Ca222 week02 concept of visual communication, ethic and law for journalism

Page 1

นศ 222 การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ 2 [CA 222 Printed Media Design 2]

รวมรวม/เรียบเรียง โดย อาจารย์ณัฏฐพงษ์ สายพิณ ส า ข า วิ ช า นิ เ ท ศ ศ า ส ต ร์ บู ร ณ า ก า ร ค ณ ะ ศิ ล ป ศ า ส ต ร์ ม ห า วิ ท ย า ลั ย แ ม่ โ จ้

แ น ว คิ ด เ กี่ ย ว กั บ ก า ร สื่ อ ส า ร ด้ ว ย ภ า พ การเตรี ยมต้นฉบับ จริ ยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์  ภาพถ่ายในฐานะการสื่อสารเชิงสัญลักษณ์  ความหมาย คุ ณ ลั ก ษณะ และความสาคัญ ของประเภทภาพ เชิงวารสารศาสตร์  หลักจริยธรรมและจรรยาบรรณสาหรับภาพเชิงวารสารศาสตร์  แบบจาลองการสื่อสารของ Jakobson  การวิเคราะห์ภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์

 การเตรียมข้อมูลและต้นฉบับสือ่ สิง่ พิมพ์  กฎหมายสื่อสิ่งพิมพ์ตามพระราชบัญญั ติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

1

การสื่อสารด้วยภาพเป็นกระบวนการที่มีการขับเคลื่อนอย่างไม่หยุดนิ่ง นับตั้งแต่ภาพเขียนบนผนังถ้าของมนุษย์ ในยุค ดึกดาบรรพ์ จนกระทั่งในยุคปัจจุบันที่มีการสร้างสรรค์รูปแบบและกระบวนการสื่อสารด้วยภาพ พร้อมๆ กับการพัฒนาเทคโนโลยี ทางการมองเห็นมาอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ในทุกยุคสมัยต่างก็มีความจาเป็นที่จะต้องทาการสื่อสารเพื่อตอบสนองต่อ ความต้องการในการอยู่ร่วมกันในสังคมโดยการสื่อสารด้วยภาพ ถือเป็นวิธีการสื่อสารที่สาคัญทางหนึ่งที่มีความเป็นรูปธรรมและ เป็นสื่อกลางที่นามาใช้เป็นตัวแทนในการสื่อความหมายถึ งเรื่องราวและเหตุการณ์ต่างๆ อีกทั้งการมองเห็นก็เป็นธรรมชาติใน การรับรู้อย่างแรกของมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพสูง และในวงการสื่อนั้น การสื่อสารด้วยภาพก็เป็นสิ่งที่เป็นปัจจัยสาคัญต่อการสื่อสาร ความหมายและเรื่องราวผ่านทั้งสิ่งพิมพ์ และสื่อในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะงานวารสารศาสตร์ที่เป็นงานที่ต้องสื่อสารกับผู้รับสารที่ เป็นมวลชน

ภาพถ่ายในฐานะการสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ สังคมทุกสังคมจะต้องมีการกาหนดระบบสัญลักษณ์ทางการสื่อสารที่ใช้เป็นตัวแทนความหมายของสิ่งหนึ่งๆ ซึ่งทุกสังคม ต้องการระบบแบบแผนของสัญลักษณ์ที่เป็นที่เข้าใจร่วมกัน หากสังคมใดไม่มีสิ่งที่ใช้แทนสัญลักษณ์ถึงบางสิ่งบางอย่าง แสดงว่า สมาชิกในสังคมไม่รู้จักสิ่งนั้น ทั้งนี้การเรียนรู้ระบบสัญลักษณ์เป็นผลมาจากความสามารถของมนุษย์ในการเก็บความทรงจาและ การระลึกถึงความทรงจาที่สามารถนามาเชื่อมโรงได้กับปัจจุบัน ปัจจัยดังกล่าวหากเป็ นเงื่อนไขเบื้องต้นในการเรียนรู้สัญลักษณ์ ทางภาษาและสัญลักษณ์อื่นใดรวมทั้งการสื่อสารด้วยภาพ ซึ่งเป็นระบบการสื่อสารที่เรียนรู้ได้ โดยมีลักษณะสาคัญ 3 ประการ คือ 1. เข้าใจได้จากการเรียนรู้ของบุคคล 2. มีความหลากหลายในแต่ละสังคม 3. สามารถเปลี่ยนแปลงได้ภายในบุคคลหรือสังคมเดียวกัน ขึ้นอยู่กับบริบทแวดล้อมทางการสื่อสาร Semiology เป็นคาทีต่ ั้งขึ้นโดยนักภาษาศาสตร์ Ferdinand de Saussure (ค.ศ. 1857-1913) ในการศึกษาหาความรู้ เกี่ยวกับสัญศาสตร์และสัญวิทยานั้นมีเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่สอดคล้อง และคล้ายคลึงกัน นั่นคือการศึกษา วิธีการสื่อความหมาย ขั้นตอนและหลักการในการสื่อความหมายตลอดจนเรื่องการทาความเข้าใจในความหมายของสัญลักษณ์ที่ ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมหนึง่ ๆ

รูปสัญญะและความหมายสัญญะ การศึกษาเกี่ยวกับสัญศาสตร์ จะเป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปสัญญะและความหมายสัญญะ เพื่อดูว่าความหมาย ถูกสร้างและถูกถ่ายทอดอย่างไร ซึ่ง Saussure อธิบายว่าในทุกๆ สัญญะต้องมีส่วนประกอบทั้ง 2 อย่างได้แก่ 1. รูปสัญญะ (Signifier) คือสิ่งที่เราสามารถรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส เช่นการมองเห็นตัวอักษร รูปภาพ หรือการได้ยินคาพูดที่เปล่ง ออกมาเป็นเสียง (acoustic-image) 2. ความหมายสัญญะ (Signified) หมายถึงความหมาย คานิยามหรือความคิดรวบยอด (concept) ที่เกิดขึ้นในใจหรือในความคิดของผู้รับสาร


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

2

ความสัมพันธ์ระหว่างสัญญะแต่ละตัวนั้นเกิดขึ้นโดยตรรกะว่าด้วยความแตกต่าง (the logic of difference) หมายถึง ความหมายของสัญญะแต่ละตัวมาจากการเปรียบเทียบว่าตัวมันแตกต่างจากสัญญะตัวอื่นๆ ในระบบเดียวกัน ซึ่งหากไม่มีความ แตกต่างแล้ว ความหมายก็เกิดขึ้นไม่ได้ ทั้งนี้ความต่างที่ทาให้ค่าความหมายเด่นชัดที่สุดคือความต่างแบบคู่ตรงข้าม (binary opposition) เช่น ขาว-ดา ดี-เลว ร้อน-เย็น หรืออธิบายอีกอย่างคือ ความหมายของสัญญะหนึ่งเกิดจากความไม่มี หรือไม่เป็น ของสัญญะอื่น (สรณี วงศ์เบี้ยสัจจ์, 2544)

ประเภทของสัญญะ การสื่อสารด้วยภาพเป็นระบบการสื่อสารด้วยระบบสัญญะ ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างสัญญะแต่ละตัวนั้นเกิดขึ้นโดย การพิจารณาที่ตรรกะของความแตกต่างนั้นก็ได้มีการเสนอการจัดประเภทของสัญญะ โดย C.S Peirce ได้แบ่งตามความสัมพันธ์ ระหว่างรูปสัญญะและความหมายสัญญะ โดยจาแนกสัญญะเอาไว้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. สัญรูป (icon) คือการสื่อสารตามสิ่งที่เห็ นในภาพในระดับที่เป็นความหมายแบตรงไปตรงมา เป็นความสั มพันธ์ระหว่า ง รูปสัญญะกับความหมายสัญญะเป็นเรื่องของความเหมือนหรือคล้ายคลึงกับสิ่งที่มันบ่งถึง เช่น ภาพถ่าย ภาพเหมือน ที่ เชื่อมโยงเข้ากับตัวบุคคล เป็นต้น 2. ดรรชนี (index) คื อ การสื่ อ สารที่ ต้ อ งอาศั ย การเชื่ อ มโยงสิ่ ง ที่ เ ป็ น เหตุ แ ละเป็ น ผลต่ อ กั น หรื อ การคิ ด ของผู้ รั บ สาร เป็ น ความสัมพันธ์ระหว่างรูปสัญญะกับความหมายสัญญะเป็นผลลัพธ์ หรือเป็นการบ่งชี้ถึงบางสิ่งบางอย่าง เช่น เห็นภาพ ควันไฟย่อมรู้ได้ว่ามีไฟไหม้เกิดขึ้น รูปกราฟที่แสดงผลลัพธ์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง รอยเท้าของสัตว์ที่ประทับลงบนพื้นดิน หรือ ดรรชนีที่อยู่ท้ายเล่มของหนังสือที่บอกให้เราทราบถึงข้อความที่เราต้องการจะค้นหา คุณสมบัติอีกประการที่น่าสังเกตของสัญญะประเภทดรรชนีก็คือ เมื่อเราเห็นรูปสัญญะประเภทดรรชนี ความ หมายสัญญะที่เรานึกถึงไม่ใช่สิ่งที่เรามองเห็นในขณะนั้น เช่นตัวอย่างที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นคือรอยเท้าสัตว์ที่เมื่อเราพบ เราไม่ได้นึกถึงรอยเท้าในขณะนั้น แต่เรานึกไปถึงตัวสัตว์ที่เป็นเจ้าของรอยเท้านั้น 3. สัญลักษณ์ (symbol) คือการสื่อสารที่เกิดจากการเรียนรู้ร่วมกันของคนในสังคมที่ตกลงความหมายร่วมกัน เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง รูปสัญญะกับความหมายสัญญะที่แสดงถึงบางสิ่งบางอย่าง แต่มันไม่ได้มีความคล้ายคลึงกับ สิ่งที่มันบ่งชี้เลย ซึ่งการใช้ งานเป็นไปในลักษณะของการถูกกาหนดขึ้นเองซึ่งได้รับการยอมรับจนเป็นแบบแผน (Convention) และต้องมีการเรียนรู้ เครื่องหมายเพื่อทาความเข้าใจ หรือเป็นการแสดงถึงการเป็นตัวแทน (representation) ซึ่งสังคมยอมรับความสัมพันธ์นี้ ตัวอย่างเช่น ภาพไม้กางเขนเป็นสัญลักษณ์แทนศาสนาคริสต์ หรือการสวมแหวนนิ้วนางข้างซ้ายแสดงถึงการแต่งงาน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดี การจาแนกประเภทของสัญญะทั้งสามแบบก็ไม่สามารถทาได้อย่างชัดเจน เช่นในกรณีรูปสัญญะของคาว่า “Xerox” ในภาษาอั งกฤษซึ่ งความหมายสั ญญะของมั นก็คื อยี่ ห้อของเครื่ องถ่ายเอกสาร แต่รู ปสั ญญะดัง กล่า วได้กลายเป็ น ความหมายสัญญะของ “การถ่ายเอกสาร” ในสังคมไทยเป็นต้น (ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, 2545)


