CAS Book Series 01 Dawei and Transborder Civil Society

Page 1



โกสุมภ สายจันทร อัจฉรียา สายศิลป


เอกสารทางวิชาการ หมายเลข 1 ISBN: 978-974-672-873-7 ประชาสังคมขามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญระหวางประเทศในสหภาพเมียนมาร: กรณีศึกษาโครงการพัฒนาทาเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project ผูเขียน รองศาสตราจารย ดร.โกสุมภ สายจันทร อาจารยอัจฉรียา สายศิลป จัดพิมพโดย ศูนยอาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม สถานที่ติดตอ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม 239 ถนนหวยแกว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม 50200 โทรศัพท 0 5394 3595-6 โทรสาร 0 5389 3279 E-mail: cascmu@cmu.ac.th กองบรรณาธิการ อาจารย ดร.ชยันต วรรธนะภูติ อาจารย ดร.นัทมน คงเจริญ อาจารยสาคร เรือนไกล สมัคร กอเซ็ม กาญจนา กุลพิสิทธิเจริญ ออกแบบปก ออกแบบ/จัดพิมพ

นับวงศ ชวยชูวงศ วนิดาการพิมพ โทรศัพท 08 1783 8569


คํานํา การสนับสนุนใหมีการลงทุนจากภายนอก หรือ FDI ในสหภาพเมียนมารในการจัดตั้งเขต เศรษฐกิจพิเศษทวาย (Dawei Special Economic Zone–DSEZ) ที่ตองการเปดตลาดเสรีและ มีสวนรวมทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคและระดับโลก โครงการดังกลาวยอมทำใหเกิดการพัฒนา เศรษฐกิจ ทำใหเกิดการจางงาน รวมทัง้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจทีต่ อ เนือ่ ง แตขณะเดียวกันยังมีบทเรียน จากพืน้ ทีท่ ตี่ อ งใครครวญอยางจริงจังคือการลงทุนขนาดใหญจะมีผลกระทบดานสิง่ แวดลอมอยางไรบาง การดำรงชีพของชาวบาน รวมทั้งประชาชนในพื้นที่จะไดรับผลกระทบอยางไร ประชาชนเหลานี้ จะมีสวนรวมในการตัดสินใจในโครงการขนาดใหญ ซึ่งมีมิติตางๆ ที่หลากหลายอยางไรบาง ประเด็น ปญหาเปนสวนหนึ่งของโครงการวิจัย “ประชาสังคมขามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหวางประเทศในสหภาพเมียนมาร: กรณีศกึ ษาโครงการพัฒนาทาเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย” โดย รองศาสตราจารย ดร.โกสุมภ สายจันทร และอาจารยอจั ฉรียา สายศิลป อาจารยจากคณะรัฐศาสตร และรัฐประศาสนศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม นักวิจยั ทัง้ สองเนนศึกษาโครงการพัฒนาทาเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรมทวายเปนโครงการความรวมมือขนาดใหญระหวางประเทศไทยและสหภาพ เมียนมารโดยทั้งภาครัฐบาลและธุรกิจเอกชนหลังจากไดมีขอตกลงรวมกันในหลายรูปแบบ เพื่อนำ ไปสูการลงทุนโดยตรงระหวางประเทศ ดังนั้น เมื่อประชาคมอาเซียน กรณีของการจัดตั้งเศรษฐกิจพิเศษทวายจึงเปนตัวอยางของ ประชาคมอาเซียนในลักษณะที่วา โครงการดังกลาวจะนำมาสูการพัฒนาที่ยั่งยืนไดมากนอยเพียงใด ประชาคมในระดับทองถิ่น ประชาคมระดับชาติ และประชาคมในภูมิภาคจะมีบทบาทอยางไร ผูวิจัย ไดศึกษายุทธศาสตรของรัฐบาลสหภาพเมียนมาร พบวามีการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตรในหลายชวง ของโครงการ ในชวงทีม่ รี ฐั ธรรมนูญใหมและเตรียมพรอมการเปดประเทศใหมากขึน้ หลังเปลีย่ นแปลง สูร ะบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะกฎหมายการลงทุนตางชาติ รวมทัง้ เนนการศึกษาในดานผลกระทบ ทางเศรษฐกิจและสังคมของการกอสรางทาเรือน้ำลึกทวายตอชุมชน จนทำใหวิถีชีวิตของชาวทวาย หลายหมื่นคนเปลี่ยนแปลงไป และความขัดแยงของคนในพื้นที่กับภาครัฐและเอกชน อันเกิดจาก โครงการดังกลาวยังมีอยางตอเนื่อง จนนำไปสูการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม “ขามพรมแดน” ทั้งจากกลุมนักเคลื่อนไหวและนักวิชาการของไทย เพื่อแลกเปลี่ยนขอมูลกับนักเคลื่อนไหวในพื้นที่ ทวายและในสหภาพเมียนมาร และความรวมมือระหวางประเทศของภาคประชาชน iii


งานหนังสือที่ศูนยอาเซียนศึกษาจัดใหมีการพิมพเผยแพร ทางเราตั้งใจใหเกิดความเชื่อมโยง (connectivity) ภายในประชาคมอาเซียนที่ผานการลงทุนดานเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันก็เชื่อมโยง ประชาคมในระดับลาง หรือภาคประชาชนในระดับภูมิภาค การลงทุนดังกลาวยอมเกิดขอดีขอเสีย ตามมา ดานหนึ่ง ขอดีที่รัฐสามารถใชในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสอง ขอเสียคือผลกระทบที่ตามมา ดานสังคม วัฒนธรรม การมีสวนรวมของประชาชน ซึ่งชี้วาเปนการเชื่อมโยงทั้งในระดับเศรษฐกิจ ของนักลงทุนและรัฐบาล กับประชาสังคมระหวางไทยกับสหภาพเมียนมาร ดังเชนประเด็นสำคัญ ที่นักวิจัยทั้งสองตองการนำเสนอหลัก ไดแก ยุทธศาสตรของรัฐบาลสหภาพเมียนมารในการพัฒนา โครงการทาเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดลอม และสังคม ของการกอสรางทาเรือน้ำลึกทวายตอชุมชน การพัฒนาประชาธิปไตยของภาคประชาสังคมในพื้นที่ กอสรางทาเรือน้ำลึกทวายอันเกิดจากโครงการดังกลาว เอกสารวิชาการดังกลาวนี้ ศูนยอาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม หวังวาจะเปนประโยชน ใหแกนกั ศึกษา นักวิจยั ทีส่ นใจในเรือ่ งการบูรณาการทางดานเศรษฐกิจ สังคม รวมทัง้ ปญหาสิง่ แวดลอม ที่จะเกิดขึ้น เมื่อประชาคมอาเซียนกำลังเกิดขึ้น หวังวาสิ่งนี้จะชี้แนวทางเพื่อเปนขอเสนอแนะ ใหแกฝายรัฐบาลไทย ประชาชนในพื้นที่ รัฐบาลสหภาพเมียนมาร และหนวยงานทองถิ่น รวมถึง ในภาคประชาชนทั้งในทวาย ภาคประชาสังคมในสหภาพเมียนมาร และในประเทศไทย เพื่อคำนึง ถึงประโยชนตอประชาชนทั้งสองประเทศ การเขาถึงขอมูลขาวสารใหมากกวาเดิมและชัดเจนมากขึ้น และนำเสนอความคิดเห็นไดโดยตรง การเตรียมพรอมรับมือกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นไวลวงหนา และบทบาทสำคัญในการเสนอขอหวงกังวลและขอเสนอแนะตางๆ ใหการดำเนินการที่จะคุมครอง สิทธิของประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำไปสูการแลกเปลี่ยนความรู ประสบการณกับชาวทวาย และ ภาคประชาสังคมในสหภาพเมียนมาร อาจารย ดร.ชยันต วรรธนะภูติ ผูอำนวยการศูนยอาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม iv


กิตติกรรมประกาศ โครงการวิจัย “ประชาสังคมขามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญระหวางประเทศ ในสหภาพเมียนมาร: กรณีศึกษาโครงการพัฒนาทาเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย” ไดรับการสนับสนุนงบประมาณจากคณะรัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม ทำใหสามารถดำเนินงานวิจัยไดทั้งในประเทศไทยและสหภาพเมียนมาร ผูวิจัยจึงใครขอขอบคุณ ทางคณะรัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตรเปนอยางยิ่ง ที่สนับสนุนโครงการนี้ โครงการวิจัยนี้สำเร็จลงไดดวยดีจากการทุมเทของอาจารยอัจฉรียา สายศิลป ผูชวยนักวิจัย ทีม่ ากดวยประสบการณในการลงพืน้ ที่ โดยไดรบั ความรวมมืออยางดียงิ่ ในการรวมใหขอ มูลแลกเปลีย่ น ความรูและใหขอเสนอแนะจากหนวยงานของรัฐ องคกรเอกชน และชุมชนจำนวนมาก ขอขอบคุณ สมาคมพัฒนาทวาย องคกรปองกู สำนักงานยางกุง โครงการฟน ฟูนเิ วศในภูมภิ าคแมนำ้ โขง (TERRA) สำนั ก งานกรุ ง เทพฯ Earth Rights International Mekong School สำนั ก งานเชี ย งใหม ที่ไดใหการสนับสนุนประสานงาน รวมทั้งนักวิชาการและนักขาวชาวพมาที่ไดสละเวลาใหสัมภาษณ พู ด คุ ย แลกเปลี่ ย น และให ข อ เสนอแนะที่ มี คุ ณ ค า ที่ ส ำคั ญ คื อ ชาวทวายที่ ไ ด ใ ห ข อ มู ล ในพื้ น ที่ ซึ่งมีความสำคัญมากในการวิจัยครั้งนี้ คณะผูวิจัยหวังวา งานวิจัยชิ้นนี้จะเปนประโยชนในการสรางความเขาใจและความรวมมือ ในการสรางเครือขายระหวางประเทศเพือ่ ใหการพัฒนาตางๆ ทีจ่ ะเกิดขึน้ ในภูมภิ าคนี้ เปนไปอยางยัง่ ยืน และเปนธรรม กุมภาพันธ 2557

v



บทคัดย อ โครงการพัฒนาทาเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายเปนโครงการความรวมมือขนาดใหญ ระหวางประเทศไทยและสหภาพเมียนมาร โดยทั้งภาครัฐบาลและธุรกิจเอกชน ซึ่งเริ่มมาตั้งแตป พ.ศ.2551 โดยมีขอตกลงรวมกันในหลายรูปแบบ ทั้งความชวยเหลือ เพื่อการพัฒนาอยางเปน ทางการ (ODA) การรวมทุนระหวางรัฐตอรัฐผานนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle: SPV) เพื่อนำไปสูการลงทุนโดยตรงระหวางประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) อันเปน ยุทธศาสตรหลักขอหนึ่งของเมียนมารในการพัฒนาประเทศเกษตรกรรมไปสูประเทศอุตสาหกรรม จากการศึ ก ษายุ ท ธศาสตร ข องรั ฐ บาลสหภาพเมี ย นมาร ในการตอบรั บ ความช ว ยเหลื อ เพื่อการพัฒนาอยางเปนทางการและการลงทุนจากตางประเทศในกรณีโครงการทวาย พบวา มีการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตรในหลายชวงของโครงการจากสาเหตุหลายขอ ไดแก ปจจัยภายในของ พมาเองที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองหลังการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อป พ.ศ.2553 ทำใหมีการแกไข กฎหมายตางๆ เพื่อใหสอดรับกับรัฐธรรมนูญใหม และเตรียมพรอมสำหรับการเปดประเทศใหมาก ยิ่งขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงสูระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะกฎหมายการลงทุนตางชาติ (Foreign Investment Law) ฉบับใหม เมื่อป พ.ศ.2555 ทำใหนักลงทุนจากทั่วทุกมุมโลกใหความสนใจ สหภาพเมี ย นมาร ใ นฐานะเป น แหล ง ลงทุ น แห ง ใหม ที่ มี ศั ก ยภาพสู ง ซึ่ ง คาดว า จะกระตุ น มู ล ค า การลงทุนโดยตรงจากตางประเทศของสหภาพเมียนมารใหเพิม่ ขึน้ มาก มีการตกลงรวมมือของรัฐบาล สหภาพเมียนมาร และรัฐบาลประเทศตางๆ เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาโครงสรางพื้นฐานและ การลงทุนขนาดใหญตางๆ ในหลายพื้นที่ของสหภาพเมียนมาร

vii


นอกจากนั้น ยุทธศาสตรดังกลาวยังเปลี่ยนแปลงไปเนื่องมาจากความลาชาของโครงการ จากเรื่องเงินทุน และความขัดแยงในพื้นที่ ที่ทำใหทั้งรัฐบาลไทยและสหภาพเมียนมาร และบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนต ผูไดรับสิทธิ์สัมปทานโครงการ ตองปรับเปลี่ยนแผน เพื่อใหมีนักลงทุน จากตางชาติเขามารวมทุน จากการศึกษา ในดานผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการกอสรางทาเรือน้ำลึกทวาย ตอชุมชนซึ่งเกิดในเวลาอันรวดเร็วเพียงไมกี่ปที่ผานมา พบวาไดกอใหเกิดผลกระทบทั้งทางดาน เศรษฐกิจระดับชุมชน ครัวเรือน และปจเจกอยางกวางขวาง อันเนื่องมาจากการสูญเสียพื้นที่ทำกิน ธุรกิจทองถิ่นขาดวัตถุดิบ และตองปดกิจการ ทางโครงการยังขาดการใหขอมูลขาวสาร ขาดขั้นตอน ในการรับฟงความคิดเห็น การมีสวนรวมจากชุมชน ประชาชนในพื้นที่ การทำการศึกษาผลกระทบ ดานสิ่งแวดลอม สุขภาพอนามัย และสังคมยังไมโปรงใสและชัดเจน การเปลี่ยนแปลงดังกลาว ทำใหวถิ ชี วี ติ ของชาวทวายหลายหมืน่ คนเปลีย่ นแปลงไป และความขัดแยงของคนในพื้นที่กับภาครัฐ และเอกชนอันเกิดจากโครงการดังกลาวยังมีอยางตอเนื่อง ทั้งในเรื่องที่ดินอยูอาศัย ที่ทำกิน อาชีพ และสั ง คมวั ฒ นธรรม อั น มาจากการให โ ยกย า ยออกจากพื้ น ที่ โ ครงการ ที่ ค รอบคลุ ม ชุ ม ชนที่ มี ประวัติศาสตรอันยาวนานหลายรอยป โครงการนี้ยังไดกอใหเกิดการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม ในรูปแบบของการเคลื่อนไหว ขามพรมแดน จากกลุมนักเคลื่อนไหว นักวิชาการของไทย เพื่อแลกเปลี่ยนขอมูลกับนักเคลื่อนไหว ในพื้นที่ทวายและในประเทศเมียนมาร และดำเนินการขับเคลื่อนความรวมมือระหวางประเทศของ ภาคประชาชน เพือ่ เรียกรองการพัฒนาทีโ่ ปรงใส เปนธรรม เคารพสิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชนของ ประชาชนในพื้นที่ จากทั้งภาครัฐและเอกชนของทั้งสองประเทศที่เปนหุนสวนสำคัญของโครงการนี้ อันเปนขั้นตอนหนึ่งในการพัฒนาประชาธิปไตยของภาคประชาชนสหภาพเมียนมารที่เพิ่งเริ่มมา ไมนาน

viii


Abstract Conceived of in the year 2008, the Dawei Deep Sea Port Development and Dawei Industrial Estate project is a large-scale collaborative effort attempted by both Thailand’s and Myanmar’s government and private sectors through various forms of agreement: Official Development Assistance (ODA) and joint venture between the two states through Special Purpose Vehicle (SPV). The project is an investment in infrastructure aiming at inducing more foreign direct investment (FDI), one of the key strategies adopted by Myanmar in order to transform its agriculture-based society to become more industrialized society. This study focuses on Myanmar government’s strategies to encourage foreign assistance and investment for development in the case of Dawei mega project. It reveals the changing strategies over different phases of the project due to several factors, namely the internal political development after the general election in 2010, which in turn led to the amending of laws, especially the new foreign Investment Law 2012 to be compatible with the new constitution and the preparedness for the open-door policy after democratization. These strategies, in deed, have drawn much attention among investors from different parts of the world, which saw Myanmar as the new frontier with high potentials for development. They were expected to further stimulate an increased value of foreign direct investment as well as generating more cooperation between Myanmar and other governments in developing infrastructural facilities and other projects in the country. In addition, the strategies had to be modified as the project was delayed due to the lack of capital as well as the conflicts within the project site. This in turn led the governments of both countries and Italian-Thai Development Public Company, Ltd. (ITD), which was given concession to implement the project, to reconsider their plan in order to allow other foreign investors to share investment. ix


The study shows that the Deep Sea Port project, which was implemented during the last few years, had caused huge socio-economic impacts on local communities, households and individuals. Many villagers lost their agricultural land; local business had no raw material, thus was forced to close down. The project did not provide necessary information about the project to the local people. It did not organize proper public hearing process nor allow people participation. The environmental, social and health impact assessments lacked transparency and clarity. The livelihoods of several thousand Dawei people had changed while conflicts between local people, on the one hand and the government and the company, on the other hand, as a result of the project prevailed. The conflicts also came from the relocation of the people from the project area where communities with rich history which spans several centuries had been relocated to new sites. The project also has motivated a rising cross-border movement of civil society which included groups of activists and academics from Thailand who exchanged information with local activists and Dawei villagers as well as activists in Myanmar. This cross-border social movement demanded development project undertaken by both the public and private sectors to be transparent, fair, and respect human rights and community rights of the local people. This is a crucial step in the democratic development in Myanmar that just started recently.

x


สารบัญ คำนำ

iii

กิตติกรรมประกาศ

v

บทคัดยอ

vii

Abstract

ix

บทนำ • ปญหาการวิจัย • วัตถุประสงคการทำวิจัย • ระเบียบวิธีวิจัย • ขอบเขตของการวิจัย • กรอบในการวิจัย (Conceptual Framework) • นิยามศัพท

1 1 3 3 3 4 4

แนวคิดทฤษฎีและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวของ • แนวคิดทฤษฎีที่ใชในการศึกษา - แนวคิดผลประโยชนแหงชาติ (National Interests) - แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการโลกาภิวัตน (Globalization) - ทฤษฎี Spatial Fix และโลกาภิวัตน - แนวคิดเรื่องรัฐตลาด (State as Market) - ทฤษฎีการลงทุนโดยตรงระหวางประเทศ (Foreign Direct Investment) - แนวคิดความชวยเหลือระหวางประเทศ - แนวคิดเรื่องขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม • งานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวของ xi

5 5 5 7 10 11 13 15 17 20


ขอมูลทัว่ ไปเมืองทวายและโครงการพัฒนาทาเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย • ขอมูลและประวัติศาสตรเมืองทวายโดยสังเขป • ความเปนมาของโครงการพัฒนาทาเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย • ความชวยเหลือเพื่อการพัฒนาอยางเปนทางการจากประเทศไทย ในโครงการพัฒนาทาเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย • การรวมทุนระหวางรัฐตอรัฐผานนิติบุคคลเฉพาะกิจ • การลงทุนโดยตรงระหวางประเทศ

30 30 33 36 39 40

ผลกระทบดานเศรษฐกิจ สิง่ แวดลอม และสังคม จากโครงการพัฒนาทาเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรมทวาย • ผลกระทบดานเศรษฐกิจ • ผลกระทบดานสิ่งแวดลอม • ผลกระทบทางดานสังคม

43 43 46 50

การเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมทวาย • ประชาสังคมในทวาย • องคประกอบภาคประชาสังคมทวาย • ประชาสังคมขามพรมแดนจากประเทศไทย • การตอรองระหวางประชาสังคมทวายตอโครงการ กรณีโรงไฟฟาถานหินที่ทวาย

53 53 56 58 60

บทสรุปและขอเสนอแนะ • ยุทธศาสตรของรัฐบาลสหภาพเมียนมารในการพัฒนาโครงการทาเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรมทวาย • ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดลอม และสังคมของการกอสราง ทาเรือน้ำลึกทวายตอชุมชน • การพัฒนาประชาธิปไตยของภาคประชาสังคมในพื้นที่กอสรางทาเรือน้ำลึกทวาย อันเกิดจากโครงการ • ขอเสนอแนะ

63

เอกสารอางอิง

69

ภาคผนวก

73 xii

63 66 67 68


สารบัญตาราง ตารางที่ 1 การใหความชวยเหลือของรัฐบาลไทยตอสหภาพเมียนมาร ตารางที่ 2 โครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดลอมของโครงการทวาย ตารางที่ 3 ผลกระทบโดยประมาณการในโครงการทาเรือน้ำลึกทวาย

37 47 49

สารบัญภาพ ภาพที่ 1 ภาพที่ 2 ภาพที่ 3 ภาพที่ 4 ภาพที่ 5 ภาพที่ 6

แผนผังโครงการทาเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรม แผนที่เขตวัฒนธรรมของเมืองเกาทาการาในทวาย ชาวบานที่เดือดรอนจากการกอสรางถนนของโครงการทวาย สภาพถนนเชื่อมจากกาญจนบุรีสูทวาย ทางไปหมูบานโกโลนทา ภาพรณรงคไมเอาโรงไฟฟาถานหิน ชาวบานกาโลนทาปลอยโคมลอยตอตานเขื่อน

xiii

27 31 44 50 60 61



บทนํา ป ญหาการวิจัย บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนต เปนผูรับเหมากอสรางรายใหญของไทยไดรับสัมปทาน พัฒนาพื้นที่ทวาย ขนาด 250 ตารางกิโลเมตร หรือกวา 2 แสนไร จากรัฐบาลสหภาพเมียนมาร เปนเวลา 75 ป เพื่อพัฒนาพื้นที่เปนนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญของโลก ดวยขนาดเงินลงทุน ในระยะแรกกวา 2 แสน 4 หมื่นลานบาท ในระยะเวลา 4 ป 6 เดือนนับจากป พ.ศ.2555 นิคมอุตสาหกรรมทวาย ที่รัฐบาลสหภาพเมียนมารประกาศใหเปนเขตอุตสาหกรรมพิเศษ มีขนาดใหญกวานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 10 เทา มีทาเรือน้ำลึกที่ใหญที่สุดในโลก รองรับสินคา คอนเทนเนอรปละ 20 ลานตัน หรือ 2 เทาของทาเรือแหลมฉบัง และในระยะตอไปจะพัฒนา ใหรองรับไดถึงปละ 100 ลานตัน มีโครงการกอสรางโรงไฟฟาถานหินขนาด 4,000 เมกะวัตต มูลคาประมาณ 1 หมื่นลานดอลลาร ซึ่งจะสงมาจำหนายในไทย 3,600 เมกะวัตต ที่เหลือใช ในประเทศสหภาพเมียนมาร1 1

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20120125/432046/ Accessed 14 September, 2013 1


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

เปาหมายที่ชัดเจนของรัฐบาลสหภาพเมียนมารคือปนให “ทวาย” เปนสิ่งดึงดูดนักลงทุน ประตูทุกบานจึงเปดรับการพัฒนาโครงสรางพื้นฐาน เพื่อรองรับนักลงทุนจากทุกมุมโลกที่จะรองรับ การเติบโตในอนาคต เมืองหลวงใหมของสหภาพเมียนมาร กรุงเนยปดอว มีการกอสรางโรงแรม ตางๆ ทั้งขนาดเล็กและใหญถึง 106 แหง ที่จะรับนักลงทุนและนักทองเที่ยวไมจำกัดสัญชาติทั่วโลก ในอนาคตอันใกล เมียนมารจะเปนคูแขงทางการคา การลงทุน และการทองเที่ยวของประเทศไทย อยางที่หลีกเลี่ยงไมได ในขณะที่ประเทศไทยอนาคตจะคอยๆ ลดบทบาทดานการผลิตลงดวยขอจำกัดทางดาน ภูมิศาสตร ขอจำกัดทางดานขอกฎหมายที่ไมเอื้ออำนวย ขอจำกัดทางการเมือง ขอจำกัดทางดาน สิ่งแวดลอม และขอจำกัดทางดานอุทกภัย ที่จะเปนประเด็นกระตุนใหนักลงทุนทั้งคนไทยและ ต า งประเทศกลั บ มาทบทวน กลั บ มาคิ ด ถึ ง การย า ยฐานการผลิ ต เชื่ อ ว า “ทวาย” จะเป น นิคมอุตสาหกรรมแหงความหวังใหม อยางไรก็ตามหลังจากโครงการไดเริม่ โครงการไประยะหนึง่ ไดเกิดปญหาในการดำเนินงานขึน้ ทั้ ง เรื่ อ งงบประมาณซึ่ ง เป น เม็ ด เงิ น มหาศาล ความขั ด แย ง ในพื้ น ที่ อั น เนื่ อ งมาจากการที่ รั ฐ บาล สหภาพเมียนมารและบริษัทอิตาเลียนไทย ไมสามารถตกลงกับประชาชนในพื้นที่ได ทำใหตองมี การปรับแผนการทำงาน รูปแบบการดำเนินงาน ความขัดแยงในปจจุบนั ไดกระจายตัว และมีแนวโนมวาอาจเกิดความรุนแรงเนือ่ งจากการไดรบั ขอมูลขาวสารนอยเกินไป และยังไมโปรงใสชัดเจนเพียงพอ และทำใหเกิดความขัดแยงในชุมชน อันเกิดจากความเห็นที่แตกตางในชุมชน การเขาไปของโครงการพัฒนาขนาดใหญ ไดสง ผลกระทบตอประชาชนในพืน้ ทีอ่ ยางหลีกเลีย่ ง ไมได และกอใหเกิดการรวมตัวของภาคประชาสังคมอยางเปนรูปธรรมในเมืองทวาย เพื่อติดตาม การดำเนินงานของโครงการ และนำมาตอรองแกปญหาที่เกิดขึ้นกับชุมชน การศึกษาเกีย่ วกับการจัดการของภาครัฐและเอกชนเมียนมารตอ การเขามาใหความชวยเหลือ เพื่อการพัฒนาทาเรือน้ำลึกทวาย เพื่อรองรับการลงทุนจากบรรษัทขามชาติตางประเทศ โดยมี ประเทศไทยเปนประเทศหลักจึงเปนสิ่งที่ผูวิจัยประสงคจะทำการศึกษาเพื่อหาวารัฐบาลสหภาพ เมียนมารมียุทธศาสตรใดในการรวมมือเพื่อพัฒนาพื้นที่ของประเทศ โดยเนนที่โครงการทาเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรมทวาย และศึกษาถึงผลกระทบจากการเขามาของทุนตางชาติและการตอบสนอง ทั้ ง ในทางบวกและลบของประชาชนในพื้ น ที่ การร ว มมื อ ของภาคประชาสั ง คมข า มพรมแดน จากประเทศไทยและนานาชาติ เพื่อตอรองกับทุนขามชาติที่กำลังแผขยายอยางรวดเร็วในสหภาพ เมียนมาร

2


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

วัตถุประสงค การทำวิจัย 1. เพื่ อ ศึ ก ษายุ ท ธศาสตร ข องรั ฐ บาลสหภาพเมี ย นมาร ใ นการร ว มมื อ กั บ ประเทศไทย ในการพัฒนาโครงการทาเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย 2. เพื่ อ ทราบผลกระทบทางเศรษฐกิ จ และสั ง คมจากการก อ สร า งท า เรื อ น้ ำ ลึ ก ทวาย ที่มีตอชุมชนและการเตรียมพรอมตอการไดรับผลกระทบดังกลาว 3. เพื่ อ ศึ ก ษาการพั ฒ นาประชาธิ ป ไตยของภาคประชาสั ง คมในพื้ น ที่ ก อ สร า งท า เรื อ น้ำลึกทวาย และความรวมมือกับเครือขายประชาสังคมขามพรมแดนจากประเทศไทย

ระเบียบวิธีวิจัย เปนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดวยการเก็บรวบรวมขอมูล เอกสาร ที่เกี่ยวของ (Documentary Research) และการเก็บขอมูลภาคสนาม การเก็บขอมูลภาคสนาม เปนการสัมภาษณเชิงลึก (In-depth Interview) ทั้งในประเทศไทย และในประเทศสหภาพเมียนมาร โดยการสัมภาษณผูใหขอมูลหลัก (Key informant) ในกลุมตางๆ อยางไรก็ตามเนื่องจากในพื้นที่โครงการยังมีความขัดแยงเกิดขึ้น จึงไมขอเปดเผยชื่อจริง ของผูใหขอมูลบางทานเพื่อความปลอดภัย นอกจากนั้นไดมีการสังเกตการณแบบไมมีสวนรวม ในการสัมมนาทางวิชาการที่จัดขึ้น ในประเทศไทย การไปสังเกตการณการประชุมระหวางเจาหนาที่รัฐและประชาชนในเมืองทวาย ประเทศสหภาพเมียนมาร เพื่อใหไดถึงขอมูลเรื่องวิธีการที่รัฐบาลสหภาพเมียนมารและประชาชน ตอรองและตกลงกัน มีการสนทนากลุม (Focus Group) กับกลุมชาวบานที่ไดรับผลกระทบโดยตรง จากการใหโยกยายของทางโครงการทีห่ มูบ า นโกโลนทา ซึง่ เปนพืน้ ทีส่ รางเขือ่ นกักเก็บน้ำของโครงการ เพื่อใหไดขอมูลที่ชัดเจนและกวางขวางยิ่งขึ้น

ขอบเขตของการวิจัย งานวิจัยนี้จะศึกษาถึงยุทธศาสตรของรัฐบาลสหภาพเมียนมารในการรวมมือกับประเทศไทย เพื่อการพัฒนาทาเรือน้ำลึกทวาย ทาทีของภาคประชาสังคมจากประเทศไทย และสหภาพเมียนมาร หลังจากรัฐบาลตอบรับการใหความชวยเหลือ/ลงทุนจากตางประเทศดังกลาว และเพื่อศึกษา การพัฒนาประชาธิปไตยของภาคประชาสังคมในพื้นที่ อันเกิดจากโครงการพัฒนาเชิงอุตสาหกรรม จากตางประเทศดังกลาว 3


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

กรอบในการวิจัย (Conceptual Framework)

-

ยุทธศาสตรในการพัฒนาเศรษฐกิจ ของรัฐบาลสหภาพเมียนมาร Democratization ในพมาหลังการเลือกตั้ง ทั่วไปครั้งลาสุด ความสมบูรณของทรัพยากรธรรมชาติ การเปนตลาดใหม การเตรียมความพรอมในการเปนประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนในป 2015 ผูนำพมาตองการเรงพัฒนาเศรษฐกิจ การแขงขันทางการเมืองระหวางประเทศ ในภูมิภาค

การดำเนินโครงการสรางทาเรือน้ำลึกทวาย - การสรางและปรับปรุงสาธารณูปโภคตางๆ - การลงทุนภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและการเกษตร - การพัฒนาทรัพยากรมนุษย ฯลฯ บทบาทของภาคประชาสังคมในพื้นที่ 1. ดานสังคม-ความสัมพันธกอน/หลังการพัฒนา และเครือขายความสัมพันธของกลุมตางๆ 2. ดานวัฒนธรรม-ความเชื่อ มโนทัศน และอัตลักษณเดิม/ใหม วิถีชีวิต 3. ดานเศรษฐกิจ-การปรับตัวของธุรกิจทองถิน่ วิถกี ารผลิตเดิม และการเปลีย่ นแปลงวิธกี ารดำรงชีพ ตลอดจนการเพิ่มทักษะของแรงงานทองถิ่น

นิยามศัพท โครงการทวาย ในการศึกษานีห้ มายถึงโครงการพัฒนาทาเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย และโครงการที่เกี่ยวของอันรวมถึงการสรางเขื่อนกักเก็บน้ำ และโครงการโรงไฟฟา การสรางถนน ที่รวมอยูในแผนงานใหญดวย ประชาสังคมขามพรมแดน หมายถึงการรวมตัวขององคกรและประชาชน ทั้งในพื้นที่ทวาย ซึ่ ง เป น พื้ น ที่ ด ำเนิ น งานของโครงการ และจากประเทศไทยที่ มี ก ารให ค วามร ว มมื อ สนั บ สนุ น การดำเนินการภาคประชาชนในพื้นที่ทวาย

4


แนวคิดทฤษฎีและทบทวนวรรณกรรม ที่เกี่ยวข อง แนวคิดทฤษฎีที่ใช ในการศึกษา แนวคิดผลประโยชนแหงชาติ (National Interests)

ผลประโยชน หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่นำไปสูความอยูดีมีสุข นอกจากผลประโยชนจะเกิดขึ้น กับปจเจกบุคคลแลว ผลประโยชนยังสามารถเกิดขึ้นกับรัฐในระบบความสัมพันธระหวางประเทศ Hans J. Morgenthau (ทิพพะวงศ วงศโพสี, 2552: 15-16 อางใน สุพิชฌาย ปญญา, 2555) ไดให คำนิยามของผลประโยชนแหงชาติวาหมายถึง “การที่รัฐหนึ่งดำเนินนโยบายใดๆ โดยวัตถุประสงค ที่จะปกปองอธิปไตย ระบบการเมือง เศรษฐกิจ ศาสนา ภาษา เชื้อชาติของตนไว จากการรุกราน ของชาติอื่นๆ รัฐตางๆ อาจดำเนินนโยบายความรวมมือกัน แขงขันกัน ถวงดุลหรือเปนพันธมิตร โดยการชวยเหลือซึง่ กันและกัน เพือ่ ใหบรรลุจดุ มุง หมาย โดยมองวารัฐจะดำเนินนโยบายตางประเทศ บนรากฐานของผลประโยชนแหงชาติ และแตละรัฐจะกระทำทุกประการเพือ่ รักษาผลประโยชนของตน ซึ่งผลประโยชนนั้นเปนตัวกำหนดการกระทำของรัฐที่ทำใหรัฐมีอำนาจ และอำนาจนั่นเองที่จะทำให 5


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

สามารถควบคุมรัฐอื่นๆ ได” โดย Morgenthau ไดกลาวถึงปจจัยที่ทำใหรัฐมีอำนาจเหนือกวารัฐอื่น ไมวา จะเปนปจจัยทางภูมศิ าสตร ทรัพยากรธรรมชาติ สมรรถนะทางดานอุตสาหกรรม แสนยานุภาพ ของกองกำลังทหาร ประชากร ลักษณะของชาติ ขวัญกำลังใจของชาติ ความสามารถทางการทูต และความสามารถของรัฐบาล (Hans J. Morgenthau, 2006: 111-173 อางใน สุพิชฌาย ปญญา, 2555)

ประเภทของผลประโยชนแหงชาติ (National Interests)

ไดมีนักวิชาการหลายทานที่ไดแบงปจจัยของผลประโยชนแหงชาติที่แตกตางกัน ซึ่งสามารถ จำแนกได ดังตอไปนี้ Chales O. Learche และ Abdul A. Said (1972: 62-68) ไดกลาวถึงปจจัย ของผลประโยชนแหงชาติวามี 6 ประการ คือ 1. การดำรงอยูข องชาติ หมายถึง การดำรงรักษาปจจัยความเปนชาติ ไดแก รัฐบาล ดินแดน ประชาชนและอำนาจอธิปไตย ปจจัยนี้ถือวาเปนวัตถุประสงคสำคัญของผลประโยชนแหงชาติ 2. ความมั่นคงปลอดภัย หมายถึง การที่รัฐจะดำเนินความสัมพันธกับรัฐอื่นๆ เพื่อใหรัฐของ ตนเองดำรงอยูไดตอไป โดยแตละรัฐมีเปาหมายของความมั่นคงปลอดภัยดวยการปองกันและ ลดภัยคุกคามที่มีตอรัฐตน ปจจัยนี้ถือวามีความสำคัญเชนกัน 3. การแสวงหาการกินดีอยูดี หมายถึง การที่รัฐจะดำเนินการเพื่อการพัฒนาความเปนอยู ของประชาชนในรัฐใหมีความเปนอยูที่ดี สามารถวัดไดจากเศรษฐกิจของประเทศ เชน อัตราการ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 4. การเสริมสรางเกียรติภมู ิ หมายถึง การทีร่ ฐั หนึง่ จะแสดงออกดวยการกระทำตางๆ เพือ่ ใหรฐั ไดรับการยอมรับจากรัฐอื่นๆ 5. การเผยแพรอุดมการณของชาติ หมายถึง การที่รัฐมีอุดมการณของตนเองและตองการ เผยแพรอุดมการณของตนเองใหแกรัฐอื่นๆ และพยายามปกปองมิใหอุดมการณถูกครอบงำโดยรัฐ อื่นๆ 6. การแสวงหาอำนาจของรัฐ อำนาจคือขีดความสามารถของรัฐทีจ่ ะสามารถทำตามเจตนารมณ ของตนเองได ซึ่งอำนาจที่ทุกรัฐตองมีอยางนอยที่สุด คือ อำนาจอธิปไตยของชาติและความอยูรอด ของชาติ ศิโรตม ภาคสุวรรณ (2521: 113-117) ไดแบงประเภทของผลประโยชนแหงชาติ ออกเปน 4 ประเภท คือ 1. ความปลอดภัยของชาติ คือ การรักษาความมั่นคงของชาติและเอกราชของชาติ 2. ความเจริ ญ ของชาติ คื อ การปกป อ งดู แ ลผลประโยชน ท างเศรษฐกิ จ รวมถึ ง ดู แ ล ผลประโยชนทางเศรษฐกิจอีกดวย 6


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

3. การขยายอำนาจของชาติ ไมเพียงแตทำใหไดมาซึ่งความปลอดภัยโดยไมมีใครมารุกราน เทานั้น แตยังทำใหไดมาซึ่งผลประโยชนทางเศรษฐกิจอีกดวย 4. เกียรติของชาติ คือ ชื่อเสียงและภาพลักษณของประเทศตางๆ ตอสายตาประชาคมโลก Glenn P. Hastedt และ Key M. Mnickrehm (ทิพพะวงศ วงโพสี, 2552: 17) ไดจัด ประเภทของผลประโยชนแหงชาติตามลำดับความสำคัญและตามชวงระยะเวลาดังนี้ ผลประโยชนระยะสั้นหรือผลประโยชนหลัก (Short-term or Core Goals) เปน ผลประโยชนที่มีความสำคัญตอรัฐ เชน ความปลอดภัยของรัฐ ความมั่นคงของรัฐ ความเจริญรุงเรือง ทางเศรษฐกิจ เพื่อบูรณภาพและความเปนปกแผน ผลประโยชนระยะกลาง (Middle-term Goals) ไดแก ความพยายามที่จะปรับปรุง คุณภาพชีวิตและสภาพเศรษฐกิจของประเทศ โดยแสวงหาความชวยเหลือจากตางประเทศ แสวงหา ทรัพยากรธรรมชาติและทำการตกลงทางการคากับรัฐอื่นๆ อีกทั้งการเพิ่มพูนเกียรติภูมิของประเทศ ผานการใชวิธีทางการทูต การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและวัฒนธรรมกับรัฐอื่นๆ หรือแมกระทั่ง แสดงศั ก ยภาพให รั ฐ อื่ น ๆ ได เ ห็ น เช น ศั ก ยภาพทางด า นการทหาร การแผ ข ยายอุ ด มการณ และอิทธิพล การพยายามเขาครอบครองตลาดตางประเทศ เปนตน ผลประโยชนระยะยาว (Long-term Goals) ผลประโยชนระยะยาวจะเปนวิสัยทัศน หรือผลประโยชนเชิงอุดมคติของรัฐนั้นๆ เชน วิสัยทัศนของผูนำ ในขณะที่ผลประโยชนระยะสั้น และระยะกลาง จะเปนผลประโยชนที่อยูบนฐานของนโยบายและสถานการณตางๆ

แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการโลกาภิวัตน (Globalization)

เมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลง ชัยชนะของอุดมการณโลกเสรีไดทำใหสหรัฐอเมริกากลายเปน มหาอำนาจหนึ่งเดียวในระบบการเมืองระหวางประเทศ นอกจากนี้ยังกอใหเกิดการแผขยายอิทธิพล ของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมไปยังประเทศตางๆ ไมเวนแมกระทั่งประเทศที่ปกครองดวยระบบ คอมมิ ว นิ ส ต ผนวกกั บ การเกิ ด ขึ้ น ของกระบวนการโลกาภิ วั ต น ที่ ก อ ให เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลง ตอเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในระดับโลก โดยมีระบบทุนนิยมขับเคลื่อนอยูเบื้องหลัง จึงทำให เกิดการเชื่อมโยงใหโลกมีความเปนอันหนึ่งอันเดียวกันผานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ดังนั้นจึงมีนักวิชาการบางทานอยาง Francis Fukuyama ไดประกาศวา “เปนยุคสิ้นสุดของ ประวัติศาสตร (The End of History)” อยางไรก็ตาม กระบวนการโลกาภิวัตนไดสงผลกระทบ อยางยิง่ ตอบทบาทของรัฐ-ชาติ ซึง่ ไดมนี กั วิชาการไดใหนยิ ามความหมายของคำวากระแสโลกาภิวตั น อยางหลากหลาย อาทิ

7


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

ชัยอนันต สมุทวณิช (2538: 5-6 อางใน สุพิชฌาย ปญญา, 2555) ไดสรุปความหมายของ กระบวนการโลกาภิวัตนวาเปนกระแสของการเปลี่ยนแปลงที่นำมาอธิบายรัฐและสังคม โดยทำให โลกมีลักษณะสากลมากยิ่งขึ้นผานคานิยมของชาติตะวันตก อุดมการณทางการเมืองแบบเสรีนิยม ประชาธิปไตย กอใหเกิดกระแสความรวมมือเหนือรัฐมากขึ้น เพราะกระบวนการโลกาภิวัตนไดเปด ใหโลกกวางขึ้นเพราะการไหลอยางเสรีของขอมูลขาวสารที่ทั่วถึงทุกมุมโลก และการขนสง สื่อสาร คมนาคม ที่มีตนทุนลดนอยลง ทำใหผูคนตางภาษาและตางวัฒนธรรมสามารถมีการแลกเปลี่ยน ไปมาหาสูไดโดยสะดวกยิ่งขึ้น ยุคสมัยของโลกาภิวัตน ผลของกระบวนการโลกาภิวัตนไดทำให บทบาทของรัฐ-ชาติลดนอยลง และมีโอกาสที่จะเปนกระบวนการที่ขามรัฐอีกดวย อยางไรก็ตามกระบวนการโลกาภิวัตนนั้นมิไดกอใหเกิดการเปลี่ยนแปลงในมิติใดมิติหนึ่ง เทานั้น อนุสรณ ลิ่มมณี (2542: 129-142 อางใน สุพิชฌาย ปญญา, 2555) ไดกลาวถึงกระบวนการ โลกาภิวัตนกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองระดับโลก โดยอนุสรณอธิบาย วาความสัมพันธระดับโลกยุคปจจุบันกอตัวขึ้นจากการขยายตัวของความสัมพันธดานการผลิตและ การแลกเปลี่ยนสินคา ทั้งดานวัฒนธรรมและการสื่อสาร รวมทั้งดานการเมืองที่ครอบคลุมไปทั่วโลก ความสัมพันธดังกลาวมิไดเกิดขึ้นระหวางรัฐกับรัฐอีกตอไป แตจะเปนความสัมพันธของสังคมโลก ซึ่งเห็นไดจากการขยายตัวของเครือขายความสัมพันธระหวางรัฐ สังคม และปจเจกชนในสวนตางๆ โดยเฉพาะอยางยิ่งนับตั้งแตโลกเริ่มพัฒนาไปสูความทันสมัย แตลักษณะการเติบโตของเครือขาย ความสัมพันธโลกเริ่มพัฒนาไปสูความทันสมัยและเกิดขึ้นอยางรวดเร็วและกวางขวาง ซึ่งกอใหเกิด ผลกระทบในช ว งระยะเวลาสั้ น ๆ โลกในยุ ค โลกาภิ วั ต น ก็ เ ปรี ย บเสมื อ นกั บ โลกที่ ไร พ รมแดน การเติบโตอยางรวดเร็วของเครือขายความสัมพันธขามพรมแดนดังกลาว เกิดขึ้นไดดวยผลจากการ ปฏิวตั ดิ า นเทคโนโลยีการสือ่ สาร และการคมนาคมทีไ่ ดรบั การพัฒนาขึน้ มาอยางรวดเร็วและกวางขวาง ไดทำใหระยะทางมิใชอปุ สรรคอีกตอไป ดังนัน้ โลกจึงเผชิญกับการเปลีย่ นแปลงในแตละมิติ ไมวา จะเปน เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และอื่นๆ ซึ่งอนุสรณไดอธิบายแตละมิติ ดังตอไปนี้ มิติทางเศรษฐกิจ การปรากฏอยางชัดเจนในดานการขยายตัวและการเปลี่ยนรูปแบบของ ความสัมพันธทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีทั้งในแงของการลงทุน การผลิต การเคลื่อนยายแรงงาน การคาและการเงินระหวางประเทศ เพราะเทคโนโลยีสมัยใหมไดทำใหการควบคุม การสั่งการ และการดำเนินการในการผลิตเปนไปไดอยางรวดเร็ว นอกจากนี้แลว ยังกอใหเกิดการลงทุนระหวาง ประเทศจากประเทศหนึง่ ไปสูป ระเทศหนึง่ เพราะบางประเทศนัน้ มีทรัพยากรธรรมชาติทอี่ ดุ มสมบูรณ และมีแรงงานราคาถูก นอกจากนี้ กิจการในภาคบริการก็ไดรับความนิยมและเติบโตขึ้นอยางรวดเร็ว ในดานการลงทุนและการเงินผานการสือ่ สารทีส่ ะดวก รวดเร็ว และราคาถูก ไดชว ยใหการเคลือ่ นยาย ปจจัยการผลิตระหวางประเทศกลายเปนกิจกรรมที่ไมตองใชเวลายาวนานอยางในอดีต

8


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

มิติทางการเมือง กระบวนการโลกาภิวัตนในดานการเมืองจะแสดงออกมาในรูปแบบของการ เติบโตอยางรวดเร็วของกระบวนการประชาธิปไตย อาทิ การขยายบทบาททางการเมืองของประชาชน การเรียกรองสิทธิเสรีภาพในดานตางๆ การเกิดขบวนการกลุมสังคมอยางมากมายทั้งในระดับ ประเทศและระหวางประเทศ การเปลีย่ นแปลงนีเ้ กิดขึน้ ไดเพราะการรับสงขาวสารทางดานวัฒนธรรม และการเมืองสามารถสะพัดจากทีห่ นึง่ ไปยังอีกทีห่ นึง่ ไดอยางรวดเร็ว จึงทำใหการเรียนรู ความรวมมือ และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในดานวัฒนธรรมและการเมือง ระหวางประชาชนตางสังคม ไมใชเรื่องยากอีกตอไป มิติทางสังคม กระบวนการโลกาภิวัตนไดทำใหสังคมเปลี่ยนแปลงไปผานการรับรูขาวสาร ดังนั้นจึงกอใหเกิดสังคมที่มีทั้งลักษณะที่ผสมผสานและลักษณะตรงขาม นอกจากนี้ยังทำใหเกิด กิจกรรมทางสังคมที่ผูคนทั่วโลกเกี่ยวของกันขามพรมแดนของรัฐ ทั้งในรูปแบบของการแขงขันและ ความรวมมือมากยิ่งขึ้น นอกจากความรูสึกผสมผสานแลว ยังกอใหเกิดความรูสึกแตกตางผานการ เรียนรู อันกอใหเกิดการเรียกรองใหยอมรับลักษณะเฉพาะของแตละพื้นที่ อีกทั้งยังกระตุนใหผูคน มีความรูสึกอยูในชะตากรรมเดียวกันและมีผลประโยชนบางอยางรวมกัน รวมถึงกระตุนใหทองถิ่น มีความคิดเปนของตนเองและมีความเปนอิสระจากอำนาจรัฐมากยิ่งขึ้น มิ ติ ท างวั ฒ นธรรม กระบวนการโลกาภิ วั ต น ไ ด ท ำให ก ารแพร ก ระจายทางวั ฒ นธรรม ทั้งดานวัตถุและที่ไมใชวัตถุมีมาตรฐานเดียวกันและเปนอันหนึ่งอันเดียวกันไปทั่วโลก ดังเห็นไดจาก ความนิยมที่ดูเหมือนวาจะคลายคลึงกันไปทั่วทั้งโลก เชน อาหาร เครื่องดื่ม การแตงกาย เปนตน อยางไรก็ตาม บทบาทของรัฐ-ชาติภายใตกระแสโลกาภิวัตนไดรับการหยิบยกขึ้นมากลาวถึง ดังที่ Kenichi Ohmae (1995: 1-5 อางใน สุพชิ ฌาย ปญญา, 2555) ไดกลาวถึงบทบาทของรัฐ-ชาติ ในยุคไรพรมแดนวา “รัฐ-ชาติตองมองหาความชวยเหลือดานเศรษฐกิจ การเมือง ผานการเขารวม เปนภาคีกับองคกรตางๆ เชน องคการสหประชาชาติ เพราะภายใตระบบทุนนิยมนั้นไดสงใหมีการ พัฒนากลไกทีส่ ามารถขามพรมแดนของรัฐไดอยางหลากหลาย” ซึง่ Ohmae เรียกวาเปนปรากฏการณ 4I แตละ I สามารถอธิบายไดดังตอไปนี้ - Investment คือ การลงทุน เดิมทีการเคลื่อนยายทุนระหวางประเทศนั้นตองผาน รัฐบาลหรือหนวยงานของรัฐ แตปจจุบันเงินทุนสามารถเคลื่อนยายไดอยางเสรี รัฐแทบจะไมมี สวนเกี่ยวของแตอยางใด - Industry ระบบอุตสาหกรรมเปนสิ่งที่เกิดขึ้นมานานกวาศตวรรษ ในอดีตที่ผานมา ผลประโยชนมักจะตกอยูที่รัฐบาล เพราะทั้งรัฐบาลและบรรษัทตางมีขอตกลงที่จะนำเอาทรัพยากร และแรงงานแลกเปลี่ยนกับการเขาถึงตลาด แตปจจุบัน ยุทธวิธีของความรวมมือระหวางรัฐสมัยใหม ไดทำใหรูปแบบและเงื่อนไขเปลี่ยนแปลงไป ไดเกิดการยายฐานการผลิตไปยังประเทศตางๆ ผานการ เคลือ่ นยายเทคโนโลยี ความรูท างดานเทคนิคตางๆ และใชทรัพยากรจากประเทศทีเ่ ขาไปลงทุนอีกดวย 9


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

- Information Technology การลงทุนและระบบอุตสาหกรรมตองไดรับความสะดวก ยิ่ ง ขึ้ น ผ า นระบบเทคโนโลยี ข อ มู ล ข า วสารที่ ท ำให ทุ ก วั น นี้ แต ล ะบริ ษั ท สามารถดำเนิ น งานได ในทัว่ ทุกมุมโลก โดยไมตอ งสรางระบบธุรกิจทีค่ รอบคลุมแตอยางใด เพราะระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถตอบสนองความตองการของบริษัทไดมากที่สุดเทาที่จะเปนไปได - Individual Consumer ขอมูลการบริโภคของผูบริโภค ทั้งรสนิยม วิถีชีวิต ที่สามารถ เขาถึงไดทั่วทั้งโลกผานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศตางๆ ไดทำใหปจจุบันผูบริโภคไดหันมาสนใจ ราคาและคุณภาพของสินคา ไมวาจะมาจากที่ใดก็ตาม ปรากฏการณ 4I ไดทำใหวถิ กี ารผลิตแบบทุนนิยมระดับโลกมีความเปนไปไดยง่ิ ขึน้ มากไปกวานัน้ ยังไมตองพึ่งพารัฐบาลที่จะหาชองทางในการเขาถึงทรัพยากรจากที่อื่นๆ เพราะระบบเศรษฐกิจ ระดับโลกของ 4I นั้นไดทำใหบทบาทของรัฐ-ชาติภายใตระบบตลาดโลกลดนอยลงไป เพราะหาก มีปญหาเกิดขึ้น ระบบกลไกตลาดจะสามารถจัดการแกไขไดเอง โดยที่รัฐไมตองเขาไปแทรกแซง

ทฤษฎี Spatial Fix และโลกาภิวัตน

David Harvey (2001) ไดเห็นวาความหมายของคำวา Fix มีความหมายที่เปน 2 ลักษณะ ที่ขัดแยงกัน ในความหมายแรกมีความหมายถึง “การยึดแนน” “การทำใหแนน” ซึ่งระบบทุนนิยม สรางความยึดแนนของพื้นที่ดวยการจัดหาโครงสรางการคมนาคมและการสื่อสาร เชนเดียวกับ การสรางสิ่งแวดลอมในลักษณะของโรงงาน ถนน ที่อยูอาศัย แหลงน้ำ และโครงสรางพื้นฐานตางๆ เพือ่ เพิม่ อำนาจเหนือกวาในดานพืน้ ที่ ซึง่ ทำใหเกิดการเคลือ่ นยายทุนและแรงงาน เพือ่ สรางผลผลิตใหมๆ ใหเกิดขึ้น และเปนการขยายการเพิ่มผลผลิตและการบริโภคในระยะยาว และการลงทุนขนาดใหญ เพื่อทำใหกลายเปนเมือง เพื่อสรางสิ่งแวดลอมดานการลงทุน เชน การสรางถนนซุปเปอรไฮเวย สนามบิน ศูนยการคา โกดังเก็บสินคา เขาเรียกการลงทุนเชนนี้วาเปน Spatial Fix เพราะวาเปน การสรางสภาพการณระยะยาวเพื่อการผลิตและการบริโภค ในอีกความหมายหนึ่ง คำวา Fix หมายถึง “การแกปญหา” เดวิดเห็นวาในพื้นที่ที่มีทุนแตพบ ปญหาการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งเปนผลจากอุปสรรคขอจำกัดของสถาบันหรือปญหาทางการเมือง สามารถ “แกไข” ไดดวยการเคลื่อนยายแหลงทุนไปยังพื้นที่ทางภูมิศาสตรที่มีแรงงานราคาถูกหรือ ขาดแคลนการลงทุน และหรือมีการแขงขันดานตลาดต่ำ เชน นักลงทุนจากอเมริกาเหนือเขามา ลงทุนตลอดชายแดนเม็กซิโก ในอีกดานหนึ่งพื้นที่ที่มีการลงทุนสูงก็จะมีการดึงดูดแรงงานราคาถูก ใหอพยพเคลื่อนยายเขามา ทั้งอยางถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย เชน การอพยพของแรงงาน ชาวเม็กซิกันเขาไปยังสหรัฐอเมริกา Harvey เห็นวาโลกาภิวัตนยังไดทำใหเกิดทุนนิยมในรูปแบบการพัฒนา และสรางศูนยกลาง อำนาจในโลกกาวขามขอบเขตทางภูมิศาสตรที่เหนือขอบเขตของรัฐ ระบบทุนนิยมจึงตองกาวเหนือ 10


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

ขอบเขต “รัฐชาติ” ทีม่ กี ารกำหนดเขตแดนทางดานภูมศิ าสตร ไดแก การรวมตัวกันของกลุม ประเทศตางๆ เชน สหภาพยุโรป และเกิดองคกรปกครองระดับโลกขึ้น เชน องคการคาโลก (WTO) กองทุนการเงิน ระหวางประเทศ (IMF) และ G8 ซึ่งทุนนิยมในยุคโลกาภิวัตนนี้ เปนทุนนิยมที่ไรพรมแดนที่มีลักษณะ ดังนี้ 1. ระบบทุนนิยมไมสามารถอยูรอดได โดยปราศจากการขยายขอบเขตทางดานภูมิศาสตร 2. การขยายขอบเขตทางดานภูมิศาสตรตองสรางนวัตกรรมใหมๆ ทางดานการคมนาคม และเทคโนโลยีการสื่อสาร 3. การขยายขอบเขตทางภูมิศาสตรเพื่อหาแหลงตลาดใหมๆ แรงงานราคาถูก ทรัพยากร และโอกาสในการลงทุน

แนวคิดเรื่องรัฐตลาด (State as Market)

การศึกษาเกี่ยวกับรัฐในแตละยุคสมัยลวนมีความแตกตางกัน อยางไรก็ตามภายหลังจาก ที่กระแสโลกาภิวัตนไดมีอิทธิพลเปนอยางยิ่งตอระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคมระหวางประเทศ ไดนำไปสูก ารปรับเปลีย่ นบทบาทของรัฐทีแ่ ตเดิมมุง เนนในดานความมัน่ คง ไดกลายเปนรัฐทีต่ อ งพัฒนา ระบบเศรษฐกิจใหสอดคลองกับระบบทุนนิยมโดยแปรเปลี่ยนสภาวะกลายเปน “รัฐตลาด” กอนที่จะเกิดกระแสโลกาภิวัตนขึ้นในระบบโลกนี้ ไดมีนักวิชาการที่ไดกลาวถึงบทบาทของรัฐ ในชวงกอนการเปลี่ยนผานไปสูระบบตลาด อยางเชน James Martinussen (1997: 257-260) ซึ่งไดกลาวถึงบทบาทของรัฐในการแทรกแซงเศรษฐกิจภายในประเทศไว 5 ประเภท ดังนี้ 1. รัฐมีหนาที่กำหนดขั้นตอนการพิจารณาภาคเอกชนและมีสถาบันที่กำหนดเงื่อนไขสำหรับ กระบวนการผลิต การแลกเปลี่ยนสินคาและบริการ รวมถึงกำหนดกฎหมายตางๆ ที่เกี่ยวของ 2. รัฐมีหนาที่วางแผนและดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในระดับมหภาค 3. รัฐมีหนาที่ในการสรางการบริการสาธารณะ เชน การสรางถนน รถไฟ ไฟฟา เปนตน 4. รัฐมีหนาที่ในการควบคุมการปฏิบัติการของภาคเอกชน 5. รัฐมีสวนรวมโดยตรงตอการผลิตสินคาและบริการ

บทบาทของรัฐดังกลาว ไดรับการวิพากษจากนักวิชาการสำนักนีโอคลาสสิค อยางเชน สำนัก Keynesian ที่ไดวิพากษการแทรกแซงของรัฐวาแทจริงแลวบทบาทของรัฐดังกลาวก็มิไดสัมฤทธิ์ผล เสมอไป อาทิ บริการสาธารณะของรัฐบางครั้งก็มิไดมีประสิทธิภาพ บางครั้งภาคเอกชนตองเปนฝาย จัดหาโครงสรางพื้นฐานใหแกบริษัทของตนเอง เปนตน โดยนักวิชาการในสำนักนี้ไดเสนอแนะระบบ กลไกตลาดที่มีการแขงขันกันอยางเสรีในทุกประเทศ และการแทรกแซงของรัฐนั้นเปนตัวการที่ทำให การพัฒนาทางเศรษฐกิจหยุดชะงักลง อยางไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคไรพรมแดน 11


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

ประกอบกับระบบทุนนิยมเสรีที่มีอิทธิพลไปยังประเทศตางๆ จึงทำใหรัฐกลายเปน “รัฐตลาด” ดังที่กลาวขางตน โดยนักวิชาการอยาง ชัยอนันต สมุทวณิช (2544: 96-104) ไดกลาวถึงสภาวะ กระแสโลกาภิ วั ต น ที่ ต ลาดและกลไกตลาด เป น ตั ว ขั บ เคลื่ อ นการทำงานของระบบเศรษฐกิ จ แบบทุนนิยมเสรี อยางไรก็ตามกระบวนการโลกาภิวตั นนนั้ มีตวั แบบทีเ่ ปนแบบฉบับอเมริกนั อันไดรบั การผลักดันใหเกิดการยอมรับแบบฉบับดังกลาวในแตละมิติ ไมวาจะเปน มิติการเมือง มิติวัฒนธรรม มิติสังคม และมิติเศรษฐกิจ โดยอาศัยกลไกตลาดตามระบบทุนนิยมเสรีเปนตัวเรง มีผลใหปจจัย ดานการตลาด กลายเปนปจจัยสำคัญในการกำหนดกลยุทธและยุทธศาสตรในการพัฒนาของรัฐ ทำใหความหมายของ “รัฐประชาชาติ” ที่เคยถูกสรางใหเปนจินตนาการรวมกันของกลุมคนที่มี ความหลากหลายทางเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรม กลายเปน “รัฐตลาด” ที่การพัฒนาของรัฐเริ่มมี ความหมายเชนเดียวกับการพัฒนาธุรกิจ เนื่องจากเหตุผลดานการตลาดเริ่มทวีความสำคัญและ มีน้ำหนักมากกวาเหตุผลดานอื่นๆ หนาที่ของรัฐคือการตอบสนองความตองการอยางเรงดวนของ ลูกคามากที่สุดเทาที่จะเปนไปได ประกอบกับกระบวนการโลกาภิวัตนที่รัฐแตละรัฐตองกลายเปน คูแขงทางการคากับรัฐอื่นๆ อีกทั้งยังมีการกำหนดเปาหมายของรัฐใหมีขีดความสามารถทางการ แขงขันสูงสุดเทาที่จะทำไดในกิจกรรมตางๆ เพราะรัฐไดกลายเปนตลาดยอยที่โยงใยกับตลาดโลก ดังนั้นรัฐตองมีเปาหมายใหสินคาและบริการภายในรัฐนั้นๆ เปนที่นิยมของคนทั่วโลก จากหนาที่ ดังกลาวจึงทำใหรัฐตองปรับเปลี่ยนบทบาทของรัฐในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ไปพรอมกับการ วางแผนกลยุทธทางเศรษฐกิจเพื่อสรางความมั่งคั่ง นอกจากนี้ยังกอใหเกิดการเปลี่ยนแปลงความ สัมพันธระหวางรัฐกับประชาชนเพราะกระบวนการโลกาภิวัตนไดทำใหรัฐมีหนาที่ในการตอบสนอง ตอความตองการ และความปรารถนาของประชาชนตามฐานานุรูป รวมถึงยังกอใหเกิดความสัมพันธ ชุดใหมที่นอกเหนือจากรัฐกับรัฐ หากยังมีบรรษัทขามชาติที่ดำเนินการอยางเปนเอกเทศเขามาอยูใน ระบบความสัมพันธระหวางประเทศ สวนวิถีการผลิตภายใตกระบวนการโลกาภิวัตนไดมีลักษณะ การเปลี่ยนแปลงไปเปนการผลิตสินคาและบริการที่อาศัยความรูและเทคโนโลยีเปนสำคัญ ดังนั้นจึง กอใหเกิดกระบวนการผลิตขามชาติ ผานการเคลื่อนยายทุนและแรงงานจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง กลาวโดยสรุป การศึกษาเกี่ยวกับรัฐในแตละยุคสมัยนั้นลวนแตมีความแตกตางกัน สืบเนื่อง จากบริบทที่เกิดขึ้นในแตละยุคสมัย ดังเชนในปจจุบันกระแสโลกาภิวัตนไดมีอิทธิพลเปนอยางยิ่ง ตอระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมของแตละรัฐ ผานการพัฒนาระบบเทคโนโลยี ที่ทันสมัย ผนวกกับระบบทุนนิยมเสรีที่ขับเคลื่อนอยูเบื้องหลังของกระบวนการโลกาภิวัตน ยิ่งทำให การเคลื่อนยายปจจัยการผลิตจากประเทศหนึ่งไปยังประเทศหนึ่งเปนไปไดอยางสะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนี้ระบบกลไกตลาดไดทำใหบทบาทของรัฐเปลี่ยนแปลงไปจากแตเดิมที่รัฐมีบทบาท ในการวางแผนนโยบายเศรษฐกิจและแทรกแซงตลาด แตกระบวนการโลกาภิวัตนไดทำใหรัฐตอง ปรับเปลี่ยนใหกลายเปนรัฐตลาด เชน พัฒนาบริการสาธารณะ สรางธรรมาภิบาลใหแกรัฐบาล เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากตางประเทศ 12


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

ทฤษฎีการลงทุนโดยตรงระหวางประเทศ (Foreign Direct Investment)

ปจจุบนั การลงทุนระหวางประเทศ สามารถเคลือ่ นยายไปยังประเทศตางๆ ผานระบบเทคโนโลยี สารสนเทศที่ทันสมัย จึงกอใหเกิดการเคลื่อนยายปจจัยการผลิตอยางเสรี โดยไมมีรัฐคอยแทรกแซง ระบบเศรษฐกิจอีกตอไป อยางไรก็ตามการทีบ่ ริษทั หนึง่ จะเคลือ่ นยายปจจัยการผลิตไปยังประเทศหนึง่ หรือจะขยายตลาดกลายเปนบรรษัทขามชาตินั้น ยอมมีปจจัยที่สงผลตอการตัดสินใจของบริษัทนั้นๆ ทฤษฎี Eclectic Paradigm ที่ไดรับการพัฒนาโดย John H. Dunning (2008: 580-587 อางใน สุพิชฌาย ปญญา, 2555) ไดถูกนำไปใชครั้งแรกในการประชุมสัมมนาที่เมือง Stockholm ในป ค.ศ.1976 เกี่ยวกับการผลิตระหวางประเทศและไดรับการตีพิมพอีกครั้งในงานวิจัยดุษฎีบัณฑิต ของ Dunning ที่อธิบายถึงการลงทุนภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ ในประเทศอังกฤษ ในผลงาน ดั ง กล า ว Dunning ได ก ล า วถึ ง การเข า ไปลงทุ น ภาคอุ ต สาหกรรมในประเทศอั ง กฤษ รู ป แบบ ของบริษัทจะมีลักษณะที่เหมือนกับประเทศผูผลิตและดีกวาบริษัทคูแขงที่อยูภายในประเทศที่เขาไป ลงทุน นอกจากนี้กระบวนการผลิตตางๆ ตองสามารถเคลื่อนยายการผลิตจากประเทศผูผลิตไปสู ประเทศอื่นๆ ไดอยางสะดวก ตองสามารถควบคุมและจัดการภายในประเทศที่เปนฐานการผลิต อีกดวย ทั้งหมดนี้ Dunning เรียกวาเปน OLI หรือทฤษฎี Eclectic Paradigm ที่มีเปาหมาย เพื่ออธิบายการแผขยายและรูปแบบของกระบวนการผลิตระหวางประเทศ เชน การลงทุนโดยตรง ระหวางประเทศทางการเงินและการเกิดขึ้นของบรรษัทขามชาติ ซึ่ง Dunning ไดแบงออกเปน 3 รูปแบบ (2001: 173-190) คือ การไดเปรียบเชิงเปรียบเทียบ ที่บริษัทในประเทศหนึ่งสามารถเคลื่อนยายบริษัทของตนเอง ไปยังประเทศอื่นๆ เพื่อจัดหาตลาด และสรางผลกำไรที่อยูเหนือพรมแดนของประเทศตนเอง ผลกำไรดังกลาวขึ้นอยูกับจำนวนคูแขงภายในประเทศที่เขาไปทำการลงทุน 1. การแผขยายของบริษทั ทีไ่ ดรบั รูแ ละเปรียบเทียบผลประโยชนทดี่ ที สี่ ดุ จากการสรางตลาด ภายในประเทศที่เขาไปลงทุน โดยใชขอไดเปรียบในการสรางมูลคาใหแกสินคา 2. การแผขยายของบริษัทที่เลือกหาที่ตั้งที่ทำใหตนทุนลดลง และสามารถอยูนอกเหนือ พรมแดนของประเทศตนเอง 3. โดย OLI นั้นเปนตัวยอของ Ownership, Location และ Internalization ทั้งสามนำมา ใชในการอธิบายขอไดเปรียบที่สงผลตอการตัดสินใจที่ทำใหบริษัทหนึ่งกลายเปนบรรษัทขามชาติ ดังนั้น OLI จึงสามารถอธิบายได ดังตอไปนี้ O-Ownership Advantage คือ ขอไดเปรียบในดานความเปนเจาของ ซึ่งสามารถ ตอบคำถามไดวา ทำไมบางบริษทั ถึงยังไมขยายตลาดไปยังประเทศอืน่ ๆ ในขณะทีบ่ างบริษทั ไดกลายเปน บรรษัทขามชาติ และไดอธิบายถึงความสำเร็จของบรรษัทขามชาติที่สามารถไดรับผลกำไรจากการ เปนเจาของสินคาหรือบริการนั้นๆ ความไดเปรียบดังกลาวไมมีตัวตน แตสามารถเคลื่อนยายภายใน 13


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

บรรษัทขามชาตินั้นๆ ได เชน เทคโนโลยี ยี่หอสินคา ความนิยมของสินคา เปนตน นอกจากนี้ ยังสรางรายไดที่สูงและมีตนทุนที่ต่ำ ซึ่งสามารถชดเชยกับตนทุนที่เสียไปกับการใชฐานการผลิตที่อยู หางไกล โดยบรรษัทที่เปนเจาของสินคามักจะประสบความสำเร็จในประเทศอื่นๆ และสามารถ กำราบบริษัททองถิ่นของแตละประเทศ L-Location Advantage คือ ขอไดเปรียบในดานที่ตั้ง ที่มุงเนนไปที่การตัดสินใจของ บรรษัทขามชาติที่จะเลือกลงทุนที่ไหน ซึ่งความหลากหลายของที่ตั้งไดกลายเปนกุญแจสำคัญของ การลงทุนระหวางประเทศและปจจัยดานที่ตั้ง ลวนมีความเปลี่ยนแปลงอยูตลอดเวลาขึ้นอยูกับ ประเทศที่เปนฐานการลงทุนนั้นจะสรางขอไดเปรียบใหแกบรรษัทอยางไร นอกจากนี้แลวยังมีการ แบงประเภทของขอไดเปรียบในดานทีต่ งั้ ออกเปน 3 ประเภท ไดแก (1) ขอไดเปรียบดานเศรษฐกิจ นั่นคือคุณภาพและปริมาณของกระบวนการผลิต ตนทุนการคมนาคมขนสง และการสื่อสาร ขนาด ของตลาด เปนตน (2) ขอไดเปรียบดานการเมือง กลาวคือนโยบายของรัฐบาลทีม่ อี ทิ ธิพลตอการลงทุน โดยตรงระหวางประเทศ การคาระหวางบริษัทภายในประเทศและการผลิตระหวางประเทศ และ (3) ขอไดเปรียบดานสังคมและวัฒนธรรม ไดแก ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความเชื่อเรื่อง จิตวิญญาณ ภาษา ทัศนคติทั่วไปเกี่ยวกับชาวตางประเทศ เปนตน ที่สำคัญเมื่อบรรษัทขามชาติ ไดยา ยฐานผลิตไปยังประเทศตางๆ บรรษัทเหลานัน้ ตองรับรูข อ มูลทีเ่ กีย่ วกับรสนิยมของประเทศนัน้ ๆ และสามารถตอบสนองไดอยางรวดเร็ว (Leon Grunberg, 2011: 350-353) ดังนั้นที่ตั้งจึงเปน ปจจัยสำคัญที่ทำใหลดตนทุนของการลงทุนระหวางประเทศ อีกทั้งยังเปนปจจัยที่สงเสริมใหเกิด การลงทุนระหวางประเทศอีกดวย เชน การลงทุนภาคบริการในสถานที่ที่ไดรับการสงเสริมเรื่อง การทองเที่ยว เปนตน I-Internalization Advantage คือ ขอไดเปรียบของการทำใหเปนภายใน ผานการ สรางกระบวนการทำใหเปนภายในของตลาดที่เขาไปลงทุน เมื่อเกิดการเคลื่อนยายปจจัยการผลิต ทีไ่ มมตี ลาดรองรับสินคาและบริการ อีกทัง้ ยังมีการแทรกแซงการลงทุนระหวางประเทศ จึงกอใหเกิด ตนทุนการลงทุนระหวางประเทศที่สูงขึ้น ดังนั้นบรรษัทสามารถอยูรอดไดก็ตองสรางกระบวนการ ทำใหเปนภายใน เชน การใชชื่อของคนที่มีสัญชาติในประเทศนั้นๆ เปนเจาของบริษัท เพื่อลดการ เก็บภาษีและผอนปรนเงือ่ นไขตางๆ ของประเทศทีม่ กี ารแทรกแซงการลงทุนโดยตรงระหวางประเทศ อีกดวย

