ปีท่ี 12 ฉบับที่ 11 ประจำ�เดือนพฤศจิกายน 2014
วิถชี มุ ชนวัด... วัดแม่พระประจักษ์
เมืองลูรด์ บางสะแก
1
น.
4
การสวดอุทศิ แก่ผลู้ ว่ งลับ และพิธมี สิ ซาปลงศพ น.
การเสด็จมาบังเกิด ของพระกุมารเยซู
8
น.
พระวรสารวันนีพ้ ดู ถึง กษัตริยท์ จ่ี ดั งานเสกสมรสให้ พระโอรส แต่ผรู้ บั เชิญไม่ตอ้ งการจะมาร่วมงานดังกล่าว แล้วผลลัพธ์เป็นอย่างไร เราทราบดี ฟังแล้วน่ากลัวด้วย เพราะเรือ่ งเปรียบเทียบดังกล่าวนัน้ พูดถึงความสัมพันธ์ ระหว่างเรากับพระเจ้า และในความสัมพันธ์น้ี คนเรามี อิสรภาพ เป็นอิสรภาพที่เต็มเปี่ยม แต่ไม่ใช่อิสรภาพที่ สละละทิง้ พระเจ้าทีไ่ ม่มพี ระเจ้าร่วมอยูด่ ว้ ย ดังนัน้ อิสรภาพของมนุษย์แม้จะเป็นอิสรภาพ “ไร้ขดี จำ�กัด” แต่จะต้องไม่จ�ำ กัดพระเจ้าไปจากชีวติ ของเรา... วาทะพระอัครสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พระอัครสังฆราชอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ บทเทศน์มสิ ซาเปิดโครงการพักภารกิจ ฟืน้ ฟูชวี ติ พระสงฆ์ ณ บ้านผูห้ ว่าน วันจันทร์ท่ี 22 สิงหาคม 2011
บทความ...ทีมงานวิถีชุมชนวัด
พี่น้องที่รัก สารสังฆมณฑลฉบับนี้ เราจะพาพี่น้องไปสัมผัสกับ วิถีชุมชนวัด วัดแม่พระประจักษ์เมืองลูร์ด บางสะแก ซึ่งมีคุณพ่อ จินตศักดิ์ ยุชัยสิทธิกุล เป็นคุณพ่อเจ้าอาวาส และคุณพ่ออนุชา ชาวแพรกน้อย เป็นผู้ช่วยงานอภิบาลที่วัดครับ งานวิถีชุมชนของวัดแม่พระประจักษ์เมืองลูร์ด บางสะแก มีจุดเริ่มต้นอย่างไรครับ? เมื่อประมาณ 14 – 15 ปีที่ผ่านมา สมัยคุณพ่อศุภศิลป์ สุขสุศิลป์ เป็นเจ้าอาวาส ได้นำ�บรรดาสัตบุรุษ ไป เข้าเงียบฟื้นฟูจิตใจ ที่ภูเขาทาบอร์ จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีทีมงานจากวัดนักบุญเปโตร สามพราน และคุณครู สุพรรณี เป็นวิทยากร หลังจากกลับมาที่วัด ก็มีการตั้งกลุ่มอ่านพระวาจาตามบ้านร่วมกัน จนกระทั่งต่อมาด้วย ปัญหาขาดบุคลากรที่จะสานต่อและดูแลอย่างจริงจัง ทำ�ให้ต้องล้มเลิกการอ่านพระคัมภีร์ตามบ้านไป แต่ยังคงมี การแจกแผ่นพระวาจาอย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยมีผู้ที่ทำ�หน้าที่นี้อย่างสม่ำ�เสมอคือ คุณไพโรจน์ ซึ้งจิตศิริโรจน์ เป็นพลมารีที่คอยแจกแผ่นพระวาจาทุกสัปดาห์หลังมิสซาสายวันอาทิตย์ เป็นเวลา 10 กว่าปีมาแล้ว จนกระทัง่ สมัย คุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ ย้ายมาเป็นผูช้ ว่ ยเจ้าอาวาส (คุณพ่อพรชัย บรัศวกุล) เมือ่ ประมาณ ปี ค.ศ.2010 มีอบรมเกี่ยวกับงานวิถีชุมชนวัด ที่บ้านผู้หว่าน คุณพ่อได้นำ�สัตบุรุษจำ�นวนหนึ่งเข้าอบรมอย่าง ต่อเนื่อง เริ่มมีการอ่านและแบ่งปันพระวาจากัน ช่วงหลังมิสซาสายวันอาทิตย์ โดยใช้ที่หน้าวัด และเชิญชวน สัตบุรุษทั่วไปเข้าร่วม ตอนแรกๆ ก็ใช้แผ่นพระวาจา ต่อมาก็ใช้หนังสือพระคัมภีร์บ้าง
หลังจากคุณพ่อพรชัย (เจ้าอาวาส) กลับจากดูงานและรับการอบรมเรื่อง วิถีชุมชนวัดที่ประเทศอินเดีย คุณพ่อได้ประชาสัมพันธ์ให้สัตบุรุษได้รู้จักงาน วิถชี มุ ชนวัดมากขึน้ โดยทำ�ในลักษณะ MOBILE TEAM จึงมีการรวม สหองค์กร คนทำ�งานในองค์กรในเขตวัด ประกอบด้วย พลมารี สชค. เยาวชน สภาภิบาลวัด โคเออร์ สตรีคาทอลิก ได้จัดทำ�แบบฟอร์ม และแยกย้ายกันออกสำ�รวจตาม บ้านในแต่ละซอย พร้อมกับแนะนำ�ให้รจู้ กั งานวิถชี มุ ชนวัด และประชาสัมพันธ์ ให้ทราบว่า เราจะมีการรวมกลุม่ กันอ่านพระคัมภีรร์ ว่ มกัน มีการเขียนลงสารวัด ในคอลัมน์ “ก้าวไปกับวิถีชุมชนวัด ปี 2011-2012” เนื่องจากวัดของเราเป็นวัดที่มีชุมชนล้อมรอบ เป็นคริสตชนที่อยู่รวมกัน เป็นหมู่บ้าน เหมาะสมและง่าย กับการที่จะเริ่มงานวิถีชุมชนวัด เมื่อประมาณ เดือนมิถุนายน 2011 ได้มีการประชุมวิถีชุมชนวัดครั้งแรก โดยใช้สถานที่ บ้านของสัตบุรุษในชุมชน ในครั้งนั้นมีทั้ง ซิสเตอร์ ตัวแทนองค์กรต่างๆ และ เพื่อนบ้านในละแวกใกล้เคียง เข้าร่วมประชุมกัน
