Sample the huan comedy

Page 1


The Human Comedy William Saroyan

ความสุขแห่งชีวิต วิลเลียม ซาโรยัน : เขียน วิภาดา กิตติโกวิท : แปล


หนังสือของโครงการหนังสือเพื่อสังคม ลำ�ดับที่ 2 วรรณกรรมเยาวชน ”ความสุขแห่งชีวิต” The Human Comedy William Saroyan : เขียน วิภาดา กิตติโกวิท : แปล Copyright© For ‘The Human Comedy’ Copyright© By William Saroyan Thai language translation copyright© 2014 By Book For Society Foundation (BOSOF) Copyright arranged with : The Estate of William Saroyan in care of Peters, Fraser and Dunlop Ltd. in association with Pollinger Limited, Drury House, 34-43 Russell Street, London WC2B 5HA through Tuttle-Mori Agency Co.,Ltd. All rights reserved บทกล่าวนำ� วิทยากร เชียงกูล บรรณาธิการ เนตร รามแก้ว ออกแบบปก เอกรัตน์ สุจารักษ์ รูปเล่ม อมรชัย ศิริประเสริฐ พิสูจน์อักษร มธุรวรรณ โลกวิทย์ สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2557© มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม และ สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ลิขสิทธิ์ภาษาไทย© วิภาดา กิตติโกวิท พ.ศ. 2557 เจ้าของ มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม และ สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บรรณาธิการบริหาร เนตร รามแก้ว บรรณาธิการจัดการ นิฤมล ลี้สธนกุล ที่ปรึกษา วิทยากร เชียงกูล, เดชา ศิริภัทร, พระไพศาล วิสาโล, นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ, นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน, นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์, สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, ไชยันต์ รัชชกูล, บำ�รุง บุญปัญญา, ภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์, ต่อพงศ์ เสลานนท์, นพพรรณ พรหมศรี, กรรณิการ์ ควรขจร, เสกสรร เรืองมนัสสุทธิ, ปรีดา ชัยเชื้อ สำ�นักงาน มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม เลขที่ 979 อาคารเอส.เอ็ม ทาวเวอร์ ชั้น 34 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพ 10400 โทรศัพท์ 081-699-0050 ผู้จัดการทั่วไป ปูชิดา ชิตรัตถา ผู้จัดการฝ่ายการตลาดเพื่อสังคม ธิดามาส เต็มสาร จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม เลขที่ 463/1 ซอยรามคำ�แหง 39 (เทพลีลา 1) แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310 โทรศัพท์ 094-135-6313 อีเมล : bookforsociety@gmail.com สามารถติดตามความเคลื่อนไหวหนังสือดีมีคุณค่าของ ”โครงการหนังสือเพื่อสังคม” โดยมูลนิธิหนังสือเพื่อสังคมได้ที่ Facebook : โครงการหนังสือเพื่อสังคม Book For Society Project https://www.facebook.com/bookforsociety Twitter : @bookforsociety พิมพ์ที่ พิมพ์ดี 30/2 หมู่ 1 (ถ. เจษฎาวิถี), ต.โคกขาม อ.เมือง, สมุทรสาคร 74000 โทรศัพท์ 02-401-9401-7 องค์กร หน่วยงาน สถาบัน หรือกลุ่มบุคคลที่ต้องการสั่งซื้อจำ�นวนมากในราคาพิเศษ กรุณาติดต่อที่อีเมล : bookforsociety@gmail.comหรือโทรศัพท์ 081-699-0050 อนุญาตให้จัดทำ�เป็นหนังสือเสียงเพื่อห้องสมุดคนตาบอด และผู้พิการทางสื่อสิ่งพิมพ์แห่งชาติ หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยกระดาษถนอมสายตา พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2557


วิลเลียม ซาโรยัน นักเขียนเพื่อมนุษยธรรม

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

วิลเลียม ซาโรยัน (ค.ศ. 1908-1981) เป็นนักเขียนชาวอเมริกัน เชื้อสายอาร์เมเนียน รุ่นเดียวกับ เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ (ค.ศ. 1898-1961) จอห์น สไตน์เบ็ค (ค.ศ. 1902-1968) และ วิลเลียม โฟล์กเนอร์ (ค.ศ. 18971962) แต่นกั วิจารณ์วรรณกรรมให้ความส�ำคัญเขาน้อยกว่านักเขียนอเมริกนั ทั้ง 3 คนนั้น (ทั้ง 3 คน ได้ทั้งรางวัลพูลิตเซอร์และรางวัลโนเบลสาขา วรรณกรรม) ซาโรยัน มาจากครอบครัวคนกลุม่ น้อย เป็นผูอ้ พยพชาวอาร์เมเนียน ที่ยากจน ได้รับการศึกษาเป็นทางการไม่จบชั้นมัธยมปลาย (พ่อตายตั้งแต่ ยังเล็ก เขาต้องไปอยู่โรงเลี้ยงเด็กก�ำพร้าเกือบ 6 ปี กว่าแม่จะมีงานท�ำที่มี รายได้พอจะรับลูกหลายคนกลับมาอยูด่ ว้ ยกันได้ เขาฝึกอ่านหนังสือและเขียน หนังสือด้วยตัวเอง) เขาท�ำงานสารพัดอย่าง ตั้งแต่ขายหนังสือพิมพ์ไปจนถึง พนักงานบริษัทโทรเลข เขาเขียนทั้งเรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร ชีวประวัติ และความทรงจ�ำ ไว้จ�ำนวนมาก งานเขียนส่วนใหญ่มาจากประสบการณ์ชีวิต ของผู้อพยพจากต่างชาติในสหรัฐฯ ยุคเศรษฐกิจตกต�่ำครั้งใหญ่ ทศวรรษ 1930 ท�ำให้ต่อมาเขาเลี้ยงตัวเองและครอบครัวด้วยการเป็นนักเขียนอาชีพ รวมทั้ ง ได้ เ ดิ น ทางไปยุ โรป เขี ย นหนั ง สื อ เรื่ อ งเล่ า ชี วิ ต แนวสมจริ ง ของ คนอเมริกันรายได้ต�่ำ ซึ่งคือคนส่วนใหญ่ในยุคนั้น จนได้รับการยอมรับและ ประสบความส�ำเร็จมากพอสมควร


ซาโรยันผลิตงานเขียนอย่างสมำ�่ เสมอจนถึงช่วงวัยชรา ก่อนทีเ่ ขาจะ เสียชีวิตเมื่อปี 1981 ในวัย 72 ปีเศษ มีงานที่พิมพ์แล้ว 60 เล่ม และที่ยัง ไม่ได้พิมพ์อีกมาก งานของเขาช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นที่นิยมลดลง เพราะ เขายังเขียนวรรณกรรมแนวประทับใจหรืออารมณ์อ่อนไหว ที่คนรุ่นหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 เห็นว่าเป็นสไตล์เก่าเกินไป อย่างไรก็ตามในยุคหลังจาก ที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว ได้มีผู้สนใจกลับไปอ่านและวิจารณ์หรือกล่าวถึงงาน ของเขาเพิ่มขึ้น เพราะงานเขามีลักษณะเฉพาะตัว เช่น ความกระตือรือร้นต่อ การมีชีวิตอยู่ ความรักในเพื่อนมนุษย์ มีการแปลงานเขียนของเขาออกไป หลายภาษา รวมทั้งในเมืองไทยเอง หนังสือนวนิยายเรื่อง ‘The Human Comedy’ มัทนี เกษกมล แปลและเรียบเรียงโดยใช้ชื่อว่า “ความสุข (แห่งชีวิต)” พิมพ์ครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 โดย คลังสมุด “ดาวฤกษ์” และเข้าใจว่าพิมพ์ซ�้ำอีกหลายครั้ง แสดงว่าผู้อ่านชาวไทยชอบงานของเขา เรือ่ งทีซ่ าโรยันเขียนมักเป็นเรือ่ งเกีย่ วกับเรือ่ งราวของชีวติ คนธรรมดา ทีเ่ ขียนเป็นเรือ่ งเล่าแบบเรียบ ๆ แต่สวยงาม เดินเรือ่ งด้วยบทสนทนาเสียมาก แต่มีเรื่องราวรายละเอียดเกี่ยวกับอุปนิสัย ความคิดของตัวละครที่น่าติดตาม แทรกข้อคิดในแนวมนุษยนิยม ความรัก ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การมองชีวิต และโลกอย่างพยายามเข้าใจความเป็นไปของธรรมชาติ ซาโรยันต่างจาก นักเขียนที่สะท้อนสภาพสังคมที่คนจนโดนนายทุน นายธนาคาร เอาเปรียบ แบบ จอห์น สไตน์เบ็ค (ค.ศ. 1902-1968) ในเรื่อง “ผลพวงแห่งความคับ แค้น” ‘The Grapes of Wrath’ เขามองโลกในแง่ดี มีความหวัง แม้ตัว ละครจะจนหรือยากล�ำบาก ก็ไม่เศร้ามาก แต่สะท้อนความจริงอย่างตรงไป ตรงมาในอีกแง่หนึ่ง ผมคิดว่าคนไทยชอบงานของเขาส่วนหนึ่งเพราะเขามี


พื้นเพมาจากประเทศยากจนที่คนมีวัฒนธรรมความเป็นมนุษย์ที่เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่แบบคนชนบทคล้าย ๆ คนไทย นั ก วิ จ ารณ์ บ างคนมองว่ า ซาโรยั น ได้ รั บ อิ ท ธิ พ ลแนวคิ ด เรื่ อ ง ปัจเจกชนนิยมจากนักเขียนความเรียงและนักปรัชญาอเมริกันรุ่นก่อนอย่าง ราล์ฟ วอลโด อีเมอร์สัน (ค.ศ. 1803-1882) และ เฮนรี่ เดวิด ธอโร (ค.ศ. 1817-1862) บางที เขาน่ า จะได้ รั บ อิ ท ธิ พ ลจากครอบครั ว ชาว อาร์เมเนียนทีม่ วี ฒ ั นธรรมและเชือ่ ในเรือ่ งพระเจ้า เรือ่ งคุณธรรม เขาพยายาม จะปรับตัวเป็นชาวอเมริกันในความหมายดั้งเดิมคือ ผู้มาจากดินแดนต่าง ๆ ทีร่ กั เสรีภาพและประชาธิปไตย เป็นตัวของตัวเอง แม้ซาโรยันจะไม่ได้มคี วาม คิดทางการเมืองสังคมแบบพวกฝ่ายก้าวหน้าในยุคนั้น ซึ่งเป็นยุคเศรษฐกิจ ทุนนิยมตกต�่ำ คนจนล�ำบากกันมาก แต่เขาก็เป็นคนเห็นใจคน รักความ เป็นธรรม รักชีวิตเรียบง่ายแบบธรรมชาติ ไม่ได้หลงใหลไปกับความมั่งคั่ง ในระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมแบบคนอเมริกันทั่ว ๆ ไป ซาโรยันค่อนข้างเป็นตัวของตัวเอง เขาเขียนตอบโต้นักวิจารณ์ วรรณกรรมทีว่ จิ ารณ์งานเขียนของเขาอย่างรุนแรงว่าไม่เข้าใจงานของเขาดีพอ เขาปฏิเสธรางวัลพูลติ เซอร์ โดยอ้างว่า ลัทธิพาณิชย์นยิ มไม่มสี ทิ ธิท์ จี่ ะมาตัดสิน งานศิลปะ เขาขัดแย้งกับทีมงานฮอลลีวู้ด ผู้ซื้อลิขสิทธิ์เรื่อง ‘The Human Comedy’ ไปสร้างหนัง และเคยไปท�ำงานเขียนบทภาพยนตร์ให้คนอื่น โดยไม่ประสบความส�ำเร็จ เขาใช้ชีวิตแบบศิลปินเสรีในยุคนั้น กินเหล้า เล่นการพนัน เจ้าชู้ เขาแต่งงานตอนอายุ 30 กว่า กับผู้หญิงเชื้อสายยุโรป อายุ 17 ปี มีลูกด้วยกัน 2 คน หย่าร้างกันไประยะหนึ่ง กลับมาแต่งงานใหม่ แล้วหย่าร้างเป็นหนที่ 2


งานเขี ย นของเขาเป็ น งานศิ ล ปะที่ ส ะท้ อ นจิ น ตนาการแบบ ‘Magic Realism’ “สมจริงแบบเพ้อฝัน” สะท้อนความเป็นนักมนุษยนิยม มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน เย้ยหยันบ้าง แต่ไม่รุนแรงก้าวร้าว ใช้ภาษา ที่ค่อนข้างลื่นไหล นวนิยายเรือ่ ง ‘The Human Comedy’ (1943) แม้ตวั ละครหลัก จะเป็นเยาวชนและเด็ก แต่เป็นหนังสือนวนิยายส�ำหรับผูอ้ า่ นผูใ้ หญ่ทวั่ ไปด้วย เนื้อหาหลักเป็นเรื่องเศร้า “โฮเมอร์” เด็กส่งโทรเลขอายุ 14 ปี ผู้ต้องรู้สึก สะเทือนใจทุกครั้งที่ต้องเป็นคนน�ำโทรเลขข่าวการตายของทหารอเมริกันใน สงครามโลกครั้งที่ 2 ไปส่งที่บ้านพ่อแม่ของผู้ตาย และในตอนท้ายเรื่องเป็น ข่าวการตายของพีช่ ายเขาเอง ซาโรยันตัง้ ชือ่ นวนิยายเรือ่ งนีว้ า่ “สุขนาฏกรรม ของมนุษย์” แม้จะเป็นเรื่องเศร้าที่คนต้องไปตายในสงคราม แต่เขามองเรื่อง ความตายที่เกิดขึ้นอย่างเป็นเรื่องธรรมดาในชีวิตของมนุษย์ ซึ่งมีทั้งช่วงสุข และช่วงเศร้าปะปนกัน เขาไม่ถึงกับยกย่องการตายของทหารเยี่ยงวีรบุรุษ แม้จะภูมิใจในความเป็นชาวอเมริกันอยู่ในที และไม่ได้ประณามความรุนแรง ของสงครามแบบตรง ๆ เขามักใส่ความคิดเข้าไปในบทสนทนาของตัวละคร ต่าง ๆ แต่ก็ท�ำได้อย่างแนบเนียน น่าฟัง มีหลายตอนที่คนคัดไปเป็นค�ำคม (Quotation) ได้ นีอ่ าจจะเป็นการเขียนนวนิยายสไตล์เก่า แต่กม็ เี รือ่ งราวและ การใช้บทสนทนาแบบที่คนจริง ๆ เขาพูดกัน ส่วนเรื่อง ‘Papa You're Crazy’ (1957) เป็นเรื่องเล่าความ สัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกชายแบบสนุก ๆ มองจากสายตาของเด็กช่างคิด เป็น เรื่องเล่าชีวิตประจ�ำวันธรรมดา บทสนทนาเป็นการเล่นค�ำ เล่นความคิดมาก แต่ก็แทรกความคิดเห็นต่อชีวิตและโลกแบบพวกเสรีนิยม มนุษยธรรมนิยม ซึ่งคงจะเป็นทัศนะของซาโรยัน จากประสบการณ์ของตัวเขาเอง ที่ไม่ชอบ


ระบบโรงเรียนที่จ�ำกัดเสรีภาพและจินตนาการ แต่ชอบเรียนรู้จากการสังเกต ธรรมชาติและประสบการณ์จริงมากกว่า ผลงานอืน่ ๆ ของซาโรยัน ทีน่ กั วิจารณ์มกั พูดถึงว่าเป็นงานเด่นของ เขาคือ รวมเรื่องสั้นชื่อ ‘My Name is Aram’ (1940) ซึ่งมูลนิธิหนังสือ เพื่อสังคมเตรียมจะพิมพ์ต่อไป บทละครเรื่อง The Time of Your Life, My Heart’s in The High Lands.

