คู่มือปัญญาในพระพุทธศาสนา

Page 1


! " # $% & ' (


"

: 1 4,000

: . . 2552 ! "# $ % . .- - ! : " # $ %& ' ( (, 2552. 48 ' ) . 1. – * - - . 2. - - ' + . 3. , / #. l. . 294.315

ISBN : 978-616-551-047-9 & : , # (& , , % / . 0 & : # ' : ( 4 (& ! ( : / # ( ' )! : , & ## & , , 6 ,( : 4 &*' # $ %& ' ( ( 254 ". 9, ! 10330 4 .0-2215-1991-2 ! & : " # $ %& ' ( ( 4 . 02-2183018 Email : dharma-centre@chula.ac.th


. . ! # $% *******************


!" # $ % !& ' ()& ♦ * ! ♦ ( * ! ♦+ % ! ♦ % , % 3 + - & # $ (. * / ♦# (2 ($ : 4 ♦# $ : . % ()*- ♦# 6 $ : "- ; <, ♦# %( !$ : '4 >- ) 4. - ♦#%( $ : " % ♦# <$ : "- - %( ? ♦#%(66 $ : "- - 4 % - &, ♦# ( !,$ : '- ♦# ' $ : ' ♦# . $ : . 4 % - ♦# & ,$ : ! *, # $ ) ( 6 %(* ♦ ! *, )-%! ' # ( 7$ ' # 6 ? ( ! $ ♦ ! *, # 2( +( 4$ 4 % * B & C 6 *( # $ "♦ 6 *(& 6 %(* ♦ (! 5 : C 6 *( 5 %. ( ♦ 2( . : C 6 *( - () &,

1 3 5 7 7 8 9 10 11 11 19 21 23 27 28 29 31 33 34 36 36 37 40 42 42 43 44


คูม่ อื “ปัญญาในพระพุทธศาสนา”

• พระพุทธศาสนา เป็น “ศาสนาแห่งปัญญา” ลักษณะทีโ่ ดดเด่นยิง่ ของคำสอนในพระพุทธศาสนาทีแ่ ตกต่าง จากศาสนาอืน่ ๆ โดยทัว่ ไป คือ เป็นศาสนาทีต่ ง้ั อยูบ่ นหลักการของ เหตุและผล มองสิ่งต่าง ๆ ในลักษณะที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน และมีความเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่แน่นอน ที่เรียกว่า “กฎธรรมชาติ” ซึ่งเป็นเช่นนั้นเอง (ตถตา) โดยไม่มีผู้สร้างหรือผู้ดล บันดาลแต่ประการใด และด้วยลักษณะดังที่กล่าวไปแล้วนี้ จึงมีคำ กล่าวขานถึงพระพุทธศาสนาว่า เป็น “ศาสนาแห่งปัญญา” 1


ความหมายของ “พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งปัญญา” อีกนัยหนึ่ง คือ เป็นศาสนาที่เกิดขึ้นจาก “ปัญญาตรัสรู้” ของ พระพุทธเจ้า ซึ่งมีนัยสำคัญยิ่งที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและ อัจฉริยภาพอันยิ่งใหญ่ของความเป็นมนุษย์ ว่ามีความสามารถเข้า ถึงสัจจะและบรรลุอุดมคติอันสูงสุดของชีวิตได้ โดยอาศัยกำลังแห่ง “ปัญญา” ทีฝ่ กึ ฝนพัฒนาให้เกิดขึน้ ด้วยความเพียรของมนุษย์เอง คำว่า “ศาสนาแห่งปัญญา” ยังมีความหมายว่า เป็นศาสนา ทีใ่ ห้ความสำคัญกับเรือ่ งของ “ปัญญา” ว่าเป็นเครือ่ งมือจำเป็น ที ่ ใ ช้ ใ นทุกกระบวนการของการดำเนินชีวิต ตั้งแต่เกิดจนตาย และเป็ น เครื ่ อ งมื อ สู ง สุ ด ในการดำเนิ น ทุ ก กิ จ กรรมของชี ว ิ ต เพือ่ ให้บรรลุผลหรือประสบความสำเร็จด้วยดี และเนือ่ งจากเป็นศาสนาแห่งปัญญา จึงเป็นศาสนาทีม่ งุ่ ชีน้ ำ บุคคลให้รู้ เห็น ประจักษ์ ในคำสอนด้วยตนเอง โดยไม่ได้ให้เชือ่ ตาม เพียงอย่างเดียว เป็นศาสนาทีใ่ ห้อสิ รภาพทางความคิด ไม่มกี ารบังคับ ความเชื่อ และพร้อมที่จะให้เข้ามาพิสูจน์ความจริงในสิ่งที่ตรัสสอน ทุกประการ มีชื่อเรียกบุคคลผู้เข้าถึงและดำเนินชีวิตด้วย “ปัญญา” นี้ว่า “พุทธะ” ซึ่งแปลว่า “ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน” กล่าวคือ เป็นผู้มี ปัญญารู้เท่าทันในความจริงของสิ่งทั้งหลาย จนทำให้เป็นผู้ตื่นจาก ความหลับใหลด้วยความงมงายในการทำหน้าที่หรือเข้าไปเกี่ยวข้อง กับสิง่ ต่างๆ และเป็นผูเ้ ต็มเปีย่ มด้วยความเบิกบานใจเพราะหมดสิน้ ความสงสั ยและความไม่ รู ้ ซึ่ งเป็ นเครื ่องเศร้าหมองและสาเหตุ พืน้ ฐานของความรบกวนจิตใจทัง้ ปวง 2


•ทำไมคำสอนในพระพุทธศาสนา จึงมีรากฐานอยูท่ “่ี ปัญญา” ทัง้ นีเ้ พราะ พระพุทธศาสนามองว่า สิง่ ต่างๆ ในธรรมชาติ มี “กฎธรรมชาติ” ควบคุมความเป็นไป โดยเรียกกฎนี้ในชื่อที่ ชัดเจนยิง่ ขึน้ ว่า “กฎแห่งเหตุและผล” หรือในภาษาทางศาสนาใช้คำว่า “เป็นไปตามเหตุปจั จัย” ซึง่ มีชอ่ื เรียกเฉพาะว่า “กฎอิทปั ปัจจยตา” มีสาระสำคัญว่า “ เพราะสิง่ นีม้ ี สิง่ นีจ้ งึ มี , เพราะสิง่ นีเ้ กิดขึน้ สิง่ นีจ้ งึ เกิดขึน้ ; เพราะสิง่ นีไ้ ม่มี สิง่ นีจ้ งึ ไม่มี , เพราะสิง่ นีด้ บั ไป สิง่ นีจ้ งึ ดับไป. ” ไม่ได้เป็นไปตามอำนาจการดลบันดาลของใคร ไม่ได้เป็นไป โดยบังเอิญหรืออย่างเลือ่ นลอย ดังนัน้ การจะกระทำหรือดำเนินการในเรือ่ งใดๆ ทีเ่ กีย่ ว ข้องกับธรรมชาติ จึงถูกบังคับให้ต้องแสวงหา “ปัญญา” หรือ “ความรู”้ ทีเ่ ป็น “กฎธรรมชาติ” หรือ “เหตุปจั จัย” ทีเ่ กีย่ วข้อง กับเรือ่ งนัน้ ๆ เสียก่อน แล้วค่อยกระทำหรือดำเนินการไปตาม กฎธรรมชาติทค่ี วบคุมอยูน่ น้ั จึงจะทำให้ได้รบั ผลสำเร็จด้วยดี หากจะกล่าวให้จำเพาะยิง่ ขึน้ การแสวงหา “ปัญญา” นี้ เป็น เรือ่ งสำคัญและจำเป็นเฉพาะสำหรับสิง่ มีชวี ติ ทีม่ ี “ภาวิตญาณ” (คือ ความรูท้ เ่ี กิดขึน้ จากการเรียนรูแ้ ละฝึกฝน ไม่ได้มมี าเอง หรือเกิดขึน้ เองมาแต่ กำเนิด) ดังเช่นมนุษย์นเ้ี ท่านัน้ แต่ไม่มคี วามจำเป็นใด ๆ สำหรับสิง่ มี ชีวติ ทีด่ ำรงอยูโ่ ดยอาศัยลำพังเพียง “สัญชาตญาณ” (คือ ความรูท้ ม่ี มี า พร้อมจิต เป็นความรูท้ ม่ี มี าแต่กำเนิด และเกิดขึน้ ได้เองโดยไม่ตอ้ งมีใครสัง่ สอน เพื่อที่จะควบคุมความเป็นไป และทำให้สิ่งมีชีวิตนั้นๆ สามารถรักษาตัวรอด และดำรงชีวติ อยูไ่ ด้) ดังเช่นในกรณีสตั ว์อน่ื ๆ

3


(โปรดอ่านรายละเอียดเพิม่ เติมในหัวข้อ “จิตตนิยาม” ในหนังสือ “คูม่ อื บัณฑิต ของแผ่นดิน” หน้า16 - 20 จัดพิมพ์โดยธรรมสถานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมือ่ เดือน ก.พ.2552 )

กล่าวโดยสรุป เนือ่ งจาก “กฎธรรมชาติ” และ “ภาวิตญาณ” นีเ้ อง มนุษย์จงึ ถูกธรรมชาติบงั คับให้ตอ้ งมีการเรียนรูแ้ ละแสวง หา “ปัญญา” หรือ “ความรู”้ ทีเ่ ป็น “กฎธรรมชาติ” หรือ “เหตุปจั จัย” ที่ เกีย่ วข้องกับธรรมชาติ ทัง้ นีเ้ พือ่ ทีจ่ ะได้รจู้ กั และสามารถเข้าไปปฏิบตั ิ หรือทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง เพื่อผลคือความ ไม่เดือดร้อน และความสงบสุข เป็นต้น และทีส่ ำคัญทีส่ ดุ คือการนำมา ใช้ปรับปรุงและพัฒนาทางด้านจิตใจ จนทำให้จิตบรรลุภาวะ สูงสุดทีอ่ สิ ระและอยูเ่ หนืออำนาจการบีบคัน้ จากสิง่ ต่างๆทัง้ ปวง ได้อย่างเด็ดขาด ซึง่ “ปัญญา” ในประเด็นหลังนีเ้ อง ทีเ่ ป็นสาระ สำคัญและเป็นทีม่ าของคำสอนในพระพุทธศาสนาโดยตรง มีพทุ ธพจน์ตรัสถึงความสำคัญยิง่ ของ “ปัญญา” ไว้วา่ : ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต ปัญญา เป็นดวงชวาลา (แสงสว่าง) ในโลก : นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี : ปญฺญา หิ เสฏฺฐา กุสลา วทนฺติ คนฉลาดกล่าวว่า ปัญญาแล ประเสริฐสุด : ปญฺญาชีวึ ชีวติ มาหุ เสฏฺฐํ ปราชญ์วา่ ชีวติ ทีอ่ ยูด่ ว้ ยปัญญา ประเสริฐสุด 4


• ความหมายของปัญญา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่านเจ้าคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโฺ ต) ได้ให้ความหมายไว้วา่ “ปัญญา” คือ “ความรูท้ ว่ั ปรีชาหยัง่ รูเ้ หตุผล ความรูเ้ ข้าใจ ชัดเจน ความรูเ้ ข้าใจหยัง่ แยกได้ในเหตุผล ดีชว่ั คุณโทษ ประโยชน์มิ ใ ช่ ป ระโยชน์ เป็นต้น และรู ้ ท ี ่ จ ะจั ด แจง จั ด สรร จั ด การ ความรอบรูใ้ นกองสังขาร มองเห็นตามความเป็นจริง” ซึง่ สามารถสรุปความได้วา่ ปัญญาทีจ่ ะนับว่าเป็นความรูอ้ ย่าง ทัว่ ถึงแท้จริงในพุทธศาสนา อย่างน้อยมี 4 นัยสำคัญที่ต้องรู้จัก คือ (1) ปัญญาทีเ่ ป็นองค์ความรู้ในเรือ่ งของเหตุและผลของ สิง่ นัน้ ๆ ซึ่งในที่นห้ี มายถึง รูถ้ งึ โครงสร้าง รูถ้ งึ องค์ประกอบ รูท้ ม่ี า ทีไ่ ป รูเ้ หตุปจั จัยทีเ่ กีย่ วข้อง เป็นต้น (2) ปั ญ ญาที่รู้ถึงคุณค่าและความหมายของสิ่งนั้น ๆ ทั้งในส่วนทีเ่ ป็นคุณ-โทษ ประโยชน์-มิใช่ประโยชน์ ที่มีต่อชีวิตและ สิง่ แวดล้อม (3) ปัญญาทีร่ จู้ กั เข้าไปทำหน้าที่ จัดแจง จัดสรร จัดการ หรือเข้าไปทำหน้าทีแ่ ละเกีย่ วข้องกับสิง่ นัน้ ๆ ได้อย่างถูกต้อง (4) ปัญญาทีร่ เู้ ท่าทันความเป็นจริงในกองสังขาร ซึง่ ในทีน่ ้ี หมายถึง รูเ้ ท่าทันในความเป็นไตรลักษณ์ (= อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา= ความเปลีย่ นแปลง ความทนอยูใ่ นสภาพเดิมไม่ได้ ความไม่ใช่ตวั ตน) ของสิง่ ต่าง ๆ ทีเ่ ป็นของปรุงแต่ง ซึง่ จะมีผลทำให้จติ มีความเป็นอิสระ ไม่มคี วามบีบคัน้ และไม่เกิดความประมาท ไม่ยดึ มัน่ ถือมัน่ แม้ในความรูท้ ม่ี ี นัน้ และพร้อมทีจ่ ะปรับปรุงความรูต้ า่ งๆให้ดขี น้ึ ก้าวหน้าขึน้ ตลอดเวลา 5


