Basic Portrait

Page 1

Basic Portrait


Content เทคนิคเบื้องต้นสำ�หรับการถ่ายภาพพอร์เทรต - 1 เรื่องของแสง - 5 อารมณ์ของภาพ - 11 การจัดวางท่าทาง หรือการโพสท่า - 14 การเลือกมุมถ่ายภาพ - 16 อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายภาพพอร์เทรต - 17


EDITOR TALK

หนั ง สื อ เล่ ม นี้ จั ด ทำ � ขึ้ น เพื่ อ ผู้ ที่ รั ก และชื่ น ชอบในการถ่ า ย ภาพ และให้ความรู้เบื้องต้น ในการถ่ายภาพบุคคล ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ของแสง อารมณ์ของภาพ เทคนิคต่างๆในการถ่ายภาพบุคคล และ หนังสือเล่มนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของวิชา สื่อสิ่งพิมพ์ 2


เทคนิคเบื้องต้นสำ�หรับการถ่ายภาพพอร์เทรต

การเลือกหรือจัด แสงว่ า เราต้ อ งการให้ ภาพออกมาในอารมณ์ หรือบุคลิคแบบไหน ก็จัด แสงให้ได้อย่างนั้น ความ ชำ � นาญเท่ า นั้ น ที่ จ ะช่ ว ย คุณได้ในกรณีนี้ ไม่มีอะไรดี ไปกว่าการทำ�การบ้านให้ หนัก ฝึกแก้ปัญหาเฉพาะ หน้าเอาไว้เยอะๆ เมื่อเจอ 1

งานจริง ๆ จะได้มีข้อผิด พลาดน้อยที่สุด การโฟกัส ต้องเน้นที่ ตา ให้เข้าโฟกัสแบกริ๊บ ๆ ดีที่สุด จำ�ไว้ให้ดีว่าการ ถ่ า ยภาพสิ่ ง มี ชี วิ ต เกื อ บ ทุ ก ชนิ ด (ยกเว้ น พื ช )สิ่ ง สำ�คัญที่สุดที่ควรจะให้ชัด ก็ คื อ ดวงตาหู จ มู ก ปาก อาจเบลอได้ ไ ม่ เ สี ย หาย อะไร แต่ถ้าดวงตาเบลอ ส่ ว นมากแล้ ว ภาพนั้ น จะ เป็นภาพเสียมากกว่าภาพ ดี


ช่องรับแสง ควรเลือกใช้ช่องรับแสงอยู่ราว ๆ F/2.8-4 หรือ F/5.6 ก็ยังได้ ถ้าถ่ายในระยะใกล้ มาก ๆ รับรองว่าฉากหลังยังไงก้เบลอ เพราะที่ช่องรับ แสงกว้างสุดแถว ๆ F/1.2 หรือ F/1.4 หรือแม้แต่ F/1.8 นั้น หากถ่ายในระยะใกล้มาก ๆ ช่วงความชัดที่เกิดขึ้น ว่ากันเป็นเซนติเมตร หรือาจจะแค่มิลลิเมตรเท่านั้น มือ ไม่นิ่ง แบบไม่นิ่งจริง หรือโฟกัสไม่ถูกตำ�แหน่งจริง ๆ จะเสียคนเอาได้ง่าย ๆ

2


ทั้งนี้ หากอยากเป็นนักถ่ายภาพพอร์เทรตมือฉมัง ควรหัด เลือกใช้แสงให้ดี ฝึกเค้นอารมณ์และตัวตนของแบบออกมาให้ได้ อย่ามัว แต่ไปเลือกนายแบบนางแบบหน้าตาดี มีพริตตี้ที่ไหนเฮไปที่นั่น อย่างนั้น เป็นเรื่องยากที่จะได้ภาพพอร์เทรตดี ๆ แต่ถ้าความต้องการของคุณเป็น อย่างอื่นก็ไม่ว่ากัน

3


Canon EOS Kiss X4 EF50 mm. f1.8 Shutter1/400


เรื่องของแสง

ไม่ว่าเราจะถ่ายภาพบุคคลที่เป็นดาราผู้โด่งดังคับฟ้า เป็นเศรษฐีพัน ล้าน หรือเป็นตาสียายสายากจนไร้คนรู้จัก มันก็ต้องใช้พื้นฐานหรือความรู้ ทางการถ่ายภาพในแบบเดียวกัน ซึ่งเรื่องพื้นฐานที่สุดที่ต้องยกมากล่าวถึง เป็นลำ�ดับแรกก็คือเรื่องของ แสง ซึ่งแบ่งย่อยได้เป็น 2 ส่วน คือ ลักษณะ ของแสง และทิศทางแสง

