ปีท่ี 11 ฉบับที่ 8 ประจำ�เดือนสิงหาคม 2013
http://www.catholic.or.th/sarnbkk/
จิตภาวนา วิถชี มุ ชนวัด...
2
น.
4
เป็นวิธกี าร ทีท่ รงพลัง น.
แต่งงานกับ คูส่ มรสทีไ่ ม่ใช่ คาทอลิก น.
8
มุมมองใหม่เกี่ยวกับแม่พระสำ�หรับสังคมโลกยุคปัจจุบัน นอกเหนือจาก ข้อความเชือ่ ประการต่างๆ ทีพ่ ระศาสนจักรได้ประกาศยืนยันเกีย่ วกับพระนาง แล้วก็คือ คุณสมบัติและคุณธรรมความดีต่างๆ ที่เป็นของแม่พระเอง และ ที่แม่พระมีร่วมกับพวกเรา ลูกๆ ของพระนาง จึงทำ�ให้เรารู้สึกใกล้ชิดและ สามารถก้าวติดตามแบบอย่างของพระนาง และเข้ามีส่วนร่วมในงานกอบกู้ มนุษยชาติให้รอดพ้นขององค์พระบุตรได้ดียิ่งขึ้น แม่พระเป็นภรรยา แม่พระ เป็นแม่บ้าน เป็นแม่ของลูก เป็นเพื่อนบ้าน เป็นแม่หม้าย และในคุณลักษณะ เหล่านี้ แม่พระก็ได้เจริญชีวิตอย่างมีคุณธรรม สอดคล้องตาม ความเชื่อ เป็นไปตามพระประสงค์ของพระเจ้าอย่างสมบูรณ์แบบ วาทะพระอัครสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พระอัครสังฆราชอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ บทเทศน์ฉลองวัดคอนเซ็ปชัญ วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม 2011
บทความ...ผงศิลา
พี่น้องที่รัก เอกสารฟื้นฟูชุมชนศิษย์พระคริสต์สำ�หรับเดือนสิงหาคม เราจะร่วมกันไตร่ตรองเรื่อง “ศาสนสัมพันธ์ การเสวนา ด้วยชีวิต” โดยมีเป้าหมายเพื่อ “คริสตชนคาทอลิกผู้มีความเชื่อ เป็นประจักษ์พยานด้วยชีวิต ในการติดต่อเสวนากับศาสนิก ศาสนาอื่นๆ รัก ให้เกียรติรับฟัง และแบ่งปันแก่กันและกัน ด้วยจิตใจที่สุภาพอ่อนโยนของพระคริสตเจ้า” เอกสารนีเ้ ริม่ ต้นด้วยการมองชีวติ ปัจจุบนั (Look) กล่าวถึงสมบุญ คริสตชนใจศรัทธา ทีป่ ระกอบศาสนกิจมาวัดร่วมมิสซาวันอาทิตย์ อย่างสม่ำ�เสมอ แต่เขาไม่ค่อยให้ความสนใจแก่เพื่อนร่วมงานที่นับถือศาสนาอื่น เขารู้จักบุคคลเหล่านั้นอย่างผิวเผิน ต่อจากนั้นเป็น คำ�ถามให้เราไตร่ตรองว่า “ท่านรูส้ กึ อย่างไรกับเรือ่ งราวชีวติ ของสมบุญข้างต้นนี?้ ท่านคิดว่าการรูว้ า่ ผูค้ นรอบข้างเขานับถือศาสนา อะไรเท่านั้นเพียงพอหรือไม่? เพราะเหตุใด?” และ “มีอะไรที่สมบุญน่าจะทำ�มากกว่านี้?” พระวาจาของพระเจ้า (Listen) กล่าวถึงบทบัญญัติเอกของพระเยซูเจ้า (มก.12:28-34) คือ “ท่านจะต้องรักองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่านสุดจิตใจ สุดวิญญาณ สุดสติปัญญาและสุดกำ�ลังของท่าน และท่านจะต้องรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง” พร้อมทัง้ คำ�ถามในการไตร่ตรองจากพระวาจาทีไ่ ด้ฟงั ว่า “คำ� วลี หรือประโยคใดจากพระวรสารนักบุญมาระโก ทีท่ า่ นได้ฟงั นีส้ ะกิดใจ ท่านมากที่สุด เพราะเหตุใด? คำ�ตอบของพระเยซูเจ้า มีความหมายอะไรกับท่านบ้าง?” และ “พระวาจานี้ให้ข้อคิดอะไร? เพื่อการดำ�เนินชีวิตท่ามกลางพี่น้องต่างความเชื่อบ้าง?” การดำ�เนินชีวิตศิษย์พระเยซู (Love) เป็นการเชิญชวนให้นำ�พระวาจาพระเจ้าไปปฏิบัติ “ในฐานะที่เป็นศิษย์ติดตามพระเยซู คริสตเจ้า ที่มีชีวิตประจำ�วันอยู่กับพี่น้องต่างความเชื่อ ท่านสามารถจะทำ�การติดต่อเสวนาด้วยชีวิตกับเขาเหล่านั้น...ท่านทำ�ให้ พระวาจานั้นเป็นจริงในปัจจุบันได้...” นอกจากนี้ ในบทเสริมยังได้กล่าวถึงการทำ�ศาสนสัมพันธ์ ดังนี้ 1. ความรักเพื่อนมนุษย์ครอบคลุมไปยังคนทั้งหลายของทุกศาสนา และข้อเรียกร้องพื้นฐานแรกก่อนความรักก็คือการมีความ เคารพให้เกียรติผู้อื่น 2. คุณลักษณะของการเสวนามีดังนี้ : ประการแรกสุดคือ ความชัดเจน การเสวนาควรจะต้องมีความเข้าใจได้ชัดเจน คุณลักษณะ ประการที่สองของการเสวนา คือ ความอ่อนโยนอันเป็นคุณธรรมที่พระคริสตเจ้าทรงเรียกร้องให้เราเลียนแบบจากพระองค์ “จงมาเป็น ศิษย์ของเรา เพราะเรามีใจสุภาพอ่อนโยนและถ่อมตน” (มธ 11:29) 3. รูปแบบขั้นตอนพื้นฐานของการเสวนาไม่ใช่การอภิปรายหรือการถกเถียงกัน รูปแบบหนึ่งที่มีผู้ที่ทำ�งานศาสนสัมพันธ์ท่านหนึ่ง เสนอไว้ คือ ยอมรับ อยู่ด้วย ช่วยกันทำ�งาน และสานสัมพันธ์ลึกซึ้ง
เจาะลึกพิเศษ
สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ฉบับนี้ยังคงนำ�เสนอเรื่องราวของจิตภาวนาแบบคริสต์ ซึ่งสำ�หรับท่านที่ติดตามอ่าน 2-3 ฉบับ ที่แล้วเราได้นำ�เสนอจิตภาวนา 7 ระดับของนักบุญเทรซาแห่งอวิลลา, ภาวนาด้วยใจสู่พระหฤทัยพระเยซู และการนั่งสมาธิแบบ คริสต์ ฉบับนี้เป็นการทำ�จิตภาวนาได้ด้วยตัวเองซึ่งเขียนจากประสบการณ์ฝึกปฏิบัติของคุณอำ�นวยพร สิริวรนาค และได้รับการ ปรับปรุงแก้ไขโดยคุณพ่อสมชัย พิทยาพงศ์พรติดตามอ่านได้เลยค่ะ สภาพสังคมในปัจจุบัน “คริสตชนทุกวันนี้มุ่งมาดปรารถนาที่จะเรียนรู้วิธีการภาวนาเพื่อที่จะทำ �ให้เกิดประสบการณ์การ ภาวนาอย่างลึกซึ้งและแท้จริง ทั้งๆ ที่มีอุปสรรคมิใช่น้อยจากวัฒนธรรมสมัยใหม่ ซึ่งในช่วงหลังนี้ ไม่เปิดโอกาสให้พบความเงียบ สงบและการรำ�พึงภาวนาได้ง่ายนัก” จิตภาวนา คือการยกจิตขึ้นหาพระเจ้า สัมผัสพระเจ้า ณ ปัจจุบันในตัวเรา ไม่คิดถึงอดีตที่ผ่านมา ไม่กังวลกับอนาคตที่ ยังมาไม่ถึง เพื่อเราจะสามารถพบกับแหล่งกำ�เนิดสันติสุขที่แท้จริงในชีวิตซึ่งอยู่ภายในตัวเรา นั่นคือ ลมปราณของพระเจ้า พระเจ้าเป็นจิตบริสุทธิ์ ไม่มีเกิด ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต ไม่มีตาย พระองค์เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ (เทียบคำ�สอนเล่มครบข้อ 20) “พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาตามภาพลักษณ์ของพระองค์” (ปฐก. 1:27) ในพระองค์ มีแต่สันติสุข ความโล่ง ความโปร่ง ความเบา ความสบาย ซึ่งเป็นสัจธรรมความจริงที่มีอยู่ในตัวเราทุกคน
วิธีการฝึกจิตภาวนา การฝึกจิตภาวนา หรือการฝึกจิตให้มีสติอยู่ปัจจุบันกับพระเจ้าก่อนปฏิบัติควรสวดภาวนา เริ่มต้นในรูปแบบง่ายๆ จะสวด ภาวนาจากใจหรือสวดภาวนาบทเพลงสดุดีที่ 70 ข้อ 1 “ข้าแต่พระเจ้า โปรดมาช่วยเหลือเกื้อกูลข้าพเจ้า โปรดเถิดพระเจ้าข้า โปรดมาช่วยข้าพเจ้าทั้งหลาย” พระสิริรุ่งโรจน์ แด่พระบิดา และพระบุตร และพระจิต เหมือนในปฐมกาล บัดนี้และทุกเมื่อ ตลอดนิรันดร อาแมน และต่อไปเป็นการปฏิบัติจิตภาวนาก็เป็นการภาวนาด้วยจิตเพื่อมีสติอยู่ปัจจุบันกับพระเจ้าตลอดเวลา เป็นการปฏิบัติตามคำ�สอนของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงอธิษฐานภาวนาอยู่เสมอ” (ลก18, 1;อฟ 6, 12:1 ธส 5,17) 2.1 อิริยาบถ (ท่า) ในการฝึกจิตภาวนา ท่าในการฝึกจิตภาวนา ทำ�ได้หลายรูปแบบ นอกจากท่านั่ง ยังมีท่านอน ท่ายืน และท่าเดิน 2.1.1 ท่านั่ง หาท่าที่สงบๆ นั่งในท่าที่สบายๆ สามารถนั่งผ่อนคลาย หลับตาเบาๆ กำ�หนดความรู้สึกไว้ที่ลมหายใจ หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ ช้าๆ สักสามครั้งหรือจนกว่าจะผ่อนคลาย แล้วค่อยๆ หายใจตามปกติ (หายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องแฟบ) ขณะที่หายใจเขาออกอยู่นั้น ระยะแรกๆ ควรจะต้องมีคำ�บริกรรมภาวนาควบคู่ไปด้วย เพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ ในปัจจุบัน เป็นคำ�สั้นๆ เช่น หายใจเข้า...เย...หายใจออก...ซู หรือ...สันติ...สุข ฯลฯ หาคำ� 2-3 พยางค์ไม่ควรเกินกว่านั้น ให้พอดี กับจังหวะการหายใจเข้าออก (เป็นการจูงจิตให้มหี ลักยึดเป็นอุบายเพือ่ ให้จติ สงบเร็วขึน้ ) บอกกับตัวเองว่าฉันกำ �ลังเฝ้าพระองค์อยู่ ในลมหายใจ หายใจเข้าพร้อมกับพระองค์ หายใจออกพร้อมกับพระองค์ เฝ้าดูพระองค์ทำ�งานในตัวเรา มอบถวายทุกสิ่งอย่างไว้ ในพระหัตถ์ของพระองค์ ปล่อยให้พระองค์น�ำ ทางเรา เราเป็นเพียงผูด้ เู ท่านัน้ ทุกครัง้ ทีห่ ายใจเข้าออก เฝ้าสัมผัสลมหายใจทีป่ ลาย จมูก ทำ�ไปเรื่อยๆ จนกว่าจิตจะค่อยๆ สงบลง ลมหายใจจะค่อยๆ เบาลง บางครั้งอาจจะเผลอนึกถึงเรื่องอื่นไปบ้างก็ให้มีสติกลับ มาที่ลมหายใจ บางครั้งเมื่อละจากลมหายใจที่ปลายจมูกจะรู้สึกปวดเมื่อยตามร่างกาย บางครั้งรู้สึกเหมือนคันไปทั้งตัว บางครั้งมี ความคิดฟุง้ ซ่าน ปวดหัว ตัวร้อน ง่วงนอน ฯลฯ บางคนอาจจะรูส้ กึ ตัวเบาๆ สบายๆ มีแสง-สีสว่างจ้าอยูต่ รงหน้าทัง้ ทีย่ งั หลับตาอยู่ อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นกับผู้ที่ฝึกหัดใหม่เกือบทุกคน บางคนอาจจะล้มเลิกความตั้งใจตั้งแต่ยกแรก หากมีแรงกดดันจนทนไม่ ไหว ให้ภาวนาต่อพระเจ้าหรือแม่พระ ขอความสมดุลพอดี อย่าขัดขืนกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น (อย่าสู้) เพียงให้รับรู้ๆ แล้วปล่อยวาง (ไม่เอาใจไปจดจ่ออยู่กับอารมณ์นั้นๆ) อย่าออกจากจิตภาวนา ให้เฝ้าภาวนาอย่างเพียรทนจนอยู่ในอารมณ์ที่พอดีสมดุล นี่คือ พระองค์ทดสอบความพากเพียรตามกำ�ลังกาย กำ�ลังใจของแต่ละคน 2.1.2 ท่านอน นอนหงาย เอามือวางที่หน้าท้อง หรือจะวางแนบลำ�ตัวก็ได้ (ควรจะมีผ้าคลุมกายไว้ด้วย) นอนในท่าที่ สบายที่สุด ผ่อนคลายทุกส่วนของร่างกาย หายใจลึกๆ เฝ้าที่ลมหายใจ (ทำ�แบบเดียวกับท่านั่ง) จนกว่าจิตจะสงบ กำ�หนดสติไว้ที่ 2 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 11 ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม 2013
