คำ�นำ� สวัสดีครับคุณผู้อ่านที่น่ารัก หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือ เหมาะกับผู้ที่กำ�ลังเริ่มต้นในการถ่ายภาพ ซึ่งจะทำ�ให้คุณรู้ลึก ถึงเรื่องระบบโฟกัสของกล้อง Canon DSLR, ระบบวัด แสง, รวมถึงเคล็ด(ไม่)ลับกับการถ่ายภาพ ที่จะมาทำ�ให้ผู้อ่าน หนังสือเล่นนี้ถ่ายภาพในระดับอาชีพได้ นี่เป็นเพียงหัวข้อตัวอย่างเท่านั้น ยังมีอีกหลายหัวข้อดีๆ และมีประโยชน์สำ�หรับทุกท่าน สุดท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณมากๆ สำ�หรับคนที่เลือกอ่าน หนังสือของผม ต้องขอขอบคุณ รศ.นคเรศ รังควัต ที่ให้ ข้อมูลด้านการถ่ายภาพ และข้อมูลดีดีในหนังสือ ข้อให้ทุกท่าน อ่านหนังสืออย่างมีความสุข และได้ความรู้ตามวัตถุประสงค์ ครับ ^^
สิ(ริชช่าัยงภาพมืโลหิออาชีตพไทย)
เรื่อง
สารบัญ
1. เปิดโลกแห่งการถ่ายภาพด้วย Canon DSLR - การแบ่งระดับกล้อง Canon DSLR - Crop Factor ค่าตัวคูณนั้นสำ�คัญอย่างไร 2. การควบคุมกล้องในระดับสูง - ระบบโฟกัสอัตโนมัติ + ระบบโฟกัสอัตโนมัติแบบ One Shot + ระบบโฟกัสอัตโนมัติแบบ AL Servo + ระบบโฟกัสอัตโนมัติแบบ AL Focus - ระบบวัดแสง + ระบบวัดแสงแบบแบ่งพื้นที่ + ระบบวัดแสงแบบเฉลี่ยหนักกลาง + ระบบวัดแสงแบบเฉพาะส่วน + ระบบวัดแสงแบบเฉพาะจุด 3. เคล็ดลับการถ่ายภาพ - ถ่ายภาพบุคคล - ถ่ายภาพทิวทัศน์ - ถ่ายภาพกีฬา - ถ่ายภาพมาโคว - ถ่ายภาพทิวทัศน์ยามค่ำ�คืน - ถ่ายภาพน้ำ�ตกเป็นสาย - ถ่ายภาพอาหาร 4. ว่าด้วยเรื่องของเสียง “ ชัตเตอร์ ” 5. เกล็ดความรู้เพิ่มเติม
หน้า 4 6 9 10 11 11 12 13 14 15 16 16 17 19 21 22 23 26 27 29 31 33 37
CHAPTER
1
Welcome to the World of EOS
เปิดโลกแห่งการถ่าCanon ยภาพด้DSLR วย
?
05
Canon
ถือได้ว่าเป็นค่ายผู้ผลิตกล้องที่มีประสบการณ์ ด้านเทคโนโลยีทางการถ่ายภาพมาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่ในยุคของกล้อง ฟิล์มเมื่อหลายสิบปีก่อนเรื่อยมาจนก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอลดังเช่นทุกวันนี้ใน บ้านเรากล้องของแคนนอนเองก็ครองใจกลุ่มช่างภาพทั้งมือสมัครเล่น และ มืออาชีพอย่างเหนียวแน่น จุดเด่นของกล้อง DSLR ก็คือ เทคโนโลยี ของกล้องแคนนอนที่ล้ำ�หน้า การทำ�งานของกล้องที่มีประสิทธิภาพสูงใน ทุกๆด้าน ท้ังความรวดเร็ว สีสันและความคมชัดที่ได้ บวกกับประสิทธิภาพ ของอุปกรณ์เสริม เช่น เลนส์อนุกรม EF และ EF-S ที่มีให้เลือกใช้ มากมายกว่า 60 รุ่น พร้อมทั้งได้รับการยอมรับจากมืออาชีพทั่วโลก ทำ�ให้ แคนนอนเป็นหนึ่งในผู้นำ�ของตลาดกล้องทั้งในบ้านเราและในต่างประเทศ
จะเล่นกล้อง Canon ต้องรู้อะไรบ้าง
06
?
ถึงแม้ดูเผินๆแล้วกล้อง DSLR จะมีลักษณะที่เหมือนๆกัน คือ ใช้เซ็นเซอร์ชนิด CCD หรือ CMOS เหมือนกัน ใช้เมมโมรีการ์ดแบบเดียวกัน หรือแม้แต่ใช้อุปกรณ์เสริม บางอย่างร่วม กันได้ แต่คามจริงแล้ว กล้อง DSLR แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ จะมีจุดเด่น หรือ คุณสมบัติบางอย่างที่ แตกต่างกันไป และมักจะถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกล้องค่ายนั้นๆ กล้อง DSLR ของแคนนอน เองก็มีเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างจากค่ายอื่นๆ ที่ผู้ใช้งานโดยเฉพาะมือใหม่ควรจะรู้ไว้บ้าง
1
การแบ่งระดับกล้อง Canon DSLR
กล้องแคนนอนที่วางจำ�หน่ายในบ้านเรา แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ กล้องในกลุ่มมืออาชีพ (Professional level) กล้องในกลุ่มมือสมัครเล่นที่ จริงจังกับการถ่ายภาพ (Advance-amateur หรือ Semi-Pro level) และกล้องในกลุ่มผู้ใช้มือใหม่ (Entry level) ตัวอย่างกล้องรุ่น ต่างๆ เมื่อแบ่งออกตามกลุ่มจะได้ดังนี้
?
