เอกสารแห่งสภาสังคายนา วาติกัน ที่ 2 ธรรมนูญด้านพระธรรม กล่าวถึงพระศาสนจักร “ Lumen Gentium ” เล่มที่ 1
เอกสารพระสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 ธรรมนูญด้านพระธรรม กล่าวถึงพระศาสนจักร “ Lumen Gentium ”
คํานําของผู้แปล ข้าพเจ้าตกลงใจแปลเอกสารแห่งพระสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2 เพราะ หลาย ๆ ท่านเรียกร้องต้องการให้มคี ําแปลเอกสารเหล่านี้ ให้ตรงกับเอกสาร ต้นฉบับที่เป็นภาษาลาติน การสนองความต้องการอันนี้ไม่อาจสัมฤทธิ์ผลได้ง่าย ๆ เพราะภาษาลาติน กับภาษาไทยต่างกันมาก ทัง้ ภาษาไทยของเรายังขาดศัพท์ทางศาสนา หรือบาง ศัพท์ที่มีอยู่แล้วปรากฏว่าไม่เหมาะสมนัก นี่แหละความยุง่ ยากที่จะต้องฟันฝ่า ข้าพเจ้าตั้งใจแน่วแน่จะพยายามสุดความสามารถของข้าพเจ้า บากบั่นทําให้สําเร็จ จนได้ อย่างน้อยก็คงจะเป็นเอกสารบางฉบับหากทําไม่ได้ทุกฉบับ ทั้งนี้เพราะ ข้าพเจ้าอายุเข้า 75 ปีแล้ว และสายตาก็มัวลงมาก ถึงแม้จะพยายามสุดแรง สุดความสามารถแล้ว ข้าพเจ้าเชื่อเหลือเกินว่าจะมีความผิดพลาด, ความเคอะ เขิน, ความไม่เหมาะสมอยู่เป็นธรรมดาปุถุชน ข้าพเจ้าจึงขอร้องให้ท่านโปรด เมตตาและโปรดเสนอความคิดของท่านมาทางคณะผู้จัดพิมพ์ เพื่อที่ภาษาทาง ศาสนาของไทยเราจะได้เจริญพัฒนายิ่ง ๆ ขึ้น ต่อจากคํานํานี้ ข้าพเจ้าขอเสนอบางเรื่องซึ่งผู้เป็นนักศึกษาต้องสนใจ คือ 1. ประวัติยอ่ ของสภาพระสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2 ตลอดจนองค์ประชุมใน สภาพระสังคายนาด้วย 2. ลําดับเอกสารต่าง ๆ ที่พิมพ์โฆษณาเป็นทางการ 3. ก่อนจะถึงตัวเอกสาร เราจะให้แผนผังและจั่วหน้าของแต่เลข ซึง่ ตามเป็นจริง ขณะนี้ไม่มอี ยู่ในต้นฉบับ, ได้เคยมีอยู่ในคราวปรึกษาหารือและลงคะแนนกัน แต่ผู้แปลในฉบับภาษาต่าง ๆ เพื่อเข้าใจง่ายได้กลับนําเข้ามาใส่ใหม่ ขอให้ท่าน อ่านดูในแผนผังของกฤษฎีกา Lumen Gentium เช่น เลข 1 อารัมภบท คํา อารัมภบทนี้ไม่มใี นต้นฉบับ 4. ต่อจากนี้เป็นคําแปลต้นฉบับ 5. ในต้นฉบับจะมีโน้ต 2 ชนิด ๆ แรก คือ โน้ตของต้นฉบับเอง เราจะไม่ให้ เพราะท่านจะพบได้ในทุก ๆ ภาษา แต่เราจะให้โน้ตเฉพาะของฉบับภาษาไทย ซึ่งจะอธิบายศัพท์ต่าง ๆ ที่เราใช้ โดยใช้ภาษาพูดอย่างกันเอง ที่จริงภาษา ยุโรปมักทําเป็น “ฟุตโน้ต” เพื่อความสะดวกเราจะใส่ไว้หลังตัวบทเอกสาร
6. เมื่อได้แปลเอกสารหมดทุก ๆ ฉบับแล้ว ข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะมีดรรชนี หรือ พจนานุกรม หรือสารานุกรม รวมเรือ่ งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเอกสารทัง้ หมดอีกต่อ หนึ่งด้วย ข้าพเจ้าหวังว่าอนุชนจะทําต่อ เพื่อให้ต้นฉบับภาษาไทยของเราครบ บริบูรณ์ หากงานของข้าพเจ้าอันนี้ เป็นประโยชน์อะไรแก่ท่านผู้อ่านบ้าง ขอท่านได้ เมตตาอุทิศคําภาวนาแก่ข้าพเจ้าบ้าง ขอขอบพระคุณ. “ผู้หว่าน” เขียนที่สามเณราลัยนักบุญยอแซฟ, สามพราน 29 พฤษภาคม 1982
ประวัติย่อ ของพระสังคายนาวาติกัน ครั้ง 2 29 มกราคม 1959
: สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ที่ 23 ขณะทรง ปราศรัยที่มหาวิหาร นักบุญเปาโล นอกกําแพง กรุงโรม, ได้ทรงประกาศเป็นครั้งแรกว่า พระองค์มี พระประสงค์จะเรียกประชุมสังคายนาสากล 25 ธันวาคม 1961 : สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ที่ 23 โดยพระ สมณกฤษฎีกา Humanae salutis ได้ทรงประกาศ เรียกประชุมพระสังคายนาสากล 11 ตุลาคม 1962: เริ่มสมัยแรกของการประชุมทั่วไป (Sessio generalis) และการประชุมสาธารณะ (Sessio Publica) 20 ตุลาคม 1962 : สภาพระสังคายนาสากล ออกประกาศสารถึง มนุษยชาติ 8 ธันวาคม 1962 : ปิดสมัยแรกของสภาพระสังคายนา 3 มิถุนายน 1963 : มรณภาพของสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ที่ 23 21 มิถุนายน 1963 : การเลือกตั้งสมเด็จประสันตะปาปา ปอล ที่ 6 22 มิถุนายน 1963 : สมเด็จพระสันตะปาปา ปอล ที่ 6 ในคํา ปราศรัยต่อโลกและกรุงโรม (Ubri et Orbi) ทรง ประกาศเป็นทางการว่า ทรงมีพระประสงค์จะดําเนิน พระสังคายนาสากลต่อไป 29 กันยายน 1963 : เริ่มสมัยที่ 2 ของพระสังคายนาและการประชุม สาธารณะ Sessio publica ครั้งที่ 2 4 ธันวาคม 1963 : การประชุมสาธารณะ ครั้งที่ 3 : การ ประกาศโฆษณากฤษฎีกา ‘Sacrosanctum Concilium เรื่องพิธีกรรมอันศักดิส์ ิทธิ์ และพระสังฆาณัติ Inter mirifica’ (เรื่องมวลชน) การปิดสมัยที่ 2 ของพระ สังคายนา 4 - 6 มกราคม 1964 : สมเด็จพระสันตะปาปา ปอล ที่ 6 เสด็จไปยัง แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์และได้ทรงพบกับพระอัยกา Athenagoras
14 กันยายน 1964
: เริ่มสมัยที่ 3 ของพระสังคายนาและการประชุม สาธารณะ ครั้งที่ 4 21 พฤศจิกายน 1964 : การประชุมสาธารณะ ครั้งที่ 5 : มีการ ประกาศโฆษณากฤษฎีกา ด้านพระธรรม ‘Lumen Gentium’ (เรื่องพระศาสนจักร) และพระสังฆาณัติ ‘Unitatis redintegratio Oecumenismus’ (การ รวมเข้ามาสู่เอกภาพ) และพระสังฆาณัติ Orientalium Ecclesiarum (เรือ่ งพระศาสนจักรคาทอลิกต่าง ๆ ของ ทางด้านตะวันออก) การปิดพระสังคายนา สมัยที่ 3 14 กันยายน 1965 : เริ่มสมัยที่ 4 ของพระสังคายนา และเป็นการ ประชุมสาธารณะ ครั้งที่ 6 15 กันยายน 1965 : สมเด็จพระสันตะปาปา ปอล ที่ 6 โดยพระ สมณสาร Motu Proprio ขึ้นต้นด้วยคํา Apostolica Sollicitudo ทรงสถาปนาสภาของบรรดาพระสังฆราช (Synodus episcoporum). 4 –5 ตุลาคม 1965 : สมเด็จพระสันตะปาปา ปอล ที่ 6 เสด็จไป กรุงนิวยอร์ค เพือ่ แสดงสุนทรพจน์ต่อหน้าที่ประชุม ทั่วไปของนานาประเทศ (UNO) ครั้นเสด็จกลับกรุง โรม พระองค์ได้ทรงปราศรัยกับที่ประชุมของพระ สังคายนา 28 ตุลาคม 1965 : การประชุมสาธารณะ ครั้งที่ 7 พระ สันตะปาปาทรงประกาศกฤษฎีกา 3 ฉบับ คือ Chnistus Dominus (ภาระหน้าที่แพร่ธรรมของ บรรดาพระสังฆราช) และ Optatam totius (การ อบรมพระสงฆ์) และ Perfectae Caritatis (ชีวิต นักบวช) พร้อมกับคําแถลง declarationes 2 ฉบับ คือ Gravissimum educationis (การอบรมแบบคริ สตชน) และ Nostra aetate (พระศาสนจักรกับ ศาสนาต่าง ๆ ที่ไม่ใช่คริสตศาสนา) 18 พฤศจิกายน 1965 : การประชุมสาธารณะ ครั้งที่ 8 : มีการ ประกาศกฤษฎีกาทางธรรมะ Dei verbum (การไข แสดงของพระเป็นเจ้า) และพระสังฆาณัติ Apostolicam Actuositatem (การแพร่ธรรมของ บรรดาฆราวาส) ในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมพระ
7 ธันวาคม 1965
8 ธันวาคม 1965
สังคายนา สมเด็จพระสันตะปาปา ปอล ที่ 6 ทรง ประกาศเรื่องสําคัญ ๆ คือ การประกาศเรียกประชุม สภาของบรรดาพระสังฆราช Synodus Episcoporum สําหรับ ปี 1967, การปฏิรูปของสํานักงานโรมัน (Curia Romana) การเปิดรับคดีสําหรับแต่งตั้งเป็น บุญราศีของพระสันตะปาปา ปีโอ ที่ 12 และของ พระสันตะปาปา ยอห์น ที่ 23 : การประชุมสาธารณะ ครั้งที่ 9 มีการอ่านคํา แถลงร่วมกันของสมเด็จพระสันตะปาปา ปอล ที 6 กับสมเด็จพระอัยกา Athenagoras แห่งกรุง Constantinople มีการประกาศโฆษณาเอกสาร ดังต่อไปนี้ : Gaudium et Spes. (พระศาสนจักร ในโลกเราสมัยนี้), พระสังฆาณัติ Presbyterorum Ordinem (บริการ และชีวิตของพระสงฆ์), พระ สังฆาณัติ Adgentes (งานแพร่ธรรมของพระศาสน จักร) และคําแถลงการณ์ declaratio Dignitatis humanae (อิสรภาพทางด้านศาสนา) : การประชุมสาธารณะ ครั้งที่ 10 คําแถลงข่าว ของพระสังคายนาต่อเจ้าบ้านผ่านเมือง (ผู้ปกครอง ประเทศ), ต่อบุคคลชั้นนําด้านความนึกคิด, ด้านวิชา ความรู,้ ต่อศิลปิน, ต่อสตรี, ต่อกรรมกร, ต่อคน ยากไร้, ต่อคนป่วยไข้, ต่อทุกท่าน ที่กําลังทนทุกข์, ต่อยุวชน คนหนุ่มสาว : การปิดพระสังคายนาอย่าง สง่าราศี
หมายเหตุที่น่ารู้ สถานที่ทําการประชุมพระสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2 ได้กระทํากันภายในพระวิหารมหานักบุญเปโตร ทีก่ รุงวาติกันนั่นเอง องค์ประชุมมีใครบ้าง ? มี : สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ที่ 23 สมเด็จพระสันตะปาปา ปอล ที่ 6 พระบิดร (Patres) พระสังฆราช และพระสงฆ์ผู้ใหญ่ 3,058 ท่าน ซึ่งมาจากประเทศต่าง ๆ 145 ประเทศ มีปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญ 453 ท่าน นอกนัน้ มีผู้ที่ได้รับเชิญมาร่วมฟัง 58 ท่าน เป็นฆราวาสชายและหญิง ยังมีผู้สังเกตการณ์ที่ไม่ใช่คาทอลิกอีก 101 ท่าน การดําเนินการประชุมของพระสังคายนา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การประชุมที่เรียกว่า ทั่วไป (Sessiones generales) การประชุมนี้มีทั้งหมด 168 ครั้งในทั้ง 4 สมัย กับมีการประชุมที่ เรียกว่า การประชุมสาธารณะ (เปิดโอกาสให้คนอื่นเข้ามาร่วมพิธีด้วย) การ ประชุมสาธารณะนี้ มี 10 ครั้ง การประชุมพระสังคายนา สมัยที่ 1 แต่วันที่ 1962 สมัยที่ 2 แต่วันที่ 1963 สมัยที่ 3 แต่วันที่ สมัยที่ 4 แต่วันที่ 1965
มี 4 สมัย คือ : 11 ตุลาคม ถึง
8 ธันวาคม
ปี
29 กันยายน ถึง
4 ธันวาคม
ปี
14 กันยายน ถึง 14 กันยายน ถึง
21 พฤศจิกายน ปี 1964 8 ธันวาคม ปี
การประชุมสาธารณะ มี 10 ครั้งด้วยกัน คือ : - 11 ตุลาคม 1962 - 14 กันยายน 1965
- 26 พฤศจิกายน 1965 - 4 ธันวาคม พฤศจิกายน 1965 - 14 กันยายน 1964 - 21 พฤศจิกายน 1965
1963
-
28 ตุลาคม
1963
-
18
- 7 ธันวาคม 1965 1964 8 ธันวาคม
ลําดับเอกสารพระสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2 ไม่ใช่ตามลําดับเวลา Chronologicum แต่ตามลําดับเหตุผล (logicum) มากกว่า เราเรียงลําดับตามนี้ : - ธรรมนูญด้านพระธรรมว่าด้วยพระศาสนจักร ‘Lumen gentium’ - ธรรมนูญด้านพระธรรมว่าด้วยพระวิวรณ์ (การไขแสดงของพระเป็นเจ้า ‘Dei Verbum’) - ธรรมนูญว่าด้วยพิธีกรรม (Sacrosanctum concilium) - ธรรมนูญด้านการแพร่ธรรม ว่าด้วยพระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ‘Gaudium et Spes’ - สังฆาณัติ ว่าด้วยหน้าที่ทางธรรมทูตของพระสังฆราช ‘Christus Dominus’ - สังฆาณัติว่าด้วยบริการและชีวิตของพระสงฆ์ ‘Presbyterorum Ordinis’ - สังฆาณัติว่าด้วยการอบรมพระสงฆ์ ‘Optatam totius Eeclesiae renovationem’ - สังฆาณัติว่าด้วยการปฏิรูปและการฟื้นฟูชีวติ นักบวช ‘Perfectae caritatis’ - สังฆาณัติว่าด้วยการแพร่ธรรมของฆราวาส ‘Apostolicam actuositatem’ - สังฆาณัติว่าด้วยภารกิจแพร่ธรรมของพระศาสนจักร ‘Ad gentes divinitus’ - สังฆาณัติว่าด้วยการพยายามนําศาสนจักรอื่นมาสู่เอกภาพ (Oecumenismus) ‘Unitatis redintegratio’ - สังฆาณัติว่าด้วยพระศาสนจักรคาทอลิกฝ่ายตะวันออก (Orientalium Ecclesiarum)
- สังฆาณัติว่าด้วยสื่อมวลชน ‘Inter mirifica’ - คําแถลงว่าด้วยอิสระทางศาสนา ‘Dignitatis humanae’ - คําแถลงว่าด้วยการติดต่อของพระศาสนจักรกับศาสนาต่าง ๆ ที่มิใช่ คริสตศาสนา ‘Nostra aetate’ - คําแถลงว่าด้วยการอบรมอย่างคริสตชน ‘gravissimum educationis momentum’ - การแจ้งข่าว ของพระสังคายนา หมายเหตุ : เอกสารแห่งพระสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2 มีทั้งหมด 17 ฉบับ (หรือกระทง) คือ ธรรมนูญ (Constitutio) 4 ฉบับ, สังฆาณัติ (decretum) 9 ฉบับ, คําแถลง (declarationes) 3 ฉบับ กับการแจ้งข่าว (Messages) 1 ฉบับ รวมเป็น 17 ฉบับ แผนผังหรือสารบัญ แห่งธรรมนูญด้านพระธรรม เรื่อง พระศาสนจักร Lumen gentium ออกประกาศวันที่ 21 พฤศจิกายน 1964 เลขที่ 1–8 1 2 3 4 5 6 7 8
บทที่ 1 : อคาธัตถ์เรื่องพระศาสนจักร อารัมภบท โครงการของพระบิดาผู้ทรงประสงค์ให้มนุษย์ทั้งหลายได้รอด ภารกิจของพระบุตรเจ้า พระจิตเจ้าทรงบันดาลความศักดิ์สิทธิ์แก่พระศาสนจักร ราชัยของพระเป็นเจ้า ภาพจําลองของพระศาสนจักร พระศาสนจักร คือ อคาธกายของพระคริสตเจ้า พระศาสนจักรเป็นสิ่งที่เห็นได้ ทั้งที่เป็นจิตในเวลาเดียวกัน
9–17 บทที่ 2 : ประชากรของพระเป็นเจ้า
หน้า 1 …1 …2 …3 …5 …6 …8 …11 …16 21
9 พันธสัญญาใหม่และประชากรใหม่ …21 10 สังฆภาพทั่วไป …25 11 การปฏิบัติกิจกรรมของสังฆภาพทั่วไป โดยทางการรับศักดิ์สิทธิการต่าง ๆ …27 12 ทิศทางแห่งความเชื่อและพิเศษพรแห่งประชากรคริสตัง …30 13 สากลภาพ หรือ “ความเป็นคาทอลิก” แห่งประชากรแต่ประชากรเดียว ของพระเป็นเจ้า …33 14 สัตบุรุษคาทอลิก …37 15 สัมพันธภาพของพระศาสนจักรกับคริสตชนที่ไม่ใช่คาทอลิก …39 16 บรรดาผู้มิใช่คริสตชน …40 17 เอกลักษณ์ความเป็นธรรมทูตของพระศาสนจักร …42 18–29 บทที่ 3 : พระฐานานุกรมแห่งพระศาสนจักรและตําแหน่งพระสังฆราช โดยเฉพาะ 45 18 อารัมภบท …45 19 การแต่งตั้งอัครสาวก 12 ท่าน …47 20 พระสังฆราช คือ ผูส้ ืบทอดตําแหน่งอัครสาวก …48 21 ภาวะพระสังฆราชาเป็นศักดิ์สิทธิ์การ …50 22 คณะของพระสังฆราชกับองค์พระประมุขของคณะ …53 23 การติดต่อระหว่างกันและกันภายในของคณะ (สังฆราช) …56 24 ภาระหน้าที่ของพระสังฆราช …60 25 การทําหน้าที่ด้านการสั่งสอนของพระสังฆราช …62 26 หน้าที่ของพระสังฆราชด้านการบันดาลความศักดิ์สิทธิ์ …66 27 หน้าที่ของพระสังฆราชด้านการปกครอง …69 28 พระสงฆ์ในหน้าที่เกี่ยวกับพระคริสตเจ้า, เกี่ยวกับพระสังฆราช, เกี่ยวกับสภาสงฆ์ และเกี่ยวกับประชากรคริสตัง …72 29 สังฆานุกร …77 30–38บทที่ 4 : ฆราวาส 30 อารัมภบท 31 ความหมายของคํา “ฆราวาส” 32 ศักดิ์ศรีของฆราวาสสมาชิกแห่งประชากรของพระเป็นเจ้า
79 …79 …80 …82
33 ชีวิตเกี่ยวกับความรอดพ้นและงานแพร่ธรรม 34 ฆราวาสมีส่วนร่วมในสังฆภาพทั่วไปและในคารวกิจ 35 ฆราวาสมีส่วนร่วมในภาระหน้าที่ประภาษกของพระคริสตเจ้า และในการเป็นพยานยืนยัน 36 ฆราวาสมีส่วนร่วมในบริการของพระราชา 37 ด้านความเกี่ยวข้องกับพระฐานานุกรม 38 บทสรุปตอนจบ
…85 …87 …89 …92 …96 …98
39–42 บทที่ 5 : การเชิญทุกคนทั่วไป ให้มาสู่ความศักดิ์สิทธิ์ในพระศาสน จักร 100 39 อารัมภบท …100 40 การเชิญทุกคนทั่วไปให้มาสู่ความศักดิ์สิทธิ์ …102 41 การปฏิบัติมีหลายรูปแบบของความศักดิ์สิทธิ์แต่อันเดียว …104 42 หนทาง และวิธีต่าง ๆ นําไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ …110 43–47 43 44 45 46 47
บทที่ 6 : กล่าวถึงนักบวช (religiosi) 115 อาชีพการปฏิบัติตามคําแนะนําแห่งพระวรสารในพระศาสนจักร …116 ธรรมชาติและความสําคัญแห่งสถาบันนักบวชและในพระศาสนจักร…115 สิทธิและอํานาจของพระศาสนจักรเหนือบรรดานักบวช …118 ความสูงส่งในการปฏิญญาเป็นนักบวช …119 บทสรุป …120
48–51 บทที่ 7 : ลักษณะบั้นปลายของพระศาสนจักรที่กําลังหกหันไป ข้างหน้าและการร่วมสหภาพของท่านกับพระศาสนจักรในสวรรค์ 126 48 ลักษณะบั้นปลายแห่งกระแสเรียกของคริสตชน …126 49 สหพันธ์ระหว่างพระศาสนจักรในสวรรค์กับพระศาสนจักรบนแผ่นดิน …130 50 ความเกี่ยวข้องระหว่างพระศาสนจักรบนแผ่นดินกับพระศาสนจักรในสวรรค์…132 51 คําแนะนําแนวทางสําหรับศาสนบริกร (ชุมพาบาล) …136 52–69 บทที่ 8 : พระนางพรหมจารีมารี, พระเทวมารดาในพระอคาธัตถ์ เกี่ยวกับพระคริสตเจ้า และในพระอคาธัตถ์เกี่ยวกับพระศาสนจักร 139
52–54 52 53 54
1. - บทนํา พระนางพรหมจาริณีในพระอคาธัตถ์เกี่ยวกับพระคริสตเจ้า พระนางพรหมจาริณีกับพระศาสนจักร เจตจํานงของสภาพระสังคายนา
55–59 2. - ภารกิจของพระนางพรหมจาริณีในระบบความรอด 55 พระมารดาแห่งพระแมสไซอะห์ในพันธสัญญาเดิม 56 บทบาทของพระแม่มารี คราวทรงรับสาส์นจากเทวทูต 57 พระนางพรหมจาริณีกับพระเยซูเจ้าในพระปฐมวัย 58 พระนางพรหมจาริณีกับพระเยซูเจ้าในพระภารกิจสาธารณะ 59 พระนางพรหมจาริณีหลังแต่พระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์แล้ว
139 …139 …140 …142 142 …144 …144 …146 …147 …149
60–65 3. - พระนางพรหมจาริณีผทู้ รงบุญกับพระศาสนจักร 150 60-62 พระแม่มารีผู้รับใช้ของพระสวามีเจ้า …150 63–64 พระแม่มารีหุ่นตัวแบบของพระศาสนจักร …154 65คุณธรรมต่าง ๆ ของพระแม่มารี, องค์แบบอย่างของพระศาสนจักร …156 66-67 4. - คารวกิจต่อพระนางพรหมจาริณีในพระศาสนจักร 66ธรรมชาติและพื้นฐานแห่งคารวกิจต่อพระนางพรหมจาริณี
158 …158
67 จิตตารมณ์ในการเทศน์สอนและในคารวกิจต่อพระนางพรหมจาริณ… ี 160 68-69 5. - พระแม่มารี - เครื่องหมายความหวังอันแน่นอน, องค์ความ ทุเลาบรรเทาใจของประชากรของพระเป็นเจ้า ผู้กําลังหกหันอยู่ในโลก 162 แถลงการณ์
165
โน้ต สําหรับการแปลในภาษาไทย
174
ปัจฉิมลิขิต
195
หมายเหตุ : ในคํานําเราได้บอกไว้แล้วว่า หัวข้อที่ให้ไว้ในเลขที่ต่าง ๆ ไม่มบี ันทึกอยู่ ในต้นฉบับ หัวที่เป็นแผนผังโครงการ แต่ขณะนี้กลับเป็นสารบาญสําหรับผู้ศึกษา
เปาโล สังฆราช ทาสแห่งเทวทาสทัง้ หลาย ร่วมกับคณะพระบิดรแห่งพระสังคายนาสากล เพื่อเป็นหลักฐานให้ความทรงจําดํารงอยู่ตลอดกาล
(1)
ธรรมนูญด้านพระธรรม (2) กล่าวถึงพระศาสนจักร อคาธัตถ์
(3)
บทที่ 1 ว่าด้วยพระศาสนจักร
อารัมภบท 1. ความสว่างส่องนานาชาติกค็ ือ พระคริสตเจ้า สภาพระสังคายนาสากล ที่มาร่วมประชุมในพระจิตเจ้า มีความปรารถนาแรงกล้าจะนําเอาความสว่างของ พระคริสตเจ้าที่กําลังทอรัศมีเจิดจ้ากระทบหน้าพระศาสนจักรอยู่นี้ ไปสู่มวล มนุษย์โดยทางการประกาศพระวรสารแก่สรรพสัตวโลก (เทียบ มก. 16,15). อันว่าพระศาสนจักรในพระคริสตเจ้า, ท่านเป็นประหนึ่ง “ศักดิ์สิทธิการ” (4) หรืออีกนัยเป็นเครื่องหมายชี้ ทั้งเป็นเครือ่ งมือผลิตความเป็นหนึ่งเดียวอันชิดเชื้อ กับพระเป็นเจ้า ทั้งทําให้มนุษย์ชาติทั้งสิ้นมีเอกภาพ. พระศาสนจักรนี้เจริญรอย ตามหลักของพระสังคายนาต่าง ๆ ที่มีขึ้นในครัง้ ก่อน ๆ ท่านมุง่ แสดงให้ประจักษ์ แก่บรรดาสัตบุรุษยิ่งขึ้น ทั้งแก่โลกทั้งโลกให้เห็นว่าตัวท่านนั้นคืออะไร และ ภาระหน้าที่ของท่านทั้งหมดคืออะไร อันภาระหน้าที่ของพระศาสนจักรนี้ สภา การณ์ปัจจุบันก็เสริมสร้างกําลังเร่งด่วนยิ่งขึ้น คือว่า มนุษย์ทุกรูปทุกนามมีความ ใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยความสัมพันธ์หลายอย่างต่างชนิด เช่น ด้านสังคม, ด้านวิชาความรู,้ ด้านวัฒนธรรม, จะเป็นทางให้มนุษย์ทุก ๆ คน บรรลุถึง เอกภาพในพระคริสตเจ้าอย่างเต็มเปี่ยมอีกด้วย. โครงการของพระบิดา ผู้ทรงประสงค์ให้มนุษย์ทั้งหลายได้รอด 2. พระบิดาสถิตสถาพรนิรันดร เพราะทรงมีแผนการอันเป็นอิสรเสรีอย่าง ยิ่ง ทั้งทรงพระปรีชาญาณ และคุณงามความดีลึกล้ํานักหนา, จึงได้ทรงสร้าง โลกจักรวาลขึ้นมา, ได้ทรงตกลงพระทัยยกย่องมนุษย์ขึ้นให้มีส่วนในชีวิตพระ เจ้าของพระองค์ท่านเอง แม้เมื่อมนุษย์ได้ตกต่ําโดยทางอาดัมแล้ว พระองค์ก็มิได้
ทรงทอดทิ้ง ยังทรงช่วยเหลือให้เขามีทางรอดได้อยู่เสมอ, ทั้งนี้เพราะทรงเห็นแก่ (พระบารมีของ) พระคริสตเจ้าพระผูไ้ ถ่. พระคริสตเจ้านี้ทรงเป็นฉายาลักษณ์ ของพระเป็นเจ้าที่มองไม่เห็น, เป็นบุตรหัวปีแห่งสรรพสัตวโลก (คส. 1,15). ทุก คนที่พระบิดาได้ทรงเลือกสรรตั้งแต่ก่อนกาลเวลา “พระองค์ได้ทรงรู้จักเขาก่อน แล้วและได้ทรงล่วงหน้าจัดให้เขามีรูปคล้ายฉายาลักษณ์แห่งพระบุตรของพระองค์, พระบุตรจะได้ทรงเป็นบุตรหัวปีท่ามกลางพวกพ้องพี่น้อง (รม. 8,29). ส่วน บรรดาผู้ที่เชื่อในพระคริสตเจ้า พระบิดาได้ทรงกําหนดเรียกเขาให้เข้ามาอยู่ พระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ.์ พระศาสนจักรนี้ตงั้ แต่โลกเริ่มมีกําเนิด ก็ได้มีรูปจําลอง หมายถึงท่านก่อนแล้ว, ท่านได้รับการจัดเตรียมล่วงหน้าไว้อย่างน่าอัศจรรย์ใน ประวัติของประชาชาติอิสราเอล และในพันธสัญญาเดิม ครั้งหลังสุดท่านได้รับ การสถาปนาตั้งขึน้ , และในคราวพระจิตเจ้าเสด็จมาโปรด, ท่านก็ได้ปรากฏตัว เด่นชัด และเมื่อจะจบสิ้นกาลเวลา, ท่านก็จะจบลงอย่างรุ่งโรจน์ เมื่อนั้นจะ เป็นไปตามที่เราอ่านพบในหนังสือของบรรดานักบุญปิตาจารย์ (5) ว่า “ผู้ชอบ ธรรมทั้งหลายนับแต่ อาดัมจนถึงผู้ถูกเลือกคนสุดท้าย” จะมาร่วมกลุ่มอยู่ใน พระศาสนจักรสากลในเคหะของพระบิดา ภารกิจของพระบุตรเจ้า 3. เพราะฉะนั้นพระบุตรจึงได้เสด็จมา, ผู้ส่งพระองค์มาคือ พระบิดา ท่านผู้นี้ ก่อนสร้างโลกได้ทรงเลือกสรรเราไว้แล้วในองค์พระบุตร, ทั้งได้ทรง กําหนดล่วงหน้ารับเราไว้เป็นบุตรบุญธรรม, เพราะได้ทรงพอพระทัยฟื้นฟูสรรพสิ่ง ในองค์พระบุตร (เทียบ อฟ. 1,4-5 และ 10), ฉะนั้น พระบุตรเพือ่ สนองตาม น้ําพระทัยพระบิดา จึงได้เริ่มสถาปนาพระราชัย (6) สวรรค์บนแผ่นดิน และได้ ทรงไขพระอคาธัตถ์ของพระองค์แก่ชาวเรา, และด้วยเดชะความเชือ่ ฟังของ พระองค์จึงได้ทรงไถ่กู้เราจนสําเร็จ พระศาสนจักร หรือ อีกนัย พระคริสต ราชัย ที่เป็นตัวตนอยู่ในพระอคาธัตถ์, อาศัยฤทธิ์อํานาจของพระเป็นเจ้า ก็ เจริญขึ้นในโลกอย่างแลเห็นได้ชัด การเริ่มต้น และความเจริญเติบโตของพระศา สนจักรอันนี้ สิ่งที่ชี้ให้เห็นคือ โลหิตและน้ําที่ไหลออกมาจากพระปรัศว์ (สีข้าง) อันเปิดอ้าของพระเยซูเจ้าที่ถูกตรึงกางเขน (เทียบ ยน. 19,34) และพระวจนะ ของพระสวามี (7) เจ้าเอง ก็แจ้งไว้ล่วงหน้า เมื่อมีพระดํารัสถึงมรณภาพของ พระองค์บนกางเขนว่า “ส่วนข้าฯ เมื่อข้าฯ จะถูกยกขึ้นเหนือแผ่นดินแล้ว ข้าฯ จะดึงดูดทุกคนเข้าหาข้าฯ” (ยน. 13,32 ฉบับภาษากรีก). มีการประกอบบูชา แห่งไม้กางเขนที่ “พระคริสตเจ้าองค์ปาสกาของชาวเราเป็นผู้ถูกบูชา” บนพระ แท่นเมื่อไรเมื่อนั้นแหละ กิจกรรมการไถ่บาปของเราก็อุบัติขึ้นด้วยในเวลาเดียวกัน นั้น ศักดิ์สิทธิการแห่งปังสดุดีบูชา (8) ก็เป็นเครื่องชี้แสดง ทั้งเป็นเครือ่ งผลิต
เอกภาพของบรรดาสัตบุรุษ ซึ่งชาวเรารวมกันเป็นวรกายอันหนึ่งอันเดียวของพระ คริสตเจ้า พระองค์ คือ ความสว่างของโลก, คือผู้ที่ชาวเราออกมาจาก, คือ ผู้ที่เราอาศัย จึงมีชีวติ อยู่ได้, คือ ผู้ที่เรามุ่งไปสู่นั้นเอง. พระจิตเจ้าทรงบันดาลความศักดิ์สิทธิ์แก่พระศาสนจักร 4. เมื่อเสร็จสิ้นพระภารกิจที่พระบิดาได้ทรงมอบหมายให้พระบุตรปฏิบัติใน โลกนี้แล้ว (เทียบ ยน. 16,14), ก็มีการส่งพระจิตเจ้ามา ณ วันเปนเตกอสเต (กรีก = วันที่ 50) เพื่อให้พระองค์ทรงยังให้พระ ศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์อยู่เสมอ ทัง้ เพื่อให้บรรดาผู้มีความเชื่อมีทางเข้าชิดพระบิดา โดยผ่านทางพระคริสตเจ้าใน พระจิตองค์เดียว (เทียบ อฟ. 2,18). พระจิตเจ้าทรงเป็นจิตแห่งชีวิตหรืออีกนัย เป็นธารน้ําที่ไหลสู่ชีวิตนิรันดร (เทียบ ยน. 4,14;7,38-39), อาศัยพระจิต บรรดามนุษย์ที่ตายไปแล้วเพราะบาป, พระบิดาก็ทรงชุบให้มีชวี ิตขึ้น. จนกว่า ร่างกายของเขาที่รู้ตายนั้น พระองค์จะทรงปลุกให้คืนชีพในพระคริสตเจ้า (เทียบ รม. 8.10-11). พระจิตเจ้าทรงพํานักอยู่ในพระศาสนจักรและในดวงใจของบรรดา สัตบุรุษคล้ายกับประทับอยู่ในโบสถ์ (เทียบ 1 คส. 3.16;6.19), และในตัวเขา นัน้ พระองค์ทรงภาวนาและทรงยืนยันว่า เขาเป็นบุตรบุญธรรมของพระเป็นเจ้า (เทียบ กล. 4,6; รม. 8,15-16; และ 26). พระศาสนจักรนี้ พระจิตเจ้าทรง นําไปสู่ความจริงทุกประการ (เทียบ ยน. 16,13), และทรงยังให้ท่านเป็นหนึ่ง เดียวกัน ทั้งในด้านการอยู่ร่วมกัน ทั้งในด้านบริการ, โปรดให้ทา่ นกอบด้วยพระ พรอย่างต่าง ๆ แห่งพระฐานานุกรม (9) และพรวิเศษ (10), ทั้งแนะนําท่านทําให้ ท่านผลิตผลานุผล (เทียบ อฟ. 4,11-12; คร. 12,4; กท. 5,22). เดชะอานุภาพ แห่งพระวรสาร พระจิตเจ้าโปรดให้พระศาสนจักรเยาวัยกระชุ่มกระชวย และ โปรดให้ใหม่สดอยู่เสมอมิได้ขาด และทรงนําพระศาสนจักรไปสู่เอกภาพอัน สมบูรณ์ร่วมกับพระภัสดาของท่าน. ทั้งนี้เพราะพระจิตเจ้าและพระชายาทูลเชิญ พระสวามีเยซูเจ้าว่า : “โปรดเสด็จมา” (เทียบ วว. 22,17). ดังนี้เอง จึงปรากฏ ว่าพระศาสนจักรทั่วสากลโลกเป็นดัง “ประชากรที่รวมตัวขึ้นจากเอกภาพของพระ บิดา และพระบุตร และพระจิต.” ราชัยของพระเป็นเจ้า 5. อคาธัตถ์เรือ่ งพระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์ ปรากฏเด่นชัดในการสถาปนา ตัวเอง, ความจริง พระสวามีเยซูเจ้าเป็นผู้ให้กําเนิดพระศาสนจักรของพระองค์ ด้วยการประกาศข่าวอันเป็นมงคล กล่าวคือ ประกาศว่า พระราชัยของพระเป็น เจ้ามาถึงแล้ว พระราชัยอันได้ทรงสัญญาไว้ในพระคัมภีร์แต่หลาย ๆ ศตวรรษ มาแล้ว : “เพราะเหตุว่า ครบกําหนดเวลาแล้วและพระราชัยของพระเป็นเจ้าย่าง
เข้ามาใกล้แล้ว” (มก. 1,15; เทียบ มธ. 4,17). พระราชัยอันนีท้ อแสงรุ่งโรจน์ให้ มนุษย์เห็น โดยทางพระวาจา พระกิจการต่าง ๆ และการสถิตประทับของพระ คริสตเจ้า. พระวาจาของพระสวามีเจ้านั้น เปรียบได้กับเมล็ดพืชที่หว่านลงในทุ่ง นา (มก. 4,14) : บรรดาคนที่ฟังพระวาจาพร้อมทั้งมีความเชือ่ เขานับเข้าอยู่ใน ฝูงแกะน้อย ๆ ของพระคริสตเจ้าอยู่แล้ว (ลก. 12,32), นับว่าคนพวกนี้ได้ ต้อนรับพระราชัยนั้นแล้ว ต่อมาเมล็ดพืชด้วยฤทธิ์ในตัวมันเอง ก็งอกขึ้นและ ขยายตัวเติบใหญ่ขึ้น จนถึงเวลาเก็บเกี่ยว (เทียบ มก. 4,26-29). อัศจรรย์ต่าง ๆ ของพระเยซูเจ้าก็เช่นกัน ยืนยันว่าพระราชัยได้มาถึงแผ่นดินโลกแล้ว, “หาก ข้าฯ อาศัยองคุลีของพระเป็นเจ้าขับไล่หมู่ปศี าจ ก็เป็นที่แน่นอนว่าพระราชัยของ พระเป็นเจ้าได้มาถึงพวกท่านแล้ว (ลก. 11,20; มธ. 12,28), ถึงกระนั้นก่อนอื่น หมด พระราชัยปรากฏเด่นชัดในองค์ (บุคคล) ของพระคริสตเจ้า, พระองค์เป็น บุตรของพระเป็นเจ้า และเป็นบุตรของมนุษย์, ได้เสด็จมา “เพื่อรับใช้ และเพื่อ ถวายพระชนม์ชพี ของพระองค์ไถ่บาปคนจํานวนมาก” (มก. 10,45) เพราะที่พระเยซูเจ้าได้ทรงรับทนความตายบนไม้กางเขน และได้เสด็จ กลับคืนพระชนม์ชพี จึงปรากฏชัดว่า พระองค์ทรงถูกสถาปนาเป็นพระสวามีเจ้า, เป็นพระคริสตเจ้า, ทั้งเป็นพระสงฆ์ตลอดนิรันดร (เทียบ กจ. 2,36; ฮบ. 5,6; 7,17-21), ทั้งเป็นพระองค์เองด้วย ที่ได้ทรงหลั่งพระจิตเจ้ามาสูพ่ วกสานุศิษย์ของ พระองค์ ตามที่พระบิดาได้ทรงสัญญาไว้ (เทียบ กจ. 2,32). เพราะฉะนั้น พระศาสนจักรผู้ได้รับพระคุณานุคณ ุ จากองค์ท่านผู้ได้สถาปนาตัวท่านขึ้น, และ ท่านก็สัตย์ซื่อปฏิบัติตามพระบัญชาขอพระองค์ให้เรือ่ งเมตตาธรรม, เรือ่ งความ นอบน้อมถ่อมตน และเรื่องความเสียสละตนเอง ท่านจึงรับเป็นภาระหน้าที่จัดตั้ง พระราชัยอันนั้น ท่ามกลางมนุษยชาติทั้งสิ้น ท่านจึงจัดวางเมล็ดพืชและตั้งต้น สถาปนาพระราชัยไว้บนแผ่นดินโลก ระหว่างที่พระศาสนจักรค่อย ๆ เจริญขึน้ , ท่านก็ใฝ่ฝันใคร่ให้พระราชัยบรรลุถึงจุดสุดยอด, ท่านหวังและออกกําลังเรี่ยวแรง ทั้งหมด และปรารถนาโหยหา อยากไปอยู่ร่วมกับพระราชาของท่านในพระสิริ มงคล. ภาพจําลองต่าง ๆ ของพระศาสนจักร 6. ในพันธสัญญาเดิม (พระธรรมเก่า) การไขแสดงเรื่องพระราชัย มัก แสดงออกเป็นรูปภาพจําลองต่าง ๆ ฉันใดก็ฉันนั้นในขณะนี้ ธรรมชาติภายในอัน ลึกล้ําของพระศาสนจักรก็ปรากฏให้เราเห็นโดยอาศัยภาพจําลองหลายอย่างต่างกัน ด้วยเหมือนกัน, เช่น ภาพชีวิตคนเลี้ยงแกะ, ภาพชีวิตกสิกร (คนทําไร่ทํานา) หรือภาพการสร้างบ้านเรือน, หรือกระทั่งภาพจากครอบครัว, จากการแต่งงาน,
ภาพต่าง ๆ เหล่านีม้ ีบันทึกอยู่ในพระคัมภีร์ของบรรดาประภาษก (11) เป็นการ จัดเตรียมไว้ล่วงหน้าก่อนแล้ว. อันที่จริง พระศาสนจักร คือ คอกแกะ ซึ่งมีพระคริสตเจ้าเป็นทางเข้า (= ประตู) แต่ทางเดียว ทั้งเป็นทางที่จําเป็น (ยน. 10,1-10). พระศาสนจักรยัง เปรียบได้กับ ฝูงแกะ ที่พระเป็นเจ้าได้มพี ระดํารัสไว้ล่วงหน้าไว้วา่ : พระองค์เอง จะเป็นชุมพาบาล (= คนเลี้ยงแกะ) (เทียบ อสย. 40,11; อสค. 34,11…) แกะ ของพระศาสนจักรนี้ แม้มีมนุษย์เป็นคนเลี้ยง และปกครอง ถึงกระนั้นผู้ที่ แนะนํามันอยู่เสมอ และผู้ที่เลี้ยงดูมันก็คือ พระคริสตเจ้าเอง, พระองค์ทรงเป็น ชุมพาบาลที่ดี ทั้งเป็นเจ้านายของชุมพาบาลทั้งหลาย (เทียบ ยน. 10,11; 1 ปต. 5,4), พระองค์ คือ ผู้ที่ได้พลีชีวิตเพื่อฝูงแกะของพระองค์ (เทียบ ยน. 10,1115) พระศาสนจักรเป็นที่ดนิ เกษตรกรรม หรือเป็นทุ่งนาของพระเป็นเจ้า (1 คร. 3,9) ที่ทุ่งนานี้มีต้นมะกอกเก่าแก่ขึ้นอยู่ มีบรรดาอัยกา (12) เป็นรากเง่าอัน ศักดิ์สิทธิ์ของมัน, โดยต้นมะกอกนี้แหละ ประชาชนชาวยิว และชนต่างชาติ ได้รับ และจะรับการคืนดีกับพระ (รม. 11,13-26). ต้นมะกอกนี้ กสิกรชาว สวรรค์ได้ทรงปลูกไว้, ท่านเองเป็นสวนองุ่นที่คัดเฟ้นไว้ (มธ. 12,33-43 par = (เทียบ ควบ); เทียบ อสย. 5,1 ต่อ ๆ ไป). ต้นองุ่นแท้คือ พระคริสตเจ้า, พระองค์คอื ผู้ประสาทชีวิตและอํานาจผลิตผลแก่กิ่งก้าน หมายความถึงชาวเรา เอง, โดยทางพระศาสนจักรเราดํารงอยู่ในพระองค์, และหากปราศจากพระองค์ ชาวเราก็ทําอะไรไม่ได้เลย (ยน. 15,1-5) หลายต่อหลายครั้ง ยังเรียกพระศาสนจักรว่าเป็นดัง การสร้างบ้าน ของ พระเป็นเจ้า (1 คร. 3-9). พระสวามีเจ้าเองทรงเปรียบพระองค์เป็นดังศิลา ที่ ผู้สร้างเอาทิ้ง แต่กลับเป็นศิลามุม (ศิลาเอก) (มธ. 21,42… เทียบ กจ. 4,11; ปต. 2,7; สดด. 117,22). บนรากฐานอันนี้ของพระศาสนจักร พวกอัครสาวกได้ สร้างขึ้น (เทียบ 1 คร. 3,11), จากหินก้อนนี้ พระศาสนจักรได้รับความมั่นคง และความเป็นปึกแผ่น, ผลิตกรรมการสร้างอันนี้ได้รับเกียรตินามหลายอย่าง เช่น เคหะของพระเจ้า (1 ทม. 3,15), ในเคหะนั้น ครอบครัวของพระองค์ ท่านเองพํานักอยู,่ เรียกพระศาสนจักรว่า เป็น พลับพลาของพระเป็นเจ้าใน พระจิตเจ้า (อฟ. 2,19-22), เป็นพลับพลาของพระเป็นเจ้าอยู่ร่วมกันมวล มนุษย์ (วว. 21,3), และเฉพาะอย่างยิ่งเรียกว่า : วิหารอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่ง บรรดานักบุญปิตาจารย์ (13) กล่าวชม, วาดภาพเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์สร้างขึ้นด้วย ศิลาและในพิธีกรรมก็วาดเป็นภาพอย่างเหมาะเจาะ ว่าเป็น “นครศักดิ์สิทธิ”์ , เป็น ”กรุงเยรูซาเลมใหม่”. เหตุว่าในนครแห่งนี้ชาวเราถูกสร้างขึ้นบนแผ่นหิน เป็น ๆ (หินที่มีชีวิต) (1 ปต. 2,5). นครศักดิ์สิทธิน์ ี้เมื่อยอห์นพิศดู คราวโลก
ถูกปฏิรูปขึ้นใหม่ ท่านกล่าวว่า เป็นนครมาจากสวรรค์ พระเป็นเจ้าเองทรง ตกแต่งให้คล้ายกับเจ้าสาว (14) แต่งองค์คอยต้อนรับพระภัสดาของตน (วว. 21,1 ต่อ ๆ ไป) พระศาสนจักรยังได้ชื่อว่า : “กรุงเยรูซาเลมเบื้องบน” และ “พระชนนี ของชาวเรา” (กล. 4,26; เทียบ วว. 12,17), มีคําวรรณนาถึงพระศาสนจักรว่า : ท่านเป็นเจ้าสาว (14) นิรมลของพระชุมพาน้อยนิรมล (วว. 19,7; 21,2-9; 22,7), เธอเป็นผู้ทพี่ ระคริสตเจ้าทรงรัก และมอบพระองค์ท่านเองเพื่อเธอ หวัง จะยังให้เธอศักดิ์สิทธิ์ (อฟ. 5,26), พระองค์ทรงรับเธอเป็นคู่ครองของพระองค์ ด้วยคํามั่นสัญญาอันมิรู้แตกสลาย และทรงเลี้ยงดูเกื้อกูลเธอ (อฟ. 5,26) เสมอเป็นนิตย์มไิ ด้ขาด และเมื่อเธอบริสุทธิ์หมดจดแล้ว พระองค์ทรงประสงค์ให้ เธอมาสนิทชิดเชือ้ กับพระองค์และให้เธอมอบตนอยู่ในควาเสน่หาอันซื่อสัตย์ (เทียบ อฟ. 5,24). ที่สุดพระองค์ทรงประสาทให้เธอเพียบพูนด้วยพรานุ พรสวรรค์เรือ่ ยไปตลอดนิรันดร ทั้งนี้เพือ่ ให้ชาวเรารู้ซาบซึ้งถึงความรักเสน่หาของ พระเป็นเจ้า และของพระคริสตเจ้าต่อชาวเรา ความรักเสน่หาอันนี้อยู่เหนือ ความรูเ้ ข้าใจใด ๆ ทั้งสิ้น (เทียบ อฟ. 3,19). ระหว่างที่พระศาสนจักรระเหหน อยู่ในโลกนี้ ห่างไกลจากพระเป็นเจ้า (เทียบ 2 คร. 5,6), ท่านถือตนเป็นผู้ถูก เนรเทศ, จนกระทั่งท่านขวนขวายหา และลิ้มรสสิ่งที่อยู่เบื้องบน, ณ ที่นั้นแหละ ชีวิตของพระศาสนจักร หลบซ่อนอยู่ร่วมกับพระคริสตเจ้าในพระเป็นเจ้า, ทั้งนี้ จนกว่าท่านจะปรากฏตัวในเกียรติมงคลพร้อมกับพระภัสดาของท่าน (เทียบ คล. 3,1-4) พระศาสนจักรคือ อคาธกาย (15) ของพระคริสตเจ้า. 7. พระบุตรของพระเป็นเจ้า ขณะทรงอยู่ในธรรมชาติมนุษย์ ซึง่ ได้รับเอา มาร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ เดชะมรณภาพ และการกลับคืนพระชนม์ชพี ได้ทรงมีชัยต่อความตาย, ได้ทรงไถ่มนุษย์ และได้ทรงแปรพระรูปเป็นสัตวโลก (16) ใหม่ (เทียบ กล. 6,15; 2 คร. 5,17). คราวทรงมอบพระจิตของพระองค์แก่ บรรดาพี่น้องที่ได้ทรงเรียกมาจากประเทศทั้งหลาย ได้ทรงแต่งตั้งพวกเขาขึ้นโดย ทํานองลึกล้ําให้เป็น “กาย” ของพระองค์. ใน “กาย” นั้น ชีวิตของพระคริสตเจ้าไหลแผ่ไปทั่วบรรดาผู้มีความเชื่อ เขาเหล่านี้โดยอาศัยศักดิ์สิทธิการต่าง ๆ เข้าร่วมกันโดยทํานองอันลึกล้ํา แต่ ร่วมกันอย่างแท้จริง กลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระ คริสตเจ้า ในฐานะพระผู้ ทรงรับทนทรมาน ทัง้ ในฐานะพระผู้ทรงเกียรติมงคล. โดยทางศักดิ์สิทธิการล้าง บาป ชาวเรากลายเป็นรูปร่วมกับพระคริสตเจ้า เหตุว่า เราทุกคนได้ถูกชําระ ล้างในพระจิตเจ้าองค์เดียวกัน ให้เป็น “กาย” เดียวกัน (1 คร. 12,13)
พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิน์ ี้ บ่งถึงทั้งผลิตการร่วมสหภาพในมรณกรรม และในการ กลับคืนพระชนม์ชพี ของพระคริสตเจ้า, “เหตุว่า ชาวเราได้ถูกฝังร่วมกับพระองค์ โดยทางศักดิ์สิทธิการล้างบาป ซึ่งจุ่มเราสู่ความตายของพระองค์ และเมื่อเราถูก วางไว้เหมือนพระองค์ในด้านความตายแล้ว เราก็จะเหมือนพระองค์ในด้านการ กลับคืนชีพด้วย” (รม. 6,4-5) ในการหักปังของพิธีสดุดีบูชา เรามีส่วนร่วม อย่างแท้จริงกับพระกายของพระสวามีเจ้า, ในการเข้าไปรับศักดิ์สิทธิการมหาสนิท เราได้รับการเลี้ยงดูร่วมกับพระองค์ และร่วมกันระหว่างพวกเราเองด้วย “เพราะว่า เป็นปังอันเดียวกัน เราหลายคนจึงเป็น “กาย” เดียวกันด้วย เหตุ ว่าเราทุกคนมีส่วนในปังอันเดียวกัน” (1 คร. 10,17). เพราะเหตุนี้เอง เราทุก คนจึงกลายเป็นอวัยวะของ “กาย” อันนั้น (เทียบ 1 คร. 12,27), “คนละคน ต่างเป็นอวัยวะของกันและกัน” (รม. 12,5). อันว่า อวัยวะทั้งหลายในร่างกายมนุษย์ แม้มีมากอวัยวะด้วยกัน ถึง กระนั้นก็เป็นร่างกายอันเดียวกัน ฉันใด, บรรดาสัตบุรุษในพระคริสตเจ้าก็ฉันนัน้ (เทียบ 1คร. 12,12). ในการสร้างตกแต่ง “กาย” ของพระคริสตเจ้าก็เช่นเดียวกัน : มีการแตกต่างของอวัยวะ และของหน้าที่หลายหน้าที่ พระจิตเจ้ามีองค์เดียว เป็นผู้ทรงแจกจ่ายทานหลายอย่างต่างกัน เพื่อประโยชน์ของพระศาสนจักรตาม อัตราขุมทรัพย์ และตามความต้องการของหน้าที่ต่าง ๆ ท่ามกลางทานเหล่านี้ที่ ประเสริฐกว่าหมด คือ พระหรรษทานของบรรดาอัครสาวก : พระจิตเจ้าเอง ทรงปราสาทมอบให้อยู่ในอํานาจของพวกท่าน กระทั่งพระพิเศษพร (17) (เทียบ 1 คร. 14). พระจิตเจ้าองค์เดียวนี้เอง เมือ่ ทรงดลบันดาลให้ “กาย” นั้น เป็น อันหนึ่งอันเดียวโดยพระองค์เอง, เดชะฤทธิ์อํานาจของพระองค์ และโดยการ ประสานเกี่ยวเนื่องภายในระหว่างอวัยวะต่าง ๆ พระองค์ก็ทรงผลิต และกระตุ้น ให้เกิดความรักต่อกันระหว่างสัตบุรุษ เป็นอันว่า เมือ่ อวัยวะอันหนึ่งทนทุกข์ อวัยวะทุกอวัยวะก็รว่ มทนทุกข์ด้วย หรือเมื่ออวัยวะอันหนึง่ ได้รับเกียรติยศ, อวัยวะทุกอวัยวะก็รว่ มยินดีด้วย (เทียบ 1 คร. 12,26). พระคริสตเจ้าทรงเป็นศีรษะของ “กาย” อันนี,้ พระองค์ คือ พระฉายา ลักษณ์ของพระเป็นเจ้า ผู้ที่เรามองไม่เห็น, และในพระองค์ท่านนั้นสารพัดถูก สร้างขึ้นมา พระองค์ทรงดํารงอยู่ก่อนทุกคน และสารพัดเป็นอยู่ในพระองค์. พระองค์ทรงเป็นศีรษะของ “กาย” นั้น, นั่นคือ พระศาสนจักร. พระองค์ท่าน ทรงเป็นต้นเดิมที่มาและเป็นบุตรหัวปีของ (มนุษย์) ผู้รู้ตายทั้งหลาย เพื่อให้ พระองค์ทรงครองความเป็นยอดสูงสุดของสรรพสิ่ง (เทียบ คส. 1,15-18) โดย ความสูงเด่นแห่งพระมหิทธิศักดิ์ พระองค์ทรงเป็นเจ้านายเหนือสรรพสิ่งทั้งปวงใน สวรรค์และในแผ่นดิน ด้วยพระคุณงามความดีอันเหลือประมาณ และด้วยพระ
กิจกรรมอันสูงส่ง พระองค์ทรงประสาทให้ร่าง “กาย” ทั้งสิ้นนั้น แพรวพราวไป ด้วยทรัพยากรแห่งพระเกียรติมงคล (เทียบ อฟ. 1,18-23) อวัยวะทุกอวัยวะต้องปรับตัวให้เข้ากับพระรูปของพระองค์ จนกระทั่งพระ คริสตเจ้ากลายเป็นรูปขึ้นมาในตัวเขา (เทียบ กล. 4,19) เพราะฉะนั้นชาวเราจึง ถูกนําขึ้นสู่พระอคาธัตถ์ต่าง ๆ แห่งพระชนม์ชีพของพระองค์ท่าน : เรากลายเป็น รูปร่วมกับพระองค์, เราตายร่วมกับพระองค์, เราคืนชีพร่วมกับพระองค์, จนกระทั่งเราจะได้ร่วมเสวยราชย์กับพระองค์ (เทียบ พป. 3,21 2; ทธ. 2,11; อฟ. 2,6; คส. 2,12 ฯลฯ). ขณะกําลังระเหระหนอยู่บนแผ่นดิน เราก็ย่ําไปตาม รอยพระบาทในความทุกข์ยากลําบาก และการถูกเบียดเบียนข่มเหง เราร่วมเป็น สมัครพรรคพวกของพระองค์ ในความทุกข์ทรมานต่าง ๆ ดังเช่น ร่างกายต่อ ศีรษะ เราร่วมทุกข์ร้อนกับพระองค์ เพื่อจะได้รับเกียรติมงคลร่วมกับพระองค์ ด้วย (เทียบ รม. 8,17) จากพระองค์นั่นแหละ “ร่างกายทั้งหมด โดยที่ได้รับการตกแต่งและการ เสริมสร้างด้วยข้อต่อและเครื่องผูกโยงต่าง ๆ จึงเจริญเติบโตขึน้ เป็นการขยับ ขยายองค์พระเป็นเจ้า” (คส. 2,19) พระองค์ท่าน ในพระกายของพระองค์ กล่าวคือ ในพระศาสนจักรทรงเตรียมพร้อมอยู่เสมอ จะประสาทพรานุพรเหมาะ กันภาระหน้าที่ซึ่งเมื่อเรานํามาใช้เป็นบริการความรอดแก่กันและกัน อาศัยฤทธิ์ อํานาจของพระองค์ เมื่อเราปฏิบัตคิ วามรักด้วยความจริงใจ เราก็จะเจริญเติบโต ในทุก ๆ ด้าน เป็นพระองค์ผู้ทรงเป็นศีรษะของเรา (เทียบ อฟ. 4,11-14 กริก) เพื่อให้ชาวเราชุบตัวในพระองค์ให้ใหม่สดอยู่เสมอมิได้ขาด (เทียบ อฟ. 4,23) พระองค์ได้โปรดให้เรามีส่วนในพระจิตของพระองค์, พระจิตมีองค์เดียว และองค์เดียวนี้แหละประทับทั้งในอวัยวะ, พระองค์ทรงบันดาลให้ร่างกายทั้งหมด มีชีวิต, โปรดให้เป็นหนึ่งเดียวกัน และเคลื่อนไหว, จนกระทั่งบรรดานักบุญปิตา จารย์ สามารถเปรียบหน้าที่ของพระองค์ที่เป็นต้นเดิมของชีวติ หรืออีกทํานองว่า เป็นเหมือนวิญญาณในร่างกายคนเรา ฝ่ายพระคริสตเจ้าทรงรักพระศาสนจักรดุจภริยาของพระองค์, ได้ทรง กลายเป็นตัวแบบของสามีที่รักภรรยาดุจรักร่างกายของตน (เทียบ อฟ. 5,2528) ส่วนพระศาสนจักรเองก็น้อมขึ้นกับศีรษะของตน (อฟ. 5,23-24) “เพราะว่าในพระองค์นนั้ มีความเป็นพระเป็นเจ้าอย่างครบบริบูรณ์ พํานักอยู่เช่น ร่างกาย” (คส. 2,9) พระศาสนจักรเป็นร่างกายครบบริบูรณ์ของพระคริสตเจ้า, พระองค์จึงทรงประสาทพรานุพรของพระเจ้าให้แก่ท่านอย่างเต็มที่ (เทียบ อฟ. 1,22-23) เพื่อให้ท่านก้าวหน้าและบรรลุถึงความบริบูรณ์ของพระเป็นเจ้า (เทียบ อฟ. 3,19)
พระศาสนจักรเป็นสิ่งที่แลเห็นได้ทั้งเป็นจิตในเวลาเดียวกัน 8. พระคริสตเจ้าทรงเป็นองค์คนกลางแต่ผู้เดียวของชาวเรา, พระองค์ทรง เป็นผู้สถาปนาพระ ศาสนจักรอันศักดิ์สิทธิ์ขึ้น และทรงค้ําจุนอยู่เสมอมิได้ ขาด ทรงตกแต่งพระศาสนจักรให้เป็นหมู่คณะของบรรดาผู้มีความเชื่อ, ความหวังและความรักคล้ายกับเป็นองค์กรเครื่องผูกโยงอันหนึ่งที่แลเห็นได้, อาศัย องค์กรนี้ พระองค์กระจายความจริงอันเป็นพระหรรษทานไปสู่มนุษย์ทุก ๆ คน. สังคมนี้ประกอบขึ้นด้วยองค์กรต่าง ๆ แห่งพระฐานานุกรม, เป็นอคาธัตถ์ของพระ คริสตเจ้า, เป็นกลุ่มที่แลเห็นได้, เป็นหมูค่ ณะฝ่ายจิตใจ (ฝ่ายวิญญาณ) เป็น พระศาสนจักรแห่งแผ่นดิน และเป็นพระศาสนจักรที่มั่งคั่งด้วยพรานุพรแห่ง สวรรค์, ชาวเราไม่พงึ พิจารณาดูพระศาสนจักรดังเป็นสองสิ่ง, แต่ดังเป็นสิ่งที่มีอยู่ จริงแต่อันเดียวทีซับซ้อนคือ รวบรวมชิน้ ส่วนของมนุษย์และของพระเป็นเจ้าเข้า ด้วยกัน เพราะฉะนั้น เรากําลังเผชิญหน้ากับความเปรียบเทียบที่ไม่ใช้ของ เล็กน้อย กล่าวคือ พระศาสนจักรเปรียบได้กับพระอคาธัตถ์ การเสด็จอวตารมา เป็นมนุษย์ของพระวจนาตถ์ (18) ธรรมชาติที่พระวจนาตถ์ของพระเป็นเจ้าทรงรับ เอานั้น เป็นประโยชน์รับใช้ ดังเป็นอวัยวะทรงชีวิต เพือ่ บันดาลความรอด, อวัยวะนี้รว่ มเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระองค์ท่าน อย่างที่จะแยกจากันมิได้, ฉัน ใด ก็ฉันนั้น โดยในทํานองไม่ผิดแผกกัน องค์กรเครือ่ งเคราทางสังคมของ พระศาสนจักร ก็เป็นประโยชน์รับใช้พระจิตของพระคริสตเจ้า พระจิตบันดาลให้ ท่านมีชีวิต, เป็นประโยชน์ทําความเจริญเติบโตแก่ร่างกายนั้น (เทียบ อฟ. 4,16) นี่แหละคือพระศาสนจักรอันเดียวของพระคริสตเจ้า พระศาสนจักรอันที่ ชาวเราประกาศยืนยัน ในสัญลักษณ์ที่เป็นเอกะ, ศักดิ์สิทธิ์, สากล, และสืบมา จากคณะอัครสาวก, อันซึ่งพระเป็นผู้กอบกู้เรา หลังแต่เสด็จกลับคืนพระชนม์ชพี แล้ว ได้ทรงมอบให้เปโตรเป็นผู้เลี้ยงดู (ยน. 21,17) และให้ท่านกับอัครสาวก อื่นทั้งหลายเผยแพร่และปกครอง (เทียบ มธ. 28,18…) และเป็นพระศาสนจักร ที่ได้ทรงสถาปนาขึ้นสําหรับตลอดกาล, ตามที่ได้ทรงยกขึน้ “ให้เป็นเสาหลักอัน มั่นคงแห่งความจริง” (1 ทม. 3,15) พระศาสนจักรอันนี้ อันได้ถูกสถาปนาและ รับการจัดระเบียบเป็นสังคมขึ้นในโลก, ก็ยังคงดํารงอยู่ในพระศาสนจักรคาทอลิก, ปกครองโดยผู้สืบตําแหน่งของเปโตร และบรรดาพระสังฆราชที่ร่วมสหพันธ์กับ ท่าน (เปโตร), แม้ว่าภายนอกองค์กรของพระศาสนจักร อันนี,้ ยังมีชิ้นส่วน บันดาลความศักดิ์สิทธิ์และความจริงอยู่หลายประการ ซึ่งก็เป็นเพราะเป็นพระพร โดยเฉพาะของพระคริสตศาสนจักรและซึ่งเรียกร้องให้เข้าสู่เอกภาพคาทอลิก พระคริสตเจ้าได้ทรงสําเร็จภารกิจไถ่บาปโดยทางความยากจนขัดสน และ โดยทางการถูกเบียดเบียนข่มเหง, มีอปุ มาฉันใด, พระศาสนจักรก็ได้รับกระแส
เรียกให้ดําเนินตามหนทางเดียวกัน เพื่อจะนําผลแห่งความรอดไปสู่มนุษย์, ก็มี อุปไมยฉันนั้น. พระเยซูคริสตเจ้า “แม้ทรงพระฉายาลักษณ์พระเป็นเจ้า… ก็ได้ ทรงถ่อมพระองค์เป็นเปล่าไป โดยทรงรับเอารูปของทาส” (ฟพ. 2,6) และ เพราะทรงเห็นแก่ชาวเรา “ได้ทรงกลายเป็นคนขัดสนทั้ง ๆ ที่มั่งคั่ง” (2 คร. 8,9). เช่นเดียวกันนั้น พระศาสนจักรเพื่อปฏิบัติภาระหน้าที่ของตน ท่าน ยากจน, ท่านต้องการความช่วยเหลือของมนุษย์, ท่านถูกจัดตั้งขึ้นมา ไม่ใช่เพือ่ แสวงหาเกียรติศกั ดิ์บนแผ่นดิน แต่เพือ่ เผยแพร่ความสุภาพถ่อมตนและความ เสียสละ ตามแบบอย่างองค์ผู้สถาปนาตัวท่านด้วย. พระคริสตเจ้าได้ทรงรับใช้ พระบิดามา “เพื่อประกาศข่าวดีแก่คนยากจน… สมานแผลของผู้ที่เป็นทุกข์ใจ” (ลก. 4,18) “ตามหา และช่วยให้รอดสิ่งซึ่งได้เสียไป” (ลก. 19,10) เช่นเดียวกัน คนทั้งหลายที่ต้องทุกข์ร้อน เพราะความป่วยไข้ประสามนุษย์ พระศาสนจักรก็เข้าช่วยเหลือ ด้วยความรักเมตตาจิต, กว่านั้นอีก ท่านยังรับรู้ ว่า : คนอย่างนี้แหละ เป็นภาพเป็นรูปขององค์ผู้สถาปนาสร้างตัวท่านมา, คือ เป็นคนที่ยากจนและทุกข์ร้อน ท่านจึงพยายามทุเลาบรรเทาพวกคนอาภัพ และ มุ่งรับใช้พระคริสตเจ้าในตัวพวกเขา อย่างไรก็ดีพระคริสตเจ้าทรงเป็น “ผู้ ศักดิ์สิทธิ์, ผู้นิรมล, ผู้ปราศจากด่างพร้อย” (ยน. 7,26) “พระองค์ไม่เคยทรง ทําบาปกรรมเลย” (2 คร. 5,21), ได้เสด็จมาก็เพื่อแสดงพระเมตตากรุณา ยก บาปความผิดของประชากร” (เทียบ ฮบ. 2,17) ส่วนพระศาสนจักรนั้น รวบรวมทั้งคนบาปเข้าอยู่ในพระอุระของท่านเอง, ท่านศักดิ์สิทธิ์ก็จริง แต่ใน ขณะเดียวกัน ท่านยังต้องชําระล้างตัวท่านเองอยู่เสมอ, ท่านจึงบําเพ็ญทุกขกิริยา ชดใช้บาปกรรมและฟื้นฟูตัวท่านเองขึ้นใหม่อยู่เสมอ เรือ่ ยไป “พระศาสนจักรก้าวหน้าระหกระเหินไปท่ามกลางการถูกเบียดเบียนข่มเหง ของโลก และความทุเลาบรรเทาใจของพระเป็นเจ้า พลางประกาศเทศนาเรื่อง กางเขน และมรณภาพของพระสวามีเจ้าจนกระทั่งพระองค์จะเสด็จมา” (เทียบ 1 คร. 11,26) เดชะฤทธิ์อํานาจของพระสวามีเจ้าผู้เสด็จกลับคืนพระชนม์ชีพและ เป็นพละกําลังแก่พระศาสนจักร, ท่านจึงเอาชนะอย่างเด็ดเดี่ยวต่อความทุกข์ขุก เข็ญ และความลําบากยุ่งยากต่าง ๆ นานา ตลอดทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ด้วย อาศัยความมานะอดทนและความรักเมตตาจิต, พระอคาธัตถ์เรื่องพระศาสนจักร แม้ขณะนี้จะทอแสงมัว ๆ มอ ๆ อยู่ในโลก แต่ก็เป็นความจริงว่า ท่านกําลังไข แสดงจนกว่าท่านจะส่องแสงเจิดจ้าเต็มที่ในที่สุด
9-17
บทที่ 2 ประชากรของพระเป็นเจ้า พันธสัญญาใหม่และประชากรใหม่
9. เป็นความจริงในทุกยุคทุกสมัยและในทุกชาติทุกภาษา ใคร ๆ ที่รับ รู้จักพระเป็นเจ้าและประพฤติตามความยุติธรรม เขาผู้นั้นก็เป็นที่รักโปรดปราน ของพระองค์ทั้งนั้น (เทียบ กจ. 10,35), กระนั้นก็ดี พระเป็นเจ้าได้ทรงพอ พระทัย ประสาทความศักดิ์สิทธิ์และความรอด ไม่ใช่แก่มนุษย์คนละคนต่างหาก โดยไม่สนพระทัยใยดีต่อความเกี่ยวข้องผูกพันธ์ใด ๆ ของพวกเขาก็หามิได้, แต่ได้ ทรงพอพระทัยจัดตั้งพวกเขาขึ้นเป็นประชากรให้มารับรู้จักพระองค์ด้วยความจริงใจ และมาปรนนิบัติรับใช้พระองค์อย่างดีศักดิ์สิทธ์ ดังนี้เองพระองค์จึงได้ทรง เลือกสรรชนชาติอิสราเอลให้เป็นประชากรของพระองค์, ได้ทรงสั่งสอนเขาทีละขั้น ทีละตอนให้มารู้ถึงองค์ของพระองค์ท่าน และโครงการน้ําพระทัยของพระองค์ทรง แสดงออกให้เห็นประจักษ์ในประวัติศาสตร์ของพวกเขา และทรงบันดาลให้พวก เขาศักดิ์สิทธิ์สําหรับพระองค์ท่าน, ทุกสิ่งทุกอย่างนี้อันเป็นขึ้นมาเพื่อเตรียมพวกเข ไว้ล่วงหน้า และเพื่อเป็นรูปแบบแห่งพันธสัญญาใหม่อันสมบูรณ์, ที่จะกระทําขึ้น ในองค์พระคริสตเจ้า, ทั้งเป็นการไขแสดงเปิดเผยยิ่งขึ้น, เป็นการไขแสดง ครบถ้วนโดยทางพระวจนาตถ์ของพระเป็นเจ้าผู้มารับเป็นมนุษย์ “นี่แน่ะ จะถึง วันเวลา, พระสวามีเจ้าทรงพระดํารัสไว้, เราจะกระทําพันธสัญญาใหม่กับประชา อิสราเอลเอง และกับประชายูดา… เราจะนําบัญญัติของเราใส่เข้าไปในไส้พุงของ พวกเขา, เราจะเป็นพระเป็นเจ้าของพวกเขา และพวกเขาจะเป็นประชากรของ เรา… เหตุด้วยว่าพวกเขาทุกคนจะรู้จักเราทั่วถ้วนหน้า แต่เล็กสุดไปจนถึงใหญ่สุด , พระสวามีเจ้าตรัสไว้ดังนี”้ (ยรม. 31,31-34). พันธสัญญาใหม่นั้น พระ คริสตเจ้าได้ทรงกระทําขึ้น, เป็นพันธสัญญาใหม่ที่ตกลงกันด้วยพระโลหิตของ พระองค์ท่านเอง (เทียบ 1 คร. 11,25), พระองค์ได้ทรงเรียกประชากรนี้มาจาก ชาวยิวและจากชาวต่างชาติ, เป็นประชากรที่รวบรวมมาอยู่ในเอกภาพไม่ใช่ ทางด้านเนื้อหนัง แต่โดยทางพระจิตเจ้า, และตั้งขึ้นเป็นประชากรใหม่ของพระ เป็นเจ้า เหตุด้วยว่าบรรดาผู้ที่เชื่อในพระคริสตเจ้า, เขาเกิดใหม่ไม่ใช่จากเชื้อที่ เสื่อมเสียได้ แต่จากเชื้อที่ไม่รู้เสื่อมเสีย โดยทางพระวจนะของพระเป็นเจ้าผู้ทรง ชีวิต (1 ปต. 1,23) ไม่ใช่มาจากเนื้อหนังแต่มาจากน้ําและพระจิตเจ้า (เทียบ ยน. 3,5-6), ทีสุดพวกเขานี้ถูกตั้งขึ้นเป็น “เชื้อสายที่ทรงคัดเลือกไว้, เป็นคณะ สงฆ์แห่งพระราชา, เป็นชาติศักดิ์สิทธิ์ เป็นประชากรทีท่ รงจัดหามาด้วย
น้ําพักน้ําแรง… ผู้ที่ครั้งหนึ่งไม่ใช่ประชากรของพระเป็นเจ้า” แต่บัดนี้เป็น ประชากรของพระเป็นเจ้า (1 ปต. 2,9-10), ประชากรแห่งพระแมสไซอะห์นี้ มีพระคริสตเจ้าเป็นศีรษะ (ประมุข). “พระองค์คอื ผู้ได้ถูกขายเพราะบาปความผิดของชาวเราและทรงกลับคืนพระชนม์ ชีพ เพื่อบันดาลให้เราศักดิ์สิทธิ์” (รม. 4,25), และบัดนี้พระองค์ทรงกอปรด้วย พระนามอันอยู่เหนือนามทั้งหลาย, ทรงเสวยราชย์ในสวรรค์เพียบพร้อมด้วยพระ เกียรติมงคล, ประชากรใหม่ตามศักดิ์ฐานะของเขา เขาก็มีเกียรติศักดิ์และ อิสระเสรี ฉันบุตรของพระเป็นเจ้า… ในใจของเขาก็มีพระจิตเจ้าประทับอยู่ดัง พระองค์สถิตอยู่ในโบสถ์. เขายึดถือพระบัญญัติใหม่เป็นกฎหมาย, พระบัญญัตินี้ สัง่ ให้รักกันและกัน ดุจดังพระคริสตเจ้าทรงรักชาวเรา (เทียบ ยน. 13,34) ที่สุดปลายทางของเขาคือพระราชัยของพระเป็นเจ้า ซึ่งเริ่มจากพระองค์บน แผ่นดินนี้, จะขยับขยายต่อ ๆ ไป จนกระทั่งสิ้นกาลเวลา, จะบรรลุผลสมบูรณ์ จากพระเป็นเจ้า ในคราวเมื่อพระคริสตเจ้าจะเสด็จประจักษ์มา, พระองค์คือชีวิต ของชาวเรา (เทียบ คส. 3,4) และ “ตัวสัตว์โลกเองจะรอดพ้นความเป็นทาส ของความเสื่อมสลาย กลับเข้าสู่อิสรภาพอันรุ่งโรจน์ประสาลูก ๆ ของพระเป็น เจ้า” (รม. 8,21), เพราะฉะนั้นประชากรแห่งพระแมสไซอะห์นี้ แม้ในปัจจุบัน ไม่ครอบคลุมประชากรทั่วทั้งโลก, บ่อยครัง้ ยังปรากฏว่าเป็นฝูงแกะน้อย ๆ, ถึง กระนั้นมนุษยชาติทั้งหมด ประชากรนี้กเ็ ป็นพืชพันธุอ์ ันมั่นคงที่สุดด้านเอกภาพ, ด้านความหวังและความรอด, ประชากรนี้ พระคริสตเจ้าได้ทรงสถาปนาขึ้น ให้ มาร่วมกับพระองค์ท่านในด้านชีวิต, ความรักและความจริง, และประชากรนี้ พระองค์ท่านเองยังได้ทรงใช้เขาเป็นเครื่องมือเพือ่ ไถ่มนุษย์ทุก ๆ คน, และทรงใช้ เขาไปสู่โลกจักรวาล, ดังเป็นแสงสว่างส่องโลก, ดังเป็นเกลือดองแผ่นดิน (เทียบ มธ. 5,13-16). ชาวอิสราเอล ในฐานะเป็นคนมีเนือ้ หนัง คราวระเหเร่ร่อนอยู่ใน ทะเลทราย เขายังได้ชื่อว่า เป็นพระศาสนจักรแล้ว, ฉันใด (2 นหม. 13,1; เทียบ กดว. 20,4; ฉธบ. 23,1…) ก็ฉันนั้น อิสราเอลใหม่ที่กําลังจาริกอยู่ในโลก ปัจจุบันนี้ ก็ตามแสวงหานครในภายหน้าและนครอันสถาพร (เทียบ ฮบ. 13,14) ยังได้รับนามว่าเป็นพระองค์ท่านเองได้ทรงจัดหามาด้วยอาศัยพระโลหิตของ พระองค์ (เทียบ กจ. 20,28) ได้ทรงประสาทพระจิตของพระองค์แก่เขาอย่าง เต็มที,่ ทรงตกแต่งเขาให้บริบูรณ์ด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ อันเหมาะสมให้บรรลุถึง เอกภาพอันแลเห็นได้ และเป็นเอกภาพทางสังคม. กลุ่มของฝูงชนที่มีความเชือ่ ยกตาขึ้นหาพระเยซู, เจ้าแห่งความรอด และหลักแห่งเอกภาพและสันติภาพ, ก็ กลุ่มนี้แหละ พระเป็นเจ้าได้ทรงเรียกมาและทรงแต่งตั้งเขาขึ้นเป็นพระศาสนจักร หวังให้เป็นศักดิ์สิทธิการอันแลเห็นได้แห่งเอกภาพที่ทําความรอดและเป็นเอกภาพ
ทางสังคม, นี้สําหรับมนุษย์ทุกคนและคนละคน. เอกภาพนี้จะต้องแผ่ขยายไปยัง ทุก ๆ ประเทศ และแทรกเข้าอยู่ในประวัตศิ าสตร์ของมนุษย์ทั้งหลาย แม้ขณะนี้ เอกภาพดังกล่าวก็ผ่านเลยขอบเขตประชากรต่าง ๆ ในด้านเวลาและสถานที่. พระศาสนจักรเดินหน้าไปท่ามกลางการประจญล่อลวงและความทุกข์ยากลําบาก ต่าง ๆ อาศัยอิทธิฤทธิ์แห่งพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า ที่พระสวามีเจ้าได้ทรง สัญญาไว้แก่ท่าน ท่านจึงเกิดมีพละกําลัง จนว่าแม้ท่านจะอ่อนแอตามประสามี เนื้อหนัง ท่านก็ไม่เพลี่ยงพล้ําถึงกับเสียความสมบูรณ์แห่งความสัตย์ซื่อของท่าน, ท่านยังคงบําเพ็ญตนเป็นภริยาที่เหมาะสมของพระคริสตเจ้า และโดยพระจิตเจ้า ทรงทํางาน, ท่านก็รื้อฟืน้ ชุบตัวของท่านอยู่เสมอมิได้ขาด ทั้งนี้จนกว่าท่านจะผ่าน กางเขน ไปสู่ความสว่างอันมิรู้ดับ. สังฆภาพทั่วไป 10. พระคริสต์สวามีเจ้า, มหาสงฆ์จากมวลมนุษย์ (เทียบ ฮบ. 5,1-5). พระองค์ท่านได้ทรงจัดตั้งประชากรใหม่ “ให้เป็นพระราชัยและหมู่สงฆ์ (20) ถวายแด่พระเป็นเจ้าและพระบิดาของพระองค์” (วว. 1,6; เทียบ 5,9-10) เหตุผลก็คือบรรดาผู้ได้รับศักดิสิทธิการ – ล้างบาป, เขาเหล่านี้โดยการเกิดใหม่ และโดยทางการเจิมของพระจิตเจ้า, เขาได้รับอภิเษกขึ้นเป็นเคหะด้านจิตวิญญาณ และเป็นสังฆภาพอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อด้วยอาศัยกิจการทั้งหลายของคนคริสตัง เขา จะได้ถวายบูชาทางจิตใจ และประกาศฤทธิ์อํานาจของพระองค์ท่าน ผู้ได้ทรง เรียกเขาจากความมืดมาสู่ความสว่างอันน่าพิศวงของพระองค์ (1 ปต. 2,4-10). ดังนั้นบรรดาศิษย์ของพระคริสตเจ้าทั้งสิ้นที่เพียรบําเพ็ญภาวนา และพร้อมใจกัน สรรเสริญพระเป็นเจ้า (เทียบ กจ. 2,42-47) เขาก็แสดงให้ปรากฏว่าตัวเขาเป็น บูชาที่มีชีวิต, เป็นบูชาศักดิ์สิทธิ์, บูชาที่สบพระทัยพระเป็นเจ้า (เทียบ รม. 12,7) และทั่วทุกแห่งหนบนแผ่นดิน เขาก็เป็นพยานยืนยันถึงพระคริสตเจ้า, และเมื่อใครถามหาเหตุผล, เขาก็ตอบตามที่มีอยู่ในใจว่า เป็นเพราะเขาหวังจะได้ ชีวิตนิรันดร (เทียบ 1 ปต. 3,15), สังฆภาพทั่วไปของสัตบุรุษ กับสังฆภาพของศาสนบริกรหรืออีกนัยหนึ่งของ ผู้อยู่ในพระฐานานุกรม แม้แตกต่างกันทางด้านสภาวะ (ด้านธรรมชาติ), มิใช่ แตกต่างกันที่หลั่นชั้น, ถึงกระนั้นสังฆภาพทั้งสองก็เกี่ยวข้องประสานกันและกัน เหตุว่าสังฆภาพแต่ละอัน ตามทํานองพิเศษเฉพาะของตน ๆ ก็ได้รับปันส่วนมา จากสังฆภาพอันหนึ่งอันเดียวของพระคริสตเจ้า. พระสงฆ์ศาสนบริกร (21) โดยที่ ท่านประกอบด้วยอํานาจศักดิ์สิทธิ์ ท่านจึงก่อสร้างการปกครองประชากร – สงฆ์, ท่านกระทําพิธีสดุดีบูชาอันเป็นตัวแทนของพระ คริสตเจ้า และท่านถวายสดุดีบูชา อันนี้แด่พระเป็นเจ้าในนามของประชากรทั้งสิ้น, ส่วนบรรดาสัตบุรุษ, อาศัย
ราชสังฆภาพของพวกเขา, เขาก็ร่วมมือในการถวายสดุดีบูชา, ร่วมมือในการรับ ศีลศักดิ์สิทธิการต่าง ๆ ในการบําเพ็ญภาวนา และในการสนองขอบพระคุณานุ คุณ, เขายังปฏิบัติหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ของเขา ด้วยการครองชีพอย่างศักดิ์สิทธ์เป็น พยานยืนยัน, ด้วยความเสียสละต่าง ๆ และด้วยการออกแรงทํากิจกรรมแสดง ความเมตตาจิต. การปฏิบัติกิจกรรมของสังฆภาพทั่วไป โดยทางการรับศักดิ์สิทธิการต่าง ๆ 11. ลักษณะศักดิ์สิทธิ์ อันจัดไว้เป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมสงฆ์ ออก ฤทธิ์ประสิทธิ์กิจกรรมของตน ทั้งโดยอาศัยศักดิ์สิทธิการต่าง ๆ ทั้งโดยอาศัยฤทธิ์ กุศล (หรือคุณธรรม) ต่าง ๆ ด้วย, สัตบุรุษโดยทางศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาป เขาเข้ามาอยู่ในสังกัดพระศาสนจักร ; เขาได้รับประทับตราให้เข้าร่วมในคารวกิจ ของพระคริสตศาสนา, และเขาเกิดใหม่เป็นบุตรของพระเป็นเจ้า, เขาได้รับความ เชื่อจากพระเป็นเจ้า, โดยผ่านทางพระศาสนจักร, เขาจึงมีหน้าที่ต้องแสดงความ เชื่อนั้นให้ปรากฏต่อหน้ามวลมนุษย์. โดยทางศักดิ์สิทธิการแห่งพละกําลัง (22) เขากระชับสายสัมพันธ์กับพระศาสนจักรยิ่งขึ้น โดยที่เขาร่ํารวยขึ้นด้วยกําลังพิเศษ ของพระจิตเจ้า, เขาจึงมีหน้าที่เร่งรัดยิ่งขึ้น ในการแผ่ขยายและในการป้องกัน ความเชือ่ ด้วยวาจาและด้วยกิจการในฐานะเป็นพยานแท้ของพระคริสตเจ้า. เมื่อ เขาเข้าไปร่วมมีส่วนในสดุดีบูชาอันเป็นบ่อเกิดและสุดยอดแห่งชีวิตคริสตังทั้งหมด, เขาก็ถวายแด่พระเป็นเจ้า, ซึ่งองค์พระเจ้าเป็นเครือ่ งบูชา ทั้งถวายตัวเขาเอง ร่วมกับสักการบูชาอันนั้นด้วย จึงเป็นอันว่าในการถวายและในการร่วมกับศักดิ์ สิทธิการมหาสนิท, ทุก ๆ คนไม่ใช่อย่างคละ ๆ กันไป แต่ทุก ๆ คนต่างคนต่าง บําเพ็ญส่วนของตนในพิธีกรรมอันนั้น อนึง่ เมื่อได้รับพระกายของพระคริสตเจ้าใน พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิน์ ี้แล้ว เขาก็แสดงออกให้ปรากฏชัดเป็นรูปเป็นร่าง ซึ่ง เอกภาพแห่งประชากรของพระเป็นเจ้า เพราะว่าศักดิ์สิทธิการอันวิสุทธิ์อย่างยิ่งนี้ เป็นทั้งเครือ่ งหมายทั้งเครือ่ งผลิตเอกภาพนัน้ เป็นที่อัศจรรย์ใจนักหนา. ส่วนคนที่เข้าไปรับศักดิ์สิทธิการอภัยบาป (23) เพราะพระเมตตากรุณาของ พระเป็นเจ้า เขาก็ได้รับการยกบาปความผิดที่ได้กระทําต่อพระเป็นเจ้า และ พร้อมกันนั้นเขาก็ได้รบั การคืนดีกับพระศาสนจักรด้วย, เพราะว่าการทําบาปคือ การทําร้ายพระศาสนจักร ซึ่งท่านก็พยายามแผ่เมตตาจิต, ทําตนเป็นแบบอย่าง และบําเพ็ญภาวนาให้เขากลับใจ. โดยอาศัยศักดิ์สิทธิการเจิมทาคนไข้ (24) และ โดยคําภาวนาของคณะสงฆ์ พระศาสนจักรทั้งพระศาสนจักรก็เฝ้าฝากฝังคนไข้ไว้ กับพระสวามีเจ้าผู้ทรงทนทุกข์และประกอบด้วยเกียรติมงคล ขอให้พระองค์ทรง ทุเลาบรรเทาเขา และช่วยให้เขาได้รอด (เทียบ ยค. 5,14-16) กว่านั้นอีกท่าน ยังตักเตือนคนไข้ให้มอบตัวเขาไว้กับพระมหาทรมานและมรณกรรมของพระคริสต
เจ้า (เทียบ รม. 8,17; คล. 1,24; ทม. 2,11-12; ปต. 4,13) เพือ่ เป็นทางพลี ส่วนบุญกุศลของตน ให้เป็นประโยชน์แก่ประชากรของพระเป็นเจ้า อนึ่ง ท่ามกลางบรรดาสัตบุรุษผู้ได้รับประทับตราของศักดิ์สิทธิการแห่งพระอนุกรม (25) เพื่อเลี้ยงดูพระศาสนจักรด้วยวาจา และพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า, เขา ได้รับแต่งตั้งขึ้นในนามของพระ คริสตเจ้า. ที่สุดสามีภรรยาคริสตังด้วยอํานาจ ทั้งมีส่วนร่วมใน ศักดิ์สิทธิการแห่งการสมรส (26) ซึ่งเป็นเครือ่ งหมาย พระอคาธัตถ์เอกภาพและความรักอันผลิตผลระหว่างพระคริสตเจ้ากับพระศาสน จักร (เทียบ อฟ. 5,32) สามีภรรยาคริสตัง ในชีวิตสมรส เขาต่างช่วยเหลือ กันและกัน, ช่วยกันในการสืบพันธุ์และอบรมเลี้ยงดูเชื้อชาติของตนไปสู่ความ ศักดิ์สิทธิ์, ยิ่งกว่านั้นโดยฐานะการดํารงชีวิต และระเบียบประเพณีของเขา เขา ก็ผลิตคุณประโยชน์เฉพาะของเขาขึ้นในประชากรของพระเป็นเจ้า (เทียบ 1 คร. 7,7). จากการสมรสก็เกิดมีครอบครัว, ในครอบครัวก็มีพลเมืองใหม่ของสังคม มนุษย์ พลเมืองใหม่นี้อาศัยพระหรรษทานของพระจิตเจ้า เขาจึงถูกตั้งขึ้นเป็น บุตรของพระเป็นเจ้า โดยทางศักดิ์สิทธิการล้างบาป, จึงเป็นทางธํารงประชากร ของพระเป็นเจ้าให้คงอยู่ต่อไปในกระแสศตวรรษ ครอบครัวเป็นดังพระศาสนจักร ภายในบ้านเรือน ฉะนั้นในครอบครัว บิดามารดาต้องเป็นคนแรกที่ประกาศสอน ความเชือ่ ให้แก่ลูก ๆ ของตน ด้วยวาจาและด้วยแบบอย่าง, บิดามารดาจําต้อง สนับสนุนกระแสเรียกเฉพาะของลูกแต่ละคน, เฉพาะอย่างยิ่งต้องเอาใจใส่เป็น พิเศษต่อกระแสเรียกอันศักดิ์สิทธิ.์ สัตบุรุษของพระคริสตเจ้าทุกคน ประกอบอยู่ด้วยเครื่องมืออุปกรณ์ของความ รอดมากมายก่ายกองถึงเพียงนี้แล้ว ทุก ๆ คนไม่ว่าจะอยู่ในฐานะและชั้นวรรณะ ใด ๆ พระสวามีเจ้าก็ทรงเรียกร้องให้ต่างคนต่างเดินตามทางเฉพาะของตนไปสู่ ความศักดิ์สิทธิ์อันสมบูรณ์ อย่างที่พระบิดาเจ้าเองเป็นผู้ดีบริบูรณ์นั้นแล. ทิศทางของความเชื่อ (27) และพิเศษพรของประชากรคริสตัง 12. ประชากรอันศักดิ์สิทธิ์ของพระเป็นเจ้า ย่อมมีส่วนในหน้าทีป่ ระภาษก ของพระคริสตเจ้าด้วยเพราะเขาบําเพ็ญตนเป็นพยานเป็น ๆ (ที่มีชีวิต) ของ พระองค์ เฉพาะอย่างยิ่งเผยแพร่ด้วยการบําเพ็ญชีวติ ความเชื่อและความรัก, ด้วยการถวายสักการะแด่พระเป็นเจ้า, เป็นการบูชาสรรเสริญอันเป็นผลเกิดจา ปากที่เขาใช้เทิดทูนพระนามของพระองค์ (เทียบ ฮบ. 13,15) สัตบุรุษผู้ได้รับ การเจิมจากองค์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ (เทียบ 1 ยน. 2,20 และ 27) เมื่อนํามารวมกันเข้า ทั้งหมด เขาก็ไม่อาจหลงไปในเรือ่ งความเชื่อได้ และลักษณะอันพิเศษของพวก เขานี้ เขาแสดงออกโดยเป็นความรูส้ ึกอันเหนือธรรมชาติทางความเชื่อถือของ ประชากรทั้งหมด, เมื่อ “จากบรรดาพระสังฆราชลงไปจนถึงสัตบุรุษฆราวาสคน
สุดท้ายแสดงความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไป ในเรือ่ งความเชื่อและศีลธรรมเพราะ ด้วยว่าความรู้สึกทางความเชื่ออันนี้ มีพระจิตเจ้าเป็นผู้ปลุกเสก และ เป็นผู้พยุง ไว้, ประชากรของพระเป็นเจ้าภายใต้การนําแห่งพระอาจริยานุภาพ (28) อัน ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเขาเคารพเชื่อฟังอย่างสัตย์ซื่อ, เมื่อนั้นเขาได้รับไม่ใช่คําพูดของมนุษย์ แต่ได้รับพระวาจาของพระเป็นเจ้าโดยแท้ (เทียบ ธส. 2,13) และเป็นพระวาจา แห่งความเชือ่ ซึ่งบรรดาผู้ศกั ดิ์สิทธิ์ได้รับมอบไว้แล้ว (เทียบ ยค. 3) และยังคง ติดตรึงอย่างไม่รู้เสื่อมคลาย และตามคําตัดสินอันถูกต้อง พระวาจานั้นก็แทรก ซ่านลึกเข้าไปในความเชื่อ และนําความเชือ่ นี้มาประยุกต์ในชีวิตให้กว้างขวางยิ่ง ๆ ขึ้นไป.” นอกนั้นพระจิตเจ้าองค์เดียวกันนี้ ไม่ใช่แต่เพียงโดยทางศักดิ์สิทธิการและ โดยทางภาระหน้าที่เท่านั้นที่พระองค์ประทานความศักดิ์สิทธิ์ และทรงแนะนํา ประชากรของพระเป็นเจ้า และทรงตกแต่งให้ประกอบด้วยคุณธรรมต่าง ๆ แต่ พระองค์ยังประทานพระคุณนานาของพระองค์ “ทรงแบ่งปันแก่คนละคน ตามแต่ทรงพอพระทัย” (1 คร. 12,11), ท่ามกลางสัตบุรุษทุกชั้นวรรณะพระองค์ ประทานพระคุณพิเศษให้ด้วย, เป็นพระหรรษทานที่ทําให้พวกเขาเหมาะสมและ สรรพพร้อมจะรับทํางานและหน้าที่ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ฟนื้ ฟูและขยับขยาย พระศาสนจักร ทั้งนี้เป็นไปตามวาทะที่ว่า “ทุก ๆ คน ได้รับการแสดงองค์ของ พระจิตเจ้า เพื่อทําคุณประโยชน์” (1 คร. 12,7), อันพระพรานุพรที่เป็นพร ใหญ่โตรุ่งโรจน์ก็ด,ี และที่เป็นพระพรชั้นรอง ๆ ซึ่งมีดาษดื่นก็ดี เพราะเป็นสิ่งที่ เหมาะสมและเพื่อประโยชน์ความต้องการของพระ ศาสนจักร, เมื่อได้รับ ชาว เราต้องรับเอาด้วยใจกตัญญูขอบพระคุณและด้วยความเบาใจ, พระพรต่าง ๆ นอกปกติธรรมดาเหล่านี้ ชาวเราอย่าแสวงหาด้วยความเบาความ และอย่าชะล่า ใจหวังจะได้รับผลในกิจกรรมแพร่ธรรมของตน, แต่เป็นหน้าที่ของหัวหน้าใน พระศาสนจักร ที่จะตัดสินความแท้ไม่แท้ของพระคุณนั้น ๆ ทั้งในการใช้พระคุณ ให้เป็นระเบียบ เฉพาะอย่างยิ่งเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ที่กล่าวมา, ไม่ใช่เพือ่ ให้ท่าน ดับพระจิตเจ้า แต่เพือ่ ให้ท่านพิสูจน์ทุก ๆ สิ่ง และยึดเอาแต่สิ่งที่ดี (เทียบ ธส. 5,12 และ 19-21), สากลภาพ หรือ “ความเป็นคาทอลิก” แห่งประชากรแต่ประชากรเดียวของ พระเป็นเจ้า 13. ประชากรใหม่ของพระเป็นเจ้านั้น มนุษย์ทุกคนเชิญให้เข้ามาสู่ เพราะฉะนั้นประชากรนี้มีอันเดียวและคงเป็นอยู่แต่อันเดียวเท่านั้น, อันที่จะแผ่ กระจายไปสู่ทั่วโลกจักรวาล และตลอดกระแสศตวรรษทั้งหลาย เพื่อให้เป็นไป ตามความมุ่งประสงค์ของพระเป็นเจ้า ผู้ซงึ่ ในเบื้องต้นได้ทรงสร้างธรรมชาติมนุษย์
มาแต่ธรรมชาติเดียว, และลูก ๆ ของพระองค์ที่ได้กระจัดกระจายไปนั้น พระองค์ทรงมีพระประสงค์จะนํากลับมารวมเป็นหนึ่งเดียวกันในที่สุด (เทียบ ยน. 11,15). เพราะเหตุนี้เองพระเป็นเจ้าจึงได้ทรงส่งพระบุตรของพระองค์มา, ทรง แต่งตั้งให้เป็นทายาทของโลกจักรวาล (เทียบ ฮบ. 1,2), ให้เป็นพระอาจารย์, พระราชา, และพระสงฆ์ของทุก ๆ คน ให้เป็นประมุข (หัวหน้า) ของประชากร ใหม่, ประชากรสากลแห่งลูก ๆ ของพระเป็นเจ้า, ที่สุดเพราะเหตุนี้เอง พระ เป็นเจ้าได้ทรงส่งพระจิตแห่งพระบุตรของพระองค์มา, พระจิตนี้เป็นพระสวามีเจ้า, เป็นผู้บนั ดาลชีวิต, พระองค์นี้แหละสําหรับพระศาสนจักรทั้งหมด ทั้งสําหรับผู้มี ความเชือ่ คนละคนและทุก ๆ คนรวมกัน, ทรงเป็นแหล่งที่มาแห่งการรวมตัวกัน เป็นกลุ่มก้อน และเอกภาพในคําสอนของพวกอัครสาวก, แห่งสหพันธ์, การหัก ปัง, และการบําเพ็ญภาวนา (เทียบ กจ. 2,42 กริก) เพราะฉะนั้นประชากรแต่ประชากรเดียวของพระเป็นเจ้า มีอยู่ในทุกชาติ ภาษาบนแผ่นดิน เพราะประชากรนี้ยืมพลเมืองของตนมาจากทุกชาติภาษา, มี ลักษณะพิเศษเป็นราชัย ไม่ใช่ราชัยฝ่ายโลกนี้ แต่เป็นราชัยฝ่ายสวรรค์ เหตุว่า สัตบุรุษทุกคนที่กระจายอยู่ทั่วโลก ต่างก็ร่วมสหพันธ์ในพระจิตเจ้า กับสัตบุรุษ อื่นทั้งหลาย, เป็นอันว่า “คนที่พํานักอยู่กรุงโรม ก็ทราบว่าชาวอินเดียเป็น สมาชิก (อวัยวะ) ของตน” เพราะพระราชัยของพระคริสตเจ้า ไม่ใช่เป็นของโลกนี้ (เทียบ ยน. 18,36), ฉะนั้นพระศาสนจักร, อีกนัยประชากรของพระเป็นเจ้าที่ประกอบขึ้น เป็นราชัยนี,้ ท่านไม่ลักลอบเอาทรัพย์ฝ่ายโลกอันใดจากประชากรใด ๆ เลย, แต่ ตรงข้าม อันความสามารถ, ทรัพยากรและขนบประเพณีของประชากรต่าง ๆ อะไรที่เป็นชองดีท่านก็สนับสนุนและรับเอาไว้, เมื่อรับไว้ท่านก็ชําระสะสาง, ปลูกฝังให้มั่นคงและเชิดชูขึ้น. ท่านสํานึกอยู่เสมอว่าตัวท่านจําต้องเก็บรวบรวม ร่วมกับพระราชาพระองค์นั้น, พระองค์ที่นานาชาติทั้งหลายถูกมอบให้เป็นมรดก ของพระองค์ท่าน (สดด. 2,8) และ “ยังพระบุตรของพระองค์ท่านเขานําเอา ของขวัญและเครื่องบรรณาการมาถวาย” (เทียบ สดด. 71 (72); อสย. 60,4-7; วว. 21,24). ลักษณะสากลภาพอันนี้ ที่พากันประดับบรรดาประชากรของพระ เป็นเจ้าก็เป็นพระคุณของพระสวามีเจ้าเอง และด้วยพระคุณอันนี้ พระศาสนจักร คาทอลิกมุ่งมั่นอย่างได้ผลและสม่ําเสมอ นํามนุษยชาติทั้งหมดพร้อมกับทรัพยากร ทั้งสิ้นของเขา กลับเข้ามามอบให้แด่พระคริสตเจ้าองค์พระประมุข (ศีรษะ) ร่วมเอกภาพกับพระจิตของพระองค์ท่าน. เดชะฤทธิ์แห่งสากลภาพอันนี้ ส่วนแต่ละส่วนต่างนําเอาพรโดยเฉพาะของ ตนมามอบให้แก่พระ ศาสนจักรทั้งหน่วยด้วย จึงเป็นอันว่าตัวหน่วยทั้งหมดและ ส่วนแต่ละส่วนของหน่วยนั้นย่อมเจริญขึ้น เพื่อจากที่ทุกๆ คนต่างนําเอาพรของ
ตนๆ มามอบให้แก่กันและกัน และต่างพากันมุ่งมั่นไปสู่ความอุดมสมบูรณ์ใน เอกภาพ จังเป็นอันว่าประชากรของพระเป็นเจ้ารวมตัวกันขึ้น ไม่ใช่เพียงเพราะมี ประชากรต่าง ๆ กันเท่านั้น แต่ยังเจริญเติบโตขึ้นในตัวตนเอง เพราะมีการ ประสานสมานกันหลายสิ่งหลายอย่างอีกด้วย ระหว่างสมาชิก (อวัยวะ) ของ พระศาสนจักรมีความแตกต่างกัน, บ้างก็ในด้านหน้าที,่ ในเมื่อบางท่านบําเพ็ญ ศาสนบริการเพื่อประโยชน์ของพี่น้องของตน, บ้างก็ในด้านฐานะการดําเนินชีวิต, ในเมื่อมีหลาย ๆ ท่านสังกัดอยู่ในฐานะนักบวช, เขาดําเนินชีวิตตามวิถีทางที่ รัดกุมเคร่งครัดยิ่งขึ้น โดยเขามุ่งไปสู่ความศักดิ์สิทธิ,์ แบบอย่างของเขาจึงเป็น เครือ่ งกระตุ้นเตือนพวกพี่น้อง เป็นเพราะเหตุนี้เองด้วย ที่ในสหพันธ์ของพระศา สนจักรมีพระศาสนจักรปลีกย่อยหลายพระศาสนจักร. ซึ่งก็เป็นไปตามคลอง ธรรม. พระศาสนจักรปลีกย่อยเหล่านี้มีขนบประเพณีของโดยเฉพาะ ทัง้ ๆ ทีค่ ง ดํารงอยู่โดยความครบถ้วน ภายใต้การเป็นประมุขเอก (29) ของพระอาสนแห่ง ท่านเปโตร (30) ผู้เป็นประธานในที่ประชุมสโมสรสันนิบาตสากลทั่วไปของบรรดา ผู้มีความรัก, ท่านเปโตรก็ปกป้องความแตกต่างอันเป็นไปตามคลองธรรม, ท่าน ปกป้องความแตกต่างพิเศษนี้ อย่าเข้าใจว่าเพื่อไม่ให้ทําร้ายต่อเอกภาพ แต่ เพื่อให้ลักษณะพิเศษนัน้ กลับเป็นคุณต่อเอกภาพอีกด้วย ที่สุดเพราะเหตุนี้เองด้วย ท่ามกลางความแตกต่างกันเองของพระศาสนจักร ก็มีสายสัมพันธ์อันสนิทชิดเชื้อ ต่อกันในด้านทรัพยากรฝ่ายวิญญาณ, ด้านบุคลากรในงานแพร่ธรรม, และใน ด้านการอุปถัมภ์ช่วยเหลือกันและกันทางโภคทรัพย์ฝ่ายแผ่นดิน. ทั้งนี้เป็น เพราะว่าสมาชิก (อวัยวะ) แห่งประชากรของพระเป็นจ้าได้รับเรียกมา เพื่อนํา ทรัพยากรต่าง ๆ มาแบ่งปันกันและกัน, วาทะของท่านอัครสาวกจึงเหมาะสมกับ พระศาสนจักร แต่ละพระศาสนจักรว่า : “ทุก ๆ คนจงนําเอาพระหรรษทานที่ตน ได้รับมาแบ่งปันรับใช้กันและกัน, อย่างเช่นที่เป็นผู้จําหน่ายจ่ายแจกที่ดีงามแห่ง พระหรรษทานหลายสิ่งหลายอย่างของพระเป็นเจ้า” ( 1 ปต. 4,10) เพราะฉะนั้นมนุษย์ทุกคนได้รับเชิญให้เข้ามาสู่เอกภาพสากล (คาทอลิก) แห่งประชากรของพระเป็นเจ้า เอกภาพสากลอันนี้เป็นทั้งเครื่องหมายบ่งล่วงหน้า และเป็นทั้งเครื่องหมายสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดมีสันติภาพสากล : มนุษย์ทุกคนมี ความเกี่ยวข้อง หรือได้รับการจัดให้โน้มเอียงเกี่ยวข้องกับสันติภาพสากลด้วย ทํานองต่าง ๆ กัน : บ้างเป็นสัตบุรุษคาทอลิกด้วยกันก็ดี, บ้างเป็นคนอื่นทีเ่ ชื่อใน พระคริสตเจ้าก็ด,ี บ้างในที่สุดเป็นมนุษย์ทั้งหลายทั่วไปก็ดี, ทุกคนต่างได้รับคํา เชื้อเชิญจากพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า ให้เข้ามาสู่ความรอดด้วยกันทั้งนั้น.