ลมหายใจ เคลื่อนลมหายใจไปยังศีรษะแล้วกำ�หนดสติไล่ลงมาตั้งแต่ศีรษะถึงปลายเท้า จากปลายเท้าไล่ขึ้นไปถึงศีรษะอย่างช้าๆ ตามจังหวะการหายใจแต่ละครั้ง ให้รู้สึกตัวตลอดการกำ�หนดสติ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของร่างกาย (ขั้นตอนนี้ผู้ฝึกควรผ่าน ขั้นตอนการทำ�จิตให้สงบจนชำ�นาญ) ปฏิบัติไปเรื่อยๆ จนกระทั่งจิตเริ่มสงบ รู้สึกเบา สบายทั้งร่ายกาย ถ้าง่วงนอนก็ปล่อยให้ หลับไปเพือ่ ร่างกายจะได้พกั ผ่อน เป็นการให้สติให้อยูใ่ นกายเพือ่ รูถ้ งึ อาการต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ ภายในกาย (วิธนี เี้ หมาะสำ�หรับใช้รกั ษา ตัวเองกรณีที่พลังกายเนื้อเดินไม่สะดวก เช่น อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดศีรษะ และอาการลุกลี้ลุกลนของร่ายกาย) 2.1.3 ท่าเดิน ขั้นแรกให้ยืนในท่าที่สบาย หายใจลึกๆ สามครั้ง กำ�หนดสติที่ใจ มือไพล่หลัง ให้สติรับรู้เท้าที่เดิน จะเป็นเท้าข้างใดก่อนก็ได้ ถ้าเป็นเท้าซ้ายให้ทอ่ งในใจว่า “ซ้าย ยก เหยียบ” ให้ยกตรงตามจังหวะการยก เหยียบ ของเท้าแต่ละครัง้ ถ้าเป็นเท้าขวา ให้ท่องในใจว่า “ขวา ยก เหยียบ” ทำ�ช้าๆ สลับกัน ถ้ามีความคิดแทรกขึ้นมาให้หยุดเดินและกำ�หนดสติมาระลึก รู้ที่การเดิน จนสติระลึกรู้กายอย่างแจ่มชัดแล้วจึงค่อยเดินต่อ จนรู้สึกเป็นไปโดยอัตโนมัติและผ่อนคลาย (วิธีนี้เหมาะสำ�หรับผู้ที่มี ความคิดฟุง้ ซ่าน วุน่ วายสับสน นอนไม่หลับ ทำ�บ่อยๆ แล้วจะทำ�ให้เลือดลมหมุนเวียนสะดวก ช่วยให้นอนหลับสบาย อาการป่วย ทางกายน้อย) 2.1.4 ท่ายืน ยืนตัวตรงในท่าสบาย ส้นเท้าชิดกัน ปลายเท้าแยกจากกัน หลับตาเบาๆ หายใจเข้าลึกๆ ผ่อนคลาย ปล่อยตัว ไปตามธรรมชาติ เฝ้าดูทกี่ าย ไม่เข้าไปบังคับกาย ดูกายเฉยๆ ปล่อยให้จติ ดูกาย (จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว) เฝ้าดูจะเห็นว่ากายเรา ไม่เคยอยู่นิ่ง จะโยก เอน โยกหน้า โยกหลัง เอนไปทางซ้าย เอนไปทางขวา ฯลฯ กายจะเคลื่อนไหว ไปตามลมปราณ ให้เราเฝ้าดู เฉยๆ อย่าเกร็ง อย่ากังวล หรือกลัวว่าจะล้ม มีสติ กำ�กับ ไม่เผลอ เฝ้าดูที่กายไปเรื่อยๆ (วิธีนี้เหมาะสำ�หรับผู้ที่ควบคุมความคิด ไม่ได้ วางความคิดไม่ลง ทำ�แล้วจิตจะจดจ่ออยู่ที่กายจนความคิดแทรกเข้ามาได้น้อย เมื่อความคิดแทรกเข้ามาก็รู้ทัน) การออกจากจิตภาวนา อย่าลืมตารวดเร็ว เพราะจะทำ�ให้ปวดศีรษะ ให้หายใจลึกๆ สามครัง้ หรือจนกว่าจะผ่อนคลาย บอกกับ ตัวเองว่า “ฉันกำ�ลังจะออกจากจิตภาวนาแล้ว” จากนั้นให้เอาสติมากำ�หนดไว้ที่กายเคลื่อนไหวร่างกายอย่างช้าๆ ค่อยๆ ลืมตา การลงท้ายการปฏิบัติจิตภาวนา เราสามารถสวดภาวนาจากใจหรือสวดภาวนาบทภาวนาของพระเยซูเจ้า “บทข้าแต่ พระบิดาของข้าพเจ้าทัง้ หลาย” หลังจากปฏิบตั จิ ติ ภาวนา หรือทำ�จิตสงบแล้ว ให้แผ่เมตตาทีเ่ ราได้รบั จากพระเจ้าแก่ผทู้ เี่ ราต้องการ จะภาวนาอุทิศให้ขอพระพรของพระเจ้าไปยังผู้มีพระคุณ เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องทุกคนตลอดจนคนที่เราไม่ชอบเขา เขาไม่ชอบเรา รวมทั้งคนที่เราสัญญาว่าจะภาวนาให้เขา โดยเฉพาะวิญญาณที่ช่วยตัวเองไม่ได้หรือไม่มีใครภาวนาอุทิศให้ สำ�หรับท่านทีอ่ า่ นแล้วยังไม่เข้าใจเกีย่ วกับการฝึกจิตภาวนาในขัน้ ตอนต่างๆ ก็สามารถทีจ่ ะหาเวลาสักครัง้ เพือ่ เข้าร่วมกับกลุม่ ต่างๆ ที่ทางทีมงานสารฯ ได้นำ�เสนอไป แล้วเพื่อนำ�มาเป็นวิธีปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เพื่อจะทำ�ให้เราได้เข้าถึงพระได้ง่ายขึ้น และ เมือ่ ปฏิบตั จิ ติ ภาวนาแล้วจะนำ�ผลดีตอ่ สุขภาพ กาย จิตใจ และจิตวิญญาณ เป็นการภาวนาด้วยจิตเพือ่ มีสติอยูป่ จั จุบนั กับ พระเจ้าตลอดเวลา เป็นการปฏิบัติตามคำ�สอนของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงอธิษฐานภาวนาอยู่เสมอ” (ลก 18,1; อฟ 6, 12:1 ธส 5, 17) เพื่อการดำ�เนินเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าทั้งในชีวิตปัจจุบัน และต่อเนื่องไปสู่ชีวิตใหม่ตลอดนิรันดร
ตารางจิตภาวนารูปแบบต่างๆ รูปแบบจิตภาวนา
วัน / เวลา
สถานที่จัด
เบอร์โทรติดต่อสำ�หรับผู้สนใจ
1. ภาวนาด้วยใจสู่ พระหฤทัยพระเยซู
วันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 3 ของ เดือน ตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น.
สั ก การสถานบุ ญ ราศี คุณพ่อนิโคลาสบุญเกิด กฤษบำ�รุง
สำ�นักงานสักการสถาน โทร. 0-3429-2143 มือถือสำ�นักงาน โทร. 08-1007-9183
2. จิตภาวนา 7 ระดับ ของนักบุญเทเรซาแห่ง อวิลลา
