Ca222 week03 newspaper design

Page 1

นศ 222 การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ 2 [CA 222 Printed Media Design 2]

รวมรวม/เรียบเรียง โดย อาจารย์ณัฏฐพงษ์ สายพิณ ส า ข า วิ ช า นิ เ ท ศ ศ า ส ต ร์ บู ร ณ า ก า ร ค ณ ะ ศิ ล ป ศ า ส ต ร์ ม ห า วิ ท ย า ลั ย แ ม่ โ จ้

การออกแบบและผลิตหนังสือพิมพ์        

องค์ประกอบของหนังสือพิมพ์ รูปแบบหน้าหนังสือพิมพ์ ทฤษฎีการออกแบบหน้าหนังสือพิมพ์ การออกแบบหน้าในแนวสมัยใหม่ (Contemporary Design) การออกแบบในแนวดั้งเดิม (Traditional Design) แนวคิดในการออกแบบหน้าหนึ่งและหน้าใน การแบ่งประเภทหน้าหนังสือพิมพ์ ส่วนประกอบของหนังสือพิมพ์สาหรับการออกแบบ o การออกแบบหน้าหนึ่ง o การออกแบบหน้าใน o การออกแบบหน้าโฆษณา


การออกแบบและผลิตหนังสือพิมพ์ |

1

หนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์ คาจากัดความในพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 ว่า "หนังสือพิมพ์ เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีชื่อจ่าหน้า เช่นเดียวกัน ออกหรือเจตนาจะออกตามลาดับเรื่อยไป มีกาหนดระยะเวลาหรือไม่ก็ตาม มีข้อความต่อเนื่องหรือไม่ก็ตาม" หนังสือพิมพ์ หมายถึง สิ่งพิมพ์ที่รายงานข้อเท็จจริงและเหตุการณ์สาคัญที่เกิดขึ้น ในแต่ละวัน รวมทั้งเนื้อหาสาระอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ตลอดจนการโฆษณา มีวาระการวางจาหน่ายที่แน่นอน แต่เดิมนิยมจาหน่ายเป็นรายวัน ปัจจุบันหนังสือพิมพ์รายสาม วันก็เป็นที่นิยมของผู้อ่านมาก การจัดพิมพ์หนังสือพิมพ์จะใช้กระดาษชนิดเดียวกันตลอดเล่ม ตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้ายโดย ไม่มีการเย็บเล่ม หนังสือพิมพ์ หมายถึง สื่อสิ่งพิมพ์รายงานข่าว และข่าวสาร เพื่อให้ความรู้ ความบันเทิงและเสนอข้อเขียนเชิงวิพากษ์ วิจารณ์เสนอข้อคิดเห็นต่างๆ ในรูปของบทนา หรือบทบรรณาธิการ (Editorial) บทความ (Article) ตลอดจน คอลัมน์ (Column) เพื่อให้แง่มุมความคิด และการเตือนภัย แก่ผู้อ่านซึ่งเป็นประชาชนทั่วไปเป็นสาคัญ จากความหมายข้างต้นอาจกล่าวได้ว่า หนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่ต้องแข่งขันกับสื่ออื่นๆ ที่มีการเคลื่อนไหวในการเสนอข่าวอยู่ ตลอดเวลา เช่น วิทยุโทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง เพื่อให้ข่าวสารต่างๆ ที่เสนอต่อผู้อ่านมีความใหม่สดอยู่เสมอ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อ เปรียบเทียบกับนิตยสาร วารสาร และหนังสือเล่มแล้วสิ่งพิมพ์เหล่านี้ก็จะอ่านได้ง่ายและดูสวยงามน่าสนใจกว่า หนังสือพิมพ์ โดยทั่วไป ทั้งนี้เพราะนิตยสาร วารสาร และสิ่งพิมพ์อื่นนั้นมีเวลาที่ใช้ในการออกแบบตบแต่ง ทาอาร์ตเวิร์กและเตรียมการมากกว่า หนังสือพิมพ์ แต่ผู้อ่านมักจะสนใจในความยากง่ายของการทาจะสนใจแต่เพียงว่าสิ่งพิมพ์ใดอ่าน ง่าย อ่านสนุก และน่าสนใจ มากกว่า เท่านั้น ฉะนั้น เพื่อให้ สามารถทาให้ ผู้อ่านเกิ ดความสนใจให้ได้ ผู้อ อกแบบจึงต้องพยายามทาทุกวิ ถีทางที่ จะทาให้ หนังสือพิมพ์เป็นที่น่าสนใจของผู้อ่าน และได้ประโยชน์จากเนื้อหาในขณะเดียวกัน วัตถุประสงค์ของหนังสือพิมพ์  หนังสือพิมพ์เป็นสิ่งพิมพ์ที่พิมพ์ขึ้นเพื่อคนทุกระดับความรู้ ไม่จากัดผู้อ่าน สามารถอ่านจบได้ในเวลาอันสั้นและอ่านได้ทุก เวลาและทุกสถานที่  มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจทั่วไปอย่างกว้างขวาง เช่น ข่าว บทความต่างๆ เพื่อให้แง่คิด ข้อสังเกตของหนังสือพิมพ์  เป็นสื่อที่เก่าแก่ที่สุด  แม้ปัจจุบันจะมีสื่อสิ่งพิมพ์หลายรูปแบบที่นาเสนอข้อมูล แต่หนังสือพิมพ์ได้เปรียบสื่ออื่นตรงที่เป็นสื่อที่สามารถเจาะลึก เนื้อหาได้รอบด้านและคงทนถาวรกว่า


การออกแบบและผลิตหนังสือพิมพ์ |

2

องค์ประกอบของหนังสือพิมพ์ องค์ประกอบของหนังสือพิมพ์ — สาหรับหนังสือพิมพ์โดยทั่วไป เช่น ฉบับรายวัน มักมีรายงานข่าวต่างๆ มีข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศ ประกอบไปด้วย ◦ ข่าวเหตุการณ์ในชีวิตประจาวัน เช่น การทะเลาะวิวาทและข่าวอาชญากรรม ◦ ข่าวการเมือง ◦ ข่าวเศรษฐกิจ ◦ ข่าวกีฬา ◦ ข่าวบันเทิง ◦ ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ◦ ข่าวการเกษตร — นอกจากการเสนอข่าวแล้ว หนังสือพิมพ์อาจมี ◦ สารคดี หรือ นวนิยาย ◦ บทความ หรือ คอลัมน์แสดงความคิดเห็น ◦ ภาพประกอบข่าว ภาพประกอบเรื่องต่างๆ และภาพการ์ตูน

หนังสือพิมพ์เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่รวมเรื่องราว บทวิเคราะห์ ภาพเหตุการณ์ และการโฆษณาต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ถ้าสิ่งต่างๆ เหล่านี้ถูกจัดไว้อย่างขาดความมีระเบียบลงบนหน้าหนังสือ ก็จะให้ผู้อ่ านเกิดความสับสนในเรื่องราวต่างๆ ดังนั้นจึงจาเป็นต้องมี การวางแผนได้ว่าในแต่ละหน้าจะบรรจุอะไรไว้บ้าง และในตาแหน่งใด เพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน ดังนั้น จึงต้องมีการออกแบบเพื่อให้ อ่านได้ง่าย อ่านได้เร็ว และอ่านได้มาก วัตถุประสงค์ในการออกแบบหน้า หนังสือพิมพ์ ถือเป็นสินค้าชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับสินค้าอื่นๆ นอกจากผู้ผลิตจะต้องแข่งขันกับหนังสือพิมพ์ฉบับอื่นๆ ด้วย การนาเสนอเนื้อหา ได้แก่ ข่าวสาร ภาพประกอบ บทความ สารคดี ฯลฯ ที่มีความสาคัญหรือน่าสนใจเพื่อให้ผู้อ่านนิยมชมชอบแล้ว ผู้ผลิตยังต้องหาวิธีการออกแบบหน้าหนังสือพิมพ์ทุกๆ หน้า ให้มีรูปแบบที่โดดเด่น สร้างเอกลักษณ์เฉพาะ และสามารถดึงดูดความ สนใจจากผู้อ่านหรือผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 3

การออกแบบหน้า หนั งสื อพิ มพ์ นั้น มีค าศั พท์ ที่ใช้ กัน อยู่ หลายคา ปัจ จุบั นใช้ภาษาอัง กฤษว่ า Design หมายถึง การ ออกแบบ กาหนดรูปแบบพื้นฐาน (Basic Format) เดิมใช้คาว่า Make up ที่หมายถึง การตกแต่งหน้าหรือการจัดหน้า บางทีก็ใช้คา ว่า Layout หมายถึงการวางโครงร่าง นอกจากนี้มีอีกคาหนึ่งที่ผู้ออกแบบหน้าหนังสือพิมพ์ในประเทศไทยนิยมใช้ ได้แก่คาว่า ดัมมี่ (Dummy) ซึ่งมีความหมายเดียวกัน คือการออกแบบหน้าบนกระดาษร่างที่เรียกว่ากระดาษดัมมี่ ใช้สาหรับร่างแบบ ลักษณะ กระดาษส่วนใหญ่ใช้กระดาษปรู๊ฟ มีขนาดกว้างยาวเท่าหน้าหนังสือพิมพ์จริง ซึ่งจะตีตารางเป็นเส้นบางๆ แบ่งเป็นคอลัมน์เท่าของ จริง แม้ว่าเทคโนโลยีในการผลิตทุกวันนี้จะอาศัยคอมพิวเตอร์ในการออกแบบบนหน้าจอแล้ว แต่บรรณาธิการ ฝ่ายศิลป์ หรือผู้ที่ทา หน้าที่ออกแบบหน้าของหนังสือพิมพ์บางฉบับก็ยังเคยชินกับการออกแบบบนกระดาษดัมมี่ก่อนที่จะนาลงไปในคอมพิวเตอร์อกี ครัง้ อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเลือกใช้คาใดในการออกแบบหน้าหนังสือพิมพ์ สิ่งที่ควรตระหนักคือ การออกแบบหน้าเป็น สิ่งจาเป็นและสาคัญอย่างมากต่อกระบวนการสื่อสารและกระบวนการผลิตหนังสือพิมพ์ กล่าวโดยสรุปในการออกแบบ หน้าหนังสือพิมพ์มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ

