สารแสงธรรม ฉบับที่ 3 /2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011

Page 1

สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 1


บังเอิญ .. ไหลหลั่ง นองน้​้า ท้านบ

ฟ้าเบื้องบน พรั่งพรู ซ้​้าเติม ท้าลาย

มีฝนอยู่ เป็นแสนสาย เพิ่มก้าจาย กลายเป็น “น้ำตำ”

....... พอดีเดือน ยังมีรัก ประดับยิ้ม ปาด “น้​้าตา”

เคลื่อนครบ มาลบรอย ประกอบใจ ทุกแห่ง

บรรจบนัก ละห้อยหา ไร้มารยา ให้แห้งไป

จึงเรียกเขา เป็นตะเกียง จึงเรียกเขา จึงเรียกเขา

ว่าเป็น “แสง” ส่องทาง ว่าเป็น “ธรรม” ทั้งหลาย

แรงสว่าง ไม่จางหาย ง้าประกาย ว่า “แสงธรรม”

“พยำดำ” ... ประพันธ์

สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 2


สารแสงธรรม วิสั ย ทั ศ น์ : ผู้ ติด ตามพระ คริ สต เจ้ า รั ก รั บใช้ ต าม แบ บ อ ย่ า งพ ร ะ ค ริ สต เ จ้ า ประกาศกแท้ ผู้ อ ภิ บ าลที่ ดี สงฆ์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ ด้วยวาจาและ กิจการ พั น ธกิ จ : สื่อ สาร แบ่ ง ปั น เรื่ อ งราวในงานอภิ บ าลและ แพร่ ธ รรม เพื่ อ เสริ ม สร้ า ง ฟื้นฟูชีวิตสามเณรในฐานะของ ผู้อ ภิ บ าลและแพร่ ธ รรม เพื่ อ ป ร ะ ก า ศ พ ร ะ อ า ณ า จั ก ร พระเจ้ า และเป็ น ประจั ก ษ์ พยานด้วยชีวิตด้วยการดาเนิน ชีวิตเรียบง่าย รักและรับใช้ทุก คน

Editor’s note: ปลาวาฬ ... ลอกคราบ หนึ่งภาพเก่า.. Theo’s แบ่งปัน: คุยกัน..นาน ๆ หน: 1 ปีก้าวเข้ามา.... Bonus Pastor: แบ่งปันชีวิตและประสบการณ์ Main story: ความรัก สามัคคี การรับใช้... ปัด’ยา sharing: วิถีแห่งธรรมชาติ เก็บตก..ชีวิตผูแ้ พร่ธรรม : สามัคคี... คือพลัง สถานีต่อไป ๓๓๔ : อุทกภัยในดวงตา สาระดี: จัดคริสตมาสให้คนต่างศาสนา Mission around the hill..: รวมความประทับใจใน“หัวใจธรรมทูต” ก่อนปิด.. ปก : (ฉบับส่งท้ายปีการศึกษา 2011) ปล.สารแสงธรรม

3 6 8 10 12 16 24 26 28 33 37 42 55 56

วัตถุประสงค์ 1.

เพื่อแบ่งปัน ประสบการณ์ชีวิตของผู้ อภิบาลและแพร่ธรรม ของสามเณรใหญ่ 2. เพื่อฟื้นฟู และ เสริมสร้างจิตตารมณ์ ของผู้อภิบาลและแพร่ ธรรมแก่สมาชิกบ้าน แสงธรรม 3. เพื่อประชาสัมพันธ์ ข่าวสาร กิจกรรมและ ความเคลื่อนไหวในสาม เณราลัยแสงธรรม

สารแสงธรรม ฉบับที่ 3 แทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร เจ้าของ: ชมรมอภิบาลและแพร่ธรรม สามเณราลัยแสงธรรม ที่ปรึกษา : คุณพ่อบุญเลิศ สร้างกุศลในพสุธา, บร.กรณ์ อดิเรกวุฒิกุล

บรรณาธิการ: บร.พรชัย สิงห์สา กองบรรณาธิการ : บร.ประภาส กุนุ,บร.เอกพงษ์ สุวิชากร ,บร.วธัญญู หนูสมแก้ว,บร.อวิรุทธ์ พันธ์ขาว, และสมาชิกชมรมอภิบาลและแพร่ธรรม ส้านักงาน: สามเณราลัยแสงธรรม 2 หมู่ 6 ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 พิมพ์ที่: โรงพิมพ์แสงธรรม

สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 3


Editor’s note : ปลาวาฬ 1 ... ลอกคราบ นอกจากคราบสีเทาที่คาดผ่านทั่วไปในสถานที่ต่าง ๆ แล้ว เรายังหลงเหลืออะไรที่ เป็นอนุสรณ์เตือนใจ หลังอุทกภัยที่ผ่านมา ผมคิดว่าควันหลงจากการช่วยนําปลาวาฬกลับสู่ทะเล เป็นเรื่องของความรัก ความสามั ค คี และการรั บใช้ ... ที่ เราตั้ ง ใจว่ า จะผ่ า นมหาอุ ทกภั ย ครั้ง นี้ ไ ปด้ ว ยกั น เรื่องราวที่ดูเหมือนจะเลวร้ายที่สุดในช่วงเวลานั้นก็จบลง ... คงเหลือไว้แต่เพียงน้ําใจ ของคนไทย ที่ค่อย ๆ ถูกรื้อฟื้นให้กลับคืนมา เรื่องราวแห่งความรัก เอื้ออาทรดูเหมือนเป็นเรื่องราวที่เล่าต่อ ๆ กันมาหลาย ยุคหลายสมัย “คนไทยมีน้ําใจ คนไทยรักกัน สยามเมืองยิ้ม ....” ยุคสมัยและความ รวดเร็วอาจทําให้เราลืมเอกลักษณ์ความเป็นไทย .... อุทกภัย ครั้งนี้กําลังเรียกร้องให้ เรื่องราวแห่งความรักกันในวันวานกลับคืนมา ... ผมเชื่อเช่นนั้น และอยากให้เป็นอย่างนี้ เสมอในทุกช่วงเวลา ……… ช่ว งเวลาที่ เราลื มเรื่อ งการแบ่ งสี เสื้ อ ... ความช่ว ยเหลื อไม่จํ ากั ดกลุ่ม ก้อ น การเมือง หยุดเวลาเล่นการเมืองสักพัก ใส่ใจและไม่ฉวยโอกาส หรือยืนอยู่บนความ ทุกข์ร้อนของประชาชน ช่วงเวลาที่เราลืมความเกลียดชังกัน ไม่ว่าเหตุผลมันคืออะไร เราลืมมันไปแล้ว เปลี่ยนมาเป็นความช่วยเหลือ เยียวยากันและกัน ช่วงเวลาที่เราลืมการแบ่งแยกการเป็นคนมั่งมีขั้นเศรษฐี และการเป็น คนที่ไม่มี อะไร เพราะทุกคนก็มีความเสียหายคล้าย ๆ กัน เปลี่ยนการแบ่งแยก มาเป็นเรื่องราว แห่งการแบ่งปันด้วยความรักอีกครั้ง ช่วงเวลาที่เราลืมไปว่าอาจมีศักดิ์ศรีที่เรียนมาก็สูง ลืมเรื่องราวของงานจิตอาสา ที่ไม่ต้องใช้ไอคิวสูงมาก ขอเพียงแต่มีสองมือ มีแรง มีหัวใจที่ทุ่มเทเพื่อช่วยเหลือกัน อย่างจริงจัง 1

ปลาวาฬ กลายเป็นนามแฝงของมวลน้ามหาศาลที่ท่วมท้มประเทศไทยเกือบทังประเทศ สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 4


ช่วงเวลาแห่งการลืมไปว่าเราเป็นกลุ่มคนที่เป็นผู้นําทรงอํานาจ สั่งการได้ทุก อย่าง กลับกลายมาเป็นเรื่องราวการใช้อํานาจแห่งการรับใช้ ที่ช่วยเหลือผู้คนไม่เลือกว่า เป็นใคร ด้วยสองมือของผู้นํา ……… แน่ น อนที เ ดี ย วครั บ บางช่ ว งเวลาเราอาจหลงลื ม ไปว่ า “เราเคยรั ก กั น ” สถานการณ์เฉพาะหน้าเกิดขึ้นเพื่อยืนยันเรื่องราวแห่งความรักที่เราเคยมี และนี่คงเป็น เรื่องราวที่ยังหลงเหลืออยู่ หลังจากมวลน้ําก้อนใหญ่กําลังไหลลงสู่ทะเล ……… และที่สุด น้ําค่อย ๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง ผู้คนกําลังขัดคราบปลาวาฬ ที่แอบทิ้งร่องรอย อย่างเด่นชัด ผมได้แต่คิดเบาๆ .... “ผู้คนคงไม่ขัดร่องรอยแห่งความรัก ความสามัคคี และการรับใช้ ที่เกิดขึ้นแล้วในหัวใจของคนไทย ออกไป” ผมหวังเช่นนั้นจริง ๆ

สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 5


หนึ่งภาพเก่า .. หลากหลายเรื่องราว: เรื่องราวในปีเดียวกันนันเอง โดย... historyindiary.blogspot.com

“น้​้าท่วมจังหวัดนครสวรรค์ ปลายปี 1959”ในภาพคือวัดนักบุญอันนา ปากน้​้าโพ เหล่านี้คือคํา .. ทั้งหมดที่ถูกบันทึกไว้ใต้ภาพสีเทาจาง ๆอันประกอบไปด้วยข้าวของที่ลอยเคว้งคว้าง อย่างไม่ใยดี ราวกับเป็นโอกาสที่จะได้ลงเล่นน้ําในมหาสมุทร และนี่คือภาพวัดนักบุญอันนา ปากน้ําโพ นครสวรรค์ ปลายปี (ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม) ค.ศ. 1959 ถูกมวลน้ํามหาศาลท่วมจนถึงตัววัด และในปลายปี ค.ศ.2011 ก็เช่นกัน ช่วงปลายปี เหมือนกัน มวลน้ําก็ท่วม “นครสวรรค์” อีกครั้งหนึ่ง “น้​้าท่วม” อาจเป็นเรื่องร้าย ๆ ที่สร้างความยากลําบากให้ใครหลาย ๆ คน แต่มันแฝงด้วยเรื่องดี ๆ ระหว่างปีเสมอ

“ในปีเดียวกันนั้นเอง” … มีการแบ่งแขวงความรับผิดชอบด้านงานอภิบาลและแพร่ธรรมของคณะสงฆ์ต่างประเทศแห่งกรุง ปารีส ออกเป็น 2 แขวงคือ แขวงมาเลเซีย และประเทศไทย ... อันเนื่องมาจากสภาพงานแตกต่าง กันมาก ... แต่เดิมมิสซังสยามกว้างใหญ่ครอบคลุมมิสซังมาเลย์ และมิสซังลาว มิสซังสยามสถาปนา เป็นเทียบสังฆมณฑล ปี ค.ศ. 1669 .... แบ่งออกเป็น มิสซังสยามตะวันออก (ประเทศไทยและลาว) และมิสซังสยามตะวันตก (รวมประเทศในแหลมมะละกา) ในปี ค.ศ.1841 สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 6


ในปีเดียวกันนั้นเอง ... พระสันตะปาปาปีโอที่ 12 สิ้นพระชนม์ ... การจัดพิธีมิสซาอุทิศแด่พระองค์ในประเทศไทย จัดที่อาสน วิหารอัสสัมชัญ พระสมณทูต พระสังฆราช ผู้แทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รองนายกรัฐมนตรี อดีตนายกรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนฯ พระภิกษุ (ซึ่งเคยเข้าเฝูาพระสันตะปาปา) และคณะทูต มากกว่า 25 ประเทศ เข้าร่วมในพิธีกรรมดังกล่าว ในปีเดียวกันนั้นเอง ... งานชุมนุมศีลมหาสนิท ที่จัดใกล้บ้านของเรา ที่มนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ .. เมืองไทยต้อนรับแขกคน สําคัญมากมายที่แวะมาเยี่ยมเยียนพระศาสนจักรไทย รวมทั้งพระคาร์ดินัลที่เป็นเจ้ากระทรวงเผยแพร่ ความเชื่อ ในปีเดียวกันนั้นเอง ... วัดใหม่ถูกสร้างขึ้น เพื่อรองรับกลุ่มคริสตชนต่าง ๆ ที่บรรดาธรรมทูตได้ประกาศพระวรสารแก่พวก เขา ได้แก่ วัดลอยน้​้าที่มโนรมย์ ชัยนาท,วัดเซนต์นิโกลาส พิษณุโลก,วัดที่เมืองพาน และวัดที่บ้านนา นครนายก ในปีเดียวกันนั้นเอง ... คณะเยซูอิตเปิดบ้านเซเวียร์ ซึ่งเราก็ทราบดีว่า มีบทบาทสําคัญในการช่วยเหลือ ดูแล และเดินทางไป พร้อมกับบรรดานักศึกษาทั้งคาทอลิกและไม่ใช่คาทอลิก ตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ ... ในปีเดียวกันนั้นเอง ... ชื่นชมกับความเอาใจใส่งานด้านคําสอนของคณะลาซาล (ภราดาแห่งโรงเรียนคริสตังค์) ที่จัดพิมพ์ คู่มือคําสอน ทําให้น่าเรียน เข้าใจง่าย เพราะมีภาพประกอบ ...ถูกบันทึกไว้ว่า “เป็นเกียรติแก่โรง พิมพ์มิสซังด้วย” เรื่องราวร้าย ๆ มักแฝงไว้ด้วยเรื่องดี ๆ เสมอ แล้วในปีนลี้ ่ะ มีเรื่องดี ๆ เกิดขึ้นท่ามกลาง น้ําท่วมใหญ่หรือไม่ ลองจดบันทึกเรื่องดี ๆ ท่ามกลางน้ําท่วมใหญ่ เพื่อเป็นอีกหน้าหนึ่งของ ประวัติศาสตร์กันดีกว่า สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 7


Theo’s แบ่งปัน:

โดย.. คนสองคอน

กระแสเรียก คือ พระพรพิเศษที่พระเป็นเจ้าได้โปรดประทานให้กับเราแต่ละคน โดยเฉพาะ กระแสเรียกการเป็นศิษย์ติดตามองค์พระเยซูคริสตเจ้า เหมือนกับที่พระองค์ทรงเรียกศิษย์สี่คนแรกว่า “จงตามเราเถิด เราจะท้าให้ท่านเป็นชาวประมงหามนุษย์” (มธ.19) และสําหรับเงื่อนไขในการ เป็นศิษย์ของพระองค์ก็คือ การตัดสละจากฝุายโลก แบกไม้กางเขนของตนและตามพระองค์ไป เพราะ ผู้ที่ทําเช่นนี้เขาก็จะได้รับชีวิตนิรันดรเหมือนกับองค์พระเยซูคริสตเจ้าพระอาจารย์ของเรา ลองหันมามองดูและถามตัวเราเองแต่คนซิว่า เราได้ตอบรับกระแสเรียกของเราเองแต่ละ คนด้วยการทําตามพระประสงค์ของพระหรือยัง? ถ้ายังเราก็ต้องอาศัยพระหรรษทานขององค์พระจิต เจ้าเข้าช่วยเหลือแล้วหละ เราจึงจะมีความมั่นคงและมั่นใจที่จะก้าวเดินต่อไปอย่างไม่ยอมหยุดยั้ง ความใฝุฝันของกระผม เองเมื่อตอนที่ยังอยู่ในชั้นปรัชญา ก็คือ การได้ตัดสินใจเข้ารับการ อบรมต่อในชั้นเทววิทยานั่นเอง ซึ่งตัวกระผมเองก็เชื่อว่า น้องๆ ปรัชญาหลายคนก็คงคิด เหมือนกัน ประโยคหนึ่งที่ได้ฟัง จากรุ่นพี่เทววิทยาท่านหนึ่งแล้ว รู้สึกประทับใจก็คือ “พี่ขึ้นเทวฯ แล้วพี่จะนิ่ง...” เมื่อตัวเองได้มา อยู่ตรงจุดนี้ก็รู้สึกว่านิ่งจริงๆ แต่จะนิ่งในรูปแบบไหน ก็ลองสังเกตดูกันเอาเองนะครับ ก็แน่นอนว่า ความนิ่งสงบนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นท่าทีของการเป็นนายชุมพาบาลที่ดี เป็นพระสงฆ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ และ เป็นประกาศกแท้ เพราะท่าทีเหล่านี้เป็นบทบาทการนําของพระจิตเจ้า เป็นพระคุณ 7 ประการที่เรา ได้รับ เมื่อตอนที่เรารับศีลกําลังนั่นเอง เห็นไหมล่ะครับว่า ความนิ่งของชั้นเทววิทยานั้นเป็นอย่างไร การตัดสินใจเข้ารับการอบรมในชั้นเทววิทยานั้นก็ถือว่า เราได้ตัดสินใจที่จะบวชเป็นพระสงฆ์แล้ว เพราะเมื่อจบปี Pastoral Year ก่อนจะเข้าปี 5 เราก็ได้เขียนจดหมายขอเข้าศึกษาในชัน้ เทววิทยา จากพระสังฆราชของแต่ละสังฆมณฑลแล้ว และเมื่อเข้ามาในชั้นปี 5 ไม่กี่เดือน เราก็ ได้เข้าพิธีที่ เรียกว่า Admition การขอสมัครบวชเป็นพระสงฆ์ และเตรียมตัวเข้ารับพิธีแต่งตั้งต่างๆ ตามขั้นตอน สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 8


ที่พระศาสนจักรกําหนด เห็นไหมล่ะครับว่า การที่เราแต่ละคนได้ผ่านช่วงเวลาต่างๆ ในชีวิตของเรา นั้น ไม่ว่าจะมีความสุข หรือความทุกข์ เราก็สามารถผ่านพ้นมาได้ ทั้งนี้ก็เพราะว่าเราไม่ได้กําหนดสิ่ง ต่างๆ เหล่านี้ให้กับตัวเราเอง แต่เป็นแผนการที่พระองค์ได้จัดไว้และให้เป็นไปตามแผนการของ พระองค์ทุกประการ ดังนั้นสิ่งที่สําคัญที่สุดในชีวิตกระแสเรียกของเราก็คือ การภาวนาติดต่อสัมพันธ์ กับพระเสมอตลอดวันเวลาในชีวิตของเรา แต่เมื่อไรก็ตามที่เราขาดในเรื่องนี้เราจะอ่อนแอและค่อย หมดกําลังลงจนไม่สามารถรักษากระแสเรียกของเราไว้ได้อีกต่อไป แต่ถ้าเราวางใจในพระองค์ เรา ฝากมอบชีวิตของเราในแต่ละวันไว้กับพระ เราก็มั่นใจได้เลยว่าพระจะทรงนําทางและช่วยเหลือเราให้ รอดพ้นเสมอแน่นอนไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม ที่กระผมกล้ายืนยันเช่นนี้ ก็เพราะว่าในชีวิตของ กระผมนั้นพระเป็นเจ้าทรงดูแลและจัดการทุกอย่างเกี่ยวกับตัวกระผมจริงๆ พระองค์ทรงเอาสิ่งที่ กระผมรักที่สุดไปเกือบหมดแล้วในชีวิต พ่อแม่ และพี่สาวที่ผมรักมาก แต่มีสิ่งหนึ่งที่พระองค์ไม่ได้เอา ไป ก็คือ ชีวิตของกระผมเอง... ในชีวิตกระแสเรียกการเป็นศิษย์ติดตามองค์พระเยซูคริสตเจ้านั้น มีพระสงฆ์ท่านหนึ่งได้ กล่าวเน้นย้ําเสมอว่า “ในชีวิตการเป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้านั้นไม่ใช่ชีวิตที่ราบรื่น หรือสุขสบาย” ซึ่ง พระเยซูเจ้าก็บอกเราชัดเจนว่าท่านจะถูกสบประมาท เยาะเย้ยต่างๆ นานา เพราะนามของเรา ผู้ใดที่ ยอมถูกสบประมาทและอับอายเพราะนามของเรา ผู้นั้นย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับชีวิตนิรันดร... ขอเป็นกําลังใจและภาวนาเพื่อพี่น้องชาวแสงธรรมทุกคนให้ก้าวเดินต่อไปเพื่อเป็นนายชุมพาบาลที่ เป็นสงฆ์ศักดิ์สิทธิ์ และประกาศกแท้นะครับ สู้ๆ...!!!

สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 9


คุยกัน ..นาน ๆ หน

:1 ปีก้าวเข้ามา....พระศาสนจักรจะมีเหตุการณ์ใดเกิดขึนบ้าง

โดย..อิสระ

สวัสดีปีใหม่พี่น้องสามเณรใหญ่แสงธรรมทุกคนครับ เชื่อแน่ว่าช่วงคริสต์มาสและปีใหม่ที่ ผ่านมานี้ พี่น้องสามเณรคงได้ส่งความสุขและรับความสุขกันแบบที่เรียกว่า “ เต็มอิ่ม ” กันทุกคนนะ ครับ ในช่วงปีใหม่ถ้าได้ติดตามทางทีวี แต่ละช่องก็จะมีการนับถอยหลังเพื่อส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปี ใหม่ โดยที่แต่ละช่องจะมีการประมวลภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่สําคัญ ที่เกิดขึ้นภายในรอบปี 2011 ใน พระศาสนจักรคาทอลิกของเราก็มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายเช่ นเดียวกัน ในสารแสงธรรม ฉบับนี้ผมขอประมวลกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นให้พี่น้องได้ทราบว่า ในปี 2012 นี้ พระศาสนจักร คาทอลิกของเราจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้างนะครับ เดือนมกราคม ไม่มีอะไรพิเศษครับ ผมขอเริ่มที่ “เดือนกุมภาพันธ์ 2012” หากไม่มีอะไร ผิดพลาดพระสันตะปาปาน่าจะสถาปนาพระคาร์ดินัลใหม่อย่างน้อย 13 องค์ ตามธรรมเนียมพระศา สนจักรคาทอลิกการสถาปนาพระคาร์ดินัลใหม่จะกระทําอยู่ 2 ช่วง หนึ่งคือ “วันที่ 22 กุมภาพันธ์ วันฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตร” และวันสมโภชพระเยซูกษัตริย์แห่งสากลจักรวาล (อาทิตย์สุดท้าย ของปีพิธีกรรมก่อนเริ่มเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้าในเดือนธันวาคม” อย่างไรก็ตามนักข่าว สายวาติกันระดับโลกหลายคนมองว่า ถ้ารอถึงเดือนพฤศจิกายน มันจะนานเกินไปดังนั้น การ สถาปนาใหม่น่าจะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2012 ... สาเหตุที่ปี 2012 ไม่เป็นวันที่ 22 กุมภาพันธ์ เพราะวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2012 ตรงกับ “วันพุธรับเถ้า” (ส่วนวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ปี 2012 ตรงกับวันศุกร์ที่ 6 เมษายน จําง่ายๆก็ “วันจักรี” นั่นเอง) “เดือนมีนาคม 2012” พระสันตะปาปาจะเสด็จเยือนเม็กซิโกและคิวบา โดยพระสันตะปาปาจะเยือน เม็กซิโกระหว่างวันที่ 23-26 มีนาคม จากนัน้ ช่วงเที่ยงวันที่ 26 มีนาคมพระสันตะปาปาจะเสด็จถึง คิวบา และจะประทับอยู่ที่นั่นถึงวันที่ 28 มีนาคม ...เรียกได้ว่า เป็นอีกหนึ่งทริปที่ยาวนานถึง 6 วัน สําหรับพระสันตะปาปาผู้อาวุโสซึ่งต้องประทับบนเครื่องบินเป็นเวลานานหลายชั่วโมง “เดือนเมษายน 2012” วันที่ 16 เมษายนคริสตังทั่วโลกจะพร้อมใจ “แฮปปี้เบิร์ธเดย์” แด่ พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ผู้จะทรงพระชนมายุครบ 85 ชันษาตัวเลขดังกล่าวจะส่งผลให้พระองค์เป็น พระสันตะปาปาลําดับที่ 6 ในประวัติศาสตร์ที่“อายุยืนที่สดุ ” โดยบรรดาพระสันตะปาปาที่อายุยืนสุด ในประวัติศาสตร์และมีอายุมากกว่าพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ได้แก่ 1) พระสันตะปาปา เลโอ ที่ 13 (สิ้นพระชนม์อายุ 93 ปี 140 วัน, สมณสมัย 25 ปี 150 วัน), 2) พระสันตะปาปา เคลเมนต์ ที่ 12 (สิ้นพระชนม์อายุ 87 ปี 305 วัน, สมณสมัย 9 ปี 209 วัน), 3) พระสันตะปาปา เคลเมนต์ ที่ 10 (สิ้นพระชนม์อายุ 86 ปี 9 วัน, สมณสมัย 6 ปี 84 วัน), 4) พระสันตะปาปา ปีโอ ที่ 9 (สิ้นพระชนม์ 85 ปี 270 วัน, สมณสมัย 31 ปี 236 วัน), 5) พระสันตะปาปา อินโนเซ็นต์ ที่ 12 (สิ้นพระชนม์ 85 สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 10


ปี 107 วัน, สมณสมัย 9 ปี 77 วัน), 6) พระสันตะปาปา จอห์น ที่ 22 (สิ้นพระชนม์ 84 ปี 338 วัน, สมณสมัย 18 ปี 119 วัน, 7) พระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 (สิ้นพระชนม์ 84 ปี 319 วัน, สมณ สมัย 26 ปี 168 วัน), 8) พระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 (ทรงพระชนม์อยู่) ... จะเห็นได้ว่าเมษายน ที่จะถึงนี้ เมื่อพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 อายุครบ 85 ชันษาจะส่งผลให้พระองค์ก้าวจากอันดับ 8 ขึ้นไปอยู่อันดับ 6 ทันที นอกจากนี้วันที่ 19 เมษายน จะเป็นอีกหนึ่งวันสําคัญของพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 เมื่อจะเป็นวันครบรอบ 7 ปีแห่งสมณสมัยการปกครองพระศาสนจักรคาทอลิก(ได้รับ เลือกปี2005)นั่นเอง “เดือนมิถุนายน 2012” พระสันตะปาปาจะเสด็จร่วมงานวันครอบครัวสากล ซึ่งจัดที่เมืองมิ ลาน ประเทศอิตาลีในวันที่ 2-3 มิถุนายน งานนี้ ผูม้ าร่วมงานน่าจะแตะๆหลัก 100,000 คน “เดือนตุลาคม 2012” เดือนที่พันธกิจสําคัญมากมายรอคอยการลงมือปฏิบัติให้เป็นจริง เริ่มด้วยพระสันตะปาปาจะประกอบพิธีมิสซาสถาปนานักบุญใหม่ 7 องค์โดยหนึ่งในนักบุญใหม่ ประจําปี 2012 มีชื่อของ “บุญราศีเปโดร คาลังซอด” มรณสักขีฆราวาสครูคําสอนชาวฟิลิปปินส์ด้วย ...หลายคนคงงงว่าบุญราศีนี้ท่านนี้คือใคร คําตอบแบบง่ายๆเลยก็คือ “นี่คือหนึ่งในบุญราศีที่สมเด็จ พระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 2 ทรงสถาปนาในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ.2000 ณ ลานหน้ามหาวิหาร นักบุญเปโตร วาติกันหนึ่งในบุญราศีที่ได้รับการสถาปนาในวันนั้น นอกจากมรณสักขีชาวฟิลิปปินส์ แล้ว ยังมี คุณพ่อนิโคลาส บุญเกิด กฤษบํารุงของประเทศไทยรวมอยู่ด้วย” จบจากการ สถาปนานักบุญใหม่พันธกิจอื่นๆที่พระสันตะปาปาต้องปฏิบัติยังมีการประธานการประชุมสมัชชา พระสังฆราชคาทอลิก 2012 ภายใต้หัวข้อ “การประกาศพระวรสารใหม่” นอกจากนี้ พระองค์จะ ถวายมิสซาฉลอง 50 ปีสังคยานาวาติกัน ครั้งที่ 2 และประกาศเปิด “ปีแห่งความเชื่อ” (YEAR OF FAITH) ปีแห่งความเชื่อจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 11 ตุลาคม 2012 – 24 พฤศจิกายน 2013...วาติกัน ยังไม่ได้ระบุวันเวลาชัดเจนของพิธีในเดือนตุลาคมแต่อย่างใด “เดือนพฤศจิกายน 2012” พระสันตะปาปาจะเปิดตัวหนังสือ “พระเยซู ชาวนาซาเร็ธ (ภาคจบ)” นี่เป็นภาค 3 ภาคสุดท้ายของหนังสือที่พระสันตะปาปาทรงเขียนขึ้นด้วยดินสอทั้งเล่ม แล้ว ส่งให้ “ซิสเตอร์เบียร์กิต” ชาวเยอรมันเป็นคนนําไปพิมพ์เข้าใส่คอมพิวเตอร์ หนังสือเล่มนี้ เป็นที่ยก ย่องมากในระดับโลกสิ่งที่น่าประทับใจสุดของหนังสือเล่มนี้ ก็คือพระสันตะปาปาจะย้ําเสมอว่า คน เขียนหนังสือไม่ใช่ “สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16” แต่เป็น คนธรรมดาๆที่ชื่อ “โยเซฟรัต ซิงเกอร์”(พระนามเดิม) ทั้งหมดก็คือเหตุการณ์และตารางคร่าวๆของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในพระศาสนจักรคาทอลิก ประจําปี 2012 สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 11


Bonus Pastor : แบ่งปันชีวิตและประสบการณ์งานอภิบาลและแพร่ธรรม เขตศูนย์คาทอลิก เชียงของ จ.เชียงราย

โดย .. นาย ฌอง

ผู้ให้สัมภาษณ์: คุณพ่อ เปโตร รังสรรค์ ภานุรักษ์ ก่อนจะปิดคอลัมภ์ Bonus Pastor ประจําปีการศึกษานี้ ผู้เขียนขอนําผู้อ่านทุกท่านย้อน รอยคณะธรรมทูตไทย จากการสัมภาษณ์คุณพ่อเปโตร รังสรรค์ ภานุรักษ์ หนึ่งในสมาชิกรุ่นบุกเบิก จากการสัมภาษณ์นี้ทําให้รู้ว่า คณะธรรมทูตของสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย (Thai Missionary Society =TMS)กลุ่มแรกๆ คือ คุณพ่อเปาโล อนุรักษ์ ประจงกิจ จากอัครสังฆ มณฑลกรุงเทพฯ และ คุณพ่อเปโตร รังสรรค์ ภานุรกั ษ์ จากสังฆมณฑลอุดรธานี ทั้งสองได้รับ มอบหมายพันธกิจสําคัญจากคณะผู้ใหญ่ (พระคุณเจ้า บรรจง อารีพรรค ตัวแทนสภาพระสังฆราชฯ ดูแลด้านงานแพร่ธรรม เป็นผู้รับผิดชอบคณะธรรมทูตฯ, คุณพ่ออาดรีอาโน เปโลซินPIME ที่ปรึกษา ด้านการอบรมและภาคสนาม,และมีคุณพ่อ ดังโตแนลMEP เป็นที่ปรึกษาดูแลด้านการฝึกอบรมและ ส่งเสริมกระแสเรียกธรรมทูตในบ้านเณรใหญ่) ซึ่งได้มีมติและคําสั่งในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1989 ให้ ธรรมทูตกลุ่มแรกเริ่มนี้ ไปทํางานแพร่ธรรมกับกลุ่มชาติพันธุ์ชาวม้งในเขตสังฆมณฑลเชียงใหม่ด้าน ทางทิศตะวันออกของประเทศไทย เพื่อเปิดด่านตามแนวชายแดนมุ่งหน้าเชื่อมต่อไปยังประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)และประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยการ ติดต่อประสานความร่วมมือ ส่งเสริมสนับสนุนงานแพร่ธรรมกับพระศาสนจักรท้องถิ่นที่เข้าไปทํางาน ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ.2533 คุณพ่อทั้งสองได้เริ่มเข้าไปศึกษาภาษา วัฒนธรรม ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆของชาวม้ง ที่ศูนย์คาทอลิกม้งเชียงใหม่ ซึ่งมี คุณพ่อแฮรี่ ทีล พระสงฆ์ คณะพระมหาไถ่ซึ่งเป็นอธิการศูนย์ ด้วยความเห็นชอบและการอนุมัติของประมุขปกครองสังฆ มณฑลท้องถิ่นในตอนนั้น คือ พระคุณเจ้า ยอแซฟ สังวาลย์ ศุระศรางค์ ได้แบ่งการทํางานกับ ชาวม้งในเขตจังหวัดเชียงราย (ยกเว้นเขตเวียงปุาเปูา) มอบหมายให้คณะธรรมทูตฯดูแล เริ่มตั้งแต่ ช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2535 เป็นต้นไป คณะผู้ใหญ่มีมติแต่งตั้งคุณพ่อรังสรรค์ ภานุรักษ์ ให้เป็น หัวหน้าธรรมทูตกลุ่มแรก (พระสงฆ์ 2 ซิสเตอร์ 2 ฆราวาส 1) ศูนย์แห่งแรกของคณะธรรมทูตฯ ได้ เริ่มต้นที่บ้านทุ่งทราย (ปัจจุบันแยกเป็นหมู่บ้านใหม่ชื่อ หมู่บ้านทุ่งพัฒนา หมู่ที่ 13) อ.เชียงของ จ. เชียงราย สร้างเสร็จประมาณปลายปี 2535 ต่อมาทางผู้ใหญ่ได้แบ่งการดูแลชาวม้งในเขตจังหวัด เชียงรายออกเป็น 2 เขต คือ เขตเชียงรายตอนบน คุณพ่อ รังสรรค์ ภานุรักษ์ เป็นผู้รับผิดชอบ (อ.เชียงของ อ.เชียง แสน อ.พญาเม็งราย อ.เมือง อ.แม่จัน อ.แม่สรวย อ.แม่ฟาู หลวง กิ่ง อ.ดอยหลวง) และคณะผู้ใหญ่ ของคณะธรรมทูตฯได้มอบหมายพันธกิจพิเศษ กําหนดให้ใช้ศูนย์แห่งนี้เป็นฐานที่สําคัญในการข้าม สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 12


เขตชายแดนเข้าไปส่งเสริม สนับสนุนช่วยเหลือกลุ่มคริสตชนในเขตแขวงบ่อแก้ว มิสซังหลวงพระบาง สปป.ลาว ซึ่งขาดศาสนบริกรทํางานอภิบาลมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1975 แต่ก่อนนี้พระศาสนจักรมิสซัง หลวงพระบางมีความเจริญก้าวหน้ามากในด้านต่างๆ ทางศูนย์ฯได้พยายามติดต่อกับคริสตชนและได้ เริ่มจัดกิจกรรมการอบรมสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้นําคริสตชน เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 มาจนถึง ปัจจุบัน พันธกิจนี้ได้รับความเห็นชอบจากประมุขมิสซังหลวงพระบางคนปัจจุบันคือ พระคุณเจ้า ตี โต บรรจง ซึ่งทํางานคนเดียวเพราะขาดแคลนพระสงฆ์นกั บวช อีกทั้งไม่สะดวกในการเข้ามาทํางาน ในแขวงนี้เนื่องจากปัญหาเรื่องการเมืองควบคุมการศาสนาด้วยกฏระเบียบอันเคร่งครัด จึง มอบหมายให้ศูนย์คาทอลิกเชียงของข้ามแม่น้ําโขงไปช่วยงานอภิบาลและแพร่ธรรมในแขวงบ่อแก้ว เพราะเอื้ออํานวยในด้านภูมิศาสตร์และการคมนาคมติดต่อสัมพันธ์ของชาวบ้านผ่านด่านสากล ระหว่างสองประเทศ เขตเชียงรายตอนล่าง คุณพ่อ อนุรักษ์ ประจงกิจ เป็นผู้รับผิดชอบ (อ.เวียงแก่น อ.เทิง อ. ปุาแดด)มีหมู่บ้านชาวม้งประมาณ 40 หมู่บ้าน ขอบเขตพื้นที่รับผิดชอบงานแพร่ธรรมและอภิบาล หมู่บ้านที่อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์ มี 14 หมู่บ้าน มีวัด 7 แห่ง ที่เหลืออีก 7 หมู่บ้าน ยังไม่มีวัดแต่ได้ใช้บ้านของชาวบ้านเป็นที่ชุมนุมสวดภาวนา ประกอบพีธีกรรม หรือพิธีบูชา ขอบพระคุณ ( ครอบครัว 212 ครอบครัว /ล้างบาป 994 คน / เตรียมรับศีลล้างบาป 235 คน เก็บสถิติเมื่อ 30 กันยายน 2010) ในแขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว มีหมู่บ้านที่มีคริสตชนประมาณ 28 หมู่บ้าน มีวัดน้อย 8 แห่ง มีความหลากหลายทางกลุ่มชาติพนั ธุ์ เช่น ม้ง, ไทลื้อ, ไทดํา, ขมุ, ละเมด, เหมี่ยน, สามตาว, ลาหู,่ อาข่า ฯลฯ ในปี พ.ศ. 2554 สถิติเขตมิสซังหลวงพระบางมี คริสตังค์ประมาณ 3,800 คน ซึ่ง ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในแขวงบ่อแก้วประมาณ 3 พันคน อีกประมาณ 800 คน อาศัยอยู่ในแขวงไชยบุรี กับหลวงพระบางและกระจัดกระจายในแขวงอื่นๆอีก 3 แขวง (หลวงน้ําทา. ปงสาลี, อุดมไซ) ลักษณะพัธกิจของศูนย์นี้มีลักษณะการท้างานอย่างไรบ้างครับ? ศูนย์คาทอลิกเชียงของทํางานอภิบาลและแพร่ธรรมกับกลุ่มชาติพันธุ์ชาวม้งและกลุ่มชาติ พันธุ์ต่างๆ ในจังหวัดเชียงรายตอนบน รวมทั้งกลุ่มคริตชนชนเขตแขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ได้จัดทํา โครงการต่างๆและดําเนินงาน เพื่อส่งเสริม สนับสนุนงานแพร่ธรรมและงานอภิบาล อาทิเช่น จัด อบรมผู้นําคริสตังค์ด้านพระคัมภีร์ การสอนคําสอนและพิธกี รรมต่างๆในหมู่บ้าน การส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ เช่น การศึกษา สุขภาพอนามัย อาชีพ การสร้างสถาบันครอบครัว และชุมชนให้เข้มแข็ง และการสงเคราะห์ช่วยเหลือบรรเทาความทุกข์ เป็นต้น มีแนวทางสําคัญคือ สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 13


ประกาศข่าวดีแห่งพระวารสาร เจริญชีวิตเป็นสักขีพยานให้กับข่าวดี ใช้แนวทางการเข้าสู่วัฒนธรรม ท้องถิ่นและการสร้างศาสนสัมพันธ์ที่ดี ส่งเสริมสนับสนุนสร้างจิตสํานึกให้แก่กลุ่มคริสตชนในการมีส่วนร่วมในงานแพร่ธรรมและ งานอภิบาลตามบทบาทหน้าที่ เพื่อให้เกิดพลวัตทางความเชื่อที่เป็นชีวิตในชุมชนคริสตชนให้ เจริญรุ่งเรืองสืบทอดยืนยาวนานต่อไป ร่วมมือกับพระศาสนจักรท้องถิ่นในการทํางานอภิบาลและแพร่ธรรมในพื้นที่และงานที่ จําเป็นเร่งด่วนให้ความร่วมมือ สนับสนุน ส่งเสริมหน่วยงานของภาครัฐ ภาคองค์กรปกครองท้องถิ่น และภาคเอกชนที่สัมพันธ์เกี่ยวข้อง โดยยึดจิตตารมณ์พระวรสารเป็นหลักในการปฏิบัติงานและการใช้ ชีวิตอยู่กับชาวบ้านอย่างเป็นน้ําหนึ่งใจเดียวกัน อุปสรรคปัญหาที่เกิดขึ้น คุณพ่อมีมมุ มองอย่างไรบ้างครับ? เป็นธรรมดาที่ต้องมีอุปสรรคและปัญหาต่างๆ เนื่องด้วย ขอบเขตจํากัดในมิติต่างๆ ขาด องค์ความรู้ในการทํางาน ความเข้าใจผิด อคติมายาต่างๆ ใช้วิธีการหรือการตัดสินใจที่ไม่ถูก ไม่ดี ไม่ งามไม่เหมาะกับเวลาและสถานที่ ฯลฯ ทําให้การงานผิดพลาดล้มเหลว หรือสิ้นเปลือง สูญเปล่า หรือไม่พอใจไม่ถูกใจ ประสบการณ์เหล่านี้เป็นบทเรียนที่จําเป็นและมีคุณค่า เพื่อนําการเรียนรู้นี้ไปใช้ ให้เป็นประโยชน์สําหรับการปรับปรุงแก้ไขให้ดีกว่าเดิมยิ่งขึ้น มีวุฒิภาวะมากขึ้น คุณพ่อมีวิธีการหรือแนวทางการแก้ไขกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร? แก้ไขปัญหาโดยปรึกษาผู้ใหญ่ในคณะและในท้องถิ่น ปรึกษาผู้มีความรู้และประสบการณ์ ศึกษาปัญหาและหาแนวทางวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกับชาวบ้าน อย่าเดินก่อนหรือเดินตามชาวบ้านแต่ เดินไปพร้อมๆกับชาวบ้าน จงก้าวหน้าเสมอ เมื่อล้มแล้วจงลุกขึ้นและก้าวหน้าต่อไปพร้อมกับพระ หรรษทานและพลกําลังของพระ ตระหนักเสมอว่าเมื่อมีกางเขนก็มีพระหรรษทานที่คอยช่วยให้แบก กางเขนได้การเป็นผู้ใฝุรู้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้อยู่เป็นประจําสม่ําเสมอ อ่านศึกษาพระวาจา เอกสาร คําสอนของพระศานจักร พิจารณาไตร่ตรอง รําพึงภาวนา แน่นอนว่าในอีกด้านของชีวิตผู้อภิบาล ย่อมมีความสุข อยากให้คุณพ่อแบ่งปันในส่วนนี้รวมทั้งในเรื่องของชีวิตจิตผู้แพร่ธรรมครับ ความสุขของผู้อภิบาลคือ เมื่อเราได้มีโอกาสใช้ชีวิตอุทิศตนเพื่อบุคคลอื่นๆ โดยเฉพาะผู้ ที่รอโอกาส ผู้ที่อยู่ชายขอบของสังคม ผู้ที่ไม่ได้รับความยุติธรรม ผู้ที่ถูกเบียดเบียน คนยากจน จําเป็นต้องยึดค่านิยมพระวรสารเป็นแกนหลักในงานอภิบาลและเผยแผ่พระธรรม

สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 14


ชีวิตจิตผูแ้ พร่ธรรม เป็นธรรมชาติและมีพื้นฐานจากการเจริญชีวิตจิตคริสตชน ที่เป็นพลวัตและพลัง อันยิ่งใหญ่แท้จริง มีจุดกําเนิดเริ่มต้นจากความรักของพระเจ้าและมีศูนย์กลางอยู่ที่รหัสธรรมปาสกา การเจริญชีวิตจิตภาวนา จะต้องพิศเพ่งรําพึงเทววิทยาการรับสภาพมนุษย์ และเทววิทยาอนันตกาล ให้ลึกซึ้งครอบคลุมในทุกมิติต่างๆของชีวิตเพื่อที่จะทําให้การเจริญชีวิตจิตของคริสตชนแต่ละบุคคล บินได้เหมือนกับธรรมชาติของนกที่มีปีกสองข้าง บินไปได้ทุกสารทิศเมื่อเข้ากลุ่มโบยบินไปกับเพื่อนๆ ร่วมโลก คุณพ่อจะฝากข้อคิดถึงน้อง ๆ ชาวแสงธรรมก็ได้นะครับ.... ประกาศข่าวดีของพระวาจา การเทศน์สอน การอบรมฟื้นฟูจิตใจ การบอกเล่า ประสบการณ์ความเชื่อในพระเยซูคริสตเจ้าสามารถทําได้โดยการเจริญชีวิตเป็นสักขีพยานให้กับข่าวดี ของพระคริสตเจ้า การมีประสบการณ์กับพระเจ้าอย่างลึกซึ้งและช่วยให้ชาวบ้านมีประสบการณ์กับ พระเจ้าผ่านทางการเจริญชีวิตของตัวเรา “ขึ้นเขาและเข้าป่า หรือแม้ว่าอยู่ธานี ชีวิตอุทิศพลีเป็น สักขีพยานพระองค์” “เยซูคู่ชีวิต ข้าฯผู้ศิษย์ มีจิตจง มุ่งชีพจะด้ารง เยี่ยงพระองค์ ผู้อาจารย์ พระอาจารย์”การเข้าสู่วัฒนธรรม ยอมรับการบังเกิดของพระคริสตเจ้าในวัฒนธรรมประเพณี ในวิถี การดํารงชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ การเสวนากับทุกความเชื่อ ในยุคสมัยปัจจุบันที่มีความ หลากหลายและแตกต่างทางความเชื่อ ความขัดแย้ง ความแตกแยก จําเป็นต้องใช้กระบวนการและ วิธีการเสวนาเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และทั้งหมดนี้ก็เป็น mission ของพระสงฆ์ธรรมทูตไทยท่านหนึ่งที่ผู้เขียนนํามาฝากผู้อ่าน ทุกท่าน เพื่อเป็นการจุดประกายจิตตารมณ์ของผู้แพร่ธรรม ต้อนรับงานอภิบาลที่จะเกิดขึ้นในชีวิตเรา ทุก ๆ วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Summer ที่กําลังจะมาถึงนี้ ขอไฟรักในงานแพร่ธรรม จงลุกโชนใน จิตใจของทุกท่าน “เยซูคู่ชีวิต ข้าฯผู้ศิษย์ มีจิตจง มุ่งชีพจะด้ารง เยี่ยงพระองค์ ผู้อาจารย์ พระอาจารย์”

สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 15


Main story:ความรัก สามัคคี การรับใช้... ปาฏิหาริย์ ยิ่งใหญ่ จากมหาอุทกภัย 54 โดย... ทีมงานสารแสงธรรม

ไม่มีใครอยากให้น้าท่วม … นี่คือวิธีคิดของคนในยุคสมัยเรา ๆ แต่สําหรับผู้คนในสมัยเก่า ก่อนน้ําท่วมไม่ใช่เรื่องเลวร้าย ..... จากหนังสือจดหมายเหตุลาลูแบร์ ฉบับสมบูรณ์ บทที่ 6 เรื่องว่า ด้วยที่ประกอบกสิกรรม และอู่ข้าวอู่น้ํา ข้อที่ 2 “การที่มีน้า ท่วมทุกที่ ท้าให้พื้นดินสยามอุดมขึ้น ” และข้อที่ 3 “น้​้าท่วมท้าลายตัวแมลงต่าง ๆ” และนี่เป็นผลพลอยได้ และความเคยชินกับการอยู่กั บ น้ําของคนโบราณ ประมาณปี ค.ศ. 1691 ผลดีที่คนโบราณกล่าวถึงคือ เมื่อน้ําฝนซะดินโคลนจากภูเขาลงมา ทําให้พื้นที่ที่น้ําท่ว มไป ถึงเกิดความอุดมสมบูรณ์ ที่ที่น้ําท่วมไปไม่ถึงยังส่งผลทําให้เกิดโรคติดต่อ การที่น้ําท่วมทุกปีเป็นการ รั บ ประกั น ว่ า ประเทศสยามจมจะมี ความอุ ด มสมบู ร ณ์ ใ นการทํ า นาข้ า ว และเป็นอู่ข้าวอู่น้ําของหลายประเทศ ผลดี อี ก ประการหนึ่ ง ที่ ค น โบราณ ชื่นชอบเวลาที่เกิดอุทกภัย .... คือการทําลายตัวแมลงต่าง ๆ ตามที่ ลาลูแบร์ได้บันทึกไว้ “การที่น้ําท่วมนั้น นอกจากจะให้พื้นดินมีปุ๋ยอันอุดมดีแล้ว ยังช่วยทําลายตัวแมลงร้าย ๆ ให้หมด ไปได้ มิ ใ ช่ น้ อ ย ... ธรรมช าติ ไ ด้ เสื้ ยมสอนให้สัต ว์ทุกประเภทในประเทศ สยามรู้จักเอาตัวรอดคราวน้ําท่วม เหล่านี้คือความจริงที่ว่าคนสมัย ก่อนชอบให้น้ําท่วม ... เพราะเป็น ประโยชน์ต่อการทํา เกษตรกรรม แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป ผู้คนเปลี่ย นวิถีดําเนิน ชีวิต สังคมเกษตรกรรมลดน้อยลง แทนที่ด้วยสังคมอุสตกรรมรูปแบบต่าง ๆ “น้​้าท่วม” จึงไม่เป็นที่ยอมรับสักเท่าไร ผู้คนจึงไม่ยินดีที่จะ ต้อนรับ และถ้าน้ํามาจริง ๆ ก็เป็ นปัญหาแน่นอน เพราะเราลืมวิถีชีวิตแบบเก่าที่เราพึ่งพิ งน้ําเป็น สําคัญ ปัญหาที่ตามมาอีกประการคือ น้ําอยู่กับเรานานจริง ๆ ... บางที่ไม่ต่ํากว่า 4 เดือน ... รับรอง ได้เลยว่า สิ่งที่ตามมาไม่ใช่การแซ่ซ้องยินดี คงมีเสียงบ่นด้วยไม่น้อย

สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 16


ประวัตศิ าสตร์แห่งมหาอุทกภัย 54 ท้าไมน้​้าท่วมใหญ่ ... หากจําได้ในปี พ.ศ. 2538 ประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัยเหมือน กัน แต่น้ําท่วมครั้งนี้ยิ่งใหญ่กว่า เพราะปริมาณนั้นมหาศาลมากกว่า ที่น้ําเยอะเพราะปริมาณน้ําฝนที่ มากประมาณ 7 หมื่ น ล้า นลู กบาศก์ เมตร นอกจากนั้ น ยั ง มี ปั จ จั ย อื่ น ๆ เช่นการบริหารจัดการน้ํา ประกอบกับ ปรากฏการณ์ ล านี ญ า ทํ า ให้ ฝ นตก หนักตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2553 จนทํา ให้เกิดน้ําปุาไหลหลากในภาคเหนือของ ประเทศ ปริ ม าณน้ํา ในเขื่ อ นใหญ่ 2 เขื่อนของประเทศก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จน เกือบเต็มความจุ ... ซึ่งดูเหมือนว่าการ ระบายน้ํ า ออกจากเขื่ อ นจะเริ่ ม เมื่ อ ปริมาณน้ํามากมายจนเกือบเต็มความ จุ ..... ถึงเวลานั้นแล้วก็ต้องยอมรับผล ที่ตามมา ฝนมากขนาดไหนมากเท่า ๆ กับเขื่อนภูมิพลตอนเต็มสัก 8 เขื่อน มาพรมอย่างไม่ หยุด 5 เดือน ฟังดูอาจน่ากลัว ที่จ ริงเมื่อฝนตก น้ําฝนไหลลงดิน ต้น ไม้จํานวนมากจะดูดซับไว้แบบที่เรา เข้าใจกัน น้ําที่เหลือก็ระบายออก ผ่านแม่น้ําสายต่าง ๆลงทะเลไป แต่ที่ค้างอยู่กับเราจนเป็นส่วน หนึ่งของชีวิตเกือบ 4 เดือน ก็แค่ส่วนเดียว แต่แค่นี้ก็แย่แล้ว ก่อนน้​้าเข้ากรุงฯ ผ่านอะไรมาบ้างโดยทั่วไปแล้วการระบายน้ําจะแบ่งออกเป็น สองสาย ตามลําน้ําเจ้าพระยา โดยแยกที่ประตูระบายน้ําพลเทพ จ.ชัยนาท ..... ถ้ายังจําเรื่องราวของประตูระบายน้ําบางโฉมศรี อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ที่พังทลายลง ทําให้มวลน้ํามหาศาลเข้าท่วม 3 อําเภอ ในจังหวัดลพบุรี ไปล้นแม่น้ําลพบุรี ลงสู่เขื่อนปุาสักชลสิทธิ์ ผลก็คือต้องผันน้ําลงแม่น้ําปุาสัก ทําให้ประตูระบายน้ําข้าวเม่าแตก ท่วมนิคมอุต สาหกรรมโรจนะ และฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ ... นั่นหมายความว่า น้ําจากบ้านหมี่ ท่าวุ้ง(ลพบุรี) ไหลท่วมทุ่งลง มาถึงนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของอยุธยา และเข้ากรุงเทพฯ ในที่สุด ... ถ้าจะให้ชัดเจน น้ําที่ท่วมฝั่ง ตะวันตกคือน้ําที่ไหลมาจากบริเวณ วัดนักบุญลูกา บางขาม เข้ามาท่วมจนถึงวัดหลุยส์ มารีย์ บาง แค .... ส่วนอีกฝั่งก็ใช่ย่อย เข้าท่วมปทุมธานี และนนทบุรี สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 17


ความเสีย หายในแวดวง “คาทอลิก ”สังฆมณฑลฑลที่ได้รับผลกระทบอย่างเต็ม ๆ ก็ คือสังฆมณฑลนครสวรรค์ และอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เราลองไล่เรียงเรื่องราวของมหาอุทกภัย 54 น้ําท่วมเริ่มก่อตัว และเป็นข่าวแห่งความเสียหายหลายจังหวัดของสังฆมณฑลนครสวรรค์ เริ่มจากอุตรดิตถ์ ทีม่ ีเหตุดินถล่มในหลายพื้นที่ .... ต่อมาที่ บางระกํา จังหวัดพิษณุโลกซึ่งเมื่อลดลง แล้วดูเหมือนว่าจะได้ยินชื่อนี้บ่อย ๆ .. ถึงกับตั้งให้เป็น บางระก้าโมเดล.... ส่วนจังหวัดพิจิตร ตัว เมืองแทบไม่ได้รับความเสียหายจากน้ําท่วม แต่รอบ ๆ เมืองกลับได้รับผลกระทบไม่น้อย ซึ่งพิจิตร ลักษณะน้ําที่ท่วมเป็นน้ําขัง และท่วมนาน เช่นเดียวกันกับที่จังหวัดสุโขทัย ผลกระทบจากประตูระบายน้ําบางโฉมศรี ที่พังลงในวัน ที่ 13 กัน ยายน 2554 ส่งผล กระทบให้จังหวัดลพบุรี และสิงห์บุรี ... วัดนักบุญลูกา บางขาม ลพบุรี โรงเรียน และกลุ่มคริสตชน ดูเหมือนจะหนักที่สุดเป็นประวัติกาล ทําลายสถิ ติ ปี 2538 อย่างสิ้นเชิง น้ํา ท่วมสูงเกือบสามเมตร เป็นเวลายาวนาน, วัดพระแม่มารีอามารดาคริสตชน สิงห์บุรี น้ําท่วมวัด และกลุ่มคริสตชน และวัด พระนามกรเยซู บ้านแป้ง สิงห์บุรี ก็เช่นกัน อีกโซนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากแม่น้ําสะแกกรัง ... วัดนักบุญเปโตร ท่าซุง อุทัยธานี น้ํา ท่วมสูงเกือบสองเมตร จั งหวั ดนครสวรรค์ มีท่ าทีว่ าจะรอดพ้น แต่ก็ ต้านทานไม่ไ หว บางกระแสก็ ว่าเป็น น้ํ า การเมืองมีการว่าจ้างพังทลายคันดินบ้าง บางกระแสก็บอกว่าเรื อรับจ้างพังทลายคันกั้นน้ํา ... เอา เป็น ว่า น้ํา เข้าท่วมนครสวรรค์ อย่างไม่ปราณีเช่นกัน เริ่ ม ที่ ส้ า นั ก พระสั ง ฆราชระดั บ น้ํ า เกื อ บชั้ น ที่ ส อง อารามคาร์ แ มลก็ เ ช่ น กั น หนั ก และได้ รั บ ความ เสี ย หายมาก จนต้ อ งย้ า ยอารามมาอยู่ ที่ โ รงเรี ย น ลาซาลโชติรวีน ครสวรรค์ เป็น การชั่วคราวบ้า นเณร เล็กจอห์น ปอล น้ําท่วมบริเวณบ้านเณร และบ้าน ของชาวบ้านรอบ ๆ บ้านเณร ณ เวลานั้น บ้านเณรมี สถานะเหมือนกับศูนย์พักพิง ที่เป็นที่แห้งแห่งเดียวใน ย่านนั้น ที่ทุกคนเข้ามาอาศัย พักพิง ... อาสนวิหาร นั ก บุ ญ อั น นาโรงเรี ย นเซนต์ โ ยเซฟ นครสวรรค์ โรงเรียนลาซาลโชติรวีนครสวรรค์ และกลุ่มคริสตชน โดยรอบก็เช่น กัน ... และยังมีกลุ่มคริส ตชนที่ ค ลอง บา งพ ร ะ ห ล ว ง ที่ ท่ ว มม า น า น แ ล้ ว . . . ส รุ ป ว่ า สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 18


“นครสวรรค์” เป็นเมืองที่มีสภาพไม่ต่างอะไรจากเกาะที่ถูกตัดขาดการสัญจรไปมา จะมีก็แต่เรือ รถ สูง ๆ รถทหาร เท่านั้นที่พอจะเป็นประโยชน์ ในส่วนของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เริ่มจากวัดในเขต 6 วัดมารีย์สมภพ บ้านแพน ที่ น้ําล้นเข้าวัด วัดนักบญยอแซฟ อยุธยา ท่วมทั้งวัด โรงเรียน และกลุ่มคริสตชน หมู่บ้านโปรตุเกส ท่วมเข้าถึงชั้นในของหมู่บ้าน วัดนักบุญเทเรซา หน้าโคก น้ําท่วมกลุ่มคริสตชนรอบบริเวณวัด วัด นักบุญยอห์น บัปติสตา เจ้าเจ็ด รอบบริเวณวัดท่วมทั้งหมด อาคารไม้ของโรงเรียนได้รับผลกระทบ ด้วย วัดพระคริสตประจักษ์ เกาะใหญ่ รับผลกระทบเต็ม ๆ เช่นกัน เพราะวัดติดแม่น้ํา ชาวบ้านบอก ว่า “ทําใจ เพราะอย่างไรก็ไม่พลาดแน่” แต่กําลังใจดี และสู้เต็มที่ วัดแม่พระประจักษ์แห่งภูเขา คาร์ แมล สองพี่น้องได้รับผลกระทบบริเวณรอบนอก(ใครบอกสุพรรณฯ ไม่ท่วม ... แต่ที่นี่ไม่เหลือ)วัด นักบุญลูกา อู่ทอง ได้รับผลกระทบไม่มาก วัดนักบุญบาร์โทโลมิว ดอนตาลน้ําเอ่อล้นเข้ามา บ้ าน สัตบุรุษได้รับผลกระทบเป็นส่วนใหญ่ วัดในเขต 5 เป็นวัดที่อยู่ในฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ วัดนักบุญอันเดร บางภาษี วัดแรกที่ ได้ผลกระทบในเขตนี้ เพราะอยู่ในเขตบางเลน น้ําสูง มากวัดนักบุญมัทธิว ทุ่งลูกนก ก็ท่วมเช่นกัน วัดนักบุญเปโตร สามพราน น้ําที่ท่วมเกิดจากน้ําทะเลหนุนมากกว่า วัดในเขต 3 เป็นวัดที่อยู่ฝั่งกรุงเทพฯ ด้านฝั่งธนบุรี และเขตตะวันตก ... วัดที่น้ําท่วมหนัก มากครับ วัดแม่พ ระสกลสงเคราะห์ บางบัว ทอง รับผลกระทบเต็มพื้น ที่ น้ําเข้าบริเวณวัด ต้ อ งอพยบชาวบ้ า น และน้ํ า ท่ ว มขั ง นาน วั ด นั ก บุ ญ หลุยส์ มารีย์ บางแค วัดที่น้ําท่วมยาวนาน เพราะ วัดตั้งอยู่ในหมู่บ้านเศรษฐกิจ ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับคลอง ทวีวัฒนา วัดศีลมหาสนิท สวนผัก ตลิ่งชัน น้ําท่วม เต็มพื้น ที่เหมือนกัน ต้องอพยพผู้คนไปศูน ย์พักพิ ง วัดธรรมมาสน์นักบุญเปโตร บางเชือกหนัง น้ําท่วม สู ง เก็ บ ของไม่ ทั น วั ด ซางตาครู๊ ส กุ ฎี จี น ได้ รั บ ผลกระทบบ้าง ไม่มากนัก วัด ในเขต 2 วั ด อั ค รเทวดมี ค าแอล สะพานใหม่ รั บ น้ํ า จากฝั่ ง ตะวั น ออก วั ด ได้ รั บ ผลกระทบเต็ม ๆ วัดพระชนนีของพระเป็นเจ้า รังสิต แม้ว่าข่าวจะบอกว่าทางรังสิตท่วมแล้ว แต่ ท่วมรอบนอกวัด วัดไม่ท่วมแต่อย่างใด ส่วนที่วัดแม่พระมหาการุณย์ เมืองนนท์ อยู่ในพื้นที่ประสบ ภัยเช่นกัน วัดนักบุญมาร์โก ปทุมธานี น้ําท่วมวัด และกลุ่มคริสตชน วัดมารีย์สวรรค์ ดอนเมือง ก็ เช่นกัน รับน้ําเต็ม ๆ ด้วย สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 19


แสงธรรม .. กับการให้ความช่วยเหลือเยียวยา บ้านแสงธรรมตระหนักในความทุกข์ย ากของพี่น้องผู้ประสบภัย การเป็นประจักษ์พยาน ท่ามกลางพี่น้องเหล่านั้นเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงความเป็นแสงธรรมของพวกเราอย่างชัดเจน วิกฤต แห่งมหาอุทกภัย จึงเป็นโอกาสให้เราแสดงความรักต่อเพื่อน พี่ น้อง รอบข้างเราด้วย เราเรียกงาน จิตอาสาฯ ในแบบแสงธรรมว่า “งานอภิบาล (Pastoring)” แบ่งออกเป็นสองช่วงเวลา คือกลุ่มปรัชญาที่เดินทางไปก่อน และกลุ่มเทววิทยาที่ไปต่องาน 1.โรงพยาบาลซานคามิลโล บ้านโปุง 2.ศูนย์พักพิงวัดไชยชุมพลชนะสงคราม จังหวัดกาญจนบุรี 3.วัดนักบุญลูกา บางขาม ลพบุรี 4.อาสนวิหารนักบุญอันนา นครสวรรค์ 5.ศูนย์พักพิง ทุ่งเขาหลวง 6.ศูนย์นักบุญมาร์ติน ปากเกร็ด (ช่วยงานศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ) ความรัก สามัคคี การรับใช้ ... ปาฏิหาริย์ ยิ่งใหญ่ จากมหาอุทกภัย 54 ความรั ก .... เป็น คํา แรกที่ ส รุปจากการ ทํางานอภิบาล หรืองานจิตอาสาที่พวกเราแสงธรรม อยู่เคียงข้างพี่น้องผู้ประสบภัยในครั้งนี้ และเป็นบาง คําจากคนหนึ่งที่เขียนถึงเรื่องราวแห่งความรัก ... ที่ พบเห็นได้ในภาวะวิกฤติครั้งนี้ “อุ ท กภั ย ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในครั้ ง นี้ นั บ ว่ า เป็ น วิกฤตอุทกภัยครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย และ ในวิกฤตนี้สิ่งที่ตามมาคือความสูญเสีย บางคนต้อง สูญเสียชีวิต บางคนต้องสูญเสีย ทรัพย์สิน เป็นต้น แต่ในความสูญเสียเราสามารถเปลี่ยนทัศนะคตินี้ได้ โดยการมองทะลุความสูญเสียนี้ไป ตัวอย่างเช่น จากในภาพข่าวของสถานการณ์น้าท่วมเราพบเห็น ภาพของความเดื อ นร้ อ น และความยากล้ า บากมายมาย บางคนโทษธรรมชาติ บางคนโทษ นักการเมือง บางคนโทษเพื่อนบ้าน บางคนโทษกันและกัน แต่กลับไม่มองดูตนเองเลย ถ้าทุกคนได้รับ ความเดือดร้อน ความยากล้าบาก และกล่าวโทษเพื่ออยากจะได้รับความช่วยเหลือฝ่ายเดียว และ บอกกับตนเองว่า ฉัน ผม เรา พวกเรา เป็นผู้ประสบ เมื่อใช้สิทธิของความเป็นผู้ประสบภัย ผลก็คือ สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 20