วันเสาร์สปั ดาห์ที่ 3 ของเดือน ตั้งแต่เวลา 08.30-16.00 น.
วั ด นั ก บุ ญ ยอแซฟ ตรอกจันทน์
คุณอำ�นวยพร โทร. 08-3924-8711
ห้องประชุมในบ้านพัก พระสงฆ์วัดพระมหาไถ่ ซอยร่วมฤดี
คุณพ่อประเสริฐ โทร. 08-1781-4504 ดร.สุนทรี โทร. 08-9611-7940 คุณอังกี้ โทร. 08-9815-1953 คุณวัชรา โทร. 08-9117-9100
3. การฝึ ก สมาธิ แ บบ ทุกๆ วันเสาร์ WCCM (World Commu- เวลา 09.30-13.30 น. nity for Christian Meditation) โดยคุณพ่อประเสริฐ โลหะวิริยศิริ จิตตาธิการ
สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 11 ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม 2013 3
บทความ...แผนกวิถชี มุ ชนวัด
พ
ระสังฆราช Oswald Hirmer พูดว่า ที่แอฟริกาใต้นั้นวิถีชุมชนวัดเป็นวิธีการที่ทรงพลังที่สุดวิธีการ หนึ่ง ในการที่จะทำ�ให้พระศาสนจักรเป็นพระศาสนจักรที่มีส่วนร่วม เพราะพวกเขาทำ�ให้พระคริสตเจ้า ประทับอยูใ่ นบ้านของเขา โดยผ่านทางพระวาจาของพระเจ้า และด้วยการเป็นชุมชนทีเ่ ต็มไปด้วยความรัก ด้วยการ สรรเสริญและโมทนาพระคุณพระเจ้า สมาชิกของวิถีชุมชนวัดยังคงแสดงออกซึ่งความรักความเมตตาของพระเจ้า ด้วยการดูแลคนป่วย ด้วยการให้อภัยแก่กันและกัน ด้วยการช่วยเหลือผู้ที่ขัดสน ด้วยการต้อนรับคนแปลกหน้า และด้วยวิธีการอื่นๆ อีกมากมาย พวกเขาดำ�เนินต่อซึ่งพันธกิจของพระคริสตเจ้า ด้วยการแบ่งปันความเชื่อของ พวกเขากับลูกๆ ของพวกเขา กับผู้สมัครเรียนคำ�สอน ประสบการณ์ที่ประทับใจที่สุดของวิถีชุมชนวัดที่ Umtata คือคริสตชนจำ�นวนมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ต่างก็มีส่วนร่วมในหน้าที่การงานของพระศาสนจักรและด้วยการจัด กิจกรรมต่างๆ เพื่อสัตบุรุษของทั้งวัด คำ�พูดของพระสังฆราช Gracias อาจจะถือได้ว่า เป็นการสรุปสถานการณ์ ของประเทศแอฟริกาใต้ก็ได้ “ทุกอย่างที่ถูกกระทำ�ในวิถีชุมชนวัดนั้นเป็นการมีส่วนร่วม มีโอกาสสำ�หรับ ทุกคนในการที่จะเติบโตและงอกงามขึ้นได้” ในเดือนนี้ขอรายงานข่าวความเติบโตของวิถีชุมชนวัด อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ดังนี้ วันที่ 10 กรกฎาคม คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช และคุณครูกมลา สุรยิ พงศ์ประไพ ได้ไปแบ่งปันเกีย่ วกับ “หนังสือ แผนการเรียนรู้หนังสือชุดชีวิตคริสตังที่บูรณาการวิถีชุมชนวัดเข้าไปในการสอนคำ�สอน” กับคุณพ่อ ซิสเตอร์ ครูคำ�สอนและนักศึกษาคริสตศาสตร์ จำ�นวน 100 กว่าคน ที่ศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาล “บ้านผู้หว่าน” ซึ่งจัดโดย คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกคริสตศาสนธรรม สภาพระสังฆราชคาทอลิก แห่งประเทศไทย และในวันที่ 19 กรกฎาคม พระสังฆราชวีระ อาภรณ์รัตน์ ได้แบ่งเวลาให้คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช และคุณครูกมลา สุริยพงศ์ประไพ ได้พูดถึงเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งกับครูคำ�สอนของอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ จำ�นวน 215 คน ที่มาชุมนุมกันในโอกาสปีแห่งความเชื่อที่วัดนักบุญเปโตรและสักการสถานบุญราศี นิโคลาส บุญเกิด กฤษบำ�รุง วันที่ 11 กรกฎาคม ประชุมคณะกรรมการดำ�เนินงานวิถีชุมชนวัดที่สักการสถานบุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำ�รุง เพื่อประเมินผลงานครึ่งปีแรก และวางแผนปฏิบัติการในการทำ�งานครึ่งปีหลังที่เหลือ วันที่ 14 กรกฎาคม คุณพ่อศักดิ์ชัย ทรัพย์อัประไมย เจ้าอาวาสวัด พระคริสตประจักษ์ (วัดเกาะใหญ่) ได้จัดให้มีการอบรมพื้นฐานความเข้าใจ เกี่ยวกับ “วิถีชุมชนวัดในระดับวัด” โดยมี คุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ และคุณพ่อถนอมศักดิ์ เลื่อนประไพ เป็นวิทยากรและแบ่งกลุ่มแบ่งปัน ประสบการณ์ และวันที่ 16 กรกฎาคม คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช เป็นผู้แทนของคุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ ไปประชุมกับ พระสงฆ์เขต 2 ที่วัดพระมารดานิจจานุเคราะห์ โดยได้พูดคุยและแบ่งปันกับพระสงฆ์เขต 2 เรื่องงานวิถีชุมชนวัด ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ สำ�หรับงานวิถชี มุ ชนวัดของเขต 2 ขณะนีไ้ ด้อบรมผูน้ �ำ วิถชี มุ ชนวัดอย่างต่อเนือ่ งเป็นเวลา 3 ปีแล้ว และกำ�ลัง จะดำ�เนินงานปลุกจิตสำ�นึกเพื่อตั้งวิถีชุมชนวัดในแต่ละวัดของเขต โดยทางเขตได้จัดทำ�หนังสือคู่มือในการอบรม วิถีชุมชนวัดด้วยและกำ�ลังจะจัดพิมพ์ นอกจากนั้นพระสงฆ์ในเขต 2 ยังได้กำ�หนดให้วันที่ 22-23 สิงหาคม เป็น วันประชุมของพระสงฆ์ในเขต เพื่อทำ�การศึกษาร่วมกันเกี่ยวกับวิถีชุมชนวัด ก่อนที่จะนำ�ไปสู่สัตบุรุษในวัดต่อไป สำ�หรับผู้ดูแลงานวิถีชุมชนวัดของเขต 2 คือ คุณพ่อชัยยะ กิจสวัสดิ์ 4 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 11 ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม 2013