สัตบุรุษคาทอลิก 14. พระสังคายนาสากลศักดิ์สิทธิ์ หันมาพิจารณาดูสัตบุรุษคาทอลิกเป็น อันดับแรก ท่านถือเอาพระคัมภีร์และพระกิตติ (31) เป็นหลัก จึงสอนว่า พระศาสนจักรที่กําลังเร่ร่อนอยู่ในโลกขณะนี้ เป็นสิ่งจําเป็นสําหรับเอาตัวรอด, เหตุด้วยว่ามีพระคริสตเจ้าผู้เดียวเท่านั้นเป็นคนกลาง และเป็นหนทางแห่งความ รอด พระองค์ทรงเป็นอยู่ขณะนี้สําหรับเราในพระวรกายของพระองค์ ซึ่งก็คือ พระศาสนจักรนั่นเอง พระองค์ได้ทรงพร่าํ สอนด้วยพระวาจาอันชัดเจน (เทียบ มก. 16,16; ยน. 3,5) พร้อมกับทรงยืนยันว่าพระศาสนจักรเป็นสิ่งจําเป็นซึง่ มนุษย์ต้องเข้ามาอยู่ในนั้น โดยทางศักดิ์สิทธิการล้างบาป ซึ่งเป็นดังประตูทางเข้า จึงเป็นอันว่าไม่สามารถเอาตัวรอดได้ บุคคลที่รู้อยู่แก่ใจว่าพระเป็นจ้าได้ทรงตั้ง พระศาสนจักรคาทอลิกขึ้นโดยทางพระเยซูคริสตเจ้า ในฐานะที่เป็นพระศาสนจักร อันจําเป็น, กระนั้นก็ดี เขาไม่ยอมเข้าสังกัดหรือไม่ยอมสังกัดอยู่ต่อไป. นับว่าเป็นสมาชิกแห่งสังคมพระศาสนจักรโดยแท้ บุคคลทีม่ ีพระจิตของ พระคริสตเจ้า เขารับเอาหลักเกณฑ์ของพระศาสนจักรทุกประการ และวิธีการ ต่าง ๆ เพื่อเอาตัวรอดอันกําหนดอยู่ในพระศาสนจักร, และเขาร่วมกับพระคริสต เจ้าในโครงสร้าง (32) อันแลเห็นได้, กล่าวคือเขามีความสัมพันธ์ในการประกาศ แสดงออกซึ่งความเชื่อ, ในศักดิ์สิทธิการต่าง ๆ ในการปกครองและสมาพันธ์. ถึงกระนั้นเอาตัวไม่รอด บุคคลที่แม้สังกัดเป็นสมาชิกของพระศาสนจักร หากเขา ไม่คงดํารงอยู่ในความรัก, ถูกหละคนเช่นนี้อยู่ในแวดวง “ร่างกาย” ของพระศา สนจักร, แต่หาได้อยู่ใน “จิตใจ” ของท่านไม่. ทุก ๆ คนจงจําใส่ใจไว้ว่าฐานะ อันประเสริฐที่เราได้เป็นบุตรของพระศาสนจักรนั้น ไม่ใช่เราได้มาเพราะคุณงาม ความดีอะไรของเรา แต่ได้มาเพราะพระหรรษทานพิเศษของพระคริสตเจ้า ซึ่ง หากเราไม่สนองตอบด้วยความคิด, ด้วยวาจา, และด้วยกิจการแล้วไซร้, อย่าว่า แต่เราจะเอาตัวรอดเลย เรากลับจะถูกพิพากษาอย่างเคร่งครัดยิ่งขึ้น ส่วนคริสตชนสํารอง ผู้ที่พระจิตเจ้าทรงดลใจ และเขาแสดงออกอย่างแน่ว แน่ปรารถนามาสังกัดในพระศาสนจักร การตั้งสัตย์อธิษฐานอันนีก้ ็ทําให้เขาสังกัด อยู่ในพระศาสนจักรแล้ว และพระศาสนจักรผู้เป็นมารดาก็ทรงรับเขาไว้ในความ รัก และความเอาใจใส่ดูแล. สัมพันธภาพของพระศาสนจักร กับคริสตชนที่ไม่ใช่คาทอลิก 15. บุคคลที่ได้รับศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาป, ประกอบอยู่ด้วยเกียรตินามว่า เป็นคริสตชน, แต่เขาไม่ประกาศรับรองความเชื่อทั้งครบ หรือเขาไม่รับรู้เอกภาพ แห่งสหพันธ์ภายใต้อํานาจผู้สืบตําแหน่งของท่านเปโตร, พระศาสนจักรก็ทราบดีว่า ตัวท่านมีความสัมพันธ์กับคนเหล่านี้ ด้วยเหตุผลหลายประการ คนเหล่านี้
ส่วนมากเคารพพระคัมภีร์ และยึดถือเอาเป็นหลักของความเชือ่ และของการ ประพฤติดํารงชีวติ เขาจริงใจแสดงความร้อนรนภักดีต่อพระศาสนา, เขาเชื่อด้วย ใจรักในพระเป็นเจ้า พระบิดาทรงสรรพานุภาพ และในพระคริสตเจ้าพระเทว บุตรผู้ทรงกอบกู,้ เขาได้รับประทับตราของศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาป จึงร่วมสนิท กับพระคริสตเจ้า, กว่านั้นอีกเขารับรู้และเข้าไปรับศักดิ์สิทธิการต่าง ๆ ในศาสน จักรกลุ่มของเขา หรือในหมู่ (34) ศาสนจักรของเขา, ในพวกเขา, มีหลาย ๆ ท่านมีบรรดาศักดิ์เป็นพระสังฆราช, เขาทําพิธีถวายสดุดีบูชา ทั้งยังส่งเสริมความ ภักดีต่อพระนางพรหมจาริณ,ี พระเทวมารดา, นอกนั้นเขายังมีสหพันธ์ของการ อธิษฐานภาวนา และของพระคุณานุคณ ุ ด้านวิญญาณอย่างอื่น ๆ อีก. ยิ่งกว่านั้น เขามีสหพันธ์อย่างหนึง่ ในพระจิตเจ้า, พระองค์ทรงแผลงฤทธิ์ทํางาน, ประทาน พระคุณต่าง ๆ แม้กระทั่งในตัวเขา, พระองค์ทรงใช้ฤทธิ์เดชบันดาลความ ศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ท่าน ทําให้บางคนในพวกเขามีใจกล้าหาญ ยอมพลีหลั่ง โลหิตของตนเพื่อพระศาสนา. นี่แหละพระจิตเจ้าทรงปลุกให้สานุศิษย์ทั้งหลายของ พระคริสตเจ้า เกิดมีความปรารถนาและการออกแรงทํางาน เพื่อให้ทุก ๆ คนเข้า มารวมกัน ในทํานองที่พระคริสตเจ้าทรงกําหนดไว้, ให้รวมกันเป็นหนึ่งโดยสันติ เพื่อจะได้เป็นฝูงแกะเดียว และนายชุมพาบาลแต่ผู้เดียว. ไม่หยุดยั้งที่จําบําเพ็ญ ภาวนา, เฝ้าคอยความหวัง, และออกแรงทํางานและตักเตือนลูก ๆ ของท่านให้ ชําระตน, ให้ปฏิรูปตนใหม่ เพื่อสัญลักษณ์ของพระคริสตเจ้าจะได้เปล่งรัศมีแจ่ม จรัสขึ้นบนใบหน้าของพระศาสนจักร. บรรดาผู้ที่มิใช่คริสตชน 16. ที่สุดก็ถึงบุคคลที่ยังมิได้รับพระวรสารแต่เขาก็มีความเกี่ยวข้องกัน ประชากรของพระเป็นเจ้าด้วยเหตุผลหลายประการ พวกแรกคือประชากรนั้น ที่ ได้รับพันธไมตรีและพันธสัญญาต่าง ๆ และจากประชากรนี้เอง พระคริสตเจ้าทรง ถือกําเนิดมาทางด้านเนื้อหนัง (เทียบ รม. 9,4-5) เป็นประชากรที่พระทรง เลือกสรร, ประชากรสุดที่รัก เพราะพวกบรรพบุรุษของพวกเขา : พระเป็นเจ้ามิได้ ทรงเสียพระทัยที่ได้ประทานพระคุณานุคุณและพระกระแสเรียกแก่พวกเขา (เทียบ รม. 11, 28-29) แต่จุดประสงค์มุ่งความรอด ยังผูกพันบุคคลเหล่านั้นที่รับรู้จัก พระผู้สร้าง, ท่ามกลางพวกนี้มีชาวมุสลิมเป็นต้น, เขาประกาศยืนยันว่าพวกเขา ยึดถือความเชือ่ ของอับราฮัม, เขานมัสการพระเป็นเจ้าแต่ผเู้ ดียว ร่วมกันพวกเรา (คาทอลิก) เขานับถือพระเป็นเจ้าแต่ผู้เดียว ผู้ทรงเมตตากรุณา, และในวัน สุดท้ายจะทรงพิพากษามวลมนุษย์. สําหรับบุคคลอื่น ๆ ที่ในเงาในรูปภาพ แสวงหาพระเป็นเจ้าที่เขาไม่รู้จัก, พระเป็นเจ้าเองก็ทรงไม่หา่ งจากคนพวกนี้ เพราะว่าพระองค์ประทานให้ทุก ๆ คนมีชวี ิต, มีความดลบันดาลใจและมีสารพัด
(เทียบ กจ. 17,25-28) และพระผู้กอบกู้ทรงมีพระประสงค์ให้มนุษย์ทุกคนเอาตัว รอด (เทียบ 1 ทม.2,4) คนเหล่านี้ไม่รู้ถงึ พระวรสารของพระคริสตเจ้า, ไม่รู้ถึง พระศาสนจักรของพระองค์ โดยไม่มีความผิด, ถึงกระนั้นเขาก็แสวงหาพระเป็น เจ้าด้วยใจอันสุจริต และน้ําพระทัยของพระองค์ที่เขาทราบโดยทางการบอกกล่าว ของมโนธรรมและภายใต้อิทธิพลของพระหรรษทาน เขาพยายามสนองตามนั้น ด้วยกิจการของตน, เขาก็อาจบรรลุถึงความรอดตลอดนิรันดร์. ทั้งพระญาณ สอดส่องของพระเป็นเจ้าก็ไม่เพิกเฉย ประทานความช่วยเหลืออันจําเป็นสําหรับ ความรอดแก่พวกคนทีโ่ ดยที่ไม่ใช่ความผิดของเขา, ที่เขายังไม่ได้บรรลุถึงการรู้จัก พระเป็นเจ้าอย่างกระจ่างแจ้ง และเขาพยายามปฏิบัติโน้มชีวิตของเขาไปในทางที่ ถูกต้อง แน่นอนโดยพระหรรษทานช่วยเหลือ. เพราะว่าทุก ๆ สิ่งที่ดี, ที่จริงอันนี้ มีอยู่ในตัวพวกเขา, พระศาสนจักรถือว่าเป็นการเตรียมตัวเบื้องแรกแห่งพระวรสาร แล้ว, และเป็นสิ่งที่พระองค์ท่าน, องค์ผู้ส่องสว่างมนุษย์ทุกคนประทานให้ หวังให้ เขาได้รับชีวิตในที่สุด. แต่ก็มีบ่อยเหมือนกันที่มนุษย์ถูกปีศาจล่อล่วง จึงหลงไหล ไปในความนึกคิด, เขาเปลี่ยนความจริงของพระเป็นเจ้า เป็นคําปดมดเท็จ, เขารับ ใช้สัตว์โลกมากกว่าพระผู้สร้าง (เทียบ รม.1,21 และ 25) หรือขณะอยู่ในโลกนี้ เขามีชีวิตและตายไปโดยไม่มีพระเป็นเจ้า, คนพวกนี้ล่อแหลมต่อความหมดหวังเป็น อย่างยิ่ง. เพราะเหตุนี้เอง เพือ่ ส่งเสริมพระเกียรติมงคลของพระเป็นเจ้า และเพื่อ ช่วยให้คนเหล่านี้ทั้งหมดได้เอาตัวรอด, พระศาสนจักรจึงระลึกถึงพระบัญชาของ พระสวามีเจ้าว่า “พวกท่านจงไปประกาศพระวรสารแก่สัตว์โลกทุกตัวตน” (มก. 16,15) และท่านเอาใจใส่อนุเคราะห์แคว้นมิสซัง (35) ต่าง ๆ เอกลักษณ์การเป็นธรรมทูตของพระศาสนจักร 17. พระบิดาได้ทรงใช้พระบุตรมาฉันใด พระบุตรก็ทรงใช้บรรดาอัคร สาวกไปฉันนั้น, (เทียบ ยน. 20,21) พระองค์มพี ระดํารัสว่า “ท่านทั้งหลาย จงไปสั่งสอนนานาชาติ, จงทําศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาปแก่เขาในนามของพระบิดา และพระบุตรและพระจิต จงสั่งสอนเขาให้ปฏิบัติทุกสิ่ง ที่ข้าฯ บัญชาสั่งพวกท่าน ไว้.” และ “นี่แหละข้าฯ อยู่กับพวกท่านเรื่อยไปจวบจนสิ้นพิภพ” (มธ. 28.1820) พระคริสตบัญชาอันมีสง่า : สั่งให้ประกาศความจริงอันช่วยให้รอดนี,้ พระศาสนจักรได้รับมาจากอัครสาวก ให้ปฏิบัติเรือ่ ยไปจนสุดแดนดิน (เทียบ กจ. 1,8) ฉะนั้น ท่านจึงนําเอาวาทะของท่านอัครสาวกมาใช้กบั ท่านเอง ที่ว่า : “กรรมของข้าพเจ้า หากข้าพเจ้าไม่ประกาศพระวรสาร” (1 คร. 9,16) เพราะฉะนั้นพระศาสนจักรจึงดําเนินงานส่งธรรมทูตต่าง ๆ มาไม่หยุดยั้ง จนกระทั่งพระศาสนจักรต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นใหม่ บรรลุถึงผลสมบูรณ์ และทํา ภาระกิจประกาศพระวรสารสืบต่อไปเป็นทอด ๆ พระจิตเจ้าทรงปลุกกระตุ้นให้
เขาร่วมงานจนบรรลุผลสําเร็จตามความมุ่งมาดของพระเป็นเจ้า ผู้ได้ทรงแต่งตัง้ พระคริสตเจ้าขึ้นเป็นแหล่งที่มาแห่งความรอดสําหรับทั่วโลกจักรวาล ในการ ประกาศพระวรสารพระศาสนจักรโน้มนําให้บรรดาผู้ฟังมีความเชือ่ และประกาศ แสดงความเชือ่ นั้นอย่างเปิดเผย, ท่านจัดเตรียมให้เขารับศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาป, ให้เขาเจริญวัฒนาขึ้นโดยอาศัยความรักของพระองค์ไปจนถึงขั้นความสมบูรณ์, พระศาสนจักรออกแรงทํางาน เพื่อเมื่อพบเห็นสิ่งที่ดีงามในใจ, ในความนึกคิด ของมนุษย์, หรือทีพ่ บเห็นกระจายอยู่ในจารีตพิธี และวัฒนธรรมอันเป็นของ เฉพาะตัวเองประชาชาติต่าง ๆ, ท่านไม่เพียงแต่ไม่ทําลายให้ดับสูญ, แต่ท่าน กลับเยียวยารักษา, ตกแต่งเชิดชูขึ้น, และนําไปสู่ความสัมฤทธิ์ผลให้เป็นเกียรติ มงคลแด่พระเป็นเจ้า เป็นที่อัปยศอับอายแก่ปีศาจและเป็นความผาสุกแก่มวล มนุษย์. ไม่ว่าใครที่เป็นศิษย์ของพระคริสตเจ้า เขาทุกคนมีหน้าที่โดยเฉพาะของ ตน และมีภาระต้องเผยแพร่ความเชื่อ จริงอยู่ไม่ว่าใครก็ทําศักดิ์สิทธิการ - ล้าง บาปได้แก่ผู้มีความเชือ่ แต่ก็เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ที่จะก่อสร้างพระวรกายด้วย ถวายสดุดีบูชา ทั้งนี้เพื่อให้สําเร็จเป็นไปตามพระวจนะของพระเป็นเจ้าที่พระองค์มี พระดํารัสทางท่านประภาษกว่า : “จากตะวันออกจนถึงตะวันตก พระนามของ ข้าฯ ยิ่งใหญ่ต่อหน้านานาชาติและในทุก ๆ สถานที่ก็มีการถวายสักการะและบูชา แด่พระนามของข้าฯ ด้วยเครื่องบูชาอันบริสุทธิ”์ (มลค. 1,11), ดังนี้แหละ พระศาสนจักรทัง้ อธิษฐานภาวนา ทั้งออกแรงทํางานพร้อม ๆ กันไป เพือ่ ให้ทั้ง โลกบรรลุถึงความสมบูรณ์ มาเป็นประชากรของพระเป็นเจ้า เป็นพระวรกายของ พระสวามีเจ้า และเป็นโบสถ์ที่ประทับของพระจิตเจ้า และเพือ่ ให้พระคริสตเจ้า องค์พระประมุขของทุกคน, ให้พระผูส้ ร้างและพระบิดาของโลกจักรวาลได้รับ เกียรติยศและเกียรติมงคลทุก ๆ ประการ.
18-29
บทที่ 3 พระฐานานุกรมของพระศาสนจักร และตําแหน่งพระสังฆราชโดยเฉพาะ
อรัมภบท 18. พระสวามีคริสตเจ้า มีพระประสงค์จะเลี้ยงดูและทวีประชากรของพระ เป็นเจ้า ให้มีจํานวนมากขึ้น ๆ อยู่เสมอ จึงได้ทรงจัดตั้งให้พระศาสนจักรของ พระองค์ มีศาสนบริกร (36) ต่าง ๆ ซึ่งล้วนสร้างคุณประโยชน์แก่พรวรกายทั่ว ทั้งพระวรกาย บรรดาศาสนบริกรทรงอํานาจศักดิ์สิทธิ์, ทํางานรับใช้มวลพี่นอ้ ง ด้วยกัน หวังให้ทุก ๆ คนที่เป็นสมาชิกประชากรของพระเป็นเจ้า, และเพราะ เป็นประชากรของพระเป็นเจ้าจึงประกอบด้วยเกียรติศักดิ์เป็นคริสตชนอย่างแท้จรงิ และเพื่อมุ่งหน้าอย่างเป็นอิสระเสรี และเป็นระเบียบเรียบร้อยสู่จุดหมายอัน เดียวกัน, พวกเขาจะได้บรรลุถึงความรอด. สภาพระสังคายนาสากลครั้งนี้ สะกดรอยตามพระสังคายนาวาติกันครั้งที่ หนึ่ง และพร้อมกับพระสังคายนาดังกล่าว ท่านสั่งสอนและประกาศว่า : พระ เยซูคริสตเจ้า, องค์พระชุมพาบาลนิรันดร ได้ทรงสถาปนาพระศาสนจักรอัน ศักดิ์สิทธิ์ขึ้น โดยได้ทรงส่งท่านอัครสาวกไปดุจดังพระบิดาได้ทรงส่งพระองค์ท่าน มา (เทียบ ยน. 20,21) ; บรรดาผู้สืบตําแหน่งของอัครสาวก นั่นคือบรรดา พระสังฆราช, พระองค์ได้ทรงพอพระทัยแต่งตั้งขึ้นเป็นชุมพาบาลในพระศาสน จักรของพระองค์เรือ่ ยไปจวบจนสิ้นพิภพ. แต่เพื่อจะให้ตัวตําแหน่งพระสังฆราชคง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและแบ่งแยกไม่ได้, พระองค์ได้ทรงตัง้ ท่านเปโตรให้เป็น ประมุขของอัครสาวกอื่นทั้งหลาย และในตัวท่านเปโตรนั้น พระองค์ได้ทรงวาง แหล่งที่มาและรากฐานอันคงอยู่เสมอ และแลเห็นได้แห่งเอกภาพทางความเชือ่ และทางด้านสหพันธ์. อันคําสอนเรือ่ งการสถาปนา, เรื่องความคงทนอยู่เสมอ, เรื่องอํานาจและเหตุผลของการเป็นประมุขแห่งพระสังฆราชแห่งกรุงโรม, ตลอดจนเรื่องอาจาริยานุภาพอันไม่รู้ผิดพลั้งของพระองค์ท่าน, สภาพระสังคายนา นี้กลับนํามาเสนออีกครั้งหนึ่ง ให้สัตบุรุษทั้งสิ้นต้องเชื่ออย่างมั่นคง แล้วจากที่ เริ่มต้นนี้ ท่านเสริมต่อไป เรื่องคําสอนเกี่ยวกับบรรดาพระสังฆราชผู้สืบตําแหน่ง ของบรรดาอัครสาวก, ท่านเหล่านี้ พร้อมกับผูส้ ืบตําแหน่งของท่านเปโตร, องค์ผู้แทนของพระคริสตเจ้าเป็นศีรษะที่แลเห็นได้ของพระศาสนจักรทั้งหมด ทั้ง สองฝ่ายดังกล่าวนี้เป็นผู้ปกครองเคหะของพระเป็นเจ้าผู้ทรงชีวติ สภานี้กําหนดให้ แสดงและประกาศดังนี้ต่อหน้าทุก ๆ คน.
การแต่งตั้งอัครสาวก 12 ท่าน 19. พระสวามีเยซูเจ้า, หลังแต่ได้ทุ่มเทอธิษฐานภาวนาต่อพระบิดาแล้ว, ได้ทรงเรียกบุคคลที่พระองค์เองทรงพอพระทัยเข้ามาหา แล้วแต่งตั้ง 12 ท่าน ให้อยู่กับพระองค์และให้เขาไปประกาศพระราชัยของพระเป็นเจ้า (เทียบ มก. 3,13-19; มธ. 10,1-42). สิบสองคนนี้ พระองค์ได้ทรงตั้งขึน้ เป็นอัครสาวก (เทียบ ลก. 6,13) ตั้งขึ้นเป็นทํานองคณะ หรือเป็นกลุ่มก้อนที่ถาวร และใน พวกเขานี้ พระองค์ได้ทรงเลือกคนหนึ่ง คือ ท่านเปโตร, ตั้งให้เป็นหัวหน้า คณะ (เทียบ ยน. 21,15-17). ได้ทรงใช้พวกเขาไปหาลูก ๆ ชาวอิสราเอลก่อน แล้วจึงไปหานานาชาติทั้งหลาย (เทียบ รม. 1-16) ทั้งนี้เพื่อให้พวกเขามีส่วนใน ฤทธิ์อํานาจของพระองค์ ไปทําให้ประชากรทั้งหลายมาเป็นสานุศิษย์ของพระองค์ ท่านเอง, ให้ทําให้เขาเป็นคนศักดิ์สิทธ์, และให้ปกครองพวกเขา (เทียบ มธ. 28,16-20; มก. 16,15; ลก. 24,45-48; ยน. 20,21-23), ดังนี้แหละ เพือ่ ให้ พวกเขาขยับขยายและเลี้ยงดูพระศาสนจักร โดยให้บริการภายใต้การนําของพระ สวามีเจ้า ทุก ๆ วันเรื่อยไปจวบจนสิ้นพิภพ (เทียบ มธ. 28,20), บรรดาอัคร สาวกได้รับกําลังตั้งมั่นเต็มที่ในภารกิจอันนี้ ณ วันเปนเตกอสเต (วันที่ 50 วันพระจิตเสด็จมาโปรด : เทียบ กจ. 2,1-26) ตามที่พระสวามีเจ้าได้ทรงสัญญา ไว้ว่า “พวกเจ้าจะได้รับฤทธิเดชของพระจิตเจ้าผู้เสด็จเข้ามาในตัวเจ้า และพวก เจ้าจะเป็นพยานให้แก่ข้าฯ ที่เยรูซาเลม, ทั่ว ๆ ประเทศยูเดีย, และสมารีอา, และจนทั่วแดนดิน (กจ. 1,8), ฝ่ายพวกอัครสาวกไปประกาศพระวรสารทั่วทุก หนทุกแห่ง (เทียบ มก. 16,20), บรรดาผู้ฟังก็ได้รับพระวรสารเดชะพระจิตเจ้า ทรงกระตุ้นดลใจ, พวกท่านจึงรวบรวมพระศาสนจักรสากล (= ทั่วไป) พระศา สนจักรนี้ พระสวามีเจ้าได้ทรงสถาปนาขึ้นในพวกอัครสาวก และได้ทรงตั้งขึ้นบน ท่านเปโตร, หัวหน้าของพวกท่าน โดยพระองค์ท่านเอง พระเยซูคริสตเจ้า ทรงเป็นสุดยอดศิลามุม (= เป็นเสาเอกอันมั่นคง) (เทียบ วว. 21,14; มธ. 16,18; อฟ. 2,20). พระสังฆราชคือผู้สืบตําแหน่งอัครสาวก 20. ภารกิจของพระเป็นเจ้านั้น อันที่พระคริสตเจ้าได้ทรงมอบหมายฝาก ไว้กับพวกอัครสาวก จําจะต้องดํารงอยู่จวบจนสิ้นพิภพ (เทียบ มธ. 28,20), เพราะว่าพระวรสารทีพ่ วกท่านต้องมอบต่อ ๆ กันไปนั้น เป็นดังแหล่งที่มาแห่ง ชีวิตสําหรับพระศาสนจักรในทุก ๆ เวลา, เพราะเหตุนี้เอง พวกอัครสาวก ใน สังคมที่มีระเบียบเป็นฐานานุกรม, ท่านจึงได้ใส่ใจอันที่จะแต่งตั้งผู้สืบตําแหน่งแทน พวกท่าน, มิใช่แต่พวกอัครสาวกได้มีผู้ช่วยในหน้าที่ของท่านหลายคนหลาย
ตําแหน่งเท่านั้น แต่เพื่อให้ภารกิจที่ท่านได้รับมอบหมายดํารงอยู่ต่อไป หลัง มรณกรรมของพวกท่าน, ท่านจึงได้กําชับสั่งดังเป็นพินัยกรรม ให้ผู้ร่วมงาน ใกล้ชิดของท่านทําภาระหน้าที่นั้นต่อไปจนสําเร็จ และงานที่พวกท่านได้เริ่มไว้ ก็ ให้พวกเขายืนหยัดทําต่อไป พลางกําชับให้พวกเขาเอาใจใส่ตอ่ ฝูงแกะทั้งหมด ซึ่ง พระจิตเจ้าได้ทรงตั้งเขาไว้ให้เลี้ยงดูพระศาสนจักรของพระเป็นเจ้า (เทียบ กจ. 20,28), ฉะนั้นพวกอัครสาวกจึงได้แต่งตั้งบุรุษประเภทนี้ขึ้นหลายท่าน และยัง กําชับสั่งให้ตอ่ ๆ ไปเมื่อเขาจะได้ตายจากไป, ให้คนอื่นทีไ่ ด้ทดสอบมาดีแล้วรับ ช่วงภารกิจนั้นต่อไป. ในบริการภารกิจต่าง ๆ ที่กระทํากันมาในพระศาสนจักร ตั้งแต่สมัยเริ่มแรกพระกิตติเป็นพยาน, ภาระหน้าที่สําคัญอันดับหนึ่งคือหน้าที่ของ บุคคลที่ได้ถูกแต่งตั้งขึ้นสู่ตําแหน่งพระสังฆราช, โดยการสืบหน้าที่แทนเป็นการ ไหลลงมาจากต้นเดิม, เขาพวกนี้ถ่ายทอดพันธุ์มาจากพวกอัครสาวก. ตัวอย่าง ตามคําพยานของนักบุญอิเรเนโอ, ท่านยืนยันว่า : โดยผ่านทางบุคคลที่พวกอัคร สาวกได้ตั้งขึ้นเป็นพระสังฆราช และบุคคลที่สืบตําแหน่งของพระสังฆราชเหล่านั้น จนกระทั่งมาถึงสมัยของเรา พระกิตติ (= การมอบหมายต่อ ๆ มา) ของอัคร สาวกจึงประจักษ์ชัดและคงรักษาไว้ในทั่วโลก. เพราะฉะนั้น บรรดาพระสังฆราชได้รับหน้าที่ศาสนบริการ (36) ของกลุ่ม ชน ทั้งนี้ร่วมกับบรรดาผู้ช่วยเหลือท่านคือ พวกพระสงฆ์และสังฆานุกร (37) ท่าน (= พระสังฆราช) ทําหน้าที่เป็นประธานของฝูงแกะซึ่งท่านเป็นชุมพาบาล แทนที่พระเป็นเจ้า ในฐานะที่ท่านเป็นอาจารย์สอนธรรมะ, ท่านเป็นพระสงฆ์ใน พิธีศาสนกิจและเป็นบริกรผู้ปกครอง, อันหน้าที่ที่พระสวามีเจ้าได้ทรงมอบให้แก่ ท่านเปโตรคนเดียวโดยเฉพาะ, ท่านผู้เป็นที่หนึ่งในบรรดาอัครสาวก, ก็หน้าที่นี้ จะต้องดํารงอยู่และต้องมอบให้แก่ผู้สืบตําแหน่งของท่านฉันใด, ก็ฉันนั้น ยังคง ดํารงถาวรซึ่งหน้าที่ของบรรดาอัครสาวก หน้าที่ที่ต้องเลี้ยงดูพระศาสนจักร, ซึ่ง จะต้องปฏิบัตอิ ยู่เสมอจากฝ่ายผู้อยู่ในระดับอันศักดิ์สิทธิ์ของบรรดาพระสังฆราช เพราะฉะนั้นสภาพระสังคายนาจึงประกาศสอนว่า : บรรดาพระสังฆราช, จาก การสถาปนาของพระเป็นเจ้าเอง, ได้สืบตําแหน่งแทนที่บรรดาอัครสาวก, ใน ฐานะเป็นชุมพาบาลของพระศาสนจักร ซึ่งผู้ใดเชื่อฟังท่าน, ผู้นั้นเชื่อฟังพระ คริสตเจ้า, แต่ผู้ใดประมาทท่าน, ผู้นั้นประมาทพระคริสตเจ้า ทัง้ พระองค์ที่ได้ ทรงส่งพระคริสตเจ้ามา (เทียบ ลก. 10,16) ภาวะพระสังฆราช (38) เป็นศักดิ์สิทธิการ 21. ฉะนั้นบรรดาพระสังฆราชที่พวกพระสงฆ์กําลังห้อมล้อมร่วมพิธี ท่ามกลางบรรดาผู้มีศรัทธา (38) ก็มีองค์พระสวามีเยซูคริสตเจ้า, พระสมณะ สูงสุด (39) ประทับอยู่กับท่าน พระองค์ประทับอยู่เบื้องขวาของพระเป็นเจ้าพระ
บิดาก็จริง, ถึงกระนั้นก็ไม่ใช่พระองค์อยูห่ ่างไกลจากกลุ่มชน (40) ของบรรดา พระสังฆราชของพระองค์, แต่เฉพาะอย่างยิ่งโดยอาศัยการรับใช้อันล้ําค่าของพวก พระสังฆราช (เทียบ 1 คร. 21,15), พระองค์ทรงประกาศพระวาจาของพระเป็น เจ้าแก่นานาชาติทั้งหลาย, และทรงประกอบศักดิ์สิทธิการแห่งความเชือ่ อยู่ เนืองนิตย์, อาศัยหน้าที่เยี่ยงบิดาของพวกพระสังฆราช (เทียบ 1 คร. 4,15), พระองค์ทรงรับสมาชิกใหม่เข้ามาสังกัดพระวรกายของพระองค์ โดยทางการเกิด ใหม่อันสูงส่ง, ที่สุดอาศัยความปรีชาและความรอบคอบของบรรดาพระสังฆราช, พระองค์ทรงนําทางและจัดระเบียบให้ประชากรแห่งพันธสัญญาใหม่ ขณะ ระเหระหนอยู่ในโลกนี้ไปสู่ความบรมสุขนิรันดร. ท่านเหล่านี้นั่นแหละ ได้ถูก เลือกสรรให้เป็นชุมพาบาลสําหรับเลี้ยงฝูงแกะของพระสวามีเจ้า, ท่านเหล่านี้ เป็นบริกรคนใช้ของพระคริสตเจ้า, เป็นผู้แจกจ่ายพระอคาธัตถ์ตา่ ง ๆ ของพระ เป็นเจ้า (1 คร. 4,1) ท่านเหล่านี้ได้รับมอบหมายให้ทําการประกาศยืนยันข่าวดี (พระวรสาร) แห่งพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า (เทียบ รม. 15,16; กจ. 20,24) ตลอดจนการประทานพระจิต และความยุติธรรมในพระเกียรติมงคล (เทียบ 2 คร. 3,8-9) สําหรับจะปฏิบัติภารกิจอันยิ่งใหญ่เช่นนีใ้ ห้สาํ เร็จลุล่วงไป พวกอัครสาวก ได้รับพระจิตผู้เสด็จมาอย่างอุดมเต็มเปี่ยมจากพระคริสตเจ้า (เทียบ กจ. 1,8 : 2,4; ยน. 20,22-23), แล้วพวกท่านเอง โดยทางการปกมือได้มอบพระคุณของ พระจิตนี้ ให้แก่ผู้ช่วยของท่าน (เทียบ 1 มท. 4,14; 2 มท. 1,6-7), และการ กระทําอันนี้ก็มอบต่อ ๆ กันมาในการอภิเษกพระสังฆราชจนถึงชาวเราทุกวันนี.้ สภาพระสังคายนาสากลนี้จึงสอนว่า การอภิเษกพระสังฆราชประสาท (41) ความ บริบูรณ์ของศักดิ์สิทธิการ - อนุกรม, แน่นอนความบริบูรณ์อนั นี้ ทั้งประเพณี ทางจารีตพิธีของพระศาสนจักร, ทั้งวาจาคําพูดของบรรดานักบุญปิตาจารย์ ก็ เรียกว่า สังฆภาพอันสูงสุด, สุดยอดของบริกรศักดิ์สิทธิ,์ การอภิเษก พระสังฆราช และพร้อมกันนี้ภาระหน้าที่บันดาลความศักดิ์สิทธิ,์ ขณะเดียวกันก็ ประสาทอํานาจหน้าที่สั่งสอนและหน้าที่ปกครองอีกด้วย, ถึงกระนั้นหน้าที่ทั้งสอง นี้ ตามธรรมชาติของมันไม่อาจปฏิบัติได้ นอกจากจะร่วมสหพันธ์ทางพระ (42) ฐานานุกรมอยู่กับหัวหน้าและสมาชิกของคณะ พระกิตติที่แสดงออกมาเป็น ต้น ในทางจารีตพิธีแห่งพระศาสนจักรทั้งฝ่ายตะวันออก ทั้งฝ่ายตะวันตก ตามที่ปฏิบัติกัน, เป็นทีป่ รากฏเด่นชัดว่า การปกมือและการอภิเษกประสาทพระ หรรษทานของพระจิตเจ้าและประทับตราอันศักดิ์สิทธิ์ให้, จนกระทั่งพระสังฆราช, ด้วยท่วงท่าอันสูงเด่นและแลเห็นได้ชัด ท่านรับเอาและสวมองค์ของพระคริสตเจ้า เอง, ผู้เป็นพระอาจารย์, พระชุมพาบาลและพระสมณะ, เป็นหน้าทีข่ องบรรดา
พระสังฆราชที่จะนําผู้รับเลือกสรรใหม่ให้เข้าสู่สมาชิกคณะพระสังฆราช ทางการประสาทศักดิ์สิทธิการ – อนุกรม.
โดย
คณะของพระสังฆราช และองค์พระประมุขของคณะ 22. ตามที่พระสวามีเจ้าทรงแต่งตั้งไว้ นักบุญเปโตรกับอัครสาวกอื่น ๆ ทั้งหลาย รวมกันเป็นคณะอัครสาวกหนึ่งหน่วยฉันใด, ก็โดยเหตุผลอันเสมอกัน พระสังฆราชกรุงโรมผูส้ ืบตําแหน่งของท่านเปโตร กับบรรดาพระสังฆราชผู้สืบ ตําแหน่งอัครสาวกก็รวมกันและกันด้วยฉันนั้น เป็นหลักประเพณีถือกันมาแต่ โบราณกาลนานนักหนา ที่บรรดาพระสังฆราชผู้ได้รับแต่งตั้งในโลกจักรวาล ท่าน ติดต่อกันระหว่างพวกท่านเอง และติดต่อกับพระสังฆราชกรุงโรม โดยมี ความสัมพันธ์กันทางด้านเอกภาพ, ทางด้านความรักหวังดีต่อกัน และทางการมี สันติสุขต่อกัน เช่นเดียวกันการมาร่วมประชุมสังคายนากัน เพื่อตกลงร่วมกันใน ปัญหาสําคัญ ๆ โดยใช้การตัดสิน มีน้ําหนักจากความคิดเห็นของหลาย ๆ ท่าน, ก็แสดงให้เห็นคุณลักษณะและหลักการเป็นคณะของทําเนียบพระสังฆราช. คุณลักษณะการเป็นคณะนี้ยืนยันได้ด้วยพระสังคายนาสากลต่าง ๆ ที่ได้ประชุมกัน มาในกระแสศตวรรษต่าง ๆ อีกด้วย, เรื่องนี้ยังมีการส่อแสดงให้เห็นประจักษ์ด้วย ประเพณีที่ปฏิบัติกันมาแต่โบราณกาลคือ เมื่อมีใครได้รับแต่งตั้งเป็นพระสังฆราช เกิดใหม่ เขาก็เชิญพระสังฆราชหลายองค์มาร่วมในการเทิดเกียรติของผู้ได้รับ ภาระหน้าที่สังฆภาพสูงสุด ใครเข้าเป็นสมาชิกทําเนียบพระสังฆราช คนนั้นต้อง ได้รับการแต่งตั้งขึ้นโดยการอภิเษกของศักดิ์สิทธิการ และต้องร่วมสหพันธ์ของ พระฐานานุกรมกับองค์พระประมุขของคณะ ทั้งกับสมาชิกของคณะนั้นด้วย. อันว่าคณะหรืออีกนัย (43) ทําเนียบของบรรดาพระสังฆราชไม่มอี ํานาจ เว้นแต่เมื่อเป็นที่ยอมรับว่า ท่านอยู่ร่วมกับพระสังฆราชกรุงโรม, ผู้สืบตําแหน่ง ของท่านเปโตร, ในฐานะเป็นองค์พระประมุขของคณะ, ซึ่งพระองค์ท่าน (44) จนกระทั่งบัดนี้ก็ยังมีอํานาจของปฐมภาวะครบบริบูรณ์ ต่อทุก ๆ คน ไม่ว่า เป็นชุมพาบาลหรือสัตบุรุษ. เหตุด้วยว่าพระสังฆราชกรุงโรม เดชะภาระหน้าที่ ของพระองค์ท่าน, กล่าวคือ เป็นผู้แทนองค์พระคริสตเจ้า, และเป็นชุมพาบาล ของพระศาสนจักรทั้งหมด, จึงทรงอํานาจเต็มเปี่ยม, สูงสุด และสากลทั่วไปต่อ พระศาสนจักร และทรงสามารถใช้อํานาจนี้ได้อยู่เสมออย่างอิสระเสรีด้วย. ส่วน ทําเนียบพระสังฆราชซึ่งขึ้นแทนที่ของบรรดาอัครสาวก ในด้านอาจาริยานุภาพ และด้านการปกครอง ฐานะชุมพาบาล, กว่านั้นอีกทําเนียบของอัครสาวกยังคง ดํารงอยู่ต่อมาในทําเนียบของบรรดาพระสังฆราชด้วย, ในเมื่อท่านร่วมอยู่กับองค์ พระประมุขของท่าน กล่าวคือพระสังฆราชกรุงโรม, แต่เป็นไปไม่ได้เลย หากไม่ มีองค์พระประมุขนี,้ ในกรณีดังกล่าวทําเนียบพระสังฆราชก็เป็นผู้รับ
(Subjectum) อํานาจสูงสุดและเต็มเปี่ยมเหนือพระศาสนจักรสากลทั่วไป และ อํานาจนี้อาจนํามาใช้ได้ก็เฉพาะเมื่อพระสังฆราชกรุงโรมทรงเห็นชอบด้วยเท่านั้น, พระสวามีเจ้าได้ทรงวางท่านซีมอนคนเดียวเป็นศิลา และเป็นต้นกุญแจของพระศา สนจักร (เทียบ มธ. 16,18-19) และได้ทรงแต่งตั้งท่านเป็นชุมพาบาลของฝูงแกะ ของพระองค์ทงั้ หมด (เทียบ ยน. 21,15 ต่อ ๆ ไป), ส่วนภาระหน้าที่ผูกมัด และแก้ออกที่พระองค์ได้ประทานให้แก่ท่านเปโตร (เทียบ มธ. 16,19) นั้น, พระองค์ก็ได้ประทานให้แก่ทําเนียบอัครสาวกด้วย ในเมื่อท่านร่วมอยู่ในองค์ ประมุขของท่าน, เรื่องนี้ประจักษ์แน่ชัด (เทียบ มธ. 18,18; 28,16-20) คณะ อันนี้ในฐานะที่ประสมอยู่ด้วยมากคน ก็แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างและสากล ภาพของประชากรของพระเป็นเจ้าในฐานะที่รวมกันอยู่ใต้ศีรษะอันเดียว ก็แสดง ให้เห็นถึงเอกภาพแห่งฝูงแกะของพระคริสตเจ้า. ในฝูงแกะนี้บรรดาพระสังฆราชผู้ สัตย์ซื่อ เคารพนับถือปฐมภาวะและความเป็นหัวหน้าแห่งศีรษะของตน, ก็ใช้ อํานาจของตนโดยเฉพาะเพื่อประโยชน์สัตบุรษุ ของตน, กว่านั้นอีกเพื่อประโยชน์ ของพระศาสนจักรทั้งหมด, โดยที่พระจิตเจ้าประทานพละกําลังแก่โครงสร้างอัน ประกอบด้วยอวัยวะต่าง ๆ นั้น และประทานความสามัคคีปรองดองให้อยู่เสมอ อํานาจสูงสุดเหนือพระศาสนจักรสากลทั้งหมด, ซึ่งคณะพระสังฆราชมีอยู่นั้น, นําตัวแสดงออกมาใช้ด้วยท่วงทํานองอันสง่าราศี คือโดยทางพระสังคายนาสากล พระสังคายนาสากลไม่มีวันมีขึ้น ถ้าหากผู้สืบตําแหน่งของท่านเปโตรไม่ยอม รับรองว่าเป็นเช่นนั้น หรืออย่างน้อยยอมรับว่าเป็นเช่นนั้น. เป็นเอกสิทธิ์ของ พระสังฆราชกรุงโรมทีจ่ ะเรียกประชุมพระสังคายนาสากล, ที่จะเป็นประธานในที่ ประชุมและที่จะรับรองพระสังคายนาสากลนั้น ๆ. อํานาจอันเดียวกันนี้ของคณะ ร่วมกับพระสันตะปาปาก็อาจปฏิบัติได้ โดยบรรดาพระสังฆราชที่กระจายอยู่ทั่ว แผ่นดินโลก, ขอเพียงให้องค์พระประมุขของคณะทรงเรียกท่านมากระทํากิจกรรม อันเป็นของคณะ, หรืออย่างน้อยให้พระองค์ท่านรับรองว่า เป็นกิจกรรมอันรวม เป็นหนึ่งเดียวของบรรดาพระสังฆราชที่กระจัดกระจายกัน หรือพระองค์ท่านทรง ยอมรับอย่างอิสระเสรี อย่างเช่นที่กิจการนั้นเป็นกิจการของคณะโดยแท้. การติดต่อระหว่างกันและกันภายในคณะ (พระสังฆราช) 23. เอกภาพคณะพระสังฆราช ยังปรากฏออกมาให้เห็นได้ชัด ด้วยการ ติดต่อของพระสังฆราชแต่ละองค์ กับพระศาสนจักรปลีกย่อยและกับพระศาสน จักรสากล พระสังฆราชกรุงโรมในฐานะเป็นผู้สืบตําแหน่งท่านเปโตร, พระองค์ ท่านทรงเป็นหลักและฐานที่ตั้งอันถาวร และที่แลเห็นได้แห่งเอกภาพทั้งของบรรดา พระสังฆราช ทั้งของกลุ่มประชาสัตบุรุษ พระสังฆราชแต่ละองค์ก็เป็นหลักและ เป็นฐานที่ตั้งอันแลเห็นได้เหมือนกัน ของเอกภาพในพระศาสนจักรปลีกย่อยของ
ตน ๆ, ซึ่งเป็นรูปขึ้นมาตามรูปแบบของพระศาสนจักรสากล, และจากพระศาสน จักรปลีกย่อย มีพระศาสนจักรคาทอลิก (= สากล) อันหนึ่ง แต่อันเดียว เท่านั้น เพราะฉะนั้นพระสังฆราชแต่ละองค์ ๆ เป็นตัวแทนพระศาสนจักรของตน ๆ และพระสังฆราชทุกองค์รว่ มกับพระสันตะปาปาเป็นตัวแทนพระศาสนจักร สากลทั้งหมด. โดยสายสัมพันธ์ทางสันติ, ความรักและเอกภาพ (= ความเป็น หนึ่งเดียวกัน). พระสังฆราชแต่ละองค์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าพระศาสนจักร ปลีกย่อย, ท่านก็ปฏิบัติหน้าที่ปกครองเป็นชุมพาบาลเหนือส่วนหนึ่งแห่งประชากร ของพระเป็นเจ้าที่ท่านได้รับมอบหมาย, หาใช่เหนือพระศาสนจักรส่วนอื่น ๆ, ทั้งนี้มิใช่เหนือพระศาสนจักรสากล. แต่พระสังฆราชแต่ละองค์, ในฐานะที่ท่าน เป็นสมาชิกของคณะพระสังฆราช และเป็นผู้แทนอัครสาวกตามคลองธรรม, ท่านแต่ละองค์จําต้องสลวนสนใจต่อพระศาสนจักรสากล ทั้งนี้เนื่องจากการแต่งตั้ง และพระบัญชาของพระคริสตเจ้า. อันความสลวนสนใจนี้ แม้ว่าท่านมิได้ปฏิบัติ โดยเป็นกิจกรรมทางอํานาจอาชญาสิทธิ์ (46) ถึงกระนั้นก็เป็นคุณประโยชน์ต่อ พระศาสนจักรสากลมากทีเดียว เหตุว่าพระสังฆราชทุกองค์จาํ ต้องส่งเสริมและ ปกป้องเอกภาพทางความเชื่อ และระเบียบวินัยทั่วไปของพระศาสนจักรทั้งหมด, ท่านต้องสั่งสอนสัตบุรุษให้มีความรักต่ออคาธกายทั้งหมดของพระคริสตเจ้า, เฉพาะอย่างยิ่งต่อสมาชิก (อวัยวะ) ที่ยากจน, ที่เดือดร้อน, และที่ถูก เบียดเบียนข่มเหงเพราะความยุติธรรม (เทียบ มธ. 5,10) ที่สุดท่านต้องส่งเสริม การพยายามออกแรง ซึ่งเป็นของสาธารณะทั่วไปของพระศาสนจักรทั้งหมด เป็น ต้นเพื่อให้ความเชื่อทวีมากขึ้น, และให้ความสว่างของความจริงครบถ้วนส่องแสง ไปสู่มนุษย์ทุก ๆ คน อนึ่งการที่ท่านปกครองด้วยดีตอ่ พระศาสนจักรเฉพาะของ ท่าน, ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งแห่งพระศาสนจักรสากล ก็เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ท่านทําประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพต่อพระอคาธกายทั้งหมด ซึ่งก็คือวรกาย แห่งพระศาสนจักรทั้งหลายนั้นด้วย. การเอาใจใส่ประกาศพระวรสารไปทั่วทั้งแผ่นดินโลก เป็นหน้าที่ของ ทําเนียบชุมพาบาล ซึ่งพระ คริสตเจ้าได้ทรงมอบหน้าที่นี้เป็นส่วนรวม แก่พวก ท่านทุกคนตามที่พระสันตะปาปาเชเลสติโน ได้ทรงย้ําแก่บรรดาพระบิดรแห่งพระ สังคายนานครเอเฟสมาแล้วนั้น เพราะฉะนั้นพระสังฆราชแต่ละองค์เท่าที่การ ปฏิบัติหน้าที่อันเฉพาะของท่านจะอํานวย, ท่านยังมีหน้าที่ต้องร่วมมือกับกิจ ธุระการงาน กับบรรดาพระสังฆราชด้วยกัน และกับองค์ผู้สืบตําแหน่งของ ท่านเปโตร ผูไ้ ด้รับพระบัญชาโดยเฉพาะเจาะจงให้ปฏิบัติภารกิจอันใหญ่หลวง คือการประกาศพระนามของพระคริสตเจ้า ฉะนั้น พระสังฆราชต้องช่วยเหลือ สุดกําลังความสามารถต่อดินแดนธรรมทูต (= มิสซัง) ทางด้านการจัดหา
บุคลากรคนเก็บเกี่ยว, ทางด้านการสงเคราะห์ต่าง ๆ ฝ่ายวิญญาณและฝ่ายวัตถุ, ทั้งโดยทางตรงคือตัวท่านเอง, ทั้งโดยการปลุกใจสัตบุรุษของท่านให้มีความ กระตือรือร้น ร่วมมือทําการงาน. ที่สุดบรรดาพระสังฆราช ในสังคมสงเคราะห์ ทั่วไป ด้านเมตตาจิต, ขอให้ท่านยินดีช่วยเหลือประสาพี่นอ้ งต่อศาสนจักรอื่น ๆ เป็นต้น พระศาสนจักรใกล้เคียงและที่ยากจนขัดสนกว่า, ทั้งนี้เพือ่ เป็นไปตาม แบบฉบับอันดีงามที่เป็นมาแต่โบราณกาล. พระญาณสอดส่องของพระเป็นเจ้าในกระแสกาลเวลาได้ดลบันดาลอัครสาวก และบรรดาผู้สืบตําแหน่งของท่านได้จัดตั้งพระศาสนจักรต่าง ๆ ในสถานที่แตกต่าง กัน พระศาสนจักรเหล่านี้รวมกันเป็นกลุ่มหลายกลุ่ม และอยู่ร่วมกันแบบอวัยวะ, โดยคงที่รักษาเอกภาพของความเชือ่ และโดยเป็นการสถาปนาของพระศาสนจักร อันเดียวกันกับพระศาสนจักรสากล กลุ่มพระศาสนจักรที่กล่าวมานี้ มี หลักเกณฑ์ (disciplina) เฉพาะของตน, มีจารีตพิธขี องตนโดยเฉพาะ, มีมรดกด้านเทวศาสตร์และด้านจิตวิญญาณ, ในกลุ่มเหล่านี้มีบางพวก, เป็นต้นที่ เรียกว่า พระศาสนจักรอัยกาโบราณ ซึ่งเป็นประหนึ่งแม่ของความเชื่อ, ท่านได้ ให้กําเนิดแก่พระศาสนจักรอื่น ๆ ต่อไป ซึ่งเป็นดังธิดาของท่าน, กับพระศาสน จักรเหล่านี้ ท่านมีความสัมพันธ์สนิทสนมกันมากทางด้านความรักในชีวติ ศักดิ์ สิทธิการ ทั้งในความเคารพต่อกันด้านสิทธิและหน้าที่ ตราบเท่าถึงสมัยของเรา ทุกวันนี.้ อันความแตกต่างกันของพระศาสนจักรในท้องถิ่นต่าง ๆ แต่ก็มุ่งหน้า หาความเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นเครื่องส่อแสดงให้เห็นชัด ๆ ถึงความเป็นคาทอลิก (หรือสากลภาพ) แห่งพระศาสนจักร ทํานองเดียวกันสภาพระสังฆราช (47) ใน ทุกวันนี้ ก็ทําให้สามารถช่วยเหลือกันและกันได้หลายอย่างและอย่างมี ประสิทธิภาพผลิตผลด้วย, เป็นทางนําให้เกิดมีความรักต่อคณะและนําไปสู่การ ประยุกต์เป็นล่ําเป็นสัน. ภาระหน้าที่ ของพระสังฆราช 24. บรรดาพระสังฆราช ในฐานะที่ท่านเป็นผู้สืบตําแหน่งอัครสาวก, ท่านได้รับหน้าที่จากพระสวามีเจ้า, พระองค์ผู้ได้ทรงรับอํานาจทั้งหมดบนสวรรค์ ทั้งบนแผ่นดิน, พระองค์นไี้ ด้มพี ระบัญชาสั่งให้พวกท่านไปสั่งสอนนานาชาติ ทั้งหลาย และให้ประกาศพระวรสารแก่สัตวโลกทั้งสิ้น เพื่อให้มนุษย์ทุกผู้คน บรรลุถึงความรอดโดยอาศัยความเชือ่ , ศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาป และการ ประพฤติปฏิบัติตามพระบัญญัติ (เทียบ มธ. 28,18-20; มก. 16,15-16; กจ. 26,17…) เพื่อปฏิบัตติ ามหน้าที่อันนี้ พระสวามีเจ้าได้ทรงสัญญาจะประทานพระ จิตเจ้าแก่พวกอัครสาวก และในวันพระจิตตาคม พระองค์ได้ทรงส่งพระจิตเจ้ามา จากสวรรค์. อานุภาพของพระจิตเจ้า ได้บันดาลให้พวกอัครสาวกเป็นพยานของ
พระเยซูจนสุดแดนดิน, ต่อหน้านานาชาติ, ต่อหน้าบรรดาประชากรและบรรดา กษัตริย์ (เทียบ กจ. 1,8; 2,1…; 9,15) อันภาระหน้าที่อันนั้นที่พระสวามีเจ้าได้ ทรงมอบหมายให้แก่บรรดานายชุมพาบาลแห่งประชากรของพระเป็นเจ้านั้น เป็น การรับใช้โดยแท้, พระคัมภีร์เรียกอย่างตรงไปตรงมาว่า ‘disconia’ หรือบริกร รับใช้นั่นเอง (เทียบ กจ. 1,17 และ 25; 21,19; รม. 11, 13; 1 ทม. 1,12) การรับหน้าที่ตามกฎหมายของบรรดาพระสังฆราช อาจกระทําได้ตาม ประเพณีอันเป็นไปตามคลองธรรม ซึ่งอํานาจสูงสุด และสากลของพระศาสนจักร มิได้เรียกกลับคืน หรือโดยทางกฎหมายที่มีผู้มีอํานาจอย่างที่เพิ่งกล่าวมาแต่งตั้ง ขึ้นหรือรับรอง, หรือโดยตรงจากผู้สืบตําแหน่งท่านเปโตรเอง ซึ่งถ้าหากท่านผู้นี้ไม่ ยอมรับหรือปฏิเสธว่ามีสหพันธ์กับบรรดาอัครสาวกแล้ว, พระสังฆราชก็ไม่อาจเข้า รับหน้าที่นั้นได้. การทําหน้าที่ด้านการสั่งสอนของพระสังฆราช 25. ท่ามกลางภารกิจต่าง ๆ ของพระสังฆราช ภารกิจที่เด่นคือการ ประกาศพระวรสาร. เหตุว่าพระสังฆราชเป็นโฆษกผู้ประกาศความเชื่อ, เป็นผู้นํา สานุศิษย์ใหม่ให้เข้ามาหาพระคริสตเจ้าและท่านคืออาจารย์โดยแท้ หรืออีกนัย อาจารย์ผู้ประกอบด้วยอํานาจอาชญาสิทธิ์ของพระคริสตเจ้า, ท่านเป็นผู้ประกาศ อัตถ์ความเชื่อทีต่ ้องยึดถือ และต้องนํามาประยุกต์ประพฤติปฏิบัติตามนั้นสําหรับ ประชากรที่ท่านได้รับมอบหมาย, อาศัยความสว่างของพระจิตเจ้า ท่านเป็นผู้ กระจายแสง, นําเอาทรัพย์สินใหม่และเก่าออกมาจากคลังแห่งพระวิวรณ์ (48) (เทียบ มธ. 13,52), ท่านเป็นผู้ทําให้ความเชื่อนั้นผลิตผล ทั้งท่านระวังระไวขจัด มิให้ฝูงแกะของท่านพลัดหลงไป (เทียบ 2 ทม. 4,1-4) บรรดาพระสังฆราชผู้ ร่วมสหพันธ์กับพระสังฆราชกรุงโรม, เมื่อท่านทําหน้าที่เป็นอาจารย์, ทุก ๆ คน ต้องเคารพ ในฐานะท่านเป็นพยานแห่งอัตถ์ความเชือ่ ของพระเป็นเจ้า และความ จริงคาทอลิก ; ส่วนสัตบุรุษต้องคล้อยตามพระสังฆราชของตน ตามความเห็นที่ ท่านแสดงออกในนามของพระคริสตเจ้าเรือ่ งความเชือ่ และศีลธรรม และต้องรับ ปฏิบัติตามด้วยใจเคารพนอบน้อม. อันความภักดีนอบน้อมด้านน้ําใจและด้าน สติปัญญาดังนี้ ชาวเราต้องปฏิบัติเป็นอย่างพิเศษต่อพระอาจาริยานุภาพที่แท้จริง (= ไม่ใช่ปลอมแปลง) ของพระสังฆราชกรุงโรม, แม้เมื่อพระองค์มิได้ตรัส “จากธรรมาสน์” (ex cathedra) หมายความว่า ชาวเราต้องยอมรับรู้ดว้ ยความ เคารพว่า พระอาจาริยานุภาพของพระองค์ท่านเป็นอันสูงสุด และต้องยึดถือด้วย จริงใจต่อคําตัดสินของพระองค์ท่าน ที่แสดงเปิดเผยออกมาว่า เป็นความนึกคิดและ น้ําพระทัยของพระองค์ท่าน ซึ่งเผยออกโดยลักษณะของเอกสารก็ดี, ทางการเน้น