5


ลักษณะของแสงในการถ่ายภาพพอร์เทรต มีหลัก ๆ อยู่ 2 แบบคือ แสงนุ่ม และแสงแข็ง 1. แสงนุ่ม คือ แสงในวันที่ฟ้าหลัว มีเมฆมาก หรือแสงจากภายใน อาคาร หากเป็นแสงจากแฟลช ก็ต้องยิงผ่านซอฟท์บอ๊อกซ์ ผ่านร่ม สะท้อน ร่มทะลุ หรือเครื่องกรองแสงประเภทต่าง ๆ เป็นแสงที่ให้ความ สว่างกับวัตถุ แต่จะไม่มีเงาเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นน้อยมาก คุณสมบัติของแสงนุ่ม คือ ให้คอนทราสต่ำ� ให้รายละเอียดของ วัตถุได้สูง ให้ภาพที่ดูนุ่มนวลตากว่า แต่ก็เป็นแสงประเภทที่ทำ�ให้วัตถุดู แบน ๆ ขาดมิติ

6


2. แสงแข็ง คือแสงจากแหล่งกำ�เนิด แสงตรงๆ แรงๆ เช่นวันที่ฟ้าไร้เมฆ ดวงอาทิ ต ย์ ล อยเด่ น ทั้ ง วั น หรื อ แสง จากแฟลชที่ยิงเข้าวัตถุตรงๆ โดยไม่ ผ่ า นเครื่ อ งกรองแสดงใดๆหรื อ แม้ กระทั่ ง ไฟจากสปอตไลทื ที่ ฉ ายเข้ า ว วัตถุจากในระยะใกล้ก็ถือเป็นแสงแข็ง ได้เช่นกัน คุณสมบัติของแสงแข็ง ก็ คือ ให้คอนทราสจัด ให้สีสันที่สดใสจัด จ้าน ให้ภาพที่ดูคมและแข็ง แต่ก็อาจ ทำ�ให้วัตถุขาดรายละเอียดในบางส่วน เช่น ส่วนที่มีสีขาวจัดๆส่วนที่สะท้อน แสงด้ดี และส่วนที่อยู่ในเงามืด และก็ เป็นแสงประเภทที่ทำ�ให้วัตถุดูมีมิติ มี ความลึกได้ชัดเจนกว่าแสงนุ่ม อย่างไรก็ตามแสงทั้งสองลักษณะนี้ ไม่มีข้อเสียแต่มีจุดเด่นจุดด้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับภาพที่เราต้องการมากกว่ า ว่า ควรจะนำ�แสงในลักษณะใดไปใช้ให้ เหมาะสม ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องไป 7

ถ่ายภาพบุคคลที่แสดงเป็นนักรบ ไปถ่ายนักกีฬา หรือถ่ายแฟชั่นชุด ว่ายน้ำ�เหล่านี้ ก็น่าจะเหมาะกับการ ใช้แสงแข็งๆ เป็นหลักมากกว่าแสง นุ่ม ในทางตรงกันข้าม หากบุคคล ที่คุณจะถ่ายคือคู่บ่าวสาว คือเด็ก ทารก หรืออะไรประมาณนี้ ยังไง เสียแสงที่จะใช้เป็นหลักก็ไม่พ้นต้อง เป็นแสงนุ่มไว้ก่อน