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

3

แสดงภาพตัวอย่างของสัญญะประเภทต่างๆ

ความหมายตรงและความหมายแฝง ในการทางานของขั้นตอนการแสดงความหมายของสัญญะนั้นจะมีความสัมพันธ์ระหว่างรูปสัญญะและความหมาย สัญญะตลอดเวลา ซึ่ง Barthes ได้ให้แนวคิดในการวิเคราะห์ความหมาย 2 ชนิดในส่วนการรับรู้ความหมายของผู้รับสาร คือ 1. ความหมายตรง (Denotation) เป็นระดับของความหมายที่เกี่ยวข้องกับความจริงระดับธรรมชาติ เป็นความหมายที่ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ตรง ตามตัวอักษรจัดอยู่ในลักษณะของการอธิบายหรือพรรณนา (Descriptive level) และเป็นความหมายที่เป็นที่รับรู้และ เข้าใจได้สาหรับผู้รับสารส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างเช่นเมื่อเรากล่าวถึงช้าง ก็จะนึกถึงลักษณะของสัตว์ที่มีรูปร่างใหญ่ มีงา และงวง เป็นต้น การอธิบายความหมายของคาศัพท์ในพจนานุกรมก็เป็นความหมายโดยตรงเช่นกัน (ภัคพงศ์ อัครเศรณี, 2548) 2. ความหมายแฝง (Connotation) เป็นการตีความหมายของสัญญะโดยเป็นระดับที่พ่วงเอาปัจจัยทางวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเป็นการ อธิบายถึงปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้ใช้และคุณค่าทางวัฒนธรรมของเขา ความหมายแฝงหรือ ความหมายในระดับที่สองนี้สร้างขึ้นบนพื้นฐานของความหมายตรงของสัญญะตัวเดียวกัน ซึ่งกระบวนการเกิดขึ้นของ ความหมายแฝงนี้เกิดขึ้นเมื่อสัญญะในความหมายระดับแรกถูกนาไปใช้เป็นรูปสัญญะโดยมีการผูกโยงรวมเข้ากับ ความหมายใหม่ จึงเกิดเป็นความหมายแฝง ซึ่งกระบวนการนี้เองที่ Barthes ใช้อธิบายการเกิด Myth (มายาคติ) ซึ่ง Barthes ได้อธิบายเกี่ยวกับกระบวนการดังกล่าวไว้ดังนี้ “มายาคติเป็นระบบสื่อความหมายซึ่งมีลักษณะพิเศษตรงที่มัน ก่อตัวขึ้นบนกระแสการสื่อความหมายที่มีอยู่ก่อนแล้ว จึงถือได้ว่า มายาคติเป็นระบบสัญญะในระดับที่สอง สิ่งที่เป็น หน่วยสัญญะ (ผลลัพธ์จากการประกบของรูปสัญญะกับความหมาย) ในระบบแรก กลายมาเป็นเพียงรูปสัญญะในระบบ ที่สอง ขอย้าในที่นี้ว่า วัสดุสาหรับสร้างวาทะแห่งมายาคติ (เช่น ภาษา ภาพถ่าย ภาพวาด โปสเตอร์ พิธีกรรม วัตถุ ฯลฯ) ไม่ว่าในเบื้องต้นนั้นจะมีความแตกต่างหลากหลายเพียงใดก็ตาม แต่ครั้นเมื่อถูกจับยึดโดยมายาคติแล้ว ก็จ ะถูกทอนให้ เหลือเป็นเพียงรูปสัญญะเพื่อสื่อถึงสิ่งอื่นเสมอ” (วรรณพิมล อังคศิริสรรพ, 2544) อย่างไรก็ดี การสื่อความหมายในระดับของความหมายแฝงนี้มีแนวโน้มในการสื่อความหมายที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับ ระดับของการสื่อความหมาย โดยแบ่งออกเป็น 2 ระดับได้แก่ ระดับของปัจเจก (individual connotations) ในการทาความเข้าใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งของบุคคลนั้นเป็นการเรียนรู้วิธีการ มองโลกและการที่บุคคลมีปฏิสัมพันธ์กับโลก ซึ่งการเรียนรู้เหล่านี้เองที่จะทาให้บุคคลมีความเข้าใจและให้นิยามต่อสิ่งต่างๆ ซึง่ อาจ เหมื อ นหรื อ แตกต่ า งกั น ก็ ไ ด้ ซึ่ ง เรี ย กว่ า ประสบการณ์ ยกตั ว อย่ า งเด็ ก หญิ ง ที่ ไ ด้ ก ลิ่ น ดอกกุ ห ลาบเป็ น ครั้ ง แรกพร้ อ มกั บ มี


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

4

ประสบการณ์ที่น่ากลัว ในเวลาต่อมาหากเธอได้มองเห็นหรือได้กลิ่นดอกกุหลาบ ก็อาจเป็นการเตือนความจาให้เกิดความรู้สึก หวาดกลัวขึ้นมาอีก ซึ่งการมองเห็นหรือได้กลิ่นดอกกุหลาบนี้เป็นการนาพาการสื่อความหมายส่วนตัวสาหรับเด็กผู้หญิงคนดังกล่าว ดังนั้นการมอบดอกกุหลาบจึงอาจเป็นการสร้างความกลัวมากกว่าที่จะเกิดความรู้สึกซาบซึ้งในความรัก สิ่งที่ควรระมัดระวังในการ วิเคราะห์ในเชิงสัญศาสตร์ (semiotic analysis) สาหรับการสื่อความหมายระดับนี้คือ เนื่องจากเป็นการสื่อความหมายแบบส่วนตัว จึงอาจไม่ได้สื่อความหมายแตกต่างไปตามความหมายปกติดังที่คนอื่นๆ มีส่วนร่วมในความหมายนั้น ระดับของวัฒนธรรม (cultural connotations) การสื่อความหมายในระดับนี้แสดงถึงการที่วัตถุในวัฒนธรรมได้พ่วงเอา ความสัมพันธ์และการสื่อความหมายเข้ามาในตัวมันและมีส่วนร่วมในการให้ความหมายกับผู้คนในวัฒนธรรม ยกตัวอย่างเช่นการ มอบดอกกุหลาบ ที่คนให้การยอมรับในเชิงวัฒนธรรมเข้าใจร่วมกันว่าเป็นการแสดงถึงความรัก (สมเกียรติ ตั้งนโม. 2550.)

ความหมายที่เกิดจากระบบสัญญะ ระบบของภาษาภาพมีความหมายที่เกิดจากระบบสัญญะ สามารถจาแนกที่มาของความหมายได้ 3 ลักษณะ ดังนี้ 1. ความหมายเชิงสัญลักษณ์ของรูปทรงวัตถุในภาพ รูปทรงที่ประกอบขึ้นเป็นพืช สัตว์ สิ่งของ หรือบุคคล นอกจากจะมีความสามารถในการสื่อสารเกี่ยวกับสารสนเทศของสิ่ง นั้นๆ ที่เป็นความหมายโดยตรงแล้ว อาจมีความหมายในระดับสัญลักษณ์ร่วมอยู่ด้วย ซึ่งการตีความหมายนั้นเป็นกระบวนการที่อิง กับประสบการณ์หรือการเรียนรู้ระบบสัญลักษณ์ที่มีมาก่อน เช่น ภาพดอกเข็มในพิธีไหว้ครู มีความหมายในเชิงสัญลักษณ์ถึง ปัญญาที่แหลมคม ภาพดอกบัวสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ถึงศาสนาพุทธเป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นกับบริบทและสื่อ ของการนาเสนอภาพ นั้นๆ ด้วย เช่น ชื่อภาพ การบรรยายภาพ การจัดหน้า การออกแบบกราฟิก จะเป็นตัวกาหนดการตีความหมายในระดับหนึ่งด้วย

2. ความหมายแฝงของภาษาทางเทคนิคการถ่ายภาพ เป็นผลจากหลักจิตวิทยาการเห็นของมนุษย์ซึ่งเกิดจากการเลือกใช้มุมกล้อง ช่วงความชัด ความยาวโฟกัสของเลนส์ การ จัดแสง เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นภาพข่าว ภาพถ่ายเชิงสารคดี แม้จะหลักในการนาเสนอภาพที่เน้นคุณค่าเกี่ยวกับความถูกต้องเป็นจริง ของเหตุการณ์ แต่งานภาพถ่ายเหล่านี้ก็ไม่สามารถสื่อความหมายได้อย่างเป็นวัตถุวิสัย เพราะภาพถ่ายทุกภาพล้วนมีความหมาย แฝงจากภาษาทางเทคนิคการถ่ายภาพเสมอ ในบางกรณีระดับมุมกล้องจากมุมสูงก็ไม่ได้หมายความว่า สิ่งที่ถูกถ่ายต้องดูต่าต้อย เช่น ภาพภูมิทัศน์ทางอากาศของ โบราณสถาน ย่อมสื่อความหมายได้ถึงความยิ่งใหญ่ในครั้งอดีต หรือตัวอย่างภาพข่าวจากมุมต่าที่เสนอภาพคนที่กาลังจะกระโดด จากที่สูง ก็ไม่ได้หมายความว่าคนๆ นั้นเป็นผู้ยิ่งใหญ่ หากแต่ความหมายแฝงดังกล่าว เป็นหลักการโดยทั่วๆ ไปเท่านั้น ในกรณีภาพ ข่าวอาจไม่สามารถตีความภาพบางประเภท เพราะช่างภาพอาจต้องเผชิญกับข้อจากัดของสถานการณ์ทางการถ่ายภาพ หรือ ตาแหน่งที่ช่างภาพอยู่ในขณะที่ทาการบันทึกภาพ ทาให้หลักการดังกล่าวไม่สามารถอิบายได้ในบางกรณี


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

5

ตัวอย่างนี้เป็นความหมายแฝงที่แนบเนื่องมาจากสิ่งที่อยู่ถูกบันทึกภาพ (Nick Lacey, 1998) เทคนิคการถ่ายภาพ ความหมายแฝง มุมสูง ความพ่ายแพ้ ต่าต้อย ตกอยู่ภายใต้อานาจ ระดับมุมกล้อง มุมระดับสายตา ความเสมอภาค ความเป็นกลาง มุมต่า ความชนะ ความสูงส่ง ความมีอานาจ ภาพแสดงความชัดลึก การสื่อเรื่องราวโดยรวม ช่วงความชัด ภาพแสดงความชัดตื้น การเน้นความสาคัญ (Depth of field) ภาพ soft focus ภาพถวิลหาอดีต (nostalgia) ภาพในความคิดฝันจินตนาการ เลนส์ถ่ายไกล (Telephoto lens) การแอบมอง (voyeuristic) ความยาวโฟกัสของเลนส์ เลนส์มาตรฐาน (Normal lens) การมองปกติ เลนส์มุมกว้าง (Wide-angle lens) การเห็นที่บิดเบือน การแสดง(drama) High key ความเปิดเผย การมองโลกในแง่ดี ลักษณะการจัดแสง Low key ความเร้นลับ ความเศร้า ความอึมครึม 3. ความหมายแฝงทางจิตวิทยาขององค์ประกอบด้านทัศนธาตุ ทัศนธาตุ (visual elements) เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของงานสื่อสารด้วยภาพ อย่างไรก็ตามสิ่งสาคัญในงาน สื่อสารภาพถ่าย ได้แก่ องค์ประกอบเรื่อง สีและเส้น ล้วนมีผลต่อจิตวิทยาการรับรู้ของผู้รับสาร ดังนี้ 3.1. จิตวิทยาของสี สีนนั้ มีความสาคัญอย่างยิ่งในการออกแบบในการทางานสิ่งพิมพ์ต่างๆ การเลือกสีให้เข้ากับเนื้อหาของงาน จะ ทาให้งานที่ทาออกมามีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น และยังส่งผลอย่างมากกับความ สวยงามของงานที่ออกมาด้วย สี สีแดง สีเหลือง สีน้าเงิน สีชมพู สีเขียว สีม่วง สีฟ้า สีส้ม สีขาว สีเทา สีดา สีน้าตาล

ความหมายทางจิตวิทยา ความรุนแรง ความร้อนแรง ความมีอานาจ ความสดใส ร่าเริง เป็นสีแห่งความเบิกบาน กระฉับกระเฉง ความเวิ้งว้าง ความรู้สึกเป็นเจ้าของ อิสรเสรี ความสงบนิ่ง ความสุขุม เยือกเย็น ความประณีต งดงาม สดใส มีชีวติ ชีวา ความอุดมสมบูรณ์ ความผ่อนคลาย ธรรมชาติ ให้ความรู้สึกมีเสน่ห์ เร้นลับ น่าติดตาม ซ่อนเร้น มีอานาจ มีพลังแฝงอยู่ ให้ความรู้สึกสงบ สุขุม สุภาพ หนักแน่น เคร่งขรึม เอาการเอางาน ละเอียด รอบคอบ สง่างาม มีศักดิศ์ รี สูงศักดิ์ เป็นระเบียบถ่อมตน ฉลาด กล้าหาญ ให้ความรู้สึก ร่าเริง สดใส มีชีวติ ชีวา วันรุ่น ความคึกคะนอง ให้ความรู้สึก บริสุทธิ์ สะอาด สดใส เบาบาง อ่อนโยน ความศรัทธา ความดีงาม ความอ่อนโยน ความเงียบขรึม ความชราภาพ ความสลดใจ ความน่ากลัว อันตราย ความหนักแน่น ความลึกลับ ให้ความรู้สึกหนักแน่น มั่นคง ความแห้งแล้ง ไม่สดชื่น


