สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เดือนพฤศจิกายน 2015

Page 1

ปีท่ี 13 ฉบับที่ 11 ประจำ�เดือนพฤศจิกายน 2015

สรุปพระสมณสาสน์

Laudato Si’

ของพระสันตะปาปาฟรังซิส

1

น.

วิถชี มุ ชนวัด...

"จงไป...เราอยูก่ บั ท่าน ทุกวันตลอดไป"

เดือนพฤศจิกายน ระลึกถึงผูล้ ว่ งลับ

มิใช่เพียงแต่คริสตชนสมัยแรกเท่านั้น ที่ ดำ�เนินชีวิตในความรักต่อกัน พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ได้ทรงมอบฝากแนวทางหนึง่ ไว้สำ�หรับพระศาสนจักรในสหัสวรรษที่ 3 ใน สมณสาส์น (สูส่ หัสวรรษใหม่) และประเด็นนัน่ คือ “ชีวิตจิตแห่งความเป็นน้ำ�หนึ่งใจเดียวกัน” (Spirituality of Communion) ที่ทรงเรียกว่า เป็นการดำ�เนินชีวติ ในอารยธรรมแห่งความรัก

4

น.

วาทะพระคาร์ดินัล ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช บทเทศน์ฉลองวัดอัครเทวดาราฟาแอล ปากน้ำ� วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม 2015

8

น.

เจาะลึกพิเศษ...คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช

ระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเขียนพระสมณสาสน์ฉบับนี้สำ�หรับ ทุกคนบนโลกใบนี้ พระองค์ทรงหวังว่าจะมีการเสวนากันของ ผู้คนที่อยู่บนโลกใบนี้ที่เป็นเสมือนบ้านร่วมกันของทุกคนชื่อของพระสมณสาสน์ฉบับนี้นำ�มาจากบทเพลงของสิ่งสร้าง หรือ บทเพลงของดวงอาทิตย์ โดยนักบุญฟรังซิสอัสซีซี ท่านเป็นแบบอย่างแก่เราในเรื่องของความรักต่อสิ่งสร้าง ท่าน เตือนเราว่า “เราเป็นส่วนหนึ่งของโลก” เราจึงมิใช่แค่เพียงผู้อาศัย แต่เราต้องเป็นผู้ดูแลและรักษาโลก ตลอด พระสมณสาสน์ฉบับนี้ พระองค์ทรงเน้นเรือ่ งการเสวนาซึง่ จะเป็นแนวทางในการแก้ปญ ั หาวิกฤตของสภาพแวดล้อม ทรงอ้างถึงนักปรัชญาและนักเทววิทยาของศาสนาอื่นด้วย ทรงต้องการจะสอนว่าการดูแลโลกและสิ่งสร้างของพระ เป็นหน้าที่ของทุกคน โดยไม่แบ่งแยกศาสนา หรืออาชีพ ในพระสมณสาสน์บทที่ 1 กล่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกของเรา “วิกฤติสภาวะแวดล้อมหรือระบบนิเวศใน ปัจจุบัน” (ข้อ 17-61) ซึ่งข้อมูลได้มาจากงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ วิกฤติเหล่านี้ก็คือ มลภาวะทางอากาศความ สิ้นเปลือง และการใช้ข้าวของแบบใช้แล้วทิ้ง ทรงเสนอรูปแบบการผลิตบนรากฐานของการนำ�กลับมาใช้ใหม่ (reuse) การทำ�ให้นำ�กลับมาใช้อีกได้ (recycle) สภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงซึ่งทุกคนได้รับผลกระทบและทำ�ให้เกิดการอพยพ พระองค์ทรงกล่าวถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำ�ทรงสอนว่าการเข้าถึงน้ำ�ดื่มที่สะอาดและปลอดภัยถือเป็นสิทธิมนุษยชน ขัน้ พืน้ ฐานการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ทุกปีจะมีพชื และสัตว์ทสี่ ูญพันธุ์ ทำ�ให้เกิดระบบนิเวศที่ไม่สมบูรณ์ ความเสื่อมถอยของการเคารพคุณค่าของมนุษย์ในสังคมการไม่เท่าเทียมกัน การแก้ปัญหาระบบนิเวศที่แท้จริงคือ การแก้ปัญหาสังคม เป็นการได้ยินทั้งเสียงร้องของโลกและเสียงร้องของคนจน เพราะปัญหาเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อ คนยากจนมากที่สุด พระองค์ทรงเห็นว่าการตอบสนองต่อปัญหาเหล่านี้ของผู้นำ�ทางสังคมยังไม่เพียงพอ