ลักษณะการออกแบบหน้าของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 1. เพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้อ่าน จากการจัดวางเนื้อหาของข้อความ ภาพ สีสัน และองค์ประกอบต่างๆ 2. เพื่อสร้างเอกลักษณ์เฉพาะของหนังสือพิมพ์ ซึ่งแต่ละฉบับจะมีจุดเด่นและบุคลิกที่แตกต่างกันออกไปตาม นโยบาย เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ออกแบบหัวหนังสือพิมพ์เป็นสีเขียว การพาดหัวลักษณะต่างๆ ที่ใช้เฉพาะตัว เน้น เป็นอักษรขนาดใหญ่ (Banner) นิยมใช้ขนาดหัวรอง (Readout) หน้าในนิยมใช้กล่อง (Box) ล้อมกรอบคอลัมน์หรือ บทความต่างๆ เป็นต้น 3. เพื่อจั ดลาดั บความสาคัญของเนื้ อหา โดยใช้หลั กการทางวารสารศาสตร์ ผสมผสานกับหลั กการทางศิลปะ จัดลาดับความสาคัญของเนื้อหาสาระจากข่าวหรือเรื่องที่สาคัญที่สุด กับเรื่องที่เด่นรองลงมา ควรนาไปวางบน ตาแหน่งใดของหน้าจึงจะดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้ทันที 4. เพื่อส่งเสริมการอ่าน การออกแบบหน้าที่ดีจะช่วยให้ผู้อ่านได้รับความสะดวกในการอ่านหนังสือพิมพ์ได้อย่าง รวดเร็ว สร้างความพึงพอใจและอยากติดตาม


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 4

ประเภทหนังสือพิมพ์ การแบ่งแยกประเภทของหนังสือพิมพ์แนวใหม่ที่ตรงกับความเป็นจริงในวิชาชีพหนังสือพิมพ์ของไทย คือ การแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

General Newspaper

Business Newspaper

Specialied Newspaper 1. หนังสือพิมพ์ประเภทข่าวทั่วไป (General Newspaper) เช่นหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ หนังสือพิมพ์ ข่าวสด หนังสือพิมพ์แนวหน้า และหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ซึ่งเน้นนาเสนอข่าวสารทั่วๆ ไป มีเนื้อหาที่หลากหลาย 2. หนังสือพิมพ์ประเภทข่าวธุรกิจ (Business Newspaper) จะเน้นนาเสนอข่าวสารด้านเศรษฐกิจและการเมืองเป็นหลัก เช่น หนังสือพิมพ์ธุรกิจ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ เป็นต้น 3. หนังสือพิมพ์ประเภทเฉพาะกลุ่ม (Specialied Newspaper) หนั ง สื อ พิ ม พ์ แ นวนี้ จ ะมุ่ ง เน้ น น าเสนอเนื้ อ หาเฉพาะด้ า นใดด้ า นหนึ่ ง มี ก ลุ่ ม ผู้ อ่ า นเป้ า หมายจ าเพาะเจาะจง เช่ น หนั งสื อ พิม พ์แ นวข่ า วกี ฬา เช่ น หนัง สื อพิ มพ์ สตาร์ซ็ อ กเกอร์ หนัง สื อพิ ม พ์สปอร์ ตพู ล หนัง สื อพิ มพ์ คิ ก ออฟ และ หนังสือพิมพ์กอล์ฟ ไดเจส เป็นต้น หรือหนังสือพิมพ์แนวข่าวคราวและกิจกรรมความเคลื่อนไหวของผู้นับถือศาสนา อิสลาม เช่น หนังสือพิมพ์อิสลามทางนา เป็นต้น —


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 5

— รูปแบบหน้าหนังสือพิมพ์ ผู้ทาหน้าที่ออกแบบหน้าหนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์แต่ละฉบับจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตามนโยบายขององค์กรแต่ละฉบับ แต่จะมีสิ่งที่ เหมือนกันและแตกต่างกันไปตามมาตรฐานของหนังสือพิมพ์ ผู้ที่ทาหน้าที่อ อกแบบนั้นขึ้นอยู่กับการจัดการในองค์กรของ หนังสือพิมพ์ บางฉบับอยู่ในความรับผิดชอบของกองการผลิต เช่น หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ จัดองค์กรให้งานออกแบบหน้าอยู่ใ น ความรับผิดชอบของกองการผลิต ส่วนหนังสือพิมพ์มติชนอยู่ในความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ โดยมี Sub-editor เป็น ผู้รับผิดชอบทาหน้าที่เชื่อมระหว่างกองบรรณาธิการกับกองการผลิต (ในที่นี้ Sub-editor ทาหน้าที่พาดหัวข่าว จัดหน้า รูปภาพ ต้นฉบับ) ตาแหน่งที่เรียกหัวหน้าผู้ ทาหน้าที่ในการออกแบบ ก็เรียกแตกต่างกันไป บางฉบับเรียกว่าบรรณาธิการฝ่ายศิลป์ (Art Editor) บางฉบับเรียกบรรณาธิการฝ่ายจัดหน้า (Make up Editor, Layout Editor) บางฉบับไม่ใช้คาว่าบรรณาธิการแต่ใช้คาว่า หัวหน้าแทน สาหรับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เช่น ไทยนิวส์ หรือ เชี ยงใหม่นิวส์ เป็นต้น ผู้ที่ทาหน้าที่ออกแบบอาจเป็นคนๆ เดียวกับ บรรณาธิการ หรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ อย่างไรก็ตามผู้ที่ทาหน้าที่ออกแบบหน้าหนังสือพิมพ์ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทั้งทางด้านศิลปะและวารสาร ศาสตร์ Harold Matthew Evans บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ชื่ อดังของอังกฤษและผู้เขียนหนังสือเรื่อง Newspaper Design กล่าวถึงคุณสมบัติของผู้ออกแบบหน้าหนังสือพิมพ์ที่จะประสบความสาเร็จไว้ ดังนี้ 1. มีความเข้าใจงานหลักของการออกแบบหน้าคือ ทาหน้าที่เสนอสาร (Massage) ไปยังผู้รับสารหรือผู้อ่านได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ด้วยรูปแบบที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อนแต่ดึงดูดความสนใจ 2. ไม่ควรมุ่งแสดงงานสร้างสรรค์มากไปกว่าการที่จะเป็นผู้นาเสนอสาร เพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านหนังสือพิมพ์ได้อย่าง รวดเร็วและอ่านได้มากกว่าเดิม 3. ผู้ออกแบบหน้าต้องประสานงานกับกองบรรณาธิการเพื่อทาความเข้าใจกับเนื้อหาสาระต่างๆ อย่างละเอียดถี่ถ้วน ก่อนเริ่มออกแบบ 4. มีความสามารถในการจัดลาดับความสาคัญขององค์ประกอบต่างๆ ได้ไม่ว่าจะเป็นข่าว บทความ ภาพ โฆษณา ฯลฯ ว่าควรวางอยู่ตาแหน่งใดบนหน้าแต่ละหน้า ใช้พื้นที่เท่าไร ใช้ตัวอักษรขนาดใด จึงจะสามารถสนองต่อความต้องการ ของผู้อ่านได้มากที่สุด 5. มีความสามารถในการทางานเป็นทีม อย่าทาตัวเป็นปัญหากับผู้ร่วมงานอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายกองบรรณาธิการ ฝ่าย โฆษณา หรือฝ่ายผลิต ควรเป็นคนมีความยืดหยุ่น (Flexible minded) พอๆ กับเป็นผู้ที่มีความเด็ดขาด (tough minded) ในการแก้ปัญหา 1 หนังสือพิมพ์ The Sunday Times, 2 นิตยสาร The Week Magazine 3 หนังสือพิมพ์ The Guardian 3

Harold Matthew Evans นักข่าวและบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ The Sunday Times, หนังสือพิมพ์ The Guardian และ The Week Magazine

1

2

3


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 6

รูปแบบหรือขนาด(Format) ของหนังสือพิมพ์ ขนาดของหนังสือพิมพ์มี 2 ขนาด คือ หนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่หรือขนาดมาตรฐาน (Standard) หรือที่เรียกว่า "บรอดชีท" (Broad Sheet) หรือ "Full Size“ และหนังสือพิมพ์ขนาดเล็ก ที่เรียกว่า "ขนาดแทบลอยด์" (Tabloid)

22-24 นิ้ว

ขนาดบรอดชีท (Broad Sheet)

14-15 นิ้ว

ขนาดแทบลอยด์ (Tabloid)

