จุฬาฯ จารึก : ภาพฉายจุฬาฯ พิมพ์ครั้งที่ ๑ จ�ำนวน จัดพิมพ์โดย พิมพ์ที่ ISBN
กันยายน ๒๕๖๑ ๑,๐๐๐ เล่ม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 978-616-407-375-3
ภาพจากปก : กล้องถ่ายรูป Leica M6 King Bhumibol Adulyadej of Thailand Golden Jubilee Edition (9th June 1969) หมายเลขประจ�ำตัวกล้อง ล�ำดับที่ HM 596 วัตถุพิพิธภัณฑ์ทรงคุณค่า หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ค�ำปรารภ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาปนามากว่า ๑๐๐ ปีแล้ว ประวัตศิ าสตร์แห่งมหาวิทยาลัยนีม้ เี รือ่ งราว มากมายที่ผ่านเข้ามา ทั้งการพัฒนา สร้างสรรค์ เหตุการณ์ส�ำคัญ วัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิต นิสติ จุฬาฯ อีกทัง้ พระมหากรุณาธิคณ ุ ในพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึง่ ชาวจุฬาฯ ทุกหมู่เหล่าจดจ�ำสั่งสมกันมาเนิ่นนาน จุฬาฯ จารึก : ภาพฉายจุฬาฯ เป็นสมุดภาพประวัติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเล่มที่ ๒ ที่จะถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านั้น เพื่อย้อนอดีตความทรงจ�ำที่ยังประทับใจของชาวจุฬาฯ รวมทั้ง ยังบอกเล่าเรือ่ งราวเหล่านัน้ แก่ผทู้ ไี่ ม่ทนั ยุคสมัยดังกล่าวให้ได้รจู้ กั เรือ่ งราวและประวัตศิ าสตร์อนั ยาวนาน ของมหาวิทยาลัย ทุกภาพล้วนเป็นภาพแห่งความภาคภูมิใจของชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นภาพ ที่แสดงถึงความรัก ความสามัคคี ความจงรักภักดี ต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ รวมทั้งยัง สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการและความเจริญก้าวหน้าของมหาวิทยาลัย ซึง่ เป็นผลอย่างส�ำคัญต่อความเจริญ ก้าวหน้าของประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยพระบารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั พระผูพ้ ระราชทานก�ำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกทั้งสมเด็จพระบรมราชูปถัมภกทุกพระองค์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะมีความมั่นคงในการด�ำเนิน พันธกิจและด�ำรงปณิธานในการท�ำนุบ�ำรุงรักษาชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองตลอดไป
ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ค�ำปรารภ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกว่า ๑๐๐ ปีที่ผ่านไปแล้วนั้น ประกอบด้วยสาระเรื่องราว และบุคคล ที่เกี่ยวข้องด้วยเป็นจ�ำนวนมาก ความเก่าแก่หมายถึงการมีประวัติอันยาวนาน ถือเป็นคุณค่าส�ำคัญ ของมหาวิทยาลัย หลายปีทผ่ี า่ นไป รูปภาพอันผูกเข้ากับเรือ่ งราวของมหาวิทยาลัยตัง้ แต่เริม่ ต้นได้ถกู ทยอยน�ำมาเผยแพร่ ในสื่อต่าง ๆ ตลอดเรื่อยมา และตั้งแต่ปีที่ ๑๐๐ เป็นต้นมา ส�ำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม ได้ริเริ่มน�ำ รูปภาพเก่าเก็บเหล่านีม้ าจัดหมวดหมู่ ใส่คำ� บรรยายก�ำกับลงในภาพ เพือ่ เป็นจารึกชวนให้ระลึกถึงภาพจ�ำ และคุณค่าแห่งมหาวิทยาลัยแก่นิสิตเก่าและประชาคม ส�ำหรับจุฬาฯ จารึก เล่มที่ ๒ นี้ ด�ำเนินไปในแนวเดียวกับเล่มแรก แบ่งเป็นหมวดหมูใ่ ห้สะดวกแก่การค้น และเปิดชมภาพความหลัง หวังอย่างยิ่งว่าหนังสือภาพเล่มนี้จะเป็นสื่ออันดีในมิติต่าง ๆ ให้แก่ชาวจุฬาฯ ได้อย่างกว้างขวาง
รองศาสตราจารย์ ดร.สันติ ฉันทวิลาสวงศ์ ที่ปรึกษาอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สารบัญ ปูชนียบุคคล
ผ่านพ้นจ�ำจารึก บันทึกจุฬาฯ สถาน
สืบสานประเพณี
วิถีนิสิตจุฬาฯ
6
ปูชนียบุคคล
7
8 สมเด็จพระบรมราชูปถัมภกแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย *
พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๕๓
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระปฐมบรมราชูปถัมภกแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้พระราชทานก�ำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
* ช่วงเวลาที่ก�ำกับเป็นช่วงปีพุทธศักราชที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ
9
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระบรมราชูปถัมภกแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพระองค์ที่ ๒ ผู้ทรงประดิษฐานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘
10
พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๗
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระบรมราชูปถัมภกแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพระองค์ที่ ๓ ผู้พระราชทานปริญญาเวชชบัณฑิตแก่บัณฑิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นการพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งแรกในกรุงสยาม
11
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สมเด็จพระบรมราชูปถัมภกแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพระองค์ที่ ๔ ผู้พระราชทานก�ำเนิดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์หรือคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน
พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๙
12
พ.ศ. ๒๔๘๙-๒๕๕๙
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระบรมราชูปถัมภกแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพระองค์ที่ ๕ ผู้พระราชทานเพลง “มหาจุฬาลงกรณ์” และ “โหมโรงมหาจุฬาลงกรณ์” เป็นเพลงประจ�ำมหาวิทยาลัย ทรงปลูกต้นจามจุรีห้าต้นให้หยั่งรากลึก ลงในใจชาวจุฬาฯ ตราบนิรันดร์
13
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระบรมราชูปถัมภกแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพระองค์ที่ ๖
พ.ศ. ๒๕๕๙-ปัจจุบัน
14 สมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์ **
พ.ศ. ๒๔๖๑-๒๔๖๕
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย
สมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์พระองค์แรก ทรงสอนวิชาภาษาอังกฤษ และภาษาไทยที่คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ** ช่วงเวลาที่ก�ำกับเป็นช่วงปีพุทธศักราชที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจและพระกรณียกิจ
15
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก สมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์พระองค์ที่ ๒ ทรงสอนวิชากายวิภาคศาสตร์ของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง และวิชาประวัติศาสตร์ที่คณะแพทยศาสตร์ ทรงเป็นอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖-๒๔๖๗
พ.ศ. ๒๔๖๖-๒๔๖๗
16
พ.ศ. ๒๔๙๕-๒๕๐๑
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์พระองค์ที่ ๓ ทรงสอนวิชาภาษาฝรั่งเศสที่คณะอักษรศาสตร์ ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์วงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
17
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์พระองค์ที่ ๔ ทรงสอนวิชาอารยธรรมไทยแก่นิสิตโครงการการศึกษาทั่วไป
พ.ศ. ๒๕๒๒
18 พระบรมวงศานุวงศ์ ***
พ.ศ. ๒๔๐๕-๒๔๘๖
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ
นายกสภากรรมการจัดการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
*** การจัดเรียงล�ำดับพระฉายาลักษณ์พระบรมวงศานุวงศ์จัดล�ำดับตามพระอิสริยศักดิ์และพระชนมายุ
19
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร อธิบดีกรมมหาวิทยาลัย ทรงจัดตั้งกองนักเรียนแพทย์เสือป่า และทรงด�ำรงต�ำแหน่งผู้บังคับการกรมนักเรียนแพทย์เสือป่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐
พ.ศ. ๒๔๒๘-๒๔๙๔
20
พ.ศ. ๒๔๒๖-๒๔๖๓
จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
กรรมการสภาจัดการโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
21
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชทานพระกรุณาธิคุณต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างมากมาย อีกทั้งได้ ทรงพระกรุณาพระราชทานทุนประเดิมจัดสร้างศูนย์ “เพชรรัตน” นิติทรัพยากร คณะนิติศาสตร์ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓
พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๕๕๔
22
พ.ศ. ๒๕๓๗-ปัจจุบัน
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์
ทรงส�ำเร็จการศึกษาศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ ๑ (เหรียญทอง) ภาควิชานฤมิตศิลป์ และทรงเป็นพระอาจารย์พิเศษ ที่คณะศิลปกรรรมศาสตร์
23
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เสนาบดีกระทรวงธรรมการ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐-๒๔๗๕ ประธานองคมนตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒, ๒๔๙๕ - สิ้นพระชนม์ ผู้ส�ำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔
พ.ศ. ๒๔๒๘-๒๕๑๗
24
พ.ศ. ๒๔๓๔-๒๕๑๙
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ กรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ประจ�ำคณะอักษรศาสตร์ และนายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพระองค์แรก
25
พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ประทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้สร้างสโมสรสถาน ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและทรงสนับสนุน การจัดการของสโมสรนิสิตฯ
พ.ศ. ๒๔๕๑-๒๕๐๖
26
พ.ศ. ๒๔๒๙-๒๕๐๖
มหาอ�ำมาตย์ตรี หม่อมเจ้าพูนศรีเกษม เกษมศรี
คณบดีคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์องค์แรก และคณบดีคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลแห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗-๒๔๗๐
27
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล
ทรงด�ำรงต�ำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยและรักษาการคณบดี คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๗๘ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๗-๒๔๙๒ ทรงเป็น ศาสตราจารย์ในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ ถือเป็นศาสตราจารย์องค์แรกของประเทศไทย
พ.ศ. ๒๔๓๕-๒๔๙๒
28
พ.ศ. ๒๔๑๐-๒๔๕๙
เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล)
เสนาบดีกระทรวงธรรมการและกรรมการสภาจัดการโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
29
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงธรรมการและกรรมการสภาจัดการโรงเรียน ข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พ.ศ. ๒๔๑๙-๒๔๘๖
30 ปูชนียาจารย์
พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๙๖
ศาสตราจารย์ ดร.แอลเลอร์ กัสติน เอลลิส (Aller Gustin Ellis) หรือ เอ. จี. เอลลิส
ด�ำรงต�ำแหน่งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๔๗๙ เป็นศาสตราจารย์อุปการคุณแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑ และเป็นแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์คนแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓
31
ศาสตราจารย์ ดร.ชาร์ลส์ เอม.สัน เกเวอร์ตซ์ (Charles M.Son Gewertz)
ผู้ให้ก�ำเนิดภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และเป็นหัวหน้าภาควิชาไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖-๒๔๙๑
พ.ศ. ๒๔๓๗-๒๕๒๖
32
พ.ศ.๒๔๐๙-๒๔๘๕
พระอาจวิทยาคม หรือ นายแพทย์ยอร์ช แบรดลีย์ แมคฟาร์แลนด์ (George Bradley McFarland) อาจารย์ใหญ่แห่งราชแพทยาลัย
33
ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา (Nobuko Takagi) อาจารย์วิชาภาษาอังกฤษและวรรณคดีอังกฤษ และหัวหน้าแผนกวิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๕๑๕
พ.ศ. ๒๔๕๕-๒๕๓๓
34
พ.ศ.๒๔๓๓-๒๕๑๗
พระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน)
อาจารย์ประจ�ำคณะรัฐประศาสนศาสตร์ และคณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ บรรณารักษ์หอสมุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นบรรยเวกษก์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓-๒๔๖๙
35
ศาสตราจารย์พระเจริญวิศวกรรม (เจริญ เชนะกุล)
คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒-๒๕๐๔ ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้วางรากฐานให้วงการวิศวกรรมของไทย
พ.ศ. ๒๔๓๘-๒๕๓๐
36
พ.ศ. ๒๔๔๔-๒๔๙๗
อาจารย์นารถ โพธิประสาท
อาจารย์แผนกวิชาอิสระสถาปัตยกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๗๙ อาจารย์เอกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๔๙๗ ราชบัณฑิตผู้ก่อก�ำเนิดการศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์สากลแห่งชาติ
37
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.แถบ นีละนิธิ
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ พ.ศ.๒๔๙๓-๒๕๐๐ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๐๖-๒๕๑๐ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒-๒๕๑๔ นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๒๑ และประธานกรรมการบริหารมูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.แถบ นีละนิธิ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐-๒๕๒๓
พ.ศ. ๒๔๕๐-๒๕๒๓
38
พ.ศ. ๒๔๕๗-๒๕๓๗
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.อรุณ สรเทศน์
คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๑๕ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔-๒๕๑๘ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๑๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๑๘
39
ศาสตราจารย์ ดร.บุญรอด บิณฑสันต์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒-๒๕๑๔ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๑๖ ประธานมูลนิธินิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๕๕ นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๓๘ และปูชนียาจารย์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑
พ.ศ. ๒๔๕๘-๒๕๕๕
40
พ.ศ. ๒๔๗๐-ปัจจุบัน
ศาสตราจารย์กิตติคุณเติมศักดิ์ กฤษณามระ
คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔-๒๕๑๘ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๒๐ ผู้อ�ำนวยการสถาบันภาษา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๒๕ ผู้อ�ำนวยการสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๓๐ ผู้อ�ำนวยการสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๕๓
41
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.เกษม สุวรรณกุล
คณบดีคณะรัฐศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๑๗ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๓๒ รองนายกรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕ และนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๔๔
พ.ศ. ๒๔๗๓-ปัจจุบัน
42
พ.ศ. ๒๔๗๕-ปัจจุบัน
ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา
คณบดีคณะแพทยศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๓๒ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒-๒๕๓๙ และนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๕๕
43
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.เทียนฉาย กีระนันทน์
คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓-๒๕๓๙ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙-๒๕๔๓ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๗-ปัจจุบัน
พ.ศ. ๒๔๘๘-ปัจจุบัน
44
พ.ศ. ๒๔๘๕-ปัจจุบัน
รองศาสตราจารย์ ดร.ธัชชัย สุมิตร
คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๔–๒๕๓๘ และ ๒๕๔๒–๒๕๔๓ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓–๒๕๔๗
45
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เมื่อ เมื่อ เมื่อ เมื่อ
พ.ศ. พ.ศ. พ.ศ. พ.ศ.
