โครงการประชุมวิชาการด้านการวางแผนภาคและเมือง ประจาปี 2555 Urban and Regional Planning Academic Symposium 2012 URPAS 2012: เมืองสุขภาวะ (Healthy City) หลักการและเหตุผล องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้คาจากัดความของสุขภาวะ หรือ Health ไว้ว่า ไม่ได้หมายถึงการ ไม่มีโรคเพียงอย่างเดียวแต่ครอบคลุมถึงสภาวะของการเป็นอยู่ที่ดี (wellbeing) ทั้งทางกาย ทางจิตใจและทาง สังคมอย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้ความสุขจากการมีมาตรฐานทางสุขภาพที่สามารถมีได้สูงสุด เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของ มนุษย์ทุกคน โดยไม่ถูกจากัดหรือแบ่งแยกด้วยเชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อทางการเมือง สถานะทางเศรษฐกิจ และสังคม อย่างไรก็ตามการพัฒนาและแสวงหาการเติบโตทางเศรษฐกิจได้นามาซึ่งปัญหาของเมืองในประเด็น ต่างๆมากมาย เช่น ความยากจน การว่างงาน การเข้าไม่ถึงแหล่งงานและการบริการ การขาดแคลนที่อยู่อาศัย หรือแม้แต่การแบ่งแยกทางสังคมของชุมชน ในขณะที่บทบาทของนักผังเมืองมีอิทธิพลต่อสภาพแวดล้อมทาง สังคม กายภาพและเศรษฐกิจ และต่อการขับเคลื่อนให้เมืองทาหน้าที่ต่อไปได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของนักผัง เมืองและผู้ที่เกี่ยวข้องในการยกประเด็นปัญหาเหล่านี้ให้สังคมส่วนรวมตระหนักเห็นความสาคัญ และสร้าง ความมั่นคงด้านสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในเมือง เนื่องจากการกาหนดนโยบายและการดาเนินการการพัฒนาในทุกระดับย่อมเกี่ยวข้อง ส่งผลกระทบทั้ง ทางบวกและลบต่อสุขภาวะ และความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้น เรื่องความเป็นอยู่ที่ดี ทั้งทางกาย จิตใจ และทางสังคม จึงมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการวางแผนภาคและเมือง นักผังเมือง ผู้กาหนดนโยบายและผู้ วางแผนพัฒนาในระดับต่างๆ มีบทบาทสาคัญต่อการสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมที่มีสุขภาวะ (Healthy Environment) ในอดีตที่ผ่านมาการวางแผนพัฒนาเมืองของประเทศไทย ไม่ได้ครอบคลุมประเด็น เรื่องของสุขภาวะ สุขภาพของประชาชน คุณภาพของสิ่งแวดล้อม และธรรมชาติของการพัฒนา เป็น ตัวกาหนดที่สาคัญของสุขภาวะของเมือง และในขณะเดียวกัน สุขภาวะเป็นปัจจัยสาคัญของความอุดม สมบูรณ์ทางเศรษฐกิจ สุขภาวะเป็นเรื่องของคุณภาพชีวิตซึ่งประชาชนประสบได้ ณ ปัจจุบัน แต่การวางแผน เมืองเพื่อสุขภาวะ (Healthy Urban Planning) เป็นการคานึงถึงคนในอนาคต การตัดสินใจและเลือก เกี่ยวกับวิถีการดาเนินชีวิต และที่อยู่อาศัย เป็นตัวกาหนดสุขภาวะของอนาคต แต่การตัดสินใจนี้ถูกจากัดด้วย โอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม รายได้ การศึกษา คุณภาพของสิ่งแวดล้อม ที่บุคคลนั้นๆและครอบครัวประสบ อยู่ ด้วยเหตุนี้การวางแผนภาคและเมืองเพื่อสุขภาวะจึงมีบทบาทสาคัญต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน อย่าง มีนัยสาคัญ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมและการวางแผน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ภาควิชาการวางแผนและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชาการวางผังเมืองและสภาพแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สาขาวิชา การผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมาคมนักผังเมืองไทย และ โครงการพัฒนากลไกลสนับสนุนทางวิชาการเพื่อนาไปสู่กระบวนการสร้างพื้นที่สุขภาวะและสิ่งแวดล้อมทาง กายภาพที่มีความยั่งยืนในบริบทเมือง ได้ตระหนักเห็นความสาคัญในการบูรณาการองค์ความรู้ และ ประสบการณ์ระหว่าง คณาจารย์ นักศึกษา นักวิชาการที่เกี่ยวข้อง ทั้งสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและ เอกชน รวมทั้งบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในเรื่องของการวางแผนพัฒนาภาคและเมืองในทุกระดับ บทความวิชาการที่นาเสนอจะครอบคลุมประเด็นทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับเมืองสุขภาวะ ทั้งทางด้าน กายภาพ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เช่น