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

6

3.2. จิตวิทยาของเส้น ในการใช้เส้นจัดองค์ประกอบภาพนั้น ลายเส้นต่างๆ ยังให้ความหมายแฝงร่วมอยู่ด้วย ชะลูด นิ่มเสมอ(2542: 35) ได้กล่าวถึงความรู้สึกทางจิตวิทยาที่เกิดจากลักษณะเส้นต่างๆ ดังนี้ o เส้นตรง ให้รู้สึกแข็งแรง แน่นอน ตรง เข้ม ไม่ประนีประนอม หยาบ และเอาชนะ o เส้นคลื่นหรือเส้นโค้ง ให้ความรู้สึกสบาย เลื่อนไหล ต่อเนื่อง สุภาพ แต่ถ้าใช้มากจะให้ความรู้สึกกังวล ขาด จุดมุง่ หมาย o เส้นโค้งแคบ ให้ความรู้สึกมีพลังเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงเร็ว o เส้นโค้งวงกลม ให้ความรู้สึกเป็นระเบียบ เป็นวงจร o เส้นโค้งก้นหอย ให้ความรู้สึกเข้าสู่ศูนย์กลาง คลี่คลาย เคลื่อนไหวไม่สิ้นสุด o เส้นฟันปลา ให้ความรู้สึกขัดแย้ง เปลี่ยนแปลงเร็ว พลังไฟฟ้า o เส้นนอน ให้ความรู้สึก เงียบ สงบ o เส้นตั้ง ให้ความรู้สึกสมดุล มั่นคง แข็งแรง รุ่งเรือง o เส้นเฉียง ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว ไม่มั่นคง อย่างไรก็ตาม ความหมายของสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏในภาพหรือภาพถ่ายที่ใช้ในงานสิ่งพิมพ์นั้น เกิดจากความสัมพันธ์กับ รูปสัญญะอื่นๆ ทั้งนี้ นักสื่อสารด้วยภาพต้องตระหนักว่าความหมายของภาพล้วนมีความหลากหลาย กล่าวคือ ภาพสามารถมี ความหมายอย่างไรก็ได้ตามที่ผู้รับสารปรารถนาที่จะให้เป็น ความหมายของภาพถูกกาหนดโดยองค์ประกอบแวดล้อมจานวนมาก ดังนั้น การถอดรหัส เข้าใจถึงบริบท ภาษาภาพ ความหมายของภาพ และต้องมีสายตาแห่งจินตนาการที่ต้องหมั่นฝึกฝน ต้อง ความรู้เกี่ยวกับบริบทของการบันทึกภาพ เหตุการณ์แวดล้อมอื่นๆ ช่วงเวลาของเรื่องราว และการเลือกใช้ภาพประกอบสาหรับ สิ่งพิมพ์นั้น จะทาให้ผู้รับสารสามารถตีความหมายได้ชัดเจนมากขึ้น

ความหมาย คุณลักษณะ และความสาคัญของประเภทภาพเชิงวารสารศาสตร์ ภาพเชิงวารสารศาสตร์ ทั้งภาพประกอบและภาพถ่าย เป็นงานทางการสื่อสารที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างหลัก วิชาการถ่ายภาพ การวาดภาพ(ทั้งภาพวาดประกอบด้วยมือลและภาพดิจิทัล ) กับการเขียนเชิงวารสารศาสตร์ นับตั้งแต่มีการใช้ ภาพประกอบและภาพถ่า ยในสื่ อสิ่ง พิมพ์ ภาพเชิง วารสารศาสตร์ ได้เ ป็นแหล่งเอกสารทางประวัติ ศาสตร์ที่บั นทึกเรื่องราวที่ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมมาหลายยุคสมัย

ความหมายของภาพและภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์ (Photojournalism) ศัพท์บัญญัติวิชาถ่ายภาพฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้คาแปลของคาว่า Photojournalism ว่าหมายถึง “วารสารศาสตร์ การถ่ายภาพ” (ราชบัณฑิตยสถาน. 2530: 69) สนั่น ปัทมะนิน (2516: 1) กล่าวถึงวิชาการถ่ายภาพเชิงวารสารศาสตร์ว่า เป็นวิชาที่ให้ความรู้ในเรื่องการผลิตหรือถ่ายทา ภาพนิ่งเพื่อใช้เป็นภาพต้นฉบับสาหรับถ่ายทอด (reproduce) เป็นบล็อกหรือแม่พิมพ์สาหรัยตีพิมพ์สิ่งพิมพ์ต่างๆ โดยเฉพาะ เช่น หนังสือพิมพ์และนิตยสาร และอาจรวมไปถึงสิ่งพิมพ์อื่นๆ ด้วย ในฐานะเป็นภาพประกอบตัวหนังสือของสิ่งพิมพ์นั้น


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

7

มาลี บุญศิริพันธ์ (2531 อ้างในสุรสิทธิ์ วิทยารัฐ, 2545: 51) สรุปว่า เนือ่ งจากหนังสือพิมพ์มีหน้าทีห่ ลักในการรายงานข่าว ดังนั้นภาพข่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือพิมพ์ที่มคี วามจาเป็นและมีความสาคัญมาก เนือ่ งจากภาพสามารถบอกรายละเอียดของ เรือ่ งราวได้มากกว่าบรรยายด้วยคาพูด แม้แต่คนอ่านหนังสือไม่ออกก็สามารถเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ได้มากขึ้น Frank P. Hoy (1993: 5) กล่าวถึงความหมายของภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์ว่า เป็นงานที่เกิดจากการทาหน้าที่ร่วมกัน ระหว่างภาพถ่ายกับงานเขียนเพื่อประกอบการรายงานข่าวสารต่างๆ โดยรวมแล้ว ภาพและภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์จึงเป็นการถ่ายภาพด้วยกล้องถ่ายภาพหรือภาพประกอบที่จัดทาขึ้น เพื่อนาเสนอในสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่ออื่นใดที่มีการบูรณาการร่วมกันกับระบบของการรายงานด้วยลายลักษณ์อักษรต่อสาธารณชน ซึ่ง อาจเป็นการตั้งชื่อภาพ คาอธิบายภาพ หรือเนื้อเรื่องประกอบภาพ

คุณลักษณะของภาพและภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์ Frank P. Hoy (1986: 5-9) กล่าวถึงคุณลักษณะของภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์ไว้ 8 ประการ ดังนี้ 1. ภาพเชิงวารสารศาสตร์ ต้องมีความชัดเจน เพื่อสื่อใหผูชมเขาใจสถานการณไดทันที 2. ภาพถายเชิงวารสารศาสตร์ เป็นภาพที่นาเสนอผ่านสื่อสิ่งพิมพ และสื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. ภาพถายเชิงวารสารศาสตร์ เป็นงานที่คัดเลือกภาพเพื่อรายงานข่าวสารบางแง่มุมของภาพผ่านมุมมองของผู้ส่งสาร 4. ภาพถายเชิงวารสารศาสตร์ เปนการสื่อสารที่บูรณาการระหวางภาพและข้อความ 5. ภาพถายเชิงวารสารศาสตร์ เกี่ยวของกับผูค้ น ผู้คนเป็นทั้งสารและผู้รับสาร เพราะคนคือองคประกอบหลักของสาร 6. ภาพถายเชิงวารสารศาสตร์ ตองสื่อสารกับมวลชน ภาพต้องมีลักษณะของเนื้อหาสาธารณะ 7. ภาพถายเชิงวารสารศาสตร์ นาเสนอโดยผ่านกองบรรณาธิการภาพ โดยมีหน้าที่ทาให้ภาพสื่อสารได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 8. การรายงานขาวดวยภาพ ทาให้ผู้คนรับรูว้ าอะไรเกิดขึ้น ซึ่งเป็นความเชื่อพื้นฐานของภาพถายเชิงวารสารศาสตร์

ความสาคัญของภาพและภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์ ภาพถ่ายและภาพข่าว สามารถสื่อความหมายได้เช่นเดียวกับตัวหนังสือ ดังนั้น ภาพข่าวจึงมีความสาคัญยิ่งในงาน สิ่งพิมพ์ เป็นทีย่ อมรับโดยทัว่ ไปว่าข่าวที่มีคุณค่า น่าสนใจ หากมีภาพเหตุการณ์หรือเรื่องราวข่าวประกอบจะทาให้ได้รับความสนใจ และเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ความสาคัญของภาพที่ทาหน้าที่ร่วมกับงานเขียนนั้น มีดังต่อไปนี้ 1. ภาพเป็นหลักฐานที่ยืนยันความจริงและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเรื่องราว 2. ภาพช่วยสร้างความเข้าใจต่อเรื่องราวได้ตรงตามเหตุการณ์ 3. ภาพสามารถเร้าสายตาของผู้อ่านได้ดี 4. ภาพสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของบุคคลหรือเหตุการณ์ได้ดี 5. ภาพสามารถที่จะยกระดับความสาคัญของคุณค่าของข่าวสาร 6. ภาพถ่ายช่วยเพิ่มความสวยงามแก่สิ่งพิมพ์


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

8

ประเภทของภาพและภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์ การจัดประเภทขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์และวัตถุประสงค์ เช่น ด้านเนื้อหาภาพ อาจเป็นภาพข่าว ภาพเชิงสารคดี ภาพบุคคล ภาพงานโฆษณา ภาพแฟชั่น เป็นต้น ในที่นี้จะใช้เกณฑ์ดา้ นหน้าที่ทางการสื่อสารร่วมกับเนื้อหา โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ภาพข่าว คือการรายงานข้อเท็จจริงในรูปแบบของภาพที่ต้องมีความถูกต้องเป็นจริงตามเหตุการณ์เรื่องราว มีความ น่าเชื่อถือและรวดเร็วในการนาเสนอ แบ่งเป็น 3 ประเภท 1.1. ภาพข่าว ณ ที่เกิดเหตุ เป็นภาพที่ถ่ายจากสถานที่และเหตุการณ์จริง เช่น ข่าวอุบตั ิเหตุ ข่าวกีฬา เป็นต้น 1.2. ภาพข่าวทัว่ ไป เป็นภาพข่าวที่เกิดขึ้นประจา เช่น การจัดแถลงข่าว ภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมทีเ่ กิดขึน้ ทุกวัน 1.3. ภาพประกอบข่าว เป็นภาพที่เสริมความเข้าใจเนื้อหาข่าว อาจใช้ภาพในอดีตมาประกอบเพื่อสร้างความเข้าใจ เหตุการณ์ข่าวในปัจจุบัน 2. ภาพสารคดี คือภาพที่ถ่ายทอดเรื่องราวตามข้อเท็จจริงในเชิงสาระ ความรู้ และความสวยงาม แบ่งเป็น 3 ประเภท 2.1. ภาพประกอบข้อเขียนเพื่อเสริมความเข้าใจในเรื่องราว เช่น สารคดีท่องเที่ยว สารคดีสัตว์เลี้ยง 2.2. ภาพชุดเล่าเรื่องเป็นภาพแสดงลาดับขั้นตอนเรื่องราวเหตุการณ์ เช่น ภาพชุดแสดงขั้นตอนการตอนกิ่งต้นไม้ 2.3. สารคดีภาพ เป็นการนาเสนอเนื้อหาด้วยภาพเพียงอย่างเดียว ไม่จาเป็นต้องมีคาบรรยาย อาจใช้เพียงหัวข้อของ เรื่องนั้นๆ เพื่อเป็นการแนะนาเนือ้ หาเรื่องเพียงสั้นๆ 3. ภาพให้แนวคิด เป็นภาพที่สะท้อนมุมมองที่คนทั่วไปอาจจะมองข้าม มักมีองค์ประกอบและรายละเอียดที่นา่ สนใจ อาจมีความกากวมในการสื่อความหมาย จึงอาจต้องมีคาอธิบายประกอบแต่เป็นการอธิบายแนวคิดของกลุ่มภาพที่ นาเสนอ เช่น บทกวีที่ถา่ ยทอดแนวคิดจากภาพถ่าย พบได้ในนิตยสารบางฉบับในรูปแบบการนาเสนอแบบเรียงถ้อย ร้อยภาพ เพื่อนาเสนอภาษาเชิงวรรณศิลป์ร่วมกับภาพ 4. ภาพเพื่อความบันเทิง เป็นภาพที่ก่อให้เกิดความสุข ความสบายตา เน้นความสวยงามของการสื่อสารด้วยภาพ เช่น ภาพถ่ายแฟชั่น

หลักจริยธรรมและจรรยาบรรณสาหรับภาพเชิงวารสารศาสตร์ จริยธรรมเป็นหลักแห่งความดีงามที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ที่พึงปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ อีกทั้งยังเป็นหลักที่เกี่ยวข้องกับการ ประเมินค่าการกระทาของมนุษย์ วิทย์ วิศทเวทย์(2537) ได้กล่าวถึงหลักแนวคิดทางจริยธรรมแม่บทที่สาคัญ 3 หลักการดังนี้ 1. หลักประโยชน์สุขนิยม (Utilitarianism) นักคิดคนสาคัญคือ จอห์น สจ้วต มิลล์ (John Stuart Mill) มีหลักการสาคัญเรียกว่า “หลักมหสุข” ว่า สิ่งที่ควร ทาคือสิ่งที่ก่อประโยชน์สุขมากที่สุดแก่คนจานวนมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับรายงานภาพหรือแนวทางกฎหมายไทย ในเรื่อง “ประโยชน์ต่อสาธารณะ” กล่าวคือ ภาพเชิงวารสารศาสตร์จะมุ่งเน้นการรายงานภาพเหตุการณ์ที่น่าจะมีผล ต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางที่ดีขึ้น ผู้อ่านหรือประชาชนจะมีความสุขมากยิ่งขึ้นจากผลการรายงานภาพข่ าว นั้นๆ ซึ่งอาจนาไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ของสังคม ผลักดันนโยบายทางเศรษฐกิจต่างๆ เป็นต้น 2. หลักจริยธรรมเชิงหน้าที่ (Duty Ethics) อิมมานูเอล ค้านท์ (Emmanuel Kant) มีหลักการสาคัญที่เรียกว่า “จริยธรรมเชิงหน้าที่” ซึ่งเกี่ยวกับการนาเสนอ ภาพทางวารสารศาสตร์ด้วยหลัก 2 ประการ คือ