มี กิ จ กรรมอะไรบ้ า งครั บ ในวิ ถี ชุ ม ชนของวั ด แม่ พ ระประจั ก ษ์ เ มื อ งลู ร์ ด บางสะแก? งานแรกคือการสร้างบ้านให้พี่น้องในชุมชนที่ยากไร้ โดยการนำ�เรื่องราว เสนอต่อคุณพ่อเจ้าอาวาส เริ่มมีการประชาสัมพันธ์ขอความอนุเคราะห์ และ การร่วมกันบริจาคเงินและแรงกายเพือ่ พีน่ อ้ งในชุมชน และดำ�เนินการก่อสร้าง โดยพี่น้องในชุมชนและทีมงานอาสาโคเออร์ (คุณพ่ออนุชา ชาวแพรกน้อย) และเมื่อสร้างบ้านใหม่เสร็จเรียบร้อย ได้เชิญคุณพ่อทำ�การเสกบ้านเรียบร้อย ส่วนงานอื่นๆ คือการออกเยี่ยมเยียนเพื่อนบ้านที่เจ็บป่วย บรรเทาใจ ผู้มีความทุกข์ การสวดภาวนาให้กันและกัน การมีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆ ของวัด และดูแลเยาวชน ในเนือ้ งาน โดยเฉพาะงานทีม่ ปี ญ ั หา เช่น เรือ่ งครอบครัว ก็จะให้หน่วยงาน สชค. ลงสานต่องาน หรืองานส่งเสริมอาชีพต่างๆ ก็จะเป็นคณะกรรมการ คาทอลิกเพื่อสตรี งานด้านความเชื่อ ความศรัทธาและจิตวิญญาณ เป็นคณะ พลมารีสานต่อไป เป็นต้น จึงก่อให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวในกลุ่มคริสตชน และกลุ่มองค์กรในเขตวัดด้วย วัดบางสะแกได้เริม่ ให้เยาวชนเข้ามามีบทบาทในงานวิถชี มุ ชนวัด โดยสร้าง พืน้ ฐานให้เยาวชนจากพระวาจาของพระเจ้า ให้พวกเขาได้แบ่งปันพระวาจา ร่วมกัน อยากให้แบ่งปันประสบการณ์นี้ให้กับพวกเราด้วยครับ?
2 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 12 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2014
ดังที่กล่าวข้างต้นว่า การอ่านพระคัมภีร์ร่วมกันแต่ละครั้ง จะมีเยาวชนร่วมด้วยซึ่งเรามองเห็นปัญหา คือบางครั้งเด็กๆ ไม่กล้าพูด ไม่กล้าแบ่งปัน จึงเสนอให้มีกลุ่มเฉพาะของเยาวชนขึ้น โดยเริ่มรวมตัวครั้งแรกประมาณ มิถุนายน ค.ศ.2013 มีน้องธีรยา วังตาล (แต้ม) ซึ่งเป็นประธานเยาวชนในสมัยนั้น ได้เรียกบรรดาเด็กช่วยมิสซา ผู้อ่าน และเยาวชนของวัด จำ�นวนหนึ่งมาอ่านพระคัมภีร์ร่วมกันซึ่งทำ�ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน จะอ่านพระคัมภีร์กันทุกวันเสาร์ที่ 2 ของเดือน หลังมิสซาค่ำ� (ปัจจุบัน ประธานเยาวชนของวัดคือ นพธัช วัชรมงคลกุล น้องไบร์ท) ก่อนหน้าที่จะมีการมาอ่านพระคัมภีร์ร่วมกัน เยาวชนก็มีปัญหาไม่เข้าใจกัน แต่ปัจจุบัน เยาวชนรวมตัวกันได้ดี มีการ นัดหมายการอ่านพระคัมภีร์ โดยผ่านทาง LINE BEC YOUTH ร่วมกันทำ�กิจกรรมต่างๆ ของวัดมากขึ้น เช่น รับหน้าที่ใน ส่วนพิธีกรรมและบทเพลงในมิสซาทุกวันเสาร์ จัดกิจกรรมพระคัมภีร์ในโอกาสฉลองวัด ดูแลเอาใจใส่ตักเตือนกันและกัน มากขึ้น ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและการพนัน ฯลฯ นอกจากนั้นผู้นำ�เยาวชนยังไปช่วยคุณพ่อปิยะชาติและทีมงาน แบ่งปันเรื่อง วิถีชุมชนวัดแก่เยาวชนในเขตต่างๆ ด้วย
มีวิธีการอย่างไรในการทำ�งานกับเยาวชนครับ? เยาวชนเหล่านี้อยู่ในระดับการศึกษาตั้งแต่ ม.ต้น ม.ปลาย ถึงระดับมหาวิทยาลัย บางคนต้องเรียนหนัก บางคนต้อง ทำ�งานด้วยเรียนด้วยเพื่อหาเงินส่งตัวเอง ฉะนั้นการทำ�งานกับน้องๆ เยาวชนเหล่านี้ เราจะคาดหวังกับความพร้อมเพรียง ความสมบูรณ์แบบ ความมีวินัยและอื่นๆ แบบเต็ม 100% ยังไม่ได้ เราต้องเข้าใจ และให้ใจกับเยาวชนเหล่านี้ แต่สิ่งที่ เราคาดหวังคือ การพยายามนำ�เขาให้เข้ามาผูกพันกับวัด การเข้ามามีส่วนร่วมกับพระศาสนจักร การทำ�งานและร่วม ประชุมกับน้องๆ เหล่านี้ เราจึงต้องเคารพในความคิดเห็นและรับฟังสิ่งต่างๆ ด้วยความเข้าใจ ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับ เราผู้ใหญ่ก็เป็นเสมือนตัวเชื่อม ฉะนั้นบางเรื่องราว บางปัญหา ต้องพูดคุยให้เกิดความเข้าใจ มีการแนะนำ �เตือนสอน (ในกรณีทำ�ไม่ถูกต้อง) และเชื่อมั่นว่าพระคัมภีร์ที่อ่านกันทุกเดือน ทุกวลีหรือประโยคสั้นๆ ที่เด็กเหล่านี้เลือกและไตร่ตรอง จะช่วยชำ�ระและปรับเปลี่ยนจิตใจของพวกเขาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและมีคุณค่าได้ในอนาคต อยากฝากอะไรกับผู้อ่านสารสังฆมณฑลฉบับนี้ครับ? อย่ามองว่าวิถีชุมชนวัดเป็นกลุ่ม หรือองค์กรใหม่ใดๆ ซึ่งจะทำ�ให้หลายคนหวาดกลัวว่าจะเป็นภาระ แต่ให้เข้าใจว่า หลักการและวิธีการของวิถีชุมชนวัด/BEC นั้น คือยาที่จะใช้ป้องกัน ใช้รักษาและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชีวิตคริสตชน และสังคมของเราให้มั่นคงขึ้น เพราะการรวมตัวกันของคริสตชนด้วยความรัก การอ่านพระคัมภีร์ การร่วมพิธีมิสซา การสวด ภาวนาอย่างสม่ำ�เสมอ จะช่วยให้เราเข้าถึงชีวิตของพระเจ้า ช่วยปรับเปลี่ยนมุมมองของเราให้มองแบบพระเจ้า (คิดบวก มากขึ้น มองในส่วนดีของคนอื่น) เริ่มออกจากตนเองไปสู่เพื่อนพี่น้อง โดยผ่านงานรักและรับใช้ และที่สุดผลที่ได้รับก็จะสะท้อน กลับก่อให้เกิดสันติสุขมาสู่จิตใจเราและสังคมที่เราอยู่และชุมชนวัดของเราได้ และสิ่งสำ�คัญที่สุด วิถีชุมชนวัดไม่ใช่ความสามารถของคนๆ เดียวที่จะทำ�ให้เกิดขึ้นได้ แต่ต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจ ความเป็นหนึ่งเดียวกัน ที่จะช่วยให้ยั่งยืนต่อไปได้ เพราะเราแต่ละคนเป็นเครื่องมือแต่ละชิ้น เป็นอวัยวะแต่ละส่วน ที่จะช่วยกันหว่านโดยอาศัยพรสวรรค์ที่ตนมี และทำ�ให้ถึงที่สุด ที่เหลือพระเจ้าจะทรงดูแล และทำ�ให้งานของพระองค์ เติบโตต่อไป
สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 12 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2014 3
ใ
โดย...คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช
นสังฆธรรมนูญว่าด้วยพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ข้อ 81 กล่าวว่า “จารีตปลงศพ จะต้องแสดงให้เห็นลักษณะ ปัสกาแห่งความตายแบบคริสตชน” อาจกล่าวได้ว่า พร้อมกับความเสียใจในการสูญเสียบุคคลอันเป็น ที่รักของเรา คริสตชนภาวนาวอนขอพระเจ้าและมีความหวังว่าพระองค์จะทรงช่วยให้ผู้ล่วงลับกลับคืนชีพเหมือน กับพระเยซูคริสตเจ้า และได้รับการพักผ่อนตลอดนิรันดรในบ้านเที่ยงแท้นิรันดรของพระองค์ ณ เมืองสวรรค์
การสวดอุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หรือวจนพิธีกรรมสำ�หรับผู้ล่วงลับ
ตามธรรมเนียมปฏิบตั ขิ องท้องถิน่ ทีบ่ า้ นของผูล้ ว่ งลับหรือทีศ่ าลาอเนกประสงค์ของวัดอาจมีพธิ สี วดศพหรือ วจนพิธีกรรม โดยมีพระสงฆ์หรือฆราวาสเป็นผู้นำ�สวด (เทียบพิธีปลงศพข้อ 26) การสวดอุทิศแก่ผู้ล่วงลับเป็นการ แสดงความเชื่อในพระเมตตาของพระเจ้า และความหวังว่าผู้ล่วงลับจะกลับคืนชีพ มีชีวิตใหม่ในองค์พระเยซูเจ้า และบรรลุถึงความสุขกับพระเจ้า ปัจจุบันบทภาวนา และบทอ่านต่างๆ จะเน้นที่การภาวนาให้กับผู้ล่วงลับ และยังขอพระเจ้าโปรดบรรเทาใจญาติของผู้ตายที่กำ�ลังโศกเศร้าด้วย (พิธีปลงศพข้อ 13) จึงเป็นสิ่งที่ดีที่ ญาติพี่น้องของผู้ล่วงลับจะมาร่วมเป็นหนึ่งเดียวในการสวดภาวนากับพี่น้องที่มาร่วมสวดอุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับด้วย แน่นอนการต้อนรับหรือการจัดเตรียมอาหารเลี้ยงแขกที่มาสวดเป็นเรื่องที่ดี แต่ญาติพี่น้องของผู้ล่วงลับสามารถ จัดเตรียมสิ่งเหล่านี้ได้ก่อนพิธี หรือมอบหมายให้ผู้อื่นช่วยจัดเตรียมให้ก็ได้
มิสซาอุทิศแก่ผู้ล่วงลับและพิธีปลงศพ การรับศพที่หน้าวัด
