48
การบริหารงานพัฒนานักวิจัย ในขณะที่ ผ มเข้ า มารั บ ต� ำ แหน่ ง สถาบั น ฯ ได้ รั บ การช่ ว ยเหลื อ และสนั บ สนุ น การฝึกอบรมและศึกษาต่อจาก British Council มาก่อน โดยคุณพ่อ Donald Gibson อดีตกงศุลใหญ่อังกฤษ ประจ�ำจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นมาท�ำงานเป็นที่ปรึกษาฝ่าย ต่างประเทศ เป็นผู้ติดต่อประสานงานกับ British Council จัดหาทุน และมหาวิทยาลัย ในสหราชอาณาจั ก ร ให้ นั ก วิ จั ย ไปฝึ ก งานหรื อ ศึ ก ษาต่ อ ซึ่ ง นั ก วิ จั ย อาทิ เ ช่ น ดร.สดใส โตวณบุตร, ดร.ทิพวรรณ ประภามณฑล, ดร.ศักดา พรึงล�ำภู ฯลฯ ได้ไป ศึกษาต่อในด้านที่ตนเองท�ำวิจัยอยู่ เป็นต้น ต่อมาเมื่อสถาบันฯ มีความร่วมมือการวิจัย กับมหาวิทยาลัย Johns Hopkins และ AFRIMS มีนักวิจัยจ�ำนวนหลายคนไปศึกษาต่อและ ฝึกอบรมการวิจัยโรคเอดส์หลายคน ผมก็จะไม่ขอกล่าวให้เป็นเรื่องยาวเกินไป นอกจากนี้ สถาบันฯ ได้ร่วมมือด�ำเนินการวิจัยเรื่องโรคไข้มาลาเรียกับมหาวิทยาลัย Queensland คือ Queensland Institute of Medical Research (QIMR) Brisbane Australia น�ำโดย Professor Michael Good สถาบันฯ ได้รับทั้งทุนสนับสนุนการวิจัยและการศึกษาต่อ เท่าที่จ�ำได้ ดร.ฉายสุรยี ์ ศุภวิไล, ดร.จิรประภา วิภาษา ได้ไปศึกษาต่อเรื่องการพัฒนาวัคซีนป้องกัน การติดเชื้อไข้มาลาเรียเป็นต้น และ QIMR ก็ส่งนักศึกษามาท�ำการวิจัยเพื่อท�ำวิทยานิพนธ์ ปริญญาเอก 2 คน เท่าที่จ�ำชื่อได้ คือ Miss Yinka Zevering และ Miss Denise Doolan มาท�ำการศึกษาเรื่องวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไข้มาลาเรียในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ส�ำหรับ องค์การอนามัยโลก TDR Program ก็ให้ทนุ ให้ไปฝึกอบรมเรือ่ งโรคเมืองร้อนระยะสัน้ และยาว เช่นกัน ถ้าจ�ำไม่ผดิ ดร.น�้ำทิพย์ ศรีรักษ์ เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับทุนศึกษาต่อจาก TDR Program
49
การพัฒนานักวิจัยจากเงินทุนงบประมาณแผ่นดิน มีแต่การอนุมัติโดยมหาวิทยาลัยให้ไปศึกษาต่อขั้นปริญญาโทและเอก รวมทั้งการ ฝึกอบรมต่างๆ ที่ด�ำเนินการในประเทศเท่านั้น เท่าที่จ�ำได้ไม่มีนักวิจัยได้รับทุนงบประมาณ แผ่นดินไปศึกษาต่อต่างประเทศเลย
การบริหารด้านการเรียนการสอนหลังปริญญา เมื่ อ สถาบั น ฯ ได้ รั บ ทุ น สนั บ สนุ น การศึ ก ษาและฝึ ก อบรมในสถาบั น ต่ า งๆ ในสหราชอาณาจักรจาก British Council บุคคลส�ำคัญในขณะนั้นที่อยากจะกล่าวถึงคือ Professor Tony McMichael จาก London School of Public Health and Tropical Medicine ได้ พู ด ถึ ง ว่ า สถาบั น ฯ มี นั ก วิ จั ย ที่ ไ ด้ รั บ การศึ ก ษาต่ อ และฝึ ก อบรมหลั ง ปริ ญ ญา เป็นจ�ำนวนมาก สถาบันฯ น่าจะได้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนหลังปริญญาด้วย แต่ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ขณะนั้น สถาบันวิจัยต่างๆ ไม่สามารถจัด การเรียนการสอนเพื่อประสาทปริญญาได้ แต่นักวิจัยสถาบันฯ สามารถไปเป็นกรรมการ ที่ปรึกษาหรือเป็นกรรมการร่วมในการท�ำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาที่ท�ำการวิจัยเพื่อเขียน วิทยานิพนธ์ ในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ ท่านอาจารย์กอสินฯ กับผมได้พยายามต่อสู้ ในเรื่องนี้จนส�ำเร็จ โดยจัดให้มีหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ โดยเลี่ยงกฎหมาย มอบให้บัณฑิตวิทยาลัยเป็นเจ้าของหลักสูตร ในระยะเริ่มต้นให้นักวิจัย ของสถาบันฯ เป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด แต่มีนักศึกษาสนใจเข้ามาเรียนน้อยมาก ต่อมา บัณฑิตวิทยาลัยจึงบูรณาการเอาคณะต่างๆ เข้ามาร่วมจัดการเรียนการสอนด้วย และให้ บัณฑิตวิทยาลัยเป็นผู้จัดการบริหารหลักสูตรและประสาทปริญญา ผมทราบว่ามีนักวิจัย หลายคนของสถาบันฯ จบการศึกษาขัน้ ปริญญาโทและปริญญาเอกหลายคน และ Professor Chris Beyrer และ Professor David Celentano ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ ์ สาขาวิชานี้ไปแล้วสองคน
50
การบริหารเงินทุนวิจัย สถาบันฯ ได้รับเงินสนับสนุนการวิจัยจากส�ำนักงบประมาณแผ่นดิน เป็นหมวด ค่าเงินเดือน หมวดวัสดุอุปกรณ์การวิจัยและหมวดค่าก่อสร้างเท่านั้น เงินทุนสนับสนุน การด�ำเนินการวิจัยอาจจะพูดได้ว่า เกือบ 80% ได้รับมาจากสถาบันต่างๆ จากต่างประเทศ ที่ร่วมด�ำเนินการวิจัยที่กล่าวในเบื้องต้นมาแล้วทั้งสิ้น ดังนั้นการบริหารงานวิจัยที่ได้รับจาก ต่างประเทศ ต้องบริหารจัดการตามที่สถาบันต่างๆ ระบุไว้ในเอกสารหรือบันทึกช่วยจ�ำ (Memorandum of Understanding) เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ผมได้ริเริ่มจัดตั้งกองทุนวิจัย และสวัสดิการสถาบันฯ ขึ้นได้ส�ำเร็จ ทราบว่าขณะนี้มีจ�ำนวนเงินมากพอสมควร ในช่วงที่ผมเป็นผู้อ�ำนวยการฯ มีงานวิจัยที่ผมคิดว่า มีความภาคภูมใิ จและโดดเด่น คืองานวิจัยโรคเอดส์ หรือ HIV ผมเองไม่ใช่นักไวรัสวิทยา แต่จากการศึกษาด้วยตนเอง ถามจากผู้รู้ และในระยะแรกท�ำการวิจัย โดยค�ำแนะน�ำและท�ำตามนักวิจัยต่างประเทศ ทีม่ าร่วมงานวิจยั บอก จนมีคนต่อว่าผมท�ำงานให้ฝรัง่ พูดตามภาษาชาวบ้านว่าเป็น “ผูร้ บั ใช้” ฝรัง่ ผมยอมทนฟังค�ำต่อว่านัน้ คิดอย่างเดียวว่า เพือ่ พัฒนาสถาบันฯ เมือ่ ผมมีความรูแ้ ข็งแกร่ง และความสามารถเพิ่มขึ้น ผมไม่ยอมท�ำตามนักวิจัยฝรั่ง มีการโต้เถียงกันบ้าง ผมอยากจะ ท�ำอย่างนี้ ถ้าฝรั่งไม่ยอม ผมก็จะไม่ท�ำ นั่นคือเป็นแนวคิดของผมในระยะแรกๆ และผมดีใจ และขอชื่นชมผู้อ�ำนวยการฯ คนสืบต่อมา สามารถขอทุนสนับสนุนการวิจัยจากต่างประเทศ โดยมิได้อาศัยสถาบันต่างประเทศที่เคยร่วมท�ำการวิจัยกันมาก่อน มาเป็นคนกลางในการ ขอทุนสนับสนุนการวิจัยอีกเลย 51
งานวิ จั ย เรื่ อ งโรคเอดส์ ที่ ผ มคิ ด ว่ า เป็ น งานวิ จั ย ที่ โ ดดเด่ น ในช่ ว งเวลาที่ ผ ม ด�ำรงต�ำแหน่งผูอ้ ำ� นวยการสถาบันฯ คือ เริม่ ด้วยการศึกษาการระบาดของเชือ้ โรคเอดส์ (HIV) ในภาคเหนือก่อนว่ามีการติดต่อกันแบบใด แพร่ระบาดอย่างไร ศึกษาเรื่องชีวโมเลกุล (Molecular Biology) ของเชื้อที่แพร่ระบาดในภาคเหนือว่าเป็นชนิดใด เมื่อทราบรายละเอียด พอสมควร ก็อยากจะพัฒนาให้นกั วิจยั ของสถาบันฯ มีความสามารถท�ำการวิจยั การทดสอบ วัคซีนป้องกันโรคเอดส์ ในระดับสากลเป็นที่ยอมรับของต่างประเทศได้ และก็เป็นเรื่องที่ น่ายินดีที่สถาบันฯ ร่วมกับ AFRIMS เป็นสองสถาบัน ที่ท�ำการวิจัยการทดสอบวัคซีนเอดส์ ทดลองส�ำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศ และยังได้เสนอแนะให้บริษัทผู้ผลิตวัคซีนต่างประเทศ ผลิตวัคซีนป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในภาคเหนือ คือ สายพันธุ์ E แล้วน�ำมาทดสอบ ครั้งแรกที่สถาบันฯ ต่ อ มาก็ ไ ด้ ท� ำ การศึก ษากลุ ่ ม ประชากรเป้ า หมายที่ส มั ค รใจจะเข้ า มาร่ ว มเป็ น อาสาสมัครท�ำการวิจัยการทดสอบวัคซีนหรือเรียกว่า Community Cohort Development ซึ่งการวิจัยนี้สามารถลดอัตราการติดเชื้อใหม่ลงได้ระดับหนึ่ง เมื่อประชากรกลุ่มเป้าหมาย ได้รับความรู้เรื่องโรคเอดส์ชัดเจนขึ้น เมื่อผมน�ำผลการวิจัยเรื่องนี้ไปเสนอในการประชุม วิชาการเรื่อง การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ต่างประเทศ มีนักวิจัยจาก WHO คือ Dr.Jose Espasar ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ ปัจจุบันท�ำงานที่ Melinda Gatea Foundation แนะน�ำนักวิจัยที่เข้าร่วมประชุมวิชาการช่วงต่อๆ มาว่าผมคือ Mr.Community Cohort และมักจะหยอกล้อผมเสมอมาว่า เราไม่จ�ำเป็นต้องมาค้นหาวัคซีน ป้องกันโรคเอดส์ เราไปท�ำ Community Cohort ก็ลดอัตราการติดเชื้อโรคเอดส์ลงได้ ซึ่งผม มีความภูมิใจอยู่ในใจตลอดมา 52
สิ่งที่ประทับใจในการท�ำงานในสถาบันฯ อีกประการหนึ่งคือ นักวิจัยของสถาบันฯ รั ก การท� ำ วิ จั ย เป็ น ที ม ร่ ว มมื อ และช่ ว ยเหลื อ กั น ท� ำ งาน ผลงานวิ จั ย ที่ ป รากฏออกมา เป็นผลงานของสถาบันฯ มิได้เป็นผลงานของผู้หนึ่งผู้ใด ส่งผลให้สถาบันฯ มีชื่อเสียงโด่งดัง มาจนถึงปัจจุบันนี้ ผมคิดว่า ผมเล่าเรื่องสถาบันฯ มายาวไปพอสมควร แต่ก็คิดว่าครอบคลุม และขอบเขตของเนือ้ หาทีท่ า่ นผูอ้ ำ� นวยการสถาบันฯ ระบุ ก็จะขอจบการเล่าสูก่ นั อ่าน เพียงแค่น้ี และในโอกาสที่ ก ารก้ า วย่ า งของศู น ย์ วิ จั ย โลหิ ต วิ ท ยาและทุ โ ภชนาการ สู่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ จะครบ 48 ปี ในวันที่ 11 ตุลาคม 2558 ผมใคร่ขอ แสดงความยินดีและชื่นชมการท�ำงานของผู้บริหารทั้งในอดีตและปัจจุบันทุกๆ ท่าน ที่ ไ ด้ บ ริ ห ารจั ด การการด� ำ เนิ น งานของสถาบั น ฯ จนสถาบั น ฯ มี ชื่ อ เสี ย งที่ อ าจ เรียกได้ว่า “ก้องโลก” และขอให้การด�ำเนินงานต่อไป จงมีความเจริญก้าวหน้า ยิ่งๆ ขึ้นไป
53
ความในใจของอดีตผู้อำ�นวยการ
ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ นายแพทย์วนิ ยั สุรยิ านนท์ ผู้อ�ำนวยการ พ.ศ. 2540 - 2544 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่ผมได้สัมผัสและมีส่วนเกี่ยวข้อง
ผ
มรูส้ กึ เป็นเกียรติเป็นอย่างยิง่ ทีไ่ ด้รบั การติดต่อจากสถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์ สุขภาพ ให้เขียนบทความเล่าเรื่องหรือเหตุการณ์ในอดีตเกี่ยวกับสถาบันฯ ที่เกิดขึ้นใน ช่วงเวลาที่ผมด�ำรงต�ำแหน่งผู้อ�ำนวยการสถาบันฯ (พ.ศ.2540-2544) เพื่อน�ำไปลงใน หนังสือทีร่ ะลึกในวาระครบ 48 ปีของสถาบันฯ โดยนับระยะเวลาตัง้ แต่ทจี่ ดั ตัง้ เป็นศูนย์วจิ ยั โลหิตวิทยาและทุโภชนาการ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2510 ก่อนที่จะได้รับการยกฐานะเป็นสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีฐานะ เทียบเท่าคณะ และขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2521 54
ก่อนอื่น ผมขอแสดงความยินดีกับผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ คนปัจจุบัน (ศ. นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์) และข้าราชการ บุคลากร ชาวสถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์สุขภาพทุกท่าน ในวาระอันเป็นมงคลครบรอบครึ่งศตวรรษของสถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์สุขภาพมา ณ โอกาสนี้ ในการเขียนบทความนี้ ผมรู้สึกยากล�ำบากมาก ที่จะเล่าเรื่องหรือเหตุการณ์โดยมีการ จ� ำ กั ด ระยะเวลา ให้ เ ล่ า เฉพาะสิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในช่ ว งเวลาที่ ผ มเป็ น ผู ้ อ� ำ นวยการเท่ า นั้ น ผมเกรงว่าอาจจะมีความผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนในการเล่าได้ ผมมีความผูกพันและได้ ท�ำงานร่วมกับสถาบันฯ เป็นเวลานานหลายสิบปี แต่เป็นผู้อ�ำนวยการสถาบันฯ จนครบวาระ เพียง 4 ปี เรือ่ งทีจ่ ะเล่าก็เป็นเรือ่ งในอดีตทีผ่ ่านไปนานแล้ว ข้อมูลทีไ่ ด้ถกู บันทึกไว้ในความจ�ำ ของสมองอาจเลือนราง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความจ�ำเกี่ยวกับช่วงระยะเวลาที่เหตุการณ์ เกิดขึ้น ในการเล่าเรื่องให้ถูกต้องก็จะต้องมีการทบทวนความจ�ำให้ได้ ว่าเหตุการณ์ใดบ้าง เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผมเป็นผู้อ�ำนวยการ และเหตุการณ์ใดที่ไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผม เป็นผู้อ�ำนวยการ จะได้ไม่ต้องเล่า ซึ่งผมเห็นว่าไม่ง่ายเลย ดังนั้นเพื่อให้ง่ายและสะดวก ในการเขียนบทความ ผมก็จะขออนุญาตเล่าเรื่องแบบตามใจฉัน ขอเล่าทุกเรื่องที่จ�ำได้ และคิดว่าจะสะท้อนหรือแสดงให้เห็นถึงการพัฒนา การเจริญเติบโต หรือความก้าวหน้า ของสถาบันฯ ไม่มีการจ�ำกัดช่วงเวลาที่เหตุการณ์เกิดขึ้น ไม่มีการจ�ำกัดว่าเหตุการณ์นั้น ผมจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องเท่านั้นจึงจะน�ำมาเล่า