11-12 นิ้ว

14-15 นิ้ว

"ขนาดบรอดชีท" (Broad Sheet) หรือ "Full Size" ซึ่งมีความกว้างยาวประมาณ 14-15 คูณ 22-24 นิ้ว หนังสือพิมพ์ที่มี ขนาดนี้ เช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, ข่าวสด, มติชน, เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ, คมชัดลึก, ผู้จัดการ, The Nation เป็นต้น "ขนาดแทบลอยด์" (Tabloid) มีความกว้างยาวประมาณ 11-12 คูณ 14-15 นิ้ว หรือประมาณขนาดตัดครึ่งของขนาด มาตรฐานนั่นเอง หนังสือพิมพ์ที่มีขนาดเล็กหรือแทบลอยด์ เช่น หนังสือพิมพ์ สตาร์ซอกเกอร์, หนังสือพิมพ์คิกออฟ, หนังสือพิมพ์ สปอร์ตพูล, และหนังสือพิมพ์สปอร์ตแมน หรือหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติการในมหาวิทยาลัย เป็นต้น สาหรับในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นหนังสือพิมพ์ขนาด Broadsheet การออกแบบหน้าของหนังสือพิมพ์ขนาดนี้ มีทั้งที่ เน้นความหวือหวาด้วยพาดหัวและภาพขนาดใหญ่ ส่วนหนังสือพิมพ์ขนาด Tabloid มักเป็นหนังสือพิมพ์เฉพาะด้าน (Specialinterest journals)


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 7

อิทธิพลที่มีต่อการออกแบบหน้า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกแบบหน้าหนังสือพิมพ์มีดังต่อไปนี้

นสพ.ข่าวสดขนาดบรอดชีท

นสพ.สตาร์ซอคเกอร์ขนาดแทบลอยด์

1. ขนาดของหนังสือพิมพ์ (Size) หนังสือพิมพ์ในปัจจุบันที่ตีพิมพ์ทั่วโลกและในประเทศไทยมี 2 ขนาด คือ ขนาดบรอดชีท (Broad Sheet) และ ขนาด แทบลอยด์ (Tabloid) ซึ่งขนาดนั้นจะขึ้นอยู่กับนโยบายและวัตถุประสงค์ของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นๆ หนังสือพิมพ์ขนาดแทบลอยด์ ในอังกฤษและสหรัฐอเมริกามุ่งสนองต่อกลุ่มเป้าหมายระดับล่างขึ้นมา การออกแบบนิยมใช้ทั้งข่าวและภาพขนาดใหญ่ สีสันที่ สะดุดตา และเร้าความสนใจ ในขณะที่หนังสือพิมพ์ขนาดบรอดชีท มุ่งสนองต่อกลุ่มเป้าหมายระดับกลางขึ้นมา การออกแบบแม้ ต้องคานึงถึงความสวยงามและความสะดุดตาเพื่อดึงดูดความสนใจกับผู้อ่าน แต่มักจะไม่หวือหวาโลดโผนเท่ากับหนังสือพิมพ์ ขนาดแทบลอยด์ สาหรับประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นขนาดบรอดชีท มีทั้งที่ เน้นความหวือหวาด้วยการพาดหัวและภาพขนาดใหญ่ หลายๆ ภาพ เช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวสด มติชน เป็นต้น หนังสือพิมพ์ที่เน้นการพาดหัวที่มีขนาดหลากหลาย และเสนอภาพที่ไม่ มากจนเกินไป ดูเรียบและขรึมกว่า เช่น กรุงเทพธุรกิจ ผู้จัดการ เป็นต้น ส่วนขนาดแทบลอยด์นั้นไม่เป็นที่นิ ยมมากนัก ส่วนใหญ่ที่ เลือกตีพิมพ์ขนาดนี้จะเป็นหนังสือพิมพ์เฉพาะด้าน เช่น สตาร์ซอกเกอร์ หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติการในมหาวิทยาลัย เป็นต้น นอกจากนี้ขนาดยังมีอิทธิพลต่อการแบ่งขนาดคอลัมน์ในแต่ละหน้า เช่น ขนาดแทบลอยด์ มี 4-5 คอลัมน์ ขนาดบรอดชีท มี 8-12 คอลัมน์, การเลือกขนาดตัวอักษร, ขนาดภาพ, จานวนภาพ, จานวนเรื่อง(บทความหรือข่าว), กราฟิก, พื้นที่โฆษณา เป็นต้น 2. เนื้อหา (Content) เนื้อหาที่เร้าอารมณ์ เช่น อาชญากรรม ข่าวบันเทิง ข่าวกีฬา มักนาเสนอภาพขนาดใหญ่แบบวาบหวือ พาดตัวโต ขนาด ใหญ่ มีเพียงหัวข่าวและโปรยข่าว (Lead) สัน้ ๆ เท่านั้น บางฉบับเน้นการเสนอข่าวหนัก เช่น การเมือง เศรษฐกิจ ประชาสังคม เป็น ต้น ซึ่งรูปแบบการจัดหน้าจะค่อนข้างราบเรียบกว่า ความสาคัญของเนื้อหาก็เป็นสิ่งที่ผู้ออกแบบต้องทราบ ทั้งนี้ทางกองบรรณาธิการต้องจัดทาบัญชีข่าวหรือบัญชีเรื่อง (Slug sheet, Schedule sheet) โดยคัดเลือกประเมินคุณค่าความน่าสนใจของเนื้อหาทั้งข่าวและบทความว่าเรื่องใดสมควรตีพิมพ์ มากที่สุด เรื่องใดรองลงมา ภาพประกอบมีกี่ภาพ ภาพใดเป็นภาพเด่น (Dominant) งานกราฟิกอื่นๆ และความยาวของเรื่องเพื่อ กาหนดรูปแบบการออกแบบของหน้าได้ นอกจากนี้การใช้พื้นที่ขาว (White space) ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่นามาปรับใช้ได้ในกรณีที่การจัด


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 8

หน้าไม่ลงตัว เช่น เนื้อหายาวเกินไปหรือน้อยเกินไป 3. โฆษณา (Advertisement) ธุรกิจหนังสือพิมพ์ดารงอยู่ได้ด้วยรายได้จากการโฆษณาเป็นหลัก ส่วนรายได้จากการขายหนังสือพิมพ์เป็นรายได้รอง การกาหนดอัตราส่วนระหว่างพื้นที่เนื้อหาและโฆษณา อยู่ในระหว่าง 40:60 บางฉบับอยู่ในอัตรา 30:70 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหนังสือพิมพ์ ฉบับนั้นๆ ได้รับความนิยมจากผู้อ่านอยู่ในระดับ ฉบับที่เป็นที่นิยมจึงมีพื้นที่ในการโฆษณามากกว่าเนื้อหานั่นเอง การออกแบบหน้าโฆษณาต้องมาจากฝ่ายโฆษณาเป็นผู้ แจ้งให้ผู้ออกแบบทราบว่ามีโฆษณาจานวนกี่ชิ้นที่จะตีพิมพ์ ใช้ พื้นที่เท่าไร เต็มหน้า ครึ่งหน้า หรือกี่คอลัมน์นิ้ว และการโฆษณาบางชิ้นมีการระบุเฉพาะว่าต้องการโฆษณาไว้หน้าใด พิมพ์สี่สีหรือ สองสี(ขาว-ดา) ส่วนพื้นที่ที่เหลือจากโฆษณาจึงเป็นพื้นที่สาหรับเนื้อหา 4. รูปแบบ (Style) หรือมาตรฐานเฉพาะในการออกแบบ ในการจัดทาสิ่งพิมพ์ กองบรรณาธิการจะจัดทาคู่มือการปฏิบัติงาน เรียกว่า Style book ถ้าไม่ได้ทาเป็นเล่ม เรียกว่า Style sheet เป็นสิ่งกาหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานหลายๆ ด้าน เช่น การตรวจแก้ปรับปรุงต้นฉบับ การใช้เวลา วันเดือนปี อักษรย่อ รูปแบบตัวอักษรพาดหัวข่าว หัวเรื่อง เนื้อเรื่อง การคัดเลือกภาพ ขนาดภาพ การจัดหน้า รูปแบบการโฆษณา หรือ มาตรฐานกราฟิกอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ทาหน้าที่ออกกแบบทางานได้รวดเร็วและมีมาตรฐานแน่นอน ซึ่งนับเป็นข้อดีในการออกแบบ แต่ทั้งนี้อาจเป็นข้อเสียสาหรับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่ต้องการจะฉีกรูปแบบเก่าๆ ที่จาเจได้ 5. วิธีการผลิต (Product Method) ปัจจุบันเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตหนังสือพิมพ์ก้าวหน้าเป็นอย่างยิ่ง ทั้งการออกแบบหน้าด้วยคอมพิวเตอร์ การ ถ่ายภาพจากกล้องดิจิทัลความละเอียดสูง และเทคโนโลยีการพิมพ์ที่มีประสิทธิภาพ เช่น ปัจจุบันนี้ไทยรัฐ ใช้เครื่องพิมพ์ตราแมน โรแลนด์ รุ่นจีโอแมน จากประเทศเยอรมนี ซึ่งมีกาลังในการผลิตชั่วโมงละ 360,000 ฉบับ โดยใช้พิมพ์ฉบับละ 40 หน้า (สี่สี 20 หน้า) ซึ่งในแต่ละวัน ใช้กระดาษทั้งหมด 230 ม้วน คิดเป็นน้าหนัก 225 ตัน และใช้หมึกสีดา 1,200 กิโลกรัม, สีแดง 445 กิโลกรัม, สีฟ้า 430 กิโลกรัม, สีเหลือง 630 กิโลกรัม โดยทางบริษัทฯ มักจะนาผู้เข้าเยี่ยมชมกิจการ เข้าชมการผลิตหนังสือพิมพ์ จากเครื่องพิมพ์ดังกล่าว 6. นายทุน / บรรณาธิการ (Owner/ Editor) การทางานของผู้ท าหน้าที่ ออกแบบหน้า อาจเผชิญ กับ ปัญหาหรืออุ ปสรรคที่เ กิด จากตัว บุคคล ซึ่งเป็น นายทุน หรื อ บรรณาธิการฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ที่ไม่พอใจต่องานออกแบบหน้าบางอย่าง เช่น วางภาพในตาแหน่งที่เด่นเกินไป ใช้ภาพใหญ่เกินไป ขนาดตัวอักษรใหญ่เกินไป เป็นต้น จึงอาจมีคาสั่งให้เปลี่ยนแปลงงานที่ออกแบบแล้วเสียใหม่


