:: Annual Report 2012 ::

Page 1


บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) สถานที่ตั้ง : ชั้น 30 -33 อาคารดิออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เลขที่ 999/9 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย โทรศัพท์ : +66(0) 2667 5555 โทรสาร : +66(0) 2264 5593 เว็บไซต์ของบริษัท : www.cpn.co.th เลขทะเบียนบริษัท : 0107537002443 ปีที่ก่อตั้ง : ปี พ.ศ. 2523 ประเภทธุรกิจ : พัฒนาและให้เช่าพื้นที่ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ และประกอบธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องและ ส่งเสริมการประกอบธุรกิจพัฒนาและให้เช่าพื้นที่ศูนย์การค้า รวมทั้งการลงทุนในกองทุน รวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกและเป็นผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ให้แก่กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีก ข้อมูลหลักทรัพย์ : หุ้นสามัญของ บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) เข้าจดทะเบียนและทำ�การซื้อขาย ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2538 โดยใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ “CPN” ทุนจดทะเบียน : 2,178,816,000 บาท ทุนที่ออกและชำ�ระแล้ว : 2,178,816,000 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญ 2,178,816,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท สอบถามข้อมูล : เลขานุการบริษัท โทรศัพท์ : +66(0) 2667 5555 ต่อ 1678 และ 1687 โทรสาร : +66(0) 2264 5593 อีเมลล์ : co.secretary@cpn.co.th นักลงทุนสัมพันธ์ โทรศัพท์ : +66(0) 2667 5555 ต่อ 1614 และ 1688 โทรสาร : +66(0) 2264 5593 อีเมลล์ : ir@cpn.co.th



14

18

สารจาก คณะกรรมการบริษัท

รายงานคณะกรรมการ ตรวจสอบ

รายงานคณะกรรมการ สรรหาและกำ�หนด ค่าตอบแทน

24

25

28

57

66

70

73

76

77

โครงการอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้การบริหารงาน ของ CPN

โครงการในอนาคต

วิสัยทัศน์และพันธกิจ

กลยุทธ์ ในการดำ�เนินธุรกิจ

ค่านิยมองค์กร

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

107

122

125

132

134

144

การบริหารจัดการ ความยั่งยืน

ปัจจัยความเสี่ยง

โครงสร้างเงินทุน

ผังองค์กร

โครงสร้างการจัดการ

การสรรหากรรมการ และผู้บริหาร

243

253

258

261

262

จุดเด่นด้านการดำ�เนินงาน และการเงินของกลุ่มบริษัท และบริษัทย่อย

รายละเอียดเกี่ยวกับ ผู้บริหารและผู้มีอำ�นาจ ควบคุมบริษัท

สารบัญ

สรุปข้อมูลทั่วไป ของนิติบุคคลที่บริษัท ถือหุ้น 10% ขึ้นไป

22

257

รายชื่อกรรมการ ในบริษัทย่อย

รายชื่อโครงการศูนย์การค้า ภายใต้การบริหารของ CPN

รายงานคณะกรรมการ บริหารความเสี่ยง

บุคคลอ้างอิงอื่น

รายงานคณะกรรมการ บรรษัทภิบาล

ข้อมูลสำ�หรับนักลงทุน


30

32

36

เหตุการณ์สำ�คัญ ในรอบปี 2555

ภาพรวมเศรษฐกิจไทย และอุตสาหกรรมค้าปลีก ปี 2555

38

42

49

82

83

85

99

102

106

ภาพรวมการประกอบธุรกิจ ของบริษัทและบริษัทในเครือ

โครงสร้างรายได้ของบริษัท และบริษัทย่อย

การกำ�กับดูแลกิจการ

การพัฒนาองค์กร

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การพัฒนาบุคลากร

147

150

161

162

163

242

ค่าตอบแทนกรรมการ และผู้บริหาร

รายการระหว่างกัน

รายงานความรับผิดชอบ ของคณะกรรมการ ต่อรายงานทางการเงิน

รายงานของผู้สอบบัญชี รับอนุญาต

งบการเงินและหมายเหตุ ประกอบงบการเงิน

ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี

คณะกรรมการ และคณะผู้บริหารของบริษัท

รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ ในปี 2555

ผลการดำ�เนินงาน ประจำ�ปี 2555

เซ็นทรัลพัฒนาในวันนี้


เป็นผู้พัฒนาศูนย์การค้า ที่ทุกคนชื่นชม

เป็นผู้พัฒนาศูนย์การค้า ที่ไม่หยุดนิ่ง

เป็นผู้พัฒนาศูนย์การค้า ระดับภูมิภาค

เป็นผู้สร้างประสบการณ์ ความสุขที่เหนือกว่า

เป็นผู้พัฒนาศูนย์การค้าในระดับภูมิภาค ที่ได้รับการชื่นชมสูงสุดจากทุกคน และไม่หยุดนิ่ง ในการสร้าง ประสบการณ์แห่งความสุขในระดับโลก


จากผู้บุกเบิกที่สั่งสมความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ สู่การ เป็นผู้นำ�ในธุรกิจศูนย์การค้าชั้นนำ�ของประเทศไทย เรายังคงมุ่งมั่น และก้าวเดินต่อไปเพื่อความสำ�เร็จในเวทีระดับสากล ความสำ�เร็จที่ นำ�มาซึ่งความสุขและรอยยิ้ม



จากผู้พัฒนาและบริหารศูนย์การค้าที่มีศักยภาพและมีประสบการณ์ อันยาวนานจนเป็นที่ยอมรับในประเทศไทย วันนี้เราพร้อมที่จะก้าว ออกไปสู่สากล



เรานำ�นวัตกรรม และรังสรรค์ความแปลกใหม่มาพัฒนาศูนย์การค้า เราไม่หยุดนิ่งที่จะสร้างสรรค์ สรรหาสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า และคู่ค้า เพื่อให้เป็นศูนย์การค้าที่อยู่ในใจ และได้รับการชื่นชมสูงสุด



จากความสำ�เร็จ และผลงานทีเ่ ป็นทีย่ อมรับจากสถาบันชัน้ นำ�ระดับโลก เรายังคงมุ่งมั่นพัฒนาต่อไป เพื่อนำ�ความสุข ความทันสมัย ความ หลากหลาย ทีจ่ ะสร้างประสบการณ์ ใหม่เหนือความคาดหมายสำ�หรับ ทุกคน



ความสำ�เร็จของเราเกิดจากความทุ่มเท ร่วมแรงร่วมใจ ของทีมงานที่มี คุณภาพและมากด้วยประสบการณ์ เพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน คือ สร้างความเชื่อมั่นแก่ลูกค้า คู่ค้าทางธุรกิจ และผู้เช่าพื้นที่ ให้เกิด ความไว้วางใจอย่างสูงสุด


14 | 15

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

จุดเด่นด้านการดำ�เนินงาน และการเงินของกลุ่มและบริษัทย่อย

82%

5%

อาคารสำ�นักงาน

ศูนย์การค้า

4%

โรงแรม

4%

ศูนย์อาหาร

5%

รายได้อื่นๆ

761,111 97%

967,430 96%

964,612 95%

1,085,102 96%

1,125,492 97%

144,280 94%

163,746 86%

163,991 81%

175,831 87%

169,133 96%

หมายเหตุ : ไม่รวม ดอกเบี้ยรับ เงินปันผลรับ ส่วนแบ่งกำ�ไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม และรายได้ที่มิเกิดขึ้นเป็นประจำ�

51

52

53

54

55

51

52

53

54

55

ศูนย์การค้า

พิ้นที่เช่าศูนย์การค้า (ตร.ม.) อัตราการเช่าพื้นที่ (%) พิ้นที่เช่าศูนย์การค้า (ตร.ม.) อัตราการเช่าพื้นที่ (%)

อาคารสำ�นักงาน

พิ้นที่เช่าสำ�นักงาน (ตร.ม.) อัตราการเช่าพื้นที่ (%) พิ้นที่เช่าสำ�นักงาน (ตร.ม.) อัตราการเช่าพื้นที่ (%)


51 52 53 54 55

รายได้รวม (ล้านบาท)

51 52 53 54 55

กำ�ไรสุทธิหลังปรับปรุง (ล้านบาท)

11.64

9.16

8.48

8.57

2.03

0.86

0.71

1.05

0.99

4,413

1,871

1,552

2,292

2,158

17,687

ส่วนของผู้ถือหุ้น (ล้านบาท)

12,766

หนี้สินรวม (ล้านบาท)

11,388

สินทรัพย์รวม (ล้านบาท)

11,755

51 52 53 54 55

6.65

25,900

20,448

18,918

19,008

15,173

44,384

43,611

34,952

31,887

28,610

70,284

64,059

53,869

50,895

43,784

51 52 53 54 55

9,271

51 52 53 54 55

51 52 53 54 55

51 52 53 54 55

กำ�ไรสุทธิหลังปรับปรุงต่อหุ้น (บาท)

มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (บาท)


16 | 17

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

จุดเด่นด้านการดำ�เนินงาน และการเงินของกลุ่มและบริษัทย่อย ณ 31 ธันวาคม ผลการดำ�เนินงานภายใต้การบริหารงานของ CPN พื้นที่ให้เช่ารวม (ตารางเมตร) > ศูนย์การค้า > อาคารสำ�นักงาน > โรงแรม(ห้อง) > อาคารสำ�หรับพักอาศัย อัตราการเช่าพื้นที่ (%) > ศูนย์การค้า > อาคารสำ�นักงาน > โรงแรม > อาคารสำ�หรับพักอาศัย ข้อมูลสำ�คัญจากงบกำ�ไรขาดทุน รายได้รวม 1) รายได้จากการเช่าและบริการ ขายอาหารและเครื่องดื่ม โรงแรม ต้นทุนค่าเช่าและบริการ ขายอาหารและเครื่องดื่ม โรงแรม กำ�ไรขั้นต้น2) กำ�ไรสุทธิ กำ�ไรสุทธิหลังปรับปรุง 2)

2551

2552

2553

2554

2555

911,764 1,137,549 1,134,976 1,267,306 1,300,998 761,111 967,430 964,612 1,085,102 1,125,492 144,280 163,746 163,991 175,831 169,133 255 557 561 561 6,373 6,373 6,373 6,373 6,373 97% 94% 69% 9,270,743 8,598,631 4,889,596 4,381,147 2,185,788 2,157,858

96% 86% 68% 67% 11,754,650 10,934,257 6,696,678 5,057,972 4,951,623 2,292,460

หมายเหตุ 1) ไม่รวม ดอกเบี้ยรับ, เงินปันผลรับ, ส่วนแบ่งกำ�ไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม, และรายได้ที่มิเกิดขึ้นเป็นประจำ� 2) ไม่รวม รายการที่มิเกิดขึ้นเป็นประจำ� 3) หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย ไม่รวมเงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน 4) อัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในบริษัทย่อย 5) กำ�ไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน เฉพาะส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ

95% 81% 50% 67% 11,387,613 10,529,901 6,924,476 4,463,137 1,124,866 1,551,950

96% 87% 45% 52%

97% 96% 76% 59%

หน่วย : พันบาท 12,765,702 17,687,323 11,950,730 16,761,773 7,783,446 9,433,399 4,982,256 8,253,924 2,058,123 6,188,698 1,871,108 4,412,862


ณ 31 ธันวาคม ข้อมูลสำ�คัญจากงบดุล สินทรัพย์รวม หนี้สินรวม หนี้สินสุทธิที่มีภาระดอกเบี้ย 3) ส่วนของผู้ถือหุ้นและส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย กำ�ไรสะสม ทุนที่ออกและชำ�ระแล้ว จำ�นวนหุ้น (‘000 หุ้น) อัตราส่วนทางการเงินรวม อัตราส่วนของหนี้สินสุทธิที่มี ภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 3) (เท่า) อัตรากำ�ไรขั้นต้น 2) (%) อัตรากำ�ไรสุทธิ 2) (%) อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ (%) อัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น 4) (%) กำ�ไรต่อหุ้น 5) (บาท) กำ�ไรสุทธิหลังปรับปรุงต่อหุ้น 2) 5) (บาท) มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (บาท) เงินปันผลต่อหุ้น (จ่ายปีถัดไป) (บาท)

2551

2552

2553

2554

2555

หน่วย : พันบาท 64,059,165 70,283,819 43,610,988 44,383,845 24,300,067 21,357,620 20,448,177 25,899,974 15,828,190 21,210,726 2,178,816 2,178,816 2,178,816 2,178,816

43,783,780 28,610,457 12,768,404 15,173,322 10,089,338 2,178,816 2,178,816

50,895,450 31,887,348 14,128,862 19,008,102 14,539,840 2,178,816 2,178,816

53,869,402 34,951,652 17,452,337 18,917,749 14,339,464 2,178,816 2,178,816

0.84

0.74

0.92

1.19

0.82

47.26 22.02 5.40 15.89 1.00 0.99 6.65 0.33

43.03 18.74 10.46 29.85 2.27 1.05 8.57 0.58

39.19 13.03 2.15 6.06 0.52 0.71 8.48 0.25

39.03 14.06 3.49 10.71 0.94 0.86 9.16 0.37

46.67 24.05 9.21 27.31 2.84 2.03 11.64 0.95


สารจาก คณะกรรมการ บริษัท


เรียน ท่านผู้ถือหุ้น บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) ในปี 2555 ที่ผ่านมา การดำ�เนินธุรกิจของ บริษัทฯ เป็นไปในทิศทางที่ดีมาก การเปิด ดำ�เนินการสาขาต่างๆ เป็นไปตามแผนงาน ที่วางไว้ ไม่มีปัจจัยด้านลบที่ส่งผลกระทบ ต่อการดำ�เนินงาน และผลประกอบการ อย่างมีนยั สำ�คัญ ดังเช่นในช่วง 2 ปีทผี่ า่ นมา ที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบจากการปิ ด ปรั บ ปรุ ง โครงการเซ็นทรัลเวิลด์ และเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว และแม้ว่าสภาพเศรษฐกิจโดย รวมจะมีการขยายตัวในอัตราที่ลดลงตาม การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก แต่ CPN ก็ ยังมีผลประกอบการที่โดดเด่น สามารถ ขยายสาขาได้ตามแผนกลยุทธ์ และราคา หุ้นได้ปรับตัวสูงขึ้น 117% จากสิ้นปี 2554

พัฒนาศูนย์การค้าอย่างต่อเนื่อง ในปี ที่ ผ่ า นมา CPN ได้ เ ปิ ดให้ บ ริ ก าร ศูนย์การค้าใหม่ 2 โครงการ อันประกอบด้วย “ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา สุราษฎร์ธานี” ในเดือนตุลาคม และ “ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา ลำ�ปาง” ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่ง ทัง้ 2 โครงการได้รบั การตอบรับจากร้านค้า และลูกค้าเป็นอย่างดี ด้วยอัตราการเช่า พื้นที่เกินกว่า 95% ณ วันเปิดให้บริการ นอกจากนี้ CPN ได้เปิดให้บริการส่วนขยาย ของศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี โดยมี พื้ น ที่ ค้ า ปลี ก เพิ่ ม ขึ้ น กว่ า 25,000 ตารางเมตร พร้อมทั้งปรับปรุง ปรับโฉม และปรั บ เปลี่ ย นร้ า นค้ าในส่ ว นของศู น ย์ การค้าเดิม ทำ�ให้ศูนย์การค้าดังกล่าวเป็น ศู น ย์ ก ารค้ า ที่ ยิ่ งใหญ่ ใ นภาคอี ส านด้ ว ย พืน้ ทีโ่ ครงการรวมกว่า 250,000 ตารางเมตร

ซึ่งยังคงได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้า ที่เข้ามาใช้บริการและร้านค้าชั้นนำ�ที่เข้ามา เสริมความแข็งแกร่งและเพิ่มความหลาก หลายให้แก่ศนู ย์การค้าแห่งนีเ้ ช่นกัน นับเป็น อีกหนึ่งความภาคภูมิใจของ CPN ในปีที่ ผ่านมา สำ�หรับโครงการปัจจุบันอื่นๆ ของ CPN ยังคงมีการพัฒนาปรับปรุงโครงการอย่าง ต่ อ เนื่ อ งเพื่ อ ให้ ศู น ย์ ก ารค้ า ภายใต้ ก าร บริหารของ CPN มีความครบถ้วน ทันสมัย และสามารถตอบสนองความต้องการของ ลูกค้าได้อย่างแท้จริง และสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับทรัพย์สินได้ในระยะยาว เพื่อสร้างรากฐานทางธุรกิจที่มั่นคงภายใน ประเทศ CPN ได้กำ�หนดแผนงานการ เปิดโครงการใหม่อย่างต่อเนื่องตลอด 5 ปี ข้างหน้า ซึง่ ภายใต้แผนธุรกิจระยะ 5 ปี (ปี 2554-2558) CPN มีเป้าหมายทีจ่ ะมีรายได้ เติบโตในอัตราเฉลี่ย (CAGR) 15% ต่อปี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว CPN ได้ วางแผนพัฒนาโครงการใหม่ทงั้ ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยจะมีโครงการใหม่เปิด ให้บริการอย่างต่อเนือ่ งปีละ 3-4 โครงการ สำ � หรั บโครงการระหว่ า งการพั ฒ นาใน ประเทศที่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการไป แล้ว ได้แก่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา อุบลราชธานี ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ และศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ ทั้ง 3 โครงการนี้ มีกำ�หนดเปิด ให้บริการในปี 2556 สำ�หรับแผนงานใน การขยายธุรกิจไปยังประเทศอื่นในภูมิภาค เอเซียนัน้ เนือ่ งจากเป็นตลาดใหม่ บริษทั ฯ จึงต้องใช้เวลาในการดำ�เนินการและความ ระมัดระวังในการพิจารณาลงทุนมากกว่า การขยายธุ ร กิ จในประเทศ นอกจากนี้

บริษัทฯ ยังคงเน้นการเติบโตของรายได้ใน ศู น ย์ ก ารค้ า ปั จ จุ บั น ควบคู่ ไ ปกั น กั บ การ ขยายศูนย์การค้าใหม่ CPN ยังครองความเป็นผู้นำ�ในตลาดใน กลุ่มผู้พัฒนาศูนย์การค้า ด้วยพื้นที่ค้าปลีก รวมกว่า 1 ล้านตารางเมตรในปัจจุบัน

ฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง สำ�หรับปี 2555 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายได้รวม 19,541 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50% จากปีก่อน และมีกำ�ไรสุทธิ 6,189 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 201% จากปีก่อน ผล ประกอบการที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนนี้ ส่วน หนึ่งเป็นผลมาจากรายการพิเศษที่มิได้เกิด ขึ้นเป็นประจำ� อันได้แก่ กำ�ไรจากการนำ� อาคารสำ�นักงาน ดิ ออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เข้ากองทุนรวมสิทธิการเช่า อสังหาริมทรัพย์ CPN คอมเมอร์เชียล โกรท (CPNCG) หากไม่นับรวมรายการ ดังกล่าวนี้ รายได้รวมและกำ�ไรสุทธิของ บริ ษั ท ฯ และบริ ษั ท ย่ อ ยในปี 2555 ก็ สามารถเติบโตอย่างโดดเด่นถึง 31% และ 130% ตามลำ�ดับ โดยเป็นผลจากการเปิด ให้บริการโครงการใหม่และการเพิม่ ขึน้ อย่าง ต่อเนื่องของอัตราค่าเช่าพื้นที่ในโครงการ ปัจจุบัน ประกอบกับการควบคุมต้นทุน และค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ การจั ด หาเงิ น ทุ น ผ่ า นการนำ � อาคาร สำ�นักงาน ดิ ออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัล เวิ ล ด์ เข้ า กองทุ น รวมสิ ท ธิ ก ารเช่ า อสังหาริมทรัพย์ CPN คอมเมอร์เชียล โกรท (CPNCG) ได้รับการตอบรับจาก นั ก ลงทุ น เป็ น อย่ า งดี มี ผู้ ส นใจจองซื้ อ


20 | 21

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

กองทุนเมือ่ เสนอขายครัง้ แรกเกินกว่า 6 เท่า สำ�หรับนักลงทุนรายย่อย และ 3.5 เท่า สำ�หรั บนั กลงทุ น สถาบัน และมีผู้ถือหุ้น กว่า 17,000 ราย มากทีส่ ดุ ในกลุม่ กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ ราคาเมื่อเปิดซื้อขายใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยวันแรกคือ 13 บาท/หน่วย เพิม่ ขึน้ 26% จากราคาเสนอ ขาย 10.30 บาท/หน่วย ทัง้ นี้ บริษทั ฯ ยังคงดำ�รงนโยบายโครงสร้าง เงินทุนที่ระมัดระวัง โดยสัดส่วนหนี้สินที่มี ภาระดอกเบีย้ สุทธิตอ่ ทุน ณ สิน้ ปี 2555 อยูท่ ี่ 0.82 เท่า ทัง้ นีเ้ พือ่ ความมัน่ ใจต่อฐานะทาง การเงินของ CPN และส่งเสริมให้ CPN สามารถเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว เมื่ อ พิ จ ารณาผลประกอบการและฐานะ การเงินโดยรวมของบริษัทฯ ในปี 2555 ประกอบกับศักยภาพในการจัดหาเงินทุน ของบริษัทฯ และแผนการลงทุนในอนาคต คณะกรรมการบริษัทจึงมีมติเห็นควรเสนอ ต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 26 เมษายน 2556 เพื่ออนุมัติจ่ายเงินปันผลในอัตรา 0.95 บาทต่อหุ้น ซึ่งคิดเป็นอัตราการจ่าย เงินปันผล 33.4% ของกำ�ไรสุทธิในปี 2555

การบริหารงานอย่างมืออาชีพ ปี 2555 CPN อยู่ระหว่างดำ�เนินการปรับ โครงสร้างและกระบวนการทำ�งานภายใน

องค์กรให้รองรับและสนับสนุนการขยาย ธุรกิจในอนาคต ภายใต้ภารกิจที่เรียกว่า “Transformation Mission (T-Mission)” ภารกิจที่แล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อย คือ การ ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ และการพัฒนา ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากร บุคคล หรือ Human Resources Information System (HRIS) ส่วนการปรับกระบวนการ ทำ�งานซึง่ ดำ�เนินการควบคูไ่ ปกับการพัฒนา ระบบสารสนเทศด้ า นการบริ ห ารจั ด การ หรือ Enterprise Resource Planning (ERP) นัน้ ได้เริม่ ต้นแล้วและยังอยูร่ ะหว่าง ดำ � เนิ น การ โดยมี กำ � หนดแล้ ว เสร็ จ และ ทดสอบการใช้งานจริง (soft launch) ภาย ในไตรมาส 2 ปี 2556 นี้ จากความมุ่ ง มั่ นในการพั ฒ นาองค์ ก รสู่ ความเป็นเลิศ วันนี้การบริห ารงานและ ผลงานของ CPN ได้รับการยอมรับทั้งใน ระดับประเทศและนานาชาติ หลากหลาย รางวัลที่ CPN ได้รับในปี 2555 ทั้งในด้าน การออกแบบพัฒนาโครงการ การสร้าง แบรนด์และการตลาด การบริหารและการ เงิน รวมถึงรางวัลด้านบรรษัทภิบาล และ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สะท้อนให้เห็นถึง ศั ก ยภาพความเป็ น ผู้ นำ � ด้ า นการพั ฒ นา ศูนย์การค้าของ CPN และการไม่หยุด พัฒนาตนเอง อันจะนำ�พา CPN ให้เติบโต อย่างยั่งยืนพร้อมก้าวสู่การเป็นผู้พัฒนา ศูนย์การค้าในระดับภูมิภาค

ความสำ�เร็จในปีที่ผ่านมา จะไม่สามารถ เกิดขึ้นได้หากขาดความร่วมมือร่วมใจของ พนักงานและผูบ้ ริหาร CPN คณะกรรมการ บริษัทจึงขอถือโอกาสนี้ ขอบคุณพนักงาน และผูบ้ ริหารทุกท่านทีไ่ ด้ทมุ่ เทปฏิบตั หิ น้าที่ อย่างเต็มความสามารถ นับเป็นรากฐาน แห่งความสำ�เร็จ และเป็นส่วนสำ�คัญที่ผลัก ดันให้ CPN เติบโตขึ้นอย่างมั่นคง และที่ สำ � คั ญ คณะกรรมการบริ ษั ท ขอ ขอบคุ ณ ผู้ ถื อ หุ้ น ผู้ เ ช่ า พื้ น ที่ พั น ธมิ ต ร ทางการค้า สถาบันการเงิน องค์การภาครัฐ และเอกชน สือ่ มวลชน และลูกค้าของ CPN ทุกท่าน ทีไ่ ว้วางใจและให้การสนับสนุนการ ดำ�เนินธุรกิจของ CPN ด้วยดีมาโดยตลอด คณะกรรมการบริษัทขอให้ทุกท่านเชื่อมั่น ว่า CPN จะมุ่งมั่นดำ�เนินธุรกิจด้วยหลัก คุณธรรมและบรรษัทภิบาลเพื่อประโยชน์ สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย และจะมุ่ง พัฒนาบริษัทฯ ให้ก้าวขึ้นเป็น “ผู้พัฒนา ศูนย์การค้าในระดับภูมิภาค ที่ได้รับการ ชื่นชมสูงสุดจากทุกคน และไม่หยุดนิ่งใน การสร้างประสบการณ์แห่งความสุขในระดับ โลก” ตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้

สุทธิชัย จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริษัท

กอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่


ด้วยความอาลัย...คุณวันชัย จิราธิวัฒน์ พวกเราชาว CPN ขอไว้อาลัยกับการจากไปของคุณวันชัย จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการ กิตติมศักดิ์ คุณวันชัยเป็นผู้ร่วมบุกเบิกสร้างห้างเซ็นทรัลอันเป็นต้นแบบแห่งแรกของห้าง สรรพสินค้าในประเทศไทย เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และมีวิสัยทัศน์ในการบริหาร จัดการธุรกิจในกลุ่มเซ็นทรัลให้เป็นผู้นำ�ในธุรกิจค้าปลีกมายาวนานกว่า 60 ปี ด้วยความสำ�เร็จตลอดระยะเวลาการดำ�เนินธุรกิจที่ผ่านมาของ CPN ส่วนหนึ่งเป็นผลมา จากการที่ CPN เป็นหนึ่งในสายธุรกิจของกลุ่มเซ็นทรัล เนื่องจากกลุ่มเซ็นทรัลมีธุรกิจที่ หลากหลายทัง้ ธุรกิจห้างสรรพสินค้าธุรกิจโรงแรม ธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจค้าปลีกสินค้า หลากหลายประเภท และธุรกิจต่างๆ ในกลุ่มเซ็นทรัลเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง และมีสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับ CPN จึงเป็นปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโตของ CPN มาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และต่อเนื่องไปในอนาคต


22 | 23

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

รายงาน คณะกรรมการตรวจสอบ เรียน ผู้ถือหุ้น บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) คณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเป็นอิสระ 4 คน โดยมีนายไพฑูรย์ ทวีผล ซึ่งเป็นผู้มี ความรู้และประสบการณ์เพียงพอในการ สอบทานความน่าเชื่อถือได้ของงบการเงิน เป็ น ประธานกรรมการตรวจสอบ นาย จักก์ชัย พานิชพัฒน์ นางสุนันทา ตุลยธัญ และนายการุณ กิตติสถาพร เป็นกรรมการ ตรวจสอบ ในปี 2555 การประชุมของคณะกรรมการ ตรวจสอบมี ทั้ ง สิ้ น 11 ครั้ ง กรรมการ ตรวจสอบทุ ก คนเข้ า ร่ ว มการประชุ ม ทุ ก ครั้ง การประชุมในบางครั้งคณะกรรมการ ตรวจสอบได้หารือร่วมกับผู้บริหาร ผู้สอบ บัญชี ผู้ตรวจสอบภายใน และกรรมการ จากภายนอกอืน่ ทีไ่ ม่เป็นผูบ้ ริหารตามวาระ อันควร และได้แสดงความเห็นรวมทั้งให้ ข้อเสนอแนะอย่างอิสระตามที่พึงจะเป็น คณะกรรมการตรวจสอบได้ ร ายงานผล การดำ�เนินงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัททั้งสิ้น 6 ครั้ง สรุปสาระสำ�คัญของ ผลการดำ�เนินงานและการให้ความเห็นใน เรื่องต่างๆ ดังนี้

ความถูกต้อง ครบถ้วน และเชื่อถือได้ ของรายงานทางการเงิน คณะกรรมการตรวจสอบได้ ส อบทานงบ การเงินรายไตรมาส งบการเงินประจำ�ปี นโยบายบัญชีที่สำ�คัญ รายการทางการเงิน ทีม่ นี ยั สำ�คัญ และจากการพิจารณาขอบเขต แผนการตรวจสอบ วิธีการตรวจสอบและ ประเด็นที่ตรวจพบ ร่วมกับฝ่ายจัดการและ

ผู้ส อบบัญ ชี คณะกรรมการตรวจสอบมี ความเห็นว่ารายงานทางการเงินของบริษทั ฯ ได้จัดทำ�ขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองโดย ทัว่ ไป มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเชือ่ ถือ ได้ การเลือกใช้นโยบายการบัญชีมีความ สมเหตุสมผล

ความเพียงพอของระบบควบคุม ภายใน การตรวจสอบภายใน การ บริหารความเสี่ยง และการกำ�กับดูแล กิจการที่ดี คณะกรรมการตรวจสอบได้ ส อบทาน รายงานผลการตรวจสอบของสำ�นักตรวจ สอบภายในและของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับ การประเมินระบบการควบคุมภายใน การ บริหารความเสีย่ ง และการกำ�กับดูแลกิจการ ทีด่ ี รวมทัง้ การปรับปรุงการปฏิบตั งิ านของผู้ บริหารตามข้อเสนอแนะในรายงานดังกล่าว และพิจารณากระบวนการภายในเกี่ยวกับ การรับแจ้งเบาะแสและการรับข้อร้องเรียน คณะกรรมการตรวจสอบมี ค วามเห็ น ว่ า ระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯ มี ความเพียงพอและเหมาะสม คณะกรรมการตรวจสอบได้ ส อบทาน แผนงานตรวจสอบภายในประจำ � ปี ที่ จั ด ทำ�โดยใช้หลักเกณฑ์ตามฐานความเสี่ยง (Risk-based Audit Plan) ผลการปฏิบัติ งานตามแผนงานดังกล่าว และการประเมิน ผลการปฏิ บั ติ ง านของสำ � นั ก ตรวจสอบ ภายใน รวมทั้งได้หารือกับผู้บริหารสำ�นัก ตรวจสอบภายในโดยไม่มีฝ่ายจัดการอย่าง สม่ำ�เสมอ นอกจากนั้น ผลการประเมิน คุณภาพของงานตรวจสอบภายใน (Quality Assurance Review) จากบริษัทภายนอก แห่งหนึง่ ทีม่ คี วามเป็นอิสระและมีคณ ุ สมบัติ

เหมาะสม อยู่ ใ นระดั บ น่ า พอใจ คณะ กรรมการตรวจสอบจึงมีความเห็นว่าการ ตรวจสอบภายในมี ค วามเป็ น อิ ส ระและ เหมาะสม

การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำ�หนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ และกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับธุรกิจ ของบริษทั ฯ คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานการ ปฏิ บั ติ ต ามกฎหมายว่ า ด้ ว ยหลั ก ทรั พ ย์ และตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ข้ อ กำ � หนดของ ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทย และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ และติ ด ตามแนวทางการปรั บ ปรุ ง แก้ ไ ข ของฝ่ายจัดการอย่างสม่ำ�เสมอ ซึ่งคณะ กรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า บริษัทฯ มี ก ารปฏิ บั ติ ต ามกฎหมายว่ า ด้ ว ยหลั ก ทรั พ ย์ แ ละตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ข้ อ กำ � หนด ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ

รายการที่อาจมีความขัดแย้งทาง ผลประโยชน์ คณะกรรมการตรวจสอบได้ ใ ห้ ค วาม สำ � คั ญ เป็ น กรณี พิ เ ศษในการพิ จ ารณา รายการที่เกี่ยวโยงกัน และรายการที่อาจ มี ค วามขั ด แย้ ง ทางผลประโยชน์ ใ ห้ เ ป็ น ไปตามกฎหมายและข้ อ กำ � หนดของ ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทยเป็ น ประจำ�ทุกไตรมาส และให้ส�ำ นักตรวจสอบ ภายในติ ด ตามสอบทานความถู ก ต้ อ งใน เบื้องต้น รวมทั้งให้ผู้สอบบัญชีสอบทาน


รายการดังกล่าวเป็นประจำ�ทุกปี ซึ่งคณะ กรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า รายการ ทีเ่ กีย่ วโยงกันทีไ่ ด้พจิ ารณานัน้ เป็นรายการ ที่เข้าข่ายเป็นธุรกิจปกติที่มีเงื่อนไขการค้า ทัว่ ไป มีความสมเหตุสมผล เป็นธรรม และ เป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทฯ

ความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี การพิจารณา คัดเลือก และเสนอ แต่งตั้งผู้สอบบัญชี คณะกรรมการตรวจสอบได้ประเมินความ เป็นอิสระและผลการปฏิบัติงานสำ�หรับปี 2555 ซึง่ เป็นปีที่ 7 ของบริษทั สอบบัญชี แต่ ได้เปลีย่ นผูส้ อบบัญชีทลี่ งนามรับรองงบการ เงินตั้งแต่ปี 2552 แล้ว ผลการปฏิบัติงาน โดยรวมอยู่ในระดับที่น่าพอใจ มีความเป็น อิสระเพียงพอ คณะกรรมการตรวจสอบยัง ได้ประชุมหารือร่วมกับผูส้ อบบัญชีโดยไม่มี ฝ่ายจัดการจำ�นวน 2 ครัง้ เพือ่ ขอความเห็น จากผู้สอบบัญชีในเรื่องการปฏิบัติงานและ การประสานงานร่ ว มกั บ ฝ่ า ยจั ด การท่ี เกี่ยวข้อง ในการพิจารณาคัดเลือกและเสนอแต่งตั้ง ผู้สอบบัญชีสำ�หรับปี 2556 นั้น เนื่องจาก ในปี 2554 ได้เปรียบเทียบราคาค่าบริการ สอบบัญชีแล้ว คณะกรรมการตรวจสอบจึง ได้พจิ ารณาผลการปฏิบตั งิ าน ขอบเขต และ ปริมาณงานเทียบกับค่าบริการสอบบัญชี สำ�หรับปี 2556 ทีเ่ สนอมา โดยมีความเห็น ชอบเสนอต่อคณะกรรมการบริษทั ให้แต่งตัง้

บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำ�กัด เป็นผูส้ อบบัญชีของบริษทั ฯ และบริษทั ย่อย สำ�หรับปี 2556 มีคา่ ตอบแทนคิดเป็นจำ�นวน เงินรวม 6,010,000 บาท

ความเห็นและข้อสังเกตโดยรวมจากการ ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร คณะกรรมการตรวจสอบได้ประเมินผลการ ปฏิบัติงานตนเองของคณะกรรมการตรวจ สอบ โดยประเมินผลในภาพรวมเป็นราย คณะประจำ�ปี 2555 เมือ่ วันที่ 18 มกราคม 2556 ใน 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การทำ�หน้าที่ โดยรวมของคณะกรรมการตรวจสอบ ส่วน ที่ 2 การปฏิบัติหน้าที่เฉพาะด้านของคณะ กรรมการตรวจสอบ ซึง่ ส่วนที่ 2 นี้ แบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่ (1) การสอบทานให้บริษัทฯ มีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและ เพียงพอ (2) การสอบทานให้บริษทั ฯ มีการ ควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในทีม่ ี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (3) การสอบ ทานให้บริษทั ฯ ปฏิบตั ติ ามกฎหมายว่าด้วย หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำ�หนด ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ (4) การพิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตัง้ ผูส้ อบ บัญชี (5) การพิจารณารายการที่เกี่ยวโยง กันและ (6) การจัดทำ�รายงานของคณะ กรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจ สอบมีความเห็นโดยรวมว่า คณะกรรมการ ตรวจสอบได้ปฏิบัติงานอย่างเพียงพอและ ครบถ้วน นายไพฑูรย์ ทวีผล ประธานกรรมการตรวจสอบ


24 | 25

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

รายงาน คณะกรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน ในปี 2555 คณะกรรมการสรรหาและ กำ � หนดค่ า ตอบแทน มี ก ารประชุ ม รวม ทั้งสิ้น 2 ครั้ง และได้รายงานสรุปผลการ ดำ�เนินงานทุกครั้งให้คณะกรรมการบริษัท รับทราบอย่างต่อเนือ่ ง ซึง่ การดำ�เนินงานที่ สำ�คัญในปี 2555 สรุปได้ดังนี้

>> พิ จ ารณาสรรหาบุ ค คลที่ มี คุ ณ สมบั ติ

เหมาะสมเป็นกรรมการเพื่อเสนอต่อ คณะกรรมการบริ ษั ท และที่ ป ระชุ ม สามัญผูถ้ อื หุน้ ประจำ�ปี 2555 โดยบริษทั ฯ เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยสามารถ เสนอรายชื่ อ บุ คคลเข้า รับการสรรหา เป็นกรรมการบริษัทได้ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2554 ถึง 15 มกราคม 2555 แต่ไม่มีผู้ถือหุ้นรายใดเสนอชื่อบุคคล เพื่ อ รั บ การพิ จ ารณาแต่ ง ตั้ ง เป็ น กรรมการ ดั ง นั้ น คณะกรรมการ สรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทนจึงเสนอ ให้พจิ ารณาแต่งตัง้ กรรมการทีอ่ อกตาม วาระประจำ � ปี 2555 กลั บ เข้ า ดำ � รง ตำ�แหน่งกรรมการอีกวาระหนึ่ง โดยที่ ประชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ นได้ มี ม ติ อ นุ มั ติ แ ต่ ง ตั้ ง กรรมการทุกท่านตามที่เสนอ

>> พิ จ ารณากำ � หนดค่ า ตอบแทนประจำ �

ปี 2555 สำ�หรับคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการชุดย่อย ซึง่ ประกอบ ด้วย คณะกรรมการตรวจสอบ คณะ ก รรมการสรรห า และ กำ �ห น ด ค่ า ตอบแทน และคณะกรรมการบริหาร ความเสีย่ ง เพือ่ เสนอต่อคณะกรรมการ บริ ษั ท และที่ ป ระชุ ม สามั ญ ผู้ ถื อ หุ้ น พิ จ ารณาอนุ มั ติ โดยพิ จ ารณาให้ เหมาะสมกั บ หน้ า ที่ ค วามรั บ ผิ ด ชอบ ความสำ�เร็จในการปฏิบตั งิ านทีเ่ ชือ่ มโยง กับผลประกอบการ และปัจจัยแวดล้อม

อื่ น ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ตลอดจนพิ จ ารณา เปรียบเทียบกับอัตราค่าตอบแทนของ บริษัทอื่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือใกล้เคียงกับบริษัทฯ ซึ่งที่ประชุม ผูถ้ อื หุ้นได้มีมติอนุมัติตามที่เสนอ

>> พิจารณาและให้ความเห็นต่อแผนการ

สืบทอดตำ�แหน่งผู้บริหารระดับสูงให้ มีความต่อเนื่องและสอดคล้องกับแผน กลยุทธ์ของบริษทั ฯ เพือ่ รองรับการขยาย ธุ ร กิ จ ทั้ งในประเทศและต่ า งประเทศ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

>> พิจารณาประเมินผลการปฏิบตั งิ านของ

กรรมการผู้จัดการใหญ่ ประจำ�ปี 2554 และกำ � หนดเป้ า หมายรวมทั้ ง วิ ธี ก าร ประเมินผลการปฏิบตั งิ านของกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ ประจำ�ปี 2555 โดย กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่มสี ว่ นร่วมในการ กำ�หนดเป้าหมายและวิธกี ารประเมินผล การปฏิบัติงานของตนเอง

>> พิจารณาและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ

การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ASEAN CG Scorecard ในหมวดความ รับผิดชอบของคณะกรรมการ เพื่อนำ� ไปสูก่ ารพัฒนางานทีเ่ กีย่ วข้องให้เป็นไป ตามมาตรฐานสากลและเหมาะสมกับ ธุรกิจของบริษัทฯ

คณะกรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบ แทนปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ด้ ว ยความรอบคอบ ซื่อสัตย์สุจริต ตามหน้าที่ความรับผิดชอบ ทีก่ �ำ หนดไว้ในกฎบัตรคณะกรรมการสรรหา และกำ�หนดค่าตอบแทน โดยยึดมัน่ ในหลัก การกำ�กับดูแลกิจการทีด่ อี ย่างเพียงพอและ เหมาะสม เพือ่ ประโยชน์ทสี่ มดุลและยัง่ ยืน ของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน

>> พิจารณาติดตามความคืบหน้า และให้

ความเห็ น เกี่ ย วกั บ นโยบายและการ ดำ�เนินงานด้านการบริหารทุนมนุษย์ และการบริ ห ารองค์ ก ร เพื่ อ รองรั บ การขยายตัวของธุรกิจทัง้ ในประเทศและ ต่ า งประเทศ ตลอดจนแนวทางการ พัฒนาบุคลากร การสือ่ สารนโยบายกับ พนั ก งาน และการเสริ ม สร้ า งความ ผูกพันกับองค์กรของพนักงาน

>> พิจารณาทบทวนกฎบัตรคณะกรรมการ

สรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน โดย เห็นว่ากฎบัตรฉบับปัจจุบันยังมีความ เหมาะสม สอดคล้องกับสภาวการณ์ และแนวปฏิบตั ทิ ดี่ ขี องหน่วยงานกำ�กับ ดูแลต่างๆ

นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์ ประธานกรรมการสรรหา และกำ�หนดค่าตอบแทน


รายงาน คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบริษทั เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) ได้กำ�หนดเป็นนโยบายอย่าง ชัดเจนในการให้ความสำ�คัญเป็นอย่างยิ่ง ต่อการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้การเจริญ เติบโตของบริษัทฯ เป็นไปอย่างยั่งยืน โดย มุ่ ง เน้ น การพั ฒ นาและส่ ง เสริ ม ให้ มี ก าร บริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร รวมถึงได้ กำ�หนดเป็นนโยบายการบริหารความเสี่ยง แบบยั่งยืน เพื่อระบุปัจจัยเสี่ยงที่สำ�คัญ (Key Risk Factors) ทีส่ ง่ ผลกระทบต่อธุรกิจ ให้ครอบคลุมทุกมิตทิ งั้ ในระดับองค์กร และ ในระดับปฏิบตั กิ าร เพือ่ การจัดการกับปัจจัย เสี่ ย งดั ง กล่ า วให้ ล ดลงในระดั บ ที่ อ งค์ ก ร ยอมรับได้หรือได้มีการถ่ายโอนความเสี่ยง นั้นอย่างเหมาะสม โดยมีคณะกรรมการ กำ�กับดูแลงานบริหารความเสีย่ งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ 1. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับ ปฏิ บั ติ ก าร (Operational Risk Management Committee) รับผิดชอบ ในการพิจารณากำ�หนดนโยบาย กลยุทธ์ โครงสร้าง และกรอบการจัดวางระบบ การบริหารความเสี่ยงที่มีผลกระทบใน ระดับปฏิบัติการ ทั้งที่สำ�นักงานใหญ่ และศูนย์การค้าแต่ละแห่ง และนำ�เสนอ ภาพรวมความเสี่ยงในระดับปฏิบัติการ ทีส่ �ำ คัญ วิธกี ารจัดการ และประเมินผล การติ ด ตามความเสี่ ย งต่ า งๆ เพื่ อ รายงานต่อคณะกรรมการบริหารความ เสี่ ย งระดั บ องค์ ก ร โดยจั ดให้ มี ก าร ประชุมอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง บริษัทฯ ให้ ค วามสำ � คั ญ กั บ การบริ ห ารความ เสีย่ งระดับปฏิบตั กิ ารและมีแผนพัฒนา ระบบงานอย่างต่อเนื่องในทุกส่วนงาน ที่เกี่ยวข้อง

2. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับ องค์กร (Corporate Risk Management Committee) รับผิดชอบในการพิจารณา กำ�หนดนโยบาย แผนกลยุทธ์ โครงสร้าง และกรอบการจัดวางระบบการบริหาร ความเสี่ ย งที่ มี ผ ลกระทบอย่ า งกว้ า ง ขวางในระดับองค์กร และสนับสนุนการ บริหารงานของผูบ้ ริหารระดับสูง ในการ กำ�หนดโครงสร้างของการบริหารความ เสี่ยงให้ครอบคลุมทั้งองค์กร รวมถึงมี การสอบทานความเสี่ยง ติดตาม และ ประเมินความเพียงพอ ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการจัดการความ เสีย่ งในภาพรวม โดยจัดให้มกี ารประชุม อย่างน้อยปีละ 4 ครัง้ คณะกรรมการฯ ส่ ง เสริ ม การบริ ห ารความเสี่ ย งระดั บ องค์กรให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ทบทวน ปัจจัยเสี่ยงที่สำ� คัญโดยมีการทำ�แบบ สำ�รวจความเสี่ยงองค์กร (Corporate Risk Survey) และจั ด ประชุ ม เชิ ง ปฏิบัติการกับผู้บริหารระดับสูง เพื่อจัด ลำ�ดับความสำ�คัญของความเสีย่ ง (Risk Prioritization Workshop) กำ�หนด เจ้าของความเสีย่ ง (Risk Owner) เพือ่ ทำ�แผนปฏิบตั กิ ารจัดการกับปัจจัยเสีย่ ง ให้ ล ดลงในระดั บ ที่ อ งค์ ก รยอมรั บได้ และในปี 2555 ทีผ่ า่ นมา คณะกรรมการฯ ได้กำ�หนดและวางแผนป้องกันความ เสี่ยงไว้ดังนี้

ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) ได้แก่ >> ความเสี่ยงด้านความพร้อมทางธุรกิจ

(Business Readiness) เพือ่ รองรับกับ นโยบายการเติ บโตทางธุ ร กิ จในการ

ขยายสาขาและรองรั บ การแข่ ง ขั น ภายในประเทศที่รุนแรงขึ้น บริษัทฯ มี แผนการขยายธุรกิจในประเทศอย่างต่อ เนื่องโดยยึดหลักการบริหารความเสี่ยง ด้านการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพผ่าน การวิเคราะห์ความเป็นไปได้และความ คุม้ ค่าของโครงการ การพัฒนาบุคลากร การวิ เ คราะห์ ค วามพร้ อ มของคู่ ค้ า การบริหารศูนย์การค้าให้คงศักยภาพ และประสิทธิภาพในการแข่งขัน >> ความเสีย่ งด้านการลงทุนในต่างประเทศ

(Foreign Investment Risk) บริษทั ฯ มี แผนการขยายธุรกิจไปในต่างประเทศ เพื่อตอบสนองต่อนโยบายการเติบโต ทางธุรกิจอย่างต่อเนือ่ ง โดยมีการจัดตัง้ ทีมงานต่างประเทศ เพื่อศึกษาทิศทาง โอกาสและรูปแบบทางธุรกิจทีเ่ หมาะสม เพื่ อให้ เ กิ ด การลงทุ น ที่ ส อดคล้ อ งกั บ สภาพแวดล้ อ มในแต่ ล ะประเทศที่ บริษัทฯ จะเข้าไปขยายธุรกิจ

ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk) ได้แก่ >> ความเสี่ ย งจากการบริ ห ารความ

เปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับระบบงานใหม่ บริษัทฯ ได้มีการปรับปรุงพัฒนาและ ติดตั้งระบบสารสนเทศขององค์กรที่นำ� แนวคิดและวิธีการบริหารของ ERP (Enterprise Resource Planning) เพือ่ รองรับความต้องการที่จำ�เป็นทางด้าน ธุรกิจ โดยมีเทคโนโลยีด้านสารสนเทศ ที่ ทั น ส มั ย แ ล ะ มี ป ร ะ สิ ท ธิ ภ า พ ครอบคลุ ม กระบวนการที่ สำ � คั ญ ของ องค์กร รวมทัง้ เป็นระบบทีต่ อ้ งสอดคล้อง ตามวิ สั ย ทั ศ น์ แ ละกลยุ ท ธ์ ที่ มุ่ ง เน้ น


26 | 27

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

ก า ร เ ติ บ โ ต ทั้ ง ใ น ป ร ะ เ ท ศ แ ล ะ ต่างประเทศ โดยมีการคัดเลือกผู้ค้าที่ เป็นผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ใน การติดตั้งระบบที่เป็นที่น่าเชื่อถือ >> ความเสีย่ งด้านการสรรหาบุคลากรและ

ส ร้ า ง ค ว า ม ผู ก พั นใ ห้ กั บ อ ง ค์ ก ร (Engagement) บริษทั ฯ ได้จดั ตัง้ คณะ กรรมการพั ฒ นาบุ ค ลากร (People Development Committee) โดยมี บทบาทหน้าที่ในการกำ�หนดนโยบาย เเละกลยุทธ์ดา้ นการบริหารเเละพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร รวมถึงดูเเล การบริหารเเละพัฒนาพนักงานในทุก ระดับเพือ่ รองรับนโยบายการเติบโตทาง ธุรกิจ และการแข่งขันภายในประเทศ เพื่อให้เกิดมาตรฐานและคุณภาพของ บุคลากรทีส่ อดคล้องต่อการขยายธุรกิจ

ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยจาก อันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน (Hazard Risk) ได้แก่ >> ความเสี่ยงด้านอุบัติภัยและภัยอื่นๆ ที่

เกี่ ย วข้ อ งกั บ การบริ ห ารศู น ย์ ก ารค้ า บริษัทฯ ได้มีการแต่งตั้งทีมงานป้องกัน การสูญเสียภายใต้การกำ�กับดูแลของ สำ�นักส่งเสริมและกำ�กับดูแลมาตรฐาน (สสม.) เพือ่ ตระหนักถึงปัจจัยเสีย่ งด้าน ความปลอดภัย ทั้งในส่วนของการเกิด อัคคีภัย อุทกภัย และภัยอื่นๆ โดยมี การกำ�หนดเป็นระเบียบปฏิบตั กิ าร เพือ่ ให้ทุกสาขาปฏิบัติ รวมทั้งทำ�แผนเพื่อ จำ�ลองสถานการณ์การเกิดเหตุการณ์ กรณีต่างๆ และฝึกซ้อมตามแผนนั้นๆ โดยมีการติดตามผลการฝึกซ้อมให้เป็น ไปตามที่กำ�หนด

>> ความเสีย่ งด้านความไม่แน่นอนทางการ

เมืองและเหตุการณ์รนุ แรงทางการเมือง บริษัทฯ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ บริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อบริหาร จัด การอย่างมีประสิทธิภาพในแต่ล ะ ระดับความรุนแรงของสถานการณ์ซึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของแผนความต่อเนื่อง ทางธุรกิจ (Business Continuity Planning : BCP) โดยบริษทั ฯ คำ�นึงถึง การบรรเทาผลกระทบอันอาจเกิดจาก เหตุการณ์ต่างๆ ให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด รวมถึงการมีแผนป้องกันไม่ให้เกิดการ หยุดชะงักทางธุรกิจ

การเงิ น เพื่ อ ให้ เ กิ ด ความมั่ น ใจว่ า ระบบการบริหารความเสี่ยงเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ บริษัทฯ มีการ ทบทวนแผนการบริ ห ารความเสี่ ย ง อย่างต่อเนื่องและสม่ำ�เสมอ เพื่อให้ ครอบคลุมปัจจัยเสี่ยงตามลำ�ดับความ สำ � คั ญ โดยนำ � ปั จ จั ย เสี่ ย งดั ง กล่ า ว ไปบริ ห ารจั ด การทั้ งในระดั บ กลยุ ท ธ์ และระดั บ ปฏิ บั ติ ก าร ให้ ค รอบคลุ ม แผนการบริหารความเสีย่ งทัว่ ทัง้ องค์กร

ความเสีย่ งด้านการเงิน (Financial Risk) ได้แก่ >> ความเสี่ยงจากการหาแหล่งเงินทุนให้

เพียงพอ เนือ่ งจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็ น ธุ ร กิ จ ที่ ใ ช้ เ งิ น ลงทุ น และมี ก าร แข่งขันสูงเพือ่ ให้บริษทั ฯ คงศักยภาพใน การดำ�เนินทางธุรกิจ มีการจัดหาแหล่ง เงินทุนที่เหมาะสมและพอเพียงโดยมี ต้ น ทุ น อยู่ ใ นระดั บ ที่ เ หมาะสม โดย พยายามคงอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนใน ระดับทีต่ �่ำ ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้บริษทั ฯ สามารถ ดำ � รงสภาพคล่ อ งในการดำ � เนิ น การ ขยายธุรกิจและลดความเสี่ยงด้านการ เงิน บริษัทฯ จึงดำ�เนินการสร้างความ มั่ น คงในสถานะทางการเงิ น และผล ประกอบการ บริ ห ารหนี้ สิ น อย่ า งมี ประสิ ท ธิ ภ าพ โดยใช้ เ ครื่ อ งมื อ ทาง การเงิ น ระดมทุ น หาแหล่ ง เงิ น ทุ น ที่ เหมาะสม ซึง่ ปัจจัยต่างๆ เหล่านีจ้ ะช่วย เพิ่มความยืดหยุ่นให้บริษัทฯ ในการ ขยายธุรกิจและลดความเสี่ยงทางด้าน

นายไพฑูรย์ ทวีผล ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง


ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น


28 | 29

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

รายงาน คณะกรรมการบรรษัทภิบาล พนักงาน การจัดทำ�สื่อการเรียนรู้ทาง อิเล็กทรอนิกส์ (E-learning) เพื่อให้ ความรูค้ วามเข้าใจเกีย่ วกับจรรยาบรรณ และนโยบายการกำ�กับดูแลกิจการ การ จั ด ทำ � สื่ อ ปลู ก ฝั ง จริ ย ธรรมและความ ซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต การประชาสั ม พั น ธ์ เกี่ยวกับช่องทางการแจ้งเบาะแสและ ข้อร้องเรียนผ่านช่องทางต่างๆ ตลอด จนการคุ้ ม ครองสิ ท ธิ ผู้ แ จ้ ง เบาะแส เป็นต้น

คณะกรรมการของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) ได้กำ�หนดนโยบายให้ บริษัทฯ ดำ�เนินธุรกิจภายใต้จรรยาบรรณ และนโยบายการกำ � กั บ ดู แ ลกิ จ การมา อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง โดยมี ค ณะกรรมการ บรรษั ท ภิ บ าลกำ � กั บ ดู แ ลแผนงานและ สื่อสารให้มีการปฏิบัติตามนโยบายอย่าง ทั่วถึงทั้งองค์กร ในปี 2555 คณะกรรมการ บรรษัทภิบาลมีการประชุมรวมทัง้ สิน้ 3 ครัง้ ซึ่งได้รายงานให้คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริ ษั ท รั บ ทราบตาม ลำ�ดับ การดำ�เนินงานที่สำ�คัญในปี 2555 มีดังนี้ 1.

นอกจากนี้ ในปี 2555 บริษัทฯ ได้จัด ให้ มี ก ารสื่ อ สารจรรยาบรรณและ นโยบายการกำ�กับดูแลกิจการทีป่ รับปรุง ใหม่ในปี 2554 อย่างต่อเนื่อง โดย ประชาสัมพันธ์ผา่ นหลากหลายช่องทาง เช่น อีเมลล์ อินทราเน็ต วารสารภายใน บริษทั ฯ แผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ การจัด ทำ� E-learning และการปฐมนิเทศ พนักงาน เพื่อให้พนักงานปัจจุบันและ พนักงานใหม่รบั ทราบและยึดถือปฏิบตั ิ ตามอย่ า งเคร่ ง ครั ด โดยกำ � หนดให้ จรรยาบรรณและนโยบายการกำ � กั บ ดูแลกิจการเป็นส่วนหนึ่งของวินัย โดย กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานต้อง ลงนามในแบบรับทราบและถือปฏิบัติ ตาม

พิจารณาและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ โครงการส่ ง เสริ ม ด้ า นการกำ � กั บ ดู แ ล กิจการ สอดคล้องตามแนวทางของ ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทย และหลั ก การกำ � กั บ ดู แ ลกิ จ การของ Organization for Economic Co-operation and Development (OECD) ใน 5 หมวด ดังนี้

>> สิทธิของผู้ถือหุ้น >> การปฏิ บั ติ ต่ อ ผู้ ถื อ หุ้ น อย่ า ง

เท่าเทียมกัน >> การคำ � นึ ง ถึ ง บทบาทของผู้ มี ส่วนได้เสีย >> การเปิ ด เผยข้ อ มู ล และความ โปร่งใส >> ค ว า ม รั บ ผิ ด ช อ บ ข อ ง ค ณ ะ กรรมการ โดยมุ่งเน้นการสื่อสารเกี่ยวกับการทำ� รายการที่ เ กี่ ย วโยงกั น การป้ อ งกั น ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการทำ� ธุรกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ผ่ า นการจั ด กิ จ กรรมผู้ บ ริ ห ารพบ

2.

รั บ ทราบผลการประเมิ น การปฏิ บั ติ ตามระเบียบ ข้อบังคับ จรรยาบรรณ และ นโยบายต่างๆ ของบริษทั ฯ โดยผลสรุป จากข้อมูลทีพ่ นักงานกรอกและลงนาม ในแบบประเมิ น การปฏิ บั ติ ต ามฯ สามารถนำ�มาจัดลำ�ดับความสำ�คัญใน การสื่อสารให้พนักงานมีความรู้ความ เข้ า ใจเกี่ ย วกั บ ระเบี ย บ ข้ อ บั ง คั บ จรรยาบรรณ และนโยบายต่างๆ ของ บริษัทฯ ได้อย่างเหมาะสม

3.

พิจารณาและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ โครงการส่งเสริมด้านความรับผิดชอบ ต่อสังคม ตลอดจนติดตามการดำ�เนิน โครงการและกิจกรรมต่างๆ ให้มีความ ครบถ้วนและต่อเนือ่ งทัง้ ในด้านอนุรกั ษ์ พลังงาน ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านอาชีว อนามั ย และความปลอดภั ย เช่ น โครงการ CPN เพาะกล้าปัญญาไทย และโครงการ CPN อาสา เป็นต้น รวมทัง้ ส่งเสริมให้ทุกศูนย์การค้าภายใต้การ บริหารของ CPN มีส่วนร่วมในการ ริเริ่มโครงการต่างๆ เพื่อให้การดำ�เนิน งานครอบคลุมในทุกสังคมและชุมชน ทีบ่ ริษทั ฯ ดำ�เนินธุรกิจอันจะนำ�ไปสูก่ าร เติบโตทางธุรกิจและสังคมควบคู่กันไป อย่างเข้มแข็ง

4.

พิจารณาและให้ข้อเสนอแนะการจัด ตั้งหน่วยงานด้านการพัฒนาสู่ความ ยั่งยืน (Sustainable Development : SD) เพือ่ ดูแลรับผิดชอบการดำ�เนินงาน ด้าน SD ของบริษัทฯ โดยปัจจุบันอยู่ ระหว่ า งการพิ จ ารณาโครงสร้ า งและ แนวทางการดำ�เนินงานทีเ่ หมาะสมกับ องค์กร

5.

พิ จ ารณารั บ ทราบและติ ด ตามความ คื บ หน้ า การปฏิ บั ติ ต ามหลั ก เกณฑ์ ASEAN CG Scorecard รวมทั้งดูแล ให้ มี ก ารเปิ ด เผยข้ อ มู ล ที่ เ พี ย งพอ สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว

ด้วยความมุ่งมั่นและให้ความสำ�คัญต่อการ ดำ�เนินงานและการรายงานตามหลักการ กำ�กับดูแลกิจการที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง โดย มีกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน เป็น พลังสำ�คัญในการดำ�เนินนโยบาย โครงการ


และกิจกรรมต่างๆ เพื่อการพัฒนาสู่ความ ยั่งยืน ส่งผลให้ในปี 2555 บริษัทฯ ได้รับ รางวัลจากหน่วยงานทั้งในระดับประเทศ และระดับสากล อาทิ >> รางวัล SET Awards 2012 ประเภท

รายงานบรรษัทภิบาลดีเยีย่ ม เป็นครัง้ ที่ 3 และนับเป็นการรับรางวัลต่อเนื่อง เป็นปีที่ 2 จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยร่ ว มกั บ วารสารการเงิ น ธนาคาร

>> การประเมิ น รายงานการกำ � กั บ ดู แ ล

กิจการบริษทั จดทะเบียนประจำ�ปี 2555 อยู่ในเกณฑ์ “ดีเลิศ” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ซึ่ ง ประเมิ นโดยสมาคมส่ ง เสริ ม สถาบั น กรรมการบริ ษั ทไทย (Thai Institute of Directors Association: IOD) ทัง้ นี้ ผลการประเมินดังกล่าวของ บริษทั ฯ อยูใ่ นระดับ Top Quartile ของ กลุ่ ม บริ ษั ท ที่ มี มู ล ค่ า ทางการตลาด (Market Capitalization) ตั้ ง แต่ 10,000 ล้านบาทขึ้นไป

>> รางวัล Corporate Governance Asia

Annual Recognition Awards 2012 และรางวัล Asian Corporate Director Recognition Awards 2012 จัดโดย วารสาร Corporate Governance Asia ประเทศฮ่องกง

นายนริศ เชยกลิ่น ประธานกรรมการบรรษัทภิบาล


15 16 17 18 19 20 21

¹Ò§ÊÒÇÇÑÅÂÒ ¨ÔÃÒ¸ÔÇѲ¹ นายสมชาติ บาระมีชัย ¹ÒÂÊØ·¸ÔÀѤ ¨ÔÃÒ¸ÔÇѲ¹ ¹Ò§¹Ò¶ÂÒ ¨ÔÃÒ¸ÔÇѲ¹ ¹Ò¸ÕÃЪÒμÔ ¹ØÁÒ¹Ôμ ´Ã.³Ñ°¡ÔμμÔì μÑ駾ÙÅÊÔ¹¸¹Ò ¹Ò§»³Ô´Ò ÊØ¢ÈÃÕ´Ò¡ØÅ

08 09 10 11 12 13 14

¹ÒÂÊØ·¸ÔªÒμÔ ¨ÔÃÒ¸ÔÇѲ¹ ¹ÒÂÊØ·¸ÔÈÑ¡´Ôì ¨ÔÃÒ¸ÔÇѲ¹ ¹ÒÂÊØ·¸Ô¸ÃÃÁ ¨ÔÃÒ¸ÔÇѲ¹ ¹Ò»ÃÔÞÞ ¨ÔÃÒ¸ÔÇѲ¹ ¹Ò¡ͺªÑ ¨ÔÃÒ¸ÔÇѲ¹ ¹ÒÂÊØ·¸Ôà´ª ¨ÔÃÒ¸ÔÇѲ¹ ¹Ò¹ÃÔÈ àªÂ¡ÅÔè¹

01 02 03 04 05 06 07

¹ÒÂÊØ·¸ÔªÑ ¨ÔÃÒ¸ÔÇѲ¹ ¹ÒÂä¾±Ùà·ÇռŠ¹Ò¨ѡ¡ ªÑ ¾Ò¹Ôª¾Ñ²¹ ¹Ò§Êعѹ·Ò μØŸÑÞ ¹Ò¡ÒÃس ¡ÔμμÔʶҾà ¹Ò¤ÃêÔμ ºØ¹Ð¨Ô¹´Ò ¹ÒÂÊØ·¸Ôà¡ÕÂÃμÔ ¨ÔÃÒ¸ÔÇѲ¹

30 | 31

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

คณะกรรมการ และคณะผู้บริหาร ของบริษัท

01 02 03

08 09 10

15

16

17


04

05

06

07

11

12

13

14

18

19

20

21


รางวัลแห่ง ความภูมิใจในปี 2555


ปี 2555 เป็นอีกปีหนึง่ แห่งความภาคภูมใิ จของ CPN รางวัล เกียรติยศทั้ง 15 รางวัล จากองค์กรชั้นนำ�ทั้งในประเทศ และนานาชาติ เ ป็ น เพี ย งก้ า วหนึ่ ง แห่ ง ความสำ � เร็ จ CPN เชื่อมั่นว่าการนำ�นวัตกรรมด้านการพัฒนาและ บริหารศูนย์การค้ามาปรับใช้ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการ สู่ความเป็นเลิศนั้น จะนำ�พา CPN ให้เติบโตอย่างยั่งยืน และก้าวสู่การเป็นผู้พัฒนาศูนย์การค้าในระดับภูมิภาค ที่ ไ ด้ รั บ การชื่ น ชมสู ง สุ ด จากทุ ก คนและไม่ ห ยุ ด นิ่ ง ใน การสร้างประสบการณ์แห่งความสุขในระดับโลก


34 | 35

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

รางวัลความสำ�เร็จด้านการออกแบบพัฒนาโครงการ

รางวัล “อาคารโดดเด่นด้านความปลอดภัย ประเภทอาคารสำ�นักงาน” แก่ อาคารสำ�นักงาน ดิ ออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ โดย สำ�นักการโยธา กรุงเทพมหานคร

รางวัล “Best Hotel Architectural Design-Thailand Property Awards 2012” แก่ โรงแรมฮิลตัน พัทยา โดย Inside Media

รางวัล “Best Luxury Emerging Hotel-World Luxury Hotel Awards 2012” แก่ โรงแรมฮิลตัน พัทยา โดย World Luxury Hotel Award

รางวัล” Asia Pacific Property Awards 2012 in Retail Development for Thailand (National Awards) ประเภท Commercial Renovation / Redevelopment” แก่ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว โดย International Property Awards ร่วมกับ Bloomberg Television

รางวัล” Asia Pacific Property Awards 2012 in Retail Development for Thailand (National Awards) ประเภท Retail Architecture” แก่ เซ็นทรัลพลาซา เชียงราย โดย International Property Awards ร่วมกับ Bloomberg Television

รางวัล “BCI Asia Top 10 Developer Awards 2012” แก่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) โดย บริษทั บีซไี อ เอเชีย คอนสตรัคชัน่ อินฟอร์เมชั่น จำ�กัด และ FuturArc Journal

รางวัลความสำ�เร็จด้านการสร้างแบรนด์และการตลาด

รางวัล “2012 Best-of-The Best VIVA Award Honoree–Marketing” แก่ เซ็นทรัลเวิลด์ โดย International Council of Shopping Centers (ICSC)

รางวัลความสำ�เร็จด้านการบริหารและการเงิน

รางวัล “SET Awards 2012 ด้านการรายงานบรรษัทภิบาลดีเยี่ยม (Top Corporate Governance Report Awards)” แก่ บริษทั เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) โดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นครัง้ ที่ 3 ซึ่งนับเป็นการรับรางวัลต่อเนื่องเป็นปีที่ 2


รางวัล “Corporate Governance Asia Annual Recognition Awards 2012” แก่ บริษทั เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) โดย วารสาร Corporate Governance Asia

รางวัล “Asian Corporate Director Recognition Awards 2012” แก่ คุณกอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร โดยวารสาร Corporate Governance Asia

รางวัล “ผู้ประกอบการยอดเยี่ยมแห่งปี Entrepreneur of the Year” แก่ คุณกอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร โดย Enterprise Asia

รางวัล “สถานประกอบกิจการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ แรงงาน ปี 2555” แก่ บริษทั เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) โดย กระทรวง แรงงาน

รางวัล “การจัดการด้านยาเสพติดในสถานประกอบกิจการ” แก่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) โดย กรมสวัสดิการและคุม้ ครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน

รางวัลความสำ�เร็จด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 “ASEAN Energy Awards 2012 ประเภท การบริหารจัดการพลังงานดีเด่นในอาคารขนาดใหญ่” แก่ ศูนย์การค้า เซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์ โดย ทีป่ ระชุมรัฐมนตรีดา้ นพลังงานอาเซียน

รางวัล Thailand Energy Awards 2012 โดย กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน จำ�นวน 5 รางวัล ดังนี้

>> ประเภทผู้ ส่ ง เสริ ม การอนุ รั ก ษ์ พ ลั ง งานและพลั ง งานทดแทน ประเภทสมาคม องค์กร หน่วยงาน แก่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) >> ประเภทอาคารควบคุมดีเด่น แก่ เซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์ เซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต และเซ็นทรัลเฟสติวลั พัทยา บีช >> ประเภทอาคารสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานดีเด่น ประเภท อาคารใหม่ แก่ เซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น


36 | 37

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

04

05

06-08

>> เปิดให้บริการส่วนขยายของศูนย์การค้า

>> ได้รบั การคงอันดับเครดิตบริษทั และหุน้

>> ลงนามในสั ญ ญาวงเงิ น กู้ ร ะยะยาว

เมษายน

เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี โดยมีพื้นที่ ค้าปลีกเพิม่ ขึน้ กว่า 25,000 ตารางเมตร พร้อมทั้งปรับปรุง ปรับโฉม และปรับ เปลี่ยนร้านค้าในส่วนของศูนย์การค้า เดิ ม ทำ �ให้ ศู น ย์การค้า ดังกล่า วเป็น ศูนย์การค้าทีย่ งิ่ ใหญ่ในภาคอีสานด้วย พืน้ ทีโ่ ครงการรวมกว่า 250,000 ตาราง เมตร ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจาก ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการและร้านค้าชั้น นำ�ที่เข้ามาเสริมความแข็งแกร่งและ เพิม่ ความหลากหลายให้แก่ศนู ย์การค้า แห่งนี้

>> จัดประชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ครัง้ ที่ 1/2555

โดยมีวาระที่สำ�คัญ คือ เพื่อพิจารณา อนุมัติงบการเงินของบริษัทสำ�หรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ อนุมัติการจ่ายเงินปันผลจากผลการ ดำ�เนินงานปี 2554 ในอัตรา 0.37 บาทต่อหุ้น

เหตุการณ์สำ�คัญ ในรอบปี 2555

พฤษภาคม

กู้ไม่มีหลักประกันที่ระดับ A+ โดย ทริสเรตติ้ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความ แข็ ง แกร่ ง ความน่ า เชื่ อ ถื อ และการ เติบโตของ CPN

มิถุนายน – สิงหาคม

5-7 ปี กับสถาบันการเงิน วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนถึงความ น่าเชื่อถือและความแข็งแกร่งทางการ เงินของ CPN

>> ออกหุน ้ กูป้ ระเภทไม่มหี ลักประกันโดย

เสนอขายแบบเฉพาะเจาะจงให้แก่นัก ลงทุนสถาบันเป็นวงเงินรวม 1,500 ล้านบาท กำ�หนดการไถ่ถอน 1.5 ปี และ 5 ปี ซึ่งได้รับการตอบรับจาก นักลงทุนสถาบันเป็นอย่างดี


09

10

11

>> นำ�อาคารสำ�นักงาน ดิ ออฟฟิศเศส

>> เปิ ด ให้ บ ริ ก ารศู น ย์ ก ารค้ า เซ็ น ทรั ล

>> เปิ ด ให้ บ ริ ก ารศู น ย์ ก ารค้ า เซ็ น ทรั ล

กันยายน

แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เข้ากองทุนรวม สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ CPN คอมเมอร์เชียล โกรท (CPNCG) มูลค่า 4,394 ล้านบาท ซึ่งได้รับการ ตอบรับจากนักลงทุนเป็นอย่างดี มีผู้ สนใจจองซือ้ กองทุนเมือ่ เสนอขายครัง้ แรกเกินกว่า 6 เท่า สำ�หรับนักลงทุน รายย่อย และ 3.5 เท่าสำ�หรับนัก ลงทุ น สถาบั น และมี ผู้ ถื อ หุ้ น กว่ า 17,000 ราย มากที่สุดในกลุ่มกองทุน รวมอสังหาริมทรัพย์ ราคาเมือ่ เปิดซือ้ ขาย ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วันแรกคือ 13 บาทต่อหน่วย เพิ่มขึ้น 26% จากราคาเสนอขาย 10.30 บาทต่อ หน่วย

ตุลาคม

พลาซา สุราษฎร์ธานี ซึง่ เป็นศูนย์กลาง การค้าของภาคใต้ตอนบน ตั้งอยู่บน ถนนเศรษฐกิ จ สายใหม่ ที่ เ ชื่ อ มต่ อ ระหว่างตัวเมืองกับสนามบิน ทำ�ให้ สามารถรองรับการขยายตัวของเมือง และเข้ า ถึ ง กลุ่ ม เป้ า หมายที่ เ ป็ น นั ก ท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่ มีการเติบโตอย่างต่อเนือ่ งได้ นอกจาก นี้ โครงการยังรายล้อมด้วยสถานที่ ท่องเที่ยวที่สำ�คัญ สถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษา สถานทีร่ าชการ และ มีอาณาเขตเชื่อมต่อ 5 จังหวัด ซึ่งถือ เป็นพื้นที่การค้าและการท่องเที่ยวที่ สำ�คัญของภาคใต้

พฤศจิกายน

พลาซา ลำ�ปาง ซึ่งตั้งอยู่บนทำ�เลที่มี ศั ก ยภาพ ใจกลางเมื อ งลำ � ปางบน ถนนซู เ ปอร์ ไ ฮเวย์ ลำ � ปาง-ลาวที่ เชื่อมต่อระหว่างตัวเมืองกับสนามบิน โครงการยังรายล้อมด้วยสถานทีส่ �ำ คัญ ได้แก่ มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษา วิทยาลัย โรงพยาบาล ธนาคาร อี ก ทั้ ง จั ง หวั ด ลำ � ปางยั ง มี เส้ น ทางคมนาคมที่ ถื อ เป็ น เส้ น ทาง เศรษฐกิ จ สายสำ � คั ญ เชื่ อ มต่ อไทย ลาว จีน และมีอาณาเขตติดกับจังหวัด ที่ มี ศั ก ยภาพสู ง ทางภาคเหนื อ 7 จังหวัด ใกล้กบั สถานทีท่ อ่ งเทีย่ วสำ�คัญ ของไทยทั้งโบราณสถานและอุทยาน แห่งชาติ จึงนับเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ สำ�คัญทางภาคเหนืออีกจังหวัดหนึ่ง ของประเทศ ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งจาก ชาวไทยและต่างชาติเดินทางมาตลอด ทั้งปี ซึ่งช่วยเสริมศักยภาพการเติบโต ในด้านกำ�ลังซื้อเป็นอย่างมาก


38 | 39

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

ภาพรวมเศรษฐกิจไทย และอุตสาหกรรมค้าปลีก ปี 2555 ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2555 ในปี 2555 เศรษฐกิจโดยรวมฟื้นตัวจาก อุทกภัยในปีก่อนจนเข้าสู่ระดับปกติ ภาค การผลิ ต มี ก ารขยายตั ว ทุ ก ภู มิ ภ าคและ สามารถตอบสนองอุปสงค์ของตลาดภายใน ประเทศได้อย่างเต็มที่ การขยายตัวของ เศรษฐกิ จ นี้ เ ป็ น ผลจากการสนั บ สนุ น ทั้ ง ด้านรายได้และความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นของ ผูบ้ ริโภค อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกยังคง ไม่สามารถขยายตัวได้อย่างรวดเร็วเนือ่ งจาก ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรป ในช่วงไตรมาสแรก เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่าง ต่ อ เนื่ อ งจากการบริ โ ภคที่ เ พิ่ ม ขึ้ น เพื่ อ ซ่ อ มแซมและทดแทนส่ ว นที่ ไ ด้ รั บ ความ เสียหายจากอุทกภัย และความต้องการที่ สะสมมาจากช่วงก่อนหน้า ซึ่งได้รับปัจจัย สนับสนุนจากมาตรการการช่วยเหลือด้าน การเงินแก่ผปู้ ระสบอุทกภัยจากรัฐบาลและ สถาบันการเงิน นอกจากนี้ การลงทุนของ ภาคอุตสาหกรรมเพื่อซ่อมแซมฟื้นฟูสถาน ประกอบการ เครือ่ งจักร และโรงงาน ตลอด จนการลงทุนเพื่อการป้องกันน้ำ�ท่วม ยัง ส่ ง ผลต่ อ การฟื้ น ตั ว ของเศรษฐกิ จ อย่ า ง รวดเร็ว การขยายตัวของอุตสาหกรรมต่างๆ ก็ได้ทยอยกลับมาผลิตสินค้าและให้บริการ ได้ดังเดิม ทำ�ให้ภาคการผลิตและการส่ง ออกมีการฟื้นตัวอย่างชัดเจน ในไตรมาสทีส่ อง ความเชือ่ มัน่ ของผูบ้ ริโภค และการจั บ จ่ า ยใช้ ส อยเพิ่ ม ขึ้ น อย่ า งต่ อ เนื่องจากการรณรงค์และการกระตุ้นจาก ทั้งภาครัฐและเอกชน การผลิตและการ บริโภคภายในประเทศยังคงขยายตัวอย่าง ต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เฟอร์นิเจอร์ และเครื่อง

ใช้ไฟฟ้า มีการเร่งผลิตเพื่อตอบสนองต่อ ความต้ อ งการของตลาดภายในประเทศ และสะสมสินค้าคงคลังมากขึน้ ซึง่ ส่งผลต่อ การฟื้นตัวของภาคการส่งออกตามลำ�ดับ อย่างไรก็ตาม การส่งออกเริ่มมีการชะลอ ตัวอันเป็นผลมาจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ของประเทศในกลุ่มยูโร แม้ภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกจะมีการ ฟื้ น ตั ว อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง แต่ ผ ลกระทบจาก เศรษฐกิจโลกและการชะลอตัวของการส่ง ออกที่มีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงครึ่งปี หลัง ทำ�ให้ภาพรวมการส่งออกค่อนข้าง ซบเซาเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีเพียงกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารที่ยังขยายตัว ได้ดี ธุรกิจส่งออกต่างๆ ต้องปรับตัวโดย เริ่ ม รุ ก ตลาดใหม่ ใ นตะวั น ออกกลางและ อาเซียน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤต เศรษฐกิ จ ยุ โ รปและการชะลอตั ว ของ เศรษฐกิจจีน อย่างไรก็ตามตลาดใหม่ๆ เหล่านีย้ งั คงทดแทนตลาดเก่าได้เพียงแค่ใน ระดับหนึ่งเท่านั้น ธุรกิจต่างๆ ยังคงต้องใช้ เวลาในการดำ�เนินกลยุทธ์ทั้งการผลิต การ ขาย และการตลาดเพือ่ ทีจ่ ะสามารถพัฒนา ความสามารถในการแข่งขันภายในตลาด เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว สำ�หรับภาพรวมการผลิตและการบริโภค ภายในประเทศในช่ ว งครึ่ ง ปี ห ลั ง ยั ง คงมี การเติ บโตในเกณฑ์ ดี ซึ่ ง เป็ น ผลมาจาก มาตรการจากภาครัฐ การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ� และเงินเดือนข้าราชการ ตลอดจนปัจจัย ทางด้ า นการเงิ น จากอั ต ราดอกเบี้ ย ที่ อ ยู่ ในระดับต่ำ�และความสะดวกในการเข้าถึง แหล่งเงินกู้ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการ ส่วนใหญ่ต่างเผชิญปัญหาต้นทุนแรงงาน ที่สูงขึ้นและไม่สามารถจะส่งผ่านต้นทุนนี้

ไปยังผู้บริโภคได้อย่างเต็มที่เนื่องจากการ แข่งขันที่รุนแรงในตลาด นอกจากนี้ ธุรกิจ ต่างๆ ยังคงได้รับผลกระทบจากภาคการ ท่องเทีย่ ว เนือ่ งจากวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรป ส่งผลให้จำ�นวนนักท่องเที่ยวจากยุโรปที่มา ท่องเที่ยวในประเทศไทยลดลง ซึ่งทำ�ให้ ยอดการใช้ จ่ า ยซื้ อ สิ น ค้ า และบริ ก ารใน ประเทศไทยโดยนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ลดลง ตามไปด้วย ในฝั่งของการลงทุนของภาคเอกชน มีการ ชะลอตัวลงหลังจากธุรกิจต่างๆ ได้ทำ�การ ลงทุ น เพื่ อ ฟื้ น ฟู ซ่ อ มแซมความเสี ย หาย ไปโดยส่ ว นใหญ่ แ ล้ ว ในช่ ว งครึ่ ง ปี แ รก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีการลงทุนเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของการผลิตและเพื่อทดแทน แรงงานอย่างต่อเนือ่ ง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะกลุ่ ม ศู น ย์ ก ารค้ า ขนาดย่ อ ม (Community Mall) มีการเปิดโครงการใหม่ อย่ า งต่ อ เนื่ อ งและคาดว่ า จะสามารถ ขยายตั ว ได้ อี ก ตามความต้ อ งการและ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค ในปี 2555 อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ เพิ่มขึ้นเป็น 5.7% จาก 0.1% ในปี 2554 อั น เป็ น ผลมาจากฐานที่ ต่ำ � ในปี 2554 เนื่องจากผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัย และการฟื้ น ฟู ซ่ อ มแซมความเสี ย หายใน ช่วงต้นปี 2555 ตลอดจนความต้องการที่ สะสมมาจากช่วงปี 2554 ที่มามีผลในปี 2555 อุตสาหกรรมทีม่ กี ารขยายตัวค่อนข้าง ดี ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ ไฟฟ้า และอาหาร อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ลดลงจาก 2.4% ในปี 2554 เป็น 2.2% ใน ปี 2555 และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงจาก 3.8% ในปี 2554 เป็น 2.9% ในปี 2555 การลดลงของอัตราเงินเฟ้อนีเ้ ป็นผลมาจาก แนวโน้มของเศรษฐกิจไทยทีไ่ ด้รบั ผลกระทบ


จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ตลอด จนการลงทุนในการฟืน้ ฟูซอ่ มแซมความเสีย หายของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่หมด ลงอย่างรวดเร็ว

ภาพรวมอุตสาหกรรมค้าปลีก และค้าส่งในปี 2555 กลุ่มศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้า ปี 2555 ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ ยังคง เดินหน้าพัฒนาโครงการใหม่ ทัง้ ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยมีศูนย์การค้าขนาด ใหญ่เปิดใหม่ได้แก่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา สุราษฎร์ธานี ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา ลำ�ปาง ศูนย์การค้าเมกะ บางนา และการปรับปรุงศูนย์การค้าขนาดใหญ่ เช่น ศู น ย์ ก ารค้ า เซ็ น ทรั ล พลาซา อุ ด รธานี นอกจากนีย้ งั มีโครงการศูนย์การค้าระหว่าง พัฒนาอีกจำ�นวนหนึ่งที่มีกำ�หนดแล้วเสร็จ ภายในปีหน้า อาทิ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี่ ศูนย์การค้าดิเอ็มโพเรีย่ ม II และ ศู น ย์ ก ารค้ า เกตท์ เ วย์ เ อกมั ย รวมไปถึ ง โครงการปรั บ ปรุ ง ศู น ย์ ก ารค้ า เซ็ น ทรั ล พลาซา บางนา และเดอะมอลล์ บางแค สำ�หรับพื้นที่ต่างจังหวัด ปัจจุบันมีโครงการ สำ�คัญทีอ่ ยูร่ ะหว่างก่อสร้างคือ ศูนย์การค้า เซ็นทรัลพลาซา อุบลราชธานี ศูนย์การค้า เซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ ศูนย์การค้า เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ ศูนย์การค้า พรอมเมนาดา (Promenada) เชียงใหม่ รวมถึงห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สุพรรณบุรี เป็นต้น จากภาพรวมสภาวะตลาดและการแข่งขัน ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ในปีนี้มีศูนย์การค้า

ขนาดใหญ่กระจายตัวอยู่มากมาย ทำ�ให้ โอกาสทางธุรกิจในพื้นที่ดังกล่าวมีค่อนข้าง จำ�กัดในปัจจุบนั ดังนัน้ ผูป้ ระกอบการจึงมุง่ แสวงหาโอกาสทางธุรกิจจากแถบชานเมือง รวมถึงตลาดต่างจังหวัดทีม่ กี �ำ ลังซือ้ มากพอ การรุกไปยังตลาดใหม่ๆ เหล่านี้ถือว่าเป็น โอกาสทางธุรกิจที่ดีเนื่องจากในต่างจังหวัด โดยส่วนใหญ่ยังไม่มีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ นอกเหนือจากไฮเปอร์มาร์เก็ต และมีการ เติบโตของกำ�ลังซื้ออย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ศูนย์การค้าที่มีศักยภาพจะสามารถตอบ สนองความต้องการทางด้านรสนิยมและ ไลฟ์สไตล์ของผูบ้ ริโภคในท้องถิน่ ซึง่ ไฮเปอร์มาร์เก็ตยังไม่สามารถตอบสนองได้อย่าง เพี ย งพอในปั จ จุ บั น ผู้ ป ระกอบการที่ มี ประสบการณ์ ใ นการพั ฒ นาและบริ ห าร ศูนย์การค้า มีความพร้อมในเรือ่ งเงินทุน มี เครือข่ายร้านค้าอยู่ในกลุ่มธุรกิจ และมี ความยืดหยุ่นในการปรับร้านค้าให้มีความ ทันสมัยอยู่เสมอ จะมีข้อได้เปรียบในการ ช่วงชิงความเป็นผู้นำ�ในการขยายธุรกิจไป ยังจังหวัดที่มีศักยภาพ รวมถึงจะสามารถ ครอบครองและสร้างความผูกพันกับตลาด ได้ในที่สุด ในด้ า นการบริ ห ารจั ด การศู น ย์ ก ารค้ า กลยุทธ์ทางการตลาดยังคงเป็นเครื่องมือ สำ�คัญอย่างยิ่งในการกระตุ้นให้ผู้ใช้บริการ มีการจับจ่ายใช้สอย ผู้ประกอบการได้นำ� การตลาดในรูปแบบต่างๆ มาใช้ในการ ดึ ง ดู ด กลุ่ ม เป้ า หมายตลอดจนสร้ า ง ประสบการณ์ ข องผู้ ใ ช้ บ ริ ก ารที่ มี ค วาม คาดหวังใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การ ตลาดเหล่านีน้ อกจากจะช่วยกระตุน้ การเข้า ใช้บริการ (Traffic) และการจับจ่ายใช้สอย แล้ว ยังช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ กับผู้ใช้บริการซึ่งสามารถนำ�ไปสู่การรักษา

ฐานผู้ใช้บริการ (Customer Retention) และการสร้างความจงรักภักดีของผูใ้ ช้บริการ (Customer Loyalty) ในระยะยาว นอก เหนื อ จากการจั ด อี เ วนท์ เ พื่ อ ดึ ง ดู ด กลุ่ ม เป้าหมายให้มาใช้บริการแล้ว ผู้ประกอบ การยังมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมที่สนับสนุน การขายของร้านค้า (Sale Promotion) ควบคูไ่ ปกับการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเพือ่ ร่วมจัดกิจกรรมทางการตลาดขนาดใหญ่ เพื่อให้งบประมาณการตลาดที่มจี �ำ กัดใช้ไป อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เครื่องมือด้าน การบริ ห ารความสั ม พั น ธ์ กั บ ลู ก ค้ า ต่ า งๆ และสื่อทางสังคม (Social Media) ถูกนำ� มาใช้มากขึ้นเพื่อรักษาฐานผู้ใช้บริการและ กระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย โดยการสื่อสาร กับผู้ใช้บริการอย่างสม่�ำ เสมอ และจัดให้มี สิทธิพเิ ศษสำ�หรับผูใ้ ช้บริการในโอกาสต่างๆ จากเหตุการณ์อทุ กภัยในช่วงปลายปี 2554 ทำ�ให้ผู้บริโภคได้มีการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้า เพิ่มขึ้นในปี 2555 ในหลายๆ หมวด โดย เฉพาะสินค้ากึ่งคงทน เช่น เครื่องใช้ในครัว เรือน เสื้อผ้า และรองเท้า เพื่อทดแทน ความเสี ย หายที่ เ กิ ด ขึ้ น จากเหตุ ก ารณ์ ดังกล่าว ซึ่งส่งผลในทางบวกต่อผู้ประกอบ การในกลุ่มนี้ ในช่วงปี 2555–2558 ผู้ ประกอบการกลุ่ ม ศู น ย์ ก ารค้ า และห้ า ง สรรพสิ น ค้ า มี แ ผนที่ จ ะขยายสาขาอย่ า ง ต่อเนื่องโดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนไทย กับพม่า ลาว และกัมพูชา เนื่องจากการ เปิ ด ตั ว ของประชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย น ในปี 2558 จะช่วยขยายโอกาสทางการค้า ในบริเวณดังกล่าว ผู้ประกอบการจะต้อง เตรี ย มความพร้ อ มเพื่ อ จะรองรั บ ความ ต้ อ งการของนั ก ท่ อ งเที่ ย วอาเซี ย นและ นานาชาติที่คาดว่าจะเดินทางเข้ามาใช้จ่าย ในประเทศไทยมากขึ้น ในขณะเดียวกัน


40 | 41

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

ผู้ ป ระกอบการมี แ นวโน้ ม ที่ จ ะได้ รั บ แรง กดดันจากการแข่งขันที่สูงขึ้นจากคู่แข่งต่าง ชาติ ซึ่ ง จะสามารถขยายธุ ร กกิ จ เข้ า มาใน ประเทศไทยได้งา่ ยขึน้ ดังนัน้ ผูป้ ระกอบการ ที่สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่า นี้ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพจะ สามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสทางการค้า ที่มากขึ้นได้อย่างสูงสุด

โครงการในกลุ่ ม นี้ มี ก ารขยายตั ว อย่ า ง ต่อเนือ่ ง ทัง้ ในใจกลางเมือง ชานเมือง หรือ ปริ ม ณฑล ตามพฤติ ก รรมผู้ บ ริ โ ภคใน ปั จ จุ บั น ที่ ต้ อ งการความสะดวกสบายใน การเดินทางและการทำ�กิจกรรมต่างๆ ใน ชี วิ ต ประจำ � วั นในบริ เ วณใกล้ เ คี ย งชุ ม ชน ที่ พั ก อาศั ย อยู่ โดยแนวทางการพั ฒ นา โครงการประเภทนี้ จะให้ความสำ�คัญกับ การเลื อ กทำ � เลที่ ตั้ ง ที่ ใ กล้ ชิ ด ชุ ม ชน การ ออกแบบโดยมุ่งเน้นให้มีความรื่นรมย์น่า พักผ่อนและมีเอกลักษณ์สวยงาม ตลอดจน การใช้แม่เหล็กที่หลากหลายในการดึงดูด ให้ลกู ค้ามาใช้บริการ อาทิ ร้านอาหาร ร้าน เบเกอรี่ ซุปเปอร์มาร์เก็ต สถานเสริมความ งาม โรงเรียนกวดวิชา ร้านหนังสือ ร้าน ขายยา ธนาคาร ฯลฯ ซึ่งครอบคลุมความ ต้ อ งการหลั ก ๆ ของผู้ ใ ช้ บ ริ ก ารทั้ งในแง่ การพักผ่อน การจับจ่ายใช้สอย และการ พบปะสังสรรค์

การค้าขนาดย่อม (Community Mall) อย่ า งเดี ย วหรื อ โครงการรู ป แบบผสม (mixed-use development) การพัฒนา ศูนย์การค้าขนาดย่อมพร้อมๆ กับโครงการ ที่ พั ก อาศั ย ขนาดใหญ่ หรื อ การพั ฒ นา เป็นโครงการต่อเนื่องเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ก่อสร้าง ไปแล้ว การพัฒนาศูนย์การค้าในกลุ่มนี้ ไม่ ต้ อ งอาศั ย พื้ น ที่ ม ากเหมื อ นไฮเปอร์ มาร์เก็ตหรือศูนย์การค้าขนาดใหญ่ จึงทำ� ให้มีโอกาสหาทำ�เลที่ตั้งได้ง่ายและใกล้ชิด ชุมชนมากกว่า นอกจากนี้ ศูนย์การค้าขนาด ย่อม (Community Mall) ในปัจจุบันยัง ครอบคลุ ม แทบทุ ก กลุ่ ม เป้ า หมายตั้ ง แต่ ผู้บริโภคที่มีรายได้ระดับปานกลางขึ้นไป จนถึงพรีเมี่ยมอีกด้วย โครงการสำ�คัญที่ เปิดตัวในปี 2555 ได้แก่ เรนฮิลล์ เดอะวอล์ค เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟร้อนท์ เดอะพรอมานาด รามอินทรา เพียวเพลส จตุจกั รกรีน อินท์-อินเตอร์เซค ท่อนซุงอเวนิว เป็นต้น ส่วนโครงการทีอ่ ยูร่ ะหว่างการก่อสร้าง ได้แก่ ธั ญ ญะปาร์ ค ศรี น คริ น ทร์ เสนาเฟสต์ เจริญนคร นวมินทร์ Festival Walk เป็นต้น กระแสศูนย์การค้าขนาดย่อม (Community Mall) นี้ได้แพร่กระจายไปยังต่างจังหวัด อย่างรวดเร็ว โดยผู้ประกอบการท้องถิ่น ได้ทยอยพัฒนาโครงการลักษณะนี้มากขึ้น เรื่ อ ยๆ สำ � หรั บ หั ว เมื อ งสำ � คั ญ ที่ มี ก าร ขยายการลงทุน ได้แก่ ภูเก็ต นครราชสีมา ขอนแก่น และประจวบคีรีขันธ์

ในปี 2555 โครงการในกลุ่มนี้ยังคงได้รับ กระแสความสนใจจากกลุ่มผู้ประกอบการ ในหลายๆ ธุรกิจนอกเหนือจากธุรกิจค้า ปลี ก โดยมี ก ารลงทุ น จากทั้ ง กลุ่ ม ทุ น อสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มทุนอื่นๆ ที่มี ที่ดินอยู่ โดยจะมีทั้งรูปแบบที่พัฒนาศูนย์

ในอนาคตศูนย์การค้ากลุม่ นีจ้ ะยังมีการเพิม่ จำ�นวนอย่างต่อเนื่อง และยังมีแนวโน้มที่ จะขยายตัวได้อกี มาก โดยในปี 2556 คาดว่า ศูนย์การค้าขนาดย่อม (Community Mall) จะมีการขยายตัวในแง่ของพื้นที่ขึ้นมาเป็น อันดับหนึ่ง แทนที่ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่

กลุ่ม Community Mall และ Lifestyle Mall

(Hypermarket) ซึง่ ทำ�ให้การแข่งขันในกลุม่ นีร้ นุ แรงมากขึน้ นอกจากนี้ ผูป้ ระกอบการ ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ (Hypermarket) ยัง เริ่ ม การปรั บ รู ป แบบ ลดขนาดและเพิ่ ม ความเป็นศูนย์การค้ามากขึน้ ผูป้ ระกอบการ ศูนย์การค้าขนาดย่อม (Community Mall) ต้องมีการปรับตัวมากขึ้นเพื่อสร้างความ แตกต่างและตอบโจทย์ความต้องการของ ผู้บริโภคอย่างลงตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น การปรั บ ปรุ ง และขยายโครงการ การดึ ง ร้านค้าใหม่เพื่อสร้างความแตกต่าง การมี Magnet Shop ประเภทต่างๆ ทีค่ รบถ้วนทุก มิติความต้องการของผู้ใช้บริการ การรักษา ฐานลูกค้าประจำ�และขยายฐานลูก ค้าให้ เติบโตอย่างต่อเนื่อง การบริหาร Facility ต่างๆ ที่ต้องอาศัยความชำ�นาญในการ ดูแลรักษา ภายใต้ต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้นใน อนาคต ทั้งหมดล้วนเป็นความท้าทายของ ผู้ประกอบการกลุ่มนี้ กลุ่มห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ (Hypermarket) และร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store) เนือ่ งจากข้อจำ�กัดทางด้านกฎหมายผังเมือง โดยเฉพาะการกำ�หนดโซนนิ่งในการขยาย สาขาขนาดใหญ่ในรูปแบบไฮเปอร์มาร์เก็ต ในปี 2555 ผู้ ป ระกอบการกลุ่ ม นี้ ยั ง คง มุ่งเน้นกลยุทธ์ Multi Format โดยการ พัฒนารูปแบบโครงการที่หลากหลาย ทั้งที่ เป็นห้างค้าปลีกขนาดใหญ่เพียงอย่างเดียว รูปแบบผสมผสานระหว่างห้างค้าปลีกและ ศูนย์การค้าขนาดย่อม และรูปแบบร้านค้า ขนาดเล็กในลักษณะใกล้เคียงกับร้านสะดวก ซื้อ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการรุกเข้าสู่ ตลาด ในส่วนของกลยุทธ์เพือ่ เพิม่ ยอดขาย ผู้ประกอบการกลุ่มนี้ได้เริ่มเปลี่ยนแปลง รูปแบบการทำ�ตลาด จากที่เคยมุ่งเน้นแค่


เรื่องราคาถูก โปรโมชั่นลดแลกแจกแถม และการจัดการตัวสินค้า เป็นการให้ความ สำ�คัญกับการบริหารจัดการพฤติกรรมการ จั บ จ่ า ยใช้ ส อยของผู้ ใ ช้ บ ริ ก ารโดยใช้ โปรแกรมลูกค้าสัมพันธ์ผา่ นบัตรสมาชิกและ บัตรเครดิตของห้าง มีการแบ่งแยกกลุ่ม ของผู้ใช้บริการอย่างชัดเจน ทั้งกลุ่มที่ให้ ความสำ�คัญกับเรื่องราคา กลุ่มที่ต้องการ สินค้าที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม และ กลุ่มที่ให้ความสำ�คัญกับการบริการ เพื่อที่ จะบริหารลูกค้าที่มีความต้องการแตกต่าง กั น อย่ า งเหมาะสมและมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ สูงสุด นอกจากนี้ ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ ยั ง มุ่ ง สร้ า งความมั่ นใจในเรื่ อ งคุ ณ ภาพ พร้อมทัง้ การรับประกันความพอใจ โดยการ สื่ อ สารกั บผู้ บริ โภคผ่า นทางสื่อ หลัก ทั้ง โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และ Direct Mail เพื่ อ ประชาสั ม พั น ธ์ โ ปรโมชั่ น ที่ มี ก าร เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วจาก การทำ� Benchmark Campaign อย่าง เข้มข้น นอกเหนือจากกลยุทธ์ดังกล่าว ผู้ประกอบ การกลุ่มนี้ยังเริ่มรุกสู่ตลาดในระดับบนกว่า กลุ่มผู้ใช้บริการห้างค้าปลีกขนาดใหญ่โดย การเปิดร้านค้าปลีกในรูปแบบ “เอ็กซ์ตร้า” ซึ่ ง มี ก ารปรั บ ปรุ ง ทั้ งในด้ า นภาพลั ก ษณ์

คุณภาพของสินค้า และการให้บริการ เพื่อ รองรับความต้องการของผู้ใช้บริการกลุ่ม ดังกล่าวที่ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพระดับ พรีเมี่ยม โดยภาพรวม ผูป้ ระกอบการกลุม่ ห้างค้าปลีก ขนาดใหญ่ (Hypermarket) และร้านค้าปลีก ซูเปอร์มาร์เก็ต ได้มงุ่ เน้นการพัฒนาร้านค้า ในขนาดเล็กลงในรูปแบบร้านสะดวกซื้อกึ่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต หรือที่เรียกว่า ซูเปอร์คอน วีเนียนสโตร์ (Super Convenient Store) และร้านสะดวกซื้อ (Convenient Store) เช่น โลตัส เอ็กซ์เพรส (Lotus Express) มินิ บิก๊ ซี (Mini BigC) ท็อปส์ เดลี่ (Tops Daily) ซีพี ฟูด้ มาร์เก็ต (CP Food Market) และแม็กซ์แวลู (Max Value) โดยมีการ ขยายสาขาอย่างต่อเนือ่ งทัง้ ในกรุงเทพฯ และ หัวเมืองหลักต่างๆ เพือ่ รองรับความต้องการ ของผู้ บ ริ โ ภคในย่ า นที่ อ ยู่ อ าศั ย อาคาร สำ�นักงาน คอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้า และในชุมชนที่เกิดใหม่ภายในปีที่ผ่านมา แนวโน้มธุรกิจในอนาคตคาดว่าผู้ประกอบ การกลุ่มนี้จะเริ่มเจาะตลาดหัวเมืองรองใน ต่างจังหวัดและมีการขยายสินค้าในกลุ่ม อาหารมากขึ้น


42 | 43

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

ผลการดำ�เนินงาน ประจำ�ปี 2555 ภาพรวมผลการดำ�เนินงาน

ปี 2554 :

ภาพรวมของอุตสาหกรรมค้าปลีกปี 2555 ดี ขึ้ น กว่ า ปี ก่ อ นจากปั จ จั ย ด้ า นอุ ป สงค์ ภายในประเทศเป็ น หลั ก ดั ช นี ค้ า ปลี ก ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสแรกปี 2555 หลังเหตุการณ์อุทกภัยในไตรมาสสุดท้าย ปี 2554 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่ม สูงสุดในรอบ 6 ปี อุตสาหกรรมค้าปลีกและ ภาคการค้ามีการขยายตัวดีในปี 2555 จาก อุ ป สงค์ ภ ายในประเทศอั น เนื่ อ งมาจาก นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ความสงบทางการเมืองและการคลายความ กังวลในเรื่องการเกิดอุทกภัย

>> รายได้อื่นจากการกลับรายการค่าเผื่อ

การเงิน 1,602 ล้านบาทในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 และ 174 ล้านบาท ในไตรมาส ที่ 4 ปี 2555 (ดูรายละเอียดในหมายเหตุ ประกอบงบการเงิน 35 ปี 2555)

ปี 2555 :

กองทุน CPNCG จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2555 โดยการเช่าอสังหาริมทรัพย์อาคารสำ�นักงาน ดิ ออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ระยะเวลา 20 ปี ทั้งนี้หน่วยลงทุนมีการซื้อขาย อย่างเป็นทางการในตลาดหลักทรัพย์ แห่ ง ประเทศไทย ตั้ ง แต่ วั น ที่ 21 กันยายน 2555 ซึง่ การลงทุนนี้ แบ่งออก เป็น 2 ส่วน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ในปี 2555 บริษัทฯ สามารถขยายธุรกิจได้ ตามแผนงาน โดยเปิดให้บริการ 2 โครงการ ใหม่ ได้แก่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา สุ ร าษฎร์ ธ านี และศู น ย์ ก ารค้ า เซ็ น ทรั ล พลาซา ลำ�ปาง และมีผลประกอบการตาม เป้าหมาย โดยบริษัทฯ มีกำ�ไรสุทธิสำ�หรับ ปี 2555 จำ�นวน 6,189 ล้านบาท เติบโต 201% จากปีกอ่ น และมีรายได้รวม 19,463 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50% จากปีก่อน งบการเงินประจำ�ปี 2554 และปี 2555 ประกอบด้ ว ยรายการที่ มิ ไ ด้ เ กิ ด ขึ้ น เป็ น ประจำ� ดังนี้

การด้อยค่าจำ�นวน 187 ล้านบาท ใน ไตรมาสที่ 4 (ดูรายละเอียดในหมายเหตุ ประกอบงบการเงิน 28 ปี 2554)

>> กำ�ไรจากการให้เช่าภายใต้สัญญาเช่า

การเงิน 1,776 ล้านบาท จากการนำ� อาคารสำ�นักงาน ดิ ออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เข้ากองทุนรวมสิทธิการ เช่าอสังหาริมทรัพย์ CPN คอมเมอร์เชียล โกรท (CPNCG) โดยบันทึก กำ�ไรจากการให้เช่าภายใต้สัญญาเช่า

ข้อมูลสรุปการทำ�รายการ ชื่อกองทุน จำ�นวนเงินลงทุน จำ�นวนหน่วยลงทุน จำ�นวนหน่วยของ CPN ราคาของหน่วยลงทุนที่เสนอขาย นโยบายการจ่ายเงินปันผล

กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ CPN คอมเมอร์เชียล โกรท (CPNCG) 4,394.4 ล้านบาท 426,639,000 หน่วย 106,660,000 หน่วย (25% ของจำ�นวนหน่วยลงทุนทั้งหมด) 10.30 บาท ไม่น้อยกว่า 90% ของกำ�ไรสุทธิ


สินทรัพย์ที่ลงทุนส่วนที่ 1 ที่ดิน 2-1-4 (ไร่-งาน-ตารางวา) อาคารสำ�นักงาน พื้นที่รวม 116,028 ตร.ม. พื้นที่ให้เช่า 74,605 ตร.ม. พื้นที่ให้เช่าของอาคารสำ�นักงานทั้งหมด ยกเว้น >> พื้นที่ค้าปลีก ชั้น B1-B3 ชั้น G และชั้น 3 >> ชั้น 6 (บางส่วน) ชั้น 7 ชั้น 25 และชั้น 44 (ซึ่งอยู่ในการลงทุนในส่วน 2) งานระบบพื้นที่จอดรถ ระบบไฟฟ้า ระบบสุขาภิบาล ระบบปรับอากาศ ระบบแจ้งเหตุ เพลิงไหม้ ระบบโทรศัพท์ ระบบลิฟท์ และระบบบันได เลื่อน สิทธิในการใช้บริการพื้นที่จอดรถจำ�นวน 1,218 คัน ลงทุนครั้งแรก 14 กันยายน 2555 มูลค่าสินทรัพย์ 4,370.3 ล้านบาท (ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายในการออกและเสนอขายหน่วยลงทุน) แหล่งเงินทุน 4,394.4 ล้านบาท จากการขายหน่วยลงทุน

สินทรัพย์ที่ลงทุนส่วนที่ 2 พื้นที่ให้เช่า พื้นที่จอดรถ ลงทุนครั้งแรก มูลค่าสินทรัพย์ แหล่งเงินทุน

พื้นที่ให้เช่า 5,961 ตร.ม. (ชั้น 6 (บางส่วน) ชั้น 7 ชั้น 25 และชั้น 44) สิทธิในการใช้บริการพื้นที่จอดรถจำ�นวน 53 คัน ภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2555 366.0 ล้านบาท เงินกู้ยืมระยะยาว 370.0 ล้านบาท (~8% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ)


44 | 45

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

หน่วย: ล้านบาท สรุปรายการขายสินทรัพย์ เข้ากองทุน CPNCG ราคาสินทรัพย์ กำ�ไรสุทธิ

ส่วนที่ 1 (14 กันยายน 2555)

ส่วนที่ 2 (21 ธันวาคม 2555)

รวม

4,366 1,602

366 174

4,732 1,776

หากไม่ นั บ รวมรายการที่ มิ ไ ด้ เ กิ ด ขึ้ น เป็ น ประจำ�ดังกล่าว บริษัทฯ จะมีรายได้รวม สำ�หรับปี 2555 เติบโต 39% จากปีกอ่ น และ มีก�ำ ไรสุทธิเติบโต 130% จากปีกอ่ น โดยไม่ รวมรายได้จากอาคารสำ�นักงาน ดิ ออฟฟิศ เศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ หลังนำ�เข้ากองทุน CPNCG ตั้งแต่ 21 กันยายน 2555 การเติบโตของผลการดำ�เนินงานประจำ�ปี 2555 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา มีสาเหตุ หลัก คือ >> การเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบอีก

อาคารสำ�นักงาน ดิ ออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เข้ากองทุน CPNCG >> การปรั บ ขึ้ น ของอั ต ราค่ า เช่ า ในทุ ก

โครงการ โดยเฉพาะที่ ศู น ย์ ก ารค้ า เซ็ น ทรั ล เวิ ล ด์ ศู น ย์ ก ารค้ า เซ็ น ทรั ล พลาซา อุดรธานี ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา พิษณุโลก รวมถึงการเพิม่ ค่าเช่า จากการต่อสัญญาใหม่ของโครงการที่ เปิดดำ�เนินการในปี 2552 (ศูนย์การค้า เซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช ศูนย์การ ค้าเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น และศูนย์ การค้าเซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี)

ครัง้ ของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ซึง่ รวม ส่วนของห้างสรรพสินค้าเซน ในเดือน มกราคม 2555

>> การลดลงของส่วนลดที่ให้แก่ร้านค้าใน

>> การเปิดให้บริการอีกครัง้ ของศูนย์การค้า

>> ความสามารถในการบริหารต้นทุนและ

เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว ในเดือน สิงหาคม 2554 หลังจากการปิดปรับ ปรุ ง ซึ่ ง มี ก ารดำ � เนิ น การเต็ ม ปี ใ นปี 2555

>> การเปิดให้บริการอีกครัง้ ของศูนย์การค้า

เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี ในเดือน พฤษภาคม 2555 หลังจากการปรับปรุง และเพิ่มพื้นที่เช่า 25,000 ตารางเมตร

>> กำ�ไรจากการให้เช่าภายใต้สัญญาเช่า

การเงิน 1,776 ล้านบาท จากการนำ�

ทุกโครงการ

ค่าใช้จา่ ยของบริษทั ฯ อย่างมีประสิทธิ ภาพ

หากไม่นับรวมศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา อุ ด รธานี ศู น ย์ ก ารค้ า เซ็ น ทรั ล พลาซา พิ ษ ณุ โ ลก ศู น ย์ ก ารค้ า เซ็ น ทรั ล พลาซา แกรนด์ พระราม 9 และศูนย์การค้าใหม่ ทัง้ 2 โครงการ ทีเ่ ปิดในปี 2555 ศูนย์การค้า อื่นภายใต้การบริหารงานของบริษัทฯ มี อัตราค่าเช่าพื้นที่เฉลี่ยสุทธิเพิ่มขึ้น 14% จากปีก่อน

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 บริษัทฯ มี ศูนย์การค้าภายใต้การบริหารงานรวม 20 โครงการ (อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล 10 โครงการ และต่างจังหวัด 10 โครงการ) อาคารสำ�นักงานให้เช่า 7 อาคาร และอาคารทีพ่ กั อาศัย 2 โครงการ (รวม 62 ยูนิต) ซึ่งนับรวมอสังหาริมทรัพย์ที่โอนไป ยังกองทุน CPNRF และกองทุน CPNCG แต่ยังอยู่ภายใต้การบริหารของบริษัทฯ ใน ฐานะผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ของกองทุน นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเป็นเจ้าของโรงแรม 2 แห่ง (รวม 561 ห้องพัก) ซึ่งได้ว่าจ้าง บริษัทภายนอกที่มีความชำ�นาญให้เป็นผู้ บริหารงานแทน ณ สิ้นปี 2555 อัตราการเช่าพื้นที่ศูนย์ การค้าของบริษัทฯ เฉลี่ย ยังคงอยู่ที่ 97% ไม่ เ ปลี่ ย นแปลงเมื่ อ เที ย บกั บ ช่ ว งเวลา เดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งมีเหตุผลหลัก มาจากอัตราการเช่าพื้นที่ที่ค่อนข้างสูงของ ศู น ย์ ก ารค้ า เซ็ น ทรั ล เวิ ล ด์ ศู น ย์ ก ารค้ า เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี และจากศูนย์ การค้าโครงการใหม่ ได้แก่ ศูนย์การค้า เซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9 (เปิด ดำ�เนินการ ธันวาคม 2554) ศูนย์การค้า เซ็นทรัลพลาซา สุราษฎร์ธานี (เปิดดำ�เนิน การ ตุลาคม 2555) และศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา ลำ�ปาง (เปิดดำ�เนินการ ธันวาคม 2555) อย่างไรก็ดี อัตราการเช่าพื้นที่ศูนย์ การค้าเซ็นทรัลพลาซา พระราม 3 และ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา บางนา มีการ ลดลงชัว่ คราวระหว่างการปรับปรุงโครงการ และปรับเปลี่ยนร้านค้า เพื่อเพิ่มตราสินค้า ที่มีความทันสมัยรวมถึงตราสินค้าแฟชั่น จากต่างประเทศ คาดว่าอัตราการเช่าพื้นที่ จะกลับสู่ภาวะปกติในไตรมาสแรกปี 2557


สำ�หรับอาคารสำ�นักงานของบริษัทฯ นั้น มีอัตราการเช่าพื้นที่เฉลี่ย ณ สิ้นปี 2555 อยู่ที่ 96%

สรุปผลการดำ�เนินงานทางการเงิน ณ สิ้นปี 2555 บริษัทฯ มีศูนย์การค้าภาย ใต้การบริหารงานรวม 20 โครงการ อาคาร สำ�นักงานให้เช่า 7 โครงการ อาคารที่พัก อาศัย 2 โครงการ และบริษัทฯ ยังเป็น เจ้าของโรงแรมอีก 2 แห่ง ซึ่งได้ว่าจ้าง บริษัทภายนอกที่มีความชำ�นาญให้เป็นผู้ บริหารงาน

สิงหาคม 2554 หลังจากการปิดปรับปรุง ซึ่งมีการดำ�เนินการเต็มปีในปี 2555 >> การเปิดให้บริการอีกครัง้ ของศูนย์การค้า

เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี ในเดือน พฤษภาคม 2555 หลังจากการปรับปรุง และเพิ่ ม พื้ น ที่ เ ช่ า ด้ ว ยอั ต ราค่ า เช่ า ที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 50%

ค่าสาธารณูปโภคจากค่าไฟฟ้าที่ปรับเพิ่ม สูงขึ้น ซึ่งโดยทั่วไป มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ประมาณ 20-40% แต่ต้นทุนและค่าใช้ จ่ายในการดำ�เนินงานในปี 2555 อยู่ที่ 12,175 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ 19% จากปีกอ่ น เป็นผลมาจากความสามารถในการบริหาร ต้นทุนและค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ อย่างมี ประสิทธิภาพ

รายได้ค่าอาหารและเครื่องดื่ม

ต้นทุนค่าเช่าและบริการ ต้นทุนค่าเช่าและบริการ ได้แก่ ค่าสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายของพนักงาน ค่าเสื่อม ราคาและค่าตัดจำ�หน่าย ค่าซ่อมแซม ค่าเบีย้ ประกันภัย และ ภาษีโรงเรือนของทรัพย์สนิ ที่ครอบครองไว้เพื่อหาประโยชน์จากราย ได้ค่าเช่า

ในปี 2555 บริษทั ฯ มีรายได้จากค่าเช่าและ บริการ เติบโต 41% จากปีก่อน มาอยู่ที่ 15,325 ล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักมาจาก

สำ�หรับปี 2555 บริษทั ฯ มีรายได้คา่ อาหาร และเครือ่ งดืม่ เพิม่ ขึน้ 15% จากปีกอ่ น จาก รายได้ที่เพิ่มเข้ามาจากศูนย์อาหารใหม่ที่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา สุราษฎร์ธานี และศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลำ�ปาง และผลการดำ�เนินงานที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ของศู น ย์ อ าหารในศู น ย์ ก ารค้ า เซ็ น ทรั ล พลาซา อุดรธานี (หลังจากการปรับปรุง) ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวลั พัทยา บีช และ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พิษณุโลก

>> รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากศูนย์การค้าใหม่ทั้ง

รายได้จากธุรกิจโรงแรม

>> ค่าเสื่อมราคาที่เพิ่มขึ้นของศูนย์การค้า

และการลดลงของส่วนลดทีใ่ ห้แก่รา้ นค้า ในทุ กโครงการ จากศูน ย์การค้า เดิม รวมถึงการเพิม่ ค่าเช่าจากการต่อสัญญา ใหม่ของโครงการที่เปิดดำ�เนินการในปี 2552

ธุรกิจโรงแรมถือเป็นธุรกิจสนับสนุนธุรกิจ หลักของบริษทั ฯ โดยในปี 2555 รายได้จาก ธุรกิจโรงแรมเติบโต 53% จากปีก่อน มา อยู่ที่ 712 ล้านบาท จากผลประกอบการที่ ดีของโรงแรมฮิลตัน พัทยาและรายได้ที่เข้า มาเต็มปีของโรงแรมเซ็นทารา แอนด์ คอน เวนชั่น เซ็นเตอร์ อุดรธานี

>> ค่าเสือ่ มราคาของศูนย์การค้าทีเ่ ปิดใหม่

>> การเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบอีก

ต้นทุนรวม

>> การเปิดให้บริการอีกครัง้ ของศูนย์การค้า

ในปี 2555 บริษัทฯ ประสบกับความท้าทายในการบริ ห ารต้ น ทุ น เป็ น อย่ า งมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของ ต้นทุน 3 ประเภท ได้แก่ ต้นทุนค่าแรง ขัน้ ต่�ำ ค่าใช้จา่ ยเงินเดือนขัน้ ต่�ำ และต้นทุน

รายได้รวม รายได้จากค่าเช่าและบริการ

2 โครงการ ที่เปิดในปี 2555

>> ค่าเช่าพื้นที่ซึ่งปรับขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง

ครั้งของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ใน เดือนมกราคม 2555

เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว ในเดือน

สำ�หรับปี 2555 บริษัทฯ มีต้นทุนค่าเช่า และบริการจำ�นวน 8,556 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ 21% จากปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจาก เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานีหลังจากการ ปรับปรุงและขยายพื้นที่ในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ดังที่กล่าวในข้างต้น ในปี 2554 รับรู้เต็มปีในปี 2555

>> ต้นทุนการดำ�เนินงานของศูนย์การค้า

ใหม่ที่เปิดให้บริการในปี 2555 ต้นทุนค่าอาหารและเครื่องดื่ม

ต้นทุนค่าอาหารและเครือ่ งดืม่ ได้แก่ ต้นทุน ทางตรงในการประกอบธุรกิจศูนย์อาหาร รวมถึ ง ค่ า เสื่ อ มราคาและค่ า ซ่ อ มแซม อุปกรณ์และงานตกแต่งภายในศูนย์อาหาร


46 | 47

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

สำ�หรับปี 2555 บริษทั ฯ มีตน้ ทุนค่าอาหาร และเครือ่ งดืม่ เพิม่ ขึน้ 13% จากปีกอ่ น ตาม การเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าอาหารและเครื่อง ดื่มตามที่กล่าวในข้างต้น ต้นทุนจากธุรกิจโรงแรม สำ�หรับปี 2555 บริษัทฯ มีต้นทุนจากธุรกิจ โรงแรมเพิ่มขึ้น 40% จากปีก่อน มาอยู่ที่ 269 ล้านบาท ซึ่งการเพิ่มขึ้นของต้นทุนนี้ สอดคล้ อ งกั บ การเพิ่ ม ขึ้ น ของรายได้ จ าก ธุรกิจโรงแรม ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าใช้จา่ ยในการขายและบริหาร ได้แก่ ค่าใช้ จ่ายบุคลากรส่วนกลางและผู้บริหาร ค่า โฆษณาประชาสัมพันธ์ ค่าเครือ่ งใช้สำ�นักงาน ค่าทีป่ รึกษาต่างๆ รวมถึงค่าเสือ่ มราคา และค่าตัดจำ�หน่ายอุปกรณ์สำ�นักงาน สำ�หรับปี 2555 ค่าใช้จ่ายในการขายและ บริหาร เพิ่มขึ้น 14% จากปีก่อน บริษัทฯ ประหยั ด ค่ า ใช้ จ่ า ยในการโฆษณาและ ประชาสัมพันธ์ได้ 2% เมื่อเทียบกับปีก่อน หากไม่ ร วมค่ าใช้ จ่ า ยสำ � หรั บ การเปิ ด ตั ว โครงการใหม่ บริษัทฯ จะมีค่าใช้จ่ายในการ โฆษณาและประชาสัมพันธ์ในปี 2555 คิด เป็น 2.3% ของรายได้รวม เทียบกับ 3.5% ในปี 2554 และ 4.8% ในปี 2553 แสดงถึง ผลสัมฤทธิข์ องการบริหารค่าใช้จา่ ยทางการ ตลาดที่มีประสิทธิภาพ

อัตรากำ�ไรขั้นต้น และอัตรากำ�ไรจากการ ดำ�เนินงาน สำ�หรับปี 2555 บริษัทมีอัตราการเติบโต ของรายได้รวมสูงถึง 39% ในขณะที่อัตรา การเติบโตของต้นทุนและค่าใช้จ่ายรวมสูง ขึน้ เพียง 19% โดยอัตรากำ�ไรขัน้ ต้นสำ�หรับปี 2555 เพิม่ ขึน้ เป็น 46.7% จาก 39.9% ในปี 2554 และอัตรากำ�ไรจากการดำ�เนินงาน สำ�หรับปี 2555 เพิม่ ขึน้ เป็น 31.6% เพิม่ ขึน้ จาก 22% จากปีกอ่ น แสดงให้เห็นถึงความ สามารถในการเพิม่ รายได้ และประสิทธิภาพ ในการจัดการต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้อย่าง ชัดเจน กำ�ไรสุทธิ สำ�หรับปี 2555 บริษทั ฯ มีก�ำ ไรสุทธิเท่ากับ 6,189 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ 201% จากปีกอ่ น หากไม่รวมรายการทีม่ ไิ ด้เกิดขึน้ เป็นประจำ� กำ�ไรสุทธิของบริษทั ฯ ในปี 2555 จะเติบโต 130% จากปีกอ่ น จากการปรับขึน้ ของค่าเช่า พื้นที่อย่างต่อเนื่องและการบริหารต้นทุน อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงการระหว่างการพัฒนา ตามที่บริษัทฯ ได้ตั้งเป้าหมายทางธุรกิจ ในระยะ 5 ปี ที่จะมีรายได้เติบโตในอัตรา เฉลี่ย (CAGR) 15% ต่อปี เพื่อให้บรรลุ เป้ า หมายดั ง กล่ า ว บริ ษั ท ฯ ได้ กำ � หนด แนวทางในการขยายธุรกิจ ประกอบไปด้วย การปรั บ ปรุ ง สิ น ทรั พ ย์ ที่ มี อ ยู่ ใ นปั จ จุ บั น เพื่อเพิ่มมูลค่า การปรับขึ้นค่าเช่าตามปกติ การประหยัดต้นทุนและค่าใช้จ่าย และการ

พัฒนาโครงการใหม่ ซึง่ ได้ก�ำ หนดเป้าหมาย ในการขยายพื้ น ที่ ค้ า ปลี กให้ มี ก ารเติ บโต เฉลี่ย 10% ต่อปี และภายใต้ความเจริญ ทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวสู่พื้นที่ทั้งในและ รอบนอกกรุงเทพมหานคร บริษัทฯ มีการ ศึกษารูปแบบอื่นอีกอย่างต่อเนื่องเพื่อนำ� เสนอศูนย์การค้าที่ทันสมัย อีกทั้งยังมีการ ศึ ก ษาตลาดในต่ า งประเทศด้ ว ยเพื่ อ การ เติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว สำ�หรับปี 2555 นี้ บริษัทฯ สามารถขยาย ธุรกิจได้ตามแผนงาน โดยเปิดให้บริการ 2 โครงการใหม่ โดยเปิดศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา สุราษฎร์ธานี เมือ่ วันที่ 11 ตุลาคม 2555 มีพนื้ ทีใ่ ห้เช่ารวม 25,100 ตารางเมตร (ไม่รวมพืน้ ทีส่ ว่ นห้างสรรพสินค้าโรบินสัน) และศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลำ�ปาง เมือ่ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555 ซึ่งมีพื้นที่ให้ เช่ารวม 16,100 ตารางเมตร (ไม่รวมพื้นที่ ส่วนห้างสรรพสินค้าโรบินสัน) นอกจากนี้ บริ ษั ท ฯ ยั ง มี ก ารปรั บ ปรุ ง ศู น ย์ ก ารค้ า เซ็ น ทรั ล พลาซา อุ ด รธานี ใ นเดื อ น พฤษภาคม 2555 หลังจากการปรับปรุงและ เพิ่มพื้นที่เช่า 22,000 ตารางเมตร ในปี 2556 บริษัทฯ มี 4 โครงการใหม่อยู่ ระหว่างการดำ�เนินการก่อสร้าง ได้แก่ ศูนย์ การค้าเซ็นทรัลพลาซา อุบลราชธานี ศูนย์ การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ ศูนย์ การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ และ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวสท์เกต นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีที่ดินเปล่าซึ่งอยู่ ระหว่างศึกษาแผนการพัฒนาขั้นละเอียด อีก 3 แปลง


โครงสร้างทางการเงิน บริษัทฯ ใช้เงินลงทุน (CAPEX) ในปี 2555 ที่ผ่านมา เท่ากับ 9,502 ล้านบาท ประกอบด้วยการลงทุนเพื่อปรับปรุงและ เพิ่มมูลค่าโครงการที่มีเดิมจำ�นวน 2,388 ล้านบาท การซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการ ในอนาคตและการพั ฒ นาโครงการใหม่ จำ�นวน 7,144 ล้านบาท ในระหว่างปี 2555 บริษัทฯ มีการกู้ยืมเงิน เพิ่มประมาณ 8,300 ล้านบาท ประกอบ ด้วยหุ้นกู้ประเภทไม่มีหลักประกันจำ�นวน 1,500 ล้านบาท และเงินกู้ยืมระยะยาว จากสถาบันการเงินจำ�นวน 6,800 ล้าน บาท เพื่อใช้ในการจ่ายคืนหุ้นกู้ประเภท ไม่มีหลักประกันและเงินกู้ยืมระยะยาวจาก สถาบันการเงินจำ�นวน 7,480 ล้านบาท จำ�นวนเงินส่วนที่เหลือใช้สำ�หรับการขยาย งานในอนาคต

ณ สิ้ น ปี 2555 บริ ษั ท ฯ มี ห นี้ สิ น ที่ มี ภาระดอกเบี้ยเท่ากับ 25,565 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินกูย้ มื ทีม่ อี ตั ราดอกเบีย้ คงที่ ในสัดส่วน 87% และอัตราดอกเบีย้ ลอยตัว ในสัดส่วน 13% โดยมีอัตราดอกเบี้ยถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำ�หนักอยู่ที่ 4.38% ต่อปี และมี อัตราหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อส่วน ของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 0.82 เท่า ลดลงจาก 0.88 เท่า ในไตรมาสก่อนและ 1.2 เท่าใน ปีก่อน เนื่องจากการจ่ายชำ�ระหนี้หลังจาก นำ�อาคารสำ�นักงาน ดิ ออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เข้ากองทุน CPNCG

เงินปันผลจากการดำ�เนินงานปี 2555 คณะกรรมการบริ ษั ท ฯ มี ม ติ เ สนอต่ อ ที่ ประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งกำ�หนดจะจัดขึ้นในเดือน เมษายน 2556 ให้มีการจ่ายเงินปันผล จำ�นวน 0.95 บาทต่อหุ้น (จำ�นวนเงินรวม 2,070 ล้านบาท) เทียบกับ 0.37 บาทต่อ

หุ้น (จำ�นวนเงินรวม 806 ล้านบาท) ในปี 2554 โดยเงินปันผลดังกล่าวคิดเป็นอัตรา การจ่ายเงินปันผลที่ 33.4% ของกำ�ไรสุทธิ สำ�หรับปี 2555 ซึ่งคำ�นวณมาจาก 40% ของกำ�ไรสุทธิจากการดำ�เนินงานปกติ และ 17.2% ของกำ �ไรจากการให้ เ ช่ า ภายใต้ สั ญ ญาเช่ า การเงิ น จากการนำ � อาคาร สำ�นักงาน ดิ ออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัล เวิลด์ เข้ากองทุน CPNCG


ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงราย


เซ็นทรัลพัฒนา ในวันนี้

โครงการศูนย์การค้าชั้นนำ� ในประเทศไทย

โครงการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

โครงการในต่างจังหวัด

จากประสบการณ์นานกว่า 30 ปี ของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) หรือ CPN กับการขึ้น เป็นผู้นำ�ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และก้าวต่อไป เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ “ผู้พัฒนาศูนย์การค้าในระดับภูมิภาค ที่ได้รับการชื่นชมสูงสุดจากทุกคน และ ไม่หยุดนิ่งในการสร้างประสบการณ์แห่งความสุขในระดับโลก” ณ วั น นี้ CPN ได้ พั ฒ นาและบริ ห าร ศูนย์การค้าจำ�นวน 20 ศูนย์การค้า อาคาร สำ�นักงาน 7 อาคาร โรงแรม 2 แห่งและ อาคารที่พักอาศัยอีก 2 แห่ง โดยในปี 2555 CPN ได้เปิดให้บริการศูนย์การค้า ใหม่ 2 แห่งคือ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา สุราษฎร์ธานี และศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลำ�ปาง

กลยุทธ์ทางธุรกิจในระยะยาวของ CPN คือ การพัฒนาศูนย์การค้าภายใต้มาตรฐาน ระดั บ สากล ในทำ � เลที่ มี ศั ก ยภาพทั้ งใน กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ทีส่ ามารถ สร้ า งผลตอบแทนทางธุ ร กิ จได้ เ ป็ น อย่ า ง ดี นอกจากนี้ CPN ยังมีแผนขยายธุรกิจ มุ่งสู่ต่างประเทศที่มีศักยภาพการเติบโตสูง อีกด้วย


50 | 51

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

ศักยภาพด้านทำ�เลที่ตั้ง ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีก CPN ตระหนักดีว่าทำ�เลที่ตั้งคือสิ่งสำ�คัญยิ่งต่อความ สำ�เร็จในอันที่จะก้าวสู่ความเป็นผู้นำ�อุตสาหกรรมการค้าปลีก ด้วยประสบการณ์ ในการเลือกสรรทำ�เลที่ตั้งของศูนย์การค้าแต่ละ แห่งและความเข้าใจในธุรกิจค้าปลีกอย่างลึกซึ้ง ถือเป็นองค์ประกอบสำ�คัญที่ทำ�ให้ CPN ได้มาซึ่งทำ�เลที่มีศักยภาพสูงสุดสำ�หรับ การสร้างศูนย์การค้าและธุรกิจต่อเนื่อง


พื้นที่รวม (GFA) 31,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 3,000 คัน Hall 2,500 ตร.ม.

พื้นที่รวม (GFA) 86,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 1,000 คัน

พื้นที่รวม (GFA) 340,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 3,500 คัน

เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว

เซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา

เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร

ศูนย์การค้าครบวงจรแห่งแรกที่อยู่คู่กับคนไทย มานานกว่า 30 ปี ที่มีความครบครันและทัน สมัย มีความโดดเด่นด้านการออกแบบที่นำ� เส้นสายและผิวสัมผัสของธรรมชาติในรูปแบบ Organic form และนำ� Skylight มาใช้ได้ อย่างสอดคล้อง เพื่อให้มีแสงธรรมชาติเกิด ความรู้สึกโปร่งสบายรวมถึงการเพิ่มสิ่งอำ�นวย ความสะดวก และนวัตกรรมล่าสุดด้านการ บริการมาใช้กับศูนย์การค้า โดยทั้งโครงการ ประกอบด้วยโรงแรม อาคารสำ�นักงาน และ ศูนย์การค้าที่รวบรวมด้วย ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล Flagship Store และศูนย์รวมร้านค้า ทั้ง Inter brand และ local brand

ศูนย์การค้าแห่งนี้สร้างขึ้นตามแนวคิดเพื่อให้ เป็นศูนย์การค้าสำ�หรับครอบครัวและชุมชน ประกอบไปด้วยห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ร้าน ค้าปลีก ร้านอาหาร พร้อมโรงภาพยนตร์ขนาด 6 โรง และด้วยการจัดให้มีกิจกรรมสำ�หรับ ครอบครัวและชุมชนอย่างสม่ำ�เสมอ และมี บริการขนส่งสาธารณะที่เข้าถึงอย่างสะดวก เซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา จึงเป็นศูนย์การค้า สำ�หรับครอบครัวและชุมชนอย่างสมบูรณ์

เซ็นทรัลพลาซา ปิน่ เกล้า ศูนย์การค้าครบวงจร ทางตะวันตกของกรุงเทพมหานคร อยู่ในทำ�เล ทีส่ ามารถตอบสนองความต้องการของกำ�ลังซือ้ หลากหลายกลุ่มอย่างเหมาะสม อาทิ สถาบัน การศึกษา สำ�นักงานและชุมชนที่พักอาศัย ที่มีกำ�ลังซื้อและมีการขยายตัวสูง โครงการ ประกอบด้วย ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล อาคาร สำ�นักงาน 2 อาคาร โรงภาพยนตร์จำ�นวน 11 โรง และร้านค้าแฟชั่นชั้นนำ�หลากหลายตอบ สนองไลฟ์สไตล์อย่างครบครัน

พื้นที่รวม (GFA) 180,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 2,300 คัน Hall 2,800 ตร.ม.

พื้นที่รวม (GFA) 62,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 400 คัน

พื้นที่รวม (GFA) 220,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 2,300 คัน

เซ็นทรัล เซ็นเตอร์ พัทยา

เซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต

เซ็นทรัลพลาซา พระราม 3

ชลบุรี

เชียงใหม่

กรุงเทพมหานคร

เซ็นทรัล เซ็นเตอร์ พัทยา เป็นโครงการที่ สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าหลากหลาย ทั้งผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่น ผู้เดินทางไปร่วมการ ประชุมสัมมนา ชาวกรุงเทพมหานครที่เดิน ทางไปพักผ่อนในวันหยุดสุดสัปดาห์ และนัก ท่องเทีย่ วอีกกว่าสองล้านคนทีเ่ ดินทางไปเยือน พัทยาในแต่ละปี เซ็นทรัล เซ็นเตอร์ พัทยา นอกจากจะเป็นศูนย์รวมสถาปัตยกรรมแบบ เขตร้ อ นที่ ต กแต่ งไว้ อ ย่ า งสวยงามแล้ ว ยั ง ประกอบด้วยบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ พร้อมทั้ง โรงภาพยนตร์จ�ำ นวน 6 โรง

เซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต เป็น ศูนย์การค้าและศูนย์รวมความบันเทิงที่ใหญ่ ที่ สุ ดในภาคเหนื อ รองรั บ ลู ก ค้ า ผู้ เ ข้ า มาใช้ บริการถึง 6 ล้านคนต่อปี ทั้งนักท่องเที่ยวชาว ไทยและชาวต่างประเทศ ภายในศูนย์การค้า ประกอบด้ ว ย ห้ า งสรรพสิ น ค้ า โรบิ น สั น โรงภาพยนตร์จำ�นวน 7 โรง ห้องประชุม เอนกประสงค์ ร้ า นค้ า ปลี ก และโซนสิ น ค้ า หั ต ถกรรมพื้ น เมื อ งที่ มี ชื่ อ เสี ย งของทางภาค เหนือให้เลือกอย่างครบครันและสะดวกสบาย

เซ็นทรัลพลาซา พระราม 3 ตั้งอยู่ในเขต เศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร ใกล้สำ�นักงาน ใหญ่ของธนาคารชั้นนำ�ถึง 5 แห่ง และเป็น ศูนย์การค้าครบวงจรที่พร้อมด้วยสถานบันเทิง เพียงแห่งเดียวในรัศมี 5 กิโลเมตร ประกอบ ไปด้วยร้านค้าปลีกหลากหลาย ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล ศูนย์อาหาร โรงภาพยนตร์จำ�นวน 9 โรง และศูนย์รวมเครื่องเล่นเกมส์ทันสมัย


52 | 53

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

พื้นที่รวม (GFA) 450,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 3,250 คัน

พื้นที่รวม (GFA) 210,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 3,200 คัน

พื้นที่รวม (GFA) 140,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 2,200 คัน

เซ็นทรัลพลาซา บางนา

เซ็นทรัลพลาซา พระราม 2

เซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร

นนทบุรี

เซ็นทรัลพลาซา บางนา ตั้งอยู่ทางตะวันออก ของกรุงเทพมหานคร ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นเขตที่อยู่อาศัยและการค้าขายที่มีการ เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โครงการประกอบ ด้วยอาคารศูนย์การค้าสูง 6 ชัน้ คอนโดมิเนียม ทาวเวอร์ และอาคารสำ�นักงานสูง 37 ชั้น นอกจากนั้นยังมีโรงภาพยนตร์ สวนน้ำ� และ ศูนย์รวมเครื่องเล่นเกมส์ทันสมัยไว้บริการ

เซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 เป็นศูนย์การค้าทีม่ ี ความโดนเด่นในเขตกรุงเทพตอนใต้ บนพืน้ ทีท่ มี่ ี การขยายตัวของทีอ่ ยูอ่ าศัยอย่างรวดเร็ว โครงการ ศูนย์การค้าประกอบด้วย ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ออฟฟิศเมท โฮมเวิรค์ บีทเู อส ร้านค้าปลีกครบครัน ศูนย์อาหารและ ศูนย์รวมแห่งความบันเทิง ทัง้ โบว์ลงิ่ จำ�นวน 40 เลน โรงภาพยนตร์จำ�นวน 10 โรง นอกจากนี้ ยังมีสวนพักผ่อนที่ร่มรื่นสำ�หรับออกกำ�ลังกาย และพักผ่อนตามอัธยาศัย

CPN เข้าซื้อกิจการสยามจัสโก้รัตนาธิเบศร์ เมื่อเดือนธันวาคม 2546 พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อ และปรับโฉมให้เป็นศูนย์การค้าเพื่อชุมชนที่มี บรรยากาศของความเป็ น ครอบครั ว ที่ ใ ห้ ทั้ ง ความอบอุ่นสะดวกสบายครบครัน ประกอบ ด้วย ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน อินเด็กซ์ ลิฟวิ่ง มอลล์ โฮมเวิร์ค และออฟฟิศเมท พร้อมทั้ง โรงภาพยนตร์และโบว์ลิ่ง เพื่อเพิ่มความหลาก หลายให้เซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์ เป็น ศูนย์การค้าสำ�หรับครอบครัวอย่างแท้จริง

พื้นที่รวม (GFA) 800,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 7,000 คัน Hall 2,500 ตร.ม.

พื้นที่รวม (GFA) 310,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 3,300 คัน Hall 2,500 ตร.ม.