วิทยากร เชียงกูล ประธานกรรมการมูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม พฤษภาคม 2557



หนังสือคลาสสิก หมายถึงอะไร

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ค�ำว่า คลาสสิก นั้น เดิมใช้เป็นค�ำคุณศัพท์ หมายถึง งานศิลปะ แบบดั้งเดิมตามแบบแผนของกรีกและโรมันยุคโบราณ ถ้าใช้กับหนังสือ หมายถึงหนังสือทีไ่ ด้รบั การยกย่องจากวงวิชาการและวรรณกรรมในประเทศ ตะวันตกว่าเป็นหนังสือดี หรือหนังสือดีชั้นเยี่ยม นับตั้งแต่วรรณกรรมกรีก และโรมันยุคโบราณเป็นต้นมา รวมทั้งเรื่องแต่ง (Fiction) งานสร้างสรรค์ เช่น บทกวี นวนิยาย ละคร ฯลฯ และที่ไม่ใช่เรื่องแต่ง (Non-Fiction) ความเรียง ประวัติศาสตร์ ความทรงจ�ำต่าง ๆ ชีวประวัติ รายงาน ฯลฯ ในภายหลัง ค�ำนีย้ งั ใช้หมายถึง หนังสือดีชนั้ เยีย่ มยุคเก่าของสังคม หรือประเทศอื่น ๆ และหรือหนังสือดีชั้นเยี่ยมยุคใหม่ เช่น ในรอบ 100 200 ปีที่ผ่านมาด้วย ที่เรียกว่า คลาสสิก - สมัยใหม่ (Modern Classic) หนังสือคลาสสิกที่เป็นที่ยกย่องกล่าวขวัญถึงมากส่วนใหญ่ยังเป็นหนังสือ ของผู้เขียนชาวตะวันตก และถือเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมตะวันตก หนังสือคลาสสิก (Classics) ในปัจจุบันมีความหมายกว้าง ๆ ถึง หนังสือทีไ่ ด้รบั การยอมรับว่าเป็นหนังสือดีชนั้ เยีย่ มทีไ่ ด้มาตรฐาน ควรถือเป็น แบบฉบับ หรือมีคณ ุ ค่าควรได้รบั การยกย่องอย่างสูง โดยคณะนักคิด นักเขียน อาจารย์ผู้สอนภาษาและวรรณกรรมในมหาวิทยาลัย คณะบรรณาธิการ นักวิจารณ์ นักเขียน นักอักษรศาสตร์ จากสถาบันหรือส�ำนักพิมพ์ มีการ คัดเลือกก�ำหนดรายชื่อหนังสือดีชั้นเยี่ยมเหล่านี้ให้นักเรียน นักศึกษาอ่าน ส�ำนักพิมพ์ทงั้ มหาวิทยาลัยและเอกชนได้จดั พิมพ์หนังสือชุดคลาสสิกเพือ่ เผย แพร่ให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปได้อ่านกัน


อาจารย์มหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ กลุ่มหนึ่งใช้ค�ำว่า Great Books (หนังสือที่ยิ่งใหญ่) และมีขบวนการ Great Books Movement ซึ่งมีฐาน อยู่ในมหาวิทยาลัยและส�ำนักพิมพ์ใหญ่ ๆ คัดเลือกพิมพ์เผยแพร่ ศึกษา ค้ น คว้ า อภิ ป ราย วิ พ ากษ์ วิ จ ารณ์ ห นั ง สื อ ดี ชั้ น เยี่ ย มเหล่ า นี้ กั น ทั้ ง ใน มหาวิทยาลัยและสมาคมนักอ่านตั้งแต่ศตวรรษที่แล้วมาอย่างต่อเนื่อง Charles Augustin Sainte - Beuve (1804-1869) นั ก วิ จ ารณ์ ว รรณกรรมชาวฝรั่ ง เศส เคยตอบค�ำถามว่ า อะไรคื อ หนั ง สื อ คลาสสิกไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1850 ว่า “คื อ หนั ง สื อ ที่ ผู ้ ป ระพั น ธ์ ท� ำ ให้ ค วามคิ ด จิ ต ใจของมนุ ษ ย์ กว้ า งไกลขึ้ น ช่ ว ยเพิ่ ม คุ ณ ค่ า และช่ ว ยให้ ค วามคิ ด จิ ต ใจของมนุ ษ ย์ ก้ า วไปข้ า งหน้ า ผู ้ ค ้ น พบความจริ ง ทางศี ล ธรรม ไม่ ใช่ แ ค่ ค วามจริ ง ทีค่ ลุมเครือ หรือหนังสือทีไ่ ด้เผยให้เห็นอารมณ์ ความรูส้ กึ ผูกพันขึน้ ในจิตใจ ที่ดูเหมือนทุกคนจะได้รู้และค้นพบ ที่ได้อธิบายความคิด การสังเกต การ สร้างสรรค์ ไม่ว่าจะในรูปแบบใด แต่ให้ทั้งความกว้างและความยิ่งใหญ่ ความประณีต ความมีเหตุผล ความมีสามัญส�ำนึก และความงามในตัวของ งานเขียนนั้นเอง หนังสือที่ได้พูดกับทุกคนในท่วงท�ำนองของผู้เขียน ท่วงท�ำนองซึง่ เป็นของทัง้ โลกด้วย ท่วงท�ำนองซึง่ มีความใหม่โดยไม่จำ� เป็น ต้องใช้ค�ำหรือส�ำนวนแบบใหม่ แต่มีลักษณะที่ร่วมยุคสมัยกับผู้อ่าน ได้ ใ นทุ ก ยุ ค สมั ย อย่ า งค่ อ นข้ า งเรี ย บง่ า ย ไม่ ว ่ า จะเป็ น งานเขี ย นใหม่ หรือเก่าก็ตาม” เขายั ง ได้ ย กค�ำพู ด ของ Johann Wolfgang von Goethe (1749-1832) นักเขียนนวนิยายคนส�ำคัญของเยอรมัน ที่เอ่ยถึงแนวคิด


หนังสือคลาสสิก ไว้ว่า “หนังสือรุ่นเก่าที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนังสือคลาสสิก ไม่ใช่ เพราะว่ามันเป็นหนังสือเก่า แต่เพราะว่าเป็นหนังสือที่ทรงพลัง มีความ สดใหม่ และมีพลานามัย” Clifton Fadiman (1904-1999) นั ก เขี ย น บรรณาธิ ก าร นั ก จั ด รายการสื่ อ วิ ท ยุ แ ละโทรทั ศ น์ ช าวอเมริ กั น มี ค วามเห็ น สนั บ สนุ น Johann Wolfgang von Goethe และเสริมว่าหนังสือคลาสสิกจะต้องมี “คุณสมบัตขิ องการเริม่ ต้นใหม่” ซึง่ หมายถึงว่า เป็นหนังสือทีเ่ ด็กและเยาวชน จะสนุกสนานชื่นชมกับมันได้ด้วย ดังตัวอย่างของนวนิยายมหากาพย์เรื่อง Iliad และ Odyssey ของโฮเมอร์ ซึง่ ถือเป็นหนังสือทีค่ นทุกวัย ทุกยุคทุกสมัย ทุกชาติวัฒนธรรมอ่านกันด้วยความเพลิดเพลิน ติดอกติดใจ Ezra Pound (1885-1972) กวีและนักวิจารณ์ชาวอเมริกัน เขียน ไว้ใน About Reading ว่า “หนังสือคลาสสิกได้รับการยอมรับว่าคลาสสิก ไม่ใช่เพราะเป็น หนังสือทีเ่ ข้ากับกฎโครงสร้างอย่างหนึง่ อย่างใด หรือเข้ากับค�ำนิยามอย่าง หนึ่งอย่างใด (ซึ่งผู้เขียนเองอาจไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย) มันเป็นหนังสือ คลาสสิกได้ เพราะมันมีความคิดใหม่ (Freshness) ที่เป็นธรรมชาติ เป็น นิรันดร์ อย่างไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้” Michael Dirda นักวิจารณ์ชาวอเมริกันผู้ได้รางวัลพูลิตเซอร์ ในปี 1933 เห็นด้วยกับเอซรา ปาวนด์ ในเรื่องความมีพลังชีวิตชีวาของ


หนังสือคลาสสิก เขาเขียนว่า “หนึ่งในคุณสมบัติที่แท้จริงของหนังสือคลาสสิกคือ มันเป็น หนั ง สื อ ที่ เราสามารถอ่ า นได้ ซ�้ ำ แล้ ว ซ�้ ำ อี ก โดยได้ รั บ ความพึ ง พอใจ ที่ลึกซึ้งขึ้น” Mark Van Doren กวี และอาจารย์มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ผู้เป็น ก�ำลังส�ำคัญคนหนึ่งในขบวนการส่งเสริมการศึกษาเผยแพร่หนังสือยิ่งใหญ่ Great Books Movement เคยกล่าวว่า “หนังสือคลาสสิกคือ หนังสือ ที่คงพิมพ์ได้ครั้งแล้วครั้งเล่า” ซึ่งหมายถึงหนังสือที่ผู้อ่านเห็นว่าดีและ บอกต่อ ๆ กัน คนอืน่ ๆ รวมทัง้ คนรุน่ หลังสนใจจะซือ้ มาอ่านกันอย่างต่อเนือ่ ง หลายชั่วอายุคน อย่างไรก็ตาม มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจที่ ค�ำนึงถึงการตลาดของส�ำนักพิมพ์ด้วยเช่นกัน เช่น ส�ำนักพิมพ์ Penguin พิมพ์หนังสือชุด Penguin Classic ขายในราคาต�่ำอย่างแพร่หลายใน ทศวรรษ 1930 เนือ่ งจาก Alanlane ผูก้ อ่ ตัง้ ส�ำนักพิมพ์พบว่า เขาไม่สามารถ หาซื้อหนังสือดี ๆ อ่านที่สถานีรถไฟขณะที่เขาก�ำลังจะเดินทางได้ เขาจึงคิด ว่าส�ำนักพิมพ์ของเขาควรจะพิมพ์หนังสือนิยายร่วมสมัยที่มีคุณภาพดีใน ราคาต�่ำที่สามารถวางขายตามร้านเล็ก ๆ ในสถานีรถไฟ ร้านขายบุหรี่ หรือ ร้านค้าปลีกทั่วไปได้ ภายในปีแรก ส�ำนักพิมพ์ Penguin สามารถขายหนังสือ นวนิยายปกอ่อนของนักเขียนร่วมสมัยในยุคนั้น เช่น


เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์1, อกาธา คริสตี2้ และอังเดร มัลโรว์3 ได้ถึง 3 ล้านเล่ม เขายังพิมพ์งานแปลของ E. V. Rieu เรื่อง Odyssey ของโฮเมอร์ จากภาษา กรีกเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งในตอนนั้นไม่มีใครคิดเลยว่าในเวลาต่อมาจะกลาย เป็นหนังสือขายดีที่ขายได้หลายล้านเล่ม ขบวนการหนั ง สื อ ที่ ยิ่ ง ใหญ่ (Great Books Movement) ที่เป็นขบวนการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยสหรัฐฯ กลุ่มหนึ่งในศตวรรษ ทีแ่ ล้ว เชือ่ ว่าการได้อา่ นและอภิปรายถกเถียงกันในหนังสือดีชนั้ เยีย่ มของโลก คือการสร้างพลเมืองแบบเสรีประชาธิปไตยที่มีวัฒนธรรม พวกเขาคัดเลือก ก�ำหนดรายชื่อหนังสือยิ่งใหญ่ จัดเป็นหลักสูตรสอนในมหาวิทยาลัยบางแห่ง ติดต่อให้ส�ำนักพิมพ์จัดเผยแพร่ จัดตั้งสมาคมนักอ่าน จัดกิจกรรมพูดคุยกัน การอ่านและการถกเถียงกันแบบโสเครติส คือการตั้งค�ำถามเพื่อฝึกการคิด วิเคราะห์ หาค�ำตอบ พวกเขาเห็นว่าทั้งเนื้อหาสาระในหนังสือที่ยิ่งใหญ่และ วิธีการอ่านและอภิปรายถกเถียงกันคือการเรียนรู้ที่ส�ำคัญของมนุษย์

1  Hemingway, Ernest (1989-1961) นักเขียนนวนิยายชาวอเมริกัน ผู้เขียนเรื่อง เกี่ยวกับสงครามและการใช้ชีวิตกลางแจ้ง ด้วยท่วงทำ�นองการเขียนแบบกระชับ เรียบง่าย ได้รางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม 2  Christie, Agatha (1890-1976) นักเขียนนวนิยายสืบสวนสตรีชาวอังกฤษ 3  Malraux, Andre (1901-1976) นักเขียนนวนิยาย นักประวัติศาสตร์ และนักการเมือง ชาวฝรั่งเศส เคยอาสาสมัครไปช่วยฝ่ายสหรัฐฯ สู้รบในสงครามกลางเมืองสเปน และต่อต้าน ฝ่ายนาซี ในสงครามโลกครั้งที่ 2 และเคยเป็นรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมฝรั่งเศส


รายชื่อหนังสือชุดคลาสสิก รายชือ่ หนังสือคลาสสิกมีคณะบุคคลต่าง ๆ เสนอรายชือ่ , ก�ำหนดให้ นักศึกษาอ่าน หรือพิมพ์จ�ำหน่ายเป็นชุดหลายรายการด้วยกัน ชุดหนึ่งมักจะ รวมรายชื่อระหว่าง 100 - 200 ชื่อเรื่อง ส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือที่ก�ำเนิดใน อารยธรรมตะวันตก ตั้งแต่กรีก โรมัน มาจนถึงยุโรป (อิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน อังกฤษ รัสเซีย ฯลฯ) สหรัฐอเมริกา ในระยะหลังมีผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์ วรรณคดีของโลกตะวันออก และวรรณกรรมโลกโดยเปรียบเทียบ ได้ใส่รายชื่อหนังสือคลาสสิกหรือ หนังสือดีชนั้ เยีย่ มของโลกตะวันออกจากเปอร์เซีย อินเดีย จีน ญีป่ นุ่ ฯลฯ และ หรือจากลาตินอเมริกา แอฟริกาเข้าไปด้วย แต่รายชื่อหนังสือดีของโลก ตะวันออกและโลกที่สามยังมีจ�ำนวนน้อย เนื่องจากชนชั้นน�ำผู้มีการศึกษา ของโลกตะวันตกผู้มีอิทธิพลทางวัฒนธรรมสูง ยังศึกษาและแปลวรรณกรรม ประเทศอื่น ๆ เป็นภาษาอังกฤษน้อย ซึ่งต่างจากงานที่เป็นภาษาอังกฤษ อยู่แล้วหรือภาษาในประเทศยุโรปที่มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษมากกว่า รวมทั้งภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน เยอรมัน เป็นภาษาที่คนมีการศึกษา ระดับมหาวิทยาลัยใช้กันแบบข้ามประเทศมากกว่าภาษาอื่น ๆ รายชื่อหนังสือชุดคลาสสิกฉบับต่าง ๆ มีหนังสือที่เก่าแก่มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับร่วมกันจ�ำนวนหนึ่ง แต่ก็มีบางส่วนที่ต่างออกไปแล้วแต่ภูมิหลัง จุดยืน รสนิยมของคณะผู้คัดเลือก รายชื่อหนังสือชุดเก่าๆ เช่น Great Books ที่จัดพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และสารานุกรมบริตานิกา ถูกนักอ่าน นักวิจารณ์รุ่นหลังว่าแม้จะรวมรายชื่อหนังสือดี ๆ ที่เป็นสากลอยู่บ้าง แต่ รายชื่อหนังสือส่วนใหญ่เป็นหนังสือของพวกผู้ชายแองโกลแซกซอนที่ตาย ไปแล้ว ซึง่ หลายคนมีทศั นคติแบบจารีตนิยม เหยียดผิว ดูถกู ผูห้ ญิง ฯลฯ และ