14


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

แนวคิดความชวยเหลือระหวางประเทศ

ความชวยเหลือระหวางประเทศ หมายถึง การยินยอมใหโยกยายทรัพยากรจากรัฐบาลหนึ่ง ไปยังอีกรัฐบาลหนึ่ง ซึ่งจะเปนการใหเปลาหรือใหกูยืมก็ได ทรัพยากรที่วานี้อาจจะเปนทรัพยากร ที่จำเปนทางดานเศรษฐกิจ เชน สินคาหรือเงินทุน ในกรณีนี้ก็ถือวาเปนความชวยเหลือทางเศรษฐกิจ หากการช ว ยเหลื อ เป น การถ า ยโอนความสามารถทางเทคโนโลยี ก็ เรี ย กว า เป น ความช ว ยเหลื อ ทางดานเทคนิค แตหากเปนความชวยเหลือ เพื่อความมั่นคงของประเทศก็ถือวาเปนความชวยเหลือ ทางดานการทหาร ดังนั้นความชวยเหลือจึงมีหลายประเภท หลายลักษณะ และในบางครั้งก็มี ลักษณะก้ำกึง่ จนยากทีจ่ ะจำแนกใหเด็ดขาดวาอยูใ นประเภทใดได ความชวยเหลืออาจจะมีวตั ถุประสงค ที่สิ้นสุดในตัวเอง เชน การใหความชวยเหลือทางเศรษฐกิจแกประเทศดอยพัฒนา เพื่อใหประเทศ ดอยพัฒนานั้นๆ สามารถพัฒนาตนเองในทางเศรษฐกิจได หรือความชวยเหลืออาจจะเปนเพียง เครือ่ งมืออยางหนึง่ ของการดำเนินนโยบายตางประเทศก็ได เชน การใหความชวยเหลือทางการทหาร แกประเทศใดประเทศหนึง่ โดยหวังผลวาจะมีการจัดสรรแบงปนอำนาจภายในประเทศนัน้ ในทางทีเ่ ปน ประโยชนแกประเทศผูใหความชวยเหลือ เปนตน ความชวยเหลือระหวางประเทศ ในฐานะที่เปนเครื่องมือชนิดหนึ่งของการดำเนินนโยบาย ตางประเทศไดมีมานานแลว โดยแตเดิมนั้นความชวยเหลือระหวางประเทศมักหวังผลในระยะสั้น เชน การใหความชวยเหลือเพื่อเปนการติดสินบน หรือใหความชวยเหลือทางดานการทหาร ซึ่งอาจ จะเปนการใหเงิน อาวุธ หรือคนก็ได เพือ่ ประโยชนบางประการของประเทศผูใ ห ตอมาความชวยเหลือ ระหวางประเทศไดขยายจุดมุงหมายออกไปอีก โดยรวมเอาความชวยเหลือเพื่อมนุษยธรรมและ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจเขาไปดวย อยางไรก็ดี จุดมุงหมายระยะยาว โดยเฉพาะอยางยิ่งทางดาน การเมืองนั้นก็ยังคงมีอยู เชน เพื่อหาพันธมิตรและเพื่อความรวมมือระหวางประเทศ และบอยครั้งที่ จุดมุงหมายทางการเมืองมีความสำคัญยิ่งกวาทางดานมนุษยธรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจ สาเหตุที่การพัฒนาเศรษฐกิจ ไดกลายมาเปนจุดมุงหมายประการหนึ่งของความชวยเหลือ ระหวางประเทศ ก็เพราะวาประเทศตางๆ ทัว่ โลกมีระดับของการพัฒนาทางเศรษฐกิจแตกตางกันมาก การที่ประเทศที่ยากจนจะสามารถพัฒนาในทางเศรษฐกิจใหเจริญกาวหนาได ประเทศเหลานี้ ตองการทั้งเงินทุนและเทคโนโลยี เพื่อที่จะใหไดมาซึ่งปจจัยทั้งสองประการ วิธีหนึ่งก็คือการรับ ความชวยเหลือจากประเทศที่ร่ำรวยกวาเพื่อนำมาพัฒนาประเทศ

15


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

ประเภทของความชวยเหลือระหวางประเทศ ธารทอง ทองสวัสดิ์ (2533) ไดจำแนกประเภทของความชวยเหลือระหวางประเทศไวดังนี้ 1. ความชวยเหลือทางดานการทหาร จัดเปนความชวยเหลือที่มีมาแตดั้งเดิม เพื่อเปน การหาพันธมิตร โดยอาจใหความชวยเหลือเปนสิ่งของ เงิน ความชำนาญ และเทคโนโลยี การให ความชวยเหลือทางดานการทหารมีความมุงหมายคือ มุงหวังใหมิตรประเทศมีความเขมแข็งทางดาน การทหารเพื่ อ ป อ งกั น ตนเอง และเป น พั น ธมิ ต รที่ มี ป ระโยชน หรื อ เป น เครื่ อ งมื อ ของนโยบาย ตางประเทศเพื่อหวังผลทางการเมือง เพราะความชวยเหลือทางการทหารนั้นมีความผูกพันที่จะตอง ทำตามความประสงคของผูให หรืออยางนอยก็ตองไมกระทำการอันขัดตอผลประโยชนของผูให เพราะมิฉะนั้นจะถูกตัดความชวยเหลือที่ไดรับอยู นอกจากนั้นการชวยเหลือทางการทหารยังมี ขอผูกมัดในตัวเองอีกดวย เนื่องจากอาวุธยุทโธปกรณสมัยใหมนี้อาศัยความกาวหนาทางเทคนิค อยางมาก จึงทำใหประเทศผูรับความชวยเหลือจะตองพึ่งพาประเทศผูใหความชวยเหลือตลอดไป เนื่องจากอาวุธยุทโธปกรณจะตองอาศัยการดูแลรักษาและการซอมแซมสูง จึงจะสามารถใชการได ดวยเหตุนี้ความชวยเหลือทางดานการทหาร จึงเปนเครื่องมือในการดำเนินนโยบายระหวางประเทศ ไดเปนอยางดี แตประเทศทีจ่ ะใชเครือ่ งมือทางดานนีไ้ ดอยางไดผลจะตองเปนประเทศทีม่ แี สนยานุภาพ ทางดานการทหารอยางมาก 2. ความชวยเหลือเพื่อมนุษยธรรม ความชวยเหลือชนิดนี้มีมาแตสมัยโบราณ โดยทั่วไป มักจะเปนการชวยเหลือประเทศที่ประสบภัยพิบัติเฉพาะหนา และตองการความชวยเหลืออยาง ฉับพลัน เชน ปญหาน้ำทวม ปญหาความอดอยาก หรืออาจจะเปนการใหบริการทางดานตางๆ เชน ทางดานการแพทย หรือการเกษตร เปนตน ความชวยเหลือประเภทนี้โดยทั่วไปมักไมเกี่ยวกับ การเมืองมากนัก 3. ความช ว ยเหลื อ เพื่ อ ให อ ยู ร อด เป น ความช ว ยเหลื อ ที่ ใ ห แ ก รั ฐ บาลในคราวจำเป น เมื่อรัฐบาลไมสามารถที่จะควบคุมทรัพยากรตางๆ เพื่อใหบริการดานพื้นฐานแกประชาชนของตนได ในลั ก ษณะนี้ ค วามช ว ยเหลื อ เพื่ อ ให อ ยู ร อดจึ ง คล า ยคลึ ง กั บ ความช ว ยเหลื อ เพื่ อ มนุ ษ ยธรรม ขอแตกตางคือความชวยเหลือเพือ่ มนุษยธรรม เปนความชวยเหลือเพือ่ นมนุษยใหรอดพนจากภัยพิบตั ิ โดยไมไดหวังผลตอบแทน แตความชวยเหลือเพื่อใหอยูรอด มีสวนเกี่ยวของกับทางการเมืองดวย คือชวยใหรัฐบาลนั้นสามารถคงอยูในอำนาจได หากไมไดรับการชวยเหลือแลว รัฐบาลนั้นอาจ ประสบปญหาในการรักษาความเรียบรอยในสังคม และในไมชาก็อาจตองพนจากตำแหนง ดังนั้น การชวยเหลือในลักษณะนี้จึงเกี่ยวพันกับการเมือง คือ เปนการชวยใหมีการรักษาสถานภาพเดิม ใหรัฐบาลของประเทศผูใหความชวยเหลือยังคงสามารถบริหารประเทศตอไปได

16


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

4. ความช ว ยเหลื อ เพื่ อ เป น การติ ด สิ น บน หากความช ว ยเหลื อ ต า งประเทศ หมายถึ ง การโยกยาย เชน สินคาและบริการจากรัฐหนึ่งไปยังอีกรัฐหนึ่ง การใหสินบนก็รวมอยูในประเภทหนึ่ง ของความชวยเหลือดวย ความชวยเหลือสวนใหญมักจะมีลักษณะของการติดสินบนรวมอยูดวยเสมอ การติดสินบนเปนความพยายามของรัฐบาลฝายหนึ่งพยายามจะหาประโยชนทางการเมืองจากอีก ฝายหนึ่ง เชน เพื่อใหออกเสียงสนับสนุนตนในองคการระหวางประเทศ นอกจากนี้การใหความ ชวยเหลือเพื่อเปนการติดสินบนอาจซอนเรนในรูปของความชวยเหลือรูปอื่นได เชน ความชวยเหลือ เพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 5. ความชวยเหลือเพื่อเกียรติภูมิ เปนการใหความชวยเหลือเพื่อยกฐานะประเทศผูรับ ใหเทียบเทากับประเทศอื่นๆ โดยที่การใหความชวยเหลือนั้นมิไดกอใหเกิดประโยชนแกประเทศผูรับ อยางแทจริงแตประการใด เชน การใหความชวยเหลือเพือ่ สรางถนน หรือโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด ที่ไมกอใหเกิดผลทางดานใดตามมา เพียงแตชวยใหประเทศผูรับไดมีถนนและโรงงานอุตสาหกรรม ที่ทันสมัยอยางประเทศอื่นเทานั้น ความชวยเหลือประเภทนี้มักกอใหเกิดปญหาตามมาเพราะมักจะ สรางความคาดหวังใหคนทั่วไปวาจะชวยใหประเทศกาวหนากวาเดิม แตในความเปนจริงแลว ผูที่ ไดรับประโยชนจากการชวยเหลือประเภทนี้กลับเปนคนจำนวนนอยของประเทศ ความชวยเหลือ ประเภทนี้มักจะไมชวยใหพัฒนาทางดานเศรษฐกิจ หากแตจะไปกระตุนทางดานการเมืองและ จิตวิทยามากกวา 6. ความชวยเหลือเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ความชวยเหลือชนิดนี้เกิดจากความเชื่อ ที่วาประเทศดอยพัฒนามีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่อยูในอัตราที่ต่ำมาก การใหความชวยเหลือ จะชวยกระตุนใหเกิดความเจริญทางดานเศรษฐกิจ ทำใหเศรษฐกิจของประเทศดอยพัฒนาสามารถ พัฒนาไปได ซึ่งนำไปสูความมั่นคงทางดานการเมืองและสามารถตอตานการแทรกซึมจากฝาย ตรงกันขามได ความชวยเหลือชนิดนี้จะไดผลเต็มที่ หากเปนความชวยเหลือแบบรัฐบาลตอรัฐบาล มีการวางแผนเศรษฐกิจที่รวมศูนยและควบคุมโดยรัฐบาลอยางใกลชิด

แนวคิดเรื่องขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม

นับตั้งแตคริสตทศวรรษที่ 1960 และ 1970 ในประเทศตะวันตก ทั้งที่สหรัฐอเมริกาและ ยุโรปไดเริ่มมีการประทวง และการเดินขบวนทั้งที่เปนการตอตาน คัดคานนโยบายรัฐ และรวมทั้ง ที่เปนการแสดงความไมเห็นดวยกับธรรมเนียมประเพณีเดิมที่เคยถือปฏิบัติกันมา โดยผูคนที่รวม ในขบวนการดังกลาวมีหลากหลายกลุม อาชีพ และมีหลายชนชัน้ ทีเ่ ขารวมขบวนการเดียวกัน นอกจากนัน้ ประเด็ น ที่ ป ระท ว ง หรื อ มี ค วามคั บ ข อ งใจก็ เ ป น ประเด็ น ใหม ๆ ที่ มี ค วามหลากหลายกว า อดี ต (ไชยรัตน เจริญสินโอฬาร, 2549)

17


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

ทฤษฎีชดุ หนึง่ ซึง่ คอนขางเปนทีน่ ยิ มและเริม่ เปนทีย่ อมรับมากขึน้ ในปรากฏการณนี้ เรียกรวมๆ วา “การเมืองแบบใหมและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม” (The New Politics and the New Social Movements) โดยมีสาระสำคัญที่การมองขบวนการเคลื่อนไหวเรียกรองของ คนธรรมดาขางตนวาเปนการตอบโตกับปญหาและความขัดแยงชนิดใหมที่เกิดขึ้นในสังคมวาอยู บนฐานที่หลากหลายรวมถึงเรื่องเพศ (Gender) เชื้อชาติ (Race) ศาสนา (Religion) วัฒนธรรม (Culture) นอกเหนื อ จากเรื่ อ งของชนชั้ น และอุ ด มการณ ท างการเมื อ งอย า งในอดี ต (ไชยรั ต น เจริญสินโอฬาร, อางแลว: 3) ในชวงเวลาเดียวกัน ขบวนการเคลื่อนไหวอันหลากหลายดังกลาว ก็เกิดขึ้นที่ประเทศทาง ลาตินอเมริกาเชนกัน ประเด็นการเรียกรองของขบวนการทางสังคม มักจะโยงกับมิติทางดานปญหา เศรษฐกิจซึ่งมักเปนปญหาของคนชั้นลางและการเรียกรองเรื่องสิทธิ และประเด็นเรื่องการสรางเสริม การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณขึ้น ขณะที่ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่สหรัฐฯ และ ที่ยุโรปตะวันตก มักจะโยงกับเรื่องของคุณภาพชีวิตและการปกปองความเปนตัวของตัวเองของ ปจเจกบุคคล ซึ่งมักเปนปญหาของชนชั้นกลาง ปญหาประเทศ “โลกที่สาม” มีความซับซอนมาก เพราะถูกครอบงำใน 2 ระดับ คือ การครอบงำของรัฐและตลาด ซึ่งเปนปญหาสังคมโลก ความแตกตางอีกประการหนึ่ง ที่ทำใหขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมยุคใหมแตกตางจาก ยุคเกาก็คือ “ขอมูลขาวสาร” ดังที่ Alberto Melucci (1994) ใหความเห็นใน “A Strange Kind of Newness: What’s “New” in New Social Movement?” วาความหลากหลายของขบวนการ เคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหมนี้ เกิดขึ้นจากที่เทคโนโลยีในการสื่อสารใหมๆ อันสามารถทำให รวบรวมขอมูลขาวสารเปนปริมาณที่มากขึ้น และทำใหการเผยแพรขาวสารเปนไปอยางกวางขวาง มากไปดวย การหมุนเวียนของกระบวนการนีม้ สี ว นทำใหการเคลือ่ นไหวทางสังคมมีความหลากหลาย ไปดวย นอกจากนั้น การไหลเวียนของขอมูลก็เชื่อมตอโลกเขาดวยกัน และทำใหปญหาตางๆ ขามเขตแดนของชาติเกินกวาการควบคุม ทำใหเกิดการแลกเปลี่ยนของขอมูล ในขณะเดียวกัน ก็ทำใหประเด็นขอขัดแยงนั้นขยายไปสูการรับรูระดับโลกได ดังที่ ไชยรัตน เจริญสินโอฬาร (2545) ก็ใหความสำคัญกับพื้นที่สื่อมวลชน ซึ่งสงผลใหเกิด การเปดพื้นที่ทางสังคมในสถานการณตางๆ ที่มีการเคลื่อนไหวของคนในสังคม เพื่อการนิยาม ความหมายตางๆ โดยผานสื่อ เชน วิทยุ โทรทัศน หนังสือพิมพ อินเตอรเน็ต ที่มองวาเปนยุคของ “ประชาธิปไตยที่เขมขนและมีที่วางใหกับความแตกตางหลากหลาย” (The Radical and Plural Democracy)

18


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

แมวาขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในปจจุบัน จะมีความหลากหลายในเรื่องประเด็น การเรียกรองมากขึ้น แตในกรณีของเมียนมารการเคลื่อนไหวที่เปนแกนกลางของขบวนการในอดีต ก็คอื ประเด็นในเรือ่ งการเมืองแตในปจจุบนั ก็ไดขยายตัวไปในเรือ่ งของสิทธิมนุษยชน และสิทธิชมุ ชน หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงมาสูระบอบประชาธิปไตยแลว ตัวอยางของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม อันเกี่ยวเนื่องกับประเด็นเรื่องความ ยากจน การพัฒนาและเศรษฐกิจซึ่งเปนที่รูจักทั่วโลกอีกขบวนการหนึ่งก็คือ ขบวนการซาปาติสตา ที่ไชยรัตน เจริญสินโอฬาร (2549) ไดอธิบายไววาขบวนการนี้มีการเริ่มตนกอตัวตั้งแตป ค.ศ.1980 ในเมืองรัฐเชียปาส ประเทศเม็กซิโก โดยมีผูเขารวมขบวนการมากขึ้นจาก 80 คน เปน 1,300 คน ในป ค.ศ.1988-1989 แลวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นับจากนั้น โดยอาศัยการเชื่อมตอการตอสูของตน เขากับการตอสูแบบตางๆ ของภาคประชาชนทั่วโลกผานเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม โดยเฉพาะ อินเตอรเน็ต เพื่อเปดพื้นที่สาธารณะระดับโลกที่เปดกวางและรับฟงความคิดเห็นที่แตกตาง แมวา ขบวนการซาปาติสตาจะมีการจับอาวุธเพื่อตอสูกับรัฐบาลในป ค.ศ.1994 แตไมไดมีเปาหมาย เพื่อลมลางรัฐบาลและเปลี่ยนระบอบการปกครองอยางขบวนการปฏิวัติฝายซายในยุคสงครามเย็น แตไดเรียกรองใหรัฐบาลเม็กซิโกปฏิรูประบบเศรษฐกิจที่เกิดความยากจนแกประชาชนมากขึ้น อันเปนผลจากนโยบายทุนนิยมถึง 70 ป ซึ่งประชาชนไมไดมีโอกาสแสดงความคิดเห็นในนโยบายรัฐ ขบวนการซาปาติสตาใชการแถลงการณ เพื่อสรางความเขาใจและขอรับการสนับสนุนในวงกวาง โดยใชประโยชนจากอินเทอรเน็ตและอีเมล อันเปนจุดเดนของขบวนการ จนกอใหเกิดเปน “กระแส ซาปาติสตา” ในระดับโลก และกอใหเกิดผลในทางนโยบายของรัฐบาลในป ค.ศ.1996 ที่ยอมรับ และเปดโอกาสใหคนอินเดียนพื้นเมืองมีสิทธิเสรีภาพแสดงความคิดเห็นในนโยบายของรัฐมากขึ้น ในกรณีของขบวนการเคลือ่ นไหวทางสังคมในเรือ่ งสหภาพเมียนมารนน้ั เรียกไดวา เปนตัวอยาง ของขบวนการในยุคแรกๆ เลยทีเดียว นับตั้งแตเหตุการณ 8888 (Four Eight) ซึ่งเปนสวนสำคัญ ในประวัติศาสตรเมียนมาร และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและกอใหเกิดองคกรใหมๆ อีกมากมาย การเปลี่ ย นแปลงด า นการเมื อ งการปกครองของสหภาพเมี ย นมาร เ มื่ อ ไม น านนี้ ทำให การเคลื่อนไหวทางสังคมของพมาเปลี่ยนประเด็นไปดวยคือเพิ่มเรื่องของสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน การละเมิดจากภาครัฐ และเอกชน ในเรื่องการพัฒนาขนาดใหญ ซึ่งถาโถมเขาไปในเมียนมารเวลานี้

19


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

งานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข อง มาซากิ โอชิยามา (2538) ไดทำการศึกษาหมูบานแหงหนึ่งในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงดานความสัมพันธทางสังคมกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนชนบท ภายใตกระแสการพัฒนาทางดานอุตสาหกรรมตามระบบทุนนิยมโลก พบวา เงือ่ นไขการเปลีย่ นแปลง ความสั ม พั น ธ ท างสั ง คมของชุ ม ชน เกิ ด จากการเปลี่ ย นแปลงบริ บ ททางกายภาพ การตั ด ถนน ซุปเปอรไฮเวย การจัดตัง้ นิคมอุตสาหกรรม ซึง่ นำไปสูก ารขายทีด่ นิ ในชุมชน การมีกจิ กรรมการพัฒนา ของรัฐ การไหลเขามาของคนภายนอกชุมชน และการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิต การเปลี่ยนแปลง ความสำนึกความเปนชุมชนของกลุมคน ซึ่งสงผลทำใหกลุมคนแปลกแยกเปนกลุมๆ ที่สะทอน รูปแบบชนชั้นชัดเจน กลุมตางๆ พยายามปกปองผลประโยชนของตนเอง โดยการเอารัดเอาเปรียบ กลุม อืน่ ๆ ทีด่ อ ยโอกาสกวาดวยวิธกี ารทัง้ ถูกกฎหมายและไมถกู กฎหมาย ดานความสัมพันธทางสังคม กลุมคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมคลายกันจะมีความรูสึกเปนพวกเดียวกันมากกวา ฐานของ ความสัมพันธทางสังคมเกีย่ วของกับผลประโยชนมากขึน้ มีความเปนปจเจกมากขึน้ ดานความสัมพันธ ทางเครือญาติ ยังมีความสัมพันธกนั อยูบ า ง แตไมไดทำหนาทีใ่ นการพึง่ พาอาศัยชวยเหลือในเรือ่ งตางๆ อยางเชนในอดีต การติดตอสัมพันธกันตามงานบุญเปนสวนใหญ ดานความสัมพันธทางสังคม ในรูปแบบอุปถัมภ ผูอุปถัมภจากเดิมเปนผูที่มีอำนาจทางการปกครอง เปลี่ยนมาเปนผูมีอำนาจ ทางการเงินธุรกิจแทน ประชัน รักพงษ (2539) ไดทำการศึกษาสภาพเศรษฐกิจและวัฒนธรรมชุมชน ในเขตเสนทาง สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจไทย-ลาว-จีน โดยเนนศึกษาขอมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมในภาคเหนือ ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ไมวาจะเปนแขวงบอแกว แขวงหลวงน้ำทา และบริเวณ ใกลเคียงที่อยูในพื้นที่โครงการกอสรางเสนทางหวยทราย-หลวงน้ำทา-บอเตน ซึ่งรัฐบาลกำหนดให เปนพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จากการศึกษาพบวาพื้นที่สวนใหญทางภาคเหนือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เปนปาเขา ปจจุบันประชาชนยังดอยการศึกษา มีฐานะยากจนและมีปญหาโรคภัยไขเจ็บ สวนใหญ ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมแบบยังชีพ ปลูกขาวเปนพืชหลัก แตผลผลิตขาวไมเพียงพอ สำหรับการบริโภค เนื่องจากการเกษตรลาหลังและประสบภัยธรรมชาติ นอกจากนี้ยังประสบปญหา การขาดการพัฒนาโครงสรางพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ไดแก ปญหาดานการคมนาคม ขาดแคลนไฟฟา ประปา และระบบการสื่อสารโทรคมนาคม ตลาดมีขนาดเล็กทำใหเกิดสภาวะของการมีอำนาจ ในการซื้อต่ำ ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรูและประสบการณดานธุรกิจ ขาดแคลนแรงงานฝมือ และแรงงานที่เปนปจจัยพื้นฐานในการผลิตเพราะประชากรสวนใหญประกอบอาชีพเกษตรกรรม ระบบการเงิ น การธนาคารล า หลั ง ขาดเงิ น ออม สิ น เชื่ อ มี อั ต ราดอกเบี้ ย สู ง ขาดแคลนเงิ น ตรา ตางประเทศ ซึ่งปญหาดังกลาวถือเปนอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมของทองถิ่น 20


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

ปารวี ไพบูลยยิ่ง (2545) ไดทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบาน (ลาว-จีน) โดยมี เปาหมายในการศึกษาเพือ่ สรางความเขาใจอันดีระหวางกัน เพือ่ ประสานประโยชนรว มกัน อันจะนำมา ซึ่งมิตรภาพและสันติ งานวิจัยชิ้นนี้มีลักษณะของการเปนงานวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อทำสารคดี ที่เนน ทำความรูจักและเขาใจในประเทศเพื่อนบานอยางลึกซึ้ง นับตั้งแตยอนรอยเสนทางประวัติศาสตร ชาติพันธุ วิถีชีวิต วัฒนธรรม เศรษฐกิจ เสนทางการคา และการทองเที่ยว รวมทั้งความสัมพันธ ระหวางไทย ลาว จีน ในแงมุมตางๆ ตามเสนทางที่กำหนด จากการเดินทางสำรวจเสนทางดังกลาว พบวาวิถีชีวิตและวัฒนธรรมเริ่มปรับเปลี่ยนไปตาม กระแสโลกาภิวัตน สภาพเศรษฐกิจที่ผลิตเพื่อยังชีพคอยๆ เปลี่ยนมาผลิตเพื่อจำหนาย การทองเที่ยว ในทองถิ่นขยายตัวเพิ่มขึ้น ความสัมพันธระหวางคนไทยและคนลาวในระดับชาวบานเปนไปอยาง ฉันมิตร สำหรับคนลื้อจากเมืองลาจนถึงเชียงรุงในสิบสองปนนา มณฑลยูนนาน ทางตอนใตของจีน กลับถูกกระแสวัฒนธรรมของคนจีนรุกล้ำทั้งในวิถีชีวิต วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการทองเที่ยว ทำใหคนลื้อกลายเปนคนชายขอบ คนจีนสวนใหญเขาครอบครองธุรกิจในเมือง สุภางค จันทวานิช และคณะ (2548) ไดทำการศึกษาผลกระทบทางสังคมของระเบียงตะวันออกตะวันตก โดยมีวตั ถุประสงคเพือ่ สำรวจสภาพพืน้ ฐานดานโครงสรางพืน้ ฐานและประชากร คุณภาพชีวติ ทางสังคมและดานวัฒนธรรมของประชาชนในจังหวัดมุกดาหาร นครพนม และอุบลราชธานี และ แขวงสะหวันนะเขตของลาว พบวา ความสัมพันธทางสังคมของกลุมตางๆ มีเครือขายความสัมพันธ อยูบนฐานของผลประโยชนซึ่งกันและกัน มีความขัดแยงในดานผลประโยชนทางการเมืองระดับ ทองถิ่น และความขัดแยงระหวางนักการเมืองทองถิ่นกับขาราชการประจำ ปญหาที่สำคัญคือ ปญหายาเสพติด และการคานอกระบบชายแดน มีการขนสงยาบามาจากฝงลาว มีผูเสพชาวไทย เขาไปเสพยาบาที่ฝงหรือบนเกาะดอนกลางแมน้ำโขง มีการลักลอบปลูกกัญชาในฝงไทย สำหรับการคานอกระบบชายแดนไทย-ลาว มีการลักลอบนำเขากระเทียมโดยมีนายทุน อยูเบื้องหลังและเปนผูออกทุน และมีการทำเปนขบวนการ ดานการยายถิ่น ประชากรวัยแรงงาน บางส ว นอพยพออกไปทำงานที่ อื่ น ทั้ ง ในและต า งประเทศ มี ก ารย า ยถิ่ น ของแรงงานต า งด า ว ผิดกฎหมาย ทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบโครงการสรางสะพานขามแมน้ำโขงแหงที่ 2 ทัศนคติเชิงบวก คือ การมีสะพานเชื่อมโยงระหวางประเทศตางๆ ในภูมิภาคทำใหการคมนาคมขนสง ระหวางพืน้ ทีม่ คี วามสะดวกรวดเร็ว มีสภาพเศรษฐกิจดีขนึ้ มีการทองเทีย่ วมากขึน้ ทัศนคติเชิงลบ คือ จะมีคนอพยพเขามาเพิ่มมากขึ้น คาครองชีพสูงขึ้น และเมื่อมีการลงทุนเพิ่มขึ้นอาจสงผลกระทบ ตอปญหาสิ่งแวดลอม เชน เกิดชุมชนแออัด ปญหาการจราจร ปญหามลภาวะจากการตั้งโรงงาน ปญหาขาดแคลนน้ำจากจำนวนคนที่เพิ่มมากขึ้น ปญหาแรงงานตางดาว ทัศนคติตอประชาชน ในประเทศเพื่อนบาน คนไทยยังมีความรูสึกดูถูกคนลาววาดอยกวาคนไทย

21


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

โสภิดา วีรกุลเทวัญ (2548) ศึกษาเรือ่ งเชียงของ: ชาติพนั ธุแ ละการคาทีช่ ายแดน ซึง่ ในงานวิจยั ชิ้นนี้นั้น ไดนำเสนอรายละเอียดในประเด็นที่นาสนใจอยูหลากหลายประเด็นดวยกัน ไมวาจะเปน ในเรื่องกระบวนการกลายเปนเมืองชายแดนเชียงของชาติพันธุ: ความสัมพันธภายในและขามกลุม พรมแดนทางวั ฒ นธรรมของกลุ ม ชาติ พั น ธุ ที่ ช ายแดน วิ ถี ก ารค า ที่ เชี ย งของ และผู ห ญิ ง กั บ ความตอเนื่องบนพื้นที่ทางการคา ในสวนของกระบวนการกลายเปนเมืองชายแดนเชียงของ พบวา อัตลักษณของเมืองเชียงของ ในทศวรรษ 2540 เปนเมืองชายแดนที่อยูระหวางการพัฒนาใหเปนเมืองทาแหงหนึ่งของอนุภูมิภาค ลุมน้ำโขงตอนบน ในขณะที่ภาคเศรษฐกิจของเมืองชายแดนแหงนี้สวนใหญยังคงผูกโยงกับวิถีการคา และการทำการเกษตรของผูคนในทองถิ่น โดยสัมพันธและเชื่อมโยงกับผูคนขามพรมแดนรัฐชาติ โดยเฉพาะอยางยิ่งในฝงลาว นอกจากนี้ จะสั ง เกตเห็ น ได ว า นโยบายการพั ฒ นาเศรษฐกิ จ บริ เวณชายแดนเชี ย งของ ครั้งสำคัญ คือ การเปดพรมแดนป พ.ศ.2532 ไดมีการสถาปนาทาเรือใหมคือ ทาเรือบั๊ค ขณะที่ ทาเรือเกาแกดง้ั เดิมคอยๆ ลดบทบาทลง ตอมามีการสรางทาเรือเชียงของเพือ่ รองรับนโยบายสีเ่ หลีย่ ม เศรษฐกิจ โครงการที่เปนรูปธรรมที่เกิดขึ้นภายใตนโยบายสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ไดนำมาซึ่งการสราง กติกา กฎเกณฑในการจัดความสัมพันธที่รัฐเขามามีอำนาจในการควบคุมมากขึ้น โดยที่สายสัมพันธ หรือเครือขายเดิมที่เปนฐานของผูคนในทองถิ่นบางสวนถูกกีดกันออกไป จากการเขามาควบคุม ของรัฐและบางสวนตองปรับตัวเองอยูตลอดเวลา เพื่อใหดำรงอยูไดภายใตความเปลี่ยนแปลง ในแตละสถานการณ Jonathan Rigg และชูศักดิ์ วิทยาภัค (2552: 79-99) ไดทำการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค เพื่อศึกษาผลและผลขางเคียงทางดานสังคมและสิ่งแวดลอมของกิจกรรมตางๆ ทางเศรษฐกิจ และ ชี้ใหเห็นวากิจกรรมตางๆ ไมไดถูกจำกัดโดยขอบเขต พื้นที่ทางภูมิศาสตร และการบูรณาการ ทางดานพื้นที่เปนกระบวนการที่ถูกทำใหไรความแนนอน พบวา ประเทศในกลุม GMS มีความ ไมเทาเทียมกันในเรื่องรายไดและความยากจนเมื่อเปรียบเทียบในระดับสากล และระดับภูมิภาค ประชากรกวาครึ่งในลาวและกัมพูชามีรายไดต่ำกวาเสนความยากจนที่ระดับต่ำกวา 2 ดอลลาร/วัน ในประเทศไทย คนยากจนกวาครึ่งจากจำนวนคนยากจนทั้งหมด 7 ลานคน สวนใหญอาศัยอยูทาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในลาวและเวียดนาม คนยากจนสวนใหญอยูในที่ราบสูงและเปนชนเผา จากความไมเทาเทียมในระหวางประเทศ ระหวางภูมิภาค หรือระหวางเมืองและชนบท ทำใหความ ไมเทาเทียมขยายกวางเพิ่มมากขึ้น ในดานพื้นที่เมืองตามชายแดนตางๆ เปนตัวแทนเชื่อมตอที่มี การวางกลยุทธในการพัฒนาดานการคา กิจกรรมทางดานเศรษฐกิจตามแนวชายแดนเพิ่มขึ้นจาก การฉกฉวยใชประโยชนในพื้นที่และการใชทรัพยากรอยางเขมขน เชน การเคลื่อนยายสัตวปาที่ ผิดกฎหมายจากประเทศลาวไปยังประเทศเพือ่ นบานอยางไทยและเวียดนาม การขยายพืน้ ทีเ่ พาะปลูก ตนยางพาราในลาวเพื่อขายใหกับประเทศจีน ไดคุกคามการทองเที่ยวเชิงนิเวศของชนเผา 22


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

โกสุมภ สายจันทร (2549) ในงานศึกษาเรื่อง “พมาในมิติความสัมพันธทางการเมืองกับ ตางประเทศ” ไดกลาวถึงมาตรการแซงชั่นและการตัด GSP ของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งเริ่มมาตั้งแตป พ.ศ.2523 มีผลในระยะยาวตอเศรษฐกิจของสหภาพเมียนมาร โดยเฉพาะเมื่อ เอเชียประสบกับปญหาวิกฤตเศรษฐกิจในป พ.ศ.2540 ยิ่งทำใหสหภาพเมียนมารมีทางออกนอยลง จนตองหันมาพิจารณาแนวทางการปฏิรูปการเมืองของตน อยางไรก็ตาม พบวาในชวงป 2544 นั้น ถึ ง แม ป ระเทศในกลุ ม ตะวั น ตกซึ่ ง รวมถึ ง สหรั ฐ อเมริ ก าและสหภาพยุ โรปจะให เ งิ น บริ จ าคผ า น สหประชาชาติ เพื่อกิจกรรมดานมนุษยธรรมในสหภาพเมียนมาร ในขณะเดียวกันก็ใหความหวังแก สหภาพเมียนมารวาหากการแกไขสถานการณทางการเมืองในสหภาพเมียนมารมีวิวัฒนาการไปสู ความเปนประชาธิปไตยมากขึ้น ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปก็พรอมที่จะใหความชวยเหลือ สหภาพเมียนมารเชนกัน สหภาพยุโรปไดบริจาคเงินจำนวน 2 ลานดอลลารสหรัฐ เพื่อการชวยเหลือดานสาธารณสุข และโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวของกับมนุษยธรรมแกรัฐบาลสหภาพเมียนมารผานองคกรพัฒนาเอกชน นอกจากนีส้ หภาพยุโรปซึง่ ไดบริจาคเงินใหกบั สหประชาชาติในโครงการ Aids Plan of Action เปนเงิน จำนวน 2.2 ลานดอลลารสหรัฐ และหวังวาในอนาคตจะสามารถระดมเงินชวยเหลือจากรายประเทศ ในสหภาพยุโรปถึง 20 ลานดอลลารสหรัฐ ดังนั้น แมจะยังคงมาตรการแซงชั่นดานเศรษฐกิจและ ตัด GSP ดานสินคาเกษตรกับสหภาพเมียนมาร แตในทางความชวยเหลือดานมนุษยธรรมแลว สหภาพยุโรปยังคงใหความชวยเหลือสหภาพเมียนมารอยางตอเนือ่ ง มาตัง้ แตป พ.ศ.2541 เปนตนมา สำหรับสหรัฐอเมริกานั้น ประธานาธิบดี Bush ไดลงนามในกฎหมายระงับการนำเขาสินคา จากสหภาพเมียนมารเปนเวลา 3 ป ซึง่ ไดสง ผลใหโรงงานอุตสาหกรรมกวา 300 โรง ในสหภาพเมียนมาร โดยเฉพาะพวกผลิตสินคาอุตสาหกรรมสิ่งทอจำเปนตองเลิกจางงาน แรงงานตกงานเหลานี้จึงหา ทางออกดวยการอพยพเขามาตามตะเข็บชายแดนของไทยเพื่อหางานใหม มาตรการการคว่ำบาตร สหภาพเมียนมารโดยสหรัฐอเมริกาในรูปของ Burmese Freedom and Democracy Act of 2003 ที่ประธานาธิบดีบุชลงนามใหมีผลบังคับใชวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ.2003 ซึ่งกำหนดในรูปของการ ไมคบคาทางเศรษฐกิจ และไมยอมรับผูนำรัฐบาลทหารสหภาพเมียนมาร รวมถึงมาตรการแชแข็ง ทรัพยสินของผูนำสหภาพเมียนมารนั้น อาจถือไดวาเปนเพียงสวนหนึ่งของยุทธศาสตรใหญที่เปดเผย ในรู ป ของกฎหมายของสหรั ฐ ที่ มี เ ป า หมายชั ด เจนว า จะต อ งทำสหภาพเมี ย นมาร ใ ห ก ลายเป น ประชาธิปไตยใหได ตอมาในป ค.ศ.2004 สหภาพยุโรปไดใชเวที ASEM (Asia-Europe Meeting) ทีเ่ กาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย กดดันใหสมาคมอาเซียนขับไลสหภาพเมียนมารออกจากการเปนสมาชิก หรือหาทางจัดการใหมีการปลอยตัวนางอองซาน ซูจีอยางรวดเร็ว

