Ca322 week03 concept of visual communication

Page 1

นศ 322

การออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ [CA 322 Printed Media Design and Production] รวมรวม/เรียบเรียง โดย อาจารย์ณัฏฐพงษ์ สายพิณ (ปีการศึกษาที่ 2/2558)

ส า ข า วิ ช า นิ เ ท ศ ศ า ส ต ร์ บู ร ณ า ก า ร ค ณ ะ ศิ ล ป ศ า ส ต ร์ ม ห า วิ ท ย า ลั ย แ ม่ โ จ้

แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ สําหรับงานวารสารศาสตร์ • ภาพถ่ายในฐานะการสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ • ความหมาย คุณลักษณะ และความสําคัญของประเภทภาพ เชิงวารสารศาสตร์ • หลักจริยธรรมและจรรยาบรรณสําหรับภาพเชิงวารสารศาสตร์ • หลักการ EDFAT ของภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์ • แบบจําลองการสื่อสารของ Jakobson • การวิเคราะห์ภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพสำหรับงานวารสารศาสตร์ | 1 การสื่อสารด้วยภาพเป็นกระบวนการที่มีการขับเคลื่อนอย่างไม่หยุดนิ่ง นับตั้งแต่ภาพเขียนบนผนังถ้ําของมนุษย์ ในยุคดึกดําบรรพ์ จนกระทั่งในยุคปัจจุบันที่มีการสร้างสรรค์รูปแบบและกระบวนการสื่อสารด้วยภาพ พร้อมๆ กับการพัฒนา เทคโนโลยีทางการมองเห็นมาอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ในทุกยุคสมัยต่างก็มีความจําเป็นที่จะต้องทําการสื่อสาร เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการอยู่ร่วมกันในสังคมโดยการสื่อสารด้วยภาพ ถือเป็นวิธีการสื่อสารที่สําคัญทางหนึ่งที่มี ความเป็นรูปธรรม และเป็นสื่อกลางที่นํามาใช้เป็นตัวแทนในการสื่อความหมายถึงเรื่องราวและเหตุการณ์ต่างๆ อีกทั้งการมองเห็น ก็เป็นธรรมชาติในการรับรู้อย่างแรกของมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพสูง และในวงการสื่อนั้น การสื่อสารด้วยภาพก็เป็นสิ่งที่เป็น ปัจจัยสําคัญ ต่อการสื่อสารความหมายและเรื่องราวผ่านทั้งสิ่งพิมพ์ และสื่อในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะงานวารสารศาสตร์ ที่เป็นงานที่ต้องสื่อสารกับผู้รับสารที่เป็นมวลชน

ภาพถ่ายในฐานะการสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ สังคมทุกสังคมจะต้องมีการกําหนดระบบสัญลักษณ์ทางการสื่อสารที่ใช้เป็นตัวแทนความหมายของสิ่งหนึ่งๆ ซึ่งทุกสังคม ต้องการระบบแบบแผนของสัญลักษณ์ที่เป็นที่เข้าใจร่วมกัน หากสังคมใดไม่มีสิ่งที่ใช้แทนสัญลักษณ์ถึงบางสิ่งบางอย่าง แสดงว่าสมาชิกในสังคมไม่รู้จักสิ่งนั้น ทั้งนี้การเรียนรู้ระบบสัญลักษณ์เป็นผลมาจากความสามารถของมนุษย์ในการเก็บ ความทรงจํา และการระลึกถึงความทรงจําที่สามารถนํามาเชื่อมโรงได้กับปัจจุบัน ปัจจัยดังกล่าวหากเป็นเงื่อนไขเบื้องต้น ในการเรียนรู้สัญลักษณ์ทางภาษาและสัญลักษณ์อื่นใดรวมทั้งการสื่อสารด้วยภาพ ซึ่งเป็นระบบการสื่อสารที่เรียนรู้ได้ โดยมีลักษณะสําคัญ 3 ประการ คือ 1. เข้าใจได้จากการเรียนรู้ของบุคคล 2. มีความหลากหลายในแต่ละสังคม 3. สามารถเปลี่ยนแปลงได้ภายในบุคคลหรือสังคมเดียวกัน ขึ้นอยู่กับบริบทแวดล้อมทางการสื่อสาร Semiology เป็นคําที่ตั้งขึ้นโดยนักภาษาศาสตร์ Ferdinand de Saussure (ค.ศ. 1857-1913) ในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสัญศาสตร์และสัญวิทยานั้นมีเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่สอดคล้อง และคล้ายคลึงกัน นั่นคือการศึกษาวิธีการสื่อความหมาย ขั้นตอนและหลักการในการสื่อความหมายตลอดจนเรื่องการทําความเข้าใจในความหมาย ของสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมหนึ่งๆ

รูปสัญญะและความหมายสัญญะ

การศึกษาเกี่ยวกับสัญศาสตร์ จะเป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปสัญญะและความหมายสัญญะ เพื่อดูว่า ความหมายถูกสร้างและถูกถ่ายทอดอย่างไร ซึ่ง Saussure อธิบายว่าในทุกๆ สัญญะต้องมีส่วนประกอบทั้ง 2 อย่างได้แก่ 1. รูปสัญญะ (Signifier) คือสิ่งที่เราสามารถรับรู้ผ่านประสาทสัมผัส เช่นการมองเห็นตัวอักษร รูปภาพ หรือการได้ยินคําพูดที่เปล่งออกมาเป็นเสียง (acoustic-image) 2. ความหมายสัญญะ (Signified) หมายถึงความหมาย คํานิยามหรือความคิดรวบยอด (concept) ที่เกิดขึ้นในใจหรือในความคิดของผู้รับสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสัญญะแต่ละตัวนั้นเกิดขึ้นโดยตรรกะว่าด้วยความแตกต่าง (the logic of difference) หมายถึง ความหมายของสัญญะแต่ละตัวมาจากการเปรียบเทียบว่าตัวมันแตกต่างจากสัญญะตัวอื่นๆ ในระบบเดียวกัน ซึ่งหากไม่มี ความแตกต่างแล้ว ความหมายก็เกิดขึ้นไม่ได้ ทั้งนี้ความต่างที่ทําให้ค่าความหมายเด่นชัดที่สุดคือความต่างแบบคู่ตรงข้าม (binary opposition) เช่น ขาว-ดํา ดี-เลว ร้อน-เย็น หรืออธิบายอีกอย่างคือ ความหมายของสัญญะหนึ่งเกิดจากความไม่มี หรือไม่เป็นของสัญญะอื่น (สรณี วงศ์เบี้ยสัจจ์, 2544)


