ศาสตราจารย์เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ สายธารแห่งชีวิต สายธารแห่งศิลปะ part3

Page 1

C H

IV E

หกทศวรรษของปรมาจารย์ ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ของไทย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ชลูด นิ่มเสมอ

C

H

A

LO

O

D

N

IM

SA

M ER

C

O

LL

EC TI

O

N

A N

D

A R

โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร

58-11-086_001-184_chalus uncoated_P.indd 135

12/15/15 1:00 AM


หกทศวรรษของปรมาจารย์ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ของไทย ศาสตราจารย์เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ ศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร

ศาสตราจารย์เกียรติคุณชลูด นิ่มเสมอ เป็นชาวจังหวัดธนบุรี (ในสมัยก่อนโน้น) เริ่มต้นศึกษาศิลปะจากโรงเรียนเพาะช่าง (ในสมัยนั้น) แต่มารู้จักศิลปะอย่างจริงจัง

IV E

ก็เมื่อได้มาเป็นศิษย์ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรม

C H

มหาวิทยาลัยศิลปากร จบการศึกษาปริญญาศิลปบัณฑิต สาขาประติมากรรม (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) ซึ่งเป็นบัณฑิตคนแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร จากนั้นท่าน

A R

เดินทางไปศึกษาศิลปะต่อที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี

D

อาจารย์เป็นตัวอย่างให้แก่ศิลปินรุ่นหลังในด้านความมุ่งมั่นมานะจนกลายเป็น

A N

นักบุกเบิกสร้างสรรค์งานศิลปะทุกประเภท ตั้งแต่งานวาดเส้น จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ศิลปะไทย สื่อผสม ศิลปะสิ่งแวดล้อม และ Conceptual Art ผลงานทุกชุด

N

ทีท ่ ำ� ขึน ้ เต็มไปด้วยพลังสร้างสรรค์ มีบค ุ ลิกภาพของตนเองทีเ่ ด่นชัด และมีความก้าวหน้า

EC TI

O

ล�้ำสมัย โดยที่มีพื้นฐานความคิดจากความเป็นไทย ชนบทไทย และความบริสุทธิ์แห่ง ธรรมชาติ ในช่วงระยะเวลาเริ่มต้นในวัยหนุ่มของการสร้างสรรค์งานศิลปะ อาจารย์คว้า รางวัลจากการประกวดศิลปกรรมระดับชาติและระดับนานาชาติได้ถึง 13 รางวัล ได้รับ

LL

เกียรติยกย่องให้เป็น ‘ศิลปินชั้นเยี่ยม’ สาขาจิตรกรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 แต่เมื่อช่วง เวลาของ ‘รางวัล’ ผ่านไป อาจารย์ยงั คงมุ่งมัน ่ สร้างสรรค์งานศิลปะต่อไปอย่างไม่หยุดยัง้

O

โรม, 2501, ปากกาไม้อ้อและหมึกด�ำบนกระดาษ, 33.7 x 46 ซม. ผลงานสะสมของ ชลูด นิ่มเสมอ คอลเลคชั่นแอนด์อาร์ไคฟ

C

อาจารย์บุกเบิกกับงานศิลปะภาพพิมพ์ด้วยการเดินทางไปศึกษาดูงานที่ประเทศอิตาลี

M ER

ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา และกลับมาเปิดภาควิชาภาพพิมพ์ (พ.ศ. 2508) ซึ่งเป็น

C

H

A

LO

O

D

N

IM

SA

ครั้งแรกที่การศึกษาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ได้หยั่งรากลึกลงที่ประเทศไทยอย่างจริงจัง ด้านศิลปะไทย อาจารย์เป็นผู้น�ำในการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมสมัยใหม่ โดยน�ำ

เรื่องราวแบบประเพณีวัฒนธรรมของไทยมาใช้พัฒนา กลายเป็นงานศิลปะไทยแบบ ร่วมสมัยขึ้น จากการค้นคว้าในแนวไทยนี้ท�ำให้อาจารย์ได้สร้างหลักสูตรศิลปะไทย

(พ.ศ. 2520) อันเป็นต้นแบบของการศึกษาด้านศิลปะไทยที่แข็งแกร่ง มีลักษณะสืบทอด ภูมิปัญญาของไทยดั้งเดิมไว้ได้ในสถานะปัจจุบัน งานประติมากรรมเป็นสาขาที่อาจารย์ศึกษามาโดยตรง อาจารย์ทดลองค้นคว้า งานประติมากรรมมาแล้วทุกๆ ประเภทของเทคนิค ไม่ว่าจะเป็นงานปั้น งานแกะสลักไม้ งานสลักหิน และงานเชื่อมโลหะ (Welding) งานในเทคนิคต่างๆ เหล่านี้ไม่เพียงเป็นงาน ที่ฝึกปฏิบัติทางเทคนิคเท่านั้น แต่เป็นความจริงจังที่มุ่งไปสู่การสร้างสรรค์จนกลายเป็น ต้นแบบให้ศิลปินรุ่นหลังยึดถือเป็นแบบอย่างในการศึกษา ต่อมางานประติมากรรมของ อาจารย์ยังได้พัฒนาบุกเบิกไปสู่งานประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อมที่มีขนาดใหญ่ และมี เนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับชุมชน เช่น ประติมากรรม ‘องค์สาม’ (พ.ศ. 2524) ที่หน้า ธนาคารกสิกรไทย พหลโยธิน ‘พระบรมโพธิสมภาร’ (พ.ศ. 2536) ที่หน้ามหาวิทยาลัย

136

58-11-086_001-184_chalus uncoated_P.indd 136

12/15/15 1:00 AM


หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และ ‘โลกุตระ’ (พ.ศ. 2534) ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผลงานประติมากรรมกับชุมชนสิ่งแวดล้อมของอาจารย์ทุกชิ้นกลายเป็นต้นแบบของงาน

IV E

ประติมากรรมขนาดใหญ่ และเป็นเครื่องหมายส�ำคัญของประเทศในฐานะสัญลักษณ์

C H

ของศิลปะร่วมสมัยของไทย

การท�ำงานศิลปะในช่วงระยะหลังระหว่างปี พ.ศ. 2525 มาจนถึงปัจจุบน ั เรียกได้

A R

ว่าเป็นระยะที่เข้มข้นของการสร้างสรรค์ อาจารย์ไม่ได้จ�ำกัดไปที่ชนิดของการสร้างสรรค์

D

ว่าจะต้องเป็นศิลปะประเภทใด แต่ได้ใช้พลังทั้งหมดมุ่งไปที่การสร้างสรรค์อันเกิดจาก

A N

ความปรารถนาที่มีอยู่ภายใน ผลงานในช่วงนี้จึงมีลักษณะหลากหลายและก้าวไปสู่งาน ศิลปะไทยแนวร่วมสมัยอย่างไม่น่าเชือ ่ ผลงานของอาจารย์จงึ เป็นงานบุกเบิกทั้งในด้าน

N

สื่อผสมไปจนถึงในแนวทางการใช้ความคิดแบบ Conceptual Art, Performance Art

EC TI

O

และ Installation แต่ทั้งหมดของงานสร้างสรรค์อันหลากหลายของอาจารย์มาจากสิ่ง เดียวเป็นเอกภาพอย่างที่สุด คือ สิ่งที่อยู่ภายในตัวตนของอาจารย์ นั่นคือความเป็นไทย ความเป็นชนบท ความบริสุทธิ์ของจิตใจ และความรักในครอบครัว อันเป็นธรรมชาติที่มี

C

O

LL

อยู่ในตัวของอาจารย์ และอยู่แวดล้อมอาจารย์มาตั้งแต่เกิด

M ER

งานยุคแรกเริ่ม (พ.ศ. 2495–2498) หลายคนคงไม่เคยเห็นผลงานในยุคเริม ่ ต้นของอาจารย์ในสมัยทีเ่ รียนอยู่โดยเฉพาะ

SA

กับงานประติมากรรมเทคนิคปั้นดิน เรื่องราวเกี่ยวกับลูกและแม่ที่ทรงพลังเป็นอย่างยิ่ง

C

H

A

LO

O

D

N

IM

ผลงานเหล่านี้ปัจจุบันไม่ได้เก็บรักษาไว้ ทั้งหมดเป็นงานเรียนตามโจทย์ที่ศาสตราจารย์

ครอบครัวชาวนา, ราวปี พ.ศ. 2496 งานชิ้นนี้ไม่ปรากฏขนาด และหลักฐานว่าอยู่ที่ใดในปัจจุบัน © ชลูด นิ่มเสมอ คอลเลคชั่นแอนด์อาร์ไคฟ

ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้สอน (พ.ศ. 2497) งานปั้นดินมีทงั้ รูปแม่อ้ม ุ ลูก รูปครอบครัวทีม ่ แ ี ม่นำ� ขบวนลูกๆ ไปท�ำงาน รูป ‘คิด’ (ทีอ ่ ยู่ในพิพธิ ภัณฑ์กลางแจ้ง สวนแก้ว พ.ศ. 2497) รูปนูนสูง รูปเหรียญ และรูปออกแบบ น�้ำพุ งานที่ทรงพลังเหล่านี้ไปพ้องกับแนวคิดแบบสังคมนิยมในสมัยนั้น จนท�ำให้หลาย คนเข้าใจผิดว่าอาจารย์เป็นผู้น�ำพลังมวลชนที่เป็นศิลปิน มีงานไม้แกะสลักรูปเปลือยหญิงสาวนอนขด ชื่อ ‘ความบริสุทธิ์แห่งธรรมชาติ’ พ.ศ. 2498 (ภาพ 05 หน้า 89) มีงานจิตรกรรมสีฝุ่นปิดทอง เรื่องราวของวิถีชีวิตคน ไทยในชนบทและประเพณีไทย และมีผลงานภาพพิมพ์แกะไม้ลงบนแผ่นเมโซไนท์ ทั้งหมดเป็นผลงานที่ใช้รูปทรงที่เรียบง่ายในธรรมชาติ เนื้อหาเป็นความบริสุทธิ์ และความเรียบง่ายจากธรรมชาติ โดยใช้เรื่องราวที่เกี่ยวกับชีวิตประจ�ำวันของชาว ชนบทไทย การพักผ่อน การท�ำงานของผู้ใช้แรงงาน กรรมกร ชาวนา และประเพณี วัฒนธรรม

137

58-11-086_001-184_chalus uncoated_P.indd 137

12/15/15 1:00 AM


IV E C H A R D A N N O EC TI LL O C ผลงานเหล่านี้อยู่ในช่วงเวลาที่อาจารย์ศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 4 และ 5 ของคณะ

จิตรกรรมฯ และเป็นผลงานเริ่มแรกที่อาจารย์ส่งผลงานเข้าประกวดการแสดงศิลปกรรม

แห่งชาติได้รับรางวัลเกือบทั้งหมด

C

H

A

LO

O

D

N

IM

SA

M ER

นิทรรศการแสดงผลงานเดี่ยวของอาจารย์ชลูด นิ่มเสมอ ที่แกลลอรี่โธโรซี ย่านมงมาร์ต กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พ.ศ. 2500 © ชลูด นิ่มเสมอ คอลเลคชั่นแอนด์อาร์ไคฟ

งานยุคศึกษาทีโ่ รม อิตาลี และเดินทางไปปารีส ฝรัง่ เศส (พ.ศ. 2499–2500) เมื่อก่อนจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาประติมากรรม อาจารย์ก็ได้รับ มอบหมายจากศาสตราจารย์ศล ิ ป์ พีระศรี ให้เป็นอาจารย์ผ้ช ู ่วยสอนวิชาองค์ประกอบศิลป์ มีหน้าที่สอน สั่งงาน ควบคุมชั้นเรียน และร่วมตรวจงานกับศาสตราจารย์ศิลป์ การได้อยู่ ใกล้ชด ิ กับท่านอาจารย์จงึ คล้ายกับการฝึกงานสอน และเมือ ่ จบการศึกษาแล้วศาสตราจารย์ ศิลป์จึงรับอาจารย์ชลูดเข้าเป็นอาจารย์ประจ�ำ เมื่ออาจารย์สอนอยู่ประมาณ 2 ปี จึงสอบชิงทุนจากรัฐบาลอิตาลีไปศึกษาศิลปะ ที่กรุงโรม 2 ปี การเรียนที่โรมไม่ตา่ งจากที่ศิลปากร แต่อาจารย์เล่าว่าศาสตราจารย์ศิลป์

ส่วนหนึ่งของผลงานเซรามิกที่น�ำออกแสดงใน นิทรรศการแสดงผลงานเดี่ยวของอาจารย์ชลูด ที่แกลลอรี่โธโรซี กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ของเราเอาใจใส่เรื่องการสอน ทุ่มเทการสอนยิ่งกว่าอาจารย์ที่โรม

138

58-11-086_001-184_chalus uncoated_P.indd 138

12/15/15 1:00 AM


อาจารย์เข้าศึกษาสาขาประติมากรรมตามทีท ่ ่านจบมา เขาทดสอบด้วยการปั้นดิน จากนางแบบที่เขาก�ำหนด พอปั้นเสร็จ โปรเฟสเซอร์หัวหน้าประติมากรรมมาตรวจดู แล้วถามอาจารย์ว่า “ก็ปั้นได้ขนาดนี้ จะเข้ามาเรียนอีกท�ำไม” อาจารย์จึงบอกโปรเฟสเซอร์ว่าอยากเรียนภาพพิมพ์ โปรเฟสเซอร์เลยแนะน�ำว่าที่แผนก ประติมากรรมไม่มีสอนเรื่องภาพพิมพ์ แต่มีที่แผนกจิตรกรรม อาจารย์กลับมาศึกษา ด้วยตัวเองอีกทีว่าจะเรียนอะไร ถ้าต้องการเรียนวิชาภาพพิมพ์จริงต้องเข้าเรียนในสาขา เดคอเรชั่น (Decorazione) ซึ่งจะมีสอนในชั้นปีที่ 3 ส่วนทางจิตรกรรมจะมีเรียนภาพ