ฉัน ก็ไม่ท้าอะไร ปล่อยให้เป็น หน้าที่ข องเหล่าจิต อาสาและอาสาสมัคร เราเดือนร้อนพวกคุณไม่ เดือดร้อนก็มาช่วยเรา แต่ถ้าทุกคนเดือนร้อนและมีทัศนคติใหม่ๆในตนเอง ที่เป็นจิตอาสา ผมเชื่อว่า ผู้ประสบภัยคงจะไม่มีในศูนย์อพยพต่าง ๆ เพราะทุกคนต่างก็ให้ความดูแลช่วยเหลือกันและกัน .... ผมอยากสรุปสั้น ๆ กับงานที่พวกเราได้กระท้าทั้งหมดว่านี้โดยผ่านทางข้อความของ คุณแม่เทเรซาที่เขียนถึงพระคาร์ดินัล เหวี่ยน วัน ถ่วน ในวันที่ท่านได้ถูกปล่อยตัวออกจากคุกเป็น การถาวรในปี 1989 คุณแม่เทเรซาเขียนว่า “ไม่ใช่จ้านวนงานที่เรากระท้าที่มีความส้าคัญ แต่ความ เข้มข้นของความรักที่เราใส่ลงไปในแต่ละการกระท้าต่างหาก” ความสามัคคี ....ก็เป็นอีกคําที่ ตามมาติด ๆ ... สามัคคีที่ค่อย ๆ ลดอคิ ที่ มี ต่ อ คนอื่ น แล้ ว ร่ ว มมื อ อย่างจริงจังเพื่อให้งานสําเร็จ หรือ อีกนัยหนึ่ง “เราผ่านวิฤติเหล่านี้มา ด้ ว ยกั น ” สามั ค คี คื อ พลั ง ครั บ ลองอ่ า นบางข้ อ ความ ของอี ก คนหนึ่ ง ที่ ก ล่ า วถึ ง ความ สามัคคี เพื่อเปูาหมายในการฟันฝุา มหาอุทกภัยไปด้วยกัน “ช่ ว งเวล าแห่ ง ความ ยากล้าบาก บนใบหน้าของผู้ทุกข์ยากที่ เปรอะเปื้อนไปด้วยคราบน้​้าตา ทันใดนั้น กลับมีรอยยิ้มปรากฏขึ้น เมื่อพระกรุณาธิคุณของพระเจ้าไป ถึงพวกเขาผ่านทางผู้มีน้าใจดีทั้งหลาย”...... “...ช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์ ผมมีคุณลุง คุณป้า คุ ณน้า คุณอา คุณตา คุณยาย และพี่ๆ น้องๆ นับร้อยคน ที่นั่น ผมได้เห็นสิ่งดี ๆ อันงดงามที่แทบจะหายไปจากสังคมไทยซึ่งเกิดขึ้นในช่วง วิกฤตการณ์นี้ เช่น มิตรภาพ ความเป็นพี่เป็นน้อง และการช่ว ยเหลือซึ่งกันและกันของคนไทย โดยมีผู้มีน้าใจดีหลายต่อหลายคนน้าสิ่งของและอาหารมามอบให้แก่ผู้ประสบภัย ในเวลาเดียวกันทั้ง ภาครัฐและเอกชนก็ร่วมมือกันกอบกู้สถานการณ์ในสังคมให้เป็นปกติ การกระท้าของทุก ๆ คนและ ของทุกฝ่ายได้น้าความสุขและความยินดีมายังผู้ที่ก้าลังเศร้าหมอง ด้วยเหตุนี้ ในภาวะที่เลวร้ายเช่นนี้ สิ่งดี ๆ จึงบังเกิดเกิดขึ้น”

สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 21


การรับใช้ .... คือผลแห่งความรักที่แสดงออกเป็น การกระทํา และเหล่านี้เป็น ปาฏิหาริย์ ยิ่งใหญ่ ลองอ่านเรื่องราวของบางคนที่เป็นผู้รับใช้อย่างจริงใจแก่ผู้ประสบภัยในครั้งนี้ ด้วยการรับใช้นี้ เองที่เป็นประจักษ์พยานถึงพระเยซูเจ้า ท่ามกลางพี่น้องมากมาย “เริ่มตั้งแต่ที่ผมตัดสิ นใจไปช่วยงานที่ศูน ย์ อพยพค่ายลูกเสือดรุณาเฉลิมพระเกีย รติ การ ตั ด สิ น ใจของผมเพี ย งเพราะไม่ ต้ อ งการอยู่ เ ฉยๆที่ บ้ า นเณร อยากออกไปเที่ ย วไกลๆเปลี่ ย น บรรยากาศบ้าง และใบลงชื่อก็มีใบของค่ายที่นี่ เหลือช่องว่างอยู่มากที่สุด นั่นเป็นสาเหตุ ที่ท้าให้ผมได้ ไปอยู่ ณ ที่นั้น ในวัน สุดท้ายของการอยู่ค่ายศูนย์ผู้อพยพขณะเก็ บของเตรียมกลับ ผมได้เห็นถึง คุณค่าของพระพร ที่มากกว่าการไปเที่ยวไกลๆ เป็นคุณค่าของ “ผู้แพร่ธรรม” และ “ผู้อภิบาล” ที่ เป็นรูปธรรมจริงๆ ที่นั่น ผมกับบรรดาบราเดอร์ต้องตื่น ตั้งแต่ 6 โมงเช้า เพื่อมาเตรีย มน้​้า เตรีย มยกอาหาร และตักกับข้าวให้กับผู้อพยพให้ทันเวลา 7 โมง เมื่อชาวบ้านทานอาหารเสร็จ เราก็เก็บหม้อแล้วค่อย มาทานข้าวเช้า ทุกช่วงเช้าและบ่าย ต้องไปพูดคุยถามไถ่ชาวบ้าน จดสิ่งของที่ต้องการของแต่ละบ้าน ที่ดูแลลงในสมุดพก และน้ามาเบิกของในตอนบ่าย ส่วนตอนกลางคืนเราก็จัดกิจกรรมเล็กๆน้อยๆ ให้กับผู้อพยพ เพื่อที่พวกเขาจะได้ไม่เครียดกับวิกฤตน้​้าท่วมมากเกินไป หลังกิจกรรมเราจะมาประชุม เพื่อประเมิน และสวดภาวนาร่วมกันในกลุ่ม ถึง 4 ทุ่มครึ่งเราต้องรอปิดโทรทัศน์ ค่อยแยกย้ายท้าธุระ ส่วนตัวและเข้านอน นี่เป็นตารางเวลาคร่าวๆของเรา ตลอดระยะเวลา 1 สัปดาห์ ผมแปลกใจมาก เมื่อได้มองย้อนกลับไปและเห็น ว่า บรรดาชาวบ้านได้ให้ความไว้วางใจ อย่างยิ่ง กับกลุ่มวัยรุ่นแปลกหน้ากลุ่มนี้ วันสุดท้ายถึงกับมีบางคนร้องไห้ ผมคิดว่าคุณค่าของน้​้าตา พวกเขานั้นไม่ได้อยู่ที่พวกเขาคิดถึงและวางใจเรา แต่กลับอยู่ในสิ่งที่เราท้าให้เขาด้วยใจมากกว่า บราเดอร์บางคนแบ่งปันให้ฟัง ชาวบ้านพูดถึงพวกเราว่า “พวกเขาคือบราเดอร์ และก้าลัง มาเผยแพร่” ผมมั่นใจว่าพวกเราไม่ค่อยได้พูดถึงพระเยซู เจ้าเท่าใด เชื่อว่าชาวบ้านคงไม่ฟังเรื่องพระ เยซูด้วยซ้​้า แต่พระที่เขาสัมผัสได้นั้นไม่ใช่พระในค้าพูด แต่เป็นพระในชีวิตของเราบราเดอร์ที่ท้างาน มากกว่า ผมว่าสิ่งที่ผมพยายามท้าที่บ้านเณร การให้พระวาจามาเป็นกิจการนั้น ผมท้ามันส้าเร็จใน ที่นี้เอง แม้ว่าเวลาการภาวนาที่นั่นจะไม่เท่ากับเวลาสวดภาวนาที่บ้านเณร แต่ส้าหรับผมแล้วมันกลับ ลึกซึ้งและมีคุณค่ากว่ามากนัก มันย่นระยะระหว่างพระเจ้ากับผมให้ใกล้ขึ้นด้วย สิ่งที่ผมได้รับจากมหาอุทกภัยครั้งนี้ มันคือประสบการณ์ที่ไม่อาจหาได้ในรั้วบ้านเณร หรือ การออกไปเที่ยว มันคือชีวิตจิตที่ไม่อาจหาได้จากการภาวนาแบบขอไปที และมันคือบทพิสูจน์ที่จะท้า ให้ผมเติบโตขึ้นไปอีกก้าว ผมพบว่างานอาสานี้ไม่มีอุปสรรคอะไรเลย นอกจากใจของผู้ท้างานเอง นี่ แหละที่จะเป็นบทพิสูจ น์ว่าผมจะท้อถอยหรือไม่ สิ่งที่ผมได้รับจริงๆกลับไม่ใช่ความทรงจ้าดีๆกับ สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 22


ชาวบ้านเท่านั้น แต่สิ่งส้าคัญคือความสัมพันธ์ของผมกับพระที่ท้างานในตัวผมเอง ความสัมพันธ์นี้ เป็นรูปร่าง และชัดเจนขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง” ........ ... ระหว่ างที่ปลาวาฬตัวใหญ่กําลังเข้าโจมตีกรุงเทพฯ ผู้ว่าฯ ทําพิธีไล่น้ํา ซึ่งก็ไม่แปลก อะไรเพราะมันก็เป็นประเพณีอย่างหนึ่งที่เรียกศรัทธาให้เชื่อมั่นว่า “เอาอยู่” กับสถานการณ์น้ําใน ครั้งนี้ แต่ลึก ๆ “ไล่น้า” กําลังแสดงออกถึง “ปาฏิหาริย์” ที่คนไทยคาดหวัง ว่าจะรอดพ้นจาก วิกฤตินี้ หรืออย่างน้อยถ้ามันท่วมก็ยังหวังว่าเราจะเอาชีวิตรอด และไม่ทําให้ลําบากมากมาย ... แต่ บางครั้งก็หลงลืมไปว่า ปาฏิหาริย์ ที่แท้จริงก็คือเราแต่ละคน ที่ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ฟันฝุา ไป ด้วยกัน ปาฏิหาริย์เกิดขึ้นแล้ว ด้วย“ความรัก ”“สามัคคี ”และ“การรับใช้ ” ... ตามแบบอย่างของ พระองค์ผู้ทรงเป็นองค์ความรัก .....

สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 23


ปัด’ยา sharing: วิถีแห่งธรรมชาติ

โดย .. ลูกปัด

“ธรรมชาติให้สิ่งที่ดีที่สุด” หลายคนคงจะคุ้นเคยกับข้อความดังกล่าว ตามแผงหนังสือแนว ชีวจิต จะพบงานเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็น สมุนไพรสกัดจากธรรมชาติ ธรรมชาติบําบัด หรือ แนวอาหารที่ให้คุณค่าตามธรรมชาติ ซึ่งมีแนวโน้มความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน ทั้งนี้ จากแนวคิด ที่ว่าธรรมชาติ ช่วยสร้ างสมดุ ล ที่ดีแ ละ ส่ ง ผลข้ า งเคี ย งต่ อ ร่ า งกายน้ อ ยเมื่ อ เทียบกับผลข้างเคียงจากที่เป็นสารเคมี ยกตั ว อย่ า ง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ นการล ด น้ํ า หนั ก แม้ วิ ธี ก ารทางธรรมชาติ จ ะ ให้ ผ ลไม่ ทั น ที ทั น ใด แต่ ก็ ไ ม่ ส่ ง ผล ข้ า งเคี ย งที่ รุ น แรงกั บ ร่ า งกายเท่ า สารเคมี ดัง นั้ น จึง มี คนสนใจวิ ถีแ ห่ ง ธรรมชาติกันมากขึ้น

เมื่อพูดถึงวิถีแห่งธรรมชาติ อยากจะตั้งคําถามก่อนว่า คุณเคยสังเกตสิ่งต่างๆ รอบกาย แล้วพบมุมมองชีวิตบ้างหรือเปล่า? โดยเฉพาะ สิ่งสร้างตามธรรมชาติ เช่น เห็นใบไม้รว่ ง พบความเสื่อมสลายของธรรมชาติ น้ําหยดลงหิน พบคุณค่าของความ พยายาม เป็นต้น เชื่อใหมครับว่า ธรรมชาติให้อะไรมากกว่าปัจจัยสี่ ที่ได้กล่าวไปบ้างใน ข้างต้น ธรรมชาตินี่เองที่เป็นแหล่งความรู้ หลักธรรมคําสอน และข้อคิดต่อชี วิต ที่มนุษย์ ยังคงศึกษาความรูใ้ นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติมิรู้จบสิ้นและพบมันอยู่เสมอ ไม่ สิ้นสุด หากพิจารณาอีกก็จะพบว่า ตั้งแต่อนุบาล ประถมฯ มัธยมฯ หรือใน ระดับอุดมศึกษา ทุกศาสตร์และสาขาวิชาที่เราศึกษาเล่าเรียน จะพบว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง ต้องมีมนุษย์มาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ทั้งนี้ก็เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อมนุษย์ให้มากที่สุด ลอง พิจารณาดูสักครู่นะครับ ว่าจริงใหม? เราจะเรียนรู้สภาพแวดล้อม ภูมิศาสตร์ ภาษา วรรณคดี ประวัติศาสตร์ การคํานวณหรือกฎเกณฑ์ ทั้งหมดก็เพื่อมนุษย์จะได้ประโยชน์ มากที่สุด จนบางที ก็ไม่แน่ใจบทบาทตัวเองเหมือนกันนะว่า มนุษย์เป็นนายปกครอง จัดการดูแล หรือสูบฉีดและเอาเปรียบธรรมชาติกันแน่ สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 24


บทบาทหน้าที่ของเรามนุษย์ที่ว่านี้ ก็คือ ธรรมชาติของเรา ธรรมชาติที่ถูกสร้าง มาเพื่อสิ่งนี้ ปัจจัยสี่ของมนุษย์มีพื้นฐานจากธรรมชาติ จากเม็ดทราย กระทั่งภูเขา จาก ผงเถ้า กระทั่งจักรวาล นอกจากปัจจัยพื้นฐานแล้ว ธรรมชาติมีอะไรมากมายที่เป็นข้อคิด ให้ธรรมมะสอนใจที่มีแก่มนุษย์ทุกวัน ธรรมชาติที่มีแต่ให้ แม้กระทั่ง การตีสอน สัญญาณกาลเวลาดังนั้น คําว่า เรียนรู้จากธรรมชาติจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่เรียบง่าย แต่ ลึกซึ้งที่สุด ขอยกตัวอย่าง คนอินเดียบางกลุ่มที่มีมุมมองเกี่ยวกับชีวิตประการหนึ่งว่า ธรรมชาติของมนุษย์มีทั้งความดีงามและความบกพร่อง แต่ทั้งหมดต่างก็มีคุณค่าใน ตัวเอง ยกตัวอย่าง ในความทุกข์ยากลําบาก อาจจะดูเลวร้าย แต่ได้ทําให้มนุษย์เห็น คุณค่าของความตาย ไม่อยากอยู่เป็นหลายร้อยปี เพราะความตายทําให้หลุดพ้ นจาก ความทุกข์ทรมานในชีวิตแบบนี้ ผู้อ่านที่เคารพ ประสบการณ์ทั้งหลายที่บรรพบุรุษของเราได้ถ่ายทอดเป็นธรรม มะตกผลึกจนปัจจุบันนี้ ขอให้ “เจริญชีวิตปัจจุบันตามความเชื่อของท่าน (ด้วยความ ซื่อสัตย์) อาศัยวิธีการที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาตลอดชีวิต” ว่ากันว่า “จุดหมายของชีวิต คือการรู้จักสัจธรรม และการเข้าถึงธรรม อันเป็นบ่อเกิดแห่งชีวิต” ลองดูสิครับ ลอง มองดูธรรมมะจากธรรมชาติ ต้นไม้ ใบหญ้า นก กา ปลา หิน ดิน ทรายรอบข้าง มองให้ เห็นธรรมด้วยตาใจอันบริสุทธิ์ของเรา เพราะศาสตร์แห่งวิถีธรรมชาตินี้ ยิ่งเข้าถึงมาก เท่าใด เราก็จะพบธรรมชาติที่แท้จริงของตัวเรามากเท่านั้น

สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 25


เก็บตก..ชีวิตผูแ้ พร่ธรรม : สามัคคี... คือพลัง ไม่สามัคคีคือพัง (แน่นอน)

โดย .. kamsornway.blogspot.com

สามัคคีกันครับ รับรองไม่มีวันพังแน่นอน.... คือประโยคที่ผมสรุป "จากการปูองกันน้ําท่วมตามลําพังไม่สามารถปูองกันได้ แต่ทุกฝุายร่วมมือกันอย่างจริงจัง ถึงจะเอาอยู่" ถ้าใครได้อ่านหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับเมื่อนานมาแล้ว คงจะพบภาพพระสงฆ์องค์หนึ่ง ... คุณพ่อชวินทร์ เสงี่ยมแก้ว อดีตรองอธิการบ้านเณรจอห์น ปอล นครสวรรค์ ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดพระนามกรเยซู บ้านแป้ง สิงห์บุรี อีกสถานแห่งหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ําท่วม (อย่างเต็ม ๆ ) เพราะวัดอยู่ริมแม่น้ําเจ้าพระยา แม่น้ําสายหลักของภาคกลาง และวัดนี้ก็เป็นวัดหลักซึ่งมีความต่อเนื่องยาวนานถึง 130 กว่าปีมาแล้ว แม้ว่าน้ําจะท่วม แต่น้ําใจอันเกิดจากความร่วมมือกันของพี่น้อง 3 หมู่บ้านใกล้เคียง กลับเป็นประจักษ์พยานความรัก และได้เห็นแบบอย่างของผู้นําชุมชน (อย่างเต็ม ๆ ) ด้วยเช่นกัน สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 26


และนี่เป็นอีกบทพิสูจน์หนึ่งที่ศูนย์รวมจิตใจ มีผลอย่างมากมายที่จะช่วยให้พ้นจากภัยทั้งหลาย ในแง่หนึ่งศูนย์รวมจิตใจ สร้างสรรค์ความสามัคคี และเป็นเรื่องจริงแท้...ที่ผลจากความสามัคคี ทําให้พลังเกิดขึ้น และนี่เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่า "พลังความรัก ความศรัทธา" กําลังกลับคืนมา ผมได้แต่แอบปลื้มใจ เพราะนี่เป็นข้อตั้งใจตั้งแต่แรกเริ่มแล้วที่คุณพ่อตั้งใจจริง และก็....ต้องทําได้แน่ ผมเชื่อในพลังงานแห่งความรัก เป็นเชื้อเพลิงแห่งความศรัทธา ที่สร้างสรรค์สังคม และสามารถฟันฝุาอุปสรรคมานับครั้งไม่ถ้วนแล้ว ปล. วันหนึ่งผมเปุายิงฉุบแพ้น้อง..คนหนึ่ง เขาเอานิ้วโปูงและนิ้วนี้ชนกันโดยให้นิ้วโปูงที่ชนกันโค้ง ต่ําลงในองศาที่พอประมาณว่า หรือพอเดาเองได้ว่า มันเป็นรูปหัวใจ และเอาแนบไว้ในจุดที่หัวใจของ เขายังเต้นอยู่ ... แล้วเขาก็บอกว่า "ความรักชนะทุกสิ่ง" ..... ผมก็เถียงเขาบอกว่า "ผิดกติกา" "โกงนี่หว่า" แต่มาคิดอีกที "ก็จริง" ผมมองแต่ เรื่องเหตุผล โตกว่าต้องชนะด้วย เหตุผล แต่ลืมไปว่า ... ความรักชนะทุกสิ่ง .... ชนะกฏเกณฑ์มากมายหลากหลาย ชนะความผิดพลาดต่าง ๆ ชนะปัญหาและอุปสรรคทั้งปวง เหมือนที่คุณพ่อท่านนี้กําลังทําอยู่ ความรักชนะทุกสิ่งจริง ๆ

สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 27


สถานีต่อไป ๓๓๔ : อุทกภัยในดวงตา

โดย .. ณอเณรบางกอก

๑. ผมเลือกที่จะใช้ชื่อเรื่องเล่าตอนนี้ว่า "อุทกภัยในดวงตา" ชื่อซึ่งเป็นชื่อเดียวกันกับหนังสือ รางวัลซีไรท์เมื่อสักสิบกว่าปีที่แล้ว เรื่องราวที่ผมกําลังจะเล่าต่อไป อาจไม่ได้มีความใกล้เคียงกันเลย กับสิ่งที่คุณปราบดาได้เขียนไว้ในหนังสือรางวัลซีไรท์ เพราะเรื่องที่ผมจะเล่า มัน คือเรื่องจริงไม่อิง นิยาย และไม่ต้องใช้เทียนเพื่อจะนั่งและเขียนเรื่องราวเหล่านี้ น้ําท่วม เรียกเป็นภาษาทางการว่า อุทกภัย แปลเป็นไทยได้อีกตลบหนึ่งว่า ภัยพิบัติที่เกิดจากน้ํา น้ําท่วมคือภัยพิบัติประการหนึ่ง จะว่า ไปแล้ว มันคือ subset ของอุทกภัย ตามทฤษฎีของออยเรอร์ ยังมีภัยพิบัติอื่น ๆ อีกด้วย ที่นับว่า เป็นภัยที่เกิดจากน้ํา เช่น ซึนามิ และนั่นคือเท่าที่ผมนึกได้เมื่อพูดถึง "อุทกภัย" ดวงตา เป็นหน้าต่างของหัวใจ คําพูดนี้ มาจากใคร และใครเป็นคนพูดคนแรก ผมไม่รู้ รู้แต่ว่าเคยได้ยิน และจํา ๆ เอามา ใช้ ว่ากันว่า ถ้าอยากจะโกหกให้แนบเนียน สิ่งแรกที่ต้องเริ่มฝึกคือ บังคับดวงตา เพราะดวงตาไม่เคย โกหกและมักจะแสดงออกมาอย่างตรงไปตรงมา สําหรับผม ชื่อเรื่องที่เล่า(อุทกภัยในดวงตา)นี้ จึงมีได้สองความหมาย ความหมายประการ แรก คือ ความรู้สึกของผมต่อสิ่งที่ผมไปรับรู้ม าในระหว่างไปช่วย ไปร่วม และไปสัมผัสกับบุคคลที่ ประสบอุทกภัยมา และความหมายที่สอง มันอาจจะหมายถึงน้ําในตา หรือ น้ําตาได้ด้วยเช่นกัน ๒. ผมออกเดินทางในวันที่ฝนเบื้องบนเลิกรากับพื้นดินเบื้องล่างมาพักใหญ่ ๆ แล้ว แต่ฝนจะรู้ไหมว่า สิ่ง ที่เธอทิ้งไว้ สร้างความชอกช้ําให้พื้น ดิน เบื้องล่างไม่น้อยทีเดีย ว ไม่รู้ว่าเหมือนกัน ว่า น้ําตาฟูาที่ เรียกว่า "ฝน" จะรู้หรือเปล่าว่า มันรุนแรงเกินจะรับไหวใครจะทน ด้วยความช่วยเหลือของผู้มีน้ําใจดี ผมและเพื่อน ๆ ได้รถกระบะขนาดสองตอน ใช้สําหรับ การเดินทางในครั้งนี้ ซึ่งช่วยให้เราเดิน ทางได้ส ะดวกขึ้น แต่ไม่ได้ช่วยทําให้เวลาเดิน ทางน้อยลง เพราะมีเพียงเส้นทางเดียวที่เราสามารถใช้ได้ในภาวะไม่ปกติเช่นนี้ บวกกับเวลาที่เราพาตัวเองออก นอกเส้นทาง ไปหลงกันไกลถึงบางนา (ดีที่ไม่เลยไปถึงชลบุรี) กว่าจะถึงที่หมาย ที่วัดพระแม่มหา การุณย์ นนทบุรี ก็กินเวลาถึงห้าชั่วโมงด้วยกัน สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 28