55
ผมได้เห็นสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพมาตั้งแต่แรกเริ่มเลย จ�ำได้ว่าก่อนที่จะ เป็ น ศู น ย์ วิ จั ย โลหิ ต วิ ท ยาและทุ โ ภชนาการ และเป็ น สถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ ในเวลาต่อมา ศูนย์หรือสถาบันวิจัยนี้เริ่มต้นเป็นหน่วยวิจัยก่อน อยู่ที่หอผู้ป่วยเด็ก ซึ่งอยู่ ตรงกันข้ามกับตึกนิมมานเหมินทร์ (หอผู้ป่วยที่ศูนย์วิจัยนี้ตั้งอยู่ ปัจจุบันเป็นภาควิชา เวชศาสตร์ ชุ ม ชน) ท� ำ การศึ ก ษาวิ จั ย เกี่ ย วกั บ โรคโลหิ ต จางและโรคขาดอาหารในเด็ ก โดยอาจารย์ในภาควิชากุมารเวชศาสตร์ท�ำการวิจัย ร่วมกับคณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัย เซ็นต์หลุยส์ สหรัฐอเมริกา ผมได้มีโอกาสสัมผัสกับหน่วยวิจัยนี้ขณะที่เป็นนักศึกษาแพทย์ ชัน้ คลินกิ โดยอาจารย์อษุ า (รศ. พญ.อุษา ธนังกูล อดีตผูอ้ ำ� นวยการสถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์ สุ ข ภาพ) ซึ่ ง สอนเรื่ อ งโรคขาดอาหารต้ อ งการให้ นั ก ศึ ก ษาแพทย์ ที่ ห มุ น เวี ย นมาเรี ย น ในชั้นคลินิกของภาควิชากุมารเวชศาสตร์ได้เรียนรู้โรคขาดอาหารในผู้ป่วยจริง จึงได้พา กลุ่มนักศึกษาแพทย์ (รวมถึงผมด้วย) มาเยี่ยมชมหน่วยวิจัยนี้ ถือว่าเป็นความโชคดีของผม ที่ได้มีโอกาสเรียนรู้โรคขาดอาหารในผู้ป่วยจริง โรคขาดอาหารมีอยู่ 2 ชนิด คือชนิดแห้ง (ทางการแพทย์เรียกว่า Marusmus) และชนิดบวม (ทางการแพทย์เรียกว่า Kwashiokor) โรคขาดอาหารเกิดจากการไม่มีกิน เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่ส�ำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศไทยในสมัยนั้น ศูนย์วิจัยหรือ หน่วยวิจัยนี้จึงได้ท�ำการศึกษาวิจัยเรื่องโรคขาดอาหาร เพื่อน�ำความรู้ที่ได้จากการวิจัย ไปช่วยแก้ปัญหานี้ของประเทศ
56
ปั จ จุ บั น โรคขาดอาหารไม่ เ ป็ น ปั ญ หาสาธารณสุ ข ของประเทศอี ก ต่ อ ไปแล้ ว นักศึกษาแพทย์หรือแพทย์รุ่นหลังๆ จึงไม่เคยเห็นผู้ป่วยโรคขาดอาหาร แต่จะเห็นผู้ป่วย โรคทางโภชนาการอีกชนิดหนึ่งคือโรคอ้วน ซึ่งตรงกันข้ามกับโรคขาดอาหาร เกิดจากการ กินมากเกินไปและไม่ได้ออกก�ำลังกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกินอาหารที่ให้แคลอรี่สูง ได้แก่ อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรท ข้าว แป้ง น�้ำตาล และอาหารประเภทไขมัน หน่วยวิจัยนี้ต่อมาได้เติบโต พัฒนาเป็นศูนย์วิจัยโลหิตวิทยาและทุโภชนาการ (เมื่อ พ.ศ. 2510) และย้ายมาอยู่ที่อาคาร 4 ชั้น หน้าคาเฟทีเรีย หลังตึก 7 ชั้นของ คณะแพทยศาสตร์ เรามักจะเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่าศูนย์วจิ ัยเซ็นต์หลุยส์ ศูนย์วจิ ัย แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วัตถุประสงค์ของการตั้ง ศูนย์วิจัยนี้ ก็เพื่อให้เป็นศูนย์ศึกษาค้นคว้าวิจัยโรคทางโลหิตวิทยาและโรคทุโภชนาการ ต่อมาได้มกี ารพัฒนาและยกฐานะเป็นสถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ มีฐานะเทียบเท่าคณะ ขึน้ ตรงต่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมือ่ ปี พ.ศ. 2521 เป็นสถาบันวิจยั แห่งแรกของมหาวิทยาลัย เชีย งใหม่ เมื่อ เป็ น สถาบันวิจัยวิท ยาศาสตร์ สุขภาพ ก็ ไ ด้มีก ารขยายขอบเขตการวิจัย กว้างขวางขึ้น ไม่จ�ำกัดการวิจัยเฉพาะโรคทางโลหิตวิทยาและโรคทุโภชนาการเท่านั้น แต่ศกึ ษาวิจยั เกีย่ วกับวิทยาศาสตร์สขุ ภาพในด้านอืน่ ๆ ด้วย เช่นวิจยั เรือ่ งการใช้ยาคุมก�ำเนิด วิจัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม วิจัยโรคติดเชื้อและโรคเขตร้อนเช่นโรค เรื้อน โรคมาลาเรีย โรคเอชไอวี/เอดส์ เป็นต้น 57
ผมได้มีโอกาสมาท�ำงานให้กับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพครั้งแรกในราว พ.ศ. 2521 หลังจากที่ผมกลับจากต่างประเทศมาใหม่ๆ โดยได้รับการติดต่อจากอาจารย์ กอสิน (ศ. นพ.กอสิน อมาตยกุล อดีตผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ) ให้มา ช่วยงานวิจัยที่อาจารย์ก�ำลังท�ำอยู่เกี่ยวกับยาคุมก�ำเนิด ซึ่งไม่ตรงกับสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ที่ผมได้ไปเรียนมา แต่ผมก็ยินดีและได้ตอบตกลงที่จะช่วยอาจารย์ท�ำงานวิจัยดังกล่าว เพราะผมทราบกิตติศัพท์ของอาจารย์ว่าอาจารย์เป็นนักวิจัยที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ อาจารย์มีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติทางการแพทย์มากมาย ผมมีความตั้งใจและปรารถนาที่จะเรียนรู้วิธีการท�ำวิจัยจากอาจารย์ หวังว่าประสบการณ์ และความรู้ที่ได้จากท�ำงานวิจัยกับอาจารย์ จะสามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ในภายหลังได้ เมื่อท�ำงานวิจัยด้านโรคติดเชื้อ หลังจากที่ช่วยท�ำงานวิจัยของอาจารย์กอสินแล้ว ผมก็ได้มี โอกาสท�ำงานวิจัยด้านโรคติดเชื้ออย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนกระทั่งเกษียณ และหลังเกษียณ อายุ ร าชการ โดยเริ่ม ต้ น ช่ ว ยโครงการวิจั ย โรคเรื้อ นซึ่ง เป็ น โครงการวิจั ย ร่ ว มระหว่ า ง มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ (มี ศ. นพ.เคนราด เนลสัน เป็นหัวหน้าโครงการ) กับคณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มี ผศ. นพ.วิชาญ วิทยาศัย เป็นหัวหน้าโครงการ) ศึกษาวิจัยผู้ป่วยโรคเรื้อนที่สถาบันแมคเคน (มี นพ.เทรเวอร์ สมิท แพทย์ประจ�ำสถาบัน แมคเคน เป็นหัวหน้าโครงการวิจยั ร่วม) หลังจากนัน้ ผมก็ได้เป็นหัวหน้าโครงการวิจยั โรคเรือ้ น อีกโครงการหนึ่ง ชื่อโครงการระบาดวิทยาของโรคเรื้อน (Sero-epidemiology of leprosy) ท�ำการศึกษาผูส้ มั ผัสโรคทีอ่ าศัยอยูใ่ นบ้านเดียวกันกับผูป้ ว่ ยโรคเรือ้ น ได้รบั ทุนสนับสนุนวิจยั เบื้องต้นจากองค์การอนามัยโลก (WHO/TDR) และต่อมาจาก USAID หลังจากนั้นผมก็ได้ ท�ำวิจัยเกี่ยวกับโรคเอชไอวี/เอดส์ ในผู้บริจาคโลหิตที่มีผลเลือดเอชไอวีเป็นบวก และใน ผู้ติดยาเสพติด และได้ท�ำโครงการวิจัยเกี่ยวกับวัคซีนเอดส์ ทดสอบความปลอดภัยและ ความสามารถในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของวัคซีนเอดส์ทดลอง (HIV/AIDS Candidate Vaccine) ในอาสาสมัครปกติที่มีผลเลือด เอชไอวีเป็นลบ โดยเป็นหัวหน้าโครงการ 58
นอกจากวิจยั แล้ว ผมยังได้รบั โอกาสให้ทำ� งานบริหาร เป็นผูอ้ ำ� นวยการสถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สุขภาพ ระหว่าง พ.ศ. 2540-2544 ในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีการปรับเปลี่ยน โครงสร้างการบริหารสถาบันฯ จากเดิมที่แบ่งเป็นฝ่ายวิจัยชีวเคมี ฝ่ายวิจัยจุลชีววิทยา และภูมิคุ้มกันวิทยา ฝ่ายวิจัยโลหิตและปรสิตวิทยา ฝ่ายวิจัยโภชนาการ ฝ่ายวิจัยคลินิก ฝ่ายวิจัยเวชศาสตร์ชุมชน ฝ่ายวิจัยสัตว์ทดลอง เปลี่ยนมาเป็นแบ่งตามโครงสร้างของ โครงการวิจัย เพื่อให้การบริหารโครงการวิจัยมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ส�ำหรับในด้าน การวิ จั ย สถาบั น ฯ ได้ ด� ำ เนิ น งานวิ จั ย เกี่ ย วกั บ วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพในด้ า นต่ า งๆ อย่างกว้างขวาง มีทั้งที่ด�ำเนินงานเอง และด�ำเนินงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ หน่วยงานอื่นๆ ที่ร่วมวิจัยกับสถาบันฯ ก็มีทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในประเทศก็มีทั้งที่อยู่ในและนอก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย มีทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ในด้านโรคติดเชื้อ สถาบันฯ ได้ด�ำเนินการวิจัยเกี่ยวกับโรคเอชไอวี/เอดส์อยู่ หลายโครงการ เช่น 1. โครงการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีทางเพศสัมพันธ์ ในกลุ่มผู้บริจาคโลหิตที่มีผลเลือดเป็นเอชไอวีบวกกับคู่นอนของเขา ท�ำการศึกษาร่วมกับ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค สหรัฐอเมริกา (US Centers for Disease Control and Prevention หรือชื่อย่อว่า CDC) และมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา ได้รับทุนสนับสนุนวิจัย Contraceptive Research And Development หรือชื่อย่อว่า CONRAD 2. โครงการศึกษาระบาดวิทยาของเชือ้ เอชไอวีในกลุม่ ผูใ้ ช้ยาเสพติดโดยท�ำการศึกษา ร่วมกับศูนย์บำ� บัดรักษายาเสพติดภาคเหนือ และมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา ได้รับทุนสนับสนุนวิจัยจาก US National Institute on Drug Abuse หรือชื่อย่อว่า NIDA
59
3. โครงการวั ค ซี น เอดส์ โดยสถาบั น ฯ ได้ เ ข้ า ร่ ว มกลุ ่ ม ทดสอบวั ค ซี น เอดส์ แห่ ง ประเทศไทย (Thai AIDS Vaccine Evaluation Group หรื อ ชื่ อ ย่ อ ว่ า TAVEG) ซึ่งประกอบด้วย 1. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (Armed Forces Research Institute of Medical Sciences หรือชื่อย่อว่า AFRIMS) 3. คณะแพทยศาสตร์ศริ ิราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 4. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ท�ำการทดสอบความปลอดภัยและความสามารถในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ของวัคซีนเอดส์ทดลอง (HIV/AIDS Candidate Vaccine) ในอาสาสมัครปกติที่มีผลเลือด เอชไอวี เ ป็ น ลบ ได้ รั บ ทุ น สนั บ สนุ น วิ จั ย จากสถาบั น วิ จั ย วอลเตอร์ รี ด สหรั ฐ อเมริ ก า (Walter Reed Army Institute of Research หรือชื่อย่อว่า WRAIR) นอกจากโรคเอชไอวี/เอดส์ แล้วในด้านโรคติดเชื้อ สถาบันฯ ยังได้ด�ำเนินการวิจัยเกี่ยวกับโรคมาลาเรีย ศึกษาวัคซีน ป้องกันโรคมาลาเรีย ศึกษาเรื่องการดื้อต่อดีดีทีของยุง Anopheles ฯลฯ ในด้านสิ่งแวดล้อม สถาบันฯ ได้ท�ำการศึกษาปัญหาสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร ตกค้างหรือปนเปื้อนในอาหาร พืชผัก ผลไม้ ศึกษาปัญหาหมอกควันในภาคเหนือ ฯลฯ ในด้านโภชนาการสถาบันฯ ได้ทำ� การ ศึกษาภาวะโภชนาการ ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากรกลุ่มต่างๆ เช่น นักเรียน นักศึกษา หญิงตั้งครรภ์ ผู้บริโภคอาหารมังสวิรัติ ฯลฯ ในด้านการวิจัยเกี่ยวกับ สตรี สถาบันฯ ได้การศึกษาทดสอบการใช้ vaginal microbicide เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เอชไอวี ศึกษาวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็ง ปากมดลูก เป็นต้น