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 9

ทฤษฎีการออกแบบหน้าหนังสือพิมพ์ การที่ผู้ออกแบบจะออกแบบหน้าหนังสือพิมพ์ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ดังที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ อาจกาหนดแนวคิดของ การจัดหน้าได้ดังนี้ 1. บรรณาธิการจะต้องจัดข่าวให้อยู่ในลักษณะที่มีความสะดวกต่อการอ่าน เพื่อให้ผู้อ่านรู้สึกว่าสามารถอ่านและ ติดตามข่าวได้อย่างต่อเนื่อง สม่าเสมอ เช่น ควรให้ผู้อ่านเข้าใจและติดตามได้ว่าข่าวเริ่มจากจุดใดต่อไปที่คอลัมน์ใดและ ไม่สิ้นสุด ที่คอลัมน์ใดโดยง่าย ต้องจัดให้ข่าวพิเศษอยู่ในตาแหน่งที่สะดุดตา หาดูได้สะดวก ไม่ต้องเสียเวลาค้นหามาก ฉะนั้น การจัดวางข่าว ให้ระเบียบจึงเป็นมาตรการสาคัญข้อแรกของการออกแบบ 2. การจัดวางรูปแบบของข่าวต่าง ๆ ควรให้อยู่รูปแบบที่คงที่สม่าเสมอและสอดคล้องกับหนังสือพิมพ์อื่นตาม สมควร เพื่อให้ผู้อ่านสะดวกในการติดตามข่าว โดยไม่ต้องเริ่มต้นหาตาแหน่งของเรื่อ งราวต่าง ๆ ใหม่ เมื่อไปอ่านหนังสือพิมพ์แต่ ละฉบับ แต่อย่างไรก็ตาม การออกแบบในการจัดหน้าและเสนอข่าวจะต้องทาให้ผู้อ่านเกิดภาพพจน์ต่อหนังสือพิมพ์นั้นตามที่ผู้ทา หนังสือพิมพ์นั้นต้องการ ภาพพจน์นี้เป็นความรู้สึก ทัศนคติ และความคิดเห็นของผู้อ่านต่อหนังสือพิมพ์นั้น ๆ เช่น เกิดความรู้ ความเข้าใจว่าหนังสือพิมพ์นั้น ๆ เป็นหนังสือพิมพ์ประเภทใด ๆ 3. จะต้ อ งออกแบบให้ ผู้ อ่ า นรู้ สึ ก ตื่ น เต้ น ยิ่ ง ขึ้ น ต่ อ สิ่ ง ที่ ห นั ง สื อ พิ ม พ์ นั้ น เสนอต่ อ ผู้ อ่ า น เพราะความจริ ง แล้ ว หนังสือพิมพ์จะต้องแข่งขันกับสื่ออื่น ๆ ที่น่าสนใจกว่า เช่น วารสาร วิทยุ โทรทัศน์ วิทยุกระจายเสียง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ จะมี ความเร้าใจมากกว่าโดยธรรมชาติเพราะมีเสียงพูดเสียงดนตรี หรือภาพประกอบด้วย สิ่งพิมพ์ประเภทวารสาร นิตยสาร ก็สามารถ ทาให้เห็นจริงเห็นจึงได้มากกว่าโดยการใช้ภาพสี ฉะนั้นเพื่อให้สามารถแข่งขันกับสื่อต่างๆ ได้หนังสือพิมพ์จึงจาเป็นที่จะต้องคิดค้น การจัดหน้า และการเสนอข่าวให้น่าสนใจ และน่าทึ่งมากยิ่งขึ้น เช่น การพาดหัวข่าว การใช้ภาพที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์ และความ สดของข่าว การออกแบบหนังสือพิมพ์เป็นการนาเอาถ้อยคา ภาพ สี และเส้ น และสิ่งประกอบอื่นๆ มารวมกันให้เป็นงานศิลปะชิ้ น หนึ่งที่มีวัต ถุประสงค์ร่วมกัน คือ การเสนอข่ าวสาร โฆษณาและข้อมูลต่ างๆ ต่อ ผู้อ่านให้ มีความสวยงาม น่าสนใจ และเกิ ด ประโยชน์ใ ช้ สอบมากที่ สุด โดยที่ สื่ อสิ่ ง พิ มพ์ ก็ เป็ น สิ่ง พิ ม พ์ป ระเภทหนึ่ ง ฉะนั้น ผู้ อ อกแบบอาจใช้ หลั ก เกณฑ์ใ นการออกแบบ องค์ประกอบศิลป์มาใช้ได้ นั่นคือ การออกแบบต้องคานึงถึง ส่วนสัดความสมดุล ความแตกต่าง และความมีเอกภาพอยู่เสมอ ทฤษฎีการออกแบบหน้า หลักการทางศิลปะที่ใช้ในการออกแบบหน้าหนังสือพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบในแนวดั้งเดิม (Traditional Design) หรือการออกแบบในแนวสมัยใหม่ (Contemporary Design) ผู้ออกแบบมักต้องใช้หลักทฤษฎีที่สาคัญๆ ดังนี้ 1. หลักในการกวาดสายตาของผูอ้ ่าน (Gaze) ปกติคนเราจะกวาดสายตาไปทั่วหน้าหนังสือพิมพ์ก่อนแล้วจึงหยุดสายตาลงอ่านเนื้อหาที่สนใจที่สุด หรือไม่ก็ตกอยู่ใต้ อิทธิพลในการจัดวางหน้า ตามหลักวิชาการยังมีข้อถกเถียงที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ว่าพื้นที่ด้านบนขวา (The top right hand) หรือพื้นที่ ด้านบนซ้าย (The top left hand) เป็นที่ดึงดูดสายตาผู้อ่านได้มากที่สุด Vic Giles และ F.W.Hodgson ชาวอังกฤษผู้แต่งหนังสือชื่อ Creative Newspaper Design ระบุว่าจากการวิจัยผู้อ่านพบว่า พื้นที่ด้านบนขวาและหน้าหนังสื อพิมพ์ด้านขวา เป็นพื้นที่ที่ดึงดูด สายตาผู้อ่านได้มากที่สุด ซึ่งตรงกับแนวคิดของ Edmunt Arnold นักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกันชื่อดัง ผู้มีความสามารถในการ ออกแบบหน้า ที่เห็นว่าพื้นที่ขวาบนเป็นจุดสายตา POA (Principle Optical Area) แต่ก็มีข้อโต้แย้งจากนักหนังสือพิม พ์บางท่าน ว่า พื้นที่ด้านซ้ายบนน่าจะเป็นจุดสายตา และสอดคล้องกับการอ่านหนังสือของคนที่ใช้ภาษาอังกฤษ หรือแม้แต่ภาษาไทยที่มีการ อ่านจากซ้ายไปชวา ผู้มีความเชื่อแนวคิดใดก็มักจะนาหัวข่าวหรือภาพเด่นๆ วางไว้ตาแหน่งนั้น เช่น บางฉบับวางไว้ด้านบน บาง ฉบับวางไว้ด้านซ้ายบน หรือพาดหัวเต็มความกว้างของหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับ


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 10

การนาข่าวเด่นสุด (Lead News) วางไว้ดา้ นบนซ้ายหรือด้านบนขวาเพือ่ ดึงดูดสายตา


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 11

2. หลักแห่งความสมดุล (Balance) ความสมดุลของหน้าหนังสือพิมพ์หมายถึง ต้องไม่ออกแบบให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของหน้าหนักจนเกินไป ในขณะที่อีกส่วนหนึ่ง เบา เช่น ด้านบนหนักมากมีแต่หัวข่าวขนาดใหญ่ ภาพขนาดใหญ่ แต่ด้านล่างมีแต่หัวข่าวเล็กๆ ไม่มีอะไรดึงดูดความสนใจ ความ สมดุลในการออกแบบต้องกระจายน้าหนักขององค์ประกอบต่างๆ เช่น หัวข่าว ขนาดคอลัมน์ ภาพ กราฟิก ให้ถ่วงดุลกัน โดยเอากึ่ง กาลางหน้าเป็นจุดศูนย์กลางของสายตา (Optical Center) ความสมดุลในการออกแบบหน้าหนังสือพิมพ์มี 2 ลักษณะ คือ สมดุลแท้ (Symmetrical Balance) จะวางองค์ประกอบบน หน้าทางด้านซ้ายและด้านขวาให้เท่าๆ กัน ซึ่งในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมแล้ว เพราะดูเป็นทางการ ไม่น่าสนใจ ส่วนอีกลักษณะคือ สมดุลเทียม (Asymmetrical Balance หรือ Informal Balance) คือ ซ้ายกับขวามีองค์ประกอบไม่เหมือนกัน แต่ผู้ออกแบบจะหา องค์ประกอบอื่นๆ มาถ่วงดุล เมื่อดูด้วยสายตาแล้วมีน้าหนักเท่าๆ กัน ซึ่งจะสร้างความน่าสนใจมากขึ้น

