ASEAN Seminar Vol.01/2015

Page 1

อาเซียนเสวนา | 1


อาเซียนเสวนา | 2


อาเซียนเสวนา | 3


อาเซียนเสวนา | 4


คำ�นำ�

อาเซียนเสวนา | 5

ความสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectivity) กำ�ลังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างมากใน การพิจารณาถึงการก่อร่างสร้างประชาคมอาเซียนที่กำ�ลังจะเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปลายปี พ.ศ. 2558 นี้ แต่ดูเหมือนว่า ความคิดที่อยู่เบื้องหลังความสัมพันธ์เชื่อมโยงดังกล่าวนี้ ดูเหมือนจะอยู่บน ฐานของความเข้าใจว่า การเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียนจะทำ�ให้เกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่แนบ แน่น จนประชาคมอาเซียนกลายเป็นฐานการผลิตที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียว มีตลาดการค้าที่สามารถรวม ตัวกันได้ จนสามารถต่อรองกับผู้ซื้อผู้ขายได้อย่างมีเอกภาพ แต่หากจะพิจารณาความสัมพันธ์เชื่อม โยงระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนที่จะถูกนิยามใหม่ให้เป็นประชาคมอาเซียน จะพบว่า ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้ได้เกิดขึ้นมายาวนานในรูปแบบต่างๆ ถึงแม้ว่า ประชาคมอาเซียนจะมีจุดเน้นอยู่ที่สามเสาหลักที่เป็นกิจกรรมที่ได้รับความสำ�คัญ แต่ก็ต้อง ทำ�ความเข้าใจว่ากิจกรรมของสามเสาหลักดังกล่าวนี้จะทำ�ให้เกิดความ สัมพันธ์เชื่อมโยงในลักษณะใด และมีพัฒนาการในเชิงประวัติศาสตร์อย่างไร ที่สำ�คัญคือ ความสัมพันธ์เชื่องโยงดังกล่าวนี้ทำ�ให้พื้นที่ ชายแดนกลายเป็นพื้นที่ที่มีความสำ�คัญมากกว่าแต่ก่อน เพราะเป็นจุดของการติดต่อสัมพันธ์เชื่อมโยง ซึ่งมีประชาชนเป็นผู้ที่มีบทบาทสำ�คัญ ประเด็นที่น่าสนใจในเล่มนี้ ชุดเสวนาอาเซียนในตอนแรก ได้แก่ หัวข้อ “รื้อถอนมายาคติ AEC” โดย คุณปริวรรต กนิษฐะเสน, หัวข้อ “แรงงานข้ามชาติในสังคมไทย : สิทธิและสวัสดิการ” โดย คุณอดิศร เกิดมงคล, เรื่อง “ทหารกับการเมืองในอินโดนีเซีย: อดีต ปัจจุบัน อนาคต” โดย อ.ภาณุวัฒน์ พันธุ์ประเสริฐ, หัวข้อ “เปิดเสรีความเกลียดชัง: สำ�รวจภูมิ(ไม่)คุ้มกันของคนไร้อำ�นาจในอาเซียนภิวัตน์” โดย คุณวีรฉัตร แก้วประดิษฐ์ ส่วนในอาเซียนเสวนาใน ชุดที่สอง ได้แก่ เรื่อง “การขยายตัวของการผลิต พืชพาณิชย์แถบชายแดนไทย-ลาว และการใช้แรงงานลาวในภาคเกษตรของไทย” โดย อ.เนตรดาว เถา ถวิล, การเสนอมุมมองเรื่อง “ตํารวจมลายู: ลูกผสมของความสมัยใหม่ แบบอาณานิคม ประวัติศาสตร์ บาดแผล และความรุนแรง” โดย อ.อสมา มังกรชัย, หัวข้อเรื่อง “จากชาตินิยม (Nationalism) สู่ลัทธิ คลั่งชาติ (Chauvinism)? : การสร้างสำ�นึกสมบัติแห่งชาติของเวียดนามต่อหมู่เกาะในทะเลจีนใต้” โดย อ.มรกตวงศ์ ภูมิพลับ และ เรื่อง “ประวัติศาสตร์การเมืองว่าด้วยพลังนักศึกษาในพม่า: จาก 1938 ถึง 1988” โดย อ.ลลิตา หาญวงษ์ ศูนย์อาเซียนศึกษาขอขอบคุณ วิทยากรทุกท่านที่ได้มาร่วมแลกเปลี่ยนในงานอาเซียน เสวนาและได้อนุญาตให้ทางศูนย์ฯ เป็นผู้จัดพิมพ์และเผยแพร่ผลงานชิ้นสำ�คัญนี้ และมีความเชื่อมมั่น อย่างยิ่งว่างานชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางการศึกษาที่สำ�คัญสำ�หรับผู้ที่สนใจในประเด็น การเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรมในพื้นที่ต่างๆ ในอุษาคเนย์ ความสัมพันธ์เชื่อม รวมถึง พัฒนาการของประชาคมอาเซียนต่อไป ชยันต์ วรรธนะภูติ สมัคร์ กอเซ็ม ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


อาเซียนเสวนา | 6


อาเซียนเสวนา | 7

สารบัญ

อาเซียนเสวนา ความเชื่อมโยงของอาเซียนจากมุมมองระดับล่าง ASEAN Connectivity from Below โดย ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อาเซียนเสวนา ครั้งที่ 1

รื้อถอนมายาคติ AEC โดย ปริวรรต กนิษฐะเสน ธนาคารแห่งประเทศไทย

อาเซียนเสวนา ครั้งที่ 2

แรงงานข้ามชาติในสังคมไทย : สิทธิและสวัสดิการ โดย อดิศร เกิดมงคล เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ

อาเซียนเสวนาครั้งที่ 3

ทหารกับการเมืองในอินโดนีเซีย: อดีต ปัจจุบัน อนาคต โดย ภาณุวัฒน์ พันธุ์ประเสริฐ

คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อาเซียนเสวนาครั้งที่ 4

เปิดเสรีความเกลียดชัง : สำ�รวจภูมิ(ไม่)คุ้มกันของคนไร้อำ�นาจ ในอาเซียนภิวัตน์ โดย วีรฉัตร แก้วประดิษฐ์

เครือข่ายศิษย์เก่าโรงเรียนแม่น้ำ�โขง

12 18 27 79


อาเซียนเสวนา | 8


อาเซียนเสวนา | 9

อาเซียนเสวนาครั้งที่ 5

การขยายตัวของการผลิตพืชพาณิชย์ แถบชายแดนไทย-ลาว และการใช้แรงงานลาวในภาคเกษตรของไทย

50

โดย เนตรดาว เถาถวิล

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อาเซียนเสวนา ครั้งที่ 6

ตํารวจมลายู: ลูกผสมของความสมัยใหม่ แบบอาณานิคม ประวัติศาสตร์บาดแผล และความรุนแรง

58

โดย อสมา มังกรชัย

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

อาเซียนเสวนาครั้งที่ 7

จากชาตินิยม(Nationalism) สู่ลัทธิคลั่งชาติ (Chauvinism) ? : การสร้างสำ�นึกสมบัติแห่งชาติของเวียดนามต่อหมู่เกาะใน ทะเลจีนใต้

67

โดย มรกตวงศ์ ภูมิพลัน

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อาเซียนเสวนา ครั้งที่ 8

ประวัติศาสตร์การเมืองว่าด้วยพลังนักศึกษาในพม่า จาก 1938 ถึง 1988 โดย ลลิตา หาญวงษ์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

79


อาเซียนเสวนา | 12


อาเซียนเสวนา | 13

รื้อถอนมายาคติ AEC

ปริวรรต กนิษฐะเสน1

การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปลาย ปี 2558 ได้ก่อให้เกิดการตื่นตัวในสังคมโดยเฉพาะในประเทศไทยที่มาพร้อมความคาดหวังและความ หวาดกลัว ซึ่งมักจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง และอาจถือได้ว่าเป็น “มายาคติ” ของสังคมไทยต่อ AEC บทความนี2้ จึงจะพยายามเสนอรื้อถอน “มายาคติ” ที่เกี่ยวข้องกับ AEC ในประเด็นที่สำ�คัญ 1. ภาพรวม AEC

AEC ที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 จะปรากฏการณ์ครั้งใหญ่?3

ในความเป็นจริง AEC จะไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ครั้งใหญ่หรือ “big bang” แต่เป็นเพียงก้าว หนึ่งในกระบวนการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจด้วยก้าวเล็กๆ หรือ “baby steps” เราจึงควรมองว่า AEC เป็นเป้าหมายหนึ่ง (milestone) ของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่สมาชิกอาเซียนได้ทำ�มาแล้วกว่า 20 ปี แม้ว่าอาเซียนจะก่อตั้งในปี 2510 แต่การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอย่างจริงจังริเริ่มจากการ ทำ�ความตกลง ASEAN Free Trade Area (AFTA) ที่ทยอยเปิดเสรีการค้าสินค้าในปี 2535 ต่อด้วยความ ตกลงต่างๆ ในด้านการเปิดเสรีภาคบริการ และการลงทุนในระยะต่อมา จนกระทั่งในปี 2550 อาเซียน ได้ตกลงรวบรวมและต่อยอดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ เป็น AEC โดยจัดทำ�พิมพ์เขียว หรือ AEC Blueprint ที่มีเป้าหมายให้เกิดตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน (single market and production base) ในปี 2558 โดยได้ให้นิยามว่า ตลาดร่วมของภูมิภาคอาเซียนควรจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการการลงทุนและแรงงานฝีมือที่เสรี และการเคลื่อนย้ายที่เสรียิ่งขึ้น

ผู้บริหารทีมอาเซียน ฝ่ายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย บทความนี้สรุปจากการบรรยายอาเซียนเสวนาครั้งที่ 1 ณ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 15 สิงหาคม 2557 โดยผู้เขียนได้ รับแรงบันดาลใจจากบทความ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: มายาคติความเป็นจริง โอกาสและความท้าทาย” โดยสมเกียรติ ตั้งกิจวานิ ชย์ และคณะ ในงานสัมมนาวิชาการ TDRI, 2555 3 มติชนออนไลน์, 23 กรกฎาคม 2557 1 2


อาเซียนเสวนา | 14

ทั้งนี้ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนทำ�อย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากประเทศ สมาชิกมีความแตกต่างกันมาก ทั้งด้านการเมืองการปกครอง ภาษา และวัฒนธรรม ส่วนในด้าน เศรษฐกิจมีความแตกต่างกันมากเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น จำ�นวนประชากร รายได้ ระดับการพัฒนา หรือ โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ จนทำ�ให้อาเซียนเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างของ สมาชิกในกลุ่มมากที่สุดในโลก การรวมกลุ่มของอาเซียนจึงได้ใช้หลักการฉันทามติลงคะแนนเสียงในการหาข้อสรุปต่างๆ ในส่วนของการเปิดเสรี จะใช้หลัก “ASEAN-X” ที่หมายถึงประเทศสมาชิกประเทศใดที่ไม่พร้อมที่จะเปิด เสรี ก็สามารถที่จะยังไม่เปิดได้ (คือส่วน “–X”) ซึ่งหลักการนี้จะขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละประเทศ และไม่มีบทลงโทษตามมากำ�กับเหมือนสหภาพยุโรปที่มีบทลงโทษสำ�หรับประเทศที่ไม่กระทำ�ตามข้อ ตกลง 2. การค้าสินค้า

สินค้าต่างชาติจะทะลักเข้าไทยหลังปี 2558?4

ในด้านการค้าสินค้า การเกิดขึ้นของ AEC จะเป็นการดำ�เนินการแบบลดเงื่อนไขต่างๆ ที่ เป็นอุปสรรคทางด้านธุรกรรมทางเศรษฐกิจ อย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยได้ลดภาษีศุลกากรสำ�หรับสินค้า เกือบทุกประเภทระหว่างสมาชิกเรื่อยมาตั้งแต่ปี 2538 จนเหลือ 0% ในปี 2553 สำ�หรับ ASEAN-6 คือ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ในส่วนของกลุ่มประเทศ CLMV คือ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม กำ�หนดลดภาษีศุลกากรเหลือ 0% ในปลายปี 2558 การที่ไทยและประเท ศอื่นๆ ได้ลดภาษีศุลกากรสำ�หรับสินค้านำ�เข้าอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงไม่ได้ทำ�ให้สินค้าต่างชาติทะลัก เข้าตลาดแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม การลดภาษีศุลกากรเป็นเพียงการลดอุปสรรคทางการค้าประเภทเดียวเท่านั้น เนื่องจากสมาชิกอาเซียนยังมีการใช้อุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-tariff barriers) อยู่บ้าง เช่น การกำ�หนดปริมาณนำ�เข้า การขออนุญาตการนำ�เข้า ซึ่งตามแผน AEC จะต้องยกเลิกอุปสรรคดังกล่าว ภายในปี 2558 แต่ในทางปฏิบัติทำ�ได้ยาก เนื่องจากกฎเกณฑ์ต่างๆ ขึ้นกับหลายหน่วยงาน และบาง ประเทศยังใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อกีดกันทางการค้าแทนภาษีศุลกากรที่ลดแล้ว

4

ฐานเศรษฐกิจ, 25 พฤษภาคม 2555


อาเซียนเสวนา | 15

3. การค้าภาคบริการ

10 ประเทศจะเหมือน 10 จังหวัดในการเปิดเสรีบริการ?5

การเปิดเสรีภาพด้านการบริการทำ�ได้หลายรูปแบบ แต่ที่เน้นใน AEC Blueprint คือการเปิด เสรีที่ให้บุคคลต่างด้าวที่เป็นสัญชาติอาเซียนมาลงทุนหรือถือครองหุ้นในกิจการภาคบริการเกิน 51% ตั้งแต่ปี 2553 โดยในสาขาเร่งด่วน (Priority Integration Sectors) คือ IT สุขภาพ ท่องเที่ยว และการบิน โดยจะต้องรีบเร่งรัดรวมกลุ่มที่ต้องเปิดเสรีด้านการบริการก่อนสาขาอื่นๆ ตั้งแต่ปี 2551

อย่างไรก็ดี สมาชิกยังมีความยืดหยุ่นในการเปิดเสรีมาก และในทางปฏิบัติ ความยืดหยุ่นนี้ ทำ�ให้การเปิดเสรีภาพการบริการไม่ค่อยก้าวหน้ามากนัก แม้ในสาขาเร่งด่วน ซึ่งประเทศส่วนใหญ่มักจะ ไม่ผูกพันเกินกว่าที่กำ�หนดไว้ในกฎหมายเดิม คือ ไม่ให้ถือหุ้นเกิน 49% ส่วนประเทศอื่นในกลุ่มสมาชิก เช่น ฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย ยังไม่เปิดเสรีตาม AEC Blueprint เช่นกัน6 ดังนั้นการเปิดเสรีภาค บริการในอาเซียนจึงจะไม่ได้ทำ�ให้อาเซียน 10 ประเทศเหมือน 10 จังหวัดในประเทศไทย 4.การลงทุน

ในปี 2558 เพื่อนบ้านจะเข้ามาลงทุนในประเทศได้อย่างเสรี?7

การเปิดเสรีการลงทุนในอาเซียนทำ�ผ่านความตกลง ASEAN Comprehensive Investment Agreement (ACIA) ซึ่งเปิดให้นักลงทุนในสมาชิกอาเซียนอื่นมาลงทุนได้ โดยทั่วไปแล้วประเทศใน อาเซียนจะเปิดเสรีให้ต่างชาติมาลงทุนในภาคการผลิต (เช่น การผลิตรถยนต์ อีเล็กทรอนิกส์) อย่างไร ก็ดี แต่ละประเทศสามารถที่จะกำ�หนดข้อยกเว้นในสาขาที่อ่อนไหวได้ เช่น ไทยขอสงวนสิทธิในการ ให้ชาวต่างชาติ (ไม่ว่าจะเป็นอาเซียนหรือไม่) ถือครองที่ดิน ทำ�นา เลี้ยงสัตว์ตลอดจนผลิตสิ่งของที่ เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม เช่น การทำ�พระพุทธรูป ส่วนประเทศอื่นได้สงวนสิทธิในสาขาที่อ่อนไหว เช่น มาเลเซีย บรูไน และอินโดนีเซีย ที่ขอสงวนสิทธิการผลิตและแปรรูป น้ำ�มันและก๊าซธรรมชาติ นอกจากการเปิดเสรีแล้ว ความตกลง ACIA ยังคุ้มครองการลงทุนแก่การลงทุนต่างชาติที่มา จากประเทศอาเซียนในกรณีต่างๆ เช่น การชดเชยค่าเสียหายในกรณี การเวนคืน เหตุการณ์ไม่สงบ การเคลื่อนย้ายเงินทุน ที่เปิดให้นักลงทุนสามารถฟ้องรัฐได้โดยตรงหากผิดพันธกรณี โดยให้อนุญาต ตุลาการระหว่างประเทศ (แทนศาลในประเทศ) เป็นผู้ตัดสินคดี เวบไซท์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2556 ASEAN Framework Agreement on Services, Schedules of Commitment, 2010 7 ข่าวอาร์วายทีไนน์, 30 กรกฎาคม 2557 5 6


อาเซียนเสวนา | 16

5.แรงงาน

หลังปี 2558 แพทย์ผู้รักษาประชาชนคนไทย 2 ใน 3 คนอาจเป็นคุณหมอชาว พม่า?

แม้ว่าใน AEC Blueprint กำ�หนดให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี แต่ในความเป็น จริง การทำ�ความตกลง Mutual Recognition Agreement ในวิชาชีพต่างๆ เช่น วิศวกร นักสำ�รวจ แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ บัญชี สถาปนิก ไม่ได้เป็นการเปิดเสรีทางด้านแรงงาน แต่เป็นการอำ�นวยความ สะดวกทางเคลื่อนย้ายแรงงานมากกว่า ทั้งนี้ เนื่องจากมีข้อจำ�กัดทางด้านกฎหมายที่ได้กำ�กับไว้ เช่น แพทย์จากประเทศอาเซียนอื่นต้องสอบใบประกอบอาชีพของไทยก่อนที่จะมีสิทธิประกอบอาชีพแพทย์ ในไทย ซึ่งการสอบดังกล่าวเป็นภาษาไทย ทั้งนี้ความตกลง MRA มีผลบังคับใช้มาเริ่มตั้งแต่ปี 2550 แล้ว (ไม่ใช่ในปี 2558 ตาม AEC) แต่จำ�นวนแรงงานจากประเทศอาเซียนในประเทศไทยใน 7 วิชาชีพยัง มีอยู่น้อยมาก คือ 390 คน ซึ่งเมื่อเทียบกับจำ�นวนแรงงานอาเซียนในไทยทั้งหมด คือ 1.4 ล้านคน แสดง ให้เห็นว่า AEC Blueprint ไม่ได้กล่าวถึงแรงงานส่วนใหญ่ที่เคลื่อนย้ายในภูมิภาคนี้ คือ แรงงานไร้ฝีมือ (Unskilled labor) หรือ แรงงานกึ่งฝีมือ (Semi-skilled labor) ซึ่งการเคลื่อนย้ายแรงงานเหล่านี้ขึ้นอยู่ ตามความต้องการและกฎเกณฑ์ของแต่ละประเทศ และไม่ได้เป็นไปตามความตกลงในกรอบอาเซียน

8 9

ไทยพีบีเอส 6 พฤศจิกายน 2555 ข้อมูลจากสำ�นักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน 2557


อาเซียนเสวนา | 17

6.เงินทุน

ในปี 2558 ประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องเปิดให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้า หรือออกอย่างเสรี?10

AEC Blueprint กำ�หนดไว้ชัดเจนว่าเป้าหมายในเรื่องเงินทุนเคลื่อนย้ายคือการเคลื่อนย้าย ที่เสรียิ่งขึ้น (freer flows) ทั้งนี้ เนื่องจากสมาชิกอาเซียนมีความแตกต่างในลำ�ดับการเปิดเสรีเงินทุน เคลื่อนย้าย เช่น เมียนมาร์ ยังไม่ได้เปิดเสรีเงินทุนเดินสะพัด (เพื่อการค้าสินค้าและบริการ) ส่วนไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์มีตลาดทุนแล้ว และกำ�ลังเปิดเสรีบัญชีทุนในหลักทรัพย์ขาออก (portfolio outflows) ในขณะที่สิงคโปร์เปิดเสรีเงินทุนเคลื่อนย้ายเกือบหมดแล้ว เนื่องจากการเปิดเสรีในระดับที่ สูงขึ้นจะนำ�มาซึ่งความเสี่ยงที่สูงขึ้นเช่นกัน กระบวนการการเปิดเสรีจึงขึ้นอยู่กับตามความพร้อมของ แต่ละประเทศ และต้องมีมาตรการที่เพียงพอเพื่อรองรับกรณีเงินทุนไหลเข้าหรือออกอย่างฉับพลันเพื่อ ป้องกันวิกฤติทางการเงิน

7.อาเซียนจะมีสกุลเงินเดียวกันหรือไม่ ?

ต่อไปอาเซียนจะมีเงินสกุลเดียวแบบยุโรป?11

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนและสหภาพยุโรปมีการพัฒนาที่แตกต่างกันมาก ใน ขณะที่ AEC จะเป็นการรวมกลุ่มแบบหลวมๆ หลายประเทศในสหภาพยุโรปได้ก้าวไกลไปถึงสหภาพ ทางการเงิน (Monetary Union) ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจที่ใช้เงินสกุลเดียวกัน มีธนาคารกลางร่วมที่กำ�หนด นโยบายการเงินร่วม ปัจจุบันสมาชิกอาเซียนยังไม่พร้อมที่จะใช้เงินสกุลเดียวกัน เนื่องจากเศรษฐกิจมีความแตก ต่างมาก ทั้งนี้ ตามทฤษฎี “Optimum Currency Area”12 การใช้เงินสกุลเดียวกันจะเหมาะสมกับ กลุ่มประเทศที่มี 1.แรงงานเคลื่อนย้ายเสรี 2.เงินทุนเคลื่อนย้ายเสรี 3.ระบบชดเชยการคลัง 4.วัฏจักร เศรษฐกิจสอดคล้องกัน ดังนั้น จึงจะเห็นได้ว่า ปัจจุบัน AEC ยังขาดคุณสมบัติทั้ง 4 ในการมีเงินสกุล เดียวกัน แม้แต่สหาพการเงินยุโรปเอง ไม่มีระบบชดเชยการคลัง และวัฏจักรเศรษฐกิจของหลาย ประเทศไม่สอดคล้องกัน จึงเป็นเหตุผลที่สำ�คัญที่ทำ�ให้เกิดวิกฤติทางการเงินในกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโร มหาวิทยาลัยสุโขธัยธรรมาธิราช “เตรียมตัวให้พร้อมเพื่อเข้าสู่ AEC ในปี 2558” มิตรสหายท่านหนึ่งของผู้เขียน 12 Mundell, “A Theory of Optimum Currency Areas”, 1961 10 11


อาเซียนเสวนา | 18


อาเซียนเสวนา | 19

แรงงานข้ามชาติในสังคมไทย : สิทธิและสวัสดิการ อดิศร เกิดมงคล

ปัจจุบันแรงงานข้ามชาติโดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานที่ยัดขาดฝีมือ ในไทยมีอยู่ 3 สัญชาติ ได้แก่ พม่า,ลาว และกัมพูชา ซึ่งภาวะการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างชาติเกิดขึ้นทั้งจากการเปลี่ยนแปลง สภาวะภายในของประเทศไทย อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่ยุคพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ที่ใช้ นโยบายทางเศรษฐกิจเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า ส่งผลทำ�ให้พื้นที่ตามแนวชายแดนได้เปิดขึ้น พร้อมกับการไหลเวียนของผู้คน ขณะเดียวกันก็ขึ้นอยู่กับการเมืองภายในประเทศของแรงงานเหล่า นั้นที่มีความขัดแย้งกัน จึงทำ�ให้เกิดการอพยพเข้ามาในประเทศไทยและหมุนเวียนตามชายแดน เช่น เหตุการณ์ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1999 หรือรู้จักกันในชื่อเหตุการณ์ 8/8/88 อย่างไรก็ตามนโยบายการจัดการแรงงานข้ามชาติเริ่มเกิดขึ้นอย่างจริงจังในปีพ.ศ.2535 ใน ยุคของอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีเป้าหมายจะจัดการแรงงานข้ามชาติเพื่อควบคุม ผู้อพยพเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย หรือ เป็นกลุ่มคนที่ลี้ภัยเข้ามาในสมัยนั้น และไม่ได้อยู่ในค่ายผู้ลี้ ภัย (ศูนย์พักพิงผู้หนีภัยการสู้รบชั่วคราว) ที่ได้จัดเตรียมไว้ กลุ่มคนเหล่านี้จะอาศัยอยู่ข้างนอกค่าย ผู้ลี้ภัยที่ได้เตรียมไว้จึงถือว่าผิดกฎหมาย ในอีกด้านก็เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานอันเกิด จากการเคลื่อนตัวของแรงงานไทยที่ออกมาจากแรงงานภาคเกษตรเข้าสู่แรงงานภาคอุตสาหกรรม อัน สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นเขตอุตสาหกรรมใหม่ NIC (New industrial coun tries) ที่จำ�เป็นจะต้องดึงแรงงานภาคเกษตรเข้ามาสู่ภาคอุตสาหกรรม ในปี พ.ศ.2532 ได้เกิดภัยภิบัติทางธรรมชาติ(พายุเกย์) ทำ�ให้การทำ�ประมงได้ประสบปัญหา ด้านแรงงาน มีลูกเรือประมงเสียชีวิตเป็นจำ�นวนมากและแรงงานประมงเดิมส่วนใหญ่ไม่มีความ ต้องการทำ�งานในเรือประมงและย้ายไปทำ�งานในกิจการอื่นๆ ทำ�ให้ผู้ประกอบการประมงทะเลได้มีการ เรียกร้องต่อรัฐบาล ให้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อสามารถจ้างแรงงานข้ามชาติมาเป็นแรงงานประมงใน ประเทศไทยได้ สุดท้ายทางรัฐบาลยินยอมพร้อมกับแก้กฎหมาย จึงทำ�ให้แรงงานข้ามชาติสามารถมา เป็นแรงงานทางด้านการประมงได้ ซึ่งแต่เดิมอาชีพประมงและกรรมกร จะสงวนให้เฉพาะแรงงานไทย ในปี พ.ศ.2539 มีการเปิดให้ลงทะเบียนแรงงานข้ามชาติในพื้นที่ชั้นใน โดยเฉพาะจังหวัด ที่การจ้างงานในกิจการประมงทะเลเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดชุมชนแรงงานข้ามชาติขึ้นในพื้นที่ที่ทำ� ประมง เช่น จ.สมุทรสาคร และขยายไปจนถึงอุตสาหกรรมทางทะเลที่เป็นโรงงาน ที่เปิดรับแรงงานข้าม ชาติมากขึ้นด้วยเช่นกัน ในปี พ.ศ.2542 ไทยเกิดสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2540 จึงเกิดการ ปะทะกันระหว่างฝ่ายที่ยึดความมั่นคง (รมต.แรงงาน ไตรรงค์ สุวรรณคีรี) ที่ได้กล่าวว่าการแก้ไขปัญหา แรงงานไทยตกงานไม่ยากแค่เอาแรงงานต่างชาติออกไป แต่ในท้ายที่สุดก็ไม่สามารถหยุดกระแสของ การจ้างแรงงานข้ามชาติไปได้ ยังคงมีนโยบายการจัดการแรงงานข้ามชาติที่ใช้ระบบผ่อนพันให้ทำ�งาน ได้ปีต่อปี ในปี 2542-2543 จึงเปิดให้มีการจ้างงานแรงงานข้ามชาติได้ 43 จังหวัด 18 กิจการ และขยาย เพิ่มเรื่อยๆ จนครบ 76 จังหวัด


อาเซียนเสวนา | 20

ในปี พ.ศ.2544 ยุคสมัย ทักษิณ ชินวัตร ทราบถึงปัญหาของการจดทะเบียนแรงงานต่าง ชาติแบบปีต่อปีว่ามีปัญหาและไม่สามารถจัดการในระยะยาวได้จึงได้เริ่มมีแนวคิดที่จะจัดการแรงงาน ข้ามชาติให้เป็นระบบมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ได้เสนอนโยบายการขายประกันสุขภาพของแรงงานข้าม ชาติขึ้น โดยอิงรูปแบบของนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค)ของคนไทย แต่ แรงงานข้ามชาติจะต้องซื้อบัตรประกันสุขภาพเป็นรายปี ทั้งนี้ในเชิงนโยบายการจัดการแรงงานข้าม ชาติในเรื่องการจ้างงานนั้นในปี 2544 มีกิจการที่อนุญาตให้แรงงานข้ามชาติทำ�งานได้ ทั้งสิ้น 10 กิจการ ในปี พ.ศ.2545-2546 รัฐบาลทักษิณ ได้เสนอแนวคิดที่จะแก้ปัญหาได้ในระยะยาวเกี่ยวกับ การจ้างแรงงานข้ามชาติให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยได้มีการหารือกับประเทศต้นทางของแรงงานข้าม ชาติทั้งสามประเทศ เพื่อให้มายืนยันสัญชาติและออกหนังสือเดินทางให้ถูกต้องตามกฎหมาย และเปิด ให้มีการนำ�เข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านทั้งสามประเทศอย่างถูกกฎหมาย โดยมีการเริ่มทำ�บันทึก ข้อตกลงเรื่องการจ้างงานขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ.2545 และในปี พ.ศ.2546 ในส่วนการผ่อนผันกลุ่ม แรงงานข้ามชาติได้มีแนวนโยบายที่รวมกิจการที่อนุญาตให้แรงงานต่างชาติทำ�ได้จากเดิม 10 ประการ เหลือเพียง 6 กิจการ ในปี พ.ศ.2547 เริ่มดำ�เนินการอย่างจริงจังเกี่ยวกับการจัดการแรงงานข้ามชาติ โดยมีการ จัดการระบบการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติใหม่ทั้งหมด โดยเปิดให้มีการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติ และผู้ติดตาม เพื่อนำ�ไปสู่กระบวนการทำ�ให้ถูกกฎหมาย (Legalization) โดยการให้ประเทศต้นทาง เข้ามาพิสูจน์สัญชาติแรงงานข้ามชาติที่จดทะเบียนในครั้งนี้ นอกจากนั้นแล้วยังเป็นครั้งแรกที่มีการจด ทะเบียนผู้ติดตาม ซึ่งถือเป็นการยอมรับว่าแรงงานข้ามชาติไม่ได้เข้ามาเพียงตัวของแรงงานเท่านั้นแต่ เข้ามาพร้อมครอบครัว ทั้งนี้มีสาเหตุเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ปัจจัยทางด้านการเมือง ที่มีความขัดแย้ง ระหว่างรัฐบาลทหารและชนกลุ่มน้อยในพม่า จึงเป็นไปไม่ได้ที่แรงงานข้ามชาติเหล่านี้จะเข้ามาเพียง ตัวคนเดียว การเปิดจดทะเบียนในครั้งนี้นั้น ทำ�ให้ยอดของแรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามที่ถูกต้องตาม กฎหมายอยู่ที่ประมาณ 1ล้านคน ในครั้งนั้นได้มีการปรับแนวทางในการจดทะเบียน โดยมีมาตรการ ให้การจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติอิงกับระบบทะเบียนราษฎรใช้เลขประจำ�ตัว 13 หลักเหมือนคนไทย ออกบัตรประจำ�ตัวแรงงานข้ามชาติและใบอนุญาตทำ�งานให้ หลังจากนั้นก็มีการดำ�เนินการพิสูจน์ สัญชาติโดยมีเจ้าหน้าที่จากประเทศต้นทางเข้ามาดำ�เนินการพิสูจน์สัญชาติและออกหนังสือเดินทาง ให้แก่แรงงานข้ามชาติเพื่อปรับสถานะจากแรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองผิดกฎหมายไปเป็นแรงงานข้าม ชาติที่เข้าเมืองถูกกฎหมาย ในการดำ�เนินการช่วงแรกจะมีแค่ประเทศลาว และ กัมพูชา ที่สนใจเข้ามา ดำ�เนินการพิสูจน์ สำ�หรับพม่ายังไม่ได้ให้ความสนใจกับในการดำ�เนินการพิสูจน์สัญชาติแรงงานข้าม ชาติเหล่านี้ จนกระทั่งภายหลังที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในพม่าเริ่มปรับเปลี่ยนไปใน แนวทางประชาธิปไตย จึงมีความสนใจในแรงงานข้ามชาติมากยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ.2551 มีการแก้ไขกฎหมาย พรบ.การทำ�งานต่างด้าว โดยเฉพาะได้มีการเพิ่มเติม ในส่วนการจ้างแรงงานข้ามชาติในพื้นที่ชายแดนเพิ่มขึ้นมา อย่างไรก็ตามจนถึงปัจจุบันการจ้างแรงงาน ชายแดนที่ถูกกฎหมายยังไม่เกิดขึ้น เนื่องจากยังติดปัญหาในเรื่องเอกสารที่จะใช้ในการขออนุญาต ทำ�งาน เพราะหนังสือผ่านแดน (Border pass) ที่แต่เดิมจะเป็นเอกสารที่จะใช้สำ�หรับเป็นเอกสารใน การขออนุญาตทำ�งานนั้นในข้อตกลงระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านที่ระบุกิจกรรมที่จะใช้หนังสือ ผ่านแดนเข้ามาดำ�เนินการในแต่ละประเทศได้นั้นไม่ได้ครอบคลุมถึงการจ้างแรงงาน


อาเซียนเสวนา | 21

การจัดระบบแรงงานข้ามชาติ

การจัดการแรงงานข้ามชาติที่ผ่านมาจะเป็นการจัดการแบบภาวะยกเว้น เพราะแต่เดิม ประเทศไทยเข้มงวดกับการจ้างงานแรงงานผิดกฎหมาย เนื่องจากไม่อยากให้แรงงานที่ผิดกฎหมาย เข้ามาทำ�งานโดยเฉพาะแรงงานในกลุ่มขาดทักษะฝีมือ โดยพรบ.คนเข้าเมือง จะมีข้อกฎหมายที่ระบุ ให้คนเข้าเมืองถูกกฎหมายห้ามทำ�งานในประเภทกรรมกรอย่างชัดเจน อย่างไร ก็ดีพรบ.คนเข้าเมือง ใน ม.17 ก็ให้อำ�นาจรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีสามารถใช้หรือ ไม่ใช้กฎหมายบางข้อหรือกฎหมายทั้งฉบับในพรบ.คนเข้าเมือง จึงกลายเป็นข้อยกเว้นสำ�หรับรัฐบาล ไทยในช่วงที่ผ่านมาที่จะมีนโยบายในการผ่อนปรนให้สามารถอนุญาตและเปิดให้จ้างแรงงานข้ามชาติ จากประเทศเพื่อนบ้านอยู่อาศัยและให้ทำ�งานในงานกรรมกรในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราวและใช้ อำ�นาจตาม และ ม.13 (เดิมเป็นมาตรา 12 ของพรบ.การทำ�งานของคนต่างด้าวให้สามารถจ้างแรงงาน คนเข้าเมืองที่ไม่ถูกกฎหมายได้ ปัจจุบันจะมีแรงงานข้ามชาติอยู่ในประเทศไทยอยู่ 3 ลักษณะ 1.แรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย แต่ได้รับผ่อนผันให้อยู่และทำ�งานได้ชั่วคราว ซึ่ง ในปัจจุบันมีอยู่ 2 กลุ่ม 1.1กลุ่มที่จดทะเบียนในยุครัฐบาล คสช. 1.2กลุ่มประมงทะเล ที่นโยบายเปิดให้ขอจดทะเบียนจ้างงานได้ปีละ2ครั้ง เนื่องจาก การออกทะเลจะมีเวลาเข้าฝั่งในช่วงเวลาไม่ตรงกัน 2.แรงงานที่ ผ่ า นการพิ สู จ น์ สั ญ ชาติ แ ละปรั บ สถานะเป็ น แรงงานเข้ า เมื อ งถู ก กฎหมาย แรงงานกลุ่มนี้คือ แรงงานกลุ่มที่แต่เดิมมีสถานะเข้าเมืองผิดกฎหมาย แต่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่และ ทำ�งานได้ชั่วคราว (แรงงานในกลุ่ม 1.) โดยแรงงานกลุ่มนี้จะถูกทำ�ให้ถูกกฎหมายได้ต้องได้รับการ พิสูจน์สัญชาติจากประเทศต้นทางและได้รับหนังสือเดินทางหรือหนังสือเดินทางชั่วคราวจากประเทศ ต้นทางและได้รับอนุยาตเข้าเมืองถูกกฎหมายและอนุญาตให้ทำ�งานในประเทศไทย ซึ่งแรงงานกลุ่มนี้ จะทำ�งานในประเทศไทยได้ 2 ปี และต่ออีก 2 ปีหลังจากนั้นต้องเดินทางกลับประเทศก่อน ถึงจะกลับมา ทำ�งานได้อีก 3.กลุ่มแรงงานนำ�เข้าจาก MOU เป็นกลุ่มเข้าเมืองแบบถูกกฎหมาย ผ่านระบบจัดหางาน และข้อตกลงระหว่างประเทศ ทำ�งานได้ไม่เกิน 4 ปี หลังจากนั้นต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง ซึ่ง ตาม MOU กำ�หนดให้ต้องกลับประเทศต้นทาง 3 ปี แล้วสามารถกลับเข้ามาทำ�งานต่อได้ ในปัจจุบัน มีความพยายามของทั้งไทยและประเทศต้นทางที่จะแก้ไข MOU ในเรื่องระยะเวลาในการเดินทางกลับ ประเทศต้นทางและพักระยะเวลา 3 ปี ให้มีช่วงพักที่สั้นลง นอกจากนั้นแล้วยังมีกลุ่มจ้างงานชายแดนตามพรบ. การทำ�งานของคนต่างด้าวซึ่งในปัจจุบัน ยังไม่มีกฎกระทรวงในเรื่องนี้ออกมา แต่ก็คาดว่าจะสำ�เร็จในช่วงที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนที่กำ�ลัง จะเกิดขึ้น


อาเซียนเสวนา | 22

จำ�นวนของประชากรแรงงานข้ามชาติ ทั้ง 3 สัญชาติ

ในปัจจุบันมีกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ถูกต้องตามกฎหมายผ่านการพิสูจน์สัญชาติประมาณ 1.5ล้านคน หรือประมาณ 53% แรงงานที่มาตามระบบ MOU ทั้งหมด 251,373 คน หรือประมาณ 12% และมีแรงงานที่จดทะเบียนที่ผ่อนปรนตามระเบียบของคณะรัฐมนตรี 767,109 หรือ ประมาณ 35%

สิทธิในฐานะของแรงงาน

ในด้านสิทธิแรงงานยังพบว่าแรงงานข้ามชาติยังไม่ได้รับสิทธิแรงงานพื้นฐานตามกฎหมาย เช่น ค่าจ้างขั้นต่ำ� ค่าล่วงเวลา ประเด็นเรื่องค่าแรง 300 บาท จะพบว่าแรงงานข้ามชาติจะได้รับในกลุ่มที่ทำ�งาน ในพื้นที่ที่มีการจ้างงานค่อนข้างเข้มข้นและมีการต่อรองราคาค่อนข้างสูง โดยเฉพาะพื้นที่อุตสาหกรรม หรือ พื้นที่บริเวณที่มีการจ้างแรงงานข้ามชาติจำ�นวนมาก เช่น จังหวัดสมุทรสาคร เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้ ต้องการแรงงานจำ�นวนมาก การต่อรองจึงเกิดขึ้น ประเด็นการถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือการถูกล่วงละเมิดจากอคติทางชาติพันธ์ เช่น วัยรุ่น ชาวไทยไปทำ�ร้ายร่างกายชาวพม่า หรือการรีดไถเงินและข่มขืน การขูดรีดแรงงานต่างชาติของนายหน้า ความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่รัฐ การถูกหลอกและรีดไถจากเจ้าหน้าที่รัฐ อย่างไรก็ตาม หากมองในเรื่องกฎหมายแล้ว ประเทศไทยมีการคุ้มครองแรงงานตามกฎหมาย ที่ดีมาก แต่ถูกออกแบบให้มารองรับเฉพาะแรงงานไทย ตัวอย่างเช่น การเรียกร้องกรณีการละเมิดสิทธิ แรงงาน จะต้องมีการกรอกแบบฟอร์มประมาณ 3-4 หน้าแต่เป็นแบบฟอร์มภาษาไทยที่มีความละเอียด ซึ่งมีกรณีศึกษาที่ว่า ลูกจ้างถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมประมาณ 100 กว่าคน แต่ต้องใช้วิธีการกรอก แบบฟอร์มถึง 3 เดือน อันสะท้อนถึงกฎหมายไทยไม่ได้ออกแบบเพื่อเปิดให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงได้ หรือ แม้แต่คดีความเรื่องการเลิกจ้างแรงงานอย่างไม่เป็นธรรมบางครั้งต้องใช้เวลานาน จึงทำ�ให้ลูกจ้างถอด ใจไม่ฟ้องคดีต่อนายจ้าง หันหลังกลับไปทำ�งานตามเดิม เนื่องจากกระบวนการทางกฎหมายต้องใช้เวลา มากทำ�ให้แรงงานข้ามชาติไม่ได้เข้าถึงพื้นที่ส่วนนี้มากเท่าที่ควร เรื่องล่ามแปลภาษายังเป็นปัญหาใหญ่ จากข้อมูลฝ่ายคุ้มครองสวัสดิการแรงงาน มีล่าม ภาษาพม่าแค่ 3 พื้นที่ คือ แม่สอด สมุทรสาคร ระนอง เพราะว่าล่ามยังเป็นอาชีพสงวนให้กับคนไทย จึง ทำ�ให้เกิดปัญหาด้านการเข้าถึงข้อมูลและสิทธิที่ควรจะได้รับการคุ้มครอง ทัศนะคติของเจ้าหน้าที่รัฐยังเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึง ที่เชื่อว่าถ้าแรงงานข้ามชาติเข้ามา อย่างผิดกฎหมายต้องไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ซึ่งเป็นอคติที่ขัดกับข้อเท็จจริงทางกฎหมาย พอสมควร เพราะหลักทางกฎหมายจะไม่เลือกปฏิบัติว่าเป็นใคร ประเด็นที่สำ�คัญในปัจจุบันแรงงานข้ามชาติยังไม่สามารถที่จะก่อตั้งสหภาพแรงงานได้ เนื่องจากพรบ.แรงงานสัมพันธ์ ที่มีข้อกำ�หนดให้คุณสมบัติของผู้ก่อตั้งและกรรมการสหภาพแรงงาน ต้องมีสัญชาติไทย จึงส่งผลให้แรงงานข้ามชาติยังขาดพลังการต่อรองค่อนข้างมาก


อาเซียนเสวนา | 23

สวัสดิการด้านสุขภาพ

สวัสดิการด้านสุขภาพมีอยู่ 2 รูปแบบ 1.ประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ดูแลโดยกระทรวงสาธารณสุข วิธีการในการเข้าถึงประกัน สุขภาพ จะกำ�หนดให้แรงงานข้ามชาติซื้อบัตรประกันสุขภาพปีละ 1 ครั้ง ครอบคลุม 1 ปี กลุ่มเป้าหมายที่ จะต้องซื้อประกันสุขภาพแบ่งเป็น สามกลุ่ม คือ แรงงานข้ามชาติที่มีสถานะเป็นคนเข้าเมืองถูกกฎหมาย แต่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่และทำ�งานได้ชั่วคราวหรือกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ได้รับการจดทะเบียนตาม มติ ครม.ในแต่ละปี กลุ่มเป้าหมายที่สองเป็น แรงงานข้ามชาติที่มีสถานเข้าเมืองถูกกฎหมายแล้ว ทั้ง กลุ่มพิสูจน์สัญชาติและกลุ่มนำ�เข้าตาม MOU แต่ทำ�งานในกิจการที่ไม่เข้าเป็นผู้ประกันตนกองทุน ประกันสังคม เช่น งานรับใช้ในบ้าน เกษตร ประมงทะเล กลุ่มสุดท้าย คือกลุ่มผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ โดยกลุ่มเด็กที่อายุไม่เกิน 7 ปีจะซื้อประกันสุขภาพในราคาเพียง 365 บาท ส่วนกลุ่มเด็กที่เกิน 7 ปีจะเสีย ค่าประกันในราคาเดียวกับแรงงานข้ามชาติสิทธิประโยชน์ของประกันสุขภาพจะให้สิทธิเฉพาะแค่การ บริการด้านสุขภาพเท่านั้น 2.ประกันสังคม กลุ่มเป้าหมายเป็นแรงงานที่เข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือกลุ่มแรงงาน MOU แต่ต้องอยู่ในส่วนที่ประกันสังคมคุ้มครอง โดยแรงงานข้ามชาติจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน ในกองทุนประกันสังคมภายใน 30 วันหลังจากได้รับใบอนุญาตทำ�งาน โดยการจ่ายสมทบจะใช้ระบบ หัก 5 % ของเงินเดือน และนายจ้างจะต้องจ่ายสมทบอีก 5% และรัฐจะจ่ายสมทบอีกส่วนหนึ่ง โดยสิทธิ ประโยชน์ที่ได้รับ จะได้รับ 7 สิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับแรงงานไทย เช่น รักษาพยาบาล พิการ เสียชีวิต คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ว่างงาน และชราภาพ ตัวเลขการเข้าถึงประกันสุขภาพ จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุข แรงงานทั้งหมด 4-5 แสน คน แต่มีคนซื้อบัตรประกันสุขภาพตามจริงประมาณ 2.5 แสนคน ตัวเลขที่หายไปกว่าครึ่ง แสดงให้เห็น ถึงอะไรที่ผ่านมาโรงพยาบาลส่วนหนึ่งยังมองว่าการขายประกันสุขภาพแรงงานข้ามชาติที่เกิดขึ้นใน ปัจจุบันยังมีความเสี่ยงที่จะต้องแบกรับภาระเรื่องค่าใช้จ่ายจากระบบประกันค่อนข้างมาก โดยเฉพาะ โรงพยาบาลขนาดเล็ก หรือโรงพยาบาลที่มีผู้ประกันสุขภาพน้อย ทำ�ให้หลายโรงพยาบาไม่ขายประกัน สุขภาพให้แก่แรงงานข้ามชาติจำ�นวนหนึ่ง เช่น กลุ่มไม่มีเอกสาร กลุ่มผู้ติดตามหรือแม้แต่รายละเอียด ของกระบวนการทำ�บัตรประกันสุขภาพที่ต้องขอเอกสารมากมายเพื่อมาประกอบในการซื้อประกัน สุขภาพ แม้ในแนวทางการปฏิบัติของกระทรวงสาธารณสุขไม่ได้กำ�หนดไว้ก็ตาม สาเหตุสำ�คัญอีก ประการคือ แรงงานข้ามชาติไม่ทราบข้อมูลเรื่องการขายประกันสุขภาพ นอกจากนั้นแล้วทางภาครัฐยัง ไม่มีกลไกที่จะไปบังคับให้โรงพยาบาลขายบัตรประกันสุขภาพให้ได้ทั้งหมด จะขายหรือไม่ขายขึ้นอยู่กับ โรงพยาบาลนั้นๆ ที่สำ�คัญบัตรประกันสุขภาพมีราคาแพง โดยมีค่าใช้จ่ายในการประกันสุขภาพทั้งหมด 2,800 บาท ทำ�ให้แรงงานข้ามชาติรู้สึกว่าไม่คุ้มกับเงินที่จ่ายไป หรือหากต้องซื้อทุกคนในครอบครัวก็เป็น ภาระสำ�หรับค่าใช้จ่ายในครอบครัวอย่างมาก ระบบประกันสังคม มีจำ�นวนแรงงานข้ามชาติที่ควรจะเข้าประมาณ 6แสนกว่าคน แต่ กุมภาพันธ์ปี 56 มีแรงงานข้ามชาติเข้าประกันสังคมแค่ 2 แสนกว่าคน อันเป็นผลมาจาก 3 ปัจจัย ดังนี้ 1.ประกันสังคมถูกออกแบบให้เหมาะสมกับคนไทยที่จะต้องมีประกันในระยะยาว เช่น มี ประกันชราภาพ เมื่ออายุ 55 ปีถึงจะใช้ได้ ซึ่งไม่สอดคล้องกับแรงงานต่างชาติ


อาเซียนเสวนา | 24

2.ตัวกฎหมายไม่ได้ระบุว่าจะต้องเป็นคนที่ถูกกฎหมายที่สามารถทำ�ได้ แต่แนวทางการปฏิบัติ ของประกันสังคมกลับเป็นไปในแนวทางที่ให้เฉพาะคนที่เข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น 3.ภาวะไม่ทำ�งานร่วมกันของ สองหน่วยงาน ในกระทรวงเดียวกัน คือกรมการจัดหางานมีหน้า ที่รับแรงงานเข้าทำ�งานและประกันสังคมมีหน้าที่รับแรงงานเข้าประกันสังคม หากสถานการณ์ที่กรมการ จัดหางานไม่สามารถออกใบอนุญาตทำ�งานตัวจริงให้ได้จึงออกใบแทนให้ แต่เมื่อจะไปยื่นเอกสารเพื่อเข้า ประกันสังคม ประกันสังคมไม่สามารถขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนให้ได้เนื่องจากต้องการใบอนุญาตทำ�งาน ตัวจริงไม่ใช่เอกสารแทนใบอนุญาตทำ�งานเนื่องจากใบอนุญาตตัวจริงมีหมายเลขประจำ�ตัวอนุญาต ทำ�งาน ตัวเลขการเข้าถึงสวัสดิการด้านสุขภาพ มีแรงงานเกือบ 7 แสนคนไม่มีระบบประกันสุขภาพ มี 4 แสนคนอยู่ระหว่างประกันสังคมหรือประกันสุขภาพถ้วนหน้า และอีก 2 แสนคนที่ไม่ทราบข้อมูล แน่ชัด ดังนั้นมากกว่า 70% ของแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสุขภาพใดในระบบ แทนที่ ระบบควรจะต้องออกแบบให้แรงงานข้ามชาติเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

ไทยพร้อมหรือไม่ที่จะรับมือกับแรงงานที่จะเข้ามาอย่างต่อเนื่องในอนาคตข้างหน้า ?

หากพิจารณาในแง่โครงสร้างทางกฎหมายและนโยบายแล้ว ประเทศไทยมีความพร้อมใน การดำ�เนินการเรื่องแรงงานในอนาคต เนื่องจากไทยมีพรบ.คนต่างด้าวที่ค่อนข้างเปิดในประเด็นการจ้าง งานชายแดน มีการจ้างงานทั่วไป มีระบบเปิดช่องว่างให้แรงงานผิดกฎหมายให้เข้ามาเป็นแรงงานที่ถูก กฎหมายได้ แต่ปัญหาหลักของไทยมีความหวาดระแวงกับกลุ่มแรงงานไร้ผีมือ ไม่เฉพาะประเทศไทย เท่านั้นที่มีความหวาดระแวงเช่นนี้ ยังรวมถึงอาเซียนและรัฐภาคีสมาชิกอาเซียนต่างๆด้วยที่มีความ หวาดระแวงต่อแรงงานไร้ฝีมือกลุ่มนี้ ทำ�ให้มีการตั้งกำ�แพงต่อบุคคลกลุ่มนี้ค่อนข้างมาก ถ้าหากย้อนดู ที่ประชุมต่างๆ ในเรื่องแรงงานข้ามชาติในอาเซียนแล้ว จะพบว่าประเทศชั้นนำ�ในอาเซียนจะไม่กล่าวถึง แรงงานไร้ฝีมือกลุ่มนี้ ถึงแม้ว่าประเทศชั้นนำ� เช่น สิงค์โปร์ มาเลเซีย จะรับเอาแรงงานไร้ฝีมือเหล่านี้เข้า มาทำ�งานในประเทศ แต่ไม่พูดถึงประเด็นแรงงานไร้ฝีมือ เพื่อไม่ต้องการให้เป็นวาระแห่งชาติ ที่สำ�คัญ ไทยยังขาดยุทธศาสตร์ที่สำ�คัญต่อแรงงานข้ามชาติ ถึงแม้ไทยจะมีตัวกฎหมายเรื่องแรงงานที่ดี แต่ยัง ขาดกลไกที่สอดคล้องกับกฎหมายเช่นกัน ประเทศไทยมีนโยบายเรื่องการศึกษาที่ดีได้รับคำ�ชมของหลายประเทศ เนื่องจากประเทศไทย มีนโยบายที่เปิดโอกาสให้เด็กทุกคนเข้าถึงการศึกษา แม้แต่เด็กที่ไม่มีเอกสารต่างๆ ก็สามารถเข้าไปศึกษา เล่าเรียนได้ แต่นักเรียนไทยหรือผู้ปกครองของนักเรียนไทยไม่ตระหนักรู้ถึงการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น ทั้งยัง มีทัศนะคติที่กีดกั้นคนอื่น เช่น โรงเรียนในหลายๆพื้นที่ ผู้ปกครองประกาศว่าถ้ารับนักเรียนพม่าเข้าเรียน จะนำ�บุตรของตนเองออกจากโรงเรียนนั้นและไปเรียนที่อื่น เพราะไม่อยากให้ลูกของตนเรียนหนังสือร่วม กับนักเรียนพม่า ถึงแม้ประเทศไทยจะเป็นสังคมแบบพหุวัฒนธรรมมานานแล้ว แต่ยังกลับมีความคิด และอคติเช่นนี้อยู่ ที่สำ�คัญไทยมีเครื่องมือการเรียนรู้ตลอดชีวิต เช่น มีการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) มี โครงการการเรียนรู้ขององค์กรต่างๆ มากมาย แต่ไทยไม่เคยเข้าใจเพื่อนบ้าน ไม่เคยรู้เกี่ยวกับการอยู่ อาศัยร่วมกับเพื่อนบ้าน


อาเซียนเสวนา | 25

ความท้าทายที่จะก้าวไปสู่อาเซียน

1.นโยบายการย้ายถิ่นของแต่ละสมาชิกอาเซียนจะเป็นการเมืองภายใน ความเป็นและไม่เป็น ประชาธิปไตยมีผลต่อนโยบายการย้ายถิ่นอย่างชัดเจน เช่น กรณีประเทศไทยตอนสมัยเป็นประชาธิปไตย ที่มีการเลือกตั้ง มีการต่อรองระหว่างรัฐ ผู้ประกอบการ และนักการเมือง นโยบายการย้ายถิ่นถูกทำ�ให้เกิด การปรับนโยบายให้ลงตัว แต่เมื่อถึงยุคที่ทหารเข้ามาบริหารประเทศ กลับมีมุมมองต่อการย้ายถิ่นของ บุคคลเหล่านี้เป็นปัญหาต่อความมั่นคง ตัวอย่างเช่น ภาวะความหวาดกลัวต่อแรงงานข้ามชาติในปี 2549 ห้ามแรงงานข้ามชาติใช้มือถือ ห้ามแรงงานข้ามชาติชุมนุมเกินห้าคน ห้ามพกพาสิ่งที่เรียกว่าอาวุธ 2.อาเซียนเป็นเพียงชุมชนทางจินตนาการที่พยายามเปิดเสรีของแหล่งทุนและรัฐเท่านั้น ที่ผลิต ซ้ำ�วัฒนธรรมทางความมั่นคง เข้มงวดกับการเคลื่อนย้ายกลุ่มคนที่ไร้อำ�นาจทางเศรษฐกิจและการเมือง 3.การจัดการแรงงานข้ามชาติระดับอาเซียนจะมีภาคประชาสังคมคอยกำ�กับและมีการ ประชุมระดับอาเซียนอยู่ปีละครั้ง (ASEAN Forum On Migrant Labor) อยู่แต่ข้อเสนอที่ออกมาจากการ ประชุมนี้ไม่ได้ถูกพูดถึงในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงแรงงานในอาเซียน หรือแม้แต่ในระดับของ รัฐมนตรีแรงงานอาเซียน หรือในระดับผู้นำ�อาเซียนเป็นเพียงเวทีที่ให้ประชาสังคมแรงงานข้ามชาติมาระ บายอารมณ์ มานำ�เสนอประเด็นต่างๆ แต่ไม่ได้สะท้อนออกมาในทางปฏิบัติ 4.ข้อตกลงอาเซียนกล่าวถึงแรงงานข้ามชาติ เรื่อง ปฏิญญาส่งเสริมและคุ้มครองแรงงาน ข้ามชาติอาเซียน (ปฏิญญาเซบู) ที่มีเงื่อนไขของการออกตราสาสน์ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ ที่กระบวนการร่างตราสาสน์จะดำ�เนินการจัดทำ�โดยเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงานของแต่ละประเทศ เท่านั้น ซึ่งภาคประชาสังคมไม่สามารถเข้าไปร่วมด้วย หรือแม้แต่การขอดูรายละเอียดข้อมูลของร่างตรา สาสน์นั้นยังไม่สามารถดูได้ นอกจากนั้นแล้วในแง่ของวิธีการยังยึดตามธรรมเนียมของอาเซียนที่เน้น ระบบฉันทามติเป็นหลัก ดังนั้นถ้าหากบางประเทศไม่เห็นด้วยในประเด็นใดๆ ก็จะทำ�ให้ประเด็นนั้นไม่ สำ�เร็จ เช่น ในตราสาสน์ห้ามพูดเรื่องประกันสังคม เพราะว่าสิงคโปร์ไม่เอา ซึ่งสะท้อนให้เห็นภาพรวมของ อาเซียนไม่ได้ออกแบบให้เป็นแบบประชาธิปไตย แต่เน้นการหาฉันทามติร่วมกัน ประเทศไทยหรือประเทศ ใดประเทศหนึ่งเห็นชอบประเด็นนี้ร่วมกับประเทศอีก 9 ประเทศเท่านั้นถึงจะผ่าน ฉะนั้นถ้าไม่เห็นด้วยใน ข้อใดข้อหนึ่งประเด็นนั้นเป็นอันตกไป จึงทำ�ให้ประกันสังคมไม่สามารถเกิดขึ้นในตราสาสน์นี้ หรือแม้แต่ ประเด็นเรื่องเสนอตราสาสน์เป็นกฎหมาย ซึ่งทางการมาเลเซียเห็นต่างโดยขอให้เป็นเพียงข้อปฏิบัติของ แต่ละประเทศเท่านั้น ที่ไม่มีข้อบังคับหรือบทลงโทษทางกฎหมาย 5.การกลับมาของวัฒนธรรมเดิมจากการเคลื่อนย้ายของแรงงานข้ามชาติ เช่น พื้นที่สมุทรสาคร เดิมพื้นที่นี้ของไทย-มอญ พอชาวมอญของพม่าย้ายมาจึงทำ�ให้พื้นที่นั้นรื้อฟื้นวัฒนธรรมเดิมของชาวมอญ ขึ้นมา จนคนมอญนั้นพื้นที่นั้นลืมไปแล้วว่าวัฒนธรรมมอญดั้งเดิมยังมีอยู่ หรือแม้แต่วัดมอญในพื้นที่เป็น วัดร้างเกือบทั้งหมด เนื่องจากไม่มีคนเข้าแต่พอแรงงานเหล่านี้เข้ามาก็ทำ�ให้รื้อฟื้นวัดขั้นมาอีกรอบหนึ่ง หรือ พื้นที่ทางแม่ฮ่องสอนที่กลับฟื้นวัฒนธรรมและความเป็นไต(ไทใหญ่)ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว จากการเคลื่อนย้าย แรงงานที่เป็นไทใหญ่จากฝั่งพม่าข้ามมายังฝั่งไทยทำ�ให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมบางอย่างร่วมกัน


อาเซียนเสวนา | 26

6.กรอบใหญ่ของอาเซียนมองกลุ่มแรงงานข้ามชาติเหล่านี้เป็นเพียงแค่แรงงาน แต่การดำ�เนิน ชีวิตประจำ�วันของแรงงานข้ามชาติทำ�ให้เกิดวิถีของชุมชนด้านใหม่ ที่เรียกว่าชุมชนข้ามพรมแดนที่มีทั้ง การแต่งงานข้ามวัฒนธรรม ที่ทำ�ให้เกิด ลูกครึ่งทั้ง ไทย-พม่า ไทย-ลาว หรือแม้แต่ พม่า-ลาว ซึ่งประเด็นที่ สำ�คัญของเด็กที่เป็นลูกครึ่งนี้จะเป็นอย่างไรในอนาคตว่าจะไปอยู่พม่า หรือ ลาว หรืออยู่ไทยในฐานะอะไร 7.ในพื้นที่สุดท้ายที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนคือการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค ที่มี แนวโน้มจะไปเจริญเติบโตขึ้นในพื้นที่ชายแดน ที่มีปัญหาของการแย่งชิงทางด้านทรัพยากรพอสมควร ซึ่งการเคลื่อนย้ายของทุนไปยังชายแดน เป็นส่วนกระตุ้นทำ�ให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรในพื้นที่ค่อนข้าง มาก ส่งผลกระทบทำ�ให้กลุ่มชาติพันธ์หรือคนยากจนในพื้นที่ถูกเบียดขับออกไปจากทรัพยากรทั้งในแง่ ของเรื่องที่ดิน อาหาร หรือแม้แต่เรื่องงาน


อาเซียนเสวนา | 27


อาเซียนเสวนา | 28

ทหารกับการเมืองในอินโดนีเซีย: อดีต ปัจจุบัน อนาคต

ภาณุวัฒน์ พันธุ์ประเสริฐ

“ปัจจุบันนี้เราก็ยังไม่รู้ว่า เมื่อไหร่ และทำ�ไม ที่ผู้ที่ถือปืนจะเชื่อฟังผู้ที่ไม่มีปืน ซึ่งนับเป็นสิ่งกำ�หนดว่าสังคมนั้นๆ จะมีการควบคุมโดยพลเรือนหรือไม่” อดัม เซโบรสกี้ นักวิชาการชาวโปแลนด์

อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ทางการเมือง โดยเฉพาะทหารที่เข้ามามีบทบาท ทางการเมืองอย่างมาก แต่ในปัจจุบันอินโดนีเซียได้รับการยกย่องอย่างมากจากทางตะวันตก เกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ประชาธิปไตย เช่น ในหน้าหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ พาดหัวข่าว ที่ว่า อินโดนีเซียกลายเป็นประเทศแบบอย่างของการเป็นประชาธิปไตย หลังจากจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดี และนายโจโค วิโดโด ในฐานะพลเรือนได้รับชัยชนะเป็นประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย ที่สะท้อนถึงความ สำ�เร็จของประเทศนี้ตามแนวทางประชาธิปไตยในช่วงเปลี่ยนผ่าน “สำ�หรับประชาธิปไตย การควบคุมโดยพลเรือนอันหมายความว่า การควบคุมทหารโดยเจ้าหน้าที่พลเรือนซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยประชาชน ถือเป็นสิ่งขั้นพื้นฐาน” ริชาร์ด โคน

การควบคุมโดยพลเรือนทำ�ให้ชาติ ชาติหนึ่งสามารถนำ�เอาค่านิยม สถาบัน และการกระทำ� มาตั้งอยู่บนฐานของเจตจำ�นงของประชาชน แทนที่จะเป็นตั้งอยู่บนตัวเลือกของผู้นำ�ทางทหาร ซึ่งผู้นำ� ทางทหารจะมีความสนใจโดยมุ่งไปที่เรื่องของการรักษาระเบียบภายในและความมั่นคงภายนอก ทหารถือความจำ�เป็นว่า จะเป็นสถาบันทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยต่ำ�ที่สุดในประสบการณ์ ของมนุษย์ ธรรมเนียมและรูปแบบการกระทำ�ของทหารโดยธรรมชาติจะเป็นสิ่งที่ขัดกับเสรีภาพส่วนบุคคล และเสรีภาพของประชาชน ซึ่งสังคมประชาธิปไตยถือว่าเป็นค่านิยมสูงสุด โดยทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาองค์กรทหาร จะต้องทราบจุดเด่นทางทหาร คือ ทหารจะมีปัจจัย บางอย่าง ที่ทำ�ให้ทหารเข้าไปแทรกแซงทางการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำ�แล้วได้ผลกว่าตัว แสดงอื่น ซึ่งสังคมจะมีตัวแสดงหลายตัวทางการเมือง แต่เมื่อนำ�ทหารมาเปรียบเทียบกับตัวแสดงอื่น จะทำ�ให้ทหารมีธรรมชาติบางอย่างที่เอื้ออำ�นวยให้ทหารแสดงบทบาททางการเมืองออกมาได้แล้วได้ผล สำ�เร็จมากกว่าตัวแสดงอื่นในสังคม ตัวอย่างเช่น ทหารมียุทโธปกรณ์ “รัฐคือตัวแสดงหรือองค์กรที่ผูกขาดการใช้ความรุนแรงอันชอบธรรม” แม็กซ์ เวเบอร์


อาเซียนเสวนา | 29

ซึ่งตัวแสดงของรัฐที่ใช้ความรุนแรงสูงสุดและไม่มีใครสามารถหยุดได้ คำ�ตอบ คือทหาร เนื่องจาก กองทัพในสังคมหนึ่ง ย่อมเป็นตัวแสดงที่มีอาวุธ และสามารถเอาชนะตัวแสดงอื่นได้โดยการใช้กำ�ลัง นอกจากทหารจะมีอาวุธแล้วองค์กรทหารยังมีความแข็งแกร่ง มีระเบียบ วินัย มีระบบการ บังคับบัญชาชัดเจน ซึ่งในทางทฤษฎีองค์กรของทหารจะมีการแบ่งของการบังคับบัญชาชัดเจนแน่นอน แต่ในทางปฏิบัติองค์กรทหารยังมีการขัดแย้งภายในอยู่ ทั้งนี้องค์กรทหารยังมีค่านิยมของการรักพวกพ้อง ค่านิยมตายแทนกันได้ ดังนั้นแล้วปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนเอื้อต่อการยึดอำ�นาจการปกครอง

ความจำ�เป็นในการมีทหารเพื่อป้องกันประเทศปราบปรามภัยคุกคามต่างๆ “การที่มีความกลัวต่อศัตรู จำ�เป็นจะต้องสร้างสถาบันที่ใช้ความรุนแรงขึ้นมา นั้นคือ ทหาร แต่ในขณะเดียวกัน สถาบันที่สร้างขึ้นมานี้ก็ทำ�ให้กลัวเช่นกัน” ปีเตอร์ ดี ฟีเวอร์

“สถาบันที่สร้างขึ้นมาเพื่อปกป้องสังคมการเมือง แต่มีอำ�นาจมากพอที่จะกลายเป็นภัยต่อสังการเมืองนั้น” “ทหารมีข้อได้เปรียบ 3 ประการที่อยู่เหนือองค์กรทางพลเรือน คือ ความเหนือกว่าในด้านการจัด องค์กร, สถานะทางอารมณ์และสัญญาลักษณ์,การผูกขาดการใช้อาวุธ” ซามูเอล ฟายเนอร์


อาเซียนเสวนา | 30

แนวคิดที่ใช้ในการศึกษา

แนวคิดความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือนกับทหาร Civil Military Relation 1.สังคมที่จะเป็นประชาธิปไตยได้พลเรือนต้องเป็นใหญ่เหนือทหาร (civilian supremacy) ที่ จะต้องมีการควบคุมทหารโดยพลเรือน (civilian control) กองทัพทหารมีได้แต่ต้องอยู่ในคำ�สั่งและการ ควบคุมของรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน 2.สังคมจะเป็นประชาธิปไตยได้ต้องแยกทหารออกจากการเมือง แนวคิด Military Professionalism ของ ซามูเอล ฮันติงตัน 1957 (ปรมาจารย์ด้านรัฐศาสตร์ ของอเมริกา) ฮันติงตัน กล่าวว่า จะต้องแยกทหารออกจากภารกิจของพลเรือนอย่างชัดเจนไม่ให้ทำ�งานทับ ซ้อนกัน รัฐบาลพลเรือนจะต้องเคารพอิสระของทหาร ที่จะปฏิบัติอย่างไรต่อขอบเขตอำ�นาจของทหาร ที่ รัฐบาลพลเรือนจะไม่เข้าไปยุ่งหรือ ก้าวก่าย ด้านทหารอาชีพจะเป็นทหารที่สนใจเฉพาะเรื่องของทหาร เช่น ด้านการรบ การข่าวกรอง การป้องกัน ทั้งยังพัฒนาขีดความสามารถของทหารเพื่อให้บรรลุภาระกิจ ของทหาร ซึ่งรัฐบาลพลเรือนมีอำ�นาจปกครองประเทศบริหารในด้านต่างๆ และทหารจะมีหน้าที่ป้องกัน ประเทศจากภัยคุกคามภายนอก และป้องกันประเทศจากภัยความมั่นคงต่างๆ 1970 มีแนวคิดโต้แย้งแนวคิดของ ฮันติงตัน ซึ่งเป็นแนวคิดของ อัลเฟรด สเตปัน ที่ใช้ชื่อว่า New Professionalism โดยโต้แย้งว่าแนวคิดของฮันติงตันได้ตกยุคไปแล้ว โดยสเตตันได้ทำ�การศึกษา บริเวณแถวลาตินอเมริกา ว่าการที่กีดกันบทบาททหารออกจากหน้าที่การปกครองบ้านเมืองอย่างสิ้นเชิง นั้นทำ�ไม่ได้ ถ้าหากทำ�ได้ก็ไม่เหมาะสม พร้อมกับเสนอว่าแนวคิดของฮันติงตัน เหมาะสมกับประเทศที่มี ภัยคุกคามจากภายใน เช่น กลุ่มแบ่งแยกดินแดน หรือกลุ่มก่อการร้าย ซึ่งการที่กีดกันทหารออกไปจาก ด้านการปกครองจะทำ�ให้อันตรายมากกว่าเป็นผลดี ถ้าหากทหารไม่ได้มีเพียงแค่ภัยคุกคามจากภายใน ทหารจำ�เป็นจะต้องมีบทบาทบางอย่างที่เข้าไปก้าวก่ายบทบาทของพลเรือนด้วย


อาเซียนเสวนา | 31

ทหารกับอินโดนีเซีย

1.ปัจจัยที่ทำ�ให้ทหารมีอำ�นาจและบทบาทในทางการเมืองในอินโดนีเซีย 1.1ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์มีผลต่อทหารที่ทำ�ให้มีอำ�นาจและบทบาททางการเมือง โดยภูมิศาสตร์ ของประเทศอินโดนีเซียจะมีลักษณะเป็นหมู่เกาะ และมีพื้นที่ของประเทศขนาดใหญ่ ซึ่งลักษณะภูมิศาสตร์ ประเทศที่เป็นเกาะจะเป็นเงื่อนไขของปัญหาด้านการเดินทาง ติดต่อสื่อสาร หรือการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน ต่อความเป็นชาติเดียวกันนั้นทำ�ได้ยาก ทั้งนี้ความเป็นหมู่เกาะจะช่วยส่งเสริมให้เกิดความแตกแยกเสียมากกว่า จะเป็นการรวมกันได้ เพราะฉะนั้นความเป็นหมู่เกาะถูกใช้กล่าวอ้างว่าอินโดนีเซียไม่สามารถที่จะปกครอง ประเทศแบบอ่อนแอได้ หรือนัยยะหนึ่งอินโดนีเซียไม่สามารถปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยได้ ที่จำ�เป็นจะต้อง นำ�ความแข็งแกร่ง เผด็จการ ที่มีอยู่ในทหารมาควบคุมและปกครองประเทศ 1.2ความแตกต่างและหลากหลายทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม ซึ่งควบคู่กับความเป็นหมู่เกาะ ประวัติศาสตร์ประเทศอินโดนีเซีย แต่เดิมเกาะต่างๆ ของอินโดนีเซียก่อนจะรวมเป็นประเทศเดียวกันนั้น เคยแยกเป็นอิสระมาก่อนจึงทำ�ให้มีวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่นของแต่ละเกาะมีความแตกต่างกันไปด้วย ทางเชื้อชาติ ศาสนา (คริสต์,ฮินดู,อิสลาม) ภาษา (ราชการ บาฮาซา,ภาษาชวา)ฯลฯ เช่น ประชากรของ อินโดนีเซียประมาณ 200 ล้านคน ไม่ได้เป็นเชื้อชาติเดียวกัน ส่วนใหญ่เป็นเชื้อชาติชวา ที่อยู่บนเกาะชวา และมีจำ�นวนความหนาแน่นของประชากรบนเกาะชวาประมาณ 130 ล้านคน หรือตัวอย่างในประเทศ จีน พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้กล่าวว่า ประเทศจีนมีกลุ่มที่มีความแตกต่างถึง 56 กลุ่ม พรรคคอมมิวนิสต์จึง ประกาศว่าจีนไม่สามารถเป็นประชาธิปไตยได้เพื่อป้องกันการแตกแยกกัน 1.3บทบาททหารในการสร้างชาติ ทหารอินโดนีเซียมีความภูมิใจในความเป็นทหารมาก ใน ด้านเป็นกลุ่มที่ให้กำ�เนิดประเทศอินโดนีเซียขึ้นมา ซึ่งอินโดนีเซียได้รับเอกราชเมื่อ 1945 ตามการนับปี ของชาวอินโดนีเซีย ที่ได้ประกาศเอกราชจากดัชซ์ แต่ดัชซ์ไม่ยอมยกเอกราชให้จึงได้เกิดการสู้รบกันมา ถึง 4 ปีส่วนสากลจะนับ 1949 ที่ดัชซ์ประกาศยอมแพ้และมอบเอกราชให้ บทบาทกองทัพทหารอินโดนีเซียในการเอาชนะกองทัพอาณานิคมดัชซ์ได้นั้น ทำ�ให้กองทัพ ทหารอินโดนีเซียเห็นความสำ�คัญของกองทัพทหารที่จะเข้ามาควบคุมประเทศเพื่อปกป้องรักษาอำ�นาจ อธิปไตยของอินโดนีเซียต่อไป ชนชั้นการปกครองส่วนมากจะมาจากเชื้อชาติชวา ความเชื่อแบบชวาดั้งเดิมที่เชื่อในองคาพยพ ของสังคมดั้งเดิมของตน organic totality of society องคาพยพ คือ ความเชื่อที่ว่าทุกสิ่งอย่างเป็นระบบ เดียวกันซึ่งทำ�งานด้วยกันและเกี่ยวข้องกัน ในองคาพยพเช่นนี้จึงถูกยกมาอ้างว่าทหารจะต้องมีบทบาทใน การรักษาประเทศ ส่วนประชาชนไม่ได้มีอำ�นาจหน้าที่เข้ามายุ่งเกี่ยวในด้านการเมืองการปกครอง ควรที่จะ ทำ�มาหากินแบบเดิม โดยแต่ละส่วนอย่าเข้ามายุ่งขอบเขตของกันและกัน เมื่อทหารเข้ามามีบทบาทด้านการปกครองเพื่อรักษาความมั่นคง จึงเกิดประเด็นคำ�ถามขึ้นที่ ว่า ความมั่นคงนั้นเป็นความมั่นคงของใคร ความมั่นคงของรัฐ ความมั่นคงของระบอบ หรือความมั่นคง ของประชาชน ตามทัศนะของวิทยากรมองว่าทหารอินโดนีเซียจะให้ความมั่นคงของรัฐเป็นหลักโดยไม่ได้ มองไปที่ความมั่นคงของประชาชน เพราะฉะนั้น ถ้าหากประชาชนบางส่วนถูกปราบปรามจนถึงขั้นบาด เจ็บหรือเสียชีวิตเพื่อรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงให้ดำ�รงอยู่ ทหารก็มีความพร้อมที่จะกระทำ�


