December2013

Page 1

ปีท่ี 11 ฉบับที่ 12 ประจำ�เดือนธันวาคม 2013

http://www.catholic.or.th/sarnbkk/

“เพราะเห็นแก่ความรักของพระเจ้าต่อเรา “เพราะพระเจ้าได้ทรงรักเรามากมายถึงเพียงนี้ แล้ว เราก็ควรรักกันและกันด้วย...” และนี่แหละ คือ ภาพลักษณ์และความเป็นคนของเรา เป็น ภาพลักษณ์ของความเป็นคนที่แท้จริง คือ “การ เป็นคริสตชน” เป็นคนแบบพระคริสต์” วาทะพระอัครสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พระอัครสังฆราชอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ บทเทศน์ฉลองวัดนักบุญเทเรซา หนองจอก วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2013

2

เริ่มต้นปีพิธีกรรม น. วิถชี มุ ชนวัด...

ความเข้าใจเบือ้ งต้น ในการอ่านพระวาจา เทศกาลเตรียมรับเสด็จ

พระคริสตเจ้า

4

น.

8

น.

บทความ...ผงศิลา

พี่น้องที่รัก เอกสารฟื้นฟูชุมชนศิษย์พระคริสต์สำ�หรับเดือนธันวาคม เราจะร่วมกันไตร่ตรองเรื่อง “บทบาทของคริสตชนฆราวาส” โดยมีเป้าหมาย “เพื่อคริสตชนฆราวาสตระหนักถึงคุณค่าและบทบาทของตนในการมีส่วนร่วมในพันธกิจของพระศาสนจักร” เอกสารนีเ้ ริม่ ต้นด้วยการมองชีวติ ปัจจุบนั (Look) กล่าวถึงชุมชนเล็กๆ ทีร่ เี วอร์ไซด์ซงึ่ อาศัยอยูห่ า่ งไกลจากวัด หลังจากการประชุมครัง้ หนึง่ ได้ตกลงกันว่าจะสร้างโรงสวดเล็กๆ หลังหนึง่ สำ�หรับคนทีไ่ ปวัดวันอาทิตย์ไม่ได้ เช่น ผูส้ งู อายุ คนเจ็บป่วย ฯลฯ สมาชิกในชุมชนได้มสี ว่ นใน การสร้างโรงสวดนีต้ ามกำ�ลังความสามารถของตน ต่อจากนัน้ เป็นคำ�ถามให้เราไตร่ตรองว่า “เราพบการมีสว่ นร่วมแบบใดบ้างในชีวติ ของ ชุมชนเล็กๆ แห่งรีเวอร์ไซด์นี้?” พระวาจาของพระเจ้า (Listen) (รม 12:4-11) กล่าวถึงพระพรพิเศษมีหลายประการ แต่มพี ระจิตเจ้าพระองค์เดียว... พระจิตเจ้าทรงแสดง พระองค์ในแต่ละคนเพือ่ ประโยชน์สว่ นรวม... พร้อมทัง้ คำ�ถามในการไตร่ตรองจากพระวาจาทีไ่ ด้ฟงั ว่า “คำ� หรือวลี หรือประโยคใดจาก จดหมายนักบุญเปาโล ทีท่ า่ นได้ฟงั นีส้ ะกิดใจท่านมากทีส่ ดุ เพราะเหตุใด?” และ “แบ่งปันการดลใจทีไ่ ด้รบั จากการฟังพระวาจานี้ ซึ่งพระเจ้าตรัสผ่านนักบุญเปาโลถึงท่านในวันนี้” การดำ�เนินชีวติ ศิษย์พระเยซู (Love) เป็นการหาแนวทางปฏิบตั โิ ดยตอบคำ�ถามทีว่ า่ “ในฐานะทีท่ า่ นทุกคนมีพระพรของพระจิตเจ้าที่ แตกต่างกัน ท่านจะมีส่วนร่วมในพันธกิจของพระศาสนจักรที่วัดของท่านอย่างไร?” นอกจากนี้ ในเอกสารไตร่ตรองยังได้กล่าวถึงคำ�สอนเรื่องครอบครัวคริสตชนพอสรุปได้ ดังนี้ 1. “ผู้มีความเชื่อทุกคนของพระคริสตเจ้า มีส่วนสนับสนุนการสร้างพระกายของพระคริสตเจ้าแต่ละคนตามเงื่อนไขและตำ�แหน่ง หน้าที่ของตนเอง” (กฎหมายของพระศาสนจักร มาตรา 208) 2. “สงฆ์และฆราวาสยังคงมีบทบาทแตกต่างกัน แต่มคี วามเสมอภาคกันอย่างแท้จริงระหว่างพวกเขาทุกคนในเรือ่ งศักดิศ์ รี และกิจกรรม อันเป็นสิ่งร่วมกันสำ�หรับผู้มีความเชื่อทุกคน……” (LG 32) 3. “มีความจำ�เป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องสร้างชุมชนคริสตชนทีท่ กุ คนมีสว่ นร่วมอย่างเต็มเปีย่ ม ทีซ่ งึ่ พวกเขาพบว่า ‘เป็นส่วนหนึง่ ’ และเมือ่ รวมกันพวกเขากลายเป็นพระศาสนจักร...เมื่อพวกเขายอมรับการมีส่วนร่วมในพันธกิจของพระ‍ศาสนจักร” (FABC 5, มาตรา 3) 4. “วัดทีท่ กุ คนมีสว่ นร่วม ทีซ่ งึ่ พระพรต่างๆ ทีพ่ ระจิตเจ้าประทานให้แก่ผมู้ คี วามเชือ่ ทุกคนเหมือนๆ กัน ไม่วา่ จะเป็นฆราวาส นักบวช และพระสงฆ์ ได้รับการตระหนักและนำ�มาใช้ให้เกิดประโยชน์...” (FABC 5, มาตรา 8) 5. คริสตชนมองไกลออกไปนอกกำ�แพงวัด พวกเขาได้รับเรียกให้สานต่อพันธกิจของพระคริสตเจ้า “ที่จะประกาศการปลดปล่อยแก่ ผู้ถูกจองจำ� คืนการมองเห็นให้แก่คนตาบอด จัดหาเสรีภาพให้แก่ผู้ถูกกดขี่...” (FABC 5 มาตรา 4; ลก 4:18-19)


