Portrait One Short Story
Assoc.Prof.Dr.Nakarate Rungkawat
EDITOR's TALK ก่อนจะมาเป็นหนังสืออิเล็คทรคนิคส์เล่มนี้ ... ผมมีโอกาสได้ร่วม ทำ�งานกับอาจารย์นคเรศ รังควัต อยู่บ่อยๆครั้ง และเคยมีโอกาสได้วางแผน การผลิตสื่อชนิดหนึ่งที่รวบรวมองค์ความรู้ด้านการถ่ายภาพที่อาจารย์ได้ โพสต์เกี่ยวกับการถ่ายภาพต่างๆ บน Social Network ไว้รวมกันเป็นที่หนึ่ง ที่สามารถเปิดอ่านได้ทุกๆที่ แต่แล้วการวางแผนที่เคยวางแผนไว้ก็ล่มลงไป เนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่าง บลา บลา บลา ... แต่แล้วโอกาสก็กลับมาอีกครั้ง จากการได้รับมอบหมายให้ผลิต สื่อ E-book หนังสืออิเล็คทรคนิคส์ ทำ�ให้ผมได้เกิดความคิดดังกล่าวขึ้นมาอีก ครั้ง ในตอนนั้นก็คิดอยู่นานมากๆ กว่าจะได้ชื่อหนังสือ และเนื้อหาภายในเล่ม อย่างลงตัว สุดท้ายก็ได้ชื่อเรื่องคือ "One Short Story" แต่เนื้อหาภายใน ก็เกิดข้อโต้แย้งอยู่หลายอย่างว่าควรทำ�เรื่องอะไรดีหลังจากได้ชื่อหนังสือมา แล้ว และผมมองย้อนกลับมาคิดได้ว่า อาจารย์นคเรศ รังควัตเป็คนที่ถ่ายรูป สวยและอาจารย์เป็นคนชอบถ่ายภาพบุคคลมากที่สุด ผมเลยกำ�หนดเนื้อหา ภายในเล่มนี้ให้เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพบุคคล (Portrait) ทั้งเล่มโดยนำ� เนื้อหาของอาจารย์ที่เคยได้สอนไว้บน Social Network นำ�มาเรียบเรียงเป็น หนังสือเล่มนี้ "One Short Story : Issue 1 Portrait" ครับ ถ้ามีโอกาสแล้วพบกันนะครับ "One Short Story : Issue 2 Landscape"
2 | One Short Story
ปณต ภมะราภา
One Short Story | 3
CONTENTs THE EYES 6 ดวงตาต้องชัด
BLACKLIGHT 8 การถ่ายภาพบุคคลแบบย้อนแสง
MOVE TO MODEL 10 การทำ�ให้ภาพเกิดการเคลื่อนไหว
DOT & FOREGROUND OF PORTRAIT 12 จุดและฉากหน้ากับการถ่ายภาพบุคคล COLOR OF MOOD & FEELING 14 สี อารมณ์ ความรู้สึก
DIAGONAL (LINE & SHAPE) 16 เส้นทแยงมุมและรูปทรงในภาพบุคคล
TRIANGLE STYLE & WIDE ANGLE 18 องค์ประกอบสามเหลี่ยมกับเลนส์มุมกว้าง
TEXTURE ON BACKGROUND 20 พื้นผิวของฉากหลัง
LOW ANGLE 22 มุมมองจากข้างล่าง
PROP 24 อุปกรณ์ประกอบฉาก LEARNING ZONE 26 เรียนรู้การถ่ายภาพกับ BOX กล่องเก็บแสง
4 | One Short Story
1 Short Story One Short Story | 5
THE EYES THE EYES ดวงตาต้องชัด
การถ่ายภาพบุคคล (Portrait) โดย เฉพาะแบบเต็มหน้า (Close-up) หรือ Head Shot สิ่ง ที่สำ�คัญที่สุดคือจุดที่โฟกัส ควรชัดที่ดวงตาก่อนเป็น อันดับแรก จากภาพตัวอย่างผมเลือกทั้งฉากหน้า (Foreground)และฉากหลัง (Background ให้กับภาพ ก่อนจากนั้นเมื่อวางแบบลงไป ให้ FOCUS ไปที่ดวงตา (ผมเลือกช่องรับแสงกว้างสุดของเลนส์คือ F=2.8 เพื่อ ให้มีระนาบชัดเพียงจุดเดียว และจะเบลอทั้งฉากหน้า และฉากหลัง ข้อควรระวังในกรณีมีฉากหน้า การหา FOCUS ด้วยระบบอ้อโต้ (AF) อาจจะผิดพลาดหา ดวงตาไม่เจอบางครั้งควรใช้ระบบหา FOCUS ด้วยมือ (MF) สุดท้ายอย่าลืมว่าถ่าภาพคนใกล้ๆดวงตาต้องชัด ก่อนครับ
