จุลสาร
ดนตรีศักดิ์สิทธิ์
Sacred Music Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 ประจาเดือนมกราคม – เมษายน 2012
บรรณาธิการบริหาร : คุณพ่อประชาชาติ ปรีชาวุฒิ ที่ปรึกษากองบรรณาธิการ : อาจารย์ศรินทร์ จินตนเสรี คุณประภาศรี วงศ์สมมาตร์ บรรณาธิการ : เซอร์เบนิลดา สมจันทร์ ผู้ช่วยบรรณาธิการ : ซิสเตอร์จรัสศรี คาผา Artwork : คุณสุพัตรา ผ่องศรี
จุลสารดนตรีศักดิ์สิทธิ์ 2 Sacred Music Newsletter
ทักทาย สวัสดีปีใหม่มายังทุกท่าน 1 ปีผ่านไป อะไรหลาย ๆ อย่างได้ผ่านมาแล้วก็ผ่านพ้นไป สิ่งที่ตั้งความหวังไว้คงมีทั้งที่สัมฤทธิ์ผล และ รอคอยให้สัมฤทธิ์ผลในสักวัน ชีวิตคนเรามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่การงาน หรืออะไรอื่น อีกมากมาย แต่ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อย่างน้อย ๆ ก็ทาให้เราได้รับประสบการณ์เพิ่ม ได้เรียนรู้ชีวิตในโลกแห่ง การเปลี่ยนแปลง และพร้อมในการเผชิญกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น ด้วยจิตใจที่เข้มแข็ง และเปี่ยมด้วยพลังที่ไม่ย่อท้อ ต่ออุปสรรคต่าง ๆ ในศักราชใหม่นี้ ทางแผนกดนตรีศักด์สิทธิ์ฯ ของเรา ได้พยายามสร้างสรรค์กิจกรรมในการส่งเสริมเกี่ยวกับ บทเพลงในพิธีกรรม เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถ และศักยภาพ แก่คนดนตรีวัดและผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับบท เพลงในพิธีกรรม เพื่อการร่วมพิธีกรรมของคริสตชนจะได้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวและมีชีวิตชีวา และที่สาคัญเพื่อ เทิดพระเกียรติมงคลแด่พระเจ้า สุขสันต์วันปีใหม่ 2012 ขอพระเจ้าอวยพรทุกท่าน
บรรณาธิการ
เรื่องจากปก (ภาพบน) “แผนกดนตรีศักดิ์สิทธิ์ในสภาพระสังฆราชฯ ร่วมขับร้องในพิธีการเปิดและเสก วัดแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ (วัดอัสสัมชัญ พัทยา)” แผนกดนตรีศักดิ์สิทธิ์ ในสภาพระสังฆราชฯ นาโดยคุณพ่อประชาชาติ ปรีชาวุฒิ ได้พาคณะนักขับร้องเซซีลีอา จาก วัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ สามเสน อานวยเพลงโดย อ.ศรินทร์ จินตนเสรี ร่วมขับร้องในงานพิธีการเปิดและเสกวัดแม่พระรับ เกียรติยกขึ้นสวรรค์ ที่พัทยา จ.ชลบุรี เมื่อวันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2011 โดยพระสังฆราช ซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี แห่งสังฆ มณฑลจันทบุรี เป็นประธาน และพระอัครสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช แห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ มาร่วมเป็นเกียรติ ในพิธีเปิดและเสกวัดแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ ครั้งนี้ด้วย