เมื่อเริ่มเข้าสู่เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า (advent) ก็ถือเป็นการเริ่มต้นปีพิธีกรรม เทศกาลนี้ยาวนาน สี่สัปดาห์ ตลอดสี่สัปดาห์ที่ว่านี้ แม้อาภรณ์สำ�หรับประกอบพิธีกรรมที่พระสงฆ์สวมใส่จะเป็นสีม่วง แต่ก็ไม่ได้มี จุดมุ่งหมายเพื่อจะสื่อหรือเน้นว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการสำ�นึกผิด-เป็นทุกข์-กลับใจ ดังเช่นช่วงเวลาสี่สิบวันในเทศกาล มหาพรต ความหมายหรือเจตนารมณ์ส�ำ คัญของเทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ คือ ให้เทศกาลนีเ้ ป็นช่วงเวลาของการรำ�พึง ไตร่ตรองแผนการณ์ของพระเจ้า พร้อมกับรอคอยด้วยความหวัง ถึงการมาบังเกิดของพระผู้ไถ่ ซึ่งจะต้องเน้นเฉลิม ฉลองการเสด็จมาขององค์พระบุตรทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยปกติ ทุกๆ วันอาทิตย์ถอื เป็นวันฉลองปัสกาประจำ�สัปดาห์ ทีเ่ รียกร้องให้ทกุ ชุมชนคาทอลิกเห็นความสำ�คัญ และเฉลิมฉลองกันอย่างสง่าและพร้อมเพรียง วันอาทิตย์ในเทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ นี้ ก็ยงั คงมีความสำ�คัญในระดับ เดียวกัน แม้ว่าจะไม่มีการขับร้องบทสิริรุ่งโรจน์ (Gloria) ในบูชามิสซา ในขณะที่เทศกาลมหาพรต มีข้อห้ามเรื่อง การบรรเลงออร์แกน หรือเครื่องดนตรีอื่นๆ เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ไม่ได้ห้ามแต่อย่างใด เช่นเดียวกับเรื่องการ ตกแต่งดอกไม้ข้างๆ พระแท่น ที่ไม่ได้ห้ามอย่างเด็ดขาด เพียงแต่ขอให้ทั้งการบรรเลงดนตรีและการตกแต่งดอกไม้ มีลกั ษณะพอประมาณ เพือ่ รอวันทีจ่ ะแสดงออกอย่างพิเศษ ให้สมกับทีเ่ ป็นวันสมโภชใหญ่ทเี่ ฝ้ารอคอย คือ วันฉลอง พระคริสตสมภพนั่นเอง นอกจากนี้ อาภรณ์ประกอบพิธีกรรม อาจจะเปลี่ยนเป็นสีดอกกุหลาบ หรือสีบานเย็น ในวันอาทิตย์ที่ 3 ของ เทศกาลนี้ (Gaudete Sunday) เพื่อต้องการจะสื่อว่าวันฉลองที่รอคอยใกล้เข้ามาแล้ว (เหมือนกับวันอาทิตย์ที่ 4 ในเทศกาลมหาพรต Laetare Sunday) และเพือ่ ให้พธิ กี รรมได้ท�ำ หน้าทีข่ องตน ในการอภิบาลเสริมสร้างความศักดิส์ ทิ ธิ์ รวมทั้งบำ�รุงชีวิตจิต หรือชีวิตฝ่ายวิญญาณของสัตบุรุษอย่างแท้จริง ตามจังหวะของปีพิธีกรรม และธรรมล้ำ�ลึก ที่กำ�ลังฉลอง วันอาทิตย์ในเทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ซึ่งได้รับการจัดเตรียมเนื้อหาของการฉลองมาอย่างลงตัวแล้ว ได้ถูกเรียกร้องอย่างจริงจังให้งดการฉลองนักบุญ รวมทั้งไม่ให้มีพิธีกรรม (rituals) อื่นๆ เช่น มิสซาปลงศพ เป็นต้น วัดหลายๆ แห่ง มีธรรมเนียมการจัดแต่ง “หรีดเตรียมรับเสด็จฯ” (Advent wreath) ไว้บริเวณใกล้ๆ พระแท่น หรีดดังกล่าวถูกจัดแต่งให้เป็นรูปวงกลมสีเขียว ภายในมีเทียนอยูส่ เี่ ล่ม สามเล่มเป็นเทียนสีมว่ ง อีกหนึง่ เล่มเป็นเทียน สีบานเย็น เทียนถูกจุดเพิ่มที่ละเล่มๆ จนครบสี่สัปดาห์ ในบางแห่งยังมีธรรมเนียมการเสกหรีดเตรียมรับเสด็จใน วันอาทิตย์แรกของเทศกาล อย่างไรก็ตาม แม้ธรรมเนียมการจัดหรีดดังกล่าวจะดูมีความหมายดี แต่ก็ไม่สามารถ นำ�มาใช้แทนเทียนที่จะต้องจุดประจำ�พระแท่น ที่ถือว่าเป็นเทียนประกอบพิธีกรรม ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ควรวางหรีด เตรียมรับเสด็จฯ บนพระแท่น 2 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 11 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2013