เป็นเครื่องหมายของการต้อนรับกลับบ้าน วัดเป็นสถานที่ที่คริสตชน เริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยศีลล้างบาปและได้รับการบำ�รุงเลี้ยงด้วยศีลมหาสนิท วัดยังเป็นสถานที่ที่ครอบครัวคริสตชนฉลองการเติบโตฝ่ายจิตในชีวิตด้วย ศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ การรับศพที่หน้าวัดแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของ สหพันธ์นักบุญ และความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกันของผู้ที่ได้รับศีลล้างบาป เมื่อรับศพเสร็จแล้วจะแห่ศพไปที่โบสถ์
สถานที่พักศพแห่งที่สอง - ในโบสถ์ การขั บ ร้ อ งเพลงเริ่ ม พิ ธี เ ป็ น การรวมผู้ เ ข้ า ร่ ว มพิ ธี ใ ห้ เ ป็ น หนึง่ เดียวกัน ในการเข้าสูบ่ า้ นของพระเจ้าด้วยความเชือ่ ในขณะเดียวกัน ก็เป็นการวอนขอเพื่อพี่น้องผู้ล่วงลับ การตั้งหีบศพในวัดจะเป็นไปตาม ธรรมเนียมวางผู้ล่วงลับในตำ�แหน่งที่เคยปฏิบัติเมื่อมีพิธีกรรม นั่นคือ ศพสัตบุรุษหันหน้าไปทางพระแท่นบูชา ส่วนศาสนบริกรศักดิ์สิทธิ์ (สังฆานุกร พระสงฆ์ พระสังฆราช) หันหน้ามาทางสัตบุรุษ (พิธีปลงศพข้อ 38) รอบๆ โลงศพอาจมีเทียน จำ�นวนหนึ่งที่จุดอยู่ตั้งไว้ แต่อาจตั้งเทียนปัสกาเพียงเล่มเดียวไว้ด้านศีรษะของผู้ล่วงลับก็ได้ (เทียนปัสกา เตือนใจคริสตชนถึงชัยชนะของพระเยซูเจ้าเหนือบาปและความตาย) สีอาภรณ์ศกั ดิส์ ทิ ธิท์ ใี่ ช้ในพิธปี ลงศพแสดงถึง ความหวังของคริสตชนในแสงสว่างของธรรมล้ำ�ลึกปัสกา และไม่ขัดกับการแสดงความทุกข์โศกของคนทั่วไป (พิธี ปลงศพข้อ 22) สำ�หรับผู้ล่วงลับที่เป็นผู้ใหญ่พระศาสนจักรให้ใช้สีม่วง แต่ก็อนุญาตให้เลือกใช้สีดำ�ได้ ที่สุดทุกคน ร่วมใจกันภาวนาเพื่อขอพระเจ้าทรงพระเมตตาต่อดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับผ่านทางบทภาวนาของประธาน 4 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 12 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2014
ภาควจนพิธกี รรม ในพิธเี ฉลิมฉลองใดๆ สำ�หรับผูล้ ว่ งลับ ไม่วา่ ในพิธปี ลงศพ หรือพิธธี รรมดาอุทศิ แก่ผลู้ ว่ งลับ บทอ่านพระวาจาของพระเจ้ามีความสำ�คัญมาก บทอ่านเหล่านี้ประกาศถึงธรรมล้ำ�ลึกปัสกา นำ�ความหวัง มาให้อีกว่าทุกคนจะมาอยู่รวมกันอีกในพระอาณาจักรของพระเจ้า สอนเราให้มีความศรัทธาต่อผู้ล่วงลับ และเตือนให้ทุกคนเป็นพยานถึงชีวิตคริสตชน (พิธีปลงศพข้อ 11) หลังจากอ่านพระวรสารจะมีการเทศน์สั้นๆ เพื่ออธิบายพระวาจา (homily) แต่ไม่เป็นการกล่าวสุนทรพจน์ยกย่องผู้ตาย (พิธีปลงศพข้อ 41) หลังบทเทศน์ จะสวดบทภาวนาเพื่อมวลชน ภาคบูชาขอบพระคุณ ภาคบูชาขอบพระคุณซึ่งต่อจากภาควจนพิธีกรรม เป็นการผ่านจากการฟังพระวาจา ของพระเจ้ามาเป็นการขอบพระคุณพระองค์ ในบทขอบพระคุณ (แบบที่ 2 และ 3) มีการภาวนาเพื่อผู้ล่วงลับ เป็นพิเศษ และเรายังประกาศพระธรรมล้ำ�ลึกแห่งความเชื่อว่า พระคริสตเจ้าได้สิ้นพระชนม์ พระคริสตเจ้าได้ทรง กลับคืนชีพ พระคริสตเจ้าจะเสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่ง ในบทข้าแต่พระบิดา ผู้มาร่วมพิธีภาวนาวอนขอพระเจ้าว่า “พระอาณาจักรของพระองค์จงมาถึง” ที่สำ�คัญพระศาสนจักรเชิญชวนให้สัตบุรุษ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นญาติกับ ผู้ล่วงลับ ให้มีส่วนร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณอุทิศแก่ผู้ล่วงลับด้วยการรับศีลมหาสนิท (พิธีปลงศพข้อ 44) การส่งวิญญาณและการอำ�ลาครั้งสุดท้าย หลังมิสซาปลงศพมีพิธีส่งวิญญาณและอำ�ลาครั้งสุดท้าย พิธีนี้ เป็นการแสดงออกถึงการอำ�ลาที่ชุมชนคริสตชนร่วมกันอำ�ลาสมาชิกคนหนึ่งของตนก่อนที่ศพของเขาจะ ถูกนำ�ออกไปและถูกฝัง