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

9

มนุษย์ต้องทาตามหน้าที่ ทั้งนี้ต้องพิจารณาจากเจตนาแห่งการกระทา การมีเจตนาดีคือ การหลุดพ้น จากความรู้สึกไม่ว่าจะเป็นทางบวกหรือลบ แต่กระทาตั้งอยู่ในหลักการแห่งเหตุผล โดยไม่คานึงถึงผล ใดๆ ที่จะเกิดขึ้น o จงอย่าใช้เพื่อนมนุษย์เป็นเครื่องมือเพื่อการใด จากหลักการดังกล่าว พิจารณาได้ว่า การนาเสนอภาพเชิงวารสารศาสตร์โดยมีการบิดเบือนข้อเท็จจริง การ นาเสนอภาพข่าวโดยละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ที่ตกเป็นข่าว การตีพิมพ์ภาพที่เจ้าตัวปราศจากความยินยอม การ ติดตามถ่ายภาพของช่างภาพอิสระ ถือเป็นสิ่งที่ขัดต่อจริยธรรมทั้งสิ้น 3. หลักจริยธรรมสายกลาง (Golden means) อริสโตเติลเสนอว่า บุคคลพึงหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่สุดโต่ง หลักจริยธรรมดังกล่าวไม่ได้พิจารณาคุณค่าของการ กระทาจากเหตุหรือผลจากการกระทา หากแต่เห็นว่า คุณค่าของความดีงามอยู่ระหว่างความคิดที่สุดโต่งทั้งสอง ด้านโดยไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว คุณธรรมควรเกิดจากความรู้สึกที่เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล แนวทางดังกล่าวอยู่ที่ดุลยพินิจของบรรณาธิการสื่อสิ่งพิ มพ์ในการคัดเลือกภาพเพื่อนาเสนอให้เหมาะสมกับ บริบท ได้แก่ เวลา สถานที่ และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข่าวนั้นๆ o

จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพที่เกี่ยวกับการนาเสนองานภาพเชิงวารสารศาสตร์ มีดังนี้ 1. หลักแห่งประโยชน์สาธารณะ 2. หลักแห่งความถูกต้องเป็นจริง 3. หลักแห่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 4. หลักแห่งรสนิยมที่ดี 5. หลักแห่งวิธีการที่สุภาพและซื่อสัตย์ 6. หลักแห่งการไม่ล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

แบบจาลองการสื่อสารของ Jakobson จาค๊อบสัน (Jakobson : 1960) เป็นนักภาษาศาสตร์ ด้วยเหตุนี้เขาจึงสนใจในความหมายและโครงสร้างภายในของสาร โดยกล่าวถึงองค์ประกอบในการสื่อสารของเหตุการณ์ทางวาทะใดๆ ซึ่งมีองค์ประกอบได้แก่ ผู้ส่งสาร (addresser) ส่งสาร (message) ไปยังผู้รับสาร (addresse) ซึ่งสารจะกล่าวถึงบางสิ่งบางอย่างมากกว่าเป็นแค่ตัวสารเอง เขาเรียกสิ่งนี้ว่า บริบท (context) ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร สามารถเป็นที่เข้า ใจได้ของผู้รับสาร การติดต่อ (contact) ซึ่งหมายถึงช่องทางทางกายภาพ และการเชี่อมโยงทางจิตใจ ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารและปัจจัยสุดท้าย คือ รหัส (code) ซึ่ง เป็นระบบของการเข้าใจความร่วมกันที่สารถูกสร้างขึ้น ซึ่งแต่ละส่วนแสดงให้เห็นถึงหน้าที่ที่แตกต่างของภาษา และใน แต่ละ พฤติกรรมในการสื่อสารจะพบลาดับขั้นของหน้าที่ (hierarchy of function) เขาจึงได้สร้างแบบจาลองขึ้นอีกเพื่อใช้อธิบายหน้าที่ ทั้ง 6 ของกระบวนการสื่อสาร ดังแผนภาพ


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

Addresser

Context Message Contact Code

10

Addressee

Jakobson’s Communication Model

สามารถวิเคราะห์องค์ประกอบการสื่อสารในทัศนะของ Jakobson 6 องค์ประกอบได้ดังนี้ 1. หน้า ที่ท างอารมณ์ (emotive function) คือ ความสั มพั น์ของสารที่ ผู้ส่ง สารต้อ งการเสนอ (ซึ่ง เรามัก ใช้ค าว่ า “แสดงออก” แทน) หน้าที่ทางอารมณ์ของสารคือการสื่อสารทางอารมณ์ ทัศนคติ สถานะ ลาดับขั้น ซึ่งทุกส่วนประกอบนี้จะสร้าง สารที่มีลักษณะเฉพาะบุคคล ในบางสาร เช่น บทกวีเกี่ยวกับความรัก การแสดงออกทางอารมณ์จึงเป็นสิ่งสาคัญ หรือในการ รายงานข่าวการแสดงออกทางอารมณ์จะถูกควบคุม 2. หน้าที่ของความพยายาม (conative function) ซึ่งหมายถึงผลของสารที่เกิดกับผู้รับสาสน์ เช่นในการออกคาสั่งหรือ โฆษณาชวนเชื่อ หน้าที่นี้จะมีความสาคัญอย่างมาก ในการสื่อสารรูปแบบอื่นๆ จะถูกกาหนดให้สนใจน้อยลง 3. หน้าที่ของการอ้างอิง (referential function) “การปรับเปลี่ยนความจริง” ของสารจะถูกให้ความสาคัญอย่างมากใน วัตถุประสงค์ของการสื่อสารที่ขึ้นอยู่กับความจริง ซึ่งเน้นที่ “ความจริง” หรือ ความถูกต้องที่แท้จริง ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้สามารถเห็นได้ อย่างชัดเจน หน้าที่ของสามัญสานึกสามารถแสดง ออกในระดับที่หลากหลายในพฤติกรรมทางการสื่อสาร 4. ส่วนหน้าที่ของ (Phatic) เป็นการรักษาช่องทางการสื่อสารให้คงอยู่ต่อไป ซึ่งจะเป็นการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ ส่งสารกับผู้รับสารไว้ให้การสื่อสารเกิดขึ้น หากกลับไปดูปัจ จัยด้านการติดต่อ ซึ่งก็คือการทาให้เกิดการเชื่อมโยงทางกายภาพและ ทางจิตใจ ซึ่งมีคาอื่นๆ ที่เรียก คือ การตอกย้าซ้าทวน (redundant) ซึ่งเป็นองค์ประกอบของสาร ซึ่งหน้าที่ที่ 2 ของการตอกย้าซ้า ทวน ก็คือ Phatic นั่นเอง 5. หน้าที่ของอัตภาษา (Metalingual) ของการแสดงรหัสที่ถูกใช้ เมื่อเราใช้คาว่า “การตอกย้าซ้าทวน” เราต้องการสร้าง ข้อเท็จจริงที่ชัดเจน โดยการใช้รหัสของทฤษฎีการสื่อสารเช่น กล่องบุหรี่ที่ว่างเปล่าถูกโยนทิ้งไว้บนหนังสือพิมพ์เก่า ซึ่งเป็นขยะทั่ว ๆ ไป แต่ถ้าเรานากล่องบุหรี่เปล่าไปติดไว้กับกระดาษ ใส่กรอบ แล้วแขวนไว้บนกาแพงในแกลลอรี่ มันจะกลายเป็นศิลปะ


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

11

การวิเคราะห์ภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์ กรณีศึกษาภาพ “The Napalm Girl of Trangbang”

ชื่อภาพ “The Napalm Girl of Trangbang” โดย Nick Ut สานักข่าว Assocoated Press ที่มา Hal Buell and Seymour Topping (1999) Nick Ut บันทึกภาพการทิ้งระเบิดนาปาล์มลงหมู่บ้าน Trangbang เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 1972 เนื่องจากสงสัยว่ามีกอง กาลังเวียดกงซุ่มซ่อนอยู่ในหมู่บ้าน Kim Phuc อายุ 9 ปี วิ่งหนีออกจากหมู่บ้านมาตามถนน ในสภาพไม่มีทั้งเสื้อผ้าพร้อมกับพี่ชาย อายุ 12 ปี ทางซ้ายสุดของภาพและน้องชายอายุ 5 ปีทวี่ ิ่งไปพร้อมกับเหลียวหลังไปมองที่หมู่บ้าน ภาพนี้ได้รับรางวัลพูลลิตเซอร์ใน ปี 1973 ภาพนี้เป็นประเด็นโต้แย้งในเชิงจริยธรรม ทั้งนี้ในช่วงเวลานั้น สานักข่าว AP มีนโยบายไม่ตีพิมพ์ภาพเปลือยโดยไม่มี ข้อยกเว้น แต่หลังจากการโต้แย้งในกองบรรณาธิการในที่สุดเห็นว่า มาตรฐานทางจริยธรรมเกี่ยวกับภาพเปลือยไม่สามารถใช้ได้กับ กรณีนี้ ซึ่งแนวทางนี้สอดคล้องกับหลักจริยธรรมทางสายกลางของ Aristotle ที่พิจารณาจากเงื่อนไขด้านกาละ เทศะ และบุคคล ตลอดจนถึงบริบทที่เกี่ยวข้อง ภาพนี้เป็นสัญลักษณ์ของความน่ากลัวของสงคราม Kim Phuc ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของผู้ต่อต้านสงครามและได้รับ ตาแหน่งทูตสันติภาพในปี 1997 นั่นแสดงให้เห็นว่าภาพนี้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน สอดคล้องกับหลักประโยชน์สุขนิยมของ John Stuart Mill อย่างไรก็ตามแนวทางการนาเสนอภาพดังกล่าว น่าจะขัดต่อหลักจริยธรรมเชิงหน้าที่ของ Kant ในแง่ของการใช้เ พื่อน มนุษย์เป็นเครื่องมือ แม้ว่าภาพนี้จะถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการสร้างสันติภาพให้กับโลก และยังเป็นการรายงานความถูกต้องเป็น จริงตามหลักวารสารศาสตร์


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

12

Kim Phuc (born 1963) สัญชาติเวียดนาม-แคนาดา ทูตสันติภาพในปี 1997

การเตรียมข้อมูลและต้นฉบับสื่อสิ่งพิมพ์ ในการเตรียมข้อมูลและต้นฉบับสาหรับผลิตสิ่งพิมพ์หรือหนังสือสักเล่ม ต้องผ่านกระบวนการคัดสรรเนื้อหา เพื่อรวบรวม และเรียบเรียงออกมาเป็นต้นฉบับตามนโยบายและวัตถุประสงค์ที่ได้กาหนดไว้ก่อนการผลิต ซึ่งเมื่อได้ต้นฉบับที่ผ่านการพิจารณา และตรวจสอบแล้ว จะสามารถนาไปสู่ขั้นตอนการผลิตได้ต่อไป ในการออกแบบภาพประกอบและตัวอักษรให้สอดคล้องกับเนื้อหา และกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งการจะให้ได้มาซึ่งความถูกต้องข้อมูลนั้น ต้องผ่านการพิสูจน์อักษรก่อนนาไปออกแบบและผลิตเป็นรูปเล่ม

การทาภาพประกอบ ภาพประกอบหนังสือไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายหรือภาพที่วาดขึ้นมาใหม่ควรมีลักษณะสอดคล้องกับเนื้อหาของหนังสือในเล่ม เป็ น ส าคั ญ ทั้ ง นี้ รู ป แบบลวดลายหรื อ สไตล์ นั้ น จะขึ้ น อยู่ กั บ กลุ่ ม เป้ า หมายเป็ น สาคั ญ นั ก ออกแบบจึ ง จ าเป็ น ต้ อ งเข้ า ใจถึ ง วัตถุประสงค์ของหนังสือเล่มนั้น โดยใช้หลักจิตวิทยามาช่วยจัดวางองค์ประกอบและสื่อความหมายของเนื้อหาหรือข้อความในหน้า นั้นๆ ให้ดึงดูดและน่าสนใจได้