เวลาที่ไปถึง ที่นู่น (ขอเรียกสั้น ๆ ว่า "วัดนนท์" แล้วกันนะครับ)มีน้อง ๆ (ชั้นปรัชญา)หลายคนที่มา อยู่ก่อนหน้าพวกเราแล้ว ผมพบหน้าบางคน และไม่พบบางคน เพราะว่ายังไม่กลับจากที่ทํางาน เท่าที่สังเกตหลายสีหน้า ดูอิดโรยและพบร่องรอยของความเหนื่อยล้าได้อย่ างชัดเจน บางคนผิวคล้ํา ดําขึ้นแบบเห็นได้ชัด แต่ในแววตา ผมเห็นว่า "พวกเขากําลังมีความสุข" ๓. แทบจะทันที... ที่เราไปถึง ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ต กลงอะไรกันดี ก็ปรากฏว่า เพื่อนของผมสองคนจะต้องแบกเปูส ะพาย สัมภาระแยกออกจากหมู่คณะของเราที่นี่ทันที พวกเขาต้องไปที่วัดนัก บุญมาร์โก ปทุมธานี เพราะว่า ที่นั่น ก็ต้องการคนช่วยไม่น้อยไปกว่าที่นี่ เราโบกมือลาและพวกเขาเดินจากไป ตกค่ํา... หลังจากร่วมมิสซาและภาวนาค่ําเสร็จ พี่เจ่(เลขาฯของคุณพ่ออาดรีอาโน)แจ้งให้เราทราบ ว่า พรุ่งนี้เราจะต้องเดินทางไปที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ที่นั่นคือที่ ทํางานของเรา ภารกิจคร่าว ๆ ที่ ได้รับคือการไปพูดคุยบรรเทาใจ เท่าที่เราสามารถ พรุ่งนี้จะมีน้องปรัชญาที่ ได้ไปทํางานมาก่อนหน้า เราแล้วเป็นคนพาไป) ๔. วันแรกของการทํางาน หลังจากสวดเช้า และอาหารเช้า น้อง ๆ ส่วนหนึ่งแยกไปทํางานที่บ้านสี่หลัง ส่วนผม พี่ หยิก น้องบูม พี่ต้อย และเพื่อนโต้ ถูกพี่เจ่พาขึ้นรถและพาไปดร็อปลงที่หน้าแม็คโคร แจ้งวัฒนะ เพื่อ จะต่อรถทหารคันใหญ่ไปหยั่งศูนย์ราชการฯ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ผมได้ขึ้นรถของทหาร แต่เป็นครั้งแรกที่ผมเห็น ผู้คนมากมายไม่ว่ายากดีมี จน ใส่อามานี่ กุชชี่ หรือช้างดาว มายืนตรงทรงตัวในสภาพมนุษย์กระป๋อง บนรถทหารไม่มีหลังคา บ้างก็ยื่นมือจับตามขื่อตามราวเท่าที่พอจะมีได้ บ้างก็ปัดปูองตัวเองให้พ้นจากรังสีอัลตร้าไวโอเล็ตจาก ดวงอาทิตย์ และเมื่อรถพาเราข้ามสะพานจากดินแดนแห้งเข้าสู่พื้นที่อีกด้านของสะพาน ผมก็ทราบ สาเหตุหลักอย่างเป็นทางการที่ทําให้เราต้องมายืนรวมกันในสภาพมนุษย์กระป๋องบนรถทหารคันนี้ มันคือ น้ําท่วมที่ท่วมสูงในระดับเอว สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 29


จากร่องรอยคราบน้ําและตะไคร่น้ําตามเสาไฟและกําแพงบ้าน ผมว่า "มันเคยท่วมสูงกว่านี้" กําแพงบ้านและร้านอาหารบางแห่งทรุดและยุบตัวลงอย่ างเห็นได้ชัดเจน จุดที่แต่ก่อนเคยเป็นปูาย รถเมล์ต อนนี้ก็เปลี่ย นไปเป็น ท่าเรือเพื่ออํานวยความสะดวกให้กับผู้สัญจร ระหว่างที่เดิน ทาง ผม สังเกตเห็นเรือพาย เรือเครื่อง เรือลากวิ่งสวนทางมาเป็นระยะ ๆ เพราะน้ําตามซอกซอยจะต่ํากว่า ระดับถนนลงไปอีกสักศอกได้ นั่นหมายความว่า ระดับน้ําในซอยอาจจะถึงระดับอกเลยทีเดียว จากจุดที่เราขึ้นรถรับ-ส่งของทหารข้ามสะพานมาสองสะพาน และเลี้ยวขวาที่ยูเทิร์นแรก เราก็จะพบกับถนนคอนกรีตแห้งเป็นทางยาว ทอดตัวไปถึงศูนย์ราชการฯ ซึ่ง ณ เวลานี้ได้กลายเป็น ที่พักอาศัยหรือศูนย์อพยพชั่วคราวสําหรับผู้ที่ประสบกับภัยน้ําท่วมแล้ว ๕. ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ คือ สถานที่ที่ประกอบไปด้วยหน่วยงานสําคัญต่าง ๆ ในภาครัฐ เช่น กกต. กระทรวงไอที เป็นต้น หน่วยงานเหล่านี้ มาอยู่รวมกันในอาคารรูปทรงทันสมัยสามหลัง ที่มีทางเชื่อม ถึงกันทั้งหมด ได้แก่ อาคารหลังแรกที่มีลักษณะคล้ายโดมตั้งอยู่กลางน้ํา อาคาร A ที่ตั้งอยู่ด้านหน้า คู่กับอาคารโดม โดยมีอาคาร B ตั้งตระหง่านอยู่ทางด้านหลัง อาคารโดมและอาคาร A ถูกเนรมิตรให้เป็น ศูนย์พักพิง สําหรับผู้อพยพทั้งหลาย ซึ่งพื้นที่ ส่วนใหญ่ ถูกจัดสรรให้เป็นที่เก็บของและที่นอน โดยแบ่งออกเป็นเฟต ๆ เฟตหนึ่ง เฟตสอง เฟตสาม แล้วแต่ลําดับการมาอยู่ก่อนหลัง ในเฟตแต่ละเฟตก็จะถูกแบ่งออกเป็นล็อค ๆ มีพื้นที่ขนาดสองเมตร คูณเมตร เพื่อใช้เป็นที่เก็บของและที่นอนสําหรับหนึ่งคน ด้านหน้าอาคาร ม้านั่งหินอ่อนเป็นทางยาวทอดเต็มสองฝั่ง บรรดาสิงห์อมควันทั้งรุ่นใหญ่ รุ่นเล็กกําลังนั่งจับกลุ่มคุยสัพเพเหระเป็นกลุ่ม ๆ พี่หยิกและน้องบูมหยุดทักทายบางคนแถวนั้น เมื่อ เดินผ่านประตูอาคารเข้าไป เราก็ติดต่อกับเจ้าหน้าที่เพื่อขออนุญาตทําบัตรอาสาสมัคร เพื่อความเป็น หนึ่งเดียวและไม่แปลกแยกกับผู้คนที่อยู่ที่นั่น และเราจะได้รับอาหารกลางวันด้วยในฐานะอาสาสมัคร ผมรู้สึก "ประหม่า ตื่นเต้น และกลัว" ผมหมดเวลาครึ่งเช้าไปกับการเดินสํารวจส่วนต่าง ๆ ของอาคาร มีห้องกิจกรรมสําหรับ แม่บ้านและเด็ก มีลานทีวี มีแผนกเบิกของ มีห้องพยาบาล มีส่วนที่อํานวยความสะดวกเรื่องโทรศัพท์ ฟรี มีหน่วยเติมสําหรับโทรศัพท์มือถือของหลายเครือข่ายมาบริการเติมฟรีครั้งละยี่สิบบาท ภายนอกตัวอาคาร มีเวทีขนาดย่อมไว้ให้หน่วยงานใจดีทั้งภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ ได้ใช้ สําหรับจัดกิจกรรมในภาคเที่ย งและเย็นสลับกัน ไป มีพื้นที่สําหรับรับอาหาร และแท็งก์น้ําสําหรับ บริการน้ําดื่ม หน่วยงานซ่อมแซม ลานกิจกรรมของเด็กเล็กด้านนอก เดินลงไปอีกด้านในทางเชื่อม สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 30


ของอาคาร พวกเขาได้เปลี่ยนทางเชื่อมนี้เป็นสถานที่สําหรับสัตว์เลี้ยง ถัดไป ไม่ห่างกันมาก มีลาน ซักล้างซึ่งมีเครื่องซักผ้านับสิบเครื่องมาตั้งสําหรับให้บริการซักผ้าฟรี ภาคบ่ายผมเริ่มที่จะเข้าไปพูดคุยกับพี่น้องบางคนในเฟตที่สี่ที่นั่งอยู่บริเวณหน้าทีวีบ้างสอง สามคําแต่ก็คุยได้ไม่นานเพราะว่าเขาอยากจะดูซีเกมส์มากกว่า ขณะที่กําลังงง ๆ ว่าตัวเองจะทํา อะไรต่อไปดี ก็พบว่ามีคุณลุงท่านหนึ่งในเฟตนี้ กําลังนั่งคุยกับพี่หยิกและน้องบูมอยู่ จึงถือโอกาสเข้า ไปแจมด้วย แค่เพียงเริ่มต้นไม่กี่คําว่า "เป็นอย่างไรบ้าง?" เท่านี้ สถานการณ์ก็เปลี่ยนไปจากหน้ามือ เป็นหลังมือ จากที่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง กลัวว่าเขาไม่อยากจะคุยด้วย ก็กลายเป็นเรื่องคุยมากมายที่ คุณลุงท่านนั้นอยากจะระบายให้ฟังแบบนอนสต็อป ดูเวลาอีกทีก็ได้เวลากลับแล้ว ผมเข้าใจแล้วว่า ทําไมผมถึงเห็นแววตาเปี่ยมสุขบนใบหน้าอิดโรยและดําคล้ําไม่อมชมพูของ น้อง ๆ ปรัชญาที่มาทํางานก่อนหน้าผม แค่การมีอยู่ของเรา การเปิดหู เปิดตา เปิดใจที่จะรับรู้ ก็แบ่ง เบาความทุกข์ของพวกเขาได้ไม่น้อยทีเดียว ความสุขของการเป็นผู้ให้อาจจะยิ่งใหญ่ แต่การเป็นผู้รับ (ผู้รับรู้และรับฟังก็บรรเทาใจพวกเขาได้)ก็ไม่แตกต่างกัน ถูกครับ เราไม่มีของมาแจกเหมือนกลุ่มอาสาสมัคร หรือ บริษัทห้างร้านใจดีอื่น ๆ เพราะ เราก็แค่เข้ามาอยู่ มานั่งรับฟัง และรับเอาความทุกข์ใจ ความเครียดและความอึดอัดใจจากเขาไปบ้าง ก็แค่นั้นเอง ๖. ไม่มีใครอยากให้อุทกภัยเกิด... แต่เมื่อเรามนุษย์ไม่มีอํานาจใดเหนือธรรมชาติ คําถามที่เราควรถามในภาวะแบบนี้ ไม่น่าจะ เป็นคําถามที่ว่า "ใครทําผิด ใครต้องรับผิดชอบ" หรือเป็นคําพูดในลักษณะที่โยนความผิดกันไปกันมา ระหว่างฝุายนู้นกับฝุายนี้ ผมว่า คําถามที่เราควรถามตัวเองแต่ละคนน่าจะเป็นคําถามที่ว่า "เราจะมี ส่วนรวมได้อย่างไรบ้าง ช่วยเหลืออะไรได้บ้างต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้" และที่สําคัญกว่าคือ ไม่ใช่แค่ ตอบคําถาม แต่เป็นการลงมือ-เทใจช่วยเหลือเต็มกําลังเท่าที่เราทําได้อย่างสุดความสามารถ ...ผมยังคงอยู่และทํางานต่อไปอีก... หลังจากที่สิ้นสุดเวลาที่ทางบ้านเณรกําหนดให้ พวกเราบางส่วนแยกย้ายกันกับบ้าน ผม พี่ หยิก น้องบูม และพี่ชัย ตกลงกันว่าจะอยู่ต่อเพื่อทํางานในอีกหลาย ๆ เคสที่ยังค้างอยู่ให้ลุล่วง งาน ในอาทิตย์หลัง ๆ เริ่มมีความหลากหลายในงานมากขึ้น เพราะไม่ใช่แค่การไปพูดคุยเท่านั้น แต่ยังมี งานภาคสนาม เช่น การพาผู้อพยพในศูนย์ที่ต้องการกลับบ้านไปส่งที่บ้าน, ไปเยี่ยมผู้อพยพที่ปุวยใน โรงพยาบาล, ติดต่อศูนย์ศิรินทรเพื่อขอรับรถเข็นและทําบัตรผู้พิการสําหรับผู้อพยพที่สูงอายุและพิการ สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 31


ที่อยู่ในศูนย์พักผิง มีงานดูแลเด็ก ๆ ที่บ้านสี่หลังที่ยังไม่เปิดเทอมเพื่อแบ่งเบาภาระของเจ้าหน้าที่ ศูนย์อีกด้วย วันนี้... ผมไม่รู้เหมือนกันว่า ขณะที่ผมก้าลังพิมพ์อยู่นี้ พวกเขาที่ศูนย์จะเป็นอย่างไรบ้าง แม้ ว่า บ้านของผมจะไม่ประสบกับอุทกภัย แต่การไปรับรู้ รับฟัง และให้ช่วยเหลือบ้าง แม้จะไม่ได้โดนกับตัว จัง ๆ แต่เมื่อคิดถึงพวกเขาที่นั่น อุทกภัยในดวงตาก็เกิดขึ้นมาแบบไม่ให้ตั้งตัว พระอวยพร www.facebook.com/page/ณอเณรบางกอก

สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 32


สาระดี: จัดคริสตมาสให้คนต่างศาสนา

โดย ปลัดสัญจร

สวัสดีท่านผู้อ่านที่เคารพทุกท่าน พบกันอีกแล้วกับคอลัมภ์สาระดี (หรือเปล่า) ในช่วงปิดเทอมคริสตมาสที่ผ่าน มา ผมเข้าใจว่าทุกท่านได้มีโอกาสฉลองคริสตมาสกันอย่างมีความสุข ไม่ว่าในเมืองหรือบนดอย ในฐานะเป็นพระสงฆ์นอกจากไปฉลองคริสตมาสแล้ว ยังต้องทําหน้าที่ในการประกอบพิธีกรรมด้วย หลายปีที่ผ่านมาผมไม่ได้มีวัดอยู่เหมือน พระสงฆ์อื่น ฉะนัน้ ช่วงเวลาเทศกาล ต่าง ๆ ผมสามารถเลือกที่จะไปที่ไหนก็ได้ สองปีที่ผ่านมาผมเลือกไปทําคริสตมาสที่ เขตวัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ จังหวัด แม่ฮ่องสอน (อยู่ในเมืองจริง ๆ ใกล้กับ ศาลากลางเลย) และผมเลือกที่จะไปวัด สาขาที่อยู่ห่างไปขับรถประมาณ 1 ชั่งโมง คือ บ้านมะเขือส้ม เพราะบรรยากาศดี มาก อากาศหนาวเย็นและมีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวมากด้วยในช่วงเวลาดังกล่าว และบริเวณ ใกล้เคียงก็มีที่ท่องเที่ยวอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพระตําหนักปางตอง โครงการพระราชดําริบ้าน ปางอุ๋ง หมู่บ้านรักไทย ฯลฯ เพราะก่อนหรือหลังงานสามารถเที่ยวต่อได้ แต่ปีนี้ใจจริงผมไม่อยาก ไปที่นั่นแล้ว ในขณะที่กําลังรอตัดสินใจอยู่นั้น คุณพ่อเจ้าวัด วัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ (คนใหม่) ได้ โทรศัพท์มาเชิญผมไปทําคริสตมาสในเขตอีกครั้งหนึ่ง แต่คราวนี้คุณพ่อบอกว่าจะให้ไปที่ใหม่ เป็น เขตพื้นที่พี่น้องชาวปกาเกอะญอ คือ บ้านห้วยขมิ้น ผมตอบตกลงทันที เพราะที่นี่ผมยังไม่เคยไปมา ก่อน เป็นหมู่บ้านคริสตชนที่พึ่งกลับใจได้ไม่นาน เมื่อรู้เปูาหมายแล้ว ผมก็เตรียมตัวโดยทาบทาม คุณพ่อจีรภัทร ซิสเตอร์แม่ปอน และน้องจากซีซี สุดท้ายได้สมาชิกมา 5 คน เมื่อถึงเวลากําหนด ผมออกเดินทางจากกรุงเทพไปค้างที่เชียงใหม่ 1 คืน ขับจากเชียใหม่ไปค้างที่แม่ฮ่องสอน อีก 1 คืน (ที่จริงแม่ฮ่องสอน – เชียงใหม่วัดด้วยกิโลเมตรดูเหมือนจะใกล้ เพราะระยะทางประมาณ 350 กิโลเมตร แต่ด้วยโค้ง 1,864 โค้งนี่เองทําให้การเดินทางต้องใช้เวลาเกือบจะทั้งวัน) หนึ่งคืนที่ แม่ฮ่องสอน ผมและสมาชิกก็ได้สัมผัสกับบรรยากาศแม่ฮ่องสอนในยามค่ําคืน มีถนนคนเดิน (ที่นี่มี ทุกคืนตลอดปี) บรรยากาศสงบ พูดคุยกันเป็นมิตร ไม่จอแจ เหมือนที่เชียงใหม่หรือกรุงเทพ ทํา ให้การเดินเที่ยวเป็นแบบสบาย สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 33


เช้าวันที่ 24 ธันวาคม ผมต้องขับรถจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนไปหมู่บ้านห้วยขมิ้นอีก 2 ชั่วโมงครึ่ง แถมรถธรรมดาใช้ไม่ได้อีก ต้องรถโฟร์วีลเท่านั้น (นี่ขนาดอยู่ในเขตอําเภอเมืองนะครับ) ก่อนเดินทางต้องเตรียมสัมภาระให้พร้อม เพราะเมื่อขึ้นไปแล้วก็ไม่มีใครอยากจะกลับลงมาทันที เมื่อของทุกอย่างพร้อมแล้ว ก็เช็คดูว่าจะมีคนไปอีกกี่คน จากตอนแรกที่มีพวกเรา 5 คนบวกกับ เยาวชนอีก 5 คนเป็น 10 คน แต่เช้าวันนัน้ ยังมีคนอยากไปเพิ่มอีก 5 คน จากตอนแรกที่คิดว่าจะ เอารถไปคันเดียว จึงตัดสินใจเอารถไปเพิ่มอีกคัน เพราะแค่สัมภาระเกือบจะเต็มรถแล้ว ยิ่งได้ยิน ว่าอากาศหนาวมากแต่ละคนไม่ยอมน้อยหน้ากัน เตรียมกันมาแบบถึงหนาวติดศูนย์ก็ไม่กลัว ฉะนั้น คุณพ่อจีรภัทรเลยต้องไปเป็นโชเฟอร์รถอีกคันหนึ่งด้วยความจําเป็น การเดินทางเริ่มขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 10.30 น. ช่วงแรกวิ่งบนถนนใหญ่ประมาณ 42 ก.ม จากนั้นถึงเวลาต้องแข่งแรลลี่แล้ว เนื่องจากว่าไม่มีใครเคยไปมาก่อนจึงไม่มีรู้เส้นทาง ชาวบ้านจึง ส่งคนมานําเราโดยมีรถมอเตอร์ไชค์เป็นพาหนะ ด้วยความชํานาญเส้นทางผู้นําทางจึงทิ้งผู้ตามอย่าง ไม่เห็นฝุ​ุน แต่สองคันที่ตามกันมานั้นวิ่งกันฝุ​ุนตลบ บางช่วงมองไม่เห็นทาง จึงต้องทิ้งระยะห่าง พอสมควร จากช่วงแรกผมวิ่งข้างหน้า แต่พอเห็นมีฝุนเยอะ ผมหลีกทางให้คุณพ่อจีรภัทรวิ่ง ข้างหน้าแทน เพราะรถผมทุกคนนั่งในแคป ส่วนรถคุณพ่อจีรภัทรนั้น มีน้อง ๆ เยาวชนส่วนหนึ่ง อยู่กระบะหลัง ถ้าผมวิ่งข้างหน้าคนที่วิ่งตามหลังจะได้กินฝุ​ุนกันตลอดทาง และการขับรถในช่วงนี้ ก็ต้องอาศัยโฟร์วีลอย่างอย่างเดียวเพื่อความปลอดภัย บางช่วงต้องใช้ความสามารถจริง เพราะเจอ รถสวนมาสองคันซ้อนในทางโค้ง (ถนนบนดอยปกติแล้วจะไม่มีไหล่ทาง บางช่วงก็พอดีสําหรับรถ คันเดียว บางที่กว้างพอรถสองคันสวนกันโดยระยะห่าง 5 เซนติเมตร) เพราะฉะนั้นทุกคนต้องใช้ ความสามารถกันเต็มที่กว่าจะหลุดมาได้ทําเหงื่อซึมเหมือนกัน) สุดท้ายการเดินทางถึงที่หมาย ประมาณบ่ายโมง ทันทีที่ลงจากรถได้สัมผัสกับอากาศเย็นทันที นี่ขนาดกลางวัน คิดในใจว่า กลางคืนจะขนาดไหน (เดี๋ยวก็รู้) เมื่อเก็บสัมภาะรเข้าที่แล้ว ทานอาหารเที่ยง เสร็จจากอาหารเที่ยง ผมและสมาชิกออกเยี่ยมตามบ้านคริ สตชน ที่นี่มีครอบครัวอยู่ประมาณ 40 ครอบครัว แต่มีคริสตชน 6 ครอบครัว เท่านั้นและพึ่งกลับใจมาได้ไม่นาน การไปเยี่ยมตามบ้านมักจะเป็นส่วน หนึ่งของการไปหมู่บ้านเสมอบางครั้ง ไม่ได้เยี่ยมเฉพาะบ้านคริสตชนเท่านั้น เยี่ยมบ้านอื่น ๆ ที่ไม่ใช่คริสตชนด้วย หลังจากเยี่ยมชาวบ้านประมาณ 4 สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 34