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพสำหรับงานวารสารศาสตร์ | 2

ประเภทของสัญญะ

การสื่อสารด้วยภาพเป็นระบบการสื่อสารด้วยระบบสัญญะ ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างสัญญะแต่ละตัวนั้นเกิดขึ้น โดยการพิจารณาที่ตรรกะของความแตกต่างนั้นก็ได้มีการเสนอการจัดประเภทของสัญญะ โดย C.S Peirce ได้แบ่งตาม ความสัมพันธ์ระหว่างรูปสัญญะและความหมายสัญญะ โดยจําแนกสัญญะเอาไว้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. สัญรูป (icon) คือการสื่อสารตามสิ่งที่เห็นในภาพในระดับที่เป็นความหมายแบตรงไปตรงมา เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง รูปสัญญะกับความหมายสัญญะเป็นเรื่องของความเหมือนหรือคล้ายคลึงกับสิ่งที่มันบ่งถึง เช่น ภาพถ่าย ภาพเหมือน ที่เชื่อมโยงเข้ากับตัวบุคคล เป็นต้น 2. ดรรชนี (index) คือการสื่อสารที่ต้องอาศัยการเชื่อมโยงสิ่งที่เป็นเหตุและเป็นผลต่อกัน หรือการคิดของผู้รับสาร เป็นความ สัมพันธ์ระหว่างรูปสัญญะกับความหมายสัญญะเป็นผลลัพธ์ หรือเป็นการบ่งชี้ถึงบางสิ่งบางอย่าง เช่น เห็นภาพควันไฟ ย่อมรู้ได้ว่ามีไฟไหม้เกิดขึ้น รูปกราฟที่แสดงผลลัพธ์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง รอยเท้าของสัตว์ที่ประทับลงบนพื้นดิน หรือดรรชนีที่อยู่ท้ายเล่มของหนังสือที่บอกให้เราทราบถึงข้อความที่เราต้องการจะค้นหา คุณสมบัติอีกประการที่น่าสังเกตของสัญญะประเภทดรรชนีก็คือ เมื่อเราเห็นรูปสัญญะประเภทดรรชนี ความหมายสัญญะที่เรานึกถึงไม่ใช่สิ่งที่เรามองเห็นในขณะนั้น เช่นตัวอย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว นั่นคือรอยเท้าสัตว์ ที่เมื่อเราพบ เราไม่ได้นึกถึงรอยเท้าในขณะนั้น แต่เรานึกไปถึงตัวสัตว์ที่เป็นเจ้าของรอยเท้านั้น 3. สัญลักษณ์ (symbol) คือการสื่อสารที่เกิดจากการเรียนรู้ร่วมกันของคนในสังคมที่ตกลงความหมายร่วมกัน เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง รูปสัญญะกับความหมายสัญญะที่แสดงถึงบางสิ่งบางอย่าง แต่มันไม่ได้มคี วามคล้ายคลึงกับสิ่งที่มันบ่งชี้เลย ซึ่งการใช้งานเป็นไปในลักษณะของการถูกกําหนดขึ้นเองซึ่งได้รับการยอมรับจนเป็นแบบแผน (Convention) และต้องมีการเรียนรู้เครื่องหมายเพื่อทําความเข้าใจ หรือเป็นการแสดงถึงการเป็นตัวแทน (representation) ซึ่งสังคมยอมรับความสัมพันธ์นี้ ตัวอย่างเช่น ภาพไม้กางเขนเป็นสัญลักษณ์แทนศาสนาคริสต์ หรือการสวมแหวน นิ้วนางข้างซ้ายแสดงถึงการแต่งงาน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดี การจําแนกประเภทของสัญญะทั้งสามแบบก็ไม่สามารถทําได้อย่างชัดเจน เช่นในกรณีรูปสัญญะ ของคําว่า “Xerox” ในภาษาอังกฤษซึ่งความหมายสัญญะของมันก็คือยี่ห้อของเครื่องถ่ายเอกสาร แต่รูปสัญญะดังกล่าว ได้กลายเป็นความหมายสัญญะของ “การถ่ายเอกสาร” ในสังคมไทยเป็นต้น (ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, 2545)