๒๕๓๔-๒๕๔๒ ๒๕๔๒-๒๕๔๗ ๒๕๔๗-๒๕๕๑ ๒๕๕๕-๒๕๖๑
พ.ศ. ๒๔๙๐ - ปัจจุบัน
46
พ.ศ. ๒๔๙๒-ปัจจุบัน
ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๕๐ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๙ และนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนปัจจุบัน
47
ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์
คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๖–๒๕๕๙ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๙–ปัจจุบัน
พ.ศ. ๒๕๐๘-ปัจจุบัน
48
ผ่านพ้นจ�ำจารึก
49
50
๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๘
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวางศิลาพระฤกษ์ตึกบัญชาการ โรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ปัจจุบันคืออาคารมหาจุฬาลงกรณ์)
51
52
๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๓
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชด�ำเนินมาพระราชทานปริญญาเวชชบัณฑิต ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรกในประเทศสยาม
53
๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๙
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรเสด็จพระราชด�ำเนินมาพระราชทาน ปริญญาบัตรแก่บณ ั ฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก
๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชด�ำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรกในรัชสมัย
54
55
๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ครัง้ ยังด�ำรงสมณศักดิเ์ ป็นพระราชชัยกวี แสดงธรรมเรือ่ ง “ส่วนส�ำคัญของพระพุทธศาสนา ทีท่ กุ คนควรรูจ้ กั ” ตามค�ำอาราธนาของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระอุปถัมภกของชมรมกลุม่ ศึกษาพุทธศาสตร์ และประเพณี ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
56
๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๕
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรทรงปลูกต้นจามจุรีห้าต้น บริเวณหน้าหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
57
๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรเสด็จพระราชด�ำเนินเป็นการ ส่วนพระองค์เพื่อทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการเรื่อง “ปัญหาการใช้ค�ำไทย” ที่ชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
58
๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๗
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงเป็นประธานในงานวันชมพูบอลซึ่งสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดขึ้น ณ สวนอัมพร
59
๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๗
สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮโิ ตะแห่งประเทศญีป่ นุ่ เมือ่ ครัง้ ด�ำรงพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระจักรพรรดินมี ชิ โิ กะ แห่งประเทศญีป่ นุ่ เมือ่ ครัง้ ด�ำรงพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมารี เสด็จพระราชด�ำเนินเยือนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นครัง้ แรก
60
๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๗
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงดนตรี ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
61
62
๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๐
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงรับการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระเกี้ยวทองค�ำ เนื่องในวาระครบรอบ ๕๐ ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
63
๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๑
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี แห่งอิหร่าน เมือ่ ครัง้ เสด็จพระราชด�ำเนินเยือนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพร้อมด้วย จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี
64
65
๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๒
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงม้าออกก�ำลังพระวรกาย ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
66
67
๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๕
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๒ แห่งสหราชอาณาจักร และเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ พระราชสวามี เสด็จพระราชด�ำเนินมาเยือนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก
68
๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๖
สมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพพรรณี พระบรมราชินใี นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์ ตึกอักษรศาสตร์ ๔ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของอาคารมหาจักรีสิรินธร)
69
70
๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๙
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมอบปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่ ฯพณฯ ราจีฟ คานธี ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินเดีย ณ ห้องรับรอง หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
71
72
73
๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๐
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรเสด็จพระราชด�ำเนิน มาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
74
75
๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถวายปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) เจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษดิ์ ครั้งยังมีสมณศักดิ์เป็นพระเทพวิสุทธิเมธี
76
77
๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีเสด็จมาบรรยายพิเศษเรื่องภัยพิบัติ ณ ห้องประชุมสารนิเทศ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
78
79
๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชด�ำเนิน แทนพระองค์มาพระราชทานปริญญาบัตรแก่จุฬาบัณฑิต ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
80
๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๙
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงรับการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระพุทธปฏิมา แก้วผลึก เนื่องในโอกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ณ ลานหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและ สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
81
82
๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๙
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๒ แห่งสหราชอาณาจักร เสด็จพระราชด�ำเนินเยือนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นครัง้ ที่ ๒ ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ
83
84
๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมอบปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่ ฯพณฯ เนลสัน โรลีห์ลาห์ลา แมนเดลา ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
85
86
๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