IV E

พิมพ์ในชั้นปีที่ 4 ซึ่งเป็นปีสุดท้าย อาจารย์จึงสอบเข้าเรียนทางเดคอเรชั่นและได้ข้ามชั้น

C H

ไปเรียนชั้นปีที่ 3 เลย ได้เรียนภาพพิมพ์เทคนิคร่องลึก หรือ Etching–Intaglio ประกาศนียบัตรที่อาจารย์ได้รับจึงเป็น เดคอเรชั่น ซึ่งในประเทศของเราเข้าใจว่าเป็น

A R

งานออกแบบตกแต่งแบบคณะมัณฑนศิลป์ และหลายคนก็เข้าใจว่าอาจารย์ชลูดเรียนจบ

D

มัณฑนศิลป์จากโรมมา ซึง่ แท้จริงในความหมายของ Diploma Decorazione จาก

A N

L’Accademia di Belle Arti di Roma หมายถึง การท�ำงานจิตรกรรมหรือประติมากรรม

ที่ใช้ร่วมกับงานสถาปัตยกรรม ท�ำงานติดกับผนังขนาดใหญ่ เสา หรือบนเพดานสูง

N

ไม่ใช่งานเขียนรูปคนเหมือน ภาพทิวทัศน์ แต่เป็นงานที่ใช้องค์ประกอบศิลป์ขนาดใหญ่

EC TI

O

อย่างเช่นงานของ มิเคลันเจโล ที่วิหารซิสทีน ในกรุงโรม งานเดคอเรชั่นในความหมาย ของอะคาเดมีที่โรม จึงเป็นงานที่ย่งิ ใหญ่ ซึ่งเห็นได้ว่าอาจารย์ชลูดได้ใช้วิชาที่ได้เรียนจบ มาจากทีน ่ ม ี่ าใช้ในการสอนงานออกแบบจิตรกรรม ประติมากรรม และองค์ประกอบศิลป์

LL

ในสถาบันของเราในเวลาต่อมา

O

ผลงานที่เป็นชิ้นเป็นอันในช่วงเวลา 2 ปีที่อยู่ที่โรม เป็นงานวาดเส้นด้วยหมึก ด�ำเป็นจ�ำนวนมากที่อาจารย์ได้นำ� กลับมาเมืองไทย มีทั้งทิวทัศน์ในกรุงโรม (ภาพหน้า

C

ประกาศนียบัตร Diploma ของอาจารย์ชลูด จาก Accademia di Belle Arti di Roma พ.ศ. 2501 กรุงโรม ประเทศอิตาลี © ชลูด นิ่มเสมอ คอลเลคชั่น แอนด์อาร์ไคฟ

M ER

136) แม่น�้ำเทเวเร เมืองทาร์คุยเนีย ชานกรุงโรม ถนน เนินเขา เลยไปถึงมงมาร์ตใน

ปารีส ผลงานวาดเส้นของอาจารย์มล ี ก ั ษณะทีโ่ ดดเด่น ทรงพลังด้วยเส้นทีม ่ น ั่ คงแข็งแรง

C

H

A

LO

O

D

N

IM

SA

อาจารย์เคยเล่าให้ฟังว่าหลายภาพเขียนด้วยต้นหญ้าแข็งๆ ที่อยู่ข้างทาง เอามาเหลาให้ เป็นปากกาแล้วจุ่มหมึก นอกจากการไปเรียนภาพพิมพ์ร่องลึกในอะคาเดมีแล้ว อาจารย์ได้ใช้เวลาว่างไป ฝึกหัดท�ำงานเซรามิกตามสตูดิโอของศิลปินเซรามิกที่อยู่ภายนอก งานเซรามิกนี้เองที่ เป็นงานหนึ่งที่ชอบและท�ำได้ และเมื่อเบื่องานที่ทำ� อยู่เมื่อไรก็จะกลับมาท�ำเซรามิก จนกระทั่งบั้นปลายชีวิตของอาจารย์ ก็หวนกลับมาท�ำเซรามิกอีกครั้ง และระหว่างที่อาจารย์เรียนอยู่ที่โรมนั้น ได้รับเชิญให้ไปท�ำงานที่ปารีสเป็นเวลา 6 เดือน ได้คบหาสมาคมกับเพื่อนศิลปินฝรั่งเศสหลายคน พบความเคลื่อนไหวของกลุ่ม

ศิลปินหัวก้าวหน้าที่นั่น ได้เข้าชมผลงานศิลปะดีๆ ในพิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ ได้ท�ำงาน เซรามิกเพิ่มเติม จึงได้จัดแสดงผลงาน One Man Show ขึ้นเป็นครั้งแรกที่แกลลอรี่ ย่านมงมาร์ต มีทั้งผลงานจิตรกรรม ภาพพิมพ์ เซรามิก

139

58-11-086_001-184_new17-12 chaloo_uncoated-Windd.indd 139

12/17/15 3:44 PM


ศึกษาและดูงานที่อเมริกา (พ.ศ. 2507) เมื่อกลับมาสอนที่ศิลปากรตามเดิมในปี พ.ศ. 2501 เป็นช่วงเวลาที่อาจารย์ มีความพร้อมที่จะถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ ที่ได้รับมาจากการศึกษาในต่างประเทศ อาจารย์ได้รับรางวัลเหรียญทองจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติหลายครั้งในช่วงที่ ส่งผลงานช่วงเวลาที่ศึกษาอยู่ที่โรม และมาได้รางวัลสูงสุดเหรียญทองจิตรกรรมครั้ง สุดท้าย ท�ำให้อาจารย์ได้รับยกย่องให้เป็น ‘ศิลปินชั้นเยี่ยม’ ประเภทจิตรกรรม ในปี พ.ศ. 2502

IV E

ต่อมาในปี พ.ศ. 2507 อาจารย์ได้รับทุนจากกระทรวงการต่างประเทศของ สหรัฐอเมริกา โดยความมุ่งหมายของอาจารย์เองว่า ข้อแรก ต้องการศึกษาวิชา

C H

ภาพพิมพ์หน ิ (Lithograph) อย่างเข้มข้นทีส ่ ด ุ เพือ ่ น�ำมาใช้สอนในศิลปากร ซึง่ ในขณะนัน ้

A R

วิชาภาพพิมพ์ยังไม่เป็นที่รู้จักและยังไม่มีการเรียนการสอนในระบบสากล ข้อสองคือ ต้องการศึกษาดูงานจากหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ทันสมัยของอเมริกาให้มากที่สุด

D

ข้อสาม ทีส ่ ำ� คัญก็คอ ื ต้องการเยีย ่ มสถานศึกษาศิลปะทีม ่ ช ี อ ื่ เสียงของอเมริกา เพือ ่ ศึกษา

N

และศิลปินมีชื่อของเขา

O

ความต้องการของอาจารย์ทงั้ หมด ต้องอยู่ในช่วงเวลาทีไ่ ด้รบ ั ทุนมาเพียง 4 เดือน เท่านั้น แต่อาจารย์ก็ใช้เวลาที่มีอยู่ครบถ้วนกับความต้องการที่ตั้งไว้ เวลา 4 เดือน

EC TI

อาจารย์ชลูดขณะก�ำลังท�ำงานภาพพิมพ์ภายในสตูดิโอ ภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรมฯ ราวปี พ.ศ. 2510 © ชลูด นิ่มเสมอ คอลเลคชั่นแอนด์อาร์ไคฟ

A N

ถึงหลักสูตร การจัดหลักสูตร การเรียนการสอน และได้พูดคุยกับคณาจารย์คณะผู้สอน

อาจารย์เดินทางเกือบทั่วอเมริกา และใช้เวลาเกินไปอีกหลายเดือน

LL

ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐไอโอวา อาจารย์ได้พบกับศิลปินดังระดับโลก ลาซานสกี้

O

(Manricio Lazansky) ศิลปินภาพพิมพ์และวาดเส้น เกิดที่อาร์เยนตินา เชี่ยวชาญด้าน

C

การพิมพ์ร่องลึก Intaglio อาจารย์ได้มโี อกาสสังเกตการสอนของโปรเฟสเซอร์ลาซานสกี้

M ER

อย่างใกล้ชิด จดบันทึกรายละเอียดไว้ทั้งหมด และขอเอกสารการสอนโปรเฟสเซอร์ไว้ เพราะตั้งใจว่าจะต้องกลับมาเปิดหลักสูตรวิชาภาพพิมพ์ให้ได้ในศิลปากร โปรเฟสเซอร์

C

H

A

LO

O

D

N

IM

SA

ลาซานสกี้ เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อปี พ.ศ. 2555 ที่รัฐไอโอวา ทีม ่ หานครนิวยอร์กอาจารย์เข้าเรียนวิชาภาพพิมพ์หน ิ (Lithograph) อย่างจริงจัง

ที่ แพรตต์ กราฟิกเซ็นเตอร์ ปัจจุบันคือ Pratt Institute สถาบันการศึกษาเอกชนที่มี ชื่อเสียงของอเมริกาและของโลก อาจารย์ใช้เวลาทั้งหมด 1 เดือนเต็ม เรียนตั้งแต่เช้ายัน เย็นถึงกลางคืน มีอาจารย์หลายคนระดมกันเข้ามาสอน โดยมีอาจารย์ประจ�ำตัวประกบ หนึ่งคน นอกนั้นมีอาจารย์ต่างชาติเวียนกันเข้ามาสอน มีทั้งเยอรมัน ญี่ปุ่น และอเมริกัน อาจารย์ผู้สอนหลายคนมีเทคนิคเคล็ดลับพิเศษแตกต่างกันออกไปไม่เหมือนกัน ท�ำให้ อาจารย์ต้องบันทึกจดจ�ำอย่างละเอียด นอกจากนั้นอาจารย์ต้องศึกษาถึงสตูดิโอหรือ ห้องปฏิบต ั งิ านของเทคนิคภาพพิมพ์ทก ุ ๆ ชนิด ทัง้ ภาพพิมพ์หน ิ ภาพพิมพ์แม่พม ิ พ์โลหะ ซิลค์สกรีน และภาพพิมพ์แกะไม้ ที่มีธรรมชาติแตกต่างไม่เหมือนกันเลย การวางผังห้อง ปฏิบัติงานก็แตกต่างกัน เครื่องพิมพ์ก็ไม่เหมือนกัน รวมไปถึงอุปกรณ์ที่ใช้ อาจารย์ต้อง จดบันทึกโดยละเอียด วาดแผนผังห้องปฏิบัติงาน และขอแบบของแท่นพิมพ์ต่างๆ มาเก็บไว้

140

58-11-086_001-184_new15-12 chaloo_p un coated..indd 140

12/16/15 2:30 AM


อาจารย์บอกว่าเป็นการท�ำงานอย่างเข้มข้นที่สุด หนักที่สุด คล้ายเครื่องจักร จนอาจารย์บอกว่าสอนไม่ทัน ก่อนเดินทางกลับอาจารย์สั่งซื้ออุปกรณ์น�้ำยาเคมีต่างๆ ในส่วนที่ไม่มีในเมืองไทย ขนส่งลงเรือมา เมื่ออาจารย์เดินทางกลับมาเมืองไทย รอรับ อุปกรณ์เครื่องมือที่มาถึง ก็พร้อมที่จะเปิดภาควิชาภาพพิมพ์ที่สมบูรณ์ที่สุดเป็นแห่งแรก ของประเทศได้ในทันที (พ.ศ. 2508)

ศิลปะภาพพิมพ์ (พ.ศ. 2498–2508)

IV E

ด้วยความที่อาจารย์เป็นนักทดลอง ชอบท�ำงานศิลปะในเทคนิควิธีการที่แปลก

C H

ออกไปจากงานจิตรกรรมและประติมากรรมที่เคยท�ำ งานภาพพิมพ์จึงเป็นงานปฏิบัติที่ ต่างออกไปจากวิชาอื่นซึ่งมีการทดลองในลักษณะคล้ายงานทางวิทยาศาสตร์ และเป็น

A R

กระบวนการท�ำงานทางศิลปะที่มีระเบียบระบบในการท�ำงาน

อาจารย์เริ่มสนใจกับเทคนิคแกะไม้ (Woodcut) ที่เป็นเทคนิคเดียวที่มีสอนอยู่ใน

D

ชั้นปีที่ 4 และ 5 เป็นวิชาโทที่ศาสตราจารย์ศิลป์เป็นผู้สอน ท่านจูงใจด้วยการมอบ

A N

ไม่มีชื่อ, 2510, ภาพพิมพ์คอลโลกราฟ, 73 x 57 ซม. ผลงานสะสมของ ชลูด นิ่มเสมอ คอลเลคชั่นแอนด์อาร์ไคฟ

เครื่องมือประเภท บูแรง หรือ Burin มาหนึ่งชุด พร้อมกับแนะน�ำวิธีแกะไม้ ให้ดูงาน

N

ภาพพิมพ์โบราณจากหนังสือ และที่สำ� คัญ ให้เงินจ�ำนวนหนึ่งส�ำหรับค่าแม่พิมพ์ไม้

O

(พ.ศ. 2496)

EC TI

อาจารย์ไปว่าจ้างเขาตัดไม้แนวขวางแบบเขียง เป็นไม้โมกมันจากโรงงานเลื่อยไม้ แถววัดเกาะหรือวัดสัมพันธวงศ์ อาจารย์ขัดผิวไม้ให้เรียบ แล้วใช้บูแรงแกะตามที่

LL

ศาสตราจารย์ศิลป์แนะน�ำ อาจารย์สนุกมากที่ได้สัมผัสกับวัสดุของใหม่ ควบคุมการแกะ

O

และด�ำเนินการพิมพ์ด้วยมือ ภาพพิมพ์ชด ุ นีเ้ ป็นทีพ ่ อใจของศาสตราจารย์ศล ิ ป์ ท่านแนะน�ำ

C

ให้ส่งเข้าแสดงการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ และวารสารชาวกรุง หนังสือพิมพ์สยามรัฐ