แสดงภาพตัวอย่างของสัญญะประเภทต่างๆ


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพสำหรับงานวารสารศาสตร์ | 3

ความหมายตรงและความหมายแฝง

ในการทํางานของขั้นตอนการแสดงความหมายของสัญญะนั้นจะมีความสัมพันธ์ระหว่าง รูปสัญญะและความหมาย สัญญะตลอดเวลา ซึ่ง Barthes ได้ให้แนวคิดในการวิเคราะห์ความหมาย 2 ชนิดในส่วนการรับรู้ความหมายของผู้รับสาร คือ 1. ความหมายตรง (Denotation) เป็นระดับของความหมายที่เกี่ยวข้องกับความจริงระดับธรรมชาติ เป็นความหมายที่ผู้ใช้สามารถเข้าใจ ได้ตรงตามตัวอักษรจัดอยู่ในลักษณะของการอธิบายหรือพรรณนา (Descriptive level) และเป็นความหมายที่เป็นที่ รับรู้และเข้าใจได้สําหรับผู้รับสารส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างเช่นเมื่อเรากล่าวถึงช้าง ก็จะนึกถึงลักษณะของสัตว์ที่มีรูปร่างใหญ่ มีงาและงวง เป็นต้น การอธิบายความหมายของคําศัพท์ในพจนานุกรมก็เป็นความหมายโดยตรงเช่นกัน (ภัคพงศ์ อัครเศรณี, 2548) 2. ความหมายแฝง (Connotation) เป็นการตีความหมายของสัญญะโดยเป็นระดับที่พ่วงเอาปัจจัยทางวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเป็นการ อธิบายถึงปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้ใช้และคุณค่าทางวัฒนธรรมของเขา ความหมายแฝงหรือ ความหมายในระดับที่สองนี้สร้างขึ้นบนพื้นฐานของความหมายตรงของสัญญะตัวเดียวกัน ซึ่งกระบวนการเกิดขึ้นของ ความหมายแฝงนี้เกิดขึ้นเมื่อสัญญะในความหมายระดับแรกถูกนําไปใช้เป็นรูปสัญญะโดยมีการผูกโยงรวมเข้ากับความ หมายใหม่ จึงเกิดเป็นความหมายแฝง ซึ่งกระบวนการนี้เองที่ Barthes ใช้อธิบายการเกิด Myth (มายาคติ) ซึ่ง Barthes ได้อธิบายเกี่ยวกับกระบวนการดังกล่าวไว้ดังนี้ “มายาคติเป็นระบบสื่อความหมายซึ่งมีลักษณะพิเศษตรงที่มัน ก่อตัวขึ้นบนกระแสการสื่อความหมายที่มีอยู่ก่อนแล้ว จึงถือได้ว่า มายาคติเป็นระบบสัญญะในระดับที่สอง สิ่งที่เป็นหน่วยสัญญะ (ผลลัพธ์จากการประกบของรูปสัญญะกับความหมาย) ในระบบแรก กลายมาเป็นเพียงรูปสัญญะในระบบที่สอง ขอย้ําในที่นี้ว่า วัสดุสําหรับสร้างวาทะแห่งมายาคติ (เช่น ภาษา ภาพถ่าย ภาพวาด โปสเตอร์ พิธีกรรม วัตถุ ฯลฯ) ไม่ว่าในเบื้องต้นนั้นจะมีความแตกต่างหลากหลายเพียงใดก็ตาม แต่ครั้นเมื่อถูกจับยึดโดยมายาคติแล้ว ก็จะถูกทอนให้เหลือเป็นเพียงรูปสัญญะเพื่อสื่อถึงสิ่งอื่นเสมอ” (วรรณพิมล อังคศิริสรรพ, 2544) อย่างไรก็ดี การสื่อความหมายในระดับของความหมายแฝงนี้มีแนวโน้มในการสื่อความหมายที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับ ระดับของการสื่อความหมาย โดยแบ่งออกเป็น 2 ระดับได้แก่ ระดับของปัจเจก (individual connotations) ในการทําความเข้าใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งของบุคคลนั้นเป็นการเรียนรู้ วิธีการมองโลกและการที่บุคคลมีปฏิสัมพันธ์กับโลก ซึ่งการเรียนรู้เหล่านี้เองที่จะทําให้บุคคลมีความเข้าใจและให้นิยามต่อสิ่งต่างๆ ซึง่ อาจเหมือนหรือแตกต่างกันก็ได้ ซึ่งเรียกว่าประสบการณ์ ยกตัวอย่างเด็กหญิงที่ได้กลิ่นดอกกุหลาบเป็นครั้งแรก พร้อมกับมีประสบการณ์ที่น่ากลัว ในเวลาต่อมาหากเธอได้มองเห็นหรือได้กลิ่นดอกกุหลาบ ก็อาจเป็นการเตือน ความจําให้เกิดความรู้สึกหวาดกลัวขึ้นมาอีก ซึ่งการมองเห็นหรือได้กลิ่นดอกกุหลาบนี้เป็นการนําพาการสื่อความหมาย ส่วนตัวสําหรับเด็กผู้หญิงคนดังกล่าว ดังนั้นการมอบดอกกุหลาบจึงอาจเป็นการสร้างความกลัว มากกว่าที่จะเกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ในความรัก สิ่งที่ควรระมัดระวังในการวิเคราะห์ในเชิงสัญศาสตร์ (semiotic analysis) สําหรับการสื่อความหมายระดับนี้คือ เนื่องจากเป็นการสื่อความหมายแบบส่วนตัว จึงอาจไม่ได้สื่อความหมายแตกต่างไปตามความหมายปกติดังที่คนอื่นๆ มีส่วนร่วม ในความหมายนั้น ระดับของวัฒนธรรม (cultural connotations) การสื่อความหมายในระดับนี้แสดงถึงการที่วัตถุในวัฒนธรรม ได้พ่วงเอาความสัมพันธ์และการสื่อความหมายเข้ามาในตัวมัน และมีส่วนร่วมในการให้ความหมายกับผู้คนในวัฒนธรรม ยกตัวอย่างเช่นการมอบดอกกุหลาบ ที่คนให้การยอมรับในเชิงวัฒนธรรมเข้าใจร่วมกันว่าเป็นการแสดงถึงความรัก (สมเกียรติ ตั้งนโม. 2550.)

ความหมายที่เกิดจากระบบสัญญะ ระบบของภาษาภาพมีความหมายที่เกิดจากระบบสัญญะ สามารถจําแนกที่มาของความหมายได้ 3 ลักษณะ ดังนี้ 1. ความหมายเชิงสัญลักษณ์ของรูปทรงวัตถุในภาพ


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพสำหรับงานวารสารศาสตร์ | 4 รูปทรงที่ประกอบขึ้นเป็นพืช สัตว์ สิ่งของ หรือบุคคล นอกจากจะมีความสามารถในการสื่อสารเกี่ยวกับสารสนเทศข องสิ่งนั้นๆ ที่เป็นความหมายโดยตรงแล้ว อาจมีความหมายในระดับสัญลักษณ์ร่วมอยู่ด้วย ซึ่งการตีความหมายนั้น เป็นกระบวนการที่อิงกับประสบการณ์หรือการเรียนรู้ระบบสัญลักษณ์ที่มีมาก่อน เช่น ภาพดอกเข็มในพิธีไหว้ครู มีความหมายในเชิงสัญลักษณ์ถึงปัญญาที่แหลมคม ภาพดอกบัวสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ถึงศาสนาพุทธเป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นกับบริบทและสื่อของการนําเสนอภาพนั้นๆ ด้วย เช่น ชื่อภาพ การบรรยายภาพ การจัดหน้า การออกแบบกราฟิก จะเป็นตัวกําหนดการตีความหมายในระดับหนึ่งด้วย

2. ความหมายแฝงของภาษาทางเทคนิคการถ่ายภาพ เป็นผลจากหลักจิตวิทยาการเห็นของมนุษย์ซงึ่ เกิดจากการเลือกใช้มุมกล้อง ช่วงความชัด ความยาวโฟกัสของเลนส์ การจัดแสง เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นภาพข่าว ภาพถ่ายเชิงสารคดี แม้จะหลักในการนําเสนอภาพ ที่เน้นคุณค่าเกี่ยวกับความถูกต้องเป็นจริงของเหตุการณ์ แต่งานภาพถ่ายเหล่านี้ก็ไม่สามารถสื่อความหมายได้อย่างเป็นวัตถุวิสัย เพราะภาพถ่ายทุกภาพล้วนมีความหมายแฝงจากภาษาทางเทคนิคการถ่ายภาพเสมอ ในบางกรณีระดับมุมกล้องจากมุมสูงก็ไม่ได้หมายความว่า สิ่งที่ถูกถ่ายต้องดูต่ําต้อย เช่น ภาพภูมิทัศน์ทางอากาศของโบราณสถาน ย่อมสื่อความหมายได้ถึงความยิ่งใหญ่ในครั้งอดีต หรือตัวอย่างภาพข่าว จากมุมต่ําที่เสนอภาพคนที่กําลังจะกระโดดจากที่สูง ก็ไม่ได้หมายความว่าคนๆ นั้นเป็นผู้ยิ่งใหญ่ หากแต่ความหมายแฝงดังกล่าว เป็นหลักการโดยทั่วๆ ไปเท่านั้น ในกรณีภาพข่าวอาจไม่สามารถตีความภาพบางประเภท เพราะช่างภาพอาจต้องเผชิญ กับข้อจํากัดของสถานการณ์ทางการถ่ายภาพ หรือตําแหน่งที่ช่างภาพอยู่ในขณะที่ทําการบันทึกภาพ ทําให้หลักการดังกล่าว ไม่สามารถอิบายได้ในบางกรณี ตัวอย่างนี้เป็นความหมายแฝงที่แนบเนื่องมาจากสิ่งที่อยู่ถูกบันทึกภาพ (Nick Lacey, 1998) เทคนิคการถ่ายภาพ ความหมายแฝง มุมสูง ความพ่ายแพ้ ต่ําต้อย ตกอยู่ภายใต้อํานาจ ระดับมุมกล้อง มุมระดับสายตา ความเสมอภาค ความเป็นกลาง มุมต่ํา ความชนะ ความสูงส่ง ความมีอํานาจ ภาพแสดงความชัดลึก การสื่อเรื่องราวโดยรวม ช่วงความชัด ภาพแสดงความชัดตื้น การเน้นความสําคัญ (Depth of field) ภาพ soft focus ภาพถวิลหาอดีต (nostalgia) ภาพในความคิดฝันจินตนาการ เลนส์ถ่ายไกล (Telephoto lens) การแอบมอง (voyeuristic) ความยาวโฟกัสของเลนส์ เลนส์มาตรฐาน (Normal lens) การมองปกติ เลนส์มุมกว้าง (Wide-angle lens) การเห็นที่บิดเบือน การแสดง(drama) High key ความเปิดเผย การมองโลกในแง่ดี ลักษณะการจัดแสง Low key ความเร้นลับ ความเศร้า ความอึมครึม