60
ในด้านการเรียนการสอน สถาบันฯ ได้เห็นความส�ำคัญของการเรียนการสอน จึงได้เพิ่มบทบาทของสถาบันฯ ให้มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านนี้มากยิ่งขึ้น จากเดิมที่มีเพียงว่า นักวิจัยของสถาบันฯ ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากร อาจารย์พิเศษ อาจารย์ท่ปี รึกษาวิทยานิพนธ์ ให้กับนักศึกษาคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยอื่นๆ สถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์สขุ ภาพได้เพิม่ บทบาทโดยเปิดหลักสูตรปริญญาโทของสถาบันฯ เอง ชือ่ หลักสูตร วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สขุ ภาพ (หลักสูตรนานาชาติ) (Master of Science in Health Science) ซึง่ เน้นการวิจยั เป็นหลัก ไม่มี coursework รับนักศึกษาคนแรกของหลักสูตร เป็นหมอผู้หญิงจากประเทศลาว ชื่อคุณหมอศรีสวัสดิ์ มณีวงศ์ (Dr.Sisavath Manivong) ซึ่ ง ได้ รั บ ทุ น Fogarty AIDS International for Research and Training Program จากมหาวิ ท ยาลั ย จอนส์ ฮอปกิ น ส์ สหรั ฐ อเมริ ก า มาเรี ย นแล้ ว ก็ ส� ำ เร็ จ การศึ ก ษา เป็นวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตคนแรกของหลักสูตร ในปี พ.ศ.2545 ก่อนจบ ผมก็ขอขอบพระคุณปรมาจารย์ทุกท่านที่ให้ความรู้แก่ผมในด้าน การแพทย์และวิจยั และขอขอบคุณ ข้าราชการ บุคลากร ชาวสถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์ สุขภาพทุกท่าน ทีเ่ ป็นกันเอง และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีกบั ผมในการท�ำงานวิจยั และบริหารที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ในบทความนี้มีการเอ่ยชื่อพาดพิง ถึงบุคคลต่างๆ โดยทีย่ งั ไม่ได้ขออนุญาตก่อน ผมก็ขออนุญาตทุกท่านทีผ่ มได้เอ่ยนาม ย้อนหลัง และหากมีข้อความใดก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล ผมก็กราบขออภัย มา ณ ที่น้ี
61
ความในใจของอดีตผู้อำ�นวยการ
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธรี ะ ศิรสิ ันธนะ ผู้อ�ำนวยการ พ.ศ. 2544 - 2552 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ใ
งานวิจัยขนาดใหญ่
นปีทผี่ มมาท�ำหน้าทีผ่ อู้ ำ� นวยการสถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพนัน้ สถาบันฯ มีชื่อเสียงในวงการวิจัยโรคเอชไอวี/เอดส์ในระดับนานาชาติแล้ว ทั้งนี้โดยการน�ำของ ท่านผู้อ�ำนวยการก่อนหน้าผมสองท่านคือ รศ. นพ.จิรศักดิ์ ค�ำบุญเรือง และ ผศ. นพ. วินัย สุริยานนท์ ซึ่งได้ร่วมกับนักวิจัยจาก Johns Hopkins School of Public Health และจาก กระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกา วิจยั เรือ่ งพฤติกรรมของกลุม่ เสีย่ งกลุม่ ต่างๆ ได้แก่ หญิงอาชีพพิเศษ ทหารเกณฑ์ เป็นต้น เรื่องการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก เรื่องวัคซีนป้องกันโรค เอดส์ และเรื่องระบาดวิทยาของผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด เป็นต้น สถาบันฯมีห้องปฏิบัติการ central laboratory มีหน่วย specimen processing ตลอดจนมีคณะกรรมการทีป่ รึกษาชุมชน ที่จ�ำเป็นส�ำหรับท�ำวิจัยในระดับนานาชาติ 62
โครงการขนาดใหญ่ ที่ ต ้ อ งใช้ ที่ ศึ ก ษาหลายแห่ ง หลายประเทศที่ เ รี ย กว่ า multi-center study ทีส่ ถาบันฯเข้าร่วมด้วยโครงการแรกได้แก่ การรักษาเพือ่ ป้องกันการแพร่ เชื้อ HIV สู่คู่เพศสัมพันธ์ (treatment as prevention) ทั้งนี้จากการศึกษาที่พบว่า เมื่อผู้ป่วย ชาย/หญิงทีต่ ดิ เชือ้ HIV และได้รบั การรักษาด้วยยาต้านไวรัส จะมีปริมาณของ HIV ในน�ำ้ อสุจ/ิ สิง่ คัดหลัง่ ในช่องคลอดลดลง จึงท�ำให้มสี มมติฐานว่า การให้ยาต้านไวรัสจะป้องกันการแพร่ เชื้อสู่คู่เพศสัมพันธ์ได้ การศึกษาเพือ่ พิสจู น์สมมติฐานนีช้ อื่ HPTN 052 (HIV prevention trial network 052) เป็นการศึกษาในคู่เพศสัมพันธ์ท่คี นหนึ่งติดเชื้อ HIV แต่อีกคนยังไม่ติด (discordant couple) จ�ำนวน 1,763 คู่ จากสถานบริการ 13 แห่งใน 9 ประเทศ ได้แก่ บราซิล, สหรัฐอเมริกา, บอต สวานา, เคนยา, มาลาวี, แอฟริกาใต้, ซิมบับเว, อินเดีย และไทย (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ทั้งนี้ฝ่ายที่ติดเชื้อ HIV ของ discordant couple จะต้องมี CD4 cell ระหว่าง 350-550 ตัวต่อ ลูกบาศก์มิลลิเมตร เป็นการศึกษาแบบ randomized trial โดยครึ่งหนึ่งได้รับ cART (ยาต้าน ไวรัสรวม) เมื่อเข้าร่วมการศึกษา ส่วนอีกครึ่งหนึ่งจะไม่ได้รับ cART จนกว่าระดับ CD4 cell ลดลงเหลือน้อยกว่า 250 ตัวต่อลูกบาศก์มิลลิเมตรหรือเมื่อเริ่มมีอาการของโรคเอดส์ เริ่มการศึกษาเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2548 (ส�ำหรับที่สถาบันฯผมได้ขอให้ ศ. นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ ผู้อำ� นวยการฯท่านปัจจุบนั เป็นหัวหน้าโครงการวิจยั ) มีแผนทีจ่ ะติดตามอาสา สมัครทุกคู่เป็นเวลา 5 ปี โดยมีการตรวจสอบข้อมูลเพื่อความปลอดภัยของอาสาสมัครโดย คณะกรรมการนานาชาติที่ไม่เกี่ยวกับงานวิจัยชิ้นนี้ (independent multinational data and safety monitoring board หรือ DSMB) ปีละ 2 ครัง้
63
ปรากฏว่า เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 DSMB ได้ให้ผู้วิจัยหยุดการศึกษาวิจัย ตามแผนการวิจัยและเปิดเผยผลการวิจัยให้อาสาสมัครและนักวิจัยร่วมทราบอย่างเร็วที่สุด ทั้งๆ ที่มีระยะเวลามัธยฐานของการติดตามอาสาสมัคร (median follow-up) เพียง 1.7 ปี ทั้งนี้เพราะ DSMB พบว่ากลุ่มที่ได้รับ cART ทันทีเมื่อเข้าร่วมการศึกษา มีการแพร่เชื้อ HIV ให้คู่เพศสัมพันธ์ใน 4 คู่ ส่วนกลุ่มที่ได้รับ cART เมื่อ CD4 cell น้อยกว่า 250 ตัวต่อลูกบาศก์ มิลลิเมตร หรือเริ่มมีอาการของโรคเอดส์ (กลุ่มที่ไม่ได้รับ cART ทันที) มีการแพร่เชื้อ HIV ให้คู่เพศสัมพันธ์ใน 35 คู่ ค�ำนวณได้ว่า การให้ cART ทันทีป้องกันการแพร่เชื้อ HIV ได้ 96% (P<0.0001) นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มที่ได้รับ cART ทันทีเมื่อเข้าร่วมการศึกษามีอัตรา โรคเอดส์ขั้นที่ 4 (ตามค�ำจ�ำกัดความขององค์การอนามัยโลก) หรือวัณโรคปอดหรือการ ติดเชื้อแบคทีเรียรุนแรงหรือตาย จ�ำนวน 40 คน เปรียบเทียบกับ 65 คน ในกลุ่มที่ไม่ได้รับ cART ทันที (คิดเป็น hazard ratio 0.59; 95% confidence interval 0.40 ถึง 0.88; P=0.01) นอกจากการเปิดเผยผลการวิจยั แล้ว อาสาสมัครทุกคนได้รบั cART โดยไม่มเี งือ่ นไขของระดับ CD4 cell ตัง้ แต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2554 เป็นต้นมา โครงการ HPTN 052 (ทั้ ง โครงการ) ได้ รั บ การสนั บ สนุ น จากรั ฐ บาล สหรั ฐ อเมริ ก า เป็ น เงิ น จ� ำ นวน 73 ล้ า นเหรี ย ญสหรั ฐ และได้ รั บ การสนั บ สนุ น ยาต้านไวรัสทั้งหมดจากบริษัทที่ผลิตยา การศึกษานี้ได้รับการยกย่องจากวารสาร Science ว่าเป็น breakthrough of the year และเป็นข่าวใหญ่ของปีในหนังสือพิมพ์ The New York Times และ The Wall Street Journal รวมทั้งของส�ำนักข่าว MSNBC และ AP
64
โครงการใหญ่ของสถาบันฯอีกโครงการหนึ่งซึ่งมีผู้อ�ำนวยการฯ ท่านปัจจุบัน เป็นหัวหน้าโครงการวิจยั เช่นกัน ได้แก่การศึกษาการให้ยาต้านไวรัสในผูท้ ยี่ งั ไม่ตดิ เชือ้ (pre-exposure prophylaxis หรือ PrEP) จากการศึ ก ษาในลิ ง พบว่ า หากให้ ย าต้ า นไวรั ส แก่ ลิ ง ที่ ไ ม่ ไ ด้ ติ ด เชื้ อ SIV (HIVชนิดของลิง) ก่อน แล้วพยายามท�ำให้ลิงนั้นติดเชื้อ ด้วยการฉีดเชื้อเข้าไปในช่องคลอด ปรากฏว่า ยาต้านไวรัสที่ให้สามารถป้องกันการติดเชื้อของลิงได้ นอกจากนี้ประสบการณ์ ในคน จากการใช้ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูก ท�ำให้มีสมมติฐานว่า การให้ยาต้านไวรัสในผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ อาจสามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV เมื่อผู้นั้นไปมี กิจกรรมทางเพศและรับเชื้อเข้าไปในร่างกายของตนได้ การศึกษาที่สถาบันฯเข้าร่วมชื่อโครงการ Pre exposure Prophylaxis Initiative หรือ iPrEx เป็นการศึกษาในกลุม่ ชายรักชาย 2,499 คน ศึกษาแบบ randomized double-blind placebo-controlled โดยศึกษาในสถานบริการ 11 แห่งใน 6 ประเทศ ได้แก่ บราซิล (ครึ่งหนึ่ง รับยา emtricitabine ร่วมกับ tenofovir รวมอยู่ในเม็ดเดียวกัน กินวันละ 1 ครั้ง อีกครึ่งหนึ่ง ได้รับ placebo) เอควาดอร์ เปรู แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา และไทย (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) เริ่มการศึกษาเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2550 สิ้นสุดการศึกษาเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2553 หลังการติดตามไป 144 สัปดาห์ ปรากฏว่า กลุ่มที่ได้ยา มีผู้ติดเชื้อ 36 คน และกลุ่มที่ได้รับ placebo มีผู้ติดเชื้อ 64 คน ค�ำนวณได้ว่าลดอัตราการติดเชื้อได้ 44% (ความเชื่อมั่นระดับ 95% มีค่าระหว่าง 15 ถึง 63) ในบรรดาผู้ตดิ เชื้อ HIV ทั้ง 100 คน (กลุ่มที่ได้ยา 36 คน กลุ่ม placebo 64 คน) ไม่ปรากฏว่าเชื้อ HIV ดื้อต่อยา emtricitabine หรือ tenofovir
65
การศึกษานี้ (ทั้งโครงการ) ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและมูลนิธิ Bill and Melinda Gates เป็นเงินจ�ำนวน 43 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ได้รับการยกย่อง ให้เป็น Top medical breakthrough ประจ�ำปี พ.ศ.2553 โดยวารสาร Time รวมทั้ง ประธานาธิบดีโอบามาได้ส่งสารแก่วงการแพทย์เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2553 ว่า “I am encouraged by this announcement of groundbreaking research on HIV prevention. While more work is needed, these kinds of studies could work the beginning of a new era in HIV prevention. As this research continues, the importance of using proven HIV prevention methods cannot be overstated” และต่อมาเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2555 คณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญขององค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA panel) ได้แนะน�ำ ให้ FDA รับรองการใช้ยา tenofovir/emtricitabine เพื่อการป้องกันการติดเชื้อ HIV นอกจากการวิ จั ย ที่ย กตั ว อย่ า งมาข้ า งต้ น แล้ ว สถาบั น ฯ ยั ง เข้ า ร่ ว มงานวิ จั ย ขนาดใหญ่ท่สี �ำคัญชิ้นอื่นๆ อีกเช่น โครงการ Project Accept (หรือ “A phase 3 RCT of community mobilization, mobile testing, same day results, and post-test support for HIV in sub-Saharan Africa and Thailand”) โครงการ Promise (หรือ “Promoting Maternal and Infant Survival Everywhere”) และโครงการ A5175 (หรือ “The Prospective Evaluation of Antiretrovirals in Resource-Limited Settings”) เป็นต้น งานวิจัยขนาดใหญ่เหล่านี้ใช้เงินทุน ด�ำเนินงานสูง แต่สามารถตอบปัญหาวิจัยที่มีความส�ำคัญได้ทันเหตุการณ์ และสามารถน�ำ ผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้ทั่วโลกและในประเทศไทยเอง บุคลากรของสถาบันมีความ ภาคภูมิใจที่ได้เข้าร่วมในโครงการวิจัยเหล่านี้ และในโครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