6 | One Short Story
One Short Story | 7
การถ่ายภาพบุคคลแบบย้อนแสง นัน้ มีหลาก หลายจุดประสงค์ส่วนใหญ่ที่ถ่ายย้อนแสงก็เพื่อ
1.ทำ � ให้ วั ต ถุ ที่ แ สงทะลุ ไ ด้ เ ห็ น รายละเอี ย ด ชัดเจนเกิดการโปร่งแสงขึ้นเช่นดอกของต้นไม้ 2.บางครั้งเราต้องการให้เกิดเป็นเงามืดที่เรียกว่า ซิลูเอท (Silhouette) ก็ใช้วิธีย้อนแสง 3.ถ้าถ่ายย้อนแสงเส้นผมจะเป็นประกายที่เรียก ว่าริมไลท์ (Rim Light=แสงที่ขอบ) จากตัวอย่างผมเลือกถ่ายย้อนแสงครึง่ ตัว ถ้าถ่าย ปกติหน้าจะดำ�ครับเพราะใบหน้าไม่โดนแสง ผม จึงใช้แผ่นสะท้อนแสง (Reflex) กลับไปที่ใบหน้า ครับ คุณสามารถใช้อะไรก็ได้ครับที่มันสะท้อน แสงได้ เช่นแผ่นโฟม (25บาท) หรือแผ่นกันแดด หน้ารถที่เป็นสีบรอน หรือใช้แฟลชก็ได้ครับ รู้แล้ว มาลองถ่ายคนย้อนแสงดูนะครับ
BLACKLIGHT การถ่ายภาพบุคคลแบบย้อนแสง
8 | One Short Story
One Short Story | 9
MOVE TO MODEL การทำ�ให้ภาพเกิดการเคลื่อนไหว (Movement)
ในการถ่ายภาพบุคคล (Portrait) ถ้าจะให้ภาพไม่ดูนิ่งจนเกิน ไปตากล้องต้องไม่ยืนอยู่กับที่แล้วปรับแค่เลนส์เท่านั้นยังไม่ พอครับ ผมใช้เทคนิคดังนี้ครับ 1.ตั้งขนาดเลนส์ที่ต้องการ แล้ว ต้องเคลื่อนตัวเข้าหาแบบโดยตามองที่ช่องมองภาพอยู่ เสมอ เพื่อดูทัศนมิติของภาพที่เปลี่ยนแปลงไปจุดไหนดีที่สุด 2.นางแบบต้องเคลื่อนที่โดยเฉพาะใบหน้าให้ยื่นหลุดออก มาจากระนาบของลำ�ตัว เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของช่วง หน้าและลำ�ตัว 3.พัดลมเบอร์ 2 ช่วยเกิดการเคลื่อนไหวของ เส้นผมที่เป็นธรรมชาติ ลองทำ�ตาม 3 ข้อนี้ภาพคุณ เคลื่อนที่ ได้แน่นอน
10 | One Short Story
One Short Story | 11
จุดและฉากหน้ากับการถ่ายภาพบุคคล
“จุด (Dot) = ดอกไม้ที่กระจายทั่วๆ กับ จุดของแสง ที่ตกกระทบวัตถุ” จากที่ผมเคยเล่าถึงการมองแบบ Graphic Eyes มองให้เห็นเส้น คราวนี้มาลองมองจุดครับ มองหาจุด ในภาพ จุดที่แบบจะโดนแสง และจุดที่ฉากหลังไม่โดนแสง เป็นต้น และจุดการกระจายของดอกไม้ จุดที่จะชัดและจุดที่ เราจะไม่ให้ชัด ด้วยการควบคุมช่องรับแสงเป็นสำ�คัญ ส่วนการถ่ายภาพบุคคล (Portrait) แบบเต็มตัว หรือ 3/4ของ ลำ�ตัวนั้น สิ่งหนึ่งที่จะมาช่วย เพิ่มความน่าสนใจ ให้กับภาพ ก็คือ ฉากหน้า (Foreground) ครับ เราเคยได้ยิน สร้างฉาก หน้าให้กับภาพทิวทัศน์ แต่เรามาประยุกต์ใช้กับภาพบุคคล ได้ “ฉากหน้าช่วยเสริมเติมเต็มเรื่องราวให้กับภาพ และฉาก หน้าช่วยทำ�ให้ภาพเรามีมิติ” ถ่ายภาพบุคคลครั้งต่อไป ลอง มองหาฉากหน้า (Foreground) และมองหาจุดต่างๆในภาพ ให้ดีก่อนกดชัตเตอร์นะครับ