ถึงแม้ว่าในความตายมีการแยกจากกันเกิดขึ้นเสมอ ถึงกระนั้นบรรดาคริสตชนซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของพระวรกายของพระคริสตเจ้าก็ยังเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่มีวันจะแยกจากกันได้เลยแม้ด้วยความตาย พิธีอำ�ลาอาจมีพิธีพรมน้ำ�เสกที่ชวนให้ระลึกว่าอาศัยศีลล้างบาป คริสตชนถูกจารึกชื่อไว้สำ�หรับ ชีวิตนิรันดร การถวายกำ�ยานยังเป็นการให้เกียรติแก่ร่างของผู้ล่วงลับซึ่งเป็นพระวิหารที่ประทับของ พระจิตเจ้าอีกด้วย หลังจากนั้นเป็นการแห่ศพไปสุสาน การแห่เป็นเครื่องหมายถึงแต่ละคนเข้ามามีส่วนร่วมใน การ “อพยพ” ของผู้ตาย พิธีปลงศพสะท้อนการเดินทางของชีวิตมนุษย์ คริสตชนผู้เดินทางแสวงบุญในโลกนี้ไปสู่ กรุงเยรูซาเล็มแห่งสวรรค์
สถานที่พักศพแห่งที่สาม – ที่หลุมศพ พระสงฆ์เสกหลุมศพโดยพรมน้ำ�เสกและถวายกำ�ยานแก่หลุมศพ ต่อจากนั้นจึงสวดภาวนาและนำ�ศพลงหลุม เป็นการย้ำ�ถึงความเชื่อของ คริสตชนว่า พระเจ้าทรงเรียกพี่น้องผู้ล่วงลับให้กลับไปพบพระองค์ เราฝาก ร่างของเขาไว้ในหลุมศพนี้และร่างนั้นจะเสื่อมสลายไป เราเชื่อและวางใจว่า พระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนพระชนมชีพจะทรงปฏิรูปร่างกายต่ำ�ต้อยของพี่น้อง ผู้ล่วงลับให้มีสภาพเหมือนพระวรกายรุ่งโรจน์ของพระองค์ เราฝากพี่น้องของเราไว้ในพระเมตตาของพระองค์ และเราหวังว่าพระองค์จะทรงปลุกร่างกายของเขาให้กลับคืนชีพในวันสิ้นพิภพด้วย สำ�หรับพิธปี ลงศพเด็กทีร่ บั ศีลล้างบาปแล้วและตายก่อนถึงอายุรคู้ วาม จะจัดเหมือนพิธปี ลงศพผูใ้ หญ่ดงั ที่ ได้กล่าวไว้แล้ว แต่จะใช้บทอ่านจากพระคัมภีร์ บทภาวนาของประธาน คำ�เชิญชวนสำ�หรับพิธีส่งวิญญาณและอำ�ลา ครั้งสุดท้าย บทตอบรับสำ�หรับพิธีส่งวิญญาณและอำ�ลาครั้งสุดท้าย และการเสกหลุมศพ (พิธีปลงศพข้อ 203-230) ให้เหมาะกับสภาพชีวิตของเด็ก สีที่ใช้ในพิธีปลงศพเด็กที่รับศีลล้างบาปแล้วและตายก่อนอายุรู้ความคือสีขาว นอกจากนีเ้ กีย่ วกับพิธปี ลงศพ ผูเ้ ตรียมตัวรับศีลล้างบาป ต้องถือเสมือนคริสตชน (กฎหมายพระศาสนจักร มาตรา 1183 วรรค 1) หมายความว่า พระสงฆ์สามารถประกอบพิธีปลงศพให้กับผู้เตรียมตัวรับศีลล้างบาปและ เสียชีวติ ก่อนทีจ่ ะรับศีลล้างบาปได้ และ ผูใ้ หญ่ผทู้ รงอำ�นาจท้องถิน่ (พระสังฆราช) สามารถอนุญาตให้ประกอบพิธี ปลงศพทางพระศาสนจักร แก่เด็กซึง่ บิดามารดาตัง้ ใจให้รบั ศีลล้างบาป แต่ตอ้ งมาตายก่อนการรับศีลล้างบาป (กฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 1183 วรรค 2) และถ้ามีพิธีปลงศพเช่นนี้ พระสงฆ์ผู้ประกอบพิธีต้องเอาใจใส่ ระวังในการเทศน์สอนมิให้สัตบุรุษเข้าใจไขว้เขวถึงเรื่องความจำ�เป็นของศีลล้างบาป สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 12 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2014 5
บอกข่าวเล่าสาร
แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ
มิสซา 16 ปี มรณภาพพระอัครสังฆราชยอแซฟ ยวง นิตโย พิ ธี บู ช าขอบพระคุ ณ โอกาสครบ รอบ 16 ปีมรณภาพพระอัครสังฆราช ยอเเซฟ ยวง นิตโย (2 ตุลาคม 1998) วันที่ 2 ตุลาคม 2014 เวลา 11.00 น. ณ วัดน้อยบ้านพักพระสงฆ์ (อาสนวิหาร อัสสัมชัญ บางรัก) โดยมี คุณพ่อสานิจ สถะวีระวงส์ เป็นประธาน ร่วมกับ พระสังฆราชสังวาลย์ ศุระศรางค์ คุณพ่อจำ�เนียร กิจเจริญ และคุณพ่อ อีก 11 ท่าน มีสัตบุรุษมาร่วมประมาณ 38 ท่านและหลังพิธีฯ รับประทานอาหารร่วมกัน
