April2014

Page 1

ปีท่ี 12 ฉบับที่ 4 ประจำ�เดือนเมษายน 2014

http://www.catholic.or.th/sarnbkk/

พระสงฆ์ใหม่

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ปี 2014

2

น.

4

วิถีชุมชนวัด...

ก้าวทีจ่ ะเดินต่อไป (2)... น.

8

ปัสกาของคริสตชน น. บทความ...ผงศิลา

เมื่อได้พูดถึงการถวายตัวขั้นแรกในชีวิตคริสตชนโดยทางศีลล้างบาปแล้ว เราก็จะต้องพูดถึงชีวิตที่ถวายแก่พระเจ้าในชีวิตนักบวชด้วย ข้อความจากสมณสาสน์ชีวิตที่ถวายแล้ว ของบุญราศียอห์น ปอล ที่ 2 พระสันตะปาปา ข้อ 110 พระองค์ตรัสว่า “พวกท่าน (ซึ่งเป็นผู้ถวายตัวแด่ พระเจ้า) พวกท่านมิได้มีเพียงประวัติศาสตร์ที่รุ่งเรือง อันเป็นที่จดจำ� และ เล่าต่อกันไปเท่านั้น (หมายความว่า พวกท่านไม่ใช่อดีตเท่านั้น) แต่ พวกท่านยังมีประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ที่ยังไม่จบ ที่จะต้องสางต่อไป พวกท่านยังเป็นอนาคตด้วย ดังนั้น พวกท่านจงมองไปสู่อนาคต ไปยังที่ซึ่งพระจิตส่ง พวกท่านไป พระพรพิเศษ (Charism) นั้นมาจากพระจิตเจ้า เพื่อพวกท่านจะทำ�สิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าที่ผ่านมาด้วย” (VC 110) วาทะพระอัครสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พระอัครสังฆราชอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

วันนักบวชสากล วัดแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ วันเสาร์ท่ี 28 กุมภาพันธ์ 2012

เอกสารฟื้นฟูชุมชนศิษย์พระคริสต์เดือนเมษายน : ฆราวาสเผยแผ่ธรรม

พีน่ อ้ งทีร่ กั เอกสารฟืน้ ฟูชมุ ชนศิษย์พระคริสต์ส�ำ หรับเดือนเมษายน เราจะร่วมกันไตร่ตรองเรือ่ ง “ฆราวาสเผยแผ่ธรรม” เป้าหมายของการไตร่ตรอง ในเดือนนี้ คือ “เพือ่ ให้คริสตชนฆราวาสตระหนักถึงบทบาทของตนในฐานะผูร้ บั ศีลล้างบาป ทีจ่ ะทำ�หน้าทีน่ �ำ ความรัก พระพรและความรูค้ วาม สามารถทีม่ ี ทีไ่ ด้รบั มาจากพระเจ้าไปสูผ่ อู้ น่ื รอบข้างโดยเฉพาะผูย้ ากไร้และผูข้ าดความสุข” เอกสารนีเ้ ริม่ ต้นด้วยการมองชีวติ ปัจจุบนั (Look) เป็นเรือ่ งของคุณเมธาเป็นคริสตชนวัดนักบุญยอแซฟ เขามีอาชีพขายก๋วยเตีย๋ วราดหน้า เขาประกอบ อาชีพของเขาอย่างขยันขันแข็งและซือ่ สัตย์สจุ ริต ในวันทำ�งานช่วงเช้าตัง้ แต่เก้าโมงเขาจะไปเยีย่ มคนป่วยทีโ่ รงพยาบาล และจะกลับมาก่อนเทีย่ งเพือ่ ขาย ก๋วยเตี๋ยว ก่อนออกไปเยี่ยมคนป่วยเขาจะสวดภาวนาเพื่อขอพระจิตเจ้าเป็นผู้นำ�ทางในกิจกรรมที่เขาจะกระทำ� และเป็นพิเศษในวันจันทร์เขาจะหยุด ขายช่วงเช้าเพือ่ ไปเยีย่ มคนป่วย กลับมาร้านอีกทีตอนบ่ายสามโมง เขามีความตัง้ ใจทีจ่ ะนำ�ความรักและสันติของพระเจ้าไปให้คนป่วย โดยการไปเยีย่ ม คนป่วยของเขา พระจิตเจ้าทรงดลใจคนป่วยบางคนที่เป็นคริสตชนที่ไม่ได้มาวัดเป็นเวลานาน ให้ขอรับศีลเจิมคนไข้และศีลเสบียง นอกจากนั้นยังมี คนป่วยที่นับถือศาสนาอื่นบางคนขอรับศีลล้างบาปเพื่อเป็นคริสตชน หรือแม้บางคนที่ไม่พร้อมจะรู้จักพระ คุณเมธาก็สวดขอพรให้สันติของพระ อยูก่ บั เขา และคำ�ถามเพือ่ การไตร่ตรองทีว่ า่ “ท่านประทับใจอะไรบ้างจากการมองดูชวี ติ ของคุณเมธา” และ “ท่านได้รบั พระพรและความสามารถ อะไรบ้างทีจ่ ะเป็นเครือ่ งมือในการเผยแผ่ธรรม” พระวาจาของพระเจ้า (Listen) จากพระวรสารนักบุญลูกากล่าวถึงพระเยซูเจ้าทรงแต่งตัง้ ศิษย์อกี เจ็ดสิบสองคนและทรงส่งเขาไปเผยแผ่ธรรม (ลก 10:1-9) พร้อมทัง้ คำ�ถามไตร่ตรองจากพระวาจาว่า “คำ�/วลี/ประโยคใดจากพระวรสารนักบุญลูกาทีท่ า่ นได้ฟงั วันนีส้ ะกิดใจท่านมากทีส่ ดุ ให้กล่าว 3 ครัง้ ให้เงียบอยูก่ บั พระวาจาพระเจ้า 3 นาที และแบ่งปันการดลใจทีท่ า่ นได้รบั ฟังจากพระวาจาในวันนี”้ การดำ�เนินชีวติ ศิษย์พระเยซู (Love) เป็นการตอบคำ�ถามจากการไตร่ตรองทีว่ า่ “ในฐานะทีท่ า่ นเป็นฆราวาส/พระสงฆ์/นักบวช ท่านสามารถ ปฏิบัติตามคำ�แนะนำ�ของพระเยซูเจ้าในพระวรสารตอนนี้ได้อย่างไร” และ “ท่านสามารถพัฒนาความสามารถที่มีอยู่ และใช้พระพรที่พระ ประทาน แก่ทา่ นในการเผยแผ่ธรรมในชีวติ ประจำ�วันของท่านได้อย่างไร” เอกสารของพระศาสนจักรกล่าวถึงเรือ่ งฆราวาสเผยแผ่ธรรม ดังนี้ 1. ฆราวาสคือผูท้ เ่ี ชือ่ ในพระคริสตเจ้าทุกคน ซึง่ ไม่ใช่ผทู้ ไ่ี ด้รบั ศีลบวชหรืออยูใ่ นสถานะชีวติ นักบวชทีพ่ ระศาสนจักรรับรองแล้ว พวกเขาเป็นกายหนึง่ เดียวกับพระคริสตเจ้าและประกอบขึน้ เป็นประชากรของพระ จึงมีสว่ นร่วมในพระกรณียกิจของพระคริสตเจ้าในฐานะสงฆ์ ประกาศกและกษัตริย์ โดยวิธี ต่างๆ ในการดำ�เนินชีวติ คริสตชน ทัง้ ในพระศาสนจักรและในโลก (พระธรรมนูญเรือ่ งพระศาสนจักร ข้อ 31) 2. กิจการแพร่ธรรมของฆราวาสเป็นการร่วมภารกิจของพระศาสนจักรในการช่วยมนุษย์ให้รอด ฆราวาสจึงมีหน้าทีอ่ นั สูงส่งทีจ่ ะต้องออกกำ�ลังยิง่ ๆ ขึน้ ให้แผนการของพระทีจ่ ะประทานความรอดได้แผ่คลุมออกไปถึงมวลมนุษย์ทกุ สมัยและทุกหนแห่งในโลก จึงควรจะให้ฆราวาสมีโอกาสทุกทาง ทีจ่ ะได้มี ส่วนร่วมงานไถ่กขู้ องพระศาสนจักรอย่างจริงจัง ตามความสามารถของเขาและตามความต้องการของกาลสมัย (พระธรรมนูญเรือ่ งพระศาสนจักร ข้อ 33) 3. พระคัมภีร์ก็แสดงให้เราเห็นอย่างชัดเจนว่า การแพร่ธรรมของฆราวาสได้ปรากฎขึ้นมาเองตั้งแต่ระยะแรกๆ ที่พระศาสนจักรอุบัติข้นึ และการ แพร่ธรรมนัน้ ได้เกิดผลดีสกั เพียงใด (ดู กจ 11:19-21,18:26, รม 16:1-16, ฟป 4:3) (สมณกฤษฎีกาว่าด้วยการแพร่ธรรมของฆราวาส ข้อ 1) 4. ฆราวาสมีโอกาสมากมายทีจ่ ะทำ�การแพร่ธรรมด้วยการดำ�รงชีวติ เป็นแบบฉบับดี และการใช้คำ�พูดประกาศพระคริสตเจ้าแก่ผทู้ ย่ี งั ไม่เชือ่ นอกจากนี้ ฆราวาสทัง้ หลายจะต้องมีสว่ นอย่างเข้มแข็งยิง่ ขึน้ ในการอธิบายและป้องกันหลักการของพระคริสตธรรม ตลอดจนในการนำ�หลักการนัน้ มาใช้กบั ปัญหาต่างๆ ในสมัยปัจจุบนั ตามเจตนารมณ์ของพระศาสนจักร (สมณกฤษฎีกาว่าด้วยการแพร่ธรรมของฆราวาส ข้อ 6)