07
กล้องระดับเริ่มต้น (Entry level)
เป็นกล้องสำ�หรับกลุ่มผู้ใช้มือใหม่ทั่วๆไปที่เพิ่งจะเริ่มหันมาจับกล้อง DSLR มีจุดเด่นตรงที่
มีราคาไม่แพงมากนัก น้ำ�หนักเบา มัฟังก์ชั่นการใช้งานครอบคลุมการถ่ายภาพพื้นฐานทั่วๆไป มีโหมด อัตโนมัติ, แมนน่วล และกึ่งอัตโนมัติให้เลือกใช้งานครบครัน บางรุ่นสามารถถ่ายวีดิโอได้ด้วย จุดที่ เป็นรองกล้องในกลุ่มอื่นคือ เรื่องของวัสดุที่จะบอบบางกว่า (โครงสร้างเป็นสแตนเลส ตัวบอดี้เป็น พลาสติก) ความเร็วในการทำ�งานที่ช้ากว่า เช่น การถ่ายต่อเนื่องหรือการโฟกัส และฟังก์ชั่นปลีกย่อ ยอื่นๆ โดยรวมแล้วกล้องกลุ่มนี้จึงเหมาะสำ�หรับผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภพเป็นงานอดิเรก หรือผู้ที่กำ�ลัง เริ่มต้นเรียนรู้การถ่ายภาพด้วยกล้อง DSLR
กล้องระดับกึ่งมืออาชีพ (Semi-Pro level)
กล้องในกลุ่มนี้จะมีประสิทธิภาพการทำ�งานในด้านต่างๆสูงกว่ากล้องในกลุ่มแรก ไม่ว่าจะเป็น โครงสร้างที่แข็งแรงกว่า (โครงสร้างเป็นแม็กนีเซียมอัลลอย) มีการซีลกันฝุ่นและละอองน้ำ� มีขนาด และน้ำ�หนักมากกว่า ความเร็วในการทำ�งานที่เร็วขึ้น ระบบการทำ�งานหลายๆส่วนจะมีมาให้เหมือนกับใน กล้องรุ่นโปร แต่ก็ยังมีโหมดการถ่ายภาพแบบอัตโนมัติให้อยู่ กล้องในรุ่นนี้จึงเหมาะสำ�หรับผู้ที่คุ่นเคย กับการใช้งานกล้อง DSLR มาบ้างเเล้ว
08
กล้องระดับมืออาชีพ (Pro level)
เป็นกล้อง DSLR ระดับสูงสุด กล้องในกลุ่มนี้จะมีประสิทธิภาพการทำ�งานที่สูงกว่า กล้องระดับอื่นๆในทุกๆด้าน เริ่มตั้งแต่บอดี้ภาพนอก ที่ดูบึกบึนมีขนาดใหญ่ น้ำ�หนักมาก มี โครงสร้างที่แข็งแรง (โครงสร้างเป็นแม็กนีเซียมอัลลอย) ซีลรอยต่อต่างๆเป็นอย่างดี ทนทานต่อทุกสภาพอากาศทุกสภาพการใช้งาน สำ�หรับคุณภาพของภาพไม่ต้องพูดถึงเรียกว่า ดีมาก เนื่องจากใช้เซ็นเซอร์ที่มีขนาดใหญ่เทียบเท่ากับฟิล์ม 35 มม. (Full Frame) ถ่ายภาพ ต่อเนื่องได้รวดเร็ว ระบบวัดแสงที่ทำ�งานได้แม่นยำ�กว่า จุดโฟกัสที่มีมากกว่าและอื่นๆอีกมากมาย กล้องในระดับนี้เหมาะสำ�หรับช่างภาพมืออาชีพอย่างแท้จริง และแน่นอนว่าเป็นกล้อง DSLR ที่ มีราคาแพงที่สุดในกลุ่มด้วย ถึงแม่ว่าผู้ผลิตจะมีการแบ่งกลุ่มของกล้อง DSLR ออกมาเป็นระดับต่างๆตามการ ใช้งานแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่จำ�เป็นเสมอไปที่ผู้ใช้งานจะต้องซื้อกล้องตามกลุ่มที่ผู้ผลิตจัดไว้ให้ เช่น มือใหม่หลายๆคนที่มีงบประมาณเพียงพอ อาจจะเริ่มซื้อกล้อง DSLR ของแคนนอนในกลุ่ม Semi-Pro level เลยก็เป็นได้
?
09
2
Crop Factor ค่าตัวคูณนั้นสำ�คัญอย่างไร
กล้อง DSLR เป็นกล้องที่ใช้เซ็นเซอร์เป็นส่วน รับภาพแทนฟิล์ม เซ็นเซอร์ที่ใช้ในกล้อง DSLR ของแคนนอนนั้นแบ่งตามขนาดได้เป็น 2 แบบ คือ
• เซนเซอร์ขนาดเท่าฟิล์ม (Full-Frame Seneor) ตัวเซนเซอร์รับภาพ จะมีขนาดใหญ่เท่ากับฟิล์ม 35 มม. คือ 36x24 มม. กล้องที่ใช้เซ็นเซอร์ชนิด Full Frame นี้จะเป็นกล้อง DSLR ระดับมืออาชีพ • เซ็นเซอร์แบบ APS เป็นเซ็นเซอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าฟิล์ม 35 มม. เซ็นเซอร์แบบ APS ที่ใช้ในกล้อง DSLR ของแคนนอน เรียกว่าเซ็นเซอร์ขนาด APS-C จะมีขนาดอยู่ที่ 22.3x14.9 มม. ซึ่งเล็กกว่าขนาดของฟิล์ม 35 มม.อยู่ 1.6 เท่า ค่า 1.6 จะถือว่าเป็นค่า Crop Factor หรือค่าตัวคูณของกล้องแคน นอนที่ใช้เซ็นเซอร์ขนาด APS-C นั้นเอง
ค่าตัวคูณมีผลหลักๆกับภาพก็คือ องศาการรับภาพของเลนส์ที่นำ�มาใส่ จะเปลี่ยนไป เพราะมุมรับภาพของเซ็นเซอร์เล็กกว่าขนาดของฟิล์ม เช่น สมมุติว่านำ�เลนส์ ทางนาวโฟกัส 100 มม. มาใส่กับกล้องที่ใช้เซนเซอร์ Full Frame หรือกล้องฟิล์ม เราก็จะได้มุมภาพที่เท่ากับทางยาวโฟกัสจริงๆของเลนส์ 100 มม. (ประมาณ 20 องศา) แต่หากนำ�เลนส์ตัวเดียวกันมาใส่กับกล้อง APS-C ที่มีค่าตัวคูณเท่ากับ 1.6 ด้วยขนาด เซ็นเซอร์ที่เล็กกว่าฟิล์ม 1.6 เท่า มุมภาพที่ได้จึงเเคบลงเหลือประมาณ 13 องศา ซึ่ง เท่ากับใช้เลนส์ทางยาวโฟกัส 160 มม. ถ่าย และเมื่อมุมรับภาพแคบลงเราจึงดูเหมือนว่า วัตถุใหญ่ขึ้น หรือถูกซูมเข้ามามากขึ้นนั่นเอง ส่วนคุณสมบัติอื่นๆ ของเลนส์ เช่น ความ ชัดลึกและทัศนมิติจะยังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ค่าตัวคูณนี้จะมีผลกับเลนส์ทุกตัวที่นำ� มาใช้ ดังนั้นผู้ใช้กล้องตัวคูณ เวลาจะเลือกใช้เลนส์ก็อย่าลืมคูณทางยาวโฟกัสด้วย 1.6 ทุกครั้ง จึงจะทราบมุมรับภาพที่เทียบเท่ากับทางยาวโฟกัสที่แท้จริง