M ER

ขอน�ำไปตีพม ิ พ์เป็นภาพประกอบในหนังสือ งานภาพพิมพ์แกะไม้ หรือ Woodcut ในเชิง

ศิลปะอย่างนี้ อาจารย์มั่นใจว่ายังไม่มีใครท�ำมาก่อน นอกจากครูแดงช่างแกะ ท่านแกะ

C

H

A

LO

O

D

N

IM

SA

แม่พิมพ์ทำ� เป็นภาพประกอบหนังสือ แต่ไม่มีจุดมุ่งหมายในการท�ำงานเพื่องานศิลปะ การใช้แม่พม ิ พ์ไม้โมกทีล ่ ก ั ษณะเป็นเขียงมีขนาดไม่ใหญ่นก ั เล็กขนาดไม่เกิน 7 นิว้

จึงไม่สามารถสร้างงานได้ขนาดใหญ่เท่างานจิตรกรรม อาจารย์เคยทดลองให้ช่างไม้ ประกอบไม้แผ่นกระดานเข้าด้วยกันเป็นแผ่นใหญ่ แต่มีราคาแพงมาก เวลาจะลงมือแกะ ก็กลัวจะเสีย ในที่สุด อาจารย์มาพบกับ เมโซไนท์ (Masonite) ไม้อัดส�ำเร็จรูปส�ำหรับ งานก่อสร้างสมัยใหม่ อาจารย์เห็นว่าน่าจะเอามาใช้แทนไม้จริงได้ และมีแผ่นขนาดใหญ่ ไม่จำ� กัด เมื่อทดลองแกะ อาจารย์รู้สึกตื่นเต้นเห็นว่าได้ผล หลายคนเห็นว่าควรจะจด ลิขสิทธิ์เอาไว้ เพราะไม่เคยเห็นมีใครท�ำมาก่อน อาจารย์ทดลองอยู่ระยะหนึ่งก็มีคนร่วม ท�ำด้วย โดยเฉพาะลูกศิษย์ และเมโซไนท์ก็ยังเป็นที่นิยมมาจนถึงบัดนี้ เรื่องการใช้เมโซไนท์เป็นแม่พิมพ์แทนไม้นี้ อาจารย์เล่าให้ฟังว่า อาจารย์อาจจะ เป็นคนท�ำเพื่องานศิลปะเป็นคนแรกในประเทศไทย แต่เมื่ออาจารย์ไปดูงานที่ฮาวาย ฮอโนลูลู ได้พบกับงานภาพพิมพ์เทคนิค Masonite Intaglio จากงานภาพพิมพ์ที่จัด แสดงอยู่ แสดงว่าในต่างประเทศน่าจะมีผู้ทำ� อยู่ก่อนแล้ว

ครอบครัว, 2501, ภาพพิมพ์แกะไม้สีน�้ำมัน 57 x 26 ซม. พิพิธภัณฑ์ศิลป พีระศรีอนุสรณ์ กรุงเทพฯ (ศิลปินให้ยืม)

141

58-11-086_001-184_new15-12 chaloo_p un coated..indd 141

12/16/15 2:30 AM


อาจารย์ทดลองท�ำภาพพิมพ์แกะไม้ขาว–ด�ำ ในช่วงปี พ.ศ. 2498–2500 ในช่วง เวลาหนึ่ง และทดลองท�ำภาพพิมพ์สีนำ�้ –สีนำ�้ มัน อีกจ�ำนวนมากในช่วงเวลา พ.ศ. 2504 เป็นเรื่องราวของชีวิตผู้คนในชนบท ทิวทัศน์ในเมือง และวัด มีการทดลองท�ำภาพพิมพ์ แกะไม้สีน�้ำ โดยใช้รูปแบบ 2 มิติ ที่เรียบง่ายมากขึ้น หลังจากทีอ ่ าจารย์กลับจากการศึกษาดูงานศิลปะภาพพิมพ์ทป ี่ ระเทศสหรัฐอเมริกา เมือ ่ ปี พ.ศ. 2507 ได้มก ี ารเตรียมพร้อมทีจ่ ะเปิดหลักสูตรและจัดตัง้ ภาควิชาภาพพิมพ์ โดยอาจารย์ได้สร้างห้องปฏิบัติงานภาพพิมพ์ขึ้น บริเวณอาคารปฏิบัติงานใต้ต้นกร่าง ข้างหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดการเรียนการสอนครบทุกกระบวนการ

IV E

เทคนิคภาพพิมพ์ตามแบบสากล เช่น ในส่วน Relief Process ที่เป็นการแกะไม้และ

C H

พิมพ์นูน Serigraphy Process หรือการพิมพ์ Silkscreen การพิมพ์ร่องลึกแบบ Intaglio Process หรือ Etching และภาพพิมพ์แม่พิมพ์หิน หรือ Lithography

A R

Process เป็นอันครบระบบ 4 กระบวนการพิมพ์ในเทคนิคสากล ซึ่งเป็นสถาบัน

สิ้นหวัง, 2505, ภาพพิมพ์แกะไม้สีนำ�้ , รางวัลภาพพิมพ์ จากนิทรรศการภาพพิมพ์นานาชาติ ประเทศยูโกสลาเวีย ปี พ.ศ. 2506

D

การศึกษาในประเทศนี้ที่จัดให้มีการเรียนการสอนเป็นแห่งแรก ในปี พ.ศ. 2508

A N

ในขณะที่ประเทศโดยรอบแถบภูมิภาคนี้ยังไม่มีการเรียนการสอนแบบนี้ มีนักศึกษาวิชา ภาพพิมพ์รุ่นแรกที่ล้วนแล้วแต่กลายเป็นศิลปินภาพพิมพ์อาวุโสและเป็นอาจารย์ที่มี

O

N

ชื่อเสียง เช่น ทวน ธีระพิจิตร, ถกล ปรียาคณต ิ พงศ์, สัญญา วงศ์อร่าม, และพงษ์ศักดิ์

EC TI

ภู่อารีย์ ทั้ง 4 คนจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2511 สิ่งที่ตอกย�้ำความมุ่งมั่นในงานศิลปะภาพพิมพ์ที่อาจารย์ทุ่มเทอย่างหนักก็คือ

LL

อาจารย์ก้าวไปอีกขั้นสู่ระดับนานาชาติ ผลงานภาพพิมพ์ที่อาจารย์ทุ่มเททดลองอยู่ใน ช่วงหลายปีนี้เอง ได้รับรางวัลจาก International Biennial Graphic Art ที่ยูโกสลาเวีย

C

O

ปี พ.ศ. 2506 และรางวัลจาก International Biennial of Prints in Tokyo ที่ญี่ปุ่น

M ER

ในปี พ.ศ. 2507 เป็นศิลปินภาพพิมพ์ของไทยคนแรกที่ก้าวไปสู่เวทีระดับภาพพิมพ์ นานาชาติ

C

H

A

LO

O

D

N

IM

SA

ถนนในกรุงเทพฯ, 2502, ภาพพิมพ์แกะไม้สีนำ�้ 42 x 50 ซม. ผลงานสะสมของ ชลูด นิ่มเสมอ คอลเลคชั่น แอนด์อาร์ไคฟ

จิตรกรรมร่วมสมัยสู่วิถีไทยในศิลปะไทย (พ.ศ. 2498–2520) อาจารย์เริ่มต้นงานจิตรกรรมตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 และ 5 เป็นการ

แสดงออกด้วยการใช้ฝีแปรงอย่างรุนแรงกล้าหาญ ภายใต้เรื่องราวของวิถีไทย ชีวิต ชาวนา หรือใช้ประเพณีของไทย เป็นรูปทรงที่เรียบง่ายของคนและธรรมชาติ ใช้สีที่มี ความลึกแบน เช่น สีดำ� สีแดงเข้ม และสีนำ�้ ตาล ต่อมามีการปิดทอง เช่น งานจิตรกรรม แบบประเพณี ซึ่งอาจารย์เป็นผู้นำ� ในการปิดทองลงบนงานจิตรกรรมสมัยใหม่ ต่อมามี คนท�ำตามกันมาก อาจารย์ก็เลยเลิกไป การค้นหาเรือ ่ งราวในแบบวิถไี ทยและประเพณีของไทยนี้ น่าจะมาจากแรงผลักดัน ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่สั่งสอนอยู่ตลอดเวลาถึงเรื่องส�ำนึกในความเป็นไทย อาจารย์ชลูดท่านเป็นผู้ใกล้ชิดจึงน่าที่จะได้รับอุดมการณ์นี้มาจากท่าน ในช่วงปี พ.ศ. 2500–2503 หลังจากที่กลับจากการศึกษาที่กรุงโรม ผลงาน จิตรกรรมของท่านมีลักษณะที่ได้อิทธิพลมาจากศิลปะตะวันตกแบบคิวบิสม์ที่ก�ำลังเป็น ที่นิยมของโลก แต่ท่านก็ยังคงใช้เรื่องราวในแบบวิถีไทย เช่น รูปแม่ค้าหาบของ

แม่ค้า, 2505, สีน�้ำมัน, ผลงานชิ้นนี้ไม่ปรากฏขนาด และหลักฐานว่าอยู่ที่ใดในปัจจุบัน © ชลูด นิ่มเสมอ คอลเลคชั่นแอนด์อาร์ไคฟ

142

58-11-086_001-184_new15-12 chaloo_p un coated..indd 142

12/16/15 2:31 AM


แม่ค้าเร่ขายขนมไทย ประเพณีกระตั้วแทงเสือ และภาพอาหารกลางวัน และต่อจากนั้น ในปี พ.ศ. 2504–2509 อาจารย์ก้าวเข้าสู่การท�ำงานในแบบนามธรรมเต็มตัว จนมาถึง ปี พ.ศ. 2512 อาจารย์จึงกลับมาเริ่มท�ำงานจิตรกรรมในแนวประเพณีไทยอย่างจริงจัง อีกครั้ง เป็นการศึกษาค้นหาสาระในงานแบบไทยประเพณี โดยมีการตัดเส้นให้ รายละเอียดแบบภาพจิตรกรรมไทย เริ่มต้นจากภาพคุณนายลูกอิน พ.ศ. 2513 (ภาพ หน้า 122) และภาพอื่นๆ ในชุดนี้ เป็นภาพหญิงสาวในชุดแต่งกายแบบไทย ต่อจากนั้น ท่านก็ค้นคว้าจิตรกรรมแนวประเพณีที่มีเรื่องราวที่ขัดแย้งกันระหว่างประเพณีไทยกับ ความเจริญในทางวัตถุที่ได้รับมาจากแนววัตถุนิยมจากตะวันตก

IV E

จากการค้นคว้าในลักษณะทั้งแนวเรื่องของไทยและใช้รูปแบบประเพณีของไทย

C H

นี้เองที่เป็นฐานที่มั่นคงและกลายเป็นความมั่นใจที่อาจารย์ได้เปิดภาควิชาศิลปไทยขึ้น ในปี พ.ศ. 2520 โดยเล็งเห็นว่า ศิลปะไทยในแนวทางร่วมสมัย โดยการใช้เรือ ่ งราว

A R

ความเชือ ่ รูปแบบ และเทคนิควิธีการแบบไทย น่าจะเป็นวิถีทางที่กา้ วหน้าต่อไปใน

D

อนาคตส�ำหรับวงการศิลปะไทยร่วมสมัยของไทย

A N

ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ อาจารย์ได้ผลักดันให้เวทีประกวดงานจิตรกรรมบัวหลวง ได้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการประกวดงานจิตรกรรมสร้างสรรค์ในแนวทางศิลปะไทยร่วมสมัย

O

N

และกลายเป็นเวทีส�ำคัญของการศึกษาศิลปะไทยในช่วงเวลาต่อมาจนบัดนี้

EC TI

อาบน�้ำ, 2506, สีฝุ่นปิดทองบนกระดาษด�ำ ผลงานชิ้นนี้ไม่ปรากฏขนาด และหลักฐานว่าอยู่ที่ใดใน ปัจจุบัน © ชลูด นิ่มเสมอ คอลเลคชั่นแอนด์อาร์ไคฟ

ประติมากรรมสลักหินและงานเชื่อมโลหะ (พ.ศ. 2505–2511)

LL

งานประติมากรรมสลักหินทราย อาจารย์เริ่มต้นการทดลองมาแล้วตั้งแต่สมัยยัง

O

เรียนอยู่ชั้นปีที่ 3 และ 4 (พ.ศ. 2495–2496) ต่อมาจึงได้เริ่มทดลองงานสลักไม้รูป

C

สาวเปลือยในรูปทรงที่เรียบง่ายในปี พ.ศ. 2498 และรูปด�ำนา สระผม และต่อมาในปี

M ER

พ.ศ. 2508–2511 อาจารย์จึงได้สลัดเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับคนทิ้งไป ก้าวเข้าหารูปทรง

แบบอิสระนามธรรม และก้าวเข้าสู่การท�ำงานสลักหินอย่างจริงจัง ซึ่งมีทั้งหินทรายและ

C

H

A

LO

O

D

N

IM

SA

หินแกรนิต

อาจารย์ได้กล่าวว่า ท่านเชื่อมั่นว่าการท�ำงานศิลปะเป็นการแสดงออกที่ลึกซึ้ง

ที่สุดของความเป็นมนุษย์ อาจารย์จึงต้องการแสดงออกถึงความดีงามที่มนุษย์พึงมี เช่น ความเป็นพี่เป็นน้อง ความบริสุทธิ์ ความจริงใจที่อยู่ในจิตใจ อาจารย์จึงมุ่งมั่นท�ำงาน ศิลปะในแนวทางเช่นนั้นเรื่อยมา และการใช้เรื่องราวรูปทรงมาจากมนุษย์ที่ท�ำมาตลอด จึงอาจมีส่วนเจือปนกับอารมณ์ความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับกิเลสตัณหาของมนุษย์ อาจารย์ จึงต้องการทีจ่ ะทดลองใช้รป ู ทรงทีบ ่ ริสท ุ ธิเ์ ป็นแบบนามธรรมแท้ดบ ู ้าง งานประติมากรรม ของอาจารย์จึงเป็นการเริ่มต้นของการแสดงออกในศิลปะแบบนามธรรม ซึ่งเชื่อมโยง ไปสู่งานภาพพิมพ์และงานจิตรกรรมต่อมาในแบบนามธรรมเช่นกัน อาจารย์กล่าวถึงความพอใจในผลที่ได้รับยังสามารถน�ำมาใช้เป็นตัวอย่างของ การสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และท�ำให้ส่วนของงานสร้างสรรค์ในยุคต่อมามีการ ค้นพบตัวเอง มุ่งสู่เป้าหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ได้ค้นพบลักษณะส�ำคัญของรูปธรรมกับ นามธรรมที่ทับซ้อนกันอยู่

