Sample papa you're crazy

Page 1


Papa You’re Crazy William Saroyan

ฟ้ากว้างทางไกล วิลเลียม ซาโรยัน : เขียน วิภาดา กิตติโกวิท : แปล


หนังสือของโครงการหนังสือเพื่อสังคม ลำ�ดับที่ 1 วรรณกรรมเยาวชน “ฟ้ากว้างทางไกล” Papa You’re Crazy William Saroyan : เขียน วิภาดา กิตติโกวิท : แปล Copyright© For ‘Papa You’re Crazy’ Copyright© By William Saroyan Thai language translation copyright© 2014 By Book For Society Foundation (BOSOF) Copyright arranged with : The Estate of William Saroyan in care of Peters, Fraser and Dunlop Ltd. in association with Pollinger Limited, Drury House, 34-43 Russell Street, London WC2B 5HA through Tuttle-Mori Agency Co.,Ltd. All rights reserved บทกล่าวนำ� วิทยากร เชียงกูล บรรณาธิการ เนตร รามแก้ว ออกแบบปก เอกรัตน์ สุจารักษ์ รูปเล่ม อมรชัย ศิริประเสริฐ พิสูจน์อักษร มธุรวรรณ โลกวิทย์ สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2557© มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม และ สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ลิขสิทธิ์ภาษาไทย© วิภาดา กิตติโกวิท พ.ศ. 2557 เจ้าของ มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม และ สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บรรณาธิการบริหาร เนตร รามแก้ว บรรณาธิการจัดการ นิฤมล ลี้สธนกุล ที่ปรึกษา วิทยากร เชียงกูล, เดชา ศิริภัทร, พระไพศาล วิสาโล, นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ, นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน, นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์, สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, ไชยันต์ รัชชกูล, บำ�รุง บุญปัญญา, ภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์, ต่อพงศ์ เสลานนท์, นพพรรณ พรหมศรี, กรรณิการ์ ควรขจร, เสกสรร เรืองมนัสสุทธิ, ปรีดา ชัยเชื้อ สำ�นักงาน มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม เลขที่ 979 อาคารเอส.เอ็ม ทาวเวอร์ ชั้น 34 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400 โทรศัพท์ 081-699-0050 ผู้จัดการทั่วไป ปูชิดา ชิตรัตถา ผู้จัดการฝ่ายการตลาดเพื่อสังคม ธิดามาส เต็มสาร จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม เลขที่ 463/1 ซอยรามคำ�แหง 39 (เทพลีลา 1) แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310 โทรศัพท์ 094-135-6313 อีเมล : bookforsociety@gmail.com สามารถติดตามความเคลื่อนไหวหนังสือดีมีคุณค่าของ “โครงการหนังสือเพื่อสังคม” โดยมูลนิธิหนังสือเพื่อสังคมได้ที่ Facebook : โครงการหนังสือเพื่อสังคม Book For Society Project https://www.facebook.com/bookforsociety Twitter : @bookforsociety พิมพ์ที่ พิมพ์ดี 30/2 หมู่ 1 (ถ. เจษฎาวิถี), ต.โคกขาม อ.เมือง, สมุทรสาคร 74000 โทรศัพท์ 02-401-9401-7 องค์กร หน่วยงาน สถาบัน หรือกลุ่มบุคคลที่ต้องการสั่งซื้อจำ�นวนมากในราคาพิเศษ กรุณาติดต่อที่อีเมล : bookforsociety@gmail.com หรือโทรศัพท์ 081-699-0050 อนุญาตให้จัดทำ�เป็นหนังสือเสียงเพื่อห้องสมุดคนตาบอด และผู้พิการทางสื่อสิ่งพิมพ์แห่งชาติ หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยกระดาษถนอมสายตา พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2557


วิลเลียม ซาโรยัน นักเขียนเพื่อมนุษยธรรม

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

วิลเลียม ซาโรยัน (ค.ศ. 1908-1981) เป็นนักเขียนชาวอเมริกัน เชื้อสายอาร์เมเนียน รุ่นเดียวกับ เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ (ค.ศ. 1898-1961) จอห์น สไตน์เบ็ค (ค.ศ. 1902-1968) และ วิลเลียม โฟล์กเนอร์ (ค.ศ. 18971962) แต่นกั วิจารณ์วรรณกรรมให้ความส�ำคัญเขาน้อยกว่านักเขียนอเมริกนั ทั้ง 3 คนนั้น (ทั้ง 3 คน ได้ทั้งรางวัลพูลิตเซอร์และรางวัลโนเบลสาขา วรรณกรรม) ซาโรยัน มาจากครอบครัวคนกลุม่ น้อย เป็นผูอ้ พยพชาวอาร์เมเนียน ที่ยากจน ได้รับการศึกษาเป็นทางการไม่จบชั้นมัธยมปลาย (พ่อตายตั้งแต่ ยังเล็ก เขาต้องไปอยู่โรงเลี้ยงเด็กก�ำพร้าเกือบ 6 ปี กว่าแม่จะมีงานท�ำที่มี รายได้พอจะรับลูกหลายคนกลับมาอยูด่ ว้ ยกันได้ เขาฝึกอ่านหนังสือและเขียน หนังสือด้วยตัวเอง) เขาท�ำงานสารพัดอย่าง ตั้งแต่ขายหนังสือพิมพ์ไปจนถึง พนักงานบริษัทโทรเลข เขาเขียนทั้งเรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร ชีวประวัติ และความทรงจ�ำ ไว้จ�ำนวนมาก งานเขียนส่วนใหญ่มาจากประสบการณ์ชีวิต ของผู้อพยพจากต่างชาติในสหรัฐฯ ยุคเศรษฐกิจตกต�่ำครั้งใหญ่ ทศวรรษ 1930 ท�ำให้ต่อมาเขาเลี้ยงตัวเองและครอบครัวด้วยการเป็นนักเขียนอาชีพ รวมทั้ ง ได้ เ ดิ น ทางไปยุ โรป เขี ย นหนั ง สื อ เรื่ อ งเล่ า ชี วิ ต แนวสมจริ ง ของ คนอเมริกันรายได้ต�่ำ ซึ่งคือคนส่วนใหญ่ในยุคนั้น จนได้รับการยอมรับและ ประสบความส�ำเร็จมากพอสมควร


ซาโรยันผลิตงานเขียนอย่างสมำ�่ เสมอจนถึงช่วงวัยชรา ก่อนทีเ่ ขาจะ เสียชีวิตเมื่อปี 1981 ในวัย 72 ปีเศษ มีงานที่พิมพ์แล้ว 60 เล่ม และที่ยัง ไม่ได้พิมพ์อีกมาก งานของเขาช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นที่นิยมลดลง เพราะ เขายังเขียนวรรณกรรมแนวประทับใจหรืออารมณ์อ่อนไหว ที่คนรุ่นหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 เห็นว่าเป็นสไตล์เก่าเกินไป อย่างไรก็ตามในยุคหลังจาก ที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว ได้มีผู้สนใจกลับไปอ่านและวิจารณ์หรือกล่าวถึงงาน ของเขาเพิ่มขึ้น เพราะงานเขามีลักษณะเฉพาะตัว เช่น ความกระตือรือร้นต่อ การมีชีวิตอยู่ ความรักในเพื่อนมนุษย์ มีการแปลงานเขียนของเขาออกไป หลายภาษา รวมทั้งในเมืองไทยเอง หนังสือนวนิยายเรื่อง ‘The Human Comedy’ มัทนี เกษกมล แปลและเรียบเรียงโดยใช้ชื่อว่า “ความสุข (แห่งชีวิต)” พิมพ์ครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 โดย คลังสมุด “ดาวฤกษ์” และเข้าใจว่าพิมพ์ซ�้ำอีกหลายครั้ง แสดงว่าผู้อ่านชาวไทยชอบงานของเขา เรือ่ งทีซ่ าโรยันเขียนมักเป็นเรือ่ งเกีย่ วกับเรือ่ งราวของชีวติ คนธรรมดา ทีเ่ ขียนเป็นเรือ่ งเล่าแบบเรียบ ๆ แต่สวยงาม เดินเรือ่ งด้วยบทสนทนาเสียมาก แต่มีเรื่องราวรายละเอียดเกี่ยวกับอุปนิสัย ความคิดของตัวละครที่น่าติดตาม แทรกข้อคิดในแนวมนุษยนิยม ความรัก ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การมองชีวิต และโลกอย่างพยายามเข้าใจความเป็นไปของธรรมชาติ ซาโรยันต่างจาก นักเขียนที่สะท้อนสภาพสังคมที่คนจนโดนนายทุน นายธนาคาร เอาเปรียบ แบบ จอห์น สไตน์เบ็ค (ค.ศ. 1902-1968) ในเรื่อง “ผลพวงแห่งความคับ แค้น” ‘The Grapes of Wrath’ เขามองโลกในแง่ดี มีความหวัง แม้ตัว ละครจะจนหรือยากล�ำบาก ก็ไม่เศร้ามาก แต่สะท้อนความจริงอย่างตรงไป ตรงมาในอีกแง่หนึ่ง ผมคิดว่าคนไทยชอบงานของเขาส่วนหนึ่งเพราะเขามี


พื้นเพมาจากประเทศยากจนที่คนมีวัฒนธรรมความเป็นมนุษย์ที่เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่แบบคนชนบทคล้าย ๆ คนไทย นั ก วิ จ ารณ์ บ างคนมองว่ า ซาโรยั น ได้ รั บ อิ ท ธิ พ ลแนวคิ ด เรื่ อ ง ปัจเจกชนนิยมจากนักเขียนความเรียงและนักปรัชญาอเมริกันรุ่นก่อนอย่าง ราล์ฟ วอลโด อีเมอร์สัน (ค.ศ. 1803-1882) และ เฮนรี่ เดวิด ธอโร (ค.ศ. 1817-1862) บางที เขาน่ า จะได้ รั บ อิ ท ธิ พ ลจากครอบครั ว ชาว อาร์เมเนียนทีม่ วี ฒ ั นธรรมและเชือ่ ในเรือ่ งพระเจ้า เรือ่ งคุณธรรม เขาพยายาม จะปรับตัวเป็นชาวอเมริกันในความหมายดั้งเดิมคือ ผู้มาจากดินแดนต่าง ๆ ทีร่ กั เสรีภาพและประชาธิปไตย เป็นตัวของตัวเอง แม้ซาโรยันจะไม่ได้มคี วาม คิดทางการเมืองสังคมแบบพวกฝ่ายก้าวหน้าในยุคนั้น ซึ่งเป็นยุคเศรษฐกิจ ทุนนิยมตกต�่ำ คนจนล�ำบากกันมาก แต่เขาก็เป็นคนเห็นใจคน รักความ เป็นธรรม รักชีวิตเรียบง่ายแบบธรรมชาติ ไม่ได้หลงใหลไปกับความมั่งคั่ง ในระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมแบบคนอเมริกันทั่ว ๆ ไป ซาโรยันค่อนข้างเป็นตัวของตัวเอง เขาเขียนตอบโต้นักวิจารณ์ วรรณกรรมทีว่ จิ ารณ์งานเขียนของเขาอย่างรุนแรงว่าไม่เข้าใจงานของเขาดีพอ เขาปฏิเสธรางวัลพูลติ เซอร์ โดยอ้างว่า ลัทธิพาณิชย์นยิ มไม่มสี ทิ ธิท์ จี่ ะมาตัดสิน งานศิลปะ เขาขัดแย้งกับทีมงานฮอลลีวู้ด ผู้ซื้อลิขสิทธิ์เรื่อง ‘The Human Comedy’ ไปสร้างหนัง และเคยไปท�ำงานเขียนบทภาพยนตร์ให้คนอื่น โดยไม่ประสบความส�ำเร็จ เขาใช้ชีวิตแบบศิลปินเสรีในยุคนั้น กินเหล้า เล่นการพนัน เจ้าชู้ เขาแต่งงานตอนอายุ 30 กว่า กับผู้หญิงเชื้อสายยุโรป อายุ 17 ปี มีลูกด้วยกัน 2 คน หย่าร้างกันไประยะหนึ่ง กลับมาแต่งงานใหม่ แล้วหย่าร้างเป็นหนที่ 2