เจาะลึกพิเศษ...ทีมงานสารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

เดือนพฤษภาคมนี้จะมีงานฉลองใหญ่โอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปายอห์นที่ 23 และยอห์น ปอล ที่ 2 เป็นนักบุญ ในวันที่ 10 พฤษภาคม และสำ�หรับอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ถือเป็นโอกาสทีด่ ไี ด้จดั ให้มพี ธิ ี บวชพระสงฆ์ใหม่ 2014 ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จำ�นวน 3 องค์ และคณะนักบวช 1 องค์ ทางทีมสารฯ อยากจะแนะนำ�ให้รู้จักกับสังฆานุกรทั้ง 3 คน ว่ามีความตั้งใจ มีกระแสเรียกอย่างไรในการบวชเป็นพระสงฆ์

สังฆานุกร ยอแซฟ ยุทธนา วิทยานุลักษณ์ สัตบุรุษวัดเซนต์จอห์น ลาดพร้าว กรุงเทพฯ

สังฆานุกร สเตเฟน วีรยุทธ เกียรติสกุลชัย

สัตบุรุษวัดแม่พระประจักษ์เมืองลูร์ด บางสะแก กรุงเทพฯ

สังฆานุกร ยอแซฟ ดิษพล รุ่งโรจน์วรวัฒนา สัตบุรุษวัดพระวิสุทธิวงส์ ลำ�ไทร ปทุมธานี

แรงบันดาลใจในการเข้าบ้านเณร ยอแซฟ ยุทธนา วิทยานุลักษณ์ ได้เห็นแบบอย่างความใจดี รักเด็ก ของคุณพ่อท่านหนึ่ง จึงเกิดความ

ประทับใจ บวกกับต้องตอบคำ�ถามของบรรดาผูค้ นทีม่ กั ถามเด็กๆ อย่างผมอยูเ่ สมอว่า “โตขึน้ อยากเป็นอะไร” จึงทำ�ให้ได้คำ�ตอบในใจทันทีว่า อยากเป็น “พระสงฆ์”

สเตเฟน วีรยุทธ เกียรติสกุลชัย บิดา มารดา ปลูกฝังความเชื่อ และพาไปวัดทุกอาทิตย์, จากนั้นก็ได้

เป็นเด็กช่วยมิสซา และอยากถวายมิสซาอย่างพระสงฆ์, พระสงฆ์เจ้าอาวาสเชิญชวนให้เข้าบ้านเณร

ยอแซฟ ดิษพล รุ่งโรจน์วรวัฒนา กระแสเรียกสำ�หรับผม เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยเป็นเด็กช่วยมิสซาที่วัด

ได้เห็นพระสงฆ์ทำ�มิสซา เห็นชุดที่พระสงฆ์สวมใส่มีความสง่างาม สวยงาม เห็นถึงความห่วงใย ความใจดี ความรัก ที่พระสงฆ์มีต่อทุกคน จึงเกิดความชอบ และได้รับแรงผลักดันจากครอบครัว จึงได้มีโอกาสได้เข้า บ้านเณรในที่สุด


เหตุการณ์ที่ประทับใจ ยอแซฟ ยุทธนา วิทยานุลักษณ์ ไม่เคยมีสถาบันใดที่สอนให้เป็น “คนดี” ได้เท่ากับ “บ้านเณร”

ผมมีความรู้สึกรักและกตัญญูต่อบ้านเณร อยากจะตอบแทนบ้านเณรเท่าที่จะสามารถทำ�ได้ เพราะบ้านเณร ได้ขัดเกลา เปลี่ยนแปลงนิสัยของผม จากเด็กที่เห็นแก่ตัว เอาแต่ใจตนเอง ให้กลายมาเป็นคนที่พยายาม จะทำ�เพื่อผู้อื่นก่อนเสมอ เหมือนดังคำ�ที่พระเยซูเจ้าบอกไว้ว่า “เลิกนึกถึงตนเอง แบกกางเขนของตน และ ตามเรามา” (มธ 16:24)

สเตเฟน วีรยุทธ เกียรติสกุลชัย บ้านเณรมีส่วนสำ�คัญในการช่วยหล่อหลอมให้ผมเป็นผมทุกวันนี้

เหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาในชีวิต ตลอดระยะเวลาการเป็นเณรที่อาจจะมีทั้งทุกข์และสุขก็ล้วนเป็นความ ประทับใจและทำ�ให้ผมเองเติบโตขึ้น ผ่านเหตุการณ์เหล่านั้น

ยอแซฟ ดิษพล รุง่ โรจน์วรวัฒนา ส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์ทนี่ า่ จดจำ� นัน่ คือ ทุกคน ทัง้ เพือ่ นและรุน่ พี่