ยกตัวอย่าง เช่น การจะมีปัญญารอบรู้อย่างทั่วถึงใน เรือ่ งของ “ยา” ชนิดหนึง่ ประการแรก จะต้องรู้จกั เรือ่ งของ “ตัวยา” และ “กลไกการ ออกฤทธิ”์ ของตัวยานัน้ ๆ ซึ่งในทางการแพทย์แผนปัจจุบนั สามารถ ลงลึกถึงการรูจ้ กั “โครงสร้างทางเคมี” ตลอดจน “ปฏิกิริยาทางเคมี” ในระดับโมเลกุล เมือ่ เข้าสูร่ ะบบต่างๆ ของร่างกาย รวมไปถึงการรูใ้ น เรือ่ งปฏิกริ ยิ าต่อกันของยาต่างๆ เมือ่ ใช้รว่ มกัน เป็นต้น ประการที่ 2 รูถ้ งึ “สรรพคุณ” ทัง้ ในส่วนทีเ่ ป็นคุณต่อการรักษา และส่วนทีอ่ าจเกิดเป็นผลข้างเคียง หรือเป็นพิษต่อระบบของอวัยวะ ต่าง ๆ ประการที่ 3 รู ้ ถ ึ ง วิธีการสกัดหรือสังเคราะห์ ให้ได้มาซึ่ง ตัวยานัน้ ๆ ตลอดจนวิธกี ารปรุงให้อยูใ่ นรูปแบบทีจ่ ะนำไปใช้เพือ่ ให้ เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เช่น ใช้ทา ใช้กนิ หรือใช้ฉดี เป็นต้น นอกจากนั้น รู้ถึงขนาดของการใช้ยา รูถ้ งึ จังหวะเวลาในการใช้ เช่น รับประทานเฉพาะในตอนเช้า , รับประทานก่อนหรือหลังอาหาร เป็นต้น ประการสุดท้าย คือ มีปญ ั ญารูเ้ ท่าทัน ไม่ประมาทและยึดมัน่ ต่อความรู้ต่าง ๆ ที่มีอยู่นั้น ว่าเป็นความรู้ที่ถูกต้องและสมบูรณ์แล้ว แต่ยงั จะคอยสังเกตและหมัน่ ปรับปรุงความรูต้ า่ ง ๆ ให้ถกู ต้องและสมบูรณ์ ยิง่ ขึน้ ๆ ตลอดเวลา และด้วยท่าทีแห่งการมีปญ ั ญาเช่นทีว่ า่ นี้ นอกจาก จะช่วยให้มีพัฒนาการของตัวปัญญาเองอยู่ตลอดเวลาแล้ว ยังมีผล ทำให้จติ ของบุคคลมีความเป็นอิสระ ไม่มคี วามบีบคัน้ ใด ๆ ในทุกเรือ่ ง ทีเ่ ข้าไปเกีย่ วข้อง 6


• แหล่งกำเนิดของปัญญา มีพทุ ธพจน์ตรัสถึงแหล่งกำเนิดหรือทีม่ าของปัญญา 3 ประการ ดังนี้ ปัญญาเกิดแต่การสดับ (ฟัง) หรืออาจ ขยายให้กว้างออกไปได้วา่ เป็นปัญญาทีเ่ กิดขึน้ จากแหล่งความรูท้ อ่ี ยู่ ภายนอก ซึง่ ครอบคลุมไปได้หมดทัง้ จากการฟัง หรือแม้จากการอ่าน หรือจากการศึกษาเล่าเรียน สุตมยปัญญา จัดเป็นปัญญาของผูอ้ น่ื ทีบ่ คุ คลเพียงจด จำไว้ได้ อาจเรียกปัญญาประเภทนี้ว่า “รู้จำ” ซึ่งยังไม่อาจนับ เป็นปัญญาของบุคคลนั้นๆ อย่างแท้จริง แต่ก็เป็นปัญญาที่มี ความสำคัญมาก ในฐานะเป็นปัญญาระดับเริ่มต้นของบุคคล ทีอ่ าศัยใช้เพือ่ การเรียนลัด ทำให้ไม่ตอ้ งเสียเวลาหรือเผชิญกับ ความเสีย่ งไปในการลองผิดลองถูก เพราะได้เรียนรูจ้ ากประสบการณ์ของผูอ้ น่ื ทีไ่ ด้ผา่ นเรือ่ งนัน้ ๆ มาแล้ว ปัญญาประเภทนี้ อาจเปรียบได้กับการรู้แผนที่ที่มีคนทำไว้ ดีแล้ว ทัง้ ๆ ทีก่ ารรูน้ ้ี เป็นเพียงการจำเส้นทางตามทีป่ รากฏอยูบ่ นแผ่น กระดาษได้เท่านั้น ซึ่งยังไม่ใช่เส้นทางในภูมิประเทศจริง แต่บุคคลก็ สามารถอาศัยใช้เป็นเครื่องนำทาง ทำให้เดินทางไปถึงจุดหมาย ปลายทางตามที่ประสงค์โดยสวัสดิภาพได้ และยังช่วยทำให้เกิด ความอุน่ ใจหรือมัน่ ใจ ไม่ตอ้ งคอยกังวลใจหรือเสียเวลาไปกับการหลงทาง และอาจช่วยหลีกเลีย่ งการเผชิญกับภัยอันตรายทีอ่ าจจะได้รบั จากการ เดินทางอีกด้วย ซึง่ หากเปรียบกับบุคคลทีไ่ ม่มแี ผนทีอ่ ยูใ่ นมือ เมือ่ จะ เดินทางไปในทีท่ ไ่ี ม่เคยไปมาก่อน ย่อมมีความแตกต่างกันมาก ♦ 1. สุตมยปัญญา

7


♦ 2. จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดแต่การคิดพิจารณาหา

เหตุผล ปัญญาประเภทนี้ เกิดขึน้ จากความสามารถในกระบวน การคิดหรือจินตนาการของมนุษย์ ทัง้ นีเ้ พือ่ ทำให้เกิด “ความเข้าใจ” ต่อสิง่ ต่างๆ ทีเ่ ข้าไปรับรูห้ รือทีจ่ ำได้ จินตามยปัญญา จะทำหน้าที่แปรความรู้ต่างๆ ที่ได้รับจาก แหล่งความรูท้ อ่ี ยูภ่ ายนอก ทีเ่ ป็นของบุคคลอืน่ หรือทีเ่ ป็นสุตมยปัญญา ทีเ่ ป็น “รูจ้ ำ” ให้กลายมาเป็น “ความเข้าใจ” นอกจากนัน้ สำหรับบาง บุคคลที่มีจินตามยปัญญาแก่กล้า ก็สามารถใช้จินตามยปัญญานี้ เข้าถึงและสร้างสรรค์จนเกิดปัญญาใหม่หรือองค์ความรู้ใหม่ได้ เรียกองค์ความรูใ้ หม่ในระดับนีว้ า่ “ทฤษฎี” (Theory) ความรูท้ ไ่ี ด้มาจากจินตามยปัญญาทีเ่ ป็น “ความเข้าใจ” อาจ ใช้คำเรียกให้เข้าชุดว่า “รูเ้ ข้าใจ” หรือ “รูจ้ ริง” ก็ได้ เพราะเป็นปัญญา ทีเ่ ป็นของบุคคลนัน้ ๆ และอยูใ่ นบุคคลนัน้ ๆ จริงๆ และด้วยรูจ้ ริงเพราะ ความเข้าใจนี้เอง จึงทำให้บุคคลสามารถอธิบาย ขยายความ และ พลิกแพลงคำตอบได้ตามทีป่ ระสงค์ ไม่ถกู จำกัดตามความรูเ้ ท่าทีจ่ ดจำ มาได้เท่านั้น จินตามยปัญญาจึงทำให้บุคคลนั้นๆ มีความอาจหาญ ในระดับหนึง่ และสามารถยืนหยัดอยูก่ บั ความรูน้ ไ้ี ด้คอ่ นข้างมัน่ คง เนือ่ งจากจินตามยปัญญา มีฐานทีเ่ กิดมาจากกระบวนการคิด หาเหตุผล ซึง่ อยูใ่ นฝักฝ่ายของบุคคลผูค้ ดิ ปัญญานีจ้ งึ มีลกั ษณะเป็น “อัตตวิสยั ” ซึง่ ในแง่หนึง่ ก็มผี ลดี กล่าวคือ ทำให้สามารถคิดหาเหตุผล ได้กบั สิง่ ต่างๆ ทัว่ ไปหมด ทัง้ กับสิง่ ทีม่ อี ยูจ่ ริงในธรรมชาติ(=ปรมัตถ์สจั จะ) และแม้กับสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงในธรรมชาติ (=สมมติสัจจะ) ทำให้เกิด การแตกตัวของปัญญาอย่างกว้างขวาง สามารถนำทั้งสิ่งที่มีอยู่จริง 8


และสิง่ ไม่มอี ยูจ่ ริงทีค่ ดิ ขึน้ นัน้ (เช่น เรือ่ งของภาษา กฎหมาย ระเบียบ วินัย ประเพณี ฯลฯ) มาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้มากมาย อาทิ การจัดระเบียบชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคลและสังคม ให้เกิดความ เรียบร้อยและเป็นปกติสขุ แต่ในอีกแง่หนึง่ ก็อาจทำให้เกิดปัญหาและ ความสับสนได้มาก โดยเฉพาะเรือ่ งของ “สมมติสจั จะ” ทีไ่ ม่มฐี านของ “ปรมัตถ์สจั จะ” หรือทีข่ ดั แย้งกับ “ปรมัตถ์สจั จะ” ปัญหาของมนุษย์ส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น มักอยู่ในระดับ จินตามยปัญญานีเ้ อง กล่าวคือไปหลงยึดติดถือมัน่ และให้คณ ุ ค่า ทีไ่ ม่ถกู ต้องกับ “สมมติสจั จะ” ทีค่ ดิ ขึน้ มานัน้ จินตามยปัญญายังมีขอ้ จำกัดอยูม่ าก โดยเฉพาะกับเรือ่ งทีเ่ ป็น ปรมัตถ์สจั จะหรือสิง่ ทีม่ อี ยูจ่ ริงในธรรมชาติ หมายความว่า บุคคลไม่ สามารถคิดให้หรือคิดแทนเรือ่ งต่างๆ ของธรรมชาติ ไม่สามารถคิดจนรู้ ความจริงของธรรมชาติ เพราะสิง่ ต่างๆ ในธรรมชาติจะเป็นไปอย่างไร ขึน้ อยูก่ บั กฎธรรมชาติทค่ี วบคุม ไม่ขน้ึ กับความคิดของใครๆ การคิดเป็น “อัตตวิสยั ” ส่วนสภาวะความเป็นจริงของธรรมชาติ เป็น “ภาวะวิสยั ” หรือ “สภาวะวิสยั ” ดังนัน้ บุคคลจึงไม่สามารถเข้าถึง ความจริงของธรรมชาติด้วยการคิด และจึงต้องมีการพัฒนาปัญญา ในขัน้ ถัดไป คือ “ภาวนามยปัญญา” 3. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดแต่การฝึกอบรม ลงมือปฏิบตั ิ ปัญญาประเภทนีเ้ ป็นเรือ่ งของ “ปรมัตถ์สจั จะ”หรือสิง่ ทีม่ อี ยูจ่ ริง หรือมี “สภาวะ” อยูจ่ ริงในธรรมชาติโดยเฉพาะ เป็น ปัญญาทีเ่ กิดจากการประจักษ์ ทีจ่ ะต้องมีประสบการณ์จริงต่อ ♦

9


สิง่ หรือเรือ่ งนัน้ ๆโดยตรง โดยสิง่ หรือเรือ่ งนัน้ ๆ จะเป็นตัวแสดง ออกของปัญญาเอง อาจเรียกปัญญาประเภทนีว้ า่ “รูแ้ จ้ง” ภาวนามยปัญญา ไม่ได้เกิดจากกระบวนการคิดของบุคคล แต่เกิดจากการทีร่ จู้ กั เข้าไปสังเกต เฝ้าดู ทดสอบ ทดลอง ด้วยประสบการณ์จริง จนพบกฎเกณฑ์หรือเงือ่ นไขความสัมพันธ์(=กฎธรรมชาติ) ทีค่ วบคุมความเป็นไปของเรือ่ งหรือสิง่ ทีส่ งั เกตเฝ้าดูนน้ั ๆ กล่าวโดยสรุป จินตามยปัญญานำไปสูอ่ งค์ความรูท้ เ่ี รียกว่า “ทฤษฎี” (Theory) ส่วน “ภาวนามยปัญญา” นำไปสู่องค์ความรู้ ทีเ่ รียกว่า “เหตุปจั จัย” หรือ “กฎ(ธรรมชาติ)” (Law) ภาวนามยปัญญา จึงเป็นปัญญาตัวสุดท้ายที่ใช้ตัดสิน เรื่องราวความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ ของธรรมชาติ โดยเฉพาะ ปัญญาในพระพุทธศาสนาที่จะนำไปสู่ธรรมในระดับโลกุตตร เพื่อเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล ต้องอาศัย “ภาวนามยปัญญา” นีเ้ ท่านัน้ ♦ ความสัมพันธ์ระหว่างปัญญา

3 ประเภท

โดยทัว่ ไป พัฒนาการทางปัญญาของบุคคล จะเริม่ ต้นจาก สุตมยปัญญา ไปเป็นจินตามยปัญญา และกลายเป็นภาวนามยปัญญา ในทีส่ ดุ ซึง่ จำเป็นต้องอาศัยเวลาสำหรับการพัฒนาการให้เกิดปัญญา ในแต่ละขัน้ ตอนค่อนข้างมาก แต่สำหรับบางบุคคลทีม่ ปี ระสบการณ์จริงในบางเรือ่ งมาแล้ว แต่ยังไม่เกิดปัญญารู้ในเรื่องนั้นๆ สุตะหรือการได้ยินได้ฟังนั้นจะ แปรให้เกิดจินตามยปัญญาและภาวนามยปัญญาได้โดยฉับพลัน 10


จึงทำให้เข้าใจได้ว่า ทำไมพระสาวกในครั้งพุทธกาล สามารถบรรลุ ธรรมได้อย่างรวดเร็ว โดยเพียงได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าเท่านั้น ทัง้ นีก้ เ็ พราะพระสาวกเหล่านัน้ มีประสบการณ์หรือต้นทุนในเรือ่ งนัน้ ๆ มาก่อนนัน่ เอง และหากเป็นไปโดยถูกต้อง เพื่อไม่ก่อให้เกิดโทษหรือผล ข้างเคียง สุตมยปัญญาใดๆ ควรจะมาจากผูท้ เ่ี ข้าถึงภาวนามยปัญญา เป็นอย่างดีมาแล้ว

• หน้าทีข่ อง “ปัญญา” ในปริบทต่างๆ หลักธรรมในพระพุทธศาสนา มีคำใช้ที่หมายถึง “ปัญญา” มากมาย อาทิ สัมมาทิฏฐิ , สัมมาสังกัปปะ , สัมปชัญญะ , ธรรมวิจยั , วิมงั สา , ญาณ , วิชชา , ปัญญินทรีย์ , ปัญญาพละ , ปัญญาบารมี , ปัญญาขันธ์ เป็นต้น ซึง่ แต่ละคำแสดงนัยให้เห็นถึงบทบาท และหน้าทีข่ องปัญญาในปริบททีแ่ ตกต่างกัน ดังนัน้ การจะเข้าถึงปัญญาในพระพุทธศาสนา จึงต้อง มีความเข้าใจต่อความหมายของคำเหล่านีใ้ ห้ดเี สียก่อน ♦

สัมมาทิฏฐิ (ปัญญาเครือ่ งนำทาง)

“สัมมาทิฏฐิ” แปลว่า “ความเห็นชอบ” ในที่นี้หมายถึง “ความเห็นทีถ่ กู ต้อง” หรือ “ความรูค้ วามเข้าใจทีถ่ กู ต้อง” “สัมมาทิฏฐิ” เป็นปัญญาพืน้ ฐานหรือปัญญาอันดับแรก ทีบ่ คุ คลจะต้องมีหรือจะต้องแสวงหาก่อน หมายความว่า การที่ 11