CHAPTER
2
Advance Operation of EOS DSLR Camera
การควบคุมกล้องในระดับสูง
11
ระบบโฟกัสอัตโนมัติ
หากเราเลือกใช้ระบบโฟกัสอัตโนมัติ ( Auto Focus ) เราจะสามารถเลือก ระบบการโฟกัสอัตโนมัติได้ 3ระบบตามลักษณะของวัตถุที่ถ่าย คือ
ระบบโฟกัสอัตโนมัติแบบ ONE SHOT
เป็นระบบพื้นฐานของกล้อง DSLR ระบบนี้กล้องจะทำ� การหาโฟกัสให้แค่ครั้ง เดียว คือเมื่อเรากดปุ่มชัตเตอร์ลงไปครึ่งหนึ่งเท่านั้น เมื่อได้โฟกัสเเล้วก็หยุดทำ�งาน เรา จึงสามารถกดปุ่มชัตเตอร์ลงสุดเพื่อถ่ายภาพที่ต้องการได้ แต่หากยังโฟกัสไม่ได้ เราจะไม่ สามารถกดปุ่มชัตเตอร์ลงจนสุดเพื่อที่จะถ่ายภาพได้ ระบบนี้เหมาะสำ�หรับถ่ายวัตถุที่อยู่นิ่งไม่เคลื่อนไหวไปมา เช่น ภาพบุคคล หรือ ภาพทิวทัศน์ เมื่อโฟกัสเสร็จแล้ว หากซับเจ็คหรือตัวเรามีการเคลื่อนที่เปลี่ยนตำ�แหน่ง ก็ ต้องกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งอีกครั้งเพื่อให้กล้องหาโฟกัสใหม่ การทำ�งานระบบนี้จึงเป็น ครั้งต่อครั้งเท่านั้น
12
ระบบโฟกัสอัตโนมัติแบบ AL Servo
เป็นระบบโฟกัสอัตโนมัติแบบต่อเนื่อง คือ กล้องจะทำ�การค้นหาและปรับโฟกัสให้ตลอดเวลาตราบ ใดที่เรายังกดปุ่มชัตเตอร์ค้างไว้ครึ่งหนึ่ง เพียงแต่จะ ไม่มีไปแสดงการโฟกัส และเสียงเตือนบอก เราต้อง สังเกตภาพจากในช่องมองภาพเองว่าโฟกัสวัตถุได้ชัด หรือยัง ระบบนี้เหมาะสำ�หรับใช้ถ่ายวัตถุที่เคลื่อนที่อยู่ ตลอดเวลา เช่น ในการแข่งขันกีฬา หรือถ่ายสัตว์ ต่างๆที่ไม่ค่อยจะอยู่นิ่ง ในขณะที่กดปุ่มชัตเตอร์ค้าง ไว้ครึ่งหนึ่ง กล้องจะทำ�การตรวจจับวัตถุในภาพแล้ว ทำ�การโฟกัสติดตาม ( Tracking ) วัตถุให้โดย อัตโนมัติแม้ว่าวัตถุนั้นจะกำ�ลังเคลื่อนที่อยู่ ในระหว่างนี้ เราสามารถกดปุ่มชัตเตอร์ลงได้ทุกเมื่อที่ต้องการโดย ไม่ต้องรอให้กล้องจับโฟกัสได้ก่อนเหมือนระบบ ONE SHOT
TOYOTA MOTORSPORT 2011 สนาม 700 ปี เชียงใหม่
13
ระบบโฟกัสอัตโนมัติแบบ AL Focus
เป็นระบบที่รวมระบบโฟกัสทั้งสองแบบเข้าด้วยกัน คือ มีการทำ�งานเริ่มต้นเหมือนระบบ ONE SHOT เมื่อกดชัตเตอร์ลงๆผครึ่งหนึ่งกล้องจะทำ�การปรับโฟกัสไปยังวัตถุที่เรามองไว้ โดย จะมีไฟสีแดงตรงจุดโฟกัสและมีเสียง “ ปิ๊บ ” ดังขึ้น ต่อมาหากวัตถุนั้นมีการเคลื่อนไหวในขณะที่ยัง กดชุตเตอร์ค้างไว้ครึ่งหนึ่งอยู่ กล้องจะทำ�การปรับโฟกัสเป็นแบบ AL Servo ติดตามวัตถุนั้นทันที โดยที่ไม่ต้องโฟกัสซ้ำ�อีกครั้ง เพียงแค่กดปุ่มชัตเตอร์ค้างไว้ก็พอ เราสามารถกดปุ่มชัตเตอร์ลงไปจน สุดเพื่อถ่ายภาพได้เลยทันที โดยไม่ต้องรอให้กล้องโฟกัสได้ก่อน
ระบบนี้เหมาะสำ�หรับการถ่ายสิ่งที่กำ�ลังอยู่นิ่งๆในตอนแรกแล้วอาจจะมีการเคลื่อนไหว เช่น สุนัขที่กำ�ลังนอนอยู่ แล้วอาจจะลุกขึ้นวิ่ง หรือตามภาพตัวอย่าง คือนักกีฬาซอฟท์บอลที่ ตอนแรกยืนอยู่กับ ที่ แต่หลังจากตีลูกได้ นักกีฬาก็เริ่มวิ่งมีการเปลี่ยนตำ�เเหน่ง
NOTE *
ระบบโฟกัสแบบ Al Focus จะทำ�งานได้ ค่อนข้างช้าดังนั้นจึ งควรใช้ ร่ ว มกั บ เลนส์ แ คนนอนที่ ใ ช้ มอเตอร์แบบ USM จะช่วยให้การทำ�งานเร็วขึ้น * ระบบโฟกัสแบบ AL Servo จะไม่สามารถ ทำ�การล็อคโฟกัสได้ เพราะกล้องจะพาโฟกัสให้ตลอดเวลา ตราบเท่าที่นิ้วเรายังกดปุ่มชัตเตอร์ค้างไว้โดยไม่ปล่อย ออก
14
ระบบวัของกล้ ดแสง องแคนนอน
ระบบวัแสงของกล้อง แคนนอน มีให้เลือกใช้งาน 4 แบบ คือ ระบบวัดแสงแบบ แบ่งพื้นที่ (Evaluative) ระบบ วั ด แสงแบบเฉลี่ ย หนั ก กลาง ( Center-weighted average ) และ ระบบวัดแสงเฉพาะส่วน (Partial) ข้อแตกต่างระหว่าง ระบบวัดแสงทั้ง 4 แบบ คือ