รุ่นน้อง จะให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหลายๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำ�งานอภิบาล หรือ อื่นๆ เราจะรู้สึกว่ามีคนอื่นที่คอยให้กำ�ลังใจและพร้อมจะช่วยเหลือกันอยู่เสมอ

เมื่อได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์แล้ว ตั้งใจอยากทำ�อะไรเป็นลำ�ดับแรก อยากขอบคุณใครบ้าง และอยากจะกล่าวอะไรเป็นพิเศษ ยอแซฟ ยุทธนา วิทยานุลักษณ์ ตั้งใจอยาก “พาคนกลับสวรรค์ผ่านทางงานของสงฆ์” ผมอยาก

ขอบคุณพระเจ้า ขอบคุณพระศาสนจักรไทย ขอบคุณอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ขอบคุณพระสงฆ์และนักบวช หญิงชาย ขอบคุณพี่น้องคริสตชนทุกท่าน ขอบคุณพี่น้องต่างความเชื่อ ขอบคุณที่ร่วมในการเดินทางแห่ง ความเชื่อ (The Journey of Faith) มาด้วยกัน และเราจะพบกันใหม่ในโลกหน้า (สวรรค์) แน่นอน

สเตเฟน วีรยุทธ เกียรติสกุลชัย ตั้งใจจะทำ�หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างดีด้วยความตั้งใจและใส่ใจ

ผมอยากจะขอบคุณพระสำ�หรับพระพรในชีวิตกระแสเรียก ขอบคุณอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ผ่านทางผู้ใหญ่ ที่มีส่วนในการส่งเสริมสนับสนุนตลอดเส้นทางกระแสเรียก ขอบคุณพ่อแม่ญาติพี่น้องที่สนับสนุนส่งเสริม เสมอมา ขอบคุณบ้านเณรทั้งเล็ก กลาง ใหญ่ที่ช่วยอบรมเสริมสร้างกระแสเรียก ขอบคุณเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่ส่งเสริมเสริมสร้างกันและกันในช่วงรับการอบรมในบ้านเณร ขอบคุณพี่น้องสัตบุรุษทุกๆ ท่านที่ไม่อาจ กล่าวนามได้ทงั้ หมด ทีไ่ ด้ชว่ ยส่งเสริมสนับสนุนกระแสเรียกการเป็นพระสงฆ์ไม่วา่ ด้วยทางใดๆ อย่างดีเสมอมา และไม่ลืมที่จะภาวนาเพื่อกันและกันต่อไปเสมอๆ ครับ

ยอแซฟ ดิษพล รุ่งโรจน์วรวัฒนา ตั้งใจอยากขอบคุณพระเจ้าในมิสซาแรก เพื่อขอบคุณทุกคน

ที่สนับสนุนกระแสเรียกเสมอมา หลังจากนั้น ก็วางแผนงาน เพื่อที่จะเดินไปพร้อมกันกับทุกคน ขอบคุณ พระเจ้าสำ�หรับกระแสเรียกอันล้ำ�ค่านี้ ขอบคุณคุณพ่อคุณแม่และครอบครัวที่ปลูกฝังและสนับสนุนมาตลอด ขอบคุณพระสงฆ์และอาจารย์ทุกท่านในบ้านเณรที่ช่วยดูแลและให้ความรู้ ขอบคุณเพื่อนๆ รุ่นพี่และ รุน่ น้องทีใ่ ห้ก�ำ ลังใจและช่วยเหลือกัน และแน่นอนครับ ขอบคุณสัตบุรษุ ทุกท่านทีช่ ว่ ยสวดให้ผมและสนับสนุน ชีวิตกระแสเรียกของผมครับ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ขอคำ�ภาวนาเพื่อกระแสเรียกไม่เพียงแค่พระสงฆ์ใหม่เท่านั้น แต่อยาก จะขอให้ภาวนาเพื่อกระแสเรียกสำ�หรับลูกหลานของเราที่จะมาเป็นพระสงฆ์ นักบวช ให้พวกเขา เหล่านั้นมีกระแสเรียกที่มั่นคง และมากขึ้น


บทความ...ทีมงานวิถชี มุ ชนวัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

เมื่อวันที่ 15-16 มีนาคมที่ผ่านมา เขตการปกครองวัด 6 เขต ของอัคร สังฆมณฑลกรุงเทพฯ ร่วมกับแผนกวิถีชุมชนวัด จัดสัมมนาทีมงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ณ บ้านผูห้ ว่าน มีผแู้ ทนจากวัดต่างๆ เข้าร่วมจำ�นวน กว่า 246 คน วันแรกของการสัมมนา วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม เริม่ ด้วยมิสซาเปิด การสัมมนา โดยคุณพ่อวุฒิเลิศ แห่ล้อม อุปสังฆราช ร่วมกับคุณพ่อชาญชัย ทิวไผ่งาม คุณพ่อบุญเสริม เนื่องพลี คุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ และ คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช พร้อมด้วยซิสเตอร์ และผู้เข้าร่วมสัมมนา จากนั้น คุณพ่อเชษฐา ไชยเดชและทีมงาน “วิถีชุมชนวัด วัดนักบุญเปโตร” แบ่งปัน ถึงกิจกรรมต่างๆ ในงานวิถชี มุ ชนวัดทีว่ ดั นักบุญเปโตร ช่วงบ่ายเป็น “แผนงาน วิถีชุมชนวัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ, ทีมงานอภิบาล, ทีมงานชุมชน คริสตชนย่อย, พิธีแสดงเจตจำ�นง และการอบรมทีมงานอภิบาลใหม่” โดยคุณพ่อชัยยะ กิจสวัสดิ์ และคุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ ต่อจากนั้นผู้เข้าร่วมสัมมนาทำ� Workshop 1 ในหัวข้อ “การปลุกจิตสำ�นึกระดับสังฆมณฑล” จากนั้นช่วงค่ำ� เป็นกิจกรรมสัมพันธ์ โดย คุณพ่อชาญชัย ทิวไผ่งาม วันที่สองของการสัมมนา วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม เริ่มต้นด้วยแบ่งปันพระวาจา โดยจัดผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็น กลุ่มย่อย 15 กลุ่ม หลังจากรับประทานอาหารเช้าแล้ว จึงเริ่มการสัมมนาโดยการทำ� Workshop 2-3 คือ “เราจะปลุกจิตสำ�นึก รับสมัคร และจัดสรรสมาชิกชุมชนคริสตชนย่อยในแต่ละวัดได้อย่างไร” และ “เราจะจัดประชุมครั้งแรกให้แก่ชุมชนคริสตชนย่อยได้อย่างไร” โดย คุณพ่อชัยยะ กิจสวัสดิ์ เป็นผู้นำ�ในการทำ� Workshop ซึ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างมีชีวิตชีวา และ บรรยากาศการแสดงความคิดเห็นเป็นไปอย่างดี ช่วงบ่าย คุณพ่อชัยยะ กิจสวัสดิ์ ได้สรุปผลการสัมมนา ดังนี้

Workshop 1 เราจะเตรียมตัวสำ�หรับการปลุกจิตสำ�นึกระดับสังฆมณฑลในวันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม 2014 ได้อย่างไร