งานเขี ย นของเขาเป็ น งานศิ ล ปะที่ ส ะท้ อ นจิ น ตนาการแบบ ‘Magic Realism’ “สมจริงแบบเพ้อฝัน” สะท้อนความเป็นนักมนุษยนิยม มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน เย้ยหยันบ้าง แต่ไม่รุนแรงก้าวร้าว ใช้ภาษา ที่ค่อนข้างลื่นไหล นวนิยายเรือ่ ง ‘The Human Comedy’ (1943) แม้ตวั ละครหลัก จะเป็นเยาวชนและเด็ก แต่เป็นหนังสือนวนิยายส�ำหรับผูอ้ า่ นผูใ้ หญ่ทวั่ ไปด้วย เนื้อหาหลักเป็นเรื่องเศร้า “โฮเมอร์” เด็กส่งโทรเลขอายุ 14 ปี ผู้ต้องรู้สึก สะเทือนใจทุกครั้งที่ต้องเป็นคนน�ำโทรเลขข่าวการตายของทหารอเมริกันใน สงครามโลกครั้งที่ 2 ไปส่งที่บ้านพ่อแม่ของผู้ตาย และในตอนท้ายเรื่องเป็น ข่าวการตายของพีช่ ายเขาเอง ซาโรยันตัง้ ชือ่ นวนิยายเรือ่ งนีว้ า่ “สุขนาฏกรรม ของมนุษย์” แม้จะเป็นเรื่องเศร้าที่คนต้องไปตายในสงคราม แต่เขามองเรื่อง ความตายที่เกิดขึ้นอย่างเป็นเรื่องธรรมดาในชีวิตของมนุษย์ ซึ่งมีทั้งช่วงสุข และช่วงเศร้าปะปนกัน เขาไม่ถึงกับยกย่องการตายของทหารเยี่ยงวีรบุรุษ แม้จะภูมิใจในความเป็นชาวอเมริกันอยู่ในที และไม่ได้ประณามความรุนแรง ของสงครามแบบตรง ๆ เขามักใส่ความคิดเข้าไปในบทสนทนาของตัวละคร ต่าง ๆ แต่ก็ท�ำได้อย่างแนบเนียน น่าฟัง มีหลายตอนที่คนคัดไปเป็นค�ำคม (Quotation) ได้ นีอ่ าจจะเป็นการเขียนนวนิยายสไตล์เก่า แต่กม็ เี รือ่ งราวและ การใช้บทสนทนาแบบที่คนจริง ๆ เขาพูดกัน ส่วนเรื่อง ‘Papa You're Crazy’ (1957) เป็นเรื่องเล่าความ สัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกชายแบบสนุก ๆ มองจากสายตาของเด็กช่างคิด เป็น เรื่องเล่าชีวิตประจ�ำวันธรรมดา บทสนทนาเป็นการเล่นค�ำ เล่นความคิดมาก แต่ก็แทรกความคิดเห็นต่อชีวิตและโลกแบบพวกเสรีนิยม มนุษยธรรมนิยม ซึ่งคงจะเป็นทัศนะของซาโรยัน จากประสบการณ์ของตัวเขาเอง ที่ไม่ชอบ


ระบบโรงเรียนที่จ�ำกัดเสรีภาพและจินตนาการ แต่ชอบเรียนรู้จากการสังเกต ธรรมชาติและประสบการณ์จริงมากกว่า ผลงานอืน่ ๆ ของซาโรยัน ทีน่ กั วิจารณ์มกั พูดถึงว่าเป็นงานเด่นของ เขาคือ รวมเรื่องสั้นชื่อ ‘My Name is Aram’ (1940) ซึ่งมูลนิธิหนังสือ เพื่อสังคมเตรียมจะพิมพ์ต่อไป บทละครเรื่อง The Time of Your Life, My Heart’s in The High Lands.

วิทยากร เชียงกูล ประธานกรรมการมูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม พฤษภาคม 2557



หนังสือคลาสสิก หมายถึงอะไร

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ค�ำว่า คลาสสิก นั้น เดิมใช้เป็นค�ำคุณศัพท์ หมายถึง งานศิลปะ แบบดั้งเดิมตามแบบแผนของกรีกและโรมันยุคโบราณ ถ้าใช้กับหนังสือ หมายถึงหนังสือทีไ่ ด้รบั การยกย่องจากวงวิชาการและวรรณกรรมในประเทศ ตะวันตกว่าเป็นหนังสือดี หรือหนังสือดีชั้นเยี่ยม นับตั้งแต่วรรณกรรมกรีก และโรมันยุคโบราณเป็นต้นมา รวมทั้งเรื่องแต่ง (Fiction) งานสร้างสรรค์ เช่น บทกวี นวนิยาย ละคร ฯลฯ และที่ไม่ใช่เรื่องแต่ง (Non-Fiction) ความเรียง ประวัติศาสตร์ ความทรงจ�ำต่าง ๆ ชีวประวัติ รายงาน ฯลฯ ในภายหลัง ค�ำนีย้ งั ใช้หมายถึง หนังสือดีชนั้ เยีย่ มยุคเก่าของสังคม หรือประเทศอื่น ๆ และหรือหนังสือดีชั้นเยี่ยมยุคใหม่ เช่น ในรอบ 100 200 ปีที่ผ่านมาด้วย ที่เรียกว่า คลาสสิก - สมัยใหม่ (Modern Classic) หนังสือคลาสสิกที่เป็นที่ยกย่องกล่าวขวัญถึงมากส่วนใหญ่ยังเป็นหนังสือ ของผู้เขียนชาวตะวันตก และถือเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมตะวันตก หนังสือคลาสสิก (Classics) ในปัจจุบันมีความหมายกว้าง ๆ ถึง หนังสือทีไ่ ด้รบั การยอมรับว่าเป็นหนังสือดีชนั้ เยีย่ มทีไ่ ด้มาตรฐาน ควรถือเป็น แบบฉบับ หรือมีคณ ุ ค่าควรได้รบั การยกย่องอย่างสูง โดยคณะนักคิด นักเขียน อาจารย์ผู้สอนภาษาและวรรณกรรมในมหาวิทยาลัย คณะบรรณาธิการ นักวิจารณ์ นักเขียน นักอักษรศาสตร์ จากสถาบันหรือส�ำนักพิมพ์ มีการ คัดเลือกก�ำหนดรายชื่อหนังสือดีชั้นเยี่ยมเหล่านี้ให้นักเรียน นักศึกษาอ่าน ส�ำนักพิมพ์ทงั้ มหาวิทยาลัยและเอกชนได้จดั พิมพ์หนังสือชุดคลาสสิกเพือ่ เผย แพร่ให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปได้อ่านกัน


อาจารย์มหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ กลุ่มหนึ่งใช้ค�ำว่า Great Books (หนังสือที่ยิ่งใหญ่) และมีขบวนการ Great Books Movement ซึ่งมีฐาน อยู่ในมหาวิทยาลัยและส�ำนักพิมพ์ใหญ่ ๆ คัดเลือกพิมพ์เผยแพร่ ศึกษา ค้ น คว้ า อภิ ป ราย วิ พ ากษ์ วิ จ ารณ์ ห นั ง สื อ ดี ชั้ น เยี่ ย มเหล่ า นี้ กั น ทั้ ง ใน มหาวิทยาลัยและสมาคมนักอ่านตั้งแต่ศตวรรษที่แล้วมาอย่างต่อเนื่อง Charles Augustin Sainte - Beuve (1804-1869) นั ก วิ จ ารณ์ ว รรณกรรมชาวฝรั่ ง เศส เคยตอบค�ำถามว่ า อะไรคื อ หนั ง สื อ คลาสสิกไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1850 ว่า “คื อ หนั ง สื อ ที่ ผู ้ ป ระพั น ธ์ ท� ำ ให้ ค วามคิ ด จิ ต ใจของมนุ ษ ย์ กว้ า งไกลขึ้ น ช่ ว ยเพิ่ ม คุ ณ ค่ า และช่ ว ยให้ ค วามคิ ด จิ ต ใจของมนุ ษ ย์ ก้ า วไปข้ า งหน้ า ผู ้ ค ้ น พบความจริ ง ทางศี ล ธรรม ไม่ ใช่ แ ค่ ค วามจริ ง ทีค่ ลุมเครือ หรือหนังสือทีไ่ ด้เผยให้เห็นอารมณ์ ความรูส้ กึ ผูกพันขึน้ ในจิตใจ ที่ดูเหมือนทุกคนจะได้รู้และค้นพบ ที่ได้อธิบายความคิด การสังเกต การ สร้างสรรค์ ไม่ว่าจะในรูปแบบใด แต่ให้ทั้งความกว้างและความยิ่งใหญ่ ความประณีต ความมีเหตุผล ความมีสามัญส�ำนึก และความงามในตัวของ งานเขียนนั้นเอง หนังสือที่ได้พูดกับทุกคนในท่วงท�ำนองของผู้เขียน ท่วงท�ำนองซึง่ เป็นของทัง้ โลกด้วย ท่วงท�ำนองซึง่ มีความใหม่โดยไม่จำ� เป็น ต้องใช้ค�ำหรือส�ำนวนแบบใหม่ แต่มีลักษณะที่ร่วมยุคสมัยกับผู้อ่าน ได้ ใ นทุ ก ยุ ค สมั ย อย่ า งค่ อ นข้ า งเรี ย บง่ า ย ไม่ ว ่ า จะเป็ น งานเขี ย นใหม่ หรือเก่าก็ตาม” เขายั ง ได้ ย กค�ำพู ด ของ Johann Wolfgang von Goethe (1749-1832) นักเขียนนวนิยายคนส�ำคัญของเยอรมัน ทีเ่ อ่ยถึงแนวคิดหนังสือ


คลาสสิก ไว้ว่า “หนังสือรุ่นเก่าที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนังสือคลาสสิก ไม่ใช่ เพราะว่ามันเป็นหนังสือเก่า แต่เพราะว่าเป็นหนังสือที่ทรงพลัง มีความ สดใหม่ และมีพลานามัย” Clifton Fadiman (1904-1999) นั ก เขี ย น บรรณาธิ ก าร นั ก จั ด รายการสื่ อ วิ ท ยุ แ ละโทรทั ศ น์ ช าวอเมริ กั น มี ค วามเห็ น สนั บ สนุ น Johann Wolfgang von Goethe และเสริมว่าหนังสือคลาสสิกจะต้องมี “คุณสมบัตขิ องการเริม่ ต้นใหม่” ซึง่ หมายถึงว่า เป็นหนังสือทีเ่ ด็กและเยาวชน จะสนุกสนานชื่นชมกับมันได้ด้วย ดังตัวอย่างของนวนิยายมหากาพย์เรื่อง Iliad และ Odyssey ของโฮเมอร์ ซึง่ ถือเป็นหนังสือทีค่ นทุกวัย ทุกยุคทุกสมัย ทุกชาติวัฒนธรรมอ่านกันด้วยความเพลิดเพลิน ติดอกติดใจ Ezra Pound (1885-1972) กวีและนักวิจารณ์ชาวอเมริกัน เขียน ไว้ใน About Reading ว่า “หนังสือคลาสสิกได้รับการยอมรับว่าคลาสสิก ไม่ใช่เพราะเป็น หนังสือทีเ่ ข้ากับกฎโครงสร้างอย่างหนึง่ อย่างใด หรือเข้ากับค�ำนิยามอย่าง หนึ่งอย่างใด (ซึ่งผู้เขียนเองอาจไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย) มันเป็นหนังสือ คลาสสิกได้ เพราะมันมีความคิดใหม่ (Freshness) ที่เป็นธรรมชาติ เป็น นิรันดร์ อย่างไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้” Michael Dirda นักวิจารณ์ชาวอเมริกันผู้ได้รางวัลพูลิตเซอร์ ในปี 1933 เห็นด้วยกับเอซรา ปาวนด์ ในเรื่องความมีพลังชีวิตชีวาของ


หนังสือคลาสสิก เขาเขียนว่า “หนึ่งในคุณสมบัติที่แท้จริงของหนังสือคลาสสิกคือ มันเป็น หนั ง สื อ ที่ เราสามารถอ่ า นได้ ซ�้ ำ แล้ ว ซ�้ ำ อี ก โดยได้ รั บ ความพึ ง พอใจ ที่ลึกซึ้งขึ้น” Mark Van Doren กวี และอาจารย์มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ผู้เป็น ก�ำลังส�ำคัญคนหนึ่งในขบวนการส่งเสริมการศึกษาเผยแพร่หนังสือยิ่งใหญ่ Great Books Movement เคยกล่าวว่า “หนังสือคลาสสิกคือ หนังสือ ที่คงพิมพ์ได้ครั้งแล้วครั้งเล่า” ซึ่งหมายถึงหนังสือที่ผู้อ่านเห็นว่าดีและ บอกต่อ ๆ กัน คนอืน่ ๆ รวมทัง้ คนรุน่ หลังสนใจจะซือ้ มาอ่านกันอย่างต่อเนือ่ ง หลายชั่วอายุคน อย่างไรก็ตาม มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจที่ ค�ำนึงถึงการตลาดของส�ำนักพิมพ์ด้วยเช่นกัน เช่น ส�ำนักพิมพ์ Penguin พิมพ์หนังสือชุด Penguin Classic ขายในราคาต�่ำอย่างแพร่หลายใน ทศวรรษ 1930 เนือ่ งจาก Alanlane ผูก้ อ่ ตัง้ ส�ำนักพิมพ์พบว่า เขาไม่สามารถ หาซื้อหนังสือดี ๆ อ่านที่สถานีรถไฟขณะที่เขาก�ำลังจะเดินทางได้ เขาจึงคิด ว่าส�ำนักพิมพ์ของเขาควรจะพิมพ์หนังสือนิยายร่วมสมัยที่มีคุณภาพดีใน ราคาต�่ำที่สามารถวางขายตามร้านเล็ก ๆ ในสถานีรถไฟ ร้านขายบุหรี่ หรือ ร้านค้าปลีกทั่วไปได้ ภายในปีแรก ส�ำนักพิมพ์ Penguin สามารถขายหนังสือ นวนิยายปกอ่อนของนักเขียนร่วมสมัยในยุคนั้น เช่น


เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์1, อกาธา คริสตี2้ และอังเดร มัลโรว์3 ได้ถึง 3 ล้านเล่ม เขายังพิมพ์งานแปลของ E. V. Rieu เรื่อง Odyssey ของโฮเมอร์ จากภาษา กรีกเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งในตอนนั้นไม่มีใครคิดเลยว่าในเวลาต่อมาจะกลาย เป็นหนังสือขายดีที่ขายได้หลายล้านเล่ม ขบวนการหนั ง สื อ ที่ ยิ่ ง ใหญ่ (Great Books Movement) ที่เป็นขบวนการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยสหรัฐฯ กลุ่มหนึ่งในศตวรรษ ทีแ่ ล้ว เชือ่ ว่าการได้อา่ นและอภิปรายถกเถียงกันในหนังสือดีชนั้ เยีย่ มของโลก คือการสร้างพลเมืองแบบเสรีประชาธิปไตยที่มีวัฒนธรรม พวกเขาคัดเลือก ก�ำหนดรายชื่อหนังสือยิ่งใหญ่ จัดเป็นหลักสูตรสอนในมหาวิทยาลัยบางแห่ง ติดต่อให้ส�ำนักพิมพ์จัดเผยแพร่ จัดตั้งสมาคมนักอ่าน จัดกิจกรรมพูดคุยกัน การอ่านและการถกเถียงกันแบบโสเครติส คือการตั้งค�ำถามเพื่อฝึกการคิด วิเคราะห์ หาค�ำตอบ พวกเขาเห็นว่าทั้งเนื้อหาสาระในหนังสือที่ยิ่งใหญ่และ วิธีการอ่านและอภิปรายถกเถียงกันคือการเรียนรู้ที่ส�ำคัญของมนุษย์

1  Hemingway, Ernest (1989-1961) นักเขียนนวนิยายชาวอเมริกัน ผู้เขียนเรื่อง เกี่ยวกับสงครามและการใช้ชีวิตกลางแจ้ง ด้วยท่วงทำ�นองการเขียนแบบกระชับ เรียบง่าย ได้รางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม 2  Christie, Agatha (1890-1976) นักเขียนนวนิยายสืบสวนสตรีชาวอังกฤษ 3  Malraux, Andre (1901-1976) นักเขียนนวนิยาย นักประวัติศาสตร์ และนักการเมือง ชาวฝรั่งเศส เคยอาสาสมัครไปช่วยฝ่ายสหรัฐฯ สู้รบในสงครามกลางเมืองสเปน และต่อต้าน ฝ่ายนาซี ในสงครามโลกครั้งที่ 2 และเคยเป็นรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมฝรั่งเศส


รายชื่อหนังสือชุดคลาสสิก รายชือ่ หนังสือคลาสสิกมีคณะบุคคลต่าง ๆ เสนอรายชือ่ , ก�ำหนดให้ นักศึกษาอ่าน หรือพิมพ์จ�ำหน่ายเป็นชุดหลายรายการด้วยกัน ชุดหนึ่งมักจะ รวมรายชื่อระหว่าง 100 - 200 ชื่อเรื่อง ส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือที่ก�ำเนิดใน อารยธรรมตะวันตก ตั้งแต่กรีก โรมัน มาจนถึงยุโรป (อิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน อังกฤษ รัสเซีย ฯลฯ) สหรัฐอเมริกา ในระยะหลังมีผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์ วรรณคดีของโลกตะวันออก และวรรณกรรมโลกโดยเปรียบเทียบ ได้ใส่รายชื่อหนังสือคลาสสิกหรือ หนังสือดีชนั้ เยีย่ มของโลกตะวันออกจากเปอร์เซีย อินเดีย จีน ญีป่ นุ่ ฯลฯ และ หรือจากลาตินอเมริกา แอฟริกาเข้าไปด้วย แต่รายชื่อหนังสือดีของโลก ตะวันออกและโลกที่สามยังมีจ�ำนวนน้อย เนื่องจากชนชั้นน�ำผู้มีการศึกษา ของโลกตะวันตกผู้มีอิทธิพลทางวัฒนธรรมสูง ยังศึกษาและแปลวรรณกรรม ประเทศอื่น ๆ เป็นภาษาอังกฤษน้อย ซึ่งต่างจากงานที่เป็นภาษาอังกฤษ อยู่แล้วหรือภาษาในประเทศยุโรปที่มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษมากกว่า รวมทั้งภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน เยอรมัน เป็นภาษาที่คนมีการศึกษา ระดับมหาวิทยาลัยใช้กันแบบข้ามประเทศมากกว่าภาษาอื่น ๆ รายชื่อหนังสือชุดคลาสสิกฉบับต่าง ๆ มีหนังสือที่เก่าแก่มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับร่วมกันจ�ำนวนหนึ่ง แต่ก็มีบางส่วนที่ต่างออกไปแล้วแต่ภูมิหลัง จุดยืน รสนิยมของคณะผู้คัดเลือก รายชื่อหนังสือชุดเก่าๆ เช่น Great Books ที่จัดพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และสารานุกรมบริตานิกา ถูกนักอ่าน นักวิจารณ์รุ่นหลังว่าแม้จะรวมรายชื่อหนังสือดี ๆ ที่เป็นสากลอยู่บ้าง แต่ รายชื่อหนังสือส่วนใหญ่เป็นหนังสือของพวกผู้ชายแองโกลแซกซอนที่ตาย ไปแล้ว ซึง่ หลายคนมีทศั นคติแบบจารีตนิยม เหยียดผิว ดูถกู ผูห้ ญิง ฯลฯ และ


เสนอว่ารายชือ่ หนังสือยิง่ ใหญ่หรือหนังสือดีควรจะต้องรวมงานของนักเขียน ที่ไม่ใช่ชาวตะวันตก นักเขียนผู้หญิง รวมทั้งนักเขียนฝ่ายก้าวหน้าที่มี ผลงานดีแต่ไม่เป็นที่รู้จักด้วย ขบวนการเรียกร้องเผยแพร่ให้คนอ่านหนังสือยิ่งใหญ่หรือหนังสือ คลาสสิ ก เคยได้ รั บ ความนิ ย มสู ง ในสหรั ฐ ฯ และยุ โรปในศตวรรษที่ แ ล้ ว มาจนถึงยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากนั้นได้ซาลงบ้าง แต่ก็ยังเป็น ทีส่ นใจของมหาวิทยาลัย โรงเรียน ส�ำนักพิมพ์ นักเขียน และนักอ่าน ประเภท เอาจริงเอาจัง รายชือ่ หนังสือดีชนั้ เยีย่ มในโลกตะวันตกทีม่ กี ารแปลเป็นไทยดูได้จาก หนังสือ 2 เล่ม คือ 1. วิทยากร เชียงกูล หนังสือดีในรอบศตวรรษ พิมพ์โดย ส�ำนักพิมพ์ชนนิยม พิมพ์ครัง้ แรกในปี 2542 และพิมพ์ใหม่ในปีอนื่ ๆ อีก และ 2. วิทยากร เชียงกูล หนังสือดีในรอบหลายทศวรรษ พิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์ วิญญูชน ปี 2547 ทั้ง 2 เล่ม มีรายชื่อและข้อความที่แนะน�ำหนังสือ อย่างสั้น ๆ ด้วย เล่มที่ 2 รวมเอาเนื้อหาเล่ม 1 ไว้ด้วย และมีเนื้อหาเพิ่มเติม มากขึ้นหลายด้าน รวมทั้งมีรายชื่อวรรณกรรมชั้นดีของไทย, 100 หนังสือดี ที่คนไทยควรอ่าน และรายชื่อ 100 หนังสือที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน รายชื่อหนังสือคลาสสิกหรือหนังสือยิ่งใหญ่, หนังสือดีของโลกและ หนังสือดีของไทย ค้นหาได้จาก Google หรือเว็บไซต์เพื่อการค้นหาอื่น ๆ



คำ�คม

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

“หนั ง สื อ ดี ทั้ ง หลายนั้ น เหมื อ นกั น ตรงที่ มั น เป็ น เรื่ อ งจริ ง มากกว่าเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นจริง ๆ และหลังจากคุณอ่านหนังสือจบไป แล้วเล่มหนึ่ง คุณจะรู้สึกว่าเรื่องทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นกับคุณ และหลังจาก นั้ น ทุ ก อย่ า งกลายเป็ น เรื่ อ งของคุ ณ เอง ความดี แ ละความชั่ ว , ความ ปลาบปลื้มปีติ, ความส�ำนึกผิด และความโศกเศร้า, ผู้คนและสถานที่ และ สภาพภูมิอากาศ” Ernest Hemingway (1898-1961) นักเขียนนวนิยายชาวอเมริกัน

“มีบางอย่างที่พิเศษเกี่ยวกับคนซึ่งสนใจเรื่องหนังสือ พวกเขาเป็น เผ่าพันธุ์ที่มีลักษณะเฉพาะ - เป็นคนสนใจเรียนรู้, เมตตา, รอบรู้ และมี ความเป็นมนุษย์” Nathan Pine ผู้อ�ำนวยการด้านการกีฬา มหาวิทยาลัยโฮลี่ครอส


“หนังสือดี ส่วนที่ดีที่สุดซ่อนอยู่ระหว่างบรรทัด” Swedish Proverbs

“ไม่จริงที่ว่าคนเราใช้ชีวิตได้เพียงชีวิตเดียว, ถ้าเราอ่านหนังสือ, เราสามารถจะมีชีวิตได้หลายชีวิต และมีชีวิตแบบที่เราอยากมีได้มากเท่า ที่เราต้องการ” Samuel Ichiye Hayakawa (1906-1992) อาจารย์มหาวิทยาลัย และนักการเมืองชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น

“เมื่อคุณอ่านหนังสือคลาสสิก คุณไม่ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ ในหนังสือ มากไปกว่ า ที่ คุ ณ เคยเห็ น มาแล้ ว คุ ณ เห็ น ตั ว คุ ณ เองมากกว่ า ที่ คุ ณ เคย เห็นตัวคุณเองมาก่อน” Clifton Fadiman (1904-1999) นักเขียนความเรียง และนักสื่อมวลชนชาวอเมริกัน


“หนังสือที่ยิ่งใหญ่ ควรจะทิ้งประสบการณ์จ�ำนวนมากไว้ให้คุณ และท�ำให้คุณหมดเรี่ยวแรงเล็กน้อยตอนอ่านจบ คุณจะได้ใช้ชีวิตหลาย ชีวิตระหว่างที่คุณอ่านหนังสือ” William Styron (1925-2006) นักเขียนนวนิยาย และความเรียงชาวอเมริกัน



ประวัติผู้เขียน

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ผู้เขียนคือวิลเลียม ซาโรยัน (William Saroyan, 1908-1981) กวี นักเขียน และนักเขียนบทละครชาวอเมริกัน ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ ประเภทงานการละครในปี 1940 และปี 1943 ได้รางวัลออสการ์จาก บทภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากบทประพันธ์เรื่อง The Human Comedy ซึ่งได้แปลเป็นภาษาไทยแล้ว ในชื่อ “ความสุขแห่งชีวิต” โดยคุณมัทนี เกษกมล ซาโรยันเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายอาร์เมเนีย จึงเขียนถึงชีวิตของ ชาวอาร์เมเนียอพยพในแคลิฟอร์เนียไว้มากมาย งานประพันธ์หลายเรื่อง ใช้ฉากของชุมชนอาร์เมเนีย เขาได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในนักเขียน ที่โดดเด่นที่สุดในยุคกลางศตวรรษที่ 20 ซาโรยันเสียพ่อตั้งแต่อายุสามขวบ และต้องอยู่สถานเด็กก�ำพร้า ในแคลิฟอร์เนียกับพี่ชายพี่สาว ห้าปีต่อมาจึงได้กลับไปอยู่กับแม่ซึ่งมีงาน ท�ำแล้ว แต่เขายังต้องหาทางท�ำงานทุกอย่างเพื่อส่งตัวเองเรียน ซาโรยัน ตัดสินใจเป็นนักเขียนหลังจากแม่เอางานเขียนจ�ำนวนหนึ่งของพ่อให้ดู พ่อ อยากเป็นนักเขียน แต่เสียชีวิตไปก่อน งานระยะแรก ๆ ของเขาปรากฏ ในช่วงทศวรรษ 1930 ตีพิมพ์ในนิตยสารรายเดือน Overland Monthly ซาโรยั น เข้ า ประจ�ำการในกองทั พ สหรั ฐ ระหว่ า งสงครามโลก ครั้งที่สอง ปี 1942 ถูกส่งไปอยู่ลอนดอนในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของหน่วย ภาพยนตร์ และรอดจากศาลทหารมาหวุ ด หวิ ด เพราะถู ก กล่ า วหาว่ า ส่ ง เสริ ม ลั ท ธิ สั น ติ ภ าพ หรื อ ต่ อ ต้ า นสงคราม จากการเขี ย นนิ ย ายเรื่ อ ง