การเตรียมสมโภชพระคริสตสมภพ ช่วงเวลาที่ถือได้ว่าเป็นโค้งสุดท้าย (final phase) ของเทศกาลเตรียมรับ เสด็จฯ เริม่ ต้นในวันที่ 17 ธันวาคม บทภาวนา และบทอ่าน ทัง้ ในบูชามิสซา และในบททำ�วัตร ได้ถกู จัดเตรียมไว้ดว้ ย เนือ้ หาทีเ่ ข้มข้นสำ�หรับช่วงเวลาแปดวันก่อนวันสมโภชพระคริสตสมภพ วันในระหว่างสัปดาห์ของช่วงเวลานี้ เนือ้ หา ของการฉลองที่มุ่งที่การเตรียมสู่การฉลองพระคริสตสมภพ มีความสำ�คัญกว่าการระลึกถึงนักบุญใดๆ การทำ�นพวารเตรียมสมโภชพระคริสตสมภพสามารถมีได้ ควบคู่ไปกับบูชามิสซาประจำ�วัน การสวดทำ�วัตร และการนมัสการศีลมหาสนิท พระสงฆ์เจ้าวัดควรจัดให้สตั บุรษุ มีโอกาสได้รบั ศีลอภัยบาปในช่วงเวลาของการเตรียม ฉลองนี้ โดยอาจจะมีวจนพิธีกรรมศีลอภัยบาป และจัดหาพระสงฆ์มาช่วยโปรดศีลอภัยบาป เพื่อให้สัตบุรุษใน ความดูแล ได้เตรียมจิตใจอย่างดี วันสมโภชพระคริสตสมภพ แม้วา่ วันสมโภชพระคริสตสมภพนี้ จะมีความสำ�คัญรองจากวันสมโภชปัสกา และ วันสมโภชพระจิตเจ้า แต่ต้องถือว่าวันสมโภชนี้ มีการเฉลิมฉลองกันอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนทั่วไป ในด้าน พิธีกรรม บูชามิสซาสมโภชการบังเกิดของพระกุมารควรจัดอย่างสง่างามที่สุดเท่าที่สามารถทำ�ได้ อาภรณ์ประกอบ พิธีกรรมใช้สีขาวหรือสีทอง ภาชนะศักดิ์สิทธิ์ควรใช้ชุดที่สวยงาม และจัดเตรียมอย่างดี มีการใช้กำ�ยาน จัดแต่ง ดอกไม้ และมีเทียนด้วยจำ�นวนที่แสดงถึงการสมโภชสำ�คัญ บูชามิสซาสมโภชพระคริสตสมภพ บูชามิสซาโอกาสสมโภชพระคริสตสมภพ มีทั้งหมด 4 มิสซาด้วยกัน คือ 1.มิสซาคืนตื่นเฝ้า 2.มิสซาเที่ยงคืน 3.มิสซารุ่งอรุณ และ 4.มิสซาระหว่างวัน แต่ละมิสซามีบทภาวนาและบทอ่าน เฉพาะ ควรใช้บทอ่าน/บทภาวนา ให้ตรงกับช่วงเวลาที่ถวาย สำ�หรับมิสซาเที่ยงคืน ช่วงเวลาที่ถวาย ไม่ได้กำ�หนด ตายตัวอย่างเข้มงวดจนเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ถ้าหากไม่สามารถจัดฉลองบูชามิสซาเวลาเที่ยงคืน แต่ละท้องที่สามารถ เลือกเวลาที่เหมาะสมได้ เพียงขอให้เป็นช่วงดึก ที่เลยหัวค่ำ�ไปแล้ว เช่น สามทุ่ม สี่ทุ่ม หรือห้าทุ่ม เป็นต้น ถ้�ำ และตะกร้ารางหญ้าพระกุมาร ถ้�ำ พร้อมกับตะกร้ารางหญ้าพระกุมารถือเป็นอีกหนึง่ อุปกรณ์ทมี่ กี ารสร้าง หรือประดิษฐ์ขึ้นอย่างแพร่หลายในจารีตโรมัน โดยจะถูกจัดเตรียมไว้ในวันที่ 17 ธันวาคม หรือเพียงแค่ก่อนทำ�วัตร เย็นของวันฉลองพระคริสตสมภพ แต่รูปปั้นพระกุมารไม่ควรจะนำ�มาวางก่อนมิสซาเที่ยงคืน อย่างไรก็ตาม ถ้าก่อน มิสซาเที่ยงคืน ในตอนหัวค่ำ�มีมิสซาตื่นเฝ้า ที่ถือเป็นมิสซาสำ�หรับทุกๆ ครอบครัว ก็สามารถนำ�รูปปั้นพระกุมาร มาวางในตะกร้านั้น ก่อนที่มิสซาดังกล่าวจะเริ่มก็ได้ การวางรูปปัน้ พระกุมารอาจจะไม่มพี ธิ พี เิ ศษอะไรก็ได้ อย่างไรก็ตาม มีธรรมเนียมดัง้ เดิมทีถ่ อื ปฏิบตั กิ นั มา โดย ถือรูปแบบจากเมืองเบธเลแฮม ที่จะจัดให้มีพิธีวางรูปปั้นพระกุมาร ก่อนที่พิธีมิสซาจะเริ่ม มีการขับร้องบทเพลงที่ เหมาะสมขณะที่ขบวนแห่รูปปั้นพระกุมารเริ่มขึ้น เมื่อขบวนแห่มาถึงถ้ำ�พระกุมาร ประธานคุกเข่า และวางรูปปั้น พระกุมารลงในตะกร้า อาจจะถวายกำ�ยานให้รูปปั้นพระกุมารก็ได้ ยังอาจจะมีพิธีเสกถ้ำ�และตะกร้ารางหญ้า พระกุมารด้วยก็ได้ หลังจากนั้นจึงเริ่มบูชามิสซา ขบวนแห่ แห่ไปที่พระแท่น (มีข้อที่ควรคำ�นึงก็คือ ถ้ำ�พระกุมาร ไม่ควรอย่างยิง่ ทีจ่ ะสร้างไว้ทหี่ น้าพระแท่น และถ้าแม้ไม่มถี �้ำ มีแต่ตะกร้ารางหญ้าพระกุมาร ก็ยงั ไม่ควรวางตะกร้านัน้ ที่หน้าพระแท่นด้วยเช่นกัน) อัฐมวารพระคริสตสมภพ ในขณะที่ช่วงเวลาแปดวันหลังวันสมโภชปัสกา (อัฐมวารปัสกา) ไม่มีการฉลอง นักบุญใดๆ ทั้งสิ้น ช่วงแปดวันหลังสมโภชพระคริสตสมภพ กลับมีการฉลองนักบุญและฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งสมโภชพระนางมารีย์ พระชนนีพระเป็นเจ้าแทรกเข้ามาด้วย นักบุญที่ได้รับการฉลองในช่วงเวลานี้ ถูกเรียก ว่าเป็น “กลุ่มเพื่อนพระเยซู” อันได้แก่ นักบุญสเตเฟน มรณสักขีท่านแรก (26 ธันวาคม) นักบุญยอห์น อัครสาวก (27 ธันวาคม) บรรดาทารกผู้วิมล (28 ธันวาคม วันนี้ บางแห่งกำ�หนดให้มีการภาวนาเพื่อบรรดาทารกที่ถูกฆ่าก่อน กำ�เนิด) เรียบเรียงจาก Ceremonies of the Liturgical Year ของ Msgr. Peter J. Elliott จัดพิมพ์โดย แผนกพิธีกรรม ดนตรี และศิลปศักดิ์สิทธิ์ ฝ่ายบุคลาภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 12 ธันวาคม 2007 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 11 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2013 3