พื้นที่รวม (GFA) 210,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 2,000 คัน โรงแรมฮิลตัน พัทยา ขนาด 302 ห้อง

เซ็นทรัลเวิลด์

เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ

เซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช

กรุงเทพมหานคร

นนทบุรี

ชลบุรี

เซ็นทรัลเวิลด์ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร และมีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉี ย งใต้ ภ ายในประกอบด้ ว ยห้ า งสรรพ สินค้าเซ็น และห้างสรรพสินค้าอิเซตัน โรงภาพยนตร์เอส เอฟ เวิลด์ อุทยานการเรียนรู้ ทีเค ปาร์ค และ Flagship Store ของร้านค้า แบรนด์ดงั ระดับสากล ร้านอาหารและเครือ่ งดืม่ ทีห่ ลากหลาย พร้อมด้วยอาคารสำ�นักงาน 45 ชัน้ ด้วยทำ�เลศักยภาพและความหลากหลายครบ ครันทำ�ให้เซ็นทรัลเวิลด์เป็นศูนย์การค้ายอด นิยมของชาวไทยและชาวต่างประเทศ

ไลฟ์สไตล์ช้อปปิ้งคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่และ สมบู ร ณ์ แ บบมากที่ สุ ด ทางฝั่ ง ตะวั น ตกเฉี ย ง เหนื อ ของกรุ ง เทพฯ มี ค วามโดดเด่ น ด้ า น เทคโนโลยีดไี ซน์ทคี่ �ำ นึงถึงการออกแบบอาคาร ให้ประหยัดพลังงาน โครงการประกอบด้วย ศูนย์การค้าขนาด 7 ชั้นและอาคารสำ�นักงาน ขนาด 16 ชัน้ และด้วยทำ�เลศักยภาพแวดล้อม ด้วยศูนย์ราชการและสำ�นักงานต่างๆ ทำ�ให้ โครงการสามารถตอบสนองความต้องการได้ เป็นอย่างดี ภายในศูนย์การค้าประกอบด้วย ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล โรงภาพยนตร์ ร้านค้า แฟชั่น ร้านอาหาร และร้านค้าปลีกครบครัน

ศูนย์การค้าติดชายหาดธรรมชาติที่ใหญ่และ ครบครันที่สุดในเอเชีย โครงการประกอบด้วย ศู น ย์ ก ารค้ า และโรงแรมที่ เ ป็ น ศู น ย์ ร วมไลฟ์ สไตล์ ข องชี วิ ต แห่ ง ความทั น สมั ย และความ สนุกสนานของเมืองท่องเที่ยว โดดเด่นด้วย ระเบียงชมวิวชายหาดพัทยาได้ 360 องศา ศู น ย์ ก ารค้ า ประกอบด้ ว ย ห้ า งสรรพสิ น ค้ า เซ็นทรัล โรงภาพยนตร์เอส เอฟ เอ็กซ์ และ ร้านค้าแฟชัน่ ชัน้ นำ� ร้านอาหารนานาชาติและ ร้านค้าปลีกทีต่ อบสนองไลฟ์ไตล์อย่างครบครัน พร้อมด้วยลานกิจกรรมบริเวณหน้าศูนย์การค้า ที่สร้างสีสันและชีวิตชีวาให้แก่ชาวไทยและชาว ต่างประเทศ


พื้นที่รวม (GFA) 250,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 2,000 คัน โรงแรมเซ็นทารา อุดรธานี ขนาด 259 ห้อง Hall 2,800 ตร.ม.

พื้นที่รวม (GFA) 130,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 2,040 คัน

เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี

เซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี

อุดรธานี

ชลบุรี

ศูนย์การค้าที่ยิ่งใหญ่และทันสมัยที่สุดในตะวัน ออกเฉียงเหนือ เป็นประตูเชือ่ มสูอ่ นิ โดจีน ทีไ่ ด้ รับความนิยมทัง้ จากชาวไทยและประเทศเพือ่ น บ้าน โดย CPN ได้ปรับภาพลักษณ์ศนู ย์การค้า ให้มีความทันสมัย ขยายพื้นที่เพิ่มเป็น 2 เท่า ศู น ย์ ก ารค้ า ประกอบด้ ว ย ห้ า งสรรพสิ น ค้ า โรบินสัน ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต โรงภาพยนตร์ โบว์ลิ่ง ร้านอาหารและเครื่องดื่ม และร้านค้า ปลีกครบครัน นอกจากนี้ ยังมีองค์ประกอบ ที่ช่วยเสริมศักยภาพความสมบูรณ์พร้อมของ โครงการด้วยโรงแรมเซ็นทารา อุดรธานี ทีม่ หี อ้ ง พักรองรับจำ�นวน 259 ห้อง ห้องสัมมนา และ ห้องประชุมอเนกประสงค์ขนาดใหญ่

ศูนย์การค้าไลฟ์สไตล์ชอ้ ปปิง้ คอมเพล็กซ์ทใี่ หญ่ ทันสมัย และสมบูรณ์แบบที่สุดในเมืองชลบุรี ด้วยการออกแบบด้านสถาปัตยกรรมที่มีความ โดดเด่นให้ศนู ย์การค้าได้รบั แสงธรรมชาติอย่าง ทัว่ ถึง ศูนย์การค้าประกอบด้วย ห้างสรรพสินค้า โรบินสัน โรงภาพยนตร์เอส เอฟ ซิตี้ และ คาราโอเกะที่ทันสมัยแห่งแรกในเมืองชลบุรี ร้านค้าปลีก ศูนย์รวมแฟชัน่ อาหารและเครือ่ ง ดื่ ม โซนสั น ทนาการ และสิ่ ง อำ � นวยความ สะดวกครบครัน


54 | 55

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

พื้นที่รวม (GFA) 200,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 2,100 คัน Hall 2,540 ตร.ม.

พื้นที่รวม (GFA) 110,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 1,000 คัน

พื้นที่รวม (GFA) 100,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 1,400 คัน

เซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น

เซ็นทรัลพลาซา เชียงราย

เซ็นทรัลพลาซา พิษณุโลก

ขอนแก่น

เชียงราย

พิษณุโลก

ศู น ย์ ก ารค้ าไลฟ์ สไตล์ ที่ ทั น สมั ย ที่ สุ ดในภาค ตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ โดดเด่ น ด้ ว ยการ ออกแบบที่ผสมผสานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน และคำ�นึงถึงการอนุรักษ์พลังงาน ศูนย์การค้า ประกอบด้วย ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน โรง ภาพยนตร์เอส เอฟ ซิตี้ ลานโบว์ลิ่ง ร้านค้า ปลีกชัน้ นำ� แฟชัน่ อาหารและเครือ่ งดืม่ พร้อม ด้วยศูนย์ประชุมขนาดใหญ่ที่สามารถรองรับ การเป็นศูนย์กลางการศึกษา หน่วยงานราชการ และการค้าขายของจังหวัดขอนแก่นในภูมิภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ

ศูนย์การค้าไลฟ์สไตล์ชอ้ ปปิ้งเซ็นเตอร์แห่งแรก ใจกลางเมืองเชียงราย ที่ออกแบบโดยผสาน ความทันสมัยกับศิลปะวัฒนธรรมล้านนาทีท่ รง คุณค่าและความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ได้อย่างลงตัว และยังเป็นศูนย์การค้า EcoFriendly ครบวงจรแห่งแรกของไทย มีความ เป็ น มิ ต รต่ อ ธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ มแบบ 360 องศา ด้วยนวัตกรรมทันสมัยที่ประหยัด พลั ง งานอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ศู น ย์ ก ารค้ า ประกอบด้วย ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต พาวเวอร์บาย บีทเู อส ซูเปอร์สปอร์ต โรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ซนี เี พล็กซ์ และคาราโอเกะ รวมถึงร้านค้าแฟชัน่ ศูนย์รวม ร้านอาหารและร้านค้าชั้นนำ�ที่มีความหลาก หลาย

ศูนย์การค้าไลฟ์สไตล์ช้อปปิ้งคอมเพล็กซ์ ที่มี ทำ�เลที่ตั้งใจกลางศูนย์กลางทางธุรกิจที่เชื่อม ต่อระหว่างภาคกลางและภาคเหนือ รวมไปถึง ประเทศในภูมิภาคอินโดจีน โดดเด่นด้วยการ ออกแบบที่นำ�จุดเด่นของวัฒนธรรมท้องถิ่น อาทิ เรือนแพ ลวดลายของเครื่องเบญจรงค์ และลวดลายผ้าทอทีเ่ ป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด พิษณุโลก มาผนวกเข้ากับแนวคิดอันทันสมัย สถาปัตยกรรมของภายนอกตัวอาคารได้รบั แรง บันดาลใจจากขบวนเรือสินค้า ทีจ่ ะนำ�พาธุรกิจ มุ่งหน้าสู่ความสำ�เร็จอย่างยั่งยืนและกลมกลืน กับธรรมชาติ ศูนย์การค้าประกอบด้วย ห้าง สรรพสินค้าโรบินสัน ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต พาวเวอร์บาย บีทูเอส ซูเปอร์สปอร์ต โรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ซนี เี พล็กซ์ และร้านค้า ปลีกชั้นนำ�


พื้นที่รวม (GFA) 130,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 1,400 คัน Hall 2,500 ตร.ม.

พื้นที่รวม (GFA) 214,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 2,400 คัน

พื้นที่รวม (GFA) 111,000 ตร.ม. พื้นที่จอดรถ 2,000 คัน

เซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9

เซ็นทรัลพลาซา สุราษฎร์ธานี

เซ็นทรัลพลาซา ลำ�ปาง

กรุงเทพมหานคร

สุราษฎร์ธานี

ลำ�ปาง

ศูนย์การค้าไลฟ์สไตล์ One Stop Lifestyle Entertainment Shopping Complex ที่ ครบครัน ตั้งอยู่บนทำ�เลที่มีศักยภาพโดดเด่น ที่สุดแห่งหนึ่งใจกลางย่านธุรกิจของกรุงเทพ มี ความโดดเด่นด้วยการออกแบบที่ล้ำ�สมัยใน รูปแบบ Futuristic สะดุดทุกสายตาตามเทรนด์ การออกแบบล่าสุดของโลก ทั้งเส้นสาย สีสัน และแสงสีจากไฟ LED ของ The Ribbon Effect ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากความไม่หยุด นิ่งของถนนพระราม 9 ตอบสนองกลุ่มคน รุ่นใหม่ในสไตล์ Work&Play ศูนย์การค้า ประกอบด้วย ห้างสรรพสินค้าโรบินสันซึ่งเป็น Flagship Store ที่ยิ่งใหญ่และทันสมัยที่สุดใน กรุงเทพฯ ท็อปส์ มาร์เก็ต บีทเู อส เพาเวอร์บาย ซูเปอร์สปอร์ต และ ออฟฟิศเมท รวมไปถึง โรงภาพยนตร์ระดับเวิลด์คลาส เอสเอฟเอ็กซ์ 11 โรง และ The Rink Ice Arena ลาน Ice Skate ขนาดโอลิมปิก แห่งแรกในประเทศไทย และร้านค้าชั้นนำ�

ศูนย์การค้าไลฟ์สไตล์ทันสมัยที่ใหญ่และครบ ครันที่สุดในภาคใต้ The Most Complete Lifestyle Shopping Center in the South ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมสไตล์รีสอร์ท ราย ล้อมด้วยธรรมชาติ Tropical Architecture Design บนพื้นฐานการพัฒนาชุมชนอย่าง ยั่งยืน (Sustainable Urban Development) ศู น ย์ ก ารค้ า ประกอบด้ ว ย ห้ า งสรรพสิ น ค้ า โรบินสัน ท็อปส์ มาร์เก็ต บีทเู อส เพาเวอร์บาย ซูเปอร์สปอร์ต และ ออฟฟิศเมท และร้านค้า ชั้นนำ� รวมไปถึงแหล่งบันเทิงครบวงจร อาทิ โรงภาพยนตร์เอสเอฟ 7 โรง สวนสนุก Fun Planet และ Pet Planet สวนสัตว์ขนาดเล็กทีส่ ตั ว์หายาก อย่าง Meerkat และ Raccoon

ศูนย์การค้าไลฟ์สไตล์ชอ้ ปปิง้ เซ็นเตอร์แห่งใหม่ ล่าสุดของภาคเหนือ ด้วยสถาปัตยกรรมการ ออกแบบล้านนาทีเ่ ป็นเอกลักษณ์แปลกตาด้วย แรงบันดาลใจจากการเจาะฉลุผสมผสานกับรูป แบบกราฟฟิกประยุกต์ ศูนย์การค้าประกอบ ด้วย ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ท็อปส์ มาร์เก็ต บีทเู อส เพาเวอร์บาย ซูเปอร์สปอร์ต ออฟฟิศเมท และร้านค้าชั้นนำ� รวมไปถึงแหล่งบันเทิง ครบวงจร อาทิ โรงภาพยนตร์เอสเอฟ 4 โรง สวนสนุก Fun Planet ฟาร์มแกะ Hug You


ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9


โครงการอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้การบริหารงานของ CPN โครงการศูนย์การค้า

เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว

เซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา

เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า 1)

เซ็นทรัล เซ็นเตอร์ พัทยา

ปีที่เริ่มดำ�เนินการ

ธันวาคม 2525

พฤศจิกายน 2536

มีนาคม 2538

กรกฎาคม 2538

โครงการก่อสร้าง

โครงการก่อสร้าง

โครงการก่อสร้าง

โครงการก่อสร้าง

สิทธิการเช่าสิ้นสุดปี 2571

สิทธิการเช่าสิ้นสุดปี 2566

สิทธิการเช่าสิ้นสุดปี 2567

สิทธิการเช่าสิ้นสุดปี 2558

4,350

634

1,215

373

48,140

17,156

57,538

15,226

100%

100%

99%

96%

291

80

249

129

โรงภาพยนตร์ เอสเอฟ เอ็กซ์

โรงภาพยนตร์ เอสเอฟ ซิตี้ พาวเวอร์ บาย ซูเปอร์สปอร์ต

โรงภาพยนตร์อีจีวี เอสบี เฟอร์นิเจอร์ บีทูเอส

โรงภาพยนตร์ เอสเอฟ ซิตี้ ซูเปอร์สปอร์ต

รูปแบบการพัฒนาโครงการ สิทธิในที่ดิน มูลค่าเงินลงทุนทั้ง โครงการ ณ สิ้นปี 2555 2) พื้นที่ให้เช่า (ตร.ม.) อัตราการเช่าพื้นที่ (%) จำ�นวนผู้เช่าพื้นที่ (ร้านค้า) ผู้เช่าพื้นที่รายใหญ่ 5 อันดับแรก 3)

หมายเหตุ: 1) 42% ของพืน้ ทีศ่ นู ย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ปิน่ เกล้า ได้ให้เช่าช่วงแก่ CPNRF ตัง้ แต่เดือนพฤศจิกายน 2552 สิน้ สุดเดือนธันวาคม 2567 81% ของพื้นที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พระราม 3 ได้ให้เช่าแก่ CPNRF ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2548 สิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2578 96% ของพื้นที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 ได้ให้เช่าช่วงแก่ CPNRF ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2548 สิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2568 ผลการดำ�เนินงานของเซ็นทรัลพลาซา ปิน่ เกล้า พระราม 3 และพระราม 2 รวมผลการดำ�เนินงานของสินทรัพย์ให้เช่า/เช่าช่วงแก่ CPNRF ซึ่ง CPN เป็นผู้บริหารโครงการ 2) รวมเงินลงทุนในอาคารสำ�นักงาน/อาคารที่พักอาศัย/โรงแรม ไม่รวมค่าเช่าที่ดินและอาคารที่ชำ�ระเป็นรายปี และไม่รวมเงินลงทุนใน สินทรัพย์ที่ได้ให้เช่า/เช่าช่วงแก่ CPNRF 3) ผู้เช่าพื้นที่รายใหญ่ หมายถึง ผู้เช่าพื้นที่ศูนย์การค้าเกิน 1,000 ตร.ม. ขึ้นไป


58 | 59

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

โครงการศูนย์การค้า

เซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต

เซ็นทรัลพลาซา พระราม 3 1)

เซ็นทรัลพลาซา บางนา

มีนาคม 2539 4)

ตุลาคม 2540

ธันวาคม 2544

โครงการซื้อกิจการ

โครงการก่อสร้าง

โครงการซื้อกิจการ

โครงการก่อสร้าง

เจ้าของกรรมสิทธิ์

เจ้าของกรรมสิทธิ์

เจ้าของกรรมสิทธิ์

สิทธิการเช่าสิ้นสุดปี 2568

3,218

1,289

4,356

1,013

75,891

55,245

58,112

94,882

อัตราการเช่าพื้นที่ (%)

99%

94%

89%

100%

จำ�นวนผู้เช่าพื้นที่ (ร้านค้า)

517

289

277

341

ห้างสรรพสินค้า โรบินสัน ท็อป มาร์เก็ต โรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ไอที ซิตี้

โรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ฟิตเนส เฟิร์ส ไอที ซิตี้

โรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ทอย อาร์ อัส ไอที ซิตี้

ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล โฮมเวิร์ค โรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์และโบว์ล ท๊อป ซูเปอร์ ออฟฟิศเมท

ปีที่เริ่มดำ�เนินการ รูปแบบการพัฒนาโครงการ สิทธิในที่ดิน มูลค่าเงินลงทุนทั้ง โครงการ ณ สิ้นปี 2555 2) พื้นที่ให้เช่า (ตร.ม.)

ผู้เช่าพื้นที่รายใหญ่ 5 อันดับแรก 3)

เซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 1) 4)

ธันวาคม 2545

หมายเหตุ: 1) 42% ของพืน้ ทีศ่ นู ย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ปิน่ เกล้า ได้ให้เช่าช่วงแก่ CPNRF ตัง้ แต่เดือนพฤศจิกายน 2552 สิน้ สุดเดือนธันวาคม 2567 81% ของพื้นที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พระราม 3 ได้ให้เช่าแก่ CPNRF ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2548 สิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2578 96% ของพื้นที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 ได้ให้เช่าช่วงแก่ CPNRF ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2548 สิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2568 ผลการดำ�เนินงานของเซ็นทรัลพลาซา ปิน่ เกล้า พระราม 3 และพระราม 2 รวมผลการดำ�เนินงานของสินทรัพย์ให้เช่า/เช่าช่วงแก่ CPNRF ซึ่ง CPN เป็นผู้บริหารโครงการ 2) รวมเงินลงทุนในอาคารสำ�นักงาน/อาคารที่พักอาศัย/โรงแรม ไม่รวมค่าเช่าที่ดินและอาคารที่ชำ�ระเป็นรายปี และไม่รวมเงินลงทุนใน สินทรัพย์ที่ได้ให้เช่า/เช่าช่วงแก่ CPNRF 3) ผู้เช่าพื้นที่รายใหญ่ หมายถึง ผู้เช่าพื้นที่ศูนย์การค้าเกิน 1,000 ตร.ม. ขึ้นไป 4) ปีที่เข้าซื้อกิจการ


เซ็นทรัลเวิลด์

เซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์

เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ

เซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช

เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี

ธันวาคม 2546 4)

พฤศจิกายน 2551

มกราคม 2552

เมษายน 2552 4)

โครงการซื้อกิจการ

โครงการซื้อกิจการ

โครงการก่อสร้าง

โครงการก่อสร้าง

โครงการซื้อกิจการ

สิทธิการเช่าสิ้นสุดปี 2575

เจ้าของกรรมสิทธิ์

เจ้าของกรรมสิทธิ์

เจ้าของกรรมสิทธิ์

เจ้าของกรรมสิทธิ์

12,614

2,299

5,252

6,385

4,854

187,054

77,238

64,857

57,161

68,806

96%

100%

93%

96%

99%

441

222

346

285

278

ห้างสรรพสินค้าเซน ห้างสรรพสินค้าอิเซตัน โรงภาพยนตร์ เอสเอฟ เวิลด์ เซ็นทรัล ฟูด ฮอลล์ เอสบี ดีไซน์ สแควร์ พาวเวอร์ บาย

ห้างสรรพสินค้า โรบินสัน โฮมเวิร์ค โรงภาพยนตร์ เอสเอฟ ซิตี้ และ สไตร์ค โบว์ล อินเด็กซ์ลิฟวิ่งมอลล์ ท๊อป มาร์เก็ต

โรงภาพยนตร์ เอสเอฟเอ็กซ์ ฟิตเนส เฟิร์ส

โรงภาพยนตร์เอสเอฟ เอ็กซ์และสไตร์ค โบว์ล ทอย อาร์ อัส

ห้างสรรพสินค้า โรบินสัน โรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์และโบว์ลิ่ง สปอร์ต เวิลด์

ธันวาคม 2545

4)


60 | 61

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

โครงการศูนย์การค้า

เซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี

เซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น

เซ็นทรัลพลาซา เชียงราย

เซ็นทรัลพลาซา พิษณุโลก

ปีที่เริ่มดำ�เนินการ

พฤษภาคม 2552

ธันวาคม 2552

มีนาคม 2554

ตุลาคม 2554

รูปแบบการพัฒนาโครงการ

โครงการก่อสร้าง

โครงการก่อสร้าง

โครงการก่อสร้าง

โครงการก่อสร้าง

สิทธิในที่ดิน

เจ้าของกรรมสิทธิ์

เจ้าของกรรมสิทธิ์

เจ้าของกรรมสิทธิ์

เจ้าของกรรมสิทธิ์

2,839

3,855

1,604

1,568

40,386

50,146

21,459

24,974

อัตราการเช่าพื้นที่ (%)

96%

95%

99%

99%

จำ�นวนผู้เช่าพื้นที่ (ร้านค้า)

273

338

115

152

โรงภาพยนตร์ เอสเอฟ ซิตี้ ท็อป มาร์เก็ต พาวเวอร์ บาย ฟิตเนส เฟิร์ส ซุปเปอร์สปอร์ต

โรงภาพยนตร์เอสเอฟ ซิตี้ และสไตร์ค โบว์ล ท็อป มาร์เก็ต พาวเวอร์ บาย

โรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ท็อปส์ มาร์เก็ต พาวเวอร์บาย บีทูเอส ซูเปอร์สปอร์ต

โรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ท็อปส์ มาร์เก็ต พาวเวอร์บาย บีทูเอส ซูเปอร์สปอร์ต

มูลค่าเงินลงทุนทั้ง โครงการ ณ สิ้นปี 2555 2) พื้นที่ให้เช่า (ตร.ม.)

ผู้เช่าพื้นที่รายใหญ่ 5 อันดับแรก 3)

หมายเหตุ: 2) รวมเงินลงทุนในอาคารสำ�นักงาน/อาคารที่พักอาศัย/โรงแรม ไม่รวมค่าเช่าที่ดินและอาคารที่ชำ�ระเป็นรายปี และไม่รวมเงินลงทุนใน สินทรัพย์ที่ได้ให้เช่า/เช่าช่วงแก่ CPNRF 3) ผู้เช่าพื้นที่รายใหญ่ หมายถึง ผู้เช่าพื้นที่ศูนย์การค้าเกิน 1,000 ตร.ม. ขึ้นไป


เซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9

เซ็นทรัลพลาซา สุราษฎร์ธานี

เซ็นทรัลพลาซา ลำ�ปาง

ธันวาคม 2554

ตุลาคม 2555

พฤศจิกายน 2555

โครงการก่อสร้าง

โครงการก่อสร้าง

โครงการก่อสร้าง

สิทธิการเช่าสิ้นสุดปี 2583

เจ้าของกรรมสิทธิ์

สิทธิการเช่าสิ้นสุดปี 2584

5,279

2,129

1,069

59,505

30,104

21,612

99%

96%

99%

227

134

93

โรงภาพยนตร์ เอสเอฟเอ็กซ์ ซีนีม่า ท็อปส์ มาร์เก็ต พาวเวอร์บาย บีทูเอส ซูเปอร์สปอร์ต

โรงภาพยนตร์ เอสเอฟ ซิตี้ ท็อป มาร์เก็ต พาวเวอร์ บาย ออฟฟิศเมท บีทูเอส

โรงภาพยนตร์ เอสเอฟ ซิตี้ ท็อป มาร์เก็ต พาวเวอร์ บาย ซูเปอร์สปอร์ต บีทูเอส


62 | 63

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

โครงการอาคาร สำ�นักงาน

อาคารสำ�นักงาน ลาดพร้าว

อาคารสำ�นักงาน ปิ่นเกล้า ทาวเวอร์ เอ 1)

ปีที่เริ่มดำ�เนินการ

ธันวาคม 2525

มีนาคม 2538

โครงการก่อสร้าง

โครงการก่อสร้าง

สิทธิการเช่าสิ้นสุดปี 2571

สิทธิการเช่าสิ้นสุดปี 2567

16,250

22,426

อัตราการเช่าพื้นที่ (%)

97%

98%

จำ�นวนผู้เช่าพื้นที่ (ห้อง)

74

55

ลักษณะธุรกิจของผู้เช่า พื้นที่ส่วนใหญ่

โรงเรียนสอนภาษา กวดวิชา คอมพิวเตอร์ คลินิค สถาบันความ งามและสุขภาพ สำ�นักงานทั่วไป

โรงเรียนสอนภาษา กวดวิชา คอมพิวเตอร์ หน่วยงานราชการ สำ�นักงานทั่วไป

รูปแบบการพัฒนาโครงการ สิทธิในที่ดิน

พื้นที่ให้เช่า (ตร.ม.)

หมายเหตุ: 1) 100% ของพื้นที่อาคารสำ�นักงาน ปิ่นเกล้า ทาวเวอร์ เอ และทาวเวอร์ บี ให้เช่าช่วงแก่ CPNRF ตัง้ แต่เดือนพฤศจิกายน 2552 สิ้นสุดเดือนธันวาคม 2567 2) ปีที่เข้าซื้อกิจการ 3) 97% ของพื้นที่อาคารสำ�นักงาน เซ็นทรัลเวิลด์ ให้เช่าช่วง แก่ CPNCG ตั้งแต่เดือนกันยายน 2555 สิ้นสุดเดือนกันยายน 2575


อาคารสำ�นักงาน บางนา

อาคารสำ�นักงาน เซ็นทรัลเวิลด์ 3)

อาคารสำ�นักงาน ปิ่นเกล้า ทาวเวอร์ บี 1)

อาคารสำ�นักงาน แจ้งวัฒนะ

อาคารสำ�นักงาน แกรนด์ พระราม 9

ธันวาคม 2544

2)

พฤศจิกายน 2547

มีนาคม 2549

มีนาคม 2552

ธันวาคม 2554

โครงการซื้อกิจการ

โครงการซื้อกิจการ

โครงการก่อสร้าง

โครงการก่อสร้าง

โครงการก่อสร้าง

เจ้าของกรรมสิทธิ์

สิทธิการเช่าสิ้นสุดปี 2575

สิทธิการเช่าสิ้นสุดปี 2567

เจ้าของกรรมสิทธิ์

สิทธิการเช่าสิ้นสุดปี 2583

10,007

82,796

11,334

19,867

6,454

98%

98%

98%

85%

95%

30

104

45

45

32

โรงเรียนสอนภาษา กวดวิชา คอมพิวเตอร์ คลินิค สถาบันความ งามและสุขภาพ สำ�นักงานทั่วไป

บริษัทข้ามชาติ ธนาคารและสถาบัน การเงิน ที่ปรึกษาทาง ธุรกิจและกฎหมาย ธุรกิจสื่อสารและบริการ

โรงเรียนสอนภาษา กวดวิชา คอมพิวเตอร์ คลินิค สถาบันความ งามและสุขภาพ สำ�นักงานทั่วไป

โรงเรียนสอนภาษา กวดวิชา คอมพิวเตอร์ คลินิค สถาบันความ งามและสุขภาพ ธุรกิจสื่อสารและบริการ สำ�นักงานทั่วไป

โรงเรียนสอนภาษา กวดวิชา คอมพิวเตอร์ คลินิค สถาบันความ งามและสุขภาพ สำ�นักงานทั่วไป


64 | 65

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

โครงการโรงแรม

โรงแรมเซ็นทารา อุดรธานี 1)

โรงแรมฮิลตัน พัทยา 2)

ปีที่เริ่มดำ�เนินการ

เมษายน 2552 3)

พฤศจิกายน 2553

จำ�นวนห้องพักที่เปิดให้ บริการ

259

302

อัตราการเช่าพื้นที่ (%)

70%

80%

หมายเหตุ: 1) CPN เป็นเจ้าของโครงการและให้บริษทั โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำ�กัด (มหาชน) เป็นผู้บริหารโรงแรม 2) CPN เป็นเจ้าของโครงการและให้บริษทั ฮิลตัน โฮเทล คอร์ปอเรชัน จำ�กัด เป็นผู้บริหารโรงแรม 3) ปีที่เข้าซื้อกิจการ

โครงการที่พักอาศัย

หลังสวนโคโลเนต

เซ็นทรัล ซิตี้ เรสซิเดนซ์ 1)

ปีที่เริ่มดำ�เนินการ

ธันวาคม 2541

ธันวาคม 2544 2)

พื้นที่ให้เช่า (ตร.ม.)

4,466

1,907

63%

50%

อัตราการเช่าพื้นที่ (%)

หมายเหตุ: 1) CPN เป็นเจ้าของห้องชุดจำ�นวน 12 ยูนิตของโครงการที่พัก อาศัย 2) ปีที่เข้าซื้อกิจการ


ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์


66 | 67

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

โครงการในอนาคต

โครงการเซ็นทรัลพลาซา อุบลราชธานี

ที่ตั้ง : ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 231 ตำ�บล แจระแม อำ�เภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ขนาดโครงการ : ที่ดินรวมประมาณ 76 ไร่ (CPN เป็น เจ้ า ของกรรมสิ ท ธิ์ ที่ ดิ น ) โดยมี พื้ น ที่ โครงการรวมทั้งสิ้น 140,000 ตารางเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ของ CPN จำ�นวน 118,000 ตารางเมตร โครงการนี้ประกอบด้วยห้าง สรรพสินค้าโรบินสันและผู้เช่าหลัก อาทิ ท็อปส์ มาร์เก็ต พาวเวอร์บาย บีทูเอส ซูเปอร์สปอร์ต เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี โรงภาพยนตร์ และสวนสนุก ฟันแพลน เน็ต ผู้เช่ารายย่อยประเภท ร้านค้าแฟชั่น ธนาคาร ศูนย์รับบริการต่างๆ ร้านอาหาร และเครื่องดื่ม รวมกว่า 250 ร้านค้า โดย

โครงการมีพื้นที่จอดรถรองรับกว่า 1,500 คัน ศักยภาพของโครงการ : โครงการตั้งอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่ง ถื อ เป็ น จั ง หวั ด เศรษฐกิ จ สำ � คั ญ ของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยตั้งอยู่บนถนน เลี่ยงเมืองซึ่งเชื่อมต่อระหว่างตัวเมืองกับ สนามบิน โครงการยังรายล้อมด้วยสถาน ที่สำ�คัญ มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษา วิทยาลัย โรงพยาบาล ธนาคาร ทั้งนี้ จังหวัดอุบลราชธานีเป็น ประตูการค้าการท่องเที่ยวสู่อินโดจีน ทั้ง ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม นอกจาก นี้ ในอนาคตกรมการขนส่งทางบกจะขยาย เส้นทางการเดินรถสายระหว่างประเทศ คือ สายอุบลราชธานี-จำ�ปาสัก คอนพะเพง และเสียมราฐ จึงนับเป็นเมืองเศรษฐกิจที่


ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวสท์เกต

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่

สำ�คัญอีกจังหวัดหนึ่งของประเทศ เหมาะ แก่การลงทุนและพัฒนาให้เติบโตขึ้นได้อีก มากในอนาคต ความคืบหน้าของโครงการ : อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งมีความคืบหน้า ตามแผนงานและงบประมาณที่วางไว้

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่

กำ�หนดการเปิดให้บริการ : โครงการจะแล้วเสร็จและเปิดดำ�เนินการได้ ในเดือนเมษายน 2556 เงินลงทุน : ประมาณ 1,800 ล้ า นบาท (ไม่ ร วม เงินลงทุนในการก่อสร้างห้างสรรพสินค้า โรบินสัน ซึ่งห้างสรรพสินค้าโรบินสันเป็น ผู้รับผิดชอบดำ�เนินการก่อสร้าง)

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา อุบลราชธานี


68 | 69

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

โครงการเซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ ที่ตั้ง : ถนนซูเปอร์ไฮเวย์ บริเวณทางแยก บนถนน เชียงใหม่-ดอยสะเก็ด มีด้านหน้าติดถนน 2 ด้าน คือ ถนนซูเปอร์ไฮเวย์ และถนน เชียงใหม่-ดอยสะเก็ด ขนาดโครงการ : ที่ดินรวมประมาณ 68 ไร่ (CPN เป็น เจ้าของกรรมสิทธิท์ ดี่ นิ ) โดยมีพนื้ ทีโ่ ครงการ รวมทัง้ สิน้ 250,000 ตารางเมตร โครงการนี้ ประกอบด้วยห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล และ ผู้ เ ช่ า หลั ก อาทิ เซ็ น ทรั ล ฟู้ ด ฮอลล์ พาวเวอร์ บ าย บี ทู เ อส ซู เ ปอร์ ส ปอร์ ต เป็ น ต้ น นอกจากนี้ ยั ง มี โ รงภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์ 3 มิติ และสวนสนุก ฟัน แพลนเน็ต ผู้เช่ารายย่อยประเภท ร้านค้า แฟชั่น ธนาคาร ศูนย์รับบริการต่างๆ ร้าน อาหารและเครือ่ งดืม่ รวมกว่า 250 ร้านค้า โดยโครงการมี พื้ น ที่ จ อดรถรองรั บ กว่ า 1,500 คัน ศักยภาพของโครงการ : โครงการตั้ ง อยู่ จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ ซึ่ ง เป็ น เมื อ งหลวงแห่ ง ภาคเหนื อ และถื อ เป็ น เมืองที่มีศักยภาพในการพัฒนาและเติบโต อย่างรวดเร็วทางเศรษฐกิจ การลงทุน การ ท่ อ งเที่ ย วที่ ใ หญ่ ที่ สุ ด ในภาคเหนื อ รอง จากกรุงเทพมหานคร โดยตั้งอยู่บนถนน ซูเปอร์ไฮเวย์เชื่อมต่อระหว่างตัวเมืองกับ สนามบิน โครงการยังรายล้อมด้วยสถานที่ สำ�คัญ มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษา วิทยาลัย โรงพยาบาล ธนาคาร นอกจากนี้ จังหวัดเชียงใหม่ยงั เป็น

แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วทางวั ฒ นธรรมและ ธรรมชาติที่สวยงาม ซึ่งมีนักท่องเที่ยวทั้ง ชาวไทยและต่ า งชาติ นิ ย มเดิ น ทางมา ท่ อ งเที่ ย วเป็ น จำ � นวนมาก ที่ ช่ ว ยเสริ ม ศั ก ยภาพการเติ บโตในด้ า นกำ � ลั ง ซื้ อ เป็ น อย่างมาก ความคืบหน้าของโครงการ : อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งมีความคืบหน้า ตามแผนงานและงบประมาณที่วางไว้ กำ�หนดการเปิดให้บริการ : คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จและเปิดดำ�เนิน การได้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2556 เงินลงทุน : ประมาณ 4,500 ล้านบาท (ไม่รวมเงินลงทุน ในการก่อสร้างห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ซึ่ง บริษัทห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล จำ�กัด เป็น ผู้รับผิดชอบดำ�เนินการก่อสร้าง) โครงการเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ ที่ตั้ง : ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ถนน กาญจนวนิชย์ ตำ�บลคอหงษ์ อำ�เภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาด้านหน้าติดทางหลวงแผ่นดิน ด้านข้างเชือ่ มสูถ่ นนโชติวทิ ยะกุล 1 ซึง่ เป็น ทางเข้าออกสู่ใจกลางเมืองได้อย่างสะดวก ขนาดโครงการ : ทีด่ นิ รวมประมาณ 50 ไร่ (CPN เป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์ที่ดิน) โดยมีพื้นที่โครงการรวม ทั้งสิ้น 250,000 ตารางเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ ของ CPN จำ�นวน 210,000 ตารางเมตร โครงการนี้ ป ระกอบด้ ว ยห้ า งสรรพสิ น ค้ า

เซ็นทรัล และผูเ้ ช่าหลัก อาทิ ท็อปส์ มาร์เก็ต, พาวเวอร์บาย, บีทูเอส, ซูเปอร์สปอร์ต ออฟฟิ ศ เมท เป็ น ต้ น นอกจากนี้ ยั ง มี โรงภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์ 3 มิติ และ สวนสนุก ฟันแพลนเน็ต ลานสเก็ตน้ำ�แข็ง และห้องประชุมเอนกประสงค์ขนาดใหญ่ ผู้ เ ช่ า รายย่ อ ยประเภท ร้ า นค้ า แฟชั่ น ธนาคาร ศูนย์รับบริการต่างๆ ร้านอาหาร และเครื่องดื่ม รวมกว่า 250 ร้านค้า โดย โครงการมีพนื้ ทีจ่ อดรถรองรับกว่า 2,100 คัน ศักยภาพของโครงการ : โครงการตั้งอยู่บนทำ�เลที่มีศักยภาพ ใจ กลางเมืองหาดใหญ่ ซึ่งจังหวัดหาดใหญ่ ถื อ เป็ น เมื อ งหลวงขนาดใหญ่ แ ละเป็ น ศูนย์กลางด้านการค้าและธุรกิจของภาคใต้ โดยตั้ ง อยู่ บ นถนนที่ เ ชื่ อ มต่ อ ระหว่ า งตั ว เมื อ งกั บ สนามบิ น ซึ่ ง เป็ น ท่ า อากาศยาน นานาชาติขนาดใหญ่ที่มีเที่ยวบินมากเป็น ลำ�ดับที่ 5 ของประเทศ และเป็นประตูน�ำ ไปสู่ประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ซึ่งเป็น กลุ่ ม นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ มี กำ � ลั ง ซื้ อ มหาศาล นอกจากนี้ ยังรายล้อมด้วยสถานที่สำ�คัญ ต่ า ง ๆ ม ห า วิ ท ย า ลั ย แ ล ะ วิ ท ย า ลั ย โรงพยาบาล ธนาคาร ซึ่ ง ถื อ เป็ น เมื อ ง เศรษฐกิ จ และการท่ อ งเที่ ย วที่ สำ � คั ญ อี ก จังหวัดหนึ่งของประเทศ ที่มีนักท่องเที่ยว ทั้ ง ชาวไทยและต่ า งชาติ เ ดิ น ทางมา ท่องเที่ยวเป็นจำ�นวนมาก อีกทั้งโครงการ ยังตั้งอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ในการพัฒนา เขตเศรษฐกิ จ สามฝ่ า ย อิ น โดนี เ ซี ย มาเลเซีย-ไทย ซึ่งช่วยเสริมศักยภาพการ เติบโตในด้านกำ�ลังซื้อเป็นอย่างมากและ พัฒนาให้เติบโตขึ้นได้อีกมากในอนาคต


ความคืบหน้าของโครงการ : อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งมีความคืบหน้า ตามแผนงานและงบประมาณที่วางไว้ กำ�หนดการเปิดให้บริการ : คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จและเปิดดำ�เนิน การได้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2556 เงินลงทุน : ประมาณ 5,200 ล้านบาท (ไม่รวมเงินลงทุน ในการก่อสร้างห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ซึ่ง บริษัทห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล จำ�กัด เป็น ผู้รับผิดชอบดำ�เนินการก่อสร้าง) โครงการเซ็นทรัลเวสท์เกต ที่ตั้ง : บริเวณแยกบางใหญ่ ตำ�บลเสาธงหิน อำ�เภอ บางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี มีดา้ นหน้าติดถนน 2 ด้าน คือถนนรัตนาธิเบศร์ และถนน กาญจนาภิ เ ษกซึ่ ง เป็ น ถนนวงแหวนฝั่ ง ตะวันตก ขนาดโครงการ : ที่ดินรวมประมาณ 98 ไร่ (CPN เป็น เจ้ า ของสิ ท ธิ ก ารเช่ า ที่ ดิ น ) โดยมี พื้ น ที่ โครงการรวมทั้งสิ้น 330,000 ตารางเมตร โครงการมีลักษณะเป็นศูนย์การค้ารูปแบบ Super Regional Mall เป็นไลฟ์สไตล์ คอมเพล็กซ์ และเป็นเอ็นเตอร์เทนเมนท์ คอมเพล็กซ์ที่ทันสมัยที่สุด ประกอบด้วย ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล และผูเ้ ช่าหลัก อาทิ ท็อปส์ มาร์เก็ต พาวเวอร์บาย บีทูเอส ซูเปอร์สปอร์ต โฮมเวิรค์ เป็นต้น นอกจากนี้ จะเป็ น ศู น ย์ ร วมร้ า นค้ า แบรนด์ ชั้ น นำ �

กว่า 1,000 ร้านค้า และเป็นแหล่งรวมร้าน อาหารคอนเซ็ปต์ใหม่ที่ตอบสนองทุกไลฟ์ สไตล์ โดยโครงการมีพื้นที่จอดรถรองรับ กว่า 2,000 คัน ศักยภาพของโครงการ : โครงการเป็ น ศู น ย์ ก ารค้ า ขนาดใหญ่ แ ละ ตั้ ง อยู่ บ นทำ � เลที่ มี ศั ก ยภาพสู ง มี ร ะบบ คมนาคมที่สมบูรณ์ของภาครัฐที่เชื่อมต่อ ทุกเส้นทางไว้ดว้ ยกัน ทัง้ วงแหวนสายตะวัน ตก ซึง่ จุดตัดถนนกาญจนาภิเษก ขนาด 12 เลน และถนนรัตนาธิเบศร์ ขนาด 10 เลน ทีร่ องรับรถยนต์ได้ถงึ 85 ล้านคันต่อปี มีแนว โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่บางซือ่ ) ตัดผ่านบริเวณโครงการ มีทางเดิน ลอยฟ้า หรือสกายวอล์กเชือ่ มตรงจากสถานี ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายกว่า 13 ล้านคน รวมถึงเส้นทางในอนาคต ทางหลวงพิเศษ หมายเลข 81 สายบางใหญ่–กาญจนบุรี ที่ เชื่อมต่อท่าเรือทวายและทะเลอันดามัน เพื่ อ รองรั บ การเปิ ด ประชาคมเศรษฐกิ จ อาเซียน AEC ในปี 2558 และรับกำ�ลัง ซือ้ และอัตราของการเติบโตด้านต่างๆ หลัง จากเปิด AEC อีกทัง้ ในอนาคตยังมีโครงการ ทางด่วนขัน้ ที่ 3 เชือ่ มวงแหวนตะวันตกและ มอเตอร์เวย์ ชลบุรี และจะเป็นศูนย์กลาง แหล่งที่อยู่อาศัยในอนาคต ความคืบหน้าของโครงการ : อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งมีความคืบหน้า ตามแผนงานและงบประมาณที่วางไว้ กำ�หนดการเปิดให้บริการ : คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จและเปิดดำ�เนิน การได้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2558

เงินลงทุน : ประมาณ 6,500 ล้านบาท (ไม่รวมเงินลงทุน ในการก่อสร้างห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ซึ่ง บริษัทห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล จำ�กัด เป็น ผู้รับผิดชอบดำ�เนินการก่อสร้าง) โครงการในต่างประเทศ ในระยะเวลา 5 ปีทผี่ า่ นมา CPN ได้พจิ ารณา และศึกษาถึงโอกาสในการขยายการลงทุน ไปยังต่างประเทศ โดยมุ่งความสนใจไปยัง ประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีศักยภาพและ มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง ด้วยเล็ง เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจและเพื่อเป็นการ กระจายความเสีย่ งในการลงทุน อย่างไรก็ดี CPN ได้ตระหนักถึงความแตกต่างของภาวะ ตลาด สภาวะการแข่งขัน และความเสี่ยง ของการทำ�ธุรกิจในต่างประเทศ จึงจัดตั้ง คณะทำ�งานพิเศษเพือ่ ศึกษาในรายละเอียด ของสภาพเศรษฐกิ จ สั ง คม การเมื อ ง อุตสาหกรรมและการแข่งขัน กฎหมายการ ประกอบธุรกิจ และความเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจ เกิดขึน้ ในแต่ละประเทศที่ CPN ได้ให้ความ สนใจ เพื่อให้การลงทุนในต่างประเทศเป็น ไปอย่างระมัดระวังและตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของหลั ก การการเติ บโตอย่ า งมั่ น คงและ ยั่งยืน


ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์

วิสัยทัศน์ ผู้พัฒนาศูนย์การค้าในระดับภูมิภาคที่ได้ รับการชื่นชมสูงสุดจากทุกคน และไม่หยุด นิ่ง ในการสร้างประสบการณ์แห่งความสุข ในระดับโลก


วิสัยทัศน์และพันธกิจ พันธกิจ

เป็นผู้พัฒนาศูนย์การค้าที่ทุกคนชื่นชม (Most Admired Retail Developer of All Stakeholders) “เป็นผู้พัฒนาศูนย์การค้าที่ทุกคนชื่นชม โดยสร้างคุณค่าที่โดดเด่นแตกต่างและ เหนือความคาดหมายของทุกคน”

>> เป็นศูนย์การค้าที่นักลงทุนเลือก โดยมอบผลตอบแทนที่ดีและยั่งยืน ให้กับ ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และพันธมิตร

>> เป็นศูนย์การค้าทีล่ กู ค้าเลือก โดยสร้างประสบการณ์แห่งความสุขให้กบั ลูกค้า

>> เป็นศูนย์การค้าที่ผู้เช่า คู่ค้าเลือก โดยสร้างความสำ�เร็จทางธุรกิจควบคู่กับ การสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาว >> เป็นศูนย์การค้าทีพ ่ นักงานเลือก โดยให้โอกาสทีส่ ดใสในหน้าทีก่ ารงาน และ สร้างสังคมการทำ�งานที่มีความรักความผูกพันกัน >> เป็นศูนย์การค้าที่สังคมและชุมชนเลือก โดยพัฒนาศูนย์การค้าที่มีความ โดดเด่นเป็นที่ภูมิใจของชุมชน ควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม สังคม และ ชุมชน

เป็นผู้พัฒนาศูนย์การค้าที่ ไม่หยุดนิ่ง (Dynamic Retail Developer) “เป็นผูพ้ ฒ ั นาศูนย์การค้าทีไ่ ม่หยุดนิง่ ในการพัฒนาศูนย์การค้ารูปแบบใหม่ มีรา้ น ค้าใหม่ที่หลากหลายและทันสมัย ตอบสนองวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย”

CPN ตระหนักดีว่า ความไม่หยุดนิ่งของลูกค้าคือความท้าทายที่สำ�คัญ ลูกค้ามี ความคาดหวังทีส่ งู ขึน้ มีความต้องการทีซ่ บั ซ้อนมากขึน้ เข้าถึงสารสนเทศได้งา่ ย ขึ้น ความไม่หยุดนิ่งของ CPN จะเป็นสิ่งที่ผลักดันให้ศูนย์การค้าภายใต้การ บริหารของ CPN มีความทันสมัยที่สุด และสามารถตอบสนองวิถีชีวิตที่ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของลูกค้าได้ดี โดยการพัฒนาศูนย์การค้ารูปแบบ ใหม่ การสรรหาร้านค้าใหม่ทม่ี คี วามทันสมัยและตรงกับความต้องการของลูกค้าเข้า มาอยูใ่ นศูนย์การค้าอย่างต่อเนือ่ ง การนำ�เทคโนโลยีทที่ นั สมัยมาใช้ในการอำ�นวย ความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ การสร้างกิจกรรมที่มีความโดดเด่น แตกต่าง และ สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับลูกค้า ตลอดจนการผสานพลังกับบริษัทในเครือ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าควบคู่ไปกับการสร้างความประทับใจสูง สุดกับผู้ใช้บริการ


72 | 73

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

เป็นผู้พัฒนาศูนย์การค้าระดับภูมิภาค (Regional Retail Developer) “เป็นผู้พัฒนาศูนย์การค้าที่มีศักยภาพในการเป็นผู้นำ�ในระดับภูมิภาคและเป็น ที่จับตามองในตลาด”

CPN มุ่งมั่นที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน การเติบโตเป็นองค์กรระดับ ภูมิภาคคือก้าวต่อไปของ CPN ดังนั้น CPN จึงมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้พัฒนา ศูนย์การค้าทีเ่ ป็นทีร่ จู้ กั และมีโครงการทีป่ ระสบความสำ�เร็จอย่างรวดเร็วในภูมภิ าค นี้ CPN ได้ระบุตลาดทีจ่ ะขยายธุรกิจไปอย่างชัดเจน บนพืน้ ฐานความรอบคอบ มีกลยุทธ์ มีแผนธุรกิจ และแผนการสร้างพันธมิตรทีส่ ามารถตอบสนองกับโอกาส ทางธุรกิจได้อย่างทันท่วงที ในขณะที่องค์กรและทีมงานมีการพัฒนาอย่างต่อ เนือ่ งเพือ่ ให้มศี กั ยภาพ และความพร้อมทีจ่ ะสามารถดำ�เนินธุรกิจในต่างประเทศ ได้ตามเป้าหมาย

เป็นผู้สร้างประสบการณ์ความสุขที่เหนือกว่า (World-Class Rewarding Experience) “เป็นศูนย์การค้าที่ลูกค้าเลือกจะมา เพื่อสัมผัสประสบการณ์ความสุขในการ Shopping ที่เหนือกว่าคู่แข่ง ในทุกตลาดที่เปิดดำ�เนินการ”

CPN ตระหนักอยู่เสมอว่า CPN ไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้พัฒนาศูนย์การค้า เท่านั้น แต่ยังเป็นผู้สร้างประสบการณ์แห่งความสุขให้กับทุกคน ดังนั้น ทุก องค์ประกอบในศูนย์การค้า CPN จะคำ�นึงถึงผู้ใช้บริการเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการ คัดสรรร้านค้าให้มีความหลากหลายและแปลกใหม่ การจัดกิจกรรมที่น่าสนใจ การจัดสิ่งอำ�นวยความสะดวกให้มีความครบครัน CPN เชื่อว่ามาตรฐานที่สูง และเป็นสากลจะเป็นสิง่ ทีท่ �ำ ให้องค์กรเป็นผูน้ �ำ ในตลาดได้ ความเป็นระดับสากล/ ระดับโลก (World–Class) จึงเป็นสิง่ ที่ CPN มุง่ มัน่ มาตลอดและเชือ่ มัน่ ว่าการ สร้างประสบการณ์แห่งความสุขในระดับสากลจะเป็นสิ่งที่ทำ�ให้ CPN ก้าวขึ้น เป็นหนึ่งในผู้นำ�ด้านการพัฒนาศูนย์การค้าระดับภูมิภาคได้ในอนาคต


กลยุทธ์ ในการดำ�เนินธุรกิจ CPN มุ่งเน้นการสร้างการเติบโตอย่างต่อ เนื่องและยั่งยืน โดยการสร้างการเติบโต ทางการเงิน (Financial Growth) ควบคู่ ไปกับการสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กร ในทุกมิติ เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรสามารถ ตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม อย่างเหมาะสมและสุดความสามารถเพื่อ จะก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างมั่นคง และยั่ ง ยื น ร่ ว มกั น และเพื่ อ ให้ อ งค์ ก ร สามารถบรรลุวสิ ยั ทัศน์และพันธกิจได้อย่าง แท้จริง โดยกลยุทธ์หลักของบริษัทมีอยู่ 4 ด้าน ดังนี้

กลยุทธ์การพัฒนาศูนย์การค้าในประเทศ (Mall Development Strategy)

CPN มุง่ เน้นการขยายสาขาทัง้ ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดอย่างต่อเนือ่ ง จากทัง้ การปรับปรุงศูนย์การค้าทีม่ อี ยูใ่ นปัจจุบนั และการมองหาโอกาสใหม่ๆ ในพืน้ ทีท่ มี่ ี ศักยภาพ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและเตรียมพร้อมกับโอกาสและความท้าทาย จากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 การพัฒนาและปรับปรุง ศูนย์การค้านั้น จะมุ่งเน้นการพัฒนาและการบริหารโครงการให้ได้ผลตอบแทน ที่ดี มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ โดย

>> การพัฒนาศูนย์การค้าทีม่ ศี กั ยภาพผ่านการศึกษาวิจยั ตลาด เพือ่ เลือกตลาด ทีม่ ศี กั ยภาพ การเลือกทำ�เลทีต่ งั้ ทีด่ กี �ำ หนดรูปแบบของศูนย์ (Mall Format) ทีเ่ หมาะสมกับตลาด และสัดส่วนร้านค้า (Merchandising Mix) ทีเ่ หมาะสม ตอบสนองลูกค้าและเหนือกว่าคู่แข่ง >> การพัฒนากระบวนการพัฒนาศูนย์การค้าให้มีประสิทธิภาพ เป็นระบบ ตั้งแต่การศึกษาโครงการ สรรหาที่ดิน ออกแบบ ก่อสร้าง การติดต่อร้านค้า การตลาด จนกระทั่งเปิดศูนย์การค้าได้ตามเวลาที่กำ�หนด และได้คุณภาพ ตามที่ต้องการ เพื่อให้สามารถพัฒนาโครงการใหม่ได้หลายโครงการในเวลา เดียวกันและควบคุมโครงการให้เป็นไปตามกำ�หนดเวลาและงบประมาณทีว่ างไว้ >> การปรับปรุงการพัฒนาศูนย์การค้าให้มีความเป็นมาตรฐานในเรื่องการ ออกแบบ การก่อสร้าง เพือ่ ลดระยะเวลาการก่อสร้าง ลดต้นทุนการก่อสร้าง ภายใต้คุณภาพที่ก�ำ หนด ตลอดจนลดค่าใช้จ่ายในการดำ�เนินงาน

กลยุทธ์การบริหารศูนย์การค้า (Mall Management Strategy)

มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากศูนย์การค้าที่มีอยู่โดยการเสริมความแข็งแกร่งทั้ง มิตดิ า้ นร้านค้า การตลาด และการบริหารศูนย์ฯ เพือ่ ผลักดันให้การค้าขายในศูนย์ฯ มีการเติบโตและค่าเช่าพื้นที่สามารถเติบโตควบคู่กันไปได้ ตลอดจนการควบคุม เรื่องค่าใช้จ่ายในการดำ�เนินงาน การบริหารศูนย์การค้าเน้นการบริหารจัดการ 3 ด้าน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของร้านค้าและลูกค้าอย่างแท้จริง

>> ความครบถ้วนและหลากหลายของร้านค้า (Merchandising Mix) โดยการ วิเคราะห์ขอ้ มูลตลาดและข้อมูลลูกค้าอย่างสม่�ำ เสมอ เพือ่ ปรับร้านค้าภายใน ศูนย์การค้าใหม่อย่างเหมาะสม ควบคูไ่ ปกับการสรรหาร้านค้าใหม่ๆ จากทัง้ ใน ประเทศและต่างประเทศเพือ่ ยกระดับให้ศนู ย์การค้ามีความทันสมัยและสร้าง ประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับลูกค้าตลอดเวลา


74 | 75

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

>> การทำ�การตลาด (Marketing Strategy) ที่มุ่งเน้นดึงดูดลูกค้าเป้าหมายให้ เข้ามาใช้บริการ ผลักดันยอดขายให้กับร้านค้า และสร้างสรรค์ประสบการณ์ ที่ดีกับลูกค้าโดยจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายที่สร้างคุณค่าที่เหนือกว่า โดย อาศัยข้อมูลจากการวิจัยตลาด และทำ�งานร่วมกับห้างสรรพสินค้า บริษัทใน เครือเซ็นทรัล และพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งดำ�เนินควบคู่ไปกับการจัดกิจกรรม ที่มีความโดดเด่น แปลกใหม่ สร้างสรรค์ (Signature Event) ซึ่งทั้งหมดนี้ จะมีการสื่อสารถึงลูกค้าผ่านช่องทางต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ >> การบริการและการบริหารสิ่งอำ�นวยความสะดวกภายในศูนย์การค้าให้มี คุณภาพมาตรฐาน (Quality and Services Excellence) อาทิ ห้องน้ำ� ลานจอดรถ เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ โดยมุง่ เน้นพัฒนาบุคลากร และ ยกระดับคุณภาพการให้บริการสู่มาตรฐานสากล ตลอดจนการนำ�เทคโนโลยี ใหม่ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า และลดต้นทุนในการดำ�เนิน ธุรกิจ

กลยุทธ์การพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน

มุ่งเน้นการสร้างรากฐานความยั่งยืนขององค์กรให้เข้มแข็ง ผ่านการพัฒนา กระบวนการบริหารภายในสู่ความเป็นสากล การพัฒนาบุคลากรให้เป็นคนเก่ง คนดีมีความผูกพันต่อองค์กร และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและ ชุมชนรอบข้างบนพื้นฐานของการปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาลที่ดี

>> การพัฒนากระบวนการบริหารภายในสูค่ วามเป็นเลิศ โดยนำ�ระบบเทคโนโลยี สารสนเทศและการบริหารคุณภาพ ที่มุ่งตอบสนองกับความต้องการทาง ธุรกิจที่ไม่หยุดนิ่ง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจะถูกพัฒนาให้มีความพร้อม สามารถรองรับการเติบโตขององค์กรในอนาคต โดยบริษัทฯ มีการพัฒนา กระบวนการทำ�งานและนำ�ระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) มาสนับสนุนการบริหารจัดการ ตลอดจนปรับปรุงการบริหารจัดการองค์กร ตามแนวทางรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) >> การพัฒนาทุนบุคลากรสู่ความเป็นมืออาชีพควบคู่กับการเป็นคนดี ให้มี ความพร้อมและเพียงพอกับการเติบโตขององค์กรในอนาคตผ่านกลยุทธ์การ บริหารคนเก่ง ตั้งแต่การสรรหา การพัฒนาทักษะความรู้ของบุคลากรควบคู่ ไปกับการเสริมสร้างความเป็นผูน้ �ำ โดยอาศัยเครือ่ งมือการพัฒนาแบบบูรณา การผ่านศูนย์การเรียนรู้ CPN หรือ CPN Academy การพัฒนาเส้นทางการ เติบโตทางอาชีพ การพัฒนาระบบประเมินผลพนักงาน ตลอดจนการสร้าง ความรักความผูกพันกับองค์กรให้เกิดกับพนักงาน ในส่วนของการพัฒนา องค์กรมุ่งส่งเสริมค่านิยม วัฒนธรรมองค์กร หลักบรรษัทภิบาล การพัฒนา ภาพลักษณ์องค์กรในการเป็นนายจ้างที่ดี (Employer Branding) และการ สื่อสารภายในองค์กรที่ดี


>> การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน (CSR Strategy) โดยเน้นที่ 3 ส่วนหลัก คือ CPN Green Experience CPN อาสา CPN เพาะกล้า ปัญญาไทย โดยมุ่งเน้นการอนุรักษ์พลังงาน การมีจิตสาธารณะสร้างสรรค์ โครงการเพือ่ ชุมชนโดยรอบ และการส่งเสริมการเรียนรูใ้ ห้กบั กลุม่ ทีด่ อ้ ยโอกาส และห่างไกล

กลยุทธ์พัฒนาโครงการต่างประเทศ (Regional Strategy)

ในส่วนของกลยุทธ์การพัฒนาโครงการในต่างประเทศ CPN ได้ทำ�การศึกษา โอกาสและวิเคราะห์เพือ่ การลงทุนในภูมภิ าคต่างๆ โดยเน้นทีภ่ มู ภิ าคเอเชียเป็น หลัก เพือ่ สร้างศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันให้ CPN ก้าวสูก่ ารเป็น ผู้พัฒนาศูนย์การค้าระดับภูมิภาค ดังวิสัยทัศน์ที่ได้ตั้งไว้ โดย CPN มุ่งเน้นการ คัดเลือกพันธมิตรในต่างประเทศที่มีจุดแข็งซึ่งสามารถสนับสนุนธุรกิจของ CPN ได้อย่างสูงสุดในประเทศนั้นๆ

ทั้งนี้ การพัฒนาโครงการในต่างประเทศ CPN ได้มองโอกาสในส่วนของการ ปรับปรุง ศูนย์การค้าที่มีอยู่แล้วและการพัฒ นาโครงการใหม่ๆ ในพื้นที่ที่มี ศักยภาพ โดยอาจมีการร่วมทุนกับพันธมิตรในต่างประเทศเพือ่ ให้สามารถบุกเบิก ตลาดใหม่ได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และสร้างเสริมความแข็งแกร่งในการ แข่งขันในประเทศนั้นๆ ได้อย่างดียิ่งขึ้น

การลงทุนในต่างประเทศได้ผ่านกระบวนการศึกษาประเทศเป้าหมายในหลาก หลายมิติ ทัง้ ในแง่ปจั จัยทางด้านเศรษฐกิจสังคม การเมือง กฏหมายและข้อบังคับ ตลอดจนตลาดค้าปลีกโดยรวม เพื่อคัดกรองตลาดที่มีทั้งศักยภาพ โอกาสทาง ธุรกิจ และความเหมาะสมต่อธุรกิจของ CPN นอกจากนี้ โครงการต่างๆ ที่อยู่ ในแผนได้ถกู นำ�มาประเมินความเป็นไปได้อย่างรอบคอบเพือ่ การตัดสินใจลงทุน อย่างมีประสิทธิผลสูงสุด

กลยุทธ์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานองค์กร (Organization Excellence Strategy)

บริษัทต้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลสูงสุดเพือ่ รองรับกับการเติบโตอย่างต่อเนือ่ งของ CPN ทัง้ ในและต่าง ประเทศ โดยทัง้ นีไ้ ด้มลี งทุนเพือ่ การพัฒนาระบบการจัดการทัง้ ในส่วนของระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐานและระบบการพัฒนาทรัพยากรบุคคล รวมไปถึง การปรับปรุงขั้นตอนและระบบการบริหารจัดการในกระบวนการหลักต่างๆ ของ บริษัท เพื่อให้มีความคล่องตัว รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น


76 | 77

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

ค่านิยมองค์กร จากเป้าหมายทางธุรกิจที่ท้าทาย และการพัฒนาปรับปรุงภายในองค์กรเพื่อรองรับวิสัยทัศน์ของบริษัทในระยะยาว CPN ยังคงมุ่งมั่น ปฏิบัติงานภายใต้ค่านิยม “สร้างสรรค์ด้วยความเชื่อมั่น สู่ความเป็นเลิศร่วมกัน” ที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาเพื่อผลักดันและสร้างสรรค์ ผลงานที่มีคุณภาพให้กับสังคมไทย

“ทุ่มเทเพื่อ สร้างสรรค์ ประสบการณ์แห่ง ความพึงพอใจ”

“ทุ่มเท เพื่อความเชื่อมั่น ศรัทธา”

“ทุ่มเท เพื่อความเป็นเลิศ”

“ทุ่มเท เพื่อความสำ�เร็จ ร่วมกัน ของพันธมิตร”

CPN มุ่งมั่นให้ทุกคนมีความ คิดริเริ่ม จุดประกายสร้างสรรค์ แนวคิด วิธีการ หรือนวัตกรรม ใหม่ๆ ในเชิงบวก เพื่อพัฒนา ปรับปรุงการทำ�งานและผลงาน ที่ ดี ขึ้ น ใ ห้ โ ด ด เ ด่ น แ ล ะ มี เอกลักษณ์ อาจเป็นความคิด ที่แปลก แตกต่าง แต่สามารถ นำ � มาพั ฒ นาและประยุ ก ต์ ใ ห้ เกิ ด ผลประโยชน์ และสร้ า ง ความประทับใจ

CPN ยึดมั่นในการสร้างความ ไว้วางใจและเป็นที่ยอมรับของ ผูอ้ นื่ โดยแสดงถึงการมีวฒ ุ ภิ าวะ ความน่าเชือ่ ถือ ความเทีย่ งตรง ความยุติธรรม การร่วมคิดร่วม ทำ�และความรับผิดชอบ รวมถึง กระทำ�การใดๆ โดยคิดถึงผล ประโยชน์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และองค์กรโดยรวม

CPN มุ่ ง เน้ นให้ บุ ค ลากรทุ ก ส่ วนทำ � งานให้ บ รรลุ ผลสำ � เร็ จ สามารถผลักดันให้เกิดผลงาน ตามเป้าหมายที่กำ�หนด โดยใส่ ใจและตระหนักถึงทุกประเด็นที่ เกีย่ วข้องกับคุณภาพงาน แสดง ถึงความเป็นมืออาชีพและรูจ้ ริง ในงานทีท่ �ำ ใส่ใจต่อการพัฒนา ตนเองอย่างสม่�ำ เสมอ เพือ่ เพิม่ คุณค่าและสนับสนุนให้องค์กร ประสบผลสำ � เร็ จ ตามทิ ศ ทาง และกลยุทธ์ที่มุ่งหวัง

CPN เน้นย้ำ�ให้บุคลากรสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น โดย ให้ ค วามร่ ว มมื อ ช่ ว ยเหลื อ สนั บ สนุ น ให้ ข้ อ มู ล และมี ส่ ว นร่ ว มในการทำ � งานกั บ ที ม หรือบุคคลต่างๆ ทัง้ ภายในและ ภายนอกหน่ ว ยงาน/องค์ ก ร ด้ ว ยความเต็ ม ใจ มี ค วาม สามารถในการบริ ห ารจั ด การ ความขัดแย้งและแก้ไขปัญหา ต่ า งๆ ได้ อ ย่ า งสร้ า งสรรค์ โดยเคารพและให้ เ กี ย รติ ผู้ อื่ น เสมอ เพื่อสร้างและดำ�รงรักษา สัมพันธภาพที่ดีกับทุกฝ่าย


ลักษณะการประกอบธุรกิจ CPN ก่อตัง้ ขึน้ เมือ่ วันที่ 17 มิถนุ ายน 2523 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและบริหาร ศูนย์การค้าขนาดใหญ่แบบครบวงจร เข้า จดทะเบี ย นในตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2538 ปั จ จุ บั น มี ทุ น ที่ อ อกและชำ � ระแล้ ว ทั้ ง สิ้ น 2,178,816,000 บาท โดยมีบริษทั เซ็นทรัล โฮลดิง้ จำ�กัด และบุคคลในตระกูลจิราธิวฒ ั น์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ธุรกิจหลักของ CPN ประกอบด้วยธุรกิจพัฒนาศูนย์การค้าขนาด ใหญ่ แ ละธุ ร กิ จให้ เ ช่ า และให้ บ ริ ก ารพื้ น ที่ ค้าปลีกภายในศูนย์การค้า ปัจจุบนั CPN มี โครงการศูนย์การค้าภายใต้การบริหารงาน รวมทั้ ง สิ้ น 20 โครงการ โดยแบ่ ง เป็ น โครงการทีเ่ ป็นของ CPN 17 โครงการ และ โครงการที่ CPN ให้เช่าช่วงแก่กองทุนรวม สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ CPN รีเทล โกรท (“CPNRF”) 3 โครงการ นอกจากนี้ ยังประกอบธุรกิจพัฒนา บริหารและให้เช่า พื้นที่อาคารสำ�นักงาน อาคารที่พักอาศัย และธุรกิจโรงแรม ซึ่งเป็นธุรกิจสนับสนุน เพือ่ เพิม่ ประโยชน์จากการใช้ทดี่ นิ การขยาย ฐานรายได้ และสนับสนุนธุรกิจศูนย์การค้า ให้มีผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น พร้อมกันนี้ยัง ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องและส่งเสริมกัน อาทิ การให้บริการสวนน้�ำ สวนพักผ่อน และ ศูนย์อาหาร ภายในศูนย์การค้าบางโครงการ เพื่ อ อำ � นวยความสะดวกแก่ ลู ก ค้ า ที่ เ ข้ า มาใช้บริการ โดยการเปิดให้บริการนั้นจะ พิจารณาจากความเหมาะสมของทำ�เลที่ตั้ง และความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เป็นสำ�คัญ การประกอบธุรกิจแยกตามกลุ่มธุรกิจ การแบ่งธุรกิจตามแหล่งที่มาของรายได้ สามารถแบ่งได้เป็น 6 กลุ่มธุรกิจ ดังนี้

ศูนย์การค้า ธุรกิจศูนย์การค้าเป็นธุรกิจหลักซึ่งเป็นที่มาของรายได้มากกว่า 79% ของ รายได้รวม รายได้จากธุรกิจศูนย์การค้านั้นประกอบไปด้วย รายได้ค่าเช่าพื้นที่ ค้าปลีก รายได้จากการให้บริการระบบสาธารณูปโภคและระบบรักษาความ ปลอดภัย และรายได้จากการให้บริการรักษาความสะอาดภายในศูนย์การค้า จำ�นวน 17 โครงการ นอกจากนี้ CPN ยังมีรายได้จากการเป็นผู้บริหาร อสังหาริมทรัพย์ให้กับ CPNRF จำ�นวน 3 โครงการ และรายได้ส่วนแบ่งกำ�ไร จากเงินลงทุนใน CPNRF จากข้อมูลประมาณการของบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 CPN มีส่วน แบ่งทางการตลาดในเขตกรุงเทพมหานครประมาณ 22% การพัฒนาโครงการศูนย์การค้าของ CPN จะเริม่ ตัง้ แต่การจัดหาทีด่ นิ ทีเ่ หมาะสม ในการพัฒนาโครงการศูนย์การค้าการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ การควบคุมการออกแบบและบริหารงานก่อสร้าง การบริหารงานขาย ตลอดจน เป็นผู้บริหารศูนย์การค้าหลังจากที่ศูนย์การค้าเปิดให้บริการแล้ว รวมถึงการให้ บริการระบบสาธารณูปโภค ระบบรักษาความปลอดภัย และการให้บริการด้าน การรักษาความสะอาดภายในศูนย์การค้า อาคารสำ�นักงาน ธุรกิจอาคารสำ�นักงาน เป็นการพัฒนาอาคารสำ�นักงานให้เช่าในบริเวณโครงการ ศูนย์การค้า เนือ่ งจากมีอปุ สงค์ทสี่ ง่ เสริมกันกับธุรกิจศูนย์การค้าและเป็นการเพิม่ มูลค่าให้กบั โครงการจากการใช้ประโยชน์ในทีด่ นิ ผืนเดียวกันได้อย่างคุม้ ค่า รวม ถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้และบริหารที่จอดรถ ในการตัดสินใจที่จะพัฒนา อาคารสำ�นักงานในบริเวณโครงการศูนย์การค้าใดนั้นจะพิจารณาจากความ เหมาะสมของทำ�เลทีต่ งั้ อุปสงค์และอุปทานของพืน้ ทีอ่ าคารสำ�นักงานในบริเวณ นั้นๆ เป็นสำ�คัญ ซึ่งรายได้จากธุรกิจอาคารสำ�นักงานนั้น ประกอบไปด้วย รายได้ค่าเช่าพื้นที่อาคารสำ�นักงาน รายได้ค่าเช่าพื้นที่แก่ร้านค้าปลีกภายใน อาคารสำ�นักงาน และรายได้จากการให้บริการระบบสาธารณูปโภค การพัฒนาอาคารสำ�นักงานของ CPN เริม่ จากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของ โครงการ การควบคุมออกแบบและบริหารงานก่อสร้าง การบริหารงานขายและ การเป็นผู้บริหารอาคารสำ�นักงานหลังจากที่อาคารสำ�นักงานเปิดให้บริการแล้ว รวมถึงการให้บริการระบบสาธารณูปโภค ระบบรักษาความปลอดภัย และการ ให้บริการด้านการรักษาความสะอาดภายในอาคารสำ�นักงาน


ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ


ปัจจุบนั CPN มีอาคารสำ�นักงานภายใต้การบริหารในบริเวณโครงการศูนย์การค้า รวมทั้งสิ้น 7 โครงการ ได้แก่ อาคารสำ�นักงาน ณ โครงการเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า เซ็นทรัลพลาซา บางนา เซ็นทรัลเวิลด์ (อาคารสำ�นักงาน ดิ ออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์) เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ และเซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9 (โดยแบ่งเป็นโครงการที่ CPN เป็นเจ้าของ 4 โครงการ โครงการที่ให้เช่ากับ CPNRF 2 โครงการ คือ อาคารสำ�นักงาน ปิ่นเกล้า ทาวเวอร์ เอและบี ในบริเวณโครงการเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า และ โครงการที่ให้เช่ากับ CPNCG 1 โครงการ คืออาคารสำ�นักงาน ดิ ออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์) โดยกลุม่ ผูเ้ ช่าพืน้ ทีอ่ าคารสำ�นักงานทีต่ งั้ อยูภ่ ายในโครงการ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า เซ็นทรัลพลาซา บางนา เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ และเซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9 ส่วนใหญ่จะ ประกอบธุรกิจทีไ่ ด้รบั ผลประโยชน์สนับสนุนจากธุรกิจศูนย์การค้า อาทิ โรงเรียน กวดวิชา โรงเรียนสอนภาษาและดนตรี สถานเสริมความงาม และบริษัท หลักทรัพย์ เป็นต้น สำ�หรับอาคารสำ�นักงาน ดิ ออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งเป็นอาคารสำ�นักงาน เกรด A ตั้งอยู่ในแหล่งธุรกิจใจกลางกรุงเทพฯ นั้น ผูเ้ ช่าพืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่จะเป็นบริษทั ข้ามชาติและบริษทั ชัน้ นำ�ทัง้ ในและต่างประเทศ ซึ่งมาเช่าพื้นที่เพื่อใช้เป็นที่ตั้งสำ�นักงานใหญ่ โรงแรม ธุรกิจโรงแรมในบริเวณโครงการศูนย์การค้าเป็นธุรกิจที่มีอุปสงค์ส่งเสริมกันกับ ธุรกิจศูนย์การค้า และเป็นธุรกิจทีเ่ พิม่ มูลค่าให้กบั โครงการด้วยการใช้ทดี่ นิ ให้เกิด ประโยชน์อย่างคุ้มค่าเพื่อผลตอบแทนจากการลงทุนสูงสุด หลักการในการ พิจารณาลงทุนทีส่ �ำ คัญประกอบด้วย ทำ�เลทีต่ งั้ ของโครงการ อุปสงค์ อุปทาน และ สภาวะแวดล้อมของบริเวณนั้นๆ รวมถึงศักยภาพการเติบโตของโครงการ ทั้งนี้ ธุรกิจโรงแรมประกอบด้วยห้องพัก ห้องสัมมนาและศูนย์ประชุม เพือ่ รองรับการ เติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม MICE: Meeting Incentive Convention and Exhibition (การจัดการประชุมเชิงธุรกิจ การค้า และจัดแสดงสินค้านานาชาติ) ปัจจุบัน CPN เป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรมจำ�นวน 2 แห่ง คือ โรงแรมเซ็นทารา อุดรธานี ซึ่งมีขนาด 259 ห้อง (เดิมคือ โรงแรม เจริญศรี แกรนด์ รอยัล ซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ของโครงการเจริญศรีคอมเพล็กซ์ที่ CPN ได้เข้าซือ้ กิจการในเดือนเมษายน ปี 2552) และโรงแรมฮิลตัน พัทยา ซึง่ มีขนาด 302 ห้อง (ตัง้ อยูใ่ นบริเวณเดียวกับโครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวลั พัทยา บีช เริม่ เปิดให้บริการในเดือนพฤศจิกายน 2553) ทัง้ นี้ CPN ได้วา่ จ้างให้บริษทั ทีม่ คี วามชำ�นาญด้านการบริหารโรงแรม คือ บริษทั โรงแรมเซ็นทรัล พลาซา จำ�กัด (มหาชน) และบริษทั ฮิลตัน โฮเต็ล คอร์ปอเรชัน่ เป็นผูบ้ ริหารโรงแรมเซ็นทารา


80 | 81

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

อุดรธานี และโรงแรมฮิลตันพัทยา ตามลำ�ดับ เพื่อการบริหารจัดการให้เกิด ประโยชน์สูงสุด อาคารสำ�หรับพักอาศัย ปัจจุบัน CPN มีโครงการที่พักอาศัยภายใต้การบริหารงาน 2 โครงการ คือ โครงการหลังสวน โคโลเนต ซึ่งให้บริการในรูปแบบของอพาร์ทเมนท์พร้อม เฟอร์นิเจอร์ให้เช่า ขนาด 50 ยูนิต นอกจากนั้น ยังให้บริการที่พักอาศัย ประเภทห้องชุดให้เช่าจำ�นวน 12 ยูนิต ภายใต้โครงการเซ็นทรัล ซิตี้ เรสซิเดนซ์ คอนโดมิเนียมซึ่งตั้งอยู่บริเวณเดียวกับโครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา บางนา สวนน้� ำ และสวนพักผ่อน ธุรกิจสวนน้ำ�และสวนพักผ่อน จัดเป็นธุรกิจสนับสนุนธุรกิจศูนย์การค้าซึ่งเป็น ธุรกิจหลักของ CPN เพือ่ ให้ศนู ย์การค้ามีความหลากหลายขององค์ประกอบและ การให้บริการ วัตถุประสงค์ของการสร้างสวนน้ำ�และสวนพักผ่อนขึ้นในบริเวณ โครงการศูนย์การค้านั้น นอกจากจะเป็นการดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการศูนย์ การค้าเพิ่มขึ้นแล้ว ยังเป็นการตอบแทนความสุขให้แก่ลูกค้าที่มาใช้บริการและ ตอบแทนชุมชนในบริเวณใกล้เคียง ทัง้ นี้ ขึน้ อยูก่ บั ความเพียงพอของทีด่ นิ และพืน้ ที่ ภายในโครงการนัน้ ๆ ปัจจุบนั CPN ได้เปิดให้บริการสวนน้�ำ ภายใต้ชอื่ “สวนน้�ำ ลีโอแลนด์” บริเวณชั้น 6 ของโครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา บางนา และ สวนพักผ่อนภายใต้ชื่อ “เซ็นทรัล พาร์ค” ซึ่งเป็นสวนพักผ่อนขนาดใหญ่ที่เปิด ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป ในบริเวณโครงการเซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 ซึ่ง ประกอบด้วย สวนสุขภาพ สนามเด็กเล่น ลานกิจกรรม และร้านอาหารชั้นนำ� ศูนย์อาหาร ธุรกิจศูนย์อาหารภายในศูนย์การค้าเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่ช่วยเสริมให้ ศูนย์การค้ามีความครบครัน วัตถุประสงค์หลักของธุรกิจนี้คือ เพื่อลูกค้าที่มา ใช้บริการภายในศูนย์การค้าได้รับความสะดวกในการเลือกรับประทานอาหารที่ หลากหลายในราคาประหยัด สะดวก และรวดเร็ว ในขณะที่ CPN จะได้รับผล ตอบแทนจากรายได้จากการจำ�หน่ายอาหารและเครือ่ งดืม่ ในบริเวณศูนย์อาหาร


โครงการที่อยู่ภายใต้การบริหารงานของ CPN CPN เป็นเจ้าของโครงการ

ศูนย์การค้า

อาคารสำ�นักงาน

โรงแรม

อาคารที่พักอาศัย ศูนย์อาหาร

เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว • • เซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา • เซ็นทรัล เซ็นเตอร์ พัทยา • เซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต • หลังสวนโคโลเนต • เซ็นทรัลพลาซา บางนา • • • เซ็นทรัลเวิลด์ • เซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์ • เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ • • เซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช • • เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี • • เซ็นทรัลพลาซา ชลบุร ี • เซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น • เซ็นทรัลพลาซา เชียงราย • เซ็นทรัลพลาซา พิษณุโลก • เซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9 • • เซ็นทรัลพลาซา สุราษฎร์ธานี • เซ็นทรัลพลาซา ลำ�ปาง • CPN เป็นผู้บริหาร

ศูนย์การค้า

อาคารสำ�นักงาน

โรงแรม

• • • • • • • • • • • •

อาคารที่พักอาศัย ศูนย์อาหาร

เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า 1) • • เซ็นทรัลพลาซา พระราม 3 2) • เซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 3) • เซ็นทรัลเวิลด์ 4) • หมายเหตุ 1) 42% ของพื้นที่ศูนย์การค้าและ 100% ของพื้นที่อาคารสำ�นักงาน CPN ให้เช่าช่วงแก่ CPNRF ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2552 สิ้นสุดเดือนธันวาคม 2567 2) 81% ของพื้นที่ศูนย์การค้า CPN ให้เช่าแก่ CPNRF ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2548 สิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2578 (ต่ออายุการเช่าได้ 2 ครั้งๆ ละ 30 ปี) 3) 96% ของพื้นที่ศูนย์การค้า CPN ให้เช่าช่วงแก่ CPNRF ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2548 สิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2568 4) 97% ของพื้นที่อาคารสำ�นักงานเซ็นทรัลเวิลด์ให้เช่าช่วงแก่ CPNCG ตั้งแต่เดือนกันยายน 2555 สิ้นสุดเดือนกันยายน 2575

• • •


82 | 83

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

ภาพรวมการประกอบธุรกิจ ของบริษัทและบริษัทในเครือ บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา 27.80%

25.00%

100.00%

กองทุนรวมสิทธิ กองทุนรวมสิทธิ การเช่าอสังหาริมทรัพย์ การเช่าอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมธุรกิจไทย 4 CPN รีเทล โกรท CPN คอมเมอร์เชียล โกรท

99.99%

บจ. เซ็นทรัลเรียลตี้ เซอร์วิส

99.99%

บจ. ซีพีเอ็น พัทยา บีช

99.99%

บจ. หลังสวนเรียลตี้

99.99%

บจ. เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 2

99.99%

บจ. เซ็นทรัลพัฒนา เชียงใหม่

99.99% 99.99%

99.99% ทางตรง 12.00% ทางอ้อม 3.00% 12.00%

บจ. เซ็นทรัลพัฒนา รัตนาธิเบศร์ บจ. เซ็นทรัลเรียลตี้ เซอร์วสิ พระราม 3

2)

บจ. บางนา เซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้

บจ. เซ็นทรัล เพลย์ แลนด์

บจ. สแควร์ ริทซ์ พลาซ่า

11.85%

บจ. อยุธยาเกษตรธานี

60.99%

บจ. เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 3

99.99%

บจ. เซ็นทรัลฟู้ด อเวนิว

24.99% 75.00%

บจ. ซีพีเอ็น ซิตี้

90.00%

บจ. เซ็นทรัลเวิลด์

99.99%

บจ. ซีพีเอ็น คอมเพล็กซ์

78.15%

บจ. เซ็นทรัลพัฒนา ขอนแก่น

10.00%

99.99%

บจ. เซ็นทรัลพัฒนา ชลบุรี

93.30%

บจ. เซ็นทรัลพัฒนา ไนน์ สแควร์

99.93%

บจ. ซีพีเอ็น คอนสตรัคชั่น แมเนจเม้นท์

99.99%

บจ. โรงแรมซีพีเอ็น พัทยา บีช

99.99%

บจ. เซ็นทรัลพัฒนา ดีเวลลอปเม้นท์

99.94%

บจ. ซีพีเอ็น โกบอล

Global Commercial Property Limited. 100.00%

3)

Global Retail Development & Investment Limited. 100.00%

1) 2) 3) 4)

กองทุนรวมธุรกิจไทย 5

บจ. สยามรีเทล ดีเวลล็อปเม้นท์

39.00%

หมายเหตุ :

99.99%

100.00%1)

100.00%4)

สัดส่วนของผู้ถือหน่วยลงทุนประเภทเจ้าของ ไม่รวมผู้ถือหน่วยลงทุนประเภทเจ้าหนี้ จดทะเบียนเลิกบริษัทเมื่อ 2 สิงหาคม 2553 และขณะนี้ยังไม่ได้จดทะเบียนเสร็จการชำ�ระบัญชี บจ.ซีพีเอ็น เชียงราย ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บจ. เซ็นทรัลพัฒนา ดีเวลลอปเม้นท์ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2555 ชำ�ระทุนครบเต็มตามจำ�นวนแล้ว เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2555

Central (Shanghai) Management Consulting Co.,Ltd.


โครงสร้างรายได้ของบริษัท และบริษัทย่อย หน่วย : ล้านบาท กลุ่มธุรกิจ/ดำ�เนินการโดย

ศูนย์การค้า > บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา > บจ. เซ็นทรัลพัฒนา เชียงใหม่ > บจ. บางนา เซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้ > บจ. เซ็นทรัล เพลย์ แลนด์ > บจ. เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 3 > บจ. เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 2 > บจ. เซ็นทรัลพัฒนา รัตนาธิเบศร์ > บจ. ซีพีเอ็น พัทยา บีช > บจ. เซ็นทรัลเวิลด์ > บจ. เซ็นทรัลพัฒนา ขอนแก่น > บจ. เซ็นทรัลพัฒนา ชลบุรี > บจ. เซ็นทรัลพัฒนา ไนน์ สแควร์ > บจ. เซ็นทรัลพัฒนา ดีเวลลอปเม้นท์ อาคารสำ�นักงาน > บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา > บจ. บางนา เซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้ > บจ. เซ็นทรัลเวิลด์ โรงแรม > บจ. เซ็นทรัลเวิลด์ > บจ. โรงแรมซีพีเอ็น พัทยา บีช อาคารสำ�หรับพักอาศัย > บจ. หลังสวนเรียลตี้ > บจ. บางนา เซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้ สวนน้ำ�และสวนพักผ่อน > บจ. เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 2 > บจ. บางนา เซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้ ศูนย์อาหาร > บจ. เซ็นทรัลฟู้ด อเวนิว > บจ. เซ็นทรัลพัฒนา เชียงใหม่ > บจ. บางนา เซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้ > บจ. เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 2 > บจ. เซ็นทรัลพัฒนา รัตนาธิเบศร์ > บจ. เซ็นทรัลเวิลด์ > บจ. เซ็นทรัลพัฒนา ดีเวลลอปเม้นท์ ดอกเบี้ยรับ ส่วนแบ่งกำ�ไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม อื่นๆ รวมรายได้ * หมายเหตุ : *ไม่รวมรายการที่มิได้เกิดขึ้นเป็นประจำ�

% ปี 2555 การถือหุ้น จำ�นวน %

99.99% 99.99% 99.99% 99.99% 99.99% 99.99% 99.99% 100.00% 78.13% 99.99% 93.30% 99.99%

ปี 2554 จำ�นวน %

ปี 2553 จำ�นวน %

ปี 2552 จำ�นวน %

ปี 2551 จำ�นวน %

14,505 79.10% 10,062 75.60% 9,142 76.70% 9,254 75.70% 7,244 73.90%

99.99% 100.00%

794 4.30%

767 5.80%

655 5.50%

898 7.30%

100.00% 99.99%

712 3.90%

465 3.50%

157 1.30%

116 1.00%

99.99% 99.99%

18 0.10%

18 0.10%

20 0.20%

21 0.20%

24 0.20%

99.99% 99.99%

8 0.00%

6 0.00%

6 0.10%

5 0.00%

7 0.10%

99.99% 99.99% 99.99% 99.99% 99.99% 100.00% 99.99%

725 4.00%

632 4.70%

550 4.60%

639 5.20%

456 4.70%

78 584 925 18,349

0.40% 48 3.20% 498 5.00% 815 100% 13,311

0.40% 49 3.70% 475 6.10% 858 100% 11,912

0.40% 27 4.00% 451 7.20% 820 100% 12,231

868 8.90%

0.20% 167 3.70% 362 6.70% 972 100% 9,800

1.70% 3.70% 7.20% 100%


ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์


การกำ�กับดูแลกิจการ การกำ�กับดูแลกิจการทีด่ เี ป็นกลไกสำ�คัญใน การเชือ่ มโยงความสัมพันธ์และผลประโยชน์ ระหว่างผูม้ สี ว่ นได้เสียทุกภาคส่วนให้เป็นไป อย่างยั่งยืน ซึ่งคณะกรรมการบริษัทเห็นถึง ความสำ�คัญดังกล่าวจึงได้กำ�หนดนโยบาย การกำ�กับดูแลกิจการของบริษัทมาตั้งแต่ปี 2547 และได้ปรับปรุงให้เหมาะสมและเป็น สากลอยู่เสมอ โดยยึดกรอบแนวทางการ กำ�กับดูแลกิจการที่ดีของตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ฉบับปี 2549 และหลักการ กำ�กับดูแลกิจการของ Organization for Economic Co-operation and Development (OECD) จรรยาบรรณและนโยบายการกำ�กับดูแล กิจการของ CPN ได้รับการทบทวนเป็น ประจำ�ทุกปีและอนุมัติโดยคณะกรรมการ บริษัท โดยมีปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2554 ซึ่งได้นำ�แนวปฏิบัติที่ดี ของหน่วยงานในระดับสากล เช่น United Nation Global Compact (UNGC) และ แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 มาปรับใช้ให้เข้ากับแนวปฏิบัติของ บริษัทฯ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน CPN ทุกคนได้รบั ทราบจรรยาบรรณและนโยบาย การกำ�กับดูแลกิจการและถือปฏิบตั เิ ป็นส่วน หนึ่งของวินัย โดยให้ทุกคนลงนามในแบบ รั บทราบและถื อปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และนโยบายการกำ�กับดูแลกิจการ เพือ่ เป็น การแสดงถึงเจตนารมณ์รว่ มกันในการยึดถือ ปฏิบตั ติ ามอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ CPN ยั ง มี ก ารเผยแพร่ แ ละสื่ อ สารให้ ทุ ก คนใน องค์กรตระหนักในเรื่องจรรยาบรรณและ แนวทางปฏิ บั ติ ที่ ดี ผ่ า นการปฐมนิ เ ทศ พนักงานใหม่ อีเมลล์ อินทราเน็ต วารสาร ภายในบริษทั ฯ แผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ การ

จั ด ทำ � สื่ อ การเรี ย นรู้ ท างอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ (E-learning) ตลอดจนเว็บไซต์และการจัด กิจกรรมของบริษัทฯ เพื่อเสริมสร้างความ ตระหนักและการมีส่วนร่วมของบุคลากร ทั่วทั้งองค์กรอย่างต่อเนื่อง ในปี 2555 CPN ได้จดั ทำ�สือ่ การเรียนรูท้ าง อิเล็กทรอนิกส์ (E-learning) เพือ่ เสริมสร้าง ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการกำ�กับดูแล กิจการและจรรยาบรรณในการดำ�เนินธุรกิจ ให้แก่บคุ ลากรในองค์กร โดยผูเ้ รียนสามารถ ใช้ ร ะบบได้ ต ลอดเวลาทั้ ง จากสถานที่ ทำ�งานและสถานที่อื่นๆ ที่สามารถเข้าถึง อิ น เทอร์ เ น็ ต โดยเปิ ดให้ ผู้ บ ริ ห ารและ พนั ก งานทุ ก คนเริ่ ม เรี ย นรู้ เ มื่ อ เดื อ น มกราคม 2556 นโยบายการกำ�กับดูแลกิจการ นโยบายการกำ�กับดูแลกิจการทีด่ ขี อง CPN แบ่งออกเป็น 5 หมวด โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. สิทธิของผู้ถือหุ้น (Rights of Shareholders) CPN ให้ความสำ�คัญในการดูแลและรักษา สิทธิของผู้ถือหุ้นทุกรายดังนี้ >> มีโครงสร้างระหว่างบริษทั ฯ บริษทั ย่อย

บริษัทร่วม ที่ไม่ซับซ้อน ไม่มีผู้ถือหุ้น ร่ ว มและไม่ มี ผู้ ถื อ หุ้ น ไขว้ และไม่ มี โครงสร้างการถือหุน้ แบบปิรามิดในกลุม่ ของบริษทั ฯ เพือ่ ให้ผถู้ อื หุน้ มัน่ ใจว่าได้รบั ผลตอบแทนครบถ้วน

>> ดู แ ลและสนั บ สนุ นให้ ผู้ ถื อ หุ้ น ทุ ก ราย

ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้ถือหุ้น ส่วนน้อย นักลงทุนสถาบัน หรือผู้ถือ

หุ้นต่างชาติได้รับสิทธิพื้นฐานและการ ปฏิ บั ติ ใ นการรั ก ษาสิ ท ธิ ข องผู้ ถื อ หุ้ น อย่างเท่าเทียมกัน ได้แก่ สิทธิในการซือ้ ขายหรือโอนหุ้น สิทธิที่จะได้รับข้อมูล ข่าวสารทีถ่ กู ต้องชัดเจน สิทธิในการเข้า ร่ ว มประชุ ม และลงมติ อ นุ มั ติ ก ารเข้ า ทำ�รายการที่สำ�คัญ สิทธิในการแต่งตั้ง หรือถอดถอนกรรมการบริษัท สิทธิใน การกำ�หนดอัตราค่าตอบแทนของคณะ กรรมการบริษทั สิทธิในการแต่งตัง้ หรือ ถอดถอนผู้ ส อบบั ญ ชี แ ละกำ � หนดค่ า สอบบัญชี สิทธิในการได้รับส่วนแบ่ง กำ�ไร สิทธิในการเข้าร่วมตัดสินใจและ รับทราบถึงผลการตัดสินใจของบริษัทฯ ที่ เ กี่ ย วกั บ การเปลี่ ย นแปลงในปั จ จั ย พื้นฐานของบริษัทฯ >> เผยแพร่สารสนเทศ รายละเอียดการใช้

สิทธิในเรื่องต่างๆ ผ่านระบบข่าวของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและ เว็บไซต์ของบริษัทฯ โดยคำ�นึงถึงความ เท่าเทียมกันในการรับรู้ข่าวสาร ระยะ เวลาการใช้สิทธิ และความสะดวกใน การใช้สิทธิดังกล่าว โดยไม่กระทำ�การ ใดๆ ที่เป็นการจำ�กัดสิทธิในการเข้าถึง สารสนเทศของบริษทั ฯ หรือปิดกัน้ การ ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกัน

2. การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่าง เท่าเทียมกัน (Equitable Treatment of Shareholders) CPN ยึดหลักการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกราย อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกปฏิบตั ิ ไม่วา่ จะ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย นักลงทุนสถาบัน หรือผูถ้ อื หุน้ ต่างชาติ โดย มีแนวทางปฏิบัติดังนี้


86 | 87

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

>> มีระเบียบบังคับใช้ภายในบริษัทฯ เรื่อง

การควบคุมเกี่ยวกับสารสนเทศภายใน และเรื่องการถือครองหลักทรัพย์ของ บริษทั ฯ เพือ่ ป้องกันการใช้ขอ้ มูลภายใน โดยมิชอบและป้องกันไม่ให้เกิดความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์ รายละเอียด เปิดเผยไว้ในหัวข้อการกำ�กับดูแลการใช้ ข้อมูลภายใน หน้า 97

>> นำ � เสนอรายละเอี ย ดของรายการที่

เกี่ ย วโยงกั น ซึ่ ง อาจเกิ ด ความขั ด แย้ ง ทางผลประโยชน์ ใ ห้ ค ณะกรรมการ ตรวจสอบพิจารณาให้ความเห็นก่อน นำ�เสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการ บริษทั และผูถ้ อื หุน้ (กรณีถงึ เกณฑ์) ทุก ครั้ง และมีการเปิดเผยสารสนเทศที่ สำ�คัญอย่างครบถ้วนและเป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับทีก่ �ำ หนด รายละเอียด เปิดเผยไว้ในหัวข้อการกำ�กับดูแลด้าน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หน้า 97

>> ดำ�เนินการตามหลักการและแนวทาง

ปฏิ บั ติ ต่ อ ผู้ ถื อ หุ้ น อย่ า งเท่ า เที ย มกั น ในการประชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ น รายละเอี ย ด มีดังต่อไปนี้ การประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำ�ปี 2555 CPN ให้ความสำ�คัญต่อสิทธิของผู้ถือหุ้น และการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียม กัน โดยนำ�หลักการที่เกี่ยวข้องมาปรับใช้ อย่างเป็นรูปธรรมในการจัดประชุมผูถ้ อื หุน้ ทุกครัง้ ตัง้ แต่กอ่ นการประชุม วันประชุม และ หลังการประชุม สำ�หรับการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำ�ปี 2555 จัดขึน้ ในวันศุกร์ที่ 27 เมษายน 2555 เวลา 14.00 น. ณ ห้องบางกอกคอนเวนชัน

เซ็นเตอร์ ชัน้ 5 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว เลขที่ 1693 ถนนพหลโยธิน แขวง จตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร มี ผูถ้ อื หุน้ มาประชุมด้วยตนเองและผูร้ บั มอบ ฉันทะรวมจำ�นวน 1,038 ราย คิดเป็น 79.05% ของจำ�นวนหุน้ ทัง้ หมด มีกรรมการ บริษทั เข้าร่วมประชุม 11 คน จากกรรมการ ทั้งหมด 12 คน คิดเป็น 91.67% โดย ประธานกรรมการบริษทั ประธานกรรมการ ตรวจสอบ ประธานกรรมการสรรหาและ กำ�หนดค่าตอบแทน ประธานกรรมการ บริหารความเสี่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ ป ร ะ ธ า น เ จ้ า ห น้ า ที่ บ ริ ห า ร ก า ร เ งิ น เลขานุการบริษัท และผู้สอบบัญชี เข้าร่วม ประชุ ม อย่ า งครบถ้ ว นพร้ อ มเพรี ย งกั น ทั้งนี้ รายละเอียดการดำ�เนินการประชุม มีดังนี้ ก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น >> ให้สิทธิผู้ถือหุ้นส่วนน้อยสามารถเสนอ

วาระการประชุมผู้ถือหุ้น และเสนอชื่อ บุคคลเพื่อรับการพิจารณาเลือกตั้งเป็น กรรมการได้ล่วงหน้าระหว่างวันที่ 15 กันยายน 2554 ถึง 15 มกราคม 2555 รวมถึ ง การให้ สิ ท ธิ ผู้ ถื อ หุ้ น ส่ ง คำ � ถาม เกี่ยวกับวาระการประชุมถึงเลขานุการ บริ ษั ทได้ ล่ ว งหน้ า ก่ อ นถึ ง วั น ประชุ ม โดยหลักเกณฑ์การพิจารณาเกี่ยวกับ การเสนอวาระการประชุมผู้ถือหุ้นและ เสนอชื่ อ บุ ค คลเพื่ อ รั บ การพิ จ ารณา เลื อ กตั้ ง เป็ น กรรมการเผยแพร่ ไ ว้ ใ น เว็บไซต์ของบริษัทฯ ทั้งนี้ การประชุม สามัญผูถ้ อื หุน้ ประจำ�ปี 2555 ไม่มผี ถู้ อื หุน้ รายใดเสนอวาระการประชุมผู้ถือหุ้น หรือเสนอชือ่ บุคคลเพือ่ รับการพิจารณา เลือกตั้งเป็นกรรมการ

>> จัดทำ�จดหมายเชิญประชุมผู้ถือหุ้นทั้ง

ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยในการ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำ�ปี 2555 CPN ได้เผยแพร่จดหมายเชิญประชุม ผู้ถือหุ้นบนเว็บไซต์ของบริษัทฯ ตั้งแต่ วันที่ 21 มีนาคม 2555 ล่วงหน้าก่อน วันประชุมมากกว่า 30 วัน และจัดส่ง จดหมายเชิ ญ ประชุ ม ให้ แ ก่ ผู้ ถื อ หุ้ น ล่วงหน้าก่อนวันประชุม 21 วัน เพือ่ ให้ ผู้ถือหุ้นได้รับเอกสารล่วงหน้าก่อนวัน ประชุมและมีเวลาศึกษาข้อมูลก่อนวัน ประชุมอย่างเพียงพอ

>> ในจดหมายเชิญประชุม บริษัทฯ มีการ

ชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผล และความ เห็ น ของคณะกรรมการบริ ษั ท เพื่ อ ประกอบการพิ จ ารณาของผู้ ถื อ หุ้ น อย่างครบถ้วนและเพียงพอ โดยวาระ การประชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประกอบด้วย

1. วาระการแต่งตัง้ กรรมการ ได้ให้ขอ้ มูล ของผู้ได้รับการเสนอแต่งตั้ง ได้แก่ ชือ่ อายุ ประเภทกรรมการ ตำ�แหน่ง ในบริ ษั ท การศึ ก ษา การอบรม หลักสูตรกรรมการ ประสบการณ์ การ ดำ � รงตำ � แหน่ ง ในกิ จ การอื่ น และ กิ จ การที่ เ กี่ ย วเนื่ อ งกั บ ธุ ร กิ จ ของ บริษัทฯ จำ�นวนปีที่ดำ�รงตำ�แหน่ง และการเข้ า ร่ ว มประชุ ม ในฐานะ กรรมการชุดต่างๆ ในปีทผี่ า่ นมา การ ถือหุ้นในบริษัทฯ และข้อมูลอื่นๆ เช่น การทำ�รายการที่อาจเกิดความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทฯ ในรอบปีที่ผ่านมา 2. วาระการพิจารณาค่าตอบแทน มีการ ให้ขอ้ มูลเกีย่ วกับนโยบาย จำ�นวนเงิน


และรูปแบบค่าตอบแทนแยกตาม ตำ � แหน่ ง และภาระหน้ า ที่ ข อง กรรมการ หลักเกณฑ์และวิธีการ พิจารณาค่าตอบแทน 3. วาระการแต่งตั้งผู้สอบบัญชี ได้ให้ ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อผู้สอบบัญชีและ สำ � นั ก งานสอบบั ญ ชี ความเป็ น อิสระของผู้สอบบัญชี จำ�นวนปีที่ ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ เ ป็ น ผู้ ส อบบั ญ ชี ข อง บริษทั ฯ การพิจารณาความเหมาะสม ของค่าสอบบัญชี โดยแสดงค่าสอบ บัญชีแยกจากค่าบริการอื่น 4. วาระการจ่ายเงินปันผล ได้ให้ข้อมูล เกี่ยวกับนโยบายการจ่ายเงินปันผล จำ�นวนเงินทีข่ ออนุมตั ิ เปรียบเทียบ กับจำ�นวนเงินที่จ่ายในปีก่อน >> ไม่มกี ารแจกเอกสารทีม่ ขี อ้ มูลสำ�คัญใน

ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอย่างกะทันหัน รวม ทั้ งไ ม่ เ พิ่ ม ว า ร ะ ก า ร ป ร ะ ชุ ม ห รื อ เปลี่ยนแปลงข้อมูลที่สำ�คัญโดยไม่แจ้ง ให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า

>> อำ � นวยความสะดวกให้ ผู้ ถื อ หุ้ น ที่ ไ ม่

สามารถเข้าร่วมประชุมด้วยตนเองโดย การจัดส่งหนังสือมอบฉันทะ แบบ ข. ซึง่ ผู้ถือหุ้นสามารถกำ�หนดทิศทางการลง คะแนนได้ พร้อมรายละเอียดวิธีการ มอบฉั น ทะในการประชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ นไป พร้อมกับหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น ส่วนหนังสือมอบฉันทะทั้ง แบบ ก. แบบ ข. และแบบ ค. ผู้ถือหุ้นสามารถ ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของบริษัทฯ นอกจากนี้ CPN ยังมีรายชื่อพร้อม ประวัติของกรรมการอิสระ 4 คน ให้ ผู้ ถื อ หุ้ น สามารถเลื อ กเป็ น ผู้ รั บ มอบ

ฉันทะไว้ด้วย โดยในการประชุมสามัญ ผูถ้ อื หุน้ ประจำ�ปี 2555 มีผถู้ อื หุน้ จำ�นวน รวม 539 ราย มอบอำ�นาจให้กรรมการ อิสระเป็นผู้รับมอบอำ�นาจในการออก เสียงแทน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ > มอบอำ�นาจให้นายไพฑูรย์ ทวีผล ประธานกรรมการตรวจสอบ จำ�นวน 356 ราย > มอบอำ�นาจให้นายการุณ กิตติสถาพร กรรมการตรวจสอบ จำ�นวน 183 ราย วันประชุมผู้ถือหุ้น >> กำ�หนดให้มีระยะเวลาการลงทะเบียน

ล่วงหน้าก่อนการประชุม 2 ชัว่ โมง โดย ได้นำ�ระบบคอมพิวเตอร์และบาร์โค้ด มาใช้ในการลงทะเบียนและตรวจนับ คะแนน เพือ่ ความถูกต้อง รวดเร็ว และ เชื่อถือได้ของข้อมูล

>> กำ � หนดให้ สิ ท ธิ อ อกเสี ย งในที่ ป ระชุ ม

เป็นไปตามจำ�นวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นถืออยู่ โดยหนึ่งหุ้นมีสิทธิเท่ากับหนึ่งเสียง

>> ก่อนเริม่ การประชุมผูถ้ อื หุน้ บริษทั ฯ ได้

ชี้แจงวิธีการลงคะแนนและนับคะแนน ให้ผู้ถือหุ้นในที่ประชุมรับทราบ

>> นำ � บั ต รลงคะแนนมาใช้ ใ นการลงมติ

ในการประชุมผูถ้ อื หุน้ โดยจัดทำ�บัตรลง คะแนนแยกตามวาระแต่ละวาระ เพื่อ ให้ผู้ถือหุ้นสามารถลงคะแนนได้ตามที่ เห็นสมควร

>> ในการสรุปผลการนับคะแนนเสียงแต่ละ

วาระ จะมีการแสดงผลคะแนนให้ผถู้ อื หุน้ ในทีป่ ระชุมรับทราบทุกวาระตามลำ�ดับ

>> ดำ�เนินการประชุมผู้ถือหุ้นตามลำ�ดับ

วาระที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือเชิญประชุม ผู้ถือหุ้นอย่างถูกต้องและโปร่งใส ตาม ข้อกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทฯ ทัง้ นี้ บริษทั ฯ ได้เชิญตัวแทนจาก บริษทั เคพีเอ็มจี ภูมไิ ชย สอบบัญชี จำ�กัด เข้า ร่วมประชุมผูถ้ อื หุน้ และเป็นผูส้ งั เกตการณ์

>> ให้สิทธิผู้ถือหุ้นสามารถเข้าร่วมประชุม

ภายหลังจากเริม่ การประชุมไปแล้ว โดย มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในระเบียบ วาระที่ยังไม่ได้พิจารณาลงมติได้

>> เปิ ดโอกาสให้ ผู้ ถื อ หุ้ น แสดงความคิ ด

เห็ น และซั ก ถามอย่ า งเต็ ม ที่ โดยมี ประธานกรรมการบริ ษั ท ประธาน กรรมการตรวจสอบ ประธานกรรมการ ส ร ร ห า แ ล ะ กำ � ห น ด ค่ า ต อบ แ ท น กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ ผูบ้ ริหารระดับสูง และผู้สอบบัญชี เข้าร่วมประชุมเพื่อ ตอบข้อซักถามของผู้ถือหุ้น

หลังการประชุมผู้ถือหุ้น >> นำ � ส่ ง มติ ที่ ป ระชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ น ต่ อ ตลาด

หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายในวัน ประชุ ม ผ่ า นระบบข่ า วของตลาด หลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทย เพื่ อให้ ผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมรับทราบ ในทันที

>> ผู้ถือหุ้นสามารถรับชมบันทึกภาพการ

ประชุมผู้ถือหุ้นผ่าน Webcast ทาง เว็บไซต์ของบริษทั ฯ หรือติดต่อขอรับใน รูปแบบแผ่น VCD ได้ทสี่ �ำ นักเลขานุการ บริษัท


88 | 89

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

>> จั ด ทำ � รายงานการประชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ น ทั้ ง

ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเผยแพร่ ทางเว็บไซต์ของบริษทั ฯ ภายใน 14 วัน นับจากวันประชุม และนำ�ส่งสำ�เนา รายงานการประชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ นให้ ต ลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายในเวลา ที่กำ�หนด

>> เปิดกว้างและรับฟังความคิดเห็นของ

ผู้ ถื อ หุ้ น ผ่ า นการตอบแบบสอบถาม ความพึงพอใจในการจัดประชุมผูถ้ อื หุน้ เพื่ อ เป็ น ข้ อ มู ล ในการปรั บ ปรุ ง และ พั ฒ นาการจั ด ประชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ น ให้ มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

ในปี 2555 CPN ได้รับคะแนนประเมิน คุณภาพการจัดประชุมผูถ้ อื หุน้ 100 คะแนน เต็ม ภายใต้โครงการประเมินคุณภาพ AGM ซึง่ จัดโดยสมาคมส่งเสริมผูล้ งทุนไทย ร่วมกับ สำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ และสมาคมบริษัท จดทะเบียน โดยหลักเกณฑ์ทใ่ี ช้ในการประเมิน คุณภาพครอบคลุมขัน้ ตอนต่างๆ ในการจัด ประชุมผู้ถือหุ้น ตั้งแต่ก่อนวันประชุม วัน ประชุม และภายหลังวันประชุม 3. การคำ�นึงถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย (Roles of Stakeholders) CPN ให้ความสำ�คัญต่อผู้มีส่วนได้เสียทุก ฝ่ายโดยยึดหลักผลประโยชน์ร่วมกันอย่าง ยัง่ ยืน โดยกำ�หนดเป็นนโยบายและบทบาท ต่ อ ผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย ไว้ อ ย่ า งชั ด เจนใน “จรรยาบรรณต่อผู้มีส่วนได้เสีย” โดยมี รายละเอียดการดำ�เนินงานดังนี้ >> ผู้ ถื อ หุ้ น : สร้ า งการเติ บ โตอย่ า งมี

คุณภาพและมั่นคง เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้

รั บ ผลตอบแทนที่ ยั่ ง ยื น โดยมี ผ ล ประกอบการที่ ดี แ ละมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ เคารพสิ ท ธิ ข องผู้ ถื อ หุ้ นในการได้ รั บ ข้อมูลทีจ่ �ำ เป็นโดยเท่าเทียมกัน เปิดเผย ข้ อ มู ล ที่ ถู ก ต้ อ งตามความเป็ น จริ ง ดำ � เนิ น ธุ ร กิ จ ด้ ว ยความซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต โปร่งใส เป็นธรรม ซึง่ รายละเอียดต่างๆ ได้กล่าวไว้ในหัวข้อสิทธิของผูถ้ อื หุน้ และ การปฏิบตั ติ อ่ ผูถ้ อื หุน้ อย่างเท่าเทียมกัน >> ร้านค้าและลูกค้า : สร้างความพึงพอใจ

แก่ลูกค้าเพื่อให้ได้รับบริการที่ดีภายใต้ ความปลอดภัยต่อสุขภาพ อนามัย ชีวติ และทรัพย์สนิ ปฏิบตั ติ อ่ ลูกค้าอย่างเป็น ธรรมและเหมาะสม ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ การบริการอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และ ไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง สำ�รวจความ พึงพอใจของลูกค้า เพื่อนำ�ผลที่ได้มา พั ฒ นาปรั บ ปรุ ง การให้ บ ริ ก ารอย่ า ง ต่อเนื่อง ตัวอย่างการดำ�เนินการต่างๆ เกี่ยวกับร้านค้าและลูกค้ามีดังต่อไปนี้

1. การบริหารจัดการและการให้บริการ ร้านค้าให้ได้มาตรฐานซึง่ อยูใ่ นความ ดู แ ลของสำ � นั ก ส่ ง เสริ ม และกำ � กั บ ดูแลมาตรฐาน (สสม.) โดยมีการ ดำ�เนินการเพือ่ ปรับปรุงนโยบายและ กระบวนการทำ�งานต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง กับร้านค้าให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ในทุ ก สาขา การประชาสั ม พั น ธ์ บริการต่างๆ ที่ CPN มีบริการให้ลกู ค้า ทราบ เป็นต้น 2. การพัฒนาบุคลากรที่ทำ �หน้าที่ใน การให้บริการและมีการประเมินผล การให้บริการของเจ้าหน้าที่ การเดิน เยี่ยมร้านค้าของเจ้าหน้าที่ร้านค้า สัมพันธ์เพือ่ รับงานบริการ รับปัญหา

และข้อร้องเรียนต่างๆ จากร้านค้าใน แต่ละวัน รวมทัง้ การจัดให้มเี จ้าหน้าที่ ลูกค้าสัมพันธ์เดินอยู่ตามจุดต่างๆ ภายในศูนย์การค้า เพือ่ ให้ผใู้ ช้บริการ สามารถสอบถามหรื อ สามารถ แนะนำ�ผู้ใช้บริการได้ทันที โดยไม่ ต้องไปที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ 3. การประชุ ม ร่ ว มกั บ ร้ า นค้ า เพื่ อ สื่อสารแผนการดำ�เนินงานที่สำ�คัญ อย่างน้อยปีละ 1 ครัง้ และเมือ่ CPN จะเปิ ด ศู น ย์ ก ารค้ าใหม่ ห รื อ ศู น ย์ การค้าที่ปรับปรุง จะมีการประชุม ร่วมกับร้านค้าเพือ่ รับทราบนโยบาย แนวปฏิบัติต่างๆ และวางแผนการ ตลาดร่วมกัน ตลอดจนเปิดโอกาส ให้ผู้เช่าได้แสดงความคิดเห็นและ ข้ อ เสนอแนะต่ า งๆ เพื่ อ พั ฒ นา คุณภาพการบริหารศูนย์การค้าให้ดี ขึ้นอย่างต่อเนื่อง 4. การวางแผนการให้ บ ริ ก ารร่วมกับ ร้านค้าเพื่อช่วยเสริมสร้างให้ร้านค้า มี ค วามพร้ อ มในการดำ � เนิ น ธุ ร กิ จ เช่น การให้ความช่วยเหลือผู้เช่าใน ด้ า นการจั ด กิ จ กรรมการเปิ ด ตั ว ร้านค้า การเปิดตัวสินค้าใหม่ การจัด กิจกรรมส่งเสริมการขายของร้านค้า ร่วมกับศูนย์การค้า เป็นต้น 5. การจัดให้มกี ารสำ�รวจความพึงพอใจ ด้ า นการบริ ก ารร้ า นค้ า และลู ก ค้ า อย่างต่อเนือ่ งทุกปี เพือ่ ทราบความ ต้องการของร้านค้าและลูกค้าอย่าง แท้จริง และนำ�มาปรับปรุงในส่วน ของการบริการเพื่อการให้บริการที่ เป็นเลิศของ CPN


6. การมี ช่ อ งทางการติ ด ต่ อ สื่ อ สาร เพือ่ ให้ลกู ค้าสามารถรับทราบข้อมูล ต่างๆ ติดต่อธุรกิจ และแจ้งข้อร้อง เรียนได้หลายช่องทาง เช่น ติดต่อ โดยตรงกับเจ้าหน้าทีร่ า้ นค้าสัมพันธ์ แต่ละสาขา ตู้ I-Box เว็บไซต์ของ บริษัทฯ หรือ CPN Call Center 0-2635-1111 เป็นต้น 7. การจัดทำ� Focus Group เพือ่ ทราบ ความต้องการเฉพาะกลุ่มของผู้เช่า และนำ�มาประเมินเพื่อการพัฒนา และปรับปรุงการให้บริการให้ดยี งิ่ ขึน้ 8. การให้ความสำ�คัญกับการจัดทำ�สื่อ ประชาสัมพันธ์ต่างๆ ของบริษัทฯ โดยจะไม่น�ำ ภาพหรือเนือ้ หาทีก่ อ่ ให้ เกิดทัศนคติที่ไม่ดี การแบ่งแยกใน สังคม หรือค่านิยมที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องเพศและศีลธรรมมา ใช้ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ของบริษัทฯ 9. การดู แ ลสภาพแวดล้ อ ม พื้ น ที่ ภายใน และบริเวณโดยรอบทรัพย์สนิ ภายใต้การบริหารงานของบริษทั ฯ ให้ มีความปลอดภัยต่อสุขภาพ อนามัย ชีวิต และทรัพย์สิน >> คู่ค้า : ปฏิบัติกับคู่ค้าด้วยความเสมอ

ภาคและคำ�นึงถึงผลประโยชน์ร่วมกัน พัฒนาและรักษาสัมพันธภาพที่ยั่งยืน กับคู่ค้า และสร้างความเชื่อถือซึ่งกัน และกั น โดยบริ ษั ท ฯ ยึ ด ถื อ ปฏิ บั ติ ตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างซึ่งมีการ กำ�หนดขั้นตอนและวิธีปฏิบัติไว้อย่าง ชัดเจน ตลอดจนสร้างความร่วมมือกัน ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

>> เจ้าหนี้ : ปฏิ บั ติ ต ามเงื่ อ นไขที่ มี ต่ อ

เจ้าหนี้อย่างเคร่งครัด บริหารเงินกู้ยืม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้ เงิน ไม่นำ�เงินไปใช้ในทางที่อาจก่อให้ เกิดความเสียหายต่อบริษัทฯ ควบคุม ให้มีการชำ�ระคืนเงินกู้และดอกเบี้ยให้ กับเจ้าหนีเ้ งินกูย้ มื ทุกประเภทอย่างครบ ถ้วนตามกำ�หนดเวลา และปฏิบัติตาม เงื่อนไขการกู้ยืมเงินตามข้อตกลงอย่าง ครบถ้วน รวมไปถึงการบริหารงานเพื่อ ให้เจ้าหนีม้ นั่ ใจในฐานะทางการเงิน และ ความสามารถในการชำ�ระหนี้ที่ดีของ บริษัทฯ

>> พนักงาน : ดูแลและปฏิบัติต่อพนักงาน

อย่างเป็นธรรมและเหมาะสม ทั้งใน ด้านผลตอบแทน การแต่งตั้งโยกย้าย การพั ฒ นาศั ก ยภาพ ตลอดจนการ ควบคุ ม ดู แ ลสภาพแวดล้ อ มในการ ทำ�งานให้มีความปลอดภัยต่อชีวิตและ ทรัพย์สนิ ของพนักงาน เปิดรับฟังความ คิดเห็นและข้อเสนอแนะจากพนักงาน และมีการปฏิบัติต่อพนักงานทุกระดับ ด้วยความเป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดได้ในหัวข้อ การพัฒนาองค์กรและหัวข้อการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ หน้า 99 และหน้า 102 ตามลำ�ดับ นอกจากนี้ CPN สนับสนุน การหารื อ และความร่ ว มมื อ ระหว่ า ง บริ ษั ท ฯ กั บ พนั ก งานหรื อ ตั ว แทน พนักงานในการนำ�เสนอข้อมูลแก่ผู้มี อำ � นาจในการตั ด สิ น ใจของบริ ษั ท ฯ เกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพชีวิตการ ทำ�งานเพื่อให้เกิดการพัฒนาร่วมกัน

>> คู่แข่งทางการค้า : ดำ�เนินธุรกิจภายใต้

กรอบกติกาของการแข่งขันที่เป็นธรรม

ไม่ แ สวงหาข้ อ มู ล ที่ เ ป็ น ความลั บ ของ คู่แข่งทางการค้าด้วยวิธีการที่ไม่สุจริต หรือไม่เหมาะสม และไม่กระทำ�การใดๆ ที่เป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ของผู้อื่น หรือคู่แข่งทางการค้า มุ่ง ส่งเสริมและสนับสนุนการแลกเปลี่ยน ข้ อ มู ล ที่ เ ป็ น ประโยชน์ กั บ ธุ ร กิ จ ด้ า น พัฒนาและบริหารศูนย์การค้าในภาพ รวม เพือ่ สร้างความเข้มแข็งให้แก่ธรุ กิจ และมีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และประเทศชาติให้ยั่งยืน การจัดตั้งสมาคมศูนย์การค้าไทยเป็น หนึง่ ในความร่วมมือระหว่าง CPN และ บริษัทที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน โดย มี วั ต ถุ ป ร ะ ส ง ค์ เ พื่ อ แ ล ก เ ป ลี่ ย น ประสบการณ์และแนวทางการดำ�เนิน ธุรกิจที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน โดยในปี 2555 สมาชิกของสมาคมได้ร่วมหารือ ในประเด็นที่สำ�คัญดังนี้ 1. การสร้างมาตรฐานและมูลค่าเพิม่ ให้ แก่ธุรกิจศูนย์อาหารในศูนย์การค้า 2. การหามาตรการลดปั ญ หาจราจร บริเวณศูนย์การค้า เช่น การดำ�เนิน โครงการที่จอดรถอัจฉริยะ 3. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และ ข้อมูลข่าวสารในแวดวงธุรกิจศูนย์ การค้า เช่น ความคุ้มครองจากการ ทำ�ประกันภัยประเภทต่างๆ การ กำ�หนดมาตรฐานความปลอดภัยใน ศูนย์การค้า เป็นต้น 4. ก า ร ร่ ว ม กั น จั ด กิ จ ก ร ร ม ค ว า ม รับผิดชอบต่อสังคม อาทิ การสร้าง ห้องสมุด การจัดกิจกรรมเดิน-วิ่ง


90 | 91

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

มินิมาราธอน การรับบริจาคสิ่งของ ภายในศูนย์การค้า การรณรงค์ลด การใช้พลังงาน เป็นต้น 5. การจัดกิจกรรมกระชับความสัมพันธ์ ระหว่างสมาชิกของสมาคม >> สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม : ปฏิบัติ

ตามกฎหมาย และ/หรือกฎระเบียบที่ เกี่ยวข้อง และพยายามยกระดับการ ปฏิบัติให้มีมาตรฐานสูงกว่ากฎหมาย กำ�หนด เช่น คิดค้นหรือนำ�นวัตกรรม อาคารอนุรักษ์พลังงานมาปรับใช้กับ ศูนย์การค้าและอาคารสำ�นักงาน ตลอดจน ดู แ ลป้ อ งกั น มิ ใ ห้ ก ารดำ � เนิ น งานของ บริษัทฯ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อ คุณภาพชีวิตของสังคม ชุมชน และ สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมและสร้างสรรค์ สั ง คม ทั้ ง ในส่ ว นของการพั ฒ นา คุ ณ ภาพชี วิ ต การส่ ง เสริ ม ด้ า นการ ศึกษา การประหยัดพลังงาน และการ รักษาสิง่ แวดล้อม นอกจากนี้ CPN ยัง ให้ ค วามสำ � คั ญ กั บ การสื่ อ สารและ เผยแพร่ ค วามรู้ ด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มไปสู่ ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมเป็น เครือข่ายในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และถ่ายทอดความรูร้ วมทัง้ ประสบการณ์ ไปยั ง ทุ ก ภาคส่ ว นของสั ง คม ทั้ ง นี้ สามารถดูรายละเอียดการดำ�เนินงาน ได้ ใ นหั ว ข้ อ การบริ ห ารจั ด การความ ยั่งยืน หน้า 107

>> ภาครัฐ : ให้ความร่วมมือและสนับสนุน

นโยบายภาครัฐเพื่อผลประโยชน์ของ ประเทศชาติ ภ ายใต้ ก ฎหมายและ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมุ่งมั่น ดำ � เนิ นโครงการที่ เ ป็ น ประโยชน์ ต่ อ สาธารณะ ไม่วา่ จะเป็นนโยบายทีไ่ ด้รบั

มอบหมายจากภาครัฐหรือเป็นโครงการ ที่บริษัทฯ ริเริ่มขึ้นเอง >> องค์กรอิสระและองค์กรอื่นๆ ในสังคม :

ยกระดับความร่วมมือและแลกเปลี่ยน ข้อมูลกับองค์กรอิสระและองค์กรอื่นๆ ในสังคม เพื่อร่วมกันพัฒนาสังคมและ ประเทศชาติให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดย คำ�นึงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

นโยบายและแนวปฏิบัติด้านทรัพย์สิน ทางปัญญา CPN ดำ�เนินธุรกิจและส่งเสริมให้บุคลากร ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ภ ายใต้ ก ฎหมายหรื อ ข้ อ กำ � หนดที่ เ กี่ ย วกั บ สิ ท ธิ ใ นทรั พ ย์ สิ น ทาง ปัญญา ไม่ว่าจะเป็นเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ความลับทางการค้า แ ล ะ ท รั พ ย์ สิ น ท า ง ปั ญ ญ า ด้ า น อื่ น ที่ กฎหมายกำ�หนด อาทิเช่น การใช้โปรแกรม คอมพิ ว เตอร์ ที่ มี ลิ ข สิ ท ธิ์ ถู ก ต้ อ ง โดย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกชนิดจะต้องผ่าน การตรวจสอบและลงโปรแกรมโดยฝ่ า ย เทคโนโลยีสารสนเทศเท่านัน้ การส่งเสริมให้ พนั ก งานตรวจสอบผลงานหรื อ ข้ อ มู ล ที่ ใช้ในการปฏิบัติงานว่าไม่เป็นการละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น เป็นต้น นโยบายและแนวปฏิบัติด้านการเคารพ กฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชน การเคารพและปฏิ บั ติ ต ามกฎหมายเป็ น พื้ น ฐานสำ � คั ญ ในการดำ � เนิ น ธุ ร กิ จ ของ CPN ซึ่งรวมถึงกฎหมายภายในประเทศ และต่างประเทศ ตลอดจนขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับการ ดำ�เนินงาน โดยมุ่งยกระดับมาตรฐานการ ปฏิบัติให้สูงกว่าข้อกำ�หนดตามกฎหมาย

เช่น การปฏิบัติตามหลักสากลโดยให้ความ ร่ ว มมื อ กั บ หน่ ว ยงานด้ า นการบิ นในการ ปรั บ ปรุ ง หลั ง คาของศู น ย์ ก ารค้ า เซ็ น ทรั ล พลาซา ลำ�ปาง เพื่อความปลอดภัยใน การบิน การให้ความสำ�คัญต่อโครงสร้างและ ความมั่นคงของอาคารสำ�นักงาน เป็นต้น CPN สนั บ สนุ น และเคารพการปกป้ อ ง สิทธิมนุษยชน ดูแลมิให้ธุรกิจของบริษัทฯ เข้าไปมีสว่ นเกีย่ วข้องกับการล่วงละเมิดสิทธิ มนุษยชน เช่น ไม่สนับสนุนการบังคับใช้ แรงงาน (Forced Labour) ต่อต้านการใช้ แรงงานเด็ก (Child Labour) ให้ความ เคารพนั บ ถื อ และปฏิ บั ติ ต่ อ ผู้ มี ส่ ว น ได้ เ สี ย ทุ ก ฝ่ า ยด้ ว ยความเป็ น ธรรมบน พื้นฐานของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่ เลือกปฏิบตั ิ ไม่แบ่งแยกถิน่ กำ�เนิด เชือ้ ชาติ เพศ อายุ สีผวิ ศาสนา สภาพร่างกาย ฐานะ ชาติตระกูล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการเฝ้า ระวั ง การปฏิ บั ติ ต ามข้ อ กำ � หนดด้ า นสิ ท ธิ มนุษยชนภายในบริษัทฯ และส่งเสริมให้ บริษทั ย่อย ผูร้ ว่ มทุน คูค่ า้ และผูม้ สี ว่ นได้เสีย ทุกฝ่ายปฏิบัติตามหลักการสิทธิมนุษยชน ตามมาตรฐานสากล คุ้ ม ครองสิ ท ธิ ข อง ผูม้ สี ว่ นได้เสียทีไ่ ด้รบั ความเสียหายจากการ ละเมิดสิทธิอนั เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจของ บริษัทฯ โดยพิจารณาชดเชยค่าเสียหายให้ ไม่ต่ำ�กว่าอัตราที่กฎหมายกำ�หนด เป็นต้น นโยบายและแนวปฏิบัติด้านการต่อต้าน การทุจริตและทุจริตคอร์รัปชั่น CPN ได้แสดงเจตนารมณ์เป็นแนวร่วม ปฏิบัติ (Collective Action Coalition) ในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นตั้งแต่ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2553 ซึ่งจัดโดย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษทั ไทย


(IOD) ร่วมกับหอการค้าไทย หอการค้า นานาชาติ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย และสมาคมธนาคารไทย นอกจากนัน้ คณะ กรรมการบริษทั ได้มกี ารกำ�หนดนโยบายการ ต่อต้านการทุจริตและทุจริตคอร์รัปชั่นและ สื่อสารไปสู่ระดับผู้บริหารและพนักงาน มี การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เกี่ ย วกั บ การต่ อ ต้ า นการทุ จ ริ ต และทุ จ ริ ต คอร์รปั ชัน่ ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ การส่งผู้แทนเข้า ร่วมงาน “วันต่อต้านคอร์รัปชั่น: รวมพลัง เปลีย่ นประเทศไทย” จัดโดยศูนย์ภาคีเครือ ข่ายต่อต้านคอร์รปั ชัน่ เมือ่ วันที่ 6 กันยายน 2555 ศูนย์การค้าภายใต้การบริหารงานของ CPN หลายแห่งมีการติดตั้งตู้รับเรื่องร้องเรียน “Stop Corruption” อาทิ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา อุดรธานี ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น เพื่อร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ในการเปิดกว้างให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย มีช่องทางที่สะดวกในการแจ้งเบาะแสเกี่ยว กับการทุจริตคอร์รัปชั่น CPN มีชอ่ งทางการสือ่ สารให้ผมู้ สี ว่ นได้เสีย สามารถแจ้งเบาะแส ข้อเสนอแนะ หรือ ร้องเรียนกรณีเกีย่ วกับการทุจริต และมีแนว ปฏิบัติเกี่ยวกับการมอบหรือรับของกำ�นัล ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด การเลี้ยง รับรอง หรือค่าใช้จา่ ยทีเ่ กินขอบเขตจำ�กัดซึง่ ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ และ แนวปฏิบตั ดิ า้ นการจัดซือ้ จัดจ้าง การให้เงิน บริจาคที่ต้องดำ�เนินไปอย่างโปร่งใส เป็น ธรรม ภายใต้กฎระเบียบและขัน้ ตอนปฏิบตั ิ ที่ถูกต้อง ทั้ ง นี้ รายละเอี ย ดนโยบายข้ า งต้ น และ นโยบายทีส่ �ำ คัญอืน่ ๆ เปิดเผยไว้ในจรรยาบรรณ

แ ล ะ นโ ย บ า ย ก า ร กำ � กั บ ดู แ ล กิ จ ก า ร ส่วนการดำ�เนินงานเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อ ผูม้ สี ว่ นได้เสียเปิดเผยไว้ในหัวข้อการบริหาร จัดการความยั่งยืน หน้า 107 การแจ้งเบาะแสหรือร้องเรียน CPN มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณา และสอบสวนเรื่ อ งราวร้ อ งทุ ก ข์ ห รื อ ร้ อ ง เรียน พร้อมทั้งกำ�หนดหน้าที่และความ รับผิดชอบที่เป็นระบบ โปร่งใส และตรวจ สอบได้ เพื่อให้ผู้ร้องทุกข์หรือผู้ร้องเรียนไว้ วางใจและเชื่อมั่นในกระบวนการสอบสวน ที่เป็นธรรม กรณีที่ผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ มีข้อสงสัย หรื อ พบเห็ น การกระทำ � ที่ ส งสั ย ว่ า มี ก าร ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้ อ บั ง คั บ หรื อ จรรยาบรรณทางธุ ร กิ จ สามารถแจ้งเบาะแสหรือร้องเรียน พร้อม ส่งรายละเอียดหลักฐานต่างๆ ได้ที่ คณะ กรรมการตรวจสอบหรือกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ โดยคณะกรรมการตรวจสอบหรื อ ฝ่ า ย จัดการจะดำ�เนินการสืบหาข้อเท็จจริงและ มีการรายงานสรุปประเด็นสำ�คัญให้คณะ กรรมการบริษัทพิจารณารับทราบ สำ�หรับ ช่องทางในการติดต่อมีรายละเอียดดังนี้

คณะกรรมการตรวจสอบ บริษทั เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) ชั้น 30 อาคารดิออฟฟิศเศส แอท เซ็ น ทรั ล เวิ ล ด์ เลขที่ 999/9 ถนน พระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย โทรศัพท์: +66(0) 2667-5555 ต่อ 1200 อีเมลล์: whistleblower@cpn.co.th

กรรมการผู้จัดการใหญ่ ตู้ ปณ.99 ปณฝ. ประตูน�้ำ กรุงเทพฯ 10409 สำ�หรับผู้ที่แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนที่ เป็นพนักงาน ลูกค้า หรือบุคคลที่รับจ้าง ทำ�งานให้แก่บริษัทฯ จะได้รับการคุ้มครอง สิทธิตามกฎหมาย ซึ่งได้มีการกำ�หนดราย ละเอียดไว้ในนโยบายการกำ�กับดูแลกิจการ ของบริษัทฯ ทั้งนี้ ในปี 2555 CPN ไม่มีข้อพิพาทใดๆ ที่มีนัยสำ�คัญกับผู้มีส่วนได้เสีย 4. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส (Disclosure and Transparency) CPN ยึดมั่นในหลักการเปิดเผยข้อมูลที่มี ความถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใส ทัว่ ถึง และ ทันเวลา ทั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูล ที่ไม่ใช่ทางการเงิน เพื่อให้นักลงทุนและ ผูม้ สี ว่ นได้เสียทุกฝ่ายทัง้ ในประเทศและต่าง ประเทศมีขอ้ มูลทีเ่ ชือ่ ถือได้และเพียงพอต่อ การตัดสินใจอย่างสม่�ำ เสมอ ซึง่ ข้อมูลทีเ่ ปิด เผยประกอบด้วย >> ข้ อ มู ล ข่ า วสารของบริ ษั ท ฯ ที่ สำ � คั ญ

และเป็ น ปั จ จุ บั น โดยเปิ ด เผยผ่ า น หลายช่องทางการสือ่ สาร เช่น เว็บไซต์ ของบริ ษั ท ฯ ระบบการแจ้ ง ข่ า วผ่ า น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การ แถลงผลประกอบการประจำ�ไตรมาส การแถลงแผนงานในการดำ�เนินธุรกิจ ของบริษัทฯ รายงานประจำ�ปี เป็นต้น

>> แบบแสดงรายการข้อมูลประจำ�ปี (แบบ

56-1) รายงานประจำ�ปี (แบบ 56-2) ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลเกีย่ วกับผูถ้ อื หุน้


92 | 93

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

รายใหญ่ แ ละสิ ท ธิ ใ นการออกเสี ย ง ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ กรรมการและคณะ กรรมการชุดย่อยชุดต่างๆ สารสนเทศ แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นโยบายการจ่ายเงินปันผล จรรยาบรรณ และนโยบายการกำ � กั บ ดู แ ลกิ จ การ กิจกรรมและแผนการดำ�เนินงานต่างๆ ของบริษัทฯ เป็นต้น ผู้มีหน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูล CPN กำ�หนดผูม้ หี น้าทีใ่ นการเปิดเผยข้อมูล ที่สำ�คัญด้านต่างๆ ของบริษัทฯ ประกอบ ด้ ว ยกรรมการผู้ จั ด การใหญ่ เลขานุ ก าร บริษัท ผู้บริหารระดับสูงในสายงานการ เงินและหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ รวม ทั้งผู้บริหารระดับสูงในสายงานการตลาด และหน่วยงานประชาสัมพันธ์ โดยมีหน้าที่ ในการเปิดเผยข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ บทบาทหน้าที่และสายงานที่ตนรับผิดชอบ ส่วนงานนักลงทุนสัมพันธ์ CPN จัดตั้งส่วนงานนักลงทุนสัมพันธ์ในปี 2549 เพื่อเป็นศูนย์กลางในการตอบข้อ ซั ก ถามและเปิ ด เผยข้ อ มู ล ของบริ ษั ท ฯ รวมถึงบริ ห ารความสั ม พั น ธ์ กั บ นั ก ลงทุ น นักวิเคราะห์ ผูถ้ อื หุน้ บุคคลทัว่ ไป ส่วนงาน นั ก ลงทุ น สั ม พั น ธ์ จ ะทำ � งานใกล้ ชิ ด กั บ ผู้บริหารระดับสูงเพื่อกำ�หนดนโยบายและ แผนงานประจำ�ไตรมาสและประจำ�ปี รวมถึง วางแนวทางในการปฏิ บั ติ ง านและการ พัฒนางานด้านนักลงทุนสัมพันธ์ให้เทียบ เท่ า กั บ บริ ษั ท จดทะเบี ย นชั้ น นำ � ระดั บ ภูมภิ าค รวมถึงการนำ�เสนอผลการปฏิบตั งิ าน ข้ อ คิ ด เห็ น จากผู้ ถื อ หุ้ น นั ก ลงทุ น และ นั ก วิ เ คราะห์ ต่ อ คณะกรรมการบริ ษั ท ปีละ 2 ครั้ง

CPN มีการเปิดเผยข้อมูลบริษัทฯ และ ข้ อ มู ล ทางการเงิ น ที่ สำ � คั ญ อย่ า งถู ก ต้ อ ง ครบถ้วน ผ่าน 3 ช่องทางหลัก คือ 1. แบบแสดงรายการข้อมูลประจำ�ปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำ�ปี (แบบ 56-2) ซึ่ ง มี ร ายละเอี ย ดในหั ว ข้ อ ที่ สำ�คัญ อาทิ ภาพรวมการดำ�เนินธุรกิจ ปัจจัยความเสีย่ ง โครงสร้างเงินทุนและ การจัดการ การทำ�รายการระหว่างกัน การดูแลการใช้ข้อมูลภายใน การกำ�กับ ดูแลกิจการ ผลการดำ�เนินงาน โครงการ ในอนาคต และฐานะการเงิน เป็นต้น 2. คำ�อธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่าย จัดการ (Management Discussion and Analysis หรือ MD&A) ประจำ�ไตรมาส และประจำ�ปี ซึ่งแสดงรายละเอียดผล การดำ�เนินงานด้านการปฏิบัติการและ การเงิ น พร้ อ มการวิ เ คราะห์ แ ละคำ � อธิ บ ายถึ ง สาเหตุ ก ารเปลี่ ย นแปลง โดยคำ � นึ ง ถึ ง ปั จ จั ย ที่ ส่ ง ผลกระทบต่ อ การเปลีย่ นแปลงของผลการดำ�เนินงาน รวมถึ ง รายงานความคื บ หน้ า ของ โครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและ ปัจจัยหรืออิทธิพลหลักที่อาจส่งผลต่อ ผลการดำ � เนิ น งานและฐานะการเงิ น ในอนาคต เพือ่ ให้ผถู้ อื หุน้ และนักลงทุน ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอต่อ การตัดสินใจลงทุนและการติดตามผล การดำ�เนินงานของบริษัทฯ 3. การเปิ ด เผยข้ อ มู ล ผ่ า นทางเว็ บ ไซด์ www.cpn.co.th ในหัวข้อ “ข้อมูลนัก ลงทุน” หรือ “Investor Relations” เพือ่ อำ�นวยความสะดวกให้แก่นกั ลงทุน และผู้ ที่ ส นใจให้ ส ามารถศึ ก ษาข้ อ มู ล บริ ษั ท ฯ ได้ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ งโดยมี ก าร

ปรั บ ปรุ ง ให้ เ ป็ น ปั จ จุ บั น และทั น ต่ อ เหตุการณ์อยูเ่ สมอ ซึง่ ส่วนงานนักลงทุน สัมพันธ์ได้จดั ทำ�และเปิดเผยข้อมูลผ่าน ทางเว็ บไซต์ ทั้ ง ภาษาไทยและภาษา อั ง กฤษ ข้ อ มู ล ที่ เ ปิ ด เผยบนเว็ บไซต์ อาทิ ข้อมูลทางการเงิน คำ�อธิบายและ การวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (MD&A) โครงสร้างการถือหุ้น การกำ�กับดูแล กิจการ ข้อมูลเกีย่ วกับการประกอบธุรกิจ ของบริษัทฯ สารสนเทศต่างๆ ที่แจ้ง ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ELCID) แบบแสดงรายการข้อมูล ประจำ�ปี รายงานประจำ�ปี หนังสือเชิญ ประชุมผู้ถือหุ้น รายงานการประชุม ผู้ ถื อ หุ้ น เอกสารข่ า วและภาพข่ า ว (Press Release) ข่าวสาร และปฏิทิน ทางการเงินสำ�หรับนักลงทุน (IR Event and Calendar) ข้อมูลโครงการภายใต้ การบริหารงานในปัจจุบันและโครงการ ที่เปิดให้บริการใหม่ (New Project Fact Sheet) รวมถึงเอกสารที่ผู้บริหาร ระดั บ สู ง นำ � เสนอระหว่ า งการพบปะ นักลงทุน (Roadshow) ทั้งในและต่าง ประเทศ เป็นต้น โดยมีผู้เข้าเยี่ยมชม เว็บไซต์กว่า 10,540 คนต่อเดือน มีการ เข้าเยี่ยมชมข้อมูลในหน้าเว็บไซต์โดย เฉลีย่ กว่า 569,984 ครัง้ ต่อเดือน เพิม่ ขึน้ 128% จากปี ก่ อ น และมี ผู้ ส นใจลง ทะเบียนรับข่าวสารอิเล็คทรอนิคส์จาก ส่วนงานนักลงทุนสัมพันธ์กว่า 3,247 คน กิจกรรมพบผู้ถือหุ้นและนักลงทุนประจำ� ไตรมาส CPN ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทย ในการดำ�เนินกิจกรรมบริษทั จดทะเบียน