66
ความในใจ
ของผู้อำ�นวยการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ R e s e a r c h I n s t i t u t e f o r H e a lt h S c i e n c e s
67
ความในใจของผู้อำ�นวยการคนปัจจุบัน
ศาสตราจารย์ นายแพทย์สวุ ฒ ั น์ จริยาเลิศศักดิ์ ต�ำแหน่ง :ผู้อ�ำนวยการ พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ
เ
จาก MALAN สู่ RIHES
นื่ อ งในวาระวั น สถาปนาการก่ อ ตั้ ง สถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปีนี้ ขอถือโอกาสจัดท�ำหนังสือเล่มเล็กๆ เพื่อเป็นที่ระลึกเล่มนี้ ขึ้นมา ส�ำหรับแจกจ่ายให้แก่ท่านผู้มีเกียรติที่ได้กรุณาให้เกียรติมาร่วมงาน และขอมอบ ให้แก่ชาวสถาบันฯ ได้มโี อกาสอ่านเรือ่ งราวดีๆ เพือ่ ร�ำลึกถึงความหลังจากยุคอดีตมาจนถึง ปัจจุบันได้อย่างภาคภูมใิ จ นับตั้งแต่การก่อก�ำเนิดเป็น MALAN (Anemia and Malnutrition Research Center) หรือ ศูนย์วิจัยโลหิตวิทยาและทุโภชนาการ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จนเติบใหญ่กลายมาเป็น RIHES (Research Institute for Health Sciences) หรือ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ สังกัด มช. โดยตรง ที่เรายืนอยู่ ณ วันนี ้
68
“ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม
ราชกุมารี เสด็จพระราชด�ำเนินทรงเปิดโรง พยาบาลเทพรัตนเวชชานุกูล เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา และเปิดอาคารผู้ป่วยพระราชทาน ณ อ�ำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2558
”
หากนั บ วั น เวลาย้ อ นหลั ง ไปได้ โดยอ่ า นจากเรื่ อ งเล่ า ในอดี ต กาล (ฟั ง ดู แ ล้ ว ท่าจะนานจริงๆ) ที่ท่าน รศ. พญ.อุษา ธนังกูล อดีตผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ สุขภาพ ท่านแรก ได้กรุณาขุดและคุ้ยความทรงจ�ำเก่าๆ น�ำมาเล่าถ่ายทอดลงในหนังสือ เล็กๆ เล่มนี้ได้อย่างน่าสนใจ หลายเรื่องราวที่ท่านย้อนความทรงจ�ำในอดีตเขียนเล่า ให้พวกเราได้ทราบ คนรุ่นปัจจุบันส่วนใหญ่อาจไม่เคยรู้มาก่อนด้วยซ�้ำ และบางเรื่องก็ไม่ได้ น�ำมาถ่ายทอดให้พวกเราได้รับทราบอย่างเช่น เรื่องการเดินขบวนประท้วงงานวิจัยทดลอง ทางคลินิกเกี่ยวกับการใช้สาหร่าย ที่ด�ำเนินการโดยศูนย์วิจัยฯ ในปี พ.ศ. 2518 เป็นต้น (น่าแปลกที่เดี๋ยวนี้ สาหร่ายท�ำเป็นถุง วางขายกันทั่วบ้านทั่วเมือง แถมขายราคาแพงด้วย จนผู้ผลิตหลายรายกลายเป็นเถ้าแก่น้อย เถ้าแก่ใหญ่ นี่ถ้าเราท�ำวิจัยและผลิตขายตั้งแต่ สมัยโน้น ปานนี้คงรวยกันไปถ้วนหน้าละ) กล่าวย้อนไปในเดือนเมษายน พ.ศ. 2510 รัฐบาลไทยได้มีการลงนามความร่วมมือ ทางวิชาการกับสถาบันสุขภาพแห่งชาติ หรือ NIH (National Institutes of Health) ของประเทศ สหรัฐอเมริกา ในการจัดตั้งศูนย์วิจัยฯ แห่งนี้ขึ้น โดยการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินจาก ส่วนกลางลงมาให้แก่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อใช้เป็นงบประมาณ ในการก่อสร้างอาคาร สถานทีใ่ นช่วงเริม่ ต้น โดยในส่วนของ Rockefeller Foundation ประเทศ สหรัฐอเมริกา ได้ยินดีสนับสนุนงบประมาณส�ำหรับการจัดซื้อคุรุภัณฑ์ขนาดใหญ่เพื่อใช้ ส�ำหรับการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ มีมูลค่าโดยรวมกว่า 12 ล้านบาทในสมัยนัน้ ซึ่งถือว่า เป็นเงินทุนวิจัยที่มีขนาดใหญ่มาก ถ้าหากนับเวลาเริ่มต้นจากการลงนามความร่วมมือเพื่อ ก่อตั้งศูนย์วิจัยฯ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ก็น่าจะถือว่า มีอายุ 48 ปี หรือ ครบ 4 รอบของ อายุคน และถ้านับต่อไปอีก 2 ปี ก็คงจะต้องเตรียมจัดงานฉลองยิ่งใหญ่เนื่องในวาระครบ 50 ปีหรือ 5 ทศวรรษ กันอีกครั้ง 69
ตลอดช่ ว งเวลาที่ ผ ่ า นมาจนย่ า งเข้ า สู ่ ป ี ที่ 49 ณ วั น นี้ จากศู น ย์ วิ จั ย ฯ ที่ มี ขนาดเล็กๆ มีจ�ำนวนนักวิจัยชาวไทยและผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศและทีมงานจ�ำนวน ไม่กี่สิบคนในช่วงเริ่มก่อตั้ง โดยมี ศ. นพ.อาวุธ ศรีสุกรี เป็นผู้อ�ำนวยการศูนย์วจิ ัย MALAN ท่านแรกของฝ่ายไทย และมี ศ. นพ.โรเบิร์ท อี โอลซัน (Prof.Robert E. Olson) จากคณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซ็นหลุยส์ ประเทศสหรัฐอเมริก า เป็ น ผู ้อ� ำ นวยการฝ่าย ต่างประเทศท่านแรก ซึ่งในช่วงประมาณ 10 ปีเศษ ที่เป็นศูนย์วิจัย MALAN ได้มีโอกาส สร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่มีคุณค่าจ�ำนวนมากทัง้ ในระดับประเทศและระดับนานาชาติ และได้ สร้างชื่อเสียงให้แก่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อย่างมากมาย ทั้งงานวิจัย พื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์ ในด้านภาวะทุโภชนาการ เพื่อแก้ไขปัญหาเด็กเล็กที่ขาด สารอาหารอย่างรุนแรงในภาคเหนือของประเทศ และต่อมาได้มกี ารพัฒนางานวิจยั ขยายออก ไปในด้านต่างๆ จนมหาวิทยาลัยเห็นสมควรให้จัดตั้งขึ้นเป็น “สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ สุขภาพ” ในวันที่ 11 เดือนตุลาคม พ.ศ.2521 โดยถือเป็นสถาบันวิจัยเฉพาะทางแห่งแรกที่ ก่อก�ำเนิดขึ้นและมีขนาดใหญ่ที่สุดของ มช. มี รศ. พญ.อุษา ธนังกุล เป็นผู้อ�ำนวยการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพท่านแรก โดยปัจจุบันสถาบันฯ ได้มีความเจริญก้าวหน้า ในด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพอย่างหลากหลายด้าน มีนักวิจัยและทีมงานสาย สนับสนุน ที่ขยายใหญ่มากกว่า 250 คน ที่ช่วยกันสร้างสรรผลงานวิจัย และงานบริการ วิชาการเพื่อรับใช้ชุมชน โดยเน้นงานวิจัย/งานบริการวิชาการที่เป็นประเด็นปัญหาสุขภาพ ทีส่ ำ� คัญของประชาชนในเขตภาคเหนือของประเทศ และทีเ่ ป็นปัญหาของประเทศหรือภูมภิ าค อาเซียน โดยเฉพาะการวิจัยทดลองเพื่อการป้องกันและรักษาโรคเอดส์ ที่สถาบันฯ ได้รับทุน วิจัยโดยตรงจากหน่วยงาน NIAID/NIH ประเทศสหรัฐอเมริกา ปีละกว่า 100 ล้านบาท ต่อเนื่องกันมากว่า 10 ปี และมีสัญญาที่จะได้รับทุนวิจัยในฐานะที่เป็นเครือข่ายหลัก ในการวิจัยทดลองทางคลินิกแห่งเดียวของประเทศไทย ผูกพันกับ NIH ต่อเนื่องไปจนถึง ปลายปี พ.ศ.2563
70
นอกจากนั้น สถาบันฯ ยังมีงานวิจัยอีกหลากหลายด้านด้วยกัน อาทิเช่น งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการระบาดของสารเสพติดชนิดต่างๆ ปัญหาพิษภัยและ ผลกระทบจากการบริโภคสุรา งานวิจัยด้านชีวโมเลกุลของโรคติดเชื้อในเขตร้อน งานวิจัย ประยุกต์อกี หลากหลายด้าน ทั้งเรื่องวิจัยปัญหาหมอกควันที่มผี ลกระทบต่อสุขภาพ มลพิษ จากการใช้สารก�ำจัดศัตรูพชื ในการปลูกพืชเกษตร งานวิจยั เพือ่ แก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการ เกินหรือโรคอ้วน โรคไม่ตดิ ต่อเรือ้ รังหรือ NCDs ทีก่ ำ� ลังฮิตอยู่ในปัจจุบนั เป็นต้น ซึง่ ส่วนใหญ่ ของงานวิ จั ย ในส่ ว นหลั ง นี้ สถาบั น ฯ ได้ รั บ การสนั บ สนุ น ทุ น วิ จั ย จากแหล่ ง ทุ น วิ จั ย ขนาดใหญ่ๆ ของประเทศไทยกว่า 10 องค์กร คิดเป็นเงินทุนวิจัยรวมกันกว่า 50 ล้านบาท ในแต่ละปี ปัจจุบันสถาบันฯ สามารถผลิตผลงานวิชาการตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการ นานาชาติภายใต้ฐานข้อมูลที่มมี าตรฐาน มากกว่า 40-50 เรื่องต่อปีจากต�ำแหน่งนักวิจัยที่มี อยูป่ ระมาณ 17-18 คน และผลงานวิจยั ทีล่ งตีพมิ พ์เหล่านีย้ งั ได้รบั การอ้างอิงต่อในฐานข้อมูล มาตรฐาน รวมกันมากกว่า 4,000 ครั้ง ในระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเครื่องชี้บ่งได้ อย่างดีว่า งานวิจัยที่สร้างสรรโดยทีมสถาบันฯ ที่ได้เข้าไปมีส่วนในการศึกษาวิจัยร่วมกับ เครือข่ายวิจัยต่างๆ ทั้งในระดับนานาชาติและระดับประเทศนั้น ได้ก่อให้เกิดคุณูปการ และคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวงในการน�ำไปใช้เพื่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน และบางเรื่องยังส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนนโยบาย และแนวทางในการป้องกันและรักษาโรค ต่างๆ ในทางการแพทย์ทวั่ โลก รวมถึงการน�ำไปขยายผลเพือ่ ใช้ในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุข ของประเทศไทยอย่างได้ผล
71
สิ่งที่ชาวสถาบันฯ ในปัจจุบัน ต้องร�ำลึกนึกถึงพระคุณ ก็คือ การท�ำงานอย่าง มืออาชีพและการท�ำงานเป็นทีมของคนรุ่นเก่าๆ ที่ได้มุมานะ ทุ่มเทและร่วมกันก่อร่าง สร้างความเป็นอัตตลักษณ์ในการเป็นสถาบันวิจัยฯ แห่งนี้ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง จาก MALAN สู่การเป็น RIHES ณ วันนี้ ในฐานะตัวแทนของคนสถาบันฯ ในรุ่นปัจจุบัน พ.ศ.2558 ที่มีอายุ ย่างเข้าสู่ปีที 49 ขอน้อมร�ำลึกถึงพระคุณของทุกท่าน อดีตผู้บริหารสถาบันฯ ทุกท่าน แกนน�ำหลักในแต่ละส่วนงาน ทีมงานรุ่นบุกเบิกในยุค MALAN จนเป็น RIHES ท่านนักวิจัย อาวุโสและแกนน�ำส�ำคัญในส่วนสนับสนุนงานคลินิกและงานสนาม ที่ได้ทยอยเกษียณหรือ ลาออกจากสถาบันฯ ไปแล้วกว่าหลายสิบชีวิต ซึ่งได้ขออนุญาตน�ำรายชื่อของท่าน มาใส่ ลงไว้เพื่อระลึกถึงพระคุณของทุกท่านลงในหนังสือเล่มนี้ด้วยเช่นกัน (หากตกหล่นชื่อของ ท่านใดไป ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย) และอีกส่วนที่มีความส�ำคัญอย่างมากต่อการพัฒนา สถาบันฯ ในยุคปัจจุบนั ทีต่ อ้ งขอกล่าวค�ำขอบพระคุณอย่างสูงไว้ ณ ทีน่ ี้ ก็คอื คณะกรรมการ อ� ำ นวยการ ประจ� ำ สถาบั น ฯ ที่ ไ ด้ รั บ ความกรุ ณ าจากท่ า น ศาสตราจารย์ เ กี ย รติ คุ ณ นพ.อาวุธ ศรีศุกรี มานั่งเป็นประธาน และท่านผู้ทรงคุณวุฒอิ ีกจ�ำนวน 4 ท่าน ในชุดปัจจุบัน ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นิวัตน์ มณีกาญจน์ ศาสตราจารย์ นพ.ธีระ ศิริสันธนะ ศาสตราจารย์เกียรติคณ ุ ดร.ปิยะวัติ บุญ-หลง ศาสตราจารย์ นพ.พงษ์รกั ษ์ ศรีบณ ั ฑิตมงคล ที่ได้ให้ข้อแนะน�ำ ข้อคิดเห็น ที่มีคุณค่าต่อการก�ำหนดทิศทางและแนวการในการพัฒนา สถาบันฯ ให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในท่ามกลางกระแสการแข่งขันอย่างสูงในวงวิชาการ ทั้งกับสถาบันการศึกษาในประเทศและในระดับภูมภิ าค ในช่วงทศวรรษนี้
................ ก้าวต่อไปข้างหน้าด้วยกันครับ
72
งานวิจัยเด่น
ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ สุขภาพ R e s e a r c h I n s t i t u t e f o r H e a lt h S c i e n c e s
73
หน่วยศึกษาวิจัยทางคลินิก (Clinical Trials Unit-CTU)
“ There are only 11 stand-alone CTUs
outside the US and only 2 CTUs in Asia.
