October2013

Page 1

ปีท่ี 11 ฉบับที่ 10 ประจำ�เดือนตุลาคม 2013

http://www.catholic.or.th/sarnbkk/

“หนทางสายน้อย” ของนักบุญเทเรซา แห่งพระกุมารเยซู เป็นวิถีชีวิตจิตที่ปุถุชน คนธรรมดาอย่างพวกเราทุกคนสามารถ นำ�ไปปฏิบัติในชีวิตประจำ�วันได้ “หนทางสายน้อยที่จะนำ�เราทุกคนสู่ ความศักดิ์สิทธิอ์ ันยิ่งใหญ่” วาทะพระอัครสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พระอัครสังฆราชอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ บทเทศน์ฉลองอารามคาร์แมล สีลม วันอังคารที่ 1 ตุลาคม 2013

คุณค่า

2

การสวดสายประคำ� ในครอบครัว น. วิถชี มุ ชนวัด ในสมณสาสน์

4

“พันธกิจพระผูไ้ ถ่” น. สังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2 สี่สมัยประชุม น.

8

บทความ...ผงศิลา

พี่น้องที่รัก เอกสารฟื้นฟูชุมชนศิษย์พระคริสต์สำ�หรับเดือนตุลาคม เราจะร่วมกันไตร่ตรองเรื่อง “สิทธิเด็กและสตรี” โดยมีเป้าหมาย เพื่อ “คริสตชน มีความเข้าใจและมีทศั นคติทถ่ี กู ต้องตามแนวทางคริสตศาสนาในเรือ่ งสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะสิทธิสตรีและเด็ก” เอกสารนี้เริ่มต้นด้วยการมองชีวิตปัจจุบัน (Look) กล่าวถึงวงสนทนาที่มีเด็ก ผู้ใหญ่ทั้งชายและหญิงกำ�ลังพูดคุยกันเกี่ยวกับ สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็กและสตรี ต่อจากนัน้ เป็นคำ�ถามให้เราไตร่ตรองว่า “ปัจจุบนั นีม้ ปี ญ ั หาอะไรเกิดขึน้ บ้างทีล่ ะเมิดสิทธิสตรีและเด็ก ท่านรู้สึกอย่างไรกับปัญหานั้น” และ “ท่านได้ข้อคิดอะไรจากเรื่องเล่าเรื่องนี้” พระวาจาของพระเจ้า (Listen) (มธ 9:18-26) กล่าวถึงพระเยซูเจ้าทรงรักษาหญิงตกโลหิต และลูกสาวของหัวหน้าคนหนึ่ง พร้อมทั้ง คำ�ถามในการไตร่ตรองจากพระวาจาที่ได้ฟังว่า “พระวาจาพระเจ้า คำ� หรือวลี หรือประโยคใดที่ท่านได้ฟัง สะกิดใจท่านมากที่สุด” “พระเยซูเจ้าส่งเสริมสิทธิมนุษยชน สิทธิของเด็กและสตรีอย่างไร” และ “เมือ่ ท่านฟังพระวาจาวันนีแ้ ล้ว ท่านจะดำ�รงชีวติ คริสตชน ของท่านตามพระวาจาที่ได้ฟังในวันนี้อย่างไร” การดำ�เนินชีวติ ศิษย์พระเยซู (Love) เป็นการหาแนวทางในการปฏิบตั ใิ นเรือ่ งต่อไปนี้ “คริสตชน จะส่งเสริมสิทธิสตรีและเด็กอย่างไร ในครอบครัว ในองค์กร ในหมู่คณะ ในที่ทำ�งาน ในโรงเรียนในชุมชนและในประเทศไทย” นอกจากนี้ ในเอกสารไตร่ตรองยังได้กล่าวถึงสิทธิเด็กและสตรีพอสรุปได้ ดังนี้ 1. พระดำ�รัสของพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2013 ให้ร่วมใจกันต่อต้านการใช้แรงงานแบบทาสและการค้ามนุษย์ เพราะ เป็นการทำ�ลายศักดิ์ศรีและความศักดิ์สิทธิ์ในตัวมนุษย์ พร้อมทั้งสนับสนุนเยาวชนในเรื่องสิทธิแห่งการศึกษา และในวันที่ 24 พ.ค. 2013 ทรงประณามกลุ่มมาเฟียที่ใช้มนุษย์ดุจทาสไม่ว่าจะเป็นการทำ�ร้าย ชาย หญิงและเด็ก 2. สมณสาสน์เรื่อง “ศักดิ์ศรีและกระแสเรียกของสตรี” โดยพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 (1988) “พระศาสนจักรยืนยันสิทธิ ของสตรี” (ข้อ 9.3) “พระศาสนจักรเคารพบุคคลและศักดิ์ศรี” (ข้อ 9.5.4) มนุษย์ทุกคนชายและหญิงมีความเท่าเทียมกัน (ข้อ 10) 3. สมณสาสน์ “พระศาสนจักรในเอเชีย” โดยสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ทรงส่งเสริมสิทธิสตรีให้มีการศึกษาสูงขึ้น ใน ด้านเทววิทยาและวิชาอื่นๆ ทรงยกย่องบทบาทสตรีโดยให้สิทธิมีส่วนร่วมในพันธกิจทุกอย่างและทุกระดับในพระศาสนจักร (EA. 45) ส่วน เด็กและเยาวชนพระองค์ทรงให้สทิ ธิพวกเขาเป็น “ผูแ้ ทนและเป็นผูร้ ว่ มในพันธกิจหลากหลายแห่งความรักและการบริการของพระศาสนจักร ในวัด ในสังฆมณฑล เยาวชนชายหญิงควรได้รับเชิญให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ...ช่วยพวกเขาให้มีส่วนสร้างสันติภาพในโลก” (EA. 47) 4. พระสมณสาสน์ “สันติภาพบนแผ่นดิน” โดยพระสันตะปาปายอห์น 23 (11 เมษายน 1963) เป็นพื้นฐานที่ดีของความเข้าใจเรื่อง สิทธิมนุษยชน ทรงเรียกร้องให้ทุกคนรักษาสันติภาพในโลก โดยการรักษาระเบียบสังคมที่พระเจ้าวางไว้


โดย...สายธาร

เดือนนีเ้ ป็นเดือนตุลาคม เป็นเดือนทีร่ ะลึกถึงแม่พระลูกประคำ�เป็นพิเศษ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และทุกๆ สังฆมณฑล ยังมี การรณรงค์ให้สวดสายประคำ� จำ�นวน 400,000 สาย ในโครงการ “คาทอลิกไทยพร้อมเพรียง ไม่สนิ้ เสียงสายประคำ�” เพือ่ ส่งเสริม สิทธิของเด็กทารกในครรภ์มารดาทีจ่ ะเกิด เพือ่ ความสงบสุขของประเทศชาติบา้ นเมือง และสันติภาพของโลก รวมทัง้ ส่งเสริม ความเชื่อและความสัมพันธ์อันดีในสถาบันครอบครัว รวมไปถึงส่งเสริมกระแสเรียกการเป็นพระสงฆ์และนักบวช และเพื่อขอ พระแม่มารีย์เพิ่มพูนความเชื่อผ่านทางการสวดสายประคำ� โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1–31 ตุลาคม ขอความร่วมมือพี่น้องทุกท่าน

