ปีท่ี 12 ฉบับที่ 6 ประจำ�เดือนมิถนุ ายน 2014
http://www.catholic.or.th/sarnbkk/
วิถชี มุ ชนวัด...
ทีบ่ า้ นของเรา และทีบ่ า้ นเพือ่ น...
1
น.
สมโภชพระหฤทัย ของพระเยซูเจ้า
ลำ�ธารแห่งชีวิต อยู่ในองค์พระเยซูเจ้า
จะเข้าใจ "BEC" ต้องเข้าใจ
"พระวรสารทั้งสี่" (2)
2
น.
8
น.
ชีวิตของนักบุญโทมัส อไควนัส เป็นบทเรียนสำ�คัญสำ�หรับพวกเรา ในยุคปัจจุบนั ท่านสอนพวกเราว่า เทววิทยามิใช่เป็นศัตรูตอ่ ความศรัทธา ภักดี แต่เป็น “สาวใช้” คอยบริการช่วยเหลือให้ผู้คนลงลึกในความ ศรัทธาภักดีมากขึ้น และไม่ใช่ความศรัทธาภักดีที่ผิวเผิน ผลงานประพันธ์ทางวรรณกรรมของท่าน อย่างเช่น “Adore te devote” และ “Pange lingua” ก็นับเป็น ผลงานสะท้อนออกทางความเชื่อที่โดดเด่นและเป็น ผลงานคลาสสิก ทีม่ ไิ ด้เพียงถูกนำ�มาใช้สอนเรียนเท่านัน้ แต่ยังถูกนำ�มาทำ�ให้เป็นชีวิต เป็นประสบการณ์ทาง ความเชื่อด้วย โดยใช้ขับร้องในพิธีกรรม วาทะพระอัครสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พระอัครสังฆราชอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ บทเทศน์ฉลองวัดนักบุญโทมัส อไควนัส วันเสาร์ท่ี 1 กุมภาพันธ์ 2014
บทความ...ทีมงานวิถีชุมชนวัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
พี่
น้ อ งที่ รั ก เมื่ อ วั น เสาร์ ที่ 10 พฤษภาคม ที่ ผ่ า นมา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และสภาพระสังฆราชคาทอลิก แห่งประเทศไทย จัดฉลองนักบุญยอห์น ปอลที่ 2 และนักบุญยอห์น ที่ 23 พระสันตะปาปา ทีบ่ า้ นเณรเล็กนักบุญยอแซฟ สามพราน นครปฐม โดยจัดพิธีบวชพระสงฆ์ใหม่ 4 ท่านในภาคเช้า และในภาคบ่าย แผนก วิถีชุมชนวัด ฝ่ายอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัดวจนพิธีกรรม แสดงความเคารพต่อพระธาตุของนักบุญทั้งสอง โดย คุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ เป็นประธานในพิธี ต่อจากนั้นคุณพ่อชัยยะ กิจสวัสดิ์ ได้เทศน์ปลุกจิตสำ�นึกผู้ที่มาร่วมพิธี โดยเน้นเรื่องการมีส่วนร่วมของ คริสตชนในพันธกิจของพระศาสนจักร และเรื่องวิถีชุมชนวัด ต่อจากนั้นเป็นพิธีแสดงเจตจำ�นงและรื้อฟื้นการแสดง เจตจำ�นงเพื่ออุทิศตนปฏิบัติหน้าที่ทีมงานอภิบาลและรับเข็มทีมงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ มีทีมงานอภิบาล เข้าร่วมพิธี จำ�นวน 204 คน (ผู้แสดงเจตจำ�นง จำ�นวน 160 คน ผู้รื้อฟื้นฯ 44 คน) จาก 35 วัด โดยพระอัครสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธี พร้อมกับคุณพ่อวุฒิเลิศ แห่ล้อม อุปสังฆราช ทีมงานอภิบาลที่มาร่วมพิธีเปี่ยมไปด้วยความชื่นชมยินดี พร้อมทั้งตั้งใจจะทำ�หน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ขณะนี้คุณพ่อและทีมงานอภิบาลในหลายๆ วัด ได้เริ่มปลุกจิตสำ�นึก ประชาสัมพันธ์ และรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วม ชุมชนคริสตชนย่อย พร้อมกับแจกหนังสือคู่มือให้แก่ผู้สมัคร และทีมงานอภิบาลยังได้ออกเยี่ยมเยียนบ้านของพี่น้อง และผู้สมัครเข้าร่วมชุมชนคริสตชนย่อย บางวัดได้เริ่มมีชุมชนคริสตชนย่อยแล้ว ขอพี่น้องเป็นกำ�ลังใจ สนับสนุน และ ขอคำ�ภาวนาสำ�หรับทีมงานอภิบาล เพื่อการเสริมสร้างวิถีชุมชนวัดในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ของเราด้วยครับ ในสาร สังฆมณฑลฉบับหน้า พ่อจะเริ่มแบ่งปันประสบการณ์การเริ่มวิถีชุมชนวัดและกิจกรรมของวิถีชุมชนวัดในแต่ละวัด เชื่อว่า จะเป็นประโยชน์กบั พีน่ อ้ งทีส่ นใจในการทำ�งานวิถชี มุ ชนวัด และเพือ่ สร้างความเข้าใจในเรือ่ งวิถชี มุ ชนวัดแก่พนี่ อ้ งทุกท่าน ด้วยครับ (อ่านต่อหน้า 4)
เนื้อหาจากเว็บไซต์คณะภคินีพระหฤทัย ของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ
ความรักของพระคริสตเจ้า พระองค์ปรารถนาให้เรารักกันและกัน เหมือนอย่างทีพ่ ระองค์ทรงรักเรา พระองค์เชิญชวน เราเลียนแบบพระองค์ เพราะพระหฤทัยศักดิส์ ทิ ธิย์ งิ่ ของพระองค์ทรงสุภาพ อ่อนโยน อ่อนหวาน ละมุนละไม "ความศรัทธา ต่อพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า" พระนางพรหมจารีมารีอาเป็นคนแรก ที่แสดงความศรัทธาต่อพระหฤทัย ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง ในปี 1856 พระสันตะสำ�นักอนุญาตให้คริสตชนทั่วโลกทำ�วันฉลองพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า และตั้งแต่เวลานั้น เป็นต้นมา สมเด็จพระสันตะปาปาทุกองค์ทรงส่งเสริมความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระหฤทัยอย่างเป็นทางการ ในปี 1899 สมเด็จพระสันตะปาปาเลโอที่ 13 ทรงประกาศพระสมณสาสน์ “ปีศกั ดิส์ ทิ ธิ”์ (Annum Sacrum) ทรงอธิบาย หลักการทางเทววิทยาของการมอบถวายตน (consecration) แด่พระหฤทัยของพระเยซูเจ้า โดยเน้นเป็นพิเศษว่า กิจการใดๆ ที่แสดงความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า “เป็นการแสดงความเคารพต่อพระบุคคลของพระเยซูเจ้า โดยตรงอย่างแท้จริง” และยังมีพระสมณสาสน์เกี่ยวกับพระหฤทัย ของพระสันตะปาปาอีกหลายพระองค์ ในปี 1979 สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ประกาศพระสมณสาสน์ฉบับแรก “พระผู้ไถ่มนุษย์” (Redemptor Hominis) ทรงอ้างโดยตรงถึงพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าว่า “การไถ่บาปมนุษย์ในความหมายที่ลึกซึ้งที่สุดก็คือ ความ ยุติธรรมบริบูรณ์ ในใจของมนุษย์ คือพระหฤทัยของพระบุตรเพียงพระองค์เดียวของพระเจ้า เพื่อความยุติธรรมของ พระองค์จะกลายเป็นความยุติธรรมในใจของมนุษย์มากมาย…ผู้ถูกเรียกให้มารับความรัก” (9) ในปี 2005 สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ทรงประกาศพระสมณสาสน์ “พระเจ้าทรงเป็นความรัก” (Deus Caritas Est) ทรงอธิบายว่า การเป็นคริสตชนไม่ได้เป็นผลของการปฏิบัติธรรมหรือเป็นความคิดที่ลึกซึ้ง แต่เป็นการพบ กับเหตุการณ์หรือบุคคลซึ่งเปิดมิติใหม่และให้แนวทางที่แน่นอนแก่ชีวิต บุคคลนั้นคือพระเยซูเจ้า พระบุตรของพระเจ้า “พระคัมภีร์เล่าประวัติศาสตร์ความรักของพระเจ้าว่าพระองค์เสด็จมาพบเรา ทรงหาวิธีต่างๆ ที่จะชนะใจเรา จนถึงอาหาร ค่ำ�มื้อสุดท้ายของพระเยซูเจ้ากับบรรดาศิษย์ จนถึงพระหฤทัยที่ถูกแทงของพระองค์บนไม้กางเขน จนถึงพระเยซูเจ้าผู้ทรง กลับคืนพระชนมชีพแสดงพระองค์แก่บรรดาศิษย์ และกิจการยิ่งใหญ่ของพระองค์ที่ทรงนำ�ทางแก่พระศาสนจักรแรกเริ่ม โดยอาศัยการกระทำ�ของบรรดาอัครสาวก” (17) ความเลื่อมใสศรัทธา หมายถึง ความเคารพที่ขึ้นกับความรู้สึกของแต่ละคน คือบุคคลหนึ่ง “มอบตน” “อุทิศตน” หรือ “รู้สึกผูกพันด้วยความรัก” กับอีกบุคคลหนึ่ง ผู้ใดมีความศรัทธาต่อนักบุญองค์ใดองค์หนึ่ง ผู้นั้นก็รู้สึกผูกพันด้วย ความรักกับนักบุญองค์นั้น เช่น ผู้มีความศรัทธาต่อนักบุญอันตนระลึกถึงนักบุญองค์นี้ด้วยความรักบ่อยๆ ไม่เพียงระลึก ถึงท่านปีละครัง้ ในวันฉลองซึง่ ตรงกับวันที่ 13 มิถนุ ายน แต่เขาภาวนาบ่อยๆ ต่อนักบุญอันตน พยายามแสดงความเคารพ โดยถวายเทียน จุดประทัด ทำ�ทาน หรือสวดนพวาร ฯลฯ 2 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 12 ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน 2014
ในทำ�นองเดียวกัน พระศาสนจักรเชิญชวนสัตบุรุษให้แสดงคารวกิจต่อพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าไม่เพียงปีละครั้งใน วันสมโภช แต่ยงั เชิญชวนผูม้ คี วามศรัทธาต่อพระหฤทัยให้สวดบทภาวนาถวายตนแด่พระหฤทัยทุกวัน ระลึกถึงพระหฤทัย ทุกวันศุกร์ต้นเดือน รับศีลมหาสนิทและนมัสการศีลมหาสนิทเพื่อชดเชยบาป สวดภาวนาสั้นๆ แสดงความไว้วางใจ วอนขอพระพรเพื่อจะได้มีความรู้สึกนึกคิดเยี่ยงพระองค์ ปฏิบัติคุณธรรมตามพระฉบับของพระองค์ มีรูปปั้นหรือภาพวาด ของพระหฤทัยในบ้าน แขวนเหรียญพระหฤทัยไว้ติดตัว ฯลฯ พื้นฐานของความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า แม้เป็นที่รู้จักกันดีว่า ความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระหฤทัยเผยแผ่ในหมู่คริสตชนทั่วไปในศตวรรษที่ 17 โดย ผลงานของ นักบุญยอห์น เอิ๊ดส์ (+1680) และนักบุญมาร์การีตา มารีย์ อาลาก็อก (+1690) แต่ความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระหฤทัย ของพระเยซูเจ้า มีพนื้ ฐานและศูนย์กลางในธรรมล้�ำ ลึกของพระคริสตเจ้า พระบุตรผูท้ รงบังเกิดเป็นมนุษย์เพือ่ ช่วยทุกคนให้ รอดพ้น ตั้งแต่สมัยของนักบุญยอห์นและนักบุญเปาโล พระศาสนจักรมีความเลื่อมใสศรัทธาต่อความรักของพระเจ้าผู้ทรง รักมนุษย์จนประทานพระบุตรเพียงพระองค์เดียวแก่ทุกคน