พี่

บทความ...แผนกวิถชี มุ ชนวัด

น้องทีร่ กั พ่อเชือ่ ว่าในการเริม่ ต้นชุมชนคริสตชนย่อยในงานวิถชี มุ ชนวัด สิง่ ทีต่ อ้ ง ทำ�ควบคูก่ นั ไปกับการเสริมสร้างจิตตารมณ์วถิ ชี มุ ชนวัดก็คอื ความเข้าใจเบือ้ งต้น ในการอ่านพระคัมภีรซ์ ง่ึ เป็นพระวาจาของพระเจ้า เพราะพระวาจาของพระเจ้าเป็นหัวใจ ของการประชุม พ่อได้อา่ นบทความของคุณพ่อชัยยะ กิจสวัสดิ์ ซึง่ ได้ให้ความเข้าใจเบือ้ งต้น เกีย่ วกับพระวาจาของพระเจ้า จึงอยากนำ�มาแบ่งปันแก่พน่ี อ้ ง เชือ่ ว่าเป็นประโยชน์อย่าง มากในการเริม่ ต้นการประชุมของชุมชนใหม่โดยมีพระวาจาของพระเจ้าเป็นศูนย์กลาง พระคัมภีร์คือพระวาจาของพระเจ้าซึ่งตรัสด้วยภาษามนุษย์เพื่อความรอดของเราทุกคน แบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ 1. ภาคพันธสัญญาเดิม ประกอบด้วยหนังสือ 46 เล่ม 2. ภาคพันธสัญญาใหม่ ประกอบด้วยหนังสือ 27 เล่ม พระคัมภีร์เป็นหนังสือที่ได้รับการแปลมากที่สุดในโลก ทั้งพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ได้รับการแปลและพิมพ์แล้ว 475 ภาษา เฉพาะพระธรรมใหม่ได้รับการแปลและพิมพ์ 1,240 ภาษา และที่แปลเพียงบางส่วนอีก 823 ภาษาจากภาษาที่มีอยู่ใน โลกทั้งหมดประมาณ 6,600 ภาษา (ข้อมูลจาก United Bible Society เดือนธันวาคมปี 2011) มีหลายองค์กรทีแ่ ปลและพิมพ์พระคัมภีรภ์ าษาไทย เช่น สมาคมพระคริสตธรรมไทย องค์การอมตธรรมร่วมสมัยและคณะกรรมการ คาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรมแผนกพระคัมภีร์ ตอนต้นของหนังสือพระคัมภีร์แต่ละเล่มจะมี “สารบัญ” ซึ่งบอกลำ�ดับหนังสือต่างๆ ในพระคัมภีร์พร้อมกับอักษรย่อและ หน้าเริ่มต้นของหนังสือแต่ละเล่ม สารบัญของหนังสือพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ฉบับคาทอลิกอยู่ที่หน้า 21–23 พระคัมภีร์นอกจากจะประกอบด้วยหนังสือหลายเล่มแล้ว แต่ละเล่มยังแบ่งออกเป็น “บท” และแต่ละบทยังแบ่งออกเป็น “ข้อ” อีกด้วย ตัวเลขบอกบทจะมีขนาดใหญ่และอยู่ตอนเริ่มต้นของแต่ละบท ส่วนตัวเลขบอกข้อจะพิมพ์ด้วยอักษรตัวเล็กเหนือ ข้อความของข้อนั้นๆ ในการค้นหาข้อความที่ต้องการ จำ�เป็นต้องรู้ “วิธีการอ้างอิงพระคัมภีร์” ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้ 1. ชื่อหนังสือนิยมอ้างอิงโดยใช้อักษรย่อ 3 ตัวสำ�หรับหนังสือในภาคพันธสัญญาเดิม และ 2 ตัวสำ�หรับหนังสือในภาค พันธสัญญาใหม่ เช่น ปฐก หมายถึงหนังสือปฐมกาล มธ หมายถึงพระวรสารโดยนักบุญมัทธิว รม หมายถึงจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโรม รายชื่อหนังสือทุกเล่มพร้อมกับอักษรย่อ มีพิมพ์อยู่ในหนังสือพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่หน้า 21 2. ตัวเลขบอกบทอยู่ในตำ�แหน่งถัดจากอักษรย่อบอกชื่อหนังสือ เช่น อสย 43 หมายถึงหนังสือประกาศกอิสยาห์บทที่ 43 ลก 15 หมายถึงพระวรสารโดยนักบุญลูกาบทที่ 15 3. ตัวเลขบอกข้อ อยู่ถัดจากตัวเลขบอกบทโดยมีเครื่องหมายใดเครื่องหมายหนึ่งดังต่อไปนี้ขั้นอยู่ตรงกลาง 3.1 เครื่องหมายจุลภาค เช่น ยน 6,2 หมายถึงพระวรสารโดยนักบุญยอห์นบทที่ 6 ข้อที่ 2 3.2 เครื่องหมายจุด เช่น ยก 3.5-6 หมายถึงจดหมายของนักบุญยากอบบทที่ 3 ข้อที่ 5 ถึง 6 3.3 เครื่องหมายจุดและจุลภาค เช่น อพย 13;14-17 หมายถึงหนังสืออพยพบทที่ 13 ข้อที่ 14 ถึง 17 3.4 เครื่องหมายจุดสองจุด เช่น กจ1:2 หมายถึงหนังสือกิจการอัครสาวกบทที่ 1 ข้อที่ 2 4. ตัวเลขบอกฉบับ วางอยู่หน้าอักษรย่อชื่อหนังสือ เช่น 2 ปต 3:8-9 หมายถึงจดหมายของนักบุญเปโตรฉบับที่ 2 บทที่ 3 ข้อ 8 ถึง 9 1 ยน 5.13-15 หมายถึงจดหมายของนักบุญยอห์นฉบับที่ 1 บทที่ 5 ข้อ 13 ถึง 15 ในกรณีที่ไม่มีตัวเลขบอกฉบับหน้า อักษรย่อ ยน ให้หมายถึงพระวรสารโดยนักบุญยอห์น 1 ซมอ 3,10 หมายถึงหนังสือซามูแอลบทที่ 3 ข้อที่ 10 เป็นต้น ในเดือนนี้ขอรายงานข่าวกิจกรรมของวิถีชุมชนวัด อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ดังนี้ วันที่ 5 พฤศจิกายน เวลา 14.00 น.-16.00 น. ประชุมคณะกรรมการดำ�เนินงานวิถชี มุ ชนวัดทีส่ กั การสถานบุญราศี นิโคลาส บุญเกิด กฤษบำ�รุง โดยพิจารณาถึงโครงการที่จะทำ�ในปี ค.ศ. 2014 วันที่ 11 พฤศจิกายน คุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช ซิสเตอร์สุวรรณี พันธ์วิไล ซิสเตอร์มารศรี จันทร์ชลอ คุณบุญหลาย และคุณลูกศรได้เข้าร่วมประชุมกับคุณพ่อสุรชัย ชุ่มศรีพันธ์ ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายปกครองวัด เขต 2 และคุณพ่อชัยยะ กิจสวัสดิ์ ผูร้ บั ผิดชอบงานวิถชี มุ ชนวัดของ เขต 2 ณ วัดแม่พระกุหลาบทิพย์ เพือ่ กำ�หนดแผนงานวิถชี มุ ชนวัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และกำ�หนดรายละเอียดกิจกรรมที่จะจัดในการสัมมนาทีมอภิบาล (ทีมที่จะสนับสนุนให้เกิดงานวิถีชุมชนวัดตามวัดต่างๆ) โดย เชิญชวนผู้นำ�วิถีชุมชนวัดที่ผ่านการอบรมจากเขต 2 และจากแผนกวิถีชุมชนวัด และพี่น้องผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนา ในวันที่ 14-15 ธันวาคม นี้ที่โรงแรมชาลีน่า รายละเอียดและใบสมัครสอบถามได้ที่วัดของพี่น้อง หรือที่คุณบุญหลาย บุญทา เจ้าหน้าที่ แผนกวิถีชุมชนวัดครับ 4 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 11 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2013