บอกขาวเลาสาร
แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ
พิธีบวชสังฆานุกร แต่งตั้งผู้ช่วยพิธีกรรมผู้อ่านพระคัมภีร์
วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2013 เวลา 10.00 น. พระอัครสังฆราชหลุยส์จำาเนียร สันติสุขนิรันดร์ เป็น ประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณโอกาสบวชสังฆานุกร แต่งตั้งผู้ช่วยพิธีกรรม แต่งตั้งผู้อ่านพระคัมภีร์ ร่วมกับ พระอัครสังฆราช พอล ชาง อิน-นัม เอกอัครสมณทูตวาติกันประจำาประเทศไทย กัมพูชา พม่า ลาว ถึง ประเทศไทย พระอัครสังฆราชเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู พร้อมด้วยพระ สังฆราช พระสงฆ์กว่า 200 คน นักบวชชายหญิงและบรรดาญาติพี่น้องสัตบุรุษมาร่วมพิธีในวันนี้จำานวนมาก สัมมนาพระสงฆ์ประจำาปครั้งที่ 29 คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระสงฆ์ และผู้ถวายตัว แผนกพระสงฆ์ จัดสัมมนา พระสงฆ์ระดับประเทศ ครั้งที่ 29 หัวข้อ “พระสงฆ์ กับการฟื้นฟูการประกาศข่าวดี ขึ้นใหม่” วันที่ 15 - 20 กรกฎาคม 2013 ณ บ้านผู้หว่าน พระอัครสังฆราช เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็นประธาน ในพิธีบูชาขอบพระคุณเปิดการสัมมนาพระสงฆ์ ประจำาปี ครั้งที่ 29 ณ หอประชุมเซนต์ไมเกิ้ล บ้านผู้หว่าน โดยมีพระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู บรรดาพระสังฆราช พร้อมด้วยคณะสงฆ์ จำานวนมาก
พิธีมิสซาเปดการชุมนุมนักเรียนคาทอลิก วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2013 เวลา 10.45 น. พระสังฆราชชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณเปิดการชุมนุมเยาวชน ระดับชาติโอกาสปีแห่งความเชื่อ ร่วมกับพระอัครสังฆราชเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พระอัครสังฆราชจำาเนียร สันติสุขนิรันดร์ บรรดา พระสังฆราช พร้อมด้วยคณะสงฆ์ นักบวชชายหญิง และบรรดาเยาวชนมาร่วมงานในวันนี้จำานวน 3,120 คน ณ อาคารบุญราศี สมเด็จ พระสันตะปาปายอห์นปอล ที่ 2 โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ สามพราน
พิธีตื่นเฝาภาวนาเพื่อฟนฟูความเชื่อของเยาวชน วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2013 เวลา 19.30 น. พระสังฆราชวีระ อาภรณ์รัตน์ เป็นประธานในพิธีตื่นเฝ้าภาวนาเพื่อฟื้นฟูความเชื่อของ เยาวชนและพี่น้องสัตบุรุษ โดยมีพระอัครสังฆราชเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พระสังฆราชสังวาลย์ ศุระศรางค์ คุณพ่อวิทยา เลิศทนงศักดิ์ เข้าร่วมพิธีตื่นเฝ้าภาวนาด้วย มีบรรดาเยาวชน สมาชิกส่งเสริมชีวิตครอบครัว บรรดานักบวชชายหญิง สามเณร มาร่วมพิธีตื่นเฝ้านี้จำานวนมาก ณ หอประชุมเซนต์ไมเกิ้ล บ้านผู้หว่าน สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 11 ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม 2013 5
ฉลองวัดพระบิดาเจ้า ทิพวัล ปที่ 15 และชุมนุมองค์กร ครั้งที่ 3 วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม 2013 คุณพ่ออภิเดช สุภาจักร์ เจ้าอาวาส สภาภิบาล ร่วมกับคณะเซอร์ ครู นักเรียนโรงเรียนเซนต์โยเซฟ ทิพวัล และ บราเดอร์ ครู นักเรียน จากโรงเรียนอัสสัมชัญ สมุทรปราการ ให้การต้อนรับ ผู้มาร่วมฉลองวัดพระบิดาเจ้า ทิพวัล และชุมชนความเชื่อของคริสตชน เข้าสู่ปีที่ 15 มีผู้มาร่วมงานกันเป็นจำานวนมาก โดยมีพิธีบูชาขอบพระคุณ เวลา 10.30 น. พระอัครสังฆราช เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็นประธาน ร่วมกับ พระสังฆราช สังวาลย์ ศุระศรางค์ พระสังฆราชกิตติคุณ คุณพ่อวุฒิเลิศ แห่ล้อม อุปสังฆราช และคณะสงฆ์จำานวน 10 ท่าน โ ค ร ง กา ร สั ม ม นา แ ละ แส ว ง บุ ญ ปความเชื่อครูคำาสอน เมื่อวันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2556 บรรดาพระสงฆ์หวั หน้าเขตทัง้ 6 เขต ของ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ร่วมกันจัด “โครงการสั ม มนาและแสวงบุ ญ ป ความเชื่อครูคำาสอน” ที่...สักการสถาน บุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำารุง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูคำาสอนทั้งจากวัดและโรงเรียน ทั้งครูคำาสอนเต็มเวลาและไม่เต็มเวลาของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้มีการสัมมนา เพิ่มพูนความรู้ อีกทั้งเป็นโอกาสให้ครูคำาสอนได้แสวงบุญร่วมกันและรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ในโอกาสปีความเชื่อ จำานวนครูคำาสอนที่ เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ 224 คน เป็นครูคำาสอนในโรงเรียน 206 คน และ ครูคำาสอนระดับวัด 18 คน