บทที่ 2 พระวรสารแห่งสิ่งสร้าง “คำ�สอนจากพระคัมภีร์เรื่องความ สัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า เพื่อนมนุษย์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับธรรรมชาติและสิ่งสร้างของพระเจ้า” (ข้อ 62-100) จากพระคัมภีร์เรา พบว่า พระเจ้าเป็นผู้สั่งให้เราดูแลสิ่งสร้างต่างๆ ในโลก และทุกสิ่งทุกอย่าง เชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดจากแสงสว่างที่ให้ความเชื่อบอกกับเราว่าปัญหาที่ ซับซ้อนของวิกฤตสภาพแวดล้อมต้องการการเสวนา ถ้าพูดถึงระบบนิเวศต้อง พูดถึงชีวิตฝ่ายจิตและศาสนา ความเชื่อบอกให้เราเอาใจใส่ต่อธรรมชาติและ มีความรับผิดชอบต่อเพื่อนพี่น้องชายหญิงที่ได้รับความเจ็บปวดจากปัญหานี้ การสร้างคือของขวัญจากพระเจ้าสำ�หรับทุกคน โลกเป็นของขวัญจากพระเจ้า มนุษย์จะต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งสร้างที่พระเจ้าทรงมอบหมายให้เขาดูแล ถ้ามีอิสรภาพ ต้องมีอิสรภาพสำ�หรับการส่งเสริมการพัฒนาที่ดีเป็นต้นระบบ นิเวศซึ่งพระเจ้ามอบให้เราดูแล ไม่ใช่อิสรภาพในการทำ�ลายพระสิริของพระเจ้า เผยแสดงผ่านทางสิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง สิ่งสร้างแต่ละชนิดมีส่วนสำ�คัญในโลกของเราสิ่งสร้างทั้งหมดมีสายสัมพันธ์ เป็นหนึ่งเดียวกันในพระบิดาองค์เดียวกัน เราจึงต้องรักและให้ความเคารพต่อธรรมชาติและสิ่งสร้างต่างๆ (ข้อ 89) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ต้องมีไว้สำ�หรับมนุษย์ทุกคน (ข้อ 93) พระสันตะปาปาเสนอว่าเราต้องเสวนากับทุกศาสนา ให้เข้าใจว่า โลกนี้เป็นมรดกที่เรารับจากพระเจ้า ทุกคนต้องได้ใช้ประโยชน์พระเยซูเจ้าทรงเชิญให้เราตระหนักถึงความ สัมพันธ์กับพระเจ้าพระบิดา (ข้อ 96) และดำ�เนินชีวิตอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ (ข้อ 98) บทที่ 3 น้ำ�มือของมนุษย์ในวิกฤตนิเวศวิทยา “พระสันตะปาปาทรงวิเคราะห์ให้เราเห็นถึงรากเหง้าของปัญหา สภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น” (ข้อ 101-136) ซึ่งมาจาก 1. เทคโนโลยี เป็นทั้งการสร้างสรรค์และอำ�นาจที่ควบคุมมนุษย์ และโลก (ข้อ 104) พระสันตะปาปาทรงเห็นว่าโลกของเราต้องการจริยธรรมที่มีพลัง ชีวิตฝ่ายจิตที่แท้จริงและการควบคุม ตนเอง เป็นต้น ในการใช้เทคโนโลยี (ข้อ 105) 2. โลกาภิวฒ ั น์แห่งกระบวนทรรศน์ทางเทคโนโลยีในโลกปัจจุบนั ทุกอย่าง อยู่ในระบบของเทคโนโลยี และเทคโนโลยีสร้างวิถีการดำ�เนินชีวิต จนบางครั้งคำ�สอนที่ดีๆ เข้าไม่ถึงชีวิตมนุษย์ (ข้อ 109) 3. วิกฤตและผลของการให้มนุษย์เป็นศูนย์กลางอันตรายมาก เพราะมนุษย์จะคิดว่าตนทำ�ลายธรรมชาติ ทำ�ลายผูอ้ นื่ ได้ (ข้อ116) ความคิดนี้ทำ�ให้เกิดปัญหา 3 ประการที่เราจะต้องใส่ใจและแก้ไข 3.1 สัมพัทธนิยม (relativism) ความจริงขึ้น อยู่กับแต่ละคนแต่ละกลุ่ม ถ้าสิ่งนี้ให้ประโยชน์กับเขา หรือกลุ่มของเขา สิ่งนี้ก็คือความจริง ไม่มีหลักความจริงสากล (ข้อ 122) คือถ้าเราชอบเราก็จะต้องครอบครองให้ได้ถ้าไม่ชอบก็ทำ�ลายหรือทิ้ง ความจริงขึ้นอยู่กับเราหรือกลุ่มของเรา 3.2 ความจำ�เป็นที่ต้องปกป้องการทำ�งาน การทำ�งานเป็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของของมนุษย์ ที่สำ�คัญก็คือคนงานต้อง ได้รับค่าแรงที่ยุติธรรมและได้รับการปกป้อง 3.3 เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางชีววิทยา GMOs มีสิ่งที่ดีทำ�ให้มีอาหาร รับประทานเวลาที่ขาดแคลน แต่ก็เป็นอันตรายเพราะอาจทำ�ให้เกิดการค้าที่ผูกขาด และผลกระทบทางนิเวศวิทยา (ข้อ 134) บทที่ 4 นิเวศวิทยาเชิงบูรณาการ “การพัฒนาระบบนิเวศแบบองค์รวม โดยเน้นทีค่ วามสัมพันธ์อนั ดีและถูกต้อง กับสิ่งแวดล้อม” (ข้อ 137-162) พระสันตะปาปาทรงเสนอแนวทางในการรักษาสภาพแวดล้อม โดยการเคารพต่อ อัตลักษณ์ของมนุษย์ในโลก และในความสัมพันธ์กบั สภาพแวดล้อม 1. นิเวศวิทยาด้านสิง่ แวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอันหนึ่งเดียวกันและเชื่อมโยงกัน (ข้อ 141) 2. นิเวศวิทยาทางวัฒนธรรม การดูแลระบบนิเวศวิทยา ยังหมายถึงการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษย์ (ข้อ 143) 3. นิเวศวิทยาในชีวิตประจำ�วันพระสันตะปาปาทรง มีพระประสงค์ให้เราทุกคนต้องทำ�เรื่องนี้ในชีวิตประจำ�วัน (ข้อ 148) 4. หลักการความดีส่วนรวม (common good) พระสันตะปาปาทรงเน้นให้เราส่งเสริมความคิดที่จะดูแลคนยากจน (ข้อ 158) 5. ความยุติธรรมระหว่างคนในรุ่นนี้และ รุ่นต่อไปคำ�ถามของพระสันตะปาปาก็คือ “โลกแบบไหนที่พวกเราคิดจะมอบให้คนรุ่นหลังของเรา” บทที่ 5 แนวทางและการปฏิบัติ “ข้อเสนอให้มีการเสวนาอย่างโปร่งใสและมีการปฏิบัติอย่างจริงใจร่วมกัน” (ข้อ 163-201) ต้องเสวนาในระบบของนานาชาติ เสวนาในระดับชาติและในระดับท้องถิ่น เสวนาและการตัดสินใจอย่าง 2 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 13 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2015