เสนอว่ารายชือ่ หนังสือยิง่ ใหญ่หรือหนังสือดีควรจะต้องรวมงานของนักเขียน ที่ไม่ใช่ชาวตะวันตก นักเขียนผู้หญิง รวมทั้งนักเขียนฝ่ายก้าวหน้าที่มี ผลงานดีแต่ไม่เป็นที่รู้จักด้วย ขบวนการเรียกร้องเผยแพร่ให้คนอ่านหนังสือยิ่งใหญ่หรือหนังสือ คลาสสิ ก เคยได้ รั บ ความนิ ย มสู ง ในสหรั ฐ ฯ และยุ โรปในศตวรรษที่ แ ล้ ว มาจนถึงยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากนั้นได้ซาลงบ้าง แต่ก็ยังเป็น ทีส่ นใจของมหาวิทยาลัย โรงเรียน ส�ำนักพิมพ์ นักเขียน และนักอ่าน ประเภท เอาจริงเอาจัง รายชือ่ หนังสือดีชนั้ เยีย่ มในโลกตะวันตกทีม่ กี ารแปลเป็นไทยดูได้จาก หนังสือ 2 เล่ม คือ 1. วิทยากร เชียงกูล หนังสือดีในรอบศตวรรษ พิมพ์โดย ส�ำนักพิมพ์ชนนิยม พิมพ์ครัง้ แรกในปี 2542 และพิมพ์ใหม่ในปีอนื่ ๆ อีก และ 2. วิทยากร เชียงกูล หนังสือดีในรอบหลายทศวรรษ พิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์ วิญญูชน ปี 2547 ทั้ง 2 เล่ม มีรายชื่อและข้อความที่แนะน�ำหนังสือ อย่างสั้น ๆ ด้วย เล่มที่ 2 รวมเอาเนื้อหาเล่ม 1 ไว้ด้วย และมีเนื้อหาเพิ่มเติม มากขึ้นหลายด้าน รวมทั้งมีรายชื่อวรรณกรรมชั้นดีของไทย, 100 หนังสือดี ที่คนไทยควรอ่าน และรายชื่อ 100 หนังสือที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน รายชื่อหนังสือคลาสสิกหรือหนังสือยิ่งใหญ่, หนังสือดีของโลกและ หนังสือดีของไทย ค้นหาได้จาก Google หรือเว็บไซต์เพื่อการค้นหาอื่น ๆ



คำ�คม

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

“หนั ง สื อ ดี ทั้ ง หลายนั้ น เหมื อ นกั น ตรงที่ มั น เป็ น เรื่ อ งจริ ง มากกว่าเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นจริง ๆ และหลังจากคุณอ่านหนังสือจบไปแล้ว เล่มหนึง่ คุณจะรูส้ กึ ว่าเรือ่ งทัง้ หมดนัน้ เกิดขึน้ กับคุณ และหลังจากนัน้ ทุกอย่าง กลายเป็นเรื่องของคุณเอง ความดีและความชั่ว, ความปลาบปลื้มปีติ, ความ ส�ำนึกผิด และความโศกเศร้า, ผู้คนและสถานที่ และสภาพภูมิอากาศ” Ernest Hemingway (1898-1961) นักเขียนนวนิยายชาวอเมริกัน

“มีบางอย่างที่พิเศษเกี่ยวกับคนซึ่งสนใจเรื่องหนังสือ พวกเขาเป็น เผ่าพันธุ์ที่มีลักษณะเฉพาะ - เป็นคนสนใจเรียนรู้, เมตตา, รอบรู้ และมีความ เป็นมนุษย์” Nathan Pine ผู้อ�ำนวยการด้านการกีฬา มหาวิทยาลัยโฮลี่ครอส


“หนังสือดี ส่วนที่ดีที่สุดซ่อนอยู่ระหว่างบรรทัด” Swedish Proverbs

“ไม่จริงที่ว่าคนเราใช้ชีวิตได้เพียงชีวิตเดียว, ถ้าเราอ่านหนังสือ, เรา สามารถจะมีชีวิตได้หลายชีวิต และมีชีวิตแบบที่เราอยากมีได้มากเท่าที่เรา ต้องการ” Samuel Ichiye Hayakawa (1906-1992) อาจารย์มหาวิทยาลัย และนักการเมืองชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น

“เมือ่ คุณอ่านหนังสือคลาสสิก คุณไม่ได้เห็นสิง่ ต่าง ๆ ในหนังสือมาก ไปกว่ า ที่ คุ ณ เคยเห็ น มาแล้ ว คุ ณ เห็ น ตั ว คุ ณ เองมากกว่ า ที่ คุ ณ เคย เห็นตัวคุณเองมาก่อน” Clifton Fadiman (1904-1999) นักเขียนความเรียง และนักสื่อมวลชนชาวอเมริกัน


“หนังสือทีย่ งิ่ ใหญ่ ควรจะทิง้ ประสบการณ์จ�ำนวนมากไว้ให้คณ ุ และ ท�ำให้คุณหมดเรี่ยวแรงเล็กน้อยตอนอ่านจบ คุณจะได้ใช้ชีวิตหลายชีวิต ระหว่างที่คุณอ่านหนังสือ” William Styron (1925-2006) นักเขียนนวนิยาย และความเรียงชาวอเมริกัน



ประวัติผู้เขียน

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ผู้เขียนคือวิลเลียม ซาโรยัน (William Saroyan, 1908-1981) กวี นักเขียน และนักเขียนบทละครชาวอเมริกัน ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ประเภท งานการละครในปี 1940 และปี 1943 ก็ได้รางวัลออสการ์จากบทภาพยนตร์ ที่ดัดแปลงจากบทประพันธ์เรื่องนี้คือ The Human Comedy ซาโรยันเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายอาร์เมเนีย จึงเขียนถึงชีวิตของ ชาวอาร์เมเนียอพยพในแคลิฟอร์เนียไว้มากมาย งานประพันธ์หลายเรื่องใช้ ฉากของชุมชนเฟรสโน (Fresno) ซึ่งเป็นชุมชนอาร์เมเนีย ในแคลิฟอร์เนีย บ้านเกิดของเขา ซาโรยันเสียพ่อตัง้ แต่อายุสามขวบ และต้องอยูส่ ถานเลีย้ งเด็กก�ำพร้า ในแคลิฟอร์เนียกับพี่ชายพี่สาว ห้าปีต่อมาจึงได้กลับไปอยู่กับแม่ซึ่งมีงาน ท�ำแล้ว แต่เขายังต้องหาทางท�ำงานทุกอย่างเพื่อส่งตัวเองเรียน ซาโรยัน ตั ด สิ น ใจเป็ น นั ก เขี ย นหลั ง จากแม่ เ อางานเขี ย นจ�ำนวนหนึ่ ง ของพ่ อ ให้ ดู พ่ออยากเป็นนักเขียน แต่เสียชีวิตไปก่อน ซาโรยันจึงตั้งใจว่าจะท�ำความฝัน ของพ่อให้เป็นจริง ซาโรยันเข้าประจ�ำการในกองทัพสหรัฐระหว่างสงครามโลกครั้ง ที่สอง - นิยายเรื่อง The Human Comedy - ความสุขแห่งชีวิต นี้ ก็เป็น เรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปี 1942 เขาถูกส่งไปอยู่ ลอนดอนในฐานะทีเ่ ป็นส่วนหนึง่ ของหน่วยภาพยนตร์ และรอดจากศาลทหาร มาหวุดหวิด เพราะถูกกล่าวหาว่าส่งเสริมลัทธิสันติภาพ หรือต่อต้านสงคราม จากการเขียนนิยายเรื่อง The Adventures of Wesley Jackson -


การผจญภัยของเวสลีย์ แจ็คสัน ซาโรยันเขียนหนังสือได้เร็ว ไม่คอ่ ยแก้ตน้ ฉบับ เงินทีไ่ ด้มาหมดไปกับ การดืม่ และการพนัน เขาแต่งงานในปี 1943 กับนักแสดงสาว แครอล มาร์คสุ (Carol Marcus, 1924-2003) มีลกู ชายหญิงด้วยกันสองคน แต่ปลายทศวรรษ 1940 ชีวิตสมรสก็พังเพราะการดื่มและการพนันของเขา เขาถูกฟ้องหย่าใน ปี 1949 แต่ปี 1951 ก็แต่งงานกันใหม่ และหย่ากันอีกครั้งในปี 1952 ต่อมา อาร์ตี ชอว์ (Artie Shaw) นักร้องเพลงแจ๊ซ เพื่อนสนิทของทั้งคู่กล่าวว่า การ ที่ซาโรยันหย่าจากแครอล มาร์คุสนั้นเพราะเขาเกลียดยิวอย่างรุนแรง และ แครอลเป็นลูกครึ่งยิว ต่อมา แครอลแต่งงานใหม่ ซาโรยันถึงแก่กรรมด้วย โรคมะเร็งในวัย 72 วิลเลียม ซาโรยันท�ำงานไว้มากมาย ทั้งนิยาย เรื่องสั้น บทกวี บทละคร บทเพลง พิมพ์เป็นหนังสือกว่า 60 เล่ม งานของเขาได้รับการแปล ไปกว่ายี่สิบภาษาทั่วโลก เขาเขียนด้วยพลังแห่งความรักในมนุษย์ ใจความ ใหญ่ ๆ มักเป็นเรือ่ งความใฝ่ฝนั ความหวัง ความซือ่ สัตย์ วัตถุและความส�ำเร็จ นั้นไร้ค่าในสายตาเขา งานของเขาจะสะท้อนความดีงามในคนทุกคนและ ให้คุณค่าแก่ชีวิต ดังจะเห็นได้ชัดจากเรื่องนี้


คำ�นำ�ผู้แปล

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

"ความสุขแห่งชีวิต" แปลจาก The Human Comedy ของวิลเลียม ซาโรยัน ซึง่ พิมพ์เผยแพร่ในปี 1943 สร้างเป็นภาพยนตร์ในปีเดียวกัน และได้ รางวัลออสการ์สาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงจากวรรณกรรมปีนั้นเช่นกัน "ความสุขแห่งชีวิต" เป็นวรรณกรรมที่ถือกันว่าเป็น "วรรณกรรม เยาวชน" ตัวละครเป็นเด็กวัยรุ่น และเด็กเล็ก นั่นคือ โฮเมอร์ แมคคอลีย์ วัยสิบสี่ ยูลสิ ซิส แมคคอลีย์ สีข่ วบ ซึง่ เป็นตัวละครหลัก เล่าถึงชีวติ ของครอบ ครัวแมคคอลีย์ ในเมืองอิธธะคา (Ithaca) แคลิฟอร์เนีย ซึ่งจ�ำลองจากชุมชน เฟรสโน แคลิฟอร์เนีย บ้านเกิดของผูเ้ ขียนเอง เรือ่ งเล่าถึงชีวติ ของครอบครัว แมคคอลีย์ซึ่งขาดพ่อ เพราะถึงแก่กรรมไปแล้ว ลูกชายคนโตคือมาร์คัส ไปเป็นทหาร - ในสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง ลูกสาวเบ็สส์ เป็นนักศึกษาในวิทยาลัย โฮเมอร์ ซึง่ เป็นเพียงเด็กมัธยมจึงต้องท�ำงานเพือ่ จุนเจือครอบครัว กับน้องเล็ก ยูลสิ ซิส อายุสขี่ วบ ครอบครัวจึงยากจน แต่ครอบครัวนีร้ ำ�่ รวยน�ำ้ ใจ มีรอยยิม้ มีเสียงดนตรี มีความรักและความเข้าใจชีวิตของแม่ คือมิสซิสแมคคอลีย์ ซึ่งสามารถน�ำพาความคิดจิตใจของลูกชายที่สับสนอย่างหนักเมื่อต้องเผชิญ ความโศกเศร้าเสียใจจากปัญหาความตายได้ ในเรื่องนี้ เราได้เห็นความดีงามของคน ได้เห็นความเลวร้ายของ สงครามทีก่ อ่ ให้เกิดการสูญเสีย ความตาย และได้เห็นความรักต่อเพือ่ นมนุษย์ ทั้งจากตัวมิสซิสแมคคอลีย์ แม่ของโฮเมอร์ และจากมิสเตอร์สแปงเกลอร์ เจ้านายของเขาทีส่ �ำนักงานโทรเลข กับมิสเตอร์โกรแกน เพือ่ นร่วมงานชราวัย ย่างเจ็ดสิบ ทั้งสองเป็นคนดี มีความเอื้ออารี และเข้าใจชีวิตอย่างมาก จึงได้


ช่วยให้โฮเมอร์มองเห็นความดี ความงาม ความรัก ความเข้าใจในมนุษย์ โดยเฉพาะเมื่อเกิดการสูญเสีย และความโศกเศร้าเสียใจอย่างลึกล�้ำจากการ ตายของมาร์คัส พี่ชายที่ไปรบ มิสเตอร์สแปงเกลอร์สามารถช่วยให้โฮเมอร์ มองความตายอย่างเข้าใจได้ และด�ำเนินชีวิตต่อไปได้โดยไม่จมกับความ เจ็บปวดโศกเศร้า วรรณกรรมเรือ่ งนี้ แม้จะถือว่าเป็น “วรรณกรรมเยาวชน” แต่ผแู้ ปล เห็นว่า นิยายเรือ่ งนีไ้ ม่ได้เหมาะส�ำหรับเยาวชนเท่านัน้ ยังเหมาะกับผูใ้ หญ่ดว้ ย ส�ำหรับผู้ที่ต้องประสบกับความสูญเสีย ความไม่เข้าใจต่อเหตุการณ์หลาย ๆ อย่างในชีวิต เชื่อว่าหนังสือเล็ก ๆ เล่มนี้อาจช่วยให้มีก�ำลังใจที่จะด�ำเนินชีวิต ต่อไปอย่างไม่เป็นทุกข์เกินไปนัก ส�ำหรับเยาวชนที่ได้อ่าน ก็จะได้ทัศนคติ อันดีงาม รู้จักการรัก การให้ อันจะท�ำให้การก้าวไปในชีวิตมีความสุข ดังที่ คุณมัทนี เกษกมล ได้แปลชื่อหนังสือไว้ว่า “ความสุขแห่งชีวิต” “ความสุขแห่งชีวิต” แปลไว้โดยคุณมัทนี เกษกมล พิมพ์ครั้งแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981 ปีเดียวกับที่ผู้เขียนเสียชีวิต) และได้พิมพ์ซ�้ำ อีกหลายครั้ง แต่เวลานี้หนังสือก็หาซื้อยากแล้ว ในครั้งนี้ ทาง “โครงการ หนังสือเพื่อสังคม” โดย “มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม” เห็นว่าเป็นหนังสือที่มี คุณค่า ประสงค์จะน�ำมาพิมพ์ใหม่ แต่เนือ่ งจากปัจจุบนั นีเ้ รามีกฎหมายลิขสิทธิ์ (บังคับใช้ในปี 2537) และลิขสิทธิ์หนังสือยังเป็นของทายาทผู้เขียน เมื่อจะ พิมพ์ใหม่จึงต้องซื้อลิขสิทธิ์ภาษาอังกฤษ ส่วนผู้แปลคือ คุณมัทนี เกษกมล ได้ถงึ แก่กรรมไปเมือ่ ปี 2548 ดังนัน้ ทางโครงการฯ จึงมอบให้ผแู้ ปลแปลใหม่ และได้เพิ่มเชิงอรรถ เพื่อช่วยเสริมให้หนังสือสมบูรณ์ขึ้น วรรณกรรมเรื่องนี้น่าอ่านมาก ให้ทั้งรอยยิ้มและน�้ำตา เราจะยิ้ม กับความน่ารัก ความอยากรู้อยากเห็น ความรักในทุกคนและทุกสิ่งของ


ยูลิสซิสน้อย เราจะเสียใจไปกับโฮเมอร์ เด็กถือสารโทรเลข ซึ่งต้องเป็นผู้น�ำ โทรเลขที่แจ้งข่าวสารแห่งความตายไปส่งยังครอบครัวที่มีลูกชายไปรบใน สงคราม แล้วต้องรับโทรเลขจาก “กระทรวงกลาโหม” ที่แจ้งว่าลูกชายตาย แล้ว และที่สุดของที่สุดคือความตายของมาร์คัส แมคคอลีย์ พี่ชายผู้เป็นที่รัก ... ทว่า แม้หนังสือจะจบที่ความตาย แต่ทุกคนก็ได้เริ่มต้นใหม่ด้วยรอยยิ้ม ที่เข้าใจชีวิตและความตาย อยากให้วรรณกรรมเรือ่ งนีเ้ ป็นหนังสือติดบ้านทุกบ้าน เพราะอ่านได้ ทุกคนทุกวัย อ่านแล้วจะมีก�ำลังใจ มีทัศนคติที่งดงามต่อชีวิตค่ะ