อาเซียนเสวนา | 32

2ปัจจัยด้านสงครามเย็น ช่วงสงครามเย็นเป็นบรรยากาศของการคุกคามแบบคอมมิวนิสต์ และทำ�ให้สถานการณ์ในช่วง นั้น ของความขัดแย้งระหว่างประเทศไม่ค่อยมี อินโดนีเซียไม่ได้อยู่ในสภาพที่ทำ�การรบกับศัตรูภายนอก ซึ่งทำ�ให้กองทัพอินโดนีเซียเห็นความสำ�คัญของการคุกคามจากภายในเป็นหลัก ถึงแม้ว่าอินโดนีเซียจะ ประกาศเอกราชสำ�เร็จแล้ว แต่ยังประสบภัยคุกคามจากภายใน ในเรื่องต่างๆ เช่น กลุ่มคอมมิวนิสต์ ครั้ง หนึ่งอินโดนีเซียเคยมีพรรคคอมมิวนิสต์ ขนาดใหญ่อย่างมากเป็นอันดันต้นๆของโลก ทั้งยังมีความขัดแย้ง ทางด้านเชื้อชาติ กลุ่มแบ่งแยกดินแดน หรือกลุ่มการเมืองที่อิงศาสนา โดยแท้จริงแล้วกองทัพอินโดนีเซียไม่ได้มีขีดความสามารถทางทหารหรือด้านการรบที่เยี่ยม ยอดขนาดนั้น ถ้าเอาไปสู้รบกับบางประเทศอาจแพ้ได้ แต่กองทัพอินโดนีเซียมีขีดความสามารถในการ จัดการปัญหาภายใน เนื่องจากอินโดนีเซียไม่ได้มีประสบการณ์ในการไปสู้รบกับต่างประเทศเลย เช่น ในปี 1965-1966 ที่ทหารอินโดนีเซียปราบปรามกลุ่มคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง จนมีผู้เสียชีวิตประมาณ 500,000 คน ซูฮัตโต้ ได้โค่นอำ�นาจของซูการ์โน่ลงไป ซูฮัตโต้ได้ทำ�ให้ทหารขึ้นมามีอำ�นาจสูงสุดในประเทศ อินโดนีเซียอย่างแท้จริง ส่วนคอมมิวนิสต์ในอินโดนีเซียถูกทหารปราบปรามอย่างสิ้นซาก “ในสมัยซูการ์โน่แม้กองทัพจะมีอำ�นาจมากแต่ขณะเดียวกันคอมมิวนิสต์ก็ได้รับการยอมรับจากคน จำ�นวนมาก ไม่ผิดกฎหมายและลงเลือกตั้งได้รับคะแนนสูงมากใน ปี1955 ซูการ์โน่ ประกาศว่าชาติจะ อยู่รอดต้องมี นา ซา คอม (ชาติ ศาสนา คอมมิวนิสต์ ถือว่าให้คุณค่าแก่คอมมิวนิสต์อย่างสูง กองทัพ ซึ่งมีคุณค่าที่สูงส่งเหมือนกันจึงไม่พอใจเลยเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง” อรอนงค์ ทิพวิมล ผู้เชี่ยวชาญด้านอินโดนีเซีย จากบทสัมภาษณ์ ประชาไท

ช่วงแลกเปลี่ยน ถาม-ตอบ

ทำ�ไมอินโดนีเซียถึงได้รับการยอมรับจากโลกตะวันตกว่ามีความเป็นประชาธิปไตยที่ ก้าวหน้ามากกว่าไทยทั้งที่ไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงการปกครองมาตั้งแต่ 2475 ส่วนอินโดนีเซียพึ่งได้รับ การเลือกตั้งจากประชาชน จนได้ประธานาธิบดีที่มาจากพลเรือน ซึ่งเพราะเหตุใด อาจเกิดจากช่วง ปีค.ศ.1998 การลุกฮือเพื่อโค้นล้มซูฮัตโตและเผด็จการ ของประชาชนและ นักศึกษา ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนไหวนี้มาจากเรื่องเศรษฐกิจ ภายหลังเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ในปี 2540 (1997) ซึ่งอินโดนีเซียได้รับผลกระทบอย่างมาก จนทำ�ให้ GDP ของประเทศติดลบถึง 10% เพราะ เหตุนี้จึงเกิดการเคลื่อนไหวและล้มล้างการปกครองของซูฮัตโตจนนำ�ไปสู่วิถีทางประชาธิปไตยได้ ลักษณะและบทบาทอำ�นาจทางการเมืองของทหารอินโดนีเซีย 1.หลักการปัญจศีลา(ศีล5) มีสัญลักษณ์ปรากฏอยู่ในตราสัญลักษณ์ของอินโดนีเซีย ซึ่งหลักการนี้จะ ใช้เป็นอุดมคติหลักของประเทศอินโดนีเซียตั้งแต่การก่อตั้งประเทศเริ่มมา ที่ถูกยกมาอ้างตลอดเวลาว่า เป็นความเชื่อหลักของประเทศ 1.1เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว แต่ไม่ได้หมายความว่าหมายถึงศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่รวม ถึงศาสนาหลายๆ ศาสนาที่ประชาชนอินโดนีเซียนับถือ ซึ่งหลักเหตุผลของประเด็นนี้คือ ไม่อยากให้มี กลุ่มการเมืองของอิสลามเยอะเกินไป


อาเซียนเสวนา | 33

1.2เชื่อในมนุษย์ที่มีความเป็นอารียะ 1.3ความเป็นเอกราชหนึ่งเดียวของอินโดนีเซียที่จะแบ่งแยกมิได้ 1.4ประชาธิปไตยที่มีผู้นำ�ที่ฉลาด 1.5สังคมที่มีความยุติธรรม

ปัญจศีลาถึงยกมาอ้างเสมอว่าเป็นสิ่งที่กองทัพจำ�เป็นจะต้องเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ถึง แม้ว่าข้อ4 จะมีคำ�ว่าประชาธิปไตยแต่ในข้อนี้ไม่ได้หมายถึงประชาธิปไตยโดยทั่วไปหรือระดับสากล แต่ เป็นประชาธิปไตยแบบชี้นำ�ที่มีผู้นำ�ที่ฉลาดมาชี้นำ�ความคิดและความเห็นของประชาชน 2.หลัก Dwifungsi (Dual function) หรือ ภารกิจ2ด้าน ถือเป็นหลักที่ยึดถือกองทัพอินโดนีเซีย อดีต ถูกพร่ำ�สอนว่ากองทัพไม่ใช่แค่ดูแลเพียงแค่ความมั่นคงหรือการป้องกันศัตรูภายนอกเท่านั้น แต่ อีกด้านหนึ่งทหารอินโดนีเซียต้องเข้ามาดูแลอีกด้านหนึ่งของ Dual function คือ ด้านการปกครอง และ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมต่างๆ ซึ่งกองทัพใช้หลักการ Dwifungsi นี้เพื่อเข้ามามีบทบาทด้านการเมือง ที่สำ�คัญหลักการDwifungsi เคยได้รับเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายด้วย ตัวอย่างเช่น มีโควตาที่นั่งในสภา สำ�หรับทหารโดยไม่ต้องผ่านการเลือกตั้งโดยเฉพาะ ซึ่งแสดงถึงเอกสิทธิของทหารที่จะเข้ามามีบทบาท ในสภาโดยไม่ต้องลงเลือกตั้ง ดังนั้นแล้วในการเลือกตั้งช่วงที่ซูฮัตโตอยู่ในอำ�นาจการเลือกตั้งก็ไม่ได้เป็น ประชาธิปไตยเนื่องจากมีการจำ�กัดสิทธิการเลือกตั้งต่างๆ รวมไปถึงการล็อคผลการเลือกตั้ง

แลกเปลี่ยน

กองทัพอินโดนีเซียเป็นกลุ่มทุนทำ�ธุรกิจเป็นของกองทัพเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่มีบทบาท ในด้านธุรกิจของอินโดนีเซีย ถึงแม้ว่าอินโดนีเซียจะได้รับการยกย่องจากตะวันตกว่ามีประชาธิปไตยที่ดีแต่ การทำ�ธุรกิจของกองทัพก็ยังไม่ได้หมดไป ถึงแม้ว่าการทำ�ธุรกิจของกองทัพจะขัดหลักการทางประชาธิปไตย ทั้งธุรกิจที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย เช่น ธุรกิจป่าไม้ที่ทำ�การตัดไม้ทำ�ลายป่า และรวมถึงประเด็นเรื่อง ยาเสพติด แต่ติดด้านการเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ผิดกฎหมาย ซึ่งการที่กองทัพเป็นแหล่งทุนไปดำ�เนินการทำ�ธุรกิจก็ทำ�ให้กองทัพทหารอินโดนีเซียจำ�เป็น จะต้องเข้ามามีบทบาทในทางการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อรักษาผลประโยชน์หรือเพื่อที่จะไม่ต้อง อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลอย่างเต็มที่ ถ้าหากว่ารัฐบาลพลเรือนเข้ามา จะต้องมีการควบคุม กองทัพอย่างแน่นอนทั้งในด้านกิจกรรมของกองทัพหรือแม้แต่ด้านงบประมาณที่จะต้องมาจำ�กัดให้ กองทัพมีงบประมาณเพียงด้านเดียวจากรัฐบาล ซึ่งแปลว่ากองทัพกำ�ลังไปหาแหล่งงบประมาณอีกทาง หนึ่งที่ไม่ได้มาจากรัฐบาล อันส่งผลทำ�ให้รัฐบาลไม่อาจประเมินได้ว่ากองทัพใช้งบประมาณต่อปี ปีละ เท่าไหร่ ระบบการมีพื้นที่ทางทหารหรือการมีค่ายทหารกระจายไปทั่วทุกพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ โดยอ้าง ถึงความมั่นคงของประเทศทั้งยังมีลักษณะภูมิศาสตร์ที่เป็นหมู่เกาะยากต่อการควบคุม ซึ่งสะท้อนวาระซ้อน เร้นที่แสดงถึงความเป็นรัฐบาลเงาในการเมืองระดับท้องถิ่น


อาเซียนเสวนา | 34

ความพยายามของกองทัพในการเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

จุดที่เป็นเงื่อนไขทำ�ให้กองทัพพยายามเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากเหตุการณ์จราจร ในปี 1998ของประชาชนและนักศึกษาที่เคลื่อนไหวต่อต้านและโค่นล้มอำ�นาจการปกครองเผด็จการของนายพล ซูฮัตโต ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำ�อย่างมากในภายหลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 1997 ในการเคลื่อนไหวนั้นได้เข้าไปยึดรัฐสภาอินโดนีเซีย จนสุดท้ายซูฮัตโตยอมจำ�นนลงจากอำ�นาจอย่างบอบช้ำ�ภาย หลังอยู่ในอำ�นาจนานถึง 32 ปี ตั้งแต่1965-1998 ซึ่งกระแสของสังคมในสถานการณ์ตอนนั้นทำ�ให้มีพลังมาก พอที่ทำ�ให้ระบอบเผด็จการที่แข็งแกร่งพังครืนลงได้ สะท้อนถึงความอดทนที่ถูกกดทับจากเผด็จการจนนำ�ไปสู่ ความต้องการสิ่งใหม่ที่ดีกว่าการปกครองที่ผ่านมา นั้นคือประชาธิปไตยที่ประชาชนเชื่อว่าเป็นสิ่งใหม่ที่ควรจะ เข้ามาและทำ�ให้ชีวิตของประชาชนดีขึ้น ส่วนกองทัพได้มีภาพลักษณ์ที่ตกต่ำ�ลงอย่างมาก ในขณะระหว่างการเคลื่อนไหวของประชาชน และนักศึกษา กองทัพทหารได้ใช้นโยบายปราบปรามประชาชนและนักศึกษาจนนำ�ไปสู่การบาดเจ็บและ เสียชีวิตในเหตุการณ์นั้น การกระทำ�ปราบปรามของกองทัพนี้ยิ่งไปสร้างความเกลียดชังจากประชาชนและ นักศึกษาเพิ่มขึ้นต่อกองทัพ และทำ�ให้กองทัพไม่มีโอกาสที่จะเข้าไปมีบทบาทในทางการเมืองอีก

หลังจากกองทัพหมดบทบาทและซูฮัตโตลงจากตำ�แหน่งไป อินโดนีเซียได้มีประธานาธิบดี ที่มาจากพลเรือนต่อมาอีก 4 คนด้วยกัน

1.ฮาบีบี้ ถูกมองว่าเป็นพลเรือนที่เข้ามาเพื่อเป็นตัวแทนของซูฮัตโต ในช่วงที่เป็นรอยต่อ ระหว่างช่วงของการเปลี่ยนผ่าน ในยุคของฮาบีบี้ได้เกิดเหตุการณ์ที่สำ�คัญ คือ เหตุการณ์ที่ติมอร์ตะวัน ออกลงประชามติเพื่อเป็นเอกราช ในอดีตติมอร์ตะวันออกถูกปราบปรามและกดดันอย่างมากจากกองทัพ อินโดนีเซีย ยิ่งตอนจะประกาศเอกราชกองทัพอินโดนีเซียจะเข้าไปมีบทบาทอย่างมากต่อติมอร์ตะวันออก เพื่อที่จะรักษาความเป็นหนึ่งเดียวของอินโดนีเซียตามหลักปัญจศีลา ที่สำ�คัญหากติมอร์ได้รับเอกราช สำ�เร็จจริงเหตุการณ์จะลุกลามจนทำ�ให้ดินแดนอื่นๆ เรียกร้องเอกราชตามมา ท้ายที่สุดติมอร์สามารถ ประกาศเอกราชได้สำ�เร็จ 2.อับดุล เลาะมัน วาฮิด เป็นผู้นำ�ของกลุ่มองค์กรมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซียในตอนนั้น ซึ่งถือว่าประธานาธิบดีคนนี้มีบารมีมาก แต่ในทางกายภาพสุขภาพร่างกายไม่ค่อยดี ไม่แข็งแรง สายตา มองไม่ค่อยเห็น แต่ในเชิงความคิด และเด็ดเดี่ยวกล้าตัดสินใจ ถือว่าเป็นบุคคลที่กล้าหาญที่กล้าขึ้นมา ท้าชนกับกองทัพอินโดนีเซีย โดยวาฮิดเองไม่ได้ขึ้นมาเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับใคร ทั้งยังกล้าขึ้นมาปฏิรูป ประเทศเพื่อขยายแนวคิดทางประชาธิปไตยให้มากยิ่งขึ้น จนทำ�ให้วาฮิดได้รับการกดดันอย่างมากจาก กลุ่มต่างๆ ในสังคม อันนำ�มาสู่การออกจากตำ�แหน่งของวาฮิด เนื่องจากทนต่อแรงกดดันทางสังคมของ กลุ่มต่างๆ ไม่ไหว 3.นาง เมกาวาตี ซูการ์โน บุตตี ซึ่งมาแทนวาฮิด ที่เป็นลูกสาวของซูการ์โน ในทางการเมืองก่อน ขึ้นมาดำ�รงตำ�แหน่งทางการเมืองนั้นมาจากการเลื่อยขาเก้าอี้ของวาฮิดและชิงไหวชิงพริบกัน ที่มีเบื้องหลัง ไปร่วมมือกับกองทัพ จนในปี 2002-2004 กองทัพอินโดนีเซียเริ่มมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นในสังคม เนื่องจาก เกิดปัญหาภายใน ในพื้นที่อาเจก กองทัพจึงได้มีบทบาทเข้าไปควบคุมพื้นที่อาเจก จนทำ�ให้กองทัพทหาร สามารถกู้ภาพลักษณขึ้นมาพอสมควร เนื่องจากประชาชนยอมรับในการมีบทบาทของทหารที่เข้าไป ควบคุมสถานการณ์พื้นที่อาเจก จนทำ�ให้ประชาชนมีทัศนคติที่ดีขึ้นต่อกองทัพ


อาเซียนเสวนา | 35

4.ซูซิโร บัมบัง ยูโทโยโน่ ที่เป็นประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งและได้รับชัยชนะการ เลือกตั้งถึง 2 สมัย วาระ 5 ปี ตั้งแต่ 2004-ปัจจุบัน รัฐธรรมนูญของอินโดนีเซียได้กำ�หนดไว้ว่าต้องอยู่ ได้แค่ 2 วาระ ประวัติเดิมของยูโทโยโน่เป็นทหารเก่าในสมัยซูฮัตโต แต่เป็นทหารในสายปฏิรูปที่ไม่ได้มี แนวคิดในแบบเผด็จการและมีแนวคิดที่เอียงมาในทางประชาธิปไตย โดยมีความต้องการปฏิรูปกองทัพ ให้ทันสมัย

นโยบายหลัก 3 ประการของยูโทโยโน่

1.เรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหาร ที่มีความกล้าหาญโยกย้ายนายทหารชั้นสูงบางคนใน กองทัพทหารที่เป็นคนที่มีแนวคิดขัดกับหลักการรัฐบาล ที่สะท้อนถึงอำ�นาจทางพลเรือนที่เหนือกว่า กองทัพทหารอินโดนีเซีย 2.การแก้การดำ�เนินธุรกิจของกองทัพ โดยได้ร่างกฎหมายขึ้นมาเพื่อยึดเอาธุรกิจของทหาร มาเป็นของรัฐบาล ซึ่งถือว่าประเด็นนี้เป็นสิ่งที่ยากและมีเงื่อนไขจำ�นวนมาก จนไม่อาจทำ�ได้สำ�เร็จเพียง ครั้งเดียว ที่สำ�คัญธุรกิจของกองทัพมีจำ�นวนมากและมีมูลค่ามหาศาล ในปัจจุบันธุรกิจของกองทัพ ทหารยังมีอยู่ 3.ปฏิรูปค่ายทหารในท้องที่ต่างๆ โดยการลดจำ�นวนของค่ายทหารลงพร้อมกับการลด อำ�นาจของกองทัพลงในระดับชาติและท้องถิ่น ในทางปฏิบัติแล้วประเด็นเรื่องการปฏิรูปค่ายทหารไม่ สามารถทำ�ได้อย่างต่อเนื่องและสามารถดำ�เนินการได้น้อยที่สุดจาก 2 ข้อที่เสนอมา จนสุดท้ายในวาระที่2 ของการดำ�รงตำ�แหน่งของยูโทโยโน่ ได้รับคะแนนนิยมจากประชาชน ลดลงจากวาระที่1 ที่มีความนิยมถึง 60-70% เนื่องจากประชาชนเห็นว่าในวาระที่สอง นี้ยูโทโยโน่ ไม่ ยอมมีบทบาทในการทำ�งานมากนัก ได้แต่พูดสิ่งที่เลื่อนลอย ดูใหญ่โต แต่ไม่ทำ�

อนาคต

ในอนาคตของอินโดนีเซียของบทบาทกองทัพทหารภายใต้รัฐบาลใหม่ที่พึ่งผ่านการเลือกตั้งมา ที่มีคู่แข่งประธานาธิบดีอยุ่สองคน คือ โจโควี กับ ปราโบโว ก่อนการเลือกตั้งโพลสำ�นักต่างๆ ต่างฟันธงว่าโจ โควีชนะการเลือกตั้งแบบคะแนนมหาศาล จนได้รับสมญานามว่า โอบาม่า ของอินโดนีเซีย โดยพื้นฐานโจโค วีเป็นคนรุ่นใหม่ ติดดิน ไม่เคยมีประวัติที่แปดเปื้อนระบบอำ�นาจเผด็จการทหารมาก่อน และก่อนการเลือก ตั้งไม่กี่วันปราโบโวสามารถทำ�คะแนนนิยมขึ้นมาเกือบเทียบเท่าโจโควีได้ แต่ในเบื้องหลังของตาโวโว้ที่เป็น ทหารเก่าและมีข้อมูลว่าเคยทำ�งานอยู่เบื้องหลังของการปราบปรามประชาชนเมื่อปี 1998 มาก่อน เพราะ ฉะนั้นถึงแม้ว่าปราโบโวจะมีประวัติที่ด้างพร่อยขนาดนี้แต่สามารถทำ�คะแนนนิยมได้เกือบเทียบเท่าโจโค วีได้จนเกือบเอาชนะการเลือกตั้งที่ผ่านมาได้ ถือได้ว่าปราโบโวยังเป็นที่นิยมของประชาชนอินโดนีเซียบาง ส่วนที่ถวิลหารูปแบบการปกครองเก่าๆ หรือความมั่นของชีวิตแบบเดิม ซึ่งสะท้อนว่าประชาชนบางคนไม่ ต้องการประชาธิปไตยหรือเสรีภาพแต่ต้องการความมั่นคงของชีวิตและความสงบสุขของสังคมที่ไม่มีปัญหา ด้านความมั่นคงทางก่อการร้ายหรืออาชญากรรม และการโฆษณาหาเสียงของปราโบโวนั้นใช้จุดแข็งของ ตัวเองในด้านเด็ดเดี่ยว ความแข็งแกร่งในการควบคุมสถานการณ์ต่างๆ และเครมว่าประชาธิปไตยเป็นของ วุ่นวาย และถ้าหากปราโบโวชนะการเลือกตั้งอินโดนีเซียอาจจะทำ�ให้ปัจจุบันย้อนกลับไปดังเดิมเหมือน อดีตได้ที่เคยปกครองแบบเผด็จการ


อาเซียนเสวนา | 36

ปัจจุบันบทบาททางทหารอินโดนีเซียอยู่นิ่งไม่ได้ออกมาแสดงบทบาททางการเมืองอย่างเปิด เผย แต่ยังมีบทบาทในทางธุรกิจและบทบาทการมีพื้นที่ทางทหารที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ แค่บทบาทสอง ประการนี้สามารถนิยามได้ว่าทหารอินโดนีเซียพอใจแล้วต่อบทบาทที่ยังดำ�รงอยู่ ทั้งยังอยู่เบื้องหลังที่ยัง พอมีอิทธิพลทางการเมืองอยู่แต่ไม่ได้เปิดเผยในทางสาธารณะหรือพื้นที่ด้านหน้าฉากผ่านสื่อต่างๆ


อาเซียนเสวนา | 37


อาเซียนเสวนา | 38

เปิดเสรีความเกลียดชัง : สำ�รวจภูมิ(ไม่)คุ้มกันของคนไร้อำ�นาจในอาเซียนภิวัตน์

วีรฉัตร แก้วประดิษฐ์

เปิดเสรีภาพความเกลียดชัง เมื่อเราจะอยู่ร่วมกันแบบอาเซียน คำ�ถามคือว่า อยู่ดีๆเมื่อเราจะ มาอยู่ร่วมกัน มันเกิดความผูกพันทางอารมณ์แบบไหนถึงมาอยู่ร่วมกัน ซึ่งจะพูดต่อไปว่า เกิดขึ้นจากความ สมัครใจหรือว่าเกิดขึ้นจากการบังคับ แต่ประสบการณ์ส่วนตัว ผมรู้สึกว่ามีอารมณ์บางอย่างที่เป็นอารมณ์ ค่อนข้างลบและแรง โดยเริ่มมาจากความไม่ชอบ ความเกลียด ถึงขึ้นเกลียดชังกัน ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ มีทั้งสาเหตุทางประวัติศาสตร์ สาเหตุทางการเมือง และปัจจุบัน การค้า การลงทุนขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นใน ภูมิภาคที่เรียกว่าอาเซียนภิวัตน์ ก็คือ การค้า การลงทุนขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคของเรา แต่ที่เรียกอา เซียนภิวัตน์ คือว่า แต่ที่จริงกระแสอาเซียนไม่ได้เกิดที่โครงสร้างของรัฐที่เชื่อมโยงกันหรือว่าบูรณาการร่วม กัน แต่ว่าอะไรก็เป็นอาเซียนไปหมดทุกวันนี้ ทุกคนพูดถึงอาเซียน ทุกอย่างเป็นอาเซียนไปหมด จนเรารู้สึก ว่าตกลงคืออะไรกันแน่ มันมีความหมายอะไรกันแน่กับเรา

หากดูแผนที่ก็คงมองเห็นภูมิภาคของเรา บางคนเรียกว่าอาเซียน บางท่านรู้จักเป็นเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ เพื่อนผมหลายคนที่ทำ�งานร่วมกันมาในอาเซียน เพื่อนฟิลิปปินส์บอกว่า ไม่ควรเรียกว่าอาเซียน มันเป็นกับดักของรัฐ อาเซียน,GMS,CLMV ทั้งหมดนี้เป็นกับดักของรัฐที่ใช้ควบคุมพลเมือง ขอเสนอคือ ว่าให้ใช้คำ�ว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ Southeast Asia ผมได้ถามกลับไปว่า คุณใช้คำ�ว่าเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้มันก็เป็นกับดักชนิดหนึ่งไม่ใช่หรือ เพราะคำ�นี้ก็ถูกสร้างขึ้นมาในบริบทของสงคราม การ แทรกแซงของอเมริกาในภูมิภาคที่สร้างขึ้นมา เพราะว่าโลกมันกลม อยู่ดีๆ จะมาเรียกว่าเราอยู่ทางใต้แต่ว่า ได้มีใครสักคนสมมุติตัวเองเป็นศูนย์กลาง แล้วก็ชี้ว่าคุณเป็นคนทางใต้ เป็นคนตะวันออกเฉียงใต้ อันนี้เป็น ความสัมพันธ์เชิงอำ�นาจที่หลายคนไม่ได้นึกถึง


อาเซียนเสวนา | 39

อย่างไรก็แล้วแต่ อาเซียนได้อยู่กับเราแล้ว แต่เราจะนิยามอาเซียนใหม่ได้อย่างไร เราจะนิยาม ว่าอาเซียนเป็นของเราได้อย่างไร อาเซียนมาจากที่ไหนก็ตามแต่ทุกวันนี้ได้มาถึงเราแล้วเราก็ต้องทำ�ให้เป็น ของเราให้ได้ เราต้องแสดงความเป็นเจ้าของในกระบวนการภูมิภาคนิยมเหล่านี้ให้ได้ หลายท่านทราบดีว่าสมาชิกอาเซียนของเรามี 10 ประเทศ ที่เรียกว่าร้อยพ่อพันแม่ ไม่เหมือน กันสักที่ ทั้งในด้านการเมือง ระบบการเมือง ประชาธิปไตยเข้มข้น มีทั้งพยายามที่จะเป็นประชาธิปไตย ประวัติศาสตร์ไม่เหมือนกัน มีเรื่องราวความเป็นมาแตกต่างกัน ส่วนที่เหมือนก็มี กินลอดช่องกินเหมือน กันแต่เรียกชื่อไม่เหมือนกัน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม กัมพูชา มีลอดช่องเหมือนกันหมด เรา จะไม่คุยกันว่าเป็นของใคร แต่เรารู้ว่ามีอะไรหลายอย่างที่เหมือนกัน ประชากรก็เยอะ 600 กว่าล้านคน บริเวณแม่น้ำ�โขง ถือว่าเป็นส่วนใหญ่ของภูมิภาค อาเซียน มีทั้งพม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แล้วแม่น้ำ�โขง เป็นแม่น้ำ�ที่สำ�คัญ มีความมหัศจรรย์ที่เชื่อมโยงกัน และเรื่อง ราวที่จะเล่าในวันนี้ก็จะอยู่ในภูมิภาคแม่น้ำ�โขงนี้

โลโก้อาเซียนนี้ทุกท่านคุ้นเคยเป็นอย่างดี ที่ใช้กันทั่วไป แต่มีคนตั้งข้อสังเกตว่า ส่วนที่เป็นสี เหลืองตรงกลาง เป็นรูปรวงข้าว 10 มัด สัญลักษณ์นี้แปรความหมายว่าเป็นรวงข้าวเหมือนกันหมด ผม ไปมาเกือบครบทุกประเทศในอาเซียน ทุกที่ที่ไปกินข้าว ปลูกข้าว อาจจะกินไม่เหมือนกันบ้าง อย่างพม่า กินข้าวนึ่ง (ข้าวเหนียว) เป็นข้าวเช้า ประเทศไทยกินข้าวนึ่ง 3 มื้อ มีคนตั้งข้อสังเกตว่า รวงข้าว 10 มัด ที่หดตัวตรงกลาง เหมือนเป็นการมัด และความรู้สึกของผมเหมือนว่าเป็นการบีบบังคับ ว่าทุกคนต้องอยู่ ด้วยกัน ซึ่งก็จริงเพราะมีข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์รองรับ


อาเซียนเสวนา | 40

รูปนี้เป็นรูปถ่ายที่ได้รับรางวัลเมื่อหลายปีก่อน วาดโดยเด็กชาวพม่า ที่แสดงถึงการส่งเสริม ความสมัครสามัคคี เท่าที่ผมเดาจากภาพ เพราะมีท่อนไม้มัดรวมกันเหนียวแน่นสามัคคีกันเป็นอาเซียน ถ้าหากมีไม้เดียวหักได้ง่าย สิบต้นรวมกันแล้วมัด หักไม่ได้ถึงแม้จะมีพละกำ�ลังมากยังไงก็ตาม นี่คือ อุดมคติของคนที่มองอาเซียนว่าอยู่ด้วยกันอย่างเข้มแข็ง แต่เขาไม่ได้บอกว่าต้นไม้ 10 ต้นนี้ทะเลาะกัน ทุกครั้ง แต่เราก็ได้เห็นว่าในความคิดของเด็กที่วาดรูปนี้ขึ้นมา (ท่านดูคนด้านล่างที่ถือธง) มีแต่ผู้ชายใส่ สูท ที่สะท้อนถึงแบบฉบับของอาเซียน ในการรับรู้ของคนทั่วไป ที่เป็นรูปแบบทางการ เป็นคนชนชั้นนำ� พูดกันในระดับผู้นำ�-รัฐมนตรี ชาวบ้านไม่มี พ่อค้าเห็ดถอบไม่สามารถถือธงอาเซียนได้ และบทบาทของ ผู้หญิงก็ไม่มี อาเซียนเริ่มต้นที่ไทยเมื่อ 40 ปีก่อนที่กรุงเทพ ถือว่าเป็นคนที่ให้กำ�เนิดอาเซียนในปฏิญญา กรุงเทพ Bangkok Declaration ซึ่งบริบทการเมืองในปี 1960 ภูมิภาคของเราทุกท่านทราบดี ว่ามีความ ขัดแย้ง มีสงคราม ชาวบ้านทุกข์ยาก แล้วก็มีกลุ่มประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ ที่มีการสู้รบกันเป็นสงคราม เย็นหรือสงครามตัวแทน อย่างไรก็ตามในขณะที่อาเซียนเกิดขึ้นมานั้น ผู้นำ�ประเทศ 5 ประเทศที่ได้ให้ กำ�เนิดอาเซียน มีฟิลิปปินส์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์เราเรียกว่าสมาคมนิยมเผด็จการ ก็ ชัดเจนครับว่าภูมิทัศน์ทางการเมืองในยุคนั้นเป็นอย่างไร ความรู้สึกของประชาชนเป็นอย่างไรภายใต้ ระบอบเผด็จการที่สนับสนุนโดยอเมริกาที่ว่าประเทศ 10 ประเทศมัดรวมกัน คือมาจากบริบทตรงนี้ ทุก ท่านก็ทราบว่าในสมัยถนอม กิตติขจร ประเทศไทยเป็นอย่างไร รูปนี้ก็ชัดเจน ที่ผมเข้าใจว่า อาจารย์ปริตตา เป็นคนวาด น่าสนใจ ผมเห็นแล้วใช่เลย ที่เราคิดกันมาหลายปีจะสรุปในภาพนี้ภาพเดียว เพราะ ว่าอาเซียนเผยแพร่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หลายคนนึกว่าอาเซียน มีแค่ AEC (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน) แต่ไม่ได้นึกถึงประชาคมทาง สังคมวัฒนธรรม ไม่ได้นึกถึงประชาคมทางความมั่นคง เพราะว่า มันได้ เอาทรัพยากรทุกอย่างไปเกื้อหนุนประชาคมทางเศรษฐกิจ 2 อย่างนี้เป็น ลูกน้องให้ลูกพี่ยิ่งใหญ่ อาจจะเป็นไม้ประดับด้วยซ้ำ� ตัวอย่างเช่นเรามี ประชาสังคมขึ้นมา เป็นเพียงแค่ไม้ประดับของอาเซียน ให้รู้ว่ายังมีอยู่ ไป ดูข้อตกลงในสนธิสัญญาที่ทำ�กันระหว่างรัฐบาล จะมีข้อมูลประชาคมทาง เศรษฐกิจเยอะมาก แต่มีข้อมูลทางสังคมวัฒนธรรมในจำ�นวนที่น้อยมาก ซึ่งอันนี้สามารถบ่งบอกได้หลายอย่างสำ�หรับประชาคมอาเซียนของเรา


อาเซียนเสวนา | 41

ที่ผมจะพูดในวันนี้ มีความรู้สึกหลายอย่างที่ผมสนใจ แต่ผมเลือกสนใจเป็นพิเศษเป็นความรู้สึกเกลียด ชัง ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่าทำ�ไมเขาถึงเกลียดเรา ทำ�ไมเราถึงเกลียดเขา ซึ่งผมจะไม่พูดถึงความเกลียด ชังที่มาจากประวัติศาสตร์ หรือว่าการเมือง แต่ความเกลียดชังที่ผมจะพูดถึงเป็นความเกลียดชังที่เกิด ขึ้นจากกระแสอาเซียนภิวัตน์ หรือ การค้า การลงทุน การพัฒนาขนาดใหญ่ในภูมิภาค ที่เรียกว่าเป็นการ พัฒนาแห่งความเกลียดชัง

เรื่องเล่า 3 เรื่องในกัมพูชา ลาว และพม่า

เริ่มที่กัมพูชาก่อน ผมไปเมื่อปีที่แล้ว บริเวณภาคอีสานของกัมพูชา แถวจังหวัด สตึงเตร็ง ขึ้น ชื่อว่าภาคอีสาน ผมว่าคล้ายๆกัน สภาพแวดล้อมเป็นพื้นที่แห่งปัญหา จริงไม่จริงไม่รู้ แต่คนคิดว่าปัญหา อยู่บริเวณนี้เยอะ จะคิดว่ามีความแห้งแล้ง ความยากจน ผู้คนต้องการพัฒนา อันนี้เป็นการอ่านภูมิทัศน์ ในพื้นที่นี้ของสายตานักพัฒนา