ย้ําคําสอนอันเดียวกันนั้นบ่อย ๆ ก็ด,ี หรือกระทั่งโดยทํานองพูดของพระองค์ทา่ น ก็ดี. พระสมณะผูใ้ หญ่ (praesules = พระสังฆราช) แต่ละองค์ แม้ท่านไม่ทรง เอกสิทธิ์ความไม่รู้ผิดพลั้ง (50) ถึงกระนั้นแม้ขณะอยู่กระจัดกระจายกันทั่วโลก หากท่านคงรักษาความสัมพันธ์ในสหพันธ์กบั เพื่อนพระสังฆราชด้วยกัน และกับ องค์ท่านผู้สืบตําแหน่งของท่านเปโตร, เมื่อนั้นหากบรรดาพระสังฆราชสั่งสอน (51) ในเรื่องอัตถ์ความเชื่อและศีลธรรม และพวกท่านมี อย่างเป็นทางการ ความเห็นพ้องต้องกันว่า เป็นปัญหาที่ตอ้ งยึดถืออย่างเด็ดขาด เมื่อนั้นพวก ท่านก็ประกาศอย่างไม่รู้ผิดพลั้ง ซึ่งคําสอนของพระคริสตเจ้า. เรื่องอย่างนี้ ปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้นอีก เมื่อบรรดาพระสังฆราชมาร่วมประชุมพระสังคายนา สากล พวกท่านก็ทําหน้าที่เป็นอาจารย์และผู้พิพากษาทั่วทั้งพระศาสนจักรสากล ในเรื่องอัตถ์ความเชือ่ และศีลธรรม. เมื่อนัน้ ชาวเราต้องน้อมรับคํานิยามตัดสินของ พวกท่าน ด้วยความเคารพภักดีตอ่ ความเชือ่ อันความไม่รู้ผิดพลั้งนี้ องค์พระผู้ไถ่ได้ทรงพอพระทัยให้พระศาสนจักรของ พระองค์ทรงไว้เป็นสมบัติของตน, เพื่อประโยชน์ในการนิยามคําสอนเรือ่ งอัตถ์ ความเชือ่ และศีลธรรม และความไม่รู้ผดิ พลั้งนี้มีขอบเขตกว้างเท่าพระคลังของ (49) ฝาก ของพระเป็นเจ้า, ซึ่งชาวเราต้งอสงวนรักษาไว้อย่างศักดิ์สิทธิ์ และต้อง อธิบายอย่างซื่อตรง. ผู้ทรงไว้ซึ่งความไม่รผู้ ิดพลั้ง คือพระสังฆราชกรุงโรม ใน ฐานะพระประมุขแห่งคณะพระสังฆราชทั้งหลาย, เดชะพระภาระหน้าที่ของ พระองค์ท่าน จึงทรงพระอภิสิทธิอ์ ันนี,้ ในเมื่อในฐานะทรงเป็นชุมพาบาล และ อาจารย์สูงสุดของสัตบุรุษคริสตังทั้งหลาย, พระองค์ทรงเป็นหลักทําให้ภราดร ทั้งหลายของพระองค์ตั้งมั่นในความเชือ่ (เทียบ ลก. 22,32) พระองค์ทรง ประกาศพระธรรมคําสอนเรื่องอัตถ์ความเชือ่ และศีลธรรม ด้วยการกระทําอัน เด็ดขาด. เพราะฉะนั้นคํานิยามตัดสินของพระองค์ท่าน, จากตัวมันเองและไม่ใช่ จากการเห็นพ้องของพระศาสนจักร, เรียกได้โดยถูกต้องว่าเป็นสิ่งที่เด็ดขาด, เปลี่ยนแปลงไม่ได้, เพราะเหตุว่าคํานิยามนัน้ ประกาศออกมาโดยความอนุเคราะห์ ของพระจิตเจ้า, ซึ่งพระองค์ท่านได้รับตามคํามั่นสัญญาโดยผ่านท่านเปโตร, เพราะเหตุนี้จึงไม่ตอ้ งการความเห็นชอบอันใดของผู้อื่น, ทั้งไม่มีทางอุทธรณ์ไปยัง การตัดสินอื่นใดด้วย, เหตุว่าเมือ่ นั้นพระสังฆราชกรุงโรมประกาศตัดสินออกมา ไม่ใช่เป็นบุคคล (ธรรมดา) สามัญ แต่ในฐานะปรมาจารย์สูงสุดของพระศาสน จักรสากลทั้งหมด, พิเศษพรความไม่รู้ผิดพลั้งของพระศาสนจักรเอง สถิตอยู่ใน พระองค์ท่านโดยเฉพาะองค์เดียวต่างหาก, ในความไม่รู้ผิดพลั้งอันนี้พระองค์ท่าน อธิบายป้องกันพระธรรมอัตถ์ความเชื่อ. ความไม่รู้ผิดพลั้งที่พระเป็นเจ้าทรงสัญญา ไว้กับพระศาสนจักร ยังสถิตอยู่ในทาง (องค์กร) (50) ของบรรดาพระสังฆราช
อีกด้วย ในคราวเมือ่ ท่านปฏิบัติพระอาจาริยานุภาพอันสูงสุด ร่วมกับองค์ผู้สืบ ตําแหน่งของท่านเปโตร, คํานิยามตัดสินเหล่านั้นต้องมีความเห็นพ้องต้องกันของ พระศาสนจักรซึ่งจะขาดเสียมิได้เลย เพราะเป็นกิจกรรมของพระจิตเจ้าองค์ เดียวกัน ซึ่งจะทรงกระทําให้ฝูงแกะของพระคริสตเจ้าทั้งหมดคงดํารงอยู่ใน เอกภาพของความเชื่อ และเจริญวัฒนาต่อไป. เมื่อพระสังฆราชกรุงโรมก็ดี หรือเมือ่ (กาย, องค์กร) (50) คณะของ บรรดาพระสังฆราชร่วมกับพระองค์ท่านก็ดี กําหนดคํานิยามการตัดสินอันใด, ท่านก็ประกาศออกมา เป็นไปตามพระวิวรณ์นั้นเอง ที่ทุก ๆ คนจําต้องยืนหยัด ตามนั้น และต้องทําตนคล้อยตามนั้นด้วย. พระวิวรณ์ (การไขแสดงของพระ เป็นเจ้า) (48) ที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร หรือที่สืบทอดมา โดยทางการสืบ ทอดของบรรดาพระสังฆราชที่เป็นไปตามกฎหมาย และเฉพาะอย่างยิ่งโดยความ สลวนเอาใจใส่ของพระสังฆราชกรุงโรมท่านเอง จึงถ่ายทอดออกมาอย่างครบถ้วน และโดยที่พระจิตแห่งความจริงทรงส่องสว่างนําหน้า บันดาลให้สงวนรักษาพระ วิวรณ์นั้นไว้อย่างศักดิ์สิทธิ์และอธิบายอย่างซื่อตรง เพื่อการเสาะแสวงหาพระ วิวรณ์โดยถูกต้อง และเพื่ออธิบายอัตถ์นั้นอย่างเหมาะสม พระสังฆราชกรุงโรม และบรรดาพระสังฆราชตามภาระหน้าทีข่ องท่าน และตามความหนักเบาของกรณี , ท่านก็ใช้วิธีการอันเหมาะสม และใช้ความพยายามอุตสาหะ แต่อย่างไรก็ดี ท่านไม่รับวิวรณ์ใหม่อนั เป็นสาธารณะส่วนรวมอันใดก็ตาม ว่าเป็นอยู่ในประมวล พระคลังของฝาก (49) แห่งความเชือ่ . หน้าที่ของพระสังฆราช ด้านการบันดาลความศักดิ์สิทธิ์ 26. พระสังฆราชเป็นผู้ได้รับศีลอนุกรมขัน้ บริบูรณ์ “ท่านเป็นผู้แจกจ่าย พระหรรษทานแห่งสังฆภาพสูงสุด” เฉพาะอย่างยิ่งในศักดิ์สิทธิการ ซึ่งตัวท่าน เองถวายหรือจัดให้มีการถวาย อาศัยพระหรรษทานอันนี้แหละ พระศาสนจักรจึง มีชีวิตแลเจริญขึ้นเรือ่ ยมา. พระศาสนจักรอันนี้ของพระคริสตเจ้า เป็นอยู่โดยแท้ ในบรรดากลุ่มสัตบุรุษในท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งเป็นกลุ่มสัตบุรุษที่ชอบด้วยกฎหมาย, แต่กลุ่มต่าง ๆ นี้ขึ้นอยู่กับชุมพาบาลของตน ๆ กลุ่มเหล่านี้ในพันธสัญญาใหม่ เรียกชื่อว่าเหล่าพระศาสนจักร เหตุว่าพระ ศาสนจักรเหล่านี้ พระเป็นเจ้ามี พระดํารัสเรียกเขาในสถานที่อยู่ของเขาว่าเป็นประชากรใหม่ ซึ่งเป็นอยู่โดยฤทธิ์ อํานาจของพระจิตเจ้าและตั้งอยู่ในความบริบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง (เทียบ ธส. 1,5) ในพระศาสนจักรเหล่านี้ บรรดาสัตบุรุษมาร่วมประชุม ฟังการประกาศพระวร สารของพระคริสตเจ้า และมีการฉลองพระอคาธัตถ์การเลี้ยงอาหารค่ําของพระ สวามีเจ้า “เพื่อด้วยอาศัยอาหารและพระโลหิตของพระสวามีเจ้า การเป็นพี่นอ้ ง กันหมดทุก ๆ คน จะได้กระชับกันขึ้น” ในทุก ๆ กลุ่มรอบพระแท่น ที่มี
พระสังฆราชเป็นผู้ประกอบบริการอันศักดิ์สิทธิ์ ก็แสดงออกเป็นสัญลักษณ์ของ พระองค์, เป็นสัญลักษณ์แห่งเอกภาพของพระอคาธกาย ซึ่งหากขาดเอกภาพนี้ แล้ว, ความรอดก็มีขนึ้ ไม่ได้. ในกลุ่มเหล่านี้ แม้บ่อยครั้งเป็นกลุ่มน้อย ๆ และ ยากไร้ หรือเป็นกลุ่มที่ผู้คนอยู่กระจัดกระจายกัน, พระคริสตเจ้าก็ประทับอยู่ และด้วยฤทธิ์อํานาจของพระองค์ท่าน, เขาก็รวมตัวกันเป็นพระศาสนจักรอันหนึ่ง อันเดียว, ศักดิ์สิทธิ,์ สากลและอัครสาวกมัย. (51) เพราะเหตุวา่ การเข้ามีส่วนใน พระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้า มีแต่ผลิตผลทําให้เราเปลี่ยนรูป กลายเป็นสิ่งที่เราเข้าไปรับประทานนั้น” การประกอบสดุดีบูชาที่ชอบใด ๆ, พระสังฆราชเป็นผู้นําดําเนินงาน เพราะว่าท่านได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ถวายคารวกิจของพระคริสตศาสนาแด่พระ มหิทธิศักดิ์ของพระเป็นเจ้า และท่านจําต้องปฏิบัติตามบัญญัติของพระเป็นเจ้า และของพระศาสนจักร, แต่ท่านก็อาจกําหนดเรื่องปลีกย่อยต่อไปในสังฆมณฑล ของท่าน, ตามความคิดเห็นของท่านเอง. ฉะนั้น พระสังฆราช เมือ่ ท่านอธิษฐานภาวนา เมือ่ ท่านออกแรงทําการ งานเพื่อประชากร, ท่านก็นําเอาความศักดิ์สิทธิ์อันไพบูลย์ของพระคริสตเจ้ามา หลั่งบนตัวประชากรหลาย ๆ รูปแบบ และอย่างอุดมสมบูรณ์. โดยทางพระ วจนะ (= เทศน์สอน) ท่านนําเอาฤทธิ์อํานาจของพระเป็นเจ้ามามอบให้แก่ผู้ที่ เชื่อ เพื่อให้เขาได้ความรอด (เทียบ รม. 1,16), และโดยบริการศักดิ์สิทธิการ ต่าง ๆ ซึ่งท่านใช้อํานาจของท่าน จัดระเบียบการแจกจ่ายให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ และมีประสิทธิภาพในการผลิตผล ท่านก็ทําให้ศักดิ์สิทธิ์ไป ท่าน กําหนดกฎเกณฑ์การประสาทศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาป ซึ่งศักดิ์สิทธิการอันนี้ทํา ให้เรามีส่วนในราชสังฆภาพ (52) ของพระคริสตเจ้า. แต่เดิมมาท่านเองเป็นผู้ ประกอบศักดิ์สิทธิการพละกําลัง (53) และเป็นผู้แจกจ่ายศักดิ์สิทธิการ - อนุกรม ขั้นต่าง ๆ และเป็นผู้กําหนดกฎเกณฑ์เรือ่ งศักดิ์สิทธิการ – การแก้บาป, ท่าน เสียสละตนเอง เอาใจใส่ตักเตือนสั่งสอนสัตบุรุษให้ทําหน้าที่ส่วนของตน ด้วยให้ มีความเชื่อและความเคารพในศาสนพิธีกรรม และเป็นต้นในบูชามิสซา, ที่สุดต่อ บรรดาผู้อยู่ใต้อํานาจของท่าน, ท่านต้องเจริญก้าวหน้าด้วยบําเพ็ญตนเป็น แบบอย่าง, ระมัดระวังความประพฤติของตัวท่านเอง ให้ห่างไกลจากความชั่ว เท่าที่จะกระทําได้ และโดยอาศัยพระเป็นเจ้าทรงช่วยเหลือ ท่านต้องหันหน้าเข้า หาความดี ทั้งนี้เพื่อตัวท่านเองจะได้บรรลุถึงชีวิตนิรันดร พร้อมกับฝูงแกะที่ท่าน ได้รับมอบหมายนั้นด้วย. หน้าที่ของพระสังฆราช ด้านการปกครอง
27. พระสังฆราชปกครอง พระศาสนจักรปลีกย่อยที่ท่านได้รับมอบหมาย, ท่านปกครองในฐานะเป็นผู้แทนและเป็นทูตของพระคริสตเจ้า. ท่านปกครองด้วย การให้ความคิดอ่าน, ให้กําลังใจ, และบําเพ็ญตัวท่านเองเป็นแบบอย่าง ทั้งท่าน ปกครองด้วยอาชญาสิทธิ,์ ด้วยอํานาจอันศักดิ์สิทธิ์, อํานาจอันนี้ท่านใช้ก็เพือ่ จรรโลงเสริมสร้างฝูงชุมพาบาลของท่านให้คงดํารงอยู่ในความศักดิ์สิทธิ์อันแท้จริง, ขณะเดียวกันท่านก็ระลึกว่า : ผู้ใหญ่ต้องทําตัวเหมือนผู้น้อย และผู้บังคับบัญชา ต้องเป็นดังผู้รับใช้ (เทียบ ลก. 22,26-67). อํานาจอันนี้ท่านใช้ปฏิบัติ เป็นการส่วนตัวในนามของพระคริสตเจ้าเป็น อํานาจเฉพาะของท่าน อํานาจปกติธรรมดา ทั้งเป็นอํานาจโดยตรง (คือไม่ได้ ผ่านคนกลาง), แม้ว่าตกที่สุดอํานาจสูงสุดของพระศาสนจักร (สากล) เป็น ผู้บังคับบัญชา และอาจกําหนดขอบเขตบางอย่าง ทั้งนี้เป็นเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ ของพระศาสนจักร (สากล) หรือประโยชน์ของบรรดาสัตบุรุษ. อาศัยอํานาจอัน นี้ พระสังฆราชมีสิทธิ์อันศักดิ์สิทธิ์ และมีหน้าที่ต่อเฉพาะพระพักตร์พระเป็นเจ้า, ในอันที่จะปฏิบัตติ ่อผูอ้ ยู่ในปกครอง คือ ตรากฎหมาย, ตัดสินคดีความ และ กระทําทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับระเบียบเรียบร้อยของคารวกิจ และการปฏิบัติงาน ธรรมทูตต่าง ๆ. พระสังฆราชได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ ให้ทําหน้าทีเ่ ป็นชุมพาบาล กล่าวคือให้เอาใจใส่ดูแล ทํานองเป็นปกติธรรมดาและทุก ๆ วัน ต่อฝูงแกะของ ท่าน. อันพระสังฆราชนั้น เราต้องไม่ถือว่า ท่านเป็นผู้แทนของพระสังฆราชกรุง โรม, เพราะว่าตัวท่านเองมีอํานาจเฉพาะตน และเป็นความจริงอย่างยิ่ง ที่ท่าน ได้รับขนานนามว่าเป็นประมุข (54) , หัวหน้าของประชากรที่ท่านปกครอง. เพราะฉะนั้น อํานาจของท่านนี้ อํานาจสูงสุด, อํานาจสากลทั่วไป จะทําลายหา ได้ไม่, ตรงกันข้าม มีแต่จะต้องยืนยัน, สนับสนุนและป้องกันอํานาจของ พระสังฆราช : พระสวามีคริสตเจ้า ได้ทรงสถาปนาระบบปกครองไว้ในพระศาสน จักรของพระองค์ และพระจิตเจ้าก็ทรงธํารงรักษาไว้มิให้เสื่อมสลายไปได้. พระสังฆราช ผู้ที่พระบิดาแห่งครอบครัวได้ทรงใช้มาครอบครองครอบครัว ของพระองค์ พึงนําเอาแบบฉบับของพระชุมพาบาลผู้ดี, มาตั้งไว้ต่อหน้าต่อตา : พระองค์ได้เสด็จมา ไม่ใช่เพือ่ ให้เรารับใช้พระองค์ แต่เสด็จมาเพื่อทรงรับใช้เรา (เทียบ มธ. 20,28 : มก. 10,45) พระสังฆราชเป็นคนมาจากมวลมนุษย์ และ แปดเปื้อนอยู่ด้วยทุพพลภาพ ท่านจึงสามารถร่วมรับทุกข์กับคนโง่เขลาและคนที่ หลงผิดไป (เทียบ ฮบ. 5,1-2). ท่านพึงไม่แหนงหน่ายรับฟังพวกผู้น้อยที่ท่าน ประคบประหงม ดังเป็นลูกแท้ ๆ ของท่าน และที่ท่านชักชวนตักเตือนให้ร่วมมือ ร่วมใจกับท่านอย่างขมีขมัน, ท่านจะต้องให้การต่อพระเป็นเจ้า ด้วยเรื่อง วิญญาณของพวกเขา (เทียบ ฮบ. 13,17), ฉะนัน้ ท่านพึงเอาใจใส่ ด้วยอาศัย
คําอธิษฐานภาวนา, ด้วยคําเทศนาสั่งสอน, และด้วยการบําเพ็ญเมตตาจิตทุก ๆ อย่างเพื่อเขาเหล่านั้น ทั้งเพื่อคนอื่นที่ยังไม่อยู่ในฝูงแกะเดียวกันด้วย, ท่านถือว่า เขาเหล่านี้ก็ได้รับการฝากฝังไว้กับท่าน ในพระสวามีเจ้าด้วย. ตัวพระสังฆราชเอง ก็เช่นเดียวกับอัครสาวกเปาโล, เป็นลูกหนี้ของทุก ๆ คน, พึงสรรพพร้อมจะ ประกาศพระวรสารแก่ทุก ๆ คน (เทียบ รม. 1,14-15), และพึงตักเตือนสัตบุรุษ ทั้งหลายของคนให้ออกแรงแข็งขัน ประกอบการงานอัครสาวก และการงาน ธรรมทูต ส่วนบรรดาสัตบุรุษก็ต้องผูกพันกับพระสังฆราชของคน ดุจดังพระศา สนจักรผูกพันกับพระคริสตเจ้า และดุจดังพระเยซูคริสตเจ้าทรงผูกพันกับพระ บิดาเจ้า, ทั้งนี้เพื่อให้ทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมใจกันหันหน้าเข้าหาเอกภาพ และเพื่อ ทุกสิ่งทุกอย่างจะได้ผลิตผลสมบูรณ์ เป็นเกียรติมงคลแด่พระเป็นเจ้า (เทียบ 2 คร. 4,15). พระสงฆ์ในหน้าที่เกีย่ วกับพระคริสตเจ้า, เกี่ยวกับพระสังฆราช, เกี่ยวกับสภา สงฆ์, และเกี่ยวกับประชากรคริสตัง 28. พระบิดาได้ทรงอภิเษกพระคริสตเจ้า และได้ทรงใช้มายังแผ่นดินโลก (เทียบ ยน. 10,36). พระคริสตเจ้าได้ทรงบันดาลให้มีผู้รับส่วนแบ่งแห่งการ อภิเษกและพระภารกิจของพระองค์ท่าน กล่าวคือบรรดาอัครสาวก และบรรดาผู้ สืบตําแหน่งของท่าน นั่นคือบรรดาพระสังฆราช. ท่านเหล่านี้ โดยทํานองอัน ชอบ ได้ถ่ายทอดภารกิจแห่งหน้าที่ของท่าน ที่มีหลั่นชั้นต่าง ๆ กันให้แก่บุคคล ต่างกัน. จึงเป็นอันว่า ภารกิจของพระศาสนจักรที่ได้ถกู ตั้งขึ้นโดยพระเป็นเจ้า มีหลั่นชั้นต่าง ๆ กัน และผู้ที่ได้รับปฏิบัตินั้นตั้งแต่โบราณมามีชอื่ เรียกว่า พระสังฆราช, พระสงฆ์, และสังฆานุกร (55) บรรดาพระสงฆ์ถึงแม้ท่านไม่มี บรรดาศักดิ์แห่งขั้นสุดยอดแห่งสมณภาพ (56) และในการใช้อํานาจท่านต้องขึ้นต่อ พระสังฆราช ถึงกระนั้นท่านก็มีความสัมพันธ์กับพระสังฆราชโดยศักดิ์ศรีของการ เป็นสงฆ์ และโดยอิทธิฤทธิ์ของศักดิ์สิทธิการ - อนุกรม ท่านร่วมเป็นพระฉายา ลักษณ์ของพระคริสตเจ้า (ฮบ. 5ล1-10: 9,11-28) องค์พระสงฆ์สูงสุดนิรันดร ท่านได้รับอภิเษกเพื่อประกาศพระวรสาร, เพื่อเป็นชุมพาบาลเลี้ยงดูสัตบุรุษ, และเพื่อประกอบคารวกิจต่อพระเป็นเจ้าในฐานะเป็นพระสงฆ์แท้แห่งพันธสัญญา ใหม่. ท่านมีส่วนร่วมตามระดับชั้นของท่าน ในพระภารกิจของพระคริสตเจ้า, องค์คนกลางแต่ผู้เดียว (1 ทม. 2,5), ท่านประกาศพระวาจาของพระเป็นเจ้าแก่ ทุก ๆ คน. ท่านปฏิบตั ิหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ เฉพาะอย่างยิ่งในภารกิจศักดิ์สิทธ์การ สดุดีบูชา. ในพิธีกรรมอันนี้ท่านสวมองค์พระคริสตเจ้า และประกาศอคาธัตถ์ของ พระองค์, ท่านนําเอาคําภาวนาของสัตบุรุษมาร่วมกับบูชาขององค์พระประมุขของ พวกเขา, ท่านบันดาลให้อุบัติขึ้นใหม่ และประยุกต์บูชาแต่อันเดียวของพันธ
สัญญาใหม่, กล่าวคือบูชาขององค์พระคริสตเจ้า พระองค์นไี้ ด้ทรงถวายพระองค์ ท่านเองเป็นบูชาอันนิรมลแด่พระบิดา ครัง้ เดียวสําหรับเรื่อยไป (เทียบ ฮบ. 9,11-28) ท่านต้องปฏิบัติดังนี้ในบูชามิสซาเรื่อยไป จนกว่าจะถึงวันพระสวามีเจ้า เสด็จมา (เทียบ 1 คร. 11,2-5) สําหรับสัตบุรุษที่เป็นทุกข์กลับใจและสําหรับคน ป่วยไข้ พระสงฆ์ทําหน้าที่สูงส่งยิ่ง คือ สมานไมตรีให้คนื ดีและเป็นผู้ทุเลา บรรเทา, ท่านนําเอาความต้องการของสัตบุรุษมาถวายแด่พระเป็นเจ้าพระบิดา (เทียบ ฮบ. 5,1-4), ตามอํานาจและขอบเขตที่ได้รับ, พระสงฆ์ปฏิบัติภารกิจของ พระคริสตเจ้า, องค์ชุมพาบาล, และองค์พระประมุข ต่อครอบครัวของพระเป็น เจ้า พระสงฆ์กระตุ้นเตือนให้มีภราดรภาพอันหนึ่งอันเดียวกัน, ท่านรวบรวมพวก เขา อาศัยพระคริสตเจ้าในพระจิตเจ้าให้เข้ามาเฝ้าพระบิดาเจ้า. เพื่ออยู่กับฝูง แกะ พระสงฆ์กราบนมัสการพระบิดาด้วยจิตใจอันสัตย์จริง (เทียบ ยน. 4,24). ที่สุด พระสงฆ์ออกแรงทําการงานด้วยวาจาและคําพร่ําสอน (เทียบ 1 ทม. 5,17), ท่านเชื่อสิ่งที่ท่านพบเห็นในการสอนและการรําพึงเรื่องพระบัญญัติของพระ เป็นเจ้า, ท่านสอนสิ่งที่ท่านเชื่อ และปฏิบัติตามสิ่งที่ท่านสอน. พระสงฆ์ คือ ผู้ทํางานร่วมที่มองเห็นการณ์ไกลของระดับชนชั้น พระสังฆราช, เป็นผู้ช่วยเหลือและเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของพระสังฆราช, มี กระแสเรียกเพื่อรับใช้ประชากรของพระเป็นเจ้า. พระสงฆ์พร้อมกับพระสังฆราช ร่วมกันจัดตั้งสภาสงฆ์ ซึ่งมีหน้าที่รับใช้หลายอย่างต่างกัน. ในชุมชนของบรรดา สัตบุรุษตามท้องที่ต่าง ๆ , พระสงฆ์ เพราะกลมเกลียวเดียวกันกับพระสังฆราช ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจ และเพราะมีจิตใจอันสูงส่งจึงทําให้มองเห็นภาพของ พระสังฆราช เหมือนกับว่าตัวท่านเองปรากฏอยู่ในชมรมนัน้ ๆ ก็ว่าได้. พระสงฆ์ตามหน้าที่ส่วนตน, ท่านรับเอาภาระหน้าที่และความสลวนของ พระสังฆราชมาใส่ใจตน ทั้งปฏิบัติด้วยความเอาใจใส่ทุก ๆ วัน. ภายใต้อํานาจ ของพระสังฆราช พระสงฆ์ยังเป็นผู้บันดาลความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นผู้ปกครอง ส่วนหนึ่งของแกะของพระสวามีเจ้า ตามที่ท่านได้รับมอบหมายให้ดูแล, ท่านทํา ให้พระศาสนจักรสากลปรากฏขึ้นเด่นชัดในถิ่นที่ท่านอยู่, ท่านช่วยเหลือแข็งขันใน การสร้างพระวรกายทั้งครบของพระคริสตเจ้า (เทียบ อฟ. 4,12). ท่านมุ่งมั่นอยู่ เสมอต่อคุณประโยชน์ของลูก ๆ ของพระเป็นเจ้า, จึงพยายามออกแรงในด้านงาน อภิบาลทั่วทั้งสังฆมณฑลของท่าน, กว่านั้นอีก ของทั่วทั้งพระศาสนจักร (สากล) ทีเดียว เพราะการมีส่วนในสังฆภาพและภาระหน้าที่ดังนี,้ พระสงฆ์ทั้งหลาย, จงรับรู้และจงถือว่า พระสังฆราชเป็นบิดาแท้ ๆ ของตน และจงเชื่อฟังท่านด้วย ความเคารพนอบน้อม, ส่วนบรรดาพระสังฆราชก็จงถือว่า พระสงฆ์ผู้ร่วมงาน เป็นลูกของตนและเป็นสหาย ให้เหมือนอย่างพระคริสตเจ้า, ทรงเรียกสานุศิษย์ ของพระองค์ ไม่ใช่วา่ เป็นทาส แต่ทรงเรียกว่าเป็นสหาย (เทียบ ยน. 15,15).
ฉะนั้น เพราะเหตุทมี่ ีศักดิ์สิทธิการ - อนุกรม และมีภาระหน้าที่อันเดียวกัน, พระสงฆ์ทุก ๆ องค์, ทั้งพระสงฆ์ประจําท้องถิ่น, ทั้งพระสงฆ์นักบวช, ทั้งหมด รวมกันเข้าอยู่ในองค์กร (กาย) ของพระสังฆราช และต่างรับใช้เพื่อ คุณประโยชน์ของทั่วทั้งศาสนจักรตามกระแสเรียกและพระหรรษทานของตน ๆ. เดชะอํานาจการรับศักดิ์สิทธิการ - อนุกรมร่วมกัน และเพราะต่างมีหน้าที่ เหมือน ๆ กัน พระสงฆ์ ทุก ๆ องค์จึงมีความสัมพันธ์ตอ่ กันด้วยภราดรภาพอัน ลึกซึ้ง, ภราดรภาพนี้มักเผยออกมาให้ปรากฏเด่นชัดขึ้นมาเอง ในการที่ท่าน ต่างช่วยเหลือกันและกัน ทั้งทางด้านจิตใจและวัตถุ, ทั้งทางด้านการอภิบาล สัตบุรุษและด้านส่วนตัว, ในการร่วมชุมนุมกัน, ในการมีชวี ิตอยู่ร่วมกัน ในการ ร่วมการงานกัน และร่วมแผ่เมตตาจิตด้วยกัน. ส่วนสัตบุรุษ เขาคือผู้ที่พระสงฆ์ได้ให้กําเนิดทางด้านวิญญาณขึ้นมา โดย ทางศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาป และโดยการให้การอบรมสั่งสอน (เทียบ 1 คร. 4,15; 1 ปต. 1,23), ขอให้พระสงฆ์จงเห็นแก่พระคริสตเจ้า เอาใจใส่ตอ่ สัตบุรุษ ดุจดังท่านเป็นบิดาด้วยเถิด. ขอให้พระสงฆ์บําเพ็ญตน เป็นแบบอย่าง แก่ฝูงแกะ (1 ปต. 5,3) ขอให้ท่านปกครองและรับใช้กลุ่มสัตบุรุษในท้องถิ่นของ ท่าน จนกระทั่งกลุ่มดังกล่าวนี้ สมได้รับนามที่หมายถึง ประชากรของพระเป็น เจ้าประชากรเดียวและประชากรทั้งครบ. นั่นคือพระศาสนจักรของพระเป็นเจ้า (เทียบ 1 คร. 1,2; 2 คร. 1,1 และทั่ว ๆ ไป) ขอให้พระสงฆ์จงระลึกว่า ตัวท่าน ต้องประพฤติดีงาม เป็นกิจวัตรประจําวันอยู่เสมอ, ท่านต้องสลวนห่วงใยเป็นทาง ให้สัตบุรุษ, และผู้ไม่ใช่สัตบุรุษ, ให้ประชากรคาทอลิกและผู้มิใช่คาทอลิก, ท่าน ก็ต้องแสดงออกทําตัวเป็นพยานยืนยันแก่คนทุกคน เรื่องชีวิตอันแท้จริง (เรื่อง ความจริงและชีวิต) (56 ทวิ) และในฐานะเป็นชุมพาบาลที่ด,ี ท่านต้องตามหาเขา (เทียบ ลก. 15,4-7) คือ บุคคลผู้ได้รบั ศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาปเข้ามาอยู่ใน พระศาสนจักรแล้ว แต่เขาห่างเหินไปจากการรับศักดิ์สิทธิการต่าง ๆ หรือทีร่ ้าย กว่าอีก เขาได้ละทิ้งความเชื่อไปเสียเลย สมัยของชาวเราทุกวันนี้ มนุษยชาติ ยิ่งวันยิ่งรวมตัวกัน, มีเอกภาพด้าน การเมือง, เศรษฐกิจและทางสังคม จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่บรรดาพระสงฆ์จะสนใจ รวมตัวกันเข้าช่วยเหลือ ภายใต้การนําของพระสังฆราชและของสมเด็จพระ สันตะปาปา ช่วยขจัดการแตกแยกในทุก ๆ วิถีทาง ทั้งนี้ เพื่อนํามนุษยชาติ ทั้งสิ้น ให้เข้าสู่เอกภาพแห่งครอบครัวของพระเป็นเจ้า. สังฆานุกร 29. ในลําดับฐานานุกรม สังฆานุกรสังกัดอยู่ในขั้นต่ําสุด. สังฆานุกร ได้รับการปกมือ “ไม่ใช่เพื่อเข้าสู่สังฆภาพ แต่เพือ่ บริการรับใช้” เพราะว่าพระ
หรรษทานประจําศักดิส์ ิทธิการ บันดาลให้ผู้รับมีกําลัง เพื่อรับใช้ประชากรของ พระเป็นเจ้าในด้านบริการพิธีกรรม, ด้านพระวาจา และด้านการแผ่เมตตาจิต. เมื่อผู้ทรงอํานาจอันชอบสั่ง, สังฆานุกรก็มีหน้าที่ประสาทศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาป อย่างสง่า, เก็บรักษาและแจกจ่ายพระสดุดีบูชา, เป็นพยานในนามของพระศาสน จักร และอํานวยพรในศักดิ์สิทธิการ - สมรส, นําศักดิ์สิทธิการเสบียงไปส่งให้แก่ ผู้ใกล้จะตาย, อ่านพระคัมภีรใ์ ห้สัตบุรุษฟัง และเทศนาสั่งสอนประชากร, ทํา บริการสิ่งคล้ายศักดิ์สิทธิการทั้งหลาย, เป็นประธานในงานศพ ตลอดจนงานปลง ศพ. สังฆานุกรได้รับอภิเษกสําหรับหน้าที่บริการ แผ่เมตตาจิตและในการรับใช้, ขอให้เขาจงระลึกถึงคําเตือนใจของนักบุญโฟลิการ์ปที่ว่า : “จงมีใจเมตตากรุณา, จงขยันหมั่นเพียร และจงดําเนินตามความจริงของพระสวามีเจ้า ผู้ทรงกลายเป็น ผู้รับใช้ของทุก ๆ คน.” หน้าที่ต่าง ๆ ดังกล่าวมา จําเป็นอย่างยิ่งแก่ชีวิตพระศาสนจักร แต่ใน ปัจจุบัน ระเบียบแบบแผนของพระศาสนจักรลาตินยังคงบังคับอยู่ จึงเป็นการ ยากที่จะปฏิบัติตามในแต่ละแคว้นของเขต. สําหรับอนาคตนั้นสังฆานุกรภาพ (57) อาจจะรื้อฟื้นขึ้นใหม่ให้เป็นตําแหน่งขึ้นหนึ่งโดยเฉพาะ และเป็นขั้นถาวร ของพระฐานานุกรม. เป็นหน้าที่ของสภาพระสังฆราชประจําท้องถิ่นต่าง ๆ เมือ่ สมเด็จพระสันตะปาปาทรงเห็นชอบแล้วที่จะพิจารณาเพื่อเห็นแก่การอภิบาล สัตบุรุษ และตัดสินลงไปว่าการมีสังฆานุกรดังกล่าว เป็นการเหมาะสมหรือหาไม่ และควรมีในท้องถิ่นใด. เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาทรงเห็นชอบแล้ว, สังฆานุกร ภาพดังกล่าวก็อาจจะประสาทให้แก่สัตบุรุษ ผุ้มีวัยวุฒิ แม้กระทั่งผู้ที่กําลังมี ครอบครัวอยู่ตลอดจนบรรดาคนหนุ่มทีม่ ีความเหมาะสมกับหน้าที.่ สําหรับกรณี หลังนี้ กฎหมายเรื่องการถือโสดยังต้องใช้บังคับอยู.่
30-38
บทที่ 4 ฆราวาส
อารัมภบท 30. สภาพระสังคายนาสากล ได้จาระไนหน้าที่ต่าง ๆ ของฐานานุกรม แล้ว บัดนี้จึงยินดีหันมามองดูฐานะของสัตบุรุษคริสตชน ที่เรียกว่า “ฆราวาส” (58) ที่จริงเรื่องต่าง ๆ ที่กล่าวถึงประชากรของพระเป็นเจ้า ก็เกี่ยวข้องสม่ําเสมอ กันกับฆราวาส “ นักบวช (59) และผู้ครองสมณเพศ (60) อย่างไรก็ดี สําหรับ พวกฆราวาสทั้งบุรุษและสตรี เพราะฐานะและการงานของเขา มีอะไรเป็นพิเศษ เนื่องจากสิ่งแวดล้อมในสมัยของเรานี้ จึงจําต้องพิจารณาดูรากฐานของพวกเขาให้ ละเอียดขึ้น บรรดาศาสนบริกร (61) ย่อมทราบดีว่า บรรดาฆราวาสนํา คุณประโยชน์มาสู่พระศาสนจักรทั้งหมดได้มากมายเพียงใด. บรรดาชุมพาบาล ทั้งหลายย่อมทราบอยู่ว่า พระคริสตเจ้ามิได้ทรงตั้งพวกท่านเฉพาะพวกเดียว ให้ รับภารกิจทั้งหมดของพระศาสนจักรในด้านการช่วยโลกให้เอาตัวรอด, แต่หน้าที่ อันทรงเกียรติของพวกท่าน อยู่ที่เข้าใจภาระของชุมพาบาลต่อสัตบุรุษ และรับรู้ วิเศษพรต่าง ๆ ของพวกสัตบุรุษ ตามทีท่ ุก ๆ คนต้องทําโดยทํานองของตน ๆ ร่วมกําลังร่วมแรงกันเพื่องานสาธารณะส่วนรวม “เหตุว่าจําเป็นที่ชาวเราทุกคน ต้องบําเพ็ญความรักด้วยจริงใจ เราจึงจะเจริญขึ้นทุก ๆ ด้านในองค์ท่านผู้เป็น ประมุขของเรา กล่าวคือ พระคริสตเจ้า. อันพระวรกายทั้งครบของพระคริสต เจ้านั้น รวมตัวกันเป็นหนึ่งหน่วย และประสานสมานกัน โดยข้อต่อทั้งหลาย รับช่วงงานต่าง ๆ กัน ตามแต่งานและมาตราของอวัยวะทุกอวัยวะ, ทัง้ นี้จึงทําให้ ทั้งร่างกายเจริญเติบโตขึ้น, เป็นการสร้างตนเองในความรัก (อฟ. 4,15-16). ความหมายของคํา “ฆราวาส” 31. คํา “ฆราวาส” กินความถึงกลุ่มสัตบุรุษคริสตชนทุกคน นอกจาก บุคคลที่เป็นสมาชิกของศักดิ์สิทธิการ - อนุกรม และบรรดาผู้อยู่ในฐานะนักบวช อันพระศาสนจักรรับรองแล้ว. สัตบุรุษคริสตชนเหล่านี้ คือ ผู้ที่สังกัดอยู่ในพระ กายของพระคริสตเจ้าโดยทางการได้รับศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาป เขาจึงได้ถูก แต่งตั้งขึ้นเป็นประชากรของพระเป็นเจ้า, เขามีส่วนตามอย่าง (หรือทํานอง) ของเขาในองค์พระคริสตเจ้า ด้านภารกิจเป็นพระสงฆ์, เป็นประภาษก (propheta) และเป็นพระราชาของพระองค์ท่าน เขาทําหน้าที่ดังกล่าวนี้ ตาม
ส่วนตามอย่างของเขา ในฐานะเป็นประชากรของพระเป็นเจ้า, กระทําในพระศา สนจักรและในมนุษยโลก. ลักษณะฝ่ายโลก เป็นลักษณะเฉพาะและพิเศษของพวกฆราวาส. จริงอยู่ แม้บางครั้งสมาชิกแห่งศักดิ์สิทธิการ - อนุกรม อาจทําหน้าที่เกี่ยวข้องกับคดีโลก และกระทั้งบางครั้งก็ทําอาชีพทางโลกด้วย ถึงกระนั้นท่านก็ยังคงสังกัดอยู่ในศักดิ์ สิทธิการ - อนุกรมอันศักดิ์สิทธิ์ เนื่องด้วยพระกระแสเรียกพิเศษของพวกท่าน และท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพิเศษ และอย่างประจักษ์แจ้งเด่นชัดสําหรับปฏิบัติ ภารกิจศักดิ์สิทธิ์, ส่วนพวกนักบวชโดยฐานะของท่าน ก็แสดงให้เห็นประจักษ์ เด่นชัดและเป็นพิเศษว่าโลกไม่อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ และไม่อาจนําขึ้นถวายพระ เป็นเจ้าได้เมือ่ อยู่นอกจิตตารมณ์ “มหาบุญลาภ” เป็นหน้าที่เฉพาะของพวก ฆราวาส เนือ่ งจากเป็นกระแสเรียกเฉพาะของพวกเขา ที่จะแสวงหาพระราชัย ของพระเป็นเจ้า เฉพาะอย่างยิ่งโดยเอาธุระเกี่ยวข้องกับข้าวของของโลกนี้ และ จัดระเบียบให้เป็นไปตามพระประสงค์ของพระเป็นเจ้า. เขาดํารงชีพอยู่ในโลก หมายความว่ามีหน้าที,่ มีงานทุก ๆ อย่างและแต่ละอย่างในโลก, เขาอยู่ในฐานะ ปกติธรรมดาของชีวิตครอบครัวและสังคม, การเป็นอยู่ของพวกเขา, จากฐานะ ต่าง ๆ เหล่านี้ ทอเป็นผืนผ้าทีเดียวก็ว่าได้. เพราะเขาอยู่ในฐานะหน้าที่อย่างนี้ แหละ พระเป็นเจ้าจึงทรงเรียกร้องให้เขาใช้การปฏิบัตหิ น้าที่ของเขา, ให้เขา ดําเนินชีวิตตามจิตตารมณ์ของพระวรสาร, เขาจึงจะได้ก่อให้เกิดประโยชน์บันดาล ความศักดิ์สิทธิ์แก่โลก เขาเป็นดังเชื้อแป้งที่ออกมาจากภายในตัวเขาก็ว่าได้. และ ดังนี้ เมื่อเขาส่องแสงเรืองรองด้วยชีวติ (= การครองชีพ) ของเขาเป็นต้น, ด้วยความเชือ่ , ความไว้ใจ, และความรัก เขาจะเผยให้คนอืน่ ทั้งหลายแลเห็น พระคริสตเจ้า. ฉะนั้น จึงเป็นหน้าที่ในลักษณะพิเศษของฆราวาส ที่จะส่องสว่าง เข้าไปในข้าวของต่าง ๆ ของโลก ที่เขาเกี่ยวข้องด้วยอย่างแนบแน่น และเขาทํา ให้ข้าวของฝ่ายโลกนั้นเกิดมีขึ้น และเจริญงอกงามขึ้นตามพระคริสตเจ้าเรือ่ ย ๆ ไป และจะเป็นการซ้องสาธุการพระผู้สร้างและพระผู้ไถ่อีกด้วย. ศักดิ์ศรีของฆราวาสในฐานะเป็นสมาชิกประชากรของพระเป็นเจ้า 32. พระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์ ที่พระเป็นเจ้าทรงสถาปนาขึ้น มีระเบียบ และดําเนินงานหลายสีหลายอย่างต่างกัน, เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจนักหนา. “เหตุว่า ในร่างกายอันหนึ่ง เรามีอวัยวะหลายอัน, ทุก ๆ อวัยวะไม่ทําหน้าที่อันเดียวกัน ฉันใด, ก็ฉันนั้น เรามากคนด้วยกันรวมเป็นร่างกายเดียวของพระคริสตเจ้า เรา ต่างคนก็ต่างเป็นอวัยวะของกันและกัน” (รม. 12,4-5) เป็นอันว่า ประชากรของพระเป็นเจ้า ทีพ่ ระองค์ได้ทรงเลือกสรรไว้ มี ประชากรเดียว : “มีพระสวามีเจ้าเดียว, ความเชือ่ อันเดียว, ศักดิ์สิทธิการ -
ล้างบาปอันเดียว” (อฟ. 4,5) ; เกียรติศักดิ์ร่วมกันของมวลสมาชิก เนื่องจาก พวกเขาได้เกิดใหม่ในพระคริสตเจ้า, มีพระหรรษทานร่วมกันเป็นลูก (ของพระ เป็นเจ้า), มีพระกระแสเรียกร่วมกัน, มีความรอดอันเดียวกัน, มีความหวังอัน เดียวและมีความรักอันแบ่งแยกมิได้. เพราะฉะนั้น ในพระคริสตเจ้าและใน พระศาสนจักร หามีความไม่เสมอภาคอันใดเลย, ไม่ว่าด้านเชื้อชาติหรือด้าน ประเทศชาติ, ไม่ว่าด้านฐานะทางสังคมหรือทางเพศ เพราะว่า “ไม่มีชาวยิวหรือ ชาวกรีก, ไม่มีผู้ชายหรือผู้หญิง, เหตุว่าพวกท่านทุก ๆ คน เป็นหนึ่งเดียวกันใน พระคริสตเยซู” (กล. 3,28 กริก ; เทียบ คส. 3,11). ฉะนั้น แม้ภายในพระศาสนจักร ไม่ใช่ทุกคนดําเนินตามทางเดียวกัน, อย่างไรก็ดี ทุกคนได้รับพระกระแสเรียกไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ และได้รับส่วน แบ่งปันเท่าเสมอกัน ในด้านความเชื่อที่นําไปสู่ความดีพร้อมของพระเป็นเจ้า (เทียบ 2 ปต. 1,1). แม้ว่าสําหรับบางท่าน, พระคริสตเจ้าได้ทรงพอพระทัย แต่งตั้งเขาขึ้นให้เป็นอาจารย์, เป็นผู้แจกจ่ายพระอคาธัตถ์ต่าง ๆ และเป็นชุมพา บาลเลี้ยงดูคนอื่น ๆ ถึงกระนั้น ก็มีความเสมอภาคอันแท้จริงระหว่างเขาทุกคน ในด้านศักดิ์ศรี และด้านการงาน อันเป็นของทั่วไปสําหรับสัตบุรุษทุกคน ในเรือ่ ง การสร้างพระคริสตวรกาย. อันความแตกต่างที่พระสวามีเจ้าได้ทรงแต่งตั้งไว้ ระหว่างพวกผู้ทําบริการทางพระศาสนา และประชากรส่วนอื่นของพระเป็นเจ้านั้น ก็บรรจุความผูกพันกันอยู่ในตัวเองด้วย : พวกชุมพาบาลและสัตบุรุษอื่นต่างก็ ผูกพันกัน ด้านความต้องการชนิดต่าง ๆ ร่วมกัน บรรดาชุมพาบาลของพระศา สนจักร, ท่านเจริญรอยตามพระแบบฉบับของพระสวามีเจ้า : ท่านรับใช้กันและ กัน และรับใช้สัตบุรุษอื่น ๆ ส่วนสัตบุรุษก็ขมีขมันเข้าช่วยเหลือร่วมงานกับพวก ชุมพาบาลของพระอาจารย์. ดังนี้เอง ในการแตกต่างกัน ทุก ๆ คนต่างยืนยัน เป็นพยานของเอกภาพอันน่าอัศจรรย์ใจของพระคริสตวรกาย ความแตกต่าง นั้นเอง ของพระหรรษทาน, ของภาระหน้าที่และของการงานรวบรวมลูก ๆ ของ พระเป็นเจ้าเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, ทั้งนี้เพราะว่า “สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ผู้กระทําก็คือ พระจิตเจ้าองค์หนึ่งองค์เดียวกันนั้นเอง” (1 คร. 12,11) เพราะฉะนั้น, ฆราวาสทั้งหลาย, ท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระเป็น เจ้า ให้มีพระคริสตเจ้าเป็นพี,่ พระองค์นี้ แม้ทรงเป็นเจ้าของสรรพสิ่ง, ถึง กระนั้นได้เสด็จมาไม่ใช่เพื่อให้ใครรับใช้พระองค์. แต่เพื่อทรงรับใช้คนอื่น (เทียบ มธ. 12,11) นี้มีอปุ มาฉันใดก็มีอปุ ไมยฉันนั้น ท่านมีพี่น้องคือบรรดาผู้ทําหน้าที่ บริการพระศาสนา, เดชะอํานาจอาชญาสิทธิ์ของพระคริสตเจ้า. เขาเป็นผู้เลี้ยงดู ครอบครัวของพระเป็นเจ้าด้วยการสั่งสอน, ด้วยการบันดาลความศักดิ์สิทธิ์ และ ด้วยการปกครอง เพื่อให้ทุก ๆ คนปฏิบัติอย่างครบถ้วนบริบูรณ์ตามพระบัญญัติ ใหม่, พระบัญญัติแห่งความรัก. เรื่องนี้นักบุญออกุสตินกล่าวไว้อย่างสวยงามมาก
ท่านว่า : “ที่ใดข้าพเจ้ารู้สึกหนักใจ เพราะต้องเป็นอยู่เพือ่ พวกท่าน, ที่นั้น ข้าพเจ้าก็รู้สึกชุ่มชื่นใจ เพราะอยู่ร่วมกับพวกท่าน. สําหรับท่าน, ข้าพเจ้าเป็น พระสังฆราช ร่วมอยู่กับพวกท่าน. ข้าพเจ้าก็เป็นคริสตชน อย่างแรกเป็นนาม ของภาระหน้าที,่ อย่างหลังเป็นนามของพระคุณหรรษทาน ; อย่างแรกมี อันตราย อย่างหลังมีความรอดพ้น” (S Augustius, sermo 340 : PL. 38, 1483) ชีวิตเกี่ยวกับความรอดพ้น และงานแพร่ธรรม 33. ฆราวาสทั้งหลาย รวมกันเป็นประชากรของพระเป็นเจ้า เขาสังกัด อยู่ในพระคริสตวรกายอันเดียว โดยมีศีรษะเดียว, ทั้งนี้ไม่ว่าเขาจะเป็นใครก็ตาม, เขามีกระแสเรียก. ในฐานะเป็นอวัยวะที่มชี ีวิต, ให้นําเอาพลกําลังทั้งหมดที่เขา ได้รับมาจากพระเมตตาคุณแห่งพระผู้สร้าง และจากพระหรรษทานแห่งพระผู้ไถ่, ให้เขานํามาใช้เพื่อความเจริญก้าวหน้า และเพื่อการประสาทความศักดิ์สิทธิ์อัน เนืองนิตย์ของพระศาสนจักร. การแพร่ธรรม (62) ของพวกฆราวาส คือ การมีส่วนในภารกิจประสาท ความรอดพ้นของพระศาสนจักรนั่นเอง. พระสวามีเจ้าพระองค์ท่านเอง ได้ทรง แต่งตั้งทุก ๆ คนให้ทาํ หน้าที่แพร่ธรรมโดยทางศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาป และศักดิ์ สิทธิการต่าง ๆ และเฉพาะอย่างยิ่งพระสดุดีบูชา ประสาทและบํารุงเลี้ยงความ รักต่อพระเป็นเจ้าและความรักต่อมนุษย์ อันความรักนี้แหละคือวิญญาณ (หัวหน้า) ของการแพร่ธรรมทั้งหมด ฆราวาสได้รับเรียกอย่างพิเศษทีเดียว ให้ ธํารงความเป็นอยู่ และการงานของพระศาสนจักรในสถานที่และในกรณีแวดล้อม, ในสถานที่ที่พระศาสนจักรจะกลายเป็นเกลือดองแผ่นดินได้ ก็เฉพาะโดยทาง ฆราวาส, นี่แหละ ฆราวาสทุก ๆ คน เนื่องจากทานต่าง ๆ ที่เขาได้รับ, เขาจึง เป็นพยานทั้งในขณะเดียวกันเขาก็เป็นอุปกรณ์อันมีชีวติ แห่งภารกิจของพระศาสน จักรนั่นเอง ทั้งนี้ “ตามมาตราส่วนของของประทานจากพระเป็นเจ้า” (อฟ. 4,7). นอกจากการแพร่ธรรม อันเป็นหน้าที่ของคริสตชนทุก ๆ คน, ไม่มีเว้น ใครเลยแล้ว, ยังมีกรณีอื่น ๆ อีก ที่อาจนําฆราวาสมารับใช้รว่ มมือใกล้ชิดยิ่งขึ้น ในการแพร่ธรรมของพระฐานานุกรมอีกด้วย, เป็นไปอย่างทางบุรุษและสตรีที่ได้ ช่วยเหลือ ท่านอัครสาวกเปาโล, ในหน้าที่ประกาศพระวรสาร, ในครั้งนั้นเขาได้ เสียสละ ออกแรงทําการงานเพื่อพระสวามีเจ้าเป็นอันมาก (เทียบ อฟ. 4,3 : รม. 12,3…) นอกนั้น ฆราวาสยังมีความสามารถเหมาะสมกับหน้าที่ของพระศา สนจักรด้วย, เป็นหน้าที่ของฐานานุกรมที่จะนําฆราวาสมาใช้ปฏิบัติงาน เพื่อ จุดประสงค์ทางวิญญาณด้วย.