โมงเย็น ก็เริ่มทยอยกับอาบน้ํา เพราะก่อนหน้านั้นเราได้อาบฝุ​ุนมาตลอดทาง แต่ การจะอาบน้ํานี้ ต้องคิดหนักหน่อย เพราะน้ําที่จะอาบเย็นพอ ๆ กับน้ําทีแ่ ช่ตู้เย็นในเมืองทีเดียว อย่างไรก็ตามจาก การที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก จึงไม่ได้เป็นอุปสรรคเท่าไหร่ เมื่อถึงเวลาเย็นการจัดเตรียมคริสตมาสพร้อมแล้ว มีคนทยอยกันมามากขึ้นเรื่อย ๆ ผม เห็นว่าตรงหน้าเวทีที่จัดงานมีคนจํานวนมาก ตอนแรกผมคิดในใจว่ามีคริสตชนจํานวนมากที่มา ร่วมงาน แต่พอถามครูคําสอนท่านบอกว่าที่มาก่อนทั้งหลายนั้นไม่ใช่คริสตชนหรอกครับ เป็นพี่น้อง ต่างศาสนาและคริสเตียน ทั้งคนในหมู่บ้านและจากหมู่บา้ นใกล้เคียง เพราะพี่น้องคริสตชนยังเก็บ ข้าวของในการรับแขกอยู่ เมื่อได้เวลาประมาณ 18.30 น. ซึ่งเรากําหนดว่าเป็นเวลารับศีลอภัยบาป เมื่อมีคนต่างศาสนามาจํานวนมากตรงหน้าเวที ผมถามครูคําสอนว่าจะให้แก้บาปที่ไหน ท่านตอบ ว่าแก้บาปบนเวทีนั้นเลย จะได้เป็นตัวอย่างให้กับคนอื่น ๆ ด้วย ผมไม่ขัดข้องจึงฟังแก้บาปบนเวที ต่อหน้าคนต่างศาสนาจํานวนมาก ผมแอบคิดในใจว่าคริสตชนจะมาแก้บาปหรือเปล่า พวกเขาจะ อายที่จะแก้บาปตรงนี้ไหม ถึงเวลาจริงคริสตชนทุกคนมาแก้บาป บางคนแก้ไม่ค่อยคล่อง เนื่องจาก เป็นคริสตชนใหม่และอายุมากแล้วด้วย ผมจึงต้องอธิบายแถมยังต้องชดเชยบาปพร้อมกับพวกเขา ด้วย เมื่อถึงเวลามิสซาบรรดาคริสตชนทั้งหลายก็มาอยู่ตรงกลาง ลักษณะเป็นไข่แดงท่ามกลาง พี่น้องต่างศาสนา และที่นา่ สังเกตคือ แม้จะเป็นคนต่างศาสนาและมีจํานวนมากก็ตาม ทุกคนเงียบ และร่วมพิธีกรรมเสมือนหนึ่งว่าเป็นศาสนิกชนของศาสนานั้น คุณพ่อจีรภัทรเองก็เทศน์แบ่งปัน ให้ กําลังใจคริสตชนและส่งความสุขไปยังพี่น้องที่มาร่วมงานทุกท่านด้วย มิสซาดําเนินต่อไปจน จบ จากนั้นก็เป็นกิจกรรมงานรื่น เริง จากการที่คริสตชนมีจํานวน น้อยในท่ามกลางพี่น้องต่าง ศาสนา ผมคิดในใจว่ากิจกรรมคง จะมีไม่มาก แต่ผิดคาด เพราะ ทางโรงเรียนในหมู่บ้าน ได้ จัดเตรียมการแสดงจํานวนหลาย ชุด แถมด้วยน้อง ๆ เยาวชน จากวัดแม่ฮ่องสอนอีกส่วนหนึ่ง พร้อมทั้งมีกิจกรรมการจัดสลาก สลับกันไป ยิ่งอยู่ดึกเท่าไหร่อากาศก็เริ่มหนาวเย็นมากขึ้นเท่านั้น ทําเอาผมเองต้องจัดเต็มเลย ไม่ สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 35


ว่าถุงเท้า ถุงมือ ผ้าพันคอ แถมด้วยผ้าโพกหัว แม้จะเป็นคริสตมาสเล็ก ๆ แต่กว่าจะเลิกได้เกือบ เที่ยงคืน ในเช้าวันใหม่นั้น ต่างกับเมื่อคืนแบบหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะในพิธีมิสซา เหลือแต่คริสต ชนเท่านั้น จากเมื่อคืนที่ทุกคนอยู่ที่ลานหน้าเวที เช้านี้ทุกคนขึ้นไปอยู่บนเวทีกันหมด นี่คือคริสต ชนตัวจริงของเรา ส่วนพี่น้องต่างศาสนานั้นก็ช่วยทําอาหารสําหรับเลี้ยงแขกมื้อเช้า หลัง อาหารเช้า ผมก็ออกเดินทางกลับไปที่วัดแม่ฮ่องสอน แต่เปลี่ยนเส้นทางใหม่ ไปแวะเยี่ยมบ้าน เยาวชนที่มากับเราในวันนั้น พอดีเป็นวันอาทิตย์เราเลยถือโอกาสสวดภาวนาเที่ยงด้วยกันที่หมู่บ้าน นั้น หลังจากนัน้ แยกย้ายกันกลับไปรายงานตัวกับคุณพ่อเจ้าวัดในสิ่งที่เราได้ทํา ผมอยากจะสรุปเพียงว่า ความสุขในชีวิตในการรับใช้พระเจ้า บางครั้งไม่ได้ อยู่ที่ความครบครันในสิ่งของต่าง ๆ ที่เรามี เราพบ แต่จากน้​้าใจพี่น้องทั้งที่เป็นคริสตชนและ ไม่ใช่คริสตชนที่ร่วมมือกันในการสรรเสริญพระเจ้าในแบบวิถีชีวิตที่เรียบง่าย คริสตมาสครั้งนี้ผม รู้สึกว่าเป็นการจัดคริสตมาสให้กับพี่น้องต่างศาสนามากกว่าคาทอลิก เพราะดูเหมือนพวกเขาให้ ความสนใจ และร่วมมือ ต้อนรับเราเสมือนหนึ่งว่าเราได้ไปจัดงานให้เขา ขอพระกุมารเจ้าทรง ประทานแด่พวกเขาด้วยเทอญ

สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 36


Mission around the hill..:

โดย ..แด้ ห้าทุ่มสิบ

พบกันอีกครั้งแล้วน่ะครับกับผม ในฉบับนี้ผมจะพาท่านผู้อ่านทุกท่านมารู้จักกับคณะ นักบวชอีกคณะหนึ่งซึ่งผมเชื่อว่าหลายคนก็อาจจะรู้จัก และไม่เคยรู้จักเลยก็ว่าได้น่ะครับ ซึ่งก็คือ ซิ สเตอร์คณะเมตตาธรรมแห่งนักบุญบาร์โทโลเมอา กาปีตานีโอ และ นักบุญวีนเชนซา เจโรซา (สั้นๆก็ คือคณะมารีอา บัมบีน่า) โดยในฉบับนี้เราได้เอาบทสัมภาษณ์ของซิสเตอร์ท่านหนึ่งที่อยู่ในคณะ โดยไม่ตัดหรือเสริม เพื่อให้ได้เนื้อหาที่ครบถ้วนตามที่ซิสเตอร์ต้องการเล่าให้เราฟัง เพราะฉะนั้นเรามาเริ่มกันเลยดีกว่ า ครับ ซิสเตอร์ : จิตตารมณ์ของคณะ เราคือ....ความรักโดยกิจการ ต่างๆ เช่น ช่วยเหลือคน ยากจน คนปุวย ที่บ้านและที่ โรงพยาบาล ช่วยเหลือเด็ก กําพร้า ดูแลคนพิการ คนตา บอด คนชรา ผู้ติดยาเสพติด คน โรคเรื้อน และคนที่อยู่ในคุก สอน หนังสือ ช่วยหญิงสาวที่ถูก ทอดทิ้ง และคนที่ติดเชื้อเอดส์ (ตามความต้องการของสังคม ของแต่ละที่ แต่ละประเทศ ที่คณะเราอยู่ ) คณะของเรามีทั้งหมด 20 ประเทศ เข้ามาในประเทศไทยในปี ค.ศ.1966 โดยรัฐบาลพม่าได้ เปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงให้มิชชันนารีทุกคณะออกจากประเทศพม่า เวลานั้นซิสเตอร์คณะของ เรามี 3 คน ดังนั้นพระสังฆราช กัวชีเรน่า พระสังฆราชของเชียงตุง ได้ติดต่อกับพระสังฆราช ลากอสต์ สังฆราชของเชียงใหม่ ให้รับซิสเตอร์ทํางานที่ประเทศไทย พระสังฆราชยินดีรับซิสเตอร์ 3 คนนั้นมาอยู่ที่เชียงราย เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1966 สาเหตุที่ ซิสเตอร์ได้เลือกเชียงรายเพราะว่า เชียงรายยังไม่มีวัดคาทอลิก ยากจนมาก และ มีโอกาสช่วยเหลือซิสเตอร์ที่อยู่ประเทศพม่าด้วย เวลานั้น คุณพ่อ ลุซซี่ เป็นเจ้าอาวาสที่ อ.พาน ได้ ติดต่อเช่าบ้านให้เราใกล้ตลาด ซิสเตอร์ได้เริ่มงาน โดยการไปหาคนยากจน ตอนเย็นสอนพิเศษ สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 37


ภาษาอังกฤษแก่ลูกทหารซึ่งอยู่ตรงข้ามกับบ้านซิสเตอร์ และมีลูกของคาทอลิกอีก 2 คนมาเรียนด้วย หลังจากนั้นไม่นานมีคาทอลิกหลายคนทราบว่า มีซิสเตอร์มาอยู่ที่เชียงราย ก็เริ่มมาเยี่ยม และมา สวดภาวนาที่บ้านเช่าของซิสเตอร์ด้วยกัน คุณพ่อลุซซี่มาทํามิสซาให้ซิสเตอร์สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง มีคริสตชนหลายคนมาร่วมด้วย และ คริสตชนที่ไม่ได้แต่งงานถูกต้องตามกฎของพระศาสนจักร หรือไม่ได้แต่งงานในวัด ได้ขอพ่อทํา พิธีให้อย่างถูกต้อง เด็ก ๆ ได้มีโอกาส เรียนคําสอนและรับศีลต่าง ๆ เดือน กันยายน ค.ศ.1966 คุณพ่อลุซซี่ได้ เชิญซิสเตอร์จากเชียงราย 1 คน ไป ช่วยสอนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนศิริ มาตย์เทวี อ.พาน และได้พักอยู่กับซิ สเตอร์คณะพระหฤทัยแห่งกรุงเทพ ปีเดียวกันนั้น คริสตชนที่เชียงรายได้ เพิ่มจํานวนมากขึ้น บ้านเช่าของ ซิสเตอร์จึงไม่พอสําหรับถวายมิสซา และไม่สะดวกหลายอย่าง ค.ศ.1969 มีซิสเตอร์อีก 4 คน มาจากประเทศพม่าเข้ามาช่วยที่ประเทศไทยเพื่อให้กิจการ ต่าง ๆ เจริญก้าวหน้า มีซสิ เตอร์คนหนึ่งเป็นคนจีน สามารถพูดภาษาชนเผ่าได้ ได้ไปตามดอยต่าง ๆที่คุณพ่ออูร์บานี และซิสเตอร์พยาบาลอีกคน เพื่อไปช่วยเหลือชาวเขาที่ถูกทอดทิ้ง คนปุวยที่อยู่ที่ บนดอยและคุณพ่อได้รับเด็กบางคนจากบนดอย เพื่อให้เขาได้มีโอกาสเรียนหนั งสือ ซิสเตอร์อีก 1 คน หลังจากที่เรียนภาษาไทยแล้ว กลับมาช่วยงานที่เชียงราย อ.พาน กับซิ สเตอร์ที่อยู่ก่อนแล้ว 1 คน ช่วยสอนภาษาอังกฤษและอบรมเยาวชนที่นั่น ปีค.ศ.1975คุณพ่ออูร์บานี และซิสเตอร์พยาบาลได้ไปเยี่ยมหมู่บ้านโรคเรื้อน (บ้านศรีวิเชียร ปัจจุบัน) ที่แม่ข้าวต้ม ไปแจกยา ให้เสื้อผ้า และสิ่งของที่จําเป็นและที่ต้องการ มีประมาณ 20 กว่า ครอบครัว ต้นปี 1957 คุณพ่ออูร์บานีได้เชิญซิสเตอร์ 2 คนไปทํางานที่บ้านโปุง เพื่อช่วยเหลือผู้ปุวย ที่มาจากบนดอยและไม่มีเงินไปโรงพยาบาล และก็มีคนปุวยที่มาจากประเทศพม่ามาขอยาที่บ้านโปุง บ่อย ๆ บางคนก็มาเยี่ยมซิสเตอร์ และเพื่อความปลอดภัยของซิสเตอร์ คุณพ่อเปนซ่าก็ให้ซิสเตอร์ กลับมาอยู่ที่เชียงราย ในปีนั้นมีคนลาวถูกไล่ออกจากประเทศ คนลาวได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทย รัฐบาลไทยให้ เขาอยู่ในศูนย์อพยพ ซิสเตอร์ได้มีโอกาสไปเยี่ยมคริสตชนลาว ที่อยู่ในศู นย์อพยพ เพื่อให้กําลังใจแก่ สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 38


เขา และใด้ช่วยเหลือเขาตามความสามารถ ปีเดียวกัน ซิสเตอร์ 2 คน ที่สอนหนังสืออยู่ที่พาน ได้ กลับมาอยู่ที่เชียงราย เพราะมีซิสเตอร์จากราชบุรีมาช่วยวัดพาน ในปี ค.ศ.1990 ซิสเตอร์ทั้งหมด จํานวน 7 คนได้ย้ายจากเชียงรายมาช่วยงานที่วัดนักบุญเทเรซา อ.เวียงปุาเปูา ปัจจุบัน - ในประเทศไทยซิสเตอร์เรามีทั้งหมด 16 คน มี 2 communities เวียงปุาเปูา กับ แม่ ข้าวต้ม ซิสเตอร์ที่ประจําที่เวียงปุาเปูามี 8 คนเป็นชาว อีตาลี 2 คน ชาวอินเดีย 2 คน ชาวพม่า 1 คน และชาวไทย 3 คนซิสเตอร์ที่ประจําที่แม่ข้าวต้ม มี 6 คน เป็นชาวอีตาลี 1 คน เป็นชาว อินเดีย 1 คน เป็นชาวพม่า 1 คน และเป็นชาวไทย 3 คน และเรายังมีซิสเตอร์ที่เป็นคนไทยอีก 2 คนที่ ตอนนี้กําลังศึกษาต่อที่ต่างประเทศ หนึ่งคนไปศึกษาที่ กรุงโรม ประเทศ อีตาลี และอีกหนึ่งคน ที่ เมืองแมงกาโล ประเทศอินเดียเรามีโนวิส 3 คน กําลังฝึกหัดอยู่ที่ประเทศอินเดีย โปสตุลัน 3 คน และ ผู้สนใจ 2 คน อยู่ที่ประเทศไทยคณะของเรามีขั้นตอนการฝึกอบรมผู้ฝึกหัดของเรา อธิบายสั้น ๆ ดังนี้ผู้สนใจอย่างน้อย 1 ปีโปสตุลันท์1 ปีครึ่งโนวิส 2 ปี ปฏิญาณตนครั้งแรก… ปฏิญาณตนตลอด ชีพ

สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 39


สมณสาสน์น่ารู้:สาส์นจากสมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 16 ถึงบรรดาสามเณร โดย .. แว่นดำ ในโอกาสฉลองนักบุญลูกา ผู้นิพนธ์พระวรสาร ในวันที่ 18 ตุลาคม 2553 พระองค์มีสาส์น ถึงบรรดาสามเณรพระองค์ได้ตรัสว่า พระสงฆ์เป็นที่ต้องการมากกว่าในอดีตที่ผ่านมา แม้ว่าใน ปัจจุบันผู้คนจะคิดแตกต่างออกไปว่า การเป็นพระสงฆ์คาทอลิกไม่ได้เป็นการทํางานสําหรับอนาคต แต่เป็นมากกว่าอดีตที่ผ่านมา เพื่อนรัก พวกท่านได้ตัดสินใจเข้าบ้านเณร และเตรียมตัวเป็นพระสงฆ์ ในพระศาสนจักรคาทอลิก พร้อมกับความคิดและจุดมุ่งหมาย พวกท่านได้ตัดสินใจในสิ่งที่ดี เนื่องจากว่าผู้คนมีความต้องการพระเป็นเจ้าอยู่เสมอ แม้จะอยู่ในยุคที่ถูกครอบงําไปด้วยโลกวัตถุและ โลกาภิวัตน์ “พวกเขาต้องการพระเจ้า” การเป็นพระสงฆ์มีความหมาย โลกเราต้องการพระสงฆ์ ผู้นําวิญญาณ วันนี้ พรุ่งนี้ และตลอดไป จนกว่าจะสิน้ โลก คนที่เป็นสงฆ์ มิได้เป็นสงฆ์ โดยตนเอง “หมู่คณะอัครสาวก” ที่เป็นการรวมกันของผู้ปรารถนาที่จะรับใช้พระศาสนจักรที่ยิ่งใหญ่เป็นสิ่งจําเป็น ในสาส์นฉบับนี้พระองค์ได้กล่าวถึงองค์ประกอบที่สําคัญโดยอาศัยประสบการณ์ช่วงที่ พระองค์อยู่ในบ้านเณร ซึ่งมีหลายประการใครก็ตามที่อยากเป็นสงฆ์ อันดับแรกและเป็นสิ่งสําคัญยิ่ง จะต้องเป็น “คนของพระเป็นเจ้า”โดยใช้คํากล่าวของนักบุญเปาโล (1 ทธ 6:11) สิ่งสําคัญถัดมา คือ ในหนทางสู่การเป็นพระสงฆ์ และ ระหว่างชีวิตพระสงฆ์ของเราคือความสัมพันธ์ส่วนตัวของเรากับ พระเป็นเจ้าในองค์พระเยซูคริสตเจ้า “พระสงฆ์ไม่ได้เป็นผู้นําขององค์กร” ที่เขาพยายามผดุงไว้ เข้า เป็นผู้นําสาส์นของพระเจ้าสู่ประชากรของพระองค์ เขาต้องนําประชากรไปหาพระองค์ ที่สําคัญยิ่ง พวกท่านต้องเรียนรู้ที่จะดํารงอยู่ให้ใกล้ชิดกับพระเป็นเจ้า โดยการ “ภาวนาอย่างสม่ําเสมอ”พระเป็น เจ้ามิใช่เป็นเพียงคําพูด ในศีลศักดิ์สิทธิ์พระองค์ทรงประทานพระองค์เองแก่เรา โดยผ่านทางสิ่งที่เห็น ได้ทางกาย ศีลมหาสนิท จึงเป็นความสัมพันธ์กับพระเป็นเจ้า และเป็นวิถีทางชีวิตของเรา การได้ เฉลิมฉลองอย่างศรัทธา และไดพบปะกับพระคริสตเจ้านี้ ควรเป็นจุดศูนย์กลางของแต่ละวันของเรา ศีลอภัยบาปเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ที่สําคัญเช่นกัน ซึ่งสอนให้ข้าพเจ้าให้มองเห็นตัวข้าเจ้าอย่างที่ พระเป็นเจ้าทรงเห็นข้าพเจ้า และยังทําให้ข้าพเจ้าซื่อสัตย์ต่อตัวข้าพเจ้าเอง ศีลอภัยบาปนําข้าพเจ้าสู่ ความถ่อมตน ซึ่งข้าพเจ้าตระหนักรู้ว่า พระเป็นเจ้าทรงอภัยเราอยู่เสมอ และปราศจากความเพิกเฉย ที่อาจนําเราให้เลิกความพยายามไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ และการพัฒนาตนเอง ยิ่งกว่านั้น ด้วยการ ปล่อยให้พระองค์อภัยข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเรียนรู้ที่จะอภัยให้แก่ผู้อื่น ด้วยการยอมรับความอ่อนแอของ ข้าพเจ้าเอง และความเข้าใจถึงข้อบกพร่องของผู้อื่น ข้าพเจ้าขอให้ท่าน ดํารงไว้ซึ่งความศรัทธานิยม ซึ่งมีควาแตกต่างจากธรรมประเพณี แต่ยังคงไว้ซึ่ง ความเหมือนกัน เนื่องจากว่า หัวใจของมนุษย์ มีหนึ่งเดียวกันและเหมือนกันหมด ด้วยความศรัทธา สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 40