วิภาดา กิตติโกวิท เมษายน 2014



มอบแด่ ทาคูเฮ ซาโรยัน1 ผมคิดมานานหลายปีแล้วว่าจะเขียนหนังสือให้แม่เป็นพิเศษสักเรื่อง เพราะ อยากให้มันเป็นเรื่องที่ดีเยี่ยมส�ำหรับแม่โดยเฉพาะ เป็นเรื่องที่ดีที่สุดเท่าที่ผมจะ เขียนได้ จนสุดท้าย ผมก็ได้พยายามเขียนออกมาแล้ว แต่ในเวลาที่ค่อนข้างรีบ ผมอาจ จะรอต่อไปอีก แต่ในเมือ่ ไม่อาจรูว้ า่ จะเกิดอะไรขึน้ ต่อไป หรือจะเหลือทักษะหรือความ ชอบใดอีกหลังจากผ่านสิง่ ต่าง ๆ มาสารพัดแล้ว ผมจึงเร่งรัดมัน และใช้ทกั ษะกับความ ชอบเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ผมหวังว่าในไม่ช้าจะมีคนเก่ง ๆ แปลเรื่องนี้เป็นภาษา อาร์เมเนีย เพือ่ จะได้พมิ พ์เป็นตัวหนังสือทีแ่ ม่รจู้ กั ดี ในการแปล เรือ่ งราวอาจจะน่าอ่าน กว่าในภาษาอังกฤษ และแม่อาจจะอยากอ่านบางตอนให้ผมฟังเหมือนที่แม่เคยท�ำมา ก่อน แม้วา่ ผมจะเป็นคนเขียนเอง กระนัน้ ก็ตาม ผมสัญญาว่าจะฟัง และพิศวงกับความ งดงามในภาษาของเรา ซึ่งเป็นที่รู้น้อยมากโดยคนอื่น ๆ และเป็นที่ชื่นชมของคนอื่น น้อยกว่าแม่มาก ในเมื่อแม่ไม่สามารถอ่านและเข้าใจภาษาอังกฤษได้เท่ากับที่สามารถ อ่านและเข้าใจภาษาอาร์เมเนีย ส่วนผมก็อ่านเขียนภาษาอาร์เมเนียไม่ได้เลย เราจึงได้ แต่หวังว่าจะมีนกั แปลเก่ง ๆ สักคนมาช่วย อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้เขียนส�ำหรับแม่ ผมหวังว่าแม่จะชอบ ผมพยายามเขียนให้งา่ ยทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะท�ำได้ ด้วยส่วนผสมของความ จริงจังกับความเบิกบานซึ่งเป็นของแม่และครอบครัวของเราโดยเฉพาะ ผมรู้ว่าเรื่อง มันดีไม่พอ แต่จะเป็นไรไป? มันจะต้องดูดพี อส�ำหรับแม่แน่นอน ในเมือ่ ลูกชายแม่เป็น คนเขียนด้วยความตั้งใจดีอย่างยิ่ง วิลเลียม ซาโรยัน 1  ทาคูเฮ ซาโรยัน (Takoohi Saroyan) คือมารดาของวิลเลียม ซาโรยัน เป็นชาวอาร์เมเนียที่อพยพไป อยู่อเมริกา แม้ผู้เขียนจะตั้งความหวังไว้ว่า จะมีคนแปลนิยายเรื่องนี้เป็นภาษาอาร์เมเนียให้แม่ได้อ่าน แต่ ในที่สุดก็ไม่มี



สารบัญ

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

1. ยูลิสซิส 2. โฮเมอร์ 3. ส�ำนักงานโทรเลข 4. โลกทั้งโลกจะอิจฉาฉัน 5. เธอไปตามทางของเธอ ฉันไปของฉัน 6. บทเพลงส�ำหรับมิสเตอร์โกรแกน 7. ถ้ามีข่าวมา 8. ขอพระองค์สถิตที่โต๊ะของเราเถิด 9. กระต่ายอยู่ที่ไหนสักแห่งในบริเวณนี้ 10. ประวัติศาสตร์โบราณ 11. การบรรยายว่าด้วยจมูกมนุษย์ 12. วิ่งแข่งข้ามรั้วเตี้ยสอง-ยี่สิบ 13. กับดัก พระเจ้า กับดัก! 14. ไดอานา 15. เด็กสาวที่มุมถนน 16. พี่จะพานายกลับบ้าน 17. ทหารสามคน 18. มิสเตอร์โกรแกนพูดถึงสงคราม 19. แด่คุณแม่ด้วยรัก 20. โชคร้ายของเธอ ฉันไม่เกี่ยว

1 5 7 17 23 29 33 37 47 51 61 65 77 91 99 105 109 119 123 125


21. โลกที่ดีกว่า คนที่ดีกว่า 22. แสงสว่างจงบังเกิด 23. ความตาย อย่าไปอิธธะคา 24. ต้นแอปริคอต 25. จงมีความสุข ! มีความสุข ! 26. จะมีความเจ็บปวดอยู่ในสิ่งต่างๆ เสมอ 27. ความผิดพลาดอันมหัศจรรย์ทุกอย่าง 28. ที่ห้องสมุดสาธารณะ 29. ที่สโมสรบรรยายห้องรับแขก 30. มิสเตอร์เมคาโน 31. พักพิงในอ้อมแขนนิรันดร์ 32. จดหมายจากมาร์คัสถึงโฮเมอร์ น้องชาย 33. ขอส่งจูบมา 34. เสียงหัวเราะของสิงโต 35. ต้นไม้กับเถาวัลย์ 36. อิธธะคา อิธธะคาของฉัน ! 37. ความรักเป็นนิรันดร์ ความเกลียดตายไปทุกนาที 38. จุดจบกับการเริ่มต้น

127 133 145 149 157 169 173 181 187 195 207 217 225 231 237 241 243 251



1. ยูลิสซิส

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

วันหนึง่ เด็กชายตัวน้ อยนามยูลสิ ซิส แมคคอลีย์ ยืนอยูเ่ หนือโพรง ขุดใหม่ ๆ ของกระรอกดิน2 ในสวนหลังบ้ านทีถ่ นนซานตาคลาร่า ในอิธธะคา แคลิฟอร์ เนีย3 กระรอกดินในโพรงดันดินสดใหม่ชื ้น ๆ ขึ ้นมาและแอบมอง เด็กชาย ผู้เป็ นคนแปลกหน้ าแน่นอน แต่อาจไม่ใช่ศตั รู ก่อนที่เด็กน้ อยจะ เพลินเต็มที่กบั สิ่งอัศจรรย์ นกอิธธะคาตัวหนึ่งบินเข้ าไปในต้ นวอลนัทแก่ ในสวนหลังบ้ าน และเมื่อเกาะนิ่งแล้ วก็สง่ เสียงร้ องอย่างปี ติเริ งร่ า ท�ำให้ เด็กชายหันความสนใจจากพื ้นดินไปยังต้ นไม้ สิง่ ถัดมานันดี ้ ที่สดุ เมื่อรถไฟ ขนสินค้ าพ่นควันส่งเสียงค�ำรามก้ องมาแต่ไกล หนูน้อยนิ่งฟั ง รู้ สกึ ว่าพื ้น ใต้ เท้ าสัน่ ด้ วยการเคลื่อนของรถไฟ เขาจึงออกวิ่ง และ (เขารู้สกึ ว่า) วิ่งได้ เร็ วกว่าสิง่ มีชีวิตใด ๆ ในโลก 2  กระรอกดิน (gopher) เป็นสัตว์เลีย้ งลูกด้วยนมมีฟนั แทะ มีถน่ิ กำ�เนิดในอเมริกา หัวจดหาง ยาวราว 38 เซนติเมตร น้ำ�หนักเพียง 200 - 300 กรัม สร้างโพรงอยู่ใต้ดิน กินหญ้าเป็นอาหาร 3  เมืองอิธธะคาซึ่งเป็นฉากในนิยายเรื่องนี้ อิงกับเมืองเฟรสโน ในแคลิฟอร์เนีย บ้านเกิดของ วิลเลียม ซาโรยันผู้เขียนเอง ชื่ออิธธะคา (Ithaca) ซาโรยันเอามาจากมหากาพย์เรื่อง Odyssey - โอดิสซี ของโฮเมอร์ (Homer) มหากวีชาวกรีกโบราณ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ ศักราช โอดิสซี เป็นภาคต่อของมหากาพย์ อีเลียด - Illiad ซึ่งเล่าเรื่องสงครามทรอยอันเป็น ทีร่ จู้ กั เมือ่ สงครามทรอยสิน้ สุด โอดิสซีอสุ นักรบคนหนึง่ ในสงครามทรอยจึงเดินทางกลับบ้านที่ อิธธะคา และได้ผจญภัยมากมายหลายรูปแบบ อิธธะคาเป็นบ้านเกิดของโอดิสซีอสุ (Odysseus) ซึ่งเป็นชื่อในภาษากรีก และคือยูลิสซิส (Ulysses) ในภาษาโรมัน ดังนั้น ในเรื่องนี้ ซาโรยัน จึงนำ�ชื่อจากมหากาพย์เรื่องนี้มาใช้ ให้เมืองอิธธะคาเป็นบ้านเกิดของตัวเอก คือโฮเมอร์ กับ ยูลิสซิส แมคคอลีย์ และยังมีเด็กสาวชื่อเฮเล็น (Helen) สาวน้อยแสนงามที่โฮเมอร์หลง ตามชื่อสาวงาม เฮเล็นแห่งทรอย ผู้เป็นต้นเหตุของสงครามทรอย

1


ความสุขแห่งชีวิต

เขามาถึงทางตัดทางรถไฟ ทันได้ เห็นรถไฟทังขบวนแล่ ้ นผ่านไป ตังแต่ ้ หวั รถจักรจนถึงตู้สดุ ท้ ายของพนักงานรถไฟ เขาโบกมือให้ คนขับรถไฟ แต่คนขับไม่โบกตอบ โบกมือให้ คนอื่น ๆ อีกห้ าคนที่อยูบ่ นรถไฟ แต่ไม่มี ใครโบกตอบ พวกเขาน่าจะท�ำดังนัน้ ทว่าไม่ได้ ท�ำ สุดท้ ายมีนิโกรคนหนึง่ ยืนพิงอยูข่ ้ างตู้กระบะ เหนือเสียงดังสนัน่ ของรถไฟ ยูลสิ ซิสได้ ยินเสียงชาย คนนันร้ ้ องเพลง : "อย่าร้ องไห้ อีก คนดี อย่าร้ องไห้ อีกเลย วันนี ้ เราจะร้ องเพลงสักเพลงเพื่อบ้ านเก่าเคนตัก๊ กี ้ เพื่อบ้ านเก่าเคนตัก๊ กี ้ที่อยูไ่ กลแสนไกล" ยูลิสซิสโบกมือให้ นิโกรคนนันด้ ้ วย แล้ วสิ่งมหัศจรรย์และไม่คาด คิดก็บงั เกิด ชายคน นี ้ ผิวด�ำและต่างจากคนอื่น ๆ ทุกคน โบกมือตอบ ยูลสิ ซิสพลางตะโกนว่า “ฉันจะกลับบ้ าน เจ้ าหนู - กลับไปยังถิ่นของฉัน!” พ่อหนูน้อยกับนิโกรโบกมือให้ กนั จนกระทัง่ รถไฟเกือบลับสายตา ยูลสิ ซิสเหลียวมองรอบตัว นัน่ อย่างไร ทุกอย่างรอบตัว ตลกและ เดียวดาย - คือโลกแห่งชีวิตของเขา โลกอันประหลาด วัชพืชยึดครอง ไร้ คา่ อัศจรรย์ ไร้ ความหมาย ทว่างดงาม ชายชราคนหนึง่ สะพายห่อผ้ าเดินลง จากทางรถไฟ ยูลิสซิสโบกมือให้ ชายคนนัน้ ด้ วย แต่เขาแก่เกินไปและ ล้ าเกินกว่าจะยินดีกับมิตรภาพจากเด็กชายตัวน้ อย ชายชรามองหน้ า ยูลสิ ซิสราวกับว่าทังเขากั ้ บหนูน้อยล้ วนตายไปแล้ ว หนูน้อยหันกลับช้ า ๆ ออกเดินกลับบ้ าน ขณะเดิน เขายังคอยฟั ง เสียงรถไฟที่แล่นผ่านไป เสียงร้ องเพลงของนิโกร กับถ้ อยค�ำที่มีความสุข

2


วิลเลียม ซาโรยัน : เขียน

วิภาดา กิตติโกวิท : แปล

“ฉันจะกลับบ้ าน เจ้ าหนู - กลับไปยังถิ่นของฉัน!” เขาหยุดเพื่อคิดถึงเรื่ อง ทังหมดนั ้ น้ อ้ อยอิ่งอยูข่ ้ างต้ นเลี่ยน (china-ball tree) เตะลูกไม้ สีเหลือง กลิน่ เหม็นที่ตกอยูใ่ ต้ ต้น ครู่ตอ่ มาเขาก็ยิ ้มด้ วยรอยยิ ้มของคนในครอบครัว แมคคอลีย์ - รอยยิม้ อ่อนโยน ฉลาด ลึกลับ ซึ่งหมายถึงการตอบ รับ ต่อทุกสิง่ เมื่อเดินเลี ้ยวมุมมาเห็นบ้ านแมคคอลีย์ ยูลสิ ซิสก็กระโดดโดยเตะ ส้ นเท้ าขึ ้นข้ างหนึง่ เสียหลักและล้ มลงเพราะการเล่นสนุกอย่างนัน้ แต่ลกุ ขึ ้นมาแล้ วเดินต่อ แม่อยู่ในลาน ก� ำลังโปรยอาหารเลีย้ งไก่ เธอยื นมองเด็กชาย เสียหลัก ล้ ม ลุกขึ ้นและกระโดดอีก เขาเดินมายืนอยูข่ ้ างเธออย่างว่องไว และแผ่วเบา แล้ วเดินไปหาไข่ทเี่ ล้ าไก่ เห็นไข่หนึง่ ฟอง ยืนมองมันอยูค่ รู่หนึง่ เก็บขึ ้นมา เอามันไปให้ แม่ ยืน่ ให้ เธอด้ วยความระมัดระวังอย่างยิง่ เขาตังใจ ้ อย่างไรนันไม่ ้ มีใครเดาได้ และไม่มีเด็กคนใดจดจ�ำมาบอกเล่าได้

