Knowledge Sources for ASEAN Community
ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นมโนทัศน์ที่โลกตะวันตกได้ใช้ เรียกอาณาบริเวณที่ตั้งอยู่ตอนใต้ของประเทศจีน ขนาบด้วยอินเดีย ทางด้านตะวันตกและมหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านตะวันออก อาณา บริเวณดังกล่าวนี้ ถึงแม้จะเต็มไปด้วยความหลากหลายทางด้าน ทรัพยากรธรรมชาติ ชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรมและมีระบบ เศรษฐกิจการเมืองที่แตกต่างกัน แต่ก็มีวิถีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน บางประการ เช่น วัฒนธรรมการปลูกข้าว ประชาชนส่วนหนึ่งนับถือ ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและอีกส่วนหนึ่งนับถือศาสนาอิสลาม มีการ ติดต่อค้าขายซึ่งกันและกัน มีการอพยพแรงงานข้ามแดนและผ่านการ เผชิญกับอำ�นาจของมหาอำ�นาจอาณานิคมร่วมกัน หลังสงครามโลก ครั้งที่สอง ได้มีความพยายามที่จะรวมประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ภายใต้ข้อตกลงเพื่อสร้างความมั่นคงทางทหาร ต่อต่านการเผย แพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ ต่อมาก็ได้พยายามรวมตัวกันอีกครั้งในฐานะ ประชาคมอาเซียน เพื่อสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การเมืองและ สังคมวัฒนธรรม อาเซียนจึงเป็นมโนทัศน์ใหม่ที่ใช้เป็นเครื่องมือในกา รบรูณการของอาณาบริเวณดังกล่าวนี้ ประชาคมอาเซียนที่กำ�ลังจะ เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 2558 จะเป็นแค่เพียงมโนทัศน์ที่จะนำ�ไป สู่ความเป็นจริงอย่างไร ยังไม่มีใครทราบชัดเจนนัก
ประเทศไทยมีส่วนสำ�คัญในการริเริ่มก่อตั้งประชาคมอาเซียนมาตั้งแต่ ต้น และโดยที่ตั้งอยู่ศูนย์กลางของอาณาบริเวณนี้ ประเทศไทยจึงมี บทบาทสำ�คัญในการประสานงานดำ�เนินกิจกรรมต่างๆของประชาคม ที่ผ่านมาหน่วยงานระดับต่างๆได้เร่งเตรียมความพร้อมที่จะเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน ดังจะเห็นได้จากการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับ อาเซียนผ่านสื่อนานาชนิด มีการจัดประชุมสัมมนาเพื่อวางระเบียบ ข้อตกลงและวางแผนในการทำ�ให้เกิดความเชื่อมโยงและความร่วมมือ ระหว่างประเทศสมาชิกอย่างจริงจังมากขึ้น ศูนย์อาเซียนศึกษาเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นล่าสุดใน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถึงแม้ว่าการริเริ่มของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษาจะเริ่มขึ้นช้ากว่ามหาวิทยาลัยแห่งอื่น แต่ก็ไม่ถึงกับช้าเกินไปนัก อันที่จริงที่ผ่านมา คณะต่างๆ และบุคคล ากรในมหาวิทยาลัยได้ทำ�กิจกรรมที่ดำ�เกี่ยวข้องกับประเทศสมาชิก ประชาคมอาเซียนมามากพอควร มีการเปิดหลักสูตรที่รับนักศึกษาจาก ประเทศสมาชิกอาเซียนมาศึกษาต่อ มีการจัดการประชุม สัมมนาที่มี อาจารย์และนักวิจัยจากประเทศอาเซียนมาร่วมด้วยอย่างสม่ำ�เสมอ มหาวิทยาลัยยังได้เป็นสมาชิกของ ASEAN University Network แต่ อย่างไรก็ดี กิจกรรมเหล่านี้ยังไม่ได้ให้ความสำ�คัญต่อประเด็นการ ผนวกรวมและความเชื่อมโยง (Connectivity) ของประเทศต่าง ๆ ใน ประชาคมอาเซียนเท่าที่ควร และด้วยเงื่อนไขที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กิจกรรมเหล่านี้จึงค่อนข้างจำ�กัดอยู่ในพื้นที่ของ กลุ่มประเทศที่อยู่ในอาเซียนตอนบนเสียมากกว่า
ในระยะเริ่มแรก ศูนย์อาเซียนศึกษาถูกคาด หวังให้ทำ�หน้าที่เป็นหน่วยงานที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับประชาคมอาเซียนของมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้งานด้านนี้ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่สำ�คัญก็คือการสร้างและสะสมองค์ ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ผ่านการวิจัย การเรียนการ สอนและการปฏิบัติการ ทั้งนี้โดยอาศัยความร่วมมือจากบุค คลากรที่มีความสามารถของมหาวิทยาลัยเป็นสำ�คัญ
ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ
ผู้อำ�นวยการศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
“Knowledge Sources for ASEAN Community” “แหล่งวิทยาการเพื่อประชาคมอาเซียน” หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มียุทธศาสตร์มุ่งพัฒนาความเป็น สากลของมหาวิทยาลัยเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะ การพัฒนาการศึกษาและสังคม ซึ่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็น 1 ใน 5 มหาวิทยาลัยไทย ที่ได้รับการยอมรับให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือ ข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนหรือ ASEAN University Network (AUN) ซึ่งเป็นความร่วมมือของสถาบันอุดมศึกษาระหว่างประเทศสมาชิก สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2538 ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้แต่งตั้ง คณะกรรมการดำ�เนินงานเพื่อจัดตั้ง “ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัย เชียงใหม่” (Center for ASEAN Studies, Chiang Mai University) ขึ้น เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557 ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีเป้าประสงค์ที่เป็น ศูนย์กลางการศึกษาและสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน รองรับการประสานงานและสนับสนุนการเตรียมความพร้อมด้านภาษา อังกฤษและภาษาอาเซียน หลักสูตรการศึกษาร่วมในกลุ่มอาเซียน การพัฒนาศักยภาพด้านการค้าการท่องเที่ยวและภาษาอาเซียน แก่ ผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ การพัฒนาศูนย์กลางการแพทย์ ในภูมิภาค ตลอดจนการพัฒนาให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ทางวิชาการให้ กับชุมชนและท้องถิ่น ทำ�การค้นคว้า วิจัยและแลกเปลี่ยนองความรู้ ความเข้าใจที่สร้างสรรค์ในหมู่ประเทศสมาชิก สร้างความร่วมมือทาง วิชาการกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ�และหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งในและนอก ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน จนเกิดการแลกเปลี่ยนนักศึกษา การเรียนข้ามประเทศ การสร้างหลักสูตรและทำ�งานวิจัยร่วมกัน ตลอก จนการพัฒนาความสัมพันธ์และวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งความ ร่วมมือของเครือข่ายเหล่านี้จะผลักดันให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มุ่งไป สู่ความเป็นประชาคมอาเซียนและความเป็นสากลได้ต่อไป
พันธกิจ
1. เป็นศูนย์กลางการศึกษา เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับประชาคม อาเซียน 2. เพื่อเป็นศูนย์การจัดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่าง ประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน 3. ประสานงาน ฝึกอบรม เสริมสร้างทักษะให้แก่ผู้ที่สนใจในการศึกษา เกี่ยวกับความรู้ในเรื่องประชาคมอาเซียน 4. ประสานงานและอำ�นวยความสะดวกให้แก่หน่าวยงานต่างๆ ใน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และในส่วนภูมิภาค เพื่อดำ�เนินกิจกรรมทาง วิชาการเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษา การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกัประชาคม อาเซียนให้แก่หน่วยงานต่างๆในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และในส่วน ภูมิภาค 2. จัดการ เผยแพร่ องค์ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน รวมทั้งเป็น เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจที่สร้างสรรค์ในระหว่างประชาคม อาเซียน 3. เพื่อประสานงาน ฝึกอบรม เสริมสร้างทักษะให้แก่ผู้สนใจในการ ศึกษาเกี่ยวกับความรู้ในเรื่องประชาคมอาเซียน อาทิ ภาษา วัฒนธรรม ความรู้และภมิปัญญาของประชาคมอาเซียน 4. เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานและอำ�นวยความสะดวกในการฝึกอบรม เสริมสร้างทักษะให้แก่ผู้ที่สนใจในการศึกษาและกิจกรรมทางวิชาการที่ เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
คณะกรรมการศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดร. ชยันต์ วรรธนะภูติ ผศ.ดร. ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์ รศ.ดร. รัชนีกร ทองสุขดี รศ.ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ รศ. อุบลรัตน์ พันธุมินทร์ ผศ.ดร. เทพินทร์ พัชรานุรักษ์ ผศ.ดร. นิสิต พันธมิตร อ.ดร. มาโนช โพธาภรณ์ อ.ดร. นัทมน คงเจริญ อ.ดร. อุษามาศ เสียมภักดี อ. สาคร เรือนไกล
คณะสังคมศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิจิตรศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์
ระบบข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์ จดหมายข่าว BECOMING
“Becoming” คือจดหมายข่าวศูนย์อาเซียนที่พยายามจะ บอกเล่าให้คณาจารย์ นักวิจัย บุคลากรของมหาวิทยาลัยและผู้ สนใจทั่วไปได้ทราบถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับประชาคมอาเซียน ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เช่น โครงการวิจัยที่ดำ�เนินโดยบุคลากร คณะต่าง ๆ ประสบการณ์การแลกเปลี่ยนนักศึกษารวมทั้งความ เคลื่อนไหวในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อมและศิลปวัฒ ธรรมในประชาคมอาเซียนและการแนะนำ�หนังสือที่น่าสนใจ จดหมายข่าวเลือกใช้คำ�ว่า “Becoming” ซึ่งหมายถึง “การ เปลี่ยนผ่านไปสู่สถานะใหม่ที่ต่อเนื่องที่ยังไม่รู้จบ” เพื่อสื่อให้ เข้าใจถึงสภาวะเช่นเดียวกันของประชาคมอาเซียนที่กำ�ลังจะเกิด ขึ้นและเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่ง โดยที่ผู้คนในประชาคม
อาเซียนต่างเป็นผู้ปรารถนาจะให้เกิดขึ้นและมีส่วนร่วมทางใดทั้งหนึ่งในการ กำ�หนดทิศทาง แต่ไม่อาจจะกำ�หนดได้ว่าจุดมุ่งหมายปลายทางของประชาคม จะเป็นอย่างไร ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวนี้ เราหวังว่าจดหมายข่าว ฉบับนี้จะเป็นพื้นที่แห่งความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของ ประชาคมอาเซียน และเป็นปหล่งแลกเปลี่ยน ถกเถียงประเด็นทางวิชาการ แหวกม่านมายาคติอันน่าจะนำ�ไปสู่ความรู้และความเข้าใจประชาคมอาเซียน ที่กำ�ลังเกิดขึ้นได้มากขึ้น อนึ่ง เพื่อให้ท่านผู้อ่านมีส่วนร่วมในการทำ�จดหมาย ข่าว “Becoming” เรายินดีรับข้อมูลและบทความขนาดสั้น รวมทั้งข้อเสนอ แนะข้อคิดเห็นจากผู้อ่านเพื่อทำ�ให้จดหมายข่าวมีความน่าสนใจมากขึ้น
เอกสารเผยแพร่กิจกรรมวิชาการ
สื่อสาธารณะ ศูนย์อาเซียนศึกษา Facebook
อาเซียนเสวนา (ASEAN+ Studies Group) ศูนย์อาเซียนศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่สร้างแนวทางและแผนงานเพื่อสามารถเป็น หน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อเป็นศูนย์กลางขององค์ความรู้เกี่ยวกับประเทศ สมาชิกของประชาคมอาเซียน ทั้งในด้านวิชาการความรู้ สังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาต่างๆ ดังกล่าว ศูนย์อาเซียนศึกษาจึงจัดเตรียมให้ดำ�เนินกิจกรรมเพื่อ เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนทั้งในการเป็นศูนย์ข้อมูลและศูนย์แห่งการเรียนรู้ผ่านการ จัดประชุม เวทีวิชาการ และสัมมนา เพื่อเผยแพร่ความรู้วิชาการ สู่สาธารณะให้แก่หน่วยงานใน และนอกมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับสถาบันทางวิชาการภายในประเทศและ กลุ่มประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน ศูนย์ฯ จึงเล็งเห็นถึงความสำ�คัญในการจัดประชุมสัมมนา วิชาการเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการนี้ที่มุ่งให้เกิดความรู้และความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่ กำ�ลังเกิดขึ้น จุดประสงค์ของการจัดอาเซียนเสวนาเพื่อมุ่งให้เกิดความรู้และความเข้าใจต่อการ เปลี่ยนแปลงที่กำ�ลังเกิดขึ้นในประชาคมอาเซียน และกลไกต่างๆรวมทั้งติดตาม ศึกษาวิเคราะห์ ปัญหาเกี่ยวกับประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ตลอดจนนักศึกษา คณาจารย์ และ นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมทั้งแสวงหาแนวทางในการ ปรับปรุงการเรียนการสอน การวิจัยในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้สามารถตอบสนองกับการเกิดขึ้น ของประชาคมอาเซียน YouTube
งานสร้างองค์ความรู้อาเซียน เอกสารทางวิชาการ
สื่อเผยแพร่ความรู้สาธารณะ ASEANscape
แนวความคิดเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดเกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงปี 2547 โดยหอการค้าจังหวัดตาก และราชการส่วนจังหวัด แนวคิดในการผลักดันให้แม่สอดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษของหอการค้าจังหวัดตาก นั้น คือการพัฒนาพื้นที่ 5,600 ไร่ จากพื้นที่ป่า เสื่อมโทรม ขึ้นมารองรับการดำ�เนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เพื่อให้แม่สอดเป็นเมืองเศรษฐกิจ-การค้าชายแดน เพราะมี ศักยภาพและความพร้อมของเมืองสูงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ-การลงทุนภาค อุตสาหกรรม-ภาคเกษตร และการท่องเที่ยว เพื่อเป็นการ เตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 และเป็นประตูสู่อันดามันตามเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ East West Economic Corridor และได้อนุมัติโครงการหลายโครงการตามข้อเสนอของกระทรวง 23 กรม โดยมีสำ�นักงานคณะกรรมการสภา พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดังนี้ คือ 1.สิทธิพิเศษของการลงทุน 2.สนับสนุนงบประมาณ และ 3.จัดทำ�ร่างกฎหมายว่าด้วย เขตเศรษฐกิจพิเศษ
CAS Research Fellow
เครือข่ายนักวิชาการและนักวิจัย
แอนดรูว์ จอห์นสัน อาจารย์ประจำ�สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัย Yale-NUS สนใจทำ� วิจัยประเด็นเกี่ยวกับความเป็นเมือง ในเอเชีย ศาสนาสมัยนิยม และ การเปลี่ ย นแปลงของสิ่ ง แวดล้ อ ม ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ชี วิ ต ผู้ ค นในแม่ น้ำ � ไซ ยะบุรี แอนดรูว์จบปริญญาเอกด้าน มานุษยวิทยา จากมหาวิทยาลัย คอร์แนล และเพิ่งตีพิมพ์หนังสือเรื่อง Ghosts of the New City: Spirits, Urbanity and the Ruins of Progress in Chiang Mai
ลลิตา หาญวงศ์ อาจารย์ประจำ�ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สนใจทำ� วิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมือง ว่ า ด้ ว ยการเคลื่ อ นไหวของนั ก ศึ ก ษา พม่าช่วงอาณานิคม ลลิตาจบปริญญา เอกสาขาประวั ติ ศ าสตร์ แ อฟริ ก า/ เอเชีย จากมหาวิทยาลัยลอนดอน (SOAS) และตีพิมพ์ผลงานอีกหลาย ชิ้นที่เกี่ยวกับพม่าสมัยใหม่
มรกตวงศ์ ภูมิพลับ อาจารย์ประจำ�กลุ่มวิชาอาเซียนศึกษา และผู้ อำ � นวยการโครงการวิ เ ทศคดี ศึกษา (อาเซียน-จีน) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนใจทำ� ประเด็นวิจัยเกี่ยวกับเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ศึกษา ประวัติศาสตร์การเมือง สังคม ผู้คนและวัฒนธรรม เวียดนาม ท่ า มกลางความเปลี ่ ยนแปลง ม ร ก ต ว ง ศ์ จ บ ป ริ ญ ญ า โ ท ด้ า น ประวัติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแห่ง ชาติสิงคโปร์ และด้านภาษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ตีพิมพ์ ผลงานเรื่อง “การขับเคี่ยวความเป็น ศูนย์กลางเหนือดินแดนทับซ้อนอุษาค เนย์” ในหนังสือ อุษาคเนย์ที่รัก