ฉลอง 500 ปีเกิด ของนักบุญเทเรซา แห่งอาวีลา และฉลองอารามคาร์แมล สามพราน วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม 2014 คณะคาร์เมไลท์ และคุณพ่อวิทยา แก้วแหวน จิตตาภิบาลอารามคาร์แมล สามพราน ได้จัดงานการเปิด ฉลอง 500 ปีเกิด ของนักบุญเทเรซา แห่งอาวีลา และฉลองอารามคาร์แมล สามพราน ประจำ�ปี 2014 พิธีบูชาขอบพระคุณ เวลา 10.30 น. โดย พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู พร้อมด้วย พระอัครสังฆราช พอล ชาง อิน-นัม คณะพระสังฆราช พระสงฆ์ และพี่น้องสัตบุรุษมา ร่วมฉลองและยินดีเป็นจำ�นวนมาก
วันแพร่ธรรมสากล วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม 2014 อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จัดงานวันแพร่ธรรมสากล ณ วัดแม่พระฟาติมา ดินแดง โดยมีพิธีบูชาขอบพระคุณ พระอัครสังฆราชเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็นประธาน ในระหว่างพิธีมีมอบกางเขนพระสงฆ์ นักบวช ที่รับการอบรมการประกาศข่าวดี (PRMP) และมอบวุฒิบัตรอาสาสมัครฆราวาสผู้ประกาศข่าวดีประจำ�วัด (PMG) หลังมิสซามีการเสวนาในหัวข้อ "พระศาสนจักรเกิดมาเพื่อ ออกไป" โดยมีคุณพ่อวัชศิลป์ กฤษเจริญ คุณพ่อวุฒิไกร ชินทร์นลัย คุณพ่อยอดชาย เล็กประเสริฐ ร่วมเสวนา และคุณพ่อสมเกียรติ บุญอนันตบุตร ผูด้ �ำ เนินรายการ ปิดท้ายด้วยการรับประทานอาหารเทีย่ ง ทีม่ กี ารแสดงของคนตาบอด การแบ่งปันของซิสเตอร์ อันนา กราเซีย และการแสดงของชมรมคนหูหนวกคาทอลิกแห่งประเทศไทย
ปิดคอร์สอบรมพระคัมภีร์วันเสาร์ - รับวุฒิบัตร ปีที่ 25 แผนกคริสตศาสนธรรม ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จัดโครงการอบรมพระคัมภีร์วันเสาร์ ปีที่ 25 ในหัวข้อ "หนังสือเพลง สดุดี" โดยคุณพ่อพงศ์เทพ ประมวลพร้อม เป็นวิทยากร การอบรมครั้งนี้ มีผู้สมัครมารับการอบรมทั้งหมด จำ�นวน 128 คน และมีผู้ผ่านการ อบรมเป็นเวลาร้อยละ 70 ขึ้นไป มีจำ�นวน 72 คน ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม – วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม 2014 ณ อาคารคาทอลิกแพร่ธรรม ห้องประชุมชั้น 2 และในโอกาสมอบวุฒิบัตรแก่ผู้เข้ารับการอบรม พระอัครสังฆราชเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ได้ให้เกียรติมามอบวุฒิบัตรด้วย 6 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 12 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2014
บวชพระสงฆ์ใหม่คณะภราดาน้อยฟรันซิสกัน
วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม 2014 10.00 น. คณะภราดาน้อยฟรันซิสกัน จัดพิธีบวช พระสงฆ์ใหม่ ภราดาสังฆานุกร ฟรังซิส เซเวียร์ ฤกษ์ชัย ภานุพันธ์, OFM ณ วัดพระวิสุทธิวงส์ ลำ�ไทร โอกาสสมโภช นักบุญฟรันซิสแห่งอัสซีซี โดยพระสังฆราช ประธาน ศรีดารุณศีล เป็นประธาน ร่วมกับคุณพ่อประเสริฐ โลหะวิริยะสิริ คุณพ่อสุขุม กิจสงวน พร้อมด้วยพระสงฆ์ และพี่ น้ อ งสั ต บุ รุ ษ มาร่ ว มพิ ธี ใ นวั น นี้ จำ�นวนมาก ปัจจุบันมีคุณพ่ออัลฟอนรีนุส เกรโกรีอุส ปอนตุส, OFM เป็นเจ้าคณะ
อบรมต่อเนื่องทีมอภิบาลวิถีชุมชนวัดกรุงเทพฯ วันเสาร์ที่ 27 กันยายน 2014 เวลา 08.00 - 16.00 น. อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จัดอบรมทีมอภิบาลวิถีชุมชนวัดต่อเนื่อง ครั้งนี้เป็น ครั้งที่ 3 แล้ว มีผู้เข้าร่วมครั้งนี้จำ�นวนกว่า 145 คน ณ อาคารปิยะการุณย์ชั้น 3 โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ สำ�หรับการอบรมครั้งนี้ได้เชิญ ทีมวิถีชุมชนวัดจากวัดนักบุญฟิลิปและนักบุญยากอบ หัวไผ่ นำ�โดยคุณพ่อเศกสม กิจมงคลและทีมงาน มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในครั้งนี้