1. ผู้ที่ยังไม่เคยผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้นำ�วิถีชุมชนวัด หรือผู้ที่ต้องการรื้อฟื้นหัวข้อใดก็ตาม ให้สมัครรับการฝึกอบรมได้ที่ บ้านผู้หว่าน หรือที่วัดพระมารดานิจจานุเคราะห์ ระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายน ศกนี้ 2. ผูท้ ผี่ า่ นการฝึกอบรมหลักสูตรผูน้ �ำ วิถชี มุ ชนวัดและสมัครใจเป็นสมาชิกทีมงานอภิบาล ให้ตดิ ต่อขอรับ “หนังสือแสดงเจตจำ�นงเพือ่ อุทิศตนปฏิบัติหน้าที่ทีมงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ” ได้ที่คุณพ่อเจ้าอาวาส พร้อมกับกรอกข้อมูลในหน้าแรก โดยยังไม่ต้อง ลงนาม แล้วยื่นต่อคุณพ่อเจ้าอาวาส ก่อนวันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2014 3. คุณพ่อเจ้าอาวาสจัดให้มีพิธีลงนามสมัครเป็นสมาชิกทีมงานอภิบาลระหว่างมิสซาวันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน (สมโภชปัสกา) หรือ วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน (ฉลองพระเมตตา) 2014 ตามความเหมาะสม 4. คุณพ่อเจ้าอาวาสประชุมร่วมกับทีมงานอภิบาลเพื่อเรียนรู้และทบทวนคู่มือ “หนทางใหม่ในการเป็นวัด” (วิถีชุมชนวัด) - วิถีชุมชนวัดคืออะไร? (คู่มือ AsIPA ข1–ข2); ทำ�ไมต้องมีชุมชนคริสตชนย่อย? (คู่มือ AsIPA ข3, ค6) - การแบ่งปันพระวรสาร 7 ขั้นตอน และความหมายอันลึกซึ้งของแต่ละขั้นตอน(คู่มือ AsIPA ก1–ก5) 5. คุณพ่อและทีมงานอภิบาลช่วยกันประชาสัมพันธ์และเชิญชวนสัตบุรุษร่วมฉลองนักบุญยอห์น ปอลที่ 2 และยอห์นที่ 23 พระสันตะปาปา การบวชพระสงฆ์ในภาคเช้า และการปลุกจิตสำ�นึกในภาคบ่าย ที่สามเณราลัยนักบุญยอแซฟ สามพราน วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม 2014 6. ทีมงานอภิบาลเตรียมป้ายชื่อวัด ใบสมัคร อุปกรณ์เครื่องเขียน และเจ้าหน้าที่สำ�หรับรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมชุมชนคริสตชนย่อย (โดยไม่คำ�นึงว่าผู้สมัครจะอาศัยอยู่บ้านเดียวกันหรือไม่) ที่สามเณราลัยนักบุญยอแซฟ สามพรานและมอบหนังสือคู่มือ “หนทางใหม่ใน การเป็นวัด” ให้แก่ผู้สมัครเมื่อกลับมาที่วัดแล้ว

Workshop 2 เราจะปลุกจิตสำ�นึก รับสมัคร และจัดสรรสมาชิกชุมชนคริสตชนย่อยในแต่ละวัดได้อย่างไร

จากวันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม จนถึงวันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน 2014 คุณพ่อและทีมงานอภิบาลช่วยกันปลุกจิตสำ�นึก ประชาสัมพันธ์ และรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมชุมชนคริสตชนย่อย พร้อมกับแจกหนังสือคู่มือให้แก่ผู้สมัคร ทีมงานอภิบาลทีมละ 2 คนออกเยี่ยมเยียนบ้านของผู้สมัครเข้าร่วมชุมชนคริสตชนย่อย เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้อยู่อาศัยใน ครอบครัว เช่น ที่ตั้ง จำ�นวน วัย ศาสนา ความสนใจ จำ�นวนผู้ที่สามารถร่วมกิจกรรมวิถีชุมชนวัดได้จริงๆ ความสมัครใจในการให้ใช้บ้าน เป็นสถานที่ชุมนุม ฯลฯ วัดใดมีสมาชิกทีมงานอภิบาลไม่เพียงพอ ให้ขอความร่วมมือจากทีมงานอภิบาลของวัดใกล้เคียง โดยคำ�นึงอยู่เสมอว่าทุกคนเป็น ทีมงานอภิบาลของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เดียวกัน ในการจัดสรรผู้สมัครเพื่อจัดตั้งชุมชนคริสตชนย่อย ให้คำ�นึงถึงหลักการโดยเรียงตามลำ�ดับดังนี้ 1. สมาชิกของชุมชนคริสตชนย่อยควรอยู่ในละแวกบ้านเดียวกัน คอนโดมีเนี่ยมเดียวกัน หมู่บ้านเดียวกัน ซอยเดียวกัน หรืออยู่ใน วิสัยที่จะไปมาหากันได้สะดวก โดยไม่คำ�นึงถึงเพศ วัยวุฒิการศึกษา เชื้อชาติ ภาษา อาชีพการงาน ตลอดจนฐานะทางเศรษฐกิจ 4 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 12 ฉบับที่ 4 เดือนเมษายน 2014


2. แต่ละชุมชนคริสตชนย่อยควรประกอบด้วยสมาชิก 5-15 ครอบครัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำ�นวนสมาชิกของแต่ละครอบครัวที่สามารถ เข้าร่วมกิจกรรมวิถีชุมชนวัดได้ และขึ้นกับความสะดวกในการเดินทางมาร่วมกิจกรรมของสมาชิกแต่ละคน หากแต่ละชุมชนมีจำ�นวน สมาชิกมากเกินควรก็จะทำ�ให้ใช้เวลานานในการประชุมแต่ละครัง้ ตรงกันข้าม หากมีจ�ำ นวนน้อยเกินควรก็จะขาดพลังในการเปลีย่ นแปลง ละแวกบ้านของชุมชนให้เป็นพระอาณาจักรของพระเจ้า 3. ผู้สนใจวิถีชุมชนวัดท่านใดไปร่วมพิธีมิสซาที่วัดไหนก็ควรสมัครเข้าชุมชนคริสตชนย่อยของวัดนั้น แต่ถ้าผู้สมัครสนใจจะเข้าสังกัด ชุมชนคริสตชนย่อยในเขตวัดอื่น (โดยเฉพาะครอบครัวที่มีสมาชิกไปวัดต่างกัน) ก็ขอให้ทีมงานอภิบาลของวัดที่รับใบสมัคร ประสานงาน กับทีมงานอภิบาลของวัดที่ผู้สมัครสนใจ เพื่อให้เขาได้เข้าสังกัดตามความตั้งใจ ทั้งนี้ให้ถือเสมือนว่า ในเรื่องที่เกี่ยวกับวิถีชุมชนวัด ทุกวัด ในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็น “วัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ” เดียวกัน 4. คุณพ่อและทีมงานอภิบาลควรเรียกประชุมผู้สมัครเพื่อแจ้งให้ทราบหลักการในการแบ่งกลุ่มและผลการจัดแบ่งกลุ่ม พร้อมทั้งรับ ฟังความคิดเห็นของผู้สมัครก่อนการประกาศรายชื่ออย่างเป็นทางการในวันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน 2014 อนึ่งควรทำ�ความเข้าใจร่วมกัน แต่แรกว่า ชุมชนคริสตชนย่อยอาจรวมหรือแยกตัวออกไปได้เสมอ ทัง้ นีข้ นึ้ อยูก่ บั จำ�นวนสมาชิกของแต่ละชุมชน อันเป็นผลมาจากจำ�นวน ครอบครัวหรือจำ�นวนสมาชิกในแต่ละครอบครัว เพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้