โปร่งใส ซึ่งจะนำ�ไปสู่การพัฒนาที่แท้จริง การเสวนาระหว่างการเมืองกับเศรษฐกิจเพื่อบรรลุถึงความต้องการของมนุษย์ ในเรื่องนี้พระสันตะปาปาทรงเน้นหลักการทางศีลธรรมซึ่งเป็นหัวใจสำ�คัญของระบบการเมืองและเศรษฐกิจต้องมีระบบ เศรษฐกิจทีม่ จี ริยธรรมศาสนาต้องเสวนากับวิทยาศาสตร์ชวี ติ ของเราต้องมีความรูจ้ ากหลายๆ ด้าน รวมทัง้ วิทยาศาสตร์ ด้วยศาสนาต่างๆ จะต้องเสวนากัน เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม บทที่ 6 การศึกษาและจิตตารมณ์ด้านนิเวศวิทยา พระสันตะปาปาทรงให้แนวทางในการพัฒนามนุษย์ ซึ่งมี รากฐานอยู่บนประสบการณ์ชีวิตจิตของคริสตชน (ข้อ 202-246) พระสันตะปาปาทรงให้แนวทางว่าชีวิตฝ่ายจิตเป็น หนทางที่จะแก้ปัญหานี้การกลับใจ การดำ�เนินชีวิตแบบใหม่ ต้องเป็นกระบวนการที่ลึกซึ้งภายในในพระศาสนจักร ต้องส่งเสริมและสอนเรือ่ งสิง่ แวดล้อม ในครอบครัว โรงเรียน สือ่ การสอนคำ�สอน ฯลฯ นักบุญฟรังซิส อัสซีซี เป็นแบบอย่าง ที่ดีในเรื่องนี้ ท่านมีชีวิตเรียบง่าย แต่มีความสัมพันธ์อันกลมกลืนกับพระเจ้า เพื่อนมนุษย์ และธรรมชาติ พระสันตะปาปา ทรงเสนอวิธกี ารทีเ่ ป็นรูปธรรมดังนี้ 1. มุง่ สูว่ ถิ กี ารดำ�เนินชีวติ แบบใหม่ตอ้ งเอาชนะสัมพัทธนิยม (relativism) ปัจเจกนิยม และบริโภคนิยม เป็นต้น การกินทิง้ ขว้าง การใช้ขา้ วของอย่างฟุม่ เฟือย ใช้แล้วทิง้ ฯลฯ พระสันตะปาปายังมีความหวัง ทรงมี ความเชือ่ มัน่ ในมนุษย์ ทรงมองว่ามนุษย์สามารถปรับปรุงแก้ไขในสิง่ ทีไ่ ม่ดี เลือกสิง่ ทีด่ ี และสามารถเริม่ ต้นใหม่ได้ 2. การศึกษาเพือ่ พันธสัญญาข้อตกลงระหว่างมนุษยชาติและสิง่ แวดล้อม (ให้ความรู)้ บ้าน วัด โรงเรียน ต้องร่วมมือ กันปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม ต้องมีการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม และที่สำ�คัญต้องปฏิบัติอย่างชัดเจน สม่ำ�เสมอ เป็นต้นในเรื่องพื้นฐานทั่วไป เช่น หลีกเลี่ยงการใช้พลาสติกลดการใช้น้ำ� คัดแยกขยะ ทำ�อาหารในปริมาณที่ สามารถรับประทานได้หมด ปฏิบัติต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ด้วยความใส่ใจ ใช้การคมนาคมขนส่งสาธารณะ หรือใช้ยานพาหนะ ร่วมกันเมื่อเดินทางไปในที่เดียวกัน ปลูกต้นไม้ ปิดไฟที่ไม่จำ�เป็น ฯลฯ เพราะเรามีแรงจูงใจที่ลึกซึ้ง ว่าการปฏิบัติเช่นนี้ เป็นการกระทำ�กิจการแห่งความรักที่เรามีต่อพระเจ้า เพื่อนมนุษย์และสิ่งสร้าง 3. การกลับใจในเรื่องระบบนิเวศ เราต้องสร้างแรงจูงใจทีจ่ ะปกป้องโลก ปกป้องธรรมชาติ ซึง่ เป็นสิง่ สำ�คัญ (ข้อ 216) การกลับใจส่วนบุคคลเป็นเรือ่ งสำ�คัญ แต่ไม่พอ ปัญหานีต้ อ้ งแก้ไขโดยใช้เครือข่ายทางสังคมด้วย (ข้อ 219) พระศาสนจักรต้องเป็นพลังถึงจิตตารมณ์ของการ ขอบคุณพระ (แทนทีจ่ ะบ่น) 4. ความชืน่ ชมยินดีและสันติพระเจ้าทรงรักผูท้ ใี่ ห้ดว้ ยความยินดี (ความยินดีท�ำ ให้เกิดพลังใน การปฏิบัติ) ทรงเน้นความเรียบง่าย ละทิ้งความครอบงำ�ของการทำ�ตามกิเลสตัณหา และความเห็นแก่ตัว (ข้อ 223) มีความสุขได้แม้ในเรื่องเล็กน้อย เช่น ฟังดนตรี สวดภาวนา ฯลฯ การแสดงออกถึงทัศนคตินี้ก็คือการหยุดและสวด ภาวนาขอบคุณพระเจ้าก่อนและหลังรับประทานอาหาร (ข้อ 227) การสวดภาวนาก่อนและหลังรับประทานอาหาร ทำ�ให้เราคิดถึงพระ ขอบคุณพระ ขอบคุณคนทีท่ �ำ อาหารให้เราตระหนักว่าอาหารมาจากโลก เราต้องรักและดูแลธรรมชาติ ให้ดีที่สุด คิดถึงคนที่ไม่มีอาหารจะรับประทาน 5. ความรักต่อสังคมและการเมือง เราควรมีความรักต่อสังคม ทำ�ความดี เพื่อส่วนรวม และกล้าแสดงออก 6. เครื่องหมายแห่งศีลศักดิ์สิทธิ์และการพักผ่อนเพื่อเฉลิมฉลองมิสซาเป็น จุดศูนย์กลางของชีวิตศีลมหาสนิทเป็นอาหารหล่อเลี้ยงชีวิต และสร้างแรงจูงใจแก่เราในการดูแลสิ่งแวดล้อม และรับใช้ สิ่งสร้างของพระเจ้า ในวันอาทิตย์ (วันพระเจ้า) คริสตชนมาร่วมมิสซาสรรเสริญพระเจ้าหยุดงานและพักผ่อนใน พระองค์ซึ่งจะกลับกลายเป็นพลังในการดำ�เนินชีวิตของพวกเขาในสัปดาห์ต่อไป 7. พระตรีเอกภาพและความ สัมพันธ์ระหว่างสิ่งสร้างต่างๆ พระตรีเอกภาพเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ของมนุษย์กับพระเจ้า มนุษย์กับมนุษย์ และ มนุษย์กับธรรมชาติ ความสัมพันธ์ที่เป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้าเป็นแบบอย่างในความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งต่างๆ (ข้อ 239-240) 8. พระนางมารีย์พระมารดาและราชินีแห่งสิ่งสร้างทั้งปวงและนักบุญยอแซฟ (องค์อุปถัมภ์ของพระ ศาสนจักรสากล) ท่านทำ�งานหนัก แต่นิ่มนวล เข้มแข็ง ทั้งสองพระ องค์สอนเราและจูงใจเราให้ดำ�เนินชีวิตอย่างเรียบง่ายพอเพียง มี ความสุขและปกป้องคุม้ ครองโลกใบนีท้ พี่ ระเจ้าทรงประทานให้แก่เรา ขอให้ทุกสิ่งสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้าเหนือดวงตะวัน เรามี อะไรที่ยิ่งใหญ่มาก เรามีพระเจ้าองค์แห่งความรัก พ่ออยากจะจบ บทสรุปพระสมณสาสน์ฉบับนี้ด้วยคำ�ถามของพระสันตะปาปาที่ว่า “โลกแบบไหนที่พวกเราคิดจะมอบให้คนรุ่นหลังของเรา” สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 13 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2015 3