สมเด็จพระเจ้าภคินเี ธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิรโิ สภาพัณณวดี เสด็จมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพือ่ ทอดพระเนตรความเป็นไป ของมหาวิทยาลัยในรอบปีที่ ๘๐ โดยเสด็จยังลานหน้าเรือนภะรตราชา เพือ่ ทอดพระเนตรการแสดงต่าง ๆ และทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ผู้แทนกลุ่มบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายธูปเทียนในพิธ ี ถวายชัยมงคลเนื่องในศุภมงคลสมัย ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖ รอบ
87
๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙
สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ และสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะแห่งประเทศญี่ปุ่น เสด็จพระราชด�ำเนินเยือนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นครั้งที่ ๒
88
89
๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๘
สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ครัง้ ยังด�ำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงจักรยานพร้อมด้วย พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิรวิ ณ ั ณวรีนารีรตั น์ ถึงจุดพักจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามก�ำหนดการกิจกรรมจักรยานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ปั่นเพื่อพ่อ (Bike for Dad)”
90
91
๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงเป็นประธาน ในพิธเี ปิดอุทยาน ๑๐๐ ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
92
บันทึกจุฬาฯ สถาน
93
94
กลุ่มอาคารอนุรักษ์
กลุ่มอาคารเทวาลัย ประกอบด้วยอาคารทรงไทยสองอาคาร คือ
อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ และอาคารมหาวชิราวุธ ถือเป็นกลุม่ อาคารส�ำคัญ เนือ่ งจากอาคารมหาจุฬาลงกรณ์เป็นอาคารบัญชาการหลังแรกทีพ่ ระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงวางศิลา พระฤกษ์ เมือ่ วันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๘ ก่อสร้างแล้วเสร็จ พ.ศ. ๒๔๖๔ ส่วนอาคารมหาวชิราวุธก่อสร้างเมือ่ พ.ศ. ๒๔๙๖ แล้วเสร็จเมือ่ พ.ศ. ๒๔๙๙ ทัง้ สองอาคารถือเป็นอาคารอนุรกั ษ์และเป็นสัญลักษณ์สำ� คัญของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
95
96
อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ (ตึกบัญชาการหรือตึกอักษรศาสตร์ ๑) เป็นอาคารบัญชาการและอาคารเรียน หลังแรกของคณะอักษรศาสตร์
97
อาคารมหาวชิราวุธ (อาคารอักษรศาสตร์ ๒) สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นอาคารเรียนคณะอักษรศาสตร์รูปแบบเหมือนอาคาร มหาจุฬาลงกรณ์ทุกประการ แต่ต่างกันที่หน้าจั่วเป็นกระจกเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานห้องโถงใต้หลังคา
98
อาคารมหาจุฬาลงกรณ์และอาคารมหาวชิราวุธเมื่อมองจากถนนอังรีดูนังต์
99
สถาปัตยกรรมอันงดงามของอาคารมหาจุฬาลงกรณ์มีต้นแบบจาก ศิลปะศรีสัชนาลัย
100 กลุ่มอาคารอนุรักษ์
เรือนพักของผูบ ้ ญ ั ชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทางมหาวิทยาลัยได้ซ่อมแซมอาคารหลังเดิมซึ่งเคยเป็นเรือนพัก ของผู้บั ญชาการจุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิ ทยาลั ย และได้ ตั้ง ชื่ อเป็ น เกี ยรติ แ ก่ พ ระยาภะรตราชา (หม่ อมหลวงทศทิ ศ อิ ศรเสนา) ผู้บัญชาการจุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิ ทยาลั ย คนที่ ๒ ซึ่ ง ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง ระหว่ า ง พ.ศ. ๒๔๗๒-๒๔๗๕
101
102 กลุ่มอาคารอนุรักษ์
อาคารชีววิทยา ๑ และเคมี ๒ (ตึกขาว) สร้างขึ้นตามพระด�ำริสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และเป็นไปตามสัญญาระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมูลนิธิรอ็ กกีเฟลเลอร์ แล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๗๐ ถือเป็นอาคารหลังแรก ของคณะวิทยาศาสตร์และเป็นอาคารปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย
103
ศาลาวิทยาศาสตร์หรือตึกขาว เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๒ ตึกขาวเป็นอาคารเรียนที่ใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์ พืน้ ฐานส�ำหรับนิสติ คณะแพทยศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ซึง่ ทางมหาวิทยาลัยได้จดั การเรียนการสอนวิชาทาง วิทยาศาสตร์ได้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์ในเวลาต่อมา
104 กลุ่มอาคารอนุรักษ์
ตึกจักรพงษ์ ได้รบั พระกรุณาธิคณ ุ จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ประทานเงินทุนในการก่อสร้างเพือ่ ใช้เป็น สโมสรสถานแก่นิสิตจุฬาฯ และเพื่อเป็นอนุสรณ์ร�ำลึกถึงพระบิดาของพระองค์คือ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวง พิษณุโลกประชานาถ สร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้ใช้เป็นสโมสรสถานเรื่อยมาจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๒๙ มหาวิทยาลัย ได้มอบให้เป็นที่ท�ำการของหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีการซ่อมแซมและเปิดใช้เป็นที่ท�ำการตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๑ จนถึงปัจจุบัน
105
ปัจจุบัน หอประวัติจุฬาฯ จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนที่ชั้น ๑ และจัดแสดงนิทรรศการถาวรและสิ่งของทรงคุณค่า ของมหาวิทยาลัยที่ชั้น ๒
106
107 กลุ่มอาคารอนุรักษ์
อาคารวิศวกรรมศาสตร์ ๑ หรือปราสาทแดงเป็นอาคารเรียนหลังแรกของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีลักษณะเป็นอาคาร ก่ออิฐสีน�้ำตาลแดง ก่อสร้างแล้วเสร็จ พ.ศ. ๒๔๗๘ ต่อมาได้สร้างอาคารวิศวกรรมศาสตร์ ๒ เป็นอาคารคู่แฝดของคณะ วิศวกรรมศาสตร์ ก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ ใช้เป็นอาคารเรียนของคณะมาจนถึงปัจจุบัน
108 กลุ่มอาคารอนุรักษ์
อาคารเคมี ๑ สร้างขึ้นเป็นอาคารปฏิบัติการวิชาเคมีของคณะวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้ใช้เป็นอาคารศิลปวัฒนธรรม หรือสถานที่ท�ำการของส�ำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม ทั้งยังเป็นสถานที่จัดแสดงดนตรีและนิทรรศการทางศิลปะด้วย
109
110
กลุ่มอาคารอนุรักษ์
หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระสาโรชรัตนนิมมานก์
(สาโรช สุขยางค์) เป็นผูอ้ อกแบบ ก่อสร้างแล้วเสร็จเมือ่ พ.ศ. ๒๔๘๒ และซ่อมบ�ำรุงครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ หอประชุมจุฬาฯ จัดเป็น อาคารส�ำคัญและอาคารอนุรักษ์หลังหนึ่งของจุฬาฯ ใช้เป็นสถาน ที่จัดงานส�ำคัญของมหาวิทยาลัยและพบปะสังสรรค์ชุมนุมของ เหล่านิสิต
111
112
หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในยุคแรกช่วงประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๐๕ ที่ยังมีบันไดภายนอกอยู่
113
หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในยุคต่อมาช่วงประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๖ ถูกต่อเติม ปรับปรุงใหม่โดยรื้อบันไดภายนอกออก แล้วสร้างเป็นระเบียงแทน
114
ภูมิทัศน์มุมสูงบริเวณหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อครั้งยังไม่ได้ก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จ- พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ที่ต่อมาได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