Workshop 3 เราจะจัดประชุมครั้งแรกให้แก่ชุมชนคริสตชนย่อยได้อย่างไร

1. ทีมงานอภิบาลจัดแบ่งทีมๆ ละอย่างน้อย 2 คน ตามจำ�นวนของชุมชนคริสตชนย่อย และมอบหมายหน้าที่ให้แก่แต่ละทีม 2. ในวันอาทิตย์ที่ 8 หรือหลังวันที่ 8 มิถนุ ายน 2014 แต่ละทีมเชิญสมาชิกของแต่ละชุมชนมาประชุมร่วมกันทีว่ ดั เพือ่ ทำ�ความรูจ้ กั กัน รู้จักบ้าน พร้อมกับกำ�หนดวัน เวลา และบ้านที่จะใช้เป็นสถานที่ประชุมครั้งแรก อีกทั้งดูแลและจัดการให้แต่ละคนมีหนังสือพระวรสาร และบัตร 7 ขั้นตอนเป็นของตนเอง และมีหนังสือคู่มือหนทางใหม่ในการเป็นวัด (วิถีชุมชนวัด) อย่างน้อยครอบครัวละ 1 เล่ม 3. ในการประชุมครั้งแรก ควรเปิดโอกาสให้สมาชิกแต่ละคนแนะนำ�ตนเองร่วมกันกำ�หนดวันและเวลาที่จะชุมนุมร่วมกันทุกสัปดาห์ (ถ้านานกว่านี้ก็ยากที่จะเปลี่ยนวิถีดำ�เนินชีวิตได้) โดยหมุนเวียนไปตามบ้านต่างๆ หากมีเหตุผลจำ�เป็นที่ทำ�ให้ต้องหมุนเวียนอยู่เพียง บางบ้าน ก็ขอให้เป็นความเห็นชอบร่วมกันของสมาชิกชุมชนคริสตชนย่อยทุกคน หาไม่แล้วความรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และต้องมีส่วนร่วมกับชุมชนก็จะลดน้อยจางหายไป และหากไม่มีบ้านใดพร้อมจะให้ใช้เป็นสถานที่ชุมนุมเลย ก็ให้ขออนุญาตคุณพ่อ เจ้าอาวาสใช้วัดเป็นสถานที่ชุมนุม แต่ต้องระลึกอยู่เสมอว่ากิจกรรมที่ออกมาจากความเชื่อและความรัก (love in action) จำ�เป็นต้องลงสู่ ละแวกบ้านเสมอ ไม่ว่าสมาชิกส่วนใหญ่ของละแวกบ้านนั้นจะนับถือศาสนาใดก็ตาม 4. ทีมงานดำ�เนินการในการประชุมครั้งต่อๆ ไป ดังนี้ - อธิบายแนวความคิดเกีย่ วกับชุมชนคริสตชนย่อย (วิถชี มุ ชนวัด) ว่าคืออะไร สำ�คัญและจำ�เป็นอย่างไร มีผลดีตอ่ ชีวติ ของเราอย่างไร - แนะนำ�การแบ่งปันพระวรสาร 7 ขั้นตอน และฝึกปฏิบัติทีละขั้นทีละตอน ที่สำ�คัญ ต้องอธิบายความหมายอันลึกซึ้งของแต่ละ ขั้นตอน และมุ่งมั่นให้สมาชิกบรรลุถึงความหมายอันลึกซึ้งของแต่ละขั้นตอนให้ได้ มิใช่สักแต่ทำ�ให้เสร็จทั้ง 7 ขั้นตอน - เมื่อผ่านขั้นตอนข้างต้นแล้ว ให้สมาชิกร่วมกันเลือกงานที่คิดว่าสำ�คัญที่สุดที่ควรจะทำ�ในฐานะที่เป็นชุมชนคริสตชนย่อยสัก 2-3 อย่าง และให้สรรหาผู้รับผิดชอบเป็นคู่ ๆ สำ�หรับงานแต่ละอย่าง (อาจใช้วิธีเลือกตั้ง แต่งตั้ง หรืออาสาสมัครก็ได้) ที่สำ�คัญต้องให้ สมาชิกชุมชนคริสตชนย่อยทุกคนรู้สึกว่า นี่เป็นงานและหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันของพวกเขา และผู้ที่รับงานไปทำ� ก็ทำ�และรับผิดชอบใน นามของทั้งชุมชนให้สับเปลี่ยนหมุนเวียนสมาชิกท่านอื่นมารับผิดชอบงานแต่ละอย่างทุกๆ 3 เดือน ให้เรียกผู้รับผิดชอบงานแต่ละอย่าง เหล่านี้ว่า “ผู้นำ�งาน....” (เช่น ผู้นำ�งานแบ่งปันพระวาจา งานเยี่ยมเพื่อนบ้าน งานด้านสุขภาพ ฯลฯ)” อนึ่ง งานที่ชุมชนคิดว่าสำ�คัญ ที่สุดนั้น อาจเพิ่มขึ้น ลดลง หรือเปลี่ยนแปลงได้เสมอตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำ�วัน 5. คุณพ่อและทีมงานอภิบาลจัดฝึกอบรมให้แก่ “ผู้นำ�งาน” ที่เกิดขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยใช้คู่มือAsIPA (หนังสือ “หนทางใหม่ ในการเป็นวัด”) หรืออาจเชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องมาให้การอบรมก็ได้ 6. เมื่อเวลาผ่านไปสักหนึ่งปี สมาชิกในชุมชนคริสตชนย่อยก็จะเห็นเองว่าผู้ใดเหมาะสมที่จะเป็นผู้นำ� รองผู้นำ� ผู้ประสานสัมพันธ์ และผู้แทนเยาวชน ซึ่งทั้ง 4 คนนี้จะรวมตัวกันเป็นทีมผู้นำ�ชุมชนคริสตชนย่อย และอยู่ในตำ�แหน่งวาระละ 2 ปี จากนั้นเป็นมิสซาปิดการสัมมนา โดยคุณพ่อเชษฐา ไชยเดช และนำ�รักสู่บ้านและชุมชน ขณะนี้เรากำ�ลังอยู่ในข้อ 1 ของ Workshop ที่ 1 คือ การฝึกอบรมหลักสูตรผู้นำ�วิถีชุมชนวัดต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ โดยขณะที่เขียน บทความนี้ เราจัดได้ 2 ครั้งแล้ว คือ ในวันที่ 22 และ 29 มีนาคม สำ�หรับสถานที่จัดแบ่งเป็น 2 ที่คือ ที่วัดพระมารดานิจานุเคราะห์ โดย มีคุณพ่อชัยยะ กิจสวัสดิ์ คุณพ่อสมหมาย มธุรสสุวรรณ ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา ซิสเตอร์บังอร มธุรสสุวรรณ ครูปัญจมากรณ์ และ ทีมฆราวาสจากเขต 2 เป็นผู้นำ�ในการฝึกอบรม โดยมีทีมอภิบาลจากวัดต่างๆ เข้าร่วมครั้งละกว่า 90 คน และอีกที่หนึ่งคือ ที่บ้านผู้หว่าน โดยมีคุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช คุณสมใจ พนาภาส คุณวาภรณ์ นพคุณทอง และทีมงานวิถีชุมชนวัดจาก วัดนักบุญเปโตร มาเป็นวิทยากร ซึ่งมีทีมอภิบาลจากวัดต่างๆ เข้าร่วมครั้งละกว่า 30 คน ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนทำ�ให้งานวิถีชุมชนวัดก้าวเดินไปได้อย่างดี และขอพี่น้องช่วยกันภาวนาวอนขอพระเจ้าเพื่องาน ของพระองค์ชิ้นนี้จะได้บังเกิดผลและก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ตามพระประสงค์ของพระองค์ สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 12 ฉบับที่ 4 เดือนเมษายน 2014 5