บทความ...ทีมงานวิถีชุมชนวัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

คณะกรรมการ AsIPA ได้จัด VII AsIPA General Assembly ระหว่างวันที่ 22-28 ตุลาคม ค.ศ. 2015 ที่ศูนย์ ฝึกอบรมงานอภิบาล “บ้านผู้หว่าน” สามพราน นครปฐม ในหัวข้อ “จงไป...เราอยู่กับท่านทุกวันตลอดไป” (มธ 28:19-20) โดยมีผู้ที่ทำ�งานวิถีชุมชนวัดจากประเทศต่างๆ 15 ประเทศ จำ�นวน 118 ท่าน ประกอบด้วย ฆราวาส ชาย-หญิง 34 ท่าน นักบวช 14 ท่าน พระสงฆ์ 57 ท่าน และพระสังฆราช 13 ท่าน เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ในฐานะเจ้ า บ้ า นคณะกรรมการวิ ถี ชุ ม ชนวั ด ระดั บ ชาติ จ ากสั ง ฆมณฑลต่ า งๆ ได้ ร่ ว มมื อ ร่ ว มใจกั บ คณะ กรรมการส่วนกลางของ AsIPA ในการจัดงานครั้งนี้จน ผ่านไปได้ด้วยดีและบรรลุวัตถุประสงค์ แผนกวิถีชุมชนวัด อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้รับมอบหมายให้ช่วยในเรื่อง การดำ�เนินการรับส่งผู้เข้าร่วมประชุมทั้งไปและกลับ ซึ่ง เรารู้สึกดีใจที่ได้อำ�นวยความสะดวกให้กับผู้มาร่วมงาน ทุ ก ท่ า นนอกจากนั้ น เรายั ง ได้ รั บ มอบหมายให้ จั ด และ ประสานงานด้านพิธีกรรม และร่วมกับสังฆมณฑลจันทบุรี และสังฆมณฑลราชบุรี จัดให้ผเู้ ข้าร่วมประชุมไปเยีย่ มและ ศึกษาดูงานวิถีชุมชนวัดและงานศาสนสัมพันธ์ การเยี่ยมและศึกษาดูงานในวันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2015 สำ�หรับอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัดให้ ไปเยี่ยมและศึกษาดูงานดังนี้ โดยในภาคเช้าผู้เยี่ยมและ ศึกษาดูงานจะเข้าร่วมมิสซาและดูงานด้านศาสนสัมพันธ์ ทีอ่ าสนวิหารอัสสัมชัญ วัดซางตาครูส้ และวัดนักบุญเทเรซา หนองจอก และในภาคบ่ายจะไปเยี่ยมและร่วมประชุมกับ วิถีชุมชนวัดที่วัดนักบุญเทเรซา หนองจอก วัดพระกุมาร เยซู วัดอัครเทวดาราฟาแอล วัดเซนต์หลุยส์ วัดแม่พระ ประจักษ์เมืองลูรด์ บางสะแก วัดนักบุญหลุยส์ มารี บางแค และวัดนักบุญเปโตร ในภาพรวมของการศึกษาดูงานใน ทุกแห่งและทุกสังฆมณฑล สร้างความประทับใจเป็นอย่าง มากต่อพี่น้องผู้ทำ�งานวิถีชุมชนวัดที่ไปดูงาน ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของการดำ�เนินชีวิตด้วยความสัมพันธ์อันดีกับพี่น้อง 4 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 13 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2015

ที่นับถือศาสนาต่างกัน การมีโอกาสได้ไปเยี่ยมศาสน สถานของพี่น้องที่นับถือศาสนาพุทธและศาสนสถานของ พี่น้องที่นับถือศาสนาอิสลาม ได้ทำ�กิจกรรมศาสนสัมพันธ์ นอกจากนั้นพวกเขายังประทับใจในความเชื่อ การประชุม ที่มีชีวิตชีวา การแบ่งปันพระวาจา การได้มีโอกาสไปเยี่ยม บ้าน และการต้อนรับอย่างดีจากวิถีชุมชนวัดชุมชนต่างๆ ที่พวกเขาไปเยี่ยม พ่อเชื่อเสมอว่าวิถีชุมชนวัด ชุมชนที่มีความเป็น น้ำ�หนึ่งใจเดียวกัน ชุมชนที่แบ่งปัน ชุมชนที่ให้ความรัก ต่อเพื่อนพี่น้อง เป็นชุมชนที่เติบโตและเข้มแข็ง ขอบคุณ คุณพ่อเจ้าอาวาส คุณพ่อผู้ช่วย ซิสเตอร์ และพี่น้องวิถี ชุมชนวัดที่ได้ร่วมใจกันต้อนรับ แบ่งปันความเชื่อ ความรัก และแบ่งปันประสบการณ์ให้กับกลุ่มที่มาเยี่ยมและศึกษา ดูงาน พ่อเชือ่ ว่าพวกเราทุกคนคงได้สงิ่ ดีๆ จากการแบ่งปัน ประสบการณ์ของผู้มาเยี่ยมเช่นกัน นอกจากนี้ขอขอบคุณ บ้านเณรใหญ่แสงธรรมที่อนุญาตให้น้องเณรใหญ่ปีสาม มาเป็นผู้ช่วยในพิธีมิสซาเปิดและวจนพิธีกรรมเปิด รวมทั้ง ผู้แทนของเยาวชนแห่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ที่มา ช่วยจัดสถานที่ให้มีบรรยากาศแห่งการภาวนาและขับร้อง บทเพลงในวจนพิธีกรรมเปิด ขอพระเจ้าตอบแทนน้ำ�ใจดี ของทุกท่านครับ


บอกข่าวเล่าสาร

แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ

ฉลอง น.เทเรซา และฉลอง 90 ปี อารามคาร์แมล

วันที่ 1 ตุลาคม 2015 พิธีบูชาขอบพระคุณ โอกาสฉลอง 90 ปี อารามคาร์แมล สีลม กรุงเทพฯ และฉลองนักบุญเทเรซาแห่งพระกุมาร เยซู รอบเช้า โดยพระคุณเจ้ายอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ ประมุขสังฆมณฑลนครราชสีมาเป็นประธาน และหลังจากพิธีมิสซา มีการตั้งศีลมหาสนิท และจะทำ�พิธีอวยพรศีลมหาสนิท เวลา 16.00 น. และตามด้วยพิธีบูชาขอบพระคุณรอบเย็น เวลา 16.30 น. โดยพระคาร์ดินัล เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็นประธาน