115
116 กลุ่มอาคารอนุรักษ์
อาคารสถาปัตยกรรม ๑ สร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๘๓ โดยมีนายลูเซียง คอปเป้ และนายศิววงศ์ กุญชร ณ อยุธยา
เป็นผูอ้ อกแบบ ในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา ทหารญีป่ นุ่ ใช้เป็นทีพ่ กั ของกองก�ำลังทหาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้รับตึกคืนหลังจากที่กองก�ำลังสัมพันธมิตรถอนออกจากประเทศไทย
117
118 กลุ่มอาคารอนุรักษ์
อาคารจามจุรี ๑ และ ๒ หรืออาคารส�ำนักงานมหาวิทยาลัย เป็นอาคารที่สร้างเชื่อมต่อกัน โดยอาคารจามจุรี ๒ สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ ก่อนอาคารจามจุรี ๑ ที่สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐
119
120
อาคารจามจุรี ๑ (ขวา) และอาคารจามจุรี ๒ (ซ้าย) สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการบริหารงานของ มหาวิทยาลัยเป็นหลัก แต่ทั้งนี้ อาคารจามจุรี ๑ ก็เคยเป็นสถานที่เรียนของภาควิชาหนังสือพิมพ์ แผนกอิสระสื่อสารมวลชน และคณะรัฐศาสตร์ จากนั้นจึงใช้เป็นส�ำนักงานเลขาธิการ และปัจจุบันเป็นสถานที่ตั้งของส�ำนักงานมหาวิทยาลัย
121
122
123
กลุ่มอาคารอนุรักษ์
อาคารศิลปกรรม ๑ สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ และใช้เป็นอาคารเรียนของคณะเภสัชศาสตร์
เรื่อยมาจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๒๗ คณะศิลปกรรมศาสตร์จึงได้ใช้อาคารหลังนี้จนถึงปัจจุบัน
124 กลุ่มอาคารอนุรักษ์
อาคารส�ำราญราษฎร์บริรักษ์หรืออาคารรัฐศาสตร์ ๑ เป็นอาคารหน้าจั่วทรงไทยออกแบบโดยอาจารย์ร�ำไพ ยาตรมงคราญ สร้างเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๙๔ อาคารหลังนี้ใช้เป็นอาคารเรียนคณะรัฐศาสตร์หลังแรกและยังคงใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
125
126 กลุ่มอาคารอนุรักษ์
กลุ่มอาคารไชยยศสมบัติ ประกอบด้วย อาคารไชยยศสมบัติ ๑, ๒ และ ๓ อาคาร ๑ แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔
ส่วนอาคาร ๒ กับ ๓ แล้วเสร็จ เมือ่ พ.ศ. ๒๕๑๐ อาคารกลุม่ นี้ ตัง้ ชือ่ เป็นอนุสรณ์แก่พระยาไชยยศสมบัติ (เสริม กฤษณามระ) คณบดีคนแรกของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
127
128 กลุ่มอาคารอนุรักษ์
เรือนไม้ริมทะเล เคยใช้เป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ใน พ.ศ. ๒๔๓๑ ก่อนการสร้างอาไศรยสถานและพระจุฑาธุชราชฐานในกาลต่อมา
129
พระจุฑาธุชราชฐาน เกาะสีชงั สถาปนาขึน้ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เป็นโบราณสถานทีม่ คี วามส�ำคัญยิง่ ด้วยเคยเป็นที่ประทับแปรพระราชฐานของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงหลายพระองค์ รวมทั้งเป็นสถานที ่ ประสูติของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ซึ่งพระราชทานเป็นชื่อพระราชฐานแห่งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รบั เกียรติให้ทำ� นุบำ� รุงและดูแลรักษาตัง้ แต่ พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นต้นมา และได้ปรับปรุงเป็นพิพธิ ภัณฑ์ เชิงประวัติศาสตร์และท่องเที่ยว โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงเปิด พิพิธภัณฑ์เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗
เรือนวัฒนา สร้างเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๓๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อเรือนตามพระนามของ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ซึ่งทรงบริจาคพระราชทรัพย์ในการก่อสร้าง
130
เรือนผ่องศรี สร้างเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๓๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั พระราชทานชือ่ เรือนตามพระนามของ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งทรงบริจาคพระราชทรัพย์ในการก่อสร้าง
131
เรือนอภิรมย์ สร้างแล้วเสร็จเมือ่ พ.ศ. ๒๔๓๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั พระราชทานชือ่ เรือนตามพระนามของ พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
132
133 กลุ่มอาคารอนุรักษ์
เรือนไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างขึน้ ในมงคลวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ของพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลเดช บรมนาถบพิตร และพระราชพิธรี ชั มังคลาภิเษก รวมทัง้ ในโอกาส ครบรอบ ๗๐ ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย โดยผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ลดา รัตกสิกร มอบทุนทรัพย์ประเดิม ร่วมกับงบประมาณของมหาวิทยาลัย ออกแบบโดยรองศาสตราจารย์ภิญโญ สุวรรณคีรี และอาจารย์เผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชด�ำเนินมาเป็นองค์ ประธานในพิธีขึ้นเรือนไทยเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๑
134 กลุ่มอาคารอนุรักษ์
พระต�ำหนักดาราภิรมย์ เป็นพระต�ำหนักของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั พระองค์ทรงใช้เป็นทีป่ ระทับในช่วงบัน้ ปลายประชนม์ชพี ปัจจุบนั อยูใ่ นความดูแลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึง่ ได้ดำ� เนินการ อนุรักษ์และจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์พระต�ำหนักดาราภิรมย์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒
135
136 สถานที่ในความทรงจ�ำ
หอพักเจ้าจอม เป็นหอพักนิสติ หญิงแห่งแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รบั เงินบริจาคจากเจ้าจอมสมบูรณ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั แต่เดิมนัน้ หอพักนีต้ งั้ อยูบ่ ริเวณสีแ่ ยกปทุมวันมาตัง้ แต่ พ.ศ. ๒๔๙๖ ก่อนที่จะถูกรื้อถอนเพื่อสร้างศูนย์การค้ามาบุญครองในเวลาต่อมา
137
138 สถานที่ในความทรงจ�ำ
พื้นที่ก่อสร้างศูนย์การค้ามาบุญครอง ก่อน พ.ศ. ๒๕๒๖
139
บริเวณสีแ่ ยกปทุมวัน (ถนนพระราม ๑ ตัดถนนพญาไท) เมือ่ ประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๗ มุมล่างซ้ายคือศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์ ด้านขวาคือศูนย์การค้ามาบุญครองขณะก�ำลังก่อสร้าง และอาคารนิมิบุตร
140 สถานที่ในความทรงจ�ำ
141
บรรยากาศตลาดสดสามย่านในอดีตตั้งอยู่บริเวณหัวมุมสี่แยกถนนพญาไทตัดกับถนนพระราม ๔ ก่อนย้ายไปยังที่ตั้งตลาดสามย่านในปัจจุบัน
142
สืบสานประเพณี
143
144
กิจกรรมรับน้องใหม่ กิจกรรม “รับน้องใหม่จฬุ าฯ” ถือเป็นจุดเริม่ ต้นในการท�ำความรูจ้ กั การปรับตัวเข้าสูส่ งั คมใหม่ ในรั้วมหาวิทยาลัย เป็นการต้อนรับสมาชิกใหม่ สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง และเป็นการเริม่ ต้นบ่มเพาะค่านิยมการอยูร่ ว่ มกันของนิสติ จุฬาฯ ดังค�ำขวัญของสถาบัน คือ ระเบียบ (Order) อาวุโส (Seniority) ประเพณี (Tradition) สามัคคี (Unity) น�ำ้ ใจ (Spirit) ทัง้ นี้ “การต้อนรับ น้องใหม่ของจุฬาฯ” มีมาตั้งแต่ยุคแรก ๆ ที่เริ่มมีการเรียนการสอนคณะวิชาต่าง ๆ โดยนิสิตรุ่นพี่จะ มาดูแลต้อนรับและท�ำความรูจ้ กั รุน่ น้องคณะของตนทีเ่ พิง่ ก้าวเข้ามาเป็นนิสติ ใหม่ในรัว้ จามจุรี ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๔๘๓-๒๔๘๔ ซึง่ มีนกั เรียนเตรียมอุดมศึกษาเข้ามาเรียนในจุฬาฯ เป็นรุน่ แรก จึงมีการพัฒนา รูปแบบกิจกรรมทีช่ ดั เจนขึน้ โดยจัดการต้อนรับน้องใหม่ทหี่ น้าอาคารเรียนคณะวิทยาศาสตร์ (ตึกเคมี ๑ และตึกเคมี ๓) บรรยากาศในวันนัน้ มีความอบอุน่ นุม่ นวลประทับใจ ด้วยการใช้ชอ่ ใบจามจุรผี กู เป็น มาลัยคล้องคอน้องใหม่ มีการลอดซุม้ จามจุรแี ละร้องเพลงเชียร์ ซึง่ ถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึง่ ในการ รับน้องใหม่จฬุ าฯ จนกลายเป็นประเพณีปฏิบตั มิ าถึงปัจจุบนั กิจกรรมรับน้องใหม่มที งั้ การรับน้องหอพัก การรับน้องใหม่ของคณะต่าง ๆ และการรับน้องใหม่รว่ มกันของนิสติ ทัง้ มหาวิทยาลัย ซึง่ มีการพัฒนา ปรับเปลีย่ นไปตามยุคสมัย มีกจิ กรรมต่อเนือ่ งตัง้ แต่การประกาศผลสอบเข้ามหาวิทยาลัย งานแรกพบ งานน้องใหม่สัมพันธ์ และงานรับน้องจุฬาฯ