(ภาพล่างขวา) “ประกวดการประพันธ์เพลงในพิธีกรรม 2011” แผนกดนตรีศักดิ์สิทธิ์ในสภาพระสังฆราชฯ และสื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย จัดโครงการประกวดการประพันธ์ เพลงในพิธีกรรม 2011 ซึ่งได้มีผู้เข้าร่วมส่งผลงานมาทั้งสิ้น 17 เพลง มีผลงานเพลงที่ผ่านและได้รับการรับรอง 4 เพลง สาหรับการประกาศผลและมอบของรางวัลได้ประกาศผ่านรายการ “เสวนาโต๊ะกลม ครั้งที่ 4 ” จัดโดยสื่อมวลชน คาทอลิกอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ในหัวข้อ “วันอาทิตย์ของคริสตชน” ซึ่งถ่ายทอดสดทางอินเตอร์เน็ต และในรายการ มี การประกาศผลการประกวดแต่งบทเพลงศักดิ์สิทธิ์ โดยมีคุณพ่อประชาชาติ ปรีชาวุฒิ และ อ.ศรินทร์ จินตนเสรี มาเป็นผู้ มอบประกาศนียบัตร พร้อมของรางวัล ให้แก่ คุณณัฐวุฒิ วัชรศักดิ์ไพศาล ตัวแทนที่ได้รับคัดเลือกมารับในรายการ สาหรับ เพลงที่ชนะการประกวดทั้ง 3 เพลง ได้มีการเผยแพร่ในรายการ เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2011 ที่ผ่านมาด้วย โดยท่านสามารถติดตามการประกาศผลและการเผยแพร่ผลงานการประกวดการประพันธ์เพลงในพิธีกรรม 2011 ได้ที่ www.catholic.or.th/service/inform/inform2011/ms2.html และ Facebook : thaisacredmusic@hotmail.com
จุลสารดนตรีศักดิ์สิทธิ์ 3
Sacred Music Newsletter
หลักการเพื่อจัดเตรียมดนตรีในพิธีกรรมอย่างเหมาะสม คุณพ่อบุญชรัสมิ์ สุขสว่าง มนุษย์ยังคงมีความรู้สึกส่วนตัว และดนตรีก็เป็นหนึ่งในการแสดงสุนทรียภาพของมนุษย์ ดังนั้นดนตรีศักดิ์สิทธิ์ซึ่ง เป็นหนึ่งในการแสดงออกเชิงศิลปะ หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าจะต้องเกิดความรู้สึก ชอบ/ไม่ชอบด้วยเช่นกัน อาทิ ฉันชอบเพลงนี้ มากกว่าเพลงนั้น แต่ในขณะเดียวกันอีกคนหนึ่งอาจจะชอบไม่เหมือนกับเราก็เป็นได้ แน่นอนว่าไม่มีสิ่งใดป้องกันไม่ให้เกิดความรู้สึกนี้ได้ แต่อย่าลืมว่าดนตรีสาหรับพิธีกรรมนั้นอยู่ในลักษณะพิเศษ ดนตรีในพิธีกรรมไม่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกส่วนบุคคลดังที่พระสันตะปาปาจอห์นปอลที่ 2 กล่าวไว้ในปี 2003 ว่า “มิใช่ดนตรี ทุกประเภทจะเหมาะสมกับการเฉลิมฉลองพิธีกรรม” ซึ่งพระองค์ท่านอ้างถึงคากล่าวของพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ว่า “หาก ดนตรีไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีหรือการร้อง ไม่ได้แสดงออกถึงท่าทีของการภาวนา การถวายเกียรติ ความงาม และก่อให้เกิด บรรยากาศของความศักดิ์สิทธิ์แล้ว สิ่งนั้นไม่ใช่ดนตรีศักดิ์สิทธิ์” แนวคิดนี้มาจากหลักเกณฑ์ของสภาสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 ซึ่งกล่าวไว้ว่า “ยิ่งดนตรีศาสนามีความสัมพันธ์ใกล้ชิด