Canon EOS Kiss X4 EF50 mm. f2.8 Shutter1/200


เรื่ อ งควรรู้ เ กี่ ย วกั บ ทิศทางของแสง

แสงหน้าตรง แสงในทิศทางนี้จะใ

ห้รายละเอียดของวัตถุได้ดีในขณะที่จะ ทำ�ให้วัตถุดูค่อนข้างแบนราบ แสงเฉียงข้าง ตามมาตรฐานคือ 45 องศาจากทางด้านซ้ายหรือขวา แสงใน ทิ ศ ทางนี้ ใ ห้ ภ าพของวั ต ถุ ที่ ดู มี ค วาม ลึก มีมิติ มีรูปทรงที่ชัดเจน ในขณะที่ วัตถุอาจขาดรายละเอียดในบางส่วน โดยเฉพาะส่วนที่อยู่ในเงามือด แสงหลัง แสงในทิศทางนี้ให้รา ยละเอียดของวัตถุได้น้อย มิติความลึก ก็ไม่มี แต่ะจเป็นแสงที่ขับเน้นโครงร่าง บริเวณขอบของวัตถุได้ชัดเจน แสงริมไลท์ (Rim Light) ซึ่ง เป็นแสงที่ทำ�ให้เกิดความสว่างบริเวณ ขอบของวัตถุ โดยเฉพาะในส่วนที่ โปร่งแสง เช่น เส้นผม แต่เนื่องจาก มันเป็นแสงที่เข้ามาจากด้านหลังของ วัตถุ ดังนั้น จึงมักนิยมใช้ร่วมกับแสง อีกส่วนหนึ่งที่เสริมเข้าไปยังด้านหน้า 8

ของวัตถุ ซึ่งสามารถสร้างได้จากการ ใช้แผ่นสะท้อนแสง (Reflex) ประเภท ต่าง ๆ หรือแสงจากแฟลช เรื่องทิศทางของแสงนี้ สามารถ ทดลองให้ เ ห็ น ด้ ว ยตั ว เองได้ ง่ า ยๆ ด้ ว ยไฟฉายหนึ่ ง กระบอกกั บ การยื น ในที่มืด ๆ เป็นต้นว่า ฉายลงมาจาก ด้านบนศีรษะโดยตรง ฉายเฉียงเข้ามา จากด้านข้าง 45 องศา หรือฉายจาก ด้านข้างแบบ 90 องศา แล้วก็ลอง สังเกตุความแตกต่างที่เกิดขึ้นดู จะ เห็นได้ว่า ด้วยทิศทางแสงที่แตกต่าง กันจากไฟเพียงดวงเดียวนั้น สามารถ ทำ�ให้บุคลิกลักษณะของคน ๆ เดียว เปลี่ ย นแปลงและแปลกแตกต่ า งกั น ออกไปได้อย่างง่ายดาย ดังนั้น หากเรารู้จักเลือกใช้ ลักษณะของแสงที่เหมาะสมประกอบ ไปกับทิศทางแสงที่ดี เราก็สามารถ กำ�หนดหรือสร้างอารมณ์ของภาพขึ้น มาได้ (ส่วนอารมณ์ของแบบนั้น เดี๋ยว ว่ากันอีกที) ในเรื่องลักษณะและทิศทาง แสงนี้ มีแสงแบบหนึ่งที่นิยมใช้กัน


มากจนมีชื่อเรียกแสงแบบนี้โดยเฉพาะ ก็คือ แสงจากหน้าต่าง (Window Light) หรือก็คือ แสงนุ่ม ๆ ที่เฉียงเข้าด้านข้างหรือด้านหน้า (ขึ้นอยู่กับว่าจะ ให้แบบหันหน้าไปทางใด หรือเราอยากได้ภาพในลักษณะใด) แสงลักษณะนี้จะ ให้ภาพบุคคลที่นุ่มนวล ในขณะที่ภาพยังดูมีมิติด้วยคอนทราสต์ที่เกิดขึ้นเล็ก น้อย แม้แต่การจัดถ่ายด้วยไฟสตูดิโอก้ยังมีการจัดแสง เพื่อเลียนแบบ แสงจากหน้าต่างที่ว่านี้เช่นกัน ซึ่งการจัดแสงด้วยไฟแฟลชหรือไฟต่อเนื่อง นั้นทำ�ให้นักถ่ายภาพกำ�หนดความเข้มและทิศทางของแสงได้ง่ายขึ้นนั่นเอง เพราะก็ไม่จำ�เป็นว่าจะต้องใช้แสงนุ่มมาก ๆ เพียงอย่างเดียวเสมอไป