แม่น้ำ�เซซาน ไหลมาจากเวียดนามเข้ามา ที่กัมพูชา เป็นแม่น้ำ�แห่งปัญหา เพราะว่าเวียดนามได้ รูปนี้เป็นพื้นที่ที่มีการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้า สร้างเขื่อนในแม่น้ำ�นี้เมื่อ 20 ปีก่อน ทำ�ให้ปัญหายัง ขนาดใหญ่ ชาวบ้านสองคนนี้กำ�ลังมองว่าเขาทำ�อะไร อยู่ ตอนนี้ก็มีเขื่อนมาสร้างใหม่อีก ชาวบ้านก็ไม่ยอม กัน เริ่มก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งได้รับ ประท้วงวิธีการประท้วงก็น่าสนใจ ผลกระทบมากในพื้นที่แห่งนี้เพราะว่าชาวบ้านอาศัย อยู่ในบริเวณนั้น มีการอพยพโยกย้ายผู้คน แล้วก็ผลก ระทบต่อวิถีชีวิต คุณลุงนี้(รูปภาพ) เมื่อพวกผมเดิน เข้าไป คุณลุงก็ได้เดินตามพวกผม แล้วบอกว่า “ที่ดิน ของผมอยู่ตรงที่พวกเขากำ�ลังก่อสร้าง” ผมถามว่าได้ รับค่าชดเชยอะไรหรือไม่ เขาบอกว่าไม่ได้ ไม่ได้ให้ อะไรสักอย่าง ด้วยความช้ำ�ใจของความรู้สึกที่เอาที่ดิน ของเขาไป โดยที่เขาไม่มีสิทธิอะไร หมู่บ้านแห่งนี้เป็น พี่น้องลาว พูดลาว ตอนแรกผมไปผมนึกว่าจะโดด เดี่ยว เพราะว่าเพื่อนที่ไปพูดแขมร์ได้ ปรากฏว่าเมื่อ ไปถึงเขาพูดลาวกันหมด อันนี้เป็นผลกระทบที่มาจาก ยุคอาณานิคมที่แบ่งประเทศกัน ขีดเส้นประเทศพี่น้อง ลาวทางนี้ก็มาอยู่กับพี่น้องกัมพูชา แต่พูดลาวหมด แต่ เวลานับเลขนับแบบแขมร์


อาเซียนเสวนา | 42

แล้วปักลงไปในต้นกล้วย แล้วเอาไปลอยน้ำ� เห็นหุ่นฟาง นี่หรือเปล่าครับ (รูปภาพ) อันนี้ก็น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

รูปภาพนี้เป็นการเดินขบวนป้ายที่เขา เขียนบอกว่า “ไม่เอาเขื่อน” ต้านเขื่อน ชาวบ้านมา กันเยอะทั้งหมู่บ้าน ไม่ได้มีแค่เฉพาะคนลาว คนพื้น เมืองหลายชนเผ่าที่ได้มาร่วมกัน แล้วได้ไปปักป้าย ว่าเราไม่เอาเขื่อนที่แม่น้ำ� หลังจากปักป้ายเสร็จเขา ได้เดินทางไปที่สถานที่แห่งหนึ่ง และนี่เป็นวิธีการ เดินทางที่น่าสนใจ เพราะว่าหมู่บ้านที่ไปไกลมาก ถนนลูกรัง ชาวบ้านได้พากันขึ้นรถอีแต๋น คันหนึ่ง ประมาณ 20 คน แล้วถนนก็แคบ ผมก็ได้ขึ้นไปอยู่ บนรถนั้นด้วย ผมรู้สึกว่ามันสั่นตลอดทางที่ไป แต่ว่า คำ�ถามก็คือ ทำ�ไมต้องลำ�บากขนาดนี้เพื่อที่จะเดิน ทางไป บางคนก็นั่งเรือมา ที่ชาวบ้านมาที่นี่ก็เพราะ ว่า เป็นศาลผีปู่ย่าตายาย ที่ชาวบ้านที่นั่นเรียกว่า “ล็กตา” หรือผีบรรพบุรุษ ที่ชาวบ้านไปเพราะจะ ไปฟ้องผีบรรพบุรุษ ว่ามีคนเข้ามาสร้างความเดือด ร้อนให้ชาวบ้าน เนื่องจากกระบวนการยุติธรรมใน กัมพูชามันใช่ไม่ได้ ก็เลยจำ�เป็นต้องพึ่งผี ผีเป็นกระ บวนการยุติธรรมที่น่าสนใจ

รูปที่เห็นนี้เป็นอุปกรณ์ประกอบคำ�ฟ้อง ต่อผีบรรพบุรุษ มีหัวหมู มะพร้าว มีของกินหลาย อย่าง คนที่เตรียมเป็นผู้หญิง ผู้ชายจะไม่ยุ่ง

รู ป นี้ เ ป็ น ศาลที่ ด วงวิ ญ ญาณสถิ ต อยู่ (รูปภาพ) เนื่องจากผีบ้านเราเป็นนามธรรมจะไม่มีรูป ปั้น ล็กตานี้จะเป็นตูบ อยู่บริเวณแม่น้ำ�พอดี ชาวบ้าน มีวิธีการศักการะ คือ หยิบใบไม้แล้วก้อนหินเอาไป วางกองกันไว้เพื่อแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษ ที่ น่าสนใจยิ่งไปกว่านั้นคือว่า ในงานวิธีนี้ได้มีคนสร้าง เขื่อนเข้ามาในงานพิธีกรรมด้วย ที่เป็นคนจีนเพราะ ว่านายทุนงบประมาณมาจากจีน ผมถามว่าคนนี้ มาได้อย่างไรชาวบ้านไม่มีใครทราบหรือได้เชิญชวน มา แต่ผมคิดว่าน่าจะมากับเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งประเทศ อย่างลาว กัมพูชา เวียดนาม จะทำ�อะไรต้องบอก กับรัฐก่อน ผมก็คิดว่าเจ้าหน้าที่รัฐท้องถิ่นพาเขาเข้า มา แต่เขามาก็มาทำ�พิธีต่างๆ เหมือนกับชาวบ้านทำ� อันนี้เป็นหยวกต้นกล้วย (รูปภาพ) เขาก็จะ เมื่อทำ�เสร็จก็เดินทางกลับเลย เหมือนกับว่ามาแสดง เขียนการรณรงค์เป็นข้อความที่บอกว่าไม่เอาเขื่อน ไม่ ตัวแล้วกลับ ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์อย่างใดกับชาวบ้าน เอาโครงการพัฒนา ไม่ให้เข้ามาในหมู่บ้านของชาวบ้าน


อาเซียนเสวนา | 43

ความน่าสนใจอยู่ตรงม้าขี่หรือร่างทรง ผมคิดว่าพิธีการที่ทำ�คล้ายๆ บ้านเรา มีเครื่องบวงสรวง มีม้าขี่ มีเสียงกลอง เสียงซอ ที่คล้ายๆ กัน เมื่อมีเสียงดนตรีขึ้นม้าทรงก็เริ่มมีอาการขึ้น มีคนมุงกันเต็ม หลากหลายอายุ มีเด็กเยาวชนอยู่มากมุงดู และถือสมาร์ทโฟน ทุกคนมีโทรศัพท์ขึ้นมาเพื่อจะถ่ายบันทึก ภาพผีบรรพบุรุษของตนเอง ผมไม่รู้ด้วยอารมณ์อย่างไร แต่ผมรู้ว่ามีความสนใจมาก ในขณะที่มีพิธี พอ วิญญาณเข้ามาประทับที่ม้าทรง ม้าทรงได้พูดว่า หลีกทางหน่อย เมื่อผีเข้าร่างทรงเสร็จแล้วชาวบ้านก็ บอก เกี่ยวกับขั้นตอนการฟ้องร้อง จริงๆแล้วผีมีเพศสภาพเป็นผู้ชายแต่เข้ามาทรงในร่างของผู้หญิง และ ที่น่าสนใจคือว่า ผู้หญิงที่เป็นม้าทรงพูดลาว แต่เมื่อผีเข้าพูดเขมร ผมก็สันนิฐานว่า เพราะว่าภาษาแขมร์ เป็นภาษาของชนชั้นปกครอง คือลาวเป็นชนกลุ่มน้อยหนึ่งในนั้น แต่เวลาการสื่อสาร คนที่มีอำ�นาจน้อย ก็จะต้องพูดในภาษาของคนที่มีอำ�นาจมากถึงจะมีพลัง เพราะฉะนั้นกระบวนการสื่อสารระหว่างคน ชาว บ้าน และผี ในครั้งนี้ได้ดำ�เนินการไปด้วยภาษาแขมร์ ที่มีคนๆหนึ่งเป็นคนชงเรื่อง เป็นฝ่ายโจทก์ก็ฟ้อง ไปที่ผีว่า ขณะนี้มีการจะก่อสร้างเขื่อน ลงไปทางใต้ของหอล็กตาไม่กี่กิโล ซึ่งจะสร้างความเดือดร้อนให้ กับชาวบ้าน เขาเล่าด้วยอารมณ์และความรู้สึกที่รุนแรง ผมเข้าใจว่าก็เพื่อจะปลุกอารมณ์ชาวบ้าน ที่นี้ บทบาทของผีบรรพบุรุษบอกว่า เรารับรู้ น้ำ�จะท่วมขึ้นมา 30-40 เมตร ชาวบ้านก็ตะลึงว่าผีท่านยังรู้ว่า จะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น พอเริ่มได้สัญญาณว่าผีบรรพบุรุษเห็นด้วยกับสิ่งที่ชาวบ้านทำ� ชาวบ้านก็ถาม ต่อว่า ถ้าหากเขาสร้างเขื่อนพวกเราคัดค้าน ล็กตาเองจะช่วยชาวบ้านหรือไม่ ล็กตาก็บอกว่า ช่วย แต่ จะช่วยอย่างไร และมีชาวบ้านคนหนึ่งได้พูดแทรกว่า ล็กตาจะช่วยแช่งให้พวกที่กำ�ลังสร้างเขื่อนท้องเสีย ตาย เป็นคำ�สาปแช่ง ล็กตาก็ได้บอกว่า ช่วย ชาวบ้านก็โห่ร้องเฮกันลั่น ดีใจสิ่งที่ชาวบ้านทำ� ได้ไปสร้าง ความชอบธรรมให้กับการรณรงค์ต้านเขื่อนของชาวบ้าน ความรู้สึกปะปนกันระหว่างความเกลียดชังที่มี ต่อคนที่มาสร้างเขื่อน แต่อารมณ์ที่สำ�คัญที่สุดคือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวบ้านที่อยู่ตรงนั้น โดยได้รับความชอบธรรมจากผีบรรพบุรุษ ที่จะช่วยแช่งให้พวกสร้างเขื่อนท้องเสียตาย


อาเซียนเสวนา | 44

คนที่เป็นหัวหน้าคนสำ�คัญจะนำ�ไม้เล็กๆ นั้นแตะไป ที่ไหเหล้าแล้วอธิษฐาน และแน่นอนคงไม่โดนกับ พวกสร้างเขื่อน ในไหเหล้าจะเป็นคำ�สาบานร่วมกัน ของชาวบ้าน เรื่องราวของสตึงเตร็งนี้เป็นอีกวิธีการ หนึ่งที่แสดงออกถึงความรู้สึกโกรธเกลียดชังที่เขา ได้เข้ามาในหมู่บ้านชาวบ้าน เป็นสิ่งที่ไม่เคยร้องขอ เป็นความทุกข์ยากที่ไม่เคยร้องขอ เป็นปัญหาที่ไม่ เคยร้องขอ แต่มีคนที่หวังดีนำ�มาให้ หวังดีในนาม ของการพัฒนาประเทศก็นำ�ความทุกข์ยากมาให้ ชาวบ้าน ในกัมพูชาก็มีอยู่หลายโครงการที่ชาวบ้าน คัดค้านรูปแบบการประท้วงคัดค้านก็ต่างกันไป

หุ่นฟางนี้ ก็แขวนป้ายชื่อของคนที่มา สร้างเขื่อนไว้ และจะมีดาบมาฟันหุ่นฟาง ก็เป็น สัญลักษณ์ที่ชาวบ้านแสดงออก ถามว่ารุนแรงหรือ ไม่ ผมคงไม่มีคุณสมบัติที่จะตอบว่านี่เป็นวิธีการที่ รุนแรงหรือใช้ความรุนแรงหรือไม่ หรือเป็นการแสดง ความรุนแรงทางสัญลักษณ์หรือไม่ แต่ผมเข้าใจ ว่าชาวบ้านคงไม่ได้หวังว่าจะต้องไปฟันคอใคร ถ้า ไม่อย่างงั้นคนที่สร้างเขื่อนและเข้ามาร่วมพิธีกรรม คงไม่รอดออกไป แต่ว่าเป็นกระบวนการส่งทอด ความรู้สึกลึกลึกในใจ ให้เป็นข้อความเพื่อส่งไปกับ สังคมวงกว้าง รวมถึงกลุ่มคนที่มาสร้างเขื่อนด้วย แทนทีจ่ ะพุ่งเป้าหมายไปที่บริษัท ในกรณีนี้ถือว่ายัง มีประเพณีที่ถือปฏิบัติ ผมเข้าใจว่าแต่ก่อนคงไม่ได้ใช้ รูปแบบเช่นนี้ ด้านโครงสร้างพิธีกรรมอาจจะเหมือน อันนี้เป็นการรณรงค์คัดค้านเขื่อนไซยะ กันแต่รูปแบบเล่าเรื่องการสาปแช่งการสร้างเขื่อนคง บุรี เป็นเขื่อนสัญชาติไทย ที่ไปทำ�ในลาว เรื่องที่ไซ มาทีหลัง ที่ชาวบ้านได้ปรับปรุงขึ้นมา ยะบุรีก็น่าสนใจ ผมเคยพูดกับคนลาวเกี่ยวกับเขื่อน ไซยะบุรีเราจะทำ�อย่างไร แก้ไขปัญหาและจะทำ�ให้ สถานการณ์ดีขึ้น และคนลาวรู้สึกอย่างไร เขาตอบ กลับและทำ�ให้ผมรู้สึกเจ็บปวดอย่างมากมาจนถึงทุก วันนี้ โดยเขาบอกว่า “ต้องไปถามคนไทยเองว่าจะ เอาอย่างไร ไม่ต้องมาถามคนลาว” เงินลงทุน บริษัท ก่อสร้าง ไฟฟ้าที่ได้ก็ขายให้ไทย คนกัมพูชาก็ต้องร่วม เหล้า ที่เรียกว่า จาวาย เป็นสิ่งแรกที่ผม แสดงพลังเพราะว่าผลกระทบใต้น้ำ�ก็ส่งผลกระทบต่อ เข้าไปแล้วสนใจ ที่เป็นวัฒนธรรมร่วมอาเซียน ควร คนกัมพูชาอยู่ดี โครงการพัฒนาหลายอย่างก็เกิดขึ้น จะได้รับการสนับสนุนให้เป็นอัตลักษณ์ของอาเซียน มันมาจากเงินภูมิภาคที่เกิดขึ้น ทุนไทย ทุนเวียดนาม เพราะว่าไปที่ไหนก็มีใน Southeast Asia แต่ว่าด้าน มาจากแหล่งทุนในภูมิภาคที่แข็งแกร่งมาก และทุน พิธีการแตกต่างกัน อันนี้สำ�คัญมากเขาจะเอาไป จีนถือว่าเป็นทุนที่สร้างความเกลียดชังและเป็นเป้า หมายที่สร้างความเกลียดชัง คนไทยเมื่อเดินทางไป บวงสรวงผีบรรพบุรุษ แต่วิธีการ เห็นไม้เล็กๆ ทุก


อาเซียนเสวนา | 45

กรณีโรงไฟฟ้าหงสาที่ลาว เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งแรกของลาวไม่รู้ว่าแรงจูงใจมาจากไหน แต่อาจจะเป็นที่แม่เมาะที่ถูกชาวบ้านคัดค้านตลอดเวลา จนทำ�ให้ย้ายการผลิตไปอยู่ที่ลาวดีกว่า โครงการ ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินนี้จะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2015 แล้วทำ�สายส่งจากโรงไฟฟ้าถ่านหินหงสามาสู่ แม่เมาะ ด้านเงินทุนเหมือนกับกรณีไซยบุรี คือ เงินลงทุนก็เป็นของไทย บริษัทที่ทำ�ก็เหมือนของไทย ไฟฟ้า ก็ขายให้ไทย แต่ไปก่อตั้งที่ลาว ผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหินเราก็ทราบกันดีว่า ขนาดที่แม่เมาะทุกวันนี้ ยังแก้ไขปัญหายังไม่ได้ และกระแสโลกทุกวันนี้คัดค้านกันอย่างรุนแรงต่อโรงไฟฟ้าถ่านหิน คนลาวพูดไม่ ได้ เมื่อมีคำ�สั่งให้ย้ายที่อยู่อาศัยก็ต้องย้าย มันมีคำ�อยู่ 3 คำ� (บ่ฮู้ บ่หัน บ่จัก) เวลาไปถามว่าเป็นอะไรบ้าง แต่ลึกๆแล้วเขาก็ไม่ชอบ แต่เขาจำ�เป็นที่จะต้องบอกว่า เมื่อรัฐบาลเห็นว่าดีเราก็เห็นชอบว่าดีเช่นกัน ผม เคยสัมภาษณ์พี่น้องคนลาวว่าเป็นอย่างไรรู้สึกอย่างไรบ้าง เขาตอบว่า เขาก็รู้ว่าเกิดสถานการณ์อย่างไร ขึ้นและส่งผลกระทบต่อพวกเขาเอง แต่ด้วยรัฐบาลก็เสมือนพ่อแม่ที่จะทำ�แต่สิ่งดีๆ ให้กับพวกเขา คล้ายๆ กับคำ�ว่า “คนดี” ที่เป็นความเชื่อหนึ่งที่ว่า คนดีจะไม่ประสบกับเรื่องที่เลวร้ายหรือสิ่งที่เลวร้ายจะไม่เกิดขึ้น กับคนดี แต่ด้วยประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์แล้วว่ามันไม่จริง

รูปเป็นโครงการที่น่าสนใจอีกอย่าง ที่ลาวตอนใต้ อยู่บริเวณสี่พันดอนในบริเวณแม่น้ำ�โขง อันนี้ เป็นที่สะท้อนความเป็นอาเซียนอย่างจริงจัง คือ ก่อตั้งอยู่ที่ลาวใต้ แต่ผลกระทบส่วนใหญ่ไปที่กัมพูชา บริษัทที่ ลงทุนสัญชาติมาเลเซีย และมาเลเซียซึ่งขายเบียร์(อังกอร์)อยู่ที่กัมพูชา โดยนำ�เงินลงทุนที่มาเลเซียไปก่อสร้าง โรงไฟฟ้าที่ลาวใต้ ทำ�ให้คนกัมพูชาคัดค้านอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าระบบนิเวศตรงบริเวณนั้นสำ�คัญมากที่เชื่อม โยงกับโตนเลสาบ ที่เป็นแหล่งประมงน้ำ�จืดที่สำ�คัญที่สุดของกัมพูชา และจะต้องทราบข้อมูลตรงนี้ว่ากัมพูชา เป็นแหล่งพื้นที่ที่บริโภคปลามากที่สุดในโลกโดยเฉลี่ยต่อคน อาหารทุกเมื้อจะมีปลาเป็นส่วนประกอบ ถือว่า เป็นอารยธรรมที่เกี่ยวข้องกับปลา ซึ่งการเปลี่ยนระบบนิเวศตรงนั้นย่อมส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมรากฐานของ เขา ก็ได้มีการรณรงค์หลายอย่างเกิดขึ้นจากการก่อสร้างนี้ คนลาวพูดไม่ได้ คนกัมพูชาพูดแทน ซี่งจะส่งผลก ระทบต่อหลายจังหวัดในกัมพูชา ทั้งกระแจ๊ะ สตึงเตร็ง มีการรณรงค์โดยปล่อยเรือลงไปในแม่น้ำ�โขงแล้วเขียน ข้อความว่า No Dam ในปัจจุบันการดำ�เนินการก่อสร้างได้ดำ�เนินการไปอย่างต่อเนื่องขณะเดียวกันประชาชนก็ คัดค้านการก่อสร้างไปอย่างต่อเนื่องควบคู่กันไป กระบวนการคัดค้านไม่มีที่ไป แต่กระบวนการลงทุนหรือ


อาเซียนเสวนา | 46

โครงการพัฒนา ต่างล้วนแล้วพัฒนาไปตลอด แต่กระบวนการคัดค้านไม่มีส่วนที่มารองรับแม้แต่น้อย เช่น กระบวนการทางยุติธรรมไม่สามารถเข้ามารองรับหรือช่วยเหลือในกรณีการคัดค้านเช่นนี้ได้ เพราะว่าแหล่ง ทุนต่างข้ามพรมแดนไปหมดแล้ว จะให้ไปฟ้องส่วนใดก็ทำ�ได้ยากหรือทำ�แทบไม่ได้เลย หรือกล่าวอีกอย่างคือ กระบวนการยุติธรรมอยู่ในสภาวะที่คลุมเครือ

รูปนี้เป็นรูปในพม่า ผมไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เขามีประชุม ASEAN People’s Forum หรือเป็นการประชุมภาคประชาสังคมของอาเซียน ซึ่งผมตื่นเต้นมาก หลังจากที่ผมไปร่วมงานประชุม ภาคประชาสังคมของอาเซียนหลายครั้งซึ่งในแต่ละพื้นที่ต่างมีข้อห้ามที่ไม่เหมือนกัน สมัยจัดที่เวียดนาม สามารถพูดได้ทุกเรื่องยกเว้นเรื่องสิทธิชนเผ่าหรือสิทธิชนพื้นเมือง ไปจัดที่กัมพูชาพูดได้ทุกเรื่องยกเว้น เรื่องที่ดิน จัดที่บรูไนพูดได้ทุกเรื่องยกเว้นเรื่องสุลต่านและเรื่องเพศ แต่จัดที่พม่าสามารถพูดได้ทุกเรื่อง โดยยกประเด็นที่ไม่สามารถพูดได้ในประเทศที่ได้จัดมา ยกมาพูดคุยกันที่พม่าทั้ง สิทธิพื้นเมือง ที่ดิน สุลต่าน เพศ ถือว่าเป็นการจัดประชุมที่ใหญ่มากและมีชาวบ้านเข้ามาประชุมด้วยเยอะมาก เพราะ ว่ามีหลายโครงการในพม่า ทั้งลงทุนโดยประเทศไทย จีน ญี่ปุ่น ชาวบ้านได้รับผลกระทบและส่งผ่าน ข้อความบางอย่างต่อการจัดประชุมในครั้งนี้ เช่น “ที่ดินคือชีวิต ค่าชดเชยไม่ใช่คำ�ตอบ” หรือแม้แต่กลุ่ม โซกี้ (SOGIE) สามารถมาเดินขบวนในเรื่องเพศ ถือว่าการจัดประชุมที่พม่าเป็นบรรยากาศใหม่ที่สามารถ หยิบยกประเด็นที่ถูกปัดตกไปสามารถนำ�เข้ามาเพื่อพูดคุยกันได้อย่างเสรี แต่ผมมีข้อสังเกตว่ามันก็มี ข้อยกเว้นเหมือนกัน เช่น เรื่องโรฮิงญาพูดไม่ได้ ซึ่งทุกห้องในที่ประชุมจะมีพระสงฆ์ประจำ�อยู่ คงไม่ต้อง บอกว่าบทบาทพระสงฆ์ในพม่าเป็นอย่างไร แต่ก็ไม่เป็นไรเพราะทุกที่ต่างก็มีข้อจำ�กัด ซึ่งถ้าหากถามว่า ผมยินยอมหรือไม่ที่มีข้อจำ�กัดนี้ ผมก็ไม่ยินยอมหรือไม่พอใจแต่มันก็มีขั้นตอนหรือวิธีการที่จะต้องต่อสู้ กันต่อไปในอนาคต สู้รักษาชีวิตเอาไว้เพื่อสู้กันในระยะยาวดีกว่า


อาเซียนเสวนา | 47

รูปนี้เป็นเรื่องทวาย คนไทยรับรู้เรื่องทวายอยู่แล้วแต่ถามว่ารู้ในรูปแบบใดบ้าง ทุกท่านทราบดีว่า ด้านทุนไทยที่ได้ผ่านโครงการของรัฐแล้วและได้ไปลงทุนในทวาย ถือว่าเป็นการลงทุนในเม็ดเงินมหาศาลพร้อม ทั้งจะสร้างผลกระทบที่มหาศาลเช่นเดียวกัน ซึ่งผมมีเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งจากทวาย เมื่อเกิดการลงทุน ก็ได้ไปสร้าง ถนนในบริเวณพื้นที่โครงการ ชาวบ้านก็มุงดูว่าทำ�อะไรกัน แต่เผอิญมีรถที่กำ�ลังก่อสร้างถนนประสบอุบัติเหตุ กับรถชาวบ้านที่ขับรถผ่านบริเวณที่ก่อสร้างอยู่ ชาวบ้านจึงไปร้องเรียนต่อบริษัท ทางบริษัทได้ตอบกลับไปว่า มันไม่ใช่ถนนของชาวบ้าน ไม่ใช่ทรัพย์สินของชาวบ้านแต่เป็นทรัพย์สินของบริษัท ชาวบ้านไม่มีสิทธิใช้ ดังนั้น ชาวบ้านเขามาใช้ในพื้นที่นี้ย่อมไม่ใช่ความผิดของบริษัท ทั้งที่ที่ดินนั้นเป็นผืนดินของชาวบ้าน ทำ�ให้เกิดอารมณ์ ความเกลียดชังขึ้นตลอดเวลา ชาวบ้านพม่าไม่ได้เกลียดชังคนไทยเพราะจากประวัติศาสตร์ในสมัยอโยธยา แต่ ชาวบ้านเกลียดชังเพราะเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น ถ้าหากถามว่าจะจัดการปัญหานี้อย่างไร ในทวายผมมีคลิป (คลิป วิดีโอ) เกี่ยวกับโครงการของไทยที่ได้ไปลงทุนที่ทวาย คือบริษัทไทยก็จ้างนักวิชาการของไทยไปประเมินและ ศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม แล้วก็ไปพบเจอกับชาวบ้านกลุ่มนี้ในที่ประชุม ชาวบ้านบางคนบอกว่า มา ประชุมในครั้งนี้ไม่ได้มาเพราะเห็นด้วยแต่มาเพื่อปฏิเสธการประชุมนี้ และการก่อสร้างเข้ามาโดยไม่ได้รับการ ตัดสินใจหรือการยินยอมจากชาวบ้าน หรือชาวบ้านบางคนในที่ประชุมกล่าวว่า ตัวเองไม่ได้รับเชิญให้มาร่วม ประชุมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรถือว่าไม่ให้เกียรติชาวบ้านหรือการเชิญชวนไม่ได้ครอบคลุมประชากรใน พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นการแบ่งแยกทำ�ลายความสามัคคีของชาวบ้าน เวลาในการประชุม ก็ไม่เพียงพอโครงการระดับใหญ่มาพูดคุย 1-2 ชั่วโมงคงไม่พอ ดังนั้นชาวบ้านได้เรียกร้องว่า การดำ�เนินการ ต่างๆ ต้องอยู่บนพื้นฐานของการเคารพซึ่งกันและกัน ถ้าหากคุณเคารพเรา เราก็จะเคารพคุณ และในฐานะนัก วิชาการก็ต้องเป็นกลางให้กับชาวบ้าน ถ้าหากคุณจะดำ�เนินการก่อสร้างจะต้องทำ�ตามข้อตกลงของชาวบ้านที่ จะกำ�หนดขึ้นเป็นแบบแผนในการดำ�เนินการก่อสร้าง สุดท้ายชาวบ้านในนำ�หลักฐานภาพถ่ายมาแสดงว่า ข้อ กำ�หนด EIA (รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม) ยังไม่เสร็จสมบูรณ์แต่ได้เริ่มการดำ�เนินการก่อสร้างแล้ว ผมคิดว่าเท่าที่ได้พูดคุยกับเพื่อนชาวทวายที่ว่า เขาไม่ได้ต้องการคัดค้านการพัฒนา หรือไม่ได้ ปฏิเสธ การพัฒนาในบ้านเขา แต่หากว่าจะพัฒนาอย่างไรให้เขามีอำ�นาจในการควบคุมสถานการณ์หรือจัดการ ต่อปัญหาเหล่านั้นได้ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นบทเรียน หลายคนที่ทวายได้มาเรียนรู้ที่ไทยของบริเวณมาบตะพุด ดังนั้น ชาวบ้านที่ทวายมีการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดีต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งลึกๆไม่ได้ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลง แต่เขาจะมีอำ�นาจในการควบคุมต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นมากน้อยเพียงใด


อาเซียนเสวนา | 48

ในทฤษฏีเขาควาย (Development Dilemmas) คือเป็นภาวะเขาควายของการพัฒนาว่าจะ เอาอย่างไร การพัฒนาถูกนำ�เสนอในฐานะทางบังคับ ที่ไม่ใช่ทางเลือก คือไม่มีตัวเลือกให้เลือกว่าเอาอะไร ได้บ้าง ประเทศชาติต้องการไฟฟ้าเข้าใจ แต่ถามว่ากระบวนการต้องการไฟฟ้าเรามีทางเลือกอะไรบ้าง บอกเลยไม่มี มีแต่สร้างเขื่อนขนาดใหญ่ หรือ สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จริงๆแล้วการพัฒนาควรจะเป็น ทางเลือกให้คนได้มาแลกเปลี่ยนถกเถียงกันว่าข้อดี ข้อเสียเป็นอย่างไร แต่ความเป็นจริงที่ผมเล่ามาตั้งแต่ ต้นมันถูกใช้ในฐานะภาษาของความมั่นคงแห่งชาติ ที่สั่นคลอนความมั่นคงแห่งชาติ การประท้วงเขื่อนคือ การประท้วงชาติ ก็ต้องมีการจัดการโดยทหารหรือตำ�รวจเข้าไปแก้ปัญหา ซึ่งเป็นภาษาในลักษณะบังคับ ที่ไม่สามารถย้อนกลับมาได้ คือว่าจะสร้างก็สร้างอย่างเดียวไม่สามารถเป็นอื่นได้ ที่มีหลายอย่างให้เลือก ในชีวิตจริงคงไม่ได้ยากขนาดนั้น แต่ผมว่ามันมีเรื่องความสัมพันธ์เชิงอำ�นาจว่าใครมีอำ�นาจในการตัดสิน ใจว่าประเทศไทยควรจะเป็นแบบนี้หรือแบบนั้น ไฟฟ้าในกัมพูชาหรือพม่า ก็ควรจะเป็นแบบนี้

ทางออกของปัญหา

ผมพยายามมองในความซับซ้อนของปัญหา คือว่า ตัวแสดงไม่ได้อยู่ภายใต้อำ�นาจของรัฐชาติ เดียวอีกต่อไป มันได้เคลื่อนย้ายอย่างต่อเนื่องและมีลักษณะข้ามพรมแดน เช่นทุนมาเลเซียเข้าไปสร้างเขื่อน ในลาว ทุนไทยเข้าไปทำ�เขื่อนในพม่า แต่ในด้านโครงสร้างอำ�นาจของรัฐยังไม่เปลี่ยนแปลง ด้านโครงสร้าง ระดับภูมิภาคที่เรามีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งอาเซียน หลายคนบอกว่า (รูปภาพ) มันไม่มีศักยภาพ ทางอำ�นาจหรือเครื่องมือในการดำ�เนินการเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะในเรื่องการพัฒนาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ทั่วอาเซียน ควรจะถูกยกขึ้นมาพูดคุยและถกเถียงในระดับภูมิภาคอาเซียน แต่กรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียน ไม่สามารถกระทำ�ได้เพราะไม่มีอำ�นาจรับคำ�ร้อง ทั้งยังไม่มีอำ�นาจสืบสวน ทำ�ได้แค่ประชุมปรึกษาหารือกันว่า ครั้งต่อไปจะไปประชุมที่ไหนดี ซึ่งกระบวนการเช่นนี้ต้องได้รับการแก้ไข ปัญหาความเกลียดชังเริ่มทวีความ รุนแรงขึ้นแต่หน่วยงานที่มีความรับผิดชอบต่อประเด็นนี้กลับไม่เปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่ง เมื่อวกกลับเข้ามาในประเทศของเรา เมื่อเรานำ�เงินไปฝากในธนาคารพาณิชย์ของเราทุกครั้งก็แสดงถึงหยด น้ำ�ตาทุกหยดของเพื่อนบ้านของเรา เรายอมหรือไม่ ประเทศไทยของเราก็ไม่มีกลไกเกี่ยวกับเงินที่นำ�ไปฝากใน ธนาคารพาณิชย์ ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่านำ�ไปลงทุนอะไรบ้าง ในอาเซียนแต่เดิมประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากในทางการเมือง แค่พูดใน เรื่องสิทธิมนุษยชนก็อาจจะโดนจับได้ในหลายประเทศ แต่ข้อดีบางอย่างของสิทธิมนุษยชนอาเซียน คือทำ�ให้ ประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นกระบวนการที่ถูกกฎหมายหรือเป็นคำ�ที่ถูกกฎหมาย ในธรรมนูญอาเซียน (ASEAN charter) แปลว่าพลเมืองอาเซียนทุกคนต้องสามารถพูดได้ เรียกร้องได้ ในอาเซียนเป็นภูมิภาคเดียวที่ไม่มีกลไกระดับภูมิภาคเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะไม่มีศาลสิทธิ มนุษยชนอาเซียน แต่แอฟริกามี ลาตินอเมริกามี EU มี เพราะเขามีกระบวนการแก้ไขปัญหา แต่อาเซียนยังห่าง ไกลในประเด็นนี้ ขนาดใช้เวลา 16 ปีในการมีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาเซียน หลายท่านฝันว่าจะมีศาล สิทธิมนุษยชนอาเซียน ก็อาจต้องรอถึง 100 ปี แต่ต้องเริ่มจากคนในยุคนี้ที่จะขยับให้เป็นจริงได้ ทางคิดในแง่บวกปัญหาทุกอย่างจะเหมือน Pandora box เนื่องจากมีความวุ่นวายเต็มไปหมดแต่ เราต้องเชื่อมั่นว่าประชาชนยังมีความหวังอยู่ในการจะก้าวต่อไป ซึ่งจากประสบการณ์ผม ที่เป็นคนรุ่นใหม่ของ อาเซียนผมพบว่าพูดกันง่าย ที่ไม่มีอคติต่อกันจากเหตุผลทางประวัติศาสตร์เลยแม้แต่น้อย หรือแม้แต่การมอง แบบเหมารวมต่อเพื่อนบ้านในแง่ลบยังไม่มีเกิดขึ้นในเยาวชนของอาเซียน ตัวอย่างเช่น เพื่อนสนิทของผมเป็น ชาวกัมพูชา ที่ได้กินนอนด้วยไปประชุมด้วยกัน แต่ผมรู้สึกว่าเราสอง


อาเซียนเสวนา | 49

คนพูดกันง่าย ไม่เหมือนสิ่งที่เราถูกสั่งสอนในตำ�ราเรียนที่ให้มีอคติต่อเพื่อนบ้าน และผมเชื่อว่าไม่ได้มีอยู่ ในความรู้สึกของคนรุ่นใหม่ที่ได้ก้าวข้ามอคติตรงนี้ไปแล้ว อีกหนึ่งประสบการณ์ของผมที่ร่วมทำ�งานกับ ASEAN Youth Movement ซึ่งเป็นความร่วมมือ ของกลุ่มเยาวชนที่ทำ�งานอาสาสมัครใน 10 ประเทศอาเซียน ที่สร้างเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศและมี การประชุมกันทุกปี ทั้งเรื่องสันติภาพ การศึกษา การบังคับสูญหาย สิทธิเสรีภาพ ซึ่งไม่เกี่ยงว่าจะเกิดขึ้น ที่ไหนทำ�ให้อัตลักษณ์ใหม่เกิดขึ้นในเยาวชนคนรุ่นใหม่ ซึ่งผมก็หวังว่าจะถูกถักทอต่อไปเพื่อแก้ปัญหาทั้ง หลาย เพื่อเปิดเสรีความเกลียดชังเพื่อก้าวให้พ้นภาวะเหล่านั้นแล้วสามารถแก้ไขปัญหาร่วมกันได้


อาเซียนเสวนา | 50


อาเซียนเสวนา | 51

การขยายตัวของการผลิตพืชพาณิชย์ แถบชายแดนไทย-ลาว และการใช้แรงงานลาวในภาคเกษตรของไทย