The Adventures of Wesley Jackson - การผจญภัยของเวสลีย์ แจ็คสัน ซาโรยันเขียนหนังสือได้เร็ว ไม่ค่อยแก้ต้นฉบับ เงินที่ได้มาหมด ไปกั บ การดื่ ม และการพนั น เขาแต่ ง งานในปี 1943 กั บ นั ก แสดงสาว แครอล มาร์คุส (Carol Marcus, 1924-2003) มีลูกชายหญิงด้วยกันสองคน ลูกชายก็คอื อารัม ซึง่ เรือ่ ง “ฟ้ากว้างทางไกล” นีเ้ ขียนให้ และต่อมาอารัมก็ได้ กลายเป็ น นั ก เขี ย นด้ ว ย ทั้ ง เขี ย นหนั ง สื อ เกี่ ย วกั บ พ่ อ ไว้ เ ล่ ม หนึ่ ง ปลาย ทศวรรษ 1940 ชีวิตสมรสพังเพราะการดื่มและการพนันของเขา เขาถูก ฟ้องหย่า ในปี 1949 แต่ปี 1951 ก็แต่งงานกันใหม่ และหย่ากันอีกครัง้ ในปี 1952 ต่อมา อาร์ตี ชอว์ (Artie Shaw) นักร้องเพลงแจ๊ซ เพื่อนสนิทของ ทั้งคู่ กล่าวว่า การที่ซาโรยันหย่าจากแครอล มาร์คุสนั้น เพราะเขาเกลียด ยิวอย่างรุนแรง และแครอลเป็นลูกครึ่งยิว ต่อมา แครอลแต่งงานใหม่ ซา โรยันถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งในวัย 72 วิลเลียม ซาโรยันท�ำงานไว้มากมาย ทั้งนิยาย เรื่องสั้น บทกวี บทละคร บทเพลง พิมพ์เป็นหนังสือกว่า 60 เล่ม งานของเขาได้รับการ แปลไปกว่ า ยี่ สิ บ ภาษาทั่ ว โลก เขาเขี ย นด้ ว ยพลังแห่งความรักในมนุษ ย์ ใจความใหญ่ ๆ มักเป็นเรื่องความใฝ่ฝัน ความหวัง ความซื่อสัตย์ วัตถุ และความส�ำเร็จนั้นไร้ค่าในสายตาเขา งานของเขาจะสะท้อนความดีงาม ในคนทุกคนและให้คุณค่าแก่ชีวิต


คำ�นำ�ผู้แปล

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

“ฟ้ากว้างทางไกล” แปลจาก “Papa You’re Crazy” ของวิลเลียม ซาโรยัน เป็นเรือ่ งราวระหว่างพ่อนักเขียน กับลูกชายวัยสิบขวบ เนือ่ งจากพ่อ แม่แยกกันอยู่ พี้ทวัยสิบขวบได้ไปอยู่กับพ่อที่บ้านพ่อ ริมหาดมาลีบู เมือง ลอสแองเจลิส แคลิฟอร์เนีย พ่อก�ำลังจะเขียนหนังสือเกี่ยวกับต�ำราอาหาร และบอกให้ลกู เขียนนิยายด้วย ลูกชายตัง้ ค�ำถามกับพ่อมากมาย พ่อลูกสนทนา กันในเรื่องโรงเรียน คน ชีวิต ความตาย อาหาร รถยนต์ งานเขียน เป็นต้น ค�ำถามค�ำตอบรวมทั้งข้อสังเกตของหนุ่มน้อยพี้ทนั้น เป็นการให้แง่คิดแฝง ปรัชญาในการใช้และการมองชีวติ ซึง่ อบอุน่ ไปด้วยความรัก ความเข้าใจ และ การมองโลกในแง่ดี “ฟ้ากว้างทางไกล” แปลไว้นานแล้วโดยคุณรัตนา รัตนดิลกชัย ฉบับ พิมพ์ครั้งแรกใช้นามปากกาว่า “นก” พิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์ทับหนังสือ ตั้งแต่ ปี 2531 ต่อมามีการพิมพ์ซ�้ำอีกหลายครั้ง แต่ก็ล้วนนานปีมาแล้ว ในครั้งนี้ ทาง “โครงการหนังสือเพื่อสังคม” โดย “มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม” เห็นว่า เป็นงานมีคณ ุ ค่าทีน่ า่ จะได้น�ำมาพิมพ์ใหม่ส�ำหรับนักอ่านรุน่ ใหม่ แต่เนือ่ งจาก ติดปัญหาลิขสิทธิ์ จึงได้ซื้อลิขสิทธิ์ และแปลใหม่ เพื่อให้สามารถเพิ่มเติมค�ำ อธิบายช่วยเสริมเนือ้ หาให้สมบูรณ์ขนึ้ ได้ การทีผ่ แู้ ปลได้ท�ำงานนีน้ นั้ เนือ่ งจาก คุณรัตนา รัตนดิลกชัย สุขภาพไม่เอื้อพอจะขัดเกลาใหม่เอง แต่ยังคงใช้ชื่อ “ฟ้ากว้างทางไกล” ตามทีค่ ณ ุ รัตนาได้ตงั้ ไว้แต่แรก เพราะวรรณกรรมเยาวชน เล่มเล็ก ๆ นีเ้ ป็นทีร่ จู้ กั และเป็นงานในดวงใจของผูอ้ า่ นชาวไทยจ�ำนวนมากมา นานแล้ว แต่หนังสือก็หายาก จึงได้ท�ำใหม่ในครั้งนี้ค่ะ


ผูแ้ ปลรักงานนี้ มีความสุขมากทีไ่ ด้แปลออกมา และเชือ่ ว่าจะให้ความ สุขแก่ผู้อ่านได้ ดังที่พี้ท หนุ่มน้อยสิบขวบกล่าวเมื่อเขาบอกพ่อว่าเขาจะเป็น นักเขียน ว่า “พ่อ เรามาเขียนแต่เรื่องที่จะท�ำให้คนได้หัวเราะกันดีกว่า ถึงแม้ เราจะไม่ได้ท�ำเงินมากนัก เพราะชีวิตจะมีอะไรดีถ้าคนเราไม่ได้หัวเราะ?”

วิภาดา กิตติโกวิท เมษายน 2014


ส�ำหรับ อารัม ซาโรยัน เมือ่ ใดก็ตามทีน่ กั เขียนเขียนอะไรบางอย่าง มักเป็นจริงทีเ่ ขาอาจเขียน เรื่องอื่นที่ก�ำลังท�ำอยู่ในขณะเขียนนั้นลงไปด้วย การเริ่มต้นของงานใหม่มัก หมายถึงการตัดสินใจของนักเขียนเกีย่ วกับสิง่ ทีจ่ ะเขียนและวิธเี ขียน การตัดสิน ใจจะเป็นครึง่ หนึง่ ของหนังสือ ส�ำหรับนักเขียนไม่วา่ จะเป็นใครก็ตาม เกินกว่า ครึ่งส�ำหรับบางคน และส�ำหรับพ่อมันคือทั้งหมด การนั่งลงจริง ๆ แล้วเขียน ไม่มีอะไรมากกว่าการตัดสินใจ แล้วนักเขียนจะท�ำได้ดี พ่อตัดสินใจเขียน หนังสือเล่มนีเ้ พราะลูกขอให้พอ่ ท�ำเมือ่ ลูกอายุ 10 ขวบในปี 1953 และเพราะ เมื่อพ่ออายุ 10 ขวบในปี 1918 นั้น ทักษะของพ่อมีไม่เท่ากับสิ่งที่พ่ออยาก บอก ในที่สุด เวลานี้พ่อได้เขียนแล้ว หรือที่จริงคือลูกนั่นเองที่เขียน ทั้งหมด ที่พ่อต้องท�ำคือระลึกถึงวัยสิบขวบของพ่อเอง คอยสังเกตวัยสิบขวบของลูก แล้วรวมทั้งสองส่วนนี้เข้าด้วยกัน คู่ไปกับวัยสี่สิบห้าของพ่อ เสียงและกิริยา ของลูกคือเนื้อหาหนังสือ สายตาของลูกคือลีลา - แน่วแน่และกระตือรือร้น ตามด้วยความคิดที่น่าทึ่ง ค�ำอุทานที่ดูถูก หรือเสียงหัวเราะที่ฟังแปลก ขณะ ทีข่ อ้ สังเกตนัน้ อาจถูก ผิด หรือทัง้ สองอย่าง หรือไม่เชิงทัง้ สองอย่าง การทุม่ เท มากเพียงนี้ลงในการเขียนธรรมดา ๆ คือสิ่งที่ง่ายที่สุดในโลกเมื่อลูกลงมือท�ำ และลูกได้ท�ำแล้ว ขอบใจและรัก วิลเลียม ซาโรยัน



สารบัญ

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

1. หนังสือ 2. ทะเล 3. ดวงจันทร์ 4. หม้อ 5. จักรยาน 6. ดาบ 7. ของเล่น 8. ดวงอาทิตย์ 9. โลก 10. ไข่ 11. กุญแจ 12. ก้อนหิน 13. เมฆ 14. เปลือกหอย 15. พระเจ้า 16. เถา 17. การเล่น 18. ม้า 19. วัชพืช 20. รถยนต์

1 5 7 11 15 19 21 25 27 29 33 37 39 41 43 45 47 51 53 55


21. ถนน 22. เรืออาร์ก 23. โรงเรียน 24. ธง 25. ดวงดาว 26. ปลา 27. ไฟ 28. คน 29. ดอกกุหลาบ 30. โบสถ์ 31. ขนมปัง 32. ภรรยา 33. เตียง 34. ชายหาด 35. รถไฟ 36. ประตู 37. ใบไม้ 38. เรือ 39. แพ 40. คันธนู 41. หัว 42. บ้าน 43. นก

57 59 63 65 67 71 75 77 81 83 85 89 91 93 97 99 103 105 109 111 115 117 119


44. ลูกบอล 45. หญ้า 46. กับดัก 47. น�้ำแข็ง 48. ดวงตา 49. รส 50. การชนะ 51. ห้อง 52. ต้นไม้ 53. ถ้วย 54. หิมะ 55. รากเหง้า 56. กิ่งก้าน 57. ลูกไม้ 58. หาเงิน 59. มนุษย์ 60. กระดูก 61. หัวใจ 62. วงกลม 63. ฝน เชิงอรรถ

123 125 127 131 135 139 143 145 147 149 153 157 163 167 169 171 175 179 183 187



1. หนังสือ

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

“สุขสันต์วนั เกิดลูก” พ่อพูดพลางดึงหนังสือเล่มหนึง่ ออกจากกระเป๋ าเสื ้อโค้ ทส่งให้ ผม “ขอบคุณครับพ่อ” ผมบอก “ผมอยากได้ อยูพ่ อดีเลย” “เดอะ โลเวอร์ จอว์”1 พ่อบอก “นิยาย - เล่มล่าสุดและเล่มสุดท้ าย ของพ่อ เอาไปเถอะ แล้ วรับงานด้ วย” ผมพลิกดูด้านนอกของ เดอะ โลเวอร์ จอว์ แล้ วเปิ ดดูหน้ าแรก และพลิกไปหน้ าสุดท้ าย เป็ นหนังสือที่สวยงามเล่มหนึง่ “งานอะไรหรื อครับ?” ผมถาม “งานเขียนนิยายสักเรื่ อง” “ผมไม่ร้ ูวา่ จะเขียนยังไงนี่ครับ” “มีแต่นกั เขียนใหญ่เท่านันที ้ ่มีสทิ ธิ์คยุ ว่ารู้” พ่อว่า “ลูกยังไม่พร้ อม ที่จะท�ำอย่างนัน” ้ “แล้ วผมจะเขียน เกี ย่ วกับ อะไรล่ะ?” “ก็ต้องตัวลูกเองสิ” “ตัวผม? แล้ วผมเป็ นใคร?” “เขียนนิยายสักเรื่ องแล้ วค้ นให้ พบ ส่วน พ่อ จะเขียนต�ำราอาหาร สักเล่ม” 1  เดอะ โลเวอร์ จอว์ - The Lower Jaw แปลตามศัพท์ว่า ขากรรไกรล่าง

1


ฟ้ากว้างทางไกล

แม่กบั น้ องสาวกลับจากซื ้อของพอดี แม่พดู กับพ่อว่า ”น่าตื่นเต้ น ใช่ไหม? แกสิบขวบแล้ ว” “ตื่นเต้ นสิ” พ่อว่า “แม่สาวน้ อยคนนี ้ก็แปดแล้ ว ผมสี่สิบห้ า คุณ ยีส่ บิ เจ็ด ไม่ร้ ูเหมือนกันว่าเราท�ำได้ อย่างไร แต่การกินคงมีสว่ นช่วยอยูบ่ ้ าง” “แน่นอน ก็แกกิน จุ ขนาดนี”้ แม่กล่าว “ตอนนีเ้ จ็ดสิบปอนด์ แล้ วนะ” “นัน่ สิ” พ่อว่า “เมื่อแรกเกิดหนักแค่เจ็ดปอนด์ ดังนัน้ โดยเฉลี่ยก็ แค่สบิ ปอนด์ตอ่ ปี จะเป็ นไรไป” พ่อว่าพลางกอดน้ องสาว “ตอนนี ้อาหารก็แพงมากด้ วย” แม่พดู “คุณคิดว่าฉันต้ องจ่ายค่า ของพวกนี ้ไปเท่าใด?” “สองดอลลาร์ ?” “ยีส่ ิ บ-สองดอลลาร์ ” “คุณควรพยายามหัดท�ำอาหาร” “พ่อก�ำลังจะเขียนต�ำราอาหาร” ผมบอกแม่ “ใช่ แล้ วพี ้ทก็ก�ำลังจะเขียนนิยาย” พ่อว่า “อ้ อ วันนี ้วันที่หนึง่ แต่ ผมเสียใจ ผมยังไม่ได้ เงินมาอีก” “แล้ วฉันจะท�ำอย่างไร?” แม่ว่า “ฉันมีลกู ชายสิบขวบกับลูกสาว แปดขวบต้ องเลี ้ยงดู” “นัน่ คือหนึ่งในเหตุผลที่ผมจะเขียนต�ำราอาหาร” พ่อกล่าว “มัน อาจจะสอนให้ คณ ุ รู้วิธีประหยัดเงินค่าอาหารได้ บ้าง" “แล้ วคุณคิดจะให้ เรากินอะไรกัน? ข้ าวหรื อ?” “ผมยังไม่ได้ ศกึ ษาเรื่ องนี ้ แต่ตอนนี ้ คุณเก็บข้ าวของพวกนี ้ก่อน ดีกว่า”