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพสำหรับงานวารสารศาสตร์ | 5 3. ความหมายแฝงทางจิตวิทยาขององค์ประกอบด้านทัศนธาตุ ทัศนธาตุ (visual elements) เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของงานสื่อสารด้วยภาพ อย่างไรก็ตามสิ่งสําคัญ ในงานสื่อสารภาพถ่าย ได้แก่ องค์ประกอบเรื่อง สีและเส้น ล้วนมีผลต่อจิตวิทยาการรับรู้ของผู้รับสาร ดังนี้ 3.1. จิตวิทยาของสี สีนั้นมีความสําคัญอย่างยิ่งในการออกแบบในการทํางานสิ่งพิมพ์ต่างๆ การเลือกสีให้เข้ากับเนื้อหาของงาน จะทําให้งานที่ทําออกมามีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น และยังส่งผลอย่างมากกับความ สวยงามของงานที่ออกมาด้วย สี สีแดง สีเหลือง สีน้ําเงิน สีชมพู สีเขียว สีม่วง สีฟ้า สีส้ม สีขาว สีเทา สีดํา สีน้ําตาล

ความหมายทางจิตวิทยา ความรุนแรง ความร้อนแรง ความมีอํานาจ ความสดใส ร่าเริง เป็นสีแห่งความเบิกบาน กระฉับกระเฉง ความเวิ้งว้าง ความรู้สึกเป็นเจ้าของ อิสรเสรี ความสงบนิ่ง ความสุขุม เยือกเย็น ความประณีต งดงาม สดใส มีชีวิตชีวา ความอุดมสมบูรณ์ ความผ่อนคลาย ธรรมชาติ ให้ความรู้สึกมีเสน่ห์ เร้นลับ น่าติดตาม ซ่อนเร้น มีอํานาจ มีพลังแฝงอยู่ ให้ความรู้สึกสงบ สุขุม สุภาพ หนักแน่น เคร่งขรึม เอาการเอางาน ละเอียด รอบคอบ สง่างาม มีศักดิ์ศรี สูงศักดิ์ เป็นระเบียบถ่อมตน ฉลาด กล้าหาญ ให้ความรู้สึก ร่าเริง สดใส มีชีวิตชีวา วันรุ่น ความคึกคะนอง ให้ความรู้สึก บริสุทธิ์ สะอาด สดใส เบาบาง อ่อนโยน ความศรัทธา ความดีงาม ความอ่อนโยน ความเงียบขรึม ความชราภาพ ความสลดใจ ความน่ากลัว อันตราย ความหนักแน่น ความลึกลับ ให้ความรู้สึกหนักแน่น มั่นคง ความแห้งแล้ง ไม่สดชื่น

3.2. จิตวิทยาของเส้น ในการใช้เส้นจัดองค์ประกอบภาพนั้น ลายเส้นต่างๆ ยังให้ความหมายแฝงร่วมอยู่ด้วย ชะลูด นิ่มเสมอ(2542: 35) ได้กล่าวถึงความรู้สึกทางจิตวิทยาที่เกิดจากลักษณะเส้นต่างๆ ดังนี้ o เส้นตรง ให้รสู้ ึกแข็งแรง แน่นอน ตรง เข้ม ไม่ประนีประนอม หยาบ และเอาชนะ o เส้นคลื่นหรือเส้นโค้ง ให้ความรู้สึกสบาย เลื่อนไหล ต่อเนื่อง สุภาพ แต่ถ้าใช้มากจะให้ความรู้สึกกังวล ขาดจุดมุ่งหมาย o เส้นโค้งแคบ ให้ความรู้สึกมีพลังเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงเร็ว o เส้นโค้งวงกลม ให้ความรู้สกึ เป็นระเบียบ เป็นวงจร o เส้นโค้งก้นหอย ให้ความรู้สึกเข้าสู่ศูนย์กลาง คลี่คลาย เคลื่อนไหวไม่สิ้นสุด o เส้นฟันปลา ให้ความรู้สึกขัดแย้ง เปลี่ยนแปลงเร็ว พลังไฟฟ้า o เส้นนอน ให้ความรู้สึก เงียบ สงบ o เส้นตั้ง ให้ความรู้สึกสมดุล มั่นคง แข็งแรง รุ่งเรือง o เส้นเฉียง ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว ไม่มั่นคง อย่างไรก็ตาม ความหมายของสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏในภาพหรือภาพถ่ายที่ใช้ในงานสิ่งพิมพ์นั้น เกิดจากความสัมพันธ์ กับรูปสัญญะอื่นๆ ทั้งนี้ นักสื่อสารด้วยภาพต้องตระหนักว่าความหมายของภาพล้วนมีความหลากหลาย กล่าวคือ ภาพสามารถมีความหมายอย่างไรก็ได้ตามที่ผู้รับสารปรารถนาที่จะให้เป็น ความหมายของภาพถูกกําหนดโดย องค์ประกอบ แวดล้อมจํานวนมาก ดังนั้น การถอดรหัส เข้าใจถึงบริบท ภาษาภาพ ความหมายของภาพ และต้องมีสายตา แห่งจินตนาการที่ต้องหมั่นฝึกฝน ต้องความรูเ้ กี่ยวกับบริบทของการบันทึกภาพ เหตุการณ์แวดล้อมอื่นๆ ช่วงเวลาของเรื่องราว


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพสำหรับงานวารสารศาสตร์ | 6 และการเลือกใช้ภาพประกอบสําหรับสิ่งพิมพ์นั้น จะทําให้ผู้รับสารสามารถตีความหมายได้ชัดเจนมากขึ้น