23


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

สรุ ป ได ว า ทั้ ง สหรั ฐ อเมริ ก าและสหภาพยุ โรปได ด ำเนิ น มาตรการคว่ ำ บาตรต อ สหภาพ เมียนมารมาอยางตอเนื่อง โดยใชมาตรการในลักษณะจำกัด เชน การไมลงทุนเพิ่มและการระงับ ความชวยเหลือตางๆ การประกาศยกเลิกการ sanction ทางเศรษฐกิจเปนการชั่วคราวโดยสหรัฐอเมริกาและ สหภาพยุโรปเมื่อกลางป พ.ศ.2555 เปนสิ่งที่นานำมาพิจารณาวาจะสงผลใหนักลงทุนจากกลุม ประเทศตะวันตกเขามาลงทุนในโครงการทาเรือน้ำลึกทวายอยางแนนอน แตเนื่องจากงานวิจัย ที่เกี่ยวกับผลกระทบของการเขามาของทุนตางชาติตอการพัฒนาประชาธิปไตย การสรางชุมชน เขมแข็งและการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของประชาชนชาวพมายังมีไมมากหรือไมแพรหลาย การสืบคน วรรณกรรมในเรื่องดังกลาวจึงมีขอจำกัด ผูวิจัยจึงไดนำแนวทางการศึกษาและประเด็นคำถาม และแนวการสั ม ภาษณ เจาะลึ ก จากวรรณกรรมที่ ไ ด ส ำรวจจากพื้ น ที่ อื่ น ในอนุ ภู มิ ภ าคลุ ม น้ ำ โขง มาสรางกรอบแนวคิดในการศึกษาของผูวิจัย สรุปสาระสำคัญจากเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวของกับโครงการทวาย จากการทบทวนวรรณกรรมและเอกสารที่เกี่ยวของ พบวา งานวิจัยที่เกี่ยวของกับโครงการ ทาเรือน้ำลึกที่เมืองทวายนั้น สวนมากเปนงานในเชิงเศรษฐศาสตร โอกาสทางการลงทุน งานวิจัย ทีเ่ กีย่ วของโดยตรงกับเรือ่ งผลกระทบจากโครงการนัน้ มีจำนวนไมมาก เนือ่ งจากโครงการเริม่ ดำเนินการ ไดไมนานนัก งานวิจัยที่นาสนใจและเกี่ยวของกับการศึกษานี้ ไดแก เอกสารทางดานการคา การลงทุนในสหภาพเมียนมารยุคใหมที่เกี่ยวของนั้นมีอยูหลายชิ้น ไดแก หนังสือรายงานการวิจัยเรื่อง “เศรษฐกิจการคา การลงทุนในพมา” จัดทำโดยธนาคาร ไทยพาณิชย รวมมือกับสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย กลาวในเรื่องของโครงการ ว า จะมี ผ ลบวกต อ ภาคอุ ต สาหกรรมของไทยคื อ เป น ประโยชน ด า นการขนส ง สิ น ค า การพั ฒ นา ทาเรือน้ำลึกทวายและเสนทางคมนาคมเชือ่ มตอกับประเทศไทย ในมุมหนึง่ จะทำใหอตุ สาหกรรมไทย มีทาเรือขนาดใหญสำหรับการสงออกในฝงอันดามัน อันมีจุดหมายปลายทางคือประเทศในแถบ เอเชียใต แอฟริกา และยุโรป ซึ่งในอดีตเปนปญหาอยางมากสำหรับอุตสาหกรรมไทยที่บางสวน ตองสงออกผานทาเรือน้ำลึกแหลมฉบัง กอนที่จะออมผานชองแคบมะละกาที่มีความคับคั่ง หรือ ตองเปลีย่ นถายสินคาทีท่ า เรือสิงคโปร ทำใหเกิดความลาชาในการจัดสง ในทางกลับกัน อุตสาหกรรมไทย จะไดรับผลดีจากการนำเขาสินคาทุนและวัตถุดิบ ในลักษณะเดียวกับการสงออกดวย นอกจากนั้ น ยั ง เอื้ อ ประโยชน ด า นการค า ระหว า งไทยและสหภาพเมี ย นมาร การพั ฒ นา เสนทางคมนาคมขนาดมาตรฐานเชื่อมโยงระหวางเมืองทวายกับประเทศไทย จะสงผลตอการคา ขามแดนของไทย กลาวคือบรรดาสินคาอุปโภคและบริโภคภายในครัวเรือนของไทยทีม่ พี นื้ ฐานความนิยม ในสหภาพเมียนมารสามารถขนสงและกระจายรวดเร็วขึ้น ประโยชนดานการผลิต การพัฒนา เขตอุตสาหกรรมและโครงสรางพื้นฐาน จะสงผลตอการขยายตัวของอุตสาหกรรมไทย โดยเฉพาะ 24


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

อุตสาหกรรมสงออกและอุตสาหกรรมทีต่ อ งใชความไดเปรียบเชิงแรงงาน รวมถึงอุตสาหกรรมแปรรูป ในทางเดียวกัน การพัฒนาอุตสาหกรรม โดยบริษัทเอกชนไทยที่จะเกิดขึ้นในทวายยังจะสงผล ตอการเติบโตในภาคเศรษฐกิจของไทยจากผลกำไรที่สงกลับมายังประเทศไทย ในเรื่องปญหาและขอจำกัด งานวิจัยเรื่องนี้ไดระบุวาแมขอตกลงเกี่ยวกับสัมปทานระหวาง บริษัทเอกชนไทยกับรัฐบาลสหภาพเมียนมารจะสมบูรณ และเอกชนไทยไดเริ่มการพัฒนาพื้นที่ บางสวนแลว อยางไรก็ดี โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ นิคมอุตสาหกรรม และทาเรือน้ำลึกทวาย ก็ประสบปญหาและขอจำกัดหลายประการ อาทิ แหลงเงินทุน โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจทวาย มีการประเมินวาอาจตองใชเงินลงทุนสูงถึง 1.5 แสนลานบาท ซึ่งปจจุบันยังไมมีความชัดเจน เรื่องแหลงทุนที่จะนำมาใชในการสรางและพัฒนาโครงการ อยางไรก็ดี ในปจจุบันมีความเปนไปได อยางมากวา เงินทุนจำนวนหนึ่งอาจจะมาจากกลุมทุนจากประเทศญี่ปุน และตะวันออกกลาง นอกจากนี้ ทางบริษัทอิตาเลียนไทย อาจทำการกระจายหุนในบริษัททวาย ดีเวลอปเมนตที่ดูแล โครงการพัฒนาฯ ใหกบั นักลงทุนจากญีป่ นุ ตะวันออกกลาง และสิงคโปร โดยจะลดสัดสวนการถือหุน ของบริษัทอิตาเลียนไทย ในดานประชากรและแรงงาน ที่แมทวายจะเปนเมืองหลักเมืองหนึ่งของมณฑลตะนาวศรี แตก็มีประชากรรวมทั้งหมดเพียง 139,900 คน ในขณะที่มณฑลตะนาวศรีมีประชากรรวมประมาณ 1.3 ลานคน ซึ่งถือวาเปนจำนวนที่คอนขางนอย และอาจนำไปสูปญหาการขาดแคลนแรงงานของ โครงการฯ และภาคอุตสาหกรรมไดในอนาคต รายงานยังระบุถึงปญหาดานความมั่นคงหลังการปฏิรูปการเมืองในป ค.ศ.2010 ที่แมจะ ปรากฏสัมพันธภาพอันดี และการเจรจาหยุดยิงระหวางรัฐบาลสหภาพเมียนมารกับกองกำลัง กลุมชาติพันธุหลายกลุม รวมถึงกลุมกองกำลังกะเหรี่ยงจำนวนหนึ่งที่มีอิทธิพลในแถบชายแดนไทย/ สหภาพเมียนมาร หากแตกองกำลังฯ อีกหลายกลุมในแถบมณฑลตะนาวศรี และเสนทางเชื่อมโยง ทวายถึงชายแดนไทย/สหภาพเมียนมารยังคงมีปญหากับรัฐบาลสหภาพเมียนมาร ซึ่งเปนปญหาและ อุปสรรคตอการพัฒนาตามแผนงานของโครงการ เดชรัตน สุขกำเนิด (2555) HIA กับการลงทุนขามพรมแดน: กรณีศึกษาทาเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรมทวาย สหภาพเมียนมาร เปนงานวิจัยที่มีจุดประสงคเพื่อเปนขอมูลใหกับ ภาคประชาสังคมในสหภาพเมียนมาร ในเรื่องการประเมินผลกระทบทางดานสุขภาพจากโครงการ ทาเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย สหภาพเมียนมาร โดยรายงานวิจัยมีทั้งหมด 15 หนา โดยเบือ้ งตนเปนการกลาวถึงขอมูลเบือ้ งตนของโครงการกอสรางทาเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย พรอมทัง้ ผลกระทบทีค่ าดวาจะเกิดขึน้ ซึง่ ผลจากการศึกษาในดานผลกระทบตอชุมชนและวิถชี วี ติ นัน้ การเปลี่ยนแปลงการใชที่ดินขนาดใหญจะสงผลกระทบโดยตรงกับชุมชนไมนอยกวา 20 หมูบาน และประชากรกวา 32,000 คน ที่จะตองโยกยายถิ่นฐาน และเริ่มตนอาชีพเกษตรกรรมในพื้นที่ใหม โดยเฉพาะชาวสวนที่ตองใชเวลาหลายปกวาที่ตนไมจะใหผลผลิตที่เปนรายไดแกครัวเรือน 25


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

นอกจากนัน้ การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญยงั อาจสงผลกระทบกับชุมชนทีอ่ ยูร อบๆ นิคม ทัง้ โดยตรง (เชน มลภาวะทางอากาศและมลภาวะทางน้ำ) และทางออม (เชน การขาดแคลนทรัพยากรน้ำ การปนเปอนของมลสารในหวงโซอาหาร ความแตกตางทางวัฒนธรรมของประชากรในพื้นที่กับ ประชากรที่อพยพเขามา และความไมเพียงพอของบริการสาธารณะในพื้นที่) ทั้งยังอาจสงผลกระทบ ตอเนือ่ งถึงเมืองทวายทีอ่ ยูท างตอนลางดวยเชนกัน โดยเฉพาะหากเกิดความเสือ่ มโทรมของทรัพยากรน้ำ ในลุมน้ำทวาย งานวิจัยยังไดเสนอแนะวา ในดานผลกระทบตอชุมชนและสังคมนั้น การประเมินผลกระทบ จะตองพิจารณาถึงผลกระทบทางสิ่งแวดลอม ทางสังคม และทางสุขภาพที่จะเกิดขึ้น จากการอพยพ โยกยายของประชาชน ทั้งการโยกยายประชาชนในพื้นที่เดิม และการอพยพของแรงงานและสมาชิก ในครั ว เรื อ นเข า มาทำงานในนิ ค มอุ ต สาหกรรม โดยจะต อ งมี แ ผนพั ฒ นาชุ ม ชนที่ ส อดคล อ งกั บ ระบบนิเวศและระบบวัฒนธรรม รวมถึงวิถกี ารดำเนินชีวติ สำหรับประชากรทัง้ สองกลุม ขณะเดียวกัน ก็ตองเตรียมแผนปองกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากมลภาวะและอุบัติภัยที่ชัดเจน และควรมีการ กำหนดพื้นที่กันชนระหวางนิคมอุตสาหกรรมและพื้นที่ชุมชนใหชัดเจน และเพื่อใหการประเมิน ผลกระทบทางสิ่งแวดลอม สังคม และสุขภาพ เปนไปอยางถูกตองและรัดกุม รวมถึงสามารถ ใหประชาชนไดเขาถึงและนำเสนอขอมูล ความคิดเห็นตางๆ เจาของโครงการจะตองเปดเผยขอมูล เกี่ยวกับโครงการ ทั้งในภาพรวมและในแตละโครงการยอย โดยขอมูลที่เปดเผยจะตองครอบคลุมถึง ความเสี่ยงและผลกระทบทางสิ่งแวดลอม สังคม และสุขภาพที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ดังกลาวดวย ภาคประชาชนในพื้ น ที่ แ ละภาคประชาสั ง คมในสหภาพเมี ย นมาร จะมี บ ทบาทสำคั ญ ในการผลั ก ดั น ข อ ห ว งกั ง วลและข อ เสนอแนะต า งๆ ให แ ปลงเป น รู ป ธรรมในการดำเนิ น การ ที่จะคุมครองและสรางเสริมสุขภาพของประชาชนในสหภาพเมียนมาร ภาคประชาชนในพื้นที่จึง ควรศึกษาและเผยแพรขอมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตและความหวงกังวลของประชาชนในพื้นที่ รวมถึง ความมุงหวังและทางเลือกในการพัฒนาของประชาชนในพื้นที่ เพื่อใหประชาคมอาเซียนไดรับทราบ และรวมกันสนับสนุนแนวทางการพัฒนาที่จะเอื้อตอการมีสุขภาพที่ดีของประชาชนในทุกๆ ประเทศ และทุกๆ พื้นที่ โดยอาจดำเนินการในลักษณะของการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน (หรือ Community HIA) ทีม่ กี ารดำเนินการในประเทศไทย ในการนี้ ภาคประชาชนและภาคประชาสังคม ในประเทศไทย ซึ่งมีประสบการณในการพยายามแกไขปญหาสิ่งแวดลอมและสุขภาพมาเปนเวลา กวาสองทศวรรษแลว จะมีสวนสำคัญในการแลกเปลี่ยนบทเรียนและประสบการณกับภาคประชาชน ในพื้นที่และภาคประชาสังคมในสหภาพเมียนมาร

26


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

ภาพที่ 1 แผนผังโครงการทาเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรม ที่มา: http://www.daweidevelopment.com

ในบทความเรื่อง Dawei Special Economic Zone: Its Prospects and Challenges โดย Zaw Aung2 นักวิชาการชาวพมา ไดกลาววาแมจะมีรัฐบาลใหมมาเมื่อไมนานนี้ แตก็ตอง ยอมรับวาเศรษฐกิจของสหภาพเมียนมารยงั ลาหลังประเทศอืน่ ๆ ในภูมภิ าค และมีการวางแผนทีจ่ ะใช ขัน้ ตอนตอไปทีจ่ ะรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยการสรางเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zones SEZs) โดยเฉพาะในการดึงดูดชาวตางชาติ โดยสงเสริมการลงทุนโดยตรง โดยมีการยกเวน ภาษีและการลงทุนอื่นๆ เพื่อใหพนจากภาวะเศรษฐกิจซบเซา การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (Dawei Special Economic Zone=DSEZ) รัฐบาลได ดำเนินการเพื่อเปดตลาดเสรี ดวยแนวคิดที่อยากจะมีสวนรวมมากยิ่งขึ้นในตลาดระดับภูมิภาคและ ระดับโลก แตกย็ งั คงเปนการเปดเสรีทางเศรษฐกิจบางสวน สวนทีเ่ หลือก็คอื เศรษฐกิจภายในประเทศ ที่ยังออนแอจากผลกระทบของบริษัทขามชาติที่แข็งแกรง ตามที่รัฐบาลวางแผนที่จะยายถิ่นฐาน แกผูไดรับผลกระทบในหมูบานทางตอนเหนือของ พื้นที่โครงการ ในพื้นที่การยายถิ่นฐาน สามเขตจะอยูติดกับชายฝงทะเล ในขณะที่อีกสองเขตจะอยู ในพื้นที่ดานใน การโยกยายถิ่นฐานอาจกอใหเกิดปญหาคือ ปญหาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดลอม 2

Zaw Aung, “Dawei Special Economic Zone: Its Prospects and Challenges”, paper presented at the special panel on “Burma Environmental Governance and Equity”, at the 4th International Conference on “Human Rights and Human Development, Critical Connections: Human Rights, Human Development and Human Security”, August 18-19, 2011. 27


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

ระบบการผลิตมีการเปลีย่ นแปลง สินทรัพยทมี่ คี า และแหลงรายไดของประชาชนจะหายไป ผูค นจะยาย ไปอยูกับสภาพแวดลอมที่ทักษะการผลิต เชน การเพาะปลูก อาจจะต่ำลงและการแขงขันแยงชิง ทรัพยากรมากขึ้น โครงสรางของชุมชนและเครือขายทางสังคมออนแอ กลุมญาติพี่นองจะตอง แยกยายกันไป และเอกลักษณทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมและศักยภาพในการชวยเหลือซึ่งกันและกัน จะลดนอยถอยลง การตัง้ ถิน่ ฐานใหมโดยไมไดเต็มใจ อาจกอใหเกิดความยากลำบาก ยากจนในระยะยาวอยางรุนแรง และเกิดความเสียหายดานสิ่งแวดลอม เวนแตวามีมาตรการที่เหมาะสมมีการวางแผนอยางรอบคอบ และนำไปใชจริง พื้นที่ที่จะทำการยายไปมีชุมชนครอบครองอยูกอนแลว แตประชาชนในทองถิ่น ที่หางไกลยังไมมีขอมูล ทั้งจากเจาหนาที่ของบริษัท หรือทองถิ่น หรือขอมูลที่ไดมาคลาดเคลื่อน นอกจากนั้นยังอาจเกิดปญหาในกลุมชาวประมงที่เมื่อมีการกอสรางและโยกยายที่อยูอาศัย ก็จะเขา ไมถึงแหลงประมง อันเปนวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนดวย บทความเรื่อง Development, Democracy, and Human Security in Myanmar: A Case Study of the Dawei Special Economic Zone โดย นฤมล ทับจุมพล Carl Middleton และ Zaw Aung กลาวไววา ในกรณีของโครงการทวายนัน้ การตัดสินใจทีส่ ำคัญมาจากรัฐบาลทัง้ สอง และบริษัทไดมุงเนนอยางมากในผลประโยชนทางเศรษฐกิจของโครงการ มากกวาในประเด็น ที่ จ ะส ง ผลกระทบต อ สิ่ ง แวดล อ มและสั ง คมวั ฒ นธรรมในพื้ น ที่ โ ครงการ ซึ่ ง อาจเตื อ นให นึ ก ถึ ง ความทรงจำของการดำเนินธุรกิจภายใตการปกครองโดยทหารในสหภาพเมียนมาร ดวยเหตุนี้ สำหรับโครงการขนาดใหญโดยรัฐบาลทหารที่รวมมือกับภาคเอกชนในประเทศ หรือตางประเทศ เจาหนาที่มักจะแสดงออกชัดเจนมากเกินไป จะยึดที่ดินและยายหมูบานตามคำสั่ง และโดยไม มี ค า ชดเชย และในขณะที่ ธุ ร กิ จ ดั ง กล า วไม จ ำเป น ต อ งกั ง วลเกี่ ย วกั บ ป ญ หาเหล า นี้ แต ขั้ น ตอนการเปลี่ ย นแปลงในรู ป แบบนี้ ภ ายใต รั ฐ บาลใหม ซึ่ ง ระบุ ว า หากต อ งมี ก ารใช ที่ ดิ น ของประชาชนตองมีการจายชดเชยและการยายที่จะตองมีการปฏิบัติตามกฎหมายใหม ในบริบทใหมนี้ กฎหมายที่บังคับใชอยูในสวนเขตเศรษฐกิจพิเศษตองการใหนักพัฒนาหรือ นักลงทุนจะตองรับผิดชอบในการจายคาชดเชยใหแกชาวบานที่ไดรับผลกระทบ และตองรับผิดชอบ ในการเตรียมแผนการยายที่อยูอาศัยสำหรับทำการตั้งถิ่นฐานใหม ซึ่งยังเปนปญหาใหญของโครงการ ในขณะนี้3

3

Naruemon Thabchumpon, Carl Middleton and Zaw Aung, “Development, Democracy, and Human Security in Myanmar: A Case Study of the Dawei Special Economic Zone”, paper presented at 2nd International Conference on International Relations and Development, Chiang Mai 2012. 28


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

จากบทความเรื่ อ ง “ท า เรื อ น้ ำ ลึ ก ทวาย: โครงการลงทุ น ขนาดใหญ ข องไทยในสหภาพ เมียนมาร” โดย ดร.ปวิน ชัชวาลพงพันธ4 ระบุวาจากภาพที่เห็นดูเหมือนรัฐบาลทหารเดิมพยายาม ดิ้นรนเพื่อสรางความชอบธรรมใหกับตนโดยการริเริ่มโครงการทวาย แตเมื่อมองลึกลงไปที่ชาวบาน ท อ งถิ่ น ในพื้ น ที่ ก ลั บ ได รั บ ประโยชน เ พี ย งน อ ยนิ ด เนื่ อ งจากการควบคุ ม เขตเศรษฐกิ จ ดั ง กล า ว ยังเปนรูปแบบเดิมคือจากบนลงลาง (Top-Down) พฤติการณคอรรัปชั่นและเลนพรรคเลนพวก อยางตอเนื่อง แสดงใหเห็นความจริงวา โครงการทาเรือน้ำลึกทวาย อยูหางไกลจากโครงการพัฒนา เพื่อประชาชน หากแตเปนโครงการที่ถูกใชประโยชน เพื่อสั่งสมความร่ำรวยใหกับฝายทหารและ พรรคพวก อีกทั้งยังเปนเครื่องมือที่สรางความชอบธรรมเนื่องจากเปนโครงการพัฒนาประเทศ จากการทบทวนวรรณกรรมดังกลาวมา จะเห็นไดวาแมโครงการทาเรือน้ำลึกทวายจะไดรับ การคาดหวังวาจะนำการเปลี่ยนแปลงในทางที่เปนประโยชนเรื่องการคาและเศรษฐกิจแกสหภาพ เมียนมารและไทย รวมทั้งเปนการเชื่อมโยงเสนทางการเดินทางและขนสงในภูมิภาคนี้ แตในแง ของประโยชนตอทองถิ่นนั้นยังไมเดนชัด และมีขอกังขาถึงผลกระทบตอชุมชน สิ่งแวดลอม วิถีชีวิต วัฒนธรรมของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจะไดกลาวถึงรายละเอียดจากผลการศึกษาในบทตอๆ ไป

4

ปวิน ชัชวาลพงพันธ, “ทาเรือนํ้าลึกทวาย: โครงการลงทุนขนาดใหญของไทยในพมา” แปลจาก “Dawei Port: Thailand’s Megaproject in Burma” วารสาร Global Asia, Vol.6 No.4 (Winter 2011), หนา 96-107. 29


ข อมูลทั่วไปเมืองทวายและโครงการพัฒนา ท าเรือน้ําลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ข อมูลและประวัติศาสตร เมืองทวายโดยสังเขป ทวายเปนเมืองหลวงของแควนตะนาวศรีในสหภาพเมียนมาร มีจำนวนประชากรราว 5 แสนคน มีกลุมชาติพันธุหลายกลุม ไดแก ทวาย มอญ กะเหรี่ยง และอื่นๆ ภาษาหลักที่ใชคือ ภาษาทวาย สวนพื้นที่ที่เปนที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมเปนเขตเมืองเกาที่เรียกวานาปูเล เขตเมืองทวาย ในพืน้ ที่ 250 ตารางกิโลเมตร ทีม่ าทำเปนนิคมอุตสาหกรรม จะตองเวนคืนทีด่ นิ และอพยพประชาชนกวา 20 หมูบ า น ประมาณ 4,000 หลังคาเรือน และมีจำนวนประชากรทีจ่ ะตองอพยพประมาณ 32,000 คน ประชาชนเหลานี้สวนใหญประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมง เชน สวนผลไม สวนยาง คลายกับ ภาคใตของประเทศไทย เมืองทวายมีประวัติศาสตรเกาแกไมนอยกวาเมืองใดในภูมิภาคนี้ โดยเปนเมืองทามาตั้งแต สมัยโบราณนับพันป อยูริมฝงทะเลอันดามันในพมาตอนใต 30


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

ทวาย เปนสำเนียงไทยที่ออกเสียงเพี้ยนจากคำทองถิ่นวา “ทแว” ปจจุบันทางการสหภาพ เมียนมารกำหนดใหสะกดเปนภาษาอังกฤษตามเสียงที่ถูกตองของทองถิ่นวา Dawei แทนที่ชื่อ Tavoy ทีอ่ งั กฤษเรียกตัง้ แตสมัยอาณานิคม ชายฝง ของทวายนัน้ ยาวตัง้ แตอา วเมาะตะมะ ทะเลอันดามัน ยาวจากเหนือลงใต ติดพรมแดนไทยตั้งแตอำเภอแมสอด จังหวัดตาก ลงไปถึงอำเภอเมือง จังหวัด ระนอง มีชองเขาใหคนเดินทางติดตอไปมาหากันตั้งแตอดีต เชน ดานเจดียสามองคและดานบองตี้ (กาญจนบุร)ี ดานสิงขร (ประจวบคีรขี นั ธ) โดยเชือ่ วาทวายเปนสถานีการคา ยุคสุวรรณภูมทิ ขี่ นสินคา ขึ้นบกผานชองพระเจดียสามองค ลงลุมน้ำแมกลอง-ทาจีน ทำใหมีรัฐทวารวดี ลุมน้ำเจาพระยา ดวยเหตุที่ตั้งอยูบนเสนทางคมนาคมระหวางรัฐในพมากับรัฐในไทย แลวเปนจุดยุทธศาสตร สำคัญ ทำใหทวายถูก “พมาลากไป ไทยลากมา” นานเกือบพันป5 อาณาจักรทวายโบราณ ยุคกอตั้งรัฐที่เมือง “ทาการา” (Thagara) ตั้งอยูปลายเทือกเขา ตะนาวศรี ห า งจากตั ว เมื อ งป จ จุ บั น ไปราว 7 กิ โ ลเมตร มี อ งค ป ระกอบความเป น รั ฐ โบราณ ครบทุกประการ อาทิ เจดียใหญกลางเมือง เนินปราสาท คูเมือง กำแพงเมือง 3 ชั้น สุสานโบราณ ซากทาเรือริมลำน้ำโบราณที่ไหลผานเมืองลงสูแมน้ำทวาย

ภาพที่ 2 แผนที่เขตวัฒนธรรมของเมืองเกาทาการาในทวาย 5

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1372495292&grpid=&catid=09&subcatid=090. Accessed 10 October 2013 31


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

จากการศึกษาคนควาเมืองทาการาในรอบหลายปทผ่ี า นมา นักวิชาการทวายพบสถาปตยกรรม โกศบรรจุอัฐิ ลูกปด ตราประทับ ฯลฯ คลายคลึงและรวมสมัยกับวัตถุโบราณที่ขุดพบในนครรัฐ ของ “ชาวพยู” (Pyu) อาณาจักรโบราณทางตอนบน จากเอกสารประวัติศาสตรทวายที่พบมากในคริสตศตวรรษที่ 10 มีจดหมายเหตุบันทึกวา มีเจาเมืองจากตากมาปกครองทวาย และพบวามีพระพิมพและประติมากรรมหินทรายในรูปแบบ พุกามยุคคริสตศตวรรษที่ 9-13 เปนสายราชวงศทป่ี กครองเมืองตองเกว (Tasungkwe) ในคาบสมุทร ทวายในชวงป ค.ศ.1228-1390 อยางไรก็ตามพบวัตถุโบราณแบบสุโขทัยที่ทวาย อันบงบอกวาเปน พื้นที่ที่ถูกแยงชิงเขามาปกครองระหวางพมาตอนบนและไทย6 เมืองโบราณปจจุบนั อยูใ นเขตหมูบ า น Myo Haung และยังเปนทีต่ งั้ สำนักงานวัฒนธรรมทวาย ที่นี่เก็บรักษารูปปูนปนเทพฮินดู พระพุทธรูป ตราประทับอักษรโบราณภาษาสันสกฤต รับอิทธิพล มาจากอินเดียสมัยพระเจาอโศกมหาราช อักษรบางตัวกลายเปนตนกำเนิดอักษรพมาในปจจุบัน นั ก วิ ช าการสั น นิ ษ ฐานว า อั ก ษรดั ง กล า วเป น ชื่ อ ย อ ของกษั ต ริ ย หรื อ ผู ท ำบุ ญ ถวายสลั ก ไว เพื่อเสริมดวงชะตา อยางไรก็ตาม รัฐบาลสหภาพเมียนมารไมไดสงเสริมใหมีการขุดคนทางโบราณคดี เพื่อให ประวัติศาสตรทวายชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยนักวิชาการชาวทวาย Zaw Thura อาจารยจิตวิทยา ประวัติศาสตรแหงมหาวิทยาลัยทวายไดกลาววา เกิดจากการที่รัฐบาลสหภาพเมียนมารไมสนับสนุน ใหมกี ารขุดคน เนือ่ งจากเกรงวาจะมีการนำประวัตศิ าสตรมาเปนเครือ่ งมือตอรองและสรางความรูส กึ ชาตินิยมทวาย จึงเรียนรูจากเฉพาะสิ่งที่พบบนดิน และโบราณวัตถุที่ชาวบานขุดพบโดยบังเอิญ เมื่อ พ.ศ.2554 ทีมนักวิชาการทวายขอเงินรัฐบาลกลางมาปรับแตงเนินจนเห็นฐานรากพระราชวัง เกาอายุพันป แตรัฐบาลกลางยังไมมีนโยบายใหขุดคนในบริเวณตางๆ เขามีความเห็นวา ควรตอง เรียนรูประวัติศาสตรเพื่อจะสรางประวัติศาสตรใหม ซึ่งสำคัญตอการพัฒนาทวาย แมวาการพัฒนา ทวายก็ตองดำเนินไป แตก็ควรจะเรียนรูรากเหงาทางประวัติศาสตรไวดวย ความจริงและความรูมากมายเกี่ยวกับรากเหงาของชาวทวาย ยังไมไดรับอนุญาตใหเปดเผย เนื่องจากทางรัฐไมไดสนับสนุนใหมีการขุดคนดังกลาว และหากมีโครงการพัฒนาตางๆ เกิดขึ้น ชาวทวายเองก็ไมแนใจวาจะเกิดอะไรขึ้นกับแหลงโบราณคดีเหลานี้

6

Elizabeth Moore, “Dawei Buddhist Culture: a Hybrid Borderland”, Myanmar Historical Research Journal (21) June 2011, pp.1-62. 32


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

ความเป นมาของโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรมทวาย รัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหภาพเมียนมาร ไดทำขอตกลงรวมกันเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2551 ในบันทึกความเขาใจวาจะพัฒนาทาเรือน้ำลึกทวาย และจะเชื่อมโยงเสนทางคมนาคมจากทวายมาสู กรุงเทพฯ ตอมาในวันที่ 19 มิถุนายน 2551 รัฐบาลสหภาพเมียนมารไดลงนามในบันทึกขอตกลง รวมกับบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนต (มหาชน) จำกัด เพื่อที่จะใหบริษัทอิตาเลียนไทยฯ ศึกษา ความเปนไปไดของโครงการ หลังจากนั้น 2 ป ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 บริษัทอิตาเลียนไทยฯ ไดทำสัญญากับ การทาเรือของสหภาพเมียนมารเพือ่ รับสิทธิการพัฒนาโครงการทาเรือน้ำลึกทวาย รวมทัง้ การดำเนินการ นิคมอุตสาหกรรม และเสนทางคมนาคมเชื่อมระหวางประเทศไทยกับสหภาพเมียนมาร โดยสหภาพ เมียนมารเองมีนโยบายที่จะจัดตั้งพื้นที่ตรงนี้เปน “เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย” ซึ่งสาระสำคัญ ของสัญญาฉบับนี้ บริษัทอิตาเลียนไทยฯ สามารถที่จะใชประโยชนพื้นที่ได 60 ป ในการทำสัญญา ครั้งแรก ภายหลังไดมีการตกลงกันใหม ปจจุบันใชพื้นที่ได 75 ป ในเนื้อที่ 250 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 156,250 ไร ซึ่งใหญกวามาบตาพุดประมาณ 10 เทา บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนต เปนผูรับเหมากอสรางรายใหญของไทยไดรับสัมปทาน พัฒนาพื้นที่ทวาย ขนาด 250 ตารางกิโลเมตร หรือกวา 2 แสนไร จากรัฐบาลสหภาพเมียนมาร เปนเวลา 75 ป เพื่อพัฒนาพื้นที่เปนนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญของโลก ดวยขนาดเงินลงทุน ในระยะแรกกวา 2 แสน 4 หมื่นลานบาท ในระยะเวลา 4 ป 6 เดือนนับจากป 2555 นิคมอุตสาหกรรมทวาย ที่รัฐบาลสหภาพเมียนมารประกาศใหเปนเขตอุตสาหกรรมพิเศษ มีขนาดใหญกวานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 10 เทา มีทาเรือน้ำลึกที่ใหญที่สุดในโลก รองรับสินคา คอนเทนเนอรปละ 20 ลานตัน หรือ 2 เทาของทาเรือแหลมฉบัง และในระยะตอไปจะพัฒนาให รองรับไดถึงปละ 100 ลานตัน มีโครงการกอสรางโรงไฟฟาถานหินขนาด 4,000 เมกะวัตต มูลคา ประมาณ 1 หมื่นลานดอลลาร ซึ่งจะสงมาจำหนายในไทย 3,600 เมกะวัตต ที่เหลือใชในประเทศ สหภาพเมียนมาร นอกจากนี้ยังมีโครงการกอสรางโรงเหล็กขนาดใหญ ทั้ง Posco จากเกาหลีใต กลุม Mittal จากอินเดีย และกลุม Nippon Steel จากญี่ปุน รวมถึงจะมีโครงการกอสรางปโตรเคมี คอมเพล็กซขนาดใหญ และจะมีอตุ สาหกรรมการผลิตขนาดกลางและขนาดเล็กทัง้ หลายจะมารวมกัน และนิคมอุตสาหกรรมทวายจะเปน Supply Chain สำคัญของโลกในอนาคต เปาหมายที่ชัดเจนของรัฐบาลสหภาพเมียนมารคือปนให “ทวาย” เปน Gateway ใหม ทีด่ งึ ดูดนักลงทุน ประตูทกุ บานจึงเปดรับการพัฒนาโครงสรางพืน้ ฐานเพือ่ รองรับนักลงทุนจากทุกมุมโลก ที่จะรองรับการเติบโตในอนาคต เมืองหลวงใหมของสหภาพเมียนมาร 33


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

จากการทีน่ ายกรัฐมนตรียง่ิ ลักษณ ชินวัตร ไดมอบหมายใหสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแหงชาติรวมกับกระทรวงมหาดไทย ใหเปนหนวยงานหลัก เพื่อบูรณาการพัฒนา จังหวัดกาญจนบุรีใหเปนศูนยกลางทางเศรษฐกิจภาคตะวันตกนั้น สำหรับความทาทายจากโอกาส และแรงกดดันที่นำไปสูการพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรีก็คือ การมีชายแดนติดตอมณฑลตะนาวศรี สหภาพเมี ย นมาร ซึ่ ง เป น พื้ น ที่ โ ครงการท า เรื อ น้ ำ ลึ ก ทวาย สถานการณ ใ นสหภาพเมี ย นมาร เริ่มคลี่คลาย ทำใหตางชาติใหความสำคัญในการสานสัมพันธกับสหภาพเมียนมาร นโยบายใหม ของรัฐบาลสหภาพเมียนมารใหความสำคัญกับโครงการทาเรือน้ำลึกทวาย และการเปดพื้นที่ใหม สำหรับอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการลงทุนจากตางประเทศ แผนบูรณาการพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรี ใหเปนศูนยกลางทางเศรษฐกิจภาคตะวันตก ประกอบ ไปดวยโครงการตางๆ หนึ่งในนั้นคือโครงการทาเรือน้ำลึกทวายซึ่งกำลังกอสรางในสหภาพเมียนมาร อันจะนำมาซึ่งผลประโยชนสูงสุดทั้งตอสหภาพเมียนมารและไทย โดยเงื่อนไขของความสำเร็จ มีปจ จัยสำคัญคือความรวมมือจากสหภาพเมียนมาร ความรวมมือจากรัฐบาลไทยในการจัดโครงสราง พื้นฐานและการผานแดนและความสำเร็จของ East-West Economic Corridor เชื่อมสูไทย ดวยเสนทางหมายเลข 9 กลาวคือจุดผานแดนถาวรและกฎระเบียบกลไกที่เอื้ออำนวย รวมถึง การใชบริการธุรกิจและระบบโลจิสติกสที่แข็งแกรงของไทย โครงการทาเรือน้ำลึกทวายจะเปดไทยสู New Global Maritime Route เปนโอกาส ใหนักธุรกิจไทยขยายตลาดการคาสูสหภาพเมียนมาร มีโอกาสยายฐาน การลงทุน เพื่อลดตนทุน ประกอบการ หากรัฐบาลทั้งสองฝายใหความสำคัญและมีโอกาสเชื่อมโยงรถไฟสาย Dawei-Yunnan ตามแผนของรัฐบาลจีน จากงานศึกษาเบื้องตนของหนวยงานที่เกี่ยวของของไทยพบวา การพัฒนา พื้นที่ดานตะวันตกของไทย เพื่อเชื่อมโยงไปสูโครงการทาเรือน้ำลึกทวาย ซึ่งกำลังกอสรางในสหภาพ เมียนมาร มีอุปสรรคภายในประเทศ ไดแก ระบบการขนสงระหวางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ ยังไมดีพอ ระบบสาธารณูปโภคยังมีปญหา ที่ดินสวนใหญ รัฐครอบครองแบบไมมีเอกสารสิทธิ์และมีปญหา เก็งกำไร มีความเสี่ยงแผนดินไหว มีปญหามลพิษโรงงาน ขาดธุรกิจบริการ ขาดการจัดระเบียบ แรงงานตางดาว และการศึกษายังไมตอบสนองวิสยั ทัศนจงั หวัดดานเศรษฐกิจชายแดน สวนอุปสรรค ภายนอก ไดแก กฎระเบียบการคาของสหภาพเมียนมารยังมีความไมแนนอน มีปญหาชายแดน อิทธิพลของชนกลุมนอยมีบทบาทสูงในดานการคาชายแดนและเขตแดนไทย-สหภาพเมียนมาร ยังไมมีการปกปนที่ชัดเจน ฯลฯ รัฐบาลสหภาพเมียนมารเอง ก็ไดใหความหวังกับประชาชนในแงที่วาโครงการพัฒนาตางๆ ที่รัฐบาลดึงดูดเขามานั้นจะเปนประโยชนแกประชาชนในแงเศรษฐกิจ การจางงาน สรางรายได