3


ความสุขแห่งชีวิต

4


2. โฮเมอร์

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

โฮเมอร์ พี่ชายของยูลสิ ซิส นัง่ บนอานจักรยานมือสอง ถีบเต็มแรง ไปบนถนนฝุ่ นนอกเมื อ ง โฮเมอร์ แมคคอลี ย์ส วมเสื อ้ โค้ ท เครื่ อ งแบบ เด็กถือสารโทรเลขซึง่ ใหญ่เกินตัว กับหมวกแก๊ ปที่ใหญ่ไม่พอ4 ดวงอาทิตย์ ก�ำลังคล้ อยลงในความเซื่องซึมแห่งความสงบยามพลบค�่ำ ชัว่ ยามที่ชาว อิธธะคารักยิ่ง สวนผลไม้ กบั ไร่องุน่ รอบตัวเด็กถือสารนัน้ ตังอยู ้ บ่ นดินแดน อันเก่าแก่ของแคลิฟอร์ เนีย แม้ วา่ โฮเมอร์ จะขี่จกั รยานไปเร็ วมาก เขาก็ไม่ พลาดที่จะสัมผัสถึงเสน่ห์ของบริ เวณนัน้ ดู ดูนนั่ สิ! เขาเฝ้าบอกตัวเองให้ มองพื ้น ดูต้นไม้ ดวงอาทิตย์ ต้ นหญ้ า และหมูเ่ มฆ ดูนนั่ สิ ดูเถอะ! แล้ วเริ่ ม ตกแต่งบรรยากาศด้ วยการเคลือ่ นไหวของจักรยาน และเพือ่ ประสานกับสิง่ ประดับแห่งการเคลื่อนไหวนัน้ เขาจึงตะโกนเสียงเพลงออกมาอย่างง่าย ๆ เป็ นค�ำคล้ องจอง และน่าขัน ท�ำนองหลักของเพลงอุปรากรเพลงนี ้ตรึงใจ เขาด้ ว ยเสี ย งเครื่ อ งสายของวงดุริ ย างค์ อ อร์ เ คสตรา เสริ ม ด้ ว ยเสี ย ง พิณฮาร์ พของแม่และเสียงเปี ยโนจากเบ็สส์ พี่สาว และสุดท้ าย เพื่อน�ำทัง้ ครอบครัวมาอยูด่ ้ วยกัน หีบเพลง (accordion) ก็เข้ ามาร่วมวงด้ วย บรรเลง ดนตรี ด้วยรอยยิ ้มและความหวานปนเศร้ า นัน่ คือภาพของมาร์ คสั พี่ชาย 4  “เด็กถือสารโทรเลข” - telegraph messenger ในเรื่องนี้เรียกสั้นๆ ว่า “เด็กถือสาร” - messenger เป็นเด็กหนุ่มอายุระหว่าง 16 ถึง 18 ปี เป็นพนักงานของสำ�นักงานโทรเลขซึ่ง เป็นบริษัทเอกชน สวมเครื่องแบบและใช้จักรยานเป็นพาหนะ เด็กถือสารมีหน้าที่สองทางคือ ทั้งส่งและรับโทรเลข โดยต้องไปรับคำ�สั่งที่สำ�นักงานโทรเลข เพื่อนำ�โทรเลขที่ถูกส่งเข้ามาไปส่ง ให้ผู้รับตามจ่าหน้า หรือให้ไปรับโทรเลขจากผู้ต้องการส่ง ซึ่งได้เรียกมาที่สำ�นักงาน ว่าให้ส่งเด็ก ไปรับโทรเลข เพื่อผู้ต้องการส่งโทรเลขไม่ต้องเดินทางไปส่งด้วยตัวเอง

5


ความสุขแห่งชีวิต

ในความทรงจ�ำของโฮเมอร์ เสียงดนตรี ของโฮเมอร์ หายไปพร้ อมกับเสียงกระหึ่มของวัตถุ ประหลาดสามล�ำที่บนิ ข้ ามท้ องฟ้า เด็กถือสารเงยหน้ าขึ ้นมองวัตถุทงสาม ั้ ล�ำนัน้ แล้ วขี่จกั รยานลงไปในคูแห้ ง ๆ เล็ก ๆ ทันที เครื่ องบิน! โฮเมอร์ พดู กับตัวเอง สุนขั ของชาวนาวิ่งมาอย่างรวดเร็ วด้ วยท่าทางวางโต มันเห่า เหมือนคนที่ก�ำลังบอกข่าวอะไรสักอย่าง แต่โฮเมอร์ ไม่สนใจสารที่มนั สื่อ เพียงหันไปแหย่สตั ว์ด้วยการท�ำเสียง “โฮ่ง โฮ่ง!” แล้ วขึ ้นจักรยานขี่ตอ่ มาถึงทางเข้ าเขตที่อยู่อาศัยในเมือง เขาขี่ผ่านป้ายแผ่นหนึง่ โดย ไม่อา่ น ป้ายนันเขี ้ ยนไว้ วา่ : อิธธะคา แคลิฟอร์ เนีย ตะวันออก ตะวันตก - บ้ านดีที่สดุ ยินดีต้อนรับ คนต่างถิ่น เขาหยุดตรงหัวมุมถัดไป เพื่อรอให้ รถบรรทุกทหารขบวนยาว แล่นผ่าน ยกมือขึ ้นตะเบ๊ ะเหล่าทหาร เหมือนที่ยลู สิ ซิสน้ องชายโบกมือให้ คนขับรถไฟกับคนเร่ร่อน ทหารหลายคนตะเบ๊ ะตอบเด็กถือสาร ก็ท�ำไมจะ ไม่เล่า? พวกเขารู้อะไรดีนกั หรื อ?

6


3. สำ�นักงานโทรเลข

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

อิธธะคาค�่ำแล้ ว เมื่อโฮเมอร์ ไปถึงหน้ าส�ำนักงานโทรเลข นาฬิกา ที่หน้ าต่างบอกเวลาหนึง่ ทุม่ สองนาที โฮเมอร์ มองเข้ าไปในส�ำนักงาน เห็น มิสเตอร์ สแปงเกลอร์ ผู้จดั การส�ำนักงานโทรเลข ก�ำลังนับค�ำในข้ อความ โทรเลขที่จะส่ง ซึง่ ชายหนุม่ อายุประมาณยี่สบิ สี่ หน้ าเหนื่อยหน่ายเพิ่งยื่น ให้ ขณะเดินเข้ าไป โฮเมอร์ ได้ ยินมิสเตอร์ สแปงเกลอร์ พดู กับชายหนุม่ ว่า “รวมสิบสี่ค�ำ” เขาหยุด มองหน้ าชายหนุม่ “ขาดเงินรึ?” ชายหนุ่มตอบไม่ได้ ในทันที ครู่ตอ่ มาจึงกล่าวว่า “ครับ แต่แม่จะ ส่งเงินมาให้ พอจะกลับบ้ านได้ ” “นัน่ สิ” สแปงเกลอร์ ถาม “คุณอยูท่ ี่ไหนมา?” “ไม่อยูท่ ไี่ หนเลย” ชายหนุม่ ตอบและเริ่มไอ “แม่ผมจะได้ รับโทรเลข นี่เมื่อไร?” “ตอนนี ้ทางฝั่ งตะวันออกก็ดกึ แล้ ว”5 สแปงเกลอร์ กล่าว “หาเงิน ตอนดึก ๆ ไม่ใช่เรื่ องง่าย แต่ผมจะรี บส่งโทรเลขไปให้ เดี๋ยวนี ้เลย” แล้ วโดย ไม่มองชายหนุม่ สแปงเกลอร์ ล้วงกระเป๋ าควักเศษเหรียญออกมาก�ำมือหนึง่ ธนบัตรหนึง่ ใบ กับไข่ต้มอีกฟอง “เอานี่ไป” เขากล่าว “เอาไปเผื่อไว้ ” เขาส่งเงินให้ “ไว้ แม่คณ ุ ส่งเงิน 5  สแปงเกลอร์กล่าวเช่นนี้เพราะอิธธะคาอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นรัฐชายฝั่งมหาสมุทร แปซิฟิก ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของสหรัฐ ขณะที่รัฐเพ็นน์ซิลเวเนียที่เป็นบ้านเกิดของจอห์น สตริกแมน ชายหนุม่ ทีจ่ ะส่งโทรเลขให้แม่นนั้ อยูท่ างฝัง่ มหาสมุทรแอตแลนติก เป็นฝัง่ ตะวันออก สองฝั่งห่างกันไกลจนมีเวลาต่างกัน เพ็นน์ซิลเวเนีย เร็วกว่าแคลิฟอร์เนียสามชั่วโมง เมื่อ อิธธะคาเป็นเวลาหนึ่งทุ่ม ที่เมืองยอร์ก เพ็นน์ซิลเวเนียก็สี่ทุ่มแล้ว

7


ความสุขแห่งชีวิต

มาให้ แล้ วค่อยเอามาคืน” เขาชี ้ที่ไข่ “ผมเก็บมาจากบาร์ เมื่อเจ็ดวันก่อน มันจะน�ำโชค” ชายหนุม่ มองมาที่เงิน “อะไรกันครับนี่?” เขาถาม “ไม่มีอะไรหรอก” สแปงเกลอร์ ตอบ “ขอบคุณครับ” ชายหนุม่ กล่าว เขาหยุด งุนงงและขัดเขิน “ขอบคุณ ครับ” เขาพูดอีก แล้ วผลุนผลันออกไปจากส�ำนักงาน สแปงเกลอร์ ส่งใบโทรเลขให้ วิลเลียม โกรแกน โอเปอเรเตอร์ โทรเลข6 และเป็ นหัวหน้ ากะกลางคืน “ส่งแบบจ่ายเงินแล้ วนะ วิลลี่” เขา บอก “ผมจ่ายเอง” มิสเตอร์ โกรแกนวางมือลงบนเครื่ องส่งโทรเลข เริ่ มเคาะรหัสตาม อักษรทีละตัว :

มิสซิสมาร์ กาเร็ ต สตริ กแมน 1874 ถนนบิดเดิล ยอร์ ก เพ็นน์ซลิ เวเนีย แม่ ส่งเงินด่วน 30 ดอลลาร์ อยากกลับบ้ าน สบายดี ทุกอย่างเรี ยบร้ อย จอห์น

6  “โอเปอเรเตอร์โทรเลข” - telegraph operator ซึง่ เรียกสัน้ ๆ ในเรือ่ งนีว้ า่ “โอเปอเรเตอร์” คือพนักงานคุมเครื่องรับ - ส่งสัญญาณโทรเลข ต้องมีความรู้ในเรื่องรหัสโทรเลข ในการส่ง โอเปอเรเตอร์จะแปลข้อความปกติในใบส่งโทรเลขซึ่งผู้จะส่งเขียนให้ แล้วเคาะเป็นรหัสเพื่อส่ง เป็นสัญญาณไปยังปลายทาง ในการรับ สัญญาณโทรเลขเข้ามาเป็นรหัส ก็ตอ้ งถอดรหัสและพิมพ์ เป็นข้อความปกติ แล้วจึงให้เด็กถือสารนำ�ไปส่งให้ผรู้ บั ต่อไป โอเปอเรเตอร์โทรเลขจะแข่งกันใน เรื่องจดจำ�รหัสได้แม่นยำ� และพิมพ์เป็นข้อความได้เร็ว ดังที่มิสเตอร์โกรแกนในเรื่องนี้คุยว่าตน เป็นโอเปอเรเตอร์ที่พิมพ์ได้เร็วที่สุด ... ดูภาพรหัสสัญญาณโทรเลขได้จากท้ายเล่ม

8


วิลเลียม ซาโรยัน : เขียน

วิภาดา กิตติโกวิท : แปล

โฮเมอร์ แมคคอลีย์เดินไปดูโต๊ ะโทรเลขน�ำจ่าย เพื่อดูวา่ มีโทรเลข ที่ต้องน�ำส่ง หรื อมีใครเรี ยกมาเพื่อให้ ไปรับหรื อไม่ มิสเตอร์ สแปงเกลอร์ เหม่อมองเขา เฉยอยูค่ รู่หนึง่ แล้ วจึงถามว่า “เป็ นไงบ้ าง เธอชอบเป็ นเด็กถือสารไหม?” “ชอบ ไหมหรื อครับ?” โฮเมอร์ วา่ “ผมชอบมากกว่าอย่างอื่น ๆ เลย ครับ เพราะจะได้ เห็นทังคนและสถานที ้ ่ตา่ ง ๆ มากมาย” “ดี” สแปงเกลอร์ กล่าว เขาหยุด พินิจดูหน้ าเด็กชายใกล้ ขึ ้นอีกเล็ก น้ อย “เมื่อคืนหลับดีไหม?” “ดีครับ” โฮเมอร์ ตอบ “ผมเหนื่อยมาก แต่ก็หลับสนิทดี” “วันนี ้หลับที่โรงเรี ยนบ้ างไหม?” “นิดหน่อยครับ” “ชัว่ โมงอะไร?” “ประวัตศิ าสตร์ โบราณครับ” “แล้ วกีฬาล่ะ” สแปงเกลอร์ ถาม “ฉันหมายความว่า เป็ นไงบ้ างกับ การที่ไม่ได้ ไปร่วมด้ วยเพราะต้ องท�ำงานอย่างนี ้?” “ผมร่วมครับ” โฮเมอร์ พดู “เรามีชวั่ โมงพลศึกษาทุกวัน” “อย่างนัน้ หรื อ?” สแปงเกลอร์ กล่าว “ตอนฉันเรี ยนที่โรงเรี ยน มัธยมอิธธะคา ฉันเคยวิ่งแข่งข้ ามรัว้ เตี ้ยสอง-ยี่สบิ และได้ เป็ นแชมป์ระดับ หุบเขาด้ วย7” ผู้จดั การส�ำนักงานโทรเลขนิ่งไปครู่หนึง่ แล้ วพูดต่อ “เธอชอบ 7  วิ่งแข่งข้ามรั้วเตี้ยสอง-ยี่สิบ หรือ two-twenty low hurdles เป็นการแข่งขันวิ่ง-กระโดด ข้ามรั้ว ระดับสูง 2 ฟุต 6 นิ้ว หรือ 76 เซนติเมตร ในการวิ่งระยะทาง 220 หลา (หรือราว 200 เมตร) ซึ่งเรียกง่ายๆ ว่า “สอง - ยี่สิบ” ส่วนที่ว่าเป็นแชมป์ระดับหุบเขา (Valley Champion) หมายถึงหุบเขาแซนฆัวกิน (San Joaquin Valley) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในหุบเขาแคลิฟอร์เนีย (California Valley) ที่เมืองเฟรสโน หรืออิธธะคาในเรื่องนี้ตั้งอยู่

9


ความสุขแห่งชีวิต

งานนี ้จริ ง ๆ หรื อ?” “ผมจะเป็ นเด็กถือสารที่ดที ี่สดุ เท่าที่สำ� นักงานนี ้เคยมีมาเลยครับ” โฮเมอร์ ตอบ “ดีแล้ ว” สแปงเกลอร์ กล่าว “เพียงแต่อย่าไปท�ำให้ ตวั เองถูกฆ่า อย่าไปเร็วเกินไป ไปถึงให้ เร็ว แต่อย่าไปเร็ว เกิ นไป8 สภุ าพกับทุกคน - เวลา อยูใ่ นลิฟต์ต้องถอดหมวก และที่ส�ำคัญที่สดุ อย่าท�ำโทรเลขหาย” “ครับ” “ท�ำงานกะกลางคืนไม่เหมือนกลางวัน” สแปงเกลอร์ พดู ต่อ “การ เอาโทรเลขไปส่งที่ยา่ นคนจีนหรื อออกไปนอกเมืองย่อมท�ำให้ คนเรากลัวได้ เป็ นธรรมดา - แต่อย่าให้ มนั ท�ำให้ เธอ กลัว คนก็คือคน ไม่ต้องกลัวพวก เขา เธออายุเท่าไร?” โฮเมอร์ สะดุ้ง “สิบหกครับ” “เถอะน่า ฉันรู้แล้ ว” สแปงเกลอร์ กล่าว “เมื่อวานเธอก็บอกอย่างนี ้ เราไม่สามารถจ้ างเด็กทีอ่ ายุต�่ำกว่าสิบหกปี แต่สำ� หรับเธอ ฉันจะลองเสีย่ ง ดู เธออายุเท่าไร?” “สิบสี่ครับ” โฮเมอร์ พดู “ดีแล้ ว” สแปงเกลอร์ พดู “อีกสองปี เธอก็จะอายุสบิ หก” “ครับ” โฮเมอร์ ตอบ “ถ้ ามีอะไรที่เธอไม่เข้ าใจ” สแปงเกลอร์ บอก “ก็มาหาฉัน” “ครับ” โฮเมอร์ นิ่งไปนิดหนึ่งจึงถามว่า “แล้ วเรื่ องโทรเลขเพลง ล่ะครับ?” 8  สแปงเกลอร์พูดอย่างนี้เนื่องจากเด็กถือสารมักประสบอุบัติเหตุ เพราะต้องถีบจักรยานฝ่า ไปในรถราที่คับคั่ง และเพื่อให้ได้งานมาก ๆ พวกเขามักขี่เร็ว