บอกข่าวเล่าสาร

แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ

เคารพพระศพของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระอัครสังฆราช พอล ชาง อิน-นัม สมณทูตวาติกันประจำ� ประเทศไทยและบรรดาพระสังฆราช คาทอลิกชาวไทย เดินทางไปร่วม เคารพพระศพของสมเด็ จ พระ ญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อวัน ศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2013 / Photo: มองซินญอร์ วิษณุ ธัญญอนันต์ และ คุณวัชรี กิจสวัสดิ์

พิธีมิสซาปลงศพ ยอแซฟ บุญมี แก้วแหวน วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2013 เวลา 10.30 น. คุณพ่อวิทยา แก้วแหวน และคุณพ่อพรชัย แก้วแหวน เป็นประธานในพิธีมิสซาปลงศพ ยอแซฟบุญมี แก้วแหวน บิดา ร่วมกับพระสังฆราชสังวาลย์ ศุระศรางค์ คุณพ่อวุฒิเลิศ แห่ล้อม พร้อมด้วยพระสงฆ์ นักบวชชายหญิง และ บรรดาญาติมิตรมาร่วมอาลัยรักเป็นครั้งสุดท้ายจำ�นวนมาก ณ วัดมารีย์สมภพ บ้านแพน หลังมิสซาเคลื่อนศพไปยังสุสานวัดมารีย์สมภพ

พิธีมิสซาปลงศพ เทเรซา กิมหย่ง แซ่ลิ้ม วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2013 เวลา 10.00 น. พิธีมิสซาปลงศพ เทเรซา กิมหย่ง แซ่ลิ้ม มารดาของคุณพ่อสมเกียรติ บุญอนันตบุตร คุณพ่อชูศักดิ์ บุญอนันตบุตร และซิสเตอร์มาลีรัตน์ บุญอนันตบุตร ณ วัดเซนต์หลุยส์ สาทร โดยมีพระสังฆราชยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ เป็นประธาน พร้อมด้วยคณะสงฆ์ นักบวชชาย หญิง และบรรดาญาติมิตรมาร่วมอาลัยรักจำ�นวนมาก หลังพิธีบูชาขอบพระคุณเคลื่อนศพไปยัง สุสานวัดพระตรีเอกภาพ หนองหิน

แบ่งปันประสบการณ์และเทิดเกียรติแม่พระฟาติมา วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน 2013 คุณพ่อสุรชัย กิจสวัสดิ์ เจ้าอาวาสวัดแม่พระฟาติมาจัดแบ่งปันประสบการณ์ ประจำ�เดือนโดยเชิญซิสเตอร์ มารศรี จันทร์ชลอ และซิสเตอร์บังอร มธุรสสุวรรณ มาแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับพระวาจา ช่วงท้ายผู้แทนสภาภิบาลกล่าวขอบคุณพร้อม มอบของที่ระลึกแด่ซิสเตอร์ทั้งสอง เวลา 19.00 น. คุณพ่อเปโตร เหงียน หูว์ เบี๊ยต พระสงฆ์ใหม่คณะคามิลเลียน เป็นประธานในพิธีบูชา ขอบพระคุณ พร้อมด้วยพระสงฆ์ และพี่น้องสัตบุรุษมาร่วมพิธีในวันนี้จำ�นวนมาก สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 11 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2013 5


รับศีลกำ�ลังเขต 1 วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2013 พระอัครสังฆราช เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็ น ประธานในพิ ธี บู ช า ขอบพระคุณโปรดศีลกำ�ลัง นักเรียนคาทอลิก ในเขต 1 จำ�นวน 50 คน ณ วัดพระ กุมารเยซู กม.8 อบรมเพิม่ พูนความรูค้ รูค�ำ สอน เขต 5 ครั้งที่ 2 ปีการศึกษา 2556 คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช จิตตาภิบาล เขต 5 จัดอบรมเพิม่ พูนความรูค้ รูค�ำ สอน เขต 5 ครั้งที่ 2 ปีการศึกษา 2556 เมื่อวันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2013 ทีโ่ รงเรียนนักบุญเปโตร ในหัวข้อ “การใช้ พระคัมภีร์ด้วยรูปแบบ Bibliodrama ในการสอนคำ�สอน” โดยมีซิสเตอร์ บังอร มธุรสสุวรรณ ภคินคี ณะพระหฤทัย ของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ คุณครูประภา วีระศิลป์ คุณครูทัศนีย์ มธุรสสุวรรณ และคุณครูอรพินท์ ชมจินดา เป็นวิทยากร จำ�นวนครูคำ�สอนจากโรงเรียนในเขต 5 ทุกโรงเรียน เข้ารับการอบรมรวมทั้งสิ้น 63 คน