15
ระบบวัดแสงแบบแบ่งพื้นที่ (Evaluative) ระบบวัดแสงแบบนี้จะแบ่งพื้นที่ในช่องมองภาพ ออกเป็น 35 โซน (63 โซนใน รุ่น 7D) ทำ�งานสัมพันธ์กับจุดโฟกัส ระบบนี้จะนำ�ค่าแสงในส่วนต่างๆของช่องมองภาพ มาเฉลี่ยกันแล้วคำ�นวณออกมาเป็นค่ารูรับแสง และความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมให้กับเรา โดยจะให้น้ำ�หนักกับจุดที่เราโฟกัสวัตถุเป็นพิเศษ (เพราะถือว่าเป็นจุดสำ�คัญที่จะถ่าย) โดย ปกติแล้วถือว่าเป็นระบบที่ใช้งานได้ดีในการถ่ายภาพทั่วๆไป ตั้งแต่ภาพบุคคลไปจนถึงภาพ ทิวทัศน์ที่ไม่ได้มีแสงที่ซับซ้อนมากนัก แต่ในสภาพแสงก็ไม่เหมาะจะ ใช้ระบบวัดแสงแบบนี้ เช่นในการถ่ายภาพบุคคลย้อนแสง หรือบริเวณที่มีความเปรียบต่าง (Contrast) ระหว่าง ส่วนมืดกับส่วนสว่างสูง เพราะกล้องจะนำ�เอาข้อมูลแสงในพื้นที่ส่วนใหญ่ไปคำ�นวณเป็น หลักหากซับเจ็คที่จะถ่ายมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับพื้นที่โดยรวมของภาพ ก็จะทำ�ให้ได้ค่าแสงที่ ผิดพลาดได้เมื่อเจอสถานการณ์แบบนี้จึงควรเปลี่ยนไปใช้ระบบวัดแสงแบบเฉลี่ยหนักกลาง หรือแบบเฉพาะจุดแทน
16
ระบบวัดแสงแบบเฉลี่ยหนักกลาง (Center-weighted average)
เป็นระบบวัดแสงที่มีมาตั้งแต่สมัย กล้ อ งฟิ ล์ ม แล้ ว ช่ า งภาพที่ ถ่ า ย ภาพมานานคุ้ น เคยกั บ ระบบวั ด แสงนี้เป็นอย่างดี ระบบวัดเเสงนี้ เป็นอย่างดี ระบบนี้จะให้น้ำ�หนัก กั บ บริ เ วณตรงกลางของช่ อ ง มองภาพมากเป็ น พิ เ ศษพร้ อ ม ทั้งนำ�พื้นที่รอบๆมาคำ�นวณด้วย ระบบวัดแสงแบบเฉลี่ยหนักกลางจะ ให้ค่าแสงของซับเจ็คที่อยู่กลางเฟรมค่อนข้างแม่นยำ� จึงเหมาะสมกับช่างภาพที่ชอบวางซับเจ็คที่จะถ่าย ไว้ตรงกลางภาพเสมอ
ระบบวัดแสงแบบเฉพาะส่วน (Partial) ระบบวัดแสงแบบ นี้ จ ะทำ � การวั ด แสง เฉพาะพื้ น ที่ ว งกลม ตรงกลางเฟรม เท่านั้น โดยไม่นำ� ค่ า แสงในส่ ว นอื่ น ๆ มาคำ�นวณร่วมด้วย ระบบนี้เหมาะกับการ วั ด แสงแบบส่ ว นใด ส่วนหนึ่งที่ต้องการเก็บรายละเอียด เช่น บนใบหน้า หรือต้นไม้ใบหญ้า ที่มีแสงสะท้อนแสงใกล้เคียง กับสีเทากลาง การวัดแสงโดยใช้ระบบนี้จึงเหมาะสำ�หรับช่างภาพที่มีประสบการณ์และคุ้นเคยกับการ ชดเชยแสงมาก่อน
17 ระบบวัดแสงเฉพาะจุด (Spot)
มีหลักการทำ�งานที่เหมือนกับระบบวัดแสงเฉพาะส่วนคือ วัดแสง เฉพาะตรงกลางภาพเท่านั้นแต่ต่างกันตรงที่ระบบวัดแสงแบบเฉพาะจุดจะ มีพื้นที่ในการ วัดแสงที่เล็กกว่า และด้วยเหตุที่มีพื้นที่ในการวัดแสงที่เล็ก จึงทำ�ให้ระบบนี้วัดแสงได้แม่นยำ�กว่า แต่ก็ใช้งานยอกกว่าระบบอื่นๆด้วย เนื่องจากมีพื้นที่ในการวัดแสงน้อยหากเราเล็งไม่แม่นยำ�หรือเลือกวัตถุที่ จะวัดแสงไม่ดีอาจจะวัดได้ค่าแสงที่ผิดพลาดได้
18 ระบบวัดแสงแบบนี้เหมาะสำ�หรับใช้ถ่ายภาพในสภาพที่แสง ซับซ้อน เช่น การถ่ายย้อนแสง ภาพที่มีความเปรียบต่างในส่วน สว่างหรือมืดสูง การใช้งานระบบวัดแสงแบบนี้ช่างภาพต้องมีความ เข้าใจ ในเรื่องการสะท้อนแสงของวัตถุสีต่างๆเป็นอย่างดี เพราะ จะต้องเลือกบรเวณที่จะวัดแสงด้วยตัวเอง และบ่อยครั้งต้องชดเชย แสงให้ Under หรือ Over จากที่วัดได้
CHAPTER
3 Techniques for Specific Situation
เคล็ดลับการถ่ายภาพ
20
เทคนิคถ่ายภาพ ในสถานการณ์ต่างๆ
ต่อไปนี้จะเป็นเทคนิคในการปรับค่ากล้อง การเลือกใช้ เลนส์และเทคนิคในการถ่ายภาพที่เหมาะสมกับสถานการณ์แบบ ต่างๆที่เรามักจะพบเจอกันอยู่บ่อยๆ ช่างภาพมือใหม่ที่ยังไม่มี ประสบการณ์สามารถนำ�เทคนิค อุปกรณ์ที่แนะนำ�ในหัวข้อนี้ไปใช้ การถ่ายภาพได้เลยทันที แต่ต้องอย่าลืมว่าการถ่ายภาพไม่มีสูตร สำ�เร็จตายตัว การปรับค่ากล้องรวมทั้งเลนส์ที่แนะนำ�ในหัวข้อ นี้เป็นแค่คำ�แนะนำ�กลางๆ โดยอิงจากความนิยมใช้กันเท่านั้น ใน อนาคตหากเราถ่ายภาพบ่อยๆจนมีประสบการณ์มากขึ้น ก็อาจ ประยุกต์เทคนิคต่างๆขึ้นมาใช้ในแบบของตัวเองก็ได้