เพราะฉะนั้น ฆราวาสทุก ๆ คน จึงมีภาระอันสูงศักดิ์บังคับให้เขาออกแรง ทํางานเพื่อบรรลุความประสงค์ของพระเป็นเจ้าโดยนําเอาความรอดไปสู่มนุษย์ทุก ๆ คน, ทุก ๆ สมัย, ทุก ๆ แห่งหน, และยิ่งวันยิ่งมากขึ้น. ฉะนั้น จึงต้อง เปิดทางทุก ๆ ด้านให้พวกฆราวาสเองเข้ามาร่วมมือทําการงานตามพละกําลังของ เขา และตามความจําเป็นของกาลเวลา ในภารกิจของพระศาสนจักรเอง กล่าวคือ งานบันดาลความรอดพ้น โดยอาศัยพวกฆราวาสร่วมมือลงแรงด้วย. ฆราวาสมีส่วนร่วมในสังฆภาพทั่วไป และในคารวกิจ 34. พระเยซูคริสตเจ้า องค์พระสงฆ์สูงสุดนิรันดร, เพราะทรงมีพระ ประสงค์จะให้พวกฆราวาสด้วยเป็นพยานยืนยัน และเป็นผู้ร่วมพระภารกิจของ พระองค์, จึงได้ทรงบันดาลให้พวกฆราวาสมีชีวิตด้วยพระจิตของพระองค์ และ ทรงกระตุ้นเตือนพวกเขาเรื่อยไปไม่หยุดหย่อน ให้ไปสู่ความดีทุกอย่าง และ ความครบครันทุกประการ. บรรดาบุคคลที่พระองค์ทรงพระกรุณา ร่วมสนิทชิดเชื้อกับเขา ทางพระ ชนม์ชีพและทรงภารกิจนั้น, พระองค์ยังประทานให้เขามีส่วนในภารกิจสังฆภาพ ของพระองค์ อีกโสดหนึ่งด้วยสําหรับให้เขาปฏิบัติคารวกิจด้านจิตใจ เพื่อให้พระ เป็นเจ้าทรงได้รับพระเกียรติมงคล และให้มวลมนุษย์ได้รับความรอดพ้นด้วย เพราะฉะนั้น พวกฆราวาส เนื่องจากได้ถวายตัวแด่พระคริสตเจ้าและได้รับการ เจิมทาจากพระจิตเจ้า, เขาจึงได้รับพระกระแสเรียกอันน่าพิศวง และ ประกอบด้วยวิธีการอันทําให้พระจิตเจ้าเองทรงผลิตผลานุผลยิ่งๆ ขึ้นเสมอไปในตัว เขา. เหตุว่า การกระทําทุกอย่าง ทุกประการของเขา เช่นการสวดมนต์ภาวนา , การเริ่มงานแพร่ธรรม, วิสาสะ (63) ประสาสามีภรรยาและครอบครัว, การ งานที่เขาประกอบทุก ๆ วัน, การพักผ่อนหย่อนใจ ผ่อนกาย, ในเมื่อเขากระทํา ขณะมีพระจิตเจ้าประทับอยู,่ และกระทั่งความยุ่งยากต่าง ๆ ของชีวิต ในเมือ่ เขา เพียรอดทน, สิ่งทั้งหลายดังกล่าวนี้ลว้ นเป็นเครือ่ งบูชาฝ่ายจิตใจ, “เป็นบูชาที่พอ พระทัยของพระเป็นเจ้า, โดยอาศัยพระเยซูคริสตเจ้า” (เทียบ 1 ปต. 2,5), ใน การฉลองพิธีกรรมพระสดุดีบูชา, เครื่องบูชาของเขานี้ เมื่อนํามาร่วมกับการบูชา ถวายพระกายของพระคริสตเจ้า, ก็ได้รับการนําขึ้นทูลถวายแด่พระบิดาเจ้า ด้วย ความจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่ง : อาศัยวิธกี ารอันนี้เอง, ฆราวาสทั้งหลายในเมื่อ ประพฤติความศักดิ์สิทธิ,์ เขาก็กราบนมัสการพระเป็นเจ้าทุกแห่งหน, นับว่าเขา ยกถวายโลกทั้งโลกแด่พระเป็นเจ้า. ฆราวาสมีส่วนร่วมในหน้าที่ประภาษกของพระคริสตเจ้า และในการเป็นพยาน ยืนยัน
35. พระคริสตเจ้า, ประภาษกผู้ยิ่งใหญ่ ได้ทรงใช้พระชนม์ชีพของ พระองค์ท่านเองเป็นเครื่องยืนยันและได้ทรงใช้พระวาจาอันทรงเดช เพื่อประกาศ พระราชัยของพระบิดา, พระภารกิจของพระองค์อันนี้จะบรรลุผลสําเร็จ เมื่อจะ ถึงวันแสดงพระเกียรติมงคลของพระองค์อย่างครบบริบูรณ์. ในการบันดาลให้ สําเร็จเป็นไปนั้น พระองค์มใิ ช่แต่ทรงใช้พระฐานานุกรม ซึ่งสั่งสอนในนามของ พระองค์ และด้วยอํานาจของพระองค์ แต่ทรงใช้พวกฆราวาสเข้าช่วยอีกด้วย. เพราะฉะนั้น จึงทรงแต่งตั้งพวกฆราวาสขึ้นเป็นพยานทั้งโปรดให้พวกเขาประกอบ อยู่ด้วย แนวทางแห่งความเชือ่ (64) และพระหรรษทานในวาจาคําพูด (เทียบ กจ. 2,17-18; วว. 19,10) เพื่อให้อํานาจแห่งพระวรสารเปล่งรัศมีในชีวติ ประจําวัน , ชีวิตครอบครัวและชีวิตสังคม. พวกเขาเองก็แสดงตนเป็นบุตรแห่งพันธสัญญา ในเมื่อเขาตั้งมั่นอยู่ในความเชือ่ และความหวัง, เขาใช้เวลาในปัจจุบนั ให้เป็น ประโยชน์ (เทียบ อฟ. 5,12 ; คส. 4,5), และเมื่อเขาตั้งใจคอยเกียรติมงคลใน ภายภาคหน้า ด้วยความเพียรอดทน (เทียบ รม. 8,25). อันความหวังที่กล่าว มานี้ พวกเขามิได้ปิดซ่อนไว้ภายในใจ แต่เขาเผยแสดงออกมาภายนอก ในการ สร้างชีวิตของเขาในโลกนี้ ; โดยการพยายามกลับใจทําให้ตนดีขึ้นอยู่เนืองนิตย์ และโดยการออกแรงสู้รบ “ต่อสู้เจ้านายแห่งความมืดมน, ต่อสู้กับจิตแห่งความ ชั่วร้าย” (อฟ. 6,12). ศักดิ์สิทธิการต่าง ๆ แห่งพันธสัญญาใหม่ ซึ่งชุบเลี้ยงชีวิตและงานแพร่ ธรรมของสัตบุรุษ เป็นรูปหมายล่วงหน้าถึงฟ้าใหม่ และแผ่นดินใหม่ (เทียบ วว. 21,1) ฉันใด, บรรดาฆราวาสก็กลายเป็นโฆษกผู้เก่งกล้าแห่งความเชื่อ ที่เขามี ต่อสิ่งที่เขาหวังจะได้รบั (เทียบ ฮบ. 11,1) ในเมื่อเขาไม่ลังเลใจนําเอาปฏิญญาจะ ยึดถือความเชือ่ มารวมผูกติดกับชีวิตที่มาจากความเชือ่ ด้วย ฉันนั้น. การแพร่ พระวรสารแบบนี้ กล่าวคือ การเผยแพร่ข่าวของพระคริสตเจ้าที่เราแสดงออกมา ด้วยชีวิตของเรา, ด้วยวาจาของเราเป็นเครือ่ งยืนยัน มีลักษณะพิเศษ, มีอิทธิพล เฉพาะของตนคือผลิตผลให้สําเร็จเป็นไปท่ามกลางฐานะทั่ว ๆ ไปของโลก. ในภารกิจดังกล่าวนี้ ปรากฏชัดว่ามีค่ามาก. ฐานะของชีวิตทีม่ ีศักดิ์สิทธิ การคอยประสาทความศักดิ์สิทธิ์ให้ กล่าวคือ ชีวิตแต่งงาน และชีวิตครอบครัว. สนามฝึกและโรงเรียนแพร่ธรรมของฆราวาสอยู่ที่นี่เอง, เป็นที่ซึ่งพระคริสตศาสนา แทรกซ่านเข้าไปในชีวติ ทั้งชีวิต และแปลงรูปให้ดียิ่งขึ้นทุก ๆ วันเรื่อยไป. ณ ที่นี้ เองสามีภรรยามีหน้าทีโ่ ดยเฉพาะของเขา คือ หน้าที่เป็นพยานความเชือ่ และ ความรักต่อพระเป็นเจ้าแสดงให้เห็นประจักษ์ต่อกันและกัน และต่อลูก ๆ ของเขา. เมื่อนั้นแหละครอบครัวคริสตชนก็ประกาศก้องซึ่งคุณธรรมต่าง ๆ อันมีอยู่ในพระ ราชัยของพระเป็นเจ้า ทั้งประกาศแสดงความหวังจะได้ชวี ิตอันเป็นสุข. ดังนี้เอง
แบบอย่างและการยืนยันของเขา จะเป็นทางตําหนิติเตียนโลกที่ทําบาปกรรม และจะส่องแสงเป็นทางให้บรรดาคนที่แสวงหาความจริงได้แลเห็นความสว่าง. เพราะฉะนั้น พวกฆราวาสแม้กําลังทํากิจธุระฝ่ายโลก เขาก็สามารถทั้ง ต้องทํากิจธุระอันประเสริฐนัน้ คือ การประกาศพระวรสารแก่ชาวโลก. มี ฆราวาสบางคน, ในกรณีที่ขาดแคลนศาสนบริกร หรือศาสนบริกรเองมีความ ขัดข้องทําหน้าที่ของตนไม่ได้เช่นในคราวถูกเบียดเบียน ฆราวาสก็เข้าทําหน้าที่ แทนตามอํานาจที่ตนได้รับ ; มีฆราวาสจํานวนมากกว่าอีก ที่ยอมเสียสละกําลัง ของเขาทัง้ หมดเพื่อภารกิจงานแพร่ธรรม ; อย่างไรก็ดีฆราวาสทุกคนไม่เว้นใครเลย , ต้องร่วมมือเพือ่ ขยับขยายและเพื่อความเจริญก้าวหน้าของพระคริสตราชัยในโลก นี.้ ฉะนั้น ท่านฆราวาสทั้งหลาย, จงใช้วิถีทางหาความรูใ้ ห้มากยิ่งขึ้นเสมอใน ด้านความจริงที่พระโปรดไขแสดง และจงวิงวอนเร่งเร้าให้ตนได้รับพระพรความ ปรีชาจากพระเป็นเจ้าด้วยเทอญ. ฆราวาสมีส่วนในบริการของพระราชา 36. พระคริสตเจ้าได้ทรงนอบน้อมเชื่อฟัง จนกระทั่งได้ทรงยอมตาย, เพราะเหตุนี้พระบิดาจึงได้ทรงเทิดทูนพระองค์ขึ้น (เทียบ ฟป. 2,8-9) โปรดให้ เสด็จเข้าสู่พระราชัยอันทรงเกียรติของพระองค์ พระองค์ท่านนี้สรรพสิ่งอยู่ใต้ อํานาจของพระองค์ จนกว่าจะทรงนําพระองค์เองและสรรพสิ่งทั้งหลายให้เข้ามา อยู่ใต้อํานาจของพระบิดา, ทั้งนี้เพื่อให้พระเป็นเจ้าทรงเป็นทุกสิ่งในทุกสิ่ง (เทียบ 1 คร. 15,27-28). อํานาจอันนี้ พระองค์ได้ถ่ายทอดให้แก่พวกสานุศิษย์ เพื่อ พวกเขาจะได้มีอิสระเสรีอย่างพระราชาและเพื่อให้พวกเขา เมือ่ ได้เสียสละตนเอง และบําเพ็ญชีวิตอย่างศักดิ์สิทธิ์, เขาจะได้มีชัยต่อราชัยของบาปที่ตั้งอยู่ในตัวเขา, (เทียบ รม. 6,12) ยิ่งขึ้นไปอีก เพื่อให้เขารับใช้คนอื่น เพราะเห็นแก่พระคริสต เจ้า, อาศัยความสุภาพถ่อมตน และความเพียรอดทน, เขาจะได้นําพวกพี่นอ้ ง เข้าเฝ้าพระราชา ซึ่งผู้ใดรับใช้พระองค์ ผูน้ ั้นก็เป็นในหลวง. พระสวามีเจ้าทรงมี พระประสงค์ให้แม้กระทั่งสัตบุรุษฆราวาส ทําการงานขยับขยายพระราชัยของ พระองค์ให้แผ่ไพศาลออกไป, พระราชัยนั้นคือ พระราชัยแห่งความจริงอัน บันดาลชีวิต, พระราชัยแห่งความศักดิ์สิทธิ์และแห่งพระหรรษทาน, พระราชัย แห่งความยุติธรรม, ความรักและสันติสุข, เมื่ออยู่ในพระราชัยนี้ แม้สิ่งสร้างเอง ก็จะรอดพ้นจากความเป็นทาสของความผุเปือ่ ย, กลับมามีอิสระเสรีอันทรงศักดิ์ศรี ในฐานะเป็นบุตรของพระเป็นเจ้า (เทียบ รม. 8,21), นี่คือคํามัน่ สัญญาอันใหญ่ หลวงยิ่งนัก, คือ คํากําชับอันยิ่งใหญ่จริง ๆ ที่พวกสานุศิษย์ได้รบั , นั่นคือ “ทุก สิ่งเป็นของพวกท่าน, พวกท่านเป็นของพระคริสตเจ้า, พระคริสตเจ้าเป็นของพระ เป็นเจ้า” (1 คร. 3,23).
เพราะฉะนั้นบรรดาสัตบุรุษ ต้องรู้จักสัตว์โลกเรื่องธรรมชาติอันลึกซึ้ง, คุณค่าและลําดับจุดหมายต่าง ๆ ของมัน ซึ่งก็เพื่อเป็นเกียรติมงคลแด่พระเป็น เจ้า. และในการทําการงานต่าง ๆ ฝ่ายโลกนี้ เขายังต้องช่วยเหลือกันและกัน เพื่อบําเพ็ญชีวิตที่ดีขึ้น จนกระทั่งโลกจะเอิบอาบอยู่ด้วยจิตตารมณ์ของพระ คริสตเจ้า, และบรรลุถึงจุดหมายของมัน โดยได้รับผลสําเร็จยิ่งขึ้นในด้านความ ยุติธรรม, ความรักและสันติสุข. ในการปฏิบัติหน้าที่อันนี้ โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว, บรรดาฆราวาสอยู่ในแนวหน้าที่สําคัญอันดับหนึ่ง. ความสันทัดจัดเจนในธุรกิจฝ่าย โลก, ความอุตสาหะทําการงาน, พร้อมทั้งพระหรรษทานต่าง ๆ ของพระ คริสตเจ้าที่เขามีอยู่ย่อมค้ําชูเขาขึ้น, คอยช่วยเหลืออยู่ภายในตัวเขา, ทําให้เขา ออกแรงแข็งขัน, ทําให้ทรัพยากรซึ่งพระเป็นเจ้าทรงสร้างขึ้นนั้น ดําเนินไปตาม จุดมุ่งหมายของพระผู้สร้าง และตามแสงสว่างของพระองค์ท่านด้วย. เขาต้องใช้ เรี่ยวแรงของมนุษย์หลักวิชาการ (เทคนิค) และวัฒนธรรมของบ้านเมือง ก่อให้เกิดประโยชน์ทั่วไปแก่มนุษย์ทุก ๆ คน ทั้งต้องมีการแบ่งปันทรัพย์เหล่านั้น แก่มนุษย์ทุก ๆ คนทั่วไป โดยทํานองที่เหมาะสมยิ่งขึ้น และด้วยการกระทํา อย่างนี้ เขาจะก่อให้เกิดความก้าวหน้าสากลทั่วไปในด้านอิสรเสรี (65) ของมวล มนุษย์และของคริสตชน ดังนี้แหละ พระคริสตเจ้าโดยทางสมาชิกของพระศาสน จักร, จะทรงทอแสงความสว่างอันช่วยให้รอดของพระองค์ ไปยังสังคมมนุษยชาติ ทั้งหมด ยิ่งวันยิ่งทวีขึ้น. นอกนั้นพวกฆราวาส เมื่อรวมกําลังกันยังสามารถบําบัดรักษาองค์การ และสถานะต่าง ๆ ของโลกเมื่อมันโน้มนําไปสู่บาป, เขาจะนําให้สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เข้ามาสู่หลักความยุติธรรมและช่วยสนับสนุนคุณธรรม แทนที่จะเป็นอุปสรรค ขัดข้อง. การปฏิบัตดิ ังนี้ เป็นการทําความเจริญแก่วัฒนธรรม และทําให้การ ปฏิบัติการงานของมนุษย์ดีชอบ ชุ่มฉ่ําด้วยคุณค่าของศีลธรรม. โดยการกระทํา อย่างนี้เองอีกด้วย เนื้อนาของโลกจะสรรพพร้อมที่จะรับเมล็ดพันธุ์แห่งพระวาจา ของพระเป็นเจ้า, และประตูในสถานที่ต่าง ๆ จะเปิดอ้าเพื่อต้อนรับพระศาสนจักร, เป็นทางนําสันติสุขเข้ามาสู่ทั้งโลกจักรวาล. เนื่องด้วยตัวระบบแห่งความรอดนี้เอง สัตบุรุษต้องสนใจและเอาใจใส่เรียน ให้รู้แยกแยะสิทธิและหน้าที่ที่เขามี, ในฐานะร่วมอยู่ในพระศาสนจักร และสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นของของเขา ในฐานะที่เป็นสมาชิกแห่งสังคมมนุษย์. เขาต้องพยายาม ประสานสมานสถานะทั้งสองนี้ให้สอดคล้องกลมเกลียวกัน, โดยระลึกอยู่เสมอว่า ตัวเขาไม่ว่าจะอยู่ในธุรกิจฝ่ายโลกอันใด. มโนธรรมของคริสตชนต้องเป็นผู้นําของ เขาอยู่เสมอ. เพราะว่า ไม่มีกิจกรรมอันใดของมนุษย์แม้ในเรื่องเกี่ยวกับโลกด้วย, ไม่อาจรอดพ้นจากอํานาจของพระเป็นเจ้าไปได้. ในสมัยของเราทุกวันนี้ จําเป็น อย่างที่สุดจะต้องแยกแยะ พร้อมทั้งต้องมีความกลมกลืนประสานสมานกัน ซึ่ง
จะต้องส่องแสงแจ่มจ้าที่สุด ในทํานองการกระทําของสัตบุรุษ, คือ ต้องให้ ภารกิจแห่งพระศาสนจักรสามารถรับกันโดยสมบูรณ์แนบแน่นยิ่งขึ้น กับสถานะ พิเศษปลีกย่อยของโลกในปัจจุบันนี,้ เหตุวา่ เราต้องยอมรับว่าบ้านเมืองทางโลก ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับของฝ่ายโลกล้วน ๆ, บ้านเมืองก็มีสิทธิ์ปกครองตามหลัก เฉพาะของตน แต่เป็นการถูกต้องที่เราจะไม่ยอมรับคําสอนอันเป็นภัย ซึ่งอาจ อ้างว่า จะสร้างสังคมโดยไม่ยอมเกี่ยวข้องกับศาสนา ทั้งเขายังต่อสู้และทําลาย อิสรเสรีภาพของพลเมือง. ด้านความเกี่ยวข้องกับพระฐานานุกรม 37. พวกฆราวาสก็เช่นเดียวกับสัตบุรุษ คริสตชนทั้งหลาย, เขามีสิทธิ์ใน ทรัพย์ด้านวิญญาณของพระศาสนจักร, เป็นต้น ในอันที่จะได้รบั อาหารอย่างอุดม สมบูรณ์, อาหารแห่งพระวาจาของพระเป็นเจ้า และศักดิ์สิทธิการต่าง ๆ จาก เจ้าหน้าที่ศาสนบริการ (66) เขาเพียงแต่ต้องแจ้งให้ท่านทราบถึงความต้องการและ ความปรารถนาของเขา, อย่างมีอิสระเสรี และด้วยความไว้วางใจประสาบุตรของ พระเป็นเจ้า และประสาเป็นพี่เป็นน้องในพระคริสตเจ้า. อันความรู้ความสามารถ และตําแหน่งหน้าที่ที่เขามี, เขามีสิทธิ์และบางทีมีหน้าที่อีกด้วย ที่จะแจ้งให้ทราบ ถึงความคิดเห็นของเขา เกี่ยวกับผลประโยชน์ของพระศาสนจักร. การทั้งนี้ให้เขา กระทําไป ในเมื่อมีเหตุกรณี โดยเสนอเรื่องราวต่อองค์การต่าง ๆ ที่พระศาสน จักรได้ตั้งไว้, และให้เขาแสดงออกโดยสม่ําเสมอ ซึ่งความจริงใจ, ความกล้า หาญและความรอบคอบ ทั้งด้วยความเคารพ, และความรักต่อบุคคลที่เพราะ ได้รับหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ,์ ท่านจึงเป็นตัวแทนของพระคริสตเจ้า. บรรดาฆราวาสก็เช่นเดียวกับสัตบุรุษคริสตชนทั้งหลาย, เมื่อผู้มีหน้าที่ศา สนบริการ ในฐานะเป็นผู้แทนของพระคริสตเจ้า, ในฐานะเป็นอาจารย์, เป็น ผู้ปกครองพระศาสนจักร, ท่านกําหนดสั่งสิ่งใด ก็จงรับทําทันที, ขอให้เอาอย่าง พระคริสตเจ้า, พระองค์ทรงนอบน้อมเชือ่ ฟังจนกระทั่งยอมสิ้นพระชนม์ เพื่อ เปิดทางให้มนุษย์ไปสู่มรรคาอันเป็นสุข อย่างบุตรของพระเป็นเจ้า. ขออย่า เพิกเฉยในการภาวนาวิงวอนต่อพระเป็นเจ้า, เพือ่ ผู้ปกครองของตน ด้วยว่าท่านมี หน้าที่ดูแลชาวเรา, และท่านจะต้องให้การต่อพระเป็นเจ้าเรื่องวิญญาณของชาวเรา ทั้งนี้เพื่อท่านจะได้ปฏิบัติหน้าที่ของท่านด้วยความชุม่ ชื่นใจ ไม่ใช่ด้วยความหนักใจ (เทียบ ฮบ. 13,17). ฝ่ายบุคคลที่มีหน้าที่ศาสนบริการ (หรือชุมพาบาล) ทั้งหลายก็จงรับรู้ ศักดิ์ศรีและความรับผิดชอบของฆราวาส, ต้องส่งเสริมเขาด้วย ; จงยินดีรับความ คิดเห็นอันปรีชาฉลาดของพวกเขา, จงวางใจมอบตนแก่เขาเพื่อประโยชน์ของ พระศาสนจักร, จงปล่อยเขาให้มีเสรีภาพในการทําการงาน และจงให้เวลาแก่
พวกเขา, ยิ่งไปกว่านั้น จงส่งเสริมให้พวกเขามีกําลังใจ, ให้เขาเริ่มงานด้วยตัว ของเขาเอง, จงมีความรักประสาพ่อ พิจารณาดูการงานที่เขาเริ่มขึ้น, มองดูใน องค์พระคริสตเจ้า ซึ่งความหวังและความปรารถนาที่พวกฆราวาสเสนอ, อิสรภาพอันยุตธิ รรม, ซึ่งใคร ๆ ก็มีสิทธิ์ในสังคมบ้านเมือง, ก็ขอให้เจ้าหน้าที่ศา สนบริการจงรับรู้ด้วยความเคารพไว้ด้วย. เมื่อพวกฆราวาสและศาสนบริกรต่างคบค้ากันอย่างสนิทสนมดังนี้ ก็หวังได้ ว่า พระศาสนจักรจะได้รับคุณประโยชน์มากมาย เช่น ฆราวาสจะมีความสํานึก ในการรับผิดชอบส่วนของเขาโดยเฉพาะอย่างแน่วแน่ขึ้น, เขาจะมีแก่ใจสละกําลัง เรีย่ วแรงร่วมงานของพระศาสนจักรง่ายขึ้น. ฝ่ายศาสนบริกร เพราะได้รับความ ช่วยเหลือจากฆราวาส ท่านจะตัดสินด้วยความแน่ใจขึ้น และเหมาะสมขึ้น ทั้ง ในเรื่องเกี่ยวกับวิญญาณ ทั้งในเรื่องเกี่ยวกับโลก. จึงจะเป็นอันว่า พระศาสน จักรทั้งพระศาสนจักรจะแข็งแกร่งขึ้นด้วย อาศัยสมาชิกของท่าน เพื่อชีวิตของ โลก โดยได้รับผลสําเร็จยิ่งขึ้น. บทสรุปตอนจบบท 38. ฆราวาสคนละคนต้องแสดงตนให้โลกเห็นประจักษ์ว่า เขาเป็นพยาน การกลับคืนพระชนม์ชพี , และพระชนม์ชีพของพระสวามีเยซูคริสตเจ้า ทั้งทําตัว เป็นสัญลักษณ์เครือ่ งหมายของพระเป็นเจ้าผูท้ รงชีวิต. ทุก ๆ คนรวมกันและแต่ ละคน ๆ ตามส่วนของตน จะต้องเลี้ยงดูโลกด้วยผลิตผลทางด้านวิญญาณ (เทียบ กล. 5,22) : เขาต้องแผ่ไปทั่วโลก กระจายจิตตารมณ์ของพระสวามี เจ้า, จิตตารมณ์ทพี่ ระองค์ได้ทรงประกาศไว้ในพระวรสาร, จิตตารมณ์ให้กําลังใจ แก่พวกคนยากคนจน, คนอ่อนโยนและคนใฝ่สันติ ซึ่งพระวรสารเรียกว่าเป็นผู้มี บุญ (เทียบ มธ. 5,3-9). พูดสั้น ๆ คําเดียว คือ วิญญาณอยู่ในร่างกาย อย่างไร คริสตชนต้องอยู่ในโลกอย่างนั้น.
39-42
บทที่ 5 การเชื้อเชิญทุกคนทั่วไป ให้เข้ามาสู่ความศักดิส์ ิทธิ์ในพระศาสนจักร
อรัมภบท 39. สภาพระสังคายนาสากล นําเอาพระอคาธัตถ์ของพระศาสนจักรมาตี แผ่ให้เห็น. ชาวเราเชือ่ ว่าพระศาสนจักรเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์อย่างจะขาดเสียมิได้. เพราะด้วยว่าพระคริสตเจ้าพระบุตรของพระเป็นเจ้า พระองค์ทา่ นพร้อมกับพระ บิดาและพระจิต ได้ทรงรับคําเทิดทูนสรรเสริญว่า “เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์แต่ผู้เดียว” พระองค์ได้ทรงรักปฏิพัทธิ์พระศาสนจักร ถือเอาเป็นภริยาของพระองค์ท่านเอง, ได้ทรงมอบพระองค์ทา่ นแก่พระศาสนจักร เพื่อบันดาลให้ตัวท่านศักดิ์สิทธิ์ (เทียบ อฟ. 5,25-26), ได้ทรงนําเอาพระศาสนจักรมาแนบติดกับพระองค์ท่าน จนกระทั่งเป็นร่างกายของพระองค์, พร้อมทั้งโปรดได้พระศาสนจักรประกอบอยู่ ด้วยทานต่าง ๆ ของพระจิตเจ้าอย่างอุดมเปี่ยมล้น ทั้งนี้เพื่อเกียรติมงคลแด่พระ เป็นเจ้า. เพราะฉะนั้นทุก ๆ คนในพระศาสนจักร, ทั้งผู้สังกัดอยู่ในพระ ฐานานุกรม, ทั้งผู้รบั เลี้ยงดูจากพระฐานานุกรม, ทุกคนไม่เว้นใครเลย ได้รับ การเชื้อเชิญให้เข้ามาสู่ความศักดิ์สิทธิ,์ ทั้งนี้เป็นไปตามวาจาของท่านอัครสาวกว่า : “น้ําพระทัยของพระเป็นเจ้าคือ ให้ท่านทัง้ หลายเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ”์ (1 ธส. 4,3 ; เทียบ อฟ. 1,4). ความศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักรอันนี้ เผยตัวออกมาด้วยผลา นุผลของพระหรรษทาน ที่พระจิตเจ้าทรงผลิตขึ้นในตัวสัตบุรุษ, ปรากฏให้เห็น อยู่เสมอมิได้ขาด และก็จําเป็นต้องปรากฏออกมาด้วย. การปรากฏให้เห็นนั้น เป็นไปโดยแบบต่าง ๆ กัน สุดแต่สัตบุรุษแต่ละคนจะพยายามตามระบบการ ดําเนินชีพของแต่ละคน เพื่อไปสู่ความครบครัน, เขาแสดงตัวของเขาให้ปรากฏ ตามทํานองของเขาเองก็ว่าได้ในการปฏิบัตติ ามคําตักเตือน ที่เคยเรียกกันว่า “คําแนะนําแห่งพระวรสาร” การปฏิบัติตามคําแนะนําแห่งพระวรสารนี้ พระจิต เจ้าทรงเป็นผู้กระตุ้นเตือน, คริสตชนเป็นอันมาก จึงได้รับมาปฏิบัต,ิ ตาม ทํานองส่วนตัวของเขาเองบ้าง, บ้างก็ไปเข้าอยู่ในกฎเกณฑ์หรือเข้าอยู่ในสถานะที่ พระศานจักรกําหนดตัง้ ไว้, ผลก็คือเขาไขแสดง, และจําเป็นต้องไขแสดงเป็นการ ยืนยันและเป็นแบบอย่างแห่งความศักดิ์สิทธิ์อันนั้น ๆ ให้ประจักษ์เห็นได้แจ่มกระ จ่าง. การเชิญทุกคนทั่วไปให้มาสูค่ วามศักดิ์สิทธิ์
40. พระอาจารย์ และองค์ตัวแบบของความศักดิ์สิทธิ์ทั้งสิ้นคือพระสวามี เยซูเจ้า, พระองค์ได้ทรงเทศน์สอนสานุศิษย์ของพระองค์ทุก ๆ คน และแต่ละ คน, ไม่ว่าเขาจะมีฐานะอันใด, ให้เขาซาบซึ้งถึงความศักดิ์สิทธิ์ในชีวิต อัน พระองค์ท่านเองทรงเป็นองค์ผู้ให้กําเนิดทั้งเป็นองค์ความสําเร็จ, โดยมีพะดํารัสว่า : “ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ดีครบครัน เหมือนพระบิดาในสวรรค์ของท่านทรงเป็น ผู้ดีครบครันนั้นเถิด” (มธ. 5,48) พระองค์ได้ทรงส่งพระจิตเจ้าเข้ามาในตัวทุก คน เพื่อปลุกกระตุน้ ภายในให้เขารักพระเป็นเจ้าด้วยสุดดวงใจ, สุดวิญญาณ, สุดความนึกคิด และสุดความสามารถของเขา (เทียบ มก. 12,30) และให้เขา รักกันและกันเหมือนพระคริสตเจ้าทรงรักพวกเขา (เทียบ ยน. 13,34; 15,12) บรรดาผู้เจริญรอยตามพระบาทพระคริสตเจ้า พระเป็นเจ้าได้ทรงเรียกเขาไม่ใช่ เพราะน้ําพักน้ําแรงอะไรของเขา แต่เป็นเพราะพระประสงค์ และน้ําพระทัยของ พระเป็นเจ้าและพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า เขาจึงได้กลายเป็นผู้ชอบธรรมใน องค์พระเยซูคริสตเจ้า, โดยศักดิ์สิทธิการ - ล้างบาป อันประทานความเชือ่ เขา จึงกลายเป็นบุตรของพระเป็นเจ้าโดยแท้ และเขามีส่วนร่วมในสภาวะพระเจ้า ; ฉะนั้น เขาจึงได้กลายเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์อย่างแท้จริง. ความศักดิ์สิทธิ์ที่พวกเขาได้รับ นี้ เดชะพระเป็นเจ้าโปรด, เขาจะต้องสงวนรักษาไว้ และนําไปสู่ความสําเร็จใน การบําเพ็ญชีพของเขา. ท่านอัครสาวกตักเตือนให้บําเพ็ญ “อย่างเหมาะสมกับ พวกนักบุญ” (อฟ. 5,3), และให้เขานุ่งห่มอย่างบรรดาผู้ที่ได้รับเลือกสรรจาก พระเป็นเจ้า, อย่างนักบุญ และอย่างผู้เป็นที่รักเสน่หา, นั่นคือนุ่งห่มความรัก เมตตาจิต, ความใจดี ใจกรุณา, ความสุภาพถ่อมตน, ความสงบเสงี่ยมและ ความเพียรอดทน” (คส. 3,12), และให้เขานําผลานุผลของพระจิตเจ้ามาเป็น เครือ่ งบันดาลความศักดิ์สิทธิ์ (เทียบ คส. 5,22 ; รม. 6,22) แต่เพราะเราทุก คนย่อมทําผิด, ทําบาปในหลาย ๆ เรื่อง (เทียบ ยก. 3,2) เราจึงต้องอธิษฐาน ภาวนาทุก ๆ วันว่า “โปรดยกหนี้ข้าพเจ้า” (มธ. 6,12) ฉะนั้นจึงเป็นที่ประจักษ์แจ้งชัดแก่สายตาทั่วไปว่า สัตบุรุษคริสตชนทุก ๆ คน, ไม่ว่าอยู่ในฐานะอันใด, หรืออยู่ในชัน้ วรรณะใด, เขาทุกคนได้รับการเชือ้ เชิญให้มาสู่ความสมบูรณ์ของชีวติ คริสตชน และความครบครันด้านความรัก เมตตาจิต. ความศักดิ์สิทธิ์อันนี้ แม้สังคมฝ่ายโลกก็สนับสนุน เป็นทางให้เกิดมี ทํานองครองชีพที่มีมนุษยธรรมมากขึ้น. เพื่อบรรลุถึงความดีบริบูรณ์อันนี้ ท่าน สัตบุรุษทั้งหลาย จงออกกําลังเรี่ยวแรงตามอัตราส่วนทานที่ท่านได้รับจากพระ คริสตเจ้าเถิด เพือ่ ว่า เมื่อท่านได้สะกดรอยตามพระยุคลบาทแล้ว ท่านจะได้ กลายเป็นพระฉายาลักษณ์ของพระองค์ท่าน และเมื่อได้ปฏิบัตติ ามน้ําพระทัยของ พระบิดาในทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว ท่านจะได้พลีตนจนหมดสิ้นดวงใจ เพื่อเป็นเกียรติ มงคลแด่พระเป็นเจ้า และเป็นบริการแก่พี่น้องคนทั่วไป. เมื่อเป็นดังนี้ ความ
ศักดิ์สิทธิ์แห่งประชากรของพระเป็นเจ้า จะบรรลุผลสมบูรณ์ดุจดังประวัติการณ์ ของพระศาสนจักรได้บันทึกผล ให้เป็นประจักษ์ชัดแจ้งมาแล้วในประวัติของ บรรดานักบุญ. ความศักดิ์สิทธิ์มีอันเดียว แต่การปฏิบัติความศักดิ์สิทธิ์มีหลายรูปแบบ 41. แม้ทํานองบําเพ็ญชีพ และหน้าที่การงานจะแตกต่างกัน แต่ทุก ๆ คน ก็ปลูกฝังเลี้ยงดูความศักดิ์สิทธิ์อันหนึ่งอันเดียวกัน. เขาทุกคนได้รับการ กระตุ้นจากพระจิตของพระเป็นเจ้า ทั้งพวกเขาก็นอบน้อมเชื่อฟังพระสุรเสียงของ พระบิดา ในจิตใจตามความเป็นจริง, เขาสะกดรอยเดิมตามพระคริสตเจ้าผู้ ยากจน, ผู้ถ่อมตนและผู้แบกกางเขน เพื่อให้ตัวเขาสมควรมีส่วนในพระเกียรติ มงคลของพระองค์ท่าน. ใครได้รับพระคุณเฉพาะตัวและโภคทรัพย์เท่าไร เขาก็ ต้องใช้พระคุณทั้งหมดนั้น เดินหน้าไปโดยไม่ชักช้า ตามความเชื่ออันชุ่มชื่นมี ชีวิต ซึ่งกระตุ้นให้เกิดมีความหวัง และผลิตผลงานโดยอาศัยความรัก. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดาชุมพาบาลผู้เลี้ยงดูฝูงแกะของพระคริสตเจ้า ท่านต้องปฏิบัติภาระหน้าที่ของท่านอย่างศักดิ์สิทธิ,์ กระฉับกระเฉง, สุภาพถ่อม ตนและแข็งขัน ตามอย่างองค์พระสงฆ์สูงสุดนิรันดร, ตามอย่างองค์พระชุมพา บาล และพระสังฆราชแห่งวิญญาณของชาวเรา, การปฏิบัตหิ น้าที่อันนี้จะเป็น วิธีการอันทรงฤทธิ์ บันดาลความศักดิ์สิทธิ์แก่ตัวชุมพาบาลเองด้วย. พวกท่านผู้ ได้รับเลือกสรรถึงขั้นสังฆภาพอันสมบูรณ์, ท่านได้รับพระหรรษทานประจําศักดิ์ สิทธิการประจําตัวท่านในการอธิษฐานภาวนา, ในการถวายบูชา, ในการเทศนา สั่งสอน, โดยเอาใจใส่ทุกรูปแบบ ให้บริการในฐานะพระสังฆราช, ขอให้ท่าน ปฏิบัติภารกิจความรักอันสมบูรณ์ตามหน้าทีช่ มุ พาบาล, ขอให้ท่านอย่ากลัวที่จะ พลีชีวิตของท่านเพือ่ ฝูงแกะ และเมื่อท่านได้ทําตัวเป็นแบบอย่างแก่ฝูงแกะแล้ว (เทียบ 1 ปต. 5,3), ท่านจะค้ําจุนพระศาสนจักรด้วยแบบอย่างของท่านเองด้วย จะเป็นทางนําพระศาสนจักรไปสู่ความศักดิ์สทิ ธิ์ยิ่งวันยิ่งทวีขึ้น. บรรดาพระสงฆ์ ก็มีความละม้ายคล้ายกันกับศักดิ์สิทธิการอนุกรมของ พระสังฆราช, ท่านเป็นมงกุฎฝ่ายวิญญาณแวดล้อมพระสังฆราช, มีส่วนร่วมใน พระหรรษทานประจําหน้าที่ของพระสังฆราช, โดยมีองค์พระคริสตเจ้าเป็นองค์คน กลางนิรันดรแต่องค์เดียว, ฉะนั้น ขอให้บรรดาพระสงฆ์จงเจริญวัฒนา ปฏิบัติ หน้าที่ประจําวันของตน ๆ, และเพราะความรักต่อพระเป็นเจ้า และความรักต่อ ญาติพี่นอ้ ง, ขอให้ท่านรักษาสายสัมพันธ์แห่งสังฆภาพไว้, จงเพิ่มพูนคุณงาน ความดีด้านวิญญาณทุก ๆ อย่าง, และจงทําตัวเป็นพยานของพระเป็นเจ้า ; เป็น พยานที่มีชีวิตจริง ๆ และต่อหน้าทุก ๆ คน, ขอให้ท่านขันสู้กับบรรดาพระสงฆ์ ซึ่งในกระแสศตวรรษต่าง ๆ, โดยมากท่านมักอยู่ในฐานะต่ําต้อยและเก็บตัว,
ท่านได้ทําตัวเป็นแบบฉบับอันเจิดจ้าของความศักดิ์สิทธิ.์ เกียรติยศ เกียรติศักดิ์ ของพระสงฆ์เหล่านั้น คงดํารงอยู่ในพระศาสนจักรของพระเป็นเจ้า. พระสงฆ์ เมื่อบําเพ็ญภาวนาตามหน้าที่เพื่อชุมนุมชนของท่าน และ เพื่อประชากรของพระ เป็นเจ้า, เมื่อถวายบูชา, ท่านก็รับรู้สิ่งที่ตนกระทํา และท่านเอาอย่างสิ่งที่ท่าน แตะต้อง, อย่าว่าแต่ท่านจะยอมแพ้เลย เมื่อท่านสาละวนอยู่ในงานธรรมทูต, เมื่อประสบอันตราย, เมื่อได้รับความทุกข์ยาก, สิ่งทั้งหลายเหล่านี้กลับทําให้ท่าน สูงเด่นขึ้นไปอีก เพราะท่านเคยบําเพ็ญฌาณบ่อย ๆ และมาก ๆ อยู่เสมอ ท่าน จึงเลี้ยงดูและพยุงค้ําจุนกิจการกระทําของท่าน, จึงเป็นเหตุให้พระศาสนจักร ทั้งหมดรู้สึกชื่นชมยินดีและเบาใจ. ท่านพระสงฆ์ทั้งหลาย เฉพาะอย่างยิ่งพระสงฆ์ ที่ในความรับศีลศักดิ์สิทธิการ – อนุกรม, ได้ให้สัญญาสังกัดอยู่ในสังฆมณฑล, พึงระลึกว่าสิ่งที่จะทําให้ตัวท่านบรรลุถึงความศักดิ์สิทธิ์นั้น ก็คือความสมัครสมาน ร่วมใจซื่อตรงต่อพระสังฆราชของท่าน และร่วมงานด้วยใจกว้างขวางกับ พระสังฆราชของท่านนั่นแหละ. ผู้มีส่วนร่วมตามทํานองพิเศษ ในภารกิจและพระหรรษทานขององค์ พระสงฆ์สูงสุด ก็ยังมีข้าบริการขั้นต่ําลงมา คือ บรรดาสังฆานุกร (Diaconi) เขาเป็นผู้รับใช้อคาธัตถ์ของพระคริสตเจ้าและของพระศาสนจักร, เขาพึง ระมัดระวัง, ทําตัวให้บริสุทธิ์ปราศจากบาป และความชั่วทุกอย่าง เพื่อให้เป็นที่ สบพระทัยพระเป็นเจ้า และพึงใฝ่หาคุณงามความดีทุกชนิดให้ปรากฏต่อสายตา มวลมนุษย์ (เทียบ 1 ทม. 3,8-10 และ 12,13). บรรดาบรรพชิต (ผู้ครอง สมณเพส = Clerici) (60) เขาพวกนี้ได้รบั เรียกจากพระสวามีเจ้า และได้รับการ คัดเลือกไว้ร่วมมีส่วนของพระองค์, เขากําลังเตรียมตัวเพื่อเป็นศาสนบริกรในภาย ภาคหน้า, ภายใต้การเอาใจใส่ดูแลของชุมพาบาล : เขาจึงต้องหันความนึกคิดและ หัวใจของเขาให้คล้อยตามการเลือกสรรอันทรงศักดิ์ศรีอันนี้ : เขาต้องหมั่น อธิษฐานภาวนา, ต้องมีความรักร้อนรน, คิดถึงแต่สิ่งที่ดีงามที่ยุติธรรมและที่ทํา ให้ชื่อเสียงของตนหอม เขาต้องก้าวหน้าในทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อเกียรติศักดิ,์ เกียรติมงคลของพระเป็นเจ้า. รองลงมาคือพวกฆราวาสที่ได้รับเลือกสรรจากพระ เยซูเจ้า เขาเสียสละตนเต็มเวลาเพื่อกิจการธรรมทูต, เป็นผู้ที่พระสังฆราชเรียก มา และทํางานอย่างได้ผลมากในนาของพระสวามีเจ้า. ส่วนสามีภรรยา และบิดามารดาคริสตัง เขาต้องดําเนินชีพตามทางเฉพาะ ของเขา ขอให้มีความรักอันสัตย์ซื่อต่อกันและกัน และช่วยพยุงกันให้ดํารงอยู่ใน พระหรรษทานตลอดกระแสชีวิตทั้งหมด และขอให้เขาเลี้ยงและอบรมเชื้อสายที่ได้ รับมาจากพระเป็นเจ้า ด้วยความรักอันมัน่ คงตามคําสอนคริสตัง และคุณธรรม ต่าง ๆ ตามนัยพระวรสาร นี่แหละเป็นทางให้เขาเผยแสดงแบบอย่างแห่งความรัก อันไม่รู้เหนือ่ ยหน่าย และอันเสียสละด้วยใจกว้างขวาง ให้เป็นที่ปรากฏแก่คน
ทั้งหลาย, เขาเสริมสร้างภราดรภาพแห่งความรักประสาพี่นอ้ ง, เขาทําตัวเป็น พยานร่วมมือกับความอุดมสมบูรณ์ของพระศาสนจักรผู้เป็นมารดา เพือ่ เป็น เครือ่ งหมาย และมีส่วนร่วมในความรักเสน่หา ที่พระคริสตเจ้าทรงมีต่อพระ ชายาของพระองค์ จนกระทั่งได้ทรงมอบพระองค์เองเพือ่ เธอ, พวกแม่ม่าย และ พวกคนโสดก็เช่นกัน เขาทํางานเพื่อเป็นแบบอย่าง แต่คนละวิธี : เขาอาจ บําเพ็ญคุณประโยชน์แก่ศาสนจักรได้มิใช่น้อย. ในด้านความศักดิ์สิทธิ์และการ เสียสละการทํางาน. ส่วนพวกที่ตรากตรําทําการงาน ซึ่งโดยมากเป็นการงานที่ ยากลําบาก, การออกแรงของเขานั้น ต้องทําให้เขาได้รับผลประโยชน์จาก น้ําพักน้ําแรงประสามนุษย์, เขาต้องช่วยเพื่อนร่วมชาติ, เขาต้องสนับสนุนค้ําจุน สังคมทั้งหมดด้วย. การสร้างงานใหม่เพื่อนําไปสู่ฐานะที่ดีกว่าเก่า อย่างไรก็ดีเขา ยังต้องออกแรงทําการงานตามอย่างพระคริสตเจ้า, พระองค์ได้ทรงพอพระทัยใช้ พระหัตถ์ของพระองค์ทํางานช่าง และยังคงร่วมงานกับพระบิดาอยู่เสมอในการ ช่วยมนุษย์ทุก ๆ คนให้รอด, โดยที่ตัวเขาเองปฏิบัติแสดงความรักให้ปรากฏด้วย ลงมือทําการงาน, พลางยินดีร่าเริง เพราะมีความหวัง ต่างคนต่างแบกภาระของ กันและกัน, และโดยการทํางานทุก ๆ วันนี้เอง ขอให้เขาพุ่งตัวไปสู่ความ ศักดิ์สิทธิ์ ทางด้านงานธรรมทูตยิ่งขึ้นไปด้วย. เป็นพิเศษ สําหรับบุคคลที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ ขอให้พวกเขาทราบเถิดว่า ตัวเขาก็ร่วมสนิทอยู่กับพระคริสตเจ้าด้วยเหมือนกัน พระองค์ทา่ นได้ทรงทนทุกข์ ทรมานเพือ่ ความรอดของโลก, ฉะนั้น บุคคลที่ประสบความยากแค้นทุพพลภาพ, ถูกโรคภัยไข้เจ็บและได้รับความยากลําบากต่าง ๆ นานา, หรือบุคคลที่ถูก เบียดเบียนข่มเหงเพราะความยุติธรรม, คนเหล่านี้พระคริสตเจ้าประกาศไว้ใน พระวรสารเรียกว่า เป็นผู้มีบุญ และเป็นบุคคลที่ “พระเป็นเจ้า… ผู้ทรงเมตตา กรุณาหาที่สุดมิได้ ได้ทรงเรียกชาวเราให้เข้าไปสู่พระสิริมงคลนิรันดรของพระองค์ ในพระเยซูคริสตเจ้า, ในเมือ่ ชาวเราได้สู้ทนเล็ก ๆ น้อย ๆ, พระองค์ท่านเองก็ ทรงต่องานนั้นให้สําเร็จ และจะทรงโปรดให้ชาวเรามีกําลังมั่นคง (1 ปต. 5,10). จึงเป็นอันว่าสัตบุรุษคริสตชนทุก ๆ คน จะทําให้ตัวเขาศักดิ์สิทธิ์ยิ่งวันยิ่ง มากขึ้น ในสถานะต่าง ๆ แห่งชีวิตของเขา, ในพนักงานหน้าที่หรือในกรณีต่าง ๆ และโดยทางทุกสิ่งทุกอย่าง ขอเพียงให้เขายอมเชื่อว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมาจากพระ บิดาเจ้าสวรรค์ และเขายอมร่วมมือตามน้ําพระทัยของพระเป็นเจ้า แสดงให้ ปรากฏแก่คนทั้งหลาย โดยบริการทางโลกนั้นว่า : เขามีความรักเมตตาจิตอย่างที่ พระเป็นเจ้าทรงรักโลกนั้นเอง. หนทางและวิธีไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์
42. “พระเป็นเจ้าเป็นองค์ความรัก และผู้ใดอยู่ในความรัก ผู้นั้นก็อยู่ใน พระเป็นเจ้า และพระเป็นเจ้าก็ทรงดํารงอยู่ในตัวเขาผู้นั้น” (1 ยน. 4,16). พระ เป็นเจ้าได้ทรงหลั่งความรักของพระองค์ลงในจิตใจของชาวเรา โดยผ่านทางพระ จิตเจ้าซึ่งเราได้รับ (เทียบ รม. 5,5) เพราะฉะนั้น ทานอันดับหนึ่ง และทาน อันจําเป็นอย่างที่สุด ก็คือความรัก ซึ่งทําให้เรารักพระเป็นเจ้าเหนือทุกสิ่ง และ ทําให้เรารักเพื่อนมนุษย์เพราะพระเป็นเจ้า. แต่เพื่อจะให้ความรักซึ่งเปรียบดังพืชดี เจริญงอกงามขึ้น และผลิตดอกออกผลในวิญญาณของเรา, สัตบุรุษแต่ละคนต้อง ยินดีฟังพระวาจาของพระเป็นเจ้า และโดยที่พระหรรษทานเข้าช่วยเหลือ เขาก็ ปฏิบัติตามน้ําพระทัยของพระองค์ดว้ ยการงาน, เขาร่วมเข้าส่วนบ่อย ๆ ในศักดิ์ สิทธิการ เป็นต้นศักดิ์สิทธิการพระสดุดีบูชา และในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ เขาบําเพ็ญการอธิษฐานภาวนา, เขาเสียสละตนเอง, เขารับใช้พนี่ ้องด้วยออกแรง ทําการงาน, เขาฝึกฤทธิ์กุศล (คุณธรรม) ทุก ๆ ชนิดด้วยใจมั่นคงหนักแน่น เหตุว่า ความรักในฐานะเป็นโซ่ผูกรวมความดีบริบูรณ์ และเป็นสุดยอดของพระ บัญญัติ (เทียบ คส. 3,14; รม. 13,10), ก็เป็นตัวจักรจัดระเบียบวิธีการทุกอย่าง ในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ บันดาลให้กระปรี้กระเปร่ามีชวี ิตชีวา, และนําไปสู่จุดหมาย ปลายทาง เพราะฉะนั้นความรักทั้งต่อพระเป็นเจ้า ทั้งต่อเพือ่ นมนุษย์ จึงเป็น เครือ่ งหมายบอกว่า ใครเป็นศิษย์แท้ของพระคริสตเจ้า. พระเยซู พระบุตรของพระเป็นเจ้า ได้ทรงแสดงความรักของพระองค์ให้ ประจักษ์ ด้วยการเสียสละพระชนม์ชีพของพระองค์ท่านเองเพื่อชาวเรา, เป็นอันว่า ไม่มใี ครมีความรักใหญ่หลวงกว่าผู้ที่สละพระชนม์ชีพเพื่อพระองค์ และเพื่อเพือ่ นมนุษย์ด้วยกัน (เทียบ 1 ยน. 3,16; ยน. 15,13). เพื่อยืนยันความ รักอันนี้อย่างสําคัญยิ่งยวดต่อหน้าคนทั้งหลาย และเป็นต้น ต่อหน้าผู้เบียดเบียน เคี่ยวเข็ญ ได้มีบุคคลบางคนนับแต่สมัยแรกเริ่มมีชอื่ เรียกว่า คริสตชนและจะมี ชื่อเรียกดังนี้ต่อไปอีกด้วย. การเสียสละชีวิตเพือ่ พระศาสนา (การเป็นมรณสักขี = Martyrium) (67) ทําให้ศิษย์เหมือนกับพระอาจารย์ผู้ทรงยินดีตายเพื่อความรอด ของโลก และทําให้ละม้ายคล้ายกับพระองค์ท่าน ด้วยการหลั่งพระโลหิต, การ กระทําอันนี้ พระศาสนจักรเคารพเชิดชูถือว่าเป็นพระคุณอันแสนประเสริฐ และ เป็นเครื่องพิสูจน์อันสูงส่งแห่งความรัก. จริงอยู่ พระคุณประการน้อยคนนักจะ ได้รับ, อย่างไรก็ดี ทุก ๆ คนต้องเตรียมพร้อมจะประกาศพระคริสตเจ้าต่อหน้า มวลมนุษย์ และต้องดําเนินชีพตามพระองค์ท่านไปตามทางไม้กางเขน ขณะถูก เบียดเบียนเคี่ยวเข็ญ ซึ่งภัยอย่างนี้ไม่เคยหมดสิ้นไปในพระศาสนจักร. ความศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักร ยังได้รับการเลีย้ งดูประคบประหงมด้วย วิธีพิเศษ กล่าวคือด้วยการปฏิบัติตามคําแนะนําหลายประการ ทีพ่ ระสวามีเจ้าได้ ทรงเสนอไว้ในพระวรสาร, แนะนําให้สานุศิษย์ของพระองค์รบั ปฏิบัต.ิ ใน
คําแนะนําเหล่านั้น ที่เด่นคือพระคุณอันแสนประเสริฐแห่งพระหรรษทาน, อันที่ พระบิดาประทานให้แก่คนบางคน (เทียบ มก. 19,11; 1 คร. 7,7) นั่นคือให้เขา ถือพรหมจรรย์หรือถือโสด, เพื่อว่าเขาจะได้ถวายการงานสละตัวง่ายขึ้น โดยไม่ แบ่งแยกดวงใจของตนแก่ใครเลย (เทียบ 1 คร. 7,32-34), เขารับใช้ปรนนิบัติ พระเป็นเจ้าแด่ผู้เดียว. อันการอดกลั้นอย่างบริบูรณ์ เพื่อพระราชัยสวรรค์อันนี้ พระศาสนจักรเคารพเทิดชูให้เกียรติสูงส่งอยู่เสมอ ถือว่าเป็นเครือ่ งหมาย และ เครือ่ งกระตุ้นความรัก และอันที่จริงกิจกรรมอันนี้ ก็เป็นท่อธารพิเศษ ก่อให้เกิดความสมบูรณ์มีลูกดกฝ่ายวิญญาณในโลกนี.้ พระศาสนจักรยังพินิจพิจารณาคําตักเตือนของท่านอัครสาวก, ซึ่งเรียกร้อง ให้สัตบุรุษมีความรัก โดยกระตุ้นให้เขารู้สึกในตัวของเขาเอง สิ่งซึ่งเป็นอยู่ในองค์ พระคริสตเยซู, พระองค์นไี้ ด้ทรงกลายเป็นเปล่าเมื่อเสด็จมารับร่างกายของทาส … พระองค์ได้ทรงเชือ่ ฟังจนกระทั่งตาย (ฟล. 2,7-8) และเพราะเห็นแก่ชาวเรา “พระองค์ได้ทรงกลายเป็นคนขัดสน ทั้ง ๆ ที่ทรงเป็นเศรษฐี” (2 คร. 8,9). เนื่องจากที่พวกสานุศิษย์จําเป็นต้องแสดงออกอยู่เสมอถึงการเอาอย่างและการ ยืนยันในเรื่องความรัก และการถ่อมตนขององค์พระคริสตเจ้า, พระศาสนจักรผู้ เป็นมารดา จึงรู้สกึ ชื่นชมเมือ่ มองเห็นว่า ในอุระของท่านมีบุคคลจํานวนมาก ทั้งบุรุษและสตรีเจริญชีพอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น ตามพระแบบฉบับนั้น : เขาถือตัว เป็นเปล่าตามพระผู้ไถ่, เขาแสดงออกให้ปรากฏชัดยิ่งขึ้น : แม้, ในฐานะบุตร ของพระเป็นเจ้า เขาเป็นอิสระ, ถึงกระนั้นเขายอมรับเอาความยากจนและยอม สละทิ้งน้ําใจของตนเอง อันเป็นสิทธิเฉพาะของเขา, กล่าวคือ เขายอมมอบ ตนเองให้อยู่ใต้อํานาจของคนด้วยกัน ทั้งนี้เพราะเห็นแก่พระเป็นเจ้า, ในแง่ของ ความดีครบครัน และยอมปฏิบัติเกินเลยไปเสียด้วยซ้ํา ทั้งนี้เพื่อจะทําตนเองให้ ละม้ายคล้ายพระคริสตเจ้าผู้ทรงเชื่อฟัง, ให้บริบูรณ์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เป็นอันว่า สัตบุรุษคริสตชนทุก ๆ คนได้รบั เชิญ ทั้งมีหน้าที่ตอ้ งแสวงหา ความศักดิ์สิทธิ์ และความดีครบครันตามฐานะของตน ๆ. ฉะนัน้ ทุก ๆ คน จง ใส่ใจจัดระเบียบตัณหา ความปรารถนาของตนให้อยู่ในร่องในรอย, ขณะใช้ข้าว ของของโลกนี้ จงอย่าผูกใจติดในมันจนเป็นการกําจัดจิตตารมณ์แห่งพระวรสาร เรื่องความยากจน, จนเป็นเหตุขัดข้องมิให้บรรลุถึงความครบครันแห่งความรัก, โปรดฟังคําท่านอัครสาวกที่เตือนสติว่า “บรรดาผู้ใช้ข้าวของของโลกนี้ จงอย่าติด ตั้งอยู่ในมัน เพราะว่าภาพของโลกนี้ย่อมล่วงพ้นไป.” (เทียบ 2 คร. 7,31 กริก).