พบนักลงทุน (Opportunity Day) เป็น ประจำ�ทุกไตรมาส เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูง ได้ แ ถลงผลการดำ � เนิ น งานและผลการ ปฏิ บั ติ ง านประจำ �ไตรมาส ชี้ แ จงความ เคลือ่ นไหวของธุรกิจ อาทิ โครงการทีข่ ยาย ตัว โครงการใหม่ในอนาคต แนวโน้มของ ธุรกิจ รวมถึงวิธีการรับมือกับผลกระทบทั้ง ทางบวกและทางลบทีอ่ าจเกิดขึน้ จากปัจจัย ภายในและปัจจัยภายนอก และเป็นโอกาส ให้บริษทั ฯ ได้พบปะและตอบข้อซักถามจาก นักวิเคราะห์ นักลงทุน และผูถ้ อื หุน้ โดยตรง ในรอบปีที่ผ่านมา มีนักลงทุนและผู้ที่สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวเฉลีย่ 80-100 คน ต่อไตรมาส พร้อมจัดให้มีการถ่ายทอดสด ผ่านทางเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย (Web Lived) ซึ่งมีสถิติเข้า ชมผ่ า นเว็ บไซต์ โ ดยเฉลี่ ย 458 คนต่ อ ไตรมาส ซึ่งผู้เข้าชมทางเว็บไซต์สามารถส่ง คำ�ถามเข้ามาได้โดยจะปรากฏบนหน้าจอ คอมพิ ว เตอร์ ที่ จั ด ตั้ ง ไว้ ด้ า นหน้ า ของผู้ บริหาร ซึ่งผู้บริหารจะสามารถตอบข้อซัก ถามต่ า งๆ ได้ ใ นห้ อ งประชุ ม นั้ น ทั น ที นอกจากนี้ CPN ได้จดั ให้มกี ารบันทึกภาพ และเสียงตลอดการดำ�เนินกิจกรรมในรูป แบบของ Webcast เผยแพร่ในเว็บไซต์ของ CPN ภายหลังการประชุม เพือ่ ให้นกั ลงทุน ที่ พ ลาดการเข้ า ร่ ว มงานได้ รั บ ทราบการ แถลงผลการดำ � เนิ น งานของบริ ษั ท ราย ไตรมาสอย่างทั่วถึง กิจกรรมพบปะนักลงทุน CPN ดำ�เนินกิจกรรมพบปะนักลงทุนหลาก หลายรูปแบบเป็นประจำ�อย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ ให้ผู้บริหารระดับสูงและส่วนงานนักลงทุน สัมพันธ์ได้พบปะนักลงทุนเพื่อชี้แจงข้อมูล ผลการดำ�เนินงาน แผนกลยุทธ์ แนวทาง

การเติบโต รวมถึงสรุปเหตุการณ์ส�ำ คัญๆ ที่ เกิดขึ้นในรอบปี และตอบข้อซักถาม ซึ่งใน ปี 2555 มีการดำ�เนินกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1. การเดิ น ทางพบปะนั ก ลงทุ น หรื อ Roadshow แบ่งเป็น >> การเดิ น ทางพบปะนั ก ลงทุ น ต่ า ง ประเทศ รวม 14 ครั้ง >> การเดิ น ทางพบปะนั ก ลงทุ น ใน ประเทศ รวม 7 ครั้ง 2. การจัดให้นักวิเคราะห์ นักลงทุนราย ย่อย และนักลงทุนสถาบันทัง้ ในประเทศ และต่างประเทศเข้าพบผู้บริหารและ นักลงทุนสัมพันธ์โดยผ่านการนัดหมาย เพื่อสอบถามข้อมูลบริษัท (Company Visit) รวม 138 ครั้ง 3. การเยี่ยมชมโครงการโดยการนัดหมาย ล่วงหน้าจากนักลงทุนและนักวิเคราะห์ หลักทรัพย์ (Site Visit) ในปีทผี่ า่ นมา CPN ร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์นำ�นัก ลงทุนจากต่างประเทศและในประเทศ เยีย่ มชมการปฏิบตั งิ านของศูนย์การค้า ภายใต้การบริหารงานของบริษทั ฯ พร้อม ทัง้ รับฟังการบรรยายข้อมูลจากผูบ้ ริหาร เพือ่ ให้นกั ลงทุนได้เข้าใจถึงลักษณะการ ประกอบธุรกิจของ CPN รวม 19 ครั้ง 4. การประชุมทางโทรศัพท์จากนักลงทุน (Conference Call) รวม 14 ครั้ง 5. การสื่อสารข้อมูลผ่านทางอีเมลล์และ โทรศัพท์ เฉลี่ย 4-6 ครั้งต่อวัน CPN มุ่งหวังว่าส่วนงานนักลงทุนสัมพันธ์ จะเป็นสือ่ กลางสำ�คัญในการให้ขอ้ มูล ชีแ้ จง ตอบข้อซักถาม รวมถึงการรับฟังและแลก

เปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ถือหุ้น นักลงทุน นั ก วิ เ คราะห์ ห ลั ก ทรั พ ย์ แ ละผู้ ที่ ส นใจ สามารถติดต่อเพื่อขอรับทราบข้อมูลของ CPN เพิ่มเติมได้ที่ คุณอัมพาวีร์ ชมภูพงษ์เกษม ส่วนงานนักลงทุนสัมพันธ์ บริษทั เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) ชั้น 31 อาคารดิออฟฟิศเศส แอท เซ็ น ทรั ล เวิ ล ด์ เลขที่ 999/9 ถนน พระราม1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย โทรศัพท์: +66(0) 2667-5555 ต่อ 1614 และ 1688 โทรสาร: +66(0) 2264-5593 อีเมลล์: ir@cpn.co.th 5. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ (Board Responsibilities) คณะกรรมการมีส่วนสำ�คัญในการกำ�หนด ทิ ศ ทางการเติ บโตของ CPN ผ่ า นการ กำ�หนดนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และ แผนกลยุทธ์ประจำ�ปี รวมทัง้ การกำ�กับดูแล และติดตามความคืบหน้าการดำ�เนินงานใน ด้านต่างๆ ของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามหลัก บรรษัทภิบาลอย่างสม่ำ�เสมอ โครงสร้างคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษทั ประกอบด้วย กรรมการ อิสระ 5 คน จากกรรมการทั้งหมด 12 คน คิดเป็นสัดส่วนกรรมการอิสระเกินกว่า 1 ใน 3 ของคณะกรรมการทั้งหมด รายชื่อและ ข้อมูลกรรมการอิสระปรากฏอยู่ในหัวข้อ รายละเอียดเกีย่ วกับผูบ้ ริหารและผูม้ อี �ำ นาจ ควบคุมของบริษทั หน้า 243 โดยกรรมการ อิสระทุกท่านมีคุณสมบัติความเป็นอิสระ


94 | 95

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

ครบถ้วนตามที่บริษัทฯ กำ�หนด สามารถ ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ก รรมการอิ ส ระได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นประโยชน์ ต่อบริษัทฯ อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ เพื่อให้การกำ�กับดูแลองค์กรเป็นไป อย่ า งทั่ ว ถึ งในทุ ก มิ ติ แ ละสอดคล้ อ งตาม หลักการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี CPN จัดให้ มีคณะกรรมการชุดย่อย คณะกรรมการ บริหาร และคณะกรรมการจัดการ ตลอดจน เลขานุการบริษทั มีบทบาทหน้าทีส่ นับสนุน การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท รายละเอียดปรากฏอยู่ในหัวข้อโครงสร้าง การจัดการ หน้า 134 ความหลากหลายในโครงสร้างของ คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษทั สนับสนุนให้โครงสร้าง คณะกรรมการบริ ษั ท ประกอบด้ ว ยผู้ ท รง คุ ณ วุ ฒิ ที่ มี ค วามรู้ ค วามสามารถที่ ห ลาก หลาย มีประสบการณ์ ความรูค้ วามเชีย่ วชาญ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำ�เนินธุรกิจ ยึดมั่น ในคุณธรรมและความซื่อสัตย์ โดยไม่จำ�กัด เพศ เชื้อชาติ ศาสนา อายุ ทักษะทาง วิชาชีพ หรือคุณสมบัติเฉพาะด้านอื่นๆ บทบาทของประธานกรรมการ แม้ว่าประธานกรรมการจะเป็นตัวแทนจาก ผู้ถือหุ้นที่มิใช่กรรมการอิสระ แต่อย่างไร ก็ตาม จากการพิจารณาของคณะกรรมการ สรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทนผ่านความ เห็นชอบของคณะกรรมการบริษัทมีความ เห็นว่า โครงสร้างดังกล่าวมีความเหมาะสม กับลักษณะการประกอบธุรกิจของ CPN และเป็นจุดแข็งที่ช่วยส่งเสริมให้การดำ�เนิน ธุรกิจของ CPN ประสบความสำ�เร็จและ

มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากประธานกรรมการเป็นผู้มีความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในธุรกิจ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการค้าปลีกมา ยาวนาน สามารถปฏิบัติหน้าที่โดยคำ�นึง ถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย มาโดยตลอด นอกจากหน้ า ที่ แ ละความรั บ ผิ ด ชอบใน ฐานะกรรมการตามกฎบัตรคณะกรรมการ บริ ษั ท ประธานกรรมการได้ ยึ ด มั่ น ใน จรรยาบรรณและนโยบายการกำ � กั บ ดู แ ล กิจการอยูเ่ สมอ เพือ่ เป็นแบบอย่างทีด่ ใี ห้แก่ กรรมการ ผูบ้ ริหาร และพนักงานของบริษทั ฯ ทัง้ นี้ ในการประชุมคณะกรรมการบริษทั หรือ การประชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ น ที่ ป ระธานกรรมการ มี ส่ ว นได้ เ สี ย กั บ การพิ จ ารณาในวาระใด ประธานกรรมการจะไม่อยู่ในที่ประชุมและ งดออกเสียงในวาระนัน้ ๆ โดยมอบหมายให้ กรรมการท่านอืน่ ปฏิบตั หิ น้าทีป่ ระธานในที่ ประชุมแทน ทั้งนี้ ประธานกรรมการเป็น ผู้กำ�หนดวาระการประชุมและควบคุมดูแล การประชุมคณะกรรมการบริษัทให้ดำ�เนิน ไปอย่างเรียบร้อย เปิดโอกาสให้กรรมการ ทุกท่านได้แสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอ แนะอย่างเต็มที่ในเชิงสร้างสรรค์และเป็น อิสระ นโยบายการจำ�กัดจำ�นวนบริษัทฯ และจำ�นวนวาระในการดำ�รงตำ�แหน่ง ของกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ >> กรรมการบริษทั ดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการ

ในบริษทั จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยได้ไม่เกิน 5 บริษทั โดย ไม่มขี อ้ ยกเว้น ทัง้ นี้ ในปัจจุบนั กรรมการ CPN ทุกท่านมีการดำ�รงตำ�แหน่งใน บริษัทจดทะเบียนรวมไม่เกิน 5 บริษัท

>> กรรมการอิสระดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการ

ติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 วาระ และสามารถ ต่อวาระได้โดยรวมระยะเวลาการดำ�รง ตำ�แหน่งทุกวาระแล้วต้องไม่เกิน 9 ปี มีผลบังคับใช้เมือ่ วันที่ 4 มีนาคม 2556 โดยไม่มีผลย้อนหลัง ซึ่งคณะกรรมการ พิ จ ารณาแล้ ว เห็ น ว่ า การกำ � หนด นโยบายวาระการดำ � รงตำ � แหน่ ง ของ กรรมการอิสระเช่นนี้มีความเหมาะสม ต่อการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่องของ กรรมการ เนือ่ งจากในการสรรหาบุคคล ทีม่ คี ณ ุ สมบัตเิ หมาะสมอาจต้องใช้ระยะ เวลาดำ�เนินการ

>> กรรมการผู้ จั ด การใหญ่ อ าจไปดำ � รง

ตำ�แหน่งกรรมการที่บริษัทอื่นได้ แต่ ต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบตั หิ น้าที่ กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ของบริษทั ฯ และ กิ จ การนั้ น ต้ อ งไม่ เ ป็ น ธุ ร กิ จ ประเภท เดียวกัน หรือเป็นการแข่งขันกับธุรกิจ ของบริษัทฯ โดยต้องได้รับความเห็น ชอบจากคณะกรรมการบริษัทก่อนไป ดำ � รงตำ � แหน่ ง กรรมการในบริ ษั ท อื่ น ทั้งนี้ ในปัจจุบันกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการใน CPN และ บริษัทจดทะเบียนอื่นรวม 2 บริษัท

การประชุมคณะกรรมการ >> คณะกรรมการร่วมกันกำ�หนดวันประชุม

คณะกรรมการล่วงหน้าไว้ทั้งปี อย่าง น้อยปีละ 6 ครั้ง โดยในปี 2555 CPN มีการประชุมคณะกรรมการบริษัทรวม 6 ครัง้ เป็นวาระการประชุมตามปกติทงั้ 6 ครัง้ ซึง่ ประกอบด้วยวาระเพือ่ พิจารณา 36 เรื่อง และวาระเพื่อทราบ 40 เรื่อง


>> ประธานกรรมการ กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่

และเลขานุ ก ารบริ ษั ท จะร่ ว มกั น พิจารณากำ�หนดวาระการประชุมก่อน การประชุมแต่ละครั้งอย่างชัดเจน และ เปิดโอกาสให้กรรมการทุกท่านสามารถ เสนอวาระการประชุ ม ได้ อ ย่ า งเป็ น อิ ส ระ โดยประธานกรรมการเป็ น ผู้ พิจารณาความเหมาะสมของวาระดัง กล่าว

>> เลขานุการบริษทั จัดส่งเอกสารประกอบ

การประชุมในวาระที่สามารถเปิดเผย เป็ น ลายลั กษณ์อักษรได้โดยไม่ส่งผล กระทบต่อบริษัทฯ ให้กรรมการได้มี เวลาพิจารณาล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน พร้อมกับจดหมายเชิญประชุม โดยระบุ วัน เวลา สถานที่ และวาระการประชุม เว้นแต่ในกรณีจ�ำ เป็นรีบด่วน เพือ่ รักษา สิ ท ธิ ห รื อ ป ร ะโ ย ช น์ ข อ ง บ ริ ษั ท ฯ เลขานุการบริษัทจะแจ้งการนัดประชุม โดยวิธอี นื่ และกำ�หนดวันประชุมให้เร็ว กว่านั้นก็ได้

>> ในระหว่างการประชุม ประธานในที่

ประชุมได้มกี ารจัดสรรเวลาอย่างเพียงพอ ในการอภิ ป รายประเด็ น ที่ สำ � คั ญ อีกทั้งสนับสนุนให้กรรมการทุกท่านได้ แสดงความคิ ด เห็ น อย่ า งสร้ า งสรรค์ และเป็นอิสระ มีการใช้ดุลยพินิจอย่าง รอบคอบ ทั้งนี้ เลขานุการบริษัทและ ฝ่ายกฎหมายจะเข้าร่วมประชุมและจด บันทึกรายงานการประชุมทุกครั้ง

>> ในการประชุ ม คณะกรรมการบริ ษั ท

กรรมการทีอ่ าจมีสว่ นได้เสียจะไม่อยูใ่ น ที่ประชุม และงดออกเสียงในวาระนั้น

>> เมื่อมีเหตุการณ์ต่างๆ ที่ส�ำ คัญหรือที่มี

ผลกระทบต่อบริษัทและ/หรือผู้มีส่วน ได้เสียอย่างมีนัยสำ�คัญ ฝ่ายจัดการจะ นำ � รายละเอี ย ดมาเสนอให้ ค ณะ กรรมการพิ จ ารณาให้ ค วามเห็ น และ ข้อเสนอแนะต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์อทุ กภัยในปี 2554 เหตุการณ์ ความไม่สงบทางการเมืองในปี 2553 เป็นต้น

>> เอกสารประกอบการประชุม รายงาน

การประชุม ตลอดจนข้อมูลหรือเอกสาร ทีเ่ กีย่ วข้องมีการเก็บไว้อย่างครบถ้วนใน ทีป่ ลอดภัย โดยมีการจัดเก็บในรูปแบบ ไฟล์อเิ ล็กทรอนิกส์ควบคูก่ บั การจัดเก็บ เอกสารต้นฉบับ

>> ในกรณีที่มีข้อซักถามในที่ประชุมและ

เป็ น เรื่ อ งที่ ต้ อ งติ ด ตามขอข้ อ มู ล จาก ฝ่ายงานทีเ่ กีย่ วข้อง เลขานุการบริษทั จะ เป็นผู้ประสานงานและจัดส่งเอกสาร การชี้ แ จงเพิ่ ม เติ ม ของฝ่ า ยจั ด การให้ คณะกรรมการโดยเร็วที่สุด

>> เลขานุการบริษัทจัดส่งรายงานผลการ

ดำ�เนินงานรายเดือนเปรียบเทียบกับ เป้ า หมายแผนงานที่ ค ณะกรรมการ บริษัทพิจารณาอนุมัติไว้ เพื่อให้คณะ กรรมการได้ พิ จ ารณารั บ ทราบอย่ า ง ต่อเนื่องทุกเดือน

>> คณะกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารมีการ

ประชุมร่วมกันอย่างน้อยปีละ 1 ครัง้ ซึง่ ในปี 2555 มีการจัดประชุม 3 ครั้ง ใน เดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ กั น ยายน และ พฤศจิกายน เพื่อหารือเกี่ยวกับแผน กลยุทธ์และการทำ�รายการที่เกี่ยวโยง กันของบริษัทฯ โดยมีการสรุปประเด็น

การพิจารณาและข้อเสนอแนะที่เป็น ประโยชน์เพือ่ ให้คณะกรรมการและฝ่าย จัดการได้รบั ทราบและนำ�ไปพัฒนาการ ดำ�เนินงานที่เกี่ยวข้องต่อไป >> ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร มี ก า ร ป ร ะ เ มิ น

ประสิทธิภาพการประชุมคณะกรรมการ บริ ษั ท ทั้ ง คณะทุ ก ครั้ ง ที่ มี ก ารประชุ ม เพื่ อ นำ � ผลที่ ไ ด้ จ ากการประเมิ น มา ปรั บ ปรุ ง พั ฒ นาการปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ กรรมการและการจัดประชุมให้ดียิ่งขึ้น ซึง่ ผลประเมินประสิทธิภาพการประชุม คณะกรรมการบริษัทเฉลี่ยในปี 2555 เท่ากับ 94.49%

>> คณะกรรมการมีการพิจารณาเกี่ยวกับ

การเปลี่ยนแปลงในกฎหมาย ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ต่างๆ ที่สำ�คัญ ตลอดจน ข่าวสารความเคลือ่ นไหวด้านการกำ�กับ ดูแลกิจการที่ดีอย่างสม่ำ�เสมอ เพื่อให้ การปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ใ นฐานะกรรมการ สอดคล้ อ งตามกฎหมาย ข้ อ บั ง คั บ หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบตั ทิ ดี่ แี ละเป็น ปัจจุบัน

การประเมินผลการปฏิบัติงานของ คณะกรรมการบริษัท หลักเกณฑ์ แบบประเมิ น ตนเองของคณะกรรมการ CPN เป็นแบบประเมินการปฏิบัติหน้าที่ ของคณะกรรมการทัง้ คณะ โดยนำ�แนวทาง การประเมิ น จากตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทยมาปรั บใช้ ใ ห้ เ หมาะสมกั บ ลักษณะและโครงสร้างของคณะกรรมการ ซึ่งผลการประเมินจะเป็นส่วนสำ�คัญในการ พัฒนาการปฏิบตั หิ น้าทีแ่ ละการดำ�เนินงาน


96 | 97

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

เกี่ยวกับคณะกรรมการให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลยิ่งขึ้นต่อไป ทั้งนี้ แบบ ประเมินแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 คณะกรรมการประเมินระดับ คะแนนความเห็ น หรื อ ระดั บ การ ดำ�เนินการใน 6 หัวข้อประเมิน ได้แก่ >> โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะ กรรมการ >> บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ ของคณะกรรมการ >> การประชุมคณะกรรมการ >> การทำ�หน้าที่ของกรรมการ >> ความสัมพันธ์กับฝ่ายจัดการ >> การพัฒนาตนเองของกรรมการและ การพัฒนาผู้บริหาร

ส่วนที่ 2 คณะกรรมการให้ความเห็น ข้อเสนอแนะ หรือสิ่งที่ให้ความสนใจ เป็นกรณีพิเศษสำ�หรับการปฏิบัติงาน ของคณะกรรมการหรือการดำ�เนินงาน ด้านต่างๆ ของบริษัทฯ

ขั้นตอน เลขานุการบริษัทจะจัดส่งแบบประเมินให้ กรรมการบริษัททุกท่านประเมินตนเองใน ทุกสิ้นปี และเป็นผู้รวบรวมและรายงาน สรุปผลต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เพื่ อ พิ จ ารณารั บ ทราบและหารื อ กั น เป็ น ประจำ�ทุกปี ทั้ ง นี้ คะแนนประเมิ น ตนเองของคณะ กรรมการโดยรวมในปี 2555 เท่ า กั บ 94.01% นอกจากนี้ คณะกรรมการได้มี การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเตรียม ยุทธศาสตร์และทรัพยากรมนุษย์เพือ่ รองรับ การขยายธุรกิจไปยังตลาดอาเซียน การ

กำ�หนดและจัดทำ�แผนกลยุทธ์ของบริษัทฯ เป็นต้น การประเมินผลการปฏิบัติงานของ CEO หลักเกณฑ์ แบบประเมินผลการปฏิบัติงานของ CEO แบ่งเป็น 2 หมวด ตามแนวทางการประเมิน จากตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทย ประกอบด้วย หมวดที่ 1 การวั ด ผลการปฏิ บั ติ ง าน ประกอบด้วยหัวข้อการประเมิน 10 หัวข้อ ได้แก่

จากนั้นในทุกสิ้นปีเลขานุการบริษัทจะจัด ส่งแบบประเมินให้กรรมการบริษัททุกท่าน ประเมิน CEO รวมทั้งจัดส่งแบบประเมิน ดังกล่าวให้ CEO ประเมินตนเองเพือ่ นำ�ผล การประเมินมาเปรียบเทียบและเป็นข้อมูล ในการพัฒนาศักยภาพของ CEO ต่อไป ทัง้ นี้ เลขานุการบริษทั จะเป็นผูร้ วบรวมและ รายงานสรุปผลต่อที่ประชุมคณะกรรมการ สรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทนและคณะ กรรมการบริ ษั ท เพื่ อ พิ จ ารณากำ � หนด ค่าตอบแทนของ CEO ตามลำ�ดับ การอบรมและสัมมนาของคณะกรรมการ

>> ความเป็นผู้น�ำ >> การกำ�หนดกลยุทธ์ >> การปฏิบัติตามกลยุทธ์ >> การวางแผนและผลปฏิบัติทางการ เงิน >> ความสัมพันธ์กับคณะกรรมการ >> ความสัมพันธ์กับภายนอก >> การบริหารงานและความสัมพันธ์ กับบุคลากร >> การสืบทอดตำ�แหน่ง >> ความรู้ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ >> คุณลักษณะส่วนตัว

เลขานุการบริษัทมีส่วนสนับสนุนให้คณะ กรรมการได้พัฒนาความรู้และแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ ใ นการทำ � หน้ า ที่ ใ นฐานะ กรรมการบริษัทและกรรมการชุดย่อยอย่าง ต่ อ เนื่ อ ง โดยมี ก ารประชาสั ม พั น ธ์ แ ละ ประสานงานเพือ่ อำ�นวยความสะดวกให้กบั กรรมการทุกท่านในการเข้าร่วมการอบรม และสัมมนาหลักสูตรต่างๆ โดยรายละเอียด เกี่ ย วกั บ การอบรมสั ม มนาของกรรมการ แต่ละท่านสามารถดูรายละเอียดได้ในหัวข้อ รายละเอียดเกีย่ วกับผูบ้ ริหารและผูม้ อี �ำ นาจ ควบคุมของบริษัท หน้า 243

การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน

หมวดที่ 2 การพัฒนา CEO ประกอบ ด้วยจุดแข็งและประเด็นที่ CEO ควรได้ รั บ การพั ฒ นามากยิ่ ง ขึ้ น โดยคณะ กรรมการบริษัทเป็นผู้ให้ความเห็นเพิ่ม เติมในหมวดนี้

ขั้นตอน CEO มีสว่ นร่วมในการกำ�หนดเป้าหมายใน การปฏิ บั ติ ง านของตนเองและรั บ ทราบ เป้าหมายทีไ่ ด้รบั การอนุมตั ใิ นแต่ละปี หลัง

CPN ดำ�เนินธุรกิจโดยคำ�นึงถึงประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการดำ�เนินงาน ความน่า เชื่อถือและความถูกต้องของรายงานทาง การเงิ น และการปฏิ บั ติ ต ามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง โดยมีระบบ ควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน เป็นกลไกสำ�คัญในการดำ�เนินงาน ควบคู่ ไปกับการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจใน การปฏิบัติตามกลไกดังกล่าวแก่บุคลากร


ทุกระดับของบริษัทฯ ผ่านสายการบังคับ บัญชาและช่องทางประชาสัมพันธ์ต่างๆ ของบริษัทฯ

มิให้กรรมการและผู้บริหารที่เกี่ยวข้องซื้อ ขายหลั ก ทรั พ ย์ แ ละหาผลประโยชน์ แ ก่ ตนเองหรือผู้อื่นในทางมิชอบ

ข้างต้นนี้ ถือเป็นความผิดทางวินยั ตาม ระเบี ย บบริ ษั ท และอาจมี โ ทษตาม กฎหมาย

CPN จัดให้มีการประเมินความเพียงพอ ของระบบการควบคุมภายในโดยฝ่ายจัดการ ที่เกี่ยวข้องและสำ�นักตรวจสอบภายในเป็น ประจำ�ทุกปี ประกอบด้วยการประเมินใน 5 ส่วน ดังนี้

>> การควบคุ ม เกี่ ย วกั บ ข้ อ มู ล ภายใน :

>> การรายงานการถื อ หลั ก ทรั พ ย์ ข อง

>> ส่วนที่ 1 การควบคุมด้านองค์กรและ

สภาพแวดล้อม >> ส่วนที่ 2 การควบคุมด้านบริหารความ เสี่ยง >> ส่วนที่ 3 การควบคุมด้านการปฏิบตั งิ าน ของฝ่ายบริหาร >> ส่ ว นที่ 4 การควบคุ ม ด้ า นระบบ สารสนเทศและการสื่อสารข้อมูล >> ส่วนที่ 5 การควบคุ ม ด้ า นระบบการ ติดตามและประเมินผล โดยมี ค ณะกรรมการตรวจสอบทำ � หน้ า ที่ สอบทานผลการประเมินความเพียงพอของ ระบบการควบคุ ม ภายในและรายงานให้ คณะกรรมการบริษัทพิจารณาให้ความเห็น ทัง้ นี้ ปัจจุบนั ผูบ้ ริหารสูงสุดสำ�นักตรวจสอบ ภายในของ CPN คือ นางสาวสุวรรณี วัชโรดมประเสริฐ ผู้จัดการอาวุโส สำ�นัก ตรวจสอบภายใน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ ดำ�รงตำ�แหน่งโดยคณะกรรมการตรวจสอบ การกำ�กับดูแลการใช้ข้อมูลภายใน คณะกรรมการกำ�กับดูแลให้มีการกำ�หนด นโยบายที่ใช้ในการควบคุมเกี่ยวกับการใช้ ข้อมูลภายใน และการซื้อขายหลักทรัพย์ ของบริษทั ฯ เพือ่ ให้เกิดความเสมอภาคและ ยุติธรรมต่อผู้ถือหุ้นทุกราย และป้องกัน

กรรมการ ผูบ้ ริหาร และพนักงานทุกคน ต้องไม่ใช้ข้อมูลภายในของบริษัทฯ ที่มี สาระสำ�คัญ และยังไม่ได้เปิดเผยสาร สนเทศต่อสาธารณชนเพื่อประโยชน์ ของตนเองและผู้อื่น และยึดถือปฏิบัติ ตามนโยบายการเก็บรักษาและการใช้ ข้อมูลภายในทีบ่ ริษทั ฯ กำ�หนดไว้อย่าง เคร่งครัด

>> การถื อ หลั ก ทรั พ ย์ ข องบริ ษั ท ฯ :

กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของ บริษัทฯ มีสิทธิเสรีภาพในการลงทุน ซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ แต่เพื่อ ป้ อ งกั น มิ ใ ห้ เ กิ ด ความขั ด แย้ ง ทางผล ประโยชน์ กรรมการ ผู้บริหาร และ พนักงาน รวมถึงคู่สมรสและบุตรที่ยัง ไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องไม่ซื้อ ขาย โอน หรือรับโอน หลักทรัพย์ของบริษัทฯ ใน ช่วงระยะเวลา 1 เดือนก่อนการเปิด เผยงบการเงินแก่สาธารณชน ในกรณี ที่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน รวมถึงคู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุ นิติภาวะ มีการ ซื้อ ขาย โอน หรือ รับโอน หลักทรัพย์ของบริษัทฯ จะต้อง จัดทำ�และเปิดเผยรายงานการถือหลัก ทรัพย์ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงการ ถือครองหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ต่อ หน่วยงานกำ�กับดูแลให้รับทราบตาม เกณฑ์ที่กำ�หนด ทั้งนี้ หากผู้บริหารและพนักงานรายใด ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามนโยบายด้านการ ดู แ ลการใช้ ข้ อ มู ล ภายในที่ ก ล่ า ว

บริษัทฯ : เลขานุ ก ารบริ ษั ท รวบรวม ข้อมูลการถือหลักทรัพย์ของกรรมการ และผู้บริหารรวมถึงคู่สมรสและบุตรที่ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้ที่ประชุมคณะ กรรมการบริษัทรับทราบทุกไตรมาส

การกำ�กับดูแลด้านความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ บริษัทมีนโยบายในการดำ�เนินธุรกิจด้วย ความซือ่ สัตย์ สุจริต เปิดกว้าง โปร่งใส และ เป็นธรรม โดยกำ�หนดให้กรรมการ ผูบ้ ริหาร และพนักงานทุกคน ห้ามประกอบธุรกิจที่ แข่งขันกับบริษทั ฯ หลีกเลีย่ งการทำ�รายการ ที่เกี่ยวโยงกับตนเองหรือบุคคล/นิติบุคคล ที่เกี่ยวข้อง ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ กั บ บริ ษั ท ฯ โดยคณะ กรรมการบริษัทมีหน้าที่ดูแลให้บริษัทฯ มี การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และการ เปิดเผยข้อมูลรายการที่เกี่ยวโยงกัน ตามที่ กฎหมาย หรือหน่วยงานกำ�กับดูแลกำ�หนด ไว้อย่างเคร่งครัด ในกรณีที่มีความจำ�เป็นต้องทำ�รายการที่ เกี่ยวโยงกัน รายการนั้นจะต้องเป็นไปตาม เงื่อนไขการค้าทั่วไปตามหลักการที่คณะ กรรมการบริษัทอนุมัติ ด้วยความโปร่งใส และเป็นธรรม เปรียบเสมือนการทำ�รายการ กับบุคคลภายนอก และคำ�นึงถึงประโยชน์ สูงสุดของบริษัทฯ โดยผู้ที่มีส่วนได้เสียจะ ต้องไม่มีส่วนในการพิจารณารายการที่ตน มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ทั้งนี้ ใน กรณีที่เป็นรายการที่เกี่ยวโยงกันที่ไม่เป็น


98 | 99

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

ไปตามเงื่อนไขการค้าทั่วไปตามหลักการ ที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติ ซึ่งอาจก่อให้ เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ต้องผ่าน การสอบทานและให้ ค วามเห็ น จากคณะ กรรมการตรวจสอบ ก่อนนำ�เสนอขออนุมตั ิ จากคณะกรรมการบริษัทหรือผู้ถือหุ้น

กรรมการหรือผู้บริหารมีหน้าที่แจ้งให้ บริษัทฯ รับทราบโดยไม่ชักช้า โดยระบุ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลักษณะของสัญญา ชื่อของคู่สัญญา และส่วนได้เสียของ กรรมการหรือผู้บริหารในสัญญา เพื่อ ความโปร่งใสในการเข้าทำ�ธุรกรรมนั้น

>> การรายงานการทำ�รายการที่เกี่ยวโยง

>> ก า ร ร า ย ง า น ก า ร มี ส่ ว น ไ ด้ เ สี ย :

กั น : กรรมการและผู้ บ ริ ห ารต้ อ ง ตอบแบบชี้แจงรายการที่เกี่ยวโยงกัน ในรอบปีบญ ั ชีสนิ้ สุด วันที่ 31 ธันวาคม เป็ น ประจำ � ทุ ก ปี เพื่ อ แสดงถึ ง ความ โปร่ ง ใสและมี ค วามรอบคอบและ ระมั ด ระวั งในการทำ � ธุ ร กรรมที่ เ กี่ ย ว โยงกันในรอบปี โดยมีเลขานุการบริษทั เป็ น ผู้ จั ด ส่ ง แบบชี้ แ จงรายการและ รวบรวมข้อมูล

>> การเปิ ด เผยข้ อ มู ล ส่ ว นได้ เ สี ย ของ

กรรมการ ผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้อง : มีการรายงานครัง้ แรกภายใน 30 วันนับ จากวันเข้าดำ�รงตำ�แหน่งในบริษทั ฯ และ รายงานข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของทุ ก ปี สำ � หรั บ กรณี ที่ ร ะหว่ า งปี กรรมการหรื อ ผู้ บ ริ ห ารรวมถึ ง บุ ค คล ที่ มี ค วามเกี่ ย วข้ อ งจำ � เป็ น ต้ อ งเข้ า ทำ � ธุรกรรมใดๆ กับบริษทั ฯ และบริษทั ย่อย ไม่ ว่ าโดยทางตรงหรื อโดยทางอ้ อ ม

กรรมการและผู้บริหารบริษัทมีหน้าที่ รายงานการมีสว่ นได้เสียของตนเองและ ของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็น ส่ ว นได้ เ สี ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การบริ ห าร จัดการกิจการของบริษทั ฯ ตามหลักเกณฑ์ เงือ่ นไขและวิธกี ารตามทีค่ ณะกรรมการ กำ�กับตลาดทุนกำ�หนด ซึ่งเลขานุการ บริษทั มีหน้าทีร่ วบรวมและจัดส่งสำ�เนา รายงานการมีส่วนได้เสียให้แก่ประธาน กรรมการและประธานกรรมการตรวจ สอบทราบ ภายใน 7 วันทำ�การ นับแต่ วันที่ได้รับรายงาน

ทั้งนี้ ในปี 2555 CPN ไม่ได้รับข้อร้อง เรียนใดๆ เกี่ยวกับการกระทำ�ความผิดของ กรรมการและผูบ้ ริหารเกีย่ วกับการใช้ขอ้ มูล ภายในในทางมิชอบ


การพัฒนาองค์กร ตลอดปี 2555 CPN เร่งพัฒนาองค์กรเพื่อ รองรับการขยายตัวทางธุรกิจ ทั้งการปรับ โครงสร้างและกระบวนการทำ�งานของสาย งานหลักที่มุ่งเน้นการตอบสนองความพึง พอใจของลูกค้า การพัฒนากระบวนการ ทำ�งานและระบบสารสนเทศของบริษทั ฯ การ กำ�กับมาตรฐานด้านการบริหารศูนย์การค้า ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ รวมถึง การดู แ ลความผู ก พั น ของพนั ก งานต่ อ องค์กร ทั้งนี้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและ สนับสนุนองค์กรไปสู่วิสัยทัศน์ในการเป็น “ผู้พัฒนาศูนย์การค้าในระดับภูมิภาค ที่ได้ รับการชื่นชมสูงสุดจากทุกคน และไม่หยุด นิ่งในการสร้างประสบการณ์แห่งความสุข ในระดับโลก” การปรับโครงสร้างองค์กร (Organizational Realignment) บริษัทฯ ดำ�เนินการปรับโครงสร้างองค์กร กระบวนการทำ�งาน และบทบาทของส่วน งานที่เกี่ยวข้องตามแผนการปรับโครงสร้าง ต่อเนื่องจากปี 2554 โดยมีการติดตามผล ของการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะ เพื่อตรวจ สอบการปรับโครงสร้างที่เกิดขึ้นว่ามีการ ทำ�งานที่สอดประสานกัน และสามารถยก ระดั บ การให้ บ ริ ก ารลู ก ค้ า ได้ ดี ขึ้ น อย่ า ง แท้ จ ริ ง และเพื่ อให้ มั่ นใจว่ า ระบบงานที่ ออกแบบใหม่สามารถรองรับการเติบโตของ บริษัทฯ ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ CPN ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาซึ่งมีประสบการณ์ ด้านการบริหารศูนย์การค้าในระดับสากล มาประเมินระบบบริหารจัดการขององค์กร เพือ่ สะท้อนจุดแข็งและโอกาสในการพัฒนา องค์ ก รที่ สำ � คั ญ แล้ ว นำ � มากำ � หนดเป็ น โครงการพัฒนาองค์กรต่อไป

การพัฒนากระบวนการทำ�งานและ สารสนเทศของบริษัทฯ (Development of Corporate Infrastructure through ERP and HRIS) CPN ปรับองค์กรควบคู่ไปกับการพัฒนา ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) เพื่อติดอาวุธในการทำ�งานให้มี ความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการทำ � งานซ้ำ � ๆ ที่ ไ ม่ เ กิ ด มู ล ค่ า เพิ่ ม (Non-value Added Task) เพื่ อให้ พนักงานได้มีเวลาและมีโอกาสแสดงความ สามารถ พัฒนาการทำ�งาน และสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ๆ ได้มากยิ่งขึ้น

การลาและค่าใช้จา่ ยสวัสดิการผ่านระบบได้ ด้วยตนเอง การกำ�กับมาตรฐานด้านการบริหาร ศูนย์การค้าตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพ แห่งชาติ (TQA)

โครงการ ERP มี ที ม ที่ ป รึ ก ษาซึ่ ง มี ประสบการณ์ ใ นการพั ฒ นาระบบให้ กั บ บริ ษั ท ชั้ น นำ � มาทำ � งานร่ ว มกั บ ที ม งานที่ เชีย่ วชาญในกระบวนการทำ�งานด้านต่างๆ ของบริษทั ฯ จึงเป็นการผนวกองค์ความรูก้ าร ปฏิบัติงานที่เป็นเลิศของ CPN และของ ระบบมาตรฐานสากล (Best Practice) เข้า ด้วยกัน

เพือ่ ให้ศนู ย์การค้าทุกแห่งภายใต้การบริหาร ของ CPN มีแนวทางการบริหารจัดการ ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ บริษทั ฯ ได้พัฒนาระบบการวัดและติดตามผลการ บริหารงานศูนย์การค้าทีเ่ ป็นมาตรฐาน รวม ทัง้ มีการตรวจประเมินภายในองค์กร โดยให้ ความสำ�คัญกับประเด็นหลักในการบริหาร เช่น การกำ�หนดเป้าหมายและกลยุทธ์ของ ศูนย์การค้า การสื่อสารภายในศูนย์การค้า การบริหารความเสี่ยง การพัฒนาผู้นำ�และ บุคลากร การจัดการความรู้ การปรับปรุง งานและกระบวนการปฏิบัติงาน เป็นต้น นอกจากนั้นยังคงไว้ซึ่งกิจกรรมพื้นฐานที่มี ประโยชน์ตอ่ การพัฒนาองค์กรและบุคลากร ให้เติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งโครงการ Dream Team กิจกรรมแบ่งปันความรู้ และระบบ มาตรฐานสากล

นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังดำ�เนินการพัฒนา ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากร บุคคล (HRIS) ต่อเนื่องจากปี 2554 โดย เริ่มเปิดบริการให้พนักงานทั้งองค์กรได้ใช้ งานในส่วนการปรับปรุงเวลา การลาหยุด งาน ควบคู่ไปกับการพัฒนาส่วนของการ สรรหา การเบิกจ่ายสวัสดิการ และการ ประเมินผลการปฏิบัติงาน ซึ่งเมื่อระบบ เสร็จสมบูรณ์ พนักงานจะสามารถใช้งาน ระบบในลักษณะ self-service เช่น การ ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวของตัวเอง การ ตรวจสอบเวลาการทำ�งาน การขออนุมัติ

จากความตั้งใจจริงในการบริหารงานตาม เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติของทุกส่วน งานในองค์กร ส่งผลให้ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต ได้รับรางวัล การบริ ห ารสู่ ค วามเป็ น เลิ ศ (Thailand Quality Class: TQC) ประจำ�ปี 2555 ต่อ เนื่องเป็นปีที่สาม โดยรางวัลอันทรงเกียรติ นี้ ถื อ เป็ น เครื่ อ งยื น ยั น ระบบการบริ ห าร ศูนย์การค้าของ CPN ที่มุ่งสู่มาตรฐาน ระดับสากล ซึ่งความรู้ ประสบการณ์ และ ระบบการทำ�งานที่ดีได้ขยายผลไปยังทุก ศู น ย์ ก ารค้ า ภายใต้ ก ารบริ ห ารงานของ


100 | 101

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

CPN เพื่อการยกระดับการบริหารจัดการ ของศูนย์การค้าให้เป็นที่ยอมรับและสร้าง ประสบการณ์แห่งความสุขให้กับลูกค้าและ สังคมได้อย่างยั่งยืน การสร้างบรรยากาศขององค์กรแห่ง การเรียนรู้และนวัตกรรม

“CPN ยิ่งให้ยิ่งรู้” เพื่อส่งเสริมการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ทั้งในระดับบริหารและพนักงาน CPN จึง เริ่มจัด CPN Executive Sharing ในปี 2555 เพื่ อให้ ผู้ บ ริ ห ารระดั บ สู งได้ รั บ ฟั ง มุ ม มอง ความรู้ รวมถึ ง แนวโน้ ม ทาง เศรษฐกิจ สังคม การตลาดที่จำ�เป็นรวมทั้ง สนับสนุนให้หน่วยงานจัดกิจกรรมแบ่งปัน ความรู้ ร ะหว่ า งกั น และเพื่ อให้ ก ารจั ด กิจกรรมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงมีการจัด อบรมภายในเพื่อพัฒนาผู้อำ�นวยความรู้ (Facilitator) ให้เข้าใจบทบาทและมีทกั ษะ ที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนั้น มีการพัฒนาระบบ สารสนเทศภายในองค์ ก รเพื่ อใช้ จั ด เก็ บ ความรู้ของศูนย์การค้า โดยเริ่มจากศูนย์ ตั ว อย่ า ง เพื่ อ ศึ ก ษาข้ อ ดี แ ละสิ่ ง ที่ ต้ อ ง ปรับปรุง ก่อนที่จะวางแผนขยายผลต่อไป “Dream Team” นอกจากการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ราย บุคคลแล้ว CPN ยังส่งเสริมกระบวนการ คิดร่วมกันระหว่างกลุ่มคนทำ�งาน ภายใต้ กรอบความคิดแบบ PDCA (Plan-DoCheck-Act) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะฝึกให้ พนักงานวิเคราะห์และแก้ปัญหาอย่างเป็น ระบบ โครงการ “Dream Team” ได้ริเริ่ม ขึ้นตั้งแต่ปี 2552 และดำ�เนินการมาอย่าง ต่อเนื่องเป็นประจำ�ทุกปี จนในปี 2555 CPN มีกลุ่ม Dream Team กว่า 120

กลุม่ กระจายอยูท่ วั่ ทุกสาขาทัว่ ประเทศ เพือ่ ช่วยกันพัฒนางานภายในหน่วยงานให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น การบริหารจัดการศูนย์การค้า ตามมาตรฐาน ISO 9001:2008 ISO 9001:2008 เป็นมาตรฐานระบบ บริ ห ารงานด้ า นคุ ณ ภาพขององค์ ก ร ที่ CPN นำ�มาปฏิบัติเพื่อให้ผู้เข้ามาใช้บริการ และผูเ้ ช่าพืน้ ทีเ่ กิดความพึงพอใจสูงสุด โดย ISO 9001:2008 เป็นกระบวนการบริหาร งานที่มีความเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ และมีการพัฒนาด้านการบริการอย่างต่อ เนื่อง ในปี 2555 CPN ได้รบั การรับรองระบบบริหาร คุณภาพมาตรฐาน ISO 9001: 2008 สำ�หรับ ศูนย์การค้าต่างๆ ในเครือ ได้แก่ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว เซ็นทรัลพลาซา ปิน่ เกล้า เซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 เซ็นทรัลพลาซา บางนา เซ็นทรัลพลาซา พระราม 3 เซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา เซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต เซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์ เซ็นทรัล เซ็นเตอร์ พัทยา เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ และเซ็นทรัลเฟสติวลั พัทยา บีช เซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี และเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น ทำ�ให้ CPN มีศูนย์ฯ ทีไ่ ด้รบั การรับรองระบบบริหารคุณภาพตาม มาตรฐาน ISO 9001:2008 จำ�นวน 15 โครงการ นอกจากนี้ โครงการทีอ่ ยูร่ ะหว่าง การนำ�มาตรฐาน ISO 9001:2008 ไปใช้ใน การบริหารและจะมีการขอการรับรองเพิ่ม อีก 3 โครงการ ในปี 2556 คือ เซ็นทรัลพลาซา เชียงราย เซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9 และเซ็นทรัลพลาซา พิษณุโลก

ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐาน ISO 14001:2004 ISO 14001:2004 เป็นมาตรฐานระบบการ จัดการด้านสิง่ แวดล้อม โดย CPN ตระหนัก ถึงความสำ�คัญของการจัดการสิ่งแวดล้อม จึงได้นำ�มาตรฐานดังกล่าวมาปฏิบัติเพื่อ ให้การพัฒนาทางธุรกิจดำ�เนินควบคู่ไปกับ การพัฒนาสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติงานจึง มุ่ ง เน้ น การป้ อ งกั น การเกิ ด มลภาวะและ จัดให้มีการพัฒนาระบบดูแลสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่อง ในปี 2555 CPN ได้ขยายระบบการจัด การสิ่ ง แวดล้ อ มตามมาตรฐาน ISO 14001:2004 จาก 4 โครงการที่ได้รับการ รับรองแล้ว คือ เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า เซ็นทรัลพลาซา บางนา เซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต และเซ็นทรัล เซ็นเตอร์ พัทยา ไปยังอีก 2 โครงการ คือ เซ็นทรัล พลาซา รัตนาธิเบศร์ และเซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 ทำ�ให้ CPN มีศูนย์การค้าที่ ได้ รั บ การรั บ รองระบบการจั ด การด้ า น สิ่งแวดล้อม ISO 14001:2004 จำ�นวน 6 โครงการ นอกจากนี้ โครงการทีอ่ ยูร่ ะหว่าง การนำ�มาตรฐาน ISO 14001:2004 ไปใช้ ในการบริหารและจะมีการขอการรับรอง เพิม่ อีก 9 โครงการ ในปี 2556 คือ เซ็นทรัล พลาซา ขอนแก่น เซ็นทรัลพลาซา พระราม 3 เซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี เซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ เซ็นทรัลเฟสติวลั พัทยา บีช และ เซ็นทรัลเวิลด์


การดูแลความผูกพันของพนักงาน ต่อองค์กร การส่งเสริมค่านิยม วัฒนธรรม และหลัก บรรษัทภิบาล บริษัทดำ�เนินธุรกิจบนพื้นฐานของความมี จริ ย ธรรมและคุ ณ ธรรม จึ ง ส่ ง เสริ ม ให้ ผู้บริหารและพนักงานทุกคนปฏิบัติหน้าที่ ภายใต้ ห ลั ก บรรษั ท ภิ บ าล 6 ประการ “ซื่อสัตย์สุจริต เปิดกว้างโปร่งใส ให้ความ เป็นธรรม ให้ความเสมอภาค ยึดมั่นคำ� สัญญา และใส่ใจดูแลสังคม” ควบคู่ไปกับ การปลูกฝังค่านิยมองค์กร คือ สร้างสรรค์ ด้วยความเชื่อมั่น สู่ความเป็นเลิศร่วมกัน ผ่านนโยบาย แนวทางในการปฏิบตั งิ าน และ กิจกรรมรณรงค์สง่ เสริมต่างๆ อาทิ การเน้น เรื่องหลักบรรษัทภิบาลและค่านิยมองค์กร ในการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ การกำ�หนด ให้วาระการประชุมเรื่องบรรษัทภิบาลเป็น หนึง่ ในหัวข้อการประชุมประจำ�เดือน การจัด กิจกรรม “CPN อาสา” เพื่อให้พนักงาน มีส่วนร่วมในการตอบแทนสิ่งที่ดีต่อชุมชน และสังคม (ดูรายละเอียดในหัวข้อ “การ บริหารจัดการความยั่งยืน”) รวมถึงการ สำ�รวจความคิดเห็นของพนักงาน (Employee Opinion Survey หรือ EOS) การแสดง ความคิดเห็นของพนักงานผ่าน ตู้ปณ.99 และกล่องรับฟังความคิดเห็น (idea-BOX) การรับฟังเสียงของเพื่อนพนักงาน (Voice of Internal Customer หรือ VoIC) อีก ทั้งมีการให้รางวัล “คนดี คน CPN” แก่ พนั ก งานที่ ป ฏิ บั ติ ตั ว เป็ น แบบอย่ า งที่ ดี ความเอาจริงเอาจังในด้านการดำ�เนินงาน

ตามหลักบรรษัทภิบาลของทั้งระดับบริหาร และพนักงานนี้ส่งผลให้ CPN ได้รับการ ประเมิ น ผลการรายงานการกำ � กั บ ดู แ ล กิจการในระดับดีเลิศ (5 ดาว) จากสมาคม ส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษทั ไทย (IOD) คณะทำ � งานดู แ ลความสุ ข ของบุ ค ลากร (People Team) นอกเหนือจากการพัฒนาสวัสดิการ สิทธิ ประโยชน์ และนโยบายด้านบุคลากรแล้ว บริษทั ฯ ได้พฒ ั นากลุม่ คนทีม่ คี วามเอาใจใส่ ต่อเพื่อนร่วมงานเป็น “คณะทำ�งานดูแล ความสุขของบุคลากร” ประจำ�ในแต่ล ะ ศูนย์การค้า โดยบริษัทฯ จัดทำ�รายงานผล สำ�รวจความผูกพันและความพึงพอใจของ พนักงานที่มีต่อองค์กรให้กับคณะทำ�งานฯ เพื่อนำ�ไปใช้ศึกษา วิเคราะห์ และวางแผน การยกระดั บ ความพึ ง พอใจที่ เ หมาะสม กั บ กลุ่ ม คนและสภาพการณ์ ข องแต่ ล ะ ศูนย์การค้าได้อย่างแท้จริง กิจกรรมพนักงาน เพื่ อ เสริ ม สร้ า งคุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี ใ ห้ กั บ พนั ก งาน บริ ษั ท สร้ า งสรรค์ กิ จ กรรมดี ๆ สำ�หรับคน CPN ตลอดทัง้ ปี และมีรปู แบบ ที่หลากหลาย ให้พนักงานได้เลือกเข้าร่วม กิ จ กรรมตามความชอบ ทั้ ง งานเลี้ ย ง สั ง สรรค์ ปี ใ หม่ ปาร์ ตี้ วั น เกิ ด กิ จ กรรม Family Day กิจกรรม Sports Day ชมรม ฟุตบอล กิจกรรม CPN อาสา และอื่นๆ อีกทั้งยังมีสิทธิประโยชน์สำ�หรับพนักงาน ที่ จ ะมี ก ารประชาสั ม พั น ธ์ ใ ห้ พ นั ก งานได้ รับทราบตลอดเวลา


102 | 103

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ CPN ตระหนักดีวา่ CPN เป็นสังคมย่อยของ “สังคม” ใหญ่ และเมื่อบุคลากรของสังคม ย่ อ ยมี ค วามสุ ข และเห็ น คุ ณ ค่ าในตนเอง บุคลากรเหล่านี้จะพร้อมที่จะสร้างสรรค์สิ่ง ดีๆ ให้แก่ ลูกค้า คู่ค้า องค์กร และมีส่วน สำ�คัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้ มีการเติบโตอย่างยั่งยืน การบริการพนักงาน และการเป็น Business Partner CPN ได้ตระหนักถึงการก้าวไปข้างหน้า อย่างมั่นคงร่วมกับพนักงาน จึงได้ให้ความ สำ�คัญกับสวัสดิการของพนักงาน ซึ่ง CPN มีสวัสดิการที่เหนือกว่าตลาดแรงงานโดย ทั่วไป ทั้งค่ารักษาพยาบาล เงินช่วยเหลือ การศึกษาทัง้ บุตร และตัวพนักงานทีม่ คี วาม ประสงค์จะศึกษาต่อ เงินช่วยเหลือการสมรส เงินช่วยเหลือกรณีท�ำ ศพบุคคลในครอบครัว เงิ น กู้ ฉุ ก เฉิ น กรณี จำ � เป็ น เร่ ง ด่ ว นสำ � หรั บ พนั ก งาน รวมถึ ง การให้ คำ � ปรึ ก ษาแก่ พนักงานในทุกๆ ด้าน ทัง้ เรือ่ งงานและเรือ่ ง ส่วนตัว เพือ่ ให้พนักงานได้รบั แนวทางในการ แก้ไขปัญหาและร่วมเสนอแนะในด้านต่างๆ ได้ครอบคลุมมากขึ้น อันจะส่งผลอันดีแก่ ทั้งตัวพนักงานและธุรกิจต่อไปในอนาคต

การนำ� HR Software มาใช้ในการ บริหารงานทรัพยากรมนุษย์ ในปี 2555 CPN ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ ของการนำ� HR Software มาใช้ในการ บริหารงาน จึงได้ปรับระบบ HR ที่ใช้อยู่ เดิมเป็นระบบ HRIS (Human Resource Information System) ที่มีความสมบูรณ์ แบบมากขึ้น โดยพนักงานสามารถดำ�เนิน

การแบบ Self Service ทั้ ง เรื่ อ งการ ตรวจสอบประวัตกิ ารทำ�งาน การดำ�เนินการ เรื่องการลา ซึ่งเป็นระบบออนไลน์ทั้งสิ้น ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ลดขั้ น ตอนการอนุ มั ติ ต่ า งๆ ทำ � ให้ พ นั ก งานบริ ห ารเวลาได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น รวมถึงการประมวล ผลค่าจ้างและเงินเดือนทีม่ คี วามรวดเร็วและ แม่นยำ� เพื่อรองรับการขยายตัวของ CPN ต่อไปในอนาคต

ข้อมูลด้านการพนักงาน จำ�นวนบุคลากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม สาขา / ปี สำ�นักงานใหญ่ 1) ลาดพร้าว รามอินทรา ปิ่นเกล้า พัทยาเซ็นเตอร์ พระราม 3 เชียงใหม่ บางนา พระราม 2 เซ็นทรัลเวิลด์ รัตนาธิเบศร์ แจ้งวัฒนะ พัทยาบีช อุดรธานี ชลบุรี ขอนแก่น เชียงราย พิษณุโลก พระราม 9 สุราษฏร์ธานี ลำ�ปาง อุบลราชธานี รวม

2551 588 183 50 146 96 107 143 183 142 387 96 2,121

2552 635 178 53 141 89 106 142 179 141 396 96 127 149 121 100 110 2,763

หมายเหตุ : 1) นับรวมพนักงานในโครงการหลังสวน โคโลเนต

2553 655 187 51 138 91 103 142 179 142 375 99 129 155 124 99 111 43 2,823

2554 725 154 52 127 87 101 146 168 139 356 100 135 155 129 97 108 88 78 110 3,055

2555 896 158 48 123 84 97 124 155 116 327 95 127 152 114 91 108 84 74 118 76 60 47 3,274


การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร

52% หญิง 1,718 คน

แยกตามเพศ

48% ชาย 1,556 คน

11% 45-60 ปี 348 คน

50% 31-45 ปี 1,634 คน

แยกตามอายุ

18%

5-10 ปี 735 คน

18% 3-5 ปี 584 คน

18-30 ปี 1,292 คน

7% 0-4 เดือน 227 คน

10 ปีขึ้นไป 595 คน

22%

39%

แยกตามอายุงาน

35% 4 เดือน - 3 ปี 1,133 คน

เพื่อตอบสนองการเติบโตทางธุรกิจทั้งใน และต่างประเทศ รวมถึงการก้าวไปสูเ่ วทีการ แข่งขันระดับสากล CPN จึงมุ่งเน้นให้ความสำ�คัญกับกระบวน การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร เพื่อให้ มั่นใจว่าบุคลากรที่คัดเลือกมีประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถเหมาะสมกับลักษณะ ธุรกิจและ Competency ที่องค์กรวางไว้ และสามารถปฏิ บั ติ ง านในตำ � แหน่ ง ที่ ไ ด้ รับมอบหมายได้ นอกเหนือจากคุณสมบัติ เฉพาะบุ ค คลแล้ ว CPN ยั ง คำ � นึ ง ถึ ง ศักยภาพในการที่จะเติบโตขึ้นไปพร้อมๆ กับธุรกิจได้อย่างยัง่ ยืน ตรงตามค่านิยมของ องค์กร (Core Values) ที่ว่า “สร้างสรรค์ ด้วยความเชื่อมั่น สู่ความเป็นเลิศร่วมกัน” ภายใต้แนวคิดของการเจริญเติบโตไปพร้อม กัน CPN ได้สานโครงการผู้บริหารฝึกหัด อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอกย้ำ �นโยบายการ ส่งเสริมและสร้างโอกาสในการก้าวหน้าใน อาชีพ การสรรหาผู้บริหารจากภายในเป็น โครงการที่ให้โอกาสกับพนักงานได้พัฒนา ตนเองและสามารถที่จะเติบโตได้ในองค์กร นอกจากนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการ ขยายธุรกิจออกไปสู่จังหวัดต่างๆ ทั่วทุก ภูมิภาคในประเทศไทย CPN สนับสนุน ให้พนักงานได้มีโอกาสขอโอนย้ายกลับไป ยังภูมิลำ�เนาของตน ซึ่งโครงการดังกล่าว เป็นการเสริมสร้างให้พนักงานเกิดความสุข ในการทำ�งาน อีกทัง้ เป็นการให้พนักงานได้ ร่วมปณิธานกับ CPN ในการนำ�พาความ เจริญและการกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาค ทั้งนี้ ในกระบวนการคัดเลือกฝ่ายบริหาร ทุนมนุษย์จะมีการพิจารณาร่วมกับหน่วย


104 | 105

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

งานต้ น สั ง กั ด เพื่ อให้ ก ารคั ด เลื อ กเป็ นไป อย่างโปร่งใสตามหลักการบรรษัทภิบาลที่ดี (Good Corporate Governance) การบริหารผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการบรรษัทภิบาล ที่ดี (Good Corporate Governance) และการมุ่งสู่ความเป็นเลิศ CPN ได้มีการ พัฒนาระบบบริหารผลการปฏิบตั งิ านอย่าง ต่ อ เนื่ อ ง โดยได้ มี ก ารพั ฒ นาระบบตั ว ชี้วัด KPIs มาใช้เป็นเครื่องมือสำ �หรับ การประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิด ความโปร่งใส เป็นธรรม และนำ�ไปสู่ความ เป็นองค์กรที่มีผลการปฏิบัติงานเป็นเลิศ นอกเหนือจากตัวชี้วัดแล้ว ยังได้มีการใช้ แนวทางใหม่ที่เปิดโอกาสให้ผู้บังคับบัญชา ได้ มี โ อกาสนำ � เสนอผลงานของที ม งาน อย่างเต็มที่ผ่านกระบวนการประชุมเพื่อ สรุปผลงาน (Performance Calibration) ซึ่งจะทำ�ให้ระบบการประเมินผลการปฏิบัติ งานโปร่งใส เป็นธรรม และยุติธรรมยิ่งขึ้น บริหารค่าตอบแทนและผลประโยชน์ (Compensation & Benefits) ในส่วนของการบริหารค่าตอบแทนและผล ประโยชน์นนั้ ก็เป็นอีกส่วนทีอ่ งค์กรให้ความ สำ�คัญเป็นอย่างมาก เนือ่ งจากเป็นอีกหนึง่ ปัจจัยที่มีผลโดยตรงกับพนักงานว่าจะอยู่ กับองค์กรต่อหรือไม่ ดังนั้น ในปีที่ผ่านมา ส่วนงานด้านการบริหารค่าตอบแทนและ ผลประโยชน์จงึ ได้มกี ารปรับปรุงและพัฒนา ระบบโครงสร้างต่างๆ ให้สามารถแข่งขัน ในตลาดแรงงานได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการ ประเมินค่างาน (Job Evaluation) ของ

Hay Group ซึ่งเป็นวิธีการที่บริษัทชั้นนำ� ทั่วโลกนำ�ไปใช้ การปรับปรุงโครงสร้างเงิน เดือนให้สามารถเป็นผู้นำ�ในตลาดแรงงาน หรือระบบตอบแทนแก่ผู้มีความสามารถ (Talent) ตลอดจนมีการทบทวนในสิ่งที่ องค์กรได้ให้กับพนักงานอยู่แล้วว่ายังเข้า กับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันหรือไม่ ทั้งนี้ งานทุกด้านที่ส่วนงานการบริหารค่าตอบ แทนและผลประโยชน์ทำ�ในปีที่ผา่ นมาล้วน แต่สนับสนุนให้ CPN เป็นผู้นำ�ในด้าน Property Retails ตามแผนธุรกิจที่ได้ กำ�หนดไว้อย่างแท้จริง การบริหารจัดการพนักงานที่มี ศักยภาพสูง CPN ได้เล็งเห็นถึงความสำ�คัญของการดูแล รั ก ษาบุ ค ลากรที่ มี ผ ลการปฏิ บั ติ ง านใน ระดับดีและมีศกั ยภาพสูงซึง่ เป็นกำ�ลังสำ�คัญ ในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโต จึงได้จัด ให้ มี ก ารบริ ห ารจั ด การอย่ า งเป็ น ระบบ โดยพนักงานระดับหัวหน้างานขึ้นไปของ สาขาและระดั บ ผู้ ช่ ว ยผู้ จั ด การขึ้ นไปของ สำ�นักงานใหญ่ที่มีผลการประเมินทั้งด้าน ผลการปฏิบัติงานและด้านศักยภาพผ่าน ตามเกณฑ์ที่กำ�หนดอย่างต่อเนื่อง CPN จะกำ�หนดให้ได้รับการดูแลผ่านโครงการ Leadership Development Program ที่ มุง่ เน้นให้พนักงานในโครงการมีคณ ุ ลักษณะ ของผู้นำ�ตาม CPN Leadership DNA ที่ กลั่นกรองมาจากวิสัยทัศน์ขององค์กร โดย ร่ ว มกั น กั บ ผู้ บั ง คั บ บั ญ ชาในการวางแผน กิ จ กรรมการพั ฒ นาและเรี ย นรู้ ผ่ า นแผน พั ฒ นารายบุ ค คล (IDP: Individual Development Plan) และมีแผนกพัฒนา บุ ค ลากรเป็ น ผู้ ติ ด ตามความคื บ หน้ า เป็ น

รายไตรมาสเพื่ อ รวบรวมข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ การพั ฒ นาทั้ ง หมดรายงานต่ อ ที่ ป ระชุ ม Ex-Com เป็นระยะตามกำ�หนด สำ�หรับ โปรแกรมการพัฒนาอื่นๆ ที่จัดขึ้นเฉพาะ สำ�หรับผู้บริหารที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยได้ มีการร่วมมือกับ Academy Team ได้แก่ Executive Coaching สำ�หรับผู้บริหาร ระดับสูง หลักสูตร Leaders as Coach สำ�หรับผูบ้ ริหารระดับกลาง หลักสูตร People & Task Management สำ�หรับผู้บริหาร ระดับต้น และการจัดให้มี Knowledge Sharing ในหัวข้อ IDP Driven Mechanism สำ�หรับผู้บริหารระดับต้นที่สำ�นักงานใหญ่ รวมถึงการพิจารณาเรื่องค่าตอบแทนและ ผลประโยชน์ตามหลัก Performance-based Pay เพื่อรักษาพนักงานกลุ่มนี้ไว้ให้อยู่กับ องค์กรและพร้อมเติบโตไปกับองค์กรได้ใน ระยะยาวก่อนเข้าสู่กระบวนการวางแผน ผูส้ บื ทอดตำ�แหน่งงาน (Succession Plan) สำ�หรับพนักงานที่ศูนย์การค้าซึ่งเป็น Key Function ของธุรกิจ CPN ยังคงมุ่งสาน ต่อการติดตามแผน IDP เป็นรายไตรมาส และจั ด ให้ มี ก ารประชุ ม กลุ่ ม (Group Feedback) เพื่อรายงานความคืบหน้าใน การพัฒนาของพนักงานเป็นภาพรวมใน แต่ละศูนย์การค้า ควบคู่ไปกับการกำ�หนด หั ว ข้ อ แลกเปลี่ ย นการเรี ย นรู้ ที่ มุ่ ง เน้ น ผู้ บั ง คั บ บั ญ ชาในการให้ ข้ อ มู ล ป้ อ นกลั บ (Feedback) แก่พนักงาน ให้ได้รับทราบ ความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาตนเองตาม Function งานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการ ให้ค�ำ แนะนำ�เรือ่ งการใช้ IDP เป็นช่องทาง ในการวางแผนกิจกรรมการพัฒนาความรู้ ความสามารถเชิงวิชาชีพ เช่น OJT (On the Job Training) การฝึกอบรม การเป็น โค้ชหรือฝึกเป็นวิทยากรภายในหน่วยงาน


ของตนเอง เป็นต้น ซึ่งจะทำ�ให้พนักงาน ได้สะสมทักษะการสอนงานและเป็นการ วางพื้นฐานที่ดีของการเติบโตในหน้าที่การ งานต่อไป นอกจากนี้ ยังได้มกี ารทบทวน Competency Model ซึง่ จะใช้เป็นแกนหลักในการพัฒนา บุคลากรของ CPN ในระยะยาว ทั้งส่วนที่ เป็นพฤติกรรมตามค่านิยมขององค์กรและ คุณลักษณะผูน้ �ำ ตาม Five CPN Leadership DNA โดยกำ�หนดระดับพฤติกรรมตามขั้น ของ Career Stage เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การ นำ�ไปใช้ในระบบงาน HR ด้านอื่นๆ อาทิ เช่น การสรรหาและคัดเลือก การพัฒนาหลัก สูตรในการฝึกอบรมตามระดับตำ�แหน่งงาน การประเมินศักยภาพ การบริหารผลการ ปฏิบตั งิ าน และการวางระบบความก้าวหน้า ในอาชีพ


106 | 107

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

การพัฒนาบุคลากร ด้ ว ยวิ สั ย ทั ศ น์ ที่ มุ่ ง สู่ ก ารเป็ น “ผู้ พั ฒ นา และบริ ห ารศู น ย์ ก ารค้ าในระดั บ ภู มิ ภ าค ที่ ไ ด้ รั บ การชื่ น ชมสู ง สุ ด จากทุ ก คน และ ไม่ ห ยุ ด นิ่ งในการสร้า งประสบการณ์แห่ง ความสุขในระดับโลก” CPN เล็งเห็นถึง ความสำ�คัญในการสร้างและพัฒนาความ สามารถของบุคลากรอย่างเป็นระบบและ ต่อเนื่อง เพราะบุคลากรที่มีความสามารถ ถือเป็นกำ�ลังสำ�คัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้ เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว CPN จึงได้จัดตั้ง CPN Academy ตั้งแต่ ปลายปี 2554 และเริม่ พัฒนากรอบแนวคิด ในการพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นรูปธรรม โดยกำ�หนดกลุม่ ความรูท้ บี่ คุ ลากรควรได้รบั การพัฒนาออกเป็น กลุ่มหลักสูตรพื้นฐาน กลุม่ หลักสูตรตามสายอาชีพ กลุม่ หลักสูตร พัฒนาภาวะผูน้ �ำ และกลุม่ หลักสูตรบริหาร ธุรกิจ โดยกำ�หนดหลักสูตรสำ�หรับพนักงาน แต่ละระดับ โดยได้พัฒนาหลักสูตรบริหาร ธุ ร กิ จ สำ � หรั บ ระดั บ จั ด การร่ ว มกั บ จุ ฬ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพือ่ ให้ผบู้ ริหารระดับ กลางและสูงได้มมุ มองด้านการบริหารธุรกิจ คิ ด พั ฒ นางานเชิ ง กลยุ ท ธ์ และเพิ่ ม พู น ความรู้จากประสบการณ์ของคณาจารย์ที่มี คุณภาพ และพัฒนา On-boarding Program

ในส่วนของการปฐมนิเทศ ให้ผู้เข้ามาเป็น สมาชิกใหม่ขององค์กรได้รู้จักความเป็นมา ค่านิยม กระบวนการทำ�งานหลัก ในเบือ้ งต้น และเพื่ อให้ ผู้ เ รี ย นมี ค วามยื ด หยุ่ นในการ เรี ย นรู้ เ รื่ อ งพื้ น ฐานขององค์ ก ร CPN Academy กำ�หนดแผนในการพัฒนาสื่อ e - l e a r n i n g ที่ เ ห ม า ะ ส ม สำ � ห รั บ สถานการณ์ของบริษัทฯ เพิ่มเติม ได้แก่ จรรยาบรรณของคน CPN การเรี ย นรู้ ตนเองด้ ว ย DISC การจั ด การข้ า ม วัฒนธรรม รูจ้ กั ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

นอกจากนั้นเพื่อสร้างความเป็นทีมให้กับ หน่ ว ยงานที่ มี ก ารปรั บ เปลี่ ย นโครงสร้ า ง และปรับสายการบังคับบัญชา บริษทั ฯ ได้จดั กิจกรรมสร้างความเป็นทีมให้กับสายงาน ต่างๆ รวมถึงทีมงานของศูนย์การค้าที่เปิด ใหม่ เพื่อให้สมาชิกทุกคนในหน่วยงาน ทั้ง ผู้บริหารระดับสูงสุดและพนักงานทุกคนได้ เรียนรูก้ นั ในมุมมองอืน่ นอกเหนือจากการ ปฏิบตั งิ านประจำ� อีกทัง้ ได้รบั ทราบทิศทาง ขององค์กรและสายงานที่ชัดเจน


การบริหารจัดการความยั่งยืน CPN ได้พฒ ั นาแนวทางและนโยบายตามหลักบรรษัทภิบาลจากจุดเริม่ ต้น เพือ่ สร้างความ เชือ่ มัน่ ศรัทธาในคุณค่าขององค์กร สูก่ ารตอบสนองต่อพันธกิจทีม่ งุ่ มัน่ จะพัฒนาสูก่ ารเป็น ผู้ที่ได้รับการชื่นชมสูงสุดทั้งจากชุมชนและสังคม และนำ�สู่การกำ�หนดแนวทางการดำ�เนิน ธุรกิจที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมด้านการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและรู้คุณค่าอย่าง เป็นรูปธรรม พร้อมทัง้ เริม่ นำ�แนวทางการพัฒนาธุรกิจอย่างยัง่ ยืนควบคูก่ บั การพัฒนาชุมชน และสิ่งแวดล้อมมาบูรณาการในแนวทางดำ�เนินงานในอนาคตอันใกล้ รายงานการพัฒนาสู่ความยั่งยืน

>> คณะกรรมการการพั ฒ นาเพื่ อ ความ

รายงานการพัฒนาสู่ความยั่งยืนในส่วนนี้ มีการจัดทำ�ขึ้นเป็นปีแรก เพื่อแสดงถึงผล การดำ�เนินงานของ CPN ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในรอบปีที่ผ่านมา ซึ่งได้จัดทำ�รายงานให้สอดคล้องตามดัชนี ชี้วัดของ Global Reporting Initiatives (GRI: G3) เป็นบางส่วนเท่านั้น โดยมุ่ง หมายเพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการทบทวน กระบวนการภายในองค์กร ขอบเขตของ รายงานจะรวมถึงผลประกอบการของ 18 ศู น ย์ ก ารค้ า ภายใต้ ก ารบริ ห ารงานของ CPN ยกเว้นศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา สุราษฎร์ธานี และลำ�ปาง

>> คณะกรรมการบรรษัทภิบาล ประกอบ

หากท่ า นมี ข้ อ สงสั ย หรื อ ข้ อ แนะนำ � สามารถส่งมาได้ที่ e-mail: jasaowanee@cpn.co.th แนวทางการบริ ห ารจั ด การเพื่ อ ความ ยั่งยืน ในปี 2555 นั้น CPN ได้มีการปรับปรุง โครงสร้างของคณะกรรมการให้มีขอบเขต ความรับผิดชอบที่สอดคล้องกับการพัฒนา อย่างยั่งยืน ดังนี้

ยั่งยืน คือ คณะกรรมการจัดการบริษัท ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูง 9 ท่าน มีกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นประธาน เพื่อกำ�หนดนโยบายและแนวทางการ ดำ�เนินงานด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมบูรณาการร่วมกัน ด้วยผู้บริหารระดับสูง 6 ท่าน มีรอง กรรมการผู้ จั ด การใหญ่ เ ป็ น ประธาน เพื่ อ กำ � หนดนโยบาย กลยุ ท ธ์ และ แผนงาน รวมทั้งติดตามผลการดำ�เนิน งานด้านบรรษัทภิบาล การแสดงความ รับผิดชอบต่อสังคม และการผลักดันให้ เกิดการบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน ในองค์กรอย่างเป็นระบบมากขึ้น

>> คณะกรรมการศึ ก ษาด้ า นมาตรการ

ประหยัดพลังงาน ประกอบด้วยผูบ้ ริหาร ระดับสูง 2 ท่าน และระดับจัดการ 11 ท่าน ซึง่ เป็นตัวแทนของสำ�นักงานใหญ่ และรายสาขา เพื่อดำ�เนินการกำ�กับ ควบคุมดูแล และติดตามการดำ�เนิน การจัดการพลังงานของทุกศูนย์ฯ ใน ภาพรวมให้เป็นไปตามเป้าหมายการ อนุ รั ก ษ์ พ ลั ง งานที่ กำ � หนดตามแผน อนุรักษ์พลังงาน 5 ปี

>> คณะกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ระดับองค์กร และระดับสายงาน 3 คณะ ตามสายงาน ได้แก่สายงานปฏิบัติการ สายงานพัฒนาธุรกิจ และสายงานการ เงินและบัญชี เพื่อกำ�หนดนโยบายการ บริหาร และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ใน ทุกระดับ และทุกสายงานบนพื้นฐาน การให้ความเป็นธรรม และความเสมอ ภาค เคารพในสิทธิมนุษยชนของแต่ละ บุคคล

เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงของแผนงานและ การติ ด ตามงานให้ ส อดคล้ อ งในทิ ศ ทาง เดียวกัน CPN จึงได้กำ�หนดคณะทำ�งาน รับผิดชอบเฉพาะเรื่องขึ้น อาทิ คณะทำ� งานบรรษั ท ภิ บ าล ประกอบด้ ว ยระดั บ จัดการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4 ท่าน ครอบคลุมด้านบรรษัทภิบาล ด้านการแสดง ความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านการอนุรักษ์ พลังงาน และด้านจิตอาสา นอกจากนั้น ยังมีคณะทำ�งานเฉพาะด้าน เช่น คณะ ทำ�งานด้านการจัดการพลังงานประจำ�แต่ละ ศู น ย์ ก ารค้ า คณะผู้ ต รวจประเมิ น ระบบ จั ด การพลั ง งานประจำ � แต่ ล ะศู น ย์ ก ารค้ า เป็นต้น ซึ่งแต่ละคณะกรรมการและคณะ ทำ�งานจะมีการประชุมติดตามความคืบหน้า เป็นประจำ�รายเดือน รายไตรมาส และราย ปีตามความเหมาะสมของแต่ละโครงการ


108 | 109

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

ด้านเศรษฐกิจ CPN ดำ�เนินธุรกิจตามกลยุทธ์การพัฒนาศูนย์การค้าและการบริหารศูนย์การค้าทีม่ งุ่ มัน่ จะ เติบโตอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืนสู่การเป็นองค์กรในระดับภูมิภาค โดยดำ�เนินการตามแผน กลยุทธ์ทั้ง 4 ด้าน รับผิดชอบโดยคณะกรรมการบริหารของบริษัทฯ บนพื้นฐานการกำ�กับ ดูแลความเสี่ยงทางธุรกิจ โดยมีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร ประกอบ ด้วยผูบ้ ริหารระดับกรรมการบริษทั 2 ท่าน และคณะกรรมการภายนอก 3 ท่าน รับผิดชอบ กำ�หนดนโยบายและความเสี่ยงทางธุรกิจ และมีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับ ปฏิบัติการ ประกอบด้วยผู้บริหารระดับกรรมการบริษัท 1 ท่าน และผู้บริหารระดับสูง ตามสายงานอีก 16 ท่าน ส่งผลให้การดำ�เนินธุรกิจของบริษทั ฯ เป็นไปด้วยความมัน่ คงและ เติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังมีผลประกอบการและแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงแสดง ในหน้า 122


ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา สุราษฎร์ธานี

การขยายสาขาในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด CPN มองหาโอกาสในการพั ฒ นาศู น ย์ การค้าโดยมุ่งเน้นการขยายภายในประเทศ เป็ น หลั ก เพื่ อ ขยายความเจริ ญ ไปสู่ ทุ ก ภูมิภาคของประเทศไทย ควบคู่ไปกับการ มองหาโอกาสทางการค้าในต่างประเทศ ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา CPN ได้มี การขยายสาขาในต่างจังหวัด และปรับปรุง ศูนย์การค้าในกรุงเทพฯ ให้เกิดความทัน สมัยตลอดเวลา โดยสัดส่วนการขยายสาขา ของ CPN ในต่างจังหวัดเทียบกับกรุงเทพฯ ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นจาก 10 โครงการเป็น 20 โครงการ สัดส่วนสาขา ในต่างจังหวัดกับสาขาในกรุงเทพฯ เปลี่ยน แปลงจาก 20:80 เป็น 50:50 โดยกลยุทธ์ พัฒนาและบริหารศูนย์การค้านำ�มาซึ่งผล การดำ�เนินการทางการเงินที่เพิ่มขึ้น และ มูลค่าหุ้นที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังแสดง ในผลประกอบการหน้า 14 การขยายธุรกิจของ CPN ไปยังต่างจังหวัด นัน้ นอกเหนือจากเป้าประสงค์ในการขยาย ตลาดของบริษัทฯ คือการสร้างงานและ

โอกาสให้กับคนในท้องถิ่น และสมาชิกใน ชุมชนในการเป็นผู้ส่งมอบ ผู้จัดจำ�หน่าย และผูค้ า้ ปลีกในห่วงโซ่ธรุ กิจของบริษทั ฯ ส่ง ผลให้เศรษฐกิจในระดับมหภาคของชุมชน และจังหวัดนั้นๆ เจริญเติบโตขึ้นพร้อมกับ การเติบโตของศูนย์การค้า ทั้งในช่วงการ ก่อสร้างและการเปิดให้บริการศูนย์การค้า CPN ตระหนักเสมอว่าการนำ�ความเจริญสู่ สังคมท้องถิ่นนั้น จะต้องนำ�เอาวัฒนธรรม และค่านิยมในท้องถิ่นนั้นๆ มาผสมผสาน อยูใ่ นกระบวนการดำ�เนินธุรกิจของบริษทั ฯ จึงจะสามารถทำ�ให้องค์กรเติบโตและอยู่ ร่ ว มในสั ง คมได้ อ ย่ า งยั่ ง ยื น ดั ง นั้ น ใน กระบวนการเลือกสรรทีด่ นิ จึงมีการทำ�วิจยั เพื่อศึกษาผลกระทบชุมชนในแง่เศรษฐกิจ และการจราจร ขนส่ง เช่น การสร้างศูนย์ฯ เซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9 ทีเ่ ชือ่ ม ต่อกับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน อีกทั้งในการ ออกแบบศูนย์การค้า จะผสมผสานนำ�ศิลปะ พืน้ บ้านและวัฒนธรรมของท้องถิน่ นัน้ ๆ มา ปรากฎในรูปทรงอาคาร และการตกแต่ง ดังเช่นการออกแบบอาคารหลักของศูนย์ การค้าเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น เป็นรูปทรง

กระติ๊บข้าวเหนียว การออกแบบรูปทรง อ า ค า ร ศู น ย์ ก า ร ค้ า เ ซ็ น ท รั ล พ ล า ซ า พิ ษ ณุ โ ลก เป็ น รู ป เรื อ ยาว การตกแต่ ง อาคารภายนอกของศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา เชียงราย และสุราษฎร์ธานี ที่ได้ รับแรงบันดาลใจจากดอกกาสะลอง และต้น มะพร้าว ซึ่งเป็นเอกลัษณ์ท้องถิ่น เป็นต้น ด้านสิ่งแวดล้อม CPN ดำ � เนิ น นโยบายด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม ควบคู่กับด้านเศรษฐกิจและสังคมมาโดย ตลอด สอดคล้องกับกลยุทธ์การบริหาร ศูนย์การค้าในการลดต้นทุนการดำ�เนินการ โดยเฉพาะการลดต้นทุนพลังงาน ควบคูก่ บั การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการ ลดผลกระทบเชิงลบต่อชุมชนรอบข้าง ทัง้ ใน เรื่องการบำ�บัดน้ำ�เสีย การลดปริมาณขยะ และการอำ�นวยความสะดวกด้านการจราจร โดย CPN เป็นผูบ้ ริหารศูนย์การค้าแห่งแรก ในประเทศไทยที่นำ�มาตรฐานการจัดการ สิ่ ง แวดล้ อ ม ISO14001 มาใช้ ใ นการ บริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบเชิงลบต่อ สิ่งแวดล้อม


110 | 111

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

การบริหารจัดการพลังงาน CPN ให้ความสำ�คัญในเรื่องการบริหาร จัดการพลังงาน โดยเฉพาะการลดการใช้ พลังงานไฟฟ้าเป็นอย่างมาก เนื่องจากค่า ใช้ไฟฟ้านั้นคิดเป็นสัดส่วนถึง 40% ของ ต้นทุนค่าบริการทั้งหมด การใช้พลังงาน อย่างคุ้มค่าและรู้คุณค่าจึงเป็นหัวใจหลัก ของการบริ ห ารจั ด การด้ า นพลั ง งาน ซึ่ ง สอดคล้องกับกลยุทธ์การบริหารศูนย์การค้า ที่พยายามลดต้นทุนในการดำ�เนินงาน ให้ สมดุลกับการเพิ่มความพึงพอใจและความ ชื่นชมจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน การ ดำ�เนินตามนโยบายการอนุรักษ์พลังงาน จึงกำ�หนดไว้ตามแนวทางใน 3 มิติควบคู่ กันไป ดังนี้ 1. ด้านเทคนิค คือ การนำ�เทคโนโลยีทที่ นั สมัยและเป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อมมาปรับ ใช้ในโครงการต่างๆ 2. ด้านโครงสร้างองค์กรและนโยบาย คือ การกำ�หนดนโยบายและคณะทำ�งาน ด้ า นอนุ รั ก ษ์ พ ลั ง งานที่ ชั ด เจนทั้ งใน ระดับผู้บริหาร ระดับจัดการ และระดับ ปฏิ บั ติ ก าร รวมไปถึ ง คณะผู้ ต รวจ ประเมิน อันประกอบด้วยตัวแทนใน ระดับต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการกำ�หนดวาระการประชุม ติดตาม ผลและการประเมินจากภายนอก ตาม รอบวาระที่กำ�หนดอย่างต่อเนื่องและ สม่ำ�เสมอ 3. ด้านพฤติกรรม คือ การสือ่ สาร รณรงค์ ให้พนักงาน ผูเ้ ช่า ผูใ้ ช้บริการ และชุมชน รอบข้าง มีส่วนร่วมและมีจิตสำ�นึกใน การอนุรักษ์พลังงาน

ด้านเทคนิค

ด้านพฤติกรรม

ด้านโครงสร้างองค์กร และนโยบาย

ตลอดระยะเวลา 32 ปีที่ผ่านมา CPN มุง่ มัน่ ดำ�เนินธุรกิจด้วยความสำ�นึกในการใช้ และอนุรกั ษ์พลังงานควบคูก่ นั ไป โดยมีการ กำ�หนดแผนด้านการอนุรักษ์พลังงานระยะ ยาว 5 ปี กำ�หนดตัวชี้วัดที่ชัดเจนในการใช้ พลังงานและประเมินประสิทธิภาพการลด พลังงานอย่างจริงจัง ถือได้ว่า CPN เป็น ผูบ้ ริหารศูนย์การค้ารายแรกทีน่ �ำ เทคโนโลยี ด้ า นอนุ รั ก ษ์ พ ลั ง งานที่ ทั น สมั ย และเป็ น มิตรกับสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้ในการบริหาร ศูนย์ฯ ในทุกๆ วัน ให้เกิดคุณค่าและคุม้ ค่า มากทีส่ ดุ โดยในปี 2555 CPN ได้น�ำ เทคนิค ด้านการอนุรกั ษ์พลังงานมาปรับใช้เพิม่ เติม จากปีก่อนจำ�นวน 5 เทคนิคใน 9 ศูนย์ การค้า คิดเป็นมูลค่าการลงทุน (เฉพาะปี 2555) 57,831,926 ล้านบาท ส่งผลให้ปริมาณ การใช้พลังงานลดลง 5,944,855 kWh/ปี หรือเท่ากับ 3,151 Ton CO2


ปริมาณการใช้ ไฟฟ้า ปี พ.ศ.

2553 2554 2555

จำ�นวนศูนย์การค้า ที่น�ำ มาคำ�นวณ

ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า (GWh) ต่อ 1 หน่วยพื้นที่ (kWh/ m2)

14 15 18

448 456 524

284 282 281

เปรียบเทียบสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าของแต่ละพื้นที่ใช้สอย ในปี พ.ศ. 2555

47%

24%

ร้านค้า

ส่วนกลาง 1%

2%

29%

% สัดส่วนการเปลี่ยนแปลง

ปรับอากาศ

จากปี 2553 เพิ่มขึ้น ลดลง

มาตรการอนุรักษ์พลังงานที่ CPN นำ�มาปรับใช้

1%

จำ�นวนโครงการ ปริมาณพลังงาน ที่ลดลง (kWh/ปี)

ปริมาณ Ton CO2 ที่ลดได้

มาตรการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าของระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ (Chiller)

การใช้นวัตกรรมระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ 8 ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด (High Efficiency Chiller) และใช้สารทำ�ความเย็นที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม การใช้อุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ไฟฟ้า 11 (Variable Speed Drive: VSD) ติดตั้งใน เครื่องสูบน้�ำ เย็น เครื่องสูบน้ำ�หล่อเย็น และ เครื่องส่งลมเย็น การใช้อุปกรณ์ท�ำ ความสะอาดพื้นผิวแบบ 6 อัตโนมัติ (Ball Cleaning System) ภายในท่อทองแดงระบายความร้อนของ เครื่องทำ�น้�ำ เย็น

18,260,869

9,678

8,519,070

4,515

3,285,314

1,742


112 | 113

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

มาตรการอนุรักษ์พลังงานที่ CPN นำ�มาปรับใช้

จำ�นวนโครงการ ปริมาณพลังงาน ที่ลดลง (kWh/ปี)

ปริมาณ Ton CO2 ที่ลดได้

มาตรการลดความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร

การติดตั้ง PU Foam และฉนวนกันความ ร้อนบนหลังคาศูนย์การค้า

2

125,218

66

1

146,000

77

มาตรการใช้พลังงานทางเลือกและมาตรการอื่นๆ

การติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา ศูนย์การค้าเพื่อนำ�พลังงานแสงอาทิตย์มา ใช้ทดแทนพลังงานไฟฟ้าจากระบบ

หาจุดจอดรถที่สะดวกมากขึ้น โดยได้ ดำ�เนินการติดตั้งไปแล้ว 6 โครงการ ได้แก่ เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว เซ็นทรัลพลาซา พระราม 3 เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ เซ็นทรัลพลาซา บางนา และเซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9 โดยใช้งบประมาณ ทั้งสิ้น 73 ล้านบาท และเตรียมดำ�เนิน การให้ ค รอบคลุ ม ทุ ก ศู น ย์ ก ารค้ าใน กรุงเทพฯ และปริมณฑลให้แล้วเสร็จ ในปี 2558 >> เปิด “ศูนย์การเรียนรู้ Green World

มาตรการด้านเทคนิคอื่นๆ ที่ CPN นำ�มา ใช้เป็นมาตรฐานด้านอนุรกั ษ์พลังงานในทุก โครงการ ได้แก่

นอกเหนื อ จากมาตรการด้ า นเทคนิ ค ดั ง กล่าวแล้ว CPN ยังมีมาตรการอื่นๆ ที่ใช้ ควบคู่กันไป อาทิเช่น

>> การเปิดรับแสงสว่างจากภายนอกและ

>> การประยุ ก ต์ ใ ช้ น วั ต กรรมด้ า นการ

ใช้กระจกกันความร้อน ซึ่งยอมให้แสง ผ่านได้ แต่ความร้อนไม่สามารถผ่าน เข้าตัวอาคารได้

>> การติดตัง้ ประตูเข้า-ออกเป็นแบบประตู

2 ชั้น เพื่อส่งถ่ายความร้อนจากภาย นอก และความเย็นจากภายในให้อยู่ ระหว่างช่องว่างของประตูทั้งสอง

>> การเปลีย่ นใช้หลอดตะเกียบ (Compact

Fluorescent: CFL) หลอด T5 และ หลอด LED

>> ก า ร ติ ด ตั้ ง ร ะ บ บ ลิ ฟ ท์ อั จ ฉ ริ ย ะ

(Intelligent Elevator) ซึ่งระบบจะ คำ�นวณเลือกลิฟท์ที่เหมาะสมในการ โดยสาร บนพื้ นฐานการใช้พ ลังงาน น้อยทีส่ ดุ และถึงทีห่ มายเร็ว ทีส่ ดุ โดย นำ�ไปใช้ใน 2 โครงการ คือ เซ็นทรัลเวิลด์ และเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ

ออกแบบภายใต้แนวคิด Leadership in Energy & Environmental Design หรือ LEED ซึ่งเน้นการออกแบบตัว อาคารให้สามารถใช้แสงธรรมชาติได้ มากขึ้ น มี ก ารนำ � วั ส ดุ ที่ เ ป็ น มิ ต รต่ อ สิ่งแวดล้อมมาใช้ รวมทั้งเพิ่มสัดส่วน พื้นที่สีเขียวในตัวอาคาร

>> จัดสรรพืน ้ ที่ Carpool Parking บริการ

ที่จอดรถเฉพาะรถที่มีผู้โดยสาร 4 คน ขึ้ น ไป ณ โซนจอดรถที่ ดี ที่ สุ ด ของ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ได้แก่ ชัน้ B1 ซึง่ รองรับรถโดยสารได้ 50 คัน เพือ่ ร่วม รณรงค์ส่งเสริมพฤติกรรมการอนุรักษ์ พลังงานของผู้มาใช้บริการศูนย์การค้า

>> นำ�ระบบ Intelligent Parking ที่บอก

ตำ � แหน่ ง จุ ด จอดรถที่ ว่ า งบนอาคาร จอดรถ เพือ่ ลดการใช้น�้ำ มันของผูม้ าใช้ บริการ และเพิ่มความพึงพอใจในการ

Experience” ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เวิลด์ บริเวณชั้น 6 โซนเซ็นทรัลคอร์ท เพือ่ เป็นการรณรงค์ให้องค์กรภาคธุรกิจ รวมถึงประชาชน โดยเฉพาะเยาวชน ได้เห็นถึงความสำ�คัญของการอนุรักษ์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยการนำ� องค์ความรู้ด้านนวัตกรรมการอนุรักษ์ พลังงานที่ CPN นำ�มาใช้แล้วประสบ ความสำ�เร็จ มาเผยแพร่เพื่อเป็นแบบ อย่างที่ดีของสังคมในวงกว้างต่อไป

>> เข้ า ร่ ว มโครงการรณรงค์ ก ารอนุ รั ก ษ์

พลังงานในรูปแบบสมัครใจ (Voluntary Agreement) ภายใต้แนวคิด Energy beyond standards ซึง่ เป็นการให้ความ ร่วมมือกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรกั ษ์พลังงาน (พพ.) สถาบันสิง่ แวดล้อม (TEI) และองค์กรเพื่อการ พัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน (TBCSD) โดยจะดำ�เนินการจัดทำ�ศูนย์การเรียน รู้ ด้ า นการอนุ รั ก ษ์ พ ลั ง งานเพิ่ ม เติ ม ที่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พระราม 2 เซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น เซ็นทรัล พลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต เซ็นทรัล พลาซา ลาดพร้าว และเซ็นทรัลเฟสติวลั


พัทยา บีช เพือ่ สานต่อนโยบายด้านการ อนุรักษ์พลังงาน และเป็นการรณรงค์ ส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น ด้ า นการอนุ รั ก ษ์ พลังงาน เผยแพร่ความรูใ้ ห้แก่สงั คมและ ชุมชน >> การจัดกิจกรรม Energy Day เน้นการ

มีส่วนร่วมจากพนักงาน CPN ทุกคน รวมไปถึงร้านค้าในศูนย์การค้า (เฉพาะ บางศู น ย์ ที่ เ ข้ า ร่ ว ม) ลั ก ษณะเป็ น กิจกรรมสันทนาการพร้อมได้รับความรู้ ด้านการประหยัดพลังงานควบคูก่ นั ไปมี การจัดประกวดคติพจน์ และการทำ�สื่อ ประชาสัมพันธ์ต่างๆ ในการปลูกจิต สำ�นึกให้ประหยัดพลังงาน ซึ่งจัดเป็น ประจำ�ทุกปี ปีละอย่างน้อย 1 ครั้ง

โดยมาตรการในอนาคตที่ CPN จะนำ�มา ใช้ในการบริหารจัดการพลังงานเพื่อตอบ สนองต่อแผนแม่บทการอนุรักษ์พลังงาน 5 ปี ได้แก่ การนำ�ระบบ ISO 5000 มาใช้ ในการบริ ห ารพลั ง งานและศึ ก ษาการใช้ พลังงานทางเลือกเพิ่มเติม

30% น้ำ�ใช้สำ�หรับส่วนกลาง

CPN ใช้ น้ำ � ประปาจากการประปานคร หลวง การประปาท้องถิ่น และการใช้น้ำ� ซ้ำ� (Reuse) ในกระบวนการบริหารศูนย์ การค้าทั้งหมด ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อผู้ใช้ใน ชุมชนอื่นๆ โดยในปี 2555 บริษัทฯ ใช้ น้ำ�ประปาในการบริหารศูนย์การค้าทั้ง 17 โครงการ (ยกเว้นศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี เซ็นทรัลพลาซา สุราษฏร์ธานี และ เซ็นทรัลพลาซา ลำ�ปาง) ทัง้ สิน้ 6,474,380 ลู ก บาศก์ เ มตร โดยน้ำ � ส่ ว นใหญ่ จ ะใช้ ในพื้นที่ส่วนกลาง ระบบปรับอากาศ และ ใช้อุปโภคโดยร้านค้าและผู้เช่า

น้ำ�ใช้โดยส่วนร้านค้า และผู้เช่าอาคาร

น้ำ�ใช้ซ้ำ� (Reuse) ในระบบปรับอากาศ

22% น้ำ�ใช้ในระบบปรับอากาศ

มาตรการลดการใช้น้ำ�ทั้งในกระบวนการ บริหารศูนย์ฯ และการใช้ในพื้นที่ส่วนกลาง มีดังนี้

การใช้น้ำ�ประปาได้ 50,720 ลูกบาศก์ เมตร คิดเป็น 17.77% ของน้ำ�ที่ใช้ ทั้งหมดในศูนย์

>> การปรั บ เปลี่ ย นและติ ด ตั้ ง ระบบรั บ

น้ำ�ที่ใช้ในระบบทั้งหมดภายหลังจากการ บำ�บัดในบ่อบำ�บัดแล้วจะระบายทิ้งสู่แหล่ง น้ำ � สาธารณะ โดยบริ ษั ท ฯ มี แ นวทาง การจัดการน้ำ�ทิ้งให้เป็นไปตามที่กฎหมาย กำ�หนด มีการกำ�หนดแผนดำ�เนินการด้าน การควบคุมการระบายน้ำ�ทิ้งผ่านบ่อบำ�บัด น้ำ�ทิ้งที่ติดตั้งอยู่ในทุกโครงการ โดยทาง แผนกงานระบบในแต่ ล ะสาขาจะมี แ ผน รองรับการดูแลคุณภาพของน้ำ�เสียในบ่อ บำ�บัด โดยแบ่งเป็น 2 แผน 1 คู่มือ คือ แผนบำ�รุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) แผนการซ่อมแซมระบบ และคู่มือการบำ�รุงรักษา โดยการควบคุม คุณภาพน้ำ�ทิ้งจะมีการตรวจสอบคุณภาพ น้ำ�ทั้งก่อนและหลังจากเข้าสู่ระบบบำ�บัด น้ำ�เสีย และบ่อพักน้ำ�เสีย มีการตรวจวัด คุ ณ ภาพน้ำ �โดยหน่ ว ยงานภายนอกที่ ไ ด้ รับการรับรองสากล ISO/IEC 17025 ไตรมาสละอย่างน้อย 1 ครัง้ มีกระบวนการ ตรวจวัด บันทึก และจัดทำ�รายงานก่อน

ความรู้สึก (Sensor) ที่อ่างล้างมือใน ห้องน้ำ� >> การทดลองติดตัง้ ระบบชักโครกอัตโนมัติ

ในห้องน้ำ�อาคารสำ�นักงาน

>> การติดตั้งระบบรองรับน้ำ�ฝนเพื่อเป็น

การจัดการน้ำ�

48%

แหล่งน้�ำ ทดแทน ในศูนย์การค้าเฉพาะ สาขาทีเ่ หมาะสมและมีพนื้ ทีเ่ อือ้ อำ�นวย

>> การนำ�น้�ำ ทีใ่ ช้แล้วผ่านระบบการบำ�บัด

มาใช้ซ้ำ�ในระบบปรับอากาศและรดน้ำ� ต้นไม้ในศูนย์การค้า โดยศูนย์ฯ ทีม่ กี าร ติดตัง้ ระบบการนำ�น้�ำ กลับมาใช้ซ�้ำ อย่าง เต็มรูปแบบ สามารถวัดปริมาณการ ทดแทนได้ ดังนี้ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา ชลบุรี สามารถลดการใช้น้ำ� ประปาได้ 33,315 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 11% ของน้�ำ ทีใ่ ช้ทงั้ หมด และศูนย์การค้า เซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น สามารถลด


114 | 115

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

การปล่อยน้ำ�เสียลงสู่แหล่งน้ำ�สาธารณะ ซึ่งในบางโครงการที่อยู่ติดกับแหล่งน้ำ�จะมี การนำ�เทคโนโลยีชวี ภาพมาใช้บ�ำ บัดน้�ำ เสีย ก่อนปล่อยลงแหล่งน้ำ� เช่น ศูนย์การค้า เซ็นทรัลพลาซา พระราม3 เซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี เซ็นทรัลพลาซา รั ต นาธิ เ บศร์ เซ็ น ทรั ล พลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ เซ็นทรัลพลาซา บางนา เซ็นทรัล พลาซา พระราม 2 เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า เซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี เซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา เซ็นทรัลพลาซา เชียงราย เซ็นทรัลพลาซา พิษณุโลก และเซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9 โครงการทีเ่ หลือ อยู่ในระหว่างการปรับปรุงระบบ กรณีต้นแบบ : การติดตั้งนวัตกรรมใน การจัดการน้�ำ เสียและนำ�กลับมาใช้ใหม่ (Reuse) แบบครบวงจรเพื่ อให้ เ กิ ด ประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดใน ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี และ เซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น ได้แก่ มี กระบวนการรองรับระบบการนำ�น้�ำ เสีย ที่ผ่านการบำ�บัดจาก (1) ระบบ Deep Shaft (2) น้�ำ ฝนจากหลังคา (3) น้�ำ ทิง้ จากส่วน Office Tower และ (4) น้�ำ Condensate จาก Air Handling Unit กลับมาใช้ใหม่ (Reuse) ในการรดน้ำ� ต้นไม้ ใช้ทำ�ความสะอาดพื้น และใช้ เป็นน้�ำ เติมในหอทำ�น้ำ�เย็น (Cooling Tower) โดยน้ำ�ในระบบดังกล่าวนี้จะ ได้รบั การตรวจสอบค่าพารามิเตอร์กอ่ น นำ�ไปใช้อยู่เป็นประจำ� โดยพบว่าค่าที่ ได้มีค่าดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

การจัดการขยะ ศูนย์การค้าเป็นแหล่งชุมนุมชนแหล่งย่อยๆ ซึง่ ก่อให้เกิดขยะในครัวเรือนจำ�พวกหนึง่ ทัง้ จากผูม้ าใช้บริการในศูนย์การค้าและร้านค้า เช่า ซึ่ง CPN ตระหนักถึงความสำ�คัญใน เรื่องนี้เป็นอย่างมากจึงนำ�มาตรฐาน ISO 14000 มาใช้ในการบริหารและจัดการขยะ ภายในศูนย์การค้า ในปี 2555 CPN ส่งขยะ สู่ ก ระบวนการจั ด การที่ เ หมาะสมทั้ ง สิ้ น 81,395 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งปริมาณดังกล่าว มาจากการวัดและคำ�นวณขยะของทั้ง 17 สาขา (ยกเว้นศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี เซ็นทรัลพลาซา สุราษฏร์ธานี และ เซ็นทรัลพลาซา ลำ�ปาง) กระบวนการจัดการขยะของ CPN แบ่ง ออกเป็น 2 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้ 1. ก า ร คั ด แ ย ก แ ล ะ แ บ่ ง ป ร ะ เ ภ ท ข ย ะ CPN แบ่ ง ชนิ ด ขยะที่ เ กิ ด ขึ้ น ภายใน ศูนย์การค้าออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล (หรือขยะเปียก กรณีโซนอาหาร) ขยะอันตราย และ ขยะติดเชิ้อ โดยมีการกำ�หนดประเภท ของถังขยะในโซนพื้นที่ให้บริการแตก ต่างกันไป เช่น โซนทัว่ ไปจะมีการกำ�หนด ประเภทถังขยะอยู่ 3 ประเภท คือ ขยะ ทั่วไป ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย หรื อ หากพื้ น ที่ จำ � กั ด จะเป็ น ถั ง ขยะใส และถุ งใส เพื่ อให้ ผู้ ม าใช้ บ ริ ก ารรู้ สึ ก ปลอดภัยที่ไม่มีขยะอันตรายแอบแฝง ในส่วนร้านค้าที่มีขยะติดเชื้อนั้นจะได้ รับการแนะนำ� และบอกข้อกำ�หนดใน การจัดการกับขยะติดเชื้อโดยร้านค้า เองหรือตามข้อตกลงว่าจ้างภายในกับ ทางบริษัทฯ

2. การจั ด เก็ บ และการจั ด การขยะ ใ น แต่ละวันขยะจะถูกจัดเก็บในโรงพักขยะ และมีการคัดแยกตามประเภทขยะ 4 ประเภทข้างต้น โดยจะมีเจ้าหน้าทีค่ อย คัดแยกขยะทั่วไป และขยะรีไซเคิลรวม ขยะเปียกออกเป็นประเภทที่สามารถ จำ�หน่ายได้ ซึง่ จะจำ�หน่ายให้ผรู้ บั เหมา ที่ ผ่ า นระบบการว่ า จ้ า งจั ด ซื้ อ ที่ มี ก าร เปรี ย บเที ย บคุ ณ สมบั ติ ต ามกฎของ บริษัทฯ ไปรีไซเคิลต่อไป ในส่วนขยะ ที่ไม่ได้คัดแยกเป็นขยะรีไซเคิล จะถูก นำ�ไปฝังกลบหรือเผาทำ�ลายโดยหน่วย งานราชการในเขต และพืน้ ทีน่ นั้ ๆ ส่วน ขยะอันตรายและขยะติดเชื้อจะมีการ แยกใส่ถุงกำ�กับตามชนิดของขยะ จาก นั้ น จะถู ก นำ � ไปทำ � ลายตามวิ ธี ก ารที่ เหมาะสมโดยผู้ รั บ เหมาที่ ผ่ า นระบบ การว่าจ้างจัดซื้อที่มีการเปรียบเทียบ คุณสมบัติตามกฎของบริษัทฯ เช่นกัน


แนวทางการจัดการขยะในโรงพักขยะของศูนย์การค้าภายใต้การบริหารงานของ CPN ประเภทขยะ

ขยะทั่วไป

ขยะรี ไซเคิล

ขยะอันตราย

ขยะติดเชื้อ

การจัดเก็บใน ถุงดำ� ถังขยะ ถังขยะ ร้านค้า/ผู้เช่า ถุงสีแดง โรงพักขยะ รีไซเคิล อันตราย ในการจัดการ ขยะกับทาง ผู้รับกำ�จัดเอง ความถี่ในการ ทุกวัน เดือนละ เดือนละ ตามข้อตกลง จัดการ/จัดเก็บ ยกเว้นขยะ 1 ครั้ง 1 ครั้ง ในการว่าจ้าง จากงานสวน ของแต่ละ สัปดาห์ละ ร้านค้า 1 ครั้ง ผู้รับผิดชอบ มอบหมายให้ผู้รับกำ�จัดเอกชน / ราชการเข้ามารับขยะไปดำ�เนินการ ในการจัด มีการลงบันทึกเก็บเป็นหลักฐานไว้อ้างอิงและตรวจค้น การขยะ ผู้ประเมินการ คณะทำ�งานด้านสิ่งแวดล้อมติดตามผลการปฏิบัติงานด้านสิ่งแวดล้อม จัดการขยะ ในเรื่องการจัดการขยะ โดยบันทึกผลการตรวจลงในแบบฟอร์ม มาตรฐาน ISO 14000 ที่กำ�หนด พร้อมทั้งติดตามผลการแก้ไขภายใน ระยะเวลาที่กำ�หนด กรณีต้นแบบ : การนำ�ขยะแห้งมารีไซเคิลเป็นปุ๋ยชีวภาพ ภายใต้โครงการชื่อ “แป๋งขี้ เหยื้อ ฮื้อเป๋นบุญ” ของศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต ซึ่งทำ�ต่อ เนื่องมาเป็นปีที่ 3 แล้ว โดยโครงการดังกล่าวเกิดจากการบูรณาการกลยุทธ์ทางด้าน สังคมและสิง่ แวดล้อมของศูนย์ฯ เข้าด้วยกัน ก่อนเริม่ โครงการนัน้ ทางศูนย์ฯ จะจัดการ กับขยะแห้ง คือเศษใบไม้ทั่วศูนย์ฯ โดยส่งมอบให้กับหน่วยงานจัดการขยะของจังหวัด เชียงใหม่ เนื่องจากทางศูนย์ฯ ไม่สามารถเผาเองได้เพราะติดกับสนามบิน ซึ่งท้ายสุด ทางจังหวัดก็จะนำ�ไปเผารวมก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศอันเป็นปัญหาใหญ่ของจังหวัด เชียงใหม่ ทางศูนย์ฯ จึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กรมทรัพยากรธรณี สสส.และ ชุมชนรอบข้าง ในการทำ�ปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยนำ�ขยะใบไม้แห้งบริเวณภายนอกศูนย์ฯ และรับใบไม้แห้งจากลูกค้า และชุมชนมาผ่านกระบวนการหมักทีถ่ กู สุขลักษณะ ปลอด กลิ่นและมลพิษในบริเวณพื้นที่ว่างรอบศูนย์การค้า ใช้ระยะเวลาในการหมัก 60 วัน โดยในปี 2555 ทางศูนย์ฯ สามารถแปลงปริมาณขยะแห้งจำ�นวน 3 ตันเป็นปุย๋ ชีวภาพ พร้อมใช้ 1 ตัน แจกจ่ายให้กบั ประชาชนทีส่ นใจและชุมชนรอบข้าง เป็นการสร้างความ สัมพันธ์อันดีต่อชุมชนและต่อพนักงานที่ร่วมอาสาในโครงการดังกล่าวเป็นอย่างมาก


116 | 117

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

ด้านสังคม ด้วยความมุ่งมั่นและสำ�นึกในความรับผิดชอบต่อสังคมตามเจตนารมณ์ของเซ็นทรัลกรุ๊ป “เพราะมีคุณ ถึงมีเรา” CPN จึงให้ความสำ�คัญ ต่อการดูแลชุมชน ผู้มีส่วนได้เสีย และสังคม เพื่อให้ทุกคนชื่นชม และภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของ CPN และชื่นชมและภูมิใจที่มี CPN เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน โดยคณะกรรมการผู้บริหารได้กำ�หนดกลยุทธ์และเป้าหมายในการดำ�เนินการ ดังนี้ การรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและตอบสนองความต้องการของแต่ละกลุ่ม ผู้มีส่วนได้เสีย

กระบวนการที่ใช้

นโยบายและแนวปฏิบัติที่ดำ�เนินการ

พนักงาน

>> กิจกรรมผู้บริหารพบพนักงาน >> การประชุมระดับจัดการ >> รับฟังความคิดเห็น และข้อร้องเรียน >> สำ�รวจความผูกพันของพนักงาน >> CPN Whistleblower Policy >> CPN Academy

ให้ความสำ�คัญต่อกระบวนการบริหารงานบุคคล กระบวน การพั ฒ นารายบุ ค คล กระบวนการสร้ า งความผู ก พั น กระบวนการพัฒนาคุณภาพงานตามมาตรฐานระดับสากล >> จ่ายผลตอบแทนที่เหมาะสม >> พัฒนาบุคลากรทุกวิชาชีพ ทุกระดับอย่างทั่วถึง >> จั ด กิ จ กรรมพนั ก งานสั ม พั น ธ์ ที่ เ หมาะสมตามความ ต้องการที่แตกต่างกันบนพื้นฐานความเท่าเทียมกัน

ร้านค้า/ผู้เช่าพื้นที่

ปฏิบตั ติ อ่ ผูเ้ ช่าพืน้ ทีด่ ว้ ยความโปร่งใสและเป็นธรรม ไม่กดี กัน >> การประชุมร้านค้าประจำ�ปี >> รับฟังความคิดเห็นและข้อร้องเรียน ตามหลักสิทธิมนุษยชนและหลักบรรษัทภิบาล รับฟังข้อ เสนอแนะและพัฒนาคุณภาพการให้บริการ การบริหารงาน >> Call Center

คุณภาพด้วยมาตรฐานระดับสากล >> นำ�นโยบาย ISO9000 และ ISO14000 มาปรับใช้ใน การบริหาร >> จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายที่มีคุณค่า สร้างสรรค์ และ โดดเด่นเป็นที่กล่าวถึงเพื่อดึงดูดผู้บริโภค >> ดำ�เนินนโยบายความปลอดภัยในสถานประกอบการ >> ร่วมส่งเสริมให้ความรู้ที่เกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าให้กับ ร้านค้า


ผู้มีส่วนได้เสีย

กระบวนการที่ใช้

นโยบายและแนวปฏิบัติที่ดำ�เนินการ

ลูกค้า

>> สำ�รวจความพึงพอใจของลูกค้า >> รับข้อเสนอแนะหรือข้อร้องเรียน

มุ่งมั่นในการสร้างประสบการณ์ที่ดีในการเดินศูนย์การค้า และดึงดูดลูกค้าเป้าหมายให้มาใช้บริการ โดย >> จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายที่มีคุณค่า สร้างสรรค์ และ โดดเด่นเป็นที่กล่าวถึง >> สื่อสารถึงลูกค้าด้วยช่องทางต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพ >> คัดสรรร้านค้าที่หลากหลายและมีความครบถ้วน (Merchandising Mix)

ผู้ถือหุ้น

>> การประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นประจำ�ปี >> รับข้อเสนอแนะหรือข้อร้องเรียน

ดำ�เนินธุรกิจตามหลักบรรษัทภิบาล จำ�แนกรายการที่เกี่ยว โยงกันอย่างชัดเจน เพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่อง

ผ่านไปยังคณะกรรมการตรวจสอบ >> ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์ ชุมชนโดยรอบ ศูนย์การค้า

>> สำ�รวจความคิดเห็นและความพึงพอใจ ให้ ค วามสำ � คั ญ กั บ การสร้ า งสาธารณประโยชน์ และ

ของชุมชนที่ก�ำ หนด >> ดูแลสิ่งแวดล้อมรอบชุมชน >> สนับสนุนกิจกรรมของชุมชน

สนับสนุนให้พนักงานมีจิตอาสาในการมีส่วนร่วมกับชุมชน ในการพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิต และสภาพแวดล้ อมโดยรอบ ศูนย์การค้า และในละแวกชุมชนที่ต้องการการพัฒนาใน ขอบเขตที่บริษัทฯ พึงกระทำ�และช่วยเหลือได้

คู่ความร่วมมือ (หน่วยงานราชการ และเอกชน)

>> ความร่วมมือ ประสานงาน

การให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนพื้นที่ภายในศูนย์ฯ


118 | 119

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

การพัฒนาทุนบุคลากรสู่ความเป็น มืออาชีพควบคู่กับการเป็นคนดี โดยในปี 2555 CPN ได้มีการจัดตั้งคณะ กรรมการพั ฒ นาทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ร ะดั บ องค์ ก รและระดั บ สายงาน เพื่ อ กำ � หนด กลยุ ท ธ์ แ ละเป้ า หมายด้ า นบุ ค ลากรโดย เฉพาะ ครอบคลุ ม ในเรื่ อ งการพั ฒ นา บุคลากร การพิจารณาเงินเดือน สวัสดิการ ผลตอบแทน การเลื่อนตำ�แหน่ง และการ สร้างความสุขให้พนักงานเกิดความผูกพัน กับองค์กร เคารพสิทธิมนุษยชน ไม่มีการ เลือกปฏิบตั ิ แบ่งแยกเชือ้ ชาติ ศาสนา และ เพศ เปิดโอกาสให้ทุกคนได้พัฒนาตนเอง ทั้ งในด้ า นการหมุ น เวี ย นงาน ย้ า ยกลั บ ภูมิลำ�เนา และการดำ�รงตำ�แหน่งผู้บริหาร ระดับสูง ดังได้กล่าวถึงในหน้า 102 กรณีต้นแบบ: ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ ผ่านมา CPN มีการรับฟังความคิดเห็น พนั ก งานผ่ า นกระบวนการประเมิ น ความผู ก พั น ของพนั ก งานโดยใช้ แนวทางตามการประเมิ น สุ ด ยอด นายจ้างของเออนฮิววิท (Aon Hewitt) ซึง่ เปิดโอกาสให้พนักงานในทุกระดับได้ แสดงควมคิดเห็นส่วนตัวโดยไม่มีการ โน้มน้าวและปิดกั้น ผ่านกระบวนการ ประเมินความผูกพันพนักงานประจำ�ปี ซึ่งผลการวิเคราะห์จากที่ปรึกษาภาย นอก ในปี 2555 มีพนักงานร่วมทำ� แบบสำ�รวจคิดเป็น 88% ของพนักงาน ที่ผ่านการทดลองงานทั้งหมด ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2555 พบว่าระดับความ ผูกพัน (Engagement Level) ของ พนักงาน CPN ที่มีต่อองค์กรอยู่ที่ 50% อยู่ในระดับเฉลี่ยทั่วไป (เปรียบ เทียบกับปี 2554 อยู่ที่ระดับ 47%)

โดยผลการวิเคราะห์ดงั กล่าวได้แปรเป็น แผนการดำ�เนินงานเพื่อให้พนักงานมี ความสุขในการทำ�งานที่ CPN มากขึ้น มีการกำ�หนดนโยบายและติดตามผล โดยคณะกรรมการพั ฒ นาทรั พ ยากร มนุษย์ระดับองค์กร (People Development Committee) และดำ�เนินการ รับฟัง พัฒนา และปรับปรุงแก้ไขอย่าง ทันท่วงทีโดยคณะทำ�งานดูแลความสุข ของบุคลากร ซึง่ ประกอบด้วยพนักงาน ประจำ� ณ สาขานั้นๆ อาสาดูแลรับผิดชอบเรื่องความสุขของพนักงานร่วม กับผู้จัดการศูนย์การค้าและพนักงาน ฝ่ายบริหารทุนมนุษย์และพัฒนาองค์กร การรับผิดชอบต่อการให้บริการ CPN แสดงความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ การให้ บริการจำ�แนกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ (1) ด้าน คุณภาพ (2) ด้านสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย (3) ด้านความปลอดภัย และ (4) ด้านสุขภาพ โดยนำ�แนวทางการรับรอง มาตรฐานระดับสากล เช่น ISO90001 และ ISO14001 มาปรับใช้ในองค์กร โดย ด้านคุณภาพ ด้านสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย ได้กล่าวถึงแล้วในหน้า 99 ด้านความปลอดภัย CPN ควบคุ ม ดู แ ลสภาพแวดล้ อ มพื้ น ที่ ภายในและบริ เ วณโดยรอบศู น ย์ ก ารค้ า อาคารสำ�นักงาน และอาคารที่พักอาศัย ให้ เ ช่ า ให้ มี ค วามปลอดภั ย ต่ อ ชี วิ ต และ ทรัพย์สินต่อผู้เช่าและผู้มาใช้บริการ โดย การติดตั้งระบบเทคโนโลยี CCTV และ กำ � หนดแผนตรวจเช็ ค และซ่ อ มบำ � รุ ง อุปกรณ์อันเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ อาทิ

ลิฟท์ บันไดเลื่อน เตาแก๊สและอุปกรณ์ หุงต้ม อย่างสม่ำ�เสมอ อีกทั้งมีการจัดทำ� แผนเผชิ ญ เหตุ แ ละควบคุ ม สถานการณ์ ภายใต้ภาวะฉุกเฉินตามมาตรฐาน ISO 9001:2008 ด้านสุขภาพ CPN กำ�หนดนโยบายในการจัดการและ ควบคุมอากาศภายในอาคารตามกฎหมาย กำ�หนดและตามมาตรฐานระบบการจัดการ ด้านสิ่งแวดล้อม ISO14001:2004 อีกทั้ง มีการติดตั้งระบบเติมอากาศอัตโนมัติ เพื่อ ดูดอากาศสะอาด (Fresh air) จากภาย นอกอาคารมาเติ ม ภายในอาคารเพื่ อให้ ลูกค้าเกิดความสบาย ปลอดโปร่งเมื่อเดิน ชมสินค้าในศูนย์ฯ ในส่วนของลานจอดรถ ภายในตัวอาคาร มีการติดตั้งระบบ CO Detector เพื่อตรวจวัดระดับก๊าซคาร์บอน มอนออกไซด์ (CO) บริเวณอาคารจอดรถ ไม่ให้เกินกว่าค่ามาตรฐานกำ�หนด และมี การกำ � หนดแผนการตรวจประเมิ น ผู้ ประกอบการร้านอาหารในศูนย์การค้าตาม โครงการครัวสะอาด เพื่อรณรงค์ส่งเสริม ให้ ผู้ ป ระกอบการร้ า นอาหารในศู น ย์ ตระหนักถึงสุขอนามัยในการประกอบการ ร้านอาหารที่ดี การพัฒนาชุมชนและสังคม CPN มุ่งมั่นพัฒนาและสร้างสรรค์ความ เจริญอย่างยัง่ ยืนในชุมชนและสังคมทีเ่ ข้าไป ดำ�เนินงาน โดยสนับสนุนให้พนักงานและ ทุ ก ภาคส่ ว นของสั ง คมได้ มี กิ จ กรรมเพื่ อ สั ง คม และเพื่ อ ส่ ง เสริ ม ภาพลั ก ษณ์ จริยธรรม และวัฒนธรรมอันดีของชาติต่อ สังคมในวงกว้าง ตามหลักบรรษัทภิบาล


ในหัวข้อ “ใส่ใจดูแลสังคม” โดยจำ�แนก โครงการเพื่อการพัฒนาชุมชนและสังคม ออกเป็น 8 ด้าน ได้แก่ ด้านสิทธิมนุษยชน เด็ ก และเยาวชน การศึ ก ษา ศาสนา วัฒนธรรม สิง่ แวดล้อม ชุมชนสัมพันธ์ และ อื่นๆ ผ่านรูปแบบการดำ�เนินการทั้งสิ้น 4 รูปแบบ คือ 1. การบริจาคเงิน เครื่องอุปโภคบริโภค และคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงการเป็น ศูนย์กลางในการรับบริจาคทั้งในรูปตัว เงินและไม่ใช่ตัวเงิน เช่น การบริจาค โลหิต การติดตั้งจานดาวเทียมเพื่อการ ศึกษาในสถานศึกษา ภายใต้โครงการ เพาะกล้าปัญญาไทย 2. การเปิดพื้นที่สาธารณะในการรณรงค์ ส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด การเพิ่ ม คุ ณ ค่ า ทาง สังคม โดยการอนุเคราะห์ให้ใช้พื้นที่ และบริการของศูนย์การค้าในการจัด นิ ท รรศการ จั ด กิ จ กรรม การแสดง ดนตรี เป็นต้น 3. การจัดกิจกรรมทั้งภายในศูนย์การค้า และภายในชุมชน ภายใต้โครงการ CPN รั ก ชุ ม ชน รั ก ษ์ สิ่ ง แวดล้ อ ม การจั ด กิจกรรมสร้างโอกาสทางการศึกษา ภาย ใต้โครงการ CPN เพาะกล้าปัญญาไทย และการสนั บ สนุ น พนั ก งานในการ บำ � เพ็ ญ ตนให้ เ ป็ น ประโยชน์ ภ ายใต้ โครงการ CPN อาสา 4. การสร้ า งสาธารณประโยชน์ เ พื่ อ อำ�นวยความสะดวกให้กับชุมชน เช่น การสร้างสะพานลอย ป้อมตำ�รวจ รวม ไปถึงการสร้างศูนย์การเรียนรู้ เพื่อเปิด โอกาสทางการศึ ก ษาให้ กั บ เด็ ก และ ชุมชน ภายใต้โครงการเพาะกล้าปัญญา ไทย

ในปี 2555 CPN ได้สนับสนุนงบประมาณ และร่ ว มมื อ กั บ ภาคการศึ ก ษา ภาคการ ศาสนา ภาคเอกชน หน่วยงานรัฐ องค์กร ทีไ่ ม่หวังผลประโยชน์ รวมไปถึงร้านค้า ผูเ้ ช่า ชุ ม ชนโดยรอบ และประชาชนทั่ วไปใน การเปิ ด พื้ น ที่ ส าธารณะจั ด กิ จ กรรม จั ด นิทรรศการ เป็นศูนย์กลางในการรับบริจาค ทุกรูปแบบ รวมเฉพาะโครงการและกิจกรรม ขนาดใหญ่ทั้งสิ้น 71 โครงการ จาก 19 ศูนย์การค้าทีบ่ ริหารงานโดย CPN (ยกเว้น เซ็นทรัลพลาซา ลำ�ปาง) โดยโครงการและ กิจกรรมเหล่านั้นครอบคลุมโรงเรียนทั้งสิ้น 50 แห่ง วัดจำ�นวน 10 แห่ง ชุมชนกว่า 20 ชุมชนทั่วประเทศไทย โครงการที่ CPN ส่งเสริมในแต่ละด้าน ตามรูปแบบที่เหมาะสม ) สิทธิมนุษยชน เด็ก การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ชุมชน อื่นๆ จำ�นวนโครงการ 0

10 การบริจาค

20 การอนุเคราะห์พื้นที่

30 การจัดกิจกรรม

หมายเหตุ: บางโครงการที่จัดขึ้น สามารถตอบวัตถุประสงค์ได้มากกว่า 1 ด้าน

40

50

การสร้างสาธารณประโยชน์


120 | 121

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

โครงการ CPN เพาะกล้าปัญญาไทย CPN เชือ่ มัน่ ว่าเยาวชนคือรากฐานทีส่ �ำ คัญ ของสังคม การให้การศึกษาที่ดีควบคู่ไป กับการปลูกฝังค่านิยมด้านจริยธรรมและ คุณธรรมแก่เยาวชนจะส่งผลให้ชุมชนและ สั ง คมอยู่ ร อดได้ ด้ ว ยตนเองอย่ า งยั่ ง ยื น ภายใต้โครงการนี้ CPN ร่วมกับหน่วยงาน ภาครัฐ พันธมิตรทางการค้า และบริษัทใน เครือเซ็นทรัลกรุป๊ ให้การสนับสนุนด้านการ ศึกษาแก่ชุมชนและเยาวชนผู้ด้อยโอกาส ผ่านการสร้างศูนย์การเรียนรูใ้ นชุมชน สร้าง ห้องสมุดสำ�หรับโรงเรียนที่ขาดแคลน รวม ถึงการบริจาคอุปกรณ์การเรียนการสอนให้ แก่เยาวชนผู้ด้อยโอกาส เป็นต้น นับถึงปี 2555 CPN ได้สนับสนุนการพัฒนาศูนย์ การเรียนรูใ้ นจังหวัดต่างๆ ไปแล้ว 9 โรงเรียน และดำ�เนินโครงการศึกษาทางไกลผ่านดาว เทียมไปแล้ว 30 แห่ง โครงการ CPN อาสา CPN อาสา มีจุดเริ่มต้นจากกลุ่มพนักงาน CPN กลุ่มเล็กๆ ที่เจริญรอยตามเจตนารมณ์ของผู้บริหารที่อยากเห็นพนักงานมี ส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งจะเป็น การปลูกจิตสำ�นึกให้แก่พนักงานให้เห็นถึง ความสำ�คัญของการตอบแทนสิ่งดีๆ คืน กลับสังคม กลุ่ม CPN อาสา มีการจัด กิ จ กรรมอาสาอย่ า งต่ อ เนื่ อ งเป็ น ประจำ � ทุกปี หมุนเวียนตามชุมชนในละแวกใกล้ เคียงศูนย์การค้าที่บริหารโดย CPN และ ตามภูมิลำ�เนาของสมาชิกที่เสนอโครงการ มายังคณะกรรมการโครงการ CPN อาสา โดยกิจกรรมจะดำ�เนินภายใต้กรอบนโยบาย

ความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมเพื่อ การพัฒนาอย่างยัง่ ยืน 3 แนวทาง คือ เพือ่ การศึกษา เพื่อสิ่งแวดล้อม และเพื่อชุมชน ในรอบปี 2555 CPN ได้จัดกิจกรรมอาสา ทั้งสิ้น 12 โครงการ กรณีต้นแบบ : โครงการ CPN อาสา ส.ค.ส. เพื่อเด็กดี ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจาก แนวคิดของกลุม่ CPN อาสาทีต่ อ้ งการ นำ�ประสบการณ์ความสุข (rewarding Experience) ที่ทางศูนย์การค้ามุ่งมั่น มอบให้กับลูกค้าที่มาเดินในศูนย์ฯ ไป มอบให้กับเด็กๆ ที่ห่างไกลและด้อย โอกาส โดยยึดหลักการมอบของขวัญ ที่ตรงใจทั้งผู้ให้และผู้รับ โดยกลุ่มผู้รับ คือเด็กและเยาวชนระดับชั้นอนุบาลถึง มัธยมศึกษาในพืน้ ทีท่ คี่ ดั สรร น้องๆ จะ เขียนสิ่งที่ตนเองอยากได้เป็นของขวัญ ใส่ในการ์ดผ่านทางคณะทำ�งาน CPN อาสา ส่งมาถึงมือกลุ่มผู้ให้ ซึ่งก็คือ เหล่าพนักงาน CPN โดยพนักงานแต่ ละคนจะเลือกการ์ดของขวัญที่ตนเอง ประสงค์จะซื้อให้ ไปจัดหาของขวัญให้ ตรงกับที่น้องๆ เขียนขอมา จากนั้นจะ มีพนักงาน CPN อาสาอีกกลุ่มหนึ่ง อาสานำ�ของขวัญดัง กล่าวไปมอบให้ เด็กๆ ในงานวันเด็ก โดยกิจกรรมดังกล่าว จะจัดทุกวันศุกร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เหตุ ที่ จั ด วั น ศุ ก ร์ เ พื่ อให้ น้ อ งๆ ได้ มี โอกาสไปร่วมงานวันเด็กที่จัดขึ้นจริงใน วันเสาร์ ณ สถานที่จัดงานของอำ�เภอ หรือจังหวัด โดยในปี 2555 ทางกลุ่ม CPN อาสาและศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา สุราษฎร์ธานี ได้ร่วมกันจัด

โครงการ ส.ค.ส. เพือ่ เด็กดี ณ โรงเรียน วัดสมหวัง จ.สุราษฏร์ธานี มีจ�ำ นวน CPN อาสาร่วมเดินทางมอบของขวัญและ จัดกิจกรรมวันเด็กจำ�นวน 53 คน มี นักเรียนจากโรงเรียนดังกล่าวเข้าร่วม 705 คน ของขวัญที่รวบรวมและไป มอบให้กับน้องๆ ได้มากกว่า 800 ชิ้น



122 | 123

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

ปัจจัยความเสี่ยง ลักษณะความเสี่ยง

การบริหารจัดการความเสี่ยง

มุ่งเน้นการดำ�เนินแผนกลยุทธ์ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับพันธกิจและแผนของ บริษัทฯ และให้มั่นใจได้ว่าการกำ�หนดกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ สอดคล้องกับความเสี่ยงที่บริษัทฯ ยอมรับได้โดย

ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ธุรกิจ(Strategic Risk)

>> ความพร้อมทางธุรกิจ

>> การวิเคราะห์ความเป็นไปได้และความคุ้มค่าของโครงการ >> การพัฒนาบุคคลากร >> การวิเคราะห์ความพร้อมของคู่ค้า >> การบริหารศูนย์การค้าให้คงศักยภาพและประสิทธิภาพในการแข่งขัน

>> การลงทุนในต่างประเทศ

>> การจัดตั้งทีมงานต่างประเทศ >> ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจในแต่ละประเทศอย่างละเอียดรอบคอบ

(Business Readiness) เพื่อรองรับกับนโยบายการเติบโตทาง ธุรกิจในการขยายสาขาและรองรับการ แข่ ง ขั น ภายในประเทศที่ รุ น แรงขึ้ น บริษทั ฯ มีแผนการขยายธุรกิจในประเทศ อย่างต่อเนื่อง

(Foreign Investment) บริษัทฯ มีแผนการขยายธุรกิจไปในต่าง ประเทศเพื่อตอบสนองกับนโยบายการ เติบโตทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

ก่อนตัดสินใจลงทุน >> ติดตามความเป็นไปของสภาวะเศรษฐกิจ สังคม และธุรกิจที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อหาแนวทางตอบสนองให้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม >> ร่วมลงทุนกับพันธมิตรทางธุรกิจที่มีศักยภาพสูง >> เตรียมความพร้อมองค์กรและบุคลากร เพื่อรองรับการขยายการลงทุนไปต่างประเทศ >> พัฒนาปรับปรุงศูนย์การค้าที่มีอยู่ พร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานการให้บริการและการ บริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความแตกต่างและความได้เปรียบในการแข่งขัน >> จัดหาแหล่งเงินทุนให้เพียงพอกับความต้องการเงินทุน และดำ�รงอัตราส่วนหนี้สินที่มี ภาระดอกเบี้ยสุทธิต่อทุนที่เหมาะสม


ลักษณะความเสี่ยง

การบริหารจัดการความเสี่ยง

มุ่งเน้นกระบวนการปฎิบัติงานทุกขั้นตอน โดยให้ครอบคลุมทุกกระบวนการ การลงทุน เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรในการปฎิบัติงาน รวมถึงความเสี่ยง ด้านความปลอดภัย ที่อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินขององค์กร

ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operation Risk)

>> การบริ ห ารความเปลี่ ย นแปลงเพื่ อ

>> เทคโนโลยีดา้ นสารสนเทศทีท่ นั สมัยและมีประสิทธิภาพครอบคลุมกระบวนการทีส่ �ำ คัญ

>> การสรรหาบุ ค ลากรและสร้ า งความ

ผูกพันให้กับองค์กร จากนโยบายการ เติ บโตทางธุ ร กิ จ อย่ า งต่ อ เนื่ อ งทำ �ให้ มีการขยายสาขาครอบคลุมทั้งในและ ต่างประเทศ ซึ่งจะต้องสรรหาบุคลากร ให้ทนั ต่อความต้องการ และสร้างความ ผูกพันเพื่อรักษาบุคลากรที่สำ�คัญ

>> จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาบุคลากร (People Development Committee) โดย

ความเสี่ยงด้านความ ปลอดภัยจากอันตราย ต่อชีวิตและทรัพย์สิน (Hazard Risk)

มุ่งเน้นการบริหารจัดการป้องกันเชิงรุก โดยมีการจัดทำ�แผนและฝึกซ้อมแผนอย่าง สม่ำ�เสมอ เพื่อเตรียมพร้อมแต่ละสถานการณ์ที่คาดว่าจะเกิด รวมถึงติดตามข้อมูลและ ข่าวสารอย่างต่อเนื่อง

รองรับระบบงานใหม่ อาทิ บริษัทได้มี การปรั บ ปรุ ง พั ฒ นาและติ ด ตั้ ง ระบบ สารสนเทศขององค์กรที่นำ�แนวคิดและ วิธีการบริหารของ ERP (Enterprise Resource Planning) มาใช้เพือ่ รองรับ ความต้องการที่จำ�เป็นทางด้านธุรกิจ

>> ด้านอุบัติภัย และภัยอื่นๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง

กับการบริหารศูนย์การค้า

>> ด้านความไม่แน่นอนทางการเมืองและ

เหตุการณ์รุนแรงทางการเมือง

ขององค์กร >> ระบบที่สอดคล้องตามวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการเติบโตทั้งในประเทศและต่าง ประเทศ >> มีการคัดเลือกผู้ค้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการติดตั้งระบบที่เป็นที่น่า เชื่อถือ

มี บ ทบาทหน้ า ที่ ใ นการกำ � หนดนโยบายเเละกลยุ ท ธ์ ด้ า นการบริ ห ารเเละพั ฒ นา ทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร >> ดูเเลการบริหารเเละพัฒนาพนักงานในทุกระดับเพือ่ รองรับนโยบายการเติบโตทางธุรกิจ และการแข่งขันภายในประเทศ เพื่อให้เกิดมาตรฐานและคุณภาพของบุคลากรที่ สอดคล้องต่อการขยายธุรกิจ

>> แต่งตัง้ ทีมงานป้องกันการสูญเสียภายใต้การกำ�กับดูแลของสำ�นักส่งเสริมและกำ�กับดูแล

มาตรฐาน (สสม.) เพื่อตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงด้านความปลอดภัย ทั้งในส่วนของการ เกิดอัคคีภยั อุทกภัย และภัยอื่นๆ >> มีการกำ�หนดเป็นระเบียบปฏิบัติการเพื่อให้ทุกสาขาปฏิบัติ >> ทำ�แผนเพือ่ จำ�ลองสถานการณ์การเกิดเหตุการณ์กรณีตา่ งๆ และฝึกซ้อมตามแผนนัน้ ๆ โดยมีการติดตามผลการฝึกซ้อมให้เป็นไปตามที่ก�ำ หนด >> แต่งตั้งคณะคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อบริหารจัดการอย่างมี ประสิทธิภาพ ในแต่ละระดับความรุนแรงของสถานการณ์ >> เตรียมจัดทำ�แผนความต่อเนือ่ งทางธุรกิจ (Business Continuity Planning : BCP) โดยคำ�นึงถึงการบรรเทาผลกระทบอันอาจเกิดจากเหตุการณ์ตา่ งๆ ให้เกิดขึน้ น้อยทีส่ ดุ รวมถึงการมีแผนป้องกันไม่ให้เกิดการหยุดชะงักทางธุรกิจ


124 | 125

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

ลักษณะความเสี่ยง

การบริหารจัดการความเสี่ยง

มุง่ เน้นการบริหารองค์กร โดยใช้นโยบายทางการเงินอย่างระมัดระวังภายใต้งบประมาณที่ กำ�หนด เพือ่ ให้ ได้รบั ผลตอบแทนทีเ่ หมาะสม และให้เกิดความเชือ่ มัน่ ว่ามีการบริหารความ เสีย่ งและการควบคุมภายในทีม่ ปี ระสิทธิภาพเพียงพอกับระดับความเสีย่ งทีย่ อมรับได้ และ เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk)

>> การหาแหล่งเงินทุนได้เพียงพอ

เนื่ อ งจากธุ ร กิ จ อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ เ ป็ น ธุรกิจทีใ่ ช้เงินลงทุนและมีการแข่งขันสูง เพื่ อ ให้ บ ริ ษั ท ฯ คงศั ก ยภาพในการ ดำ�เนินทางธุรกิจ จึงมีความจำ�เป็นต้อง จั ด หาแหล่ ง เงิ น ทุ น ที่ เ หมาะสมและ พอเพี ย งโดยมี ต้ น ทุ น อยู่ ใ นระดั บ ที่ เหมาะสม

>> พยายามคงอัตราส่วนหนีส้ นิ ต่อทุนในระดับทีต่ �่ำ ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้บริษทั ฯ สามารถดำ�รงสภาพ

คล่องในการดำ�เนินการขยายธุรกิจ >> สร้างความมั่นคงในสถานะทางการเงินและผลประกอบการ บริหารหนี้สินอย่างมี ประสิทธิภาพ >> ใช้เครื่องมือทางการเงินในการระดมทุนที่เหมาะสม >> ปัจจัยต่างๆ เหล่านีจ้ ะช่วยเพิม่ ความยืดหยุน ่ ให้บริษทั ฯ ในการขยายธุรกิจและลดความ เสี่ยงทางด้านการเงิน


โครงสร้างเงินทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 CPN มีรายละเอียดของโครงสร้างเงินทุนที่สำ�คัญดังต่อไปนี้ 1. โครงสร้างเงินทุน หุ้นสามัญ ทุนจดทะเบียน ทุนเรียกชำ�ระแล้ว จำ�นวนหุ้นสามัญ มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ ราคาหุ้น

2,178,816,000 2,178,816,000 2,178,816,000 1.00 81.75

บาท บาท หุ้น บาท บาท

หุ้นกู้ ไม่มีประกันและไม่ด้อยสิทธิ ชื่อหุ้นกู้ CPN135A CPN145A CPN136A CPN15DA CPN163A CPN164A CPN16OA CPN18OA CPN21OA CPN156A CPN171A CPN176A CPN13NA

อันดับเครดิต จำ�นวน ตราสารหนี้ (ล้านบาท) A+ 2,000 A+ 1,000 A+ 1,200 n/a 500 n/a 500 A+ 1,000 A+ 1,200 A+ 500 A+ 300 n/a 1,000 n/a 1,000 A+ 1,000 n/a 500

หมายเหตุ: อัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้ถัวเฉลี่ย 4.30% ต่อปี

วันที่ออก อายุ หุ้นกู้ (ปี) 21/05/2552 4 21/05/2552 5 26/06/2552 4 28/12/2553 5 25/03/2554 5 29/04/2554 5 12/10/2554 5 12/10/2554 7 12/10/2554 10 23/12/2554 3.5 23/12/2554 5.1 01/06/2555 5 01/08/2555 1.3

รอบการจ่าย ดอกเบี้ย ทุกๆ 6 เดือน ทุกๆ 6 เดือน ทุกๆ 6 เดือน ทุกๆ 6 เดือน ทุกๆ 6 เดือน ทุกๆ 6 เดือน ทุกๆ 3 เดือน ทุกๆ 3 เดือน ทุกๆ 3 เดือน ทุกๆ 6 เดือน ทุกๆ 6 เดือน ทุกๆ 6 เดือน ทุกๆ 6 เดือน

รอบการจ่าย คืนเงินต้น เมื่อครบกำ�หนด เมื่อครบกำ�หนด เมื่อครบกำ�หนด เมื่อครบกำ�หนด เมื่อครบกำ�หนด เมื่อครบกำ�หนด เมื่อครบกำ�หนด เมื่อครบกำ�หนด เมื่อครบกำ�หนด เมื่อครบกำ�หนด เมื่อครบกำ�หนด ทยอยชำ�ระคืนเงินต้น เมื่อครบกำ�หนด

วันครบ ยอดคงเหลือ กำ�หนด 31 ธ.ค. 2555 21/05/2556 2,000 21/05/2557 1,000 26/06/2556 1,200 28/12/2558 500 25/03/2559 500 29/04/2559 1,000 12/10/2559 1,200 12/10/2561 500 12/10/2564 300 23/06/2558 1,000 23/01/2560 1,000 01/06/2560 1,000 29/11/2556 500


126 | 127

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

การดำ�รงสถานะทางการเงิน ตามข้อกำ�หนดสิทธิ

การดำ�รงอัตราส่วน

ข้อมูล ณ 31 ธ.ค. 2555

1. จำ�นวนรวมของหนี้สินต่อจำ�นวนรวมของส่วนของผู้ถือหุ้น

ไม่เกิน 2.50 เท่า

1.69 เท่า

2. จำ�นวนรวมของเงินกู้ยืมต่อจำ�นวนรวมของส่วนของผู้ถือหุ้น

ไม่เกิน 1.75 เท่า

0.99 เท่า

ไม่ต�่ำ กว่า 1.50 เท่า

3.32 เท่า

3. จำ�นวนรวมของสินทรัพย์หลังจากหักภาระผูกพัน ต่อเงินกู้ยืมที่ไม่มีหลักประกัน 2. ผู้ถือหุ้น

บริษัทฯ มีการกระจายการถือหุ้น ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 ซึ่งเป็นวันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเพื่อประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2556 ดังนี้ ผู้ถือหุ้น

จำ�นวนหุ้น

สัดส่วนการถือหุ้น (%)

2,178,816,000

100.00%

ผู้ถือหุ้นในประเทศ >> นิติบุคคล >> บุคคลธรรมดา รวม

902,051,605 752,589,470 1,654,641,075

41.40% 34.54% 75.94%

ผู้ถือหุ้นต่างประเทศ >> นิติบุคคล >> บุคคลธรรมดา รวม

479,612,845 44,562,080 524,174,925

22.01% 2.05% 24.06%

ทุนจดทะเบียนชำ�ระแล้ว


ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 อันดับแรก ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 ซึ่งเป็นวันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเพื่อประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2556 มีดังนี้ ลำ�ดับ

รายชื่อผู้ถือหุ้น

จำ�นวนหุ้น

สัดส่วนการถือหุ้น (%)

1 บริษัท เซ็นทรัลโฮลดิ้ง จำ�กัด

588,171,980

27.00%

2 HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD *

178,315,819

8.18%

3 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำ�กัด

94,838,635

4.35%

4 Mrs. Arunee Chan

89,444,070

4.10%

5 THE BANK OF NEW YORK (NOMINEES) LIMITED *

60,848,910

2.79%

6 นายสุทธิชัย จิราธิวัฒน์

41,794,000

1.92%

7 นายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์

41,730,200

1.92%

8 นางสุจิตรา มงคลกิต ิ

33,198,400

1.52%

9 นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์

30,150,550

1.38%

10 นายทศ จิราธิวัฒน์

30,150,550

1.38%

หมายเหตุ : * นายทะเบียนไม่สามารถแจกแจงรายชื่อผู้ถือหุ้นในรายละเอียดได้ อย่างไรก็ตาม Nominee Account ดังกล่าวไม่มีพฤติการณ์ที่มีอิทธิพลต่อการกำ�หนด นโยบายและการจัดการของบริษัท

กลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่โดยพฤติการณ์มีอิทธิพลต่อการกำ�หนดนโยบายหรือการดำ�เนินงานของ CPN อย่างมีนัยสำ�คัญ บริษัท เซ็นทรัลโฮลดิ้ง จำ�กัด และบุคคลในตระกูลจิราธิวัฒน์ รวมถือหุ้นประมาณ 60% เป็นกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ที่โดยพฤติการณ์ มีอิทธิพลต่อการกำ�หนดนโยบายหรือการดำ�เนินงานของ CPN อย่างมีนัยสำ�คัญ เนื่องจากมีผู้แทนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการบริษัท จำ�นวน 7 ท่าน จากจำ�นวนกรรมการทั้งสิ้น 12 ท่าน ข้อจำ�กัดการถือครองหลักทรัพย์ของบุคคลต่างด้าว CPN มีข้อจำ�กัดการถือครองหลักทรัพย์ของบุคคลต่างด้าว (Foreign Limit) ไว้ 30% ของทุนชำ�ระแล้ว โดย ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 มีบุคคลต่างด้าวถือครองหลักทรัพย์ของ CPN 24.06% ของทุนชำ�ระแล้ว


128 | 129

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

รายละเอียดการถือหลักทรัพย์ของ CPN โดยกรรมการและผู้บริหาร ระหว่างวันที่ 1 มกราคม-31 ธันวาคม 2555 ลำ�ดับ

ตำ�แหน่ง 1)

รายชื่อ

จำ�นวนหุ้นที่ถือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2555 ทางตรง ทางอ้อม 2) รวม

1 นายสุทธิชัย จิราธิวัฒน์

ประธานกรรมการ

41,794,000

2 นายไพฑูรย์ ทวีผล

กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง

-

-

-

3 นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์

กรรมการอิสระ ประธานกรรมการสรรหาและกำ�หนด ค่าตอบแทน กรรมการตรวจสอบ

-

-

-

4 นางสุนันทา ตุลยธัญ

กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน

-

-

-

5 นายการุณ กิตติสถาพร

กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน

-

-

-

6 นายครรชิต บุนะจินดา

กรรมการอิสระ กรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน กรรมการบริหารความเสี่ยง

-

-

-

7 นายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์

กรรมการ

41,730,200

200,000 41,994,000

- 41,730,200

8 นายสุทธิชาติ จิราธิวัฒน์ กรรมการ 4,659,000 4,659,100 9,318,100 9 นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์

กรรมการ

14,173,200

- 14,173,200

10 นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์

กรรมการ

13,382,300

- 13,382,300

11 นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์ กรรมการ 30,150,620 - 30,150,620 กรรมการบริหารความเสี่ยง 12 นายกอบชัย จิราธิวัฒน์

กรรมการ กรรมการบริหารความเสี่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

26,493,500

-

26,493,500

13 นายสุทธิเดช จิราธิวัฒน์

รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส

16,295,700

-

16,295,700

หมายเหตุ : 1) ข้อมูลปรับปรุงล่าสุด ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556 2) ถือหลักทรัพย์โดยคู่สมรสและ/หรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของกรรมการหรือผู้บริหาร


การเปลี่ยนแปลงจำ�นวนการถือหุ้น เพิ่ม / (ลด) ระหว่างปี 2555 ระหว่างเดือน ทางตรง ทางอ้อม 2) -

-

-

จำ�นวนหุ้นที่ถือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 ทางตรง ทางอ้อม 2) รวม 41,794,000

สัดส่วนการถือหุ้น (%) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555

200,000 41,994,000

1.93

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

41,730,200

- 41,730,200

1.92

- (4,659,100) 1,827,200 - - 4,659,100 6,486,200 4,659,100 11,145,300

0.51

ม.ค. มิ.ย. ธ.ค. -

-

-

14,173,200

- 14,173,200

0.65

-

-

-

13,382,300

- 13,382,300

0.61

- - - 96,000 30,332,550 96,000 30,428,550

1.40

มี.ค. พ.ค. ก.ค. ส.ค.