นี้ ความเชื่อจะเข้าสู่หัวใจมนุษย์ ศรัทธานิยมบางอย่างต้องทําให้บริสุทธิ์และสร้างจุดรวมใหม่ แต่นั่นก็ ยังเป็นคุณค่าของความรักของเรา และทําให้เรากลับเป็น “ประชากรของพระเป็นเจ้าเหนือสิ่งอื่นใด เวลาที่อยู่บ้านเณรของท่านเป็นเวลาแห่งการศึกษา ความเชื่อคริสตชนมีแง่มุมด้านเหตุผลและด้าน สติปัญญา ขอให้หมั่นศึกษาเล่าเรียน ใช้เวลาอย่างดีในการศึกษาเล่าเรียน แม้ว่าบางครั้งวิชาต่างๆที่ กําลังเรียน ดูเหมือนว่าจะไม่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติชีวิตคริสตชน และหน้าที่เชิงอภิบาลของท่านสัก เท่าไร สิ่งสําคัญมิใช่อยู่ที่การเรียนเพื่อให้มีประโยชน์ แต่เพื่อความเข้าใจและเห็นคุณค่าโครงสร้าง ภายในของความเชื่อโดยรวม เพื่อจะเป็นคําตอบต่อคําถามต่างๆ สําหรับคนอื่น และเพื่อที่จะเข้าใจที่ จะตอบที่เป็นคําตอบที่แท้จริง จึงเป็นสิ่งสําคัญที่จะมีความรู้ให้ถ่องแท้ ถึงพระคัมภีร์ทั้งหมด ปีที่อยู่ในบ้านเณรของพวกท่าน ควรเป็นช่วงเวลาแห่งการเจริญเติบโตไปสู่ความเป็นผู้มีวุฒิ ภาวะแบบมนุษย์ เป็นสิ่งสําคัญสําหรับพระสงฆ์ โดยมีความสมดุลที่ถูกต้องของดวงใจและจิ ต เหตุผล และความรู้สึก ร่างกายและวิญญาณ และกลับเป็นหนึ่งเดียวกันแบบมนุษย์ ต้องยอมรับว่าสิ่งที่เกิด ในปัจจุบันนั้น เป็นสิ่งที่ทําให้เราควรที่จะเฝูาระวังให้มากขึ้น และเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพื่อตรวจสอบตัว เรา เฉพาะพระพักตร์พระเจ้า ในขณะที่เรากําลังก้าวไปสู่สมณเพศ เป็นสิ่งจําเป็นในการเดินทางของ ท่านที่จะฝึกฝนฤทธิ์กุศลพื้นฐานแบบมนุษย์ ด้วยสายตาที่จับจ้องอยู่ในพระเป็นเจ้า และปล่อยให้ พระองค์ชําระล้างท่านให้สะอาดอยู่เสมอจุดเริ่มต้นของกระแสเรียกพระสงฆ์ ทุกวันนี้ มีหลากหลาย การตัดสินใจเป็นพระสงฆ์ในปัจจุบันบ่อยครั้งได้เริ่มชัดเจนขึ้น เมื่อคนหนึ่งได้ผ่านสังคมโลกแล้ว ซึ่งมี การพบปะกันกับพระคริสตเจ้าและกับพระศาสนจักร มีประสบการฝุายจิตและมีความยินดีในการรับใช้ ความเชื่อ ซึ่งอาจทําให้ในบ้านเณรมีความแตกต่างกัน ในบ้านเณรจึงเป็นช่วงเวลาที่ท่านจะได้เรียนรู้ ไปพร้อมกับคนอื่น และเรียนรู้จากคนอื่น ในชีวติ หมู่คณะ ซึ่งบางครั้งอาจลําบากบ้าง ท่านควรเรียนรู้ ด้วยใจกว้างและด้วยความอดทน มิใช่เพียงแต่ทนต่อผู้อื่นเท่านั้น แต่ต้องเพิ่มคุณค่าแก่กันและกันด้วย การทําเช่นนี้ท่านแต่ละคนจะสามารถแบ่งบันพระพรของตนแก่ทุกคน เหมือนกับทุกคนรับใช้พระศาสน จักเดียวกัน “โรงเรียนแห่งความอดทน” จึงเป็นส่วนสําคัญของช่วงเวลาการศึกษาในบ้านเณร ซึ่ง แท้จริงแล้ว เป็นการยอมรับซึ่งกันและกัน และเข้าใจซึ่งกันและกันในความเป็นหนึ่งเดียวกันแห่งพระ วรกายของพระคริสตเจ้า ในสาส์นพระองค์ได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นห่วงและการให้ความสําคัญของพระองค์ท่าน แก่บรรดาสามเณรที่กําลังเดินทางสู่การเป็นพระสงฆ์ในอนาคต ซึ่งพระองค์ได้ให้แบบอย่างและแนว ทางการดําเนินชีวิตของเราสามเณรทั้งหลาย เพื่อการเป็นสงฆ์ไม่ใช่เป็นเพื่อตนเองแต่เป็นเพื่อผู้อื่น เช่นเดียวกับองค์พระคริสตเจ้าที่ลงมาเพื่อไถ่มนุษย์ทั้งมวลให้รอดจากบาป

สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 41


รวมความประทับใจ .... ค่ำยแพร่ธรรมสัญจร ปี 2011

สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 42

สารแสงธรรม แทรกพิเศษ รวมความประทับใจค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011


รวมความประทับใจใน“หัวใจธรรมทูต” .. ค่ายแพร่ธรรมสัญจร ปี 2011 หลังจากที่ได้ไปร่วมค่ายแพร่ธรรมสัญจรที่เขตวัดอมก๋อย ทําให้ได้รู้จักเขตวัดอมก๋อยมาก ขึ้น และได้รับประสบการณ์ที่ดีๆจากคุณพ่อเจ้าวัด ที่ได้ให้คําแนะนําต่างๆ รวมถึงชาวบ้านที่ผมได้ไป ใช้ชีวิตอยู่ด้วย ที่สําคัญทําให้ผมได้รื้อฟื้นวัฒนธรรมประเพณีการใช้ชีวิตแบบปาเกอะญอโดยเฉพาะ ความมีน้ําใจและความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย เพราะชาวปาเกอะญอส่วนใหญ่ในสมัยใหม่ ไม่ค่อย มีวัตนธรรมแบบนี้แล้ว จึงทําให้ผมรู้ว่าควรที่จะมีการรักษาวัฒนธรรมนี้ต่อไป เมื่อได้ไปสัมผัสชีวิตทํา ให้ผมได้รู้จักกับชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเด็กๆหรือผู้ใหญ่และรักในการสวดภาวนามากขึ้นเพราะชาวบ้าน ที่นั่นเขาต้องการที่อยากให้พระสงฆ์ ครูคําสอน บราเดอร์ ไปเยี่ยมพวกเขาเพื่อพวกเขาจะได้มีกําลังใจ การไปร่วมค่ายครั้งนี้ทําให้ผมได้รับแรงบันดาลใจที่อยากจะก้าวหน้าต่อไปในเส้นทางแห่งชีวิตกระแส เรียกพระสงฆ์นี้มากขึ้นด้วย ความประทับใจ ประทับใจคุณพ่อเจ้าวัดที่ เป็นแบบอย่างที่ดี และความเสียสละ ของคุณพ่อ ท่านได้อุทิศตนเองอย่าง ถึงที่สุดทั้งแรงกายแรงใจเพื่องาน ของพระเจ้าและพระศาสนจักร ประทับใจชาวบ้าน ที่พวกเขามีความ ศรัทธา ถึงแม้พระสงฆ์นักบวชจะไม่ ค่อยได้ไปเยี่ยม แต่พวกเขาก็ยังมี ความเชื่อที่มั่นคงและมีความเป็นปึก แผน ประทับใจที่ชาวบ้านได้ให้การ ต้อนรับอย่างดี พวกเขามีน้ําใจและการใช้ชีวิตที่มีความสุขแบบเรียบๆง่ายๆ บรรยากาศที่นั้นด้วย

และรวมถึงสภาพ

สามเณรอภินันนท์ สมศักดิ์ ปรศ.2 สังฆมณฑลเชียงใหม่ สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 43


สิ่งที่ได้รับจากการร่วมค่ายสัมผัสชีวิตธรรมทูต จากการไปร่วมค่ายแพร่ธรรมสัญจร ณ เขตวัดอมก๋อย ทําให้ได้รู้จักถึงวิถีชีวิตของชาวบ้าน เขตวัดอมก๋อย ซึ่งเป็นเขตวัดที่ผมได้ไปในครั้งเป็นครั้งแรก และทําให้ผมได้รับประสบการณ์ที่ดีๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นจากคุณพ่อเจ้าวัดหรือจากชาวบ้าน ที่ได้ให้การต้อนรับอย่างดีและอบอุ่น รวมทั้งให้ความช่วยเหลือ สิ่งที่ผมทําไม่เป็น หรือยังไม่รู้ ผมเชื่อว่าสิ่งที่ได้รับนี้สามารถที่จะนํามาใช้ ในชีวิตประจําวันได้และทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้รับนี้ ผมเชื่อว่ามาจากพระเป็นเจ้าโดยผ่านทางความเชื่อ เพราะเรามีความเชื่อเหมือนกัน จึงทําให้ได้พบกับคริสตชนในเขตวัดอมก๋อย และสิ่งที่สําคัญและได้รับ จากการไปค่ายในครั้งนี้คือการเห็นแบบอย่างของคริสตชนและชาวบ้านทุกคนที่มีความเป็นอยู่ที่เรียบ ง่ายโดยที่ไม่จําเป็นที่ต้องมีเครื่องมือสื่อสาร หรือเทคโนโลยีเขาก็สามารถดําเนินชีวิตอยู่ได้ ซึ่งทําให้ผม รู้ว่าเครื่องมือสื่อสารหรือเทคโนโลยีนั้นไม่ใช่สิ่งที่จําเป็นที่สุดในชีวิต ถ้าไม่มีเราก็สามารถดําเนินชีวิต อยู่ได้ ความประทับใจ สิ่งที่ผมประทับใจคือ ความเชื่อของชาวบ้านที่มีต่อพระเป็นเจ้า ซึ่งเห็นได้จากสถานที่ทํางาน ของชาวบ้าน เช่น ที่นาของชาวบ้านทุกคนที่เป็นคริสตชน จะมีไม้การเขนปักไว้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า ทุกคนได้ฝากกิจการงานทุกอย่างนั้นไว้กับพระเป็นเจ้า แม้เขาจะได้ผลผลิตที่น้อยหรือมากทุกคนก็เชื่อ ว่าเป็นสิ่งที่พระเจ้าได้ประทานให้ จากสิ่งที่ประทับใจนี้ทําให้ผมได้มองย้อนกับมาถึงตนเองที่มีความ เชื่อในฐานะศิษย์ที่ติดตามพระเยซูคริสตเจ้า ผมได้มีความเชื่อมากน้อยแค่ไหนต่อพระเป็นเจ้า สามเณรสุภชัย คีรีวัฒนสกุล ปรศ.1 สังฆมณฑลเชียงใหม่

สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 44


ประสบการณ์สัมผัสชีวิตกับชาวอมก๋อย

เมื่อวันที่ 16 – 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมค่ายแพร่ธรรม สัญจร ซึ่งปีนี้ได้จัดขึ้นที่ อําเภอ อมก๋อย จ. เชียงใหม่ ประสบการณ์ตลอดระยะเวลาที่ อยู่ที่อมก๋อย ทําให้ผมได้ไตร่ตรองและได้ ข้อคิดหลายอย่าง ซึ่งประสบการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ไม่สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาด หรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป สิ่งที่ผมรู้สึก ประทับใจตั้งแต่ครั้งแรกที่ขึ้นมาถึงอมก๋อย คือ รอยยิ้มที่ชาวบ้านได้มอบให้ ซึ่งทําให้ ผมรู้สึกผ่อนคลายและอยากเข้าไปคุยกับ ชาวบ้าน หมู่บ้านที่ผมได้เข้าไปสัมผัสชีวิต กินนอนกับชาวบ้านก็คือ หมู่บ้านแม่หลอง หลวง เป็นหมู่บ้านที่มีคริสตชนไม่มากนัก ประมาณ 12 ครอบครัว และในหมู่บ้านนี้ก็ยงั มีชาวบ้านที่นับถือผี ศาสนาพุทธ รวมทั้ง คริสต์เตียนด้วย แต่สิ่งที่ทําให้ผมรู้สึกประหลาดใจก็คือ ชาวบ้านทุกคนอยู่ร่วมกันอย่าง สันติและเป็นเพื่อน พี่น้องกัน ช่วยเหลือกันและกัน มีอะไรก็แบ่งปันกัน สิ่งเหล่านี้ทําให้ ผมมองเห็นถึงความรักของพระเจ้าที่ซ่อนอยู่ภายในจิตใจของพวกเขา สิ่งที่ผมรู้สึก ประทับใจอีกอย่างหนึ่ง คือ เวลารับประทานอาหาร ชาวบ้านที่นี่จะมีวัฒนธรรมการ รับประทานอาหารที่น่าอบอุ่น เพราะว่าเวลารับประทานอาหาร สมาชิกทุกคนใน ครอบครัวก็จะมานั่งรับประทานอาหารพร้อมหน้าพร้อมตากัน มีเวลาพูดคุยกันซึ่ง ปัจจุบันนี้สิ่งเหล่านี้ หาได้ไม่มากนักในชีวิตของคนเมือง การมีเวลาอยู่ด้วยกันและทาน ข้าวด้วยกันในครอบครัว ถือเป็นสิ่งที่ดีและเป็นสิ่งที่อบอุ่นอย่างมาก และอาหารการกินที่ พวกเขารับประทานกัน ก็ไม่ได้มีอะไรมาก ส่วนใหญ่แล้วเป็นพวกผัก ไข่เจียว ซึ่งเป็น อาหารง่าย ๆ แต่บางมื้อก็มีเนื้อรับประทานบ้าง ซึ่งเนื้อเหล่านี้พ่อหลวงซึ่งเป็นหัวหน้า สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 45


ครอบครัวจะเป็นคนออกไปล่าสัตว์ ผมคิดว่านี่เป็นบรรยากาศที่อบอุ่นที่ครอบครัว จําเป็นต้องมี อีกสิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกประทับใจมากที่สุด คือ ความเชื่อ ความศรัทธาของ พวกเขา หมู่บ้านของพวกเขาอยู่ห่างไกลจากตัวเมืองพอสมควร และใช้เวลานานเป็น เดือน ๆ กว่าคุณพ่อจะขึ้นมาถวายมิสซาให้ แต่สิ่งที่ทําให้ความเชื่อของพวกเขายังคง เข้มแข็งมั่นคงได้ก็คือ พวกเขามีชีวิตอยู่เพื่อกันและกัน เป็นแบบอย่างให้แก่กันและกัน และสวดภาวนาอยู่เสมอ เนื่องจากเดือนนี้เป็นเดือนของแม่พระ ชาวบ้านจะรวมตัวกันไป สวดตามบ้านของครอบครัว ที่เป็นคริสตชน ผมมอง เหตุการณ์เหล่านี้แล้วก็ทํา ให้คิดว่า พระเป็นเจ้านั้น ยิ่งใหญ่ ความรักของ พระองค์เหลือที่จะพรรณนา ได้ พระองค์ทรงรักทุกคนไม่ ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลแค่ไหน พระองค์จะทรงอยู่เคียงข้าง และเป็นพละกําลังกับเราเสมอ ขอเพียงให้เรามีความเชื่อ ความวางใจและมั่นใจใน พระองค์ สามเณรอวิรุทธ์ พันธ์ขาว ปรศ.2 อัครสังฆณฑลกรุงเทพฯ

สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 46


ความประทับใจค่ายสัมผัสชีวิตธรรมทูต ในการได้มีโอกาสเข้าร่วมค่ายสัมผัสชีวิตธรรมฑูตในครั้งนี้ผมมีความรู้สึกประทับใจในหลายๆเรื่องซึ่ง ในปีนี้พวกเราได้ไปลงในพื้นที่ต.อมก๋อยจ.เชียงใหม่ซึ่งเราทราบว่าเป็นพื้นที่ที่ห่างไกลและมีความอยาก ลําบากในการเดินทางแต่พวกเราก็ไม่ย่อท้อแม้แต่น้อยแม้อากาศในวันที่ออกเดินทางจะมีฝนตกลงมา จนทําให้สภาพหนทางไม่ดีแต่ด้วยความตั้งใจและแแรงมุ่งมั้นของเราจึงทําให้เราถึงที่หมายอย่าง ปลอดภัย ในเขตอ.อมก๋อยนี้มีคุณพ่อเพียงหนึ่งท่านที่มีหน้าที่ดูแลคริสตชนทีน่ ี้ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 5 เขต ซึ่งถ้า คิดดูแล้วจะเห็นว่าอยังขาดแคลนพระสงฆ์ที่จะมาทํางานอีกมาก จากการที่ได้ฟังประสบการณ์ที่คุณ พ่อได้แบ่งปันและได้มีโอกาสร่วมงานอภิบาลของคุณพ่อ ผมรู้สึกประทับใจในการทําหน้าที่สงฆ์ของ คุณพ่อ ที่ท่านได้ทุ่มแทในการทํางานรับใช้พระและเพื่อนมนุษย์อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ใช้เวลาและ โอการอย่างคุ่มค่าที่สุดในการไปเยี่ยมเยียนและถวายมิสซาให้สัตบุรุษอย่างศรัทธา ผมรู้สึกได้ถึงสี หน้าของบรรดาสัตบุรุษในเวลาที่คุณพ่อมาเยี่ยมพวกเขา พวกเขาเป็นสุขและดีใจมาก ทั้งเวลาเช้าเย็น พวกเขาจะมารวมกันเพื่อภาวนาพูดคุยกันในเรื่องต่างๆ ตั้งแต่เด็กเล็กๆจนจึงผู้สูงอายุ ผมสัมผัสได้ จึงความเชื่อความศรัทธาของชาวบ้านที่แม้ว่าคุณพ่อจะไม่ได้อยู่กับเขาตลอดเพียงแค่นานๆมาครั้ง พวกเขาก็ยังคงรักษาความเชื่อไว้ได้อย่างมั่นคง ผมจึงรู้สึกประทับใจในคุณพ่อที่ทํางานในเขต อ.อม ก๋อย นี้ สําหรับหมู่บ้านที่ผมผมผมไป อยู่นั้น ชื่อว่าหมู่บ้าน "พะ เบี้ยว" มีคริสตชนประมาณ 20 ครอบครัว ในหมู่บ้านมี โรงเรียนเล็กๆของรัฐบาลมี นักเรียนทั้งหมดประมาณ 65 คน เป็นเผ่า ปากากะญอ ผม ได้รับการต้อนรับจากชาวบ้าน ที่นี้เป็นอย่างดี และได้ฟักที่ บ้านหัวหน้าคริสตชน ลืมบอก ไปว่าไม่รู้ว่าเป็นโชคดีหรือโชค ร้ายก็ไม่ทราบที่ผมได้มาอยู่ที่หมู่บ้านนี้เพียงคนเดียวซึ่งเพื่อนๆของผมเขาได้อยู่ด้วยกันเป็นคู่ๆ ตอน แรกก็รู้สึกเหงาบ้างพระไม่มีเพื่อนอยู่ด้วย และที่ลําบากไปมากกว่านั้นก็คือ ชาวบ้านส่วนใหญ่พูด สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 47


ภาษาไทยไม่ได้และฟังก็ไม่ค่อยรู้เรื่องอีก เวลาผมต้องการจะบอกอะไรก็ต้องทําท่าทางบุ้ยไบ้ ดูตลกๆ ชาวบ้านเขาก็ยิ้มๆด้วยความเอ็นดู เป็นความประทับใจที่ผมเข้าใจถึงมิตรภาพที่ไร้พรหมแดนจริงๆ ประเพณีและวัฒนธรรมของชาวปกาเกอะญอนั้นก็น่าประทับใจเช่นกัน ที่หมู่บ้านที่ผมไปอยู่นี้ยังคง รักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้อยู่ ผมจึงสัมผัสได้ถึงวัฒนธรรมของพวกเขาได้อย่างแท้จริง ชาวปากา กะญอจะให้เกียรติกับผู้เป็นแขกของพวกเขาอย่างมาก ในหลายๆเรื่องเช่นเรื่องอาหารการกินก็มักจะ ให้แขกกินก่อนและสมาชิกในครอบครัวต้องทานทีหลังเป็นการให้เกียรติแขกและอื่นๆ การกินการอยู่ ของพวกเขาก็ดูเรียบง่ายส่วนมากจะเป็นพวกผักหรือน้ําพริกเป็นส่วนใหญ่นานหรือเวลามีงานฉลองที หนึงถึงจะได้ล้มหมูหรือวัวทําเป็นอาหาร ดังนั้นชาวบ้านจึงใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายจริงๆแบบอยู่กับ ธรรมชาติ สรุปสุดท้ายนี้จากการที่ผมได้มีประสบการณ์สัมผัสค่ายชีวิตธรรมฑูตในปีนี้ ทําให้ผมมีแรงปันดาลใจใน การที่จะเจริญชีวิตตามกระแสเรียกของการเป็นพระสงฆ์มากขึ้น เพราะว่า ยังมีผู้คนอีกมากมายที่ ต้องการพระสงฆ์ไปช่วยบริการเรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ พระวาจา และด้านคําสอนให้กับพวกเขาอีกมาก พวกเขายังคงรอคอยให้คุณพ่อมาถวานมิสซาให้พวกเขาทุกๆวัน ถึงแม้ว่าบางครั้งในชีวิตของผม อาจจะดูว่าทางๆนี้ไม่มีคุณค่าอะไรในสังคมที่ทันสมัยในปัจจุบัน แต่ยังมีพี่น้องของเราอีกไม่น้อยที่ กําลังรอคอยให้คุณพ่อมาถวายมิสซาให้กับพวกเขาจากสถานการณ์ตรงนี้เองจึงทําให้ผมมีแรงและ กําลังใจต่อไปในการที่จะดําเนินชีวิตในการติดตามองค์พระเยซูคริสตเจ้าต่อไปสุดท้า ยนี้ผมต้อง ขอขอบคุณ คุณอธิการ และผู้ให้การอบรมทุกท่านที่ได้เปิดโอกาสให้ผมเข้าร่วมกิจกรรมค่ายสัมผัส ชีวิตธรรมทูตในครั้งนี้ ขอบคุณเพื่อนๆพี่ๆที่เข้าร่วมค่ายในครั้งนี้ร่วมกัน ขอบคุณ คุณพ่อและ ชาวบ้านหมู่บ้านพะเบี้ยวทุกคนที่ให้การต้อนรับและประสบการณ์ต่างๆที่น่าประทับใจกับผม ทําให้ผม เข้าใจชีวิตและงานที่แท้จริงของการเป็นพระสงฆ์ ขอให้พระเจ้าทรงอํานวยพรมายังทุกท่านตลอดไป ให้งานของพระองค์จะได้สําเร็จไปตามพระประสงค์ของพระองค์ผ่านทางตัวพวกลูกทั้งหลายด้วย เทอญ. สามเณรกิตติศักดิ์ กิจส้าเร็จ ปรศ.2 อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 48