43-47
บทที่ 6 ว่าด้วยนักบวช (Religiosi) (68) อาชีพการปฏิบัติตามคําแนะนําแห่ง พระวรสารในพระศาสนจักร
43. คําแนะนําแห่งพระวรสาร ในอัตถ์เรือ่ งการถือพรหมจรรย์ ยกถวาย แด่พระเป็นเจ้า, ในอัตถ์เรือ่ งการถือความยากจน และในอัตถ์เรื่องความนอบ น้อมเชือ่ ฟังนั้น, เพราะมีหลักฐานอยู่ในพระวจนะและในพระแบบฉบับของพระ สวามีเจ้าท่านเอง, ประกอบกับคณะอัครสาวก, บรรดานักบุญปิตาจารย์ ตลอดจนบรรดานักปราชญ์ และบรรดาชุมพาบาลแห่งพระศาสนจักรได้รับรอง สนับสนุน จึงนับว่าเป็นเทวทาน (= ทานของพระเป็นเจ้า) ซึ่งพระศาสนจักรได้ รับมาจากพระสวามีเจ้า และเดชะพระหรรษทานของพระองค์ท่านช่วยเหลือ พระศาสนจักรได้ธํารงรักษาไว้ให้เจริญอยู่ตลอดมา. สิทธิอํานาจของพระศาสนจักร นั่นเอง, โดยพระจิตเจ้าทรงเป็นผู้นํา, ได้เฝ้าระวังในการอธิบายพระธรรมคําสอน และจัดระเบียบหลักปฏิบัติ และตกที่สุดถึงกับตรากําหนดหลักการครองชีพอย่าง ถาวร, เป็นแนวต้องยึดถือเพื่อปฏิบัติตามคําแนะนําแห่งพระวรสารนั้นด้วย. จึงมี ครุวนาดังต้นพฤกษา, ได้รับพันธุ์ทพิ ย์มาจากสวรรค์, เจริญงอกงามเป็นที่น่าพิศวง และแตกกิ่งก้านมากมาย และยังแตกแขนงเป็นรูปต่าง ๆ , บ้างดําเนินชีวิตวิเวก โดดเดี่ยว, บ้างดําเนินชีวิตเป็นสาธารณะร่วมกัน, เจริญเป็นครอบครัวต่าง ๆ ซึ่งก็ ทวีโภคทรัพย์, ทําคุณประโยชน์ ทั้งเพือ่ ความก้าวหน้าของสมาชิกในครอบครัวทั้ง เป็นคุณผลิตผลแก่ “ร่างกาย” ทั้งหมดของพระคริสตเจ้า ครอบครัวเหล่านี้ สงเคราะห์สมาชิกของตน ด้วยการทําให้มั่นคงแข็งแกร่งมากขึ้นในทํานองการ ครองชีพของคณะ, ด้านหลักธรรมคําสอนที่ได้ทดสอบมาแล้ว เป็นทางให้บรรลุถึง ความครบครัน, ด้านการรวมตัวกันประสาพี่น้องในยุทธภูมิของพระคริสตเจ้า, ด้าน อิสรเสรีที่แข็งแกร่งขึ้น เพราะความนอบน้อมเชือ่ ฟัง, เป็นอันว่าบรรดาสมาชิก สามารถปฏิบัติตามคําปฏิญญาของนักบวช ด้วยความมั่นใจและอย่างสัตย์ซื่อ และจนกระทั่งตามทางแห่งความรักนั้น พวกเขาเจริญก้าวหน้าไปด้วยจิตใจร่าเริง เบิกบาน. สถาบันนักบวชดั่งนี้ เพราะเหตุทตี่ ั้งขึ้นโดยพระเป็นเจ้า และโดยพระ ฐานานุกรมแห่งพระศาสนจักร จึงมิใช่เป็นสถาบันกึ่งกลางระหว่างสถาบันคณะ สงฆ์และสถาบันฆราวาส แต่คริสตชนบางท่านจากทั้งสองสถาบันนั้น ได้รับ กระแสเรียกจากพระเป็นเจ้าให้มาเสพพระคุณพิเศษในชีวิตของพระศาสนจักร
และให้ต่างคนต่างช่วยเหลือกันและกัน ในภารกิจแห่งความรอดตามวิธีทํานองของ ตน ธรรมชาติและความสําคัญ แห่งสถาบันนักบวชในพระศาสนจักร 44. โดยการถวายสัตย์ปฏิญญา หรือโดยการผูกมัดตัวเยี่ยงนักบวชอย่าง อื่น ๆ ที่ละม้ายคล้ายกับถวายสัตย์ปฏิญญา โดยเหตุผลเฉพาะของตนเอง, คริสตชนก็ผูกมัดตัวเองว่า จะประพฤติปฏิบัติตามคําแนะนําแห่งพระวรสาร 3 ประการ ตามที่ได้สาธยายมาแล้ว. การปฏิบัติดังนี้เป็นการมอบตัวโดยสิ้นเชิง เพื่อรับใช้พระเป็นเจ้าผู้ที่เขารักปฏิพัทธ์สุดดวงใจ และเพื่อถวายเกียรติมงคลแด่ พระองค์โดยถือว่า เป็นบรรดาศักดิ์อันใหม่ และอันพิเศษโดยเฉพาะ. ที่จริง เดชะศักดิ์สิทธิการ – ล้างบาป, คริสตชนได้ตายจากบาปอยู่แล้ว และเขาได้ กลายเป็นผูศ้ ักดิ์สิทธิ์ถวายตนเองอยู่แล้ว. ถึงกระนั้นเพื่อเป็นทางให้เขาได้รับพระ หรรษทานแห่งศักดิ์สิทธิการ – ล้างบาปโดยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น. การถวายสัตย์ ปฏิญญาตามคําแนะนําแห่งพระวรสาร ก็ทําให้เขามุ่งทําตนให้รอดพ้นจากอุปสรรค ต่าง ๆ ที่อาจทําให้เขาถอยห่างจากความรักอันร้อนรน และจากการรับใช้พระ เป็นเจ้าอย่างสมบูรณ์เต็มที.่ ทั้งมุ่งเพื่อให้เขาทําตัวใกล้ชิดพระเป็นเจ้ายิ่งขึ้น. การ ถวายตัวอันนี้จะครบครันขึ้นตามมาตราส่วนแห่งความสัมพันธ์ของเขา กับพระ คริสตเจ้าจะแน่นแฟ้นขึ้นเท่าไร และจะถาวรมั่นคงขึ้นเพียงไร, ทั้งนี้เหมือนดัง พระคริสตเจ้ากับพระศาสนจักรผู้เป็นภริยาของพระองค์ มีความสัมพันธ์ต่อกัน โดยไม่รู้จักเสื่อมสลาย. แต่เพราะเหตุว่า คําแนะนําแห่งพระวรสารนําไปสู่ความรักต่อพระเป็นเจ้า และผูกมัดตัวผู้ถวายสัตย์ปฏิญญาให้กระชับแน่นติดกับพระศาสนจักร และ พระอคาถัตธ์ของท่าน โดยทํานองพิเศษ, ชีวิตฝ่ายฝิญญาณของพวกเขาเหล่านี้จึง ต้องเทิดทูน เป็นคุณต่อพระศาสนจักรทั้งหมดไปด้วย. ดังนี้เองจึงเกิดมี ภาระหน้าที่ที่เขาทุก ๆ คนจะต้องกระทําตามกําลังเรี่ยวแรงของตน และตาม กรอบกระแสเรียกของตน ๆ เช่น การบําเพ็ญภาวนาหรือการออกแรงทําการงาน อย่างจริงจัง, หรือการปลูกฝังทํานุบํารุงพระราชัยของพระคริสตเจ้า และเพื่อ เผยแพร่พระราชัยอันนี้ไปทั่วโลกจักรวาล. เพราะเหตุนเี้ องพระศาสนจักรจึง ป้องกันและสนับสนุนลักษณะเฉพาะของสถาบันต่าง ๆ แห่งคณะนักบวช. ฉะนั้น อาชีพการดําเนินชีพตามคําแนะนําแห่งพระวรสารจึงปรากฏเป็น เครือ่ งหมาย ซึ่งมีทั้งความสามารถ ทั้งความจําเป็นต้องแผ่อิทธิพลโดยมี ประสิทธิภาพ ไปสู่มวลสมาชิกแห่งพระศาสนจักรทุก ๆ คน, เตือนให้ต่างคนต่าง ต้องขมีขมันปฏิบัตหิ น้าที่ตามกระแสเรียกคริสตชนของตน ๆ. เพราะเหตุที่ ประชากรของพระเป็นเจ้าไม่มีบ้านเมืองถาวรอยู่ในโลกนี้ แต่เขากําลังแสวงหา
บ้านเมืองในอนาคต, สถาบันนักบวชจึงช่วยแบ่งเบาแก่สมาชิกของตนให้เขามี อิสรภาพมากขึ้นในด้านความสลวนต่อข้าวของของโลกนี้, กว่านั้นอีกยังเผยแสดง ให้ผู้มีความเชือ่ ทั้งหลายแลเห็นว่าข้าวของของสวรรค์มอี ยู่ในโลกนี้แล้ว, ทั้งเป็น เครือ่ งยืนยันถึงชีวิตใหม่, ชีวิตนิรันดรซึ่งพระคริสตเจ้าได้เสด็จมากอบกู้เพื่อชาว เรา, ทั้งเป็นการทํานายล่วงหน้าถึงการกลับคืนชีพในชีวิตหน้า และทํานายถึง เกียรติมงคลแห่งพระราชัยสวรรค์ด้วย. นอกนั้นสถาบันนักบวชยังดําเนินชีพ ใกล้ชิดตามแบบวิธีการดําเนินชีพที่พระบุตรของพระเป็นเจ้าได้ทรงประพฤติปฏิบัติ เมือ่ ครั้งพระองค์เสด็จมาในมนุษย์โลก เพือ่ ปฏิบัตติ ามน้ําพระทัยพระบิดา และที่ พระองค์ท่านได้เสนอแนะแก่สานุศิษย์ผู้ติดตามพระองค์, และเขาเหล่านั้นก็น้อม ปฏิบัติตามเรื่อยมาในพระศาสนจักร, ที่สุดสถาบันนักบวชยังเผยแสดงโดยทํานอง พิเศษ ให้มองเห็นความสูงส่งแห่งพระราชัยของพระเป็นเจ้า ซึ่งอยู่เหนือสรรพสิ่ง ในโลกนี้, เผยให้เห็นอํานาจความยิ่งใหญ่ของพระคริสตเจ้าผู้ทรงกําลังเสวยราชย์ อยู่ในปัจจุบันนี้ ตลอดจนพละกําลังอันปราศจากขอบเขตของพระจิตเจ้า ผู้กําลัง ปฏิบัติการงานอย่างน่าอัศจรรย์ใจอยู่ในพระศาสนจักร, ปรากฏชัดแก่สายตาของ มนุษย์ทั้งหลายด้วยประการฉะนี.้ เป็นอันว่าสถาบันนักบวช ที่ประกอบขึ้นด้วยอาชีพบําเพ็ญตนตามคําแนะนํา แห่งพระวรสาร, ถึงแม้ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับพระศาสนจักรด้านพระฐานานุกรม แต่ถึงกระนั้นก็เกี่ยวข้องกับชีวิตและความศักดิ์สิทธิ์ของท่านอย่างแนบแน่น แน่น แฟ้นเป็นที่สุด. สิทธิและอํานาจของพระศาสนจักร เหนือบรรดานักบวช 45. หน้าที่ของพระศาสนจักร ด้านพระฐานานุกรมก็คือการเป็นชุมพา บาล นําประชากรของพระเป็นเจ้าไปเลี้ยงในทุ่งหญ้าอันสมบูรณ์ (เทียบ อสค. 34,14), จึงเป็นหน้าที่ของท่านที่จะใช้ความปรีชารอบคอบ กําหนดกฎเกณฑ์ใน การปฏิบตั ิตามคําแนะนําแห่งพระวรสารนั้นเอง, เพราะว่างานอันนี้เป็นอุปกรณ์ พิเศษเอกอุ ก่อให้เกิดความรักต่อพระเป็นเจ้า และความรักต่อเพือ่ นมนุษย์. พระศาสนจักรยังใช้เหตุผลสุขุมชาญฉลาด คล้อยตามความกระตุ้นดลใจของพระ จิตเจ้า, ท่านยอมรับหลักเกณฑ์ที่บรรดาบุรุษและบรรดาสตรีที่ทรงเกียรติคุณเสนอ ขึ้นมา และหลังแต่ได้จัดระเบียบเรียบร้อยดีแล้วท่านก็รับรองเป็นทางการ. ที่สุด สถาบันต่าง ๆ ก็ผุดขึ้นทั่ว ๆ ไป. ท่านใช้อํานาจอาญาสิทธิ์ของท่านระวังระไวและ ป้องกันสถาบันนั้น ๆ ที่ตั้งขึ้น ให้เสริมสร้างพระวรกายของพระคริสตเจ้าให้เจริญ ขึ้น, งอกงามขึ้นตามเจตนารมณ์ของผู้สถาปนาสถาบันนั้น ๆ. อนึ่ง เพื่อสนองความต้องการของฝูงแกะแห่งพระสวามีเจ้าทั้งฝูง ให้ได้รับ ผลดียิ่งขึ้น สถาบันแห่งความครบครันทุกสถาบันตลอดจนสมาชิกทุก ๆ คนของ
สถาบันนั้น ๆ ด้วย อาจต้องขึ้นต่อสมเด็จพระสันตะปาปาในฐานะที่พระองค์ทรง ไว้ซึ่งอภิสิทธิอ์ ันดับหนึ่ง (Primatus) (69) เหนือพระศาสนจักรสากล, ทั้งนี้ เพื่อเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม, พระองค์อาจยกเอาสิทธิปกครองออกจากสมณะ ผู้ปกครองท้องถิ่น (Ordinarius Loci) (70) แล้วนํามาขึ้นต่อพระองค์ท่านแต่ผู้ เดียวก็ได้. เช่นเดียวกันนี้ พระองค์อาจปล่อยให้สถาบันดังกล่าวขึ้นต่อหรือทรง มอบให้ขึ้นต่ออํานาจอาชญาสทธิโดยเฉพาะของพระอัยกาก็ได้. ส่วนสมาชิกของ สถาบันดังกล่าว, เมือ่ ปฏิบัตหิ น้าที่ต่อพระศาสนจักรตามรูปแบบเฉพาะแห่งอาชีพ ของตน, ตามกฎหมายของพระศาสนจักร, เขาก็ต้องเคารพเชือ่ ฟังพระสังฆราช ทั้งนีเ้ พราะท่านทรงไว้ซึ่งอํานาจชุมพาบาลในพระศาสนจักรปลีกย่อย และ เพราะว่างานแพร่ธรรมต้องมีเอกภาพและสามัคคีธรรม. พระศาสนจักรไม่เพียงแต่ตรากฎหมายตั้งอาชีพการถวายสัตย์ปฏิญญาขึ้น ให้เป็นฐานะอันทรงเกียรติตามกฎหมายเท่านั้น ท่านยังแสดงให้ปรากฏชัดว่า อาชีพการถวายสัตย์ปฏิญญานั้นเป็นการอภิเษก. เป็นกิจกรรมทางจารีตพิธีอีกด้วย , กล่าวคือ พระศาสนจักรอาศัยอํานาจอาชญาสิทธิ์ที่ได้รบั จากพระเป็นเจ้า, ท่านจึงตอบรับการถวายการบนบานของนักบวช, ท่านอธิษฐานอย่างเป็นทางการ สาธารณะ, ท่านภาวนาขอพระเป็นเจ้าโปรดประทานความช่วยเหลือและพระ หรรษทานแก่ผู้ถวายตัว, ท่านฝากฝังเขาไว้กับพระเป็นเจ้า, ท่านอํานวยอวยพร ด้านจิตใจแก่เขา, พลางก็นําเอาการถวายตัวของเขามาร่วมบูชาของพระสดุดีบูชา นั้นด้วย. ความสูงส่งของการตัง้ สัตย์ปฏิญญา ของนักบวช 46. นักบวชทั้งหลาย พึงใส่ใจบําเพ็ญให้ตัวของตัวเป็นเครื่องมือของ พระศาสนจักร ในการเผยแพร่องค์พระคริสตเจ้าอย่างแท้จริง และยิ่งวันยิ่งแจ่มก ระจ่างขึ้น ทั้งนี้ทั้งแก่ผู้ที่มีความเชือ่ ทั้งแก่ผู้ไม่มีความเชือ่ ให้เขาเห็นประจักษ์ แจ้งซึ่งองค์พระคริสตเจ้า ขณะกําลังทรงเข้าญาณบนภูเขาก็ด,ี กําลังทรงประกาศ พระราชัยของพระเป็นเจ้าแก่ฝูงชนก็ดี, กําลังทรงรักษาคนป่วยไข้, คนพิการก็ด,ี ตลอดจนกําลังทรงบันดาลให้คนบาปกลับใจมาสู่มรรคผล, ขณะกําลังทรงอํานวย พระพรแก่พวกเด็ก ๆ, กําลังทรงสร้างความดีแก่คนทั้งหลาย, กําลังทรงนอบน้อม เชื่อฟังพระบิดาผู้ทรงใช้พระองค์มา, ทั้งนี้เป็นสิ่งที่พระองค์ทรงปฏิบัติอยู่เสมอมิได้ ขาดก็ดี. อนึ่ง ขอให้ทุกคนตระหนักว่า อาชีพการปฏิบัติตามแนวคําแนะนําแห่ง พระวรสารนั้น แม้ว่าพ่วงติดอยู่กับการเสียสละละทิ้งทรัพย์สมบัติ ซึ่งที่จริงใคร ๆ ก็ถือกันว่า เป็นอรรฆของมีค่า ถึงกระนั้นอาชีพดังกล่าวก็ไม่ขัดกับผลประโยชน์ อันแท้จริงสําหรับตัวบุคคลมนุษย์ แต่ตามธรรมชาติของมันก็อาํ นวยประโยชน์แก่
ตัวพวกเขาอย่างเหลือล้น เหตุว่าคําแนะนํานั้นที่เขายินดี น้อมรับตามกระแส เรียกของเขาแต่ละคน ก็บันดาลให้เกิดการชะล้างสะสางให้ดวงใจของเขาบริสุทธิ์, ทําให้เขาเกิดมีอิสรเสรีมิใช่น้อย, กระตุ้นเตือนความรักให้เผ่าร้อนอยู่เสมอ เป็น ต้นด้านชีวิตถือพรหมจรรย์และการถือความยากจน, ซึ่งพระคริสตเจ้าพระสวามี ของเราได้ทรงเลือกปฏิบัติสําหรับพระองค์ท่านเอง, ท่านพระมารดาพรหมจาริณี ของพระองค์ท่านก็ปฏิบัติเช่นกัน, การบําเพ็ญปฏิบัติอย่างนี้แหละ ทําให้คริสตชน ละม้ายคล้ายกับพระองค์ท่านทั้งสองมากยิ่งขึ้น พิสูจน์ได้จากตัวบุคคลของบรรดา นักบุญผู้สถาปนาคณะนักบวชจํานวนมากมาย. อนึ่ง ขออย่าให้มีใครคิดไปว่า พวกนักบวชเนื่องจากการถวายตัวของเขา เขากลายเป็นคนอื่นไป, ห่างไกลจาก มวลมนุษย์ หรืออย่าถือว่าพวกเขาเป็นอนรรฆคนไร้ประโยชน์สําหรับสังคม ชาวโลก. จริงอยู่แม้บางครั้ง เขาไม่อยู่ร่วมกันคนรุ่นราวคราวเดียวกันโดยตรง, แต่ถึงกระนั้น โดยทํานองอันลึกล้ํามากกว่าอีก, เขาอยู่ใกล้ชิดในพระหฤทัยของ พระคริสตเจ้า, ทั้งเขาร่วมมือทํางานด้านจิตใจกับคนพวกนั้น เพื่อให้การสร้าง บ้านเมืองบนแผ่นดิน มีรากฐานตั้งมั่นอยู่ในพระสวามีเจ้าอยูเ่ สมอ, เพื่อให้ บ้านเมืองเข้าไปสู่พระคริสตเจ้า ทั้งนี้เพือ่ มิให้ผู้กําลังสร้างบ้านออกแรงทํางานโดย ไร้ประโยชน์. ในที่สุด เพราะเหตุนี้เอง สภาพระสังคายนาสากลจึงสนับสนุน และยก ย่องบรรดาบุรุษและสตรี, บรรดาภราดาและภคินีผู้สํานักอยู่ในอาราม, ใน โรงเรียน, ในโรงพยาบาล หรือในถิ่นเขตแพร่ธรรม (มิสซัง) เขาบําเพ็ญชีพสัตย์ ซื่อมั่นคง, และสุภาพถ่อมตนในการถวายตัวของตนตามที่กล่าวมา ทั้งนี้โดยมี จุดประสงค์ร่วมแรงกันตบแต่งภริยาของพระคริสตเจ้า โดยให้บริการชนิดต่าง ๆ แก่มนุษย์ทุก ๆ คน, เป็นบริการทีเ่ สียสละทั้งมีประเภทที่แตกต่างกันมากหลาย. บทสรุป 47. ขอให้ทุกคนผู้ได้รับพระกระแสเรียกให้ถวายตัวตามคําแนะนําแห่ง พระวรสาร, ท่านได้รับพระกระแสเรียกอันใดก็ขอให้เจริญมั่นคงอยู่ในอันนั้น อัน ที่พระเป็นเจ้าได้ประทานให้, ทั้งให้เจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อพระศาสนจักร จะได้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ทั้งเพื่อเป็นเกียรติมงคลยิ่งขึ้น แด่พระตรีเอกภาพผู้เดียวผู้ที่ จะแบ่งแยกไม่ได้, พระองค์คอื แหล่งท่อธาร และกําเนิดต้นเดิมแห่งความ ศักดิ์สิทธิ์ทั้งสิ้นในพระคริสตเจ้า และโดยองค์พระคริสตเจ้าเอง.
48-51
บทที่ 7 ลักษณะบั้นปลายของพระศาสนจักรที่กําลังหกหันไปข้างหน้า และการร่วมสหภาพของท่านกับพระศาสนจักรในสวรรค์
ลักษณะบั้นปลายแห่งกระแสเรียกของคริสตชน 48. เราทั้งหลายได้รับเชิญให้เข้ามาอยู่ในพระศาสนจักรโดยองค์พระคริสต เยซู และเมื่ออยู่ในพระศาสนจักรแล้ว อาศัยพระหรรษทาน ชาวเราก็ประสบ พบความศักดิ์สิทธิ,์ พระศาสนจักรนั้นจะบรรลุถึงความสําเร็จสมบูรณ์ ก็ตอ่ เมือ่ ได้รับเกียรติมงคลในสวรรค์, ในคราวเมื่อจะถึงเวลาที่สรรพสิง่ จะฟื้นตัวขึ้นใหม่ (กจ. 3,21) และพร้อมกับมนุษย์ชาติ โลกทั้งโลกที่เกี่ยวข้องผูกพันกับมนุษย์ อย่างแนบแน่นนั้นโดยทางมนุษย์ ก็จะเข้าไปสู่จุดหมายของตน และจะบรรลุถึง ความครบครันสมบูรณ์ในพระคริสตเจ้า (เทียบ อฟ. 1,10; คส. 1,20; ปต. 3,1013). พระคริสตเจ้า ผู้ได้รบั การยกขึ้นเหนือแผ่นดิน, ได้ทรงดึงดูดทุก ๆ คนเข้า มาหาพระองค์ (เทียบ ยบ. 12,32 กริก) เมื่อทรงคืนพระชนม์ชีพแล้ว (เทียบ รม. 6,9), ได้ทรงส่งพระจิตผู้บันดาลชีวิตมายังสานุศิษย์ และโดยพระจิตนี้ พระองค์ได้ทรงสถาปนาพระวรกายของพระองค์ขึ้น นั่นคือพระศาสนจักร, ที่ทรง แต่งตั้งให้เป็นดังศักดิ์สิทธิการ สําหรับบันดาลความรอดแก่ทุก ๆ คน, เมื่อ ประทับอยู่เบื้องขวาพระบิดา, พระองค์ก็ยังทรงปฏิบัติงานอยู่เสมอมิได้ขาด : เพือ่ นํามวลมนุษย์ไปสู่พระศาสนจักร และเพื่อโดยทางพระศาสนจักรนี้ พระองค์จะ ได้ทรงทําให้มนุษย์ใกล้ชิดกับพระองค์ยิ่งขึ้น : โดยทางทรงเลี้ยงดูมนุษย์ด้วยพระ กายและพระโลหิตของพระองค์ท่านเอง, ทรงบันดาลให้เขามีส่วนร่วมในพระชนม์ ชีพนิรันดรของพระองค์ สถานะใหม่กล่าวคือ การกลับสู่สถานะเดิม ทีไ่ ด้ทรง สัญญาไว้นั้น และที่ชาวเรากําลังรอคอย ก็เริ่มต้นขึ้นแล้วในพระคริสตเจ้า, การ ส่งพระจิตเจ้ามาก็เทิดชูขึ้นอีก และโดยอาศัยพระจิตเจ้า ก็คงดํารงอยู่ในพระศา สนจักร. ในพระศาสนจักรนี้อาศัยความเชือ่ ชาวเราเรียนรู้ความหมาย กระทั่ง แม้เรื่องชีวติ ในโลกปัจจุบัน, และเมื่องานที่พระบิดาทรงมอบหมายให้เรากระทําใน โลกนี้ เรารับปฏิบตั ิไปจนถึงที่สุด ด้วยหวังว่าจะได้รับทรัพยากรในเบื้องหน้า, เราก็ปฏิบัติตามความรอดของเรา (เทียบ ฟล. 2,12). ฉะนั้น บั้นปลายของโลกพิภพได้มาถึงชาวเราแล้ว (เทียบ 1 คร. 10,11) และการฟื้นตัวขึ้นใหม่ของโลก ก็ถูกกําหนดไว้แล้วโดยไม่มีการคืนคํา และอันที่ จริงการฟื้นตัวนั้นเป็นมาล่วงหน้าก็ว่าได้ : เหตุว่าในโลกนี้พระศาสนจักรประกอบ
อยู่ด้วยความศักดิ์สิทธิ์อันแท้จริง แม้ยังไม่ครบครันนัก. ถึงกระนั้น จนกว่าจะถึง ยุคฟ้าใหม่ แผ่นดินใหม่ อันเป็นที่สถิตของความชอบธรรม (เทียบ 2 ปต. 3,13), พระศาสนจักรผู้กําลังจาริกอยู่ อาศัยศักดิ์สิทธิการและสถาบันของท่านที่ เกี่ยวข้องกับโลกนี้, ท่านก็อยู่ในรูปแบบของโลกที่กําลังจะล่วงพ้นไป, และตัวท่าน เองก็คงอยู่ในท่ามกลางสัตว์โลกทั้งหลาย ที่ร้องไห้คร่ําครวญทนทุกขเวทนา, รู้สึก เจ็บปวดประหนึ่งการคลอดลูก เรื่อยมาจนกระทั่งบัดนี้ และท่านรอคอยการ ประจักษ์มาแห่งพระบุตรของพระเจ้า (เทียบ รม. 8,19-22). ชาวเราสนิทสัมพันธ์กบั พระคริสตเจ้าในพระศาสนจักรแล้ว, และเราได้รับ ประทับตราของพระจิตเจ้า “ผู้ทรงเป็นมัดจําแห่งมรดกของเรา” (อฟ. 1,14), เราได้ชอื่ ว่าเป็นบุตรของพระเป็นเจ้าโดยแท้ และเราก็เป็นเช่นนัน้ จริง (เทียบ 1 ยน. 3,1), แต่เรายังไม่ได้ปรากฏตัวร่วมกับพระคริสตเจ้าในพระเกียรติมงคล (เทียบ คส. 3,4), ซึ่งในนั้นเราจะเหมือนพระองค์, เพราะเราจะแลเห็นพระองค์ อย่างที่ทรงเป็น (เทียบ ยน. 9,2). เพราะฉะนั้น “ตราบใด เรายังอยู่ใน ร่างกาย, ตราบนั้นเราก็ถูกเนรเทศจากพระสวามีเจ้า” (2 คส. 5,6), และแม้ เราได้รับมัดจําของพระจิตเจ้าแล้ว เราก็ยังคร่ําครวญกับตัวเรา (เทียบ รม. 8,23), เราปรารถนาใฝ่ฝันจะได้อยู่กับพระคริสตเจ้า (เทียบ ฟล. 1,23), ความ รักอันนี้เองต้องกระตุน้ เร่งเร้าเราให้ดํารงชีพเพื่อพระองค์มากขึ้น พระองค์ผู้ได้ทรง มรณะและเสด็จคืนพระชนม์ชีพ เพื่อเห็นแก่เรา (เทียบ 2 คร. 5,15). ฉะนั้น ชาวเราจึงพยายามทําความพึงพอใจแด่พระสวามีเจ้าในทุกสิ่งทุกอย่าง (เทียบ 2 คร. 5,9) และเราคาดกระชับอาวุธของพระเป็นเจ้า เพือ่ สามารถยืนหยัดต้านก โลบายของปีศาจและต่อกรในวันร้าย (เทียบ อฟ. 6,11-13), เพราะด้วยว่า เรา ไม่ทราบวันและเวลา, อย่างที่พระสวามีเจ้าได้ทรงเตือนไว้, เราจึงต้องตื่นเฝ้าไม่ หยุดหย่อนอยู่เรือ่ ยไป, เพื่อว่าเมื่อจบรอบ อันมีเพียงรอบเดียวแห่งชีวิตของเรา บนโลกนี้แล้ว (เทียบ ฮบ. 9,27), เราจะได้สมควรเข้าไปสู่งานวิวาห์มงคล และ มีบุญนับเข้าอยู่ในจํานวนผู้ได้รับพระพร (เทียบ มธ. 25,31-46), และขออย่าให้ เราเป็นเหมือนคนใช้เลวและเกียจคร้าน (เทียบ มธ. 25,26) ที่ถูกบังคับให้ถอย ไปสู่ไฟนิรันดร (เทียบ มธ. 25,31-46), ไปสู่ความมืดข้างนอก, ที่นั่น “จะมี แต่การร้องห่มร้องไห้ และการขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน” (มธ. 22,13 และ 25,30) เหตุว่า ก่อนที่เราจะได้เสวยราชย์ร่วมกับพระคริสต์ผู้ทรงศรี เราทุกคนจะต้องไป ปรากฏตัว “เฉพาะพระบัลลังก์ของพระคริสตเจ้าเสียก่อน เพือ่ ที่ทุก ๆ คนจะ ได้รับตอบสนองตามกรรมที่เขาได้กระทําขณะอยู่ในร่างกาย,” “ตามแต่ได้ ประพฤติดีหรือประพฤติชั่ว (2 คร. 5,10). ในบั้นปลายของโลก “ผู้ที่ได้สร้าง ความดีจะเดินหน้าไปสู่การกลับคืนชีวิต และพวกที่ได้สร้างความชั่วก็จะกลับคืน ชีพ เพือ่ ถูกพิพากษาปรับโทษ” (ยน. 5,29; เทียบ 25,4-6). ฉะนั้น เพราะ
ชาวเราตีราคาเห็นว่าความทุกขเวทนาในโลกนี้ มีค่าไม่คคู่ วรกับพระเกียรติมงคล ในภายหน้า ซึ่งจะปรากฏขึ้นในตัวเรา, (รม. 8,18; เทียบ 2 ทม. 3,11-12) “เราจึงตั้งมั่นแข็งขันในความเชือ่ , เรารอคอยความหวังอันเป็นความสุข และการ มาถึงแห่งพระเกียรติมงคลของพระเป็นเจ้าผูย้ ิ่งใหญ่, และของพระเยซูคริสตเจ้า, พระผู้ช่วยให้รอดของชาวเรา” (ทท. 2,13) “พระองค์จะทรงดลบันดาลร่างกาย อันอาภัพอัปภาคย์ของเรา ให้ละม้ายคล้ายกับพระวรกายอันรุ่งโรจน์แจ่มจรัสของ พระองค์ท่าน” (ฟล. 3,21), และพระองค์จะเสด็จมา “เพื่อรับเกียรติมงคลใน บรรดานักบุญของพระองค์ และจะทรงกลายเป็นที่ชื่นชมอภิรมย์ยินดียิ่งนัก สําหรับทุก ๆ คน ที่ได้มีความเชื่อ” (2 ธส. 1,10). สหพันธ์ระหว่างพระศาสนจักรในสวรรค์ กับ พระศาสนจักรบนแผ่นดิน 49. พระสวามีเจ้าจะเสด็จมา ประกอบด้วยพระมหิทธิศักดิ,์ อินทร์พรหม เทวดาทั้งหลายเป็นบริวารห้อมล้อมพระองค์ (เทียบ มธ. 25,31), และเมื่อนั้น ความตายจะทลายสูญสิ้น และสรรพสิ่งต่าง ๆ จะอยู่ใต้อํานาจของพระองค์ท่าน (เทียบ 1 คร. 26-27) แต่ก่อนจะถึงเวลาที่กล่าวนี้, ศิษยานุศิษย์ของพระองค์, บ้างกําลังเดินทางระเหระหนอยู่ในแผ่นดิน, บ้างก็ถึงแก่กรรมแล้ว, กําลังชําระ ล้างตนให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง, บ้างกําลังเสวยพระเกียรติมงคล, กําลังเพ่งมองดูพระผู้ เป็นเจ้าอย่างกระจ่างชัดเจน แลเห็นสามพระบุคคล และพระเป็นเจ้าเดียวอย่างที่ ทรงเป็น, “ถูกแล้ว แม้เราคนละคนมีหลั่นชั้นและแบบทํานองต่างกัน แต่เราต่าง คนต่างมีความรักอันเดียวกันต่อพระเป็นเจ้าและต่อเพื่อนมนุษย์, เราขับร้องเพลง สดุดีบทเดียวกัน เพื่อถวายเกียรติมงคลแด่พระเป็นเจ้า, เราทุกคนรวมกันเป็น ของพระคริสตเจ้า, ต่างก็มีพระจิตเจ้าของพระองค์ และต่างก็ผนึกแน่นติดกับ พระองค์ (เทียบ อฟ. 4,16). ฉะนั้น ความสัมพันธ์ของพวกที่กําลังเดินทางกับ บรรดาพี่น้องที่ได้สิ้นใจ หลับอยู่ในสันติสุขของพระคริสตเจ้า, ก็หาเป็นการ แตกต่างจากกันไม่. แต่ความเชื่อทีพ่ ระศาสนจักรยึดมั่นอยู่เสมอมา, ความสัมพันธ์อันนั้นกลับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นอีก ด้วยการมีส่วนร่วมกันทางทรัพยากร ด้านวิญญาณนั่นเอง. เพราะการที่ชาวสวรรค์สนิทชิดเชือ้ กับพระคริสตเจ้ามากขึ้น มีความศักดิ์สิทธิ์แน่นหนาขึ้น, คารวกิจทีพ่ ระศาสนจักรประกอบถวายแด่พระเป็น เจ้าในโลกนี้ บรรดาชาวสวรรค์ก็ช่วยเพิม่ ศักดิ์ศรีขึ้น และพวกท่านก็สนับสนุน ด้วยทํานองหลายสีหลายอย่างให้พระศาสนจักรเจริญยิ่ง ๆ ขึ้น (เทียบ 1 คร. 12,12-27). เหตุว่า เมื่อพวกท่านได้บรรลุถึงถิ่นฐาน (เที่ยงแท้) แล้ว, ท่านอยู่ ใกล้ชิดกับองค์พระคริสตเจ้า (2 คร. 5,8), ท่านอยู่โดยพระองค์, ร่วมกับ พระองค์และในพระองค์, ท่านไม่หยุดหย่อนทําการเสนอวิงวอนพระเป็นเจ้า เพื่อ ประโยชน์ของชาวเรา, ท่านนําขึ้นทูลถวายบุญกุศลที่ท่านได้ประกอบขึ้นบน
แผ่นดิน, ได้ประกอบขึ้นโดยอาศัยองค์คนกลางแต่ผู้เดียว คือพระเยซูคริสตเจ้า นั่นเอง (เทียบ 1 ธส. 2,5), ท่านช่วยบริการรับใช้พระสวาเจ้าในทุก ๆ เรื่อง, ท่านเสริมสร้างสิ่งที่ยังขาดอยู่ในพระมหาทรมานของพระคริสตเจ้า, ทั้งนี้เพื่อพระ วรกายของพระองค์ นี่คือ เพือ่ พระศาสนจักรนั่นเอง (เทียบ คส. 1,24). ฉะนั้น ความสลวนห่วงใยประสาพี่นอ้ งของพวกท่าน จึงช่วยทุเลาความอ่อนแอ ทุพพลภาพของชาวเราได้มากมายเป็นอเนกอนันต์. ความเกี่ยวข้องติดต่อระหว่างศาสนจักรบนแผ่นดิน กับพระศาสนจักรในสวรรค์ 50. อันความสัมพันธ์ของพระกายทิพย์ทั้งหมดของพระคริสตเจ้านั้น พระศาสนจักรของบรรดาผู้กําลังเดินทาง ได้สํานึกรู้แต่แรกเริ่มมาแล้ว, ฉะนั้น นับแต่เริ่มต้นพระคริสตศาสนา, ท่านได้ปลูกฝังธรรมเนียมการระลึกถึงผู้ตายด้วย ความเลื่อมใสยิ่งนัก และเพราะว่า “เป็นความคิดอันศักดิ์สิทธิ์ และเป็นบุญกุศล อันที่จะภาวนาอ้อนวอนอุทิศแก่ผู้ตาย เพื่อให้เขาหลุดพ้นจากบาป” (2 มกบ. 12,46) ตลอดจนการทําบุญอุทศิ แก่เขาด้วย. ส่วนพวกอัครสาวก และบรรดา มรณสักขี (martyr) ของพระคริสตเจ้า, ผู้ได้หลั่งโลหิตเป็นเครื่องยืนยันความ เชื่อและความรักอย่างเอกอุนั้น, พระศาสนจักรได้เชื่อถือเรือ่ ยมาว่า พวกท่าน สนิทชิดเชื้อกับพวกเราในพระคริสตเจ้า. ฉะนั้น พระศาสนจักรจึงแสดงความ เคารพพวกท่าน ด้วยความรักภักดีพิเศษ, พร้อมกันนี้ พระศาสนจักรก็เคารพ ภักดีต่อพระนางพรหมจาริณีมารีอา ตลอดจนบรรดาเทวดาทั้งหลายด้วย, ท่าน ยังขอพึ่งคําเสนอวิงวอนของบรรดาบุคคลดังกล่าว, ด้วยศรัทธาประสาทะให้ ช่วยเหลือตัวท่าน. ต่อมามิช้าท่านยังเสริมจํานวนพวกที่ทา่ นเคารพนับถือเพิม่ ขึ้น อีก คือบรรดาบุคคลผู้ได้เจริญตามรอยพระคริสตเจ้า ถือพรหมจรรย์ และความ ยากจนและตกที่สุดบุคคลอื่น ๆ ทั้งหลาย ผู้ได้บําเพ็ญคุณธรรมประสาคริสตชน อย่างดีเลิศ และบรรดาผู้ได้รับพระพรานุพรพิเศษจากพระเป็นเจ้า, เป็นทางให้ตัว เขาได้รับความเคารพนับถือ ทั้งเป็นทางให้บรรดาสัตบุรุษเจริญรอยตามแบบอย่าง ของเขาด้วย. การมองดูชีวิตของบรรดาบุคคล ผู้ได้ดําเนินชีพติดตามพระคริสตเจ้าอย่าง สัตย์ซื่อ, นี่แหละเป็นเหตุผลใหม่ที่กระตุน้ ให้ชาวเราแสวงหาบ้านเมืองในอนาคต (เทียบ ฮบ. 13,14 และ 11,10). และพร้อมกันนี้ เราก็รู้จักหนทางอันปลอดภัย อย่างยิ่ง ที่จะนําชาวเราผ่านกลางความผันผวนทั้งหลายของโลก และผ่านสถานะ เฉพาะของเราแต่ละคน, จนสามารถบรรลุถึงสหภาพอันครบถ้วนในพระคริสตเจ้า หรืออีกนัยความศักดิ์สิทธิ์นั่นเอง. ในชีวติ ของบรรดาบุคคลผู้มธี รรมชาติมนุษย์ เหมือนกับเรา ๆ นี้ แต่เขาได้กลายเป็นรูปฉายาของพระคริสตเจ้าอย่างสมบูรณ์ กว่าตัวเรานั้น (เทียบ 2 คร. 3,18) ส่อให้เห็นว่าพระเป็นเจ้าได้ทรงแสดงการ
สถิตย์ประทับ และพระพักตร์ของพระองค์อย่างแจ่มแจ้งแก่มนุษย์ และด้วยตัว ของเขานั้น พระเป็นเจ้าก็ทรงมีพระดํารัสแก่ชาวเรา ทั้งทรงดึงดูดชาวเราด้วย กําลังแรงให้เข้ามาสู่พระราชัยของพระองค์ “นี่อย่างไร กลุ่มผู้ยืนยันจํานวน มากมาย ห้อมล้อมตัวเราเหมือนกับเมฆหมอก” (เทียบ ฮบ. 12,1) นี่แหละ คือการประกาศยืนยันความจริงแห่งพระวรสาร. อย่างไรก็ดี ชาวเราฉลองระลึกถึงชาวสวรรค์ ไม่ใช่เพราะท่านบําเพ็ญตน เป็นแบบอย่างดีแก่ชาวเราอย่างเดียว แต่เฉพาะอย่างยิ่ง เป็นเพราะท่านบันดาล ให้ความสัมพันธ์กลมเกลียวของพระศาสนจักรทั้งหมดแข็งแกร่งแน่นแฟ้นขึ้นในพระ จิตเจ้าด้วยการบําเพ็ญความรักใคร่ประสาพีน่ ้องนั่นเอง (เทียบ อฟ. 4,1-6). ความสัมพันธ์ประสาคริสตังระหว่างบรรดาผูก้ ําลังเดินทางอยู่ด้วยกันในโลกนี้ นํา ชาวเราไปสู่พระคริสตเจ้าให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นแล้วฉันใด, การร่วมโชคชาตากับบรรดา นักบุญ ก็ผูกโยงเราไว้กับพระคริสตเจ้า, องค์ต้นธารและศีรษะ, แหล่งที่มาแห่ง พระหรรษทานทั้งสิ้น และชีวิตทั้งหมดแห่งประชากรของพระเป็นเจ้าที่ไหลพรู ออกมา ฉันนั้นจึงเป็นการสมควรอย่างยิ่ง ที่ชาวเราจะรักใคร่บรรดาผู้เป็นสหาย ของพระคริสตเจ้า ทั้งเป็นทายาทร่วมกับพระองค์ท่าน, เป็นพี่เป็นน้องของชาวเรา ทั้งเป็นผู้มีพระคุณต่อชาวเราเป็นอย่างยิ่ง, ฉะนั้นชาวเราจึงต้องขอบพระคุณพระ เป็นเจ้า ตามที่ถูกที่ควรแทนพวกท่านด้วย, ทั้งต้องวิงวอนขอความช่วยเหลือจาก พวกท่าน, และเพราะพระคุณต่าง ๆ ที่พวกท่านได้เสนอช่วยให้เราได้รับจากพระ เป็นเจ้า โดยทางพระเยซูคริสตเจ้า, พระสวามีของชาวเรา, พระผู้ไถ่และผู้กอบกู้ แต่องค์เดียว, นี่แหละชาวเราต้องพึ่งคําภาวนา และความอุปถัมภ์ช่วยเหลือจาก พวกท่าน. การยืนยันแสดงออกซึ่งความรักของเราต่อชาวสวรรค์ ที่เป็นไปโดย ถูกต้องทุก ๆ ครั้งนั้นเป็นธรรมดาอยู่เอง ต้องมุ่งไปสู่และไปจบที่พระคริสตเจ้า “ผู้ทรงเป็นมงกุฎรางวัลแห่งนักบุญทั้งหลาย และผ่านทางพระคริสตเจ้าก็ไปจบลงที่ พระเป็นเจ้า, พระองค์ทรงเป็นที่น่าพิศวงของบรรดานักบุญ ทั้งทรงได้รับพระ เกียรติมงคลในพวกนักบุญนั้นด้วย.” วิธีการอันสูงส่ง ที่ชาวเราแสดงให้เห็นเอกภาพ (ความเป็นหนึ่งเดียว) ของชาวเรากับชาวสวรรค์นั้น อยู่ที่การประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งที่นี้เอง ฤทธิ์อํานาจของพระจิตเจ้าทํางานในตัวเรา โดยอาศัยเครื่องหมายของสิ่งศักดิ์สิทธิ การต่าง ๆ (sacramentalia), ในพิธีกรรมนั้น ชาวเราต่างพร้อมใจกันเปล่งเสียง สดุดีถวายพระพรแด่พระมหิทธิศักดิ์ของพระเป็นเจ้า, เราทุกคนไม่เว้นใครเลย, แม้มาจากตระกูล, ภาษา, ประเทศ และเชื้อชาติต่างกัน, เราทุกคนต่างได้รบั การไถ่ด้วยพระคริสตโลหิตทั้งนั้น (เทียบ วว. 5,9). เราทุกคนร่วมชุมนุมเป็นศา สนจักร, หรือสโมสรอันเดียวกัน, เราร้องเพลงบทเดียวกัน ซร้องสาธุการพระ เป็นเจ้าหนึ่งเดียว ซึง่ มีสามบุคคล. การถวายสดุดีบูชาเป็นวิธกี ารชั้นยอดเยี่ยม
แสดงให้เห็นความเป็นหนึ่งเดียวของชาวเรา กับพระศาสนจักรในสวรรค์, ที่พิธี บูชานั้น เราร่วมกันเฉลิมฉลองระลึกถึงพระแม่มารี ผู้ทรงศรี, องค์ พรหมจาริณตี ลอดกาลเป็นต้น ต่อนัน้ เราก็ฉลองท่านผู้ทรงบุญองค์อื่น ๆ เช่น นักบุญยอแซฟ, บรรดาอัครสาวก, บรรดามรณสักขี, และบรรดานักบุญ ทั้งหลาย. คําแนะนําแนวทางสําหรับศาสนบริกร (ชุมพาบาล) 51. ความเชื่อถืออันน่าเคารพของบรรดาบรรพบุรุษของเราเรื่องการร่วม โชคชะตาทางชีวิต กับบรรดาญาติพี่น้องผูบ้ รรลุถึงเกียรติมงคลในสวรรค์แล้วก็ด,ี ผู้ที่หลังการจบอายุขัยแล้วและกําลังชําระล้างตนอยู่ก็ดี สภาพระสังคายนานี้ ขอ ต้อนรับด้วยศรัทธาภักดี ทั้งกําชับให้กลับนําเอาคําสั่งแห่งพระสังคายนาสากล ที่ นครนีเซีย ครั้งที่ 2, ที่นครฟลอเรนส์ และที่นครเตรนต์มาใช้ต่อไป. พร้อมกัน นี้ เพราะสลวนด้านศาสนบริการ สภาพระสังคายนานี้ ขอตักเตือนบรรดา ผู้รับผิดชอบทุก ๅ คน, ในกรณีที่มีการออกนอกลู่นอกทาง, เกินไปบ้าง, ขาด ตกไปบ้าง, ในที่นี้ที่นั้นก็ขอให้กําจัดออกไปเสีย หรือแก้ไขให้ทุก ๆ สิ่งดําเนินไป เพื่อเกียรติมงคลของพระคริสตเจ้าและพระเป็นเจ้าจะได้บริบูรณ์ถกู ต้อง. ขอให้ สอนสัตบุรุษว่า คารวกิจอันแท้จริงต่อบรรดานักบุญ มิใช่อยู่ที่การทํางาน ภายนอกมากมายหลายต่อหลายอย่าง แต่เฉพาะอย่างยิ่ง อยู่ทกี่ ารปฏิบัติความ รักอย่างร้อนรนและอย่างสัมฤทธิ์ผล, พยายามแสวงหาคุณประโยชน์สําหรับ ตนเองและสําหรับพระศาสนจักร, “เรามีวสิ าสะสนิทสนมกับบรรดานักบุญเพื่อทํา ตามแบบอย่างของท่าน, เราร่วมใจกับท่านเพื่อมีส่วนในโชคชะตาของท่าน, เรา พึ่งคําเสนอวิงวอนของท่านเพื่อจะได้รับความช่วยเหลือจากท่าน” อีกประเด็นหนึง่ ขอให้สอนสัตบุรุษว่า. ความสนิทสนมของเรากับชาวสวรรค์, ในเมื่อเข้าใจตาม แสงสว่างของความเชือ่ อันครบถ้วน, ย่อมไม่ลดหย่อนคารวกิจต่อพระเป็นเจ้า, แต่กลับเป็นบรรณาการถวายแด่พระเป็นเจ้าพระบิดา โดยทางพระคริสตเจ้าใน พระจิตเจ้านั้นเอง ฉะนั้นจึงบันดาลให้พระเป็นเจ้าทรงมั่งคั่งยิ่งขึ้นไปเสียด้วยซ้ํา. เหตุว่า เราทุกคนเป็นบุตรของพระเป็นเจ้า, เรารวมตัวกันเป็นครอบครัว เดียวในพระคริสตเจ้า (เทียบ ฮบ. 3,6), ในขณะที่เราติดต่อกันและกันด้วย ความรัก, เราร่วมใจกันสรรเสริญสดุดีพระตรีเอกภาพพร้อม ๆ กัน, เราก็สนอง พระกระแสเรียกแห่งพระศาสนจักรโดยใกล้ชิด, และเราร่วมมีส่วนในพิธีกรรมที่ ประกอบขึ้น, ด้วยเกียรติมงคลอันบริบูรณ์เป็นดังการชิมลางก่อนแล้ว, สําหรับ คราวเมื่อพระคริสตเจ้าจะเสด็จประจักษ์มา, คราวเมื่อการกลับคืนชีพอันรุ่งโรจน์ ของบรรดาผู้ตายจะอุบัติขึ้น, เมื่อนั้น ความกระจ่างเจิดจ้าของพระเป็นเจ้าจะฉาย แสงในนครสวรรค์ และชุมพาน้อยนั่นแหละ คือดวงประทีป (เทียบ วว.
21,24), เมื่อนั้นพระศาสนจักรทั้งครบที่ประกอบอยู่ด้วยบรรดานักบุญ ผู้บรรลุถึง ความสุขขัน้ สุดยอดแห่งความรักแล้ว จะพากันกราบนมัสการพระเป็นเจ้า, และ “พระชุมพาน้อยที่ได้ถูกประหาร” (วว. 5,12), ทุกผู้ทุกคนจะโห่ร้องเป็นเสียง เดียวกันว่า : “องค์ผปู้ ระทับอยู่บนพระบัลลังก์ และพระชุมพาน้อยจะได้รับการ ถวายพระพร, พระเกียรติยศ, พระเกียรติมงคล และพระเดชานุภาพเป็นนิตย์ นิรันดรเทอญ” (วว. 5,13-14).