100,000 (100,000) (70) 182,000

-

-

-

26,493,500

-

26,493,500

1.22

-

-

-

16,295,700

-

16,295,700

0.75


130 | 131

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

ลำ�ดับ

รายชื่อ

14 นายนริศ เชยกลิ่น

จำ�นวนหุ้นที่ถือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2555 ทางตรง ทางอ้อม 2) รวม

ตำ�แหน่ง 1) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงิน บัญชี และบริหารความเสี่ยง

-

-

-

15 นางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ 8,659,600 - 8,659,600 สายงานพัฒนาธุรกิจ ออกแบบ และก่อสร้าง 16 นายสมชาติ บาระมีชัย 3)

รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานปฏิบัติการ

17 นายสุทธิภัค จิราธิวัฒน์

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำ�นักกรรมการผู้จัดการใหญ่

12,794,800

18 นางนาถยา จิราธิวัฒน์

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำ�นักกรรมการผู้จัดการใหญ่

8,619,600

-

8,619,600

19 นายธีระชาติ นุมานิต

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบริหารโครงการก่อสร้าง

-

-

-

20 ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาด

-

-

-

21 นางปณิดา สุขศรีดากุล

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารทรัพย์สิน

-

-

-

22 นางสาวนภารัตน์ ศรีวรรณวิทย์ รักษาการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบริหารและปฏิบัติการการเงิน และเลขานุการบริษัท

27,000

-

27,000

23 นางสุวดี สิงห์งาม

10,000

24,000

34,000

หมายเหตุ : 1) 2) 3)

ผู้อำ�นวยการอาวุโส ฝ่ายบัญชี และบริหารสำ�นักงาน

-

-

-

- 12,794,800

ข้อมูลปรับปรุงล่าสุด ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556 ถือหลักทรัพย์โดยคู่สมรสและ/หรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของกรรมการหรือผู้บริหาร ดำ�รงตำ�แหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ส่งผลให้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป ผู้บริหารลำ�ดับที่ 17-20 ไม่เข้าข่ายตามนิยาม “ผู้บริหาร” ของ ประกาศของสำ�นักงานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ สจ. 12/2552 เรื่องการจัดทำ�และเปิดเผยรายงานการถือ หลักทรัพย์ของกรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชี ทั้งนี้ เนื่องจาก CPN มีผู้บริหารครบถ้วน 4 ท่าน ในระดับรองกรรมการผู้จัดการใหญ่


การเปลี่ยนแปลงจำ�นวนการถือหุ้น เพิ่ม / (ลด) ระหว่างปี 2555 ระหว่างเดือน ทางตรง ทางอ้อม 2) - มี.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย.

- (10,000) (10,000) (10,000) (20,000) (20,000)

-

จำ�นวนหุ้นที่ถือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 ทางตรง ทางอ้อม 2) รวม -

-

-

- - - - - 8,589,600 - 8,589,600

0.39

-

-

-

-

-

-

-

12,794,800

-

-

-

-

-

-

-

สัดส่วนการถือหุ้น (%) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555

-

-

-

- 12,794,800

0.59

8,619,600

-

8,619,600

0.40

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

27,000

-

27,000

0.00

-

-

-

10,000

24,000

34,000

0.00

3. นโยบายการจ่ายเงินปันผล บริษัทฯ มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่ต่ำ�กว่าประมาณ 40% ของกำ�ไรสุทธิจากการดำ�เนินงานของงบการเงินรวม หากไม่มีเหตุ จำ�เป็นอืน่ ใด ทัง้ นี้ จำ�นวนเงินปันผลจ่ายจะต้องไม่เกินกว่ากำ�ไรสะสมของงบการเงินเฉพาะกิจการ และบริษทั ย่อยมีนโยบายการจ่ายเงินปันผล เมื่อบริษัทย่อยมีก�ำ ไรสุทธิจากการดำ�เนินงานและมีกระแสเงินสดคงเหลือเพียงพอ โดยอัตราการจ่ายเงินปันผลจะขึ้นอยู่กับการพิจารณา ของคณะกรรมการและผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อย ทั้งนี้ จำ�นวนเงินปันผลจ่ายจะต้องไม่เกินกว่ากำ�ไรสะสมของงบการเงินบริษัทย่อย


132 | 133

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

ผังองค์กร คณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

แผนกตรวจสอบภายใน

กลุ่มงานปฏิบัติการ ต่างประเทศ

กลุ่มงานพัฒนา

สายงานพัฒนาธุรกิจ และบริหารโครงการก่อสร้าง

ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ

ฝ่ายพัฒนาโครงการ

ฝ่ายบริหาร โครงการก่อสร้าง

ปฏิบัติการ

โครงการใหม่

พัฒนาโครงการ

บริหารโครงการ ก่อสร้าง 1

พัฒนาธุรกิจ สรรหาที่ดิน ราชการสัมพันธ์

รัฐกิจสัมพันธ์และ สรรหาที่ดิน

บริหารโครงการ ก่อสร้าง 2

บริหารโครงการ

วิเคราะห์ธุรกิจ

ควบคุมต้นทุน

ขาย

ออกแบบและ ศึกษาทำ�เล

บริหารทรัพย์สิน & การตลาด


คณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการบริหาร

คณะกรรมการสรรหา และกำ�หนดค่าตอบแทน

คณะกรรมการบรรษัทภิบาล

กรรมการผู้จัดการใหญ่

External Affairs

สำ�นักเลขานุการบริษัท

กลุ่มงานปฏิบัติการประเทศไทย

กลุ่มงานวางแผน, นโยบาย และสนับสนุน

การเงิน, บัญชี และ บริหารความเสี่ยง

ปฏิบัติการ (ประเทศไทย)

สายงานขาย

สายงานการตลาด

สายงานบริหาร ทรัพย์สิน

ฝ่ายการเงิน

ฝ่ายบริหารทุนมนุษย์ และบริหารองค์กร

สำ�นักกลยุทธ์องค์กร

กลุ่มร้านค้าหลัก และเครือข่าย

การตลาดกลุ่ม ลูกค้าหลัก

บริหารทรัพย์สิน

ฝ่ายบัญชี

บริหารทุนมนุษย์

กลยุทธ์

กลุ่มร้านค้าหลัก (ศูนย์การค้า)

การตลาดสาขา

พัฒนาและบริหาร ทรัพย์สิน

ฝ่ายบริหาร ความเสี่ยง

บริหารองค์กร

สรรหาและ ควบรวมกิจการ

ตรวจแบบและ จัดวางสินค้า

การตลาด

บริหารสัญญาเช่า

ฝ่ายเทคโนโลยี สารสนเทศ และ บริหารคุณภาพ แผนกกฎหมาย


134 | 135

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

โครงสร้างการจัดการ โครงสร้างการจัดการของ CPN ประกอบ ด้วย >> คณะกรรมการบริษัท >> คณะกรรมการชุดย่อย จำ�นวน 4 คณะ • คณะกรรมการตรวจสอบ • คณะกรรมการสรรหาและกำ�หนด ค่าตอบแทน • คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง • คณะกรรมการบรรษัทภิบาล >> คณะกรรมการบริหาร >> คณะกรรมการจัดการ รายละเอียดของคณะกรรมการแต่ละคณะ มีดังนี้ คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษทั ประกอบด้วยกรรมการ 12 คน โดยมีองค์ประกอบดังนี้ >> กรรมการอิสระ 5 คน หรือมากกว่า 1

ใน 3 ของจำ�นวนกรรมการทั้งหมด คิด เป็นสัดส่วนทีส่ งู กว่าหลักการกำ�กับดูแล กิ จ การที่ ดี ข องบริ ษั ท จดทะเบี ย น ปี 2555 ซึง่ จัดทำ�โดยตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย

>> ประธานกรรมการเป็นตัวแทนของผูถ้ อื

หุ้ น และไม่ ไ ด้ เ ป็ น บุ ค คลเดี ย วกั บ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เพื่อให้มีการ แบ่งแยกบทบาทอย่างชัดเจนและมีการ ถ่วงดุลอำ�นาจในการดำ�เนินงาน

>> กรรมการทีไ่ ม่เป็นผูบ้ ริหาร 11 คน และ

กรรมการที่เป็นผู้บริหาร 1 คน

รายชื่อและตำ�แหน่งคณะกรรมการบริษัท

กรรมการผู้มีอำ�นาจลงลายมือชื่อแทนบริษัท

1. นายสุทธิชัย จิราธิวัฒน์ 2) ประธานกรรมการ 2. นายไพฑูรย์ ทวีผล กรรมการอิสระ 3. นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์ กรรมการอิสระ 4. นางสุนันทา ตุลยธัญ กรรมการอิสระ 5. นายการุณ กิตติสถาพร กรรมการอิสระ 6. นายครรชิต บุนะจินดา กรรมการอิสระ 1) 7. นายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ 2) กรรมการ 8. นายสุทธิชาติ จิราธิวัฒน์ 2) กรรมการ 9. นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ 2) กรรมการ 10. นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ 2) กรรมการ 11. นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์ 2) กรรมการ 12. นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ 2) 3) กรรมการ

กรรมการผู้ มี อำ � นาจลงลายมื อ ชื่ อ แทน บริษทั ฯ คือ นายสุทธิธรรม จิราธิวฒ ั น์ นาย ปริญญ์ จิราธิวฒ ั น์ นายกอบชัย จิราธิวฒ ั น์ กรรมการสองในสามคนนีล้ งลายมือชือ่ ร่วม กันและประทับตราสำ�คัญของบริษทั ฯ หรือ กรณีทตี่ อ้ งยืน่ แบบแสดงรายการภาษีตา่ งๆ หรือการยืน่ งบการเงินต่อหน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานอืน่ ใด ให้กรรมการผูม้ อี �ำ นาจ ข้ า งต้ น คนใดคนหนึ่ ง ลงลายมื อ ชื่ อ และ ประทับตราสำ�คัญของบริษัทฯ

หมายเหตุ : 1) นายครรชิต บุนะจินดา มีคณ ุ สมบัตเิ ป็นกรรมการอิสระ ตามมติทปี่ ระชุมคณะกรรมการบริษทั ครัง้ ที่ 2/2556 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556 2) กรรมการที่เป็นตัวแทนจากผู้ถือหุ้น 3) กรรมการที่เป็นผู้บริหาร

หน้าที่และความรับผิดชอบของ คณะกรรมการบริษัท 1. 2.

ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วั ต ถุ ป ระสงค์ และข้ อ บั ง คั บ ของ บริษัทฯ ตลอดจนมติคณะกรรมการ และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ด้วยความ ซือ่ สัตย์สจุ ริต (Duty of Loyalty) ความ ระมัดระวัง (Duty of Care) มีความ รับผิดชอบ (Accountability) และมี จริ ย ธรรม (Ethic) โดยคำ � นึ ง ถึ ง ประโยชน์ ข องผู้ ถื อ หุ้ น ทุ ก รายอย่ า ง เท่าเทียมกัน กำ�หนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ แผนงาน และงบประมาณประจำ�ปีของบริษัทฯ โดยมีการติดตามผลการดำ � เนินงาน ด้านต่างๆ ของบริษทั ฯ อย่างต่อเนือ่ ง เพื่อให้มั่นใจว่าการดำ�เนินงานเป็นไป ตามเป้าหมายที่กำ�หนด และสามารถ จัดการอุปสรรคปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ อย่างทันเวลา


3. 4. 5. 6. 7. 8.

พิจารณาอนุมัติรายการที่สำ�คัญตาม ขอบเขตอำ � นาจหน้ า ที่ ข องคณะ กรรมการ ตามที่ ก ฎหมายและข้ อ บังคับของบริษัทฯ กำ�หนด รวมถึง พิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่าย ลงทุนทีม่ วี งเงินมากกว่า 200 ล้านบาท พิจารณาแต่งตัง้ คณะกรรมการชุดย่อย ต่างๆ เพือ่ สนับสนุนการปฏิบตั งิ านตาม ความรั บ ผิ ด ชอบของคณะกรรมการ ตามความเหมาะสมและความจำ�เป็น โดยมี ก ารติด ตามผลการดำ� เนิน งาน ของคณะกรรมการชุ ด ย่ อ ยอย่ า ง สม่ำ�เสมอ กรรมการที่เป็นอิสระควรใช้ดุลยพินิจ อย่างเป็นอิสระในการพิจารณากำ�หนด กลยุ ท ธ์ การบริ ห ารงาน การใช้ ทรัพยากร การแต่งตัง้ กรรมการและการ กำ�หนดมาตรฐานในการดำ�เนินธุรกิจ รวมทั้งพร้อมที่จะคัดค้านการกระทำ� ของฝ่ายจัดการหรือกรรมการอื่น ใน กรณีที่มีความเห็นขัดแย้งในเรื่องที่มี ผลกระทบต่อความเท่าเทียมกันของ ผู้ถือหุ้นทุกราย จัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ถือหุ้น และผูม้ สี ว่ นได้เสียทุกกลุม่ อย่างถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใส เชื่อถือได้ ทันเวลา และเท่าเทียมกัน จัดให้มีระบบควบคุมภายในและการ ตรวจสอบภายในทีม่ ปี ระสิทธิภาพและ ประสิทธิผล จัดให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยง ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ซึ่ง สามารถประเมิน ติดตาม และบริหาร ความเสี่ยงที่สำ�คัญได้

9. จัดให้มีเลขานุการบริษัทเพื่อช่วยดูแล กิจกรรมต่างๆ ของคณะกรรมการและ ช่ ว ยให้ ค ณะกรรมการและบริ ษั ท ฯ ปฏิ บั ติ ใ ห้ เ ป็ น ไปตามกฎหมายและ ข้อกำ�หนดที่เกี่ยวข้อง 10. จัดให้มจี รรยาบรรณธุรกิจของกรรมการ ผู้ บ ริ ห ารและพนั ก งาน เพื่ อ เป็ น มาตรฐานแนวทางในการดำ�เนินธุรกิจ ของบริษัทฯ 11. จัดให้มีการดำ�เนินงานตามหลักการ กำ�กับดูแลกิจการทีด่ ี และสนับสนุนให้ มีการสื่อสารไปสู่ทุกคนในบริษัทฯ ให้ ได้รับทราบยึดถือปฏิบัติอย่างจริงจัง 12. จั ด ให้ มี ก ระบวนการที่ ชั ด เจนและ โปร่งใสเกีย่ วกับการทำ�รายการระหว่าง กัน 13. จั ดให้ มี ก ระบวนการที่ ชั ด เจนในการ รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ต่อคณะกรรมการ เมื่อพบหรือมีข้อ สงสัยเกี่ยวกับรายการหรือการกระทำ� ซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำ�คัญ ต่อฐานะการเงินและผลการดำ�เนินงาน ของบริ ษั ท ฯ คณะกรรมการต้ อ ง ดำ�เนินการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่ คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร 14. จัดให้มีการกำ �หนดแผนการสืบทอด ตำ�แหน่งผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ 15. จั ด ให้ มี ก ารทบทวนและปรั บ ปรุ ง นโยบายและแผนงานที่สำ�คัญต่างๆ ให้เป็นปัจจุบนั และเหมาะสมกับสภาพ ธุรกิจอย่างสม่ำ�เสมอ 16. จัดให้มีการทบทวนและแก้ไขกฎบัตร คณะกรรมการบริษัทให้สอดคล้องกับ ภาวการณ์

17. สามารถแสวงหาความเห็นทางวิชาชีพ เกี่ยวกับการดำ�เนินธุรกิจด้วยการว่า จ้างที่ปรึกษาภายนอกด้วยค่าใช้จ่าย บริษัทฯ 18. ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ อื่ นใดเกี่ ย วกั บ กิ จ การ ของบริษทั ฯ ตามทีผ่ ถู้ อื หุน้ มอบหมาย ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้กำ�หนดคุณสมบัติความ เป็ น อิ ส ระไว้ เ ข้ ม งวดกว่ า ข้ อ กำ � หนดของ สำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ฯ รายละเอียดมีดังนี้ คุณสมบัติของกรรมการอิสระ 1. 2. 3.

ถือหุ้นไม่เกิน 0.5% ของจำ�นวนหุ้นที่ มีสิทธิออกเสียงทั้ง หมดของบริษัทฯ บริษทั ใหญ่ บริษทั ย่อย บริษทั ร่วม ผูถ้ อื หุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำ�นาจควบคุม ของบริษทั ฯ ทัง้ นี้ ให้นบั รวมการถือหุน้ ของผู้ที่เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระ รายนั้นๆ ด้วย ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วน ร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจำ� หรือผู้มี อำ�นาจควบคุมของบริษทั ฯ บริษทั ใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อย ลำ�ดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือ ของผูม้ อี �ำ นาจควบคุมของบริษทั ฯ เว้น แต่จะได้พน้ จากการมีลกั ษณะดังกล่าว มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนได้รับการ แต่งตั้ง ไม่ เ ป็ น บุ ค คลที่ มี ค วามสั ม พั น ธ์ ท าง สายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตาม กฎหมายในลักษณะทีเ่ ป็นบิดา มารดา คูส่ มรส พีน่ อ้ ง และบุตร รวมทัง้ คูส่ มรส ของบุตรของกรรมการรายอืน่ ผูบ้ ริหาร


136 | 137

4.

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำ�นาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็น กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำ�นาจ ควบคุมของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย ไม่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจ กับบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มี อำ�นาจควบคุมของบริษทั ฯ ในลักษณะ ที่ อ า จ เ ป็ น ก า ร ขั ด ข ว า ง ก า ร ใ ช้ วิจารณญาณอย่างอิสระของตน รวมทัง้ ไม่ เ ป็ น หรื อ เคยเป็ น ผู้ ถื อ หุ้ น ที่ มี นั ย หรือผู้มีอำ�นาจควบคุมของผู้ที่มีความ สัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทฯ บริษัท ใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้น รายใหญ่ หรือผู้มีอำ�นาจควบคุมของ บริ ษั ท ฯ เว้ น แต่ จ ะได้ พ้ น จากการมี ลั ก ษณะดั ง กล่ า วมาแล้ วไม่ น้ อ ยกว่ า 2 ปีก่อนได้รับการแต่งตั้ง ความสัมพันธ์ทางธุรกิจตามวรรคหนึ่ง รวมถึ ง การทำ � รายการทางการค้ า ที่ กระทำ�เป็นปกติเพื่อประกอบกิจการ การเช่ า หรื อให้ เ ช่ า อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ รายการเกี่ยวกับสินทรัพย์หรือบริการ หรือการให้หรือรับความช่วยเหลือทาง การเงิน ด้วยการรับหรือให้กู้ยืม ค้ำ� ประกั น การให้ สิ น ทรั พ ย์ เ ป็ น หลั ก ประกันหนี้สิน รวมถึงพฤติการณ์อื่น ทำ�นองเดียวกัน ซึ่งเป็นผลให้บริษัทฯ หรือคูส่ ญ ั ญามีภาระหนีท้ ตี่ อ้ งชำ�ระต่อ อีกฝ่ายหนึ่ง ตั้งแต่ 3% ของสินทรัพย์ ที่มีตัวตนสุทธิของบริษัทฯ หรือตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป แล้วแต่จำ�นวนใด จะต่ำ�กว่า ทั้งนี้ การคำ�นวณภาระหนี้ ดังกล่าวให้เป็นไปตามวิธีการคำ�นวณ มูลค่าของรายการที่เกี่ยวโยงกันตาม ประกาศคณะกรรมการกำ�กับตลาดทุน

5. 6. 7.

ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการทำ�รายการที่ เกี่ยวโยงกัน โดยอนุโลม แต่ในการ พิจารณาภาระหนี้ดังกล่าว ให้นับรวม ภาระหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่าง 1 ปีก่อน วันทีม่ คี วามสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบุคคล เดียวกัน ไม่ เ ป็ น หรื อ เคยเป็ น ผู้ ส อบบั ญ ชี ข อง บริษทั ฯ บริษทั ใหญ่ บริษทั ย่อย บริษทั ร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำ�นาจ ควบคุมของบริษัทฯ และไม่เป็นผู้ถือ หุ้นที่มีนัย ผู้มีอำ�นาจควบคุม หรือหุ้น ส่ ว นของสำ � นั ก งานสอบบั ญ ชี ซึ่ ง มี ผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษทั ย่อย บริษทั ร่วม ผูถ้ อื หุน้ รายใหญ่ หรื อ ผู้ มี อำ � นาจควบคุ ม ของบริ ษั ท ฯ สังกัดอยู่ เว้นแต่จะได้พ้นจากการมี ลั ก ษณะดั ง กล่ า วมาแล้ วไม่ น้ อ ยกว่ า 2 ปีก่อนได้รับการแต่งตั้ง ไม่ เ ป็ น หรื อ เคยเป็ น ผู้ ใ ห้ บ ริ ก ารทาง วิชาชีพใดๆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการ เป็นที่ปรึกษากฎหมายหรือที่ปรึกษา ทางการเงิน ซึง่ ได้รบั ค่าบริการเกินกว่า 2 ล้านบาทต่อปีจากบริษัทฯ บริษัท ใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้น รายใหญ่ หรือผู้มีอำ�นาจควบคุมของ บริษทั ฯ และไม่เป็นผูถ้ อื หุน้ ทีม่ นี ยั ผูม้ ี อำ�นาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของผู้ให้ บริการทางวิชาชีพนั้นด้วย เว้นแต่จะ ได้ พ้ น จากการมี ลั ก ษณะดั ง กล่ า วมา แล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนได้รับการ แต่งตั้ง ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งขึ้นเพื่อ เป็นตัวแทนของกรรมการของบริษัท ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็น ผู้ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ผู้ ถื อ หุ้ น รายใหญ่ ข อง บริษัทฯ

8. ไม่ ป ระกอบกิ จ การที่ มี ส ภาพอย่ า ง เดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับ กิจการของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย หรือไม่เป็นหุ้นส่วนที่มีนัยในห้างหุ้น ส่วน หรือเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วม บริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ทีป่ รึกษา ที่รับเงินเดือนประจำ� หรือถือหุ้นเกิน 1% ของจำ�นวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง ทั้ ง หมดของบริ ษั ท อื่ น ซึ่ ง ประกอบ กิ จ การที่ มี ส ภาพอย่ า งเดี ย วกั น และ เป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของ บริษัทฯ หรือบริษัทย่อย 9. ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำ�ให้ไม่สามารถ ให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับ การดำ�เนินงานของบริษัทฯ กรรมการอิสระอาจได้รับมอบหมายจาก คณะกรรมการให้ ตั ด สิ นใจในการดำ � เนิ น กิจการของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำ�ดับเดียวกัน ผู้ถือ หุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำ�นาจควบคุมของ บริษัทฯ โดยมีการตัดสินใจในรูปแบบของ องค์คณะ (Collective decision) ได้ เลขานุการบริษัท คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้ง ผู้ มี ค วามรู้ ความสามารถ และมี ค วาม เหมาะสมในการทำ�หน้าที่เป็นเลขานุการ บริ ษั ท ซึ่ ง ปั จ จุ บั น มี นางสาวนภารั ต น์ ศรี ว รรณวิ ท ย์ ทำ � หน้ า ที่ เ ป็ น เลขานุ ก าร บริ ษั ท โดยมี สำ � นั ก เลขานุ ก ารบริ ษั ท สนับสนุนการทำ�งานที่เกี่ยวข้องให้ดำ�เนิน ไปอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและประสิ ท ธิ ผ ล เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ทั้งนี้ ข้อมูล เพิ่มเติมเกี่ยวกับเลขานุการบริษัทเปิดเผย ไว้ในหัวข้อรายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริหาร และผู้มีอ�ำ นาจควบคุมบริษัท หน้า 243


หน้าที่และความรับผิดชอบของเลขานุการ บริษัท 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7.

จัดทำ�และเก็บรักษาเอกสารเกี่ยวกับ ทะเบียนกรรมการ รายงานประจำ�ปี ของบริษัท หนังสือนัดประชุมคณะ กรรมการบริ ษั ท และรายงานการ ประชุมคณะกรรมการบริษทั หนังสือนัด ประชุมผูถ้ อื หุน้ และรายงานการประชุม ผู้ถือหุ้น เก็บรักษารายงานการมีส่วนได้เสียที่ รายงานโดยกรรมการหรือผู้บริหาร จัดส่งสำ�เนารายงานการมีส่วนได้เสีย ของกรรมการและผูบ้ ริหาร หรือบุคคล ทีม่ คี วามเกีย่ วข้องให้ประธานกรรมการ และประธานกรรมการตรวจสอบทราบ ภายใน 7 วันทำ�การนับแต่วนั ทีบ่ ริษทั ฯ ได้รับรายงานนั้น จั ด การประชุ ม คณะกรรมการบริ ษั ท และการประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นไปตาม ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง ให้ คำ � แนะนำ �ในการดำ � เนิ น งานของ บริษัทฯ และคณะกรรมการบริษัทให้ เป็นไปตามหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ บังคับของบริษัทฯ พระราชบัญญัติ หลั ก ทรั พ ย์ แ ละตลาดหลั ก ทรั พ ย์ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำ�กัด และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นศูนย์กลางการติดต่อสื่อสารข้อมูล ข่าวสารระหว่างกรรมการ ผู้บริหาร และผู้ถือหุ้น ประสานงานและติดตามการดำ�เนิน งานตามมติของกรรมการและผู้ถือหุ้น

8. ดูแลให้มกี ารเปิดเผยข้อมูลและรายงาน สารสนเทศในส่ ว นที่ รั บ ผิ ด ชอบต่ อ หน่ ว ยงานที่ กำ � กั บ ดู แ ลตามระเบี ย บ และข้อกำ�หนดของหน่วยงานทางการ 9. ดำ�เนินการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการ กำ�กับตลาดทุนประกาศกำ�หนด หรือ ตามทีค่ ณะกรรมการบริษทั มอบหมาย ทั้ ง นี้ กำ � หนดให้ ฝ่ า ยกฎหมายมี ห น้ า ที่ รับผิดชอบในการจัดทำ�รายงานการประชุม คณะกรรมการบริ ษั ท และรายงานการ ประชุมผู้ถือหุ้น ตลอดจนดูแล ตรวจสอบ และให้ คำ � แนะนำ �ในการดำ � เนิ น งานของ บริษัทฯ และคณะกรรมการให้เป็นไปตาม ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายต่างๆ ที่ เกี่ยวข้อง คณะกรรมการชุดย่อย คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริ ษั ท เป็ น ผู้ แ ต่ ง ตั้ ง คณะ กรรมการตรวจสอบ ซึ่ ง ประกอบด้ ว ย กรรมการ 4 คน โดยมีองค์ประกอบดังนี้ >> กรรมการอิสระ 4 คน >> กรรมการตรวจสอบลำ�ดับที่ 1 เป็นผู้ มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่ จะสามารถทำ�หน้าที่ในการสอบทาน ความน่าเชื่อถือของงบการเงิน รายชื่อและตำ�แหน่งคณะกรรมการตรวสอบ 1. 2.

นายไพฑูรย์ ทวีผล ประธานกรรมการตรวจสอบ นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์ กรรมการตรวจสอบ

3. 4.

นางสุนันทา ตุลยธัญ กรรมการตรวจสอบ นายการุณ กิตติสถาพร กรรมการตรวจสอบ

หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะ กรรมการตรวจสอบ 1. 2. 3. 4. 5.

สอบทานให้บริษัทฯ มีกระบวนการจัด ทำ�และการเปิดเผยข้อมูลในรายงาน ทางการเงินของบริษัทฯ ให้มีความ ถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอ เชือ่ ถือได้และ ทันเวลา โดยการประสานงานกับผูส้ อบ บัญชี และผู้บริหารที่รับผิดชอบจัดทำ� รายงานทางการเงินทัง้ รายไตรมาสและ ประจำ�ปี พิ จ ารณารายการที่ เ กี่ ย วโยงกั น และ รายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผล ประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมายและ ข้อกำ�หนดของตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย เพื่อให้มั่นใจว่ารายการ ดั ง ก ล่ า ว ส ม เ ห ตุ ส ม ผ ล แ ล ะ เ ป็ น ประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทฯ พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษทั ฯ ในกรณี ที่ เ กิ ด รายการเกี่ ย วโยงหรื อ รายการที่เกี่ยวข้องหรือรายการที่อาจ ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน สอบทานให้บริษทั ฯ มีระบบการควบคุม ภายในที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล รวมทั้งสอบทานรายการที่อาจก่อให้ เกิดการทุจริตรายงานทางการเงิน พิจารณาผลการตรวจสอบและข้อเสนอ แนะของผู้สอบบัญชีและสำ�นักตรวจ สอบภายใน เกีย่ วกับระบบการควบคุม ภายใน และเสนอให้ ฝ่ า ยบริ ห าร


138 | 139

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ รวมทัง้ ติดตามผลการดำ�เนินการตามข้อเสนอ แนะนั้น 6. สอบทานให้บริษทั ฯ มีหน่วยงานตรวจ สอบภายในที่ มี ค วามเป็ น อิ ส ระและ มี ร ะบบการตรวจสอบภายในที่ มี ประสิทธิผล 7. สอบทานกิจกรรมและโครงสร้างของ สำ � นั ก ตรวจสอบภายในและอนุ มั ติ กฎบัตรของสำ�นักตรวจสอบภายใน 8. ร่วมพิจารณาให้ความเห็นในการแต่งตัง้ เสนอความดี ค วามชอบ โยกย้ า ย ถอดถอนหรื อ เลิ ก จ้ า ง รวมทั้ ง การ กำ�หนดและปรับค่าตอบแทนผู้จัดการ สำ�นักตรวจสอบภายใน เพือ่ สร้างความ มั่ นใจว่ า หน่ ว ยงานนี้ ทำ � หน้ า ที่ อ ย่ า ง เป็นอิสระ 9. สอบทานแผนการตรวจสอบภายใน ร่วมกับผูจ้ ดั การสำ�นักตรวจสอบภายใน โดยเฉพาะที่ เ กี่ ย วกั บ ระบบควบคุ ม ภายใน และกระบวนการจัดการทาง การเงิน 10. พิจารณาให้ความเห็นและให้ข้อสังเกต งบประมาณและอัตรากำ�ลังของสำ�นัก ตรวจสอบภายใน เพื่ อ เสนอฝ่ า ย บริหารเป็นผู้อนุมัติ 11. พิ จ ารณาแผนงานตรวจสอบและ ขอบเขตการตรวจสอบของผูต้ รวจสอบ ภายในและผูส้ อบบัญชีของบริษทั ฯ ให้ มีความสัมพันธ์ทเี่ กือ้ กูลกัน ไม่ซาํ้ ซ้อน 12. พิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้งและ เสนอค่ า ตอบแทนผู้ ส อบบั ญ ชี เ พื่ อ ให้ได้ผู้สอบบัญชีที่มีความเป็นอิสระ โดยคำ�นึงถึงความน่าเชื่อถือ ความ

เพียงพอของทรัพยากร ปริมาณงาน ตรวจสอบของสำ � นั ก งานตรวจสอบ บั ญ ชี นั้ น และประสบการณ์ ข อง บุ ค ลากรที่ ไ ด้ รั บ มอบหมายให้ ต รวจ สอบบัญชีของบริษัทฯ รวมถึงผลการ ปฏิ บั ติ ง านในปี ที่ ผ่ า นมา ตลอดจน พิจารณาถอดถอนผู้สอบบัญชี 13. สอบทานขอบเขตและวิธกี ารตรวจสอบ ที่ เ สนอโดยผู้ ส อบบั ญ ชี รวมทั้ ง พิจารณาเหตุผลในการเปลี่ยนแปลง แผนการตรวจสอบ (กรณี มี ก าร เปลีย่ นแปลงแผนการตรวจสอบในภาย หลัง) 14. เสนอแนะให้ผสู้ อบบัญชีสอบทานหรือ ตรวจสอบรายการใดๆ ทีเ่ ห็นว่าจำ�เป็น และเป็นเรื่องสำ�คัญระหว่างการตรวจ สอบบัญชีของบริษทั ฯ และบริษทั ย่อย ได้ 15. สอบทานรายงานของผูส้ อบบัญชีทจี่ ดั ทำ�เสนอให้ฝ่ายบริหาร ปรับปรุงแก้ไข และติดตามผลการดำ�เนินการตามข้อ เสนอแนะนั้น 16. พิจารณาความเพียงพอและความมี ประสิ ท ธิ ภ าพในการประสานงาน ระหว่างผู้สอบบัญชีและผู้ตรวจสอบ ภายใน 17. รับทราบจากผู้สอบบัญชีโดยไม่ชักช้า ในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์อัน ควรสงสัยว่ากรรมการ ผู้จัดการหรือ บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำ�เนินงาน ของบริษัทฯ ได้กระทำ�ความผิดตาม มาตรา 281/2 วรรค 2 มาตรา 305, 306, 308, 309, 310, 311, 312 หรือ มาตรา 313 ของ พรบ. หลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ เมื่อผู้สอบบัญชี

ได้พบ และดำ�เนินการตรวจสอบต่อ ไปโดยไม่ชกั ช้า รวมทัง้ ต้องรายงานผล การตรวจสอบเบือ้ งต้นให้แก่ส�ำ นักงาน คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ และ ผู้สอบบัญชีทราบภายใน 30 วัน นับ แต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้สอบบัญชี 18. สอบทานประสิ ท ธิ ผ ลของระบบการ ติดตามควบคุมให้บริษัทฯ ปฏิบัติตาม กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาด หลั ก ทรั พ ย์ ข้ อ กำ � หนดของตลาด หลักทรัพย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับธุรกิจของบริษทั ฯ ตลอดจนระเบียบ จรรยาบรรณของบริษัทฯ 19. สอบทานผลการสอบสวนของฝ่ า ย จัดการ และติดตามกรณีของการไม่ ปฏิบัติตาม 20. สอบทานประเด็นทีต่ รวจพบโดยหน่วย งานกำ�กับดูแลภายนอก และข้อสังเกต จากผู้ตรวจสอบ 21. สอบทานกระบวนการสื่อสารประมวล จรรยาบรรณไปสู่ พ นั ก งานภายใน บริษทั ฯ และติดตามผลการปฏิบตั ติ าม 22. ได้รับรายงานความคืบหน้าจากฝ่าย จั ด การและที่ ป รึ ก ษากฎหมายของ บริษทั ฯ เกีย่ วกับประเด็นสำ�คัญในการ ปฏิ บั ติ ต ามข้ อ กำ � หนดกฏหมายที่ เกี่ยวข้องอย่างสม่ำ�เสมอ 23. คณะกรรมการตรวจสอบต้องรายงาน ผลการดำ�เนินงานต่อที่ประชุมคณะ กรรมการบริ ษั ท เพื่ อ ทราบและ พิจารณา อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครัง้ 24. สอบทานรายงานใดๆ ที่ จั ด ทำ �โดย บริษัทฯ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับหน้าที่ ความรั บ ผิ ด ชอบของคณะกรรมการ ตรวจสอบ


25. จั ด ทำ � รายงานผลการดำ � เนิ น งาน ประจำ�ปีของคณะกรรมการตรวจสอบ โ ด ย แ ส ด ง ร า ย ก า ร ต า ม ที่ ต ล า ด หลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทยกำ � หนด และให้ลงนามโดยประธานกรรมการ ตรวจสอบ รวมทัง้ เปิดเผยไว้ในรายงาน ประจำ�ปีของบริษัท 26. ในการปฏิบตั หิ น้าทีข่ องคณะกรรมการ ตรวจสอบ หากพบหรือมีขอ้ สงสัยว่ามี รายการหรื อ การกระทำ � ซึ่ ง อาจมี ผ ล กระทบอย่างมีนัยสำ�คัญต่อฐานะการ เงินและผลการดำ�เนินงานของบริษัทฯ คณะกรรมการตรวจสอบต้องรายงาน ต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อดำ�เนิน การปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่คณะ กรรมการตรวจสอบเห็นสมควร รายการ หรือการกระทำ�ดังกล่าว ได้แก่ 26.1 รายการทีเ่ กิดความขัดแย้งทางผล ประโยชน์ 26.2 การทุจริต หรือมีสิ่งผิดปกติ หรือ มีความบกพร่องทีส่ �ำ คัญในระบบ การควบคุมภายใน 26.3 การฝ่าฝืนกฏหมายว่าด้วยหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ กำ � หนดของตลาดหลั ก ทรั พ ย์ หรือกฏหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับธุรกิจ ของบริษัทฯ 27. หากคณะกรรมการบริษทั หรือผูบ้ ริหาร ไม่ดำ�เนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข รายการหรือการกระทำ�ที่เข้าลักษณะ ตามข้อ 26.1, 26.2 และ 26.3 ข้างต้น ภายในเวลาทีค่ ณะกรรมการตรวจสอบ เห็นสมควร กรรมการตรวจสอบคน ใดคนหนึ่ ง อาจรายงานว่ า มี ร ายการ หรือการกระทำ�ตามที่กล่าวข้างต้นต่อ

สำ � นั ก งานคณะกรรมการกำ � กั บ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 28. สอบทานให้บริษัทฯ มีกระบวนการ พัฒนาการกำ�กับดูแลกิจการที่ดีอย่าง ต่อเนื่อง รวมทั้งให้แนวทางและข้อ เสนอแนะที่จำ�เป็นเพื่อการพัฒนา 29. ให้ความสำ�คัญโดยส่งเสริมให้บริษัทฯ กำ� หนดเรื่องการกำ �กับดูแลกิจ การที่ ดีไว้เป็นวาระประจำ�ของการประชุม คณะกรรมการบริษัทและการประชุม สามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท 30. ติ ด ตามให้ ป ระธานกรรมการตรวจ สอบต้ อ งได้ รั บ สำ � เนารายงานการมี ส่วนได้เสียตามมาตรา 89/14 ตาม พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์จากเลขานุการบริษทั ภายใน 7 วันทำ�การนับแต่วันที่บริษัทฯ ได้รับ รายงานนั้น 31. สอบทานให้บริษัทฯ มีกระบวนการ บริ ห ารความเสี่ ย งอย่ า งเป็ น ระบบ มาตรฐานที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล 32. หารือร่วมกับฝ่ายจัดการถึงนโยบาย หลักของบริษัทฯ ที่เกี่ยวข้องกับการ บริ ห ารความเสี่ ย งและการประเมิ น ความเสี่ยงทุกด้าน รวมทั้งความเสี่ยง จากการทุจริตคอร์รัปชั่น 33. ร่ ว มกั บ คณะกรรมการบริ ห ารความ เสี่ยง คณะทำ�งานบริหารความเสี่ยง และฝ่ายบริหารในการพิจารณาและให้ ความเห็นในรายงานผลและรายงาน ความคืบหน้าการบริหารความเสี่ยง ของบริษัทฯ

34. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการ บริษัทมอบหมาย 35. สอบทานกฎบัตรคณะกรรมการตรวจ สอบเป็นประจำ�ทุกปี เพื่อพิจารณา ความรั บ ผิ ด ชอบของคณะกรรมการ ตรวจสอบที่กำ�หนดไว้ และเสนอให้ พิ จ ารณาปรั บ เปลี่ ย นหากมี ค วาม จำ�เป็น 36. มี ห น้ า ที่ ต ามที่ ต ลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทย (ตลท.) ประกาศกำ�หนด เพิ่มเติม 37. กำ � กั บ ดู แ ลให้ มี ก ระบวนการรั บ แจ้ ง เบาะแส ในกรณีที่พนักงานและผู้มี ส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ มีข้อสงสัยหรือ พบเห็นการกระทำ�อันควรสงสัยว่ามี การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ จรรยาบรรณ หรือ นโยบายการกำ�กับดูแลกิจการ เพื่อให้ ความมัน่ ใจแก่ผแู้ จ้งเบาะแสว่าบริษทั ฯ มี ก ระบวนการสอบสวนที่ เ ป็ น อิ ส ระ และมีการดำ�เนินการในการติดตามที่ เหมาะสม 38. ควบคุมดูแลกรณีการสอบสวนพิเศษ ตามความจำ�เป็น คณะกรรมการสรรหา และกำ�หนดค่าตอบแทน คณะกรรมการบริ ษั ท เป็ น ผู้ แ ต่ ง ตั้ ง คณะ กรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน ซึ่งประกอบด้วยกรรมการ 4 คน โดยมี องค์ประกอบดังนี้ >> กรรมการอิสระ 4 คน >> ประธานกรรมการเป็นกรรมการอิสระ


140 | 141

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

รายชื่อและตำ�แหน่งคณะกรรมการสรรหา และกำ�หนดค่าตอบแทน 1. นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์ ประธานกรรมการ 2. นางสุนันทา ตุลยธัญ กรรมการ 3. นายการุณ กิตติสถาพร กรรมการ 4. นายครรชิต บุนะจินดา กรรมการ โดยมีการแต่งตั้งที่ปรึกษาคณะกรรมการ สรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน จำ�นวน 3 คน ดังนี้ 1. 2. 3.

นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ ที่ปรึกษา นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ ที่ปรึกษา นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์ ที่ปรึกษา

ทัง้ นี้ ทีป่ รึกษาสามารถเข้าร่วมประชุมคณะ กรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน แต่ไม่มสี ทิ ธิออกเสียงในทีป่ ระชุม นอกจากนี้ หากมี ก ารพิ จ ารณาวาระที่ ต นเองมี ส่ ว น ได้เสีย ที่ปรึกษาจะไม่อยู่ในที่ประชุม เพื่อ ป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์และ เปิดโอกาสให้คณะกรรมการและที่ปรึกษา ท่านอื่นหารือกันอย่างเต็มที่ หน้าที่และความรับผิดชอบในการสรรหา 1.

พิจารณาโครงสร้าง ขนาด และองค์ ประกอบคณะกรรมการบริ ษั ทให้ มี ความเหมาะสมกับองค์กร และสภาพ แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

2. 3. 4. 5.

พิ จ ารณาหลั ก เกณฑ์ ใ นการสรรหา กรรมการบริษัทและกรรมการผู้จัดการ ใหญ่ ตลอดจนสรรหาและพิจารณา กลั่นกรองบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะ สม สมควรได้ รั บ การแต่ ง ตั้ ง เป็ น กรรมการบริษัทหรือกรรมการผู้จัดการ ใหญ่ให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณา เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสนอ รายชื่ อ บุ ค คลเข้ า รั บ การสรรหาเป็ น กรรมการบริษัท โดยมีกำ�หนดระยะ เวลาอย่างเพียงพอก่อนการประชุม ผู้ถือหุ้น จัดให้มแี ผนสืบทอดตำ�แหน่งกรรมการ ผูจ้ ดั การใหญ่และผูบ้ ริหารระดับสูง โดย มีการทบทวนอย่างสม่ำ�เสมอ พิ จ ารณากลยุ ท ธ์ แ ละนโยบายด้ า น ทรัพยากรมนุษย์ให้มีความสอดคล้อง กับการดำ�เนินธุรกิจของบริษัทฯ

หน้าที่และความรับผิดชอบในการกำ�หนด ค่าตอบแทน 1.

พิ จ ารณารู ป แบบและหลั ก เกณฑ์ การจ่ า ยค่ า ตอบแทนของกรรมการ บริษทั กรรมการชุดย่อย และกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ให้มีความชัดเจน เป็น ธรรม และเหมาะสมกับหน้าที่ความ รับผิดชอบ ความสำ�เร็จในการปฏิบัติ งานทีเ่ ชือ่ มโยงกับผลประกอบการ และ ปัจจัยแวดล้อมอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้อง ตลอดจน พิ จ ารณาเปรี ย บเที ย บกั บ อั ต ราค่ า ตอ บ แ ท น ข อ ง บ ริ ษั ท อื่ น ที่ อ ยู่ ใน อุตสาหกรรมเดียวกันหรือใกล้เคียงกับ บริษัทฯ โดยคำ�นึงถึงการเพิ่มมูลค่า ส่วนของผู้ถือหุ้นในระยะยาว

2. พิ จ ารณากำ � หนดค่ า ตอบแทนแก่ กรรมการบริษัทและกรรมการชุดย่อย เพื่อนำ�เสนอให้คณะกรรมการบริษัท พิจารณาเห็นชอบ และนำ�เสนอต่อที่ ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติ 3. พิ จ ารณาการกำ � หนดเป้ า หมายและ ป ร ะ เ มิ น ผ ล ก า ร ป ฏิ บั ติ ง า น ข อ ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ เพื่อพิจารณา ความเหมาะสมในการกำ � หนดค่ า ตอบแทน คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบริ ษั ท เป็ น ผู้ แ ต่ ง ตั้ ง คณะ กรรมการบริหารความเสีย่ ง ซึง่ ประกอบด้วย กรรมการ 5 คน โดยมีองค์ประกอบดังนี้ >> กรรมการบริษทั 4 คน ผูบ้ ริหารระดับสูง 1 คน >> ประธานกรรมการเป็นกรรมการอิสระ รายชื่อและตำ�แหน่งคณะกรรมการบริหาร ความเสี่ยง 1. 2. 3. 4. 5.

นายไพฑูรย์ ทวีผล ประธานกรรมการ นายครรชิต บุนะจินดา กรรมการ นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์ กรรมการ นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการ นายนริศ เชยกลิ่น1) กรรมการ

หมายเหตุ : 1) รองกรรมการผู้ จั ด การใหญ่ สายงานการเงิ น บัญชี และบริหารความเสี่ยง


หน้าที่และความรับผิดชอบของ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง 1. 2. 3. 4. 5.

พิจารณานโยบาย กลยุทธ์ โครงสร้าง และกรอบการจัดวางระบบการบริหาร ความเสี่ยงในระดับองค์กร สนับสนุนการบริหารงานของผู้บริหาร ระดับสูง โดยกำ�หนดโครงสร้างของการ บริ ห ารความเสี่ ย งให้ ค รอบคลุ ม ทั้ ง องค์ ก ร มองปั จ จั ย เสี่ ย งที่ จ ะมี ผ ล กระทบต่อธุรกิจให้ครอบคลุมทุกมิติ สอบทานความเสี่ยง ติดตาม และ ประเมินความเพียงพอ ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการจัดการความ เสี่ยงในภาพรวม มีความเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจมีผล กระทบร้ายแรงต่อองค์กร และทำ�ให้ มั่นใจว่ามีการดำ�เนินการที่เหมาะสม เพื่อจัดการความเสี่ยงนั้นๆ ให้ขอ้ เสนอแนะ และให้ความเห็นชอบ ในการบริหารความเสี่ยงขององค์กร

นอกจากนี้ ฝ่ายจัดการมีการแต่งตั้งคณะ กรรมการบริ ห ารความเสี่ ย งระดั บ ปฏิ บั ติ การ ซึ่ ง ประกอบด้ ว ยกรรมการที่ เ ป็ น ผู้ บ ริ ห ารจากสายงานต่า งๆ ที่เกี่ย วข้อ ง และมีผู้รับผิดชอบความเสี่ยงโดยตรงเป็น ผู้จัดการศูนย์การค้าทุกสาขาของบริษัทฯ โดยกำ � หนดให้ เ ลขานุ ก ารคณะกรรมการ บริหารความเสี่ยงมีหน้าที่ในการประสาน งานและถ่ า ยทอดความเสี่ ย งที่ สำ � คั ญให้ คณะกรรมการบริ ห ารความเสี่ ย งระดั บ ปฏิ บั ติ ก ารได้ นำ � กลยุ ท ธ์ ด้ า นการบริ ห าร ความเสีย่ งไปสูก่ ารปฏิบตั ิ และให้ครอบคลุม ปัจจัยเสี่ยงในทุกมิติ

คณะกรรมการบรรษัทภิบาล คณะกรรมการบริ ษั ท เป็ น ผู้ แ ต่ ง ตั้ ง คณะ กรรมการบรรษัทภิบาล ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารจากส่วนงานต่างๆ 5 คน ดังนี้ รายชื่อและตำ�แหน่ง คณะกรรมการบรรษัทภิบาล 1. 2. 3. 4. 5.

นายนริศ เชยกลิ่น ประธานกรรมการ ดร.ณัฐกิตต์ ตั้งพูลสินธนา กรรมการ น.ส.นภารัตน์ ศรีวรรณวิทย์ กรรมการ นางสุวดี สิงห์งาม กรรมการ นายอุทัย ก้องกิตติวงศ์ กรรมการ

หน้าที่และความรับผิดชอบของ คณะกรรมการบรรษัทภิบาล 1. กำ � หนดและทบทวนนโยบาย ข้ อ กำ�หนด และวิธีการปฏิบัติงานให้เป็น ไปตามหลักการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี 2. กำ�หนดนโยบายและวางแผนเกี่ยวกับ กิจกรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับความรับผิดชอบ ต่อสังคม 3. ประชุมรายไตรมาสเพื่อติดตามความ คื บ หน้ า ของแผนงานบรรษั ท ภิ บ าล และความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้ง ให้ข้อแนะนำ�และการสนับสนุนที่จำ� เป็นแก่คณะทำ�งานบรรษัทภิบาล 4. ตรวจประเมินภายในด้วยเกณฑ์บรรษัท ภิ บ าล เพื่ อ กำ � หนดประเด็ น ที่ ค วร ปรับปรุง 5. เป็นตัวแทนบริษทั ฯ ในการสือ่ สารและ การดำ�เนินกิจกรรมด้านบรรษัทภิบาล ทั้งกับผู้บริหาร พนักงานและหน่วย งานภายนอก

นอกจากนี้ คณะกรรมการบรรษัทภิบาล ได้ แ ต่ ง ตั้ ง คณะทำ � งานด้ า นการรณรงค์ ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์บรรษัทภิบาล ซึ่ง ประกอบด้วยตัวแทนจากแผนกต่างๆ โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ 1. กำ � หนดแผนการดำ � เนิ น งาน การ รณรงค์ และประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้าง ความตระหนักเรื่องบรรษัทภิบาลและ ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมให้ กั บ ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ 2. ให้ ค วามรู้ แ ละสร้ า งความเข้ า ใจใน บทบาทของตนเองที่มีต่อหลักบรรษัท ภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม ให้กับผู้บริหารทุกระดับ 3. ติดตามความคืบหน้า ทบทวน และ ปรับปรุงผลการดำ�เนินงานให้เป็นไป ตามแผนที่กำ �หนดไว้ รวมทั้งจัดทำ� สรุ ป เพื่ อ รายงานต่ อ คณะกรรมการ บรรษัทภิบาลทุกไตรมาส คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริ ษั ท เป็ น ผู้ แ ต่ ง ตั้ ง คณะ กรรมการบริหาร ซึ่งประกอบด้วยกรรมการ 6 คน ดังนี้ รายชื่อและตำ�แหน่ง คณะกรรมการบริหาร 1. 2. 3. 4. 5 6.

นายสุทธิชัย จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการ นายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ กรรมการ นายสุทธิชาติ จิราธิวัฒน์ กรรมการ นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ กรรมการ นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ กรรมการ นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์ กรรมการ


142 | 143

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

หน้าที่และความรับผิดชอบ ของคณะกรรมการบริหาร 1. พิจารณากลั่นกรองในเรื่องดังต่อไปนี้ เพื่อนำ�เสนอให้คณะกรรมการบริษัท พิจารณาอนุมัติ >> แผนยุทธศาสตร์ของบริษัทฯ >> งบประมาณประจำ�ปี (Annual Estimate) ซึ่งเป็นไปตามแผน ยุทธศาสตร์ของบริษัทฯ >> งบประมาณรายจ่ า ยลงทุ น ที่ มี วงเงินเกิน 200 ล้านบาทขึ้นไป >> กิ จ กรรมและการปฏิ บั ติ ง านที่ เกี่ ย วกั บ การควบรวมและซื้ อ กิจการ >> การแต่งตัง้ กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ 2. ติดตามผลประกอบการของบริษทั ฯ ให้ เป็นไปตามงบประมาณและเป้าหมาย ที่ตั้งเอาไว้ 3. อนุมัติรายการที่เกี่ยวกับธนาคารและ สถาบันการเงิน อันเป็นการประกอบ ธุรกิจทางการค้าปกติของบริษัทฯ 4. อนุ มั ติ ร ายการที่ เ กี่ ย วกั บ บริ ษั ท ย่ อ ย และเงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามทีไ่ ด้รบั มอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท 5. อนุมัติการดำ�เนินการจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมเกี่ยวกับศูนย์การค้าทุก แห่งของบริษัทฯ และบริษัทย่อย อัน เป็ น การประกอบธุ ร กิ จ ทางการค้ า ปกติหรือรายการสนับสนุนธุรกิจปกติ ของบริษัทฯ 6. อนุมัติการเข้าทำ�บันทึกข้อตกลงเพื่อ การทำ�สัญญาร่วมทุน (MOU Joint Venture Agreement) ในโครงการ

ลงทุนต่างๆ และการทำ�สัญญาร่วมทุน (Joint Venture Agreement) ซึ่งมี มูลค่าการลงทุนจำ�นวนไม่เกิน 200 ล้านบาท 7. อนุมตั กิ ารตัง้ การเพิม่ การลด หรือการ ยกเลิกสำ�รองทางบัญชีตา่ งๆ อาทิ ค่า เผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อผลขาดทุน จากการด้อยค่าของเงินลงทุน ค่าเผื่อ ผลขาดทุนของโครงการระหว่างการ พัฒนา เป็นต้น ในวงเงินรวมไม่เกิน ครั้งละ 100 ล้านบาท 8. อนุมัติการจัดสรรกำ�ไรเป็นสำ�รองตาม กฎหมาย 9. อนุมตั งิ บประมาณรายจ่ายการลงทุนที่ มีวงเงินไม่เกิน 200 ล้านบาท 10. รับผิดชอบการบริหารทรัพยากรบุคคล สำ�หรับผู้บริหารระดับสูง 11. เสริมสร้างและผลักดันให้เกิดแรงจูงใจ ของพนักงาน 12. อนุมตั ริ ายการอืน่ ๆ ทีไ่ ด้รบั มอบหมาย จากคณะกรรมการบริษัทเป็นคราวๆ ไป

3 นายนริศ เชยกลิ่น รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงาน การเงิน บัญชี และบริหารความเสี่ยง 4. นางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงาน พัฒนาธุรกิจ ออกแบบ และก่อสร้าง 5. นายสมชาติ บาระมีชัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงาน ปฏิบัติการ 6. นายสุทธิภัค จิราธิวัฒน์ ผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ สำ�นักกรรมการผู้จัดการใหญ่ 7. นางนาถยา จิราธิวัฒน์ ผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ สำ�นักกรรมการผู้จัดการใหญ่ 8. นายธีระชาติ นุมานิต ผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ ฝ่ายบริหารโครงการก่อสร้าง 9 ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ ฝ่ายการตลาด 10. นางปณิดา สุขศรีดากุล ผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ สายงาน บริหารทรัพย์สิน

คณะกรรมการจัดการ

หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะ กรรมการจัดการ

คณะกรรมการจั ด การ ประกอบด้ ว ย กรรมการ 10 คน ดังนี้ รายชื่อและตำ�แหน่งคณะกรรมการจัดการ 1. 2.

นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายสุทธิเดช จิราธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส

1. 2. 3. 4.

จัดทำ�และนำ�เสนอแผนยุทธศาสตร์ จัดทำ�และนำ�เสนองบประมาณประจำ� ปี (Annual Estimate) นำ�เสนองบประมาณรายจ่ายเพื่อการ ลงทุนที่มีวงเงินเกิน 50 ล้านบาท นำ�เสนอการแต่งตั้งผู้บริหารที่รายงาน ตรงต่อกรรมการผู้จัดการใหญ่


5. พิจารณาอนุมัติการดำ�เนินการต่างๆ แทนคณะกรรมการบริ ษั ท และคณะ กรรมการบริหารตามทีไ่ ด้รบั มอบหมาย ดังนี้ >> รายการที่เกี่ยวกับธนาคารและ สถาบั น การเงิ น อั น เป็ น การ ประกอบธุ ร กิ จ ทางการค้ า ปกติ ของบริษัทฯ >> รายการทีเ่ กีย่ วกับบริษทั ย่อยและ เงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามที่ได้ รับมอบหมายจากคณะกรรมการ บริษัทและคณะกรรมการบริหาร >> การดำ�เนินการจดทะเบียนสิทธิ และนิตกิ รรมเกีย่ วกับศูนย์การค้า ทุกแห่งของบริษัทฯ และบริษัท ย่อย อันเป็นการประกอบธุรกิจ ทางการค้ า ปกติ ห รื อ รายการ สนับสนุนธุรกิจปกติของบริษัทฯ >> อนุมัติงบประมาณการลงทุนที่มี วงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท >> รายการอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย จากคณะกรรมการบริ ษั ท หรื อ คณะกรรมการบริหารเป็นคราวๆ ไป

สรุปการดำ�รงตำ�แหน่งของกรรมการในคณะกรรมการชุดต่างๆ รายชื่อกรรมการ คณะ คณะ กรรมการ กรรมการ บริษัท ตรวจสอบ นายสุทธิชัย จิราธิวัฒน์ นายไพฑูรย์ ทวีผล นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์ นางสุนันทา ตุลยธัญ นายการุณ กิตติสถาพร นายครรชิต บุนะจินดา นายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ นายสุทธิชาติ จิราธิวัฒน์ นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์ นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ หมายเหตุ : C-Chairman หมายถึง ประธาน M-Member หมายถึง กรรมการ A-Advisory หมายถึง ที่ปรึกษา

C M M M M M M M M M M M

- C M M M - - - - - - -

คณะ กรรมการ สรรหาและ กำ�หนด ค่าตอบแทน

คณะ กรรมการ บริหาร ความเสี่ยง

- - C M M M - - A A A -

C M M M


144 | 145

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

การสรรหากรรมการและผู้บริหาร การสรรหากรรมการ วาระการดำ�รงตำ�แหน่ง ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำ�กัด และข้อบังคับของบริษัทกำ�หนดให้ในการ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำ�ปีทุกครั้ง ให้ กรรมการออกจากตำ�แหน่ง 1 ใน 3 ถ้า จำ�นวนกรรมการที่จะแบ่งออกให้ตรงเป็น สามส่วนไม่ได้ ให้ออกจำ�นวนใกล้ที่สุดกับ ส่วน 1 ใน 3 โดยให้กรรมการคนที่อยู่ใน ตำ�แหน่งนานที่สุดเป็นผู้ออกจากตำ�แหน่ง และกรรมการที่ออกจากตำ�แหน่งนั้นมีสิทธิ ได้รับเลือกตั้งกลับมาดำ�รงตำ�แหน่งใหม่ได้ ทัง้ นี้ กรรมการอิสระดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการ ติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 วาระ และสามารถต่อ วาระได้โดยรวมระยะเวลาการดำ�รงตำ�แหน่ง ทุกวาระแล้วต้องไม่เกิน 9 ปี ทัง้ นี้ สอดคล้อง ตามกฎบัตรคณะกรรมการบริษทั โดยให้มผี ล บั ง คั บใช้ ตั้ ง แต่ วั น ที่ 4 มี น าคม 2556 เป็นต้นไป โดยไม่มีผลย้อนหลัง หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหา คณะกรรมการสรรหาและกำ � หนดค่ า ตอบแทนมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการ พิจารณาคัดเลือกและกลั่นกรองบุคคลที่ มี คุ ณ สมบั ติ เ หมาะสมตามข้ อ บั ง คั บ ของ บริษัท และนำ�เสนอขอความเห็นชอบจาก กรรมการ จากนั้ น นำ � เสนอต่ อ ที่ ป ระชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ น เป็ น ผู้ เ ลื อ กตั้ ง กรรมการตาม หลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ 1. ในการลงคะแนนเสียงเลือกตัง้ กรรมการ ให้ถอื ว่าผูถ้ อื หุน้ แต่ละคนมีคะแนนเสียง เท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง

2. ให้ผู้ถือหุ้นลงคะแนนเสียงทั้งหมดที่ตน มีอยู่เลือกบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อ เป็นกรรมการทีละคน 3. บุ ค คลซึ่ ง ได้ รั บ คะแนนเสี ย งสู ง สุ ด ตามลำ � ดั บ ลงมาเป็ น ผู้ ไ ด้ รั บ เลื อ กตั้ ง เป็นกรรมการเท่าจำ�นวนกรรมการที่จะ พึงมี หรือพึงจะเลือกตั้งในครั้งนั้น ใน กรณีที่บุคคลซึ่งได้รับเลือกตั้งในลำ�ดับ ถั ด ลงมามี ค ะแนนเสี ย งเท่ า กั น เกิ น จำ�นวนกรรมการที่จะพึงมี ให้ประธาน ที่ประชุมออกเสียงได้เพิ่มขึ้นอีกหนึ่ง เสียง เป็นเสียงชี้ขาด กรณีที่ตำ�แหน่งกรรมการว่างลงเนื่องจาก เหตุ อื่ น นอกจากการครบวาระออกจาก ตำ � แหน่ ง กรรมการ ให้ ค ณะกรรมการ พิจารณาแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและ ไม่มลี กั ษณะต้องห้ามตามกฎหมายเข้าเป็น กรรมการแทนในการประชุมคณะกรรมการ คราวถัดไป เว้นแต่วาระของกรรมการที่พ้น จากตำ�แหน่งจะเหลือน้อยกว่า 2 เดือน โดยบุคคลซึ่งเข้าเป็นกรรมการแทนจะอยู่ ในตำ � แหน่ ง กรรมการได้ เ พี ย งเท่ า วาระที่ ยังเหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน ทั้งนี้ มติการแต่งตั้งบุคคลเข้าเป็นกรรมการแทน ดังกล่าวต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำ�นวนกรรมการที่ยังเหลืออยู่ บริษัทเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีส่วนร่วมใน การเสนอชื่ อ บุ ค คลเพื่ อ รั บ การพิ จ ารณา เลือกตั้งเป็นกรรมการได้ล่วงหน้าไม่น้อย กว่า 3 เดือนก่อนวันสิน้ สุดรอบปีบญ ั ชี โดย แจ้งผ่านระบบข่าวของตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย และเว็บไซต์ของบริษัทซึ่งมี รายละเอี ย ดเกี่ ย วกั บ วิ ธี ก ารเสนอและ ขั้นตอนการพิจารณา ทั้งนี้ ในปี 2555

ไม่มีผู้ถือหุ้นรายใดเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับ การพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการ การปฐมนิเทศกรรมการใหม่ บริ ษั ท จั ด ให้ มี ก ารพบปะกั น ระหว่ า ง กรรมการใหม่ แ ละคณะกรรมการบริ ษั ท รวมถึงคณะผู้บริหารของบริษัท และมีการ จัดปฐมนิเทศเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ บทบาทหน้ า ที่ ข องกรรมการและอธิ บ าย เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ ให้ แก่กรรมการใหม่ โดยประกอบด้วยการนำ� เสนอข้อมูลต่างๆ ดังนี้ 1. เป้าหมาย วิสัยทัศน์และแผนกลยุทธ์ ของบริษัทฯ 2. สรุปโครงสร้าง แผนผังองค์กรและคณะ กรรมการชุดต่างๆ 3. สรุ ป ลั ก ษณะการประกอบธุ ร กิ จ ของ บริษัทฯ 4. สรุปโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทฯ 5. สรุปนโยบายการทำ�รายการที่เกี่ยวโยง กันของบริษัทฯ 6. สรุ ป ผลการดำ � เนิ น งานของบริ ษั ท ฯ โครงการในปัจจุบันและโครงการที่อยู่ ระหว่างก่อสร้างต่างๆ เพือ่ ให้กรรมการ ใหม่ ไ ด้ มี พื้ น ฐานข้ อ มู ล เพี ย งพอและ พร้ อ มที่ จ ะปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ก รรมการได้ อย่างมีประสิทธิภาพ 7. พาเยี่ยมชมบริษัทฯ นอกจากนี้ สำ�นักเลขานุการบริษัทได้จัด เตรียมและนำ�ส่งเอกสารแก่กรรมการใหม่ ดังนี้ 1. คู่มือกรรมการ ซึ่งมีเนื้อหาประกอบ ด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจและค่านิยม


ของบริษัทฯ นโยบายการกำ�กับดูแล กิจการ จรรยาบรรณของกรรมการ ผู้ บริหารและพนักงาน ข้อบังคับบริษัท กฎบัตรคณะกรรมการบริษัท และคณะ กรรมการชุดย่อยต่างๆ คู่มือกรรมการ บริษัทจดทะเบียน ข้อแนะนำ�การให้ สารสนเทศและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2. เอกสารแนะนำ�บริษัทฯ 3. ระเบียบบริษัทว่าด้วยเรื่องการควบคุม เกี่ยวกับสารสนเทศภายในของบริษัทฯ 4. ระเบียบว่าด้วยการถือครองหลักทรัพย์ ในบริษัทฯ 5. นโยบายการรายงานการมีส่วนได้เสีย ของกรรมการและผูบ้ ริหาร และเอกสาร เพื่อจัดทำ�รายงานการมีส่วนได้เสีย 6. รายงานประจำ�ปีล่าสุด 7. รายงานการประชุ ม คณะกรรมการ บริษัทย้อนหลัง 1 ปี 8. รายงานผลการดำ � เนิ น งานของคณะ กรรมการตรวจสอบย้อนหลัง 1 ปี การสรรหาผู้บริหาร การสรรหากรรมการผู้จัดการใหญ่ คณะกรรมการบริ ห ารจะเป็ น ผู้ พิ จ ารณา เบื้องต้น ในการกลั่นกรองสรรหาบุคคลที่มี คุณสมบัติครบถ้วน เหมาะสม มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ ที่ เ ป็ น ประโยชน์ต่อการดำ�เนินงานของบริษัทฯ และนำ�เสนอต่อคณะกรรมการสรรหาและ กำ�หนดค่าตอบแทนพิจารณาอนุมัติ เพื่อ เสนอต่ อ คณะกรรมการบริ ษั ท พิ จ ารณา อนุมัติต่อไป

การสรรหาผู้บริหาร กรรมการผู้ จั ด การใหญ่ เ ป็ น ผู้ พิ จ ารณา สรรหาและแต่ ง ตั้ ง บุ ค คลที่ มี คุ ณ สมบั ติ เหมาะสมกั บ ตำ � แหน่ ง และหน้ า ที่ ค วาม รับผิดชอบ รวมถึงมีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการ ดำ�เนินงานของบริษัทฯ โดยการคัดเลือก เป็นไปตามระเบียบในการสรรหาบุคคลของ ฝ่ายบริหารทุนมนุษย์ แผนพัฒนาผู้สืบทอดตำ�แหน่งงาน CPN ให้ความสำ�คัญในการดูแลและพัฒนา ศักยภาพพนักงานเพื่อรองรับการดำ�เนิน งานตามแผนพัฒนาผูส้ บื ทอดตำ�แหน่งงาน (Succession Plan) อย่างต่อเนื่อง โดยมี การเตรี ย มความพร้ อ มให้ พ นั ก งานและ ผู้บริหารในระดับต่างๆ ประกอบด้วยการ ดำ�เนินงานที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1. โครงการ Leadership Development Program เพือ่ เสริมสร้างให้พนักงานทัง้ ใ น สำ � นั ก ง า น ใ ห ญ่ แ ล ะ ส า ข า มี คุ ณ ลั ก ษณะของผู้ นำ � ที่ ส อดคล้ อ งกั บ วิสยั ทัศน์ขององค์กร (CPN Leadership DNA) ทั้งนี้ แบ่งเป็น 2 โครงการย่อย ได้แก่ >> โครงการ Leadership Development Program for Executives สำ�หรับ ผู้บริหารระดับสูง >> โครงการ Young Leadership Program สำ�หรับผูบ้ ริหารระดับต้น และระดับกลาง โดยผู้ ที่ มี ร ายชื่ อ อยู่ ใ นโครงการและ ผูบ้ งั คับบัญชาจะร่วมกันวางแผนพัฒนา

รายบุคคล (Individual Development Plan-IDP) เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนา สมรรถนะผู้ นำ � และขี ด ความสามารถ ของบุคลากรตามตำ�แหน่งงาน โดยได้ กำ�หนดแนวทางการพัฒนาที่แตกต่าง กันในแต่ละกลุ่ม อาทิเช่น > ก า ร จั ด ใ ห้ มี E x e c u t i v e Coaching สำ � หรั บ ผู้ บ ริ ห าร ระดับสูง > Knowledge Sharing: IDP Driven Mechanism สำ�หรับ ผู้บริหารระดับกลาง >> การพัฒนาผ่านหลักสูตรอบรมที่ได้ รับความร่วมมือจาก Academy Team ได้แก่ > หลักสูตร Leader as Coach สำ�หรับผู้บริหารระดับกลาง > หลั ก สู ต ร People & Task Management for Effective Work สำ�หรับผู้บริหารระดับต้น 2. การดูแลค่าตอบแทนและผลประโยชน์ ตามหลัก Performance-based Pay ที่ เหมาะสมและเป็ น ธรรม เพื่ อ รั ก ษา บุคลากรให้พร้อมเติบโตไปกับบริษัทใน ระยะยาว CPN เชือ่ มัน่ ว่าด้วยการเตรียมความพร้อม และดูแลค่าตอบแทนและผลประโยชน์ที่ เป็นธรรมจะช่วยพัฒนาและรักษาบุคลากร ของบริ ษั ท ฯ ทั้ ง ยั ง เป็ น การสนั บ สนุ นให้ กระบวนการสรรหาบุคคลมาดำ�รงตำ�แหน่ง ผู้ บ ริ ห ารมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและประสิ ท ธิ ผ ล โดยสามารถดูรายละเอียดแผนงานได้ใน หัวข้อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ หน้า 102


ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี


ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร ค่าตอบแทนกรรมการ CPN พิจารณาจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ โดยคำ�นึงถึงความเป็นธรรมและเหมาะสม สะท้อนถึงหน้าที่ความรับผิดชอบ ความ สำ�เร็จในการปฏิบัติงานที่เชื่อมโยงกับผล ประกอบการ ปัจจัยแวดล้อมอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้อง ตลอดจนพิ จ ารณาเปรี ย บเที ย บกั บ อั ต รา ค่าตอบแทนของบริษัทอื่นในอุตสาหกรรม เดี ย วกั น หรื อใกล้ เ คี ย งกั บ บริ ษั ท ฯ โดย ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร ส ร ร ห า แ ล ะ กำ � ห น ด ค่าตอบแทนมีการนำ�ผลสำ�รวจค่าตอบแทน กรรมการที่จัดทำ�โดยตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย (ต.ล.ท.) และสมาคมส่งเสริม สถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) มา ประกอบการพิ จ ารณาเปรี ย บเที ย บเป็ น ประจำ�ทุกปี ในปี 2555 คณะกรรมการสรรหาและ กำ � หนดค่ า ตอบแทนได้พิจ ารณาทบทวน ค่าตอบแทนกรรมการและนำ�เสนอต่อคณะ กรรมการบริ ษั ท เพื่ อ พิ จ ารณาเห็ น ชอบ และนำ � เสนอต่ อ ที่ ป ระชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ น สามั ญ ประจำ�ปี 2555 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2555 เพื่อพิจารณาอนุมัติการกำ�หนดค่า ตอบแทนกรรมการประจำ � ปี 2555 ใน อัตราเดิมเท่ากับปี 2554 ซึ่งมีวงเงินไม่เกิน 10,500,000 บาท โดยมี ร ายละเอี ย ด ดังต่อไปนี้

ประเภทค่าตอบแทน

จำ�นวนเงิน (บาท)

1. ค่าตอบแทนประจำ�ไตรมาส (บาท/ไตรมาส) >> ประธานกรรมการ >> ประธานกรรมการตรวจสอบ >> กรรมการตรวจสอบ >> กรรมการ

120,000 110,000 85,000 70,000

2. ค่าเบี้ยประชุมกรรมการบริษัท (บาท/ครั้ง) >> ประธานกรรมการ >> กรรมการ

50,000 35,000

3. ค่าเบี้ยประชุมกรรมการตรวจสอบ (บาท/ครั้ง) >> ประธานกรรมการตรวจสอบ >> กรรมการตรวจสอบ

60,000 45,000

4. ค่าเบี้ยประชุมกรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน รวมที่ปรึกษา (บาท/ครั้ง) 5. ค่าเบี้ยประชุมกรรมการบริหารความเสี่ยง (บาท/ครั้ง) วงเงินที่ขออนุมัติจากผู้ถือหุ้น

20,000 20,000 10,500,000

หมายเหตุ : กรรมการที่เป็นผู้บริหารของบริษัท (Executive Director) และผู้บริหารจะไม่ได้รับค่าตอบแทนสำ�หรับ การดำ�รงตำ�แหน่งต่างๆ ในคณะกรรมการชุดย่อย

ค่าตอบแทนประจำ�ไตรมาสและค่าเบีย้ ประชุมในปี 2555 ทีค่ ณะกรรมการได้รบั จากบริษทั ฯ ในฐานะกรรมการบริษทั และกรรมการชุดย่อยต่างๆ รวมเป็นจำ�นวนทัง้ สิน้ 9,155,000 บาท โดยมีรายละเอียดการเข้าร่วมประชุมและค่าตอบแทนกรรมการดังนี้


148 | 149

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

ค่าตอบแทนกรรมการ ประจำ�ปี 2555 รายชื่อกรรมการ

ตำ�แหน่ง คณะ กรรมการ บริษัท

ประชุม 6 ครั้ง

1. นายสุทธิชัย จิราธิวัฒน์ 2. นายไพฑูรย์ ทวีผล 3. นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์ 4. นางสุนันทา ตุลยธัญ 5. นายการุณ กิตติสถาพร 6. นายครรชิต บุนะจินดา 7. นายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ 8. นายสุทธิชาติ จิราธิวัฒน์ 9. นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ 10. นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ 11. นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์ 12. นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ รวม

ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานกรรมการตรวจสอบ ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง กรรมการ กรรมการตรวจสอบ ประธานกรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน กรรมการ กรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน กรรมการ กรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน กรรมการ กรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน กรรมการบริหารความเสี่ยง กรรมการ กรรมการ กรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการสรรหา และกำ�หนดค่าตอบแทน กรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการสรรหา และกำ�หนดค่าตอบแทน กรรมการ กรรมการบริหารความเสี่ยง ที่ปรึกษาคณะกรรมการสรรหา และกำ�หนดค่าตอบแทน กรรมการ กรรมการบริหารความเสี่ยง

6/6 6/6 6/6 6/6 6/6 6/6 5/6 5/6 6/6 5/6 6/6 6/6

การเข้าร่วมประชุม (ครั้ง) คณะ คณะ คณะ กรรมการ กรรมการ กรรมการ ตรวจสอบ สรรหาและ บริหารความ กำ�หนดค่า เสี่ยง ตอบแทน ประชุม 4 ประชุม 11 ประชุม 2 ครั้ง ครั้ง ครั้ง

11/11 11/11 11/11 11/11

2/2 2/2 2/2 2/2 2/2 2/2 2/2

4/4 3/4 4/4 -/4


ค่าตอบแทนผู้บริหาร

ค่าตอบแทนกรรมการ (บาท) ค่าตอบแทนราย ไตรมาส

ค่าเบี้ย ประชุม กรรมการ บริษัท

ค่าเบี้ย ประชุม กรรมการ ตรวจสอบ

ค่าเบี้ย ประชุม กรรมการ สรรหาและ กำ�หนดค่า ตอบแทน

ค่าเบี้ย ประชุม กรรมการ บริหาร ความเสี่ยง

รวม (บาท)

CPN พิจารณาจ่ายค่าตอบแทนผู้บริหาร โดยคำ � นึ ง ความเป็ น ธรรมและเหมาะสม สอดคล้องกับผลการดำ�เนินงาน และผลการ ปฏิบัติงานของผู้บริหารแต่ละคน รวมทั้ง พิจารณาเปรียบเทียบกับอัตราค่าตอบแทน ของบริษัทอื่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือใกล้เคียงกับบริษัทฯ

480,000 440,000 340,000 340,000 340,000 280,000 280,000 280,000 280,000 280,000 280,000 280,000

300,000 210,000 210,000 210,000 210,000 210,000 210,000 210,000 210,000 210,000 210,000 210,000

660,000 495,000 495,000 495,000

40,000 40,000 40,000 40,000 40,000 40,000 40,000

80,000 60,000 80,000

780,000 1,390,000 1,085,000 1,085,000 1,085,000 590,000 490,000 490,000 530,000 530,000 610,000 490,000

>> ค่ า ตอบแทน CEO: คณะกรรมการ

3,900,000

2,610,000

2,145,000

280,000

220,000

9,155,000

สรรหาและกำ � หนดค่ า ตอบแทนและ คณะกรรมการบริษัทพิจารณาประเมิน ผลการปฏิบตั งิ านของ CEO เป็นประจำ� ทุ ก ปี และได้ นำ � ผลประเมิ น ดั ง กล่า ว มาประกอบการพิ จ ารณากำ � หนด ค่าตอบแทนของ CEO ในรูปแบบของ การปรับเงินเดือนและโบนัส สำ� หรับค่าตอบแทนที่ให้แก่ผู้บริหารในปี 2555 มีดังนี้ >> เงินเดือนและโบนัส บริษัทฯ มีการให้

ผลตอบแทนแก่ผู้บริหารเป็นเงินเดือน และโบนัส สำ�หรับผูบ้ ริหารจำ�นวน 9 คน รวมทั้งสิ้น 76,147,850 บาท >> เงินสมทบกองทุนสำ�รองเลีย้ งชีพ บริษทั ฯ

ได้สมทบเงินเข้ากองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ สำ�หรับผู้บริหารจำ�นวน 8 คน รวมทั้ง สิ้น 3,787,543 บาท


150 | 151

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

รายการระหว่างกัน บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) ประกอบธุ ร กิ จ หลั ก ในการให้ เ ช่ า พื้ น ที่ ศูนย์การค้า และประกอบธุรกิจอื่นที่เกี่ยว เนื่องและส่งเสริมการประกอบธุรกิจของ บริษัทฯ ความสำ�เร็จตลอดระยะเวลาการ ดำ�เนินธุรกิจที่ผ่านมาของ CPN ส่วนหนึ่ง เป็นผลมาจากการที่ CPN เป็นหนึ่งในสาย ธุรกิจของกลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งเป็นผู้นำ�ในธุรกิจ ค้าปลีกมายาวนานกว่า 60 ปี โดยกลุ่ม เซ็นทรัลมีธุรกิจที่หลากหลาย ทั้งธุรกิจห้าง สรรพสินค้า ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจค้าปลีกสินค้าหลากหลายประเภท ยี่ ห้ อ และผลิ ต ภั ณ ฑ์ และธุ ร กิ จในกลุ่ ม ดังกล่าวเป็นผู้เช่าพื้นที่ใหญ่และผู้เช่าพื้นที่ ร้านค้าในแต่ละศูนย์ฯ ของ CPN จึงอาจ กล่าวได้ว่าธุรกิจต่างๆ ในกลุ่มเซ็นทรัลเป็น พันธมิตรทางการค้ากับ CPN ที่ช่วยเพิ่ม อัตราการเช่า และสร้างความมั่นใจให้แก่ ลู ก ค้ า รายอื่ น ๆ ให้ ม าเช่ า พื้ น ที่ ภ ายใน ศู น ย์ ก ารค้ า ของ CPN ซึ่ ง มี ส่ ว นช่ ว ย ยืนยันความสำ�เร็จของโครงการต่างๆ และ สร้ า งผลตอบแทนที่ ดี ใ ห้ กั บ ผู้ ถื อ หุ้ น ของ CPN จากความสัมพันธ์ทางการค้าดังกล่าว ข้างต้นระหว่าง CPN และกลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน จึงเป็นจุดแข็ง ในการดำ�เนินธุรกิจของ CPN ซึ่งคณะ กรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจ สอบได้ก�ำ กับดูแลให้มกี ารทำ�รายการให้เป็น ไปตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการกำ�หนดนโยบาย การประกอบธุรกิจระหว่างกันที่ชัดเจน มี การพิ จารณาราคาและเงื่อ นไขให้เป็นไป ตามปกติธุรกิจ มีการสรุปรายการที่เกี่ยว โยงกันให้คณะกรรมการตรวจสอบทราบ การขออนุ มั ติ เ ป็ น ไปตามหลั ก เกณฑ์ ที่ สำ � นั ก งานกำ � กั บ หลั ก ทรั พ ย์ แ ละตลาด

หลักทรัพย์กำ�หนด และมีการเปิดเผยสาร สนเทศต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้เปิดเผยรายละเอียดการ ทำ�รายการระหว่างกันกับกิจการและบุคคล ทีอ่ าจมีความขัดแย้งของบริษทั ฯ และบริษทั ย่อยไว้ในงบการเงินประจำ�ปี 2555 ซึ่ง รายการส่ ว นใหญ่ เ ป็ น การทำ � รายการ ระหว่างบริษัทฯ กับกิจการในกลุ่มเซ็นทรัล และกลุ่มจิราธิวัฒน์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ รายการระหว่างกันกับกิจการ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง สามารถสรุป ได้ ดังต่อไปนี้ 1. รายได้จากกิจการและบุคคลที่ เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วย รายได้จากการให้เช่าพืน้ ทีแ่ ละ การให้บริการสาธารณูปโภคภายในศูนย์ การค้า รายได้จากการให้เช่าทีด่ นิ รายได้คา่ บริหารงาน และรายได้อื่นๆ จากค่าเบี้ย ประกันภัยค่าภาษีโรงเรือน ค่าใช้จา่ ยส่งเสริม การขาย ค่าธรรมเนียมค้ำ�ประกัน และค่า บริการต่างๆ ที่เรียกเก็บจากกิจการและ บุคคลที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งในปี 2555 รวม จำ�นวน 2,613 ล้านบาท ความจำ�เป็นและความสมเหตุสมผล ของรายการ บริษทั ฯ ประกอบธุรกิจหลักในการให้เช่าและ ให้บริการพื้นที่ค้าปลีกภายในศูนย์การค้า อาคารสำ�นักงาน อาคารที่พักอาศัย ศูนย์ อาหาร สวนน้�ำ และสวนพักผ่อน ทีต่ งั้ อยูใ่ น บริเวณโครงการศูนย์การค้า ตลอดจนเป็นผู้ ให้บริการสาธารณูปโภคภายในศูนย์การค้า ของบริษัทฯ ในขณะเดียวกันบริษัทในกลุ่ม

เซ็นทรัลมีการประกอบธุรกิจ ห้างสรรพ สินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าปลีกและร้าน อาหารแบรนด์ชนั้ นำ�ต่างๆ ซึง่ เป็นกิจการที่ เกีย่ วเนือ่ งและส่งเสริมธุรกิจของบริษทั ฯ ทำ� ให้บริษัทฯ มีรายได้จากรายการค้าที่เป็น ไปตามปกติธุรกิจและเงื่อนไขการค้าทั่วไป จากกิจการในกลุม่ เซ็นทรัลซึง่ เป็นองค์กรทีม่ ี ศักยภาพในการเติบโตและมีฐานะทางการ เงินที่มั่นคง นอกจากนี้ ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าปลีกและร้านอาหาร แบรนด์ชั้นนำ�ในศูนย์การค้าจะเป็นส่วนที่ ดึงดูดให้ลกู ค้าเข้ามาใช้บริการในศูนย์การค้า มากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มผลตอบแทนให้กับ บริษัทฯ และผู้ถือหุ้นโดยรวม โดยบริษัทฯ มี นโยบายการกำ � หนดอั ต ราค่ า เช่ า และ ค่าบริการต่างๆ เพือ่ เรียกเก็บจากกิจการและ บุคคลที่เกี่ยวข้องกัน ดังนี้ >> อัตราค่าเช่า ค่าบริการ และค่าบริการ

สาธารณูปโภค จากการให้เช่าพื้นที่ใน ศู น ย์ ก ารค้ า ที่ บ ริ ษั ท ฯ เรี ย กเก็ บ จาก กิจการที่เกี่ยวข้องกัน จะเป็นไปตาม ราคาตลาด ซึ่ ง หากเที ย บเคี ย งกั บ ร้านค้าอื่นที่เช่าอยู่บริเวณติดกันหรือ ใกล้เคียงกัน และอยูใ่ นชัน้ เดียวกันจะมี อัตราค่าเช่าและค่าบริการใกล้เคียงกัน ทัง้ นีอ้ ตั ราค่าเช่าจะขึน้ อยูก่ บั ทำ�เล ขนาด พื้นที่ รูปแบบการเช่า ระยะเวลาที่เช่า และประเภทของการเช่า และเป็นไปตาม หลักการของรายการค้าทีเ่ ป็นปกติธรุ กิจ ที่มีเงื่อนไขการค้าทั่วไป

>> รายได้อนื่ ทีเ่ กิดขึน้ จากการเรียกเก็บ เช่น

ค่ า เบี้ ย ประกั น ภั ย ค่ า ภาษี โ รงเรื อ น ค่าใช้จา่ ยส่งเสริมการขาย ค่าธรรมเนียม ค้�ำ ประกัน และค่าบริการต่างๆ ทีเ่ รียกเก็บ จากลู ก ค้ า ที่ เ ช่ า พื้ น ที่ ใ นศู น ย์ ก ารค้ า


บริษัทฯ มีนโยบายและหลักเกณฑ์ที่จะ เรี ย กเก็ บ ค่ าใช้ จ่ า ย ดั ง กล่ า วเป็ น มาตรฐานเดี ย วกั น ทั้ ง กั บ กิ จ การที่ เกีย่ วข้องกันและลูกค้าทัว่ ไป โดยคิดจาก ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงในการดำ�เนินงาน ของบริษัทฯ และเป็นไปตามประเภท ลักษณะการเช่าพืน้ ที่ และหลักการของ รายการค้าที่เป็นปกติธุรกิจที่มีเงื่อนไข การค้าทั่วไป

>> รายได้ จ ากการให้ เ ช่ า ที่ ดิ น โครงการ

ของบริษัทฯ บางโครงการมีการพัฒนา ศูนย์การค้าบนที่ดินแปลงเดียวกันกับ โครงการของบริษทั ในกลุม่ เซ็นทรัล โดย พิจารณาจากการส่งเสริมความได้เปรียบ

ทางการตลาด และขนาดโครงการ ที่เหมาะสม ซึ่งการพัฒนาโครงการขึ้น มาบนทีด่ นิ แปลงเดียวกันนัน้ จะดำ�เนิน การโดยให้บริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นผู้ซื้อ หรือเช่าที่ดินทั้งแปลงจากเจ้าของที่ดิน และนำ�ที่ดินให้อีกบริษัทหนึ่งเช่าหรือ เช่าช่วงตามสัดส่วนพื้นที่ที่ต้องการใน ราคาทุนบวกดอกเบีย้ ทีเ่ กิดขึน้ จริง หรือ ในราคาตลาดที่ประเมินโดยผู้ประเมิน อิสระ โดยเป็นไปตามกฎหมายและ กฎระเบียบของสำ�นักงานคณะกรรมการ กำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ/ หรื อ หน่ ว ยงานอื่ นใดที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ซึ่ ง

รายได้ในการให้เช่าที่ดินจะได้รับการ สอบทานและตรวจสอบจากผูส้ อบบัญชี ของบริษัทฯ เป็นประจำ�ทุกปี >> รายได้ จ ากการให้ เ ช่ า พื้ น ที่ ข นาดใหญ่

ในโครงการศูนย์การค้า จะมีการตกลง ในส่ ว นของค่ า ตอบแทนกั น ตั้ ง แต่ ขั้ น ตอนการออกแบบโครงการ โดย อัตราค่าเช่าจะคำ�นวณจากต้นทุนค่า ทีด่ นิ และค่าก่อสร้างรวมด้วยดอกเบีย้ ที่ เกิดขึ้นจริงและค่าใช้จ่ายในการดำ�เนิน งาน ซึ่งรายได้จากค่าตอบแทนการเช่า พื้นที่ใหญ่ในโครงการศูนย์การค้าจะได้ รั บ การสอบทานและตรวจสอบจาก ผูส้ อบบัญชีของบริษทั ฯ เป็นประจำ�ทุกปี

รายละเอียดรายได้จากกิจการและบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน กิจการและบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน

มูลค่ารายการระหว่างกัน (ล้านบาท)

ลักษณะรายการ

1.1 กลุ่มบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำ�กัด 1,115 >> บริษทั ฯ มีรายได้คา่ เช่า ค่าบริการ ค่าบริการ สาธารณูปโภค (“CRC”) และรายได้อื่นๆ จากการให้เช่าพื้นที่ในศูนย์การค้าแก่ธุรกิจ (กลุ่มจิราธิวัฒน์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่) ในกลุ่ม CRC ซึ่งเป็นรายการปกติธุรกิจที่มีเงื่อนไขการค้า ทั่วไป 1.2 กลุ่มบริษัท เซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้งกรุ๊ป จำ�กัด 395 >> บริษัทฯ มีรายได้ค่าเช่า ค่าบริการ ค่าบริการสาธารณูปโภค (“CMG”) และรายได้อนื่ ๆ จากการให้เช่าพืน้ ทีใ่ นศูนย์การค้าแก่กจิ การ (กลุ่มจิราธิวัฒน์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่) ในกลุ่ม CMG ซึ่งเป็นรายการปกติธุรกิจที่มีเงื่อนไขการค้า ทั่วไป 1.3 กลุ่มบริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำ�กัด (มหาชน) 76 >> บริษัทฯ มีรายได้ค่าเช่า ค่าบริการ ค่าบริการสาธารณูปโภค (“CHR”) และรายได้อนื่ ๆ จากการให้เช่าพืน้ ทีธ่ รุ กิจรับบริการซักรีดภายใน (กลุ่มจิราธิวัฒน์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่) ศูนย์การค้า และอาคารสำ�นักงานแก่กิจการ ในกลุ่ม CHR ซึ่งเป็นรายการปกติธุรกิจที่มีเงื่อนไขการค้าทั่วไป


152 | 153

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

กิจการและบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน

มูลค่ารายการระหว่างกัน (ล้านบาท)

ลักษณะรายการ

>> กองทุนรวมธุรกิจไทย 4 ได้ทำ�สัญญาให้เช่าช่วงที่ดินและ สิง่ ปลูกสร้าง บริเวณโครงการเซ็นทรัลเวิลด์ กับ บริษทั โรงแรม เซ็นทรัลเวิลด์ จำ�กัด จำ�นวนประมาณ 2.53 ไร่ ระยะเวลา 29 ปี สัญญาสิ้นสุดวันที่ 22 ธันวาคม 2575 เพื่อพัฒนาโรงแรม ที่จอดรถ และ Convention Hall อัตราค่าเช่าระหว่างกัน เป็นไปตามหลักการคำ�นวณค่าเช่าที่ดินของบริษัทฯ และ ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง โดยมีการคิดค่าเช่า เป็น 2 ส่วน คือ ค่าเช่าช่วงจ่ายล่วงหน้าในปีทที่ �ำ สัญญา และค่าเช่าช่วงรายปี 1.4 กลุ่มบริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำ�กัด 247 >> บริษทั ฯ มีรายได้คา่ เช่า ค่าบริการ ค่าบริการสาธารณูปโภคและ (“CRG”) รายได้อนื่ ๆ จากการให้เช่าพืน้ ทีใ่ นศูนย์การค้าแก่ ธุรกิจในกลุม่ (กลุ่มจิราธิวัฒน์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่) CRG ซึ่งเป็นรายการค้าปกติธุรกิจที่มีเงื่อนไขการค้าทั่วไป 1.5 กิจการอื่นๆ ที่มีบุคคลที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทฯ 780 >> บริษทั ฯ มีรายได้คา่ เช่า ค่าบริการ ค่าบริการสาธารณูปโภคและ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มี รายได้อนื่ ๆ จากการให้เช่าพืน้ ทีใ่ นศูนย์การค้าแก่กจิ การทีเ่ กีย่ ว อำ�นาจควบคุม โยงกัน เช่น ภัตตาคารอาหารญีป่ นุ่ ฟูจ,ิ เซน, อากะ, ห้องอาหาร ซากุระ, เดอะบาร์บคี วิ พลาซา, ไทยพรีวลิ เลจเฮลธ์แคร์ สปา, เดอะ บอดี้ ช็อป, รากาซเซ เป็นต้น โดยเป็นรายการปกติธรุ กิจ ที่มีเงื่อนไขการค้าทั่วไป >> บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ขอนแก่น จำ�กัด ได้ทำ�สัญญาให้เช่า ช่วงทีด่ นิ และสิง่ ปลูกสร้าง กับ บริษทั บิก๊ ซี แฟรี่ จำ�กัด จำ�นวน 21 ไร่ 33 งาน ระยะเวลา 30 ปี สัญญาสิ้นสุดใน วันที่ 16 กรกฎาคม 2569 เพือ่ พัฒนาเป็นทีจ่ อดรถ อัตราค่าเช่าระหว่าง กันเป็นไปตามหลักการคำ�นวณค่าเช่าที่ดินของบริษัทฯ และ ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง โดยมีการคิดค่าเช่าเป็นรายปี หมายเหตุ : 1) CRC ดำ�เนินธุรกิจค้าปลีกโดยประกอบด้วย ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล, ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน, ห้างสรรพสินค้าเซน, ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต, เพาเวอร์บาย, บีทูเอส, ซูเปอร์ สปอร์ต, โฮมเวิร์ค, ไทวัสดุ, แฟมิลี่มาร์ท, ห้างสรรพสินค้า ลา รีนาเชนเต, ออฟฟิศเมท (franchise), มาร์ซ แอนด์ สเปนเซอร์ (franchise), วัตสัน (joint venture), มูจิ (franchise) เป็นต้น 2) CMG ดำ�เนินธุรกิจนำ�เข้า ผลิต จัดจำ�หน่าย และขายสินค้าอุปโภคและบริโภคทั้งที่เป็น International Brands และ House Brands ประกอบด้วย 2.1) กลุม่ เสือ้ ผ้าเครือ่ งแต่งกาย เช่น 5cm, Benetton, Dorothy Perkins, Energie, Evoluzine, Hush Puppies, FCUK, G2000, izzue, Jockey, Lee, Miss Selfridge, Wrangler, Topshop Topman, Sasch เป็นต้น 2.2) กลุ่มเครื่องสำ�อาง เช่น CLARINS, Elizabeth Arden, Laura Mercier, PAYOT, H2O+ เป็นต้น 2.3) กลุ่มนาฬิกา เช่น Guess, Casio, Marc Ecko, Nautica เป็นต้น 2.4) กลุ่มสินค้าเบ็ดเตล็ด เช่น Samsonite, Pentax, Prince, Casio, Kawai เป็นต้น 3) CHR ดำ�เนินธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา 4) CRG ดำ�เนินธุรกิจอาหาร โดยมีแบรนด์ธุรกิจหลากหลายรูปแบบ เช่น Mister Donut, KFC, Auntie Anne’s, Pepper Lunch, Beard Papa’s, Chabuton, Cold Stone Creamery, RYU Shabu Shabu, Yoshinoya, Ootoya, The Terrace เป็นต้น


2. ค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้กับกิจการและบุคคล ที่เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่ใน ศูนย์การค้า ค่าเช่าทีด่ นิ และค่าใช้จา่ ยในการ บริหารงาน โดยในปี 2555 บริษทั ฯ มีคา่ ใช้ จ่ายทีจ่ า่ ยให้กบั กิจการทีเ่ กีย่ วข้องกันจำ�นวน 605 ล้านบาท ความจำ�เป็นและสมเหตุสมผลของรายการ >> การเช่ า ที่ ดิ น จากกิ จ การที่ เ กี่ ย วข้ อ ง

กันโครงการของบริษัทฯ บางโครงการ มีการพัฒนาศูนย์การค้าขึ้นมาบนที่ดิน แปลงเดียวกันกับโครงการของบริษัท ในกลุ่มเซ็นทรัล โดยพิจารณาจากการ ส่งเสริมความได้เปรียบทางการตลาด และขนาดโครงการที่เหมาะสม ซึ่งการ พั ฒ นาโครงการขึ้ น มาบนที่ ดิ น แปลง เดียวกันนั้นจะดำ�เนินการโดยให้บริษัท ใดบริษัทหนึ่งเป็นผู้ซื้อหรือเช่าที่ดินทั้ง แปลงจากเจ้าของที่ดิน และนำ�ที่ดินให้ อี ก บริ ษั ท หนึ่ ง เช่ า หรื อ เช่ า ช่ ว งตาม สัดส่วนพื้นที่ที่ต้องการในราคาทุนบวก ดอกเบีย้ ทีเ่ กิดขึน้ จริง หรือในราคาตลาด ที่ประเมินโดยผู้ประเมินอิสระ โดยเป็น ไปตามกฎหมายและกฎระเบีย บของ สำ � นั ก ง า น ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร กำ � กั บ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ/หรือ หน่วยงานอื่นใดที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการจ่าย ค่าตอบแทนการเช่าที่ดินจะได้รับการ สอบทานและตรวจสอบจากผูส้ อบบัญชี ของบริษัทฯ เป็นประจำ�ทุกปี

>> การเช่ า พื้ น ที่ ใ นศู น ย์ ก ารค้ า ในบาง

โครงการที่บริษัทฯ มีการร่วมลงทุนกับ ห้างสรรพสินค้าในกลุม่ เซ็นทรัล อาคาร

จะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ อาคารศูนย์ การค้าและอาคารห้างสรรพสินค้า ซึง่ ใน บางกรณีบริษัทฯ จะเข้าไปเช่าพื้นที่ ขนาดใหญ่ จ ากส่ ว นอาคารห้ า งสรรพ สินค้าเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่ขาย โดย พิ จ ารณาจากผลตอบแทนที่ จ ะได้ รั บ เป็นรายได้คา่ เช่าและค่าบริการ เทียบกับ ต้นทุนค่าเช่าพืน้ ทีท่ บี่ ริษทั ฯ ต้องจ่ายให้ กับห้างสรรพสินค้าเป็นหลัก ซึง่ จะมีการ ตกลงค่ า ตอบแทนในการให้ เ ช่ า พื้ น ที่ ขนาดใหญ่ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ โครงการ โดยใช้หลักการเดียวกันกับ กรณีทบี่ ริษทั ฯ ให้เช่าพืน้ ทีข่ นาดใหญ่แก่ กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งค่าตอบแทน การเช่าพืน้ ทีใ่ หญ่จะได้รบั การสอบทาน และตรวจสอบจากผู้ ส อบบั ญ ชี ข อง บริษัทฯ เป็นประจำ�ทุกปี

>> การว่ า จ้ า งกิ จ การที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั น เป็ น

ที่ ป รึ ก ษาทางธุ ร กิ จ โดยการว่ า จ้ า ง ที่ปรึกษาทางธุรกิจ นั้น บริษัทฯ จะ พิ จ ารณาจากประสบการณ์ ใ นการ บริหารงานด้านการค้าปลีก และความ เข้าใจในลักษณะการประกอบธุรกิจและ กลยุทธ์ของบริษัทฯ เป็นสำ�คัญ โดย ผลตอบแทนทีบ่ ริษทั ฯ จ่ายให้แก่ทป่ี รึกษา ทางธุรกิจซึ่งเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน นัน้ เป็นอัตราค่าใช้จา่ ยทีเ่ กิดขึน้ จริงของ ผู้ให้บริการจัดสรรตามการให้บริการ

>> การทำ � ประกั น ภั ย กั บ บริ ษั ท ที่ เ กี่ ย ว

ข้องกัน ซึ่ ง มี ก ารกำ � หนดราคาและ เงื่ อ นไขตามราคาตลาด หรื อ ราคา เปรี ย บเที ย บจากการเสนอราคาของ นายหน้าประกันที่มีราคาและเงื่อนไข ทีเ่ ป็นประโยชน์กบั บริษทั ฯ มากทีส่ ดุ โดย เปรียบเทียบราคาย้อนหลังอย่างน้อย

2 ปี ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่มีผู้เสนอราคา เปรียบเทียบ บริษัทจะพิจารณาอนุมัติ ทำ � รายการในราคาเที ย บเคี ย งกั บ ปี ที่ ผ่านมา โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการทำ� ประกั น และสภาวะตลาดด้ า นการ ประกันในขณะนั้น

ลักษณะรายการค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้กับ กิจการและบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน 2.1 บริษทั ฯ เช่าทีด่ นิ จาก บริษทั ห้างเซ็นทรัล ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ จำ�กัด (“HCDS”) ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มเซ็นทรัลที่มีกลุ่ม จิราธิวัฒน์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เพื่อ เป็ น ที่ ตั้ ง ศู น ย์ ก ารค้ า ในโครงการ เซ็ น ทรั ล พลาซา รามอิ น ทรา และ โครงการเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า 2.2 บริษทั ฯ เช่าช่วงทีด่ นิ จาก บริษทั เซ็นทรัล พัทยา จำ�กัด บริษทั ย่อยของ บริษทั บิก๊ ซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำ�กัด (มหาชน) ที่มี กลุ่มจิราธิวัฒน์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (เจ้ า ของกรรมสิ ท ธิ์ ที่ ดิ น เป็ น บุ ค คล ธรรมดา) เพื่อเป็นที่ตั้งศูนย์การค้าใน โครงการเซ็นทรัล เซ็นเตอร์ พัทยา 2.3 บริษัทฯ เช่าพื้นที่ในอาคารบางส่วน ของ HCDS ซึ่ง เป็นบริษัทในกลุ่ม เซ็นทรัลที่มีกลุ่มจิราธิวัฒน์เป็นผู้ถือ หุน้ รายใหญ่ ในโครงการ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า และเซ็ น ทรั ล พลาซา พระราม 3 เพื่อนำ�พื้นที่มาพัฒนาเป็นพื้นที่ขาย เพิม่ เติมจากส่วนทีบ่ ริษทั ฯ เป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์หรือสิทธิการเช่าที่ดิน 2.4 บริษัทฯ เช่าช่วงที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในโครงการเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กับบริษทั เซ็นทรัลอินเตอร์พฒ ั นา จำ�กัด


154 | 155

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

(“CID”) ซึง่ เป็นบริษทั ทีม่ กี ลุม่ จิราธิวฒ ั น์ เป็ น ผู้ ถื อ หุ้ น รายใหญ่ (เจ้ า ของ กรรมสิ ท ธิ์ ที่ ดิ น คื อ การรถไฟแห่ ง ประเทศไทย) โดยเช่าช่วงเป็นระยะเวลา 20 ปี สัญญาสิ้นสุดวันที่ 18 ธันวาคม 2571 ค่าตอบแทนการเช่าช่วงทีบ่ ริษทั ฯ ต้องจ่ายให้แก่ CID ตลอดระยะเวลา การเช่ารวมเป็นเงินทั้งสิ้น 16,178.32 ล้ า นบาท ซึ่ ง รายการดั ง กล่ า วได้ รั บ การอนุมตั จิ ากผูถ้ อื หุน้ ทีไ่ ม่มสี ว่ นได้เสีย ในที่ ป ระชุ ม วิ ส ามั ญ ผู้ ถื อ หุ้ น ครั้ ง ที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2552

2.5 บริษทั ฯ ว่าจ้างให้ HCDS ซึง่ เป็นบริษทั ในกลุ่มเซ็นทรัลที่มีกลุ่มจิราธิวัฒน์ซึ่ง เป็นผูถ้ อื หุน้ รายใหญ่ เป็นผูบ้ ริหารและ ที่ปรึกษาในการบริหารงาน ตลอดจน การกำ�หนดนโยบายต่างๆ รวมถึงการ ให้ขอ้ แนะนำ�ทีเ่ ป็นประโยชน์ทางธุรกิจ แก่บริษัทฯ ทั้งนี้ กรรมการที่ไม่มีส่วน ได้เสียและคณะกรรมการตรวจสอบได้ พิ จ ารณาแล้ ว มี ค วามเห็ น ว่ า การให้ บริการของ HCDS เป็นประโยชน์ใน การดำ�เนินธุรกิจของบริษทั ฯ เนือ่ งจาก ประสบการณ์อันยาวนานและความรู้ ความเข้าใจในธุรกิจค้าปลีกเป็นอย่างดี ของ HCDS ประกอบกับ ราคาและ เงื่อนไขที่ HCDS เสนอเรียกเก็บค่า บริการมีความสมเหตุสมผล โดยราย ละเอี ย ดของรายการเป็ น ไปตาม ส า ร ส น เ ท ศ ที่ เ ปิ ด เ ผ ย ต่ อ ต ล า ด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553 2.6 โรงแรมเซ็นทาราอุดรธานี (เดิมชื่อ “โรงแรมเจริญศรีแกรนด์โฮเต็ล”) ซึ่ง บริ ษั ท ฯ ได้ ซื้ อ กิ จ การมาพร้ อ มกั บ

โครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี (เดิมชือ่ ”ศูนย์การค้าเจริญศรี พลาซา”) เมื่อปี 2552 บริษัทฯ ได้มี การว่าจ้าง บริษัท โรงแรมเซ็นทรัล พลาซา จำ�กัด (มหาชน) ซึง่ เป็นบริษทั ในกลุ่ม CHR ที่มีกลุ่มจิราธิวัฒน์เป็น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เป็นผู้บริห ารงาน โรงแรม โดยอัตราค่าบริหารงานทีเ่ รียก เก็บระหว่างกันเป็นไปตามราคาตลาด ที่มีเงื่อนไขการค้าทั่วไปเทียบเคียงได้ กับการทำ�รายการกับบุคคลอื่น

2.7 บริษัทฯ เช่าที่ดินในโครงการบางใหญ่ กั บ HCDS ซึ่ ง เป็ น บริ ษั ทในกลุ่ ม เซ็นทรัลที่มีกลุ่มจิราธิวัฒน์เป็นผู้ถือ หุ้นรายใหญ่ โดยเช่าเป็นระยะเวลา 30 ปี สัญญาสิน้ สุดวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2586 ค่าตอบแทนการเช่าและค่าเช่า รายปีทบี่ ริษทั ฯ ต้องจ่ายให้แก่ HCDS ตลอดระยะเวลาการเช่ารวมเป็นเงิน ทั้งสิ้น 5,099 ล้านบาท (ไม่รวมค่า ธรรมเนียมและภาษีอากรของหน่วย งานรัฐประมาณ 78 ล้านบาท) ซึ่ง รายการดังกล่าวได้รับการอนุมัติจาก ผู้ถือหุ้นที่ไม่มีส่วนได้เสียในที่ประชุม วิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2556 เมื่อ วันที่ 18 มกราคม 2556 2.8 บริษทั ฯ มีการซือ้ สินค้าและบริการจาก บริษทั ในกลุม่ เซ็นทรัล ได้แก่ กลุม่ CRC เช่น วัสดุและอุปกรณ์ส�ำ นักงานต่างๆ กลุม่ CHR เช่น บริการห้องพัก อาหาร และเครือ่ งดืม่ กลุม่ CRG เช่น อาหาร และเครื่องดื่ม และ กิจการอื่นๆ ที่มี บุคคลที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทฯ เป็น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการ ผู้บริหาร หรื อ ผู้ มี อำ � นาจควบคุ ม ซึ่ ง การทำ �

รายการระหว่างกันดังกล่าวเป็นไปเพือ่ สนับสนุนรายการปกติธรุ กิจของบริษทั ที่มีเงื่อนไขการค้าทั่วไปเทียบเคียงได้ กับการทำ�รายการกับบุคคลอื่น และ มี ก ารปฏิ บั ติ ต ามระเบี ย บการจั ด ซื้ อ จัดจ้างที่บริษัทฯ กำ�หนด โดยคำ�นึงถึง ประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ

2.9 บริ ษั ท ฯ ทำ � ประกั น ภั ย ศู น ย์ ก ารค้ า และอาคารสำ�นักงาน เพื่อคุ้มครอง ความเสี่ ย งภั ย อั น มี ส าเหตุ ม าจาก อุบัติเหตุ อุบัติภัย และภัยอื่นๆ และ มีการใช้บริการบริษัทนายหน้าประกัน ภัยกับบริษัท ซี จี โบรกเกอร์ จำ�กัด ซึ่งเป็นบริษัทที่มีกลุ่มจิราธิวัฒน์เป็น ผู้ถือหุ้นรายใหญ 3. การกู้ยืมและการให้กู้ยืมกับกิจการและ บุคคลที่เกี่ยวข้องกัน นโยบายการกู้ยืมและการให้กู้ยืมกับกิจการ และบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน รายการกู้ยืมและให้กู้ยืมทุกรายการจะต้อง อยู่ภายใต้นโยบายการกู้ยืมและการให้กู้ยืม กับกิจการหรือบุคคลทีเ่ กีย่ วข้องของบริษทั ฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ >> กรณีการกู้ยืมและการให้กู้ยืมแก่บริษัท

ย่อย (ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้น 99.99%)

บริษัทฯ มีนโยบายให้บริษัทย่อยกู้ยืม เงินจากบริษัทฯ ได้ ในกรณีที่มีความ ต้องการใช้เงิน ในขณะเดียวกันบริษัท ย่อยสามารถให้เงินกู้ยืมแก่บริษัทฯ ได้ หากบริ ษั ท ย่ อ ยมี เ งิ น สดคงเหลื อ เกิ น จากเงินทุนหมุนเวียนทีใ่ ช้ในการดำ�เนิน งานและบริษทั ฯ มีความต้องการใช้เงิน กู้จากบริษัทย่อย โดยจะเปิดเป็นบัญชี


เดินสะพัดระหว่างกัน และจัดทำ�ตั๋ว สั ญ ญาใช้ เ งิ น เป็ น หลั ก ฐานการกู้ ยื ม ระหว่างกัน โดยคิดอัตราดอกเบีย้ เท่ากับ อัตราดอกเบี้ยถัวเฉลี่ยของตราสารหนี้ ที่ อ อกโดยบริ ษั ท ฯ โดยผู้ อ นุ มั ติ รายการระหว่างกัน ได้แก่ ผูอ้ �ำ นวยการ ฝ่ายการเงิน รองกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี และกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ ตามลำ�ดับ

>> กรณีการกู้ยืมและการให้กู้ยืมแก่บริษัท

ร่ ว มค้ า (ซึ่ ง บริ ษั ท ถื อ หุ้ น ตั้ ง แต่ ร้ อ ยละ 50 แต่น้อยกว่า 99.99%)

บริษัทฯ มีนโยบายให้บริษัทร่วมค้าหา แหล่งเงินกู้ของตัวเอง เว้นแต่กรณีที่มี ความจำ�เป็นเร่งด่วนในการใช้เงิน บริษทั ร่วมค้าจะกูจ้ ากผูถ้ อื หุน้ ตามสัดส่วนการ ถือหุ้น โดยผ่านการอนุมัติรายการจาก รองกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่สายงานการ เงินและบัญชี กรรมการผู้จัดการใหญ่ และคณะกรรมการบริษัท ตามลำ�ดับ และมี ก ารจั ด ทำ � ตั๋ ว สั ญ ญาใช้ เ งิ น เป็ น หลักฐานในการกูย้ มื ระหว่างกัน โดยคิด อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ย เงินให้กู้ยืมแก่ลูกค้าชั้นดีของธนาคาร

>> กรณี ก ารกู้ ยื ม และการให้ กู้ ยื ม แก่ บ ริ ษั ท ร่ ว ม (ซึ่ ง บริ ษั ท ถื อ หุ้ น น้ อ ยกว่ า 50%

หรือกิจการและบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน)

บริษทั ฯ ไม่มนี โยบายทีจ่ ะให้บริษทั ร่วมซึง่ บริษทั ฯ ถือหุน้ ในสัดส่วนทีต่ �่ำ กว่า 50% หรือ กิจการและบุคคลที่เกี่ยวข้องกันกู้ยืมเงิน โดยภายใน 5 ปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ไม่มีการ ให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทที่มีการถือหุ้นในสัดส่วนที่ต่ำ�กว่า 50% รวมถึงกิจการและบุคคลที่ เกีย่ วข้องกัน ในขณะทีต่ ามระเบียบหากมีการให้บริษทั ร่วมกูย้ มื เงิน การอนุมตั ทิ �ำ รายการ จะต้องผ่านการอนุมตั จิ ากคณะกรรมการบริษทั และมีการจัดทำ�ตัว๋ สัญญาใช้เงินเป็นหลัก ฐานการกู้ยืมระหว่างกัน โดยคิดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมแก่ ลูกค้าชั้นดีของธนาคาร รายการกู้ยืมและให้กู้ยืมกับกิจการและบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน ประเภทรายการ ณ 31 ธันวาคม 2555

จำ�นวนเงิน

หมายเหตุ

3.1 เงินกู้ยืม 1) 1) เงินกู้ยืมจากบริษัทย่อย 2) เงินกู้ยืมจากบริษัทร่วมค้า

5,982 4

งบการเงินเฉพาะบริษัท งบการเงินรวม

3.2 เงินให้กู้ยืม 2) 1) เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย 2) เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทร่วมค้า

13,614 -

งบการเงินเฉพาะบริษัท งบการเงินรวม

หมายเหตุ : 1) เป็นการกู้ยืมประเภทไม่มีหลักประกัน และมีกำ�หนดชำ�ระคืนเมื่อทวงถาม คิดดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ย ถัวเฉลี่ยของตราสารหนี้ ที่ออกโดยบริษัทฯ 2) เป็นการให้กู้ยืมประเภทไม่มีหลักประกัน (ยกเว้นเงินให้กู้ยืมแก่ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ขอนแก่น จำ�กัด ซึ่งเป็น บริษัทย่อยที่มีหลักประกันเป็นที่ดิน) และมีกำ�หนดชำ�ระคืนเมื่อทวงถาม คิดดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ย ถัวเฉลี่ยของตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทฯ


156 | 157

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

ขั้นตอนการอนุมัติท�ำ รายการ ที่เกี่ยวโยงกัน

4. การค้ำ�ประกันหนี้สินให้กับกิจการและบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน ความจำ�เป็นและความสมเหตุสมผลของรายการ บริษัทฯ มีนโยบายค้ำ�ประกันให้แก่บริษัทย่อย ตามสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทฯ แต่ไม่มี นโยบายวางหลักประกันเพือ่ ค้�ำ ประกันหนีส้ นิ ใดๆ ให้กบั บริษทั ย่อย บริษทั ฯ จะค้�ำ ประกัน ให้ในฐานะบริษทั แม่เท่านัน้ และมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการค้�ำ ประกันจากบริษทั นัน้ ๆ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 บริษัทฯ มีภาระการค้ำ�ประกันแก่บุคคลที่เกี่ยวโยงกัน อยู่ 3 ประเภท ดังต่อไปนี้ ประเภทภาระการค้ำ�ประกัน

จำ�นวนเงิน (ล้านบาท)

4.1 ภาระการค้ำ�ประกันเงินกู้ให้กับบริษัทย่อย >> กองทุนรวมธุรกิจไทย 5 >> บริษัท โรงแรมซีพีเอ็น พัทยา บีช จำ�กัด >> บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ชลบุรี จำ�กัด >> บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ไนน์ สแควร์ จำ�กัด

490 1,000 600 2,000

รวม

4,090

4.2 ภาระการค้ำ�ประกันวงเงินเบิกเกินบัญชีให้กับบริษัทย่อย 4.3 ภาระการค้ำ�ประกันวงเงินค้�ำ ประกันสาธารณูปโภค ของบริษัทย่อยกับธนาคารพาณิชย์ไทย หมายเหตุ : 1) ณ 31 ธันวาคม 2555 ไม่มีภาระหนี้วงเงินเบิกเกินบัญชี

141) 232

การทำ � ธุ ร กรรมกั บ กิ จ การหรื อ บุ ค คลที่ เกีย่ วข้องกับบริษทั ฯ นัน้ จะต้องผ่านขัน้ ตอน การอนุมัติตามระเบียบวิธีการปฏิบัติงาน ของบริษัทฯ เช่นเดียวกับการทำ�ธุรกรรม ปกติ โดยผ่านการพิจารณาจากผู้มีอ�ำ นาจ ตามสายงานที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้องใน เรื่องนั้น โดยผู้รับผิดชอบและผู้ที่เกี่ยวข้อง กับการทำ�รายการจะต้องทำ�หน้าทีพ่ จิ ารณา ว่าการทำ�รายการมีความสมเหตุสมผลและ เป็นไปตามปกติธรุ กิจ โดยคำ�นึงถึงประโยชน์ ของบริษทั และผูถ้ อื หุน้ เสมือนเป็นรายการ ที่กระทำ�กับบุคคลภายนอก และการทำ� ธุรกรรมเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้การอนุมัติการทำ�ธุรกรรมกับกิจการ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ เป็นไป ด้ ว ยความโปร่ ง ใสและเป็ น ไปตามกฎ ระเบี ย บ ข้ อ บั ง คั บ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง บริ ษั ท ฯ กำ�หนดให้รายการปกติธุรกิจและรายการ สนั บ สนุ น ธุ ร กิ จ ปกติ ที่ มี ก ารดำ � เนิ น การ ตามเงื่อนไขการค้าทั่วไปที่คณะกรรมการ กำ�หนด อยู่ในอำ�นาจของฝ่ายจัดการใน การพิจารณารายการ โดยให้เป็นไปตาม ระเบี ย บขั้ น ตอนการอนุ มั ติ ข องบริ ษั ท ฯ ส่วนรายการประเภทอืน่ ๆ จะพิจารณาจาก ประเภทและขนาดของรายการ โดยมีส�ำ นัก เลขานุ ก ารบริ ษั ท ช่ ว ยกำ � กั บ ดู แ ลให้ มี ก าร ปฏิบัติตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย และมีการรวบรวมและสรุป รายการทีเ่ กีย่ วโยงกันให้คณะกรรมการตรวจ สอบรับทราบเป็นระยะๆ โดยบริษัทฯ ได้ มีการออกประกาศว่าด้วยเรื่อง “นโยบาย การทำ�รายการที่เกี่ยวโยงกัน” และมีการ สื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายนำ�ไปปฏิบัติ


ทั้งนี้ กรรมการและผู้บริหารจะต้องลงนาม รับรองทุกๆ สิ้นปีว่าในปีที่ผ่านมาไม่มีการ ทำ�รายการทีม่ คี วามขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือหากมีก็ได้ดำ�เนินการตามข้อกำ�หนด ของตลาดหลักทรัพย์ฯ เรียบร้อยแล้ว โดยการ ทำ�ธุรกรรมกับกิจการหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง กับบริษทั ฯ จะถูกตรวจสอบจากสำ�นักตรวจ สอบภายในของบริษัทฯ และผู้สอบบัญชี เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทฯ ได้ปฏิบัติตาม กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง นโยบายหรือแนวโน้มการทำ�รายการ ระหว่างกันในอนาคต เนื่ อ งจากการทำ � ธุ ร กรรมกั บ กิ จ การหรื อ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ เป็นรายการ ค้าที่เกิดขึ้นตามปกติธุรกิจ ดังนั้น การทำ� ธุรกรรมกับกิจการหรือบุคคลทีเ่ กีย่ วข้องกัน จึงมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง ในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิง่ รายการเกีย่ ว กับการพัฒนาศูนย์การค้าร่วมกับบริษัทใน กลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งเป็นจุดแข็งที่ช่วยส่งเสริม ให้การดำ�เนินธุรกิจของบริษัทฯ ประสบ ความสำ � เร็ จ และเป็ น ผู้ นำ �ในตลาดตั้ ง แต่ อดี ต จนถึ ง ปั จ จุ บั น ทั้ ง นี้ นโยบายหรื อ แนวโน้มการทำ�รายการระหว่างกันยังคง ยึ ด หลั ก การเช่ น เดี ย วกั บ ปี ที่ ผ่ า นมาคื อ ปฏิบัติตามเงื่อนไขการค้าทั่วไปและยึดถือ ประโยชน์ของบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นเป็น สำ�คัญ ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติ เงื่ อ นไข การค้ า ทั่ วไปในการทำ � ธุ ร กรรม ระหว่างบริษัทและบริษัทย่อยกับบุคคลที่ เกี่ ย วโยงกั น ไว้ อ ย่ า งชั ด เจน เพื่ อ ความ โปร่ งใสในการประกอบธุ ร กิ จ และเป็ น แนวทางปฏิบัติให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1. การพัฒนาโครงการศูนย์การค้าร่วมกับ บริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล *** เป็นหลักการที่เปิดเผยและถือปฏิบัติ ตั้งแต่บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์ฯ เมื่อปี 2538 *** การพัฒนาโครงการศูนย์การค้าให้ครบวงจร จำ�เป็นต้องมีองค์ประกอบที่จะช่วยส่งเสริม ให้ธุรกิจของบริษัทฯ มีความแข็งแกร่งมาก ขึน้ ซึง่ บริษทั ในกลุม่ เซ็นทรัลมีการประกอบ ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับบริษัทฯ ได้แก่ ธุรกิจ ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจค้าปลีกต่างๆ และ ธุรกิจโรงแรม เป็นต้น โดยบริษัทในกลุ่ม เซ็นทรัลมีประสบการณ์ในธุรกิจมายาวนาน และมีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง ซึ่งจะช่วยเพิ่ม ความน่าเชื่อถือของโครงการ ส่งผลให้การ ประกอบธุรกิจของบริษทั ฯ มีความแข็งแกร่ง มากขึ้น เป็นการเพิ่มมูลค่าแก่บริษัทฯ และ ผู้ถือหุ้นโดยรวม ทั้งนี้ การพัฒนาโครงการ ศูนย์การค้าร่วมกับบริษทั ในกลุม่ เซ็นทรัล มี ลักษณะดังนี้ 1.1 การ ซื้อ/ขาย หรือ เช่า/ให้เช่าที่ดิน หลักการ : บริษัทฯ หรือบริษัทในกลุ่ม เซ็นทรัล ซื้อหรือเช่าที่ดินจากบุคคล ภายนอก เพื่อนำ�มาพัฒนาโครงการ ศูนย์การค้าร่วมกับธุรกิจของบริษัทใน กลุม่ เซ็นทรัล โดยให้บริษทั ใดบริษทั หนึง่ ซื้อหรือเช่าที่ดินทั้งแปลงจากเจ้าของ ที่ดิน เมื่อออกแบบโครงการแล้วเสร็จ บริษัทที่เป็นผู้ซื้อหรือเช่าที่ดินจะขาย หรือให้เช่าที่ดินให้อีกบริษัทหนึ่ง ตาม สั ด ส่ ว นพื้ น ที่ ที่ แ ต่ ล ะบริ ษั ทใช้ พั ฒ นา โครงการของตนเอง (ต่ า งฝ่ า ยต่ า ง รับผิดชอบค่าที่ดินในส่วนของตนเอง)

การกำ�หนดราคาและเงื่อนไข : ราคา ทุนบวกต้นทุนของเงินลงทุน 1.2 การก่ อ สร้ า งอาคารศู น ย์ ก ารค้ า กั บ อาคารห้างสรรพสินค้า หรือ BU ต่างๆ หลั ก การ : แต่ ล ะฝ่ า ยเป็ น เจ้ า ของ กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่อาคารของตน ตั้งอยู่ ดังนั้น ต่างฝ่ายต่างรับผิดชอบ ค่าก่อสร้างอาคารในส่วนของตนเอง ด้วย การกำ�หนดราคาและเงื่อนไข : ต้นทุน ที่ เ กิ ด ขึ้ น จริ ง โดยมี วิ ศ วกรที่ ป รึ ก ษา โครงการอิสระเป็นผูค้ �ำ นวณค่าก่อสร้าง และงานระบบให้ เ ป็ นไปตามสั ด ส่ ว น พื้นที่ใช้งานจริงอย่างยุติธรรม 1.3 การก่ อ สร้ า งพื้ น ที่ ร่ ว ม ได้ แ ก่ อาคาร จอดรถ และพื้ น ที่ ร อบนอกอาคาร ศูนย์การค้า (Landscape) หลักการ : >> บริษัทฯ เป็นเจ้าของสิทธิอาคาร

ที่ จ อดรถ และพื้ น ที่ ร อบนอก อาคารศูนย์การค้า โดยบริษทั ฯ จะ รั บ ผิ ด ชอบต้ น ทุ น พื้ น ที่ ส่ ว นร่ ว ม ทั้งหมด โดยถือเป็นการบริการให้ แก่ลูกค้าที่มาเช่าพื้นที่ศูนย์การค้า

>> ห้างสรรพสินค้า หรือ BU ต่างๆ

จะช่ ว ยออกค่ า ก่ อ สร้ า งตามแนว ทางปฏิบัติดังนี้

1) อาคารทีจ่ อดรถ : ช่วยออกค่า ก่อสร้างไม่นอ้ ยกว่ากึง่ หนึง่ ของ ค่าก่อสร้างในส่วนที่ห้างสรรพ สินค้า และ BU ต่างๆ ต้องจัด ให้มีตามกฎหมาย


158 | 159

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

2). พืน้ ทีร่ ว่ ม : ช่วยออกค่าก่อสร้าง ตามสัดส่วนของพื้นที่ทั้งหมด (Gross Area) การกำ�หนดราคาและเงือ่ นไข : ต้นทุน ที่เกิดขึ้นจริง โดยมีวิศวกรที่ปรึกษา โครงการอิสระเป็นผูค้ �ำ นวณค่าก่อสร้าง ให้เป็นไปตามสัดส่วนพื้นที่ใช้งานจริง อย่างยุติธรรม 1.4 ก า ร เ ช่ า ห รื อ ใ ห้ เ ช่ า พื้ น ที่ ใ ห ญ่ ใ น โครงการศูนย์การค้า หลักการ : บริษัทฯ อาจมีการเช่าหรือ ให้ เ ช่ า พื้ น ที่ ใ หญ่ กั บ ห้ า งสรรพสิ น ค้ า หรือ BU ต่างๆ ซึ่งจะมีการตกลงค่า ตอบแทนในการให้เช่าพืน้ ทีข่ นาดใหญ่ ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบโครงการ การกำ�หนดราคาและเงือ่ นไข : ต้นทุน ค่าที่ดินและค่าก่อสร้าง รวมต้นทุน ของเงินลงทุน และค่าใช้จ่ายในการ ดำ�เนินงาน 2. การคิดค่าเช่าพื้นที่ ค่าบริการร่วม และค่าสาธารณูปโภค หลักการ : การคิดราคาค่าเช่าพื้นที่ระยะ สั้น หรือค่าเช่าพื้นที่ระยะยาว การคิดค่า บริการร่วม และค่าสาธารณูปโภค จากร้าน ค้าทีเ่ ป็นของกลุม่ เซ็นทรัลหรือบุคคลทีเ่ กีย่ ว โยงที่มาเช่าพื้นที่ศูนย์การค้า หรือพื้นที่เช่า ในการประกอบธุรกิจอื่นๆ ของบริษัทฯ จะกำ�หนดราคาโดยใช้หลักการเทียบเคียง กับการกำ�หนดราคาพื้นที่สำ�หรับลูกค้าชั้น ดี โดยพิจารณาถึงทำ�เลที่ตั้ง ขนาดพื้นที่ รูปแบบการเช่า ระยะเวลาการเช่า ประเภท ของการเช่า ประโยชน์ที่บริษัทฯ จะได้รับ

นอกจากราคาค่าเช่า ค่าบริการร่วม และ ค่าสาธารณูปโภค ศักยภาพในการประกอบ ธุรกิจ ตลอดจนประสบการณ์และความ สำ�เร็จในการประกอบธุรกิจร่วมกันในอดีต จนถึงปัจจุบัน การกำ�หนดราคาและเงื่อนไข : กำ�หนด ราคาโดยใช้ ห ลั ก การเที ย บเคี ย งกั บ การ กำ�หนดราคาพื้นที่สำ�หรับลูกค้าชั้นดี “ลูกค้าชั้นดี” หมายถึง ลูกค้าที่มีศักยภาพ สู ง ซึ่ ง มี ก ารเช่ า พื้ น ที่ จำ � นวนมาก หรื อ มี การเช่าพื้นที่ในหลายโครงการ และมีส่วน สนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อมให้การ ดำ � เนิ น ธุ ร กิ จ ของบริ ษั ท ฯ ประสบความ สำ�เร็จ เนื่องด้วยกลุ่มเซ็นทรัลมีการประกอบธุรกิจ ที่เกี่ยวเนื่องกับบริษัทหลากหลายประเภท และอาจมีการทำ�รายการระหว่างกัน ซึ่ง ตลอดระยะเวลาการดำ�เนินงานตัง้ แต่กอ่ ตัง้ บริษทั ฯ กลุม่ เซ็นทรัลเป็นพันธมิตรทางการ ค้าที่มีศักยภาพ ช่วยสนับสนุนต่อความ สำ�เร็จในการประกอบธุรกิจของบริษทั ฯ มา ยาวนาน ดังนั้น บริษัทฯ จึงยังคงมีการทำ� รายการระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง โดยใน การพิจารณาเกีย่ วกับเรือ่ งราคาและเงือ่ นไข บริษทั ฯ ยังคงคำ�นึงถึงประโยชน์ของบริษทั ฯ เป็นสำ�คัญ 3. การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการดำ�เนินงาน “ค่าใช้จา่ ยในการดำ�เนินงาน” ได้แก่ ค่าเบีย้ ประกัน ภัย ค่าภาษีโรงเรือน ค่าใช้จ่าย ส่งเสริมการขาย ค่าธรรมเนียมค้ำ�ประกัน และค่าบริการต่างๆ ที่เรียกเก็บจากผู้เช่า พื้นที่