บุคคลจะเข้าไปทำหน้าที่หรือเกี่ยวข้องกับอะไรก็ตาม บุคคลจะต้อง แสวงหาความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องหรือ “สัมมาทิฏฐิ” ในเรื่องนั้นๆ ให้มีเพียงพอเสียก่อน แล้วจึงค่อยทำหน้าที่หรือเกี่ยวข้องไปตาม ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องนั้นๆ จึงจะทำให้ประสบความสำเร็จ ด้วยดี หากบุคคลยังไม่มคี วามรูค้ วามเข้าใจ หรือ “สัมมาทิฏฐิ” ใน เรือ่ งนัน้ ๆ ดีพอ แล้วไปทำหน้าทีห่ รือเกีย่ วข้องเข้า ก็อาจจะทำให้เกิด ปัญหาหรือผลร้ายติดตามมาได้ “สัมมาทิฏฐิ” นี้ นอกจากจะเปรียบได้กบั “แผนที”่ ซึง่ เป็น ประดุจเครือ่ งนำทางดังทีไ่ ด้กล่าวไปแล้ว ยังอาจเปรียบได้ กับ “คูม่ อื ” ทีต่ ดิ มาพร้อมกับอุปกรณ์หรือเครือ่ งใช้ทซ่ี อ้ื มา ซึง่ ในคูม่ อื จะบอก ให้ทราบถึงรายละเอียดต่างๆ ทีค่ วรรู้ เช่น ชือ่ เรียกและการทำงานของ ชิน้ ส่วนต่างๆ วิธกี ารใช้ การบำรุงรักษา ข้อทีค่ วรระวัง หรือการแก้ไข ปัญหาเบือ้ งต้น เป็นต้น ดังนัน้ เมือ่ บุคคลได้อปุ กรณ์หรือเครือ่ งใช้อะไรมาสักอย่างหนึง่ อันดับแรกสุดทีจ่ ะต้องกระทำก่อน ก็คอื การศึกษาสิง่ ต่างๆ ทีร่ ะบุอยูใ่ น คูม่ อื ให้เข้าใจให้ดเี สียก่อน แล้วจึงค่อยไปใช้หรือเกีย่ วข้องกับอุปกรณ์หรือ เครือ่ งใช้นน้ั ๆ ตามทีร่ แู้ ละเข้าใจถูกต้องนัน้ ก็จะทำให้สามารถเข้าไป ใช้งานและได้รับประโยชน์เป็นอย่างดีและอย่างเต็มประสิทธิภาพ มี ความปลอดภัย ไม่กอ่ ให้เกิดผลเสียหรือผลร้ายติดตามมา ซึง่ หากเปรียบ เทียบกับบุคคลทีย่ งั ไม่มคี วามรูค้ วามเข้าใจดีพอ แล้วเข้าไปใช้โดยทันที นอกจากจะไม่สามารถใช้อปุ กรณ์หรือเครือ่ งใช้ดงั กล่าว ให้เกิดประโยชน์ ตามวัตถุประสงค์ได้แล้ว ยังอาจทำให้เกิดอันตรายทั้งต่อผู้ใช้และต่อ อุปกรณ์เครือ่ งใช้นน้ั เอง โดยความรูเ้ ท่าไม่ถงึ การณ์อกี ด้วย 12


ในกรณีของพระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกัน การจะเข้าไปเกีย่ ว ข้องกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เพื่อให้ได้รับประโยชน์ตรงตาม วัตถุประสงค์และอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยนัน้ ประการแรกสุดทีจ่ ะต้อง ทำก็คือ การแสวงหาความรู้ความเข้าใจที่เป็น “สัมมาทิฏฐิ” ในพระ พุทธศาสนาก่อน กล่าวโดยสรุป “สัมมาทิฏฐิ” ในพระพุทธศาสนา มีเนือ้ หา สาระอย่างทีต่ รัสไว้วา่ คือ ความรูใ้ นเรือ่ ง : ทุกข์ (ทุกข์) , เหตุ แห่งทุกข์ (สมุทยั ) , ความดับทุกข์ (นิโรธ) , และทางปฏิบตั เิ พือ่ ถึงความดับทุกข์ (มรรค) หรือ “อริยสัจ 4” นัน่ เอง ดังนัน้ คูม่ อื ทีจ่ ะเข้าไปเกีย่ วข้องกับหลักธรรมในพระพุทธ ศาสนา ในทีน่ ้ี คือ การรูแ้ ละเข้าใจว่าพระพุทธศาสนามุง่ สอน ให้รคู้ วามจริงของปัญหาของชีวติ คือความทุกข์พร้อมทัง้ สาเหตุ ทีท่ ำให้เกิด ตลอดจนแสดงให้เห็นถึงอุดมคติของชีวติ คือภาวะ ความไม่มที กุ ข์พร้อมทัง้ วิธปี ฏิบตั เิ พือ่ ให้เข้าถึง สมดังพุทธพจน์ทต่ี รัสไว้วา่ “แต่กอ่ นก็ดี บัดนีก้ ด็ ี ตถาคตบัญญัตแิ ต่เรือ่ งทุกข์ และ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เท่านัน้ ” จึงอาจกล่าวได้ว่าคำสอนใดที่ไม่ได้มีสาระมุ่งหมายเพื่อให้รู้ ในเรื่องทุกข์และนำไปสู่ความดับทุกข์ นั่นไม่ใช่เนื้อแท้คำสอนของ พระพุทธเจ้า ดังนัน้ ผูท้ จ่ี ะเข้ามาศึกษาและปฏิบตั เิ พือ่ ให้ได้รบั ประโยชน์ จากหลักธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องและแท้จริง จึงต้องมาเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจ จนเกิดความรู้ความ 13


เข้าใจในสัมมาทิฏฐิทว่ี า่ นีใ้ ห้ถกู ต้องเสียก่อน ว่าเนือ้ หาในแต่ละ หัวข้อคืออะไร ซึง่ ได้มพ ี ทุ ธพจน์อธิบายในเรือ่ งนีไ้ ว้อย่างชัดเจน แล้ว ดังนี้ ทุกข์ คือ ภาวะของความเกิด แก่ ตาย ความโศก ความ คร่ำครวญ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ความปรารถนาทีไ่ ม่ได้สมดังหวัง กล่าวโดยสรุป คือ อุปาทานขันธ์ หรือภาวะชีวติ ทีป่ ระกอบอยูด่ ว้ ยความยึดมัน่ ถือมัน่ สมุทยั คือ ตัณหา หรือความทะยานอยาก ซึง่ จำแนก เป็น 3 อย่าง คือ ความทะยานอยากในกาม คือ รูป-เสียง-กลิน่ -รสสัมผัส หรือสิง่ สนองความต้องการทางประสาททัง้ ห้า (กามตัณหา) , ความทะยานอยากในภพหรือความอยากในภาวะของตัวตนที่จะให้ ดำรงคงอยู่ตลอดไป (ภวตัณหา) และ ความทะยานอยากในวิภพ หรือความอยากในภาวะทีใ่ ห้ตวั ตนดับสูญหรือหมดสิน้ ไป (วิภวตัณหา) นิโรธ คือ ภาวะความดับทุกข์ , ภาวะความไร้ทกุ ข์ หรือ ภาวะความดับสิน้ ไปของตัณหา มรรค คือ ทางดำเนินหรือวิธกี ารปฏิบตั เิ พือ่ เข้าถึงภาวะ ความดับทุกข์ ซึ่งมีชื่อเรียกเป็นการเฉพาะว่า “อริยมรรคมีองค์ 8” ประกอบด้วย ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) , ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) , วาจาชอบ (สัมมาวาจา) , การกระทำชอบ (สัมมากัมมันตะ) , การเลีย้ งชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ) , ความเพียรชอบ (สัมมาวิรยิ ะ) , ความระลึกชอบ (สัมมาสติ) และความตัง้ จิตมัน่ ชอบ (สัมมาสมาธิ) กล่าวสรุปอย่างรวบยอด ทุกข์ตามทีต่ รัสในเรือ่ งอริยสัจนี้ เป็นทุกข์ทางใจอันเนือ่ งมาจากความยึดมัน่ ถือมัน่ อย่างทีม่ พี ทุ ธ14


พจน์ตรัสเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างพระอรหันต์กับปุถุชนว่า ปุถุชนยังถูกยิงได้ด้วยธนู 2 ดอก คือ มีทุกข์ทั้งทางกายและทางใจ ส่วนพระอรหันต์ถูกยิงด้วยธนูเพียงดอกเดียว จะมีแต่ทุกข์ทางกาย เท่านั้น ไม่มีทุกข์ทางใจเลย ซึ่งก็คือ ทุกข์ในอริยสัจ หรือทุกข์ที่เกิด จากความยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง สมดังพุทธพจน์ที่ตรัสสรุปเป็นหัวใจ ของคำสอนไว้วา่ “สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินเิ วสาย” มีความหมายว่า “สิง่ ทัง้ หลายทัง้ ปวง อันใครๆไม่ควรยึดมัน่ ถือมัน่ ” ซึง่ แสดงจุดมุง่ หมายไว้อย่างชัดเจนว่า การปฏิบัติทั้งหมดในพระพุทธศาสนา เป็นไปเพือ่ ถอนความยึดมัน่ ถือมัน่ โดยเฉพาะ ด้วยการละสาเหตุ สำคัญคือตัณหาซึง่ เป็นความทะยานอยากของตนเองเท่านัน้ โดยอาศัย อริยมรรคมีองค์ 8 เป็นเครือ่ งมือในการละ เมือ่ หมดสิน้ ความยึดมัน่ ถือมัน่ ก็หมดทุกข์(อริยสัจ) เรือ่ ง อริยสัจ 4 นี้ อาจสรุปได้ในอีกมุมมองหนึง่ ในลักษณะ การสังเคราะห์ได้วา่ เป็นการแสดงให้เห็นเส้นทางชีวติ ทัง้ หมดว่ามีอยู่ 2 เส้นทางใหญ่ ๆ คือ 1. เส้นทางชีวติ ทุกข์ (=ทุกข์+สมุทยั ) เป็นเส้นทางดำเนิน ชีวติ ทีเ่ อาความต้องการของตน (ตัณหา) เป็นหลักหรือเป็นตัวนำ 2. เส้นทางชีวติ ทีไ่ ม่มที กุ ข์ (=นิโรธ+มรรค) เป็นเส้นทาง ดำเนินชีวติ ทีเ่ อาความถูกต้อง (มรรคมีองค์ 8 ทุกองค์ขน้ึ ต้นด้วย”สัมมา” ซึง่ แปลว่า “ความถูกต้อง”) เป็นหลักหรือเป็นตัวนำ โดยสอนให้ “ละ” การดำเนินชีวิตตามเส้นทางชีวิตทุกข์เสีย แล้วมา “เจริญ” หรือ “ปฏิบัติ” ตามเส้นทางชีวิตที่ไม่มีทุกข์ ซึ่งสอด คล้องกับ “กิจ” หรือ “หน้าที”่ ทีจ่ ะต้องกระทำให้ถกู ต้องต่ออริยสัจ 4 ตามทีม่ พี ทุ ธพจน์แสดงไว้วา่ 15


ทุกข์ ให้ กำหนดรู้ สมุทยั ให้ ละ หรือทำให้หมดสิน้ ไป นิโรธ ให้ ทำให้แจ้ง หรือให้เข้าถึง มรรค ให้ เจริญ หรือให้ปฏิบตั ิ เมือ่ บุคคลรูแ้ ละเข้าใจรายละเอียดของทุกข์ สมุทยั นิโรธ มรรค ตามพุทธพจน์ทแ่ี สดงไว้อย่างถูกต้องและเพียงพอแล้ว จึงสามารถเข้า ไปเกีย่ วข้องหรือปฏิบตั ติ อ่ หลักธรรมในพระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้อง และจึงจะได้รบั ผลของการปฏิบตั ติ รงตามคำสอนทีต่ รัสไว้ในทีส่ ดุ ประเด็นเนื้อหาสาระของ “สัมมาทิฏฐิ” ดังที่กล่าวไปแล้วนี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ให้กว้างขวางยิง่ ขึน้ โดยนำมาใช้เป็นเกณฑ์ ในการพิจารณาศาสตร์หรือคำสอนใดทีจ่ ะจัดว่าเป็นศาสนา กล่าวคือ ศาสตร์หรือคำสอนใดทีไ่ ด้แสดงให้เห็นปัญหาหรือความทุกข์ตลอดจน สาเหตุ และอุดมคติหรือภาวะสูงสุดทีค่ วรเข้าถึงตลอดจนวิธกี ารปฏิบตั ิ ศาสตร์หรือคำสอนนัน้ จัดได้วา่ เป็น “ศาสนา” ยกตัวอย่าง ในศาสนาอื่นบางศาสนาที่เป็นเทวนิยม เรื่อง ความทุกข์ ได้แสดงไว้วา่ คือการทีต่ อ้ งมาเผชิญกับปัญหา ความลำบาก ความเจ็บปวด ความระหกระเหิน ความไม่แน่นอน และภัยอันตราย เป็นต้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากการถูกขับไล่ให้พ้นไปจากแผ่นดินสวรรค์ เนือ่ งจากไปทำผิดด้วยการกระทำทีข่ ดั คำสัง่ อะไรบางอย่างเข้า ดังนัน้ บุคคลจึงต้องอาศัยศรัทธาและการปฏิบตั ติ ามคำสอนของพระผูเ้ ป็นเจ้า ที่ได้รับการถ่ายทอดผ่านทางศาสดาที่ประทานมา ในที่สุดก็จะได้รับ การพิพากษาจากพระผูเ้ ป็นเจ้า และรับกลับเข้าสูแ่ ผ่นดินสวรรค์ ทำให้ ชีวิตของบุคคลนั้นกลายเป็นชีวิตอมตะ มีแต่ความสุขอันเป็นนิรันดร ไม่มคี วามทุกข์ใดๆให้ตอ้ งเผชิญอีกต่อไป 16