ความหมาย คุณลักษณะ และความสําคัญของประเภทภาพเชิงวารสารศาสตร์ ภาพเชิงวารสารศาสตร์ ทั้งภาพประกอบและภาพถ่าย เป็นงานทางการสื่อสารที่เกิดจาก การผสมผสานระหว่างหลักวิชาการถ่ายภาพ การวาดภาพ(ทั้งภาพวาดประกอบด้วยมือลและภาพดิจิทัล) กับการเขียนเชิงวารสารศาสตร์ นับตั้งแต่มีการใช้ภาพประกอบและภาพถ่ายในสื่อสิ่งพิมพ์ ภาพเชิงวารสารศาสตร์ได้เป็น แหล่งเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่บันทึกเรื่องราวที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมมาหลายยุคสมัย

ความหมายของภาพและภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์ (Photojournalism)

ศัพท์บัญญัติวิชาถ่ายภาพฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้คําแปลของคําว่า Photojournalism ว่าหมายถึง “วารสารศาสตร์การถ่ายภาพ” (ราชบัณฑิตยสถาน. 2530: 69) สนั่น ปัทมะนิน (2516: 1) กล่าวถึงวิชาการถ่ายภาพเชิงวารสารศาสตร์ว่า เป็นวิชาที่ให้ความรู้ในเรื่องการผลิต หรือถ่ายทําภาพนิ่งเพื่อใช้เป็นภาพต้นฉบับสําหรับถ่ายทอด (reproduce) เป็นบล็อกหรือแม่พิมพ์สําหรัยตีพิมพ์สิ่งพิมพ์ต่างๆ โดยเฉพาะ เช่น หนังสือพิมพ์และนิตยสาร และอาจรวมไปถึงสิ่งพิมพ์อื่นๆ ด้วย ในฐานะเป็นภาพประกอบ ตัวหนังสือของสิ่งพิมพ์นั้น มาลี บุญศิริพันธ์ (2531 อ้างในสุรสิทธิ์ วิทยารัฐ, 2545: 51) สรุปว่า เนือ่ งจากหนังสือพิมพ์มีหน้าทีห่ ลัก ในการรายงานข่าว ดังนัน้ ภาพข่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือพิมพ์ทมี่ ีความจําเป็นและมีความสําคัญมาก เนือ่ งจากภาพสามารถ บอกรายละเอียดของเรือ่ งราวได้มากกว่าบรรยายด้วยคําพูด แม้แต่คนอ่านหนังสือไม่ออกก็สามารถเข้าใจเรือ่ งราวต่างๆ ได้มากขึน้ Frank P. Hoy (1993: 5) กล่าวถึงความหมายของภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์ว่า เป็นงานที่เกิดจาก การทําหน้าที่ร่วมกันระหว่างภาพถ่ายกับงานเขียนเพื่อประกอบการรายงานข่าวสารต่างๆ โดยรวมแล้ว ภาพและภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์จึงเป็นการถ่ายภาพด้วยกล้องถ่ายภาพหรือภาพประกอบ ที่จัดทําขึ้นเพื่อนําเสนอในสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่ออื่นใดทีม่ ีการบูรณาการร่วมกันกับระบบของการรายงานด้วยลายลักษณ์อักษรต่อสาธา รณชน ซึ่งอาจเป็นการตั้งชื่อภาพ คําอธิบายภาพ หรือเนื้อเรื่องประกอบภาพ

คุณลักษณะของภาพและภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์

Frank P. Hoy (1986: 5-9) กล่าวถึงคุณลักษณะของภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์ไว้ 8 ประการ ดังนี้ 1. ภาพเชิงวารสารศาสตร์ ต้องมีความชัดเจน เพื่อสื่อให้ผ้ชู มเข้าใจสถานการณ์ได้ทันที 2. ภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์ เป็นภาพที่นําเสนอผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. ภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์ เป็นงานที่คัดเลือกภาพเพื่อรายงานข่าวสารบางแง่มุมของภาพผ่านมุมมองของผู้ส่งสาร 4. ภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์ เป็นการสื่อสารทีบ่ ูรณาการระหว่างภาพและข้อความ 5. ภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์ เกี่ยวข้องกับผูค้ น ผู้คนเป็นทั้งสารและผู้รับสาร เพราะคนคือองค์ประกอบหลักของสาร 6. ภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์ ต้องสื่อสารกับมวลชน ภาพต้องมีลักษณะของเนื้อหาสาธารณะ 7. ภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์ นําเสนอโดยผ่านกองบรรณาธิการภาพ โดยมีหน้าที่ทําให้ภาพสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ 8. การรายงานข่าวด้วยภาพ ทําให้ผู้คนรับรูว้ ่าอะไรเกิดขึ้น ซึ่งเป็นความเชื่อพื้นฐานของภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพสำหรับงานวารสารศาสตร์ | 7

ความสําคัญของภาพและภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์

ภาพถ่ายและภาพข่าว สามารถสือ่ ความหมายได้เช่นเดียวกับตัวหนังสือ ดังนัน้ ภาพข่าวจึงมีความสําคัญ ยิ่งในงานสิ่งพิมพ์ เป็นที่ยอมรับโดยทัว่ ไปว่าข่าวที่มีคุณค่า น่าสนใจ หากมีภาพเหตุการณ์หรือเรือ่ งราว ข่าวประกอบ จะทําให้ได้รับความสนใจและเชือ่ ถือมากยิ่งขึ้น ความสําคัญของภาพที่ทําหน้าที่ร่วมกับงานเขียนนั้น มีดังต่อไปนี้ 1. ภาพเป็นหลักฐานที่ยืนยันความจริงและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเรื่องราว 2. ภาพช่วยสร้างความเข้าใจต่อเรื่องราวได้ตรงตามเหตุการณ์ 3. ภาพสามารถเร้าสายตาของผู้อ่านได้ดี 4. ภาพสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของบุคคลหรือเหตุการณ์ได้ดี 5. ภาพสามารถที่จะยกระดับความสําคัญของคุณค่าของข่าวสาร 6. ภาพถ่ายช่วยเพิ่มความสวยงามแก่สิ่งพิมพ์

ประเภทของภาพและภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์

การจัดประเภทขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์และวัตถุประสงค์ เช่น ด้านเนื้อหาภาพ อาจเป็นภาพข่าว ภาพเชิงสารคดี ภาพบุคคลภาพงานโฆษณา ภาพแฟชั่น เป็นต้น ในที่นี้จะใช้เกณฑ์ด้านหน้าที่ทางการสื่อสารร่วมกับเนื้อหา โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ภาพข่าว คือการรายงานข้อเท็จจริงในรูปแบบของภาพที่ต้องมีความถูกต้องเป็นจริงตามเหตุการณ์เรื่องราว มีความน่าเชื่อถือและรวดเร็วในการนําเสนอ แบ่งเป็น 3 ประเภท 1.1. ภาพข่าว ณ ที่เกิดเหตุ เป็นภาพที่ถา่ ยจากสถานที่และเหตุการณ์จริง เช่น ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวกีฬา เป็นต้น 1.2. ภาพข่าวทั่วไป เป็นภาพข่าวที่เกิดขึ้นประจํา เช่น การจัดแถลงข่าว ภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทุกวัน 1.3. ภาพประกอบข่าว เป็นภาพที่เสริมความเข้าใจเนื้อหาข่าว อาจใช้ภาพในอดีตมาประกอบเพื่อสร้างความเข้าใจเหตุการณ์ข่าวในปัจจุบัน 2. ภาพสารคดี คือภาพที่ถ่ายทอดเรื่องราวตามข้อเท็จจริงในเชิงสาระ ความรู้ และความสวยงาม แบ่งเป็น 3 ประเภท 2.1. ภาพประกอบข้อเขียนเพื่อเสริมความเข้าใจในเรื่องราว เช่น สารคดีท่องเที่ยว สารคดีสัตว์เลี้ยง 2.2. ภาพชุดเล่าเรื่องเป็นภาพแสดงลําดับขั้นตอนเรื่องราวเหตุการณ์ เช่น ภาพชุดแสดงขั้นตอนการตอนกิ่งต้นไม้ 2.3. สารคดีภาพ เป็นการนําเสนอเนื้อหาด้วยภาพเพียงอย่างเดียว ไม่จําเป็นต้องมีคําบรรยาย อาจใช้เพียงหัวข้อของเรื่องนั้นๆ เพื่อเป็นการแนะนําเนื้อหาเรื่องเพียงสั้นๆ 3. ภาพให้แนวคิด เป็นภาพที่สะท้อนมุมมองที่คนทั่วไปอาจจะมองข้าม มักมีองค์ประกอบและรายละเอียดที่น่าสนใจ อาจมีความกํากวมในการสื่อความหมาย จึงอาจต้องมีคําอธิบายประกอบแต่เป็นการอธิบายแนวคิดของกลุ่มภาพที่นําเสนอ เช่น บทกวีที่ถ่ายทอดแนวคิดจากภาพถ่าย พบได้ในนิตยสารบางฉบับในรูปแบบการนําเสนอแบบเรียงถ้อยร้อยภาพ เพื่อนําเสนอภาษาเชิงวรรณศิลป์ร่วมกับภาพ 4. ภาพเพื่อความบันเทิง เป็นภาพที่ก่อให้เกิดความสุข ความสบายตา เน้นความสวยงามของการสื่อสารด้วยภาพ เช่น ภาพถ่ายแฟชั่น


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพสำหรับงานวารสารศาสตร์ | 8

หลักการ EDFAT ของภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์ หลักการ EDFAT ของการสื่อสารด้วยการถ่ายภาพ มีลักษณะคล้ายกับปรัชญา หรือหลักการ ในการถ่ายภาพเชิงข่าว,สารคดี (Photojournalism) ภาพรวม(Entire), รายละเอียด(Details), กรอบ(Frame), มุม(Angles) และ เวลา(Time) ดังตัวอย่างต่อไปนี้ Entire-ภาพรวม การกดชัตเตอร์จากสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์แบบในรูป โดยพิจารณาความหมายจากฉากทั้งหมดที่สามารถบรรยาย และอธิบายเหตุการณ์ได้จากภาพรวม Photo by Chris Yambing

Details-รายละเอียด ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงรายละเอียดของสิ่งที่อยู่ในภาพ จากวัตถุที่มีลักษณะคล้ายกัน แต่ต่างกันตรงรายละเอียดของตราสัญลักษณ์ที่ไม่เหมือนกัน Photo by Chris Yambing


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพสำหรับงานวารสารศาสตร์ | 10

Frame-กรอบ สนใจองค์ประกอบโดยรอบของเรื่องของคุณและให้ปรับปรุง องค์ประกอบที่จําเป็นผ่านช่องมองภาพของคุณ ถ้าคุณสามารถกรอบหัวข้อของคุณโดยใช้ใด ๆขององค์ประกอบเหล่านั้น การถ่ายภาพของคุณจะคมมากขึ้น Photo by Chris Yambing

Angles-มุม ไม่มีเนื้อหาถ่ายภาพในมุมที่ง่ายที่สุด มันจะดีกว่าที่จะถ่ายภาพด้านล่าง , ด้านบน , จากซ้าย , ขวา ? คุณจะไม่ทราบจนกว่าคุณจะลอง Photo by Chris Yambing


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพสำหรับงานวารสารศาสตร์ | 11

Time-เวลา เวลาในความรู้สึกนี้เป็นสองเท่าซึ่งหมายถึงว่าสถานการณ์นั้ นเป็นไปอย่างรวดเร็ว และเวลาในการรอโอกาสที่เหมาะสม สําหรับการกดชัตเตอร์ของคุณจะเร็วจะช้า จะส่งผลต่อภาพ ผมจะเปรียบเทียบให้เห็นไฟสีเหลือง ในขณะที่บนท้องถนน มันขึ้นอยู่กับคุณที่จะตัดสินใจว่าคุณต้องการที่จะช้าลงหรือเ ร็วขึ้น Photo by Chris Yambing

หลักจริยธรรมและจรรยาบรรณสําหรับภาพเชิงวารสารศาสตร์ จริยธรรมเป็นหลักแห่งความดีงามที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ที่พึงปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ อีกทั้งยังเป็นหลัก ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินค่าการกระทําของมนุษย์ วิทย์ วิศทเวทย์(2537) ได้กล่าวถึงหลักแนวคิดทางจริยธรรมแม่บทที่สําคัญ 3 หลักการดังนี้ 1. หลักประโยชน์สุขนิยม (Utilitarianism) นักคิดคนสําคัญคือ จอห์น สจ้วต มิลล์ (John Stuart Mill) มีหลักการสําคัญเรียกว่า “หลักมหสุข” ว่า สิ่งที่ควรทําคือ สิ่งที่ก่อประโยชน์สุขมากที่สุดแก่คนจํานวนมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับรายงานภาพ หรือแนวทางกฎหมายไทยในเรื่อง “ประโยชน์ต่อสาธารณะ” กล่าวคือ ภาพเชิงวารสารศาสตร์ จะมุ่งเน้นการรายงานภาพเหตุการณ์ที่น่าจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางที่ดีขึ้น ผู้อ่านหรือประชาชน จะมีความสุขมากยิ่งขึ้นจากผลการรายงานภาพข่าวนั้นๆ ซึ่งอาจนําไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ของสังคม ผลักดัน นโยบายทางเศรษฐกิจต่างๆ เป็นต้น 2. หลักจริยธรรมเชิงหน้าที่ (Duty Ethics) อิมมานูเอล ค้านท์ (Emmanuel Kant) มีหลักการสําคัญที่เรียกว่า “จริยธรรมเชิงหน้าที”่ ซึ่งเกี่ยวกับ การนําเสนอภาพทางวารสารศาสตร์ด้วยหลัก 2 ประการ คือ o มนุษย์ต้องทําตามหน้าที่ ทั้งนี้ต้องพิจารณาจากเจตนาแห่งการกระทํา การมีเจตนาดีคือ การหลุดพ้น จากความรู้สึกไม่ว่าจะเป็นทางบวกหรือลบ แต่กระทําตั้งอยู่ในหลักการแห่งเหตุผล โดยไม่คํานึงถึง ผลใดๆ ที่จะเกิดขึ้น o จงอย่าใช้เพื่อนมนุษย์เป็นเครื่องมือเพื่อการใด จากหลักการดังกล่าว พิจารณาได้ว่า การนําเสนอภาพเชิงวารสารศาสตร์โดยมีการบิดเบือนข้อเท็จจริง การนําเสนอภาพข่าวโดยละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ที่ตกเป็นข่าว การตีพิมพ์ภาพที่เจ้าตัวปราศจากความยินยอม การติดตามถ่ายภาพของช่างภาพอิสระ ถือเป็นสิ่งที่ขัดต่อจริยธรรมทั้งสิน้