ฟื้นฟูชีวิตครอบครัว ขั้นที่ 1 (ฟฟ.1) รุ่นที่143 แผนกส่งเสริมชีวิตครอบครัว (สชค.) อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ นำ�โดยคุณพ่อพรศักดิ์ ชื่นจิตอภิรมย์ ผู้จัดการแผนกฯ จัดสัมมนาฟื้นฟูชีวิตครอบครัว ขั้นที่ 1 (ฟฟ.1) รุ่นที่ 143 เมือ่ วันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2013 ทีบ่ า้ นสวนยอแซฟ สามพราน นครปฐม มีคสู่ ามี-ภรรยา เข้าสัมมนาฯ ทั้งสิ้น 9 คู่ (คาทอลิก 4 คู่, ต่างถือ 1 คู่ และพุทธ 4 คู่) โดยคู่ที่เป็นคาทอลิก มาจากเขต 1 ร.ร.เซนต์โยเซฟคอนแวนต์ (2คู่) เขต 3 วัดศีลมหาสนิท สวนผัก, เขต 5 บ้านเณรเล็กยอแซฟ สามพราน ต่างถือ มาจากเขต 4 วัดนักบุญเทเรซา หนองจอก และ พุทธ มาจากเขต 1 จำ�นวน 4 คู่ (ในพื้นที่ปกครองของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ) โครงการประกาศนียบัตรครูจิตตาภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีการศึกษา 2556 รุน่ ที่ 3 กลุ่มงานจิตตาภิบาล ฝ่ายการศึกษา ร่วมกับ ศูนย์คริสตศาสนธรรม ฝ่ายงานอภิบาล อัคร สังฆมณฑลกรุงเทพฯ ร่วมจัดโครงการ “หลักสูตร ประกาศนียบัตรครูจติ ตาภิบาล อัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ” เพื่อพัฒนาศักยภาพของครูจิตตา ภิ บ าลให้ ส ามารถทำ � งานอภิ บ าลและประกาศ ข่ า วดี แ ละเป็ น การส่ ง เสริ ม ครู จิ ต ตาภิ บ าลให้ มี จิตตารมณ์แห่งพระวรสาร การอบรมครั้งที่ 10 หัวข้อ “การบูรณาการข้อคำ�สอนของศาสนา” โดยมี คุณพ่อจรัล ทองปิยะภูมิ คณะซาเลเซียน เป็นวิทยากร เมื่อวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2013 ณ ศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาลบ้านผู้หว่าน

กิจกรรมธรรมทูต ส่งเสริมอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก ร.ร.นักบุญเปโตร วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน 2013 แผนกสนับสนุนงานธรรมทูต ร่วมกับแผนกหน่วยงาน เคลื่อนที่ ฝ่ายงานธรรมทูต อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ร่วมกิจกรรมธรรมทูต เพื่อส่งเสริม อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก ให้กับนักเรียนระดับชั้น ป.1 – ม.3 ณ โรงเรียนนักบุญเปโตร สามพราน

6 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 11 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2013


ฉลองปิดปีแห่งความเชื่อ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ วั น เสาร์ ที่ 23 พฤศจิ ก ายน 2013 อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ จั ด งานเฉลิ ม ฉลองการปิ ด ปี แ ห่ ง ความเชื่ อ อย่ า งเป็ น ทางการ ณ วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา พิธีบูชาขอบพระคุณ เวลา 10.30 น. โดยพระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธานร่วมกับ พระอัครสังฆราช พอล ชาง อิน-นัม เอกอัครสมณทูตวาติกันประจำ�ประเทศไทย พระสังฆราชสังวาลย์ ศุระศรางค์ พร้อมด้วยพระสงฆ์ หัวหน้าเขตทั้ง 6 โดยมีเอกอัครราชทูตโปรตุเกสประจำ�ประเทศไทย นักบวชชาย หญิง และพี่น้องสัตบุรุษอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ มาร่วมพิธี ในวันนี้จำ�นวนมาก ท้ายพิธีบูชาขอบพระคุณ คุณพ่อวิทยา แก้วแหวน กล่าวขอบคุณประธานในพิธีและเป็นประธานในพิธีเฝ้าศีลและอวยพร ศีลมหาสนิท และยังมีนิทรรศการส่งเสริมกระแสเรียกของนักบวชคณะต่างๆ พร้อมทั้งมีของที่ระลึกมอบให้มากมาย

เข้าเงียบฟื้นฟูจิตใจพระสงฆ์เขต 6 เข้าเงียบฟื้นฟูจิตใจพระสงฆ์เขต 6 ที่กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 28-30 ตุลาคม 2013 ใน เนือ้ หาเรือ่ ง “ความสัมพันธ์ของงาน อภิบาล งานเผยแผ่ธรรม งานศาสนสัมพันธ์” และ “ช่องทางในชีวิตสงฆ์ที่จะทำ�งานเผยแผ่ธรรม ด้วยการภาวนาและถวายมิสซา” โดยมี คุณพ่อวิทยา แก้วแหวน เป็นผู้เทศน์ฟื้นฟูจิตใจ

ฉลอง 25 ปี ชีวิตสงฆ์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน 2013 ทาง วัดนักบุญอันนา ท่าจีน ได้ร่วมแสดงความยินดี โอกาสบวชเป็นพระสงฆ์ครบ 25 ปี ของคุณพ่อ ยอห์นบอสโก สุขสันต์ ชาวปากน้ำ� สัตบุรุษ วัดนักบุญอันนา และคุณพ่อเปโตร สามัคคี ชัยพระคุณ สัตบุรุษวัดนักบุญเปโตร พระสงฆ์ คณะซาเลเซียน โดยมีพระสังฆราช ยอแซฟ สังวาลย์ ศุระศรางค์ พระสังฆราชกิตติคุณได้ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีบูชามิสซา ซึ่งเมื่อ 25 ปีที่แล้วคุณพ่อทั้งสองได้รับศีลบวชครั้งแรกที่ วัดนักบุญอันนา ท่าจีน