เนตรดาว เถาถวิล

***การบรรยายครั้งนี้ยังไม่สมบูรณ์ โปรดอย่าอ้างอิง บทความฉบับสมบูรณ์จะมามาในเร็วๆ นี้***

เงื่อนไขการใช้แรงงานลาว

ภาคการเกษตรของไทยได้หดตัวตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 4 เป็นต้นมา ความ เติบโตการเกษตรได้ลดลงมาเป็นลำ�ดับในแง่ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ที่สามารถผลิตได้ รวมถึง ประชากรที่อาศัยอยู่ในภาคการเกษตรมีจำ�นวนลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานวัยหนุ่ม-สาวที่มีแนวโน้ม ออกจากแรงงานภาคเกษตรเข้าไปสู่แรงงานภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันแรงงานภูมิภาค อีสานได้มีจำ�นวนแรงงานที่โยกย้ายไปทำ�งานนอกภูมิภาคหรือต่างประเทศมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิ ภาคอื่นๆของประเทศไทย เมื่อดูจากจำ�นวนเงินส่งกลับจากแรงงานสู่ครัวเรือนถือว่าภาคอีสานมีสัดส่วนสูง ที่สุดในประเทศไทยมาเป็นเวลามากกว่า 10 ปี จำ�นวนแรงงานที่ยังคงเหลืออยู่ในภาคเกษตรจะมีแนวโน้ม เป็นแรงงานที่สูงวัยเพิ่มขึ้น ดังนั้นแล้วเมื่อแรงงานภาคเกษตรเป็นแรงงานสูงวัยจึงถือว่าเป็นปัญหาสำ�คัญ ต่อภาคการเกษตรของไทย ถือแม้ว่าจะมีเครื่องจักรกลทางการเกษตรเข้ามาใช้ในภาคเกษตร เช่น รถไถ รถ เกี่ยวข้าว ฯลฯ แต่ไม่สามารถทดแทนได้ทั้งหมดในภาคการเกษตร การผลิตพืชบางชนิดจำ�เป็นที่จะต้องใช้แรงงานคนอย่างเข้มข้น เช่น การผลิตข้าวอินทรีย์ ถือ เป็นการผลิตพืชที่ต้องใช้แรงงานอย่างเข้มข้น เฉลี่ยตามครัวเรือนแล้วจะมีแรงงานภาคเกษตรคงเหลืออยู่ ประมาณ 2-3 คนเท่านั้น และมีอายุเฉลี่ยของแรงงานภาคเกษตร อยู่ในสัดส่วน 45 ปีขึ้นไป ทำ�ให้ไม่เพียงพอ ต่อการทำ�งานภาคเกษตร จึงได้มีการนำ�แรงงานลาวเข้ามาสู่ภาคการเกษตรของไทย ด้านการผลิตเมล็ดพันธ์ประสบปัญหาเช่นเดียวกับการผลิตพืชอินทรีย์ ที่ขาดแคลนแรงงาน การ ขาดแคลนแรงงานในด้านการเกษตร ไม่ใช่ว่าจะนำ�แรงงานทั่วไปเข้ามาทำ�ได้ แต่ต้องเป็นแรงงานที่มีทักษะ ในทางด้านการเกษตรด้วย ที่สำ�คัญที่สุดค่าจ้างแรงงานภาคเกษตรต้องไม่สูงจนเกินกว่าจะจ่ายได้ การแก้ไขปัญหาของเกษตรกรในพื้นที่ชายแดนจึงได้นำ�แรงงานลาวเข้ามาทำ�งานในที่ดิน ของตนเอง หากย้อนไปเกี่ยวกับการจ้างแรงงานลาว ได้มีการดำ�เนินการมาแล้วถึง 20 ปี เช่น ในจังหวัด อุบลราชธานี ซึ่งอยู่ในภาคอีสานตอนใต้ อย่างไรก็ตาม การจ้างแรงงานลาวมีความแตกต่างกันตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่เดิมนั้นการจ้างแรงงานไม่ได้มากนัก จึงทำ�ให้อัตราค่าจ้างแรงงานไม่ได้สูงมาก รวมถึงการแข่งขันของพ่อค้าที่จะแย่งชิงแรงงานยังไม่สูงมากเช่นเดียวกัน แต่ในปัจจุบันการจ้างแรงงาน ลาวเป็นที่ต้องการอย่างสูง จึงเกิดการแข่งขันของนายจ้างที่จะแย่งชิงแรงงาน เพราะฉะนั้นความสำ�คัญ ของแรงงานลาวในบริบทใหม่ที่มีการขยายตัวของพืชพาณิชย์จึงมีความสำ�คัญเพิ่มมากขึ้นและมีความ แตกต่างไปจากอดีตอย่างมีนัยสำ�คัญ


อาเซียนเสวนา | 52

เมื่อมีเงื่อนไขของการเปิดข้ามพรมแดน ที่มีความสะดวกมากขึ้น แต่เดิมการข้ามพรมแดน จะใช้เส้นทางเรือเป็นหลักทั้งข้ามมาเพื่อซื้อของ เยี่ยมญาติ หรือทำ�บุญประเพณี แต่ปัจจุบันการข้าม พรมแดนได้ขยายตัวขึ้นผ่านการข้ามผืนดิน เช่น ด่านช่องเม็ก จ.อุบลราชธานี ที่สามารถขนส่งสินค้าหนัก ผ่านด่านข้ามพรมแดน (Land bridge) ในเส้นทางนี้ได้และถือว่าเป็นด่านผ่านแดนแบบสากล ดังนั้นแล้ว การจ้างแรงงานลาวต้องดำ�เนินการไปตามกฎระเบียบและเงื่อนไขของด่านผ่านแดนที่นายจ้างจะต้องทำ� เอกสารการจ้างงานในบริเวณด่านข้ามแดน การขยายพื้นที่ของการข้ามพรมแดนที่มีอยู่อย่างมากนี้ ถือเป็นตัวเร่งและเป็นปัจจัยเอื้ออำ�นวย ที่ทำ�ให้แรงงานลาวสามารถเข้ามาทำ�งานได้อย่างสะดวกง่ายดายเพียงแค่ใช้โทรศัพท์ติดต่อแรงงาน ถึง แม้ว่ากฎระเบียบของทางภาครัฐที่กำ�หนดเงื่อนไขของการผ่านแดนจะเข้มข้นอย่างไรก็ตาม แต่ไม่ได้เข้มข้น ไปทุกเรื่องหรือทุกระดับ เงื่อนไขที่สำ�คัญอีกประการที่ทำ�ให้แรงงานลาวเป็นที่นิยมของภาคเกษตรไทย คือ แรงงาน ลาวทำ�งานหนัก พูดน้อย ไม่เรียกร้องอะไรมาก และค่าแรงของแรงงานลาวถูกกว่าค่าแรงของแรงงานไทย บางพื้นที่ค่าแรงคนลาวถูกกว่าคนไทยถึงครึ่งหนึ่ง แต่แรงงานลาวกลับยอมทำ�งานหนักกว่าแรงงานไทย

คำ�ถามในการวิจัย

-การผลิตข้าวอินทรีย์เพื่อการส่งออกในพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว ได้มีการจ้างแรงงานอย่างไร และมีการใช้แรงงานลาวอย่างไร การใช้แรงงานลาวในการผลิตข้าวอินทรีย์ มีนัยยะและความสำ�คัญ อย่างไร

พื้นที่ในการศึกษาในการผลิตข้าวอินทรีย์

ชายแดนไทย-ลาว จ.อุบลราชธานี

แนวคิดที่ใช้ในการศึกษา

แนวคิดการขยายตัวของการเกษตรเชิงพาณิชย์เพื่อส่งออก แนวคิดการผลิตพืชมูลค่าสูงในเชิงพาณิชย์ แนวคิดเกษตรพันธะสัญญา (Contract farming) เป็นแนวคิดที่สำ�คัญเนื่องจากการผลิต พืชเชิงพาณิชย์อยู่ในระบบของเกษตรพันธะสัญญา ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่มีความแตกต่างจากการผลิต แบบไม่ใช่เกษตรพันธะสัญญา แนวคิดกระบวนการการจัดการแรงงานในการผลิต มีขั้นตอนการจัดการแรงงานอย่างไร ตั้งแต่ก่อนการผลิต ระหว่างการผลิต ไปถึงการเก็บเกี่ยว และมีการจัดการผลผลิตอย่างไรเพื่อให้ได้ ผลผลิตที่ต้องการ


อาเซียนเสวนา | 53

แนวคิดการเปลี่ยนแปลงสังคมเกษตรกรรม (Agrarian transformation) ใช้อธิบายความ เปลี่ยนแปลงของสังคมเกษตรกรรมหรือสังคมชนบท มีความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด เช่น การ เคลื่อนย้ายแรงงานสังคมชนบทไปสู่เมือง ซึ่งทำ�ให้ภาคเกษตรหดตัวลง และทำ�ให้เกิดแนวคิดทฤษฎี กลุ่มหนึ่งขึ้น ที่กล่าวถึงการถดถอยและเสื่อมสลายของสังคมเกษตรกรรม (De-agraianization) และมี บางกลุ่มทฤษฎีที่เชื่อว่าแม้จะมีแรงงานที่อพยพออกจากชนบทแต่ภาคเกษตรกรรมจะไม่ได้สูญสลายไป เนื่องจากมีการระดมแรงงานส่วนอื่นเข้ามาทดแทนแรงงานที่อพยพไปทำ�ให้แรงงานภาคเกษตรส่วนหนึ่ง ออกไป และอีกส่วนหนึ่งเข้ามาทดแทนจึงทำ�ให้การผลิตภาคการเกษตรยังคงอยู่ (Re- agrarianization) ในความสำ�คัญของทฤษฎีสามารถทำ�ให้มองเห็นถึงภาพรวมของสังคมใหญ่และช่วยให้ ทำ�นายภาพของอนาคตที่จะเกิดขึ้นกับสังคมเกษตรกรรมในประเทศไทยหรือในประเทศใกล้เคียง เช่น แม้ว่าแรงงานลาวจะเข้ามาทำ�งานในภาคเกษตรกรรมของไทยแทนแรงงานไทยที่อพยพออกนอกพื้นที่ แต่แรงงานลาวในประเทศลาวได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในด้านแรงงานภายในประเทศลาว

บริบทการปรับโครงสร้างสังคมเกษตรกรรม

โครงสร้างการผลิตข้าวของไทยในตลาดโลก ตั้งแต่กลางทศวรรษ 2520 เป็นต้นมาทั้งปริมาณ และราคาข้าวที่ไทยส่งออกมีแนวโน้มผันผวนไม่แน่นอนและราคาข้าวตกต่ำ� ไทยส่งออกข้าวได้น้อยลง ต้นทุนการผลิตข้าวของไทยสูงขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศใกล้เคียง เช่น เวียดนาม อินเดีย จึงทำ�ให้การแข่งขัน ของไทยในการส่งออกข้าวสู่ตลาดโลกมีความได้เปรียบในการแข่งขันลดลง และ อัตราการเติบโตของภาค เกษตรไทยมีลักษณะถดถอยลง ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่4 เป็นต้นมา เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในภาคเกษตร ที่ไทยเคยส่งข้าวออกเป็นอันดับ 1 ของโลกแต่ปัจจุบันไทยได้ เสียตำ�แหน่งไปแล้วและถูกทิ้งห่างในประเด็นการส่งออกข้าวมากขึ้นเรื่อยๆ เกษตรกรมีความวิตกกังวลต่อ เจ้าหน้าที่ที่วางแผนนโยบายของรัฐ ถ้าหากปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ อีกไม่นานจะทำ�ให้เกิดวิกฤต กระทบต่อภาคเกษตรของไทย และกระทบต่อเกษตรกรไทยหลายล้านคน เมื่อข้าวส่งออกไม่ได้ ปัญหาจึง เกิดกับเกษตรกรที่ขายข้าวไม่ค่อยได้หรือขายข้าวไม่ได้ราคาที่ดี กระทบต่อการดำ�เนินชีวิตประจำ�วัน เพราะ ฉะนั้นรัฐหรือนักวิชาการจึงเสนอให้ไทยเลิกแข่งขันปลูกข้าวราคาถูกหรือข้าวเคมีกับประเทศอื่น ไทยจำ�เป็น ต้องมีการยกระดับไปเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าสูง (High Value Foods) แทน ซึ่งผลผลิตทางการ เกษตรที่ขายได้ราคาสูง เช่น กุ้ง ผลไม้ ผักบางชนิด ดอกไม้ ที่ไม่ใช่สินค้าปกติที่ส่งออก ส่วนสินค้าปกติ นั้น เช่น ข้าว อ้อย ยางพารา กาแฟ ฯลฯ ประเทศที่มีความร่ำ�รวยทางการเกษตร NAC (New Agricultural Country) จะหันมาปลูกพืชที่มีมูลค่าสูง เช่น ถ้าปลูกข้าวต้องเป็นข้าวอินทรีย์ เพื่อขายข้าวต่อกิโลกรัมได้ ราคามากกว่าข้าวเคมี เมื่อแนวโน้มเป็นเช่นนี้ รัฐที่เริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 4 ได้วางนโยบายภาค เกษตรเป็นภาคอุตสาหกรรม และ อุตสาหกรรมการเกษตรยังต้องการพืชผลทางการเกษตรมาเป็นวัตถุดิบ การยกระดับข้าวเคมีให้เป็นข้าวอินทรีย์ ดังนั้นแล้วการผลิตข้าวอินทรีย์เพื่อการส่งออกและการผลิตเมล็ด พันธ์ลูกผสมเพื่อการส่งออก ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของพืช HVF สอดคล้องการปรับทิศทางของโครงสร้างภาค เกษตรของโลกและทิศทางการปรับตัวภาคเกษตรที่รัฐบาลไทย ต้องการเห็น แต่การผลิตพืชในโครงสร้าง ของ HVF จำ�เป็นที่จะต้องใช้แรงงานอย่างเข้มข้น ดังนั้นการใช้แรงงานเป็นตัวแปรที่สำ�คัญมากต่อความ สำ�เร็จในการผลิตพืชที่มีมูลค่าสูง


อาเซียนเสวนา | 54

การจัดการแรงงานในการผลิตข้าวอินทรีย์ การผลิตข้าวอินทรีย์เริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 รวมเวลาแล้วมากกว่า 20 ปี ที่โครงการผลิตข้าวอินทรีย์ได้ดำ�เนินการมา แต่ปัจจุบันพื้นที่ของการ ผลิตข้าวอินทรีย์ไม่ได้เพิ่มขึ้นเท่าที่คาดหวังไว้ ถึงแม้ว่าภาครัฐจะมีนโยบายให้ข้าวอินทรีย์เป็นวาระแห่ง ชาติ ตั้งแต่ยุครัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ที่ต้องการจะสร้างให้ประเทศไทยเป็นครัวของโลก รวมถึงการคิด กระบวนการหลังการเก็บเกี่ยว เช่น โครงการหนึ่งโรงสี หนึ่งตำ�บล ด้านแนวคิดของนักวิชาการบางกลุ่มที่ได้ ชี้ว่าความล้มเหลวของการผลิตข้าวอินทรีย์เกิดขึ้นจากตัวของเกษตรกรเองที่ติดการใช้สารเคมีในการผลิต ข้าว จึงทำ�ให้พื้นที่หรือความนิยมในการผลิตข้าวอินทรีย์นั้นไม่เติบโตขึ้น แต่เหตุผลบางประการในการผลิต ข้าวอินทรีย์จะมีต้นทุนหลายประการมากกว่าการผลิตข้าวเคมี ซึ่งมีต้นทุนนั้น คือ 1.มีที่ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวอินทรีย์ ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากการปลูกข้าวเคมีมาปลูก ข้าวอินทรีย์ ที่ดินจะต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนฟืนฟูดินถึง 3 ปี จึงจะทำ�ให้ที่ดินผืนนั้นเหมาะสมแก่การเพาะ ปลูกข้าวอินทรีย์ ที่สำ�คัญจำ�เป็นจะต้องลงทุนในด้านปุ๋ยชีวภาพ(ปุ๋ยคอก,ปุ๋ยพืชสด) ลงในผืนดินในจำ�นวน ที่มาก 2.กระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์จะต้องเป็นกระบวนการที่ปลอดสารเคมี ถ้าหากว่ามีศัตรูพืชที่ เป็นแมลงหรือวัชพืชขึ้นปกคลุมข้าวที่ปลูก กระบวนการกำ�จัดจะต้องทำ�โดยกระบวนการที่ปลอดสารเคมี เช่นกัน รวมถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่ชาวนาจะต้องแบกรับไว้และแก้ปัญหาให้ได้ ซึ่งความเสี่ยงนี้จะต้องใช้ทุน แรงงาน ความรู้และเวลา ในการจัดการความเสี่ยง ดังนั้นแรงงานในครัวเรือนระดับเล็ก ที่มีอายุเฉลี่ยของแรงงาน 45 ปีขึ้นไป และในครัวเรือนหนึ่ง จะมีแรงงานประมาณ 2-3 คน จึงทำ�ให้ปัญหาด้านแรงงานเป็นปัญหาที่สำ�คัญในการผลิตข้าวอินทรีย์ ทั้ง ยังกระทบต่อต้นทุนการผลิต เพราะถ้าหากจ้างแรงงามากเกินไปทำ�ให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นด้วย ถ้าหาก จ้างแรงงานน้อยเกินไป เพื่อลดต้นทุนการผลิต แต่จะส่งผลไม่ตรงต่อความต้องการของเกษตรกร และไม่ ตรงต่อมาตรฐานในการผลิตข้าวอินทรีย์จึงทำ�ให้เกิดความเสี่ยงขึ้น พื้นที่ชายแดนบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากชวนนา ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะแรงงานวัยหนุ่ม-สาว จะอพยพไปทำ�งานในเมือง คลื่นการอพยพนี้ดำ�เนินมาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน ยังมีการเคลื่อนย้ายแรงงานส่วนนี้อยู่ การอพยพนี้แรงงานวัยหนุ่ม-สาว จะใช้วิธีส่งเงินกลับ มาให้กับครอบครัวที่ทำ�นา เพื่อนำ�เงินส่วนนี้ไปใช้จ่าย อุปโภค-บริโภค และที่สำ�คัญนำ�ไปจ้างแรงงานแทน แรงงานของตนเองที่ไปทำ�งานนอกพื้นที่ ดังนั้น การจ้างแรงงานมาทำ�งานแทนจึงมีข้อดีในแง่ของการทำ�นาได้อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่า ในระดับครัวเรือนจะมีแรงงานที่เหลืออยู่ในครัวเรือนเฉลี่ย 2-3 คน บางครัวเรือนเหลือเพียงแค่คนเดียว แต่ ไม่ได้เป็นปัญหาสำ�หรับการทำ�นา เนื่องจากครัวเรือนนำ�เงินที่แรงงานส่งกลับมาไปจ้างแรงงานทั้งชาวไทย และชาวลาวมาทำ�นาแทน การจ้างแรงงานเข้ามาทดแทนแรงงานในครัวเรือนที่หายไป จึงทำ�ให้ชาวนายัง คงสามารถทำ�นาได้อย่างต่อเนื่องทุกปี เช่น ชาวนาวัย 50 ปี ทำ�นาคนเดียว 50 ไร่ โดยใช้วิธีทำ�ตัวเป็นผู้ จัดการนา ดูแลและจัดการการทำ�นานทั้งหมดโดยผ่านเงินทุนที่ได้มา การได้มาซึ่งแรงงานในบริเวณชายแดน จึงเป็นการจ้างแรงงานในประเทศใกล้เคียง การทำ�นา จะขาดแคลนแรงงานอย่างมากใน 2 ช่วง คือ


อาเซียนเสวนา | 55

ช่วงแรก ช่วงการดำ�นา ซึ่งก่อนดำ�นานั้นจำ�เป็นจะต้องไถกลบดินและจัดเตรียมดินให้พร้อม สำ�หรับการดำ�นาเสียก่อน ในช่วงการไถนาปรับผืนดินจะใช้เครื่องจักรกลทางเกษตรเข้ามาช่วย แต่การดำ�นา ยังไม่มีเครื่องจักรกลทางเกษตรเข้ามาแทนที่แรงงานได้ จึงจำ�เป็นจะต้องใช้แรงงานคนเท่านั้น ช่วงสอง ช่วงการเก็บเกี่ยวจะเป็นช่วงที่ขาดแคลนแรงงานเป็นอย่างมาก ซึ่งการเก็บเกี่ยวจำ�เป็น จะต้องเก็บเกี่ยวให้เร็วที่สุด เพื่อลดปัญหาตามมาเกี่ยวกับผลผลิต ไม่เหมือนช่วงของการดำ�นาที่ไม่มีเงื่อนไข ของเวลาเข้ามาควบคุมมากนัก เพราะฉะนั้นช่วงการเก็บเกี่ยวจึงระดมแรงงานอย่างเข้มข้น ทำ�ให้เกิดปัญหา การขาดแคลนแรงงาน เงื่อนไขอีกประการของการขาดแคลนแรงงานช่วงเก็บเกี่ยวนั้น เกิดจากการเก็บเกี่ยว ผลผลิตพร้อมๆ กันของชาวนา เนื่องจากข้าวสุกพร้อมกัน ช่วงเดือน พฤศจิกายน – ธันวาคม ทำ�ให้จำ�เป็น ต้องเร่งมือเกี่ยวข้าวให้ทันก่อนที่ข้าวจะสุกหรือแก่เกินไป ดังนั้นจึงเกิดการแข่งขันกันของนายจ้างเพื่อแย่งชิง แรงงาน และทำ�ให้แรงงานขาดแคลนมาก จนนายจ้างชาวไทยต้องหันไปจ้างแรงงานลาวมากขึ้น

คนไทยจะติดต่อแรงงานลาวหลายวิธี

-ติดต่อโดยตรงกับแรงงานลาว จากคนที่เคยมารับจ้างกันมาก่อน -ติดต่อผ่านนายหน้าที่เป็นคนลาว -แรงงานลาวทราบว่าเป็นช่วงของการทำ�นา จะข้ามฝั่งมาเอง แล้วมายืนรอตรงบริเวณท่าเรือ เพื่อจะไปรับจ้างทำ�นาต่อไป เมื่อได้แรงงานที่ต้องการแล้ว นายจ้างจะเป็นฝ่ายไปจัดการเรื่องเอกสารผ่านแดนที่ด่านตรวจคน เข้าเมือง โดยนายจ้างจะต้องเสียค่าผ่าแดนสำ�หรับลูกจ้างวันละ 10 บาทต่อคน ถ้าหากลูกจ้างจะอยู่อาศัย กับนายจ้างตลอดช่วงเวลาของการทำ�นา นายจ้างจะต้องรับผิดชอบด้านที่พักอาศัย อาหาร เครื่องใช้ รวมถึง ค่ารถโดยสารที่ใช้ขนส่งแรงงานให้แก่ลูกจ้างด้วย การจ้างแรงงานลาว ถึงแม้ส่วนหนึ่งจะมาจากความต้องการของเกษตรกรที่ต้องการจ้างแรงงาน เพื่อมาทำ�งานในที่ดินของตน แต่อีกส่วนหนึ่งยังเป็นความต้องการของแรงงานลาวด้วยส่วนหนึ่งที่ต้องการ จะมาหารายได้เสริม เนื่องจากแรงงานลาวส่วนมากจะทำ�นาที่ประเทศลาว แต่ทำ�นานในเนื้อที่น้อย เก็บ เกี่ยวผลผลิตเร็ว ถึงแม้จะเก็บเกี่ยวไม่เสร็จก็จะจ้างแรงงานลาวอีกที เพื่อมาเก็บเกี่ยวแทน แล้วนายจ้าง ลาวก็จะเปลี่ยนตัวเองมาเป็นแรงงานลาวเพื่อเข้ามาทำ�งานรับจ้างในไทย เพราะได้ค่าจ้างที่สูงกว่า รูปแบบ ของการเข้ามาเป็นแรงงานในไทยของแรงงานลาวนั้นจะนิยมมาเป็นกลุ่มครอบครัว เครือญาติ เพื่อที่จะมา ทำ�งานในไทย จึงส่งผลทำ�ให้เกิดอาชีพนายหน้าทั้งชาวไทยและชาวลาว นายจ้างแรงงานลาวส่วนมากจะเป็นชาวนาไทยที่ทำ�นาขนาดใหญ่ ซึ่งมักจะมีนาขนาด 50 ไร่ขึ้น ไป มีฐานะค่อนข้างดี แต่มีแรงงานในครอบครัวน้อย หรือไม่ก็เป็นคนสูงอายุ ด้านชาวนาขนาดเล็กจะทำ�นา เอง ส่วนชาวนาขนาดกลางมักไม่นิยมที่จะจ้างแรงงานลาว เนื่องจากจะทำ�ให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น และ เสียเวลา เพราะจะต้องจ่ายเงินค่าผ่านแดน หรือมีภาระในการดูและรับผิดชอบความเป็นอยู่ของแรงงานลาว ทางการรัฐไทยได้มีการผ่อนปรนในการจ้างแรงงานลาวตามชายแดน ที่นายจ้างจะต้องทำ� เอกสารผ่านแดนและจ่ายค่าธรรมเนียมให้ถูกต้องต่อด่านตรวจคนเข้าเมืองหากจ้าง 10 วัน นายจ้างจะ ต้องรับผิดชอบลูกจ้างที่จ้างมา หากว่าลูกจ้างได้หลบหนีเข้าเมืองหรือสูญหาย นายจ้างจะต้องรับผิดชอบ ตามกฎหมาย เพราะฉะนั้นนายจ้างจำ�เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการ ในการจ้างแรงงานลาว และมีเวลาเพียงพอในการดูแลแรงงานลาว


อาเซียนเสวนา | 56

ลักษณะการจ้างและการทำ�งาน

การจ้างแรงงานลาวจะแตกต่างกับการจ้างแรงงานไทย ตรงที่การจ้างแรงงานลาวเข้ามาทำ�งาน จะไม่ได้จ้างเป็นรายวันเหมือนแรงงานไทย แต่แรงงานลาวจะได้รับค่าจ้างแบบเป็นมัดข้าวหรือฟ่อน ตาม จำ�นวนที่ทำ�ได้ หากทำ�ได้มากก็จะได้รายได้มากตามจำ�นวนที่ทำ� ดังนั้นการจ้างแรงงานลาวจะเป็นการจ้าง บนเงื่อนไขที่นายจ้างได้เปรียบลูกจ้าง

ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างไทยกับแรงงานลาว

ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างไทยและแรงงานลาวจะเป็นในแบบอุปถัมภ์ หรืออาจเป็นแบบ แลกเปลี่ยนต่างตอบแทน สะท้อนผ่านการเรียกชื่อของแรงงานลาวและนายจ้างไทยว่าเป็น “หมู่” กัน ถึง แม้จะมีการเรียกความสัมพันธ์ที่แปลว่าพวกพ้อง แต่นายจ้างไทยยังมีปัญหาเกี่ยวกับการทำ�งานของทั้ง แรงงานไทยและแรงงานลาวอยู่ เช่น การจ้างแรงงานไทยจะไม่ยุ่งยากเหมือนแรงงานลาว แต่นายจ้างมองว่าแรงงานไทยเกียจคร้าน พักผ่อนระหว่างการทำ�งานบ่อยครั้ง และเรียกค่าจ้างที่สูง ถ้านายจ้างไม่เลี้ยงดูทั้งอาหาร-เครื่องดื่ม อย่างดี จะไม่มาทำ�งาน การจ้างแรงงานลาวจะยุ่งยากกว่าแรงงานไทย แต่ขยันทำ�งานตั้งแต่ใกล้สว่างจนถึงฟ้ามืด ไม่มี บ่นต่อการทำ�งาน ทำ�งานต่อเนื่องไม่พักบ่อย แต่เวลาทำ�งานทำ�ให้ผลผลิตตกหล่น เพราะทำ�งานอย่างเร่ง รีบเพื่อให้ได้จำ�นวนผลผลิตมากที่สุดเพราะจะทำ�ให้แรงงานได้ค่าจ้างมากขึ้น

นัยยะสำ�คัญของแรงงานลาวในการทำ�นาอินทรีย์

การทำ�นาอินทรีย์จำ�เป็นจะต้องเกี่ยวข้าวให้ทันเวลาช่วงต้นเดือน ธันวาคม ของทุกปี เพื่อให้ ทันเวลาส่งมอบข้าว ขาย หรือ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากเมล็ดข้าวแก่เกินไป แรงงานลาวจึงมี ความสำ�คัญมาก เพราะทำ�ให้ชาวนาไทยสามารถทำ�นาได้ต่อไปถึงแม้ว่าจะมีแรงงานในครัวเรือนน้อย และทำ�ให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตในผืนนาของตนได้ทันเวลา ทั้งยังทำ�ให้ด้านการค้าสำ�หรับผู้ส่งเสริม การผลิตข้าวอินทรีย์สามารถส่งออกข้าวอินทรีย์ของไทยได้อย่างต่อเนื่องและมีความได้เปรียบทางการ ค้าเพิ่มขึ้น

คำ�ถาม

ถ้าการผลิตข้าวอินทรีย์ของไทย ยังจำ�เป็นที่จะต้องพึ่งพาแรงงานข้ามชาติที่มีการจ้างแรงงานถูก เราจำ�เป็นต้องคิดถึงเรื่องค่าแรงที่เป็นธรรมและการจ้างงานที่เป็นธรรมสำ�หรับแรงงานข้ามชาติด้วยหรือไม่ เพราะการจ้างแรงงานข้ามชาติในราคาที่ถูกกว่าแรงงานไทยมาก แสดงถึงความไม่เท่าเทียมและการเลือก ปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติ ซึ่งจากข้อเท็จจริงยังพบว่า แม้ในระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ที่เน้นเรื่องการค้า ยุติธรรม (Fair trade) ก็ยังมีการใช้แรงงานข้ามชาติในราคาที่ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกันกับแรงงานไทย จึง ทำ�ให้เกิดคำ�ถามว่า ระบบการค้ายุติธรรมจะครอบคลุมถึงเรื่องการจ้างแรงงานที่เป็นธรรมสำ�หรับแรงงาน ข้ามชาติด้วยหรือไม่ หากไม่สามารถทำ�ให้เกิดการจ้างแรงงานที่เป็นธรรมและเป็นมาตรฐานเดียวกันได้ จะ สามารถเรียกว่าระบบการค้ายุติธรรมได้ต่อไปหรือไม่


อาเซียนเสวนา | 57

ความยั่งยืนของการผลิตข้าวอินทรีย์ของไทยยังมีความจำ�เป็นต้องพึ่งพาแรงงานข้ามชาติ รวมถึงการผลิตพืชมูลค่าสูงเพื่อส่งออกของไทยอื่นๆ ก็จำ�เป็นต้องพึ่งพาแรงงานข้ามชาติอยู่มาก ทำ�ให้ เกิดคำ�ถามว่า หากในอนาคตแรงงานข้ามชาติไม่เข้ามาทำ�งานในภาคเกษตรของไทย อนาคตของการ พัฒนาภาคเกษตรไปสู่การเป็นผู้ผลิตพืชที่มีมูลค่าสูงจะเป็นไปได้เพียงใด


อาเซียนเสวนา | 58


อาเซียนเสวนา | 59

ตํารวจมลายู: ลูกผสมของความสมัยใหม่ แบบอาณานิคม ประวัติศาสตร์บาดแผล และความรุนแรง

อสมา มังกรชัย

กรอบคิดของงานศึกษา

1.การเป็นปัจเจก บุคคลผู้กระทำ�การและโครงสร้าง ในทางด้านมานุษยวิทยาหรือสังคมศาสตร์ ได้มองปัจเจกบุคคลผู้กระทำ�การยังมีอยู่หรือไม่ ที่สามารถ ต่อสู้ ต่อรอง อยู่ในโครงสร้างขนาดไหนบ้าง หรือไม่เชื่อว่าระดับปัจเจคบุคคลผู้กระทำ�การมีอยู่ เมื่อ การกระทำ�ต่างๆ ย่อมมีแนวคิดบางอย่างเข้ามาครอบงำ�เสมอ 2.อัตลักษณ์ อัตลักษณ์เป็นกระบวนการประกอบสร้างจากความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกและสังคม อัตลักษณ์จึงเป็น “กระบวนการกลายมาเป็น” (process of becoming) ที่เคลื่อนไหวและยังไม่สมบูรณ์ จึงมองการแยก หรือความแตกต่าง (Alternity หรือ Difference) โดยคำ�นึงถึงความเป็นไปได้ของเส้นแบ่งที่พร่าเลือน ระมัดระวังกับการเป็นอื่น the other ซึ่งไม่ควรจะถูกแบ่งด้วตัวผู้เขียนเอง และไม่จำ�เป็นต้องเป็นการแบ่ง แยกแบบขั้วตรงข้ามเสมอไป 3.ความเป็นสมัยใหม่ ความเป็นสมัยใหม่เป็นสภาวะอันประกอบไปด้วยความเจริญทางด้านอุตสาหกรรม ทัศนคติที่เปิดรับ ความเปลี่ยนแปลงจากการประดิษฐ์คิดค้นของมนุษย์ สถาบันทางเศรษฐกิจที่มีความซับซ้อน โดยเฉพาะ การผลิตในอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจแบบตลาด การจัดระบบระเบียบสถาบันทางการเมือง รัฐชาติ และประชาธิปไตย สภาวะความเป็นสมัยใหม่เป็นสภาวะที่มีการขยับปรับเปลี่ยนหรือมีพลวัตรสูงกว่า ระเบียบทางสังคมที่มีมาก่อนหน้านี้ สภาพสังคมเป็นสังคมที่มีวิทยาการก้าวหน้า ประกอบด้วยสถาบัน ต่างๆ ที่มีการจัดระบบ มีองค์ประกอบต่างๆ ที่ซับซ้อน แตกต่างจากวัฒนธรรมในสมัยก่อน และมีท่าที ของการอยู่กับอนาคตมากกว่าการอยู่ในอดีต สภาวะความเป็นสมัยใหม่ตั้งอยู่บนฐานของเสรีภาพในการค้นหาความจริงและความคิดที่ มีเหตุผล การคิดและถกเถียงเรื่องเสรีภาพในการเลือก ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ใช้เหตุผล การ ตัดสินใจ การต่อสู่ต่อรองกับโครงสร้าง หรือสถานการณ์ของปัจเจกบุคคลหรือผู้กระทำ�เป็นท่าทีของ สภาวะความเป็นสมัยใหม่


อาเซียนเสวนา | 60

ประวัติศาสตร์ตำ�รวจไทย

ตำ�รวจ มีอยู่ในประวัติศาสตร์ไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 500 ปี คำ�ว่า “ตำ�รวจ” เป็นคำ�ที่คิดตั้ง ขึ้นมาในช่วงสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ครั้งนั้นทรงจัดระเบียบการปกครองบ้านเมืองเป็นแบบจตุสดมภ์ อันได้แก่ เวียง วัง คลัง นา ตำ�รวจพระนครบาลกับตำ�รวจภูธรขึ้นอยู่กับเวียง ส่วนตำ�รวจหลวงขึ้นอยู่กับวัง ตำ�รวจในสมัยกรุงศรีอยุธยามีศักดินา การคัดเลือกผู้เข้ารับราชการเป็นตำ�รวจจะพิจารณาจากเชื้อสาย ของผู้มีความจงรักภักดี สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ระบบการปกครองยังมีรูปแบบใกล้เคียงกับสมัยสมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถ คือ มีระบบจตุสดมภ์ แต่มีสมุหนายก และ สมุหพระกลาโหม กรมเจ้าท่า และ กรมต่างๆ กิจการของตำ�รวจในยุคนี้มี กรมพระตำ�รวจ ในขณะที่แต่ละอาณาบริเวณของรัฐก็มีหน่วยงานที่รับผิด ชอบดูแลความสงบเรียบร้อยอยู่ถึงสี่หน่วย คือ หัวเมืองฝ่ายเหนือ อยู่ในความปกครองของสมุหนายก หรือกระทรวงมหาดไทย หัวเมืองฝ่ายใต้อยู่ในความปกครองของกระทรวงกลาโหม หัวเมืองชายทะเล อยู่ในความปกครองของกระทรวงต่างประเทศ (กรมเจ้าท่า) และกรุงเทพมหานครอยู่ในความปกครอง ของกระทรวงพระนครบาล ซึ่งแต่ะละกระทรวงที่รับผิดชอบนี้ย่อมดำ�เนินการในเรื่องการรักษาความสงบ เรียบร้อยของประชาชนในเขตการปกครองของตนอย่างเป็นเอกเทศ ไม่ได้รวมกันเหมือนปัจจุบัน

องค์กรตำ�รวจสมัยใหม่ : ผลพวงของการสร้าง “รัฐชาติ” ด้วย “กระบวนการ พัฒนาให้ทันสมัย”