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพสำหรับงานวารสารศาสตร์ | 12 3. หลักจริยธรรมสายกลาง (Golden means) อริสโตเติลเสนอว่า บุคคลพึงหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่สุดโต่ง หลักจริยธรรมดังกล่าวไม่ได้ พิจารณาคุณค่าของการกระทําจากเหตุหรือผลจากการกระทํา หากแต่เห็นว่า คุณค่าของความดีงามอยู่ระหว่าง ความคิดที่สุดโต่งทั้งสองด้านโดยไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว คุณธรรมควรเกิดจากความรู้สึกที่เหมาะสมกับ กาลเทศะและบุคคล แนวทางดังกล่าวอยู่ที่ดุลยพินิจของบรรณาธิการสื่อสิ่งพิมพ์ในการคัดเลือกภาพเพื่อนําเสนอ ให้เหมาะสมกับบริบท ได้แก่ เวลา สถานที่ และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข่าวนั้นๆ จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพที่เกี่ยวกับการนําเสนองานภาพเชิงวารสารศาสตร์ มีดังนี้ 1. หลักแห่งประโยชน์สาธารณะ 2. หลักแห่งความถูกต้องเป็นจริง 3. หลักแห่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 4. หลักแห่งรสนิยมที่ดี 5. หลักแห่งวิธีการที่สุภาพและซื่อสัตย์ 6. หลักแห่งการไม่ล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

แบบจําลองการสื่อสารของ Jakobson จาค๊อบสัน (Jakobson : 1960) เป็นนักภาษาศาสตร์ ด้วยเหตุนี้เขาจึงสนใจในความหมายและโครงสร้างภายในของสาร โดยกล่าวถึงองค์ประกอบในการสื่อสารของเหตุการณ์ทางวาทะใดๆ ซึ่งมีองค์ประกอบได้แก่ ผู้ส่งสาร (addresser) ส่งสาร (message) ไปยังผู้รับสาร (addresse) ซึง่ สารจะกล่าวถึงบางสิ่งบางอย่างมากกว่าเป็นแค่ตัวสารเอง เขาเรียกสิ่งนี้ว่า บริบท (context) ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร สามารถเป็นที่เข้าใจได้ของผู้รับสาร การติดต่อ (contact) ซึ่งหมายถึงช่องทางทางกายภาพ และการเชี่อมโยงทางจิตใจ ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารและปัจจัยสุดท้าย คือ รหัส (code) ซึ่งเป็นระบบของการเข้าใจความร่วมกันที่สารถูกสร้างขึ้น ซึ่งแต่ละส่วนแสดงให้เห็นถึงหน้าที่ที่แตกต่างของภาษา และในแต่ละ พฤติกรรมในการสื่อสารจะพบลําดับขั้นของหน้าที่ (hierarchy of function) เขาจึงได้สร้างแบบจําลอง ขึ้นอีกเพื่อใช้อธิบายหน้าที่ทั้ง 6 ของกระบวนการสื่อสาร ดังแผนภาพ

Addresser

Context Message Contact Code

Addresse e

Jakobson’s Communication Model สามารถวิเคราะห์องค์ประกอบการสื่อสารในทัศนะของ Jakobson 6 องค์ประกอบได้ดังนี้ 1. หน้าที่ทางอารมณ์ (emotive function) คือความสัมพัน์ของสารทีผ่ ู้ส่งสารต้องการเสนอ (ซึ่งเรามักใช้คําว่า “แสดงออก” แทน) หน้าที่ทางอารมณ์ของสารคือการสื่อสารทางอารมณ์ ทัศนคติ สถานะ ลําดับขั้น ซึ่งทุกส่วน ประกอบนี้จะสร้างสารที่มีลักษณะเฉพาะบุคคล ในบางสาร เช่น บทกวีเกี่ยวกับความรัก การแสดงออกทางอารมณ์จึงเป็นสิ่งสําคัญ หรือในการรายงานข่าวการแสดงออกทางอารมณ์จะถูกควบคุม 2. หน้าที่ของความพยายาม (conative function) ซึ่งหมายถึงผลของสารที่เกิดกับผู้รับสาสน์ เช่นในการ ออกคําสั่งหรือโฆษณาชวนเชื่อ หน้าที่นี้จะมีความสําคัญอย่างมาก ในการสื่อสารรูปแบบอื่นๆ จะถูกกําหนดให้สนใจน้อยลง


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพสำหรับงานวารสารศาสตร์ | 13 3. หน้าที่ของการอ้างอิง (referential function) “การปรับเปลี่ยนความจริง” ของสารจะถูกให้ ความสําคัญอย่างมากในวัตถุประสงค์ของการสื่อสารที่ขึ้นอยู่กับความจริง ซึ่งเน้นที่ “ความจริง” หรือ ความถูกต้องที่แท้จริง ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน หน้าที่ของสามัญสํานึกสามารถแสดง ออกในระดับที่หลากหลายในพฤติกรรมทางการสื่อสาร 4. ส่วนหน้าที่ของ (Phatic) เป็นการรักษาช่องทางการสื่อสารให้คงอยู่ต่อไป ซึ่งจะเป็นการรักษา ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารไว้ให้การสื่อสารเกิดขึ้น หากกลับไปดูปัจจัยด้านการติดต่อ ซึ่งก็คือการทําให้เกิด การเชื่อมโยงทางกายภาพและทางจิตใจ ซึ่งมีคําอื่นๆ ที่เรียก คือ การตอกย้ําซ้ําทวน (redundant) ซึ่งเป็นองค์ประกอบของสาร ซึ่งหน้าที่ที่ 2 ของการตอกย้ําซ้ําทวน ก็คือ Phatic นั่นเอง 5. หน้าที่ของอัตภาษา (Metalingual) ของการแสดงรหัสที่ถูกใช้ เมื่อเราใช้คําว่า “การตอกย้ําซ้ําทวน” เราต้องการสร้างข้อเท็จจริงที่ชัดเจน โดยการใช้รหัสของทฤษฎีการสื่อสารเช่น กล่องบุหรี่ที่ว่างเปล่าถูกโยนทิ้งไว้บนหนังสือพิมพ์เก่า ซึ่งเป็นขยะทั่ว ๆ ไป แต่ถ้าเรานํากล่องบุหรี่เปล่าไปติดไว้กับกระดาษ ใส่กรอบ แล้วแขวนไว้บนกําแพงในแกลลอรี่ มันจะกลาย เป็นศิลปะ