2


วิลเลียม ซาโรยัน : เขียน

วิภาดา กิตติโกวิท : แปล

“อาหารทังหมดนี ้ ้จะหมดเกลี ้ยงภายในสามวัน” “ก็ชว่ ยเก็บ ๆ ไว้ บ้าง ช่วงนี ้ยังไม่มีเงินได้ จากที่ไหน แล้ วผมก็เบิก ล่วงหน้ าอีกไม่ได้ แล้ วจนกว่าจะลงมือเขียนต�ำราอาหาร ต้ องพยายามยืด ให้ อยูไ่ ด้ อย่างน้ อยสักเดือน” “ท�ำไม่ได้ ” แม่ว่า “แกกินมากขนาดนี ้ แกเป็ นคนที่ท�ำให้ อาหาร หมดไป” “แล้ วถ้ าผมพาแกกลับบ้ านไปกับ ผม ด้ วยล่ะ?” พ่อว่า “แต่คณ ุ ต้ องเลี ้ยงแกนะ” “แน่นอน” “แล้ วแกต้ องไปโรงเรี ยนตรงเวลาด้ วย” “แน่นอน” “ตกลง” แม่บอก “คุณเอาแกไปเลย”

3


ฟ้ากว้างทางไกล

4


2. ทะเล

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ผมกับพ่อลาแม่กบั น้ องสาวแล้ วเดินลงจากเนินเขา เพื่อโบกรถมา ตามทางหลวงอีกสิบเอ็ดไมล์ จนมาถึงบ้ านพ่อที่ชายหาดมาลิบู พ่อไม่ยอมให้ แม่ขบั รถมาส่งเราที่นี่ เพราะพ่ออยากให้ ผมได้ ร้ ูจกั ความล�ำบากบ้ าง “สิง่ ต่าง ๆ มันไม่ได้ สะดวกสบายเสมอไปไงล่ะลูก” พ่อบอก “ลูก จึงควรเรี ยนรู้ที่จะเผชิญความยากล�ำบากเสียตังแต่ ้ เดี๋ยวนี ้” “ครับพ่อ” เราเดินราวหนึง่ ไมล์มาตามถนนซันเซ็ต ถึงถนนอัลเทอเนต 101 สายเก่า จึงโบกรถบรรทุกมาอีกราวแปดเก้ าไมล์ ลงเดินประมาณไมล์หรื อ สองไมล์ และมาถึงที่นี่ น� ้ำขึ ้นสูงเมื่อเรามาถึงบ้ านพ่อ ดวงอาทิตย์ลบั ฟ้าลงทะเลไปแล้ ว เราเดินลงบันไดหลังบ้ านไปยังชายหาด ดูวา่ พอจะหาอะไรได้ บ้าง เพื่อเอา มาก่อไฟหรื อดูเล่น เช่น ท่อนไม้ ลอยน� ้ำมา ก้ อนกรวด หรื อเปลือกหอย พ่อ เก็บขวดโคคา-โคลามาใบหนึง่ บอกว่ามันอาจเป็ นประโยชน์ ผมเดาไม่ถกู ว่ามันจะมีประโยชน์อะไรในเมื่อไม่มีน�ำ้ ที่ควรอยู่ในขวดนัน่ แล้ ว ผมเจอ เปลือกหอยขดเป็ นวง ซึ่งพ่อบอกว่ามันเป็ นของมีค่า เป็ นสิ่งที่ผมจะใช้ เรี ยนรู้ไปได้ ตลอดชีวิตที่เหลืออยูเ่ ลยทีเดียว “ในเปลือกหอยนัน่ มีทงรู ั ้ ปทรงและการเคลือ่ นไหวของเทหวัตถุบน

5


ฟ้ากว้างทางไกล

ท้ องฟ้า”2 พ่อบอก ผมจึงหมุนดูรอบ ๆ และดูด้านในเปลือกหอยนัน่ อีกครัง้ ซึง่ เป็ นสิง่ ที่นา่ ดูจริ ง ใหญ่ประมาณครึ่งฝ่ ามือของผม มีสีขาวหรื อสีเทา มีสี ด�ำแซมตรงนันบ้ ้ างตรงนี ้บ้ าง เปลือกบางส่วนถูกน� ้ำทะเลเซาะกร่อนไป ผม จึงเห็นลวดลายที่ขดเป็ นวงอยูข่ ้ างใน เราเดินเรื่ อยตามชายหาดไปราวหนึง่ ไมล์แล้ วเดินกลับ แต่ของอื่น ที่พบก็มีเพียงก้ อนกรวดที่ขนาดเล็กกว่าลูกวอลนัทครึ่งโหล กับเศษไม้ อีก อันเดียว เมื่อกลับขึ ้นบันไดมาที่ชานหน้ าบ้ าน พ่อรื อ้ กองเศษไม้ จากทะเลที่ เก็บจากชายหาดมากองไว้ บนชานบ้ านนานแล้ ว เพื่อเลือกบางอันมาก่อไฟ ตอนเย็น “ไม้ นี่สว่ นใหญ่จะดีเกินกว่าจะเอามาเผา” พ่อบอก ผมเปิ ดประตูหน้ าบ้ าน เพื่อให้ พอ่ สามารถหอบไม้ เดินตรงเข้ าไปที่ เตาผิง เมื่อพ่อเรี ยงไม้ บนกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ขย�ำไว้ เป็ นก้ อนนัน้ ฟ้ามืด แล้ ว แต่ผมไม่เปิ ดไฟ เพราะรู้วา่ พ่อชอบให้ แสงแรกของค�่ำคืนเป็ นแสงจาก กองไฟ พ่อหยิบบุหรี่ มาคาบไว้ ที่มมุ ปาก จุดบุหรี่ แล้ วโยนก้ านไม้ ขีดที่ยงั มี ไฟอยูล่ งไปบนกระดาษหนังสือพิมพ์ ระหว่างทีพ่ อ่ อัดควันบุหรี่ เข้ าปอดและ ระบายออกช้ า ๆ แสงไฟจากเตาผิงก็จดุ ห้ องให้ สว่างขึ ้น มันเป็ นแสงสว่าง ที่ตา่ งจากไฟฟ้ามาก ให้ ความรู้สกึ ที่ดีกว่า มีชีวิตชีวากว่า และอุน่ กว่า เงา โลดเต้ นขึ ้น ๆ ลง ๆ บนผนังห้ อง 2  “เทหวัตถุบนท้องฟ้า” หรือ heavenly bodies หมายถึง เทหวัตถุที่อยู่บนฟ้า คำ�ว่า “เทหวัตถุ” คือสภาพใดสภาพหนึ่งของสสาร ที่เป็นทั้งของแข็ง ของเหลว และก๊าซ (body) เทหวั ต ถุ บ นฟ้ า จะมี ด าวฤกษ์ ดาวเคราะห์ อุ ก กาบาต หรื อ กลุ่ ม ก๊ า ซ เป็ น ต้ น ปั จ จุ บั น ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์คำ�นี้ว่า “เทห์ฟากฟ้า”

6


3. ดวงจันทร์

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

“พ่อรู้สกึ ดีที่มีลกู อยูใ่ นบ้ านด้ วย” พ่อบอก “ผมก็ร้ ูสกึ ดีที่ได้ มาอยูท่ ี่นี่” ผมพูด “ทีนี ้เรามาหาอะไรกินกันสักหน่อย พ่อเก็บมะเขือเทศสี่ห้าลูกมา จากร้ านมะเขือของพ่อเองในสวนบนเนินเล็ก ๆ หน้ าบ้ านโน่น มีข้าวอยูบ่ ้ าง น� ้ำมันมะกอกอีกเล็กน้ อย พอ่ จะผัดข้ าวที่พอ่ จะเรี ยกว่าข้ าวผัดนักเขียนสัก กระทะ ในเมื่อเรา ทัง้ คู่ ก็เป็ นนักเขียนกันแล้ ว” พ่อผัดข้ าวผัดนักเขียน ส่วนผมคิดเกี่ยวกับเรื่ องที่พ่อบอกว่าเป็ น งานของผมที่จะเขียน - เป็ นเรื่ องล้ อเล่นแน่นอน แต่ผมอาจ จะ เขียนนิยาย สักเรื่ องจริ ง ๆ ก็ได้ ใครจะรู้ แม้ ไม่เคยคิดถึงการเป็ นนักเขียนเลยก็ตาม ที่ผมอยากเป็ นจริ ง ๆ คือนักบิน ผมอยากขับจรวดล�ำแรกไปดวง จันทร์ และเคยบอกพ่อไปแล้ วครัง้ หนึง่ พ่อบอกว่า “พ่อคิดว่าลูกท�ำได้ แน่” สักวันหนึง่ ผมอาจค้ นพบด้ วยตัวเองว่าผม ท�ำไม่ได้ แต่ตอนนี ้ผม ยัง ไม่พบ ผมอยากเป็ นมนุษย์โลกคนแรกบนดวงจันทร์ แต่ผมก็อาจเป็ นนักเขียนด้ วย ถ้ าเกิดมีใครได้ ไปดวงจันทร์ กอ่ นผม ในกรณีนนั ้ ผมก็จะสร้ างบ้ านแบบพ่อสักหลัง แต่ ก็ อี ก ผมไม่ ร้ ู ว่ า บางที ผ มอาจจะแต่ ง งานก่ อ นเหมื อ นพ่ อ มีลกู ชายหนึง่ คน ลูกสาวหนึง่ คน แล้ วจึงย้ ายออกมาหาบ้ านใหม่เนื่องจาก ปั ญหาโทรศัพท์ “นี่คณ ุ แต่งงานกับโทรศัพท์ ไม่ใช่ผม” พ่อเคยว่าแม่ครัง้ หนึง่

7


ฟ้ากว้างทางไกล

แม่ตอบว่าแม่มีสิทธิ์คยุ กับเพื่อนเหมือนที่พ่อมีสิทธิ์ในการเขียน แม่บอกว่าแม่เป็ นหญิงสาว ไม่ใช่คนรับจ้ างท�ำงานบ้ าน แม่ต้องการเพื่อน และความสนุกสนาน ผมนัง่ ดูหนังสือที่พอ่ เขียน พยายามค�ำนวณว่า กว่าผมจะได้ ไปถึง ดวงจันทร์ ในที่สดุ นัน้ พ่อจะเขียนได้ อีกมากเพียงใด “ผู้คนจะคิดกันยังไงเมื่อผมได้ เป็ นคนแรก?” “คนแรกอะไร?” “คนแรกที่ไปถึงดวงจันทร์ นะสิครับ”3 “พวกเขาจะเชื่อนาทีที่ลกู เป็ นมนุษย์คนแรกที่ไปเหยียบดวงจันทร์ และหนังสือพิมพ์ทกุ ฉบับบนโลกลงข่าว ทุกคนจะเชื่อว่าลูกท�ำได้ ” “ท�ำไมเขาจึง จะไม่เชื อ่ ล่ะ?” “เพราะพวกเขาไม่มีวนั เชื่อว่าลูกจะไปถึงดวงจันทร์ ได้ จนกว่าลูก ไปอยูท่ ี่นนั่ แล้ ว พวกเขาจึงจะเชื่อ คนเราก็เป็ นอย่างนี ้เอง” “พ่อเป็ นอย่างนี ้ด้ วยไหม?” “ไม่” “แล้ วพ่อเป็ นอย่างไร?” “เอาล่ะ พ่อก็เป็ น อย่างนี ้ พ่อจะไม่บอกว่าลูกไปดวงจันทร์ ไม่ได้ แต่พอ่ จะถามลูกว่า ลูกอยากไปดวงจันทร์ เพือ่ อะไร?” “ก็เพือ่ เป็ นคนแรกทีน่ นั่ น่ะสิ ทำ� ไมคนพวกนันปี ้ นภูเขาสูง? ก็เพราะ มันอยูต่ รงนัน้ นัน่ คือสิง่ ที่พวกเขาตอบคนที่ถาม ผมอยากเป็ นคนแรกที่ไป อยูบ่ นดวงจันทร์ ก็เพราะมันอยูต่ รงนัน้ และยังไม่มีใครไปถึงด้ วย” 3  ซาโรยันเขียนเรือ่ งนีต้ งั้ แต่ปี 1957 ส่วนมนุษย์คนแรกทีไ่ ด้ลงเหยียบดวงจันทร์ คือนีล ออลเดน อาร์มสตรอง (Neil Alden Armstrong, 1930-2012) ซึ่งไปกับยานอพอลโล 11 ลงดวงจันทร์ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ปี 1969