34


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

ลำดับเหตุการณโดยสังเขปเกี่ยวกับโครงการทวาย - พฤษภาคม พ.ศ.2551: มีการทำบันทึกความเขาใจระหวางรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหภาพ เมียนมาร - มิถุนายน พ.ศ.2551: มีการบันทึกความเขาใจระหวางบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนต (ITD) กับการทาเรือของสหภาพเมียนมาร - พฤศจิ ก ายน พ.ศ.2553: ทำสั ญ ญากรอบข อ ตกลงระหว า งบริ ษั ท อิ ต าเลี ย นไทย ดีเวลอปเมนตกับการทาเรือสหภาพเมียนมาร - พ.ศ.2554: บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนต เขารวมการดำเนินการรางกฎหมาย เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายกับรัฐบาลสหภาพเมียนมาร - มิ ถุ น ายน พ.ศ.2554: บริ ษั ท อิ ต าเลี ย นไทย ดี เวล อ ปเมนต จั ด ทำโรดโชว โ ครงการ เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ที่กรุงเทพฯ และเมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุน - กันยายน พ.ศ.2554: บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนต จดทะเบียนบริษัททวายพัฒนา จำกัด ในสหภาพเมียนมารโดยบริษัท ITD ถือหุน 75% - พฤศจิ ก ายน พ.ศ.2554: บริ ษั ท อิ ต าเลี ย นไทย ดี เวล อ ปเมนต ทำสั ญ ญากั บ บริ ษั ท โรงไฟฟาราชบุรี (RATCH) เพื่อการลงทุนผลิตกระแสไฟฟาในโครงการทวาย - มกราคม พ.ศ.2555: รัฐบาลสหภาพเมียนมารยกเลิกโครงการโรงไฟฟาถานหินขนาด 4,000 เมกะวัตต และหันมาพิจารณาโรงไฟฟาถานหินขนาด 400 เมกะวัตตแทน - กรกฎาคม พ.ศ.2555: รัฐบาลไทยและรัฐบาลสหภาพเมียนมารทำบันทึกความเขาใจฉบับใหม เกี่ยวกับโครงการทวาย - พฤษภาคม พ.ศ.2556: รั ฐ บาลไทยและสหภาพเมี ย นมาร ล งนามร ว มกั น เพื่ อ จั ด ตั้ ง นิติบุคคลเฉพาะกิจ (SPV) ลงทุนในโครงการทวาย ความคืบหนาของโครงการทวายชวงตนป พ.ศ.2556 ในสวนของงานกอสราง ปจจุบันบริษัท อิตาเลียนไทยฯ ปรับปรุงถนนสำหรับขนสงเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ และพาหนะที่เกี่ยวของกับการ กอสรางของบริษัทอิตาเลียนไทยฯ เชื่อมระหวางโครงการทวายกับบานพุน้ำรอน จังหวัดกาญจนบุรี ระยะทาง 132 กิโลเมตร ซึ่งเปนถนนลูกรัง 2 ชองจราจรเสร็จแลว รวมทั้งเริ่มพัฒนาถนนภายใน นิ ค มอุ ต สาหกรรม นอกจากนี้ บริ ษั ท อิ ต าเลี ย นไทยฯ อยู ร ะหว า งการพั ฒ นาท า เรื อ ขนาดเล็ ก มีทาเทียบเรือยาว 100 เมตร ซึ่งคาดวาทาเรือดังกลาวจะเปดใชงานไดภายในป 2556

35


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

ความช วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย างเป นทางการจากประเทศไทย ในโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย นโยบายตางๆ ของสหภาพเมียนมารโดยเฉพาะดานตางประเทศและเศรษฐกิจกอนการ เปลี่ยนแปลงสูระบอบประชาธิปไตยนั้น ถูกกรอบดวยการเมืองการปกครองเบ็ดเสร็จ โดยรัฐบาล ทหารมายาวนานหลายทศวรรษ ทำใหถูกคว่ำบาตร (Sanction) จากสหรัฐอเมริกาและยุโรป อันทำใหขาดเงินชวยเหลือจากองคกรการเงินระหวางประเทศ ทั้งธนาคารโลก (World Bank) และ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแหงเอเชีย (Asian Development Bank) ซึ่งไมไดใหความชวยเหลือโดยตรง แกสหภาพเมียนมารมากวา 2 ทศวรรษแลว โดยหยุดลงในป ค.ศ.1986-1987 กอนที่จะมีเหตุการณ ลุกฮือและปราบปรามประชาชนในป ค.ศ.1988 ยิ่งทำใหความสัมพันธระหวางสหภาพเมียนมารและ ประเทศประชาธิ ป ไตยในโลกตะวั น ตกไม คื บ หน า นอกจากนั้ น ความสั ม พั น ธ ร ะหว า งสหภาพ เมียนมารกับองคกรพัฒนาเอกชนระหวางประเทศก็เลวรายลงไปอีก เนื่องจากนโยบายที่เครงครัด และไมเคารพตอหลักสิทธิมนุษยชน อันเปนหลักในการทำงานขององคกรเหลานี้ ทำใหองคกรตางๆ ไมสามารถเขาไปทำงานอยางเต็มรูปแบบในสหภาพเมียนมารได ความชวยเหลืออยางเปนทางการในสหภาพเมียนมาร จึงมาจากประเทศในเอเชียมากกวา โดยเฉพาะจากญี่ปุน7 ในขณะที่สหรัฐอเมริกานับเปนประเทศหัวหอกในการคว่ำบาตรสหภาพ เมียนมารจากระบบระหวางประเทศ แตสหรัฐอเมริกากลับเปนประเทศที่ใหความชวยเหลือสหภาพ เมียนมารมาก รองจากญี่ปุน นอกจากนั้นยังมีความรวมมือจากจีนในดานเศรษฐกิจที่เนนเรื่อง การพัฒนาโครงสรางพื้นฐาน การสำรวจดานพลังงานและการใหการสนับสนุนดานการประกอบการ ของภาครัฐ (State-Owned Enterprises) ทั้งนี้ยังเปนการปูทางเพื่อใหนักลงทุนจีนเขาไปในสหภาพ เมียนมารไดสะดวกขึ้น แตเนื่องจากโครงสรางพื้นฐานในสหภาพเมียนมารยังไมมีความพรอมจึงทำให รัฐบาลจีนชวยเหลือสหภาพเมียนมารในดานนี้มาตั้งแตกอนมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

7

ขอมูลจาก Tokyo Declaration ซึ่งวิเคราะหไวเมื่อพฤศจิกายน 2008 ไดใหขอมูลเกี่ยวกับความชวยเหลือของตางประเทศ ตอประเทศในอนุภูมิภาคลุมแมนํ้าโขง ไดแก กัมพูชา พมา ลาว และเวียดนาม ใน 3 ประการ กลาวคือ ประการที่ 1 ญี่ปุนเปนประเทศที่มีสัดสวนในการใหความชวยเหลือแกประเทศในอนุภูมิภาคลุมแมนํ้าโขงทุกประเทศ และใหมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบการใหความชวยเหลือจากตางประเทศ นั่นคือ ญี่ปุนใหความชวยเหลือแกเวียดนามสูงถึงรอยละ 58 ญีป่ นุ ใหความชวยเหลือแกลาวสูงถึงรอยละ 50 ญีป่ นุ ใหความชวยเหลือแกพมามากถึงรอยละ 44 และญีป่ นุ ใหความชวยเหลือ แกกัมพูชา เมื่อเทียบกับความชวยเหลือของตางประเทศคิดเปนรอยละ 42 36


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

ตารางที่ 1 การใหความชวยเหลือของรัฐบาลไทยตอสหภาพเมียนมาร8 โครงการความชวยเหลือ

รายละเอียดโครงการ การพัฒนาเครือขายการคมนาคม 1 การพัฒนาเสนทาง คณะรัฐมนตรีมมี ติเมือ่ วันที่ 4 กุมภาพันธ 1997 จัดสรรเงินกูแ กสหภาพ คมนาคมตามแนวเหนือ-ใต เมียนมารจำนวน 300 ลานบาท เพื่อกอสรางเสนทาง ทาขี้เหล็ก(เชื่อมโยงไทยเชียงตุง ระยะทาง 164 กิโลเมตร แตมปี ญ  หาสัมปทานระหวางรัฐบาล สหภาพเมียนมาร/ลาว-จีน) สหภาพเมียนมารกบั เอกชนไทย สหภาพเมียนมารจงึ ขอยกเลิกสัญญา เสนทางแมสาย-ทาขี้เหล็ก- และใหทหารชางของสหภาพเมียนมารดำเนินการกอสรางเสนทาง ดั ง กล า ว โดยใช ง บประมาณของสหภาพเมี ย นมาร เ อง แล ว เสร็ จ เชียงตุง-ตาหลัว-คุนหมิง ปลายป 2002 ในสวนของไทยไดใหความชวยเหลือเปนเงินใหเปลา เปนเงิน 38 ลานบาท ในการสรางสะพานขามแมน้ำโขงแหงที่ 2 2 การพัฒนาเสนทางคมนาคม รัฐบาลไทยใหความชวยเหลือแบบใหเปลาเพื่อกอสรางเสนทางจาก ตามแนวตะวันออกแมสอด/เมียวดี-หมูบานติงกะหยิงหยอง เชิงเขาตะนาวศรี ระยะทาง 1,735 กิโลเมตร มูลคา 1,229 ลานบาท กอสรางแลวเสร็จเมื่อป ตะวันตก ฝงตะวันตก ค.ศ.2006 ขณะนี้ รั ฐ บาลเห็ น ชอบในหลั ก การให ค วามช ว ยเหลื อ (เสนทางแมสอด-เมียวดีแบบใหเปลาเพื่อกอสรางถนนชวงตอจากหมูบานติงกะหยิงหยอง หมูบานติงกะหยิงหยอง เชิงเขาตะนาวศรี-กอกะเร็ก- เชิงเขาตะนาวศรี-กอกะเร็ก ระยะทาง 28.6 กิโลเมตร การซอมแซม สวนทีช่ ำรุดชวงเมียวดี-เชิงเขาตะนาวศรี และการซอมสะพานมิตรภาพ พะอัน-ทาตอน) ไทย-สหภาพเมียนมารแหงที่ 1 มูลคารวม 1,166 ลานบาท 3 สะพานมิตรภาพไทยรัฐบาลไทยใหความชวยเหลือเพื่อกอสรางสะพานฯ แหงที่ 1 มูลคา สหภาพเมียนมาร 104.6 ล า นบาท ก อ สร า งแล ว เสร็ จ เมื่ อ ป ค.ศ.1997 ต อ มาในป ค.ศ.2006 สะพานฯ เกิดชำรุด ขณะนี้กรมทางหลวงอยูระหวางการ ขามแมน้ำเมย แหงที่ 1 และแหงที่ 2 ที่อำเภอแมสอด ดำเนินการเพื่อซอมแซมสะพานแบบถาวร ซึ่งรวมอยูในโครงการที่ 2 ขางตน และเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2009 คณะรัฐมนตรีมมี ติเห็นชอบ จังหวัดตาก ใหเรงรัดการกอสรางสะพานฯ แหงที่ 2 ตามที่ ก ระทรวงพาณิ ช ย นำเสนอ เจาหนาทีเ่ ทคนิคสองฝายอยูร ะหวางการหารือในรายละเอียด

8

ดูเพิ่มเติมในรายงานวิจัย การพัฒนารูปแบบและแนวทางการใหความชวยเหลือของ สพพ. แกประเทศเพื่อนบาน, สถาบัน เอเชียศึกษา จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2554 37


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

โครงการความชวยเหลือ 4 การพัฒนาทาเรือน้ำลึกทวาย นิคมอุตสาหกรรมและเสนทาง คมนาคมเชื่อมโยงระหวาง ทาเรือน้ำลึกทวายจังหวัดกาญจนบุรี

รายละเอียดโครงการ รัฐบาลไทยสนับสนุนการกอสรางทาเรือน้ำลึกทวาย นิคมอุตสาหกรรม และเสนทางคมนาคม (ถนน รถไฟ สายสงไฟฟา และทอกาซ/น้ำมัน เชื่อมตอระหวางเมืองทวายกับชายแดนไทย/สหภาพเมียนมาร ที่บาน พุน้ำรอน จังหวัดกาญจนบุรี) ตามที่ไดตกลงในบันทึกความเขาใจ ว า ด ว ยการสร า งท า เรื อ น้ ำ ลึ ก ทวายลงนาม เมื่ อ เดื อ นพฤษภาคม ค.ศ.2008 ขณะนี้รัฐบาลสหภาพเมียนมาร และบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนต อยูร ะหวางการดำเนินการพัฒนาโครงการในรายละเอียด โครงการนี้ เปนการเชือ่ มโยงเครือขาย economic corridor ระหวาง ทะเลอั น ดามั น กั บ อ า วไทยที่ ล ดระยะเวลาการขนส ง และพั ฒ นา อุตสาหกรรมตอเนือ่ งทีช่ ว ยรองรับการพัฒนาพืน้ ทีแ่ ละความกินดีอยูด ี ของประชาชนทั้งสองฝาย การใหความชวยเหลือดานวิชาการ/สาธารณสุข 1 การมอบทุนการศึกษาระดับ ประเทศไทยไดชวยเหลือดานการศึกษาผานสำนักงานความรวมมือ ปริญญาโทและการฝกอบรม เพื่อการพัฒนาระหวางประเทศ (สพร.) ที่ไดดำเนินการมาแลวกวา ยี่ สิ บ ป มอบทุ น ไปแล ว กว า 1,500 ทุ น ในวงเงิ น งบประมาณ 550 ลานบาท ในป ค.ศ.2008 คิดเปนมูลคารวม 53 ลานบาท

การชวยเหลือของไทยทีใ่ หตอ สหภาพเมียนมารในชวงทีผ่ า นมาจะพบวา ไทยใหความชวยเหลือ สหภาพเมียนมารอยู 2 ลักษณะคือ 1) การพัฒนาโครงสรางพื้นฐาน และ 2) ความชวยเหลือ ทางดานสังคม เนนดานการศึกษาเปนหลัก สำหรับโครงการทวายนัน้ กอนหนานีร้ ฐั บาลไทยสนับสนุนการกอสรางทาเรือ นิคมอุตสาหกรรม และเสนทางคมนาคม (ถนน รถไฟ สายสงไฟฟา และทอกาซ/น้ำมัน เชื่อมตอระหวางเมืองทวายกับ ชายแดนไทย/สหภาพเมียนมาร ที่บานพุน้ำรอน จังหวัดกาญจนบุรี) ซึ่งในสวนของการคมนาคม บางสวนไดทำการกอสราง ปรับปรุงไปบางแลว แตในสวนของทาเรือนิคมอุตสาหกรรมนั้น ไดมี การปรับแผนจากการใหความชวยเหลืออยางเปนทางการ เปนการรวมทุนในระบบผานนิติบุคคล เฉพาะกิจและการลงทุนระหวางประเทศดังจะกลาวตอไป

38


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

การร วมทุนระหว างรัฐต อรัฐผ านนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle: SPV) การลงทุ น ในทวายนั้ น ต อ งมี ก ารปรั บ เปลี่ ย นรู ป แบบ เนื่ อ งจากป ญ หาในการดำเนิ น การ ทั้งเรื่องของเงินทุนและปญหาความขัดแยงในพื้นที่ โดยเมื่อเดือนมิถุนายน 2556 ไดมีการตกลงกัน ระหวางรัฐบาลไทยและสหภาพเมียนมารใหตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle: SPV) คำจำกัดความของนิติบุคคลเฉพาะกิจ หมายถึง นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้น เพื่อวัตถุประสงค ทีเ่ ฉพาะเจาะจง ผูจ ดั ตัง้ นิตบิ คุ คลเฉพาะกิจจะเปนใครก็ได (ซึง่ อาจเกีย่ วของหรือไมเกีย่ วของกับบริษทั ) ที่ตองการกอตั้งนิติบุคคลเพื่อดําเนินการตามวัตถุประสงคที่กําหนดไวแตเริ่มแรก นั่นหมายความวา ใครก็ตามที่ถูกจางเขามาดําเนินงานในนิติบุคคลเฉพาะกิจ ตองปฏิบัติตามวัตถุประสงคที่กําหนดไว อยางเครงครัด หรือที่ฝรั่งอุปมาอุปมัยวาเหมือนกับการใชโปรแกรมการบินอัตโนมัติ (Auto Pilot) (คือ เครื่องบินจะบินเองตามโปรแกรมที่ตั้งไว นักบินที่นั่งมาดวยมีหนาที่คอยดูแลใหเครื่องบิน บินตามโปรแกรมเทานั้น)9 สำหรับความคืบหนาของโครงการทวายตั้งแตชวงตนป 2556 มีดังนี10้ ในเดือนพฤศจิกายน 2555 รัฐบาลไทยและรัฐบาลสหภาพเมียนมารไดจัดตั้งคณะกรรมการ รวมไทย-สหภาพเมียนมาร เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวของ ซึ่งมีคณะทำงาน 3 ระดับ ไดแก คณะทำงานรวมระดับสูงไทย-สหภาพเมียนมาร (Joint High-Level Committee: JHC) คณะกรรมการประสานงานไทย-สหภาพเมียนมาร (Joint Coordination Committee: JCC) และคณะอนุกรรมการ 6 สาขา (Joint Sub-Committee: JSC) เพื่อทำงาน รวมกันในการพัฒนาโครงการทวายใหแลวเสร็จ รูปแบบการลงทุนในโครงการทวาย ที่ประชุม JCC มีมติใหระดมทุนในโครงการทวายโดยการ จัดตัง้ นิตบิ คุ คลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle: SPV) ซึง่ ไทยและสหภาพเมียนมารจะถือหุน ในสัดสวนรอยละ 50 เทากัน โดยในเบื้องตนตกลงจะรวมกันลงทุนฝายละ 50 ลานบาท เพื่อใหเปน หนวยงานธุรกิจที่รับสัมปทานการพัฒนาโครงการทวาย รวมทั้งระดมทุน เพื่อพัฒนาโครงสราง พื้ น ฐาน สำหรั บ ฝ า ยไทยจะให ส ำนั ก งานความร ว มมื อ พั ฒ นาเศรษฐกิ จ กั บ ประเทศเพื่ อ นบ า น (องคการมหาชน) (Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency: NEDA) เปนตัวแทนในการจัดตัง้ SPV รวมกับ Foreign Economic Relation Department (FERD) ของสหภาพเมียนมาร 9

อาภร เอกอรรถพร, “นิตบิ คุ คลเฉพาะกิจ”, วารสารวิชาชีพบัญชี ที่ 9 ฉบับวันที่ 24 เมษายน 2556 10 http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20130617/511836 39


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

ทั้งนี้ SPV ที่จัดตั้งขึ้นจะประกอบดวยคณะกรรมการฝายไทย 3 คน ฝายสหภาพเมียนมาร 3 คน และผูจัดการ 1 คน ซึ่งจะทำหนาที่คัดเลือกนักลงทุนที่สนใจและมีศักยภาพเขามาลงทุน ในโครงการทวาย ประกอบดวย โครงการขนาดใหญ 7 ประเภทโครงการ ไดแก ทาเรือน้ำลึก ถนนเชื่อมโยงพื้นที่โครงการทวายกับชายแดนบานพุน้ำรอน จังหวัดกาญจนบุรี นิคมอุตสาหกรรม ระบบไฟฟา ระบบประปา ระบบโทรคมนาคม และโครงการที่พักอาศัยและหางสรรพสินคา คิดเปน มูลคาลงทุนสูงถึง 213,000 ลานบาท ทั้ง 2 รัฐบาลจะมีการลงนามขอตกลงรวมกันในปลายเดือนพฤศจิกายน 2556 โดยผูลงนาม คือคณะกรรมการรวมไทย-สหภาพเมียนมาร เพือ่ พัฒนาเขตเศรษฐกิจทวายและพืน้ ทีเ่ กีย่ วของเกีย่ วกับ ขอตกลงในการจัดจางบริษัทที่ปรึกษาในการเขามาตรวจสอบเม็ดเงินลงทุน (ดิวดิลิเจนต) ของ บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนต ที่ไดเขาไปลงทุนเบื้องตนในโครงการทวาย

การลงทุนโดยตรงระหว างประเทศ (Foreign Direct Investment) รัฐบาลสหภาพเมียนมารมีนโยบายสงเสริมการลงทุนโดยตรงจากตางชาติ (Foreign Direct Investment: FDI) มา แมเมื่อยังเปนการปกครองโดยทหารอยูและไดประกาศใชกฎหมายการลงทุน ตางชาติ หรือ Myanmar Foreign Investment Law (FIL) ฉบับเดิม เมือ่ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2531 โดยมีเปาหมายใหนกั ลงทุน ลงทุนในทรัพยากรธรรมชาติของสหภาพเมียนมาร เพือ่ ใหเกิดประโยชนสงู สุด ตอการพัฒนาประเทศ ทั้งดานการกระจายรายไดประชากร พัฒนาฝมือแรงงาน ดังทีก่ ลาวมาจะเห็นไดวา รัฐบาลสหภาพเมียนมารมงุ หมายทีจ่ ะใหมกี ารพัฒนาในเชิงโครงสราง พื้นฐาน เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมที่กำลังเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2555 ประธานาธิบดีเต็ง เสง แหงเมียนมาร ไดใหความเห็นชอบ รางกฎหมายการลงทุนตางชาติฉบับใหมของสหภาพเมียนมาร หลังจากไดเสนอรางกฎหมายดังกลาว ตอรัฐสภาตั้งแตเดือนมีนาคม 2555 และไดมีการปรับปรุงแกไขหลายรอบ โดยเฉพาะในประเด็น ความขัดแยงระหวางความตองการของรัฐบาลสหภาพเมียนมาร ในการดึงดูดการลงทุนจากตางชาติ และการปกปองอุตสาหกรรมในประเทศของธุรกิจทองถิ่น กฎหมายการลงทุนดังกลาวจึงถือเปน สัญญาณเริ่มตนการเขาไปลงทุนในสหภาพเมียนมาร หลังจากที่ไดเปดประเทศอยางเปนทางการ

40


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

สำหรับกฎหมายการลงทุนจากตางประเทศฉบับใหม สรุปโดยสังเขป ดังนี้ รูปแบบการลงทุน กำหนดวาการลงทุนสามารถทำได 3 แบบคือ 1. ตางประเทศลงทุนทั้งหมด 2. การรวมลงทุนระหวางเอกชนหรือหนวยงานของรัฐบาลสหภาพเมียนมาร 3. การรวมลงทุนหลายฝาย ในกรณีที่เปนการรวมทุน สัดสวนการถือหุนใหเปนไปตาม ที่หุนสวนตกลงกัน สัดสวนการลงทุนขั้นต่ำไมไดระบุเอาไวในกฎหมายชัดเจน แตใหคณะกรรมการ มีอำนาจกำหนดโดยแปรผันตามลักษณะเฉพาะของธุรกิจแตละสาขา การลงทุนจากตางประเทศจะไดรับการยกเวนภาษีเงินไดเปนเวลา 5 ป ถามีการนำกำไร มาลงทุนตอ จะไดรบั การยกเวนภาษีรายไดในสวนนัน้ 1 ป การลงทุนเพือ่ การสงออก จะเสียภาษีรายได ในสวนของกำไรเพียง 50 เปอรเซ็นต การนำเขาเครื่องจักร อะไหล สวนประกอบ วัตถุดิบที่จำเปน ตองนำเขาในชวงการกอสรางโครงการจะไดรับการยกเวนภาษีศุลกากร ภาษีนำเขาวัตถุดิบที่ใช สำหรับการผลิตเมื่อเริ่มโครงการแลวจะไดรับยกเวน 3 ป หลังจากที่กอสรางโครงการเสร็จแลว การขอยกเวนภาษีศุลกากรสำหรับเครื่องจักร อะไหล สวนประกอบหรือวัตถุดิบระหวางที่เดินเครื่อง ทำการผลิ ต แล ว สามารถทำได โ ดยการขออนุ ญ าตจากคณะกรรมการเป น การเฉพาะ การผลิ ต เพื่อการสงออกจะไดรับการยกเวนภาษีการคา สิทธิในการเชาที่ดิน นักลงทุนตางประเทศมีสิทธิใชที่ดินในสหภาพเมียนมารโดยการเชา ไมวา จะเชาจากหนวยงานของรัฐหรือจากเอกชนไดนานถึง 50 ป ขึน้ อยูก บั ประเภทและขนาดของการลงทุน และสามารถตอสัญญาไดครั้งละ 10 ป 2 ครั้ง รวมระยะเวลาเชาซื้อที่ดินไดนานที่สุดถึง 70 ป การจางพนักงานในชวง 2 ปแรกของการดำเนินโครงการจะตองจางแรงงานพมาอยางนอย 25 เปอรเซ็นตของทั้งหมด ในอีก 2 ปถัดมาใหเพิ่มเปน 50 เปอรเซ็นต และใหเปน 75 เปอรเซ็นต ในอีก 2 ปถัดมา ในกรณีที่เปนงานที่ไมตองใชฝมือกฎหมายกำหนดวาจะตองจางชาวพมาเทานั้น ในกรณีที่เปนงานที่ตองใชความชำนาญพิเศษ การคัดเลือกบุคคลเขาสูตำแหนงงานนั้นๆ ทั้งคนพมา และตางชาติตองไดรับสิทธิอยางเทาเทียมกัน การใหหลักประกันเรื่องการเวนคืนทรัพยสินของธุรกิจภายใตกฎหมายฉบับนี้ จะไมยุติลง โดยปราศจากเหตุผลอยางเพียงพอกอนที่สัญญาหมดอายุ (ซึ่งมีนัยวาหากมีเหตุผลเพียงพอ ธุรกิจ อาจจำเปนตองยุติลงกอนสัญญาหมดอายุ) บทลงโทษ กรณีที่นักลงทุนไดกระทำการขัดตอกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่นๆ หรือระเบียบ หรือคำสัง่ อืน่ ใด จะมีลำดับชัน้ จากเบาไปหาหนัก เริม่ จากการตักเตือน พักสิทธิพเิ ศษเปนการชัว่ คราว เพิกถอนใบอนุญาตลงทุน และขึ้นบัญชีดำนักลงทุนรายนั้นๆ

41


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

อยางไรก็ตาม กฎหมายนี้ยังไมไดกลาวถึงแนวทางการลงทุนจากตางประเทศ โดยชัดเจน เสียทั้งหมด โดยเฉพาะอยางยิ่งเรื่องขอจำกัดในการลงทุน ซึ่งตองอางอิงจากกฎหมายอื่นๆ ที่อาจจะ ไมเปนการทราบกันโดยทั่วไป11 ในส ว นของโครงการทวาย ประเทศที่ ส นใจมาร ว มทุ น ตามคำเชื้ อ เชิ ญ ของรั ฐ บาลไทย และรัฐบาลสหภาพเมียนมารคือประเทศญี่ปุนซึ่งเมื่อตนเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2556 ที่ผานมาไดมี การหารือระหวาง นายพงษศักดิ์ รักตพงศไพศาล รัฐมนตรีวาการกระทรวงพลังงานกับนายเซทซูโอะ อิอุชิ ประธานองคการสงเสริมการคาตางประเทศของญี่ปุน (เจโทร กรุงเทพฯ) เกี่ยวกับการลงทุน ในโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมทวาย สหภาพเมียนมาร โดยเจโทรยืนยันวาญีป่ นุ ตองการเขารวม ลงทุนในโครงการนี้เพื่อใชเปนฐานการผลิตที่สำคัญ ซึ่งทางสหภาพเมียนมารเองก็ตองการใหญี่ปุน เขารวมทุน แมวาขณะนี้ทางจีนและเกาหลีใตใหความสนใจก็ตาม ทั้งนี้ รัฐบาลสหภาพเมียนมารจะเปดประมูลใหผูท่สี นใจเขามาพัฒนาโครงการทวาย เฟสที่ 1 ภายในวันที่ 31 มกราคม 2557 โดยจะเปนนิคมอุตสาหกรรมเบา เชน อาหาร ชิ้นสวนเครื่องใชไฟฟา สิ่งทอ เปนตน ซึ่งผูชนะประมูลจะตองลงทุนทาเทียบเรือขนาดเล็ก ถนน 2 เลนจากนิคมฯ ไปยัง ชายแดนไทย สวนการพัฒนานิคมฯ ขนาดใหญในทวายนั้น ทางองคการความรวมมือระหวางประเทศของ ญี่ปุน (JICA) อยูระหวางการศึกษา ซึ่งหากพัฒนาแลวการกอสรางโรงไฟฟาถานหินก็ตองเกิดขึ้น เพื่อรองรับการลงทุนขนาดใหญ และสวนหนึ่งจะขายไฟฟากลับมายังประเทศไทย12

11 12

อานเพิ่มเติมเรื่องกฎหมายการลงทุนพมาฉบับใหมในภาคผนวก http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000142008 Accessed 10 September 2013 42


ผลกระทบด านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล อม และสังคม จากโครงการพัฒนาท าเรือน้าํ ลึก และนิคมอุตสาหกรรมทวาย ผลกระทบด านเศรษฐกิจ ปญหาเรื่องที่ดินทำกินเปนประเด็นใหญที่กอใหเกิดความขัดแยง ทั้งระหวางชาวบานที่ไดรับ ผลกระทบดวยกันเอง และระหวางชาวบานกับโครงการ เนื่องจากแมวาจะมีการจัดหาที่อยูและที่ดิน ทำกินใหมแกชาวบานที่ไดรับผลกระทบทั้งหมดอยางนอย 30,000 คน แตอยางไรก็ตามที่ดินทำกิน ที่เคยมีไรนา สวนหมาก และสวนมะมวงหิมพานตอันเปนอุตสาหกรรมหลักอยางหนึ่งของทวาย ก็ไดรับผลกระทบอยางมาก เนื่องจากตองใชเวลานาน 3-5 ปกวาที่จะปลูกใหมและเก็บผลผลิตได พื้นที่ไรมะมวงหิมพานตประมาณ 12,000 เอเคอรอยูในพื้นที่เขตนิคมอุตสาหกรรมทวาย ทั้งหมด13 ซึ่งชาวบาน 12,000 คน จะตองเริ่มอพยพโยกยายในป พ.ศ.2556 13

สัมภาษณเจาของโรงงานเม็ดมะมวงหิมพานตในทวาย เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2555 43


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

“ชาวบานจำนวน 12,000 คน จาก 6 หมูบานตองถูกโยกยายหลังจากฤดูฝนนี้สิ้นสุดลง เพื่อหลีกทางใหกับการดำเนินโครงการในระยะที่ 1 โดยรวมแลว มีชาวบานทั้งหมด 30,000 คน จาก 19 หมูบาน ชาวบานไดเลาเรื่องราวความอัดอั้น วาพวกเขาไมตองการที่จะโยกยาย และ ไมตองการสูญเสียที่ดินทำกิน ที่ปลูกยางพารา มะมวงหิมพานต และหมาก มาตลอดระยะเวลา หลายป ชาวบานปฏิเสธคาชดเชย และปดถนนไมใหเจาหนาที่ของบริษัทเขาไปสำรวจที่ดิน” 14

ภาพที่ 3 ชาวบานที่เดือดรอนจากการกอสรางถนนของโครงการทวาย ที่มา: สหพันธสตรีทวาย (Tavoyan Women’s Union)