143

58-11-086_001-184_chalus uncoated_P.indd 143

12/15/15 1:00 AM


งานสลักหินของอาจารย์ได้รบ ั ความบันดาลใจจากการทีไ่ ด้เดินทางผ่านทางหินกอง จังหวัดสระบุรี แหล่งหินที่อยู่ในภาคกลาง เห็นช่างก�ำลังสลักท�ำครกหินและท�ำโม่ ได้เห็น วัสดุที่แข็งแกร่งและมีผิว (Texture) ที่ถูกใจ อาจารย์เลยซื้อหินและเครื่องมือแกะสลัก แบบง่ายๆ กลับมา เริ่มท�ำรูปแรกแล้วก็ติดใจเลยท�ำเรื่อยมา ด้วยความทีอ ่ าจารย์เป็นนักค้นคว้าทดลองและมักจะตืน ่ เต้นอ่อนไหวกับการสัมผัส กับวัสดุตา่ งๆ ต่อมาจึงทดลองกับการเชื่อมโลหะ (Welding) ได้เห็นลักษณะพิเศษของ เหล็ก ผิวอันแข็งแกร่ง การเจาะและการเชื่อมต่อของเทคนิคการเชื่อมซึ่งมีเสน่ห์และ

IV E

สวยงามด้วยตัวเอง งานเชื่อมโลหะจึงเกิดขึ้นมากมาย และยังเชื่อมโยงไปสู่การใช้โลหะ สร้างเป็นแม่พิมพ์ ร่องรอยของโลหะ อัดหมึกลงไป เพิ่มทราย ใช้เป็นแม่พิมพ์แบบ

C H

คอลโลกราฟ (Collograph) เป็นอีกเทคนิคภาพพิมพ์ทอ ี่ าจารย์ส่งไปแสดงงานภาพพิมพ์

A R

นานาชาติที่ญี่ปุ่น และได้รับรางวัล

A N

อาจารย์เป็นคนชอบอ่าน ชอบเขียนจดหมาย และจดบันทึกต่างๆ บอกเล่าถึง

N

้ งสูญเสียแม่ไป อาจารย์คด ผูค ้ นและเหตุการณ์ทส ี่ งสัย ประทับใจ เมือ ่ ครัง้ ทีอ ่ าจารย์ตอ ิ ว่า ขาดที่พึ่งส�ำคัญ จึงหาตัวแทนที่ไม่มีตัวตนจริงๆ วันหนึ่งเมื่ออาจารย์ไปเที่ยวนครปฐม

O

ภาพพิมพ์หมายเลข 7/2507, 2507, ภาพพิมพ์ คอลโลกราฟ, 74.4 x 61 ซม. รางวัลภาพพิมพ์จาก นิทรรศการภาพพิมพ์นานาชาติครั้งที่ 4 ประจ�ำปี พ.ศ. 2507 กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

D

คุณนายลูกอิน (พ.ศ. 2513)

EC TI

เข้าไปทานอาหารในตลาด มองไปรอบๆ ร้านค้าเจอ ‘คุณนายลูกอิน’ นั่งอยู่บนแท่นไม้ ในร้านขายเครื่องบวช ท่านเป็นสาวใหญ่ สวย รวย มีการศึกษากว่าแม่ กลับไปบ้าน

LL

อาจารย์ก็ฝันถึงคุณนายลูกอิน เมื่อตื่นขึ้นจึงเริ่มเขียนจดหมายถึงคุณนายลูกอิน เขียนกัน

O

ไปนาน บอกเล่าสารทุกข์สุกดิบ แรกเขียนถึงกันแบบเพื่อน แต่นานเข้าถึงขั้นต้องเคารพ

C

ต้องกราบ เจออะไรผิดหวังหรือดีใจก็บอกให้ทา่ นรู้ ไม่มีอะไรเป็นเรื่องปิดบัง นั่นอาจเป็น

M ER

เพราะว่าอาจารย์เป็นคนพูดน้อย ในเชิงจิตวิทยาอาจารย์จึงต้องการคนที่จะมาปรึกษา พูดคุย บอกเล่าความในใจได้ อาจไม่ต้องขอความคิดเห็น พอพูดออกไปแล้วก็เห็นปัญหา

SA

ชัดเจนพอที่จะแก้ปัญหาเองได้ แม้แต่เรื่องศิลปะคุณนายลูกอินก็รับรู้ อาจารย์คิดว่า

C

H

A

LO

O

D

N

IM

การเขียนจดหมายถึงใครเป็นจินตนาการที่เกิดเป็นตัวเป็นตนชัดเจน ดีกว่าการจดบันทึก

ซึ่งอาจจะมีคนมาอ่านเจอ อาจารย์ยังคงเขียนจดหมายถึงคุณนายลูกอินจนอาจารย์จาก ไปคุณนายลูกอินก็ยังอยู่และคิดว่ามีลูกสองคน อาจารย์เขียนรูป ‘คุณนายลูกอิน’ ไว้ในลักษณะที่เป็นภาพไทยที่ลงรายละเอียด ประณีต แต่งตัวสวย งามสง่าเป็นกุลสตรี เมื่อปี พ.ศ. 2513 (ภาพหน้า 122) อาจารย์ เล่าให้ฟังว่าเป็นเรื่องที่เพ้อฝันของคนคนหนึ่งซึ่งอายุมากแล้ว โตแล้ว แต่เป็นเรื่อง จินตนาการที่ประสานความเป็นจริงกับศิลปะ ซึ่งมีลักษณะเป็นการเริ่มต้นแนวคิดแบบ Conceptual Art ของอาจารย์ และอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาค้นคว้างานศิลปะ

ในชุดศิลปะไทยในเวลาต่อมา

144

58-11-086_001-184_chalus uncoated_P.indd 144

12/15/15 1:00 AM


ประติมากรรมชนบท (พ.ศ. 2523–2525) ในช่วงเวลาที่อาจารย์ต้องรับภาระหน้าที่อย่างแสนสาหัส ด้วยการรับต�ำแหน่ง คณบดีคณะจิตรกรรมฯ ท�ำให้คณะจิตรกรรมฯ ได้ก้าวหน้าต่อไป งานบริหารที่อยู่ ท่ามกลางกับความขัดแย้งของผู้คนภายในและในเรื่องของสังคมการเมืองที่คอยจับจ้อง การบริหารงานของอาจารย์อยู่ จนเมื่อถึงเวลาที่อาจารย์ครบวาระการรับต�ำแหน่ง คณบดีในปี พ.ศ. 2522 ถึงช่วงเวลาที่อาจารย์ได้รับการปลดปล่อยทางจิตวิญญาณ เสรีภาพและอิสรภาพเรียกร้องให้อาจารย์กลับมาเป็นนักสร้างสรรค์เหมือนเดิม

IV E

ความเป็นชนบท ความมีชีวิตที่เรียบง่ายบริสุทธิ์ของชาวบ้านชาวไร่ชาวนา เรียกร้องให้ อาจารย์ได้กลับมาสู่เนื้อหาสาระที่เป็นสิ่งดั้งเดิมที่อยู่ในใจมาตั้งแต่เกิด งานศิลปะใน

C H

รูปแบบนามธรรมจึงเป็นเพียงการทดลองระหว่างนามธรรมและรูปธรรม หรือการผ่าน

A R

เรื่องราวที่บริสุทธิ์มาสู่เรื่องราวของเนื้อหาสาระที่เข้มข้นและจริงจังยิ่งขึ้น อาจารย์กล่าวถึงงานชุดประติมากรรมชนบทว่า ชาวชนบทชอบความเรียบง่าย

D

ของชีวิต และแม้ว่าเขาจะอยู่อย่างขัดสน ความเป็นอยู่อาจไม่ถูกสุขลักษณะ มีการศึกษา

N

มีวัฒนธรรมเป็นของตนเองโดยเฉพาะ เขาอยู่อย่างนั้นในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติอย่างนั้น

O

มีความประสานกลมกลืนจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และพิธีกรรม มีวัตถุต่างๆ ที่พวกเขาใช้ในชีวิตประจ�ำวัน ล้วนแล้วแต่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามวิถีของ

EC TI

ประติมากรรมชนบท 14/2524, 2524 ขอนไม้, กะลามะพร้าว, กระป๋องบรรจุอาหารส�ำเร็จรูป, แก้วน�ำ้ พลาสติก, โหลแก้ว, กาต้มน�ำ้ และเชือกไนล่อนสี, 50 x 60 ซม. สูง 130 ซม. © ชลูด นิ่มเสมอ คอลเลคชั่นแอนด์อาร์ไคฟ

A N

น้อย ขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานที่จ�ำเป็นของชีวิตอยู่มาก แต่พวกเขากลับมีลักษณะที่พิเศษ

ความเจริญทางวัตถุของโลก หรือทีเ่ รียกกันปัจจุบน ั ว่า โลกาภิวต ั น์ แต่ก่อนโลกของชนบท

LL

อาจมีเพียงสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ มีวัวควาย มีไม้ไผ่ ไม้กระบอก เครื่องจักสาน

O

แต่ปัจจุบันนี้มีรถไถ อุปกรณ์เครื่องยนต์ท�ำนา ถุงพลาสติก เครื่องใช้ที่ทำ� ด้วยวัสดุ

C

สังเคราะห์ กระป๋องใส่อาหาร ภาชนะเครือ ่ งใช้พลาสติก เชือกพลาสติกหลากสี จนแม้แต่

M ER

สนตะพายควายก็ยังใช้เชือกไนล่อนสีสดใส อาจารย์ยังเคยชี้ให้เห็นถึงรังของนกใน ปัจจุบน ั ก็ไม่ได้ใช้ฟางหญ้าเท่านัน ้ แม้แต่นกก็ยงั ใช้เชือกไนล่อน เชือกพลาสติกมาสร้างรัง

SA

ด้วยวัสดุดังกล่าวทั้งหมด อาจารย์จึงได้รวบรวมกะโหลกกะลา กระป๋องเปล่า เชือก

C

H

A

LO

O

D

N

IM

หลากชนิด ซึ่งมีพร้อมอยู่แล้วในชนบทใกล้บ้าน น�ำมาประกอบแขวนเข้ากับขอนไม้ ตอไม้ ท�ำให้เกิดบุคลิกที่พิเศษ เป็นวิญญาณของชนบท ทั้งหมดยังคงเป็นผลงานแบบ

นามธรรม หากแต่มีจิตวิญญาณของความเป็นชนบทไทยอยู่ด้วย งานลักษณะไทยของ อาจารย์จึงไม่ใช่งานไทยแบบภาพไทยประเพณี หากแต่เป็นงานที่มีจิตวิญญาณแบบไทย ต่อมาอาจารย์พาเด็กๆ ในชนบทแถบบ้านให้เข้ามาเล่นกับผลงานของอาจารย์ และในที่สุดอาจารย์ก็ใช้ตนเองให้เป็นส่วนหนึ่งของงานในวิถีชนบท ท�ำให้เกิดเป็นมิติ ใหม่ระหว่างมนุษย์กับวัสดุชนบทธรรมชาติ ผลงานชิ้นนี้จึงกลายเป็นงานสร้างสรรค์ใน ฐานะที่เป็นความก้าวหน้าและเป็นผู้นำ� ในศิลปะหลายๆ แขนงที่ผสมกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็น Performance Art, Body Art และ Conceptual Art ซึ่งยังไม่มีใครเคยท�ำมาก่อน

(พ.ศ. 2525)

ประติมากรรมชนบท, 2524, ท่อนไม้, กะลามะพร้าว, กระป๋องผลิตภัณฑ์, ไม้ไผ่, และเชือกไนล่อนสี, 50 x 60 ซม. สูง 130 ซม.