ฉลองวันแพร่ธรรมสากล วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม 2015 คุณพ่อสมเกียรติ บุญอนันตบุตร ผู้อำ�นวยการฝ่ายงานธรรมทูตจัดงานฉลองวันแพร่ธรรมสากล ในปีนี้ จัดที่วัดนักบุญเปโตร สามพราน โดยได้เชิญพระคาร์ดินัล เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็นประธานโดยในพิธี มีการมอบกางเขนพระสงฆ์-นักบวช ที่รับการอบรมการประกาศข่าวดี (PRMP) และมอบวุฒิบัตรอาสาสมัครฆราวาสประกาศข่าวดีประจำ�วัด (PMG BKK) และยังมีการแบ่งปัน ประสบการณ์ของฆราวาส 3 ท่าน ผู้ทำ�งานประกาศข่าวดีในมิติต่างๆ คุณมโนรัตน์ เติมนาค คุณปิ่นทอง วงษ์สกุล และคุณเมธา เหลืองรุ่งนภา ช่วงบ่ายเป็นบรรยายพิเศษสมณสาสน์ "Laudato Si'" โดย คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช ปิดท้ายด้วยการตั้งศีล อวยพรศีล รับพระคุณการุณย์ โดยคุณพ่อสมเกียรติ บุญอนันตบุตร มีสัตบุรุษและองค์กรต่างๆ ให้ความสนใจมาร่วมงานในวันนี้จำ�นวนมาก เสกระฆัง อาสนวิหารอัสสัมชัญ วั น อาทิ ต ย์ ที่ 4 ตุ ล าคม 2015 พระคาร์ดินัล เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็น ประธานวจนพิธีกรรม เสกระฆังทั้ง 12 ใบ ของ อาสนวิหารอัสสัมชัญ ซึ่งระฆังทั้งหมดนี้จะนำ� ไปใช้จริงในการสรรเสริญพระเป็นเจ้า ซึ่งจะมี การยกระฆังขึ้นสู่หอระฆังต่อๆ ไป โอกาสนี้ เปรียบเสมือนสัญญาณแรกที่บอกกับเราทุกคน ว่าอาสนวิหารอัสสัมชัญ ใกล้ถึงเวลาที่จะเปิดสำ�หรับถวายเกียรติแด่พระเป็นเจ้า และทางอาสนวิหารอัสสัมชัญ กำ�หนดเปิดและเสกใน วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม 2015 ในโอกาสนี้ จะมีพิธีเปิดประตูศักดิ์สิทธิ์ของอาสนวิหาร เพื่อเปิดปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรมอีกด้วย ปิดคอร์สอบรมพระคัมภีร์วันเสาร์ วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม 2015 ซึ่งปีนี้ จัดเป็นปีที่ 26 แล้ว จัดอบรมในหัวข้อ "หนังสือโยชูวา ผูว้ นิ จิ ฉัย นางรูธ ซามูแอล ฉบับที่ 1 - 2" โดยคุณพ่อพงศ์เทพ ประมวลพร้อม เป็นวิทยากร ตั้งแต่ วันที่ 4 กรกฎาคม - 3 ตุลาคม มีการ อบรมทั้งหมด 9 ครั้ง มีผู้ลงทะเบียน เรียนทั้งหมด 132 ท่านและได้รับวุฒิบัตร (มาเรียน 7-9 ครั้ง) ทั้งหมด 85 ท่าน สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 13 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2015 5


17 ปีมรณภาพมิสซาระลึกถึงพระอัคร สังฆราชยอแซฟ ยวง นิตโย วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม 2015 เวลา 11.00 น. คุณพ่อสานิจ สถะวีระวงส์ ได้จัดให้มีพิธี บูชาขอบพระคุณระลึกถึงพระอัครสังฆราช ยอแซฟ ยวง นิตโย อดีตพระอัครสังฆราช อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ครบ 17 ปีมรณภาพ โดยในปีนคี้ ุณพ่อไพฑูรย์ หอมจินดา เป็น ประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ พร้อมด้วย พระสงฆ์ และพีน่ อ้ งสัตบุรษุ มาร่วมพิธใี นวันนีจ้ �ำ นวนมากเป็นพิเศษ ซึง่ ในปีนที้ างอาสนวิหารอัสสัมชัญได้ปรับปรุงอาสนวิหารอัสสัมชัญ จึงมาจัด ที่วัดน้อย บริเวณบ้านพักพระสงฆ์ ค่ายคำ�สอน ค่ายความเชื่อ วันที่ 8-10 ตุลาคม 2015 ศูนย์คริสตศาสนธรรม กรุงเทพฯ นำ�โดยคุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม ผูจ้ ดั การแผนกฯ ได้จดั "ค่ายคำ�สอน ค่ายความเชือ่ " ณ บ้านสวนยอแซฟ สามพราน โดยมีนักเรียนใน ระดับชั้น ป.4 - ม.3 จากโรงเรียนต่างๆ มาร่วม ทั้งหมด 123 คน และคุณครูอีก 7 ท่าน โดย กิจกรรมต่างๆ ที่จัดในค่ายปีนี้เป็นเนื้อหาของ ข้อความเชื่อในวันแรกมีบราเดอร์จากแสงธรรม มาช่วยสอน ในหัวข้อ "ข้าพเจ้าเชื่อในพระเจ้า พระบิดา พระบุตร และพระจิต" ส่วนในวันที่สองและสามนั้น คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม และคุณครูจากศูนย์คริสตศาสนธรรมเป็นผู้สอน ในหัวข้อต่างๆ ดังนี้ "ข้าพเจ้าเชื่อในพระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์ สากล" "และสืบจากอัครสาวก" "ความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวของผู้ศักดิ์สิทธิ์" "การอภัยบาป" "การกลับคืนชีพของบรรดาผู้ตาย" และ "ชีวิตนิรันดร"