เตรียมเยาวชนสู่ชีวิตครอบครัว แผนกครอบครัว อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ โดยคณะกรรมการเยาวชนกลุ่มส่งเสริมชีวิต ครอบครัว (สชค.) จัดโครงการอบรม "เตรียมเยาวชนสู่ชีวิตครอบครัว (ย.2)" รุ่นที่ 25 โดย ใช้หัวข้อการจัดว่า "ยอสองวิทยาคม" ในระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคม 2014 ที่บ้านสวน ยอแซฟ สามพราน นครปฐม มีเยาวชนหญิงชายอายุ 16-25 ปีเข้าร่วมจำ� นวน 37 คน หญิง 14 คน ชาย 23 คน โดยมีคุณพ่อวัยพรต พุฒสา (OMI) ให้การอบรมเรื่อง "จิตตารมณ์ ความรัก ศีลสมรส และการแต่งงาน" รวมทั้ง อ.ลำ�ดวน ชินมโนพันธ์ เป็นวิทยากร ประจำ�ค่าย และมีคกก.เยาวชนสชค. ช่วยกันดูแลน้องๆ
ปฏิทินกิจกรรม เดือนพฤศจิกายน 2014 8 พ.ย. แผนกคริสตชนฆราวาสเชิญเข้ารับฟังการบรรยายเรื่องรวมมิตรชีวิตและ ความตายคาทอลิก ณ วัดธรรมาสน์นักบุญเปโตร 12-13 พ.ย. ฟื้นฟูจิตใจพระสงฆ์อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ บ้านผู้หว่าน 22 พ.ย. แผนกเยาวชน อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จัดโครงการ “Bible Genius Award” ประจำ�ปี 2014 อาคารคาทอลิกแพร่ธรรม 22 พ.ย. ขอเชิญร่วมการเสวนาในหัวข้อ "คืนความสุข ครอบครัวพ้นทุกข์จาก ความรุนแรง" เวลา 08.00 - 15.00 น. ณ ห้องประชุม โบสถ์บ้านเซเวียร์ 22 พ.ย. อบรมทีมอภิบาลวิถีชุมชนวัด อาคารปิยะการุณย์ โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ 24-28 พ.ย. การประชุมสมัชชาแขวง ภาคกลางและปริมณฑล (6 สังฆณฑล)
กิจกรรมคาทอลิก เขต 6 "ยุวธรรมทูต ความเชื่อต้องแบ่งปันออกไป" แผนกสนับสนุนงานธรรมทูต อัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ ร่วมจัดกิจกรรมคาทอลิก เขต 6 อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ “ยุ ว ธรรมทู ต ความเชื่อต้องแบ่งปันออกไป” โดย คุณพ่อ เปโตร สมเกียรติ บุญอนันตบุตร ผู้ช่วย พระสังฆราชฝ่ายงานธรรมทูต อัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ โดยมีนักเรียนจาก 7 โรงเรียน ระดับ ชัน้ ป.4 - ม.3 (กลุม่ ยุวธรรมทูต) จำ�นวน 207 คน ณ โรงเรียนราษฎร์บำ�รุงศิลป์ (วัดมารีย์สมภพ บ้านแพน) วันศุกร์ที่ 19 กันยายน 2014
สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 12 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2014 7
เกร็ดความรูค้ �ำ สอน...คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม
สวัสดีพี่น้องที่รัก เดือนพฤศจิกายน 2557 นี้มีเรื่องสำ�คัญที่ น่าจะจดจำ�อยู่สองเรื่อง คือ 1. สมัชชาใหญ่ระดับประเทศ ที่จริงได้เริ่ม กระบวนการแล้วซึ่งขณะนี้เป็นช่วงที่ทั้งสองส่วน คือภาคอีสาน และสังฆมณฑลที่เหลือ กำ�ลัง จัดการประชุมใหญ่โดยสี่สังฆมณฑลอีสาน จัด วันที่ 10-15 พฤศจิกายน ที่ร้อยเอ็ด ส่วนอีก 6 สังฆมณฑล จัดวันที่ 24-29 พฤศจิกายนที่ บ้านผู้หว่าน นครปฐม การประชุมสมัชชาใหญ่ปี ค.ศ.2015 นี้ จัดขึน้ ในโอกาสครบรอบ 350 ปี แห่ง “การประชุมสมัชชา แห่งพระศาสนจักรประเทศสยาม” (ประเทศ ไทยในปัจจุบัน) เมื่อปี ค.ศ.1664 อีกทั้งเป็น โอกาสครบ 50 ปีของสถาปนาพระฐานานุกรม ของ 8 สังฆมณฑลในประเทศไทยเมือ่ ปี ค.ศ.1965 สาระสำ�คัญของสมัชชาฯ ครั้งนี้ คือเพื่อการ ประกาศข่าวดีใหม่ (New Evangelization) ที่ ครอบคลุมประเด็นต่างๆ อาทิ การพัฒนาคุณค่า และชีวิตจิตแบบไทย ผลของโลกาภิวัตน์ที่มี ผลกระทบ ความเชื่อ ชีวิต และพันธกิจของ พระศาสนจักร และกระทบระบบคุณค่าทาง จริยธรรมศีลธรรม กระทบสังคม และการอยู่ ร่วมกับผู้มีความเชื่ออื่น ในบริบทประชาคม อาเซียนและยังเพื่อให้เกิด การปรับโครงสร้าง ของพระศาสนจั ก รในประเทศไทยให้ พ ร้ อ ม เพื่อการอภิบาล และประกาศข่าวดีใหม่อย่างมี ประสิทธิภาพ จึงถือได้ว่านี่เป็นประวัติศาสตร์ อีกหน้าหนึ่งของพระศาสนจักรในประเทศไทย และจะมีผลเกี่ยวข้องโดยตรงกับพี่น้องทุกท่าน