8


วิลเลียม ซาโรยัน : เขียน

วิภาดา กิตติโกวิท : แปล

“ตกลง“ พ่อว่า “ผมจะ ไม่มีวนั ไปถึงที่นนั่ หรอก พ่อว่าผมจะไปถึงหรื อไม่?” “ท�ำไมจะไม่ได้ เล่า?” “เฮ้ อ” “เฮ้ อนี่หมายความว่าอะไร?” “พ่อ ผมก็แค่อยากท�ำอะไรบ้ างเท่านันเอง มั ้ นเบื่อ” “เบื่อหรื อ?” “เบื่อแน่” “แล้ วลูกอยากท�ำอะไร?” “นั่นคื อปั ญหา เพราะผมไม่ร้ ู นั่นเป็ นเหตุผลที่ ผมคิดแต่เรื่ อง ดวงจันทร์ ผมอยากท�ำอะไรบางอย่างจริ ง ๆ” “แน่นอน ลูกต้ องท�ำ” “เพียงแต่วา่ ไม่มี อะไรจะท�ำ ผมหมายถึงไม่มี จริ ง ๆ” “เถอะ ยังไงก็ยงั มีเรื่ องกินอยูเ่ สมอ” พ่อยกจานข้ าวผัดนักเขียนสองจานไปวางบนโต๊ ะ เรานัง่ ลงและ เริ่ มกิน

9


ฟ้ากว้างทางไกล

10


4. หม้อ

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ข้ า วผัด นัก เขี ย น คื อ อะไรก็ ต ามที่ พ่อ หาได้ ใ นตู้กับ ข้ า ว ตู้เ ย็ น ชันวางของ ้ เคาน์เตอร์ ในครัว ในชาม หรื อในถุงกระดาษที่เจอ - อะไรก็ได้ แล้ วเอามาผัดกับข้ าว “เกือบจะทุกอย่างสามารถเอามาผัดกับข้ าวได้ ” พ่อเคยพยายาม จะบอกแม่ แต่แม่ไม่เคยเข้ าใจ และมักต้ องถามว่า “จะใส่เนยแข็งลงไปใน ข้ าวด้ วยได้ ไหม?” หรื อ “คุณราดซอสมะเขือเทศลงบนข้ าวด้ วยไหม?” หรื อ “แล้ วหัวหอมดิบล่ะ?” “อร่อยไหม?” พ่อถาม “อาหารที่แย่ที่สดุ เท่าที่ผมเคยกิน” “ยังมีอีกมากในกระทะ” “นมสดของผมล่ะ?” “น� ้ำเปล่าก็ดีแล้ ว ลูกสิบขวบแล้ วนะ” “แล้ วของหวานล่ะ?” “ไม่มีของหวาน” “พ่อไม่คอ่ ยมีอาหารมากนัก ใช่ไหมพ่อ?” “พ่อมีอาหารในบ้ านนี ้พอจะอยูไ่ ด้ ทงเดื ั ้ อน และอาจถึง สามเดือน ถ้ าจ�ำเป็ น” “ส�ำหรับเรา สองคน เลยหรื อ?” “แน่นอน อาหารคืออะไร? คือบางสิ่งบางอย่างที่จะใส่ลงไปใน กระเพาะก็เท่านัน พรุ ้ ่งนี ้พ่อจะต้ มถัว่ แดงสักหม้ อ”

11


ฟ้ากว้างทางไกล

“เนื ้อสเต็กล่ะ?” “ไม่มีสเต็ก” “เค้ ก?” “ไม่มีเค้ ก” “เงินล่ะ?” “พอแล้ ว พ่อจะไม่เป็ นลูกไล่ให้ ตวั ตลกสิบขวบหรอกนะ” “นัน่ แหละ เงินล่ะ?” “ไม่มีเงิน” พ่อลุกไปยกกระทะข้ าวผัดมาที่โต๊ ะ ตักข้ าวใส่จานผมกับจานพ่อ แล้ วกระทะก็เกลี ้ยง มันไม่ใช่อาหารที่อร่ อยที่สดุ ที่ผมเคยกิน แต่ผมก็ไม่เหลืออะไรไว้ ในจานเลย ผมกิน แต่ผมหิวเมื่อนัง่ ลง หิวขณะที่กิน และหิวเมื่อลุกจากโต๊ ะ "ลูกกินข้ าวกับพ่อ” พ่อกล่าว “ลูกจะแข็งแรงและแกร่ง” “ถัว่ แดงอร่อยไหมพ่อ?” “เมื่อถึงเวลาที่เรานัง่ ลงกินมัน วันพรุ่ งนี ้ มันจะอร่ อยกว่าอาหาร ใด ๆ ในโลกทังโลก” ้ “ท�ำไมล่ะ?” “ลูกกับพ่อ” พ่อตอบ “เราเป็ นนักเขียน ทุกสิง่ ทุกอย่างจะดีกว่าและ เป็ นอะไรส�ำหรับเรามากกว่าคนอื่น ลูกก�ำลังเขียนนิยายของตัวเองอยู่ ตลอดเวลา” “ผมไม่ร้ ูวา่ จะเริ่ มตรงไหน” “ไม่เคยมี นักเขียนคนไหนรู้ และไม่มีใครรู้ แม้เมื อ่ ได้ เริ่ มไปแล้ ว ลูกเริ่ มเขียนนิยายของตัวเองเมื่อนานมาแล้ ว”

12


วิลเลียม ซาโรยัน : เขียน

วิภาดา กิตติโกวิท : แปล

“ไม่หลอกนะพ่อ?” “ไม่หลอก” ผมลุกจากโต๊ ะแล้ วท�ำท่าเต้ นยึกยักใส่พอ่ พ่อหัวเราะลัน่ หัวเราะ แบบที่ผมชอบฟั ง - แบบนักเขียน ผู้บ้าคลัง่ และอดโซ

13


ฟ้ากว้างทางไกล

14


โครงการหนังสือเพื่อสังคม เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การอ่านเป็นเครื่องมือส�ำคัญในการ สร้างสังคมที่มีปัญญา ซึ่งเป็นพลังในการสร้างชาติ พัฒนาประเทศ การอ่าน ไม่เพียงท�ำให้ผอู้ า่ นเกิดปัญญารอบรูใ้ นเรือ่ งต่าง ๆ เท่านัน้ ยังสร้างความเข้าใจ ต่อเพื่อนมนุษย์ อันจะน�ำไปสู่การปรับทัศนคติในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่าง ถ้อยทีถ้อยอาศัย กระทั่งก่อเกิดสังคมที่มีความสุขร่วมกัน ทว่า ปัจจุบันประเทศไทยก�ำลังประสบปัญหาคนไทยอ่านหนังสือ น้อยลง จากผลการส�ำรวจพบว่า เด็กไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยเพียงวันละ 29 นาที ในจ�ำนวนนี้เป็นการอ่านหนังสือที่ให้คุณค่าและสาระน้อย หรืออาจร้าย แรงถึงขั้นเป็นพิษภัยต่อผู้อ่านและสังคม อาทิเช่น หนังสือประโลมโลกย์ที่มี อิทธิพลโน้มน�ำผู้อ่านไปในทางเพ้อฝันมากกว่าการสร้างสรรค์ทางปัญญา ซึ่ง มีอยู่ดาษดื่นตามท้องถนน จนคนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่าย ขณะที่หนังสือดี มีคุณค่ากลับหาได้ยาก แม้ว่าจะมีผู้อยากอ่านอยู่บ้างก็ตาม สังคมจะมีคุณภาพสูงขึ้นได้ คนในสังคมควรสร้างเสริมนิสัยรักการ อ่านให้เกิดขึน้ หลายประเทศในโลกทีเ่ ป็นสังคมการอ่านสามารถพัฒนาสังคม ไปได้เร็วกว่าสังคมที่ไม่อ่านหนังสือมาก การอ่านเปิดโอกาสที่จะได้เรียนรู้สิ่ง ต่าง ๆ ที่อยู่ไกลตัวและไม่สามารถรับรู้ได้จากประสบการณ์ตรง ท�ำให้ผู้อ่าน ได้รับข้อมูล ความคิด ประสบการณ์จากหนังสือที่ผู้อื่นเขียนถ่ายทอดไว้ เกิด แรงบันดาลใจในการเรียนรูเ้ พือ่ พัฒนาตนเอง และสามารถแก้ปญ ั หาทีเ่ กิดขึน้ ได้ในระยะยาว นอกจากความรู้อันเป็นศาสตร์ที่จะช่วยในการด�ำรงชีพแล้ว มนุ ษ ย์ เรายั ง ต้ อ งการความสุ ข ที่ จ ะได้ จ ากการผ่ อ นคลาย ด้ ว ยการเสพ สุนทรียะจากศิลปะทุกแขนง การเรียนรู้วัฒนธรรมจากหลากหลายแห่ง


ซึ่งสามารถแสวงหาได้จากการอ่านวรรณกรรม วรรณกรรมจึงมีส่วนส�ำคัญอย่างยิ่งต่อความคิดและจิตใจของผู้อ่าน ผู้ที่อ่านวรรณกรรมได้ (กล่าวเช่นนี้เพราะมีคนอ่านไม่เป็น อ่านไม่ได้ การอ่าน จึงเป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝน) ไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรมอมตะของโลกที่เรียกว่า วรรณกรรมคลาสสิก หรือวรรณกรรมร่วมสมัย หรือนิยาย นิทานเด็ก เทพนิยาย ต�ำนาน เป็นต้น จะเป็นผูม้ จี นิ ตนาการ และความลุม่ ลึกในการครุน่ คิดไตร่ตรอง มองชีวิต ยามใดที่ประสบปัญหาในชีวิต จะสามารถมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ต่อปัญหาชีวติ และคิดหาทางออกได้เร็วขึน้ แก้ปญ ั หาได้ดขี นึ้ ซึง่ สัง่ สมมาจาก การอ่านวรรณกรรม ในระดับชาติ จะเห็นว่าชาติที่เจริญแล้วทุกชาติมีวรรณกรรมที่เป็น เอกลักษณ์แห่งชาติ งานวรรณกรรมเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับศิลปะทุกแขนงตลอด ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ยุคใดบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองจะสะท้อนให้เห็น ในวรรณกรรมด้วยเสมอ ยุคใดเป็นยุคมืด วรรณกรรมก็สะท้อนความมืดมน ด้วยเช่นกัน คนรุน่ หลังจะเรียนรูค้ วามสดใสงดงามหรือมืดมนในอดีตของแต่ละ ชาติ แ ต่ ล ะยุ ค สมั ย ได้ ดี จ ากวรรณกรรม ยกตั ว อย่ า งเช่ น ประเทศญี่ ปุ ่ น มีนโยบายส่งเสริมการอ่านหนังสือ มุ่งเน้นการพัฒนา “สมอง” เพื่อพัฒนา คุณภาพของคนให้ “คิดเป็น” มีความรู้ มีวิสัยทัศน์และจินตนาการ ซึ่งจะส่ง ผลต่อศักยภาพของประเทศ โดยมีการจัดตัง้ สภาส่งเสริมการอ่านหนังสือแห่ง ประเทศญี่ปุ่น เพื่อปลูกฝังนิสัย “รักการอ่าน” ให้แก่เยาวชน จัดท�ำหนังสือที่ มีความรู้ทุกแขนงให้เป็นการ์ตูนเพื่อให้เด็กสามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ และจัด กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการอ่านหนังสือ ประเทศสิงคโปร์ มีการผลักดัน ให้การอ่านหนังสือเป็นวาระแห่งชาติ โดยชุมชนและองค์กรต่าง ๆ ในประเทศ สิงคโปร์ได้เข้ามามีบทบาทในการสร้างวัฒนธรรมและนิสัยรักการอ่านให้แก่


คนในประเทศ เช่น สมาคมการอ่านออกเขียนได้แห่งมหาวิทยาลัยสิงคโปร์ (National University of Singapore Literary Society) ตั้งขึ้นโดยมีจุด ประสงค์ในการแบ่งปันประสบการณ์ด้านวรรณกรรมให้แก่เยาวชนและ นักเขียนในสิงคโปร์ โดยมีการจัดกิจกรรมการแข่งขันการเขียนเชิงสร้างสรรค์ (Creative Writing) เป็นต้น การเผยแพร่และส่งเสริมการอ่านวรรณกรรม ซึง่ เป็นงานเขียนทีท่ รง คุณค่าสูส่ งั คมไทยจึงเป็นสิง่ ส�ำคัญ เนือ่ งจากเป็นสือ่ กลางส�ำคัญทีช่ ว่ ยยกระดับ สติปัญญา พัฒนาอารมณ์ และจิตใจ รวมทั้งเสริมสร้างจินตนาการของผู้อ่าน ได้เป็นอย่างดี หนังสือหรือวรรณกรรมเหล่านีม้ เี นือ้ หาสาระสะท้อนให้เห็นถึง สภาพสังคม วัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัย ที่ ผูป้ ระพันธ์ได้สะท้อนผ่านมุมมองของตนออกมา ท�ำให้ผอู้ า่ นได้รบั ความรูแ้ ละ เข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้คนที่มีต่อสภาพการณ์เหล่านั้นด้วย ด้วยเหตุนี้ วรรณกรรมจึงจ�ำเป็น นอกจากเป็นเครื่องมือสื่ออารมณ์ ความรูส้ กึ นึกคิด ถ่ายทอดจินตนาการ และแสดงศิลปะอันประณีตงดงามจาก ตัวอักษรให้แก่บุคคลแล้ว ยังส�ำคัญต่อการพัฒนาชาติ สร้างสังคมที่เป็นสุขได้ เมื่อคนส่วนใหญ่ในสังคมมีสุนทรียะ มีจริยธรรม มีความรักความเข้าใจต่อกัน โดยเฉพาะโลกทุกวันนี้ซึ่งไม่มีประเทศใดสามารถอยู่โดดเดี่ยวได้เองแล้ว การ ได้เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมจากวรรณกรรมของชาติต่าง ๆ ทั่วโลกย่อมท�ำให้คน สมบูรณ์พร้อมขึ้น และจากปัจเจก จะถ่ายทอดสู่สังคม สู่โลกมนุษย์ที่จะอยู่ ร่วมกันได้อย่างเป็นสุข ความส�ำคัญและคุณค่าของวรรณกรรมต่อการพัฒนาสุขภาวะทาง ปัญญา อาจสรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้ 1. คุณค่าทางอารมณ์ สุนทรียะทางอารมณ์จากการอ่านวรรณกรรม