”
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็น หน่วยวิจัยทางคลินิกในด้านการรักษาและการป้องกันเชื้อเอชไอวีระดับโลก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU-RIHES) ได้ก่อตั้ง ขึ้ น ในปี พ.ศ. 2510 และได้ รั บ การสถาปนาอย่ า งเป็ น ทางการให้ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในสังกัดของรัฐบาล ตามพระราชบัญญัติ ภายใต้ขอบเขตอ�ำนาจของกระทรวงศึกษาธิการ เริ่มแรกนั้น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ สุขภาพได้ด�ำเนินการวิจัยเกี่ยวกับภาวะทุโภชนาการ แต่นับตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา สถาบันฯ ได้มุ่งเน้นด�ำเนินการวิจัยด้านเอชไอวี/เอดส์เป็นส�ำคัญ ด้วยความร่วมมืออย่าง ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานกับมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University) และการสนับสนุนจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ (the Rockefeller Foundation) สถาบันวิจัย วอลเตอร์รดี (the Walter Reed Army Institute of Research) และสถาบันสุขภาพแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (NIH) นักวิจัยของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ได้รับการอบรมในด้านต่างๆ มีสถานที่ที่เหมาะสม และมีเครื่องมือและอุปกรณ์ ครบครันและมีความพร้อมในการเป็นหน่วยวิจัยที่พร้อมที่สุดแห่งหนึ่งของสถาบันสุขภาพ แห่งชาติในต่างประเทศเพื่อการป้องกันและรักษาโรคเอชไอวี/เอดส์
74
การสมัครเพื่อคัดเลือกเป็นหน่วยศึกษาวิจัยทางคลินิก (Clinical Trial Unit-CTUs) และแหล่งวิจัยทางคลินิก (Clinical Research Sites-CRSs) ภายใต้การก�ำกับของสถาบันโรคภูมแิ พ้และโรคติดเชือ้ แห่งชาติ (NIAID) ปี พ.ศ. 2548 ในปี พ.ศ. 2548 สถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติ (NIAID) ประเทศ สหรัฐอเมริกา ได้เปิดแข่งขันเพื่อคัดเลือกการเป็นหน่วยศึกษาวิจัยทางคลินิก (Clinical Trial Units-CTUs) และแหล่ ง วิ จั ย ทางคลิ นิ ก (Clinical Research Sites-CRSs) ซึง่ ทางสถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รบั การคัดเลือกให้รบั ทุน วิจัยเป็นระยะเวลา 7 ปี (ระยะเวลาตัง้ แต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556) เพื่ อ จั ด ตั้ ง หน่ ว ยศึ ก ษาวิ จั ย ทางคลิ นิ ก เพื่ อ การรั ก ษาเชื้ อ เอชไอวี / เอดส์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU HIV/AIDS CTU) โดยประกอบไปด้วย 3 แหล่งวิจัยทางคลินิก ที่ด�ำเนินการวิจัย ภายใต้เครือข่าย HVTN (เครือข่ายการทดลองวัคซีนบ�ำบัดโรคเอดส์), ACTG (กลุม่ วิจยั ทางคลินกิ เพือ่ การรักษาโรคเอดส์) และ IMPAACT (กลุม่ การวิจยั ทางคลินกิ ระดับชาติ ด้านโรคเอดส์ในมารดา ทารก เด็ก และวัยรุ่น) โดยมี ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระ ศิริสันธนะ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ได้รับทุนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 นอกจากนี้ ด้วยความร่วมมือกันระหว่างสถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับมหาวิทยาลัย จอนส์ ฮอปกินส์ (JHU) ได้รับทุนเพื่อ ก่อตั้งหน่วยศึกษาวิจัยทางคลินิกเพื่อการป้องกันโรคเอชไอวีในเอเชียใต้ โดยมี ศาสตราจารย์ เดวิด เชเลนทาโน เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย โดยมีระยะเวลาทุนวิจัย ตั้งแต่เดือนมกราคม 2550 - ธันวาคม 2556 ซึ่งส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อการป้องกันได้ ด�ำเนินการวิจยั ทีส่ ถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ เรียกว่าแหล่งวิจยั ทางคลินกิ เพือ่ การป้องกัน โรคเอชไอวี/เอดส์ โดยมีศาสตราจารย์นายแพทย์สวุ ฒ ั น์ จริยาเลิศศักดิ์ เป็นหัวหน้าโครงการ วิจัยประจ�ำสถาบันฯ ภายใต้เครือข่าย HPTN
75
ในปี พ.ศ. 2553 โดยการน�ำของศาสตาจารย์นายแพทย์ขวัญชัย ศุภรัตน์ภญ ิ โญ หัวหน้าโครงการวิจัยประจ�ำแหล่งวิจัยได้เริ่มด�ำเนินโครงการวิจัยเรื่อง “ก�ำหนดเวลา เชิงกลยุทธ์ในการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี [The Strategic Timing of Antiretroviral Treatment (START)]” ภายใต้เครือข่าย INSIGHT (The International Network for Strategic Initiatives in Global HIV Trials) หรือการวิจัยระหว่างประเทศ เพื่อการคิดริเริ่มเชิงกลยุทธ์ ในการทดลองเกีย่ วกับเอชไอวีทวั่ โลก) ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 หน่วยทดลอง ทางคลินิก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับการสนับสนุนทุน วิจัยเป็นหน่วยวิจัยทางคลินิกหน่วยที่ 4 เรียกว่าหน่วยวิจัยทางคลินิกพิมาน (PIMAN CRS) โดยมีศาสตราจารย์นายแพทย์สวุ ฒ ั น์ จริยาเลิศศักดิ์ เป็นหัวหน้าหน่วยวิจยั ภายใต้เครือข่าย MTN (the Microbicide Trials Network) สรุปได้ว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา หน่วยทดลองทางคลินิกเกี่ยวกับเชื้อเอชไอวี/เอดส์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งประกอบด้วย 4 หน่วยวิจัยทางคลินิก ได้ด�ำเนินโครงการวิจัย มากกว่า 30 โครงการวิจัยที่เกี่ยวกับเอชไอวีซ่ึงได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันสุขภาพ แห่งชาติ (NIH) ภายใต้เครือข่าย ACTG HPTN HVTN IMPAACT INSIGHT และ MTN และ การสนับสนุนจากแหล่งทุนอื่นๆ (เช่น iPrEx MHRP CDC ฯลฯ) 76
เครือข่ายการวิจยั ทางคลินกิ ด้านเอชไอวี/เอดส์ ของสถาบันโรคภูมแิ พ้ และโรคติดเชื้อแห่งชาติ (NIAID) ในปัจจุบัน ปัจจุบัน เครือข่ายการวิจัยทางคลินิกด้านเอชไอวี/เอดส์ของสถาบันโรคภูมิแพ้ และโรคติดเชื้อแห่งชาติ (CRNs) ได้ถูกออกแบบมาเพื่อก�ำหนดแนวทางการด�ำเนินการ ด้านเอชไอวี/เอดส์ 5 ล�ำดับ ดังนี้ 1. การรักษาการติดเชือ้ เอชไอวี/เอดส์และโรคติดเชือ้ ทีส่ มั พันธ์กบั เอชไอวีในผูใ้ หญ่ รวมถึงการรักษาเอชไอวี และการเกิดโรคไม่ตดิ เชือ้ และโรคติดเชือ้ ร่วมกัน ได้แก่ ตับอักเสบ (ทุนวิจัยจากเครือข่าย ACTG) 2. โรคติดเชือ้ ทีส่ มั พันธ์กบั เอชไอวี/เอดส์ในเด็ก และมารดา (ทุนวิจยั จากเครือข่าย IMPAACT) 3. กลยุทธ์เชิงบูรณาการในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (ทุนวิจัยจากเครือข่าย HPTN) 4. วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (ทุนวิจัยจากเครือข่าย HVTN) 5. ไมโครบิไซด์ในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (ทุนวิจัยจากเครือข่าย MTN)
77
ในปี พ.ศ. 2556 สถาบันโรคภูมแิ พ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติ (NIAID) ได้เปิดให้มี การแข่งขันเพื่อคัดเลือกการเป็นหน่วยศึกษาวิจัยทางคลินิก (Clinical Trials Units-CTUs) และแหล่ ง วิ จั ย ทางคลิ นิ ก (Clinical Research Sites-CRSs) ครั้ ง ที่ 2 ซึ่ ง ในรอบนี ้ ทางสถาบันวิจัยวิทยาศาสาตร์สุขภาพได้ขยายหน่วยวิจัยทางคลินิกโดยการร่วมมือกับ สถาบั น ที่ มี ช่ื อ เสี ย งในเรื่ อ งของการท� ำ วิ จั ย เกี่ ย วกั บ เอชไอวี คื อ ศู น ย์ วิ จั ย โรคเอดส์ สภากาชาดไทย (TRC–ARC) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากการขยายหน่วยวิจัยทางคลินกิ ครั้งนี้ หน่วยวิจัยทางคลินิกเอชไอวี/เอดส์ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ใช้ชื่อใหม่ว่า หน่วยศึกษาวิจัยทางคลินิกด้านเอชไอวี/เอดส์และโรคติดเชื้อ ประเทศไทย (Thailand HIV/ AIDS and Infectious Disease Clinical Trials Unit (THAI CTU)) น�ำโดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุ วั ฒ น์ จริ ย าเลิ ศ ศั ก ดิ์ ผู ้ อ� ำ นวยการสถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และศาสตราจารย์นายแพทย์เกียรติ รักษ์ร่งุ ธรรม รองผู้อำ� นวยการ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์สภากาชาดไทย และผู้อ�ำนวยการห้องปฏิบัติการหน่วยโรคภูมิแพ้และ ภูมคิ มุ้ กันทางคลินกิ ในทีส่ ดุ THAI CTU และแหล่งวิจยั ทางคลินกิ 3 หน่วย ก็ผา่ นการคัดเลือก และได้รับทุนวิจัยตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 THAI CTU เป็นหนึ่งใน 37 หน่วยศึกษาวิจัยทางคลินิกทั่วโลกที่ได้รับทุน สนับสนุนจากสถาบันโรคภูมแิ พ้และโรคติดเชือ้ แห่งชาติ (NIAID) ให้ทำ� การวิจยั ทางคลินกิ เกี่ยวกับการรักษาและการป้องกันเอชไอวี/เอดส์ ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 มีหน่วยศึกษาวิจัยทางคลินิกที่เป็นเอกเทศเพียง 11 แห่งที่อยู่นอกประเทศสหรัฐอเมริกาและมีเพียง 2 หน่วยศึกษาวิจัยทางคลินิก เท่านั้นในทวีปเอเชีย แหล่งวิจัยทางคลินิก (CRSs) ของ THAI CTU เป็น 3 แหล่งวิจัยย่อยจาก จ�ำนวน 109 แหล่งวิจัยทางคลินิกทั่วโลก ซึ่งในจ�ำนวนนี้มีเพียง 8 แห่งเท่านั้นในทวีป เอเชียและมีเพียง 4 แห่งเท่านั้นในประเทศไทย
78
THAI CTU THAI CTU มีแหล่งวิจัยทางคลินิก 3 แห่ง (CRSs) โดย 2 แห่งอยู่ที่มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ แหล่งวิจัยทางคลินิกด้านการรักษาเอชไอวี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (31784) และ แหล่งวิจัยทางคลินิกด้านการป้องกัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (31458) และอีก 1 แหล่ง อยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในกรุงเทพฯ [หน่วยวิจัยด้านการรักษา ของศูนย์วิจัยโรค เอดส์สภากาชาดไทย (31802)]
โครงสร้างองค์กร THAI CTU ถึงแม้ว่าจะมีอยู่สองที่คือในเชียงใหม่และกรุงเทพฯ แต่ด�ำเนินการ โดยใช้ ที ม บริ ห ารและที ม ผู ้ ป ระสานงานร่ ว มกั น ซึ่ ง ที ม บริ ห ารและประสานงานจะ ประกอบไปด้วยสมาชิกหลัก (ผู้ประสานงาน) จากสองสถาบันตามที่ได้แสดงในแผนภูมิ องค์กรด้านล่าง
79