บอกข่าวเล่าสาร

แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ

ครบรอบปีที่ 1 ในสมณสมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส

วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม 2014 เวลา 17.30 น. สภาพระสังฆราชแห่งประเทศไทยร่วมกับสถานทูตวาติกันประจำ�ประเทศไทย ได้จัด พิธีบูชาขอบพระคุณ โอกาสครบรอบ 1 ปี แห่งสมณสมัยของพระสันตะปาปา ฟรังซิส ณ วัดเซนต์หลุยส์ โดย พระอัครสังฆราช หลุยส์ จำ�เนียร สันติสุขนิรันดร์ พร้อมด้วย พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู พระอัครสังฆราช พอล ชาง อิน-นัม พระอัครสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พระสังฆราช ซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี บรรดาพระสังฆราช และพระสงฆ์และสัตบุรุษจำ�นวนมาก ปิ ด การอบรมเทววิ ท ยาการอภิ บ าล วิถีชุมชนวัด 2014 สำ�นักนโยบาย สภาพระสังฆราชฯ โดยมี ภราดาทินรัตน์ คมกฤส ผู้อำ�นวยการ ร่ ว มกั บ ที ม งานศู น ย์ ป ระสานงานส่ ง เสริ ม วิถีชุมชนวัด ได้ร่วมมือกับสถาบัน Pallottine Animation Center, Nagpur, India โดยมี คุณพ่อโทมัส วีเจย์ (Fr.Thomas Vijay) ชาวอินเดีย เป็นผู้อำ�นวยการหลักสูตรอบรม “Pastoral Theological Course on SCCs” ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2011 เป็นรุ่นแรก มีจำ�นวนผู้เข้าร่วม 29 คน รุ่นที่ 2 ปี 2012 จำ�นวน 33 คน และปีนี้รุ่นที่ 3 เมื่อวันที่ 24 มกราคม – 22 กุมภาพันธ์ 2014 ณ บ้านผู้หว่าน ปีนี้เป็นครั้งแรกที่รับฆราวาสเข้าร่วมด้วย มีผู้เข้ารับการอบรม 28 คน คือ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 3 ท่าน พิธีปิดคอร์สการอบรมฯ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2014 มีพิธีบูชาขอบพระคุณและมอบวุฒิบัตรให้กับผู้เข้า รับการอบรมฯ โดยพระสังฆราชปัญญา กฤษเจริญ เป็นประธานในพิธีฯ ร่วมกับคุณพ่อโทมัส วีเจย์ (Fr.Thomas Vijay)

พิธีปลงศพ เซอร์มาร์การิต แห่งพระหฤทัย วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม 2014 ทางคณะคาร์เมไลท์ ได้จัดพิธีปลงศพ เซอร์มาร์การิต แห่งพระหฤทัย เพื่อเป็นการไว้อาลัยและส่งมาเซอร์สู่อ้อมอก พระเป็นเจ้า ซึ่งวันนี้ พระสังฆราช ยอแซฟ พิบูลย์ วิสิฐนนทชัย พระสังฆราชแห่งสังฆมณฑลนครสวรรค์ เป็นประธานในพิธี เวลา 09.30 น. พร้อมด้วย คุณพ่อปรีชา ยั่งยืน คุณพ่อทรงวุฒิ ประทีปสุขจิต และพระสงฆ์จำ�นวนมาก

สัมมนาทีมงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ วันที่ 15-16 มีนาคม 2014 เขตการปกครองวัด 6 เขต ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ร่วมกับแผนกวิถีชุมชนวัด ร่วมจัดสัมมนาทีมงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ณ บ้านผูห้ ว่าน มีผแู้ ทนจากวัดต่างๆ เข้าร่วมจำ�นวนกว่า 246 คน โดยมีเนือ้ หาคือ การแบ่งปันประสบการณ์ของวัดทีม่ ชี มุ ชนคริสตชน ย่อยแล้ว ว่ามีแนวทางการดำ�เนินการ และมีกิจกรรมอย่างไร แผนงานวิถีชุมชนวัด ทีมงานอภิบาล ทีมงานชุมชนคริสตชนย่อย พิธีแสดงเจตจำ�นง ฯลฯ 6 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 12 ฉบับที่ 4 เดือนเมษายน 2014


พิธีเลือกสรรผู้เตรียมตัวเป็นคริสตชน อาสนวิหารอัสสัมชัญ

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม 2014 ที่ผ่านมา ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก บรรดาผู้กลับใจ เชื่อในพระเยซูเจ้า 22 ท่าน หลังจากที่ได้เรียน คำ � สอนซึ่ ง จั ด สอนโดยศู น ย์ ค ริ ส ตศาสนธรรม กรุงเทพฯ นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี 2013 จนถึงปัจจุบันได้สมัครขอเข้ารับพิธีเลือกสรรเป็น คริสตชน ในพิธดี งั กล่าวทางศูนย์คริสตศาสนธรรม กรุ ง เทพฯ ผู้ จั ด งานได้ รั บ เกี ย รติ จ ากคุ ณ พ่ อ อนุชา ไชยเดช เป็นประธานในพิธรี วมทัง้ คุณพ่อ พรชั ย แก้ ว แหวน และคุ ณ พ่ อ สมเกี ย รติ บุญอนันตบุตร ร่วมประกอบพิธีดังกล่าวด้วย

สัมมนาฟื้นฟูชีวิตครอบครัว ขั้นที่ 1 (ฟฟ.1) รุ่นที่ 145 แผนกครอบครัว อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จัดสัมมนาฟื้นฟูชีวิตครอบครัว ขั้นที่ 1 (ฟฟ.1) รุ่นที่ 145 เมื่อวันที่ 14-16 มีนาคม 2014 ที่บ้านสวนยอแซฟ สามพราน มีคู่สามี-ภรรยาเข้าสัมมนาฯ ทั้งสิ้น 7 คู่ (คาทอลิก 1 คู่, ต่างถือ 1 คู่ และพุทธ 5 คู่) โดย คูท่ เี่ ป็นคาทอลิก มาจากเขต 5 บ้านเณรเล็กยอแซฟ, ต่างถือ จากเขต 5 บ้านเณรเล็กยอแซฟ และพุทธ จากเขต 1 มี 4 คู่ (บ.ยูนิคฯ 2 คู่, กับร.ร.เซนต์โยแซฟคอนแวนต์ 2 คู่) และอีก 1 คู่ จากเขต 5 บ้านเณรเล็กยอแซฟ พิธีเลือกสรรผู้สมัครเป็นคริสตชน วัดนักบุญเปโตร สามพราน เมื่อวันอาทิตย์ท่ี 9 มีนาคม 2014 คุณพ่อสำ�รวย กิจสำ�เร็จ เจ้าอาวาสวัดนักบุญเปโตรจัดพิธีเลือกสรร ผูส้ มัครเป็นคริสตชน ซึง่ มีจ�ำ นวน 8 ท่าน ในมิสซาเวลา 09.30 น. โดยมี คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช เป็นประธานในพิธี หลังบทเทศน์ คุณพ่อคมสันท์ ยันต์เจริญ ผูร้ บั ผิดชอบ การสอนคำ�สอน ได้เรียกชือ่ ผูเ้ ตรียมเป็นคริสตชนทุกคน และแต่ละคนพร้อมพ่อแม่อุปถัมภ์ ให้เดินไปอยู่ท่หี น้า พระแท่น พิธใี นวันนีพ้ อ่ แม่อปุ ถัมภ์ ได้ให้การรับรองว่า ผูส้ มัครเป็นคริสตชนเหล่านี้ ได้เอาใจใส่มาเรียนคำ�สอน และการฟังพระวาจาของพระเจ้าอย่างสม่�ำ เสมอ ผูส้ มัคร ได้เลือกชือ่ นักบุญของตน จากนัน้ คุณพ่อผูป้ ระกอบพิธี เสกไม้กางเขนและมอบให้กบั ผูส้ มัครฯ ทุกคน