“สัมมาทิฏฐิ” อีกนัยหนึง่ สามารถใช้ขยายออกไปให้รว่ ม สมัยยิง่ ขึน้ โดยเปรียบได้กบั คำว่า “วิสยั ทัศน์” แต่เป็น “วิสยั ทัศน์ ทางด้านศาสนา” ซึง่ หากวิเคราะห์ให้ดแี ล้วจะเห็นว่าทัง้ 2 คำนี้ แท้จริงมีความหมายเป็นอย่างเดียวกัน กล่าวคือ ในภาษาบาลี มีคำว่า “ทิฏฐิ” และคำว่า “ทัสสนะ” ทัง้ 2 คำนี้ มีความหมายใกล้เคียงกัน แปลว่า “ความเห็น” เมือ่ เทียบเป็น ภาษาสันสกฤต ตรงกับคำว่า “ทฤษฎี” และคำว่า “ทัศน์” ตามลำดับ ส่วนคำว่า “วิสัย” มีความหมายว่า “ขอบเขต หรือระยะ” เมือ่ รวมเป็น “วิสัยทัศน์” จึงมีความหมายว่า “การมองการณ์ไกล” ซึง่ จะเห็นว่ามีความสอดคล้องกับเนือ้ หาในสัมมาทิฏฐิ โดยเฉพาะใน ประเด็นของ “นิโรธ” ทีแ่ สดงถึงอุดมคติทเ่ี ป็นภาวะสูงสุดหรือไกลทีส่ ดุ ทีบ่ คุ คลสามารถเข้าถึง “สัมมาทิฏฐิ” ในแง่น้ี จึงมีความหมายเป็นอันเดียวกันกับ “วิสยั ทัศน์” ซึง่ แต่ละศาสนาก็จะมีวสิ ยั ทัศน์ทแ่ี ตกต่างกัน การทีบ่ คุ คล จะเข้าถึงคำสอนของศาสนาใด อันดับแรกทีส่ ดุ ก็คอื การเรียนรูจ้ นเข้าใจ ถึงวิสยั ทัศน์ทถ่ี กู ต้องของศาสนานัน้ ๆ เสียก่อน นอกจากนั้นยังนำมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความเป็น ศาสนิกของศาสนาได้อกี ด้วย กล่าวคือ บุคคลใดทีม่ วี สิ ยั ทัศน์ตรงกับ วิสยั ทัศน์ของคำสอนในศาสนาใด จึงจะได้ชอ่ื ว่าเป็นศาสนิกของศาสนา นัน้ อย่างแท้จริง ในทางตรงข้าม หากบุคคลใดมีวสิ ยั ทัศน์ทไ่ี ม่ตรงกับ วิสัยทัศน์ของคำสอนในศาสนาใด แม้จะประกาศตนว่าเป็นศาสนิก ของศาสนานั้น ก็ไม่ได้ชื่อว่าเป็นศาสนิกของศาสนานั้นอย่างแท้จริง ในเบือ้ งต้นของความเป็นศาสนิกในศาสนา จึงอยูท่ ก่ี ารปรับวิสยั ทัศน์ ให้ตรงต่อวิสยั ทัศน์ของศาสนานัน้ ๆ 17


กล่าวเฉพาะสัมมาทิฏฐิในพระพุทธศาสนา นอกจากสัมมาทิฏฐิ ดังทีไ่ ด้กล่าวและอธิบายไปแล้ว ซึง่ มีคำเรียกให้รดั กุมยิง่ ขึน้ ว่า “โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ” พระพุทธเจ้ายังได้แสดงสัมมาทิฏฐิอีกระดับหนึ่ง คือ “โลกียสัมมาทิฏฐิ” หรือ “สาสวะสัมมาทิฏฐิ” (=ความเห็นถูกต้อง ทีย่ งั เจือด้วยกิเลสหรืออาสวะ ซึง่ อยูใ่ นระดับโลกียะ) เพือ่ อนุเคราะห์ แก่ผู้ที่ยังมีความยึดติดถือมั่น ที่ยังเห็นหรือรู้จักชีวิตในระดับผิวเผิน มีความมุง่ หวังทีจ่ ะได้รบั การตอบสนองในสิง่ ทีต่ นปรารถนา พอใจใน วิถชี วี ติ ของการแสวงหาสิง่ ต่างๆ เพือ่ ตอบสนองความต้องการ(ตัณหา) ของตน ซึง่ ส่วนใหญ่กค็ อื โลกธรรมในฝ่ายเจริญ (ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ) หรือกล่าวโดยสรุปได้ว่า ยังมีความเพลิดเพลินและยินดีพอใจที่จะ ดำเนินชีวิตตามเส้นทางชีวิตทุกข์ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้ ไม่ตอ้ งไปประสบกับความทุกข์ทห่ี นักหนาหรือรุนแรงจนเกินไป เนือ้ หาสาระของ “โลกียสัมมาทิฏฐิ” หรือ “สาสวะสัมมาทิฏฐิ” ในพระพุทธศาสนา คือความเห็นและความเชือ่ ทีว่ า่ : “ทานที่ให้แล้ว มีผล, ยัญทีบ่ ชู าแล้ว มีผล, สังเวยทีบ่ วงสรวงแล้ว มีผล, ผลวิบาก ของกรรมทีท่ ำดี ทำชัว่ แล้วมีอยู,่ โลกนีม้ ี โลกหน้ามี, มารดามี บิดามี, สัตว์ทเ่ี ป็นอุปปาติกะมี, สมณพราหมณ์ทง้ั หลาย ผูด้ ำเนินชอบปฏิบตั ชิ อบ ซึง่ ประกาศโลกนีโ้ ลกหน้าให้แจ่มแจ้งเพราะรูย้ ง่ิ ด้วยตนเองในโลกมี” กล่าวได้วา่ โลกียสัมมาทิฏฐิ นี้ เป็นความเห็นทีถ่ กู ใจและตอบ สนองต่อความต้องการของบุคคลส่วนใหญ่ในเบือ้ งต้น บุคคลส่วนใหญ่ จึงมักมีการดำรงชีวติ อยูใ่ นระดับนี้ ตราบจนกว่าบุคคลจะสามารถ เห็นได้วา่ แท้จริงแล้วนีย่ งั เป็นเส้นทางของชีวติ ทุกข์ ก็จะเลือ่ นระดับ ไปสูช่ วี ติ ในระดับโลกุตตรสัมมาทิฏฐิ เข้าสูเ่ ส้นทางชีวติ ทีไ่ ม่มที กุ ข์ และดำเนินชีวติ ไปจนถึงภาวะไม่มที กุ ข์โดยสิน้ เชิงในทีส่ ดุ 18


สัมมาสังกัปปะ (ปัญญากำกับความคิดต้องการ)

“สัมมาสังกัปปะ” แปลว่า “ความดำริชอบ” หรือ “ความ คิดความต้องการที่ถูกต้อง” เป็นปัญญาอีกประเภทหนึ่งที่เป็นผล สืบเนือ่ งจากปัญญาทีเ่ ป็นสัมมาทิฏฐิ กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิหรือวิสยั ทัศน์ จะเป็นกรอบหรือตัวกำหนดความคิดความต้องการ (สัมมาสังกัปปะ) ของบุคคล ทีม่ ตี อ่ เรือ่ งราวหรือสิง่ ต่างๆ ให้เป็นไปตามแนวของสัมมาทิฏฐิทบ่ี คุ คลนัน้ มีอยู่ ซึง่ สอดคล้องกับโคลงโลกนิตบิ ทหนึง่ ทีว่ า่ : หมอแพทย์ทายว่าไข้ ลมคุม โหรว่าเคราะห์แรงรุม โทษให้ แม่มดว่าผีกมุ ทำโทษ ปราชญ์วา่ กรรมเองไซร้ ก่อสร้างมาเอง นอกจากนัน้ สัมมาสังกัปปะยังเป็นปัญญาทีท่ ำหน้าทีค่ อย ระแวดระวังจิตให้ดำรงไว้อย่างถูกต้อง เมื่อจะเข้าไปรับรู้หรือ ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ดังที่มีพุทธพจน์แสดงสาระของ “สัมมาสังกัปปะ” ไว้วา่ คือ ♦ ความดำริในการออกจากกาม (เนกขัมมสังกัปป์) ♦ ความดำริในการออกจากพยาบาท (อพยาบาทสังกัปป์) ♦ ความดำริในการออกจากการเบียดเบียน (อวิหงิ สาสังกัปป์)

ทำไมเมือ่ มีสมั มาทิฏฐิแล้ว จึงต้องมีสมั มาสังกัปปะ? ทัง้ นีเ้ พราะว่าสัมมาทิฏฐิ ทำหน้าทีเ่ ป็นปัญญาทีเ่ ป็นความเห็น เป็นขอบเขต หรือเป็นวิสยั ทัศน์ของบุคคล ให้รวู้ า่ ควรจะเข้าไปทำหน้าที่ หรือเกีย่ วข้องกับเรือ่ งหรือสิง่ ต่างๆ อย่างไร แต่เมือ่ เข้าไปทำหน้าทีจ่ ริงๆ 19


ทั้ง ๆ ที่รู้ ก็ยังอาจมีความหวั่นไหวไปได้ด้วยอารมณ์หรือความรู้สึก ชอบหรือชังที่มีต่อเรื่องหรือสิ่งนั้นๆได้ จนเป็นเหตุให้อาจมีความคิด ออกนอกไปจากคลองของสัมมทิฏฐิ คือเรือ่ งความทุกข์และความดับทุกข์ แล้วไปคิดกระทำในสิ่งที่เป็นความเบียดเบียนที่ทำให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อนขึ้นตามอำนาจหรืออิทธิพลของความชอบและชังที่ ครอบงำอยูไ่ ด้ ดังนั้น จึงต้องมีปัญญาที่เรียกว่า “สัมมาสังกัปปะ” ทีค่ อยกำกับจิตให้ไม่ไปหลงรักหรือหลงชอบ (=เนกขัมมสังกัปป์) ไม่ไปหลงเกลียดหรือหลงชัง (=อพยาบาทสังกัปป์) และไม่ให้ หลงไปกระทำตามอารมณ์ที่ชอบที่ชังนั้น จนทำให้เกิดความ เบียดเบียนหรือความทุกข์ทง้ั ต่อตนเองและบุคคลอืน่ (=อวิหงิ สาสังกัปป์) ในอริยมรรคมีองค์ 8 ตามทีพ่ ระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ จึงได้แสดง สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ ซึ่งเป็นปัญญาที่รู้เข้าใจต่อเรื่องหรือ สิง่ ต่างๆ และเป็นปัญญาทีค่ อยรักษาจิตให้ไม่ไปหลงชอบหลงชังหลง ไปกระทำตามอำนาจของความชอบหรือชังนั้น ว่าเป็นปัญญาที่เป็น หัวขบวนในการดำเนินการต่างๆ เมื่อมีปัญญาที่เป็นหัวขบวนคอยนำอย่างนี้แล้ว การกระทำ อืน่ ๆ ในลำดับถัดไป ก็จะเป็นไปโดยถูกต้องทัง้ หมด ทัง้ การกระทำทาง กาย (สัมมากัมมันตะ) ทางวาจา (สัมมาวาจา) การเลีย้ งชีพ (สัมมาอาชีวะ) รวมตลอดไปถึงการปรารภความเพียรที่เป็นไปอย่างถูกต้อง (สัมมาวายามะ) การมีการระลึกถูกต้อง (สัมมาสติ) และการมีคณ ุ ภาพ ของจิตทีถ่ กู ต้อง (สัมมาสมาธิ) 20


สัมปชัญญะ (ปัญญารูเ้ ท่าทันสถานการณ์)

“สัมปชัญญะ” มีความหมายว่า “ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้ มักมาคู่ กับ “สติ” (พจนานุกรมฉบับประมวลศัพท์ ของพระพรหมคุณาภรณ์ ป. อ. ปยุตโฺ ต) เป็นปัญญาอีกประเภทหนึง่ ซึง่ ค่อนข้างเข้าใจยาก ในพระไตรปิฎกได้แสดงไว้ใน 2 หมวดใหญ่ คือ “ธรรมมี อุปาการะมาก” (=สติและสัมปชัญญะ) และ “สัมปชัญญะบรรพ” (=ในกายานุปสั สนาสติปฏั ฐาน คือ ตามรูส้ กึ ตัวในอิรยิ าบถย่อย เช่น การก้าว การถอย การคู้ การเหยียด การดืม่ การเคีย้ ว ฯลฯ) และใน คัมภีรอ์ รรถกถาได้แสดงขยายความออกเป็น “สัมปชัญญะ 4” คือ 1. สาตถกสัมปชัญญะ ความรู้ชัดหรือความตระหนักใน ประโยชน์หรือสาระทีเ่ ป็นจุดมุง่ หมาย 2. สัปปายสัมปชัญญะ คือ ความรูช้ ดั หรือความตระหนักใน เรือ่ งความเหมาะสมในด้านต่างๆ 3. โคจรสัมปชัญญะ คือ ความรู้ชัดหรือความตระหนักใน การคุมกายและจิตให้อยูใ่ นกิจหรือในประเด็น 4. อสัมโมหสัมปชัญญะ คือ ความรูช้ ดั หรือความตระหนักใน ความรูเ้ ท่าทันในความจริงและความเป็นไปของสิง่ ต่างๆ จนทำให้ไม่ เกิดความหลงใหลและมัวเมา กล่าวโดยสรุป “สัมปชัญญะ” มุ่งแสดงถึงปัญญาที่นำไป ใช้ในชีวติ ทัว่ ไป เพือ่ ให้การดำเนินชีวติ ประจำวันเป็นไปด้วยดี

21


ซึ่งหากพิจารณาแบบประยุกต์ เพื่อให้รู้จักและเข้าใจเรื่อง ของ “สัมปชัญญะ” ง่ายขึ้น จะเห็นได้ว่าในการใช้ชีวิตทั่วไปนั้น มีเรือ่ งทีจ่ ะต้องดำเนินการและเกีย่ วข้องในประเด็นต่างๆ เป็นประจำ ดังต่อไปนี้ คือ อะไร? ใคร? ทีไ่ หน? เมือ่ ไร? ทำไม? และอย่างไร? หรือหากใช้คำในภาษาอังกฤษเข้าช่วย ซึ่งอาจจะทำให้บางท่านเกิด ความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น ก็จะตรงกับคำว่า “What? Who? When? Where? Why? How?” ดังนัน้ ในการดำเนินชีวติ ประจำวัน จึงต้องมีการระลึกและรูท้ นั ในประเด็นต่างๆ ดังทีก่ ล่าวอยูแ่ ทบตลอดเวลา ซึง่ ในทีน่ ก้ี ค็ อื การมี “สติ” และ “สัมปชัญญะ” นัน่ เอง โดย “สติ” จะทำหน้าทีร่ ะลึกได้กอ่ นในส่วนทีว่ า่ อะไร? ใคร? ที่ไหน? เมื่อไร? ต่อจากนั้น “สัมปชัญญะ” หรือปัญญา จะทำหน้าทีป่ ระมวลในส่วนทีว่ า่ ทำไม? และอย่างไร? เพือ่ ให้รู้ ชัดในเรือ่ งต่างๆ ทีร่ ะลึกได้นน้ั ว่ามีทม่ี าทีไ่ ปอย่างไร และจะต้อง เข้าไปทำหน้าทีห่ รือเกีย่ วข้องกับเรือ่ งในกรณีนน้ั ๆ อย่างไร จากนั้นปัญญา คือ “สัมปชัญญะ” นี้ จะทำหน้าที่คอย ควบคุมอยู่กับสถานการณ์นั้นๆ ซึ่งมีนัยรวมมาถึงการควบคุม อาการต่างๆ หรืออิรยิ าบถย่อยของกายให้อยูใ่ นภาวะเตรียมพร้อม ด้วย(=สัมปชัญญะบรรพ) เพือ่ ให้เรือ่ งราวต่างๆ ผ่านลุลว่ งไปด้วยดี เมือ่ มี “สติ” และ “สัมปชัญญะ” ดังทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วนี้ จะทำให้ บุคคลสามารถเข้าไปดำเนินการหรือเกีย่ วข้องกับเรือ่ งราวหรือเหตุการณ์ใน ชีวติ ประจำวัน ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและเป็นไปด้วยดี “สติ” และ “สัมปชัญญะ” จึงได้รบั การจัดให้เป็น “ธรรมทีม่ อี ปุ การะมาก” ทัง้ นีเ้ พราะเป็น ธรรมทีจ่ ำเป็นต้องนำมาใช้ในการดำเนินชีวติ ประจำวันแทบจะตลอดเวลา 22