DOT & FOREGROUND OF PORTRAIT 12 | One Short Story
One Short Story | 13
COLOR OF MOOD & FEELING สี อารมณ์ ความรู้สึก
“สีมีอิทธิพลต่ออารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์” ดังนั้นการสร้างสรรค์งานของเรา ในเรื่องของสี จึงเป็นเรื่องน่าคิด ถ่าย ภาพมาแล้วจะแต่งสีอะไรดี? ผมว่าภาพแต่ละภาพ ล้วนมีเรื่องราวที่ ต้องการบอกแตกต่างกันออกไป สถานที่เดียวกันคุณสามารถเปลี่ยน อารมณ์ของภาพได้ด้วยสี ครับ สีโทนร้อน (Warm Colors) เช่น แดง ส้ม เหลือง เป็นสีที่สะดุดตามาก การมองจะใช้พลังงานสูง ให้ความรู้สึก อบอุ่น และร้อนแรง ส่วนสีโทนเย็น (Cool Colors) เช่น ม่วง น้ำ�เงิน เขียว เป็นต้น ใช้พลังงานต่ำ�กว่าในการมองภาพ ให้ความรู้สึก สงบ เยือกเย็น สบายๆ ดังนั้นในการตกแต่งภาพ อาจต้องดูเรื่องของสีก่อนครับ จาก ตัวอย่างภาพ มีทั้งโทนสีร้อน (ดอกไม้) และโทนสีเย็น (ใบไม้)ถ้าเทียบ ปริมาณในภาพแล้วโทนสีเย็นจะมีปริมาณพื้นที่ในภาพมากกว่า ผมเลือก แต่งสีของภาพโดย การกดสี (DROP) ลงทั้งภาพ เพื่อลดการใช้สายตาใน การเพ่งมองภาพ และไม่ให้จุดของดอกไม้เด่นเกินไป ดูแล้วสบายตา สุดท้าย การแต่งรูปเป็นเรื่องของความชอบส่วนบุคคล รสนิยมของใคร ของมันครับ แต่ก็อย่าลืมว่า “สีมีอิทธิพลต่ออารมณ์และความรู้สึกของ มนุษย์”
14 | One Short Story
One Short Story | 15
DIAGONAL (LINE & SHAPE) เส้นทแยงมุมและรูปทรงในภาพบุคคล
“ภาพทุกภาพมีเส้นและรูปทรงอยู่ในภาพ”เส้นและรูปทรงใช้ สร้างความหมาย แสดงความรู้สึก และอารมณ์ของภาพได้ การมองที่ ผมบอกคือ การมองภาพแบบ Graphic และมองเข้าไปในรายละเอียด ของภาพ (Element) ผมเคยพูดถึงเส้นทแยงมุม ในภาพทิวทัศน์มาแล้ว คราวนี้มาลองประยุกต์ใช้กับการมองภาพถ่ายบุคคลบ้างครับ เส้นทแยง มุม (Diagonal) ช่วยลดความแข็งกระด้างของภาพได้ครับ นอกจากนั้นยัง ให้ความรู้สึกไม่หยุดนิ่ง และเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา การจัดองค์ประกอบ ภาพในการถ่ายภาพบุคคลแบบครึ่งตัว ผมมี 2 แนวทางครับ 1.จัดโดย การเอียงกล้องด้วยตัวคุณเอง 2.จัดโดยการวางท่าทาง (Pose) ของแบบ โดยการเน้นวางลำ�ตัวเป็นแนวเส้นทแยง เมื่อเรารู้ว่าเส้นและรูปทรงมี อิทธิพลต่อการมอง ดั้งนั้นถ่ายภาพบุคคลครั้งต่อไปลองดู เส้นทแยงมุม ของภาพนะครับ
16 | One Short Story
One Short Story | 17
&
TRIANGLE STYLE WIDE ANGLE