สร้อยมาศ รุ่งมณี อาจารย์ ป ระจำ � สาขาการพั ฒ นา ชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนใจทำ� วิจัยประเด็นการอพยพเคลื่อนย้าย แรงงานข้ามแดนไทย-ลาว ก า ร เ ป ลี่ ย น ผ่ า น ข อ ง สั ง ค ม เกษตรกรรมในภาคอีสาน ความ สัมพันธ์ของการเคลื่อนย้ายแรงงาน ระหว่าง ชนบท-ชนบท และชนบทเมือง สร้อยมาศจบปริญญาเอกด้าน ภูมิศาสตร์มนุษย์ จากมหาวิทยาลัย ซิดนีย์ และได้รับการตีพิมพ์ผลงาน ในวารสาร Australian Geographer
งานฝึกอบรมและประชุมทางวิชาการ อาเซียนเสวนา ชุด อาเซียนกับความเชื่อมโยงในหลากหลายมิติ
อาเซียนเสวนา ชุดเสวนากฏหมายกับสังคม (Law and Society)
อาเซียนเสวนา ชุด เสวนาอาเซียนจากมุมมองระดับล่าง (ASEAN from Below)
อาเซียนเสวนา ชุด ประวัติศาสตร์นอกกรอบรัฐชาติ De-nationalized History
อ่านเอาเรื่อง
จัดร่วมกับ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การฝึกอบรมความรูอ้ าเซียน ASEAN Research Workshop “เติมเต็มความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียน” จัดโดย ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดร่วมกับ ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เพื่อมุ่งเน้นการเติมเต็มความเข้าใจเกี่ยวกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดย เน้นความเข้าใจในหัวข้อเรื่อง ASEAN Connectivity อาทิ เอกภาพของอาเซียน: มองจากมิติทางชาติพันธ์ุเชิงประวัติศาสตร์ และ Logistic Connectivity-Social Connectivity หัวข้อเรื่อง ASEAN from Below ผ่านประเด็นเรื่อง เศรษฐกิจการค้า ชายแดนภาคเหนือของไทยภายใต้ AEC, ความขัดแย้งทางศาสนาและทรัพยากรใน บริบทของอาเซียน และสิทธิมนุษยชนและกระบวนการยุติธรรมในอาเซียน นอกจาก นี้ยังเน้นในประเด็นเรื่อง ASEAN 3 Pillars: A New Imagined Community – AEC, APSC, ASCC” + Environment ประชาคมเศรษฐกิจ, ประชาคมการเมือง ความมั่นคง, ประชาคมสังคมวัฒนธรรม และ ASEAN Environmentality รวม ถึงการสัมมนาในหัวข้อ “เยาวชนคนหนุ่มสาวกับโจทย์งานวิจัยใหม่ๆ เพื่ออนาคต อาเซียน” เน้นโจทย์ทางวิจัยสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา, เชิงประวัติและความ ทรงจำ�ร่วม และเชิงอาณาบริเวณศึกษาและบูรณาการ ผู้เข้าร่วมเป็นนิสิตนักศึกษา ทั้งจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เวที การศึกษาบนฐานชุมชน ตอน คนมีราก
การประชุมเชิงปฏิบัติการ “วิธีวิทยาในชายแดนศึกษา: กรณีศึกษาชายแดนไทย-ลาว-พม่า”
การจัดเวทีครั้งนี้เพื่อเป็นการนำ�เสนอแนวคิด รูปธรรมการจัด กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ของการศึกษาบนฐานชุมชนและขยาย ผลไปสู่เครือข่ายการทำ�งานด้านเด็กและเยาวชน ทั้งในระดับประเทศและ ระดับอาเซียน เครือข่ายเยาวชนสืบสานภูมิปัญญา มีความเชื่อมั่นว่าการ ศึกษาบนฐานชุมชนเป็นหัวใจสำ�คัญของการจัดการเรียนรู้ที่ไปเสริมสร้าง การพัฒนาเด็กเยาวชนและชุมชน เป็นการสร้างคนสู่อนาคตของสังคมไทย วัตถุประสงค์ เพื่อขยายผลแนวคิด และรูปธรรมการจัดการ ศึกษาบนฐานชุมชนต่อสาธารณะและเพื่อแลกเปลี่ยนบทเรียนการ สืบทอดภูมิปัญญาของกลุ่มชุมชนท้องถิ่นในอาเซียน จากการถอดความ รู้ประสบการณ์ของเครือข่ายเยาวชนสืบสานภูมิปัญญา จึงได้ร่วมกันจัด เวที “การศึกษาบนฐานชุมชน ตอน คนมีราก” ซึ่งเครือข่ายเยาวชนสืบสาน ภูมิปัญญาได้นิยามความหมายของ “คนมีราก” ไว้ว่า เป็นผู้ที่รู้จักตนเอง รู้รากเหง้า สัมพันธ์ใกล้ชิดกับสิ่งรอบตัวอย่างลึกซึ้ง มีความภาคภูมิใจใน อัตลักษณ์ของตนและวิถีชุมชนตนเอง มีภูมิคุ้มกันในการดำ�เนินชีวิตอย่าง เท่าทันการเปลี่ยน แปลงของยุคสมัย สามารถกำ�หนดอนาคตตนเอง และ มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างเต็มศักยภาพ