พิธีมิสซาปลงศพมัทธิว ไพโรจน์ สังขรัตน์ บิดาคุณพ่อฉลองรัฐ สังขรัตน์ วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม 2013 คุณพ่อฉลองรัฐ สังขรัตน์ เป็นประธานในพิธีมิสซา ปลงศพมัทธิว ไพโรจน์ สังขรัตน์ บิดา ร่วมกับพระสังฆราชสังวาลย์ ศุระศรางค์ พร้อมด้วยพระสงฆ์ และญาติพี่น้องมาร่วมอาลัยรักเป็นครั้งสุดท้ายจำานวนมาก ณ วัด นักบุญเทเรซา หน้าโคก
อบรมพื้นฐานความเข้าใจวิถีชุมชนวัด (BEC) วัดพระคริสตประจักษ์ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2013 คุณพ่อศักดิ์ชัย ทรัพย์อัประไมย เจ้าอาวาสวัดพระคริสตประจักษ์ เกาะใหญ่ ได้จัดให้มีการอบรมพื้นฐานความเข้าใจ เกี่ยวกับวิถีชุมชนวัด (BEC) ในระดับวัด โดยมี คุณพ่อปยะชาติ มะกรครรภ์ และคุณพ่อถนอมศักดิ์ เลื่อนประไพ มาเป็นวิทยากรและแบ่งกลุ่ม แบ่งปัน ประสบการณ์
ชุมนุมครอบครัวโอกาสปความเชื่อ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2013 แผนกส่งเสริมชีวิตครอบครัว อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ นำาโดยคุณพ่อพรศักดิ์ ชื่นจิตอภิรมย์ ผู้จัดการแผนกจัดงานชุมนุมครอบครัวโอกาสปีความเชื่อ หัวข้อ “ครอบครัวจุดเริ่มและการ เพาะบ่มความเชื่อ” ณ บ้านซาวีโอ สามพราน มีสมาชิกสชค.เข้าร่วมครั้งนี้จำานวนมาก
6 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 11 ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม 2013
84 ป แห่งพระพรคุณพ่อ เปโตร ศวง ศุระศรางค์ วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 2013 เวลา 10.00 น. คุณพ่อประเสริฐ ตรรกเวศม์ ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายบุคลาภิบาล อธิการบ้านผู้หว่าน ได้จัดพิธีมิสซาฉลอง 84 ปี แห่งพระพร คุณพ่อศวง ศุระศรางค์ โดยมีพระสังฆราชกิตติคุณ สังวาลย์ ศุระศรางค์ คุณพ่อวุฒิเลิศ แห่ล้อม อุปสังฆราช พร้อมด้วยพระสงฆ์และผู้มาร่วมแสดงความยินดีเป็นจำานวนมาก
ประชุมคณะกรรมการจิตตาภิบาล เขต 5 ครั้งที่ 2 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม 2013 คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช จิตตาภิบาล เขต 5 จัดประชุมคณะกรรมการจิตตาภิบาล เขต 5 ครั้งที่ 2 ประจำาปีการศึกษา 2556 ที่สักการสถานบุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำารุง โดย มีคุณพ่อธนายุทธ ผลาผล จิตตาภิบาลโรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ และคณะกรรมการจิตตาภิบาลจากทุกโรงเรียน ในเขต 5 เข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน
อบรมผู้นำาตามแผนงานอภิบาล และสัมมนาคณะกรรมการเยาวชน แผนกเยาวชน อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ นำาโดย คุณพ่อสราวุธ อมรดิษฐ์ ผู้จัดการแผนก จัดโครงการอบรมผู้นำาตามแผนงานอภิบาล และสัมมนาคณะกรรมการ เยาวชน เมื่อวันที่ 20-22 กรกฎาคม 2013 ณ สีดารีสอร์ท จ.นครนายก มีจำานวน เยาวชนเข้าร่วมจำานวน 64 คน
ครั้งที่ 3 “หลักสูตรประกาศนียบัตรครูจิตตาภิบาล รุ่นที่ 3” กลุ่มงานจิตตาภิบาล ฝ่ายการศึกษาฯ ร่วมกับ ศูนย์ คริสตศาสนธรรม ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ ร่วมจัด โครงการ “หลักสูตรประกาศนียบัตร ครูจิตตาภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ” เพื่อพัฒนา ศักยภาพของครูจิตตาภิบาลให้สามารถทำางานอภิบาล และประกาศข่าวดี และเป็นการส่งเสริมครูจิตตาภิบาล ให้มีจิตตารมณ์แห่งพระวรสาร การอบรมครั้งที่ 3 หัวข้อ “แนวทางการอบรมจริยธรรมในโรงเรียนคาทอลิก” โดย มีบาทหลวงเอกชัย โสรัจจกิจ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัด พระวิสุทธิวงส์ ลำาไทร และหัวหน้าจิตตาภิบาลเขต 4 เป็นวิทยากร เมื่อวันที่ 5-6 กรกฎาคม 2013 ณ ศูนย์ ฝึกอบรมงานอภิบาล บ้านผู้หว่าน
ปฏิทินกิจกรรม เดือนสิงหาคม 2013 3 ส.ค. 7-8 ส.ค. 15 ส.ค. 17 ส.ค. 19-25 ส.ค. 25 ส.ค. 29 ส.ค. 31 ส.ค. - 1 ก.ย.