หลั ก การ : ในการดำ � เนิ น การบริ ห าร สินทรัพย์จะมีค่าใช้จ่ายในการดำ�เนินงาน เกิดขึน้ ซึง่ โดยปกติธรุ กิจบริษทั ฯ จะเรียกเก็บ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้โดยคำ�นวณจาก ต้นทุน ที่เกิดขึ้นจริงในการดำ�เนินงานของบริษัทฯ ทั้งนี้ อัตราที่เรียกเก็บจะขึ้นอยู่กับประเภท ของการเช่า และลักษณะการเช่าพื้นที่ซึ่ง อัตราที่เรียกเก็บเป็นมาตรฐานเดียวกันกับ ลูกค้าทั่วไป การกำ�หนดราคาและเงื่อนไข : ต้นทุนที่ เกิดขึ้นจริง 4. การทำ�ประกันภัย / ประกันสุขภาพกลุ่ม หลักการ : ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและจำ�เป็น ต่ อ การเสนอราคาอย่ า งครบถ้ ว นและ เท่าเทียมกันแก่นายหน้าประกันแต่ละราย โดยมีคณะกรรมการเป็นผูพ้ จิ ารณาคัดเลือก บริษัทนายหน้าประกัน ซึ่งในขั้นตอนการ พิจารณาคัดเลือกจะต้องไม่มีกรรมการหรือ ผู้บริหารของบริษัทที่มีส่วนได้เสียและเป็น บุคคลที่เกี่ยวข้องกันเข้าร่วมพิจารณา การกำ�หนดราคาและเงื่อนไข : ราคาตลาด หรือราคาเปรียบเทียบจากการเสนอราคา ของนายหน้าประกันที่มีราคาและเงื่อนไข ที่เป็นประโยชน์กับบริษัทฯ มากที่สุด โดย เปรียบเทียบราคาย้อนหลังอย่างน้อย 2 ปี ทัง้ นี้ ในกรณีทไี่ ม่มผี เู้ สนอราคาเปรียบเทียบ บริษัทฯ จะต้องพิจารณาอนุมัติทำ�รายการ ในราคาเทียบเคียงกับปีทผี่ า่ นมา โดยขึน้ อยู่


กับเงื่อนไขการทำ�ประกันและสภาวะตลาด ด้านการประกันในขณะนั้น 5. การจัดซื้อ-จัดจ้าง “การจั ด ซื้ อ ” หมายถึ ง การจั ด ซื้ อ วั ส ดุ เครื่องมือเครื่องใช้หรือสินค้า รวมทั้งการ เช่าและเช่าซื้อ “การจัดจ้าง” หมายถึง การว่าจ้างผู้ขาย ผูผ้ ลิต ผูร้ บั เหมาหรือผูจ้ ดั ทำ� ดำ�เนินการผลิต จัดทำ� จัดการ จัดประกอบหรือก่อสร้าง ตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นเป็นชิ้นงาน รวม ทัง้ การให้บริการต่างๆ การจ้างเหมาบริการ และการขนส่ง ทั้งนี้ให้หมายความรวมถึงการจัดซื้อพัสดุ หรือจัดจ้างผูร้ บั เหมาเข้าก่อสร้างอาคารและ ติดตั้งอุปกรณ์ส่วนควบ สำ�หรับงานบริหาร โครงการก่อสร้างด้วย หลั ก การ : ปฏิ บั ติ ต ามระเบี ย บและวิ ธี การจัดซื้อ-จัดจ้างของบริษัทฯ ซึ่งในการ พิจารณาคัดเลือกผู้ขาย หรือผู้รับเหมา จะ ดำ�เนินการตามระเบียบดังกล่าวด้วยความ โปร่งใสและเป็นธรรม ตามนโยบายการจัด ซื้อ-จัดจ้างที่กำ�หนดไว้ โดยในขั้นตอนการ พิจารณาคัดเลือกจะต้องไม่มีกรรมการหรือ ผู้บริหารของบริษัทที่มีส่วนได้เสียและเป็น บุคคลที่เกี่ยวข้องกันเข้าร่วมพิจารณา การกำ�หนดราคาและเงื่อนไข : ราคาตลาด หรือราคาเปรียบเทียบจากการเสนอราคา ของผูเ้ สนอราคาทีม่ รี าคาและเงือ่ นไขทีเ่ ป็น ประโยชน์กับบริษัทฯ มากที่สุด


ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช


รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ต่อรายงานทางการเงิน คณะกรรมการบริษทั เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) เป็นผู้รับผิดชอบต่องบการเงิน รวมของ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และสารสนเทศ ทางการเงินที่ปรากฎในรายงานประจำ�ปี ซึ่ ง งบการเงิ น ดั ง กล่ า วจั ด ทำ � ขึ้ น ตาม มาตรฐานการบั ญ ชี ที่ รั บ รองทั่ วไป โดย เลือกใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสมและถือ ปฏิบัติอย่างสม่ำ�เสมอ และใช้ดุลยพินิจ อย่างระมัดระวังและประมาณการที่ดีที่สุด ในการจัดทำ� รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูล สำ�คัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบ งบการเงิน คณะกรรมการได้ จั ดให้ มี แ ละดำ � รงรั ก ษา ไว้ซึ่งระบบควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล เพื่อให้มั่นใจได้อย่างมีเหตุผลว่าการบันทึก ข้อมูลทางบัญชีมีความถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอที่จะดำ�รงรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สิน และเพื่อให้ทราบจุดอ่อนเพื่อป้องกันไม่ให้ เกิดการทุจริตหรือการดำ�เนินการที่ผิดปกติ อย่างมีสาระสำ�คัญ

ในการนี้ คณะกรรมการบริษัท เซ็นทรัล พัฒนา จำ�กัด (มหาชน) ได้แต่งตั้งคณะ กรรมการตรวจสอบ ซึ่ ง ประกอบด้ ว ย กรรมการที่ ไ ม่ เ ป็ น ผู้ บ ริ ห ารเป็ น ผู้ ดู แ ล รั บ ผิ ด ชอบเกี่ ย วกั บ คุ ณ ภาพของรายงาน ทางการเงินและระบบควบคุมภายใน และ ความเห็ น ของคณะกรรมการตรวจสอบ เกี่ยวกับเรื่องนี้ปรากฎในรายงานของคณะ กรรมการตรวจสอบแล้ว คณะกรรมการมีความเห็นว่าระบบควบคุม ภายในของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) โดยรวมอยู่ในระดับที่น่าพอใจ และสามารถสร้ า งความเชื่ อ มั่ น อย่ า งมี เหตุผลต่อความเชื่อถือได้ของงบการเงิน รวมของบริ ษั ท เซ็ น ทรั ล พั ฒ นา จำ � กั ด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555

นายสุทธิชัย จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการ

นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่


162 | 163

CPN รายงานประจําป 2555

รายงานของผู สอบบัญชีรับอนุญาต àÊ¹Í ¼Ù¶Œ Í× ËعŒ ºÃÔÉ·Ñ à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) ¢Œ Ò ¾à¨Œ Ò ä´Œ μ ÃǨÊͺ§º¡ÒÃà§Ô ¹ ÃÇÁáÅÐ §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡ÒâͧºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅ ¾Ñ²¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) áÅкÃÔÉѷ‹ÍÂáÅÐ ¢Í§à©¾ÒкÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) μÒÁÅí Ò ´Ñ º «Öè § »ÃСͺ´Œ Ç Â §ºáÊ´§°Ò¹Ð¡ÒÃà§Ô ¹ ÃÇÁáÅЧºáÊ´§ °Ò¹Ð¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 §º¡í Ò äâҴ·Ø ¹ àºç ´ àÊÃç ¨ ÃÇÁáÅÐ §º¡íÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨à©¾ÒСԨ¡Òà §ºáÊ´§ ¡ÒÃà»ÅÕè¹á»Å§Ê‹Ç¹¢Í§¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ÃÇÁáÅÐ §ºáÊ´§¡ÒÃà»ÅÕè¹á»Å§Ê‹Ç¹¢Í§¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ ੾ÒСԨ¡Òà áÅЧº¡ÃÐáÊà§Ô¹Ê´ÃÇÁáÅÐ §º¡ÃÐáÊà§Ô¹Ê´à©¾ÒСԨ¡Òà ÊíÒËÃѺ»‚ʹÔé ÊØ´ Çѹà´ÕÂǡѹ ÃÇÁ¶Ö§ËÁÒÂàËμØÊÃØ»¹âºÒ ¡ÒúÑÞªÕ·ÕèÊíÒ¤ÑÞáÅÐËÁÒÂàËμØàÃ×èͧÍ×è¹æ ¤ÇÒÁÃѺ¼Ô´ªÍº¢Í§¼ÙºŒ ÃÔËÒÃμ‹Í§º¡ÒÃà§Ô¹ ÃÇÁáÅЧº¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà ¼ÙŒºÃÔËÒÃ໚¹¼ÙŒÃѺ¼Ô´ªÍºã¹¡ÒèѴ·íÒáÅÐ ¡ÒùíÒàʹͧº¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁáÅЧº¡ÒÃà§Ô¹ ੾ÒСԨ¡ÒÃàËÅ‹Ò¹Õéâ´Â¶Ù¡μŒÍ§μÒÁ·Õè¤Çà μÒÁÁÒμðҹ¡ÒÃÃÒ§ҹ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ áÅÐ ÃÑ º ¼Ô ´ ªÍºà¡Õè Â Ç¡Ñ º ¡ÒäǺ¤Ø Á ÀÒÂã¹·Õè ¼ÙŒºÃÔËÒþԨÒóÒÇ‹Ò¨íÒ໚¹à¾×èÍãËŒÊÒÁÒö ¨Ñ´·íÒ§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁáÅЧº¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒÐ ¡Ô¨¡Ò÷Õè»ÃÒȨҡ¡ÒÃáÊ´§¢ŒÍÁÙÅ·Õè¢Ñ´μ‹Í ¢ŒÍà·ç¨¨ÃÔ§Íѹ໚¹ÊÒÃÐÊíÒ¤ÑÞäÁ‹Ç‹Ò¨Ðà¡Ô´ ¨Ò¡¡Ò÷بÃÔμËÃ×Í¢ŒÍ¼Ô´¾ÅÒ´

ºÃÔÉÑ· ाÕàÍçÁ¨Õ ÀÙÁÔäªÂ ÊͺºÑÞªÕ ¨íÒ¡Ñ´ ¡Ãا෾ÁËÒ¹¤Ã 22 ¡ØÁÀҾѹ¸ 2556

¤ÇÒÁÃѺ¼Ô´ªÍº¢Í§¼ÙŒÊͺºÑÞªÕ ¢ŒÒ¾à¨ŒÒ໚¹¼ÙÃŒ ºÑ ¼Ô´ªÍºã¹¡ÒÃáÊ´§¤ÇÒÁàËç¹ μ‹Í§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁáÅЧº¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà ´Ñ§¡Å‹ÒǨҡ¼Å¡ÒÃμÃǨÊͺ¢Í§¢ŒÒ¾à¨ŒÒ ¢ŒÒ¾à¨ŒÒä´Œ»¯ÔºμÑ §Ô Ò¹μÃǨÊͺμÒÁÁÒμðҹ ¡ÒÃÊͺºÑÞªÕ «Ö§è ¡íÒ˹´ãËŒ¢ÒŒ ¾à¨ŒÒ»¯ÔºμÑ μÔ ÒÁ ¢ŒÍ¡íÒ˹´´ŒÒ¹¨ÃÃÂÒºÃó ÃÇÁ¶Ö§ÇҧἹ áÅл¯Ô ºÑ μÔ § Ò¹μÃǨÊͺà¾×è ÍãËŒ ä ´Œ ¤ ÇÒÁ àª×èÍÁÑè¹Í‹ҧÊÁàËμØÊÁ¼ÅÇ‹Ò§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ áÅЧº¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡ÒûÃÒȨҡ¡Òà áÊ´§¢ŒÍÁÙÅ·Õè¢Ñ´μ‹Í¢ŒÍà·ç¨¨ÃÔ§Íѹ໚¹ÊÒÃÐ ÊíÒ¤ÑÞËÃ×ÍäÁ‹ ¡ÒÃμÃǨÊͺÃÇÁ¶Ö§¡ÒÃ㪌ÇÔ¸Õ¡ÒÃμÃǨÊͺ à¾×è Í ãËŒ ä ´Œ Á Ò«Öè § ËÅÑ ¡ °Ò¹¡ÒÃÊͺºÑ Þ ªÕ à¡ÕèÂǡѺ¨íҹǹà§Ô¹áÅСÒÃà» ´à¼Â¢ŒÍÁÙŠ㹧º¡ÒÃà§Ô¹ ÇÔ¸Õ¡ÒÃμÃǨÊͺ·ÕèàÅ×͡㪌¢Öé¹ ÍÂÙ¡‹ ºÑ ´ØžԹ¨Ô ¢Í§¼ÙÊŒ ͺºÑÞªÕ «Ö§è ÃÇÁ¶Ö§¡Òà »ÃÐàÁÔ¹¤ÇÒÁàÊÕÂè §¨Ò¡¡ÒÃáÊ´§¢ŒÍÁÙÅ·Õ¢è ´Ñ μ‹Í ¢ŒÍà·ç¨¨ÃÔ§Íѹ໚¹ÊÒÃÐÊíÒ¤Ñޢͧ§º¡ÒÃà§Ô¹ äÁ‹Ç‹Ò¨Ðà¡Ô´¨Ò¡¡Ò÷بÃÔμËÃ×Í¢ŒÍ¼Ô´¾ÅÒ´ 㹡ÒûÃÐàÁÔ¹¤ÇÒÁàÊÕ觴ѧ¡Å‹ÒÇ ¼ÙŒÊͺ ºÑÞªÕ¾Ô¨ÒóҡÒäǺ¤ØÁÀÒÂã¹·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§ ¡Ñ º ¡ÒÃ¨Ñ ´ ·í Ò áÅСÒùí Ò àʹͧº¡ÒÃà§Ô ¹ â´Â¶Ù¡μŒÍ§μÒÁ·Õ¤è Çâͧ¡Ô¨¡Òà à¾×Íè Í͡Ẻ ÇÔ¸¡Õ ÒÃμÃǨÊͺ·Õàè ËÁÒÐÊÁ¡ÑºÊ¶Ò¹¡Òó áμ‹ äÁ‹ãª‹à¾×èÍÇÑμ¶Ø»ÃÐʧ¤ 㹡ÒÃáÊ´§¤ÇÒÁàËç¹ μ‹Í»ÃÐÊÔ·¸Ô¼Å¢Í§¡ÒäǺ¤ØÁÀÒÂ㹢ͧ

¡Ô¨¡Òà ¡ÒÃμÃǨÊͺÃÇÁ¶Ö§¡ÒûÃÐàÁÔ¹¤ÇÒÁ àËÁÒÐÊÁ¢Í§¹âºÒ¡ÒúÑÞªÕ·Õè¼ÙŒºÃÔËÒà 㪌áÅФÇÒÁÊÁàËμØÊÁ¼Å¢Í§»ÃÐÁÒ³¡Òà ·Ò§ºÑÞªÕ·Õè¨Ñ´·íÒ¢Öé¹â´Â¼ÙŒºÃÔËÒà ÃÇÁ·Ñ駡Òà »ÃÐàÁÔ¹¡ÒùíÒàʹͧº¡ÒÃà§Ô¹â´ÂÃÇÁ ¢Œ Ò ¾à¨Œ Ò àª×è Í Ç‹ Ò ËÅÑ ¡ °Ò¹¡ÒÃÊͺºÑ Þ ªÕ ·Õè ¢ŒÒ¾à¨ŒÒä´ŒÃѺà¾Õ§¾ÍáÅÐàËÁÒÐÊÁà¾×èÍ㪌 ໚¹à¡³± 㹡ÒÃáÊ´§¤ÇÒÁàË繢ͧ¢ŒÒ¾à¨ŒÒ ¤ÇÒÁàËç¹ ¢ŒÒ¾à¨ŒÒàËç¹Ç‹Ò §º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁáÅЧº¡ÒÃà§Ô¹ ੾ÒСԨ¡ÒâŒÒ§μŒ¹¹Õé áÊ´§°Ò¹Ð¡ÒÃà§Ô¹ ÃÇÁáÅаҹСÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡ÒâͧºÃÔÉ·Ñ à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) áÅкÃÔÉ·Ñ Â‹Í áÅТͧ੾ÒкÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) μÒÁÅíҴѺ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 ¼Å¡ÒôíÒà¹Ô¹§Ò¹ÃÇÁáÅмšÒôíÒà¹Ô¹§Ò¹ ੾ÒСԨ¡Òà áÅСÃÐáÊà§Ô¹Ê´ÃÇÁáÅÐ ¡ÃÐáÊà§Ô¹Ê´à©¾ÒСԨ¡Òà ÊíÒËÃѺ»‚ÊÔé¹ÊØ´ Çѹà´ÕÂǡѹ â´Â¶Ù¡μŒÍ§μÒÁ·Õè¤ÇÃã¹ÊÒÃÐ ÊíÒ¤ÑÞμÒÁÁÒμðҹ¡ÒÃÃÒ§ҹ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹

(¹ÒÂÇÔàªÕÂà ¸ÃÃÁμÃСÙÅ) ¼ÙŒÊͺºÑÞªÕÃѺ͹ØÞÒμ àÅ¢·ÐàºÕ¹ 3183


บ ริ ษั ท เ ซ็ น ท รั ล พั ฒ น า จํ า กั ด ( ม ห า ช น ) แ ล ะ บ ริ ษั ท ย อ ย ง บ ก า ร เ งิ น แ ล ะ ห ม า ย เ ห ตุ ป ร ะ ก อ บ ง บ ก า ร เ งิ น ÊíÒËÃѺ»‚ÊÔé¹ÊØ´Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555


164 | 165

CPN รายงานประจําป 2555

งบแสดงฐานะการเงิน ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) áÅкÃÔÉѷ‹Í ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 áÅÐ 2554

ËÁÒÂàËμØ

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554

(ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

ÊÔ¹·ÃѾ ÊÔ¹·ÃѾ ËÁعàÇÕ¹ à§Ô¹Ê´áÅÐÃÒ¡ÒÃà·Õº෋Òà§Ô¹Ê´ à§Ô¹Å§·Ø¹ªÑèǤÃÒÇ Å١˹Õé¡ÒäŒÒ Å١˹ÕéÍ×è¹ à§Ô¹ãËŒ¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÊÑé¹á¡‹¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ÃÇÁÊÔ¹·ÃѾ ËÁعàÇÕ¹

6 7 5, 8 5, 9 5

2,893,635,040 1,313,509,486 626,721,785 1,492,512,801 6,326,379,112

833,058,059 111,556,736 881,244,960 1,466,528,589 3,292,388,344

1,945,915,399 1,202,124,172 317,682,716 839,689,574 82,147,951 4,387,559,812

199,960,894 3,070,000 509,519,330 1,293,383,167 1,161,469,014 3,167,402,405

ÊÔ¹·ÃѾ äÁ‹ËÁعàÇÕ¹ à§Ô¹Å§·Ø¹ã¹ºÃÔÉѷ‹ÍÂáÅСͧ·Ø¹ÃÇÁ à§Ô¹Å§·Ø¹ã¹ºÃÔÉѷËÇÁ à§Ô¹Å§·Ø¹ÃÐÂÐÂÒÇá¡‹¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ à§Ô¹Å§·Ø¹ÃÐÂÐÂÒÇÍ×è¹ à§Ô¹ãËŒ¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÂÒÇá¡‹¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×èÍ¡ÒÃŧ·Ø¹ ·Õè´Ô¹ ÍÒ¤Òà áÅÐÍØ»¡Ã³ ÊÔ·¸Ô¡ÒÃàª‹Ò ÊÔ·¸Ô¡ÒÃ㪌ÊÔ¹·ÃѾ ÊÔ¹·ÃѾ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÍ¡ÒÃμÑ´ºÑÞªÕ ÊÔ¹·ÃѾ äÁ‹ËÁعàÇÕ¹Í×è¹ ÃÇÁÊÔ¹·ÃѾ äÁ‹ËÁعàÇÕ¹

4, 10 11 12 7 5 13 14 15 16 17 5, 18

3,308,789,223 2,242,670 46,341,877,719 2,463,434,325 10,037,383,775 181,003,202 1,304,239,431 318,469,509 63,957,439,854

2,714,169,875 2,242,050 40,742,772,653 2,423,240,406 13,477,545,678 156,792,365 948,028,472 301,985,134 60,766,776,633

21,652,099,928 5,544,768,726 1,000,000 13,531,654,885 9,447,170,262 364,807,918 5,068,260,639 527,680,455 210,174,252 56,347,617,065

21,680,083,928 4,446,170,726 1,000,000 14,599,734,495 7,325,441,109 331,075,203 5,307,521,662 418,372,632 161,244,049 54,270,643,804

70,283,818,966

64,059,164,977

60,735,176,877

57,438,046,209

ÃÇÁÊÔ¹·ÃѾÂ

ËÁÒÂàËμØ»ÃСͺ§º¡ÒÃà§Ô¹à»š¹Ê‹Ç¹Ë¹Ö觢ͧ§º¡ÒÃà§Ô¹¹Õé


งบแสดงฐานะการเงิน ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) áÅкÃÔÉѷ‹Í ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 áÅÐ 2554

ËÁÒÂàËμØ

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554

(ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

˹ÕéÊÔ¹áÅÐʋǹ¢Í§¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ ˹ÕéÊÔ¹ËÁعàÇÕ¹ ਌Ò˹Õé¡ÒäŒÒ¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ਌Ò˹ÕéÍ×è¹ à§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÊÑ鹨ҡºØ¤¤Å ËÃ×Í¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ʋǹ¢Í§à§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÂÒÇ ·Õè¶Ö§¡íÒ˹´ªíÒÃÐÀÒÂã¹Ë¹Ö觻‚ ʋǹ¢Í§à¨ŒÒ˹ÕéÊÔ·¸Ô¡ÒÃàª‹Ò ·Õè¶Ö§¡íÒ˹´ªíÒÃÐÀÒÂã¹Ë¹Ö觻‚ à§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÊÑé¹Í×è¹ Ê‹Ç¹¢Í§ÃÒÂä´Œ¤‹ÒઋÒáÅФ‹ÒºÃÔ¡ÒÃÃѺŋǧ˹ŒÒ ·Õè¶Ö§¡íÒ˹´ÃѺÃÙŒÀÒÂã¹Ë¹Ö觻‚ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œ¤ÒŒ §¨‹Ò ਌Ò˹Õé¼ÙŒÃѺàËÁÒ¡‹ÍÊÌҧ ÃÇÁ˹ÕéÊÔ¹ËÁعàÇÕ¹ ˹ÕéÊÔ¹äÁ‹ËÁعàÇÕ¹ à§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÂÒǨҡºØ¤¤Å ËÃ×Í¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ à§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÂÒÇÍ×è¹ à¨ŒÒ˹ÕéÊÔ·¸Ô¡ÒÃàª‹Ò Ë¹ÕéÊÔ¹ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÍ¡ÒÃμÑ´ºÑÞªÕ ÀÒÃм١¾Ñ¹¼Å»ÃÐ⪹ ¾¹Ñ¡§Ò¹ ÃÒÂä´Œ¤‹ÒઋÒáÅФ‹ÒºÃÔ¡ÒÃÃѺŋǧ˹ŒÒ à§Ô¹ÁÑ´¨íÒÃѺ¨Ò¡ÅÙ¡¤ŒÒ à§Ô¹¤éíÒ»ÃСѹÊÔ·¸Ô¡ÒÃàª‹Ò ÃÇÁ˹ÕéÊÔ¹äÁ‹ËÁعàÇÕ¹ ÃÇÁ˹ÕéÊÔ¹ ËÁÒÂàËμØ»ÃСͺ§º¡ÒÃà§Ô¹à»š¹Ê‹Ç¹Ë¹Ö觢ͧ§º¡ÒÃà§Ô¹¹Õé

5 5, 20

16,218,935 4,668,752,373

6,212,319 4,499,378,266

120,713,934 1,535,604,683

110,962,195 3,762,541,878

5, 19

3,944,703

3,815,441

2,603,183,605

1,128,800,298

19

6,621,066,200

6,479,917,200

5,804,220,000

5,600,040,000

5 19

219,292,248 -

426,171,727 500,000,000

219,292,248 -

426,171,727 500,000,000

315,687,144 326,442,136 2,320,257,394 14,491,661,133

292,122,572 315,041,898 2,832,830,633 15,355,490,056

118,299,758 138,135,786 784,635,181 11,324,085,195

113,908,826 80,558,385 575,354,279 12,298,337,588

18,943,698,000 921,438,722 127,976,428 4,717,556,256 4,502,246,962 679,267,221 29,892,183,589

18,264,764,200 219,292,248 1,030,884,865 110,267,656 4,731,512,060 3,890,619,901 8,156,688 28,255,497,618

3,378,903,293 14,845,690,000 579,616,657 112,149,918 670,667,832 1,261,066,611 446,287,130 21,294,381,441

3,349,684,726 13,649,910,000 219,292,248 649,008,161 96,040,364 627,979,925 1,105,965,774 5,812,380 19,703,693,578

44,383,844,722

43,610,987,674

32,618,466,636

32,002,031,166

5, 19 19 5 17 21 5


166 | 167

CPN รายงานประจําป 2555

งบแสดงฐานะการเงิน ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) áÅкÃÔÉѷ‹Í ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 áÅÐ 2554

ËÁÒÂàËμØ Ë¹ÕéÊÔ¹áÅÐʋǹ¢Í§¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ ʋǹ¢Í§¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ ·Ø¹àÃ×͹ËØŒ¹ ·Ø¹¨´·ÐàºÕ¹ ·Ø¹·ÕèÍÍ¡áÅЪíÒÃÐáÅŒÇ Ê‹Ç¹à¡Ô¹ÁÙŤ‹ÒËØŒ¹ÊÒÁÑÞ ¡íÒäÃÊÐÊÁ ¨Ñ´ÊÃÃ໚¹·Ø¹ÊíÒÃͧμÒÁ¡®ËÁÒ ÂѧäÁ‹ä´Œ¨Ñ´ÊÃà ͧ¤ »ÃСͺÍ×蹢ͧʋǹ¢Í§¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ ÃÇÁʋǹ¢Í§ºÃÔÉÑ·ãËÞ‹ ʋǹ䴌àÊÕ·ÕèäÁ‹ÁÕÍíÒ¹Ò¨¤Çº¤ØÁ ÃÇÁʋǹ¢Í§¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ ÃÇÁ˹ÕéÊÔ¹áÅÐʋǹ¢Í§¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹

ËÁÒÂàËμØ»ÃСͺ§º¡ÒÃà§Ô¹à»š¹Ê‹Ç¹Ë¹Ö觢ͧ§º¡ÒÃà§Ô¹¹Õé

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554

(ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

22 2,178,816,000 2,178,816,000 2,007,565,850 23 23

2,178,816,000 2,178,816,000 2,007,565,850

2,178,816,000 2,178,816,000 2,007,565,850

2,178,816,000 2,178,816,000 2,007,565,850

217,881,600 217,881,600 217,881,600 20,992,843,892 15,610,308,220 23,709,562,147 (45,677,191) (51,785,457) 2,884,644 25,351,430,151 19,962,786,213 28,116,710,241 548,544,093 485,391,090 25,899,974,244 20,448,177,303 28,116,710,241

217,881,600 21,029,706,949 2,044,644 25,436,015,043 25,436,015,043

70,283,818,966

57,438,046,209

64,059,164,977

60,735,176,877


งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) áÅкÃÔÉѷ‹Í ÊíÒËÃѺ»‚ÊÔé¹ÊØ´Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 áÅÐ 2554

ËÁÒÂàËμØ ÃÒÂä´Œ ÃÒÂä´Œ¨Ò¡¡ÒÃãˌઋÒáÅÐãËŒºÃÔ¡Òà ÃÒÂä´Œ¨Ò¡¡ÒâÒÂÍÒËÒÃáÅÐà¤Ã×èͧ´×èÁ ÃÒÂä´Œ¨Ò¡¡ÒûÃСͺ¡Ô¨¡ÒÃâçáÃÁ ÃÒÂä´Œ¨Ò¡¡ÒÃŧ·Ø¹ ¡íÒäèҡ¡ÒÃãˌઋÒÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒઋҡÒÃà§Ô¹ ÃÒÂä´ŒÍ×è¹ ÃÇÁÃÒÂä´Œ ¤‹Ò㪌¨‹ÒÂ μŒ¹·Ø¹¤‹ÒઋÒáÅФ‹ÒºÃÔ¡ÒÃ μŒ¹·Ø¹ÍÒËÒÃáÅÐà¤Ã×èͧ´×èÁ μŒ¹·Ø¹¨Ò¡¡ÒûÃСͺ¡Ô¨¡ÒÃâçáÃÁ ¤‹Ò㪌¨‹ÒÂ㹡ÒúÃÔËÒÃ μŒ¹·Ø¹·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ ÃÇÁ¤‹Ò㪌¨‹Ò ʋǹẋ§¡íÒäÃ㹺ÃÔÉѷËÇÁ ¡íÒäá‹Í¹ÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œ¨Ò¡¡ÒôíÒà¹Ô¹§Ò¹μ‹Íà¹×èͧ ÃÒÂä´Œ (¤‹Ò㪌¨‹ÒÂ) ÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œ ¡íÒäÃÊíÒËÃѺ»‚ ¡íÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨Í×è¹ ¼Åμ‹Ò§¨Ò¡ÍÑμÃÒáÅ¡à»ÅÕ蹨ҡ¡ÒÃá»Å§¤‹Ò ˹‹Ç§ҹμ‹Ò§»ÃÐà·È ¡ÒÃà»ÅÕè¹á»Å§ã¹ÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁÊØ·¸Ô ¢Í§à§Ô¹Å§·Ø¹à¼×èÍ¢Ò ¡íÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨Í×è¹ÊíÒËÃѺ»‚-ÊØ·¸Ô¨Ò¡ÀÒÉÕ ¡íÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨ÃÇÁÊíÒËÃѺ»‚

ËÁÒÂàËμØ»ÃСͺ§º¡ÒÃà§Ô¹à»š¹Ê‹Ç¹Ë¹Ö觢ͧ§º¡ÒÃà§Ô¹¹Õé

5 5

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554

(ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

15,324,819,664 725,178,202 711,775,339 77,803,880 1,775,836,332 925,550,128 19,540,963,545

10,853,186,856 632,055,887 465,487,450 47,847,220 1,001,987,143 13,000,564,556

6,187,912,674 3,403,647,180 900,234,263 10,491,794,117

3,729,644,366 1,677,540,681 721,453,283 6,128,638,330

8,555,586,249 608,775,094 269,038,489 2,740,927,148 1,057,395,440 13,231,722,420

7,050,228,517 541,348,043 191,869,660 2,410,124,016 874,265,603 11,067,835,839

3,843,698,045 1,781,115,463 1,136,981,111 6,761,794,619

2,508,058,189 1,500,442,132 905,659,604 4,914,159,925

11

584,247,771

497,549,722

-

-

31

6,893,488,896 (641,637,769) 6,251,851,127

2,430,278,439 (354,479,196) 2,075,799,243

3,729,999,498 (243,982,861) 3,486,016,637

1,214,478,405 69,256,843 1,283,735,248

2,369,689

(3,453,119)

-

-

3,738,577 6,108,266 6,257,959,393

2,786,943 (666,176) 2,075,133,067

840,000 840,000 3,486,856,637

130,000 130,000 1,283,865,248

5, 25 5, 35 5, 26

5 5 5, 27 5, 30


168 | 169

CPN รายงานประจําป 2555

งบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) áÅкÃÔÉѷ‹Í ÊíÒËÃѺ»‚ÊÔé¹ÊØ´Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 áÅÐ 2554

ËÁÒÂàËμØ

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554

(ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

¡ÒÃẋ§»˜¹¡íÒäÃʋǹ·Õè໚¹¢Í§ ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹¢Í§ºÃÔÉÑ·ãËÞ‹ ʋǹ䴌àÊÕ·ÕèäÁ‹ÁÕÍíÒ¹Ò¨¤Çº¤ØÁ ¡íÒäÃÊíÒËÃѺ»‚

6,188,698,124 63,153,003 6,251,851,127

2,058,123,354 17,675,889 2,075,799,243

3,486,016,637 3,486,016,637

1,283,735,248 1,283,735,248

¡ÒÃẋ§»˜¹¡íÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨ÃÇÁ·Õè໚¹¢Í§ ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹¢Í§ºÃÔÉÑ·ãËÞ‹ ʋǹ䴌àÊÕ·ÕèäÁ‹ÁÕÍíÒ¹Ò¨¤Çº¤ØÁ ¡íÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨ÃÇÁÊíÒËÃѺ»‚

6,194,806,390 63,153,003 6,257,959,393

2,057,457,178 17,675,889 2,075,133,067

3,486,856,637 3,486,856,637

1,283,865,248 1,283,865,248

2.84

0.94

1.60

0.59

¡íÒäÃμ‹ÍËØŒ¹¢Ñé¹¾×é¹°Ò¹

ËÁÒÂàËμØ»ÃСͺ§º¡ÒÃà§Ô¹à»š¹Ê‹Ç¹Ë¹Ö觢ͧ§º¡ÒÃà§Ô¹¹Õé

32


ʋǹà¡Ô¹ ÁÙŤ‹ÒËØŒ¹

ËÁÒÂàËμØ»ÃСͺ§º¡ÒÃà§Ô¹à»š¹Ê‹Ç¹Ë¹Ö觢ͧ§º¡ÒÃà§Ô¹¹Õé

ÂÍ´¤§àËÅ×Í ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2554 2,178,816,000 2,007,565,850 ÃÒ¡ÒáѺ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹·ÕèºÑ¹·Ö¡ â´ÂμçࢌÒʋǹ¢Í§¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ à§Ô¹·Ø¹·Õèä´ŒÃѺ¨Ò¡¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹áÅÐ ¡ÒèѴÊÃÃʋǹ·Ø¹ãËŒ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ à§Ô¹»˜¹¼ÅãËŒ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹¢Í§ºÃÔÉÑ· 33 ÃÇÁà§Ô¹·Ø¹·Õèä´ŒÃѺ¨Ò¡¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹áÅÐ ¡ÒèѴÊÃÃʋǹ·Ø¹ãËŒ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ ¡ÒÃà»ÅÕè¹á»Å§ã¹Ê‹Ç¹ä´ŒàÊÕ 㹺ÃÔÉѷ‹Í ¡ÒÃä´ŒÁÒ«Öè§Ê‹Ç¹ä´ŒàÊÕ·ÕèäÁ‹ÁÕÍíÒ¹Ò¨¤Çº¤ØÁ â´ÂÍíÒ¹Ò¨¤Çº¤ØÁäÁ‹à»ÅÕè¹á»Å§ 4 ÃÇÁ¡ÒÃà»ÅÕè¹á»Å§ã¹Ê‹Ç¹ä´ŒàÊÕ 㹺ÃÔÉѷ‹Í ÃÇÁÃÒ¡ÒáѺ¼ÙŒà»š¹à¨ŒÒ¢Í§·ÕèºÑ¹·Ö¡ â´ÂμçࢌÒʋǹ¢Í§¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ ¡íÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨ÊíÒËÃѺ»‚ ¡íÒäà ¡íÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨Í×è¹ ÃÇÁ¡íÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨ÊíÒËÃѺ»‚ ÂÍ´¤§àËÅ×Í ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 2,178,816,000 2,007,565,850

·Ø¹àÃ×͹ËØŒ¹ ·ÕèÍÍ¡áÅÐ ËÁÒÂàËμØ ªíÒÃÐáÅŒÇ

ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) áÅкÃÔÉѷ‹Í ÊíÒËÃѺ»‚ÊÔé¹ÊØ´Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554

ÂѧäÁ‹ä´Œ ¨Ñ´ÊÃÃ

(3,453,119) (3,453,119) (3,451,483)

(24,692,772) (24,692,772) (569,397,472)

-

- 2,058,123,354 - 2,058,123,354 217,881,600 15,610,308,220

-

-

-

(544,704,700)

-

-

(544,704,700)

1,636

6,037,801

2,786,943 2,786,943

-

-

-

-

-

3,250,858

(54,371,775)

-

-

-

-

-

-

(54,371,775)

(569,397,472)

(24,692,772)

(24,692,772)

(544,704,700)

(544,704,700)

(51,785,457) 19,962,786,213

- 2,058,123,354 (666,176) (666,176) (666,176) 2,057,457,178

-

-

-

-

-

(51,119,281) 18,474,726,507

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ ͧ¤ »ÃСͺÍ×蹢ͧʋǹ¢Í§¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ ¡íÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨Í×è¹ ¼Åμ‹Ò§¨Ò¡¡Òà ʋǹà¡Ô¹·Ø¹¨Ò¡ ÃÇÁ ¼Åμ‹Ò§¨Ò¡¡Òà à»ÅÕè¹á»Å§ã¹ ¡ÒÃÃÇÁ¸ØáԨ ͧ¤ »ÃСͺÍ×è¹ ÃÇÁʋǹ¢Í§ á»Å§¤‹Ò ÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁ¢Í§ ÀÒÂãμŒ¡Òà ¢Í§ ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ §º¡ÒÃà§Ô¹ à§Ô¹Å§·Ø¹à¼×èÍ¢Ò ¤Çº¤ØÁà´ÕÂǡѹ ʋǹ¢Í§¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ ¢Í§ºÃÔÉ·Ñ

-

217,881,600 14,121,582,338

·Ø¹ÊíÒÃͧ μÒÁ¡®ËÁÒÂ

¡íÒäÃÊÐÊÁ

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส วนของผู ถือหุ น

ÃÇÁʋǹ¢Í§ ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹

(544,704,700)

-

-

(544,704,700)

(544,704,700)

485,391,090 20,448,177,303

17,675,889 2,075,799,243 (666,176) 17,675,889 2,075,133,067

24,692,772

24,692,772

24,692,772

-

-

443,022,429 18,917,748,936

ʋǹ¢Í§ ʋǹ䴌àÊÕ ·ÕèäÁ‹ÁÕÍíÒ¹Ò¨ ¤Çº¤ØÁ

(ºÒ·)


33

ʋǹà¡Ô¹ ÁÙŤ‹ÒËØŒ¹

ÂѧäÁ‹ä´Œ ¨Ñ´ÊÃÃ

- 6,188,698,124 - 6,188,698,124 217,881,600 20,992,843,892

-

2,178,816,000 2,007,565,850

(806,162,452)

-

-

-

(806,162,452)

-

-

-

217,881,600 15,610,308,220

·Ø¹ÊíÒÃͧ μÒÁ¡®ËÁÒÂ

¡íÒäÃÊÐÊÁ

-

2,178,816,000 2,007,565,850

ËÁÒÂàËμØ»ÃСͺ§º¡ÒÃà§Ô¹à»š¹Ê‹Ç¹Ë¹Ö觢ͧ§º¡ÒÃà§Ô¹¹Õé

ÂÍ´¤§àËÅ×Í ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2555 ÃÒ¡ÒáѺ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹·ÕèºÑ¹·Ö¡ â´ÂμçࢌÒʋǹ¢Í§¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ à§Ô¹·Ø¹·Õèä´ŒÃѺ¨Ò¡¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹áÅÐ ¡ÒèѴÊÃÃʋǹ·Ø¹ãËŒ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ à§Ô¹»˜¹¼ÅãËŒ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹¢Í§ºÃÔÉÑ· ÃÇÁà§Ô¹·Ø¹·Õèä´ŒÃѺ¨Ò¡¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹áÅÐ ¡ÒèѴÊÃÃʋǹ·Ø¹ãËŒ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ ¡íÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨ÊíÒËÃѺ»‚ ¡íÒäà ¡íÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨Í×è¹ ÃÇÁ¡íÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨ÊíÒËÃѺ»‚ ÂÍ´¤§àËÅ×Í ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555

·Ø¹àÃ×͹ËØŒ¹ ·ÕèÍÍ¡áÅÐ ËÁÒÂàËμØ ªíÒÃÐáÅŒÇ

ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) áÅкÃÔÉѷ‹Í ÊíÒËÃѺ»‚ÊÔé¹ÊØ´Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส วนของผู ถือหุ น

(1,081,794)

2,369,689 2,369,689

-

-

(3,451,483)

9,776,378

3,738,577 3,738,577

-

-

6,037,801

(54,371,775)

-

-

-

(54,371,775)

(806,162,452)

(806,162,452)

(45,677,191) 25,351,430,151

- 6,188,698,124 6,108,266 6,108,266 6,108,266 6,194,806,390

-

-

(51,785,457) 19,962,786,213

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ ͧ¤ »ÃСͺÍ×蹢ͧʋǹ¢Í§¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ ¡íÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨Í×è¹ ¼Åμ‹Ò§¨Ò¡¡Òà ʋǹà¡Ô¹·Ø¹¨Ò¡ ÃÇÁ ¼Åμ‹Ò§¨Ò¡¡Òà à»ÅÕè¹á»Å§ã¹ ¡ÒÃÃÇÁ¸ØáԨ ͧ¤ »ÃСͺÍ×è¹ ÃÇÁʋǹ¢Í§ á»Å§¤‹Ò ÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁ¢Í§ ÀÒÂãμŒ¡Òà ¢Í§ ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ §º¡ÒÃà§Ô¹ à§Ô¹Å§·Ø¹à¼×èÍ¢Ò ¤Çº¤ØÁà´ÕÂǡѹ ʋǹ¢Í§¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ ¢Í§ºÃÔÉ·Ñ

ÃÇÁʋǹ¢Í§ ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹

(806,162,452)

(806,162,452)

548,544,093 25,899,974,244

63,153,003 6,251,851,127 6,108,266 63,153,003 6,257,959,393

-

-

485,391,090 20,448,177,303

ʋǹ¢Í§ ʋǹ䴌àÊÕ ·ÕèäÁ‹ÁÕÍíÒ¹Ò¨ ¤Çº¤ØÁ

(ºÒ·)

170 | 171

CPN รายงานประจําป 2555


ËÁÒÂàËμØ»ÃСͺ§º¡ÒÃà§Ô¹à»š¹Ê‹Ç¹Ë¹Ö觢ͧ§º¡ÒÃà§Ô¹¹Õé

ÂÍ´¤§àËÅ×Í ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2555 ÃÒ¡ÒáѺ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹·ÕèºÑ¹·Ö¡â´ÂμçࢌÒʋǹ¢Í§¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ à§Ô¹·Ø¹·Õèä´ŒÃѺ¨Ò¡¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹áÅСÒèѴÊÃÃʋǹ·Ø¹ãËŒ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ à§Ô¹»˜¹¼ÅãËŒ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹¢Í§ºÃÔÉÑ· ÃÇÁà§Ô¹·Ø¹·Õèä´ŒÃѺ¨Ò¡¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹áÅСÒèѴÊÃÃʋǹ·Ø¹ãËŒ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ ¡íÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨ÊíÒËÃѺ»‚ ¡íÒäà ¡íÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨Í×è¹ ÃÇÁ¡íÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨ÊíÒËÃѺ»‚ ÂÍ´¤§àËÅ×Í ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555

ÂÍ´¤§àËÅ×Í ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2554 ÃÒ¡ÒáѺ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹·ÕèºÑ¹·Ö¡â´ÂμçࢌÒʋǹ¢Í§¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ à§Ô¹·Ø¹·Õèä´ŒÃѺ¨Ò¡¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹áÅСÒèѴÊÃÃʋǹ·Ø¹ãËŒ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ à§Ô¹»˜¹¼ÅãËŒ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹¢Í§ºÃÔÉÑ· ÃÇÁà§Ô¹·Ø¹·Õèä´ŒÃѺ¨Ò¡¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹áÅСÒèѴÊÃÃʋǹ·Ø¹ãËŒ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ ¡íÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨ÊíÒËÃѺ»‚ ¡íÒäà ¡íÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨Í×è¹ ÃÇÁ¡íÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨ÊíÒËÃѺ»‚ ÂÍ´¤§àËÅ×Í ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554

ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) áÅкÃÔÉѷ‹Í ÊíÒËÃѺ»‚ÊÔé¹ÊØ´Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 áÅÐ 2554

33

33

ËÁÒÂàËμØ

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส วนของผู ถือหุ น

2,007,565,850

2,178,816,000

2,007,565,850

2,178,816,000

-

2,007,565,850

2,178,816,000

-

-

2,007,565,850

2,178,816,000

-

ʋǹà¡Ô¹ ÁÙŤ‹ÒËØŒ¹

·Ø¹àÃ×͹ËØŒ¹ ·ÕèÍÍ¡áÅÐ ªíÒÃÐáÅŒÇ

217,881,600

-

217,881,600

217,881,600

-

217,881,600

·Ø¹ÊíÒÃͧ μÒÁ¡®ËÁÒÂ

3,486,016,637 3,486,016,637 23,709,562,147

(806,161,439) (806,161,439)

21,029,706,949

1,283,735,248 1,283,735,248 21,029,706,949

(544,703,825) (544,703,825)

20,290,675,526

ÂѧäÁ‹ä´Œ ¨Ñ´ÊÃÃ

§º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà ¡íÒäÃÊÐÊÁ

840,000 840,000 2,884,644

-

2,044,644

130,000 130,000 2,044,644

-

1,914,644

3,486,016,637 840,000 3,486,856,637 28,116,710,241

(806,161,439) (806,161,439)

25,436,015,043

1,283,735,248 130,000 1,283,865,248 25,436,015,043

(544,703,825) (544,703,825)

24,696,853,620

¡íÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨Í×è¹ ¼Åμ‹Ò§¨Ò¡¡Òà à»ÅÕè¹á»Å§ã¹ ÃÇÁʋǹ¢Í§ ÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁ¢Í§ ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ à§Ô¹Å§·Ø¹à¼×èÍ¢Ò ¢Í§ºÃÔÉÑ·

(ºÒ·)


172 | 173

CPN รายงานประจําป 2555

งบกระแสเงินสด ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) áÅкÃÔÉѷ‹Í ÊíÒËÃѺ»‚ÊÔé¹ÊØ´Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 áÅÐ 2554

ËÁÒÂàËμØ ¡ÃÐáÊà§Ô¹Ê´¨Ò¡¡Ô¨¡ÃÃÁ´íÒà¹Ô¹§Ò¹ ¡íÒäÃÊíÒËÃѺ»‚ ÃÒ¡ÒûÃѺ»Ãا ¤‹ÒàÊ×èÍÁÃÒ¤Ò ¤‹ÒμÑ´¨íÒ˹‹ÒÂÊÔ·¸Ô¡ÒÃàª‹Ò ¡ÅѺÃÒ¡Òä‹Òà¼×èͨҡ¡ÒôŒÍ¤‹Ò¢Í§ÊÔ¹·ÃѾ ÃÒÂä´Œ¨Ò¡¡ÒÃŧ·Ø¹ μŒ¹·Ø¹·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ ¤‹Òà¼×èÍ˹ÕéʧÊѨÐÊÙÞ (¡ÅѺÃÒ¡ÒÃ) ¡íÒäèҡ¡ÒÃãˌઋÒÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒઋҡÒÃà§Ô¹ 5, 35 (¡íÒäÃ) ¢Ò´·Ø¹¨Ò¡¡ÒâÒÂÊÔ¹·ÃѾ ÃѺÃÙŒÃÒÂä´Œ¤‹ÒઋÒáÅФ‹ÒºÃÔ¡ÒÃÃѺŋǧ˹ŒÒ ÀÒÃм١¾Ñ¹¼Å»ÃÐ⪹ ¾¹Ñ¡§Ò¹ ʋǹẋ§¡íÒäÃ㹺ÃÔÉѷËÇÁ (¡íÒäÃ) ¢Ò´·Ø¹¨Ò¡ÍÑμÃÒáÅ¡à»ÅÕè¹·ÕèÂѧäÁ‹à¡Ô´¢Ö鹨ÃÔ§ (¡íÒäÃ) ¢Ò´·Ø¹·ÕèÂѧäÁ‹à¡Ô´¢Ö鹨ÃÔ§¨Ò¡¡ÒÃà»ÅÕè¹á»Å§ ÁÙŤ‹Òà¤Ã×èͧÁ×Í·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ (ÃÒÂä´Œ) ÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œ

ËÁÒÂàËμØ»ÃСͺ§º¡ÒÃà§Ô¹à»š¹Ê‹Ç¹Ë¹Ö觢ͧ§º¡ÒÃà§Ô¹¹Õé

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554 6,251,851,127 2,272,251,533 985,575,957 (77,803,880) 1,057,395,440 13,922,397 (1,775,836,332) 18,649,307 (352,113,512) 17,882,773 (584,247,771) (24,672,960) 931,006 641,637,769 8,445,422,854

2,075,799,243

(ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554 3,486,016,637

1,283,735,248

1,851,162,515 452,938,161 400,398,512 1,096,771,914 451,266,641 174,242,179 (187,015,215) (91,225,654) (47,847,220) (3,403,647,180) (1,677,540,681) 874,265,603 1,136,981,111 905,659,604 6,377,921 (297,421) 631,919 461,571 17,295,921 (3,645,234) (547,810,134) (129,856,166) (125,554,967) 16,688,045 16,283,554 17,635,450 (497,549,722) 32,769,960 (22,151,209) 354,479,196 5,006,402,468

931,006 243,982,861 2,271,895,125

8,236,569 (69,256,843) 823,316,102


งบกระแสเงินสด ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) áÅкÃÔÉѷ‹Í ÊíÒËÃѺ»‚ÊÔé¹ÊØ´Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 áÅÐ 2554

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554

(ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

¡ÒÃà»ÅÕè¹á»Å§ã¹ÊÔ¹·ÃѾ áÅÐ˹ÕéÊÔ¹´íÒà¹Ô¹§Ò¹ Å١˹Õé¡ÒäŒÒ Å١˹ÕéÍ×è¹ ÊÔ¹·ÃѾ äÁ‹ËÁعàÇÕ¹Í×è¹ à¨ŒÒ˹Õé¡ÒäŒÒ ਌Ò˹ÕéÍ×è¹ ÃÒÂä´Œ¤‹ÒઋÒáÅФ‹ÒºÃÔ¡ÒÃÃѺŋǧ˹ŒÒ à§Ô¹ÁÑ´¨íÒÃѺ¨Ò¡ÅÙ¡¤ŒÒ à§Ô¹ÁÑ´¨íÒÃѺ¨‹Ò¤׹ÅÙ¡¤ŒÒ à§Ô¹¤éíÒ»ÃСѹÊÔ·¸Ô¡ÒÃàª‹Ò ¨‹Ò¤׹¼Å»ÃÐ⪹ ¢Í§¾¹Ñ¡§Ò¹ à§Ô¹Ê´ä´ŒÁÒ¨Ò¡¡Ô¨¡ÃÃÁ´íÒà¹Ô¹§Ò¹ ¨‹ÒÂÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œ à§Ô¹Ê´ÊØ·¸Ôä´ŒÁÒ¨Ò¡¡Ô¨¡ÃÃÁ´íÒà¹Ô¹§Ò¹

240,600,779 (234,132,441) 192,134,035 (25,655,454) 44,878,213 24,228,976 (35,769,443) 6,271,633 (44,003,814) 10,006,616 223,651 9,751,738 678,105,360 2,253,534,595 (1,841,037,654) 361,722,279 1,024,306,527 176,935,006 1,552,255,594 1,651,675,375 356,507,504 (940,628,534) (1,101,369,028) (201,406,666) 671,110,533 440,474,750 (174,000) (690,807) (174,000) 10,956,996,584 8,651,100,186 1,385,305,000 (1,095,894,632) (894,886,693) (365,104,787) 9,861,101,952 7,756,213,493 1,020,200,213

¡ÃÐáÊà§Ô¹Ê´¨Ò¡¡Ô¨¡ÃÃÁŧ·Ø¹ ÃѺ´Í¡àºÕé ÃѺà§Ô¹»˜¹¼Å à§Ô¹Å§·Ø¹ªÑèǤÃÒÇ (à¾ÔèÁ¢Öé¹) Ŵŧ «×éÍμÃÒÊÒ÷عáÅÐ˹‹ÇÂŧ·Ø¹ «×éÍà§Ô¹Å§·Ø¹ã¹ºÃÔÉѷËÇÁ à§Ô¹Ê´ÃѺ¤×¹Ë¹‹ÇÂŧ·Ø¹ã¹¡Í§·Ø¹ÃÇÁ à§Ô¹ãËŒ¡ÙŒÂ×Áá¡‹¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ÃѺªíÒÃФ׹à§Ô¹ãËŒ¡ÙŒÂ×Á¨Ò¡¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ «×éÍÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×èÍ¡ÒÃŧ·Ø¹ «×éÍÍÒ¤ÒÃáÅÐÍØ»¡Ã³ «×éÍÊÔ·¸Ô¡ÒÃàª‹Ò ¢ÒÂÍØ»¡Ã³ ÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋÒáÅÐÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×Íè ¡ÒÃŧ·Ø¹ ਌Ò˹Õ餋ҡ‹ÍÊÌҧŴŧ ਌Ò˹Õ餋ÒÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋÒŴŧ à§Ô¹Ê´ÊØ·¸Ôä´ŒÁÒ¨Ò¡ (㪌ä»ã¹) ¡Ô¨¡ÃÃÁŧ·Ø¹

72,428,733 41,170,161 496,400,979 467,639,528 (1,198,214,172) 751,936,845 (1,242,050) (564,744,084) (6,146,678,171) (10,538,257,958) (329,455,277) (547,044,195) (455,650,375) (899,971,424) 4,373,988,897 97,312,335 (1,899,437,022) (1,601,627,544) (426,171,727) (206,879,479) (6,077,532,219) (12,436,963,781)

ËÁÒÂàËμØ»ÃСͺ§º¡ÒÃà§Ô¹à»š¹Ê‹Ç¹Ë¹Ö觢ͧ§º¡ÒÃà§Ô¹¹Õé

727,360,781 3,092,453,141 (1,198,214,172) (1,098,598,000) 27,984,000 (7,603,590,015) 9,759,362,173 (2,112,789,814) (110,270,069) (530,378,258) 15,115,109 (183,856,433) (426,171,727) 358,406,716

(296,050,212) (6,085,199) 7,437,380 78,783,065 3,136,106,588 (117,406,935) 664,626,504 (728,541,742) 5,812,380 (585,107) 3,567,412,824 (295,850,913) 3,271,561,911 760,751,513 1,009,799,422 750,242,692 (2,031,197,133) 27,984,000 (11,926,786,658) 8,635,597,814 (1,130,416,199) (209,706,815) (3,311,432,171) 15,790,690 (54,605,336) (206,879,479) (7,670,857,660)


174 | 175

CPN รายงานประจําป 2555

งบกระแสเงินสด ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) áÅкÃÔÉѷ‹Í ÊíÒËÃѺ»‚ÊÔé¹ÊØ´Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 áÅÐ 2554

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554 ¡ÃÐáÊà§Ô¹Ê´¨Ò¡¡Ô¨¡ÃÃÁ¨Ñ´ËÒà§Ô¹ ¨‹ÒÂμŒ¹·Ø¹·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ ¨‹ÒÂà§Ô¹»˜¹¼Å ¨‹ÒªíÒÃÐ˹ÕéÊÔ¹μÒÁÊÑÞÞÒઋҡÒÃà§Ô¹ à§Ô¹Ê´ÃѺ¨Ò¡¡ÒáٌÂ×Á¨Ò¡¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ à§Ô¹Ê´ÃѺ¨Ò¡¡ÒáٌÂ×Á ¨‹ÒªíÒÃФ׹à§Ô¹¡ÙŒÂ×Á¨Ò¡¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ¨‹ÒªíÒÃФ׹à§Ô¹¡ÙŒÂ×Á à§Ô¹Ê´ÊØ·¸Ôä´ŒÁÒ¨Ò¡ (㪌ä»ã¹) ¡Ô¨¡ÃÃÁ¨Ñ´ËÒà§Ô¹ à§Ô¹Ê´áÅÐÃÒ¡ÒÃà·Õº෋Òà§Ô¹Ê´à¾ÔÁè ¢Ö¹é (Ŵŧ) ÊØ·¸Ô à§Ô¹Ê´áÅÐÃÒ¡ÒÃà·Õº෋Òà§Ô¹Ê´ ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á ¼Åμ‹Ò§¨Ò¡ÍÑμÃÒáÅ¡à»ÅÕ蹨ҡ¡ÒÃá»Å§¤‹Ò ˹‹Ç§ҹμ‹Ò§»ÃÐà·È à§Ô¹Ê´áÅÐÃÒ¡ÒÃà·Õº෋Òà§Ô¹Ê´ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á

(ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

(1,236,986,615) (869,495,190) (1,227,190,829) (889,851,486) (806,100,540) (544,610,691) (806,099,528) (544,609,816) (2,358,086) (269,747) (2,358,086) (269,747) - 2,436,705,458 2,067,184,668 8,750,000,000 27,850,000,000 8,450,000,000 25,200,000,000 (933,669,439) (1,129,024,863) (8,429,917,200) (21,689,927,200) (7,550,040,000) (20,350,050,000) (1,725,362,441) 4,745,697,172 367,347,576 4,353,378,756 2,058,207,292 833,058,059

64,946,884 771,564,294

1,745,954,505 199,960,894

(45,916,993) 245,877,887

2,369,689 2,893,635,040

(3,453,119) 833,058,059

1,945,915,399

199,960,894

ÃÒ¡Ò÷ÕèäÁ‹ãª‹à§Ô¹Ê´ ã¹ÃÐËÇ‹Ò§»‚ 2555 ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ä´ŒÁ¡Õ Òá‹ÍÊÌҧÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×Íè ¡ÒÃŧ·Ø¹ã¹ÃҤҷع໚¹¨íҹǹà§Ô¹ÃÇÁ 7,627.9 ŌҹºÒ· (2554: 12,062.5 ŌҹºÒ·) «Öè§ã¹¨íҹǹ¹Õé¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ä´ŒÁÒâ´Â¨‹ÒÂà§Ô¹Ê´à»š¹¨íҹǹà§Ô¹ÃÇÁ 6,146.7 ŌҹºÒ· (2554: 10,538.3 ŌҹºÒ·) áÅФ§¤ŒÒ§à»š¹ ਌Ò˹Õ餋ÒÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×èÍ¡ÒÃŧ·Ø¹ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 ¨íҹǹà§Ô¹ 1,481.2 ŌҹºÒ· (2554: 1,524.2 ŌҹºÒ·) ã¹ÃÐËÇ‹Ò§»‚ 2555 ºÃÔÉÑ·ä´ŒÁÕ¡Òá‹ÍÊÌҧÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×èÍ¡ÒÃŧ·Ø¹ã¹ÃҤҷع໚¹¨íҹǹà§Ô¹ÃÇÁ 2,513.4 ŌҹºÒ· (2554: 1,155.8 ŌҹºÒ·) «Öè§ã¹¨íҹǹ¹ÕéºÃÔÉÑ·ä´ŒÁÒâ´Â¨‹ÒÂà§Ô¹Ê´¨íҹǹà§Ô¹ÃÇÁ 2,112.8 ŌҹºÒ· (2554: 1,130.4 ŌҹºÒ·) áÅФ§¤ŒÒ§à»š¹à¨ŒÒ˹Õé¤‹Ò ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×èÍ¡ÒÃŧ·Ø¹ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 ¨íҹǹà§Ô¹ 400.6 ŌҹºÒ· (2554: 25.4 ŌҹºÒ·) ã¹ÃÐËÇ‹Ò§»‚ 2555 ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ä´ŒÁÕ¡Òë×éÍ·Õè´Ô¹ ÍÒ¤ÒÃáÅÐÍØ»¡Ã³ ã¹ÃҤҷع໚¹¨íҹǹà§Ô¹ÃÇÁ 342.0 ŌҹºÒ· (2554: 607.9 ŌҹºÒ·) «Ö§è 㹨íҹǹ¹Õ¡é ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ä´ŒÁÒâ´Â¨‹ÒÂà§Ô¹Ê´¨íҹǹà§Ô¹ÃÇÁ 329.5 ŌҹºÒ· (2554: 547.0 ŌҹºÒ·) â´Â¡Ò÷íÒÊÑÞÞÒઋҷҧ¡ÒÃà§Ô¹¨íҹǹ 4.0 ŌҹºÒ· (2554: 1.2 ŌҹºÒ·) áÅФ§¤ŒÒ§à»š¹à¨ŒÒ˹Õ餋ҷÕè´Ô¹ ÍÒ¤ÒÃáÅÐÍØ»¡Ã³ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 ¨íҹǹà§Ô¹ 8.5 ŌҹºÒ· (2554: 59.7 ŌҹºÒ·)


ã¹ÃÐËÇ‹Ò§»‚ 2555 ºÃÔÉÑ·ä´ŒÁÕ¡Òë×éÍ·Õè´Ô¹ ÍÒ¤Òà áÅÐÍØ»¡Ã³ ã¹ÃҤҷع໚¹¨íҹǹà§Ô¹ÃÇÁ 121.3 ŌҹºÒ· (2554: 210.3 ŌҹºÒ·) «Öè§ã¹¨íҹǹ¹ÕéºÃÔÉÑ·ä´ŒÁÒâ´Â¨‹ÒÂà§Ô¹Ê´¨íҹǹà§Ô¹ÃÇÁ 110.3 ŌҹºÒ· (2554: 209.7 ŌҹºÒ·) â´Â¡Ò÷íÒÊÑÞÞÒઋҷҧ¡ÒÃà§Ô¹¨íҹǹ 4 ŌҹºÒ· (2554: äÁ‹ÁÕ) áÅФ§¤ŒÒ§à»š¹à¨ŒÒ˹Õ餋ҷÕè´Ô¹ ÍÒ¤ÒÃáÅÐÍØ»¡Ã³ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 ¨íҹǹà§Ô¹ 7.0 ŌҹºÒ· (2554: 0.6 ŌҹºÒ·) ã¹ÃÐËÇ‹Ò§»‚ 2555 ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ä´ŒÁÒ«Öè§ÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋÒã¹ÃҤҷع໚¹¨íҹǹà§Ô¹ÃÇÁ 520.2 ŌҹºÒ· (2554: 1,927.0 ŌҹºÒ·) «Öè§ã¹¨íҹǹ¹Õé ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ä´ŒÁÒâ´Â¨‹ÒÂà§Ô¹Ê´¨íҹǹà§Ô¹ÃÇÁ 455.7 ŌҹºÒ· (2554: 900.0 ŌҹºÒ·) áÅФ§¤ŒÒ§à»š¹à¨ŒÒ˹դé Ò‹ ÊÔ·¸Ô¡ÒÃàª‹Ò ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 ¨íҹǹà§Ô¹ 64.5 ŌҹºÒ· (2554: 1,027.0 ŌҹºÒ·) ã¹ÃÐËÇ‹Ò§»‚ 2555 ºÃÔÉ·Ñ ä´ŒÁÒ«Ö§è ÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋÒã¹ÃҤҷع໚¹¨íҹǹà§Ô¹ÃÇÁ 594.2 ŌҹºÒ· (2554: 3,856.7 ŌҹºÒ·) «Ö§è 㹨íҹǹ¹Õºé ÃÔÉ·Ñ ä´ŒÁÒâ´Â¨‹ÒÂà§Ô¹Ê´¨íҹǹà§Ô¹ÃÇÁ 530.4 ŌҹºÒ· (2554: 3,311.4 ŌҹºÒ·) áÅФ§¤ŒÒ§à»š¹à¨ŒÒ˹Õ餋ÒÊÔ·¸Ô¡ÒÃàª‹Ò ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 ¨íҹǹà§Ô¹ 63.8 ŌҹºÒ· (2554: 545.3 ŌҹºÒ·)

ËÁÒÂàËμØ»ÃСͺ§º¡ÒÃà§Ô¹à»š¹Ê‹Ç¹Ë¹Ö觢ͧ§º¡ÒÃà§Ô¹¹Õé


176 | 177

CPN รายงานประจําป 2555

หมายเหตุประกอบงบการเงิน ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) áÅкÃÔÉѷ‹Í ÊíÒËÃѺ»‚ÊÔé¹ÊØ´Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 áÅÐ 2554

ËÁÒÂàËμØ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21

ÊÒúÑÞ ¢ŒÍÁÙÅ·ÑèÇä» à¡³± ¡ÒèѴ·íÒ§º¡ÒÃà§Ô¹ ¹âºÒ¡ÒúÑÞªÕ·ÕèÊíÒ¤ÑÞ ¡Òë×éͺÃÔÉѷ‹ÍÂáÅÐʋǹ䴌àÊÕ·ÕèäÁ‹ÁÕÍíÒ¹Ò¨¤Çº¤ØÁ ºØ¤¤ÅËÃ×Í¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ à§Ô¹Ê´áÅÐÃÒ¡ÒÃà·Õº෋Òà§Ô¹Ê´ à§Ô¹Å§·Ø¹Í×è¹ Å١˹Õé¡ÒäŒÒ Å١˹ÕéÍ×è¹ à§Ô¹Å§·Ø¹ã¹ºÃÔÉѷ‹ÍÂáÅСͧ·Ø¹ÃÇÁ à§Ô¹Å§·Ø¹ã¹ºÃÔÉѷËÇÁ à§Ô¹Å§·Ø¹ÃÐÂÐÂÒÇ - ¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×èÍ¡ÒÃŧ·Ø¹ ·Õè´Ô¹ ÍÒ¤ÒÃáÅÐÍØ»¡Ã³ ÊÔ·¸Ô¡ÒÃàª‹Ò ÊÔ·¸Ô¡ÒÃ㪌ÊÔ¹·ÃѾ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÍ¡ÒÃμÑ´ºÑÞªÕ ÊÔ¹·ÃѾ äÁ‹ËÁعàÇÕ¹Í×è¹ Ë¹ÕéÊÔ¹·ÕèÁÕÀÒÃд͡àºÕé ਌Ò˹ÕéÍ×è¹ ÀÒÃм١¾Ñ¹¼Å»ÃÐ⪹ ¾¹Ñ¡§Ò¹

ËÁÒÂàËμØ 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41

ÊÒúÑÞ ·Ø¹àÃ×͹ËØŒ¹ ÊíÒÃͧ ÃÒ§ҹ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹¨íÒṡμÒÁʋǹ§Ò¹ ÃÒÂä´Œ¨Ò¡¡ÒÃŧ·Ø¹ ÃÒÂä´ŒÍ×è¹ ¤‹Ò㪌¨‹ÒÂ㹡ÒúÃÔËÒà ¤‹Ò㪌¨‹Ò¼ŻÃÐ⪹ ¢Í§¾¹Ñ¡§Ò¹ ¤‹Ò㪌¨‹ÒÂμÒÁÅÑ¡É³Ð μŒ¹·Ø¹·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œ ¡íÒäÃμ‹ÍËØŒ¹¢Ñé¹¾×é¹°Ò¹ à§Ô¹»˜¹¼Å ¼Å¡Ãзº¨Ò¡àËμØ¡Òó à¾ÅÔ§äËÁŒ¨Ò¡¡ÒêØÁ¹ØÁ ·Ò§¡ÒÃàÁ×ͧ ¡ÒÃãˌઋÒ/ઋҪ‹Ç§ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¤Ã×èͧÁ×Í·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ ÀÒÃм١¾Ñ¹¡ÑººØ¤¤ÅËÃ×Í¡Ô¨¡Ò÷ÕèäÁ‹à¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ˹ÕéÊÔ¹·ÕèÍÒ¨à¡Ô´¢Öé¹ ¼Å¡Ãзº¨Ò¡àËμØ¡Òó ÁËÒÍØ·¡ÀÑ¢ͧä·Â àËμØ¡Òó ÀÒÂËÅѧÃͺÃÐÂÐàÇÅÒÃÒ§ҹ ÁÒμðҹ¡ÒÃÃÒ§ҹ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹·ÕèÂѧäÁ‹ä´ŒãªŒ


ËÁÒÂàËμØ»ÃСͺ§º¡ÒÃà§Ô¹à»š¹Ê‹Ç¹Ë¹Öè§ ¢Í§§º¡ÒÃà§Ô¹¹Õé §º¡ÒÃà§Ô¹¹Õäé ´ŒÃºÑ ͹ØÁμÑ ãÔ ËŒÍÍ¡§º¡ÒÃà§Ô¹¨Ò¡ ¤³Ð¡ÃÃÁ¡ÒÃàÁ×Íè Çѹ·Õè 22 ¡ØÁÀҾѹ¸ 2556

1 ข อมูลทั่วไป ºÃÔÉ·Ñ à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) “ºÃÔÉ·Ñ ” ໚ ¹ ¹Ô μÔ ºØ ¤ ¤Å·Õè ¨Ñ ´ μÑé § ¢Öé ¹ ã¹»ÃÐà·Èä·Â

áÅÐÁÕ·ÕèÍÂÙ‹¨´·ÐàºÕ¹μÑé§ÍÂÙ‹àÅ¢·Õè 999/9 ¶¹¹¾ÃÐÃÒÁ 1 á¢Ç§»·ØÁÇѹ à¢μ»·ØÁÇѹ ¡Ãا෾ÁËÒ¹¤Ã 10330 ºÃÔÉÑ·¨´·ÐàºÕ¹¡ÑºμÅÒ´ËÅÑ¡·ÃѾ áË‹§ »ÃÐà·Èä·ÂàÁ×èÍà´×͹ÁÕ¹Ò¤Á 2538 ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ÃÒÂãËÞ‹ã¹ÃÐËÇ‹Ò§»‚䴌ᡋ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅ âÎÅ´Ôé§ ¨íÒ¡Ñ´ (¶×ÍËØŒ¹ÃŒÍÂÅÐ 27) «Öè§à»š¹¹ÔμԺؤ¤Å·Õè¨Ñ´μÑ駢Öé¹ã¹»ÃÐà·Èä·Â

ª×èÍ¡Ô¨¡Òà ºÃÔÉѷ‹Í·ҧμç ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¾ÃÐÃÒÁ 2 ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò àªÕ§ãËÁ‹ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· ËÅѧÊǹ àÃÕÂÅμÕé ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ÃÑμ¹Ò¸ÔàºÈà ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅ àÃÕÂÅμÕé à«Íà ÇÔÊ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅ ¿Ù‡´ÍàǹÔÇ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅ àÇÔÅ´ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¾ÃÐÃÒÁ 3 ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ ¾Ñ·ÂÒ ºÕª ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ªÅºØÃÕ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· âçáÃÁ «Õ¾ÕàÍç¹ ¾Ñ·ÂÒ ºÕª ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ ¤Í¹ÊμÃѤªÑè¹ áÁ๨àÁŒ¹· ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ´ÕàÇÅÅÍ»àÁŒ¹· ¨íÒ¡Ñ´ (à´ÔÁª×èÍ ºÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ àªÕ§ÃÒ ¨íÒ¡Ñ´) ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅàÃÕÂÅμÕé à«Íà ÇÔÊ ¾ÃÐÃÒÁ 3 ¨íÒ¡Ñ´ (ÍÂÙ‹ÃÐËÇ‹Ò§´íÒà¹Ô¹¡ÒêíÒÃкÑÞªÕ) ºÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ â¡ºÍÅ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ä¹¹ Êá¤Çà ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¢Í¹á¡‹¹ ¨íÒ¡Ñ´

ºÃÔ ÉÑ · ´í Ò à¹Ô ¹ ¸Ø à ¡Ô ¨ ËÅÑ ¡ à¡Õè Â Ç¡Ñ º ¡ÒÃ໚ ¹ ¼Ù¾Œ ² Ñ ¹Òâ¤Ã§¡ÒÃãËÁ‹æ áÅÐÃѺºÃÔËÒÃâ¤Ã§¡Òà μ‹Ò§æ â´Âä´ŒÃѺÃÒÂä´Œ¨Ò¡¡ÒÃãˌઋÒáÅÐ ºÃÔ Ë Òçҹ ÃÒÂÅÐàÍÕ Â ´¢Í§ºÃÔ ÉÑ · ‹ Í Â áÅСͧ·Ø ¹ ÃÇÁ ºÃÔ ÉÑ · Ë Ç ÁáÅÐ¡Ô ¨ ¡Ò÷Õè à¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 áÅÐ 2554 䴌໠´à¼Âà¾ÔÁè àμÔÁäÇŒã¹ËÁÒÂàËμØ »ÃСͺ§º¡ÒÃà§Ô¹¢ŒÍ 5, 10, 11 áÅÐ 12 áÅÐÁÕÃÒÂÅÐàÍÕ´´Ñ§¹Õé

ÅѡɳиØáԨ

»ÃÐà·È ·Õè¡Ô¨¡ÒèѴμÑé§

ºÃÔÉÑ·¶×ÍËØŒ¹ÃŒÍÂÅÐ 2555 2554

(1) (1) (2) (4) (3) (1) (2) (4) (2) (4) (1) (2) (4) (7) (1) (1) (2) (4) (1) (2) (4) (7) (1)

»ÃÐà·Èä·Â »ÃÐà·Èä·Â »ÃÐà·Èä·Â »ÃÐà·Èä·Â »ÃÐà·Èä·Â »ÃÐà·Èä·Â »ÃÐà·Èä·Â »ÃÐà·Èä·Â »ÃÐà·Èä·Â »ÃÐà·Èä·Â »ÃÐà·Èä·Â »ÃÐà·Èä·Â

100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0

100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0

(1) (2) (4)

»ÃÐà·Èä·Â

100.0

100.0

(2) (6) (1) (2) (1) (2) (4)

»ÃÐà·Èä·Â »ÃÐà·Èä·Â »ÃÐà·Èä·Â »ÃÐà·Èä·Â

100.0 100.0 93.3 78.1

100.0 100.0 93.3 78.1


178 | 179

CPN รายงานประจําป 2555

ª×èÍ¡Ô¨¡Òà ºÃÔÉѷ‹Í·ҧ͌ÍÁ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅ à¾Å áŹ´ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· ºÒ§¹Ò à«ç¹·ÃÑÅ ¾Ãç;à¾Íà μÕé ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· ⡺ÍÅ ÃÕà·Å ´ÕàÇÅÅçÍ»àÁŒ¹· á͹´ ÍÔ¹àÇÊàÁŒ¹· ÅÔÁÔàμç´ ºÃÔÉÑ· ⡺ÍÅ ¤ÍÁàÁÍÅ àªÕÂÅ ¾Ãç;à¾Íà μÕé ÅÔÁÔàμç´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅ (à«Õè§äÎŒ) áÁ๨àÁŒ¹· ¤Í¹«ÑÅμÔé§ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ ¤ÍÁà¾Åç¡« ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ «ÔμÕé ¨íÒ¡Ñ´ ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ¸ØáԨä·Â 4 ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ¸ØáԨä·Â 5 ÅѡɳиØáԨ (1) ¡‹ Í ÊÃŒ Ò §ÍÒ¤ÒÃÊí Ò ¹Ñ ¡ §Ò¹áÅÐÍÒ¤Òà Èٹ ¡ÒäŒÒà¾×èÍãËŒàª‹Ò (2) ãËŒ º ÃÔ ¡ ÒôŒ Ò ¹ÊÒ¸Òó٠» âÀ¤ÀÒÂã¹ Èٹ ¡ÒäŒÒ (3) ¡‹ Í ÊÃŒ Ò §ËŒ Í §ªØ ´ ¾Ñ ¡ ÍÒÈÑ Â áÅÐÍÒ¤Òà Ìҹ¤ŒÒà¾×èÍãËŒàª‹Ò (4) ¢ÒÂÍÒËÒÃáÅÐà¤Ã×èͧ´×èÁ (5) ãËŒ º ÃÔ ¡ ÒÃÊÇ¹Ê¹Ø ¡ áÅÐÊǹ¹éí Ò º¹ Èٹ ¡ÒäŒÒ (6) ŧ·Ø¹ã¹ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ (7) ¸ØáԨâçáÃÁ (8) ãËŒ ¤í Ò »ÃÖ ¡ ÉÒ´Œ Ò ¹¡ÒúÃÔ Ë ÒÃáÅСÒà ¨Ñ´¡ÒÃÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾÂ

2 เกณฑ การจัดทํางบการเงิน (ก) เกณฑ การถือปฏิบัติ §º¡ÒÃà§Ô ¹ ¹Õé ¨Ñ ´ ·í Ò ¢Öé ¹ μÒÁÁÒμðҹ¡Òà ÃÒ§ҹ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ ÃÇÁ¶Ö§á¹Ç»¯ÔºÑμÔ·Ò§

ÅѡɳиØáԨ

»ÃÐà·È ·Õè¡Ô¨¡ÒèѴμÑé§

ºÃÔÉÑ·¶×ÍËØŒ¹ÃŒÍÂÅÐ 2555 2554

(1) (1) ¶Ö§ (5) (6) (6) (8) (1) (2) (6)

»ÃÐà·Èä·Â »ÃÐà·Èä·Â ΋ͧ¡§ ΋ͧ¡§ »ÃЪҪ¹¨Õ¹ »ÃÐà·Èä·Â »ÃÐà·Èä·Â

100.0 99.9 100.0 100.0 100.0 99.9 99.9

100.0 99.9 100.0 100.0 100.0 99.9 99.9

(6) (6)

»ÃÐà·Èä·Â »ÃÐà·Èä·Â

100.0 100.0

100.0 100.0

¡ÒúÑÞªÕ·Õè»ÃСÒÈ㪌â´ÂÊÀÒÇÔªÒªÕ¾ºÑÞªÕÏ (“ÊÀÒÇÔ ª ÒªÕ ¾ ºÑ Þ ªÕ ” ) ¡®ÃÐàºÕ  ºáÅÐ »ÃСÒȤ³Ð¡ÃÃÁ¡ÒáíҡѺËÅÑ¡·ÃѾ áÅÐ μÅÒ´ËÅÑ¡·ÃѾ ·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§

>> μÃÒÊÒÃ͹ؾ¹Ñ ¸ ÇÑ´ÁÙŤ‹Ò´ŒÇÂÃÒ¤ÒÂØμ¸Ô ÃÃÁ >> ÊÔ¹·ÃѾ ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹à¼×Íè ¢ÒÂÇÑ´ÁÙŤ‹Ò´ŒÇ ÃÒ¤ÒÂØμÔ¸ÃÃÁ

³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 ÊÀÒÇÔªÒªÕ¾ºÑÞªÕ ä´ŒÍÍ¡áÅлÃѺ»ÃاÁÒμðҹ¡ÒÃÃÒ§ҹ ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹©ºÑºÍ×è¹æ «Öè§Áռźѧ¤ÑºÊíÒËÃѺ §º¡ÒÃà§Ô¹·ÕèàÃÔèÁã¹ËÃ×ÍËÅѧÇѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2556 ໚¹μŒ¹ä» áÅÐäÁ‹ä´ŒÁÕ¡ÒùíÒÁÒ㪌 ÊíÒËÃѺ¡ÒèѴ·íÒ§º¡ÒÃà§Ô¹¹Õé ÁÒμðҹ¡Òà ÃÒ§ҹ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹·ÕèÍÍ¡áÅлÃѺ»ÃاãËÁ‹ ´Ñ § ¡Å‹ Ò Çä´Œ à » ´ à¼Âã¹ËÁÒÂàËμØ » ÃСͺ §º¡ÒÃà§Ô¹¢ŒÍ 41

(ค) สกุลเงินที่นําเสนองบการเงิน

(ข) เกณฑ การวัดมูลค า §º¡ÒÃà§Ô¹¹Õé¨Ñ´·íÒ¢Öé¹â´Â¶×ÍËÅѡࡳ± ¡Òà ºÑ¹·Ö¡μÒÁÃҤҷعà´ÔÁ ¡àÇŒ¹ÃÒ¡Ò÷Õè ÊíÒ¤ÑÞ·ÕèáÊ´§ã¹§ºáÊ´§°Ò¹Ð·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ ´Ñ§μ‹Í仹Õé

§º¡ÒÃà§Ô¹¹Õé¨Ñ´·íÒáÅÐáÊ´§Ë¹‹ÇÂà§Ô¹μÃÒ à»š¹à§Ô¹ºÒ· ¢ŒÍÁÙÅ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹·Ñé§ËÁ´ÁÕ¡Òà »˜´àÈÉã¹ËÁÒÂàËμØ»ÃСͺ§º¡ÒÃà§Ô¹à¾×èÍ ãËŒáÊ´§à»š¹ËÅÑ¡¾Ñ¹ºÒ·Â¡àÇŒ¹·ÕèÃкØänj໚¹ Í‹ҧÍ×è¹

(ง) การประมาณการและใช วิจารณญาณ 㹡ÒèѴ·íÒ§º¡ÒÃà§Ô¹ãˌ໚¹ä»μÒÁÁÒμðҹ ¡ÒÃÃÒ§ҹ·Ò§¡ÒÃà§Ô ¹ ¼ÙŒ º ÃÔ Ë ÒÃμŒ Í §ãªŒ ÇÔ¨ÒóÞÒ³ ¡ÒûÃÐÁÒ³áÅТŒÍÊÁÁμÔ°Ò¹ ËÅÒ»ÃСÒà «Öè§ÁռšÃзºμ‹Í¡ÒáíÒ˹´ ¹âºÒ¡ÒúÑÞªÕáÅСÒÃÃÒ§ҹ¨íҹǹà§Ô¹ ·Õèà¡ÕèÂǡѺ ÊÔ¹·ÃѾ ˹ÕéÊÔ¹ ÃÒÂä´Œ áÅÐ


¤‹Ò㪌¨‹Ò ¼Å·Õèà¡Ô´¢Ö鹨ÃÔ§ÍÒ¨áμ¡μ‹Ò§¨Ò¡·Õè »ÃÐÁÒ³äÇŒ »ÃÐÁÒ³¡ÒÃáÅТŒÍÊÁÁμÔ°Ò¹·Õè㪌㹡Òà ¨Ñ´·íÒ§º¡ÒÃà§Ô¹¨Ðä´ŒÃѺ¡Ò÷º·Ç¹Í‹ҧ μ‹Íà¹×èͧ ¡ÒûÃѺ»ÃÐÁÒ³¡Ò÷ҧºÑÞªÕ ËÁÒÂàËμØ»ÃСͺ§º¡ÒÃà§Ô¹¢ŒÍ 3 (·) ËÁÒÂàËμØ»ÃСͺ§º¡ÒÃà§Ô¹¢ŒÍ 13 ËÁÒÂàËμØ»ÃСͺ§º¡ÒÃà§Ô¹¢ŒÍ 15 ËÁÒÂàËμØ»ÃСͺ§º¡ÒÃà§Ô¹¢ŒÍ 17 ËÁÒÂàËμØ»ÃСͺ§º¡ÒÃà§Ô¹¢ŒÍ 21 ËÁÒÂàËμØ»ÃСͺ§º¡ÒÃà§Ô¹¢ŒÍ 36 ËÁÒÂàËμØ»ÃСͺ§º¡ÒÃà§Ô¹¢ŒÍ 37 ËÁÒÂàËμØ»ÃСͺ§º¡ÒÃà§Ô¹¢ŒÍ 38 ËÁÒÂàËμØ»ÃСͺ§º¡ÒÃà§Ô¹¢ŒÍ 39

3 นโยบายการบัญชีที่สําคัญ ¹âºÒ¡ÒÃºÑ Þ ªÕ ·Õè ¹í Ò àÊ¹Í´Ñ § μ‹ Í仹Õé ä ´Œ ¶×Í»¯ÔºÑ μÔâ´ÂÊÁèíÒàÊÁÍÊíÒËÃѺ§º¡ÒÃà§Ô¹ ·Ø¡ÃͺÃÐÂÐàÇÅÒ·ÕèÃÒ§ҹ

(ก) เกณฑ ในการจัดทํางบการเงินรวม §º¡ÒÃà§Ô ¹ ÃÇÁ»ÃСͺ´Œ Ç Â§º¡ÒÃà§Ô ¹ ¢Í§ºÃÔ ÉÑ · ºÃÔ ÉÑ · ‹ Í Â (ÃÇÁ¡Ñ ¹ àÃÕ Â ¡Ç‹ Ò “¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ”) áÅÐʋǹ䴌àÊÕ¢ͧ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ã¹ºÃÔÉѷËÇÁ ¡ÒÃÃÇÁ¸ØáԨ ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ºÑ¹·Ö¡ºÑÞªÕÊíÒËÃѺ¡ÒÃÃÇÁ¸ØáԨ μÒÁÇÔ¸«Õ ×éÍ Â¡àÇŒ¹ã¹¡Ã³Õ·Õè໚¹¡ÒÃÃÇÁ¸ØáԨ ÀÒÂãμŒ¡ÒäǺ¤ØÁà´ÕÂǡѹ

¨ÐºÑ¹·Ö¡ã¹§Ç´ºÑÞªÕ·Õè»ÃÐÁÒ³¡Òôѧ¡Å‹ÒÇ ä´ŒÃѺ¡Ò÷º·Ç¹áÅÐ㹧Ǵ͹Ҥμ·Õèä´ŒÃѺ ¼Å¡Ãзº

¹âºÒ¡ÒúÑÞªÕ ÁռšÃзºÊíÒ¤ÑÞμ‹Í¡Òà ÃѺÃÙŒ¨íҹǹà§Ô¹ã¹§º¡ÒÃà§Ô¹«Ö觻ÃСͺ´ŒÇ ËÁÒÂàËμØ»ÃСͺ§º¡ÒÃà§Ô¹μ‹Í仹Õé

¢ŒÍÁÙÅà¡ÕèÂǡѺ¡ÒûÃÐÁÒ³¤ÇÒÁäÁ‹á¹‹¹Í¹ áÅТŒ Í ÊÁÁμÔ ° Ò¹·Õè Êí Ò ¤Ñ Þ㹡Òáí Ò Ë¹´ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œ¢Í§§Ç´»˜¨¨ØºÑ¹áÅÐÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÍ¡ÒÃμÑ´ºÑÞªÕ ¡ÒÃμÕÁÙŤ‹Ò¢Í§ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×èÍ¡ÒÃŧ·Ø¹ ÊÔ·¸Ô¡ÒÃàª‹Ò ¡ÒÃ㪌»ÃÐ⪹ ¢Í§¢Ò´·Ø¹·Ò§ÀÒÉÕ ¡ÒÃÇÑ´ÁÙŤ‹Ò¢Í§ÀÒÃм١¾Ñ¹¢Í§â¤Ã§¡ÒüŻÃÐ⪹ ¡ÒÃμÕÁÙŤ‹Ò¢Í§à¤Ã×èͧÁ×Í·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ ÀÒÃм١¾Ñ¹·ÕèÁաѺºØ¤¤ÅËÃ×Í¡Ô¨¡Ò÷ÕèäÁ‹à¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ˹ÕéÊÔ¹·ÕèÍÒ¨à¡Ô´¢Öé¹ ¼Å¡Ãзº¨Ò¡àËμØ¡Òó ÁËÒÍØ·¡ÀÑ¢ͧä·Â ¡ÒäǺ¤ØÁ ËÁÒ¶֧ÍíҹҨ㹡ÒáíÒ˹´ ¹âºÒ·ҧ¡ÒÃà§Ô¹áÅСÒôíÒà¹Ô¹§Ò¹¢Í§ ¡Ô¨¡ÒÃà¾×èÍãˌ䴌ÁÒ«Ö觻ÃÐ⪹ ¨Ò¡¡Ô¨¡ÃÃÁ ¢Í§¡Ô¨¡Òùѹé 㹡ÒþԨÒóÒÍíҹҨ㹡Òà ¤Çº¤ØÁ ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ¹íÒÊÔ·¸Ô㹡ÒÃÍÍ¡àÊÕ§·Õè à¡Ô´¢Ö¹é ÁÒÃÇÁ㹡ÒþԨÒÃ³Ò Çѹ·Õ«è Í×é ¡Ô¨¡Òà ¤×ÍÇѹ·ÕèÍíҹҨ㹡ÒäǺ¤ØÁ¹Ñé¹ä´Œ¶Ù¡â͹ ä»Âѧ¼ÙŒ«×éÍ ¡ÒáíÒ˹´Çѹ·Õè«×éÍ¡Ô¨¡ÒÃáÅÐ ¡ÒÃÃкØà¡ÕèÂǡѺ¡ÒÃâ͹ÍíÒ¹Ò¨¤Çº¤ØÁ¨Ò¡ ½†ÒÂ˹Öè§ä»ÂѧÍÕ¡½†ÒÂ˹Öè§μŒÍ§ãªŒ´ØžԹԨ ࢌÒÁÒà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§ ¤‹Ò¤ÇÒÁ¹ÔÂÁ ¶Ù¡ÇÑ´ÁÙŤ‹Ò ³ Çѹ·Õ«è Í×é â´ÂÇÑ´ ¨Ò¡ÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁ¢Í§ÊÔè§μͺ᷹·Õèâ͹ãËŒ «Öè§ÃÇÁ¶Ö§¡ÒÃÃѺÃÙŒ¨íҹǹʋǹ䴌àÊÕ·ÕèäÁ‹ÁÕ ÍíÒ¹Ò¨¤Çº¤ØÁã¹¼ÙŒ¶Ù¡«×éÍ ËÑ¡´ŒÇÂÁÙŤ‹ÒÊØ·¸Ô

(ÁÙŤ‹ÒÂØμ¸Ô ÃÃÁ) ¢Í§ÊÔ¹·ÃѾ ·ÃÕè кØä´Œ·äÕè ´ŒÁÒ áÅÐ˹ÕéÊÔ¹·ÕèÃѺÁÒ«Öè§ÇÑ´ÁÙŤ‹Ò ³ Çѹ·Õè«×éÍ ÊÔ§è μͺ᷹·Õâè ͹ãËŒ μŒÍ§ÇÑ´´ŒÇÂÁÙŤ‹ÒÂØμ¸Ô ÃÃÁ ¢Í§ÊÔ¹·ÃѾ ·ÕèâÍ¹ä» Ë¹ÕéÊÔ¹·Õè¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ· ¡‹Í¢Öé¹à¾×èͨ‹ÒªíÒÃÐãˌᡋ਌Ңͧà´ÔÁ áÅРʋǹ䴌àÊÕÂã¹Ê‹Ç¹¢Í§à¨ŒÒ¢Í§·ÕèÍÍ¡â´Â¡ÅØ‹Á ºÃÔÉÑ· ·Ñ駹ÕéÊÔè§μͺ᷹·Õèâ͹ãËŒÂѧÃÇÁ¶Ö§ ÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁ¢Í§Ë¹ÕéÊÔ¹·ÕèÍÒ¨à¡Ô´¢Öé¹áÅÐ ÁÙŤ‹Ò¢Í§â¤Ã§¡Òè‹ÒÂâ´Â㪌ËØŒ¹à»š¹à¡³± ·ÕÍè Í¡á·¹â¤Ã§¡Òâͧ¼Ù¶Œ ¡Ù «×Íé àÁ×Íè ÃÇÁ¸ØáԨ ËÒ¡¡ÒÃÃÇÁ¸ØáԨÁÕ¼ÅãˌʹÔé ÊØ´¤ÇÒÁÊÑÁ¾Ñ¹¸ ¢Í§â¤Ã§¡ÒÃà´Ô Á ÃÐËÇ‹ Ò §¡ÅØ‹ Á ºÃÔ ÉÑ · áÅÐ ¼ÙŒ¶Ù¡«×éÍ ¨Ð㪌ÃÒ¤Ò·ÕèμèíÒ¡Ç‹ÒÃÐËÇ‹Ò§ ÁÙŤ‹Ò ¨Ò¡¡ÒáàÅÔ¡ÊÑÞÞÒμÒÁ·ÕèÃкØã¹ÊÑÞÞÒ áÅÐÁÙŤ‹Òͧ¤ »ÃСͺ¹Í¡μÅÒ´ ä»ËÑ¡¨Ò¡ ÊÔ§è μͺ᷹·Õâè ͹ãËŒ áÅÐÃѺÃÙàŒ »š¹¤‹Ò㪌¨Ò‹ ÂÍ×¹è


180 | 181

CPN รายงานประจําป 2555

˹ÕÊé ¹Ô ·ÕÍè Ò¨à¡Ô´¢Ö¹é ¢Í§ºÃÔÉ·Ñ ·Õ¶è ¡Ù «×Íé ·ÕÃè ºÑ ÁÒ ¨Ò¡¡ÒÃÃÇÁ¸ØáԨ ÃѺÃÙàŒ »š¹Ë¹ÕÊé ¹Ô ËÒ¡ÁÕÀÒÃÐ ¼Ù ¡ ¾Ñ ¹ã¹»˜ ¨ ¨Ø ºÑ ¹ «Öè § à¡Ô ´ ¢Öé ¹ ¨Ò¡àËμØ ¡ Òó ã¹Í´Õμ áÅÐÊÒÁÒöÇÑ´ÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁä´Œ Í‹ҧ¹‹Òàª×èͶ×Í

¡Ñº¢Í§¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ· ¼Å¢Ò´·Ø¹ã¹ºÃÔÉѷ‹Í ¨Ð¶Ù¡»˜¹Ê‹Ç¹ä»Âѧʋǹ䴌àÊÕ·ÕèäÁ‹ÁÕÍíÒ¹Ò¨ ¤Çº¤ØÁáÁŒÇ‹Ò¡Òû˜¹Ê‹Ç¹´Ñ§¡Å‹ÒǨзíÒãËŒ ʋǹ䴌àÊÕ·Õäè Á‹ÁÍÕ Òí ¹Ò¨¤Çº¤ØÁÁÕÂÍ´¤§àËÅ×Í μԴź¡çμÒÁ

¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ÇÑ´ÁÙŤ‹Òʋǹ䴌àÊÕ·ÕèäÁ‹ÁÕÍíÒ¹Ò¨ ¤Çº¤ØÁμÒÁÍÑμÃÒʋǹ䴌àÊÕÂã¹ÊÔ¹·ÃÑ¾Â Ê·Ø ¸Ô ·Õèä´ŒÁÒ¨Ò¡¼ÙŒ¶Ù¡«×éÍ

¡ÒÃÊÙÞàÊÕÂÍíÒ¹Ò¨¤Çº¤ØÁ

μŒ¹·Ø¹·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñº¡Òë×éͧ͢¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ· ·Õèà¡Ô´¢Ö鹫Öè§à»š¹¼ÅÁÒ¨Ò¡¡ÒÃÃÇÁ¸ØáԨ ઋ¹ ¤‹Ò·Õè»ÃÖ¡ÉÒ¡®ËÁÒ ¤‹Ò¸ÃÃÁà¹ÕÂÁÇÔªÒªÕ¾ áÅФ‹Ò·Õè»ÃÖ¡ÉÒÍ×è¹æ ¶×Í໚¹¤‹Ò㪌¨‹ÒÂàÁ×èÍ à¡Ô´¢Öé¹ ¡ÒÃÃÇÁ¸ØáԨÀÒÂãμŒ¡ÒäǺ¤ØÁà´ÕÂǡѹ ¡ÒÃÃÇÁ¸ØáԨ¢Í§¡Ô¨¡ÒÃËÃ×Í¡ÒÃÃÇÁ¸ØáԨ ÀÒÂãμŒ¡ÒäǺ¤ØÁà´ÕÂǡѹºÑ¹·Ö¡ºÑÞªÕâ´Â㪌 ÇÔ¸ÕàÊÁ×͹NjÒ໚¹ÇÔ¸Õ¡ÒÃÃÇÁʋǹ䴌àÊÕ áÅÐ μÒÁá¹Ç»¯ÔºÑμÔ·ÕèÍÍ¡â´ÂÊÀÒÇÔªÒªÕ¾ºÑÞªÕ ã¹ÃÐËÇ‹Ò§»‚ 2552 ºÃÔÉѷ‹Í ºÃÔÉ·Ñ Â‹ÍÂ໚¹¡Ô¨¡Ò÷ÕÍè ÂÙÀ‹ ÒÂãμŒ¡ÒäǺ¤ØÁ ¢Í§¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ· ¡ÒäǺ¤ØÁà¡Ô´¢Öé¹àÁ×èÍ¡ÅØ‹Á ºÃÔ ÉÑ · ÁÕ Íí Ò ¹Ò¨¤Çº¤Ø Á ·Ñé § ·Ò§μçËÃ× Í ·Ò§ÍŒÍÁ㹡ÒáíÒ˹´¹âºÒ·ҧ¡ÒÃà§Ô¹ áÅСÒôíÒà¹Ô¹§Ò¹¢Í§¡Ô¨¡ÒùÑé¹ à¾×èÍä´ŒÁÒ «Öè § »ÃÐ⪹ ¨ Ò¡¡Ô ¨ ¡ÃÃÁ¢Í§ºÃÔ ÉÑ · ‹ Í Â §º¡ÒÃà§Ô ¹ ¢Í§ºÃÔ ÉÑ · ‹ Í Âä´Œ à ÇÁÍÂÙ‹ ã ¹ §º¡ÒÃà§Ô ¹ ÃÇÁ ¹Ñ º áμ‹ ÇÑ ¹ ·Õè ÁÕ ¡ ÒäǺ¤Ø Á ¨¹¶Ö§Çѹ·Õè¡ÒäǺ¤ØÁÊÔé¹Êشŧ ¹âºÒ¡ÒúÑުբͧºÃÔÉ·Ñ Â‹ÍÂä´Œ¶¡Ù à»ÅÕÂè ¹ μÒÁ¤ÇÒÁ¨íÒ໚¹à¾×Íè ãˌ໚¹¹âºÒÂà´ÕÂǡѹ

àÁ×èÍÁÕ¡ÒÃÊÙÞàÊÕÂÍíÒ¹Ò¨¤Çº¤ØÁ¡ÅØ‹Á ºÃÔÉÑ· μÑ´ÃÒ¡ÒÃÊÔ¹·ÃѾ áÅÐ˹ÕÊé Թ㹺ÃÔÉ·Ñ Â‹Í ʋ Ç ¹ä´Œ à ÊÕ Â ·Õè ä Á‹ ÁÕ Íí Ò ¹Ò¨¤Çº¤Ø Á áÅÐÊ‹ Ç ¹ »ÃСͺÍ×¹è ã¹Ê‹Ç¹¢Í§à¨ŒÒ¢Í§·Õàè ¡ÕÂè Ç¢ŒÍ§¡Ñº ºÃÔÉ·Ñ Â‹ÍÂ¹Ñ¹é ¡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹·Õàè ¡Ô´¢Ö¹é ¨Ò¡ ¡ÒÃÊÙÞàÊÕÂÍíÒ¹Ò¨¤Çº¤ØÁ㹺ÃÔÉ·Ñ Â‹ÍÂÃѺÃÙ㌠¹ ¡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹ ʋǹ䴌àÊÕÂ㹺ÃÔÉ·Ñ Â‹ÍÂà´ÔÁ ·ÕÂè §Ñ ¤§àËÅ×ÍÍÂÙã‹ ËŒÇ´Ñ ÁÙŤ‹Ò´ŒÇÂÁÙŤ‹ÒÂØμ¸Ô ÃÃÁ ³ Çѹ·ÕÊè Þ Ù àÊÕÂÍíÒ¹Ò¨¤Çº¤ØÁ áÅШѴ»ÃÐàÀ· à§Ô¹Å§·Ø¹à»š¹à§Ô¹Å§·Ø¹μÒÁÇÔ¸Õʋǹ䴌àÊÕ ËÃ×Í໚¹ÊÔ¹·ÃѾ ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹à¼×Íè ¢Ò ¢Ö¹é ÍÂÙ‹ ¡ÑºÃдѺ¢Í§ÍÔ·¸Ô¾Å·Õ褧àËÅ×ÍÍÂÙ‹ ºÃÔÉѷËÇÁ ºÃÔÉѷËÇÁ໚¹¡Ô¨¡Ò÷Õè¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ÁÕÍÔ·¸Ô¾Å Í‹ҧÁÕ¹ÂÑ ÊíÒ¤ÑÞâ´ÂÁÕÍÒí ¹Ò¨à¢ŒÒä»ÁÕÊÇ‹ ¹Ã‹ÇÁ 㹡ÒÃμÑ´ÊÔ¹ã¨à¡ÕèÂǡѺ¹âºÒ·ҧ¡ÒÃà§Ô¹ áÅСÒôíÒà¹Ô¹§Ò¹áμ‹äÁ‹¶§Ö ÃдѺ·Õ¨è ФǺ¤ØÁ ¹âºÒ´ѧ¡Å‹ÒÇ ¡ÒÃÁÕÍÔ·¸Ô¾ÅÍ‹ҧÁչѠÊíÒ¤ÑÞ¶Ù¡Êѹ¹ÔɰҹNjÒÁÕÍÂÙ‹àÁ×èÍ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ· ÁÕÍíҹҨ㹡ÒÃÍÍ¡àÊÕ§㹡Ԩ¡ÒÃÍ×è¹μÑé§áμ‹ ÃŒÍÂÅÐ 20 ¶Ö§ÃŒÍÂÅÐ 50 à§Ô¹Å§·Ø¹ã¹ºÃÔÉ·Ñ Ã‹ÇÁºÑ¹·Ö¡ã¹§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ â´Â㪌ÇÔ¸Õʋǹ䴌àÊÕ (à§Ô¹Å§·Ø¹μÒÁÇÕ¸Õʋǹ ä´ŒàÊÕ¢ͧºÃÔÉ·Ñ ·Õ¶è ¡Ù ŧ·Ø¹) â´ÂÃѺÃÙÃŒ Ò¡Òà àÃÔÁè áá´ŒÇÂÃҤҷع ÃÇÁ¶Ö§μŒ¹·Ø¹·Õàè ¡ÕÂè Ç¢ŒÍ§ ¡Ñº¡Òë×éÍ·Õèà¡Ô´¨Ò¡¡Ò÷íÒÃÒ¡Òôѧ¡Å‹ÒÇ

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁä´ŒÃÇÁʋǹẋ§¢Í§¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ã¹¡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹ áÅСíÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨ Í×蹢ͧ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ··Õè¶Ù¡Å§·Ø¹ ÀÒÂËÅѧ¨Ò¡ ¡ÒûÃѺ»Ãا¹âºÒ¡ÒúÑÞªÕãˌ໚¹¹âºÒ à´ÕÂǡѹ¡Ñº¢Í§¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ· ¹Ñº¨Ò¡Çѹ·ÕèÁÕ ÍÔ·¸Ô¾ÅÍ‹ҧÁÕ¹ÑÂÊíÒ¤ÑÞ ¨¹¶Ö§Çѹ·Õè¡ÒÃÁÕ ÍÔ·¸Ô¾ÅÍ‹ҧÁÕ¹ÑÂÊíÒ¤ÑÞ¹Ñé¹ÊÔé¹Êشŧ àÁ×èÍ Ê‹Ç¹áº‹§¼Å¢Ò´·Ø¹·Õ¡è ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ä´ŒÃºÑ ÁÕ¨Òí ¹Ç¹ à¡Ô¹¡Ç‹Òʋǹ䴌àÊÕÂ㹺ÃÔÉÑ··Õèä»Å§·Ø¹¹Ñé¹ ÁÙŤ‹ÒμÒÁºÑުբͧʋǹ䴌àÊÕ¢ͧ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ¨Ð¶Ù¡·Í¹Å§¨¹à»š¹Èٹ áÅШÐäÁ‹ÃѺÃٌʋǹ ẋ§¼Å¢Ò´·Ø¹ÍÕ¡μ‹Íä» àÇŒ¹áμ‹¡Ã³Õ·Õè¡ÅØ‹Á ºÃÔÉÑ·ÁÕÀÒÃм١¾Ñ¹μÒÁ¡®ËÁÒÂËÃ×ÍμŒÍ§ ¨‹ÒÂà§Ô¹à¾×èͪíÒÃÐÀÒÃм١¾Ñ¹á·¹ã¹¹ÒÁ ¢Í§¼ÙŒ¶Ù¡Å§·Ø¹ ¡ÒÃμÑ´ÃÒ¡ÒÃ㹧º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ ÂÍ´¤§àËÅ×ÍáÅÐÃÒ¡ÒúÑÞªÕÃÐËÇ‹Ò§¡Ô¨¡Òà 㹡ÅØ‹Á ÃÇÁ¶Ö§ÃÒÂä´ŒËÃ×ͤ‹Ò㪌¨‹Ò·ÕèÂѧäÁ‹ à¡Ô´¢Ö鹨ÃÔ§«Öè§à»š¹¼ÅÁÒ¨Ò¡ÃÒ¡ÒÃÃÐËÇ‹Ò§ ¡Ô¨¡ÒÃ㹡ÅØ‹Á ¶Ù¡μÑ´ÃÒ¡ÒÃ㹡ÒèѴ·íÒ §º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ ¡íÒä÷ÕèÂѧäÁ‹à¡Ô´¢Ö鹨ÃÔ§«Öè§à»š¹ ¼ÅÁÒ¨Ò¡ÃÒ¡ÒáѺºÃÔÉ·Ñ Ã‹ÇÁ¶Ù¡μÑ´ÃÒ¡Òà ¡Ñºà§Ô¹Å§·Ø¹à·‹Ò·Õè¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ÁÕʋǹ䴌àÊÕ 㹡Ԩ¡ÒÃ·Õ¶è ¡Ù Å§·Ø¹¹Ñ¹é ¢Ò´·Ø¹·ÕÂè §Ñ äÁ‹à¡Ô´¢Ö¹é ¨ÃÔ§¶Ù¡μÑ´ÃÒ¡ÒÃã¹ÅѡɳÐà´ÕÂǡѺ¡íÒä÷ÕÂè §Ñ äÁ‹à¡Ô´¢Ö鹨ÃÔ§ áμ‹à·‹Ò·ÕèàÁ×èÍäÁ‹ÁÕËÅÑ¡°Ò¹¡Òà ´ŒÍ¤‹Òà¡Ô´¢Öé¹

(ข) เงินตราต างประเทศ ÃÒ¡ÒúÑÞªÕ·Õè໚¹à§Ô¹μÃÒμ‹Ò§»ÃÐà·È ÃÒ¡ÒÃºÑ Þ ªÕ ·Õè à »š ¹ à§Ô ¹ μÃÒμ‹ Ò §»ÃÐà·È á»Å§¤‹Ò໚¹à§Ô¹ºÒ·â´Â㪌ÍÑμÃÒáÅ¡à»ÅÕè¹ ³ Çѹ·Õèà¡Ô´ÃÒ¡ÒÃ


ÊÔ¹·ÃѾ áÅÐ˹ÕÊé Ô¹·Õàè »š¹μÑÇà§Ô¹áÅÐ໚¹à§Ô¹ μÃÒμ‹Ò§»ÃÐà·È ³ Çѹ·ÕèÃÒ§ҹá»Å§¤‹Ò ໚¹à§Ô¹ºÒ·â´Â㪌ÍμÑ ÃÒáÅ¡à»ÅÕÂè ¹ ³ Çѹ¹Ñ¹é ¡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹¨Ò¡¡ÒÃá»Å§¤‹ÒºÑ¹·Ö¡ã¹ ¡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹ ÊÔ¹·ÃѾ áÅÐ˹ÕéÊÔ¹·ÕèäÁ‹à»š¹μÑÇà§Ô¹«Öè§à¡Ô´ ¨Ò¡ÃÒ¡ÒúÑÞªÕ·Õè໚¹à§Ô¹μÃÒμ‹Ò§»ÃÐà·È «Ö觺ѹ·Ö¡μÒÁࡳ± ÃҤҷعà´ÔÁ á»Å§¤‹Ò ໚¹à§Ô¹ºÒ·â´Â㪌ÍÑμÃÒáÅ¡à»ÅÕè¹ ³ Çѹ·Õè à¡Ô´ÃÒ¡Òà ¡Ô¨¡ÒÃã¹μ‹Ò§»ÃÐà·È ÊÔ¹·ÃѾ áÅÐ˹ÕÊé ¹Ô ¢Í§¡Ô¨¡ÒÃã¹μ‹Ò§»ÃÐà·È á»Å§¤‹Ò໚¹à§Ô¹ºÒ·â´Â㪌ÍÑμÃÒáÅ¡à»ÅÕè¹ ³ Çѹ·ÕèÃÒ§ҹ ¤‹ Ò ¤ÇÒÁ¹Ô  ÁáÅÐÃÒ¡ÒûÃÑ º »ÃØ § ÁÙ Å ¤‹ Ò ÂØμ¸Ô ÃÃÁ·Õàè ¡Ô´¨Ò¡¡Òë×Íé ¡Ô¨¡ÒÃã¹μ‹Ò§»ÃÐà·È á»Å§¤‹Ò໚¹à§Ô¹ºÒ·â´Â㪌ÍÑμÃÒáÅ¡à»ÅÕè¹ ³ Çѹ·Õèà¡Ô´ÃÒ¡Òà ÃÒÂä´ŒáÅФ‹Ò㪌¨Ò‹ ¢ͧ¡Ô¨¡ÒÃã¹μ‹Ò§»ÃÐà·È á»Å§¤‹Ò໚¹à§Ô¹ºÒ·â´Â㪌ÍμÑ ÃÒáÅ¡à»ÅÕÂè ¹·Õè ã¡ÅŒà¤Õ§¡ÑºÍÑμÃÒ ³ Çѹ·Õèà¡Ô´ÃÒ¡Òà ¼Åμ‹Ò§¨Ò¡ÍÑμÃÒáÅ¡à»ÅÕè¹·Õèà¡Ô´¨Ò¡¡Òà á»Å§¤‹ÒºÑ¹·Ö¡ã¹¡íÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨Í×¹è áÅÐ áÊ´§à»š¹ÃÒ¡ÒüÅμ‹Ò§¨Ò¡ÍÑμÃÒáÅ¡à»ÅÕÂè ¹ ã¹Ê‹Ç¹¢Í§¼Ù¶Œ Í× ËعŒ ¨¹¡Ç‹ÒÁÕ¡ÒèíÒ˹‹ÒÂà§Ô¹ ŧ·Ø¹¹Ñé¹ÍÍ¡ä» àÁ×èÍÁÕ¡ÒêíÒÃÐ˹ÕéÃÒ¡Ò÷Õè໚¹μÑÇà§Ô¹·Õè໚¹ Å١˹ÕËé Ã×Í਌ÒË¹Õ¡é ºÑ Ë¹‹Ç§ҹã¹μ‹Ò§»ÃÐà·È «Öè § ÃÒ¡ÒÃ´Ñ § ¡Å‹ Ò ÇÁÔ ä ´Œ ¤ Ò´ËÁÒÂÇ‹ Ò ¨ÐÁÕ á¼¹¡ÒêíÒÃÐ˹ÕéËÃ×ÍäÁ‹ÁÕ¤ÇÒÁ໚¹ä»ä´ŒÇ‹Ò ¨ÐªíÒÃÐà§Ô¹ã¹Í¹Ò¤μÍѹã¡ÅŒ ¡íÒäÃáÅТҴ·Ø¹

¨Ò¡ÍÑμÃÒáÅ¡à»ÅÕÂè ¹¨Ò¡ÃÒ¡Ò÷ҧ¡ÒÃà§Ô¹ ´Ñ § ¡Å‹ Ò Ç¨Ð¶Ù ¡ ¾Ô ¨ ÒóÒ໚ ¹ Ê‹ Ç ¹Ë¹Öè § ¢Í§ à§Ô¹Å§·Ø¹ÊØ·¸Ôã¹Ë¹‹Ç§ҹμ‹Ò§»ÃÐà·È áÅÐ ÃѺÃÙ㌠¹¡íÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨Í×¹è áÅÐáÊ´§à»š¹ ÃÒ¡ÒüÅμ‹Ò§¨Ò¡ÍÑμÃÒáÅ¡à»ÅÕè¹ã¹Ê‹Ç¹ ¢Í§¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ ¨¹¡Ç‹ÒÁÕ¡ÒèíÒ˹‹ÒÂà§Ô¹Å§·Ø¹ ¹Ñé¹ÍÍ¡ä»

(ค) เครือ่ งมือทางการเงินทีเ่ ป นตราสารอนุพนั ธ à¤Ã×èͧÁ×Í·Ò§¡ÒÃà§Ô¹·Õè໚¹μÃÒÊÒÃ͹ؾѹ¸ ä´Œ ¶Ù ¡ ¹í Ò ÁÒ㪌 à ¾×è Í ¨Ñ ´ ¡ÒäÇÒÁàÊÕè  §·Õè à ¡Ô ´ ¨Ò¡¡ÒÃà»ÅÕè  ¹á»Å§ã¹ÍÑ μ ÃÒáÅ¡à»ÅÕè  ¹ à§Ô¹μÃÒμ‹Ò§»ÃÐà·È ÍÑμÃÒ´Í¡àºÕé·Õèà¡Ô´¨Ò¡ ¡Ô¨¡ÃÃÁ´íÒà¹Ô¹§Ò¹ ¡Ô¨¡ÃÃÁ¨Ñ´ËÒà§Ô¹ áÅÐ ¡Ô¨¡ÃÃÁŧ·Ø¹ à¤Ã×èͧÁ×Í·Ò§¡ÒÃà§Ô¹·Õè໚¹ μÃÒÊÒÃ͹ؾѹ¸ äÁ‹ä´ŒÁÕäÇŒà¾×èͤŒÒ Í‹ҧäà ¡çμÒÁ μÃÒÊÒÃ͹ؾѹ¸ ·ÕèäÁ‹à¢ŒÒà§×èÍ¹ä¢ ¡Òà ¡íÒ˹´ãˌ໚¹à¤Ã×èͧÁ×Í»‡Í§¡Ñ¹¤ÇÒÁàÊÕè§ ¶×Í໚¹ÃÒ¡ÒÃà¾×èͤŒÒ à¤Ã×Íè §Á×Í·Ò§¡ÒÃà§Ô¹·Õàè »š¹μÃÒÊÒÃ͹ؾ¹Ñ ¸ ¨Ð ¶Ù¡ºÑ¹·Ö¡ºÑÞªÕàÁ×Íè àÃÔÁè áá´ŒÇÂÁÙŤ‹ÒÂØμ¸Ô ÃÃÁ ¤‹Ò㪌¨‹Ò·Õèà¡Ô´¨Ò¡¡Ò÷íÒÃÒ¡Òôѧ¡Å‹ÒÇ ºÑ¹·Ö¡ã¹¡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹àÁ×èÍà¡Ô´¢Öé¹ ¡ÒÃÇÑ´ ÁÙŤ‹ÒãËÁ‹ÀÒÂËÅѧ¡Òúѹ·Ö¡¤Ãѧé áá㪌ÁÅÙ ¤‹Ò ÂØμÔ¸ÃÃÁ ¡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹¨Ò¡¡ÒÃÇÑ´ÁÙŤ‹Ò ãËÁ‹ãˌ໚¹ÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁºÑ¹·Ö¡ã¹¡íÒäÃËÃ×Í ¢Ò´·Ø¹·Ñ¹·Õ ÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁ¢Í§ÊÑÞÞÒáÅ¡à»ÅÕè¹ÍÑμÃÒ ´Í¡àºÕé¶×ÍμÒÁÃÒ¤Ò͌ҧÍÔ§¢Í§¹ÒÂ˹ŒÒ ³ Çѹ·ÕÃè Ò§ҹ ÃÒ¤Ò͌ҧÍÔ§àËŋҹѹé ÊÒÁÒö ·´ÊͺËÒ¤ÇÒÁÊÁàËμØÊÁ¼Åä´Œ â´Â¡Òà ¤Ô´Å´»ÃÐÁÒ³¡ÒáÃÐáÊà§Ô¹Ê´ã¹Í¹Ò¤μ ÀÒÂãμŒ¢ŒÍ¡íÒ˹´μ‹Ò§æ áÅÐÇѹÊÔé¹ÊØ´¢Í§

áμ‹ÅÐÊÑÞÞÒ áÅÐâ´Â¡ÒÃ㪌ÍÑμÃÒ´Í¡àºÕé 㹷Œ Í §μÅÒ´¢Í§à¤Ã×è Í §Á× Í ·Ò§¡ÒÃà§Ô ¹ ·Õè ¤ÅŒÒ¤ÅÖ§¡Ñ¹ ³ Çѹ·ÕèÃÒ§ҹ ËÒ¡ÁÕÃÒ¤ÒμÅÒ´ ÁÙŤ‹ÒÂØμ¸Ô ÃÃÁ¢Í§ÊÑÞÞÒ«×Íé ¢ÒÂà§Ô¹μÃÒμ‹Ò§»ÃÐà·Èŋǧ˹ŒÒ¶×ÍμÒÁÃÒ¤Ò μÅÒ´¢Í§ÊÑÞÞÒŋǧ˹ŒÒ ³ Çѹ·ÕèÃÒ§ҹ 㹡óշÕèäÁ‹ÁÕÃÒ¤ÒμÅÒ´ »ÃÐÁÒ³ÁÙŤ‹Ò ÂØμÔ¸ÃÃÁâ´Â¡ÒäԴŴ¨Ò¡¼Åμ‹Ò§ÃÐËÇ‹Ò§ ÃÒ¤Òŋǧ˹ŒÒμÒÁÊÑÞÞÒ ¡ÑºÃÒ¤Òŋǧ˹ŒÒ ¢Í§ÊÑÞÞÒ»˜¨¨ØºÑ¹ ³ Çѹ·ÕèÃÒ§ҹ·Õè¤Ãº ¡íÒ˹´ã¹Çѹà´ÕÂǡѹ â´Â㪌ÍÑμÃÒ´Í¡àºÕé »ÃÐàÀ··Õãè ªŒ¡ºÑ ¸ØáÃÃÁ¡ÒÃà§Ô¹·Õ»è ÅÍ´¤ÇÒÁ àÊÕè§ ઋ¹ ¾Ñ¹¸ºÑμÃÃÑ°ºÒÅ

(ง) เงินสดและรายการเทียบเท าเงินสด à§Ô ¹ Ê´áÅÐÃÒ¡ÒÃà·Õ  ºà·‹ Ò à§Ô ¹ ʴ㹧º ¡ÃÐáÊà§Ô ¹ Ê´»ÃСͺ´Œ Ç Â ÂÍ´à§Ô ¹ Ê´ ÂÍ´à§Ô¹½Ò¡¸¹Ò¤ÒûÃÐàÀ·à¼×èÍàÃÕ¡ áÅÐ à§Ô¹Å§·Ø¹ÃÐÂÐÊÑ¹é ·ÕÁè ÕÊÀÒ¾¤Å‹Í§ÊÙ§ à§Ô¹àºÔ¡ à¡Ô ¹ ºÑ Þ ªÕ ¸ ¹Ò¤ÒëÖè § ¨ÐμŒ Í §ªí Ò ÃÐ¤× ¹ àÁ×è Í ·Ç§¶ÒÁ¶×Í໚¹Ê‹Ç¹Ë¹Ö觢ͧ¡Ô¨¡ÃÃÁ¨Ñ´ËÒ à§Ô¹ã¹§º¡ÃÐáÊà§Ô¹Ê´

(จ) ลูกหนี้การค าและลูกหนี้อื่น Å١˹աé ÒäŒÒáÅÐÅ١˹ÕÍé ¹×è ÃÇÁ¶Ö§ÂÍ´¤§àËÅ×Í ¡ÑººØ¤¤ÅËÃ×Í¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ áÊ´§ã¹ ÃÒ¤ÒμÒÁãºá¨Œ§Ë¹ÕËé ¡Ñ ¤‹Òà¼×Íè ˹ÕÊé §ÊѨÐÊÙÞ ¤‹ Ò à¼×è Í Ë¹Õé Ê §ÊÑ Â ¨ÐÊÙ Þ »ÃÐàÁÔ ¹ â´Â¡Òà ÇÔ à ¤ÃÒÐË » ÃÐÇÑ μÔ ¡ Òêí Ò ÃÐ˹Õé áÅСÒà ¤Ò´¡Òó à¡ÕèÂǡѺ¡ÒêíÒÃÐ˹Õéã¹Í¹Ò¤μ ¢Í§ÅÙ¡¤ŒÒ Å١˹Õé¨Ð¶Ù¡μÑ´¨íÒ˹‹ÒºÑÞªÕàÁ×èÍ ·ÃҺNjÒ໚¹Ë¹ÕéÊÙÞ


182 | 183

CPN รายงานประจําป 2555

(ฉ) เงินลงทุน à§Ô¹Å§·Ø¹ã¹ºÃÔÉѷ‹ÍÂáÅкÃÔÉѷËÇÁ à§Ô ¹ ŧ·Ø ¹ 㹺ÃÔ ÉÑ · ‹ Í ÂáÅкÃÔ ÉÑ · Ë Ç Á 㹧º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡ÒâͧºÃÔÉÑ· ºÑ¹·Ö¡ ºÑÞªÕâ´Â㪌ÇÔ¸ÕÃҤҷع ʋǹ¡Òúѹ·Ö¡ºÑÞªÕ à§Ô ¹ ŧ·Ø ¹ã¹ºÃÔ ÉÑ · Ë Ç Á㹧º¡ÒÃà§Ô ¹ ÃÇÁ 㪌ÇÔ¸Õʋǹ䴌àÊÕ à§Ô¹Å§·Ø¹ã¹μÃÒÊÒÃ˹Õáé ÅÐμÃÒÊÒ÷عÍ×¹è μÃÒÊÒÃ˹ÕéáÅÐμÃÒÊÒ÷ع«Öè§à»š¹ËÅÑ¡·ÃѾ 㹤ÇÒÁμŒÍ§¡ÒâͧμÅÒ´«Ö觶×ÍäÇŒà¾×èͤŒÒ ¨Ñ´»ÃÐàÀ·à»š¹ÊÔ¹·ÃѾ ËÁعàÇÕ¹áÅÐáÊ´§ ã¹ÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁ ¡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹¨Ò¡¡Òà μÕÃÒ¤ÒËÅÑ¡·ÃѾ 䴌ºÑ¹·Ö¡ã¹§º¡íÒäÃËÃ×Í ¢Ò´·Ø¹ μÃÒÊÒÃË¹Õ«é §Öè ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ μѧé ã¨áÅÐÊÒÁÒö¶×Í ¨¹¤Ãº¡íÒ˹´ ¨Ñ´»ÃÐàÀ·à»š¹à§Ô¹Å§·Ø¹·Õ¶è Í× ¨¹¤Ãº¡íÒ˹´ à§Ô¹Å§·Ø¹·Õ¶è Í× ¨¹¤Ãº¡íÒ˹´ áÊ´§ã¹ÃҤҷعμÑ´¨íÒ˹‹ÒÂËÑ¡´ŒÇ¢Ҵ·Ø¹ ¨Ò¡¡ÒôŒÍ¤‹Ò¢Í§à§Ô¹Å§·Ø¹ ¼Åμ‹Ò§ÃÐËÇ‹Ò§ ÃҤҷع·Õ«è ×éÍÁҡѺÁÙŤ‹Ò䶋¶Í¹¢Í§μÃÒÊÒà ˹ըé ж١μÑ´¨‹ÒÂâ´ÂÇÔ¸ÍÕ μÑ ÃÒ´Í¡àºÕÂé ·Õáè ·Œ¨ÃÔ§ μÅÍ´ÍÒÂآͧμÃÒÊÒÃ˹Õé·ÕèàËÅ×Í μÃÒÊÒÃ˹ÕéáÅÐμÃÒÊÒ÷ع«Öè§à»š¹ËÅÑ¡·ÃѾ 㹤ÇÒÁμŒÍ§¡ÒâͧμÅÒ´ ¹Í¡à˹×ͨҡ ·Õè¶×ÍäÇŒà¾×èͤŒÒËÃ×ÍμÑé§ã¨¶×ÍäÇŒ¨¹¤Ãº¡íÒ˹´ ¨Ñ´»ÃÐàÀ·à»š¹à§Ô¹Å§·Ø¹à¼×èÍ¢Ò ÀÒÂËÅѧ ¡ÒÃÃѺÃÙŒÁÙŤ‹Ò㹤ÃÑé§ááà§Ô¹Å§·Ø¹à¼×èÍ¢Ò áÊ´§ã¹ÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁ áÅСÒÃà»ÅÕè¹á»Å§ ·ÕèäÁ‹ãª‹¼Å¢Ò´·Ø¹¨Ò¡¡ÒôŒÍ¤‹ÒáÅмÅμ‹Ò§ ¨Ò¡Ê¡ØÅà§Ô¹μÃÒμ‹Ò§»ÃÐà·È¢Í§ÃÒ¡Ò÷Õè ໚¹μÑÇà§Ô¹ºÑ¹·Ö¡â´Âμçã¹Ê‹Ç¹¢Í§¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ ʋǹ¼Å¢Ò´·Ø¹¨Ò¡¡ÒôŒÍ¤‹ÒáÅмÅμ‹Ò§¨Ò¡ ÍÑμÃÒáÅ¡à»ÅÕè¹à§Ô¹μÃÒμ‹Ò§»ÃÐà·ÈÃѺÃÙŒã¹

¡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹ àÁ×èÍÁÕ¡ÒÃμÑ´¨íÒ˹‹ÒÂà§Ô¹ ŧ·Ø¹ ¨ÐÃѺÃÙ¼Œ Å¡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹ÊÐÊÁ·Õàè ¤Â ºÑ¹·Ö¡ã¹Ê‹Ç¹¢Í§¼Ù¶Œ Í× ËعŒ â´ÂμçࢌҡíÒäÃËÃ×Í ¢Ò´·Ø¹ 㹡óշÕè໚¹à§Ô¹Å§·Ø¹»ÃÐàÀ··ÕèÁÕ ´Í¡àºÕÂé ¨ÐºÑ¹·Ö¡´Í¡àºÕÂé 㹡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹ â´ÂÇÔ¸ÕÍÑμÃÒ´Í¡àºÕé·Õèá·Œ¨ÃÔ§

¸ØáԨËÃ×Í㪌㹡ÒüÅÔμËÃ×ͨѴËÒÊÔ¹¤ŒÒËÃ×Í ãËŒºÃÔ¡ÒÃËÃ×Í㪌㹡ÒúÃÔËÒçҹ

à§Ô¹Å§·Ø¹ã¹μÃÒÊÒ÷ع«Öè§äÁ‹ãª‹ËÅÑ¡·ÃѾ 㹠¤ÇÒÁμŒÍ§¡ÒâͧμÅÒ´áÊ´§ã¹ÃҤҷعËÑ¡ ¢Ò´·Ø¹¨Ò¡¡ÒôŒÍ¤‹Ò

μŒ¹·Ø¹ÃÇÁ¤‹Ò㪌¨‹Ò·ҧμçà¾×èÍãˌ䴌ÁÒ«Öè§ ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×èÍ¡ÒÃŧ·Ø¹ μŒ¹·Ø¹¡Òà ¡‹ÍÊÌҧ·Õè¡Ô¨¡Òá‹ÍÊÌҧàͧÃÇÁ¶Ö§μŒ¹·Ø¹ ÇÑμ¶Ø´ºÔ ¤‹Òáç·Ò§μçáÅÐμŒ¹·Ø¹·Ò§μçÍ×¹è à¾×èÍãËŒÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×èÍ¡ÒÃŧ·Ø¹ÍÂÙ‹ã¹ ÊÀÒ¾¾ÃŒÍÁ㪌§Ò¹áÅÐÃÇÁ¶Ö§μŒ¹·Ø¹¡ÒáÙÂŒ Á×

ÁÙ Å ¤‹ Ò ÂØ μÔ ¸ ÃÃÁ¢Í§à¤Ã×è Í §Á× Í ·Ò§¡ÒÃà§Ô ¹ ÊíÒËÃѺËÅÑ¡·ÃѾ à¾×èͤŒÒáÅÐËÅÑ¡·ÃѾ à¼×èÍ ¢Ò¨Ð㪌ÃÒ¤Òàʹͫ×éÍ ³ Çѹ·ÕèÃÒ§ҹ ¡ÒèíÒ˹‹ÒÂà§Ô¹Å§·Ø¹ àÁ×èÍÁÕ¡ÒèíÒ˹‹ÒÂà§Ô¹Å§·Ø¹ ¼Åμ‹Ò§ÃÐËÇ‹Ò§ ¨íҹǹà§Ô¹ÊØ·¸Ô·Õèä´ŒÃѺáÅÐÁÙŤ‹ÒμÒÁºÑÞªÕ áÅÐÃÇÁ¶Ö§¡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹ÊÐÊÁ¨Ò¡¡Òà μÕÃÒ¤ÒËÅÑ¡·ÃѾ ·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§·Õèà¤ÂºÑ¹·Ö¡ã¹ ʋǹ¢Í§¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ ¨Ð¶Ù¡ºÑ¹·Ö¡ã¹¡íÒäÃËÃ×Í ¢Ò´·Ø¹ 㹡óշÕè¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·¨íÒ˹‹Òºҧʋǹ¢Í§ à§Ô¹Å§·Ø¹·Õè¶×ÍÍÂÙ‹ ¡ÒäíÒ¹Ç³μŒ¹·Ø¹ÊíÒËÃѺ à§Ô ¹ ŧ·Ø ¹ ·Õè ¨í Ò Ë¹‹ Ò Âä»áÅÐà§Ô ¹ ŧ·Ø ¹ ·Õè ÂÑ § ¶× ÍÍÂÙ‹ 㪌 ÇÔ ¸Õ ¶ÑÇà©ÅÕè ¶‹ ǧ¹éí ÒË¹Ñ ¡»ÃÑ ºãªŒ ¡Ñ º ÁÙ Å ¤‹ Ò μÒÁºÑ Þ ªÕ ¢ ͧà§Ô ¹ ŧ·Ø ¹ ·Õè à ËÅ× Í ÍÂÙ‹ ·Ñé§ËÁ´

(ช) อสังหาริมทรัพย เพื่อการลงทุน ÍÊÑ § ËÒÃÔ Á ·ÃÑ ¾ Â à ¾×è Í ¡ÒÃŧ·Ø ¹ ä´Œ á ¡‹ ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ ·Õè¶×ͤÃͧà¾×èÍËÒ»ÃÐ⪹ ¨Ò¡ÃÒÂä´Œ¤Ò‹ ઋÒËÃ×ͨҡÁÙŤ‹Ò·Õàè ¾ÔÁè ¢Ö¹é ËÃ×Í ·Ñé§ÊͧÍ‹ҧ ·Ñ駹ÕéäÁ‹ä´ŒÁÕäÇŒà¾×èÍ¢ÒÂμÒÁ»¡μÔ

ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×èÍ¡ÒÃŧ·Ø¹áÊ´§ã¹ÃÒ¤Ò ·Ø¹ËÑ¡¤‹ÒàÊ×èÍÁÃÒ¤ÒÊÐÊÁáÅТҴ·Ø¹¨Ò¡ ¡ÒôŒÍ¤‹Ò

¤‹ÒàÊ×èÍÁÃҤҨкѹ·Ö¡ã¹¡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹ «Ö觤íҹdzâ´ÂÇÔ¸ÕàÊŒ¹μçμÒÁÍÒÂØ¡ÒÃ㪌§Ò¹ â´Â»ÃÐÁÒ³¢Í§ÊÔ ¹ ·ÃÑ ¾  á μ‹ Å ÐÃÒ¡Òà »ÃÐÁÒ³¡ÒÃÍÒÂØ¡ÒÃ㪌§Ò¹¢Í§ÊÔ¹·ÃѾ áÊ´§ä´Œ´Ñ§¹Õé ÍÒ¤ÒÃáÅÐʋǹ»ÃѺ»Ãا 20-30 »‚ ÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋҷÕè´Ô¹ 25-40 »‚ (μÒÁÍÒÂØÊÑÞÞÒઋÒ)

(ซ) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ ¡ÒÃÃѺÃÙŒáÅСÒÃÇÑ´ÁÙŤ‹Ò ÊÔ¹·ÃѾ ·Õè໚¹¡ÃÃÁÊÔ·¸Ôì¢Í§¡Ô¨¡Òà ·Õè´Ô¹ ÍÒ¤ÒÃáÅÐÍØ»¡Ã³ áÊ´§´ŒÇÂÃҤҷع ËÑ¡¤‹ÒàÊ×èÍÁÃÒ¤ÒÊÐÊÁáÅТҴ·Ø¹¨Ò¡¡Òà ´ŒÍ¤‹Ò ÃҤҷعÃÇÁ¶Ö§μŒ¹·Ø¹·Ò§μç·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñº ¡ÒÃä´ŒÁҢͧÊÔ¹·ÃÑ¾Â μŒ¹·Ø¹¢Í§¡Òá‹ÍÊÌҧ ÊÔ¹·ÃѾ ·Õè¡Ô¨¡Òá‹ÍÊÌҧàͧ ÃÇÁ¶Ö§μŒ¹·Ø¹ ¢Í§ÇÑÊ´Ø áç§Ò¹·Ò§μç áÅÐμŒ¹·Ø¹·Ò§μç Í×è¹æ ·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñº¡ÒèѴËÒÊÔ¹·ÃѾ à¾×èÍ


ãËŒÊÔ¹·ÃѾ ¹Ñé¹ÍÂÙ‹ã¹ÊÀÒ¾·Õè¾ÃŒÍÁ¨Ð㪌§Ò¹ ä´ŒμÒÁ¤ÇÒÁ»ÃÐʧ¤ μŒ¹·Ø¹ã¹¡ÒÃÃ×éͶ͹ ¡Òâ¹ÂŒÒ ¡ÒúÙóÐʶҹ·Õμè §Ñé ¢Í§ÊÔ¹·ÃѾ áÅÐμŒ¹·Ø¹¡ÒáÙÂŒ Á× ÊíÒËÃѺà¤Ã×Íè §Á×Í·Õ¤è Ǻ¤ØÁ â´ÂÅÔ¢ÊÔ·¸Ôì«Í¿áÇà «Öè§äÁ‹ÊÒÁÒö·íҧҹ䴌 â´Â»ÃÒȨҡÅÔ¢ÊÔ·¸Ô«ì Í¿áÇà ¹¹Ñé ¶×ÍÇ‹ÒÅÔ¢ÊÔ·¸Ôì «Í¿áÇà ´Ñ§¡Å‹ÒÇ໚¹Ê‹Ç¹Ë¹Ö觢ͧÍØ»¡Ã³ ʋǹ»ÃСͺ¢Í§ÃÒ¡Ò÷Õè´Ô¹ ÍÒ¤Òà áÅÐ ÍØ»¡Ã³ áμ‹ÅÐÃÒ¡Ò÷ÕÁè ÍÕ ÒÂØ¡ÒÃãËŒ»ÃÐ⪹ äÁ‹à·‹Ò¡Ñ¹¨ÐºÑ¹·Ö¡áμ‹ÅÐʋǹ»ÃСͺ·ÕÁè ¹Õ ÂÑ ÊíÒ¤ÑÞá¡μ‹Ò§ËÒ¡¨Ò¡¡Ñ¹ ¡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹¨Ò¡¡ÒèíÒ˹‹ÒÂ·Õ´è ¹Ô ÍÒ¤Òà áÅÐÍØ»¡Ã³ ¤×ͼÅμ‹Ò§ÃÐËÇ‹Ò§ÊÔè§μͺ᷹ ÊØ·¸Ô·Õèä´ŒÃѺ¨Ò¡¡ÒèíÒ˹‹Ò¡ѺÁÙŤ‹ÒμÒÁ ºÑުբͧ·Õè´Ô¹ ÍÒ¤Òà áÅÐÍØ»¡Ã³ â´ÂÃѺÃÙŒ ÊØ·¸Ô໚¹ÃÒÂä´ŒÍ×è¹ã¹¡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹ ¡ÒèѴ»ÃÐàÀ·ä»ÂѧÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×èÍ ¡ÒÃŧ·Ø¹ àÁ×è Í ÁÕ ¡ ÒÃà»ÅÕè  ¹á»Å§¡ÒÃ㪌 § Ò¹¨Ò¡ Í ÊÑ § Ë Ò ÃÔ Á · ÃÑ ¾  ·Õè ÁÕ ä ÇŒ ã ªŒ § Ò ¹ ä » ÂÑ § ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×èÍ¡ÒÃŧ·Ø¹ ¨ÐÇÑ´ÁÙŤ‹Ò ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ ¹Ñé¹ãËÁ‹´ŒÇÂÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁ áÅШѴ»ÃÐàÀ·à»š¹ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×èÍ¡Òà ŧ·Ø¹

μŒ¹·Ø¹·Õèà¡Ô´¢Öé¹ã¹¡Òë‹ÍÁºíÒÃا·Õè´Ô¹ ÍÒ¤Òà áÅÐÍØ»¡Ã³ ·àÕè ¡Ô´¢Ö¹é ໚¹»ÃШíÒ¨ÐÃѺÃÙ㌠¹¡íÒäà ËÃ×Í¢Ò´·Ø¹àÁ×èÍà¡Ô´¢Öé¹

ÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋҷÕè´Ô¹¾ÃŒÍÁÊÔ觻ÅÙ¡ÊÌҧ 30 »‚ ÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋҷÕè´Ô¹ 25-30 »‚

¤‹ÒàÊ×èÍÁÃÒ¤Ò

(ญ) สัญญาเช าระยะยาว

¤‹ÒàÊ×èÍÁÃÒ¤Ò¤íҹdz¨Ò¡ÁÙŤ‹ÒàÊ×èÍÁÊÀÒ¾ ¢Í§ÃÒ¡ÒÃÍÒ¤Òà áÅÐÍØ»¡Ã³ «Ö§è »ÃСͺ ´ŒÇÂÃҤҷع¢Í§ÊÔ¹·ÃѾ ËÃ×ÍμŒ¹·Ø¹ã¹¡Òà à»ÅÕè¹᷹Í×è¹ ËÑ¡´ŒÇÂÁÙŤ‹Ò¤§àËÅ×ͧ͢ ÊÔ¹·ÃѾÂ

¡Ã³Õ·Õè¡ÅØ‹ÁºÃÔÉѷ໚¹¼ÙŒàª‹Ò

¤‹ÒàÊ×Íè ÁÃҤҺѹ·Ö¡à»š¹¤‹Ò㪌¨Ò‹ Â㹡íÒäÃËÃ×Í ¢Ò´·Ø¹ ¤íҹdzâ´ÂÇÔ¸àÕ ÊŒ¹μçμÒÁࡳ± ÍÒÂØ ¡ÒÃ㪌§Ò¹â´Â»ÃÐÁÒ³¢Í§ÊÔ¹·ÃѾ áμ‹ÅÐ ÃÒ¡Òà »ÃÐÁÒ³¡ÒÃÍÒÂØ¡ÒÃ㪌§Ò¹¢Í§ ÊÔ¹·ÃѾ áÊ´§ä´Œ´Ñ§¹Õé à¤Ã×èͧμ¡á싧 μÔ´μÑé§ áÅÐà¤Ã×èͧ㪌Êíҹѡ§Ò¹ ÂÒ¹¾Ò˹Ð

5-15 »‚ 5 »‚

¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ äÁ‹¤´Ô ¤‹ÒàÊ×Íè ÁÃÒ¤ÒÊíÒËÃѺ·Õ´è ¹Ô áÅÐ ÊÔ¹·ÃѾ ·ÕèÍÂÙ‹ÃÐËÇ‹Ò§¡Òá‹ÍÊÌҧ ÇÔ¸¡Õ ÒäԴ¤‹ÒàÊ×Íè ÁÃÒ¤Ò ÍÒÂØ¡ÒÃãËŒ»ÃÐ⪹ ¢Í§ÊÔ¹·ÃѾ áÅÐÁÙŤ‹Ò¤§àËÅ×Í ¶Ù¡·º·Ç¹ Í‹ҧ¹ŒÍ·ÕÊè ´Ø ·Ø¡ÊÔ¹é Ãͺ»‚ºÞ Ñ ªÕ áÅлÃѺ»Ãا μÒÁ¤ÇÒÁàËÁÒÐÊÁ