หนังสือพิมพ์ The New York Times แบบ Asymmetrical Balance

หนังสือพิมพ์ The New York Times แบบ Symmetrical Balance

3. หลักความแตกต่างหรือความตรงกันข้าม (Contrast) การนาองค์ประกอบที่มีความแตกต่างกันมาใช้ในการออกแบบหน้าหนังสือพิมพ์ช่วยสร้างความน่าสนใจให้ผู้อ่านได้อย่าง มาก เช่น การใช้ตัวอักษรในหัวข่าวที่มีขนาดแตกต่างกัน รูปแบบของหัวข่าวไม่เหมือนกัน ใช้ภาพหลายๆ ขนาด การวางคอลัมน์ใน แนวดิ่ง (Vertical) หรือวางคอลัมน์ในแนวนอน (Horizontal) เป็นต้น


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 12

ความแตกต่างนี้ จาแนกออกเป็น 4 อย่างคือ 3.1 ความแตกต่ า งของรู ป ร่ า ง (Shape) ได้ แ ก่ รู ป ร่ า งของเรื่ อ งแต่ ละเรื่ อ งหรื อ ข่ า วแต่ ละข่ า ว โดยน า ตัวอักษรมาวางในรูปร่างที่แตกต่างกัน เช่น รูปสี่เหลี่ยม รูปตัวแอล (L) รูปตัวยู (U) หรือรูปตัวที (T) เป็นต้น 3.2 ความแตกต่างของขนาด (Size) ได้แก่ขนาดตัวอักษรที่ใช้แตกต่างกัน และความแตกต่างของขนาด ภาพ เช่น ภาพขนาดใหญ่ (Dominant Picture) หรือภาพบุคคล (Mug shot) เป็นต้น 3.3 ความแตกต่างของน้าหนัก (Weight) ได้แก่น้าหนักของหัวข่าวที่เป็นตัวขาวในพื้นดา (Reverse) ย่อมมี น้าหนักมากว่าหัวข่าวที่เป็นตัวอักษรธรรมดา และหัวข่าวที่อยู่ในสกรีนต่างๆ (น้าหนักมากน้อยขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์ของ สกรีนด้วย) 3.4 ความแตกต่างของทิศทาง (Direction) ได้แก่ การว่างตัวอักษร ภาพ กราฟิกต่างๆ ในทิศทางทีเ่ ป็น แนวดิ่งหรือแนวนอน

การวางตัวอักษรเป็นรูปตัว L และ Dominant Picture และภาพประกอบในแนวดิ่ง

การวางตัวอักษรเป็นรูปตัว U และ Mug shot ในแนวนอน

4. หลักแห่งความเป็นสัดส่วน (Proportion) หมายถึงสัดส่วนขององค์ประกอบต่างๆ บนหน้าให้เหมาะสม ดูแล้วสบายตาน่าอ่าน เช่นสัดส่วนของภาพที่ดูสบายตาคือ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพราะด้านกว้างยาวไม่เท่ากัน ส่วนใหญ่สัดส่วนของภาพ, ข่าว. บทความ, กล่อง, กราฟิก น่าจะอยูใ่ นอัตราส่วน 3:5 ถือเป็นสัดส่วนที่ดูแล้วสบายตาและทาให้งานออกแบบดูดี


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 13

5. หลักแห่งความเป็นเอกภาพ (Unity) ต้องมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของหน้า เช่น หน้าหนึ่ง ภาพประกอบข่าวควรวางอยู่ใกล้กัน ไม่ใช่ภาพอยู่ทางข่าวอยู่ทาง การแบ่งเนื้อหาของแต่ละหน้าต้องเป็นเรื่องที่สอดคล้องกัน เช่น หน้ากีฬาก็ไม่ควรนาข่าวบันเทิงมาแทรก เป็นต้น 6. หลักแห่งความกลมกลืน (Harmony) องค์ประกอบต่างๆ ของหน้าต้องกลมกลืนไปด้วยกัน เช่น ขนาดคอลัมน์ของหัวข่าวมีความกลมกลืนกับอักษรพิมพ์ที่เลือกใช้ ในข่าว และเนื้อข่าว ขนาดภาพประกอบก็ต้องมีความกลมกลืนกับคุณค่าของข่าว ตลอดจนเส้นล้อมกรอบ หรือกราฟิกต่างๆ

หลักการของการจัดหน้าหนังสือพิมพ์ การจัดหน้า หมายถึง การออกแบบหน้าแต่ละหน้าของหนังสือพิมพ์ โดยการกาหนดตาแหน่งของส่วนต่างๆ ในหน้า เช่น พาดหัวข่าว เนื้อข่าว ส่วนโฆษณา ซึ่งในการจัดหน้านี้จะต้องประกอบไปด้วยขั้นตอนต่างๆ ที่สาคัญ คือ 1. การจัดทาโครงร่างของหน้า (dummy) เพื่อให้รู้ว่าองค์ประกอบใดควรอยู่ในตาแหน่งใด ซึ่งโครงร่างนี้จะต้องทาให้ เรี ยบร้อ ยชั ดเจน แน่น อน และรัด กุม มากที่สุดเท่า ที่จ ะท าได้ เพราะถ้ าจั ดท าไม่ดี แ ล้ว จะเป็ นปั ญหาในการเรี ยงพิม พ์แ ละจั ด องค์ประกอบต่างๆ ลงบนหน้าอย่างมาก 2. การกาหนดตาแหน่ง (positioning) การกาหนดตาแหน่งของข่าว ภาพ และองค์ประกอบต่าง ๆ เป็นสิ่งสาคัญ โดย ปกติดเรื่องราวหรือข่าวที่สาคัญมักจะจัดไว้ ณ จุดศูนย์ กลางของความสนใจ เพราะผู้อ่านจะมองในส่วนนี้ก่อนส่วนอื่น โดยทั่วไป แล้วส่วนบนด้านซ้ายและส่วนบนด้านขวาของหน้าเป็นจุดศูนย์กลบางของ ความสนใจ ส่วนล่างของหน้าทั้งสองข้างก็เป็นจุดสนใจ เช่นกัน แต่ไม่มากเท่าส่วนบน หลักการที่สาคัญของการกาหนดตาแหน่ง ก็คือ การชักนาให้อ่านอ่านเรื่องราวอย่างเป็นระบบโดยไม่รู้ตัว โดย การกาหนดให้เรียงภาพ หรือข่าวอยู่ในตาแหน่ งที่เป็นจุดสนใจและน่าติดตาม ผู้อ่านบางคนอาจไม่สนใจตาแหน่งของข่าว แต่จะ เลือกหาอ่านเรื่องราวที่ตนสนใจเป็นหลัก แต่ถ้าเรื่องราวหรือข่าวถูกจัดให้อยู่ในตาแหน่งที่อ่านง่าย เห็นง่าย ไม่สับสน ก็จะช่วยทาให้ น่าอ่านยิ่งขึ้น


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 14

รูปแบบในการออกแบบหน้าหนังสือพิมพ์ นอกเหนือจากหลักการข้างต้นแล้ว รูปแบบ (Style) ที่ใช้ในการออกแบบหนังสือพิมพ์มีอยู่ 2 แบบ คือ การออกแบบหน้า ในแนวสมัยใหม่ (Contemporary Design) และการออกแบบในแนวดั้งเดิม (Traditional Design) แบบที่นิยมในปัจจุบันมากที่สุด คือ การออกแบบหน้าในแนวสมัยใหม่

Contemporary Design

Traditional Design


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 15

การออกแบบในแนวดั้งเดิม (Traditional Design) เป็นการออกแบบหน้าหนังสือพิมพ์สมัยก่อน มีลักษณะดังนี้

1. นิยมนาหัวหนังสือพิมพ์วางไว้บนสุดของหน้า ส่วนใหญ่วางไว้อยู่กึ่งกลางหน้า 2. นาเนื้อเรื่องหรือข่าวเด่นๆ วางไว้ด้านบนของหนังสือพิมพ์ 3. หัวข่าวของข่าวนา (Lead News) วางอยู่ด้านบนของหน้าและใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ หัวข่าวมีชนาดกว้างหลายๆ คอลัมน์ 4. บริเวณที่แสดงวันเดือนปีที่ตีพิมพ์ (Date Line) นิยมตีเส้นบนและล่าง ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 วันที่ 18 มกราคม 2556 5. การวางตัวอักษรของเรื่องวิ่งเป็นแนวดิ่งขนาดหนึ่งคอลัมน์ เมื่อจบแนวคอลัมน์ (leg) จะวิ่งขึ้นไปต่ออีก leg หนี่ง โดยที่แต่ ละ leg มีขนาดไม่เท่ากัน 6. ภาพที่ใช้ส่วนมากเป็นภาพขนาดเล็ก และมักวางไว้ด้านบนของหน้า 7. นิยมหัวข่าวที่มีหลายบรรทัด 8. มีจานวนข่าวหรือเรื่องว่างอยู่แน่นมากในหน้าหนึ่ง บางฉบับมีมากว่า 10 ข่าว 9. นิยมใช้เส้นกั้นคอลัมน์ (Column rule), เส้นคั่นระหว่างข่าวหรือเรื่อง (Cut off-rule), เครื่องหมายจบข่าว 10. บริเวณส่วนล่างของหน้าราบเรียบ ไม่มีจุดเด่น 11. หน้าหนังสือพิมพ์มีลักษณะค่อนข้างทึบและแน่นไปด้วยเรื่องและองค์ประกอบอื่นๆ