การเลือกตัวอักษร ตัวอักษรหรือตัวพิมพ์เป็นเครื่องมือสาคัญที่ทาให้การพิมพ์แพร่หลาย เป็นอุปกรณ์ลาดับแรกของกระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์ ที่ช่วยนา “สาร” ไปยังผู้อ่าน ซึ่งปัจจุบันนี้ตัวพิมพ์ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นสาหรับคอมพิวเตอร์อย่างมากมาย การเลือกใช้ตัวพิมพ์ ควรพิจารณาลักษณะของตัวพิมพ์ อันได้แก่ รูปลักษณ์ ขนาด ความกว้างของตัวพิมพ์ และระยะบรรทัดของตัวพิมพ์ ดังนั้น ตัวพิมพ์ จึงมีความสาคั ญในฐานะเป็นเครื่องมือในการทาให้ภาษาดารงคงอยู่ ช่วยดึงดูดสายตาผู้อ่าน ช่วยสร้างเอกลักษณ์และบุคลิก เฉพาะให้กับสิ่งพิมพ์ ช่วยในการจัดลาดับความสาคัญของเนื้อหาที่นาเสนอ และช่วยในการจัดหน้าหนังสือ การเลือกตัวพิมพ์คือการกาหนดตัวพิมพ์เนื้อหาประเภทต่าง ๆ ที่นาเสนอในสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อให้สื่อสารความหมายไปยัง ผู้อ่านได้อย่างชัดเจน แบ่งเป็นการสั่งตัวพิมพ์สาหรับข่าว บทความ และคาบรรยายภาพ ซึ่งการสั่งตัวพิมพ์ในแต่ละประเภท ต้อง พิจารณาจากโครงสร้างการเขียน ความต้องการเน้นข้อความสาคัญ และการตกแต่งหน้าสิ่งพิมพ์ให้สวยงามน่าอ่านเป็นหลัก


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

13

ในการเลือกตัวพิมพ์นั้น รูปลักษณ์อักษร ถือเป็นสิ่งสาคัญเพราะ รูปลักษณ์อักษรนั้น หมายถึง ลักษณะรูปร่างหน้าตาของ ฟ้อนท์หรือตัวอักษรแต่ละชุด โดยมีความแตกต่างกันออกไปตามการออกแบบ มีชื่อเรียกเป็นของตัวเอง ซึ่งในฟอนท์ชุดเดียวกันจะ มีการออกแบบหน้าตัวพิมพ์เป็นแบบย่อย ๆ ได้แก่ ตัวปกติ (normal) ตัวเอน (italic) ตัวหน้า (bold) ตัวหนาเอน (italic bold) ตัวบาง (light) ตัวบางพิเศษ (extra light) นอกจากนี้ยังมีตัวพิมพ์ที่มีรูปแบบคล้ายลายมือเขียน (script) ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้เลือกใช้ให้ เหมาะกับงานพิมพ์ ไม่ว่าตัวพิมพ์จะมีแบบให้เลือกมากมายเพียงใด การเลือกใช้มักใช้ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ 1. ตัวพิมพ์เนื้อเรื่อง เป็นตัวพิมพ์ที่ใช้พิมพ์ตัวเนื้อหา หรือเนื้อเรื่อง (body text) ที่มีข้อความจานนมาก มักเป็น ตัวอักษรที่มีหัวกลมโปร่ง สวยงามและอ่านง่าย 2. ตัวพิมพ์ตกแต่ง เป็นตัวพิมพ์ที่มีลักษณะพิเศษต่างจากตัวพิมพ์ปกติ เนื่องจากเป็นการประดิษฐ์ให้สวยงามหรือ สร้างความแปลกตา เหมาะกับการทาพาดหัว ทาตัวโปรย หรือใช้เน้นข้อความสั้น ๆ เพื่อตกแต่งจัดหน้า หรืองาน พิมพ์พิเศษต่าง ๆ เช่น โปสเตอร์ การ์ด เป็นต้น ลักษณะของตัวพิมพ์ แบบตัวพิมพ์มีรูปแบบให้เลือกใช้มากมาย เรียกแบบตัวพิมพ์นี้ว่า “ฟ้อนท์ (Font)” สานักพิมพ์บางแห่งจะมีการกาหนด แบบตัวพิมพ์เฉพาะของตนขึ้น หรืออาจใช้ฟ้อนท์ใดฟ้อนท์หนึ่งที่มีในคอมพิวเตอร์ก็ได้ อย่างไรก็ตาม มีสิ่งที่ควรทาความเข้าใจ เกี่ยวกับลักษณะพื้นฐานของการใช้ตัวพิมพ์ ดังนี้ 1. รูปแบบตัวอักษร ในการเลือกตัวอักษรที่เหมาะสมจะช่วยให้งานออกแบบกราฟิกนั้น สื่อความหมายได้อย่างเต็มที่ ซึ่งปัจจุบันมีรูปแบบ ตัวอักษรตัวพิมพ์มากมาย อาจแบ่งได้ดังนี้ ตัวอักษรแบบมีเชิง เป็นอักษรที่มีเส้นยื่นของฐานและปลายตัวอักษรในทางราบที่เรียกว่า Serif ลักษณะตัวอักษรจะมีเส้น ตัวอักษรเป็นแบบหนาบางไม่เท่ากัน ตัวอักษรแบบนี้บราวเซอร์หลายชนิดจะใช้ ตัวอักษรแบบนี้เป็นหลัก เช่น Times New Roman, Garamond, Georgia และ New Century Schoolbook ตัวอักษรประเภทนี้เหมาะจะใช้เป็นรายละเอียดเนื้อหา แต่ตัวอักษร ประเภทนี้ไม่ค่อยเหมาะจะใช้กับตัวหนา (bold)

แสดงรูปแบบตัวอักษรแบบมีเชิง (Serif)


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

14

ตัวอักษรแบบไม่มีเชิง (Sans Serif) เป็นลักษณะของตัวอักษรอีกแบบหนึ่งที่รูปแบบเรียบง่าย เป็นทางการ ไม่มี เชิง หมายถึงไม่มีเส้นยื่นออกมาจากฐาน และปลายของตัวอักษรในทางราบ ได้แก่ Arial, Helvetica, Verdana, Geneva และ Univers ตัวอักษรประเภทนี้เหมาะที่จะใช้กับหัวข้อหรือ ตัวอักษรขนาดใหญ่ แต่ไม่เหมาะสมกับลักษณะเอียง

แสดงรูปแบบตัวอักษรแบบไม่มีเชิง (Sans Serif)

ตัวอักษรแบบตัวเขียน (Script) ตัวอักษรแบบนี้เน้นให้ตัวอักษรมีลักษณะคล้ายกับการเขียนด้วยลายมือ ซึ่งมีหางโยง ต่อเนื่องระหว่างตัวอักษร มีขนาดเส้นอักษรหนาบางแตกต่างกัน นิยมทาให้เอียงเล็กน้อย

แสดงรูปแบบตัวอักษรแบบตัวเขียน (Script)

ตัวอักษรแบบตัวอาลักษณ์ (Text Letter) เป็นตัวอักษรแบบโรมันแบบตัวเขียนอีกลักษณะหนึ่ง มีลักษณะเป็นแบบ ประดิษฐ์มีเส้นตั้งดาหนา ภายในตัวอักษรมีเส้นหนาบางคล้ายกับการเขียนด้วยพู่กัน หรือปากกาปลายตัด

แสดงรูปแบบตัวอักษรแบบตัวอาลักษณ์ (Text Letter)

ตัวอักษรแบบประดิษฐ์ (Display Type) หรือตัวอักษรตัวพิมพ์ขนาดใหญ่ มีลักษณะเด่น คือ การออกแบบตกแต่ง ตัวอักษรให้สวยงามเพื่อดึงดูดสายตา มีขนาดความหนาของเส้นอักษรหนากว่าแบบอื่นๆ จึงนิยมใช้เป็นหัวเรื่อง

แสดงรูปแบบตัวอักษรแบบประดิษฐ์ (Display Type)


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

15

ตัวอักษรแบบสมัยใหม่ (Modern Type) เป็นตัวอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้น มีลักษณะเรียบง่าย

แสดงรูปแบบตัวอักษรแบบสมัยใหม่ (Modern Type)

2. ลักษณะและขนาดตัวพิมพ์ ลักษณะของตัวพิมพ์ (Type Character) จากรูปแบบตัวอักษรที่หลากหลาย การสร้างแบบอักษรก็ยังมีความแตกต่างที่หลายรูปแบบ ทาให้มีลักษณะเฉพาะของ ตัวอักษรเปลี่ยนแปลงไป เช่น ตัวเอน (Italic) ตัวหนา (Bold) ตัวธรรมดา (Normal) ตัวเส้นขอบ (Outline) ตัวบางพิเศษ (Extra Light) ตัวหนาพิเศษ (Extra Bold) ตัวแคบ (Condensed) ตัวดา (Black) ตัวบาง (Light))

แสดงลักษณะตัวอักษรแบบต่าง ๆ

ขนาดของตัวพิมพ์ (Size Type) ขนาดของตัวอักษรเป็นการกาหนดขนาดทีเ่ ป็นสัดส่วนความกว้างและสูงและรูปร่างของตัวอักษร โดยเอาความสูงเป็น หลักในการจัดขนาดเรียกว่า พอยต์ (Point) ขนาดตัวอักษรหัวเรื่องมักใช้ขนาดตัง้ แต่ 16 พอยต์ขึ้นไป ส่วนขนาดของเนื้อหาจะใช้ ขนาดประมาณ 6 พอยต์ถึง 16 พอยต์ แล้วแต่ลักษณะของงาน 12 พอยต์ = 1 ไพก้า 6 ไพก้า = 1 นิ้ว (2.5 ซ.ม.) 75 พอยต์ = 1 นิ้ว ขนาดทางราบหรือทางกว้างของตัวอักษร เมื่อเรียงกันไปเป็นคาหรือความยาวใน 1 บรรทัด หรือเรียกว่าเป็น "ความยาว คอลัมน์" จะกาหนดเป็นไพก้า (Pica) การเลือกขนาดพอยต์ ต้องคานึงถึงการอ่านง่ายเป็นหลัก กล่าวคือ ต้องพิจารณาถึงกลุ่มผู้อ่านด้วยว่า เป็นกลุ่มอายุระดับ ใด เช่น ผู้สูงอายุ หรือเด็ก อาจต้องเลือกใช้ตัวพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ นอกจากนี้ หากต้องเลือกใช้ตัวพิมพ์ที่ต่างฟอนท์กัน ใน ขนาดพอยต์เท่ากัน อาจต้องระวังด้วยว่าเมือมองดูด้วยสายตาจะรู้สึกเหมือนว่าขนาดของตัวพิมพ์ไม่เท่ากัน


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

16

3. ระยะช่องไฟและการจัดวางตัวอักษร ระยะช่องไฟของตัวอักษร (Spacing) การจัดระยะช่องไฟตัวอักษรมีความสาคัญมาก เนื่องจากถ้ามีการออกแบบที่เหมาะสม และสวยงามแล้วจะทาให้ผู้ดูอ่าน ง่าย สบายตา ชวนอ่าน การจัดช่องไฟมีหลักการใช้อยู่ 3 ข้อดังนี้ 1. ระยะช่องไฟระหว่างอักษร (Letter Spacing) เป็นการกาหนดช่องไฟระหว่างตัวอักษรแต่ละตัว ที่จะต้องมีระยะห่างกันพอ งาม ไม่ติดหรือห่างกันเกินไป เราควรจัดช่องไฟโดยคานึงถึงปริมาตรที่มีความสมดุลโดยประมาณในระหว่างตัวอักษร หรือ เรียกว่า ปริมาตรความสมดุลทางสายตา 2. ระยะช่องไฟระหว่างคา (Word Spacing) จะเว้นระยะระหว่างคาประมาณ 1 ตัวอักษรปกติ ถ้าห่างเกินไปจะทาให้อ่าน ยาก และชิดเกินไปจะทาให้ขาดความงาม 3. ระยะช่องไฟระหว่างบรรทัด (Line Spacing) ปกติจะใช้ระยะห่าง 0-3 พอยต์ หลักสาคัญในการกาหนดระยะระหว่าง บรรทัดให้วัดส่วนสูง และส่วนต่าสุดของตัวอักษร เมื่อจัดวางบนบรรทัดแล้วต้องไม่ซ้อนทับกัน