กับกิจพิธีกรรมมากเพียงใด ก็ยิ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากขึ้นเพียงนั้น” (SC 112) เพราะมิใช่พิธีกรรมมีคุณค่าเพราะบทเพลง หากแต่บทเพลงต่างหากที่มีคุณค่าเพราะได้รับใช้พิธีกรรมอย่างดี พระสันตะปาปาจอห์นปอลที่ 2 เรียกร้องให้นักดนตรีนั้น “พิจารณาอย่างลึกซึ้งจากมโนธรรมว่าที่สุดแล้วดนตรีและ บทเพลงต้องกลับไปสู่การรับใช้พิธีกรรม จึงจาเป็นต้องทาให้พิธีกรรมนั้นปราศจากรูปแบบที่ไม่เหมาะสม การแสดงออกอย่าง ไม่ระมัดระวัง รวมถึงการละเลยในการจัดเตรียมดนตรีและคาร้องอย่างดี ซึ่งจะเป็นผลทาให้ดนตรีเหล่านั้นไม่เหมาะสมกับ พิธีกรรม” พระศาสนจักรไม่เคยปฏิเสธผลงานของนักดนตรีและศิลปิน ในการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อถวายเกียรติแด่พระเจ้า (เทียบ SC 122) ไม่ว่าจะเป็นบทเพลงประสานเสียงในรูปแบบต่างๆ ดนตรีที่ใช้ออร์แกนและเครื่องดนตรีอื่นๆ ซึ่งได้รับการ อนุมัติแล้วประกอบ ดนตรีสมัยนิยม รวมถึงดนตรีร่วมสมัยในพิธีกรรมและดนตรีศาสนา (เทียบ MS 4b) ตราบใดที่ดนตรี เหล่านี้ เข้ากันได้กับจิตตารมณ์ของพิธีกรรม นั่นก็คือ ส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการถวายเกียรติแด่พระเจ้า (เทียบ SC 117) ดังนั้นเมื่อจัดเตรียมพิธีกรรม ต้องจัดเตรียมอย่างดีตามกฎในหนังสือพิธีกรรม (เทียบ IGRM 111) และจาเป็นต้อง คานึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของประชากรของพระเจ้า มากกว่าคานึงถึงความชอบหรือไม่ชอบส่วนตัว (เทียบ IGRM 352) กล่าวคือในแง่ปฏิบัตินั้น เมื่อผู้รับผิดชอบจัดเตรียมดนตรีสาหรับพิธีกรรม จึงต้องเริ่มต้นที่ว่า “บทเพลง (ดนตรี) นั้นๆ เหมาะสมกับพิธีกรรมที่กาลังจัดเตรียมอยู่หรือไม่” บทบาทของดนตรีคือการรับใช้พิธีกรรม ทาให้พิธีกรรมมีคุณค่าและ เหมาะสมกับการเป็นพิธีกรรมทางศาสนาโดยทาให้พิธีกรรมนั้นสมบูรณ์ ไม่ใช่การทาให้ผู้มาร่วมพิธีได้รับความสนุกสนาน หรือการแสดงความสามารถด้านดนตรี (MS 11) เพราะฉะนั้นผู้จัดเตรียมฯ ต้องไม่นาเอาความรู้สึกชอบ/ไม่ชอบส่วนตัวมา เป็นส่วนหนึ่งของการจัดเตรียม ผู้จัดเตรียมฯ ต้องสานึกเสมอว่า ตนเองกาลังทาหน้าที่สาคัญ นั่นคือเน้นการมีส่วนร่วมของ สัตบุรุษเป็นอันดับแรก (เทียบ MS 9, SC 114)
จุลสารดนตรีศักดิ์สิทธิ์
4
Sacred Music Newsletter
ภาพเป็นข่าว หน่วยงานดนตรีศักดิ์สิทธิ์สังฆมณฑลอุบลราชธานี จัด "ชุมนุมนักดนตรี คาทอลิก สังฆมณฑลอุบลราชธานี ครั้งที่ 1" ในระหว่างวันที่ 3-4 ตุลาคม 2011 ณ อุบล น้าซับ รีสอร์ท จ.อุบลราชธานี ทั้งนี้ เพื่อให้นักดนตรีคาทอลิกได้พบปะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเกิดความร่วมมือกัน ในอันที่จะช่วยเหลืองาน ของสังฆมณฑลต่อไป ในการชุมนุมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมจานวน 35 คน