และมีความเลื่อมใสศรัทธาต่อความรักของพระเยซูเจ้า ผู้ทรง รักมนุษย์จนทรงมอบพระองค์เพือ่ ทุกคน กระนัน้ ก็ดี ยังไม่พดู ถึงความเลือ่ มใสศรัทธาต่อพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าโดยตรง แต่ในพันธสัญญาใหม่มีข้อความ 2 ตอนที่สนับสนุนความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าคือ เรื่องคำ�สรรเสริญของพระเยซูเจ้าด้วยความยินดี (มธ 11:25-30) พระเยซูเจ้าทรงสำ�แดงพระองค์ว่า มีพระทัยสุภาพ อ่อนโยนและถ่อมตน นักบุญมัทธิวบันทึกเรือ่ งนีเ้ พือ่ บรรดาศิษย์ปฏิบตั ติ ามพระฉบับของพระองค์ และเรือ่ งทหารแทงด้าน ข้างพระวรกายของพระเยซูเจ้า (ยน 19:31-37) นักบุญยอห์นเล่าว่า เมื่อทหารแทงด้านข้างพระวรกายของพระเยซูเจ้า พระโลหิตและน้ำ�ไหลออกมาทันที นักบุญยอห์นยังอ้างคำ�ทำ�นายของประกาศกเศคาริยาห์ที่ว่า “เขาทั้งหลายจะมองดูผู้ที่ เขาได้แทง” (ศคย 12:10) ข้อความนี้ต้องการสอนว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็นลูกแกะที่ถูกประหารเป็นบูชาจริงๆ สำ�หรับความ รอดพ้นของมนุษย์ และการถวายบูชาของพระเยซูเจ้าเป็นบ่อเกิดแห่งพระหรรษทานอันอุดมสำ�หรับมนุษย์ทุกคน “เมื่อเรา จะถูกยกขึ้นจากแผ่นดิน เราจะดึงดูดทุกคนเข้ามาหาเรา” (ยน 12:32) ความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระหฤทัยจึงเตือนเราให้ระลึกว่า พระเยซูเจ้าทรงมอบพระองค์ “สุดจิตใจ” โดยความสมัคร พระทัยและความกระตือรือร้น พระองค์ทรงสอนเราว่า เราต้องทำ�ความดีด้วยความยินดี เพราะ “การให้ย่อมเป็นสุข มากกว่าการรับ” (กจ 20:35) และ “พระเจ้าทรงรักผู้ที่ให้ด้วยใจยินดี” (2 คร 9:7) การกระทำ�เช่นนี้ไม่มาจากความตั้งใจ ของมนุษย์ แต่เป็นพระหรรษทานที่พระเยซูเจ้าทรงมอบแก่เราเป็นของประทานจากพระจิตของพระองค์ทำ�ให้ทุกสิ่งเป็น เรื่องง่ายและค้ำ�จุนชีวิตประจำ�วันของเรา แม้ในเวลาถูกทดลองและเผชิญกับความยากลำ�บาก
ข้าแต่พระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของพระเยซูเจ้า พวกลูกขอโมทนาคุณพระองค์สำ�หรับ ความรักของพระองค์ที่มีต่อมนุษยชาติ ซึ่งเป็นความรักที่ไม่มีที่สิ้นสุด และเป็นความรัก แห่งการเยียวยารักษาพวกลูกทุกคนทั้งฝ่ายร่างกายและวิญญาณ พระองค์ตรัสสัญญาว่า ที่ใดที่ตั้งรูปและแสดงความเคารพต่อพระรูปพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ ผู้นั้นหรือครอบครัวนั้น จะได้รับการปกป้องคุ้มครองและดูแลรักษาให้รอดพ้นจากบาปและความตายนิรันดร ในสังคมปัจจุบันนี้ มีเด็กและเยาวชนจำ�นวนมากที่ได้รับการกดขี่ข่มเหงและการเอา รัดเอาเปรียบ ผู้ใหญ่ไม่เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชนในเรื่องความรัก ข้าแต่พระหฤทัยศักดิส์ ทิ ธิย์ งิ่ ของพระเยซูเจ้า โปรดทรงพระเมตตาเปิดประตูใจของลูก และมาประทับอยู่ ในชีวติ ของลูก เพื่อชีวิตของลูกจะได้ฉายส่องความรักของพระเจ้าแก่บุคคลอื่น โปรดประทานสันติสุขและความเคารพแก่กันและกัน เพื่อชีวิตครอบครัว จะได้ดำ�รงอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรม สันติสุข ความยินดีและความรัก โอ้ ข้าแต่พระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของพระเยซูเจ้า โปรดอภัยความผิดบาปของลูกและโปรดให้พวกลูกเป็นเครื่องมือแห่ง ความรักของพระองค์ในโลกนี้ และเมือ่ ลูกจากโลกนีไ้ ปแล้ว พวกลูกจะได้ชน่ื ชมกับความรักของพระองค์ ตลอดนิรนั ดร อาแมน สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 12 ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน 2014 3
(ต่อจากหน้า 1)
นอกจากงานวิถีชุมชนวัดในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ บ้าน ของเราแล้ว เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ที่ผ่านมา คณะกรรมการ ดำ�เนินงานวิถีชุมชนวัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้ไปเยี่ยมและ ดูงานวิถีชุมชนวัดที่วัดนักบุญเปาโลกลับใจ บ้านนาดูน สังฆมณฑล อุบลราชธานี ทีว่ ดั นีม้ คี ณ ุ พ่อเสกสรร สมศรี เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาส บรรยากาศของวัดเป็นธรรมชาติและเรียบง่าย เราได้รบั การต้อนรับ อย่างดีจากคุณพ่อและสัตบุรุษ ที่วัดนี้มีสัตบุรุษ จำ�นวน 203 คน มี 