สวนมะมวงหิมพานตโดยมากอยูในเขตเนปูเล ที่จะเปนพื้นที่สรางนิคม โรงงาน มีการตัดถนน และปรับพื้นที่เพื่อเตรียมสรางนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งจะเปนอาคารโรงงาน สิ่งปลูกสรางอื่นๆ ผลกระทบในภาคธุรกิจแปรรูปเม็ดมะมวงหิมพานต เพื่อการบริโภคในสหภาพเมียนมารและ เพื่อสงออกมายังประเทศไทย ตองมีการปรับตัวอยางมาก เนื่องจากแหลงผลิตวัตถุดิบโดยมากคือ มาจากพื้นที่ที่จะปรับเปนนิคมอุตสาหกรรม โดยผูประกอบการวางแผนไววาจะยายแหลงผลิต ไปที่ยะไข ซึ่งมีการทดลองปลูกบางแลว แตผลผลิตจะลดลงเนื่องจากสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ แตกตางกัน นอกจากนั้นยังมีการทดลองนำเขาจากประเทศในแอฟริกาใต แตคุณภาพยังไมได ตามมาตรฐานและใชเวลาในการขนสงมากเกินไป ทำใหตนทุนในการผลิตสูงขึ้น 14

http://prachatai.com/journal/2013/09/48966 Accessed 10 October 2013 44


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

รัฐบาลสหภาพเมียนมารไมไดใหความสำคัญกับภาคเกษตรในพื้นที่นี้ เนื่องจากนโยบาย ในการปรับประเทศใหพัฒนาในเชิงอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น โดยการรวมลงทุนกับตางประเทศ โดยเฉพาะเมืองแถบชายฝงทะเล อาชีพหลักของประชาชนในทวาย นอกจากการเกษตรแลว ก็ยังมีอาชีพประมงซึ่งไดรับ ผลกระทบโดยตรงจากการสรางทาเรือชาวประมงในพื้นที่กลาววา “เราทำอาชีพประมงมาตัง้ แตรนุ ปูย า ตายาย เราทำอาชีพอืน่ ไมเปน คนทีน่ ไี่ มไดเรียนหนังสือสูง ถาใหเราไปทำงานในโรงงาน เราก็ทำไมเปน หลายคนอานเขียนยังไมได เราหนักใจ แตก็ไมรูจะ ทำอยางไร ถาเขาใหยายก็คงตองยาย” เหตุการณหนึ่งที่เห็นไดชัดถึงผลกระทบดังกลาวคือ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2556 ที่ผานมา ไดมีการตอตานเรียกรองที่ชัดเจนของชาวบานในประเด็นนี้ ซึ่งก็คือกลุมทองถิ่นในนามวิถีชีวิตชุมชน ยั่งยืนและการพัฒนา (Community Sustainable Livelihood and Development-CSLD) เรียกรองใหบริษทั อิตาเลียนไทยฯ (ITD) ตอบกลับเกีย่ วกับการจายคาชดเชยใหกบั 38 หมูบ า นทีไ่ ดรบั ผลกระทบจากการสรางถนนเชื่อมโยงระหวาง ทิกะดอน (Thitgadon) และมยิตตา (Myitta) ทางบริษัทไดดำเนินการกอสรางตั้งแตป 2553 และถือเปนโครงสรางหลักของโครงการทาเรือ น้ำลึกและเขตนิคมอุตสาหกรรมทวาย โดยปราศจากการยินยอม การกอสรางไดทำลายตนหมาก ยางพารา และมะมวงหิมพานต ซึ่งเปนแหลงรายไดหลักของชุมชน ที่ดินของชาวบานถูกยึดไปอยาง ไมเปนธรรมเพือ่ การกอสรางถนน ไดทำลายวิถชี วี ติ ของชาวบานในหลายชุมชน เชน มยิตตา พินมาเตา กาตองนี ตะบิวของ เยโบค คาเล็ทจี และทิกะดอน มาตั้งแตป 2553 ทางบริษัทอิตาเลียนไทยฯ ก็ไดสัญญาวา จะจายคาชดเชยนั้นให หลังจากการประเมินพื้นที่ผลกระทบนั้นเสร็จสิ้น แตบริษัท ก็ไมไดรักษาสัญญานั้น การประชุมเกีย่ วกับการจายคาชดเชยเกิดขึน้ หลายครัง้ ในป 2556 และทางบริษทั อิตาเลียนไทย ไดจา ยคาชดเชย (111) แยกตางหากใหกบั เจาของสวนยางพารา อยางไรก็ตาม บริษทั อิตาเลียนไทยฯ ไมไดจายเงินคาชดเชยที่เหลือใหกับชาวบานอีก 38 คน และไมมีกรอบเวลาที่แนนอนที่กำหนดขึ้น อยางโปรงใสสำหรับการจายคาชดเชยที่เหลือ เจาของสวนบางคนไมไดรับคาชดเชยใดๆ เพราะ บริษัทไมไดนับตนไมในสวนของพวกเขาที่ถูกทำลายไปโดยการกอสรางถนนตั้งแตป 255315 ดังนั้น ในวันที่ 9 กันยายน 2556 ชาวบานที่ไดรับผลกระทบจากหมูบานตะบิวชองจึงได เรียกรองใหบริษัทอิตาเลียนไทยฯ ตอบคำถามใหชัดเจนเกี่ยวกับกระบวนการจายคาชดเชยและ เพือ่ ทีจ่ ะเรียกรองความสนใจจากสาธารณะเกีย่ วกับขอวิตกกังวลของพวกเขา ในวันที่ 9 กันยายน 2556 ชาวบ า นจึ ง ได กั ก รถยนต ข องบริ ษั ท อิ ต าเลี ย นไทย จำนวน 3 คั น ไว และได ป ล อ ยไปเมื่ อ วั น ที่ 11 กันยายน 2556 15

http://prachatai.com/journal/2013/09/48800 Accessed 15 October 2013 45


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

ผลกระทบด านสิ่งแวดล อม ผลกระทบดานสิ่งแวดลอมที่จะเกิดจากโครงการนิคมอุตสาหกรรมและทาเรือน้ำลึกนั้น เปนขอหวงกังวลอยางมากของทั้งชาวบานและองคกรภาคประชาสังคม จากทั้งไทยและสหภาพ เมียนมารเนื่องจากกรณีตัวอยางที่เคยเกิดจากนิคมอุตสาหกรรมตางๆ โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุด ซึ่งแมมีผลงานวิจัยอยางชัดเจนวากอใหเกิดปญหามลพิษอยางรุนแรงแตกลับไมไดรับ การแกไข โดยหลังจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดไดถูกตั้งขึ้นเพียงไมกี่ป หลังจากนั้น (ป 2531) ชาวบานที่อาศัยในพื้นที่มาบตาพุด และพื้นที่ใกลเคียง เริ่มรองเรียนมากขึ้นตามลำดับ แตไมไดรับ การตอบสนองในการแกไขปญหาอยางจริงจัง นับตั้งแตเรื่องกลิ่นเหม็น น้ำเนาเสียที่โรงงานปลอยสู ลำคลอง ชายหาดปนเปอนไปดวยคราบน้ำมัน น้ำทะเลสีดำคล้ำ ทุกหนาแลงตองแยงน้ำกันใช แหลงน้ำจืด ลำคลอง และน้ำบาดาลในระยอง ปนเปอนดวยโลหะหนักเกินมาตรฐาน บรรดาโรงงาน อุตสาหกรรมหลายแหงเอาขยะพิษ ถังเคมีอันตรายโยนทิ้งขางถนน หรือไมก็เอาไปทิ้งกลางปา โดยความทุกขของประชาชนไมคอยไดรับการแกไขจากทุกฝายที่เกี่ยวของ16 แมวาปญหาเหลานี้จะดูไกลตัวจากชาวบานทวาย เนื่องจากโครงการกำลังอยูในระยะเริ่มตน แตการที่ไดเรียนรูจากองคกรเอกชนจากไทย ที่ทำเรื่องสิ่งแวดลอม มีการพาไปดูงานที่บริเวณ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ในประเทศไทย ก็ทำใหชาวบานทวายเริ่มกังวลถึงสิ่งที่ จะเกิดขึ้นกับบานเมืองของตน จากขอมูลของฝายดำเนินการโครงการเอง ไดกลาวไววา “โครงการทวายเปนโครงการขนาดใหญซงึ่ พัฒนาพืน้ ทีก่ วา 205 ตารางกิโลเมตร ทางทิศเหนือ ของเมืองทวาย ซึ่งคาดวาจะใชเวลาในการพัฒนาโครงการเปนระยะเวลาประมาณ 10 ป ในระหวาง การวางแผนพัฒนาและการศึกษาความเปนไปไดของโครงการพัฒนาทาเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรม ทวาย ไดดำเนินการศึกษาผลกระทบทางดานสิ่งแวดลอมและสังคมอยางละเอียดถี่ถวนทุกขั้นตอน เพือ่ ใหแนใจวาการพัฒนาโครงการจะสงผลกระทบนอยทีส่ ดุ โดยถือเปนเปาหมายหลักทีโ่ ครงการทวาย ไดยึดถือโดยเสมอมา”17 โดยมีโครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดลอมของโครงการทวายที่กำหนดไว ดังนี้ 16

อานเพิ่มเติมใน รองศาสตราจารย ดร.ฉวีวรรณ สายบัว อาจารยประจําคณะเศรษฐศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ไดถอดบทเรียนมาบตาพุด ในหัวขอ “การกําหนดและการดําเนินนโยบายเพื่อสาธารณประโยชน: กรณีนโยบายการพัฒนา อุตสาหกรรมมาบตาพุด” เสนอตอศูนยวจิ ยั เศรษฐศาสตร คณะเศรษฐศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เมือ่ เดือนพฤษภาคม 2554 17 http://www.daweidevelopment.com/index.php/th/dawei-project/environmental-a-social-concerns Accessed 15 October 2013 46


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

ตารางที่ 2 โครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดลอมของโครงการทวาย ชื่อโครงการ รายละเอียด Corporate Social Responsibility (CSR) ยกระดั บ คุ ณ ภาพชี วิ ต ของประชาชนบนพื้ น ฐานการศึ ก ษาที่ ดี โดยการเขาไปมีสวนรวมในการพัฒนาชุมชน สงเสริม สนับสนุน การศึกษาของเยาวชน รวมกิจกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมในทองถิ่น สรางความเขาใจอันดีกับชุมชน สงเสริม กิจกรรมการอนุรกั ษและฟน ฟูสภาพแวดลอม ระบบนิเวศชายฝง ทะเล ฝกอบรม (Training) และการสงเสริมอาชีพ สรางวิสยั ทัศนในการพัฒนา สรางงาน และรายได สนับสนุนกิจกรรม การฝกอบรมและสงเสริมอาชีพตางๆ เพือ่ เพิม่ ผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้ ง ให ค วามรู เ พื่ อ เพิ่ ม แนวทางการประกอบอาชี พ ใหม ๆ เพื่อรองรับการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรม ฟนฟูและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดลอม ดำเนินการจัดตัง้ ศูนยเพาะชำกลาไมเพือ่ ผลิตพันธุไ ม เพือ่ การเกษตร รวมถึงการผลิตพันธุไมโตเร็ว เพื่อปรับปรุงภูมิทัศนพื้นที่โครงการ ใหมคี วามรมรืน่ เพือ่ สรางความสมดุลระหวางการพัฒนาอุตสาหกรรม กั บ การดู แ ลทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล อ มให อ ยู ใ นระดั บ ทีเ่ หมาะสมสอดคลองกับความสามารถในการรองรับของระบบนิเวศ โครงการประชาสัมพันธ สรางความเขาใจกับชุมชน ชี้แจงใหเห็นประโยชนของโครงการ และแนวทางการดูแลรักษาสิ่งแวดลอม สงเสริมคุณภาพชีวิตของ ชุมชนใหดีขึ้น สรางงาน สรางรายได ภายใตการสรางหลักประกัน ในการประกอบอาชีพ สนับสนุนการใหเยาวชนไดรับการศึกษา เพื่อเปนกำลังในการพัฒนาประเทศ

47


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

ทั้งนี้ ขั้นตอนสำคัญหนึ่งในการทำโครงการก็คือการดำเนินการศึกษาผลกระทบทางดาน สิ่งแวดลอม สุขภาพ และสังคม อันเปนไปตามกฎหมายไทยที่วา รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 67 บัญญัติวา สิทธิของบุคคลที่จะมี สวนรวมกับรัฐและชุมชน ในการอนุรักษบำรุงรักษาและการไดประโยชนจากทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุมครอง สงเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอม เพือ่ ใหดำรงชีพอยูไ ดอยางปกติและตอเนือ่ ง ในสิง่ แวดลอมทีจ่ ะไมกอ ใหเกิดอันตรายตอสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ยอมไดรับความคุมครองตามความเหมาะสม18 ตามรัฐธรรมนูญ ขอนี้ กฎหมายไทยกำหนดใหโครงการพัฒนาขนาดใหญทอ่ี าจกอใหเกิดผลกระทบรุนแรงตอสิง่ แวดลอม ตองมีการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดลอม (Environment Impact Assessment) และการศึกษา ผลกระทบทางสุขภาพ (Health Impact Assessment) แตแมการศึกษาดังกลาวจะพบวา โครงการนัน้ อาจกอผลกระทบที่รุนแรง ก็ไมอาจเปนเหตุใหมีการทบทวนหรือยกเลิกโครงการ เจาของโครงการ เพียงแตถูกกำหนดใหจัดทำมาตรการลดผลกระทบและดำเนินการปฏิบัติตามมาตรการลดผลกระทบ (Post EIA and HIA Monitoring) เทานั้น ตามกฎหมายเรื่องนี้ในสหภาพเมียนมารยังไมไดมีการบัญญัติอยางชัดเจน19 แตโครงนี้เปน การดำเนินงานโดยทีร่ ฐั บาลไทยและภาคเอกชนจากไทยเปนหุน สวนสำคัญ และคาดวาจะมีผลกระทบ ขามพรมแดนกลับมายังประเทศไทยดวย จึงไดมีการจัดทำรายงานในเชิงคาดการณถึงผลกระทบจาก การศึกษาแผนงานโครงการจากนักวิชาการ และนักเคลื่อนไหวดานสิ่งแวดลอม โดยใหขอมูลวา การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญเชนนี้ อาจสงผลกระทบกับชุมชนทีอ่ ยูร อบๆ นิคม ทัง้ โดยตรง (เชน มลภาวะทางอากาศและมลภาวะทางน้ำ) และทางออม (เชน การขาดแคลนทรัพยากรน้ำ การปนเปอนของมลสารในหวงโซอาหาร ความแตกตางทางวัฒนธรรมของประชากรในพื้นที่กับ ประชากรที่อพยพเขามา และความไมเพียงพอของบริการสาธารณะในพื้นที่) ทั้งยังอาจสงผลกระทบ ตอเนือ่ งถึงเมืองทวายทีอ่ ยูท างตอนลางดวยเชนกัน โดยเฉพาะหากเกิดความเสือ่ มโทรมของทรัพยากรน้ำ ในลุมน้ำทวาย ขอหวงกังวลก็คือ เรื่องมลพิษ ซึ่งไดมีการคาดการณเมื่อคำนวณผลกระทบจากขนาดของ ภาคอุตสาหกรรมในมาบตาพุด เพื่อประมาณสภาพการณของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในโครงการ ทาเรือน้ำลึกทวาย มีดังนี้

18 19

รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 สัมภาษณตัวแทนจากสภานักกฎหมายทวาย เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2555 48


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

ตารางที่ 3 ผลกระทบโดยประมาณการในโครงการทาเรือน้ำลึกทวาย ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น

ประเด็น 1. ผลกระทบทางอากาศ 1.1 การปลอยกาซซัลเฟอรไดออกไซด 1.2 การปลอยกาซไนโตรเจนไดออกไซด 1.3 การปลอยฝุนขนาดเล็ก 1.4 การปลอยกาซเรือนกระจก (เฉพาะโรงไฟฟา 4,000 เมกะวัตต) - กรณีโรงไฟฟาถานหิน - กรณีโรงไฟฟากาซธรรมชาติ 2. ผลกระทบดานขยะ 2.1 ขยะอุตสาหกรรมทั่วไป 2.2 ขยะอันตรายจากอุตสาหกรรม 2.3 ขยะชุมชน 3. ผลกระทบทางน้ำ 3.1 ความตองการใชน้ำ 3.2 การปลอยน้ำเสีย

ตอวัน

ตอป

1,213 ตันตอวัน 970 ตันตอวัน 243 ตันตอวัน

442,563 ตันตอป 354,050 ตันตอป 88,513 ตันตอป 30 ลานตันตอป 13 ลานตันตอป

2,074 ตันตอวัน 124 ตันตอวัน 277 ตันตอวัน

756,959 ตันตอป 45,318 ตันตอป 101,258 ตันตอป

5.9 ลานลูกบาศกเมตรตอวัน 2,150 ลานลูกบาศกเมตรตอวัน 1.5 ลานลูกบาศกเมตรตอวัน 550 ลานลูกบาศกเมตรตอวัน

ที่มา: เดชรัต สุขกำเนิด. 2555. มองใหรอบดานผาน HIA ในการลงทุนขามพรมแดน กรณีศึกษาทาเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรมทวาย ประเทศพมา. มูลนิธินโยบายสุขภาวะ

และยังมีการเตือนถึงผลกระทบทีอ่ าจขามมายังไทย อันเนือ่ งมาจากการสรางเสนทางคมนาคม ขนสงขนาดใหญทั้งถนน ทางรถไฟ ทอน้ำมันและกาซธรรมชาติ และสายสงไฟฟาแรงสูงพาดจาก กรุงเทพฯ ผานนครปฐม กาญจนบุรี ไปยังทวาย อาจทำใหเกิดการตัดขาดพื้นที่ผืนปาตะวันตก ที่เคยเปนปาที่อุดมสมบูรณทอดยาวจากอำเภออุมผาง จังหวัดตาก ไปจนถึงเขตอุทยานแหงชาติ แกงกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ดวยเสนทางขนสงขนาดใหญ ทำใหความสมบูรณของทรัพยากรปาไม และสัตวปาอาจลดนอยลงไป นอกจากนั้นแนวทางหลวงใหมที่จะตัดผานจากบางใหญ ไปจนถึงนครปฐม อาจกั้นขวาง เสนทางการไหลของน้ำในพื้นที่ทุงพระพิมลในยามที่น้ำหลาก และกลายเปนอุปสรรคสำคัญสำหรับ การจัดการน้ำในชวงที่มีน้ำมากหรือเกิดอุทกภัย

49


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

ภาพที่ 4 สภาพถนนเชื่อมจากกาญจนบุรีสูทวาย ทางไปหมูบานโกโลนทา

ปญหาสิ่งแวดลอมที่เกิดขึ้นในปจจุบันเมื่อดำเนินโครงการมาระยะหนึ่งแลวก็คือ ถนนของ หมูบ า นถูกรถบรรทุกขนาดใหญใชสญ ั จรไปมาอยูต ลอดเวลา จนสภาพใชการไมได โดยเฉพาะในหนาฝน สวนในหนาแลงก็เกิดปญหาฝุนคลุงตลบไปทั่ว และทางบริษัทมักไมใสใจที่จะมาปรับปรุงซอมแซม ใหชาวบาน ในขณะที่แหลงน้ำของชุมชนก็ถูกทำลายมีการกัดกรอนของตลิ่ง และดินลงไปปนเปอน ในแหลงน้ำจนไมสามารถใชอุปโภคบริโภคได

ผลกระทบทางด านสังคม ในดานผลกระทบดานสังคมนั้น มีการคาดการณมาตั้งแตกอนเริ่มโครงการวาจะมีปญหา จากการโยกยายประชากรในพื้นที่โครงการ การที่จะเริ่มโครงการได ตองมีการอพยพยายคนทองถิ่นหรือชาวทวายที่อยูในพื้นที่สัมปทาน โครงการออกไปอยูในสถานที่แหงใหมที่รัฐบาลสหภาพเมียนมารจัดสรรไวให เบ็ดเสร็จมีประมาณ 9 ชุมชน 4,000 ครอบครัว ประชากรราว 2.6-3 หมื่นคน

50


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

ผูรับผิดชอบเรื่องการโยกยายคือ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนต หรือที่ชาวบานทวาย เรียกกันวา ITD โดยพื้นที่รัฐจัดสรร (Relocation Area) จะมี 3 พื้นที่หลักคือ 1. ปะกอวซูน (Pagaw Zoon) ขนาด 864 เอเคอร หรือประมาณ 2,160 ไร รองรับการยาย 10 หมูบาน 2,300 ครอบครัว 2. บาวาห (Bawah) 742 เอเคอร หรือประมาณ 1,855 ไร รองรับการยาย 5 หมูบาน 1,850 ครอบครัว และ 3. ปนดินอิน (Pandinin) รองรับชุมชนประมง 52 ครอบครัว รัฐบาลสหภาพเมียนมารจะเปนผูพิจารณาตัดสินวา ครอบครัวไหนยายไปแลวจะไดคาชดเชย อยางไร โดยคาชดเชยจะมี 2 สวนหลักคือ เงินชดเชยจากการประเมินทรัพยสิน กับชดเชยดวยการ สรางบานใหมใหคาใชจายทั้ง 2 สวน ทางบริษัทอิตาเลียนไทย เปนผูรับผิดชอบทั้งหมด ทางบริษัท กลาววา ลักษณะการยายจะไมใชยายไปเปนหมูบาน แตเปนการยายถิ่นฐานไปอยูในเมืองเพราะ ทัง้ บาวาห ปะกอวซนู ทางอิตาเลียนไทย จะเปนผูล งทุนจัดหาสาธารณูปโภคพืน้ ฐานใหอยางเรียบรอย อาทิ ไฟฟา ประปา โรงเรียน โรงพยาบาล รวมประชากรประมาณ 2.6-3 หมื่นคน เพราะตัวเลข ทีล่ งทะเบียนอาจมีการเปลี่ยนแปลง20 ประเด็นที่ชาวบานเรียกรองก็คือการโยกยายเหลานี้ ทำใหวิถีชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไป อยางมาก แมวาการโยกยายกำลังเริ่มตนในปนี้ แตสิ่งที่เกิดขึ้นนับตั้งแตเริ่มมีการจายเงินชดเชยใหกับ ชาวบานก็คือ ชาวบานไมสามารถบริหารจัดการ วางแผนการเงินเพื่อชีวิตและสังคมที่เปลี่ยนแปลง ไปได หลายครอบครัวใชเงินเหลานัน้ ไปแลว และไมเขาใจวาตนเองจะตองเก็บเงินเหลานีไ้ วเพือ่ อนาคต ที่การทำมาหากินจะตองแตกตางจากในอดีต ประเด็นทางสังคมที่พบหลังจากที่โครงการไดเริ่มดำเนินการคือ ความขัดแยงดานวัฒนธรรม วิถชี วี ติ ระหวางเจาหนาทีโ่ ครงการ แรงงานอพยพจากพืน้ ทีอ่ นื่ ของสหภาพเมียนมาร มีการตัง้ รานเหลา ในแถบหมูบานชายฝงที่ทำใหชาวบานในหมูบานไมพอใจ เนื่องจากวิถีดั้งเดิมของหมูบานเห็นวา การดื่มเหลาเมามายทำใหเกิดปญหากับชุมชน และอาจทำใหเกิดอาชญากรรมอื่นๆ ตามมา และ แจงเจาหนาที่ใหปดรานเหลา มิเชนนั้น ชาวบานจะรวมตัวกันประทวง ทางรัฐบาลสหภาพเมียนมาร จึงไดสั่งปดรานเหลาเหลานี้21 การเขาไปของคนงานไทย สินคาไทยที่เพิ่มขึ้น และการไดเงินคาชดเชยจำนวนมาก ทำใหการ บริโภคนิยมในทองถิ่นสูงขึ้นมากดวย โดยเฉพาะการซื้อรถจักรยานยนตจากฝงไทย ที่ชาวบานทวาย นิยมอยางมากเพราะสินคาในทวายสวนใหญกน็ ำเขาจากไทย เนือ่ งจากสินคาจีนทีท่ างรัฐบาลสหภาพ เมียนมารก็ไมไดกีดกันนั้น แมจะมีราคาที่ถูกกวา แตคุณภาพก็ไมเปนที่ถูกใจของชาวบานนัก 20 21

http://www.ebuild.co.th/news_full.php?g_news_id=4&news_id=598 Accessed 14 October 2013 ขอมูลจากการสัมภาษณชาวบานในเขตหาดเมาะมะกัน ซึ่งเปนพื้นที่ที่คาดวาจะใชกอสรางทาเรือเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2555 51


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

ประเด็นที่นาติดตามอีกประการหนึ่งก็คือ ชาวทวายที่สูญเสียที่ดินและมีการเสื่อมสลายของ สังคมดั้งเดิม เนื่องจากตองยายไปอยูที่อยูใหมในสังคมแบบใหม ซึ่งนักเคลื่อนไหวชาวทวายเกรงวา จะเกิดกรณีเหมือนเขื่อนปากมูน ที่ชวงกอนการสรางเขื่อน ฐานะคอนขางดี เพราะความสมบูรณของ ทรัพยากรแถบริมฝงแมน้ำมูน วิถีชีวิตเปนไปในรูปแบบยังชีพ คาขาย พึ่งพา-พึ่งพิงกัน มีความมั่นคง ทางอาหาร ชวงหลังการสรางเขื่อน เกิดการแตกแยกของครอบครัว เนื่องจากตองไปทำงานตางถิ่น เกิดการอพยพแรงงาน เพราะชาวบานมีทดี่ นิ นอย พืน้ ทีท่ ำนาอยูใ นทีส่ งู เกิดการแตกแยกในหมูเ ครือญาติ กิจกรรมพื้นบานสูญหายไป ภูมิปญญาพื้นบานเกี่ยวกับปลาและพืชพรรณธรรมชาติหายไป ทำให มีการพึ่งพาทรัพยากรจากปาและภาคการเกษตรบนพื้นดิน อาจทำใหเกิดปญหาทั้งการวางงาน เนื่องจากชาวบานสวนมากไมมีทักษะในการทำงานเชิง อุตสาหกรรมดังทีร่ ฐั บาลสหภาพเมียนมารหวังไว จึงอาจทำใหเกิดการอพยพไปหางานทำในประเทศไทย ซึง่ โดยปกติหนุม สาวชาวทวายจำนวนมากก็ขา มไปหางานทำในประเทศไทยและสงเงินมาใหครอบครัว อยูแลว ชาวทวายทานหนึ่งกลาววา “ถาโครงการนี้ทำใหเราตองแยกยาย ไมมีที่อยูที่ทำกิน เราอาจจะยายไปอยูที่ไทยก็ได เพราะ ถาเรารูสึกสะดวกใจมากกวาที่จะไปอยูเมืองไทย เพราะใกลกวาเมืองใหญๆ ของพมาอื่นๆ มาก ที่สำคัญเราไมอยากไปอยูกับคนพมา” 22 นอกจากนั้นราคาที่ดินที่สูงขึ้นมาก ยังทำใหชาวบานวิตกกังวลวา ตอไปจะไมสามารถอยูใน ทวายไดอีกตอไป เนื่องจากคาครองชีพที่สูงขึ้น และการที่ที่ดินมีราคาสูง ทำใหคนทองถิ่นไมสามารถ ซื้อที่ดิน เพื่อสรางครอบครัวในบริเวณเดิมที่ครอบครัวเคยอยูได จึงทำใหกังวลวาครอบครัวญาติ พี่นอ งที่เคยอยูใกลกันจะแตกแยกจากกันไป ราคาที่ดินในทวายนั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ จนปจจุบันสูงถึง 15-20 เทากอนที่โครงการจะเขาไป โดยเฉพาะในเขตถนนใหญ ใกลโครงการ จะมีคนจากพื้นที่อื่น เชน มัณฑะเลย ยางกุง เขามาซื้อ เนื่องจากคนทวายเองก็ไมไดมีกำลังซื้อมากขนาดนั้น สวนคนในทวายจำนวนไมนอยก็ขายแลวยาย ไปอยูที่อื่น จึงเกรงกันวาคนทวายทองถิ่น ตอไปจะไมเหลือในเมืองทวายอีก

22

จากการสัมภาษณชาวบาน พบวายังมีความรูสึกกับชาวพมา เนื่องจากชาวทองถิ่นถือวาตนเองเปนชาวทวายที่มีภาษา วัฒนธรรมของตนเอง ไมใชเปนคนพมากลุมหนึ่ง 52


การเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมทวาย ประชาสังคมในทวาย ความหมายของประชาสังคมนั้น มีนักวิชาการใหความหมายไวอยางกวางขวางซึ่งพอสรุป ไดวา “ประชาสังคม” คือการรวมตัวกันของคนในสังคม ซึ่งมีจิตสำนึก (Civic Consciousness) รวมกันมารวมตัวกัน ดวยจุดมุงหมายบางอยาง เพื่อประโยชนสาธารณะของสังคม โดยประชาสังคม จะกอใหเกิด “อำนาจที่สาม” นอกเหนือจาก อำนาจรัฐ และอำนาจธุรกิจ ซึ่งอาจไมตองการคน จำนวนมาก แตเปนกลุมเล็กนอย กระจัดกระจายและอาจมีความเชื่อมโยงกันเปนเครือขายยอย (Civic Network) การรวมตัวกันนั้น อาจไมตองอยูใกลชิดกัน แตสามารถสื่อสารกันไดเกิดเปน องคกรขึ้น (Civic Organization) ซึ่งอาจเปนองคกรทางการ (นิติบุคคล) หรือไมเปนทางการก็ได การรวมตัวในลักษณะประชาสังคมจะกอใหเกิดโครงสรางสังคมแนวใหม ที่มีความสัมพันธกัน ในแนวราบที่เทาเทียมกัน เสกสรรค ประเสริฐกุล ไดนิยามการเมืองภาคประชาชนวาคือการเคลื่อนไหวอยางมีจิตสำนึก ทางการเมืองของกลุมประชาชน เพื่อลดฐานะการครอบงำ รวมทั้งเพื่อโอนอำนาจบางสวนมาให ประชาชนใชดูแลชีวิตตนเองโดยตรง เปนปฏิกิริยาตอบโตการใชอำนาจรัฐ เพื่อถวงดุลอำนาจการ 53


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

ครอบงำของระบบตลาดเสรีในภาคประชาชน และเปนกระบวนการใชอำนาจทางตรงของประชาชน ที่มากไปกวาการเลือกตั้ง เพื่อเขาไปสูกระบวนการทางนโยบายทุกขั้นตอน โดยมีจุดหมายสำคัญคือ การลดระดับการปกครองโดยรัฐ จำกัดขอบเขตอำนาจรัฐ ใหสังคมดูแลตนเอง ถวงดุลอำนาจรัฐ ดวยประชาสังคมโดยไมมุงยึดอำนาจรัฐ23 ในที่นี้ภาคประชาสังคมจะเกิดขึ้นรวมตัวอยางเขมแข็งขึ้นเมื่อ 1. เกิดวิกฤตในสังคม ที่รัฐและทุนไมสามารถแกไขไดโดยลำพัง หรือเปนวิกฤตระดับโลก (Global Crisis) เชน วิกฤตสิ่งแวดลอม สิทธิมนุษยชน เอดส 2. การกอกำเนิดของชนชัน้ กลาง โดยเฉพาะอยางยิง่ พอคา นักธุรกิจ นักวิชาการ ทีม่ กี ารศึกษา และมีฐานะทางเศรษฐกิจ 3. พัฒนาการของกระบวนการประชาธิปไตย ซึ่งเปดโอกาสใหประชาชนสามารถแสดงออก ทางความคิดเห็นไดโดยอิสระ 4. ระบบการติดตอสื่อสาร ซึ่งชวยใหการรวมตัวเปนไปไดสะดวกขึ้น โดยที่บางครั้งไมจำเปน ตองพบกัน 5. ปญหาเรื่องประสิทธิภาพและความโปรงใสทางภาครัฐ ทำใหรัฐไมสามารถเปนผูแกปญหา ในสังคมไดแตเพียงอยางเดียว จึงตองการหาทางเลือกอยางอื่น24 ประชาสังคมที่เกิดขึ้นในทวายนั้น อาจมองไดวาเกิดจากสาเหตุทั้งหลายที่กลาวมานั้น ไดแก เกิดสิ่งที่อาจเรียกไดวาเปน “วิกฤตของสังคม” ในการที่มีโครงการพัฒนาขนาดใหญเขาไปในพื้นที่ และไดทำใหเกิดผลกระทบ การเปลี่ยนแปลงที่ตามมาอยางรวดเร็ว ดังที่กลาวไวในบทที่ 4 ทำใหเกิด การรวมตัวของกลุมตางๆ ในทวายในระยะเวลาไมนานหลังจากที่เริ่มโครงการ ในเรื่องประเด็นการกอตัวของชนชั้นกลางนั้น เมืองทวายมีมหาวิทยาลัยทวาย และสถาบัน การศึกษาอื่นๆ ที่ทำใหเกิดชนชั้นกลางที่มีการศึกษา มีพอคา นักธุรกิจที่สรางตัวมาจากการทำธุรกิจ ในระดับทองถิ่น โดยใชทรัพยากรในทองถิ่น เชน หมาก เม็ดมะมวงหิมพานต อาหารทะเล ทำให มีสถานะทางเศรษฐกิจที่พึ่งพาตนเองไดอยูแลว และพึ่งพิงบริการสาธารณูปโภคจากภาครัฐนอยมาก เชน มีโรงไฟฟาภาคเอกชนกลางเมืองทวาย ระบบประปา น้ำบาดาล ที่ชาวบานจัดการกันเอง ซึง่ แตกตางกันไปตามพืน้ ที่ เพราะทวายมีทงั้ บริเวณทีเ่ ปนเขตเมืองและชนบท สิง่ เหลานีท้ ำใหชมุ ชนทวาย สามารถพึ่งพาตนเองไดมากกวาหลายๆ พื้นที่ในสหภาพเมียนมาร ที่ชาวบานไมมีทรัพยากร และ ขาดการพัฒนาดานการศึกษา 23

อานเพิ่มเติมใน เสกสรรค ประเสริฐกุล, 2548, การเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตยไทย, กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้ง. 24 อานเพิม่ เติมใน เอกสารประกอบการสอนวิชาการวางแผนแบบมีสว นรวมเพือ่ พัฒนาทองถิน่ , ศูนยพฒ ั นาทรัพยากรการศึกษา (CARD) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 54


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

ระดับเศรษฐกิจที่พึ่งพาตนเองไดดังกลาวทำใหรัฐบาลสหภาพเมียนมารเอง ที่ผานมาไมได เขามาสนใจกับสวนนี้ของประเทศเทาใดนัก นอกจากบริเวณชายแดนที่มีกองกำลังกะเหรี่ยง Karen National Union หรือเคเอ็นยู ที่ควบคุมพื้นที่ ติดกับจังหวัดกาญจนบุรีของไทย ที่ทั้งรัฐบาล สหภาพเมียนมารและรัฐบาลไทยถือเปนพื้นที่ที่ตองดูแลเรื่องความมั่นคง ในเรือ่ งพัฒนาการของกระบวนการประชาธิปไตยซึง่ เปดโอกาสใหประชาชนสามารถแสดงออก ทางความคิดเห็นไดมากขึ้น หลังจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อป พ.ศ.2553 ทำใหเกิดการเคลื่อนไหว ของภาคประชาชนในสหภาพเมียนมาร ในประเด็นตางๆ ทั่วประเทศ ไมวาจะเปนเรื่องการทำงาน ของภาครัฐ ความขัดแยงระหวางกลุมชาติพันธุกับรัฐบาลสหภาพเมียนมาร และความเคลื่อนไหว อั น เกิ ด จากโครงการพั ฒ นาของภาครั ฐ ที่ ท ำให ป ระชาชนกล า ที่ จ ะรวมกลุ ม และออกมาแสดง ความคิดเห็น เปนการเมืองภาคประชาชน ทีถ่ อื วาทาทายการปกครองแบบประชาธิปไตยทีช่ าวพมาเอง เพิ่งจะไดมาเมื่อไมนานนี้ แมวาประชาธิปไตยของสหภาพเมียนมารจะเพิ่งอยูในระยะเริ่มตนและ มีขอกังขาวาเปนเพียงเงาของกลุมทหารเกา ที่เปลี่ยนโฉมจากรัฐบาลเผด็จการทหาร มาเปนรัฐบาล พลเรือนเทานั้น แตอยางไรก็ตาม การที่มีชองทางใหประชาชนไดแสดงความคิดเห็นมากขึ้น ก็ทำให การเปลี่ยนผานครั้งนี้ เกิดกลุมประชาสังคมใหมๆ ขึ้นมาทั่วสหภาพเมียนมาร ไมวาจะเล็กหรือใหญ ซึ่งในทวายก็เห็นไดอยางชัดเจน ระบบการติดตอสื่อสาร ซึ่งชวยใหการรวมตัวเปนไปไดสะดวกขึ้น โดยที่บางครั้งไมจำเปนตอง พบกันทำใหเกิดกลุมประชาสังคมผานการสื่อสารขึ้นไดงายและเขมแข็งขึ้น รวมถึงในกรณีของทวาย ดวย แนวคิดในเรื่องการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม ที่เริ่มกอตัวขึ้นปลายทศวรรษที่ 1970 ดู เ สมื อ นจะเป น การเตรี ย มพื้ น ฐาน หลั ก การ และแนวคิ ด เชิ ง ปรั ช ญาด า นการสื่ อ สารในสั ง คม ซึ่งสอดคลองและประสานกับแนวคิดดานการเปลี่ยนแปลงสังคมภายใตกรอบของ “ประชาสังคม” ซึ่งกำลังไดรับความสนใจจากนานาประเทศในชวงทศวรรษที่ 1990 และกำลังกาวสูความเปน แนวคิดหลักของการเปลี่ยนแปลงสังคมในศตวรรษที่ 21 นอกเหนือจากกระบวนการสื่อสารภายในบุคคล การสื่อสารระหวางบุคคล หรือการสื่อสาร ระหวางสมาชิกในชุมชน เพื่อผลักดันกระบวนการประชาสังคมแลวนั้น สื่อมวลชนยังคงเปนเสมือน เครื่องมือสำคัญในการกาวสูความเปนประชาสังคม และทำหนาที่สะทอนภาพประชาสังคม25

25

ปาริชาต สถาปตานนท สโรบล, “องคประกอบในการขับเคลื่อนประชาสังคม”, เอกสารสําหรับการประชุมกลุมยอยวาดวย เรื่องพลเมืองกับการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงในการประชุมทางวิชาการประชาสังคม ครั้งที่ 1 การสื่อสาร: กลไกสําคัญ ในการกาวสูป ระชาสังคมในศตวรรษที่ 21 ณ หอประชุมณัฐ ภมรประวัติ สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัย มหิดล ศาลายา นครปฐม, วันที่ 2-4 เมษายน พ.ศ.2542 55


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

บทบาทและหนาที่ของสื่อในทางการเมืองนั้น ไดมีพัฒนาการพรอมๆ กับการแพรขยายของ ระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากในประเทศที่มีการปกครองแบบเผด็จการและสังคมนิยมนั้น หนาที่ และบทบาทของสื่อมวลชนถูกจำกัดดวยนโยบายของรัฐบาล แตในประเทศประชาธิปไตยหรือ มีความพยายามจะพัฒนาไปสูป ระชาธิปไตย สือ่ เปนกลไกสำคัญทีจ่ ะสรางสาธารณมติหรือปฏิกริ ยิ ารวม (Collective Action) จากประชาชนโดยใชขอมูลขาวสารเปนทรัพยากรสำคัญ การเปลีย่ นแปลงมาสูป ระชาธิปไตยของสหภาพเมียนมารนน้ั ทำใหบริบทเรือ่ งสือ่ เปลีย่ นแปลงไป อยางมากดวย เนื่องจากแตกอนกลไกการควบคุมสื่อภายในประเทศของรัฐบาล ทำใหสื่อภายใน ไมสามารถแสดงบทบาทตางๆ ได โดยเฉพาะการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ ซึ่งถือเปนเรื่อง “ตองหาม” และ “อันตราย” อยางยิ่ง นอกจากนัน้ ในปจจุบนั การสือ่ สารในโลกออนไลน ทีเ่ ทคโนโลยีนบั วันจะรวดเร็วและกวางขวาง มากยิ่งขึ้น ไมเวนแตในสหภาพเมียนมาร ก็ยิ่งทำให “ประชาสังคมออนไลน” นั้นมีบทบาทมากขึ้น เรื่อยๆ ดังที่เคยเกิดขึ้นในหลายประเทศ จนกอใหเกิดการเปลี่ยนแปลงบริบททางการเมืองในระดับ กวางขวางดังเชนในตะวันออกกลาง แมแตการเปลี่ยนแปลงในสหภาพเมียนมารเองเมื่อไมกี่ป ที่ผานมาสื่อออนไลนตางๆ ก็มีสวนในการพัฒนาประชาธิปไตยอยางมาก กรณีของภาคประชาสังคมทวายก็เชนกันการติดตอสื่อสารผานอินเตอรเน็ต ทำใหการกอตัว ดำเนินการเคลื่อนไหว เปนไปทั้งในพื้นที่สาธารณะเสมือน (Virtual Public Space) และพื้นที่จริง ดังที่จะกลาวในบทบาทของกลุมตางๆ ตอไป ในประเด็นสุดทายที่ทำใหเกิดภาคประชาสังคมในทวายขึ้นก็คือ ปญหาเรื่องประสิทธิภาพ และความโปรงใสทางภาครัฐ ทำใหรัฐไมสามารถเปนผูแกปญหาในสังคมไดแตเพียงอยางเดียว จึงตองการหาทางเลือกอยางอื่น ในขอนี้หากพิจารณาเงื่อนไขเพิ่มเติมก็คือ การที่รัฐรวมมือกับ ภาคเอกชน จัดการใหเกิดโครงการพัฒนาที่ทำใหเกิดผลกระทบตอประชาชนอยางกวางขวางและ นำมาซึ่งความขัดแยง ทำใหภาคประชาสังคมตองมีการรวมตัว เพื่อตอรอง ยุติปญหา รวมแกไขกับ ภาครัฐ เพื่อไมใหปญหาเหลานี้ลุกลามใหญโต จนกลายเปนปญหาระหวางประเทศที่มีพรมแดน ใกลชิดเชนนี้ และเพื่อทำใหการพัฒนานั้นเปนไปเพื่อประโยชนของประชาชนชาวพมา