ประวัติของการสวดสายประคำ�

การสวดสายประคำ�ให้เกียรติแก่พระแม่มารีย์ มีองค์พระจิตเจ้าทรงนำ�ทาง และเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ขึ้นมาในสหัสวรรษที่ 2 (หลังปี ค.ศ.1000) และมีนักบุญจำ�นวนมากที่รักการสวดสายประคำ� และได้ส่งเสริมการสวดสายประคำ�ตลอดมา พระศาสนจักรเองก็ได้ส่งเสริมให้สัตบุรุษได้สวดภาวนา เช่นเดียวกัน การสวดสายประคำ�เป็นบทภาวนาเรียบๆ ซื่อๆ แต่มีความศักดิ์สิทธิ์ การสวดสายประคำ� จึงซึมซาบเข้าในจิตใจสัตบุรุษอย่างลึกซึ้ง แม้เวลาจะผ่านไปมากกว่าสองพันปีแล้ว แต่การสวด สายประคำ�ก็ยังทำ�ให้ชีวิตของคริสตชนก้าวหน้าไปด้วยความสดชื่นตลอดมาเป็นเรื่องที่ต้องศึกษากัน ยาวนานพอสมควร และเชื่อกันว่า การสวดสายประคำ�นั้นคงเริ่มต้นในอารามฤาษี ซึ่งได้มีการสวดทำ�วัตร เป็นหมูค่ ณะ โดยใช้บทสวดจากบทเพลงสดุดี 150 บท แต่มฤา ี ษีบางตนความรูน้ อ้ ย ไม่สามารถอ่านหนังสือทำ�วัตรได้ พวกท่านจึงใช้การ สวดบท “วันทามารีอา” 150 บท แทนการสวดบทเพลงสดุดี 150 บท ต่อจากนั้นการสวดสายประคำ�ได้มีพัฒนามาเรื่อยๆ จนกระทั่ง ปี ค.ศ.1214 ที่แม่พระได้ประทานลูกประคำ�แก่นักบุญดอมีนิก ผู้ก่อตั้งคณะดอมีนีกัน เพื่อจะได้ใช้เป็นเครื่องมือต่อสู้กับพวกเฮเรติก อัลบีเยน โดยแม่พระได้ประจักษ์มาพร้อมกับเทวดา 3 องค์ แม่พระได้ตรัสกับท่านนักบุญว่า ถ้าท่านนักบุญต้องการให้พวกเฮเรติกกลับใจ จะต้องเผยแพร่การสวดสายประคำ� ท่านนักบุญจึงได้เผยแพร่การสวดสายประคำ� และสามารถทำ�ให้ผู้หลงผิดเหล่านั้นกลับใจในที่สุด ความหมาย “สายประคำ�” ตรงกับคำ�ว่า “โรซารี” ในภาษาลาติน ซึ่งหมายความว่าพวงมาลัยกุหลาบ เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่ เราสวดสายประคำ�ครบสามสาย เราจะร้อยกุหลาบสีขาว 153 ดอก ซึ่งหมายถึงบทวันทามารีอา 153 บท และร้อยกุหลาบสีแดงอีก 16 ดอก ซึ่งหมายถึงบทข้าแต่พระบิดา 16 บท มาลัยสวรรค์นี้จะไม่มีวันเหี่ยวเฉาไป แต่จะเป็นเสมือนเกียรติมงคลที่เราได้ถวายแด่ พระแม่เจ้าแห่งสวรรค์ ประจักษ์พยานในเรื่องนี้มีปรากฏอยู่เสมอ เช่น บราเดอร์อัลฟองโซ แห่งคณะเยซูอิตได้สวดสายประคำ�อย่างศรัทธา และทุกครั้ง ที่ท่านสวดบทข้าแต่พระบิดา จะมีกุหลาบสีแดงออกจากปากของท่าน และเมื่อสวดบทวันทามารีอา จะมีดอกกุหลาบสีขาวออกมา จากปากของท่านเช่นเดียวกัน การสวดสายประคำ�จึงเป็นความศรัทธา ที่หยั่งรากลึกในหัวใจของชาวเราทุกคน ทำ�ให้เรามีความศรัทธาต่อพระเยซูเจ้า และ พระแม่มารีอา ท่านบุญราศรีบาโทโล ลองโก ซึ่งเป็นผู้มีความศรัทธาต่อการสวดสายประคำ� ได้เคยกล่าวว่า “ผู้ใดส่งเสริมการสวด สายประคำ� ผู้นั้นจะได้รับความรอดนิรันดร” พระแม่มารีย์เองมีพระประสงค์ให้ลูกๆ ของพระแม่ได้สวดสายประคำ� เพราะพระแม่มีความห่วงใยในพวกลูกๆ ของพระนาง ที่พระเยซูเจ้าได้ทรงฝากฝังไว้แก่พระแม่ ณ แทบเชิงกางเขน โดยมีศิษย์ที่พระเยซูเจ้าทรงรัก เป็นตัวแทนของพวกเราทุกคน “นี่คือ แม่ของท่าน” (ยน 19:27)

สายประคำ�เป็นบทภาวนาเพื่อครอบครัว

ก) ครอบครัวยุคปัจจุบันกำ�ลังถูกคุกคาม การสวดสายประคำ�เป็นบทภาวนาทีเ่ ราสามารถติดต่อกับพระเป็นเจ้าได้อย่างดีทสี่ ดุ โดยอาศัยการเสนอวิงวอนของพระแม่มารีย์ และพระเป็นเจ้าจะทรงประทานพระหรรษทานอย่างอุดมสมบูรณ์แก่บคุ คลหรือแก่ครอบครัวทีส่ วดสายประคำ�พร้อมกัน ในสมณสาสน์