10


วิลเลียม ซาโรยัน : เขียน

วิภาดา กิตติโกวิท : แปล

“ไม่มปี ั ญหาอะไร” สแปงเกลอร์ วา่ “เราไม่มีโทรเลขอย่างนี ้บ่อยนัก เสียงเธอดีไม่ใช่หรื อ” “ผมเคยร้ องเพลงที่ โ รงเรี ย นศาสนาวั น อาทิ ต ย์ ข องโบสถ์ เพรสไบทีเรี ยนที่หนึง่ ครับ” โฮเมอร์ บอก “ดีแล้ ว” สแปงเกลอร์ วา่ “เสียงอย่างนันแหละที ้ ่เราต้ องการเวลา ต้ องเอาโทรเลขเพลงไปส่ง เอาละ ทีนี ้สมมุตวิ า่ มิสเตอร์ โกรแกนได้ รับโทรเลข อวยพรวันเกิด เธอจะท�ำยังไง?” โฮเมอร์ เดินไปหามิสเตอร์ โกรแกนแล้ วร้ องเพลง สุขสันต์วนั เกิ ด Happy birthday แฮ็ปปี เบิ ร์ธเดย์ ทู้ ยู แฮ็ปปี เบิ ร์ธเดย์ ทู้ ยู แฮ็ปปี เบิ ร์ธเดย์ แฮ็ปปี ๊ เบิ ร์ธเดย์ ทู เดียร์ โกรแกน แฮ็ปปี เบิ ร์ธเดย์ ทู้ ยู “ขอบใจ” มิสเตอร์ โกรแกนพูด “ดี” สแปงเกลอร์ พดู กับโฮเมอร์ “แต่อย่าพูดว่า ‘เดียร์ โกรแกน’ เธอควรพูดว่า ‘เดียร์ มิ สเตอร์ โกรแกน’ แล้ วนี่เธอจะเอาเงินที่ได้ อาทิตย์ ละสิบห้ าดอลลาร์ ไปท�ำอะไร?" “ให้ แม่ครับ” โฮเมอร์ ตอบ “ดีแล้ ว” สแปงเกลอร์ กล่าว “นับแต่นี ้ไป เธอจะท�ำงาน - ประจ�ำ เธอ เป็ นส่วนหนึง่ ของที่นี่แล้ ว หัดสังเกต - ฟั งอย่างตังใจ ้ - เปิ ดหูเปิ ดตาให้ กว้ าง เข้ าไว้ ” ผู้จดั การส�ำนักงานโทรเลขเหม่อมองไปทางอื่นครู่หนึง่ แล้ วถามว่า “เธอวางแผนอนาคตไว้ อย่างไรบ้ างล่ะ?” “อนาคต?" โฮเมอร์ กล่าว เขินเล็กน้ อย เพราะตลอดชีวิตเขายุง่ กับ

11


ความสุขแห่งชีวิต

การวางแผนอนาคต - วันต่อวัน แม้ จะเป็ นเพียงอนาคตส�ำหรับวันรุ่ งขึ ้น เท่านัน้ “ครับ” เขากล่าว “ผมยังไม่ร้ ูแน่ชดั แต่ผมคิดว่าผมก็คงอยากเป็ น ใครสักคนซึง่ เป็ นที่ร้ ูจกั อาจเป็ นนักแต่งเพลงหรื ออะไรท�ำนองนัน้ - สักวัน หนึง่ น่ะครับ” “ดีแล้ ว” สแปงเกลอร์ กล่าว “ถ้ าอย่างนันก็ ้ ถกู ต้ องแล้ วที่เธอเลือก ที่นี่เป็ นจุดเริ่มต้ น มีดนตรี อยูร่ อบตัวเธอ - เป็ นดนตรี จริง ๆ - ตรงมาจากโลก - ตรงมาจากหัวใจของคน ได้ ยินเสียงเคาะโทรเลขนัน่ ไหม? นัน่ คือดนตรี อันเสนาะ” “ใช่ครับ” โฮเมอร์ กล่าว สแปงเกลอร์ ถ ามขึ น้ ในทัน ใดว่ า “เธอรู้ จั ก ร้ านขายขนมปั ง แชตเตอร์ ตัน ที่ บ รอดเวย์ ไ หม? นี่ ยี่ สิ บ ห้ า เซนต์ ไปซื อ้ พายข้ า มวัน มา สองอัน ไส้ แอปเปิ ล้ กับครี มมะพร้ าว สองอันยี่สบิ ห้ าเซนต์” “ครั บ” โฮเมอร์ รับค�ำ คว้ าเหรี ยญยี่สิบห้ าเซนต์ ที่สแปงเกลอร์ โยนมาให้ แล้ ววิ่งออกจากส�ำนักงาน สแปงเกลอร์ มองตามหลัง เลื่อนลอย เข้ าไปในความฝั นเนือย ๆ อันเป็ นสุข ถวิลหาความหลัง เมื่อออกจากฝั น ก็หนั ไปหาโอเปอเรเตอร์ เฒ่า และถามว่า “นายว่าแกเป็ นยังไง?” “เป็ นเด็กดี” มิสเตอร์ โกรแกนตอบ “ฉัน ก็คดิ อย่างนัน” ้ สแปงเกลอร์ วา่ “มาจากครอบครัวดีแต่ยากจน ที่ถนนซานตาคลาร่า ไม่มีพอ่ พี่ชายอยูก่ องทัพ แม่ท�ำงานที่โรงงานหีบห่อ ในฤดูร้อน พี่สาวอยูว่ ิทยาลัยของรัฐ อายุน้อยไปสองปี ก็เท่านัน” ้ “ฉันอายุมากไปสองปี ” มิสเตอร์ โกรแกนกล่าว “เพราะฉะนันเรา ้ จะไปกันได้ ดี” สแปงเกลอร์ ลกุ จากโต๊ ะ “ถ้ านายต้ องการตัวฉัน” เขากล่าว “ฉันอยู่

12


วิลเลียม ซาโรยัน : เขียน

วิภาดา กิตติโกวิท : แปล

ที่ร้านคอร์ เบ็ตต์ แบ่งพายนัน่ กับ -” เขาชะงัก จ้ องอย่างงง ๆ ขณะที่โฮเมอร์ วิ่งเข้ ามาในส�ำนักงานพร้ อมกับพายสองห่อ “เธอชือ่ อะไรนะ บอกอีกทีซ”ิ สแปงเกลอร์ แทบจะตะโกนใส่เด็กชาย “โฮเมอร์ แมคคอลีย์ครับ” โฮเมอร์ บอก ผู้จดั การส�ำนักงานโทรเลขอ้ าแขนโอบเด็กถือสารคนใหม่ พูดว่า “ดีแล้ ว โฮเมอร์ แมคคอลีย์ เธอเป็ นคนที่ส�ำนักงานโทรเลขแห่งนี ้ต้ องการ ส�ำหรั บการท� ำงานกะกลางคืน เธออาจเป็ นคนที่ว่องไวที่สุดในหุบเขา ซานฆัวกินทีเดียว9 เธอจะเป็ นคนที่ยิ่งใหญ่ในวันข้ างหน้ าด้ วย - ถ้ าหากว่า เธอมีชีวิตอยู่ เพราะฉะนัน้ จงระมัดระวังอย่าให้ ตวั เองเป็ นอะไรไปเสีย” เขาหันหลังเดินออกไปจากส�ำนักงาน ขณะที่โฮเมอร์ พยายามท�ำความ เข้ าใจกับสิง่ ที่เขาพูด “เอาล่ะไอ้ หนู” มิสเตอร์ โกรแกนพูด “เอาพายมาซิ” โฮเมอร์ วางพายลงบนโต๊ ะข้ างมิสเตอร์ โกรแกน ซึ่งพูดต่อว่า “โฮเมอร์ แมคคอลีย์ ฉันชื่อวิลเลียม โกรแกน ถึงจะอายุหกสิบเจ็ด แต่คน ก็ยงั เรี ยกฉันว่าวิลลี ่ ฉันเป็ นโอเปอเรเตอร์ โทรเลขรุ่นเก่า หนึง่ ในคนสุดท้ าย ในโลก ฉันเป็ นหัวหน้ ากะกลางคืนของส�ำนักงานนี ้ด้ วย และเป็ นคนทีม่ คี วาม ทรงจ�ำในโลกอดีตอันอัศจรรย์มากมาย และฉันก็ก�ำลังหิว เรามาเลี ้ยงฉลอง พายนี่กนั - ไส้ แอปเปิ ล้ กับครี มมะพร้ าว จากนี ้ไป เธอกับฉันเป็ นเพื่อนกัน” “ครับ” โฮเมอร์ พดู โอเปอเรเตอร์ ฉีกพายชิ ้นหนึง่ ออกเป็ นสีส่ ว่ น แล้ วทังคู ้ ก่ เ็ ริ่มกินพาย ครี มมะพร้ าว 9  หุบเขาซานฆัวกิน (San Joaquin Valley) เป็นบริเวณหนึง่ ในหุบเขากลาง (Central Valley) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย เมืองเฟรสโน (Fresno) บ้านเกิดของซาโรยันอยูใ่ นหุบเขานี้ ทีน่ มี่ ชี อื่ เสียงทาง ด้านดนตรีคันทรี (Country) และงานวรรณกรรมโดยเฉพาะกวี

13


ความสุขแห่งชีวิต

“บางครัง้ ” มิสเตอร์ โกรแกนกล่าว “ฉันจะวานเธอไปท�ำธุระให้ บ้าง อาจร้ องเพลงด้ วยกัน หรื อนัง่ คุยกับฉัน และถ้ าฉันเมา ฉันก็คาดหวังความ เข้ าใจอันลึกซึ ้งจากเธอตามที่เราจะคาดหวังได้ จากคนที่อายุเกินสิบสอง แล้ ว เธออายุเท่าไร?” “สิบสีค่ รับ” โฮเมอร์ บอก “แต่ผมก็วา่ ผมเข้ าใจอะไร ๆ ได้ ดนี ะครับ” “ดีมาก” มิสเตอร์ โกรแกนกล่าว “ฉันเชื่ อค�ำพูดเธอ ทุกคืนใน ส�ำนักงานนี ้ฉันจะอาศัยเธอคอยดูแลให้ ฉนั ท�ำหน้ าที่ของฉันได้ ถ้ าเธอเขย่า ตัวฉันแล้ วไม่ตนื่ เธอก็เอาน� ้ำเย็นสาดหน้ าให้ หน่อย - แล้ วต้ องตามกาแฟด�ำ ร้ อน ๆ จากร้ านคอร์ เบ็ตต์” “ครับ” โฮเมอร์ รับค�ำ “แต่ถ้าอยูบ่ นถนน” มิสเตอร์ โกรแกนพูดต่อ “จะเป็ นอีกเรื่ องหนึง่ ถ้ าเธอเห็นฉันเมาหย�ำเปล่ะก็ เธอแค่ทกั ทายฉันตอนเดินผ่านก็พอ ไม่ต้อง มาสนใจสารทุกข์สกุ ดิบของฉัน ฉนั เป็ นคนอารมณ์ออ่ นไหว ไม่อยากให้ ใคร มาแสดงความสงสารเห็นใจในที่สาธารณะ” “น� ้ำเย็นกับกาแฟในส�ำนักงาน” โฮเมอร์ พดู ทวน “ทักทายบนถนน ได้ ครับ” มิสเตอร์ โกรแกนพูดต่อทัง้ ๆ ที่ครี มมะพร้ าวเต็มปาก “เธอคิดว่า โลกจะดีขึ ้นไหม เมื่อสงครามเลิกแล้ ว?”10 โฮเมอร์ คดิ อยูค่ รู่หนึง่ จึงตอบว่า “ครับ” “เธอชอบครี มมะพร้ าวไหม?” มิสเตอร์ โกรแกนถาม “ชอบครับ” โฮเมอร์ ตอบ 10  เหตุการณ์ในเรือ่ งเกิดขึน้ ในปี 1942 อยูร่ ะหว่างสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง ซึง่ เกิดขึน้ ระหว่าง ปี1939 ถึง 1945

14


วิลเลียม ซาโรยัน : เขียน

วิภาดา กิตติโกวิท : แปล

เสียงเครื่ องรับโทรเลขดังขึ ้น มิสเตอร์ โกรแกนตอบรับแล้ วไปนัง่ ลง ที่เครื่ องพิมพ์ดีด แต่ก็ยงั พูดต่อไปว่า “ฉันชอบครี มมะพร้ าวเหมือนกัน แล้ ว ก็ดนตรี ด้วย โดยเฉพาะการร้ องเพลง ฉันแอบได้ ยินเธอพูดว่าเคยร้ องเพลง ที่โรงเรี ยนวันอาทิตย์ เป็ นเด็กดี ช่วยร้ องเพลงที่เธอร้ องที่โรงเรี ยนวันอาทิตย์ ให้ ฉนั ฟั งสักเพลง ขณะที่ฉนั พิมพ์ข้อความซึง่ ส่งมาจากวอชิงตัน ดี.ซี. นี่” โฮเมอร์ ร้องเพลง หิ นผาแห่งกาลเวลา11 ขณะที่มิสเตอร์ โกรแกน พิมพ์โทรเลขซึง่ ส่งถึงมิสซิสโรซ่า ซานโดวัล เลขที่ 1129 ถนนจี. อิธธะคา แคลิฟอร์ เนีย ในโทรเลขนัน้ กระทรวงกลาโหมแจ้ งให้ มสิ ซิสซานโดวัลทราบ ว่า ฮวน โดมิงโก ซานโดวัล ลูกชายของเธอ เสียชีวิตในการรบ มิสเตอร์ โกรแกนส่งข้ อความให้ โฮเมอร์ แล้ วดื่มอึกยาว ๆ จากขวด ที่เขาเก็บไว้ ในลิ ้นชักข้ างเก้ าอี ้โฮเมอร์ พบั โทรเลขใส่ซองปิ ดผนึก เอาซองใส่ ไว้ ในหมวกแก๊ ปและออกจากส�ำนักงาน เมื่อเด็กชายไปแล้ ว โอเปอเรเตอร์ ชราก็เปล่งเสียงร้ องเพลง หิ นผาแห่งกาลเวลา เพราะครัง้ หนึง่ นานมาแล้ ว เขาเองก็เคยเป็ นหนุม่ เหมือนคนอื่นทุกคน

11  หินผาแห่งกาลเวลา - Rock of Ages เป็นเพลงสดุดีในศาสนาคริสต์ เขียนโดยสาธุคุณ โอกุสตุส มอนตากู โทปลาดี (Reverend Augustus Montague Toplady, 1740-1778) ในปี 1763 โดยได้แรงบันดาลใจเมื่อต้องไปหลบพายุในซอกหิน จึงเขียนขึ้นต้นไว้หวัด ๆ ขณะนั้นว่า “หินผาแห่งกาลเวลา คือรอยแตกสำ�หรับข้า ขอให้ข้าได้หลบในกายเจ้า” - Rock of Ages, cleft for me, Let me hide myself in Thee