52-69
บทที่ 8 พระนางพรหมจารีมารี พระเทวมารดา ในพระอคาธัตถ์เกี่ยวสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้า และในพระอคาธัตถ์สมั พันธ์กับพระศาสนจักร 1. บทนํา
พระนางพรหมจาริณี ในพระอคาธัตถ์เกี่ยวสัมพันธ์กับพระคริสตเจ้า 52. พระเป็นเจ้าทรงพระทัยเมตตากรุณานักหนา ทั้งทรงพระปรีชาญาณ หาที่เปรียบมิได้ ได้ทรงมุ่งจะทรงไถ่มนุษย์โลกให้จงได้. “ครั้นถึงกําหนดเวลา พระองค์จึงได้ทรงส่งพระบุตรของพระองค์ ให้มาบังเกิดจากสตรี….. เพื่อบันดาล ให้ชาวเราได้รับการเป็นบุตรบุญธรรม” (กล. 4,4-5). ฉะนั้นพระบุตรของพระ เป็นเจ้า เพราะทรงเห็นแก่เรามนุษย์ และเพื่อทรงช่วยให้ชาวเราได้รอด จึงได้ ทรงรับเอาเนื้อหนังจากรพะนางพรหมจาริณมี ารี ด้วยเดชะอิทธิฤทธิ์ของพระจิต เจ้า. “พระอคาธัตถ์การช่วยให้รอดอันนี้ เปิดเผยขึ้นเพื่อชาวเรามนุษย์ และ ยังคงดํารงอยู่ต่อมาในพระศาสนจักร อันซึ่งพระสวามีเจ้าได้ทรงสถาปนาขึ้นให้ เป็นพระวรกายของพระองค์ท่านเอง” และในพระศาสนจักรนี้ บรรดาสัตบุรุษผู้ เป็นพวกพ้องติดสอยห้อยตามพระคริสตเจ้า, องค์พระประมุขและร่วมมิตรภาพ เป็นหนึ่งเดียวกับบรรดานักบุญทั้งหลายของพระองค์, ดังนั้น ผู้ที่ชาวเราทุกคน ต้องเฉลิมฉลองระลึกถึงก็คือ “ก่อนอื่นหมดพระนางพรหมจาริณตี ลอดกาล, องค์ พระแม่มารี, พระชนนีของพระเป็นเจ้าและของพระเยซูคริสตเจ้า, พระสวามีของ ชาวเรานั่นเอง” พระนางพรหมจาริณีกับพระศาสนจักร 53. พระนางพรหมจาริณีนี้ ขณะเทวทูตมาแจ้งสาร, พระนางก็ได้ทรงรับ เอาพระวจนาตถ์ของพระเป็นเจ้าไว้ในพระหทัยและในพระวรกายด้วย, และได้ทรง นําเอาองค์ชวี ิตมาเสนอต่อมนุษยโลกซึ่งเป็นที่รับรู,้ พระนางได้ทรงรับพระ เกียรติยศว่าเป็นพระมารดาของพระเป้นเจ้าผู้เป็นพระมหาไถ่. เดชะบุญญาบารมี แห่งพระบุตรของพระนาง พระแม่เจ้าได้ทรงรับการไถ่ด้วยวิธีอันสุขุมล้ําเลิศ ทั้ง ทรงผนึกแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับพระบุตรด้วยสายสัมพันธ์อันกระชับแน่นและไม่รู้ (56 ทวิ) เสื่อมสลาย, ทรงได้รับพระภาระหน้าที่อนั ทรงพระเกียรติยศสูงส่ง จนกระทั่งเป็นพระชนนีแห่งพระบุตรของพระเป็นเจ้า, พระเทวบุตร (72) ฉะนั้น
พระแม่เจ้าจึงทรงเป็นพระธิดาสุดที่รักเสน่หาของพระบิดา ทั้งทรงเป็นปูชนียสถาน ของพระจิตเจ้า. โดยพระหรรษทานอันแสนประเสริฐนี้ พระแม่เจ้าจึงประทับอยู่ เหนือและไกลลิบลับจากสัตว์โลกทุกตัวตน ทั้งที่เป็นชาวสวรรค์ ทั้งที่เป็นชาว แผ่นดินโลก. ในขณะเดียวกันพระนางก็ทรงสืบสายโลหิตมาจากอาดัมจึงทรงมี สายสัมพันธ์กับมนุษย์ทั้งผู้ที่จะได้รับการกอบกู้, กว่านั้นอีก “ทรงเป็นพระมารดา โดยแท้ของบรรดาอวัยวะต่าง ๆ (ของพระคริสตเจ้า)…. เพราะว่า พระแม่เจ้า อาศัยความรักโดยทรงร่วมมือในการให้สัตบุรษุ เกิดขึ้นในพระศาสนจักร, สัตบุรุษ นั้นก็คืออวัยวะของศรีษะองค์พระประมุขนั่นเอง เพราะฉะนั้นพระแม่เจ้าในฐานะ เป็นอวัยวะชิ้นยอดเยี่ยม และพิเศษอย่างยิ่ง เฉพาะอันเดียวในพระศาสนจักร, พระแม่เจ้าทรงเป็นตัวแบบและแบบอย่างอันน่าพิศวง ด้านความเชื่อและความรัก ของพระศาสนจักร, ทรงเป็นที่เคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง และพระศาสนจักร คาทอลิกโดยพระจิตเจ้าโปรดให้ท่านรู้แจ้งเห็นจริง จึงมีความศรัทธาประสาลูก, ยึดถือพระแม่เจ้าเป็นพระมารดาที่สุดเสน่หา. เจตจํานงของสภาพระสังคายนา 54. สภาพระสังคายนาสากล คราวเมื่ออธิบายพระธรรมคําสอนเรื่อง พระศาสนจักร ในอัตถ์กล่าวถึงพระมหาไถ่ทรงประกอบการบันดาลความรอด. สภานี้สนใจบรรยายเรื่องพระภารกิจของพระนางพรหมจาริณีผู้ทรงบุญ ใน (73) พระอคาธัตถ์เรื่องพระวจนาตถ์เสด็จมารับเป็นมนุษย์ (ทรงรับเอาเนื้อหนัง) และเรื่องพระอคาธกาย (Corpus mysticum). ทั้งเรื่องหน้าที่ของมวลมนุษย์ผู้ ได้รับการไถ่ที่จะต้องมีต่อพระเทวมารดา, พระชนนีของพระคริสตเจ้าและของมวล มนุษย์ เฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นสัตบุรุษ, ถึงกระนั้นสภานี้มิได้ตั้งใจจะเสนอพระ ธรรมเรือ่ งพระแม่เจ้าอย่างบริบูรณ์ครบถ้วน ทั้งไม่ตั้งใจตัดสินเด็ดขาดในปัญหาที่ พวกเทวศาสตร์ยังมิได้แจงให้กระจ่างแจ้งชัดเต็มที.่ ฉะนั้น เขาจึงมีสิทธิ์สงวน รักษาไว้ซึ่งความคิดเห็น, อันสถานศึกษาคาทอลิกเสนอขึ้นอย่างมีอิสรเสรี ใน เรื่องพระแม่เจ้าในพระศาสนจักรคาทอลิก ประทับอยู่ในอันดับสูงสุดรองจากพระ คริสตเจ้าลงมา และพระนางประทับอยู่ในอันดับใกล้ชิดกับชาวเรามากทีส่ ุด. 2. ภารกิจของพระนางพรหมจาริณีผู้ทรงบุญ ในระบบความรอด พระมารดาแห่งพระเมสไซอะห์ในพันธสัญญาเดิม 55. พระคัมภีร์ทั้งในพันธสัญญาเดิม และพันธสัญญาใหม่ตลอดจนพระ (74) กิตติ อันเป็นทีเ่ คารพ แสดงให้เห็นบทบาทพระภารกิจขององค์พระมารดา ของพระผู้กอบกู้ คล้าย ๆ กับการนํามาตั้งแสดงให้ชาวเราเพ่งดู. ที่จริงพันธ
สัญญาเดิมพรรณาถึงประวัติแห่งความรอด และการตระเตรียมเป็นขั้นเป็นตอนช้า ๆ ของการเสด็จมายังโลกของพระคริสตเจ้า. เอกสารในสมัยแรก ๆ ตามที่อ่านกัน ในพระศาสนจักร และตามที่เข้าใจกันตามแสงสว่างแห่งพระวิวรณ์ (75) (Revelatio) อันมีตอ่ มาภายหลังอย่างครบบริบูรณ์ก็แพล็มให้เห็นชัดขึ้นเป็นขั้น ๆ ถึงโฉมภาพของสตรีผู้เป็นพระมารดาแห่งพระมหาไถ่. ภายใต้แสงสว่างดังกล่าวนี้ พระแม่เจ้าทรงเป็นภาพเลา ๆ ตามคําพยากรณ์, เป็นคํามั่นสัญญาของพระเป็น เจ้าผู้ได้มีพระดํารัสกับบิดามารดาเดิม หลังจากที่ท่านได้กระทําบาปแล้วว่า : “สตรีผู้หนึ่งจะมีชัยต่องู” (เทียบ ปฐก. 3,15). เช่นเดียวกันพระนางพรหมจาริณี ผู้นี้จะทรงให้กําเนิดและประสูติพระบุตร ซึ่งจะทรงพระนามว่า “เอมมานูแอล” (เทียบ อสย. 7,14 ; เทียบ มคา. 5,2-3 ; มธ. 1,22-23). พระนางผู้นี้จะอยู่ เหนือคนต่ําต้อยและคนอนาถาทั้งหลายของพระสวามีเจ้า, เขาเหล่านั้นหวังด้วย ความวางใจว่า จะได้รับความรอดจากพระองค์ ซึ่งเขาก็ได้รับ. ที่สุดพร้อมกับ พระนางเจ้าผู้น,ี้ องค์ท่านผู้เลอเลิศ, เป็นพระธิดาแห่งซีออน, หลังแต่ได้พากัน คอยเป็นเวลาช้านานแล้ว, เหตุการณ์ตามทีพ่ ระเป็นเจ้าได้ทรงสัญญาไว้นั้นก็มาถึง และแผนผังใหม่ก็ได้อบุ ัติขึ้น เมื่อพระบุตรของพระเป็นเจ้าได้ทรงรับเอาธรรมชาติ มนุษย์จากพระนาง, เพื่อด้วยอาศัยพระอคาธัตถ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวข้องกับการทรง รับเอาเนื้อหนังมังสา, พระองค์จะได้ทรงช่วยมนุษย์ให้พ้นบาป. บทบาทของพระแม่มารี คราวทรงรับสาส์นจากเทวทูต (Annuntiatio) (76) 56. พระบิดาผู้ทรงพระทัยเมตตากรุณา ได้ทรงมีพระประสงค์ให้พระ คริสตมารดา ผู้ที่พระองค์ทรงเลือกสรรไว้ก่อนแล้วให้ พระนางเองทรงยินยอม ยินดียอมรับเสียก่อน ที่การมารับเอาพระกายของพระบุตรจะอุบัติขึ้น (77) (Incarnatio). เหตุการณ์ทั้งนี้เป็นมาอย่างเหมาะเจาะที่สุด กับพระมารดา ของพระเยซูเจ้า, เป็นพระนางนั่นแหละได้ประทานให้โลกมีชีวิต, ชีวิตอันบันดาล ให้สรรพสิ่งฟื้นขึ้นใหม่ ทานต่าง ๆ เหล่านี้ พระนางเองได้ทรงรับจากพระเป็นเจ้า , อันเป็นทานอันยิ่งใหญ่เหมาะสมรับกับพระภารกิจอันสูงส่งนั้น, ฉะนั้น จึงไม่ น่าแปลกใจที่บรรดานักบุญปิตาจารย์ถวายพระนามแด่พระเทวมารดาว่า “องค์ วิสุทธิ์ล้วน ๆ, องค์ผู้ปราศจากบาปมลทินทุก ๆ อย่าง ทุก ๆ ประการ” เป็นผู้ที่ พระจิตทรงตกแต่งขึ้น, เป็นสัตว์โลกใหม่ที่ได้รับการตกแต่งหลอมขึ้นก็ว่าได้. พระนางนี้นับตั้งแต่ทรงมีกําเนิดมา, ทรงห้อมล้อมอยู่ด้วยแสงอันรุ่งโรจน์แห่งความ ศักดิ์สิทธิ์พิเศษ เป็นของเฉพาะสําหรับพระนางเองเท่านั้น, ฉะนั้น พระนาง พรหมจาริณชี าวนาซาแรต, ในคราวเมือ่ เทวทูตมาแจ้งสาส์นได้ออกคําคํานับพระ แม่เจ้าว่า “ท่านผู้เปี่ยมด้วยพระหรรษทาน” (ลก. 1,28), และพระนางเองได้ ตอบเทวทูตผู้ถือสาส์นนั้นว่า “ดิฉันคือ ทาสีของพระสวามีเจ้า, ขอให้เป็นไปตาม
วาทะของท่านนั้นเถิด” (ลก. 1,30). นี่อย่างไร พระแม่มารีธิดาของอาดัม ทรง ยินยอมสนองตามพระวจนะของพระเป็นเจ้า, จึงได้ทรงกลายเป็นพระมารดาของ พระเยซูเจ้า, ขณะเดียวกันนั้นก็ทรงรอบรับเอาน้ําพระทัยของพระเป็นเจ้า ผู้ทรง ประสงค์จะบันดาลความรอด, ทั้งนี้ด้วยเต็มพระหทัย และโดยที่ไม่มีบาปประการ ใดยับยั้งพระนางไว้ได้, พระแม่เจ้าทรงมอบองค์ทั้งองค์เป็นทาสี ถวายแด่พระ สวามีเจ้า, มอบองค์ทั้งหมดเพือ่ รับใช้พระบุคคลและพระภารกิจแห่งพระบุตรของ พระนาง, ทรงสนองรับใช้พระอคาธัตถ์การไถ่บาปภายใต้อํานาจของพระบุตร, และพร้อมกับพระบุตร และด้วยอาศัยพระหรรษทานของพระเป็นเจ้าผู้ทรงฤทธิ์ทุก ประการ. ฉะนั้นจึงถูกต้องแล้วที่บรรดานักบุญปิตาจารย์มคี วามคิดเห็นว่า พระแม่ มารีมิใช่ทรงเป็นเพียงอุปกรณ์ (ฝ่ายรับ) เฉย ๆ ที่พระเป็นเจ้าทรงนํามาใช้, แต่ พระแม่เจ้าได้ทรงร่วมงาน, ทํางานในการไถ่บาปมนุษย์, ทําให้มนุษย์รอด ทั้งนี้ ด้วยความเชือ่ อันเสรี และด้วยความอ่อนน้อมเชือ่ ฟัง, ตามที่นักบุญอีเรเนอัส กล่าวไว้ว่า “เดชะความเชื่อฟัง พระนางจึงได้ทรงกลายเป็นเหตุแห่งความรอด สําหรับพระนางเอง และสําหรับมนุษยชาติทั้งสิ้นด้วย” ฉะนัน้ เพราะคล้อยตาม ความคิดเห็นของนักบุญอีเรเนอัส จึงมีนักบุญปิตาจารย์จํานวนไม่น้อยเมือ่ ท่าน เทศนาสั่งสอน ท่านมักชอบยืนยันว่า “ปมแห่งความไม่ยอมเชือ่ ฟังที่นางเอวาได้ ผูกไว้นั้น, พระแม่มารีได้ทรงแก้ออกด้วยความนบนอบเชื่อฟัง” และเมื่อท่านได้ เปรียบเทียบพระแม่มารีกับนางเอวาแล้ว, ท่านถวายพระนามพระแม่มารีว่า “แม่ ของบรรดาผู้มีชีวิตทั้งหลาย” ทั้งท่านยังยืนยันว่า : “ความตายอุบัติขึ้นโดยนางเอ วา ส่วนชีวิตอุบัติขึ้นโดยพระแม่มารี.” พระนางพรหมจาริณี กับ พระเยซูเจ้าในพระปฐมวัย 57. ความสนิทสนมใกล้ชิดเป็นหนึ่งเดียวของพระมารดากับพระบุตรในพระ ภารกิจแห่งความรอดนั้น ปรากฏชัดนับตั้งแต่พระคริสตเจ้าทรงรับเอาการปฏิสนธิ อันพรหมจรรย์จวบจนกระทั่งพระองค์ทรงถึงแก่มรณธรรม. ก่อนหมดคราวเมื่อ พระแม่มารีทรงขมีขมันเดินทางไปเยือนนางเอลีซาเบ็ธ, คราวนัน้ นางผู้นี้ได้กล่าว คําคํานับพระแม่เจ้าว่า “ทรงเป็นผู้มีบุญ เพราะได้ทรงเชื่อฟังคํามั่นสัญญาเรือ่ ง ความรอด และองค์ผู้เดินนําหน้าพระมหาไถ่ ผู้อยู่ในครรโภธรของนางเอลีซา เบ็ธก็โลดเต้น (เทียบ ลก. 1,41-45), ในคราวพระคริสตสมภพ พระเทว มารดาก็ได้อุ้มแสดงให้พวกชุมพาบาล และคณะมหาบัณฑิตแลเห็นพระบุตรหัวปี ของพระนาง, การประสูติพระบุตรนีม้ ิได้ทําให้พรหมจรรย์อันครบถ้วนของพระนาง ลดน้อยถอยลงเลย, แต่กลับบันดาลให้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้นอีก. คราวเมือ่ พระมารดา ทรงถวายพระบุตรแด่พระสวามีเจ้าในพระวิหาร, โดยทรงนําของถวายประสาคน ยาก, ในคราวนั้นพระนางได้ยินท่านซีเมออนกล่าวคําทักทายว่า “พระบุตรของ
พระนางผู้นี้จะเป็นเป้าเครือ่ งหมายให้คนเขาถกเถียง และดาบเล่มหนึ่งจะทิ่มแทง ทะลุดวงพระหทัยของพระนาง ทั้งนี้เพื่อเปิดเผยความนึกคิด (เร้นลับ) จาก ดวงใจของคนจํานวนมาก (เทียบ ลก. 2,34-35). คราวพระกุมารเยซูทรงหายไป , ท่านบิดามารดาก็ตามหาด้วยความทุกข์ระทม และได้พบพระองค์ในพระวิหาร กําลังทรงปฏิบัติพระภารกิจของพระบิดาของพระองค์, ท่านทั้งสองมิได้เข้าใจวาจา ของพระบุตร, แต่พระมารดาก็ทรงเก็บทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในพระหทัยเพื่อพิจารณา ตรึกตรอง (เทียบ ลก. 2,41-51). พระนางพรหมจาริณีกับพระเยซูเจ้าในพระภารกิจสาธารณะ 58. ในบั้นปลายพระชนม์ชีพสาธารณะของพระเยซูเจ้า, พระมารดาของ พระองค์ ก็ได้ทรงปรากฏองค์ให้แลเห็นประจักษ์แจ้งชัด ทั้งในการเริ่มต้นเสีย ด้วย. คราวนั้นมีงานมงคลสมรสที่ตําบลกานา แคว้นกาลิลี, พระนางรู้สึก สะเทือนพระหทัย, สงสารเขามาก และคําเสนอวิงวอนของพระแม่เจ้านั่นแหละ ได้ทําให้พระเยซูเจ้า, พระแมสไซอะห์ ทรงเริ่มทําอัศจรรย์เป็นครั้งแรก (เทียบ ยน. 2,1-11). ระหว่างพระเยซูเจ้าเสด็จออกแสดงพระธรรมเทศนา พระแม่เจ้าก็ ได้ทรงรับฟัง และยึดถือพระวาจาต่าง ๆ ที่พระบุตรทรงกล่าวยกย่องพระราชัยอัน อยู่เหนือความนึกคิดตามเหตุผล และอยู่เหนือสายสัมพันธ์ทางเลือดเนื้อเชื้อไข. ส่วนบุคคลที่สดับฟังและปฏิบัติตามพระเทววาจา, อย่างเช่น พระแม่เจ้าเองทรง ปฏิบัติอย่างสัตย์ซื่อเสมอมา (เทียบ ลก. 2,19 และ 51), พระองค์ก็ได้ทรง ประกาศว่า : เขาเหล่านั้นเป็นผู้มีบุญ (เทียบ มก. 3,35; ตรงกับ ลก. 11,27-28) ดังนี้แหละ พระนางพรหมจาริณีผู้ทรงบุญได้ทรงเจริญก้าวหน้าในวงจรแห่งความ เชื่อของพระนางเอง และพระนางได้ทรงเก็บรักษาความเป็นหนึง่ เดียวกับพระบุตร โดยสัตย์ซื่อเรื่อยไป จนกระทั่งถึงเชิงไม้กางเขน, ณ ที่กางเขนนี้ พระแม่เจ้าได้ ประทับยืนอยู่โดยเป็นพระประสงค์ของพระเป็นเจ้าโดยแท้ (เทียบ ยน. 19,25), พระแม่เจ้าได้ทรงร่วมทุกข์อันแสนสาหัสฉกรรจ์ ร่วมกับพระบุตรแต่องค์เดียวของ พระนาง, ได้ทรงเข้าร่วมกับพระมหาบูชายัญของพระบุตรด้วยหัวใจของแม่, ทรง ยินยอมประสาคนรักกับการถวายบูชายัญ อันมีพระบุตรผูไ้ ด้ทรงบังเกิดจากพระ นางเองเป็นเครือ่ งบูชายัญ และที่สุดทรงยินยอมจนกระทั่งรับเป็นแม่ของสานุศิษย์ เพราะพระวาจาของพระเยซูคริสตเจ้า, เมือ่ ทรงกําลังจะสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน ได้ตรัสกับพระนางว่าดังนี้ : “หญิงเอ๋ย นี่แหละลูกของท่าน” (เทียบ ยน. 19,2627)
พระนางพรหมจาริณี ภายหลังพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์แล้ว 59. เพราะเหตุที่พระเป็นเจ้าทรงพอพระทัยประกาศเปิดเผยอย่างสง่าราศรี เต็มที่ ซึ่งพระอคาธัตถ์ความรอดของมวลมนุษย์ก็ต่อเมื่อพระคริสตเจ้า จะได้ ประทานหลั่งพระจิตเจ้าให้ตามที่ได้ทรงสัญญาไว้เป็นการสําเร็จเรียบร้อยแล้ว ชาว เราจึงเห็นว่าพวกอัครสาวก ก่อนวันพระจิตตาคม (เปนเตกอสเต = วันที่ห้าสิบ) พวกท่านตั้งมั่นพร้อมเพรียงเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน อธิษฐานภาวนาพร้อมกับสตรี บางท่าน ซึ่งมีพระนางมารีพระมารดาของพระเยซูเจ้า และบรรดาญาติพี่นอ้ งของ พระองค์ร่วมอยู่ด้วย (กจ. 1,14), เราก็แลเห็นว่า พระแม่มารีด้วยเหมือนกันได้ ทรงเฝ้าวิงวอนขอพระคุณจากพระจิตเจ้า, พระจิตเจ้านี้เองในคราวพระนางได้ทรง รับสาส์นจากเทวทูต (Annuntiatio) ได้ทรงห่อหุ้มพระนางด้วยร่มเงามาแล้ว. ที่สุดพระนางพรหมจาริณีผู้ทรงบุญ, พระนางผู้ที่พระเป็นเจ้าได้ทรงป้องกันให้ทรง แคล้วจากบาปมลทินความมัวหมองทุกอย่างของบาปกําเนิด, ครั้นเมื่อพระแม่เจ้า ทรงจบกระแสชีวิตในโลกนี้แล้ว, พระเป็นเจ้าได้โปรดยกพระนางขึ้นสู่พระเกียรติ มงคลในสวรรค์ ทั้งทางพระวรกายทั้งทางพระวรวิญญาณ, และพระสวามีเจ้าได้ ทรงเทิดทูนสถาปนาพระแม่เจ้าขึ้นเป็นพระบรมราชินีนาถแห่งสรรพสิ่งในสากลโลก ทั้งนี้เพื่อให้พระแม่เจ้าทรงละม้ายคล้ายกับพระบุตรของพระนางมากยิ่งขึ้น. พระ บุตรนั้นทางเป็นพระสวามีแห่งบรรดาเจ้านายทั้งหลาย (เทียบ วว. 19,16), ทั้ง ทรงเป็นผู้พิชิตบาปกรรมและความตาย. 3. พระนางพรหมจาริณีผู้ทรงบุญกับพระศาสนจักร พระนางพระพรหมจาริณี ผู้รับใช้พระสวามีเจ้า 60. คนกลางของเรา มีแต่องค์เดียวเท่านั้น ตามที่ท่านอัครสาวกกล่าวว่า : “มีพระเป็นเจ้าเดียว และคนกลางระหว่างพระเป็นเจ้ากับมวลมนุษย์ก็มอี งค์ เดียว คือ พระเยซูคริสตเจ้าผู้เป็นมนุษย์, ผู้ซึ่งได้ทรงมอบพระองค์ท่านเอง เป็นสินไถ่มนุษย์ทุกคน” (1 ทธ. 2,5-6). แต่หน้าที่ความเป็นแม่ของพระแม่มารี ต่อมนุษย์ทั้งหลายมิได้ทําให้ความเป็นกลางของพระคริสตเจ้าอับแสง หรือแม้แต่ เสื่อมลงแต่ประการใด ที่แท้กลับแผลงฤทธิ์ยิ่งขึ้นอีก. อิทธิพลด้านความรอด ทั้งสิ้นของมวลมนุษย์ จากทางด้านพระนางพรหมจาริณีผู้ทรงบุญนั้น มิใช่เกิด จากความจําเป็นของเหตุการณ์ แต่เกิดจากความพึงพอใจของพระเป็นเจ้าเอง ซึ่ง ไหลหลั่งออกจากความอุดมสมบูรณ์เหลือล้น แห่งพระบุญญาบารมีอันไพศาลของ พระคริสตเจ้าและขึ้นกับการเป็นการคนกลางอันนี้อย่างเด็ดขาด, ตักตวงเอา ประสิทธิภาพทั้งหมดจากความเป็นคนกลางอันนั้น, อิทธิพลของพระแม่เจ้าไม่เป็น
อุปสรรคขัดข้องความร่วมสนิทโดยตรงกับพระคริสตเจ้า แต่กลับช่วยเหลือสนับสนุนยิ่งขึ้นอีก.
ของบรรดาผู้มีความเชือ่
61. พระนางพรหมจาริณีผู้ทรงบุญ เป็นผู้ที่พระเป็นเจ้าได้ทรงกําหนดไว้ แต่นิรันดร, ในขณะเดียวกันกับการเสด็จอวตารมารับเป็นมนุษย์ของพระวจนาตถ์, ให้เป็นพระมารดาของพระเป็นเจ้า, ตามพระประสงค์ของพระญาณสอดส่อง, ใน แผ่นดินโลกเรานี,้ พระนางได้ทรงเป็นผู้สูงส่งของพระมหาไถ่, โดยวิธีพิเศษ พิสดารเฉพาะของพระแม่เจ้า เหนือคนอื่นใดทั้งหลาย, พระนางทรงเป็นเพื่อน ร่วมงาน ซึ่งมีใจกว้างเสียสละ, เป็นทาสผู้รับใช้ต่ําต้อยของพระสวามีเจ้า, ทรง ปฏิสนธิให้กําเนิดพระคริสตเจ้า, ทรงประสูต,ิ ทรงเลี้ยงดู, ทรงนําพระองค์ขึ้น ถวายแด่พระบิดาในพระวิหาร, คราวพระบุตรกําลังทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน, พระนางทรงร่วมทุกข์ทรมาน, ภารกิจของผู้กอบกู้นั้น, พระนางได้ทรงร่วมมือ อย่างพิเศษโดยเฉพาะ, ด้วยความนอบน้อมเชื่อฟัง, ด้วยความเชือ่ , ความไว้ใจ, และความรักอันร้อนระอุ ทั้งนี้เพือ่ จะได้ฟนื้ ฟูชีวิตเหนือธรรมชาติของมวลวิญญาณ ขึ้นมาใหม่, เพราะเหตุนี้แหละพระนางจึงทรงเป็นพระมารดาของชาวเราทั้งหลาย ในหลั่นชั้นของพระหรรษทาน. 62. ความเป็นมารดาของพระแม่มารี ในระบบพระหรรษทานอันนี้ ยืน ยงมิได้ขาดสายเลย นับตั้งแต่พระแม่เจ้าได้ทรงออกคําสัตย์ แสดงความยินยอม อันนี้ พระแม่เจ้ามิได้ทรงลังเลใจเลย, ทรงรับอยู่เรื่อยไป แม้ที่เชิงไม้กางเขน และจะยืนยันเรื่อยไปตราบเท่าจะถึงอวสานนิรันดรของบรรดาผู้เลือกสรรทุกผู้ทุก คน. เพราะว่า แม้ขณะนี้พระแม่เจ้าประทับอยู่ในสวรรค์, พระแม่ก็มิได้ทอดทิ้ง ภารกิจช่วยให้รอดอันนี,้ อาศัยคําเสนอวิงวอนหลายอย่างต่างประการ, พระแม่ เจ้ายังทรงอนุเคราะห์ชว่ ยเหลือชาวเราอยู่ตอ่ ไป ให้ได้รับทานต่าง ๆ อันจะช่วยเรา ให้ได้รอดตลอดนิรันดร. ความรักประสาแม่ของพระนางนี้ สลวนใส่ใจต่อบรรดา พี่น้องแห่งพระบุตรของพระนาง, ที่กําลังระเหเร่ร่อนอยู่ในโลก, กําลังอยู่ใน อันตราย, กําลังตกอยู่ในความทุกข์ยากต่าง ๆ นานา, ทั้งนี้จนกว่าเขาเหล่านี้ จะได้บรรลุถึงถิ่นฐานอันเป็นสุข. เพราะเหตุนี้เอง พระนางพรหมจาริณีผู้ทรงบุญ จึงทรงได้รับถวายสมัญญานามต่าง ๆ ในพระศาสนจักร เช่น : องค์ทนายว่าต่าง, องค์ผู้อุปถัมภ์, องค์ผู้อนุเคราะห์, องค์คนกลาง, อย่างไรก็ดีเรื่องสมัญญานาม เหล่านี้ เป็นที่เข้าใจว่าไม่มีอะไรบั่นทอนหรือไม่มีอะไรเพิ่มเติมพระเกียรติศักดิ์และ พระประสิทธิภาพของพระคริสตเจ้า ผู้เป็นองค์คนกลางของชาวเราแต่องค์เดียว. เพราะด้วยว่า ไม่มีสัตว์โลกอื่นใดเลย เราจะนํามาเปรียบเทียบ คู่เคียงกับ องค์พระวจนาตถ์ผู้มารับเป็นมนุษย์ และองค์พระมหาไถ่ได้. ถึงกระนั้น
เช่นเดียวกับพระสังฆภาพของพระคริสตเจ้า รับการแบ่งปันระหว่างพระสงฆ์ศาสน บริการ และบรรดาสัตบุรุษคริสตังโดยทํานองต่างกัน และก็เช่นเดียวกับพระมหา กรุณาธิคณ ุ (พระคุณงามความดี) ของพระเป็นเจ้า ย่อมกระจายไปจริง ๆ ไปสู่ สัตว์โลกทํานองต่าง ๆ กันนี้มีอุปมาฉันใด ก็มีอุปไมยฉันนั้น ความเป็นคนกลาง แต่อันเดียวของพระมหาไถ่ก็ไม่จํากัด แต่กลับเร่งเร้าให้เกิดความร่วมมืออย่างต่าง ๆ จากสัตว์โลก ที่ต่างได้รับส่วนแบ่งปันมาจากต้นธารอันเดียวกันนั้น. บทบาทหน้าที่ในอันดับชั้นรองลงมา ของพระแม่มารีเช่นนีพ้ ระศาสนจักรไม่ ลังเลใจแสดงออกมาให้เห็น, ท่านตระหนักซาบซึ้งในนั้นอยู่เสมอ, และท่านปลุก ใจสัตบุรษให้ยึดถือที่พงึ่ และความอนุเคราะห์ประสาแม่เหล่านี้ เพื่อเป็นทางให้เขา กระชับตัวแน่นยิ่งขึ้นกับองค์พระคนกลาง และพระเป็นเจ้าผูก้ อบกู้ พระแม่มารีหุ่นตัวแบบของพระศาสนจักร 63. พระนางพรหมจาริณีผู้ทรงบุญ เดชะพระคุณานุคณ ุ และพระภาระการ เป็นมารดาของพระนาง ซึ่งผูกโยงให้พระนางเป็นหนึ่งเดียวกับพระบุตร, พระ มหาไถ่, และเดชะพระหรรษทานนานา และพระภาระหน้าที่อนั พิเศษเฉพาะของ พระนางเหล่านี้ จึงทําให้พระนางสนิทชิดเชื้อกับพระศาสนจักรแนบแน่นด้วย. พระเทวมารดาทรงเป็นหุ่นจําลองของพระศาสนจักร อย่างที่นักบุญอัมโบรสกล่าว ไว้แล้ว, ทรงเป็นหุ่นจําลองในระดับความเชื่อ, ความไว้ใจ, และความเป็นหนึ่ง เดียวกับพระคริสตเจ้าอย่างครบบริบูรณ์. ในพระอคาธัตถ์แห่งพระศาสนจักร, ตัว พระศาสนจักรเอง ก็ได้ชื่อถูกต้องเหมาะเจาะว่า ท่านเป็นทั้งมารดาทั้งเป็น พรหมจารีพร้อม ๆ กัน, แน่นอนพระนางพรหมจาริณีผู้ทรงบุญ ทรงดําเนิน นําหน้าพระศาสนจักร, ทรงแสดงองค์อยู่ในขั้นสูงส่งและพิเศษพิสดาร โดยเฉพาะของพระนาง, คือทรงเป็นแบบอย่างในการทรงเป็นทั้งพรหมจาริณี ทั้ง เป็นมารดาด้วยพร้อม ๆ กัน, เพราะเหตุทพี่ ระแม่เจ้าได้ทรงเชื่อ และได้ทรงน้อม รับเชื่อฟัง พระนางจึงได้ทรงประสูติองค์พระบุตรของพระบิดาเอง ทั้ง ๆ ที่พระ นางไม่ทรงมีพระภัสดาสามี, พระจิตเจ้าทรงบันดาลร่มเงาปกคลุมพระนาง, ผู้ ทรงแสดงให้เห็นประจักษ์ไม่ใช่แก่งูตัวเก่า แต่แก่เทวทูตของพระเป็นเจ้า ว่าทรงมี ความเชือ่ อันปราศจากด่างพร้อย เพราะไม่มีความสงสัยใด ๆ เลย. พระแม่เจ้าจึง ได้ทรงประสูตพิ ระบุตร, ผู้ที่พระเป็นเจ้าทรงสถาปนาขึ้นเป็นพระบุตรหัวปีของ บรรดาพี่น้องเป็นอันมาก (รม. 8,29), ซึ่งหมายความถึงสัตบุรุษทั้งหลาย ผู้มี ความเชือ่ ซึ่งพระแม่เจ้าเพราะความรักประสาแม่ ได้ทรงร่วมมือให้กําเนิดเกิดมา และในการอบรมสั่งสอนพวกเขา.
64. ส่วนพระศาสนจักรนั้น เพราะเพ่งพิศดูความศักดิ์สิทธิ์อนั ล้ําลึกของ พระแม่มารี, และเพราะท่านทําตามอย่างความรักของพระนาง, ทั้งเพราะท่าน ปฏิบัติตามน้ําพระทัยของพระบิดาด้วยความสัตย์ซื่อ, ตัวพระศาสนจักรเอง เนื่อง ด้วยพระวาจาของพระเป็นเจ้า ที่ท่านได้เก็บรักษาไว้อย่างครบบริบูรณ์ ท่านเองก็ กลายเป็นมารดาด้วย : อาศัยคําเทศนาสั่งสอน, และอาศัยศักดิ์สิทธิ์การ – ล้าง บาป พระศาสนจักรจึงได้ให้กําเนิดแก่พวกลูก ๆ ซึ่งเขาได้เริม่ มีปฏิสนธิขึ้นโดย พระจิตเจ้า และการเป็นบุตรของพระเป็นเจ้า, ทําให้พวกเขามีชีวิตใหม่ชีวิตอัน อมตะ. พระศาสนจักรเองก็เป็นพรหมาจารีเหมือนกัน, ท่านรักษาความเชื่อของ พระสวามีเจ้าของท่านไว้อย่างครบถ้วนและบริสุทธิ์ผุดผ่อง, ท่านเอาอย่างพระเทว มารดาแห่งพระสวามีเจ้าของท่าน, เดชะพระอิทธิฤทธิ์ของพระจิตเจ้า ท่านได้ รักษาไว้โดยแท้ซึ่งพรหมจรรย์, รักษาความเชื่ออันครบบริบูรณ์, ความไว้วางใจอัน มั่นคงและความรักอันสุจริตใจ. คุณธรรมต่าง ๆ ของพระแม่มารีองค์แบบอย่างของพระศาสนจักร 65. อย่างไรก็ดี พระศาสนจักรโดยทางองค์พระนางพรหมจาริณีผู้ทรงบุญ ยิ่ง ท่านก็บรรลุถึงความดีงามอันบริบูรณ์ปราศจากมลทินและริ้วรอยใด ๆ (เทียบ อฟ. 5,27) ส่วนบรรดาผู้มีความเชื่อในพระคริสตเจ้า เขากําลังพยายามจะ เอาชนะต่อบาปให้จงได้ จะได้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นในความศักดิ์สิทธิ.์ ฉะนั้นเขาจึงยก ตาขึ้นดูพระแม่มารี, องค์แบบอย่างแห่งคุณธรรมต่าง ๆ, เปล่งปลั่งเหนือหมู่คณะ ทั้งหมด ท่ามกลางผู้ได้รับเลือกสรรทั้งหลาย. พระศาสนจักรเมื่อพิจารณา ไตร่ตรองไปมาถึงพระแม่มรีด้วยศรัทธาภักดีและเพ่งมองดูพระนางภายใต้แสงของ พระวจนาตถ์ผู้มารับเป็นมนุษย์, ท่านก็บําเพ็ญตนด้วยความเคารพ ดําเนินไปสู่ พระอคาธัตถ์อันสูงส่งแห่งการเสด็จอวตารมาเป็นมนุษย์อย่างลึกซึ้งขึ้น และท่าน ทําให้ตัวท่านเองยิ่งที่ยิ่งคล้ายคลึงกับพระสวามีเจ้าของท่านยิ่งขึ้น. เหตุด้วยพระแม่ เจ้าทรงเกี่ยวข้องใกล้ชิดติดแน่นกับประวัติศาสตร์แห่งความรอด, จะว่าพระแม่เจ้า ทรงรวบรวม และคิดไตร่ตรองไปมาก็ว่าได้ถึงอัตถ์ความเชื่อสําคัญใหญ่หลวง เหล่านั้น ในขณะที่มกี ารเทศนาสั่งสอน, มีการแสดงความเคารพภักดี. พระแม่ เจ้าทรงเรียกร้องให้บรรดาผู้มีความเชื่อเข้ามาเฝ้าพระบุตรของพระนาง, เข้ามาพึ่ง มหาบูชาของพระองค์ และกระทั่งให้เข้ามาสามิภักดิ์ต่อพระบิดา. พระศาสนจักร เอง, ท่านใฝ่ใจแสวงหาให้ได้มาซึ่งเกียรติมงคลของพระคริสตเจ้า, ท่านจึง กลายเป็นผู้ละม้ายคล้ายพระแม่เจ้ามากขึ้น, องค์พระแม่เจ้าเองทรงเป็นแบบอย่าง อันสูงส่งของท่าน, ท่านจึงก้าวหน้าเรื่อย ๆ ไปในความเชือ่ , ความไว้วางใจ, และ ความรัก, ท่านทั้งแสวงหา ทั้งปฏิบัติตามความพึงพอใจของพระเป็นเจ้าในทุกสิ่ง ทุกอย่าง. ฉะนั้น แม้ในภารกิจแพร่ธรรม. พระศาสนจักรก็เหลียวดู ซึ่งเป็น
การสมควรถูกต้อง เหลียวดูองค์ท่านผู้ได้ประสูติพระคริสตเจ้า, หมายความว่า องค์ผู้ได้รับปฏิสนธิโดยพระจิตเจ้า และบังเกิดจากพระนางพรหมจาริณ,ี ทั้งนี้ เพื่อหวังให้พระองค์ท่านมาบังเกิด และเจริญวัฒนาในจิตใจของบรรดาสัตบุรษุ โดยผ่านทางพระศาสนจักร. พระนางพรหมจาริณีผู้นี้ ในกระแสพระชนม์ชีพ ได้ทรงบําเพ็ญองค์เป็นแบบอย่างความรักประสาแม่, จึงเป็นการจําเป็นทีท่ ุก ๆ คน ผู้ร่วมกันทํางานแพร่ธรรมในพระศาสนจักร, ซึ่งหมายความถึงการทําให้มนุษย์มา เกิดใหม่, จําเป็นจะต้องตักเตือนคนพวกนี้ให้มีความรักประสาแม่ตามอย่างพระแม่ มารีด้วย 4. คารวกิจต่อพระแม่มารีในพระศาสนจักร ธรรมชาติและพื้นฐานแห่งคารวกิจต่อพระนางพรหมจาริณี 66. พระแม่มารี เดชะพระหรรษทานของพระเป็นเจ้า ได้ทรงได้รับการ ยกย่องเทิดชูขึ้น, ทั้งนี้เป็นการสมควรและถูกต้องแล้ว, ให้พระนางเป็นรองจาก พระบุตรลงมา, ให้พระแม่เจ้าทรงอยู่เหนือเทวดาและมนุษย์ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะ พระฐานะตําแหน่งองค์พระมารดาผู้ศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่งของพระเป็นเจ้า, พระนางได้ ทรงมีส่วนร่วมในพระอคาธัตถ์ต่าง ๆ ของพระคริสตเจ้า, จึงทรงรับเกียรติยศ พิเศษจากพระศาสนจักร, นี่ก็เป็นการสมควรแล้ว ที่จริงตั้งแต่สมัยโบราณดึกดํา บรรพ์มาทีเดียว, พระนางพรหมจาริณีผทู้ รงบุญ ทรงได้รบั ความเคารพเป็น “พระเทวมารดา” (Deipara), ซึ่งในยามประสบทุกขภัยและในยุคขัดสน, มี ความต้องการอย่างต่าง ๆ, พวกสัตบุรุษได้พากันเข้ามาสวดภาวนา อ้อนวอน และยึดเอาพระแม่เจ้าเป็นที่พึ่งที่อาศัย. เฉพาะอย่างยิ่ง นับตั้งแต่พระสังคายนา นครเอเฟซัส, ประชากระของพระเป็นเจ้าได้ถวายความเคารพภักดีต่อพระแม่เจ้า มากขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ใจ, เขาแสดงความเคารพและความรักเสน่หาและเขา ปฏิบัติตามแบบอย่างของพระแม่เจ้า, ทั้งนี้ก็เป็นไปตามวาทะคําทํานายของพระแม่ เจ้าเองว่า : “ชนชาติทุกชั่วอายุ จะเรียกดิฉันว่า เป็นผู้มีบุญ, เพราะพระเป็น เจ้าผู้ทรงอานุภาพ จะทรงทํางานใหญ่โตหลายอย่างในตัวดิฉัน” (ลก. 1,48). คารวกิจอันนี้ เท่าที่มอี ยู่ในพระศาสนจักรเสมอมา, เป็นคารวกิจพิเศษโดยเฉพาะ, แต่อย่างไรก็ดีโดยสภาวะหรือโดยแก่นแท้ (Essentialiter) ก็ต่างกับคารวกิจ นมัสการ (Adoratio) ที่ชาวเราถวายแด่พระวจนาต์ผู้มารับเป็นมนุษย์ ทั้งถวาย แด่พระบิดาและพระจิต และคารวกิจต่อพระแม่เจ้า ก็ส่งเสริมคารวกิจนมัสการ เป็นอย่างยิ่ง. ความศรัทธาภักดีต่อพระมารดาของพระเป็นเจ้านั้น. มีหลายรูป ต่างกัน, ซึ่งเมื่ออยู่ในขอบข่ายพระธรรมคําสอน อันถูกต้องเที่ยงแท้ และเป็นไป ตามสถานะของกาลเทศะ กล่าวคือ ตามสมัยเวลา และตามสถานที่ต่าง ๆ,
และเป็นไปตามอุปนิสยั และสติปัญญาของบรรดาสัตบุรุษ, พระศาสนจักรก็ให้ ความเห็นชอบรับรอง, จึงเป็นอันว่า เมื่อชาวเราทําความเคารพภักดีตอ่ พระ มารดา, องค์พระบุตร ที่สรรพสิ่งเป็นอยู่เพราะพระองค์ (เทียบ คส. 1,15-16) และในพระองค์นั้น, พระบิดานิรันดร “ได้ทรงพอพระทัยให้ความอุดมสมบูรณ์ทุก อย่างสถิตพํานักอยู่, (คส. 1,19), เป็นเหตุให้, ตามที่ถูกต้องและสมควร, ให้ พระบุตรเจ้าเป็นที่รักเสน่หา, เป็นที่เทิดพระเกียรติมงคล, และเป็นที่เคารพเชือ่ ฟังตามพระบัญญัติของพระองค์. จิตตารมณ์ในการเทศน์สอน และ ในคารวกิจต่อพระนางพรหมจาริณี 67. อันคําสอนคาทอลิกในเรื่องพระนางพรหมจาริณีนี้ สภาพระสังคายนา สากล มีเจตนาจงใจสอน ทั้งในขณะเดียวกันนี้ ท่านก็กระตุ้นเตือนลูก ๆ ของ พระศาสนจักรให้มีน้ําใจดีสนับสนุนคารวกิจ, เป็นต้นทางพิธีปฏิบัติ และการ ปฏิบัติความเคารพภักดีต่อพระแม่เจ้า ที่มมี านับเป็นศตวรรษ ๆ แล้ว และเมื่อ พระอาจาริยานุภาพ (28) เคารพนับถือ, ตลอดจนข้อกําหนดต่าง ๆ ที่มีมาใน กระแสศตวรรษต่าง ๆ ที่ล่วงมาแล้ว, ด้วยเรื่องคารวกิจต่อรูปเคารพของพระ คริสตเจ้า, ของพระแม่มารี, และของนักบุญต่าง ๆ ก็ให้คงรักษาไว้ดว้ ยความ ภักดี. สภาฯ นี้ขอตักเตือนอย่างหนักแน่น ต่อนักเทวศาสตร์และบรรดาผู้ ประกาศพระวาจาของพระเป็นเจ้าทุก ๆ คน : ขอให้เอาใจใส่ระวังไม่พูดเกินเลยไป, เช่นเดียวกัน การมีใจแคบเกินไปในการพินิจพิจารณาดูพระเกียรติศักดิ์พิเศษ เฉพาะของพระมารดา. การศึกษาพระคัมภีร,์ การเรียนคําสอนของพวกนักบุญ ปิตาจารย์ และพวกนักปราชญ์ตลอดจนจารีตพิธตี ่าง ๆ ของพระศาสนจักร, ภายใต้การนําของพระอาจาริยานุภาพ, ย่อมทําให้ผู้ศึกษาได้รับแสงสว่างอัน ถูกต้อง ให้แลเห็นพระภาระหน้าที่และสิทธิพิเศษของพระนางพรหมจาริณีผู้ทรง บุญ, ความศักดิ์สิทธิ์และความศรัทธาทั้งหลาย, ขอให้บรรดาบุคคลประเภทที่ ออกนามมา จงระวังหลีกเลี่ยงคําพูดและการกระทําทุก ๆ อย่าง อันอาจทําให้ พวกพี่น้องของเรา บรรดาผู้ที่ได้แตกแยกจากเราไปและคนอื่น ๆ ด้วย ระวังอย่า เป็นทางให้เขาเข้าใจผิดในเรื่องเกี่ยวกับคําสอนแท้ของพระศาสนจักร. อนึ่งบรรดา สัตบุรุษก็พึงสังวรณ์ไว้ว่า ความศรัทธาภักดีที่แท้หาใช่อยู่ความรูส้ ึกอันไร้ผล และ เป็นของชั่วครู่ชวั่ ยาม ทั้งพึงระวังความเชือ่ ง่ายอันไร้สาระ, แต่ความศรัทธาภักดีที่ แท้นั้น พาให้ชาวเรามารู้จักเกียรติศักดิ์อันสูงส่งของพระเทวมารดา และผลักดัน เราให้มคี วามรักประสาลูก ต่อพระมารดาของเรา และกระตุ้นให้เราเอาอย่าง คุณธรรมต่าง ๆ ของพระแม่เจ้าด้วย.
5. พระแม่มารีเครื่องหมายแห่งความหวังอันแน่นอน ทั้งเป็นองค์ทเุ ลาบรรเทาใจแก่ประชากรของพระเป็นเจ้า ผู้กําลังหกหันอยู่ในโลก 68. ระหว่างนี้ พระมารดาของพระเยซูเจ้า ทรงได้พระเกียรติมงคล ทั้งทางพระวรกาย ทั้งทางพระวรวิญญาณในสวรรค์อยู่แล้ว, พระนางเจ้าทรงเป็น รูปแบบ และเริ่มต้นแห่งพระศาสนจักร ผู้จะบรรลุความสําเร็จจบสิ้นลงใน ศตวรรษภายภาคหน้า ฉันใดก็ฉันนั้น ในบัดนี้ บนแผ่นดินนี้ จนกว่าจะถึงวัน ของพระสวามีเจ้า (เทียบ 2 ปต. 3,10), พระนางเจ้าทรงกําลังทอแสงอยู่แล้ว, ทรงเป็นประหนึ่งสัญลักษณ์แห่งความหวังอันแน่นอน และทรงเป็นองค์ผู้ทุเลา บรรเทาใจแก่ประชากรของพระเป็นเจ้า, ประชากรที่กําลังจาริกอยู่ในโลกนี้. 69. สภาสังคายนาสากลนี้ รู้สึกยินดีปิติและชื่นชมหรรษายิ่งนัก ที่แม้ ท่ามกลางบรรดาพี่น้องที่ได้แตกแยกไป ก็ยังไม่ไร้บุคคล ผู้แสดงความเคารพนับ ถือ ตามที่ถูกที่ควร ต่อพระมารดาของพระสวามีเจ้า และองค์พระผู้ทรงกอบกู,้ เฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางคริสตชนตะวันออก, เขาเหล่านี้สนับสนุนคารวกิจต่อพระ เทวมารดา ผู้ทรงเป็นพรหมจาริณีอยู่เสมอ, ทัง้ นี้ด้วยใจเร่าร้อนเฝ้าเตือนสอน และด้วยดวงใจอันศรัทธาเลื่อมใสยิ่งนัก : ขอให้บรรดาสัตบุรุษคริสตชนทุกคน จง ทุ่มเท เร่งเร้า เฝ้าวิงวอนพระมารดาของพระเป็นเจ้า และทรงเป็นมารดาของ มวลมนุษย์ เพื่อว่า ในสมัยเริ่มแรก พระแม่เจ้าได้ทรงใช้คําภาวนาวิงวอน ช่วยเหลือพระศาสนจักรฉันใด ก็ขอให้ในบัดนี้ในวิมานสวรรค์ พระแม่เจ้าทรงอยู่ เหนือนักบุญและเทวดาทั้งหลาย, ขณะทรงอยู่ในสหพันธ์ของนักบุญทั้งหลายนี้ ขอพระแม่เจ้าทรงช่วยเสนอวิงวอนต่อพระบุตรของพระนาง จนกระทั่งครอบครัว ทั้งสิ้นของประชากรต่าง ๆ ทั้งผู้ที่ทรงเกียรตินามว่าเป็นคริสตชน, ทั้งพวกที่ยังไม่ รู้จักพระเป็นเจ้าผู้กอบกู้ของตน, ขอให้ตกที่สุด ทุก ๆ คนได้มีบุญรวมตัวกัน อย่างสันติ และอย่างเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน เข้ามาเป็นประชากรหนึ่งเดียวของ พระเป็นเจ้า เพือ่ เป็นเกียรติมงคลแด่พระตรีเอกภาพ, พระผูศ้ ักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง และผูท้ รงแบ่งแยกมิได้ด้วยเทอญ. ข้อความทั้งหมดทุกบททุกตอน ที่ได้ตีพิมพ์ในกฤษฎีกาพระธรรมคําสอนนี้ บรรดาพระบิดรแห่งพระสังคายนาสากลได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และเรา, อาศัย อํานาจอาญาสิทธิ์ของอัครสาวกที่ได้รับสืบทอดจากพระคริสตเจ้ามาถึงเรา, พร้อม กันกับบรรดาพระบิดรที่เคารพทั้งหลายเหล่านี,้ เดชะพระจิตเจ้าทรงโปรด, เรา เห็นชอบ, เรากําหนด และเราธํารงไว้, และสิ่งที่ตราไว้ในพระสังคายนา, เรา สั่งให้ประกาศโฆษณา เพื่อเป็นเกียรติมงคลแด่พระเป็นเจ้า.
กรุงโรม, ที่มหาวิหาร น.เปโตร วันที่ 21 พฤศจิกายน 1964 ข้าพเจ้า เปาโล พระสังฆราชแห่งพระศาสนจักรคาทอลิก. (ต่อจาก พระปรมาภิไธย์ของสมเด็จพระสันตะปาปา พระบิดรทั้งหลาย)
เป็นลายเซ็นของบรรดา
ข้อความคัดมาจากกิจกรรม ของ สภาสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2 แถลงการณ์ ของ ฯพณฯ เลขาธิการพระสังคายนา ในที่ประชุมทั่วไป ครั้งที่ 123, วันที่ 16 พฤศจิกายน 1964. (1. กฤษฎีกาว่าด้วยพระศาสนจักร “De Ecclesia” กินความหมายด้านเทว ศาสตร์ ไปถึงไหน ?) มีผู้ถามว่า : คําสอนอันบรรจุอยู่ในประเด็นกล่าวถึงพระศาสนจักร และที่ ได้ลงคะแนนไปแล้วนั้นมีลักษณะอย่างไรในด้านเทวศาสตร์ ต่อปัญหานี้ คณะกรรมการด้านพระธรรมคําสอนได้แถลงตอบ ดังต่อไปนี้ :“ตามที่ปรากฏชัดอยู่แล้ว ต้นฉบับของพระสังคายนาต้องได้รับการอธิบาย อยู่เสมอ ตามหลักทั่วไป ซึ่งทุกท่านย่อมทราบดีอยู่แล้ว” สําหรับปัญหานี้ คณะกรรมการพระธรรมคําสอนบอกให้ไปค้นดู คําแถลง ชี้แจงของท่าน ลงวันที่ 6 มีนาคม 1964, ซึ่งเราขอถ่ายทอดมาอีกครั้งหนึ่ง ณ ที่นี้ : เมื่อพิจารณาดูหลักประเพณีของพระสังคายนาทั่วไป และมองดูจุดหมาย (วัตถุประสงค์) ด้านการแพร่ธรรมพระสังคายนาสากลในครั้งนี,้ สภาพระ สังคายนานี้กําหนดว่า : พระศาสนจักรจําต้องถือเฉพาะสิ่งซึ่งเกี่ยวกับความเชื่อ และ ศีลธรรม (จริยธรรม) ที่มีประกาศออกมาว่าเป็นเช่นนั้น ๆ.