แอนด์อาร์ไคฟ

© ชลูด นิ่มเสมอ คอลเลคชั่น

145

58-11-086_001-184_new15-12 chaloo_p un coated..indd 145

12/16/15 2:32 AM


บทบันทึกประจำ�วัน (พ.ศ. 2523–2537) ผลงานในชุด ‘บันทึกประจ�ำวัน’ ของอาจารย์ น่าจะเป็นผลงานที่สืบเนื่องและ มีทม ี่ าจาก ‘ประติมากรรมชนบท’ เพียงแต่ประติมากรรมชนบทอาศัยสิง่ แวดล้อมชนบท จากภายนอก เช่น ท้องไร่และทุ่งนา แต่งานชุด ‘บันทึกประจ�ำวัน’ ใช้พื้นที่สิ่งแวดล้อม ภายในซึ่งอาจเป็นภายในห้อง ในห้องท�ำงาน หรือบนผนังในบ้าน อาจารย์เริ่มต้นท�ำงานชุด ‘บันทึกประจ�ำวัน’ จากการเริ่มต้นท�ำงานประติมากรรม ชนบท แต่หลายชิ้นได้พังสลายไป อาจารย์จึงร่างประติมากรรมบนแผ่นกระดาษด้วย

IV E

การวาดเส้น บันทึกความคิดเก็บไว้ เผื่อหากมีเวลาก็จะได้ท�ำจริง อาจารย์เอาสเกตซ์ ประติมากรรมด้วยกระดาษวางไว้รอบๆ ห้อง ในทีส ่ ด ุ ก็คด ิ ทีจ่ ะเอามาผูกรวมกัน แขวนด้วย

C H

เชือกไนล่อน แยกไว้เป็นกลุ่มๆ มีทงั้ กระดาษสเกตซ์ผลงาน จดหมาย บันทึกข้อความต่างๆ

A R

เอกสารทางราชการ รูปถ่าย และหนังสือ งานชิ้นนี้ก่อตัวขึ้นโดยอัตโนมัติ มาตามสะดวก ก่อนและหลังโดยไม่ได้ค�ำนึงถึงรูปทรง เริ่มต้นแขวนในปี พ.ศ. 2522 มีเพียงไม่กี่ชิ้น

D

พอมีกลุ่มศิลปินมาชวนให้แสดง ‘งานกระดาษ’ ในปี พ.ศ. 2527 ผลงานบันทึกประจ�ำวัน

A N

ก็เติบโตเป็นงานชิ้นใหญ่ และน�ำออกแสดงได้ งานชิ้นนี้ก็ยังคงเติบโตต่อไปอีก นับเป็น

O

N

งานแบบ Conceptual Art อีกชิ้นหนึ่งของอาจารย์

EC TI

บทกวีทางทัศนศิลป์ (พ.ศ. 2525–2538) อาจารย์เป็นศิลปินทางทัศนศิลป์ที่มีจินตนาการข้ามสื่อข้ามสาขาอยู่ตลอดเวลา

LL

ในผลงานชุด ‘บทกวี’ นีเ้ องทีอ ่ าจารย์มค ี วามคิดทีอ ่ ยากจะเป็นกวี แต่ไม่ต้องการเขียนกวี

O

ในแบบทีเ่ ป็นภาษาโคลงกลอน เพราะอาจารย์คด ิ ว่ากวีนพ ิ นธ์ทผ ี่ ่านการรับรู้ทางภาษานัน ้

C

มีก�ำแพงทางภาษากั้นไว้ ด้วยบนโลกใบนี้มีภาษาต่างๆ มากมาย คนที่ไม่รู้ คนที่ต่างชาติ

M ER

ต่างภาษาก็ไม่สามารถเข้าใจภาษากวีของภาษานัน ้ ได้ อาจารย์จงึ คิดว่าภาษาทางทัศนศิลป์

เป็นภาษาของการมองเห็น จึงเป็นภาษาสากลทีท ่ ก ุ ชาติทก ุ ภาษาสามารถรับรู้และเข้าใจได้

C

H

A

LO

O

D

N

IM

SA

เหมือนกับการที่เราผ่านการรับรู้ด้วยการมองผ่านภาพเขียนและรูปปั้น อาจารย์ฝึกฝน การเขียนบทกวีด้วยการใช้ภาษาทางทัศนศิลป์มาเป็นเวลา 2–3 ปี เป็นกวีทไี่ ม่มต ี วั อักษร ไม่เป็นถ้อยค�ำหรือความหมายทางภาษา มีแต่ความหมายในทางทัศนธาตุ (Visual Elements) ใช้เป็นรูปทรง เป็นสี จัดเป็นกลุ่ม มีจังหวะ มีการเว้นวรรค สร้างรูปแบบ

คล้ายโคลงฉันท์กาพย์กลอน มีความเป็นอิสระ ไม่สามารถอ่านเป็นภาษาได้ แต่ผู้อา่ น สามารถใช้จินตนาการอ่านจากรูปทรงที่ก�ำหนดไว้ จึงจะเกิดเป็นถ้อยค�ำความงดงามทาง ภาษาผุดขึ้น โดยการปลุกให้เกิดจินตนาการของกวีที่มีอยู่ในใจอยู่ก่อนแล้วส�ำหรับมนุษย์ ที่อ่อนโยนทุกคน งานกวีนิพนธ์ อาจารย์เรียกว่า Visual Poetry นี้ ต่อมามีงานสืบเนื่องที่ อาจารย์ใช้การจัดวางจังหวะรูปทรงแบบเดียวกันนี้ ในงานกระดาษสาติดปะกับ ทองเหลืองในปี พ.ศ. 2535 อีกเป็นจ�ำนวนมาก

จารึก, 2535, กิ่งไม้ควั่น, ดินสอ และแอร์บรัชบน กระดาษสาไทย, 144 x 80 ซม. ผลงานสะสมส่วนบุคคล

146

58-11-086_001-184_chalus uncoated_P.indd 146

12/15/15 1:00 AM


IV E C H A R D A N N O EC TI LL O C M ER

SA

งานชุด บทกวีชุดที่ 1/2525 จัดแขวนเรียงบนราวลวดที่มีความยาว 10 เมตร และ บันทึกประจ�ำวัน 2523-2527 (ซ้ายมือของภาพ) ในนิทรรศการศิลปะ ‘งานกระดาษ’ ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ ระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ - 12 มีนาคม 2527 © ชลูด นิ่มเสมอ คอลเลคชั่นแอนด์อาร์ไคฟ

C

H

A

LO

O

D

N

IM

วาดเส้นและจิตรกรรมชุด ‘ลูกสาว’ (พ.ศ. 2528–2558) ผลงานวาดเส้นและจิตรกรรมชุด ‘ลูกสาว’ ในปี พ.ศ. 2528 อันเนื่องมาจากการ

เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตของอาจารย์ คือ การมีครอบครัวและก�ำเนิดลูกสาวในปี พ.ศ. 2518 แต่อาจารย์ได้วาดหน้าตาเด็กสาวที่หมายถึง ‘ลูกสาว’ มาก่อนหน้าที่ลูกสาว จะมาเกิดด้วยซ�ำ้ ในเรื่องนี้อาจารย์ได้บอกเล่าเองว่า ท่านวาดหญิงสาวซึ่งมีหน้าตาแบบ นีม ้ านานแล้ว และได้วาดอีกต่อๆ มาด้วยช่วงเวลาทีย ่ าวนานตราบจนท่านได้จากโลกนีไ้ ป ลูกสาวในภาพวาดของอาจารย์ไม่ได้เติบโตขึ้นทางร่างกาย ดูเหมือนจะเป็นลูกสาวแบบ อมตะ ไม่มีเด็กทารก เด็กโต หรือแก่ลง หากแต่เป็นลูกสาวคนเดิมตลอดมา เพียงแต่มี การเปลี่ยนแปลงที่การแต่งกาย การประดับประดา และสถานที่แปลกตาที่อาจารย์จะพา ลูกสาวไป เริม ่ ต้นจาก ‘ลูกสาว’ ในชุดไทยลาวเสือ ้ แขนกระบอกสีดำ� เสือ ้ คอกระเช้า นุ่งผ้าซิน ่ ห่มสไบ ปรากฏอยู่ท่ามกลางลวดลายผ้าที่กระจายออกมาจากลายเสื้อและลายผ้านุ่ง

ลูกสาว, 2528, สีน�้ำและปากกาหมึกด�ำบนกระดาษ, 34.4 x 27.2 ซม. ผลงานสะสมของ ชลูด นิ่มเสมอ คอลเลคชั่นแอนด์อาร์ไคฟ

(พ.ศ. 2528) ลูกสาวในท่ายืนตรง มีเพียงมือและแขนที่เปลี่ยนอิริยาบถ บางภาพยกย่อง ให้ลูกสาวอยู่ในซุ้มเป็นเรือนยอดสวยงาม อาจารย์วางลูกสาวในจ�ำนวน 3 คน 5 คน และมากนับ 10 คน เคยมีผู้ถามอาจารย์ว่า อาจารย์มีลูกสาวคนเดียว ท�ำไมวาดลูกสาว 147

58-11-086_001-184_new15-12 chaloo_p un coated..indd 147

12/16/15 2:33 AM


จ�ำนวนมากอย่างนี้ อาจารย์ให้ค�ำตอบว่า มีความรักให้เขามาก มากเท่าไรไม่รู้จบ ก็เลย อยากวาดลูกสาวเยอะๆ ในปี พ.ศ. 2530 อาจารย์วาดลูกสาวหรูหราขึ้น อยู่ในซุ้มที่ออกแบบวิลิศมาหรา อยู่ในเรือนแก้ว อยู่ในซุ้มรูปหยดน�้ำ อยู่ในบ้านทรงไทย ลูกสาวอยู่ในท่าทางต่างๆ ก�ำลัง หาบของไปท�ำบุญ ก�ำลังฟ้อนร�ำ นั่งท�ำขนม และเตรียมของไปถวายพระ จิตรกรรมลูกสาวในปี พ.ศ. 2534–2535 เป็นภาพลูกสาวหรือเด็กสาวที่อยู่ ท่ามกลางทิวทัศน์ในชนบท เป็นภูเขา เนินเขา ต้นไม้ ป่าไม้ และแปลงผัก ลูกสาวดู

IV E

สงบเสงี่ยมเรียบร้อย อ่อนน้อมต่อบรรยากาศของธรรมชาติใกล้ค�่ำที่มีน�้ำหนักเข้ม มีหลายภาพที่ลูกสาวอุ้มแมว นั่งบนหลังควาย บางครั้งนอนหลับอย่างมีความสุขกับแม่

C H

ภาพเขียนในชุดนี้งดงามเจริญตาเจริญใจมาก

ชานเรือน บ้านฝาขัดแตะแบบไทย บางครั้งก็อยู่ในรูปทรงรูปไข่และรูปสามเหลี่ยม และ ในปี พ.ศ. 2539–2540 จิตรกรรมลูกสาวบนกระดาษสาเปลี่ยนแปลงเรื่องราวของภาพ

D

ไม่มช ี อ ื่ , 2540, สีอะคริลก ิ บนกระดาษสาไทย, 89 x 60 ซม. ผลงานสะสมของ ชลูด นิม ่ เสมอ คอลเลคชัน ่ แอนด์อาร์ไคฟ

A R

ในระหว่างปี พ.ศ. 2537–2539 ลูกสาวอยู่บนพื้นเรือน มีลายเส้นบางๆ เป็น

A N

ในส่วนหลัง เป็นรูปเรขาคณ ตชั ิ ดเจนขึ้น บางครั้งเป็นรูปวิมาน รูปวงกลมคล้ายจักรราศี และปรากฏรอยพระพุทธบาท เกิดเป็นสัญลักษณ์ในทางพุทธศาสนาขึน ้ ในปี พ.ศ. 2540

O

N

กลับมาเน้นเรื่องป่าไม้ต้นไม้ ต้นไม้เป็นกลุ่มคล้ายไม้ดัด ประกอบกับไม้ดัดที่แยกกิ่งก้าน ยมกปาฏิหาริย์

EC TI

ออกไป และวาดภาพลูกสาวทับต้นไม้ ท�ำให้นึกถึงภาพจิตรกรรมไทยที่กล่าวถึงเรื่อง

LL

ในระหว่างปี พ.ศ. 2547–2552 อาจารย์เริ่มให้รายละเอียดในส่วนพื้นหลังมาก ขึ้นด้วยการใช้วิธีการแสตมป์สีแบบโมโนปริ้นท์ทับซ้อนกันลงไป บางภาพก็ใช้ลายเส้น

C

O

บางๆ เรื่องราวมีทั้งต้นไม้ใบไม้ บ้านเรือนในชนบท ทุ่งนาป่าเขา และมีการใช้สีฉูดฉาด

M ER

มากขึ้น

ในช่วงปี พ.ศ. 2550 อาจารย์สร้างผลงานวาดเส้นด้วยหมึกสีด�ำแบบเขียนสีน�้ำ

ในเรือ ่ ง ‘ประติมากรรมในทิวทัศน์’ อาจารย์สร้างรูปทรงแบบนามธรรม โดยเทคนิค

SA

คราบสีน�้ำ แล้วจึงวาดทิวทัศน์เบื้องหลังเป็นภาพต้นไม้ใบหญ้า ในขณะที่ภาพ ‘ลูกสาว’

C

H

A

LO

O

D

N

IM

ผู้หญิงกับลวดลาย, 2544, สีอะคริลิกและปากกาเคมี บนกระดาษสาไทย, 76.5 x 56.5 ซม. ผลงานสะสมของ ชลูด นิ่มเสมอ คอลเลคชั่นแอนด์อาร์ไคฟ

ก็ยังปรากฏอยู่ ผลงานในชุดนี้ดูแปลกตาและมีความขัดแย้งกันอยู่ในภาพ ทั้งลูกสาว

รูปคราบน�้ำแบบนามธรรม และทิวทัศน์เบื้องหลัง ภาพลูกสาว อาจารย์ยังคงวาดต่อๆ มาอย่างไม่รู้เบื่อ ทุกภาพตั้งใจที่จะให้ รายละเอียดมากขึน ้ จ�ำนวนงานชุดลูกสาว นับไม่ถ้วน เพราะหลังจากทีอ ่ าจารย์เสียชีวต ิ ไปแล้ว ยังค้นพบผลงานอีกนับพันชิน ้ งานลูกสาวหมดสิน ้ เฉพาะบนโลกนีใ้ นปี พ.ศ. 2558 ซึ่งในระหว่างนั้นก็จะมีงานสนุกๆ ของอาจารย์ออกมาสลับ ด้วยการเขียนรูปตัวเอง (Self–Portrait) ด้วยอารมณ์ขน ั หรือเพือ ่ การพิจารณาตัวตนของอาจารย์เองก็ไม่อาจรู้ได้

อุ้มแมว, 2544, สีอะคริลก ิ บนกระดาษด�ำ, 50 x 35 ซม. ผลงานสะสมของ ชลูด นิม ่ เสมอ คอลเลคชัน ่ แอนด์อาร์ไคฟ

148

58-11-086_001-184_new15-12 chaloo_p un coated..indd 148

12/16/15 2:33 AM


ประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อม (พ.ศ. 2524–2539) งานประติมากรรมแบบถาวรขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเป็นงานสมัยใหม่ น�ำไปติดตั้ง กับที่สาธารณะที่เรียกว่า ศิลปะกับสิ่งแวดล้อม อาจารย์เป็นผู้บุกเบิกและมีโอกาสได้ สร้างสรรค์ผลงานในลักษณะนีจ้ นเป็นทีป ่ ระจักษ์แก่ชม ุ ชนแวดล้อม การท�ำงานในลักษณะ อย่างนี้ ปัจจัยแรกที่ส�ำคัญก็คือต้องมีผู้วา่ จ้าง โดยมีการลงทุนสูง และประการส�ำคัญ ศิลปินผู้สร้างจะต้องเป็นผู้ที่มีบารมีจนเป็นที่ยอมรับในผลงาน งานประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อมของอาจารย์ เริ่มต้นจากการสร้างสรรค์

IV E

ประติมากรรมขนาดใหญ่เพื่อติดตั้งหน้าอาคารธนาคารกสิกรไทย ส�ำนักงานใหญ่ (ในช่วงเวลานั้น) ที่ถนนพหลโยธิน ในปี พ.ศ. 2524 ชือ ่ ‘องค์สาม’ เป็นงานส�ำริดขัดมัน

C H

รูปเงินพดด้วง เงินตราสมัยโบราณซ้อนกัน 3 ก้อน เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์อันเป็นมงคล

A R

ของธนาคาร ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเงินตรา ต่อมาอาจารย์สร้าง ‘อนุสาวรียว ์ รี ชน พตท. 17–18’ หล่อส�ำริดสูง 11.50 เมตร (ภาพหน้า 172) สร้างขึ้นที่จังหวัดเลย ในปี พ.ศ.