♦ ธรรมวิจย ั

(ปัญญาเลือกเฟ้น-สอดส่อง-สืบค้น)

“ธรรมวิจยั ” หรือ “ธัมมวิจยะ” แปลว่า “ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม” เป็นปัญญาทีส่ ำคัญยิง่ อีกประการหนึง่ ที่บุคคลจะต้องเรียนรู้และฝึกฝนพัฒนาให้เกิดมีขึ้น โดยปัญญานี้จะ ทำหน้าทีใ่ หญ่ๆ ใน 2 เรือ่ ง คือ • ในยามปกติทว่ั ไป จะทำหน้าทีเ่ ลือกเฟ้นธรรมทีจ่ ะนำมาใช้ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะต่างๆ เช่น ควรใช้เมตตา กรุณา มุทติ า หรืออุเบกขา ; ควรจะนิง่ ตัง้ รับ หรือรุก เป็นต้น • ในยามทีต ่ อ้ งการสืบค้นเพือ่ ให้เกิดความรูแ้ จ้ง เช่นใน กรณีทเ่ี กิดปัญหาและต้องการสืบค้นเพือ่ ให้รเู้ รือ่ งราวความเป็นมาเป็นไป ตลอดจนสาเหตุ หรือในกรณีที่ต้องการสืบค้นเพื่อให้เกิดความรู้แจ้ง แทงตลอดในเรือ่ งใดเรือ่ งหนึง่ ธรรมวิจยั นีไ้ ด้แสดงไว้ในหมวดธรรมทีเ่ รียกว่า “โพชฌงค์ 7” หรือ “กระบวนธรรมทีเ่ ป็นเครือ่ งมือหรือองค์แห่งการตรัสรู”้ ประกอบ ด้วย 7 องค์ธรรมย่อย คือ สติ , ธรรมวิจยั , วิรยิ ะ , ปีติ , ปัสสัทธิ , สมาธิ, อุเบกขา ซึง่ แต่ละองค์ธรรมจะมีคำต่อท้ายว่าสัมโพชฌงค์ เช่น สติสัมโพชฌงค์ เป็นต้น และเป็นกระบวนธรรมทีจ่ ะต้องทำหน้าทีส่ บื ต่อ และสอดประสานกัน ดังนัน้ การอบรมปัญญาทีเ่ ป็น “ธรรมวิจยั ” นี้ จะเริม่ ต้น ทีส่ ติสมั โพชฌงค์กอ่ น กล่าวคือ สติสมั โพชฌงค์จะทำหน้าทีจ่ บั สถานการณ์ (ในยามปกติทว่ั ไป) หรือจับประเด็นทีเ่ ป็นปัญหาเรื่องราวที่ประสงค์จะสืบค้น (ในยามที่ต้องการสืบค้นเพื่อให้ เกิดความรูแ้ จ้ง) ให้ได้ชดั เจนเสียก่อน 23


เมือ่ สติสมั โพชฌงค์จบั สถานการณ์ในขณะนัน้ ได้แล้ว “ธรรมวิจยั ” ก็จะทำหน้าทีต่ อ่ ในการไต่สวนและเลือกเฟ้นธรรมทีจ่ ะนำมาใช้ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น เพื่อให้เรื่องราวต่างๆ ในขณะนั้น ๆ ดำเนินไปด้วยดี สำหรับกรณีที่มีปัญหาหรือมีประเด็นที่ต้องการสืบค้นก็เช่น เดียวกัน สติสมั โพชฌงค์จะทำหน้าทีจ่ บั ปัญหาหรือประเด็นทีป่ ระสงค์ จะรูแ้ จ้งขึน้ มา แล้ว “ธรรมวิจยั ” จะทำหน้าทีต่ อ่ ในการไต่สวนและสืบค้น เพือ่ หาสาเหตุ ทีม่ าทีไ่ ป และความเป็นไปต่างๆ จนรูแ้ จ้งถึงสาเหตุของ ปัญหา หรือรูแ้ จ้งแทงตลอดในเรือ่ งทีต่ อ้ งการสืบค้นนัน้ ในทีส่ ดุ ดังเช่น ตัวอย่างการพิจารณา “ปฏิจจสมุปบาท” ของ พระพุทธเจ้าในคืนวันตรัสรู้ ซึง่ ในพระไตรปิฎกได้แสดงไว้วา่ ...ภิกษุทง้ั หลาย ความฉงนนีไ้ ด้เกิดขึน้ แก่เราว่า “เมือ่ อะไรมี อยูห่ นอ ชรามรณะจึงได้มี : ชรามรณะมี เพราะปัจจัยอะไรหนอ” ภิกษุทั้งหลาย ได้เกิดความรู้สึกด้วยปัญญา เพราะการคิด โดยแยบคายแก่เราว่า “เพราะชาตินี่เองมีอยู่ ชรามรณะจึงได้มี : ชรามรณะมี เพราะชาติเป็นปัจจัย....” และได้ทรงพิจารณาในทำนองเดียวกันนีต้ อ่ ไปอีก 11 อาการ จนถึง “สังขารมี เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย” ในทีส่ ดุ ก็เกิดปัญญารูแ้ จ้ง แทงตลอดในปฏิจจสมุปบาท จะเห็นว่า ได้ทรงใช้วิธีการตั้งประเด็นที่เป็นเรื่องหรือ ปัญหาทีป่ ระสงค์จะรู้ แล้วตามไต่สวนสืบค้น จนรูแ้ จ้งถึงสาเหตุ และที่มาที่ไป ซึ่งก็คือ การทำหน้าที่ของสติสัมโพชฌงค์และ ธรรมวิจยั สัมโพชฌงค์ ดังทีก่ ล่าวไปแล้วนัน่ เอง 24


ในส่วนของโพชฌงค์ขอ้ อืน่ ๆ อีก 5 องค์ อันทีจ่ ริงก็เป็นกระบวน ธรรมที่เกิดสืบเนื่องกันไปเป็นลำดับ กล่าวคือ ในขณะที่ “สติ” และ “ธรรมวิจยั ” กำลังทำหน้าทีอ่ ยู่ จำเป็นจะต้องมี “วิรยิ ะ” มาช่วยรักษา ให้การทำงานของสติและธรรมวิจยั นัน้ มีความต่อเนือ่ งและไม่ขาดสาย เพราะหากเกิดขาดสายไปก่อน ก็จะทำให้การทำหน้าทีข่ อง “สติ” และ “ธรรมวิจยั ” ไม่บรรลุผล และไม่เกิดความรูแ้ จ้งขึน้ “ปีต”ิ ทีเ่ กิดขึน้ สืบต่อจากวิรยิ ะในลำดับถัดไป เป็นองค์ธรรม ที่แสดงให้รู้ว่าการทำหน้าที่ของสติ-ธรรมวิจัย-วิริยะ ได้ประสบความ สำเร็จ และเกิด “ความรูแ้ จ้ง” ในเรือ่ งหรือประเด็นนัน้ ๆ แล้ว เพราะ หากยังไม่ประสบความสำเร็จตราบใด จิตก็จะยังไม่มปี ตี เิ กิดขึน้ ต่อจากนัน้ จะเกิดภาวะความผ่อนคลายสงบเย็นทัง้ ทางกาย และใจ ทีเ่ รียกว่า “ปัสสัทธิ” มีจติ ทีส่ งบ ผ่องใส นิง่ แน่วแน่ ทีเ่ รียกว่า “สมาธิ” และทำให้เกิดภาวะของใจทีเ่ ป็นกลางเพราะรูแ้ จ้งตามความ เป็นจริง ปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากความไม่รู้ในเรื่องนั้นๆ ตกไปจากใจ อย่างเด็ดขาด ไม่สามารถที่จะมีอิทธิพลบีบคั้นหรือเสียดแทงใจหรือ ทำให้จติ ของบุคคลนัน้ หวัน่ ไหวได้อกี ต่อไป เรียกภาวะนีว้ า่ “อุเบกขาสัมโพชฌงค์” ในกรณีของ “อุเบกขาสัมโพชฌงค์” นี้ ยังสามารถนำไปใช้ใน อีกลักษณะหนึง่ คือ ในกรณีทส่ี ติ-ธรรมวิจยั -วิรยิ ะ ทำหน้าทีแ่ ล้วยังไม่ บรรลุผล กล่าวคือยังไม่เกิดปีตขิ น้ึ และยังมีกจิ อืน่ ทีต่ อ้ งกระทำต่อไปก่อน ในกรณีเช่นนีจ้ ำเป็นต้องนำ “อุเบกขาสัมโพชฌงค์” มาใช้ คือ ให้หยุด หรือพักการทำหน้าที่ของสติ-ธรรมวิจัย-วิริยะ ไว้ก่อน และพรากจิต ออกมาจากเรื่องหรือปัญหาที่ต้องการไต่สวนนั้นๆ อย่าให้เรื่องหรือ 25


ปัญหานั้นๆ มีอิทธิพลกลุ้มรุมจิตเป็นการชั่วคราวก่อน ต่อเมื่อมี โอกาสเหมาะสมก็ให้มาเจริญสติ-ธรรมวิจยั -วิรยิ ะใหม่ จนกว่าจะประสบ ความสำเร็จในทีส่ ดุ ดังนัน้ หากมองไปทีเ่ ป้าหมาย การทำหน้าทีข่ องโพชฌงค์ 7 ก็เพือ่ ทำให้เกิดสิง่ ทีเ่ รียกว่า “ญาณ” นัน่ เอง โพชฌงค์ 7 นี้ ในกรณีของพระพุทธเจ้า สามารถนำไปใช้ได้ เลย ในทุกเรือ่ ง แม้ในเรือ่ งอย่างทีต่ รัสว่า “ในธรรมทีไ่ ม่เคยได้ยนิ มาก่อน” แต่สำหรับกรณีของสาวก หากเป็นเรือ่ งทัว่ ๆ ไป ก็สามารถนำไปใช้ได้ ตามความเหมาะสม แต่หากเป็นเรื่องของ “อริยสัจ” ก็จำเป็นต้องได้ รับการสดับ หรือการชีแ้ นะจากพระพุทธเจ้าก่อน จึงจะสามารถเจริญ โพชฌงค์ 7 เพือ่ ให้รแู้ จ้งใน “อริยสัจ” ได้ ดังนัน้ ในกรณีของสาวก ในขัน้ ต้นจะต้องแสวงหา “สัมมาทิฏฐิ ในอริยสัจ” ตามทีต่ รัสสอน เป็นความรูค้ วามเข้าใจเบือ้ งต้นก่อน และ ยังจะต้องทำให้สมั มาทิฏฐิให้เต็มรอบยิง่ ขึน้ ๆ จนกลายเป็นสัมมาทิฏฐิท่ี สมบูรณ์ (=พระโสดาบัน) ในขัน้ ตอนต่อไป จะต้องทำ “ธรรมวิจยั ” ใน “สัมมาทิฏฐิในอริยสัจ” นัน้ ให้กลายเป็นความรูแ้ จ้งทีเ่ รียกว่า “ญาณ ในอริยสัจ” จึงจะถึงความสมบูรณ์ของปัญญาจริง และจึงจะทำให้ กามตัณหาหมดสิน้ ไป (=พระอนาคามี) ตลอดจนภวตัณหาและวิภวตัณหาหมดสิน้ ไปในทีส่ ดุ (=พระอรหันต์) “ธรรมวิจยั ” ในแง่มมุ ทีก่ ล่าวนี้ จึงมองได้วา่ เป็นเครือ่ งมือ สำคัญทีใ่ ช้เปลีย่ น “สัมมาทิฏฐิ” ให้กลายเป็น “ญาณ” นัน่ เอง และ เนือ่ งจากธรรมวิจยั ” เป็นองค์ธรรมสำคัญในขัน้ ตอนของการเจริญปัญญา เพือ่ ความรูแ้ จ้ง จึงกล่าวได้วา่ “ธรรมวิจยั ” นี้ จะทำหน้าทีเ่ ปลีย่ นสุตมยปัญญา ให้เป็นจินตามยปัญญา และกลายเป็นภาวนามยปัญญา ในทีส่ ดุ 26


วิมงั สา (ปัญญาทีน่ ำสูค่ วามสำเร็จ)

“วิมงั สา” เป็นชือ่ ของปัญญาอีกชือ่ หนึง่ มีบทบาทและหน้าที่ แตกต่างออกไปอีกลักษณะหนึง่ จัดอยูใ่ น “อิทธิบาท 4” ซึง่ เป็นหมวด ธรรมทีน่ ำไปสูค่ วามสำเร็จแห่งผลทีม่ งุ่ หมาย ปัญญาที่เป็น “วิมังสา” นี้ จะเริ่มทำหน้าที่ต่อเมื่อได้มี การกำหนดผลหรือจุดมุ่งหมายที่เป็นความสำเร็จที่ประสงค์จะ ไปให้ถึงเสียก่อน โดยปัญญานี้จะทำหน้าที่เสาะแสวงหาเหตุ ปัจจัยต่างๆ ที่จะนำไปสู่ผลที่ประสงค์นั้น พร้อมกับประกอบ เหตุปจั จัยทีว่ า่ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ และยังจะคอยแก้ไขปัญหา และอุปสรรคต่างๆ ที่จะมากั้นขวางเหตุปัจจัยไม่ให้บังเกิดขึ้น อย่างครบถ้วน จนทำให้ประสบผลคือความสำเร็จในทีส่ ดุ ดังนัน้ ปัญญาใน “วิมงั สา” จะเกิดขึน้ ได้ตอ่ เมือ่ ได้มอี ทิ ธิบาท ข้อที่ 1 คือ “ฉันทะ” เกิดขึน้ เสียก่อน กล่าวคือ มีความยินดีพอใจหรือ มุง่ หวังอย่างแรงกล้าทีจ่ ะประสบความสำเร็จในการกระทำสิง่ ใดสิง่ หนึง่ หรือเรือ่ งใดเรือ่ งหนึง่ โดยฉันทะในสิง่ ทีม่ งุ่ หวังนีเ้ อง จะเป็นทัง้ ตัวชักนำ ตลอดจนเป็นกรอบให้เกิดปัญญา คือ “วิมงั สา” ให้เป็นไปตามฉันทะ ทีม่ งุ่ หวังนัน้ ๆ เมือ่ มีฉนั ทะเกิดขึน้ ก็จะเร้าให้เกิด “วิรยิ ะ” คือ ความเพียรที่ จะคิดอ่านและกระทำการต่างๆ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่เป็นความ สำเร็จนั้น นอกจากนั้นยังจะต้องมี “จิตตะ” คือความเข้มแข็งและ มัน่ คงของจิตใจอย่างเด็ดเดีย่ ว ทีไ่ ม่ทอ้ ถอย ไม่ยอมแพ้ ไม่ยอมเลิกรา จนกว่าจะประสบความสำเร็จทีต่ ง้ั ไว้นน้ั 27