15


ความสุขแห่งชีวิต

16


โครงการหนังสือเพื่อสังคม เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การอ่านเป็นเครื่องมือส�ำคัญในการสร้างสังคมที่มี ปัญญา ซึ่งเป็นพลังในการสร้างชาติ พัฒนาประเทศ การอ่านไม่เพียงท�ำให้ผู้อ่านเกิดปัญญา รอบรูใ้ นเรือ่ งต่าง ๆ เท่านัน้ ยังสร้างความเข้าใจต่อเพือ่ นมนุษย์ อันจะน�ำไปสูก่ ารปรับทัศนคติ ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย กระทั่งก่อเกิดสังคมที่มีความสุขร่วมกัน ทว่า ปัจจุบันประเทศไทยก�ำลังประสบปัญหาคนไทยอ่านหนังสือน้อยลง จากผล การส�ำรวจพบว่า เด็กไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยเพียงวันละ 29 นาที ในจ�ำนวนนี้เป็นการอ่าน หนังสือทีใ่ ห้คณ ุ ค่าและสาระน้อย หรืออาจร้ายแรงถึงขัน้ เป็นพิษภัยต่อผูอ้ า่ นและสังคม อาทิ เช่น หนังสือประโลมโลกย์ที่มีอิทธิพลโน้มน�ำผู้อ่านไปในทางเพ้อฝันมากกว่าการสร้างสรรค์ ทางปัญญา ซึ่งมีอยู่ดาษดื่นตามท้องถนน จนคนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่าย ขณะที่หนังสือดี มีคุณค่ากลับหาได้ยาก แม้ว่าจะมีผู้อยากอ่านอยู่บ้างก็ตาม สังคมจะมีคุณภาพสูงขึ้นได้ คนในสังคมควรสร้างเสริมนิสัยรักการอ่านให้เกิดขึ้น หลายประเทศในโลกที่เป็นสังคมการอ่านสามารถพัฒนาสังคมไปได้เร็วกว่าสังคมที่ไม่อ่าน หนังสือมาก การอ่านเปิดโอกาสที่จะได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ไกลตัวและไม่สามารถรับรู้ได้ จากประสบการณ์ตรง ท�ำให้ผู้อ่านได้รับข้อมูล ความคิด ประสบการณ์จากหนังสือที่ผู้อื่น เขียนถ่ายทอดไว้ เกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และสามารถแก้ปัญหาที่ เกิดขึน้ ได้ในระยะยาว นอกจากความรูอ้ นั เป็นศาสตร์ทจี่ ะช่วยในการด�ำรงชีพแล้ว มนุษย์เรา ยังต้องการความสุขทีจ่ ะได้จากการผ่อนคลาย ด้วยการเสพสุนทรียะจากศิลปะทุกแขนง การ เรียนรู้วัฒนธรรมจากหลากหลายแห่ง ซึ่งสามารถแสวงหาได้จากการอ่านวรรณกรรม วรรณกรรมจึงมีส่วนส�ำคัญอย่างยิ่งต่อความคิดและจิตใจของผู้อ่าน ผู้ที่อ่าน วรรณกรรมได้ (กล่าวเช่นนี้เพราะมีคนอ่านไม่เป็น อ่านไม่ได้ การอ่านจึงเป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝน) ไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรมอมตะของโลกที่เรียกว่าวรรณกรรมคลาสสิก หรือวรรณกรรมร่วม สมัย หรือนิยาย นิทานเด็ก เทพนิยาย ต�ำนาน เป็นต้น จะเป็นผู้มีจินตนาการ และความลุ่ม ลึกในการครุ่นคิดไตร่ตรองมองชีวิต ยามใดที่ประสบปัญหาในชีวิต จะสามารถมีความเข้าใจ อย่างลึกซึง้ ต่อปัญหาชีวติ และคิดหาทางออกได้เร็วขึน้ แก้ปญ ั หาได้ดขี นึ้ ซึง่ สัง่ สมมาจากการ


อ่านวรรณกรรม ในระดับชาติ จะเห็นว่าชาติที่เจริญแล้วทุกชาติมีวรรณกรรมที่เป็นเอกลักษณ์แห่ง ชาติ งานวรรณกรรมเป็นสิง่ ทีอ่ ยูค่ กู่ บั ศิลปะทุกแขนงตลอดประวัตศิ าสตร์ของมนุษยชาติ ยุค ใดบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองจะสะท้อนให้เห็นในวรรณกรรมด้วยเสมอ ยุคใดเป็นยุคมืด วรรณกรรมก็สะท้อนความมืดมนด้วยเช่นกัน คนรุ่นหลังจะเรียนรู้ความสดใสงดงามหรือ มืดมนในอดีตของแต่ละชาติแต่ละยุคสมัยได้ดจี ากวรรณกรรม ยกตัวอย่างเช่น ประเทศญีป่ นุ่ มีนโยบายส่งเสริมการอ่านหนังสือ มุ่งเน้นการพัฒนา “สมอง” เพื่อพัฒนาคุณภาพของคน ให้ “คิดเป็น” มีความรู้ มีวสิ ยั ทัศน์และจินตนาการ ซึง่ จะส่งผลต่อศักยภาพของประเทศ โดย มีการจัดตั้งสภาส่งเสริมการอ่านหนังสือแห่งประเทศญี่ปุ่น เพื่อปลูกฝังนิสัย “รักการอ่าน” ให้แก่เยาวชน จัดท�ำหนังสือทีม่ คี วามรูท้ กุ แขนงให้เป็นการ์ตนู เพือ่ ให้เด็กสามารถเข้าใจได้งา่ ย และจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการอ่านหนังสือ ประเทศสิงคโปร์ มีการผลักดันให้การ อ่านหนังสือเป็นวาระแห่งชาติ โดยชุมชนและองค์กรต่าง ๆ ในประเทศสิงคโปร์ได้เข้ามามี บทบาทในการสร้างวัฒนธรรมและนิสยั รักการอ่านให้แก่คนในประเทศ เช่น สมาคมการอ่าน ออกเขียนได้แห่งมหาวิทยาลัยสิงคโปร์ (National University of Singapore Literary Society) ตั้งขึ้นโดยมีจุดประสงค์ในการแบ่งปันประสบการณ์ด้านวรรณกรรมให้แก่เยาวชน และนักเขียนในสิงคโปร์ โดยมีการจัดกิจกรรมการแข่งขันการเขียนเชิงสร้างสรรค์ (Creative Writing) เป็นต้น การเผยแพร่และส่งเสริมการอ่านวรรณกรรม ซึง่ เป็นงานเขียนทีท่ รงคุณค่าสูส่ งั คม ไทยจึงเป็นสิ่งส�ำคัญ เนื่องจากเป็นสื่อกลางส�ำคัญที่ช่วยยกระดับสติปัญญา พัฒนาอารมณ์ และจิตใจ รวมทั้งเสริมสร้างจินตนาการของผู้อ่านได้เป็นอย่างดี หนังสือหรือวรรณกรรม เหล่านี้มีเนื้อหาสาระสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคม วัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจ ที่ เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัย ที่ผู้ประพันธ์ได้สะท้อนผ่านมุมมองของตนออกมา ท�ำให้ผู้อ่านได้รับ ความรู้และเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้คนที่มีต่อสภาพการณ์เหล่านั้นด้วย ด้วยเหตุนี้ วรรณกรรมจึงจ�ำเป็น นอกจากเป็นเครือ่ งมือสือ่ อารมณ์ ความรูส้ กึ นึกคิด ถ่ายทอดจินตนาการ และแสดงศิลปะอันประณีตงดงามจากตัวอักษรให้แก่บุคคลแล้ว ยัง ส�ำคัญต่อการพัฒนาชาติ สร้างสังคมที่เป็นสุขได้ เมื่อคนส่วนใหญ่ในสังคมมีสุนทรียะ มี จริยธรรม มีความรักความเข้าใจต่อกัน โดยเฉพาะโลกทุกวันนี้ซึ่งไม่มีประเทศใดสามารถอยู่


โดดเดีย่ วได้เองแล้ว การได้เรียนรูศ้ ลิ ปวัฒนธรรมจากวรรณกรรมของชาติตา่ ง ๆ ทัว่ โลกย่อม ท�ำให้คนสมบูรณ์พร้อมขึ้น และจากปัจเจก จะถ่ายทอดสู่สังคม สู่โลกมนุษย์ที่จะอยู่ร่วมกัน ได้อย่างเป็นสุข ความส�ำคัญและคุณค่าของวรรณกรรมต่อการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญา อาจสรุป เป็นประเด็นได้ดังนี้ 1. คุณค่าทางอารมณ์ สุนทรียะทางอารมณ์จากการอ่านวรรณกรรม จะเปิดใจผู้ อ่านให้ซมึ ซับรับเอาแง่คดิ ดี ๆ ทีแ่ ฝงอยูใ่ นงานวรรณกรรมมาขัดเกลานิสยั ใจคอตนเอง ท�ำให้ ผู้อ่านมีวิธีคิดในทางสร้างประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น หรืออาจถึงขั้นการท�ำตนให้เป็น ประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม 2. คุณค่าทางปัญญา ผู้อ่านจะได้รับความคิด สติปัญญา ความรู้รอบตัว รู้เท่าทัน และมีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวละครให้ข้อคิดต่อผู้ อ่าน ท�ำให้มีทัศนคติกว้างขึ้น วรรณกรรมแทบทุกเรื่องจะสอดแทรกสัจธรรมชีวิตให้ผู้อ่าน สามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น 3. คุณค่าทางคุณธรรม วรรณกรรมแต่ละเรื่องจะมีคติ แง่คิดสอดแทรกไว้เป็นบท เรียนให้ผอู้ า่ นได้ขบคิด ซึมซับคุณธรรมในการด�ำเนินชีวติ และมีหลักคิดค�ำคมระหว่างบรรทัด อันจะช่วยให้ผู้อ่านได้คิด จดจ�ำ และน�ำไปใช้ได้ 4. คุณค่าทางวัฒนธรรม วรรณกรรมท�ำหน้าทีส่ บื สานวัฒนธรรม เป็นสายใยเชือ่ ม ความเป็นอันหนึง่ อันเดียวกันของคนในชาติ วรรณกรรมจะสะท้อนหลักคิดความเชือ่ ของคน การน�ำเอาวรรณกรรมต่างประเทศมาแปลจึงช่วยให้ผู้อ่านได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่มีความแตก ต่างกัน ความรู้ความเข้าใจนี้เป็นประโยชน์ยิ่งต่อสังคมยุคใหม่ที่โลกทั้งใบถูกเชื่อมเข้าหากัน เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจของคนในสังคมโลก 5. คุณค่าทางประวัติศาสตร์ วรรณกรรมเป็นกระจกเงาสะท้อนภาพอดีตของคน แต่ละชาติ เรื่องราวประวัติศาสตร์สามารถศึกษาได้จากวรรณกรรม 6. คุณค่าทางจิตนาการ การอ่านช่วยสร้างจินตนาการ ท�ำให้ผอู้ า่ นมองเห็นการณ์ ไกล จะท�ำสิ่งใดก็ท�ำด้วยความรอบคอบ มองเห็นภาพในมุมกว้าง อันจะน�ำไปสู่การพัฒนา ความคิด และสติปัญญา 7. คุณค่าทางทักษะในการวิเคราะห์วิจารณ์ การอ่านวรรณกรรมเป็นกระบวน


การฝึกฝนวิธคี ดิ การใช้วจิ ารณญาณ และการตกผลึกทางความคิด ท�ำให้เกิดทักษะหรือความ ช�ำนาญในการคิดเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งเป็นสิ่งจ�ำเป็นส�ำหรับการด�ำรงชีวิตในปัจจุบัน 8. คุณค่าทางการใช้ภาษา เพราะการเขียนเป็นการถ่ายทอดความคิด เป็นการใช้ ภาษาเพื่อการสื่อสาร จูงใจให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ จดจ�ำและน�ำไปใช้ในการสื่อสาร ถ่ายทอดความคิดของตนออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างชัดเจน 9. คุณค่าต่อการสร้างแรงบันดาลใจ เรือ่ งราวการต่อสูข้ องตัวละครในวรรณกรรม มีอทิ ธิพลต่อจิตใจผูอ้ า่ น เป็นต้นแบบการใช้ชวี ติ อย่างมีเป้าหมาย ไม่ยอมแพ้ตอ่ โชคชะตา ดัง เช่นเรือ่ งราวชีวติ ของนายแพทย์เบน คาร์สนั ถ่ายทอดชีวติ วัยเด็กทีเ่ ติบโตในครอบครัวยากจน ท่ามกลางสภาพแวดล้อมเลวร้าย สมองไม่ดี เรียนหนังสือไม่เก่ง แต่ด้วยความพยายามท�ำให้ เขาดิน้ รนเอาชนะข้อจ�ำกัดและอุปสรรค สูช้ วี ติ จนสามารถก้าวขึน้ เป็นศัลยแพทย์มอื หนึง่ ของ โลกได้ส�ำเร็จ การอ่านวรรณกรรมที่มีเค้าโครงมาจากชีวิตจริงเช่นนี้ ย่อมท�ำให้ผู้อ่านเกิดแรง บันดาลใจที่จะเอาชนะอุปสรรคเพื่อสร้างคุณค่าให้กับตัวเอง จากงานวิ จั ย ของปาริ ช าติ สุ ค นธ์ พ านิ ช (2545) ที่ ไ ด้ ศึ ก ษาวิ จั ย เรื่ อ ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ : วรรณกรรมเพื่อพัฒนานิสัยการอ่าน โดยท�ำการศึกษาจากเอกสาร ได้แก่ วรรณกรรมแฮร์รี่ พอตเตอร์ เล่มที่ 1 - 4 และจดหมายจากผู้อ่านจ�ำนวน 601 ฉบับ ผลการ ศึกษาพบว่า สิง่ ทีโ่ ดดเด่นและประทับใจผูอ้ า่ นมากคือการสร้างตัวละครเอกเป็นเด็ก ได้แสดง บทบาทในด้านความกล้าหาญที่หลากหลาย สัญญะและความหมายสื่อออกมาในลักษณะ ของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างความสัมพันธ์ของคู่ตรงข้าม ความดี-ความชั่ว มุ่งสอน ผู้อ่านให้ยอมรับความเป็นจริงของชีวิต ซึ่งผู้อ่านรับรู้และสามารถถอดความหมายได้ วรรณ กรรมแฮร์รี่ พอตเตอร์ ท�ำให้ผอู้ า่ นเปลีย่ นนิสยั การอ่านของตัวเอง จากเดิมไม่ชอบอ่านหนังสือ กลายเป็นคนชอบอ่านหนังสือ จึงเห็นได้วา่ วรรณกรรมมีอทิ ธิพลต่อความรูส้ กึ นึกคิด และการ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อารยประเทศทั่วโลกล้วนมีการผลิตหรือแปลวรรณกรรมที่มีคุณค่า ส�ำหรับเป็น แหล่งเรียนรู้แก่เยาวชนและผู้สนใจใฝ่รู้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติและ สังคม ยกระดับจิตใจของผูอ้ า่ น ซึง่ ก็มงี านเขียนชัน้ ยอดหรือวรรณกรรมทีไ่ ด้รบั การยกย่องใน ระดับสากลมากมายที่ควรส่งเสริมให้คนในสังคมไทยได้อ่านและศึกษา ประเทศไทยมีการแปลหนังสือเหล่านี้ออกมาบ้าง แต่มักท�ำโดยภาคเอกชน เช่น