D

2528 สร้างขึ้นเพื่ออุทศ ิ แก่เหล่าต�ำรวจ ทหาร และพลเรือนที่ได้สละชีวิตในการต่อสู้กับ

A N

ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่จังหวัดเลย อาจารย์ออกแบบให้เหมือนเสาหลัก 5 ต้น มัด

N

รวมกันด้วยความรักสามัคคี เป็นสัญลักษณ์ของข้าราชการ ต�ำรวจ ทหาร พลเรือน และ

O

อาสาสมัคร ทรงสูงเช่นเดียวกับพระธาตุเจดีย์ท้องถิ่นในภาคอีสาน บนยอดปกคลุมด้วย

EC TI

ฉัตร 9 ชั้น อันหมายถึงสิ่งเคารพสูงสุด คือ องค์พระประมุขของชาติ ในปี พ.ศ. 2536 อาจารย์ได้สร้างงานประติมากรรมขนาดใหญ่ปิดทองค�ำเปลว

LL

ชื่อ ‘พระบรมโพธิสมภาร’ ที่หน้าอาคารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (ภาพ

O

หน้า 38) เป็นรูปทรงต้นโพธิข์ นาดใหญ่แผ่สาขาไปโดยรอบ ตัวประติมากรรมจะมีรอยนูน

C

เป็นรูปของใบโพธิ์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงพระบารมีของพระมหากษัตริย์บนแผ่นดินไทย

M ER

ที่พระองค์ทรงแผ่เมตตาบารมีแก่คนทุกเชื้อชาติที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร งานประติมากรรมขนาดใหญ่อีกชิ้นหนึ่งของอาจารย์ ที่สร้างชื่อเสียงและเป็นที่

SA

วิพากษ์วิจารณ์กันมากในสังคมศิลปะและสื่อสารมวลชน ซึ่งไม่ค่อยปรากฏบ่อยครั้งนัก

O

D

N

IM

ในบ้านเมืองเรา คือผลงาน ‘โลกุตระ’ ทีต ่ ด ิ ตัง้ อยู่ด้านหน้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสริ ก ิ ิติ์

C

H

A

LO

โลกุตระ, 2534, ไฟเบอร์กลาสปิดทองและหินแกรนิตด�ำ 400 x 400 ซม. รวมฐานสูง 1020 ซม. ประติมากรรม ติดตัง้ ถาวรหน้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสริ ก ิ ิติ์ กรุงเทพฯ © ชลูด นิ่มเสมอ คอลเลคชั่นแอนด์อาร์ไคฟ

ในปี พ.ศ. 2534 เป็นงานประติมากรรมปิดทองอร่าม เป็นแรงบันดาลใจที่ได้รับจาก

เปลวรัศมีที่อยู่บนพระเศียรของพระพุทธรูปสุโขทัย เปลวรัศมีนี้เป็นส่วนที่แสดงให้เห็น ความแตกต่างของพระพุทธองค์กับบุคคลธรรมดา เป็นส่วนที่เรียกว่า มหาปุริสลักษณะ ของมหาบุรุษ อันหมายถึงพระปัญญาที่หลุดพ้นจากโลกียะสู่โลกุตตระ อาจารย์ได้น�ำ ส่วนเฉพาะของเปลวรัศมีที่มีลักษณะคล้ายดอกบัวที่พ้นน�้ำแล้ว ก�ำลังทะยานสู่เบื้องสูง ด้วยกลีบเปลวทั้ง 8 กลีบ อันเป็นสัญลักษณ์ของมรรค 8 หรือหนทางทั้ง 8 แห่งการ พ้นทุกข์ที่พระบรมศาสดาได้ก�ำหนดไว้เป็นแนวทาง เมื่อเห็นผลงานประติมากรรมชิ้นนี้ แล้วจะมองเห็นอารมณ์อันเบิกบาน ให้พลังแห่งการต่อสู้เพื่อการหลุดพ้น โคนของ ประติมากรรมตั้งอยู่บนฐานที่ถูกยกให้สูงขึ้น เมื่อมีคนวิจารณ์ว่างาน ‘โลกุตระ’ ชิ้นนี้

149

58-11-086_001-184_chalus uncoated_P.indd 149

12/15/15 1:01 AM


IV E C H A R D A N N O EC TI LL O C M ER

C

H

A

LO

O

D

N

IM

SA

อินทรีย์ 5, 2537, ประติมากรรมหล่อส�ำริด, 800 x 500 ซม. สูง 1300 ซม. ติดตั้งถาวรหน้าอาคารส�ำนักงานใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย ถนนราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ © ชลูด นิ่มเสมอ คอลเลคชั่นแอนด์อาร์ไคฟ

เหมือนกับได้เห็นเศียรของพระพุทธรูปจมอยู่ใต้พื้นดิน จึงเป็นที่มาของการได้รับค�ำ วิจารณ์ว่า อาจารย์ท�ำลายสิ่งที่เคารพของชาวพุทธ โดยไม่เข้าใจว่าอาจารย์ได้ใช้หัวใจ ของหลักธรรมสูงสุด คือเปลวรัศมีนี้ มาแสดงโดยไม่ต้องอาศัยเศียรของพระพุทธรูป อาจารย์อธิบายว่า ถ้าเรามองในมุมมองแบบเทวดามอง คือ มองจากข้างบนลงมา ก็อาจจะเห็นเหมือนกับเศียรพระพุทธรูปจมดินโผล่มาแต่รัศมี แต่ในแนวคิดของอาจารย์ นั้นเป็นการมองจากเบื้องต�่ำ จากโลกียชนมองเงยหน้าไปสู่ของสูง จากโลกียะไปสู่ โลกุตตระ ผลงาน ‘โลกุตระ’ ของอาจารย์ตงั้ อยู่บนฐานหินอ่อนสีดำ� ท�ำให้เห็นความหมาย ของการแบ่งแยกดินแดน ระหว่างโลกมนุษย์กับส่วนของการบรรลุธรรมในแดน พระนิพพาน ปัจจุบน ั ผลงานชิน ้ นีก ้ ลับมีผ้ช ู น ื่ ชอบและเข้าใจในหลักคิดของอาจารย์มากขึน ้ ‘โลกุตระ’ กลายเป็นสัญลักษณ์ทางศิลปะ และไม่เพียงแต่มีความหมายส�ำคัญแก่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสริ ก ิ ิตเิ์ ท่านัน ้ ปัจจุบน ั ประติมากรรมชิน ้ นีย ้ งั กลายเป็นสัญลักษณ์

เงินเจียง, 2539, ประติมากรรมหล่อส�ำริด 400 x 400 ซม. สูง 730 ซม.ติดตัง้ ถาวรหน้าอาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทยสาขาเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ © ชลูด นิ่มเสมอ คอลเลคชั่นแอนด์อาร์ไคฟ

ในระดับประเทศชาติอีกด้วย

150

58-11-086_001-184_chalus uncoated_P.indd 150

12/15/15 1:01 AM


งานประติมากรรมขนาดใหญ่กลางแจ้งซึ่งเป็นผลงานสร้างสรรค์ของอาจารย์เป็น ที่ยอมรับของผู้ว่าจ้าง ท�ำให้อาจารย์ได้ท�ำงานประเภทนี้อีกหลายชิ้น เช่น ‘อินทรีย์ 5’ ที่ ธนาคารกสิกรไทย ส�ำนักงานใหญ่ปัจจุบัน (พ.ศ. 2537) ‘ทะเลตะวันออก’ (ภาพหน้า 173) ที่ทะเลร็อคการ์เด้นบีช จังหวัดระยอง (พ.ศ. 2531) และ ‘เงินเจียง’ ของธนาคาร

แห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ. 2539)

จิตรกรรมชุด ‘ธรรมศิลป์’ (พ.ศ. 2534–2540)

IV E

จากการท�ำงานศิลปะที่ยาวนานของอาจารย์นับแต่ปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา ผ่านรูปแบบของการแสดงออกมากมาย มีเรื่องราวหรือสาระส�ำคัญที่ต่อเนื่องกันมาเช่น

C H

ชุด ‘ประติมากรรมชนบท’ ‘บันทึกประจ�ำวัน’ ‘บทกวีทางทัศนศิลป์’ ‘ลูกสาว’ และ

A R

‘ประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อม’ ผลงานเหล่านี้ไม่ใช่งานที่ต่อเนื่องขนาดจบเรื่องหนึ่ง อย่างเด็ดขาดแล้วเริ่มอีกเรื่องต่อๆ กัน งานหลายชุดจึงมีการท�ำงานที่เหลื่อมกัน หรือ

A N

D

บางครั้งมีการทับซ้อนกันในช่วงเวลาเดียวกัน เหมือนสายน�ำ้ หลายๆ สายที่เมื่อรวมกัน แล้วก็กลายเป็นสายธารแห่งชีวิตเดียวกัน ผลงานชุด ‘ธรรมศิลป์’ ก็เช่นเดียวกันที่

N

อาจารย์ทำ� ไปในขณะที่ทำ� ชุด ‘ลูกสาว’ และประติมากรรมกับสิ่งแวดล้อม อาจารย์

O

ดึงเอาชุด ‘ธรรมศิลป์’ ให้เด่นออกมา หลุดจากชุด ‘ลูกสาว’ และประติมากรรมกับ

EC TI

สิ่งแวดล้อม ทั้งๆ ที่ทำ� ขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน อาจารย์เริ่มสนใจศึกษาเรื่องพุทธศาสนามากขึ้นหลังจากการเกษียณอายุราชการ เป็นการศึกษาธรรมะที่โน้มน�ำไปสู่การปฏิบัติ โดยมีการอบรมธรรมะกับอาจารย์ที่

LL

นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส, 2537 สีฝ่น ุ , ปิดทอง และแอร์บรัชบนกระดาษสาไทย 83 x 88 ซม. ผลงานสะสมของ ชลูด นิ่มเสมอ คอลเลคชั่นแอนด์อาร์ไคฟ

O

น่านับถือท่านหนึ่ง อาจารย์ฝึกการก�ำหนดสติ ท�ำสมาธิ พิจารณาสภาวะความเป็นจริง

C

ของชีวิตและธรรมชาติ การปฏิบัติในทางจิตนี้เองที่มีผลเชื่อมโยงมาสู่นักปฏิบัติศิลปะ

M ER

ท�ำให้เกิดผลงานในชุด ‘ธรรมศิลป์’ ขึ้น มีทั้งในงานจิตรกรรม งานวาดเส้น และงาน

ประติมากรรม เช่น ‘โลกุตระ’ และ ‘อินทรีย์ 5’ ผลงานเหล่านี้ไม่ใช่การแสดงผลในทาง

SA

ธรรมะโดยตรง หากแต่อาจารย์อาศัยธรรมะของพุทธศาสนาเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดเป็น

C

H

A

LO

O

D

N

IM

งานศิลปะขึ้น อาจารย์ได้ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ที่เชื่อกันว่าเป็นสิ่งสูงส่งอยู่ในดินแดนที่เป็น

พระพุทธบาทกับฉัตร, 2538, สีฝ่น ุ และแอร์บรัชบนกระดาษ สาไทย, 90 x 81 ซม. ผลงานสะสมของ ชลูด นิ่มเสมอ คอลเลคชั่นแอนด์อาร์ไคฟ

โลกุตตระ เช่น ปราสาท วิมาน หงส์ นกยูง ดอกบัว ต้นโพธิ์ รอยพระพุทธบาท รอยพระหัตถ์ ซุ้มเรือนแก้ว สระโบกขรณี พระบรมฉัตร และโลกแห่งไตรภูมิ งานชุด ‘ธรรมศิลป์’ จึงเป็นชีวิตของศิลปินที่เดินทางมาสู่การปฏิบัติธรรม การฝึกฝนทางจิตด้วยการท�ำสมาธิ การก�ำหนดสติเพื่อพิจารณาความเป็นจริงของชีวิต และโลก เป็นรูปแบบทางศิลปะที่ใช้สัญลักษณ์ที่เปรียบเสมือนดินแดนแห่งความสุขสงบ แบบพุทธศาสนาที่เรียกว่า ‘แดนพระนิพพาน’ แต่สิ่งที่อาจารย์ค้นพบด้วยวิถีแห่งศิลปะ นี้เองที่อาจารย์ยังกล่าวว่า ดินแดนพระนิพพานหรือดินแดนแห่งการหลุดพ้น เป็นเพียง แค่การมองเห็นจากผู้ที่อยู่ในโลกโลกียะ และคาดหวังจินตนาการว่าดินแดนแห่งความสุข สงบ สันติ หลุดพ้น น่าจะเป็นอย่างนี้ อาจารย์ยังเคยเล่าให้ฟังว่า ยังไม่อยากพบพระนิพพานเพราะยังอยากท�ำงาน ศิลปะอยู่