“3 สิ่งที่นึกถึง...เมื่อกล่าวถึงบทเพลงวัดที่มีชีวติ ชีวา”
คุณพ่อบรรจง พานุพันธ์ นักประพันธ์เพลงวัดคาทอลิก สังฆมณฑลจันทบุรี
สิ่งแรกที่น่าจะเป็นคือ เป็นเพลงที่คนส่วนใหญ่ที่มาร่วมพิธีสามารถขับร้องร่วมกันได้ และเมื่อทุกคนเปล่งเสียงขับร้องพร้อมๆ กันอย่าง “พร้อมเพรียง” เป็นน้าหนึ่งใจเดียวกัน ก็ย่อมทาให้พิธีกรรมมีชีวิตชีวา สาหรับบทขับร้องในตัวเองนั้น ก็น่าจะมีเนื้อร้องที่มี “ความหมายดีกินใจ” สัมผัส ปัญหาชีวิต ในชีวิตจริงของคนเรา ขณะที่ขับร้องก็จะสามารถขับร้องออกมาจากส่วนลึก ของจิตใจ สามารถถ่ายทอดความรู้สึกจากใจ ทาให้การขับร้องนั้นมีชีวิตชีวาได้ และที่สุด ก็คงจะเป็นทานองเพลงที่ “ไม่ยากเกินไป” และมีความไพเราะ เนื้อร้องและ ทานองประสานกลมกลืน ทาให้รู้สึกอยากออกเสียงขับร้องร่วมกับผู้อื่น มีความสุขในการ ขับร้อง เป็นต้น
สาหรับคุณพ่อเสกสรร สมศรี สิ่งที่คิดถึงเป็นมาตรฐานอันดับแรก คือ “การมีส่วนร่วมของทุกคนในการขับร้อง” เพราะการที่ทุกคนมีโอกาสได้ขับร้องสรรเสริญพระเจ้าด้วยเสียงเพลงเดียวกันนั้น แสดงให้เห็นถึงความเป็นน้าหนึ่งใจเดียวกัน ดังนั้น การเลือกบทเพลงในพิธีกรรมจึงจะต้องเป็นบทเพลงที่ทุกคนสามารถขับร้องพร้อมกันได้
จุลสารดนตรีศักดิ์สิทธิ์ 5 Sacred Music Newsletter
คุณพ่อเสกสรร สมศรี ผู้แทนดนตรีศักดิ์สิทธิ์ สังฆมณฑลอุบลราชธานี
สิ่งที่สองคือ “นักขับร้อง” ซึ่งนักขับร้องเหล่านี้จะต้องตระหนักด้วยว่าเพลงที่เรา กาลังร้องอยู่นั้นคือบทเพลงศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรม จึงควรมีการฝึกซ้อมให้มีความชานาญจน สามารถนาขับร้องได้อย่างถูกต้อง และสิ่งสุดท้ายคือ “ดนตรี” ซึ่งพระศาสนจักรยอมรับ เครื่องดนตรีแบบ Pipe Organ ในการบรรเลงประกอบการขับร้องบทเพลงในพิธีกรรม ใน ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ปิดกั้นการนาเครื่องดนตรีท้องถิ่นที่มีความเหมาะสมในวัฒนธรรม มาบรรเลงด้วยให้เข้ากับพิธีกรรมได้อย่างลงตัว ปัจจัยที่ได้กล่าวไปนั้นเป็นส่วนประกอบ แต่สิ่งที่สาคัญที่สุดคือตัวเราทุกคนที่ได้ ร่วมในพิธีกรรมขณะนั้น ซึ่งจะต้องตระหนักถึงการมีส่วนทาให้พิธีกรรมมีชีวิตชีวาโดยการ เปล่งขับร้องออกมาจากใจจริงเพื่อสรรเสริญพระเจ้าของเราด้วยบทเพลง