แหล่งวิจัยทางคลินิก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU CRSs) ที่ ส ถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ (CMU-RIHES) มีแหล่งวิจัยทางคลินิก 2 หน่วยดังนี้ 1. แหล่งวิจัยทางคลินิกด้านการรักษาเอชไอวี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ด�ำเนินการ วิจัยทางคลินิกด้านการรักษาเอชไอวี และโรคที่สัมพันธ์กับเชื้อเอชไอวีในผู้ใหญ่ (ภายใต้ เครือข่าย ACTG) และในบุตรและมารดา (ภายใต้เครือข่าย IMPAACT) 2. แหล่ ง วิ จั ย ทางคลิ นิ ก ด้ า นการป้ อ งกั น เอชไอวี มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ ด� ำ เนิ น การวิ จั ย ทางคลิ นิ ก ด้ า นการใช้ ไ มโครบิ ไ ซด์ ใ นการป้ อ งกั น การติ ด เชื้ อ เอชไอวี (ภายใต้ MTN)
โครงสร้างองค์กร ถึงแม้ว่าจะมีแหล่งวิจัยทางคลินิก 2 หน่วยและด�ำเนินการวิจัยทางคลินิกภายใต้ 3 เครือข่ายวิจัยศึกษาทางคลินิก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ด�ำเนินการร่วมกันโดยใช้การบริหารหลักและทีมสนับสนุนการวิจัยเดียวกันตามที่ได้ แสดงในแผนภูมอิ งค์กรด้านล่าง
80
งานวิจัยเด่นด้านเอดส์ของสถาบันฯ รศ. นพ.เกรียงไกร ศรีธนวิบุญชัย
คงมีโอกาสไม่บ่อยครั้งนักที่หน่วยงานด้านการวิจัยสักแห่งหนึ่ง จะมีโอกาส ร่ ว มสร้ า งผลงานทางวิ ช าการที่ มี ค วามส� ำ คั ญ หลายเรื่ อ งอย่ า งต่ อ เนื่ อ งยาวนาน และองค์ความรูท้ ไี่ ด้จากผลงานเหล่านีไ้ ด้สง่ ผลให้เกิดการเปลีย่ นแปลงตลอดจนพัฒนาการ อย่างมากต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพ บทความต่อไปนี้บอกเล่าเรื่องราว เกี่ยวกับโครงการวิจัยที่ส�ำคัญเกี่ยวกับเอดส์ 4 โครงการ ที่สถาบันฯ ได้มีโอกาสร่วม ด�ำเนินงานในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา
81
พาไทย พาไทยไปไหน พาไทยปลอดเอดส์
การตรวจหาสถานะการติดเชือ้ เอชไอวี เป็นจุดน�ำเข้าส�ำคัญทีส่ ดุ ทีเ่ ชือ่ มโยงเข้าสู่ บริการป้องกันการติดเชื้อในผู้ที่ผลตรวจเป็นลบ และการได้รับการดูแลรักษาอย่าง เหมาะสมในผู้ที่ผลตรวจเป็นบวก แต่ที่ผ่านมาคนไม่ค่อยอยากตรวจเอดส์ด้วยเหตุผล หลายประการ ตั้งแต่ไม่ตระหนักถึงความจ�ำเป็น หรือเสี่ยงแต่ก็กลัวจะรู้ว่าตนเองติดเชื้อ เกรงจะถูกคนอืน่ รังเกียจ ท�ำให้ไม่กล้าตรวจ และทีส่ ำ� คัญคือความไม่สะดวก ทีต่ อ้ งเดินทาง ไปสถานพยาบาล ผ่านขั้นตอนการรับบริการที่ยุ่งยาก เสียเวลามาก ฯลฯ โครงการพาไทย (Project Accept Thailand) เกิดมีขึ้นโดยมุ่งที่ก�ำจัดข้อจ�ำกัดเหล่านี้ให้ได้ เสียงสะท้อนเมื่อแรกที่ผู้เกี่ยวข้องทราบว่าโครงการพาไทยจะจัดหน่วยเคลื่อนที่ ไปตามหมู่บ้าน และชุมชนต่างๆ ในชนบทของจังหวัดเชียงใหม่ รณรงค์ให้ความรู้ ท�ำการ ประชาสั ม พั น ธ์ แ ละเชิ ญ ชวนให้ ค นในชุ ม ชนมารั บ การตรวจเลื อ ดเอดส์ แ บบเปิ ด เผย ล้วนเป็นไปในท�ำนองเดียวกันคือ “ไม่ได้ผลหรอก” “ใครทีไ่ หนจะกล้ามาตรวจ” แต่ทา้ ยทีส่ ดุ โครงการนี้ ไ ด้ พิ สู จ น์ ใ ห้ เ ห็ น ว่ า เราสามารถท� ำ ให้ ค นต้ อ งการตรวจเลื อ ดเอดส์ ไ ด้ ผ่านกระบวนการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง การปรับเปลี่ยนทัศนคติของคนในชุมชน ต่อเรื่องเอดส์ ให้ผู้น�ำชุมชนปฏิบัติเป็นตัวอย่าง การจัดกิจกรรมเสริมที่มีความสนุกสนาน และปรับเวลาการให้บริการให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน โดยตลอด 3 ปีครึ่ง ของการให้บริการ มีผู้มารับการตรวจเลือดเอดส์ในโครงการนี้ถึงเกือบสองหมื่นราย สอดคล้องกับเนื้อเพลงประชาสัมพันธ์โครงการที่ว่า พาไทย พาไทยไปไหน พาไทย ปลอดเอดส์ แต่ก็มีค�ำถามต่อไปว่า จะท�ำอย่างไรที่จะขยายแนวคิดนี้ไปสู่การปฏิบัติท ี่ ทั่วถึงและกว้างขวาง เพื่อให้คนไทยเข้าถึงการตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มขึ้น
82
iPrEx ใช้ถุงยางไม่ได้เหรอ ก็กนิ ยาป้องกันเอาสิ
คงไม่มีใครเถียงว่าเอชไอวีติดต่อผ่านทางการเพศสัมพันธ์มากที่สุด และถุงยาง อนามัยคืออุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีผ่านช่องทางนี ้ แต่เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องละเอียดอ่อนระหว่างคนสองคน และด้วยเหตุผล มากมายท�ำให้บ่อยครั้งก็ไม่สามารถใช้ถุงยางอนามัยได้ทั้งๆ ที่รู้ว่าการจะมีเพศสัมพันธ์ ครั้งนั้นๆ มีความเสี่ยง แล้วจะมีวิธีอื่นไหมที่จะเป็นทางเลือกส�ำหรับการป้องกันเอชไอวี จากการมีเพศสัมพันธ์ อย่าบอกนะว่าถ้าใช้ถุงยางอนามัยไม่ได้ก็ไม่ต้องมีเพศสัมพันธ์สิ ก่อนหน้าจะมีโครงการวิจัย iPrEx ยาต้านไวรัสเอดส์ใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อ เอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์เป็นหลัก มีการน�ำมาใช้ในด้านการป้องกันการติดเชื้อบ้างก็เฉพาะ ในกรณีห ลั ง เกิด เหตุ ก ารณ์ ค วามเสี่ย งแล้ ว ที่เ รีย กว่ า Post Exposure Prophylaxis เช่นในกรณีของอุบัติเหตุของมีคมทิ่มต�ำในบุคลากรทางการแพทย์ หรือถูกข่มขืน เป็นต้น โครงการ iPrEx มีแนวคิด ว่ า หากเราน�ำยาต้ า นไวรั สมาใช้ป ้อ งกั น เอชไอวีล่วงหน้า ก่อนมีความเสี่ยงจะได้ผลหรือไม่ จึงได้มีการด�ำเนินงานวิจัยในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์ กับชายซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีค่อนข้างสูง และขณะเดียวกันก็มี ปัญหามากในการใช้ถุงยางอนามัย โดยผลการศึกษาพบว่า การกินยาต้านไวรัสล่วงหน้า ก่อนมีเพศสัมพันธ์สามารถป้องกันการติดเชือ้ เอชไอวีได้ โดยในผูท้ กี่ นิ สม�ำ่ เสมอจะมีโอกาส ติดเชื้อต�่ำมาก จึงถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในผู้ท่ไี ม่สามารถใช้ถุงยางอนามัยได้ ความท้าทายต่อไปคือจะน�ำองค์ความรู้ที่ส�ำคัญนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับคน ทั่วไปอย่างไร ค�ำถามส�ำคัญเช่น ความพร้อมของบุคลากรทางการแพทย์ตลอดจนคลินิก บริการต่างๆ ในการให้ค�ำปรึกษาและให้บริการ กองทุนประกันสุขภาพต่าง ๆ ควรจ่ายค่า ยาให้ส�ำหรับกรณีนหี้ รือไม่ ความจ�ำเป็นที่ต้องตรวจเลือดให้แน่ใจก่อนว่าไม่ตดิ เชือ้ เอชไอวี ยาที่ให้เพือ่ การนีจ้ ะท�ำให้เกิดเชือ้ ดือ้ ยาเพิม่ ขึน้ หรือไม่ และผลข้างเคียงระยะยาวจากตัวยา เป็นต้น 83
HPTN 052 เมื่อการรักษากลายเป็นการป้องกัน…ด้วย
โครงการนีเ้ ริม่ มาจากสมมติฐานทีว่ า่ ถ้าเราให้การรักษาผูต้ ดิ เชือ้ ด้วยยาต้านไวรัส แต่เนิ่นๆ จนระดับไวรัสในกระแสเลือดลดต�่ำลงมากถึงจนวัดไม่ได้ จะช่วยลดโอกาสเสี่ยง ของคู่ครองของผู้ติดเชื้อจากการติดเชื้อเอชไอวีผ่านทางเพศสัมพันธ์หรือไม่ แนวคิดนี ้ ดูเหมือนจะง่ายหากมองจากมุมมองในปัจจุบัน แต่เมื่อกว่าสิบกว่าปีที่แล้วตอนก่อนที่จะ เริ่มโครงการนี้ต้องถือว่าเป็นแนวคิดที่แปลกใหม่มาก และเมื่อต้องแปลงให้เป็นงานวิจัย ทางคลินิกที่มีคุณภาพ สามารถตอบค�ำถามได้จริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เนื่องจากต้องหา คู่รักที่มีผลเลือดต่างกัน คือคนหนึ่งติดเชื้อคนหนึ่งไม่ติดเชื้อ ทั้งคู่ต้องทราบผลเลือดของ กันและกัน ผู้ติดเชื้อต้องมีระดับภูมิคุ้มกันที่เหมาะสม และต้องหาคู่ลักษณะดังกล่าวให้ได้ จ�ำนวนมากเพียงพอแล้วติดตามดูแลรักษาไปเป็นเวลานานหลายปี อย่างไรก็ตามในที่สุด ผลการศึกษาที่ออกมาก็เป็นไปตามสมมติฐาน คือการรักษาด้วยยาต้านไวรัสช่วยป้องกัน การถ่ายทอดเชื้อให้คู่ได้จริง ผลการศึกษาของโครงการนีเ้ ป็นทีม่ าของวลี “การรักษาเสมือนการป้องกัน” หรือ “Treatment as Prevention” ถือเป็นการปฏิบตั แิ นวคิดเกีย่ วกับยาต้านไวรัสว่า ไม่ใช่มไี ว้เพือ่ การดูแลรักษาผูต้ ดิ เชือ้ เอชไอวีเท่านัน้ แต่การรักษาผูต้ ดิ เชือ้ ยังสามารถป้องกันการแพร่เชือ้ ให้ผู้อ่ืนได้อีกด้วย องค์ความรู้นี้มีความส�ำคัญเป็นอย่างมาก และเป็นที่มาของมาตรการ ตลอดจนแนวทางทางการแพทย์และสาธารณสุขต่างๆ ในปัจจุบัน ที่เกี่ยวกับการแก้ไข ปัญหาเอดส์ ซึ่งเน้นไปที่การให้ผู้ติดเชื้อทุกคนทราบสถานะการติดเชื้อของตนเอง น�ำเข้าสู่ การรักษา และให้การดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากท�ำให้จริงจะน�ำ ไปสู่การยุติปัญหาเอดส์ในที่สุด จึงน่าจะไม่เป็นการเกินเลยหากจะกล่าวว่า โครงการ HPTN 052 เป็นโครงการวิจัยที่ส�ำคัญที่สุดโครงการหนึ่งในเรื่องเอชไอวีเอดส์
84
START จิ๊กซอว์ทางวิชาการที่ส�ำคัญตัวสุดท้ายเกี่ยวกับ การใช้ประโยชน์จากยาต้านไวรัส ตอนที่ประเทศไทยประกาศนโยบายให้เริ่มยาต้านไวรัสแก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้ที่ ทุกระดับภูมิคุ้มกัน (any CD4 level) เมื่อเดือนตุลาคม 2557 ซึ่งถือเป็นหนึ่งในประเทศ แรกๆ ของโลกนั้น มีค�ำถามเกิดขึ้นในใจของคนท�ำงานเอดส์โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากร ทางการแพทย์จำ� นวนมากว่า แนวทางนีใ้ ห้ความส�ำคัญกับการใช้ยาต้านไวรัสเป็นเครือ่ งมือ ทางสาธารณสุ ข เพื่อ การป้ อ งกั น การติด เชื้อ เอชไอวีม ากเกิน ไป และให้ ค วามส� ำ คั ญ กับสุขภาพและประโยชน์ที่จะเกิดกับตัวผู้ติดเชื้อเองที่เป็นผู้กินยาน้อยเกินไปหรือเปล่า เนื่องจาก ณ เวลานั้น แม้จะมีข้อมูลที่ชัดเจนจากโครงการ HPTN 052 ว่าการกินยาต้าน ไวรัสจะช่วยยับยัง้ การแพร่กระจายเชือ้ ให้ผู้อื่น แต่ก็ยังไม่มหี ลักฐานทางการแพทย์ที่แสดง ถึงประโยชน์อย่างชัดเจนของการกินยาส�ำหรับผู้ติดเชื้อเองที่มีระดับภูมิคุ้มกันยังสูงอยู่ คือมีระดับ CD 4 สูงมากกว่า 500 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตรขึ้นไป เมื่อเทียบกับผล ข้างเคียง และการต้องเริ่มกินยาไปตลอดชีวิต อย่างไรก็ตามในที่สุดข้อสงสัยนี้ก็ยุติลง เมื่อมีการประกาศผลการศึกษาของ โครงการวิจัย START (Strategic Timing of AntiRetroviral Treatment) ซึ่งสถาบันฯ เป็นหนึ่งในศูนย์วจิ ัยที่ร่วมด�ำเนินการศึกษานี้ ว่าการเริ่มยาแต่เนิ่นๆ ที่ระดับ CD4 มากกว่า 500 นอกเหนือจะมีประโยชน์ต่อผู้อื่นในการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวีแล้ว ตัวผูป้ ว่ ยเองก็ยงั ได้รบั ประโยชน์โดยตรงคือช่วยลดโอกาสเสีย่ งต่อการเจ็บป่วยและเสียชีวติ ลงได้ดว้ ย ผลการศึกษาโครงการนีจ้ งึ ถือได้วา่ เป็นจิก๊ ซอว์ทางวิชาการเกีย่ วกับยาต้านไวรัส ทีส่ ำ� คัญตัวสุดท้ายทีม่ าเติมเต็มองค์ความรู้ ท�ำให้ตอ่ ไปนีแ้ พทย์และบุคลากรทางการแพทย์ มีข้อมูลทางวิชาการที่ท�ำให้มั่นใจมากขึ้นเมื่อต้องสั่งจ่ายยาต้านไวรัสให้กับผู้ป่วย