ซึ่งจะนำ�เสนอความคืบหน้าในระยะต่อไป 2. พระคั ม ภี ร์ ค าทอลิ ก ภาษาไทยฉบั บ สมบูรณ์ เป็นเรื่องน่าดีใจอย่างยิ่งที่ บัดนี้พระ คัมภีรท์ พี่ ยายามแปลเป็นภาษาไทยโดยคาทอลิก ทั้งสองภาค ได้พิมพ์เสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งเป็น งานหนักมากใช้เวลามากกว่า 15 ปี เดือนนี้จะ เริ่มจัดส่งและเผยแพร่สู่พี่น้องทุกสังฆมณฑล พี่ น้ อ งที่ รั ก เหตุ ก ารณ์ ดี ๆ เกิ ด ขึ้ น ทุ ก วั น ความรั ก ของพระยั ง คงมาสู่ เราเสมอผ่ า นทาง เหตุการณ์ตา่ งๆ ผ่านทางคนทีเ่ ราพบปะ ฯลฯ เรา เป็นทั้งผู้รับความรักของพระ และเวลาเดียวกันก็ เป็นผู้ส่งผ่านความรักของพระองค์สู่เพื่อนพี่น้อง ด้วย ขอบคุณพระที่เลือกเราเป็นผู้ร่วมงานของ พระองค์ ขอบคุณที่ให้ฉันเป็นคริสตชน
การเสด็จมาบังเกิดเป็นรหัสธรรมเกี่ยวกับพระเยซูเจ้า พระบุตรแต่ องค์เดียวของพระบิดาเจ้า “ปฏิสนธิเดชะพระจิต บังเกิดจากพระนางมา รีย์พรหมจารี” “พระองค์ก็มิได้ทรงถือว่าศักดิ์ศรีเสมอพระเจ้านั้นเป็น สมบัติที่จะต้องหวงแหน แต่ทรงสละพระองค์จนหมดสิ้น ทรงรับสภาพ ดุจทาสเป็นมนุษย์ดจุ เรา ทรงแสดงพระองค์ในธรรมชาติมนุษย์” (ฟป 2:6-7) พระองค์ทรงผ่านการทดลองทุกอย่างเหมือนกับเรายกเว้นบาป (เทียบ ฮบ 4:15) พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าอย่างแท้จริง และทรงเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง บุตรพระเจ้าทรงถือสภาพมนุษย์อย่างแท้จริง เพื่อที่มนุษย์จะได้มีสภาพ ของพระเจ้าในพระองค์ การไถ่กมู้ นุษยชาติของพระเยซูเจ้า การไถ่กมู้ นุษยชาติเป็นรหัสธรรม อีกข้อหนึ่งของพระเยซูพระบุตรของพระเจ้า ที่มีพระนางมารีย์พรหมจารี เป็นพระมารดา พระองค์ทรงรวบรวมมนุษย์ทุกคนผู้เป็นบุตรของพระเจ้าไว้ ในพระองค์ พระองค์ทรงรักพระบิดา ในฐานะที่ทรงเป็นพระองค์เอง และ ในฐานะที่เป็นศีรษะของมนุษยชาติและตัวแทนของพวกเรา พระองค์ทรง รักพระบิดา ยิง่ กว่าชีวติ ของพระองค์เอง จนกระทัง่ ทรงยอมรับความตายบน ไม้กางเขน และทรงกลับเป็นขึ้นมา อาศัยความตายและการกลับเป็นขึน้ มา พระเยซูเจ้าทรงไถ่กมู้ นุษยชาติ จากบาปกำ�เนิดซึ่งพันธนาการมนุษย์ไว้ไกลจากพระเจ้า พระเยซูเจ้าทรง ทำ�ลายเครื่องพันธนาการที่ล่ามมนุษย์ไว้กับบาปและปีศาจ พระองค์ทรง สถาปนา “พันธสัญญาใหม่นิรันดร” ระหว่างพระเจ้าและมนุษย์ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมและข่าวต่างๆ ในระดับวัด เขตและสังฆมณฑล ให้กับสัตบุรุษและบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 2. เพื่อช่วยฟื้นฟูบทบาทการเป็นผู้มีส่วนร่วมในงานอภิบาลและธรรมทูตในชีวิตของสัตบุรุษ และบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑล 3. เพื่อนำ�เสนอเครื่องมือ และแนวปฏิบัติในงานอภิบาลและธรรมทูตให้กับสัตบุรุษและบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑล สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ผู้รับผิดชอบ : ฝ่ายงานอภิบาลของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ที่ปรึกษา : คุณพ่อพงศ์เทพ ประมวลพร้อม, คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม บรรณาธิการ : คุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ กองบรรณาธิการ : นาทลดา ทองตีบ, พฤกษา กิจเจริญ, มัลลิกา กิจบำ�รุง, เพชรี ชาวแพรกน้อย พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ บางรัก กรุงเทพฯ โทร. 0 2233 0523 โทรสาร. 0 2235 1405 สำ�นักงาน : อาคารคาทอลิกแพร่ธรรม 57 ซอยเจริญกรุง 40 เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. 0 2237 7315 โทรสาร. 0 2233 8159 E-mail : webmaster@catholic.or.th