43 ครอบครัว ชุมชนแห่งความเชื่อที่นี่ก่อตั้งมาได้ถึง 130 ปี แล้ว ถือว่าเป็นชุมชนที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน เป็น คริสตชนกลุ่มแรกๆ ของสังฆมณฑลอุบลราชธานี อายุของกลุ่ม คริสตชนที่นี่น้อยกว่ากลุ่มคริสตชนของอาสนวิหารนิดหน่อย ที่วัด นักบุญเปาโลกลับใจมีชุมชนคริสตชนย่อย 3 ชุมชน คือ ชุมชน นักบุญเปโตร ชุมชนพระแม่มารีย์ และชุมชนนักบุญเปาโล ทีมคณะ กรรมการดำ�เนินงานของเราได้แยกกันไปประชุมกับชุมชนคริสตชน ย่อยทั้ง 3 ชุมชน พ่อเองกับคุณครูปยุ๋ ได้ไปร่วมประชุมกับชุมชนพระแม่มารีย์ มี คุณพ่อคำ�ดี หัวหน้าแผนกวิถชี มุ ชนวัดของสังฆมณฑลอุบลราชธานี พร้อมทัง้ ซิสเตอร์มารีย์ เซเวียร์ ซิสเตอร์อาวุโสของคณะรักกางเขน อุบลฯ ลูกวัดที่นี่ (ซิสเตอร์เป็นธรรมทูตทำ�งานประกาศข่าวดีที่ ประเทศเขมร) การประชุมวิถชี มุ ชนวัดทีน่ จี่ ดั เดือนละหนึง่ ครัง้ เวลา 19.30 น. โดยสลับกันเป็นเจ้าภาพ ในวันที่พ่อไปร่วมประชุมกับ เขามีผู้มาประชุม 20 คน ในจำ�นวนนี้มีเยาวชน 2 คน เด็กๆ อีก 4 คน ส่วนที่เหลือเป็นผู้ใหญ่ ครูคำ�สอนประจำ�หมู่บ้านเป็นผู้นำ�ใน การประชุม โดยแผนกวิถีชุมชนวัดของสังฆมณฑลอุบลฯ ได้จัดทำ� เอกสารการประชุมหนึ่งฉบับต่อการประชุมสามเดือน (จัดบทเพลง คงเดิม แต่จัดพระวาจาประจำ�เดือนๆ ละหนึ่งเรื่อง)
บรรยากาศการประชุมเป็นไปอย่างเรียบง่าย เป็นกันเอง ทุกคนรู้จักกัน ผู้เข้าร่วมประชุมมีส่วนร่วมในการนำ�ภาวนา เปิดประชุม การอ่านพระวาจา ทุกคนแบ่งปันพระวาจาแบบซื่อๆ เรียบง่าย เป็นวิถีชีวิตของพวกเขา และน่าประทับใจ สิ่งที่พวกเขาแบ่งปันส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของความเชื่อและคำ�ภาวนาที่ส่งผลดีต่อชีวิตของพวกเขา กิจกรรมที่ชุมชนเลือก ทำ�เพื่อตอบสนองพระวาจาก็เป็นเรื่องง่ายๆ เช่น ช่วยกันทำ�ความสะอาดวัด ทำ�ความสะอาดหมู่บ้าน ฯลฯ พ่อลืมบอก ไปว่าผูใ้ หญ่บา้ นของทีน่ กี่ เ็ ป็นคริสตชนด้วย เป็นคนหนุม่ ไฟแรง และได้ผา่ นการอบรมผูน้ ำ�วิถชี มุ ชนวัดด้วยครับ การประชุม ใช้เวลา 45 นาที ตอนจบพ่อคำ�ดีขอให้พ่อและคุณครูปุ๋ยกล่าวอะไรกับชุมชน พ่อเองได้กล่าวให้กำ�ลังใจชุมชน และขอให้ เราภาวนาซึ่งกันและกัน เพื่อชีวิตและงานวิถีชุมชนวัดที่เราทำ� เพราะแม้เราจะต่างสังฆมณฑลกันแต่เราก็เป็นพี่น้องใน พระคริสตเจ้าองค์เดียวกัน หลังจากประชุมเสร็จเรายังได้นั่งคุยกันต่ออีกประมาณสิบห้านาทีจึงเดินทางกลับ เมื่อได้พบกับ คุณพ่อปิยะชาติ คุณลูกศร คุณบุญหลาย ซิสเตอร์สุวรรณี และซิสเตอร์กัลยา ซึ่งไปร่วมประชุมกับชุมชนคริสตชนย่อยที่ เหลืออีกสองชุมชน ทุกท่านต่างแบ่งปันความประทับใจในลักษณะที่คล้ายคลึงกันกับที่พ่อเล่าให้พี่น้องฟัง พ่อหวังว่าประสบการณ์เยี่ยมวิถีชุมชนวัดที่สังฆมณฑลอุบลราชธานีบ้านเพื่อนของเรา ที่พ่อนำ�มาเล่าให้พี่น้องฟัง จะเป็นประโยชน์และเป็นกำ�ลังใจแก่พี่น้องในการเริ่มหรือทำ�กิจกรรมวิถีชุมชนวัดที่วัดของพี่น้อง ขอพระเยซูเจ้าทรง เป็นผู้นำ� และขอความรักกันและกันฉันพี่น้องและความเรียบง่ายเป็นแนวทางของเราในการทำ�งานวิถีชุมชนวัด ขอเป็น กำ�ลังใจและขอพระเจ้าอวยพรทุกท่านครับ 4 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 12 ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน 2014
บอกข่าวเล่าสาร
แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้คณะสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิก แห่งประเทศไทย เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท วันที่ 11 พฤษภาคม 2014 เวลา 18.54 น. พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ พระตำ�หนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำ�เภอ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู มุขนายกกิตติคุณ แห่งเขต ปกครองกรุงเทพมหานคร นำ�คณะสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิก แห่งประเทศไทย เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อเชิญพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ ของนักบุญแห่งพระศาสนจักรคาทอลิก ที่ได้รับการสถาปนาใหม่ คือ นักบุญยอห์น ที่ 23 พระสันตะปาปา และนักบุญยอห์น ปอล ที่ 2 พระสันตะปาปา ซึ่งได้รับมอบจากนครรัฐวาติกัน มาอธิษฐานภาวนา ขอพระพรจากพระเจ้า ขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง
เสวนา “สองบิดา พระสันตะปาปาผู้ศักดิ์สิทธิ์” อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และสภาพระ สังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดงาน งานชุมนุมคณะสงฆ์ นักบวช องค์กรและหน่วย งานฆราวาส เฉลิมฉลอง นักบุญยอห์น ที่ 23 พระสันตะปาปา นักบุญยอห์น ปอล ที่ 2 พระสันตะปาปา มีการอภิปราย หัวข้อ “สอง บิดา พระสันตะปาปาผู้ศักดิ์สิทธิ์” โดยมีพระ คาร์ดินัล เรนาโต ราฟาแอล มาร์ตีโน (Cardinal Renato Raffaele Martino) พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู (Cardinal Michael Michai Kitbunchu) พระสังฆราช ยอแซฟ สังวาลย์ ศุระศรางค์ (Bishop Joseph SangvalSurasarang) มงซินญอร์วิษณุ ธัญญอนันต์ และอาจารย์ชัยณรงค์ มณเฑียรวิเชียรฉาย เป็นผู้ดำ�เนิน รายการ เมื่อวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2014 ณ ศาลาเซนต์ไมเกิ้ล บ้านผู้หว่าน
เสกอนุสาวรีย์นักบุญ 2 องค์ และพิธีบวชพระสงฆ์อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม 2014 เวลา 09.15 น. ขบวนแห่พระธาตุและพิธิีเสกอนุสาวรีย์ของนักบุญ 2 องค์ จากนั้นเป็นพิธีบวชพระสงฆ์ โดยมี พระอัครสังฆราชเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็นประธานในพิธี ร่วมกับพระคาร์ดินัลเรนาโต ราฟาแอล มาร์ตีโน พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู คณะพระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวชชายหญิง และพี่น้องสัตบุรุษมาร่วมพิธีในวันนี้จำ�นวนมาก พระสงฆ์ใหม่อัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ จำ�นวน 3 ท่าน คือ คุณพ่อสเตเฟน วีรยุทธ เกียรติสกุลชัย คุณพ่อยอแซฟ ยุทธนา วิทยานุลักษณ์ คุณพ่อยอแซฟ ดิษพล รุ่งโรจน์วรวัฒนา และของคณะภราดาน้อยกาปูชิน จำ�นวน 1 ท่าน คุณพ่ออันตน สุปิติ รวมอร่าม ณ โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ พิ ธี แ สดงเจตจำ � นงเพื่ อ อุ ทิ ศ ตน ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ที ม งานอภิ บ าล วิถีชุมชนวัด วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม 2014 เวลา 13.30 น. แผนกวิถีชุมชนวัด อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ นำ�โดย คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช คุณพ่อ ปิยะชาติ มะกรครรภ์ จัดพิธีเฝ้าศีล, คำ�นับพระธาตุ การปลุกจิตสำ�นึก และพิธีแสดงเจตจำ�นงเพื่ออุทิศตนปฏิบัติหน้าที่ ทีมงานอภิบาลวิถีชุมชนวัด พร้อมรับเข็ม ณ โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ มีสมาชิก ของทีมงานอภิบาลวิถีชุมชนวัดมาร่วมพิธีในวันนี้จำ�นวนมาก สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 12 ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน 2014 5
พัชรสมโภช สุวรรณสมโภช หิรัญสมโภช คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร วันจันทร์ที่ 5 พฤษภาคม 2014 เวลา 10.00 น. คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ได้จัดฉลอง พัชรสมโภช (60 ปี) เซอร์เมลานี เดอ มารี ธำ�รงธรรมวงศ์ สุวรรณสมโภช (50 ปี) เซอร์โอดีล กว้านเจริญ เซอร์เจมมา ศิริธนานนท์ เซอร์เอมมา ผิวเกลี้ยง เซอร์ไอรีน ชำ�นาญธรรม เซอร์มารี-ซาเวียร์ โรซาร์พิทักษ์ เซอร์เมรี่ กอแรตตี ไผ่ทอง ระลึกถึงเซอร์อาเดลา พิศุทธิ์สินธพ เป็นพิเศษ และ หิรัญสมโภช (25 ปี) เซอร์ชานแนต กาญจนทรางกูร เซอร์คริสตอฟ เภภะนันทน์ เซอร์เดซีเร มูลถวิล เซอร์เอเวอลีน โพธี เซอร์ปาตริส ปรัชญาคุณ โดย พระอัครสังฆราชเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณร่วมกับพระอัครสังฆราชพอลชาง อิน นัม พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู พร้อมด้วยคณะพระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวชชายหญิง และพี่น้องสัตบุรุษจำ�นวนมาก ชุมนุมคริสตชนใหม่ วันที่ 9-10 พฤษภาคม 2014 ศูนย์คริสต ศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ นำ�โดย คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม ผู้จัดการ แผนกฯ จัดงาน “ชุมนุมคริสตชนใหม่” ณ บ้านผู้หว่าน พร้อมร่วมงาน ชุมนุม คณะสงฆ์ นักบวช และองค์กรหน่วยงาน ฆราวาสเฉลิมฉลอง นักบุญยอห์นที่ 23 พระสันตะปาปา นักบุญยอห์น ปอลที่ 2 พระสันตะปาปา และพิธีบวชพระสงฆ์ มีคริสตชนใหม่ ครูคำ�สอน และพ่อแม่อุปถัมภ์ที่เข้าร่วมงานดังกล่าว กว่า 70 ท่าน