ภาพแสดงระยะช่องไฟของตัวอักษร (Spacing) แบบการจัดตัวอักษร (Type Composition) การจัดเนื้อหาของตัวอักษรมีการจัดด้วยกันหลายวิธี ดังนี้ จัดชิดซ้าย หรือ เสมอหน้า จะมีปลายด้านขวาไม่สม่าเสมอ เนื่องจากตัวอักษรในแต่ละบรรทัด มี ความยาวไม่ เท่ากัน แต่ผู้อ่านก็ไม่สามารถหาจุดเริ่มต้นของแต่ละบรรทัดได้ง่าย จัดชิดขวา หรือเสมอหลัง ถึงแม้รูปแบบการจัดตัวอักษรแบบนี้จะน่าสนใจ แต่จุดเริ่มต้นในแต่ละบรรทัดที่ไม่ สม่าเสมอ ทาให้อ่านยาก ผู้อ่านต้องหยุดชะงัก เพื่อหาจุดเริ่มต้นของแต่ละบรรทัด จัดกึ่งกลาง จะใช้ได้ดีกับข้อมูลที่มีปริมาณไม่มากนัก และเหมาะกับรูปแบบที่เป็นทางการ เช่น คาประกาศ หรือ คาเชื้อเชิญ เป็นต้น จัดชิดขอบซ้ายและขวา หรือเสมอหน้าและเสมอหลัง เมื่อจัดตัวอักษรแบบ justify จะมีพื้นที่ว่างเกิดขึ้นระหว่างคา ข้อดีคือเกิดความสวยงามและเป็นระเบียบในคอลัมน์ที่ได้จัดวางเลย์เอ้าท์ไว้ สิ่งที่ควรระวังคือ เกิดช่องว่าง ซึ่งจะรบกวนความ สะดวกในการอ่าน แต่เป็นสิ่งยากที่จะหลีกเลี่ยง ในคอลัมน์ที่มีขนาดแคบ อย่างไรก็ตาม การกาหนดระยะและรูปแบบตัวอักษร ไม่ควรดูเฉพาะหน้าตาความสวยงาม แต่ให้พิจารณาถึงการอ่านง่าย เป็นหลัก


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

17

ความสาคัญของตัวพิมพ์กับสิ่งพิมพ์ 1. เป็นเครื่องมือทาให้ภาษาดารงอยู่ 2. เป็นสิ่งดึงดูดสายตาผู้อ่าน 3. ช่วยสร้างเอกลักษณ์และบุคลิกเฉพาะในสิ่งพิมพ์ 4. ช่วยในการจัดหน้าสิ่งพิมพ์ (หนังสือ / นิตยสาร / หนังสือพิมพ์) 5. ช่วยจัดลาดับความสาคัญของเนื้อหา ข้อพิจารณาในการเลือกตัวพิมพ์ ไม่ว่าตัวพิมพ์ที่เลือกจะใช้ในการผลิตสิ่งพิมพ์ประเภทใดก็ตาม ทั้ง หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือหนังสือเล่ม มีข้อพิจารณาที่ ต้องคานึงถึง ดังนี้ 1. นโยบายสิ่งพิมพ์ สิ่งพิมพ์แต่ละประเภทจะมีวัตถุประสงค์ในการนาเสนอที่ชัดเจน ทั้งยังแบ่งประเภทย่อยของเนื้อหาได้อีกเป็น กลุ่ม ๆ เช่น ข่าวบันเทิง ข่าวกีฬา วัยรุ่น ฯลฯ ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์และนิตยสารควรเลือกตัวพิมพ์ที่มีลักษณะอ่านง่าย มีหัว และเส้นขอบตัวอักษรที่ชั ดเจน ขณะที่หนังสือพิมพ์บันเทิงหรือนิตยสารวัยรุ่น อาจใช้ตัวพิมพ์ที่มีลักษณะเล่นลวดลาย ปลายตวัด ไม่ต้องมีหัวก็ได้ แต่เน้นให้ดูทันสมัย หรือเข้ากับลักษณะเนื้อหาเป็นหลัก 2. ผู้อ่าน เป็นสิ่งสาคัญอันดับแรกที่ผู้ผลิตสิ่งพิมพ์ต้องคานึงถึงในลักษณะกลุ่มผู้อ่านของตน เพื่ อนามาเป็นแนวทางใน การกาหนดรูปแบบตัวอักษรหรือตัวพิมพ์ที่จะใช้ ต้องทราบช่วงอายุ ระดับการศึกษา หรือกลุ่มอาชีพ รวมถึงรสนิยมของ กลุ่มเป้าหมายเป็นสาคัญ 3. ขนาดสิ่งพิมพ์ ขนาดสิ่งพิมพ์จะต้องเลือกให้เหมาะสม ถ้าเป็นพ็อกเก็ตบุ๊คขนาดตัวพิมพ์อาจมีขนาดเล็ก ขณะที่หนังสือเรียน จาเป็นต้องใช้ขนาดใหญ่กว่า ขนาดตัวพิมพ์ก็จะมีขนาดโตตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม หลักการนี้เป็นที่ยกเว้นสาหรับ หนังสือพิมพ์ เนื่องจากสิ่งพิมพ์ประเภทนี้มุ่งเน้นในการนาเสนอข่าวสารเป็นหลัก การเลือกใช้ตัวพิมพ์ขนาดเล็กจะทาให้ สามารถเสนอข่าวสารได้หลายข่าว ฉะนั้นจึงไม่มีการคานึงถึงขนาดของสิ่งพิมพ์เหมือนเช่นนิตยสารหรือหนังสือเล่ม 4. ประเภทเนื้อหา การเลือกตัวพิมพ์จะคานึงถึงส่วนประกอบของข้อเขียน ซึ่งมีจุดเด่น หรือจุดเน้นที่ต้องให้ความสาคัญมากน้อย ต่างๆ กันไป เช่น ข่าวในหนังสือพิมพ์ จะมีส่วนของพาดหัวข่าว ความนา และเนื้อข่าว ขณะที่ บทความ จะมีส่วนประกอบ ของชื่อบทความและเนื้อเรื่อง เป็นต้น


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

18

หลักการเลือกตัวพิมพ์ เนื้อหาทุกเรื่องในสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร จะมีตัวพิมพ์ 2 ลักษณะ คือ ตัวพิมพ์เนื้อเรื่อง (body text) และ ตัวพิมพ์หัวข่าว/หัวเรื่อง (non-body text) ซึ่งมีหลักในการเลือกใช้ ดังนี้ ตัวพิมพ์เนื้อเรื่อง หรือเรียกทั่วไปว่า ตัวพื้น เป็นตัวพิมพ์ที่ใช้ในข้อความจานวนมาก มีเกณฑ์ดังนี้ 1. ได้มาตรฐาน มีตาแหน่งสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ ถูกต้องตามอักขระไทย มีขนาด ความกว้าง และระยะ บรรทัดที่ได้เกณฑ์มาตรฐานสากล 2. อ่านง่าย ขนาดความกว้างเหมาะสม หรือใช้ลักษณะฟอนท์มีหัวกลมโปร่ง 3. ใช้สะดวก ควรพิจารณาเลือกฟอนท์ที่มีรูปแบบชุดตัวพิมพ์ครบถ้วน เช่นมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มี รูปแบบทั้งตัวเอน ตัวเอียง หรือตัวหนา เป็นต้น 4. มีความจุของพื้นที่ ตัวพิมพ์แต่ละชุดมีความจุพื้นที่พิมพ์ไม่เท่ากัน ระยะบรรทัดหรือความห่างจึงแตกต่างกัน ดังนั้นต้องดูประเภทสิ่งพิมพ์ด้วยว่าต้องการบรรจุเนื้อหามากน้อยเพียงใด 5. มีความสวยงาม ให้พิจารณาถึงความกลมกลืนของรูปลักษณ์อักษรทั้งชุด รวมทั้งความสม่าเสมอ สร้างความ สบายตากับการอ่านได้นาน ๆ ตัวพิมพ์หัวเรื่อง เป็นตัวพิมพ์ที่มีลักษณะพิเศษ เหมาะกับการใช้พิมพ์ข้อความจานวนน้อย เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อบทความ หรือทาเป็นตัวโปรย เพื่อเน้นข้อความสาคัญในเนื้อเรื่อง ตัวพิมพ์ประเภทนี้อาจใช้ตัวพิมพ์เดียวกันกับตัวพื้นก็ได้ หรือเน้นการทาให้สะดุดตาด้วยตัวที่ใหญ่ขึ้น หรือทาเป็นตัวหนา พบมากในหนังสือพิมพ์ เช่นเพิ่มขนาดในส่วนพาดหัว 24-72 พอยต์ ความนาข่าวจะใช้ 16-18 พอยต์ สาหรับนิตยสาร ต้องพิถีพิถัน มากกว่าหนังสือพิมพ์ เพื่อให้หัวเรื่องสามารถเรียกความสนใจและมีความสวยงามกลมกลืนไปกับเนื้อหาด้วย อาจมีข้อพิจารณา ดังนี้ 1. มีบุคลิกชัดเจน 2. สื่อสารความรู้สึกได้ตรงกับเนื้อหา เช่ น เนื้อหาน่ากลัว อาจเลือกรูปแบบตัวพิมพ์ที่มีลักษณะสยองขวัญ หรือ เนื้อหาเกี่ยวกับประเทศจีน เลือกรูปแบบตัวพิมพ์เป็นอักษรคล้ายๆ ตัวอักษรจีน เป็นต้น


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

ตัวอย่างรูปแบบการจัดหน้าและการเลือกใช้ตัวพิมพ์ในการจัดหน้าหนังสือ

19


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

21


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

การพิสูจน์อักษร(Proof Reading) ในยุคของเทคโนโลยีดิจิทัลที่การผลิตเกือบทุกขั้นตอนกระทาผ่านคอมพิวเตอร์ กระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์จึงมีการปรับลด ขั้นตอนลงมาเป็ นกระบวนการเดีย วกันในปัจ จุบัน นี้ กล่ าวคื อ เมื่ อต้น ฉบับ ข่าวและบทความต่า ง ๆ ถูกส่ งผ่า นทางเครื อข่า ย คอมพิวเตอร์มายังฝ่ายบรรณาธิการ ในฝ่ายนี้จะทาหน้าที่ให้คาพาดหัวข่าว สั่งตัวพิมพ์ พิสูจน์อักษร ตกแต่งภาพ และจัดหน้า ดังนั้น ขั้นตอนที่ลดไปจากเดิมคือ การเรียงพิมพ์ อีกทั้งการสั่งตัวพิมพ์และการจัดหน้าจะกระทาไปพร้อมๆ กัน เสร็จสิ้นลงในจุด เดียวกัน โดยใช้บุคลากรคนเดียวกัน การพิสูจน์อักษร หรือ การปรู๊ฟ เป็นการอ่านต้นฉบับเพื่อตรวจแก้การพิมพ์ให้ถูกต้องที่สุดก่อนส่งเนื้อหาทั้งหมดไปสู่ กระบวนการผลิ ตเป็ นรูป เล่ม โดยเน้นการตรวจแก้ ไวยากรณ์แ ละตรวจแก้ ข้อผิ ดพลาดของเนื้อ หา เช่ น การสะกดคา การใช้ เครื่องหมายวรรคตอน การใช้ตัวเลข การใช้ตัวย่อ เป็นต้น เพื่อให้ข้อเขียนต่าง ๆ มีความถูกต้องสมบูรณ์ อันเป็นผลทาให้สิ่งพิมพ์มี คุณภาพน่าเชื่อถือ และเป็นการสืบทอดหลักการ “ความถูกต้อง” ของการใช้ภาษา ความสาคัญในการพิสูจน์อักษร มีดังนี้ 1. ทาให้เนื้อหามีความถูกต้องสมบูรณ์ 2. ทาให้สิ่งพิมพ์มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ 3. สืบทอดหลักการความถูกต้องของภาษา

กฎหมายสื่อสิ่งพิมพ์ตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 กว่าจะมาเป็นพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ฉบับนี้ ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อได้ใช้ความพยายามอย่างยิ่งเพื่อปลดแอก หนังสือพิมพ์จากการควบคุมอันเข้มข้นของรัฐนับตั้งแต่มีหนังสือพิมพ์เกิดขึ้นในประเทศไทย รัฐได้ใช้อานาจในการออกกฎหมาย และระเบียบต่างๆ มาควบคุมสื่อในทุกยุคทุก สมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 มีผลบังคับใช้ม า ยาวนานถึง 60 กว่าปี อานาจรัฐสามารถควบคุมหนังสือพิมพ์อย่างเข้มงวด ถือว่าเป็นกฎหมายกระทบต่อเสรีภาพและการทาหน้าที่ ของหนังสือพิมพ์ ขัดต่อหลักการประชาธิปไตยและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่ง นานาชาติลงนามยอมรับข้อตกลง ร่วมกัน ท้ายที่สุดการต่อสู้อันยาวนานเพื่อเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ได้รับการตอบสนอง ที่ประชุมสภานิติ บัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน สนช. เป็นประธานการประชุม มีมติเป็นเอกฉันท์ 80 : 0 เสียง เห็นชอบร่าง พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ ในวาระ 3 เพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ พระราชบัญญัติดังกล่าวถือเป็นการพลิก ประวัติศาสตร์วงการสื่อมวลชน รัฐประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติดังกล่าวถือเป็นการพลิกประวัติศาสตร์วงการสื่อมวลชน รัฐ ประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484, 2485, 2488 รวมทั้ง คาสั่งประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 5 ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 ซึ่งถือเป็นยาขมของสื่อมวลชน เพราะให้อานาจเจ้าหน้าที่สั่งปิดหนังสือพิมพ์ได้โดยไม่ต้องใช้อานาจ ศาล แล้วประกาศใช้พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 แทน ประเด็นเสรีภาพ : อานวยความสะดวกมากกว่าควบคุมบังคับ ตอบสนองหลักการเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและ ความรับผิดชอบของหนังสือพิมพ์