9


Canon EOS Kiss X4 EF50 mm. f1.8 Shutter1/400


อารมณ์ของภาพ การถ่ายภาพบุคคลในบางลักษณะต้องยอมให้เรื่องของแสงเป็นความ สำ�คัญในอันดับรองลงไป โดยยกเอาอารมณ์(Mood) ของบุคคลที่เราจะถ่ายขึ้น มาเป็นเรื่องเอกแทน เพราะอารมณ์ที่ว่านี้มันสร้างขึ้นมาได้ยากกว่าแสงเป็นไหน ๆ และเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว นักถ่ายภาพ ก็ต้องไวพอที่จะเก็บเสี้ยวเวลาเหล่านั้นให้ ดัน ด้วยว่าอารมณ์มักเป็นสิ่งที่ผ่านแล้วผ่านเลย ไม่สามารถเค้นหรือสร้างขึ้นมา ใหม่ได้ง่าย ๆ ภาพบุคคลที่ว่านี้ก็คือภาพบุคคลในแนวสตรีท แนวไลฟ์ ภาพข่าว หรือ สารคดี ภาพถ่ายบุคคลในแนวทางเหล่านี้ มันต้องเล่าเรื่องได้ สร้างความสะเทือน อารมณ์แก่ผู้ชมภาพได้เป็นลำ�ดับแรก ถ้าได้ความสวยงามของแสงเข้ามาช่วยได้ อีกก็สมบูรณ์แบบ แต่ถ้าไม่ได้ก็ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย สำ�หรับการถ่ายภาพบุคคลในลักษณะนี้ต้องมีการวางแผนการถ่ายล่วง หน้าให้ดี เลือกเลนส์ให้เหมาะสม ปรับกล้องให้อยู่ในแบบที่ยกขึ้นถ่ายภาพได้ ทันที บางทีอาจต้องเข้าไปคุยสร้างความคุ้นเคยให้สนิทสนมกับตัวแบบเสียก่อน แต่บางทีอาจทำ�ได้เพียงแค่เดินเฉียดผ่านแล้วกดชัตเตอร์เพียงครั้งเดียว และเมื่อมันเป็นการถ่ายภาพบุคคล อารมณ์ที่จะเกิดขึ้นและเห็นได้ชัด มันก็ต้องเป็นจากสีหน้าและดวงตาของบุคคลผู้นั้นนั่นเอง อาจรวมเสื้อผ้าทรงผม เข้าไปด้วย หรือสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่รายล้อมอีกก็ได้ถ้าใช้เลส์มุมกว้างในการถ่ายภาพ แต่ดวงตาถือว่าเป็นสิ่งสำ�คัญที่สุดอย่างหนึ่งของการถ่ายภาพบุคคล

11



Canon EOS Kiss X4 EF50 mm. f1.8 Shutter1/320


การจัดวางท่าทาง หรือการโพสท่า ผ่านมาถึงเรื่องการจัดวางท่าทางหรือการโพสท่ากันบ้าง เรื่องนี้สำ�คัญ กับการถ่ายภาพบุคคลแบบสวยงาม เช่น วันรับปริญญา หรือภาพพรีเวดดิ้ง การ ถ่ายภาพบุคคบแนวแฟชั่น รวมทั้งการถ่ายภาพบุคคลอย่างเป็นทางการ เพราะ ภาพบุคคลในแนวนี้ส่วนใหญ่ต้องการความเนียบ ความสวยงามอย่างสมบูรณ์ แบบเป็นหลัก แล้วถ้าเป็นภาพแฟชั่นล่ะ ? อันนี้ไม่มีอะไรตายตัวเลย ขึ้นอยู่กับธีมของ การถ่ายภาพในเซ็ทนั้น ๆ เป็นหลักว่าต้องการให้ภาพออกมาในโทนใด อารมณ์ ไหน ก็ใช้การจัดท่าทางของหน้าแบบกระตุ้นอารมณ์ได้อีกทางหนึ่งนอกเหนือไป จากการจัดแสง การจัดวางท่านั้น นอกจากจะทำ�ให้แบบดูสวยสง่างามแล้ว บางครั้งยัง เป็นการลบเลี่ยงจุดด้อยต่าง ๆ บนร่างกายได้อีกด้วย โดยเฉพาะส่วนเกินต่าง ๆ โดยขอให้แบบบิดนิดก้มหน่อย ก็ช่วยทำ�ให้เขาเหล่านั้นดูดีขึ้นได้เยอะอย่างไม่น่า เชื่อจนแทบไม่ต้องมารีทัชเพิ่มเติมภายหลังด้วยซ้ำ� (แต่กกับภาพบางลักษณะก็ ต้องรีทัชกันเยอะ โดยเฉพาะแฟชั่นหรือภาพที่ใช้ในการโฆษณา)