พักผ่อนประจำ�ปีฝ่ายงานอภิบาล และฝ่ายงานธรรมทูตอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ วันที่ 24-27 พฤศจิกายน 2013 ฝ่ายงานอภิบาลพร้อมด้วยฝ่ายงานธรรมทูตนำ�โดย คุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ และคุณพ่อสมเกียรติ บุญอนันตบุตร จัดพักผ่อนประจำ�ปีให้ กับเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยงานอภิบาลและฝ่ายงานธรรมทูตอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และเจ้าหน้าที่ จากชมรมนักธุรกิจคาทอลิก จำ�นวน 32 ท่าน พร้อมด้วยคุณพ่อสราวุธ อมรดิษฐ์ คุณพ่อ อภิเดช สุภาจักร์ คุณพ่อชูศักดิ์ บุญอนันตบุตร ณ แพ 500 ไร่ และเขื่อนเชี่ยวหลาน

ปฏิทินกิจกรรม เดือนธันวาคม 2013 2-3 ธ.ค. เข้าเงียบฟื้นฟูจิตใจพระสงฆ์อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ประจำ�เดือน ณ บ้านผู้หว่าน 3 ธ.ค. Santification Day ฉลองศาสนนามฟรังซิสเซเวียร์ พระอัครสังฆราช เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ณ บ้านผู้หว่าน 7 ธ.ค. แผนกส่งเสริมชีวิตครอบครัวจัดงานชุมนุมครอบครัว ณ วัดพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์ 13-15 ธ.ค. แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จัดทัวร์แสวงบุญ อาสนวิหารอัครเทวดาราฟาแอล สุราษฎร์ธานี 14-15 ธ.ค. แผนกวิถีชุมชนวัดจัดสัมมนาวิถีชุมชนวัด ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ณ โรงแรมชาลีน่า ลาดพร้าว 122 19 ม.ค. เสกสุสานศานติคาม เวลา 10.00 น ณ หอประชุมบุญราศีฯ พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ประธาน (จัดรอบเดียว) สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 11 ฉบับที่ 12 เดือนธันวาคม 2013 7


เกร็ดความรู้คำ�สอน...คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม

สวัสดีพี่น้องที่รัก

เราเข้ า สู่ เ ดื อ นสุ ด ท้ า ยของปี และเริ่ ม ปีพิธีกรรมใหม่ ในเดือนนี้เรายังร่วมฉลอง ศาสนนามของ พระอั ค รสั ง ฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ขอพระเจ้าอวยพรให้พระคุณเจ้าปฏิบัติหน้าที่ ตามที่พระองค์มอบหมายได้อย่างดีครบถ้วน และมีสุขภาพที่แข็งแรงเสมอ เราเข้าสู่เทศกาล เตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า และการฉลอง พระคริสตสมภพ ปีเก่ากำ�ลังจะผ่านไป เรามี หลายสิ่งที่จะต้องขอบคุณพระเจ้า และมีอีก หลายสิ่งที่ต้องวอนขอพระองค์เป็นพิเศษด้วย สำ�หรับคริสตชนยุคแรกๆ แล้ว การรอคอย การกลับมาของพระคริสตเจ้า เป็นเรื่องใหญ่ และเป็นความหวังของพวกเขา เขาเข้าใจดี ว่ า การเสด็ จ มาบั ง เกิ ด ของพระเยซู เจ้ า ไม่ ใช่ เป็ น การสิ้ น สุ ด ของการรอพระเมสสิ ย าห์ เพราะสิ่งที่สำ�คัญกว่าคือการรอคอยการเสด็จ กลับมาครั้งที่สอง หรือสำ�หรับเราคริสตชน เราเรียกว่าวันสุดท้าย การพิพากษาครัง้ สุดท้าย นั่ น เอง พระเยซู เจ้ า มาบั ง เกิ ด เป็ น มนุ ษ ย์ พระองค์เพียรสอนบรรดาศิษย์ให้เข้าใจเรื่อง พระอาณาจักรของพระเจ้า สังคมแห่งความรัก ให้อภัย และเป็นมิตรกัน พระองค์สอนว่า พระอาณาจักรของพระองค์เริ่มต้นแล้ว แต่ยัง ไม่สำ�เร็จบริบูรณ์ และพระองค์จะเสด็จมา อีกครั้ง การรอคอยของเราเป็นการรอคอย ในสิ่งที่เรารู้แน่ชัดว่าต้องเกิดขึ้น ไม่เหมือน การนั ด และรอใครคนหนึ่ ง ซึ่ ง เราไม่ มั่ น ใจ ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าเขาจะมาได้หรือไม่ เพราะ ฉะนั้ น การรอของคริ ส ตชนจึ ง ไม่ ใ ช่ ค วาม กระวนกระวายใจ ไม่ใช่ความตื่นตระหนก ความกลัว ความหวาดระแวง แต่เป็นการ รอคอยพระเจ้าที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความหวัง ความรัก ความปิติยินดี เหมือนกับเรารู้ชัดว่า คนทีเ่ รานัดไว้ก�ำ ลังเดินทางมาถึง เราเตรียมตัว จัดเตรียมสัมภาระ จัดทรงผม เสื้อผ้าให้ดู เรียบร้อย เพราะคนที่เรารักกำ�ลังมา ดังนี้ พี่น้องที่รักเทศกาลเตรียมเสด็จพระคริสตเจ้า นี้ ขอให้ใจเรามีความยินดี เปี่ยมปิติในพระเจ้า ในชีวิตประจำ�วันของเรา และประกาศพระ อาณาจักรของพระเจ้า นั่นคือความรัก การ ช่วยเหลือกันแก่คนที่อยู่รอบข้าง โดยเฉพาะ อย่ า งยิ่ ง ในสถานการณ์ ที่ พี่ น้ อ งในประเทศ ของเรากำ�ลังรังเกียจกันเพราะความคิดเห็นที่ แตกต่าง พระเยซูเจ้ากำ�ลังเสด็จมาแล้ว เราจะ เตรียมตัวรับพระองค์ ด้วยความรัก รอยยิ้ม และความปรารถนาดี พระองค์มาแล้ว... ไปรับพระองค์กันเถอะ...

เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า หรือที่คริสตชนคาทอลิกรุ่นเก่าๆ มักจะใช้ ทับศัพท์ว่า “อัดแวนโต” (Advento) ซึ่งให้ ความหมายตามคำ�ศัพท์ภาษาลาตินว่า “การ มาถึง” เป็นเทศกาลที่ได้รับการถือปฏิบัติใน พระศาสนจักรตะวันตกส่วนใหญ่ อันเป็นช่วงเวลาของการรอคอย และของการเตรียมตัว เตรียมจิตใจเพื่อการสมโภชการสมภพของพระเยซูคริสตเจ้าในวันคริสต์มาส เทศกาล เตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าถือว่าเป็นการเริ่มต้นปีพิธีกรรมของพระศาสนจักรตะวันตก ส่วนพระศาสนจักรตะวันออกเรียกเทศกาลนี้ว่า “เทศกาลถือศีลอดพระคริสตสมภพ” (Nativity Fast) ซึ่งจะแตกต่างออกไป ทั้งในช่วงระยะเวลาและการถือปฏิบัติ และมิได้ เป็นการเริม่ ต้นของปีพธิ กี รรมของพระศาสนจักรตะวันออกซึง่ จะเริม่ ต้นเทศกาลนีใ้ นวันที่ 1 กันยายน เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าหรือที่ภาษาลาตินใช้คำ�ว่า “Adventus” เป็นการ แปลจาก ภาษากรีกคำ�ว่า “Parousia” ซึ่งโดยปรกติแล้วมักจะหมายถึง “การเสด็จกลับ มาอีกครั้งหนึ่งของพระคริสตเจ้า” บรรดาคริสตชนต่างเชื่อว่าเทศกาลเตรียมรับเสด็จ พระคริสตเจ้า เป็นการรำ�ลึกถึงการเสด็จมาครัง้ แรกทีบ่ รรดาชาวฮีบรูรอคอยการมาบังเกิด ของพระเมสสิยาห์ของพวกเขา เช่นเดียวกับที่บรรดาคริสตชนกำ�ลังรอคอยการเสด็จ กลับมาอีกครั้งหนึ่งของพระคริสตเจ้า เนื้ อ หาและคำ � สอนของบทอ่ า นระหว่ า งเทศกาลเตรี ย มรั บ เสด็ จ พระคริ ส ตเจ้ า ส่วนใหญ่แล้วจะเป็น การเตรียมรับเสด็จการเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่งของพระคริสตเจ้า ในขณะเดียวกันก็ร่วมรำ�ลึกถึงการเสด็จมาครั้งแรกของพระคริสตเจ้าในวันคริสต์มาส และเพือ่ เป็นการชีน้ �ำ ความคิดอ่านของบรรดาคริสตชนให้มงุ่ ไปสูก่ ารเสด็จมาครัง้ แรกของ พระเยซูคริสตเจ้าในฐานะที่เป็นพระผู้ไถ่และมุ่งไปสู่การเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่งของ พระองค์ ในฐานะที่เป็นพระตุลาการผู้สูงสุด พระศาสนาจักรผู้เป็นมารดาก็ได้นำ�เสนอ บทอ่านเป็นพิเศษสำ�หรับแต่ละวันอาทิตย์ตลอด ทัง้ 4 สัปดาห์ เพือ่ เป็นการปลุกจิตสำ�นึก แห่งวันสมโภชพระคริสตสมภพให้กับบรรดาสัตบุรุษ เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองการเสด็จมาของ พระเยซูคริสตเจ้าในเวลาและในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เป็นช่วงเวลาแห่งการ รอคอย ดังนั้น การเตรียมตัวเตรียมจิตใจในเทศกาลที่สำ�คัญนี้เพื่อการสมโภชพระคริสต สมภพอย่างมีคุณค่าและอย่างบังเกิดผลสำ�หรับชีวิตของคริสตชนแต่ละคน ก็คือ - ตื่นตัวตื่นเฝ้าในความเชื่อในการสวดภาวนาเปิดหัวใจยอมรับรู้ “เครื่องหมาย” แห่ง การเสด็จมาขององค์พระคริสตเจ้าในทุกๆ กรณีแวดล้อมและในทุกๆ ขณะของชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิง่ ณ ช่วงเวลาสุดท้ายของชีวติ ทีก่ �ำ ลังรอคอยการเสด็จกลับมาอีกครัง้ หนึง่ ของพระองค์ - ดำ�เนินชีวิตตามแบบอย่างขององค์พระเยซูคริสตเจ้า กลับใจละทิ้งกิเลส ปลูกฝัง คุณธรรม - เป็นประจักษ์พยานความชื่นชมยินดีที่องค์พระผู้ไถ่ได้นำ�มาให้กับมนุษยชาติใน การเสด็จมาบังเกิดเป็นมนุษย์ของพระองค์ รู้จักอดทนและให้อภัยซึ่งกันและกัน - เฝ้ารักษาจิตใจให้ยากจนและว่างเปล่าปล่อยวาง โดยเลียนแบบอย่างของแม่พระ นักบุญยอแซฟ และนักบุญยอห์น แบปติสต์ - ร่วมในพิธีบูชาขอบพระคุณในเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า อันเป็นการ ต้อนรับองค์พระเยซูคริสตเจ้าทีเ่ สด็จมาอยูท่ า่ มกลางพวกเราอย่างต่อเนือ่ งในชีวติ ของเรา สรุปจากงานเขียนของคุณพ่อวีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมและข่าวต่างๆ ในระดับวัด เขตและสังฆมณฑล ให้กับสัตบุรุษและบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 2. เพื่อช่วยฟื้นฟูบทบาทการเป็นผู้มีส่วนร่วมในงานอภิบาลและธรรมทูตในชีวิตของสัตบุรุษ และบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑล 3. เพื่อนำ�เสนอเครื่องมือ และแนวปฏิบัติในงานอภิบาลและธรรมทูตให้กับสัตบุรุษและบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑล สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ผู้รับผิดชอบ : ฝ่ายงานอภิบาลของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ที่ปรึกษา : คุณพ่อพงศ์เทพ ประมวลพร้อม, คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม บรรณาธิการ : คุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ กองบรรณาธิการ : นาทลดา จิตรอำ�ไพ, พฤกษา กิจเจริญ, มัลลิกา กิจบำ�รุง, เพชรี ชาวแพรกน้อย พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ บางรัก กรุงเทพฯ โทร. 0 2233 0523 โทรสาร. 0 2235 1405 สำ�นักงาน : อาคารคาทอลิกแพร่ธรรม 57 ซอยเจริญกรุง 40 เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. 0 2237 7315 โทรสาร. 0 2233 8159 E-mail : webmaster@catholic.or.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.