นักเรียนคาทอลิกเขต 5 รับศีล กำ�ลังและศีลมหาสนิทครั้งแรก วันที่ 1 พฤษภาคม 2014 เวลา 10.00 น. คุณพ่อวุฒเิ ลิศ แห่ลอ้ ม เป็นประธานในพิธี บูชาขอบพระคุณโอกาสโปรดศีลกำ�ลัง และรับศีลมหาสนิทครั้งแรก ของนักเรียนคาทอลิก เขต 5 จำ�นวนกว่า 100 คน ณ วัดนักบุญเปโตร
พิธีโปรดศีลกำ�ลังและรับศีลมหาสนิทครั้งแรก เขต 3 วันเสาร์ที่ 26 เมษายน 2014 คุณพ่อจำ�เนียร กิจเจริญ เป็นประธานในพิธีโปรด ศีลกำ�ลังและรับศีลมหาสนิทครั้งแรก ของนักเรียนคาทอลิก เขต 3 จำ�นวนกว่า 100 คน ณ วัดซางตาครู้ส กุฎีจีน 6 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 12 ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน 2014
เยาวชนเขต 1 หนทางใหม่ ใ นการเป็ น วั ด (วิถีชุมชนวัด) คุณพ่อชาญชัย ทิวไผ่งาม จัดสัมมนาคณะ กรรมการผู้แทนเยาวชน เขต 1 เรื่องหนทางใหม่ ในการเป็นวัด มีเยาวชน เข้าร่วมจำ�นวน 21 คน โดยมีคุณพ่อพรชัย แก้วแหวน คุณพ่อวิทยา เลิศทนงศักดิ์ คุณพ่อพรศักดิ์ ชื่นจิตอภิรมย์ เข้าร่วม คุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ และ ที ม เยาวชนจากวั ด แม่ พ ระประจั ก ษ์ เ มื อ งลู ร์ ด บางสะแก เป็นวิทยากร ณ บ้านเพชรสำ�ราญ
งานชุมนุมผู้สูงอายุคาทอลิกระดับชาติ ครั้งที่ 9 ผู้ สู ง อายุ ค าทอลิ ก ตั ว อย่ า ง และ ลู ก กตั ญ ญู อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ รวมจำ � นวน 7 ท่ า น ได้ รั บ ประกาศ เกียรติคุณ ในงานชุมนุมผู้สูงอายุระดับ ชาติ ครั้งที่ 9 ประจำ�ปี ค.ศ.2014 โดย พระสังฆราชฟิลิป บรรจง ไชยรา เป็น ประธาน ณ วั ด อั ค รเทวดามี ค าแอล บ้านซ่งแย้ จังหวัดยโสธร รายชื่อผู้สูง อายุคาทอลิกตัวอย่าง อัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ นายทิโมธี สมชาย กิจนิตย์ชีว์, นางมารีอา สุนันทา สูตรเชียรชัย, นายยอห์น บัปติสต์ นรินทร์ ศิริวงศ์, นางอันนา ละม่อม ธงไชยะ รายชื่อลูกกตัญญู อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ นางมารีอา กรรณิการ์ ศิริวัฒน์, นางสาวอักแนส ศิริขวัญ ชาวจีน,นางมารีอา สกริน คารวานนท์ พิธมี สิ ซาปลงศพ โทมัส เซีย่ มกุย่ แซ่ฮอ้ วันที่ 15 เมษายน 2014 เวลา 10.00 น. คุณพ่อวุฒเิ ลิศ แห่ลอ้ ม อุปสังฆราช เป็น ประธานในพิธีปลงศพ โทมัส เซี่ยมกุ่ย แซ่ฮ้อ (บิดาของ ซิสเตอร์ลักษณาวดี วงศ์วิไลวาริน) ร่วมกับคณะสงฆ์ นักบวช ชาย หญิง และพี่น้องสัตบุรุษ หลังพิธี ซิสเตอร์ลกั ษณาวดี วงศ์วไิ ลวาริน บุตรสาว เป็นตัวแทนบุตรหลาน กล่าวไว้อาลัย และขอบคุณประธาน คณะสงฆ์ คุณแม่เชลียง เวชยันต์ มหาธิการิณี คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ นักบวช ชายหญิง และพี่น้องที่ให้เกียรติมาร่วมงาน หลังจากนั้นคุณพ่อวีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช จิตตาธิการ คณะภคินีพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่ง กรุงเทพฯ เป็นประธานพิธีส่งวิญญาณและอำ�ลาผู้ล่วงลับครั้งสุดท้าย และเชิญศพไปบรรจุ ณ สุสานวัดพระวิสุทธิวงส์ อ.ลำ�ไทร จ.ปทุมธานี
ปฏิทินกิจกรรม เดือนมิถุนายน 2014 6-7 มิ.ย. ฝ่ายการศึกษาอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จัดงานสร้างทีมวิทยากรครู คาทอลิกเป็น “ครูผู้นำ�ยุวธรรมทูต” ปี 2014 หัวข้อ “ยุวธรรมทูต กับ ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร” ณ บ้านผู้หว่าน 10-11 มิ.ย. เข้าเงียบฟนฟูจิตใจพระสงฆ ประจำ�เดือนมิถุนายน ณ บ้านผู้หว่าน 21,28 มิ.ย. แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จัดอบรมพี่เลี้ยง (Sponsors) ผู้สมัครเตรียมเป็นคริสตชน ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคาร คาทอลิกแพร่ธรรม เวลา 08.30 - 14.45 น. 29 มิ.ย. อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จัดงานพิธีบวชสังฆานุกรของ สามเณร เปโตร กรณ์ อดิเรกวุฒิกุล ณ วัดนักบุญยอแซฟ ตรอกจันทน์ เวลา 10.00 น.