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 16

การออกแบบหน้าในแนวสมัยใหม่ (Contemporary Design)

ในปี ค.ศ. 1970 บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกันได้ปฏิวัติการออกแบบหน้าหนังสือพิมพ์ให้ดูเชิญชวนและสร้าง ความพึงพอใจให้กับผู้อ่าน โดยลดจานวนคอลัมน์จากที่เคยแบ่งหน้าออกเป็น 8 คอลัมน์ ลดลงมาเหลือ 6 คอลัมน์ ซึ่งมีผลทาให้แต่ ละคอลัมน์ มีขนาดกว้างขึ้น การออกแบบจะใช้แนวคิดใหม่ๆ ที่แตกต่างไปจากการออกแบบหน้าแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นช่วงเวลา เดียวกันกับที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีการพิมพ์ครั้งใหญ่ จากการเรียงพิมพ์และออกแบบหน้าด้วยมือมาเป็นเรียงด้วย คอมพิวเตอร์และจัดหน้าบนจอคอมพิวเตอร์ ระบบการพิ ม พ์ เ ปลี่ ย นจากระบบ Letter Press มาเป็น ระบบ Offset จึ ง ถือ เป็ นช่ ว งเวลาที่เ หมาะสมที่ สุด ในการ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการออกแบบหน้าหนังสือพิมพ์ครั้งใหญ่ การออกแบบประเภทนี้ปัจจุบันใช้กันแพร่หลาย มีลักษณะดังนี้ 1. เปลี่ยนตาแหน่งวางของหัวหนังสือพิมพ์จากกึ่งกลางด้านบนสุดของหน้ามาวางไว้ทางด้านซ้ายหรือด้านขวา และไม่ จาเป็นต้องวางชิดของด้านบนของหน้า 2. ข่าวหรือเรื่องเด่นๆ อาจกระจายไปวางไว้บริเวณอื่นๆ ของหน้า ไม่จาเป็นต้องวางอยู่ด้านบนเสมอไป (แต่ส่วนใหญ่มักวาง ด้านบน) 3. หัวข่าวของข่าวนา (Lead news) วางอยู่ที่ใดของหน้าก็ได้ ไม่จาเป็นต้องไว้ด้านบนสุด 4. บริเวณที่แสดงวันเดือนปี ที่ตีพิมพ์ (Date line) นิยมใช้เส้นเดียววางพาดจากซ้ายไปขวา


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 17

5. การวางตัวอักษรของข่าวหรือเรื่องแต่ละเรื่องมีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แนวคอลัมน์ (leg) แต่ละแนว มีความสูง เท่าๆ กัน และสามารถนาภาพแทรกระหว่าง leg ได้ ส่วนที่เป็น text จะสั้นลง 6. การพาดหัวข่าวไม่นิยมพาดหัวหลายบรรทัด โดยปกติประมาณ 1-2 บรรทัด 7. จานวนเรื่องหรือข่าว มีน้อยลงประมาณ 5-6 ข่าว โดยจะเพิ่มความยาวของเรื่องให้มีมากขึ้น มิใช่มีเฉพาะความนา (lead) สั้นๆ แต่มักมีเนื้อข่าวประกอบอยู่ด้วยก่อนที่จะไปอ่านหน้าอื่น 8. ภาพเป็นข่าวที่ใช้เป็นองค์ประกอบในการออกแบบหน้า ส่วนใหญ่เป็นภาพขนาดใหญ่ กว้างหลายๆ คอลัมน์ เพื่อสะดุด สายตาผู้อ่าน 9. ไม่นิยมใช้เส้นกั้นคอลัมน์ (Column rule) แต่จะเว้นพื้นที่ขาว (White space) ระหว่างคอลัมน์แทน ส่วนเส้นคั่นระหว่าง เรื่อง (Cutoff-rule) มีการนามาใช้บ้างเป็นบางโอกาส 10. ส่วนล่างของหน้ามีความน่าสนใจไม่น้อยไปกว่าส่วนบน 11. หน้าหนังสือพิมพ์มีลักษณะสะอาดตา ไม่ทึบ อ่านง่าย เป็น การออกแบบที่สอนงต่อหน้าที่ในการสื่อสารกับผู้อ่านได้เป็น อย่างดี สาหรับการออกแบบหน้าในแบบ Contemporary นั้น นักวิชาการด้านวารสารศาสตร์ของอเมริก า 3 ท่านได้แก่ Floydk. Baskette, Jack Z. Sissors และ Brian S.Brooks ผู้แต่งหนังสือเรื่อง The Art of Editing กล่าวว่าการออกแบบหน้า Contemporary รวมแนวคิด 3 อย่างเข้าไว้ด้วยกัน ได้แก่ แนวคิดแบบโมดูลาร์ (The Modular Concept), แนวคิดแบบกริด (The Grid Concept) และแนวคิดแบบโทเทิล (The Total Concept) ทั้งสามแนวนี้จะผสมผสานกลมกลืนเป็น Contemporary แต่ละ แนวคิดมีลักษณะดังนี้ แนวคิดแบบโมดูลาร์ (The Modular Concept) การออกแบบจะนา Module ซึ่งคือเรื่องแต่ละเรื่องหรือหลายเรื่องมาจัดกลุ่มเข้าร่วมกันให้อยู่ในรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า อาจ วางอยู่แนวดิ่งหรือแนวนอนก็ได้ โดยแต่ละ Module จะมีขนาดกี่คอลัมน์ก็ได้ แต่ต้องวางให้ทุกแนวคอลัมน์ (leg) แตะพื้นล่างสุด ของสี่เหลี่ยมในระนาบเดียวกัน ทั้งนี้อาจล้อมกรอบด้วยกล่อง (Box) ในแต่ละ Module ก็ได้ ซึ่งแนวคิดนี้มีลักษณะเด่นคือ ทาให้ เรื่องแต่ละเรื่องแยกออกจากันได้อย่างชัดเจน ทาให้อ่านง่าย ไม่สับสน

XOXOXOXOXO XOXOXOXOXO

XOXOXOXOXOXOXOXOXOXO


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 18

แนวคิดแบบกริด (The Grid Concept) แนวคิดนี้พัฒนามาจากแนวคิดแบบ Modular อีกขั้นหนึ่ง โดย Grid เป็นการแบ่งหน้าด้วยเส้นตรงออกเป็นส่วนๆ หรือเป็น ชั้น แต่ละส่วนประกอบไปด้วย Module ที่มีความหลากหลายหรือแตกต่างกัน บ้างวางแนวนอน บ้างวางแนวดิ่ง การจัดแบ่งหน้าใน ระบบกริดนีเ้ ป็นการจัดแบ่งหน้าออกเป็นส่วนๆ ให้มีขนาดและรูปร่างที่ต่างกันออกไป การจัดแบ่งทาได้โดยการลากเส้นตัดกันเป็น รูปสี่เหลี่ยมเป็นช่องๆ ซึ่งในการจัดหน้าหนังสือนั้นเส้นกริดจะหมายถึง ช่องว่างที่อยู่ระหว่างคอลัมน์นั่นเอง การลากเส้นกริดเพื่อแบ่ง หน้าหนังสือออกเป็นส่วนๆ นั้นจะต้องคิดวางแผนล่วงหน้า เพื่อให้การจัดวางคอลั มน์ต่างๆ เป็นไปอย่างชัดเจน (อาศัยหลักการ คล้ายกับการจัดหน้าหนังสือ/นิตยสาร) โดยปกติเนื้อข่าวต่างๆ ก็จะถูกจัดให้เป็น รูปเหลี่ยมประกอบด้วยคอลัมน์ย่อยๆ อาจเป็นการจัดให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมใน แนวตั้งหรือแนวนอนก็ได้ แต่การแบ่งพื้นที่ต่างๆ มักจะไม่เท่ากัน เช่น จะไม่มีการแบ่งให้มี 4 คอลัมน์ ทางซ้าย และ 4 คอลัมน์ ทางขวาเลย แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะจัดให้มีการแบ่งจานวนคอลัมน์ของแต่ละข่าวกันดังนี้ คือ 2 และ 4 คอลัมน์หรือ 1 และ 5 คอลัมน์ เป็นต้น

แนวคิดแบบโทเทิล (The Total Concept) แนวคิดนี้มุ่งให้ภาพรวมของหน้าหนังสือพิมพ์ทั้งหน้ามีความน่าสนใจทั้งหมด ไม่เน้นความสาคัญที่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง ของหน้า แต่จะพยายามให้การออกแบบที่ใช้แนวคิ ดแบบ Modular และ Grid กระจายองค์ประกอบต่างๆ ไปทั่วหน้าให้ภาพรวม ออกมาดูดี สามารถดึงดูดความสนใจได้ และในทานองเดียวกันก็จะไม่แบ่งให้ส่วนบนกับส่วนล่างเท่ากันด้วยการจัดหน้าแบบการ ออกแบบรวม (total design) การจัดหน้าแบบนี้แตกต่างไปจากการจัดแบบระบบกริด โดยมุ่งให้การจัดหน้ามีลักษณะที่น่าทึ่ง น่าสนใจยิ่งขึ้น ด้วยการคิดวางแผนการจัดหน้าและข่าวไว้ล่วงหน้าโดยการจัดวางรูปแบบพื้นฐาน ทั่วไปของหน้าก่อนแล้วจึง พิจารณาบรรจุข่าวลงในรูปแบบที่กาหนด ซึ่งรูปแบบของหน้าที่จัดนั้นก็จัดไว้เป็นพื้นที่กว้าง ๆ ที่มีสัดส่วนพอเหมาะที่จะเรียกร้ อง