เมื่อพูดถึง “บทเพลงวัด” จะคิดถึงคาว่า “ภาวนา” ด้วยเสมอ ดังนั้นการร้องเพลงวัดอย่างมีชีวิตชีวา ก็หมายถึงการ ภาวนาที่มีชีวิตชีวาด้วย สาหรับ 3 สิ่งที่นึกถึงเมื่อภาวนาด้วยบทเพลงวัดคือ... สิ่งแรกคือ “เสียงร้อง” ที่เปล่งออกมาอย่างรู้ความหมายของบทเพลงนั้นๆ ซึ่งจะ สื่อให้ผู้ฟังสัมผัสได้ถึงความศรัทธา เป็นเสียงที่ฟังแล้วทาให้ผู้ร่วมพิธีสวดภาวนาได้อย่างดี สิ่งที่สองคือ “เสียงดนตรี” ที่ผู้เล่นได้ฝึกฝนและเล่นอย่างรู้ความหมายของเพลง นั้น จะช่วยให้ทุกคนสามารถยกจิตใจขึ้นหาพระเจ้าและมีส่วนร่วมในพิธีกรรมอย่างมี ชีวิตชีวามากขึ้น และสิ่ ง สุ ด ท้ า ยคื อ “การมี ส่ ว นร่ ว มของผู้ ม าร่ ว มพิ ธี ก รรมทุ ก คน” จาก ประสบการณ์เมื่อได้ไปร่วมพิธีกรรมตามที่ต่างๆ หากวัดใดที่สัตบุรุษทุกคนหรือส่วนใหญ่ เซอร์มารีอุส สุขโข สามารถร่วมขับร้องเพลงในพิธีกรรมได้จะเป็นการภาวนาที่มีชีวิตชีวา และที่สาคัญคือทา ผู้นาดนตรี คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ให้เกิดคุณค่าทางด้านจิตใจด้วย เมื่อพูดถึงเพลงวัด สิ่งแรกที่นึกถึงก็คือ “ทานอง” เรื่องทานองเพลงนี้ต้องเรียบง่ายและจริงใจ ให้ความรู้สึกเป็นบวก เช่น เพลงต่าง ๆ ใน Christmas Carol ซึ่งทานองจะอยู่ในบันไดเสียงเมเจอร์ แต่ที่สาคัญต้องมีความไพเราะ สิ่งที่ สองที่ ทาให้เพลงวัดมี ความหมายคือ “คาร้อง” คาร้องต้องเป็นภาษาที่ตรงไป ตรงมาแต่มีสัมผัส ไม่ใช้ภาษาสูงที่ทาให้พระเจ้าเป็นเรื่องยากที่จะเข้าถึง หมายความว่าเป็น ภาษาง่าย ๆ ธรรมดา ๆ ฟังแล้วไม่ต้องแปล คาร้องและทานองต้องเข้ากันได้อย่างดียิ่ง หมายความว่าเมื่อใส่เนื้อเข้ากับทานองแล้ว ความหมายของคาต้องไม่ผิดไป สิ่งสุดท้ายของเพลงวัดที่นึกได้ก็คือ “รูปแบบ (Style)” รูปแบบของเพลงที่นามาใช้ ต้องไม่ใช่รูปแบบที่ใช้ในทางโลกียะหมายถึงประเภท Dance, Hiphop ฯลฯ ผู้ฟังจะรู้สึกได้ทันทีว่า นี่ไม่ใช่เพลงวัด แต่เป็นเพลงที่บรรเลงตามสถานบันเทิงต่าง ๆ เป็นต้น คุณกวี อังศวานนท์ Knight Commander of the Order สุดท้าย ผมอยากจะบอกว่าเพลงวัดที่ดีนั้น ต้องทาให้ผู้ฟังมีความสงบในจิตใจ of St.Gregory the Great สามารถยกจิตใจขึ้นหาพระเจ้าได้และจาต้องประกอบด้วย 3 สิ่งดังกล่าวข้างต้น
จุลสารดนตรีศักดิ์สิทธิ์
6
Sacred Music Newsletter
สิ่งแรกคือ “เนื้อหาที่เข้าถึงง่าย” เป็นบทเพลงที่มีเนื้อความกะทัดรัดตรงไปตรงมา ไม่ใช้สานวนหรือศัพท์ที่ซับซ้อน เมื่อร้องแล้วจาได้ง่าย เข้าถึงพระและความศรัทธาได้ง่าย ไม่ต้องตีความกันนาน สิ่งที่สองคือ “วรรณยุกต์กับทานองต้องไม่ขัดกัน ” มีทานองที่สอดคล้องกับคา ร้องในเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทย และมี ฉันทลักษณ์ที่สอดคล้องกับหลักภาษาและหลัก ดนตรีโดยไม่ขัดเขินต่อกัน เมื่อร้องแล้วมีเสียงวรรณยุกต์คงเดิมที่ใช้ตามปกติ และไม่ควร ใช้ “คาตาย” กับโน้ตที่มีอัตราจังหวะยาวหรือเป็นโน้ตท้ายประโยคดนตรี
ดร.อภิชาต อินทรวิศิษฏ์ Knight of the Order of St.Gregory the Great