21
ถ่ายภาพบุคคล
1
การถ่ายภาพบุคคล ไม่ว่า จะเป็นเด็กเล็กๆหรือสาวๆ เป็ น ภาพพื้ น ฐานที่ ไ ม่ ว่ า ช่ า งภาพคนไหนก็ จ ะต้ อ ง ได้ ถ่ า ยกั น มาแล้ ว แน่ น อน เคล็ดลับสำ�คัญในการถ่าย ภาพบุคคลให้ดูสวยๆก็คือ แสง ควรเลือกแสง ธรรมชาติที่ไม่แรงจัดมาก ช่วงเวลาที่เหมาะสมก็ คือ ช่วงเช้า แดดอ่อนๆและช่วงเย็น หากถ่ายใน อาคารหรือในห้องควรมองหาหน้าต่างหรือประตู ที่มีแสงลอดเข้ามา (Window light) แล้วให้ นางแบบไปนั่งอยู่บริเวณนั้น จะทำ�ให้ได้แสงที่นุ่ม ภาพจะดูมีมิติ สวยงามขึ้น ควรหลีดเลี่ยงการยิง แฟลชแรงๆเข้าไปที่หน้านางแบบเว้นแต่จะเป็นการ Fill flash อ่อนๆเข้าไปเพื่อลบเงาและสร่างประกายให้กับดวงตา และควรหลีกเลี่ยงการถ่ายภาพกลาง แดดจัดๆเพราะจะทำ�ให้เกิดเงาตามจมูกและลำ�คอ อีกทั้งนางแบบจะหยีตาและหน้ามันง่ายทำ�ให้ภาพไม่สวย การวัดแสงให้อิงจากผิวนางแบบแล้วชดเชยให้โอเวอร์สักเล็กน้อย NOTE
SETTING
GEAR
METERING
FOCUS
* Center-weighted average * Spot MODE
ให้เน้นบริเวณ ดวงตาของนางแบบ MODE ISO
Av
AF
100-400
LENSES LENSES Fixed * EF 50mm f/1.8 ll * 85mm f/1.8 USM * EF 135mm f/2.8 Tele Zoom * EF 70-200mm f/4L * EF 70-200mm f/2.8L * EF 75-300mm f/4-5.6 lll
ACCESSORIES
REFLECTOR EXTERNAL FLASH
ถ่ายภาพทิวทัศน์
22
2
การท่องเทียวและการถ่ายภาพ เป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมานานแล้ว คนส่วนใหญ่ ที่ซื้อกล้องก็เพื่อที่จะใช้เก็บภาพเวลาไปท่องเที่ยว การถ่ายภาพท่องเที่ยวให้ดีนั้น จุด สำ�คัญอยู่ที่เวลา การเลือกเวลาในการถ่ายภาพสถานที่ท่องเที่ยว จะทำ�ให้ภาพของเรา ดูดี แตกต่างจากคนอื่นๆ เวลาที่เหมาะสมในการถ่ายภาพจะแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่ จะเป็นช่วงเวลาเช้าๆก่อนพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงสัก 10 โมง และหลัง 5 โมงเย็นไปจนถึง พระอาทิตย์ตก หากเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม เช่น ปราสาท พระราชวัง หรือ วัดวาอารามต่างๆ ก็ควรไปแต่เช้าๆเพื่อไม่ให้มีคนติดเข้ามาในเฟรม การถ่ายภาพสถานที่ บางแห่ง สำ�หรับเทคนิคการโฟกัสภาพเวลาถ่ายภาพทิวทัศน์ก็คือ ควนแบ่งภาพออกเป็น 3 ส่วน หรือจุดตัด 9 ช่อง ถ้าจะเน้นทิวทัศน์ให้เส้นขอบฟ้าอยู่ที่ 1/3 ของภาพ แต่ถ้าจะถ่ายท้องฟ้าให้ท้องฟ้าอยู่ที่ 2/3 ของภาพ ร่วม กับการใช้รูรับแสงแคบๆจะทำ�ให้ได้ภาพที่มีระยะชัดลึกดีกว่าโฟกัสไปที่ infinity
GEAR
LENSES
LENSES ACCESSORIES TRIPOD FILTER * ND (Neutral Density) * C-PL (Circular-Polarized)
KiT * EF 18-55mm f/3.5-5.6
WiDE
* EF-S 10-22mm f/3.5 4.5 USM * Ef 17-40mm f/4L USM
SETTING FOCUS
NOTE METERING
AF
Evaluatuve
ISO
MODE MODE
100-400
Av
23
3
ถ่ายภาพกีฬา
การถ่ายภาพการแข่งขันกีฬา ในที่นี่ขอรวมถึงสิ่งที่เคลื่อนไหวเช่นเด็กเล็กๆ หรือสัตว์เลี้ยงด้วย เพราะมีหลักการคล้ายๆกัน คือ การจับจังหวะการ เคลื่อนไหวของวัตถุในภาพ หากเรารู้เทคนิคและหมั่นฝึกฝนแล้ว ก็ถือว่าเป็น เรื่องง่ายๆและน่าสนุกเลยทีเดียว การถ่ายภาพกีฬานั้นสิ่งสำ�คัญก็คือ เราจะ ถ่ายทอดภาพนั้นออกมาอย่างไร ซึ่งการถ่ายภาพกีฬาหรือวัตถุที่เคลื่อนไหว แบ่งออกตามวิธีการจับภาพได้สองวิธี ได้แก่
STOP ACTION คือการใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ เพื่อจับภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวให้ดูหยุด นิ่งภาพลักษณะนี้เราคงจะเคยเห็นกันตามหน้าข่าวกีฬาของหนังสือพิมพ์กัน บ่อยๆ เช่น ภาพนักฟุตบอลที่กำ�ลังยกเท้าเตะหรือภาพนักบาสเก็ตบอลกำ�ลัง กระโดดลอยตัวกลางอากาศ เป็นต้น การถ่ายภาพลักษณะนี้สิ่งแรกที่คุณต้องมี คือ กล้องที่ตั้งความไวแสงสูงๆ เพราะในการถ่ายภาพกีฬา บ่อยครั้งที่ต้องถ่าย ในสภาพแสงที่ ไ ม่ เ อื้ อ อำ � นวย เช่น ตอนค่ำ�ๆหรือในโรงยิม บวกกับ นั ก กี ฬ ามั ก จะไม่ ค่ อ ยอยู่ นิ่งให้เราถ่าย แต่จะเคลื่อนไหวไป มาซึ่งบางครั้งก็เร็วมาก ทำ�ให้เราต้องใช้ สปีดชัตเตอร์ สูงๆ บางครั้งอาจจะใช้ ถึง 1/500 วินาทีขึ้นไปเพื่อจะ จั บ การเคลื่ อ นไหวให้ ดู หยุดนิ่ง ส่วนระบบขับเคลื่อน ภาพให้ ใ ช้ แ บบต่ อ เนื่ อ ง ไปเลยเพื่อจะ ได้จับภาพวัตถุได้ หลายๆจังหวะ