85
และที่กล่าวมาคือส่วนหนึ่งของหน้าประวัติศาสตร์เกี่ยวกับงานวิจัยด้าน เอชไอวีเอดส์ของสถาบันฯ และได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทอย่างส�ำคัญในการมี ส่วนร่วมในการเพิ่มเติมองค์ความรู้ทางวิชาการที่น�ำไปสู่นโยบายและมาตรการ ทางสาธารณสุขในการป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์ทั้งในระดับชาติและระดับโลก ซึ่งสถาบันฯ จะยังคงมุ่งมั่นในการด�ำเนินงานวิจัยด้านเอชไอวีเอดส์อย่างต่อเนื่อง ต่อไปในอนาคต
86
งานวิจัยเด่นด้านสารเสพติด จากใจ และผลงานนักวิจัยด้านสารเสพติด
คุณกนิษฐา ไทยกล้า
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับโล่ประกาศ เกียรติคณ ุ องค์กรทีม่ ผี ลงานยอดเยีย่ มและดีเด่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติด ประจ�ำปี 2558 ณ หอประชุมใหญ่ กรมประชาสัมพันธ์ โดยมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี และมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2558 ซึ่งจากการสั่งสมประสบการณ์การท�ำงานของนักวิจัยด้านสารเสพติด ของ สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ ซึง่ ผลักดันให้สถาบันฯ เป็นองค์กรทีม่ ผี ลงานดีเด่น ในการ ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยศึกษาวิจัยและเผยแพร่งานวิจัยให้เป็นประโยชน์ สูงสุด ต่อการวางนโยบายและการด�ำเนินการป้องกันถึงปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการเสพ สารเสพติด และนักวิจยั ทีส่ งั่ สมประสบการณ์ตอ่ ยอดจนเป็นงานวิจยั เด่น จนแก้ปญ ั หาด้าน สารเสพติดได้มากมาย หนึ่งในนั้นคือคุณกนิษฐา ไทยกล้า และเธอก็ได้รับโล่ประกาศ เกียรติคณ ุ ดีเด่นด้านการส่งเสริมการแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจ�ำปี 2558 จากส�ำนักงาน ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดพร้อมกับสถาบันฯ อีกด้วย งานวิจัยของคุณกนิษฐาส่งผลให้กับระดับนโยบายของประเทศ ให้ได้เข้ามา พิจารณาเพื่อที่จะก�ำหนดเป็นนโยบายในการรณรงค์ หรือการงด ละ ลดเลิก สารเสพติด หรือแอลกอฮอล์เป็นจ�ำนวนมาก
87
คุ ณ กนิ ษ ฐาเล่ า ว่ า ได้ ท� ำ การส� ำ รวจจุ ด จ� ำ หน่ า ยรอบสถานศึ ก ษาทั้ ง ในพื้ น ที่ ภาคเหนือ และจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยการเดินส�ำรวจทุกจุดจ�ำหน่ายและน�ำเทคโนโลยี ทางภูมศิ าสตร์สารสนเทศมาช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูล อย่างต่อเนือ่ งตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปี พ.ศ. 2557 และได้จัดท�ำข้อเสนอเชิงนโยบายในการที่ลดการเข้าถึงจุดจ�ำหน่าย ของเยาวชนรอบสถานศึกษาจนกลายเป็นประกาศส�ำนักนายรัฐมนตรีเรือ่ งก�ำหนดสถานที่ หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา พ.ศ. 2558 นักดื่มหลายท่านคิดว่าท่านดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปในร่างกายมีระดับหรือตัววัด อย่างไรว่าเราดืม่ เข้าไประดับไหนทีจ่ ะท�ำให้เรามีปริมาณแอลกอฮอล์สะสมไว้ในร่างกายเรา มากน้อยเพียงไหน นี่คือสิ่งที่คนทั่วไปคาดไม่ถงึ แต่คุณกนิษฐาคิดและท�ำได้โดยจัดท�ำเป็น เครื่องมือการช่วยค�ำนวณปริมาณการดื่มที่เป็นมาตรฐาน ที่ชื่อว่า “Thai Drinking Survey Guide” เครือ่ งมือดังกล่าวได้ถกู น�ำไปใช้ในการส�ำรวจสุขภาพประชาชนไทย และการส�ำรวจ ประมาณการผู ้ ดื่ม เครื่อ งดื่ม ที่ มีแ อลกอฮอล์ ข องประเทศไทย ทั้ง นี้ง านวิจั ย ทางด้ า น สารเสพติดทั่วประเทศได้น�ำผลงานนี้ไปอ้างอิงและใช้กันอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังได้ รวบรวมประสบการณ์ที่ได้สัมผัสกับทั้งผู้เสพและผู้ค้าสารเสพติดโดยได้รวบรวมเป็น Pocket book “นี่แหละใช่ Street Name” ซึ่งรวบรวมภาษา ค�ำที่ใช้เรียกแทนสารเสพติด และมีการใช้สื่อสารในกลุ่มผู้เสพและผู้ค้าทั้งภายในประเทศไทย และประเทศอาเซียน เอกสารฉบับนี้ทางกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนได้เห็นประโยชน์ โดยขอใช้ข้อมูล ในเอกสารเล่มนีส้ ำ� หรับจัดท�ำคู่มอื ของกรมพินจิ และคุ้มครองเด็กและเยาวชน เช่นเดียวกับ ทางส�ำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ได้ใช้เล่มนี้เป็นจุดเริ่มต้น ในการจัดท�ำสารานุกรมสารเสพติดของประเทศไทย
88
“คุก” เป็นสถานที่ปิด ก�ำแพงสูง มีประตู ลูกกรเหล็กที่แน่นหนา ผู้คนที่อยู่ในนัน้ เป็ น ผู ้ ที่ ก ระท� ำ ความผิ ด ตั้ ง แต่ ค ดี เ ล็ ก น้ อ ย อย่ า งเช่ น ลั ก ทรั พ ย์ ท� ำ ร้ า ยร่ า งกาย เสพยาเสพติด นักค้ายาเสพติดทั้งรายย่อยและรายใหญ่ จนกระทั่งฆ่าคนตายเป็นต้น พอพูดค�ำว่า “คุก” หลายคนเกิดความรู้สึกกลัว และเธอคนนี้ก็กลัวเช่นกัน คุณกนิษฐา เล่าให้ฟังว่า ความกลัวที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความกลัวที่เกิดจากความคิดที่ไม่อยากที่จะต้อง เข้าไปอยูใ่ นนัน้ แต่เมือ่ ต้องเข้าไปสัมผัสบรรยากาศทีอ่ ยูห่ ลังก�ำแพงสูงในฐานะของคนท�ำงาน ความกลัวกลับกลายเป็นความตืน่ เต้นความท้าทาย และความอยากรูอ้ ยากเห็น และในการ เข้าไปท�ำงานวิจัยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องขัง มุมมองที่มีต่อผู้กระท�ำความผิดได้เปลี่ยนไป กลายเป็นความเข้าใจ และอยากที่จะให้โอกาสแก่เขาและเธอเหล่านั้นได้มีโอกาสท�ำในสิ่ง ที่ถูกและดีกับตนเอง ผู้อื่น สังคม และประเทศชาติ ไม่ว่าจะยังอยู่ในคุก หรือได้รับอิสรภาพ แล้วก็ตาม ตามแนวทางของเธอที่ใช้สารเสพติดในการน�ำเพื่อให้กลุ่มคนเล่านี้ ได้ งด ละ ลด และเลิก สารเสพติด ได้เข้าไปคุยกับผูต้ อ้ งมากมายหลายครัง้ จนท�ำให้ผตู้ อ้ งหาไว้ใจ และเธอก็มองว่าการที่จะสื่อสารกับคนเหล่านี้ได้เข้าใจเรื่องสารเสพติดดีที่สุด คือผ่านทาง กิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเพื่อความบันเทิงสอดแทรกเนื้อหาในเรื่องของสารเสพติด อันตราย และสิ่งที่ท�ำร้ายกับผู้เสพ และสิ่งนี้ก็คือก้าวแรกที่ท�ำให้เธอคิดที่จะพัฒนาเกมส์ ขึ้นมาเพื่อที่จะเป็นสื่อ สื่อหนึ่งที่ท�ำให้ผู้ต้องขังได้เข้าใจถึงโทษภัยของสารเสพติด และเมื่อ ออกจากคุก ก็จะไม่หันกลับมาใช้มัน เกมส์นี้มีชื่อว่า เกมปลอดภัยไว้ก่อนจากสารเสพติด (SAP GAME)
89
ในระหว่างทีค่ ดิ ค้นประดิษฐ์เกมส์นขี้ นึ้ มาได้นำ� ไปทดลองใช้กบั หลายกลุม่ ตัวอย่าง ไม่ว่าจะน�ำไปทดลองใช้กับกลุ่มสามเณร ผู้ต้องขังเด็กในสถานพินิจ นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ซึ่งเกมนี้เป็นเกมที่ให้ความรู้เรื่องการประเมินความเสี่ยงจากการใช้ สารเสพติ ด อั น ตรายและผลกระทบจากการใช้ ส ารเสพติ ด ความรู ้ ด ้ า นกฎหมาย และเกมนี้ได้ มีค�ำสั่งให้ใช้กับสถานพินิจเด็กทั่วประเทศ เรือนจ�ำ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับการบ�ำบัดของสาธารณสุข และชุมชนต่างๆ น�ำไปใช้กบั มหาวิทยาลัยในภาคเหนือทัง้ หมด และต่อมาก็ได้พัฒนาเกมส์ในเวอร์ชั่นที่ 2 เรียกว่า เกมแอลด้า (ELDA GAME) มิติใหม่ ของสื่อที่ให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายและผลกระทบจากการใช้สารเสพติด ความรู้ด้าน กฎหมาย เพือ่ การป้องกันการใช้สารเสพติด เหมาะส�ำหรับทุกกลุม่ อายุ และเป็นเกมทีพ่ ฒ ั นา มา 2 ภาษา (ทั้งไทยและอังกฤษ) และได้น�ำไปให้งาน Training Workshop for Youth Leaders on Social Development and Drug Abuse Prevention 2015 วันที่ 25-26 พฤษภาคม 2015 ที่ Greater Mae Khong Lodge จ.เชี ย งราย จาก 10 ประเทศ ประเทศบรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ภูฏาน และไทย
90
งานวิจัยเด่นด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เมื่อสถาบันฯ “วิจัยฝุ่น...หมอกควัน” ดร.ทิพวรรณ ประภามณฑล
“
วิ จั ย ฝุ ่ น ” แต่ ไ หนแต่ ไ รมา มักเข้าใจว่า “ตกงาน ไม่มีงานท�ำ” สมัยนี้ อาจจะไม่ ใ ช่ . .มีทุ น ให้ท�ำวิจัย (ค่อนข้า ง มาก!) เพื่อใช้แก้ปัญหาให้ถูกจุด ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 ท้องฟ้า ภาคเหนื อ ตอนบนเกิ ด อาการ “ฟ้ า ปิ ด ” เต็ ม ไปด้ ว ยมลพิ ษ ทางอากาศ ที่ เ รี ย กว่ า “หมอกควัน” ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และยัง เ กิ ด อ ย ่ า ง ต ่ อ เ นื่ อ ง ม า จ น ถึ ง ป ั จ จุ บั น (พ.ศ. 2558) เป็นปีที่ 9 โดยล่าสุดในวันที ่ 17 มี น าคม 2558 ที่ ผ ่ า นมามี ฝุ ่ น ละออง ขนาดเล็ ก พี เ อ็ ม 10 ในอากาศ (ค่ า เฉลี่ ย 24 ชั่ ว โมง) สู ง ถึ ง 292 ไมโครกรั ม ต่ อ ลูกบาศก์เมตร (จากสถานีตรวจวัดคุณภาพ อากาศทีศ่ นู ย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่) ซึง่ เกิน ค่ามาตรฐานถึง 2.4 เท่า (ค่ามาตรฐานของ ประเทศไทย เท่ า กั บ 120 ไมโครกรั ม ต่อลูกบาศก์เมตร)
ตัวอย่างภาพไฟไหม้ป่าและการเผา เศษวัสดุจากการเก็บเกี่ยวข้าวโพด ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
“ข้อมูลจากงานวิจยั ” เป็นสิง่ จ�ำเป็นทีจ่ ะต้องมีเพือ่ ทีต่ อบปัญหา “หมอกควัน” ให้กับสังคม และผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้รับผิดชอบเพื่อที่จะน�ำไปแก้ไขปัญหาได้ ตรงจุดมากขึ้น
91
ตัวอย่างภาพการประชุมเรื่องหมอกควันในการประชุมหัวหน้าส่วนระดับ จังหวัด และการให้ข้อมูลในการประชุมก�ำนันผู้ใหญ่บ้านในภาคเหนือตอนบน มลพิษทางอากาศ หรือ หมอกควัน (จริงแล้ว เป็นควันล้วนๆ ไม่มหี มอกแล้วในเดือน มีนาคม!) มีผลกระทบหลายภาคส่วน อาทิ ผลกระทบสุขภาพเฉียบพลันในกลุ่มเปราะบาง อาทิ กลุ่มเด็ก กลุ่มผู้มีโรคเรื้อรัง ท�ำให้ต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อยขึ้นจากอาการก�ำเริบของ โรคหืดหอบ โรคหัวใจ ผลกระทบสุขภาพในระยะยาว เช่น โรคมะเร็งปอด เพราะในฝุ่นละออง ในอากาศมีสารพิษหลายชนิดเกาะอยู่ จึงเป็นโอกาสให้นักวิจัยน้อยใหญ่ได้รวมกลุ่มขอทุน ท�ำวิจัย ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มี ห ้ อ งปฏิ บั ติ ก ารพิ ษ วิ ท ยา ที่ ส ามารถ วิเคราะห์ฝุ่นหาสารพิษที่เป็นอันตรายต่อ สุ ข ภาพได้ (ขอขอบคุ ณ ศาสตราจารย์ นพ.ธี ร ะ ศิ ริ สั น ธนะ อดี ต ผู ้ อ� ำ นวยการ สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ ทีไ่ ด้พฒ ั นา ห้องปฏิบัติการพิษวิทยา ท�ำให้สามารถใช้ ท�ำวิจัยสารพิษต่างๆ อาทิ สารเคมีก�ำจัด ศัตรูพืช สารพิษจากหมอกควัน)