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

พระราชบั ญ ญั ติ จ ดแจ้ ง การพิ ม พ์ พ.ศ.2550 มี จุ ด เด่ น ที่ แ ตกต่ า งจากพระราชบั ญ ญั ติ ก ารพิ ม พ์ พ.ศ.2484 หรื อ พระราชบัญญัติการพิมพ์ฉบับอื่นๆ ในประเด็นการสนับสนุนเสรีภาพหนังสือพิมพ์และสื่อสิ่งพิมพ์ รวมถึงหนังสือพิมพ์ออนไลน์และ สื่อสิ่งพิมพ์ออนไลน์ในอนาคต มากกว่าการควบคุมบังคับ ตามอานาจรัฐบาล ซึ่งขัดต่อการรับรองสิทธิและเสรีภาพของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ตามระบอบประชาธิปไตย พระราชบั ญ ญั ติ จ ดแจ้ ง การพิ ม พ์ พ.ศ.2550 มี ห ลั ก การคื อ เพี ย งแค่ แ จ้ ง ต่ อ ทางการให้ ท ราบในการท า หนังสือพิมพ์หรือสื่อสิ่งพิมพ์ ต่างจากกฎหมายในอดีตตามพระราชบัญญัติ การพิมพ์ พ.ศ.2484 ต้องขออนุญาตต่อทางการใน การพิมพ์ เจ้าของบรรณาธิการ บรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณาต้องถูกสันติบาลตรวจสอบประวัติย้อนหลัง ก่อนได้รับการอนุญาตให้ทา หนังสือพิมพ์หรือสื่อสิ่งพิมพ์ อันเนื่องมาจากรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยต้องการควบคุมสื่อมวลชนอย่างเบ็ดเสร็จ หนังสือพิมพ์เป็น สื่อมวลชนที่มีอิทธิพลทางความคิดของคนในสังคมสูงมาก อีกทั้งยังเป็นผู้กาหนดวาระข่าวสาร (Agenda setter) ของสังคม ย่อม ทาให้ทุกรัฐบาลต้องใส่ใจในการควบคุม เพื่อไม่ให้หนังสือพิ มพ์วิพากษ์วิจารณ์รัฐ บาลจนสั่นคลอนเสถี ยรภาพทางการเมือ ง พระราชบั ญ ญั ติ ฉ บั บ นี้ จึ ง เปลี่ ย นแนวคิ ด จากการควบคุ ม มาเป็ น ส่ ง เสริ ม เสรี ภ าพและอ านวยความสะดวกแก่ หนังสือพิมพ์ หากต้องการลงโทษหนังสือพิมพ์ ภาครัฐและภาคประชาชนสามารถใช้กฎหมายจากัดเสรีภาพ อาทิ ประมวล กฎหมายอาญาว่าด้วยความรับผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความรับผิดชอบเรื่อง ละเมิดฟ้องร้องเอาผิดหนังสือพิมพ์ ทั้งยังใช้กระบวนการทางสภาการหนังสือพิมพ์ หรือกระบวนการเครือข่ายผู้บริโภคในการ ร้องเรียนความผิดของหนังสือพิมพ์ ซึ่งเพียงพอต่อการจากัดสิทธิและเอาผิดได้ ประเด็นหลักการสาคัญที่พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 เด่นอีกประการหนึ่งคือ ความรับผิดชอบ ของหนังสือพิมพ์ เมื่อยกเลิกการพิมพ์ หรือเปลี่ยนแปลงเจ้าของ บรรณาธิการ หรือบรรณาธิการผู้พิ มพ์โฆษณาของหนังสือพิมพ์ หรือสื่อสิ่งพิมพ์ ผู้พิมพ์โฆษณาจะต้องแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ให้ทราบภายใน 30 วัน นับจากวันยกเลิกกิจการ ทาให้ฐานข้อมูลของ หนังสือพิมพ์ปรับปรุงทันสมัยตลอดเวลา ติดตาม ตรวจสอบได้ แตกต่างจากอดีตที่เมื่อมีผู้ประสงค์ทาหนังสือพิมพ์หรือสื่อสิ่งพิมพ์ ก็ จะต้องขออนุญาตจด “ชื่อหนังสือพิมพ์” หรือ “หัวหนังสือพิมพ์” จดทิ้งไว้เฉยๆ ก็ได้ บางครั้งชื่อหนังสือพิมพ์ซ้ากัน บางชื่อฉบับเปิด / ปิดเฉพาะวาระ จึงทาให้เจ้าหน้าที่หรือประชาชนไม่สามารถแยกแยะติดตามตรวจสอบสื่อมวลชนกับผู้ที่แฝงตัวในนามสื่อมวลชน ออกจากกันได้ ความรั บ ผิดชอบของสื่ อมวลชนเช่ นนี้เป็น ความโปร่ง ใส เปิดโอกาสให้ สังคมตรวจสอบการทางานตามระบบ ประชาธิปไตย ย่อมทาให้วิชาชีพได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากประชาชนระยะยาว สาระสาคัญ พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 มีรายละเอียดใหม่ดังนี้ หมวดทั่วไป มาตรา 5 พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับกับสิ่งพิมพ์ดังต่อไปนี้ คือ (1) สิ่งพิมพ์ของส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ (2) บัตร บัตรอวยพร ตราสาร สิ่งพิมพ์ และรายงานซึ่งใช้กันตามปกติในการส่วนตัว การสังคม การเมือง และการค้า หรือสิ่งพิมพ์ที่มีอายุงานใช้งานสั้น เช่น แผ่นพับ หรือแผ่นโฆษณา (3) สมุดบันทึก สมุดแบบฝึกหัด หรือสมุดภาพระบายสี (4) วิทยานิพนธ์ เอกสารคาบรรยาย หลักสูตรการเรียนการสอน หรือสิ่งพิมพ์อื่นทานองเดียวกันที่เผยแพร่ในสถานศึกษา มาตรา 5 วงเล็บ (4) แตกต่างจากพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา 4 และมาตรา 6 ประเด็นดังกล่า วเกิดขึ้นจาก กรณี ศึ ก ษา สภาการหนั ง สื อ พิ มพ์ แ ห่ ง ชาติ ได้ รั บ เรื่ อ งร้ อ งเรี ยนจากนั ก ศึ ก ษาภาควิ ช านิ เ ทศศาสตร์ คณะมนุ ษ ยศาสตร์ แ ละ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งเป็นผู้จัดทาหนังสือพิมพ์ “ลานมะพร้าว” หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติการของนักศึกษาว่าถูกตารวจ


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

ในพื้นที่เตือนให้หนังสื อพิมพ์ลานมะพร้าวจดทะเบียนให้ถูกต้องตามาพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 และตั้งข้อสังเกตว่า อาจจะเกิดจากการนาเสนอข่าวตารวจในท้องที่ตั้งด่านตรวจโดยรอบมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นเหตุให้ตารวจไม่พอใจ และการ น าเสนอข่ า วนิ สิ ต ล่ า รายชื่ อ คั ด ค้ า นการน ามหาวิ ท ยาลั ย ออกนอกระบบ (เว็ บ ไซต์ ค มชั ด ลึ ก , 30 เม.ย. 2550) รวมถึ ง กรณี หนั ง สื อ พิ ม พ์ “จั น ทรเกษมโพสต์ ” หนั ง สื อ พิ ม พ์ ฝึ ก ปฏิ บั ติ ก ารของนั ก ศึ ก ษาโปรแกรมนิ เ ทศศาสตร์ คณะวิ ท ยาการจั ด การ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทร์เกษม ถูกฟ้องหมิ่นประมาทจากผู้บริหาร ไม่ได้จดหัวหนังสือพิมพ์ตามกฎหมายเช่นกัน (เว็บไซต์คมชัด ลึก, อ้างแล้ว) ภายหลังการตีความ หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติจึงระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอน จึงไม่จาเป็นต้อง จดหัวหนังสือพิมพ์ หมวด 1 สิ่งพิมพ์ มาตรา 7 ผู้พิมพ์หรือผู้โฆษณาสิ่งพิมพ์ที่พิมพ์และเผยแพร่ในราชอาณาจักร ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (1) มีอายุไม่ต่ากว่า 20 ปีบริบูรณ์ (2) มีถิ่นที่อยู่ประจาในราชอาณาจักร (3) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (4) ไม่ เ คยต้ อ งโทษตามค าพิ พ ากษาถึ ง ที่ สุ ด ให้ จ าคุ ก เว้ น แต่ พ้ น โทษมาแล้ ว ไม่ น้ อ ยกว่ า 3 ปี หรื อ เป็ น ความผิ ด โดยประมาณหรือความผิดลหุโทษ ในกรณีนิติบุคคลเป็นผู้พิมพ์โฆษณา กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคลสั้น ต้องมีคุณสมบีติ และไม่มีลี กษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่งด้วย มาตรา 7 (1) ระบุอายุชัดเจนของผู้พิมพ์หรือผู้โฆษณา ในขณะที่พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 ระบุว่าบรรลุนิติภาวะ มาตรา 7(4) ให้โอกาสผู้พิมพ์หรือผู้โฆษณา ที่ได้รับโทษและกลับมาทาหน้าที่ เมื่อพ้นโทษแล้วเกิน 3 ปี ในขณะที่พระราชบัญญัติ การพิมพ์ พ.ศ.2484 ไม่มีระบุ มาตรา 7/1 ในสิ่งพิมพ์ที่เป็นหนังสือที่ไม่ใช่หนังสือพิมพ์และพิมพ์ขึ้นในราชอาณาจักร ให้แสดงข้อความดังต่อไปนี้ (1) ชื่อของผู้พิมพ์และที่ตั้งโรงพิมพ์ (2) ชื่อและที่ตั้งของผู้โฆษณา (3) เลขมาตรฐานสากลประจาหนังสือ ที่หอสมุดแห่งชาติได้ออกให้เป็นข้อความตามวรรคหนึ่งให้พิมพ์ไว้ในลักษณะที่ เห็นได้ชัด และบรรดาชื่อตาม (1) และ (2) มิให้ใช้ชื่อย่อ หรือนามแฝง สิ่งพิมพ์ตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงสิ่งพิมพ์ที่บันทึกด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขาย หรือให้เปล่าด้วย มาตรา 7/1 (3) ใช้ความทันสมัยของเทคโนโลยีบาร์โค้ด (Barcode) ที่ตีพิมพ์ต้องขอเลข มาตรฐานสากลประจาหนังสือ ซึ่งในอดีตเพียงแต่ส่งสาเนาหนังสือไปที่หอสมุดแห่งชาติเท่านั้น นอกจากนี้ สิ่งพิมพ์ยังครอบคลุมไป ถึงสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต มาตรา 7/2 ให้ผู้พิมพ์ส่งสิ่งพิมพ์ตามมาตรา 7/1 จานวน 2 ฉบับ ให้หอสมุดแห่งชาติภายในสามสิบวัน มาตรา 7/2 กาหนดระยะเวลาภายใน 30 วัน ที่ต้องส่งสิ่งพิมพ์ที่ตีพิมพ์ 2 ฉบับไปยังหอสมุดแห่งชาติ ขณะที่พระราชบัญญัติจดแจ้ง การพิมพ์ พ.ศ.2484 กาหนดภายใน 7 วัน