145
146
147
148
พิธีถวายราชสักการะและถวายสัตย์ปฏิญาณตนเข้าเป็นนิสิตจุฬาฯ ตามธรรมเนียมปฏิบัติของโรงเรียนมหาดเล็กและโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ซึง่ เป็นต้นก�ำเนิดแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมีการน�ำนักเรียน มหาดเล็กเข้าเฝ้าฯ ถวายตัวเข้าเป็นมหาดเล็กเพือ่ ปฏิบตั ริ าชการสนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงสืบสานประเพณีอันส�ำคัญนี้ไว้ โดยเริ่มต้นรื้อฟื้นธรรมเนียม ปฏิบัติขึ้นอีกครั้ง ในปีการศึกษา ๒๕๔๐ พิธีการนี้ เป็นพิธีการส�ำคัญที่นิสิตใหม่จะได้ร่วมถวาย ราชสักการะเบื้องหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า พระผูพ้ ระราชทานก�ำเนิดและสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวค�ำสัตย์ปฏิญาณตน แสดงความ ตั้งใจที่จะศึกษาเล่าเรียนในระดับอุดมศึกษา ณ สถาบันอันทรงเกียรติแห่งนี้ เพื่อน�ำความรู้ไป พัฒนาตน พัฒนาชาติบ้านเมือง ให้สมดังพระราชประสงค์และปณิธานแห่งมหาวิทยาลัย ทั้งยังเป็น ส่วนหนึ่งในการสืบทอดธรรมเนียมปฏิบัติที่ดีงามของสถาบันที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานแห่งนี ้ เพือ่ บ่งบอกถึงความภาคภูมใิ จในเกียรติภมู ขิ องจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเป็นการตัง้ ปณิธานร่วมกัน ด้ว ยการให้ค�ำสัตย์ปฏิ ญาณในวัน เริ่มต้นชีวิ ตการเป็ นนิสิต โดยพิธีนี้ จะจั ดขึ้นเป็น ประจ� ำทุกปี ในช่วงบ่าย หลังเสร็จสิ้นพิธีปฐมนิเทศนิสิตใหม่
149
150
151
152
พิธีปฐมนิเทศนิสิตใหม่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีปฐมนิเทศนิสิตใหม่ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาอย่างต่อเนือ่ งตัง้ แต่ครัง้ อดีต ถือเป็นการต้อนรับสมาชิกใหม่เข้าสูร่ วั้ มหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ ให้นิสิตใหม่ได้มาร่วมประชุมพร้อมเพรียงกันเพื่อพบกับผู้บริหารและคณาจารย์ ได้รับทราบข้อมูล ที่ส�ำคัญในการเริ่มต้นชีวิตนิสิตในรั้วจามจุรี ระเบียบ ข้อปฏิบัติ และสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับนิสิต แนะน�ำสถานที่และประวัติความเป็นมาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้สมาชิกใหม่ได้รับรู้และร่วม ภาคภูมิใจในฐานะที่ตนเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของสถาบันอันทรงเกียรติแห่งนี้ ทั้งนี้ ภายหลังพิธี ปฐมนิเทศในหอประชุมจุฬาฯ เสร็จสิ้นลงแล้ว นิสิตใหม่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะเข้าร่วมพิธี ถวายราชสักการะและถวายสัตย์ปฏิญาณตนเข้าเป็นนิสติ ใหม่โดยพร้อมเพรียงกัน ณ สนามด้านหน้า พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ซึ่งเป็นพิธีการส�ำคัญ ที่ถือปฏิบัติเป็นประเพณีต่อเนื่องกันมาส�ำหรับผู้ที่ก้าวเข้ามาเป็นนิสิตใหม่ทั้งระดับปริญญาตรีและ ระดับบัณฑิตศึกษา
153
154
155
156
พิธีไหว้ครูของของนิสิตจุฬาฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธไี หว้ครูของนิสติ จุฬาฯ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประจ�ำทุกปี เพื่อให้นิสิตใหม่และผู้แทนนิสิตปัจจุบันได้แสดงความเคารพ ความกตัญญูกตเวทีต่อ ครูบาอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ และสืบสานคุณค่าประเพณีไหว้ครูอันดีงาม พิธีไหว้ครู ของนิสติ จุฬาฯ เริม่ ด้วยผูแ้ ทนนิสติ กล่าวค�ำไหว้ครู นิสติ ทีไ่ ด้รบั รางวัลประกวดค�ำกลอนร�ำลึกพระคุณ อ่านค�ำกลอนที่ชนะเลิศการประกวด ผู้แทนนิสิตใหม่และผู้แทนนิสิตปัจจุบัน น�ำดอกไม้ธูปเทียนขึ้น กราบอธิการบดีและมอบพวงมาลัยแด่คณาจารย์ จากนั้น อธิการบดีเจิมต�ำราและกล่าวให้โอวาทแก่ นิสิตใหม่ พร้อมกันนี้ ยังได้จัดให้มีพิธีมอบรางวัลแก่นิสิตที่มีผลงานดีเด่นด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย รางวัลประกวดค�ำกลอนร�ำลึกพระคุณครู รางวัลนักกิจกรรมดีเด่น ชมรมดีเด่น โครงการดีเด่น เกียรติบัตรส�ำหรับนักกิจกรรม เกียรติบัตรส�ำหรับนิสิตดีเด่น รางวัลเครื่องหมายสามารถนักกีฬา รางวัลเรียนดี เข็มต�ำแหน่งกรรมการสโมสรนิสิต และการประกวดพานไหว้ครู
157
158
159
160
งานวันที่ระลึกวันทรงดนตรี “งานวันที่ระลึกวันทรงดนตรี” เป็นกิจกรรมที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดให้มีการแสดง ดนตรีโดยวงดนตรีสากลสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU. Band) เพื่อเป็นการร�ำลึกถึง “วันทรงดนตรีที่จุฬาฯ” ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นิสิตและคณาจารย์จุฬาฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงดนตรี ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วง พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๑๖ และยังตราตรึงอยูใ่ นความทรงจ�ำ ของนิสิตและคณาจารย์จุฬาฯ ผู้ได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ชมพระบารมีอย่างใกล้ชิด ย้อนไปใน ช่วงเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงดนตรีร่วมกับ วงลายคราม และได้พระราชทานข้อคิดแก่นสิ ติ และคณาจารย์จฬุ าฯ ท่ามกลางบรรยากาศทีเ่ ป็นกันเอง ภายในหอประชุมจุฬาฯ พร้อมทั้งมีการรับบริจาคเงินเพื่อสมทบทุนมูลนิธิอานันทมหิดลด้วย ทั้งนี ้ ได้เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงดนตรีทจี่ ฬุ าฯ ครัง้ แรกเมือ่ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ (จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ถือได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่เสด็จพระราชด�ำเนินมาร่วมงาน “วันทรงดนตรี”) และเสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงดนตรีเป็นครัง้ สุดท้ายเมือ่ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๖ (รวม ๑๕ ครัง้ ) ด้ ว ยน้ อ มส� ำ นึ ก ในพระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ อั น หาที่ สุ ด มิ ไ ด้ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย จึ ง จั ด ให้ มี “งานวันทีร่ ะลึกวันทรงดนตรี” ขึน้ ครัง้ แรกเมือ่ พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยเปิดให้ผสู้ นใจเข้าชมการแสดงดนตรี ของวงดนตรีสากลสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและวงดนตรีพี่เก่า พร้อมนักร้องรับเชิญ กิตติมศักดิ์ และร่วมบริจาคสมทบทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ ๒๐ กันยายน ของทุกปี จวบจนปัจจุบัน
161
162
163
164