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 19

ความสนใจได้ เช่น การจัดให้มีพื้นที่รูปเหลี่ยมขนาดต่าง ๆ อยู่ด้วยกันทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ที่มีการเฉลี่ยน้าหนักของคอลัมน์ที่ พอเหมาะเมื่อมองภาพรวมทั้งหน้า แต่อย่างไรก็ตามการจัดการแบบนี้ก็ยังเน้นความเรียบง่าย แต่น่าสนใจการจัดที่มีที่ว่างระหว่าง คอลัมน์บ้างจะช่วยให้ดูโปร่งตาและสวยงามมากขึ้น ซึ่งโดยปกติช่องว่างระหว่างคอลัมน์ไม่ควรน้อยกว่า 14 พอยท์ ซึ่งบางครั้งอาจ ให้กว้างได้ถึง 2 ไพก้า

แนวคิดในการออกแบบหน้าหนึ่งและหน้าใน หน้าหนึ่ง 1. ต้องโดดเด่น ดึงดูดความสนใจ ชวนเชิญมากกว่าหน้าอื่นๆ 2. สะท้อนบุคลิกเฉพาะของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นๆ 3. หน้าหนึ่งต้องมีการจัดลาดับความสาคัญของเนื้อหาข่าวให้ชัดเจน 4. หน้าหนึ่งต้องสามารถสื่อสารกับผู้อ่านได้ย่างมีประสิทธิภาพ ทาให้อ่านง่ายและไม่สับสน 5. หน้าหนึ่งไม่ควรมีรูปแบบที่ตายตัว แต่ควรมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์ ข้อควรระวัง 1. ความสาคัญของข่าวและเนื้อหากับตาแหน่งที่วางบนหน้า 2. ไม่นาหัวข่าวที่มขี นาด สี และตัวอักษรชนิดเดียวกันมากวางอยู่ในแนวเดียวกัน 3. หัวข่าวกับเนื้อข่าวควรวางติดกัน 4. ภาพประกอบข่าวใดควรนามาวางใกล้กันเพื่อป้องกันความสับสน 5. การใส่กล่อง (box) ต้องใช้อย่างพอเหมาะ 6. เพิ่มพื้นที่ขาว (white space) ระหว่างเรื่อง ภาพ และองค์ประกอบอื่นๆ เพื่อไม่ให้หนาทึบเกินไป 7. ข่าวและเนื้อหาทุกเรื่องบนหน้าหนึ่ง ควรอยูใ่ นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อความสะดวกในการจัดหน้า และทาให้ หน้าหนึ่งเป็นระเบียบสวยงาม 8. ข่าวและคอลัมน์ที่จัดองค์ประกอบเป็น Module หรือทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ควรวางทั้งแนวดิง่ และแนวนอนเพื่อให้ เกิดความแตกต่าง 9. ทุก Module ควรมีสัดส่วนทีด่ ี เพือ่ องค์ประกอบที่กลมกลืนและเป็นเอกภาพ 10. ไม่ควรใช้พื้นที่โฆษณาบนหน้าหนึ่งมากเกินไปและระวังในการวางภาพข่าวใกล้กับโฆษณา หน้าใน 1. ออกแบบในแนวสมัยใหม่ (Contemporary) 2. แบ่งขนาดคอลัมน์บนหน้า โดยใช้หลักการแบ่งหน้าในแบบ Grid โดยใช้เส้น Grid แบ่งหน้าออกเป็นส่วนๆใน รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือที่เรียกว่า Modular 3. วางแบบทั้งแนวดิ่ง และแนวนอน เพื่อความหลากหลาย และใช้สมดุลช่วยในการออกแบบ 4. ตาแหน่งของ Masthead และเลขหน้าควรกาหนดตาแหน่งที่ตายตัว 5. ใช้อักษรนาสายตา และใช้กล่อง (box) ช่วยได้บ้าง


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 20


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 21


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 22

การแบ่งประเภทหน้าหนังสือพิมพ์ งานของฝ่ายศิลป์ที่ต้องออกแบบและจัดหน้าหนังสือพิมพ์ทั้งฉบับ จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจานวนหน้าทั้งหมดในแต่ละ ฉบับว่ามีมากน้อยเท่าไร บางฉบับมี 12 หน้า บางฉบับมี 24 หน้า หรือมากกว่านี้ ในการปฏิบัติงาน บรรณาธิการฝ่ายศิลป์และ ทีมงานต้องทราบจากกองบรรณาธิการก่อนว่าแต่ละหน้าจะมีการแบ่งประเภทหน้าอย่างไร ซึ่งขึ้นอยู่กับเนื้อหาและจานวนหน้าที่ ควรมี หนังสือพิมพ์ระดับชาติที่มีเนื้อหาทั่วๆ ไป ส่วนใหญ่มีจานวนหน้าน้อยกว่าหนังสือพิมพ์ระดับชาติที่เสนอเน้นข่าวเศรษฐกิจ เพราะเนื้อหาด้านเศรษฐกิจสามารถแยกออกไปได้หลายแขนง สาหรับฉบับที่มียอดจาหน่ายสูง โฆษณาจะเข้ามามาก จานวนหน้า จะมากขึ้นทั้งที่กาหนดหน้าไว้อยู่เดิมจาแนกตามเนื้อหา หรืออาจเพิ่มหน้าโฆษณาขึ้นเป็นพิเศษ เป็นโฆษณาแบบเต็มหน้า หรือแยก ออกเป็ น โฆษณาย่อ ย (Classified Ad) ส่ว นหนึ่ง สาหรั บการแบ่ ง หน้า โดยทั่ ว ๆ ไปมี 2 แบบ ได้ แ ก่ แบ่ง เป็ นหน้ า ประจ า (Departmentalizing) และแบ่งเป็นส่วนๆ (sectionalizing) 1. แบ่งเป็นหน้าประจา (Departmentalizing) หนังสื อพิมพ์ ที่มีจ านวนหน้าไม่ มาก ระหว่า ง 12-20 หน้า ได้แ ก่หนัง สือพิม พ์ที่น าเสนอเนื้อ หาทั่ วไป ไม่ใ ช่ หนังสือพิมพ์เฉพาะด้าน การแบ่งประเภทหน้าส่วนใหญ่จะคล้ายกัน โดยแบ่งเป็นหน้าประจาแยกตามประเภทของ เนื้อหา เช่น หน้าหนึ่ง เสนอข่าวทั่วๆ ไป หน้าในจะแยกเป็นหน้าต่างประเทศ หน้าบทบรรณาธิการหรือบทนา หน้าข่าว สังคม หน้าการศึกษา หน้าภูมิภาค หน้าการเมือง หน้าเศรษฐกิจ หน้าบันเทิง หน้ากีฬา หน้าสาหรับต่อข่าว หน้าโฆษณา ด้วยจานวนหน้าที่ไม่มาก ฝ่ายผลิตจะนาหน้าของหนังสือพิมพ์ทั้งหมดพับเข้าเล่มออกมาเป็นเล่มเดียวหรือส่วนเดียว 2. แบ่งเป็นส่วนๆ (sectionalizing) หนังสือพิมพ์จานวนหน้ามากๆ ตัง้ แต่ 24 หน้าขึ้นไป จะแบ่งประเภทเนื้อหาเป็นส่วนๆ เรียกทับศัพท์ว่า “เซ็คชั่น” (Section) แต่ละเซ็คชั่นแยกตามประเภทเนื้อหา ซึง่ เนื้อหานั้นมีรายละเอียดมาก ไม่สามารถนาเสนอเพียงหน้าเดียวหรือสองหน้า ได้ เช่น หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หรือหนังสือพิมพ์ทั่วไปในปัจจุบัน พื้นที่ส่วนที่เหลือจากโฆษณา อาจมีบทความ กราฟิกประกอบ บางฉบับอาจกาหนดไว้ตายตัว บางฉบับอาจปรับเปลี่ยน โยกย้ายองค์ประกอบต่างๆ ให้ไปอยู่ในตาแหน่งใดตาแหน่งหนึ่งของหน้า เพื่อมิให้ผู้อ่านจาเจ ส่วนเลขหน้าและประเภทของหน้า มักจะกาหนดไว้ค่อนข้างตายตัว เช่น หน้า 4 ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเป็นหน้าข่าวสังคม หน้า 2 ของหนังสือพิมพ์มติชนเป็นหน้า บทบรรณาธิการ เป็นต้น ประโยชน์ของการแบ่งหน้า 1. ให้ความสะดวกแก่ผู้อ่าน 2. สร้างความเป็นเอกภาพ 3. ช่วยในการออกแบบและจัดหน้า 4. ช่วยในการผลิต


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 23

ตัวอย่างการแบ่งประเภทหน้าของหนังสือพิมพ์ 1. หนังสือพิมพ์มติชน เป็นแนวทัว่ ไป มีจานวนหน้า 24 หน้า ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1  หน้า 1 ข่าว  หน้า 2 บทบรรณาธิการ คอลัมน์  หน้า 3 คอลัมน์  หน้า 4 สังคม  หน้า 5 จดหมายถึงบรรณาธิการ, โฆษณา  หน้า 6 คอลัมน์, การ์ตูน ส่วนที่ 2  หน้า 7 สิ่งแวดล้อม, สาธารณสุข  หน้า 8 มติชน เศรษฐกิจ  หน้า 9 เศรษฐกิจ  หน้า 10 การศึกษา  หน้า 11 ภูมิภาค  หน้า 12 ภูมิภาค (ในวันพฤหัสบดี, ศุกร์ เป็นหน้ามติชนสุขสรรค์)  หน้า 13 สตรี