และสิ่ งที่สาม คือ “ไม่ ต้องโก่งคอร้องหรือก้ ม หน้า ก้ มตาร้อง” มีช่ วงเสียงที่ เหมาะสมกับการขับร้องทั่วไป กล่าวคือ ทานองเพลงต้องค่อยเป็นค่อยไป ไม่ว่าจะเป็นการ ไล่โน้ตขึ้นหรือลงไปเรื่อยๆ แต่ต้องไม่วิ่งจากโน้ตสูง ลงมาหาโน้ตต่าที่เกินหนึ่ง ออคเทฟ (คู่แปด) เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ความมีชีวิตชีวามิได้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของบทเพลงเสมอไป หากแต่ประชาคมสัตบุรุษในวัดหนึ่งรู้สึกดี กับบทเพลงบางบทที่มิได้มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น ก็ต้องถือว่าบทเพลงนั้น “มีชีวิตชีวา” เพราะอย่างน้อย ก็ทาให้ทุกคนใน โบสถ์นั้น มีความสุขที่ได้ร้องเพลงนั้น ดังนั้น ภาวะของ “ชีวิตชีวา” อาจหมายถึง ความพร้อมมูลหรือความคุ้นเคยของ สัตบุรุษมีอยู่ในแต่ละบริบทแตกต่างกันไป
อ.อายุ นามเทพ อาจารย์ประจาภาควิชาดนตรี มหาวิทยาลัยพายัพ สังฆมณฑลเชียงใหม่
อ.ชลัชนัย ซื่อเกียรติขจร นักประพันธ์เพลง ปริญญาโทการแต่งเพลง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สิ่งแรกคือ“การได้ร่วมขับร้องเพลงวัด”ภาพประทับใจที่สุดคือซิสเตอร์เลติเซีย คณะอูร์ซูลิน ที่มี ใบหน้ายิ้มแย้มเสมอ เพลงวัดทุกเพลงที่ได้ร้องกับท่านทาให้จิตใจแช่ม ชื่น ทาให้วันที่ได้ ร้องเพลงเป็นวันที่มีความหมายและความสุข สิ่งที่สองที่คิดถึงคือ “บรรยากาศของเทศกาลเฉลิมฉลอง” ไม่ว่าจะเป็น เทศกาลพระคริสตสมภพ หรือเทศกาลปัสกา ที่ฉลองการกลับเป็นขึ้นมาของพระคริสต์ บทเพลงที่ใช้ในเทศกาลเหล่านี้ ล้วนมีลักษณะแห่งความชื่นชมยินดี มีท่วงทานองที่มี ชีวิตชีวา สื่อถึงความหวังและความปีติ และสิ่งที่สามที่คิดถึงก็คือ “คิดถึงผู้ที่อยู่เบื้องหลังเพลงเหล่านั้น” คือ ผู้แต่ง ผู้ ขับร้องและบรรเลง ที่สื่อทานองและคาร้องออกมาจากใจ ทาให้รู้สึกได้ถึงพระเจ้าผู้ทรง ชีวิต ที่เป็นแรงบันดาลใจให้พวกเขาสร้างเพลงเหล่านี้ออกมา หากกล่าวถึงบทเพลงวัดที่มีชีวิตชีวานั้น 3 สิ่งที่นึกถึง คงจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ องค์ประกอบของดนตรีทั้งหมด นั่นก็คือ “นักร้อง นักดนตรี และวาทยกร” เพราะหาก องค์ประกอบทั้ง 3 สิ่งนี้ ได้ทาหน้าที่รวมกันโดยเข้าใจความหมายของบทเพลงอย่าง ซาบซึ้ง และไปในทิศทางเดียวกันแล้ว ไม่ว่าเพลงจะอยู่ในจังหวะช้าหรือเร็ว ก็จะทาให้ เพลงมีชีวิตชีวาได้ อีกทั้งทาให้ผู้ฟังได้รับอรรถรสในการฟัง ส่งผลให้เพลงดูน่าฟังขึ้น ในแง่ของดนตรีศักดิ์สิทธิ์นั้น ก็จะช่วยส่งเสริมและยกระดับจิตใจของผู้ฟังให้สูงขึ้น ได้อีกด้วย
จุลสารดนตรีศักดิ์สิทธิ์
ดนตรีศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรม
7
Sacred Music Newsletter
คุณพ่อประชาชาติ ปรีชาวุฒิ