“สายประคำ�ของพระนางพรหมจารีมารีอา” สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ได้ทรงเน้นความสำ�คัญของการสวดสายประคำ� ในครอบครัว โดยพระองค์ได้ตรัสถึงสถาบันครอบครัวกำ�ลังถูกคุกคามอย่างหนัก จากพลังแห่งการแตกแยก และทำ�ให้ครอบครัว ทัง้ หลายกำ�ลังอ่อนแอลง “นอกจากนัน้ เหตุผลสำ�คัญและเร่งด่วนทีจ่ ะต้องสวดภาวนา เกิดจากปัญหาอีกประการหนึง่ ของสมัยปัจจุบนั นั่นคือปัญหาครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยเล็กที่สำ�คัญที่สุดของสังคม และอนาคตของสังคมนี้กำ�ลังถูกคุกคามอย่างน่ากลัวจากพลังที่สร้าง ความแตกแยก อันสืบเนื่องมาจากความคิดทางปรัชญา จึงเป็นกิจกรรมในข่ายงานอภิบาลครอบครัว ซึ่งจะช่วยต่อต้านพลังบ่อน ทำ�ลายสังคมในสมัยของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ” (RVM 6) ข) ครอบครัวที่สวดภาวนาร่วมกันย่อมอยู่ด้วยกัน จากประวัติอันยาวนานของการสวดสายประคำ� เป็นที่ประจักษ์ว่าการสวดสายประคำ�ได้ช่วยนำ�และแก้ไขปัญหาครอบครัวได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยทำ�ให้สมาชิกในครอบครัวมีความสามัคคีกลมเกลียวกัน เพราะเมื่อสมาชิกทุกคนหันมามองดูพระเยซูเจ้า จะช่วยทำ�ให้สมาชิกแต่ละคนหันสายตามามองกันง่ายขึ้น สามารถสื่อสารกันรู้เรื่องมากขึ้น สร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน ให้อภัย กันและกัน และผูกพันกันด้วยสายสัมพันธ์ของความรักขององค์พระจิตเจ้า ในปัจจุบันนี้สมาชิกในครอบครัวต่างๆ มีโอกาสอยู่ด้วยกันน้อยมาก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่รัดตัว ทำ�ให้มีเวลาอยู่ด้วยกัน น้อยกว่าอดีตที่ผ่านมา สมาชิกในครอบครัวก็มักใช้เวลาในการดูโทรทัศน์บ้าง หรือนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ การที่ครอบครัว หันมาสวดสายประคำ�พร้อมกันในครอบครัว จะทำ�ให้มีบรรยากาศของครอบครัวแห่งนาซาเร็ธ ซึ่งมีพระเยซูเจ้าเป็นศูนย์กลาง ลูกๆ ในครอบครัวจะเรียนรู้จากตัวอย่างของพระเยซูเจ้า ในเรื่องการทำ�งาน ความนบนอบ ความรักต่อกัน และพ่อแม่จะเรียนรู้จากตัวอย่าง ของพระแม่มารีย์ ทีย่ นิ ดีรบั ความทุกข์อย่างสงบ ยอมรับความยากลำ�บากในชีวติ ด้วยความกล้าหาญ สมาชิกในครอบครัว จะมีสว่ นร่วม ในความยินดีและความโศกเศร้าพร้อมกัน มอบทุกสิง่ ทุกอย่างทีเ่ กิดขึน้ กับสมาชิกในครอบครัวไว้ในพระหัตถ์ของพระเป็นเจ้า พร้อมกับ มีความหวังและกำ�ลังใจที่จะต่อสู้กับชีวิตต่อไปด้วยความมั่นคง และทำ�ให้บ้านเป็นบ้านที่มีแต่ความสงบและสันติ พระเป็นเจ้าจะ ประทานพระหรรษทานให้แก่ครอบครัวอย่างมากมาย และบางครั้งพระองค์อาจจะประทานกระแสเรียกแก่ลูกๆ โดยสมัครเป็น พระสงฆ์หรือนักบวช ค) การสวดสายประคำ�เพื่อการพัฒนาการด้านต่างๆ ของลูก ในการสวดสายประคำ�นั้น พ่อแม่ยังมีโอกาสได้วิงวอนขอ เพื่อให้ลูกๆ ได้พัฒนาและเติบโตเป็นคนที่สมบูรณ์ เมื่อรำ�พึง ชีวประวัติของพระเยซูเจ้า ตั้งแต่พระองค์ได้ปฏิสนธิในครรภ์ของพระแม่มารีย์ จนถึงวันที่พระองค์ได้ทรงกลับคืนชีพ และเสด็จสู่สวรรค์ “พระกุมารทรงเจริญวัยแข็งแรงขึ้น ทรงพระปรีชาญาณอย่างสมบูรณ์ และพระหรรษทานของพระเจ้าสถิตอยู่กับพระองค์” (ลก2:40) ในยุคปัจจุบันนี้เทคโนโลยีต่างๆ มีการพัฒนาไปรวดเร็วมาก จนทำ�ให้เกิดช่องว่างระหว่างวัยยิ่งวันยิ่งมากขึ้น เด็กๆ และเยาวชนได้รับ ข่าวสารที่มีแต่สิ่งเลวร้ายมากกว่าสิ่งดีงาม พ่อแม่ทุกคนจึงมีความห่วงใยในอันตรายที่ลูกๆ ของตนกำ�ลังเผชิญอยู่ กลัวว่าลูกๆ ของตน จะเป็นเหยื่อของยาเสพติด การปล่อยตัวสำ�ส่อน การแก้ปัญหาโดยใช้ความรุนแรง ตลอดจนการหนีปัญหาด้วยการฆ่าตัวตาย ง) การฝึกให้รู้จักเงียบ การสวดสายประคำ�พร้อมกันในครอบครัวทุกวัน จะเป็นโอกาสดีให้เด็กๆ ได้มีประสบการณ์ตั้งแต่เล็กเรื่อง “การหยุดพักเพื่อ ภาวนา” แม้การสวดภาวนาจะไม่ใช่การแก้ปัญหาชีวิตได้ทุกอย่าง แต่อย่างน้อยก็สามารถทำ�ให้จิตใจของพวกลูกๆ ได้พบกับความสงบ และจิตใจไม่ฟุ้งซ่าน แม้ว่าเด็กๆ มีความยากลำ�บากในการสวดสายประคำ� อาจเป็นเพราะไม่มีสมาธิพอ แต่การใช้เครื่องมือบางอย่าง จะช่วยให้การสวดภาวนาง่ายเข้า เช่น การใช้รูปภาพ และเสียงเพลง เป็นต้น และเมื่อพวกเขาสามารถสวดด้วยตนเองได้แล้ว พวกเขา จะยินดีสวดภาวนาเพื่อรับพระคุณต่างๆ โดยไม่ต้องมีการบังคับแต่อย่างใด ในโอกาสนี้ขอนำ�พระดำ�รัสของสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ซึ่งพระองค์ได้สรุปไว้ในสมณสาส์น “สายประคำ�ของ พระนางพรหมจารีมารีอา” ว่า “สายประคำ�ศักดิส์ ทิ ธิข์ องพระแม่มารีย์ ซึง่ เป็นโซ่ทองทีค่ ล้องชาวเราไว้กบั พระเจ้า เป็นสายสัมพันธ์ ความรักทีเ่ ชือ่ มเราไว้กบั บรรดาทูตสวรรค์ เป็นป้อมปราการทีช่ ว่ ยชีวติ ให้พน้ จากการจูโ่ จมของนรก เป็นท่าเรือทีช่ ว่ ยให้พน้ จาก การอับปาง เราจะไม่มีวันทิ้งเจ้าเลย เจ้าจะเป็นความบรรเทาของเราในวาระสุดท้ายของชีวิต เราจะจุมพิตเจ้าขณะที่ชีวิตของ เราจะออกจากร่าง ข้าแต่พระราชินแี ห่งสายประคำ�แห่งปอมเปย์ ถ้อยคำ�สุดท้ายจากปากของข้าพเจ้าทัง้ หลายจะเป็นพระนาม ของพระนาง ข้าแต่พระมารดาน่ารักยิ่ง พระนางผู้ทรงเป็นที่พึ่งของคนบาป ผู้บรรเทาที่ยิ่งใหญ่ของผู้ทุกข์ยาก ขอพระนาง จงได้รับพระพรทั่วทุกแห่งหน บัดนี้และตลอดไป ทั้งบนแผ่นดินและในสวรรค์”


ระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 กล่าวสรุปในสมณสาสน์ “พันธกิจพระผู้ไถ่” (Redemptoris Missio 51) และสมณสาสน์อื่นๆ ว่า “วิถีชุมชนวัด” ... 1. เป็น “พระศาสนจักร” อย่างเป็นรูปธรรม 2. เป็นเชื้อฟูแห่งชีวิตคริสตชน 3. เป็นเครื่องหมายของความหวังอันยิ่งใหญ่ของความเป็นอยู่ของพระศาสนจักร 4. เป็นแหล่งศาสนบริการใหม่ๆ 5. เป็นวิธีที่นำ�สู่ความมีสัมพันธ์เป็นจิตหนึ่งใจเดียวอย่างลึกซึ้ง 6. เป็นศูนย์อบรมความเชื่อคริสตชน 7. เป็นวิธีทำ�ให้การแพร่ธรรมเป็นจริงเชิงรูปธรรม 8. เป็นการพัฒนาบุคคลและการเปลี่ยนแปลงสังคม 9. เป็นการสร้างสังคมบนอารยธรรมแห่งความรัก 10. เป็นการกระจายความรับผิดชอบเพือ่ การมีสว่ นร่วมของทุกคนในชุมชนวัดของตน แม้วิถีชุมชนวัดในอัครสังฆมณฑลของเรายังอยู่ในช่วงเริ่มต้น เราอาจจะยังทำ�พันธกิจ ของวิถีชุมชนวัดไม่ครบทั้ง 10 ประการ แต่อย่างไรก็ดี พ่อมั่นใจว่าทุกฝ่ายมีความมุ่งมั่น และ จะพยายามทำ�หน้าที่ของตนอย่างดีที่สุดต่อไปครับ ในเดือนนี้ขอรายงานข่าวความเติบโตของวิถีชุมชนวัด อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ดังนี้ วันที่ 8 กันยายน คุณพ่อวิทยา คู่วิรัตน์ เจ้าอาวาสวัดซางตาครู้ส ร่วมกับแผนกวิถีชุมชนวัด ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จัดอบรมความรู้พื้นฐานให้กับสัตบุรุษวัดซางตาครู้ส โดยมีคุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ มาแบ่งปันประสบการณ์ วันที่ 11 กันยายน เวลา 14.00 น. - 16.30 น. ประชุมคณะกรรมการดำ�เนินงานวิถีชุมชนวัดที่สักการสถานบุญราศี นิโคลาส บุญเกิด กฤษบำ�รุง วันที่ 14-15 กันยายน แผนกวิถีชุมชนวัด ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ร่วมกับแผนกองค์กรคริสตชนฆราวาส จัดโครงการพัฒนาผู้นำ�วิถีชุมชนวัด ณ บ้านผู้หว่าน สามพราน โดยมีคุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา ซิสเตอร์สุวรรณี พันธ์วิไล คุณสมใจ พนาภาส และคุณนิวัติ กิจเจริญ เป็นวิทยากร มีผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้นำ� จำ�นวน 35 ท่าน จาก 11 วัด และจากอารามพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ เริ่มต้นกิจกรรมด้วยวจนพิธีกรรมเปิดการอบรม โดย คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช ผู้จัดการแผนกวิถีชุมชนวัด จากนั้นเข้าสู่เนื้อหาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิถีชุมชนวัดและประวัติความเป็นมา โดย คุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ ต่อจากนั้นเป็นการศึกษาเอกสาร D1 (จุดศูนย์กลางคือพระเยซูเจ้า) และยังมีการฝึกปฏิบัติ โดยเชิญพระมาประทับกับเรา โดยใช้เอกสาร A 1 หน้า 9 โดยซิสเตอร์ สุวรรณี พันธ์วิไล ในภาคบ่าย คุณสมใจ พนาภาส และทีมงานฆราวาสได้ให้ความรู้เรื่องการค้นหา สมบัติโดยการเลือกคำ�ในพระวาจา โดยใช้เอกสาร A2 และทีมซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา ใช้เอกสาร A4 เรื่องการแบ่งปันพระวาจาในชีวิต ส่วนตัว จากนั้นช่วงเย็นเป็นพิธีบูชาขอบพระคุณ โดยคุณพ่อเชษฐา ไชยเดช และหลังรับประทานอาหารเย็น เป็นการแบ่งกลุ่ม และแบ่งปัน ประสบการณ์ และปรึกษาถึงปัญหาต่างๆที่พบในการประชุมกลุ่ม วันที่สองของการอบรม เริ่มต้นเข้ากลุ่มแบ่งปันพระวาจาแบบ 7 ขั้นตอน โดยใช้พระวรสาร ลก 15:1-32 จากนั้นเป็นพิธีบูชาขอบพระคุณ โดย คุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ และเป็นการทำ�ความเข้าใจเอกสารฟื้นฟู ชีวิตคริสตชน 36 บทเรียน พร้อมถาม-ตอบปัญหาต่างๆ โดย คุณพ่อปิยะชาติ และคุณพ่อเชษฐา พร้อมรับประทานอาหารร่วมกันก่อน นำ�รักสู่บ้านและชุมชน วันที่ 18 กันยายน เวลา 13.00 น. - 15.30 น. คณะกรรมการดำ�เนินงานวิถีชุมชนวัด อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ โดย คุณพ่อปิยะ ชาติ มะกรครรภ์ ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา ซิสเตอร์สุวรรณี พันธ์วิไล และคุณพ่อเชษฐา ไชยเดช ได้ร่วมประชุมกับบราเดอร์ ทินรัตน์ คมกฤส เพื่อเตรียมงานและแบ่งหน้าที่ในงาน “AsIPA Three International Training Workshop” ที่ศูนย์คามิลเลียน ลาดกระบัง และในวันที่ 10 ตุลาคม ในภาคบ่ายจนถึงค่ำ� ผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการของ AsIPA จะไปร่วมประชุมวิถีชุมชนวัดกับวิถีชุมชนวัดที่สังฆมณฑลจันทบุรี 6 ชุมชน และ 13 ชุมชนของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ โดยเป็น 11 ชุมชนวัด และ 2 ชุมชนพนักงานของอารามพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า แห่งกรุงเทพฯ วันที่ 24 กันยายน คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช และซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา ได้นำ�ทีมงานวิถีชุมชนวัด ออกเยี่ยมและให้กำ�ลังใจกับ วิถีชุมชนวัด ที่วัดนักบุญอันนา ท่าจีน โดยทีมงานแบ่งเป็น 2 กลุ่ม เพื่อไปร่วมประชุมกับชุมชนวัดสองชุมชน ในเวลา 19.00 น. ชุมชนแรก มี คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช ซิสเตอร์สุชาดา ศรีสุระ ซิสเตอร์อรพิน นับเงินอนันต์ กลุ่มที่ 2 มี ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา และ คุณครูอีก 2 ท่าน โดยผู้นำ�วิถีชุมชนวัดของวัดนักบุญอันนา ท่าจีน ให้การต้อนรับและพาไปประชุมที่บ้านเจ้าภาพ วันที่ 27-28 กันยายน คุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ ได้ไปแบ่งปันเรื่องวิถีชุมชนวัดกับคุณครูของโรงเรียนคาทอลิก อัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ ที่มารับการอบรมในโครงการ “หลักสูตรประกาศนียบัตรครูจิตตาภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ รุ่น 3” และในการอบรม วันที่ 28 กันยายน คุณพ่อปิยะชาติ ได้เชิญผู้นำ�วิถีชุมชนวัดวัดนักบุญเปโตร 6 ท่าน มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การทำ�งานวิถีชุมชนวัด กับคุณครูจิตตาภิบาลด้วย บทความ...แผนกวิถชี มุ ชนวัด

4 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 11 ฉบับที่ 10 เดือนตุลาคม 2013