คณะกรรมการอภิบาลครอบครัว เขต 3 จัดประชุมสามัญ ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2015 คณะกรรมการอภิบาลครอบครัวเขต 3 จัดประชุมสามัญ ครั้งที่ 5 และร่วมงานสวดสายประคำ�เขต ที่วัดพระแม่สกลสงเคราะห์ บางบัวทอง โดยมี คุณพ่อพรศักดิ์ ชื่นจิตอภิรมย์ เข้าร่วมประชุมด้วย อบรมทะเบียนศีลศักดิส์ ทิ ธิ์ รอบที่ 4 วันที่ 23-25 กันยายน 2015 อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ แผนก เทคโนโลยีสารสนเทศ นำ�โดยคุณพ่อ ปิยะชาติ มะกรครรภ์ จัดอบรม โปรแกรมทะเบียนศีลศักดิ์สิทธิ์ให้กับ วัดต่างๆ ในสังฆมณฑล โดยมีคุณพ่อ ธนันต์ธง สุขสุทิพย์ เป็นวิทยากร ให้การอบรม ณ บ้านผู้หว่าน มีผู้เข้า อบรมจำ�นวน 12 ท่าน สำ�หรับการ อบรมโปรแกรมทะเบียนศีลศักดิ์สิทธิ์ ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย และเป็นพิเศษ มี สั ง ฆมณฑลจั น ทบุ รี ม าเข้ า รั บ การ อบรมด้วย โดยมี คุณพ่อธรรมรัตน์ เรือนงาม เป็นผู้แทนกล่าวแนะนำ� ผู้มาเข้ารับการอบรมให้ได้รู้จักกัน 6 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 13 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2015

ทั่วโลกพร้อมเพรียงไม่สิ้นเสียงสายประคำ� เขต 5 วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม 2015 เขต 5 รวม พลังศรัทธา สวดสายประคำ� ในวัน "ทั่วโลก พร้อมเพรียงไม่สิ้นเสียงสายประคำ� เขต 5" ณ วัดนักบุญอันนา ท่าจีน มีสัตบุรุษจากวัดใน เขต 5 มาร่วมสวดจำ�นวน 6 วัด จากราชบุรี 1 วัด รวมเป็น 7 วัด ร่วมสวดสายประคำ� ได้ทั้งหมดจำ�นวน 1,213 สาย เริ่มต้นจาก สวดสายประคำ� และเคารพศีลมหาสนิท และ มิสซา และถ่ายรูปร่วมกัน


ประชุมสมัชชาใหญ่อาซิปา ครั้งที่ 7 กรรมาธิการฝ่ายฆราวาส โดยแผนกอาซิปา จัดประชุมสมัชชาใหญ่อาซิปา (AsIPA) ระดับนานาชาติ ครั้งที่ 7 หัวข้อ “จงออกไป....เราจะอยู่กับ ท่านทั้งหลายเสมอไป” (มัทธิว 28:19-20) ชุมชนคริสตชนย่อย/กลุ่มวิถีชุมชนวัด ใช้ชีวิตร่วมกับคนผู้มีความเชื่อและศาสนาที่แตกต่างกัน “Go.... I am with you always” (Mt 28:19-20) ที่ศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาล “บ้านผู้หว่าน” ระหว่างวันที่ 22-28 ตุลาคม 2015 โดยพระอัครสังฆราช พอล ชาง อิน-นัม เอกอัครสมณทูตวาติกัน ประจำ�ประเทศไทย เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณ พร้อมด้วยพระอัครสังฆราชหลุยส์ จำ�เนียร สันติสุขนิรันดร์ พระสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ พระสังฆราชยอห์น บอสโก ปัญญา กฤษเจริญ และคุณพ่อสมนึก สุทธิ โดยมี ผู้ที่ทำ�งานวิถีชุมชนวัดจากประเทศต่างๆ 15 ประเทศ จำ�นวน 118 ท่าน ประกอบด้วย ฆราวาสชาย-หญิง 34 ท่าน นักบวช 14 ท่าน พระสงฆ์ 57 ท่าน และพระสังฆราช 13 ท่าน เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้หนึ่งในกิจกรรมนี้คือการออกไปสัมผัสชีวิตจริงครั้งนี้ เราแบ่งออกเป็น 3 สังฆมณฑล คือ ที่กรุงเทพฯ มี 3 โซนใหญ่ๆ ที่อาสนวิหารอัสสัมชัญ (เยี่ยมวัดม่วงแค มัสยิดฮารูณ) จากนั้นไปดูงานที่วัดเซนต์หลุยส์ และวัดแม่พระประจักษ์เมืองลูร์ด บางสะแก วัดซางตาครู้ส วัดนักบุญเทเรซา หนองจอก ส่วนที่สังฆมณฑลราชบุรีนั้นเราก็ไป 4 วัด และที่สังฆมณฑลจันทบุรีนั้นเราไป 4 จุดใหญ่ๆ เรียกว่า ทั้งหมดนี้เราก็กระจายกันไป” สัมมนาฟื้นฟูชีวิตครอบครัว เขต 4 วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม 2015 แผนก ครอบครั ว อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ นำ�โดยคุณพ่อพรศักดิ์ ชื่นจิตอภิรมย์ ผู้จัดการแผนกฯ ร่วมกับคุณพ่ออภิเดช สุ ภ าจั ก ร จิ ต ตาภิ บ าลงานครอบครั ว เขต 4 จัดสัมมนาฟื้นฟูชีวิตครอบครัว ระยะสั้น (1 วัน) ให้สมาชิกครอบครัว ของวัดต่างๆ ในเขต

ฟื้นฟูจิตใจครูคาทอลิก เขต 2 ฝ่ายจิตตาภิบาล - คณะครู (คาทอลิก) เข้าร่วมงานฟื้นฟูจิตใจครูคาทอลิกเขต 2 หัวข้อ "ปีศักดิ์สิทธิ์ กับครูคาทอลิกเขต 2" ณ ศูนย์อภิบาลคามิลเลียน ลาดกระบัง กทม. เมื่อวันที่ 3-4 ตุลาคมที่ผ่านมา

ค่ายพระคัมภีร์ “หนังสือกิจการอัครสาวก” ครัง้ ที่ 2 แผนกพระคั ม ภี ร์ ฝ่ า ยบุ ค ลาภิ บ าล อั ค ร สังฆมณฑลกรุงเทพฯ จัดโครงการ “ค่ายพระคัมภีร์ หนังสือกิจการอัครสาวก “Witnesses to the ends of the world” (เทียบ กจ 1:8) ครั้งที่ 2 ในวันที่ 5-7 ตุลาคม 2015 ณ บ้านผู้หว่าน เพื่อให้นักเรียนและ เยาวชนได้ ศึ ก ษาร่ ว มกั น ในค่ า ยฯ ที่ เราจะจั ด ขึ้ น มีความรู้ ความเข้าใจในพระคัมภีร์กิจการอัครสาวก มากขึ้น ประยุกต์ใช้พระคัมภีร์ในการดำ� เนินชีวิต คริสตชน และสามารถแบ่งปันให้กับบุคคลอื่นๆ ได้ อีกทั้งร่วมกิจกรรมตอบคำ�ถามพระคัมภีร์ที่สาขาวิชา คริสตศาสนศึกษาวิทยาลัย แสงธรรม จะจัดขึน้ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน ศกนี้ด้วย

ปฏิทินกิจกรรม เดือนพฤศจิกายน 2015 11-12 พ.ย. 7,14,21,28 พ.ย. 21 พ.ย. 22 พ.ย. 27-29 พ.ย.