μŒ¹·Ø¹·Õèà¡Ô´¢Öé¹ã¹ÀÒÂËÅѧ μŒ¹·Ø¹ã¹¡ÒÃà»ÅÕÂè ¹á·¹Ê‹Ç¹»ÃСͺ¨ÐÃѺÃÙŒ ໚¹Ê‹Ç¹Ë¹Ö§è ¢Í§ÁÙŤ‹ÒμÒÁºÑުբͧÃÒ¡Òà ·Õè´Ô¹ ÍÒ¤ÒÃáÅÐÍØ»¡Ã³ ¶ŒÒÁÕ¤ÇÒÁ໚¹ä» ä´Œ¤‹Í¹¢ŒÒ§á¹‹·Õè¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·/ºÃÔÉÑ·¨Ðä´ŒÃѺ »ÃÐ⪹ àªÔ§àÈÃÉ°¡Ô¨ã¹Í¹Ò¤μ¨Ò¡ÃÒ¡Òà ¹Ñé¹ áÅÐÊÒÁÒöÇÑ´ÁÙŤ‹ÒμŒ¹·Ø¹¢Í§ÃÒ¡Òà ¹Ñé¹ä´ŒÍ‹ҧ¹‹Òàª×èͶ×Í ªÔé¹Ê‹Ç¹·Õè¶Ù¡à»ÅÕè¹ á·¹¨Ð¶Ù¡μÑ´¨íÒ˹‹ÒÂμÒÁÁÙŤ‹ÒμÒÁºÑÞªÕ

(ฌ) สิทธิการเช า ÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋÒáÊ´§ã¹ÃҤҷعËÑ¡¤‹ÒμÑ´¨íÒ˹‹Ò ÊÐÊÁáÅТҴ·Ø¹¨Ò¡¡ÒôŒÍ¤‹Ò ¤‹ÒμÑ´¨íÒ˹‹Ò ÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋÒμÑ´ºÑÞªÕ໚¹¤‹Ò㪌¨Ò‹ Â㹡íÒäÃËÃ×Í ¢Ò´·Ø¹ ¤íҹdzâ´ÂÇÔ¸àÕ ÊŒ¹μçμÒÁÃÐÂÐàÇÅÒ ¢Í§ÊÑÞÞÒઋҴѧ¹Õé

ÊÑÞÞÒઋҷÕè´Ô¹ ÍÒ¤Òà áÅÐÍØ»¡Ã³ ·Õè¤ÇÒÁ àÊÕè§áÅмÅμͺ᷹¢Í§¤ÇÒÁ໚¹à¨ŒÒ¢Í§ ʋǹãËÞ‹ä´Œâ͹ä»ãËŒ¡Ñº¼ÙŒàª‹Ò¶×Í໚¹ÊÑÞÞÒ àª‹Ò¡ÒÃà§Ô¹ ÊÑÞÞÒઋҡÒÃà§Ô¹¨ÐºÑ¹·Ö¡à»š¹ ÃÒ¨‹Ò½†Ò·عμÒÁÁÙŤ‹Ò»˜¨¨ØºÑ¹ÊØ·¸Ô¢Í§ ¨íҹǹà§Ô¹·ÕèμŒÍ§¨‹ÒÂμÒÁÊÑÞÞÒàª‹Ò â´Â ¨íҹǹà§Ô¹·Õμè ÍŒ §¨‹Ò¨л˜¹Ê‹Ç¹ÃÐËNjҧ˹ÕÊé ¹Ô áÅФ‹ Ò㪌 ¨‹ Ò Â·Ò§¡ÒÃà§Ô ¹ à¾×è ÍãËŒ ä ´Œ ÍÑ μ ÃÒ ´Í¡àºÕÂé ¤§·Õμè Í‹ ˹ÕÊé ¹Ô ¤§¤ŒÒ§ÍÂÙ‹ ÀÒÃм١¾Ñ¹ μÒÁÊÑÞÞÒઋÒËÑ¡¤‹Ò㪌¨‹Ò·ҧ¡ÒÃà§Ô¹¨Ð ºÑ¹·Ö¡à»š¹Ë¹ÕÊé ¹Ô ÃÐÂÐÂÒÇ Ê‹Ç¹´Í¡àºÕÂé ¨‹Ò ¨ÐºÑ¹·Ö¡ã¹¡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹μÅÍ´ÍÒÂآͧ ÊÑÞÞÒàª‹Ò ÊÔ¹·ÃѾ ·Õèà¡Ô´¨Ò¡ÊÑÞÞÒàª‹Ò ¡ÒÃà§Ô¹¨Ð¤Ô´¤‹ÒàÊ×èÍÁÃÒ¤ÒμÅÍ´ÍÒÂØ¡Òà 㪌§Ò¹¢Í§ÊÔ¹·ÃѾ ¹Ñé¹ ÊÑ Þ ÞÒઋ Ò ÊÔ ¹ ·ÃÑ ¾  ⠴·Õè ¤ ÇÒÁàÊÕè  §áÅÐ ¼Åμͺ᷹¢Í§¤ÇÒÁ໚¹à¨ŒÒ¢Í§Ê‹Ç¹ãËÞ‹μ¡ ÍÂÙ¡‹ ºÑ ¼Ù㌠ˌઋҨШѴ໚¹ÊÑÞÞÒઋҴíÒà¹Ô¹§Ò¹ à§Ô ¹ ·Ñé § ËÁ´·Õè μŒ Í §¨‹ Ò ÂÀÒÂãμŒ ÊÑ Þ ÞÒઋ Ò ´í Ò à¹Ô ¹ §Ò¹¨ÐºÑ ¹ ·Ö ¡ã¹¡í Ò äÃËÃ× Í ¢Ò´·Ø ¹ â´ÂãªŒÇ¸Ô àÕ ÊŒ¹μçμÅÍ´ÍÒÂآͧÊÑÞÞÒઋҹѹé ã¹Ê‹Ç¹¢Í§ÊÑÞÞÒઋÒÊÔ¹·ÃѾ ·Õè¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ· äÁ‹ä´Œà¢ŒÒ¤Ãͺ¤Ãͧ¾×é¹·Õè¢Í§ÊÔ¹·ÃѾ ¹Ñé¹ ·Ñ§é ËÁ´μѧé áμ‹Ç¹Ñ áá·Õ·è Òí ÊÑÞÞÒàª‹Ò à§Ô¹·Ñ§é ËÁ´ ·ÕèμŒÍ§¨‹ÒÂÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒઋҴíÒà¹Ô¹§Ò¹¨Ð ºÑ¹·Ö¡ã¹¡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹â´Â㪌ÇÔ¸ÕμÑ´¨‹Ò ·Õè໚¹Ãкº«Öè§ÍŒÒ§ÍÔ§¨Ò¡¨íҹǹ¾×é¹·Õè·Õèä´Œ ¤Ãͺ¤Ãͧã¹áμ‹Åл‚


184 | 185

CPN รายงานประจําป 2555

¤‹Ò㪌¨‹Ò·Õèà¡Ô´¢Ö鹨ҡ¡ÒáàÅÔ¡ÊÑÞÞÒàª‹Ò ´íÒà¹Ô¹§Ò¹¡‹Í¹ËÁ´ÍÒÂØ¡ÒÃàª‹Ò àª‹¹ àºÕÂé »ÃѺ ·Õμè ÍŒ §¨‹ÒÂãˌᡋ¼ãÙŒ ËŒàª‹Ò ¨ÐºÑ¹·Ö¡à»š¹¤‹Ò㪌¨Ò‹  ã¹ÃͺÃÐÂÐàÇÅÒºÑ Þ ªÕ ·Õè ¡ ÒáàÅÔ ¡ ¹Ñé ¹ à¡Ô´¢Öé¹

(ฎ) สิทธิการใช สินทรัพย

¡Ã³Õ·Õè¡ÅØ‹ÁºÃÔÉѷ໚¹¼ÙŒãˌઋÒ

¤‹ Ò μÑ ´ ¨í Ò Ë¹‹ Ò Â¤í Ò ¹Ç³¨Ò¡ÃÒ¤Ò·Ø ¹ ¢Í§ ÊÔ¹·ÃѾ ËÃ×ͨíҹǹÍ×è¹·Õè㪌᷹ÃҤҷع ËÑ¡´ŒÇÂÁÙŤ‹Ò¤§àËÅ×Í

ÊÔ¹·ÃѾ ·ãÕè ˌઋÒÀÒÂãμŒÊÞ Ñ ÞÒઋҴíÒà¹Ô¹§Ò¹ áÊ´§ÃÇÁÍÂÙ‹ã¹·Õè´Ô¹ ÍÒ¤Òà áÅÐÍØ»¡Ã³ 㹧ºáÊ´§°Ò¹Ð·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ áÅÐμÑ´¤‹ÒàÊ×Íè Á ÃÒ¤ÒμÅÍ´ÍÒÂØ ¡ ÒÃ㪌 § Ò¹¢Í§ÊÔ ¹ ·ÃÑ ¾  ઋ ¹ à´Õ Â Ç¡Ñ º ÊÔ ¹ ·ÃÑ ¾  ¶ ÒÇ÷Õè ÁÕ ÅÑ ¡ ɳРàËÁ×͹¡Ñ¹ ÃÒÂä´Œ¤‹ÒઋÒÃѺÃÙŒâ´ÂÇÔ¸ÕàÊŒ¹μç μÒÁÃÐÂÐàÇÅÒ¡ÒÃãËŒàª‹Ò ÊÑ Þ ÞÒઋ Ò ÊÔ ¹ ·ÃÑ ¾  ⠴·Õè ¡ ÅØ‹ Á ºÃÔ ÉÑ ·ä´Œ ÁÕ ¡ÒÃâ͹¤ÇÒÁàÊÕè  §áÅмŻÃÐ⪹ ¢ ͧ ¤ÇÒÁ໚¹à¨ŒÒ¢Í§Ê‹Ç¹ãËÞ‹ä»ãËŒ¡Ñº¼ÙŒàª‹Ò¨Ð ¨Ñ´à»š¹ÊÑÞÞÒઋҡÒÃà§Ô¹ áÅÐÊÔ¹·ÃѾ ·Õè ¶×ÍäÇŒÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒઋҡÒÃà§Ô¹¨ÐºÑ¹·Ö¡ã¹ §ºáÊ´§°Ò¹Ð¡ÒÃà§Ô¹à»š¹Å١˹ÕÀé ÒÂãμŒÊÞ Ñ ÞÒ àª‹Ò¡ÒÃà§Ô¹ ÃÒÂä´Œ¨Ò¡¡ÒâÒÂ·Õºè ¹Ñ ·Ö¡ ³ ÇѹàÃÔÁè μŒ¹¢Í§ ÊÑÞÞÒઋҡÒÃà§Ô¹¢Í§¼Ù㌠ˌઋÒ㪌ÃÒ¤ÒÂØμ¸Ô ÃÃÁ ¢Í§·ÃѾ ÊÔ¹ËÃ×ÍÃÒ¤Ò·ÕèμèíҡNjҢͧÁÙŤ‹Ò »˜¨¨ØºÑ¹¢Í§¼ÅÃÇÁ¢Í§¨íҹǹ¢Ñé¹μèíÒ·ÕèμŒÍ§ ¨‹ÒÂμÒÁÊÑÞÞÒઋÒá¡‹¼ÙŒãˌઋҫÖ觡Òäíҹdz ÁÙŤ‹Ò»˜¨¨ØºÑ¹¹Õé㪌ÍÑμÃÒ´Í¡àºÕé·ҧ¡ÒäŒÒ ·Õàè ËÁÒÐÊÁ μŒ¹·Ø¹¢Ò¢ͧÊÑÞÞÒઋҡÒÃà§Ô¹ ºÑ¹·Ö¡à»š¹μŒ¹·Ø¹ ³ Çѹ·Õàè ÃÔÁè ÊÑÞÞÒàª‹Ò â´Â㪌 ÃҤҷع¢Í§ÊÔ¹·ÃѾ ·ÕèãˌઋÒËÃ×Í㪌ÃÒ¤Ò μÒÁºÑÞªÕ ¶ŒÒÃÒ¤ÒμÒÁºÑÞªÕμÒ‹ §¨Ò¡ÃҤҷع ¼Åμ‹ Ò §ÃÐËÇ‹ Ò §ÃÒÂä´Œ ¨ Ò¡¡ÒâÒÂáÅÐ μŒ¹·Ø¹¢Ò ºÑ¹·Ö¡à»š¹¡íÒäèҡ¡ÒâÒÂ«Ö§è ¨Ð ÃѺÃÙμŒ ÒÁ¹âºÒ¡ÒúÑÞªÕ·¡Õè ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ãªŒÃºÑ ÃÙŒ ¡ÒâÒÂμÒÁ»¡μÔ

ÊÔ·¸Ô¡ÒÃ㪌ÊÔ¹·ÃѾ áÊ´§ã¹ÃҤҷع ËÑ¡¤‹Ò μÑ´¨íÒ˹‹ÒÂÊÐÊÁáÅТҴ·Ø¹¨Ò¡¡ÒôŒÍ¤‹Ò ¤‹ÒμÑ´¨íÒ˹‹ÒÂ

¤‹ÒμÑ´¨íÒ˹‹ÒÂÃѺÃٌ㹡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹â´Â ÇÔ¸ÕàÊŒ¹μç«Öè§â´ÂʋǹãËÞ‹¨ÐÊзŒÍ¹ÃٻẺ ·Õè ¤ Ò´Ç‹ Ò ¨Ðä´Œ ÃÑ º »ÃÐ⪹ 㠹͹Ҥμ¨Ò¡ ÊÔ¹·ÃѾ ¹Ñé¹μÒÁÃÐÂÐàÇÅÒ·Õè¤Ò´Ç‹Ò¨Ðä´ŒÃѺ »ÃÐ⪹ ¨Ò¡ÊÔ·¸Ô¡ÒÃãªŒÊ¹Ô ·ÃѾ â´ÂàÃÔÁè μÑ´ ¨íÒ˹‹ÒÂÊÔ·¸Ô¡ÒÃãªŒÊ¹Ô ·ÃѾ àÁ×Íè ÊÔ¹·ÃѾ ¹¹Ñé ¾ÃŒÍÁ·Õè¨ÐãËŒ»ÃÐ⪹ ÃÐÂÐàÇÅÒ·Õ¤è Ò´Ç‹Ò¨Ðä´ŒÃºÑ »ÃÐ⪹ ÊÒí ËÃѺ»‚ »˜¨¨ØºÑ¹áÅл‚à»ÃÕºà·ÕºáÊ´§ä´Œ´Ñ§¹Õé ÊÔ·¸Ô¡ÒÃ㪌ÊÔ¹·ÃѾÂ

10 áÅÐ 28 »‚

ÇÔ¸Õ¡ÒÃμÑ´¨íÒ˹‹Ò ÃÐÂÐàÇÅÒ·Õè¤Ò´Ç‹Ò¨Ðä´Œ ÃѺ»ÃÐ⪹ áÅÐÁÙŤ‹Ò¤§àËÅ×Í ¨Ðä´ŒÃºÑ ¡Òà ·º·Ç¹·Ø¡ÊÔé¹Ãͺ»‚ºÑÞªÕáÅлÃѺ»ÃاμÒÁ ¤ÇÒÁàËÁÒÐÊÁ

(ฏ) การด อยค า ÂÍ´ÊÔ¹·ÃѾ μÒÁºÑުբͧ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ä´ŒÃѺ ¡Ò÷º·Ç¹ ³ ·Ø¡Çѹ·ÕèÃÒ§ҹNjÒÁÕ¢ŒÍº‹§ªÕé àÃ×èͧ¡ÒôŒÍ¤‹ÒËÃ×ÍäÁ‹ 㹡óշÕèÁÕ¢ŒÍº‹§ªÕé ¨Ð·íÒ¡ÒûÃÐÁÒ³ÁÙŤ‹ÒÊÔ¹·ÃѾ ·Õè¤Ò´Ç‹Ò ¨Ðä´ŒÃѺ¤×¹ ¢Ò´·Ø¹¨Ò¡¡ÒôŒÍ¤‹ÒÃѺÃÙŒàÁ×èÍÁÙŤ‹ÒμÒÁ ºÑުբͧÊÔ¹·ÃѾ ËÃ×ÍÁÙŤ‹ÒμÒÁºÑުբͧ

˹‹ÇÂÊÔ¹·ÃѾ ·¡Õè Í‹ ãËŒà¡Ô´à§Ô¹Ê´ÊÙ§¡Ç‹ÒÁÙŤ‹Ò ·Õ¨è Ðä´ŒÃºÑ ¤×¹ ¢Ò´·Ø¹¨Ò¡¡ÒôŒÍ¤‹ÒºÑ¹·Ö¡ã¹ ¡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹ àÁ×Íè ÁÕ¡ÒÃŴŧã¹ÁÙŤ‹ÒÂØμ¸Ô ÃÃÁ¢Í§ÊÔ¹·ÃѾ ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹à¼×èÍ¢Ò «Öè§ä´ŒºÑ¹·Ö¡ã¹Ê‹Ç¹¢Í§ ¼Ù¶Œ Í× ËعŒ áÅÐÁÕ¤ÇÒÁªÑ´à¨¹Ç‹ÒÊÔ¹·ÃѾ ´§Ñ ¡Å‹ÒÇ ÁÕ¡ÒôŒÍ¤‹Ò ÂÍ´¢Ò´·Ø¹«Ö§è à¤ÂºÑ¹·Ö¡ã¹Ê‹Ç¹ ¢Í§¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹¨Ð¶Ù¡ºÑ¹·Ö¡ã¹¡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹ â´ÂäÁ‹μŒÍ§»ÃѺ¡ÑºÂÍ´ÊÔ¹·ÃѾ ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ ´Ñ§¡Å‹ÒÇ ÂÍ´¢Ò´·Ø¹·ÕèºÑ¹·Ö¡ã¹¡íÒäÃËÃ×Í ¢Ò´·Ø¹à»š¹¼Åμ‹Ò§ÃÐËÇ‹Ò§ÃҤҷع·Õè«×é͡Ѻ ÁÙ Å ¤‹ Ò ÂØ μÔ ¸ ÃÃÁã¹»˜ ¨ ¨Ø ºÑ ¹ ¢Í§ÊÔ ¹ ·ÃÑ ¾  ËÑ ¡ ¢Ò´·Ø ¹ ¨Ò¡¡ÒôŒ Í Â¤‹ Ò ¢Í§ÊÔ ¹ ·ÃÑ ¾  ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹¹Ñé¹æ «Öè§à¤ÂÃѺÃÙŒáÅŒÇ㹡íÒäÃËÃ×Í ¢Ò´·Ø¹ ¡ÒäíҹdzÁÙŤ‹Ò·Õè¤Ò´Ç‹Ò¨Ðä´ŒÃѺ¤×¹ ÁÙŤ‹Ò·Õè¤Ò´Ç‹Ò¨Ðä´ŒÃѺ¤×¹¢Í§ËÅÑ¡·ÃѾ ·Õè ¶×ÍäÇŒ¨¹¡Ç‹Ò¨Ð¤Ãº¡íÒ˹´ ¤íҹdzâ´Â¡Òà ËÒÁÙ Å ¤‹ Ò »˜ ¨ ¨Ø ºÑ ¹ ¢Í§»ÃÐÁÒ³¡ÒáÃÐáÊ à§Ô¹Ê´·Õè¨Ðä´ŒÃºÑ ã¹Í¹Ò¤μ ¤Ô´Å´´ŒÇÂÍÑμÃÒ ´Í¡àºÕé·Õèá·Œ¨ÃÔ§ ÁÙ Å ¤‹ Ò ·Õè ¤ Ò´Ç‹ Ò ¨Ðä´Œ ÃÑ º ¤× ¹ ¢Í§ÊÔ ¹ ·ÃÑ ¾  ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ÊíÒËÃѺËÅÑ¡·ÃѾ à¼×Íè ¢Ò ¤íҹdz â´Â͌ҧÍÔ§¶Ö§ÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁ ÁÙ Å ¤‹ Ò ·Õè ¤ Ò´Ç‹ Ò ¨Ðä´Œ ÃÑ º ¤× ¹ ¢Í§ÊÔ ¹ ·ÃÑ ¾  ·Õè äÁ‹ãª‹Ê¹Ô ·ÃѾ ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ ËÁÒ¶֧ÁÙŤ‹Ò¨Ò¡ ¡ÒÃ㪌¢Í§ÊÔ¹·ÃѾ ËÃ×ÍÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁ¢Í§ ÊÔ¹·ÃѾ ËÑ¡μŒ¹·Ø¹ã¹¡ÒâÒÂáÅŒÇáμ‹ÁÙŤ‹Ò ã´¨ÐÊÙ§¡Ç‹Ò 㹡ÒûÃÐàÁÔ¹ÁÙŤ‹Ò¨Ò¡¡ÒÃ㪌 ¢Í§ÊÔ¹·ÃѾ »ÃÐÁÒ³¡ÒáÃÐáÊà§Ô¹Ê´·Õè ¨Ðä´ŒÃºÑ ã¹Í¹Ò¤μ¨Ð¤Ô´Å´à»š¹ÁÙŤ‹Ò»˜¨¨Øº¹Ñ â´Â㪌ÍÑμÃÒ¤Ô´Å´¡‹Í¹¤íÒ¹Ö§ÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œà¾×èÍ ãËŒÊзŒÍ¹ÁÙŤ‹Ò·ÕèÍÒ¨»ÃÐàÁԹ䴌ã¹μÅÒ´ »˜¨¨ØºÑ¹ «Öè§á»Ãä»μÒÁàÇÅÒáÅФÇÒÁàÊÕè§


·ÕèÁÕμ‹ÍÊÔ¹·ÃѾ ÊíÒËÃѺÊÔ¹·ÃѾ ·ÕèäÁ‹¡‹ÍãËŒ à¡Ô´¡ÃÐáÊà§Ô¹Ê´ÃѺâ´ÂÍÔÊÃШҡÊÔ¹·ÃѾ ͹×è ¨Ð¾Ô¨ÒóÒÁÙŤ‹Ò·Õ¤è Ò´Ç‹Ò¨Ðä´ŒÃºÑ ¤×¹ÃÇÁ¡Ñº ˹‹ÇÂÊÔ¹·ÃѾ ·Õè¡‹ÍãËŒà¡Ô´à§Ô¹Ê´·ÕèÊÔ¹·ÃѾ ¹Ñé¹à¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§´ŒÇÂ

(ฑ) เจ าหนี้การค าและเจ าหนี้อื่น

¡ÒáÅѺÃÒ¡ÒôŒÍ¤‹Ò

â¤Ã§¡ÒÃÊÁ·ºà§Ô¹

¢Ò´·Ø ¹ ¨Ò¡¡ÒôŒ Í Â¤‹ Ò ¢Í§ÊÔ ¹ ·ÃÑ ¾  · Ò§ ¡ÒÃà§Ô¹¨Ð¶Ù¡¡ÅѺÃÒ¡ÒÃàÁ×èÍÁÙŤ‹Ò·Õè¤Ò´Ç‹Ò ¨Ðä´ŒÃºÑ ¤×¹à¾ÔÁè ¢Ö¹é ã¹ÀÒÂËÅѧ áÅСÒÃà¾ÔÁè ¢Ö¹é ¹Ñé ¹ ÊÑ Á ¾Ñ ¹ ¸ â ´Âμç¡Ñ º ¢Ò´·Ø ¹ ¨Ò¡¡Òà ´ŒÍ¤‹Ò·Õàè ¤ÂÃѺÃٌ㹡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹ ÊíÒËÃѺ ÊÔ ¹ ·ÃÑ ¾  · Ò§¡ÒÃà§Ô ¹ ·Õè ºÑ ¹ ·Ö ¡â´ÂÇÔ ¸Õ Ã Ò¤Ò ·Ø¹μÑ´¨íÒ˹‹ÒÂáÅÐμÃÒÊÒÃ˹Õé·Õè¨Ñ´»ÃÐàÀ· ໚¹ËÅÑ¡·ÃѾ à¼×èÍ¢Ò ¡ÒáÅѺÃÒ¡ÒèР¶Ù¡ºÑ¹·Ö¡ã¹¡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹ ʋǹÊÔ¹·ÃѾ ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹·Õè໚¹μÃÒÊÒ÷ع·Õè¨Ñ´»ÃÐàÀ· ໚¹ËÅÑ¡·ÃѾ à¼×Íè ¢Ò ¡ÒáÅѺÃÒ¡Òèж١ ÃѺÃÙŒâ´Âμç㹡íÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨Í×è¹

â¤Ã§¡ÒÃÊÁ·ºà§Ô¹à»š¹â¤Ã§¡ÒüŻÃÐ⪹ ¾¹Ñ¡§Ò¹ËÅѧÍÍ¡¨Ò¡§Ò¹ «Ö觡Ԩ¡Òè‹Ò ÊÁ·ºà»š¹¨íҹǹà§Ô¹·Õèṋ¹Í¹ä»ÍÕ¡¡Ô¨¡Òà ˹Öè§á¡μ‹Ò§ËÒ¡ (¡Í§·Ø¹ÊíÒÃͧàÅÕ駪վ) áÅШÐäÁ‹ ÁÕÀÒÃм٠¡¾Ñ ¹μÒÁ¡®ËÁÒÂËÃ× Í ÀÒÃм١¾Ñ¹â´Â͹ØÁÒ¹·Õè¨ÐμŒÍ§¨‹ÒÂÊÁ·º à¾ÔÁè àμÔÁ ÀÒÃм١¾Ñ¹ã¹¡ÒÃÊÁ·ºà¢ŒÒâ¤Ã§¡Òà ÊÁ·ºà§Ô¹¨Ð¶Ù¡ÃѺÃÙàŒ »š¹¤‹Ò㪌¨Ò‹ ¾¹Ñ¡§Ò¹ã¹ ¡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹ã¹ÃͺÃÐÂÐàÇÅÒ·Õ¾è ¹Ñ¡§Ò¹ ä´Œ·íÒ§Ò¹ãËŒ¡Ñº¡Ô¨¡ÒÃ

¢Ò´·Ø¹¨Ò¡¡ÒôŒÍ¤‹Ò¢Í§ÊÔ¹·ÃѾ ·ÕèäÁ‹ãª‹ ÊÔ¹·ÃѾ ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹Í×è¹æ ·Õèà¤ÂÃѺÃٌ㹧Ǵ ¡‹Í¹¨Ð¶Ù¡»ÃÐàÁÔ¹ ³ ·Ø¡Çѹ·Õ·è ÍÕè Í¡ÃÒ§ҹ Ç‹ÒÁÕ¢ŒÍº‹§ªÕéàÃ×èͧ¡ÒôŒÍ¤‹ÒËÃ×ÍäÁ‹ ¢Ò´·Ø¹ ¨Ò¡¡ÒôŒÍ¤‹Ò¨Ð¶Ù¡¡ÅѺÃÒ¡Òà ËÒ¡ÁÕ¡Òà à»ÅÕÂè ¹á»Å§»ÃÐÁÒ³¡Ò÷Õãè ªŒã¹¡Òäíҹdz ÁÙŤ‹Ò·Õè¤Ò´Ç‹Ò¨Ðä´ŒÃѺ¤×¹ ¢Ò´·Ø¹¨Ò¡¡Òà ´ŒÍ¤‹Ò¨Ð¶Ù¡¡ÅѺÃÒ¡ÒÃà¾Õ§෋ҷÕÁè ÅÙ ¤‹ÒμÒÁ ºÑުբͧÊÔ¹·ÃѾ äÁ‹à¡Ô¹¡Ç‹ÒÁÙŤ‹ÒμÒÁºÑÞªÕ ÀÒÂËÅѧËÑ¡¤‹ÒàÊ×Íè ÁÃÒ¤ÒËÃ×ͤ‹ÒμÑ´¨íÒ˹‹Ò àÊÁ×͹˹֧è äÁ‹à¤ÂÁÕ¡Òúѹ·Ö¡¢Ò´·Ø¹¨Ò¡¡Òà ´ŒÍ¤‹ÒÁÒ¡‹Í¹

â¤Ã§¡ÒüŻÃÐ⪹ ·¡Õè Òí ˹´änj໚¹â¤Ã§¡Òà ¼Å»ÃÐ⪹ ËÅѧÍÍ¡¨Ò¡§Ò¹¹Í¡à˹×ͨҡ â¤Ã§¡ÒÃÊÁ·ºà§Ô¹ ÀÒÃм١¾Ñ¹ÊØ·¸Ô¢Í§¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉÑ·¨Ò¡â¤Ã§¡ÒüŻÃÐ⪹ ·Õè¡íÒ˹´äÇŒ ¶Ù¡¤íҹdzá¡μ‹Ò§Ëҡ໚¹ÃÒÂâ¤Ã§¡Òèҡ ¡ÒûÃÐÁÒ³¼Å»ÃÐ⪹ ã¹Í¹Ò¤μ·Õàè ¡Ô´¨Ò¡ ¡Ò÷íÒ§Ò¹¢Í§¾¹Ñ¡§Ò¹ã¹»˜¨¨Øº¹Ñ áÅÐ㹧Ǵ ¡‹Í¹æ ¼Å»ÃÐ⪹ ´Ñ§¡Å‹ÒÇä´ŒÁÕ¡ÒäԴŴ ¡ÃÐáÊà§Ô¹Ê´à¾×èÍãˌ໚¹ÁÙŤ‹Ò»˜¨¨ØºÑ¹ ·Ñ駹Õé ä´ŒÊØ·¸Ô¨Ò¡μŒ¹·Ø¹ºÃÔ¡ÒÃã¹Í´Õμ·ÕèÂѧäÁ‹ÃѺÃÙŒ áÅÐÁÙ Å ¤‹ Ò ÂØ μÔ ¸ ÃÃÁ¢Í§ÊÔ ¹ ·ÃÑ ¾  ⠤ç¡Òà ÍÑμÃҤԴŴ໚¹ÍÑμÃÒ ³ Çѹ·ÕèÃÒ§ҹ¨Ò¡ ¾Ñ¹¸ºÑμ÷Õèä´ŒÃѺ¡ÒèѴÍѹ´Ñºà¤Ã´ÔμÃдѺ AA «Öè§ÁÕÃÐÂÐàÇÅҤú¡íÒ˹´ã¡ÅŒà¤Õ§¡Ñº ÃÐÂÐàÇÅҢͧÀÒÃм١¾Ñ¹¢Í§¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ áÅÐ ÁÕÊ¡ØÅà§Ô¹à´ÕÂǡѺʡØÅà§Ô¹¢Í§¼Å»ÃÐ⪹ ·Õè ¤Ò´Ç‹Ò¨Ð¨‹ÒÂ

(ฐ) หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย ˹ÕéÊÔ¹»ÃÐàÀ·ÁÕ´Í¡àºÕéºѹ·Ö¡àÃÔèÁáá㹠ÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁ

਌Ò˹աé ÒäŒÒáÅÐ਌Ò˹ÕÍé ¹×è áÊ´§ã¹ÃҤҷع

(ฒ) ผลประโยชน ของพนักงาน

â¤Ã§¡ÒüŻÃÐ⪹ ·Õè¡íÒ˹´äÇŒ

¡Òäí Ò ¹Ç³¹Ñé ¹ ¨Ñ ´ ·í Òâ´Â¹Ñ ¡ ¤³Ô μ ÈÒÊμà »ÃСѹÀÑ·Õèä´ŒÃѺ͹ØÞÒμ໚¹»ÃШíÒ·Ø¡»‚ â´ÂÇÔ¸Õ¤Ô´Å´áμ‹ÅÐ˹‹Ç·Õè»ÃÐÁÒ³¡ÒÃäÇŒ àÁ×èÍÁÕ¡Òäíҹdz¼Å¢Í§¼Å»ÃÐ⪹ ¢Í§ ¾¹Ñ¡§Ò¹¢Í§¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ¡ÒÃÃѺÃÙàŒ »š¹ÊÔ¹·ÃѾ ¨íÒ¡Ñ´à¾Õ§ÂÍ´ÃÇÁ¢Í§μŒ¹·Ø¹ã¹Í´Õμ·ÕèÂѧ äÁ‹ÃѺÃÙŒáÅÐÁÙŤ‹Ò»˜¨¨ØºÑ¹¢Í§»ÃÐ⪹ àªÔ§ àÈÃÉ°¡Ô¨·ÕÁè ãÕ ¹ÃÙ»¢Í§¡ÒÃä´ŒÃºÑ ¤×¹ã¹Í¹Ò¤μ ¨Ò¡â¤Ã§¡ÒÃËÃ×Í¡ÒÃËÑ¡¡ÒÃÊÁ·ºà¢ŒÒâ¤Ã§¡Òà ã¹Í¹Ò¤μ 㹡ÒäíҹdzÁÙŤ‹Ò»˜¨¨ØºÑ¹¢Í§ »ÃÐ⪹ àªÔ§àÈÃÉ°¡Ô¨ ÁÕ¡ÒþԨÒóҶ֧¤ÇÒÁ μŒÍ§¡ÒÃà§Ô¹·Ø¹¢Ñé¹μèíÒÊíÒËÃѺâ¤Ã§¡ÒÃμ‹Ò§æ ¢Í§¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ· ¼Å»ÃÐ⪹ àªÔ§àÈÃÉ°¡Ô¨ÁÕ ãËŒ¡Ñº¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ· ¶ŒÒ¶Ù¡ÃѺÃÙŒÀÒÂã¹ÃÐÂÐàÇÅÒ ¢Í§â¤Ã§¡Òà ËÃ×Í ¡Òè‹ÒªíÒÃТͧ˹ÕéÊÔ¹ ¢Í§â¤Ã§¡Òà àÁ×è Í ÁÕ ¡ ÒÃà¾Ôè Á ¼Å»ÃÐ⪹ ã ¹â¤Ã§¡Òà ¼Å»ÃÐ⪹ ÊѴʋǹ·Õàè ¾ÔÁè ¢Ö¹é ¢Í§¼Å»ÃÐ⪹ ·Õè à ¡Õè  ǢŒ Í §¡Ñ º μŒ ¹ ·Ø ¹ ºÃÔ ¡ ÒÃã¹Í´Õ μ ¢Í§ ¾¹Ñ ¡ §Ò¹ÃÑ º ÃÙŒ ã ¹¡í Ò äÃËÃ× Í ¢Ò´·Ø ¹â´ÂÇÔ ¸Õ àÊŒ ¹ μçμÒÁÃÐÂÐàÇÅÒ¶Ñ Ç à©ÅÕè  ¨¹¶Ö § ÇÑ ¹ ·Õè ¼Å»ÃÐ⪹ ¹Ñé¹à»š¹ÊÔ·¸Ô¢Ò´ ¼Å»ÃÐ⪹ ·Õè໚¹ÊÔ·¸Ô¢Ò´¨ÐÃѺÃٌ໚¹¤‹Ò㪌¨‹ÒÂ㹡íÒäà ËÃ×Í¢Ò´·Ø¹·Ñ¹·Õ ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ÃѺÃÙ¡Œ íÒäâҴ·Ø¹¨Ò¡¡ÒûÃÐÁÒ³ ¡ÒÃμÒÁËÅÑ ¡ ¡Òä³Ô μ ÈÒÊμà » ÃÐ¡Ñ ¹ ÀÑ Â ·Ñé § ËÁ´·Õè à ¡Ô ´ ¢Öé ¹ã¹ÃÒ¡Òáí Ò äâҴ·Ø ¹ àºç´àÊÃç¨Í×è¹ áÅÐÃѺÃÙŒ¤‹Ò㪌¨‹Ò¢ͧâ¤Ã§¡Òà ¼Å»ÃÐ⪹ ·Õè¡íÒ˹´änj㹡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹ ¼Å»ÃÐ⪹ ÃÐÂÐÊÑ鹢ͧ¾¹Ñ¡§Ò¹ ÀÒÃм١¾Ñ¹¼Å»ÃÐ⪹ ÃÐÂÐÊÑ¹é ¢Í§¾¹Ñ¡§Ò¹ ÇÑ´ÁÙŤ‹Òâ´ÂÁÔä´Œ¤´Ô Å´¡ÃÐáÊà§Ô¹Ê´áÅÐÃѺÃÙŒ ໚¹¤‹Ò㪌¨‹ÒÂàÁ×è;¹Ñ¡§Ò¹·íÒ§Ò¹ãËŒ


186 | 187

CPN รายงานประจําป 2555

˹ÕéÊÔ¹ÃѺÃÙŒ´ŒÇÂÁÙŤ‹Ò·Õè¤Ò´Ç‹Ò¨Ð¨‹ÒªíÒÃÐ ÊíÒËÃѺ¡Òè‹ÒÂ⺹ÑÊ໚¹à§Ô¹Ê´ÃÐÂÐÊѹé ËÃ×Í ¡Òû˜¹Ê‹Ç¹¡íÒäà ËÒ¡¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ÁÕÀÒÃм١¾Ñ¹ μÒÁ¡®ËÁÒÂËÃ×ÍÀÒÃм١¾Ñ¹â´Â͹ØÁÒ¹·Õ¨è Ð μŒÍ§¨‹ÒÂÍѹ໚¹¼ÅÁÒ¨Ò¡¡Ò÷Õ边ѡ§Ò¹ä´Œ ·íÒ§Ò¹ãËŒã¹Í´ÕμáÅÐÀÒÃм١¾Ñ¹¹ÕéÊÒÁÒö »ÃÐÁҳ䴌Í‹ҧÊÁàËμØÊÁ¼Å

(ณ) ประมาณการหนี้สิน »ÃÐÁÒ³¡ÒÃ˹ÕÊé ¹Ô ¨ÐÃѺÃÙ¡Œ μç Í‹ àÁ×Íè ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ÁÕÀÒÃÐ˹ÕÊé ¹Ô μÒÁ¡®ËÁÒ·Õàè ¡Ô´¢Ö¹é ã¹»˜¨¨Øº¹Ñ ËÃ×Í·Õè¡‹ÍμÑÇ¢Öé¹Íѹ໚¹¼ÅÁÒ¨Ò¡àËμØ¡Òó ã¹Í´Õμ áÅÐÁÕ¤ÇÒÁ໚¹ä»ä´Œ¤Í‹ ¹¢ŒÒ§á¹‹¹Í¹ Ç‹Ò»ÃÐ⪹ àªÔ§àÈÃÉ°¡Ô¨¨ÐμŒÍ§¶Ù¡¨‹ÒÂä»à¾×Íè ªíÒÃÐÀÒÃÐ˹ÕÊé ¹Ô ´Ñ§¡Å‹ÒÇ »ÃÐÁÒ³¡ÒÃ˹ÕÊé ¹Ô ¾Ô¨ÒóҨҡ¡ÒäԴŴ¡ÃÐáÊà§Ô¹Ê´·Õ¨è Ш‹Ò ã¹Í¹Ò¤μâ´Â㪌ÍÑμÃÒ¤Ô´Å´ã¹μÅÒ´»˜¨¨ØºÑ¹ ¡‹Í¹¤íÒ¹Ö§¶Ö§ÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œ à¾×Íè ãËŒÊзŒÍ¹¨íҹǹ ·ÕèÍÒ¨»ÃÐàÁԹ䴌ã¹μÅÒ´»˜¨¨ØºÑ¹«Öè§á»Ãä» μÒÁàÇÅÒáÅФÇÒÁàÊÕè  §·Õè ÁÕ μ‹ Í Ë¹Õé ÊÔ ¹ »ÃÐÁÒ³¡ÒÃ˹ÕéÊԹʋǹ·Õèà¾ÔèÁ¢Öé¹à¹×èͧ¨Ò¡ àÇÅÒ·Õ輋ҹä»ÃѺÃٌ໚¹μŒ¹·Ø¹·Ò§¡ÒÃà§Ô¹

(ด) รายได ÃÒÂä´Œ·ÕèÃѺÃÙŒäÁ‹ÃÇÁÀÒÉÕÁÙŤ‹Òà¾ÔèÁáÅÐáÊ´§ ÊØ·¸Ô¨Ò¡Ê‹Ç¹Å´¡ÒäŒÒ áÅÐʋǹŴ¾ÔàÈÉ ¡ÒÃãˌઋÒáÅÐãËŒºÃÔ¡Òà ÃÒÂä´Œ¤‹ÒઋҨҡÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×èÍ¡Òà ŧ·Ø¹ÃѺÃٌ㹡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹â´ÂÇÔ¸ÕàÊŒ¹μç μÅÍ´ÍÒÂØÊÑÞÞÒàª‹Ò áÅÐÃÒÂä´Œ¨Ò¡¡ÒÃãËŒ ºÃÔ¡ÒÃÃѺÃÙŒàÁ×èÍÁÕ¡ÒÃãËŒºÃÔ¡ÒÃá¡‹ÅÙ¡¤ŒÒáÅŒÇ ¤‹Ò㪌¨‹ÒÂàÃÔèÁáá·Õèà¡Ô´¢Öé¹à»š¹¡ÒÃ੾ÒÐà¾×èÍ ãËŒà¡Ô´ÊÑÞÞÒઋÒÃѺÃÙàŒ »š¹Ê‹Ç¹Ë¹Ö§è ¢Í§ÃÒÂä´Œ

¤‹ÒઋҷÑé§ÊÔé¹μÒÁÊÑÞÞÒ ¤‹ÒઋҷÕèÍÒ¨à¡Ô´¢Öé¹ ÃÑ º ÃÙŒ à »š ¹ ÃÒÂä´Œ ã ¹ÃͺÃÐÂÐàÇÅÒºÑ Þ ªÕ «Öè § ¤‹ÒઋҹÑé¹à¡Ô´¢Öé¹ ÃÒÂä´Œ¤‹ÒઋÒáÅФ‹ÒºÃÔ¡Òà ÃѺŋǧ˹ŒÒÃѺÃÙàŒ »š¹ÃÒÂä´ŒμÒÁÇÔ¸àÕ ÊŒ¹μçμÒÁ ÃÐÂÐàÇÅҢͧÊÑÞÞÒઋÒ

·Ò§¡ÒÃà§Ô¹·ÕèÃѺÃٌ㹡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹ ËÃ×Í ¢Ò´·Ø ¹ ¨Ò¡¡ÒôŒ Í Â¤‹ Ò ¢Í§ÊÔ ¹ ·ÃÑ ¾  · Ò§ ¡ÒÃà§Ô¹ (¹Í¡à˹×ÍÅ١˹աé ÒäŒÒ) áÅТҴ·Ø¹ ¨Ò¡à¤Ã×èͧÁ×Í»‡Í§¡Ñ¹¤ÇÒÁàÊÕè§ÃѺÃٌ㹡íÒäà ËÃ×Í¢Ò´·Ø¹

¡ÒâÒÂÍÒËÒÃáÅÐà¤Ã×èͧ´×èÁ

μŒ ¹ ·Ø ¹ ¡Òáٌ Â× Á ·Õè ä Á‹ ä ´Œ à ¡Õè Â Ç¡Ñ º ¡ÒÃä´Œ Á Ò ¡Òá‹ÍÊÌҧËÃ×Í ¡ÒüÅÔμÊÔ¹·ÃѾ ·àÕè ¢ŒÒà§×Íè ¹ä¢ ÃѺÃÙ㌠¹¡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹ â´ÂãªŒÇ¸Ô ÍÕ μÑ ÃÒ´Í¡àºÕÂé ·Õèá·Œ¨ÃÔ§

ÃÒÂä´Œ¨Ò¡¡ÒâÒÂÍÒËÒÃáÅÐà¤Ã×èͧ´×èÁ ÃѺÃÙŒ ໚¹ÃÒÂä´ŒàÁ×èͨíÒ˹‹ÒÂÍÒËÒÃáÅÐà¤Ã×èͧ´×èÁ ãËŒÅÙ¡¤ŒÒáÅŒÇàÊÃç¨ ¡ÒÃŧ·Ø¹ ÃÒÂä´Œ ¨ Ò¡¡ÒÃŧ·Ø ¹ »ÃСͺ´Œ Ç ÂÃÒÂä´Œ à§Ô¹»˜¹¼ÅáÅд͡àºÕé¨ҡà§Ô¹½Ò¡¸¹Ò¤Òà áÅÐà§Ô¹Å§·Ø¹ à§Ô¹»˜¹¼ÅÃѺ à§Ô¹»˜¹¼ÅÃѺºÑ¹·Ö¡ã¹¡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹ã¹Çѹ·Õè ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ÁÕÊ·Ô ¸Ôä´ŒÃºÑ à§Ô¹»˜¹¼Å «Ö§è μÒÁ»¡μÔ ã¹¡Ã³Õà§Ô¹»˜¹¼Å·Õè¨Ðä´ŒÃѺ¨Ò¡ËÅÑ¡·ÃѾ 㹡ÒäÇÒÁμŒÍ§¡ÒâͧμÅÒ´ ¨Ð¾Ô¨ÒóҨҡ Çѹ·ÕèÁÕ¡ÒûÃСÒÈÊÔ·¸Ô¡ÒÃÃѺ»˜¹¼Å ´Í¡àºÕéÂÃѺ ´Í¡àºÕéÂÃѺºÑ¹·Ö¡ã¹¡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹μÒÁ ࡳ± ¤§¤ŒÒ§

(ต) ต นทุนทางการเงิน μŒ¹·Ø¹·Ò§¡ÒÃà§Ô¹»ÃСͺ´ŒÇ´͡àºÕ騋Ҡ¢Í§à§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁáÅлÃÐÁÒ³¡ÒÃ˹ÕéÊԹʋǹ·Õè à¾ÔÁè ¢Ö¹é à¹×Íè §¨Ò¡àÇÅÒ·Õ¼è Ò‹ ¹ä» áÅÐÊÔ§è μͺ᷹ ·Õ¤è Ò´Ç‹Ò¨ÐμŒÍ§¨‹Ò ¢Ò´·Ø¹¨Ò¡¡ÒèíÒ˹‹Ò ÊÔ¹·ÃѾ ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹·Õ¶è Í× äÇŒà¾×Íè ¢Ò à§Ô¹»˜¹¼Å ¢Í§ËØŒ¹ºØÃÔÁÊÔ·¸Ô«Ö觶١¨Ñ´»ÃÐàÀ·à»š¹Ë¹ÕéÊÔ¹ ¢Ò´·Ø ¹ ¨Ò¡ÁÙ Å ¤‹ Ò ÂØ μÔ ¸ ÃÃÁ¢Í§ÊÔ ¹ ·ÃÑ ¾ Â

(ถ) สัญญาเช าดําเนินงาน ÃÒ¨‹ÒÂÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒઋҴíÒà¹Ô¹§Ò¹ºÑ¹·Ö¡ 㹡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹â´ÂÇÔ¸ÕàÊŒ¹μçμÅÍ´ÍÒÂØ ÊÑÞÞÒàª‹Ò »ÃÐ⪹ ·Õèä´ŒÃѺμÒÁÊÑÞÞÒàª‹Ò ¨ÐÃѺÃٌ㹡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹à»š¹Ê‹Ç¹Ë¹Ö觢ͧ ¤‹Òઋҷѧé ÊÔ¹é μÒÁÊÑÞÞÒμÅÍ´ÍÒÂØÊÞ Ñ ÞÒàª‹Ò ¤‹ÒઋҷÕÍè Ò¨à¡Ô´¢Ö¹é ¹íÒÁÒÃÇÁ¤íҹdz¨íҹǹ à§Ô¹¢Ñé¹μèíÒ·ÕèμŒÍ§¨‹ÒÂμÒÁÃÐÂÐàÇÅÒ·Õ褧àËÅ×Í ¢Í§ÊÑÞÞÒàª‹Ò àÁ×èÍä´ŒÃѺ¡ÒÃÂ×¹Âѹ¡ÒûÃѺ ¤‹Òàª‹Ò ÃÒ¨‹ Ò ÂÀÒÂãμŒ ÊÑ Þ ÞÒઋ Ò ª‹ Ç §¡Ñ º ºÃÔ ÉÑ · à«ç¹·ÃÑÅÍÔ¹àμÍà ¾Ñ²¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ «Ö§è ໚¹ÊÑÞÞÒ àª‹Ò´íÒà¹Ô¹§Ò¹ ÃѺÃٌ໚¹¤‹Ò㪌¨‹ÒÂâ´ÂÇÔ¸ÕμÑ´ ¨‹ÒÂÍ‹ҧ໚¹Ãкº

(ท) ภาษีเงินได ¤‹Ò㪌¨‹ÒÂÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÊíÒËÃѺ»‚»ÃСͺ´ŒÇ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œ¢Í§§Ç´»˜¨¨ØºÑ¹áÅÐÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÍ ¡ÒÃμÑ´ºÑÞªÕ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œ¢Í§§Ç´»˜¨¨ØºÑ¹áÅÐ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÍ¡ÒÃμÑ´ºÑÞªÕÃѺÃٌ㹡íÒäÃËÃ×Í ¢Ò´·Ø ¹ àÇŒ ¹ áμ‹ ã ¹Ê‹ Ç ¹·Õè à ¡Õè Â Ç¡Ñ º ÃÒ¡Ò÷Õè à¡ÕÂè Ç¢ŒÍ§ã¹¡ÒÃÃÇÁ¸ØáԨ ËÃ×Í ÃÒ¡Ò÷ÕÃè ºÑ ÃÙŒ


â´Âμçã¹Ê‹Ç¹¢Í§¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ËÃ×Í¡íÒäâҴ·Ø¹ àºç´àÊÃç¨Í×è¹ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œ¢Í§§Ç´»˜¨¨Øº¹Ñ 䴌ᡋÀÒÉÕ·¤Õè Ò´Ç‹Ò ¨Ð¨‹ÒªíÒÃÐËÃ×Íä´ŒÃѺªíÒÃÐ â´Â¤íҹdz¨Ò¡ ¡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹»ÃШíÒ»‚·μÕè ÍŒ §àÊÕÂÀÒÉÕ â´Â 㪌ÍÑμÃÒÀÒÉÕ·»Õè ÃСÒÈ㪌 ³ Çѹ·Õãè ¹ÃÒ§ҹ μÅÍ´¨¹¡ÒûÃÑ º »ÃØ § ·Ò§ÀÒÉÕ ·Õè à ¡Õè Â Ç¡Ñ º ÃÒ¡ÒÃã¹»‚¡‹Í¹æ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÍ¡ÒÃμÑ´ºÑުպѹ·Ö¡â´Â¤íҹdz ¨Ò¡¼Åáμ¡μ‹Ò§ªÑÇè ¤ÃÒÇ·Õàè ¡Ô´¢Ö¹é ÃÐËÇ‹Ò§ÁÙŤ‹Ò μÒÁºÑުբͧÊÔ¹·ÃѾ áÅÐ˹ÕÊé ¹Ô áÅШíҹǹ ·Õè㪌à¾×èͤÇÒÁÁØ‹§ËÁÒ·ҧÀÒÉÕ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œ ÃÍ¡ÒÃμÑ´ºÑÞªÕ¨ÐäÁ‹¶Ù¡ÃѺÃÙŒàÁ×èÍà¡Ô´¨Ò¡¼Å áμ¡μ‹Ò§ªÑÇè ¤ÃÒÇμ‹Í仹Õé ¡ÒÃÃѺÃÙ¤Œ Ò‹ ¤ÇÒÁ¹ÔÂÁ 㹤ÃÑé§áá ¡ÒÃÃѺÃÙŒÊÔ¹·ÃѾ ËÃ×Í˹ÕéÊԹ㹠¤ÃÑé§áá«Öè§à»š¹ÃÒ¡Ò÷ÕèäÁ‹ãª‹¡ÒÃÃÇÁ¸ØáԨ áÅÐÃÒ¡Òùѹé äÁ‹Á¼Õ Å¡Ãзºμ‹Í¡íÒäâҴ·Ø¹ ·Ò§ºÑÞªÕËÃ×Í·Ò§ÀÒÉÕ áÅмÅáμ¡μ‹Ò§·Õè à¡ÕÂè Ç¢ŒÍ§¡Ñºà§Ô¹Å§·Ø¹ã¹ºÃÔÉ·Ñ Â‹ÍÂËҡ໚¹ä» ä´ŒÇÒ‹ ¨ÐäÁ‹Á¡Õ ÒáÅѺÃÒ¡ÒÃã¹Í¹Ò¤μÍѹã¡ÅŒ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÍ¡ÒÃμÑ´ºÑÞªÕÇ´Ñ ÁÙŤ‹Òâ´Â㪌ÍμÑ ÃÒ ÀÒÉÕ·¤Õè Ò´Ç‹Ò¨Ð㪌¡ºÑ ¼Åáμ¡μ‹Ò§ªÑÇè ¤ÃÒÇàÁ×Íè ÁÕ¡ÒáÅѺÃÒ¡ÒÃâ´Â㪌ÍμÑ ÃÒÀÒÉÕ·»Õè ÃСÒÈ ãªŒËÃ×Í·Õ¤è Ò´Ç‹ÒÁռźѧ¤ÑºãªŒ ³ Çѹ·ÕÃè Ò§ҹ 㹡ÒáíÒ˹´ÁÙŤ‹Ò¢Í§ÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œ¢Í§§Ç´ »˜¨¨ØºÑ¹áÅÐÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÍ¡ÒÃμÑ´ºÑÞªÕ ¡ÅØ‹Á

ºÃÔÉ·Ñ μŒÍ§¤íÒ¹Ö§¶Ö§¼Å¡Ãзº¢Í§Ê¶Ò¹¡Òó ·Ò§ÀÒÉÕ·ÕèäÁ‹á¹‹¹Í¹áÅÐÍÒ¨·íÒãËŒ¨íҹǹ ÀÒÉÕ·ÕèμŒÍ§¨‹ÒÂà¾ÔèÁ¢Öé¹ áÅÐÁÕ´Í¡àºÕé·ÕèμŒÍ§ ªíÒÃÐ ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·àª×èÍÇ‹Òä´ŒμÑé§ÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œ¤ŒÒ§ ¨‹ÒÂà¾Õ§¾ÍÊíÒËÃѺÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œ·Õè¨Ð¨‹ÒÂã¹ Í¹Ò¤μ «Ö§è à¡Ô´¨Ò¡¡ÒûÃÐàÁÔ¹¼Å¡Ãзº¨Ò¡ ËÅÒ»˜¨¨Ñ ÃÇÁ¶Ö§¡ÒÃμÕ¤ÇÒÁ·Ò§¡®ËÁÒ ÀÒÉÕ áÅШҡ»ÃÐʺ¡Òó ã¹Í´Õμ ¡Òà »ÃÐàÁÔ¹¹ÕéÍÂÙ‹º¹¾×é¹°Ò¹¡ÒûÃÐÁÒ³¡Òà áÅТŒÍÊÁÁμÔ°Ò¹ áÅÐÍÒ¨¨Ðà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñº ¡ÒÃμÑ´ ÊÔ ¹ã¨à¡Õè Â Ç¡Ñ º àËμØ¡ Òó ã ¹Í¹Ò¤μ ¢ŒÍÁÙÅãËÁ‹æ ÍÒ¨¨Ð·íÒãËŒ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·à»ÅÕè¹ ¡ÒÃμÑ´ÊÔ¹ã¨â´Â¢Öé¹ÍÂÙ‹¡Ñº¤ÇÒÁà¾Õ§¾Í¢Í§ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œ¤ÒŒ §¨‹Ò·ÕÁè ÍÕ ÂÙ‹ ¡ÒÃà»ÅÕÂè ¹á»Å§ã¹ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œ¤ÒŒ §¨‹Ò¨СÃзºμ‹Í¤‹Ò㪌¨Ò‹ ÂÀÒÉÕ à§Ô¹ä´Œã¹§Ç´·Õèà¡Ô´¡ÒÃà»ÅÕè¹á»Å§ ÊÔ ¹ ·ÃÑ ¾  À ÒÉÕ à §Ô ¹ ä´Œ à ͡ÒÃμÑ ´ ºÑ Þ ªÕ á ÅР˹Õé ÊÔ ¹ ÀÒÉÕ à §Ô ¹ä´Œ à ͡ÒÃμÑ ´ ºÑ Þ ªÕ Ê ÒÁÒö ËÑ¡¡Åºä´ŒàÁ×Íè ¡Ô¨¡ÒÃÁÕÊ·Ô ¸ÔμÒÁ¡®ËÁÒ·ըè Ð ¹íÒÊÔ¹·ÃѾ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œ¢Í§§Ç´»˜¨¨Øº¹Ñ ÁÒËÑ¡ ¡Åº¡ÑºË¹ÕÊé ¹Ô ÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œ¢Í§§Ç´»˜¨¨Øº¹Ñ áÅÐ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œ¹»Õé ÃÐàÁÔ¹â´Â˹‹Ç§ҹ¨Ñ´à¡çºÀÒÉÕ Ë¹‹Ç§ҹà´ÕÂǡѹÊíÒËÃѺ˹‹ÇÂÀÒÉÕà´ÕÂǡѹ ËÃ×Í˹‹ÇÂÀÒÉÕμ‹Ò§¡Ñ¹ ÊíÒËÃѺ˹‹ÇÂÀÒÉÕ μ‹Ò§¡Ñ¹¹Ñ鹡Ԩ¡ÒÃÁÕ¤ÇÒÁμÑé§ã¨¨Ð¨‹ÒªíÒÃР˹Õé ÊÔ ¹ áÅÐÊÔ ¹ ·ÃÑ ¾  À ÒÉÕ à §Ô ¹ ä´Œ ¢ ͧ§Ç´ »˜ ¨ ¨Ø ºÑ ¹ ´Œ Ç ÂÂÍ´ÊØ · ¸Ô Ë Ã× Í μÑé §ã¨¨ÐÃÑ º ¤× ¹ ÊÔ¹·ÃѾ áÅШ‹ÒªíÒÃÐ˹ÕÊé ¹Ô ã¹àÇÅÒà´ÕÂǡѹ

ÊÔ¹·ÃѾ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÍ¡ÒÃμÑ´ºÑުըкѹ·Ö¡ μ‹ÍàÁ×èÍÁÕ¤ÇÒÁ໚¹ä»ä´Œ¤‹Í¹¢ŒÒ§á¹‹¹Í¹Ç‹Ò ¡í Ò äÃà¾×è Í àÊÕ Â ÀÒÉÕ ã ¹Í¹Ò¤μ¨ÐÁÕ ¨í Ò ¹Ç¹ à¾Õ§¾Í¡Ñº¡ÒÃ㪌»ÃÐ⪹ ¨Ò¡¼Åáμ¡μ‹Ò§ ªÑèǤÃÒǴѧ¡Å‹ÒÇ ÊÔ¹·ÃѾ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÍ¡Òà μÑ´ºÑުըж١·º·Ç¹ ³ ·Ø¡Çѹ·ÕèÃÒ§ҹ áÅШж١»ÃѺŴŧ෋ҷÕè»ÃÐ⪹ ·Ò§ÀÒÉÕ ¨ÐÁÕâÍ¡Òʶ١㪌¨ÃÔ§

(ธ) กําไรต อหุ น ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ /ºÃÔÉ·Ñ áÊ´§¡íÒäÃμ‹ÍËعŒ ¢Ñ¹é ¾×¹é °Ò¹ ÊíÒËÃѺËØŒ¹ÊÒÁÑÞ ¡íÒäÃμ‹ÍËØŒ¹¢Ñé¹¾×é¹°Ò¹ ¤í Ò ¹Ç³â´Â¡ÒÃËÒáí ÒäÃËÃ× Í ¢Ò´·Ø ¹ ¢Í§ ¼ÙŒ ¶× Í ËØŒ ¹ ÊÒÁÑ Þ ¢Í§¡ÅØ‹ Á ºÃÔ ÉÑ · /ºÃÔ ÉÑ · ´Œ Ç Â ¨íҹǹËØŒ¹ÊÒÁÑÞ¶ÑÇà©ÅÕ趋ǧ¹éíÒ˹ѡ·ÕèÍÍ¡ ¨íÒ˹‹ÒÂÃÐËÇ‹Ò§»‚

4 การซื้อบริษัทย อยและส วนได เสียที่ ไม มีอํานาจควบคุม ¡ÒÃä´ŒÁÒ«Ö觺ÃÔÉѷ‹Í ã¹ÃÐËÇ‹Ò§»‚ 2554 ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ä´ŒÁÒ«Ö§è ÍíÒ¹Ò¨ ¤Çº¤ØÁ㹺ÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ ¤ÍÁà¾Åç¡« ¨íÒ¡Ñ´ «Öè § ໚ ¹ ºÃÔ ÉÑ · ·Õè ´í Ò à¹Ô ¹ ¡ÒôŒ Ò ¹¡ÒÃ¾Ñ ² ¹Ò ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ â´Â¡ÒÃä´ŒÁÒ«Öè§ËØŒ¹·Ø¹áÅÐ ÊÔ·¸ÔÍÍ¡àÊÕ§㹺ÃÔÉÑ·ÃŒÍÂÅÐ 99.9 ºÃÔÉÑ· ´Ñ§¡Å‹ÒÇ䴌ŧ·Ø¹«×éÍ·Õè´Ô¹â¤Ã§¡ÒÃã¹»ÃÐà·È áË‹§Ë¹Öè§ã¹»‚ 2554

¢ŒÍÁÙŢͧÊÔè§μͺ᷹·Ñé§ËÁ´·Õèâ͹ãËŒáÅÐÁÙŤ‹Ò·ÕèÃѺÃÙŒ ³ Çѹ·Õèà¡Ô´ÃÒ¡ÒÃÊíÒËÃѺÊÔ¹·ÃѾ ·Õèä´ŒÁÒáÅФ‹Ò¤ÇÒÁ¹ÔÂÁ·ÕèÃѺÃÙŒ Áմѧ¹Õé (¾Ñ¹ºÒ·) ÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁ ÊÔè§μͺ᷹·Õèâ͹ãËŒ – à§Ô¹Ê´ ÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁ¢Í§ÊÔ¹·ÃѾ ÊØ·¸Ô·ÕèÃкØä´Œ – ·Õè´Ô¹ ¤‹Ò¤ÇÒÁ¹ÔÂÁ

1,526,185 (1,526,185) -


188 | 189

CPN รายงานประจําป 2555

ã¹ÃÐËÇ‹ Ò §»‚ 2554 ¡ÅØ‹ Á ºÃÔ ÉÑ ·ä´Œ Á Ò«Öè § ÍíÒ¹Ò¨¤Çº¤ØÁ㹺ÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ «ÔμÕé ¨íÒ¡Ñ´ «Öè § ໚ ¹ ºÃÔ ÉÑ · ·Õè ´í Ò à¹Ô ¹ ¡ÒôŒ Ò ¹¡ÒÃ¾Ñ ² ¹Ò

ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ â´Â¡ÒÃä´ŒÁÒ«Öè§ËØŒ¹·Ø¹áÅÐ ÊÔ·¸ÔÍÍ¡àÊÕ§㹺ÃÔÉÑ·ÃŒÍÂÅÐ 99.9 ºÃÔÉÑ·

´Ñ§¡Å‹ÒÇ䴌ŧ·Ø¹«×éÍ·Õè´Ô¹â¤Ã§¡ÒÃã¹»ÃÐà·È áË‹§Ë¹Öè§ã¹»‚ 2554

¢ŒÍÁÙŢͧÊÔè§μͺ᷹·Ñé§ËÁ´·Õèâ͹ãËŒáÅÐÁÙŤ‹Ò·ÕèÃѺÃÙŒ ³ Çѹ·Õèà¡Ô´ÃÒ¡ÒÃÊíÒËÃѺÊÔ¹·ÃѾ ·Õèä´ŒÁÒáÅФ‹Ò¤ÇÒÁ¹ÔÂÁ·ÕèÃѺÃÙŒ Áմѧ¹Õé (¾Ñ¹ºÒ·) ÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁ ÊÔè§μͺ᷹·Õèâ͹ãËŒ – à§Ô¹Ê´ ÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁ¢Í§ÊÔ¹·ÃѾ ÊØ·¸Ô·ÕèÃкØä´Œ – ·Õè´Ô¹ ¤‹Ò¤ÇÒÁ¹ÔÂÁ

2,119,815 (2,119,815) -

¡Òë×éÍʋǹ䴌àÊÕ·ÕèäÁ‹ÁÕÍíÒ¹Ò¨¤Çº¤ØÁ ã¹à´×͹¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ä´Œ«Í×é ʋǹ ä´ŒàÊÕÂ㹺ÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ä¹¹ Êá¤Çà ¨íÒ¡Ñ´ à¾ÔèÁàμÔÁÃŒÍÂÅÐ 6.2 ໚¹¨íҹǹà§Ô¹ 1,150 ŌҹºÒ· ·íÒãËŒÊѴʋǹ¤ÇÒÁ໚¹

਌Ңͧà¾ÔèÁ¢Ö鹨ҡÌÍÂÅÐ 87.1 ໚¹ÃŒÍÂÅÐ 93.3 ÁÙŤ‹ÒμÒÁºÑުբͧÊÔ¹·ÃÑ¾Â Ê·Ø ¸Ô ºÃÔÉ·Ñ à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ä¹¹ Êá¤Çà ¨íÒ¡Ñ´ 㹧º¡ÒÃà§Ô¹ ¢Í§¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ· ³ Çѹ·Õè«×éÍ໚¹¨íҹǹà§Ô¹

849.4 ŌҹºÒ· ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ÃѺÃٌʋǹ䴌àÊÕ ·ÕèäÁ‹ÁÕÍíÒ¹Ò¨¤Çº¤ØÁŴŧ໚¹¨íҹǹ 0.4 ŌҹºÒ· áÅСíÒäÃÊÐÊÁŴŧ໚¹¨íҹǹ 24.3 ŌҹºÒ·

¼Å¡Ãзº¢Í§¡ÒÃà»ÅÕè¹á»Å§ã¹¤ÇÒÁ໚¹à¨ŒÒ¢Í§ã¹ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ä¹¹ Êá¤Çà ¨íÒ¡Ñ´ Áմѧμ‹Í仹Õé (¾Ñ¹ºÒ·) 2554 ¤ÇÒÁ໚¹à¨ŒÒ¢Í§ºÃÔÉÑ· ³ 1 Á¡ÃÒ¤Á «×éÍà§Ô¹Å§·Ø¹ ¼Å¡Ãзº¢Í§¡ÒÃà»ÅÕè¹á»Å§ã¹¤ÇÒÁ໚¹à¨ŒÒ¢Í§ºÃÔÉѷŴŧ ʋǹẋ§ã¹¡íÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨ ¤ÇÒÁ໚¹à¨ŒÒ¢Í§ºÃÔÉÑ· ³ 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á

745,753 1,150,000 (24,693) (4,096) 1,866,964

5 บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข องกัน à¾×è Í ÇÑ μ ¶Ø » ÃÐʧ¤ ã ¹¡ÒÃ¨Ñ ´ ·í Ò §º¡ÒÃà§Ô ¹ ºØ ¤ ¤ÅËÃ× Í ¡Ô ¨ ¡ÒÃ໚ ¹ ºØ ¤ ¤ÅËÃ× Í ¡Ô ¨ ¡Ò÷Õè à¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹¡Ñº¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ· ËÒ¡¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ÁÕ ÍíÒ¹Ò¨¤Çº¤ØÁËÃ×ͤǺ¤ØÁËÇÁ¡Ñ¹·Ñ§é ·Ò§μç

áÅзҧ͌ÍÁËÃ×ÍÁÕÍ·Ô ¸Ô¾ÅÍ‹ҧÁÕÊÒÃÐÊíÒ¤ÑÞ μ‹ Í ºØ ¤ ¤ÅËÃ× Í ¡Ô ¨ ¡ÒÃ㹡ÒÃμÑ ´ ÊÔ ¹ã¨·Ò§ ¡ÒÃà§Ô¹áÅСÒúÃÔËÒÃËÃ×Íã¹·Ò§¡ÅѺ¡Ñ¹ ËÃ×Í ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ÍÂÙÀ‹ ÒÂãμŒ¡ÒäǺ¤ØÁà´ÕÂǡѹËÃ×Í

ÍÂÙÀ‹ ÒÂãμŒÍ·Ô ¸Ô¾ÅÍ‹ҧÁÕÊÒÃÐÊíÒ¤ÑÞà´ÕÂǡѹ ¡ÑººØ¤¤ÅËÃ×Í¡Ô¨¡ÒùÑé¹ ¡ÒÃà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹¹Õé ÍҨ໚¹ÃÒºؤ¤ÅËÃ×Í໚¹¡Ô¨¡ÒÃ


¤ÇÒÁÊÑÁ¾Ñ¹¸ ¡Ñº¼ÙŒºÃÔËÒÃÊíÒ¤ÑÞáÅкؤ¤ÅËÃ×Í¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹Í×è¹ Áմѧ¹Õé ª×èÍ¡Ô¨¡ÒÃ

»ÃÐà·È·Õè¨Ñ´μÑé§/ÊÑÞªÒμÔ

ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅ âÎÅ´Ôé§ ¨íÒ¡Ñ´

ä·Â

¡Í§·Ø¹ÃÇÁÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋÒÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ CPN ÃÕà·Å â¡Ã· ¡Í§·Ø¹ÃÇÁÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋÒÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ CPN ¤ÍÁàÁÍà àªÕÂÅ â¡Ã· ºÃÔÉÑ· ÊÃþÊÔ¹¤ŒÒà«ç¹·ÃÑÅ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· ˌҧà«ç¹·ÃÑÅ´Õ¾Òà ·àÁ¹· Êâμà ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅà·Ã´´Ôé§ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅ«Ù»à»Íà Êâμà ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· ¾ÒÇàÇÍà ºÒ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· «ÕÍÒà «Õ Ê»ÍÃ μ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· «ÕÍÒà «Õ à¾ÒàÇÍà ÃÕà·Å ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· ºÕ·ÙàÍÊ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· ÍÍ¿¿ « ¤ÅѺ (ä·Â) ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· àÍÔà ¸á¤Ã ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· «ÕÍÒà àªÕ§ãËÁ‹ (»ÃÐà·Èä·Â) ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅ¡Òà àÁŒ¹· ῤ·ÍÃÕè ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· á«Áâ«ä¹· (»ÃÐà·Èä·Â) ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· âçáÃÁ à«ç¹·ÃÑžÅÒ«Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) ºÃÔÉÑ· âçáÃÁ à«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅ àÃÊμÃÍ§Ê ¡ÃØ » ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅ ¿Ù‡´ ÃÕà·Å ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· ¿Ù‡´Ê ¡ÔÁÁÔ¤Ê ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· ˌͧÍÒËÒëҡØÃÐ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· ¿Ù‡´Ê àͤà«çÅàÅç¹ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅÍÔ¹àμÍà ¾Ñ²¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· ˌҧÊÃþÊÔ¹¤ŒÒâúԹÊѹ ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅÇÑμÊѹ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· àÍ¿á͹´ ´Õ ÍÔ¹àμÍà ๪Ñè¹á¹Å ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· ¿Ù‡´ à¿ÊμÔÇÑÅ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· ¿Ù‡´ ÁÔÅàŹà¹ÕÂÁ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅ ÃÕà·Å ¤Íà »ÍàêÑè¹ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· á¿ÃÕè¾ÅÒ«‹Ò ¨íÒ¡Ñ´

ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â

ÅѡɳФÇÒÁÊÑÁ¾Ñ¹¸ ໚¹¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ÃÒÂãËÞ‹ áÅÐÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ໚¹ºÃÔÉѷËÇÁ·ÕèºÃÔÉÑ·¶×ÍËØŒ¹ÃŒÍÂÅÐ 27.8 ໚¹ºÃÔÉѷËÇÁ·ÕèºÃÔÉÑ·¶×ÍËØŒ¹ÃŒÍÂÅÐ 25.0 ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ·


190 | 191

CPN รายงานประจําป 2555

ª×èÍ¡Ô¨¡ÒÃ

»ÃÐà·È·Õè¨Ñ´μÑé§/ÊÑÞªÒμÔ

ºÃÔÉÑ· ºÔê¡«Õ á¿ÃÕè ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· ÊÂÒÁ ÃÕà·Å ´ÕàÇÅÅçÍ»àÁŒ¹· ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· ÍÂظÂÒà¡ÉμÃ¸Ò¹Õ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· Êàà¤Çà ÃÔ·« ¾ÅÒ«‹Ò ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· áǹ෨ ¡ÃÒÇ´ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· ¾ÒÃÒÇÔ¹à«Íà ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· Ê»Òà¡μμÕé ῤ·ÍÃÕè ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· ¿Ù¨Ô ´ÔÅÔàªÕÂÊ ¤ÃÕàͪÑè¹ ¨íÒ¡Ñ´

ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â ä·Â

ÅѡɳФÇÒÁÊÑÁ¾Ñ¹¸ ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ· ÁÕ¡ÃÃÁ¡ÒÃËÇÁ¡Ñ¹¡ÑººÃÔÉÑ·

ÃÒÂÅÐàÍÕ´¤ÇÒÁÊÑÁ¾Ñ¹¸ ·ÕèºÃÔÉÑ·ÁաѺºÃÔÉѷ‹ÍÂáÅСͧ·Ø¹ÃÇÁ䴌໠´à¼ÂäÇŒáÅŒÇã¹ËÁÒÂàËμØ»ÃСͺ§º¡ÒÃà§Ô¹¢ŒÍ 1 ¹âºÒ¡ÒáíÒ˹´ÃÒ¤ÒÊíÒËÃѺáμ‹ÅÐÃÒ¡ÒÃ͸ԺÒÂä´Œ´Ñ§μ‹Í仹Õé ÃÒ¡ÒÃ

¹âºÒ¡ÒáíÒ˹´ÃÒ¤Ò

ÃÒÂä´Œ¨Ò¡¡ÒÃãˌઋÒáÅÐãËŒºÃÔ¡ÒÃ

ÃÒ¤ÒμÅÒ´â´Â¢Öé¹ÍÂÙ‹¡Ñº·íÒàÅ ¨íҹǹ¾×é¹·Õè ÃٻẺ¡ÒÃàª‹Ò ÃÐÂÐàÇÅÒ·Õèàª‹Ò áÅлÃÐàÀ·¢Í§¡ÒÃàª‹Ò ÃÒ¤ÒμÅÒ´ ÍÑμÃÒà´ÕÂǡѺÍÑμÃÒ·Õè¡Ô¨¡ÒÃÍ×è¹ã¹¸ØáԨà´ÕÂǡѹàÃÕ¡à¡çº ÍÑμÃÒ´Í¡àºÕé¶ÑÇà©ÅÕè¢ͧμÃÒÊÒÃ˹Õé·ÕèÍÍ¡â´ÂºÃÔÉÑ· ÃÒ¤ÒμÅÒ´ ÃÒ¤ÒμÅÒ´ ÃÒ¤ÒμŒ¹·Ø¹ μÒÁÊÑÞÞÒ·Õèμ¡Å§Ã‹ÇÁ¡Ñ¹ μÒÁËÅѡࡳ± ·Õè¡íÒ˹´â´Â¤³Ð¡ÃÃÁ¡ÒÃÊÃÃËÒ «Öè§äÁ‹à¡Ô¹¡Ç‹Ò¨íҹǹà§Ô¹ ·Õè¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹Í¹ØÁÑμÔ

ÃÒÂä´Œ¨Ò¡¡ÒâÒÂÍÒËÒÃáÅÐà¤Ã×èͧ´×èÁ ÃÒÂä´Œ¤‹ÒºÃÔËÒçҹáÅÐÃÒÂä´ŒÍ×è¹ ´Í¡àºÕé·Õè¤Ô´¡ÑººÃÔÉѷ‹ÍÂáÅСԨ¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ μŒ¹·Ø¹¤‹ÒઋÒáÅФ‹ÒºÃÔ¡ÒÃ μŒ¹·Ø¹ÍÒËÒÃáÅÐà¤Ã×èͧ´×èÁ ¤‹Ò㪌¨‹ÒÂ㹡ÒúÃÔËÒà ¤‹ÒºÃÔËÒèѴ¡ÒÃáÅÐÊÔ·¸Ô¡ÒÃàª‹Ò ¤‹Òμͺ᷹¡ÃÃÁ¡ÒÃ


ÃÒ¡Ò÷ÕèÊíÒ¤ÑޡѺ¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§ÊíÒËÃѺáμ‹Åл‚ÊÔé¹ÊØ´Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á ÊÃػ䴌´Ñ§¹Õé §º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554 ÃÒÂä´Œ ÃÒÂä´Œ¨Ò¡¡ÒÃãˌઋÒáÅÐãËŒºÃÔ¡Òà ºÃÔÉѷ‹Í ¡Ô¨¡ÒÃÍ×è¹·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ÃÇÁ

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

2,517,458 2,517,458

1,903,291 1,903,291

85,067 1,139,322 1,224,389

54,166 679,822 733,988

-

3

-

-

ÃÒÂä´Œ¤‹ÒºÃÔËÒçҹ ºÃÔÉѷ‹ÍÂáÅСͧ·Ø¹ÃÇÁ ºÃÔÉѷËÇÁ ¡Ô¨¡ÒÃÍ×è¹·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ÃÇÁ

300,407 1,400 301,807

262,330 262,330

224,438 300,407 1,400 526,245

110,982 262,330 373,312

´Í¡àºÕéÂÃѺ ºÃÔÉѷ‹ÍÂáÅСͧ·Ø¹ÃÇÁ ¡Ô¨¡ÒÃÍ×è¹·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ÃÇÁ

4,896 4,896

4,802 4,802

697,282 4,926 702,208

660,479 4,687 665,166

à§Ô¹»˜¹¼ÅÃѺ ºÃÔÉѷ‹ÍÂáÅСͧ·Ø¹ÃÇÁ ºÃÔÉѷËÇÁ ÃÇÁ

496,281 496,281

467,528 467,528

2,168,319 496,281 2,664,600

531,845 467,528 999,373

1,775,836

-

-

-

88,984 88,984

57,381 57,381

155,797 23,610 179,407

134,258 18,619 152,877

ÃÒÂä´Œ¨Ò¡¡ÒâÒÂÍÒËÒÃáÅÐà¤Ã×èͧ´×èÁ ¡Ô¨¡ÒÃÍ×è¹·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹

¡íÒäèҡ¡ÒÃãˌઋÒÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒઋҡÒÃà§Ô¹ ºÃÔÉѷËÇÁ ÃÒÂä´ŒÍ×è¹ ºÃÔÉѷ‹ÍÂáÅСͧ·Ø¹ÃÇÁ ¡Ô¨¡ÒÃÍ×è¹·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ÃÇÁ


192 | 193

CPN รายงานประจําป 2555

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554 ¤‹Ò㪌¨‹ÒÂ μŒ¹·Ø¹¤‹ÒઋÒáÅФ‹ÒºÃÔ¡Òà ºÃÔÉѷ‹ÍÂáÅСͧ·Ø¹ÃÇÁ ¡Ô¨¡ÒÃÍ×è¹·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ÃÇÁ

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

459,250 459,250

440,392 440,392

293,695 449,625 743,320

87,408 434,894 522,302

14

12

-

-

¤‹ÒºÃÔËÒçҹ ºÃÔÉѷ‹ÍÂáÅСͧ·Ø¹ÃÇÁ ¡Ô¨¡ÒÃÍ×è¹·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ÃÇÁ

128,698 128,698

90,023 90,023

4 122,689 122,693

13 87,901 87,914

¤‹Ò㪌¨‹ÒÂ㹡ÒúÃÔËÒà ºÃÔÉѷ‹ÍÂáÅСͧ·Ø¹ÃÇÁ ¡Ô¨¡ÒÃÍ×è¹·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ÃÇÁ

16,424 16,424

18,307 18,307

30,680 11,632 42,312

46,754 13,835 60,589

-

-

248,425

162,003

μŒ¹·Ø¹¢ÒÂÍÒËÒÃáÅÐà¤Ã×èͧ´×èÁ ¡Ô¨¡ÒÃÍ×è¹·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹

´Í¡àºÕ騋ҠºÃÔÉѷ‹ÍÂ


ค าตอบแทนผู บริหาร ã¹»‚ 2555 ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ áÅкÃÔÉ·Ñ ä´Œ¨Ò‹ Âà§Ô¹à´×͹ ⺹ÑÊ ¤‹ÒàºÕÂé »ÃЪØÁáÅÐà§Ô¹ºíÒà˹ç¨ãˌᡋ¡ÃÃÁ¡ÒÃáÅмٺŒ ÃÔËÒÃ໚¹¨íҹǹà§Ô¹ 96.8 ŌҹºÒ· (2554: 78.2 ŌҹºÒ·) ÂÍ´¤§àËÅ×Í·ÕèÊíÒ¤ÑޡѺºØ¤¤ÅËÃ×Í¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á Áմѧ¹Õé §º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554 Å١˹Õé¡ÒäŒÒ ºÃÔÉѷ‹ÍÂ: ºÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ ¾Ñ·ÂÒ ºÕª ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ÃÑμ¹Ò¸ÔàºÈà ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¢Í¹á¡‹¹ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅ àÇÔÅ´ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ªÅºØÃÕ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ´ÕàÇÅÅÍ»àÁŒ¹· ¨íÒ¡Ñ´ (à´ÔÁª×èÍ ºÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ àªÕ§ÃÒ ¨íÒ¡Ñ´) ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò àªÕ§ãËÁ‹ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· ºÒ§¹Òà«ç¹·ÃÑÅ ¾Ãç;à¾Íà μÕé ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅ ¿Ù‡´ÍàǹÔÇ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¾ÃÐÃÒÁ 2 ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅ àÃÕÂÅμÕé à«Íà ÇÔÊ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ä¹¹ Êá¤Çà ¨íÒ¡Ñ´ ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ¸ØáԨä·Â 4 ºÃÔÉÑ· âçáÃÁ «Õ¾ÕàÍç¹ ¾Ñ·ÂÒºÕª ¨íÒ¡Ñ´ Í×è¹æ ÃÇÁºÃÔÉѷ‹ÍÂ

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

-

-

5,333 3,988 4,213 11,436 3,118

24,811 18,154 16,797 14,128 11,952

-

-

6,902 5,935 3,995 2,964 439 51 4,391 7,567 341 1,186 61,859

5,888 4,246 3,432 1,187 345 1,820 189 1,024 103,973

¡Ô¨¡ÒÃÍ×è¹·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹: ¡ÅØ‹ÁˌҧÊÃþÊÔ¹¤ŒÒà«ç¹·ÃÑÅ Í×è¹æ ÃÇÁ¡Ô¨¡ÒÃÍ×è¹·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹

49,848 35,742 85,590

70,131 54,094 124,225

17,400 21,938 39,338

28,051 25,805 53,856

ÃÇÁ

85,590

124,225

101,197

157,829


194 | 195

CPN รายงานประจําป 2555

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

à§Ô¹»˜¹¼Å¤ŒÒ§ÃѺ ºÃÔÉѷ‹ÍÂ: ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ¸ØáԨä·Â 4 ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ¸ØáԨä·Â 5 ÃÇÁ

-

-

443,523 25,276 468,799

865,922 24,637 890,559

ÃÒÂä´Œ¤ŒÒ§ÃѺ ºÃÔÉѷ‹ÍÂ: ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ¸ØáԨä·Â 4

-

-

-

75,232

ÃÒÂä´Œ´Í¡àºÕ餌ҧÃѺ ºÃÔÉѷ‹ÍÂ: ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ¸ØáԨä·Â 4 ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ¸ØáԨä·Â 5

-

-

2,908 358

10,126 455

135,456 135,456

135,456 135,456

135,456 138,722

135,456 146,037

¡Ô¨¡ÒÃÍ×è¹·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹: ºÃÔÉÑ· ÊÂÒÁ ÃÕà·Å ´ÕàÇÅÅçÍ»àÁŒ¹· ¨íÒ¡Ñ´ ÃÇÁ


เงินให กู ยืมแก กิจการที่เกี่ยวข องกัน

à§Ô¹ãËŒ¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÊÑé¹ ºÃÔÉѷ‹ÍÂ: ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ¸ØáԨä·Â 4 ºÃÔÉÑ· ËÅѧÊǹ àÃÕÂÅμÕé ¨íÒ¡Ñ´ ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ¸ØáԨä·Â 5 ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅàÃÕÂÅμÕé à«Íà ÇÔÊ ¨íÒ¡Ñ´ ÃÇÁà§Ô¹ãËŒ¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÊÑé¹ à§Ô¹ãËŒ¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÂÒÇ ºÃÔÉѷ‹ÍÂ: ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅ àÇÔÅ´ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ´ÕàÇÅÅÍ»àÁŒ¹· ¨íÒ¡Ñ´ (à´ÔÁª×èÍ ºÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ àªÕ§ÃÒ ¨íÒ¡Ñ´) ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅ ¿Ù‡´ÍàǹÔÇ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¢Í¹á¡‹¹ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ÃÑμ¹Ò¸ÔàºÈà ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ ¾Ñ·ÂÒ ºÕª ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ªÅºØÃÕ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ä¹¹ Êá¤Çà ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· âçáÃÁ «Õ¾ÕàÍç¹ ¾Ñ·ÂÒ ºÕª ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· ËÅѧÊǹ àÃÕÂÅμÕé ¨íÒ¡Ñ´ ÃÇÁà§Ô¹ãËŒ¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÂÒÇ ÃÇÁà§Ô¹ãËŒ¡ÙŒÂ×Áá¡‹¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ - ÊØ·¸Ô ÊÃØ»à§Ô¹ãËŒ¡ÙŒÂ×Áá¡‹¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ à§Ô¹ãËŒ¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÊÑé¹ à§Ô¹ãËŒ¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÂÒÇ ËÑ¡ ¤‹Òà¼×èÍ˹ÕéʧÊѨÐÊÙÞ ÃÇÁà§Ô¹ãËŒ¡ÙŒÂ×Áá¡‹¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ - ÊØ·¸Ô

ÍÑμÃÒ´Í¡àºÕé 2555 2554 (ÃŒÍÂÅÐμ‹Í»‚)

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

4.35 6.00 4.35

6.00 3.98 6.00 3.98

-

-

73,115 9,033 82,148

534,526 488,070 89,206 49,667 1,161,469

4.35

3.98

-

-

7,404,702

10,870,881

4.35 4.35 4.35 4.35 4.35 4.35 4.35 4.35 4.35

3.98 3.98 3.98 3.98 3.98 3.98 3.98 3.98 3.98

-

-

2,888,412 605,720 440,171 238,512 864,906 377,674 195 711,363 13,531,655

1,376,088 581,382 519,954 462,209 418,664 368,804 1,752 14,599,734

-

-

13,613,803

15,761,203

-

-

82,148 13,531,655 13,613,803 13,613,803

1,161,469 14,599,734 15,761,203 15,761,203


196 | 197

CPN รายงานประจําป 2555

ÃÒ¡ÒÃà¤Å×è͹äËǢͧà§Ô¹ãËŒ¡ÙŒÂ×Áá¡‹¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ÊíÒËÃѺáμ‹Åл‚ÊÔé¹ÊØ´Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á Áմѧ¹Õé §º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554 à§Ô¹ãËŒ¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÊÑé¹ ºÃÔÉѷ‹Í ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á à¾ÔèÁ¢Öé¹ - à§Ô¹μŒ¹ - ´Í¡àºÕé Ŵŧ - à§Ô¹μŒ¹ - ´Í¡àºÕé ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á à§Ô¹ãËŒ¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÂÒÇ ºÃÔÉѷ‹Í ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á à¾ÔèÁ¢Öé¹ - à§Ô¹μŒ¹ - ´Í¡àºÕé Ŵŧ - à§Ô¹μŒ¹ - ´Í¡àºÕé ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á à§Ô¹ãËŒ¡ÂÙŒ Á× á¡‹ºÃÔÉ·Ñ Â‹ÍÂ໚¹à§Ô¹ãËŒ¡ÂÙŒ Á× ·Õäè Á‹ÁÕ ËÅÑ¡»ÃСѹã¹Ê¡ØÅà§Ô¹ºÒ· ¡àÇŒ¹à§Ô¹ãËŒ¡ÂÙŒ Á× á¡‹ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¢Í¹á¡‹¹ ¨íÒ¡Ñ´ «Ö§è ໚¹ºÃÔÉ·Ñ Â‹Í·ÕÁè ËÕ ÅÑ¡»ÃСѹ໚¹·Õ´è ¹Ô ¢Í§

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

-

-

1,161,469

1,696,519

-

-

232,590 2,164

863,178 19,821

-

-

(1,310,786) (3,289) 82,148

(1,398,099) (19,950) 1,161,469

-

-

14,599,734

10,862,619

-

-

7,371,000 603,433

11,063,608 521,990

-

-

(8,448,576) (593,936) 13,531,655

(7,217,498) (630,985) 14,599,734

ºÃÔÉ·Ñ Â‹Í´ѧ¡Å‹ÒÇ â´Â·Õ´è ¹Ô ÁÕÃÒ¤ÒμÒÁºÑÞªÕ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 ໚¹¨íҹǹ 327 ŌҹºÒ· (2554: 327 ŌҹºÒ·) à§Ô¹ãËŒ¡ÂÙŒ Á× á¡‹ºÃÔÉѷ‹ÍÂÁÕ¡íÒ˹´ªíÒÃФ׹àÁ×èͷǧ¶ÒÁ

áÅÐÁÕ ÍÑμ ÃÒ´Í¡àºÕé Âà·‹ Ò¡Ñ ºÍÑ μ ÃÒ´Í¡àºÕé  ¶ÑÇà©ÅÕè¢ͧμÃÒÊÒÃ˹Õé·ÕèÍÍ¡â´ÂºÃÔÉÑ·áÅÐ à§Ô¹ãËŒ¡ÙŒÂ×Áá¡‹¡Í§·Ø¹ÃÇÁÁÕÍÑμÃÒ´Í¡àºÕé ÌÍÂÅÐ 4.0 ¶Ö§ÃŒÍÂÅÐ 7.0 μ‹Í»‚


§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554 ਌Ò˹Õé¡ÒäŒÒ ºÃÔÉѷ‹ÍÂ: ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅ àÇÔÅ´ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅ àÃÕÂÅμÕé à«Íà ÇÔÊ ¨íÒ¡Ñ´ ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ¸ØáԨä·Â 4 ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ä¹¹ Êá¤Çà ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¢Í¹á¡‹¹ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò àªÕ§ãËÁ‹ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· ºÒ§¹Òà«ç¹·ÃÑÅ ¾Ãç;à¾Íà μÕé ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ ¾Ñ·ÂÒ ºÕª ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ´ÕàÇÅÅÍ»àÁŒ¹· ¨íÒ¡Ñ´ (à´ÔÁª×èÍ ºÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ àªÕ§ÃÒ ¨íÒ¡Ñ´) ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ÃÑμ¹Ò¸ÔàºÈà ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ªÅºØÃÕ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· âçáÃÁ «Õ¾ÕàÍç¹ ¾Ñ·ÂÒºÕª ¨íÒ¡Ñ´ Í×è¹æ ÃÇÁºÃÔÉѷ‹Í ¡Ô¨¡ÒÃÍ×è¹·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹: ¡ÅØ‹ÁˌҧÊÃþÊÔ¹¤ŒÒà«ç¹·ÃÑÅ Í×è¹æ ÃÇÁ¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ÃÇÁ ਌Ò˹ÕéÍ×è¹ ºÃÔÉѷ‹ÍÂ: ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅ àÇÔÅ´ ¨íÒ¡Ñ´ ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ¸ØáԨä·Â 4 ¡Ô¨¡ÒÃÍ×è¹·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹: ¡ÅØ‹ÁˌҧÊÃþÊÔ¹¤ŒÒà«ç¹·ÃÑÅ ÃÇÁ

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

-

-

93,293 2 7,943 481 449 1,154 623 640

67,518 13,707 6,153 4,610 3,067 3,061 2,278 1,629

-

-

647 275 647 54 83 106,291

1,307 880 875 894 105,979

12,003 4,216 16,219 16,219

2,642 3,570 6,212 6,212

11,322 3,101 14,423 120,714

1,656 3,327 4,983 110,962

-

-

-

57,363 2,225,188

-

121,961 121,961

-

121,961 2,404,512


198 | 199

CPN รายงานประจําป 2555

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554 ਌Ò˹ÕéÊÔ·¸Ô¡ÒÃàª‹Ò ¡Ô¨¡ÒÃÍ×è¹·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹: ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅÍÔ¹àμÍà ¾Ñ²¹Ò ¨íÒ¡Ñ´

219,292

645,464

219,292

645,464

à§Ô¹¤éíÒ»ÃСѹÊÔ·¸Ô¡ÒÃàª‹Ò ¡Ô¨¡ÒÃÍ×è¹·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹: ¡ÅØ‹ÁˌҧÊÃþÊÔ¹¤ŒÒà«ç¹·ÃÑÅ

679,267

-

446,287

-

เงินกู ยืมจากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข องกัน

à§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÊÑé¹ ºÃÔÉѷ‹ÍÂ: ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ä¹¹ Êá¤Çà ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ ¤Í¹Ê¤ÃѤªÑè¹ áÁ๨àÁŒ¹· ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò àªÕ§ãËÁ‹ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ â¡ºÍÅ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· âçáÃÁ «Õ¾ÕàÍç¹ ¾Ñ·ÂÒ ºÕª ¨íÒ¡Ñ´ ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ¸ØáԨä·Â 4 ºØ¤¤ÅËÃ×Í¡Ô¨¡ÒÃÍ×è¹·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹: Í×è¹æ ÃÇÁà§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÊÑé¹ à§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÂÒÇ ºÃÔÉѷ‹ÍÂ: ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¾ÃÐÃÒÁ 3 ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¾ÃÐÃÒÁ 2 ¨íÒ¡Ñ´ ÃÇÁà§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÂÒÇ ÃÇÁà§Ô¹¡ÙŒÂ×Á¨Ò¡ºØ¤¤ÅËÃ×Í¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹

ÍÑμÃÒ´Í¡àºÕé 2555 2554 (ÍÑμÃÒÃŒÍÂÅÐ)

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

4.35

3.98

-

-

1,508,540

1,015,308

4.35 4.35 4.35 4.35 2.98

3.98 3.98 3.98 3.98 -

-

-

40,586 91,252 2,815 599,106 360,885

47,179 31,047 24,264 11,002 -

5.50

5.50

3,945 3,945

3,815 3,815

2,603,184

1,128,800

4.35 4.35

3.98 3.98

-

-

1,536,656 1,842,247 3,378,903

1,519,019 1,830,666 3,349,685

3,945

3,815

5,982,087

4,478,485


ÃÒ¡ÒÃà¤Å×è͹äËǢͧà§Ô¹¡ÙŒÂ×Á¨Ò¡¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ÊíÒËÃѺáμ‹Åл‚ÊÔé¹ÊØ´Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á Áմѧ¹Õé §º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554 à§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÊÑé¹ ºÃÔÉѷ‹Í ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á à¾ÔèÁ¢Öé¹ - à§Ô¹μŒ¹ - ´Í¡àºÕé Ŵŧ - à§Ô¹μŒ¹ - ´Í¡àºÕé ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á ºØ¤¤ÅËÃ×Í¡Ô¨¡ÒÃÍ×è¹·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á à¾ÔèÁ¢Öé¹ - ´Í¡àºÕé ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á ÃÇÁà§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÊÑ鹨ҡºØ¤¤ÅËÃ×Í ¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á à¾ÔèÁ¢Öé¹ - à§Ô¹μŒ¹ - ´Í¡àºÕé Ŵŧ - à§Ô¹μŒ¹ - ´Í¡àºÕé ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

-

-

1,128,800

129,326

-

-

2,304,706 62,502

1,886,000 6,696

-

-

(835,669) (57,155) 2,603,184

(888,025) (5,197) 1,128,800

3,815

3,687

-

-

130 3,945

128 3,815

-

-

3,815

3,687

1,128,800

129,326

130

128

2,304,706 62,502

1,886,000 6,696

3,945

3,815

(835,669) (57,155) 2,603,184

(888,025) (5,197) 1,128,800


200 | 201

CPN รายงานประจําป 2555

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554 à§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÂÒÇ ºÃÔÉѷ‹Í ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á à¾ÔèÁ¢Öé¹ - à§Ô¹μŒ¹ - ´Í¡àºÕé Ŵŧ - à§Ô¹μŒ¹ - ´Í¡àºÕé ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á à§Ô¹¡ÙÂŒ Á× ¨Ò¡¡Ô¨¡Ò÷Õàè ¡ÕÂè Ç¢ŒÍ§¡Ñ¹à»š¹à§Ô¹¡ÙÂŒ Á× ·ÕèäÁ‹ÁÕËÅÑ¡»ÃСѹã¹Ê¡ØÅà§Ô¹ºÒ· à§Ô¹¡ÙŒÂ×Á ´Ñ§¡Å‹ÒÇÁÕ¡Òí ˹´ªíÒÃФ׹àÁ×Íè ·Ç§¶ÒÁ à§Ô¹¡ÙÂŒ Á×

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

-

-

3,349,685

3,409,458

-

-

132,000 144,014

181,185 135,204

-

-

(98,000) (148,796) 3,378,903

(241,000) (135,162) 3,349,685

¨Ò¡ºÃÔ ÉÑ · ‹ Í ÂáÅÐ¡Ô ¨ ¡Ò÷Õè à ¡Õè  ǢŒ Í §¡Ñ ¹ ÁÕ ´ Í¡àºÕé Âã¹ÍÑ μ ÃÒ´Í¡àºÕé  ¶Ñ Ç à©ÅÕè  ¢Í§ μÃÒÊÒÃ˹ջé ÃÐàÀ·äÁ‹ÁËÕ ÅÑ¡»ÃСѹ·ÕÍè Í¡â´Â

ºÃÔÉÑ·áÅÐà§Ô¹¡ÙŒÂ×Á¨Ò¡¡Í§·Ø¹ÃÇÁÁÕÍÑμÃÒ ´Í¡àºÕéÂÃŒÍÂÅÐ 3.0 ¶Ö§ÃŒÍÂÅÐ 7.0 μ‹Í»‚

ค าตอบแทนผู บริหารสําคัญ ¤‹Òμͺ᷹¼ÙŒºÃÔËÒÃÊíÒ¤ÑÞÊíÒËÃѺ»‚ÊÔé¹ÊØ´Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á »ÃСͺ´ŒÇÂ

¼Å»ÃÐ⪹ ÃÐÂÐÊÑé¹ ¼Å»ÃÐ⪹ ÃÐÂÐÂÒÇ ÃÇÁ

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

96,807 2,336 99,143

96,807 2,336 99,143

78,230 2,081 80,311

78,230 2,081 80,311


ภาระผูกพันที่มีกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข องกัน ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ä´Œ·íÒÊÑÞÞÒÇ‹Ò¨ŒÒ§ºÃÔ¡ÒÃáÅÐઋÒÍÒ¤ÒáѺºØ¤¤ÅËÃ×Í¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ËÅÒÂáË‹§ ·Ñ駹ÕéºÃÔÉÑ·μŒÍ§¨‹Ò¤‹ÒઋÒáÅФ‹ÒºÃÔ¡Òà ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á ´Ñ§¹Õé (ŌҹºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554 2555 2554 ÀÒÃм١¾Ñ¹μÒÁÊÑÞÞÒઋҴíÒà¹Ô¹§Ò¹·Õè¡àÅÔ¡äÁ‹ä´Œ ÀÒÂã¹ÃÐÂÐàÇÅÒ˹Ö觻‚ ÃÐÂÐàÇÅÒÁÒ¡¡Ç‹Ò˹Ö觻‚¶Ö§ËŒÒ»‚ ÃÐÂÐàÇÅÒÁÒ¡¡Ç‹Òˌһ‚ ÃÇÁ ºÃÔÉ·Ñ ·íÒÊÑÞÞÒàª‹Ò·Õ´è ¹Ô ¡ÑººÃÔÉ·Ñ ËŒÒ§à«ç¹·ÃÑÅ ´Õ¾Òà ·àÁ¹· Êâμà ¨íÒ¡Ñ´ «Öè§à»š¹¡Ô¨¡Ò÷Õè à¡ÕÂè Ç¢ŒÍ§¡Ñ¹ ໚¹ÃÐÂÐàÇÅÒ 30 »‚ ÊÔ¹é ÊØ´ã¹»‚ 2567 ºÃÔÉ·Ñ ·íÒÊÑÞÞÒàª‹Ò·Õ´è ¹Ô ¡ÑººÃÔÉ·Ñ ËŒÒ§à«ç¹·ÃÑÅ ´Õ¾Òà ·àÁ¹· Êâμà ¨íÒ¡Ñ´ «Öè§à»š¹¡Ô¨¡Ò÷Õè à¡ÕÂè Ç¢ŒÍ§¡Ñ¹ ໚¹ÃÐÂÐàÇÅÒ 30 »‚ ÊÔ¹é ÊØ´ã¹»‚ 2566 ºÃÔÉѷ‹ÍÂáË‹§Ë¹Öè§ä´Œ·íÒÊÑÞÞҡѺºÃÔÉÑ· âçáÃÁ à«ç¹·ÃÑÅ ¾ÅÒ«Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) â´ÂºÃÔÉ·Ñ Â‹ÍÂμ¡Å§¨ÐãËŒâçáÃÁઋҪ‹Ç§·Õ´è ¹Ô ÀÒÂãμŒÊÔ·¸Ô¡ÒÃàª‹Ò áÅÐÊÔ觡‹ÍÊÌҧʋǹ˹Öè§ «Ö§è μѧé ÍÂÙº‹ ÃÔàdzà«ç¹·ÃÑÅ àÇÔÅ´ ໚¹àÇÅÒ 29 »‚ â´Â¼ÙŒàª‹Òª‹Ç§μ¡Å§¨Ð㪌¾×é¹·ÕèáÅÐÊÔ觡‹ÍÊÌҧ ´Ñ§¡Å‹ÒǾѲ¹Òâ¤Ã§¡ÒÃâçáÃÁ ·Õè¨Í´Ã¶ áÅÐˌͧ»ÃЪØÁÊÑÁÁ¹Ò (Convention Hall) ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ ¨íÒ¡Ñ´ àÁ×èÍÇѹ·Õè 18 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2545 ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ ¸ØáԨä·Â 4 (“¡Í§·Ø¹ÃÇÁ”) ŧ¹ÒÁã¹ÊÑÞÞÒ àª‹Ò·Õè´Ô¹¾ÃŒÍÁÊÔ觻ÅÙ¡ÊÌҧ «Öè§à»š¹·ÕèμÑ駢ͧ

559 2,561 10,959 14,079

528 2,427 11,652 14,607

Èٹ ¡ÒäŒÒ à«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ ¨Ò¡Êíҹѡ§Ò¹ ·ÃѾ ÊԹʋǹ¾ÃÐÁËÒ¡ÉÑμÃÔ â´ÂÁÕ¡íÒ˹´ ÃÐÂÐàÇÅÒ 30 »‚ ÊÔ¹é ÊØ´ã¹à´×͹¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2575 àÁ×èÍÇѹ·Õè 23 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2545 ¡Í§·Ø¹ÃÇÁä´Œ ·íÒÊÑÞÞÒઋҪ‹Ç§§Ò¹ÃкºÊÒ¸ÒóٻâÀ¤ áÅÐÊÑÞÞÒÇ‹Ò¨ŒÒ§¼ÙºŒ ÃÔËÒÃÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ ¡ºÑ ºÃÔÉ·Ñ à«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ ¨íÒ¡Ñ´ ÊÑÞÞÒઋÒÁÕÃÐÂÐ àÇÅÒ 30 »‚ ÊÔ¹é ÊØ´ à´×͹¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2575 μÒÁ à§×è͹䢢ͧÊÑÞÞÒ ºÃÔÉÑ·¨ÐμŒÍ§¨‹Ò¤‹ÒÊÔ·¸Ô ¡ÒÃઋÒŋǧ˹ŒÒ໚¹à§Ô¹ 80 ŌҹºÒ· áÅШ‹Ò ¤‹ÒઋÒ໚¹ÃÒÂà´×͹μÒÁ·Õèμ¡Å§¡Ñ¹ÃÐËÇ‹Ò§ ¤Ù‹ÊÑÞÞÒ â´ÂÁÕºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) ໚¹¼ÙŒ¤éíÒ»ÃСѹ¡ÑººÃÔÉÑ·ÊíÒËÃѺ ¡Òè‹Ò¤‹Ò㪌¨‹ÒÂμÒÁ·ÕèÃкØäÇŒã¹ÊÑÞÞÒ μÒÁÁμÔ ¼ÙŒ ¶× Í Ë¹‹ Ç Âŧ·Ø ¹ ¢Í§¡Í§·Ø ¹ ÃÇÁ ¸ØáԨä·Â 4 (“¡Í§·Ø¹ÃÇÁ”) ¤ÃÑ駷Õè 7 àÁ×èÍ Çѹ·Õè 27 ¡Ñ¹ÂÒ¹ 2554 ¼ÙŒ¶×Í˹‹ÇÂÁÕÁμÔ à»š¹àÍ¡©Ñ¹· ãËŒà»ÅÕ蹼ٌઋҪ‹Ç§¨Ò¡ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ ¨íÒ¡Ñ´ ໚¹ºÃÔÉ·Ñ à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) â´Â¡ÒáàÅÔ¡ÊÑÞÞÒàª‹Ò ª‹ Ç §§Ò¹ÃкºáÅÐÊÑ Þ ÞÒÇ‹ Ò ¨Œ Ò §¼ÙŒ º ÃÔ Ë ÒÃ

579 2,641 11,258 14,478

548 2,506 11,971 15,025

ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ ¡ÑººÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ ¨íÒ¡Ñ´ ·ÕèÁաѺ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ ´Ñ§¹Ñ¹é àÁ×Íè Çѹ·Õè 1 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ ä´Œ´Òí à¹Ô¹¡ÒáàÅÔ¡ÊÑÞÞÒઋҪ‹Ç§§Ò¹Ãкº ÊÒ¸Òó٠» âÀ¤áÅÐÊÑ Þ ÞÒÇ‹ Ò ¨Œ Ò §¼ÙŒ º ÃÔ Ë Òà ÍÊÑ § ËÒÃÔ Á ·ÃÑ ¾  ¡Ñ º ºÃÔ ÉÑ · à«ç ¹ ·ÃÑ Å àÇÔ Å ´ ¨íÒ¡Ñ´ â´Â¡Í§·Ø¹ÃÇÁÁÕÀÒÃÐμŒÍ§¨‹Ò¤‹Ò ª´àªÂ¨Ò¡¡Ò÷ÕèºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ ¨íÒ¡Ñ´ ä´Œ Å §·Ø ¹ã¹§Ò¹ÃкºÊÒ¸Òó٠» âÀ¤áÅÐ ¾Ñ²¹Ò¡‹ÍÊÌҧÍÒ¤Ò÷ըè ʹö à¹×Íè §¨Ò¡¡Òà ¡àÅÔ¡ÊÑÞÞÒ໚¹à§Ô¹¨íҹǹ 2,219 ŌҹºÒ· â´ÂÁÕºÃÔÉ·Ñ à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) μ¡Å§à»š¹¼ÙŒÃѺÀÒÃСÒêíÒÃÐà§Ô¹·Õè¡Í§·Ø¹ μŒÍ§¨‹ÒÂÍѹà¹×èͧÁÒ¨Ò¡¡Òú͡àÅÔ¡ÊÑÞÞÒ ´Ñ§¡Å‹ÒÇ¢ŒÒ§μŒ¹à¾×èÍμͺ᷹·Õè¡Í§·Ø¹ÃÇÁ ãËŒºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) ໚¹¼ÙŒàª‹Òª‹Ç§§Ò¹ÃкºÊÒ¸ÒóٻâÀ¤áÅÐ ¼ÙºŒ ÃÔËÒÃÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ â¤Ã§¡ÒÃÈٹ ¡ÒäŒÒ à«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ á·¹ àÁ×èÍÇѹ·Õè 1 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅ ¾Ñ²¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) ä´Œ·Òí ÊÑÞÞÒઋҪ‹Ç§


202 | 203

CPN รายงานประจําป 2555

§Ò¹Ãкº¡Ñº¡Í§·Ø¹ÃÇÁ ÊÑÞÞÒઋÒÁÕÃÐÂÐ àÇÅҹѺμÑé§áμ‹Çѹ·Õè 1 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 ÊÔé¹ÊØ´ à´×͹¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2575 μÒÁà§×Íè ¹ä¢¢Í§ÊÑÞÞÒ ºÃÔÉ·Ñ ¨ÐμŒÍ§¨‹ÒÂÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋÒŋǧ˹ŒÒ¨íҹǹ 56.1 ŌҹºÒ·áÅФ‹ÒઋÒÃÒÂà´×͹æ ÅÐ 20 ŌҹºÒ·μÒÁ·ÕèÃкØäÇŒã¹ÊÑÞÞÒ μÒÁÁμÔ ¼ÙŒ ¶× Í Ë¹‹ Ç Âŧ·Ø ¹ ¢Í§¡Í§·Ø ¹ ÃÇÁ ¸ØáԨä·Â 4 (“¡Í§·Ø¹ÃÇÁ”) ¤ÃÑ駷Õè 4 àÁ×èÍ Çѹ·Õè 7 ¡Ñ¹ÂÒ¹ 2555 ¼ÙŒ¶×Í˹‹ÇÂÁÕÁμÔ à»š¹àÍ¡©Ñ¹· ãˌ¡àÅÔ¡ÊÑÞÞÒઋҪ‹Ç§ÍÒ¤Òà Êíҹѡ§Ò¹¡ÑººÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ ¨íÒ¡Ñ´ áÅÐ͹ØÁμÑ ·Ô Òí ÊÑÞÞÒઋҪ‹Ç§ÍÒ¤ÒÃÊíҹѡ§Ò¹ ©ºÑºãËÁ‹ ¡Ñº¡Í§·Ø¹ÃÇÁÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ »ÃÐàÀ··Õè 1 áÅкÃÔÉ·Ñ à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) áÅкÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ ¨íÒ¡Ñ´ áÅТÍÍ¹Ø ÁÑ μÔ á ¡Œ ä ¢ÊÑ Þ ÞÒÇ‹ Ò ¨Œ Ò §¼ÙŒ º ÃÔ Ë Òà ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ ¡ÑººÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) ·ÕèÁաѺ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ ´Ñ§¹Ñ¹é àÁ×Íè Çѹ·Õè 14 ¡Ñ¹ÂÒ¹ 2555 ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ ä´Œ´íÒà¹Ô¹¡ÒáàÅÔ¡ÊÑÞÞÒઋҪ‹Ç§ÍÒ¤Òà Êíҹѡ§Ò¹ ´Ô ÍÍ¿¿ ÈàÈÊ áÍ· à«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ ¡ÑººÃÔÉ·Ñ à«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ ¨íÒ¡Ñ´ â´Â¡Í§·Ø¹ÃÇÁÁÕ ÀÒÃÐμŒÍ§¨‹Ò¤‹Òª´àªÂá¡‹ºÃÔÉ·Ñ à«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´

¨íÒ¡Ñ´ ¨Ò¡¡Ò÷ÕèºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ ¨íÒ¡Ñ´ ä´Œ Å §·Ø ¹ã¹§Ò¹ÃкºáÅÐ¾Ñ ² ¹Ò¡‹ Í ÊÃŒ Ò § ÍÒ¤ÒÃÊíҹѡ§Ò¹ à¹×Íè §¨Ò¡¡ÒáàÅÔ¡ÊÑÞÞÒ à»š¹à§Ô¹¨íҹǹ 3,530.3 ŌҹºÒ· áÅСͧ·Ø¹ ÃÇÁä´Œ ·í Ò ÊÑ Þ ÞÒઋ Ò ª‹ Ç §·Õè ´Ô ¹ áÅÐÍÒ¤Òà Êíҹѡ§Ò¹ (ºÒ§Ê‹Ç¹)¾ÃŒÍÁ·Ñé§Ê‹Ç¹¤ÇºáÅÐ ÍØ»¡Ã³ ·àÕè ¡ÕÂè Ç¢ŒÍ§áÅЧҹÃкºμ‹Ò§æ ÃÇÁ¶Ö§ ÊÔ·¸Ô㹡ÒÃ㪌ºÃÔ¡Òþ×é¹·Õè¨Í´Ã¶ã¹â¤Ã§¡Òà Êíҹѡ§Ò¹ ´ÔÍÍ¿¿ ÈàÈÊ áÍ· à«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ ¡Ñº¡Í§·Ø¹ÃÇÁÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋÒÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ CPN ¤ÍÁàÁÍà àªÕÂÅ â¡Ã· (“CPNCG”) â´ÂÊÑÞÞÒઋÒÁÕÃÐÂÐàÇÅÒ»ÃÐÁÒ³ 20 »‚ ÊÔé¹ÊØ´Çѹ·Õè 22 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2575 ¹Í¡¨Ò¡¹Õé ¡Í§·Ø¹ÃÇÁä´Œ·íÒÊÑÞÞÒઋҪ‹Ç§¾×é¹·ÕèÍÒ¤Òà Êíҹѡ§Ò¹ (ºÒ§Ê‹Ç¹) ¡ÑººÃÔÉ·Ñ à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) áÅкÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ ¨íÒ¡Ñ´ â´ÂÊÑÞÞÒઋÒÁÕÃÐÂÐàÇÅÒμÑé§áμ‹Çѹ·Õè 14 ¡Ñ¹ÂÒ¹ 2555 ¶Ö§Çѹ·Õè 22 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2575 áÅÐμÑé§áμ‹Çѹ·Õè 14 ¡Ñ¹ÂÒ¹ 2555 ¶Ö§ Çѹ·Õè 23 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 μÒÁÅíҴѺ à«ç¹·ÃÑžÅÒ«Ò ÅÒ´¾ÃŒÒÇ ã¹»‚ 2552 ºÃÔÉÑ··íÒÊÑÞÞÒઋҪ‹Ç§·ÃѾ ÊÔ¹ «Ö觻ÃСͺ´ŒÇ ·Õè´Ô¹ ÍÒ¤ÒÃÈٹ ¡ÒäŒÒ

ÍÒ¤ÒÃÊíҹѡ§Ò¹ÍÒ¤Òèʹö ¾ÅÒ«‹Ò áÅРʋǹ»ÃѺ»ÃاÍÒ¤ÒþÌÍÁʋǹ¤ÇººÃÔàdz Èٹ ¡ÒäŒÒ à«ç¹·ÃÑÅ ¾ÅÒ«‹Ò ÅÒ´¾ÃŒÒÇ ¾ÃŒÍÁ·Ñ§é ·ÃÑ¾Â Ê¹Ô ¤ÃØÀ³ Ñ ± ¡ÑººÃÔÉ·Ñ à«ç¹·ÃÑÅ ÍÔ ¹ àμÍà ¾Ñ ² ¹Ò ¨í Ò ¡Ñ ´ (“¼ÙŒ ã ËŒ à ª‹ Ò ª‹ Ç §”) ໚¹ÃÐÂÐàÇÅÒ 20 »‚ áÅШÐÊÔé¹Êشŧã¹Çѹ·Õè 18 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2571 ºÃÔÉÑ·¨ÐμŒÍ§¨‹Ò¤‹Ò ¼Å»ÃÐ⪹ μͺ᷹¡ÒÃä´ŒÊ·Ô ¸ÔઋҪ‹Ç§ãˌᡋ ¼ÙŒãˌઋҪ‹Ç§à»š¹¨íҹǹà§Ô¹ 2,162 ŌҹºÒ· «Ö觺ѹ·Ö¡à»š¹ÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋÒ㹧ºáÊ´§°Ò¹Ð ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ ¹Í¡¨Ò¡¹Õé ºÃÔÉÑ·¨ÐμŒÍ§¨‹Ò ¤‹ Ò àª‹ Ò Êí Ò ËÃÑ º ¡ÒÃઋ Ò ª‹ Ç §·ÃÑ ¾  ÊÔ ¹ ÃÒ»‚ áÅФ‹ÒઋҤÃØÀѳ± ãˌᡋ¼ÙŒãˌઋҪ‹Ç§μÅÍ´ ÍÒÂØÊÑÞÞÒઋÒ໚¹¨íҹǹà§Ô¹ÃÇÁ 14,016 ŌҹºÒ· ÍÒ¤ÒÃËÃ×ÍÊÔ§è »ÅÙ¡ÊÌҧ·Õºè ÃÔÉ·Ñ á¡Œä¢ μ‹ÍàμÔÁ ËÃ×ÍÊÌҧ·´á·¹ áÅзÃÑ¾Â Ê¹Ô ã´æ ·Õºè ÃÔÉ·Ñ ä´Œ´Òí à¹Ô¹¡ÒúÙóоѲ¹Ò ¨Ðâ͹¡ÃÃÁÊÔ·¸Ôì ãˌᡋ¡ÒÃöä¿áË‹§»ÃÐà·Èä·Â (“¼ÙŒãˌઋҔ) àÁ×èÍÊÔé¹ÊØ´ÊÑÞÞÒ ¹Í¡¨Ò¡¹Õé ºÃÔÉÑ·μŒÍ§Ê‹§ Áͺ¤ÃØ ÀÑ ³ ± μ ÒÁÃÒ¡ÒÃã¹ÊÑ Þ ÞÒãËŒ á ¡‹ ¼ÙŒãˌઋÒμÒÁÊÀÒ¾μÒÁÊÁ¤ÇÃáÅÐÍÒÂØ¡Òà 㪌§Ò¹ã¹¢³Ð¹Ñé¹

6 เงินสดและรายการเทียบเท าเงินสด §º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554 à§Ô¹Ê´ à§Ô¹½Ò¡¸¹Ò¤ÒûÃÐàÀ·¨‹Ò¤׹àÁ×èͷǧ¶ÒÁ ÃÇÁ

6,414 2,887,221 2,893,635

5,885 827,173 833,058

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554 2,275 1,943,640 1,945,915

à§Ô¹Ê´áÅÐÃÒ¡ÒÃà·Õº෋Òà§Ô¹Ê´·Ñé§ËÁ´¢Í§¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·áÅкÃÔÉÑ· ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 áÅÐ 2554 ໚¹Ê¡ØÅà§Ô¹ºÒ·

1,908 198,053 199,961


7 เงินลงทุนอื่น §º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554 ʋǹ·ÕèËÁعàÇÕ¹ μÃÒÊÒÃ˹Õé·Õè¨Ð¶×ͨ¹¤Ãº¡íÒ˹´ μÃÒÊÒ÷ع»ÃÐàÀ·ËÅÑ¡·ÃѾ à¼×èÍ¢Ò ºÇ¡ ¤‹Òà¼×èÍ¡ÒûÃѺÁÙŤ‹Ò ʋǹ·ÕèäÁ‹ËÁعàÇÕ¹ μÃÒÊÒ÷عÍ×è¹ ÃÇÁ

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

1,198,410 105,323 9,776 1,313,509

197 105,323 6,037 111,557

1,198,214 1,025 2,885 1,202,124

1,025 2,045 3,070

2,243 1,315,752

2,242 113,799

1,000 1,203,124

1,000 4,070

à§Ô¹Å§·Ø¹Í×è¹·Ñé§ËÁ´¢Í§¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·áÅкÃÔÉÑ· ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 áÅÐ 2554 ໚¹Ê¡ØÅà§Ô¹ºÒ·

8 ลูกหนี้การค า ËÁÒÂàËμØ ºÃÔÉѷ‹ÍÂáÅСԨ¡ÒÃÍ×è¹·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ºØ¤¤ÅáÅСԨ¡ÒÃÍ×è¹ ÃÇÁ ËÑ¡ ¤‹Òà¼×èÍ˹ÕéʧÊѨÐÊÙÞ ÊØ·¸Ô ˹ÕéÊÙÞáÅÐ˹ÕéʧÊѨÐÊÙÞ (¡ÅѺÃÒ¡ÒÃ) ÊíÒËÃѺ»‚

5

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

85,590 564,915 650,505 (23,783) 626,722

124,225 766,881 891,106 (9,861) 881,245

101,197 217,762 318,959 (1,276) 317,683

157,829 353,264 511,093 (1,574) 509,519

13,922

6,378

(297)

632


204 | 205

CPN รายงานประจําป 2555

¡ÒÃÇÔà¤ÃÒÐË ÍÒÂØ˹Õé¢Í§Å١˹Õé¡ÒäŒÒáÅÐà§Ô¹ÁÑ´¨íÒÃѺ¨Ò¡ÅÙ¡¤ŒÒ·ÕèÁÕÂÍ´¤ŒÒ§ªíÒÃÐà¡Ô¹Çѹ¤Ãº¡íÒ˹´ªíÒÃÐ Áմѧ¹Õé

ºÃÔÉѷ‹ÍÂáÅСԨ¡ÒÃÍ×è¹·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ÂѧäÁ‹¤Ãº¡íÒ˹´ªíÒÃÐ à¡Ô¹Çѹ¤Ãº¡íÒ˹´ªíÒÃÐ : ¹ŒÍÂ¡Ç‹Ò 3 à´×͹ 3-6 à´×͹ 6-12 à´×͹ ÁÒ¡¡Ç‹Ò 12 à´×͹ ÃÇÁ à§Ô¹ÁÑ´¨íÒÃѺ¨Ò¡ÅÙ¡¤ŒÒ·ÕèÁÕÂÍ´¤ŒÒ§ªíÒÃÐ à¡Ô¹Çѹ¤Ãº¡íÒ˹´ªíÒÃÐ ºØ¤¤ÅáÅСԨ¡ÒÃÍ×è¹ ÂѧäÁ‹¤Ãº¡íÒ˹´ªíÒÃÐ à¡Ô¹Çѹ¤Ãº¡íÒ˹´ªíÒÃÐ : ¹ŒÍÂ¡Ç‹Ò 3 à´×͹ 3-6 à´×͹ 6-12 à´×͹ ÁÒ¡¡Ç‹Ò 12 à´×͹ ËÑ¡ ¤‹Òà¼×èÍ˹ÕéʧÊѨÐÊÙÞ ÊØ·¸Ô à§Ô¹ÁÑ´¨íÒÃѺ¨Ò¡ÅÙ¡¤ŒÒ·ÕèÁÕÂÍ´¤ŒÒ§ªíÒÃÐ à¡Ô¹Çѹ¤Ãº¡íÒ˹´ªíÒÃÐ

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

25,157

42,021

71,850

120,689

27,757 13,130 13,175 6,371 85,590

39,148 18,002 7,720 17,334 124,225

9,731 8,964 6,683 3,969 101,197

24,390 2,998 3,012 6,740 157,829

248,596

200,458

128,272

52,605

259,562

273,250

104,179

156,762

136,237 42,679 79,470 46,967 564,915 (23,783) 541,132

229,750 104,786 87,434 71,661 766,881 (9,861) 757,020

54,044 21,992 17,049 20,498 217,762 (1,276) 216,486

129,165 31,249 12,382 23,706 353,264 (1,574) 351,690

1,651,735

1,215,809

691,892

349,553

â´Â»¡μÔÃÐÂÐàÇÅÒ¡ÒÃãËŒÊÔ¹àª×èÍá¡‹ÅÙ¡¤ŒÒ¢Í§¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·áÅкÃÔÉÑ·ÁÕÃÐÂÐàÇÅÒμÑé§áμ‹ 1-30 Çѹ Å١˹Õé¡ÒäŒÒ·Ñé§ËÁ´¢Í§¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·áÅкÃÔÉÑ· ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 áÅÐ 2554 ໚¹Ê¡ØÅà§Ô¹ºÒ· à§Ô¹ÁÑ´¨íÒÃѺ¨Ò¡ÅÙ¡¤ŒÒ·ÕèÁÕÂÍ´¤ŒÒ§ªíÒÃÐà¡Ô¹Çѹ¤Ãº¡íÒ˹´ªíÒÃдѧ¡Å‹ÒÇ¢ŒÒ§μŒ¹¤Ãͺ¤ÅØÁ¨íҹǹà§Ô¹¢Í§Å١˹Õé·Õèà¡Ô¹Çѹ¤Ãº¡íÒ˹´ªíÒÃÐ


9 ลูกหนี้อื่น ËÁÒÂàËμØ ÃÒÂä´Œ¤ŒÒ§ÃѺ Å١˹Õé¡ÃÁÊÃþҡà Å١˹ÕéÍ×è¹ ¤‹Ò㪌¨‹Ò¨‹ÒÂŋǧ˹ŒÒ Í×è¹æ ÃÇÁ

5

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554 477,634 378,610 370,011 193,538 72,720 1,492,513

428,210 468,372 356,413 140,850 72,684 1,466,529

10 เงินลงทุนในบริษัทย อยและกองทุนรวม

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554 666,688 22,644 136,995 13,363 839,690

1,130,219 22,317 112,801 28,046 1,293,383

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á «×éÍà§Ô¹Å§·Ø¹ «×éÍ˹‹ÇÂŧ·Ø¹ ¨íÒ˹‹ÒÂáÅÐÃѺ¤×¹Ë¹‹ÇÂŧ·Ø¹ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á

21,680,084 (27,984) 21,652,100

¡Í§·Ø¹ÃÇÁ¸ØáԨä·Â 4

ºÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ â¡ºÍÅ ¨íÒ¡Ñ´

àÁ×èÍÇѹ·Õè 10 ÊÔ§ËÒ¤Á 2554 ºÃÔÉѷ䴌ࢌҫ×éÍ Ë¹‹ÇÂŧ·Ø¹à¾ÔèÁ·Ø¹»ÃÐàÀ· ¡ áÅÐ ¤ ¢Í§ ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ¸ØáԨä·Â 4 à¾ÔèÁàμÔÁ μÒÁÁÙŤ‹Ò ·ÕèμÃÒänj˹‹ÇÂÅÐ 3.85 ºÒ· ¨íҹǹ 14.6 Ōҹ˹‹Ç ÃÇÁ໚¹à§Ô¹ 56.2 ŌҹºÒ· (´ÙËÁÒÂàËμØ 5) áÅÐ˹‹ÇÂÅÐ 10 ºÒ· ¨íҹǹ 10.6 Ōҹ˹‹Ç ÃÇÁ໚¹à§Ô¹ 105.8 ÅŒ Ò ¹ºÒ· μÒÁÅí Ò ´Ñ º à¾×è Í㪌 à »š ¹ à§Ô ¹ ·Ø ¹ ËÁعàÇÕ¹㹪‹Ç§·Õè»ÃѺ»Ãاâ¤Ã§¡ÒÃÏ

·Õè»ÃЪØÁ¤³Ð¡ÃÃÁ¡ÒúÃÔÉÑ·àÁ×èÍÇѹ·Õè 11 ¾ÄÉÀÒ¤Á 2553 ÁÕÁμÔ͹ØÁÑμÔ ãËŒºÃÔÉÑ·à¢ŒÒ «×éÍËØŒ¹ÊÒÁÑÞ¨íҹǹ 9,994 ËØŒ¹¢Í§ ºÃÔÉÑ· «Õ¾àÕ Íç¹ â¡ºÍÅ ¨íÒ¡Ñ´ ¨Ò¡ºØ¤¤Å·Õàè ¡ÕÂè Ç¢ŒÍ§¡Ñ¹ à¾×Íè ÃͧÃѺ¡ÒâÂÒ¡ÒÃŧ·Ø¹ã¹μ‹Ò§»ÃÐà·È «Ö觺ÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ â¡ºÍÅ ¨íÒ¡Ñ´ ÁÕËØŒ¹·Ø¹ ¨´·ÐàºÕ¹¨íҹǹ 10,000 ËØŒ¹ μÒÁÁÙŤ‹Ò·Õè μÃÒänj˹، ÅÐ 100 ºÒ· ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2553 ºÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ â¡ºÍÅ ¨íÒ¡Ñ´ ä´ŒÃѺ

19,676,871 1,925,425 105,772 (27,984) 21,680,084

ªíÒÃФ‹ÒËØŒ¹áŌǨíҹǹÌÍÂÅÐ 25 ¢Í§ËØŒ¹ ·Ø¹¨´·ÐàºÕ¹·Ñ§é ËÁ´ ໚¹¨íҹǹà§Ô¹·Ñ§é ÊÔ¹é 0.3 ŌҹºÒ·â´Â¡ÒÃࢌҫ×éÍ¡Ô¨¡Òôѧ¡Å‹ÒÇ ·íÒãËŒ ºÃÔÉ·Ñ «Õ¾àÕ Íç¹ â¡ºÍÅ ¨íÒ¡Ñ´ ÁÕʶҹР໚¹ºÃÔÉ·Ñ Â‹Í¢ͧºÃÔÉ·Ñ ã¹ÃÐËÇ‹Ò§»‚ 2554 ºÃÔÉ·Ñ Â‹ÍÂàÃÕ¡ãËŒ¼¶ÙŒ Í× ËعŒ ªíÒÃФ‹ÒËعŒ ʋǹ·ÕÂè §Ñ äÁ‹ä´ŒàÃÕ¡ªíÒÃÐÍÕ¡ÃŒÍÂÅÐ 75 à¾×Íè ãËŒ¤ÃºμÒÁ ÁÙŤ‹Ò·ÕèμÃÒäÇŒËØŒ¹ÅÐ 100 ºÒ· ໚¹¨íҹǹ à§Ô¹·Ñ§é ÊÔ¹é 0.75 ŌҹºÒ· â´ÂºÃÔÉ·Ñ Â‹ÍÂä´ŒÃºÑ ªíÒÃÐÁÙŤ‹ÒËعŒ ʋǹà¾ÔÁè ´Ñ§¡Å‹ÒÇàμçÁÁÙŤ‹ÒáÅŒÇ


206 | 207

CPN รายงานประจําป 2555

à¾×Íè ʹѺʹع¡ÒâÂÒ¡ÒÃŧ·Ø¹ã¹μ‹Ò§»ÃÐà·È ´Ñ§¡Å‹ÒÇ ã¹ÃÐËÇ‹Ò§»‚ 2553 ºÃÔÉ·Ñ «Õ¾àÕ Íç¹ â¡ºÍÅ ¨íÒ¡Ñ´ ä´Œ¨´·ÐàºÕ¹¨Ñ´μÑ§é ¹ÔμºÔ ¤Ø ¤Åã¹»ÃÐà·È ΋ͧ¡§¨íҹǹ 2 ºÃÔÉ·Ñ ä´Œá¡‹ ºÃÔÉ·Ñ â¡ºÍÅ ÃÕà·Å ´ÕàÇÅÅçÍ»àÁŒ¹· á͹´ ÍÔ¹àÇÊàÁŒ¹· ÅÔÁÔàμç´ áÅÐ ºÃÔÉÑ· ⡺ÍÅ ¤ÍÁàÁÍÅ àªÕÂÅ ¾Ãç;à¾Íà μÕé ÅÔÁÔàμç´ ºÃÔÉѷ‹Í´ѧ¡Å‹ÒÇÁÕ ¡ÒôíÒà¹Ô¹¡Òôѧ¹Õé >> ºÃÔÉ·Ñ «Õ¾àÕ Íç¹ â¡ºÍÅ ¨íÒ¡Ñ´ ä´Œ¨´·ÐàºÕ¹ ¨Ñ´μÑ§é ¹ÔμºÔ ¤Ø ¤Åã¹»ÃÐà·È΋ͧ¡§¨íҹǹ 2 ºÃÔÉ·Ñ ä´Œá¡‹ ºÃÔÉÑ· ⡺ÍÅ ÃÕà·Å ´ÕàÇÅÅçÍ»àÁŒ¹· á͹´ ÍÔ¹àÇÊàÁŒ¹· ÅÔÁàÔ μç´ áÅÐ ºÃÔÉ·Ñ â¡ºÍÅ ¤ÍÁàÁÍÅ àªÕÂÅ ¾Ãç;à¾Íà μÕé ÅÔÁàÔ μç´ ã¹Çѹ·Õè 16 àÁÉÒ¹ 2553 áÅÐ 23 àÁÉÒ¹ 2553 μÒÁÅíҴѺ >> ºÃÔÉ·Ñ â¡ºÍÅ ÃÕà·Å ´ÕàÇÅÅçÍ»àÁŒ¹· á͹´ ÍÔ¹àÇÊàÁŒ¹· ÅÔÁàÔ μç´ä´Œ¨´·ÐàºÕ¹¨Ñ´μÑ§é ºÃÔÉ·Ñ à«ç¹·ÃÑÅ(à«Õè§äÎŒ) áÁ๨àÁŒ¹· ¤Í¹«ÑÅμÔé§ ¨íÒ¡Ñ´ ã¹»ÃÐà·È¨Õ¹ àÁ×èÍÇѹ·Õè 19 μØÅÒ¤Á 2553 áÅÐÁÕ¡ÒÃàÃÕ¡ªíÒÃФ‹ÒËØŒ¹ÃŒÍÂÅÐ 20 ໚¹¨íҹǹà§Ô¹ 2.3 ŌҹËÂǹàÁ×èÍÇѹ·Õè 13 Á¡ÃÒ¤Á 2554 áÅкÃÔÉÑ·ä´ŒÁÕ¡ÒÃàÃÕ¡ªíÒÃÐ ¤‹ÒËعŒ à¾ÔÁè àμÔÁÍÕ¡ÃŒÍÂÅÐ 40.3 ໚¹¨íҹǹà§Ô¹ 4 ŌҹËÂǹ àÁ×Íè Çѹ·Õè 9 ¡Ñ¹ÂÒ¹ 2554 áÅÐ ã¹äμÃÁÒÊ·ÕËè ¹Ö§è ¢Í§»‚ 2555 ºÃÔÉ·Ñ à«ç¹·ÃÑÅ (à«Õè§äÎŒ) áÁ๨àÁŒ¹· ¤Í¹«ÑÅμÔé§ ¨íÒ¡Ñ´ ä´ŒÁ¡Õ ÒÃàÃÕ¡ãËŒºÃÔÉ·Ñ ªíÒÃФ‹ÒËعŒ à¾ÔÁè àμÔÁÍÕ¡ ÃŒÍÂÅÐ 27.73 ໚¹¨íҹǹà§Ô¹ 2.7 ŌҹËÂǹ àÁ×Íè Çѹ·Õè 20 ÁÕ¹Ò¤Á 2555 μ‹ÍÁÒã¹äμÃÁÒÊ ·ÕÊè ÒÁ¢Í§»‚ 2555 ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅ (à«ÕÂè §äÎŒ) áÁ๨àÁŒ¹· ¤Í¹«ÑÅμÔé§ ¨íÒ¡Ñ´ ä´ŒÁÕ¡ÒÃàÃÕ¡ ªíÒÃФ‹ÒËعŒ ʋǹ·Õàè ËÅ×ÍÍÕ¡ÃŒÍÂÅÐ 11.97 ໚¹ ¨íҹǹà§Ô¹ 1.0 ŌҹËÂǹ àÁ×èÍÇѹ·Õè 27 ¡Ñ¹ÂÒ¹ 2555

ºÃÔÉ·Ñ à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ´ÕàÇÅÅÍ»àÁŒ¹· ¨íÒ¡Ñ´ (à´ÔÁª×èÍ ºÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ àªÕ§ÃÒ ¨íÒ¡Ñ´) àÁ×Íè Çѹ·Õè 16 ¡Ñ¹ÂÒ¹ 2554 ºÃÔÉ·Ñ Â‹ÍÂàÃÕ¡ãËŒ ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ªíÒÃФ‹ÒËØŒ¹Ê‹Ç¹·ÕèÂѧäÁ‹ä´ŒàÃÕ¡ªíÒÃÐ ÍÕ¡ÃŒÍÂÅÐ 75 à¾×èÍãËŒ¤ÃºμÒÁÁÙŤ‹Ò·ÕèμÃÒäÇŒ ËØŒ¹ÅÐ 10 ºÒ· ໚¹¨íҹǹà§Ô¹·Ñé§ÊÔé¹ 525 ŌҹºÒ· â´ÂºÃÔÉ·Ñ Â‹ÍÂä´ŒÃºÑ ªíÒÃÐÁÙŤ‹ÒËعŒ ʋǹà¾ÔèÁ´Ñ§¡Å‹ÒÇàμçÁÁÙŤ‹ÒáÅŒÇ ·Õè » ÃÐªØ Á ÇÔ Ê ÒÁÑ Þ ¼ÙŒ ¶× Í ËØŒ ¹ àÁ×è Í ÇÑ ¹ ·Õè 25 ¾ÄÉÀÒ¤Á 2555 ¢Í§ºÃÔÉ·Ñ «Õ¾àÕ Íç¹ àªÕ§ÃÒ ¨í Ò ¡Ñ ´ ÁÕ Á μÔ ¾Ô à ÈÉ à»ÅÕè  ¹ª×è Í ºÃÔ ÉÑ · ¨Ò¡ “ºÃÔÉ·Ñ «Õ¾àÕ Íç¹ àªÕ§ÃÒ ¨íÒ¡Ñ´” ໚¹ “ºÃÔÉ·Ñ à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ´ÕàÇÅÅÍ»àÁŒ¹· ¨íÒ¡Ñ´” â´ÂºÃÔÉѷ‹ÍÂä´Œ¨´·ÐàºÕ¹à»ÅÕ蹪×è͡Ѻ ¡ÃзÃǧ¾Ò³ÔªÂ àÁ×èÍÇѹ·Õè 29 ¾ÄÉÀÒ¤Á 2555 ºÃÔÉÑ· âçáÃÁ «Õ¾ÕàÍç¹ ¾Ñ·ÂÒ ºÕª ¨íÒ¡Ñ´ àÁ×Íè Çѹ·Õè 30 ¡Ã¡®Ò¤Á 2554 ºÃÔÉ·Ñ Â‹ÍÂàÃÕ¡ãËŒ ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ªíÒÃФ‹ÒËØŒ¹Ê‹Ç¹·ÕèÂѧäÁ‹ä´ŒàÃÕ¡ªíÒÃÐ ÍÕ¡ÃŒÍÂÅÐ 25 à¾×èÍãËŒ¤ÃºμÒÁÁÙŤ‹Ò·ÕèμÃÒäÇŒ ËØŒ¹ÅÐ 10 ºÒ· ໚¹¨íҹǹà§Ô¹·Ñé§ÊÔé¹ 249.8 ŌҹºÒ· â´ÂºÃÔÉ·Ñ Â‹ÍÂä´ŒÃºÑ ªíÒÃÐÁÙŤ‹ÒËعŒ ʋǹà¾ÔèÁ´Ñ§¡Å‹ÒÇàμçÁÁÙŤ‹ÒáÅŒÇ àÁ×Íè Çѹ·Õè 1 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 ºÃÔÉ·Ñ âçáÃÁ «Õ¾àÕ Íç¹ ¾Ñ·ÂÒ ºÕª ¨íÒ¡Ñ´ ŧ¹ÒÁã¹ÊÑÞÞÒ«×Íé ¢Ò§ҹ Ãкº¢Í§âçáÃÁÎÔÅμѹ ¾Ñ·ÂҡѺ ºÃÔÉ·Ñ «Õ¾àÕ Íç¹ ¾Ñ·ÂÒ ºÕª ¨íÒ¡Ñ´ ໚¹¨íҹǹà§Ô¹ 626 ŌҹºÒ· ÃÒ¡Òôѧ¡Å‹ÒǶ١μÑ´ÃÒ¡ÒÃ㹡ÒèѴ·íÒ §º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ

ºÃÔÉ·Ñ à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ä¹¹ Êá¤Çà ¨íÒ¡Ñ´ àÁ×Íè Çѹ·Õè 16 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 ºÃÔÉ·Ñ Â‹ÍÂàÃÕ¡ãËŒ ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ªíÒÃФ‹ÒËØŒ¹Ê‹Ç¹·ÕèÂѧäÁ‹ä´ŒàÃÕ¡ªíÒÃÐ ÍÕ¡ÃŒÍÂÅÐ 44.23 ໚¹¨íҹǹà§Ô¹·Ñ§é ÊÔ¹é 1,150 ŌҹºÒ· â´ÂºÃÔÉ·Ñ Â‹ÍÂä´ŒÃºÑ ªíÒÃÐÁÙŤ‹ÒËعŒ ʋǹà¾ÔèÁ´Ñ§¡Å‹ÒÇàμçÁÁÙŤ‹ÒáÅŒÇ ºÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ ¤ÍÁà¾Åç¡« ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉѷ‹ÍÂ䴌ࢌҶ×ÍËØŒ¹ÊÒÁÑÞÃŒÍÂÅÐ 99.9 ¢Í§ºÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ ¤ÍÁà¾Åç¡« ¨íÒ¡Ñ´ «Öè§ÁÕ ·Ø¹¨´·ÐàºÕ¹ 1,341.6 ŌҹºÒ· (13.4 ŌҹËعŒ ÁÙŤ‹ÒËعŒ ÅÐ 100 ºÒ·) áÅÐä´ŒªÒí Ãзع¨´·ÐàºÕ¹ ¤ÃºáŌǷÑé§ËÁ´ ºÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ «ÔμÕé ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉ·Ñ Â‹ÍÂ䴌ࢌҶ×ÍËعŒ ÊÒÁÑÞÃŒÍÂÅÐ 99.9 ¢Í§ ºÃÔÉ·Ñ «Õ¾àÕ Íç¹ «ÔμÕé ¨íÒ¡Ñ´ «Ö§è ÁÕ·¹Ø ¨´·ÐàºÕ¹ 1,863.5 ŌҹºÒ· (18.6 ŌҹËعŒ ÁÙŤ‹ÒËعŒ ÅÐ 100 ºÒ·) áÅÐä´ŒªÒí Ãзع¨´·ÐàºÕ¹¤ÃºáÅŒÇ ·Ñé§ËÁ´


¡Í§·Ø¹ÃÇÁ ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ¸ØáԨä·Â 4 (1) (2) ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ¸ØáԨä·Â 5 (1) ÃÇÁ

ºÃÔÉѷ‹Í ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¾ÃÐÃÒÁ 2 ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò àªÕ§ãËÁ‹ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· ËÅѧÊǹ àÃÕÂÅμÕé ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ÃÑμ¹Ò¸ÔàºÈà ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅ àÃÕÂÅμÕé à«Íà ÇÔÊ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅ ¿Ù‡´ÍàǹÔÇ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅ àÇÔÅ´ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¾ÃÐÃÒÁ 3 ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ ¾Ñ·ÂÒ ºÕª ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ªÅºØÃÕ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· âçáÃÁ «Õ¾ÕàÍç¹ ¾Ñ·ÂÒ ºÕª ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ ¤Í¹ÊμѤªÑè¹ áÁ๨àÁŒ¹· ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ´ÕàÇÅÅÍ»àÁŒ¹· ¨íÒ¡Ñ´ (à´ÔÁª×èÍ ºÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ àªÕ§ÃÒ ¨íÒ¡Ñ´) ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑÅàÃÕÂÅμÕé à«Íà ÇÔÊ ¾ÃÐÃÒÁ 3 ¨íÒ¡Ñ´ (ÍÂÙ‹ÃÐËÇ‹Ò§´íÒà¹Ô¹¡ÒêíÒÃÐ ºÑÞªÕ) ºÃÔÉÑ· «Õ¾ÕàÍç¹ â¡ºÍÅ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ä¹¹ Êá¤Çà ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¢Í¹á¡‹¹ ¨íÒ¡Ñ´ 100.0 100.0 93.3 78.1

100.0 100.0 93.3 78.1 100.0 100.0

100.0

100.0

100.0 100.0

100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0

100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0

5,443.8 124.8

175.0 1.0 2,400.0 2,000.0

700.0

1,500.0 1,000.0 830.0 800.0 1.0 5.0 2,511.9 324.7 1,500.0 900.0 1,000.0 1.0 744,285

1,500,000 1,000,000 830,000 589,998 1,000 5,000 2,412,733 1,985,470 1,499,999 808,984 1,000,060 999 744,285

1,500,000 1,000,000 830,000 589,998 1,000 5,000 2,412,733 1,985,470 1,499,999 808,984 1,000,060 999 -

-

744,285

1,500,000 1,000,000 830,000 589,998 1,000 5,000 2,412,733 1,985,470 1,499,999 808,984 1,000,060 999

744,285

1,500,000 1,000,000 830,000 589,998 1,000 5,000 2,412,733 1,985,470 1,499,999 808,984 1,000,060 999

-

-

400,000 97,349 279,300 -

248,845 531,845

-

-

118,000 165,000 -

à§Ô¹»˜¹¼ÅÃѺ 2555 2554

5,443.8 5,443,793 5,443,793 - 5,443,793 5,443,793 1,120,136 152.8 124,824 152,808 - 124,824 152,808 271,534 21,931,310 21,959,294 (279,210) (279,210) 21,652,100 21,680,084 2,168,319

175.0 181,282 181,282 - 181,282 181,282 1.0 1,000 1,000 1,000 1,000 2,400.0 2,239,200 2,239,200 (177,705) (177,705) 2,061,495 2,061,495 2,000.0 1,562,683 1,562,683 (101,505) (101,505) 1,461,178 1,461,178

700.0

1,500.0 1,000.0 830.0 800.0 1.0 5.0 2,511.9 324.7 1,500.0 900.0 1,000.0 1.0

ÊѴʋǹ¤ÇÒÁ໚¹à¨ŒÒ¢Í§ ·Ø¹ªíÒÃÐáÅŒÇ 2555 2554 2555 2554 (ÃŒÍÂÅÐ) (ŌҹºÒ·)

§º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà ÃҤҷع ¡ÒôŒÍ¤‹Ò ÃҤҷع-ÊØ·¸Ô 2555 2554 2555 2554 2555 2554 (¾Ñ¹ºÒ·)

à§Ô¹Å§·Ø¹ã¹ºÃÔÉѷ‹ÍÂáÅСͧ·Ø¹ÃÇÁ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 áÅÐ 2554 áÅÐà§Ô¹»˜¹¼ÅÃѺÊíÒËÃѺáμ‹Åл‚ Áմѧ¹Õé


208 | 209

CPN รายงานประจําป 2555

à§Ô¹Å§·Ø¹ã¹¡Í§·Ø¹ÃÇÁ¸ØáԨä·Â 4 áÅÐ ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ¸ØáԨä·Â 5 ໚¹à§Ô¹Å§·Ø¹ã¹ ˹‹ÇÂŧ·Ø¹»ÃÐàÀ· ¤ «Öè§ÁÕÊÔ·¸Ô㹡ÒÃÃѺ à§Ô¹»˜¹¼ÅËÅѧ¨Ò¡·Õè˹‹ÇÂŧ·Ø¹»ÃÐàÀ·Í×è¹ (»ÃÐàÀ· ¡ áÅÐ ¢) ä´ŒÃѺä»áÅŒÇ (1)

(2)

¡Í§·Ø¹ÃÇÁ¸ØáԨä·Â 4

ã¹»‚ 2552 ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ¸ØáԨä·Â 4 ä´Œ·íÒ ÊÑÞÞÒá¡Œä¢à¾ÔÁè àμÔÁâ´Â¡íÒ˹´ãËŒà§Ô¹»˜¹¼Å ¢Í§Ë¹‹ Ç Âŧ·Ø ¹ »ÃÐàÀ· ¤ μŒ Í §äÁ‹ à ¡Ô ¹ ¡Ç‹Ò¨íҹǹà§Ô¹Ê´ÊØ·¸Ô·ÕèàËÅ×ÍÀÒÂËÅѧ¨Ò¡

(1) ¡Òè‹ÒÂà§Ô¹»˜¹¼Å áÅÐà§Ô¹»˜¹¼Å¤ŒÒ§ ¨‹Ò¢ͧ˹‹ÇÂŧ·Ø¹»ÃÐàÀ· ¡. áÅÐ ¢. (2) ¡Òè‹Ò¤׹ÁÙŤ‹Ò˹‹ÇÂŧ·Ø¹ãˌᡋ˹‹Ç ŧ·Ø¹»ÃÐàÀ· ¡. áÅÐ ¢. (3) ¡ÒÃËÑ¡à§Ô¹Ê´ ÊíÒÃͧà¾×Íè ¡ÒêíÒÃÐ˹ÕÍé ¹×è æ áÅÐ (4) ¡ÒêíÒÃÐ à§Ô¹»˜¹¼Å¤§¤ŒÒ§ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2552 ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ¸ØáԨä·Â 4 ä´Œ¨Ñ´ÊÃÃáÅкѹ·Ö¡ à§Ô¹»˜¹¼Å¤ŒÒ§¨‹Ò¢ͧ˹‹ÇÂŧ·Ø¹»ÃÐàÀ· ¤ ໚¹¨íҹǹà§Ô¹·Ñ§é ÊÔ¹é 941.2 ŌҹºÒ· «Ö§è ÃÇÁ à§Ô¹»˜¹¼Å¤ŒÒ§¨‹ÒÂá¡‹ºÃÔÉÑ· ¨íҹǹ 865.9 ŌҹºÒ· (´ÙËÁÒÂàËμØ 5) ³ Çѹ·Õè 30 ¡Ñ¹ÂÒ¹

2555 ¡Í§·Ø ¹ÃÇÁ¸Ø Ã¡Ô ¨ä·Â 4 ä´Œªí ÒÃÐ à§Ô¹»˜¹¼Å¤ŒÒ§¨‹Ò´ѧ¡Å‹ÒÇãˌᡋºÃÔÉÑ·áÅŒÇ ·Ñ駨íҹǹ ã¹ÃÐËÇ‹Ò§»‚ 2552 ºÃÔÉÑ·«×éÍ˹‹ÇÂŧ·Ø¹ ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ¸ØáԨä·Â 4 »ÃÐàÀ· ¡ áÅÐ ¢ ¨Ò¡Ê¶ÒºÑ¹¡ÒÃà§Ô¹à»š¹¨íҹǹà§Ô¹ 1,794.4 ŌҹºÒ· (´ÙËÁÒÂàËμØ 5) ¡Òë×Íé ˹‹ÇÂŧ·Ø¹ ´Ñ§¡Å‹ÒÇäÁ‹Á¼Õ Å¡Ãзºã´æ μ‹Í·Ø¹áÅÐÊѴʋǹ ¢Í§Ë¹‹ Ç Âŧ·Ø ¹ ·Õè ÁÕ ÊÔ · ¸Ô ä ´Œ ÃÑ º à§Ô ¹ »˜ ¹ ¼Å (˹‹ÇÂŧ·Ø¹»ÃÐàÀ· ¤)

11 เงินลงทุนในบริษัทร วม §º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554 ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á «×éÍà§Ô¹Å§·Ø¹ ʋǹẋ§¡íÒäÃÊØ·¸Ô¨Ò¡à§Ô¹Å§·Ø¹ μÒÁÇÔ¸Õʋǹ䴌àÊÕ ÃÒÂä´Œà§Ô¹»˜¹¼Å ¡íÒäèҡ¡ÒâÒÂÊÔ¹·ÃѾ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

2,714,170 564,744

2,684,150 -

4,446,171 1,098,598

4,446,171 -

584,248 (496,281) (58,092) 3,308,789

497,550 (467,530) 2,714,170

5,544,769

4,446,171


¡Í§·Ø¹ÃÇÁÊÔ·¸Ô¡ÒÃàª‹Ò ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ CPN ¤ÍÁàÁÍà àªÕÂÅ â¡Ã· ÃÇÁ

ºÃÔÉѷËÇÁ ¡Í§·Ø¹ÃÇÁÊÔ·¸Ô¡ÒÃàª‹Ò ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ CPN ÃÕà·Å â¡Ã·

¡Í§·Ø¹ÃÇÁÊÔ·¸Ô¡ÒÃàª‹Ò ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ CPN ¤ÍÁàÁÍà àªÕÂÅ â¡Ã· ÃÇÁ

ºÃÔÉѷËÇÁ ¡Í§·Ø¹ÃÇÁÊÔ·¸Ô¡ÒÃàª‹Ò ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ CPN ÃÕà·Å â¡Ã·

25.0

27.8

ÇÔ¸ÕÃҤҷع 2555 2554

ÇÔ¸Õʋǹ䴌àÊÕ 2555 2554

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ

-

27.8

4,394,382

-

15,763,958

1,098,598 5,544,769

4,446,171

4,446,171

4,446,171

ÇÔ¸ÕÃҤҷع 2555 2554

§º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡ÒÃ

1,429,244 10,072,876

8,643,632

5,823,079

5,823,079

ÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁÊíÒËÃѺ ËÅÑ¡·ÃѾ ¨´·ÐàºÕÂ¹Ï 2555 2554

- 1,098,598 - 533,641 - 1,429,244 5,544,769 4,446,171 3,308,789 2,714,170 10,072,876 5,823,079

·Ø¹ªíÒÃÐáÅŒÇ 2555 2554

15,763,958

- 4,394,382

(¾Ñ¹ºÒ·)

(¾Ñ¹ºÒ·)

467,528

467,528

496,281

467,528

467,528

à§Ô¹»˜¹¼ÅÃѺ 2555 2554

496,281

496,281

à§Ô¹»˜¹¼ÅÃѺ 2555 2554

496,281

ÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁÊíÒËÃѺ ËÅÑ¡·ÃѾ ¨´·ÐàºÕÂ¹Ï 2555 2554

27.8 15,763,958 15,763,958 4,446,171 4,446,171 2,775,148 2,714,170 8,643,632 5,823,079

ÊѴʋǹ¤ÇÒÁ໚¹à¨ŒÒ¢Í§ 2555 2554 (ÃŒÍÂÅÐ)

25.0

27.8

ÊѴʋǹ¤ÇÒÁ໚¹à¨ŒÒ¢Í§ ·Ø¹ªíÒÃÐáÅŒÇ 2555 2554 2555 2554 (ÃŒÍÂÅÐ)

à§Ô¹Å§·Ø¹ã¹ºÃÔÉѷËÇÁ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 áÅÐ 2554 áÅÐà§Ô¹»˜¹¼ÅÃѺÊíÒËÃѺáμ‹Åл‚ Áմѧ¹Õé


210 | 211

CPN รายงานประจําป 2555

àÁ×èÍÇѹ·Õè 14 ¡Ñ¹ÂÒ¹ 2555 ºÃÔÉѷ䴌ËÇÁ ŧ·Ø¹ã¹¡Í§·Ø¹ÃÇÁÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ CPN ¤ÍÁàÁÍÃ à ªÕ Â Å â¡Ã· (“¡Í§·Ø ¹ ÃÇÁ”) ¨íҹǹ 107 Ōҹ˹‹Ç ã¹ÊѴʋǹ»ÃÐÁÒ³ ÃŒÍÂÅÐ 25 ¢Í§Ë¹‹ÇÂŧ·Ø¹·ÕÍè Í¡áÅÐàʹ͢Ò ·Ñé§ËÁ´¢Í§¡Í§·Ø¹ÃÇÁ ¨íҹǹÃÇÁ·Ñé§ÊÔé¹

»‚ 2555 ¡Í§·Ø¹ÃÇÁÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋÒÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ CPN ÃÕà·Åâ¡Ã· ¡Í§·Ø¹ÃÇÁÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋÒÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ CPN ¤ÍÁàÁÍà àªÕÂÅâ¡Ã· ÃÇÁ »‚ 2554 ¡Í§·Ø¹ÃÇÁÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋÒÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ CPN ÃÕà·Åâ¡Ã· ÃÇÁ

1,099 ŌҹºÒ· â´Â¡Í§·Ø¹ÃÇÁ´Ñ§¡Å‹ÒÇ ¨Ð¹íÒà§Ô¹·Õèä´Œ¨Ò¡¡ÒÃÃдÁ·Ø¹ÁÒŧ·Ø¹â´Â ¡ÒÃઋҪ‹Ç§ÍÒ¤ÒÃÊíҹѡ§Ò¹ ´Ô ÍÍ¿¿ ÈàÈÊ áÍ· à«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ μÒÁ·Õ¡è Å‹ÒÇäÇŒã¹ËÁÒÂàËμØ »ÃСͺ§º¡ÒÃà§Ô¹¢ŒÍ 35

¢ŒÍÁÙÅ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹â´ÂÊÃØ»¢Í§ºÃÔÉѷËÇÁ«Öè§ ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ºÑ¹·Ö¡à§Ô¹Å§·Ø¹ã¹ºÃÔÉÑ·´Ñ§¡Å‹ÒÇ μÒÁÇÔ¸ÊÕ Ç‹ ¹ä´ŒàÊÕ«éÒí äÁ‹ä´Œ»ÃѺ»Ãا¢ŒÍÁÙÅμÒÁ ÊѴʋǹ·Õè¶×ÍËØŒ¹¢Í§¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·

(¾Ñ¹ºÒ·)

ÊѴʋǹ ¤ÇÒÁ໚¹à¨ŒÒ¢Í§ (ÃŒÍÂÅÐ)

ÊÔ¹·ÃѾ ÃÇÁ

˹ÕéÊÔ¹ÃÇÁ

ÃÒÂä´ŒÃÇÁ

¡íÒäÃÊØ·¸Ô

27.8

19,173,252

1,556,437

2,537,195

2,004,399

25.0

5,042,197 24,215,449

539,890 2,096,327

141,855 2,679,050

107,956 2,112,355

27.8

18,601,705 18,601,705

1,582,789 1,582,789

2,309,989 2,309,989

1,789,632 1,789,632

12 เงินลงทุนระยะยาว - กิจการที่เกี่ยวข องกัน

ºÃÔÉÑ· ÊÂÒÁ ÃÕà·Å ´ÕàÇÅÅçÍ»àÁŒ¹· ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· ÍÂظÂÒà¡ÉμÃ¸Ò¹Õ ¨íÒ¡Ñ´ ºÃÔÉÑ· Êàà¤Çà ÃÔ·« ¾ÅÒ«‹Ò ¨íÒ¡Ñ´ ÃÇÁà§Ô¹Å§·Ø¹ - ÃҤҷع ËÑ¡ ¤‹Òà¼×èÍ¡ÒôŒÍ¤‹Ò ÊØ·¸Ô

ÊѴʋǹ¤ÇÒÁ໚¹à¨ŒÒ¢Í§ 2555 2554 (ÃŒÍÂÅÐ) 15 15 12 12 12 12

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554 66,250 50,397 15,000 131,647 (131,647) -

66,250 50,397 15,000 131,647 (131,647) -

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554 -

-


13 อสังหาริมทรัพย เพื่อการลงทุน §º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

ÃҤҷع ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á à¾ÔèÁ¢Öé¹ â͹ÁÒ¨Ò¡·Õè´Ô¹ ÍÒ¤Òà áÅÐÍØ»¡Ã³ â͹价Õè´Ô¹ ÍÒ¤Òà áÅÐÍØ»¡Ã³ ¨íÒ˹‹ÒÂ/â͹ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á

50,403,097 7,627,915 (49,997) 57,981,015

37,792,750 12,062,469 660,214 (88,394) (23,942) 50,403,097

9,167,636 2,513,411 (8,907) 11,672,140

7,972,648 1,155,804 142,784 (101,005) (2,595) 9,167,636

¤‹ÒàÊ×èÍÁÃÒ¤ÒáÅТҴ·Ø¹¨Ò¡¡ÒôŒÍ¤‹Ò ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á ¤‹ÒàÊ×èÍÁÃÒ¤ÒÊíÒËÃѺ»‚ ¡ÅѺÃÒ¡Òä‹Òà¼×èͨҡ¡ÒôŒÍ¤‹Ò â͹ÁÒ¨Ò¡·Õè´Ô¹ ÍÒ¤Òà áÅÐÍØ»¡Ã³ â͹价Õè´Ô¹ ÍÒ¤Òà áÅÐÍØ»¡Ã³ ˹ÕéÊÔ¹ÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒઋҴíÒà¹Ô¹§Ò¹ÃÐÂÐÂÒÇ ¨íÒ˹‹ÒÂ/â͹ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á

9,660,324 2,003,268 (2,545) (21,910) 11,639,137

7,837,840 1,610,282 (187,015) 432,474 (25,387) 11,988 (19,858) 9,660,324

1,842,195 385,884 (3,109) 2,224,970

1,526,385 350,440 (91,226) 83,316 (25,387) (1,333) 1,842,195

-

29,954,910

-

6,446,263

40,742,773 46,341,878

40,742,773 -

7,325,441 9,447,170

7,325,441 -

ÁÙŤ‹ÒÊØ·¸Ô·Ò§ºÑÞªÕ ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2554 ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 áÅÐ ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2555 ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×èÍ¡ÒÃŧ·Ø¹ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 »ÃÐàÁÔ¹ÃÒ¤Òâ´ÂºÃÔÉ·Ñ ºÃÙ¤ àÃÕÂÅàÍÊàμ· ¨íÒ¡Ñ´ «Öè§à»š¹¼ÙŒ»ÃÐàÁÔ¹ÃÒ¤Ò

ÍÔÊÃÐ ·Ñ駹Õéä´ŒÁÕ¡ÒûÃÐàÁÔ¹â´ÂÇÔ¸Õ “Income method, DCF Technique” ÁÙ Å ¤‹ Ò ÍÊÑ § ËÒÃÔ Á ·ÃÑ ¾ Â à ¾×è Í ¡ÒÃŧ·Ø ¹ μÒÁÃÒ¤Ò

»ÃÐàÁԹ໚¹¨íҹǹà§Ô¹ 89,402 ŌҹºÒ· (2554 : 74,805 ŌҹºÒ·)


212 | 213

CPN รายงานประจําป 2555

ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×èÍ¡ÒÃŧ·Ø¹»ÃСͺ´ŒÇ ·ÃѾ ÊÔ¹·Ò§¡ÒäŒÒ·ÕèãˌઋÒá¡‹ºØ¤¤Å·ÕèÊÒÁ â´ÂʋǹãËÞ‹â͹ÁÒ¨Ò¡·Õè´Ô¹ ÍÒ¤ÒÃáÅÐ ÍØ»¡Ã³ áÅÐÊÔ·¸Ô¡ÒÃàª‹Ò «Ö觻ÃСͺ´ŒÇ Èٹ ¡ÒäŒÒ´Ñ§μ‹Í仹Õé >> à«ç¹·ÃÑžÅÒ«Ò àªÕ§ãËÁ‹ áÍà ¾Íà μ >> à«ç¹·ÃÑžÅÒ«Ò ÃÒÁÍÔ¹·ÃÒ >> à«ç¹·ÃÑžÅÒ«Ò ºÒ§¹Ò >> à«ç¹·ÃÑžÅÒ«Ò » ›¹à¡ÅŒÒ >> à«ç¹·ÃÑÅ à«ç¹àμÍà ¾Ñ·ÂÒ >> à«ç¹·ÃÑžÅÒ«Ò ÃѪ´Ò-¾ÃÐÃÒÁ 3 >> à«ç¹·ÃÑžÅÒ«Ò ÃÑμ¹Ò¸ÔàºÈà >> à«ç¹·ÃÑžÅÒ«Ò á¨Œ§ÇѲ¹Ð >> à«ç¹·ÃÑÅà¿ÊμÔÇÑÅ ¾Ñ·ÂÒ ºÕª >> à«ç¹·ÃÑžÅÒ«Ò ÍشøҹÕ

>> à«ç¹·ÃÑžÅÒ«Ò ªÅºØÃÕ >> à«ç¹·ÃÑžÅÒ«Ò ¢Í¹á¡‹¹ >> à«ç¹·ÃÑžÅÒ«Ò àªÕ§ÃÒ >> à«ç¹·ÃÑžÅÒ«Ò ¾ÔɳØâÅ¡ >> à«ç¹·ÃÑžÅÒ«Òá¡Ã¹´ ¾ÃÐÃÒÁ 9 >> à«ç¹·ÃÑÅ «ÔμÕé àÃÊÊÔà´¹« >> ÍÒ¤ÒÃÊíҹѡ§Ò¹ ᨌ§ÇѲ¹Ð >> ÍÒ¤ÒÃÊíҹѡ§Ò¹ ºÒ§¹Ò >> ËÅѧÊǹâ¤âÅà¹μ >> à«ç¹·ÃÑžÅÒ«Ò ÊØÃÒɮà ¸Ò¹Õ >> à«ç¹·ÃÑžÅÒ«Ò ÅíÒ»Ò§ >> â¤Ã§¡Ò÷ÕèÍÂÙ‹ÃÐËÇ‹Ò§¡ÒþѲ¹Ò

ã¹ÃÐËÇ‹Ò§»‚ 2555 ºÃÔÉÑ·«×éÍ·Õè´Ô¹¨Ò¡ºØ¤¤Å ÀÒ¹͡à¾×è Í ¹í Ò ä»¾Ñ ² ¹ÒáÅС‹ Í ÊÃŒ Ò § â¤Ã§¡ÒÃÈٹ ¡ÒäŒÒ áÅÐˌҧÊÃþÊÔ¹¤ŒÒ㹠͹Ҥμ¨íҹǹ 376 ŌҹºÒ· (2554: 1,155.8 ŌҹºÒ·) â´Â¨‹ÒªíÒÃÐ໚¹à§Ô¹Ê´·Ñ§é ¨íҹǹ ¡ÒäéíÒ»ÃСѹ

â¤Ã§¡ÒÃÃÐËÇ‹Ò§¡ÒþѲ¹Ò໚¹Èٹ ¡ÒäŒÒ áÅÐÊíҹѡ§Ò¹¢Í§¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·»ÃСͺ´ŒÇ â¤Ã§¡Ò÷Ñé§ËÁ´ 4 â¤Ã§¡ÒÃ

³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·áÅÐ ºÃÔÉÑ·ä´Œ¹íÒÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×èÍ¡ÒÃŧ·Ø¹ «Ö§è ÁÕÁÅÙ ¤‹ÒμÒÁºÑÞªÕ¨Òí ¹Ç¹ 16,106 ŌҹºÒ· áÅÐ 4,119 ŌҹºÒ· μÒÁÅíҴѺ (2554: 19,636 ŌҹºÒ· áÅÐ 4,194 ŌҹºÒ· μÒÁÅíҴѺ) ä»Çҧ໚¹ËÅÑ¡»ÃСѹÊíÒËÃѺà§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁμÒÁ ·Õè¡Å‹ÒÇäÇŒã¹ËÁÒÂàËμØ 19

14 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ (¡) ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·

ÃҤҷع ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2554 à¾ÔèÁ¢Öé¹ â͹ÁÒ¨Ò¡ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×èÍ¡ÒÃŧ·Ø¹ â͹ä»ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×èÍ¡ÒÃŧ·Ø¹ â͹ – ÊØ·¸Ô ¨íÒ˹‹Ò / μÑ´¨íÒ˹‹Ò ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 áÅÐ 1 Á¡ÃÒ¤Á 2555 à¾ÔèÁ¢Öé¹ â͹ – ÊØ·¸Ô ¨íÒ˹‹Ò / μÑ´¨íÒ˹‹Ò ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555

(¾Ñ¹ºÒ·)

·Õè´Ô¹

ÍÒ¤ÒÃáÅРʋǹ»ÃѺ»Ãا

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ ÂÒ¹¾Ò˹ÐáÅÐ ÍØ»¡Ã³ Êíҹѡ§Ò¹

91,371 -

1,726,927 2,206 60,906 243,053 (53,209)

1,224,796 185,228 (660,214) 43,887 (153,672)

98,227 420,457 27,488 (286,940) (40,019)

3,141,321 607,891 88,394 (660,214) (246,900)

91,371 91,371

1,979,883 4,222 176,152 (518) 2,159,739

640,025 73,571 126,232 (27,096) 812,732

219,213 264,202 (302,384) (21,827) 159,204

2,930,492 341,995 (49,441) 3,223,046

§Ò¹ÃÐËÇ‹Ò§ ¡‹ÍÊÌҧ

ÃÇÁ


ÍÒ¤ÒÃáÅРʋǹ»ÃѺ»Ãا

·Õè´Ô¹

¤‹ÒàÊ×èÍÁÃÒ¤ÒÊÐÊÁáÅТҴ·Ø¹¨Ò¡¡ÒôŒÍ¤‹Ò ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2554 ¤‹ÒàÊ×èÍÁÃÒ¤ÒÊíÒËÃѺ»‚ â͹ÁÒ¨Ò¡ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×èÍ¡ÒÃŧ·Ø¹ â͹ä»ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×èÍ¡ÒÃŧ·Ø¹ ¨íÒ˹‹Ò / μÑ´¨íÒ˹‹Ò ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 áÅÐ 1 Á¡ÃÒ¤Á 2555 ¤‹ÒàÊ×èÍÁÃÒ¤ÒÊíÒËÃѺ»‚ ¨íÒ˹‹Ò / μÑ´¨íÒ˹‹Ò ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 ÁÙŤ‹ÒÊØ·¸Ô·Ò§ºÑÞªÕ ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2554 ÀÒÂãμŒ¡ÃÃÁÊÔ·¸Ôì¢Í§¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ· ÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒઋҡÒÃà§Ô¹ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 áÅÐ 1 Á¡ÃÒ¤Á 2555 ÀÒÂãμŒ¡ÃÃÁÊÔ·¸Ôì¢Í§¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ· ÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒઋҡÒÃà§Ô¹ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 ÀÒÂãμŒ¡ÃÃÁÊÔ·¸Ôì¢Í§¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ· ÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒઋҡÒÃà§Ô¹ ·Õ´è ¹Ô ÍÒ¤Òà ÍØ»¡Ã³ áÅÐÍØ»¡Ã³ ÊÒí ¹Ñ¡§Ò¹ ʋǹãËދ໚¹ÊÔ¹·ÃѾ ¢Í§ âçáÃÁÎÔÅμѹ ¾Ñ·ÂÒ áÅÐâçáÃÁà«ç¹·ÒÃÒ ÍشøҹÕ

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ ÂÒ¹¾Ò˹ÐáÅÐ ÍØ»¡Ã³ Êíҹѡ§Ò¹

(¾Ñ¹ºÒ·) §Ò¹ÃÐËÇ‹Ò§ ¡‹ÍÊÌҧ

ÃÇÁ

-

70,743 133,075 25,387 (12,249)

716,228 107,805 (432,474) (101,263)

-

786,971 240,880 25,387 (432,474) (113,512)

-

216,956 157,733 155 374,844

290,296 111,250 (16,778) 384,768

-

507,252 268,983 (16,623) 759,612

91,371 91,371

1,656,184 1,656,184

501,879 6,689 508,568

98,227 98,227

2,347,661 6,689 2,354,350

91,371 91,371

1,762,927 1,762,927

344,311 5,418 349,729

219,213 219,213

2,417,822 5,418 2,423,240

91,371 91,371

1,784,895 1,784,895

418,840 9,124 427,964

159,204 159,204

2,454,310 9,124 2,463,434

ÃÒ¤Ò·ÃÑ¾Â Ê¹Ô ¢Í§¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ¡‹Í¹ËÑ¡¤‹ÒàÊ×Íè Á ÃÒ¤ÒÊÐÊÁ¢Í§ÍÒ¤ÒÃáÅÐÍØ»¡Ã³ «Öè§ä´Œ¤Ô´ ¤‹ÒàÊ×Íè ÁÃÒ¤ÒàμçÁ¨íҹǹáÅŒÇ áμ‹Â§Ñ ¤§ãªŒ§Ò¹ ¨¹¶Ö§ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 ÁÕ¨íҹǹ 148 ŌҹºÒ· (2554 : 159 ŌҹºÒ·)

¡ÒäéíÒ»ÃСѹ ³ Çѹ·Õè 31¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ä´Œ¹íÒ ÍÒ¤Òà áÅÐʋǹ»ÃѺ»ÃاÍÒ¤Òë֧è ÁÕÁÅÙ ¤‹ÒμÒÁ ºÑÞªÕ¨íҹǹ 1,356 ŌҹºÒ· (2554: 1,806 ŌҹºÒ·) ä»Çҧ໚¹ËÅÑ¡»ÃСѹÊíÒËÃѺ à§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁμÒÁ·Õè¡Å‹ÒÇäÇŒã¹ËÁÒÂàËμØ 19


214 | 215

CPN รายงานประจําป 2555

(¢) ºÃÔÉÑ· (¾Ñ¹ºÒ·) ÍÒ¤ÒÃáÅРʋǹ»ÃѺ»Ãا

§º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà ÂÒ¹¾Ò˹ÐáÅÐ §Ò¹ÃÐËÇ‹Ò§ ÍØ»¡Ã³ Êíҹѡ§Ò¹ ¡‹ÍÊÌҧ

ÃÇÁ

ÃҤҷع ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2554 à¾ÔèÁ¢Öé¹ â͹ - ÊØ·¸Ô â͹ÁÒ¨Ò¡ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×èÍ¡ÒÃŧ·Ø¹ â͹ä»ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×èÍ¡ÒÃŧ·Ø¹ ¨íÒ˹‹Ò / μÑ´¨íÒ˹‹Ò ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 áÅÐ 1 Á¡ÃÒ¤Á 2555 à¾ÔèÁ¢Öé¹ â͹ - ÊØ·¸Ô ¨íÒ˹‹Ò / μÑ´¨íÒ˹‹Ò ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555

60,906 60,906 60,906

428,175 115,269 18,306 (142,784) (11,772) 407,194 65,227 2,423 (15,508) 459,336

1,930 95,070 (18,306) 40,099 (10,824) 107,969 56,079 (2,423) (15,233) 146,392

430,105 210,339 101,005 (142,784) (22,596) 576,069 121,306 (30,741) 666,634

¤‹ÒàÊ×èÍÁÃÒ¤ÒÊÐÊÁáÅТҴ·Ø¹¨Ò¡¡ÒôŒÍ¤‹Ò ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2554 ¤‹ÒàÊ×èÍÁÃÒ¤ÒÊíÒËÃѺ»‚ â͹ÁÒ¨Ò¡ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×èÍ¡ÒÃŧ·Ø¹ â͹ä»ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×èÍ¡ÒÃŧ·Ø¹ ¨íÒ˹‹Ò / μÑ´¨íÒ˹‹Ò ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 áÅÐ 1 Á¡ÃÒ¤Á 2555 ¤‹ÒàÊ×èÍÁÃÒ¤ÒÊíÒËÃѺ»‚ ¨íÒ˹‹Ò / μÑ´¨íÒ˹‹Ò ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555

4,350 25,387 29,737 4,307 34,044

264,676 45,608 (83,316) (11,711) 215,257 62,747 (10,222) 267,782

-

264,676 49,958 25,387 (83,316) (11,711) 244,994 67,054 (10,222) 301,826


(¾Ñ¹ºÒ·) ÍÒ¤ÒÃáÅРʋǹ»ÃѺ»Ãا ÁÙŤ‹ÒÊØ·¸Ô·Ò§ºÑÞªÕ ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2554 ÀÒÂãμŒ¡ÃÃÁÊÔ·¸Ôì¢Í§¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ· ÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒઋҡÒÃà§Ô¹ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 áÅÐ 1 Á¡ÃÒ¤Á 2555 ÀÒÂãμŒ¡ÃÃÁÊÔ·¸Ôì¢Í§¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ· ÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒઋҡÒÃà§Ô¹ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 ÀÒÂãμŒ¡ÃÃÁÊÔ·¸Ôì¢Í§¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ· ÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒઋҡÒÃà§Ô¹

§º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà ÂÒ¹¾Ò˹ÐáÅÐ §Ò¹ÃÐËÇ‹Ò§ ÍØ»¡Ã³ Êíҹѡ§Ò¹ ¡‹ÍÊÌҧ

ÃÇÁ

-

156,810 6,689 163,499

1,930 1,930

158,740 6,689 165,429

31,169 31,169

186,519 5,418 191,937

107,969 107,969

325,657 5,418 331,075

26,862 26,862

182,430 9,124 191,554

146,392 146,392

355,684 9,124 364,808

ÃÒ¤Ò·ÃѾ ÊÔ¹¢Í§ºÃÔÉÑ·¡‹Í¹ËÑ¡¤‹ÒàÊ×èÍÁÃÒ¤ÒÊÐÊÁ¢Í§ÍÒ¤ÒÃáÅÐÍØ»¡Ã³ «Öè§ä´Œ¤Ô´¤‹ÒàÊ×èÍÁÃÒ¤ÒàμçÁ¨íҹǹáÅŒÇ áμ‹Âѧ¤§ãªŒ§Ò¹¨¹¶Ö§ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 ÁÕ¨íҹǹ 137 ŌҹºÒ· (2554: 122 ŌҹºÒ·)


216 | 217

CPN รายงานประจําป 2555

15 สิทธิการเช า §º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡ÒÃ

ÃҤҷع ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2554 à¾ÔèÁ¢Öé¹ ¨íÒ˹‹ÒÂ/â͹ÍÍ¡ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 áÅÐ 1 Á¡ÃÒ¤Á 2555 à¾ÔèÁ¢Öé¹ ¨íÒ˹‹ÒÂ/â͹ÍÍ¡ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555

19,309,880 1,927,015 (485,970) 20,750,925 520,199 (4,007,969) 17,263,155

2,720,648 3,856,666 6,577,314 594,156 (6,093) 7,165,377

¤‹ÒμÑ´¨íÒ˹‹ÒÂÊÐÊÁ ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2554 ¤‹ÒμÑ´¨íÒ˹‹ÒÂÊíÒËÃѺ»‚ ¨íÒ˹‹ÒÂ/â͹ÍÍ¡ ˹ÕéÊÔ¹ÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒઋҴíÒà¹Ô¹§Ò¹ÃÐÂÐÂÒÇ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 áÅÐ 1 Á¡ÃÒ¤Á 2555 ¤‹ÒμÑ´¨íÒ˹‹ÒÂÊíÒËÃѺ»‚ ¨íÒ˹‹ÒÂ/â͹ÍÍ¡ ˹ÕéÊÔ¹ÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒઋҴíÒà¹Ô¹§Ò¹ÃÐÂÐÂÒÇ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555

5,761,135 1,096,772 (39,699) 455,171 7,273,379 985,576 (1,510,164) 476,980 7,225,771

752,851 174,242 342,699 1,269,792 451,267 376,057 2,097,116

ÁÙŤ‹ÒÊØ·¸Ô·Ò§ºÑÞªÕ ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2554 ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 áÅÐ 1 Á¡ÃÒ¤Á 2555 ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555

13,548,745 13,477,546 10,037,384

1,967,797 5,307,522 5,068,261

ÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋÒʋǹãËދ໚¹ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ ·ÕèÍÂÙ‹ÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒઋҴíÒà¹Ô¹§Ò¹ÃÐÂÐÂÒÇ «Öè § »ÃСͺ´Œ Ç Â ÍÒ¤ÒÃÊí Ò ¹Ñ ¡ §Ò¹áÅÐ Èٹ ¡ÒäŒÒã¹â¤Ã§¡ÒÃà«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ áÅÐ à«ç¹·ÃÑžÅÒ«Ò ÅÒ´¾ÃŒÒÇ

³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ÁÕ˹ÕÊé ¹Ô μÒÁºÑÞªÕÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒઋÒÃÐÂÐÂÒǨíҹǹ 2,921 ŌҹºÒ· (2554: 2,447 ŌҹºÒ·) ·Õèà¡Ô´¨Ò¡¼Åáμ¡μ‹Ò§¢Í§¨íҹǹà§Ô¹·Õ訋Ò 仨ÃÔ§μÒÁÊÑÞÞÒઋҡѺÇÔ¸μÕ ´Ñ ¨‹Ò·Õàè »š¹Ãкº μÒÁÁÒμðҹ¡ÒúÑÞªÕ©ºÑº·Õè 17 (»ÃѺ»Ãا

2552) àÃ×Íè §ÊÑÞÞÒàª‹Ò ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ä´Œ¹Òí ˹ÕÊé ¹Ô ÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒઋÒÃÐÂÐÂÒÇÁÒËÑ¡¡ÅºÅº¡Ñº ÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋÒÍÒ¤ÒþÌÍÁÊÔ觻ÅÙ¡ÊÌҧ·Õ訋Ò ÍÍ¡ä»Å‹Ç§Ë¹ŒÒ à¹×Íè §¨Ò¡Ë¹ÕÊé ¹Ô áÅÐÊÔ¹·ÃѾ ´Ñ§¡Å‹ÒÇ໚¹¨íҹǹ·ÕèμŒÍ§¨‹ÒÂáÅÐä´Œ¨‹ÒÂä» à¾×èÍãˌ䴌ÁÒ«Öè§â¤Ã§¡ÒÃà´ÕÂǡѹ


16 สิทธิการใช สินทรัพย

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ

ÃҤҷع ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2554 à¾ÔèÁ¢Öé¹ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 áÅÐ 1 Á¡ÃÒ¤Á 2555 à¾ÔèÁ¢Öé¹ ¨íÒ˹‹ÒÂ/â͹ÍÍ¡ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555

217,236 213 217,449 34,325 (99) 251,675

¤‹ÒμÑ´¨íÒ˹‹ÒÂÊÐÊÁ ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2554 ¤‹ÒμÑ´¨íÒ˹‹ÒÂÊíÒËÃѺ»‚ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 áÅÐ 1 Á¡ÃÒ¤Á 2555 ¤‹ÒμÑ´¨íÒ˹‹ÒÂÊíÒËÃѺ»‚ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555

51,664 8,993 60,657 10,015 70,672

ÁÙŤ‹ÒÊØ·¸Ô·Ò§ºÑÞªÕ ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2554 ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 áÅÐ 1 Á¡ÃÒ¤Á 2555 ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555

165,572 156,792 181,003

ã¹ÃÐËÇ‹Ò§»‚ 2555 ºÃÔÉ·Ñ Â‹ÍÂáË‹§Ë¹Ö§è 䴌ŧ¹ÒÁ ã¹ºÑ ¹ ·Ö ¡ ¢Œ Í μ¡Å§Ã‹ Ç Á¡Ñ º ºØ ¤ ¤ÅÀÒ¹͡ à¾×è Í ¢ÍÃÑ º ä¿¿‡ Ò ¨Ò¡¡ÒÃä¿¿‡ Ò ¹¤ÃËÅǧ μÒÁºÑ ¹ ·Ö ¡ ¢Œ Í μ¡Å§´Ñ § ¡Å‹ Ò Ç ºÃÔ ÉÑ · ‹ Í Â

¡·Õ´è ¹Ô ºÒ§Ê‹Ç¹â´ÂÁÕÃҤҷعμÒÁºÑÞªÕÊ·Ø ¸Ô ¨íҹǹ 34 ŌҹºÒ·ãËŒ¡ºÑ ¡ÒÃä¿¿‡Ò¹¤ÃËÅǧ à¾×è Í ¡‹ Í ÊÃŒ Ò §à»š ¹ Ê¶Ò¹Õ ä ¿¿‡ Ò Â‹ Í Â à¾×è Í áÅ¡à»ÅÕ蹡ѺÊÔ·¸Ô㹡ÒâÍÃѺ俿‡Ò¨Ò¡

¡ÒÃä¿¿‡Ò¹¤ÃËÅǧ ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ºÑ¹·Ö¡ÃÒ¡Òà ´Ñ§¡Å‹ÒÇ໚¹ÊÔ·¸Ô¡ÒÃ㪌ÊÔ¹·ÃѾ 㹧ºáÊ´§ °Ò¹Ð¡ÒÃà§Ô¹


218 | 219

CPN รายงานประจําป 2555

17 ภาษีเงินได รอการตัดบัญชี ÊÔ¹·ÃѾ áÅÐ˹ÕéÊÔ¹ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÍ¡ÒÃμÑ´ºÑÞªÕ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á Áմѧ¹Õé §º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554 ÊÔ¹·ÃѾ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÍ¡ÒÃμÑ´ºÑÞªÕÊØ·¸Ô ˹ÕéÊÔ¹ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÍ¡ÒÃμÑ´ºÑÞªÕÊØ·¸Ô ÊØ·¸Ô

1,304,239 (921,438) 382,801

948,028 (1,030,885) (82,857)

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554 527,680 (579,617) (51,937)

418,373 (649,008) (230,635)

ÃÒ¡ÒÃà¤Å×è͹äËǢͧÊÔ¹·ÃѾ áÅÐ˹ÕéÊÔ¹ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÍ¡ÒÃμÑ´ºÑÞªÕÃÇÁ·Õèà¡Ô´¢Öé¹ã¹ÃÐËÇ‹Ò§»‚Áմѧ¹Õé (¾Ñ¹ºÒ·) ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2555

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ ºÑ¹·Ö¡à»š¹ (ÃÒ¨‹ÒÂ) ÃÒÂ䴌㹡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹ (ËÁÒÂàËμØ 31)

ÊÔ¹·ÃѾ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÍ¡ÒÃμÑ´ºÑÞªÕ ¤‹Òà¼×èÍ˹ÕéʧÊѨÐÊÙÞ ¤‹Òà¼×èÍ¡ÒôŒÍ¤‹Ò ÍÒ¤ÒÃÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒ¢Ò½ҡ à§Ô¹ÁÑ´¨íÒÃѺ¨Ò¡ÅÙ¡¤ŒÒ ¢Ò´·Ø¹ÊÐÊÁ ˹ÕéÊÔ¹ÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒઋҴíÒà¹Ô¹§Ò¹ÃÐÂÐÂÒÇ ÀÒÃм١¾Ñ¹¼Å»ÃÐ⪹ ¾¹Ñ¡§Ò¹ Í×è¹æ ÃÇÁ

646 164,139 173,159 347,011 48,794 186,873 21,794 5,612 948,028

733 (2,212) 15,698 103,282 138,622 73,394 3,804 22,890 356,211

1,379 161,927 188,857 450,293 187,416 260,267 25,598 28,502 1,304,239

˹ÕéÊÔ¹ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÍ¡ÒÃμÑ´ºÑÞªÕ ¡íÒäèҡ¡ÒÃãˌઋÒÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒઋҡÒÃà§Ô¹ ÃÇÁ ÊØ·¸Ô

(1,030,885) (1,030,885) (82,857)

109,447 109,447 465,658

(921,438) (921,438) 382,801

³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555


³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2554

(¾Ñ¹ºÒ·)

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ ºÑ¹·Ö¡à»š¹ (ÃÒ¨‹ÒÂ) ÃÒÂ䴌㹡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹ (ËÁÒÂàËμØ 31)

³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554

ÊÔ¹·ÃѾ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÍ¡ÒÃμÑ´ºÑÞªÕ ¤‹Òà¼×èÍ˹ÕéʧÊѨÐÊÙÞ ¤‹Òà¼×èÍ¡ÒôŒÍ¤‹Ò ÍÒ¤ÒÃÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒ¢Ò½ҡ à§Ô¹ÁÑ´¨íÒÃѺ¨Ò¡ÅÙ¡¤ŒÒ ¢Ò´·Ø¹ÊÐÊÁ ˹ÕéÊÔ¹ÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒઋҴíÒà¹Ô¹§Ò¹ÃÐÂÐÂÒÇ ÀÒÃм١¾Ñ¹¼Å»ÃÐ⪹ ¾¹Ñ¡§Ò¹ Í×è¹æ ÃÇÁ

1,045 195,515 324,754 394,079 158,530 27,059 1,100,982

(399) (31,376) (151,595) (47,068) 48,794 28,343 (5,265) 5,612 (152,954)

646 164,139 173,159 347,011 48,794 186,873 21,794 5,612 948,028

˹ÕéÊÔ¹ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÍ¡ÒÃμÑ´ºÑÞªÕ ¡íÒäèҡ¡ÒÃãˌઋÒÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒઋҡÒÃà§Ô¹ Í×è¹æ ÃÇÁ ÊØ·¸Ô

(1,677,091) (9,778) (1,686,869) (585,887)

646,206 9,778 655,984 503,030

(1,030,885) (1,030,885) (82,857) (¾Ñ¹ºÒ·)

³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2555

§º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà ºÑ¹·Ö¡à»š¹ (ÃÒ¨‹ÒÂ) ÃÒÂ䴌㹡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹ (ËÁÒÂàËμØ 31)

³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555

ÊÔ¹·ÃѾ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÍ¡ÒÃμÑ´ºÑÞªÕ ¤‹Òà¼×èÍ˹ÕéʧÊѨÐÊÙÞ ¤‹Òà¼×èÍ¡ÒôŒÍ¤‹Ò à§Ô¹ÁÑ´¨íÒÃѺ¨Ò¡ÅÙ¡¤ŒÒ ˹ÕéÊÔ¹ÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒઋҴíÒà¹Ô¹§Ò¹ÃÐÂÐÂÒÇ ÀÒÃм١¾Ñ¹¼Å»ÃÐ⪹ ¾¹Ñ¡§Ò¹ ÃÒÂä´Œ¤‹ÒઋÒÃѺŋǧ˹ŒÒ Í×è¹æ ÃÇÁ

312 62,672 141,550 174,998 19,208 19,633 418,373

(59) 7,618 75,211 3,222 10,105 13,210 109,307

253 62,672 149,168 250,209 22,430 10,105 32,843 527,680

˹ÕéÊÔ¹ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÍ¡ÒÃμÑ´ºÑÞªÕ ¡íÒäèҡ¡ÒÃãˌઋÒÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒઋҡÒÃà§Ô¹ ÃÇÁ ÊØ·¸Ô

(649,008) (649,008) (230,635)

69,391 69,391 178,698

(579,617) (579,617) (51,937)


220 | 221

CPN รายงานประจําป 2555

(¾Ñ¹ºÒ·) ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2554

§º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà ºÑ¹·Ö¡à»š¹ (ÃÒ¨‹ÒÂ) ÃÒÂ䴌㹡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹ (ËÁÒÂàËμØ 31)

³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554

ÊÔ¹·ÃѾ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÍ¡ÒÃμÑ´ºÑÞªÕ ¤‹Òà¼×èÍ˹ÕéʧÊѨÐÊÙÞ ¤‹Òà¼×èÍ¡ÒôŒÍ¤‹Ò à§Ô¹ÁÑ´¨íÒÃѺ¨Ò¡ÅÙ¡¤ŒÒ ˹ÕéÊÔ¹ÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒઋҴíÒà¹Ô¹§Ò¹ÃÐÂÐÂÒÇ ÀÒÃм١¾Ñ¹¼Å»ÃÐ⪹ ¾¹Ñ¡§Ò¹ Í×è¹æ ÃÇÁ

282 121,376 179,082 159,685 23,697 20,052 504,174

30 (58,704) (37,532) 15,313 (4,489) (419) (85,801)

312 62,672 141,550 174,998 19,208 19,633 418,373

˹ÕéÊÔ¹ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÍ¡ÒÃμÑ´ºÑÞªÕ ¡íÒäèҡ¡ÒÃãˌઋÒÀÒÂãμŒÊÑÞÞÒઋҡÒÃà§Ô¹ ÃÇÁ ÊØ·¸Ô

(1,050,445) (1,050,445) (546,271)

401,437 401,437 315,636

(649,008) (649,008) (230,635)

18 สินทรัพย ไม หมุนเวียนอื่น ËÁÒÂàËμØ ÃÒÂä´Œ´Í¡àºÕ餌ҧÃѺ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒËÑ¡ ³ ·Õ訋Ò à§Ô¹ÁÑ´¨íÒáÅФ‹ÒÊÔ·¸Ô à§Ô¹»ÃСѹÊÔ·¸Ô¡ÒÃàª‹Ò ÃÇÁ

5

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554 135,456 97,454 78,015 7,545 318,470

135,456 92,695 63,203 10,631 301,985

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554 135,456 67,773 6,945 210,174

135,456 15,757 10,031 161,244


19 หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย ËÁÒÂàËμØ Ê‹Ç¹·ÕèËÁعàÇÕ¹ à§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÊÑ鹨ҡ¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ·ÕèäÁ‹ÁÕËÅÑ¡»ÃСѹ à§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÊÑ鹨ҡʶҺѹ¡ÒÃà§Ô¹ ·ÕèäÁ‹ÁÕËÅÑ¡»ÃСѹ à§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÂÒǨҡʶҺѹ¡ÒÃà§Ô¹ ʋǹ·Õè¶Ö§¡íÒ˹´ªíÒÃÐÀÒÂã¹Ë¹Ö觻‚ - ʋǹ·ÕèÁÕËÅÑ¡»ÃСѹ - ʋǹ·ÕèäÁ‹ÁÕËÅÑ¡»ÃСѹ

5

à§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÂÒǨҡ¼ÙŒÅ§·Ø¹Ê¶ÒºÑ¹ ʋǹ·Õè¶Ö§¡íÒ˹´ªíÒÃÐÀÒÂã¹Ë¹Ö觻‚ - ʋǹ·ÕèÁÕËÅÑ¡»ÃСѹ - ʋǹ·ÕèäÁ‹ÁÕËÅÑ¡»ÃСѹ ÃÇÁʋǹ¢Í§à§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÂÒÇ ·Õè¶Ö§¡íÒ˹´ªíÒÃÐÀÒÂã¹Ë¹Ö觻‚ ʋǹ·ÕèäÁ‹ËÁعàÇÕ¹ à§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÂÒǨҡ¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ·ÕèäÁ‹ÁÕËÅÑ¡»ÃСѹ à§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÂÒǨҡʶҺѹ¡ÒÃà§Ô¹ - ʋǹ·ÕèÁÕËÅÑ¡»ÃСѹ - ʋǹ·ÕèäÁ‹ÁÕËÅÑ¡»ÃСѹ à§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÂÒǨҡ¼ÙŒÅ§·Ø¹Ê¶ÒºÑ¹ - ʋǹ·ÕèÁÕËÅÑ¡»ÃСѹ - ʋǹ·ÕèäÁ‹ÁÕËÅÑ¡»ÃСѹ ÃÇÁà§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÂÒÇÍ×è¹ ÃÇÁ

5

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

3,945

3,815

2,603,184

1,128,800

-

500,000

-

500,000

1,870,080 954,180 2,824,260

1,270,080 600,000 1,870,080

1,150,040 954,180 2,104,220

500,040 600,000 1,100,040

96,806 3,700,000 3,796,806

109,838 4,500,000 4,609,838

3,700,000 3,700,000

4,500,000 4,500,000

6,621,066

6,479,918

5,804,220

5,600,040

-

-

3,378,903

3,349,685

6,104,750 4,445,820 10,550,570

5,674,830 1,900,000 7,574,830

2,399,870 4,445,820 6,845,690

1,549,910 1,900,000 3,449,910

393,128 8,000,000 8,393,128 18,943,698 25,568,709

489,934 10,200,000 10,689,934 18,264,764 25,248,497

8,000,000 8,000,000 14,845,690 26,631,997

10,200,000 10,200,000 13,649,910 24,228,435


222 | 223

CPN รายงานประจําป 2555

˹ÕéÊÔ¹·ÕèÁÕÀÒÃд͡àºÕé áÊ´§μÒÁÃÐÂÐàÇÅҤú¡íÒ˹´¡Òè‹ÒªíÒÃÐ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á ä´Œ´Ñ§¹Õé §º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554 ¤Ãº¡íÒ˹´ÀÒÂã¹Ë¹Ö觻‚ ¤Ãº¡íÒ˹´ËÅѧ¨Ò¡ 1 »‚ áμ‹äÁ‹à¡Ô¹ 5 »‚ ¤Ãº¡íÒ˹´ËÅѧ¨Ò¡ 5 »‚ ÃÇÁ

6,625,011 17,362,061 1,581,637 25,568,709

6,983,733 15,820,764 2,444,000 25,248,497

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554 8,407,404 16,984,718 1,239,875 26,631,997

7,228,840 15,199,595 1,800,000 24,228,435

˹ÕéÊÔ¹·ÕèÁÕÀÒÃд͡àºÕéÂʋǹ·ÕèÁÕËÅÑ¡»ÃСѹ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á ÁÕÃÒÂÅÐàÍÕ´¢Í§ËÅÑ¡»ÃСѹ«Öè§à»š¹ÊÔ¹·ÃѾ ´Ñ§¹Õé §º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554 ·Õè´Ô¹ ÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋҷÕè´Ô¹ ÍÒ¤ÒÃáÅÐʋǹ»ÃѺ»Ãا ÃÇÁ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ÁÕǧà§Ô¹ ÊÔ¹àª×èÍ«Öè§ÂѧÁÔä´ŒàºÔ¡ãªŒà»š¹¨íҹǹà§Ô¹ÃÇÁ 7,679 ŌҹºÒ· (2554: 9,091 ŌҹºÒ·) ã¹à´×͹¡Ã¡®Ò¤Á 2555 ºÃÔÉÑ·ä´Œ·íÒÊÑÞÞÒ ¡ÙŒà§Ô¹Ê¡ØÅà§Ô¹ºÒ·¨íҹǹ 500 ŌҹºÒ· ¡Ñº ʶҺѹ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ÀÒÂã¹»ÃÐà·ÈáË‹§Ë¹Öè§ ÊÑÞÞҴѧ¡Å‹ÒÇÁÕÃÐÂÐàÇÅÒ»ÅÍ´¡ÒêíÒÃФ׹ à§Ô¹¡ÙàŒ »š¹àÇÅÒ 23 à´×͹áÅСíÒ˹´ãËŒºÃÔÉ·Ñ ªíÒÃÐà§Ô¹μŒ¹¤×¹à»š¹§Ç´ÃÒÂà´×͹ÃÇÁ 60 §Ç´æ ÅÐ 8.4 ŌҹºÒ·áÅÐ 5.9 ŌҹºÒ· ÊíÒËÃѺ§Ç´ÊØ´·ŒÒ à§Ô¹¡ÙŒÂ×Á´Ñ§¡Å‹ÒÇàÃÔèÁ¼‹Í¹ ªíÒÃЧǴááã¹à´×͹ÁÔ¶¹Ø Ò¹ 2557 ³ Çѹ·Õè 30 ¡Ñ¹ÂÒ¹ 2555 ºÃÔÉÑ·ä´ŒàºÔ¡ãªŒà§Ô¹¡ÙŒáÅŒÇ ·Ñ駨íҹǹ ã¹à´×͹ÊÔ§ËÒ¤Á 2555 ºÃÔÉÑ·ä´Œ·íÒÊÑÞÞÒ ¡ÙŒà§Ô¹Ê¡ØÅà§Ô¹ºÒ·¨íҹǹ 500 ŌҹºÒ· ¡Ñº

2,470,142 917,570 14,074,894 17,462,606

2,470,142 1,297,346 17,674,976 21,442,464

ʶҺѹ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ÀÒÂã¹»ÃÐà·ÈáË‹§Ë¹Öè§ ÊÑÞÞҴѧ¡Å‹ÒÇÁÕÃÐÂÐàÇÅÒ»ÅÍ´¡ÒêíÒÃÐ ¤×¹à§Ô¹¡ÙàŒ »š¹àÇÅÒ 18 à´×͹áÅСíÒ˹´ãËŒºÃÔÉ·Ñ ªíÒÃÐà§Ô¹μŒ¹¤×¹à»š¹§Ç´ÃÒÂà´×͹ÃÇÁ 42 §Ç´æ ÅÐ 12 ŌҹºÒ·áÅÐ 8 ŌҹºÒ·ÊíÒËÃѺ §Ç´ÊØ´·ŒÒ à§Ô¹¡ÙŒÂ×Á´Ñ§¡Å‹ÒÇàÃÔèÁ¼‹Í¹ªíÒÃÐ §Ç´ááã¹à´×͹¡ØÁÀҾѹ¸ 2557 ³ Çѹ·Õè 30 ¡Ñ¹ÂÒ¹ 2555 ºÃÔÉÑ·ä´ŒàºÔ¡ãªŒà§Ô¹¡ÙŒáÅŒÇ ·Ñ駨íҹǹ ã¹à´×͹¡Ã¡®Ò¤Á 2555 ºÃÔÉ·Ñ ¨íÒ˹‹ÒÂËعŒ ¡ÙŒ ÍÒÂØ 1 »‚ 4 à´×͹ ã¹Ê¡ØÅà§Ô¹ºÒ·ã¹Ç§¨íÒ¡Ñ´ ËØŒ ¹ ¡ÙŒ ´Ñ § ¡Å‹ Ò Ç໚ ¹ ËØŒ ¹ ¡ÙŒ ª ¹Ô ´ ÃÐºØ ª×è Í ¼ÙŒ ¶× Í »ÃÐàÀ·äÁ‹´ŒÍÂÊÔ·¸Ô äÁ‹ÁÕ»ÃСѹáÅÐäÁ‹ÁÕ ¼Ùጠ·¹¼Ù¶Œ Í× ËعŒ ÁÙŤ‹ÒÃÇÁ 500 ŌҹºÒ· â´Â ËعŒ ¡Ù´Œ §Ñ ¡Å‹ÒÇÁÕ¡Òè‹Ò´͡àºÕÂé ·Ø¡æ 6 à´×͹ μÒÁ·ÕèÃкØäÇŒã¹ÊÑÞÞÒ ËØŒ¹¡ÙŒ´Ñ§¡Å‹ÒǤú ¡íÒ˹´ä¶‹¶Í¹ã¹à´×͹¾ÄȨԡÒ¹ 2556

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

874,425 3,244,099 4,118,524

874,425 3,319,082 4,193,507

ã¹à´×͹ÁÔ¶¹Ø Ò¹ 2555 ºÃÔÉ·Ñ ä´Œ·Òí ÊÑÞÞÒ¡ÙŒ à§Ô¹Ê¡ØÅà§Ô¹ºÒ·¨íҹǹ 1,500 ŌҹºÒ· ¡Ñº ʶҺѹ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ÀÒÂã¹»ÃÐà·ÈáË‹§Ë¹Öè§ ÊÑÞÞҴѧ¡Å‹ÒÇÁÕÃÐÂÐàÇÅÒ»ÅÍ´¡ÒêíÒÃÐ ¤×¹à§Ô¹¡ÙŒà»š¹àÇÅÒ 2 »‚ áÅСíÒ˹´ãËŒºÃÔÉÑ· ªíÒÃÐà§Ô¹μŒ¹¤×¹à»š¹§Ç´ÃÒÂà´×͹ÃÇÁ 36 §Ç´æ ÅÐ 41.7 ŌҹºÒ· à§Ô¹¡ÙŒÂ×Á´Ñ§¡Å‹ÒÇ àÃÔÁè ¼‹Í¹ªíÒÃЧǴááã¹à´×͹ÁÔ¶¹Ø Ò¹ 2557 ³ 30 ÁԶعÒ¹ 2555 ºÃÔÉÑ·ä´ŒàºÔ¡ãªŒà§Ô¹¡ÙŒ áŌǷÑ駨íҹǹ ã¹à´×͹ÁԶعÒ¹ 2555 ºÃÔÉÑ·ä´Œ·íÒÊÑÞÞÒ ¡ÙŒà§Ô¹Ê¡ØÅà§Ô¹ºÒ·¨íҹǹ 500 ŌҹºÒ· ¡Ñº ʶҺѹ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ÀÒÂã¹»ÃÐà·ÈáË‹§Ë¹Öè§ ÊÑÞÞҴѧ¡Å‹ÒÇÁÕÃÐÂÐàÇÅÒ»ÅÍ´¡ÒêíÒÃÐ ¤×¹à§Ô¹¡ÙŒà»š¹àÇÅÒ 27 à´×͹áÅСíÒ˹´ãËŒ ºÃÔÉÑ·ªíÒÃÐà§Ô¹μŒ¹¤×¹·Ø¡æ 3 à´×͹ ÃÇÁ 20 §Ç´æ ÅÐ 25 ŌҹºÒ· à§Ô¹¡ÙŒÂ×Á´Ñ§¡Å‹ÒÇàÃÔèÁ


¼‹Í¹ªíÒÃЧǴááã¹à´×͹¡Ñ¹ÂÒ¹ 2557 ³ 30 ÁԶعÒ¹ 2555 ºÃÔÉÑ·ä´ŒàºÔ¡ãªŒà§Ô¹¡ÙŒ áŌǷÑ駨íҹǹ

äÁ‹ÁÕ»ÃСѹ áÅÐäÁ‹Áռٌ᷹¼ÙŒ¶×Í â´ÂËØŒ¹¡ÙŒ ´Ñ§¡Å‹ÒÇÁÕ¡Òè‹Ò´͡àºÕÂé ·Ø¡æ 6 à´×͹ áÅÐ ¤Ãº¡íÒ˹´ä¶‹¶Í¹ã¹Çѹ·Õè 23 Á¡ÃÒ¤Á 2560

ã¹à´×͹ÁÔ¶¹Ø Ò¹ 2555 ºÃÔÉÑ·¨íÒ˹‹ÒÂËعŒ ¡ÙŒ ÍÒÂØ 5 »‚ ã¹Ê¡ØÅà§Ô¹ºÒ·ã¹Ç§¨íÒ¡Ñ´ËØŒ¹¡ÙŒ ´Ñ§¡Å‹ÒÇ໚¹ËØŒ¹¡ÙŒª¹Ô´·ÂͪíÒÃФ׹à§Ô¹μŒ¹ ÃкتÍ×è ¼Ù¶Œ Í× »ÃÐàÀ·äÁ‹´ÍŒ ÂÊÔ·¸Ô äÁ‹Á»Õ ÃСѹ áÅÐäÁ‹Áռٌ᷹¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ ÁÙŤ‹ÒÃÇÁ 1,000 ŌҹºÒ· â´ÂËعŒ ¡Ù´Œ §Ñ ¡Å‹ÒÇÁÕ¡Òè‹Ò´͡àºÕÂé áÅÐà§Ô¹μŒ¹·Ø¡æ 6 à´×͹ μÒÁ·ÕÃè кØäÇŒã¹ÊÑÞÞÒ ËØŒ¹¡ÙŒ´Ñ§¡Å‹ÒÇàÃÔèÁ¼‹Í¹ªíÒÃЧǴááã¹à´×͹ ÁÔ¶¹Ø Ò¹ 2557 áÅФú¡íÒ˹´ä¶‹¶Í¹ã¹à´×͹ ÁԶعÒ¹ 2560

ã¹à´×͹μØÅÒ¤Á 2554 ºÃÔÉÑ·¨íÒ˹‹ÒÂËØŒ¹¡ÙŒ ÍÒÂØ 5 »‚ ÁÙŤ‹ÒÃÇÁ 1,200 ŌҹºÒ·ã¹Ê¡ØÅ à§Ô¹ºÒ·ã¹Ç§¨íÒ¡Ñ´ ËعŒ ¡Ù´Œ §Ñ ¡Å‹ÒÇ໚¹ËعŒ ¡ÙªŒ ¹Ô´ ÃкتÍ×è ¼Ù¶Œ Í× »ÃÐàÀ·äÁ‹´ÍŒ ÂÊÔ·¸Ô äÁ‹Á»Õ ÃСѹ áÅÐäÁ‹Áռٌ᷹¼ÙŒ¶×Í â´ÂËØŒ¹¡ÙŒ´Ñ§¡Å‹ÒÇÁÕ¡Òà ¨‹Ò´͡àºÕé·ءæ 6 à´×͹ áÅФú¡íÒ˹´ 䶋¶Í¹ã¹Çѹ·Õè 12 μØÅÒ¤Á 2559

ã¹à´×͹¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 ºÃÔÉÑ·ä´Œ·íÒÊÑÞÞÒ ¡ÙàŒ §Ô¹Ê¡ØÅà§Ô¹ºÒ·¨íҹǹ 3,000 ŌҹºÒ· ¡Ñº ʶҺѹ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ÀÒÂã¹»ÃÐà·ÈáË‹§Ë¹Öè§ ÊÑÞÞҴѧ¡Å‹ÒÇÁÕÃÐÂÐàÇÅÒ»ÅÍ´¡ÒêíÒÃФ׹ à§Ô¹¡ÙàŒ »š¹àÇÅÒ 2 »‚ áÅСíÒ˹´ãËŒºÃÔÉ·Ñ ªíÒÃÐ à§Ô¹μŒ¹¤×¹à»š¹§Ç´ÃÒÂà´×͹ÃÇÁ 60 §Ç´æ ÅÐ 50 ŌҹºÒ· à§Ô¹¡ÙŒÂ×Á´Ñ§¡Å‹ÒÇàÃÔèÁ¼‹Í¹ªíÒÃÐ §Ç´ááã¹à´×͹μØÅÒ¤Á 2556 â´ÂºÃÔÉÑ·ä´Œ ¨íҹͧ·Õ´è ¹Ô ¾ÃŒÍÁÊÔ§è »ÅÙ¡ÊÌҧ໚¹ËÅÑ¡»ÃСѹ ¡ÒáÙÂŒ Á× ´Ñ§¡Å‹ÒÇ ³ 30 ÁÔ¶¹Ø Ò¹ 2555 ºÃÔÉ·Ñ ä´ŒàºÔ¡ãªŒà§Ô¹¡ÙŒáŌǷÑ駨íҹǹ ã¹à´×͹¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 ºÃÔÉÑ·¨íÒ˹‹ÒÂËØŒ¹¡ÙŒ ÍÒÂØ 3 »‚ 6 à´×͹ÁÙŤ‹ÒÃÇÁ 1,000 ŌҹºÒ· ã¹Ê¡ØÅà§Ô¹ºÒ·ã¹Ç§¨íÒ¡Ñ´ ËØŒ¹¡ÙŒ´Ñ§¡Å‹ÒÇ໚¹ ËعŒ ¡ÙªŒ ¹Ô´ÃкتÍ×è ¼Ù¶Œ Í× »ÃÐàÀ·äÁ‹´ÍŒ ÂÊÔ·¸Ô äÁ‹ÁÕ »ÃСѹ áÅÐäÁ‹Á¼Õ áÙŒ ·¹¼Ù¶Œ Í× â´ÂËعŒ ¡Ù´Œ §Ñ ¡Å‹ÒÇ ÁÕ¡Òè‹Ò´͡àºÕÂé ·Ø¡æ 6 à´×͹ áÅФú¡íÒ˹´ 䶋¶Í¹ã¹Çѹ·Õè 23 ÁԶعÒ¹ 2558 ã¹à´×͹¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 ºÃÔÉÑ·¨íÒ˹‹ÒÂËØŒ¹¡ÙŒ ÍÒÂØ 5 »‚ 1 à´×͹ÁÙŤ‹ÒÃÇÁ 1,000 ŌҹºÒ· ã¹Ê¡ØÅà§Ô¹ºÒ·ã¹Ç§¨íÒ¡Ñ´ ËØŒ¹¡ÙŒ´Ñ§¡Å‹ÒÇ໚¹ ËØŒ¹¡ÙŒª¹Ô´Ãкت×èͼٌ¶×Í »ÃÐàÀ·äÁ‹´ŒÍÂÊÔ·¸Ô

ã¹à´×͹μØÅÒ¤Á 2554 ºÃÔÉ·Ñ ¨íÒ˹‹ÒÂËعŒ ¡ÙÍŒ ÒÂØ 7 »‚ÁÙŤ‹ÒÃÇÁ 500 ŌҹºÒ·ã¹Ê¡ØÅà§Ô¹ºÒ· ã¹Ç§¨íÒ¡Ñ´ ËØŒ¹¡ÙŒ´Ñ§¡Å‹ÒÇ໚¹ËØŒ¹¡ÙŒª¹Ô´ÃÐºØ ª×èͼٌ¶×Í »ÃÐàÀ·äÁ‹´ŒÍÂÊÔ·¸Ô äÁ‹ÁÕ»ÃСѹ áÅÐäÁ‹Áռٌ᷹¼ÙŒ¶×Í â´ÂËØŒ¹¡ÙŒ´Ñ§¡Å‹ÒÇÁÕ¡Òà ¨‹Ò´͡àºÕé·ءæ 6 à´×͹ áÅФú¡íÒ˹´ 䶋¶Í¹ã¹Çѹ·Õè 12 μØÅÒ¤Á 2561 ã¹à´×͹μØÅÒ¤Á 2554 ºÃÔÉ·Ñ ¨íÒ˹‹ÒÂËعŒ ¡ÙÍŒ ÒÂØ 10 »‚ÁÅÙ ¤‹ÒÃÇÁ 300 ŌҹºÒ·ã¹Ê¡ØÅà§Ô¹ºÒ· ã¹Ç§¨íÒ¡Ñ´ ËØŒ¹¡ÙŒ´Ñ§¡Å‹ÒÇ໚¹ËØŒ¹¡ÙŒª¹Ô´ÃÐºØ ª×èͼٌ¶×Í »ÃÐàÀ·äÁ‹´ŒÍÂÊÔ·¸Ô äÁ‹ÁÕ»ÃСѹ áÅÐäÁ‹Áռٌ᷹¼ÙŒ¶×Í â´ÂËØŒ¹¡ÙŒ´Ñ§¡Å‹ÒÇÁÕ¡Òà ¨‹Ò´͡àºÕé·ءæ 6 à´×͹ áÅФú¡íÒ˹´ 䶋¶Í¹ã¹Çѹ·Õè 12 μØÅÒ¤Á 2564 ã¹à´×͹¡Ñ¹ÂÒ¹ 2554 ºÃÔÉÑ·ä´Œ·íÒÊÑÞÞÒ ¡ÙàŒ §Ô¹ÀÒÂã¹Ç§à§Ô¹äÁ‹à¡Ô¹ 1,500 ŌҹºÒ· ¡Ñº ʶҺѹ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹áË‹§Ë¹Öè§ ÊÑÞÞҴѧ¡Å‹ÒÇ ¡í Ò Ë¹´ãËŒ º ÃÔ ÉÑ · ªí Ò ÃÐà§Ô ¹ μŒ ¹ ¤× ¹ ໚ ¹ §Ç´ ÃÒÂà´×͹ÃÇÁ 36 §Ç´ §Ç´ÅÐ 41.7 ŌҹºÒ· ã¹Çѹ·íÒ¡ÒÃÊØ´·ŒÒ¢ͧà´×͹·Õè¤Ãº¡íÒ˹´ ªíÒÃÐã¹áμ‹ÅЧǴ áÅÐàÃÔèÁ¼‹Í¹ªíÒÃЧǴáá ã¹à´×͹ ¡Ñ¹ÂÒ¹ 2556 ³ 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 ºÃÔÉÑ·ä´ŒàºÔ¡ãªŒà§Ô¹¡ÙŒáŌǷÑ駨íҹǹ ã¹à´×͹àÁÉÒ¹ 2554 ºÃÔÉÑ·¨íÒ˹‹ÒÂËØŒ¹¡ÙŒ ÍÒÂØ 5 »‚ ÁÙŤ‹ÒÃÇÁ 1,000 ŌҹºÒ·ã¹Ê¡ØÅ

à§Ô¹ºÒ·ã¹Ç§¨íÒ¡Ñ´ ËعŒ ¡Ù´Œ §Ñ ¡Å‹ÒÇ໚¹ËعŒ ¡ÙªŒ ¹Ô´ ÃкتÍ×è ¼Ù¶Œ Í× »ÃÐàÀ·äÁ‹´ÍŒ ÂÊÔ·¸Ô äÁ‹Á»Õ ÃСѹ áÅÐäÁ‹Áռٌ᷹¼ÙŒ¶×Í â´ÂËØŒ¹¡ÙŒ´Ñ§¡Å‹ÒÇÁÕ¡Òà ¨‹Ò´͡àºÕé·ءæ 6 à´×͹ áÅФú¡íÒ˹´ 䶋¶Í¹ã¹Çѹ·Õè 29 ÁÕ¹Ò¤Á 2559 ã¹à´×͹ÁÕ¹Ò¤Á 2554 ºÃÔÉÑ·¨íÒ˹‹ÒÂËØŒ¹¡ÙŒ ÍÒÂØ 5 »‚ ÁÙŤ‹ÒÃÇÁ 500 ŌҹºÒ·ã¹Ê¡ØÅ à§Ô¹ºÒ·ã¹Ç§¨íÒ¡Ñ´ ËعŒ ¡Ù´Œ §Ñ ¡Å‹ÒÇ໚¹ËعŒ ¡ÙªŒ ¹Ô´ ÃкتÍ×è ¼Ù¶Œ Í× »ÃÐàÀ·äÁ‹´ÍŒ ÂÊÔ·¸Ô äÁ‹Á»Õ ÃСѹ áÅÐäÁ‹Áռٌ᷹¼ÙŒ¶×Í â´ÂËØŒ¹¡ÙŒ´Ñ§¡Å‹ÒÇÁÕ¡Òà ¨‹Ò´͡àºÕé·ءæ 6 à´×͹ áÅФú¡íÒ˹´ 䶋¶Í¹ã¹Çѹ·Õè 25 ÁÕ¹Ò¤Á 2559 ã¹à´×͹¡ØÁÀҾѹ¸ 2554 ºÃÔÉ·Ñ ä´Œ·Òí ÊÑÞÞÒ ¡ÙŒà§Ô¹¨íҹǹ 500 ŌҹºÒ· ¡ÑºÊ¶ÒºÑ¹·Ò§ ¡ÒÃà§Ô¹áË‹§Ë¹Öè§ ÊÑÞÞҴѧ¡Å‹ÒÇ¡íÒ˹´ãËŒ ºÃÔÉÑ·ªíÒÃÐà§Ô¹μŒ¹¤×¹ÃÇÁ 8 §Ç´ â´ÂªíÒÃÐ 3 à´×͹μ‹Í§Ç´ §Ç´ÅÐ 62.5 ŌҹºÒ· â´Â ªíÒÃЧǴááã¹Çѹ·íÒ¡ÒÃÊØ´·ŒÒ¢ͧà´×͹ àÁÉÒ¹ 2556 ໚¹μŒ¹ä» ºÃÔÉ·Ñ ä´ŒàºÔ¡ãªŒà§Ô¹¡ÙŒ àμçÁ¨íҹǹáÅŒÇ ³ Çѹ·Õè 30 ¡Ñ¹ÂÒ¹ 2554 ã¹à´×͹¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2553 ºÃÔÉÑ·¨íÒ˹‹ÒÂËØŒ¹¡ÙŒ ÍÒÂØ 5 »‚ ÁÙŤ‹ÒÃÇÁ 500 ŌҹºÒ·ã¹Ê¡ØÅ à§Ô¹ºÒ·ã¹Ç§¨íÒ¡Ñ´ ËعŒ ¡Ù´Œ §Ñ ¡Å‹ÒÇ໚¹ËعŒ ¡ÙªŒ ¹Ô´ ÃкتÍ×è ¼Ù¶Œ Í× »ÃÐàÀ·äÁ‹´ÍŒ ÂÊÔ·¸Ô äÁ‹Á»Õ ÃСѹ áÅÐäÁ‹Áռٌ᷹¼ÙŒ¶×Í â´ÂËØŒ¹¡ÙŒ´Ñ§¡Å‹ÒÇÁÕ¡Òà ¨‹Ò´͡àºÕé·ءæ 6 à´×͹ áÅФú¡íÒ˹´ 䶋¶Í¹ã¹Çѹ·Õè 28 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2558 ã¹à´×͹¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2553 ºÃÔÉÑ·ä´Œ·íÒÊÑÞÞÒ ¡ÙàŒ §Ô¹ÀÒÂã¹Ç§à§Ô¹äÁ‹à¡Ô¹ 1,500 ŌҹºÒ· ¡Ñº ʶҺѹ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹áË‹§Ë¹Öè§ ÊÑÞÞҴѧ¡Å‹ÒÇ ¡í Ò Ë¹´ãËŒ º ÃÔ ÉÑ · ªí Ò ÃÐà§Ô ¹ μŒ ¹ ¤× ¹ ໚ ¹ §Ç´ ÃÒÂà´×͹ÃÇÁ 30 §Ç´ §Ç´ÅÐ 50 ŌҹºÒ· ã¹Çѹ·íÒ¡ÒÃÊØ´·ŒÒ¢ͧà´×͹·Õè¤Ãº¡íÒ˹´ ªíÒÃÐã¹áμ‹ÅЧǴ áÅÐàÃÔèÁ¼‹Í¹ªíÒÃЧǴáá ã¹à´×͹Á¡ÃÒ¤Á 2555 â´ÂºÃÔÉ·Ñ μ¡Å§ÂÔ¹ÂÍÁ


224 | 225

CPN รายงานประจําป 2555

àÊÕ Â ´Í¡àºÕé  μÑé § áμ‹ ÇÑ ¹ ·Õè º ÃÔ ÉÑ · àºÔ ¡ ÃÑ º à§Ô ¹ ¡ÙŒ §Ç´áá ¶Ö§Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 ã¹ÍÑμÃÒμÅÒ´ ºÃÔÉÑ·ä´ŒàºÔ¡ãªŒà§Ô¹¡ÙŒàμçÁ¨íҹǹáÅŒÇ ³ Çѹ·Õè 30 ÁԶعÒ¹ 2554 ã¹à´×͹¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2553 ºÃÔÉÑ·ä´Œ·íÒÊÑÞÞÒ ¡ÙàŒ §Ô¹ Term Loan (»ÃШíÒ) ¨íҹǹà§Ô¹ 1,500 ŌҹºÒ· ¡ÑºÊ¶ÒºÑ¹·Ò§¡ÒÃà§Ô¹áË‹§Ë¹Öè§ ÊÑÞÞҴѧ¡Å‹ÒÇÁÕ¡íÒ˹´ÃÐÂÐàÇÅÒªíÒÃÐ˹Õé àÊÃç¨ÊÔ¹é ÀÒÂã¹à´×͹¡Ñ¹ÂÒ¹ 2557 â´ÂºÃÔÉ·Ñ μ¡Å§ªíÒÃд͡àºÕéÂã¹Çѹ·íÒ¡ÒÃÊØ´·ŒÒ¢ͧ ·Ø¡à´×͹ ¼‹Í¹ªíÒÃÐ¤×¹μŒ¹à§Ô¹¡ÙàŒ »š¹»ÃШíÒ·Ø¡ äμÃÁÒÊäμÃÁÒÊÅÐäÁ‹¹ÍŒ Â¡Ç‹Ò 125 ŌҹºÒ· áÅÐàÃÔèÁ¼‹Í¹ªíÒÃЧǴááã¹à´×͹¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 ºÃÔÉ·Ñ ä´ŒàºÔ¡ãªŒà§Ô¹¡ÙàŒ μçÁ¨íҹǹáÅŒÇ ³ Çѹ·Õè 30 ¡Ñ¹ÂÒ¹ 2554 ã¹à´×͹ÁÔ¶¹Ø Ò¹ 2553 ºÃÔÉÑ·¨íÒ˹‹ÒÂËعŒ ¡ÙŒ ã¹Ê¡ØÅà§Ô¹ºÒ·»ÃÐàÀ·äÁ‹´ŒÍÂÊÔ·¸ÔáÅÐäÁ‹ÁÕ »ÃСѹÍÒÂØ 2 »‚ãËŒ¹¡Ñ ŧ·Ø¹Ê¶ÒºÑ¹ ÁÙŤ‹ÒÃÇÁ 500 ŌҹºÒ· â´ÂËØŒ¹¡ÙŒ´Ñ§¡Å‹ÒÇÁÕ¡Òè‹Ò ´Í¡àºÕÂé ·Ø¡æ 3 à´×͹ áÅФú¡íÒ˹´ä¶‹¶Í¹ ã¹Çѹ·Õè 9 ÁԶعÒ¹ 2555 ã¹à´×͹¡Ñ¹ÂÒ¹ 2554 ºÃÔÉѷ‹ÍÂáË‹§Ë¹Öè§ ä´Œ¡ÙŒÂ×Áã¹Ê¡ØÅà§Ô¹ºÒ·¨Ò¡Ê¶ÒºÑ¹¡ÒÃà§Ô¹ áË‹§Ë¹Ö§è ¨íҹǹ 2,000 ŌҹºÒ· ¡íÒ˹´ÃÐÂÐ àÇÅÒ 7 »‚ »ÅÍ´ªíÒÃÐà§Ô¹μŒ¹ 2 »‚ ¹Ñºáμ‹Ç¹Ñ àºÔ¡ ÃѺà§Ô¹¡Ù§Œ Ç´áá ¼‹Í¹ªíÒÃФ׹à§Ô¹μŒ¹§Ç´áá ໚¹ÃÒ§ǴæÅÐ 3 à´×͹ ÃÇÁ 20 §Ç´ §Ç´ÅÐ 100 ŌҹºÒ· ºÃÔÉѷ‹Í´ѧ¡Å‹ÒÇä´Œ¹íÒÊÔ·¸Ô ¡ÒÃઋҾÌÍÁ¨íҹͧÊÔ觻ÅÙ¡ÊÌҧ໚¹ËÅÑ¡ »ÃСѹ¡ÒáÙÂŒ Á× ´Ñ§¡Å‹ÒÇ â´ÂÁÕºÃÔÉ·Ñ ¤éÒí »ÃСѹ ¡ÒáÙÂŒ Á× ´Ñ§¡Å‹ÒÇ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 ºÃÔÉÑ·ä´ŒàºÔ¡ãªŒà§Ô¹¡ÙŒáŌǷÑ駨íҹǹ ã¹ÃÐËÇ‹Ò§»‚ 2552 ºÃÔÉ·Ñ Â‹ÍÂáË‹§Ë¹Ö§è ä´Œ¡ÂÙŒ Á× ã¹Ê¡ØÅà§Ô¹ºÒ·¨Ò¡Ê¶ÒºÑ¹¡ÒÃà§Ô¹áË‹§Ë¹Öè§ ¨íҹǹ 1,500 ŌҹºÒ· ¡íÒ˹´ÃÐÂÐàÇÅÒ

7 »‚ »ÅÍ´ªíÒÃÐà§Ô¹μŒ¹ 2 »‚ ¹Ñºáμ‹ÇѹàºÔ¡ ÃѺà§Ô¹¡Ù§Œ Ç´áá ¼‹Í¹ªíÒÃФ׹§Ç´ááã¹à´×͹ μØÅÒ¤Á 2553 ໚¹μŒ¹ä» ÃÇÁ 60 §Ç´ ºÃÔÉ·Ñ Â‹Í ´Ñ§¡Å‹ÒÇä´Œ¹Òí ·Õ´è ¹Ô ¾ÃŒÍÁ¨íҹͧ ÊÔ§è »ÅÙ¡ÊÌҧ ໚¹ËÅÑ¡»ÃСѹ¡ÒáٌÂ×Á´Ñ§¡Å‹ÒÇ ã¹ÃÐËÇ‹Ò§»‚ 2552 ºÃÔÉ·Ñ Â‹ÍÂáË‹§Ë¹Ö§è ä´Œ¡ÂÙŒ Á× ã¹Ê¡ØÅà§Ô¹ºÒ·¨Ò¡Ê¶ÒºÑ¹¡ÒÃà§Ô¹áË‹§Ë¹Öè§ ¨íҹǹ 1,000 ŌҹºÒ· ¡íÒ˹´ÃÐÂÐàÇÅÒ 7 »‚ »ÅÍ´ªíÒÃÐà§Ô¹μŒ¹ 2 »‚ ¹Ñºáμ‹ÇѹàºÔ¡ ÃѺà§Ô¹¡Ù§Œ Ç´áá ¼‹Í¹ªíÒÃФ׹§Ç´ááã¹à´×͹ Á¡ÃÒ¤Á 2554 ໚¹μŒ¹ä» ÃÇÁ 60 §Ç´ ºÃÔÉ·Ñ Â‹Í ´Ñ§¡Å‹ÒÇä´Œ¹íÒÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋҾÌÍÁÊÔ觻ÅÙ¡ÊÌҧ ໚¹ËÅÑ¡»ÃСѹ¡ÒáÙÂŒ Á× ´Ñ§¡Å‹ÒÇ â´ÂÁÕºÃÔÉ·Ñ ¤éÒí »ÃСѹǧà§Ô¹¡Ù·Œ §Ñé ¨íҹǹ ³ Çѹ·Õè 31 ÁÕ¹Ò¤Á 2554 ºÃÔÉѷ‹ÍÂä´ŒàºÔ¡à§Ô¹¡ÙŒàμçÁ¨íҹǹáÅŒÇ ã¹ÃÐËÇ‹Ò§»‚ 2552 ºÃÔÉ·Ñ Â‹ÍÂáË‹§Ë¹Ö§è ä´Œ¡ÂÙŒ Á× ã¹Ê¡ØÅà§Ô¹ºÒ·¨Ò¡Ê¶ÒºÑ¹¡ÒÃà§Ô¹áË‹§Ë¹Öè§ ¨íҹǹ 1,000 ŌҹºÒ· ¡íÒ˹´ÃÐÂÐàÇÅÒ 7 »‚ »ÅÍ´ªíÒÃÐà§Ô¹μŒ¹ 2 »‚ ¹Ñºáμ‹Ç¹Ñ àºÔ¡ÃѺ à§Ô¹¡Ù§Œ Ç´áá ¼‹Í¹ªíÒÃФ׹ 60 §Ç´ ºÃÔÉ·Ñ Â‹Í ´Ñ§¡Å‹ÒÇä´Œ¹íÒÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋҾÌÍÁÊÔ觻ÅÙ¡ÊÌҧ ໚¹ËÅÑ¡»ÃСѹ¡ÒáÙÂŒ Á× ´Ñ§¡Å‹ÒÇ â´ÂÁÕºÃÔÉ·Ñ ¤éÒí »ÃСѹà§Ô¹¡Ù·Œ §Ñé ¨íҹǹ ³ Çѹ·Õè 31 ÁÕ¹Ò¤Á 2554 ºÃÔÉ·Ñ Â‹ÍÂä´ŒàºÔ¡ãªŒà§Ô¹¡ÙàŒ μçÁ¨íҹǹáÅŒÇ ã¹ÃÐËÇ‹Ò§»‚ 2551 ºÃÔÉÑ·ä´Œ¡ÙŒÂ×Áà§Ô¹ã¹Ê¡ØÅ à§Ô¹ºÒ·¨Ò¡Ê¶ÒºÑ¹¡ÒÃà§Ô¹áË‹§Ë¹Ö觨íҹǹ 2,500 ŌҹºÒ· »ÅÍ´ªíÒÃÐà§Ô¹μŒ¹ÃÐÂÐàÇÅÒ 7 »‚ ¼‹Í¹ªíÒÃФ׹§Ç´ááã¹à´×͹μØÅÒ¤Á 2553 ໚¹μŒ¹ä» ÃÇÁ 60 §Ç´ â´ÂºÃÔÉÑ·ä´Œ ¹íÒ·Õè´Ô¹¾ÃŒÍÁÊÔ觻ÅÙ¡ÊÌҧ໚¹ËÅÑ¡»ÃСѹ à§Ô¹¡ÙŒÂ×Á´Ñ§¡Å‹ÒÇ ã¹ÃÐËÇ‹Ò§»‚ 2550 ºÃÔÉÑ·ä´Œ¡ÙŒÂ×Áà§Ô¹ã¹Ê¡ØÅ à§Ô¹ºÒ·ã¹ÃÙ»¢Í§ËعŒ ¡ÙªŒ ¹Ô´äÁ‹Á»Õ ÃСѹáÅÐäÁ‹ ´ŒÍÂÊÔ·¸Ô¨Ò¡¹Ñ¡Å§·Ø¹Ê¶ÒºÑ¹¨íҹǹ 3,000 ŌҹºÒ· ËØŒ¹¡ÙŒ¹ÕéÁÕ¡íÒ˹´ä¶‹¶Í¹ã¹»‚ 2555

ã¹ÃÐËÇ‹Ò§»‚ 2552 ºÃÔÉ·Ñ ¨íÒ˹‹ÒÂËعŒ ¡ÙÍŒ ÒÂØ 4 »‚ ã¹Ê¡ØÅà§Ô¹ºÒ·ã¹Ç§à§Ô¹¨íÒ¡Ñ´ ËØŒ¹¡ÙŒ´Ñ§¡Å‹ÒÇ à»š¹ËØŒ¹¡ÙŒª¹Ô´äÁ‹ÁÕ»ÃСѹáÅÐäÁ‹´ŒÍÂÊÔ·¸Ô ãˌᡋ¹¡Ñ ŧ·Ø¹Ê¶ÒºÑ¹¨íҹǹ 3,200 ŌҹºÒ· â´ÂËØŒ ¹ ¡ÙŒ ´Ñ § ¡Å‹ Ò ÇÁÕ ¡ Òè‹ Ò Â´Í¡àºÕé  ·Ø ¡ æ 6 à´×͹ áÅФú¡íÒ˹´ä¶‹¶Í¹ã¹»‚ 2556 ã¹ÃÐËÇ‹Ò§»‚ 2552 ºÃÔÉ·Ñ ¨íÒ˹‹ÒÂËعŒ ¡ÙÍŒ ÒÂØ 5 »‚ ã¹Ê¡ØÅà§Ô¹ºÒ·ã¹Ç§à§Ô¹¨íÒ¡Ñ´ ËØŒ¹¡ÙŒ´Ñ§¡Å‹ÒÇ à»š¹ËØŒ¹¡ÙŒª¹Ô´äÁ‹ÁÕ»ÃСѹáÅÐäÁ‹´ŒÍÂÊÔ·¸Ô ãˌᡋ¹¡Ñ ŧ·Ø¹Ê¶ÒºÑ¹¨íҹǹ 1,000 ŌҹºÒ· â´ÂËØŒ ¹ ¡ÙŒ ´Ñ § ¡Å‹ Ò ÇÁÕ ¡ Òè‹ Ò Â´Í¡àºÕé  ·Ø ¡ æ 6 à´×͹ áÅФú¡íÒ˹´ä¶‹¶Í¹ã¹»‚ 2557 ã¹ÃÐËÇ‹Ò§»‚ 2552 ºÃÔÉÑ·ä´Œ¡ÙŒÂ×Áà§Ô¹ã¹Ê¡ØÅ à§Ô¹ºÒ·ã¹ÃÙ»¢Í§ËØŒ¹¡ÙŒª¹Ô´äÁ‹ÁÕ»ÃСѹáÅÐ äÁ‹´ŒÍÂÊÔ·¸Ôãˌᡋ¹Ñ¡Å§·Ø¹Ê¶ÒºÑ¹¨íҹǹ 1,000 ŌҹºÒ· áÅСíÒ˹´ä¶‹¶Í¹ã¹»‚ 2555 à§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÂÒǨҡʶҺѹ¡ÒÃà§Ô¹áÅÐ ¼ÙŒ Å §·Ø ¹ Ê¶ÒºÑ ¹ ÁÕ ÍÑ μ ÃÒ´Í¡àºÕé  ¤§·Õè á ÅÐ ÅÍÂμÑÇÃŒÍÂÅÐ 3.25 ¶Ö§ÃŒÍÂÅÐ 5 μ‹Í»‚ à§Ô¹¡ÙÂŒ Á× ´Ñ§¡Å‹ÒÇÁÕÍÒÂØÊÑÞÞÒμÑé§áμ‹ 3 »‚ ¶Ö§ 10 »‚ áÅÐÁÕà§×è͹䢷ÕèÃкØäÇŒμÒÁÊÑÞÞÒà§Ô¹¡ÙŒÂ×Á áμ‹ÅЩºÑº ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ¨ÐμŒÍ§»¯ÔºμÑ μÔ ÒÁà§×Íè ¹ä¢ áÅТŒÍ¨íÒ¡Ñ´μ‹Ò§æ ·Õ¡è Òí ˹´äÇŒã¹ÊÑÞÞÒ¡ÙÂŒ Á× à§Ô¹Í‹ҧà¤Ã‹§¤ÃÑ´ ઋ¹ ¡ÒÃäÁ‹¹Òí ÊÔ¹·ÃѾ ¢Í§ ºÃÔÉÑ·áÅкÃÔÉѷ‹Í·ÕèÊíÒ¤ÑÞ仡‹ÍãËŒà¡Ô´ ÀÒÃм١¾Ñ¹â´Â㪌໚¹ËÅÑ¡»ÃСѹ ¡ÒÃÃÑ¡ÉÒ ÍÑμÃÒʋǹ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹μ‹Ò§æ ¡ÒôíÒçʶҹР¤ÇÒÁ໚¹ºÃÔÉ·Ñ ¨´·ÐàºÕ¹ã¹μÅÒ´ËÅÑ¡·ÃѾ áÅÐà§×è͹ä¢Í×è¹μÒÁ·ÕèÃкØäÇŒã¹ÊÑÞÞÒ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 à§Ô¹¡ÙŒÂ×Á·ÕèÁÕËÅÑ¡ »ÃСѹ¨íҹǹ 8,465 ŌҹºÒ·¢Í§¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ (2554: 7,545 ŌҹºÒ·) ä´ŒÃºÑ ¡ÒäéÒí »ÃСѹ â´ÂËÅÑ¡·ÃѾ »ÃÐàÀ·ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ à¾×èÍ ¡ÒÃŧ·Ø¹ áÅзÕè´Ô¹ ÍÒ¤Òà áÅÐÍØ»¡Ã³ áÅÐÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋÒÀÒÂãμŒâ¤Ã§¡Ò÷Õè´íÒà¹Ô¹¡Òà ÀÒÂãμŒÇ§à§Ô¹´Ñ§¡Å‹ÒÇ


2555 à§Ô¹¡ÙŒÂ×Á¨Ò¡Ê¶ÒºÑ¹¡ÒÃà§Ô¹áÅмٌŧ·Ø¹Ê¶ÒºÑ¹ 2554 à§Ô¹¡ÙŒÂ×Á¨Ò¡Ê¶ÒºÑ¹¡ÒÃà§Ô¹áÅмٌŧ·Ø¹Ê¶ÒºÑ¹

2555 à§Ô¹¡ÙŒÂ×Á¨Ò¡Ê¶ÒºÑ¹¡ÒÃà§Ô¹áÅмٌŧ·Ø¹Ê¶ÒºÑ¹ 2554 à§Ô¹¡ÙŒÂ×Á¨Ò¡Ê¶ÒºÑ¹¡ÒÃà§Ô¹áÅмٌŧ·Ø¹Ê¶ÒºÑ¹ 1,755,165

4.23

3,000,000 1,000,000

4.38 4.08

ÍÑμÃÒ´Í¡àºÕé ÍÑμÃÒ´Í¡àºÕé ·Õèá·Œ¨ÃÔ§ ÅÍÂμÑÇ (ÃŒÍÂÅÐ)

3,396,316

4.29

ÍÑμÃÒ´Í¡àºÕé ÍÑμÃÒ´Í¡àºÕé ·Õèá·Œ¨ÃÔ§ ÅÍÂμÑÇ (ÃŒÍÂÅÐ)

ÍÑμÃÒ´Í¡àºÕéÂá·Œ¨ÃÔ§áÅСÒÃÇÑ´ÁÙŤ‹ÒãËÁ‹ / ¡ÒÃÇÔà¤ÃÒÐË ¡Òäú¡íÒ˹´ªíÒÃÐ

14,903,329

14,394,515 2,465,120

1,547,855

5,600,040

5,487,540

11,349,910

10,922,495

1,800,000

1,239,875

§º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà ÍÑμÃÒ´Í¡àºÕ餧·Õè¤Ãº¡íÒ˹´ªíÒÃÐ ËÅѧ¨Ò¡ 1 »‚ ÀÒÂã¹ 1 »‚ áμ‹ÀÒÂã¹ 5 »‚ ËÅѧ¨Ò¡ 5 »‚ (¾Ñ¹ºÒ·)

6,121,068

6,226,078

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ ÍÑμÃÒ´Í¡àºÕ餧·Õè¤Ãº¡íÒ˹´ªíÒÃÐ ËÅѧ¨Ò¡ 1 »‚ ÀÒÂã¹ 1 »‚ áμ‹ÀÒÂã¹ 5 »‚ ËÅѧ¨Ò¡ 5 »‚ (¾Ñ¹ºÒ·)

19,749,950

20,649,910

ÃÇÁÁÙŤ‹Ò μÒÁºÑÞªÕ

25,244,682

25,564,764

ÃÇÁÁÙŤ‹Ò μÒÁºÑÞªÕ

19,827,972

20,764,178

ÁÙŤ‹Ò ÂØμÔ¸ÃÃÁ

25,386,341

25,770,813

ÁÙŤ‹Ò ÂØμÔ¸ÃÃÁ


226 | 227

CPN รายงานประจําป 2555

20 เจ าหนี้อื่น ËÁÒÂàËμØ à¨ŒÒ˹ÕéÍ×è¹ ¤‹Ò㪌¨‹Ò¤ŒÒ§¨‹Ò à§Ô¹»ÃСѹ¼Å§Ò¹¤ŒÒ§¨‹Ò ´Í¡àºÕ餌ҧ¨‹Ò ÃÒÂä´ŒÃѺŋǧ˹ŒÒ Í×è¹æ ÃÇÁ

5

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554 1,319,044 1,554,000 942,832 62,390 145,380 645,106 4,668,752

1,415,032 1,591,373 755,860 74,649 95,882 566,582 4,499,378

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554 249,576 749,825 171,987 62,390 52,039 249,788 1,535,605

2,631,049 656,946 117,659 74,868 45,017 237,003 3,762,542

21 ภาระผูกพันผลประโยชน พนักงาน ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·¶×Í»¯ÔºÑμÔμÒÁÁÒμðҹ¡ÒúÑÞªÕ ©ºÑº·Õè 19 àÃ×èͧ¼Å»ÃÐ⪹ ¢Í§¾¹Ñ¡§Ò¹ «Ö§è Áռźѧ¤ÑºãªŒμ§Ñé áμ‹ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2554

¡ÅØ‹ Á ºÃÔ ÉÑ · ¶× Í »¯Ô ºÑ μÔ μ ÒÁÁÒμðҹãËÁ‹ â´Â¡ÒûÃѺŒ͹ËÅѧ áÅÐä´Œ»ÃѺ§º¡ÒÃà§Ô¹ »‚¡‹Í¹áÅŒÇ

¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ áÅкÃÔÉ·Ñ ¨Ñ´¡ÒÃâ¤Ã§¡ÒúíÒàË¹ç¨ ¾¹Ñ¡§Ò¹μÒÁ¢ŒÍ¡íÒ˹´¢Í§¾ÃÐÃÒªºÑÞÞÑμÔ ¤ØÁŒ ¤Ãͧáç§Ò¹ ¾.È. 2541 㹡ÒÃãËŒ¼Å»ÃÐ⪹ àÁ×Íè à¡ÉÕ³ᡋ¾¹Ñ¡§Ò¹μÒÁÊÔ·¸ÔáÅÐÍÒÂاҹ

¡ÒÃà»ÅÕè¹á»Å§ã¹ÁÙŤ‹Ò»˜¨¨ØºÑ¹¢Í§ÀÒÃм١¾Ñ¹¢Í§â¤Ã§¡ÒüŻÃÐ⪹ §º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554 ÀÒÃм١¾Ñ¹¢Í§â¤Ã§¡ÒüŻÃÐ⪹ ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á ¼Å»ÃÐ⪹ ¨‹ÒÂâ´Ââ¤Ã§¡ÒÃ μŒ¹·Ø¹ºÃÔ¡Òû˜¨¨ØºÑ¹áÅд͡àºÕé ÀÒÃм١¾Ñ¹¢Í§â¤Ã§¡ÒüŻÃÐ⪹ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á

110,267 (174) 17,883 127,976

94,270 (691) 16,688 110,267

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554 96,040 (174) 16,284 112,150

78,990 (585) 17,635 96,040


¤‹Ò㪌¨‹Ò·ÕèÃѺÃٌ㹡íÒäÃËÃ×Í¢Ò´·Ø¹

μŒ¹·Ø¹ºÃÔ¡Òû˜¨¨ØºÑ¹ μŒ¹·Ø¹´Í¡àºÕé ÃÇÁ

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

12,366 5,517 17,883

11,430 4,854 16,284

12,163 4,525 16,688

13,540 4,095 17,635

¤‹Ò㪌¨‹Ò·ÕèÃѺÃÙŒã¹ÃÒ¡ÒÃμ‹Í仹Õé㹧º¡íÒäâҴ·Ø¹àºç´àÊÃç¨

μŒ¹·Ø¹¤‹ÒઋÒáÅФ‹ÒºÃÔ¡ÒÃ μŒ¹·Ø¹ÍÒËÒÃáÅÐà¤Ã×èͧ´×èÁ ¤‹Ò㪌¨‹ÒÂ㹡ÒúÃÔËÒà ÃÇÁ

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

3,821 173 13,889 17,883

2,831 13,453 16,284

3,410 160 13,118 16,688

4,326 13,309 17,635

¢ŒÍÊÁÁØμÔËÅѡ㹡ÒûÃÐÁÒ³¡ÒÃμÒÁËÅÑ¡¡Òä³ÔμÈÒÊμà »ÃСѹÀÑ ³ Çѹ·ÕèÃÒ§ҹ §º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554 ÍÑμÃÒ¤Ô´Å´à©ÅÕè ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á ÍÑμÃÒ¡ÒÃà¾ÔèÁ¢Ö鹢ͧà§Ô¹à´×͹ã¹Í¹Ò¤μà©ÅÕèÂ

5 6

5 6

(ÃŒÍÂÅÐ) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554 5 6

5 6

¢ŒÍÊÁÁØμÔ°Ò¹à¡ÕèÂǡѺÍÑμÃÒÁóÐã¹Í¹Ò¤μ¶×ÍμÒÁ¢ŒÍÁÙŷҧʶÔμÔ·Õèà¼Âá¾Ã‹·ÑèÇä»áÅÐ͌ҧÍÔ§μÒÁμÒÃÒ§ÁóЫÖ觻ÃСÒÈâ´ÂÊíҹѡ§Ò¹ ¤³Ð¡ÃÃÁ¡ÒáíҡѺáÅÐÊ‹§àÊÃÔÁ¡ÒûÃСͺ¸ØáԨ»ÃСѹÀÑÂ


228 | 229

CPN รายงานประจําป 2555

22 ทุนเรือนหุ น

(¾Ñ¹ËØŒ¹/¾Ñ¹ºÒ·) 2554 ¨íҹǹËØŒ¹ ÁÙŤ‹Ò

ÃÒ¤ÒμÒÁ ÁÙŤ‹ÒËØŒ¹ (ºÒ·)

¨íҹǹËØŒ¹

ÁÙŤ‹Ò

·Ø¹¨´·ÐàºÕ¹ ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á - ËØŒ¹ÊÒÁÑÞ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á - ËØŒ¹ÊÒÁÑÞ

1

2,178,816

2,178,816

2,178,816

2,178,816

1

2,178,816

2,178,816

2,178,816

2,178,816

ËØŒ¹·ÕèÍÍ¡áÅЪíÒÃÐáÅŒÇ ³ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á - ËØŒ¹ÊÒÁÑÞ ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á - ËØŒ¹ÊÒÁÑÞ

1

2,178,816

2,178,816

2,178,816

2,178,816

1

2,178,816

2,178,816

2,178,816

2,178,816

ส วนเกินมูลค าหุ น μÒÁº·ºÑÞÞÑμÔáË‹§¾ÃÐÃÒªºÑÞÞÑμÔºÃÔÉÑ· ÁËÒª¹¨íÒ¡Ñ´ ¾.È. 2535 ÁÒμÃÒ 51 ã¹¡Ã³Õ ·Õè º ÃÔ ÉÑ · àʹ͢ÒÂËØŒ ¹ ÊÙ § ¡Ç‹ Ò ÁÙ Å ¤‹ Ò ËØŒ ¹ ·Õè ¨´·ÐàºÕ¹äÇŒ ºÃÔÉ·Ñ μŒÍ§¹íÒ¤‹ÒËعŒ ʋǹà¡Ô¹¹Õé μÑé§à»š¹·Ø¹ÊíÒÃͧ (“ʋǹà¡Ô¹ÁÙŤ‹ÒËØŒ¹”) ʋǹà¡Ô¹ÁÙŤ‹ÒËعŒ ¹Õ¨é йíÒ仨‹ÒÂ໚¹à§Ô¹»˜¹¼Å äÁ‹ä´Œ

2555

¨ÐμŒ Í §¨Ñ ´ ÊÃÃ·Ø ¹ Êí Ò Ãͧ (“Êí Ò ÃͧμÒÁ ¡®ËÁÒ”) Í‹ҧ¹ŒÍÂÃŒÍÂÅÐ 5 ¢Í§¡íÒäÃÊØ·¸Ô »ÃШí Ò »‚ Ë ÅÑ § ¨Ò¡ËÑ ¡ ¢Ò´·Ø ¹ ÊÐÊÁ¡ÁÒ (¶ŒÒÁÕ) ¨¹¡Ç‹ÒÊíÒÃͧ´Ñ§¡Å‹ÒÇÁÕ¨Òí ¹Ç¹äÁ‹¹ÍŒ  ¡Ç‹ÒÃŒÍÂÅÐ 10 ¢Í§·Ø¹¨´·ÐàºÕ¹ à§Ô¹ÊíÒÃͧ ¹Õé¨Ð¹íÒ仨‹ÒÂ໚¹à§Ô¹»˜¹¼ÅäÁ‹ä´Œ

องค ประกอบอื่นของส วนของผู ถือหุ น ¼Åμ‹Ò§¨Ò¡¡ÒÃá»Å§¤‹Ò§º¡ÒÃà§Ô¹

23 สํารอง

ÃÇÁ¡ÒÃà»ÅÕè¹á»Å§ã¹ÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁ¢Í§ ÊÔ¹·ÃѾ ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹à¼×èÍ¢Ò¨¹¡ÃзÑè§ÁÕ¡Òà μÑ´ÃÒ¡ÒÃËÃ×Íà¡Ô´¡ÒôŒÍ¤‹Ò ʋǹà¡Ô¹·Ø¹¨Ò¡¡ÒÃÃÇÁ¸ØáԨÀÒÂãμŒ¡Òà ¤Çº¤ØÁà´ÕÂǡѹ ¼Åáμ¡μ‹Ò§·Õèà¡Ô´¨Ò¡ÃÒ¡Ò÷ÕèÁÕ¡ÒäǺ¤ØÁ à´Õ Â Ç¡Ñ ¹ ໚ ¹ ¡ÒÃáÊ´§¶Ö § Ê‹ Ç ¹à¡Ô ¹ ÃÐËÇ‹ Ò § ÁÙŤ‹ÒμÒÁºÑުբͧºÃÔÉ·Ñ Â‹Í ³ Çѹ·Õäè ´ŒÁÒ ä´ŒºÑ¹·Ö¡änj໚¹Ê‹Ç¹à¡Ô¹ÃÐËÇ‹Ò§ÃÒ¤ÒºÑÞªÕ ¢Í§ºÃÔÉѷ‹Í·Õèä´ŒÁÒμèíÒ¡Ç‹ÒÃҤҷع «Ö觨РäÁ‹¨Òí ˹‹ÒÂáÅШФ§ÍÂÙ¨‹ ¹¡ÃÐ·Ñ§è ºÃÔÉ·Ñ Â‹Í ¶Ù¡¢ÒÂËÃ×ͨíÒ˹‹ÒÂÍÍ¡ä»

การจัดสรรกําไร และ/หรือ กําไรสะสม

¼Åμ‹ Ò §¨Ò¡¡ÒÃá»Å§¤‹ Ò §º¡ÒÃà§Ô ¹ áÊ´§ ã¹Ê‹Ç¹¢Í§à¨ŒÒ¢Í§»ÃСͺ´ŒÇ¼Åμ‹Ò§¡Òà á»Å§¤‹Ò·Ñ§é ËÁ´¨Ò¡§º¡ÒÃà§Ô¹¢Í§Ë¹‹Ç§ҹ ã¹μ‹Ò§»ÃÐà·È

ÊíÒÃͧμÒÁ¡®ËÁÒÂ

¼Åμ‹Ò§¨Ò¡¡ÒÃà»ÅÕÂè ¹á»Å§ã¹ÁÙŤ‹ÒÂØμ¸Ô ÃÃÁ

24 รายงานทางการเงิ น จํ า แนกตาม ส วนงาน

μÒÁº·ºÑÞÞÑμÔáË‹§¾ÃÐÃÒªºÑÞÞÑμÔºÃÔÉÑ· ÁËÒª¹¨íÒ¡Ñ´ ¾.È. 2535 ÁÒμÃÒ 116 ºÃÔÉ·Ñ

¼Åμ‹Ò§¨Ò¡¡ÒÃà»ÅÕÂè ¹á»Å§ã¹ÁÙŤ‹ÒÂØμ¸Ô ÃÃÁ áÊ´§ã¹Ê‹ Ç ¹¢Í§à¨Œ Ò ¢Í§»ÃСͺ´Œ Ç Â¼Å

¢ŒÍÁÙÅ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹¨íÒṡμÒÁʋǹ§Ò¹¨ÐáÊ´§ ¢ŒÍÁÙÅà¡ÕèÂǡѺ¼ÅÔμÀѳ± áÅкÃÔ¡ÒûÃÐàÀ·

ÊíÒÃͧ»ÃСͺ´ŒÇÂ


μ‹Ò§æ ¢Í§¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·áÅТŒÍÁÙÅà¡ÕèÂǡѺà¢μ ÀÙÁÔÈÒÊμà ·Õè¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·´íÒà¹Ô¹§Ò¹ÍÂÙ‹ ¡ÅØ‹Á ºÃÔÉ·Ñ ¹íÒàʹÍʋǹ§Ò¹¸ØáԨ໚¹ÃٻẺËÅÑ¡ 㹡ÒÃÃÒ§ҹ â´Â¾Ô¨ÒóҨҡÃкº¡Òà ºÃÔËÒáÒèѴ¡ÒÃáÅÐâ¤Ã§ÊÌҧ¡ÒÃÃÒ§ҹ ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ÀÒÂ㹢ͧ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉѷ໚¹à¡³± 㹡ÒáíÒ˹´Ê‹Ç¹§Ò¹

¼Åä´Œ(àÊÕÂ)áÅÐÊÔ¹·ÃѾ μÒÁʋǹ§Ò¹ÃÇÁ ÃÒ¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§â´Âμç¡ÑºÊ‹Ç¹§Ò¹ËÃ×Í ·Õè Ê ÒÁÒö»˜ ¹ Ê‹ Ç ¹ãËŒ ¡Ñ º Ê‹ Ç ¹§Ò¹ä´Œ Í Â‹ Ò § ÊÁàËμØÊÁ¼Å

ÍÒ¤ÒÃÊíҹѡ§Ò¹ËŒÍ§ªØ´¾Ñ¡ÍÒÈÑ áÅÐãËŒ ºÃÔ¡ÒôŒÒ¹ÊÒ¸ÒóٻâÀ¤ ÊǹʹءáÅÐ Êǹ¹éíÒã¹ÍÒ¤Òôѧ¡Å‹ÒÇ

ส วนงานธุรกิจ

ʋǹ§Ò¹·Õè 3 ¸ØáԨâçáÃÁ

¡Òáí Ò Ë¹´ÃÒ¤ÒÃÐËÇ‹ Ò §Ê‹ Ç ¹§Ò¹ÍÂÙ‹ º ¹ à§×è͹䢷Õèμ¡Å§Ã‹ÇÁ¡Ñ¹·Ñé§Êͧ½†ÒÂ

¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·àʹÍʋǹ§Ò¹¸ØáԨ·ÕèÊíÒ¤ÑÞ ´Ñ§¹Õé

ʋǹ§Ò¹·Õè 2 ¸ØáԨ¢ÒÂÍÒËÒÃáÅÐà¤Ã×èͧ´×èÁ ã¹Èٹ ¡ÒäŒÒ

ʋǹ§Ò¹·Õè 1 ¸ØáԨãˌઋÒÍÒ¤ÒÃÈٹ ¡ÒäŒÒ

ÃÒÂä´ŒáÅмšÒôíÒà¹Ô¹§Ò¹¨Ò¡Ê‹Ç¹§Ò¹·Ò§¸ØáԨÊíÒËÃѺáμ‹Åл‚ÊÔé¹ÊØ´Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á Áմѧ¹Õé ʋǹ§Ò¹·Õè 1 2555 2554 ÃÒÂä´Œ¨Ò¡ÅÙ¡¤ŒÒÀÒ¹͡ ÃÒÂä´ŒÃÐËNjҧʋǹ§Ò¹ ¡íÒäÃμÒÁʋǹ§Ò¹¡‹Í¹ËÑ¡ÀÒÉÕ μÑ´ÃÒ¡ÒÃÃÐËÇ‹Ò§¡Ñ¹ ¨íҹǹà§Ô¹·ÕèäÁ‹ä´Œ»˜¹Ê‹Ç¹ : ÃÒÂä´ŒÍ×è¹ ¤‹Ò㪌¨‹ÒÂÍ×è¹ Ê‹Ç¹áº‹§¡íÒäÃ㹺ÃÔÉѷËÇÁ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œ ¡íÒäÃÊíÒËÃѺ»‚ ÊÔ¹·ÃѾ μÒÁʋǹ§Ò¹·ÕèÃÒ§ҹ (³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á) ÊÔ¹·ÃѾ ÃÇÁμÒÁʋǹ§Ò¹ (³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á)

15,324,820 10,853,187 25,404 24,249 6,791,491 3,932,588

ʋǹ§Ò¹·Õè 2 2555 2554

ʋǹ§Ò¹·Õè 3 2555 2554

725,178 128 89,459

711,775 7,371 450,407

632,056 199 85,200

(¾Ñ¹ºÒ·) ÃÇÁ 2555 2554

465,487 16,761,773 11,950,730 21,272 32,903 45,720 295,609 7,331,357 4,313,397 (2,984) (146,114) 2,779,190 862,819 (3,798,322) (3,097,374) 584,248 497,550 (641,638) (354,479) 6,251,851 2,075,799

57,037,006 54,432,255

130,716

124,595 1,674,974 2,086,708 58,842,696 56,643,558

67,650,686 61,639,857

124,169

201,347 2,508,964 2,217,961 70,283,819 64,059,165


230 | 231

CPN รายงานประจําป 2555

25 รายได จากการลงทุน ËÁÒÂàËμØ

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

à§Ô¹»˜¹¼ÅÃѺ ºÃÔÉѷ‹ÍÂáÅСͧ·Ø¹ÃÇÁ ¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹Í×è¹ ¡Ô¨¡ÒÃÍ×è¹

5 5

120 120

110 110

2,168,319 496,281 120 2,664,720

531,845 467,528 110 999,483

´Í¡àºÕéÂÃѺ ºÃÔÉѷ‹ÍÂáÅСͧ·Ø¹ÃÇÁ ¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹Í×è¹ ¡Ô¨¡ÒÃÍ×è¹

5 5

4,896 72,788 77,684 77,804

4,802 42,935 47,737 47,847

697,282 4,926 36,719 738,927 3,403,647

660,479 4,687 12,892 678,058 1,677,541

ÃÇÁ

26 รายได อื่น §º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554 ¤‹Ò㪌¨‹ÒÂàÃÕ¡à¡çº¨Ò¡ÃŒÒ¹¤ŒÒ ÃÒÂä´Œ¤‹Ò¸ÃÃÁà¹ÕÂÁ¡ÒèѴ¡Òà ¡ÅѺÃÒ¡Òä‹Òà¼×èÍ¡ÒôŒÍ¤‹Ò Í×è¹æ ÃÇÁ

451,980 242,500 231,070 925,550

279,482 262,465 187,015 273,025 1,001,987

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554 89,719 495,845 314,670 900,234

53,576 373,349 91,226 203,302 721,453


27 ค าใช จ ายในการบริหาร §º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554 ¤‹Ò㪌¨‹Ò¡ÒÃμÅÒ´ ¤‹Ò㪌¨‹ÒÂà¡ÕèÂǡѺºØ¤ÅÒ¡Ã ¤‹Ò㪌¨‹ÒºÃÔËÒà ¤‹Ò㪌¨‹ÒÂÍ×è¹ ÃÇÁ

459,141 1,302,236 188,738 790,812 2,740,927

468,884 1,088,251 152,057 700,932 2,410,124

28 ค าใช จ ายผลประโยชน ของพนักงาน

¼ÙŒºÃÔËÒà à§Ô¹à´×͹áÅФ‹Òáç Í×è¹æ ÃÇÁ ¾¹Ñ¡§Ò¹Í×è¹ à§Ô¹à´×͹áÅФ‹Òáç ¨‹ÒÂÊÁ·ºà¢ŒÒ¡Í§·Ø¹ÊíÒÃͧàÅÕ駪վ Í×è¹æ ÃÇÁ ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ä´Œ¨Ñ´μÑ駡ͧ·Ø¹ÊíÒÃͧàÅÕ駪վ ÊíÒËÃѺ¾¹Ñ¡§Ò¹¢Í§¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·º¹¾×é¹°Ò¹ ¤ÇÒÁÊÁѤÃ㨢ͧ¾¹Ñ¡§Ò¹ã¹¡ÒÃ໚¹ÊÁÒªÔ¡ ¢Í§¡Í§·Ø¹ â´Â¾¹Ñ¡§Ò¹¨‹ÒÂà§Ô¹ÊÐÊÁã¹

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554 275,644 1,058,349 135,912 311,210 1,781,115

252,598 849,752 111,486 286,606 1,500,442

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

61,708 35,099 96,807

57,679 20,551 78,230

61,708 35,099 96,807

57,679 20,551 78,230

1,146,339 22,989 463,480 1,632,808

969,441 23,552 350,970 1,343,963

772,458 18,822 317,251 1,108,531

621,838 19,699 232,024 873,561

ÍÑμÃÒÃŒÍÂÅÐ 3 ¶Ö§ ÍÑμÃÒÃŒÍÂÅÐ 10 ¢Í§à§Ô¹à´×͹ ·Ø ¡ à´× Í ¹ áÅкÃÔ ÉÑ · ¨‹ Ò ÂÊÁ·ºã¹ÍÑ μ ÃÒ ÃŒÍÂÅÐ 3 ¶Ö§ ÍÑμÃÒÃŒÍÂÅÐ 10 ¢Í§à§Ô¹à´×͹¢Í§ ¾¹Ñ¡§Ò¹·Ø¡à´×͹ ¡Í§·Ø¹ÊíÒÃͧàÅÕ駪վ¹Õé

ä´Œ ¨ ´·ÐàºÕ  ¹à»š ¹ ¡Í§·Ø ¹ Êí Ò ÃͧàÅÕé  §ªÕ ¾ μÒÁ¢Œ Í ¡í Ò Ë¹´¢Í§¡ÃзÃǧ¡ÒäÅÑ § áÅÐ ¨Ñ´¡Òáͧ·Ø¹â´Â¼ÙŒ¨Ñ ´¡Òáͧ·Ø¹·Õèä´ŒÃѺ ͹ØÞÒμ


232 | 233

CPN รายงานประจําป 2555

29 ค าใช จ ายตามลักษณะ ËÁÒÂàËμØ ¤‹Ò㪌¨‹Ò¼ŻÃÐ⪹ μͺ᷹¾¹Ñ¡§Ò¹ ¤‹ÒàÊ×èÍÁÃÒ¤Ò / ¤‹ÒμÑ´¨íÒ˹‹ÒÂ μŒ¹·Ø¹·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ ¤‹ÒÊÒ¸ÒóٻâÀ¤ ¤‹Òàª‹Ò ¤‹Ò㪌¨‹Ò¡ÒÃμÅÒ´ Í×è¹æ ÃÇÁ

28 30 27

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554 1,729,615 3,259,973 1,057,395 2,759,098 928,505 459,141 3,037,995 13,231,722

1,422,193 2,876,772 874,266 2,209,200 872,717 468,884 2,343,804 11,067,836

30 ต นทุนทางการเงิน ËÁÒÂàËμØ ´Í¡àºÕ騋Ҡ- ºÃÔÉѷ‹ÍÂáÅкؤ¤Å·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ - ʶҺѹ¡ÒÃà§Ô¹áÅмٌŧ·Ø¹Ê¶ÒºÑ¹ ¤‹Ò¸ÃÃÁà¹ÕÂÁ - ʶҺѹ¡ÒÃà§Ô¹áÅмٌŧ·Ø¹Ê¶ÒºÑ¹ ÃÇÁ¤‹Ò㪌¨‹Ò·ҧ¡ÒÃà§Ô¹ μŒ¹·Ø¹·Ò§¡ÒÃà§Ô¹·ÕèºÑ¹·Ö¡à»š¹ ÃҤҷع¢Í§ÊÔ¹·ÃѾ ÊØ·¸Ô

5

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554 1,205,338 904,202 1,136,981 1,480,441 818,187 275,644 941,002 6,761,795

951,791 574,574 905,660 960,375 577,014 252,598 692,148 4,914,160

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

1,137,832

960,469

248,425 886,248

162,003 729,653

87,024 1,224,856

22,028 982,497

80,606 1,215,279

14,004 905,660

(167,461) 1,057,395

(108,231) 874,266

(78,298) 1,136,981

905,660

¤‹Ò㪌¨Ò‹ ·ҧ¡ÒÃà§Ô¹ÊíÒËÃѺ»‚ 2555 áÅÐ 2554 ºÑ¹·Ö¡à»š¹μŒ¹·Ø¹¢Í§â¤Ã§¡ÒÃÃÐËÇ‹Ò§¡ÒþѲ¹Òã¹ÍÑμÃÒÃŒÍÂÅÐ 3-6 «Ö§è ໚¹ÍÑμÃÒ´Í¡àºÕÂé ¶ÑÇà©ÅÕÂè ¶‹Ç§¹éíÒ˹ѡ¢Í§à§Ô¹¡ÙŒÂ×Á·Ñé§ÊÔé¹·Õè¡ÙŒÂ×ÁÁÒà¾×èÍÇÑμ¶Ø»ÃÐʧ¤ ·ÑèÇä»


31 ภาษีเงินได ภาษีเงินได ที่รับรู ในกําไรหรือขาดทุน ËÁÒÂàËμØ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œã¹»˜¨¨ØºÑ¹ ÊíÒËÃѺ»‚»˜¨¨ØºÑ¹ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÍ¡ÒÃμÑ´ºÑÞªÕ ¡ÒÃà»ÅÕè¹á»Å§¢Í§¼Åμ‹Ò§ªÑèǤÃÒÇ ¼Å¡Ãзº¨Ò¡¡ÒÃà»ÅÕè¹ÍÑμÃÒÀÒÉÕ 17 ÃÇÁ

(¾Ñ¹ºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554 1,107,296 1,107,296

857,509 857,509

422,681 422,681

246,379 246,379

(465,658) (465,658) 641,638

(456,704) (46,326) (503,030) 354,479

(178,698) (178,698) 243,983

(213,507) (102,129) (315,636) (69,257)

การกระทบยอดเพื่อหาอัตราภาษีที่แท จริง §º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 ÍÑμÃÒÀÒÉÕ (ÃŒÍÂÅÐ) ¡íÒäÃÊíÒËÃѺ»‚ ¤‹Ò㪌¨‹ÒÂÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÇÁ ¡íÒäá‹Í¹ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÇÁ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒμÒÁÍÑμÃÒÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œ ¡ÒÃÅ´ÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œ- ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÍ¡ÒÃμÑ´ºÑÞªÕ ÃÒÂä´Œ¨Ò¡¡Ô¨¡ÒÃã¹»ÃÐà·È·ÕèäÁ‹μŒÍ§àÊÕÂÀÒÉÕ ¤‹Ò㪌¨‹ÒÂμŒÍ§ËŒÒÁ·Ò§ÀÒÉÕ ¡ÒÃ㪌¢Ò´·Ø¹·Ò§ÀÒÉÕ ÃÇÁ

23

9

2554 (¾Ñ¹ºÒ·)

6,251,851 641,638 6,893,489 1,585,502 (761,550) 5,971 (188,285) 641,638

ÍÑμÃÒÀÒÉÕ (ÃŒÍÂÅÐ)

30

15

(¾Ñ¹ºÒ·) 2,075,799 354,479 2,430,278 729,083 (46,326) (375,154) 932 45,944 354,479


234 | 235

CPN รายงานประจําป 2555

§º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 ÍÑμÃÒÀÒÉÕ (ÃŒÍÂÅÐ) ¡íÒäÃÊíÒËÃѺ»‚ ¤‹Ò㪌¨‹ÒÂÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÇÁ ¡íÒäá‹Í¹ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÇÁ ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒμÒÁÍÑμÃÒÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œ ¡ÒÃÅ´ÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œ- ÀÒÉÕà§Ô¹ä´ŒÃÍ¡ÒÃμÑ´ºÑÞªÕ ÃÒÂä´Œ¨Ò¡¡Ô¨¡ÒÃã¹»ÃÐà·È·ÕèäÁ‹μŒÍ§àÊÕÂÀÒÉÕ ¤‹Ò㪌¨‹ÒÂμŒÍ§ËŒÒÁ·Ò§ÀÒÉÕ ÃÇÁ

การลดอัตราภาษีเงินได นิติบุคคล ¾ÃÐÃÒª¡ÄÉ®Õ ¡ ÒμÒÁ¤ÇÒÁã¹»ÃÐÁÇÅ ÃÑ É ®Ò¡ÃÇ‹ Ò ´Œ Ç Â¡ÒÃÅ´ÍÑ μ ÃÒáÅСàÇŒ ¹ ÃÑɮҡà ©ºÑº·Õè 530 ¾.È. 2554 ŧÇѹ·Õè 21 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 ãˌŴÍÑμÃÒÀÒÉÕà§Ô¹ä´Œ ¹Ô μÔ ºØ ¤ ¤ÅÊí Ò ËÃÑ º ¡í ÒäÃÊØ · ¸Ô à »š ¹ ÃÐÂÐàÇÅÒ ÊÒÁÃͺÃÐÂÐàÇÅÒºÑÞªÕ䴌ᡋ»‚ 2555 2556

23

7

2554 (¾Ñ¹ºÒ·)

3,486,016 243,983 3,729,999 857,900 (618,006) 4,089 243,983

áÅÐ 2557 ¨Ò¡ÍÑμÃÒÃŒÍÂÅÐ 30 àËÅ×ÍÍÑμÃÒ ÃŒÍÂÅÐ 23 ÊíÒËÃѺÃͺÃÐÂÐàÇÅÒºÑÞªÕ 2555 ·ÕèàÃÔèÁã¹ËÃ×ÍËÅѧÇѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2555 áÅÐ ÃŒÍÂÅÐ 20 ¢Í§¡íÒäÃÊØ·¸ÔÊíÒËÃѺÊͧÃͺ ÃÐÂÐàÇÅÒºÑÞªÕ¶´Ñ ÁÒ (2556 áÅÐ 2557) ·Õàè ÃÔÁè ã¹ËÃ×ÍËÅѧÇѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2556 áÅÐ 2557 μÒÁÅíҴѺ

ÍÑμÃÒÀÒÉÕ (ÃŒÍÂÅÐ)

30

-

(¾Ñ¹ºÒ·) 1,283,735 (69,257) 1,214,478 364,343 (102,129) (332,730) 1,259 (69,257)

·Ñ§é ¹Õàé »š¹·Õàè ª×Íè ä´ŒÇÒ‹ ÃÑ°ºÒŨдíÒà¹Ô¹¡ÒÃá¡Œä¢ ¡®ËÁÒÂà¾×Íè ãËŒÍμÑ ÃÒÀÒÉÕäÁ‹Ê§Ù 仡NjÒÃŒÍÂÅÐ 20 ÊíÒËÃѺÃͺÃÐÂÐàÇÅÒºÑÞªÕ·ÕèàÃÔèÁã¹ËÃ×Í ËÅѧÇѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2558 ໚¹μŒ¹ä» ·Ñ駹Õé à¾×èÍãˌ໚¹ä»μÒÁÁμÔ¤³ÐÃÑ°Á¹μÃÕàÁ×èÍÇѹ·Õè 11 μØÅÒ¤Á 2554 㹡ÒÃà¾ÔÁè ¢Õ´¤ÇÒÁÊÒÁÒö 㹡ÒÃᢋ§¢Ñ¹¢Í§»ÃÐà·È

32 กําไรต อหุ นขั้นพื้นฐาน ¡íÒäÃμ‹ÍËØŒ¹¢Ñé¹¾×é¹°Ò¹ÊíÒËÃѺáμ‹Åл‚ÊÔé¹ÊØ´Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 áÅÐ 2554 ¤íҹdz¨Ò¡¡íÒäÃÊíÒËÃѺ»‚·Õè໚¹Ê‹Ç¹¢Í§¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ÊÒÁÑޢͧ ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·/ºÃÔÉÑ· áÅШíҹǹËØŒ¹ÊÒÁÑÞ·ÕèÍÍ¡¨íÒ˹‹ÒÂáÅŒÇÃÐËÇ‹Ò§»‚â´ÂáÊ´§¡Òäíҹdz´Ñ§¹Õé (¾Ñ¹ºÒ·/¾Ñ¹ËØŒ¹) §º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554 2555 2554 ¡íÒä÷Õè໚¹Ê‹Ç¹¢Í§¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹¢Í§ºÃÔÉÑ· (¢Ñé¹¾×é¹°Ò¹) ¨íҹǹËØŒ¹ÊÒÁÑÞ·ÕèÍÍ¡¨íÒ˹‹ÒÂáÅŒÇ ¡íÒäÃμ‹ÍËØŒ¹¢Ñé¹¾×é¹°Ò¹ (ºÒ·)

6,188,698 2,178,816 2.84

2,058,123 2,178,816 0.94

3,486,017 2,178,816 1.60

1,283,735 2,178,816 0.59


33 เงินป นผล 㹡ÒûÃÐªØ Á ÊÒÁÑ Þ »ÃШí Ò »‚ ¼ÙŒ ¶× Í ËØŒ ¹ ¢Í§ ºÃÔÉÑ·àÁ×èÍÇѹ·Õè 27 àÁÉÒ¹ 2555 ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ ÁÕÁμÔ͹ØÁμÑ ¡Ô ÒèѴÊÃáíÒäÃ໚¹à§Ô¹»˜¹¼Å¨Ò¡ ¼Å¡ÒôíÒà¹Ô¹§Ò¹»‚ 2554 ¨íҹǹ 0.37 ºÒ· μ‹ÍËØŒ¹ ÃÇÁ໚¹à§Ô¹·Ñé§ÊÔé¹ 806.2 ŌҹºÒ· à§Ô ¹ »˜ ¹ ¼Å´Ñ § ¡Å‹ Ò Çä´Œ ¨‹ Ò ÂãËŒ á ¡‹ ¼ÙŒ ¶× Í ËØŒ ¹ã¹ à´×͹¾ÄÉÀÒ¤Á 2555 㹡ÒûÃÐªØ Á ÊÒÁÑ Þ »ÃШí Ò »‚ ¼ÙŒ ¶× Í ËØŒ ¹ ¢Í§ ºÃÔÉÑ·àÁ×èÍÇѹ·Õè 29 àÁÉÒ¹ 2554 ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ ÁÕÁμÔ͹ØÁμÑ ¡Ô ÒèѴÊÃáíÒäÃ໚¹à§Ô¹»˜¹¼Å¨Ò¡ ¼Å¡ÒôíÒà¹Ô¹§Ò¹»‚ 2553 ¨íҹǹ 0.25 ºÒ· μ‹ÍËØŒ¹ ÃÇÁ໚¹à§Ô¹·Ñé§ÊÔé¹ 544.7 ŌҹºÒ· à§Ô ¹ »˜ ¹ ¼Å´Ñ § ¡Å‹ Ò Çä´Œ ¨‹ Ò ÂãËŒ á ¡‹ ¼ÙŒ ¶× Í ËØŒ ¹ã¹ à´×͹¾ÄÉÀÒ¤Á 2554

34 ผลกระทบจากเหตุการณ เพลิงไหม จากการชุมนุมทางการเมือง ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ä´Œ·Òí ÊÑÞÞÒઋÒÃÐÂÐÂÒÇ·Õ´è ¹Ô áÅÐ ÊÔ觻ÅÙ¡ÊÌҧâ¤Ã§¡ÒÃà«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ ã¹¹ÒÁ ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ¸ØáԨä·Â 4 ¨Ò¡Êíҹѡ§Ò¹·ÃÑ¾Â Ê¹Ô Ê‹Ç¹¾ÃÐÁËÒ¡ÉÑμÃÔ «Ö觻ÃСͺ´ŒÇ >> Èٹ ¡ÒäŒÒà«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ >> ÍÒ¤ÒÃÊíҹѡ§Ò¹à«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ >> ˌҧÊÃþÊÔ¹¤ŒÒà«ç¹ «Öè§à»š¹¼ÙŒàª‹Ò¾×é¹·Õè ÃÐÂÐÂÒǢͧºÃÔÉÑ· (à«Œ§) >> ˌҧÊÃþÊÔ¹¤ŒÒÍÔà«μѹ «Öè§à»š¹¼ÙŒàª‹Ò¾×é¹·Õè ÃÐÂÐÂÒǢͧºÃÔÉÑ· (à«Œ§) >> ·Õè´Ô¹ºÒ§Ê‹Ç¹·ÕèºÃÔÉÑ·ãˌઋҪ‹Ç§¡Ñº¡ÅØ‹Á ºÃÔÉÑ· âçáÃÁà«ç¹·ÃÑžÅÒ«Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) 㹡Òá‹ÍÊÌҧáÅлÃСͺ ¸Ø à ¡Ô ¨âçáÃÁà«ç ¹ ·ÒÃÒá¡Ã¹´ áÍ· à«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´

àËμØà¾ÅÔ§äËÁŒ·âÕè ¤Ã§¡ÒÃà«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ àÁ×Íè Çѹ·Õè 19 ¾ÄÉÀÒ¤Á 2553 Ê‹§¼ÅãËŒ·ÃѾ ÊÔ¹áÅÐ ¾×¹é ·Õºè ҧʋǹ¢Í§ÍÒ¤Òôѧμ‹Í仹Õãé ¹â¤Ã§¡Òà à«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ ä´ŒÃѺ¤ÇÒÁàÊÕÂËÒ >> ˌҧÊÃþÊÔ¹¤ŒÒà«ç¹ (ºÒ§Ê‹Ç¹à»š¹·ÃÑ¾Â Ê¹Ô ¢Í§¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ÀÒÂãμŒÊÞ Ñ ÞÒઋÒÃÐÂÐÂÒÇ ãˌᡋˌҧÊÃþÊÔ¹¤ŒÒà«ç¹) >> Èٹ ¡ÒäŒÒà«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ àËμØ¡Òó ´Ñ§¡Å‹ÒÇ·íÒãËŒ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·μŒÍ§» ´ Èٹ ¡ÒäŒÒà«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ áÅÐˌҧÊÃþÊÔ¹¤ŒÒ à«ç¹μÑé§áμ‹à´×͹àÁÉÒ¹ 2553 â´ÂàÁ×èÍÇѹ·Õè 28 ¡Ñ¹ÂÒ¹ 2553 ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ä´Œà» ´ãËŒºÃÔ¡Òà Èٹ ¡ÒäŒÒà«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ ºÒ§Ê‹Ç¹ ʋǹ¾×é¹·Õè ·ÕèÂѧ¤§àÊÕÂËÒÂÍѹ»ÃСͺ´ŒÇ¾×é¹·Õèã¹Ê‹Ç¹ ¢Í§ËŒÒ§ÊÃþÊÔ¹¤ŒÒà«ç¹áÅÐ¾×¹é ·ÕÈè ¹Ù Â ¡ÒäŒÒ ºÒ§Ê‹Ç¹Âѧ¤§» ´´íÒà¹Ô¹¡ÒÃáÅÐÍÂÙ‹ÃÐËÇ‹Ò§ ¡ÒÃÃ×éͶ͹áÅЫ‹ÍÁá«Á ·Ñ駹Õé¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ· äÁ‹ä´ŒàÃÕ¡à¡çº¤‹ÒઋҨҡ¼ÙàŒ ª‹Ò㹪‹Ç§àÇÅÒ·Õ»è ´ ·íÒ¡Òôѧ¡Å‹ÒÇ ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ä´ŒºÑ¹·Ö¡¼Å¢Ò´·Ø¹¨Ò¡¡ÒÃμÑ´ ¨í Ò Ë¹‹ Ò ÂÊÔ ¹ ·ÃÑ ¾  ·Õè à ÊÕ Â ËÒÂ㹧º¡ÒÃà§Ô ¹ ÃÇÁÊíÒËÃѺ»‚ÊÔé¹ÊØ´Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2553 μÒÁÁÙŤ‹ÒÊØ·¸Ô·Ò§ºÑÞªÕ·§Ñé ÊÔ¹é 775 ŌҹºÒ· â´Â¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ä´Œ·Òí ¡ÃÁ¸ÃÃÁ »ÃСѹÀÑÂμ‹Ò§æ »ÃСͺ´ŒÇ (1) ¡ÃÁ¸ÃÃÁ ¤ØŒÁ¤Ãͧ¤ÇÒÁ àÊÕè§ÀÑ·ءª¹Ô´ (Industrial All Risks) ǧà§Ô¹ 13,224 ŌҹºÒ· (2) ¡ÃÁ¸ÃÃÁ »ÃСѹ ÀѸØáԨËÂØ´ªÐ§Ñ¡ (Business Interruption) ǧà§Ô¹ 6,147 ŌҹºÒ· áÅÐ (3) ¡ÃÁ¸ÃÃÁ »ÃСѹÀÑ¡‹Í¡ÒÃÌҠ(Terrorism) ǧà§Ô¹ 3,500 ŌҹºÒ· «Ö觼ٌºÃÔËÒÃä´ŒÂ×è¹àÃÕ¡Ìͧ ¤‹ Ò ÊÔ ¹äËÁ·´á·¹μÒÁ¡ÃÁ¸ÃÃÁ ´Ñ § ¡Å‹ Ò Ç ä»Âѧ¼ÙŒÃѺ»ÃСѹÀÑ·ء¡ÃÁ¸ÃÃÁ áÅŒÇ