ดนตรีศักดิ์สทิ ธิ์ ศักดิ์สิทธิ์อย่างไร ? จากเอกสารคาแนะนาของพระศาสนจักรที่กล่าวไว้ใน “ดนตรีศาสนา” (sc) บทที่ 6 ข้อที่ 112 ว่า “ยิ่งดนตรีศาสนามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพิธีกรรมเพียงใด ก็ยิ่งเป็นสิง่ ศักดิ์สิทธิ์มากขึ้นเพียงนั้น” (sc 112)
ดนตรีศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรม หมายถึง บทเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อช่วยส่งเสริมให้สัตบุรุษได้มีส่วนร่วมในศาสนพิธีกรรม สรรเสริญพระเจ้า ได้อย่างสง่างามและศักดิ์สิทธิ์ (SC 112) ทั้งหมดนี้เพื่อให้สัตบุรุษที่มาชุมนุมในคารวกิจ “มีส่วนร่วมในพิธีอย่างแข็งขัน เพื่อการภาวนาขับร้อง สรรเสริญพระเจ้าเป็นสาคัญ” ดนตรีในพิธีกรรมจึงมีบทบาทในการสร้างบรรยากาศความเป็นหนึ่งเดียว เพราะเมื่อทุกคน ร้องเพลงเดียวกัน ทาให้เกิดความเป็นหนึ่ง สิ่งที่ร้องก็ไพเราะมีความหมายและทาให้พิธีกรรมนั้นเกิดความงดงาม เพราะเป็น สิ่งที่ทุกคนร่วมใจกันทานั่นเอง เช่นนี้ จึงควรหลีกเลี่ยงการเลือกเพลงที่สัตบุรุษไม่มีส่วนร่วม เช่น เพลงที่ใช้เสียงร้องสูงหรือต่าเกินไป เพลงที่ สัตบุรุษส่วนใหญ่ยังร้องไม่ได้ เพลงที่ส่อไปในแนวทางของฝ่ายโลก หรือเพลงที่ให้ความหมายไปในด้านอื่นๆ ก็ควรจะต้อง ระมัดระวังด้วยเช่นกัน ดังนั้น การที่บรรดาพระสงฆ์ ผู้อภิบาลสัตบุรุษ นักดนตรีและสัตบุรุษทั้งหลาย จะได้ร่วมใจกันเพื่อพยายามทาให้ การปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้ไปสู่เป้าหมายที่แท้จริงของดนตรีศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรม ถ้าบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นมา ไม่ได้ถวาย เกียรติแด่พระเจ้า และไม่ได้ทาให้คริสตชนเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ บทเพลงนั้น ไม่ถือว่าเป็นบทเพลงศักดิ์สิทธิ์ อย่างไรก็ตามพิธีกรรมเป็นกิจการของพระคริสตเจ้า และเป็นกิจกรรมของพระศาสนจักรทาให้ดนตรีศักดิ์สิทธิ์ใน พิธีกรรมต้องมีหลักการพื้นฐาน ต้องคานึงถึงเรื่องหมู่คณะเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะพิธีกรรมเป็นกิจการสาธารณะ ไม่ใช่ กิจกรรมส่วนบุคคล ดนตรีศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในพิธีกรรม จึงต่างจากดนตรีศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้บารุงศรัทธา กล่าวคือดนตรีศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ใน พิธีกรรมต้องเหมาะสมสาหรับหมู่คณะ มากกว่าที่จะเป็นส่วนบุคคล เพราะดนตรีที่ใช้บารุงศรัทธา อาจมีลักษณะส่วนบุคคล หรือเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น พอจะสรุปได้ว่า ดนตรีศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรม จึงเป็นดนตรีที่มีจิตตารมณ์หรือจุดประสงค์เพื่อ 1. ส่งเสริมความเป็นน้าหนึ่งใจเดียวกันของประชาสัตบุรุษ ให้มีส่วนร่วมเพื่อการสรรเสริญพระเจ้า 2. ส่งเสริมให้การภาวนาฝ่ายจิตใจ มีบรรยากาศชวนศรัทธา สัมผัสกับพระเจ้าได้อย่างมีชีวิตชีวา 3. ส่งเสริมจารีตพิธีกรรมให้มีคุณค่า ความหมาย ความสง่างาม และมีบรรยากาศของความศักดิ์สิทธิ์ (SC 112)