การจัดประชุมเชิงปฎิบัติการในหัวข้อ “วิธีวิทยาในชายแดน ศึกษา: กรณีศึกษาชายแดนไทย-ลาว-พม่า” เป็นการจัดประชุมสืบ เนื่องจากเวทีในหัวข้อเดียวกัน ที่จัดขึ้นในงานประชุมนานาชาติไทย ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยซิดนีย์ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ช่วงวัน ที่ 22-24 เมษายน 2557 เนื่องด้วยผู้ร่วมนำ�เสนอบทความทางวิชาการและผู้ให้ความ เห็นบทความในเวทีนี้เห็นพ้องต้องกันว่า ปัจจุบันมีผู้ศึกษาและนักวิจัย จำ�นวนมากที่ทำ�งานศึกษาที่บริเวณชายแดนในฐานะที่เป็นพื้นที่ทาง กายภาพและบริบทในการวิจัย โดยเฉพาะนักวิชาการไทยที่ศึกษาพื้นที่ ชายแดนไทยที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม นักวิจัยที่ ศึกษาชายแดนจำ�นวนมากยังไม่ค่อยสร้างเวทีถกเถียงในเรื่องวิธีวิทยา ข้อท้าทาย และสถานการณ์ที่ยากลำ�บากในระหว่างเก็บข้อมูลภาคสนาม ดังนั้น งานประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อที่จะอภิปราย ถึงแนวโน้มของการศึกษาชายแดนในบริบทร่วมสมัย และเพื่อชักชวน ให้นักวิจัยในพื้นที่ชายแดนแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจน ประสบการณ์ในเชิงวิธีวิทยาที่นำ�มาปฏิบัติในพื้นที่
วันเสาร์ที่ 17 มกราคม 2558 เวลา 08.00-15.30 น. จัดโดย ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา
วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม 2558 เวลา 09.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารปฏิบัติการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เวทีประชุมวิชาการนานาชาติ
การประชุมวิชาการนานาชาติครั้งที่ 1 เรื่อง Salween-Thanlwin-Nu Studies ในหัวข้อ “State of Knowledge: Environmental Change, Livelihoods and Development” ระหว่างวันที่ 14-15 พฤศจิกายน 2557 จัดโดย ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ และศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วม กับ The Salween-Thanlwin-Nu (STN) Studies Group ณ สำ�นักบริการ วิชาการ (UNISERV) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง Advanced Seminar on Southeast Asian Studies: Focus on Thailand ระหว่างวันที่ 29 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ 2558 ณ โรงแรมคุ้มภูคำ� เชียงใหม่ จัด โดย ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะ สังคมศาสตร์ และศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ Korean Institute of Southeast Asian Studies (KISEAS), Japan Foundation Asia Center และ Southeast Asian Studies Regional Exchange Program (SEASREP)
เวทีประชุมวิชาการนานาชาติ
การประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง Burma/Myanmar in Transition: Connectivity, Changes and Challenges ระหว่างวันที่ 24-25 กรกฎาคม 2558 จัดโดย ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนา อย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ และศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ร่วมกับ ศูนย์เมียนมาร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และInternational Institute for Asian Studies (IIAS) ประเทศ เนเธอร์แลนด์
การประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง Rethinking Development Studies in Southeast Asia: State of Knowledge and Challenges ระหว่างวันที่ 7-8 มีนาคม 2558 จัดโดย ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ และศูนย์อาเซียน ศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ สำ�นักบริการวิชาการ (UNISERV) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
งานเครือข่ายและความร่วมมือ เครือข่ายและความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในไทยและต่างประเทศ เวทีแลกเปลี่ยนทางวิชาการ: “มุสลิมและกระแสอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
การประสานงานและการสร้างเครือข่าย มหาวิทยาลัยในกลุ่มอาเซียน จัดโดย ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ วารสารธรรมศาสตร์และกองบริหารการวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 13-14 กันยายน 2557 ณ “ห้องประชุมชั้น 4 อาคารปฏิบัติการ” คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม หัวข้อในเวทีสัมมนาได้แก่ “มุสลิมกับพหุวัฒนธรรม” ได้แก่เรื่อง การสร้างสันติภาพในสังคม พหุลักษณ์ทางศาสนชาติพันธุ์ : กรณีศึกษาสังคมมุสลิมในภาคเหนือของไทย และพหุวัฒนธรรมจาก เบื้องล่าง กรณีศึกษาจากสามจังหวัดภาคใต้ หัวข้อต่อมาคือ “อิสลามกับเพศสภาพ” ได้แก่เรื่อง อิสลาม กับสมัยนิยมในภาพยนตร์อินโดนีเซียหลังยุคระเบียบใหม่, เส้นแบ่งทางเพศในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และความ เป็นศาสนิกในด้านอารมณ์ความรู้สึกของผู้หญิงมุสลิมพม่าในค่ายผู้ลี้ภัย และเรื่อง กฎหมายชารีอะห์ กับผู้หญิงในอาเจะ ในส่วนของหัวข้อ “ตัวตนคนมุสลิมและชาติพันธุ์ในวัฒนธรรมภาคเหนือ” ได้เเก่ เรื่อง ผู้พลัดถิ่นชาวโรฮิงญา : ภาพที่ “ซุกซ่อน” ในชุมชนมุสลิมชายแดนไทย-พม่า และอิสลามยะมาอัต ตับลีก: พื้นที่แห่งการอยู่ร่วมกันในสังคมเมืองปาย ส่วนหัวข้อสุดท้ายคือ “การเมือง-วัฒนธรรมมลายู ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้” ได้แก่เรื่อง ชนชั้นนำ�มลายูและโครงสร้างอำ�นาจชายแดนใต้ และเรื่อง ภาษามลายู การแปลและการเมือง
เครือข่ายและความร่วมมือระหว่างองค์กรทำ�งานด้านการเปลี่ยนแปลงในอาเซียน
การจัดเวทีสาธารณะเรื่อง Land and River Grabbing: the Mekong's Greatest Challenge? โดยศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ร่วมกับ Mekong School และ Southeast Asia Border Research Society (SEABORS) ในวันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน 2557 ณ ห้องประชุมสีฟ้า ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีนักวิจัยรุ่นใหม่จากประเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นำ�เสนองานวิชาการในประเด็นต่างๆ อาทิ หัวข้อเรื่อง Environmental and Social Impacts at the Duyen Hai 3 Thermal Power Plant Resettlement Site in Tra Vinh, Mekong Delta นำ�เสนอโดย นักวิจัยจากประเทศเวียดนาม
การจัดเวทีสาธารณะเรื่อง Not Just Blowing Smoke in ASEAN: How Can Creativity Break Though the Climate Change Challenge? โดยศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ Traidhos Three-Generation Community for Learning และ Creative Chiang, Asia Indigenous Peoples Pact and the Lanna Community Life Network ในวันอังคารที่ 27 มกราคม 2558 ณ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยได้รับเชิญจากวิทยากรผู้ทางคุณวุฒิ ได้แก่ Paula Di Peerna จาก Chicago Climate Exchange and Global Policy คุณอัมรินทร์ สายจันทร์ จาก ENLAWTHAI Foundation และ อ.ดร.สุรินทร์ อ้นพรม จากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประสานงานระหว่างศูนย์ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน “ค่ายพัฒนาผู้นำ�เยาวชนสู่ประชาคมอาเซียน”
ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับศูนย์ศึกษาอนุ ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำ�โขง (GMSS Center) คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ จัดโครงการค่ายพัฒนาผู้นำ�เยาวชนสู่ประชาคมอาเซียนขึ้น ด้วยความตระหนัก ถึงเยาวชนซึ่งเป็นประชากรกลุ่มที่มีความสำ�คัญอย่างยิ่งในการกำ�หนดอนาคต และทิศทางการพัฒนาของประชาคมอาเซียนในอนาคต ควรมีการจัดกระบวนการ เรียนรู้ในการกระตุ้นทักษะทางความคิด การเปิดโลกทัศน์ของเยาวชนให้มีความ รู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนเพื่อให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ผ่านกิจกรรมที่มุ่งส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของผู้นำ�นักศึกษา ในภูมิภาค ทั้งในส่วนของการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ� กระบวนการสร้าง จิตสำ�นึกสาธารณะที่ขยายขอบไปสู่ความจิตสาธารณะข้ามพรมแดน ทักษะการ ทำ�งานข้ามวัฒนธรรม และการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศเพื่อน บ้านในประชาคมอาเซียน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือเยาวชนอาเซียนต่อไป
งานแสดง ภาพสะท้อนผู้คนในอาเซียน
“Family Snaps: Photography in Southeast Asia” คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้การสนับสนุนในการจัดงานแสดงภาพถ่ายสะท้อน ผู้คนในอาเซียน ภายใต้ชื่องาน “Family Snaps: Photography in South East Asia” เมื่อวันที่ 7 – 14 พฤศจิกายน 2557 โดย ZHUANG Wubin อาจารย์และ นักเขียนจากประเทศสิงคโปร์ได้เป็นผู้รวบรวมงานจากช่างภาพฝีมือดีจากประเทศ ต่างๆ 5 คน 5 ประเทศ 5 บริบทสังคม ที่เล่าความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่เป็นเจ้าของ ผลงานกับครอบครัวของพวกเขาผ่านภาพถ่าย ผลงานที่ได้เข้าร่วมจัดแสดงได้แก่ - Like My Father (2013) โดย MaikaElan (Vietnam) - The Relevancy of Restricted Things (2010) โดย Nge Lay (Myanmar) - Two People (2010 – Present) โดย Sean Lee (Singapore) - Thoamada II (2013) โดย VuthLyno (Combodia) - Mer.rily, Mer.rily, Mer.rily, Mer.rilyโดย Minstrel Kuik (Malaysia)
กิจกรรมนักศึกษา
รศ.โรม จิรานุกรม รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และนักศึกษา เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานมอบรางวัลและ ประกาศเกียรติคุณ แก่นักศึกษาผู้ที่ได้รับรางวัลการประกวดเรียงความ ในหัวข้อ “ปริศนาอาเซียน” จัดโดยศูนย์อาเซียนศึกษา วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ ห้องรับรอง สำ�นักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วัน อังคารที่ 30 กันยายน 2557 บทความชนะเลิศ ระดับปริญญาตรี “ความแวดไวทางวัฒนธรรม (Cultural Sensitivity) ในสังคมพหุลักษณ์ : แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในการก้าวข้าม มายาคติทางชาติพันธุ์และการสลายสำ�นึกเส้นแบ่งพรมแดนระหว่าง รัฐชาติอุษาคเนย์” โดย นายธนพงษ์ หมื่นแสน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บทความชนะเลิศ ระดับบัณฑิตศึกษา “ความคาดหวังด้านอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ และ ความเข้าใจเรื่อง กลุ่มชาติพันธุ์ในอาเซียนของคนไทยผ่านสื่อต่างๆ: กรณี น้องแนน สาว เสิร์ฟร้านลาบ เชียงใหม่” โดย สมคิด แสงจันทร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะจัดทำ�
สมัคร์ กอเซ็ม ณัฐกานต์ ทาจันทร์ ปณิธาน พุ่มบ้านยาง ปรัชญา ทองดี ภาพ
ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ตำ�บลสุเทพ อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์: 053-942603-7 โทรสาร: 053-942604 cascmu@cmu.ac.th