ประชุมคณะกรรมการเยาวชน อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2014 เวลา 10.30 น. แผนกเยาวชนอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จัดประชุมคณะกรรมการเยาวชน เพื่อจัดเตรียมงาน โครงการค่ายปัสกาสัมผัสชีวิต 2014 ที่ กำ�ลังจะจัดขึ้นในวันที่ 28-30 มีนาคม มีเยาวชนเข้าร่วมประชุมครั้งนี้จำ�นวน 20 คน ณ ห้อง ประชุมชั้น 2 อาคารคาทอลิกแพร่ธรรม

ปฏิทินกิจกรรม เดือนเมษายน 2014 5 เม.ย. แผนกวิถีชุมชนวัดอบรมพื้นฐาน ต่อเนื่อง ครั้งที่ 3 บ้านผู้หว่าน วัดพระมารดานิจจานุเคราะห์ 7-11 เม.ย. สัมมนาพระสงฆ์อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ประจำ�ปี 2014 12 เม.ย. แผนกวิถีชุมชนวัดอบรมพื้นฐาน ต่อเนื่อง ครั้งที่ 4 บ้านผู้หว่าน วัดพระมารดานิจจานุเคราะห์ 17 เม.ย. พิธีเสกน้ำ�มันศักดิ์สิทธิ์ วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ เวลา 09.30 น. 18 เม.ย. มรรคาศักดิ์สิทธิ์ และพิธีเคารพกางเขน วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ อาสนวิหารอัสสัมชัญ เวลา 14.00 น. 19 เม.ย. แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ พิธีเอฟฟาธาและเจิมน้ำ�มันศีลล้างบาป ห้องประชุมโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา 19 เม.ย. อนุกรรมการแผนกส่งเสริมชีวิตครอบครัวจัดเตรียมงานฉลอง 25 ปีของงานฟฟ.1 จัดประชุมติดตามงาน ที่บ้านคุณทำ�นอง-วราภรณ์ สามพราน นครปฐม เวลา 10.00 น. 20 หรือ 27 เม.ย. พิธีลงนามสมัครเป็นสมาชิก ทีมอภิบาลของวัดต่างๆ ในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 26 เม.ย. พิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสหิรัญสมโภช สุวรรณสมโภช การปฏิญาณตนในชีวิตนักบวช คณะภคินีพระหฤทัยพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ เวลา 10.00 น. สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 12 ฉบับที่ 4 เดือนเมษายน 2014 7


สวัสดีพี่น้องที่รัก

เดือนเมษายนเป็นเดือนที่เราคริสตชน จะได้ฉลองปัสกา เหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด สำ�หรับเราคริสตชน พระเยซูเจ้าบังเกิดมา เทศนาสั่ ง สอน ประกาศพระอาณาจั ก ร พระเจ้า สิน้ พระชนม์ และกลับคืนชีพ ก่อนถึง วั น สมโภชเรามี เวลาเตรี ย มตั ว ในเทศกาล มหาพรต และสัปดาห์ศกั ดิส์ ทิ ธิ์ พระศาสนจักร ตระเตรียมสิง่ ต่างๆ เพือ่ เราจะได้ตระหนักถึง ความสำ�คัญในการสมโภชปัสกานี้ การไถ่บาปของพระเยซูเจ้า การสิ้น พระชนม์ การกลับคืนชีพของพระองค์ มีผล กับชีวิตเรา แม้เหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้น มาประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว นี่ไม่ใช่เป็น เรื่องโบราณ เป็นแค่ตำ�นาน หรือเหตุการณ์ หนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ผู้เรียนรู้จะรู้สึกชื่นชม เท่านั้น ในพิธีบูชามิสซาเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นจริงซ้ำ�แล้วซ้ำ�อีก พระเยซูยัง คงถวายองค์แด่พระบิดา กิจการไถ่บาปยังคง ดำ�เนินต่อมาไม่ได้ขาด ทุกวันนี้การไถ่กู้ของพระเยซูยังดำ�เนิน อยู่ พระองค์ยังทรงรักษาคนเจ็บไข้ได้ป่วย ทรงขับไล่ปีศาจ ทรงทวีขนมปัง ทรงให้ความ หวังแก่คนที่สิ้นหวัง ตรัสสอน แม้แต่ปลุกคน ที่ตายแล้วให้ฟื้น ฯลฯ พี่น้องที่รัก การฉลองปัสกาสำ�หรับเรา เป็นความยินดีเพราะแผนการณ์ไถ่กขู้ องพระ เกิดผลแล้ว และดำ�รงอยู่ โดยมีเราแต่ละคน เป็นผู้สานต่อสิ่งดีๆ การไถ่กู้ที่พระองค์ทรง เริ่มไว้แล้ว รอบตัวเรามีใครบ้างหรือเปล่า ที่ต้องการความช่วยเหลือจากพระเยซู ไม่ว่า เขาจะเป็นใครก็ตาม ฉันจะเป็นผู้นำ�พระพร จากการไถ่กขู้ องพระเยซูทฉี่ นั รักไปสูเ่ ขา การ ฉลองปัสกาจึงมีความสุขมากจริงๆ พระเจ้า ไม่เพียงไถ่เรา แต่เรียกเราให้ร่วมงานไถ่กู้กับ พระองค์ด้วย ขอบคุณพระเจ้าจริงๆ ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องเสมอ