เมื่อไทยยอมทำ�สัญญา “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” ยินยอมให้คนต่างชาติและในบังคับของ ต่างชาติได้สิทธิพิเศษไม่ต้องขึ้นศาลไทย แต่ไปขึ้นศาลกงสุลของต่างชาติแทน โดยประเทศจักรวรรดินิยม อ้างว่า ระบบการอำ�นวยความยุติธรรมของไทยไม่เหมาะสม เช่น ระบบตำ�รวจหรือระบบจารีตนครบาล โหดร้ายทารุณ ดังนั้น พ.ศ.2404 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยา ยมราช (ครุฑ บ่วงราบ) เป็นแม่กอง รับผิดชอบกองโปลิศ (POLIS) หรือกรมกองตระเวนขึ้นครั้งแรก โดย จ้างชาวพม่า อินเดีย สิงคโปร์ เริ่มทำ�งานครั้งแรกที่ย่านตลาดพาหุรัด ในพระนคร องค์กรตำ�รวจ เป็นหนึ่งในเครื่องมือของรัฐไทยในการก่อร่างสร้าง “รัฐชาติหรือรัฐสมัยใหม่ ท่ามกลางมรสุมทางการเมืองของการล่าอาณานิคมโดยประเทศมหาอำ�นาจ ซึ่งกระบวนการขับเคลื่อน สู่ความทันสมัยในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนอกเหนือจากการเร่งปฏิรูปศึกษา โดยเฉพาะการรับการศึกษาที่เป็นการนำ�เข้าจากตะวันตก และการเร่งเรียนรู้ภาษาอังกฤษในหมู่เจ้านาย การพัฒนาระบบคมนาคมและสร้างระบบสาธารณสุขแบบใหม่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวยังปฏิวัติความคิดของคนในสังคไทยให้เป็นแบบสมัยใหม่ด้วยการผลักดันความคิดที่ให้ปัจเจกบุคคล กำ�หนดเลือกการตัดสินใจจากเหตุผล ไม่นิยมเรื่องผีหรือธรรมชาติ อาจกล่าวได้ว่าองค์กรตำ�รวจ ซึ่งมี การบริหารจัดการในรูปแบบขององค์กรสมัยใหม่ ถือกำ�เนิดมาพร้อมๆ กับความคิดแบบสมัยใหม่และ กระบวนการเปลี่ยนแปลงพัฒนาประเทศไทยให้ทันสมัยโดยเป็นการซื้อเทคโนโลยีความรู้หรือ Knowhow ของผู้รู้ในประเทศตะวันตก กิจการตำ�รวจไทยในยุคของสมเด็จกรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ (พ.ศ. 2435-2458) ที่เป็นผู้คุมบังเหียนในฐานะเสนาบดีมหาดไทย ถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงและก้าวไกลเป็น อย่างมาก เช่น มีการขยายตัวของตำ�รวจสู่ท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น


อาเซียนเสวนา | 61

ตำ�รวจภูธร: กลไกรัฐสมัยใหม่ที่ขยายตัว

ในปี พ.ศ.2435 ถือเป็นหมุดหมายสำ�คัญของการรวมศูนย์อำ�นาจของรัฐ เมื่อมีพระบรม ราชโองการจัดตั้งกระทรวงทบวงกรมตามแบบการปกครองสมัยใหม่ และยกเลิกระบบอัครเสนาบดีและ จตุสดมภ์ จึงทำ�ให้ระบบราชการไทยได้กลายเป็นรากฐานของรัฐสมัยใหม่นับตั้งแต่นั้นมา กรมตำ�รวจภูธรใหม่เกิดจากที่กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพทรงจรวจราชการหัวเมืองแล้ว พบว่าในท้องถิ่นไม่มีพนักงานจับโจรผู้ร้าย จึงได้นำ�รูปแบบพนักงานควบคุมและใช้ปืนอย่างทหาร เพื่อ เหมาะสมแก่การตรวจตะเวนท้องที่กว้างใหญ่ ทั้งนี้กรมตำ�รวจภูธรได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2440 ในขั้นต้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมอบหมายให้กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพขยาย ตำ�รวจภูธรไปยังมณฑลต่างๆ นับตั้งแต่ พ.ศ.2440-2449 ทั้งนี้ในปี 2444 มีการจัดตั้งกองตำ�รวจภูธร มณฑลนครศรีธรรมราช และพ.ศ.2449 ยกบริเวณปัตตานีขึ้นเป็นมณฑลปัตตานี

อำ�นาจรัฐ ที่รุกรานในนามของ การพัฒนาให้ทันสมัย

การปฏิรูปหัวเมืองทั้งเจ็ดกระทั่งตั้งมณฑลปัตตานีเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรวบอำ�นาจ สู่ศูนย์กลางการปกครองประเทศ (Centralization) ประสบความสำ�เร็จในการจัดการบริหารปกครองดิน แดนแถบนี้ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติสยามโดยไม่มีการต่อต้านอย่างรุนแรงจากราษฎร แต่กระทบ โครงสร้างอำ�นาจของผู้ปกครองเดิม ด้านหนึ่ง สยามแยกสถานะของหัวเมืองทั้งเจ็ดออกจากหัวเมืองชั้น นอกอย่างกลันตันและตรังกานู อีกด้านหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ “นโยบาย ผ่อนปรน” ในการจัดระเบียบใหมให้สอดคล้องกับธรรมเนียมความเชื่อทางศาสนาและท้องถิ่น เช่น จัด ระบบศาลให้สอดคล้องกับหลักอิสลาม อยู่ในอำ�นาจของ “โต๊ะกาลี” ผ่อนผันการเกณฑ์ทหารในมณฑล ปัตตานี และทำ�นุบำ�รุงเมืองให้เจริญทัดเทียมกลันตันและตรังกานู ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีกระแสของการต่อต้านรัฐ ไทยขั้น เจ้าพระยายมราชได้ให้สาเหตุของความไม่พอใจอันนำ�ไปสู่ปัญหามณฑลปัตตานี พ.ศ.2465 ไว้ เก้าประการ ในกระบวนการพัฒนารัฐสมัยใหม่ของไทยสู่ความทันสมัยหรือความเป็นสมัยใหม่ เมื่อขยาย เข้ามาในดินแดนแถบบริเวณมณฑลปัตตานี กลับกลายเป็นอำ�นาจรัฐที่รุกรานวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ ที่สงบสุขของประชาชน การเก็บภาษีอากรซึ่งเป็นตาน้ำ�หล่อเลี้ยงระบบราชการก็สร้างความเดือดร้อน ให้แก่ราษฎรอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบว่าในเขตการปกครองของอังกฤษไม่มีการเก็บภาษี ที่มากเท่า ทั้งนี้การเกณฑ์คนเข้ารับราชการเป็นตำ�รวจภูธร ทำ�ให้เกิด การตื่นเต้น หลบหนี ด้วยความไม่ พอใจอยู่พักหนึ่ง ประชาชนรู้สึกถูกรบกวนเพราะในเขตอังกฤษไม่มีการเกณฑ์ตำ�รวจ นอกจากนี้ ในการ ฝึกตำ�รวจมีปัญหาเรื่องของภาษา และการบังคับบัญชาไม่เป็นที่ไว้ใจของประชาชน ในที่สุด เจ้าพระยา ยมราชได้ทูลเสนอให้ มณฑลปัตตานีเป็นมณฑลพิเศษ เลิกการเกณฑ์ตำ�รวจภูธร ให้ใช้การจ้างโดยการ สมัคร ที่สำ�คัญให้คละคนปะปนกันไปทั้งคนไทยและคนแขก


อาเซียนเสวนา | 62

ความเป็นสมัยใหม่ในสำ�นึกแบบอาณานิคม

เมื่อการเข้ามาของจักรวรรดิอาณานิคม รัฐไทยได้มีการปรับตัวและรับมือกับจักรรวรรดินิคม เหล่านี้ โดยเร่งรีบพัฒนาประเทศให้ทันสมัย โดยเริ่มจากหมู่ชนชั้นนำ� บุคคลชั้นสูงเป็นกลุ่มแรกทั้งในแง่ ของการแต่งกาย การศึกษา ภาษา ความรู้ รวมกระทั่งการบริหารระบบการปกครองและระบบราชการ ในยุคสมัยของการสร้างวัฒนธรรมแห่งชาติอย่างเข้มข้น กระบวนการสร้างวัฒนธรรมแห่งชาติ ในสมัยนโยบายของจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นการ ต่อสู้กับตะวันตกในบรรยากาศของสงครามหาเอเชียบูรพา นำ�พาประเทศไปสู่การเป็นอารยะเพื่อที่จะได้ จับมือกับมหามิตรญี่ปุ่นก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในฐานะประเทศมหาอำ�นาจ รอดจากการกลืนดินแดนของชาติ ตะวันตก อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการแห่งการเป็นอารยะนี้ก็คือการเลียนอย่างตะวันตกในหลายๆ ด้าน เช่น การเรียกร้องให้ผู้หญิงสวมหมวกและนุ่งกระโปรงแบบตะวันตก ให้รู้จักใช้ช้อนส้อม หรือ นโยบาย และการบังคับปฏิบัติตามนโยบายรัฐนิยมอันประดิษฐ์สร้างความเป็นไทย ได้สร้างความขัดแย้งร้าวฉาน กับประชาชนมุสลิมในภาคใต้ เนื่องจากบังคับไม่ให้ผู้หญิงใช้ผ้าคลุมศีรษะ ผู้ชายห้ามสวมโสร่งและใส่ หมวกกะปิเยาะห์ โดยมีการใข้ความรุนแรงในการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ตำ�รวจ เช่น ไล่จับชาวบ้าน ทำ�ร้ายร่างกาย ผู้หญิงถูกกระชากผ้าคลุมศีรษะ ผู้ชายถูกกระชากหมวดกะปิเยาะห์ นอกจากปัญหาเรื่อง การบังคับขืนใจทางวัฒนธรรมแล้ว ยังมีคำ�ร้องเรียนและร้องทุกข์ในเรื่องความทารุณโหดร้ายและการ ปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมเจ้าหน้าที่ไทย โดยเฉพาะตำ�รวจ

ภาพตัวแทนของตำ�รวจชายแดนใต้ : จาก “โต๊ะนา” ถึง “อันญิง ดาดู”

ประวัติศาสตร์บาดแผลหรือความทรงจำ�ที่เจ็บปวดของชาวบ้านในพื้นที่สามจังหวัดชายแดน ใต้ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับรัฐไทย ในความทรงจำ�แก่มี “ตำ�รวจ” เป็นคู่กรณี กับชาวบ้านอยู่หลายเหตุการณ์ เช่น เหตุการณ์ “กรณีบะลูกา-สาเมาะ” ที่เกิดขึ้นในปี 2490 ที่จังหวัด ปัตตานี โดยตำ�รวจได้เข้าไปในหมู่บ้าน สอบสวนทรมานชาวบ้านและกล่าวหาว่าชาวบ้านสมคบคิดกับ โจร จากนั้นได้เผาหมู่บ้านจนทำ�ให้ชาวบ้าน 25 ครอบครัวไร้ที่อยู่อาศัย หรือ เหตุการณ์ดุซงญอ ในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่เกิดขึ้นจากความเข้าใจผิดของรัฐอันนำ�ไปสู่การใช้ความรุนแรงกับประชาชน หรือเหตุการณ์ที่สะพานกอตอ ปี 2518 ที่ชาวบ้านถูกฆ่าและนำ�ศพไปทิ้งที่สะพานกอตอ จ.นราธิวาส ซึ่ง นำ�ไปสู่การชุมนุมใหญ่ที่จ.ปัตตานี ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่ตำ�รวจ ในฐานะของเจ้าหน้าที่รัฐที่รัฐเป็นผู้ใช้กลไกรัฐด้านการปราบปราม (repressive state apparatus) ในสถานการณ์ความรุนแรง ชาวบ้านนอกจากจะมองว่ารัฐกดขี่และไม่เป็นธรรมแล้ว เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ใช้อำ�นาจกดบังคับด้วยความรุนแรงก้เป็นผู้กดขี่ไม่เป็นธรรมด้วยเช่นกัน คำ�ว่า “โต๊ะนา” หมายความว่า “เป็นนาย” ทั้งนี้คำ�ว่า “โต๊ะนา” นอกจากมีนัยของความ เป็น “คนพุทธ” แล้วยังใช้เป็นคำ�สรรพนามบุรุษที่สามเมื่องต้องการอ้างถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐในบริบทเชิง ลบ กล่าวคือ สำ�หรับสังคมมุสลิมบางกลุ่มนั้น “นาย” ถูกจำ�กัดความหมายเฉพาะความเป็น ข้าราชการ ตำ�รวจและทหาร และในปัจจุบันคำ�ว่า “โต๊ะนา” เป็นคำ�ที่ค่อยๆ เลือนหายไปจากพื้นที่ ไม่ค่อยมีคนใช้ หรือพูดคำ�นี้แล้ว


อาเซียนเสวนา | 63

ส่วนคำ�ว่า “อันญิงดาดู” แปลว่า “หมาของตำ�รวจ” ที่ชาวบ้านใช้เรียกคนที่ชอบนำ�ข้อมูลไป ให้ตำ�รวจ ซึ่งกลุ่มคนที่มีอคติรุนแรงต่อเจ้าหน้าที่รัฐหรือขบวนการของรัฐ มีการเกรียกตำ�รวจเป็นภาษา มลายูว่า อันญิง ซึ่งเป็นคำ�ด่า แปลว่า หมา คำ�เรียกด่าตำ�รวจว่า หมา เป็นสถานการณ์ไม่ปกติ สะท้อน ถึงปัญหาอันเกิดจากสถานการณ์ความไม่สงบที่มีการให้ข่าวแก่ตำ�รวจโดยคนในพื้นที่ชุมชนเอง

เรื่องเขาเล่ามาว่า “ตำ�รวจ” สัมพันธ์กับโจร ผู้มีอิทธิพล และหัวคะแนน

ตำ�รวจมีความสัมพันธ์กับโจรอย่างแนบแน่นในทัศนะและประสบการณ์ของชาวบ้าน ครั้งหนึ่ง เพื่อนของผู้เขียนเล่าในสิ่งที่ถูกเล่าต่อจากพ่อของเอว่า “สมัยที่คุณปู่ทำ�การค้า มีตำ�รวจมาข่มขู่เก็บเงิน สมัยนั้นพ่อยังเป็นเด็กแต่ปัจจุบันคุณพ่อ อายุประมาณ 50 ปี ยังไม่ค่อยรู้รายละเอียด แต่จำ�ภาพได้ชัด คือ ตำ�รวจมาที่บ้านและวางปืนบนโต๊ะ แสดงการข่มขู่ปู่” ตำ�รวจอาวุโสนายหนึ่งให้ข้อมูลว่า “สมัยก่อนมีการเรียกเก็บค่าคุ้มครองจากบริษัท ร้านค้า โรงงานต่างๆ ในพื้นที่สามจังหวัด ชายแดนใต้ และมีกการเรียกเก็บกินค่าหัวคิว แบ่งเป็นเปอร์เซ็นตากค่าน้ำ�ยาง ค่าขี้ยาง หากไม่มีการจ่าย ให้ก็ไม่สามารถเข้ามาซื้อหรือนำ�ของที่ซือออกจากพื้นที่ได้ การเรียกเก็บค่าคุ้มครองนี้ทำ�โดยคนที่ตั้งตัว ขึ้นเป็นนักเลงหัวไม้ ผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น คนเหล่านี้มักจะแสดงท่าทีว่าเป็น “เด็กของตำ�รวจ” ด้วยการ แสดงความสนิทสนมคุ้นเคยและไปกินเหล้าร่วมกับตำ�รวจ ทำ�ให้ชาวบ้านคิดว่าคนพวกนี้กับตำ�รวจสนิท กันจึงไม่กล้าแจ้งความ” ความสัมพันธ์กับโจรและการเลี้ยงโจรของตำ�รวจเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยหลายเหตุผล เหตุผลหนึ่งของตำ�รวจที่ทำ�หน้าที่ปราบปรามยาเสพติดก็คือ การเข้าไปฝังตัวของตำ�รวจเพื่อสืบข่าวค้นหา หัวหน้ากลุ่มค้ายาเสพติดรายใหญ่ ตำ�รวจบางคนยอมเอาตัวเข้าแลกเพื่อเข้ากลุ่มเสพยาจนติดยากเสีย เองก็มี ตำ�รวจหลายคนบอกว่า ตนเองมีความจำ�เป็นที่ต้องเลี้ยงคนหรือ “สาย” ที่เป็นคนติดยาหรือเป็นคน ที่เคยต้องโทษคดีมาก่อน เพื่อให้สืบข่าว สืบข้อมูลความเคลื่อนไหวต่างๆ ในพื้นที่

ตำ�รวจที่รัก

ตำ�รวจเป็นสิ่งที่อยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้มาหลายสิบปี บางสถานีตำ�รวจมีงานมวลชน ต่อเนื่องกับประชาชน ประกอบกับการที่บางพื้นที่มีกองกำ�ลังชาวบ้านรักษาความปลอดภัยของตนเอง การทำ�งานร่วมกันใกล้ชิดกับตำ�รวจได้เป็นกระบวนการที่ทำ�ให้ประชาชนจำ�นวนหนึ่งกลายเป็นมวลชน ของรัฐ ทำ�ให้มีการยอมรับภาพของตำ�รวจในแง่มุมที่ต่างออกไปจากพื้นที่อื่น เช่น พื้นที่ตำ�บลอัยเยอร์เวง อำ�เภอเบตง จังหวัดยะลา เสียงสะท้อนของประชาชนที่มีต่อตำ�รวจว่า “ถ้ากิจกรรมไหนมีตำ�รวจเข้าไปร่วม ด้วย ประชาชนจะเกิดความอุ่นใจ เพราะการคลุกคลีที่เกิดขึ้นมีมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย” ความพึงพอใจ ของประชาชนที่อัยเยอร์เวงเกิดจาก “การให้บริการ โดยเฉพาะการที่ตำ�รวจในทุกระดับชั้น ไม่ว่าจะป็นชั้น ประทวนหรือชั้นที่สูงกว่า สามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างชาวบ้านโดยไม่มีอคติกับชาว บ้านเลย”


อาเซียนเสวนา | 64

วินัยและนาย : อำ�นาจที่ไม่อาจต้านทาน

กระบวนการก่อนที่จะกลายเป็นตำ�รวจ จะต้องผ่านการฝึกอบรมของศูนย์ฝึกตำ�รวจ ซึ่งผู้เข้า ฝึกจะต้องถูกอบรมและทดสอบที่เป็นรูปแบบของการควบคุม (form of control) ที่ทำ�งานกับร่างกายผ่าน มิติของการจัดเวลาและพื้นที่ และรูปแบบโครงสร้างขององค์กรตำ�รวจยังมีการสร้างวินัยเป็นแกนหลักของ องค์กร โดยเฉพาะการจัดอันดับด้วยตำ�แหน่งและสายการบังคับบัญชา ที่มีความชัดเจนและแข็งตัวอัน เป็นลักษณะเฉพาะของหน่วยงานความมั่นคงและสถาบันเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ตามพรบ.ตำ�รวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 วินัย หมายถึง บรรทัดฐานของสังคม เครื่องกำ�กับความ ประพฤติของบุคคลบางหมู่บางคณะให้อยู่ในกรอบของความเป็นระเบียบ กฎ ข้อบังคับ คำ�สั่ง ซึ่งเป็นลาย ลักษณ์อักษรหรือขนบธรรมเนียมประเพณี วินัยตำ�รวจเป็นหลักการความประพฤติของข้าราขการตำ�รวจ ตามแบบอย่างธรรมเนียมของตำ�รวจ ซึ่งได้มีการกำ�หนดขอบเขตแบบอย่างธรรมเนียนมไว้ให้ถือปฏิบัติ วินัย ถือเป็นเครื่องมือของผู้บังคับบัญชาในการใช้อำ�นาจตามกฎหมาย เพื่อสั่งการการบังคับ บัญชาในการปฏิบัติราชการ โดยมาตรการทางวินัยจะถูกนำ�มาใช้เพื่อควบคุมความประพฤติให้ผู้ใต้ บังคับบัญชาปฏิบัติตามกฎหมายและคำ�สั่งของผู้บังคับบัญชา และใช้ในการลงโทษผู้ฝ่าฝืนการใช้อำ�นาจ ปกครองและบังคับบัญชาตามลำ�ดับการบังคับบัญชาตำ�รวจ

สถานการณ์ชายแดนใต้ : ตำ�รวจ = อันตราย

ในกิจกรรมกระบวนการที่ให้ตำ�รวจถอดว่าอะไรคือความเสี่ยงและความปลอดภัยในทัศนะ ของตำ�รวจ พบว่า “เครื่องแบบตำ�รวจ” (Uniform) ถูกใส่ไว้ในช่อง “ความเสี่ยง” ของหลายกลุ่ม การที่ เครื่องแบบตำ�รวจกลายเป็นสัญลักษณ์ของอันตราย สืบเนื่องจากหลังสถานการณ์ความรุนแรงในปี พ.ศ. 2547 ข้าราชการทหาร ตำ�รวจ กลายเป็นกลุ่มเป้าหมายของความรุนแรง ตำ�รวจในพื้นที่ถ้าไม่จำ�เป็นหรือ ไม่ได้อยู่ในช่วงเวลาปฏิบัติงานก็จะไม่สวมเครื่องแบบ เมื่อตำ�รวจกลายเป็นเป้าหมาย เป็นสิ่งอันตราย ชีวิตทางสังคมของตำ�รวจแม้ในหลังเลิกเวลา ปฏิบัติราชการ ตำ�รวจเกือบทุกนายระมัดระวังตนเองมากในการเดินทาง ตำ�รวจรายหนึ่งเล่าถึงนาทีเสี่ยง ตายในตลาดเช้าว่า “ขณะซื้อปาท่องโก๋มีคนจะเข้าชาร์จจ่อยิง แต่เข้ารู้ตัวเสียก่อนจึงเลี่ยงออกมาได้หวุดหวิด”

ต่อสู้ต่อรองด้วย “ศรัทธา”

ท่ามกลางความไม่ลงรอย หรือแม้แต่การปะทะขัดแย้งกันระหว่างความเป็นตำ�รวจ หรือความ คาดหวังจากการเป็นตำ�รวจและความเป็นมุสลิมมลายู มีตำ�รวจบางนายที่ต่อสู้ต่อรองเพื่อรักษาสิ่งที่เขา มองเห็นว่าเป็นความถูกต้องไว้


อาเซียนเสวนา | 65

“เสียง” ที่ไม่อาจเปล่งเสียง

ตำ�รวจนายหนึ่งอนุญาตให้เขียนเรื่องราวของเขาผ่านการให้ข้อมูลกับคนกลางที่เขาไว้ใจ เขา ยินยอมเผยเรื่องราวของตนเองแต่ไม่ปารถนาจะเผยตัวตนกับผู้วิจัย ตำ�รวจรายนี้เล่าผ่านคนกลางว่า “เขาเป็นตำ�รวจทีมเดียวกับจ่าเพียร (จ่าสมเพียร เอกสมญา) ในช่วงท้ายของชีวิตราชการถูก ไล่ล่า เคยมีการยิงปะทะถึงสองครั้ง ในการปะทะกันครั้งหนึ่งเขาถูกเศษกระจกบาดตาบอดและสูญเสีย นิ้วชี้ขวา ซึ่งสำ�คัญสำ�หรับการเหนี่ยวไกปืน เขาเข้าใจว่าตนเองถูกกำ�จัดจากคนในหน่วยงานเดียวกัน เนื่องจากเขาได้ทำ�เรื่องร้องเรียนผู้บังคับบัญชาว่าปฏิบัติหน้าที่ผิดจรรยาบรรณด้วยการจ่อยิงลูกเมีย ของผู้ต้องสงสัยรายหนึ่ง เขาใช้คำ�ว่า “อำ�นาจรัฐกลายเป็นโจรเสียเอง” เขายอมรับว่าหลายต่อหลาย ครั้งที่เขาเองทำ�สิ่งที่ผิดกับชาวบ้าน เขากล่าวว่า “บ้างานเกินไปทำ�ให้ผิดอุดมการณ์โดยไม่รู้ตัว”

“ตราประทับ” ของตำ�รวจ

แม้อดีตตำ�รวจบางนายจะแสดงตนเป็นผู้รักแผ่นดิน เช่น เข้าร่วมการเคลื่อนไหวกับชาวบ้าน ประท้วงกรณีทหารพรานชำ�เรามุสลีมะห์ (หญิงมุสลิม) แต่ก็ไม่ได้เป็นที่ยอมรับมากนัก เนื่องจากถูกประทับ ตราว่าเป็น “ตำ�รวจ” ซึ่งห่างไกลจากอุดมคติและความปกติของวิถีชีวิตชายแดนใต้ อัตลักษณ์ของตำ�รวจมลายูซึ่งมีลักษณะผสมผสานระหว่างสัญลักษณ์ของรัฐ (ความเป็น ตำ�รวจ) และความเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นมลายู ทำ�ให้สถานะของตำ�รวจมลายูมีความเป็นชายขอบจาก ทั้งสองกลุ่มวัฒนธรรมหรือสัญลักษณ์ พวกเขาถูกประทับตรา (Stigmatize) จากองค์กรเพราะความต่าง และความไม่น่าไว้วางใจในความภักดีต่อองค์กร ขณะเดียวกันในกลุ่มผู้ที่มีแนวคิดต่อต้านรัฐ พวกเขา ก็ถูกประทับตราว่าเป็นตัวแทนรัฐ คู่ขัดแย้งกับความเป็นธรรมในสังคม การหมายและอ้างอิงตนเองกับ พื้นที่และสัญลักษณ์ที่ขัดแย้งกัน ทำ�ให้วิธีการผดุงตัวตนของพวกเขามีความแตกต่างกัน ตำ�รวจมลายู บางคนเรียนรู้ท่จะใช้รหัสวัฒนธรรมกับผู้บังคับบัญชาที่มาจากภาคใต้ตอนบนด้วยการใช้ภาษาถิ่นใต้ บางคนกลบเกลื่อนอัตลักษณ์มุสลิมด้วยการไม่ไปละหมาด ตำ�รวจนายหนึ่งให้ข้อมูลว่า “ในการฝึกพลของเขา รุ่นของเขามีนักเรียนพล 124 คน ในจำ�นวนนี้มีตำ�รวจมุสลิมจำ�นวน 24 คน มีผู้ละหมาดเพียง 6 คนเท่านั้น”

บทส่งท้าย

“ตำ�รวจมุสลิมมลายู” คือ ลูกผสมของสภาวะความเป็นสมัยใหม่ไทยที่มีลักษณะแบบ อาณานิคม (Colonial modernity) เมื่อองค์กรตำ�รวจถือกำ�เนิดขึ้นมาพร้อมกับกระบวนการสร้างรัฐชาติ และพัฒนารัฐไทยสู่ความเป็นสมัยใหม่ ท่ามกลางสถานการณ์การรุกเข้าครอบครองดินแดนในเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ของมหาอำ�นาจจักรรวรรดินิยมและการพยายามดิ้นรนรักษาอำ�นาจรัฐของชนชั้นนำ�ไทย


อาเซียนเสวนา | 66

ตำ�รวจภูธรในฐานะสถาบันอันเป็นกลไกของรัฐไทยได้ขยายหยั่งรากลงไปในท้องถิ่น “ตำ�รวจ มุสลิมมลายู” ถือกำ�เนินในรัฐไทยด้วยพัฒนาการดังกล่าวนี้ กิจการตำ�รวจภูธร ณ มณฑลปัตตานีในฐานะกลไกรัฐไทย เติบโตไปพร้อมๆ กับการทำ�งานของ สถาบันรัฐอื่นๆ ในพื้นที่ไทย-มลายูแห่งนี้ กระบวนการสร้างรัฐชาติอันประกอบด้วยการสร้างวัฒนธรรม ของชาติ ความเป็นชาตินิยม และการพัฒนาให้เป็นสมัยใหม่ ได้สร้างประวัติศาสตร์บาดแผลจากความขัด แย้ง ความรุนแรง และความไม่เป็นธรรม ซึ่งถูกผลิตซ้ำ�ตลอดช่วงเวลานับร้อยปีที่ผ่านมา หาก “พื้นที่” และ “ตัวตน” ของตำ�รวจมุสลิมมลายูพอจะสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างรัฐไทย และพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ได้บ้าง จะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างรัฐไทยและพื้นที่มีหลายหน้า และระนาบของความสัมพันธ์ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามโครงสร้างอำ�นาจและกลไกของรัฐ โต้ตอบ และต่อรองด้วยวิถีชีวิตและวัฒนธรรมถิ่น “ตำ�รวจมุสลิมมลายู” เป็นดั่งรอยตะเข็บระหว่างกลางของสองพื้นที่แห่งความขัดแย้งหรือแตก ต่างทางสัญลักษณ์ อาจจะเป็นรอยตะเข็บหรือบาดแผลระหว่างกัน ภายใต้การสวมใส่ “สัญลักษณ์” ที่ อาจจะปะทะขัดแย้งกัน มีเลือดเนื้อระอุอุ่นอยู่ในนั้น และไม่ว่าโครงสร้างของระบบสภาวะแวดล้อมจะเป็น เช่นไร ชีวิตของปัจเจกบุคคลต่างโลดแล่น ดิ้นรน ต่อสู้ต่อรองอยู่ภายในข้อจำ�กัดของโครงสร้างเสมอ บ้าง ผลักไสบางอย่างออกไป และบ้างฉวยดึงบางอย่างเข้ามา การจะผลักหรือดัง ปฏิเสธหรือรับ กระทั่งสร้าง ใหม่ ล้วนแล้วแต่เกิดจากการตีความสัญลักษณ์และการให้ความหมายทั้งสิ้น


อาเซียนเสวนา | 67


อาเซียนเสวนา | 68

จากชาตินิยม(Nationalism) สู่ลัทธิคลั่งชาติ (Chauvinism) ? : การสร้างสำ�นึกสมบัติแห่งชาติของเวียดนามต่อหมู่เกาะใน ทะเลจีนใต้ มรกตวงศ์ ภูมิพลับ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทคัดย่อ

“Ngày trước ta chỉ có đêm và rừng. Ngày nay ta có ngày, có trời, có biển. Bờ biển ta dài,

tươi đẹp. Ta phải biết giữ gìn lấy nó” Hồ Chí Minh

“ในวันเก่าก่อน เรามีแค่กลางคืนและป่า ในวันนี้เรามีกลางวัน มีท้องฟ้า มีทะเล ชายฝั่งทะเลของเรา นั้นยาว สดสวย เราต้องรู้จักรักษามันเอาไว้” โฮจิมินห์ ให้โอวาทขณะเยี่ยมทหารเรือเวียดนาม (15-3-1961)

ถ้อยแถลงของโฮจิมินห์ได้รับการหยิบยกขึ้นมาใช้อีกครั้งเพื่อปลุกสำ�นึกความเป็นเจ้าของดิน แดนร่วมของชาวเวียดนามต่ออธิปไตยทางทะเลในทะเลตะวันออก (East Sea) ซึ่งทางการเวียดนามใช้เรียก ทะเลจีนใต้ นับเป็นวรรคทองของบุคคลที่ทรงพลังทางความคิดมากที่สุดในสังคมเวียดนาม บิดาแห่งเอกราช ซึ่งรัฐบาลและสื่อมวลชนเวียดนามได้หยิบยกมาเป็นสื่อกลางปลุกระดมการเคลื่อนไหว ข้อพิพาทการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะพาราเซล (Paracel islands) และหมู่เกาะสแปรตลีย์ (Spratly islands) เป็นปัญหาเรื้อรังมากว่าครึ่งศตวรรษและมีแนวโน้มว่าจะยังหาข้อยุติไม่ได้ในอนาคตอัน ใกล้ ประเทศคู่กรณีทั้ง 6 ประเทศ ได้แก่ จีน ไต้หวัน บรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนามยังไม่สามารถ หาทางออกร่วมได้เนื่องจากไม่สามารถเจรจาจัดสรรผลประโยชน์ได้ลงตัว ในรอบหลายปีที่ผ่านมาสภาวะ ตึงเครียดระหว่างประเทศต่อประเด็นนี้มีทีท่าว่าได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาเสมือนหนึ่งเป็น ปัจจัยที่จะชี้วัดอนาคตที่จะราบรื่นหรือขัดแย้ง หากไม่นับฟิลิปปินส์แล้ว เวียดนามดูเป็นประเทศที่เป็นไม้เบื่อไม้เมา ขับเคี่ยวแย่งชิง ตอบโต้ทั้ง ทางทหารและทางการทูตจีนมาโดยตลอด ขนาดที่เคยมีการปะทะกันมาถึงขั้นเลือดตกยางออกมาหลาย ครั้ง กระทั่งปัจจุบันเวียดนามพยายามที่จะไม่ต่อสู้กับจีนตามลำ�พัง ปฏิเสธการเจรจาแบบทวิภาคี ทั้งยังดึง มหาอำ�นาจอย่างสหรัฐอเมริกาและอินเดียเข้ามาเป็นตัวแปรที่จะคานอำ�นาจกับจีนด้วย รัฐบาลเวียดนามให้ความสำ�คัญสูงสุดต่อประเด็นนี้ องค์กรปกครองสูงสุดอย่างพรรคคอมมิวนิสต์ เวียดนามและฝ่ายบริหารต่างอ้างกรรมสิทธิ์แสดงจุดยืนที่จะเสียน่านน้ำ�แห่งนี้ไม่ได้ จึงใช้ยุทธศาสตร์สร้าง ความเข้มแข็งในประเทศควบคู่ไปกับยุทธศาสตร์การทูตนอกประเทศ ปลุกกระแสชาตินิยม ในชาวเวียดนาม ผ่านยุทธศาสตร์การโฆษณาชวนเชื่อของพรรคหลากรูปแบบ สร้างชุดความรู้ผ่านหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ว่าหมู่เกาะทั้งสองเป็นของเวียดนามมาแต่แรก ปลุกประวัติศาสตร์ “พระเอก-ตัวร้าย” จากแบบเรียน การจัด พิธีอาลัยรำ�ลึกทหารเวียดนามที่พลีชีพในการปะทะในปี ค.ศ.1988 สร้างเพลงปลุกใจ เป็นอาทิ


อาเซียนเสวนา | 69

ทว่ากระบวนการกล่อมเกลาทางความคิดและการสร้างสำ�นึก “สมบัติแห่งชาติ” ร่วมของ รัฐบาลเวียดนามนำ�ไปสู่ภาวะที่ยากจะควบคุมมวลชน เมื่อเกิดการประท้วงรัฐบาลจีนตามท้องถนน กระแส เกลียดชังชาวจีนที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น จนกระทั่งการเผาโรงงานจีนในนิคมอุตสาหกรรมทางภาคใต้ของ เวียดนาม ประเด็นนำ�เสนอครั้งนี้จะให้สาระไปที่กระบวนการกล่อมเกลาในการสร้างสำ�นึกชาตินิยมของ รัฐต่อประชาชนเวียดนาม มุมมองของเวียดนามต่อการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะที่เป็นข้อพิพาทในทะเล ตะวันออกผ่านการฉายภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันผ่านข้ออ้างทางประวัติศาสตร์ ตลอดจนผลจาก การปลุกกระแสชาตินิยมซึ่ง(อาจ)นำ�ไปสู่ “การคลั่งชาติ” ได้

บทนำ�

ความร้อนแรงกรณีพิพาทการยืนยันอำ�นาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะพาราเซล (Paracels islands) และหมู่เกาะสแปรตลีย์ (Spratly islands) ในทะเลจีนใต้ระหว่าง 6 ประเทศ ได้แก่ จีน ไต้หวัน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และบรูไน เป็นปัญหาที่สมาชิกประเทศในอาเซียนต่างตั้งคำ�ถาม กังวล คาดหวัง ว่าจะก่อให้เกิดปัญหาในความเข้มแข็งและความเป็นเอกภาพของครอบครัวอาเซียนหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรื่องดังกล่าวมีจีนซึ่งเป็นมหาอำ�นาจยักษ์ใหญ่เข้ามาเกี่ยวข้องและพยายามจะ อ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่ในทะเลจีนใต้แทบทั้งหมดที่สำ�คัญคือจีนมีการใช้ยุทธศาสตร์อำ�นาจแบบแข็ง (hard power) และอำ�นาจละมุน (soft power) กับประเทศคู่กรณีรวมถึงประเทศสมาชิกอื่นๆ ในอาเซียน จากมุมมองของเวียดนาม ทั้งหมู่เกาะพาราเซลและสแปรตลีย์ต่างมีชื่อเรียกเป็นภาษาเวียดนาม ว่า หว่างซา (Hoàng Sa) และ เจื่องซา (Trường Sa) ตามลำ�ดับ ซึ่งหากพิจารณาถึงพิกัดที่ตั้งทั้งสองหมู่ เกาะตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกตลอดชายฝั่งของประเทศเวียดนาม ซึ่งหมายถึงการตั้งอยู่ในทะเลจีนใต้ อนึ่ง ในมุมมองทั้งภาครัฐและประชาชนของเวียดนามจะไม่เรียกดินแดนทางทะเลนี้ว่า “ทะเลจีนใต้” หากแต่จะ เรียกว่า “ทะเลตะวันออก หรือ Biển Đông (เบี่ยน ดง)” ด้วยเหตุผลว่าด้วย นัยยะทางการเมืองซึ่งหมายถึง การยอมรับเอาจีนเป็นศูนย์กลางในการตั้งเรียกชื่อ ทางการเวียดนามจึงเล็งเห็นว่าเพื่อสร้างความชอบธรรม และการแสดงจุดยืนจึงควรถือเอาเวียดนามเป็นศูนย์กลางและนับทะเลนั้นไปด้านทิศตะวันออก อีกแง่หนึ่ง อาจตีความได้ว่าเป็นการบ่งบอกว่าพื้นที่ทางทะเลนี้เป็นอธิปไตยของเวียดนาม อย่างไรก็ตามฟิลิปปินส์ซึ่ง เป็นอีกหนึ่งคู่กรณีก็ได้กำ�หนดชื่อเรียกว่า “ทะเลฟิลิปปินส์ตะวันตก (West Philippine Sea)” เช่นเดียวกับ เวียดนาม