บอกข่าวเล่าสาร

แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ

ปิดคอร์สอบรมพระคัมภีร์วันเสาร์ ปีที่ 24

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน 2013 แผนกคริสตศาสนธรรม ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ นำ�โดยคุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม ผู้จัดการแผนกฯ จั ด โครงการอบรมพระคั ม ภี ร์ วั น เสาร์ ตั้ ง แต่ วั น เสาร์ ที่ 6 กรกฎาคม ถึงวันเสาร์ที่ 14 กันยายน ณ อาคารคาทอลิก แพร่ธรรม ในการอบรมครั้งนี้ มีผู้สมัครมารับการอบรมทั้งหมด จำ�นวน 132 คน และมีผู้ผ่านการอบรมเป็นเวลาร้อยละ 80 ขึ้นไป มีจำ�นวน 100 คน และในวันสุดท้ายเป็น การปิดคอร์สการอบรมพระคัมภีร์ พระอัครสังฆราช เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ก็ได้ให้เกียรติมามอบวุฒิบัตรแก่ผู้เข้ารับการอบรม

โครงการพัฒนาผู้นำ�วิถีชุมชนวัด เมื่อวันที่ 14-15 กันยายน 2013 แผนกวิถีชุมชนวัด ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ โดยคุณพ่อเชษฐา ไชยเดช ผู้จัดการแผนก วิถีชุมชนวัด คุณพ่อถนอมศักดิ์ เลื่อนประไพ ผู้ช่วยผู้จัดการแผนกวิถีชุมชนวัด ร่วมกับแผนกองค์กรคริสตชนฆราวาส โดยคุณพ่ออภิเดช สุภาจักร์ ผู้จัดการแผนก ได้จัดโครงการพัฒนาผู้นำ�วิถีชุมชนวัด ณ บ้านผู้หว่าน สามพราน โดยมีคุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช ซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา และซิสเตอร์สุวรรณี พันธ์วิไล เป็นวิทยากร มีผู้เข้าร่วม โครงการพัฒนาผู้นำ� จำ�นวน 35 ท่าน

ชมรมฆราวาสเขต 1 แสวงบุญ 4 วัด วันเสาร์ที่ 14 กันยายน 2013 ชมรมฆราวาสเขต 1 นำ�โดยคุณพ่อชาญชัย ทิวไผ่งาม พระสงฆ์หัวหน้าเขต จัดทัวร์แสวงบุญ 4 วัด วัดนักบุญ อันนา ท่าจีน วัดพระคริสตหฤทัย วัดเพลง อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางนกแขวก และวัดนักบุญอันตน โคกมดตะนอย ในโอกาสปีแห่งความเชือ่ สัตบุรุษวัดในเขต 1 ประกอบไปด้วย อาสนวิหารอัสสัมชัญ วัดแม่พระลูกประคำ� กาลหว่าร์ วัดเซนต์หลุยส์ วัดนักบุญยอแซฟ ตรอกจันทน์ วัดอัครเทวดาราฟาแอล ปากน้ำ� วัดราชินีแห่งสันติสุข ซอย 101 วัดพระกุมารเยซู กม.8 วัดพระมหาไถ่ วัดแม่พระปฎิสนธินิรมลแห่งเหรียญ อัศจรรย์ (ไม่มีผู้มาร่วมแสวงบุญเนื่องจากไม่มีสภาภิบาลวัด) มีผู้เข้าร่วมจำ�นวนประมาณ 400 คน โครงการ “หลักสูตรประกาศนียบัตรครู จิตตาภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ กลุ่มงานจิตตาภิบาล ฝ่ายการศึกษาฯ ร่ ว มกั บ ศู น ย์ ค ริ ส ตศาสนธรรม ฝ่ า ยงาน อภิบาลอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ร่วมจัด โครงการ “หลักสูตรประกาศนียบัตรครู จิตตาภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ” เพื่ อ พั ฒ นาศั ก ยภาพของครู จิ ต ตาภิ บ าล ให้ ส ามารถทำ � งานอภิ บ าลและประกาศ ข่าวดีและเป็นการส่งเสริมครูจิตตาภิบาลให้มีจิตตารมณ์แห่งพระวรสาร การอบรมครั้งที่ 7 หัวข้อ “พิธีกรรมภาคปฏิบัติ” โดยมี บาทหลวง อนุสรณ์ แก้วขจร อาจารย์ประจำ�วิทยาลัยแสงธรรม เป็นวิทยากร เมื่อวันที่ 13-14 กันยายน 2556 ณ ศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาล บ้านผู้หว่าน สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 11 ฉบับที่ 10 เดือนตุลาคม 2013 5


โครงการครอบครัวสัมพันธ์เขต 3 คณะกรรมการครอบครัวเขต 3 โดยคุณพ่อสมโภชน์ พูลโภคผล จิตตาภิบาล จัดโครงการครอบครัวสัมพันธ์ เขต 3 เมื่อวันที่ 14-15 กันยายน 2013 ที่ลาซาลวิลล่า (ในโรงเรียนลาซาล บางนา (สุขุมวิท 105)) มีครอบครัวในเขตเข้าร่วมทั้งสิ้น 6 ครอบครัว (16 คน)

ค่ายอบรม “ยุวธรรมทูตกับงานศาสนสัมพันธ์ ระดับ ประถมฯ (ป.4-6) วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน 2013 แผนก สนับสนุนงานธรรมทูต จัดค่ายอบรม “ยุวธรรมทูต กั บ งานศาสนสั ม พั น ธ์ ” ระดั บ ชั้ น ประถมศึ ก ษา (ป.4-6) นำ�โดยคุณพ่อสมเกียรติ บุญอนันตบุตร ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานธรรมทูตและผู้อำ�นวยการ หน่วยงานยุวธรรมทูตอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ มี ยุวธรรมทูตเข้าร่วมทัง้ สิน้ 38 คน คุณครู 7 ท่าน จาก 7 โรงเรียนได้แก่ ร.ร.เซนต์โยเซฟ คอนเวนต์ ร.ร.อัสสัมชัญ ศึกษา ร.ร.เซนต์คาเบรียล ร.ร.เซนต์หลุยส์ศึกษา ร.ร.พระวิสุทธิวงส์ ร.ร.ซางตาครู้สศึกษา และ ร.ร. ยอแซฟฯ แผนกสามัญหญิง ณ บ้านสวนยอแซฟ

อบรมให้ความรู้วิถีชุมชนวัด ครั้งที่ 3 วันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2013 แผนกวิถีชุมชนวัด จัดอบรมให้ความรู้ วิถีชุมชนวัด ครั้งที่ 3 ณ สักการสถาน บุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำ�รุง โดยมีผนู้ �ำ วิถชี มุ ชนวัด วัดนักบุญเปโตร เข้าร่วมกิจกรรม จำ�นวน 18 คน ผู้นำ�กิจกรรม คือ ซิสเตอร์สุวรรณี พันธ์วิไล และคุณพ่อเชษฐา ไชยเดช กิจกรรมเริ่มเวลา 09.15 น. โดย ซิสเตอร์สุวรรณี พันธ์วิไล ให้ความ รู้เรื่อง “36 บทเรียนเพื่อฟื้นฟูชีวิต คริ ส ตชนของสภาพระสั ง ฆราช คาทอลิ ก แห่ ง ประเทศไทย” และ ให้ผู้นำ�ฯ ได้ปฏิบัติโดยมีการแบ่งปัน พระวาจาในบทเรียนของเดือนกันยายน

ประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุ ของ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ วันอังคารที่ 17 กันยายน 2013 ฝ่ า ยสั ง คมอั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ แผนกอภิบาลผู้สูงอายุ นำ�โดยคุณพ่อ ธนันชัย กิจสมัคร ผู้จัดการแผนกฯ จัดประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุของ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ทั้ง 6 เขต ณ วัดนักบุญอันนา ท่าจีน โดยมี คุณพ่อเทิดศักดิ์ กิจสวัสดิ์ จิตตาธิการเขต 6 มาเข้าร่วมประชุมด้วยเพือ่ เตรียมงานผูส้ งู อายุ ทีจ่ ะจัดในวันที่ 12 ตุลาคม ทีว่ ดั มารียส์ มภพ บ้านแพน สำ�หรับการประชุมในครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ รายชื่อคณะกรรมการประธาน คุณปราโมทย์ หนึ่งน้ำ�ใจ รองประธาน คุณศักดิ์ชาย กิจประเสริฐ และคุณวีระพงษ์ ธาราศิลป์ เลขาฯ คุณสุทัศน์ มาลานิยม เหรัญญิก คุณประไพ ชูแสงศรี อบรม “อาสาสมัครบุญราศี รุ่นเยาว์”สักการ สถานบุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำ�รุง คุ ณ พ่ อ เชษฐา ไชยเดช จิ ต ตาภิ บ าล สักการสถานบุญราศี นิโคลาส บุญเกิด กฤษบำ�รุง จัดอบรม “อาสาสมัครบุญราศี รุ่นเยาว์” ประจำ�สักการสถานฯ เมือ่ วันเสาร์ที่ 14 กันยายน 2013 สืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการ บริหารสักการสถานบุญ ราศีฯ เสนอให้จัด.. ให้เด็กๆ และเยาวชน ได้มีโอกาสมาทำ�หน้าที่ อาสาสมัครบุญราศีฯ ที่สักการสถาน เพื่อให้เด็กๆ ที่เป็นอาสาสมัครเหล่านี้ ทำ�หน้าที่แนะนำ�สักการสถาน ชีวประวัติของคุณพ่อนิโคลาส หรือ การให้บริการอำ�นวยความสะดวกให้กับผู้ที่มาแสวงบุญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กๆ ที่มาแสวงบุญ ด้วยกันเอง 6 สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 11 ฉบับที่ 10 เดือนตุลาคม 2013


นักศึกษาศูนย์ค�ำ สอนแม่รมิ เยีย่ มชมศูนย์ คริสตศาสนธรรมกรุงเทพฯ วันที่ 9 กันยายน 2013 คุณพ่อ เอกสิทธิ์ ทัฬหะกุลธร และนักศึกษาศูนย์ คำ�สอนแม่ริม จ.เชียงใหม่ ได้เข้าเยี่ยม ชมศูนย์คริสตศาสนธรรมกรุงเทพฯ เพื่อ รับฟังการแบ่งปันการทำ�งานด้านคำ�สอน งานของศูนย์ฯ ที่ทำ�ในด้านต่างๆ และมี ประสบการณ์ในการทำ�เข็มกลัด พร้อมทั้งได้เยี่ยมชมอาสนวิหารอัสสัมชัญ โรงพิมพ์อัสสัมชัญ แผนกสื่อมวลชน แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ ฝ่ายงานอภิบาล และในโอกาสนี้ก็ได้เข้าพบพระอัครสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เพื่อรับฟังโอวาทของท่านด้วย

สัมมนาชีวิตครอบครัว ขั้นที่ 1 รุ่นที่ 142 แผนกส่งเสริมชีวิตครอบครัว (สชค.) อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จัดสัมมนาฟื้นฟู ชีวิตครอบครัว ขั้นที่ 1 (ฟฟ.1) รุ่นที่ 142 เมื่อวันที่ 20-22 ก.ย. 56 ที่บ้านสวนยอแซฟ สามพราน นครปฐม มีคู่สามี-ภรรยา เข้าร่วมสัมมนาฯ ทั้งสิ้น 13 คู่ (คาทอลิก 1 คู่, ต่างถือ 4 คู่ และพุทธ 8 คู่)

C-GAMES 2013 แผนกเยาวชน อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ นำ�โดย คุณพ่อสราวุธ อมรดิษฐ์ ผู้จัดการ แผนกฯ จัดกิจกรรมวันเยาวชนแห่งชาติ C-Games 2013 จัดขึ้น ณ วัดมารีย์สวรรค์ ดอนเมือง มีเยาวชนเข้าร่วมจำ�นวน 245 คน จากทุกเขต โดยมีคุณพ่อวุฒิเลิศ แห่ล้อม อุปสังฆราชเป็นประธานวจนพิธีกรรมเปิด ร่วมกับคุณพ่อสราวุธ อมรดิษฐ์ คุณพ่อ พรชัย แก้วแหวน

อบรมจิตตารมณ์ยุวธรรมทูตกับเด็กต่างด้าวฯ ครั้งที่ 1 เมื่อวันจันทร์ 23 กันยายน 2013 หน่วยงาน ยุวธรรมทูตในแผนกสนับสนุนงานธรรมทูต อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ นำ�โดย คุณพ่อสมเกียรติ บุ ญ อนั น ตบุ ต ร ผู้ ช่ ว ยพระสั ง ฆราชฝ่ า ยงาน ธรรมทู ต และผู้ อำ � นวยการหน่ ว ยงานยุ ว ธรรมทู ต อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัดการอบรมให้แก่เด็ก ต่างด้าวผู้อพยพย้ายถิ่น ณ ศูนย์คาทอลิกนักบุญ อันนาสงเคราะห์เพื่อผู้อพยพ ท่าจีน จ.สมุทรสาคร

ปฏิทินกิจกรรม เดือนตุลาคม 2013 2-3 ต.ค. 7-9 ต.ค. 7-12 ต.ค. 8-10 ต.ค. 8-10 ต.ค. 8-12 ต.ค. 9-11 ต.ค. 11-13 ต.ค. 12 ต.ค. 18 ต.ค. 19-20 ต.ค. 20 ต.ค. 28-30 ต.ค.

เข้าเงียบพระสงฆ์เขต 5 บ้านผู้หว่าน เข้าเงียบพระสงฆ์เขต 4 สเต็ลลามารีส ระยอง ประชุม AsIPA 3 ที่ศูนย์คามิลเลียน ลาดกระบัง เข้าเงียบพระสงฆ์เขต 2 สเต็ลลามารีส ระยอง เข้าเงียบพระสงฆ์เขต 3 ธารารีสอร์ท พัทยา ทีมคำ�สอนสัญจร ฝึกปฏิบัตินักศึกษาวิทยาลัยแสงธรรม ชั้นปีที่ 3 สาขาคริสตศาสตร์ เข้าเงียบพระสงฆ์เขต 1 สเต็ลลามารีส ระยอง เตรียมเยาวชนสู่ชีวิตครอบครัว (ย.2) รุ่นที่ 24 บ้านสวนยอแซฟ สามพราน ฝ่ายสังคม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ แผนกอภิบาลผู้สูงอายุ จัดงานชุมนุมผู้สูงอายุ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ณ วัดมารีย์สมภพ บ้านแพน อบรมความรู้พื้นฐานวิถีชุมชนวัดให้กับเยาวชน เขต 2 อบรมการเป็นผู้นำ�ในวิถีชุมชนวัดให้กับเยาวชน เขต 3 ที่ปราณบุรี ฝ่ายงานธรรมทูต จัดกิจกรรมสัญจรและนิทรรศการ งานวันแพร่ธรรมสากล วัดพระแม่มหาการุณย์ นนทบุรี เข้าเงียบพระสงฆ์เขต 6 กาญจนบุรี สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ปีที่ 11 ฉบับที่ 10 เดือนตุลาคม 2013 7