เมื่อมีองค์ประกอบของ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ ที่พร้อมเพรียง อย่างนี้แล้ว นับว่ามีฐานที่ตั้งที่แน่นแฟ้นมั่นคง ที่จะทำให้ “วิมงั สา” คือปัญญาที่เสาะแสวงหาพร้อมกับการสร้างสมเหตุปัจจัย ตลอดจน คอยแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ทีจ่ ะมากัน้ ขวางนัน้ ให้ทำหน้าที่ ได้เต็มที่และเป็นอย่างดี และเมื่อเหตุปัจจัยที่กระทำหรือสร้างสม ไว้นน้ั ถึงพร้อม ผลคือความสำเร็จทีป่ ระสงค์กจ็ ะบังเกิดขึน้ ♦ ญาณ

(ปัญญารูแ้ จ้งอันวิเศษ)

“ญาณ” คือ ปัญญารูแ้ จ้ง เป็นภาวนามยปัญญาอันเนือ่ ง มาจาก “ธรรมวิจยั ” เป็นปัญญาในส่วนทีเ่ ป็นผล ทีอ่ ยูใ่ นระดับ ทีล่ กึ มากไปกว่าปกติวสิ ยั ของมนุษย์ทว่ั ไปจะสามารถเข้าถึง หรือ ปฏิบัติจนทำให้เกิดขึ้นได้ มีเนื้อหาและรายละเอียดของปัญญานี้ ลุม่ ลึกและกว้างขวางยิง่ ญานทีบ่ คุ คลทัว่ ไปพึงรูแ้ ละเข้าถึง คือ “ยถาภูตญาณ” หรือ “ยถาภูตญาณทัสสนะ” คือ “ญาณทีร่ เู้ ห็นตามความเป็นจริง” ซึง่ หาก จะกล่าวให้ชดั ก็คอื ญาณทีร่ เู้ ห็นในอริยสัจ 4 ซึง่ มี 3 ประการ คือ 1. สัจจญาณ คือ ปัญญาหยัง่ รูอ้ ริยสัจ 4 ตามความเป็น จริงว่า นีท้ กุ ข์ นีส้ มุทยั นีน้ โิ รธ นีม้ รรค 2. กิจจญาณ คือ ปัญญาหยัง่ รูใ้ นกิจทีจ่ ะต้องทำในอริยสัจ แต่ละหัวข้อ กล่าวคือ ทุกข์พงึ กำหนดรู้ , สมุทยั พึงละ , นิโรธพึงทำให้แจ้ง , มรรคพึงเจริญ 3. กตญาณ คือปัญญาหยั่งรู้ว่าทำกิจในอริยสัจในแต่ละ หัวข้อได้สำเร็จแล้ว 28


ญาณอืน่ ๆ ทีส่ ำคัญ เช่น “วิปสั สนาญาณ 9” ซึง่ เป็นธรรมที่ ปรุงขึ้นใหม่โดยถือตามนัยแห่งคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคที่พระสารีบุตร ได้รจนาไว้ และได้นำมาอธิบายอย่างพิสดารเป็น “ญาณ 16” ในคัมภีร์ วิสทุ ธิมรรค นอกจากนัน้ ก็มี “ญาณ 3” (คือ อตีตงั สญาณ-ญาณหยัง่ รูส้ ว่ น อดีต , อนาคตังสญาณ-ญาณหยัง่ รูส้ ว่ นอนาคต , ปัจจุปปันนังสญาณญาณหยัง่ รูส้ ว่ นปัจจุบนั ) ; “ทศพลญาณ 10” (พระญาณอันเป็นกำลัง ของพระพุทธเจ้า 10 ประการ ทีท่ ำให้พระองค์สามารถบันลือสีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มน่ั คง) ; และทีพ่ สิ ดารยิง่ คือ “ญาณ 73” ที่ พระสารีบตุ รได้แสดงและแจกแจงไว้ในปฏิสมั ภิทามรรค โดยได้แสดง ชัดเจนลงไปอีกว่าในญาณ 73 ประเภทนี้ มีญาณ 67 ประเภททีพ่ ระสาวก สามารถปฏิบตั แิ ละเข้าถึงได้ แต่ญาณอีก 6 ประเภทเป็นญาณเฉพาะ ของพระพุทธเจ้าเท่านัน้ ♦

วิชชา (ปัญญารูแ้ จ้งเพือ่ ความพ้นทุกข์)

“วิชชา” จัดเป็น ญาณประเภทหนึ่ง แต่ถูกนำมาใช้ใน ปริบทที่จำกัด โดยเน้นไปที่ญาณที่มีผลเพื่อความดับทุกข์หรือ เพือ่ ความพ้นทุกข์โดยเฉพาะ ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า “วิชชา” เป็นส่วนหนึ่งของ “ญาณ” หรือหากใช้ภาษาทางคณิตศาสตร์มาช่วยเพื่อให้เห็นภาพชัดยิ่งขึ้น ก็จะกล่าวว่า “ญาณ” เป็น “Universal Set” ; ส่วน “วิชชา” เป็น “Subset” ของ “ญาณ” หรืออาจเปรียบเทียบในอีกลักษณะตามพุทธพจน์ทไ่ี ด้ตรัสไว้ ก็เปรียบได้ว่า “ญาณ” เป็นความรู้ที่ประดุจใบไม้ในป่า ; ส่วน 29


“วิชชา” เป็นความรู้ที่ประดุจใบไม้ในกำมือ คือเรื่องของทุกข์ และความดับสิน้ ไปแห่งทุกข์เท่านัน้ ในเรื่องนี้ไปสอดคล้องอย่างยิ่งกับเรื่อง “อวิชชา” ที่เป็นหัว ขบวนเริม่ ต้นของกระแสปฏิจจสมุปบาทซึง่ เป็นกลไกการเกิดขึน้ ของทุกข์ เมือ่ ต้นเหตุสำคัญของทุกข์คอื “อวิชชา” ดังนัน้ จึงต้องอาศัย “วิชชา” ในการทำให้ “อวิชชา” หมดสิน้ ไป ; เมือ่ “อวิชชา” หมดสิน้ ไป ทุกข์ก็ พลอยหมดสิ้นไปด้วย สมดังพุทธพจน์ที่ตรัสว่า “วิชชา” มี “วิมุตติ” คือ “ความหลุดพ้น” เป็นอานิสงส์ “วิชชา” ตามทีไ่ ด้มแี สดงไว้ในพระคัมภีรม์ ี 2 หัวข้อใหญ่ คือ 1. วิชชา 3 ได้แก่ • ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ญาณเป็นเหตุระลึกถึง ขันธ์ที่อาศัยอยู่ในกาลก่อนได้ • จุตูปปาตญาณ ญาณกำหนดรูจ้ ต ุ แิ ละอุบตั แิ ห่งสัตว์ ทัง้ หลาย หรือเรียกอีกอย่างหนึง่ ว่า “ทิพพจักขุญาณ” • อาสวักขยญาณ ญาณทีท ่ ำให้สน้ิ อาสวะ 2. วิชชา 8 ได้แก่ • วิปส ั สนาญาณ ญาณในวิปัสสนา หรือปัญญาที่ พิจารณาเห็นธรรมชาติฝ่ายรูปธรรมและนามธรรม โดยความเป็น ไตรลักษณ์ (=อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) • มโนมยิทธิ ฤทธิท ์ ส่ี ำเร็จด้วยใจ หรือเนรมิตกายอืน่ ออกจากกายนี้ • อิทธิวธ ิ ี แสดงฤทธิต์ า่ งๆ ได้ • ทิพพโสต หูทพ ิ ย์ • เจโตปริยญาณ ญาณอันกำหนดใจผูอ ้ น่ื ได้ 30


ปุพเพนิวาสานุสสติ ระลึกชาติได้ • ทิพพจักขุ ตาทิพย์ • อาสวักขยญาณ ญาณทีท ่ ำให้สน้ิ อาสวะ จะเห็นได้วา่ ปัญญาทีเ่ ป็น “วิชชา” มีสาระสำคัญอยูท่ อ่ี าสวักขยญาณ คือญาณทีท่ ำให้สน้ิ อาสวะหรือสิน้ ทุกข์ ดังนัน้ ธรรมทีจ่ ะจัด เป็นวิชชา ดังเช่นวิชชา 3 หรือวิชชา 8 แม้จะมีขอ้ ธรรมอืน่ ร่วมอยูด่ ว้ ย แต่กต็ อ้ งมีปญ ั ญาเพือ่ ความพ้นทุกข์เป็นเป้าหมายคลุมท้ายอยูเ่ สมอ •

♦ ปัญญินทรีย์

(ปัญญาทีแ่ ก่กล้า)

“ปัญญินทรีย”์ มีความหมายว่า ปัญญาทีเ่ ป็นใหญ่ หรือ ปัญญาทีแ่ ก่กล้า หรือปัญญาทีบ่ ม่ สุกงอมจนได้ท่ี ในทีน่ ม้ี งุ่ หมาย แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของปัญญาในระดับทีส่ ามารถนำไปใช้การได้ดี ไม่ได้แสดงถึงการทำหน้าทีข่ องปัญญาในลักษณะใดลักษณะหนึง่ โดย เฉพาะ อย่างทีไ่ ด้กล่าวถึงปัญญาในชือ่ ต่างๆ ทีผ่ า่ นมา ทำไมจึงต้องมี “ปัญญินทรีย”์ ทั้งนี้เพราะปัญญาต่างๆ ตามที่ได้กล่าวไปแล้วทั้งหมด จะไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างดีหรืออย่างได้ผล หากปัญญา ต่างๆ เหล่านั้น ยังไม่มีคุณภาพ ยังไม่มีความสุกงอม ยังไม่มี ความเติบใหญ่หรือแก่กล้าเพียงพอ อาจเปรียบได้กับแมวซึ่งมีความสามารถในการจับหนู แต่หากยังเป็นลูกแมวที่ตัวเล็กอยู่ ก็ยังไม่สามารถไปจับหนูที่ ไหนได้ และอาจจะถูกหนูตัวที่ใหญ่กว่าไล่กัดด้วยซ้ำไป ในที่นี้ จำเป็นจะต้องเลี้ยงและบำรุงให้แมวมีความเติบใหญ่ขึ้นมาถึง ระดับหนึง่ เสียก่อน จึงจะสามารถจับหนูได้เป็นอย่างดี 31


ในเรือ่ งของปัญญาก็เช่นเดียวกัน ปัญญาทีจ่ ะทำหน้าทีต่ า่ งๆ จนได้ผลดี ก็จำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนอบรมให้ได้ที่จนถึงในระดับ ที่เป็น “ปัญญินทรีย์” จึงจะได้รับความสำเร็จจากการทำหน้าที่ของ ปัญญาประเภทนัน้ ๆ ด้วยดี หลักการในเรื่องนี้ อันที่จริงเป็นหลักการเดียวกันกับที่ใช้ใน เรือ่ งอืน่ ๆ โดยทัว่ ไปด้วย กล่าวคือ “การทำให้มาก หรือการทำให้ ต่อเนือ่ ง” ซึง่ ตรงกับหลักทีต่ รัสไว้ คือ “ภาวิตา พหุลกี ตา” หมายความ ว่า บุคคลจะมีความสุกงอม มีความแก่กล้า หรือมี “อินทรีย”์ คือความ เป็นใหญ่ในเรือ่ งใด ก็จะต้องมีการฝึกหัดหรือทำให้มาก และทำให้ตอ่ เนือ่ งในเรือ่ งนัน้ ซึง่ หากยังไม่ได้ทำให้มากพอ ก็ยากทีจ่ ะประสบความ สำเร็จในเรื่องนั้นๆ ในที่นี้จึงอาจใช้เรื่องของ “อินทรีย์” เป็นเครื่องวัด การประสบความสำเร็จของบุคคลได้ ในเรือ่ งนี้ อาจเปรียบได้กบั การเอาแท่งไม้แห้ง 2 อันมาสีกนั เพือ่ จะให้เกิดประกายไฟ บุคคลจะต้องเอาไม้มาสีกนั ให้มากให้ตอ่ เนือ่ ง และสีโดยไม่หยุด จึงจะทำให้เกิดการสะสมของความร้อนทีม่ ากขึน้ ๆ จนถึงจุดหนึง่ ก็จะเกิดประกายไฟออกมา แต่หากบุคคลหยุดสีเมือ่ ใด ความร้อนทีส่ ะสมมาก็จะหมดไป และจะต้องไปเริม่ ต้นสะสมความร้อน ใหม่ทกุ ครัง้ ทำให้ความร้อนทีส่ ะสม มีไม่มากพอจนถึงจุดทีท่ ำให้เกิด ประกายไฟแลบออกมาได้เสียที ในเรือ่ งของปัญญาก็เช่นกัน ปัญญาต่างๆ ทีไ่ ด้กล่าวไปแล้ว จะต้องได้รบั การฝึกฝนอบรมให้มากให้ตอ่ เนือ่ ง จนเกิดความชำนาญ จนสุกงอมแก่กล้าและมีความเป็นใหญ่ จนกลายเป็น “ปัญญินทรีย”์ จึงจะมีพลานุภาพและทำให้ปญ ั ญานัน้ ๆ สามารถทำกิจตามหน้าทีไ่ ด้ ประสบความสำเร็จตามทีป่ ระสงค์ 32


♦ ปัญญาพละ

(ปัญญาทีเ่ ป็นพลัง)