151

58-11-086_001-184_new15-12 chaloo_p un coated..indd 151

12/16/15 2:33 AM


‘แบกะดิน’ บันทึกของศิลปินชนบท (พ.ศ. 2541) เป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่อาจารย์ชลูดย้อนกลับมาใช้แรงบันดาลใจจากสภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมในชนบท ครั้งนี้อาจารย์ไปสัมผัสท้องทุ่งนาจริงๆ ในภาคอีสาน เป็นงาน วาดเส้นท้องทุ่งนา ชีวต ิ การใช้แรงงานของชาวนา ถึงขนาดลงท�ำนาด้วยตนเอง เมื่อกลับ มาจากนา สิ่งที่ได้รับคือความรู้สึกที่ยิ่งใหญ่ด้วยเหตุที่ผืนนาเป็นที่ก�ำเนิดของทุกๆ ชีวิต อาจารย์ให้ความคิดว่า การเริ่มต้นจากผืนนาจึงไม่ใช่สิ่งที่ต�่ำต้อย เป็นสิ่งที่มีคุณค่า และให้ก�ำเนิดสรรพชีวิต เมื่อย้อนกลับมาสู่งานศิลปะที่อาจารย์รัก ศิลปะกับชีวิตคือ สิ่งปกติธรรมดา ไม่เป็นของสูงส่งและสิ่งต�่ำต้อยใดๆ ชีวิตและศิลปะจึงมีความส�ำคัญ

C H

เท่าเทียมกัน อาจารย์กล่าวว่า “ชาวนาผลิตข้าว ช่างไม้ผลิตงานไม้ ศิลปินผลิตงาน ศิลปะ” ด้วยแนวคิดที่ติดดินเช่นนี้ อาจารย์จึงได้รวบรวมผลงานประติมากรรมที่เคย

A R

แบกะดิน 2496-2541, ศิลปะแนวจัดวาง, ขนาดปรับ เปลี่ยนตามพื้นที่ © ชลูด นิ่มเสมอ คอลเลคชั่นแอนด์ อาร์ไคฟ

IV E

สิ่งเดียวกัน ศิลปะจึงไม่จ�ำเป็นที่จะต้องเป็นสิ่งสูงส่ง กิจกรรมที่เกิดขึ้นจากมนุษย์จึงเป็น

สร้างไว้ในอดีตเป็นภาพร่างทั้งหมดมาวางลงบนพื้นดิน เป็นผลงานในชุด ‘แบกะดิน’

D

คล้ายพ่อค้าแม่ค้าที่น�ำผลผลิตของตนมาวางขายจ�ำนวนกว่า 100 ชิ้น

A N

ผลงานศิลปะแต่เดิมทุกคนเข้าใจว่าเป็นของสูง ต้องน�ำมาจัดแสดงบนแท่นเพื่อ

N

การยกย่อง แต่งานศิลปะของอาจารย์นั้นยกลงมาวางบนพื้นแบบติดดิน เพราะศิลปะ

O

ไม่ใช่ของสูงส่ง แต่เป็นของสัมผัสได้ส�ำหรับผู้คนทุกระดับ

EC TI

และต่อมาในช่วงเวลาเดียวกันนั้น อาจารย์ได้จัดสร้างครัวของชาวนาซึ่งเป็นพื้นที่ ที่เป็นรากฐานของชีวิตชาวนา มีไม้ ดุ้นฟืน เตาฟืน ในผลงานชุด ‘ครัวชนบท’ จัดท�ำ

LL

ผลงานชุด ‘บันทึกศิลปินชนบท’ ด้วยการน�ำงานสเกตซ์ทั้งหมดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

O

มาแขวนรวมกันไว้ ผลงานในชุดดังกล่าว เป็นงานที่อยู่ในระยะเวลาที่ยาวนาน จนอาจ

C

เรียกได้วา่ ไร้กาลเวลา เพราะได้ผสมผสานงานทุกยุคทุกสมัย นับเป็นผลงานในแบบ ผลงานชุด ‘แบกะดิน’ ‘ครัวชนบท’ และ ‘บันทึกศิลปินชนบท’ น�ำออกแสดง

ต่อสาธารณะในช่วงเวลาที่มีการจัดนิทรรศการเพื่อเชิดชูเกียรติและแสดงความยินดี ต่ออาจารย์เมื่อได้รับพระราชทานยกย่องให้เป็น ‘ศิลปินแห่งชาติ’ สาขาทัศนศิลป์

ในปี พ.ศ. 2541

C

H

A

LO

O

D

N

IM

SA

ครัวชนบท, 2535-2541, ติดตั้งที่สวนประติมา ถนนพุทธมณฑลสายสี่ © ชลูด นิ่มเสมอ คอลเลคชั่น แอนด์อาร์ไคฟ

M ER

ก้าวหน้าที่เรียกว่าเป็นประเภท Conceptual Art โดยแท้

สายธารแห่งชีวิต 80 ปี (พ.ศ. 2553) เมื่ออาจารย์มีอายุครบ 80 ปี คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และบรรดาลูกศิษย์ลก ู หาของอาจารย์ได้ร่วมกันจัดแสดงงานศิลปะ ให้ด้วยความยินยอมพร้อมใจของอาจารย์ โดยรวบรวมผลงานบนกระดาษ ขนาดไม่ใหญ่ มากนัก แต่มีจ�ำนวนมากจนต้องจัดแสดงพร้อมกันทั้งสองหอศิลป์ คือ หอศิลป์วังท่าพระ และหอศิลป์คณะจิตรกรรมฯ แบ่งเป็นชุดงาน ‘จิตรกรรม’ และงาน ‘วาดเส้น’ ภายใต้ชื่อ นิทรรศการที่อาจารย์ตั้งเองว่า ‘สายธารชีวิต : Stream of Life’

152

58-11-086_001-184_chalus uncoated_P.indd 152

12/15/15 1:01 AM


‘สายธารชีวิต’ เป็นบันทึกศิลปะของอาจารย์ที่เกิดขึ้นจากการท�ำงานศิลปะโดยที่ ไม่เคยหยุดนิ่ง เปรียบเสมือนสายธารชีวิตที่เลื่อนไหล ทิ้งร่องรอยไว้ในแต่ละช่วงเวลา ช่วงวัน เดือน และปี เป็นบันทึกของความรู้สึก ความนึกคิด และประสบการณ์ของชีวิต ที่มีความกลมกลืนกับสิ่งทั้งปวงในธรรมชาติ ในส่วนของงานจิตรกรรมมีส่วนผสมของเทคนิคต่างๆ มากมายและมีขนาดใหญ่ ขึ้น จัดแสดงที่หอศิลป์วังท่าพระ ส่วนงานวาดเส้นมีขนาดเล็กเพราะส่วนใหญ่เป็นบันทึก ด้วยลายเส้นบนกระดาษหลากหลายชนิด มีทั้งชุดลูกสาว บทกวี วาดเส้นทิวทัศน์

IV E

ประติมากรรมในทิวทัศน์ วาดเส้นบันทึกประจ�ำวัน และวาดเส้นไร้ส�ำนึก จัดแสดงที่ หอศิลป์คณะจิตรกรรมฯ

A R

ต่อสาธารณชนในวาระที่ส�ำคัญในชีวิตของอาจารย์

C H

งานทั้งหมดจึงเป็นส่วนหนึ่งของผลงานที่ย่งิ ใหญ่ของอาจารย์ที่ได้รับการเปิดเผย

A N

D

จิตรกรรมฝาผนังของอาจารย์ชลูดและผลงานย้อนหลัง (พ.ศ. 2556) แม้ว่าจะเป็นที่รับทราบกันโดยทั่วไปว่า อาจารย์ชลูดไม่เคยหยุดท�ำงานศิลปะเลย

N

แม้แต่วันเดียว ดังนั้น ผลงานของอาจารย์จึงมีจ�ำนวนมากมายมหาศาลกว่าที่จะนึกได้

EC TI

O

สาธารณชนจะได้มีโอกาสชื่นชมผลงานก็ต่อเมื่ออาจารย์ได้รับเชิญให้เข้าร่วมใน นิทรรศการนั้น ซึ่งก็มักเป็นผลงานเพียง 1–2 ชิ้นเท่านั้น ทั้งนี้เพราะเหตุที่อาจารย์คิด ว่าศิลปินมีหน้าที่สร้างสรรค์ผลงาน ไม่ได้มีหน้าที่จัดแสดงงานหรือน�ำเสนอผลงานของ

LL

ตนเองแบบหยิบยื่นให้ประชาชนชม อาจารย์จึงไม่มีความกระตือรือร้นที่จะจัดแสดงงาน

O

ของตนเองในประเภทการแสดงเดี่ยวหรือ One Man Show งานที่แสดงตลอดมาใน

C

ชีวิต 86 ปีของอาจารย์ จึงเป็นงานที่มีผู้จัดให้โดยองค์กรหรือลูกศิษย์ลูกหาในวาระ

M ER

ส�ำคัญต่างๆ ของอาจารย์ ซึ่งทั้งนี้ก็โดยความยินยอมพร้อมใจของอาจารย์ด้วย และ

D

N

IM

SA

อาจารย์ก็จะเป็นผู้ที่รวบรวมผลงานใน ‘เนื้อหาสาระ’ ที่ยินดีน�ำเสนอด้วยตัวของท่านเอง

C

H

A

LO

O

ตีนจก, 2554, สีอะคริลิกบนผ้าใบ, 81 x 61 ซม. ผลงานสะสมของ ชลูด นิ่มเสมอ คอลเลคชั่นแอนด์อาร์ไคฟ

การแสดงนิทรรศการส�ำคัญของอาจารย์ เริ่มจากการได้รับการยกย่องให้เป็น

‘ศิลปินแห่งชาติ’ ในปี พ.ศ. 2541 ในงานนี้ อาจารย์ได้กรุณาเปิดตัวโดยให้สัมภาษณ์บน เวที ซึ่งไม่ใช่เรื่องปกติธรรมดา มีเรื่องราวที่ไม่เคยรู้มากมายเปิดเผยในเวทีนี้ ในปี พ.ศ. 2542 ได้รบ ั พระราชทานปริญญาดุษฎีบณ ั ฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาภาพพิมพ์

จากมหาวิทยาลัยศิลปากร มีการแสดงผลงานภาพพิมพ์และมีการแสดงนิทรรศการเชิดชู เกียรติ ‘บันทึกของศิลปินชนบท 2496–2541’ ที่หอศิลป์วังท่าพระ มหาวิทยาลัย ศิลปากร ในปี พ.ศ. 2550 ได้รบ ั พระราชทานปริญญาดุษฎีบณ ั ฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศิลปไทย ได้ใช้เวลารวบรวมผลงานของอาจารย์ทั้งหมด และจัดแสดงเพื่อเชิดชูเกียรติใน นิทรรศการ ‘สายธารชีวิต’ ณ หอศิลป์วังท่าพระ และที่หอศิลป์คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ปี พ.ศ. 2553)

153

58-11-086_001-184_chalus uncoated_P.indd 153

12/15/15 1:01 AM


IV E C H A R D A N N O EC TI LL O C M ER

C

H

A

LO

O

D

N

IM

SA

บรรยากาศภายในห้องจัดแสดงนิทรรศการ ‘จิตรกรรมฝาผนังของอาจารย์ชลูด และผลงานย้อนหลัง’ ชั้น 9 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) 31 พฤษภาคม - 18 สิงหาคม 2556 เอื้อเฟื้อภาพโดย หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

และในปี พ.ศ. 2556 โดยได้รับเชิญจากหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดแสดงงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของอาจารย์ ในนิทรรศการที่ชื่อว่า ‘จิตรกรรมฝาผนัง ของอาจารย์ชลูด และผลงานย้อนหลัง’ เป็นเสมือนการรวบรวมนิทรรศการศิลปะ ครั้งยิ่งใหญ่ในอดีตที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ เอาไว้ในนิทรรศการครั้งเดียวกันนี้ และเป็น ความบังเอิญที่นิทรรศการนี้กลายเป็นนิทรรศการครั้งสุดท้ายในชีวิตของอาจารย์ ผลงานชุด ‘จิตรกรรมฝาผนังฯ’ เป็นชื่อนิทรรศการที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับ บุคลิกภาพของอาจารย์ เป็นผลงานที่สร้างขึ้นจากอดีตมาจนถึงปี พ.ศ. 2556 เป็นภาพ วาดขนาดเล็กบนกระดาษสาจ�ำนวนมาก บางชิ้นวาดด้วยสีอะคริลิกบนผ้าใบ ถ่ายทอด อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด และจินตนาการที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงของชีวิต ซึ่งล้วนแล้วแต่ สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ตา่ งๆ ที่เกิดขึ้น โดยใช้รูปทรงหลักที่มีอัตลักษณ์ ทีโ่ ดดเด่นของตัวท่านเอง มีทงั้ รูปลูกสาว ผู้หญิง และเด็ก ซึง่ มีความหมายถึงความบริสท ุ ธิ์ สะอาด บริสุทธิ์อ่อนโยน แวดล้อมด้วยความงดงามทางธรรมชาติ ต้นไม้ป่าเขา และ สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม วาดเส้นด้วยหมึกด�ำ และสีอะคริลิกบนกระดาษสาไทย