เข้าเงียบฟื้นฟูจิตใจพระสงฆ์ประจำ�เดือน บ้านผู้หว่าน แผนกพระคัมภีร์ฝ่ายบุคลาภิบาลจัดอบรมพระคัมภีร์ "หนังสืออพยพและเลวีนิติ" ณ ศูนย์อบรมคริสตศาสนธรรมระดับชาติ คณะภราดาคาร์เมไลท์ ขอเชิญร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณเปิดอาราม อ.สามพราน จ.นครปฐม เวลา 10.00 น. พระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธาน คณะพระหฤทัยฯ ร่วมกับองค์กรฆราวาสอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จัดเข้าเงียบจิตภาวนาด้วยพระทัยพระเยซู เดือนละครั้ง ที่อารามพระหฤทัย คลองเตย เวลา 10.00 - 15.00 น. แผนกคริสตศาสนธรรมจัดโครงการครูคำ�สอนบุญยาตรา ณ อาสนวิหารพระหฤทัย เชียงใหม่ สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 13 ฉบับที่ 11 เดือนพฤศจิกายน 2015 7


เกร็ดความรูค้ �ำ สอน...คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม

สวัสดีพน่ี อ้ งทีร่ กั

ความเชื่ อ เรื่ อ งชี วิ ต หลั ง ความตาย เป็นความเชื่อที่ไม่เพียงเราคาทอลิกที่เชื่อ แต่ ทุ ก ศาสนาต่ า งก็ เชื่ อ ในเรื่ อ งชี วิ ต หลั ง ความตาย ถึงแม้โลกจะเจริญมากเพียงใด คนเราจะนิยมชมชอบวัตถุเพียงใดแต่ลกึ ๆ เราต่างก็เชื่อว่าชีวิตเราไม่จบสิ้นเพียงแค่ ในโลกนี้ สมัยโบราณในพระคัมภีร์มีความเชื่อ ว่าคนเราเมื่อตายไปแล้วทุกอย่างจบสิ้น เราไม่ ว่ า ดี ห รื อ ชั่ ว ก็ จ ะไปสู่ แ ดนมรณา ดังนั้นพระเจ้าจะตอบแทนความดีชั่วของ คนๆ หนึ่งทันทีขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่ใน โลกรูปแบบของการตอบแทนความดีคือ ร่ำ�รวยสุขภาพดีอายุยืนหรือมีบุตรหลาน มากๆ ที่จริงแล้วเราต่างก็หวังสิ่งต่างๆ เหล่านี้จากพระในปัจจุบันนี้เช่นกัน พระ เยซูเจ้ามาสอนเรื่องชีวิตหลังความตายว่า ความเชื่อที่เรามีต่อการไถ่บาป พระองค์ จะนำ�เราไปสู่ชีวิตที่เป็นนิรันดร์ โลกนี้เป็น สนามให้เราแสดงความเชือ่ ทีม่ ตี อ่ พระด้วย การทำ�ตามสิ่งที่พระองค์ทรงสอนถึงแม้ อาจจะยังไม่ได้รับการตอบแทนโดยทันที แต่เราจะได้รับการตอบแทนอย่างสมบูรณ์ เมื่อเราจากโลกนี้ไปแล้ว เดือนนีเ้ ป็นเดือนทีเ่ ราคาทอลิกระลึก ถึ ง ผู้ ต ายเป็ น พิ เ ศษเรามี ค วามผู ก พั น กั บ ผู้ ที่ ล่ ว งลั บ ไปแล้ ว เขาเป็ น ญาติ มิ ต รของ เราที่ตอนนี้พบพระเป็นเจ้าแล้วหลายคน รอคำ�ภาวนาจากเราเพื่อการใช้โทษบาป ที่เคยทำ�แต่ยังไม่ได้ชดใช้โทษบาปในขณะ มีชีวิตอยู่เป็นหน้าที่ของเราที่ยังมีชีวิตอยู่ ที่ต้องสวดภาวนาเพื่อพวกเขาสำ�หรับเรา ก็ต้องชดเชยแก้ไขสิ่งที่ไม่ดีในชีวิตตั้งแต่ อยู่ในโลกเพื่อว่าเมื่อเราจากโลกนี้ไปแล้ว เราจะพร้ อ มที่ จ ะพบพระเจ้ า และอยู่ กั บ พระองค์ โ ดยไม่ ต้ อ งรอว่ า จะมี ใ ครสวด ภาวนาให้เราหรือเปล่า ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกท่าน