àÁ×èÍÇѹ·Õè 16 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ä´Œ Â×蹿‡Í§ºÃÔÉÑ·»ÃСѹÀÑÂà¡ÕèÂǡѺàËμØ¡Òó ä¿äËÁŒ Í Ò¤ÒÃÈÙ ¹  ¡ ÒäŒ Ò à«ç ¹ ·ÃÑ Å àÇÔ Å ´ ãËŒÃºÑ ¼Ô´¨‹Ò¤‹ÒÊÔ¹äËÁ·´á·¹μÒÁ¡ÃÁ¸ÃÃÁ »ÃСѹÀѤÇÒÁàÊÕÂè §ÀÑ·ءª¹Ô´ (Industrial All Risks) ¨íҹǹ 2,848.4 ŌҹºÒ·ãˌᡋ ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ áÅÐ/ËÃ×ÍÊíҹѡ§Ò¹·ÃÑ¾Â Ê¹Ô Ê‹Ç¹ ¾ÃÐÁËÒ¡ÉÑμÃÔ áÅÐμÒÁ¡ÃÁ¸ÃÃÁ »ÃСѹÀÑ ¸ØáԨËÂØ´ªÐ§Ñ¡ (Business Interruption) ¨íҹǹ 989.8 ŌҹºÒ· ãˌᡋ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ· ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 ¤´Õ¤ÇÒÁ´Ñ§¡Å‹ÒÇ ÍÂÙË ÐËÇ‹Ò§¡ÒþԨÒóҢͧÈÒÅᾋ§ â´Â½†Ò ºÃÔËÒÃàª×èÍÇ‹Òã¹·ÕèÊØ´¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·¨ÐÊÒÁÒö àÃÕ¡¤‹ÒÊÔ¹äËÁ·´á·¹¤ÇÒÁàÊÕÂËÒÂä´Œ·Ñé§ ¨íҹǹ Í‹ҧäáçμÒÁ ºÃÔÉÑ·ÂѧäÁ‹ä´ŒÃѺÃÙŒ ¤‹ÒÊÔ¹äËÁ·´á·¹·ÕèÍÂÙ‹ÃÐËÇ‹Ò§¡ÒþԨÒÃ³Ò ¢Í§ÈÒÅ

35 การให เช า/เช าช วงอสังหาริมทรัพย ·Õè»ÃЪØÁ¤³Ð¡ÃÃÁ¡ÒúÃÔÉÑ·¤ÃÑ駷Õè 2/2555 àÁ×èÍÇѹ·Õè 24 ¡ØÁÀҾѹ¸ 2555 ÁÕÁμÔ͹ØÁÑμÔ ã¹ËÅÑ¡¡ÒÃà¡ÕèÂǡѺ¡ÒÃઋҪ‹Ç§ÊÔ·¸Ô¡ÒÃàª‹Ò ã¹ÍÒ¤ÒÃÊíҹѡ§Ò¹ ´Ô ÍÍ¿¿ ÈàÈÊ áÍ· à«ç ¹ ·ÃÑ Å àÇÔ Å ´ á ¡‹ ¡ ͧ·Ø ¹ ÃÇÁÊÔ · ¸Ô ¡ ÒÃઋ Ò ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ (“¡Í§·Ø¹ÃÇÁ”) ฀ μ‹ÍÁÒàÁ×Íè Çѹ·Õè 14 ¡Ñ¹ÂÒ¹ 2555 ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ ¸ØáԨä·Â 4 (ºÃÔÉѷ‹ÍÂ) ãˌઋҪ‹Ç§ÍÒ¤Òà Êíҹѡ§Ò¹áÅÐ·Õ´è ¹Ô (ʋǹ·Õ1è ) ¢Í§Êíҹѡ§Ò¹ ´Ô ÍÍ¿¿ ÈàÈÊ áÍ· à«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ ࢌҡͧ·Ø¹ ÃÇÁÀÒÂãμŒ ª×è Í “¡Í§·Ø ¹ ÃÇÁÊÔ · ¸Ô ¡ ÒÃઋ Ò ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ CPN ¤ÍÁàÁÍà àªÕÂÅ â¡Ã· (“CPNCG”) â´Â¡ÒÃãˌઋÒÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ ´Ñ§¡Å‹ÒÇ໚¹ÃÐÂÐàÇÅÒ 20 »‚ ÃÇÁÁÙŤ‹Ò


236 | 237

CPN รายงานประจําป 2555

4,365.5 ŌҹºÒ· (ÁÙŤ‹Ò´Ñ§¡Å‹ÒÇäÁ‹ÃÇÁ¤‹Ò 㪌¨‹ÒÂ㹡ÒÃÍÍ¡áÅÐàʹ͢ÒÂ˹‹ÇÂŧ·Ø¹ à¾ÔÁè àμÔÁ»ÃÐÁÒ³ 70.9 ŌҹºÒ· «Ö§è ÃѺ¼Ô´ªÍº â´ÂºÃÔÉÑ· à«ç¹·ÃÑžѲ¹Ò ¨íÒ¡Ñ´ (ÁËÒª¹) â´Â¡Í§·Ø ¹ ÃÇÁ¸Ø à ¡Ô ¨ä·Â 4 áÅкÃÔ ÉÑ · ËÅÑ ¡ ·ÃÑ ¾  ¨Ñ ´ ¡Òáͧ·Ø ¹ ä·Â¾Ò³Ô ª  ¨íÒ¡Ñ´ (¼ÙŒ¨Ñ´¡Òáͧ·Ø¹) ä´Œ´íÒà¹Ô¹¡ÒÃà¢ŒÒ ¨´·ÐàºÕ  ¹ÊÔ · ¸Ô ¡ ÒÃઋ Ò ·ÃÑ ¾  ÊÔ ¹ ã¹ÇÑ ¹ ´Ñ§¡Å‹ÒÇáÅŒÇ â´ÂÁÕÃÒÂÅÐàÍÕ´¢Í§ÊÔ¹·ÃѾ ´Ñ§¹Õé >> ·Õè´Ô¹«Öè§à»š¹·ÕèμÑ駢ͧÍÒ¤ÒÃÊíҹѡ§Ò¹ >> ÍÒ¤ÒÃÊíҹѡ§Ò¹ºÒ§Ê‹Ç¹ «Ö§è »ÃСͺ´ŒÇ ¾×¹é ·ÕÀè ÒÂã¹ÍÒ¤Òà ¡àÇŒ¹¾×¹é ·Õãè ˌઋҪѹé ãμŒ´¹Ô B1-B3 ¾×é¹·ÕèºÒ§Ê‹Ç¹¢Í§ªÑé¹ G ªÑé¹ 3 áÅÐ ªÑé¹ 6 ¾×é¹·Õè¢Í§ªÑé¹ 7 ªÑé¹ 25 áÅЪÑé¹ 44 >> §Ò¹ÃкºÊÒ¸ÒóٻâÀ¤¾ÃŒÍÁ·Ñ§é ʋǹ¤Çº áÅÐÍØ»¡Ã³ ·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§ >> ÊÔ·¸Ô㹡ÒÃ㪌ºÃÔ¡Òþ×é¹·Õè¨Í´Ã¶¨íҹǹ 1,218 ¤Ñ¹ μ‹ÍÁÒÇѹ·Õè 21 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 ¡Í§·Ø¹ÃÇÁ ¸ØáԨä·Â 4 (ºÃÔÉѷ‹ÍÂ) ãˌઋҪ‹Ç§¾×é¹·Õèã¹ ÍÒ¤ÒÃÊíҹѡ§Ò¹ (ʋǹ·Õè2) ¢Í§Êíҹѡ§Ò¹ ´Ô ÍÍ¿¿ ÈàÈÊ áÍ· à«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ á¡‹ CPNCG â´Â¡ÒÃãˌઋÒÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ ´Ñ§¡Å‹ÒÇ໚¹ ÃÐÂÐàÇÅÒ 20 »‚ ÃÇÁÁÙŤ‹Ò 366.0 ŌҹºÒ· â´Â¡Í§·Ø ¹ ÃÇÁ¸Ø à ¡Ô ¨ä·Â 4 áÅкÃÔ ÉÑ · ËÅÑ¡·ÃѾ ¨Ñ´¡Òáͧ·Ø¹ä·Â¾Ò³ÔªÂ ¨íÒ¡Ñ´ (¼Ù¨Œ ´Ñ ¡Òáͧ·Ø¹) ä´Œ´Òí à¹Ô¹¡ÒÃࢌҨ´·ÐàºÕ¹ ÊÔ · ¸Ô ¡ ÒÃઋ Ò ·ÃÑ ¾  ÊÔ ¹ã¹ÇÑ ¹ ´Ñ § ¡Å‹ Ò ÇáÅŒ Ç â´ÂÁÕÃÒÂÅÐàÍÕ´¢Í§ÊÔ¹·ÃѾ ´Ñ§¹Õé >> ¾×¹é ·Õºè ҧʋǹ¢Í§ªÑ¹é 6 (ʋǹ·Õ¡è ͧ·Ø¹ÃÇÁ äÁ‹ä´Œà¢ŒÒŧ·Ø¹ã¹¡ÒÃŧ·Ø¹Ê‹Ç¹·Õè 1) ¾×é¹·Õè ¢Í§ªÑé¹ 7 ªÑé¹ 25 áÅЪÑé¹ 44 «Öè§à»š¹¾×é¹·Õè Êíҹѡ§Ò¹ãˌઋÒ

>> ÊÔ·¸Ô㹡ÒÃ㪌ºÃÔ¡Òþ×é¹·Õè¨Í´Ã¶¨íҹǹ 53 ¤Ñ¹ â´ÂÊÑÞÞÒઋҪ‹Ç§´Ñ§¡Å‹ÒÇ໚¹ÊÑÞÞÒàª‹Ò ¡ÒÃà§Ô¹ ´Ñ§¹Ñ鹡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ºÑ¹·Ö¡¡íÒäèҡ ¡ÒÃãˌઋÒÀÒÂãμŒÊÞ Ñ ÞÒઋҡÒÃà§Ô¹ ÊíÒËÃѺ»‚ ¨íҹǹ 1,775.8 ŌҹºÒ· 㹧º¡íÒäâҴ·Ø¹ àºç´àÊÃç¨ÃÇÁ ·Ñé § ¹Õé ÀÒÂãμŒ ÊÑ Þ ÞÒ¡‹ Í μÑé § ÊÔ · ¸Ô á ÅСÒà ¡Ãзí Ò ¡ÒÃà¾×è Íâ¤Ã§¡ÒÃÍÒ¤ÒÃÊí Ò ¹Ñ ¡ §Ò¹ ´Ô ÍÍ¿¿ ÈàÈÊ áÍ· à«ç¹·ÃÑÅàÇÔÅ´ ÃÐËÇ‹Ò§ ºÃÔÉ·Ñ ¡Ñº CPNCG ºÃÔÉ·Ñ ã¹°Ò¹Ð¼Ù¤Œ Òéí »ÃСѹ ÊÔ · ¸Ô ¡ ÒÃઋ Ò μ‹ Í Êí Ò ¹Ñ ¡ §Ò¹·ÃÑ ¾  ÊÔ ¹ Ê‹ Ç ¹ ¾ÃÐÁËÒ¡ÉÑ μ ÃÔ Â μŒ Í §»¯Ô ºÑ μÔ μ ÒÁà§×è Í ¹ä¢ ºÒ§»ÃСÒÃà¡ÕèÂǡѺ¡ÒÃÃÑ¡ÉÒÍѹ´Ñº¤ÇÒÁ ¹‹ Ò àª×è Í ¶× Í ¨Ò¡Ê¶ÒºÑ ¹ ¨Ñ ´ ÍÑ ¹ ´Ñ º ¤ÇÒÁ ¹‹Òàª×èͶ×Í ¡ÒÃÃÑ¡ÉÒÁÙŤ‹ÒËÅÑ¡·ÃѾ μÒÁ ÃÒ¤ÒμÅÒ´¢Í§ºÃÔÉ·Ñ ¡ÒÃÃÑ¡ÉÒÍÑμÃÒʋǹ·Ò§ ¡ÒÃà§Ô¹ ¡ÒôíÒçÊѴʋǹ¡Òö×Í˹‹ÇÂŧ·Ø¹ ¢Í§ºÃÔÉÑ ·ÀÒÂã¹ÃÐÂÐàÇÅÒ·Õè¡íÒ˹´áÅÐ à§×è͹ä¢Í×è¹ ÃÇÁ¶Ö§¡ÒôíÒà¹Ô¹¡ÒÃ㹡óշÕè äÁ‹à»š¹ä»μÒÁà§×èÍ¹ä¢ «Öè§à»š¹ä»μÒÁ·ÕèÃÐºØ äÇŒã¹ÊÑÞÞÒ

36 เครื่องมือทางการเงิน

การบริหารจัดการส วนทุน ¹âºÒ¢ͧ¤³Ð¡ÃÃÁ¡Òä×Í¡ÒôíÒç°Ò¹ à§Ô ¹ ·Ø ¹ ·Õè á ¢ç § á¡Ã‹ § à¾×è Í ÃÑ ¡ ÉÒ¤ÇÒÁàª×è Í ÁÑè ¹ ¢Í§¼ÙŒÅ§·Ø¹ ਌Ò˹Õé áÅÐμÅÒ´ áÅÐà¾×èÍ¡Òà ´íÒà¹Ô¹§Ò¹·Ò§¸ØáԨÍ‹ҧμ‹Íà¹×Íè §ã¹Í¹Ò¤μ ¤³Ð¡ÃÃÁ¡ÒÃཇÒμÔ´μÒÁ¼Åμͺ᷹¨Ò¡ à§Ô ¹ ŧ·Ø ¹ «Öè § ¡ÅØ‹ Á ºÃÔ ÉÑ · ¡í Ò Ë¹´Ç‹ Ò à»š ¹ ¼Å ¢Í§¡Ô¨¡ÃÃÁ¡ÒôíÒà¹Ô¹§Ò¹ËÒôŒÇÂʋǹ¢Í§ ¼ÙŒ ¶× Í ËØŒ ¹ ·Ñé § ËÁ´â´ÂäÁ‹ à ÇÁÊ‹ Ç ¹·Õè à »š ¹ ¢Í§ ¼Ù¶Œ Í× ËعŒ ʋǹ¹ŒÍÂáÅÐÃдѺ¡Òè‹ÒÂà§Ô¹»˜¹¼Å ãˌᡋ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ÊÒÁÑÞ ¡ÒúÃÔËÒäÇÒÁàÊÕè§ : ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ÁÕáËÅ‹§ à§Ô¹·Ø¹ÊíÒ¤Ñިҡʋǹ¢Í§¼Ù¶Œ Í× ËعŒ áÅÐ˹ÕÊé ¹Ô ÃÐÂÐÂÒÇ μÅÍ´¨¹¡ÒèѴËÒà§Ô¹·Ø¹¼‹Ò¹ μÅÒ´à§Ô¹áÅÐμÅÒ´·Ø¹ÀÒÂã¹»ÃÐà·È·Ñ§é ¡Òà ÍÍ¡ËØŒ¹¡ÙŒáÅСÒÃâ͹ÊÔ¹·ÃѾ ࢌҡͧ·Ø¹ ÍÊѧËÒÃÔÁ·ÃѾ ÀÒÂãμŒ¹âºÒ´ŒÒ¹â¤Ã§ÊÌҧ à§Ô¹·Ø¹·ÕèÃÐÁÑ´ÃÐÇѧ ¤×Í ¡ÒôíÒçÍÑμÃÒʋǹ ˹Õé ÊÔ ¹ ·Õè ÁÕ À ÒÃд͡àºÕé  ÊØ · ¸Ô μ‹ Í Ê‹ Ç ¹¢Í§ ¼Ù¶Œ Í× ËعŒ ã¹ÃдѺ»ÃÐÁÒ³ 1 à·‹Ò ¨Ñ´ËÒà§Ô¹·Ø¹ ·ÕÁè μÕ ¹Œ ·Ø¹à§Ô¹·Ø¹·Õàè ËÁÒÐÊÁáÅÐÊÍ´¤ÅŒÍ§¡Ñº ÊÀÒÇÐμÅÒ´ áÅÐÁÕ¡ÒÃÃÑ¡ÉÒÊѴʋǹà§Ô¹¡ÙÂŒ Á× ·Õè ÁÕÍμÑ ÃÒ´Í¡àºÕÂé ¤§·Õãè ˌʧ٠¡Ç‹Òà§Ô¹¡ÙÂŒ Á× ·ÕÁè ÍÕ μÑ ÃÒ ´Í¡àºÕéÂÅÍÂμÑÇ à¾×èÍ»‡Í§¡Ñ¹¤ÇÒÁàÊÕ觨ҡ ¤ÇÒÁ¼Ñ¹¼Ç¹¢Í§ÍÑμÃÒ´Í¡àºÕéÂÍÕ¡·Ò§Ë¹Öè§

นโยบายการจัดการความเสีย่ งทางด านการเงิน ¤ÇÒÁàÊÕ觷ҧ¡ÒÃà§Ô¹·ÕèÊíÒ¤ÑÞÊíÒËÃѺ¡ÅØ‹Á ºÃÔÉѷ䴌ᡋ ¤ÇÒÁàÊÕ觨ҡÍÑμÃÒ´Í¡àºÕé ¤ÇÒÁàÊÕè  §¨Ò¡à§Ô ¹ μÃÒμ‹ Ò §»ÃÐà·ÈáÅÐ ¤ÇÒÁàÊÕè  §¨Ò¡ÊÔ ¹ àª×è Íâ´Â¡ÅØ‹ Á ºÃÔ ÉÑ · ä´Œ ¡ÙŒÂ×Áà§Ô¹à¾×èÍ㪌㹡ÒôíÒà¹Ô¹§Ò¹«Öè§μŒÍ§¨‹Ò ÍÑμÃÒ´Í¡àºÕé·Ñé§áºº¤§·ÕèáÅÐẺÅÍÂμÑÇ ¤ÇÒÁàÊÕ觨ҡÊÔ¹àª×èÍà¡Ô´¨Ò¡¤ÇÒÁÊÒÁÒö 㹡ÒÃàÃÕ¡à¡çº¤‹ÒઋÒ

ความเสี่ยงด านอัตราดอกเบี้ย ¤ÇÒÁàÊÕè  §´Œ Ò ¹ÍÑ μ ÃÒ´Í¡àºÕé  ËÁÒ妅 § ¤ÇÒÁàÊÕÂè §·Õàè ¡Ô´¨Ò¡¡ÒÃà»ÅÕÂè ¹á»Å§·Õ¨è Ðà¡Ô´ ã¹Í¹Ò¤μ¢Í§ÍÑμÃÒ´Í¡àºÕéÂã¹μÅÒ´ «Öè§Ê‹§ ¼Å¡Ãзºμ‹Í¡ÒôíÒà¹Ô¹§Ò¹áÅСÃÐáÊà§Ô¹Ê´ ¢Í§¡ÅØ‹ Á ºÃÔ ÉÑ · à¹×è Í §¨Ò¡´Í¡àºÕé  ¢Í§ ËÅÑ ¡ ·ÃÑ ¾  ·Õè à »š ¹ μÃÒÊÒÃ˹Õé á ÅÐà§Ô ¹ ¡ÙŒ Â× Á ʋǹãËÞ‹ÁÍÕ μÑ ÃÒ¤§·Õè ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ÁÕ¤ÇÒÁàÊÕÂè §


´ŒÒ¹ÍÑμÃÒ´Í¡àºÕé·Õèà¡Ô´¨Ò¡à§Ô¹¡ÙŒÂ×Á ¡ÅØ‹Á ºÃÔ ÉÑ ·ä´Œ Å ´¤ÇÒÁàÊÕè  §´Ñ § ¡Å‹ Ò Çâ´Â·í ÒãËŒ ṋã¨Ç‹Ò´Í¡àºÕé·Õèà¡Ô´¨Ò¡ËÅÑ¡·ÃѾ ·Õè໚¹ μÃÒÊÒÃ˹Õáé ÅÐà§Ô¹¡ÙÂŒ Á× Ê‹Ç¹ãËÞ‹ÁÍÕ μÑ ÃÒ¤§·Õè à¾×Íè 㪌㹡ÒèѴ¡ÒäÇÒÁàÊÕÂè §·Õàè ¡Ô´¨Ò¡¤ÇÒÁ ¼Ñ¹¼Ç¹¢Í§ÍÑμÃÒ´Í¡àºÕÂé ·Õàè ¡Ô´¨Ò¡ËÅÑ¡·ÃѾ ·Õè໚¹μÃÒÊÒÃ˹ÕéáÅÐà§Ô¹¡ÙŒÂ×Á໚¹¡ÒÃ੾ÒÐ

ÇÑμ¶Ø»ÃÐʧ¤ ¢Í§¡ÒúÃÔËÒäÇÒÁàÊÕ觴ŒÒ¹ ÊÀÒ¾¤Å‹Í§¢Í§¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ· ¤×Í ¡ÒÃÁÕà§Ô¹·Ø¹ ·Õàè ËÁÒÐÊÁáÅÐà¾Õ§¾ÍÊíÒËÃѺ¡ÃÐáÊà§Ô¹Ê´ ¨‹ÒÂà¾×èÍ¡ÒÃŧ·Ø¹·Ñé§ã¹»˜¨¨ØºÑ¹áÅÐ͹Ҥμ ã¹¢³Ðà´ÕÂǡѹ ÂѧÊÒÁÒö¹íÒà§Ô¹·Ø¹ä»Å§·Ø¹ ãËŒà¡Ô´¼Åμͺ᷹·Õàè ËÁÒÐÊÁÀÒÂãμŒ¹âºÒ ¡ÒÃŧ·Ø¹¢Í§¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·

ความเสี่ยงจากเงินตราต างประเทศ

การกําหนดมูลค ายุติธรรม

¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ÁÕ¤ÇÒÁàÊÕ觨ҡÍÑμÃÒáÅ¡à»ÅÕè¹ à§Ô¹μÃÒμ‹Ò§»ÃÐà·È«Ö§è à¡Ô´¨Ò¡ÃÒ¡Òë×Íé áÅÐ ¢Ò·Õàè »š¹à§Ô¹μÃÒμ‹Ò§»ÃÐà·È â´Â¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ¨ÐÁÕ¡ÒþԨÒóҷíÒÊÑÞÞÒ«×éÍ¢ÒÂà§Ô¹μÃÒ μ‹Ò§»ÃÐà·Èŋǧ˹ŒÒà¾×èÍ»‡Í§¡Ñ¹¤ÇÒÁàÊÕè§ ¢Í§ÊÔ¹·ÃѾ áÅÐ˹ÕÊé ¹Ô ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹·Õàè »š¹à§Ô¹ μÃÒμ‹Ò§»ÃÐà·È

¹âºÒ¡ÒúÑÞªÕáÅСÒÃà» ´à¼Â¢Í§¡ÅØ‹Á ºÃÔÉ·Ñ ¡íÒ˹´ãËŒÁ¡Õ ÒáíÒ˹´ÁÙŤ‹ÒÂØμ¸Ô ÃÃÁ ·Ñé§ÊÔ¹·ÃѾ áÅÐ˹ÕéÊÔ¹·Ñ駷ҧ¡ÒÃà§Ô¹áÅÐ äÁ‹ãª‹·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ ÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁ ËÁÒ¶֧ ¨íҹǹà§Ô¹·Õè¼ÙŒ«×éÍáÅмٌ¢ÒÂμ¡Å§áÅ¡à»ÅÕè¹ ÊÔ¹·ÃѾ ËÃ×ͪíÒÃÐ˹ÕéÊÔ¹¡Ñ¹ ã¹¢³Ð·Õè·Ñé§ Êͧ½† Ò ÂÁÕ ¤ ÇÒÁÃͺÃÙŒ á ÅÐàμç Á ã¨ã¹¡Òà áÅ¡à»ÅÕÂè ¹¡Ñ¹ áÅÐÊÒÁÒöμ‹ÍÃͧÃҤҡѹ䴌 Í‹ҧ໚¹ÍÔÊÃÐã¹ÅѡɳТͧ¼ÙŒ·ÕèäÁ‹ÁÕ¤ÇÒÁ à¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ÇÑμ¶Ø»ÃÐʧ¤ ¢Í§¡ÒÃÇÑ´ÁÙŤ‹Ò áÅÐ/ËÃ×Í¡ÒÃà» ´à¼ÂÁÙŤ‹ÒÂØμ¸Ô ÃÃÁ¶Ù¡¡íÒ˹´ â´ÂÇÔ ¸Õ μ‹ Í ä»¹Õé ¢Œ Í ÁÙ Å à¾Ôè Á àμÔ Á à¡Õè Â Ç¡Ñ º ÊÁÁμ԰ҹ㹡ÒáíÒ˹´ÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁ¶Ù¡ à» ´à¼Âã¹ËÁÒÂàËμØ·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡ÑºÊÔ¹·ÃѾ áÅÐ˹ÕéÊÔ¹¹Ñé¹æ

ความเสี่ยงจากการให สินเชื่อ ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ÁÕ¹âºÒ»˜¨¨ØºÑ¹·Õè¡íÒ˹´äÇŒà¾×èÍ »‡Í§¡Ñ¹¤ÇÒÁàÊÕ觨ҡ¡ÒÃãËŒÊÔ¹àª×èÍ ä´Œá¡‹ >> ¡íÒ˹´ãËŒÁÕ¡ÒÃàÃÕ¡à¡çºà§Ô¹ÁÑ´¨íÒ¤‹Òàª‹Ò Å‹Ç§Ë¹ŒÒ «Ö§è â´Â·ÑÇè ä» à»š¹¨íҹǹ 6 ෋Ңͧ ¤‹ÒઋÒÃÒÂà´×͹ >> ºÍ¡àÅÔ¡ÊÑÞÞÒઋÒÊíÒËÃѺÅÙ¡¤ŒÒ·Õ¤è ÒŒ §ªíÒÃÐ ¤‹ÒઋÒà¡Ô¹¡Ç‹Ò 90 Çѹ

ความเสี่ยงด านสภาพคล อง ¤ÇÒÁàÊÕè  §´Œ Ò ¹ÊÀÒ¾¤Å‹ Í §¤× Í ¤ÇÒÁàÊÕè  § ·Õè ¡ ÅØ‹ Á ºÃÔ ÉÑ · ¨Ðà¼ªÔ Þ ¤ÇÒÁÂØ‹ § Âҡ㹡Òà ÃдÁ·Ø ¹ãËŒ à ¾Õ Â §¾ÍáÅÐ·Ñ ¹ àÇÅÒμ‹ Í ¡Òà »¯ÔºÑμÔμÒÁÀÒÃм١¾Ñ¹·ÕèÃкØäÇŒã¹à¤Ã×èͧÁ×Í ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹

ÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁ¢Í§Å١˹Õé¡ÒäŒÒáÅÐÅ١˹Õé ÃÐÂÐÊÑé¹Í×è¹æ ໚¹ÁÙŤ‹Ò·Õèã¡ÅŒà¤Õ§¡ÑºÁÙŤ‹Ò μÒÁºÑÞªÕ ÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁ¢Í§à§Ô¹Å§·Ø¹ã¹ËÅÑ¡·ÃѾ ·Õè ໚¹μÃÒÊÒ÷عáÅÐμÃÒÊÒÃË¹Õ·é ¶Õè Í× äÇŒà¾×Íè ¤ŒÒ ·Õ¨è ж×ÍäÇŒ¨¹¤Ãº¡íÒ˹´ áÅÐà¼×Íè ¢Ò ¾Ô¨ÒÃ³Ò â´Â͌ҧÍÔ§¡ÑºÃÒ¤Òàʹͫ×Íé ³ Çѹ·Õãè ¹ÃÒ§ҹ ÁÙŤ‹ÒÂØμ¸Ô ÃÃÁ¢Í§à§Ô¹Å§·Ø¹·Õ¨è ж×ÍäÇŒ¨¹¤Ãº ¡íÒ˹´¶Ù¡¾Ô¨ÒóÒà¾×Íè ¤ÇÒÁÁا‹ ËÁÒÂ㹡Òà ໠´à¼Â㹧º¡ÒÃà§Ô¹à·‹Ò¹Ñé¹

ÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁ¢Í§ÊÑÞÞÒáÅ¡à»ÅÕè¹ÍÑμÃÒ ´Í¡àºÕé¶×ÍμÒÁÃÒ¤Ò͌ҧÍÔ§¢Í§¹ÒÂ˹ŒÒ ÃÒ¤Ò͌ҧÍÔ§àËŋҹѹé ÊÒÁÒö·´ÊͺËÒ¤ÇÒÁ ÊÁàËμØÊÁ¼Åä´Œ ´ŒÇ¡ÒäԴŴ»ÃÐÁÒ³¡Òà ¡ÃÐáÊà§Ô¹Ê´ã¹Í¹Ò¤μ ÀÒÂãμŒ¢ŒÍ¡íÒ˹´ μ‹Ò§æ áÅÐÇѹÊÔé¹ÊØ´¢Í§áμ‹ÅÐÊÑÞÞÒ áÅÐ â´Â¡ÒÃ㪌ÍÑμÃÒ´Í¡àºÕéÂã¹·ŒÍ§μÅÒ´¢Í§ à¤Ã×Íè §Á×Í·Ò§¡ÒÃà§Ô¹·Õ¤è ŌҤÅÖ§¡Ñ¹ ³ Çѹ·Õè ÇÑ´ÁÙŤ‹Ò ËÒ¡ÁÕÃÒ¤ÒμÅÒ´ ÁÙŤ‹ÒÂØμ¸Ô ÃÃÁ¢Í§ÊÑÞÞÒ«×Íé ¢ÒÂà§Ô¹μÃÒμ‹Ò§»ÃÐà·Èŋǧ˹ŒÒ¶×ÍμÒÁÃÒ¤Ò μÅÒ´¢Í§Çѹ·Õè·íÒÊÑÞÞÒŋǧ˹ŒÒ 㹡óշÕè äÁ‹ÁÕÃÒ¤ÒμÅÒ´ »ÃÐÁÒ³ÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁâ´Â ¡ÒäԴŴ¨Ò¡¼Åμ‹Ò§ÃÐËÇ‹Ò§ÃÒ¤Òŋǧ˹ŒÒ μÒÁÊÑÞÞÒ ¡ÑºÃÒ¤Òŋǧ˹ŒÒ¢Í§ÊÑÞÞÒ »˜¨¨ØºÑ¹ ³ Çѹ·ÕèÃÒ§ҹ·Õè¤Ãº¡íÒ˹´ã¹Çѹ à´ÕÂǡѹ â´Â㪌ÍÑμÃÒ´Í¡àºÕé»ÃÐàÀ··Õè㪌 ¡Ñº¸ØáÃÃÁ¡ÒÃà§Ô¹·Õè»ÅÍ´¤ÇÒÁàÊÕè§ ઋ¹ ¾Ñ¹¸ºÑμÃÃÑ°ºÒÅ ÃÒ¤ÒμÒÁºÑުբͧÊÔ¹·ÃѾ ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹áÅР˹ÕéÊÔ¹·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ Íѹ䴌ᡋ à§Ô¹Ê´áÅÐ ÃÒ¡ÒÃà·Õº෋Òà§Ô¹Ê´ à§Ô¹Å§·Ø¹ Å١˹Õé áÅÐ਌ Ò Ë¹Õé ¡ ÒäŒ Ò ÅÙ ¡ ˹Õé á ÅÐ਌ Ò Ë¹Õé Í×è ¹ à§Ô¹ãËŒ¡ÙŒÂ×Áá¡‹ºÃÔÉѷ‹Í à§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁÃÐÂÐÊÑé¹ áÅÐà§Ô ¹ ¡ÙŒ Â× Á ÃÐÂÐÂÒÇẺÍÑ μ ÃÒ´Í¡àºÕé  ÅÍÂμÑÇÁÕÁÙŤ‹Òã¡ÅŒà¤Õ§¡ÑºÁÙŤ‹ÒÂØμÔ¸ÃÃÁ ¢Œ Í ÁÙ Å à¡Õè Â Ç¡Ñ º ÁÙ Å ¤‹ Ò ÂØ μÔ ¸ ÃÃÁ¢Í§à§Ô ¹ ¡ÙŒ Â× Á ä´ŒáÊ´§äÇŒã¹ËÁÒÂàËμØ 19


238 | 239

CPN รายงานประจําป 2555

37 ภาระผูกพันกับบุคคลหรือกิจการที่ ไม เกี่ยวข องกัน

ÀÒÃм١¾Ñ¹¢Í§ÃÒ¨‹Ò½†Ò·ع ÊÑÞÞÒ·ÕèÂѧäÁ‹ä´ŒÃѺÃÙŒ ÂÒ¹¾Ò˹РÍÒ¤ÒÃáÅЧҹÃкº ÃÇÁ ÀÒÃм١¾Ñ¹¨Ò¡ÊÑÞÞÒઋҴíÒà¹Ô¹§Ò¹·Õè¡àÅÔ¡äÁ‹ä´Œ ÀÒÂã¹Ë¹Ö觻‚ ËÅѧ¨Ò¡Ë¹Ö觻‚áμ‹äÁ‹à¡Ô¹ËŒÒ»‚ ËÅѧ¨Ò¡ËŒÒ»‚ ÃÇÁ ÀÒÃм١¾Ñ¹Í×è¹æ ˹ѧÊ×ͤéíÒ»ÃСѹ¨Ò¡¸¹Ò¤Òà (¡) ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 ºÃÔÉÑ·ÁÕ ÊÑÞÞÒáÅ¡à»ÅÕè¹ÍÑμÃÒ´Í¡àºÕéÂËÅÒ©ºÑº ¡Ñº¸¹Ò¤ÒÃËÅÒÂáË‹§ à¾×Íè ·Õ¨è ÐÅ´¤ÇÒÁàÊÕÂè § ¨Ò¡¤ÇÒÁ¼Ñ ¹ ¼Ç¹¢Í§ÍÑ μ ÃÒ´Í¡àºÕé  ¢Í§ à§Ô¹¡ÙŒÂ×ÁÊ¡ØÅà§Ô¹ºÒ·¨íҹǹ·Ñé§ÊÔé¹ 3,000 ŌҹºÒ· ẋ§à»š¹ ´Ñ§¹Õé >> ¨íҹǹà§Ô¹ 1,500 ŌҹºÒ· ໚¹àÇÅÒ 2.5 »‚ ¤Ãº¡íÒ˹´ã¹à´×͹ÁԶعÒ¹ 2557 >> ¨íҹǹà§Ô¹ 1,500 ŌҹºÒ· ໚¹àÇÅÒ 3 »‚ ¤Ãº¡íÒ˹´ã¹à´×͹¡Ñ¹ÂÒ¹ 2557 μÅÍ´ÍÒÂØÊÞ Ñ ÞÒ ºÃÔÉ·Ñ ¼Ù¡¾Ñ¹·Õ¨è Ðä´ŒÃºÑ ËÃ×Í ª´àªÂãËŒ¡Ñº¤Ù‹ÊÑÞÞÒ㹡óշÕèÍÑμÃÒ´Í¡àºÕé áμ¡μ‹Ò§¨Ò¡ÍÑμÃÒ·Õèμ¡Å§¡Ñ¹ ·Ñ駹Õé໚¹ä» μÒÁà§×Íè ¹ä¢áÅТŒÍ¡íÒ˹´·ÕÃè кØäÇŒã¹ÊÑÞÞÒ

§º¡ÒÃà§Ô¹ÃÇÁ 2555 2554

(ŌҹºÒ·) §º¡ÒÃà§Ô¹à©¾ÒСԨ¡Òà 2555 2554

4,658 4,658

5 3,540 3,545

3,661 3,661

5 59 64

531 2,278 14,934 17,743

339 2,148 14,893 17,380

27 121 1,755 1,903

17 115 1,787 1,919

545

273

216

306

Í‹ҧäáçμÒÁ ºÃÔÉÑ·Âѧ¤§ÁÕÀÒÃÐ˹ÕéÊÔ¹μ‹Í ¼ÙŒãËŒ¡ÙŒ ËÒ¡¤Ù‹ÊÑÞÞÒäÁ‹ÊÒÁÒö»¯ÔºÑμÔμÒÁ à§×è͹ä¢áÅТŒÍ¡íÒ˹´ã¹ÊÑÞÞҴѧ¡Å‹ÒÇä´Œ (¢) ºÃÔÉѷ‹ÍÂáË‹§Ë¹Öè§ä´ŒÅ§¹ÒÁã¹ÊÑÞÞÒ Ç‹Ò¨ŒÒ§ºÃÔËÒçҹâçáÃÁ¡ÑººØ¤¤ÅÀÒ¹͡ â´ÂºÃÔÉÑ·μ¡Å§¨‹Ò¤‹Ò¨ŒÒ§ºÃÔËÒçҹÃÒ»‚ ã¹ÍÑμÃÒÃŒÍÂÅÐ 2 ¢Í§ÃÒÂä´Œ¨Ò¡¡ÒôíÒà¹Ô¹§Ò¹ ¢Í§âçáÃÁμ‹Í»‚ áÅШ‹Ò¤‹Ò¼Åμͺ᷹ à¾Ôè Á àμÔ Á μÒÁ¼Å»ÃСͺ¡ÒâͧâçáÃÁ â´Â¤íҹdz¨Ò¡¡íÒäèҡ¡ÒôíÒà¹Ô¹§Ò¹´Ñ§¹Õé >> ÍÑμÃÒÃŒÍÂÅÐ 7 μÑé§áμ‹»‚·Õèà» ´´íÒà¹Ô¹§Ò¹ ¨¹ÊÔé¹ÊØ´»‚·Õè 2 ¢Í§¡ÒôíÒà¹Ô¹§Ò¹ >> ÍÑμÃÒÃŒÍÂÅÐ 7.5 μѧé áμ‹»·‚ Õè 3 ¶Ö§»‚·Õè 4 ¢Í§ ¡ÒôíÒà¹Ô¹§Ò¹

>> ÍÑμÃÒÃŒÍÂÅÐ 8 μѧé áμ‹»·‚ Õè 5 ¢Í§¡ÒôíÒà¹Ô¹§Ò¹ ໚¹μŒ¹ä» (¤) ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉѷ䴌ŧ¹ÒÁã¹ÊÑÞÞÒઋҷÕè´Ô¹ ¡Ñ º ºØ ¤ ¤ÅÀÒ¹͡à¾×è Í㪌 ã ¹¡Òá‹ Í ÊÃŒ Ò § Èٹ ¡ÒäŒÒãËŒàª‹Ò ÊÑÞÞÒઋҹÕÁé ÃÕ ÐÂÐàÇÅÒ 30 »‚ ÊÔ¹é ÊØ´ã¹à´×͹¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2584 μÒÁà§×Íè ¹ä¢¢Í§ ÊÑÞÞÒ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ μŒÍ§¨‹Ò¤‹ÒઋÒŋǧ˹ŒÒ áÅÐ ¨ÐμŒÍ§¨‹Ò¤‹ÒઋÒ໚¹ÃÒÂà´×͹ â´Â¤‹ÒઋҨР»ÃѺà¾ÔÁè ·Ø¡ 3 »‚ ã¹ÍÑμÃÒÃŒÍÂÅÐ 10 ¢Í§¤‹Òàª‹Ò à´×͹ÊØ´·ŒÒ (§) ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉѷ䴌ŧ¹ÒÁã¹ÊÑÞÞÒઋҷÕè´Ô¹ ¡Ñ º ºØ ¤ ¤ÅÀÒ¹͡à¾×è Í㪌 ã ¹¡Òá‹ Í ÊÃŒ Ò § Èٹ ¡ÒäŒÒãËŒàª‹Ò ÊÑÞÞÒઋҹÕÁé ÃÕ ÐÂÐàÇÅÒ 30 »‚ ÊÔ¹é ÊØ´ã¹à´×͹¾ÄÉÀÒ¤Á 2570 μÒÁà§×Íè ¹ä¢¢Í§


ÊÑÞÞÒ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ μŒÍ§¨‹Ò¤‹ÒઋÒŋǧ˹ŒÒ áÅÐ ¨ÐμŒÍ§¨‹Ò¤‹ÒઋÒ໚¹ÃÒÂà´×͹ â´Â¤‹ÒઋҨР»ÃѺà¾ÔÁè ·Ø¡ 5 »‚ ã¹ÍÑμÃÒÃŒÍÂÅÐ 10 ¢Í§¤‹Òàª‹Ò ÊØ´·ŒÒ (¨) ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉѷ䴌ŧ¹ÒÁã¹ÊÑÞÞÒઋҾ×é¹·Õè ¡ÑººÃÔÉÑ·ã¹»ÃÐà·ÈáË‹§Ë¹Öè§à¾×èÍ㪌㹡Òà ¡‹ÍÊÌҧÈٹ ¡ÒäŒÒãËŒàª‹Ò ÊÑÞÞÒઋҹÕÁé ÃÕ ÐÂÐ àÇÅÒ 30 »‚ ÊÔé¹ÊØ´ã¹à´×͹¡Ñ¹ÂÒ¹ 2573 μÒÁà§×è Í ¹ä¢¢Í§ÊÑ Þ ÞÒ¡ÅØ‹ Á ºÃÔ ÉÑ · ¨ÐμŒ Í § ¨‹Ò¤‹ÒઋÒŋǧ˹ŒÒ áÅÐμŒÍ§¨‹Ò¤‹ÒઋÒ໚¹ ÃÒÂà´×͹ â´Â¤‹ÒઋҨлÃѺà¾ÔèÁ·Ø¡ 3 »‚ ã¹ÍÑμÃÒÃŒÍÂÅÐ 15 ¢Í§¤‹Òઋһ‚Ê´Ø ·ŒÒ ÊÑÞÞÒ ÊÒÁÒÃ¶μ‹ Í ÍÒÂØ μ‹ Íä»ä´Œ ÍÕ ¡â´ÂÁÕ ¡í Ò Ë¹´ ÃÐÂÐàÇÅÒઋÒઋ¹à´ÕÂǡѺ·Õè¼ÙŒãˌઋÒä´Œàª‹Ò ¨Ò¡à¨ŒÒ¢Í§·Õè´Ô¹ ¡ÃÃÁÊÔ·¸Ôìã¹ÍÒ¤ÒÃáÅÐ ÊÔ觻ÅÙ¡ÊÌҧº¹¾×é¹·Õè´Ñ§¡Å‹ÒǨÐμ¡à»š¹¢Í§ ¼Ù㌠ˌઋÒàÁ×Íè ÊÔ¹é ÊØ´ÊÑÞÞÒàª‹Ò ã¹ÃÐËÇ‹Ò§»‚ 2549 ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ÁÔä´Œ¨Ò‹ ¤‹ÒઋÒŋǧ˹ŒÒμÒÁÊÑÞÞÒ ·Õè¡Å‹ÒÇäÇŒ¢ŒÒ§μŒ¹à¾ÔèÁàμÔÁà¹×èͧ¨Ò¡â¤Ã§¡Òà 䴌¶Ù¡ªÐÅÍänj໚¹¡ÒêÑèǤÃÒÇ ¡íÒ˹´ÃÐÂÐ àÇÅÒઋÒáÅÐà§×è͹ä¢ã¹¡ÒÃઋÒÍÂÙ‹ã¹ÃÐËÇ‹Ò§ ¡ÒþԨÒóÒá¡Œä¢â´Â¤Ù‹ÊÑÞÞÒ·Ñé§Êͧ½†Ò Í‹ҧäáçμÒÁã¹ÃÐËÇ‹Ò§»‚ 2550 ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ· 䴌¡àÅÔ¡ÊÑÞÞÒઋҴѧ¡Å‹ÒÇ «Ö§è ÁռŷíÒãËŒ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ μŒÍ§¨‹Ò¤‹Òª´àªÂ¨Ò¡¡ÒáàÅÔ¡ÊÑÞÞÒ ãˌᡋ਌Ңͧ·Õè´Ô¹¨íҹǹ 377 ŌҹºÒ· àÁ×èÍÇѹ·Õè 29 ¡Ñ¹ÂÒ¹ 2550 ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ä´Œ ŧ¹ÒÁã¹ÊÑÞÞÒàª‹Ò·Õ´è ¹Ô ¡ÑººÃÔÉ·Ñ ã¹»ÃÐà·È ÍÕ¡áË‹§Ë¹Ö§è à¾×Íè 㪌㹡Òá‹ÍÊÌҧÈٹ ¡ÒäŒÒ ãˌઋÒÃÇÁ 2 ©ºÑº μÒÁà§×Íè ¹ä¢¢Í§ÊÑÞÞÒàª‹Ò ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ¨ÐμŒÍ§¨‹Ò¤‹ÒઋÒŋǧ˹ŒÒ ©ºÑºáá ໚¹ÊÑÞÞÒàª‹Ò·Õ´è ¹Ô ÃÐÂÐàÇÅÒ 3 »‚ àÃÔÁè μѧé áμ‹ Çѹ·Õè 1 ¡Ã¡®Ò¤Á 2550 ÊÔ¹é ÊØ´Çѹ·Õè 30 ¡Ñ¹ÂÒ¹

2553 »ÅÍ´¤‹ÒઋÒÃÒÂà´×͹ ©ºÑº·Õè 2 ໚¹ ÊÑÞÞÒàª‹Ò·Õ´è ¹Ô ÃÐÂÐàÇÅÒ 30 »‚ àÃÔÁè μѧé áμ‹Ç¹Ñ ·Õè 1 ¡Ã¡®Ò¤Á 2553 ÊÔé¹ÊØ´Çѹ·Õè 30 ¡Ñ¹ÂÒ¹ 2583 μÒÁà§×è͹䢢ͧÊÑÞÞÒઋҩºÑº·Õè 2 ¡ÅØ‹ Á ºÃÔ ÉÑ · μŒ Í §¨‹ Ò Â¤‹ Ò àª‹ Ò ·Õè ´Ô ¹ ÃÒÂà´× Í ¹ 700,000 ºÒ· â´Â»ÃѺà¾ÔèÁ¢Öé¹ÃŒÍÂÅÐ 15 ·Ø¡ 3 »‚ àÃÔÁè μѧé áμ‹Ç¹Ñ ·Õè 1 ¡Ã¡®Ò¤Á 2553 áÅÐ ÁÕÊ·Ô ¸ÔμÍ‹ ÍÒÂØ¡ÒÃàª‹Ò·Õ´è ¹Ô ä´ŒÍ¡Õ 10 »‚ (¨¹¶Ö§ Çѹ·Õè 30 ¡Ñ¹ÂÒ¹ 2593) â´Â¨‹ÒªíÒÃÐà¾Õ§ ¤‹ÒઋÒÃÒÂà´×͹μÒÁÍÑμÃÒà´×͹ÊØ´·ŒÒ ³ Çѹ·Õè 30 ¡Ñ¹ÂÒ¹ 2583 μÅÍ´ÃÐÂÐàÇÅÒ 10 »‚ ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·¹íÒÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋҷÕè´Ô¹·Ñé§ 2 ©ºÑº ´Ñ § ¡Å‹ Ò Ç令éí Ò »ÃÐ¡Ñ ¹ ¡ÒÃÍÒÇÑ Å μÑë Ç ÊÑ Þ ÞÒ ãªŒà§Ô¹¡Ñº¸¹Ò¤Òà â´ÂÁÕºÃÔÉ·Ñ ¤éÒí »ÃСѹǧà§Ô¹ ÍÒÇÑÅμÑÇë ÊÑÞÞÒ㪌à§Ô¹·Ñ§é ¨íҹǹ ³ 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2552 ºÃÔÉÑ·¨‹ÒªíÒÃÐμÑëÇÊÑÞÞÒ㪌à§Ô¹áÅŒÇ ·Ñ駨íҹǹ (©) ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉѷ䴌ŧ¹ÒÁã¹ÊÑÞÞÒઋҷÕè´Ô¹ ·Õè ã ªŒ ã ¹¡Òá‹ Í ÊÃŒ Ò §ÈÙ ¹  ¡ ÒäŒ ÒãËŒ à ª‹ Ò áÅÐ ÊÑÞÞÒઋÒÍÒ¤ÒþҳԪ ¡ÑººØ¤¤ÅÀÒ¹͡ ÃÇÁ 3 ©ºÑº ÊÑÞÞÒàª‹Ò 2 ©ºÑºà»š¹ÊÑÞÞÒ àª‹Ò·Õè´Ô¹ ÁÕÃÐÂÐàÇÅÒ 30 »‚ ÊÔé¹ÊØ´ã¹à´×͹ ÊÔ§ËÒ¤Á 2568 áÅÐà´×͹¡Ñ¹ÂÒ¹ 2573 áÅÐ ÊÑÞÞÒઋÒÍÕ¡ 1 ©ºÑºà»š¹ÊÑÞÞÒઋÒÍÒ¤Òà ¾Ò³ÔªÂ ÁÕÃÐÂÐàÇÅÒ 26 »‚ ÊÔé¹ÊØ´ã¹à´×͹ ¡Ã¡®Ò¤Á 2564 μÒÁà§×Íè ¹ä¢¢Í§ÊÑÞÞÒ¡ÅØÁ‹ ºÃÔ ÉÑ · ¨ÐμŒ Í §¨‹ Ò Â¤‹ Ò àª‹ Ò Å‹ Ç §Ë¹Œ Ò áÅÐ à§Ô¹¤éÒí »ÃСѹÊÔ·¸Ô ¹Í¡¨Ò¡¹Õé ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ μŒÍ§ ¨‹Ò¤‹ÒઋÒ໚¹ÃÒÂà´×͹áÅШлÃѺ¤‹Òàª‹Ò ·Ø ¡ 5 »‚ â´Â¡ÅØ‹ Á ºÃÔ ÉÑ ·ä´Œ ÃÑ º ªí Ò ÃÐ¤× ¹ à§Ô¹¤éÒí »ÃСѹÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋҨíҹǹ 20 ŌҹºÒ· ã¹»‚ 2540 áÅШÐä´ŒÃºÑ ªíÒÃФ׹à§Ô¹¤éÒí »ÃСѹ ÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋҨíҹǹ 298.6 ŌҹºÒ· ¹Ñºáμ‹ »‚¡ÒÃઋҷÕè 21 ¨¹¶Ö§»‚¡ÒÃઋҷÕè 30 ÊÑÞÞÒઋÒ

·Õè´Ô¹ÊÒÁÒöμ‹ÍÍÒÂØμ‹Íä»ä´ŒÍÕ¡äÁ‹¹ŒÍÂ¡Ç‹Ò 15 »‚ ã¹ÍÑμÃÒáÅмŻÃÐ⪹ μͺ᷹ μÒÁ·Õèä´ŒÁÕ¡ÒÃμ¡Å§Ã‹ÇÁ¡Ñ¹ãËÁ‹ â´Â¡ÒÃᨌ§ ໚¹ÅÒÂÅѡɳ Í¡Ñ ÉÃŋǧ˹ŒÒË¹Ö§è »‚¡Í‹ ¹¤Ãº ¡íÒ˹´ÍÒÂØ¡ÒÃàª‹Ò áÅÐàÁ×Íè ÊÔ¹é ÊØ´ÊÑÞÞÒàª‹Ò ¡ÅØ‹ Á ºÃÔ ÉÑ · ¨ÐÁͺ¡ÃÃÁÊÔ · ¸Ôì ã ¹ÍÒ¤Òà Èٹ ¡ÒäŒÒáÅÐÊÔ§è »ÅÙ¡ÊÌҧº¹·Õ´è Ô¹´Ñ§¡Å‹ÒÇ ãˌᡋ¼ãÙŒ ËŒàª‹Ò ÊíÒËÃѺÊÑÞÞÒઋÒÍÒ¤ÒþҳԪ àÁ×èͤú¡íÒ˹´ÃÐÂÐàÇÅÒ¡ÒÃàª‹Ò ¼ÙŒãËŒàª‹Ò ãËŒ¤íÒÁÑè¹Ç‹Ò¨ÐãËŒÊÔ·¸ÔºÃÔÉѷ໚¹Íѹ´Ñºáá 㹡ÒÃμ‹ÍÍÒÂØÊÑÞÞÒàª‹Ò ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉѷ䴌ŧ¹ÒÁã¹ÊÑÞÞÒઋҷÕè´Ô¹·Õè㪌 㹡Òá‹ÍÊÌҧÈٹ ¡ÒäŒÒãˌઋҡѺºØ¤¤Å ÀÒ¹͡ÃÇÁ 3 ©ºÑº ÊÑÞÞÒઋҹÕÁé ÃÕ ÐÂÐàÇÅÒ 30 »‚ ÊÔé¹ÊØ´ã¹à´×͹¡ØÁÀҾѹ¸ 2581 μÒÁ à§×è͹䢢ͧÊÑÞÞÒ ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·¨ÐμŒÍ§¨‹Ò ¤‹ÒઋÒŋǧ˹ŒÒ áÅÐμŒÍ§¨‹Ò¤‹ÒઋÒ໚¹ÃÒ»‚ â´Â¤‹ÒઋҨлÃѺà¾ÔÁè ·Ø¡ 3 »‚ã¹ÍÑμÃÒÃŒÍÂÅÐ 12 ÊÑÞÞÒÊÒÁÒöμ‹ÍÍÒÂØÍÍ¡ä»ä´ŒÍÕ¡¤ÃÒÇÅÐ 10 »‚ â´Â·íÒÊÑÞÞÒ¡‹Í¹¤Ãº¡íÒ˹´ÍÒÂØ¡ÒÃàª‹Ò 2 »‚ã¹ÍÑμÃÒáÅмŻÃÐ⪹ μͺ᷹μÒÁ·Õè ä´ŒÁÕ¡ÒÃμ¡Å§Ã‹ÇÁ¡Ñ¹ãËÁ‹ (ª) ã¹»‚ 2546 ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ä´ŒÅ§¹ÒÁã¹ÊÑÞÞÒ àª‹ Ò ·Õè ´Ô ¹ ¾ÃŒ Í ÁÊÔè § »ÅÙ ¡ ÊÃŒ Ò §¡Ñ º Êí Ò ¹Ñ ¡ §Ò¹ ·ÃѾ ÊԹʋǹ¾ÃÐÁËÒ¡ÉÑμÃÔ (“Êíҹѡ§Ò¹ ·ÃѾ ÊÔ¹”) ÊÑÞÞÒઋҹÕéÁÕÃÐÂÐàÇÅÒ 30 »‚ ÊÔ¹é ÊØ´ã¹à´×͹¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2575 μÒÁà§×Íè ¹ä¢¢Í§ ÊÑ Þ ÞÒ¡ÅØ‹ Á ºÃÔ ÉÑ · ¨ÐμŒ Í §¨‹ Ò Â¤‹ Ò àª‹ Ò à»š ¹ ÃÒÂà´×͹ â´ÂÊÑÞÞÒÊÒÁÒöμ‹ÍÍÒÂØÍÍ¡ä» ä´ŒÍ¡Õ ¤ÃÒÇÅÐ 30 »‚ ã¹ÍÑμÃÒáÅмŻÃÐ⪹ μͺ᷹μÒÁÇÔ¸Õ¡Ò÷Õèä´ŒÁÕ¡ÒÃμ¡Å§Ã‹ÇÁ¡Ñ¹ áÅÐÊÔ觻ÅÙ¡ÊÌҧã´æ à¾ÔèÁàμÔÁã¹â¤Ã§¡ÒùÕé ¨Ðμ¡à»š¹¢Í§¼Ù㌠ˌઋҷѹ·Õã¹Çѹ·íÒÊÑÞÞÒઋÒ


240 | 241

CPN รายงานประจําป 2555

ã¹»‚ 2550 ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ä´Œ·íҺѹ·Ö¡¢ŒÍμ¡Å§ àº×éÍ§μŒ¹ 2 ©ºÑº ©ºÑºáá¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·μ¡Å§ ¡àÅÔ¡¡ÒÃઋҷÕè´Ô¹μÒÁÊÑÞÞÒËÅÑ¡ºÒ§Ê‹Ç¹ ¡ÑºÊíҹѡ§Ò¹·ÃѾ ÊÔ¹ (¼ÙŒãˌઋÒ) ©ºÑº·Õè 2 ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ä´Œ´íÒà¹Ô¹¡ÒÃãËŒºÃÔÉÑ··Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§ ¡Ñ¹à¢ŒÒ໚¹¼ÙŒàª‹Ò·Õè´Ô¹á·¹ÀÒÂãμŒà§×è͹䢷Õè ¡íÒ˹´ã¹ÊÑÞÞÒÃÐËÇ‹Ò§¼ÙŒãˌઋÒáÅкÃÔÉÑ· ·Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ ÊÑÞÞÒઋÒÁÕÃÐÂÐàÇÅÒ 25 »‚ àÃÔèÁμÑé§áμ‹Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2550 ¶Ö§Çѹ·Õè 22 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2575 Í‹ҧäáçμÒÁ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ Âѧ¤§ ÁÕÀÒÃÐ㹡Òè‹Ò¤‹Òàª‹Ò·Õ´è ¹Ô ãˌᡋÊíҹѡ§Ò¹ ·ÃѾ ÊÔ¹ËÅѧ¨Ò¡·Õèä´Œ¤×¹ÊÔ·¸Ô¡ÒÃઋÒã¹Ê‹Ç¹ ´Ñ§¡Å‹ÒÇáÅŒÇ àÁ×èÍÇѹ·Õè 19 ÊÔ§ËÒ¤Á 2554 ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ä´Œ ŧ¹ÒÁã¹ÊÑÞÞÒઋҷÕè´Ô¹¾ÃŒÍÁÊÔ觻ÅÙ¡ÊÌҧ ¡ÑºÊíҹѡ§Ò¹·ÃѾ ÊÔ¹à¾ÔèÁàμÔÁ¨Ò¡ÊÑÞÞÒ àª‹ÒËÅÑ¡ ÊÑÞÞÒઋҹÕÁé ÃÕ ÐÂÐàÇÅÒ 21 »‚ 7 à´×͹ ÊÔ¹é ÊØ´ã¹à´×͹¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2575 μÒÁà§×Íè ¹ä¢¢Í§ ÊÑÞÞÒ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ μŒÍ§áº‹§¨‹ÒªíÒÃÐ໚¹ÃÒ»‚ ŋǧ˹ŒÒ â´ÂÊÑÞÞÒÊÒÁÒöμ‹ÍÍÒÂØÍÍ¡ä» ä´ŒÍÕ¡ 30 »‚ â´Â·íÒÊÑÞÞÒ¡‹Í¹¤Ãº¡íÒ˹´ ÍÒÂØ¡ÒÃàª‹Ò 3 »‚ ã¹ÍÑμÃÒáÅмŻÃÐ⪹ μͺ᷹μÒÁ·Õè ä ´Œ ÁÕ ¡ ÒÃμ¡Å§Ã‹ Ç Á¡Ñ ¹ãËÁ‹ ¼ÙŒ ã ËŒ à ª‹ ÒãËŒ ¤í Ò ÁÑè ¹ Ç‹ Ò ¨ÐãËŒ ÊÔ · ¸Ô º ÃÔ ÉÑ · ໚ ¹ Íѹ´Ñºáá㹡ÒÃμ‹ÍÍÒÂØÊÑÞÞÒàª‹Ò («) ã¹»‚ 2548 ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ä´ŒÅ§¹ÒÁã¹ÊÑÞÞÒ àª‹Ò·Õ´è ¹Ô ¡ÑººÃÔÉ·Ñ ã¹»ÃÐà·ÈáË‹§Ë¹Ö§è ¡‹ÍÊÌҧ Èٹ ¡ÒäŒÒáÅÐÍÒ¤Ò÷Õè¨Í´Ã¶ ÊÑÞÞÒઋÒÁÕ ÃÐÂÐàÇÅÒ 28 »‚ 10 à´×͹ ÊÔé¹ÊØ´ã¹à´×͹ ¡Ñ¹ÂÒ¹ 2577 μÒÁà§×Íè ¹ä¢¢Í§ÊÑÞÞÒ ¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ¨ÐμŒÍ§¨‹Ò¤‹ÒઋÒ໚¹ÃÒÂà´×͹ ¹Ñºáμ‹ à´×͹ ¡Ñ¹ÂÒ¹ 2549 â´Â¤‹ÒઋҨлÃѺà¾ÔèÁ ·Ø¡ 5 »‚ ã¹ÍÑμÃÒÃŒÍÂÅÐ 5 ¢Í§¤‹ÒઋÒÊØ´·ŒÒÂ

ÊÑÞÞÒઋҷÕè´Ô¹ÊÒÁÒöμ‹ÍÍÒÂØμ‹Íä»ä´ŒÍÕ¡ â´Âᨌ§à»š¹ÅÒÂÅѡɳ Í¡Ñ ÉÃŋǧ˹ŒÒäÁ‹¹ÍŒ  ¡Ç‹Ò 6 à´×͹ ¡‹Í¹¤Ãº¡íÒ˹´ÍÒÂØ¡ÒÃઋÒã¹ ÍÑμÃÒáÅмŻÃÐ⪹ μͺ᷹μÒÁ·Õäè ´ŒÁ¡Õ Òà μ¡Å§Ã‹ÇÁ¡Ñ¹ãËÁ‹ μ‹ÍÁÒã¹»‚ 2552 ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ä´Œ·íҺѹ·Ö¡ ¢ŒÍμ¡Å§á¡Œä¢à¾ÔèÁàμÔÁÊÑÞÞÒẋ§àª‹Ò·Õè´Ô¹ ºÒ§Ê‹Ç¹ â´ÂÁÕÃÐÂÐàÇÅÒáÅÐà§×è͹ä¢μÒÁ ÊÑÞÞÒà´ÔÁ à¹×èͧ¨Ò¡¼ÙŒãˌઋҷÕè´Ô¹´Ñ§¡Å‹ÒÇ ÍÒ¨¶Ù¡àǹ¤×¹·Õè´¹Ô ¨Ò¡·Ò§ÃÒª¡ÒÃà¾×èÍ㪌㹠¡Ô¨¡ÒÃö俿‡Ò¢¹Ê‹§ÁÇŪ¹ àÁ×èÍÇѹ·Õè 9 ÊÔ§ËÒ¤Á 2550 ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ä´Œ ŧ¹ÒÁã¹ÊÑÞÞÒઋҷÕè´Ô¹¾ÃŒÍÁÊÔ觻ÅÙ¡ÊÌҧ ¡ÑººØ¤¤ÅÀÒ¹͡ ÊÑÞÞÒઋÒÁÕÃÐÂÐàÇÅÒ 30 »‚ ÊÔé¹ÊØ´Çѹ·Õè 31 ÊÔ§ËÒ¤Á 2580 μÒÁà§×èÍ¹ä¢ ¢Í§ÊÑÞÞÒàª‹Ò ºÃÔÉÑ·¨ÐμŒÍ§¨‹Ò¤‹ÒઋÒ໚¹ ÃÒ»‚ â´Â¤‹ÒઋҨлÃѺà¾ÔÁè ·Ø¡ 5 »‚ ã¹ÍÑμÃÒ ÃŒÍÂÅÐ 35 ¢Í§¤‹ÒઋÒÊØ´·ŒÒ ÊÑÞÞÒàª‹Ò·Õ´è ¹Ô ÊÒÁÒöμ‹ÍÍÒÂØä´Œâ´Âᨌ§Å‹Ç§Ë¹ŒÒäÁ‹¹ÍŒ Â¡Ç‹Ò 1 »‚ ¡‹Í¹¤Ãº¡íÒ˹´ÍÒÂØÊÑÞÞÒઋÒ

38 หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ภาระค้ําประกัน ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2555 ºÃÔÉÑ·ÁÕÀÒÃÐ ¤éÒí »ÃСѹà§Ô¹¡Ù¢Œ ͧºÃÔÉ·Ñ Â‹ÍÂã¹Ç§à§Ô¹ 4,188 ŌҹºÒ· (2554: 4,668 ŌҹºÒ·)

Èٹ ¡ÒäŒÒºÒ§áË‹§ä´ŒËÂØ´ãËŒºÃÔ¡ÒÃμÑé§áμ‹ Çѹ·Õè 26 μØÅÒ¤Á 2554 ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ä´ŒÁÕ¡Òà ÁͺËÁÒÂãËŒ ¾ ¹Ñ ¡ §Ò¹´í Ò à¹Ô ¹ ¡ÒÃã¹Ê‹ Ç ¹ ¢Í§¡Òû‡Í§¡Ñ¹¹éíÒ·‹ÇÁà¾×èÍÅ´¼Å¡Ãзºμ‹Í ÊÔ¹·ÃѾ áÅСÒôíÒà¹Ô¹§Ò¹¢Í§¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ· ³ Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 Èٹ ¡ÒäŒÒ´Ñ§¡Å‹ÒÇ ä´Œà» ´ãËŒºÃÔ¡ÒÃáÅŒÇ â´Â¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ºÑ¹·Ö¡ ¼Å¡Ãзº¨Ò¡àËμØ¡Òó ´Ñ§¡Å‹ÒÇ㹧º¡íÒäà ¢Ò´·Ø ¹ àºç ´ àÊÃç ¨ ÃÇÁáÅЧº¡í ÒäâҴ·Ø ¹ àºç´àÊÃç¨à©¾ÒСԨ¡ÒÃÊíÒËÃѺ»‚ÊÔé¹ÊØ´Çѹ·Õè 31 ¸Ñ¹ÇÒ¤Á 2554 ¨íҹǹ 26.5 ŌҹºÒ· áÅÐ 20.6 ŌҹºÒ· μÒÁÅíҴѺ

40 เหตุการณ ภายหลังรอบระยะเวลา รายงาน ·Õè»ÃЪØÁÊÒÁÑÞÇÔÊÒÁÑÞ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹¢Í§ºÃÔÉÑ· àÁ×èÍÇѹ·Õè 18 Á¡ÃÒ¤Á 2556 ¼ÙŒ¶×ÍËØŒ¹ÁÕÁμÔ Í¹ØÁÑμÔ¡ÒÃઋҷÕè´Ô¹¨Ò¡¡Ô¨¡Ò÷Õèà¡ÕèÂÇ¢ŒÍ§¡Ñ¹ áË‹§Ë¹Ö§è ໚¹ÃÐÂÐàÇÅÒ 30 »‚ ÃÇÁÁÙŤ‹Ò 5,177 ŌҹºÒ· ·Õè»ÃЪØÁ¤³Ð¡ÃÃÁ¡ÒúÃÔÉÑ·àÁ×èÍÇѹ·Õè 22 ¡ØÁÀҾѹ¸ 2556 ÁÕ¡ÒÃ͹ØÁμÑ ¡Ô ÒèѴÊÃáíÒäà ໚¹à§Ô¹»˜¹¼Å¨Ò¡¼Å¡ÒôíÒà¹Ô¹§Ò¹»‚ 2555 ¨íҹǹ 0.95 ºÒ·μ‹ÍËعŒ (ÃÇÁ໚¹à§Ô¹·Ñ§é ÊÔ¹é 2,069.8 ŌҹºÒ·)

41 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ที่ยังไม ได ใช

39 ผลกระทบจากเหตุการณ มหาอุทกภัย ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·ÂѧäÁ‹ä´ŒãªŒÁÒμðҹ¡ÒÃÃÒ§ҹ ของไทย ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹·ÕÍè Í¡áÅлÃѺ»ÃاãËÁ‹´§Ñ μ‹Í仹Õé ¡ÒôíÒà¹Ô¹§Ò¹¢Í§¡ÅØÁ‹ ºÃÔÉ·Ñ ä´ŒÃºÑ ¼Å¡Ãзº ºŒÒ§¨Ò¡Ê¶Ò¹¡Òó ¹Òéí ·‹ÇÁãËÞ‹¢Í§ä·Â â´Â

³ Çѹ·ÕÃè Ò§ҹ à¹×Íè §¨Ò¡ÂѧäÁ‹Á¡Õ Òúѧ¤ÑºãªŒ ÁÒμðҹ¡ÒÃÃÒ§ҹ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹·ÕèÍÍ¡áÅÐ


»ÃѺ»ÃاãËÁ‹¡Òí ˹´ãËŒ¶Í× »¯ÔºμÑ ¡Ô ºÑ §º¡ÒÃà§Ô¹ ÊíÒËÃѺÃͺÃÐÂÐàÇÅÒºÑÞªÕ·ÕèàÃÔèÁã¹ËÃ×ÍËÅѧ Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á ã¹»‚´Ñ§μ‹Í仹Õé ÁÒμðҹ ¡ÒÃÃÒ§ҹ ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ àÃ×èͧ ÁÒμðҹ ¡ÒúÑÞªÕ ©ºÑº·Õè 21 (»ÃѺ»Ãا 2552)

»‚·ÕèÁռŠºÑ§¤ÑºãªŒ

¼Å¡Ãзº¨Ò¡ 2556 ¡ÒÃà»ÅÕè¹á»Å§ ¢Í§ÍÑμÃÒ áÅ¡à»ÅÕè¹à§Ô¹μÃÒ μ‹Ò§»ÃÐà·È

ÁÒμðҹ ʋǹ§Ò¹ ¡ÒÃÃÒ§ҹ ´íÒà¹Ô¹§Ò¹ ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ ©ºÑº·Õè 8

2556

มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 21 – ผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต างประเทศ ¡ÒÃà»ÅÕè¹á»Å§ËÅÑ¡¡ÒâͧÁÒμðҹ¡Òà ºÑÞªÕ©ºÑº·Õè 21 à¾×Íè àʹÍá¹Ç¤Ô´¢Í§Ê¡ØÅà§Ô¹ μ‹Ò§æ ·Õè㪌㹡ÒÃÃÒ§ҹ «Öè§à»š¹Ê¡ØÅà§Ô¹·Õè ¾Ô¨ÒóÒÇ‹Ò໚¹Ê¡ØÅà§Ô¹ã¹ÊÀÒÇÐáÇ´ÅŒÍÁ ·Ò§àÈÃÉ°¡Ô ¨ ·Õè ¡Ô ¨ ¡ÒùÑé ¹ »ÃСͺ¡Ô ¨ ¡Òà ÁÒμðҹ¡ÒúÑÞªÕ©ºÑº·Õè 21 ¡íÒ˹´ãËŒ¡¨Ô ¡Òà ÃкØÊ¡ØÅà§Ô¹·Õãè ªŒÃÒ§ҹáÅÐá»Å§¤‹ÒÃÒ¡Òà ·Õè໚¹Ê¡ØÅμ‹Ò§»ÃÐà·Èãˌ໚¹Ê¡ØÅà§Ô¹·Õè㪌 㹡ÒôíÒà¹Ô¹§Ò¹ áÅÐÃÒ§ҹ¼Å¡Ãзº¨Ò¡ ¡ÒÃá»Å§¤‹Ò´Ñ§¡Å‹ÒÇμÒÁÁÒμðҹ¡ÒúÑÞªÕ ©ºÑº·Õè 21 «Öè§ÁÒμðҹ¡ÒúÑÞªÕ ©ºÑº·Õè 21 ä´ŒãËŒ¤íÒ¹ÔÂÒÁÊíÒËÃѺà§Ô¹μÃÒμ‹Ò§»ÃÐà·È¤×Í à§Ô¹μÃÒÊ¡ØÅÍ×¹è ¹Í¡à˹×ͨҡʡØÅà§Ô¹·Õãè ªŒã¹ ¡ÒôíÒà¹Ô¹§Ò¹¢Í§¡Ô¨¡ÒÃ

¼ÙºŒ ÃÔËÒáíÒ˹´Ê¡ØÅà§Ô¹·Õãè ªŒã¹¡ÒôíÒà¹Ô¹§Ò¹ ¢Í§ºÃÔÉ·Ñ à»š¹Ê¡ØÅà§Ô¹ºÒ· ´Ñ§¹Ñ¹é ¡Òö×Í»¯ÔºμÑ Ô μÒÁÁÒμðҹ¡ÒúÑÞªÕ©ºÑº·Õè 21 ÊíÒËÃѺÃͺ ÃÐÂÐàÇÅÒºÑÞªÕ·ÕèàÃÔèÁμÑé§áμ‹Çѹ·Õè 1 Á¡ÃÒ¤Á 2556 ¨ÐäÁ‹ä´ŒÃѺ¼Å¡Ãзº·ÕèÁÕÊÒÃÐÊíÒ¤ÑÞ μ‹ÍÊÔ¹·ÃѾ ˹ÕéÊÔ¹ áÅСíÒäÃÊÐÊÁ¢Í§ ¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·

มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 8 เรื่อง ส วนงานดําเนินงาน ÁÒμðҹ¡ÒÃÃÒ§ҹ·Ò§¡ÒÃà§Ô¹ ©ºÑº·Õè 8 ¹íÒàʹÍËÅÑ¡¡Ò÷Õèà»ÅÕè¹仨ҡà´ÔÁ â´ÂÁÕ ËÅÑ¡¡ÒÃà» ´à¼Âʋǹ§Ò¹´íÒà¹Ô¹§Ò¹¨Ò¡¢ŒÍÁÙÅ ÀÒÂã¹·Õè¹íÒàʹÍãËŒ¼ÙŒÁÕÍíÒ¹Ò¨μÑ´ÊÔ¹ã¨ÊÙ§ÊØ´ ´Œ Ò ¹¡Òôí Ò à¹Ô ¹ §Ò¹ ¡ÒÃà»ÅÕè  ¹¹âºÒ ¡ÒúÑުմѧ¡Å‹ÒÇ¡Ãзºà¾Õ§¡ÒÃà» ´à¼Â ¢ŒÍÁÙÅà·‹Ò¹Ñé¹äÁ‹ÁռšÃзºμ‹Í§º¡ÒÃà§Ô¹ ¢Í§¡ÅØ‹ÁºÃÔÉÑ·


242 | 243

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชี ในปี 2555 บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) และบริษทั ย่อย จ่ายค่าตอบแทน การสอบบัญชีให้แก่ สำ�นักงานสอบบัญชี ที่ ผู้ ส อบบั ญ ชี สั ง กั ด เป็ น จำ � นวนเงิ น รวม 5,530,000 บาท

ค่าบริการอื่น -ไม่มี-


รายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริหาร และผู้มีอำ�นาจควบคุมของบริษัท 2543 > หลักสูตร Role of Chairman Program (RCP)

นายสุทธิชัย จิราธิวัฒน์ อายุ 72 ปี สัดส่วนการถือหุน้ ในบริษทั : 1.927%

ประธานกรรมการ

วันทีด่ �ำ รงตำ�แหน่งกรรมการบริษทั : 28 มี.ค. 43

คุณวุฒิทางการศึกษา > ปริญญาบัตร สาขาวิศวกรรมโยธา Kingston College of Technology ประเทศอังกฤษ > ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ประสบการณ์ > รองประธานกรรมการบริหาร, ประธาน อำ�นวยการ ฝ่ายการเงินและบัญชี บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำ�กัด > ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริษทั ห้างเซ็นทรัลดีพาทเมนท์สโตร์ จำ�กัด > ผู้จัดการสาขา ห้างเซ็นทรัล สาขาสีลม > ผูช้ ว่ ยผูจ้ ด ั การสาขา ห้างเซ็นทรัล สาขาสีลม ตําแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น > รองประธานกรรมการ บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำ�กัด (มหาชน) ตําแหน่งในกิจการอืน่ (ที่ไม่ใช่บริษทั จดทะเบียน) > ประธานกรรมการกำ�กับการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำ�กัด การผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดยสมาคม ส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) 2549 > หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP)

นายไพฑูรย์ ทวีผล อายุ 62 ปี สัดส่วนการถือหุน้ ในบริษทั : ไม่มี

กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง

วันทีด่ �ำ รงตำ�แหน่งกรรมการบริษทั : 10 ก.ค. 45

คุณวุฒิทางการศึกษา > ปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ (บัญชี) มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง > ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ > ประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการสอบบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประสบการณ์ > กรรมการผู้อ�ำ นวยการ บริษัท ที่ปรึกษาธุรกิจ อาร์เธอร์ แอนเดอร์เซ่น จำ�กัด > กรรมการ, กรรมการบริหาร บริษทั สำ�นักงาน เอส จี วี ณ ถลาง จำ�กัด > กรรมการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ > นายกสมาคม สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียน มาแตร์เดอีวิทยาลัย > รองประธาน มูลนิธิมาแตร์เดอีวิทยาลัย > กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีที ที่ปรึกษาธุรกิจ จำ�กัด > กรรมการ, อุปนายกสมาคม สมาคมตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย

> ประธาน,

เลขาธิการ สหพันธ์นักบัญชีอาเซียน > กรรมการ, อุปนายกสมาคม สมาคมนั ก บั ญ ชี แ ละผู้ ส อบบั ญ ชี รั บ อนุญาตแห่งประเทศไทย ตําแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น > 2555-ปัจจุบน ั กรรมการอิสระ, กรรมการ ตรวจสอบ บริษทั เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำ�กัด (มหาชน) > 2554-ปัจจุบัน กรรมการอิสระ, ประธาน กรรมการตรวจสอบ, กรรมการกำ�กับดูแล กิจการที่ดี บริษทั บิก๊ ซีซเู ปอร์เซ็นเตอร์ จำ�กัด (มหาชน) > 2551-ปัจจุบัน กรรมการอิสระ, ประธาน กรรมการสรรหาและค่าตอบแทน, กรรมการตรวจสอบและธรรมาภิบาล บริษทั สมบูรณ์ แอ็ดวานซ์ เทคโนโลยี จำ�กัด (มหาชน) ตํ า แหน่ ง ในกิ จ การอื่ น (ที่ ไม่ ใ ช่ บ ริ ษั ท จด ทะเบียน) > กรรมการอิสระ, กรรมการตรวจสอบ บริษัท อีซี่ บาย จำ�กัด (มหาชน) > กรรมการอำ�นวยการ โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย การผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดยสมาคม ส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) 2553 > หลักสูตร Monitoring the Internal Audit Function (MIA) > หลักสูตร Monitoring the System of Internal Control and Risk Management (MIR) > หลักสูตร Monitoring the Quality of Financial Reporting (MFR) > หลักสูตร Role of the Compensation Committee (RCC)


244 | 245

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

2552 > หลักสูตร Monitoring Fraud Risk Management (MFM) 2551 > หลักสูตร Chartered Director Class (R-CDC) 2548 > หลักสูตร Audit Committee Program (ACP) > หลักสูตร Role of Chairman Program (RCP) 2546 > หลักสูตร Director Certification Program (DCP) > หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP)

คุณวุฒิทางการศึกษา > ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย > ปริญญาโท สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า University of Texas ประเทศสหรัฐอเมริกา > วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตร ภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 1

ประสบการณ์ > รองเลขาธิการคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน สำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน > ประธานกรรมการ Amata (Vietnam) หลักสูตรอบรมอื่น th 2555 > สัมมนา “11 Asian Forum on Joint Stock Company Corporate Social Responsi- ตําแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น bility (AFCSR)” > 2550-ปัจจุบัน กรรมการอิสระ, กรรมการ > “วันต่อต้านคอร์รัปชั่น : รวมพลัง ตรวจสอบ, ประธานกรรมการสรรหาและ เปลี่ยนประเทศไทย” กำ�หนดค่าตอบแทน 2554 > สัมมนา “มาตรฐานการรายงาน บริษัท กันยงอีเลคทริก จำ�กัด (มหาชน) ทางการเงิ น สำ � หรั บ กิ จ การที่ ไ ม่ มี > 2547-ปัจจุบัน กรรมการอิสระ, กรรมการ ส่วนได้เสียสาธารณะ” ที่ปรึกษา > สัมมนา “การป้องกันทุจริตและ บริษัท สหยูเนี่ยน จำ�กัด (มหาชน) การรายงานตามกฎหมาย ปปช.” > 2544-ปัจจุบนั กรรมการ, กรรมการบริหาร > สั ม มนา “Audit Committee บริษทั อมตะ คอร์ปอเรชัน่ จำ�กัด (มหาชน) Forum” > 2542-ปัจจุบัน กรรมการอิสระ, ประธาน

นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์ อายุ 74 ปี สัดส่วนการถือหุน้ ในบริษทั : ไม่มี

กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ ประธานกรรมการสรรหา และกำ�หนดค่าตอบแทน

วันทีด่ �ำ รงตำ�แหน่งกรรมการบริษทั : 10 ก.ค. 45

กรรมการตรวจสอบ, กรรมการสรรหาและ กำ�หนดค่าตอบแทน บริษัท เทพธานีกรีฑา จำ�กัด (มหาชน)

ตําแหน่งในกิจการอืน่ (ที่ ไม่ใช่บริษทั จดทะเบียน) > ประธานกรรมการ บริษัท แมกเนคอมพ์ พรีซิชั่น เทคโนโลยี จำ�กัด (มหาชน) > ประธานกรรมการ บริษัท พรีซิพาร์ท จำ�กัด > ประธานกรรมการ บริษัท อมตะวอเตอร์ จำ�กัด > กรรมการ Amata Hong Kong Ltd.

> กรรมการ

บริษัท ซาน มิเกล เบียร์ (ประเทศไทย) จำ�กัด > กรรมการ บริษทั ซาน มิเกล มาร์เก็ตติง้ (ประเทศไทย) จำ�กัด > กรรมการ บริษัท ไทย ซาน มิเกลลิเคอร์ จำ�กัด การผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดยสมาคม ส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) 2552 > หลั ก สู ต ร Audit Committee Program (ACP) 2550 > หลักสูตร Role of the Compen sation Committee (RCC) 2549 > หลักสูตร Director Certification Program (DCP) 2548 > หลักสูตร Finance for Non Finance Directors (FND) 2546 > หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP)

นางสุนันทา ตุลยธัญ อายุ 66 ปี สัดส่วนการถือหุน้ ในบริษทั : ไม่มี

กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน วันทีด่ �ำ รงตำ�แหน่งกรรมการบริษทั : 10 ก.ค. 45

คุณวุฒิทางการศึกษา > ปริญญาตรี สาขาศิลปศาสตร์ College of New Rochelle ประเทศสหรัฐอเมริกา


ประสบการณ์ > ประธาน กลุ่มบริษัท โอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ นายการุณ ประเทศไทยและเวียดนาม กิตติสถาพร > กรรมการบริหาร โอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ ภาคพืน้ เอเซีย แปซิฟคิ อายุ 65 ปี > กรรมการบอร์ด สัดส่วนการถือหุน้ ในบริษทั : ไม่มี โอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ เวิลด์วายด์ กรรมการอิสระ > ประธาน กลุม่ บริษทั WPP ประเทศไทยและเวียดนาม กรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน ตําแหน่งในกิจการอืน่ (ที่ ไม่ใช่บริษทั จดทะเบียน) วันทีด่ �ำ รงตำ�แหน่งกรรมการบริษทั : 30 เม.ย. 52 > ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร คุณวุฒิทางการศึกษา KIS International School > ปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ การผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดยสมาคม Victoria University of Wellington ส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประเทศนิวซีแลนด์ 2554 > สัมมนา “How New Foreign > ปริญญาโท Bribery Laws Companies in สาขาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ, Thailand” Syracuse University 2552 > หลักสูตร Monitoring Fraud Risk ประเทศสหรัฐอเมริกา Management (MFM) > อบรมหลักสูตร Commercial Policy 2550 > สัมมนา “คณะกรรมการตรวจสอบ องค์กร The General Agreement on : ประสบการณ์ ปัญหา และแนว Tariffs and Trade (GATT) ปฏิบัติที่ดี” นครเจนีวา, ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ 2548 > หลั ก สู ต ร Audit Committee > วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร Program (ACP) หลักสูตรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 8 > หลักสูตร Finance for Non-Finance ประสบการณ์ Directors (FND) 2547 > หลักสูตร Director Accreditation > กรรมการ คณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ Program (DAP) > สัมมนา Directors Forum 3/2547 > กรรมการ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ > สัมมนา Directors Forum 2/2547 > สมาชิก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ > กรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย หลักสูตรอบรมอื่น > ปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ 2555 > สั ม มนา “Audit Committee ตําแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น Effectiveness Seminar” 2554 > สัมมนา “คณะกรรมการตรวจสอบ > 2555-ปัจจุบัน กรรมการอิสระ, กรรมการ ตรวจสอบ กับปัญหาวิกฤตมหาอุทกภัย” บริษัท สหมิตรเครื่องกล จำ�กัด (มหาชน)

> 2555-ปัจจุบัน

กรรมการอิสระ, กรรมการ

ตรวจสอบ บริษัท น้ำ�ตาลขอนแก่น จำ�กัด (มหาชน) > 2551-ปัจจุบัน กรรมการอิสระ, ประธาน คณะกรรมการสรรหาและพิ จ ารณาค่ า ตอบแทน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำ�กัด (มหาชน) ตําแหน่งในกิจการอืน่ (ที่ ไม่ใช่บริษทั จดทะเบียน) > กรรมการ คณะกรรมการกำ�กับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย > กรรมการ คณะกรรมการกฤษฎีกา > ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์สง่ เสริมศิลปา ชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) การผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดยสมาคม ส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) 2554 > หลักสูตร Financial Institutions Governance Program (FGP) 2554 > หลักสูตร Monitoring the Quality of Financial Reporting (MFR) 2552 > หลั ก สู ต ร Audit Committee Program (ACP) > หลักสูตร Financial Statements for Directors (FSD) 2551 > หลักสูตร Role of the Compensa tion Committee (RCC) 2549 > หลักสูตร Director Certification Program (DCP)

นายครรชิต บุนะจินดา อายุ 45 ปี

สัดส่วนการถือหุน้ ในบริษทั : ไม่มี

กรรมการอิสระ

(ตามมติทป่ี ระชุมคณะกรรมการบริษทั ครัง้ ที่ 2/2556 เมือ่ วันที่ 22 ก.พ. 56)


246 | 247

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

กรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน กรรมการบริหารความเสี่ยง วันทีด่ �ำ รงตำ�แหน่งกรรมการบริษทั : 26 มิ.ย. 46

คุณวุฒิทางการศึกษา > ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย > ปริญญาโท สาขาการเงินและธุรกิจระหว่างประเทศ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย > Kellogg Graduate School Management, Northwestern University ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้โครงการแลกเปลี่ยน สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบการณ์ > ผูอ ้ �ำ นวยการอาวุโส ฝ่ายวานิชธนกิจ, หัวหน้า คณะทำ�งานด้านการควบรวมกิจการ บริษทั หลักทรัพย์ เมอร์รลิ ลินช์ ภัทร จำ�กัด (ปัจจุบนั คือ บริษทั หลักทรัพย์ ภัทร จำ�กัด) > กรรมการ บริษทั พฤกษา เรียลเอสเตท จำ�กัด (มหาชน) ตําแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น > 2553-ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำ�กัด (มหาชน) > 2549-ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำ�กัด (มหาชน) > 2548-ปัจจุบัน กรรมการตรวจสอบ บริษัท ทรู วิชั่นส์ จำ�กัด (มหาชน)

Asian Corporate GovernanceAssocia- > ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ tion Limited สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน การผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดยสมาคม คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง > วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) หลักสูตรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 1 2552 > หลักสูตร Director Luncheon > วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร Briefing (DLB) หลักสูตรการจัดการสมัยใหม่ รุ่นที่ 1 > หลักสูตร Monitoring of the Quality of Financial Reporting ประสบการณ์ (MFR) > ผู้ช่วยผู้จัดการ > หลักสูตร Monitoring the Internal บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำ�กัด Audit Function (MIA) > ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ > หลักสูตร Monitoring the System บริษท ั ห้างเซ็นทรัลดีพาทเมนท์สโตร์ จำ�กัด of Internal Control and Risk > ผู้ก่อตั้ง, นายกสมาคม สมาคมผู้ค้าปลีกห้างสรรพสินค้า Management (MIR) > ที่ปรึกษารัฐมนตรี 2549 > หลักสูตร Audit Committee กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา Program (ACP) 2548 > หลักสูตร Director Accreditation > กรรมการ สมาคมอัสสัมชัญ Program (DAP) ตําแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น 2546 > หลักสูตร Director Certification > ประธานกรรมการ Program (DCP) บริ ษั ท โรงแรมเซ็ น ทรั ล พลาซา จำ � กั ด (มหาชน) > 2525-ปัจจุบัน กรรมการ, ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท โพสต์ พับลิชชิ่ง จำ�กัด (มหาชน) นายสุทธิเกียรติ

จิราธิวัฒน์

อายุ 70 ปี

สัดส่วนการถือหุน้ ในบริษทั : 1.915%

กรรมการ

วันทีด่ �ำ รงตำ�แหน่งกรรมการบริษทั : 10 ก.ค. 45

คุณวุฒิทางการศึกษา > ปริญญาบัตร สาขาวิศวกรรมเครื่องกล South West Essex Technical College ตําแหน่งในกิจการอืน่ (ที่ ไม่ใช่บริษทั จดทะเบียน) ประเทศอังกฤษ > รองกรรมการผู้จัดการ > ปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ บริษทั ไพรเวท อิควิตี้ (ประเทศไทย) จำ�กัด มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง (บริษทั ในเครือ ลอมบาร์ด อินเวสเมนท์ กรุป๊ ) > ปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ > กรรมการร่วม มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง

ตําแหน่งในกิจการอืน่ (ที่ ไม่ใช่บริษทั จดทะเบียน) > รองประธานกรรมการกำ�กับการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำ�กัด > กรรมการสมาคม สมาคมการค้าไทยอุตสาหกรรมเพื่อการ ท่องเที่ยว การผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดยสมาคม ส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) 2551 > หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP)


นายสุทธิชาติ จิราธิวัฒน์ อายุ 67 ปี

สัดส่วนการถือหุน้ ในบริษทั : 0.512%

กรรมการ

วันทีด่ �ำ รงตำ�แหน่งกรรมการบริษทั : 10 ก.ค. 45

คุณวุฒิทางการศึกษา > ปริญญาตรี สาขาบัญชี St. Joseph’s College ประเทศสหรัฐอเมริกา > วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 11 ประสบการณ์ > ประธานกรรมการบริหารและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำ�กัด > ประธาน สมาคมผู้ค้าปลีกไทย > ประธาน คณะกรรมการธุรกิจการค้าปลีก หอการค้าไทย > ประธานกรรมการ บริษัท บิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำ�กัด (มหาชน) > ที่ปรึกษา สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย > กรรมการ เหรัญญิก มูลนิธเิ พือ ่ สิง่ แวดล้อม ตําแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น > กรรมการ บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำ�กัด (มหาชน)

การผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดยสมาคม ส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) 2547 > หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) 2546 > หลักสูตร Finance for Non Finance Director (FND) > หลักสูตร Board and CEO Assessment 2543 > หลักสูตร Role of Chairman Program (RCP)

นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ อายุ 67 ปี

สัดส่วนการถือหุน้ ในบริษทั : 0.651%

> 2546-ปัจจุบัน

กรรมการ บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำ�กัด (มหาชน) ตําแหน่งในกิจการอืน่ (ที่ ไม่ใช่บริษทั จดทะเบียน) > กรรมการกำ�กับการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำ�กัด > กรรมการ บริษัท เซ็นทรัลกาเมนท์แฟคทอรี่ จำ�กัด > กรรมการ บริษัท ห้างสรรพสินค้าเชียงใหม่ จำ�กัด > กรรมการ บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำ�กัด การผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดยสมาคม ส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) 2550 > หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) > หลักสูตร Director Certification Program (DCP)

กรรมการ ทีป่ รึกษาคณะกรรมการสรรหาและกำ�หนด ค่าตอบแทน

นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์

วันทีด่ �ำ รงตำ�แหน่งกรรมการบริษทั : 10 ก.ค. 45

คุณวุฒิทางการศึกษา > ปริญญาตรี สาขาคณิตศาสตร์ St. John Fisher College ประเทศสหรัฐอเมริกา ประสบการณ์ > ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้งกรุ๊ป จำ�กัด > กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซ็นทรัลกาเมนท์แฟคทอรี่ จำ�กัด > กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปริญญ์อินเตอร์เทรด จำ�กัด

ตําแหน่งในกิจการอืน่ (ที่ ไม่ใช่บริษทั จดทะเบียน) ตําแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น > กรรมการกำ�กับการบริหาร > 2549-ปัจจุบัน ประธานกรรมการ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำ�กัด บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำ�กัด > กรรมการ บริษัท เดอะวินเทจ คลับ จำ�กัด (มหาชน) > กรรมการ มูลนิธิเตียง จิราธิวัฒน์

อายุ 65 ปี

สัดส่วนการถือหุน้ ในบริษทั : 0.614%

กรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการสรรหาและกำ�หนด ค่าตอบแทน วันทีด่ �ำ รงตำ�แหน่งกรรมการบริษทั : 1 มี.ค. 38

คุณวุฒิทางการศึกษา > ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ (ไฟฟ้า) University of Maryland (College Park) ประเทศสหรัฐอเมริกา > ปริญญาโท บริหารธุรกิจ (Operations Research) Iona University ประเทศสหรัฐอเมริกา


248 | 249

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

การผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดยสมาคม > กรรมการ บริษัท อินทรประกันภัย จำ�กัด (มหาชน) ส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) 2546 > หลักสูตร Director Certification > กรรมการบริหาร ประสบการณ์ บริษัท อินเตอร์ไลฟ์ จอห์นแฮนคอค Program (DCP) > กรรมการ สภาหอการค้าไทย ประกันชีวิต จำ�กัด (มหาชน) > นายกสโมสร สโมสรโรตารี่ บางเขน > กรรมการ > ประธานกรรมการ บริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำ�กัด บริษัท คอฟฟี่พาร์ทเนอร์ส จำ�กัด > กรรมการบริหาร (Starbucks - ประเทศไทย) นายปริญญ์ บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำ�กัด > นายกและผู้ก่อตั้ง สมาคมศูนย์การค้าไทย จิราธิวัฒน์ > เจ้าหน้าที่ฝ่ายวาณิชธนกิจ > กรรมการผู้จัดการใหญ่, บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ ธนชาติ จำ�กัด อายุ 50 ปี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (มหาชน) บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) สัดส่วนการถือหุน้ ในบริษทั : 1.397% ตําแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น กรรมการ > ที่ปรึกษารัฐมนตรี กระทรวงพาณิชย์ > 2555-ปัจจุบัน กรรมการตรวจสอบ ่ ง > รองกรรมการผู้จัดการใหญ่, ประธานฝ่าย กรรมการบริหารความเสีย บริษัท โรงพยาบาลบำ�รุงราษฎร์ จำ�กัด จัดซื้อ ฝ่ายการตลาด ฝ่ายวางแผนธุรกิจ, ทีป่ รึกษาคณะกรรมการสรรหาและกำ�หนด (มหาชน) ผู้อำ�นวยการฝ่ายขาย และฝ่ายการตลาด ค่าตอบแทน วั น ที ด ่ � ำ รงตำ � แหน่ ง กรรมการบริ ษ ท ั : 1 มี . ค. 38 > 2549-ปัจจุบัน กรรมการ บริษทั ห้างเซ็นทรัลดีพาทเมนท์สโตร์ จำ�กัด บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำ�กัด ตําแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น คุณวุฒิทางการศึกษา (มหาชน) > 2554-ปัจจุบัน กรรมการ > ปริญญาตรี สาขาบัญชี > กรรมการ บริษัท บิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำ�กัด Skidmore College ประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำ�กัด (มหาชน) > ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ (มหาชน) > 2553-ปัจจุบัน ประธานกรรมการ, สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ กรรมการอิสระ บริษัท จัสมิน อินเตอร์- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตําแหน่งในกิจการอืน่ (ที่ ไม่ใช่บริษทั จดทะเบียน) เนชั่นแนล จํากัด (มหาชน) > สถาบันวิทยาการตลาดทุน > กรรมการบริหาร, ประธานเจ้าหน้าทีบ ่ ริหาร > 2547-ปัจจุบัน รองประธานกรรมการ (หลักสูตร วตท.) รุ่นที่ 1 ปี 2547 การเงิน บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำ�กัด บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำ�กัด > หลักสูตรกระบวนการผู้บริหารความ > กรรมการ, กรรมการบริหาร (มหาชน) ยุติธรรมระดับสูง (บยส) รุ่นที่ 13 บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำ�กัด > 2546-ปัจจุบัน กรรมการ, บริษัท ปีการศึกษา 2551 > ที่ปรึกษา ตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) โรงแรม เซ็นทรัล พลาซา จำ�กัด (มหาชน) > วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร > คณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย หลั ก สู ต รภาครั ฐ ร่ ว มเอกชน รุ น ่ ที ่ 22 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ตําแหน่งในกิจการอืน่ (ที่ ไม่ใช่บริษทั จดทะเบียน) > ประธานกรรมการบริหาร ประสบการณ์ การผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดยสมาคม บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำ�กัด > กรรมการ ส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) > กรรมการ บริษัท เซ็นทรัลโฮลดิ้ง จำ�กัด บริษัท มาลีสามพราน จำ�กัด (มหาชน) 2553 > หลักสูตร Advanced Audit > กรรมการ บริษัท เดอะวินเทจคลับ จำ�กัด > ประธานกรรมการตรวจสอบ Committee Program > สมาชิก กรรมาธิการพาณิชย์ บริษัท หลักทรัพย์ บัวหลวง จำ�กัด 2552 > หลักสูตร Monitoring Fraud Risk สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (MIR) (มหาชน) Management (MFM) > กรรมการ > หลักสูตร Monitoring of the บริษทั ธนมิตร แฟคตอริง่ จำ�กัด (มหาชน) Quality of Financial Reporting (MFR) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 13 >


2550 > หลักสูตร Monitoring the Internal Audit Function (MIA) > หลักสูตร Monitoring the System of Internal Control and Risk Management (MIR) 2549 > หลักสูตร Chief Financial Officer 2548 > หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) > หลักสูตร Audit Committee Program (ACP) > หลักสูตร Role of Chairman Program (RCP) 2543 > หลักสูตร Director Certification Program (DCP)

นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ อายุ 57 ปี

สัดส่วนการถือหุน้ ในบริษทั : 1.216%

กรรมการ กรรมการบริหารความเสี่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร วันทีด่ �ำ รงตำ�แหน่งกรรมการบริษทั : 1 มี.ค. 38

คุณวุฒิทางการศึกษา > ปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย > ปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ University of Norte Dame ประเทศสหรัฐอเมริกา > ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ University of Chicago, Graduate School of Business ประเทศสหรัฐอเมริกา

วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 21 >

ประสบการณ์ > ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำ�กัด > ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำ�กัด > ผู้ช่วยผู้จัดการสาขา บริษทั ห้างเซ็นทรัลดีพาทเมนท์สโตร์ จำ�กัด > รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำ�กัด > รองกรรมการผู้จัดการใหญ่, ผู้อำ�นวยการอาวุโสฝ่ายพัฒนาธุรกิจ, ผู้อำ�นวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สิน บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน)

นายสุทธิเดช จิราธิวัฒน์ อายุ 62 ปี

สัดส่วนการถือหุน้ ในบริษทั : 0.748%

รองกรรมการผูจ้ ดั การอาวุโส คุณวุฒิทางการศึกษา > ปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ Prince George College ประเทศสหรัฐอเมริกา

ประสบการณ์ > ผู้ ช่ ว ยกรรมการผู้ จั ด การใหญ่ สายงาน ตําแหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น พัฒนาโครงการและบริหารงานก่อสร้าง > 2555-ปัจจุบัน กรรมการ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) บริษัท มาลีสามพราน จำ�กัด (มหาชน) > ผู้อำ�นวยการฝ่ายขาย ตําแหน่งในกิจการอืน่ (ที่ ไม่ใช่บริษทั จดทะเบียน) บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) > ผู้อำ�นวยการฝ่ายขาย > กรรมการบริหาร บริษัท บางนาเซ็นทรัลพร็อพเพอร์ตี้ จำ�กัด บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำ�กัด > ผู้อำ�นวยการฝ่ายขายและการตลาด > กรรมการ บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำ�กัด บริษัท ห้องอาหารซากุระ จำ�กัด > ผู้อำ�นวยการ > กรรมการ บริษัท เซ็นทรัลแอ๊ดวานซ์ซิสเต็ม จำ�กัด บริษัท ฟู้ดพาร์ค จำ�กัด > กรรมการ > กรรมการ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) บริษัท เจเนซิส คอร์ปอร์เรชั่น จำ�กัด การผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดยสมาคม ส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) 2544 > หลักสูตร Director Certification Program (DCP)

นายนริศ เชยกลิ่น อายุ 51 ปี

สัดส่วนการถือหุน้ ในบริษทั : ไม่มี

รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงิน บัญชี และบริหารความเสีย่ ง กรรมการบริหารความเสี่ยง


250 | 251

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

Advanced Management Program, ประสบการณ์ Executive Course, Harvard Business > กรรมการผูจ้ ัดการ School, ประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัท ฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ จำ�กัด (มหาชน) ประสบการณ์ > กรรมการผู้จัดการ > ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำ�กัด บริษัท กลุ่มสยามบรรจุภัณฑ์ จำ�กัด ประสบการณ์ > ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ การผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดยสมาคม > กรรมการ, บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) ส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ผู้อำ�นวยการฝ่ายการเงินและบริหาร > กรรมการผู้จัดการใหญ่ 2552 > หลักสูตร Director Certification กลุ่มบริษัท ไทยวา จำ�กัด (มหาชน) ท๊อป ซูเปอร์มาร์เกต > ผู้อำ�นวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน Program (DCP) > กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนายง จำ�กัด (มหาชน) 2547 > หลักสูตร Director Accreditation > หัวหน้าแผนกผู้ตรวจสอบด้านเทคโนโลยี เซ็นทรัลซูเปอร์มาร์เก็ต Program (DAP) > ผู้อำ�นวยการ คอมพิวเตอร์ บริษัท สำ�นักงาน เอสจีวี ณ ถลาง จำ�กัด บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำ�กัด > ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการบัญชี ธนาคารนครหลวงไทยจำ�กัด (มหาชน) นายสุทธิภัค > กรรมการ, กรรมการบริหาร บริษัท สยามซิตี้ อินชัวรันส์ จำ�กัด จิราธิวัฒน์ คุณวุฒิทางการศึกษา > ปริญญาตรี สาขาบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ > ปริญญาโท สาขาบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

>

นายสมชาติ บาระมีชัย

อายุ 62 ปี

นางสาววัลยา จิราธิวัฒน์​์ อายุ 51 ปี

สัดส่วนการถือหุน้ ในบริษทั : ไม่มี

รองกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ สายงานปฏิบตั กิ าร

คุณวุฒิทางการศึกษา > ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์ สาขาสุขาภิบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ > ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์ สายงานพัฒนาธุรกิจ ออกแบบ สาขาสุขาภิบาล Delft University of และบริหารโครงการก่อสร้าง Technology ประเทศเนเธอร์แลนด์ คุณวุฒิทางการศึกษา > ปริญญาโท บริหารธุรกิจ > ปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ University of California, Los Angeles > Advanced Management Program (AMP) (UCLA) ประเทศสหรัฐอเมริกา at Wharton, University of Pennsyl> ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ vania ประเทศสหรัฐอเมริกา University of Hartford ประเทศสหรัฐอเมริกา สัดส่วนการถือหุน้ ในบริษทั : 0.394%

อายุ 51 ปี

สัดส่วนการถือหุน้ ในบริษทั : 0.589%

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำ�นักกรรมการผู้จัดการใหญ่ คุณวุฒิทางการศึกษา > Mini MBA สาขาอสังหาริมทรัพย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย > Mini MBA คณะพาณิชยศาสตร์และ การบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย > Real Estate Investment สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย > Executive MBA สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ประสบการณ์ > ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายขาย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายการตลาด ผู้อำ�นวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายขายและการตลาด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) > ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยอินเตอร์เนชั่นแนลฟาสต์ฟู้ด จำ�กัด > ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลการ์เมนท์แฟคทอรี่ จำ�กัด > ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท เซ็นทรัลการ์เมนท์แฟคทอรี่ จำ�กัด

> ผู้อ�ำ นวยการฝ่ายจัดซื้อทั่วไป

> ผู้อำ�นวยการโครงการ

บริษัท บิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำ�กัด บริษัท อิโตชู (ประเทศไทย) จำ�กัด (มหาชน) > ผู้อำ�นวยการโครงการพิเศษ > ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เคเทค คอนสตรัคชั่น แอนด์ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล โลจิสติคส์ จำ�กัด เอ็นจิเนียริ่ง จำ�กัด > ผู้อ�ำ นวยการ บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำ�กัด > ผู้จัดการ ห้างหุน้ ส่วน เจ แอนด์ เอส อิมปอร์ต จำ�กัด

ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา

อายุ 48 ปี

นายธีระชาติ นุมานิต

สัดส่วนการถือหุน้ ในบริษทั : ไม่มี

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาด

คุณวุฒิทางการศึกษา > ปริญญาตรี สาขานิเทศศาสตร์ สัดส่วนการถือหุน้ ในบริษทั : ไม่มี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ > ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ ฝ่ายบริหารโครงการก่อสร้าง สาขานิเทศศาสตร์ การสื่อสารการตลาด นางนาถยา The University of North Texas คุณวุฒิทางการศึกษา จิราธิวัฒน์ > ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์ โยธา ประเทศสหรัฐอเมริกา > ปริญญาเอก สาขานิเทศศาสตร์ วิทยานิพนธ์ อายุ 49 ปี Polytechnic University (การสร้างมาตรฐานโทรทัศน์ไทย) สัดส่วนการถือหุน้ ในบริษทั : 0.396% ประเทศสหรัฐอเมริกา ผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ > ประกาศนียบัตรหลักสูตร “หลักการจัดการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำ�นักกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ ด้านการเงินสำ�หรับผู้บริหาร รุ่นที่ 11 ประสบการณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ > ที่ปรึกษารัฐมนตรี คุณวุฒิทางการศึกษา จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > ปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ > ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายการตลาด ประสบการณ์ University of Hartford บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคทรอนิกส์ จำ�กัด > หัวหน้าฝ่ายประมาณการ ประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัท จอห์น ฮอลแลนด์ (ประเทศไทย) ตําแหน่งในกิจการอืน่ (ที่ ไม่ใช่บริษทั จดทะเบียน) > ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ > ผูจ้ ด ั การโครงการ การทางแห่งนครนิวยอร์ค > อาจารย์พิเศษ ภาควิชาสื่อสารมวลชน University of Hartford ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศฝรั่งเศส คณะนิเทศศาสตร์ > วิศวกร โครงการพาร์สัน บรินเคอร์ฮอฟ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบการณ์ นิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา > ผู้ ช่ ว ยกรรมการผู้ จั ด การใหญ่ อ าวุ โ สฝ่ า ย บริ ห ารสิ น ค้ า บริ ษั ท ห้ า งสรรพสิ น ค้ า > ผู้จัดการโครงการพิเศษ บริษัท ฟิลลิป ฮอสแมน (ประเทศไทย) โรบินสัน จำ�กัด (มหาชน) อายุ 55 ปี


252 | 253

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

นางสาวนภารัตน์ ศรีวรรณวิทย์

นางปณิดา สุขศรีดากุล อายุ 57 ปี

อายุ 40 ปี

ผูช้ ว่ ยกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ สายงานบริหารทรัพย์สนิ

รักษาการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบริหารและปฏิบัติการการเงิน เลขานุการบริษัท

สัดส่วนการถือหุน้ ในบริษทั : ไม่มี

คุณวุฒิทางการศึกษา > ปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง > ปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง

สัดส่วนการถือหุน้ ในบริษทั : 0.001%

ดำ�รงตำ�แหน่งเลขานุการบริษทั : 15 ส.ค. 51

คุณวุฒิทางการศึกษา > ปริญญาตรี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย > ปริญญาโท คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประสบการณ์ > ผู้ อำ � นวยการอาวุ โ ส ฝ่ า ยพั ฒ นาและ ประสบการณ์ มาตรฐานการบริหารทรัพย์สิน บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) > ผู้อ�ำ นวยการอาวุโส ฝ่ายการเงิน ผู้อำ�นวยการ ฝ่ายการเงิน > ผู้อำ�นวยการศูนย์การค้า บริษัท เซ็นทรัลพัฒนาจำ�กัด (มหาชน) ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ ฝ่ายการเงิน ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการเงิน ผู้จัดการ ฝ่ายการเงิน บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) > ผู้ช่วยผู้สอบบัญชี บริษัท ไพร์ซวอเตอร์เฮ้าส์ จำ�กัด (ปัจจุบันคือ บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส เอบีเอเอส จำ�กัด) การผ่านการอบรมหลักสูตรที่จัดโดยสมาคม ส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) 2545 > หลักสูตรเลขานุการบริษัท (CSP) รุ่นที่ 2


สรุปข้อมูลทั่วไปของนิติบุคคล ที่บริษัทถือร้อยละ 10 ขึ้นไป บริษัท

ประเภทธุรกิจ

1 บริษัท เซ็นทรัลเรียลตี้ เซอร์วิส จำ�กัด 999/9 ถ.พระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กทม. 10330 โทร 0-2667-5555 2 บริษัท เซ็นทรัลฟู้ดอเวนิว จำ�กัด 1697 ถ.พหลโยธิน แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กทม. 10900 โทร 0-2793-6000 3 บริษัท หลังสวนเรียลตี้ จำ�กัด 95/3 ซอยหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กทม. 10330 โทร 0-2652-2277

ทุนจดทะเบียน

สัดส่วนการถือหุ้น

ให้บริการสาธารณูปโภคภายใน ศูนย์การค้า

1,000,000

99.99%

ศูนย์อาหารภายในศูนย์การค้า

5,000,000

99.99%

1,000,000,000

99.99%

4 บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 2 จำ�กัด ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา 160 ถ.พระรามที่ 2 แขวงแสมดำ� เขตบางขุนเทียน พระราม 2 กทม.10150 โทร 0-2866-4300

1,500,000,000

99.99%

5 บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา เชียงใหม่ จำ�กัด 2 ถ.มหิดล 252-252/1 ถ.วัวลาย ต.หายยา อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50100 โทร 0-5399-9199

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต

1,000,000,000

99.99%

6 บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา รัตนาธิเบศร์ จำ�กัด 68/100, 68/919 หมู่ 8 ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.บางกระสอ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี 11000 โทร 0-2834-6000

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์

800,000,000

99.99%

7 บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 3 จำ�กัด ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา 79 ถ.สาธุประดิษฐ์ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา พระราม 3 กทม. 10120 โทร 0-2649-6000

324,738,000

99.99%

8 บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ขอนแก่น จำ�กัด 999/9 ถ.พระราม1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กทม. 10330 โทร 0-2667-5555

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น

2,000,000,000

78.13%

9 บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ชลบุรี จำ�กัด 999/9 ถ.พระราม1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กทม. 10330 โทร 0-2667-5555

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี

900,000,000

99.99%

อาคารที่พักอาศัย และพื้นที่ร้านค้าให้เช่า


254 | 255

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

บริษัท

ประเภทธุรกิจ

10 บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ไนน์ สแควร์ จำ�กัด 9/9 ถ.พระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กทม. 10310 โทร 0-2103-5999

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9

11 บริษทั เซ็นทรัลเรียลตี้ เซอร์วสิ พระราม 3 จำ�กัด ให้บริการสาธารณูปโภคภายใน 79 ถ.สาธุประดิษฐ์ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา ศูนย์การค้า กทม. 10120 โทร 0-2649-6000

ทุนจดทะเบียน

สัดส่วนการถือหุ้น

3,200,000,000

93.30%

175,000,000

99.99%

600,000,000

99.99%

12 บริษัท บางนา เซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้ จำ�กัด 587, 589 ถ.บางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กทม. 10260 โทร 0-2763-6000

ศูนย์การค้า/อาคารสำ�นักงาน/ ที่พักอาศัย/สวนน้ำ� โครงการเซ็นทรัลพลาซา บางนา

13 บริษัท ซีพีเอ็น พัทยา บีช จำ�กัด 999/9 ชั้น 32 ถ.พระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กทม. 10330 โทร 0-2667-5555

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช

1,500,000,000

14 บริษัท เซ็นทรัลเวิลด์ จำ�กัด 4, 4/1-4/2, 4/4 ถ.ราชดำ�ริห์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กทม. 10330 โทร 0-2640-7000

ให้บริการสาธารณูปโภคภายใน ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี และศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา พิษณุโลก

2,511,938,100

15 บริษัท เซ็นทรัล เพลย์ แลนด์ จำ�กัด 591 ถ.บางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กทม. 10260 โทร 0-2763-6000

ให้เช่าพื้นที่ค้าปลีกภายใน ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา บางนา

518,000,000

16 บริษัท สยาม รีเทล ดีเวลล็อปเม้นท์ จำ�กัด 5/5-6 หมู่ 7 ถ.รามอินทรา เขตคันนายาว กทม. 10230 โทร 0-2947-5000

ศูนย์การค้าแฟชั่น ไอส์แลนด์

500,000,000

17 บริษัท สแควร์ ริทซ์ พลาซ่า จำ�กัด 5/5 หมู่ 7 ถ.รามอินทรา เขตคันนายาว กทม. 10230 โทร 0-2947-5000

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

125,000,000

(ถือผ่าน บจ.หลังสวนเรียลตี้)

99.99%

90.00%

(ถือผ่าน บจ.บางนา เซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้ 10.00%)

99.99%

(ถือผ่าน บจ.บางนา เซ็นทรัล พร็อพเพอร์ตี้)

15.00%

(ถือผ่าน บจ.หลังสวน เรียลตี้ 12% และ บจ. สแควร์ ริทซ์ พลาซ่า 3%)

12.00%

(ถือผ่าน บจ.หลังสวนเรียลตี้)


บริษัท

ประเภทธุรกิจ

ทุนจดทะเบียน

สัดส่วนการถือหุ้น

18 บริษัท อยุธยาเกษตรธานี จำ�กัด 47 หมู่ 2 ถ.บางนา-ตราด ต.บางโฉลง อ.บางพลี สมุทรปราการ 10540 โทร 0-2399-4510

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

400,000,000

11.85%

19 กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ CPN รีเทล โกรท บริหารงานโดย บลจ.ไทยพาณิชย์ จำ�กัด 19 อาคาร 3 ไทยพาณิชย์ ปาร์ค ชั้น 21-22 ถ.รัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กทม. 10900 โทร 0-2949-1500 20 กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ CPN คอมเมอร์เชียล โกรท บริหารงานโดย บลจ.ไทยพาณิชย์ จำ�กัด 19 อาคาร 3 ไทยพาณิชย์ ปาร์ค ชั้น 21-22 ถ.รัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กทม. 10900 โทร 0-2949-1500 21 กองทุนรวมธุรกิจไทย 4 บริหารงานโดย บมจ.หลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย 11 อาคารคิวเฮ้าส์สาทร ชั้น M,G ถ.สาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กทม. 10120 โทร. 0-2670-4900 22 กองทุนรวมธุรกิจไทย 5 บริหารงานโดย บมจ.หลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย 11 อาคารคิวเฮ้าส์สาทร ชั้น M,G ถ.สาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กทม. 10120 โทร. 0-2670-4900 23 บริษทั ซีพเี อ็น คอนสตรัคชัน่ แมเนจเม้นท์ จำ�กัด 999/9 ถ.พระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กทม. 10330 โทร 0-2667-5555 24 บริษัท โรงแรม ซีพีเอ็น พัทยา บีช จำ�กัด 999/9 ชั้น 30 ถ.พระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กทม. 10330 โทร 0-2667-5555

ลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โครงการเซ็นทรัลพลาซา พระราม 2, เซ็นทรัลพลาซา พระราม 3 และเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า

16,381,000,000

27.80%

ลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โครงการอาคารสานักงาน ดิ ออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์

4,394,381,700

25.00%

ลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โครงการเซ็นทรัลเวิลด์

4,600,000,000

100.00%

236,760,000*

100.00%

1,000,000

99.93%

1,000,000,000

99.99%

ลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โครงการเซ็นทรัลพลาซา บางนา

บริหารและจัดการเกี่ยวกับงาน ก่อสร้างอาคาร สิ่งปลูกสร้าง และ งานระบบสาธารณูปโภคต่างๆ โรงแรมฮิลตัน พัทยา

(ถือผ่าน บจ.หลังสวนเรียลตี้)


256 | 257

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

บริษัท

ประเภทธุรกิจ

ทุนจดทะเบียน

สัดส่วนการถือหุ้น

25 บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด 999/9 ถ.พระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กทม.10330 โทร 0-2667-5555

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงราย, ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา สุราษฎร์ธานี และศูนย์ การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลำ�ปาง

700,000,000

99.99%

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

1,000,000

99.94%

พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

1,863,485,000

99.99%

28 บริษัท ซีพีเอ็น คอมเพล็กซ์ จำ�กัด พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 999/9 ถ.พระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กทม. 10330 โทร 0-2667-5555 29 Global Retail Development & พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ Investment Limited. 30/F Jardine House One Connaught Place Central HK. 30 Global Commercial Property Limited. พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 30/F Jardine House One Connaught Place Central HK. 31 Central (Shanghai) Management พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ Consulting Co.,Ltd. Room 1107, No.238 Jiangchang (No.3) Road, Zhabei District, Shanghai

1,341,600,000

26 บริษัท ซีพีเอ็น โกบอล จำ�กัด 999/9 ถ.พระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กทม. 10330 โทร 0-2667-5555 27 บริษัท ซีพีเอ็น ซิตี้ จำ�กัด 999/9 ถ.พระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กทม. 10330 โทร 0-2667-5555

หมายเหตุ * แสดงเฉพาะทุนที่ได้รับจากผู้ถือหน่วยประเภทเจ้าของ

(ถือผ่าน บจ.เซ็นทรัลฟู้ด อเวนิว 24.99% และ บจ.เซ็นทรัลเวิลด์ 75.00%)

99.99%

(ถือผ่าน บจ.เซ็นทรัล เวิลด์)

HK$10,000

100.00%

HK$10,000

100.00%

RMB10,000,000

100.00%


1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31

นายวันชัย จิราธิวัฒน์ นายเอนก สิทธิประศาสน์ นายสุทธิชัย จิราธิวัฒน์ นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ นายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ นายสุทธิชาติ จิราธิวัฒน์ นายกอบชัย จิราธิวัฒน์ นายปริญญ์ จิราธิวัฒน์ นายสุทธิศักดิ์ จิราธิวัฒน์ นายไพฑูรย์ ทวีผล นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์ นางสุนันทา ตุลยธัญ นายครรชิต บุนะจินดา นายการุณ กิตติสถาพร นายสุทธิเดช จิราธิวัฒน์ นายสุทธิพันธ์ จิราธิวัฒน์ นายสุทธิภัค จิราธิวัฒน์ นางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ นางนาถยา จิราธิวัฒน์ นายสุทธิลักษณ์ จิราธิวัฒน์ นายวิญญู คุวานันท์ นายโยธิน บุญดีเจริญ นายเจตรศิริ บุญดีเจริญ นายเปรมชัย กรรณสูต นายทวีผล คงเสรี นายเจริญ จิรวิศัลย์ นายพีระพล พัฒนพีระเดช นายนพดล พัฒนพีระเดช นายชนวัฒน์ เอื้อวัฒนะสกุล นายสรรคนนท์ จิราธิวัฒน์ นายอิศเรศ จิราธิวัฒน์

บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา บจ. เซ็นทรัลเรียลตี้ เซอร์วิส บจ. เซ็นทรัลฟู้ดอเวนิว บจ. เซ็นทรัลเวิลด์ บจ. หลังสวน เรียลตี้ บจ. เซ็นทรัลพัฒนา รัตนาธิเบศร์ บจ. บางนา เซ็นทรัล พร๊อพเพอร์ตี้ บจ. เซ็นทรัล เพลย์ แลนด์ บจ. เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 3 บจ. เซ็นทรัลเรียลตี้ เซอร์วิส พระราม 3 บจ. เซ็นทรัลพัฒนา พระราม 2 บจ. เซ็นทรัลพัฒนา เชียงใหม่ บจ. เซ็นทรัลพัฒนา ชลบุรี บจ. เซ็นทรัลพัฒนา ขอนแก่น บจ. ซีพีเอ็น พัทยา บีช บจ. โรงแรม ซีพีเอ็น พัทยา บีช บจ. เซ็นทรัลพัฒนา ไนน์ สแควร์ บจ. ซีพีเอ็น คอนสตรัคชั่น แมเนจเม้นท์ บจ. เซ็นทรัลพัฒนา ดีเวลลอปเม้นท์ บจ. ซีพีเอ็น โกบอล บจ. ซีพีเอ็น ซิตี้ บจ. ซีพีเอ็น คอมเพล็กซ์ Global Retail Development & Investment Limited. Global Commercial Property Limited. Central (Shanghai) Management Consulting Co.,Ltd.

รายชื่อกรรมการ ในบริษัทย่อย

• • • • • • • • • • • • -

• • • • • • • • -

• • • • • • • • -

• • • • • • -

• • • • • • • -

• • • • • • • -

• • • • • • • • • -

• • • • • • • • • -

• • • • • • • • -

• • • • • • • • -

• • • • • • • -

• • • • • • • • -

• • • • • • • • • •

• • • • • • • • • • • -

• • • • • • -

• • • • • • • • -

• • • • • • • • • • • • -

• • • • • -

• • • • • • • -

• • • • • • -

• • • • • -

• • • • • -

• -

• -

• -


258 | 259

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

รายชื่อโครงการศูนย์การค้า ภายใต้การบริหารงานของ CPN ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว ที่อยู่ : 1693 ถนนพหลโยธิน แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ : +66 (0) 2793 6000 โทรสาร : +66 (0) 2541 1341

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา รามอินทรา

ที่อยู่ : 109/10 ถนนรามอินทรา แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220 โทรศัพท์ : +66 (0) 2790 3000 โทรสาร : +66 (0) 2552 5513

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า

ที่อยู่ : 7/222 ถนนบรมราชชนนี แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 โทรศัพท์ : +66 (0) 2877 5000 โทรสาร : +66 (0) 2884 8486

ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เซ็นเตอร์ พัทยา

ที่อยู่ : 78/54 หมู่ 9 ถนนพัทยาสาย 2 ตำ�บลหนองปรือ อำ�เภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20260 โทรศัพท์ : +66 (0) 3300 3888 โทรสาร : +66 (0) 3300 3888 ต่อ 1225-7

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต

ที่อยู่ : 2 ถนนมหิดล 252-252/1 ถนนวัวลาย ตำ�บลหายยา อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50100 โทรศัพท์ : +66 (0) 5399 9199 โทรสาร : +66 (0) 5399 9122-3

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พระราม 3

ที่อยู่ : 79 ถนนสาธุประดิษฐ์ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ : +66 (0) 2649 6000 โทรสาร : +66 (0) 2673 6009

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา บางนา

ที่อยู่ : 587, 589 ถนนบางนา-ตราด (กม.3) แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ : +66 (0) 2763 6000 โทรสาร : +66 (0) 2399 5777

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พระราม 2

ที่อยู่ : 160 ถนนพระราม 2 แขวงแสมดำ� เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ : +66 (0) 2866 4300 โทรสาร : +66 (0) 2872 4560


ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์

ที่อยู่ : เลขที่ 4, 4/1-4/2, 4/4 ถนนราชดำ�ริห์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : +66 (0) 2640 7000 โทรสาร : +66 (0) 2255 9767

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา รัตนาธิเบศร์

ที่อยู่ : 68/100, 68/919 หมู่ 8 ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำ�บลบางกระสอ อำ�เภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ : +66 (0) 2103 5777 โทรสาร : +66 (0) 2526 6092

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ

ที่อยู่ : 99, 99/9 หมู่ที่ 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำ�บลบางตลาด อำ�เภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท์ : +66 (0) 2101 0000 โทรสาร : +66 (0) 2101 1343

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บีช

ที่อยู่ : 333/99 หมู่ที่ 9 ตำ�บลหนองปรือ อำ�เภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20260 โทรศัพท์ : +66 (0) 3300 3999 โทรสาร : +66 (0) 3300 3999 ต่อ 1225-6

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี

ที่อยู่ : 277/1-3,271/5 ถนนประจักษ์ศิลปาคม ตำ�บลหมากแข้ง อำ�เภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000 โทรศัพท์ : +66 (0) 4224 9192 โทรสาร : +66 (0) 4224 4639

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี

ที่อยู่ : 55/88-89, 55/91 หมู่ที่ 1 ตำ�บลเสม็ด อำ�เภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000 โทรศัพท์ : +66 (0) 3300 3333 โทรสาร : +66 (0) 3300 3179

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น

ที่อยู่ : 99, 99/1 ถนนศรีจันทร์ ตำ�บลในเมือง อำ�เภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000 โทรศัพท์ : +66 (0) 4300 1000 โทรสาร : +66 (0) 4300 1209

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงราย

ที่อยู่ : 99/9 หมู่ 13 ตำ�บลรอบเวียง อำ�เภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย 57000 โทรศัพท์ : +66 (0) 5202 0999 โทรสาร : +66 (0) 5202 0900


260 | 261

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พิษณุโลก

ที่อยู่ : 9/99 หมู่ 5 ตำ�บลพลายชุมพล อำ�เภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ : +66 (0) 5500 0999 โทรสาร : +66 (0) 5500 0990

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9

ที่อยู่ : 9/9 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320 โทรศัพท์ : +66 (0) 2103 5999 โทรสาร : +66 (0) 2103 5990

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา สุราษฎร์ธานี

ที่อยู่ : 88 หมู่ 10 ตำ�บลวัดประดู่ อำ�เภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000 โทรศัพท์ : +66 (0) 7796 3555 โทรสาร : +66 (0) 7796 3599

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลำ�ปาง

ที่อยู่ : 319 ถนนไฮเวย์ล�ำ ปาง-งาว ตำ�บลสวนดอก อำ�เภอเมืองลำ�ปาง จังหวัดลำ�ปาง 52100 โทรศัพท์ : +66 (0) 5401 0555 โทรสาร : +66 (0) 5401 0599


บุคคลอ้างอิงอื่น

นายทะเบียนหุ้น บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำ�กัด ชัน้ 4 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เลขที่ 62 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย โทรศัพท์ : +66 (0) 2229 2888 โทรสาร : +66 (0) 2654 5427

ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ หุ้นกู้ CPN135A และ CPN145A ธนาคารทหารไทย จำ�กัด (มหาชน) เลขที่ 393 ถ.สีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 ประเทศไทย โทรศัพท์ : +66 (0) 2230 6061 โทรสาร : +66 (0) 2266 8150

นายทะเบียนหุ้นกู้ หุ้นกู้ CPN136A, CPN15DA และ CPN176A ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำ�กัด (มหาชน) เลขที่ 44 ถนนหลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย โทรศัพท์ : +66 (0) 2626 7503 โทรสาร : +66 (0) 2626 7542

หุ้นกู้ CPN135A และ CPN145A ธนาคารกสิกรไทย จำ�กัด (มหาชน) เลขที่ 1 ซอยกสิกรไทย ถนนราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ 10140 ประเทศไทย โทรศัพท์ : +66 (0) 2470 1987 โทรสาร : +66 (0) 2470 1998 หุ้นกู้ CPN164A, CPN160A, CPN180A, CPN210A, CPN156A, CPN171A และ CPN13NA ธนาคารไทยพาณิชย์ จำ�กัด (มหาชน) เลขที่ 9 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ประเทศไทย โทรศัพท์ : +66 (0) 2256 2323-8 โทรสาร : +66 (0) 2256 2406 หุ้นกู้ CPN163A ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำ�กัด (มหาชน) เลขที่ 1222 ถนนพระรามที่ 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 ประเทศไทย โทรศัพท์ : +66 (0) 2296 3582 โทรสาร : +66 (0) 296 2202

ผู้สอบบัญชี บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำ�กัด โดยนายวิเชียร ธรรมตระกูล (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 3183) ชั้น 50-51 เอ็มไพร์ทาวเวอร์ เลขที่ 195 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 ประเทศไทย โทรศัพท์ : +66 (0) 2677 2000 โทรสาร : +66 (0) 2677 2222

บริษัทจัดอันดับเครดิตองค์กร และตราสารหนี้

บริษัท ทริสเรทติ้ง จำ�กัด ชั้น 24 อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ เลขที่ 191 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 ประเทศไทย โทรศัพท์ : +66 (0) 2231 3011 โทรสาร : +66 (0) 2231 3012


262 | 263

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

ข้อมูลสำ�หรับนักลงทุน บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) ทุนจดทะเบียน : 2,178,816,000 บาท ทุนที่ออกและชำ�ระแล้ว : 2,178,816,000 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญ 2,178,816,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท ข้อมูลหลักทรัพย์ หุ้นสามัญของ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) เข้าจด ทะเบียนและทำ�การซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อย่อหลักทรัพย์ “CPN” การประชุมสามัญผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษทั มีมติให้ก�ำ หนดวันประชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจำ� ปี 2556 ในวันที่ 26 เมษายน 2556 เวลา 14.00 น. ณ ห้องบางกอก คอนเวนชัน่ เซ็นเตอร์ ชัน้ 5 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว 1693 ถนนพหลโยธิน แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ประเทศไทย ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์ ผู้ติดต่อ: คุณอัมพาวีร์ ชมภูพงษ์เกษม คุณสิริพร สถิตศาสตร์ คุณสุภัชชา โล่ห์วนิชชัย ที่อยู่ : บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) ชั้น 31 อาคารดิออฟฟิศเศส แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เลขที่ 999/9 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย โทรศัพท์ : +66(0) 2667 5555 ต่อ 1614 หรือ 1688 โทรสาร : +66(0) 2264 5593 อีเมลล์ : ir@cpn.co.th เว็บไชต์ : www.cpn.co.th นโยบายการจ่ายเงินปันผล : CPN มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราประมาณร้อยละ 40 ของกำ�ไรสุทธิจากการดำ�เนินงานประจำ�ปี (กรณีไม่มเี หตุผลจำ�เป็น อื่นใด)

ข้ อ มู ล ราคาหลั ก ทรั พ ย์ แ ละการจ่ า ยเงิ น ปั น ผลในช่ ว งเวลา 5 ปี ย้อนหลัง (ปี 2551–2555) หน่วย : บาทต่อหุ้น ปี ราคาสูงสุด ราคาต่�ำ สุด เงินปันผลจ่าย 2551 29.75 7.60 0.33 2552 24.80 11.60 0.58 2553 32.50 17.60 0.25 2554 40.00 25.75 0.37 2555 81.75 37.75 0.95* หมายเหตุ : * รออนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น

การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาหลักทรัพย์ CPN เปรียบเทียบกับ ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและดัชนีราคาหมวด ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การเพิ่มค่าของดัชนีราคา หลักทรัพย์ ดัชนีราคาหลักทรัพย์ CPN ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ฯ ดัชนีราคาหมวดธุรกิจพัฒนา อสังหาริมทรัพย์

3 ปีย้อนหลัง 303% 90% 123%

1 ปีย้อนหลัง 117% 34% 77%

เปรียบเทียบการเคลือ่ นไหวของราคาหลักทรัพย์ CPN กับดัชนีราคา หมวดธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ 3 ปี ย้อนหลัง (ราคาปี 2553 เป็นปีฐาน) หลักทรัพย์ CPN หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (PROP) ราคาตลาดหลักทรัพย์ (SET)

ดัชนีเปรียบเทียบ 100 (ม.ค. 2553 = 100)

450 400 350 300 250 200 150 100 50 0 ม.ค. 53

มิ.ย. 53

พ.ย. 53

เม.ย. 54

ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ก.ย. 54

ก.พ. 55

ก.ค. 55

ธ.ค. 55


ปฏิทินทางการเงินที่สำ�คัญปี 2555 และ 2556 ปฏิทินทางการเงิน

2555

แจ้งงบการเงินสำ�หรับผลการดำ�เนินงานประจำ�ปีก่อน กุมภาพันธ์ งานแถลงผลการดำ�เนินงานทางการเงินประจำ�ปีก่อน มีนาคม ปิดสมุดทะเบียนสำ�หรับสิทธิการเข้าประชุมผู้ถือหุ้นประจำ�ปี เมษายน จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น เมษายน จ่ายเงินปันผลสำ�หรับผลการดำ�เนินงานประจำ�ปีก่อน พฤษภาคม แจ้งงบการเงินสำ�หรับผลการดำ�เนินงานไตรมาสที่ 1 พฤษภาคม งานแถลงผลการดำ�เนินงานทางการเงินไตรมาสที่ 1 พฤษภาคม แจ้งงบการเงินสำ�หรับผลการดำ�เนินงานไตรมาสที่ 2 สิงหาคม งานแถลงผลการดำ�เนินงานทางการเงินไตรมาสที่ 2 สิงหาคม แจ้งงบการเงินสำ�หรับผลการดำ�เนินงานไตรมาสที่ 3 พฤศจิกายน งานแถลงผลการดำ�เนินงานทางการเงินไตรมาสที่ 3 พฤศจิกายน

2556 (คาดการณ์) กุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน เมษายน พฤษภาคม พฤษภาคม พฤษภาคม สิงหาคม สิงหาคม พฤศจิกายน พฤศจิกายน


264 | 264

CPN รายงานประจำ�ปี 2555

กิจกรรมนักลงทุนสัมพันธ์ปี 2555 วันที่

กิจกรรม

11-12 มกราคม 2555 พบปะนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ ณ ประเทศสิงคโปร์ จัดโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส 2-3 กุมภาพันธ์ 2555 พบปะนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ ณ ประเทศฮ่องกง จัดโดย บล.ซีแอลเอสเอ 27 กุมภาพันธ์ 2555 พบปะนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ ณ ประเทศพม่า จัดโดย บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง 5 มีนาคม 2555 พบปะนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ ณ ประเทศมาเลเซีย จัดโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ บล.เครดิต สวิส 8-9 มีนาคม 2555 พบปะนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ ณ ประเทศญี่ปุ่น จัดโดย บล.ไดว่า 14-16 มีนาคม 2555 พบปะนักลงทุนสถาบันภายในประเทศ ณ กรุงเทพฯ จัดโดย บล.ซีแอลเอสเอ 21 มีนาคม 2555 งานแถลงผลการดำ�เนินงานประจำ�ปี 2554 ณ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 10-11 เมษายน 2555 พบปะนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ ณ ประเทศสิงคโปร์ จัดโดย บล.ยูบีเอส 27 เมษายน 2555 ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1 ปี 2555 ณ ห้องบางกอกคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว 23 พฤษภาคม 2555 งานแถลงผลการดำ�เนินงานประจำ�ไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ณ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 23 พฤษภาคม 2555 ปิดสมุดทะเบียนสำ�หรับสิทธิการเข้าประชุมผู้ถือหุ้นประจำ�ปีในการรับเงินปันผล 24 พฤษภาคม 2555 พบปะนักลงทุนสถาบันภายในประเทศ ณ กรุงเทพฯ จัดโดย บล.ยูบีเอส 25 พฤษภาคม 2555 พบปะนักลงทุนสถาบันภายในประเทศ ณ กรุงเทพฯ จัดโดย บล.ทิสโก้ 29-30 พฤษภาคม 2555 พบปะนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ ณ ประเทศมาเลเซีย จัดโดย บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง 30 พฤษภาคม-1 มิถุนายน 2555 พบปะนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จัดโดย บล.ดอยซ์ ทิสโก้ 25-29 มิถุนายน 2555 พบปะนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา จัดโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย ร่วมกับ บล.สินเอเซีย 22 สิงหาคม 2555 งานแถลงผลการดำ�เนินงานประจำ�ไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ณ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 22-25 สิงหาคม 2555 พบปะนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ ณ ประเทศญี่ปุ่น จัดโดย บล.เจ.พี.มอร์แกน 30 สิงหาคม 2555 พบปะนักลงทุนสถาบันภายในประเทศ ณ กรุงเทพฯ จัดโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ บล.เมอร์ริล ลินช์ 18 กันยายน 2555 พบปะนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ ณ เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน จัดโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย 8-10 ตุลาคม 2555 พบปะนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ ณ ประเทศฮ่องกง จัดโดย บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส 10-11 ตุลาคม 2555 พบปะนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ ณ ประเทศอังกฤษ จัดโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ บล.เมอร์ริล ลินช์ 25 ตุลาคม 2555 พบปะนักลงทุนสถาบันต่างประเทศ ณ ประเทศสิงคโปร์ จัดโดย บล.มอร์แกน สแตนลีย์ ร่วมกับ บล.บัวหลวง 21 พฤศจิกายน 2555 งานแถลงผลการดำ�เนินงานประจำ�ไตรมาสที่ 3 ปี 2555 ณ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


SPECIAL THANKS TO

> > > > > > > > > > > > > > >

Central Trading Co., Ltd. Dorothy Perkins Topshop Miss Selfridge Wallis The Oddyssee Mango Touch H.E. by Mango 4 x 4 Man S’Fare G2000 Men’s Club SB Design Square Vintage Passion The Coffee Bean & Tea Leaf

DESIGNED BY Color Party Object Palette Studio



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.