24
วิธีโฟกัส : หากเป็นวัตถุที่เราเดาทิศทางการเคลื่อนไหวได้ ที่ว่าจะมาตรงไหนทางไหน เช่น การเเข่งขันกรีฑา หรือแข่งรถ ที่ต้อง วิ่งมาตามทางที่จัดไว้ ให้เราใช้ระบบแมนนวลโฟกัส โฟกัสพื้นถนนตรง จุดที่จะถ่ายไว้ก่อนล่วงหน้าจากนั้นไม่ควรขยับกล้องอีก เมื่อวัตถุวิ่งผ่าน ตรงจุดโฟกัสไว้ก้กดชัตเตอร์ถ่ายได้ทันที แต่หากเป็นนักกีฬาที่เดาการ เคลื่อนไหวของนักกีฬาไม่ได้ เช่น แข่งฟันดาบ ชกมวย หรือคาราเต้ ก็ให้ใช้ระบบโฟกัสอัตโนมัติแบบติดตามวัตถุ (Al Servo) ช่วยจับวัตถุ
* การถ่ายภาพสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วๆ เช่น การแข่งรถจำ�เป็น
ต้องใช้สปีดชัตเตอร์ที่สูงมากกว่า 1/500 วินาทีขึ้นไปจึงจะ หยุดภาพรถให้ดูหยุดนิ่งได้
การถ่ายภาพกีฬาที่เราเดาจังหวะได้ยาก ควรตั้งระบบขับเคลื่อน ภาพเป็นแบบถ่ายต่อเนื่องเพื่อช่วยให้เราไม่พลาดช็อตเด็ดๆที่อาจเกิด ขึ้นโดยไม่คาดคิดได้ และในที่เเสงน้อยแบบนี้ หากจะใช้สปีดชัตเตอร์ สูงๆเพื่อหยุดการเคลื่อนไหว ก็ต้องยอมเร่ง ISO ให้สูงขึ้นโดยแลกกับ การมี Noise ปราหฎขึ้นมาในภาพบ้าง
25
KEEP MOTION ตรงกันข้ามกับแบบแรก คือ แทนที่เราจะจับภาพนักกีฬาให้ดูหยุดนิ่ง
เทคนิคนี้จะใช้สปีดชัตเตอร์ต่ำ�ๆ ประมาณ 1/200 วินาทีลงมา โดยขึ้นอยู่กับ วัตถุเช่นกันหากวัตถุเร็วมากก็ไม่ควรใช้สปีดชัตเตอร์ที่ต่ำ�เกิน เพราะถ้าใช้สปีด ชัตเตอร์ต่ำ�เกิน อาจจะมองไม่เห็นวัตถุนั้นในภาพเลย ให้ลองปรับแล้วถ่ายภาพ แรกดูก่อน จากนั้นค่อยเพิ่มหรือลดสปีดชัตเตอร์ตามผลที่ได้ หากใช้ร่วมกับการ แพนกล้องจะทำ�ให้ได้ภาพวัตถุที่กำ�ลังเคลื่อนไหวคมชัดแต่ฉากหลังเบลอ สื่อให้ เห็นถึงอารมณ์ของภาพได้เป็นอย่างดี
NOTE
SETTING METERING
Evaluatuve MODE
Tv,M
GEAR FOCUS
AF
( AI Servo ) MODE ISO
AUTO
LENSES LENSES Tele Zoom * EF 70-200mm f/4L * EF 70-200mm f/2.8L * EF 75-300mm f/4-5.6 lll
ACCESSORIES
MONOPOD
ถ่ายภาพมาโคร
26
4
ภาพมาโครหรือภาพวัตถุในระยะใกล้ๆ ที่มีกำ�ลังขยาย สูงมากจนเห็นในสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เช่น ภาพแมลง ตัวเล็กๆ หรือภาพเกสรดอกไม้ เป็นภาพที่สร้างความตื่นตา ตื่นใจให้กับผู้ชมเป็นอย่างมาก การถ่ายภาพมาโครจำ�เป็น ต้องอาศัยอุปกรณ์เฉพาะทางหลายอย่าง เช่น เลนส์มาโคร และ เฟลชแบบวงแหวน ซึ่งอุปกรณ์แต่ละอย่างต่างก็มีราคาค่อนข้างแพง และ ต้องมีความอดทนสูงเพราะต้องก้มตัวหรือบางครั้งถึงกับต้องนอนราบพื้นเพื่อถ่าย โดยปกติแล้วการถ่ายภาพมาโครต้องอาศัยเลนส์มาโคร ซึ่งเป็นเลนส์ชนิดพิเศษที่ สามารถโฟกัสวัตถุในระยะใกล้ๆและมีอัตราขยายที่มากกว่าเลนส์ปกติ
GEAR LENSES ACCESSORIES
LENSES
TRIPOD FLASH * เเฟลชวงแหวนหรือสาย แยกแฟลช * แฟลชภาพนอก
MACRO * EF 50mm f/2.5 Compact Marco * EF-S 60mm f/2.8 Marco * EF 100mm f/2.8 * EF 180 f/3.5L Macro
SETTING
NOTE
FOCUS
METERING
ISO
* Center-weighted average * Spot MODE MODE
MF
200-800
M
27
5
ถ่ายภาพทิวทัศน์ยามค่ำ�คืน
สถานที่ท่องเที่ยวบางแห่งจะสวยงามที่สุดเฉพาะตอนกลาง คืนเท่านั้น เพราะจะมีการเปิดไฟสีต่างๆส่องสว่างไปตาม อาคารหรือท้องถนน ให้สีสันแปลกตา การถ่ายภาพในตอน กลางคืนที่แสงน้อยๆนั้นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ ขาตั้งกล้อง ดีๆสักตัว เพราะการ ถ่ายภาพในที่แสงน้อยเราจำ�เป็นต้องใช้ สปีดชัตเตอร์ที่ต่ำ� บางครั้งอาจต่ำ�กว่า 10 วินาที ซึ่งไม่มีทางที่เราจะถือกล้อง ให้นิ่งได้แน่ๆ ต่อมาคือการมองหาทำ�เล สถานที่ที่เหมาะสม
SETTING METERING
FOCUS
Evaluatuve
MF,AF
MODE