จะเปิดใจผู้อ่านให้ซึมซับรับเอาแง่คิดดี ๆ ที่แฝงอยู่ในงานวรรณกรรมมา ขัดเกลานิสัยใจคอตนเอง ท�ำให้ผู้อ่านมีวิธีคิดในทางสร้างประโยชน์ทั้งต่อ ตนเองและผู้อื่น หรืออาจถึงขั้นการท�ำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม 2. คุณค่าทางปัญญา ผู้อ่านจะได้รับความคิด สติปัญญา ความรู้ รอบตัว รู้เท่าทัน และมีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์ เหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นกับตัวละครให้ข้อคิดต่อผู้อ่าน ท�ำให้มีทัศนคติกว้างขึ้น วรรณกรรม แทบทุกเรือ่ งจะสอดแทรกสัจธรรมชีวติ ให้ผอู้ า่ นสามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ ยก ระดับจิตใจให้สูงขึ้น 3. คุณค่าทางคุณธรรม วรรณกรรมแต่ละเรื่องจะมีคติ แง่คิดสอด แทรกไว้เป็นบทเรียนให้ผอู้ า่ นได้ขบคิด ซึมซับคุณธรรมในการด�ำเนินชีวติ และ มีหลักคิดค�ำคมระหว่างบรรทัด อันจะช่วยให้ผู้อ่านได้คิด จดจ�ำ และน�ำไป ใช้ได้ 4. คุณค่าทางวัฒนธรรม วรรณกรรมท�ำหน้าที่สืบสานวัฒนธรรม เป็นสายใยเชื่อมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ วรรณกรรมจะ สะท้อนหลักคิดความเชื่อของคน การน�ำเอาวรรณกรรมต่างประเทศมาแปล จึงช่วยให้ผอู้ า่ นได้เรียนรูว้ ฒ ั นธรรมทีม่ คี วามแตกต่างกัน ความรูค้ วามเข้าใจนี้ เป็นประโยชน์ยิ่งต่อสังคมยุคใหม่ที่โลกทั้งใบถูกเชื่อมเข้าหากัน เพื่อการอยู่ ร่วมกันอย่างเข้าใจของคนในสังคมโลก 5. คุณค่าทางประวัตศิ าสตร์ วรรณกรรมเป็นกระจกเงาสะท้อนภาพ อดี ต ของคนแต่ ล ะชาติ เรื่ อ งราวประวั ติ ศ าสตร์ ส ามารถศึ ก ษาได้ จ าก วรรณกรรม 6. คุณค่าทางจินตนาการ การอ่านช่วยสร้างจินตนาการ ท�ำให้ ผูอ้ า่ นมองเห็นการณ์ไกล จะท�ำสิง่ ใดก็ท�ำด้วยความรอบคอบ มองเห็นภาพใน


มุมกว้าง อันจะน�ำไปสู่การพัฒนาความคิด และสติปัญญา 7. คุณค่าทางทักษะในการวิเคราะห์วิจารณ์ การอ่านวรรณกรรม เป็นกระบวนการฝึกฝนวิธีคิด การใช้วิจารณญาณ และการตกผลึกทางความ คิด ท�ำให้เกิดทักษะหรือความช�ำนาญในการคิดเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่ง เป็นสิ่งจ�ำเป็นส�ำหรับการด�ำรงชีวิตในปัจจุบัน 8. คุณค่าทางการใช้ภาษา เพราะการเขียนเป็นการถ่ายทอดความ คิด เป็นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร จูงใจให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ จดจ�ำ และน�ำไปใช้ในการสื่อสาร ถ่ายทอดความคิดของตนออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ อย่างชัดเจน 9. คุณค่าต่อการสร้างแรงบันดาลใจ เรือ่ งราวการต่อสูข้ องตัวละคร ในวรรณกรรมมี อิ ท ธิ พ ลต่ อ จิ ต ใจผู ้ อ ่ า น เป็ น ต้ น แบบการใช้ ชี วิ ต อย่ า งมี เป้าหมาย ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา ดังเช่นเรื่องราวชีวิตของนายแพทย์ เบน คาร์สนั ถ่ายทอดชีวติ วัยเด็กทีเ่ ติบโตในครอบครัวยากจน ท่ามกลางสภาพ แวดล้อมเลวร้าย สมองไม่ดี เรียนหนังสือไม่เก่ง แต่ด้วยความพยายามท�ำให้ เขาดิ้ นรนเอาชนะข้ อ จ�ำกั ด และอุ ป สรรค สู ้ ชี วิต จนสามารถก้าวขึ้น เป็น ศัลยแพทย์มือหนึ่งของโลกได้ส�ำเร็จ การอ่านวรรณกรรมที่มีเค้าโครงมาจาก ชีวิตจริงเช่นนี้ ย่อมท�ำให้ผู้อ่านเกิดแรงบันดาลใจที่จะเอาชนะอุปสรรคเพื่อ สร้างคุณค่าให้กับตัวเอง จากงานวิจัยของปาริชาติ สุคนธ์พานิช (2545) ที่ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ : วรรณกรรมเพื่อพัฒนานิสัยการอ่าน โดยท�ำการศึกษาจาก เอกสาร ได้แก่ วรรณกรรมแฮร์รี่ พอตเตอร์ เล่มที่ 1 - 4 และจดหมายจากผู้ อ่านจ�ำนวน 601 ฉบับ ผลการศึกษาพบว่า สิ่งที่โดดเด่นและประทับใจผู้อ่าน มากคือการสร้างตัวละครเอกเป็นเด็ก ได้แสดงบทบาทในด้านความกล้าหาญ


ที่หลากหลาย สัญญะและความหมายสื่อออกมาในลักษณะของการอยู่ร่วม กันอย่างสันติระหว่างความสัมพันธ์ของคู่ตรงข้าม ความดี - ความชั่ว มุ่งสอน ผู้อ่านให้ยอมรับความเป็นจริงของชีวิต ซึ่งผู้อ่านรับรู้และสามารถถอดความ หมายได้ วรรณกรรมแฮร์รี่ พอตเตอร์ ท�ำให้ผู้อ่านเปลี่ยนนิสัยการอ่านของ ตัวเอง จากเดิมไม่ชอบอ่านหนังสือ กลายเป็นคนชอบอ่านหนังสือ จึงเห็นได้ ว่าวรรณกรรมมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิด และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อารยประเทศทั่วโลกล้วนมีการผลิตหรือแปลวรรณกรรมที่มีคุณค่า ส�ำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้แก่เยาวชนและผู้สนใจใฝ่รู้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการ พัฒนาประเทศชาติและสังคม ยกระดับจิตใจของผู้อ่าน ซึ่งก็มีงานเขียน ชั้นยอดหรือวรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องในระดับสากลมากมายที่ควร ส่งเสริมให้คนในสังคมไทยได้อ่านและศึกษา ประเทศไทยมีการแปลหนังสือเหล่านี้ออกมาบ้าง แต่มักท�ำโดย ภาคเอกชน เช่น การแปลหนังสือของเสฐียรโกเศศ - นาคะประทีป หนังสือ ชุดเชอร์ลอ็ ค โฮล์ม หรือวรรณกรรมส�ำคัญของโลก เช่น สงครามและสันติภาพ, แอนนา คาเรนินา, เหยือ่ อธรรม ฯลฯ หน่วยงานของรัฐมีการแปลหนังสือออก มาบ้าง เช่น ราชบัณฑิตยสถาน แปลหนังสือเกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น อินเดีย จีน เป็นต้น ส�ำนักคณะกรรมการวิจยั แห่งชาติมกี ารแปลหนังสือออกมาจ�ำนวน ไม่นอ้ ย และสมัยหนึง่ ส�ำนักข่าวสารอเมริกนั มีหนังสือแปลชุด “เสรีภาพ” ออก มาจ�ำนวนมาก นอกจากงานแปลเหล่านี้แล้ว ยังมีหนังสือดี ๆ อีกมากมายที่สมควร แปลออกสูภ่ าษาไทย ทัง้ นีเ้ พราะเป็นการยากทีจ่ ะให้คนไทยโดยเฉพาะเยาวชน อ่านหนังสือเหล่านีใ้ นภาษาเดิม เพราะมีหนังสือจ�ำนวนไม่นอ้ ยเขียนด้วยภาษา โบราณ หรือภาษาสมัยเก่า ยากทีค่ นรุน่ ปัจจุบนั จะเข้าถึงสารัตถะทีล่ มุ่ ลึกของ


หนังสือเหล่านั้น และยากที่จะน�ำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมั่นใจ การแปลทีแ่ ล้ว ๆ มาโดยภาคเอกชนจะประสบปัญหามากมาย เพราะ หนังสือเหล่านี้มักไม่เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางเพียงพอในท้องตลาด ท�ำให้ ส่วนใหญ่ “อยู่ไม่ได้” ในทางธุรกิจ ส�ำนักพิมพ์บางแห่งต้องขาดทุนอย่างมาก จากการตัดสินใจพิมพ์หนังสือดี ๆ ออกสูท่ อ้ งตลาด แล้วขายได้นอ้ ยมาก ท�ำให้ นักแปลที่มีความรู้ความสามารถไม่สามารถมุ่งมั่นท�ำงานคุณภาพออกมาได้ ต้องหันไปแปลหนังสือประเภทเอาใจตลาด เหมือนสมัยก่อนที่นักเขียนมีชื่อ เสียงบางคนต้องแอบไปเขียน “หนังสือโป๊” ขายเพื่อให้มีเงินยังชีพ นักแปลทีแ่ ปลหนังสือดีมคี ณ ุ ภาพสูงบางคนลงทุนลงแรงแปลออกมา แล้ว ไม่มสี �ำนักพิมพ์แห่งใดรับพิมพ์จนต้องเลิกท�ำงานนีไ้ ป ท�ำให้ความรูค้ วาม สามารถและประสบการณ์ที่ทรงคุณค่าค่อย ๆ เสื่อมสูญและ “ตายไปพร้อม ตัว” ในที่สุด นักแปลบางคนทุ่มเทท�ำงานโดยการลาออกจากงานประจ�ำมา ท�ำงานแปลแบบเต็มเวลา เพื่อให้แปลงานใหญ่ ๆ ได้ส�ำเร็จ และมีคุณภาพดี เพราะหากแบ่งเวลามาแปลเป็นบางเวลาจะขาดสมาธิและความต่อเนื่อง นักแปลเหล่านี้หาได้ยาก เพราะต้องมี “คนเลี้ยง” เช่น สามียอมให้ท�ำงานที่ “ฝัน” อยากท�ำนั้น และยอมเป็นผู้หารายได้คนเดียวของครอบครัว แต่พอ งานนัน้ เสร็จ และ “โชคดี” มีส�ำนักพิมพ์รบั พิมพ์ แต่กข็ ายได้นอ้ ย จึงได้คา่ แปล ต�่ำมาก คิดค�ำนวณเป็นค่าแรงระหว่างท�ำงานแปล ตกเดือนละ 4 - 5 พันบาท เท่านั้น ต�่ำกว่าค่าแรงขั้นต�่ำของผู้ใช้แรงงานประเภทไร้ฝีมือเสียอีก ในด้านการพิมพ์ เพราะเหตุที่หนังสือเหล่านี้ขายได้น้อย ส�ำนักพิมพ์ จึงมักพิมพ์โดยการประหยัดต้นทุน ใช้กระดาษราคาถูก และพิมพ์เป็นปกอ่อน เข้าปกโดยการไสกาว ท�ำให้หนังสือมีอายุสั้นมาก จึงจ�ำเป็นและสมควรที่จะต้องสร้างกลไกให้มีการผลิตหนังสือดีขึ้น