การแปลหนังสือของเสฐียรโกเศศ - นาคะประทีป หนังสือชุดเชอร์ลอ็ ค โฮล์ม หรือวรรณกรรม ส�ำคัญของโลก เช่น สงครามและสันติภาพ, แอนนา คาเรนินา, เหยื่ออธรรม ฯลฯ หน่วยงาน ของรัฐมีการแปลหนังสือออกมาบ้าง เช่น ราชบัณฑิตยสถาน แปลหนังสือเกีย่ วกับวัฒนธรรม ญีป่ นุ่ อินเดีย จีน เป็นต้น ส�ำนักคณะกรรมการวิจยั แห่งชาติมกี ารแปลหนังสือออกมาจ�ำนวน ไม่นอ้ ย และสมัยหนึง่ ส�ำนักข่าวสารอเมริกนั มีหนังสือแปลชุด “เสรีภาพ” ออกมาจ�ำนวนมาก นอกจากงานแปลเหล่านีแ้ ล้ว ยังมีหนังสือดี ๆ อีกมากมายทีส่ มควรแปลออกสูภ่ าษา ไทย ทั้งนี้เพราะเป็นการยากที่จะให้คนไทยโดยเฉพาะเยาวชนอ่านหนังสือเหล่านี้ในภาษา เดิม เพราะมีหนังสือจ�ำนวนไม่น้อยเขียนด้วยภาษาโบราณ หรือภาษาสมัยเก่า ยากที่คนรุ่น ปัจจุบันจะเข้าถึงสารัตถะที่ลุ่มลึกของหนังสือเหล่านั้น และยากที่จะน�ำมาใช้ประโยชน์ได้ อย่างมั่นใจ การแปลทีแ่ ล้ว ๆ มาโดยภาคเอกชนจะประสบปัญหามากมาย เพราะหนังสือเหล่า นี้มักไม่เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางเพียงพอในท้องตลาด ท�ำให้ส่วนใหญ่ “อยู่ไม่ได้” ในทาง ธุรกิจ ส�ำนักพิมพ์บางแห่งต้องขาดทุนอย่างมากจากการตัดสินใจพิมพ์หนังสือดี ๆ ออกสูท่ อ้ ง ตลาด แล้วขายได้น้อยมาก ท�ำให้นักแปลที่มีความรู้ความสามารถไม่สามารถมุ่งมั่นท�ำงาน คุณภาพออกมาได้ ต้องหันไปแปลหนังสือประเภทเอาใจตลาด เหมือนสมัยก่อนที่นักเขียน มีชื่อเสียงบางคนต้องแอบไปเขียน “หนังสือโป๊” ขายเพื่อให้มีเงินยังชีพ นักแปลทีแ่ ปลหนังสือดีมคี ณ ุ ภาพสูงบางคนลงทุนลงแรงแปลออกมาแล้ว ไม่มสี �ำนัก พิมพ์แห่งใดรับพิมพ์จนต้องเลิกท�ำงานนี้ไป ท�ำให้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่ ทรงคุณค่าค่อย ๆ เสือ่ มสูญและ “ตายไปพร้อมตัว” ในทีส่ ดุ นักแปลบางคนทุม่ เทท�ำงานโดย การลาออกจากงานประจ�ำมาท�ำงานแปลแบบเต็มเวลา เพือ่ ให้แปลงานใหญ่ ๆ ได้ส�ำเร็จ และ มีคณ ุ ภาพดี เพราะหากแบ่งเวลามาแปลเป็นบางเวลาจะขาดสมาธิและความต่อเนือ่ ง นักแปล เหล่านี้หาได้ยาก เพราะต้องมี “คนเลี้ยง” เช่น สามียอมให้ท�ำงานที่ “ฝัน” อยากท�ำนั้น และ ยอมเป็นผู้หารายได้คนเดียวของครอบครัว แต่พองานนัน้ เสร็จ และ “โชคดี” มีส�ำนักพิมพ์ รับพิมพ์ แต่ก็ขายได้น้อย จึงได้ค่าแปลต�่ำมาก คิดค�ำนวณเป็นค่าแรงระหว่างท�ำงานแปล ตกเดือนละ 4-5 พันบาทเท่านั้น ต�่ำกว่าค่าแรงขั้นต�่ำของผู้ใช้แรงงานประเภทไร้ฝีมือเสียอีก ในด้านการพิมพ์ เพราะเหตุทหี่ นังสือเหล่านีข้ ายได้นอ้ ย ส�ำนักพิมพ์จงึ มักพิมพ์โดย การประหยัดต้นทุน ใช้กระดาษราคาถูก และพิมพ์เป็นปกอ่อน เข้าปกโดยการไสกาว ท�ำให้


หนังสือมีอายุสั้นมาก จึงจ�ำเป็นและสมควรทีจ่ ะต้องสร้างกลไกให้มกี ารผลิตหนังสือดีขนึ้ โดยช่วงแรกจะ ส่งเสริมการแปลวรรณกรรมโลกออกสู่ภาษาไทย ด้วยตระหนักถึงความส�ำคัญเหล่านี้ “โครงการหนังสือเพื่อสังคม” จึงมีเป้าหมาย หลักในการผลักดันการเผยแพร่วรรณกรรมที่ทรงคุณค่า เพื่อยกระดับสติปัญญาของมนุษย์ เพิ่มพูนทักษะการคิดวิเคราะห์ ให้ผู้อ่านมีแนวทางในการน�ำคุณค่าของวรรณกรรมมาสร้าง ประโยชน์ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ส่งเสริมให้คน องค์กร และหน่วยงานที่มีเป้าหมายในการ ท�ำงานเพือ่ สังคม ได้ตระหนักถึงการร่วมมือกันท�ำงานเพือ่ การสร้างสรรค์สงั คม เกิดเป็นพลัง ขับเคลื่อนสังคม เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน คือ การเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น

เนตร รามแก้ว ผู้รับผิดชอบโครงการหนังสือเพื่อสังคม กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม


รายการหนังสือในแผนงานของ “โครงการหนังสือเพื่อสังคม” โดย มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม 1. วรรณกรรมเยาวชนอเมริกัน : “ฟ้ากว้างทางไกล” ‘Papa You’re Crazy’ By William Saroyan 2. วรรณกรรมเยาวชนอเมริกัน: “ความสุขแห่งชีวิต” ‘Human Comedy’ By William Saroyan 3. ปรัชญาแนวคิดเยอรมัน : “ศิลปะแห่งการรัก” ‘The Art of Loving’ By Erich Fromm 4. วรรณกรรมปรัชญาฝรั่งเศส : “ชะตากรรมของซีซิฟ” ‘Le Mythe de Sisyphe’ หรือ ‘The Myth of Sisyphus’ By Albert Camus 5. ชีวประวัตบิ คุ คลทรงคุณค่า : “สองมือแห่งศรัทธา” ‘Gifted Hands : Ben Carson Story’ By Benjamin Carson and Cecil Murphey 6. วรรณกรรมเชิงการแพทย์อังกฤษ : “ปราการอุดมคติ” ‘The Citadel’ By Archibald Joseph Cronin 7. ชีวประวัติบุคคลทรงคุณค่า : “ชีวิตของเซอร์วิลเลียม ออสเลอร์” เล่มหนึ่ง ‘The Life of Sir William Osler Vol.I’ By Harvey Cushing 8. ชีวประวัติบุคคลทรงคุณค่า : “ชีวิตของเซอร์วิลเลียม ออสเลอร์” เล่มสอง ‘The Life of Sir William Osler Vol.II’ By Harvey Cushing 9. วรรณกรรมอเมริกัน : “การผจญภัยของทอม ซอร์เยอร์” ‘The Adventures of Tom Sawyer’ By Mark Twain 10. วรรณกรรมอเมริกัน : “การผจญภัยของฮัคเคิลเบอร์รี่ ฟินน์” ‘The Adventures of Huckleberry Finn’ By Mark Twain 11. วรรณกรรมเยาวชนอเมริกัน : “ผมชื่ออารัม” ‘My Name is Aram’ By William Saroyan 12. วรรณกรรมอังกฤษ : ‘Far From The Madding Crowd’


By Thomas Hardy 13. วรรณกรรมรัสเซีย : “เธอผู้ไร้นาม” ‘Netochka Nezvanova’ By Fyodor Dostoevsky 14. วรรณกรรมสะท้อนสังคมอเมริกัน : “เหยื่อบริสุทธิ์” ‘To Kill A Mockingbird’ By Harper Lee 15. นวนิยายอิงชีวประวัติ: “เรียวมะ : ซามูไรผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง” ‘Ryoma: Life of A Renaissance Samurai’ By Romulus Hillsborough 16. วรรณกรรมฝรั่งเศษ : “แผ่นดินของเรา : สายลม เม็ดทราย และ ดวงดาว” ‘Terre des Hommes’ By Antoine de Saint–Exupery 17. วรรณกรรมอิตาลี: “ฟอนตามาร่า : ล�ำธารแห่งความขมขื่น” ‘Fontamara’ By Ignazio Silone 18. วรรณกรรมอิตาลี : “มาร์โควัลโด : สีสันชีวิตเมือง” ‘Marcovaldo’ By Italo Calvino 19. วรรณกรรมอเมริกัน: “เรื่องเล่าชีวิตสาวอเมริกัน” ‘The Portrait of a Lady’ By Henry James 20. ปรัชญาแนวคิด : “บั้นปลายชีวิตผม : โดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” ‘Out of My Later Years’ By Albert Einstein 21. นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ : “ชะตากรรมโลกไม่ลืม” ‘Schindler's List’ By Thomas Keneally 22. นวนิยายอิงชีวประวัติ : “เข้าป่าหาชีวิต” ‘Into The Wild’ By Jon Krakauer 23. นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ : “บนแผ่นดินไอยคุปต์ : ต�ำนานชีวิต แพทย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอียิปต์โบราณ” ‘The Egyptian’ By Mika Waltari 24. วรรณกรรมอังกฤษ : ‘The Waves’ By Virginia Woolf 25. วรรณกรรมอิตาลี : “ท่องนรก : สุขนาฏกรรมเทพเจ้า” ‘Inferno - The Divine Comedy’ By Dante Alighieri


26. มหากาพย์แห่งอังกฤษ : “สวรรค์สูญ” ‘Paradise Lost’ By John Milton 27. วรรณกรรมอเมริกัน : ‘The Scarlet Letter’ By Nathaniel Hawthorne 28. วรรณกรรมรัสเซีย : “มาร” ‘Demons’ or ‘Devils’ By Fyodor Dostoevsky 29. วรรณกรรมรัสเซีย : “ชีวิตสูญ” ‘Dead Soul’ By Nikolai Gogol 30. ปรัชญาแนวคิดเยอรมัน: “จะมีหรือจะเป็น?” ‘To Have or To Be?’ By Erich Fromm 31. ปรัชญาแนวคิดเยอรมัน: “มนุษย์เพื่อตนเอง : การค้นเข้าไปใน จิตวิทยาแห่งจริยธรรม” ‘Man For Himself’ By Erich Fromm 32. วรรณกรรมอังกฤษ : ‘The Happy Prince & The Picture of Dorian Gray’ By Oscar Wilde 33. วรรณกรรมอังกฤษ : ‘Captains Courageous’ By Rudyard Kipling 34. วรรณกรรมอังกฤษ : “เดวิด คอปเปอร์ฟิลด์ : เส้นทางเด็กก�ำพร้า ฟันฝ่าสู่นักเขียนเรืองนาม นวนิยายอิงชีวประวัติผู้เขียน” ‘David Copperfield’ By Charles Dickens 35. วรรณกรรมอังกฤษ : “บลีค เฮาส์” ‘Bleak House’ By Charles Dickens


ใบสมัครสมาชิกหรือต่ออายุสมาชิก มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม ข้าพเจ้ามีความประสงค์รับหนังสือของโครงการหนังสือเพื่อสังคม สมัครสมาชิกใหม่ วันที่สมัคร ..................................................................... ต่ออายุสมาชิก หมายเลขสมาชิก ...............................................................

O สมัครสมาชิก 3,000 บาท

O สมัครสมาชิก 5,000 บาท

O สมัครสมาชิก 10,000 บาท

รายชื่อหนังสือ O วรรณกรรมเยาวชนอเมริกัน : “ฟ้ากว้างทางไกล” ‘Papa You’re Crazy’ วิลเลียม ซาโรยัน : เขียน วิภาดา กิตติโกวิท : แปล O วรรณกรรมเยาวชนอเมริกัน : “ความสุขแห่งชีวิต” ‘The Human Comedy’ วิลเลียม ซาโรยัน : เขียน วิภาดา กิตติโกวิท : แปล O ปรัชญาแนวคิดเยอรมัน : “ศิลปะแห่งการรัก” ‘The Art of Loving’ อีริค ฟรอมม์ : เขียน สุรพงษ์ สุวจิตตานนท์ : แปล


O วรรณกรรมปรัชญาฝรั่งเศส : “ชะตากรรมของซีซิฟ” ‘Le Mythe de Sisyphe’ หรือ ‘The Myth of Sisyphus’ อัลแบรฺต์ กามูส์ : เขียน วิภาดา กิตติโกวิท : แปล O วรรณกรรมเยาวชนอเมริกัน : “ผมชื่ออารัม” ‘My Name is Aram’ วิลเลียม ซาโรยัน : เขียน นารีรัตน์ ชุณหชา : แปล O วรรณกรรมอเมริกัน : “การผจญภัยของทอม ซอเยอร์” ‘The Adventures of Tom Sawyer’ & “การผจญภัยของ ฮัคเคิลเบอร์รี่ ฟินน์” ‘Adventures of Huckleberry Finn’ มาร์ค ทเวน : เขียน กัทลี มากธนะรุ่ง : แปล O ชีวประวัติบุคคลทรงคุณค่า : “สองมือแห่งศรัทธา” ‘Gifted Hands’ นายแพทย์เบนจามิน คาร์สัน : เขียน วิภาดา กิตติโกวิท : แปล O วรรณกรรมการแพทย์อุดมคติอังกฤษ : “ปราการอุดมคติ” ‘The Citadel’ เอ. เจ. โครนิน : เขียน เจริญเกียรติ ธนสุขถาวร : แปล


O วรรณกรรมชีวประวัติ : “ชีวิตของเซอร์วิลเลียม ออสเลอร์ เล่มหนึ่งและเล่มสอง” ‘The Life of Sir William Osler Vol. I & II’ นายแพทย์ฮาร์วีย์ คุชชิ่ง : เขียน วิภาดา กิตติโกวิท : แปล O นวนิยายสะท้อนสังคม : “เดอะ สการ์เล็ต เล็ตเตอร์” ‘The Scarlet Letter’ นาธาเนียล ฮอว์ธอร์น : เขียน วิภาดา กิตติโกวิท : แปล O วรรณกรรมสะท้อนสังคมรัสเซีย : “เธอผู้ไร้นาม” ‘Netochka Nezvanova’ ฟีโยดอร์ ดอสโตเยฟสกี้ : เขียน ไกรวรรณ สีดาฟอง : แปล

ออกใบเสร็จในนาม O บุคคล ชื่อ.................................................... นามสกุล.............................................. O หน่วยงาน ชื่อ.................................................................................................................


สถานที่ส่งหนังสือ........................................................................................... ที่อยู่เลขที่.................. หมู่ที่.................. ซอย................................................. ถนน............................................... แขวง (ต�ำบล)......................................... เขต (อ�ำเภอ)...................................... จังหวัด................................................ รหัสไปรษณีย์............................... โทรศัพท์................................................... โทรสาร........................................ มือถือ....................................................... E-mail address............................................................................................ ข้อมูลส่วนบุคคล ชื่อ-สกุล......................................................................................................... วัน/เดือน/ปีเกิด......................................................... เพศ O ชาย O หญิง อาชีพ O นักศึกษา O แม่บ้าน/พ่อบ้าน O พนักงานบริษัทเอกชน

O เจ้าของกิจการ

O บุคลากรทางการแพทย์

O ข้าราชการ ระบุ....................................................................................... O อื่นๆ (โปรดระบุ)...................................................................................... รายได้ O ต�่ำกว่า 10,000 บาท O ต�่ำกว่า 20,000 บาท O ต�่ำกว่า 30,000 บาท O ต�่ำกว่า 40,000 บาท O ต�ำ่ กว่า 50,000 บาท O มากกว่า 50,000 บาท


ในการนี้ได้ช�ำระค่าสมาชิกในนาม มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม โดยส่งเป็น O โอนเงินเข้าบัญชีชื่อ มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม (กรุณาส่งส�ำเนาใบโอนเงินพร้อมใบสมัคร) ธนาคารกรุงไทย เลขที่บัญชี 483-0-20455-9 สาขาเมเจอร์ฮอลลีวูดรามค�ำแหง ออมทรัพย์

O เช็ค สั่งจ่าย มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม (เช็คต่างจังหวัดเพิ่มค่าโอน 10 บาท) เลขที่............................................................ ธนาคาร.................................... ลงวันที่........................................... จ�ำนวนเงิน......................................บาท

O บัตรเครดิต

O VISA

O MASTER

หมายเลขบัตร................................................................................................ วันบัตรหมดอายุ............................................................................................ หมายเลข 3 ตัวสุดท้ายบนแถบลายเซ็นหลังบัตรเครดิต................................. จ�ำนวนเงิน..............................................................................................บาท ลายมือชื่อ (ตามบัตร).................................................................................... วันที่สั่งซื้อ......................................................................................................


โปรดช�ำระเงินในนาม และส่งเอกสารมาที่ มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม 979 ชั้น 34 อาคารเอส.เอ็ม. ทาวเวอร์ ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 081-699-0050 E-mail : bookforsociety@gmail.com ติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านทาง Facebook ได้ที่ : โครงการหนังสือเพื่อสังคม Book For Society Project www.facebook.com/bookforsociety

ส�ำหรับเจ้าหน้าที่ รหัสอนุมัติ............................................................ วันที่อนุมัติ............................................................ ผู้อนุมัติ.................................................................


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.