14


Canon EOS Kiss X4 EF50 mm. f1.8 Shutter1/320


การเลือกมุมถ่ายภาพ อีกหนึ่งเรื่องสำ�คัญก็คือการเลือกมุมที่นายแบบนางแบบหน้าตาดูดีที่สุด (ในกรณีถ่ายภาพแนวแฟชั่น ภาพรับปริญญา ภาพพรีเวดดิ้ง) หากเรามีแบบ หน้าตราดีปัญหานี้จะไม่ค่อยเกิดให้กังวลใจ แต่ถ้าไม่ใช่ก็เหนื่อยหน่อย และถือ เป็นหน้าที่โดยกตรงของช่างภาพอันจะต้องค้นหาเหลี่ยมมุมที่ใบหน้าบุคคลผู้นั้น ดูดีที่สุดออกมาให้ได้ แต่ก็ใช่ว่าเมื่อหาเจอแล้วเราจะต้องถ่ายภาพมุมนั้นไปตลอด เป็นต้นว่า น้องคนนี้คางจะดูใหญ่ถ้าถ่ายหน้าตรง แต่ถ้าถ่ายด้านข้างศรีริต้าก็มาเหอะ น้อง สวยสู้ได้ค่ะ แล้วเราก็เลือกแต่จะถ่ายภาพมุมนั้นไปทั้งวัน เพราถ้ามาดูภาพเป็น ชุดในภายหลัง รับรองว่าขำ�ไม่ออกแน่ คนบ้าอะไรหันข้างได้ทั้งวัน คือยังไงซะ มุมหน้าตรงมันก็ต้องถ่ายตามปกติ เพียงแต่ต้องเลี่ยง ๆ อย่าไปถ่ายเน้นเฉพาะ ใบหน้า ให้ถ่ายเต็มตัวเข้าไว้ เมื่อจะถ่ายครอปเน้น ๆ ก้ค่อยเลือกมุมด้านข้างเข้า ว่าเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม บางทีมันก็เลี่ยงได้ยาก โดยเฉพาะกับสถานการณ์ที่ต้อง ถ่ายภาพบุคคลเพียงคนเดียวเป็นจำ�นวนมาก และต่อเนื่องทั้งวันอย่างงานรรับ ปริญญา เจออย่างนี้ก็ต้องใช้เรื่องของแสงเป็นตัวช่วยด้วยอีกทางหนึ่ง ส่วนที่ดู ด้อย ๆ ก็พยายามให้มันหลบอยู่ในมุมมืดซะ ด้วยการใช้แสงแบบเฉียงด้านข้าง อะไรอย่างนี้เป็นต้น

16


อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายภาพพอร์เทรต เลนส์ เลนส์พอร์เทรต ซึ่งมีหลัก ๆ อยู่สามทางยางโฟกัสในช่วงเลนส์ เทเลฯ ต้น ๆ อันได้แก่ เลนส์ 85 มม., 105 มม. และ 135 มม. เสนส์สามตัวนี้ เหมาะสำ�หรับการถ่ายภาพบุคคลแบบครึ่งตัว หรือ “เฮตแอนด์โชว์เดอร์” เป็น อย่างยิ่ง เพราะมันจะให้สัดส่วนที่สวยงาม ในขณะที่สามารถทิ้งฉากหลังให้เบลอ ได้ง่าย อันเป็นภาพยอดนิยม แต่หากนิยามของคำ�ว่า พอร์เทรตของเรากว้างกว่านั้น เลนส์ที่สามารถ นำ�มาใช้งานก็ย่อมต้องกว้างขึ้นเช่นกัน ซึ่งมันอาจเป็นได้ตั้งแต่เลนส์ฟิชอายไป กระทั่ง ซุปเปอร์เทเลโฟโต้ก็ย่อมได้ และจะเป็นเลนส์เดี่ยวหรือเลนส์ซูมก็ได้ทั้งนั้น แผ่นสะท้อนแสง ในกรณีที่ต้องการให้ใบหน้าดูใส ๆ เคลียร์ ๆ อันนี้เหมาะ จะเอาไว้ใช้กับการถ่ายภาพแนวแฟชั่นหรือพรีเวดดิ้ง หรืองานวันรับปริญญา แฟลช (flash) สามารถนำ�มาใช้เป็นได้ทั้งแสงหลักของการถ่ายภาพ หรือเป็นแสงเสิรมร่วมกับแสงธรรมชาติ หรือใช้เป็นทั้งแสงหลักแสงเสริม หาก มีแฟลชมากกว่าหนึ่งดวงขึ้นไป และมีอุปกรณ์ควบคุมแฟลชให้ทำ�งานพร้อมกัน หลาย ๆ ดวงได้

17





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.