สัมมนาชีวิตโสด “ไร้คู่ ไม่ไร้ค่า” บ้านผู้หว่าน เข้าเงียบฟื้นฟูจิตใจพระสงฆ์ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ บ้านผู้หว่าน ฉลองอาสนวิหารอัสสัมชัญ เวลา 17.00 น. อบรมวิถีชุมชนวัดต่อเนื่อง สักการสถานบุญราศีคุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำารุง SCC บ้านผู้หว่าน เสริมสร้างความเข้าใจวิถีชุมชนวัด วัดมารีย์สมภพ บ้านแพน การนำาข่าวดีสู่วัฒนธรรม “เทศกาลวาเลนไทน์และฮาโลวีน” ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารคาทอลิกแพร่ธรรม แผนกเยาวชนอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จัดเยาวชนรุ่นใหม่ ใช้สื่ออย่างรู้คุณค่า ณ บ้านผู้หว่าน สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 11 ฉบับที่ 8 เดือนสิงหาคม 2013 7
เกร็ดความรู้คำ�สอน...คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม
สวัสดีพี่น้องที่รัก เดือนสิงหาคมนี้ เราสมโภชแม่พระ รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ เป็นวันฉลองที่ เป็นเอกลักษณ์ของเราคาทอลิก เพราะ สำ � หรั บ เราแล้ ว แม่ พ ระไม่ ใ ช่ เ พี ย งแค่ คนดีคนหนึ่งที่ทำ�ตามน้ำ�พระทัยของพระ แต่ แ ม่ พ ระเป็ น ผู้ ที่ พ ระเจ้ า โปรดปราน เป็นพิเศษ ได้รับเกียรติเกิดมาไม่มีบาป กำ�เนิด เป็นผู้ร่วมแผนการไถ่กู้ของพระ คริสตเจ้าอย่างใกล้ชิด และที่สุดเมื่อสิ้นใจ ก็ได้รบั เกียรติยกขึน้ สวรรค์ทงั้ ร่างกายและ วิญญาณ เป็นเรือ่ งธรรมดาเมือ่ คนทีเ่ รารัก ได้รบั เกียรติ เราก็รว่ มยินดีดว้ ย ยิง่ กว่านัน้ แม่พระไม่ใช่ใครอื่นไกล เป็นผู้ที่พระเยซู มอบให้เป็นแม่ของเรา (ยน 19:26-27) แม่ พ ระยั ง คงภาวนาให้ เราต่ อ เนื่ อ งบน สวรรค์เบื้องพระพักตร์พระเจ้า จึงไม่ใช่ เรื่องแปลกที่เราคริสตชนมีความศรัทธา ต่อแม่พระเสมอมา มีคนจำ�นวนนับไม่ถ้วน ที่ได้รับความช่วยเหลือจากแม่พระ แม้แต่ ผู้ที่ไม่เป็นคริสตชนก็ได้รับความเมตตา จากแม่ พ ระเช่ น เดี ย วกั น ความใจดี ที่ พระเจ้ า มี ผ่ า นทางแม่ พ ระจึ ง เป็ น ความ ภาคภูมิใจ โดยเฉพาะผู้ที่มีความศรัทธา ในแม่พระอยู่แล้ว สำ�หรับอีกหลายๆ คน ที่อาจจะยังไม่ค่อยสวด ไม่ค่อยสนทนา กับแม่พระ โอกาสเดือนสิงหาคมนี้น่าจะ เป็นโอกาสให้เราฟื้นฟูความศรัทธาอันดี ที่เราควรมีต่อแม่พระ เช่น สวดสาย ประคำ�ทุกวัน ฯลฯ สิ่งดีงามจะเกิดขึ้นใน ชีวิตของเราอย่างต่อเนื่อง เดื อ นสิ ง หาคมนี้ มี วั น เฉลิ ม พระ ชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรม ราชินีนาถ ให้เราร่วมภาวนาขอพระเจ้า อวยพรพระราชินขี องเรา ให้มพี ระชนมายุ ยิง่ ยืนนาน เป็นมิง่ ขวัญแก่ปวงชนชาวไทย ตลอดไป สวดให้แม่ของเราไปเยี่ยมเยียน ท่านด้วยสำ�นึกถึงความรักเสียสละที่ท่าน มีต่อเราเสมอมา และภาวนาเพื่อความ สงบสุขในประเทศไทยของเราในเดือนที่ การเมืองร้อนแรงนี้ด้วย ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกท่าน
1. การสมรสต่างความเชื่อ
สิ่งแรกที่ควรทำ�ความเข้าใจให้ชัดเจนในความหมายของคำ�ว่า “การสมรสต่าง ความเชือ่ ” ซึง่ การให้ค�ำ จำ�กัดความนัน้ หากไม่พจิ ารณาดีๆ อาจจะทำ�ให้เกิดความสับสน ได้ในภายหลัง สำ�หรับการสมรสต่างความเชื่อนั้น แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. การสมรสของคาทอลิกกับคริสตชนอื่น (Mixed Marriage) ซึ่งบางครั้ง ถูกเรียกว่า “การสมรสผสม” เป็นการสมรสระหว่างคริสต์ศาสนา (Inter Church) คือ การสมรสที่มีฝ่ายหนึ่งเป็นคาทอลิกกับอีกฝ่ายหนึ่งที่เป็นคริสตชนที่ได้รับศีลล้างบาป อย่างถูกต้องแต่ไม่ใช่คาทอลิก 2. การสมรสของคาทอลิกกับผู้ไม่เป็นคริสตชน (Disparity of Cult) ที่เรียกกัน ว่า “การสมรสของผูม้ วี ฒ ั นธรรมทางความเชือ่ ทีแ่ ตกต่างกัน หรือการสมรสแบบต่างฝ่าย ต่างถือศาสนาของตนเอง” คือ “การสมรสระหว่างศาสนา” (Inter Religious) หมายความว่า มีฝา่ ยหนึง่ เป็นคาทอลิกกับอีกฝ่ายหนึง่ ไม่ได้รบั ศีลล้างบาป ซึง่ จะนับถือศาสนาใดก็ตาม