ประชาสัมพันธ์...
สัมมนาชีวิตครอบครัวขั้นที่ 1 รุ่นที่ 146 แผนกส่งเสริมชีวิตครอบครัว ฝ่ายอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ นำ�โดยคุณพ่อพรศักดิ์ ชื่นจิตอภิรมย์ ผู้จัดการแผนกจัดสัมมนาชีวิต ครอบครัวขั้นที่ 1 รุ่นที่ 146 วันที่ 16 พฤษภาคม 2014 ณ บ้ า นสวนยอแซฟ อ.สามพราน จ.นครปฐม
แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เชิญชวนผูท้ ชี่ นื่ ชอบการถ่ายภาพกิจกรรมต่างๆ ของวัด และผูท้ สี่ นใจเข้าร่วมงาน "สร้างทีมข่าว www.catholic.or.th" พบปะกับวิทยากรแบ่งปันประสบการณ์ หัวข้อ การถ่ายภาพในพิธกี รรม, คนเขียนข่าว รวมทัง้ การลงทำ�ข่าวภาคสนาม แบ่งปัน ข่าวผ่านทาง Social Network โดยไม่มคี า่ ใช้จา่ ย ณ โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา สนใจ ติดต่อ คุณนาทลดา ทองตีบ 0 89773 7807 คุณมัลลิกา กิจบำ�รุง 0 81258 7776, 0-2237-5277 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติม www.catholic.or.th สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 12 ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน 2014 7
เกร็ดความรูค้ �ำ สอน...คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม
สวัสดีพี่น้องที่รัก เดือนมิถุนายนเราสมโภชพระเยซูเจ้า เสด็จขึ้นสวรรค์ และสมโภชพระจิตเจ้า ซึ่ง ถือว่าเป็นวันฉลองสำ�คัญสำ�หรับเราคริสตชน บรรดาสาวกถึงแม้เขาจะติดตามพระเยซู อย่างใกล้ชิดถึงสามปี เขาพยายามเป็น คนดีตามที่พระอาจารย์สอน แต่เขายังไม่ เข้าใจมากนัก เมื่อพระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์ พวกเขาจึงหนี แต่เมื่อพระเยซูเจ้ากลับ คืนชีพมาอยูก่ บั เขาอีก เขาจึงมีความเชือ่ ใน พระเยซูมั่นคงขึ้นและพร้อมที่จะประกาศ ตามที่พระเยซูเจ้าสั่งก่อนเสด็จขึ้นสวรรค์ แต่ถึงแม้เขาจะพร้อมทำ�งานเพียงใดก็ตาม พระเยซูก็ยังให้พวกเขารอ ให้พระจิตเสด็จ ลงมาก่อน แล้วค่อยเริ่มประกาศ การเป็น คนดี เจตนาดี ความร้อนรนที่พวกเขามียัง ไม่พอ แต่ต้องมีผู้ชี้นำ�ทางคือพระจิตเสด็จ ลงมาก่อนและจึงเริ่มประกาศข่าวดี พีน่ อ้ งทีร่ กั เมือ่ พิจารณาดูชวี ติ ประจำ�วัน ของเราบางทีอาจแปลกใจที่ เราทำ�เกือบ ทุกอย่างโดยอาศัยตัวเราเอง สำ�นึกเจตนาดี ความเป็นคนรับผิดชอบต่อหน้าที่ ต่อสังคม ฯลฯ และอาจจะพึงพอใจกับสิ่งที่เป็นอยู่ เราอาจลืมพระจิตในชีวติ เรา พระเยซูเข้าใจ เรื่องนี้ดีว่าจะต้องเกิดขึ้นกับศิษย์ จึงปราม เขาให้เขาร่วมกันสวดภาวนา อ่านพระคัมภีร์ และฟังพระจิตเจ้า จึงเริม่ ทำ�สิง่ ทีด่ งี าม ก่อน ทำ�งานเราสวด เราภาวนาไหม พระคัมภีร์ มีความสำ�คัญต่อชีวติ ของเราแค่ไหน ถ้าเรา ไม่สวด ไม่อา่ น ไม่ภาวนา เราจะได้ยนิ เสียง พระจิตเจ้าได้อย่างไร สิ่งต่างๆ ที่เราทำ� ที่คิดว่าดี อาจเป็นสิ่งที่ทำ�ความเดือดร้อน ให้ผู้อื่น หรืออาจทำ�ให้เราเสื่อมเสีย โดย ไม่รู้ตัวก็เป็นได้ เดือนมิถุนายนนี้ ขอให้เราพยายาม ฟั ง เสี ย งพระเจ้ า ที่ ต รั ส กั บ เราผ่ า นทาง การภาวนา การอ่านพระคัมภีร์ ฯลฯ ให้ มากขึ้น หาเวลาฟังเสียงของพระองค์ที่ บางทีเราอาจไม่คุ้นเคยเสียแล้วก็เป็นได้ ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกท่านครับ