“ปัญญาพละ” คือปัญญาที่เป็นพลัง มีความหมายใน ทำนองเดียวกับ “ปัญญินทรีย”์ คือ ปัญญาทีเ่ ป็นใหญ่ ทีม่ งุ่ แสดง ถึงคุณภาพของปัญญาทีส่ ามารถนำไปใช้การได้ดี ไม่ได้แสดงการทำ หน้าทีใ่ ดหน้าทีห่ นึง่ โดยเฉพาะ “ปัญญาพละ” มีความแตกต่างจาก “ปัญญินทรีย”์ “ปัญญินทรีย์” มุ่งแสดงถึงคุณภาพหรือความเป็นใหญ่ ของปัญญาทีอ่ ยูใ่ นตัวของบุคคล ส่วน “ปัญญาพละ” มุ่งแสดงถึงพลังของปัญญาที่ออก ไปทำหน้าที่ จนทำให้ประสบความสำเร็จตามกิจทีก่ ระทำ ในทีน่ อ้ี าจเปรียบได้กบั เรือ่ ง “ตำแหน่ง” และ “อำนาจ” ซึง่ เป็น สิ่งที่คู่คี่กันและต้องไปด้วยกัน โดยตำแหน่งจะเพ่งเล็งไปที่ตัวบุคคล ผู้ครองตำแหน่งเป็นสำคัญ ส่วนอำนาจจะเพ่งเล็งไปที่พลังที่จะออก ไปจัดการกับสิ่งต่างๆ ให้เป็นไปตามที่ประสงค์ และโดยทั่วไป เมื่อมี ตำแหน่งใหญ่ขน้ึ เท่าใด อำนาจก็จะมีมากขึน้ เท่านัน้ ; บุคคลทีม่ ตี ำแหน่งใหญ่ แต่ไม่มอี ำนาจก็ทำอะไรไม่ได้มากนัก บุคคลทีม่ ตี ำแหน่งเล็ก จะให้มอี ำนาจมาก ก็เป็นไปไม่ได้ การจะทำกิจต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จด้วยดี จะต้องอาศัย ทัง้ ตำแหน่งและอำนาจเป็นเครือ่ งมือสำคัญ ในทีน่ เ้ี ปรียบ “ตำแหน่ง” ได้กบั “ปัญญินทรีย”์ ซึง่ เป็นเรือ่ ง ในฝ่ายของบุคคล และเปรียบ “อำนาจ” ได้กบั “ปัญญาพละ” ซึง่ เป็น เรือ่ งของพลังหรืออำนาจทีจ่ ะเข้าไปทำหน้าที่ ให้ประสบผลสำเร็จตาม กิจทีป่ ญ ั ญานัน้ ๆ มีอยู่ 33


ปัญญาบารมี (ปัญญาทีบ่ ำเพ็ญเพือ่ ความเป็นพระพุทธเจ้า)

“ปัญญาบารมี” คือ ปัญญาอันยิ่งยวด โดยทัว่ ไปมักจะใช้ เฉพาะกับการบำเพ็ญและสร้างสมจนเต็มเปีย่ มของพระโพธิสตั ว์ เพือ่ จุดหมายคือการบรรลุ “โพธิญาณ” หรือความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เท่านั้น แต่ในคัมภีร์อรรถกถามีคำวินิจฉัยว่าเป็นเรื่องที่ครอบคลุม แม้แต่กบั พระสาวกตลอดจนถึงพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วย เรือ่ งของปัญญาบารมีน้ี ได้แสดงไว้เป็นบารมีขอ้ หนึง่ ในหมวด ธรรม คือ “บารมี 10” หรือ “ทศบารมี” คือ ทานบารมี , ศีลบารมี , เนกขัมมบารมี , ปัญญาบารมี , วิรยิ ะบารมี , ขันติบารมี , สัจจบารมี , อธิษฐานบารมี , เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี นอกจากนัน้ ยังได้มกี ารแสดงระดับในการบำเพ็ญบารมีแต่ละ อย่าง ไว้เป็น 3 ระดับ คือ 1. “บารมี” หรือ “สามัญบารมี” บารมีในระดับต้น 2. “อุปบารมี” บารมีในระดับกลาง 3. “ปรมัตถบารมี” บารมีในระดับสูง โดยมีเกณฑ์ในการจำแนกบารมีแต่ละระดับไว้หลายแบบ แต่ใน ทีน่ จ้ี ะกล่าวเฉพาะในแบบทีไ่ ด้รบั การยอมรับอย่างกว้างขวาง กล่าวคือ ระดับบารมี เอาสิง่ ทีอ่ ยูภ่ ายนอกร่างกายเป็นเกณฑ์ ; ระดับอุปบารมี เอาร่างกายทีเ่ ป็นอวัยวะหรือเลือดเนือ้ เป็นเกณฑ์ ส่วนระดับ ปรมัตถบารมี เอาชีวติ หรือการสูญเสียชีวติ เป็นเกณฑ์ เมือ่ รวม บารมี 10 ซึง่ จำแนกเป็น 3 ระดับ จึงมีชอ่ื เรียกรวมว่า “บารมี 30 ทัศ” และยังมีการแสดงระดับของการบำเพ็ญบารมี ย่อยลงไปอีก เป็น 2 กรณี คือ ทีเ่ นือ่ งด้วยตนเอง และทีเ่ นือ่ งด้วยผูอ้ น่ื ดังนี้ 34


ทีเ่ นือ่ งด้วยตนเอง ได้แสดงไว้วา่ ♦ ในกรณีทพ ่ี ร้อมจะเสียสละทรัพย์หรือสิง่ ของภายนอกทัง้ หมด เพือ่ บำเพ็ญปัญญาบารมี จัดเป็น “บารมี” ♦ ในกรณีทพ ่ี ร้อมจะเสียสละอวัยวะตลอดจนเลือดเนือ้ เพือ่ บำเพ็ญปัญญาบารมี จัดเป็น “อุปบารมี” ♦ ในกรณีทพ ่ี ร้อมจะเสียสละชีวติ เพือ่ บำเพ็ญปัญญาบารมี จัดเป็น “ปรมัตถบารมี” ตัวอย่างกรณี “ปรมัตถบารมี” ทีเ่ ห็นได้ชดั ก็คอื พุทธประวัติ ในคืนวิสาขบูชาก่อนที่จะตรัสรู้ ที่เจ้าชายสิทธัตถะได้ตั้งจิตอธิษฐาน ไว้ว่า “.....ถึงแม้เลือดเนื้อจะเหือดแห้งไป จะเหลืออยู่เพียงหนังเอ็น และกระดูกก็ตาม ตราบใดทีย่ งั มิได้ตรัสรูอ้ นุตตรสัมโพธิญาณแล้วไซร้ ตราบนัน้ จะไม่ยอมลุกขึน้ จากอาสนโพธิบลั ลังก์น”้ี • “ปัญญาบารมี ทีเ่ นือ ่ งด้วยบุคคลอืน่ มีแสดงไว้วา่ ♦ การใช้ปญ ั ญา รักษาธนสารสมบัติ บุตร ภริยา ของผูอ้ น่ื จัดเป็น “บารมี” ♦ การใช้ปญ ั ญา รักษาอวัยวะและเลือดเนือ้ ของผูอ้ น่ื จัดเป็น “อุปบารมี” ♦ การใช้ปญ ั ญา รักษาชีวติ ของผูอ้ น่ื จัดเป็น “ปรมัตถบารมี” นอกจากนั้นในคัมภีร์อรรถกถา ยังได้แสดงรายละเอียดของ บารมี 3 ระดับนีย้ ง่ิ ขึน้ ไปอีกว่า ผูป้ รารถนาสาวกภูมิ ต้องบำเพ็ญบารมี 10 ทัศ ; ผู้ปรารถนาปัจเจกภูมิ ต้องบำเพ็ญบารมี 20 ทัศ คือ บารมี และอุปบารมี ส่วนผูป้ รารถนาพุทธภูมิ ต้องบำเพ็ญบารมี 30 ทัศ คือ บารมี อุปบารมี และปรมัตถบารมี • “ปัญญาบารมี

35


♦ ปัญญาขันธ์

(กองแห่งปัญญา)

“ปัญญาขันธ์” แปลว่า “กองแห่งปัญญา” เป็นคำที่กว้าง ทีส่ ดุ เป็นชือ่ ทีใ่ ช้เรียกรวมของปัญญาทุกประเภท จัดอยูใ่ นหมวดธรรม ที่เรียกว่า “ธรรมขันธ์ 5” ซึ่งเป็นการประมวลคำสอนทั้งหมดของ พระพุทธเจ้าไว้เป็น 5 หัวข้อใหญ่ คือ 1. สีลขันธ์ กองแห่งศีล 2. สมาธิขนั ธ์ กองแห่งสมาธิ 3. ปัญญาขันธ์ กองแห่งปัญญา 4. วิมตุ ติขนั ธ์ กองแห่งวิมตุ ติหรือความหลุดพ้น 5. วิมตุ ติญาณทัสสนขันธ์ กองแห่งวิมตุ ติญาณทัสสนะ หรือการรูก้ ารเห็นในวิมตุ ติ

• การประยุกต์ปญ ั ญาในการดำเนินชีวติ ในการดำเนินชีวติ จริง จำเป็นต้องใช้ปญ ั ญาต่างๆ ดังทีก่ ล่าว ไปแล้วทัง้ หมดร่วมกัน โดยเฉพาะปัญญาใน 5 ประการแรก คือ สัมมาทิฏฐิ , สัมมาสังกัปปะ , สัมปชัญญะ , ธรรมวิจยั และวิมงั สา ดังนัน้ เพือ่ ความสะดวกในการประยุกต์ใช้ปญ ั ญาต่างๆ ร่วมกัน อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีการแสดงธรรมไว้อีกหมวดหนึ่งเพื่อการนี้ คือ “สัปปุรสิ สธรรม 7”

36


♦ การประยุกต์ปญ ั ญาด้วยหลัก

“สัปปุรสิ ธรรม 7” และ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

“สัปปุริสธรรม7” มีความหมายว่า “ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมทีท่ ำให้เป็นสัตบุรษุ , คุณสมบัตขิ องคนดี ,ธรรมของคนดี” จำแนกได้เป็น 7 หัวข้อ คือ 1. ธัมมัญญุตา = ความรู้จักเหตุ คือ รู้ถึงหลักความจริง หรือเหตุปจั จัยทีเ่ ป็นกฎเกณฑ์หรือเงือ่ นไขของสิง่ ต่าง ๆ 2. อัตถัญญุตา = ความรูจ้ กั ผล คือ รูถ้ งึ ความมุง่ หมาย หรือ อรรถประโยชน์ หรือคุณค่าทีแ่ ท้จริงของสิง่ ต่าง ๆ 3. อัตตัญญุตา=ความรูจ้ กั ตน คือ รูถ้ งึ ฐานะหรือกำลังในด้าน ต่าง ๆ ของตนทีม่ อี ยู่ เช่น วัย เพศ นิสยั สถานภาพทางสังคม กำลังทรัพย์ ความรู้ ความสามารถ ความถนัด เป็นต้น 4. มัตตัญญุตา=ความรู้จักประมาณ คือรูถ้ งึ ความพอเหมาะ พอดีในการกระทำสิง่ ต่างๆ ไม่มากเกินไปหรือไม่นอ้ ยเกินไป 5. กาลัญญุตา = ความรูจ้ กั กาล คือ รูจ้ กั ใช้เวลาให้ถกู ต้อง ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทนั เวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น 6. ปริสญ ั ญุตา = ความรูจ้ กั ชุมชน คือ รูจ้ กั ในเรือ่ งความเชือ่ ขนบประเพณี วัฒนธรรมของชุมชนหรือรูเ้ ท่าทันความเป็นไป ของสังคม 7. ปุคคลัญญุตา = ความรูจ้ กั บุคคล คือ รูจ้ กั ความแตกต่าง ของบุคคลทีเ่ กีย่ วข้องด้วย เช่น โดยอัธยาศัย ความสามารถ ความถนัด เป็นต้น 37


กล่าวโดยสรุปสาระของ “สัปปุรสิ ธรรม 7” หมายความว่า การจะกระทำอะไรในกรณีหนึ่งๆ การกระทำนั้นๆ ให้มาจาก ผลลัพธ์ของการประมวลความรูท้ ง้ั 7 ประการดังทีก่ ล่าว นีค้ อื การใช้ปญ ั ญาในทางพระพุทธศาสนาทีจ่ ะให้ผลสำเร็จและได้รบั ประโยชน์ทเ่ี หมาะสมและตรงต่อสถานการณ์อย่างแท้จริง หากจะพิจารณาว่าปัญญาทั้ง 5 ประการ ได้ทำหน้าที่ ใน“สัปปุรสิ ธรรม 7“ อย่างไร ? ก็สามารถพิจารณาได้วา่ “สัมมาทิฏฐิ และ สัมมาสังกัปปะ” จะต้องนำไปใช้ในทุก ขัน้ ตอนของ “สัปปุรสิ ธรรม 7” กล่าวคือ จะต้องมีความรูเ้ ข้าใจต่อ สิ่งต่างๆ ให้ดีพอและมากพอเสียก่อนในตอนต้น (สัมมาทิฏฐิ) และ รูจ้ กั เข้าไปกระทำสิง่ ต่างๆ ด้วยจิตทีม่ ปี ญ ั ญากำกับให้ไม่เกิดความรูส้ กึ ที่รักหรือชังต่อสิ่งที่เข้าไปเกี่ยวข้องนั้น และด้วยจิตที่ตั้งไว้ว่าจะไม่ กระทำการใดๆ ที่ทำให้เกิดความเบียดเบียนและเดือดร้อนเกิดขึ้น (สัมมาสังกัปปะ) ในส่วนของ “ความรูจ้ กั เหตุ” และ “ความรูจ้ กั ผล” อันทีจ่ ริง ก็คอื “ธรรมวิจยั ” และ “วิมงั สา” นัน่ เอง โดยปัญญาทีเ่ ป็น “ธรรมวิจยั ” จะทำหน้าที่เลือกเฟ้น-สอดส่อง-สืบค้น ในกรณีที่บุคคลนั้น ยังไม่มี ความรูใ้ นเหตุและผลของเรือ่ งทีจ่ ะเข้าไปกระทำอย่างเพียงพอ ; ส่วน ปัญญาทีเ่ ป็น “วิมงั สา” จะทำหน้าทีค่ อยประกอบเหตุตา่ งๆ ให้ครบ ถ้วนยิง่ ขึน้ ๆ เพือ่ ทีจ่ ะนำไปสูผ่ ลทีต่ อ้ งการ สำหรับ “ความรูจ้ กั ตน” , “ความรูจ้ กั ประมาณ” , “ความรู้ จักกาล” , “ความรูจ้ กั บุคคล” , “ความรูจ้ กั ชุมชน” นัน้ เป็นการ ทำหน้าทีข่ องปัญญา คือ “สัมปชัญญะ” เป็นส่วนใหญ่ 38