องค์ประกอบสามเหลี่ยมกับเลนส์มุมกว้าง)
18 | One Short Story
Triangle Style = การจัดองค์ ประกอบภาพโดยมองเป็นรูปทรง ของเรขาคณิต อย่างรูปทรงของ ปิรามิดสามเหลี่ยมด้าเท่า ที่ดึงดูด สายตาของผู้ชมได้ดี มาประยุกต์ ใช้ในการถ่ายภาพบุคคลได้ เช่น การวางมือ การกอดอก การนั่ง ยองๆเพื่ อ ให้ เ กิ ด รู ป ทรงเรขา คณิตขึ้นมา Wide Angle = เลนส์มุมกว้าง คื อ เลนส์ ที่ มี ท างยาวโฟกั ส สั้ น ผลของเลนส์ จ ะให้ ทั ศ นมิ ติ ข อง ภาพที่ ฉ ากหน้ า และฉากหลั ง ห่างกันมากๆ คุณสมบัติของเลนส์ คือ สัดส่วนของวัตถุจะผิดเพี้ยน บิดเบือน(Distortion) วัตถุอยู่ใกล้ จะใหญ่ อยู่ไกลจะเล็ก ภาพจะ ดู ห ลวมถ้ า วั ต ถุ ที่ ถ่ า ยอยู่ ไ กล เราสามารถเอาคุ ณ สมบั ติ ดั ง กล่ า วมาเป็ น จุ ด เด่ น ในการถ่ า ย ภาพได้ โดย ประชิดวัตถุที่ถ่าย เพื่อ เป็ น จุ ด นำ � สายตาไปสู่ ฉ ากหลั ง ใช้ แ บบมาเป็ น ฉากหน้ า ให้ กั บ ภาพของเรา การถ่ายในลักษณะนี้ “ถ้าเลนส์เปรียบเสมือนดวงตาในการถ่ายภาพเราต้องมอง จะให้ความรู้สึก ว่าวัตถุหรือแบบ ให้เห็นข้อจำ�กัด จุดเด่น จุดด้อย ของเลนส์เพื่อช่วยเสริม มีการเคลื่อนไหว เหมือนจะหลุด การจัดองค์ประกอบภาพของเรา” ออกมาจากภาพ อันนี้เป็นผลของ เลนส์ ค รั บ ลองใช้ เ ลนส์ มุ ม กว้ า ง ถ่ายภาพบุคคลดูบ้างนะครับ One Short Story | 19
TEXTURE ON BACKGROUND พื้นผิวของฉากหลัง
“ทฤษฏีการสร้างความน่าสนใจในภาพ ข้อหนึ่งที่สำ�คัญคือ Texture = พื้นผิวของฉากหลังครับ” ผมเคยเล่าให้ฟังว่าการถ่ายภาพ บุคคล(Portrait) นั้น ฉากหลังสำ�คัญมาก และมีอิทธิพลต่อการมองภาพ อย่างไร สำ�หรับหัวข้อนี้ผมอยากให้มองลึกเข้าไปอีกครับ (Element) คือมองให้เห็นพื้นผิวที่จะมาเป็นฉากหลังของเรา มีรายละเอียดอะไร บ้าง ลักษณะเป็นอย่างไร จุดไหนที่โดนแสง จุดไหนไม่โดนแสง ข้อ สำ�คัญของการเล่นกับฉากหลังก็คือ 1.การเลือกใช้เลนส์ที่ต่างกันจะให้ ผลของฉากหลังที่ต่างกัน 2.การเลือกช่องรับแสง ถ้าเปิดช่องรับแสง กว้าง (f=2.8/4) ก็จะเห็นรายละเอียดพื้นผิวแบบ เบลอๆ ไม่ชัด เรียก ว่า ชัดตื้น ในทางตรงกันข้ามถ้าเปิดช่องรับแสงแคบ (f=8/11/22) ก็ จะเห็นพื้นผิวชัดเจน เรียกว่า ชัดลึก ดังนั้นการถ่ายภาพนอกจากมอง หาฉากหลังแล้วอย่าลืมมองดูพื้นผิว (Texture) ของฉากหลังด้วยนะ ครับ ส่วนจะชัดลึก ชัดตื้นอย่างไรขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ งานของคุณครับ จากภาพตัวอย่างผมเลือกใช้เลนส์ Telephoto เพื่อ ดึงฉากหลังเข้ามาใกล้ๆแบบ และเลือกเปิดช่องรับแสงที่ f=4 เพื่อ ให้มองเห็นพื้นผิวของฉากหลังบ้าง ให้พอมองออกว่าเป็นอะไรครับ
20 | One Short Story
One Short Story | 21
LOW ANGLE