เกร็ดความรู้คำ�สอน...คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม

สวัสดีพี่น้องที่รัก เดือนตุลาคมเดือนแม่พระ เราคริสตชนมีธรรมเนียม สวดสายประคำ�เป็นพิเศษอย่างต่อเนือ่ ง การสวดสายประคำ� เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของเราคาทอลิก เป็นมรดกทาง วัฒนธรรมที่เราภาคภูมิใจ และเกิดผลจริงจังต่อผู้ที่สวด คำ�ภาวนาของเราผ่านทางแม่พระเกิดผลเสมอ คนที่สวด จะรู้ คนที่ไม่สวดอาจจะไม่เข้าใจ ตั้งข้อสงสัย หรืออาจจะ ไม่เชื่อเรื่องการสวดเลย หลายคนสงสัยว่า ทำ�ไมต้องภาวนาในเมื่อพระเจ้า มีแผนการณ์ของพระองค์แต่นิรันดรแล้ว คำ�ภาวนาของ มนุษย์ไม่สามารถเปลีย่ นน้�ำ พระทัยของพระได้ และพระเจ้า ให้สิ่งที่ดีที่สุดสำ�หรับมนุษย์อยู่แล้ว สมมติว่าคุณพ่อป่วย เป็นมะเร็ง เราจะสวดขอให้พระช่วยให้หายทำ�ไม ในเมื่อ พระเจ้ามีพระประสงค์แต่นิรันดร์อยู่แล้วให้คุณพ่อเราหาย ไม่วา่ เราจะวอนขอหรือไม่พอ่ เราก็หายอยูด่ ี หรือถ้าพระองค์ กำ�หนดให้ไม่หาย คำ�ภาวนาของเราก็คงจะไปบังคับพระให้ พ่อเราหายไม่ได้ พีน่ อ้ งทีร่ กั เราต้องเข้าใจว่าการภาวนา เป็นต้นการวอนขอ ของเราไม่ได้เปลี่ยนน้ำ�พระทัยของพระแต่ประการใด แต่ โดยธรรมชาติแล้วพระประสงค์ของพระจะเปิดโอกาสให้ มนุษย์มีส่วนร่วมเสมอ พระเจ้าเป็นจุดเริ่มต้นและจุดจบ ของทุกเหตุการณ์ แต่ในระหว่างจุดเริ่มต้นและจุดจบนั้น พระองค์ให้มนุษย์มสี ว่ นร่วมเสมอ ยกตัวอย่างเช่น เราขับรถ ไปทำ�งานด้วยความระมัดระวัง มีทกั ษะในการขับ โดยปกติ เราก็จะถึงทีห่ มายอย่างปลอดภัย ถึงแม้บางครัง้ มีอบุ ตั เิ หตุ บ้าง แต่สว่ นใหญ่จะปลอดภัย เนือ่ งจากเราระมัดระวัง และมี ทักษะในการควบคุมรถ พระประสงค์ของพระจากเหตุการณ์ ประจำ�วันนีค้ อื เราปลอดภัย แต่มคี วามร่วมมือในส่วนของเรา ที่เป็นมนุษย์ด้วย คงไม่มีใครบอกว่าถ้าพระมีพระประสงค์ แต่นิรันดร์แล้วให้ฉันปลอดภัยฉันจะขับผ่าไฟแดง ขับเร็ว หวาดเสียวเพียงใดก็ได้ หรือถ้าพระประสงค์ให้มีอุบัติเหตุ อย่างไรก็ตอ้ งมี พระเจ้าอนุญาตให้กจิ การของมนุษย์สามารถ เกิดผลทีแ่ น่นอนพอจะคาดเดาได้ เช่น ถ้าเราตัง้ ใจทำ�อาหาร มีสูตรดีๆ มีวัตถุดิบที่ดี ก็พอคาดได้ว่าอาหารจะอร่อย คงไม่มีใครทำ�แบบชุ่ยๆ แล้วโยนให้น้ำ�พระทัยของพระว่า พระองค์อยากให้มนั อร่อยหรือเปล่า หรือนักเรียนทีเ่ ตรียม สอบ ถ้าเขาเตรียมสอบอย่างดี พักผ่อนเพียงพอ ฯลฯ ก็พอ จะคาดผลได้วา่ เขาจะสอบผ่านได้อย่างดี ถึงแม้จะไม่ทกุ ครัง้ ก็ตาม เช่นเดียวกันคงไม่มีใครบอกว่าพระมีพระประสงค์ อยู่แล้วที่จะให้สอบได้หรือไม่ได้ ดังนั้นไม่ต้องตั้งใจเรียน ไม่ต้องเตรียมสอบ เราบอกได้ว่าสอบตกแน่นอน พีน่ อ้ งทีร่ กั การสวดภาวนาของเรา รวมทัง้ การสวดสาย ประคำ�คือ กิจการมีส่วนร่วมของเรามนุษย์ในพระประสงค์ ของพระ การสวดภาวนาบ่อยๆ เป็นเหมือนกับการฝึกฝน ขับรถ ขับอย่างระมัดระวัง ยิง่ ฝึกมากโอกาสปลอดภัยก็มาก เป็นเหมือนการตัง้ ใจเรียน การเตรียมสอบอย่างดี พักผ่อน เพียงพอในวันก่อนสอบ ยิ่งเตรียมตัวดีโอกาสที่จะสอบ ได้ดีก็มีมาก เป็นเหมือนการปรุงอาหาร การซักผ้า การ ทำ�งานบ้าน การตั้งใจทำ�งาน ฯลฯ ดังนั้นเมื่อเราภาวนาให้ คุณพ่อที่เจ็บป่วย ยิ่งภาวนามาก กิจการการสวดของเรา ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้คุณพ่อหายจากการเจ็บป่วยมากขึ้น เรา ไม่ได้บังคับพระ หรือเปลี่ยนพระประสงค์ของพระ แต่พระ ให้เราร่วมและมีส่วนในพระประสงค์ของพระองค์ต่างหาก ดังนั้นสวดภาวนากันมากๆ นะครับ สวดให้แก่กัน และกัน การภาวนามีผลแน่นอน สายประคำ�ปีนี้ สี่แสน สายอาจจะน้อยไปซะแล้ว ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกท่านครับ