แผนที่หมู่เกาะพาราเซลและหมู่เกาะสแปรตลีย์


อาเซียนเสวนา | 70

ความสำ�คัญของทั้ง 2 หมู่เกาะประการหนึ่งอยู่ที่ “ยุทธศาสตร์ที่สำ�คัญทั้งทางเศรษฐกิจ” เนื่องจาก เพราะทรัพยากรธรรมชาติที่มีมูลค่ามหาศาล เช่น น้ำ�มัน ก๊าซธรรมชาติ อยู่อย่างมากมาย จึงทำ�ให้ประเทศคู่กรณีทั้ง 6 ประเทศต่างไม่ยินยอมและพร้อมที่จะแย่งชิงพื้นที่เพื่อผลประโยชน์ของประเทศตนเอง ทว่าหัวใจสำ�คัญของปัญหา ข้อพิพาทไม่ได้อยู่เพียงแค่ความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประเด็นด้านยุทธศาสตร์ ทางการเมืองหรือความมั่นคงระดับประเทศ สำ�หรับเวียดนามแล้วอาจน่ากังวลกว่าประเทศคู่กรณีอื่นเพราะเหตุผล การสูญเสียทั้ง 2 หมู่เกาะไม่ได้สอดรับกับเหตุผลด้านความมั่นคงต่อประเทศ เนื่องจากเวียดนามมีความกังวลที่ พิเศษมากกว่าประเทศคู่กรณีอื่นตรงที่ลักษณะภูมิประเทศของเวียดนามมีลักษณะเป็นรูปตัว S ยาวลงมาตาม ทะเลจีนใต้ ไม่มีความกว้างของประเทศมากนัก ในแง่ยุทธศาสตร์หากประเทศใดสามารถยึดครองพื้นที่เกาะพารา เซลและหมู่เกาะสแปรตลีย์ได้สามารถที่จะสอดส่องหรือตรวจตราพื้นที่ภายในประเทศเวียดนามได้แทบทั้งประเทศ

ลัทธิชาตินิยมกับการสร้างชาติของเวียดนาม

ลัทธิชาตินิยม (Nationalism) และการสร้างชาติ (Construction of the nation) เป็นสิ่งที่รัฐ ใช้เป็นเครื่องมือในการทำ�ให้ผู้คนในประเทศนั้นมีความเป็นเอกภาพและสามัคคีเพื่อให้รัฐบาลปกครองได้ ง่าย จึงพยายามสร้างสำ�นึกร่วมให้ประชาชนมีความรักชาติ (Patriot) ทว่ามีความรักชาติอันนำ�มาซึ่งเกิด ความรุนแรง ความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ก่อกระตุกให้เกิดความเกลียดชังเมื่อเกิดสถานการณ์บาง อย่างขึ้นแล้วโดนกระทบต่อความรู้สึกทางความเชื่อหรือจิตใจ เช่น การสูญเสียระดับประเทศ การคุกคาม จากภายนอกประเทศ ความรักชาตินั้นอาจกลายสถานะเป็นความคลั่งชาติ (Chauvinism) ภาพจำ�ของเวียดนามนั้นมักจะถูกมองว่าเป็นประเทศที่ประชาชนมีความสามัคคีในชาติอย่างเข้ม แข็ง มีบิดาเอกราชอย่างท่านโฮจิมินห์เป็นศูนย์รวมจิตใจจนทำ�ให้สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามมีชัยชนะใน สงครามเวียดนาม ที่ชาวเวียดนามเรียกว่าสงครามต่อต้านเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสและจักรวรรดินิยมอเมริกา ที่ น่าสนใจคือคำ�ถามที่ว่ารัฐบาลเวียดนามมีกระบวนการสร้างความสามัคคีให้คนในชาติอย่างไร ผ่านเครื่องมือ ใด ชุดความคิดที่รัฐต้องการปลุกกระแสสร้างความสามัคคีคืออะไร จึงมีความสามารถโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) ประชาชนตัวเองอย่างเข้มข้น รากฐานสำ�นึกความความรักชาติและการเคลื่อนไหวต่อต้านคนนอกของเวียดนามตื่นตัวอย่าง มากในช่วงฝรั่งเศสเข้ามาปกครอง ปลุกสำ�นึกความเป็นกลุ่มก้อน ก่อตั้งขบวนการเคลื่อนไหวหรือสำ�นึกความ เป็นชาวเวียดนาม ในเวียดนามการโฆษณาชวนเชื่อไม่ได้เป็นไปในเชิงลบ แต่กลับเป็นในเชิงบวกมากกว่า ด้วยถือว่าการโฆษณาชวนเชื่อนั้นเป็นเครื่องมือหรือกลไกที่สำ�คัญในการสร้างความเป็นกลุ่มก้อนอันหนึ่ง อันเดียวกันผ่านชุดความเชื่อทางประวัติศาสตร์อันเดียวกัน คือ ลูกมังกรหลานนางฟ้า และผ่านการศึกษา ประวัติศาสตร์ของชาติในแบบเรียนที่ผ่านการจัดการมาแล้ว และมีการรวมศูนย์ทางประวัติศาสตร์เพื่อง่าย ต่อการเขียนประวัติศาสตร์ใหม่และง่ายต่อการจัดการประวัติศาสตร์ของเวียดนาม ที่สำ�คัญประวัติศาสตร์ ชาติเวียดนามไม่เปิดพื้นที่ของการศึกษาและจดจำ�ให้กับประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นหรือกลุ่มชนเท่าใดนัก และพยายามยึดโยงกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีเคยปกครองตนเองเข้ากับเวียดนามเพื่อสร้างอำ�นาจอันชอบธรรมให้ เข้ากับการสร้างรัฐชาติ (nation-state) อาทิ การเขียนประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชาติพันธุ์เคอแม (Khơ Me) หรือ ชาติพันธุ์เขมรที่อยู่ทางตอนใต้ของเวียดนาม ว่า “เดิมที่พื้นที่ทางใต้เป็นอาณาจักรจามปา โดยเวียดนามไม่ได้เข้าไปรุกรานพื้นที่แต่อย่างใด แต่เป็นผล ของความสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างกันผ่านการแต่งงานของเจ้านายชั้นสูง แล้วกษัตริย์ทางจำ�ปาได้ ยกพื้นที่ส่วนนี้ให้เป็นของขวัญการแต่งงาน”


อาเซียนเสวนา | 71

หากย้อนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ระหว่างเวียดนามกับจำ�ปา ล้วนแล้วต่างมีสงครามระหว่าง กันเกิดขึ้นในพื้นที่แต่กลับเขียนประวัติศาสตร์ในทิศทางตรงกันข้าม ดังนั้นการเขียนประวัติศาสตร์เช่นนี้ย่อม เกิดขึ้นจากการจัดการทางประวัติศาสตร์ของเวียดนาม

รูปภาพหมู่เกาะพาราเซลและสแปรตลีย์ ที่แสดงการอยู่อาศัยบนและสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่เกาะ

“หว่างซา (พาราเซล)” และ “เจื่องซา (สแปรตลีย์)” จากมุมมองของเวียดนาม

ความรับรู้สถานะหมู่เกาะพาราเซลและสแปรตลีย์ในอดีตและปัจจุบันนั้นแตกต่างกันมาก จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของเวียดนามนั้นก่อนการขยายตัวของลัทธิล่าอาณานิคมภายใต้การ ปกครองของราชวงศ์สุดท้ายคือราชวงศ์ เหงวียนได้บันทึกถึงภาพจำ�ของพื้นที่ทางทะเลบริเวณนี้ว่าเป็น “พื้นที่อันตราย” สำ�หรับนักเดินเรือเนื่องจากพื้นที่มีหินโสโครกมาก ทั้งยังมีลมมรสุมที่รุนแรง เรือเดินสมุทร หลายต่อหลายลำ�ไม่ว่าจะเป็นของเวียดนามหรือรัฐอื่นๆ ที่ผ่านเข้ามาต้องอับปางลงบริเวณนี้ นักเดินเรือ หลีกเลี่ยงจะเดินเรือเข้าไปบริเวณนี้ แต่ในปัจจุบันพื้นที่บริเวณนี้กลับ “เนื้อหอม” ถูกรุมเยื้อแย่งจากหลาย ชาติที่ตั้งอยู่รายล้อมเนื่องด้วยการให้ค่าเรื่องเขตแดน (territory) กอปรกับเมื่อมนุษย์รู้จักการใช้ประโยชน์ จะน้ำ�มันและก๊าซธรรมชาติและบริเวณนี้เป็นพื้นที่ท่ีมีทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลอันจะสร้างมูลค่า มหาศาลทางเศรษฐกิจรวมทั้งเหตุผลทางยุทธศาสตร์ด้านการเมืองความมั่นคง

เวียดนามทำ�อย่างไรในการอ้างกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของหมู่เกาะ ?

รัฐบาลเวียดนามอ้างกรรมสิทธิ์โดยอิงจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นแผนที่ จดหมายเหตุและพระราชพงศาวดารที่บันทึกเกี่ยวกับหมู่เกาะทั้งสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าไปใช้ ประโยชน์และสำ�รวจว่า หมู่เกาะทั้งสองสภาพทางภูมิศาสตร์กายภาพเป็นอย่างไร พืชพรรณและสัตว์ ชนิดใดบ้าง ซึ่งส่วนมากเป็นหลักฐานของราชวงศ์เหงวียน (Nguyễn dynasty) ของเวียดนาม นอกจาก นี้ยังมีการระบุถึงการใช้ประโยชน์ทางการค้าว่าราชวงศ์เหงวียนได้ก่อตั้งบริษัทหว่างซาคอมปานี ตรง พื้นที่นี้เพื่อที่จะจัดการขนส่งสินค้าระหว่างหมู่เกาะนี้และแผ่นดินใหญ่


อาเซียนเสวนา | 72

แผนที่สมัยราชวงศ์เหงวียนที่ปรากฏว่ามีหมู่เกาะทั้งสองปรากฏอยู่ “สมบัติของชาติ” กระบวนการกล่อมเกลาและสร้างสำ�นึกชาตินิยมในเวียดนาม

โปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อที่มีรูปทหารเรือเป็นองค์ประกอบสำ�คัญ โปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อนี้ได้รับอิทธิพลมาจากทั้งสหภาพโซเวียตและจีน องค์ประกอบศิลปะ แบบสังคมนิยม ทั้งสไตล์ การใช้สี องค์ประกอบของรูปภาพที่ใช้ในโปสเตอร์ และการใช้ภาษาที่จะใช้ผลิต ซ้ำ�ให้ชาวเวียดนามมีความสามัคคี รวมพลังต่อสู้เพื่อเอาชนะศัตรูที่มารุกราน ในกรณีของหมู่เกาะพาราเซล และสแปรตลีย์นั้นก็มีการใช้องค์ประกอบที่สำ�คัญเป็นทหารเรือ กองทัพเรือของเวียดนามซึ่งถือเป็นกองทัพ ที่แข็งแกร่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้านนโยบายทางภาครัฐของเวียดนาม ได้กำ�หนดขึ้นอย่างชัดเจน โดยมุ่งให้นโยบายทาง วัฒนธรรมเป็นนโยบายที่ใช้กล่อมเกลาประชาชนและสามารถทำ�ได้ทุกรูปแบบ เช่น ทำ�สารคดีผ่านรายการ โทรทัศน์ ทำ�ค่ายเยาวชนพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ทำ�เพลงชุดสมบัติของชาติ ทั้งยังบรรจุแบบเรียนทาง ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ที่มีหมู่เกาะพาราเซลและ สแปรตลีย์เข้าไปในบทเรียน หรือแม้แต่การทำ�หนังสือ การ์ตูนที่สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับเกาะพาราเซลและสแปรตลีย์ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ทำ�ความรู้จักได้ ง่ายขึ้น หรือมีการนำ�นักท่องเที่ยวที่เป็นประชาชนเวียดนามเท่านั้น ห้ามนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ไปท่อง เที่ยวในพื้นที่เกาะพาราเซลและสแปรตลีย์ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์รวมถึงให้ประชาชนชาวเวียดนามได้ เล็งเห็นถึงความสำ�คัญของพื้นที่ที่เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นชาติ อีกทั้งมีการทำ�พิธีทางความเชื่อประจำ�ปี โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากทางรัฐบาล เพื่อบูชาบรรพบุรุษและดวงวิญญาณของทหารเรือที่เสียชีวิต จากภารกิจต่างๆ ทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน อันเป็นการทำ�ให้ประชาชนรู้ถึงความเสียสละ ความกล้าหาญของ หทารเรือที่ได้ปกป้องอธิปไตยและสมบัติของประเทศชาติ


อาเซียนเสวนา | 73

“ลุงโฮ” และหมู่เกาะหว่างซา(พาราเซล) เจื่องซา (สแปรตลีย์ รู้จักรักษาเอาไว้” นอกจากนี้ยังเอาภาพโฮจิมินห์มา ทำ�โปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อเพื่อเป็นขวัญและกำ�ลัง ใจให้กับทหารเรือที่ต้องเสียสละไปประจำ�การ ณ เกาะต่างๆ

โฮจิมินห์

โฮจิมินห์ (โห่จิ๋มิงห์ ; Hồ Chí Minh) หรือ “ลุงโฮ” ของชาวเวียดนามได้รับการยกย่องโดยพรรค คอมมิวนิสต์เวียดนามในฐานะวีรบุรุษแห่งชาติ บิดาแห่ง เอกราช เป็นแบบอย่างที่ประชาชนชาวเวียดนามเคารพ และถือปฏิบัติตาม พรรคคอมมิวนิสต์บรรยายภาพโฮ จิมินห์ในฐานะผู้เสียสละ กล้าหาญ สมถะ เสียสละได้ โฮจิมินห์ในฐานะที่เป็นขวัญและกำ�ลังใจให้ทหารเวียดนาม (เฮว้, 2556 โดยมรกตวงศ์ ภูมิพลับ) แม้แต่ชีวิตและความสุขส่วนตัวและทำ�เพื่อประเทศชาติ นอกจากนี้ยังได้คำ�สอนของโฮจิมินห์บรรจุลงในแบบ เรียนด้านคุณธรรมจริยธรรมเพื่อให้ เ ด็ ก และเยาวชน บนโปสเตอร์เขียนว่า “ปกป้องอำ�นาจอธิปไตย ของเวียดนามได้ศึกษาเล่าเรียนมุ่งให้ปฏิบัติตาม โฮจิ เหนือเขตแดนและทะเลเกาะแก่งของปิตุภูมิอย่าง มินห์จึงถูกยกให้เป็นศูนย์รวมจิตใจของการสร้างความ แน่วแน่” สามัคคีของคนในชาติ ในทุกเหตุการณ์ทางการเมือง ที่รัฐบาลและพรรคต้องการปลุกกระแสรักชาติเพื่อให้ ได้มวลชนเวียดนาม จะนำ�เอาโฮจิมินห์มาเป็นเครื่อง ยึดเหนี่ยว สำ�หรับกรณีหมู่เกาะทั้งสองก็ได้นำ�เอาคำ� สอนของโฮจิมินห์ขณะให้โอวาทขณะเยี่ยมทหารเรือ เวียดนาม เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1961ที่ ว่าเป็น สมบัติของชาติที่จะต้องปกป้องรักษาเอาไว้ ดังโอวาท ที่โฮจิมินห์ได้ให้แก่ทหารเรือว่า “ในวันเก่าก่อน พวกเรา มีเพียงแค่ กลางคืนและป่า วันนี้เรามีกลางวัน มีท้องฟ้า มีทะเล ชายฝั่งทะเลของเรา นั้นยาว สดสวย เราต้อง


อาเซียนเสวนา | 74

การสร้างชุดความคิดว่าด้วยการเป็นเจ้าของหมู่เกาะ “หว่างซา (พาราเซล)” และ “เจื่องซา (สแปรตลีย์)”

รัฐบาลและพรรคคอมมิวนิสต์สร้างชุดความคิดและผลิตซ้ำ�ว่าทั้ง “หว่างซา (พาราเซล)”และ “เจื่องซา (สแปรตลีย์)” ถือเป็นดวงใจ (trái tim) ของชาวเวียดนามและประเทศเวียดนาม เป็นเส้นเลือด ใหญ่ของประเทศที่หล่อเลี้ยงความเป็นชาติ และเป็นก้อนเนื้อที่รวบรวมความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของชาวเวียดนาม อันเกิดจากการเสียสละของทหารกล้าในการปกป้องอธิปไตยจากศัตรู ทั้งยัง พยายามนำ�เสนอว่าหว่างซาและเจื่องซานี้เป็นของเวียดนามตลอดเวลา

“สมบัติของชาติ” กระบวนการกล่อมเกลาและสร้างสำ�นึกชาตินิยมในเวียดนาม

การย้ำ�เน้นความคิดที่ต้องการปลูกฝังว่าหมู่เกาะทั้งสองเป็นสมบัติแห่งชาติ ประชาชน เวียดนามในไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง หรือ ผู้ชาย ทุกชนชั้นมีหน้าที่ปกป้องอธิปไตยทางทะเลของประเทศ ชาติ แม้แต่ตารางนิ้วเดียวก็ต้องปกป้องรักษา เพื่อเป็นแนวหลังที่สำ�คัญในการร่วมกันปกป้องชาติ จึง เกิดเป็นสำ�นึกผ่านกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม เช่น การประท้วงจีนกรณีจีนรุกคืบเข้ามาในพื้นที่ เกาะพาราเซลและสแปรตลีย์ ในทางตรงกันข้ามเวียดนามสร้างภาพจำ�เกี่ยวกับจีนในฐานะผู้รุกราน ท้าทายความเป็นเจ้า ข้องและสมบัติแห่งชาติของเวียดนาม เช่น ล้อเลียนแผนที่เส้นประ 9 จุดที่จีนอ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู เกาะแทบทั้งหมดในทะเลจีนใต้ (ทะเลตะวันออก) ว่าเป็นทางลิ้นวัว (đường lưỡi bò) สร้างชุดความคิด ว่าจีนเป็นศัตรูหมายเลข 1 ของเวียดนาม

การเมืองเรื่อง “สมบัติแห่งชาติของเวียดนาม”

แม้เวียดนามจะมีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นองค์กรที่มีอำ�นาจสูงสุดเบ็ดเสร็จในเวียดนาม ทว่า เรื่องหมู่เกาะพาราเซลและสแปรตลีย์ไปคาบเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สงครามระหว่างเวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้อย่างแยกไม่ได้ แม้เวียดนามเหนือจะได้ชัยชนะแบบเบ็ดเสร็จแต่ไม่ได้หมายความว่า จะไม่มีกลุ่มต่อต้านโจมตีรัฐบาลเพราะมีหลายกลุ่มที่เคลื่อนไหวทั้งในและต่างประเทศ เช่น กลุ่มเห วียดเติน (Việt Tân) ที่พยายามใช้หลักฐานโจมตีรัฐบาลโดยกล่าวอ้างการช่วยสนับสนุนจีนของรัฐบาล เวียดนามเหนือครั้งที่กองทัพจีนและเวียดนามใต้ปะทะกันในสมรภูมิพาราเซลเมื่อปี 1974 แม้กลุ่ม เคลื่อนไหวเหล่านี้จะไม่ได้สั่นคลอนอำ�นาจของรัฐบาลและ พรรคคอมมิวนิสต์มากนัก แต่ก็ทำ�ให้รัฐบาล ต้องรับแรงเสียดทานและตอบข้อกังขาอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับพรรค คอมมิวนิสต์เวียดนาม และได้กล่าวหารัฐบาลเป็นสาเหตุหลักที่ทำ�ให้ปัญหากรณีหมู่เกาะพาราเซล และสแปรตลีย์เรื้อรังและยากที่จะกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ได้อย่างเบ็ดเสร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ้างถึง เอกสารทางการทูตฉบับหนึ่งที่ของนาย ฝั่มวันด่ง (Phạm Văn Đồng) ซึ่งดำ�รงตำ�แหน่งนายกรัฐมนตรี ส่งถึงนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล ในวันที่ 14 กันยายน 1958 เนื้อหาบางส่วนกล่าวว่า “รัฐบาลของ สาธารณรัฐประชาชนจีนได้แก้ไขอาณาเขตทางทะเลของจีน และรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาธิปไตย เวียดนาม (เวียดนามเหนือในขณะนั้น-ผู้เขียน) เคารพการตัดสินใจนี้และจะมีคำ�สั่งระดับรัฐให้เคารพ ต่ออาณาเขตทางทะเล 12 ไมล์ทะเลรวมถึงความสัมพันธ์ทางทะเลที่เกี่ยวข้องกับจีน”


อาเซียนเสวนา | 75

เอกสารที่ส่งจากนายกรัฐมนตรีฝั่มวันด่ง ถึงนายกรัฐมนตรี โจวเอินไหล

ความสัมพันธ์ “แผลกลัดหนอง” ของเวียดนาม ต่อจีน ประวัติศาสตร์ระหว่างเวียดนามและจีน บอกเราว่าทั้ง 2 ประเทศมีความสัมพันธ์แบบทั้งรัก ทั้งชัง เป็นความสัมพันธ์แบบแผลกลัดหนอง คือไม่ใช่ ทั้งมิตรแท้และศัตรูถาวร บางช่วงมีความสัมพันธ์ที่ ดีต่อกัน หรือบางช่วงมีความสัมพันธ์ที่แตกแยกกัน แม้ ป ระวั ติ ศ าสตร์ เ วี ย ดนามจะสอนว่ า จี น เป็ น ศั ต รู สำ�คัญทางประวัติศาสตร์มานานนับพันปี รัฐบาล เวี ย ดนามกล่ อ มเกลาวิ ธี คิ ด และความรู้ สึ ก ร่ ว มได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และตั้งแต่เวียดนามรวมประเทศ ได้สำ�เร็จยังไม่มีเหตุการณ์จลาจลครั้งใหญ่ปะทุขึ้น ทว่าชนวนแห่งการปลุกกระแสต่อต้านจีนอย่างรุนแรง คื อ การที่ จี น เริ่ ม รุ ก ล้ำ � และท้ า ทายสำ � นึ ก ของความ แข็งแกร่งของชาตินิยมเวียดนามโดยนำ�เรือและแท่น ขุดเจาะน้ำ�มันเข้ามาติดตั้งในพื้นที่ข้อพิพาท แม้ว่า ก่อนหน้านี้ทางการจีนจะมีการจับเรือประมง ทหาร เรือประจัญหน้ากัน นำ�เอาหมู่เกาะทั้งสองบรรจุใน พาสปอร์ตของจีน ทำ�ให้ชาวเวียดนามขุ่นเคืองสะสม อย่างต่อเนื่องต่อการกระทำ�ของจีน

เพื่อพิทักษ์สมบัติของชาติ : ชาตินิยม หรือ คลั่ง ชาติ ? ทางการเวียดนามมียุทธศาสตร์กล่อม เกลาชาวเวียดนามว่าเป็นหน้าที่ที่ชาวเวียดนาม จะต้ อ งกระทำ � ทุ ก วิ ถี ท างในการรั ก ษาหมู่ เ กาะ หว่างซา (พาราเซล) และสแปรตลีย์ (เจื่องซา) ด้วย เป็นสมบัติของชาติและประชาชน รวมทั้งความไม่ พอใจของชาวเวียดนามที่สะสมหมักหมมมากขึ้น เรื่อยๆ ทำ�ให้ในที่สุดเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น คือเหตุการณ์ที่ประชาชนเคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อต่อต้านจีน นัดชุมนุมเพื่อจะไปเผาโรงงานจีน ที่มีฐานการผลิตอยู่ในเวียดนามหลายจังหวัด ที่ หนักที่สุดคือจังหวัดบิ่งเซือง (Bình Dương) และ ด่งนาย (Đồng Nai) กระทั่งโรงงานที่ต้องสงสัย ว่ า อาจเป็ น โรงงานจี น อย่ า งโรงงานของไต้ ห วั น โรงงานของสิงค์โปร์ก็ได้รับความเสียหายด้วย เกิด กระแสมวลชนจลาจลที่รัฐบาลที่ขึ้นเชื่อเรื่องความ มี เ สถี ย รภาพไม่ ส ามารถควบคุ ม ให้ ไ ด้ ทั น ควั น แม้ว่าการเกิดเหตุจลาจลดังกล่าวอาจมีสาเหตุอื่น ที่บานปลายเพิ่มขึ้นภายหลัง


อาเซียนเสวนา | 76

การเคลื่อนไหวของประชาชนเวียดนามในการต่อต้านจีน

ส่งผลทำ�ให้บริษัทสัญชาติต่างๆ ที่ตั้งฐาน การผลิ ต อยู่ ใ นนิ ค มอุ ต สาหกรรมที่ เ กิ ด เหตุ ต้ อ งคิ ด ยุทธศาสตร์ตอบโต้และป้องกันมวลชนโดยการขึ้นป้าย ติดหน้าโรงงานเป็นรูปธงชาติเวียดนามกับธงชาติของ สัญชาติโรงงานนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นไต้หวัน เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส พร้อมกับเขียนบนป้าย แสดงความเป็ น มิ ต รหรื อ เพื่ อ นกั บ ประเทศและชาว เวียดนาม เช่น โรงงานเกาหลีแห่งหนึ่งขึ้นป้ายเป็น ธงชาติเกาหลีคู่กับเวียดนาม และเขียนถ้อยคำ�บนป้าย ว่า “พวกเรามาจากเกาหลีใต้ พวกเราเป็นเพื่อนของ เวียดนาม (Chúng ta đến từ Hàn Quốc. Chúng ta là bạn của Việt Nam)”1 หรือบริษัทของฝรั่งเศส ที่ ขึ้ น ภาพธงชาติ เ วี ย ดนามคู่ กั บ ธงชาติ ฝ รั่ ง เศสและ เขียนถ้อยคำ�บนป้ายว่า “บอสติกคือบริษัทของฝรั่งเศส สนับสนุนเวียดนาม (Bostik là công ty của Pháp. Ủng hộ Việt Nam)” บางแห่งก็ขึ้นป้าย “หว่างซา (พาราเซล) และเจื่องซา (สแปรตลีย์) เป็นของเวียดนาม (Hoàng Sa và Trường Sa là của Việt Nam)” หน้ารั้วบริษัท กล ยุทธ์อื่นๆ เพื่อรับมือกับ มวลชนเวียดนามคือการเอา ภาพประธานาธิบดีโฮจิมินห์แขวน ทั้งหมดคือมาตรการ ป้องกันไม่ให้โรงงานของตนเองเกิดความเสียหายที่จะ ตามมาจากสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้

1

ขอบคุณภาพประกอบจากคุณศุกรวรรณ คุ้มรุ่งโรจน์

เหตุ ก ารณ์ ที่ ลุ ก ลามเหมื อ นไฟลามทุ่ ง นี้ ทำ � ให้ ผู้ นำ � รั ฐ บาลอย่ า งนายกรั ฐ มนตรี เ หงวี ย น เติ๋น สุง (Nguyễn Tấn Dũng) ส่งข้อความไปยัง หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทุกรายว่า “นายกรัฐมนตรีเหงวียน เติ๋น สุง ขอร้องและเรียกร้อง ชาวเวียดนามทุกคนไม่ให้กระทำ�อันเป็นการฝ่าฝืน กฎหมาย ไม่ฟังตามผู้ไม่ประสงค์ดี ให้ร่วมกันรักษา กฎระเบียบของสังคม สามัคคีเพื่อช่วยกันพัฒนา ผลผลิตการค้า ยกระดับชีวิตและมีส่วนช่วยกันทั้ง ประเทศรั ก ษาอธิ ป ไตยของมาตุ ภู มิ ต ามกฎหมาย ของประเทศเราและกฎหมายระหว่างประเทศ” และ อีกข้อความหนึ่งในเวลาต่อมาว่า “วันที่ 17/5/2014 นายกรัฐมนตรีเวียดนามมีคำ�สั่งไปยังกระทรวงความ สงบสาธารณะ(ตำ�รวจ) ทุกหน่วยงานที่ทำ�หน้าที่และ ผู้นำ�ทุกจังหวัด ทุกนคร ให้ใช้มาตรการแบบเดียวกัน ยืนยันห้ามมีการประท้วงอย่างผิดกฎหมาย ต้องไม่


อาเซียนเสวนา | 77

ขัดต่อระเบียบความสงบสุข ความมั่นคงสังคม” เพื่อระงับการจลาจลที่เกิดขึ้น และเมื่อควบคุมเหตุการณ์ ได้แล้วนายกรัฐมนตรีเวียดนามและกระทรวงการต่างประเทศต้องออกแถลงการณ์ขอโทษต่อผู้เสียหายจาก เหตุการณ์นี้ ความน่าสนใจประการหนึ่งคือการเหตุการณ์ต่อต้านจีนและปกป้องหมู่เกาะหว่างซา (พารา เซล) และ สแปรตลีย์) ทำ�ให้เกิดขึ้นกระแสของการเรียกร้องของชาวเวียดนามใต้ที่เคยลี้ภัยออกจาก เวียดนามเมื่อเวียดนามใต้ล่มสลายเรียกร้องในต่างแดนร่วมกับชาวเวียดนามในเวียดนาม

เวียดนามในภาวะวิกฤต?

คำ�ถามที่น่าสนใจคือจากเหตุการณ์การจลาจลบุกเผาและทำ�ลายโรงงานและสิ่งปลูกสร้าง ของจีนนี้เวียดนามกำ�ลังเกิดปัญหาจากนโยบายการกล่อมเกลาและปลูกฝังความเป็นชาตินิยมจนเกิน ความสามารถที่จะควบคุมได้ รัฐบาลเวียดนามภายใต้การดูแลขององค์กรปกครองสูงสุดของพรรค คอมมิวนิสต์เวียดนามซึ่งเคยได้รับความน่าเชื่อถือในแง่ของการลงทุนเพราะความมีเสถียรภาพทางการ เมืองสูง แทบไม่มีประวัติของการจลาจลต่อต้านรัฐจนเกินขอบเขตที่สามารถจะควบคุมจนอาจตีความ ได้ว่าเป็นความคลั่งชาติ (Chauvinism) หรือชาตินิยมล้นเกิน (Hyper-nationalism) อีกทั้งรัฐบาล เวียดนามจะต้องแสดงท่าทีที่ชัดเจนในการตอบข้อกังขาต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลเวียดนาม กับรัฐบาลจีนที่ถูกฝั่งตรงข้ามของรัฐบาลโจมตีว่าเรื่องการยอมรับอำ�นาจของจีนเหนือหมู่เกาะทั้งสอง นอกจากนี้รัฐบาลเวียดนามก็ยังต้องรักษาความสัมพันธ์กับนักธุรกิจและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ กับจีนควบคู่ไปด้วย จึงเป็นความท้าทายของรัฐบาลเวียดนามอยู่ไม่น้อย ความท้าทายอีกหนึ่งประการ ที่สำ�คัญคือรัฐบาลเวียดนามจะกู้คืนภาพลักษณ์ของประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมืองอย่างไรทั้งๆ ที่ ประสบปัญหาขาดความเชื่อมั่นจากนักลงทุนชาวต่างชาติ ที่เกิดความกังวลต่อเหตุการณ์จลาจลที่เกิด ขึ้นในครั้งนี้


อาเซียนเสวนา | 78

บทสรุป

ในกระบวนการสร้างกระแสชาตินิยมรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามไม่สามารถประเมิน ถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากการสร้างความเป็นชาตินิยมจากความรักชาติจนกลายเป็นความคลั่งชาติ หรือลัทธิชาตินิยมล้นเกินอันนำ�ไปสู่ความรุนแรงที่ไม่คาดคิดได้ จากเหตุการณ์บุกเผาโรงงานสัญชาติ จีนได้เป็นเหตุการณ์ตัวอย่างไปแล้วเกี่ยวกับการรุกล้ำ�ความเป็นสมบัติของชาติจากต่างชาติโดยเฉพาะ จีน เกิดความสัมพันธ์อันลักลั่นระหว่างระดับรัฐต่อรัฐ (Government to government level) โดยรัฐบาลเวียดนามวางบทบาททางการเมืองได้ยากเนื่องจากจะต้องออกกลยุทธ์ในการรักษาระดับ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีนให้ราบรื่น และความสัมพันธ์ระหว่างคนต่อคน (People to people) ที่หวาดระแวงและไม่พอใจชาวจีน รัฐบาลจะมีวิธีการในการรับมือต่อกระแสแรงเสียดทานจากกลุ่มที่มีรักชาติสุดขั้วอย่างไร ใน ขณะที่ต้องแสดงความชัดเจนว่าพร้อมที่จะปกป้องสมบัติของชาติโดยไม่ถูกมองว่าจะทำ�ให้เสียเปรียบ จีน เพราะกระแสปลุกปั่นจากกลุ่มที่มีแนวคิดต่อต้านรัฐบาลและพรรคคอมมิวนิสต์มาก่อนหน้าแล้วอาจ ฉวยโอกาสนี้ชี้ความไม่น่าเชื่อถือต่อรัฐบาล รัฐบาลเวียดนามกำ�ลังเข้าสู่ความท้าทายในการจัดการปัญหาข้อพิพาทหมู่เกาะหว่างซา และเจื่องซา ที่อาจจะมีความร่วมมือผ่านการรวมกลุ่มอย่างอาเซียนหรือกฎหมายระหว่างประเทศที่ คอยเปิดโอกาสให้อยู่บ้าง โดยทางการจีนไม่ยินยอมเจรจาระดับแบบพหุภาคีหรืออาเซียน แต่ยินยอม เจรจาในระดับทวิภาคีระหว่างเวียดนามกับจีนเท่านั้น เวียดนามได้มีกลไกเพื่อหาทางระงับปัญหาข้อพิพาทพื้นที่ทะเลจีนใต้ ผ่านกลไกเลขาธิการ อาเซียนคือนายเลเลืองมิงห์เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบันชาวเวียดนาม ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแต่ มาจากการคัดสรรขึ้นมาดำ�รงตำ�แหน่ง ดังนั้นเลขาธิการอาเซียนคนนี้ย่อมเป็นตัวแทนของทางรัฐบาล เวียดนามที่ถูกกำ�หนดงานหลักมาเพื่อให้หาทางระงับปัญหาที่เกิดขึ้นในบริเวณทะเลจีนใต้ให้ได้ ทางด้านอำ�นาจของจีนไม่ได้ใช้รูปแบบของอำ�นาจทางการทหารเข้ามากดดันประเทศที่มี ปัญหาแต่จะใช้ลักษณะอำ�นาจทางเศรษฐกิจเพื่อเข้ามากดดัน เช่น เมื่อปัญหาทางทะเลจีนใต้ถูกนำ�ไป พูดในกรอบของอาเซียน ก็อาจทำ�ให้ประเทศที่ได้รับการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากจีน เช่น กัมพูชา ลาว หรือ พม่า ไม่ยินยอมที่จะให้ปัญหาหยิบขึ้นมาพูด