จุลสารดนตรีสักดิ์สิทธิ์
8
Sacred Music Newsletter
แผนกดนตรีศกั ดิ์สิทธิ์ในสภาพระสังฆราชฯ
เปิดอบรมการสร้างและนาคณะนักขับร้องประสานเสียงในวัด Basic 2 (คอร์สต่อเนื่อง) Choral Conducting Basic 2 สอนโดย อ.ศรินทร์ จินตนเสรี (M.A. in Music, Choral Conducting, University of Santo Tomas, Philippines) เรียนทุกวันพฤหัสบดี เวลา 17.30 – 20.30 น. (เป็นจานวน 10 สัปดาห์) ณ อาคารสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย เริ่มพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555 และมีการมอบประกาศนียบัตรเมื่อจบหลักสูตรการอบรม ค่าลงทะเบียนท่านละ 4,400 บาท เปิดรับเพียง 12 ท่าน เนื้อหาการอบรม 1) เทคนิคการซ้อมเพลงในรูปแบบต่างๆ กับคณะนักร้อง 2) เทคนิคการอานวยเพลง และการสื่อสารกับคณะนักร้อง 3) การวิเคราะห์และเลือกใช้บทเพลงที่เหมาะกับคณะนักร้อง 4) พบปะและฝึกฝนกับคณะนักร้อง (ปฏิบัติจริง)
ขอรับใบสมัครได้ที่ โทร.02-681-3900 ต่อ 1407 หรือที่ 089-108-6850 Email:thaisacredmusic@gmail.com
คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม (เฉพาะคณะนักร้องของวัด) 1) ผ่านการอบรมการสร้างและนาคณะนักขับร้องประสานเสียงในวัด Basic 1 2) มีความรู้ทฤษฎีดนตรีเป็นอย่างดีในเรื่องของขั้นคู่และการใช้ Chord 3) มีคณะนักร้องที่สามารถนามาฝึกปฏิบัติได้จริง 4) มีประสบการณ์ในการเป็นผู้อานวยเพลง หมดเขตรับสมัคร 20 มกราคม 2555 หมายเหตุ : ผู้เข้าอบรมทุกท่านต้องผ่านการอบรมการสร้างและนาคณะนักขับร้องประสานเสียงในวัด Basic 1 สอบสัมภาษณ์ หรือเข้ารับการทดสอบความพร้อม
แผนกดนตรีศักดิ์สิทธิ์ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ขอเชิญ 1) ผู้ที่เล่นดนตรีในวัด 2) ผู้นาการร้อง 3) ผู้แทนกลุ่มนักร้อง 4) บุคลากรที่ดูแลดนตรีของวัด (วัดละไม่เกิน 4 ท่าน) ร่วมการอบรม บรรยาย และเสวนา เรื่อง “อย่างไรจะทาให้ชุมชนวัดมีชีวิตชีวา ด้วยเสียงเพลง” วิทยากรโดย คุณพ่ออนุสรณ์ แก้วขจร, คุณพ่อวัชศิลป์ กฤษเจริญ, คุณพ่อบุญชรัสมิ์ สุขสว่าง, ดร.ดนัย คริสธานินทร์, อ.ศรินทร์ จินตนเสรี, เซอร์อักเนสเซ วงษ์ยรรยง ฯลฯ ใน “ชุมนุมนักดนตรีวัด” วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม 2555 เวลา 8.30 – 14.30 น. ณ ศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาล “บ้านผู้หว่าน” อ.สามพราน จ.นครปฐม **ไม่เสียค่าใช้จ่าย