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

มาตรา 7/3 ให้ผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติมีอานาจออกคาสั่ง โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ห้ามสั่งเข้าหรือนาเข้าเพื่อเผยแพร่ ในราชอาณาจักร ซึ่งสิ่งพิมพ์ใดๆ ที่เป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัช ทายาท หรือผู้สาเร็จราชการแทนพระองค์ หรือจะกระทบต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรม อันดีของประชาชน โดยจะกาหนดเวลาห้ามไว้ในคาสั่งดังกล่าวด้วยก็ได้ การออกคาสั่งตามวรรคหนึ่ง ห้ามิให้นาข้อความที่มีลักษณะเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้า ย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สาเร็จราชการแทนพระองค์ หรือจะกระทบต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือ ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแสดงไว้ด้วย สิ่งพิมพ์ที่เป็นการฝ่าฝืนวรรคหนึ่ง ให้ผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติมีอานาจรับและทาลาย มาตรา 7/3 ให้อานาจหน้าที่แก่ผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติ ในการสั่งห้ามนาเข้าสิ่งพิมพ์ที่ขัดต่อกฎหมายในประเด็นหมิ่นพระบรม เดชานุภาพ กระทบความมั่นคงของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน รวมถึงให้ริบและทาลาย ขณะที่พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 ให้อานาจแก่รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งเจ้าพนักงานการพิมพ์กับเจ้าหน้าที่อื่นมาดูแล ได้แก่ อธิบดีกรมตารวจ หรือผู้รักษาการแทน และไม่ได้ระบุประเด็นสิ่งพิมพ์ที่สั่งห้ามนาเข้าอย่างชัดเจน หมวด 2 หนังสือพิมพ์ มาตรา 2 หนังสือพิมพ์ซึ่งพิมพ์ขึ้นภายในราชอาณาจักร ต้องจดแจ้งการพิมพ์ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ผู้ยื่นจดแจ้งการพิมพ์หนังสือพิมพ์ต้องยื่นแบบการจดแจ้งการพิมพ์และหลักฐานต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้ (1) ชื่อ สัญชาติ ถิ่นที่อยู่ของผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการหรือเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์แล้วแต่กรณี (2) ชื่อของหนังสือพิมพ์ (3) วัตถุประสงค์และระยะเวลาออกหนังสือพิมพ์ (4) ภาษาที่หนังสือพิมพ์จะออกใช้ (5) ชื่อและที่ตั้งโรงพิมพ์หรือสถานที่พิมพ์ (6) ชื่อและที่ตั้งสานักงานของหนังสือพิมพ์ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแบบการจดแจ้งการพิมพ์และหลักฐานตามวรรคสองแล้ว ให้รับจดแจ้งและออกหนังสือ สาคัญแสดงการจดแจ้งให้แก่ผู้ยื่นจดแจ้งโดยไม่ชักช้า เว้นแต่ผู้ยื่นจดแจ้งยังดาเนินการไม่ถูกต้องหรือครบถ้วนตามมาตรา 9/2 มาตรา 9/3 มาตรา 9/4 หรือมาตร 9/5 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แนะนาให้ผู้ยื่นจดแจ้งดาเนินการให้ถูกต้องและครบถ้วนทุกเรื่องใน คราวเดียวกันภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแบบการจดแจ้งดาเนินการให้ถูกต้องและครบถ้วนทุกเรื่องในคราวเดียวกันภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแบบการจดแจ้งการพิมพ์และหลักฐานการจดแจ้ ง เมื่อได้ดาเนินการถูกต้องและครบถ้วนให้รับจดแจ้งพร้อม ออกหนังสือสาคัญแสดงการจดแจ้งให้แก่ผู้แจ้งโดยพลัน


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

มาตรา 9 ต้องยื่นแบบจดแจ้งการพิมพ์โดยมีหลักฐานตามกฎหมายระบุ พนักงานเจ้าหน้าที่ให้รับจดแจ้งและออกหนังสือแสดงการ จดแจ้งภายใน 15 วัน ขณะที่พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 ต้องขออนุญาตในการพิมพ์ต่อเจ้าพนักงานการพิมพ์และไม่ระบุ ระยะเวลาการอนุญาต และต้องทาทะเบียนสิ่งพิมพ์แสดงเมื่อขอตรวจ ซึ่งเป็นลักษณะการควบคุมมากว่าการส่งเสริม มาตรา 9/1 ในหนังสือพิมพ์ให้แสดงข้อความ ดังต่อไปนี้ (1) ชื่อของผู้พิมพ์และที่ตั้งโรงพิมพ์ (2) ชื่อและที่ตั้งของผู้โฆษณา (3) ชื่อของกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ (4) ชื่อและที่ตั้งของเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ ข้อความตามวรรคหนึ่งให้พิมพ์ไว้ในลักษณะที่เห็นได้ชัด และบรรดาชื่อตามวรรคหนึ่ง มิให้ใช้ชื่อย่อหรือนามแฝง มาตรา 9/2 ชื่อของหนังสือพิมพ์ต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย พระปรมาภิไธย พระนามาภิไธยย่อ หรือ นามพระ ราชวงศ์ (2) ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่ราชทินนามของตน ของบุพการี หรือของผู้สื่อสันดาน (3) ไม่ซ้ากับชื่อหนังสือพิมพ์ที่ได้รับการจดแจ้งไว้แล้ว (4) ไม่มีคาหรือความหมายหยาบคาย มาตรา 9/2 ระบุการจดแจ้งการพิมพ์ต้องไม่จดชื่อหนังสือพิมพ์ซ้าซ้อนกับรายชื่อหนังสือพิมพ์ที่ได้รับจดแจ้งไว้แล้ว ซึ่งใน อดีตไม่ได้ระบุ และไม่ติดตามตรวจสอบ จึงมีหนังสือพิมพ์จดชื่อซ้ากันจานวนมาก มาตรา 9/3 บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้ (1) มีอายุไม่ต่้ากว่า 20 ปีบริบูรณ์ (2) มีสัญชาติไทย หรือสัญชาติแห่งประเทศซึ่งมีสนธิสัญญากับประเทศไทย (3) มีถิ่นที่อยู่ประจาในราชอาณาจักร (4) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนคนไร้ความสามารถ (5) ไม่เคยต้องโทษตามคาพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุก เว้นแต่พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือเป็นความผิดโดน ประมาท หรือความผิดลหุโทษ ผู้ซึ่งไม่มีสัญชาติไทยผู้ใดประสงค์จะเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ต้องได้รัยอนุญาตตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กาหนดไว้ในกฎกระทรวง มาตรา 9/4 เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ที่เป็นบุคคลธรรมดา ผู้พิมพ์ หรือผู้โฆษณา ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้ (1) มีอายุไม่ต่้ากว่า 20 ปีบริบูรณ์ (2) มีสัญชาติไทย (3) มีถิ่นที่อยู่ประจาในราชอาณาจักร (4) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนคนไร้ความสามารถ


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

(5) ไม่เคยต้องโทษตามคาพิพากษาถึงที่สุดให้จาคุก เว้นแต่พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือเป็นความผิดโดน ประมาท หรือความผิดลหุโทษ มาตรา 9/3 และมาตรา 9/4 กาหนดอายุของบรรณาธิการ เจ้าของกิจการ ผู้พิมพ์ หรือผู้โฆษณาชัดเจน รวมถึงสัญชาติ ไทยหรือสัญชาติที่มีความสัมพันธ์กับไทย ทั้งยังให้โอกาสผู้พิมพ์หรือผู้โฆษณาที่ได้รับโทษและกลับมาทาหน้าที่ เมื่อพ้นโทษแล้ว เกิน 3 ปี ขณะที่พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 ไม่มีระบุ และต้องขออนุญาตเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา หรือเจ้าของ ต่อเจ้าพนักงานการพิมพ์ ซึ่งอาจจะขออนุญาตหรือไม่ก็ได้ มาตรา 9/5 เจ้ า ของกิ จ การหนั ง สื อ พิ ม พ์ ที่ เ ป็ น นิ ติ บุ ค คล ต้ อ มี บุ ค คลซึ่ ง มี สั ญ ชาติ ไ ทยถื อ หุ้ น ไม่ น้ อ ยกว่ า 70 %

ห้ามมิให้บุคคลใดถือหุ้นแทนบุคคลซึ่งมิได้มีสัญชาติไทยในนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ตามวรรคหนึ่ง เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ที่เป็นนิติบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นหรือมีกรรมการเป็นผู้มีสัญชาติไทยน้อยกว่าจานวนที่กาหนดไว้ใน วรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เพิกถอนการจดแจ้ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในกฎกระทรวง มาตร 9/5 เจ้าของต้องมีบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้น 70 เปอร์เซ็นต์ และกรรมการคนไทยสามในสี่ส่วน เพื่อสงวนอาชีพสื่อสาหรับ คน ไทย และไม่ให้บุคคลใดถือหุ้นแทนบุคคลที่ไม่ได้มีสัญชาติไทยที่เป็นเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามเกณฑ์ พนักงาน เจ้าหน้าที่เพิกถอนการจดแจ้ง ประเด็นนี้ไม่ปรากฏในกฎหมายเดิม มาตรา 11 ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ ผู้ใดเลิก เป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บทบรรณาธิการ หรื เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ ต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบเพื่อยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง ภายใน 30 วันนับตังแต่วันที่ เลิก มาตรา 11 ต้ อ งแจ้ ง พนั ก งานเจ้ า หน้ า ที่ ท ราบ หากมี ก ารเปลี่ ย นแปลงผู้ พิ ม พ์ ผู้ โ ฆษณา บรรณาธิ ก าร หรื อ เจ้ า ขอ งกิ จ การ หนังสือพิมพ์ เพื่อยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงภายใน 30 วัน ขณะที่พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 ระบุภายใน 15 วัน หมวดที่ 3 บทกาหนดโทษ ส่วนที่ 1 โทษทางปกครอง ซึ่งผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1-3 หมื่นบาท และถ้าการกระทาผิดซึ่งมีโทษปรับทางปกครองเป็น ความผิดต่อเนื่องและพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งลงโทษปรับ รายวันอีกวันละไม่เกิน 1-3 พันบาท ส่วนที่ 2 โทษอาญา มีความผิดตั้งแต่จาคุกขั้นต่าคือไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ ส่วนโทษสูงสุด กาหนดให้จาคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5 แสนถึง 5 ล้านบาท และให้ศาลสั่งให้เลิกการให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุน หรือสั่ง ให้เลิกการร่วมประกอบธุรกิจ หรือสั่งให้เลิกการถือหุ้นหรือการเป็นหุ้นส่วนแล้วแต่กรณี หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคาสั่งต้องระวาง โทษปรับวันละ 5 หมื่นบาท ถึง 2.5 แสนบาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ การเตรียมต้นฉบับ | จริยธรรม และกฎหมาย สาหรับงานวารสารศาสตร์

บทเฉพาะกาล หนังสือพิมพ์หรือผู้ใดเป็นผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการ หรือเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ ซึ่งได้แจ้งความแก่เจ้าพนักงานการพิมพ์ ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเป็นหนังสือพิมพ์ที่ ได้จดแจ้งการพิมพ์ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้แล้ว

____________________________________________________________ บรรณานุกรม            

  

Frank P. Hoy. 1986. Photo Journalism: the visual approach. London : Prentice-Hall, Englewood Cliffs, N.J. ชลูด นิ่มเสมอ. 2534. องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพมหานคร:สานักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. ทองเจือ เขียดทอง. 2548. การออกแบบสัญลักษณ์. กรุงเทพมหานคร:สานักพิมพ์สิปประภา. ธารทิพย์ เสรินทวัฒน์. 2550. ทัศนศิลป์การออกแบบพาณิชยศิลป์. กรุงเทพฯ : หลักไท่ช่างพิมพ์. ปาพจน์ หนุนภักดี. 2553. หลักการและกระบวนการออกแบบงานกราฟิกดีไซน์. กรุงเทพมหานคร:บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จากัด. ปราโมทย์ แสงผลสิทธิ์. 2540. การออกแบบนิเทศศิลป์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ วี.เจ. พริ้นติ้ง. มัย ตะติยะ. 2547. สุนทรียภาพทางทัศนศิลป์. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค จากัด. มาลี บุญศิริพันธ์. 2550. วารสารศาสตร์เบื้องต้นปรัชญาและแนวคิด. กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิรุณ ตั้งเจริญ. 2545. ประวัติศาสตร์ศิลป์และการออกแบบ. กรุงเทพมหานคร:สานักพิมพ์อีแอนไอคิว. ศูนย์ศึกษากฎหมายและนโยบายสื่อมวลชน. 2556. คู่มือการสอนวิชากฎหมายสื่อมวลชนและวิชาจริยธรรมสื่อมวลชน. กรุงเทพมหานคร : . สนั่น ปัทมะทิน. 2530. การถ่ายภาพสาหรับหนังสือพิมพ์. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพัฒนาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย. สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ. 2555. ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ.2541. (ระบบออนไลน์) แหล่งทีม่ า http://www.presscouncil.or.th/th2/content/view/4/8/. (19 พฤศจิกายน 2555) สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. 2549. การสื่อข่าว : หลักการและเทคนิค. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา. โสรชัย นันทวัชรวิบูลย์. 2545. Be Graphic สู่เส้นทางกราฟิกดีไซเนอร์. กรุงเทพมหานคร:บริษัท เอ.อาร์.อินฟอร์เมชัน แอนด์ พับลิเคชัน จากัด. อารยะ ศรีกัลยาณบุตร. 2550. การออกแบบสิ่งพิมพ์. กรุงเทพมหานคร : วิสคอมเซ็นเตอร์.

ภาพประกอบบางส่วนจาก  www.asiancorrespondent.com  www.lib.vit.src.ku.ac.th  www.chrisdrogaris.com

 www.derby-web-design-agency.co.uk  www.oliviagreavesdesign.com  www.yanchaow.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.