ความตาย เราทุกคนต้องตาย ขณะที่ ผู้ ไ ม่ มี ค วามเชื่ อ หลายคนพยายามไม่ คิ ด ถึ ง เกี่ยวกับการตายเลย พวกเขากำ�ลังเลิกคิด เกี่ยวกับความตายทั้งด้านชีวิตจิตและด้านร่างกายเพราะคิดว่าเป็นสิ่งไม่ดีสำ�หรับการดำ�รงชีวิต ถ้าไม่มีบาปและความชั่วร้ายในโลกและในตัวเราเองแล้ว ก็อาจจะไม่มีความตายเลยก็เป็นได้ แต่เราต้องสำ�นึกในพระกรุณาว่าพระเจ้าตรัสเรียกเราเข้าสู่พระอาณาจักรผ่านทางความตาย ความตายจึงเป็นของประทานของพระเจ้าสำ�หรับคนบาป ไม่มีคนบาปคนใดปรารถนาที่จะมี ชีวิตอยู่ตลอดกาล เราเรียนรู้ที่จะมีความสุขตามพระประสงค์อันศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้ารวมทั้ง ความตายของเราด้วย ขณะที่คนหนุ่มสาว มีความโน้มเอียงที่จะผลักดันความตายให้ห่างออกไป แต่เมื่อเราเริ่มเข้าสู่วัยชรา เราก็จะค่อยๆ ยอมรับความคิดนี้ได้อย่างสงบ นักบุญฟรังซิสแห่ง อัสซีซีสรรเสริญพระเจ้าสำ�หรับ “ความตายด้านร่างกายว่าเป็นพี่สาวของเรา” เพราะความตาย คือประตูสชู่ วี ติ นิรนั ดรในการเข้าประตูนนั้ เราอาจรูส้ กึ ตกใจด้วยความเจ็บปวด หรืออาจรูส้ กึ เคลิม้ จะหลับเล็กน้อย ซึ่งเป็นไปตามพระประสงค์ของพระเจ้าสำ�หรับเราแต่ละคน แต่เหนือประตูนั้น เราได้รบั การปลดปล่อยจากห้วงเวลาและสถานทีท่ คี่ อยกดดันเรา เราจะไม่รสู้ กึ โศกเศร้าในงานศพ ของเรา จะไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย และไม่ถูกประจญอีกต่อไป ความตายเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องชีวิต ฝ่ายจิตของคาทอลิกที่ว่าเราควรสวดภาวนาและเตรียมตัวเพื่อเผชิญความตายอย่างดี และเมื่อ เราเตรียมพร้อมแล้วเท่านั้น การภาวนาจะช่วยปลดปล่อยเราจากการกลัวในความตายได้ การพิพากษาลงโทษ พระเจ้าทรงพิพากษาตัดสินเราเพราะพระองค์เองคือองค์ความจริง และทรงเป็นองค์ความยุติธรรมสูงสุด ในขณะที่เราเข้าใจเรื่องความจริงของพระเจ้านั้น เราก็ จะเห็นสภาพความเป็นจริงของชีวิตของเราเอง ขณะที่มนุษย์ “พบกับการประทับอยู่ที่เร้นลับ น่าพิศวงของพระเจ้า เขาจะพบว่า เขาไม่มีความสลักสำ�คัญแต่ประการใดเลย” (CCC ข้อ 208) พระเจ้าไม่ทรงพระประสงค์พยานบุคคลที่ต้องแสดงหลักฐานเกี่ยวกับบาปของเรา แต่พระองค์ ทรงจัดหาความยุติธรรมที่ปราศจากความเป็นไปได้ของความอยุติธรรม และความยุติธรรมของ พระองค์ก็ถูกทำ�ให้สงบเรียบร้อยด้วยความรักและเมตตา พระเจ้าทรงพิพากษาวิญญาณด้วย มาตรการเท่าที่เป็นไปได้ 3 ประการ 1. พระองค์จะทรงประกาศว่า วิญญาณทีพ่ ร้อมทีจ่ ะอยูก่ บั พระองค์ในสวรรค์ตลอดไป นีค่ อื คำ�พิพากษาสำ�หรับนักบุญ เราอาจถูกล่อลวงให้เดาว่านีค่ อื คำ�พิพากษาสำ�หรับคนส่วนน้อยก็จริง แต่เราไม่อาจจินตนาการถึง วิธีที่พระองค์ประทานแก่เราตามที่พระองค์พอพระทัยได้ 2. พระองค์ประกาศว่า วิญญาณที่จะถูกปรับโทษไม่ให้ดำ �เนินชีวิตกับพระเจ้าตลอดไป วิญญาณเช่นนั้นจะได้รับโทษตามที่ตนได้กระทำ� นี่คือการตัดสินลงโทษให้ไปนรก เราหวังว่า นีค่ อื คำ�พิพากษาสำ�หรับน้อยคน บางทีไม่มใี ครเลยทีถ่ กู พิพากษาเช่นนีเ้ ลย แต่ยงั เป็นไปได้ส�ำ หรับ คนที่เลือกความมืดมากกว่าความสว่าง ตามที่พระเยซูเจ้าได้ทรงสอนนิโคเดมัส (ยน 3:17-21) 3. วิญญาณถูกผูกมัดทีจ่ ะต้องรับการชำ�ระให้บริสทุ ธิ์ ซึง่ เราเรียกว่า ไฟชำ�ระ ซึง่ จะนำ�เราเข้าสู่ ระดับของนักบุญ และเตรียมเราไปรับความสุขนิรันดรกับพระเจ้า เรามั่นใจได้ว่า สิ่งนี้จะเป็นคำ� พิพากษาสำ�หรับวิญญาณทั้งหลาย ความเป็นไปได้นี้ทำ�ให้เรามั่นใจว่าเราไม่สามารถไปนรกโดย บังเอิญ นอกเสียจากว่าเรายังคงทำ�บาปอีกในสวรรค์ (เหมือนทูตสวรรค์ที่เคยกบฏต่อพระเจ้า) การมีเวลาไตร่ตรองเพียงเล็กน้อยจะแสดงให้เราเห็นถึงสิ่งที่พระศาสนจักรสอนอย่าง ต่อเนื่องว่า เราสามารถลิ้มรสสวรรค์และนรกล่วงหน้าได้ การลิ้มรสล่วงหน้าช่วยให้เราเตรียมตัว สำ�หรับความตายและการพิพากษา เพราะสวรรค์คือการดำ�เนินชีวิตอย่างมีความสุขกับพระเจ้า ส่วนนรกคือความพยายามที่จะหลีกหนีจากพระองค์ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมและข่าวต่างๆ ในระดับวัด เขตและสังฆมณฑล ให้กับสัตบุรุษและบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 2. เพื่อช่วยฟื้นฟูบทบาทการเป็นผู้มีส่วนร่วมในงานอภิบาลและธรรมทูตในชีวิตของสัตบุรุษ และบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑล 3. เพื่อนำ�เสนอเครื่องมือ และแนวปฏิบัติในงานอภิบาลและธรรมทูตให้กับสัตบุรุษและบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑล สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ผู้รับผิดชอบ : ฝ่ายงานอภิบาลของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ที่ปรึกษา : คุณพ่อพงศ์เทพ ประมวลพร้อม, คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม บรรณาธิการ : คุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ กองบรรณาธิการ : นาทลดา ทองตีบ, พฤกษา กิจเจริญ, มัลลิกา กิจบำ�รุง, เพชรี ชาวแพรกน้อย พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ บางรัก กรุงเทพฯ โทร. 0 2233 0523 โทรสาร. 0 2235 1405 สำ�นักงาน : อาคารคาทอลิกแพร่ธรรม 57 ซอยเจริญกรุง 40 เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. 0 2237 7315 โทรสาร. 0 2233 8159 E-mail : webmaster@catholic.or.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.