2. การสมรสของคาทอลิกกับคริสตชนอื่น (Mixed Marriage)
“ถ้าไม่มีอนุญาตอย่างแจ้งชัดจากผู้ใหญ่ผู้มีอำ�นาจ ห้ามการสมรสระหว่างผู้รับ ศีลล้างบาปสองคน โดยที่ฝ่ายหนึ่งได้รับศีลล้างบาปในคริสต์ศาสนาจักรคาทอลิก ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งที่สังกัดศาสนาจักร” (มาตรา 1124) เงื่อนไขสำ�หรับการขออนุญาต : ฝ่ายคาทอลิกยืนยันว่า จะหลีกเลี่ยงอันตราย ต่อการเสียความเชื่อคาทอลิก และสัญญาว่า จะอบรมและให้การศึกษาแบบคาทอลิก แก่บุตร ส่วนฝ่ายที่ไม่ใช่คาทอลิก ก็ต้องรับรู้ถึงข้อบังคับ หน้าที่และคำ�สัญญาของฝ่าย คาทอลิก พร้อมทั้งยอมรับที่จะเคารพสิทธิและหน้าที่ของฝ่ายคาทอลิก และที่สำ�คัญ ทั้งสองฝ่ายจะต้องได้รับการอบรมเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายและอัตลักษณ์ของการสมรส (มาตรา 1125)
3. การสมรสของคาทอลิกกับผู้ไม่เป็นคริสตชน (Disparity of Cult)
เงื่อนไขของการให้ข้อยกเว้นจากข้อขัดขวางของการสมรสแบบต่างฝ่ายต่างถือนั้น เป็นเช่นเดียวกันกับการสมรสกับผู้รับศีลล้างบาปแต่ไม่ใช่คาทอลิกแต่เข้มงวดกว่า และ การให้ข้อยกเว้นควรจะพิจารณาอนุญาตอย่างเข้มงวดเป็นกรณีๆ ไป แต่ทั้งนี้ก็ต้อง รักษารูปแบบการสมรสไว้เพื่อให้การสมรสนั้นถูกต้อง และที่สำ�คัญเป็นการช่วยเหลือ ทางด้านจิตใจที่มีต่อคู่สมรสและบุตรของพวกเขา (มาตรา 1128)
4. สถานทีส่ �ำ หรับการสมรสของคาทอลิกกับคริสตชนอืน่ หรือกับผูท้ ไ่ี ม่ได้เป็นคริสตชน
การสมรสระหว่างคาทอลิกด้วยกัน หรือระหว่างคาทอลิกฝ่ายหนึ่งกับผู้รับศีล ล้างบาปทีไ่ ม่ใช่คาทอลิกอีกฝ่ายหนึง่ ต้องประกอบพิธสี มรสในโบสถ์ของตน จะประกอบ พิธีสมรสในโบสถ์อื่น หรือในวัดน้อยก็ได้ นอกจากนั้นยังสามารถประกอบพิธีสมรสใน สถานที่อื่นที่สะดวกก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ใหญ่ท้องถิ่นเสียก่อน เช่นเดียวกันการสมรสของคาทอลิกกับผู้ที่ไม่เป็นคริสตชน พิธีสมรสต้องกระทำ� ในโบสถ์คาทอลิกหรือสถานที่เหมาะสมก็ได้ (มาตรา 1118 วรรค 3) แต่ต้องกระทำ� ต่อหน้าศาสนบริกร ในขณะเดียวกันก็ต้องมีพยานสองคนด้วย จึงจะถือว่าถูกต้อง และ พิธีดังกล่าวนี้ จะต่อเติมพิธีกรรมทางศาสนาของฝ่ายที่ไม่ใช่คาทอลิกเข้าไปด้วยไม่ได้ (มาตรา 1127) วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมและข่าวต่างๆ ในระดับวัด เขตและสังฆมณฑล ให้กับสัตบุรุษและบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 2. เพื่อช่วยฟื้นฟูบทบาทการเป็นผู้มีส่วนร่วมในงานอภิบาลและธรรมทูตในชีวิตของสัตบุรุษ และบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑล 3. เพื่อนำ�เสนอเครื่องมือ และแนวปฏิบัติในงานอภิบาลและธรรมทูตให้กับสัตบุรุษและบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑล สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ผู้รับผิดชอบ : ฝ่ายงานอภิบาลของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ที่ปรึกษา : คุณพ่อพงศ์เทพ ประมวลพร้อม, คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม บรรณาธิการ : คุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ กองบรรณาธิการ : นาทลดา จิตรอำ�ไพ, พฤกษา กิจเจริญ, มัลลิกา กิจบำ�รุง, เพชรี ชาวแพรกน้อย พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ บางรัก กรุงเทพฯ โทร. 0 2233 0523 โทรสาร. 0 2235 1405 สำ�นักงาน : อาคารคาทอลิกแพร่ธรรม 57 ซอยเจริญกรุง 40 เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. 0 2237 7315 โทรสาร. 0 2233 8159 E-mail : webmaster@catholic.or.th