โดยช่วงแรกจะส่งเสริมการแปลวรรณกรรมโลกออกสู่ภาษาไทย ด้วยตระหนักถึงความส�ำคัญเหล่านี้ “โครงการหนังสือเพื่อสังคม” จึงมีเป้าหมายหลักในการผลักดันการเผยแพร่วรรณกรรมที่ทรงคุณค่า เพื่อ ยกระดับสติปัญญาของมนุษย์ เพิ่มพูนทักษะการคิดวิเคราะห์ ให้ผู้อ่านมี แนวทางในการน�ำคุณค่าของวรรณกรรมมาสร้างประโยชน์ให้เกิดผลเป็น รูปธรรม ส่งเสริมให้คน องค์กร และหน่วยงานที่มีเป้าหมายในการท�ำงาน เพื่อสังคม ได้ตระหนักถึงการร่วมมือกันท�ำงานเพื่อการสร้างสรรค์สังคม เกิ ด เป็ น พลั ง ขั บ เคลื่ อ นสั ง คม เพื่ อ มุ ่ ง ไปสู ่ เ ป้ า หมายเดี ย วกั น คื อ การ เปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น

เนตร รามแก้ว ผู้รับผิดชอบโครงการหนังสือเพื่อสังคม กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม


รายการหนังสือในแผนงานของ “โครงการหนังสือเพื่อสังคม” โดย มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม 1. วรรณกรรมเยาวชนอเมริกัน : “ฟ้ากว้างทางไกล” ‘Papa You’re Crazy’ By William Saroyan 2. วรรณกรรมเยาวชนอเมริกัน: “ความสุขแห่งชีวิต” ‘Human Comedy’ By William Saroyan 3. ปรัชญาแนวคิดเยอรมัน : “ศิลปะแห่งการรัก” ‘The Art of Loving’ By Erich Fromm 4. วรรณกรรมปรัชญาฝรั่งเศส : “ชะตากรรมของซีซิฟ” ‘Le Mythe de Sisyphe’ หรือ ‘The Myth of Sisyphus’ By Albert Camus 5. ชีวประวัติบุคคลทรงคุณค่า : “สองมือแห่งศรัทธา” ‘Gifted Hands : Ben Carson Story’ By Benjamin Carson and Cecil Murphey 6. วรรณกรรมเชิงการแพทย์อังกฤษ : “ปราการอุดมคติ” ‘The Citadel’ By Archibald Joseph Cronin 7. ชีวประวัตบิ คุ คลทรงคุณค่า : “ชีวติ ของเซอร์วลิ เลียม ออสเลอร์” เล่มหนึ่ง ‘The Life of Sir William Osler Vol.I’ By Harvey Cushing 8. ชีวประวัตบิ คุ คลทรงคุณค่า : “ชีวติ ของเซอร์วลิ เลียม ออสเลอร์” เล่มสอง ‘The Life of Sir William Osler Vol.II’ By Harvey Cushing 9. วรรณกรรมอเมริกัน : “การผจญภัยของทอม ซอร์เยอร์” ‘The Adventures of Tom Sawyer’ By Mark Twain


10. วรรณกรรมอเมริกัน : “การผจญภัยของฮัคเคิลเบอร์รี่ ฟินน์” ‘The Adventures of Huckleberry Finn’ By Mark Twain 11. วรรณกรรมเยาวชนอเมริกัน : “ผมชื่ออารัม” ‘My Name is Aram’ By William Saroyan 12. วรรณกรรมอังกฤษ : ‘Far From The Madding Crowd’ By Thomas Hardy 13. วรรณกรรมรัสเซีย : “เธอผู้ไร้นาม” ‘Netochka Nezvanova’ By Fyodor Dostoevsky 14. วรรณกรรมสะท้อนสังคมอเมริกัน : “เหยื่อบริสุทธิ์” ‘To Kill A Mockingbird’ By Harper Lee 15. นวนิยายอิงชีวประวัต:ิ “เรียวมะ : ซามูไรผูน้ �ำการเปลีย่ นแปลง” ‘Ryoma: Life of A Renaissance Samurai’ By Romulus Hillsborough 16. วรรณกรรมฝรั่งเศษ : “แผ่นดินของเรา : สายลม เม็ดทราย และดวงดาว” ‘Terre des Hommes’ By Antoine de Saint–Exupery 17. วรรณกรรมอิตาลี: “ฟอนตามาร่า : ล�ำธารแห่งความขมขื่น” ‘Fontamara’ By Ignazio Silone 18. วรรณกรรมอิตาลี : “มาร์โควัลโด : สีสันชีวิตเมือง” ‘Marcovaldo’ By Italo Calvino 19. วรรณกรรมอเมริกัน: “เรื่องเล่าชีวิตสาวอเมริกัน” ‘The Portrait of a Lady’ By Henry James 20. ปรัชญาแนวคิด : “บัน้ ปลายชีวติ ผม : โดย อัลเบิรต์ ไอน์สไตน์” ‘Out of My Later Years’ By Albert Einstein


21. นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ : “ชะตากรรมโลกไม่ลืม” ‘Schindler's List’ By Thomas Keneally 22. นวนิยายอิงชีวประวัติ : “เข้าป่าหาชีวิต” ‘Into The Wild’ By Jon Krakauer 23. นวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์ : “บนแผ่นดินไอยคุปต์ : ต�ำนานชีวติ แพทย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอียิปต์โบราณ” ‘The Egyptian’ By Mika Waltari 24. วรรณกรรมอังกฤษ : ‘The Waves’ By Virginia Woolf 25. วรรณกรรมอิตาลี : “ท่องนรก : สุขนาฏกรรมเทพเจ้า” ‘Inferno - The Divine Comedy’ By Dante Alighieri 26. มหากาพย์แห่งอังกฤษ : “สวรรค์สูญ” ‘Paradise Lost’ By John Milton 27. วรรณกรรมอเมริกัน : ‘The Scarlet Letter’ By Nathaniel Hawthorne 28. วรรณกรรมรัสเซีย : “มาร” ‘Demons’ or ‘Devils’ By Fyodor Dostoevsky 29. วรรณกรรมรัสเซีย : “ชีวิตสูญ” ‘Dead Soul’ By Nikolai Gogol 30. ปรัชญาแนวคิดเยอรมัน: “จะมีหรือจะเป็น?” ‘To Have or To Be?’ By Erich Fromm 31. ปรัชญาแนวคิดเยอรมัน: “มนุษย์เพื่อตนเอง : การค้นเข้าไป ในจิตวิทยาแห่งจริยธรรม” ‘Man For Himself’ By Erich Fromm 32. วรรณกรรมอังกฤษ : ‘The Happy Prince & The Picture of Dorian Gray’ By Oscar Wilde


33. วรรณกรรมอังกฤษ : ‘Captains Courageous’ By Rudyard Kipling 34. วรรณกรรมอังกฤษ : “เดวิด คอปเปอร์ฟิลด์ : เส้นทางเด็ก ก�ำพร้า ฟันฝ่าสู่นักเขียนเรืองนาม นวนิยายอิงชีวประวัติผู้เขียน” ‘David Copperfield’ By Charles Dickens 35. วรรณกรรมอังกฤษ : “บลีค เฮาส์” ‘Bleak House’ By Charles Dickens


ใบสมัครสมาชิกหรือต่ออายุสมาชิก มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม ข้าพเจ้ามีความประสงค์รับหนังสือของโครงการหนังสือเพื่อสังคม สมัครสมาชิกใหม่ วันที่สมัคร ..................................................................... ต่ออายุสมาชิก หมายเลขสมาชิก ...............................................................

O สมัครสมาชิก 3,000 บาท

O สมัครสมาชิก 5,000 บาท

O สมัครสมาชิก 10,000 บาท

รายชื่อหนังสือ O วรรณกรรมเยาวชนอเมริกัน : “ฟ้ากว้างทางไกล” ‘Papa You’re Crazy’ วิลเลียม ซาโรยัน : เขียน วิภาดา กิตติโกวิท : แปล O วรรณกรรมเยาวชนอเมริกัน : “ความสุขแห่งชีวิต” ‘The Human Comedy’ วิลเลียม ซาโรยัน : เขียน วิภาดา กิตติโกวิท : แปล O ปรัชญาแนวคิดเยอรมัน : “ศิลปะแห่งการรัก” ‘The Art of Loving’ อีริค ฟรอมม์ : เขียน สุรพงษ์ สุวจิตตานนท์ : แปล


O วรรณกรรมปรัชญาฝรั่งเศส : “ชะตากรรมของซีซิฟ” ‘Le Mythe de Sisyphe’ หรือ ‘The Myth of Sisyphus’ อัลแบรฺต์ กามูส์ : เขียน วิภาดา กิตติโกวิท : แปล O วรรณกรรมเยาวชนอเมริกัน : “ผมชื่ออารัม” ‘My Name is Aram’ วิลเลียม ซาโรยัน : เขียน นารีรัตน์ ชุณหชา : แปล O วรรณกรรมอเมริกัน : “การผจญภัยของทอม ซอเยอร์” ‘The Adventures of Tom Sawyer’ & “การผจญภัยของ ฮัคเคิลเบอร์รี่ ฟินน์” ‘Adventures of Huckleberry Finn’ มาร์ค ทเวน : เขียน กัทลี มากธนะรุ่ง : แปล O ชีวประวัติบุคคลทรงคุณค่า : “สองมือแห่งศรัทธา” ‘Gifted Hands’ นายแพทย์เบนจามิน คาร์สัน : เขียน วิภาดา กิตติโกวิท : แปล O วรรณกรรมการแพทย์อุดมคติอังกฤษ : “ปราการอุดมคติ” ‘The Citadel’ เอ. เจ. โครนิน : เขียน เจริญเกียรติ ธนสุขถาวร : แปล


O วรรณกรรมชีวประวัติ : “ชีวิตของเซอร์วิลเลียม ออสเลอร์ เล่มหนึ่งและเล่มสอง” ‘The Life of Sir William Osler Vol. I & II’ นายแพทย์ฮาร์วีย์ คุชชิ่ง : เขียน วิภาดา กิตติโกวิท : แปล O นวนิยายสะท้อนสังคม : “เดอะ สการ์เล็ต เล็ตเตอร์” ‘The Scarlet Letter’ นาธาเนียล ฮอว์ธอร์น : เขียน วิภาดา กิตติโกวิท : แปล O วรรณกรรมสะท้อนสังคมรัสเซีย : “เธอผู้ไร้นาม” ‘Netochka Nezvanova’ ฟีโยดอร์ ดอสโตเยฟสกี้ : เขียน ไกรวรรณ สีดาฟอง : แปล

ออกใบเสร็จในนาม O บุคคล ชื่อ.................................................... นามสกุล.............................................. O หน่วยงาน ชื่อ.................................................................................................................


สถานที่ส่งหนังสือ........................................................................................... ที่อยู่เลขที่.................. หมู่ที่.................. ซอย................................................. ถนน............................................... แขวง (ต�ำบล)......................................... เขต (อ�ำเภอ)...................................... จังหวัด................................................ รหัสไปรษณีย์............................... โทรศัพท์................................................... โทรสาร........................................ มือถือ....................................................... E-mail address............................................................................................ ข้อมูลส่วนบุคคล ชื่อ-สกุล......................................................................................................... วัน/เดือน/ปีเกิด......................................................... เพศ O ชาย O หญิง อาชีพ O นักศึกษา O แม่บ้าน/พ่อบ้าน O พนักงานบริษัทเอกชน

O เจ้าของกิจการ

O บุคลากรทางการแพทย์

O ข้าราชการ ระบุ....................................................................................... O อื่นๆ (โปรดระบุ)...................................................................................... รายได้ O ต�่ำกว่า 10,000 บาท O ต�่ำกว่า 20,000 บาท O ต�่ำกว่า 30,000 บาท O ต�่ำกว่า 40,000 บาท O ต�ำ่ กว่า 50,000 บาท O มากกว่า 50,000 บาท


ในการนี้ได้ช�ำระค่าสมาชิกในนาม มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม โดยส่งเป็น O โอนเงินเข้าบัญชีชื่อ มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม (กรุณาส่งส�ำเนาใบโอนเงินพร้อมใบสมัคร) ธนาคารกรุงไทย เลขที่บัญชี 483-0-20455-9 สาขาเมเจอร์ฮอลลีวูดรามค�ำแหง ออมทรัพย์

O เช็ค สั่งจ่าย มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม (เช็คต่างจังหวัดเพิ่มค่าโอน 10 บาท) เลขที่............................................................ ธนาคาร.................................... ลงวันที่........................................... จ�ำนวนเงิน......................................บาท

O บัตรเครดิต

O VISA

O MASTER

หมายเลขบัตร................................................................................................ วันบัตรหมดอายุ............................................................................................ หมายเลข 3 ตัวสุดท้ายบนแถบลายเซ็นหลังบัตรเครดิต................................. จ�ำนวนเงิน..............................................................................................บาท ลายมือชื่อ (ตามบัตร).................................................................................... วันที่สั่งซื้อ......................................................................................................


โปรดช�ำระเงินในนาม และส่งเอกสารมาที่ มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม 979 ชั้น 34 อาคารเอส.เอ็ม. ทาวเวอร์ ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 081-699-0050 E-mail : bookforsociety@gmail.com ติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านทาง Facebook ได้ที่ : โครงการหนังสือเพื่อสังคม Book For Society Project www.facebook.com/bookforsociety

ส�ำหรับเจ้าหน้าที่ รหัสอนุมัติ............................................................ วันที่อนุมัติ............................................................ ผู้อนุมัติ.................................................................


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.