การประยุกต์ปญ ั ญาด้วยหลักสัปปุรสิ สธรรม 7 นี้ เป็นทีน่ า่ ยินดี ยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อวิเคราะห์ให้ดีแล้วจะเห็นว่าเป็นเรื่องเดียวกันกับ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มี พระมหากรุณาธิคณ ุ พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย ผ่านสำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2542 ซึง่ มีหลักทีเ่ ป็นรากฐานสำคัญอยู่ 3 หัวข้อใหญ่ คือ 1.ความพอประมาณ 2.ความมีเหตุผล และ 3.การมีภูมิคุ้มกัน ในตัวที่ดี พอที่จะต้านทานและลดผลกระทบจากการเปลี่ยน แปลงต่างๆ จากกระแสโลกาภิวตั น์ โดยประยุกต์จาก 7 หัวข้อในสัปปุรสิ ธรรม ให้เหลือ 3 ข้อใน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในทำนองเดียวกันกับที่พระพุทธเจ้าได้ ประยุกต์ 8 ข้อในอริยมรรคมีองค์ 8 ให้เหลือ 3 ข้อในไตรสิกขา (=ศีล -สมาธิ-ปัญญา) ซึง่ เปรียบเทียบได้ ดังนี้ 1. ความพอประมาณ = ความรูจ้ กั ตน + ความรูจ้ กั ประมาณ 2. ความมีเหตุผล = ความรูจ้ กั เหตุ + ความรูจ้ กั ผล 3. การมีภมู คิ มุ้ กันในตัวทีด่ ฯี = ความรูจ้ กั กาล + ความรูจ้ กั ชุมชน + ความรูจ้ กั บุคคล โดยในหลักปฏิบตั ิได้ทรงแนะนำให้พจิ ารณาเรือ่ งความ พอประมาณก่อนเป็นอันดับแรก กล่าวคือ ให้เริม่ ต้นจาก “ความพอประมาณ” โดยการพิจารณา ต้นทุนหรือสิ่งต่างๆ ที่ตนเองมีอยู่จริง (= รูจ้ กั ตน +รูจ้ กั ประมาณ) จากนั้นจึงมาสู่ “ความมีเหตุผล” โดยการรู้จักเลือกเฟ้นวิธีการหรือ กระบวนการดำเนินการต่างๆ (=รูจ้ กั เหตุ) และกำหนดเป้าหมายให้ 39


เหมาะสมกับต้นทุนทีม่ อี ยู่ (=รูจ้ กั ผล) ก็จะทำให้สามารถดำเนินการ ในเรือ่ งนัน้ ๆ ได้ดว้ ยตนเอง คือ สามารถพึง่ ตนเองได้ ไม่ตอ้ งตกอยูใ่ น ลักษณะยืมจมูกคนอืน่ หายใจ และในทีส่ ดุ ก็ยงั ต้องมีการสร้างภูมคิ มุ้ กัน ในตัวเองเพื่อให้มีความมั่นคงและยั่งยืนในสิ่งที่ทำ โดยมีความระมัด ระวังและติดตามความเปลีย่ นแปลงของสิง่ ต่างๆอยูเ่ สมอ ซึง่ สาระสำคัญ ทีจ่ ะต้องเฝ้าติดตามก็คอื เรือ่ งของเวลาหรือยุคสมัย (=รูจ้ กั กาล) ตลอด จนเรื่องของบุคคล (=รู้จักบุคคล) และสังคม (=รู้จักชุมชน) ที่มี ความเปลีย่ นแปลงอยูต่ ลอดเวลา (โปรดอ่านรายละเอียดเรือ่ งนีเ้ พิม่ เติมได้ ในหนังสือ “ความพอเพียงคือทางรอดของมนุษย์และสังคม” จัดพิมพ์โดยธรรมสถานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมือ่ มิ.ย.2551) ♦การประยุกต์

“ปฏิสมั ภิทา 4” เพือ่ ความแตกฉานของปัญญา

“ปฏิสมั ภิทา 4” มีความหมายว่า “ปัญญาแตกฉาน” เป็น ชุดของการประยุกต์ปญ ั ญาอีกชุดหนึง่ ทีต่ รัสสอน มูลเหตุทต่ี รัสสอนเรือ่ งนี้ ก็เพราะในสังคมมนุษย์ มีการใช้การ พูด การเจรจา และภาษาเป็นเครือ่ งมือสำคัญในการสือ่ สาร ถ่ายทอด และดำเนินการในเรือ่ งต่างๆ อย่างกว้างขวาง จนอาจกล่าวได้วา่ ความ สำเร็จที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการต่างๆ ในสังคมมนุษย์ มีปัจจัย ส่วนหนึง่ มาจากความสามารถในการพูด-เจรจา เป็นสำคัญ ถึงกับมี ผูร้ บู้ างท่านได้กล่าวเป็นสุภาษิตไว้วา่ “ปากเป็นเอก เลขเป็นโท...” ด้วยเหตุน้ี จึงมีการแสดงการประยุกต์ปญ ั ญาอีกชุดหนึง่ คือ “ปฏิสมั ภิทา 4” เพือ่ ให้มปี ญ ั ญาแตกฉาน ในด้านการพูด-เจรจา -ใช้ภาษา ตลอดจนสามารถใช้เพื่อให้บังเกิดผลและสำเร็จ ประโยชน์ตามทีม่ งุ่ หมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 40


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม ของท่านเจ้าคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ได้อธิบายรายละเอียดของ “ปฏิสมั ภิทา 4” ไว้ดงั นี้ 1. อัตถปฏิสมั ภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในอรรถ ปรีชา แจ้งในความหมาย เห็นข้อธรรมหรือความย่อ ก็สามารถแยกแยะอธิบาย ขยายออกไปได้โดยพิสดาร เป็นต้น 2. ธัมมปฏิสมั ภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในธรรม ปรีชา แจ้งในหลัก เห็นอรรถาธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตัง้ เป็นกระทู้ หรือหัวข้อได้ เห็นผลอย่างหนึง่ ก็สามารถสืบสาวกลับไปหาเหตุได้ 3. นิรตุ ติปฏิสมั ภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในนิรกุ ติ ปรีชา แจ้งในภาษา รูศ้ พั ท์ ถ้อยคำบัญญัตแิ ละภาษาต่างๆ เข้าใจใช้คำพูด ชีแ้ จงให้ผอู้ น่ื เข้าใจและเห็นตามได้ 4. ปฏิภาณปฏิสมั ภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ ปรีชาแจ้งในความคิดทันการ มีไหวพริบ ซึมซาบในความรูท้ ม่ี อี ยู่ เอามา เชือ่ มโยงเข้าสร้างความคิดและเหตุผลใหม่ขน้ึ ใช้ประโยชน์ได้สบเหมาะ เข้ากับกรณีเข้ากับเหตุการณ์ กล่าวโดยสรุป ในการพูด-เจรจา (ปฏิสมั ภิทา 4 เน้นในเรือ่ ง การพูด-เจราจรเป็นสำคัญ แต่สามารถนำไปใช้ในกรณีอา่ นหรือเขียน ได้) ทีจ่ ะให้บงั เกิดผลดีและมีประสิทธิภาพนัน้ ประการแรกจะต้องจับ ประเด็นหรือสาระสำคัญของเรื่องให้ได้เสียก่อน (ธัมมปฏิสัมภิทา) เมื่อจะโต้ตอบหรือจะชี้แจง ก็สามารถออธิบายขยายความได้อย่าง ชัดเจนและละเอียดละออ จนเป็นทีเ่ ข้าใจ (อัตถปฏิสมั ภิทา) นอกจากนัน้

41


ยังสามารถใช้ถ้อยคำและภาษาที่เหมาะสมกับผู้ฟังที่จะรับรู้ได้ดี (นิรตุ ติปฏิสมั ภิทา) และยังมีไหวพริบปฏิภาณว่องไว สามารถตอบ และชีแ้ จงได้รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ (ปฏิภาณปฏิสัมภิทา) บุคคลผูถ้ งึ พร้อมซึง่ “ปฏิสมั ภิทา 4” ดังทีก่ ล่าวไปแล้วนี้ ย่อม สามารถใช้การพูด-เจรจา ให้บังเกิดผลตามที่มุ่งหมายได้อย่างดีและ มีประสิทธิภาพ

• กฎธรรมชาติท่ี “ปัญญา” พึงรู้ ในบทท้ายนี้ ขอเสนอกฎธรรมชาติ 3 เรือ่ ง ทีพ่ งึ รู้ ซึง่ เห็นว่า เป็นความรู้พื้นฐานสำคัญ ที่จะทำให้เกิดปัญญาอื่นๆ ต่อไปได้มาก และทำให้เกิดบูรณาการของปัญญาต่างๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ♦ ธรรมชาติของชีวต ิ

กฎธรรมชาติเรือ่ งแรกทีข่ อเสนอให้แสวงหาความรูก้ อ่ น คือการรูจ้ กั ธรรมชาติชวี ติ ของตนเอง เพือ่ จะได้รวู้ า่ : ชีวติ คืออะไร? ต้องการอะไร? และเพื่ออะไร? ซึ่งตรงกับคำของผู้รู้บางท่านที่ กล่าวไว้วา่ “การรูจ้ กั ตนเอง เป็นจุดเริม่ ต้นของปรีชาญาณ” เพราะหากยังไม่มีความรู้ที่ถูกต้องต่อเรื่องของตนเอง หรือธรรมชาติชีวิตของตนเองอย่างเพียงพอแล้ว จะไปรู้จัก ทำหน้าที่หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งอื่นๆ ที่อยู่รอบตัวออกไปให้ถูก ต้องได้อย่างไร ? (โปรดอ่านรายละเอียดเรือ่ งนีเ้ พิม่ เติมได้ ในหนังสือ “คูม่ อื บัณฑิตของแผ่นดิน” หน้า 6-8 จัดพิมพ์โดยธรรมสถานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมือ่ ก.พ.2552)

42


นิยาม 5 : กฎธรรมชาติ 5 ประการทีค่ วบคุมสรรพสิง่

กฎธรรมชาติประการถัดไป ขอเสนอให้พจิ ารณา “นิยาม 5” ในพระพุทธศาสนา ซึง่ ได้แสดงถึง “กฎธรรมชาติ 5 ประการ” ทีค่ วบ คุมความเป็นไปของสิง่ ต่าง ๆ ในธรรมชาติทง้ั หมด จำแนกได้ดงั นี้ 1. อุตุนิยาม (physical laws) กฎธรรมชาติเกี่ยวกับ อุณหภูมิ หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติตา่ งๆ ในสิง่ แวดล้อม โดยเฉพาะ ในเรือ่ งของธาตุพน้ื ฐาน คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ 2. พีชนิยาม (biological laws) กฎธรรมชาติเกี่ยวกับ การสืบพืชพันธุ์ 3. จิตตนิยาม (psychic law) กฎธรรมชาติเกี่ยวกับ การทำงานของจิต 4. กรรมนิยาม (the law of Kamma) กฎธรรมชาติ เกีย่ วกับการกระทำของมนุษย์ 5. ธรรมนิยาม ( the genaral law of cause and effect) กฎธรรมชาติเกีย่ วกับความสัมพันธ์ของสิง่ ทัง้ หลาย “นิยาม 5” นี้ แต่ละนิยามล้วนมีเนือ้ หาสาระทีก่ ว้างขวางและ ลึกซึง้ มาก สามารถศึกษาเรียนรูแ้ ละนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่มขี ดี จำกัด แต่ในที่นี้ขอเสนอให้แสวงหาความรู้ในนิยาม 5 ในลักษณะ ที่แต่ละนิยามเป็นเหตุปัจจัย และมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันขึ้นไป เป็นลำดับ โดยมองว่านิยามทัง้ 5 นี้ เป็นเสมือนตึก 5 ชัน้ ทีแ่ ต่ละชัน้ เป็นฐานรองรับให้สามารถต่อเติมชัน้ ถัดไปได้ เพือ่ ให้เห็นองค์รวมในการ บูรณาการของความรูต้ า่ งๆ (โปรดอ่านรายละเอียดเรือ่ งนีเ้ พิม่ เติมได้ ในหนังสือ “คูม่ อื บัณฑิตของแผ่นดิน” หน้า 9 - 29 จัดพิมพ์โดยธรรมสถานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมือ่ ก.พ. 2552)

43


♦ ปฏิจจสมุปบาท

: กฎธรรมชาติทท่ี ำให้เกิดทุกข์

“ปฏิจจสมุปบาท” เป็นกฎธรรมชาติสำคัญทีส่ ดุ ในปัญญา ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ที่แสดงให้เห็นถึงกลไกการเกิดขึ้นและ ดับลงของความทุกข์ ซึ่งเป็นปัญหารากฐานของมวลมนุษยชาติ และสิง่ มีชวี ติ ทัง้ หลายทีม่ คี วามรูส้ กึ นึกคิด มีเนือ้ หาสาระลุม่ ลึกถึงขนาด ที่ท่านพระอานนท์ยังได้รับคำเตือนเมื่อได้กล่าวต่อหน้าพระพักตร์ว่า หลักปฏิจจสมุปบาทนี้ ถึงจะเป็นธรรมลึกซึง้ และปรากฏเป็นของลึกซึง้ แต่กย็ งั ปรากฏแก่ทา่ น เหมือนเป็นธรรมง่ายๆ โดยพระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า “..อย่ากล่าวอย่างนัน้ อย่ากล่าวอย่างนัน้ อานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็นธรรมลึกซึง้ และปรากฏเป็นของลึกซึง้ เพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่แทงตลอดหลักธรรมข้อนีแ้ หละ หมูส่ ตั ว์นจ้ี งึ วุน่ วาย เหมือนเส้นด้ายทีข่ อดกันยุง่ จึงขมวดเหมือนกลุม่ ด้ายทีเ่ ป็นปม จึงเป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่าย และหญ้าปล้อง จึงผ่านพ้น อบาย ทุคติ วินบิ าต สังสารวัฏ ไปไม่ได้” “ปฏิจจสมุปบาท” จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญ มากทีพ ่ ทุ ธบริษทั พึงศึกษาและทำความรูค้ วามเข้าใจให้แจ่มแจ้ง ในฐานะเป็นแก่นธรรมทีพ ่ ระพุทธเจ้าตรัสรู้ และในฐานะทีเ่ ป็น หลักธรรมทีจ่ ะนำไปให้พน้ อบาย ทุคติ วินบิ าต สังสารวัฏตามทีต่ รัส นอกจากนัน้ ยังมีพทุ ธพจน์สำคัญทีต่ รัสว่า “ผูใ้ ดเห็นธรรม ผูน้ น้ั เห็นเรา” และ “ผูใ้ ดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผูน้ น้ั เห็นธรรม” ซึง่ เน้นย้ำ ให้เห็นถึงความสำคัญยิง่ อีกว่า การจะรูจ้ กั และเข้าถึงพระพุทธเจ้า ตลอดจนพระธรรมทีท่ รงแสดง ก็ดว้ ยการเห็นหรือรูเ้ ข้าใจในปฏิจจสมุปบาทนีเ้ อง ดังนัน้ หนังสือเล่มถัดไป จะเขียนเรือ่ ง “ปฏิจจสมุปบาท ฉบับวิเคราะห์-สังเคราะห์” เพือ่ เชิญชวนให้รจู้ กั และเข้าใจยิง่ ขึน้ ต่อไป. 44


! # $ %& ! &' ( )* + + , - # - $ - - . /! - - $ - & & &' %& - 0 1. $ 2 0 -/ 3 45 &' / ( ( 7 ) %- -, () ( + ! ,) ( * &

($ $%& ($ ( 5 - $ 75 $ &' + - - /( + - 75 2& 99 3 - - ,

, , , , , , , , , &' ( 45 +( +' 75 * * + (

& 99 & *

! " # !$ ! "


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.