วิธีเล่าหลากหลายสำ�หรับเรื่องราวหนึ่งเป็นอย่างไร เราสามารถเข้าใจเหตุผลต่างๆ นานาสำ�หรับการมีวิธีเล่าเรื่องอย่าง หลากหลายในพระวรสารทั้งสี่ด้วยการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ประการที่หนึ่ง ผู้เขียนแต่ละคนเลือกบางเรื่องและบางคำ�พูดแทนที่ จะเป็นอันอื่นเพราะแต่ละคนมีจุดประสงค์และมุมมองของตนเอง “คำ �พูด เจ็ดประโยคสุดท้าย” ของพระเยซูคริสต์บนไม้กางเขนไม่มีอยู่ครบในพระ วรสารฉบับใดเลยโดยลูกามีสามประโยค, มัทธิวและมาระโกมีหนึ่งประโยคที่ เหมือนกัน, ยอห์นมีอีกสามประโยค มัทธิวมีเรื่องความสุขแท้จริงแปดประการ ลูกามีเพียงสี่ประการ แต่เขาทำ�ให้คล้ายกันด้วยการพูดถึงเคราะห์ร้ายสี่อย่าง ยอห์นไม่กล่าวถึงเรื่องการริเริ่มพิธีศีลมหาสนิท พิธีล้างของพระเยซูเจ้ามีความ เด่นชัดน้อยลงเป็นลำ�ดับในพระวรสารทั้งสี่ส่วน “บทข้าแต่พระบิดา” ในลูกา และมัทธิวมีความแตกต่างกันเล็กน้อยทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากความต้องการ เน้นและเจตนาที่ต่างกันของผู้เขียนแต่ละคน ประการที่สอง ผู้เขียนพระวรสารทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้พูดแทนและพูดในนาม พระศาสนจักร พร้อมกับทำ�ตามแบบอย่างของพระศาสนจักร ได้ประดิษฐ์ ถ้อยคำ�ต่างๆ ของพระเยซูเจ้าซึง่ มีการนำ�ไปใช้ให้เป็นประโยชน์กบั สถานการณ์ ใหม่เกิดเป็นถ้อยคำ�ซึ่งไม่ได้มีอยู่ในช่วงที่พระเยซูเจ้าทรงเทศน์สอน เราเข้าใจ ว่าบรรดาอัครสาวกเองก็คงทำ�อย่างนี้ด้วย พระเยซูเจ้าคงไม่ตรัสกับชาวยิว อย่างที่มีบันทึกไว้เช่นหญิงคนหนึ่งไม่ควรหย่ากับสามีของเธอ (มก 10:12) เพราะไม่มีเรื่องนี้ในกฎหมายของชาวยิว แต่ในชาวกรีกภรรยาอาจหย่าสามีได้ ดังนั้นจึงต้องมีการอธิบายความหมายของพระดำ�รัสอย่างครบถ้วน โดยสรุปแล้ว ในเวลานั้น แม้จะมีความคล้ายคลึงกันหลายอย่างใน พระวรสารทั้งหลาย (โดยเฉพาะพระวรสารสามฉบับแรก) ผู้เขียนแต่ละคนมี เป้าหมายของตนเองและใช้หลักวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเลือก, การปรับให้ เหมาะสม พร้อมกับการปรับปรุงและสิ่งนี้น่าจะทำ�ให้เข้าใจได้ชัดว่าพระวรสาร ทั้งหลายไม่ได้เป็นเพียง “ประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิตของพระเยซูเจ้า” แต่ยังเป็นความพยายามประกาศความมุ่งหมายของพระเยซูเจ้าแก่ประชาชน หลายพวกในหลายสถานการณ์ พระวรสารจึงไม่ควรถูกมองว่าเป็นเหมือน ชีวประวัติทั้งหลายที่รวบรวมมาจากภาพถ่ายและการบันทึกเทปคำ�พูด วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมและข่าวต่างๆ ในระดับวัด เขตและสังฆมณฑล ให้กับสัตบุรุษและบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 2. เพื่อช่วยฟื้นฟูบทบาทการเป็นผู้มีส่วนร่วมในงานอภิบาลและธรรมทูตในชีวิตของสัตบุรุษ และบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑล 3. เพื่อนำ�เสนอเครื่องมือ และแนวปฏิบัติในงานอภิบาลและธรรมทูตให้กับสัตบุรุษและบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑล สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ผู้รับผิดชอบ : ฝ่ายงานอภิบาลของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ที่ปรึกษา : คุณพ่อพงศ์เทพ ประมวลพร้อม, คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม บรรณาธิการ : คุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ กองบรรณาธิการ : นาทลดา ทองตีบ, พฤกษา กิจเจริญ, มัลลิกา กิจบำ�รุง, เพชรี ชาวแพรกน้อย พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ บางรัก กรุงเทพฯ โทร. 0 2233 0523 โทรสาร. 0 2235 1405 สำ�นักงาน : อาคารคาทอลิกแพร่ธรรม 57 ซอยเจริญกรุง 40 เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. 0 2237 7315 โทรสาร. 0 2233 8159 E-mail : webmaster@catholic.or.th