สมัยประชุมแรก (ก.ย.-ธ.ค.1962) จำ � นวนพระสั ง ฆราชที่ เข้ า ร่ ว มประชุ ม มี ก ารเปลี่ ย นแปลงในระหว่ า งสี่ ส มั ย ประชุมคือ พระสังฆราชที่มีสิทธิ์เข้าร่วม มีจำ�นวน 2,908 องค์และมาเข้าร่วม ในสมัยประชุมแรก 2,504 องค์ พวกท่านได้ย่ืนข้อเสนอแนะมากกว่า 8,000 เรื่อง แก่คณะกรรมการเตรียมประชุม ในวันแรกของสมัยประชุมแรก มีบางสิง่ เกิดขึน้ และก่อให้เกิดผลสำ�เร็จทีถ่ าวรหลายเรือ่ ง การเคลื่อนไหวของพระคาร์ดินัลลีเออร์นาร์ท (Lienart) แห่งฝรั่งเศส ทำ�ให้การประชุมยุติลง ในเวลาไม่กน่ี าที ปัญหาทีท่ า่ นได้ยกขึน้ มาคือ ยังไม่มกี ารเป็นตัวแทนของความเห็นทีห่ ลากหลาย ในคณะกรรมาธิการต่างๆ ผลทีต่ ามมาก็คอื การเป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการต่างๆ ก็ถกู เปิดกว้างขึน้ อย่างที่ได้มีการทำ�นายไว้แล้วว่า ในสมัยประชุมแรกจะยังไม่มีผลลัพธ์ท่ีชัดเจนมากนัก งานได้เริ่มขึ้นด้วยเรื่องที่มีความเป็นห่วงมากกว่าเรื่องใดๆ และบรรลุผลสำ�เร็จอย่างยิ่งใหญ่ ทีส่ ดุ ของสภาสังคายนานีค้ อื “ธรรมนูญเรือ่ งพระศาสนจักร” สมัยประชุมแรกได้ส้ินสุดลง พระสังฆราชทั้งหลายกลับบ้านเพื่อภาวนา ศึกษา และ ปรึกษาหารือ ระหว่างช่วงเวลา 9 เดือน พระสันตะปาปายอห์นที่ 23 ทรงสิน้ พระชนม์เมือ่ วันที่ 3 มิถนุ ายน 1963 พระคาร์ดนิ ลั โจวานนี มอนตีนี พระอัครสังฆราชแห่งมิลาน ได้รบั เลือกให้ ดำ�รงตำ�แหน่งพระสันตะปาปา เมือ่ วันที่ 21 มิถนุ ายน 1963 เป็นพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 สมัยประชุมที่สอง (29 ก.ย.-4 ธ.ค.1963) ในการประชุมสาธารณะ (Sessio Publica) พระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ทรงเปิดประชุมสมัยที่ 2 ด้วยคำ�ปราศรัยทีค่ วรจดจำ� ครัง้ นีพ้ ระองค์ ทรงขออภัยจากผู้ท่ีไม่ใช่คาทอลิกสำ�หรับความผิดทั้งหลายที่คาทอลิกอาจจะกระทำ�เพื่อ การแบ่งแยกในศาสนาคริสต์ อีกทั้งทรงแสดงความตั้งใจของชาวคาทอลิกที่จะยกโทษให้กับ ความเสียหายใดๆ อันเกิดจากการกระทำ�ของผูท้ ไ่ี ม่ใช่คาทอลิก เรื่องที่ทรงทำ�ต่อมาคือ ทรงปรับปรุงระเบียบการต่างๆ ของสภาสังคายนาฯ บางส่วน และทรงประกาศการเพิ่มจำ�นวน สมาชิกในแต่ละคณะกรรมาธิการ หนึ่งในการตัดสินใจ ทัง้ หลาย ในสมัยประชุมนีก้ ค็ อื การเพิม่ เรือ่ งพระนางมารียไ์ ว้ในเอกสาร เรือ่ งพระศาสนจักร แทนที่จะแยกเป็นเอกสารอีกชิ้นหนึ่งเพื่อเน้นถึงความสัมพันธ์อันจำ�เป็นระหว่างพระนางกับ กลุม่ ผูศ้ รัทธา ผลงานชิน้ สำ�คัญของสมัยประชุมนีค้ อื การยอมรับธรรมนูญเรือ่ งพิธกี รรม (the Constitution on the Sacred Liturgy) ด้วยคะแนนเสียง 2,147 ต่อ 4 เสียง และเอกสารซึ่งเป็นที่ รู้จัก น้อยกว่าคือ กฤษฎีกาเรือ่ งสือ่ มวลชน (the Decree on the Means of Social Communication) ความขัดแย้งในสภาสังคายนานีท้ ด่ี รู นุ แรงทีส่ ดุ เกิดขึน้ เมือ่ พระคาร์ดนิ ลั โจเซฟ ฟริงส์ (Josef Frings) อัครสังฆราชแห่ง เมืองโคโลญจ์วจิ ารณ์สนั ตะสำ�นัก (สมณกระทรวงเพือ่ หลักความเชือ่ the Congregation for the Doctrine of Faith) อย่างตรงไปตรงมา ซึง่ เป็นเหตุให้พระคาร์ดนิ ลั อัลเฟรโดออตตาวีอานี (Alfredo Ottaviani) เลขานุการแห่งสันตะสำ�นักออกมาปกป้อง สันตะสำ�นักอย่างซื่อสัตย์ภักดี ในช่วงเวลาระหว่างสมัยประชุม ที่ 2 กับสมัยประชุมที่ 3 พระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ทรงประกาศ เชือ้ เชิญสตรี (ฆราวาสและนักบวช) ให้มาร่วมฟังด้วย สมัยประชุมที่ 3 และ 4 (14 ก.ย.-21 พ.ย. 1964 และ 14 ก.ย.-8 ธ.ค. 1965) เอกสารของ สภาสังคายนาวาติกนั ครัง้ ที่ 2 จำ�นวน 14 ฉบับจาก 16 ฉบับ ได้รบั การพิจารณาอย่างถีถ่ ว้ น ถูกทบทวน และในที่สุดได้รับการยอมรับระหว่างสอง สมัยประชุมที่ยุ่งยากและบังเกิดผล รายการเอกสารทีป่ ระกอบด้วยชือ่ เรือ่ งและวันทีท่ ไ่ี ด้รบั การยอมรับต่อไปนี้ แสดงให้เห็นความ กว้างและความลึกแห่งการพิจารณาหารือและการตัดสินใจของสภาสังคายนาวาติกนั ครัง้ ที่ 2 คัดย่อจากหนังสือ “คู่มือสำ�หรับสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2” จัดพิมพ์โดยแผนกคริสตศาสนธรรมกรุงเทพฯ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมและข่าวต่างๆ ในระดับวัด เขตและสังฆมณฑล ให้กับสัตบุรุษและบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 2. เพื่อช่วยฟื้นฟูบทบาทการเป็นผู้มีส่วนร่วมในงานอภิบาลและธรรมทูตในชีวิตของสัตบุรุษ และบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑล 3. เพื่อนำ�เสนอเครื่องมือ และแนวปฏิบัติในงานอภิบาลและธรรมทูตให้กับสัตบุรุษและบุคลากรในหน่วยงานต่างๆ ของอัครสังฆมณฑล สารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ผู้รับผิดชอบ : ฝ่ายงานอภิบาลของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ที่ปรึกษา : คุณพ่อพงศ์เทพ ประมวลพร้อม, คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม บรรณาธิการ : คุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ กองบรรณาธิการ : นาทลดา จิตรอำ�ไพ, พฤกษา กิจเจริญ, มัลลิกา กิจบำ�รุง, เพชรี ชาวแพรกน้อย พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ บางรัก กรุงเทพฯ โทร. 0 2233 0523 โทรสาร. 0 2235 1405 สำ�นักงาน : อาคารคาทอลิกแพร่ธรรม 57 ซอยเจริญกรุง 40 เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. 0 2237 7315 โทรสาร. 0 2233 8159 E-mail : webmaster@catholic.or.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.