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร พิธพี ระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริม่ เป็นครัง้ แรกเมือ่ วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ ซึง่ ถือเป็นพิธพี ระราชทานปริญญาบัตรครัง้ แรกของประเทศไทย ในครัง้ นัน้ พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าร�ำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จพระราชด�ำเนินมาพระราชทานปริญญา บัตรแก่เวชชบัณฑิต (แพทยศาสตรบัณฑิต) ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากพิธีพระราชทาน ปริญญาบัตรในครัง้ นัน้ เสร็จสิน้ แล้ว สภามหาวิทยาลัยได้เสนอให้กระทรวงธรรมการ กราบบังคมทูล ขอพระบรมราชานุ ญ าตว่ า “มหาวิ ท ยาลั ย ขอพระบรมราชานุ ญ าตสงวนธรรมเนี ย มนี้ ไ ว้ คือ ถือว่าการพระราชทานปริญญาบัตรเป็นการหน้าที่นั่ง หากเสด็จฯ ไม่ได้ก็จะเป็นการ ถวายปฏิญญาต่อพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ และรับพระราชทานปริญญาบัตรจากผูแ้ ทนพระองค์” พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาต ตามที่มหาวิทยาลัย กราบบังคมทูลขอ ดังนั้น พิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงถือปฏิบัติ เป็นธรรมเนียมสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
165
166
167
168
169
170
พิธีถวายราชสักการะของบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิ ธีถวายราชสักการะของบัณฑิ ตจุ ฬาลงกรณ์ม หาวิ ทยาลัย เป็นพิ ธีที่ จัดต่อเนื่ องกับพิ ธี พระราชทานปริ ญ ญาบั ต ร เมื่ อ บั ณ ฑิ ต รั บ พระราชทานปริ ญ ญาบั ต รและกล่ า วค� ำ ปฏิ ญ าณตน ในหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรียบร้อยแล้ว บัณฑิตใหม่ทุกคนจะเดินมาตั้งแถวท�ำพิธีถวาย ราชสักการะด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า โดยมีผู้แทนบัณฑิตอัญเชิญพานพุ่มขึ้นถวายเป็นราชสักการะ จากนั้น มีการอ่านบทอาศิรวาท “สรภัญญะ บัณฑิตจุฬาฯ” และบัณฑิตจุฬาฯ ทุกคนถวายสักการะโดยพร้อมเพรียงกัน โดยถือว่าเป็นการ “ถวายบังคมลา” ในวันส�ำเร็จการศึกษาได้เป็นบัณฑิตจุฬาฯ อย่างสมภาคภูมิ ทัง้ นี้ ยึดถือตามธรรมเนียมปฏิบตั เิ ดิมของโรงเรียนมหาดเล็กและโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทีต่ อ้ งมีการถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ต่อมาพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้คงธรรมเนียมการถวายตัว เป็นมหาดเล็กไว้เช่นเดิม และให้มีการถวายบังคมลาเมื่อส�ำเร็จการศึกษาเพื่อออกไปรับราชการ ในหน่วยราชการต่าง ๆ จากธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้จัดให้มี “พิธถี วายราชสักการะของบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เป็นครัง้ แรกใน พ.ศ. ๒๕๓๒ และปฏิบตั ิ สืบต่อเป็นธรรมเนียมมาจนถึงปัจจุบัน
171
172
173
174
พิธีถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์ ณ ลานพระราชวังดุสิต พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต เมือ่ วันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ ยังความวิปโยคอย่างสุดประมาณแก่เหล่าพสกนิกรทัง้ ราชอาณาจักร ในปีแรกหลังการเสด็จสวรรคตนั้น เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เสนาบดีกระทรวงนครบาลเป็น ตัวแทนทวยราษฎร์ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดการถวายบังคมพระบรมรูปทรงม้า ณ ลานพระราชวังดุสติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ จัดการพิธีวางพวงมาลาถวายบังคมเป็นครั้งแรก ในวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๔ ในครั้งนั้น เหล่านักเรียนโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั พากันน�ำธูป เทียนดอกไม้ ไปถวายบังคม ณ พระบรมราชานุสาวรียฯ์ เพือ่ น้อมร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคณ ุ สมเด็จ พระปิยมหาราช เนือ่ งมาแต่ครัง้ ทรงสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็ก ต่อมานับตัง้ แต่ พ.ศ. ๒๔๕๕ เป็นต้นมา ได้เปลี่ยนวันถวายบังคมเป็นวันที่ ๒๓ ตุลาคมของทุกปี นักเรียนโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ จึงได้เปลี่ยนการถวายบังคมด้วยธูปเทียนดอกไม้เป็นการวางพวงมาลา และได้สืบทอดเป็นประเพณี มายังนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตราบจนทุกวันนี้
175
176
177
178
พิธวี างพวงมาลาถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั เนื่องในวันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั นิสติ และคณาจารย์จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จดั ให้มพี ธิ วี างพวงมาลาถวาย ราชสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าด้านหน้า หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและพระบรมราชานุสาวรีย์ ณ สวนลุมพินี ในวันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน เพือ่ น้อมร�ำลึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ ของพระผูท้ รงสถาปนามหาวิทยาลัย และถือเป็น ธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นประจ�ำทุกปีจวบจนปัจจุบันนี้
179
180
181
182
งานลอยกระทงจุฬาฯ งานลอยกระทงจุฬาฯ เป็นกิจกรรมที่นิสิตจัดกันเป็นประเพณีต่อเนื่องกันมานานแล้ว และใน พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้มีการประกวดนางนพมาศขึ้นในงานลอยกระทงจุฬาฯ ด้วย (ในสมัยนั้น กิจกรรมนี ้ เป็นส่วนหนึ่งของคัดเลือกนิสิตหญิงเป็นเชียร์ลีดเดอร์เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์) มีบนั ทึกจากค�ำบอกเล่าของนิสติ เก่าไว้วา่ “ประเพณีลอยกระทงในจุฬาฯ ได้รบั ความสนใจอย่าง กว้างขวาง ทัง้ ชาวจุฬาฯ และบุคคลภายนอก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเป็นแหล่งทีใ่ ห้สาระและบันเทิง มีการจัดกิจกรรมตามคณะต่าง ๆ มีขบวนแห่นางนพมาศ ทีม่ ไิ ด้เน้นความงามของนางนพมาศ แต่จะเน้นที่ ความหมายของการประดิษฐ์กระทงทีน่ ำ� เสนอในรูปแบบต่าง ๆ ‘สระน�ำ้ จุฬาฯ’ เป็นสถานทีท่ ใี่ ช้สำ� หรับ ลอยกระทง ซึง่ เป็นประเพณีปฏิบตั ทิ กุ ๆ ปี โดยมีขอ้ ตกลงว่าห้ามน�ำกระทงทีท่ ำ� จากวัสดุยอ่ ยสลายยาก มาลอยเพราะจะเป็นการสร้างปัญหา เกิดเป็นมลพิษทางน�้ำและเป็นการท�ำผิดวัตถุประสงค์ของ ประเพณีอันเก่าแก่ของไทย” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย (อบจ.) ได้รว่ มสืบสานประเพณีอนั ดีงามนี้ ด้วยการจัดให้มงี านลอยกระทงจุฬาฯ เป็นประจ�ำ ทุกปีในเดือนพฤศจิกายนจวบจนปัจจุบัน
183
184
185
186
งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ งานฟุตบอลประเพณีจฬุ าฯ–ธรรมศาสตร์ เป็นการแข่งขันฟุตบอลประเพณีระหว่างจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่นิสิตนักศึกษาทั้งสอง มหาวิทยาลัย เริ่มจัดกิจกรรมครั้งแรกในวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ โดยแต่ละมหาวิทยาลัย จะสลับกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ณ สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ เป็นประจ�ำทุกปี จนถึงปัจจุบันนี้ กิจกรรมส�ำคัญภายในงานแบ่งเป็นสองส่วน คือ การแข่งขันฟุตบอลและกิจกรรม เชือ่ มสัมพันธ์ระหว่างนิสติ จุฬาฯ กับนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การเดินพาเหรดในพิธเี ปิดการ แข่งขัน ขบวนอัญเชิญ “พระเกีย้ ว” ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ขบวนอัญเชิญ “ตราธรรมจักร” ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การเชียร์ การแปรอักษร ขบวนพาเหรดล้อการเมือง และกิจกรรม บ�ำเพ็ญประโยชน์ร่วมกันของนิสิตนักศึกษาสองสถาบัน
187
188
189
190