เกร็ดความรูค้ �ำ สอน...คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม วันพฤหัสฯศักดิ์สิทธิ์ : อาหารค่ำ�มื้อสุดท้าย วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์หลังพิธีล้างเท้า พระเยซูทรงตั้ง ศีลมหาสนิทและศีลบวชในงานเลี้ยงปัสกา เป็นการตั้ง พั น ธสั ญ ญาใหม่ พ ระองค์ ท รงมอบตนเป็ น เครื่ อ งบู ช า ถวายแด่พระบิดาตรัสว่า “ถ้วยนี้เป็นพันธสัญญาใหม่ ในโลหิตของเราที่หลั่งเพื่อท่านทั้งหลาย” (ลก 22:20) พระเยซูเจ้าทรงมอบองค์ให้กับเรา อย่างสิ้นเชิง ดังที่ตรัสว่า “จงรับไปกินเถิด นี่เป็นกายของเรา...นี่เป็นโลหิตของเรา” (เทียบ มธ 26:26-28) ความรักของพระองค์ยังให้มากกว่านี้อีก วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ : พระเยซูเจ้าทรงถูกพิพากษาและตัดสินลงโทษ คายาฟาส มหาปุโรหิตชาวยิวพิพากษาลงโทษพระเยซูเจ้าถึงตาย เพราะพระองค์ทรง ยอมรับว่าเป็นบุตรพระเจ้าเสมอด้วยพระบิดาและเป็นพระคริสต์ผู้ไถ่บาปมนุษยชาติ (เทียบ มธ 26:63-64) ปีลาต ข้าหลวงชาวโรมันลงโทษพระเยซูเจ้าถึงตายเพราะพระองค์ทรงยอมรับว่าเป็น กษัตริย์ แต่อาณาจักรของพระองค์ไม่ได้อยู่บนโลกนี้ (ยน 18:33-37) เฮโรด กษัตริย์ที่ปกครองแคว้นยูเดียอันเป็นอาณาจักรเล็กๆ ลงโทษพระเยซูเจ้าถึงตาย เพราะพระองค์ทรงไม่ยอมตามใจเขา (ลก 23:6-12) ความกระวนกระวายใจทุกชนิดความ เย่อหยิ่งในทุกลักษณะร่วมกันตัดสินพระเยซูเจ้าพระผู้ไถ่ที่แท้จริง ผู้มีใจสุภาพและนบนอบต่อ พระบิดาให้ถึงแก่ความตาย พระเยซูเจ้าผู้บริสุทธิ์ถูกตัดสินลงโทษถึงตายโดยถูกตรึงบนไม้กางเขนอย่างกับทาสทุจริต พระองค์ทรงรับความทรมานทุกชนิดของมนุษยชาติเช่นเดียวกับสภาพของผู้ถูกโลก ดูหมิ่นเหยียดหยาม พระองค์ทรงรับการสบประมาท ฉลองพระองค์ถูกกระชากฉีกขาดเช่นเดียวกับสภาพของ ผู้ที่ทนทุกข์ทรมานในโลก พระองค์ทรงรับการถูกเฆี่ยนโบยตี เช่นเดียวกับสภาพของผู้ที่ถูกต้องขัง พระองค์ทรงถูกจองจำ� เช่นเดียวกับสภาพของผู้ที่ถูกกดขี่ข่มเหง พระองค์ทรงรับการเยาะเย้ยถากถาง พระเศียรถูกสวมครอบด้วยมงกุฎหนาม พระองค์ทรงรับความทุกข์ทรมานนานาประการ และถวายความทุกข์แด่พระบิดา เพื่อ เป็นการชดเชยความขลาดกลัวและการใช้เสรีภาพแบบผิดๆ ของมนุษย์ ชดเชยบาปที่เกิดจาก ความจองหองและบาปทุกชนิดของมนุษย์ พระองค์ทรงถวายความทุกข์ทรมานต่างๆ ของมนุษย์รว่ มกับของพระองค์แด่พระบิดา เพือ่ พระเจ้าจะได้ทรงทำ�ลายบาปอันเป็นต้นกำ�เนิดของความทุกข์ทรมานต่างๆ และความตาย สมโภชปัสกา : พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย ตามที่พระองค์ได้ทรงสัญญาไว้ พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตายใน วันที่สามซึ่งเป็นวันอาทิตย์ปัสกา ในเช้าวันปัสกาพวกผู้หญิงใจศรัทธาเปโตรและสานุศิษย์คนที่พระเยซูเจ้าทรงรักได้เห็น อุโมงค์ฝังศพว่างเปล่า (เทียบ ยน 20:1-10) ถึงจะมีทหารยามเฝ้าอยู่ และได้มีการปิดผนึกทาง เข้าอุโมงค์เมื่อวันก่อน บัดนี้หินได้ถูกกลิ้งออกจากปากอุโมงค์ ผ้าป่านถูกวางอยู่แต่ไม่มีพระศพข้างใน ตลอดเวลา 40 วันหลังจากนั้นพระเยซูทรงแสดงพระองค์แก่อัครสาวกและพิสูจน์ด้วย วิธกี ารต่างๆ ว่าทรงพระชนม์อยู่ (กจ 1:3) ทรงปรากฏพระวรกายโดยมิตอ้ งอาศัยทางเข้าจะเป็น ประตูหรือหน้าต่างก็ดสี ามารถรับประทานอาหารตรัสสนทนาหรือสัมผัสแตะต้องหรือให้ผอู้ น่ื จับ สัมผัสพระองค์ ทรงปรากฏองค์ในทีต่ า่ งๆ ในเวลาเดียวกันบนหนทางสูเ่ อมมาอูสทรงแสดงองค์ ให้สานุศษิ ย์สองคนเห็นทรงอธิบายสิง่ ต่างๆ จนกระทัง่ พวกเขาเข้าใจจากนัน้ ก็ทรงปรากฏองค์ใน งานเลีย้ งศีลมหาสนิท (เทียบ ลก 24:13-35) หลังจากนัน้ ทรงแสดงองค์แก่พน่ี อ้ งมากกว่าห้าร้อย คนในคราวเดียว (1 คร 15:6) พระเยซูเจ้าทรงกลับเป็นขึน้ มาตามทีไ่ ด้ทรงสัญญา นีเ่ ป็นหมาย สำ�คัญว่าถึงความตายจะได้เหยียบย่างมาบนโลกบัดนีม้ นุษย์ทกุ คนจะได้รบั ชีวติ นิรนั ดร์กลับคืน มาอีกครัง้ ในวาระสุดท้ายของโลกเพราะมนุษย์อกี ผูห้ นึง่ ได้นบนอบต่อพระเจ้า

สุ ข สั น ต์ วั น ปั ส ก า สำ � ห รั บ พี่ น้ อ ง ที่ รั ก ทุ ก ท่ า น วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมและข่าวต่างๆ ในระดับวัด เขตและสังฆมณฑล ให้กับสัตบุรุษและบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 2. เพื่อช่วยฟื้นฟูบทบาทการเป็นผู้มีส่วนร่วมในงานอภิบาลและธรรมทูตในชีวิตของสัตบุรุษ และบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑล 3. เพื่อนำ�เสนอเครื่องมือ และแนวปฏิบัติในงานอภิบาลและธรรมทูตให้กับสัตบุรุษและบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑล สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ผู้รับผิดชอบ : ฝ่ายงานอภิบาลของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ที่ปรึกษา : คุณพ่อพงศ์เทพ ประมวลพร้อม, คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม บรรณาธิการ : คุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ กองบรรณาธิการ : นาทลดา ทองตีบ, พฤกษา กิจเจริญ, มัลลิกา กิจบำ�รุง, เพชรี ชาวแพรกน้อย พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ บางรัก กรุงเทพฯ โทร. 0 2233 0523 โทรสาร. 0 2235 1405 สำ�นักงาน : อาคารคาทอลิกแพร่ธรรม 57 ซอยเจริญกรุง 40 เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. 0 2237 7315 โทรสาร. 0 2233 8159 E-mail : webmaster@catholic.or.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.