องค ประกอบภาคประชาสังคมทวาย ภาคประชาสังคมทวายประกอบดวยกลุมสังคมหลายกลุม ซึ่งมีแกนนำในการเคลื่อนไหวและ ประสานงานโดย สมาคมพัฒนาทวาย และมีเครือขาย ทั้งองคกรศาสนา กลุมสตรี กลุมชาติพันธุ ที่อยูในพื้นที่ และกลุมวิชาชีพตางๆ ดังตอไปนี้ 56


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

สมาคมพัฒนาทวาย (Dawei Development Association-DDA) กอตั้งขึ้นโดยคนหนุมสาว และที่กระตือรือรนในการทำงานเชิงพัฒนาจากพื้นที่ทวาย DDA จะมุงเนนการพัฒนาที่เปนมิตร กับสิ่งแวดลอม สิทธิที่ดิน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคและ การศึกษา การรวมตั ว ของ DDA นั้ น เริ่ ม ต น มาจากกลุ ม คนหนุ ม ที่ ร วมตั ว กั น เพื่ อ ดำเนิ น ธุ ร กิ จ สอนคอมพิวเตอรแกนักเรียนในเมืองทวาย และเมื่อโครงการทวายไดเริ่มตนขึ้น จึงไดรวมตัวกับ กลุมหนุมสาว กลุมสังคม และชาวบานในพื้นที่ทวาย เพื่อทำความเขาใจเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น รอบตัวของพวกเขา โดยระยะแรกนั้นไมไดเปนไปในลักษณะขององคกรที่เหนียวแนน แตเมื่อเริ่มมี การติดตอกับภาครัฐของสหภาพเมียนมารและเจาหนาที่ของโครงการจึงไดตั้งชื่อกลุมอยางเปน ทางการวา สมาคมพัฒนาทวาย โดยมีลักษณะการทำงานแบบเครือขาย โดยเชื่อมโยงระหวางกลุม ตางๆ และรวมตัวกันเปนระยะ การเขามาเปนสมาชิกของ DDA นั้น แกนนำกลาววา “คนทวายที่รักทวาย และตองการ มีสวนรวมกับเรา ก็ถือวาเปนสมาชิก DDA แลว” 26 ลักษณะการรวมตัวของกลุม นี้ ไมไดทำในลักษณะองคกรทีท่ ำงานเปนกิจจะลักษณะ เนือ่ งจาก เปนการรวมกลุมของคนในพื้นที่และผูไดรับผลกระทบ จึงไมไดมีการจางงานเจาหนาที่ หรืออยูในรูป องคกรพัฒนาเอกชน สมาชิกหลักของกลุมนี้เมื่อทำงานในเรื่องประเด็นทวายมาระยะหนึ่งจึงไดมีการ ประสานงานรวมกับองคกรพัฒนาเอกชนอื่นๆ ทั้งในยางกุงและในประเทศไทย และตอมาก็ไดทำงาน รวมกันอยางชัดเจนมากขึ้น เพราะสมาชิกใน DDA เองก็ไดไปทำงานในพื้นที่ทวายแกองคกรพัฒนา เอกชนเหลานั้นดวย จึงทำใหการทำงานมีลักษณะที่เปนเครือขายกวางขวางขึ้น นอกจากการขับเคลื่อนเครือขายดวยกลุมประชาชนแลว ยังมีการจัดการเรื่องขอมูลขาวสาร ที่ทำโดยคนในทองถิ่น เนื่องจากปญหาสำคัญประการหนึ่งก็คือการขาดแคลนขอมูลขาวสาร ไมวา จะกับภาครัฐหรือเหตุการณที่เกิดขึ้นในชวงเวลาปจจุบัน เพราะแมในเมืองใหญของสหภาพเมียนมาร จะมี ค วามสะดวกสบายในเรื่ อ งเทคโนโลยี ก ารติ ด ต อ สื่ อ สาร แต ส ำหรั บ พื้ น ที่ ส ว นใหญ ใ นทวาย ก็ ยั ง เป น เขตชนบท ซึ่ ง ไม ส ามารถติ ด ต อ ทางอิ น เตอร เ น็ ต ได โทรศั พ ท ก็ ร าคาแพง ระบบไฟฟ า ก็ไมสม่ำเสมอ ซึ่งชาวบานในทวายตองจายคาไฟใหกับโรงไฟฟาเอกชนที่ราคาแพงมาก DDA ไดเชื่อมตอกับสื่อตางๆ ในสหภาพเมียนมาร และตางประเทศ ผาน Dawei Watch Media Group ซึ่งเปนการทำงานขาวที่เกิดขึ้นในทวาย โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวของกับโครงการ ซึง่ จะมีการเผยแพรผา นสือ่ ออนไลน ทางเว็บไซต http://www.ddamyanmar.com/ และทางเฟสบุค https://www.facebook.com/pages/Dawei-Development-Association 26

สัมภาษณแกนนําสมาคมพัฒนาทวาย เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2555 57


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

อยางไรก็ดียังมีอุปสรรคอยูหลายอยางในการดำเนินงานดานนี้ ไดแก อินเตอรเน็ตที่ชาและ มีราคาแพง บุคลากรที่ยังใหมตองานการขาว เนื่องจากสหภาพเมียนมารเองก็เพิ่งเริ่มใหเสรีภาพ แกสื่อมวลชนเมื่อไมนานมานี้ นอกจากนั้นความขัดแยงในพื้นที่ก็ทำใหการทำงานขาวเสี่ยงอันตราย และตองเปนไปอยางระมัดระวัง บทบาทของ DDA เองถือวาเปนแกนกลางสำคัญในการเชื่อมตอ กลุมองคกรภาคประชาสังคมอื่นๆ รวมทั้งประเทศไทยและนานาชาติ โดยถือวาเปนองคกรที่เกิดขึ้น จากชุมชนและเพื่อประโยชนของชุมชนและดำเนินการโดยคนในชุมชน โดยเชื่อมตอกับกลุมองคกร อื่นๆ ทั้งในและนอกประเทศ นอกจากนัน้ ยังประกอบไปดวยกลุม องคกรเยาวชนสตรีกะเหรีย่ ง ทีอ่ ยูใ นพืน้ ทีใ่ กลกบั สนามบินทวาย ซึง่ ไดรว มกับชาวกะเหรีย่ งในพืน้ ทีต่ รวจสอบการทำงานของโครงการ โดยไดรบั การอบรมและใหแนวทาง การทำงานจากองคกรในไทย และในกรุงยางกุง ซึ่งในพื้นที่ทวายโดยมากแลวจะเปนชาวกะเหรี่ยง ที่นับถือศาสนาคริสต กลุมที่ไดรับผลกระทบโดยตรงคือตองโยกยายที่อยู เนื่องจากทางรัฐตองการ พัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับสนามบินที่จะมีการปรับปรุงใหดียิ่งขึ้น กลุมองคกรวิชาชีพอีกองคกรหนึ่งก็คือ กลุมทนายทวาย ที่ไดตั้งกลุมขึ้นมาเพื่อชวยเหลือ ชาวบานทีป่ ระสบปญหาในขอกฎหมายตางๆ ซึง่ ปญหาทีพ่ บสวนใหญในขณะนีก้ ค็ อื ขอพิพาทเรือ่ งทีด่ นิ ซึ่งมีทั้งกรณีที่เกิดจากโครงการทวาย และเกิดจากขอกฎหมายเดิมของสหภาพเมียนมารที่ใหทางรัฐ ใชที่ดิน ยึดที่ดินจากชาวบานไดโดยไมตองจายคาชดเชย อันทำใหมีปญหาพัวพันมาจนปจจุบัน ผูน ำในการเรียกรองและยืน่ ขอเสนอตางๆ มักจะนำโดยผูท สี่ งั คมทวายมีความนับถือ ซึง่ ก็คอื พระ ผูนำหมูบาน และหมอ ซึ่งเปนอาชีพที่ชาวพมาและชาวทวายใหความเคารพนับถือมาก ดังนั้น นอกจากกลุมตางๆ ที่กลาวมาแลว การที่ผูนำในชุมชนเหลานี้เขามามีสวนรวมในการเคลื่อนไหว ก็ทำใหการตอรองเปนไปอยางเขมแข็งยิ่งขึ้น

ประชาสังคมข ามพรมแดนจากประเทศไทย การเคลือ่ นไหวตรวจสอบการทำงานของโครงการทวายนัน้ เริม่ มาจากการทีอ่ งคกรพัฒนาเอกชน ของไทยทีท่ ำงานเคลือ่ นไหวคัดคานในเรือ่ งการลงทุนของไทยในประเทศเพือ่ นบาน ในเรือ่ งการสรางเขือ่ น ได ส นใจ ติ ด ตาม ตรวจสอบการทำงานของโครงการมาเป น ระยะ และได มี ก ารประสานงาน กับองคกรภาคประชาสังคมในพื้นที่ทวาย มีการลงพื้นที่ เพื่อแลกเปลี่ยนขอมูล องคกรหลักทีไ่ ดทำงานและออกมาเคลือ่ นไหวกับประชาสังคมพมา ไดแก เสมสิกขาลัย ทีท่ ำงาน รวมกับเครือขายองคกรพุทธศาสนาในสหภาพเมียนมาร มาเปนระยะเวลาหลายปแลว มูลนิธนิ โยบาย สุขภาวะ มูลนิธบิ รู ณนิเวศ (EARTH) และโครงการฟน ฟูนเิ วศในภูมภิ าคแมนำ้ โขง (TERRA) ซึง่ องคกร เหลานี้เคยจัดงานแถลงขาว งานสัมมนา และใหความรูขอมูลเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการทวาย 58


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

นอกจากนั้นยังมีองคกรที่ทำงานแบบไมประสงคออกนามอื่นๆ อีกหลายองคกรที่จัดการ อบรมสัมมนา พาประชาชนจากทวายเขามาดูงานในพืน้ ทีท่ ป่ี ระสบปญหาผลกระทบจากนิคมอุตสาหกรรม และโครงการพัฒนาในประเทศไทย เพื่อเปนการเรียนรูแลกเปลี่ยน และใหขอมูลแกคนในพื้นที่ทวาย ที่จะตองเผชิญกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น องคกรเหลานี้ ไดเรียกรองใหหนวยงานรัฐไทยเขามามีสวนรวมในโครงการทวายมากขึ้น เชน สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ควรจัดทำแผนอยางโปรงใส เปดโอกาสใหประชาชนไดรบั ทราบ และมีสวนรวม เพราะโครงการนี้ไมไดเปนโครงการเฉพาะในเขตสหภาพเมียนมาร แตเชื่อมตอมายัง ประเทศไทย และมีแนวโนมวาจะกระทบในดานทรัพยากรธรรมชาติและสังคมอยางรุนแรง และ เรียกรองวาสิ่งที่นักลงทุนไทยและรัฐบาลไทยตองทำใหไดคือการสรางความเชื่อมั่นกับคนพมาวาจะ ไมกอใหเกิดผลกระทบ โดยเฉพาะอยางยิ่งในดานทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดลอม และสุขภาพของ ประชาชน ไมเชนนั้นแลว ความเชื่อมั่นตอกันในระหวางประเทศเพื่อนบานจะไมเกิดขึ้น โดยเมื่ อ เดื อ นกั น ยายน พ.ศ.2512 เครื อ ข า ยภาคประชาชน 42 องค ก รได ร ว มลงนาม ในแถลงการณ ลงวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2555 “รัฐบาลตองทบทวน การลงทุนแทนอิตาเลียนไทย ในโครงการทาเรือน้ำลึกทวาย: หยุดอุมทวาย หยุดขยายหนี้สาธารณะ” ระบุขอเรียกรอง 3 ขอ คือ 1. กอนที่รัฐบาลไทยจะตัดสินใจใดๆ รัฐบาลจะตองศึกษาความเปนไปไดในภาพรวมใหมทั้งหมด รวมทั้งการศึกษาความเหมาะสม ความคุมทุนทางเศรษฐกิจ และวิเคราะหผลตอบแทนการลงทุน ทัง้ ในระยะสัน้ และระยะยาว ทีส่ ำคัญจะตองมีการศึกษาเชิงยุทธศาสตรทางเลือกการพัฒนาในเขตทวาย การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดลอมและสุขภาพ โดยตองมีกระบวนการมีสวนรวมของประชาชนสหภาพ เมียนมารและไทย และการศึกษาตางๆ นั้นตองดำเนินการภายใตกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และระเบียบตางๆ ที่เกี่ยวของของไทย เพราะรัฐบาลไทยจะเขาไปเปนผูแบกรับภาระความเสี่ยง การลงทุนแทน และนั่นหมายถึง สาธารณชนไทยที่จะเปนผูแบกรับภาระหนี้สาธารณะในระยะยาว นั่นเอง27 นอกจากนัน้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ ยังไดรบั การรองเรียนจากสมาคมพัฒนาทวาย (Dewei Development Association: DDA) ราว 20 คน โดยยืน่ หนังสือตอ นพ.นิรนั ดร พิทกั ษวชั ระ ประธานคณะอนุกรรมการดานสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ (กสม.) ระบุขอกังวลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชนในโครงการทาเรือน้ำลึกและ เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายในสหภาพเมียนมาร พรอมรวมใหขอ มูลเพิม่ เติมตอทีป่ ระชุมคณะอนุกรรมการฯ โดยระบุถึงความกังวลตอสถานการณดานสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวของกับโครงการทาเรือน้ำลึกและ เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ที่กำลังเกิดขึ้นในแควนตะนาวศรี และหวังวาทางคณะกรรมการสิทธิ ของไทย จะมีมาตรการในการสงเสริมใหเกิดสิทธิมนุษยชนในมาตรฐานสากลตอโครงการนี้ ซึ่งตอมา 27

http://prachatai.com/journal/2012/09/42716 Accessed 10 October 2013 59


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

นพ.นิรันดร พิทักษวัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ (กสม.) และนายเสรี นนทสูติ ผูแทนไทย ในคณะกรรมาธิการรัฐบาลอาเซียนวาดวยสิทธิมนุษยชน และคณะ ไดลงพื้นที่เมืองทวาย สหภาพ เมียนมาร โดยไดลงหมูบานในเขตกอสรางเพื่อรับฟงสถานการณและผลกระทบตางๆ จากชุมชน นอกจากนี้ยังไดรวมแลกเปลี่ยนกับภาคประชาสังคมของทวาย

การต อรองระหว างประชาสังคมทวายต อโครงการ กรณีโรงไฟฟ าถ านหินที่ทวาย ประชาสังคมชาวทวาย ไดดำเนินการเรียกรองใหรัฐบาลสหภาพเมียนมารและทางโครงการ ทบทวนการสรางโรงไฟฟาจากถานหิน หลังจากที่ไดรับขอมูลจากทางกลุมองคกรดานสิ่งแวดลอม ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เชน กรณีของโรงไฟฟาที่แมเมาะ โดยที่ผานมาทั้งรัฐมนตรี กระทรวงพลังงานของไทย และ กฟผ. ตางยังคงผลักดันโครงการโรงไฟฟาถานหินที่ทวาย โดยอางถึง กระแสการคัดคานโรงไฟฟาถานหินของชาวบานในประเทศไทย ทำใหตองหาพลังงานจากเพื่อนบาน อยางไรก็ตาม หนังสือพิมพเมียนมารไทม เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2556 รายงานวา เจาหนาที่ ระดับสูงจากกระทรวงพลังงานของสหภาพเมียนมารไดกลาววา ทางกระทรวงยังไมไดรับขอเสนอ อยางเปนทางการเรือ่ งการสรางโรงไฟฟาถานหินทีท่ วาย แตระบุเพิม่ เติมวาทางกระทรวงจะตรวจสอบ ทุกขั้นตอนหากมีการเซ็นเอ็มโอยูเกิดขึ้น เพื่อใหมั่นใจวาจะมีการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดลอม นอกจากนี้ เจาหนาที่ของสหภาพเมียนมารยังไดกลาวทิ้งทายวา “หากชาวบานไมพอใจ โครงการ ก็จะดำเนินการไมได”

ภาพที่ 5 ภาพรณรงคไมเอาโรงไฟฟาถานหิน 60


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

เมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2556 องคกรภาคประชาชนของสหภาพเมียนมารไดรวมกันออก แถลงการณเรียกรองใหรฐั บาลยุตโิ ครงการโรงไฟฟาถานหิน โดยระบุถงึ ผลเสียหายทางดานสิง่ แวดลอม และผลกระทบตอความเปนอยูของประชาชนพมา ซึ่งขัดแยงกับเปาหมายของสหภาพเมียนมาร ในการมุงไปสูการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้เรื่องโรงไฟฟา ยังไมไดขอสรุปอยางเปนทางการจากโครงการ เนื่องจากตองรอในเรื่องนักลงทุน กรณีการสรางเขื่อนกักเก็บน้ำ ชาวบานในหมูบานโกโลนทาไดรวมกันทำกิจกรรม เพื่อแสดงออกถึงการตอตานตอโครงการ ที่พวกเขาถูกรวมไวในกลุมที่ตองถูกโยกยายถิ่นฐานกวา 1,000 คน การเคลื่อนไหวตางๆ ที่ผานมา ไดแก การเจรจา ทำปายรณรงคไวหนาหมูบาน ทำพิธีปลอยโคมลอย NO DAM ในชวงงานบุญ วันเพ็ญเดือนสิบสอง งานเทศกาลใหญประจำปของชาวทวาย

ภาพที่ 6 ชาวบานกาโลนทาปลอยโคมลอยตอตานเขื่อน ที่มา: Dawei Development Association (DDA) 61


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

ชาวกาโลนทาอยูใ นกลุม ทีอ่ าศัยในพืน้ ทีส่ รางเขือ่ นซึง่ เปนสาธารณูปโภคพืน้ ฐานทีจ่ ะถูกนำไปใช ในเขตนิคมฯ ชาวบานตางวิตกกังวลที่ตองทิ้งถิ่นฐานและสูญเสียที่ดินทำกินที่มีทั้งเรือกสวนไรนา ที่โดยมากปลูกหมากและผลไม ชาวบานบอกวาตั้งแตบริษัทเขามาปกหลักในพื้นที่ พวกเขาก็เริ่ม ประสบกับความยากลำบากในการทำมาหากิน และไมสามารถใชชวี ติ ไดปกติดงั เดิม ไมสามารถจะปลูก พืชผลตามฤดูกาลได ถูกจำกัดพื้นที่เพาะปลูก หรือไดรับแจงจากเจาหนาที่โครงการวาใหยายไปปลูก ที่อื่น28 และถนนของหมูบานซึ่งเปนดินลูกรังก็ถูกรถบรรทุกขนาดใหญใชสัญจรไปมาอยูตลอดเวลา จนสภาพใชการไมได โดยเฉพาะในหนาฝน สวนในหนาแลงก็เกิดปญหาฝุนคลุงตลบไปทั่ว และ ทางบริษัทมักไมใสใจที่จะมาปรับปรุงซอมแซมใหชาวบาน นอกจากนั้นที่บานพะระเด็ด ยังมีการ ระเบิดภูเขาที่เปนแหลงตนน้ำของหมูบาน เพื่อนำหินไปใชในการกอสราง มีการตัดถนนรุกเขาไป ในที่ดิน ทำลายสวนมะมวงหิมพานตของชาวบาน สำหรับหมูบานกาโลนทา ซึ่งเปนหมูบานที่มีประวัติอันยาวนาน เคยเปนพื้นที่คาบเกี่ยวกับ การสูร บระหวางกองกำลังกะเหรีย่ งกับรัฐบาลสหภาพเมียนมาร ในปจจุบนั ชาวบานมีความเปนอยูท ดี่ ี จากการทำไร ทำสวน รอนทอง และคาขาย แผนการสรางเขือ่ นเพือ่ นำน้ำไปใชในเขตนิคมอุตสาหกรรม ไดสรางสถานการณความตึงเครียดในพื้นที่ ชาวบานกวา 1,000 คน ไมพอใจกับแผนของบริษัท ทีจ่ ะอพยพพวกเขาออกไปอยูท อ่ี น่ื เพราะบานเรือนและทีท่ ำกินของทัง้ หมูบ า นจะจมอยูใ ตอา งเก็บน้ำ แม บ ริ ษั ท เสนอจะจ า ยค า ชดเชยและสร า งบ า นใหม ใ ห ใ นที่ ที่ ไ กลออกไป แต ช าวบ า นส ว นใหญ ก็ยังยืนยันวาจะไมยายไปไหน เนื่องจากไมมั่นใจวาหากไปที่ใหมแลว ที่ดินจะดีเหมือนเดิมหรือไม แลวตองใชเวลานานกวาจะเก็บเกี่ยวผลผลิตจากพืชพันธุ การเคลื่ อ นไหวของชาวหมู บ า นซึ่ ง นำโดยพระในชุ ม ชน และประชาสั ง คมในทวายและ จากไทย ไดแสดงใหเห็นอยางชัดเจนของการสรางเครือขายขามพรมแดนของภาคประชาสังคม ที่ ก ำลั ง ต อ รองกั บ ทั้ ง รั ฐ บาลสหภาพเมี ย นมาร แ ละรั ฐ บาลไทย เพื่ อ ให ก ารพั ฒ นาเหล า นี้ เ ป น ไป อยางโปรงใสและยั่งยืนตามที่ทางโครงการไดกลาวอาง

28

ขอมูลจากการประชุมกลุมยอยกับชาวบานกาโลนทา และสัมภาษณพระผูนําหมูบาน เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2555 62


บทสรุปและข อเสนอแนะ ยุทธศาสตร ของรัฐบาลสหภาพเมียนมาร ในการพัฒนาโครงการท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย แมวาโครงการทาเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายจะมีการตกลงกันระหวางรัฐบาลไทย กับรัฐบาลสหภาพเมียนมาร มาตั้งแตสมัยที่รัฐบาลสหภาพเมียนมารยังมีการปกครองดวยทหาร และ มีการเปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีการเปลี่ยนเปนรัฐบาลพลเรือนในระบอบประชาธิปไตย แตอยางไรเหตุผล ดานการเมือง มิใชเหตุผลเพียงประการเดียวของการเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการในโครงการทวาย จากการศึกษายุทธศาสตรของรัฐบาลสหภาพเมียนมาร พบวามีการเปลี่ยนแปลงหลายชวง ของโครงการ จากสาเหตุ ห ลายข อ ประการแรก ก็ คื อ ป จ จั ย ภายในของสหภาพเมี ย นมาร เ อง ที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองหลังการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อป พ.ศ.2553 ทำใหมีการแกไขกฎหมาย ตางๆ เพื่อใหสอดรับกับรัฐธรรมนูญใหม และเตรียมพรอมสำหรับการเปดประเทศใหมากยิ่งขึ้น หลังการเปลี่ยนแปลงสูระบอบประชาธิปไตย

63


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

เมื่อวิเคราะหตามแนวคิดผลประโยชนแหงชาติ (National Interests) อันหมายถึงวา ผลประโยชน หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่นำไปสูความอยูดีมีสุข นอกจากผลประโยชนจะเกิดขึ้นกับ ปจเจกบุคคลแลว ผลประโยชนยังสามารถเกิดขึ้นกับรัฐในระบบความสัมพันธระหวางประเทศ และมีคำนิยามของผลประโยชนแหงชาติวา หมายถึง “การทีร่ ฐั หนึง่ ดำเนินนโยบายใดๆ โดยวัตถุประสงค ที่จะปกปองอธิปไตย ระบบการเมือง เศรษฐกิจ ศาสนา ภาษา เชื้อชาติของตนไว จากการรุกราน ของชาติอื่นๆ รัฐตางๆ อาจดำเนินนโยบายความรวมมือกัน แขงขันกัน ถวงดุลหรือเปนพันธมิตร โดยการชวยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อใหบรรลุจุดมุงหมายโดยมองวารัฐจะดำเนินนโยบายตางประเทศ บนรากฐานของผลประโยชนแหงชาติ และแตละรัฐจะกระทำทุกประการเพือ่ รักษาผลประโยชนของตน ซึ่งผลประโยชนนั้นเปนตัวกำหนดการกระทำของรัฐที่ทำใหรัฐมีอำนาจ และอำนาจนั่นเองที่จะทำให สามารถควบคุมรัฐอื่นๆ ได” การดำเนินการในโครงการทวายก็สอดคลองกับแนวคิดนี้ในประเด็นที่วา ทั้งรัฐไทยและ สหภาพเมียนมารก็ตางคำนึงถึงผลประโยชนของรัฐตนที่จะไดรับจากโครงการนี้ ทางฝายไทยเอง ตองการที่จะดำเนินการแสวงหาแหลงลงทุนใหมใหกับนักลงทุนไทย และเปนการยายฐานการผลิต ไปในเพื่อนบานที่มีพรมแดนติดกันและมีการตรวจสอบ คัดคานจากภาคประชาชนนอยกวาในไทย ที่กระบวนการภาคประชาชนเขมแข็งขึ้นมากในทศวรรษที่ผานมา ในฝายรัฐบาลสหภาพเมียนมารเองก็ตองการการพัฒนาทางเศรษฐกิจอยางรวดเร็ว หลังจาก ที่ประเทศอยูในฐานะยากจนมานาน การลงทุนในโครงการใหญระดับนี้ ยอมเปนไปไมไดที่รัฐบาล สหภาพเมียนมารจะดำเนินการเพียงลำพัง การเขามารวมทุนของรัฐบาลไทยจึงเปนโอกาสอันดี ในการพัฒนาพื้นที่หางไกลที่ทางรัฐบาลสหภาพเมียนมารเอง ไมไดใหความสนใจมากอนอยาง เมืองทวาย อยางไรก็ตามมีขอขัดแยงบางประการในแนวคิดนี้ เนื่องจากวาแมรัฐบาลทั้งสอง จะมองวา เปนผลประโยชนแหงชาติ แตในชาตินั้นก็ยังมีประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่โครงการที่ตองคำนึงถึง ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพวกเขาดวย ตามแนวคิดความชวยเหลือระหวางประเทศ ที่หมายถึง การยินยอมใหโยกยายทรัพยากรจาก รัฐบาลหนึ่งไปยังอีกรัฐบาลหนึ่ง ซึ่งจะเปนการใหเปลาหรือใหกูยืมก็ได ทรัพยากรที่วานี้อาจจะเปน ทรัพยากรที่จำเปนทางดานเศรษฐกิจ เชน สินคาหรือเงินทุน ในกรณีนี้ก็ถือวาเปนความชวยเหลือ เพื่อพัฒนาทางเศรษฐกิจ เพื่อชวยกระตุนใหเกิดความเจริญทางดานเศรษฐกิจ ทำใหเศรษฐกิจของ ประเทศดอยพัฒนาสามารถพัฒนาไปได ซึ่งนำไปสูความมั่นคงทางดานการเมืองและสามารถตอตาน การแทรกซึมจากฝายตรงกันขามได ความชวยเหลือชนิดนี้จะไดผลเต็มที่ หากเปนความชวยเหลือ แบบรัฐบาลตอรัฐบาล มีการวางแผนเศรษฐกิจที่รวมศูนยและควบคุมโดยรัฐบาลอยางใกลชิด

64


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

รัฐบาลไทยเอง ระยะแรกของโครงการก็ไดใหความชวยเหลือในดานโครงสรางพื้นฐานแก สหภาพเมียนมารในการกอสรางถนน อยางไรก็ตามความชวยเหลือเหลานี้เปนไปในสวนหนึ่งของ โครงการในระยะเริ่มตนเทานั้น และเปนผลประโยชนกับไทยดวย เนื่องจากเปนการสรางถนน เพื่อเชื่อมไทยกับชายฝงทะเลที่อันดามันดวย ในรายงานวิจัยนี้จึงพบวายุทธศาสตรของรัฐบาล สหภาพเมียนมารเปลี่ยนไป โดยมุงเนนที่การลงทุนจากตางประเทศมากกวา นอกจากนั้ น หากมองจากมุ ม มองของแนวคิ ด เรื่ อ ง Spatial Fix ซึ่ ง นั ย หนึ่ ง หมายถึ ง “การแกปญหา” ที่เห็นวาในพื้นที่ที่มีทุนแตพบปญหาการขาดแคลนแรงงาน ซึ่งเปนผลจากอุปสรรค ขอจำกัดของสถาบันหรือปญหาทางการเมือง สามารถ “แกไข” ไดดวยการเคลื่อนยายแหลงทุน ไปยังพื้นที่ทางภูมิศาสตรที่มีแรงงานราคาถูกหรือขาดแคลนการลงทุน ซึ่งโครงการทวายก็เปนไปตาม แนวคิดนี้ เนื่องจากการที่อัตราคาแรงในประเทศไทยสูงขึ้นและมีแนวโนมที่จะสูงขึ้นไปอีก รวมทั้ง ตนทุนอืน่ ๆ และมีความเสีย่ งตอภัยธรรมชาติมากขึน้ ดวยจากภาวะโลกรอน นอกจากนัน้ กระบวนการ โลกาภิ วั ต น ไ ด ท ำให รั ฐ ต อ งปรั บ เปลี่ ย นให ก ลายเป น รั ฐ ตลาด เช น พั ฒ นาบริ ก ารสาธารณะ สรางธรรมาภิบาลใหแกรัฐบาล เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากตางประเทศ แนวคิดนี้นาจะใชไดกับทั้งไทย และสหภาพเมียนมาร เนื่องจากรัฐสหภาพเมียนมารเองก็ไดเปลี่ยนรูปแบบการปกครองมา หลังจาก ที่ระยะกอนก็มีการปรับระบบเศรษฐกิจรับการลงทุนจากตางประเทศมาระยะหนึ่งแลว แตเมื่อมี การเปลี่ยนสูระบอบประชาธิปไตยก็ทำใหการเปดเปนเศรษฐกิจแบบเสรีไดสะดวกขึ้น เมื่อวิเคราะหจากทฤษฎีการลงทุนโดยตรงระหวางประเทศ (Foreign Direct Investment) ที่มองวา ปจจุบันการลงทุนระหวางประเทศสามารถเคลื่อนยายไปยังประเทศตางๆ ผานระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยกอใหเกิดการเคลื่อนยายปจจัยการผลิตอยางเสรี ซึ่งแมในกรณีนี้ รัฐบาลจะยังเปนผูตัดสินใจหลัก แตก็มีการเอื้อใหเกิดการลงทุนจากตางชาติมากขึ้น ผานนโยบาย ระดั บ ชาติ แ ละตั ว บทกฎหมายอย า งชั ด เจน โดยเฉพาะกฎหมายการลงทุ น ต า งชาติ (Foreign Investment Law) ฉบับใหม เมื่อป พ.ศ.2555 ทำใหนักลงทุนจากทั่วทุกมุมโลกใหความสนใจ สหภาพเมียนมารในฐานะเปนแหลงลงทุนแหงใหมที่มีศักยภาพสูง ซึ่งคาดวาจะกระตุนมูลคาการ ลงทุนโดยตรงจากตางประเทศของสหภาพเมียนมารใหเพิ่มขึ้นมาก มีการตกลงความรวมมือของ รัฐบาลสหภาพเมียนมารและรัฐบาลประเทศตางๆ รวมทั้งบริษัทเอกชนเพื่อดำเนินโครงการพัฒนา โครงสรางพื้นฐานและการลงทุนขนาดใหญตางๆ ในหลายพื้นที่ของสหภาพเมียนมาร นอกจากนั้น ยุทธศาสตรดังกลาวยังเปลี่ยนแปลงไป เนื่องมาจากความลาชาของโครงการ จากเรื่องเงินทุน และความขัดแยงในพื้นที่ที่ทำใหทั้งรัฐบาลไทยและสหภาพเมียนมาร และบริษัท อิตาเลียนไทยฯ ผูไดรับสิทธิ์สัมปทานโครงการ ตองปรับเปลี่ยนแผน เพื่อใหมีนักลงทุนจากตางชาติ เขามารวมทุน

65


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล อม และสังคม ของการก อสร างท าเรือน้ำลึกทวายต อชุมชน จากการศึกษา ในดานผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการกอสรางทาเรือน้ำลึกทวาย ตอชุมชนซึ่งเกิดในเวลาอันรวดเร็วเพียงไมกี่ปที่ผานมา พบวาไดกอใหเกิดผลกระทบทั้งทางดาน เศรษฐกิจระดับชุมชน ครัวเรือน และปจเจกอยางกวางขวาง อันเนื่องมาจากการสูญเสียพื้นที่ทำกิน ธุรกิจทองถิ่นขาดวัตถุดิบและตองปดกิจการ ป ญ หาเรื่ อ งที่ ดิ น ทำกิ น เป น ประเด็ น ใหญ ที่ ก อ ให เ กิ ด ความขั ด แย ง ทั้ ง ระหว า งชาวบ า น ที่ไดรับผลกระทบดวยกันเอง และระหวางชาวบานกับโครงการ เนื่องจากแมวาจะมีการจัดหาที่อยู และที่ดินทำกินใหมแกชาวบานที่ไดรับผลกระทบทั้งหมด แตอยางไรก็ตาม ที่ดินทำกิน ที่เคยมีไรนา สวนหมาก และสวนมะมวงหิมพานตอันเปนอุตสาหกรรมหลักอยางหนึ่งของทวายก็ไดรับผลกระทบ อยางมาก และยังสงผลตอภาคธุรกิจแปรรูปเม็ดมะมวงหิมพานตเพื่อการบริโภคในสหภาพเมียนมาร และเพื่ อ ส ง ออกมายั ง ประเทศไทย ที่ ผู ป ระกอบการวางแผนไว ว า จะย า ยแหล ง ผลิ ต ไปที่ ย ะไข แตผลผลิตจะลดลง เนื่องจากสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศแตกตาง โดยรัฐบาลสหภาพเมียนมาร ไมไดมีการพูดคุยเพื่อชวยเหลือนักธุรกิจทองถิ่นเหลานี้ อาชีพหลักของประชาชนในทวายนอกจาก การเกษตรแลว ก็มีอาชีพประมงซึ่งก็ไดรับผลกระทบโดยตรงจากการสรางทาเรือ ผลกระทบดานสิ่งแวดลอม ที่จะเกิดจากโครงการนิคมอุตสาหกรรมและทาเรือน้ำลึกนั้น เปนขอหวงกังวลอยางมาก ทั้งของชาวบานและองคกรภาคประชาสังคมจากทั้งไทยและสหภาพ เมียนมาร เนื่องจากไดเรียนรูถึงผลกระทบจากมลพิษจากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย อยางไรก็ตามขั้นตอนในการศึกษาผลกระทบทางดานสิ่งแวดลอมนั้นยังไมชัดเจน แมวาทางโครงการ จะแจงไววา จะดำเนินการอยางถูกตองตามกฎหมายไทย แตยงั ไมมรี ะบุไวในกฎหมายสหภาพเมียนมาร ซึ่งอาจเปนชองโหวใหเกิดผลเสียที่จะตามมาในอนาคตได ปญหาสิ่งแวดลอมที่เกิดขึ้นในปจจุบันเมื่อดำเนินโครงการมาระยะหนึ่งแลวก็คือ ถนนของ หมูบ า นถูกรถบรรทุกขนาดใหญใชสญ ั จรไปมาอยูต ลอดเวลา จนสภาพใชการไมไดโดยเฉพาะในหนาฝน และมีการปนเปอ นของดินตะกอนในแหลงน้ำทีช่ าวบานใชบริโภค เนือ่ งจากการกอสรางของโครงการ ทางโครงการยังขาดการใหขอ มูลขาวสาร ขาดขัน้ ตอนในการรับฟงความคิดเห็น การมีสว นรวม จากชุมชน ประชาชนในพืน้ ที่ การทำการศึกษาผลกระทบดานสิง่ แวดลอม สุขภาพอนามัย และสังคม ยังไมโปรงใสและชัดเจน การเปลีย่ นแปลงดังกลาว ทำใหวถิ ชี วี ติ ของชาวทวายหลายหมืน่ คนเปลีย่ นแปลงไป และความขัดแยงของคนในพื้นที่กับภาครัฐและเอกชนอันเกิดจากโครงการดังกลาวยังมีอยางตอเนื่อง ทัง้ ในเรือ่ งทีด่ นิ อยูอ าศัย ทีท่ ำกิน อาชีพ และสังคมวัฒนธรรม อันมาจากการใหโยกยายออกจากพืน้ ที่ โครงการที่ครอบคลุมชุมชนที่มีประวัติศาสตรอันยาวนานหลายรอยป 66