มุมมองจากข้างล่าง
“ถ้าอยากให้ภาพมี พลัง ต้องอยู่ต่ำ�กว่าแบบ” มีคนถาม มามากครับว่า ทำ�อย่างไรให้ภาพถ่ายเรามีพลัง พลังดึงดูด สายตาคนมอง นอกเหนือจากเรื่องราวที่เราอยากจะสื่อแล้ว ผมว่า มันเป็นส่วนผสม ทั้ง เสื้อผ้า หน้า ผม และอารมณ์ของ แบบ และที่สำ�คัญอีกอย่างคือ มุมกล้องครับ ในทางทฤษฏีการ ถ่ายภาพ เรายกให้มุมกล้องแบบ LOW ANGLE เป็นมุมกล้อง ที่สร้างพลังให้กับแบบ บางคนสงสัยว่าถ้าเราถ่ายด้วยเลนส์ TELEPHOTO จะทำ�อย่างไรครับ จากตัวอย่าง ผมย่อตัวลง ให้ กล้องอยู่ต่ำ�กว่าแบบ ในลักษณะเงยกล้องขึ้นสูง แล้วจัดองค์ ประกอบภาพครับ ภาพนี้ผมชอบที่อารมณ์ของแบบได้ โดย เอามือมาเล่นที่ผม ดึงมาบังบางส่วนของใบหน้าทำ�ได้ดีครับ 22 | One Short Story
One Short Story | 23
PROP อุปกรณ์ประกอบฉาก
24 | One Short Story
“อยากถ่ายภาพบุคคลให้ออกมา ดูเป็นธรรมชาติ ทำ�ไงดีครับ ?” ลองแบบนี้ครับ ถ้าเปรีย บกา รถ่ า ย ภ าพบุ ค คล คือการนำ�เสนอความเป็นตัวของตัว เองของแบบแล้วละก็ การดึงบุคลิก ภาพของแบบจะเกิ ด ขึ้ น ได้ อ าจจะ ต้องอาศัย Props. ครับ มาลองดูว่า Props ช่วยอะไรเราได้บ้าง 1.อุปกรณ์ ช่วยเสริมจุดเด่นให้แบบ อาทิเช่น เสื้อผ้า หน้า ทรงผม หมวก ผ้าพันคอ ฯลฯ 2.อุปกรณ์ช่วยระบายความ กังวลทำ�ให้การวางตำ�แหน่ง ของมือ เท้า แขน ใบหน้า จะดูเป็นธรรมชาติ Props อาจจะเป็นสิ่งของที่มีอยู่ บริเวณนั้น เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ต้นไม้ รถ ชิงช้า แท้ที่จริงแล้วเป็นการเปลี่ยน จุ ด สนใจของแบบแทนที่ แ บบจะ สนใจกล้อง ให้ไปสนใจอุปกรณ์ ประกอบเหล่ า นั้ น แทนความเป็ น ธรรมชาติก็จะเกิดขึ้นได้ครับ 3.ข้อ สำ�คัญอีกประการหนึ่งก็คือ ความ เป็นธรรมชาติ อาจจะขึน้ อยูก่ บั สีหน้า จังหวะบนใบหน้าของแบบ ขึ้นอยู่กับ บุคคลิกของแต่ละคน เพราะบางคน อาจจะต้อง ยิ้มมาก บางคนยิ้มน้อย บางคนต้องไม่ยิ้ม แต่อมยิ้มตากล้อง ต้องลองดูนะครับ One Short Story | 25
LEANING ZONE เรียนรู้การถ่ายภาพกับ BOX กล่องเก็บแสง
- เรียนรู้ทฤษฏีเบื้องต้นง่ายๆ ว่าด้วยกฏ 3 ส่วนและการประยุกต์ไปใช้งาในสถานการณ์จริง ในการถ่ายภาพ จาก อาจารย์ นคเรศ รังควัต - สัมภาษณ์ช่างภาพ Vokeng มืออาชีพชื่อดัง pre-wedding อันดับต้นๆ ของเชียงใหม่ - ถ่ายภาพไฟถนนไม่ยาก อย่างที่คิด รวมถึง การถ่ายภาพพลุในยาค่ำ�คืน เชิญติดตามชมได้ เลยครับ - สุดท้าย บรรดาเหล่าทีม ครีเอทีฟ จะมาสร้าง สีสันให้ท่านผู้ชมได้ชมอย่างไร ช่องทางติดตามรายการ BOX กล่องเก็บแสง - https://www.facebook.com/boxboxfilm - http://www.youtube.com/user/boxboxfilm
26 | One Short Story
One Short Story | 27