อาเซียนเสวนา | 79


อาเซียนเสวนา | 80

ประวัติศาสตร์การเมืองว่าด้วยพลังนักศึกษาในพม่า จาก 1938 ถึง 1988

ลลิตา หาญวงษ์

อาณานิคมในพม่า

พม่าเป็นอาณานิคมของอังกฤษมายาวนานรวมแล้ว 122 ปี ภายหลังสงครามอังกฤษ-พม่า (Anglo-Burmese Wars) 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 ระหว่าง ค.ศ.1824-1826 อังกฤษยึดได้พื้นที่พม่าตอนล่างบาง ส่วน ได้แก่ เขตตะนาวศรี (Tenasserim) และเขตอาระกัน (Arakan) หรือยะไข่ (Rakhine) ทางตะวัน ตกของพม่า ชัยชนะของอังกฤษภายหลังสงครามครั้งที่ 2 ในปี 1852-1853 ทำ�ให้ราชสำ�นักพม่าสูญ เสียพม่าตอนล่างส่วนสุดท้าย คือเมืองท่าอย่างย่างกุ้ง (Yangon) มะละแหม่ง (Moulmein) และอดีต ราชธานีของพม่าและหัวเมืองมอญสำ�คัญอย่างหงสาวดีหรือพะโค (Pegu) พะสิม (Bassein) และตอง อู (Toungoo) หรือกล่าวโดยรวมคือพื้นที่ลุ่มแม่น้ำ�อิระวดีอันอุดมสมบูรณ์ทั้งหมดให้กับอังกฤษ และใน สงครามครั้งสุดท้าย (ค.ศ.1885-1886) อังกฤษสามารถควบรวมดินแดนของพม่าตอนบนทั้งหมด รวม ไปถึงราชธานีพม่าแห่งสุดท้ายที่มัณฑะเลย์ (Mandalay) รวมทั้งดินแดนของชนกลุ่มน้อยอย่างฉาน (ไท ใหญ่) กะฉิ่น และฉิ่น

ภาพที่ 1 : แผนที่แสดงการผนวกพม่าของอังกฤษ ทั้ง 3 ครั้ง

ก่อนที่อังกฤษจะยึดพม่าตอนบนได้ ตลอดครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 อังกฤษ ได้เร่งพัฒนาให้พม่าตอนล่างในเขตพื้นที่ลุ่ม เป็นพื้นที่เกษตรกรรมขนาดใหญ่ มีการบุกเบิก พื้นที่ร้างที่เคยเป็นป่าหญ้ารกชัฏให้เป็นพื้นที่

ปลูกข้าว (Rice Frontier) จนทำ�ให้พม่าเป็นผู้ส่งออกข้าว รายใหญ่ที่สุดของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้น มา หลังจากที่อังกฤษผนวกรวมพม่าสำ�เร็จแล้ว จึงได้สถาปนาพม่าเป็นจังหวัด (province) หนึ่งของ อินเดียจนถึง ค.ศ.1937 การแยกตัวออกจากอินเดียเป็น จุดกำ�เนิดของบริติช เบอร์ม่า (British Burma) พม่าจึง มี ข้ า หลวงใหญ่ ที่ มี อำ � นาจตั ด สิ น ใจในกิ จ การซึ่ ง เกี่ ย ว กับพม่าโดยตรง อย่างไรก็ดี แม้พม่าจะเป็นอาณานิคม ของอังกฤษมายาวนาน แต่ระบอบอาณานิคมอังกฤษ ให้ ค วามสำ � คั ญ กั บ การปกครองที่ ส่ ว นกลางและการ ควบคุมทรัพยากรหลักอย่างข้าว (พม่าตอนล่าง) และ ไม้สัก (พม่าตอนบน) มากกว่าสิ่งอื่น ผู้ปกครองในท้อง ถิ่นทั้งที่เป็นราชนิกุลอย่างเจ้าฟ้าฉาน หรือผู้ใหญ่บ้านที่ เรียกว่า “ตะจี” (thugyi) นั้นมีสิทธิปกครองไพร่ฟ้า/ลูก บ้านของตนได้อย่างเป็นอิสระและมีอำ�นาจตัดสินคดี ความของตนเอง ในขณะที่อังกฤษกำ�กับและควบคุมอยู่ อย่างหลวม ๆ ที่เป็นเช่นนี้เพราะรัฐบาลอาณานิคมไม่มี งบประมาณที่จะบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด ทั้งจากการขาดความเข้าใจสังคมของชนพื้นเมืองระดับ ล่างและงบประมาณที่จำ�กัด อีกทั้งพื้นที่ของชนกลุ่มน้อย


อาเซียนเสวนา | 81

ในพม่าตอนบนส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนซึ่งเข้าถึงได้ลำ�บาก จุดเน้นของการปกครองพม่าของอังกฤษจึงอยู่ที่พม่าตอนล่าง มีการสถาปนาย่างกุ้งเป็นเมือง หลวงแห่งใหม่ทดแทนราชธานีของราชวงศ์คองบองที่ตั้งอยู่ลึกในเขตตอนในของประเทศ อังกฤษพัฒนา พม่าตอนล่างแบบเสรี หมายถึงประชากรทั้งจากพม่าตอนล่างเอง (ซึ่งมีไม่มาก) พม่าตอนบน หรือแม้แต่ ผู้อพยพจากอินเดียสามารถเข้าไปจับจองพื้นที่ว่างในเขตดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ�อิระวดีเพื่อทำ�การ เกษตรได้อย่างอิสระ พัฒนาการทางการเกษตรในพม่าเกิดจากตลาดเสรีมิได้เป็นระบบสัมปทานผูกขาด หรือการบังคับให้ปลูกพืชเศรษฐกิจตามที่รัฐต้องการในลักษณะฟาร์มขนาดใหญ่ (plantation) เหมือน อาณานิคมในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย เหตุที่เป็นเช่นนี้นอกจากพม่าตอนล่างจะเต็มไปด้วยป่าดังที่ได้ กล่าวไปแล้วยังอุดมไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บ เช่น มาเลเรียและอหิวาตกโรคอีกด้วย

กำ�เนิดพลังนักศึกษา

อาจกล่าวได้ว่าตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความสัมพันธ์ระหว่าง อังกฤษกับคนพื้นเมืองเป็นแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ซึ่งส่งผลให้ความตื่นตัวทางการเมืองหรือกระบวนการเรียก ร้องเอกราชยังไม่เข้มแข็ง พัฒนาการของลัทธิชาตินิยมและขบวนการนักศึกษานั้นถือได้ว่าช้ามาก การรับรู้ ทางการเมืองของคนหนุ่มสาวเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการขยายโอกาสทางการศึกษาตามแบบตะวันตกที่เข้ามา ทดแทนโรงเรียนในวัดแบบเดิม แต่การศึกษาแบบตะวันตกในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ยังจำ�กัดตัวอยู่ใน ระดับประถมและมัธยมศึกษา มีเพียงบุตรหลานผู้ที่มีฐานะและนักเรียนทุนเท่านั้นที่จะได้รับโอกาสศึกษา ต่อในระดับมหาวิทยาลัยทั้งจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ�ในอินเดียและยุโรป ความตื่นตัวแบบชาตินิยมเริ่มขึ้นในปี 1920 เมื่อนักศึกษากลุ่มหนึ่งประท้วงพระราชบัญญัติ จัดตั้งมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง (ก่อนหน้านี้คือ Rangoon College และ University College ตามลำ�ดับ) โดย ควบรวมกับวิทยาลัยจั๊ดสัน (Judson College) อันเป็นวิทยาลัยของมิชชันนารีแบ๊บติสต์ วิทยาลัยการแพทย์ และวิทยาลัยฝึกหัดครูเข้าไว้ด้วยกัน การรวมวิทยาลัยทั้งสี่นี้สร้างความไม่พอใจให้กับนักศึกษา เพราะมอง ว่าพ.ร.บ.มหาวิทยาลัยย่างกุ้งไม่เสมอภาค เป็นการมุ่งสร้างมหาวิทยาลัยเพื่อชนชั้นนำ� (elite) แทนที่จะ เป็นสถาบันการศึกษาที่เปิดโอกาสให้กับทุกชนขั้นและทุกเชื้อชาติอย่างเท่าเทียมกัน ความไม่พอใจของ นักศึกษาแสดงออกผ่านการนัดหยุดเรียนใหญ่ครั้งแรกที่รู้จักกันในชื่อ Rangoon (Yangon) University Strike ในปี 1920 แม้จะมีเสียงทักท้วง แต่มหาวิทยาลัย ย่างกุ้งก็ก่อตั้งได้สำ�เร็จ ในต้นทศวรรษ 1930 มหาวิทยาลัยย่างกุ้งมีจำ�นวนนักศึกษาราว 1,000 คน มหาวิทยาลัยย่างกุ้งกลายเป็นมหาวิทยาลัย ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย พัฒนาการในทางการ ศึกษาได้เข้ามามีส่วนสำ�คัญที่เปิดโลกทัศน์ให้ แก่นักศึกษาที่เริ่มได้รับแนวคิดแบบตะวันตก เช่น มาร์กซิสต์ เลนินลิสต์ เฟเบี้ยนโซไซตี้ ฯลฯ แล้ว ขบวนการนักศึกษาที่ถือเป็นจุดเด่นของ Rangoon College, ต้นทศวรรษ 1900s ประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคมของพม่าถือกำ�เนิด ขึ้นพร้อม ๆ กับการก่อตั้งสโมสรนักศึกษาแห่ง


อาเซียนเสวนา | 82

มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง (Student Union) ซึ่งยิ่งทำ�ให้นักศึกษามีความเข้าใจและผูกพันกับอุดมการณ์ทางการ เมืองต่าง ๆ (โดยเฉพาะฝ่ายซ้าย) เพิ่มขึ้นจนนักศึกษา (รวมทั้งพระสงฆ์) กลายเป็นเสาหลักเสาหนึ่งของ ขบวนการชาตินิยมพม่าในเวลาต่อมา ในช่วง ค.ศ.1935-1936 หม่อง นุ (Maung Nu) เข้ารับตำ�แหน่งประธานสโมสรนักศึกษาแห่ง มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง เขาและนักศึกษาอื่น ๆ ในสโมสรนักศึกษาฯ มีส่วนสำ�คัญผลักดันให้เกิดสโมสร นักศึกษาระดับชาติที่เรียกว่า All Burma Students Union (ABSU) โดยมี หม่องอองซาน (Maung Aung San) เป็นเลขาธิการใหญ่ จากการเคลื่อนไหวครั้งนี้ประกอบกับบทความเสียดสีคณะผู้บริหาร มหาวิทยาลัยย่างกุ้งส่งผลให้นักศึกษาสองคนนี้ถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัย

หม่องอองซานและผู้นำ�นักศึกษา ABSU, 1936

ภายหลังจากที่หม่องนุและหม่องอองซานถูกจับ เหล่านักศึกษาจึงนัดรวมตัวกันเพื่อประท้วง มหาวิทยาลัยย่างกุ้งและลามไปถึงการต่อต้านระบอบอาณานิคม โดยแกนนำ�การนัดหยุดเรียนประท้วง ครั้งที่ 2 ในปี 1936 นี้คือจ่อเญง (Kyaw Nyein) เหตุการณ์ในครั้งนั้นมิได้กระจุกตัวในพื้นที่มหาวิทยาลัย ย่างกุ้งเหมือนการประท้วงครั้งแรกเมื่อ 6 ปีก่อน แต่กระจายไปในพื้นที่สาธารณะนอกมหาวิทยาลัยรวม ถึงในต่างจังหวัดด้วย ความสำ�เร็จของขบวนการชาติ นิ ยมของนั กศึ กษาพม่ า ในช่ ว งนี้ เ กิ ดจากการผสมผสาน ระหว่างลัทธิหรืออุดมการณ์การเมืองจากตะวันตกกับความพยายามฟื้นฟูความเป็นพม่าที่มีพระพุทธ ศาสนาและวัฒนธรรมพม่าเป็นแกนกลางเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมมิใช่เฉพาะพระสงฆ์ หรือผู้ที่มีการศึกษามีความรู้สึกร่วมกับการต่อต้านระบอบอาณานิคมในขณะนั้น เห็นได้จากสมาคม ชาตินิยมยุคแรกในพม่าอย่าง YMBA (Young Men’s Buddhist Associations) มีจุดประสงค์หลักเพื่อ ฟื้นฟูศาสนาพุทธที่ถูกมองว่าเสื่อมโทรมลงเพราะระบอบอาณานิคม


อาเซียนเสวนา | 83

ภาพการถือธงสัญลักษณ์ และสัญลักษณ์ของสมาคม เราชาวพม่า จ่อเญง (Kyaw Nyein) ผู้นำ�นักศึกษาประท้วงในปี 1936

เมื่อขบวนการชาตินิยมของนักศึกษาพม่า เริ่มเข้มแข็งขึ้น กิจกรรมทางการเมืองของนักศึกษา หลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกับขบวนการชาตินิยมระดับ ประเทศ ผู้นำ�นักศึกษาทั้งนุและอองซานก้าวเข้าไป เป็นผู้นำ�หรือ “think tank” ของขบวนการชาตินิยม ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “สมาคมเราชาวพม่า” หรือ “โด้ะ บ่ะหม่า อะซีอะโยน” (Dobama Asiayone) และได้ นำ�นกยูงซึ่งเป็นสัตว์ประจำ�ราชวงศ์พม่าเข้ามาเป็น สัญลักษณ์ของสมาคมฯ ในขณะที่แนวคิดหลักของ สมาชิกโด้ะบ่ะหม่าได้รับอิทธิพลจากลัทธิสังคมนิยม แบบเลนิน (Leninism) ในรัสเซีย

ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1930 เกิด สงครามโลกครั้งที่สองขึ้นตามมาด้วยสงคราม มหาเอเชียบูรพา นักชาตินิยมพม่าเข้าไปให้การ ช่วยเหลือกองทัพญี่ปุ่นรบกับฝ่ายสัมพันธมิตร อองซานและพวกอีก 29 คนเข้ารับการฝึกฝน ทางการทหารจากกองทั พ ญี่ ปุ่ น ที่ เ กาะไหหลำ � (Hainan) เป็นที่รู้จักในกลุ่ม “มิตรสหายสามสิบ” (Thirty Comrades) และได้จัดตั้งกองกำ�ลังปลด ปล่อยพม่า (BIA – Burma Independence Army) ขึ้นในปี 1940 ก่อนที่จะพัฒนาไปเป็นก องกำ�ลังแห่งชาติพม่า (BNA – Burma National Army) ในอีกหนึ่งปีต่อมาโดยมีอองซานเป็น แม่ทัพใหญ่ การเข้าร่วมกับญี่ปุ่นครั้งนี้เกิดขึ้นจากความหวัง ว่าญี่ปุ่นจะมอบเอกราชให้กับพม่าอย่างเร็วที่สุด แต่เวลาผ่านไปไม่นานพวกเขาเล็งเห็นว่าทหาร ญี่ปุ่นเหี้ยมโหดและไม่มีทีท่าจะมอบเอกราชให้ อย่างที่หวังไว้ อองซานจึงหันไปหาอังกฤษอีกครั้ง เริ่มตีตัวออกห่างจากญี่ปุ่นและจัดตั้งขบวนการ ปฏิกิริยาเพื่อต่อต้านญี่ปุ่นในนาม AFPFL (Anti-Fascist People’s Freedom League) แทน


อาเซียนเสวนา | 84

กลุ่ม 30 สหาย (Thirty Comrades), 1941

เมื่อฟ้าเปลี่ยนสี : ขบวนการนักศึกษาหลังยุคอาณานิคม

พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ.1948 แต่ก่อนหน้านั้นเพียง 5 เดือน เศษ อองซานและรัฐมนตรีอีก 6 คนในรัฐบาลถูกลอบสังหาร อูนุจึงขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่รัฐบาลหลัง เอกราชต้องประสบกับปัญหาหลายประการทั้งความขัดแย้งภายในรัฐบาล กับกองทัพ และกับชนกลุ่ม น้อย แน่นอนว่ารัฐบาลของอูนุขาดเสถียรภาพอย่างรุนแรงซึ่งทำ�ให้การเติบโตของพม่ายุคหลังเอกราช แทบจะหยุดนิ่งราวอยู่ในภาวะสุญญากาศ ดังนั้นในปี 1958 อูนุจึงได้เชิญนายพลเนวิน (Ne Win) ผู้ บัญชาการกองทัพในเวลานั้นให้เข้ามารับช่วงบริหารประเทศต่อจากตนชั่วคราว ตลอด 2 ปีในตำ�แหน่ง ของเนวิน สถานการณ์การเมืองที่ตึงเครียดในพม่าสงบลงบางส่วน แต่อย่างไรก็ดี ภายหลังการเลือกตั้ง ทั่วไปในปี 1960 อูนุกลับเข้ามาบริหารประเทศอีกครั้งแต่ก็ถูกเนวินทำ�ปฏิวัติรัฐประหารในอีก 2 ปีต่อมา (ค.ศ.1962

อูนุ เนวิน


อาเซียนเสวนา | 85

และแล้วความเก็บกดก็เคลื่อนไหว

ในช่วงแรกของรัฐบาลรักษาการของเนวิน เศรษฐกิจโดยรวมของพม่าที่ยังอยู่ในกระบวนการ ฟื้นฟูจากพิษสงครามโลกครั้งที่ 2 พม่าเป็นประเทศ “ดาวรุ่ง” ที่กำ�ลังไปได้สวยและมีเศรษฐกิจที่พัฒนา ในระดับน่าพอใจ จากคำ�บอกเล่าของชาวพม่าหลายคน ผู้บรรยายจับความได้ว่ายุคของเนวินเป็นยุคที่ ชนชั้นกลางในเมือง “มีความสุข” เพราะยังมีกิจกรรมบันเทิง เวทีลีลาศ และการเสพย์วัฒนธรรมตะวัน ตกกันอย่างคึกคัก แต่ในเวลาต่อมาหลังรัฐประหารสภาพการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจเปลี่ยนไป แบบหน้ามือเป็นหลังมือ รัฐบาลเนวินดำ�เนินนโยบายปิดประเทศ (คือห้ามมิให้มีการนำ�เข้าและส่งออก) และพัฒนา ประเทศไปสู่ “วิถีพม่าสู่ระบอบสังคมนิยม” (Burmese Way to Socialism) ภายใต้ BSPP (Burma Socialist Programme Party) อันเป็นระบอบผสมผสานระหว่างลัทธิสังคมนิยม ชาตินิยม และเผด็จการ นิยม หรือเรียกอีกอย่างคือ “ระบอบเนวิน” มีการปิดกั้นเสรีภาพของนักวิชาการและสื่อ ชาวต่างชาติที่ เคยอาศัยในพม่าทั้งที่เป็นชาวจีน อินเดีย และชาวตะวันตกค่อย ๆ ถูกผลักขับออกจากประเทศ และ พม่ากลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกในเวลาต่อมา แน่ น อนว่ า การรั ฐ ประหารของเนวิ น สร้ า งความขุ่ น เคื อ งให้ กั บ นั ก ศึ ก ษาจนนำ � ไปสู่ ก าร ประท้วงรัฐบาลเนวินครั้งใหญ่ในปี 1962 เพราะนักศึกษามองว่ารัฐบาลทหารเข้าไปแทรกแซงกิจการ ภายในมหาวิทยาลัยและกวาดล้างปราบปรามนักศึกษาที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาล ความไม่พอใจของ นักศึกษานำ�ไปสู่การเดินขบวนประท้วง การนัดหยุดเรียน และการจลาจลหลายครั้งตลอดปี 1962 จน ทำ�ให้รัฐบาลตอบโต้นักศึกษาขั้นเด็ดขาดโดยการระเบิดอาคารสโมสรนักศึกษาในมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง อันเคยเป็นศูนย์รวมนักศึกษาหัวก้าวหน้าที่ต่อต้านระบอบอาณานิคมของอังกฤษและเป็นแหล่งบ่ม เพาะ “วีรบุรุษ” อย่างอองซาน แต่การทำ�ลายสัญลักษณ์โดยการกำ�จัดสโมสรนักศึกษาในครั้งนั้นก็ไม่ได้ ทำ�ให้กระบวนการนักศึกษานั้นอ่อนแอลงเลย แต่กลับยิ่งทำ�ให้นักศึกษาคับแค้นใจมากขึ้นและยิ่งทำ�ให้ ขบวนการนักศึกษาเข้มแข็งมากขึ้นตามลำ�ดับ

อาคารสโมสรนักศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง


อาเซียนเสวนา | 86

อีกเหตุการณ์หนึ่งที่สร้างความขมขื่นให้กับนักศึกษาพม่าและยิ่งเพิ่มความขัดแย้งระหว่าง รัฐบาลกับนักศึกษาเกิดขึ้นในปี 1974 เมื่ออูถั่น (U Thant, ค.ศ. 1909-1974) อดีตเลขาธิการของ องค์การสหประชาชาติที่ดำ�รงตำ�แหน่งยาวนานที่สุดและเป็นคนเอเชียคนแรกที่ได้รับเกียรติให้ดำ�รง ตำ�แหน่งนี้เสียชีวิตลงในนครนิวยอร์ค ก่อนที่อูถั่นจะย้ายไปประจำ� ณ องค์การสหประชาชาติ เขาเป็นที่ รู้จักในฐานะที่ปรึกษาคู่ใจของอูนุ จึงถือเป็น “ศัตรูทางการเมือง” คนสำ�คัญอีกคนหนึ่งของเนวิน เมื่ออูถั่นเสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งปอด ศพของเขาถูกนำ�กลับไปยังพม่าเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา แต่ รัฐบาลเนวินยืนยันไม่จัดพิธีศพของอูถั่นเป็นรัฐพิธี สร้างความสับสนและคับแค้นให้กับสาธารณชนที่ ไปรอรับศพของอูถั่นที่สนามบินมินกะลาดง เพราะนักศึกษามองว่าอูถั่นคือวีรบุรุษและเป็นสัญลักษณ์ ของสันติภาพของโลก อูถั่นได้ทำ�หน้าที่สำ�คัญในองค์การระหว่างประเทศ ทั้งยังลดความขัดแย้งระดับ ประเทศขึ้น เช่น ความขัดแย้งระหว่างชาติอาหรับกับอิสราเอล และเหตุการณ์วิกฤตการณ์คิวบาที่เขามี ส่วนสำ�คัญในการเจรจาประนีประนอมความระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต จากสนามบินมินกะลาดง รัฐบาลรีบนำ�ศพของอูถั่นไปตั้งไว้ให้ประชาชนเข้าเคารพที่สนาม กีฬาไจ้ก์กะสั่น หลังจากนั้นไม่นานรัฐบาลก็ประกาศว่าจะนำ�ศพอูถั่นไปฝังไว้ที่สุสานจานด่อชานเมือง ย่างกุ้ง นักศึกษาไม่พอใจกับการกระทำ�นี้ของรัฐบาลเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากรัฐบาลจะปฏิเสธไม่ จัดรัฐพิธีให้สมเกียรติแก่อูถั่นแล้วยังจะรีบเร่งนำ�ศพไปฝังในสุสานธรรมดา ๆ จึงเกิดเหตุชุลมุนแย่งโลง ศพอูถั่นขึ้น นักศึกษานำ�ศพอูถั่นไปตั้งไว้ในมหาวิทยาลัยย่างกุ้งอยู่ 6 วันก่อนที่รัฐบาลจะประกาศกฎ อัยการศึกและสั่งให้ปราบปรามนักศึกษาอย่างเด็ดขาดจนเป็นเหตุให้มีนักศึกษาและประชาชนเสียชีวิต ราว 100 คน เรียกเหตุการณ์ในครั้งนั้นว่า “การจลาจลอูถั่น” (U Thant Funeral Crisis) ข้อพิพาทเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นจากการทะเลาะวิวาทกัน ระหว่างนักศึกษากับนักเรียนอีกกลุ่มหนึ่งในร้านน้ำ� ชา เมื่อผู้ก่อเหตุทั้งหมดถูกจับกุมตัว เยาวชนคน หนึ่งที่มีบิดาเป็นสมาชิกของ BSPP กลับได้รับปล่อย ตัวโดยที่ไม่ได้รับการแจ้งข้อหาใด ๆ นักศึกษาจาก Rangoon Institute of Technology กลุ่มนั้นจึงไป ประท้วงหน้าสถานีตำ�รวจ การประท้วงบานปลายเป็นการประท้วง รัฐบาลของเนวินและการบริหารงานทางเศรษฐกิจ ที่ผิดพลาดของรัฐบาล นักศึกษามุ่งโจมตีนโยบาย ลดค่าเงิน (demonetization) 2 ครั้งในระหว่างปี 1985 ถึง 1987 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดค่าเงินครั้ง สุดท้าย ซึ่งเป็นการประกาศยกเลิกธนบัตรราคา 25, อู ถั่น (U Thant) หลังจากการจลาจลอูถั่นก็ไม่มีเหตุการณ์ 35 และ 75 จ๊าตโดยไม่มีการแจ้งเตือนและไม่มีการ ใดที่จะบั่นทอนรัฐบาลเนวินได้อีก จนกระทั่งต้นปี ชดเชยใด ๆ ทำ�ให้เงินในระบบเศรษฐกิจราว 75 เปอร์ 1987 ชาวพม่าเริ่มรู้สึกว่าชีวิตตนได้รับผลกระทบ เซ็นหายไปทันที จากนโยบายเศรษฐกิจของเนวินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เหตุการณ์ความรุนแรงครั้งแรกประทุขึ้นจาก


อาเซียนเสวนา | 87

การประท้วงระหว่างมีนาคม-กันยายน 1988

ด้วยปัญหาทางเศรษฐกิจและสภาพการเมืองที่บอบช้ำ�สุดขีดจากระบอบเนวิน จึงไม่น่าแปลก ใจว่าการประท้วงรัฐบาลที่เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ.1988 จะเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังทั้งจากนักศึกษา พระสงฆ์ และประชาชนทั่วไปภายใต้การนำ�ของผู้นำ�นักศึกษาคนสำ�คัญอย่างมินโกนาย (Min Ko Naing) ผลกระทบของการปฏิ บั ติ ก ารปราบ ปรามระหว่ า งเดื อ นมี น าคม-ต้ น สิ ง หาคมทำ � ให้ รัฐบาลไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ นายพล เนวินจึงประกาศลาออกจากทุกตำ�แหน่งรวมทั้ง นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ รัฐบาลยังสั่งปิดมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ นายพล เส่งลวิน (Sein Lwin) ที่ได้รับฉายาว่า “เพชรฆาต แห่งย่างกุ้ง” ผู้นำ�กองทัพปราบปรามนักศึกษาและ สังหารนักศึกษาตั้งแต่ปี 1962 ขึ้นมาเป็นนายก รัฐมนตรีแทนนายพลเนวิน การเข้าดำ�รงตำ�แหน่ง ของเส่ ง ลวิ น ยิ่ ง ทำ � ให้ ค วามตึ ง เครี ย ดระหว่ า ง รัฐบาลกับนักศึกษาเพิ่มขึ้นตามลำ�ดับจนนำ�ไปสู่ ความรุนแรงครั้งสำ�คัญที่สุดในเดือนกรกฎาคมถึง ต้นเดือนสิงหาคม จนนำ�ไปสู่การนัดชุมนุมประท้วง มินโกนาย ครั้งใหญ่ที่สุดในวันที่ 8 เดือน 8 (สิงหาคม) ปี 1988 แต่การประท้วงทุกครั้งก็ถูกรัฐบาลปราบ ในที่สุด เหตุการณ์ความรุนแรงตลอดปี 1987ปรามอย่างรุนแรง ในเหตุการณ์ครั้งหนึ่งที่ทะเลสาบ 1988 เป็นที่รู้จักกันในเหตุการณ์ 8888 หรือ “ชิตเล อินยา (Inya Lake) ใกล้กับมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง โลง” (เลขแปดสี่ตัว) ในพม่า ตำ�รวจได้ไล่ล่านักศึกษาที่ประท้วงอยู่บริเวณถนน มาจนถึงสะพานขาว (ภายในสวนสาธารณะรอบ ทะเลสาบอินยา) นักศึกษากลุ่มแรกถูกยิง ที่เหลือก ระโดดลงทะเลสาบ บางส่วนถูกตำ�รวจยิงและอีก บางส่วนจมน้ำ�เสียชีวิต

สะพานขาว


อาเซียนเสวนา | 88

เหตุการณ์ 8-8-88

เหตุการณ์ 8888 ถือว่าเป็นเหตุการณ์ความรุนแรงหลายเหตุการณ์รวมกัน มิไม่ใช่เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นและจบลงภายในวันเดียวอย่างที่เข้าใจกัน ความรุนแรงของสถานการณ์เกิดขึ้นในช่วงเดือน มีนาคมเรื่อยมาจนถึงเดือนสิงหาคม เมื่อนักศึกษานัดเดินขบวนขนาดใหญ่ภายในกรุงย่างกุ้งในวันที่ 8 สิงหาคม ในที่สุดนายพลเส่งลวินได้สั่งการปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วงโดยเฉพาะอย่างยิ่งแกนนำ�ที่เป็น นักศึกษาอย่างโหดเหี้ยม นอกจากเหตุการณ์ที่สะพานขาวแล้ว ความเหี้ยมโหดของรัฐบาลเส่งลวินยัง แสดงออกผ่านการบุกเข้าไปยิงนักศึกษาและแพทย์-พยาบาลที่ขัดขวางทหารและตำ�รวจถึงโรงพยาบาล กลางกรุงย่างกุ้ง ส่วนจำ�นวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจากความรุนแรงที่ยืดเยื้อหลายเดือน กลุ่มนักศึกษาได้ ประเมินว่ามีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้ประมาณ 1,000 คน แต่ทางรัฐบาลได้ออกประเมินว่ามีผู้เสียชีวิต เพียง 200-300 คน

ภาพเหตุการณ์การปราบปรามนักศึกษาในเหตุการณ์ 8-8-88

ด้วยความกดดัน นายพลเส่งลวินอยู่ในอำ�นาจได้เพียง 17 วัน ก็ตัดสินใจลาออกจากเพราะ ควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ กองทัพได้นำ�เอาพลเรือนคือ ดร.หม่อง หม่อง ที่อดีตเคยเป็นคนร่างรัฐธรรมนูญให้ นายพลเนวินมาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่สุดท้ายก็ถูกนายพลซอหม่องทำ�รัฐประหารและเร่งฟื้นฟูภาพลักษณ์ ที่ดีของรัฐบาลและกองทัพโดยการวางแผนจัดการเลือกตั้งขึ้น (เป็นครั้งแรกหลังพม่าอยู่ภายใต้ระบอบเนวิน มา 26 ปี)

ดร.หม่อง หม่อง (Dr Maung Maung)

นายพลซอหม่อง (Gen. Saw Maung)


อาเซียนเสวนา | 89

การเลือกตั้งทั่วไปของพม่าในปี ค.ศ.1990 เกิดขึ้นเพราะว่าเป็นนโยบายของรัฐบาล แต่ก่อน ที่จะเกิดการเลือกตั้ง รัฐบาลได้ประเมินสถานการณ์แล้วว่าพรรคฝ่ายค้านและพรรคการเมืองอื่น ๆ ใน พม่าที่ เช่น พรรคสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy หรือ NLD) ภายใต้ ผู้นำ�คนใหม่อย่างอองซานซูจีเพิ่งจะก่อตั้งขึ้นใหม่จึงยังไม่มีความเข้มแข็ง แต่รัฐบาลประเมินคะแนน เสียงของพรรค NLD ผิด เพราะประชาชนที่หิวกระหายเสรีภาพต่างมองว่าอองซานซูจีซึ่งเป็นบุตรสาว ของนายพลอองซานเป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตยและความเป็นชาติที่รุ่งเรืองของพม่า ผลการ เลือกตั้งทั่วไปในกลางปี 1990 เป็นบทพิสูจน์ที่ชัดเจนสำ�หรับรัฐบาลว่าประชาชนเทคะแนนนิยมไปให้ NLD แบบถล่มทลาย โดย NLD และพรรคเล็กอื่น ๆ ได้คะแนนเสียงมากกว่าฝ่ายรัฐบาลคิดเป็นร้อยละ 80 และมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้ามาในคูหาเพื่อเลือกตั้งคิดเป็นร้อยละถึง 72.6 แต่ฝ่ายรัฐบาลไม่ยอมรับผล ประกาศในการเลือกตั้งครั้งนี้จึงได้ประกาศให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ และได้ควบคุมตัวอองซานซูจี ไว้ในบ้านพักของตัวเองนับตั้งแต่นั้น (ได้รับการปล่อยตัวแบบถาวรในปลายปี 2010)

สังคมพม่าได้รับอะไรจากขบวนการนักศึกษา

พลังนักศึกษาของพม่าเป็นมรดกที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยอาณานิคม พลังและแนวคิดของนักศึกษาพม่าเกิดขึ้นจากระบบการศึกษาแบบอาณานิคมที่ถือว่าดี ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย แต่อย่างไรก็ดีความสำ�เร็จของขบวนการนักศึกษาในพม่ามิได้เกิดจากนักศึกษา เพียงกลุ่มเดียว หากเป็นความร่วมมือกันระหว่างนักศึกษา พระสงฆ์และประชาชนทุกภาคส่วน ภาวะ ผู้นำ�ของนักศึกษาและอุดมการณ์ที่ชัดเจนทำ�ให้ข้อเรียกร้องของนักศึกษาเข้าถึงคนหมู่มากในสังคมได้ ง่ายและทำ�ให้นักศึกษาเป็นกลุ่มคนที่สามารถปลุกเร้าอุดมการณ์ความรักชาติและการต่อต้านรัฐบาล เผด็จการได้เป็นอย่างดี

การปรากฏตัวต่อสาธารณชนครั้งแรกของอองซานซูจี

นอกจากนักศึกษาและพระสงฆ์แล้วยัง มีปัญญาชนอีกกลุ่มหนึ่งที่มีส่วนสำ�คัญในการกระ ตุ้นสำ�นึกทางการเมืองของคนพม่า ยกตัวอย่างเช่น นายพลอองซาน และ อุนุ หรือแม้แต่กวี-นักเขียน คนสำ�คัญอย่างตะขิ่นโกด่อมาย (Thakin Kodaw Hmaing) นักเขียนฝ่ายซ้ายนามอุโฆษอย่างเตง เพมยิ้น (Thein Pe Myint) และนักหนังสือพิมพ์คน สำ�คัญอย่างจะเนจออูชิตหม่อง (Journal Kyaw U Chit Maung) ลูดุ้อูหล่ะ (Ludu U Hla) และลูดุ้ด่ ออะมา (Ludu Daw Ahmar) ที่คอยเป็นแรงบันดาล ใจและประกายไฟให้กับคนหนุ่มสาวพม่ามาตลอด คริสต์ศตวรรษที่ 20


อาเซียนเสวนา | 90

แต่อย่างไรก็ดีขบวนการนักศึกษาพม่าไม่ได้สร้างผลกระทบต่อรัฐบาลทหารพม่ามากนัก เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดจากความไม่พอใจของคนในระดับล่าง-กลางสร้างแรงกระเพื่อมให้กับ กองทัพน้อยมาก ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในพม่านับตั้งแต่มีแผนปฏิรูปสู่ประชาธิปไตยที่เด่นชัดมาก ขึ้นตั้งแต่ปี 2010 เป็นความเคลื่อนไหวที่มาจากภายในกองทัพและนักธุรกิจที่มีส่วนแบ่งผลประโยชน์ จากกองทัพ (หรือที่เรียกว่า “โครนี่”) เองทั้งสิ้น การเปลี่ยนแปลงนี้ซับซ้อนและไม่มีผู้ใดสามารถให้คำ� ตอบที่แน่ชัดได้ว่า “พม่าเปลี่ยนเพราะเหตุใด” หลายคนใช้การคาดคะเนและการวิเคราะห์จากหลัก ฐานที่มีอยู่ซ่ึงมีข้อสรุปออกมาคล้ายคลึงกันว่ารัฐบาลพม่าอาจเกรงกลัวภัยคุกคามจากจีนที่เข้ามา ครอบงำ�เศรษฐกิจขนาดใหญ่ของพม่าไว้ จึงต้องหา “แนวร่วม” เพื่อคานอำ�นาจของจีนดังกล่าว หรือ อาจเป็นเพราะผลกระทบที่เกิดจากการปฏิวัติประชาชนในหลายประเทศในตะวันออกกลางที่รวมเรียก ว่าขบวนการ “Arab Spring” ซึ่งจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของผู้นำ�เผด็จการ แต่ถึงกระนั้นขบวนการ นักศึกษาก็ยังเป็นหัวแรงหลัก เป็นสัญลักษณ์ และที่สำ�คัญที่สุดคือเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษา ปัญญาชน และภาคประชาสังคมในพม่า กระบวนการและความเคลื่อนไหวทั้งหมดนี้เป็นส่วนสำ�คัญ ของการเรียกร้องประชาธิปไตยและความเท่าเทียมในสังคมการเมืองพม่ามาจวบจนปัจจุบัน


อาเซียนเสวนา | 91


อาเซียนเสวนา | 92

ȹÙÂÍÒà«ÂչȡÖÉÒ ÁËÒÇ·ÔÂÒÅÂÑàªÂÕ§ãËÁ‹

239 ¶¹¹ËÇŒÂá¡ÇŒ µÓºÅÊàØ·¾ ÍÓàÀÍàÁÍק ¨§ÑËÇ´ÑàªÂÕ§ãËÁ‹ 50200 â·ÃȾѷ 0 5394 3595-6 â·ÃÊÒà 0 5389 3279 E-mail: cascmu@cmu.ac.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.