154

58-11-086_001-184_chalus uncoated_P.indd 154

12/15/15 1:01 AM


ความส�ำคัญและความใหม่ในเชิงสร้างสรรค์ของผลงานชุดนี้ก็คือ อาจารย์ได้ สร้างห้องนิทรรศการขึ้นให้เหมือนสถานที่เฉพาะส่วนตัวของศิลปิน และท�ำให้เป็นที่อยู่ ของผลงานทัง้ หมดโดยก่อก�ำแพงล้อมรอบให้เป็นห้องผนังสูง และโดยรอบติดภาพผลงาน ของอาจารย์ทั้งหมดโดยไม่มีการเว้นช่องว่าง เมื่อเราเดินเข้าไปสู่ห้องจิตรกรรมฝาผนัง ของอาจารย์ เราจึงถูกโอบล้อมด้วยศิลปะภาพเขียนจ�ำนวนพัน–หมืน ่ สะกดให้เราสงบนิง่ ด้วยพลังอันมหาศาล ได้เห็นชีวิตอันบริสุทธิ์เบิกบาน ได้อา่ นบันทึกที่ยาวนานตลอดชีวิต ของอาจารย์ ส�ำหรับลูกศิษย์ เราได้เห็นความมุ่งมั่น วิริยะอุตสาหะที่อาจารย์มีต่อศิลปะ

IV E

ซึ่งจะเป็นตัวอย่างที่ดีงามแก่ยุวชนผู้ท�ำงานศิลปะในเวลาต่อมา ผลงานที่หนาแน่นโดยรอบนี้ แม้จะถูกติดตั้งอย่างง่ายๆ เพียงกระดาษที่ติดแปะ

C H

ไปบนผนังโดยไม่ต้องใส่กรอบให้สวยหรูใดๆ แต่ทั้งหมดเป็นพลังอันมหาศาลที่สะกดให้ ผู้ชมน้อมเคารพต่อความเป็นศิลปะบริสุทธิ์ที่อาจารย์สร้างขึ้น จนท�ำให้เรารู้สึกได้วา่

A R

หอศิลป์แห่งนี้แปรเปลี่ยนกลายเป็น ‘วิหารแห่งศิลปะ’ ที่คนเข้าชมด้วยความสุภาพ

A N

D

เคารพ และเบิกบานใจ

N

สตูดิโอแกลลอรี่ (พ.ศ. 2555–2558)

O

เมื่ออาจารย์ได้ยา้ ยเข้าไปสู่บา้ นใหม่ที่ถนนราชพฤกษ์กับลูกสาว และแวดล้อม

EC TI

ด้วยเครือญาติที่พ�ำนักอยู่ในบริเวณเดียวกัน อาจารย์ได้จัดสร้างสตูดิโอหรือห้องท�ำงาน ขึ้น แต่ในจุดประสงค์ลึกๆ ไปกว่านั้น คือ จงใจจะได้ใช้ผนังของสตูดิโอในทุกส่วนติดตั้ง

LL

ผลงานทั้งหมดทุกผนัง ตั้งแต่พื้นขึ้นไปสู่ผนังเพดาน ในที่สุดอาจารย์ได้ใช้ที่แห่งนี้เป็นที่

O

ต้อนรับแขก ใช้เป็นที่รับปรึกษางานของนักศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท

C

และปริญญาเอก และกลายเป็นห้องสอนศิลปะ โดยมีผลงานของอาจารย์เป็นตัวอย่าง

M ER

อยู่รายรอบ

ห้องท�ำงานสตูดโิ อของอาจารย์จึงกลายเป็นหอศิลป์ บ้านหอศิลป์ และพิพิธภัณฑ์

SA

บ้านของศิลปินทีท ่ รงคุณค่า ผลงานทีต ่ ด ิ ประดับอยู่บนผนังรายรอบจนไม่มท ี วี่ ่างคือต้นแบบ

C

H

A

LO

O

D

N

IM

ของนิทรรศการ ‘จิตรกรรมฝาผนัง’ ที่จัดแสดงด้วยการจ�ำลองบ้านหอศิลป์แห่งนี้ไปที่

นิทรรศการของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2556 หลังจากที่อาจารย์ได้จากพวกเราไปแล้ว คณะท�ำงานเพื่อจัดท�ำหนังสือที่ระลึกใน งานพระราชทานเพลิงศพ จัดเก็บรวบรวมผลงานทัง้ หมดให้เป็นหมวดหมู่ เราได้ค้นพบว่า ผนังที่ประดับภาพเขียนของอาจารย์ทุกผนังซึ่งไม่มีที่ว่างนั้น อาจารย์ยังได้ติดรูปใหม่ทับ รูปเดิมลงไปอีกหลายชัน ้ อย่างน่ามหัศจรรย์ใจ นอกจากนัน ้ ก็ยงั ได้พบกองกระดาษผลงาน ที่ยังไม่ได้ติดตั้งอีกนับพันชิ้น มีงานเซรามิกใหม่สุดที่ยังไม่มีใครเคยเห็นอีกหลายสิบชิ้น และยังมีงานที่อาจารย์เขียนลงบนสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ปรากฏอยู่ในเครื่อง iPad อีก นับสิบชิ้น การท�ำให้ห้องท�ำงานหรือบ้านของศิลปิน กลายเป็นหอศิลป์หรือพิพิธภัณฑ์ และ ไปสู่การเป็นวิหารอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้ที่เข้ามาอยู่ในผลงานที่โอบล้อมอยู่ด้วยศิลปะย่อมท�ำให้ ตนเองเกิดความซาบซึ้งในความงดงาม คุณค่าของศิลปะ ตลอดจนมองเห็นความศรัทธา มุ่งมั่นที่ศิลปินได้อุทิศตนเองด้วยการฝากชีวิตไว้กับการท�ำงานศิลปะ ศิลปะจึงเหมือนกับ

ส่วนหนึง่ ของผลงานเซรามิก ซึง่ เป็นหนึง่ ในผลงานชุดสุดท้าย ของอาจารย์ชลูด นิ่มเสมอ, 2558 ผลงานสะสมของ ชลูด นิ่มเสมอ คอลเลคชั่นแอนด์อาร์ไคฟ

ลมหายใจของศิลปิน แต่อาจารย์กไ็ ม่ได้ทำ� ให้ศล ิ ปะของอาจารย์ดส ู งู ส่งเกินกว่าคนธรรมดา

155

58-11-086_001-184_chalus uncoated_P.indd 155

12/15/15 1:01 AM


จะรับได้ ผลงานทุกชิ้นของอาจารย์ตลอด 60 ปีที่ผ่านมา ยังคงมุ่งมั่นกับแนวคิดเดิมที่ อาจารย์เคยพูดย�ำ้ อยู่เสมอว่า “ผมเป็นศิลปินชนบท” เพราะ “ผมชอบชนบท ชอบความเรียบง่ายของชีวิต ชาวชนบทส่วนมากจะขัดสน มีความเป็นอยู่ไม่ถูก สุขลักษณะ มีการศึกษาน้อย ขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานของชีวิต แต่พวกเขาก็จะมี ลักษณะพิเศษ มีวัฒนธรรมของตนเองโดยเฉพาะ” ดังนั้น เรื่องราวของลูกสาว เด็ก หญิงสาวกับธรรมชาติแวดล้อมบนรูปเขียนทุกรูปของอาจารย์ มักจะแสดงเนื้อหาที่บอก ถึงความบริสุทธิ์ ความสงบ ความไร้เดียงสา และความเป็นพี่น้องร่วมกันในความเป็น

IV E

มนุษย์ อาจารย์เห็นว่าความเป็นมนุษย์คือความดี และความดีนั้นสามารถแสดงออกได้ ด้วยความงาม แต่มนุษย์คนหนึง่ หรืออีกกลุ่มหนึง่ อาจเห็นว่าการแสดงออกทางศิลปะอาจ

C H

ใช้พฤติกรรมในทางลบก็ได้ แต่ศิลปะของอาจารย์คือความดีงาม และเป็นไปในทางบวก การน�ำผลงานนับร้อย พัน หมื่น มาประดับอยู่บนผนังห้อมล้อมตนเองและผู้ชม

A R

น้อมน�ำให้จิตใจสู่ความสงบสันติที่ดีงาม จึงเป็นอีกขั้นตอนที่ทำ� ให้งานจิตรกรรมธรรมดา

N

บทส่งท้ายที่ความเป็นครูศิลปะ

A N

D

ของอาจารย์กลายเป็นงาน Conceptual Art ได้ในที่สุด

O

จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ด้วยความเคารพศรัทธาในศิลปะ ผลักดันให้อาจารย์

EC TI

เกิดความมุมานะ มุ่งมั่น ขยันหมั่นเพียรเกินกว่าคนธรรมดาจะปฏิบัติตนเช่นนี้ได้ แต่ใน ส่วนที่ลึกไปกว่านั้น อาจารย์บอกอยู่เสมอว่า การท�ำงานศิลปะทุกครั้งของอาจารย์คือ

LL

ส่วนของการสร้างประสบการณ์เพื่อน�ำมาใช้เป็นตัวอย่างในการสอน ไม่ว่าจะเป็นส่วน

O

ของงานภาพพิมพ์ งานประติมากรรมสลักหิน งานเวลดิ้ง งานประติมากรรมชนบท

C

งานธรรมศิลป์ และผลงานในทุกๆ ชุด อาจารย์ได้นำ� มาเป็นตัวอย่างส�ำคัญในการ

M ER

สร้างสรรค์ศิลปะแก่นักศึกษาอยู่เสมอ “สิ่งที่จะต้องสอนแก่นักศึกษาหากมีปัญหาและ เราไม่รู้วิธีที่จะแก้ปัญหา เราต้องไปค้นคว้า เมื่อค้นคว้าไม่พอก็จ�ำเป็นต้องท�ำดูว่า

SA

มันเป็นอย่างไร จะได้กลับไปแนะน�ำเขาได้ เมื่อได้สอนมาเป็นเวลานาน เราก็จะรู้

C

H

A

LO

O

D

N

IM

ถึงการแก้ปัญหาหลากหลายแนว มีความสะดวกมากขึ้น และส่วนใหญ่ก็เป็นปัญหา เก่าๆ เกือบทั้งนั้น นักศึกษาสมัยปัจจุบันมีความคิดแปลกตามยุคสมัย หากเราตาม เขาไม่ทันก็จะเกิดช่องว่างระหว่างวัยจนเขารับไม่ได้” ในช่วงแรกของชีวิตอาจจะเห็นว่าอาจารย์เป็นคนพูดน้อยหรือบางครั้งไม่พูด แต่เมื่อเวลาผ่านไป อาจารย์ได้ค้นพบการแก้ปัญหามากขึ้น ท�ำให้อาจารย์พูดและสอน ด้วยความอดทน แม้กับศิษย์ที่แสนเข็ญที่สุดอาจารย์ก็จะใช้ความเมตตาเป็นคุณธรรม อันสูงสุด อาจารย์สอนนักศึกษามาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี เริ่มสอนในทุกสาขาวิชาที่มี อยู่ในคณะจิตรกรรมฯ สอนในระดับปริญญาโท แต่ในที่สุด เวลาของสัปดาห์มีไม่พอให้ อาจารย์สอน จึงต้องตัดลงเหลือแค่ภาควิชาศิลปไทยเท่านั้น แม้กระนั้น นักศึกษาที่ คับข้องในการท�ำงานศิลปะก็มักจะไปเคาะประตูห้องพักส่วนตัวของอาจารย์เพื่อปรึกษา หารือได้อยู่เสมอ

156

58-11-086_001-184_new15-12 chaloo_p un coated..indd 156

12/16/15 2:34 AM


IV E C H A R D A N N O EC TI LL O C

M ER

สตูดิโอแกลลอรี่หลังปัจจุบันของอาจารย์ชลูด นิ่มเสมอ ซึ่งอาจารย์ใช้เป็นสถานที่ท�ำงานจนวาระสุดท้ายของชีวิต

SA

© Invisible Academy Photography

การสอนในระดับปริญญาเอกเป็นหลักสูตรสูงสุดที่เพิ่งเปิดสอนในปี พ.ศ. 2556

C

H

A

LO

O

D

N

IM

อาจารย์มีความมุ่งมั่นและอยากจะท�ำให้เป็นหลักสูตรที่เป็นตัวอย่างแก่การสอนระดับ ปริญญาเอกทางด้านการปฏิบัติศิลปะ อาจารย์อยากท�ำให้ทุกคนได้เห็นว่า ศิลปะปฏิบัติ

นั้นสามารถพัฒนาถึงจุดสูงสุดทั้งในด้านปฏิบัติศิลปะควบคู่กับวิชาการศิลปะได้ อาจารย์ สอนแบบเอาจริงเอาจัง จดแก้ปัญหาให้กับนักศึกษาเป็นรายตัว จนในช่วงเวลาที่อาจารย์ ป่วย ทุกๆ คนจึงได้ขอร้องให้อาจารย์งดสอนไปก่อน ซึ่งท�ำให้นักศึกษารู้สึกเสียใจ แต่ก็ เข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อาจารย์กล่าวว่า “ศิลปินเป็นอย่างไร ศิลปะของเขาก็ แสดงออกมาอย่างนัน ้ โชคดีทศ ี่ ล ิ ปะมีความดีงามอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว การสอนศิลปะ จึงเท่ากับเป็นการอบรมคุณธรรมควบคู่ไปกับการสร้างคุณภาพทางสร้างสรรค์ด้วย เสมอ ศิลปินที่ดีนั้นไม่จ�ำเป็นต้องเป็นครู แต่ครูสอนศิลปะ (สร้างสรรค์) ที่ดีควรเป็น ศิลปินด้วย” ขอกราบคารวะปรมาจารย์ศิลปะผู้ยิ่งใหญ่ ถ้าหากว่าเรามีญาณวิเศษที่จะล่วงรู้ ถึงความลี้ลับของชีวิตได้ เราอาจจะได้รับรู้ว่าท่านอาจารย์ชลูด นิ่มเสมอ ท่านอาจก�ำลัง ท�ำสิ่งที่ท่านรักเหมือนที่ท่านเคยท�ำอยู่บนโลกนี้ ณ ที่แห่งหนึ่งแห่งใดในจักรวาล

157

58-11-086_001-184_new15-12 chaloo_p un coated..indd 157

12/16/15 2:34 AM


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.