การวิเคราะห์ภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์

ชื่อภาพ “The Napalm Girl of Trangbang” กรณีศึกษาภาพ “The Napalm Girl of Trangbang” โดย Nick Ut สํานักข่าว Assocoated Press ที่มา Hal Buell and Seymour Topping (1999) Nick Ut บันทึกภาพการทิ้งระเบิดนาปาล์มลงหมู่บ้าน Trangbang เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 1972 เนื่องจากสงสัยว่ามีกองกําลังเวียดกงซุ่มซ่อนอยู่ในหมู่บ้าน Kim Phuc อายุ 9 ปี วิ่งหนีออกจากหมู่บ้านมาตามถนน ในสภาพ ไม่มีทั้งเสื้อผ้าพร้อมกับพี่ชายอายุ 12 ปี ทางซ้ายสุดของภาพและน้องชายอายุ 5 ปีที่วิ่งไปพร้อมกับเหลียวหลังไปมองที่หมู่บ้าน ภาพนี้ได้รับรางวัลพูลลิตเซอร์ในปี 1973 ภาพนี้เป็นประเด็นโต้แย้งในเชิงจริยธรรม ทั้งนี้ในช่วงเวลานั้น สํานักข่าว AP มีนโยบายไม่ตีพิมพ์ ภาพเปลือยโดยไม่มีข้อยกเว้น แต่หลังจากการโต้แย้งในกองบรรณาธิการในที่สุดเห็นว่า มาตรฐานทางจริยธรรม


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพสำหรับงานวารสารศาสตร์ | 14 เกี่ยวกับภาพเปลือยไม่สามารถใช้ได้กับกรณีนี้ ซึ่งแนวทางนี้สอดคล้องกับหลักจริยธรรมทางสายกลางของ Aristotle ที่พิจารณาจากเงื่อนไขด้านกาละ เทศะ และบุคคล ตลอดจนถึงบริบทที่เกี่ยวข้อง ภาพนี้เป็นสัญลักษณ์ของความน่ากลัวของสงคราม Kim Phuc ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ ของผู้ตอ่ ต้านสงครามและได้รับตําแหน่งทูตสันติภาพในปี 1997 นั่นแสดงให้เห็นว่าภาพนี้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน สอดคล้อง กับหลักประโยชน์สุขนิยมของ John Stuart Mill อย่างไรก็ตามแนวทางการนําเสนอภาพดังกล่าว น่าจะขัดต่อหลักจริยธรรมเชิงหน้าที่ของ Kant ในแง่ของการใช้ เพื่อนมนุษย์เป็นเครื่องมือ แม้ว่าภาพนี้จะถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการสร้างสันติภาพให้กับโลก และยังเป็นการรายงาน ความถูกต้องเป็นจริงตามหลักวารสารศาสตร์

Kim Phuc (born 1963) สัญชาติเวียดนาม-แคนาดา ทูตสันติภาพในปี 1997 และหากวิเคราะห์ตามหลักการ EDFAT ของการสื่อสารด้วยภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์แล้ว จะพบว่าภาพดังกล่าว มีลักษณะตรงตามหลักการ EDFAT อันได้แก่ ภาพรวม(Entire), รายละเอียด(Details), กรอบ(Frame), มุม(Angles) และ เวลา(Time) อย่างครบถ้วน

บรรณานุกรม • •

Frank P. Hoy. 1986. Photo Journalism: the visual approach. London : Prentice-Hall, Englewood Cliffs, N.J. EDFAT and the Art of Seeing. 2557. (ระบบออนไลน์) แหล่งทีม่ า http://www.lomography.co.th/magazine/lifestyle/2013/08/23/edfat-and-the-art-of-seeing

• • • • • • • • • •

ชลูด นิ่มเสมอ. 2534. องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพมหานคร:สํานักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. ทองเจือ เขียดทอง. 2548. การออกแบบสัญลักษณ์. กรุงเทพมหานคร:สํานักพิมพ์สิปประภา. ธารทิพย์ เสรินทวัฒน์. 2550. ทัศนศิลป์การออกแบบพาณิชยศิลป์. กรุงเทพฯ : หลักไท่ช่างพิมพ์. ปาพจน์ หนุนภักดี. 2553. หลักการและกระบวนการออกแบบงานกราฟิกดีไซน์. กรุงเทพมหานคร:บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จํากัด. ปราโมทย์ แสงผลสิทธิ์. 2540. การออกแบบนิเทศศิลป์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ วี.เจ. พริ้นติ้ง. มัย ตะติยะ. 2547. สุนทรียภาพทางทัศนศิลป์. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค จํากัด. มาลี บุญศิริพันธ์. 2550. วารสารศาสตร์เบื้องต้นปรัชญาและแนวคิด. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิรุณ ตั้งเจริญ. 2545. ประวัติศาสตร์ศิลป์และการออกแบบ. กรุงเทพมหานคร:สํานักพิมพ์อีแอนไอคิว. สนัน่ ปัทมะทิน. 2530. การถ่ายภาพสําหรับหนังสือพิมพ์. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพัฒนาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย. สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ. 2555. ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ.2541. (ระบบออนไลน์) แหล่งทีม่ า http://www.presscouncil.or.th/th2/content/view/4/8/. (19 พฤศจิกายน 2555)


แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพสำหรับงานวารสารศาสตร์ | 15 • สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. 2549. การสื่อข่าว : หลักการและเทคนิค. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา. • โสรชัย นันทวัชรวิบูลย์. 2545. Be Graphic สู่เส้นทางกราฟิกดีไซเนอร์. กรุงเทพมหานคร:บริษัท เอ.อาร์.อินฟอร์เมชัน แอนด์ พับลิเคชัน จํากัด. • อารยะ ศรีกัลยาณบุตร. 2550. การออกแบบสิ่งพิมพ์. กรุงเทพมหานคร : วิสคอมเซ็นเตอร์.

ภาพประกอบบางส่วนจาก • www.asiancorrespondent.com • www.lib.vit.src.ku.ac.th • www.chrisdrogaris.com

• www.derby-web-design-agency.co.uk • www.oliviagreavesdesign.com • www.yanchaow.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.