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

การพัฒนาประชาธิป ไตยของภาคประชาสังคม ในพื้นที่ก อสร างท าเรือน้ำลึกทวายอันเกิดจากโครงการ โครงการนี้กอใหเกิดการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม ในรูปแบบของการเคลื่อนไหว ขามพรมแดนจากกลุม นักเคลือ่ นไหวและนักวิชาการของไทย เพือ่ แลกเปลีย่ นขอมูลกับนักเคลือ่ นไหว ในพื้นที่ทวายและในสหภาพเมียนมาร หากวิเคราะหในประเด็นนี้จะสอดคลองกับแนวคิดเรื่อง “การเมืองแบบใหมและขบวนการ เคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม” (The New Politics and the New Social Movements) โดยมีสาระสำคัญที่การมองขบวนการเคลื่อนไหวเรียกรองของคนธรรมดาขางตนวาเปนการตอบโต กับปญหาและความขัดแยงชนิดใหมที่เกิดขึ้นในสังคม วาอยูบนฐานที่หลากหลายรวมถึงเรื่องเพศ (Gender) เชื้อชาติ (Race) ศาสนา (Religion) วัฒนธรรม (Culture) นอกเหนือจากเรื่องของชนชั้น และอุดมการณทางการเมืองอยางในอดีต การเคลื่อนไหวขามพรมแดนในกรณีนี้เปนหนึ่งในหลายๆ กรณีตัวอยางที่เกิดขึ้นจากความ รวมมือของภาคประชาสังคมไทยและประเทศอืน่ ๆ ในการคัดคานโครงการพัฒนาขนาดใหญทเี่ กิดขึน้ อยางรวดเร็วและกวางขวางในอนุภมู ภิ าคลุม แมนำ้ โขง ซึง่ สงผลกระทบตอคนทองถิน่ โดยขบวนการนี้ จะทำการรณรงคทั้งในและนอกประเทศ เชน กรณีเขื่อนไซยะบุรีที่ลาว เขื่อนสาละวินที่สหภาพ เมียนมาร และโครงการทวายนี้ เปนตน หากจะมองว า ทั้ ง โครงการทวายและขบวนการการเคลื่ อ นไหวที่ เ กิ ด ขึ้ น ในมุ ม มองของ กระบวนการโลกาภิวัตนที่วาเปนกระแสของการเปลี่ยนแปลงที่นำมาอธิบายรัฐและสังคม โดยทำให โลกมีลักษณะสากลมากยิ่งขึ้นผานคานิยมของชาติตะวันตก อุดมการณทางการเมืองแบบเสรีนิยม ประชาธิปไตย การเคลือ่ นไหวนีแ้ สดงใหเห็นวาโลกาภิวตั นกอ ใหเกิดกระแสความรวมมือเหนือรัฐมากขึน้ เพราะกระบวนการโลกาภิวัตนไดเปดใหโลกกวางขึ้นเพราะการไหลอยางเสรีของขอมูลขาวสาร ที่ทั่วถึงทุกมุมโลก เครือขายของประชาสังคมนี้ ไดดำเนินการขับเคลื่อนความรวมมือระหวางประเทศของ ภาคประชาชน เพื่อเรียกรองการพัฒนาที่โปรงใส เปนธรรม เคารพสิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชนของ ประชาชนในพื้นที่ จากทั้งภาครัฐและเอกชนของทั้งสองประเทศที่เปนหุนสวนสำคัญของโครงการนี้ โดยใชการสือ่ สารทัง้ ในพืน้ ทีอ่ นิ เตอรเน็ตและพืน้ ทีจ่ ริง เพือ่ กระตุน การตระหนักรับรูข องทัง้ ประชาชน ในพื้นที่ และประชาชนทั่วไป เพื่อรวมกันตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลรวมทั้งใชกลไกทางดาน สิทธิมนุษยชนของไทย คือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงประเทศไทยใหเขาไปตรวจสอบ อันเปน ขั้ น ตอนสำคั ญ หนึ่ ง ในการพั ฒ นาประชาธิ ป ไตยของภาคประชาชนสหภาพเมี ย นมาร ที่ เ พิ่ ง เริ่ ม มาไมนาน 67


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

ข อเสนอแนะ 1. รัฐบาลไทยควรดำเนินการในโครงการพัฒนาตางๆ โดยคำนึงถึงหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญไทย ไมวาในหรือนอกราชอาณาจักร การที่สหภาพเมียนมารยังไมมีขอกฎหมายวาดวยการตรวจสอบ ประเมินดานสิ่งแวดลอม ไมควรกลายเปนชองวางในการฉกฉวยโอกาส แตการพัฒนาควรเปนไป โดยคำนึงถึงประโยชนตอประชาชนทั้งสองประเทศ โดยทำการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดลอม สังคมและสุขภาพของโครงการนี้อยางเปนองครวม อยางโปรงใส และเปนธรรม เพื่อใหเขาใจถึง ภาพรวมของภูมิภาคนี้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 2. เปดใหประชาชนในพื้นที่เขาถึงขอมูลขาวสารใหมากกวาเดิมและชัดเจนมากขึ้นและ นำเสนอความคิดเห็นไดโดยตรง เพื่อปองกันมิใหเกิดผลกระทบทางลบกับประชาชนในประเทศ เพื่ อ นบ า น จากโครงการที่ ท ำขึ้ น เพื่ อ ผลประโยชน ข องประเทศไทย ซึ่ ง ในท า ยสุ ด ผลเหล า นั้ น จะสะทอนกลับมายังประเทศไทย ไมวาจะเปนเรื่องของมลพิษ และปญหาการอพยพโยกยายถิ่นฐาน 3. รัฐบาลสหภาพเมียนมารและหนวยงานทองถิ่นในพื้นที่ควรเตรียมความพรอมรับมือกับ ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นไวลวงหนา ทั้งเรื่องการประเมินผลกระทบ การเฝาระวังมลพิษและ อุบตั ภิ ยั ผลตอสุขภาพอนามัย การเตรียมพรอมในกรณีอบุ ตั ภิ ยั ความพรอมของสถานบริการสุขภาพ ตางๆ ดังนั้น ซึ่งรัฐบาลไทยควรใหการสนับสนุนในการสรางกลไก และบุคลากรตอความเสี่ยง ดังกลาว 4. ในภาคประชาชนทั้งในทวาย ภาคประชาสังคมในสหภาพเมียนมารและในประเทศไทย จะมีบทบาทสำคัญในการเสนอขอหวงกังวลและขอเสนอแนะตางๆ ใหการดำเนินการที่จะคุมครอง สิทธิของประชาชนในพื้นที่ ตรวจสอบการทำงานของโครงการและใหขอมูลขาวสารที่เปนจริง เพื่อใหการดำเนินการพัฒนาเปนไปอยางยั่งยืนและเปนธรรม ภาคประชาสังคมในประเทศ จะมีสวน สำคั ญ ในการแลกเปลี่ ย นความรู ประสบการณ กั บ ชาวทวายและภาคประชาสั ง คมในสหภาพ เมียนมาร

68


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

เอกสารอ างอิง โกสุมภ สายจันทร. 2549. พมาในความสัมพันธทางการเมืองกับตางประเทศ. เชียงใหม: โชตนาพริน้ ท. ชัยอนันต สมุทวณิช. 2538. โลกานุวัตรกับอนาคตของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ผูจัดการ. _________. 2544. จากรัฐชาติสูรัฐตลาด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพบานพระอาทิตย. ไชยรั ต น เจริ ญ สิ น โอฬาร. 2545. ขบวนการเคลื่ อ นไหวทางสั ง คมรู ป แบบใหม . กรุ ง เทพฯ: สำนักพิมพวิภาษา. _________. 2549. รัฐ-ชาติกับ (ความไร) ระเบียบโลกชุดใหม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพวิภาษา. เดชรัต สุขกำเนิด. 2555. มองใหรอบดานผาน HIA ในการลงทุนขามพรมแดนกรณีศึกษาทาเรือ น้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย สหภาพเมียนมาร. กรุงเทพฯ: มูลนิธินโยบายสุขภาวะ. ทิพพะวงศ วงศโพสี. 2552. “นโยบายตางประเทศของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตอสาธารณรัฐประชาชนจีนในยุคหลังสงครามเย็น”. วิทยานิพนธรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาความสัมพันธระหวางประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. ธารทอง ทองสวัสดิ์. 2533. “ความสัมพันธระหวางไทยกับญีป่ นุ ”. ใน ชุดวิชาความสัมพันธระหวาง ไทยกับตางประเทศ. หนวยที่ 11 สาขาวิชารัฐศาสตร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ปาริชาต สถาปตานนท สโรบล. 2542. “องคประกอบในการขับเคลือ่ นประชาสังคม”. เอกสารสำหรับ การประชุมกลุม ยอยวาดวยเรือ่ ง “พลเมืองกับการสือ่ สารเพือ่ การเปลีย่ นแปลงในการประชุม ทางวิชาการประชาสังคม” ครั้งที่ 1 การสื่อสาร: กลไกสำคัญในการกาวสูประชาสังคม ในศตวรรษที่ 21 ณ หอประชุมณัฐ ภมรประวัติ สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล. ปวิน ชัชวาลพงพันธ. 2554. “ทาเรือน้ำลึกทวาย: โครงการลงทุนขนาดใหญของไทยในพมา”. แปลจาก “Dawei Port: Thailand’s Megaproject in Burma” วารสาร Global Asia, Vol. 6 No. 4 (Winter 2011), หนา 96-107. ประชัน รักพงษ. 2539. การศึกษาสภาพเศรษฐกิจและวัฒนธรรมชุมชนในเขตเสนทางสี่เหลี่ยม เศรษฐกิ จ ไทย-ลาว-จี น . มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ เชี ย งใหม โดยการสนั บ สนุ น ของมู ล นิ ธิ ไชยง ลิ้มทองกุล และสถาบันนโยบายศึกษา. มาซากิ โอซิยามา. 2538. “ความสัมพันธทางสังคมของชุมชนบริเวณนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ”. วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม. มิ่งสรรพ ขาวสอาด และจอหน ดอร (บก.). 2550. ความทาทายทางสังคมในภูมิภาคแมน้ำโขง. กรุงเทพฯ: ศูนยวิจัยสังคมอนุภูมิภาคลุมแมน้ำโขง และคณะศิลปศาสตร มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี. 69


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

วิทยาลัยประชาคมนานาชาติหนองคาย-อุดรธานี. 2547. การเพิ่มการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ผานกลุมหลากหลายขามชายแดนไทย-ลาว ภายใตกรอบการดำเนินงานของโครงการ ความรวมมือการวิจัยในอนุภูมิภาคแมน้ำโขง (GMS-RC): รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยประชาคมนานาชาติหนองคาย-อุดรธานี. ศิ โรตม ภาคสุ ว รรณ. 2521. ความสั ม พั น ธ ร ะหว า งประเทศเบื้ อ งต น . กรุ ง เทพฯ: โรงพิ ม พ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. 2554. การพัฒนารูปแบบและแนวทางการใหความ ชวยเหลือของ สพพ. แกประเทศเพื่อนบาน: รายงานฉบับสมบูรณ. กรุงเทพฯ: สถาบัน เอเชียศึกษา จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. สั ญ ญา สั ญ ญาวิ วั ฒ น . 2543. ทฤษฎี แ ละกลยุ ท ธ ก ารพั ฒ นาสั ง คม. กรุ ง เทพฯ: สำนั ก พิ ม พ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พิมพครั้งที่ 3. สุพิชฌาย ปญญา. 2555. “การตอบสนองของรัฐบาลลาวตอการขยายอิทธิพลของจีนดานการลงทุน ภาคบริการในเมืองน้ำทา แขวงหลวงน้ำทา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว”. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภูมิภาคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม. สุภางค จันทวานิช. 2548. โครงการวิจัยผลกระทบทางสังคมของระเบียงตะวันออก-ตะวันตก (ผลกระทบทางสังคมของการสรางสะพานขามแมน้ำโขงแหงที่ 2) ระยะที่หนึ่ง: รายงาน ฉบับสมบูรณ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. อนุสรณ ลิ่มมณี. 2542. รัฐ สังคม และการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพเดือนตุลา. Dunning, John H. 2001. “The Eclectic (OLI) Paradigm of International Production: Past, Present and Future.” in Journal of the Economics of Business, Vol. 8, No. 2. Dunning, John H. and Sarianna M. Lundan. 2008. “Institutions and the OLI Paradigm of the Multinational Enterprise”. in Asia Pacific Journal of Management, Vol. 25, No. 4. Grunberg, Leon. 2011. “The IPE of Multinational Corporations”. in Introduction to International Economy, edited by David N. Balaam and Michael Veseth. New Jersey: Prentice Hall. Harvey, Davis. “Globalization and the Spatial Fix”. in Geographische Revue, 2/2001. Learche, Chales O. and Abdul A. Said. 1972. Concepts of International Politics. New Delhi: Prentice-Hall of India Private. Martinussen, James. 1997. Society, State and Market. New York: St. Martin Press.

70


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

Moore, Elizabeth. 2011. “Dawei Buddhist Culture: a Hybrid Borderland”. in Myanmar Historical Research Journal (21), pp.1-62. Morgenthau, Hans J. 2006. Politics among Nations: The Struggle for Power and Peace. Boston: McGraw-Hill Higher Education. Nye, Jr., Joseph S. 2004. Soft Power: The Means to Success in World Politics. New York: Public Affairs. Ohmae, Kenichi. 1995. The End of the Nation State: The Rise of Regional Economies. New York: Free Press. Rigg, Jonathan and Chusak Wittayapak. 2009. “Spatial integration and Human transformation in the Greater Mekhong subregion”. in Yukon Huang and Bocchi Magnoli, eds. Reshaping Economic Geography in East Asia. New York: World Bank. Thabchumpon, Naruemon, Carl Middleton and Zaw Aung, “Development, Democracy, and Human Security in Myanmar: A Case Study of the Dawei Special Economic Zone”, Paper presented at 2nd International Conference on International Relations and Development, Chiang Mai 2012. Willis, Katie. 2005. Theories and Practices of Development. London: Rutledge. Zaw Aung, “Dawei Special Economic Zone: Its Prospects and Challenges”, Paper presented in the special panel Burma Environmental Governance and Equity, at the 4th International Conference on “Human Rights & Human Development, Critical Connections: Human Rights, Human Development and Human Security”, August 18-19, 2011. แหลงขอมูลออนไลน เขียน ธีรวิทย. จีนกับอนุภูมิภาคลุมน้ำโขง. (http://www.thaiworld.org/th/thailand_monitor/answer.php?question_id=15) โครงการที่ปรึกษาสงเสริมการลงทุนไทย-จีนประจำป 2550. เสนทางสายไหมคุนมั่นกงลู R3A. (http://chineseinfo.boi.go.th/CIC/document/Private/WhatNews/2857553_R3A (1).pdf) พาณิชยเชื่อมธุรกิจไทย-พมาสรางทาเรือทวาย (กรุงเทพธุรกิจออนไลน 8/10/2552) เปดยุทธศาสตรใหมดันกาญจนบุรีเปนศูนยกลางเศรษฐกิจตะวันตก (SiamIntelligence.mh) ปรับยุทธศาสตรชาติรับ “ทวาย” (กรุงเทพธุรกิจออนไลน 10/1/2555) 71


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

รัฐบาลพมาเจรจายุติการสูรบกับเคเอ็นยู ที่ยืดเยื้อมานานกวา 60 ป (http://prachatai.com/journal/2012/03/39881) เสวนา: จีน-พมา และความสัมพันธที่สั่นคลอน (http://prachatai.com/journal/2012/03/39881) สำรวจความพรอมไทยจาก FTA สู ประชาคมอาเซียน กับเกมของยักษใหญ จีน-สหรัฐ (http://www.prachatai3.info/journal/2012/05/40728) Dawei Port: Thailand’s Megaproject in Burma (globalasia.org/06/04/2012) Glassman, Jim. The GMS and Thailand’s Spatial Fix. (http://rcsd.soc.cmu.ac.th/InterConf/paper/paper23.pdf) Human Resource: ปญหาที่ทาทายของเมียนมาร (http://prachatai.com/journal/2012/08/41876) Myanmar’s Ambitious Dawei Project Faces Uncertainty (Reuters, 29/12/2011)

72


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

ภาคผนวก The Republic of the Union of Myanmar Pyidaungsu Hluttaw Foreign Investment Law (2012, Pyidaungsu Hluttaw Law No. 21) 3rd Waning of Thadingyut 1374 ME 2nd November, 2012 The Pyidaungsu Hluttaw enacted this law.

Chapter (1) Title and Definition 1. This law shall be called the Foreign Investment Law. 2. The words and expressions in this law shall mean as designated hereunder – (a) The state means the Republic of the Union of Myanmar. (b) Commission means Myanmar Investment Commission formed by this law. 73


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

(c) The Pyidaungsu government means the government of the Republic of the Union of Myanmar. (d) Citizen means an associate citizens or a naturalized citizen. This also includes the economic organization formed with the citizen. (e) Foreigner means a person who is not a citizen. It also includes an economic organization formed only with foreign investment. (f) Sponsor means a citizen or foreigner who proposed to the commission in connection with the investment. (g) The proposal means the application submitted to commission by the sponsor together with the draft contract, financial evidence and company documents to get the permission the proposed investment. (h) Permit means the order which describe the approval of commission on the proposal. (i) Foreign capital means and includes the following invested by a foreigner in the business as per the permit – 1) Foreign currency. 2) Machinery, equipment, part of machinery, accessory, tool and other not available in the country. 3) License patent design, machine design, trade mark, copy right and right of valuation on the intellectual property. 4) Competency and technology. 5) The reinvested money with the increment from above or the share dividend. (j) The investor means in investor as per approval or an economic organization. (k) Bank means a domestic bank approved by Pyidaungsu Government. (l) The investment means or property supervised by the investor under this law in the territory of the country. this expression includes the following:– 1) Movable property, immovable property and lawful right of pledge and mortgage on other property right. 2) The share of company, stocks and debenture or a certificate of loan. 3) Contractual monetary right or activity designated as financial value. 4) The right of intellectual property in accord with the existing law. 5) Right of business vested by the concerning law or contract including right of mineral exploration and extraction. (m) The lessee of land or land user means someone who gets land lease to carry out a type of business upto a certain period by paying tenancy fees to the state as designated.

74


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

Chapter (2) The Applicable Economic Activities 3. This law shall apply to the economic activities prescribed by the notification of the commission with the prior approval of Pyidaungsu Government. 4. The investment economic activities are designated as restricted or prohibited activities:– (a) The activities prejudicial to the traditional cultures and customs of the ethnic nationalities in the country. (b) The activities prejudicial to public health. (c) The activities prejudicial to the natural resources, environment and biodiversity. (d) The activities of importing hazardous or toxic waste material into the country. (e) The factory or activities which produces or use the hazardous chemicals according to the international agreement. (f) Production work and service activity specified by the rules and regulations for the citizen. (g) The import of technology, medicine in utensils pending lab-test or not designated for use. (h) Agriculture in short-term and long-term plantation that could be carried out by the citizens according to the rules and regulations. (i) The livestock breeding that could be carried out by citizens according to the rules and regulations. (j) The fishery in sea which is which can be carried out by citizens according to the rules and regulations. (k) The investment activities within atleast ten miles of the boundary demarcation within the state territory except economic zones specified by the Union Government. 5. If the restricted or prohibited investment activities under section (4) is to be exercised, the commission may permit with the approval of Pyidaungsu Government for the benefit of citizen and specially for the benefit ethnic nationalities. 6. For foreign investment in large projects which are considered to substantially to benefit the security of the government and citizen, economic benefit in the surrounding area and living standard of the citizen, the Commission is to submit to the Union Parliament through the Union Government.

75


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

Chapter (3) Objectives 7. - To produce the minerals of the state for the sufficient enjoyment of the public and to export the surplus. - Job creation for the people inline with the progress and expansion of work. - To develop human resources to develop the infra- structure such as banking and finance work, highway roads, cross-country highway, national electricity and energy works. - To develop high-tech including modern data collection technology. - To develop communication network international standard railway, maritime and airway transport in the whole country. - To encourage the citizen to be able to do in competition with foreigners. - To develop the investment work in line with the international standard.

Chapter (4) Fundamental Principle 8. - The investment shall be approved subject to the following principles:– (a) To support the primary objective of national economic development plan, the activities not sufficient with monetary and technology, still not exercisable by the state in citizen. (b) To develop job opportunities. (c) The expansion of export. (d) To produce products for import substitution. (e) To produce production commodity which needs large investment. (f) To develop high-tech production works in the high skill and high-tech development. (g) To support production and services works needing large investment volume. (h) To create works needing lesser energy. (i) Local development. (j) To explore and extract new energy and to develop sustainable energy resources such as new bio-vased energy. (k) To develop the modern industry. (l) Environment Conservation. (m) To support data in technology exchange. (n) Non-prejudicial to the sovereignty of the state and public safety. (o) To develop the citizen intellect and intelligent. (p) Do develop banks and banking works commensurate with international standard. (q) To create modern service agencies necessary for the state and citizen. (r) To suffice short-term and long-term domestic utilization of the state energy in resources. 76


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

Chapter (5) Pattern of Investment 9. Investment may be exercised in the following patterns, (a) Foreign investment activities with hundred percent capital which is permitted by the commission. (b) Joint venture between foreigners and citizens and state economic enterprises. (c) To work in accordance to the agreed upon contract. 10. (a) Investment under Section (9) the Pattern investment shall be:– (1) The company must be formed in line with the existing laws. (2) When forming a joint-venture under section (9) (b), the ratio of the foreign capital and local capital is to be decided by the parties forming joint venture company. (3) When invested by the foreigner the minimum investment amount shall be determined by the commission with the approval of the Union Government based on the project wise. (4) When forming joint-venture in restricted sectors not allowed to invest with full capital, the ratio of foreign investment is to propose in accordance to the procedures of the Foreign Investment Law. (b) When performing investment under subsection (a), if liquidation is exercised with the termination right before the expiration of contract or liquidation is performed on expiration, the existing law of the country shall be followed.

Chapter (6) Formation of Commission 11. (a) The Pyidaungsu Government shall – (1) Concerning investment under this law and to carry out duties, a Commission shall be formed with a Chairman of a Union Minister and members shall comprised of Union Ministries, person drawn from government departments and person comprising of professional and other person deemed to have expertise who are not government servants. (2) When forming the commission, vice President, secretary and joint-secretary shall be nominated and empowers. (b) Non-government services commission member shall be entitled to salary, expense and allowance permitted by the ministry of national planning and economic development.

77


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

Chapter (7) The Duties and Power of the Commission 12. The duties of commission are as follows:– (a) When assessing investment proposal, to scrutinize whether the proposal is compliant with fundamental principle of chapter (4) of this law, the financial trust-worthiness the economic advantage or the activities, suitability of technology and environment conservations. (b) To take immediate action if the investor complaints of not fully getting rights entitled as per law. (c) To assess the proposal if it is against the existing law. (d) To submit six-monthly report of performance to the Pyidaungsu Hluttaw through Pyidaungsu government. (e) To submit the advise to the Pyidaungsu government for the sake of the easy internal and external investment or to facilitate support. (f) To classify type of investment, amount of investment and term of works and amending of the same with the prior approval of Pyidaungsu Government. (g) To coordinate with state and regional government for the foreign investment projects which are being approved by the Union Government. (h) To monitor and be aware of if the mineral resources or the antique material, not connected with works and not contained in the contract on and underground of the permitted land. (i) To assess whether the investor comply with laws, rules and regulations notifications, directives and the condition of contract and if failed to follow, to instruct for compliance and if still not comply, to take action under the law. (j) To designate investment activities not needing to allow tax exemption and relief. (k) To serve the duty designated occasionally by the Pyidaungsu Government. 13. The power of commission are as follows:– (a) To assess and accept the proposal not against the existing law with the consideration of the benefit of the state. (b) To issue the approval if the proposal is accepted, to the sponsor or investor. (c) To assess and accept or reject as designated if the application is submitted to extend or amend the term of permit or the agreement. (d) To call for the necessary document and fact from the sponsor or investor. (e) To demand for presentation of supporting documents from the Promotor who proposed to invest. (f) To permit or reject the bank propose by the sponsor or investor to function the monetary works. 78


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

14. The commission may form committee and body when performing duties. 15. The commission functional report shall be occasionally put up to the Pyidaungsu Government meeting. 16. The progress of works permitted by the commission shall be reported every three months to the Pyidaungsu Government.

Chapter (8) The Duties and rights of the Investor 17. The duties of investor are as follows:– (a) To abide by the existing law of the Republic of the Union of Myanmar. (b) To form the company and do business as per the existing law. (c) To follow the law rules, procedures, notification, order, directive and condition of the permit. (d) To utilize the land rented or granted by the commission as per designated conditions and the condition of the contract. (e) To sublet mortgage, transfer share and transfer of business to the other individual, during the term of business, for the invested activities, the land and buildings allowed by the approval, with the approval of the commission. (f) Not to change the significant topography and the formation of the land permitted to utilize without the approval of commission. (g) To report to the commission at once when the mineral resources or antique material or treasure trove not permitted in the contract on and the underground of the land permitted to utilize, if permitted by the commission work may continue on the said land, otherwise move to a substituted land that may request by the investor. (h) To perform not to affect environmental pollution and spoilage as per existing law in connection with the investment activities. (i) If all share of foreign investment company is transferred to citizen or a foreigner outright, the prior permit shall be taken from the commission and the approval permit is returned only then the share transfer shall be registered as per existing law. (j) If some share of foreign investment company is transferred to citizen or a foreigner outright, the prior permit shall be taken from the commission and the approval permit is returned only then the share transfer shall be registered as per existing law. (k) To transfer the high-tech competency technology functioned by him to the concerning works department or organization systematically as per the provision of the contract. 79


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

18. The right of investor is as follow:– (a) To exercise the right of selling, exchanging or transferring otherwise as per existing law with the approval of commission. (b) If the investor is a foreign company shall have right to sell all its shares/part of shares to foreigner/citizen or another foreign company/local company. (c) To expand the primary investment activities with the approval of commission. (d) To reassess, revise and submit to the commission to get the entitled right fully as per existing law. (e) To put up the application to the commission to get the lawful entitled benefits or for the settlement of grievances. (f) In respect to permission given for a foreign investment project, the investor shall have right to submit to the Commission regarding invention of advance technology for production of quality products, enhanced production, reduction of environmental effect in the surrounding area for more benefit to accrue. (g) For benefits of the whole country if foreign investment is to make in the areas difficult in excess, the Commission shall permit more exemption and relief as stated under Chapter (12).

Chapter (9) Application for permit Approval 19. The investor or sponsor, if wanted to do foreign investment, shall submit the proposal as designated to the commission to get approval. 20. The commission may – (a) Accept or reject the proposal within 15 days after the assessment is made on receiving of proposal as per section (19). (b) Shall exercise to allow or not to allow within 90 days to the proposer on receiving it. 21. The investor or sponsor shall institute the investment activities on receiving the approval of commission, after signing the necessary contract with concerning government department/ organization or personel, organization. 22. The commission may allow to increase or reduce or amend the term and condition of the contract in accordance with law.

80


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

Chapter (10) Insurance 23. The investor shall place the designated type of insurance at any insurance agency which has the right of the insurance in the country.

Chapter (11) The Appointment of Employees and Workers 24. The investor – (a) Shall appoint, when appointing citizen skilled workers, technicians and staff, at least 25% of citizen within first 2 years from the commencement date, atleast 50% within second two years, atleast 75% within third 2 years however in the academic basis works the time limit may be extended as deemed to be suitable by the commission. (b) Shall arrange to provide training and courses for the citizen employee to be appointed under section (a) for the progress of competency. (c) Only citizen shall be appointed and the unskilled works. (d) When recruiting labour, it may be exercised from the government labour exchange or internal labour agencies at the discretion of the investor. (e) When appointing citizen skilled workers, technicians and employee the appointment contract shall be signed between employer and employee as per the existing the labour law and rules. (f) Shall arrange salary standard without segregation the citizen employee shall be provided the same as foreigner employee as proportionate division of professional level. 25. The foreigner working at the investment activities with approval shall apply to the commission for the work permit and stay permit issued by the state.

labour.

26. The investor – (a) Shall sign the appointment agreement as designated when employing staff and

(b) Shall perform to get the right as per existing labour law and rules including minimum wages in salary, leave, holiday, overtime charges, grievances, compensation, social security and other labour related insurance, when defining rights in duties of the employer and employee under the appointment agreement and conditions of works. (c) The disputes arising amount employer, employee, employer and employee, workers and technicians or among the staff shall be settled according to existing law. 81


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

Chapter (12) Exemption and Relief 27. The commission shall provide tax exemption or relief under subsection (a) from among the following exemption/relief, to the investor for the support of following investment in the country, moreover any or of the remaining exemption/relief may be allowed to enjoy when applying so. (a) From the year of starting production or services activities including the starting years upto continuous five years with tax exemption, and if beneficial for the state depending on the progress of investment activities tax exemption/relief for suitable period. (b) To reinvest the profit from works, the reserve fund is allotted and reinvested within one year, the tax exemption/relief on that reinvested profit for the sake of taxation. (c) The depreciation rate as per designated by Government, calculated on the machinery, equipment, building or other working capital, the calculated depreciation may be deducted from the profit. (d) If the products of any production work is exported, then the tax exemption shall be allowed on upto 50% of the profit that export. (e) Right of paying tax by the foreigner on his income in the same rate as the citizen. (f) The expenses for the research and development necessary for the country, shall be deducted from the income. (g) The right of carrying the loss of the continuous three years in continuation with the tax exemption and relief on each enterprise under subsection (a), within two years. (h) To enjoy Duty, other internal tax or both with exemption and relief on the imported machinery, equipment, tools machinery part imported to be use during the establishment period. (i) Right of exemption/relief of duty other internal tax or both on the imported raw material for 3 years after establishment. (j) Exemption or relief of duty, other internal tax or both on the imported machinery, equipment, tools machinery part and accessories necessary for the expanded work with the approval of commission. (k) The exemption and relief of commercial tax on the products manufactured for export.

82


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

Chapter (13) Assurance and Guarantee 28. The Pyidaungsu Government shall not nationalize the economic activities formed with the approval during the contract period or the extended period if allowed. 29. The Pyidaungsu Government assurances that the investment activities run with the approval of commission shall not be terminated during the contract period without sufficient cause. 30. The Pyidaungsu Government give assurance and guarantee for repatriation of rightful investment amount in the type of foreign currency on the expiry date of the contract.

Chapter (14) Permission of Landuse 31. The commission may allow the investor upto initial (50) years of land use or grant necessary for the economic activities or industry depending on type and amount of investment. 32. The commission may allow the investor extension (10) years and another (10) years depending on amount and type of investment continuously after expiration of the duration allow under section (31). 33. The commission may allow to invest on the land with the initial agreement of land guarantee or land user, with the prior consent of Pyidaungsu Government for the economic development of the country. 34. The commission may occasionally stipulate the tenancy rate of land owned by government department/organization with the prior consent of Pyidaungsu Government. 35. Investment on the rights of the citizens in the agricultural and livestock sectors, locals and foreign investors shall be allowed in joint venture under contract system. 36. The commission, may designate the tenancy period longer than the period grant and use under this law, with the consent of Pyidaunsu Government, for those who want to invest in the less developed and poor communication regions, for the economic development of the whole country. 83


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

Chapter (15) Foreign Capital 37. The commission shall register the name of investor according to the foreign currency accepted by the bank as foreign capital. When so registering the type of foreign capital shall be described. 38. The foreign capital carrier may withdraw the foreign capital designated by the commission within stipulated period on termination.

Chapter (16) Transfer Right of Foreign Currency 39. The investor has the right to remit abroad, through the foreign bank in the country according to the exchange rate of the concerning foreign currency – (a) The foreign currency entitled by the investor of foreign currency. (b) The foreign currency approved by the commission to with draw by the foreign capital carrier. (c) The net profit after deducting taxes and funds from the annual profit entitled by the investor. (d) Due remaining money after deducting taxes and reserving living expenses from the salary and allowance received by the foreign employee.

Chapter (17) Foreign Currency Matters 40. The investor – (a) Can remit abroad through any foreign bank according to exchange rate of the concerning currency. (b) Shall exercise the monetary matters of works by opening foreign currency bank account or kyat currency bank account and the currency accepted by the foreign bank and Myanmar. 41. The employees working in the economic activity formed with permission shall open foreign currency account or kyat currency account at any foreign bank in the country.

84


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

Chapter (18) Administration penalties 42. The commission may award the following administrative penalties/penalty to be investor who violated the provision of this law, rules, regulations, procedure, notification, order or directive or any condition of the permit – (a) Warning (b) Temporary suspension of tax exemption and relief (c) Revocation of permit (d) Black listed with no further issue of permit

Chapter (19) Arbitration 43. If any dispute arise out of investment activities – (a) The disputes among personal shall be amicably settled. (b) Unless settled by subsection (a) – (1) Unless method of solution is included in the contract, the existing laws of the country shall be followed. (2) If method of solution is stipulated in the contract, the said method of solution shall be followed.

Chapter (20) General 44. The commission may issue under this law if any proposal of mutual benefit between the investor and Pyidaungsu Government or Government department/organization legally empowered by the Pyidaungsu Government to carry out feasibility study, exploration calculated and extraction upto the commercial production stage by using the capital of the investor on jointventure with the state or citizen in the extraction works of large volume to invest, in the oil & gas and mining works to suffice the energy requirement of the state in citizen and to export the surplus. if the investment activities can be performed with the commercial extraction, to cover the benefit the proportionate profit shall be divided between the investor in Pyidaungsu Government or any empowered government department/organization and citizen JV partner. 45. The investor sanctioned by the foreign investment law of Union of Myanmar (SLORC Law No. 10/1988) before the existence of this law shall be deemed to be invested under this law. 85


ประชาสังคมข ามพรมแดนและโครงการพัฒนาขนาดใหญ ระหว างประเทศในสหภาพเมียนมาร : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาท าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย

46. The investor shall be criminally prosecuted if any evidence is formed to be deliberately miss representing in connection with the schedules, documents, finance and labour employment attached with the proposal to commission and concerning government department/organization. 47. Not withstanding any provision in the existing law the matters regarding any provision of this law shall be exercised by this law. 48. The commission shall convene meetings as designated. 49. The decision imposed by the commission under the power vested by this law. 50. There shall be no action taken under civil or criminal procedure against any commission member or any member of committee of body, any serviceman for the matter executed in good faith according to the power instructed by this law. 51. To carry out the provision of this law, the ministry of national planning and economic development or any government organization – (a) Shall execute the clerical works (b) Shall incur the expenses 52. The investor working with the permit of the commission of Union of Myanmar Foreign Investment Law (SLORC law No. 10/1988) about to be revoked shall continuous to work and enjoy benefit upto expiration as per conditions of the contract. 53. The Commission shall submit to the nearest Pyidaungsu Hluttaw meeting through Pyidaungsu Government if prejudicial to the benefit of the state and citizen as a crucial matter, when permitting the foreign investment activities as per section (3) and section (5). 54. If any provision of this law is in conflict with any fact of international treaty and agreement approved and accepted by the Republic of the Union of Myanmar, the provision of international treaty and protocol shall prevail. 55. Before the promulgation of rule and procedure after enactment of this law the rules and regulation issued under the law of (SLORC Law No. 10/1988), unless repugnant to this law, may be exercised.

86


Transborder Civil Society and International Mega Development Project in Myanmar: A Case Study of Dawei Deep Sea Port and Industrial Estate Project

56. When executing the provision of this law – (a) The ministry of national planning and economic development shall promulgate the necessary rule, regulations, procedure, order, notification and directive within (90) days of the commencement of this law with the approval of Pyidaungsu Government. (b) The commission may issue the necessary order notification in directive 57. The foreign investment law of the Union of Myanmar (SLORC Law No. 10/1988) is herewith revoked by this law.

......................................................................................................... I hereby sign in compliance to the constitution of the Republic of Myanmar President The Republic of The Union of Myanmar Translated into English by U Tin Win, Managing Partner of UTWG

87


ศูนยอาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.