     

หน้า 9 ต่อข่าว, ข่าวย่อย หน้า 10 ต่อข่าว, ข่าวย่อย หน้า 21 กระบวนการยุติธรรม หน้า 22 กีฬา หน้า 23 กีฬา หน้า 24 ต่อข่าว, ข่าวย่อย

    

หน้า 14 บันเทิง หน้า 15 ชุมชนเมือง หน้า 16 เส้นทางชาวบ้าน หน้า 17 โฆษณาย่อย หน้า 18 ต่างประเทศ, ต่อข่าว


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 24

2. หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นส่วนหลัก มีการแบ่งประเภทเป็นหน้าประจา เสนอเนื้อหา ทั่วไป มีขนาดเท่ ากับหนังสือพิมพ์มาตรฐาน (Broadsheet) จานวน 18 หน้า อีกส่วนใช้ขนาดแทบลอยด์ (Tabloid) จานวน 24 หน้า โดยส่วนที่ 2 นี้ นาเสนอข่าวอาชญากรรม ข่าวสังคม บันเทิง ข่าวภูมิภาค ฯลฯ ใช้ชื่อประจาเซ็คชั่นว่า เอ็กซ์-ไซท์ ไทยโพสท์ แต่ละส่วนมีเนื้อหาดังนี้

ส่วนที่ 1  หน้า 1 ข่าวทั่วไป  หน้า 2 บทบรรณาธิการ ในประเทศ  หน้า 3 การเมือง  หน้า 4 สังคม บุคคล  หน้า 5 บทความ การ์ตูน  หน้า 6 ต่างประเทศ  หน้า 7 ไทยโพสต์เศรษฐกิจ  หน้า 8 การเงิน

       

หน้า 9 คมนาคม สื่อสาร หน้า 10 เศรษฐกิจทัว่ ไป หน้า 11 รายงานตลาดหลักทรัพย์ หน้า 12 ผู้บริโภค หน้า 13 การศึกษา วิทยาการ หน้า 14 กีฬา หน้า 15 กีฬา หน้า 16 ต่อข่าว


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 25

ส่วนที่ 2  หน้า 1 ข่าว  หน้า 2 ต่อข่าว  หน้า 3 ข่าว คอลัมน์  หน้า 4 ข่าว  หน้า 5 ภูมิภาค  หน้า 6 สุขภาพใจ  หน้า 7 สตรี

      

หน้า 8 โฆษณา ปกิณกะบริการ หน้า 9 ต่างประเทศ หน้า 10, 11, 12 บันเทิงเทศ บันเทิงไทย หน้า 13 บันเทิงเทศ หน้า 14-20 โฆษณา หน้า 21-23 แรงงาน หน้า 24 ข่าว (จัดแบบหนึง่ คู่)

การจ าแนกหนั ง สื อ พิ ม พ์ ส ามารถท าได้ ห ลายแบบ โดยอาจแยกตามประเภทเนื้ อ หา ความหนั ก เบาของเนื้ อ หา การนาหนังสือ พิมพ์ออกเผยแพร่ หรือตามขนาดรูปเล่ม ดังที่เคยกล่าวไปก่อนหน้านี้ แต่ไม่ว่าจะแบ่งในแบบใดก็ตาม ในการ ออกแบบหนังสือพิมพ์หนึ่งฉบับจะมีส่วนประกอบที่อยู่ภายในเล่มในลักษณะเดียวกัน ดังนี้ ส่วนประกอบของหนังสือพิมพ์สาหรับการออกแบบ ประกอบไปด้วย หน้าแรก (หรือ หน้าหนึ่ง) หน้าใน และหน้าโฆษณา ดังรายละเอียด ต่อไปนี้

1. การออกแบบ

หรือ หน้าหนึ่ง

(name plate, flag title plate) ” (dateline) เป็นสิ่งที่หนังสือพิมพ์ทุกฉบับต้องมีเพื่อให้ผู้อ่านทราบลักษณะเฉพาะของแต่ละฉบับ ซึ่งมีกาหนด


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 26

ไว้ในตามพระราชบัญญัติการพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย ปกติหัวหนังสือพิมพ์จะว่างอยู่หน้าหนึ่ง อาจเป็นด้านบนของหน้า (ซ้าย- กลางขวา) เป็นเอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ โดยมีสีสัน รูปแบบอักษร โลโก้ ที่สวยงาม นอกจากชื่อหัวหนังสือพิมพ์จะวางไว้ที่ หน้าแรกของหนังสือพิมพ์แล้ว ยังนามาใช้สาหรับคอลัมน์บทบรรณาธิการ มีลักษณะย่อส่วนให้เล็กลงมาพอดีกับคอลัมน์ มีคาศัพท์ เรียกเฉพาะว่า Masthead นอกจากนี้ชื่อหัวหนังสือพิมพ์ขนาดจิ๋วยังถูกนาไปวางไว้ด้านบนสุดของหน้าในทุกหน้าอีกด้วย

1.2 (headline) ” ได้แก่ตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรที่ใช้ในความนา (Lead) และเนื้อ เรื่อง (Text) เปรียบเป็นตัวดึงดูดความสนใจอย่างมากเพราะเป็นการสรุปสาระสาคัญของข่าวเพื่อบอกให้ทราบว่า ข่าวนั้นเป็นข่าว เกี่ยวกับอะไร นอกจากนี้ยัง เป็นการลาดับความสาคัญของข่าวอีกด้วยตามขนาดใหญ่เล็กในหน้านั้นๆ โดยเลือกใช้เพียง 1-2 รูปแบบต่อ 1 ฉบับเท่านั้นเพื่อ ความเป็นเอกภาพ (bank) 1 (line) (deck) (sub headline) (body mat

text)


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 27

(cutline, caption, legend, underline)

1.6) กล่องแนะนาเรื่อง (Teasers, Promos หรือ Skyboxes) องค์ประกอบส่วนนี้จะวางไว้ด้านบนสุดของหน้า อยู่ เหนือหัวหนังสือพิมพ์ หรือตาแหน่งเด่นๆ ของหน้า เป็นแนวตั้งหรือแนวนอน ตามการออกแบบ มีขนาดค่อนหรือเต็มความกว้างของ หน้า เป็นการประชาสัมพันธ์เรื่องที่น่าสนใจในฉบับ ประมาณ 3-4 เรื่อง โดยจะทาเป็นกล่องเล็ก แต่ละกล่องมีชื่อเรื่อง ภาพ และมี ข้อความบอกเนื้อหาว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร และบอกเลขหน้าของเรื่องนั้นๆเพื่อความสะดวกในการเปิดอ่านด้วย


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 28

กล่องแนะนาเรื่อง


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 29

(deck)

(name plate)

พาดหัวข่าว(headline)

(sub headline) (text)

(bank)


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 30

2.การออกแบบ

(jump

head) (standing head)

(masthead)


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 31

ทั้งภาพถ่ายที่เป็นเด่น (Dominant picture) หรือภาพบุคคล (Mug shot) เช่น ข้อมูลกราฟิก (Infographic) คาคม-คาพูด (Liftout Quote) ช่องว่างระหว่าง แนวคอลัมน์ (Gutter) พื้นที่ขาว (White Space) เส้นคั่นเรื่อง (Cutoff Line) เป็นต้น

3.การออกแบบหน้าโฆ

(full page) 7.5

(

)

(half page) 7.5 )

15

1.25

15

(


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 32

(full page)

(half page)

ตั

(quarter page) (

x

)

(junior page)

(quarter page)


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 33

(junior page)

โฆ

s

adv s g

6 (

)

แถ โฆ ณ (strip advertising)


การผลิตและออกแบบหนังสือพิมพ์ | 34

4

(newspaper magazine

s

as

supplement magazine)

__________________________________________________________ บรรณานุกรม  จันทนา ทองประยูร. 2537. การออกแบบและจัดหน้าสิ่งพิมพ์. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.  ปาพจน์ หนุนภักดี. 2553. หลักการและกระบวนการออกแบบงานกราฟิกดีไซน์ . กรุงเทพมหานคร:บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จากัด.  ปราโมทย์ แสงผลสิทธิ.์ 2540. การออกแบบนิเทศศิลป์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ วี.เจ. พริ้นติ้ง.  สดศรี เผ่าอินจันทร์. 2543. การออกแบบหน้าหนังสือพิมพ์. นครราชสีมา : โคราชพริ้นติ้ง.  สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย. 2556. จรรยาบรรณหนังสือพิมพ์. (ระบบออนไลน์) แหล่งที่มา http://www.thaipressasso.org (29 มกราคม 2556).  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2552. การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หน่วยที่ 1-7.  อารยะ ศรีกัลยาณบุตร. 2550. การออกแบบสิ่งพิมพ์. กรุงเทพมหานคร : วิสคอมเซ็นเตอร์.  Harrower, Tim The Newspaper Designer’s Handbook Boston ; London : MaGraw-Hill. ภาพประกอบบางส่วนจาก  http://bangkokprint.com  http://www.google.com  http://en.wikipedia.org/wiki/Harold_Evans  http://en.wikipedia.org/wiki/The_Week  http://en.wikipedia.org/wiki/The_Sunday_Times  http://th.wikipedia.org/wikiไทยรัฐ  http://www.nytimes.com/pages/todayspaper/index.html  http://www.smashingmagazine.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.