การแสดงดนตรีไทยปี่พาทย์ดึกด�ำบรรพ์ ในวันครบรอบการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วงปีพ่ าทย์ดกึ ด�ำบรรพ์ เป็นรูปแบบหนึง่ ของวงดนตรีไทย ถือเกิดขึน้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และเจ้าพระยาเทเวศร์ วงศ์ววิ ฒ ั น์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) ได้รว่ มกันปรับปรุงรูปแบบการประสมวงดนตรีไทยขึน้ ใหม่ เพื่อให้เหมาะกับการใช้บรรเลงภายในอาคาร (ได้รับอิทธิพลจากการแสดงละครโอเปร่าของยุโรป) ใช้บรรเลงประกอบการแสดงครัง้ แรกทีโ่ รงละครดึกด�ำบรรพ์ จึงเรียกชือ่ วงดนตรีไทยประเภทนีต้ ามชือ่ ของโรงละคร ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๓๐ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดตั้ง “วงดนตรีไทยปี่พาทย์ ดึกด�ำบรรพ์” ขึ้น เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ และตรงกับวาระครบรอบ ๗๐ ปีแห่งการสถาปนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้จัดให้มี “การแสดงดนตรีไทยปี่พาทย์ดึกด�ำบรรพ์” ในโอกาสวัน ครบรอบการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ ๒๖ มีนาคมของทุกปี ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชด�ำเนินมาทรงดนตรีและทอดพระเนตรการแสดงทุกปีต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้
191
192
193
194
195
196
วิถีนิสิตจุฬาฯ
197
198
นิสิตและบัณฑิตรุ่นแรก ๆ ของจุฬาฯ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรับนิสิตหญิงเข้าศึกษาที่คณะแพทยศาสตร์เป็นรุ่นแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ ถ่ายที่วังวินด์เซอร์
199
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั เสด็จพระราชด�ำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่เวชชบัณฑิต (แพทยศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ ๑ และ ๒) ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นการพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกของกรุงสยาม เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๓
200
อาจารย์และนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิศวกรรมศาสตร์ รุ่นที่ ๑ และ ๒ โรงเรียนยันตรศึกษา (ปัจจุบันคือคณะวิศวกรรมศาสตร์) ถ่ายที่วังวินด์เซอร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗
201
อาจารย์และนักเรียนโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (แผนกวิศวกรรมศาสตร์) ถ่ายที่วังวินด์เซอร์ พ.ศ. ๒๔๕๙
202
นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๔๖๕ ถ่ายที่หน้าตึกอักษรศาสตร์ ๑ (ปัจจุบันคืออาคารมหาจุฬาลงกรณ์)
203
ผู้ส�ำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรสี่ปี วิศวกรรมศาสตร์รุ่นแรก พ.ศ. ๒๔๗๒
204
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต รุ่นแรก พ.ศ. ๒๔๗๗ แถวหน้าคนที่สามจากซ้ายคือ ศาสตราจารย์ ดร.บุญรอด บิณฑสันต์ ต่อมาได้ด�ำรงต�ำแหน่งนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๓๘
205
นิสิตคณะรัฐประศาสนศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ (พระยาวิทยาปรีชามาตย์เป็นคณบดี) ถ่ายที่วังวินด์เซอร์
206
นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นแพแตก (พ.ศ. ๒๔๗๖) ซึ่งรัฐบาลได้ออกกฎหมายให้โอนไป สังกัดมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ต่อมาได้ส�ำเร็จการศึกษาเป็นธรรมศาสตรบัณฑิตรุ่นแรก
207
รัฐศาสตรบัณฑิตรุ่นแรก จากขวาไปซ้ายคือ นายวัลลภ ชัยพิพัฒน์ นายเกษม สุวรรณกุล นายทองค�ำ บานชื่น นายสืบ รอดประเสริฐ และบัณฑิตไม่ทราบชื่อ
208
อาจารย์และนิสิตคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ถ่ายที่วังวินด์เซอร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒
209
อักษรศาสตรบัณฑิตรุ่นแรก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ ถ่ายที่หน้าตึกจักรพงษ์
210
นิสติ อักษรศาสตร์ ปีที่ ๓ เมือ่ พ.ศ. ๒๔๘๔ ในเครือ่ งแบบยุวนารี แถวหน้าซ้ายสุดคือ นางสาวฐะปะนีย์ ณ ถลาง (ศาสตราจารย์กิตติคุณฐะปะนีย์ นาครทรรพ)
211
อาจารย์และนิสิตแผนกฝึกหัดครูมัธยม ถ่ายที่วังวินด์เซอร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ มีหม่อมหลวงปิน่ มาลากุล และอาจารย์ประเสริฐ ชูรตั น์ เป็นอาจารย์ประจ�ำ
212 ชีวิตนิสิตในรั้วจุฬาฯ
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดแสดงนิทรรศการ “เครื่องหมายเกียรติยศของจุฬาบัณฑิต” ณ โถงชั้น ๑ ตึกจักรพงษ์ ตั้งแต่วันที่ ๓ ตุลาคม – ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ หนังสือ จุฬาจารึก : ภาพฉายจุฬาฯ เป็นหนังสือรวบรวมภาพและค�ำอธิบายเหตุการณ์ทนี่ า่ สนใจเกีย่ วกับจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย หากท่านผู้อ่านมีข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาแจ้งหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรศัพท์ ๐ ๒๒๑๘ ๗๐๙๗-๙ ด้วยความขอบคุณยิ่ง
239
คณะผูบ้ ริหารส�ำนักบริหารศิลปวัฒนธรรมรับมอบครุยและใบปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิตรุน่ แรก พ.ศ. ๒๔๗๘ จากคุณชุตมิ า มาลยมาน ทายาทนางสาวตรอง บุนนาค บัณฑิตอักษรศาสตร์รนุ่ แรก ให้แก่หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐
หอประวัตจิ ฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งรวบรวมหนังสือ เอกสาร ภาพถ่าย และวัตถุอนั ทรง คุณค่าที่เกี่ยวกับประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หากท่านต้องการมอบสิ่งอันทรงคุณค่าแก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพือ่ เก็บรักษาไว้ใช้ประโยชน์ในการเผยแพร่ให้นสิ ติ คณาจารย์ และผูส้ นใจ ศึกษาค้นคว้าต่อไป โปรดติดต่อโทรศัพท์ ๐ ๒๒๑๘ ๗๐๙๗-๙
คณะท�ำงานหนังสือ ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ศาสตราจารย์ ดร.พิรงรอง รามสูต รองศาสตราจารย์ ดร.สันติ ฉันทวิลาสวงศ์ อาจารย์สวัสดิ์ จงกล รองศาสตราจารย์ ดร.สุนันท์ อัญชลีนุกูล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชลทิชา สุทธินิรันดร์กุล นายกรรชิต จิตระทาน
อธิการบดี รองอธิการบดี ที่ปรึกษาอธิการบดี ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม
คณะท�ำงาน ผู้อ�ำนวยการหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นางสาวพิมพ์พิศา ก�ำเนิดจิรมณี) นางวลัยพร โกศัลวัฒน์ นางอัจฉรา สิทธิพันธ์ นางแววดาว เสาวลักษณ์ นางสาวศศิพิมพ์ จิรศักดิ์ นางสาวนัฏกร เสาวลักษณ์ นางมนฤทัย ศิริพูล ขอขอบคุณ ส�ำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชมรมศิลปะการถ่ายภาพจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะผู้จัดท�ำหนังสือ “บรมราชูปถัมภกานุสรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัชพล ไชยพร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีรศรี โพวาทอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์นภัส ขวัญเมือง อาจารย์ นพ.วรพล จรูญวณิชกุล นายเซน นันทวิญญู (นิสิตเก่าคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ออกแบบและจัดท�ำรูปเล่ม นายธงชัย กมลรัตน์ พิสูจน์อักษร นายพงศกร เจนในเมือง หน่วยงานที่รับผิดชอบ : หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส�ำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕๔ ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๑๘ ๗๐๙๗-๙