ความประทับใจจากการร่วมค่ายที่อมก๋อย สิ่งแรกที่ผมได้สัมผัสเกี่ยวกับการได้เดินทางไปร่วมค่ายคือโอกาสที่พระได้ให้กับผมแม้ว่าจะ เป็นครั้งแรกที่ผมได้เดินทางไปร่วมค่ายในครั้งนี้ เมื่อเดินทางไปค่ายผมรู้สึกว่าตื่นเต้นและสนุกเพราะ อย่างน้อยก็มีพี่ เพื่อนและน้อง จากแสงธรรมไปด้วยกัน ผมสัมผัสได้ถึงเปูาหมายที่เหมือนกันของ พวกเราคือ การไปร่วมสัมผัสกับชีวิตของการเป็นธรรมฑูตที่อมก๋อย ช่วงเวลาที่เราได้เตรียมตัว รับ ฟังโอวาททั้งจากคุณ พ่ออธิการที่บ้านเณร จากคุณพ่อบุญเลิศ และคุณพ่อสุธี เกี่ยวกับการวางตัว และสิ่งต่างที่เราควร จะเรียนรู้จากทั้งกลุ่ม เพื่อนที่ไปด้วยกันและ ทั้งจากชาวบ้านที่เรา จะได้ไปร่วมดําเนิน ชีวิตระยะเวลาที่อยู่ที่ นั้น ผมจึงอยากที่จะ แบ่งปันเกี่ยวกับสิ่งที่ผมได้รับดังนี้ ความประทับใจสมาชิกที่ไปร่วมค่าย ในระยะเวลาที่ผมอยู่ที่ค่ายครั้งนี้ทั้งคุณพ่อ รุ่นพี่ เพื่อนและรุ่น น้องที่ไปด้วยกันแม้ภายนอกมีความแตกต่างกัน มาจากต่างมิสซัง ต่างครอบครัว และแตกต่าง วัฒนธรรม แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนได้แสดงออกเหมือนกันคือความเป็นแสงธรรม แสงสว่างที่ส่องแสงแห่ง การเป็นประจักษ์พยานถึงพระเยซูเจ้าและความเป็นเอกลักษณ์ที่ของความเป็นสามเณร แบ่งปัน แนะนําและช่วยเหลือกันและกัน เป็นหนึ่งเดียวในความแตกต่างจริงๆ ความประทับใจคุณพ่อและสมาชิกที่อยู่ศูนย์อมก๋อย ทุกคนเมื่อไปถึงสิ่งที่เห็นเป็นสิ่งแรกคือ รอยยิ้มและการต้อนรับที่อบอุ่นเป็นกันเองแม้จะเป็นครั้งแรกที่ได้พบกัน ในความรู้สึกของผม เหมือนกับว่าผมเดินทางมาเยี่ยมครอบครัวหรือญาติพี่น้องของผม ให้การดูแลเหมือนกับพวกเรา ทั้งหมดเป็นญาติมิตรจริงๆ ผมเชื่อแน่ว่าสิ่งที่ทําให้ผมได้สัมผัสกับความรู้สึกนี่เป็นเพราะความเชื่อที่ ทําให้เรียนรู้ถึงความเป็นหนึ่งเดียวในความรักต่อพระเยซูเจ้า ทุกคนเห็นพระเยซูเจ้าในตัวของกันและ กัน สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 49


ความประทับใจที่มีต่อชาวบ้านราชา ผมสารภาพว่างแม้ว่าช่วงเวลาของการอยู่ค่ายจะจบ ลงแต่ความรู้สึกของผมยังเหมือนว่าเมื่อวานนี้เองที่ผมเพิ่งกลับจากค่าย ผมรู้สึกมีความสุขที่ได้ไปอยู่ ที่นั่นแม้ว่าจะเป็นระยะเวลาในช่วงสั้นๆ ชาวบ้านให้ความอบอุ่นและไมตรีจิตที่ดีกับผมและเพื่อน ดีใจ และกระตือรือร้นในการทําสิ่งต่างๆ แม้จะมีความยากลําบากในบางเรื่องเช่น ความไม่สะดวกสบายแต่ ก็ไม่ได้เป็นปัญหากับตัวผมเลยกลับทําให้ผมได้รับรู้และเรียนรู้ถึงความเรียบง่ายสมถะของชาวบ้าน พอเพียงในสิ่งที่มีอยู่ ทําให้ผมได้กลับมามองดชีวิตของตนว่าผมเป็นเณรที่เรียบง่ายสมถะมากน้อยแค่ ไหนในพระพรที่พระเป็นเจ้าเรียกให้มาเป็นเณร แม้ว่าจะพูดภาษาของชาวบ้านที่นั่นไม่ได้แต่รอยยิ้ม ของชาวบ้านที่นั่น ทําให้ผมรู้ว่าพวกเขา สามเณรทองแดง แก้วประกอบ ปรศ.2 สังฆมณฑลอุบลราชธานี ประสบการณ์ที่รับจาการร่วมค่ายสัมผัสชีวิตธรรมทูต

ครั้งนี้เป็นครั้งที่ผมได้มีโอกาสได้มาร่วมค่ายสัมผัสชีวิตธรรมฑูตแต่แตกต่างกันตรงที่ครั้งนี้มา อีกสถานที่หนึ่งเท่านั้นแต่ความรู้สึกที่ได้รับสําหรับผมนั้นยังเป็นกําลังใจต่อกระแสเรียกและชีวิตเณร ผม การมาค่ายครั้งนี้ยังเป็นทั้ง เวลาและโอกาสที่ได้หลายประการต่อชีวิตของผม

สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 50


ค่ายครั้งนี้เป็นช่วงเวลาที่ผมได้สัมผัสและเรียนรู้ถึงกระแสเรียกของผม สัมผัสกับความรัก จากชีวิตของเพื่อนพี่น้องที่ผมได้ไปอยู่ด้วยที่บ้านแม่หลองหลวง เป็นเวลาที่ผมได้สัมผัสกับความรัก ของพระเป็นเจ้าจากงานที่ผมได้กระทําแม้ว่าจะมีความลําบากและเหนื่อยบ้างแต่สุดท้ายงานที่ได้ทําก็ ได้สอนผมในเรื่องต่างเช่น ความรับผิดชอบ การวางแผน ความเป็นหนึ่งเดียวกับผู้อื่นและเข้าใจผู้อื่น ฯลฯ แม้จะเป็นงานที่ยากแต่ผมก็สามารถที่จะทําสําเร็จ ผมเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้เป็นพระพรและพระหรรษ ทานที่พระเป็นทรงประทานให้กับผมและเพื่อนทุกคนที่ไปร่วมค่ายในครั้งนี้ ทําให้ผมได้รับข้อคิดว่าหาก มีความเชื่อแล้วทุกอย่างที่ยากก็สามารถพ้นผ่านไปได้เพราะพระเจ้าทรงดูแลและช่วยเหลืออยู่ ตลอดเวลา และตลอดไป อีกประการหนึ่งที่ผมได้รับคือ โอกาสที่ได้เรียนรู้ถึงความรักและเปูาหมายของการเป็นเณร เพื่อเตรียมตัวที่จะเป็นพระสงฆ์ในอนาคต แบบอย่างหนึ่งทําให้ผมได้รับคือคุณพ่อที่ทํางานที่นั่นท่านมี ความเสียสละทุกอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสะดวกสบาย สมถะเรียบง่าย อยู่ได้กับชาวบ้าน เป็น ทั้งผู้นําทางวิญญาณและผู้นําทางด้านการเป็นอย่างที่ดี ตามแบบอย่างผู้ที่คุณพ่อเชื่อคือพระเยซูเจ้า ผมเกิดคําถามเพื่อไตร่ตรองตัวเองว่า ในอนาคตเมื่อผมเป็นพระสงฆ์ผมจะต้องเลียบนแบบพระเยซูเจ้า ให้มาก แม้จะเป็นเรื่องที่ยากแต่เป็นสิ่งที่ท้าทายที่ผมจะต้องทําให้ได้ในชีวิตของผู้รับการอบรมเพื่อ เตรียมตัวเป็นสงฆ์หรือผู้อภิบาลในอนาคต ผมคิดว่าประสบการณ์ครั้งนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ผมเตือนตัวเองถึงชีวิตของผม เมื่ออยู่ที่นั่น เหมือนกับการที่ผมได้สัมผัสถึงจุดเริ่มต้นและชีวิตและครอบครัวของผมแต่แตกต่างกันที่วัฒนธรรม พ่อแม่ที่ดูแลผมกับเพื่อนใจดีมากทําอาหารให้ผมกิน เหมือนกับครอบครัวของผม ทุกคนในครอบครัว เป็นกันเอง ผมเชื่อแน่ว่านอกเหนือจากการที่พวกเขารู้ว่าผมเป็นบราเดอร์ที่ไปสัมผัสชีวิต พวกเขาคง คิดว่าผมเป็นสมาชิกในครอบครัวคนหนึ่งจริง ๆ รู้สึกอบอุ่นและเหมือนบ้านตัวเองจริงๆ ผมจะนําสิ่ง ที่ผมสัมผัสชีวิตที่นั่นมาแบ่งปันและประยุกต์ใช้ในชีวิตเณรของผม ขอบพระคุณพระเจ้าและสมาชิก ค่ายทุกคนที่ทําให้ผมได้รับประสบการณ์และความรักที่ได้รับจากการร่วมค่ายในครั้งนี้ครับ สามเณรชัยเฉลิม สุทธิ ปรศ.2อัครสังฆมณฑลท่าแร่ – หนองแสง

สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 51


ครั้งนี้ที่...อมก๋อย ถ้าความสมบูรณ์ของการเดินทาง คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่างทาง จุดหมาย ปลายทางอาจไม่ใช่ค้าตอบสุดท้ายเสมอไป บ่อยครั้งที่เรื่องราวระหว่างทางกลายเป็น คําตอบให้กับชีวิต ทั้งที่ไม่เคยตั้งคําถามหรือให้ความสนใจกับสิ่งที่กําลังจะเกิดขึ้น แต่มัน กลับมีคุณค่าและช่วยเติมเต็มชีวิตในส่วนที่ขาดให้ สมบูรณ์มากขึ้น การร่วมเข้าเป็นหนึ่งในจํานวน สมาชิกของค่ายสัมผัสชีวิตธรรมทูต 2011 จึงไม่ใช่ เรื่องยากลําบากที่จะตัดสินใจแต่อย่างใด เพราะผม มักจะคิดเสมอว่า ทุกครั้งที่ก้าวเท้าออกจากที่ที่ เคยอยู่ นั่นก็หมายความว่า ชีวิตพร้อมที่จะ ต้อนรับสิ่งใหม่ ๆ ยิ่งกว่านั้น การเดินทางยัง เปรียบได้กับการ “ออกจากตนเอง” ไปสู่ผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิง่ “บุคคลที่เราไม่เคยรู้จัก” 17 – 23 ตุลาคม 2011 เป็นระยะเวลาที่ผมได้ ปรับเปลี่ยนชีวิตให้เป็นหนึ่งเดียวกับชาวบ้าน ณ หมู่บ้านห้วยน้ําผึง้ ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ในปุาใหญ่ มีภูเขาหลายสิบลูก ล้อมรอบ ใช้ระยะเวลาในการเดินทางด้วยเท้าเป็นเวลานานกว่า 4-5 ชั่วโมง หมู่บ้าน ห้วยน้ําผึง้ อันเป็นจุดหมายปลายทางที่ผมกําลังจะไปให้ถึงนั้นอยู่ที่ไหน? ณ เวลานั้น ผม ไม่ต้องการคําตอบ เนื่องจากว่าได้ตนเองปูอนคําถามนี้มาหลายครั้งแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ คําตอบสักที เวลาล่วงเลยไปมากแล้ว แสงแดดเริ่มอ่อนแรง ดวงอาทิตย์กําลังจะลาลับ ขอบฟูา เด็กๆ ส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าว เสียงกระดิ่งดังมาแต่ไกลเป็นสัญญาณบอกให้รู้ว่า ข้างหน้านั่นคือหมู่บ้าน ใจผมเริ่มมีกําลังที่จะเดินต่อไปเพื่อที่จะพบปะกับเพื่อนพี่น้องที่นั่น กิจวัตร ประจําวันตลอดระยะเวลาที่อยู่ในหมู่บ้าน ทุก ๆ เช้าต้องตื่นแต่เช้าตรู่พร้อมกับเจ้าของ บ้าน เพื่อว่าจะไม่เป็นภาระให้กับพวกเขาในการจัดเตรียมสํารับ และออกเดินทางไป ทํางานที่ไร่ บางวันก็เข้าปุาสัมผัสชีวิตการหาของปุาแบบชาวบ้าน หรือไม่ก็ร่วมสนุกกับ สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 52


เด็ก ๆ ในโรงเรียนประจําหมู่บ้าน ตกเย็นก็กลับเข้าบ้าน และรวมพลสวดสายประคําตาม บ้านต่างๆ เนื่องด้วยเดือนนี้เป็นเดือนแม่พระ ชาวบ้านที่นี่บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า พวก เขาไม่เคยสวดสายประคําตามบ้านมาก่อน และไม่เคยมีประเพณีเช่นนี้ การมาของ บรา เดอร์ในครั้งนี้จึงเป็นโอกาสอันดีที่พวกเขาจะได้รู้จักวิธีการสรรเสริญพระในอีกรูปแบบ ใหม่ ชาวบ้านที่นี่ไม่มีไฟฟูาใช้ ไม่มีร้านค้าที่ใหญ่โต ไม่มีสถานบันเทิงใดๆ มีเพียงแต่ ธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ผมจึงได้สัมผัสกับความสงบภายในจิตใจมากพอสมควร มีเวลาคิด มีเวลาเงียบ คริสตชนคาทอลิกมีทั้งหมด 6 ครอบครัว พวกเขาอยู่ท่ามกลางเพื่อนพี่น้อง ต่างศาสนา แต่ละศาสนาต่างก็มีผู้นําศาสนาของตน มีเพียงคาทอลิกเท่านั้นที่รอคอยการ มาเยี่ยมเยียนของคุณพ่อเจ้าอาวาสซึ่งจะขึ้นมาเพียงปีละ 1 ครั้ง อย่างมีความหวังความ เป็นจริงของชีวิตชาวบ้าน พวกเขาไม่ได้เรียกร้องอะไรมากนัก เขามีความสุขในแบบที่เขา เป็น และในสิ่งที่เขามี ส่วนตัวผมเอง ผมตั้งใจที่จะไม่หาข้อตั้งใจก่อนการมาสัมผัสชีวิต ที่นี่ ใบสมัครเข้าร่วมค่ายของผมจึงไม่มีคําตอบใด ๆ ในส่วนของคําถามที่ถามถึงข้อตั้งใจ หรือแรงจูงใจที่อยากจะมาร่วมค่ายในครั้งนี้ ผมต้องการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ ๆ โดยเริ่มจาก ศูนย์ ผมเริ่มเข้าใจตัวเองมากขึ้น ผมรับรู้ถึงความต้องการของคนอื่น บางเวลาอาจดู เหมือนว่าไม่ได้ทําอะไรมากนัก แต่ในความรู้สึกของชาวบ้านที่นี่ โดยเฉพาะ คริสตชน คาทอลิกนั้น พวกเขารู้สึกดีใจ และอุ่นใจที่เห็นพวกเรามาเยี่ยมเยียนเขา เราเป็นเสมือน ผู้นําศาสนา เป็นผู้แทนคริสตชนที่นี่ พวกเขาไม่รู้สึกว่าตนโดดเดี่ยวอีกต่อไป สิ่งที่เกิดขึ้น นี้กําลังสะท้อนอะไรบางอย่าง พระเจ้าได้ทรงจัดเตรียมสิ่งต่าง ๆ ไว้สําหรับแต่ละคนตาม ความเหมาะสม ข้อคิดและข้อตั้งใจบางอย่างของผมกําลังเกิดขึ้นตามมาทันทีที่โครงการ ดีดีเช่นนี้กําลังจะสิ้นสุดลง

สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 53


ขอขอบพระคุณพระเจ้า สําหรับพระพรตลอดระยะเวลา ที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับชาวบ้านห้วยน้​้าผึ้ง ขอบคุณพี่น้องสัตบุรุษห้วยน้​้าผึ้งผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น“คุณครูคนใหม่”ของผมทุกคน ขอขอบคุณคุณพ่ออธิการ และคณะผู้ให้การอบรมบ้านเณรใหญ่ทุกท่าน ขอบคุณพี่น้องสามเณรแสงธรรม และสัตบุรุษทุกคนที่มีส่วนร่วมและช่วยให้โครงการนี้สําเร็จไปได้ด้วยดี โดยเฉพาะน้อง ๆ สมาชิกชาวค่ายฯ ทั้ง 6 ชีวิต ที่ร่วมเดินทางไปด้วยกัน ขอขอบคุณเป็นพิเศษ คุณพ่อบุญเลิศ สร้างกุศลในพสุธา ที่เป็นทั้งคุณพ่อที่ปรึกษาและเป็นแบบอย่างของธรรมทูตที่แท้จริงให้กับพวกเราทุกคน

“ในพระองค์มีความรอดครบบริบูรณ์” จากใจ ...... ประธานค่าย 2011

สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 54


สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 55


สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 56


สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 57


สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 58


สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 59


สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 60


สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 61


สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 62


ก่อนปิด.. ปก : (ฉบับส่งท้ายปีการศึกษา 2011)

โดย .. บก.สารแสงธรรม

สารแสงธรรม สมาชิกครอบครัวแสงธรรม และทุก ๆ คน เดินทางมาถึงช่วงสุดท้ายของปี การศึกษา 2011 ... ปีแห่งความรักของพระเจ้าที่เราผ่านสารพัดเหตุการณ์ทั้งดีมีคุณค่า และน่าจดจํา หรือทั้งทุกข์ เศร้า และไม่อยากหวนคิดถึง ... ขอบพระคุณ ... ในความรักของพระเจ้าที่ให้พวกเรา ผ่านอีกหนึ่งปีนี้มาได้ สารแสงธรรม ... ขอขอบคุณ ขอขอบคุณ .. คุณพ่ออธิการสถาบันแสงธรรม คณะผู้ให้การอบรม เป็นพิเศษ คุณพ่อบุญเลิศ สร้างกุศลในพสุธา ... ที่ปรึกษา (มหัศจรรย์) ... สําหรับ “กําลังใจ” และ คําแนะนํา สําหรับพวกเราเสมอ ขอขอบคุณ .. บร.กรณ์ (ที่ปรึกษาสารแสงธรรม) บร.อติชาติ (ประธานชมรมอภิบาลฯ) .. สําหรับการติดตาม และถามไถ่ในบางครั้งที่ขาดหาย ... ขอขอบคุณ .. กองบรรณาธิการ (บร.ประภาส,บร.เอกพงษ์,บร.อวิรุทธิ์,บร.วธัญญู) สําหรับ งานเขียนอันสืบเนื่องจากประสบการณ์ และการศึกษามาอย่างดี ... รวมทั้งภาพประกอบ และการ ทํารูปเล่มสารแสงธรรมอันสวยงาม ลงตัว ในทุกฉบับ ขอขอบคุณ .. สมาชิกบ้านแสงธรรม ที่ร่วมดําเนินงานอภิบาล ซึ่งเกิดผลมั่นคง และยืน นาน เป็นประสบการณ์ที่เราสัมผัส รับรู้ได้ ... ขอบคุณสําหรับการเป็นแสงแห่งความหวังท่ามกลาง โลก ในภาวะวิกฤติมหาอุทกภัยที่ผ่านมา ขอขอบคุณ ... กันและกัน ที่ยังอยู่ ร่วมเดินในเส้นทางสายนี้ และจะก้าวต่อไปด้วยกัน .. จนถึงที่สุด ขอบคุณ .. จากใจจริง และขอให้ความรักของพระเจ้าคงอยู่กับทุกคนเสมอ .. ตราบนานเท่านาน ขอบคุณ.. ด้วยจริงใจ .. แล้วพบกันใหม่ในปีการศึกษาหน้า

สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 63


สาร..แสงธรรม ฉบับที่3/2011 และแทรกพิเศษค่ายแพร่ธรรมสัญจร 2011 64


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.