ภาพเปรียบเทียบขนาดของฝุ่นพีเอ็ม10 ซึ่งเล็กกว่าเส้นผมของคนประมาณ 7 เท่า
92
ภาพห้องปฏิบัติการพิษวิทยาของหน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ยิ่งไปกว่านั้น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีต้นทุนเดิมมานานหลายสิบปี ในการท� ำ วิ จั ย ในมนุ ษ ย์ ส่ ว นของห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารพิ ษ วิ ท ยานั้ น มี ค วามรู ้ ค วามช� ำ นาญ การประเมินการรับสัมผัสเข้าสู่ร่างกาย (Internal dose exposure assessment) จากการ รับสัมผัสสารเคมีก�ำจัดศัตรูพืช โดยการตรวจเลือด น�้ำนม ปัสสาวะ ซึ่งสามารถประยุกต์ กับการรับสัมผัสสารพิษจากหมอกควันได้เป็นอย่างดี และมีผลงานด้านสารเคมีก�ำจัด ศัตรูพืชและสุขภาพ ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารในฐานข้อมูล PubMed, Scopus มากกว่า 20 เรื่อง ส�ำหรับผลงานวิจัยด้านผลกระทบหมอกควันกับสุขภาพ ก�ำลังด�ำเนินงานวิจัย และได้มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารบ้างแล้ว ในส่วนของการวัดสารพิษในสิง่ แวดล้อมก็เช่นเดียวกัน แม้วา่ จังหวัดเชียงใหม่มสี ถานี ตรวจวัดคุณภาพอากาศ 2 สถานี คือ ที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย และที่ศูนย์ราชการจังหวัด เชียงใหม่ ในสังกัดกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมี การตรวจวัดสารมลพิษ 5 ชนิด ประกอบด้วย ฝุ่นพีเอ็ม10 (PM10) ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และก๊าซโอโซน (O3) (aqmthai.com or air4thai.pcd.go.th) เช่นเดียวกับจังหวัดอื่นๆ ซึ่งจะมีสถานีตรวจวัดคุณภาพ อากาศเฉพาะในอ�ำเภอเมืองเท่านั้น โดยปริมาณฝุ่นละอองในอากาศที่วัดจากสถานีในเมือง เหล่านี้ จะไม่สามารถสะท้อนสถานการณ์ในพื้นที่ห่างไกลได้ ซึ่งทางหน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีเครื่องมือในการเก็บตัวอย่างฝุ่นละออง ขนาดเล็กในอากาศ พีเอ็ม10 และพีเอ็ม2.5 (PM10 และPM2.5) รวมทั้งการวัดปริมาณฝุ่น ตามเวลาจริง (real-time monitor) ซึ่งสามารถท�ำวิจัยเก็บตัวอย่างในพื้นที่ห่างไกลมาศึกษา สารพิษทีเ่ กาะบนผุน่ มาวิเคราะห์ในห้องปฏิบตั กิ าร (environmental monitoring) และพิจารณา ร่วมกับการตรวจการรับสัมผัสเข้าสู่ร่างกาย (human biomonitoring) น�ำไปสู่การประมวล ผลกระทบสุขภาพได้ 93
ตัวอย่างภาพเครื่องเก็บตัวอย่างและตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก พีเอ็ม10และพีเอ็ม2.5 ในอากาศ ณ อาคาร 3 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ สุขภาพ (ซ้าย) และโรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานุกูล เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา อ�ำเภอแม่เจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ (ขวา) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา ได้มีการศึกษาติดตามผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ (โรคอุ ด กั้ น เรื้ อ งรั ง และโรคหื ด หอบ) เพื่ อ ศึ ก ษาผลกระทบจากมลพิ ษ หมอกควั น โดยด�ำเนินงานร่วมกับทีมแพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานุกลู เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา (โรงพยาบาลแม่แจ่มเดิม) และอาจารย์แพทย์จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ และมีการให้ความรูแ้ ก่นอ้ งๆ เด็กนักเรียนระดับประถมในอ�ำเภอแม่แจ่ม และอ�ำเภอ อมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ได้เรียนรู้เรื่องหมอกควัน และผลกระทบสุขภาพ พร้อมกันไปด้วย
ภาพกิจกรรมการเก็บตัวอย่างปัสสาวะในเด็กนักเรียนเพื่อตรวจการสัมผัส สารมลพิษทางอากาศ (ซ้าย) และการให้ความรู้เรื่องหมอกควันและสุขภาพ แก่เยาวชน (ขวา) 94
งานวิจัยด้านหมอกควันของหน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ถึง 2558 ท�ำให้ได้ข้อมูลโดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ ดังนี้ 1. หมอกควันในแอ่งเชียงใหม่-ล�ำพูน ที่เกิดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม มาจากนอกเมื อ งในพื้ น ที่ ใ กล้ เ คี ย ง ที่ มี ก ารเผาในที่ โ ล่ ง เช่ น การเผาเศษวั ส ดุ เ กษตร และการเผาป่า 2. ปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ - ในช่วงฤดูฝน (พฤษภาคม ถึง กันยายน) มีค่าฝุ่นพีเอ็ม10 อากาศเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ต�ำ่ กว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทัง้ ในเมืองและนอกเมือง ซึง่ อยูใ่ นเกณฑ์ขององค์การ อนามัยโลก - ในช่วงฤดูหนาว และปลายฤดูหนาว (ตุลาคม ถึง มกราคม) ฝุ่นพีเอ็ม10 ในอากาศ ในพื้นที่นอกเมือง จะสูงกว่าในเมือง ส่วนหนึ่งเกิดจากการเผาขยะในชุมชนโดยเฉพาะ ในชานเมือง และนอกเมืองที่ระบบการจัดเก็บขยะยังไม่มีประสิทธิภาพ งานวิจัยพบว่า ระดับ background level ของฝุน่ พีเอ็ม10 ในชุมชนรอบนอกจะสูงกว่าในเมืองซึง่ มีการห้ามเผา ในที่โล่งอย่างเคร่งครัด - ในช่วงฤดูแล้ง (กุมภาพันธ์ ถึง เมษายน) ฝุ่นพีเอ็ม10 ในอากาศ จะเพิ่มสูงขึ้น ทั้งพื้นที่ในเมืองและนอกเมือง 3. ประชากรกลุ่มเสี่ยง เช่น กลุ่มเด็ก ได้รับสัมผัสสารพอลิไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน หรือ พีเอเอช (Polycyclic aromatic hydrocarbons, PAHs) โดยการตรวจสาร เมตาโบไลต์ (Surrogate biomarker) ของพีเอเอช ได้แก่ สาร 1-โอเอชพี (1-hydroxypyrene, 1-OHP) ในปัสสาวะ พบว่า เด็กในเมืองและนอกเมือง มีสาร 1-โอเอชพี แตกต่างกันอย่างมี นัยส�ำคัญ โดยเด็กทีอ่ ยู่นอกเมืองจะมีสาร 1-โอเอชพี ในปัสสาวะสูงกว่าเด็กในตัวเมือง ตัง้ แต่ 5 ถึง 12 เท่า ซึ่งอาจอนุมานได้ว่า เด็ก หรือประชาชนในพื้นที่มีการเผา หรือมีแหล่งก�ำเนิด หมอกควัน จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง ในระยะยาวได้มากกว่า นอกจากนี้ ยังพบว่า สารบ่งชี้การเกิดสภาวะความเครียดออกซิเดชัน (Oxidative stress biomarkers) ในร่างกายได้แก่ สาร Malondialdehyde (MDA) ในตัวอย่างลมหายใจ (exhaled breath condensate) ของเด็กในช่วงที่ระดับฝุ่นละอองพีเอ็ม10 ในเมืองเชียงใหม่ เพิ่ ม ขึ้ น สู ง มี ค วามแตกต่ า งจากช่ ว งที่ ร ะดั บ ฝุ ่ น พี เ อ็ ม 10 ไม่ สู ง อย่ า งมี นั ย ส� ำ คั ญ (Phornwisetsirikun et al., 2014) 95
รายชื่อโครงการวิจัยด้านมลพิษทางอากาศ (หมอกควัน) ที่ด�ำเนินการแล้ว และก�ำลังด�ำเนินงาน มีดังนี้ 1) รายงานโครงการวิจัย เรื่อง “การจัดล�ำดับความส�ำคัญการวิจัยด้านคุณภาพ อากาศในเขตภาคเหนือตอนบน” คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์ การแพทย์ พ.ศ. 2550 2) รายงานโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนากระบวนการรับรู้ผลกระทบทางสุขภาพ จากมลพิษอนุภาคฝุ่นในอากาศโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน- กรณีศึกษาในภาคเหนือ ตอนบนของประเทศไทย” ส�ำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พ.ศ. 2552 (GW1) 3) รายงานโครงการวิจัย เรื่อง “การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัส อนุภาคฝุ่นในอากาศในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย” ส�ำนักงานคณะกรรมการวิจัย แห่งชาติ (วช.) พ.ศ. 2553 (GW2) 4) รายงานโครงการวิจัย เรื่อง “การขยายผลการวิจัยมลพิษทางอากาศและ ผลกระทบสุขภาพสู่ชมุ ชนเพือ่ การเรียนรู้และลดแหล่งก�ำเนิดฝุ่นในอากาศในชุมชนภาคเหนือ ตอนบนของประเทศไทย” ส�ำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พ.ศ. 2555 (GW3) 5) รายงานโครงการวิจยั เรือ่ ง “การประเมินการรับสัมผัสสารมลพิษจากสิง่ แวดล้อม ในเด็ ก นั ก เรี ย นอนุ บ าล” ส� ำ นั ก งานกองทุ น สนั บ สนุ น การสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพ (สสส.) 2554 (TUHPP1)
96
6) รายงานโครงการวิจัย เรื่อง “การประเมินการรับสัมผัสสารมลพิษทางอากาศ ในเด็กนักเรียนอนุบาลจากพื้นที่มีจุดความร้อนสูงในจังหวัดเชียงใหม่” ส�ำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 2556 (TUHPP2) 7) ก�ำลังด�ำเนินงานโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนานักวิจัยชุมชนรุ่นเยาว์เพื่อ ส่งเสริมการเรียนรูม้ ลพิษสิง่ แวดล้อม ผลต่อสุขภาพประชาชน และแนวทางการป้องกันแก้ไข: การศึกษาน�ำร่องด้านมลพิษหมอกควันในอ�ำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่” มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ 2557-2558. 8) ก�ำลังด�ำเนินงานโครงการวิจัย เรื่อง “การเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ มลพิษหมอกควัน และผลกระทบสุขภาพ ในพื้นที่มีจุดความร้อนสูงในจังหวัด เชียงใหม่” มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2557-2558. 9) ก�ำลังด�ำเนินงานโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาชุมชนสุขภาวะจากการลด มลพิษหมอกควัน: โครงการน�ำร่องในอ�ำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่” มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2557-2559. (SMOG) 10) ก�ำลังด�ำเนินงานโครงการวิจัย เรื่อง “การศึกษาปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม ของผู้ป่วยมะเร็งปอดในภาคเหนือตอนบนของประเทศ” มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2558-2561.
97
r ih e s C MU
48
a nni ve rsary
Research Institute for Health Sciences
98