ส่วนข้อความอื่น ๆ ทีส่ ภาฯ เสนอ ในฐานะที่เป็นพระธรรมคําสอนแห่งพระ อาจาริยานุภาพสูงสุดของพระศาสนจักร (Supremum Ecclesiae Magisterium), สัตบุรุษทุกคนและแต่ละคนต้องยอมรับและยึดถือตามจิตตารมณ์ ของพระสังคายนาเอง, ซึ่งปรากฏออกมาทางวัตถุที่พูดถึงก็ดี, หรือทางทํานองพูด ก็ดี, ต้องอธิบายข้อความนั้น ๆ ตามหลักการอธิบายของเทวศาสตร์. (2. ความหมายของ Collegialitas = (78) ความเป็นคณะของบรรดา พระสังฆราช) โดยอํานาจที่อยู่เหนือ เราได้แจ้งให้บรรดาพระบิดรทราบ “โน้ตอธิบาย นําหน้า “Modi” ในบทที่ 3 ของต้นฉบับเรื่องพระศาสนจักร. พระธรรมคํา สอนของบทที่ 3 นี้ ต้องอธิบายและต้องเข้าใจตามจิตตารมณ์ และเนื้อหาของบท ที่ 3 นั้นเอง. ข้อสังเกตคํานําหน้าบท คณะกรรมการ (= Commissio) ก่อนจะอธิบาย “Modi” (= แง่มุม ต่าง ๆ ของท้องเรื่อง) ได้กําหนดให้ข้อสังเกตดังต่อไปนี้ : 1. คํา “Collegium” (คณะของบรรดาพระสังฆราช ไม่ใช่เข้าใจตาม ใจความตรงแน่วของกฎหมาย ซึ่งหมายความถึงหมู่คณะของบุคคล ที่เท่าเทียม เสมอกันนั้น ซึ่งได้มอบอํานาจของตน ๆ ให้แก่ประธาน แต่หมายความถึงหมู่ คณะอันถาวร ซึ่งมีโครงสร้างและอํานาจ ที่จําต้องคัดออกมาจากพระวิวรณ์ (Revelatio) (79) เพราะฉะนั้น เมือ่ ตอบปัญหา “Modus 12” จึงพูดชัดเจน ถึง “12 ท่าน” ว่าพระสวามีเจ้าได้ทรงแต่งตั้งพวกท่าน “Modus 53c” ด้วย. เพราะเหตุผลอันเดียวกันนี้เอง เมือ่ พูดถึง “คณะของบรรดาพระสังฆราช” จึงใช้ ศัพท์ในที่ต่าง ๆ ทั่ว ๆ ไปว่า Ordo (หลั่นชั้นอนุกรม) หรือศัพท์ Corpus (= กาย, ร่างกาย) การเปรียบเทียบเปโตร และอัครสาวกอื่นทั้งหลายฝ่ายหนึ่งกับ พระสันตะปาปา และพระสังฆราชทั้งหลายอีกฝ่ายหนึ่ง หาได้แฝงบรรจุการมอบ อํานาจ อันเหนือปกติ (Extraordinaria) ของบรรดาอัครสาวก ไปสู่ตําแหน่ง ผู้แทนท่านด้วยไม่, ทั้งตามที่ประจักษ์ชัดอยู่แล้ว มิได้แฝงความว่า มีความเท่า เทียม แต่บอกเพียงการมีส่วนสัดเกี่ยวข้องกันระหว่างอันที่หนึง่ (เปโตร บรรดาอัครสาวก) กับอันทีส่ อง (พระสันตะปาปา - บรรดาพระสังฆราช) เพียงแค่นี้เท่านั้น. ฉะนั้นคณะกรรมการ จึงได้จงใจบันทึกไว้ในเลข 22 : ไม่ใช่ดว้ ยทํานองอันเดียวกัน แต่เพราะเป็นทํานองคล้าย ๆ กัน, เทียบ Modus 57.
2. บุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะกลายเป็นสมาชิกของคณะ ก็ต่อเมื่อได้รับ การอภิเษกเป็นพระสังฆราช ทั้งต้องร่วมสหภาพทางพระฐานานุกรม กับองค์ พระประมุข และบรรดาสมาชิกของคณะ, เทียบเลข 22 ข้อ 1 ตอนปลาย. ในการอภิเษกนั้น มีการประสาท (= ให้) การมีส่วนในด้านความเป็น (Participatio Ontologica) ของภาระหน้าที่ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ, ตามที่ปรากฏชัด ; ไม่เป็นที่สงสัยเลย. ในพระกิตติ ทั้งในพิธีกรรมด้วย ตรงนี้มีการจงใจใช้คํา “ภาระหน้าที”่ (Munera) และไม่ใช้คํา “อํานาจ” (Potestas). ศัพท์ Potestas นั้น อาจหมายถึงความสามารถที่จะบรรลุถึงกิจกรรม (Actus), แต่ เพื่อจะสามารถมีอํานาจดังกล่าวนี้ ที่เหมาะสมสําหรับงาน, ก็จําเป็นต้องรับการ กําหนดเป็นมาตรา หรือ ทางกฎหมาย โดยอํานาจของพระฐานานุกรม. การ กําหนดทางอํานาจนี้ อาจมีขึ้นโดยการยินยอมยกให้ ซึ่งหน้าที่พิเศษหรือในการ เลือกกําหนดผู้รับ และอํานาจนี้ถูกยกให้ตามหลัก ที่ได้รับจากผู้มีอํานาจสูงสุด, หลักอันดับต่อไปเช่นนี้ ต้องมีขึ้นจากทําธรรมชาติของเรื่อง เพราะว่ามันเกี่ยวกับ หน้าที่ ซึ่งจะต้องรับกระทําจากหลายบุคคลด้วยกัน ตามทํานองของพระ ฐานานุกรม. เป็นที่ประจักษ์อยู่ว่า “การร่วมสหภาพ” อันนี้มีใช้อยู่ในชีวิต พระศาสนจักร ตามกรณีแวดล้อมของเวลา ก่อนที่จะได้ถูกกําหนดขึ้นเป็น กฎหมาย. เพราะฉะนั้น จึงพูดโดยเน้นเจาะจงว่า : จําเป็นต้องมีสหพันธ์ทางพระ ฐานานุกรมร่วมกับองค์พระประมุขของพระศาสนจักร และกับสมาชิกของท่าน. “การร่วมสหพันธ์” นี้ เป็นข้อไข (Notio) อันได้รับเทิดทูนสูงส่งมาก ใน พระศาสนจักรโบราณ (และแม้กระทั่งเราทุกวันนี้ เป็นต้นในทางตะวันออก). เรื่องนี้มิใช่หมายความว่า เป็นความรู้สึกนึกคิดลอย ๆ ผิวเผินอย่างหนึ่ง แต่ เป็นเรือ่ ง ความเป็นจริงอยู่จริงทางอวัยวะ ซึ่งเรียกร้องให้เป็นรูปขึ้นทาง กฎหมาย และพร้อมกันนั้น ก็ถูกกระตุ้นด้วยความรัก. เพราะฉะนัน้ คณะกรรมการโดยความเห็นพ้องต้องกัน แทบจะเป็นเสียงเดียวกัน, จึงได้ตกลง ให้บันทึกว่า : ”ในสหพันธ์ของพระฐานานุกรม” โดยเทียบ Modus 40 ทั้งข้อความต่าง ๆ ที่พดู ถึงภารกิจทางกฎหมายพระศาสนจักร, ในเลข 24. เอกสารต่าง ๆ ของสมเด็จพระสันตะปาปาในสมัยหลัง ๆ นี้ เกี่ยวกับ อาญาสิทธิ์ของพระสังฆราช ต้องอธิบายตามข้อกําหนดอันจําเป็นนี้ในเรื่องอํานาจ อาญาสิทธิ.์ 3. Collegium = คณะ (78) นั้น, ถ้าไม่มีหัวหน้าก็เป็นอยู่ไม่ได้. คณะเรียกว่า “เป็นผู้รับผิดชอบอาญาสิทธิ์สูงสุด และอํานาจเต็มเปี่ยมเหนือ พระศาสนจักรสากลด้วย.” ความข้อนี้จําเป็นต้องยอมรับเพือ่ จะได้ไม่ขัดต่ออํานาจ เต็มเปี่ยมของพระสังฆราชแห่งกรุงโรม. เหตุว่า เมื่อพูดถึงคณะ จําเป็นต้อง
เข้าใจถึง การมีศีรษะ หรือองค์พระประมุขรวมอยู่ด้วย. อันศีรษะหรือพระ ประมุขนี้ เป็นผู้ธาํ รงรักษาหน้าที่ของตนให้คงอยู่ครบถ้วนในคณะ, นั่นคือ หน้าที่ผู้แทนพระคริสตเจ้า และพระชุมพาบาลแห่งพระศาสนจักรสากล. พูดอีก ทํานองหนึ่งก็คือ : ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างพระสังฆราชกรุงโรมฝ่ายหนึ่ง กับ บรรดาพระสังฆราชทั้งหลายที่รวมกันอีกฝ่ายหนึ่ง, แต่มีการแบ่งแยกระหว่าง พระสังฆราชกรุงโรมเฉพาะองค์เดียวฝ่ายหนึ่ง กับพระสังฆราชกรุงโรมรวมกับ พระสังฆราชทั้งหลาย อีกฝ่ายหนึ่ง, ทั้งนี้ เป็นเพราะสมเด็จพระสันตะปาปาทรง เป็นประมุขของคณะ, พระองค์ท่านองค์เดียว ทรงสามารถกระทํากิจการ บางอย่าง ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของบรรดาพระสังฆราชแต่อย่างใด, ตัวอย่างเช่น การ เรียกประชุมพระสังคายนา, การดําเนินงานการประชุมของคณะ, การรับรู้ เห็นชอบระเบียบงานต่าง ๆ ฯลฯ. โปรดเทียบ Modus 81. - เป็นหน้าที่ของ สมเด็จพระสันตะปาปา อันที่จะกําหนดตัดสิน, พระองค์ท่านทรงได้รับมอบหมาย ให้เป็นผู้ดูแลเอาใจใส่ต่อฝูงแกะทั้งหมดของพระคริสตเจ้า, ให้เป็นผู้ดูแลความ ต้องการต่าง ๆ ของพระศาสนจักร ซึ่งแตกแยกกันไปตามกระแสกาลเวลา, เป็น หน้าที่ของสมเด็จพระสันตะปาปาที่จะกําหนดวิธีอันเหมาะสม ให้การเอาใจใส่ดูแล อันนี้ให้เป็นไป, โดยใช้วิธีของพระองค์ท่านเององค์เดียวโดยเฉพาะบ้าง, หรือโดย วิธีเรียกประชุมคณะ. พระสังฆราชกรุงโรมก็ทรงดําเนินงาน, ทรงจัดระเบียบการ ปฏิบัติของคณะ, ทรงส่งเสริม, ทรงรับรู้เห็นชอบ ทั้งนี้เพื่อคุณประโยชน์ของ พระศาสนจักร ตามความเห็นดีเห็นควรของพระองค์ท่านเองโดยเฉพาะ. 4. สมเด็จพระสันตะปาปาในฐานะเป็นชุมพาบาลสูงสุดของพระศาสนจักร, พระองค์ท่านทรงสามารถใช้อํานาจของพระองค์ตลอดเวลาทุก ๆ เวลา, ตาม ความเห็นดีเห็นชอบของพระองค์, ตามทีภ่ าระหน้าที่นั้นเรียกร้อง. ส่วนคณะนั้น แม้ว่าคงมีตัวตนอยู่เสมอมา ก็ไม่ใช่เพราะเหตุนี้ จึงจําเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่เป็น (31) คณะโดยเข้มงวดอยู่ตลอดเวลา ตามที่ปรากฏชัดอยู่ในพระกิตติ , (ขนบประเพณี Traditio) ของพระศาสนจักร. พูดอีกทํานองหนึ่งก็คือ การ กระทําของคณะนั้นไม่คงมีตัวตนอยู่เสมอมา : “In actu pleno” (= ในการ ดํารงอยู่โดยครบถ้วน) “เรื่อยไป, ยิ่งไปกว่านั้น (Immo) การกระทําของคณะ มีอยู่ไม่ได้ เว้นแต่เมื่อเป็นการกระทําของ (คณะ) โดยแจ้งชัดในบางครั้งบาง คราวและจะทําไม่ได้ เว้นแต่โดยความเห็นชอบขององค์พระประมุข” อย่าไปคิด ว่าเป็นการขึ้นต่อกันคล้ายกับเป็นการขึ้นกับคนภายนอก. ศัพท์ว่า “เป็นผู้ เห็นชอบ” นั้น กลับทําให้บรรดาสมาชิก (ศีรษะกับอวัยวะทัง้ หลาย) ทั้งรวม ความถึงความจําเป็น ที่กิจการนั้นที่ตกเป็นของพระประมุขโดยเฉพาะ. เรื่องนี้มี การยืนยันอยู่อย่างกระจ่างชัดในเลข 23 ข้อ 2 และคําอธิบายในที่เดียวกันนั้น ตอนปลาย. สูตรที่ใช้คําปฏิเสธ “Nonnisi” (แปลคําละคํา – ไม่, ถ้าไม่, ไม่,
เว้นแต่) กินความถึงทุก ๆ กรณี, ปรากฏชัดว่า หลักการที่ต้องได้รับความ เห็นชอบจากอํานาจสูงสุดจําเป็นต้องดํารงอยู่เสมอไป เทียบ Modus 84. ฉะนั้นในทุก ๆ กรณี ปรากฏว่าเป็นเรื่องการรวมตัวของบรรดา พระสังฆราช กับองค์พระประมุขของท่าน และไม่เคยมีปรากฏเลยเรื่องการงาน ของบรรดาพระสังฆราช โดยที่ไม่ขึ้นต่อพระสันตะปาปา. ในกรณีนี้หากขาดการ กระทําขององค์พระประมุข. บรรดาพระสังฆราชก็ไม่อาจทําอะไรได้ในฐานะเป็น คณะ ทั้งนี้ปรากฏชัดอยู่ในการบ่งของคําว่า “คณะ” (= Collegium). สหภาพ ของพระสังฆราชทั้งหลายทางพระฐานานุกรม กับสมเด็จพระสันตะปาปาอันนี้ แน่นอนเป็นของธรรมดา ๆ ในพระกิตติประเพณี. สังเกต : หากไม่มีสหภาพ – การร่วมทางพระฐานานุกรมแล้ว ภารกิจด้าน ศักดิ์สิทธิการ – ด้านการเป็นตัวตน (Sacramentale – Ontologicum) ซึ่งต้อง แยกออกจากแง่กฎหมายของพระศาสนจักร (Canonico – Juridicum) ก็ไม่ สามารถปฏิบัติได้. คณะกรรมการได้ตกลงกันว่า จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหา ด้านสามีจิภาวะ (81) และด้านอโฆษภาวะ (82) (De Liceitate et de validitate) ซึ่งปล่อยไว้ให้เป็นปัญหาของนักเทวศาสตร์พิจารณาแสดงเหตุผลของ ตน ๆ เฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเกี่ยวกับอํานาจซึ่งตามที่เป็นจริง (De – facts) ปฏิบัติกันอยู่ท่ามกลางชาวตะวันออกที่แยกตัวออกไป, เรื่องการอธิบายปัญหานี้ พวกนักปราชญ์มคี วามเห็นหลายอย่างต่างกัน, เปริแกลส เฟลีชี อัครสังฆราช, เกียรตินาม ซาโมซัล เลขาธิการทั่วไป ของสภาพระสังคายนา วาติกัน
โน้ตสําหรับการแปลในภาษาไทย 1. (1) นี่เป็นสูตรที่ใช้ในเอกสารพระสังคายนาทุกฉบับ ตลอดจนในเอกสาร สําคัญอื่น ๆ ของสมเด็จพระสันตะปาปา - แทนคํา : ทาสของพระเป็นเจ้า เราใช้ “เทวทาส” เพื่อความ กระทัดรัด (2) ธรรมนูญด้านการแพร่ธรรม เราใช้แปลคํา ‘Constitutio Dogmatica’ คือธรรมนูญเกี่ยวกับพระธรรม หรือ “คําสอน” นั่นเอง. (3) อคาธัตถ์ (อ่าน อะคาทัด) เป็นคําที่ใช้ในหนังสืออธิบายคําสอน เป็น คําผูกขึ้นมาจาก อคาธ + อัตถ์ = อคาธัตถ์ หมายถึงข้อความลึกซึ้ง ที่คนเราหยั่งไม่ถึง. เราพิจารณาดูศัพท์ที่ใช้กันในสมัยหลัง ๆ นี้ว่า : รหัสธรรม, รหัสยธรรม ซึ่งแม้จะมีความหมายว่า ลี้ลับ, ลึกซึ้ง แต่ ก็ยังใช้ว่า เป็นสิ่งที่ลี้ลับสําหรับบางคน แต่ไม่ลี้ลับสําหรับอีกบางคน เช่น รหัสของตู้นิรภัย, คนที่รู้รหัสแล้วมันไม่ลึกลับอีกต่อไป จึงไม่อาจ นํามาแปลศัพท์ ลาติน – กรีก Mysterium’ ‘Musterion ได้. เพราะศัพท์นใี้ ช้ความหมายว่าเป็นอัตถ์ลึกซึ้ง ซึ่งทีแรกเราไม่รู้ว่ามีอยู่ แต่ต่อมา เมือ่ พระเป็นเจ้าโปรดไขแสดงแล้ว เราก็ทราบว่ามีอยู่ แต่ก็ ยังไม่ทราบว่าเป็นอะไร. (4) ศักดิ์สิทธิการ หมายความว่า “ผู้ทําความศักดิ์สิทธิ์” เรานําศัพท์ใหม่ นี้มาใช้แทนคํา “ศีลศักดิ์สิทธิ์” ซึ่งเป็นคําใช้กันมาแต่โบราณ เราจําใจ ต้องเปลี่ยน เพราะมิฉะนั้นจะไม่มีใครเข้าใจความหมายของเอกสารใน ที่นี้ ที่ว่า “พระศาสนจักรเป็นประหนึ่งศีลศักดิ์สิทธิ์” ศีลศักดิ์สิทธิ์ = บัญญัตอิ ันศักดิ์สิทธิ,์ แต่ศัพท์ลาติน Sacramantum หมายความถึง เครือ่ งหมายชี้แสดง ทั้งเป็นเครือ่ งมือผลิตพระหรรษทาน. เราเห็นคําว่า “ศักดิ์สิทธิ์” ที่คริสตังเราใช้มาแต่โบราณ หมายถึงความดีบริบูรณ์, ความครบครัน จึงคิดว่าหากจะเปลี่ยนจากศีลศักดิ์สิทธิ์มาเป็นศักดิ์สิทธิ การ คงจะยอมรับกันได้ง่ายขึ้น ฉะนั้นในเอกสารฉบับนีเ้ ราใช้คําศักดิ์ สิทธิการ แทนคําศีลศักดิ์สิทธิ์ตลอดทั้งเล่ม. แต่ขอพูดความจริงอย่าง เปิดอก เราเองก็ไม่สู้ชอบคํา “ศักดิ์สิทธิ”์ ในความหมายดังกล่าว เพราะทั่ว ๆ ไป ใคร ๆ ก็ใช้คํา “ศักดิ์สิทธิ์” ในความหมายว่า “ขลัง” หรือที่ทําให้เกิดอัศจรรย์มาก ๆ ตรงกับคําฝรัง่ ลาตินว่า Miraculosum ที่สุด หากจะแยกแยะคํา “ศักดิ์สิทธิ์” นี้ ไปจนถึง ธาตุของศัพท์ก็เห็นว่า ประกอบขึ้นด้วยคํา 2 คํา คือ - ศักดิ ส.
แปลว่า อํานาจ และคําว่า สิทธิ ที่เรานํามาใช้ว่า : มีอํานาจทีจ่ ะ ทํา จะใช้โดยไม่ผิดความยุติธรรม. คําที่เหมาะกว่าและควรนํามาใช้ แทนคํา Sacramentum เราเห็นว่าควรเป็นคํา “วิสุทธิการ” เป็น อย่างยิ่ง. (5) นักบุญปิตาจารย์ (ปิตุ – อาจารย์) คํานี้เราใช้เรียกนักบุญอาจารย์ พระศาสนาในสมัยโบราณ ซึ่งภาษาลาตินเรียกว่า Sancti Patres. ส่วน “พระบิดร” เราใช้เรียกองค์สมาชิกในสภาพระสังคายนา, ลาติน เรียกว่า Patres โดด ๆ 3. (6) ราชัย = Regnum เป็นธาตุเดียวกันในภาษาอินเดีย – ยุโรป ทั้ง เป็นคําบันทึกอยู่ในพจนานุกรมของทางการด้วย เรายอมรับว่าธาตุของ คํานี้ในภาษาสันสกฤตไม่น่าจะออกมาในรูปราชัยเพราะ ส. เป็น ราช.ย, มันก็เช่นเดียวกับ มาล.ย ภาษาไทยเรามาเป็นมาลัย. อนึ่งคํา “ราชัย” นี้ คริสตังเราก็ใช้มาจนติดปากแล้ว : ตรงกับภาษายุโรป, สั้นและกระทัดรัดดี ทําไมจะต้องมาเปลี่ยนเป็น “อาณาจักร” ซึ่งส่ง กลิ่นเป็นภาษาทางโลกมากกว่าภาษาทางศาสนา. (7) สวามี = Dominus. เรามาถึงคําที่ถกเถียงกัน และเป็นที่รังเกียจ ของหลาย ๆ ท่าน. ขออนุญาตพูดถึงเรื่องนี้ให้กว้างขวางสักหน่อย. ครั้งแรกราว 60 กว่าปีมาแล้ว ข้าพเจ้าได้พบคํานี้ในบทภาวนาก่อนรับ ศีลมหาสนิทว่า : “ข้าแต่พระสวามีเจ้า ข้าพเจ้าไม่สมไม่ควรที่จะรับ พระองค์เสด็จเข้ามาในดวงใจของข้าพเจ้า แต่โปรดตรัสแต่พระวาจา เดียว และวิญญาโณจิตต์ของข้าพเจ้าก็จะสะอาดบริสุทธิ์ไป” ข้าพเจ้า เคยรู้สึกสะดุดใจและเคยพูดกับ ฯพณฯ อ่อน ประคองจิตต์ ท่าน และข้าพเจ้าต่างก็เห็นพ้องกัน นึกชมคนที่นําคํานี้มาใช้ (ซึ่งก็ไม่ทราบ ว่าเป็นใคร.) ครั้งเปิดปทานุกรมก็พบว่า : สวามิ, สวามี ส.น.เจ้า, ผู้เป็นใหญ่, นาย, ผัว, เจ้าของหญิงใช้สวามิน.ี เมื่อเปิดดู Pali English Dictionary ของ T.W. Rhys Davids ซึ่งถือกันว่าเป็น Dictionary ที่ดีที่สุดของสมัยนี้ก็พบว่า : Samin (cp. Sk. Savamin, Sva = Sa 4 ) 1. Owner, Ruler, Lord, Master ธาตุ สวาสา, ตรงกับธาตุ ลาติน Sui, Suus ซึ่งการแสดงการ เป็นเจ้าของ. ภาษาไทยเราจึงมีคํา สามิภักดิ์ = ความรักต่อเจ้านาย สรรพสามิต แปลว่าอะไรหากไม่แปลว่า หลวงเป็นเจ้าของสรรพสิ่ง. ต่อภายหลังเมื่อมีเจ้านายต่างประเทศมาเยี่ยมประเทศไทย นักหนังสือพิมพ์จึงแทนจะใช้คํา สามี ก็ใช้คํา สวามี (แบบ สันสกฤต) เฉพาะอย่างยิ่งแทน Prince Cinsort. แม้ บ.ส. จะใช้
ในใจความนี้ดว้ ย ข้าพเจ้าก็ไม่เห็นแปลกอะไร เพราะคําพระสวามีนี้ เราใช้แทนพระเยซูเจ้าเป็นต้น แทนพระบิดาก็มีบ้าง. พระเยซูเจ้าทรง เป็นพระสามี (สวามี) ทางวิญญาณของเราอยู่แล้ว. - - โปรดอย่า แปลกใจที่คําในภาษาต่าง ๆ ค่อย ๆ เลือนไป มีความหมายต่างออกไป ชาวอินเดียเขาถือว่าสามีเป็นนายของภรรยา. ภาษายุโรป กลุ่มภาษาโร มาน ใช้ศพั ท์แทน Dominus ว่า ; Seigneur, Signor Senor ซึ่งมาจากภาษาลาติน Senior แปลว่า “ผู้มีอายุสูงกว่า” (กระทั่งคํา Sir, Sire ก็มาจากคําลาตินนี.้ ) คําอังกฤษใช้คําว่า Lord ท่านทราบ ไหมว่า คํานี้มาจากไหน. Skeat ใน Concise Etymological Dictionar of the English Language เขียนว่า : Lord, a master (E.) ‘Lit Loaf – keeper’. ขอ ยกตัวอย่างขํา ๆ เรื่องหนึ่ง. พระสันตะปาปา ปีโอที่ 12 คราวเมื่อ ทรงตําแหน่งเป็น พระเอกอัครสมณทูตที่กรุงเบอร์ลิน ขณะจะต้องจาก หน้าที่ เพราะคุ้นเคยกับทูตฝรั่งเศสจึงได้ไปอําลา เมื่อได้สนทนาวิสาสะ กันพอสมควรแล้ว ท่านก็ลากลับ ผ่านลูกชายของท่านทูตที่มีอายุ 4-5 ขวบ เด็กคนนั้นก็พูดกับท่านว่า ‘Au revoir mon Vieux’ ท่านทูต กับภรรยาหน้าซีดยืนตัวแข็ง แต่ค่อยอุ่นใจขึน้ เมื่อพระสมณทูตทําเฉย เดินไปขึ้นรถ. ท่านอยากทราบไหม เด็กลูกทูตนั้นพูดว่าอะไร ? พูดว่า “ลาก่อนอ้ายแก่” = อ้ายเพื่อนยาก ซึ่งเป็นภาษาทหาร. ท่าน จึงเห็นแล้วในภาษาฝรั่งเศส จาก ล. Senior มาเป็น Seigneur, Monsieur, Sire และวกกลับอีกที มาเป็น Vieux ทําไมภาษาไทย ของเรา จะมีภาษาทางศาสนา เหมือนภาษาอื่นเขาบ้างไม่ได้ ? (8) สดุดีบูชา = Eucharistia คําลาติน – กรีกคํานี้ ในหนังสือ คําอธิบายคําสอนใช้ว่า “สุหรรษทาน” ซึ่งมีความหมายว่าพระหรรษ ทานอันดี, อันประเสริฐ. แต่ศัพท์ลาติน – กรีกนั้น เขาใช้ความหมาย ถึง การขอบคุณ ข้าพเจ้าจึงค้น Dictionary Pali – English ของ A.P.Buddhatta Mahathera ก็พบคําบาลีที่ถูกใจคือคํา ถูติปูชา แปลว่า “การถวายคําชมเชย, คําขอบคุณ” แต่คํานี้ไม่คุ้นหูคนไทย บ.ถูติ – ส.สตุติ ข้าพเจ้าจึงเปลี่ยนให้พอฟังได้ในภาษาไทย = สดุดี บูชา. สังเกต : ขอให้คงรักษาลําดับสดุดีบูชาไว้เสมอ อย่าเปลี่ยนเป็นสดุดี บูชา ทั้งนี้เพราะว่าสดุดีบูชานี้อาจเป็นบูชาถึง 4 อย่าง คือ บูชา สรรเสริญ, บูชาวอนขอพระคุณ, บูชาขอบพระคุณ และ บูชาขอขมา โทษ
4. (9) พระฐานานุกรม = Hierarchia (= หัวหน้าศักดิ์สิทธิ)์ คือลําดับ หลั่นชั้น ของผู้ปกครองพระศาสนจักร ซึ่งลําดับแต่เล็กไปหาใหญ่ มี ดังนี้ 1. สังฆานุกร (Diaconus) 2. พระสงฆ์ (Presbyter) 3. พระสังฆราช (Episcopus) (10) พิเศษพร (อ่าน พิ - เส - สะ – พร) โปรดรักษาลําดับคํา (อย่า เป็นเป็นพรพิเศษ) คือพระคุณพิเศษ เรานํามาใช้แทนคํากรีก : Charisma, ศัพท์เฉพาะ. 6. (11) ประภาษก = Propheta ข้าพเจ้าอยากให้ใช้ประภาษก ทั้งนี้เป็น เพราะทั้งภาษาลาติน ทั้งภาษากรีก ทั้งภาษาไทย ละม้ายคล้ายกัน ทั้งทางธาตุ ทั้งทางอุปสรรค. ส่วนคํา ประกาศก นั้น ขอสงวนไว้ใช้ แทน Missionary – ผู้ไปเผยแพร่พระศาสนจักรในต่างประเทศ. คํา ธรรมทูต น่าจะเก็บไว้ใช้แทนพระสงฆ์ที่ไปเทศนาสั่งสอนในต่างถิ่น ที่ อยู่ในประเทศของตนเอง. ดังนี้จึงเห็นว่า ภาษาไทยของเรามีคํามาก พอสมควร ไม่แพ้ภาษาอื่น. (12) พระอัยกา (อ่าน ไอ – ยะ – กา) = Patriarcha หัวหน้าของเผ่า ทีแรกหมายถึงบรรพบุรุษของชนชาติอิสราเอล, ทางพระศาสนจักรของ เรายังหมายถึงพระสังฆราชผู้ใหญ่ เป็นหัวหน้าแคว้น จนกระทั่งเป็น ประมุขของพระศานจักร จารีตใดจารีตหนึง่ เช่นเราพูดว่า พระอัยกา แห่งคอนสตันติโนเปิ้ล (13) นักบุญปิตาจารย์ ดูเลข (5) ในข้อ 2 (14) เจ้าสาว ข้าพเจ้าเห็นว่าง่ายดี ใช้แทนคํา Sponsa = หญิงสาวที่ หมั้นแล้ว. ยังมีคําอืน่ ที่เหมาะกว่า เช่น “วนิดา, พนิดา” ซึ่ง พจนานุกรมให้คําจํากัดความว่า : นาง, หญิงที่รัก, หญิงที่สู่ขอแล้ว. ยังมีอีกคําหนึ่งคือ “วธู, พธู” ม.ส.น. หญิงสาวเจ้าสาว, เมีย, ซึ่ง ตางกับคํา Sponsa เป็นอย่างยิ่ง. เท่าที่กล่าวมา จะเห็นว่า ภาษาไทยของเรา มีคําใช้มากมายเพียงแต่เป็นหน้าที่ของเราที่จะเลือก เฟ้น และกําหนดเจาะจงกับภาษายุโรป เราก็จะได้คําที่เหมาะสม 7. (15) อคาธกาย = Corpus Mysticum หมายความถึงร่างกายอันลึกล้ํา บาง ทีเรียกว่าร่างกายทิพย์ อคาธ ดูเลข (3) (16) สัตว์โลก = Creatura – สิ่งที่พระเป็นเจ้าทรงสร้างขึ้น. สิ่งสร้าง ก็เรียก.
(17) พิเศษพร = Charisma คือพรหรือทานอันพิเศษ (ผิดปกติ) เช่น การทําให้คนไข้หายโรคในทันทีทันใด, การปลุกผู้ตายให้คืนชีพ (โปรด ดูเลข (10) ด้วย) 8. (18) พระวจนาตถ์ (จาก วจน + อัตถ์) ใช้แทนคําลาติน Verbum หรือ ศัพท์รากกรีก Logos. ศัพท์วจนาตถ์ บางท่านเขียน วจนารถ แต่ ศัพท์ นารถ หาไม่พบ มีแต่ นารท ซึ่งอ่านนาระทะ หรือนารด. หาก จะเขียน วจนาถ ข้าพเจ้าเห็นว่าพอทําได้ เพราะเท่ากับ วจน + นาถ โดยตัดตัว น. ออกเสียตัวหนึ่ง ซึง่ ไม่ผิดหลักของภาษาบาลี – สันสกฤต และไทย และถ้าเขียน วจนาถ ก็ต้องแปลว่า : วาจาเป็น ที่พึ่ง (19) สหพันธ์ = Communio เราใช้กันในบทข้าพเจ้าเชื่อถึงสหพันธ์นกั บุญ = Communio Sanctorum 9. (20) เมสไซอะห์ = Messias, ศัพท์มาจากภาษาฮีบรู, ลาติน : Unctus, กรีก Christos คือพระคริสตเจ้าของเรานั่นเอง 10. (21) พระสงฆ์ : ไม่ใช่เราไม่รู้ว่าศัพท์สงฆ์มาจากธาตุ ส ซึ่งแปลว่า คณะ , หมู,่ ประชุม แต่เราคริสตังนําศัพท์นมี้ าใช้นานกาเล จนกลายเป็น ภาษาของเราแล้ว ทั้งนี้แทนศัพท์ลาติน Sacerdos ซึ่งมีความหมาย เดียวกันกับ Sacrificator แปลว่า ผู้ทําสิ่งศักดิ์สิทธิ์, ผู้ทําบูชา ตําแหน่งหน้าที่ของ Sacerdos หรือความเป็น Sacerdos ลาตินว่า Sacerdotium เราใช้วา่ สังฆภาพ 11. (22) ศักดิ์สิทธิการแห่งพละกําลัง = Confirmatio ซึ่งเคยใช้กันว่า ศีลกําลัง (23) ศักดิ์สิทธิการ – อภัยบาป คือ “ศีลแก้บาป” พูดตรง ๆ ข้าพเจ้า ไม่ชอบคําพูดว่า “อภัยบาป” เพราะดูเหมือนมันบ่งว่า : ไม่ได้ยกบาป ออกไป เพียงแต่โทษ หรืออภัยของเรานั้นยกให้ ความคิดเช่นนีผ้ ิดต่อ ความเชือ่ ของเราคริสตัง (24) ศักดิ์สิทธิการ – เจิมคนไข้ = Ultima Unctio (25) ศักดิ์สิทธิการ – อนุกรม = Ordo (26) ศักดิ์สิทธิการ – สมรส = Matrimonium คํา “สมรส” อีกคํา ข้าพเจ้าไม่ชอบ เพราะรู้สึกมันมีกลิ่นชอบกล สําหรับเรียกศักดิ์สิทธิ การของเรา 12. (27)ทิศทางแห่งความเชื่อ = Sensus Fidei แม้คํานี้ไม่มอี ยู่ในเลข 12 แต่เนื้อความเป็นเช่นนัน้ และเราจะพบคํานี้ในเลขอื่น ๆ ข้าพเจ้าจึงให้
คํานี้เสียเลย ที่จริงกว่าจะพบคํานี้ ข้าพเจ้าต้องคิดกลับไปกลับมาหลาย ตลบ (28) อาจาริยานุภาพ = Magisterium หมายถึง อํานาจทางการสั่ง สอนของพระศาสนจักร คํา “อาจาริยานุภาพ” ผูกขึ้นด้วย อาจารย์ + อานุภาพ, อานุภาพเป็นคําบาลี ข้าพเจ้าก็อยากจะผูกพันกับคําอาจา ริย บ. ให้เหมือน ๆ กัน แต่เพื่อให้คนไทยอ่านง่าย จึงเปลี่ยนแปลงไป นิดหน่อยเป็น อาจาริยานุภาพ 13. (29) ความเป็นประมุขเอก = Primatus หรือ ถ้าชอบศัพท์ทาง วิชาการ หรือ ทางเทคนิคจะใช้ ปฐมภาวะ ก็ได้ (30) อาสนะของท่านเปโตร = Cathedra Petri 14. (31) พระกิตติ (บ. กิตติ ส. กีรติ) เป็นคําที่ใช้ในหนังสืออธิบายคําสอน. ศัพท์ บ. กิตติ เราเคยใช้ กิตติศัพท์ แปลว่า คําเล่าลือต่อ ๆ กัน มา. ศัพท์ กีรติ เราเคยใช้เรียกชื่อเรื่อง รามายณะ เป็นภาษาไทย ว่า รามเกียรติ์ ถ้าจะแปลเป็นไทยก็ว่า เกียรติประวัติของพระราม. ขอยอมรับว่ามันไม่สู้จะตรงนักกับคํา Tradition ซึ่งหมายถึงคําพูด และขนบประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ ฉะนั้น ถ้าท่านชอบคํา ของ ท่านพุทธทัตตะ ชาวศรีลังกา ผู้ที่ข้าพเจ้าได้ออกนามมาแล้ว …., Traditional Teaching ท่านแปลเป็นบาลีว่า : Vacanamagga (วาจ นามัคค์) (32) โครงสร้าง ใช้แทนศัพท์ลาติน Compago ซึ่งหมายความถึง การ นําเอาหลาย ๆ สิ่งมารวมประกอบกันเข้าให้เป็นหนึ่งหน่วย. (33) คริสตชนสํารอง หรือ คริสตังสํารอง = Catechumeni 15. (34) หมู่ = Communitas, Community หมู่ เป็นคําไทยที่ชรามาก แต่ในภาคอีสานยังใช้กันอยู่ทั่วไป ข้าพเจ้าเห็นว่าคํา “หมู”่ โดด ๆ เหมาะที่สุดจะใช้แทน Communitas โดยไม่จําเป็นต้องเสริมคํา “หมู่ เหล่า, หมู่คณะ” ให้รุ่มร่าม. 16. (35) มิสซัง = Missio = เขตหรือพนักงานแพร่ธรรม เป็นคําที่ใช้กัน มาแต่โบราณ. 18. (36) ศาสนบริการ = Ministerium ศาสนบริกร = Minister 20. (37)สังฆานุกร เป็นคําที่เพิ่งสร้างขึ้นใหม่ อนุกร = ผู้ทําทีหลัง, ผู้ช่วย รวมความสังฆานุกร คือ ผู้ช่วย พระสงฆ์ = Diaconus
21. (38) Episcopatus = ตําแหน่งพระสังฆราช, เมื่อ Episcopus เราใช้ คําพระสังฆราช ตําแหน่งของท่านเราจึงว่า สังฆราชภาพ (38 ทวิ) ผู้มีศรัทธา = ผู้มีความเชื่อ หลาย ๆ ท่านคงรู้สึกฉงนว่า ทําไม ข้าพเจ้าอ้างเช่นนี้ เป็นความจริงว่า ผู้มีศรัทธา ภาษาไทย - Credens ภาษาลาติน. และคนไทยก็ใช้คํานี้ในใจความเดียวกัน เช่น เรือ่ งนี้ฉัน ไม่เห็นศรัทธา = ฉันไม่เชื่อ. โปรดดู Dictionnaire Etymlogue Latin Michel Breal et Angatole Bailly ตรงกับคํา Credo. เขาพยายามค้นหาธาตุของ Credo ที่สุดเขามาพบว่าเป็นคํา ๆ เดียวกัน กับคําภาษาสันสกฤตว่า Craddhami (= ศรัทธามิ) เขาบอกว่าน่าแปลก ใจเหลือเกิน ทีค่ ําสันสกฤต 2 คํา ผูกรวมกันแล้วมาตกอยู่ในภาษา ยุโรป คือคํา Crad + DO = ศรัท + ธามิ ซึ่งตามธาตุแปลว่า ฉัน วาง (= มอบ) ดวงใจให้แก่ … ขอผ่านไปไม่แยกคําละคํา, อักษร ละอักษร เพราะจะยืดยาวไป และ อาจยุ่งยากสําหรับบางท่านได้ ถ้า ท่านอยากทราบว่าทําไมตัว “ศ” ของเราจึงกลายเป็น ‘C’ ลาตินได้ ขอโปรดค้นดู Dictionnary เล่มชั้นนําที่คาํ Satem และ Kentum ท่านก็อาจจะเข้าใจได้ง่าย. (39) พระสมณะสูงสุด คือพระสันตะปาปา ลาตินว่า Summus Pontifex หรือ Pontifex Maximus ศัพท์ลาติน Pontifex = ผู้สร้างสะพาน, เข้าใจว่า สมณะผู้ใหญ่ในโบราณกาล เคยมีอาชีพเป็น ผู้สร้างสะพาน. (40) กลุ่มชุมนุม = Congregatio หมู่ชมรม = Communitas ดู (34) ด้วย คณะ = Collegium ดู (80) ด้วย (41) ประสาท – ให้, ยินดีให้, ข้าพเจ้านําคํา “ประสาท” มาใช้แทนคํา ‘Conferre’ ซึ่งคริสตังเราแต่โบราณมา ใช้คําว่า “โปรด” เช่น “โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ โปรดพระคุณ,” (42) คณะ Colleglum ดู (80) ด้วย 22. (43) ทําเนียบ (แผลงจากเทียบ) - แบบแผนที่จัดขึ้นเป็นระเบียบ. ตรงนี้เทียบเท่า ‘Corpus’ “โครงร่าง” (44) ปฐมภาวะ แปลคํา Primatus ดู (29) ด้วย (45) เอกสิทธิ์ = Praerogativa 23. (46) อํานาจอาชญาสิทธิ์ = Juridictio
หมายเหตุ : คําภาษากฎหมาย ในหนังสือเล่มนี้มีมากข้าพเจ้าแปล อย่าง "ขอไปที" ควรที่ผู้รู้กฎหมายไทย จะนําคําไทยมาเทียบและ กําหนดเจาะจงลงไป ให้ใช้คํานั้น ๆ ตรงกับคํานั้น ๆ (47)สภาพระสังฆราช : ในเอกสารลาตินฉบับนี้ ใช้คําว่า Coetus Episcopalis แต่ชาวยุโรปทั่ว ๆ ไป ใช้อกี ศัพท์หนึ่งว่า Conferentia Episcopalis 25. (48) วิวรณ์ (ปทานุกรมหน้า 684) : การเปิด การเผยแพร่, การชี,้ การแสดง, การไขความ. เป็นคําทีพ่ ระคริสตธรรมปรอเตสตันต์ นํามาใช้แต่โบราณแทนคํากรีก Apokalypsis คํานี้ตรงกันทีเดียวกับ ศัพท์ลาติน Revelatio Velare จาก Velum จึงแปลว่า เอาผ้ามา คลุม – ปิด. อุปสรรค re – ตรงกับอุปสรรคบาลี – สันสกฤต :วิ, นิส, อา. ความหมายก็อย่างเดียวกัน คือ บ่งความตรงข้าม ฉะนั้น Revelare จึงแปลว่า เอาผ้าคลุมออก, เปิด คําวิวรณ์ก็เช่นกัน มา จากธาตุ ส. วฤ 1 – ปิด, ปัดป้อง (สังเกต วฤ 2 - คัดเลือก ซึ่ง ภาษาไทยใช้มาก เช่น วร (สระขั้นคูณ), พระ, บวร (= ปวร). เมื่อวรณ – การปกปิดใส่อุปสรรค เป็นวิวรณ์ จึงเป็นการเปิด, การไข แสดง. คําที่ตรงกันอย่างพอดิบพอดีอย่างนี้ช่างหาได้ยากจริง ๆ. (49) พระคลังของฝาก = Depositum. (50) Corpus = กาย, ร่างกาย น่าจะใช้ องค์กร – ผู้กระทําเรือน ร่าง. 26. (51) อัครสาวกมัย = Apostolicus มีความเป็นของอัครสาวก, สืบมา จากอัครสาวก. (52) ราชสังฆภาพ = Regale Sacerdotium (53) ศักดิ์สิทธิการพละกําลัง = ศีลกําลัง 27. (54) ประมุข หัวหน้า : Antistes, Antistites : ตามธาตุศพั ท์ = ผู้ยืนอยู่ข้างหน้า, ผู้อยู่หัว, หมายถึงหัวหน้านั่นเอง. 28. (55) สังฆานุกร = Diaconus (56) สมณภาพ = Pontificatus ตําแหน่งพระสังฆราช (56 ทวิ) Hendiadys ในหนังสือเอกสารนี้ และโดยทัว่ ไปในหนังสือวรรณคดี ยุโรป อย่างน้อยกลุ่มภาษาลาติน – กรีก เขามีทํานองพูด (Figure) อย่างหนึ่งที่เรียกภาษากรีกว่า ‘Hendia Dyoin’ แปลคําละคําก็ว่า “หนึ่งในสอง” คือเขาใช้คํานาม 2 คําผูกด้วยสันธาน และแทนที่จะ ใช้คํานามคําเดียวกันผูกคําขยาย, เขาทําเช่นนี้เพื่อว่าเน้นความเช่นตรงนี้ เขาว่า : ด้วยชีวิตและด้วยความจริง, แทนที่จะเขียน “ด้วยชีวิตอัน
จริงจัง” ในเอกสารนี้พบหลายแห่งและจะพบต่อไปอีก จึงขอให้ผู้อ่าน สังเกตไว้. (57)สังฆานุภาพ = Diaconatus = ภาวะของการเป็นสังฆานุกร 30. (58) ฆราวาส (บ. ฆร + อาวาส) ตามศัพท์แปลว่า : ที่อยู,่ เรือน แต่ ตามความเข้าใจของคนไทย หมายความว่า ถึง : ผู้ครองเรือน, หรือ ผู้ มีเหย้าเรือน เป็นคําตรงกันข้ากับอาวาสิก – พระ, เราใช้คําฆราวาสนี้ แทนศัพท์ลาติน Laicus, กรีก (Laikos) แปลว่า ของหรือสิ่งที่เกี่ยวกับ พลเรือน ตรงข้ามกับศัพท์ Clericus = ของสงฆ์, ของพระ. (59) นักบวช เราใช้คํานี้ หมายถึงผู้ใฝ่ใจถวายตัวแด่พระเป็นเจ้า = Religiosi, บางครั้งยังใช้คํา “นักบวช” ยังใช้หมายถึงผู้ได้รับศักดิ์สิทธิการ – อนุกรมขั้นต่ํา (อนุกรมน้อย) ด้วย = Clerici (60) ผู้ครองสมณเพส หมายถึง ผู้เกี่ยวข้องกับการที่เป็นพระ (= พระสงฆ์). สมณเพส = Clerus (ผู้ครองสมณเพส = Clericus) (61) ศาสนบริกร ใช้แทนศัพท์ Pastor, Pastores, โดยมากข้าพเจ้าใช้ว่า ชุมพาบาล 33. (62) การแพร่ธรรม = Apostolatus 34. (63) วิสาสะ (บ. วิสสาส, ส. วิศวาส) – ความคุ้นเคย, ความสนิทสนม , ข้าพเจ้าเห็นว่าเหมาะจะแปลลาติน Conversatio. 35. (64) Sensus Fidei ดูเลข (27) 36. (65) อิสรเสรี (= อิสสร + เสรี) อิสสร. บ., ส. อิศวร = ความเป็น เจ้าเป็นนาย ไทย : ความเป็นไทแก่ตัวเอง. ส่วนเสรี บ. (ส. ไสวริน จาก สว + อีร)์ ตามศัพท์แปลว่า ไปไหนได้ตามอําเภอใจ, เอาแต่ใจ ข้าพเจ้าเห็นว่าพอและเกินเลยสําหรับแปลคําลาติน Libertas 37. (66) เจ้าหน้าที่ศาสนบริการ = Sacri Pastores 42. (67) Martyrium ภาวะการเป็นมรษสักขี, ท่านชอบมรณสักขี, ภาวะ ไหม ? สังเกต : คํา Martyr, ศัพท์ลาติน – กรีกแปลว่า พยานจากธาตุ Smr. สมฤ, Lit ตามอักษรแปลว่าผู้ระลึกถึง, ผู้ทําให้ระลึกถึง, ผู้ ประกาศชี้แจง. – คําธาตุนี้ภาษาไทยของเราก็มี คือ สมร (Smara) ซึ่งแปลว่า คนที่เราคิดถึง, เลยกลายเป็นสาวงาม, สาวรัก, - ระวัง อย่าไปปนคํา สมร Sa – mara กับคําสมรภูมิ (Samara – Fhumi) คํานี้มาจากธาตุ Mr, มฤ, แปลว่าตาย. ฉะนั้น สมรภูมิจึงแปลว่า สถานที่ตายร่วมกัน. – แต่ไหนแต่ไรมาเราเคยใช้ทับศัพท์ มาร์ตรี ์ อยู่ เสมอ, ต่อมาผู้ที่ไม่ชอบ ประดิษฐ์คําขึ้นใหม่ว่า มรณสักขี (มรณ –
ความตาย ตามธาตุ มฤ ที่กล่าวข้างบน กับคํา สักขี – พยาน. ภาษา บ. (ส. สากษิณ) ผู้ประดิษฐ์คงอยากจะให้เข้าใจว่า : มรณ สักขี = เป็นพยานจนกระทั่งยอมตาย แต่ตามรูปศัพท์ของภาษา ใคร ๆ ก็แปลว่าพยานของความตาย จึงมีผู้เปลี่ยนใหม่อีกว่า มาระตี, อ่านง่ายเสียงคล้ายคํา มาร์ตรี ์ แต่เขียนอย่างนี้ผู้รกู้ ็ต้องแปลว่า “ผู้ตายแล้ว” - ระหว่างที่ยังไม่มีคําใหม่, ข้าพเจ้าก็ขอเขียน มรณสักขี ไปก่อน. 43. (68) Religiosi = นักบวช ดูเลข (59) 45. (69) อภิสิทธิ์อันดับหนึ่ง หรือ ปฐมภาวะ = Primatus ดูเลข (44) (70)สมณะผู้ปกครองท้องถิ่น = Ordinarius Loci 50. (71) มรณสักขี = Martyr ดูเลข (67) 53. (72)พระเทวบุตร = ลูกของพระเป็นเจ้า 54. (73)การทรงรับเป็นมนุษย์ หรือ ทรงรับเอาเนื้อหนัง เป็นการแปลคํา Incarnatio ตรง ๆ 55. (74)พระกิตติ = Traditio ดูเลข (31) (75)Revelatio พระวิวรณ์ หรือ การไขแสดง ดูเลข (48) 56. (76) Annuntiatio เทวทูตแจ้งสาสน์, การรับสาส์นจากเทวทูต. (77) Incarnatio การมารับเอาเนื้อหนัง, การมาเป็นมนุษย์ (78) Collegialitas หมายความว่า การเป็นคณะของบรรดาพระสังฆราช ทั้งหลาย – เราใช้ศพั ท์สั้น ๆ ว่า คณะ ดูเลข (42) และ (80) ด้วย (79)Revelatio พระวิวรณ์ ดูเลข (48) (80) Collegium ความเป็นคณะของบรรดาพระสังฆราชทั้งหลาย เราใช้ คําแทนสั้น ๆ ว่า คณะ สังเกต ข้าพเจ้าเคยได้ยินแก่วัดกุฎีจีน เรียกสามเณราลัยว่า “กุเหล่” ข้าพเจ้าคิดว่าคํา กุเหล่ หมายถึง “Collegium” นี่เอง แถลงการณ์ (81) Liceitas สามีจิภาวะ - การมีสิทธิ์ทําได้ โดยไม่มีความผิด (82) Validitas อโมฆภาวะ คือ ความเป็นไปโดยไม่เป็นโมฆะ หมายเหตุ : เฉพาะอย่างยิ่งสําหรับ 2 คําหลังนี้ เป็นคํากฎหมาย อย่างเอกอุ ข้าพเจ้าไม่มีเจตนาจะบังคับใครให้ใช้ ควรเป็นหน้าที่ของ
คณะกรรมการ (ที่จะตั้งขึ้น) อนึ่งหากมีคําใช้ในกฎหมายไทย เหมาะสม ก็ควรใช้คาํ ในกฎหมายไทยของเรา.
ที่
ปัจฉิมลิขิต ข้าพเจ้าดีใจมาก ที่เอกสารที่พยายามแปลมาเป็นเวลานานที่สุดก็คลอด ออกมาได้ ก่อนที่ข้าพเจ้าจะตาย. แต่ข้าพเจ้าก็เสียใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ไม่อาจทํา ได้ตามปรารถนา คือกลับมาแปลใหม่อีกครั้งหนึ่ง และเทียบให้ตรงกับภาษา ลาติน ทุกวรรคทุกตอน. หากทําดังนี้ จะต้องคอยอีกเป็นเวลาเรือนปี และก็ไม่ แน่ว่าข้าพเจ้าจะยังอยู่หรือไม่, จะทําได้หรือไม่ เพราะตาข้าพเจ้ามัวมอเต็มที. เมื่อตรวจดูข้อเขียนเป็นครั้งสุดท้าย ข้าพเจ้าละอายใจที่หัวข้อในสารบัญ กับ หัวข้อในตัวบทเอกสารไม่ตรงกันทุกคํา เพราะได้เปลี่ยนคําไปบ้าง และมิได้แก้ไข, นอกนั้นที่โน้ตก็มีคําซ้ําซากหลายคํา แสดงให้เห็นว่า ขาดความประณีต หรือ ใครจะว่า “ชุ่ย” ชนิด “สุกเอาเผากิน” ข้าพเจ้าก็ยอมให้ด่าว่า. อนึ่ง ลายมือ ของข้าพเจ้าก็หวัดมากจะว่าเป็น “ไก่เขี่ย” ก็ได้ จึงทําให้ผู้พิมพ์ผิดพลาดไปบ้าง และแม้คนเรียงพิมพ์อาจผิดพลาดไปอีก เนื่องจากเป็นหนังสือทางวิชาการและมีคํา ยากที่ไม่เคยพบในหนังสืออื่น. อย่างไรก็ดี ข้าพเจ้าขอขอบใจ ผู้ที่กระตุ้นให้ข้าพเจ้าพยายามแปลจนถึง ที่สุด คือคุณพ่อประวิทย์ พงษ์วิรัชไชย และคุณพ่อพิบูลย์ วิสิฐนนทชัย, ท่านเองหลังนี้ยังได้ให้นายมานพ ผิวเกลี้ยง เลขานุการของท่านมาช่วยอ่าน, ช่วยพิมพ์คําแปลนั้น มิฉะนั้นแล้วงานคงไม่สําเร็จเป็นเล่มหนังสือไปได้. ขอบคุณ คุณมานพ ฯ มาก ๆ ด้วย ที่สุดข้าพเจ้าหวังใจว่า ผู้อ่านคงให้อภัย แม้ยังไม่ดจี ุใจ. จากที่ได้แปล เอกสารเรื่องพระศาสนจักรจนจบฉบับ ข้าพเจ้าขอบอกมั่นใจว่า ผู้ที่จะแปลนั้น ควรเป็นอาจารย์ทางพระคริสตธรรมโดยเฉพาะ เพราะท่านมีเวลาไตร่ตรองพินิจ พิจารณา นอกนั้นควรมีกรรมการพิจารณาและรับรองคําศัพท์ในพระคริสตธรรม คาทอลิกของเราด้วย. “ผู้หว่าน” เขียนที่สามเณราลัย น. ยอแซฟ, สามพราน วันที่ 2 ตุลาคม 1983