MODE ISO
M
200-800
LENSES LENSES
ACCESSORIES
GEAR
WIDE * EF 10-22 mm * EF 17-55 mm * EF 17-85 mm * EF 16-35 mm * EF 24-105 mm
TRIPOD สายลั่นชัตเตอร์
28
ในการถ่ายภาพตอนกลางคืน เราอาจต้องกะเวลาเปิดรับแสงด้วยตัวเอง ปรับรูรับเเสงตาม ต้องการ แต่แนะนำ�ให้ใช้รูรับแสงแคบๆเพื่อบีบดวงไปให้เป็นแฉกและได้ระยะชัดลึกที่มาก ขึ้น จากนั้นค่อยปรับสปีดชัตเตอร์ให้สัมพันธ์กับรูรับเเสงที่ใช้ ซึ่งบางครั้งสปีดชัตเตอร์อาจ ช้ากว่า 1 วินาที ก็ลองถ่ายดูก่อน อย่าลืมล็อคกระจกสะท้อนภาพและใช้สายลั่นชัตเตอร์ สำ�หรับค่า ISO ให้ตั้งไว้ที่ 200-800 ก็เพียงพอแล้วส่วน White balance ถ้าถ่ายเป็นไฟล์ RAW จะปรับเป็น Auto ไว้ก็ได้เพราะสามารถแก้ไขได้ใหม่
29
6
ถ่ายภาพน้ำ�ตกให้เป็นสาย
เคล็ดลับของการถ่ายภาพน้ำ�ตกให้เป็นสายก็คือ ใช้ส ปีดชัตเตอร์ต่ำ�ๆเพื่อปล่อยให้เห็นการเคลื่อนไหวแค่นี้ เอง นอกเหนือจากนั้นก็เป็นเรื่องเวลาควรถ่ายน้ำ�ตกใน ช่วงเช้าตรูหรือตอนเย็นๆที่แสงไม่แรงมาก เพราะสปีด ชัตเตอร์ต่ำ�จะทำ�ให้้ภาพโอเวอร์เกินได้
สำ�หรับเลนส์ จะใช้เป็นเลนส์มุมกว้าง เลนส์ซูมมาตรฐาน หรือเลนส์เท เลก็ได้ ขึ้นอยู่กับเราหากน้ำ�ตกที่ถ่ายมีขนาดใหญ่ก็ควรเก็บภาพมุมกว้างๆจะได้ ภาพที่ดูดีกว่า แต่หากเป็นน้ำ�ตกเล็กๆและน้ำ�ไม่เยอะมาก ก็ควรใช้เทเลหรือซูม เข้าไปเพื่อบีบให้องค์ประกอบดูแน่นขึ้น
30
GEAR
LENSES ACCESSORIES
TRIPOD FILTER * ND (Neutral Density) * C-PL
LENSES
WIDE * EF 10-22 mm * EF 17-85 mm * EF 17-40 mm * EF 16-35 mm * EF 24-105 mm
SETTING FOCUS
METERING
ISO
* Center-weighted average * Spot MODE MODE
AF
100-200
TV
31
7
ถ่ายภาพอาหาร
รู้หรือไม่ว่า การถ่ายภาพอาหารให้ดูน่ากินนั้นเทคนิคสำ�คัญ ไม่ได้อยู่ที่การถ่าย แต่อยู่ที่การตกแต่งอาหารให้สวยงามต่าง หาก การตกแต่งอาหารให้ดูสวยงามน่ากินนั้นสำ�คัญมาก ใน กองถ่ายภาพหรือรายการที่เกี่ยงกับอาหารจะมีทีมงานที่ทำ� หน้าที่ตกแต่งอาหารให้ดูสวยงามน่ากินโดยเฉพาะ เรียกว่า Food Stylist หากเราจะถ่ายภาพอาหารให้ดูน่ากินแบบนั้นบ้างมีแค่ข้าวผัดจาน เดียวคงจะไม่พอ ควรจะมีพร็อพ หรืออุปกรณ์ประกอบเสริมมาตกแต่งด้วย เช่น ผ้าปูโต๊ะสีสวยๆ ช้อนส้อมเก๋ๆ หรือโรยผักชีต้นหอมสวยๆเข้าไปเยอะหน่อย เป็นต้น ส่วนเรื่องแสงให้ลองมองหาแสงอ่อนๆ เช่น แสงที่ส่องผ่านหน้าต่างเข้ามา ถ้าเเสงแรงเกินก็อาจหาผ้ามาทำ�เป็นม่านบางๆกรองแสงให้อ่อนลงหรือจะใช้เฟล ชภายนอกยิงสะท้อนเพดานลงมาก็ได้โดยอาจชดเชยเเสงให้ภาพออกมาโอเวอร์ สักเล็กน้อย อาหารจะได้ดูสะอาดดูน่ากิน
GEAR
LENSES ACCESSORIES
REFLECTOR EXTERNAL FLASH
LENSES
Fixed * EF 50mm f/1.8 ll
SETTING
32
FOCUS
METERING
ISO
* Center-weighted average * Spot MODE MODE
MF
200-400
AV
NOTE
Speed 1/20 sec, f/5.6, ISO 200
CHAPTER
4
“ชัตเตอร์” ว่าด้วยเรื่องของเสียง
34
สวัสดีครับ ผมชื่อ “ เบนซ์ ” ผมเป็นคนเขียนคอลัมน์ “ ว่าด้วยเรื่องของเสียง ชัตเตอร์ ” วันนี้ผมจะพาคุณไปรู้จักกับช่างภาพที่เนื้อหอมที่สุดในช่วงนี้ มีดีกรีถึง ระดับโลกเลยทีเดียว ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติในด้านถ่ายภาพปี 2554 เขามีนามว่า “ คุณสิริชัย โลหิตไทย ” หรือที่ติดหูกันในนาม “ Black rOmance ” วัน นี้ผมมีคำ�ถามมากมายหลายคำ�ถามที่จะทำ�ให้คุณรู้จักตัวตนของเขามากขึ้น ซึ่ง รวบรวมมาจากเพื่อนๆในอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นทางหน้า เวปไซต์ของเรา เวป ไซค์พันทิพย์ดอทคอม และทางเฟสบุ๊ค รวมถึงเทคนิคส่วนตัวในการถ่ายภาพ จุดเริ่มต้นของการถ่ายภาพ • จุดเริ่มต้นของการถ่ายภาพของผมก็คือการเก็บความทรงจำ�ที่ดีดี สมัย ที่ผมยังเรียนอยู่ที่กรุงเทพฯ โรงเรียนราชวินิตบางแก้วช่วง ม.3 ครับ (ตอนนั้น ใช้กล้องอะไรครับ) กล้องตัวแรกของผมคือ canon 350D ผมใช้มันจนเหมือน เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผมเลย (ทำ�ไมถึงเลือกใช้กล้องcanonครั บ ) คือตอนนั้นผมก็ยังไม่ค่อยรู้จักกล้องอะไรมากนัก ก่ อ นที่ ผ ม จะตัดสินใจซื้อเจ้าcanonตัวนี้ ผมไปเห็นเขาถ่ายรูป นางแบบ สวยๆแล้วใช้กล้องตัวนี้ ผมเลยซื้อตัวนี้เลยความ คิ ด ต อ น นั้นของผมคือ อยากจะถ่ายรูปนางแบบสวยๆบ้าง แ ต่ พ อ ซื้ อ มาแล้วผมรู้สึกว่าทำ�ไมมันใช้ยากจัง ตอนแรกก็มั่วๆไป จนกระทั่ ง พอถ่ายได้ผมก็เริ่มเอากล้องมาถ่ายเพื่อนๆเล่น และได้ มีโอกาสไปออกทริปกับรุ่นพี่ ทริปแรกผมไปถ่าย ที่ทะเลครับทริปนี้ก็เป็นทริปถ่าย Portrait ปกติ แต่ทริปนี้ทำ�ให้ผมรู้ว่าผมชอบถ่ายวิวมากกว่า ผมจึงเริ่มหัดถ่ายภาพแนว Landscape อย่าง จริงจัง ครับ
35
เทคนิคส่วนตัว • การถ่ายภาพทิวทัศน์ ซึ่ง เป็ น การถ่ า ยภาพด้ ว ยแสงธรรมชาติ องค์ประกอบในภาพมักจะมี ดวงอาทิตย์ เมฆ ภูเขา แม่น้ำ� ทะเล ทุ่งนา วิวเมือง สิ่ งสำ �คั ญ สำ � หรั บ การถ่ า ยภาพทิ ว ทั ศน์ คือ ต้องมีจุดเด่น จุดโชว์ ต้องบอกได้ว่า ภาพนี้ต้องการโชว์อะไร เช่น ท้องฟ้า สี น้ำ�ทะเล หรือ แสงเงา สิ่งจำ�เป็นในการ ถ่ายภาพทิวทัศน์ ควรถ่ายภาพให้ถูก ที่ถูกเวลา ทิศทางของแสงต้องดี และ ที่ขาดไม่ได้เลยคือการ เตรียมอุปกรณ์ ให้พร้อม ได้แก่ กล้อง ขาตั้งกล้อง สาย ลั่นชัตเตอร์ ส่วนอุปกรณ์ช่วยให้ภาพ ทิวทัศน์สวยขึ้นได้แก่ เลนส์wide และฟิล เตอร์ C-PL ครับ • เทคนิคง่าย ๆ อย่างหนึ่งในการ ทำ�งานถ่ายภาพงานสารคดีคือ สนใจ เรื่องใกล้ตัว นักถ่ายภาพที่อาศัยอยู่ใน ต่างจังหวัดก็จะได้เปรียบเรื่องที่เกี่ยวกับ ธรรมชาติ วิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ส่วนใน กรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ ๆ ก็อาจจะมี เรื่องทางสังคม ความแตกต่าง ลองมอง สิ่งรอบข้างใกล้ตัว โดยเฉพาะเรื่องที่ดู เข้าใจง่ายและมีให้พบเห็นกันบ่อยๆ การ กำ�หนดเรื่องรอบตัวสักเรื่องให้เป็นเป้า หมายในการถ่ายภาพจะเป็นการฝึกฝน ที่ดี ครับ
เคยท้อในการถ่ายภาพบ้างไหม • คนเราทุกคนเกิดมา ไม่มีใคร ที่ ไ ม่ เ คยท้ อ และหมดหวั ง หรอกครั บ แต่ สำ � หรั บ การถ่ า ยภาพนั้ น อาจจะแค่ เหนื่อยหน่ายกับการถ่ายรูปบ้าง ผม เคยท้อกับการถ่ายรูปตอนหัดถ่ายภาพ ใหม่ๆ “ เบื่อ ” ทำ�ไมถ่ายรูปไม่สวย สักที แต่ผมก็มีกำ�ลังใจทุกครั้งที่ดูรูป ถ่ายของช่างภาพเก่งๆอย่าง Charlie Waite มันทำ�ให้ผมอยากจะถ่ายภาพ แบบนั้นบ้าง ครับ
36
CHAPTER
5
Additional tips for Canon DSLR user
เกล็ ด ความรู ้ เ พิ ่ ม เติ ม สำ � หรั บ ผู ้ ใ ช้ ก ล้ อ งแคนนอน
38
39
ในบทที่ผ่านมา เราได้เรียนรู้เรื่องต่างๆมากมายที่เกี่ยวกับกล้องและอุปกรณ์เสริม ที่ใช้ในการถ่ายภาพ เทคนิคในการควบคุมกล้องไปจนถึงเทคนิคในการปรับแต่งภาพ ในบทสุดท้ายนี้จะเป็นการแนะนำ�และเก็บตกเรื่องเบ็ดเตล็ดที่เกี่ยวกับกล้องแคนนอน และการถ่ายภาพ เช่น การอัพเดทเฟิร์มแวร์ด้วยตัวเอง คำ�สั้งต่างๆ ที่สำ�คัญในเมนู Custom function ของกล้อง ชุมชนออนไลน์ยอดนิยมของคนเล่นกล้องแคน นอนและเทคนิคการซื้อขายกล้อง อุปกรณ์มือสอง ซึ่งเรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ เหล่า นี้น่าจะมีประโยชน์สำ�หรับช่างภาพมือใหม่บ้างไม่มากก็น้อย
40
คำ�สั่งที่สำ�คัญในเมนู
Custom Function
เมนู Custom function เป็นเมนูที่รวบรวมการปรับแต่งค่าการทำ�งาน ที่สำ�คัญของแคนนอน ซึ่งมือใหม่หลายๆคนอาจสงสัยว่ามันคืออะไร และไม่เคยคิดจะเข้าไปยุ่งเลย ทั้งๆที่บางเมนูนั้นมีความสำ�คัญมาก ต่อการถ่ายภาพเลยทีเดียว ในหัวข้อนี้จะยกตัวอย่างเมนูบางหัวข้อใน Custom function ของกล้อง EOS 5D MK ll เป็นหลัก สำ�หรับกล้อง รุ่นอื่นๆ ก็ขอให้เข้าใจตรงกันว่าเมนู Custom function จะแตกต่างกัน ไปบ้างบางหัวข้อ แต่เมนูหลักๆที่เกี่ยวกับการถ่ายภาพส่วนใหญ่จะมี เหมือนกันหมด
“...บางครั้ง ภาพที่สวยที่สุดสำ�หรับเรา อาจจะขัดใจของใครบางคน แต่ภาพนั้นเป็น ภาพที่เราภูมิใจที่สุดแค่นี้ก็เกินพอแล้ว...”